183
ภรรยาของตน ซ่ึงต่อมานางก็ต้ังครรภ์และคลอดบุตร บุตรของพระสุทินนะจึงได้นามว่าเจ้าพืช ภรรยาของพระสุ
ทินนะกไ็ ด้นามวา่ มารดาของเจ้าพืช ตอ่ มาทัง้ มารดาและบุตร ออกบวชได้สำเรจ็ อรหัตตผลทง้ั 2 คน
กล่าวถึงพระสุทินนะ เกิดความไม่สบายใจขึ้นภายหลัง ถึงขนาดซูบผอมภิกษุทั้งหลายถามทราบความ จึง
พากันติเตียน และนำความกราบทูลพระผู้มีพระภาค พระองค์จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนเร่ืองนั้น ทรง
ตำหนแิ ลว้ ทรงบญั ญติ สิกขาบทห้ามมิใหภ้ ิกษุเสพเมถุน ทรงปรับอาบัตปิ าราชกิ แกภ่ ิกษผุ ้ลู ว่ งละเมิด
อนุบญั ญัติ (ขอ้ บญั ญัติเพ่ิมเติม) ต่อมามีภิกษุวชั ชีบตุ ร ชาวกรุงเวสาลีเขา้ ใจวา่ ห้ามเฉพาะเสพเมถุน
กับมนษุ ยจ์ งึ เสพเมถุนกับนางลิง ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงบัญญัตเิ พ่ิมเติมให้ชดั ขึน้ ว่าห้ามเสพเมถุน
แม้ในสัตว์ดิรัจฉาน
ภิกษุเสพเมถุนขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ภายหลังขอเข้าอุปสมบทอีกพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติ
ไมใ่ ห้อุปสมบทแก่ผ้เู ชน่ น้นั
อธิบาย
1. เมถุนธรรมน้ันน่าจะเข้าใจว่าหมายถึงเมถุนธรรมสามัญที่เป็นอาการของชายหญิง แต่ในคัมภีร์
วิภังค์ (หนังสือจำแนกความอธิบายความหมายแห่งสิกขาบทให้ชัดเจน) แสดงว่ากิริยาที่เสพในทวารเบา
ทวารหนัก หรอื ในปากของมนุษย์ชายหญิงก็ตาม เป็นพันทาง (กระเทย) ก็ตาม ของสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ตัวเมีย
หรือเป็นพันทางชอ่ื วา่ เสพเมถุน ภิกษุเสพในทวารเหล่าน้ี แม้ไม่สำเรจ็ กจิ แต่องคชาตได้เข้าไปเพียงเล็กน้อย
เท่าเมล็ดงา จะมอี ะไรสวมใส่ก็ตาม มนษุ ย์อมนษุ ย์และดริ จั ฉานนั้นยังเปน็ อยกู่ ็ตาม ตายแลว้ ก็ตาม แตซ่ ากยัง
บริบรู ณห์ รือแหวง่ วิ่นไปบา้ ง ยงั เป็นวัตถจุ ะให้สำเร็จกิจในทางนี้ได้ ต้องอาบตั ิปาราชกิ
2. ภิกษถุ กู ขม่ ขนื แต่ยินดี แมข้ ณะใดขณะนหนึ่งตอ้ งอาบตั ปิ าราชกิ เหมือนกัน
3. ภิกษยุ อมใหบ้ ุรุษอน่ื เสพเมถุนในทวารหนัก จะถูกข่มขืน หรือลกั หลับและต่ืนขนึ้ รู้ตวั แต่ยินดี ตอ้ ง
อาบัติปาราชิกเหมอื นกัน
4. ในวินีตวัตถุ (เรื่องที่พระพุทธองค์ทรงตัดสินช้ีขาด) แห่งสิกขาบทน้ีแสดงว่า ภิกษุหลังอ่อน
ปรารถนาจะเสพเมถุน ก้มลงอมองค์กำเนิดตนเอง หรือมีองค์กำเนิดยาวสอดเข้าไปในทวารหนักย่อมต้อง
อาบตั ปิ าราชิกเหมือนกัน
วตั ถแุ ห่งอาบตั ิถลุ ลัจจยั และทุกกฏ
1. ทวารที่เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิกน้ัน ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ตายแล้ว แห่วงเว้าไปมาก ไม่ให้
สำเร็จกนิ เตม็ ท่ี และองคก์ ำเนิดของบุรษุ เป็นวัตถแุ หง่ อาบัติถลุ ลัจจัย
2. อวัยวะนอกนี้ก็ดี วัตถนุ ั้นไมม่ วี ญิ ญาณ เช่น ตุ๊กตาเปน็ ต้น จัดเป็นวัตถุแหง่ อาบัติทกุ กฏ
อนาบัติ อาบตั ิในสิกขาบทนี้ เป็นสจติ ตกะ ไม่เป็นอาบตั แิ กภ่ กิ ษุ 2 ประเภท คือ
1.ภกิ ษุท่ีถกู ลกั หลับ ไม่รู้ตวั
2. ภกิ ษุทถ่ี ูกขม่ ขนื ไมย่ ินยอม
และภกิ ษุอกี 4 ประเภทคอื
3. ภิกษผุ ้เู ปน็ บ้าคล่ัง จนถงึ ไม่มสี มั ปชัญญะ
4. ภิกษุผเู้ พอ้ ถึงกับไมร่ ู้สึกตวั
5. ภิกษุผกู้ ระสับกระสายเพราะเวทนากลา้ ถึงกบั ไม่มสี ติ
6. ภกิ ษุผกู้ อ่ เหตใุ หท้ รงบัญญตั ิสิกขาบททเ่ี รียกว่า อาทกิ ัมมกิ ะ
ทั้ง 4 ประเภทนี้ พึงเข้าใจว่าได้รับยกเว้นทุกสิกขาบท เว้นแต่ภิกษุอาทิกัมมิกะผู้ก่อเร่ืองเป็นเหตุให้
ทรงบญั ญตั ิสิกขาบทใด ไมเ่ ปน็ อาบตั เิ ฉพาะในสิกขาบทนนั้
184
พระไตรปฎิ กและอรรถกถาแปล วินัยปฎิ ก มหาวภิ ังค์ ภาค 1 เล่ม 2 (2555, หน้า 1 -72) สิกขาบทท่ี 2
ภิกษถุ อื เอาของท่ีเจ้าของไมไ่ ด้ให้ ได้ราคา 5 มาสก ต้องปาราชกิ 179
นิทานตันบัญญัติ เริ่มเร่ืองเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เขาคิชฌกูฎ ใกล้กรุงราชคฤห์ครั้งนั้น
ภิกษุหลายรูปทเี่ ป็นมิตรสหายกันได้ทำกุฏีหญ้าอยู่จำพรรษาข้างเขาอิสิคิลิท่านพระธนิยะ ผู้เป็นบุตรแห่งช่าง
หม้อ ก็ทำกุฏีหญ้าอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้นด้วยภิกษุอื่น ๆเมื่อออกพรรษาก็ร้ือกุฎีหญ้า เก็บหญ้า เก็บไม้ แล้ว
จาริกไปส่ชู นบทสว่ นพระธนิยะคงอย่ใู นทน่ี นั้ ไม่ไปไหนตลอด 3 ฤดู ขณะท่เี ข้าไปบิณฑบาต ยังหมบู่ า้ นพวกคน
เก็บหญ้าเก็บไม้ มาร้ือกุฎี นำหญ้าและไม้ไป ท่านต้องทำใหม่ แต่พวกน้ันกม็ ารื้อ ขโมยหญ้า และไม้ไปอีก ถึง
3 คร้งั ทา่ นพระธนิยะ จึงคิดสร้างกุฏดี ินเพราะเป็นผชู้ ำนาญในการผสมดนิ ปน้ั หมอ้ มากอ่ น เม่อื ตกลงใจดังน้ัน
จึงเอาดินเหลวมาผสมกนั แลว้ ทำเป็นกฏุ ดี นิ ล้วน เอาหญา้ ไมแ้ ละมูลโค มาสุมกฏุ ีท่ีทำไว้แล้ว ใหเ้ ป็นกฏีดนิ เผา
สวยงามมีสแี ดงดังตวั แมลงเต่าทอง กิตตศิ ัพทข์ องกุฏีน้ีท่ีวา่ สวยงามแพร่ไป พระพทุ ธเจา้ ทรงทราบ ตรัสส่ังให้
ทุบทำลายท้ิงเสีย เพ่ือมิให้ภิกษุรุ่นหลังเอาอย่างเพราะ (การขุดดินเอามาทำกุฏี) อาจทำสัตว์ให้ตายได้แล้ว
ทรงบญั ญัติสิกขาบทหา้ มทำกุฏดี ินล้วนปรับอาบัติทุกกฏ แกผ่ ู้ล่วงละเมิด
ทา่ นพระธนยิ ะ ไมย่ ุติเพียงเท่านน้ั เข้าไปหาคนเฝ้าโรงเกบ็ ไม้ของหลวงเลา่ ความให้ฟังถึงเร่ืองท่คี นรื้อ
กฏุ ีหญ้า ขโมยหญ้าและไม้ไปถึง 3 คร้ัง ทา่ นจึงคิดทำกุฏดี ินเผา ก็ถูกส่ังให้ทำลายเสีย จงึ มาขอไม้จากคนเฝ้า
โรงเก็บไม้ของหลวง คนเฝา้ ปฏิเสธว่า ตนไม่มีไม้ท่ีจะให้ มีแต่ไมท้ ่ีเป็นของพระราชาหวงแหน เพื่อใช้ซ่อมพระ
นคร เก็บไว้ในคราวมีอันตราย ถ้าพระราชาพระราชทาน ก็นำไปได้พระธนิยะตอบว่าพระราชาพระราชทาน
แล้ว คนเฝ้าโรงไม้เช่ือว่า เป็นพระคงไม่พูดปด จึงอนุญาตให้นำไป ท่านพระธนิยะ กน็ ำไม้มาตัดเป็นทอ่ นเล็ก
ท่อนนอ้ ยใส่เกวียนขนไปทำกฎุ ิไม้
เม่ือวัสสการพรามหณ์ อำมาตย์ผู้ใหญ่ มาตรวจ พบว่า ไม้หายไปจึงไต่สวนแล้วนำความกราบทูลพระ
เจ้าพิมพิสาร พระองค์มีรับส่ังใหน้ ำตัวคนเฝ้าโรงไม้เข้าไปเฝ้า เขาจึงถูกมัดนำตัวไป ท่านพระธนยิ ะเห็นคนเฝ้าไม้
ถกู มัดนำตัวไปจงึ สอบถามได้ความแลว้ ก็ตามไปด้วย พระเจ้าพิมพิสารถวายนมัสการท่านพระธนยิ ะแล้วตรัสถาม
ว่า เป็นความจริงหรือท่ีว่า พระองค์ถวายไม้น้ัน ท่านพระธนิยะตอบว่าเป็นความจริง พระเจ้าพิมพิสาร ตรัสว่า
พระองค์เป็นพระราชา มีกิจธุระมากถวายไปแล้ว อาจนึกไม่ออกก็ได้ ถ้าท่านพระธนิยะนึกออก ก็ขอให้ช้ีแจงมา
ทา่ นพระธนิยะ ทลู ถามว่าทรงระลึกได้หรือไม่วา่ ทรงเปล่งวาจาในวันอภิเษกเสวยราชย์ว่า หญ้า ไม้ และน้ำ เป็น
อันข้าพเจ้าถวายแกส่ มณพราหมณท์ ง้ั หลายขอจงใชส้ อยเถิด ตรสั ตอบว่า ทรงระลกึ ได้
แต่ท่ีตรัสอย่างน้ัน ทรงหมายสำหรับสมณพราหมณ์ ผู้มีความละอาย ผู้มีความรังเกียจ ใคร่ต่อ
การศึกษา ผู้เกิดความรังเกียจ แม้ในความช่ัวเพียงเล็กน้อย และทรงหมายถึงสิ่งของที่ไม่มีใครหวงแหนในป่า
ท่านถือเอาไม้ท่ีมิได้ให้ด้วยเลสน้ี คนอย่างพระองค์จะพึงฆ่า จองจำ หรือเนรเทศ สมณะหรือพราหมณ์ได้
อย่างไร ทา่ นจงไปเถิด ท่านพน้ เพราะ เพศ (บรรพชติ ) ต่อไปอย่าทำอยา่ งนอ้ี ีก
มนุษย์ท้ังหลายพากันติเตียนด้วยประการต่างๆ ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุม
สงฆ์ ทรงไต่สวน เมือ่ ท่านพระธนิยะรับเป็นสัตยแ์ ลว้ จึงทรงถามภิกษุผู้เคยเป็นมหาอำมาตยผ์ ู้พิพากษา ซ่ึงเข้า
มาบวชว่า พระเจา้ พิมพ์พิสารทรงจับโจรได้ ทรงประหารชวี ิต จองจำหรอื เนรเทศด้วยกำหนดทรัพย์เทา่ ไหร่ก็
ไดร้ ับคำตอบวา่ บาทหนงึ่ หรือมีราคาเท่ากับบาทหน่งึ หรือเกนิ กว่าบาทหนง่ึ ครง้ั นัน้ ในกรุงราชคฤห์ บาทหนึ่ง
เท่ากบั 5 มาสก จึงทรงบัญญัติสิกขาบท มิให้ภิกษุถอื เอาสิ่งของท่ีเขา้ ของเขาไม่ได้ให้ ผใู้ ดทำเช่นนน้ั ได้ราคา
ที่พระราชาจับโจรได้ประหารชวิ ิต จองจำ หรือเนรเทศ ต้องอาบัติปาราชกิ
อนุบญั ญตั ิ (ข้อบัญญตั ิเพิ่มเติม) สมัยน้ัน ภกิ ษุฉัพพคั คยี ์ (พวก 6 คอื เปน็ พวกร่วมใจกัน 6 รปู ) ไปท่ี
ลาน (ตากผ้า) ของช่วงย้อม ขโมยห่อผ้าของช่างย้อมผ้านำมาแบ่งกัน ความทราบถึงภิกษุท้ังหลายเธอแก้ตัว
179 ว.ิ มหา. (ไทย) 2/1-72.
185
ว่า นเี้ ธอไปลักห่อผ้าในปา่ ไม่ได้ลกั ในบ้าน สกิ ขาบทท่ีบัญญัตมิ ุ่งหมายถึงลักในบ้าน (ความจรงิ ในตวั สิกขาบท
มิได้ระบุสถานท่ี) แต่เพ่ือจะปิดมิให้มีข้อโต้เถียงต่อไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติเพ่ิมเติมว่าลักของจาก
บา้ นกต็ ามจากป่ากต็ าม (ในเร่อื งทเ่ี กดิ ขนึ้ น้ี ทรงตัดสนิ วา่ ต้องอาบัติปาราชกิ ) อธบิ ายเพิ่มเติมดงั น้ี
ทรพั ย์ 2 ประเภท
1. สังหารมิ ทรพั ย์ ทรพั ย์เคล่ือนทไี่ ด้
2. อสงั หาริมทรพั ย์ ทรพั ย์เคล่ือนท่ีไม่ได้
อวหาร(อาการท่ีถือว่าเป็นการลักทรัพย์) 13 การถือเอาทรัพย์เป็นสังหาริมทรัพย์กำหนดว่าถึง
ทส่ี ดุ ด้วยทำให้เคล่อื นจากฐานมนี ยั ดงั น้ี
1. ลัก ได้แก่อาการถือเอาทรัพย์ทเี่ คล่อื นจากฐานได้ ดว้ ยไถยจติ (จิตคิดจะลัก) อนั เป็นอาการแห่งขโมย
2. ชงิ หรือวง่ิ ราว ไดแ้ ก่อาการทช่ี งิ เอาทรัพยท์ ีเ่ ขาถอื อยู่ ด้วยอาการอยา่ งใดอย่างหนึ่ง
3. ลักตอ้ น ไดแ้ กอ่ าการท่ขี ับตอ้ นหรอื จงู ปศุสัตว(์ สัตว์เลี้ยง เชน่ เป็ด ไก่ แพะ แกะ สุกร) หรือสัตว์
พาหนะ (สัตวส์ ำหรับ ข่ี บรรทุก ลาก เข็น เช่น ชา้ ง ม้า โค กระบือ) ไป
4. แยง่ ได้แก่อาการท่ีเขา้ แยง่ เอาของซง่ึ คนถอื ทำตก
5. ลักสับ ได้แก่อาการสับสลากช่ือตนกับชื่อผู้อื่นในกองของด้วยหมายจะเอาสลากที่มีราคาการ
ถอื เอาทรพั ยเ์ ปน็ อสงั หารมิ ทรัพย์ กำหนดว่าถงึ ท่สี ุดด้วยขาดกรรมสทิ ธิ์แหง่ เจ้าของ ดังน้ี
6. ตู่ ไดแ้ กอ่ าการกลา่ วตู่ เพ่ือจะเอาท่ีดนิ เปน็ ของตวั แมเ้ จ้าของจะขอคืนกไ็ มย่ อม
อวหารท่ีจะพงึ กำหนดดว้ ยอาการอยา่ งอื่นยงั มีอยู่อกี ดังน้ี
7. ฉอ้ ไดแ้ ก่อาการทร่ี บั ของฝากแลว้ เอาเสยี
8. ยักยอก ไดแ้ ก่อาการท่ีภกิ ษุผู้เปน็ ภณั ฑ์คารกิ มีหนา้ ทีร่ ักษาเรอื นคลังนำเอาสิ่งของทร่ี ักษานั้นไป
จากเขตที่ตนมีกรรมสทิ ธิร์ ักษาดว้ ยไถยจติ (ดว้ ยจิตคิดที่จะขโมย)
9. ตระบัด ไดแ้ ก่อาการทน่ี ำของต้องเสยี ภาษี จะผ่านดา่ นทเ่ี กบ็ ภาษซี ่อนของเหล่านั้นเสีย
10. ปล้น ได้แก่อาการชักชวนกันไปทำโจรกรรม ลงมือบ้าง มิได้ลงมือบ้าง ต้องอาบัติถึงที่สุด
ด้วยกนั ทั้งนนั้
11. หลอกลวง ได้แกอ่ าการท่ที ำของปลอม เช่น ทำธนบัตรปลอม เป็นตน้ ต้องอาบตั ิดว้ ยทำสำเร็จ
12. กดขี่หรือกรรโชก ได้แก่อาการท่ีใช้อำนาจข่มเหงเอาทรัพย์ของผู้อ่ืนดังราชบุรุษเก็บค่าอากร
เกนิ พิกดั อาบัติถึงทีส่ ดุ ในขณะไดข้ องมา
13. ลักซ่อน ไดแ้ กอ่ าการทเ่ี ห็นของเขาทำตก แลว้ เอาของมีใบไมเ้ ป็นตน้ ปกปดิ เสีย อาบัตถิ ึงทส่ี ุด
ขณะทำสำเรจ็
ต้องอาบัตเิ พราะการสงั่ อาบัตใิ นสกิ ขาบทน้ี ชอื่ ว่า ตอ้ งเพราะสั่ง เรยี กสาณตั ติกะ อาการสง่ั มีดังน้ี
1. สั่งตอ่ เดยี วไมม่ ปี ริกัป (ข้อแม)้
2. สัง่ เจาะจงทรพั ย์
3. ส่ังด้วยทำนมิ ิต ซึ่งเรยี กวา่ ใชใ้ บ้
4. ส่ังกำหนดเวลา
5. ส่งั หลายต่อ
6. ส่งั ด้วยใช้สำนวนไมจ่ ำกัดลงไป ซ่ึงเรยี กวา่ พูดไมต่ ายตัว
ราคาทรพั ยท์ ่ที ำใหต้ ้องอาบตั ิ
1. ทรัพยม์ ีราคา 1 บาท คอื 5 มาสก เป็นวตั ถุแหง่ อาบตั ิปาราชิก
2. ทรัพยม์ รี าคาน้อยกวา่ 1 บาท ลงมา แต่สงู กว่า 1 มาสก เป็นวตั ถุแห่งอาบัตถิ ลุ ลัจจัย
3. ทรัพย์มีราคาต้ังแต่ 1 มาสกลงมา เป็นวตั ถุแห่งอาบตั ิทุกกฎ
186
การถอื เอาทรัพยท์ มี่ ีตอ้ งอาบัติ
อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นสจิตตกะ (มีเจตนาทำจึงเป็นอาบัติ) ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่มีไถยจิต (ไม่
คดิ จะลกั ) คือ
1. ถือเอาด้วยสำคญั วา่ ของตน
2. ถือเอาดว้ ยสำคญั ว่าของท้งิ ทเี่ รียกวา่ บังสุกุล
3. ถอื เอาดว้ ยวสิ สาสะ (ความคุน้ เคย ความสนทิ สนม , การถอื ว่าเปน็ กนั เอง, ได้พูดกนั ไว้แล้ว)
4. ถือเอาเป็นของยืม
พระไตรปฎิ กและอรรถกถาแปล วนิ ยั ปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 1 เลม่ 2 (2555, หนา้ 239 -427)
สกิ ขาบที่ 3 ภกิ ษแุ กล้ง (จงใจ) ฆ่ามนษุ ย์ใหต้ าย ต้องปาราชิก180
นิทานต้นบัญญัติ เริ่มเร่ืองเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เรือนยอด ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี
พระองค์ได้ทรงแสดงอสุภกถา คือ ถ้อยคำปรารภสิ่งท่ีไม่สวยงามสรรเสริญคุณแห่งอสุภะ และคุณแห่งการ
เจรญิ อสุภะ คือการพิจารณาเหน็ ร่างกายโดยความเป็นของไมง่ าม กับทง้ั คุณแห่งอสภุ สมาบัติ (การเข้าฌานมี
อสภุ ะเปน็ อารมณ)์ โดยปริยายเป็นอันมาก ครน้ั แลว้ ตรัสว่า ทรงพระประสงค์จะหลีกเร้นอย่ตู ามลำพงั ตลอด
กึ่งเดือน ใคร ๆ ไมพ่ งึ เข้าไปเฝา้ เวน้ แตภ่ ิกษุผ้นู ำอาหารเขา้ ไปเพยี งรปู เดียว
ภิกษุทั้งหลายปฏิบัติคืออสุภภาวนา (การเจริญอสุภกัมมัฎฐาน คือพิจารณาร่างกายโดยความเป็น
ของไม่งาม) ก็เกิดเบ่ือหน่ายรังเกียจร่างกายของตน เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวที่ชอบประดับตกแต่ง อาบน้ำ
ดำเกล้าแล้ว รังเกียจซากศพงู ซากศพสุนัข ซากศพมนุษย์ อันคล้องอยู่ที่คอฉะนั้น เม่ือเบ่ือหน่ายรังเกียจ
ร่างกายของตนอย่างนี้ ก็ฆ่าตัวตายบ้าง ฆ่ากันและกันบ้าง เข้าไปหานายมิคลัณฑิกะผู้แต่งตัวเหมือนสมณะ
แลว้ เอาบาตรจีวร จ้างเขาใหฆ้ ่าตนบ้าง โดยนยั นี้ นายมคิ ลัณฑิกะ กร็ ับจ้างฆา่ ภิกษทุ ้ังหลายวนั ละรปู หน่งึ บ้าง
สองรูป สามรปู ส่รี ูป ห้ารปู จนถึง หกสบิ รูปบ้าง
เมอื่ ครบก่ึงเดอื นแลว้ เสด็จกลับจากท่ีเรน้ ทรงทราบเรื่องน้ัน จึงทรงเรียกประชมุ สงฆ์ ทรงสอนอานา
ปานสติสมาธิ (คือการทำใจให้ตั้งมั่นโดยกำหนดลมหายใจเข้าออก) โดยปริยายต่างๆ แล้วทรงปรารภเรื่อง
ภิกษุฆ่าตัวตายฆ่ากันและกันรวมท้ังจ้างผู้อื่นให้ฆ่าตน ทรงตำหนิ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามมิให้ภิกษุฆ่า
มนษุ ยห์ รอื ใหผ้ ู้อื่นฆ่า ทรงปรบั อาบตั ปิ าราชกิ แกผ่ ู้ล่วงละเมดิ
อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม) สมัยน้ัน อุบาสกคนหน่ึงไม่สบาย ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก 6) เกิด
พอใจในภรรยาของอุบาสกนน้ั จงึ พูดพรรณนาคณุ แห่งความตาย อุบาสกนน้ั เช่ือ ก็ตั้งหน้ารับประทานแตข่ อง
แสลงเป็นเหตุให้โรคกำเริบ และตายด้วยโรคนั้น ภรรยาของอุบาสกจึงตเิ ตียน ยกโทษภิกษุฉพั พคั คีย์เหล่าน้ัน
ความทราบถึงพระพุทธเจ้าทรงเรียกประชุมสงฆ์ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว จึงทรงตำหนิและทรงบัญญัติ
เพ่ิมเตมิ ห้ามการพรรณนาคุณของความตาย หรือชกั ชวนเพ่อื ให้ตาย ว่าผใู้ ดละเมิดต้องอาบตั ปิ าราชิกดว้ ย
อธบิ ายดังน้ี การฆา่ 6 วิธี
1. ให้ประหาร ได้แก่ ฟันแทงและตี
2. ชัดไปประหาร ไดแ้ ก่ ยงิ พุ่งและขว้าง
3. วางไว้ทำรา้ ย ได้แก่ วางขวาก ฝงั หลาว วางของหนักไวใ้ ห้ตกทบั วางยาตายและอนื่ ๆ อีก
4. ทำรา้ ยดว้ ยวชิ า เชน่ ร่ายมนต์ หรือฆ่าดว้ ยกำลังไฟฟ้าซ่ึงประกอบใหม้ ขี ึน้ ดว้ ยอำนาจความรู้
5. ทำรา้ ยด้วยฤทธ์ิ เช่น มีตาเปน็ อาวุธ เวลาโกรธถลงึ ตาแลดผู ู้อ่ืน
6. พรรณนาคณุ แห่งความตายหรือพูดชกั ชวนใหต้ าย
กำหนดวัตถแุ ห่งอาบัติ
180 ว.ิ มหา. (ไทย) 2/239 -427.
187
1.มนุษยเ์ ป็นวัตถุแห่งปาราชกิ
2.สัตว์ท่ีเรียกว่าอมนุษย์ ต่างโดยเป็นยักษ์เป็นเปรต และสัตว์ดิรัจฉานมีฤทธิ์แปลงกายเป็นมนุษยไ์ ด้
เปน็ วตั ถุแหง่ ถลุ ลัจจัย สัตวด์ ิรัจฉานทว่ั ไปมีสกิ ขาบทแผนกหน่ึง ปรับเปน็ อาบัติปาจติ ตีย์
เกณฑ์การปรบั อาบัติ
1. พยายามฆา่ มนุษย์ ทำสำเรจ็ ตอ้ งอาบัตปาราชิก
2. ทำไม่สำเร็จ เป็นแต่เพียงทำให้เจบ็ ตวั ต้องอาบตั ิถุลลจั จัย
3. ทำไม่ถงึ นัน้ ต้องอาบัตทิ ุกกฏ
4. พยายามจะฆา่ ตัวเอง ต้องทกุ กฎ
5. พยายามจะฆ่าสัตว์อื่น ต้องอาบัติตามวัตถุ/อาบัติในสิกขาบทนี้เป็นสจิตตกะ (จงใจฆ่าจึงเป็น
อาบัต)ิ ไม่เป็นอาบตั แิ กภ่ ิกษผุ ู้ไม่แกลง้
พระไตรปฎิ กและอรรถกถาแปล วินยั ปิฎก มหาวิภงั ค์ ภาค 1 เล่ม 2 (2555, หน้า 428 -646)
สิกขาบทท่ี 4 ภกิ ษุอวดอุตตริมนุสสธรรม (คือธรรมอนั ยงิ่ ของมนษุ ย)์ ทไ่ี ม่มใี นตน ตอ้ งปาราชิก181
นิทานต้นบัญญัติ เร่ิมเร่ืองเล่าว่า พระพุทธเจ้าประทับ ณ เรือนยอดในป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี
สมัยน้ันมีภิกษุหลายรูปที่ชอบพอเป็นมิตรสหายกัน จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา สมัยน้ัน เกิด
ทุพภิกขภัย ในแคว้นวัชชี (ราชธานี ชื่อกรุงเวสาลี) ภิกษุท้ังหลายลำบากด้วยเร่ืองอาหาร บิณฑบาต จึง
ปรกึ ษากันว่า จะทำอย่างไรดี
บางรูปเห็นว่าควรช่วยแนะนำกิจกรรมการงานของคฤหัสถ์ บางรูปเห็นว่าควรทำหน้าท่ีทูต (คือ นำ
ความข้างน้ีไปบอกข้างน้ัน นำความข้างนั้นมาบอกข้างน้ีคล้ายบุรุษไปรษณีย์) บางรูปเห็นว่า ควรใช้วิธี
สรรเสริญกันและกันให้คฤหัสถ์ฟังว่าภิกษุรูปนั้น รูปนี้ มีคุณวิเศษอย่างนั้น อย่างน้ี เช่นได้ ฌานท่ี 1 และ
ฌานท่ี 2 เป็นต้นจนถึงว่าได้เป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกิทาคามี เป็นพระอนาคามี เป็นพระอรหันต์มีวิชชา
3 มีอภิญญา 6 เมื่อเห็นว่าวิธีหลังนี้ดี จึงเที่ยวสรรเสริญกันและกันให้คฤหัสถ์ฟัง จึงได้รับเลี้ยงดูจากคฤหัสถุ์
ชาวรมิ ฝังแม่น้ำวัคคมุ ุทาเป็นอย่างดี มีผิวพรรณผ่องใสเอิบอ่ิม เม่ือออกพรรษาแล้ว จึงเกบ็ เสนาสนะเดินทาง
ไปเฝ้าพระผมู้ ีพระภาค ณ กรงุ เวสาลี
ปรากฏว่าภิกษุที่มาแต่ทิศทางอ่ืนล้วนซูบผอม ผิวพรรณทราม มีเส้นเอน็ ขึ้นเห็นได้ชดั ส่วนภกิ ษุท่ีมา
จากฝั่งน้ำวัคคุมุทา กลับอ่ิมเอิบ อ้วนพี พระผู้มีพระภาค จึงตรัสถามทุกข์สุข และทรงทราบเรื่องนั้น จึงตรัส
ตำหนิและตรัสเรียกประชุมภิกษุท้ังหลาย ตรัสเรื่องมหาโจร 5 ประเภท เปรียบเทียบภิกษุคือ มหาโจร 5
ประเภท
1. มหาโจรพวกหนึ่ง คิดรวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพันเป็นจะเข้าไปฆ่า ปล้นเอาไฟเผาในคามนิคมราช
ธานี ต่อมากร็ วบรวมพวกตั้งร้อยตงั้ พัน เข้าไปฆ่าปล้นเอาไฟเผาในคามนคิ มราชธานี เทยี บด้วยภกิ ษุบางรปู คิด
รวบรวมพวกต้ังร้อยตั้งพันเพื่อจะจาริกไปในคามนิคมราชธานี ให้คฤหัสถ์ และบรรพชิต สักการะ เคารพนับ
ถอื บูชา อ่อนน้อม และได้จีวรบิณฑบาต ท่ีอยู่อาศัย ตลอดจนยารักษาโรค ต่อมาก็รวบรวมพวกได้ตั้งร้อยตั้ง
พันจาริกไปในคามนิคมราชธานี มีคฤหัสถ์ บรรพชิต สักการะ เคารพนับถือ บูชา อ่อนน้อม และได้จีวร
บิณฑบาตท่ีอยู่อาศัยตลอดจนยารักษาโรค นี้เป็นมหาโจรประเภทท่ี 1 (ซึ่งมีความปรารถนาลาภสักการะแล้ว
กท็ ำอุบายต่างๆ จนได้สมประสงค์)
2. ภิกษุช่ัวบางรูป เรียนพระธรรมวินัยท่ีตถาคตประกาศแล้ว ก็โกงเอาเป็นของตนเอง (แสดงว่าตน
คิดไดเ้ อง ไม่ได้เรยี นหรอื ศึกษาจากใคร) นเ้ี ปน็ มหาโจรประเภทท่ี 2
181 ว.ิ มหา. (ไทย) 2/428 -646.
188
3. ภิกษุชั่วบางรูป ใส่ความเพื่อนพรหมจารีผู้บริสุทธ์ิ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ด้วยข้อหาว่า
ประพฤติผดิ พรหมจรรย์ อันไม่มีมลู นเ้ี ป็นมหาโจรประเภท่ี 3
4. ภิกษุช่ัวบางรูป เอาของสงฆ์ที่เป็นครุภัณฑ์ ครุบริขาร (ท่ีห้ามแจก ห้ามแบ่ง) เช่น อารามที่ตั้ง
อาราม วิหาร ท่ีต้ังวิหาร เตยี ง ต่ัง เป็นตน้ ไปสงเคราะห์ คฤหสั ถ์ ประจบคฤหัสถ์ (เพราะเหน็ แก่ลาภ) นี้เป็น
มหาโจรประเภทที่ 4
5. ภิกษุผุ้อวดคุณพิเศษ ที่มีไม่จริง ชื่อว่า เป็นยอดมหาโจรในโลกเพราะบริโภคก้อนข้าวของราษฏร
ด้วยอาการแหง่ ขโมย
ครั้นแล้วทรงตำหนิ ภิกษุชาวรมิ ฝั่งแม่น้ำวคั คุมุทาด้วยประการต่าง ๆพร้อมท้ังทรงบัญญัติสิกขาบทห้าม
อวดคุณพิเศษทไี่ ม่มีในตน เมอื่ อวดไปแล้ว แมจ้ ะออกตัวสารภาพผิดทีหลงั กต็ อ้ งอาบัตปิ าราชกิ
อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม) สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปสำคัญผิดว่าตนได้บรรลุคุณพิเศษ จึง
ประกาศตนว่าเป็นพระอรหันต์ (พยากรณอ์ รหัตตผล) สมัยตอ่ มา จติ ของเธอน้อมไปเพือ่ ราคะ โทสะ โมหะ ก็
เกิดความรังเกียจ สงสัยว่า การประกาศตนว่าได้บรรลุคุณวิเศษด้วยความสำคัญผิด จะทำให้ต้องอาบัติ
ปาราชิกหรือไม่ ความทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติเพิ่มเติม ยกเว้นให้สำหรับภิกษุผู้สำคัญผิดว่าได้
บรรลุอธบิ ายดังนี้
อตุ ตริมนสุ สธรรม 2 อยา่ ง
1. ฌาน คือ รปู ฌาน 4 ได้แก่ ปฐมฌาน ทตุ ยิ ฌาน ตติยฌาน และจตตุ ถฌาน อรปู ฌานวโิ มกข์
2. โลกตุ ตรธรรม คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 รวมเป็น9
ลกั ษณะการอวดทีเ่ ปน็ อาบัติ
ภกิ ษนุ นั้ กลา่ วอวดน้อมเขา้ มาในตนน่นั มกี ำหนด ดงั นี้
1. อวดจงั ๆ ผู้ฟงั เขา้ ใจความหมาย เป็นอาบตั ปิ าราชกิ
2. อวดไม่เจาะจง ผฟู้ ัง แมค้ นหนง่ึ เข้าใจ เป็นอาบัติปาราชกิ ถา้ ไม่เขา้ ใจเป็นอาบตั ถิ ุลลัจจยั
อวดโดยออ้ มค้อมมี 3
1. อา้ งลกั ษณะแห่งรูปพรรณ
2. อ้างบรขิ าร คอื บาตรจีวร
3. อ้างทอ่ี ยู่อาศยั
เม่อื เขาเข้าใจ เป็นอาบตั ถิ ุลลัจจัย เมอ่ื เขาไมเ่ ขา้ ใจ เปน็ อาบตั ิทุกกฎ
อาบัติในสิกขาบทน้ี เป็นสจิตตกะ (จงใจพูดอวดจึงเป็นอาบัติ) เพราะเหตุนัน้ ไมเ่ ปน็ อาบตั ิแก่ภิกษุผู้
พดู ด้วยสำคญั ว่าไดบ้ รรลุ และภกิ ษุผ้ไู ม่มีความประสงค์ในอนั ท่ีจะอวดอ้าง
สรปุ อาบตั ปิ ราชกิ
1. ภิกษุลว่ งละเมดิ ข้อใดข้อหนึง่ แลว้ ย่อมไม่ได้เพือ่ จะอย่รู ่วมกบั ภิกษทุ ้งั หลายอีก เหมอื นในกาลทยี่ ัง
ไมล่ ่วงละเมดิ เป็นปาราชกิ หาสงั วาสมไิ ด้
2. แม้จะอุปสมบทอีก ก็ไม่เป็นภกิ ษุโดยชอบดว้ ยพระวนิ ัยตลอดชาติ
3. อาบัติปาราชิกน้ี เป็นอเตกิจฉา แก้ไขไม่ได้ เป็นอนวเสส หาส่วนเหลือมิได้ เป็นมูลเฉท คือ ตัด
รากเง่า (หา้ มมรรค ผล นิพพาน แตไ่ มห่ า้ ม สวรรค์ )
อาบัติสังฆาทเิ สส ศพั ท์วา่ “สงั ฆาทเิ สส” นี้ แปลไว้ 2 นัยคือ
1. เป็นช่อื ของอาบัติ แปลว่า “ความละเมิด” มีสงฆ์ในกรรมเบ้อื งตน้ และกรรมอนั เหลือ คือสงฆเ์ ป็น
ผู้ปรบั โทษให้อยูก่ รรม และสงฆ์เองเปน็ ผ้รู ะงับอาบัติ
189
2. เป็นชือ่ ของสกิ ขาบท แปลวา่ “ปรบั อาบัติสงฆาทิเสส” มี 13 สกิ ขาบท คอื
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค 1 เล่ม 3 และภาค 2 เล่ม 1 (2555, หน้า 1 -
622) สิกขาบทที่ 1 ภิกษุแกล้งทำใหน้ ้ำอสุจิเคลอ่ื น เวน้ ไวแ้ ตฝ่ ัน ต้องสังฆาทเิ สส182
นิทานต้นบัญญัติ เร่ิมเรอ่ื งเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ของอนาถปิณฑิกฤหบดี
ใกล้กรงุ สาวัตถภี ิกษุเสยยสกะถกู พระอทุ ายี แนะนำในทางท่ผี ิด ใหใ้ ชม้ ือเปลอ้ื งความใคร่ ทำนำ้ อสุจใิ ห้เคลอื่ น
ความทราบถึงพระผ้มู พี ระภาคจงึ ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวน พระเสยยสกะรบั เป็นสัตย์ ทรงตำหนิพระ
เสยยสกะเป็นอันมาก แล้วทรงบญั ญัตสิ ิกขาบท หา้ มทำน้ำอสุจใิ หเ้ คล่ือนโดยเจตนา ถ้าล่วงละเมิดต้องอาบัติ
สงั ฆาทิเสส (อาบตั ิต้องให้สงฆ์เกย่ี วข้องในกรรมเบื้องต้นและกรรมอนั เหลือ คือสงฆ์เปน็ ผปู้ รับโทษให้อยู่กรรม
และสงฆ์เองเป็นผู้ระงบั อาบตั )ิ
อนุบัญญัติ (ข้อบัญญัติเพิ่มเติม) สมัยน้ัน ภิกษุท้ังหลายนอนหลับ น้ำอสุจิเคล่ือนดว้ ยความฝันเกิด
ความสงสยั วา่ ต้องสงั ฆาทเิ สส จึงกราบทลู พระผู้มีพระภาค พระองคต์ รัสวา่ เจตนามีอยูแ่ ตเ่ ปน็ อัพโพหารกิ (ไม่
ควรกล่าววา่ มี เหมือนอย่างเทน้ำหมดแก้วแลว้ นำ้ กย็ ังคงตดิ อย่เู ลก็ น้อย แตไ่ มค่ วรกล่าวว่าม)ี แล้วทรงบัญญตั ิ
สกิ ขาบทเพ่ิมเติมเพิม่ ขอ้ ยกเวน้ สำหรับความฝันอธิบายวา่
องคแ์ หง่ อาบัติ 2
1. ภกิ ษพุ ยายามด้วย สกุ กะ(อสจุ )ิ เคล่ือนจากฐานด้วย เปน็ องค์แห่งอาบัติสังฆาทเิ สส
2. ภิกษุคิดและพยายามแต่สุกกะหาเคลื่อนไม่เป็นองค์แห่งอาบัติถุลลัจจัยเข้าใจอย่างง่ายว่า
ประโยคแรกเป็นถุลลัจจัย เมื่อพร้อมด้วยประโยคท่ี 2 จงึ เป็นสงั ฆาทิเสส
สิกขาบทน้ี ปรารภทำเพื่อตนเอง จึงเป็นอนาณัตติกะ ใช้ให้ผู้อ่ืนทำไม่เป็นอาบัติ แต่ถ้าสั่งให้เขาทำ
ให้แกต่ น ไม่พน้ จากอาบัติและเป็นสจิตตกะ (จงใจทำจึงเป็นอาบัต)ิ
สาณัตติกะ และอนาณัตตกิ ะ
1. สาณัตติกะ ได้แก่สกิ ขาบททต่ี ้องเพราะทำเอง และใชใ้ ห้ผู้อนื่ ทำ
2. อนาณัตติกะ ได้แกส่ กิ ขาบทท่ีต้องเพราะทำเอง ไมต่ อ้ งเพราะใชใ้ ห้ผูอ้ ่ืนทำ
สกิ ขาบทที 2 ภิกษุมีความกำหนดั อยจู่ ับต้องกายหญงิ ตอ้ งสงั ฆาทเิ สส
นิทานต้นบัญญิติ เร่ิมเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย แล้วกล่าวถึง
วหิ าร (ทีอ่ ย)ู่ ของพระอุทายีวา่ งดงาม มเี ตียงตัง่ ฟูกหมอน นำ้ ดื่มนำ้ ใช้ต้งั ไวด้ ี มบี ริเวณอันกวาดสะอาด มนษุ ย์
ทั้งหลาย พากันไปชมวิหารมากด้วยกันพราหมณ์ผู้หน่ึงพาภรรยาไปขอชมวิหาร พระอุทายีก็พาชม ให้
พราหมณ์เดินหน้าภรรยาตามหลัง พระอุทายีเดินตามหลังภรรยาของพราหมณ์นั้นอีกต่อหน่ึง เลยถือโอกาส
จับต้องอวัยวะน้อยใหญ่ของนาง นางบอกแก่สามี สามีโกรธติเตียนเป็นอันมาก ความทราบถึงพระผู้มีพระ
ภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ ทรงตำหนิเป็นอันมากแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ห้ามภิกษุมีจิตกำหนัดจับต้องกายหญิง ไม่ว่าจะเป็นการจับมือ จับช้องผม หรือลูบคลำอวัยวะใดๆทรงปรับ
อาบัติสังฆาทิเสสแต่ผู้ล่วงละเมิดอธิบายได้ว่า คำว่า “หญิง” ในสิกขาบทนี้ หมายเอาหญิงมนุษย์ โดยที่สุด
เกิดในวันนั้นและกิริยาจับต้องเคล้าคลึงนั้นหมายถึงอาการท่ีกำหนัดในเมถุนแล้วเคล้าคลึงหรือพยายามจับ
ตอ้ งอวยั วะของหญงิ
182 วิ.มหา. (ไทย) 3/1 -622.
190
วตั ถุแห่งอาบตั ิ 3
1. หญงิ เปน็ วตั ถุแห่งสังฆาทิเสส
2. บณั เฑาะก็คอื กระเทย เป็นวัตถุแหง่ ถลุ ลจั จัย
3. บุรุษและสตั วด์ ริ ัจฉานผู้เมยี เป็นวตั ถุแห่งทกุ กฏ
กริ ยิ าท่ถี ูกต้อง/องคแ์ ห่งสังฆาทิเสส
1. สำคัญถูกและตอ้ ง 2. กายต่อกายถกู กันเข้า
องค์แหง่ ถุลลจั จยั 2. กายตอ่ กายถูกกนั เข้า
1. สำคัญเปน็ อยา่ งอน่ื และจับตอ้ ง
อีกอย่างหนึง่ 2. กายและของเนอ่ื งด้วยกายถกู กนั
1. สำคญั ถกู และจับต้อง
องคแ์ ห่งทุกกฏ 2. ของเน่ืองด้วยกายกบั ของเนอื่ งด้วยกายถกู กนั
1. สำคัญถูกและถกู ต้อง
อกี อยา่ งหนงึ่
1. สำคัญเปน็ อยา่ งอื่นและถูกต้อง 2.กายและของเนือ่ งด้วยกายถูกกัน
สกิ ขาบทนี้เป็นสจิตตกะ (จงใจจับตอั งจงึ เปน็ อาบัติ) ไม่เปน็ อาบตั ิแก่ภกิ ษุผู้ไม่แกล้งจะถกู ต้อง
สิกขาบทท่ี 3 ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ พูดเกยี้ วหญิง ต้องสังฆาทเิ สส
นิทานต้นบัญญัติ เร่ิมเร่ืองเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย แล้วเล่าเร่ืองสตรี
หลายคนพากันไปชมวิหาร (ทอี่ ย่)ู ของพระอุทายี ซึ่งเล่ืองลือกันว่างดงามพระอุทายี ก็ถอื โอกาสน้ันพูดจากพาดพิง
ถึงทวารหนัก ทวารเบาของหญิงเหล่านนั้ หญิงบางคนท่ีเป็นคนคะนองไม่มคี วามอาย กย็ ิ้มแย้ม ซี้ซิก คิกคัก พูดล้อ
กบั พระอุทายี ส่วนหญิงที่มีความละอาย ก็ว่ากล่าวติเตียน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาคจึงทรงเรียกประชุมสงฆ์
ไต่สวนได้ความเป็นสัตย์ก็ทรงตำหนิแล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุมีจิตกำหนัดพูดเกี้ยวหญิง ด้วยวาจาชั่ว
หยาบพาดพงิ เมถนุ ทำนองชายหนุ่มพูดเก้ียวหญิงสาว ทรงปรบั อาบตั สิ งั ฆาทิเสสแก่ผูล้ ว่ งละเมิด
อธิบาย คำวา่ “หญงิ ” ในสิกขาบทน้ี หมายเอาหญงิ มนุษยเ์ ฉพาะทร่ี เู้ ดยี งสา (รู้ผิดรู้ชอบ)
วัตถุแห่งอาบัติ
1. หญงิ เปน็ วตั ถแุ ห่งสงั ฆาทิเสส
2. บณั เฑาะก์ (กระเทย) เป็นวตั ถุแห่งถุลลจั จยั
3. บรุ ษุ เปน็ วตั ถุแหง่ ทุกกฎ
เขตแห่งอาบตั ิ
1. ในหญิง ทวารเบา ทวารหนัก และเมถุน เป็นเขตแห่งสังฆาทิเสสอวัยวะอ่ืนเหนือหัวเข่าขึ้นไป ใต้ราก
ขวัญ (ไหปลาร้า) ลงมา ในศอกเขา้ ไป เป็นเขตแห่งถุลลัจจัย อวัยวะพ้นจากนน้ั เป็นเขตแห่งทกุ กฎ
2. ในบัณเฑาะก์(กระเทย)ทวารและเมถุนเปน็ วัตถุแห่งถุลลจั จยั อวยั วะท้ังปวงเป็นวตั ถุแหง่ กฏ
3. ในบรุ ุษทกุ สิ่งเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ
สิกขาบทนี้เป็นสจิตตกะ (จงใจพูดเก้ียวจึงเป็นอาบัติ) ไม่เป็นอาบัติแต่ภิกษุผู้มุ่งอรรถมุ่งธรรมหรือมุ่งคำ
สอน พูดวาจาเช่นน้นั
สิกขาบทท่ี 4 ภิกษุมคี วามกำหนัดอยู่ พูดลอ่ หญิงให้หญงิ บำเรอตนดว้ ยกาม ต้องสงั ฆาทิเสส
191
นิทานตน้ บัญญัติ เร่มิ เร่อื งเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามเช่นเคย แล้วเล่าถึงหญิงหม้าย
คนหนงึ่ ผู้มีรปู ร่างงดงาม พระอุทายีเข้าไปส่สู กลุ นน้ั สัง่ สอนจนเกิดความเลือ่ มใส แล้วเธอปวารณาท่ีจะถวายผ้านุ่ง
ห่ม อาหาร ที่นอนที่น่ังและยารักษาโรค แต่พระอุทายีกลับพูดล่อหรอื ชักชวนหญิงน้ันให้บำเรอตนด้วยกาม ถือว่า
เป็นส่ิงท่ีหาไดย้ าก นางหลงเชื่อแสดงอาการยินยอม พระอุทายีถ่มน้ำลายแสดงอาการรงั เกียจ นางจงึ ติเตียนพระอุ
ทายี ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรยี กประชมุ สงฆ์ไตส่ วนตำหนิแล้ว ทรงบญั ญัติสิกขาบทห้ามภกิ ษุมีจิต
กำหนัดพดู ล่อหญงิ ให้บำเรอตนดว้ ยกาม ทรงปรบั อาบัติสังฆาทิเสสแก่ผู้ลว่ งละเมดิ
อธิบายดังนี้ ความหมายของสกิ ขาบทน้ี เพ่งถึงการพดู ชวน ซ่งึ ต่างจากสิกขาบทก่อนอนั หมายถงึ การ
พูดเคาะ (พดู เย้าแหย่ พดู เกยี้ วพาราสี)
สิกขาบทท่ี 5 ภิกษชุ ักส่อื ใหช้ ายหญงิ เปน็ ผวั เมยี กัน ตอ้ งสงั ฆาทิเสส
นทิ านต้นบัญญัติ เรม่ิ เรอ่ื งเลา่ วา่ พระผมู้ ีพระภาคประทบั ณ เชตวนารามเช่นเคย สมัยนนั้ พระอทุ า
ยี เมื่อเห็นเด็กชายที่ยังไม่มีภรรยา เด็กหญิงที่ยังไม่มีสามี ก็เท่ียวพูดสรรเสริญเด็กหญิง ในสำนักมารดาบิดา
ของเด็กชาย เขาก็วานให้พระอุทายีไปสู่ขอเด็กหญิงน้ัน พระอุทายีไปเท่ียวสรรเสริญเด็กชายในสำนักมารดา
เด็กหญิงเขาก็วานให้พระอุทายีไปพูดให้ฝ่ายชายมาขอบุตรีของตน โดยนัยนี้ พระอุทายีก็ทำให้เกิดการ
อาวาหะ ววิ าหะ และการสู่ขอหลายราย
สมัยนั้น ธิดาของหญิงผู้เคยเป็นโสเภณีคนหน่ึงมีรูปงาม น่าดู น่าชมเป็นสาวกของอาชีวก (นักบวช
จำพวกหนึ่งในสมัยนั้น) ซึ่งอยู่ต่างตำบล จึงมาขอธิดาน้ัน แต่มารดาของนางอ้างว่า นางไม่รู้จักทั้งมีลูกคนเดียว
ลูกจะต้องไปสู่ตำบลบ้านอ่ืนจึงไม่ยอมยกให้ สาวกของอาชีวกจึงไปหาพระอุทายี ขอให้ช่วยสู่ขอและรับรองให้
พระอุทายีก็ไปพูดกับหญิงนั้น นางเชื่อว่าพระอุทายีรู้จักจึงยอมยกให้ สาวกของอาชีวกรับเด็กหญิงน้ันไปเลี้ยงดู
อย่างลูกสะใภไ้ ดเ้ ดือนเดียว ตอ่ มาก็เลีย้ งดอู ย่างนางทาสี (คนรับใช)้
เด็กหญิงจึงส่งข่าวไปแจ้งให้มารดาทราบว่าตนได้รับความลำบาก อยู่อย่างทาสี ขอให้มารดา มารับ
กลับไป มารดาจึงไปต่อว่าสาวกอาชีวก แต่กลับถูกรุกรานอ้างว่าการนำมานำไปไม่เกี่ยวกับนางแต่เก่ียวกับ
พระอุทายี จงึ ไม่รบั รเู้ รื่องนนี้ างจึงตอ้ งกลบั สกู่ รุงสาวัตถี
เด็กหญิงน้ัน ส่งทูตไปแจ้งข่าวแกม่ ารดา เป็นครั้งท่ี 2 เล่าถึงความลำบากยากแค้นที่ได้รับในการท่ีมี
ความเป็นอยู่แบบทาสี ขอให้มารดานำตัวกลับ มารดาจึงไปหาพระอุทายีให้ช่วยไปเจรจากับสาวกอาชีวกให้
พระอุทายีก็ไปเจรจา แต่ก็ถูกรุกรานกลับมา โดยอา้ งวา่ พระอทุ ายีไม่เกี่ยว การนำมานำไป เป็นเร่ืองระหว่าง
ตนกบั มารดาของเดก็ หญิง เปน็ สมณะควรขวนขวายน้อย ควรเปน็ สมณะท่ีดพี ระอทุ ายีจงึ ต้องกลบั
เด็กหญงิ นน้ั ส่งทตู ไปแจ้งขา่ วเช่นเดิมแก่มารดาอีกเป็นคร้ังท่ี 3 ขอให้นำตัวกลบั มารดาจงึ ไปหาพระ
อุทายี พระอุทายีก็บอกว่าไปแล้ว และถูกรุกรานไม่ยอมไปอีก มารดาของเด็กหญิงนั้น และหญิงอ่ืนๆ ท่ีไม่
พอใจแม่ผัว พ่อผัว หรือสามี ก็พากันติเตือนสาปแช่งพระอุทายี ส่วนหญ่ิงท่ีพอใจ แม่ผัว พ่อผัว หรือสามี ก็
สรรเสรญิ ใหพ้ รพระอุทายี อธิบายดงั นี้
หญิง 2 ประเภท 1) หญิงอยู่ในปกครองของมารดาบิดาเป็นต้น 2) หญิงต้องห้าม เช่นหญิงอยู่ใน
ปกครองของสกลุ ภิกษุรับเปน็ เถ้าแก่หรือชักสอื่ ให้เขาได้กนั เปน็ อันลว่ งสิกขาบท
องคแ์ หง่ การชักสอื่ 1) รับคำของผู้วาน 2) บอกแก่อีกฝ่ายหน่งึ 3) กลับมาบอกผวู้ าน
แต่การชักสื่อย่อมสำเร็จด้วยองค์ 2 ก็มี เช่นช่วยวานภิกษุให้บอกนัดหญิงแพศยา (หญิงโสเภณี) ถ้า
หญงิ นน้ั รับคำแม้ไมก่ ลับมาบอก ความปรารถนาก็คงสำเร็จ
องคแ์ หง่ อาบตั ิ
1. ถ้าเขาวาน รบั คำ เปน็ ถลุ ลจั จยั
2. บอกแกอ่ กี ฝ่ายหนึ่ง เปน็ สงั ฆาทิเสส
192
3. ถ้าจัดการเอง บอกแกฝ่ า่ ยแรกเป็นถลุ ลจั จัย
4. บอกแกฝ่ า่ ยมี 2 เปน็ สงั ฆาทิเสส
5. ผ้วู านเป็นเจ้าตัวชายหรือหญิงเองก็ตาม เปน็ มารดาบิดาหรอื ผู้ใหญ่อื่นของเขากต็ าม ภกิ ษรุ บั แล้ว
บอกแก่อีกฝา่ ยหนึ่ง เป็นเจ้าตัวก็ตาม เป็นผู้ใหญ่ของเขากต็ าม คงต้องสงั ฆาทิเสส
6. ไม่ทำเอง ส่ังใหผ้ อู้ ่ืนทำแทนอกี ตอ่ หนึ่ง ก็เหมือนกนั
7. เขาวานภกิ ษหุ ลายรปู พวกเธอรับเขาแลว้ บอกแม้แต่รปู เดียว ต้องสงั ฆาทเิ สสดว้ ยกนั ทง้ั น้ัน
8. ภกิ ษแุ ม้ไม่รู้ ชักโยงสามภี รรยาผูห้ ยา่ กนั แลว้ ให้กลับคนื ดีกนั ใหมท่ ่านวา่ ไม่พน้ อาบตั ิ
อาบัตใิ นสกิ ขาบทน้ี จงึ จัดว่าเปน็ อจติ ตกะ จึงจัดวา่ เปน็ อจติ ตกะ (ไม่มีเจตนาแต่ทำไปกเ็ ปน็ อาบตั ิ)
สิกขาบทท่ี 6 ภิกษุสร้างกุฏีที่ต้องก่อและโบกด้วยปูนหรือดิน ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของจำเพาะเป็นที่
อยู่ของตน ต้องทำให้ได้ประมาณคือยาว 12 คืบพระสุคต กว้าง 7 คืบพระสุคต วัดในร่วมใน และตอ้ งให้สงฆ์
แสดงที่ใหก้ ่อน มิฉะนนั้ ตอ้ งสงั ฆาทิเสส
นิทานต้นบัญญัติ เร่ิมเรือ่ งเลา่ ว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬวุ นาราม ใกล้กรุงราชคฤห์คร้งั นั้น
ภกิ ษุชาวแควน้ อาฬวีให้กอ่ กุฏี ท่ีไม่มเี จ้าของ (ในท่ีซึ่งไม่มีใครจบั จอง) เปน็ ของจำเพาะตน (เพอ่ื ประโยชน์ของ
ตนเอง) เป็นกุฏีไมม่ ีประมาณ (ไมก่ ำหนดเขตแน่นอน) ด้วยการขอเอาเอง (คอื ขอของใช้รวมท้ังขอแรง) กฎุ ียัง
ไม่เสร็จ พวกเธอก็มากไปด้วยการขอ เช่น ขอคน ขอแรงงาน ขอโค ขอเกวยี น ขอพร้า ขอขวาน เป็นต้น ก่อ
ความเดือดร้อนแก่มนุษย์เป็นอันมาก ถึงกับเห็นภิกษุทั้งหลายเข้า ก็พากันหวาดกลัวบ้าง สะดุ้งกลัวบ้าง หนี
บ้างไปทางอ่ืนบา้ ง หันหนา้ หนีไปทางอ่นื บ้าง ปดิ ประตบู า้ งเหน็ โค สำคัญวา่ เปน็ ภิกษุ กพ็ ากนั หนีบา้ ง
ท่านพระมหากสั สปะจารกิ ไปสู่แคว้นอาฬวี พักทีอ่ คั คาฬวเจดยี ์ไปบิณฑบาตก็พบมนุษยท์ ั้งหลายพา
กันหวาดสะดุ้ง หลบหนี เม่ือกลับมาถามภิกษุท้ังหลายทราบความแล้ว พอพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปสู่เมือง
อาฬวี ก็กราบทูลให้ทรงทราบจึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ตรัสเทศนาส่ังสอนไม่ให้เป็นผู้มักขอ ทรงเล่านิทาน
ประกอบถึง 3 เรื่อง แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุจะให้ก่อกุฏีท่ีไม่มเี จ้าของเป็นที่อยู่จำเพาะตนด้วยการ
ขอ (ส่ิงต่างๆ) เอาเองถงึ ทำให้ได้ประมาณ คือ ยาวไม่เกิน 12 คืบ กวา้ งไม่เกิน 7 คืบ ท้ังต้องให้ภิกษทุ ้ังหลาย
แสดงทีใ่ หก้ ่อน ภกิ ษุท้งั หลายพึงแสดงทซี่ ึ่งไม่มีใครจองไว้ ทม่ี ชี านรอบ ถ้าภิกษุใหก้ ่อกุฏดี ว้ ยการขอ(สิ่งตา่ ง ๆ)
เอาเอง ในท่ีซ่ึงมีผู้จองไว้ ไม่มีชานรอบ ไม่ให้ภิกษุทั้งหลายแสดงท่ีให้ก่อนก็ดี ทำให้เกินประมาณก็ดี ต้อง
อาบตั ิสังฆาทิเสส อธิบายว่า
กุฎี (ที่อย่อู าศัยของพระสงฆ์) ความสำคญั เนอื่ งด้วยกฏุ ี มีอยู่แต่เพียงทำอยา่ ให้ลว่ งประมาณเท่าน้ัน
หา้ มไว้เพื่อจำกัดการขอให้จบลง
การแสดงท่ี กริ ิยาท่ีขอให้สงฆ์แสดงท่ใี ห้น่ัน กค็ ือทำการจับจองให้มีพยานเป็นหลักฐานและเว้นชาน
ไว้รอบเปน็ เขตตามธรรมเนยี มบ้านเมือง
ประมาณแห่งกุฏี ประมาณแห่งกุฏีนนั้ ยาวเพียง 12 คืบพระสคุ ต โดยกว้างเพียง 7 คบื พระสุคต วัด
ในร่วมใน (คือวัดจากด้านในฝากกฎุ จี ากด้านหนึง่ ไปหาอีกด้านหน่งึ )
องค์แหง่ อาบตั ิ
1. ภิกษุขอให้สงฆ์แสดงท่ีให้แล้ว แต่กลับไปทำในท่ีอื่น หรือทำกุฏีให้ล่วงประมาณ แต่ละอย่าง ๆ
เป็นประโยคแห่งสังฆาทเิ สส ทำอย่างเดียว ตอ้ งอาบตั ติ วั เดียว ทำ 2 อย่าง ต้องอาบตั ิ 2 ตวั
2. อาบตั ใิ นบพุ ประโยค (การกระทำทีแรก) เป็นทกุ กฎ ทุกประโยคที่ทำ
3. จนถึงอีกประโยคหนึ่งจะสำเรจ็ เปน็ ถุลลัจจัย
4. ทำสำเรจ็ ตอ้ งสงั ฆาทิเสส
อาการลว่ งอาบตั ิ อาบตั ใิ นสิกขาบทนี้ควรจะสังเกต ดังน้ี
1. ตอ้ งเพราะไม่ทำกม็ ี คอื ไมข่ อใหส้ งฆ์แสดงท่ใี หก้ อ่ น
193
2. ต้องเพราะทำก็มี คอื ทำในท่อี ่นื จากทอ่ี นั สงฆแ์ สดงให้ หรือทำใหล้ ว่ งประมาณ
3. ต้องเพราะไม่ทำด้วย ต้องเพราะทำด้วยกม็ ี คือไมข่ อใหส้ งฆแ์ สดงท่ใี ห้และทำใหล้ ว่ งประมาณ
สิกขาบทที่ 7 ถ้าท่ีอยู่ซึ่งจะสร้างข้ึนน้ัน มีทายกเป็นเจ้าของ ทำให้เกินประมาณนั้นได้แต่ต้องให้
สงฆแ์ สดงทีใ่ ห้ก่อน มิฉะนั้น ต้องสงั ฆาทเิ สส
นิทานต้นบัญญัติ เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาค ประทับ ณ. โฆสิตาราม กรุงโกสัมพีคร้ังนั้น คฤหบดี
ผเู้ ป็นอปุ ัฏฐาก (บำรุง) พระฉนั นะ ขอใหพ้ ระฉันนะแสดงทีใ่ ห้ตนจะสรา้ งวิหารถวาย พระฉันนะให้ปรบั พนื้ ที่ ให้ตัด
ต้นไม้ที่ชาวบ้านนับถอื ว่าศักด์สิ ิทธิเ์ ป็นการก่อความสะเทือนใจ มนุษย์ทั้งหลายจึงพากันติเตียนความทราบถึงพระ
ผู้มีพระภาคจึงทรงตำหนิ และทรงบัญญัติสิกขาบทว่าภิกษุจะให้ทำวิหารใหญ่อันมีเจ้าของ เฉพาะตนเอง พึงนำ
ภกิ ษุท้ังหลายไปเพ่ือแสดงที่ ภิกษเุ หล่าน้ัน พึงแสดงท่ีอันไม่มีผู้จองไว้ อันมีชานรอบ หากภกิ ษุให้ทำวิหารใหญ่ในท่ี
มผี ู้จองไว้หาชานรอบมิได้ หรอื ไมน่ ำภกิ ษุทั้งหลายไปแสดงท่ตี ้องอาบตั สิ งั ฆาทเิ สส
ต่อจากน้ัน เป็นคำอธิบายตัวสิกขาบท โดยละเอียด ส่วนลักษณะการไม่ต้องอาบัติ คงเป็น
เช่นเดียวกับสิกขาบทท่ี 6 อธบิ ายดงั นี้
ความแปลกของสิกขาบทน้ี กเ็ พียงมีทายก (ผู้ให้) เป็นเจ้าของ ไม่ต้องมีจำกัดประมาณ เพราะไม่ตอ้ ง
รบกวนขอตอ่ คนมาก
สิกขาบทที่ 8 ภิกษุโกรธเคอื ง แกล้งโจทภกิ ษอุ ืน่ ด้วยอาบตั ปิ าราชิกไม่มีมลู ต้องสงั ฆาทิเสส
นิทานต้นบญั ญัติ เร่ิมเรื่องเล่าว่า พระผู้มพี ระภาคประทับ ณ เวฬวุ นาราม ใกล้กรงุ ราชคฤห์สมัยน้ัน พระ
ทัพพมัลลบุตร (ผู้เป็นบุตรแห่งมัลลกษัตริย์) ไดบ้ รรลุพระอรหันตตผลตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ไม่มกี ิจอน่ื ที่จะต้องทำอีก
ต่อมาท่านปรารถนาจะทำประโยชน์แก่คณะสงฆ์ โดยเป็นผู้จัดเสนาสนะ(เสนาสนคาหาปกะมีหน้าที่จัดท่ีพักให้
พระท่ีเดินทางมา) เป็นผู้แจกภัต (ภัตตุเทสกะ มีหน้าท่ีจัดภิกษุไปฉนั ในท่ีนมิ นต์ในเมื่อทายกมาขอพระตอ่ สงฆ์) จึง
กราบทูลความดำรขิ องท่านแด่พระผู้มีพระภาคพระผู้มีพระภาคประทานสาธกุ าร และทรงแสดงความเห็นชอบดว้ ย
ที่จะใหท้ า่ นพระทัพพมลั ลบตุ รทำหนา้ ทที่ งั้ สองนนั้
พระทัพพมัลลบุตร ทำหน้าท่ีมาด้วยดี ครั้งหน่ึงถูกภิกษุพวกพระเมตตริยะและภุมมชกะ (สองรูปน้ี
เปน็ หัวหน้าของกลุม่ ภกิ ษุผู้มกั ก่อเรื่องเสียหาย) เข้าใจผิดหาวา่ ท่านไปแนะนำคฤหบดผี หู้ นง่ึ มิให้ถวายอาหาร
ดี ๆ แกพ่ วกตน ซ่ึงความจริงคฤหบดีผนู้ ้ัน ไม่เลือ่ มใส และรังเกียจภิกษุเหล่านนั้ เอง จึงใช้นางเมตตยิ าภิกษุณี
ใหเ้ ป็นโจทก์ฟ้องพระทพั พมัลลบตุ ร ในขอ้ หาต้องอาบตั ปิ าราชิกเพราะข่มขนื นาง
พระพุทธเจ้า ทรงประชุมสงฆ์ไต่สวน ได้ความว่าเป็นการแกล้งใส่ความกลับทรงเรียกประชุมสงฆ์
ตำหนิหมู่ภิกษุผู้คิดร้ายใส่ความฟ้องพระทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท
ปรบั อาบตั สิ งั ฆาทิเสส แกภ่ กิ ษผุ ูป้ ระพฤติเช่นนั้นอธบิ ายดงั น้ี
มูลแห่งการโจท การทำคืนอาบัติ (ปลงอาบัติ) พระศาสดาตรัสสั่งให้เป็นหน้าท่ีของภิกษุผู้ต้อง จะ
ทำเองก่อน ถ้าไม่ทำจึงเป็นหน้าท่ีของภิกษุอื่นผู้เห็นแก่พระศาสนา พุทธานุญาตท่ีให้โจทภิกษุผู้ยังดื้นด้านนี้
เป็นเหตุใหภ้ กิ ษโุ จทภกิ ษผุ อู้ ่นื ท่ตี นเกลยี ดชัง ตามสิกขาบทนี้ได้
อนุวาทาธิกรณ์ การโจทด้วยอาบตั ิ อันเป็นอธิกรณใ์ นที่น้ี ได้แกอ่ นุวาทาธิกรณ์ คือ ฟ้องกล่าวหากัน
ด้วยเรื่องละเมิดสกิ ขาบทต้องอาบัติ
อธกิ รณ์อันไม่มมี ลู อธิกรณอ์ ันจดั วา่ ไมม่ มี ลู เพราะประกอบดว้ ยอาการ 3 คอื
1. เวน้ จากไดเ้ ห็น 2. เว้นจากได้ฟงั 3. เวน้ จากไดร้ งั เกียจ
อธิกรณ์อนั มีมูล อธิกรณ์อนั จัดว่าไม่มมี ูลเพราะประกอบด้วยอาการ 3 คือ
1. ได้เหน็ เอง 2. เรอ่ื งที่มีผ้บู อก และเชอ่ื โดยเห็นว่ามหี ลกั ฐาน 3. เว้นจากอาการ 2 อยา่ งนัน้ แต่
กริ ิยาของเธอแสดงพริ ุธให้เกิดรังเกยี จ
ลักษณะการโจท 4
194
1. เล่าถึงเรื่องที่ทำ 2. ระบุอาบัติ 3. ด้วยการห้ามสังวาส (อยู่ร่วมกันในธรรมวินัย) 4.ด้วยการห้าม
สามีจิกรรม (การแสดงความเคารพ) หมายเหตุ 4 ขอ้ เหล่านี้ ชัดพอจะเข้าใจต้องอาบตั ปิ าราชกิ
อาการตอ้ งอาบัติ
1. อธิกรณไ์ มม่ ีมลู ภกิ ษโุ จทเองกด็ ี สง่ั ให้โจทก็ดี ดว้ ยอาบตั ิปาราชิก ต้องสังฆาทเิ สส
2. ภิกษผุ ู้ว่าต่าง (วา่ ความเป็นทนายแทนโจทก)์ โจทตามประสงค์ของผู้สัง่ กต็ ้องสังฆาทิเสสเหมือนกนั
3. อธิกรณ์มีมูลอันเบา โจททำให้ม่ันเขา้ เปน็ สงั ฆาทเิ สส
4. อธิกรณ์มมี ูล เช่น ได้เหน็ จรงิ แต่คับคล้ายคับคลา สันนษิ ฐานลงไม่ถนัดโจททำให้ม่ันเข้าว่าได้เห็น
โดยถนดั เปน็ สงั ฆาทิเสส
5. จำเลยเป็นผ้ไู ม่บริสุทธ์ิ คอื ต้องปาราชิกแลว้ แต่โจทก์สำคัญว่าเปน็ ผู้บริสุทธ์ิ และโจทดว้ ยอธิกรณ์
ไมม่ ีมลู ต้องสงั ฆาทเิ สสเหมือนกัน
อาการที่ไม่เป็นอาบัติ จำเป็นผู้บริสุทธห์ิ รอื ไม่บริสทุ ธ์ิ แต่เข้าใจวา่ เป็นผู้ไมบ่ รสิ ุทธ์ิ โจทตรงตามอาการที่
ได้เห็น ได้ฟงั หรอื รังเกยี จ แมอ้ ธกิ รณน์ ้ันไมเ่ ป็นจริง เชน่ โจทตามท่ีไดร้ บั จา้ งความเท็จ ไมต่ ้องอาบตั ิ
สิกขาบทที่ 9 ภิกษุโกรธเคืองแกล้งหาเลส (อาการท่ีพอจะยกขึ้นอ้างเพ่ือใส่ความโจทภิกษุอื่น
ดว้ ยอาบัตปิ าราชิก ต้องสงั ฆาทเิ สส)
นิทานต้นบัญญัติ เล่าถึงเรื่อง ภิกษุพวกพระเมตติยะและภุมมชกะชุดเดิม แกล้งหาเลสโจทพระทัพ
พมัลลบุตร ด้วยอาบัตปิ าราชิกไมม่ ีมูล คือเห็นแพะตัวผู้เป็นสัดกับแพะตัวเมียก็นัดกันต้ังช่อื แพะตัวผู้ว่า พระ
ทัพพมลั ลบุตรต้งั ชือ่ แพะตัวเมยี ว่าเมตตยิ าภิกษุณแี ลว้ เท่ยี วพูดว่าตนไดเ้ ห็น พระทัพพมัลลบุตรได้เสียกบั นาง
เมตติยาภกิ ษุณี ด้วยตาตนเองอธบิ ายได้ว่า
คำวา่ เลส กำหนดคำว่าเลสดว้ ยอาการ ดังน้ี
1. ถือเอาสัณฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีรูปร่างสูงต่ำ หรือได้เห็นคนมีผิวขาวหรือคล้ำคล้ายหรือ
เหมือนจำเลย จึงอา้ งมาเปน็ เหตโุ จท ด้วยได้เหน็ และสงสยั
2. ถือเอาช่ือเหมือนกัน เช่น เจ้าของเร่ืองมีช่ือเหมือนกันเข้า ได้ฟังคำบอกเล่าว่า คนช่ือเดียวกับ
จำเลยทำอยา่ งน้ัน ๆ เก็บมาอ้างเป็นเหตหุ าความโจทจำเลย ดว้ ยไดฟ้ งั และสงสัย
3. ถือเอาเลสแห่งอธกิ รณ์เปน็ เรื่องของจำเลย เชน่ รู้วา่ จำเลยประพฤติลว่ งสิกขาบทบางข้อแต่ไม่ถึง
ปาราชกิ แตโ่ จทให้แรงถึงปาราชกิ ยอ่ มไม่พ้นจากอาบัติ
อธกิ รณ์ที่เลส 1. เป็นเรอื่ งของผูอ้ นื่ 2. เปน็ เรื่องของจำเลยเอง
สิกขาบทท่ี 10 ภิกษุพากเพียรเพ่ือจะทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ภิกษุอ่ืนห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรม
เพ่ือจะให้ละขอ้ ที่ประพฤตินนั้ ถ้าไม่ละ ต้องสงั ฆาทเิ สส
นิทานต้นบัญญัติ เรม่ิ เรื่องเล่าวา่ พระผมู้ ีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนารามเช่นเคย แล้วเล่าเร่ืองพระ
เทวทัต เขา้ ไปหาพระโกกาลกิ ะ , พระกฏโมรกติสสกะ , พระที่เป็นบตุ รของนางปัณฑเทวี และพระสมุทรทัต
ชักชวนให้ทำสงฆ์ให้แตกกัน พร้อมทั้งบอกแผนการที่จะเสนอไปในทางให้เคร่งครัดย่ิงขึ้น 5 ข้อ ซึ่งเข้าใจว่า
พระผมู้ ีพระภาค คงไม่ทรงอนญุ าต และตนจะได้นำขอ้ เสนอน้ัน ประกาศแก่มหาชน ขอ้ เสนอ 5 ข้อ คอื
1. ภกิ ษพุ งึ อยูป่ ่าตลอดชีวติ ถ้าเข้าละแวกบ้านต้องมโี ทษ
2. ภิกษพุ งึ ถอื เท่ยี วบณิ ฑบาตเปน็ วตั รตลอดชวี ติ ผใู้ ดรับนิมนต์ (ไปฉันตามบ้าน) ต้องมโี ทษ
3. ภกิ ษุพึงใช้ผา้ บังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น คือ ผ้าหรือเศษผา้ ท่ีเขาทิ้งตามกองขยะบ้าง ตามท่ีต่าง ๆ บ้าง
นำมาชกั และปะติดปะต่อเปน็ จวี ร) จนตลอดชวี ิตผู้ใดรับคฤหบดจี วี ร (ผ้าท่เี ขาถวาย) ตอ้ งมีโทษ
195
4. ภกิ ษุพึงอยโู่ คนไม้จนตลอดชีวติ ผใู้ ดเข้าสทู่ ่มี ุง (ท่ีมหี ลังคา) ต้องมโี ทษ
5. ภกิ ษไุ มพ่ งึ ฉันเนื้อสตั ว์ ผใู้ ดฉันตอ้ งมีโทษ
ภิกษุเหล่าน้ันเห็นมีทางชนะก็ร่วมดว้ ย พระเทวทัตจงึ เขา้ ไปเฝา้ พระผู้มพี ระภาค กราบทลู ข้อเสนอท้ัง
5 ข้อนั้น พระผู้มีพระภาคตรสั ว่า “ดูกอ่ นเทวทัต ! ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ป่า ก็จงอยู่ป่า , ผู้ใดปรารถนาจะอยู่
ในละแวกบ้าน, ผู้ใดปรารถนาจะเที่ยวบิณฑบาต ก็จงเท่ียวบิณฑบาต , ผู้ใดปรารถนาจะรับนิมนต์ ก็จงรับ
นมิ นต์ผู้ใดปรารถนาจะใช้ผ้าบังสุกุล กจ็ งใชผ้ ้าบงั สกุ ุล , ผู้ใดปรารถนาจะรบั คฤหบดีจีวร (ผ้าท่ีเขาถวาย) กจ็ ง
รบั คฤหบดจี วี ร , เราอนุญาตทีน่ อนทนี่ ั่ง ณ โคนไม้ เพยี ง 8 เดอื น (ท่มี ิใชฤ่ ดฝู น) เราอนุญาตเนอื้ สัตวท์ ่บี รสิ ุทธิ์
โดยส่วน 3 คือ ไม่ไดเ้ หน็ ไมไ่ ด้ยิน ไมไ่ ด้รงั เกยี จ (วา่ เขาฆา่ เพ่ือเจาะจงจะให้ภกิ ษบุ รโิ ภค)”
พระเทวทตั ดีใจ จึงเที่ยวประกาศให้เห็นว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตข้อเสนอทีด่ ีของตน ทำให้
คนทีม่ ปี ัญญาทรามบางคนเหน็ วา่ พระสมณะโคดมเปน็ ผูม้ ักมาก แต่คนที่เขา้ ใจเรื่องดี กลับติเตียนพระเทวทตั
ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรยี กประชมุ สงฆ์ ทรงไต่สวนพระเทวทัตรบั เปน็ สัตย์ แลว้ จึงทรงตำหนิ
และบัญญัตสิ ิกขาบท ห้ามภกิ ษุพากเพียรทำสงฆใ์ ห้แตกกัน เม่อื ภิกษุอ่ืนห้ามปรามไมเ่ ช่ือฟัง ภกิ ษทุ งั้ หลายพึง
สวดประกาศ (เป็นการสงฆ์) เพื่อให้เธอเลิกเร่ืองน่ันเสีย ถ้าสวดประกาศครบ 3 ครั้ง ยังไม่ละเลิกต้องอาบัติ
สงั ฆาทิเสสอธบิ ายดังนี้
สงฆ์ หมายเอาภิกษุท้ังหมู่ท่ีอยู่พร้อมเพรียงกัน คือมีสังวาส (ธรรมวินัยสำหรับอยู่ร่วมกัน)เสมอกัน
อยู่ในสีมา (เขตชุมนุมของสงฆ)์ เดยี วกัน (ทฏิ ฐสิ ามัญญตา สลี สามญั ญตา)
พากเพียร คำว่าพากเพียรเพ่ือจะทำลายสงฆ์นั้น คือ ขวนขวายเพ่ือจะให้แตกเป็นก๊กจนถึงมีสังวาส
ต่างกัน คือไมร่ ว่ มอโุ บสถ์สังฆกรรมด้วยกนั
อธิกรณ์ อธกิ รณเ์ ป็นเหตุแตกกันน้นั คอื เถยี งกันว่า น่ันธรรม นน่ั ไม่ใช่ธรรม น่ันวินัย นัน่ ไมใ่ ชว่ ินยั เปน็ ต้น
อาการทเ่ี ปน็ อาบัติ
1. เป็นหน้าที่ของภกิ ษุผู้ร้เู รอื่ งจะพึงห้ามปราม ถ้าไมห่ ้ามตอ้ งทกุ กฎ
2. ถ้าห้ามแล้วไม่ฟงั พึงนำตัวมาท่ามกลางสงฆว์ ่ากลา่ ว 3 ครั้ง ถ้ายังขัดขนื อยู่ พึงสวดสมนุภาส คือ
ประกาศหา้ มด้วยอาณัติของสงฆ์ ดว้ ยญตั ติจตตุ ถกรรม ถา้ ภกิ ษผุ เู้ ป็นตัวการสละเสียได้ในคราวแรก ๆ จัดว่าดี
ถ้าไม่สละตอ้ งทกุ กฏทุกคราว
3. ถ้าสวดจนจบญัตติ คือ คำเผดียงสงฆ์ จบอนุสาวนา คือ คำหารือและข้อตกลงของสงฆ์ 2 คราว
ข้างตน้ ต้องถุลลจั จัย
4. จบอนสุ าวนาคราวท่ี 3 อันเป็นหนสดุ ทา้ ย ต้องสังฆาทิเสส
5. ในกรรมเปน็ ธรรม เข้าใจถูกก็ดี แคลงอย่กู ็ดี เข้าใจผิดก็ดี ไม่สละเป็นสงั ฆาทิเสส
เหตุน้ัน อาบัติในสกิ ขาบทนี้ จงึ เป็นอจติ ตกะ(ไม่มีเจตนาแต่ทำกเ็ ปน็ อาบตั ิ)ในกรรมไม่เป็นธรรมท่าน
ว่า เป็นทุกกฎ
สิกขาบทที่ 11 ภกิ ษปุ ระพฤติตามภิกษผุ ทู้ ำลายสงฆ์นัน้ ภกิ ษุอื่นห้ามไม่ฟงั สงฆ์สวดกรรมเพ่ือจะ
ใหล้ ะ ข้อทปี่ ระพฤตนิ น้ั ถา้ ไมล่ ะ ตอ้ งสังฆาทิเสส
นิทานต้นบัญญัติ เน่ืองจากสิกขาบทท่ี 10 คือ ภิกษุโกกาลิกะ เป็นต้น สนับสนุนพระเทวทัต ว่าไม่
ควรติเตียน พระเทวทัต พูดเปน็ ธรรม เป็นวินัย ต้องดว้ ยความพอใจของตน ภิกษุทั้งหลายพากันติเตียนภิกษุ
พวกทส่ี นบั สนุนภิกษุผู้พากเพียรทำสงฆ์ให้แตกกันนั้น ความทราบถึงพระพุทธเจ้าจงึ ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ได้
ความจริงแล้วจึงทรงตำหนิ และทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามสนับสนุนภิกษุผู้พากเพียรทำสงฆ์ให้แตกกัน ถ้า
ห้ามไม่ฟังให้ภิกษุท้ังหลายสวดประกาศตักเตือน (เป็นการสงฆ์) ถ้าครบ 3 ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติ
สงั ฆาทเิ สส
196
อธิบาย สิกขาบทนี้ลงโทษผู้พลอยประพฤติตามด้วย จึงมีวิธีลงโทษท่ีต่างกัน คือ สงฆ์สวดสมนุภาส
แก่ภิกษุนนั้ คราวละ 2 รปู 3 รูป ได้ หา้ มมใิ หส้ วดย่ิงกวา่ นั้น มอี ธบิ ายว่า ภกิ ษุตั้งแต่ 4 รูปข้นึ ไปจดั วา่ เปน็ สงฆ์
เหมือนกัน สงฆฝ์ ่ายหนง่ึ จะทำกรรมแก่สงฆ์อกี ฝ่ายหน่งึ ผิดแบบแผนพระวินยั
สิกขาบทที่ 12 ภกิ ษวุ า่ ยากสอนยาก ภิกษอุ ื่นห้ามไมฟ่ ัง สงฆส์ วดกรรมเพอ่ื จะใหล้ ะขอ้ ทีป่ ระพฤติ
น้นั ถ้าไมล่ ะ ต้องสังฆาทิเสส
นิทานตันบญั ญตั ิ เร่มิ เรื่องเล่าว่า พระผูม้ ีพระภาคประทับ ณ โฆสิตาราม ใกลก้ รงุ โกสมั พี สมยั นัน้ พระฉนั
นะ ประพฤติอนาจาร (ความประพฤติอันไม่สมควร) ภิกษุทงั้ หลายวา่ กลา่ ว กลบั ว่าติเตียน ภิกษุท้ังหลายจึงพากันติ
เตียน ความทราบถงึ พระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนไดค้ วามเป็นสัตย์แลว้ จึงทรงตำหนิและทรง
บัญญัติสิกขาบทห้ามทำตนเป็นผวู้ ่ายาก ถ้าไม่เชื่อฟังภิกษทุ ้ังหลายสวดประกาศตักเตือน (เป็นการสงฆ์) ถ้าครบ 3
ครัง้ ยังไมล่ ะเลกิ ต้องอาบตั ิสังฆาทิเสสอธิบายดงั นี้
กิริยาว่ายากสอนยาก หมายถึง การว่ายากสอนยากในสิกขาบทท้ังหลาย คือ มักไม่เห็นโทษแห่ง
ความประพฤติผิดในสกิ ขาบททง้ั หลาย แม้จะมีภิกษอุ ่ืนวา่ กลา่ ว ก็ไมเ่ ชอ่ื ฟัง กลบั ตัดพ้อต่อวา่ อีก ภกิ ษผุ ู้เช่นนี้
มพี ระพทุ ธานุญาตใหล้ งโทษ
สิกขาบทท่ี 13 ภิกษุประทุษร้ายสกุล คือ ประจบคฤหัสถ์ สงฆ์ไล่เสียจากวัด กลับมาติเตียนสงฆ์
ภกิ ษุอ่ืนหา้ มไม่ฟงั สงฆส์ วดกรรมเพอ่ื จะให้ละขอ้ ทปี่ ระพฤตินนั้ ถ้าไม่ละตอ้ งสังฆาทเิ สส
นิทานต้นบัญญัติ เริ่มเร่ืองเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถีคร้ันน้ัน
ภิกษุเลว ๆ ที่ชื่อว่าเป็นพวก พระอัสสชิ และ พระปุนัพพสุกะ เป็นภิกษุเจ้าถิ่น อยู่ในชนบท ช่ือว่า กีฏาคิริ
เป็นพระอลชั ชี ภิกษุเหลา่ น้นั ประพฤติอนาจาร
มภี ิกษุรูปหน่งึ จำพรรษาในแคว้านกาสี ผ่านมาพัก ณ ชนบทน้ัน เพ่ือจะเดินทางไปกรุงสาวัตถี เพ่ือ
เฝ้าพระผมู้ พี ระภาค ภกิ ษนุ ั้นเข้าไปบณิ ฑบาตในหมบู่ า้ นดว้ ยอากการสำรวม แต่มนษุ ย์ทัง้ หลายไม่ชอบ เพราะ
ไมแ่ สดงอาการประจบประแจง เหมอื นภกิ ษพุ วกพระอสั สชิและพระปนุ พั พสุกะ จงึ ไมถ่ วายอาหาร แตอ่ ุบาสก
ผู้หนึ่ง (เป็นผู้เข้าใจพระธรรมวินัยถูกต้อง) เห็นเข้าจึงนิมนต์ภิกษุรูปนั้นไปฉันท่ีบ้านของตน สั่งความให้ไป
กราบทูลพระพุทธเจ้าวา่ ภกิ ษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ประพฤติตนไม่สมควรต่าง ๆ ความทราบ
ถึงพระพุทธเจ้า ทรงตำหนิ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท มีใจความว่า ภิกษุประทุษร้ายสกุล (ประจบคฤหัสถ์
ทอดตนลงให้เขาใช้) มีความประพฤติเลวทราม เป็นทร่ี ู้เห็นท่ัวไป ภิกษุทงั้ หลายพงึ กลา่ วและขับเสยี จากที่น้ัน
ถา้ เธอกลับว่าติเตียน ภกิ ษุทั้งหลายพงึ สวดประกาศ (เปน็ การสงฆ์) ใหเ้ ธอละเลกิ เสยี ถ้าสวดครบ 3 ครั้ง ยังด้ื
นดึง ตอ้ งอาบตั ิสงั ฆาทเิ สส
อธิบาย ประทุษร้ายสกุล คำนี้ว่า “ประทุษร้ายสกลุ ” น้ี หมายความว่า เป็นผปู้ ระจบเขาด้วยกิริยา
ทำตนอยา่ งคฤหัสถ์ ยอมตนให้เขาใชส้ อย หรือด้วยอาการเอาเปรยี บโดยเชิงให้สิ่งของเลก็ น้อยดว้ ยหวงั ไดม้ าก
ทำอยา่ งนีเ้ รยี กวา่ ประทษุ ร้ายสกุล เพราะทำให้เขาเสีย ศรทั ธาเลอ่ื มใสอันเป็นมูลเหตุแหง่ กศุ ลสมบตั ิ
ประพฤติเลวทราม คำว่า “ประพฤติเลวทราม” นั้น คือ ประพฤตินอกทางของสมณะเป็นต้นว่า
ประพฤติสุงสิงกับหญิงสาวในสกุล เล่นการพนัน เล่นซุกซนต่าง ๆ เล่นตลกคะนองร้องรำทำเพลง ภิกษุประพฤติ
เช่นน้ี มีพระพุทธานุญาตไวใ้ ห้สงฆล์ งโทษทำปัพพาชนยี กรรม คอื ทำการขับเสียจากอาวาส
สรุปอาบัติสงั ฆาทเิ สส
1. สงั ฆาทเิ สส 13 สกิ ขาบทน้ี 4 สกิ ขาบทข้างต้นใหต้ ้องอาบตั ิแต่แรกทำเรยี กว่า “ปฐมาปตั ติกะ” 4
สกิ ขาบทข้างปลาย ใหต้ อ้ งอาบตั ติ ่อเม่ือสงฆ์สวดประกาศหา้ มครบ 3 ครั้ง เรยี กว่า “ยาวตตยิ กะ”
2. เปน็ ธรรมเนยี มของภกิ ษผุ ตู้ อ้ งอาบตั ิสงั ฆาทเิ สส จะต้องแจ้งความนน้ั แกส่ งฆ์ ตัวอยา่ งเพียงจตุ
วรรค คอื 4 รูป แล้วขอประพฤติวัตร ชอื่ มานัต
197
3. เม่ือสงฆ์สวดอนุญาตแล้วพึงประพฤติมานัตนั้นให้ถูกระเบียบ 6 ราตรีเสร็จแล้วจึงมาขออัพภาน
ต่อสงฆ์เฉพาะวีสตวิ รรค คือ 20 รูป เมื่อสงฆส์ วดอพั ภานระงับอาบตั นิ ้ันแลว้ จงึ กลบั เปน็ ผบู้ รสิ ุทธิ์ตามเดิม
4. แต่ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ปิดเสียไม่บอกแก่ภิกษุด้วยกัน ปล่อยให้วันล่วงไปใด ต้อง
ประพฤตวิ ัตรชอื่ ปริวาสแถมก่อนสิ้นวันเท่าท่ีปดิ นน้ั เสร็จแล้วจงึ ประพฤตมิ านตั ต่อไป
5. อาบัติสังฆาทิเสสนเี้ ป็นอาบัติหนกั ในฝ่ายอาบัติทีจ่ ะแก้ไขไดจ้ ึงเรียกว่า ครกุ าบตั ิ มีเร่ืองหยาบคายอยู่
มาก จึงเรียกวา่ “ ทฏุ ฐลุ ลาบัติ ” ภกิ ษผุ ู้ต้องแลว้ จะพน้ ได้ดว้ ยอยู่กรรม จงึ เรียกวา่ “วุฎฐานคามินี”
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล วนิ ัยปิฎก มหาวภิ ังค์ ภาค 1 เล่ม 3 และภาค 2 เลม่ 1 (2555, หน้า 623-
652) อนิยต 2 สิกขาบท ศัพท์ว่า “อนยิ ต” น้ี แปลวา่ ไม่แน่ มี 2 นัย คือ183
1. เป็นชอื่ ของวติ ิกกมะ คือ ความละเมดิ พระบัญญตั ิ แปลว่า วิติกกมะทไ่ี ม่แน่
2. เป็นชือ่ ของสิกขาบท แปลวา่ วางอาบัติไว้ไมแ่ น่
มี 2 สิกขาบท คอื
สิกขาบทที่ 1 ภิกษุนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง ถ้ามีคนที่ควรเช่ือได้มาพูดขึ้นด้วยธรรม 3
อย่างคือ ปาราชิกหรอื สงั ฆาทิเสส หรือ ปาจติ ตีย์ อยา่ งใดอย่างหน่งึ ภิกษุรับอย่างใดให้ปรับอยา่ งนั้น หรือ
เขาวา่ จำเพาะธรรมอย่างใดใหป้ รบั อย่างนนั้
นิทานต้นบัญญัติ เริ่มเรื่องเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถีสมัยน้ัน
พระอุทายี เป็นผู้เข้าสู่สกุลมากด้วยกัน ในกรุงสาวัตถี วันน้ันเข้าไปน่ังในห้องลับตาสองต่อสองกับหญิงสาว
สนทนาว่า กล่าวธรรมบ้าง นางวิสาขาได้รับเชิญไปสู่สกุลน้ัน เห็นเข้า จึงทักท้วงว่าเป็นการไม่สมควร ก็ไม่
เอื้อเฟ้ือ ไม่เช่ือฟัง ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์แล้ว
จึงทรงตำหนิ และทรงบัญญัติสิกขาบท ในความว่า ภิกษุนั่งในที่ลับตาสองต่อสองกับหญิงเป็นที่อันพอจะ
ประกอบกรรมได้ ถ้าอุบาสิกา ผู้มีวาจาควรเชื่อได้กล่าวว่าภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน 3 อย่าง คือ
อาบัติปาราชิก (เพราะเสพเมถนุ ) ก็ตาม อาบัติสงั ฆาทเิ สส (เพราะถกู ต้องกายหญิงหรือเก้ียวหญิง เป็นต้น) ก็
ตาม อาบัตปาจติ ตีย์ (เพราะนั่งในที่ลบั สองต่อสองกับหญิง) ก็ตาม ถา้ ภกิ ษุผ้นู ่ังในที่ลบั ตารับสารภาพอย่างไร
ในอาบัติ 3 อย่าง ก็พึงปรับอาบัติเธอตามที่สารภาพนั้น หรือปรับตามท่ีถูกกล่าวหานั้น (สุดแต่อย่างไหนจะ
เหมาะสม)
อธิบาย คำวา่ มีวาจาท่ีควรเชือ่ ได้นน่ั กล่าวไวส้ ำหรับแสดงหลกั ฐานของผู้พูดจะใหฟ้ ังเอาเป็นจรงิ ได้
วิธีปรับโทษ 2 ประเภท
1. ผู้พูดไมย่ ืนยันลงไปชัดว่าทำอย่างนน้ั ๆ ให้ปรับตามปฏิญญา (คำยอมรับ) ของภิกษุข้อน้ี ควรถือ
เปน็ แบบสำหรับตดั สินอธกิ รณอ์ นั หาพยานมไิ ด้
2. ถา้ ผยู้ ืนยันลงไปชดั ว่าทำอย่างน้ัน ๆ แม้ภิกษุไม่รับ ท่านใหป้ รับตามคำของเขา ข้อหลังนี้ ควรถือ
เป็นแบบสำหรับตัดสินอธิกรณ์ ตามรูปความที่พิจารณาและควรฟังได้อย่างไร ตามคำพยาน ในเม่ือจำเลย
ปฏิเสธข้อหา
สิกขาบทที่ 2 ภิกษุนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง ถ้ามีคนท่ีควรเชื่อได้ มาพูดขึ้นด้วยธรรม 2
อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์อย่างใดอย่างหน่ึง ภิกษุรับอย่างใดให้ปรับอย่างน้ัน หรือเขาว่า
จำเพาะธรรมอย่างใด ให้ปรับอยา่ งน้ัน
นิทานต้นบัญญัติ เล่าเรื่องสืบมาจากสิกขาบทก่อน พระอุทายีเห็นว่าพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
สิกขาบท ห้ามนั่งในที่ลับตาสอต่อสอง จึงนั่งในที่ลับสองต่อสองกับหญิงน้ัน (ไม่ลับตา แต่ลับหู) สนทนาบ้าง
183 วนิ ยั ปฎิ ก มหาวภิ งั ค์ ภาค 1 เลม่ 3 และภาค 2 เลม่ 1, หนา้ 623-652.
198
กล่าวธรรมบ้าง นางวิสาขาไปพบเข้าอีก จึงทักท้วงว่าไม่สมควรเช่นเคย พระอุทายี ก็ไม่เอื้อเฟื้อเช่ือฟัง ความ
ทราบถึงพระผ้มู พี ระภาคจงึ ทรงเรียกประชุมสงฆ์ ทรงไต่สวน ไดค้ วามเป็นสตั ย์แลว้ จึงทรงตำหนิและทรงบญั ญตั ิ
สิกขาบทในความว่า ภิกษุนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับหญิง ถ้าอุบาสิกาผู้มีวาจาควรเชื่อได้กล่าวว่า ภิกษุต้อง
อาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 อย่าง คือ อาบัติสังฆาทิเสส (เพราะพูดเก้ียวหญิง หรือพูดล่อหญิงให้บำเรอด้วย
กาม) ก็ตาม อาบัติปาจิตตีย์ (เพราะน่ังในท่ีลับหูกับหญิงสองต่อสอง) ก็ตาม ถ้าภิกษุผู้น่ังที่ลับหูรับสารภาพ
อยา่ งไร ในอาบัติ 2 อย่าง กพ็ ึงปรบั อาบัตเิ ธอตามทส่ี ารภาพนั้น หรอื ปรับตามที่ถูกกล่าวหานัน้ (สุดแต่อย่างไหน
จะเหมาะสม)
(หมายเหตุ เรือ่ งของอนิยต หรือสิกขาบทอันไม่กำหนดแน่ว่าจะปรับอาบัติอย่างไร ใน 2-3อย่าง ทั้ง
2 สิกขาบทน้ันหนักไปในทางแนะวิธีตัดสินอาบัติแต่ก็บ่งอยู่ว่าห้ามภิกษุนั่งในท่ีลับตาก็ตาม ลับหู (แม้ไม่ลับ
ตา) ก็ตาม กับหญิงสองต่อสอง เว้นแต่ในท่ีลับตาจะมีชายผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย แต่ในที่ลับหู หญิงหรือชายผู้รู้
เดยี งสาน่ังเป็นเพอ่ื นอยู่ดว้ ย กพ็ ้นจากความเป็นทล่ี บั หูไป) อธิบายดังน้ี
ที่ลับ 2 อย่าง
1. ทมี่ ีวตั ถกุ ำบัง มองไมเ่ ห็น พอจะเสพเมถุนได้ เรยี กวา่ ที่ลับตา
2. ท่ีแจ้ง แตห่ า่ งพอจะพูดเกี้ยวมาตคุ ามได้ ผ้อู ่ืนฟงั เสยี งพดู ไมไ่ ด้ยินเรียกว่าที่ลับหู
สรปุ อนิยต
1. อนิยต 2 สกิ ขาบทนี้ ควรถอื เป็นแบบสำหรบั ตัดสนิ อธิกรณ์ท่ีเกิดข้ึน
2. ถ้ามีผู้กล่าวหา และข้อความที่กล่าวหานั้น ถ้าเป็นจริงมีโทษโดยฐานละเมิดพระบัญญัติอันให้ต้อง
อาบัตนิ ั้น ๆ เชน่ นค้ี วรพิจารณา
3. ถ้าไมถ่ งึ เป็นอาบัติ ไม่ควรพจิ ารณา
4. อธิกรณ์น้ันทีพ่ ิจารณาอยู่ ถ้าไมม่ ผี ู้อืน่ เป็นพยาน เปน็ การตวั ต่อตัวควรฟงั เอาปฏญิ ญาของภิกษุ
5. ถา้ มีพยานอน่ื เป็นหลักฐาน โดยทางพจิ ารณาถอื วา่ ฟังได้ แม้จำเลยปฏิเสธ กป็ รบั อาบตั ิได้
พระไตรปฎิ กและอรรถกถาแปล วินัยปฎิ ก มหาวภิ งั ค์ ภาค 1 เลม่ 3 และภาค 2 เล่ม 1 (2555, หนา้ 653-
1070) นสิ สคั คยิ ปาจิตตยี ์ ศพั ท์ว่า “นสิ สัคคยิ ปาจติ ตีย”์ น้ี ทา่ นแยกแปลไว้ ดังนี้
1. ศัพท์ว่า ปาจิตตียะ น่ันท่านแปลว่า การล่วงละเมดิ อันยังกุศล (คือความด)ี ให้ตกไป ได้แก่อาบัติ โดย
ความหมายจะแปลวา่ วิตกิ กมะ คอื การล่วงละเมดิ พระพทุ ธบัญญตั กิ ไ็ ด้ เปน็ ไดท้ ั้งชอื่ อาบตั ิ ทง้ั ชือ่ สกิ ขาบท
2. ศัพท์ว่านิสสัคคียะ นั้นแปลว่า ทำให้สละส่ิงของ คือส่ิงใดเป็นเหตุจึงต้องอาบัติทำให้สละสิ่งน้ัน
แปลอย่างน้ี เป็นคุณบท (คำวิเศษณ์) แห่งปาจิตตีย์ ถ้าเป็นคุณบท (คำวิเศษณ์) แห่งสิ่งของ แปลว่าจะต้อง
สละ
สองศัพท์นั่นควบกันแปลว่าวิติกกมะชื่อว่าปาจิตตีย์อันทำให้สละสิ่งของเป็นส่ิงแห่งสิกขาบท แปลว่า
ปรบั โทษช่อื นิสสคั คิยปาจติ ตยี ์ สกิ ขาบทในกณั ฑน์ นั้ 30 จดั เขา้ เป็นวรรค ๆ ละ 10 สกิ ขาบท คอื
จวี รวรรคที่ 1
สิกขาบทที่ 1 ภิกษุทรงอดิเรกจีวรได้เพียง 10 วันเป็นอย่างย่ิง ถ้าล่วง 10 วันไป ต้องนิสสัคคีย
ปาจติ ตยี ์
นทิ านต้นบัญญัติ พระผู้มีพระภาค ประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี สมัยน้ันทรงอนุญาตให้
ภกิ ษมุ ีจวี รไดเ้ พยี ง 3 ผืน (ผา้ นุ่ง, ผ้าหม่ , ผา้ ห่มซอ้ นทเ่ี รยี กว่าสังฆาฏ)ิ ภกิ ษุฉัพพคั คีย์ (ภิกษุผรู้ วมกันเปน็ คณะ
6 รูป) เข้าบ้าน อยู่ในวดั ลงสู่ที่อาบน้ำด้วยไตรจีวรตา่ งสำรับกัน ภิกษุทั้งหลายติเตียน ความทราบถึงพระผู้มี
พระภาคจึงทรงบัญญตั ิสกิ ขาบทห้ามเก็บอตเิ รกจวี ร (จีวรทเี่ กนิ จำเป็นคอื เกนิ จำนวนท่ีกำหนด) ถ้าล่วงละเมิด
ตอ้ งอาบัตนิ ิสสคั คิยปาจติ ตยี ์
199
ต่อมามีเหตุเกิดข้ึน พระอานนท์ ใคร่จะเก็บผ้าไว้ถวายพระสารีบุตรพระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึง
ทรงบญั ญัตสิ กิ ขาบทเพิม่ เติม ใหเ้ กบ็ ไว้ได้ในเกนิ 10 วัน
อธิบาย เหตทุ ี่ทรงอติเรกจีวรเกินกำหนดไมไ่ ด้
ธรรมเนียมของภิกษุ เม่ือถึงเดือนท้ายของฤดูฝนเปล่ียนผ้าไตรจีวรกันคราวหน่ึง จึงเป็นฤดูท่ีทายกถวาย
ผา้ เรียกว่าจีวรทานสมัย หรือจวี รกาล ภิกษุผู้มิได้รับประโยชน์จากกาลน้ี พึงทรงอติเรกจีวรได้ 10 วันเป็นอย่าง
ย่ิง
กำเนิดแห่งจวี ร 6
1. โขมงั ผ้าทำด้วยเปลือกไม้ เช่นผา้ ลนิ นิ
2. กปั ปาสกิ งั ผา้ ทำด้วยฝา้ ย คือ ผ้าสามัญ
3. โกเสยยงั ผ้าทำด้วยไหม คือ ผ้าแพร
4. กมั พะลงั ผ้าทำด้วยขนสตั ว์ (ยกเวน้ ผมและขนมนษุ ย)์ เช่นผ้าสกั หลาด
5. สมณงั ผ้าทำดว้ ยเปลือกไม้สาณะ ซง่ึ แปลกันวา่ ผ้าปา่ น
6. ภงั คัง ผ้าทำด้วยสัมภาระเจอื กัน เช่นผ้าดา้ ยแกมไหม
ผ้ามีกำเนิด 6 ชนิดน้ีมีประมาณต้ังแต่ยาว 8 น้ิว กว้าง 4 น้ิวข้ึนไป เข้าองค์กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัป
(มอบใหภ้ ิกษอุ นื่ เป็นเจ้าของร่วมกบั ตน) เปน็ อย่างตำ่ ชอื่ ว่าจวี ร
กิริยาว่าทรง กิริยาว่า “ทรง” น้ัน แต่เดิมดูเหมือนจะหมายเอาครองหรือนุ่งห่ม ต้ังแต่มีอนุบัญญัติ
ผอ่ นให้ 10 วันแลว้ หมายความตลอดถึงมีไวเ้ ป็นกรรมสทิ ธ์ิ
วิธีนับวันล่วง กำหนดนับเป็นวันล่วงนั้น เม่ืออรุณแสงเดือนเงินขึ้น ภิกษุอติเรกจีวรนั้นให้ล่วง 10
วัน ถงึ อรณุ ที่ 11 เป็นนสิ สัคคิยาปาจิตตีย์
การเสืยสละ อาบัตนิ ี้ ตอ่ เมื่อภิกษุสละของอนั เป็นเหตตุ อ้ งแล้ว จึงแสดงอาบตั ไิ ดก้ ารสละแต่ผู้สมควร
มี 3 คอื 1. แก่สงฆ์ 2. แก่คณะ 3. แกบ่ ุคคล
คำเสียสละ คำเสียสละแก่บุคคล ของอยู่ในหัตถบาส คือใกล้ตัวว่าอย่างนี้ “อิทัง เม ภัณเต จีวะรัง
ทะสาหาตกิ กันตัง นิสสัคคิยงั อมิ าหัง อายัสมะโต นิสสัชชาม”ิ
ถ้าแก่พรรษากบั ผู้รับ กล่าวว่า “อาวุโส” แทน “ภันเต” พงึ รอู้ ย่างน้ีในสกิ ขาบทต่อไป
แปลวา่ “จวี รผืนนี้ของข้าพเจ้าล่วง 10 วนั จะต้องสละ ขา้ พเจ้าขอสละจีวรผนื นแ้ี ก่ท่าน”
หลายผืนตัง้ แต่ 2 ผืนขึ้นไป รวมสละคราวเดียวกันก็ได้ เปล่ียนคำเป็นพหุวจนะว่า “อิมานิ เม ภันเต
จวี ะรานิ ทะสาหาติกกนั ตานิ นิสสัคคยิ านิ , อมิ านาหงั อายสั มะโต นสิ สชั ชาม”ิ
แปลเหมือนกันเป็นแต่บ่งว่ามากกว่า 1 ผืนเท่านั้น สละของอยู่นอกหัตถบาสคือห่างตัวก็ได้ ว่า “เอ
ตัง” แทน “อิทัง” ว่า “เอตาหัง” แทน “อิมาหัง” ว่า “เอตานิ” แทน “อิมานิ” ว่า “เอตานาหัง” แทน “อิ
มานาหงั ”
เม่ือสละน้ัน พงึ ตั้งใจสละใหข้ าด ครั้นสละแลว้ จึงแสดงอาบัติ ภกิ ษผุ ู้รบั เสียสละนน้ั หากจะถอื เอาเสีย
ทีเดียว เจ้าของเดิมก็ไม่มีกรรมสิทธ์ิที่จะเรียกคืนได้แต่เป็นธรรมเนียมอันดีของเธอเมื่อรับแล้วคืนให้เจ้าของ
เดมิ ไม่ทำอย่างนัน้ ตอ้ งทกุ กฏ
คำคนื ให้วา่ ดังนี้ “อิมัง จวี ะรัง อายสั มะโต ทัมมิ”
แปลว่า “ข้าพเจ้าคืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”หลายผืน หรืออยู่นอกหัตถบาสพึงเปลี่ยนโดยนัยที่กล่าว
แล้ว จีวรเป็นนสิ สคั คีย์ ยงั ไม่ไดส้ ละ บรโิ ภค (นงุ่ หม่ ) ตอ้ งทุกกฎ สละแลว้ ได้คืนมา บริโภคได้
ลักษณะแห่งอาบัติ ในสิกขาบทนี้ ไม่มีคำบ่งถึงเจตนา ท่านจึงกล่าวว่าอาบัติเป็นอจติ ตกะ แม้เผลอ
ปล่อยให้ล่วง 10 วันไป ก็เป็นอาบัติ ถ้าอธิษฐานไว้ วิกัปไว้ หรอื ของน้ันสูญเสียหายเสีย พ้นไปจากความเป็น
กรรมสิทธขิ์ องภิกษุภายใน 10 วนั ไมเ่ ปน็ อาบตั ิ
200
สิกขาบทท่ี 2 ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้เพียงคืนหนึ่ง ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้
สมมติ (สงฆต์ กลงกันให้อยูป่ ราศจากไตรจีวรได)้
นิทานต้นบัญญัติ พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย เอาผ้าสังฆาฏิ
(ผา้ หม่ ซอ้ นข้างนอก) ฝากภิกษรุ ูปอ่ืนไว้ จาริกไปสู่ชนบทด้วยสบง (ผ้านุ่ง) กับจีวร (ผ้าห่ม) รวม 2 ผนื เท่านั้น
ผ้าที่ฝากไว้นานเปรอะเปื้อน ภิกษุผู้รับฝากจึงนำออกตาก ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงตำหนิและ
ทรงบญั ญตั ิสกิ ขาบท ห้ามอย่ปู ราศจากไตรจวี ร แมค้ นื หน่ึง ถา้ ลว่ งละเมดิ ตอ้ งอาบตั นิ สิ สัคคยิ ปาจติ ตยี ์
ภายหลงั มีเรอ่ื งเกดิ ขึ้น ภกิ ษเุ ป็นไข้ ไมส่ ามารถนำจีวรไปไดท้ ้งั 3 ผืน จึงทรงอนุญาตให้สงฆ์สวดสมมติ
แกภ่ กิ ษุเชน่ นัน้ เปน็ กรณีพเิ ศษ และไม่ปรับอาบัตอิ ธบิ ายดงั นี้
ไตรจวี ร จีวร 3 ผนื ทภี่ ิกษอุ ธิษฐาน (ต้งั ) ไว้เป็นบริขาร คือ
1. อนั ตรวาสก ผา้ นุง่
2. อุตตราสงค์ ผ้าหม่
3. สังฆาฏิ ผ้าคลมุ (ปจั จบุ ันใชพ้ าดบา่ )
เวลาท่ีอยปู่ ราศจากไตรจวี ร
1. จำพรรษาครบไตรมาสแลว้ อย่ปู ราศจากไตรจวี รได้ 1 เดอื น
2. ไดก้ รานกฐินแลว้ อย่ปู ราศจากไตรจีวรไดต้ ่อไปอกี 4 เดือน
3. เมอ่ื อาพาธหนกั ได้รบั สมมต(ิ การตกลงกัน)จากสงฆ์ให้อย่ปู ราศจากไตรจีวรได้ จนกวา่ จะหาย
เขตทีก่ ำหนดวา่ ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร
1. เขตภายในสีมาที่ได้สมมติ ติจีวรวิปปวาส ซึ่งเป็นเขตท่ีสงฆ์ประชุมตกลงกันสวดประกาศว่าเป็น
สถานทไ่ี ม่อยูป่ ราศจากไตรจีวร คอื ภิกษุอย่ใู นเขตน้แี ลว้ อยู่ห่างจากไตรจีวรได้ ไม่ตอ้ งอาบตั ิ
2. บ้านมีเครื่องล้อม กำหนดเอาเคร่ืองล้อมเป็นเขต ไม่มีเคร่ืองล้อมกำหนดเอาห้องที่ไว้ผ้า เรือก็
เหมอื นกนั
3. เรือนโรงมีเครื่องล้อม กำหนดเอาเคร่อื งลอ้ มเป็นเขต ไม่มีเครอื่ งล้อมกำหนดเอาห้องที่ไวผ้ ้า เรือก็
เหมือนกนั
4. นา ลานนวดข้าว สวน มีเคร่ืองล้อม กำหนดเอาเคร่ืองล้อมเป็นเขตไม่มีเคร่ืองล้อม กำหนดเอา
หัตถบาสแหง่ ตัวกับผ้า 2 ศอกในระหว่าง
5. โคนต้นไม้ กำหนดเอาแดนท่ีเงาของต้นไม้แผ่ไปในเวลาเท่ียง เอาจีวรไว้ในเขตอยู่ในเขตหรือไม่ละ
หัตถบาสแห่งเขตน้ันเป็นอันไม่อยู่ปราศ ถ้าสถานที่เหล่านั้นเป็นของต่างสกุล กำหนดเอาสำนักของสกุลน้ันเป็น
เขตหรือกำหนดเอาที่ทางอันใช้ร่วมกันก็ได้ ถ้ากำหนดเอาความีสิทธิต่างออกไปไม่ได้ให้กำหนดเอาหัตถบาสแห่ง
ตน
6. ปา่ ไมม้ ีบา้ นตัง้ อยู่อาศยั กำหนดเอา 7 อัพภันดรโดยรอบเป็นเขตอพั ภณั ดรหนึง่ 28 ศอก หรอื 7 วา
7. สัตถะ คือ หมู่เกวียนหรือหมู่ต่าง (โค ลา) น้ัน ของสกุลเดียว กำหนดเขตข้างหน้าข้างหลัง ด้านละ 7
อัพภันดร ดา้ นขา้ งทงั้ 2 ด้าน ๆ ละ 1 อพั ภันดรสว่ นของตา่ งสกลุ กำหนดเขตแหง่ หัตถบาสแห่งหมู่เกวียน
ภิกษุอยู่ ณ วัดในคามเขตอันไม่ไดส้ มมตติ จิ ีวรวปิ ปวาส ทั้งใช้อตเิ รกจีวรหรือวิกัปปติ จีวร (จวี รที่วิกัป
แล้ว) ฟมุ เฟอื ยลอ่ แหลมต่ออาบตั ิมากเข้า จะพงึ กำหนดเขต ดงั นี้
8. กุฏิมีบริเวณ ภิกษุครอบครองเป็นเจ้าของผู้เดียว กำหนดเอาเครื่องล้อมเป็นเขต ไม่มีบริเวณ
กำหนดเอากุฎีเปน็ เขต
9. กุฏมี ีบรเิ วณ เป็นท่ีอยแู่ ห่งภิกษมุ ากรูป กำหนดเอากฏุ ีท่ีไว้ผ้าเปน็ เขตไม่มีบรเิ วณ กำหนดเอาห้อง
ทไี่ ว้ผา้ เป็นเขต
10. ศาลาและที่อน่ื ๆ อันเปน็ สาธารณสถาน พงึ กำหนดในเวลาใช้รูปเดียวหรอื หลายรูป
201
11. โคนไม้และทีแ่ จ้ง มีเคร่ืองล้อม กำหนดเอาเครื่องลอ้ ม ไม่มีเคร่ืองล้อมโคนไม้ กำหนดเอาแดนท่ี
เงาของต้นไม้แผ่ไปในเวลาเท่ียง ที่แจ้ง กำหนดด้วยหัตถบาสในระหว่างตนกับผ้า เป็นเขตที่ไม่อยู่ปราศจาก
ไตรจีวร คืออยหู่ ่างจากไตรจวี รได้
กลา่ วส้ัน ๆ เอาผ้าสงั ฆาฏิเก็บไว้ที่เช่นใด มแี ต่อนั ตรวาส (ผ้านงุ่ ) กับอตุ ตราสงค์ (ผ้าห่ม) เท่าน้ัน เข้า
บา้ นไดต้ ามพระพุทธานุญาต พงึ กำหนดเอาที่เชน่ นัน้ เปน็ เขต
วิธีการสละ จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะอยู่ปราศจากเขตล่วงราตรีน้ัน พึงสละแก่สงฆ์ หรือคณะหรือ
บุคคลก็ได้ จีวรเป็นนิสสคั คยี ์แลว้ ยงั ไม่ไดส้ ละ บริโภค (นงุ่ ห่ม) ตอ้ งทุกกฎ
คำเสียสละ คำเสียสละแก่บุคคลว่า ดังนี้ “อิทัง เม ภันเต จีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง อัญญตระ
ภิกขุสัมมะตยิ า นิสสคั คยิ งั , อิมาหัง อายัสมะโต นิสสัชชาม”ิ
แปลว่า “จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เป็นของจะต้องสละเว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ
ข้าพเจา้ ขอสละจวี รผืนนีแ้ ก่ท่าน”
ถ้า 2 ผืนว่า “ทวิจีวะรัง” ถ้าทั้ง 3 ผืนว่า “ติจีวะรัง” คำให้ผ้าคืนเหมือนสิกขาบทก่อนลักษณะ
แห่งอาบัติและอนาบัติ สิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะ แม้ไมต่ ้ังใจ แต่อยปู่ ราศจากแล้ว ก็เป็นอาบัติอยู่ปราศจาก
ไม่ถึง 1 คืน ต้องปัจจุทธรณ์ (ถอน) เสียหรือของนั้นสูญเสีย หายเสีย พ้นไปจากกรรมสิทธ์ิของภิกษุ แต่อรุณ
ยงั ไม่ทนั ขน้ึ ไมเ่ ป็นอาบตั ิ
สิกขาบทที่ 3 ถ้าผ้าเกิดข้ึนแก่ภิกษุ ๆ ประสงค์จะทำจีวร แต่ (ผ้า) ยังไม่พอ ถ้ามีที่หวังว่าจะได้
(ผา้ ) มาอีกพึงเก็บผ้านัน้ ไว้ได้เพยี ง 1 เดือนไป แม้ถงึ ยังมีที่หวังว่าจะได้ (ผ้า) อยู่ ตอ้ งนิสสัคคยิ ปาจิตตยี ์
นทิ านตน้ บัญญัติ พระผมู้ ีพระภาคประทบั ณ เชตวนาราม สมยั น้นั อกาลจีวร (ผ้าที่เกิดขึ้นนอกกาล
ทอ่ี นุญาตให้เก็บไว้ได้เกิน 10 วัน) เกิดขึ้นแก่ภิกษุรูปหน่งึ แตไ่ ม่พอทำจีวรเธอคล่ีผ้าออก (เอามือ) รีดให้เรยี บ
อยู่เรอ่ื ย ๆ พระผูม้ ีพระภาคทอดพระเนตรเห็นจึงตรสั ถาม เมื่อทราบความแล้ว จึงทรงอนุญาตใหเ้ กบ็ ผา้ นอก
กาลไว้ได้ ถ้ามหี วงั ว่าจะไดท้ ำจวี ร ปรากฏว่า ภิกษบุ างรูปเกบ็ ไว้เกิน 1 เดอื นทรงปรบั อาบตั ินสิ สคั คยิ ปาจติ ตยี ์
แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดอธิบายดังน้ี
อกาลจวี ร จวี รอันเกิดขน้ึ นอกเขตจวี รกาล นอกเขตอานิสงสก์ ฐนิ เรียกวา่ กาลจีวร
อกาลจีวรอติเรกจีวร อกาลจีวรนี้ ก็คืออติเรกจีวรน่ันเอง ถ้าภิกษุต้องการจะทำไตรจีวรผืนใดผืนหน่ึงใช้
สอย แต่จีวรยังไม่พอ เมื่อมีความหวังว่าจะได้จีวรมาอีก พึงเก็บอกาลจีวรน้ันไว้ได้ 1 เดือน ถ้าไม่ต้องการจะทำ
หรือไม่มีที่หวังว่าจะได้ เช่นน้ีอายุผ้านั้นเพียง 10 วัน หรือมีท่ีหวัง แต่นานกว่า 1 เดือน จึงจะได้ก็เก็บไว้ได้ไม่เกิน
10 วนั
อายุของผ้า เก็บอกาลจีวรไว้แล้ว ได้จีวรใหม่มาเดิมพอจะทำได้แล้ว พึงกำหนดด้วยอายุแห่งผ้าที่
เกบ็ ไวเ้ ดิม และอายุแหง่ ผา้ ที่ไดม้ าใหม่ ข้างใดอายุนอ้ ย พึงรบี ทำใหท้ ันอายขุ องขา้ งน้นั
ถ้าเกบ็ มาได้เกิน 10 วนั แต่ยงั ไม่ครบ 1 เดือน จึงไดผ้ ้าใหม่มาเนอ้ื ผิดกันมาก จะไม่ทำกไ็ ด้ หรือได้ผ้า
ใหม่มาจวนส้ินกำหนด ทำไม่ทัน พึงอธิษฐานเป็นบริขารอย่างอื่นใช้ พึงวิกัป (มอบให้ภิกษุอื่นเป็นเจ้าของ
รว่ มกบั ตน) ไวห้ รือพึงให้แกค่ นอน่ื เสยี ในวนั ทีต่ กลงวา่ จะไม่ทำ
ลักษณะแห่งอาบัติ ผ้าล่วงกำหนดกาลน้ัน เปน็ นสิ สัคคยี ์พงึ สละ ไม่สละ บริโภคเปน็ ทุกกฎ
คำเสียสละ คำเสียสละแก่บุคคลวา่ ดังน้ี “อมิ ัง เม ภันเต อะกาละจวี ะรัง มาสาตกิ กันตัง นสิ สคั คิยงั
อมิ าหัง อายัสมะโต นิสสัชชามิ”แปลว่า “อกาลจีวรผืนน้ีของขา้ พเจ้า ล่วงเดือนหนึ่ง จะตอ้ งสละ ข้าพเจ้า
ขอสละจวี รผนื นีแ้ กท่ า่ น”
สิกขาบทท่ี 4 ภกิ ษใุ ช้นางภิกษณุ ี (พระผหู้ ญงิ ในพระพทุ ธศาสนา) ทีไ่ มใ่ ช่ญาติ ใชซ้ ักกด็ ใี ห้ย้อมก็
ดี ให้ทุบกด็ ี ซงึ่ จวี รเกา่ ตอ้ งนสิ สคั คยิ ปาจิตตีย์
202
นิทานต้นบัญญัติ พระผู้มพี ระภาค ประทับ ณ เชตวนาราม อดีตภรรยาของอทุ ายีเข้ามาบวชเปน็ ภิกษุณี
รับอาสาซกั ผ้าของพระอุทายี ซึ่งมนี ้ำอสจุ ิเปรอะใหม่ ๆ นางได้นำนำ้ อสุจินั้นส่วนหน่ึงใส่เข้าปาก ส่วนหน่ึงใสไปใน
องค์กำเนิด เกิดตั้งครรภ์ขึ้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามใช้นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ซักย้อม หรือทุบจีวรเก่า (คือท่ี
นุ่งหรอื หม่ แล้ว แม้คราวเดยี ว) ทรงปรับอาบัตนิ สิ สัคคยิ ปาจิตตยี ์ แก่ภิกษุผลู้ ว่ งละเมดิ อธิบายดังน้ี
จวี รเก่า จวี รทีใ่ ช้แล้ว นุง่ แล้วก็ดี หม่ แลว้ กด็ ี แมค้ ราวเดยี ว ซ่ึงมจี ีวรเกา่
ลกั ษณะแห่งอาบัติ
1. ใหซ้ กั ให้ยอ้ มหรอื ให้ทบุ เฉพาะอย่าง ๆ เปน็ ประโยคแห่งนิสสัคคยี ์
2. ให้ทำอยา่ งนน้ั 2 อย่าง หรอื แม้ทง้ั 3 อยา่ งรวมกนั การทำอยา่ งแรกเป็นประโยคแหง่ นิสสคั คยิ ์
3. การทำอย่างหลงั แตล่ ะอยา่ งเปน็ ประโยคแหง่ ทุกกฏ
4. ใชใ้ หซ้ กั ผา้ ปูนง่ั ผ้าปูนอน เป็นอาบตั ทิ ุกกฎ
ข้อยกเวน้ ไม่เป็นอาบัติ
1. ภิกษุณผี ู้เป็นญาติ ซกั ย้อม ทบุ ให้
2. ไม่ได้ใช้ แต่เขาทำให้เอง
3. จวี รน้ันใหม่
4. ใชใ้ ห้ซักบริขารอน่ื ซงึ่ ไมใช่จวี รเกา่ ไมเ่ ป็นอาบัติ
สิกขาบทที่ 5 ภิกษุรับจีวรแต่มือนางภิกษุณีท่ีไม่ใช่ญาติ เว้นไว้แต่แลกเปล่ียนกัน ต้องนิสสัคคิย
ปาจติ ตีย์
นทิ านตน้ บัญญัติ พระผู้มพี ระภาคประทบั ณ เวฬุวนาราม ใกลก้ รงุ ราชคฤห์ พระอทุ ายีไคร้อยากได้
จีวร ขอจีวรนางอบุ ลวัณณาเถรีซ่ึงมีผ้าอยู่จำกัด นางจึงให้ผู้นุ่ง (อันตรวาสก) ความทราบถงึ พระผู้มีพระภาค
จงึ ทรงบัญญัติสกิ ขาบท ห้ามรบั จวี รจากมือนางภกิ ษุณผี ูม้ ิใช่ญาติ ทรงปรับอาบัตินสิ สัคคิยปาจติ ตีย์ แก่ภกิ ษุผู้
ล่วงละเมิด ภายหลังทรงบญั ญตั ิเพิม่ เติมมีเงอ่ื นไข ไม่ปรบั อาบัติ ในกรณที ีเ่ ปน็ การแลกเปลีย่ นกนั อธิบายดังน้ี
การแลกเปล่ียน สิกขาบทน้ี ตั้งไว้เพื่อจะกันไม่ให้ภิกษุรับของจากนางภิกษุณีผู้มีลาภน้อยแต่ฝ่าย
เดียว ถา้ สมควรจะรบั ก็ตอ้ งใหข้ องแลกเปลี่ยน โดยเป็นของมีค่าเสมอกนั
ลักษณะแห่งอาบัติ อาบัติในสิกขาบทน้ี ต้องท้ังเพราะทำ ท้ังเพราะไม่ทำ ต้องเพราะทำ คือรับจีวร
จากนางภกิ ษณุ ี ต้องเพราะไม่ทำ คือ ไม่ทำการแลกเปลยี่ นด้วยของมีคา่ เสมอกัน
สิกขาบทท่ี 6 ภิกษุขอจีวรต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา (คือไม่ได้บอกให้ขอ) ได้มา ต้องนิส
สัคคิยปาจิตตีย์ เวน้ ไวแ้ ตม่ สี มัยท่จี ะขอจีวรได้ คอื เวลาภิกษุมจี วี รอันโจรลกั ไป หรือมีจีวรอนั ฉิบหายเสีย
นทิ านตน้ บัญญัติ บุตรเศรษฐเี ลื่อมใสพระอปุ นนั ทะ ศากยบุตร จึงปวารณาให้ขออะไรกไ็ ด้แตเ่ ธอขอ
ผ้า (ห่ม) จากตัวเขา แม้เขาจะขอไปเอาท่ีบ้านมาให้ก็ไม่ยอม พระศาสดาทรงทราบจึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ห้ามขอจีวรต่อคฤหัสถ์ชายหญิง ที่มิใช่ญาติถ้าขอได้มาต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภายหลังทรงบัญญัติเพ่ิมเติม
เงือ่ นไขใหข้ อได้ในเวลาจีวรถูกโจรชิงเอาไป หรอื จีวรหายอธิบายดงั น้ี
ผู้ไมใ่ ช่ญาติ คำว่า “ไมใ่ ช่ญาติ” น้ี หมายถึงคนที่ไม่เน่ืองถงึ กันทางมารดาหรือทางบิดาตลอด 7 ชั่วบุรพ
ชนก (ผู้ให้กำเนิดเป็นชั้น ๆ สบื เช้ือสายกันมาโดยลำดับ) คือ นับช้ันตนเป็น 1 ข้างบน 3ข้างล่าง รวมเป็น 7 (คือ 1.
พอ่ 2. ปู่ 3.ปทู่ วด 4.ตน คอื ภิกษผุ ขู้ อจวี ร 5. ลูก 6 หลาน 7 เหลน) เขยและสะใภ้ทา่ นไม่นับว่าเปน็ ญาติ
ลกั ษณะแห่งอาบัติ 1. เป็นทกุ กฏในประโยคท่ีขอ 2.เป็นนัสสคั คยิ ์ ด้วยได้ผ้ามา
อาบัติในสิกขาบทน้ี เป็นอจิตตกะ เพราะเหตุน้ัน ถ้าเขาไม่ใช่ญาติ รู้อยู่ก็ตาม แคลงใจอยู่ก็ตาม
สำคัญว่าเป็นญาติก็ตาม ขอให้คราวมิใช่สมัยที่จะขอได้เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ท้ังนั้น เรียกสั้น ๆ ว่า ติก
ปาจิตตยี ์ เขาเป็นญาติ สำคัญวา่ ไม่ใชห่ รือแคลงใจอยูข่ อ เป็นทกุ กฎ
203
คำเสียสละ คำเสียสละแก่บุคคลว่าดังนี้ “อิทัง เม ภันเต จีวะรัง อัญญาตะกัง คะหะปะติกัง
อญั ญตระ สะมะยา วิญญาปิตงั นสิ สคั คิยงั . อิมาหัง อายัสมะโต นิสสชั ชาม”ิ
แปลว่า “จีวรผืนน้ีของข้าพเจ้า ขอแล้วต่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ นอกจากสมัยเป็นของจะต้องสละ
ขา้ พเจา้ ของสละจีวรผนื น้แี ก่ทา่ น”
สกิ ขาบทที่ 7 ในสมยั เชน่ นั้น จะขอเขาไดก้ ็แต่เพียงผ้าน่งุ ผ้าห่มเทา่ นั้น ถ้าขอให้เกนิ กวา่ น้นั ได้มา
ต้องนสิ สคั คยิ ปาจติ ตีย์
นิทานต้นบญั ญตั ิ ภิกษุฉัพพคั คยี ์ (พวก 6 รูป) เทยี่ วขอจีวรใหก้ ลุ่มภิกษุที่มจี ีวรถกู โจรชงิ ไปหรือจีวร
หาย ท้ัง ๆ ท่ีภิกษุเหล่าน้ัน มีผู้ถวายจีวรแล้ว เป็นการขอหรือเร่ียไรแบบไม่รู้จักประมาณ ได้ผ้ามากจนถูกหา
ว่าจะขายผ้าหรืออย่งไร พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ในกรณีที่ผ้าถูกโจรชิงหรือหายน้ัน ถ้า
คฤหัสถ์ปวารณาให้รบั จวี รมากผืน ก็รับไดเ้ พยี งผ้านุ่งกบั ผา้ หม่ เท่าน้ัน รบั เกนิ กวา่ นั้น ตอ้ งนสิ สคั คิยปาจติ ตีย์
อธิบาย วิธีขอผ้า ผ้าหาย 3 ผืนพึงยินดี 2 ผืน ผ้าหาย 2 ผืน พึงยินดีผืนเดียว หายเพียงผืนเดียว
อย่ายนิ ดีเลย คำว่ายนิ ดี หมายความว่า รับหรอื ถอื เอาดว้ ยความพอใจ
ลักษณะแห่งอาบัติ ในประโยคท่ียนิ ดี (รับ) เกนิ กำหนดเป็นทุกกฎ ได้ผ้ามาเปน็ นิสสคั คีย์
ลักษณะแห่งอนาบัติ นำไปมากด้วยคิดว่าเหลือจะเอามาคืน แต่เจ้าของถวายส่วนท่ีเหลือ เขาไม่ได้
ถวายเพราะเหตุผู้ถูกชงิ หรือผ้าหาย รบั มากกว่ากำหนดไม่เปน็ อาบตั ิ
คำเสียสละ คำเสียสละแก่บคุ คลว่า ดังน้ี “อทิ งั เม ภันเต จวี ะรงั อัญญาตะกังคะหะปะตกิ ัง ตะทุต
ตะรงิ วิญญาปติ ัง นสิ สัคคยี ์ , อมิ าหงั อายัสมะโต นสิ สัชชามิ”
แปลว่า “จีวรผืนน้ีของข้าพเจ้า ขอแล้วเกินกำหนด ต่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติจะต้องสละ ข้าพเจ้าขอ
สละจีวรผนื นแี้ ก่ท่าน”
สิกขาบทที่ 8 ถ้าคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา (ไม่ได้บอกให้ขอ) เขาพูดว่า เขาจะถวาย
จวี รแกภ่ ิกษชุ ื่อน้ี ภิกษุนั้นทราบวความแล้ว เข้าไปพูดให้เขาถวายจวี รอย่างนน้ั อยา่ งนี้ ท่ีมรี าคาแพงกว่า
ดีกว่าท่ีเขากำหนดไวเ้ ดิม ได้มา ตอ้ งนิสสัคคียปาจิตตยี ์
นิทานตนั บัญญตั ิ ชายผู้หนึง่ พูดกบั ภรรยาว่า จะถวายผ้าแก่พระอปุ นันทะ เธอทราบจึงไปพดู ให้เขา
ถวายจีวรอย่างนั้นอย่างน้ี ถ้าถวายจีวรอย่างที่เธอไม่ใช่ เธอก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เขาจึงติเตียนว่ามักมาก
ความทราบถึงพระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามกำหนดให้คฤหัสถ์ ท่ีไม่ใช่ญาติ ไม่ได้ปวารณาไว้
กอ่ น ใหซ้ ้ือจีวรอย่างน้ันอย่างน้ีถวายตน ด้วยหมายจะไดข้ องดี ๆ ทรงปรับอาบัตินสิ สคั คิยปาจิตตีย์แกภิกษุผุ้
ล่วงละเมิด
อธิบาย คนผมู้ ไิ ด้ปวารณา หมายถงึ คนมิไดเ้ ป็นญาตแิ ละมิได้สง่ั ไว้ใหบ้ อกให้ขอในคราวท่ีตอ้ งการ
ลักษณะแหง่ อนาบตั ิ สั่งให้จา่ ยจีวรมีราคานอ้ ยกว่า ไม่เปน็ อาบัติ
คำเสียสละ แก่บุคคลวา่ ดังนี้ “อิทงั เม ภนั เต จีวะรัง ปุพเพ อัปปะวาริเตนะ อัญญาตะกงั คะหะ
ปะติกัง อุปะสังกะมิตะวา จวี ะรัง วกิ ัปปงั อาปนั นัง นิสสัคคยิ งั ”
แปลว่า “จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า เขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ข้าพเจ้าเข้าไปหาเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ ถึง
การกำหนดในจีวร จะต้องสละ ขา้ พเจา้ ขอสละจวี รผืนนี้แก่ท่าน”
สกิ ขาบทท่ี 9 ถา้ คฤหสั ถ์ผ้จู ะถวายจวี รแก่ภิกษุมหี ลายคน แตเ่ ขาไม่ใชญ่ าติ ไม่ใช่ปวารณา(ไม่ได้
บอกให้ขอ) ภิกษุไปพูดให้เขารวมทุนเข้าเป็นอันเดียวกันเพ่ือซื้อจีวรที่แพงกว่าที่เขากำหนดไว้เดิมได้มา
ตอ้ งนสิ สัคคยิ ปาจติ ตยี ์
นทิ านต้นบัญญตั ิ ชายสองคนพูดกันว่า ต่างคนตา่ งจะซ้อื ผ้าคนละผนื ถวายพระอปุ นนั ทะเธอรูจ้ งึ ไป
แนะนำให้เขารวมทุนกันซื้อเสื้อผ้าชนิดนั้นชนิดนี้ (ที่ดี ๆ) เขาพากันติเตียนว่ามักมาก ความทราบถึงพระผู้มี
พระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามเข้าไปขอให้คฤหัสถ์ท่ีมิใช่ญาติ ได้ปวารณาไว้ก่อน เขาตั้งใจจะต่างคน
204
ต่างชื้อจีวรถวายเธอแต่เธอกลับไปขอให้เขารวมกัน ซื้อจีวรอย่างน้ันอย่างนี้ โดยมุ่งให้ได้ผ้าดี ๆ ทรงปรับ
อาบัตินสิ สคั คิยปาจติ ตีย์ แก่ภกิ ษุผู้ลว่ งละเมิดอธบิ ายดงั นี้
ความหมายแหง่ สิกขาบทนี้เหมือนสกิ ขาบทกอ่ นต่างแต่เพียงวา่ ตา่ งคนต่างจะหาจีวรถวายคนละผืน
คล้ายถวายพระบวชใหม่ ภิกษุเข้าไปพูดให้เขารวมทรัพย์เข้าเป็นอันเดียวกัน ซ้ือจีวรเพียงผืนเดียวหรือลด
จำนวนนอ้ ยลงกวา่ แตเ่ ปน็ ของดีกว่าเฉพาะผืน
สิกขาบทท่ี 10 ถา้ ใครๆ นำเอาทรัพย์มาเพอ่ื ค่าจีวร แลว้ ถามภกิ ษุว่า ใครเป็นไวยาวัจกรของเธอ
ถ้าภิกษตุ ้องการก็พึงแสดงไวยาวัจกร คร้ันเขามอบหมายแก่ไวยาวัจกรแลว้ แต่พอเขาเห็น 6 ครัง้ ถ้าทวง
เกิน 3 คร้ัง่ และยืนเกิน 6 คร้ัง ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เมื่อทวงไม่ได้ จำเป็นต้องบอกแต่เจ้า
ของเดิม ให้เรียกเอาของ (คา่ จีวร) คืนมาเสีย
นิทานต้นบัญญัติ มหาอำมาตย์ผู้อุปัฏฐากพระอุปนันทะ ศากยบุตร ใช้ทูตให้นำเงินค่าซื้อจีวรไป
ถวายพระอุปนันทะ ท่านตอบว่าท่านรับเงินไม่ได้ รับได้แต่จีวรท่ีควรโดยกาลเขาจึงถามหาไวยาวัจกร (ผู้ทำ
การขวนขวาย-ผู้รับใช้) ท่านจึงแสดงอุบาสกคนหน่ึงว่าเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย เขาจึงมอบเงินแก่
ไวยาวัจกรแล้ว แจ้งให้ท่านทราบท่านก็ไม่พูดอะไรกับไวยาวัจกร แมจ้ ะได้รับคำเตือนจากมหาอำมาตยซ์ ่ึงส่ง
ทตู มา ขอให้ใช้ผ้านั้นเป็นครั้งท่ี 2 ก็ไม่พูดอะไรกับไวยาวัจกร จนกระท้ังได้รับคำเตอื นเป็นครั้งท่ี 3 ขอให้ใช้
ผ้าน้ัน จึงไปเร่งเร้าเอากบั ไวยาวัจกรผู้กำลังมีธุระ จะต้องเข้าประชุมสภานิคม ซึ่งมีกติกาว่า ใครไปช้าจะต้อง
ถกู ปรบั 50 (กหาปณะ) แม้เขาจะแจง้ ให้ทราบกติกา ก็ไม่ฟงั คงเรง่ เรา้ เอาจนเขาต้องไปซือ้ ผ้ามาใหแ้ ละไปถูก
ปรับเพราะเข้าประชุมช้า คนท้ังหลายตำหนิแล้วบัญญัติสิกขาบท ความว่า ถ้าเขาส่งทูตมาถวายค่าซ้ือจีวร
และเธอแสดงไวยาวัจกรแล้ว เธอแล้วไปทวงจีวรเอากับไวยาวัจกรได้ไม่เกิน 3 คร้ังไปยืนนั่ง ๆ ให้เขาเห็นไม่
เกนิ 6 คร้ัง ถา้ ทวงเกนิ 3 คร้งั หรือไปยนื เกิน 6 ครั้ง ต้องอาบตั ินสิ สัคคียปาจิตตีย์
อธิบาย คำแสดงไวยาวัจกร น่ัน ท่านให้พูดเปรย และห้ามว่าอย่าส่ังให้เขามอบทรัพย์ไว้แก่
ไวยาวัจกร อย่าสั่งไวยาวัจกรรบั ทรัพย์ไว้ อยา่ รบั รองว่าไวยาวัจกรนั้นจกั เก็บทรัพยน์ ้ันไว้ และจักแลกจักจ่าย
จีวร เพือ่ จะหลกี เลี่ยงจากการสัง่ ให้รับและเกบ็ รปู ิยะไว้
ลักษณะการยืนและการทวง การยืนและการทวงน้ัน ในการยืน ถ้ายืนอย่างเดียว ยืนได้ 12 ครั้ง ถา้ ทวง
อย่างเดียว ทวงได้ 6 คร้ัง ในการยืน ท่านส่ังว่า อย่าน่ังบนอาสนะ อย่ารับอามิสอย่ากล่าวธรรม เขาถามว่ามาธุระ
อะไร พึงกล่าววา่ ร้เู อาเองเถดิ ถา้ นง่ั บนอาสนะกด็ ีรบั อามิสก็ดี กล่าวธรรมกด็ ี ช่ือว่าหกั การยืนเสียท่าเทียบการยืน
และการทวงไว้วา่ ยนื 2 ครง้ั เทา่ กบั ทวงครั้งหน่ึง และยอมใหแ้ ลกกนั ได้
เม่ือทวงแลว้ ไมไ่ ดจ้ วี ร ให้ไปบอกเจา้ ของทรัพย์ เรียกเอาทรัพย์คืน ถ้าไม่ไปบอก ต้องอาบตั ิทกุ กฎ
กิริยาท่ีไม่เป็นอาบัติ เม่ือภิกษุทวงและยืน ครบกำหนดแล้ว เลิกเสีย ไม่พยายามต่อไปไวยาวัจกร
ถวายเองก็ดี เจา้ ของทวงเอามาถวายกด็ ี ไมเ่ ป็นอาบตั ิ
คำเสียสละ ถ้าไปทวงเกิน 3 ครั้ง ยืน เกิน 6 คร้ัง ได้จีวรมา จีวรน้ันเป็นนิสสัคคีย์ต้องเสียสละคำ
เสียสละแก่บุคคลว่า ดังนี้ “อิทัง เม ภันเต จีวะรัง อะติเรกะติกขัตตุง โจทะนายะ อติเรกะฉักขัตตุง ฐาเนนะ
อะภินปิ ผาทติ ัง นิสสัคคยิ ัง อิมาหงั อายสั มะโต นสิ สัชชาม”ิ
แปลว่า “จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน 3 คร้ัง ด้วยยืนเกิน 6 คร้ัง จะต้องสละ
ข้าพเจา้ ขอสละจวี รผนื น้แี ก่ทา่ น”
โกสยิ วรรคที่ 2
สกิ ขาบทที่ 1 ภิกษุหล่อสันถัด (ผ้ารองนง่ั ไม่ได้ทอใชห้ ลอ่ )ด้วยขนเจียม(ขนแพะ , ขนแกะ) เจือ
ดว้ ยไหม ตอ้ งนสิ สคั คยปาจติ ตยี ์
นทิ านต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคียเ์ ข้าไปให้ช่างทำไหม ขอให้เขาตม้ ตัวไหม และขอใยไหมบ้างเพือ่ จะ
หล่อสันถัต (เคร่ืองลาด, เคร่ืองปูน่ัง) เจือด้วยไหม เขาหาว่าเบียดเบียนเขาและเบียดเบียนตัวไหม พระผู้มี
205
พระภาคจงึ ทรงบญั ญัตสิ กิ ขาบทหา้ มภิกษหุ ลอ่ สนั ถัดเจือด้วยไหม ทรงปรบั อาบัตินสิ สัคคิยปาจติ ตีย์ แก่ภิกษผุ ู้
ลว่ งละเมิด
อธิบาย สันถัต เป็นผ้าอยา่ งหน่ึง ไม่ได้ทอ ใช้หล่อ คือเอาเจียมลาดเข้าแล้ว เอาน้ำข้าวหรอื ของอื่น
อันมียางพอจะให้ขนเจียมจับกันพรมลงไปแล้วเอาขนเจียมโรยมีเครื่องรีดเครื่องทับ ทำให้เป็นแผ่นหนา ๆ
บาง ตามตอ้ งการ
จตกุ กสัคคยิ ปาจิตตีย์
ทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำกด็ ี ต้ังแต่ตน้ จนสำเรจ็ หรอื ตนทำค้างไวแ้ ล้วใชผ้ ู้อืน่ ทำต่อจนสำเรจ็ หรอื ใชผ้ ู้อ่ืน
ให้ทำค้างไว้ ตนทำตอ่ ให้สำเรจ็ เปน็ นสิ สคั คีย์ทงั้ นัน้ เรียกสนั้ ๆ วา่ จตกุ กนสิ สคั คยิ ปาจิตตยี ์
ลกั ษณะแห่งอนาบตั ิ ทำเองหรือใชผ้ ู้อืน่ ทำ เพ่อื ใชเ้ ป็นของอืน่ นอกจากผา้ รองนัง่ เปน็ ทกุ กฏ ใชข้ องทเี่ ขาทำ
ไว้โดยปกตไิ มเ่ ปน็ อาบัติ ความมุง่ หมายของสิกขาบท ก็เพื่อจะกันมิใหต้ ัวไหมต้องถกู ตม้ วายวอด
สกิ ขาบทที่ 2 ภกิ ษุหลอ่ สนั ถตั ดว้ ยขนเจียมดำลว้ น ต้องนิสสคั คยิ ปาจิตตยี ์
นทิ านต้นบัญญตั ิ ภิกษุฉพั พัคคียห์ ลอ่ สนั ถัต ด้วยขนเจียม (ขนแพะ ขนแกะ) ดำล้วน คนท้ังหลายติ
เตียนว่าใช้ของอยา่ งคฤหสั ถ์ พระผู้มีพระภาคจงึ ทรงบญั ญัติสกิ ขาบทห้ามหล่อเองหรอื ใชใ้ หห้ ล่อสันถัตด้วยขน
เจียมดำลว้ น ทรงปรับอาบตั นิ ิสสคั คยิ ปาจิตตีย์แก่ผู้ล่วงละเมดิ
สิกขาบทท่ี 3 ภิกษุจะหล่อสันถัตใหม่ พึงใช้ขนเจียมดำ 2 ส่วน ขนเจียมขาว 1 ส่วน ขนเจียม
แดง 1 สว่ น ถ้าใช้ขนเจยี มดำเกนิ 2 สว่ นขน้ึ ไป ต้องนิสสคั คยิ ปาจติ ตีย์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคีย์ หล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วน เพียงเอาขนเจียมขาวหน่อยหน่ึง
ใส่ลงไปท่ีชายผ้า มผี ู้ตเิ ตียน พระผู้มีพระภาคจงึ ทรงบัญญัติสกิ ขาบท ว่าภิกษุจะหล่อสนั ถัตใหม่ พึงถือเอาขน
เจียมดำ 2 ส่วน ขนเจียมขาว 1 ส่วน ขนเจียมแดง 1 ส่วน ถ้าไม่ทำตามส่วนน้ัน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
อธบิ ายดังนี้
ความมุ่งหมายของสิกขาบทที่ 2-3 เพอื่ จะห้ามมิให้ใชข้ นเจียมดำล้วนหรือดำเกิน 2 เสี้ยวท่ี 4 หรือ
ครึ่งหน่งึ ทง้ั นี้ ชะรอยจะแสดงคนใจบาปหยาบช้าเปรียบด้วยสีดำ
สกิ ขาบทท่ี 4 ภิกษหุ ล่อสันถัตใหม่แลว้ พึงใช้ให้ได้ 6 ปี ถ้ายังไม่ถึง 6 ปี หล่อใหม่ต้องนิสสัคคิย
ปาจติ ตยี ์ เวน้ ไว้แต่ได้สมมติ (คือสงฆต์ กลงกันให้ใชต้ ่ำกวา่ 6 ปี ได้)
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุท้ังหลาย หล่อสันถัตทุกปี ต้องขอขนเจียมจากชาวบ้าน เปน็ การรบกวนเขา
มีผู้ติเตียนอ้างว่าของชาวบ้านเขาใช้ได้นานถึง 5-6 ปี พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุหล่อ
สนั ถัตใหม่ พึงใช้ให้ถึง 6 ปี ถ้ายังไม่ถึง 6 ปีหล่อใหม่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภายหลังภิกษุเป็นไข้ เขานิมนต์
ไปท่ีอื่น ไม่กล้าไปเพราะจะนำสันถัตไปด้วยไม่ไหว จึงทรงอนุญาตให้มีการสมมติเป็นพิเศษสำหรับภิกษุใช้
อธิบายดังน้ี
ปหี น่งึ ในบาลีเรียกว่ากาลฝนหนึ่ง ภิกษุผู้ได้สมมติในนทิ านตน้ บัญญัตหิ มายถึงภิกษุผอู้ าพาธ แต่ภกิ ษุ
ผู้มีสันถตั หาย ก็ควรได้รบั สมมตเิ ชน่ กัน
สิกขาบทที่ 5 ภิกษุจะหล่อสันถัต พึงตัดเอาสันถัตเก่า 1 คืบ โดยรอบ มาปนลงในสันถัตที่หล่อ
ใหม่ เพื่อจะทำให้เสียสี ถ้าไม่ทำด่ังนี้ ตอ้ งนสิ สคั คิยปาจติ ตีย์
นิทานบัญญัติ ภิกษุทั้งหลาย ทิ้งสันถัตไว้ในท่ีน้ัน ๆ พระผู้มีพระภาคทรงเห็น จึงทรงบัญญัติ
สิกขาบทว่า ภิกษุจะหล่อสันถัตสำหรับน่ัง พึงถือเอาสันถัตเก่า 1 คืบ โดยรอบเจือลงไป เพื่อทำลายให้เสียสี
ถ้าไม่ทำอย่างนั้น หล่อสันถัตใหม่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์(สิกขาบทนี้ ทำให้เห็นความสำคัญของสันถัตเก่าท่ี
จะต้องเกบ็ ไว้ปนลงไปเมือ่ หล่อใหมด่ ้วย)อธิบายดังน้ี
206
วิธีทำท่านให้ตัดเอาสันถัตเก่า 1 คืบ พระสุคต วัดโดยรอบแห่งสันถัตเก่านั้นลาดลงในเอกเทศหน่ึง
หรอื ชี (ทำใหก้ ระจาย) ออกปนกับขนเจยี มทห่ี ล่อใหม่
ลักษณะแห่งอนาบัติ เมื่อหาสันถัตเก่าไม่ได้จะปนเข้าแต่น้อย หรือไม่ได้ปนเลย ได้ของท่ีคนอ่ืนทำ
และใชส้ อย ไม่เปน็ อาบัติ
ความม่งุ หมาย เพ่อื ปอ้ งกันมใิ หใ้ ชส้ ันถัตที่มสี ีอนั วจิ ติ รงดงาม
สกิ ขาบทท่ี 6 เม่ือภิกษุเดินทางไกล ถา้ มีใครถวายขนเจียม ตอ้ งการกร็ บั ได้ ถา้ ไม่มีใครนำมา (ให)้
นำมาเอาไดเ้ พยี ง 3 โยชน์ ถา้ (นำมา) ให้เกนิ 3 โยชนไ์ ป ต้องนสิ สคั คยิ ปาจิตตยี ์
นิทานตน้ บัญญัติ ภิกษุรูปหนึ่ง เดินทางไปสู่กรงุ สาวัตถี ในโกศลชนบท มีผูถ้ วายขนเจยี มในระหว่าง
ทาง เธอเอาจีวรห่อนำไป มนุษย์ทงั้ หลายพากันพูดล้อวา่ ซ้ือมาด้วยราคาเทา่ ไร จะได้กำไรเทา่ ไร ความทราบ
ถงึ พระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบทใจความว่า ภิกษุเดินทางไกล มีผู้ถวายขนเจียม ถา้ ปรารถนาก็พึง
รบั และนำไปเอาได้ไมเ่ กิน 3 โยชน์ ในเมือ่ ไม่มีผ้นู ำไปให้ ถา้ นำไปเกนิ 3 โยชนแ์ ม้ไม่มีผนู้ ำไปใช้ต้องนิสสัคคิย
ปาจติ ตีย์
อธบิ าย
1. โยชน์น้นั ในประเทศสยามน้กี ำหนดวา่ 400 เส้น
2. ขนเจยี มท่ที ำเป็นสงิ่ ของแลว้ ไม่นบั เข้าในสิกขาบทนี้
3. อยู่ในระหว่างทางชั่วคราว นำตอ่ ไปได้อีก
4. เหตทุ ี่ไม่ใหถ้ อื ไปเกินกำหนดน้นั ชะรอยจะเห็นว่าภิกษถุ ือของเช่นนัน้ เดินทาง ดไู มง่ าม
สิกขาบทท่ี 4 ภิกษุใช้นางภิกษุณี (พระผู้หญิง) ทีไม่ใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี ซ่ึ
ขนเจียม ตอ้ งนิสสคั คิยปาจิตตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก 6) .ใช้นางภิกษุณีให้ซักให้ย้อม ให้สางขนเจียม ทำให้เสียง
การเรียน การสอบถามและเสียข้อปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ช้ันสูงพระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรง
บัญญัติสิกขาบท ห้ามใช้นางภิกษุณีท่ีมิใช่ญาติ ซัก , ย้อม , หรือสางขนเจียม ทรงปรับอาบัตินิสสัคคิ ย
ปาจิตตีย์ แกภ่ ิกษผุ ้ลู ว่ งละเมดิ ขอ้ ความอธิบายมีนัยอนั กลา่ วแล้วในสิกขาบทที่ 4 แหง่ จีวรวรรค
สิกขาบทที่ 8 ภิกษุรับเองก็ดี ใช้ให้ผู้อ่ืนรับกด็ ี ซึ่งทองและเงิน หรือยินดีทองและเงนิ ที่เขาเก็บไว้
เพอื่ ตน ตอ้ งนสิ สัคคิปาจติ ตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ เจ้าของบ้านท่ีพระอุปนันทะ ศากยบุตร เข้าไปฉันเป็นนิตย์ เตรียมเน้ือไว้ถวายใน
เวลาเช้า แต่เด็กรอ้ งไห้ขอกินในเวลากลางคืน จึงให้เด็กกินไป รุ่งเช้าจึงเอากหาปณะ (เงนิ ตรามีราคา 4 บาท)
ถวาย พระอุปนันทะก็รับ มีผู้ติเตียนพระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัตสิกขาบท ห้ามภิกษุ รับเอง ใช้ให้รับทอง
เงนิ หรอื ยินดที อง เงนิ ทเ่ี ขาเกบ็ ไว้เพอื่ ตน ทรงปรับอาบตั นิ สิ สคั คิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษผุ ู้ล่วงละเมดิ
อธิบาย ลักษณะทองและเงิน ทองและเงินนั้น อันเขาทำเป็นรูปพรรณแล้วหรือมิได้ทำก็ตาม ยัง
เป็นแทง่ เป็นลิ่มอยู่ก็ตามเปน็ รูปยิ ะคือของสำหรบั จ่ายก็ตามโดยทสี่ ุดของไม่ใช่ทองและเงินแต่ใช้เปน็ รูปยิ ะได้
เช่น ธนบตั ร กน็ บั ว่าทองและเงินในที่น้ี
วิธีสละทองและเงิน ทองและเงิน ท่ีสละแล้วตามสิกขาบทน้ี ท่านสอนว่า พึงบอกให้แก่อุบาสกผู้
บังเอิญมาถึงเข้า ถ้าเขาไม่เอา ถึงขอให้เขาช่วยทิ้ง ถ้าเขาไม่รับ พึงสมมติภิกษุเป็นผู้ท้ิงเลือกผู้ประกอบด้วย
207
คุณสมบัติ 5 อยา่ ง คือ ไม่ถงึ อคติ 4 และรูจ้ กั วา่ ทำอย่างไรเป็นอนั ทิง้ หรือไมท่ ้งิ ภกิ ษุน้นั พึงทงิ้ อยา่ งหมายท่ตี ก
ถา้ หมายท่ีตก ตอ้ งทกุ กฎ
วิธีปฏิบัติในทองและเงินท่ีเขาเก็บไว้เพ่ือตน อย่าถือเอากรรมสิทธ์ิในทองและเงินนั้น แต่ถือเอา
กรรมสิทธใ์ิ นอันจะได้ของเปน็ กัปปิยะ (ของท่คี วรบรโิ ภคใชส้ อย) จากทองและเงินได้
ลักษณะแห่งอาบัติ อาบัติในสิกขาบทน้ี เป็นอจิตตกะ แม้ไม่มีเจตนา แต่ยินดีและรับเข้าคงไม่พ้น
อาบตั ิ
คำเสียสละ ทองและเงินอันเป็นนิสัคคีย์น้ัน ท่านให้สละในสงฆ์คำเสียสละว่า “อะหัง ภันเต รูปิยัง
ปะฏิคคะเหสงิ , อิทงั เม นิสสคั คิยัง , อมิ าหัง สังฆสั สะ นสิ สัชชาม”ิ
สิกขาบทท่ี 9 ภิกษุทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ คือ ของท่ีเขา ใช้เป็นทองและเงินต้องนิสสัคคีย
ปาจิตตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก6) ทำการซ้ือขายด้วยรูปิยะ (ทอง เงิน หรือส่ิงท่ีใช้
แลกเปล่ียนแทนเงินท่ีกำหนดให้ใช้ได้ทั่วไปในที่นั่นๆ) มนุษย์ทั้งหลายพากันติเตียนว่าทำเหมือนเป็นคฤหัสถ์
พระผ้มู ีพระภาค จึงทรงบัญญัตสิ ิกขาบท หา้ มทำการซ้ือขายด้วยรูปยิ ะ ทรงปรบั อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่
ภกิ ษุผู้ลว่ งละเมิด
อธิบาย ลักษณะของรูปิยะ รูปิยะ นั่น หมายถึงทองและเงิน หรือของอ่ืน อันใช้เป็นมาตราสำหรับ
แลกเปลีย่ น
ลักษณะการซ้ือขาย การซ้ือขาย ได้แก่ การเอารูปิยะจ่ายซื้อกัปปิยะบริขาร (ของใช้ที่ควรใช้)ต่าง
ชนดิ จ่ายเป็นคา่ แรงงานทำการต่างอย่างบ้าง และจ่ายเปน็ ค่าอืน่ อีกบ้าง
ประโยชน์ของสิกขาบท สิกขาบทนี้ มีประโยชน์ท่ีจะกันไม่ให้เอาทองและเงินที่เป็นนิสสัคคีย์ ใน
สิกขาบทกอ่ น มาจ่ายซอ้ื กัปปิยบริขารและจ้างคนทำการ
วิธีสละ การสละ ท่านให้สละแก่สงฆ์เหมือนในสิกขาบทก่อนนั้น และพึงเข้าใจว่าสิกขาบทที่ 8-9 น้ี
ให้สละแก่สงฆเ์ ทา่ น้ัน
คำเสียสละ คำเสียสละว่าอย่างน้ี “อะหัง ภันเต นานัปปะการะกัง รูปิยะสงั โวหารัง สะมาปัชชิง ,
อิทงั เม นิสสคั คิยงั , อิเมหัง สังฆสั สะ นิสสชั ชามิ ”
แปลว่า “ข้าพเจ้าถึงการแลกเปล่ียนด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ ของน้ีของข้าพเจ้า จะต้องสละ
ขา้ พเจ้าขอสละของสิ่งน้ีแกส่ งฆ์”
ท่จี ่ายเปน็ ค่าแรงคนทำการไปแลว้ สละไม่ไดก้ พ็ งึ แสดงแต่อาบตั เิ ท่านนั้
สิกขาบทท่ี 10 ภกิ ษแุ ลกเปล่ียนสง่ิ ของกบั คฤหสั ถ์ ต้องนสิ สคั คิยปาจิตตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ปริพาชกผู้หนึ่งเห็นพระอุปนันทะ ศากยบุตร ห่มผ้าสังฆาฏิสีงาม จึงชวนแลกกับ
ท่อนผ้าของตน ภายหลังทราบวา่ ผ้าของตนดีกว่า จึงขอแลกคืน พระอุปนันทะไม่ยอมให้แลกคืน จึงติเตียน
พระอปุ นันทะ พระผูม้ ีพระภาคทรงทราบจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุทำการซ้อื ขาย ดว้ ยประการต่าง ๆ
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ (หมายถึง ซ้ือขายแลกเปล่ียนโดยใช้สิ่งของ แลกเปล่ียนกันเองระหว่าง นักบวชใน
พระพทุ ธศาสนาทำได้) อธิบายดังน้ี
ลักษณะการแลกเปลี่ยน การแลกเปลี่ยนในท่ีนี้ ได้แก่แลกเอา หรือรับเอาของอันเป็นกัปปิยะด้วย
ของอันเปน็ กัปปยิ ะเหมือนกัน เช่นการที่ทำกันในระหวา่ งคนขายของเคร่อื งใช้กับชาวนา ผซู้ ้ือด้วยข้าวเปลอื ก
เพราะซื้อขายรูปยิ ะหา้ มดว้ ยสิกขาบทกอ่ นแลว้
คำเสียสละ ให้สละได้ท้ังแก่สงฆ์ คณะ และ บุคคล คำสละแก่บุคคลว่าอย่างน้ี “อะหัง ภันเต นานัป
ปะการะกัง กะยะวิกกะยัง สะมาปัชชิง , อิทัง เม นิสสัคคิยัง , อิมาหัง อายัสมะโต นิสสัชชามิ” แปลว่า
208
“ข้าพเจ้าไดท้ ำการคา้ ขายหลายอย่างของสิ่งน้ขี องขา้ พเจา้ จะตอ้ งสละของสิง่ น้ีแก่ท่าน” ลั ก ษ ณ ะ
แห่งอนาบตั ิ ภกิ ษถุ ามราคาต่อเจา้ ของเอง แล้วแจ้งความตอ้ งการของตนแกก่ ปั ปิยการก (ศิษย์) ไมเ่ ป็นอาบัติ
ปตั ตวรรคที่ 3
สิกขาบทที่ 1 บาตรนอกจากบาตรอธิษฐาน เรียกว่าอติเรกบาตร อติเรกบาตรน้นั ภิกษุเก็บไว้ได้
เพียง 10 วัน เป็นอย่างย่งิ ถา้ ใหล้ ่วง 10 วนั ไป ต้องนสิ สคั คยิ ปาจติ ตีย์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคีย์ สะสมบาตรไว้เป็นอันมาก ถูกมนุษย์ติเตียนว่า เป็นพ่อค้าบาตร
พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุเก็บบาตรอติเรก (คือท่ีเกิน 1 ลูก ซ่ึงเกินจำเป็น
สำหรับใชเ้ ป็นประจำ) ไวเ้ กิน 10 วนั ตอ้ งนิสสคั คิยปาจติ ตียอ์ ธิบายดังน้ี
บาตร บาตรนั้น เป็นของทำด้วยดินเผาบ้าง ด้วยเหล็กบ้าง มีขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ เป็นของทรง
อนุญาตให้เป็นบริขาร (ของใช้สอย) ของภิกษุเฉพาะใบเดียว บาตรอันภิกษุต้ังไว้เป็นบริขารอย่างนี้ เรียก
บาตรอธษิ ฐาน
ลกั ษณะแหง่ อาบตั ิ ภกิ ษุไมเ่ สียสละบาตรทเ่ี ปน็ นสิ สัคคิยปาจิตตีย์ ใชส้ อย ต้องทุกกฎ
คำเสียสละ คำเสียสละแกบ่ ุคคลว่าอย่างนี้ “อะยัง เม ภันเต ปัตโต ทะสาหาตกิ กนั โต นิสสคั คิ
โย, อิมาหัง อายัสมะโต นิสสัชชามิ” แปลว่า “บาตรใบน้ีของข้าพเจ้าล่วง 10 วัน จะต้องสละ ข้าพเจ้าขอ
สละบาตรใบนแ้ี ก่ท่าน”
คำใหค้ ืน ว่าดงั นี้ “อิมัง ปัตตัง อายัสมะโต ทัมมิ” แปลว่า “ขา้ พเจา้ คนื บาตรใบน้ใี ห้แก่ท่าน”
สิกขาบทท่ี 2 ภิกษุมีบาตรร้าวยังไม่ถึง 10 นิ้ว ขอบาตรใหม่ต่อคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่
ปวารณา (ไม่ไดบ้ อกให้ขอ) ไดม้ า ตอ้ งนิสสคั คยิ ปาจิตตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ช่างหมอ้ ปวารนา ให้ภิกษุท้ังหลายขอบาตรได้ แต่ภิกษุทั้งหลาย ขอเกินประมาณ
จนเขาเดือดรอ้ น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบญั ญัตสิ ิกขาบทว่า ภิกษุขอบาตรต้องนสิ สัคคิยปาจิตตีย์ ภายหลงั มี
เร่ืองเกิดขึน้ จึงทรงผอ่ นผันใหข้ อได้ ในเม่ือบาตรหาย หรือบาตรแตก หรือบาตรเป็นแผลเกนิ 5 แห่ง
อธิบาย รอยร้าว รอยร้าวยาวต้ังแต่ 2 น้วิ จัดวา่ เป็นแผลแห่งหนงึ่ ของบาตรทีม่ รี อยรา้ ว
วิธีสละ บาตรเป็นนิสสัคีย์ในสิกขาบทนี้ ท่านให้สละในสงฆ์ โดยสมมติ (แต่งตั้ง) ภิกษุผู้ไม่ลุอำนาจ
อคตแิ ละรจู้ ักวิธีเปลย่ี นบาตรให้เปน็ ผเู้ ปล่ียนบาตร ภกิ ษุน้นั พงึ เอาบาตรใหม่ (ท่ีขอมา) นนั้ ถวายพระเถระ เอา
บาตรพระเถระถวายพระรูปท่ี 2 เปลี่ยนเลื่อนลงมาโดยนัยน้ี จนถึงภิกษุใหม่ในสงฆ์แล้ว รับบาตรของภิกษุ
ใหมน่ น้ั มอบให้แก่ภิกษนุ ้นั ไวใ้ ช้
ห้ามอธิษฐานบาตรเลว ห้ามไว้ไม่ให้อธิษฐานบาตรเลว ด้วยหมายจะได้บาตรดี ทำอย่างน้ันปรับ
เป็นกฏ
สิกขาบทที่ 3 ภกิ ษุรบั ประเคนเภสชั ทัง้ 5 คอื เนยใส เนยข้น น้ำมนั นำ้ ผ้ึง น้ำอ้อย แลว้ เก็บไว้ฉัน
ไดเ้ พียง 7 วนั เปน็ อยา่ งยง่ิ ถา้ ใหล้ ว่ ง 7 วนั ไป ตอ้ งนิสสัคคิยปาจิตตยี ์.
นทิ านต้นบัญญตั ิ มผี ู้ถวายเภสัช 5 สำหรับคนไข้ คอื เนยใส เนยขัน น้ำมัน น้ำผึง้ น้ำอ้อย แก่พระปิ
ลินทวัจฉะ ท่านก็แบ่งให้บริษัทของท่าน (ซ่ึงเป็นภิกษุ) ภิกษุเหล่าน้ันเก็บไว้ในท่ีต่าง ๆ เภสัชก็ไหลเยิ้มเลอะ
เทอะ วิหารกม็ ากไปด้วยหนู คนทั้งหลายพากนั ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ให้เก็บเภสัช
5 ไวบ้ ริโภคไดไ้ ม่เกนิ 7 วัน ถ้าเกนิ 7วนั ต้องนสิ สคั คยี ปาจติ ตยี ์อธิบายดงั นี้
เภสัช 5 เนยใส เนยข้นน้ัน ทำจากน้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือ หรือจากน้ำนมสัตว์อันเป็น
กัปปิยะ น้ำมันน้ัน สกัดออกจากเมล็ดงา เมล็ดพันธ์ุผักกาด เมล็ดมธุกะ ที่แปลว่า มะซาง เมล็ดละหุ่ง หรือเปลว
สตั ว์ น้ำผ้งึ นน้ั คอื รสหวานทแี่ มลงผ้ึงทำจากดอกไม้ป่า น้ำออ้ ยน้นั คอื รสหวานเกดิ จากตน้ อ้อย
209
เหตทุ ท่ี รงอนุญาตเพียง 7 วัน ทรงอนุญาตให้ใชเ้ พียง 7 วันเป็นอยา่ งมากน้ัน เขา้ ใจวา่ เพ่ือจะกนั มิ
ใหใ้ ช้ของเสีย เชน่ มกี ล่ินหนื และมีรสเปร้ียว
ลกั ษณะแหง่ อนาบัติ ภกิ ษตุ ั้งใจไว้กอ่ นว่าจะไม่บริโภค ล่วง 7 วันไป ไม่เป็นอาบัติ เภสัชสูญหายเสีย
ก็ดี ขาดจากกรรมสิทธ์ิของตนแล้วก็ดี ภายใน 7 วัน ช่ือว่าไม่มีแล้ว ไม่เป็นวัตถุแห่งอาบัติท่านกล่าวว่า สละ
ขาดให้แก่อนุปสัมบัน (ผู้มิใช้ภิกษุ) แล้วได้คืนมา ฉันได้อีก เภสัชล่วง 7 วัน แม้ภิกษุอ่ืนก็ไม่ควรฉัน แต่จะ
เรียกว่าไม่เปน็ นสิ คั คียไ์ ด้อยู่
คำเสียสละ คำเสียสละแก่บุคคลว่า “อิทัง เม ภันเต เภสัชชัง สัตตาหาติกกันตัง นิสสัคคิยัง อิมาหัง
อายสั มะโต นสิ สชั ชามิ” แปลวา่ “เภสัชของขา้ พเจา้ ลว่ ง 7 วนั จะตอ้ งสละ ข้าพเจา้ ขอสละเภสชั น้ีแกท่ ่าน”
คำใหค้ ืนว่าดงั นี้ “อิมัง เภสชั ชัง อายสั มะโต ทมั มิ” แปลว่า “ขา้ พเจ้าคืนเภสัชน้ีใหแ้ กท่ า่ น”
สิกขาบทที่ 4 เม่ือฤดูร้อนยังเหลืออยู่อีก 1 เดือน คือต้ังแต่ 1 ค่ำ เดือน 7 จึงแสวงหาผ้าอาบ
น้ำฝนได้ เมอื่ ฤดรู ้อนยังเหลอื อยูอ่ กี กึ่งเดือน คือต้งั แต่ขน้ึ 1 ค่ำ เดือน 8 จึงทำน่งุ ได้ ถ้าแสวงหาหรือทำนุ่ง
ใหล้ ้ำกว่ากำหนดนน้ั เข้ามา ต้องนิสสัคคยิ ปาจติ ตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคีย์ ทราบว่า พระผู้มีพระภาค ทรงอนุญาตผ้าอาบน้ำฝน จึงแสวงหาและ
ทำนุ่ง ก่อนเวลา (จะถึงหน้าฝน) ต่อมาผ้าเก่าชำรุด เลยต้องเปลือยกายอาบน้ำฝน พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึง
ทรงบัญญัติสิกขาบทให้แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนได้ ภายใน 1 เดือนก่อนฤดูฝน ให้ทำนุ่งได้ ภายใน 15 วันก่อนฤดูฝน
ถ้าแสวงหาหรือทำก่อนกำหนดนัน้ ต้องนสิ สคั คยิ ปาจติ ตยี ์ อธิบายได้ดังนี้
ผ้าอาบน้ำฝน ผา้ อาบน้ำฝนนั้น เป็นของทรงอนุญาตเป็นบริขารพิเศษชัว่ คราวของภิกษุอธิษฐานไว้ใชไ้ ด้
ตลอด 4 เดอื นฤดฝู น พน้ นัน้ เป็นธรรมเนยี มให้วกิ ปั (ทำให้เปน็ 2 เจา้ ของ ฝากภิกษุอน่ื )
ทรงอนุญาตให้แสวงหา ในสิกขาบทน้ีทรงอนุญาตให้แสวงหาล้ำฤดูฝนเข้ามา 1 เดือนคือต้ังแต่เดือน 7
แรม 1 คำ่ ถงึ เดือน 8 ข้นึ 15 ค่ำ ให้ทำนุ่งล้ำฤดฝู นเขา้ มากึ่งเดอื น คอื ตัง้ แตเ่ ดือน 8 ข้ึน 1 ค่ำ ถึงข้ึน 15 คำ่
พระพุทธานุญาตให้แสวงหานั้น หมายเฉพาะขอต่อคฤหัสถ์ผู้มิใช่ญาติ มิใช่ปวารณา แม้จะขอโดย
ฐานเป็นอติเรกจีวร กค็ งเปน็ นสิ สคั คยี ์ในสกิ ขาบทอันปรารภการขอจีวรเหมอื นกัน
การทำนุ่งน้ัน หมายเอาอธิฐานไวใ้ ช้เป็นผา้ วัสสิกสาฏก (ผ้าอาบน้ำฝน)ถ้าแสวงหาในสำนักญาติและ
คนปวารณา ที่ไมเ่ ป็นวิญญัติ (ไม่ได้ออกปากขอเขา)และใช้นุง่ ด้วยมิได้อธิษฐาน เช่นนี้ ได้บรหิ าร (การรกั ษา)
อยา่ งอติเรกจีวร ไมน่ ับเข้าในสกิ ขาบทน้ี
ลกั ษณะแห่งอาบตั ิ อาบตั ิในสิกขาบท เปน็ อจติ ตกะ (ไมม่ ีเจตนา) นับวนั พลาดไปกไ็ มพ่ ้นอาบัติ
สิกขาบทท่ี 5 ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้ว โกรธ ชิงเอาคืนมาเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นชิงมาก็ดีต้องนิส
สคั คิยปาจติ ตีย์
นิทานต้นบัญญัติ พระอุปนันทะ ศากยบุตร ชวนภิกษุรูปหน่ึงเดินทางไปชนบท เธอว่าจีวรชำรุดมาก
เธอไม่ไป พระอปุ นันทะจึงให้จีวรใหม่ ภายหลังภิกษุนั้นเปลี่ยนใจจะตามเสด็จพระผู้มีพระภาค พระอุปนนั ทะโกรธ
จึงชิงจีวรคืนมา พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอ่ืนแล้ว โกรธ ไม่พอใจ
ชิงคนื เองหรือใช้ใหผ้ อู้ น่ื ชิงคืนมา ต้องนสิ สคั คิยปาจติ ตยี อ์ ธิบายดงั น้ี
การชิงเอาจีวร การชงิ เอาจีวรคืน ท่านปรับเป็นเพียงนิสสัคคีย์เท่าน้ัน เพราะทำด้วยสกสัญญา คือ
สำคัญว่าเป็นของของตน และท่านรับรองกรรมสิทธ์ิแห่งเจ้าของเดิมว่า ยังมีอยู่ในจีวรนั้น จึงไม่ปรับเป็น
อาหาร (การลักขโมย)
ชิงบรขิ ารอนื่ ปรับเป็นทกุ กฏ
ชงิ ของอนุปสัมบัน (ผยู้ งั มิไดอ้ ุปสมบท คือ สามเณร และ คฤหัสถ์) ทุกอยา่ งปรบั ทุกกฎ
210
สกิ ขาบทที่ 6 ภิกษุขอดว้ ยต่อคฤหัสถท์ ่ีไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา (ไม่ได้บอกใหข้ อ) เอามาใหช้ า่ ง
หกู (ช่างทอผ้า) ทอเปน็ จวี ร ต้องนิสสัคคิยปาจติ ตยี ์
นิทานตน้ บัญญัติ ภิกษฉุ พั พัคคยี ์ เท่ยี วขอด้ายเขามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ด้ายเหลือกไ็ ปขอเขาเพ่ิม
ให้ช่างหูกทอเป็นจีวรอีก ด้ายเหลืออีก ก็ไปขอด้ายเขาสมทบ เอาไปให้ช่างหูกทอเป็นจีวรอีก รวม 3 ครั้ง คน
ทง้ั หลายพากันติเตียน พระผู้มีพระภาคทรงทราบจงึ ทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุขอด้ายเขาด้วยตนเอง เอา
มาใหช้ า่ งหกู ทอเปน็ จีวรต้องนสิ สัคคยิ ปาจติ ตีย์อธบิ ายได้ดังนี้
ขอผา้ ท่ที อแลว้ หา้ มด้วยสิกขาบทปรารภการขอจวี ร ขอดา้ ยมาทอเอาเองหา้ มดว้ ยสกิ ขาบทนี้
สิกขาบทท่ี 7 ถา้ คฤหัสถท์ ไี่ มใ่ ช่ญาติ ไม่ใชป่ วารณา (ไมไ่ ดบ้ อกใหข้ อ) สงั่ ใหช้ ่างหูก (ชา่ งทอผ้า)
ทอจวี ร เพ่อื จะถวายแกภ่ ิกษุ ถ้าภกิ ษุไปกำหนดใหเ้ ขาทำใหด้ ขี ้นึ ด้วยจะใหร้ างวัลแกเ่ ขา ตอ้ งนิสสคั คิย
ปาจิตตยี ์
นทิ านต้นบัญญตั ิ พระอุปนนั ทะ ศากยบุตร ทราบวา่ ชายผู้หน่ึงสงั่ ภรรยาใหจ้ ้างชา่ งหกู ทอจีวรถวาย
จงึ ไปหาช่างหูกสั่งให้เขาทอ ใหย้ าว ใหก้ ว้างใหแ้ น่นเป็นต้นด้ายที่ให้ไว้เดิมไม่พอ ช่างต้องมาขอด้ายจากหญิง
นั้นไปเติมอีกเท่าตัว ชายผู้สามีทราบภายหลังจึงติเตียน พระผู้มีพระภาคทรงทราบจึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ใจความว่าภิกษุที่เขามิได้ปวารณาไว้ก่อนไปหาช่างหูกให้ทออย่างน้ันอย่างน้ี ตนจะให้รางวัลบางครั้งพูดกับ
เขาแลว้ ให้แม้ของเพียงเล็กน้อยสกั วา่ บิณฑบาต ต้องนสิ สคั คยิ ปาจิตตีย์
อธบิ ายท้งั ปวง พงึ รูโ้ ดยนยั อันกล่าวแล้วในสิกขาบทปรารภการเตรยี มจะจ่ายจีวรที่ 8 แห่งจีวรวรรค
สิกขาบทที่ 8 ถ้าอีก 10 วัน จะถึงวันปวารณา (เป็นวันที่ภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณาคือเปิด
โอกาสใหว้ ่ากลา่ วตักเตือนกนั ได้) คอื ต้งั แต่ขนึ้ 6 คำ่ เดอื น 11 ถา้ ทายกรบี จะถวายผา้ จำนำพรรษา (ผา้ ที่
ทายกถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว) ก็รับเก็บไว้ได้ แต่ถ้าเก็บไว้เกินกาลจีวรไป
ตอ้ งนสิ สคั คิยปาจติ ตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต ให้รับผ้าจำนำพรรษาท่ีเขาถวาย แก่ภิกษุผู้อยู่จำ
พรรษาก่อนออกพรรษาแล้วเก็บไว้ได้ แต่ภิกษุบางรูปเก็บไว้เกินเขตจีวรกาลพระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึง
ทรงบัญญัติสิกขาบทให้รับผ้าจำนำพรรษาได้ก่อนออกพรรษา 10 วัน แต่ให้เก็บไว้เพียงตลอดกาลจีวร เก็บ
เกินกำหนดน้นั ตอ้ งนสิ สคั คยิ ปาจิตตีย์อธบิ ายดังนี้
กาลจีวรน้ัน ดังน้ี ถ้าจำพรรษาแล้วไม่ได้กรานกฐิน นับแต่วันปวารณาไปเดือน 1 คือต้ังแต่แรม 1 ค่ำ
เดือน 11 ถงึ กลางเดือน 12 ถา้ ได้กรานกฐนิ นับตอ่ ไปอกี 4 เดอื น ถึงกลางเดือน 4 ข้อความที่ควรกำหนด ดังนี้
วันเพ็ญ 2 สมัย
1. วนั เพญ็ เดอื น 11 ปณุ ณมีครบ 3 เดือน
2. วันเพ็ญเดอื น 12 ปุณณมีครบ 4 เดอื น
ผ้าจำนำพรรษา เมื่อพ้นวันเพ็ญทั้ง 2 น้ันแล้ว เข้าเขตจีวรกาลอันเป็นสมัยที่ทายกถวายผ้าแก่ภิกษุผู้
ออกพรรษาแลว้ ซึ่งเรียกว่าวัสสาวาสกิ ะ หรือว่าผ้าจำนำพรรษา และเปน็ เวลาที่ภิกษุผลัดเปล่ียนจีวร พระศาสดา
ทรงอนุญาตประโยชน์พิเศษไว้หลายประการ เป็นต้นว่าเก็บอติเรกจีวรไว้ได้เกิน 10 วัน ไปทางไหนไม่ต้องมีไตร
จวี รครบชุด ตลอด 1 เดอื น ถา้ ไดก้ รานกฐนิ ยืดเวลาออกไปไดอ้ กี 4 เดอื น
อัจเจกจีวร แปลว่า จีวรรีบร้อน คือ จีวรที่ทายกมีเหตุจำเป็นจะต้องรับถวายก่อนวันกำหนด ทรง
อนุญาตใหร้ ับลว่ งหนา้ ได้
สิกขาบทท่ี 9 ภิกษุจำพรรษาในเสนาสนะป่าซ่ึงเป็นท่ีเปลี่ยว ออกพรรษาแล้วอยากจะเก็บไตร
จีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ท่ีบ้าน เมื่อมีเหตุก็เก็บไว้ได้เพียง 6 คืน เป็นอย่างย่ิง ถ้าเก็บไว้เกินกว่าน้ัน ต้องนิส
สัคคิยปาจติ ตยี ์ เวน้ ไว้แต่ไดส้ มมติ (คือ สงฆต์ กลงกนั ใหเ้ ก็บไว้ได้เกิน 6 คนื )
211
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุจำพรรษาแล้ว อยู่ในเสนาสนะป่า พวกโจรรู้ว่า มีจีวร ก็เข้าแย่งพระผู้มีพระ
ภาคจึงทรงอนุญาตใหภ้ ิกษุอยู่ป่า เก็บจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในบ้างได้ภิกษุจึงเก็บไว้ในบ้านเกิน 6 คืน จวี รหาย
บา้ ง หนูกดั บา้ ง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสกิ ขาบท ให้ภิกษอุ ยู่ป่า เก็บจีวรผืนใดผนื หนึง่ ไว้ในบ้านได้ แต่
จะอยู่ปราศจากจีวรน้ันได้ไม่เกิน 6 คืน ถ้าเกินไปต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ (คือสงฆ์ประชุม
กันสวดประกาศเป็นกรณพี ิเศษ) อธบิ ายดังน้ี
เสนาสนะป่า ในคัมภรี ์วิภงั ค์ (หนังสือจำแนกความอธิบายความหมายแหง่ สิกขาบทให้ชัดเจน) กล่าว
ว่า มีระยะไกล 500 ช่ัวธนูเป็นอย่างน้อย ชั่วธนูหนึ่ง 4 ศอก คือ 1 วา วัดโดยทางที่ไปมาตามปกติไม่ใช่ทาง
ลัด โดยนัยน้ีเสนาสนะอนั อยูไ่ กลจากบ้านคน อย่างนอ้ ยเพยี ง 25 เสน้ ช่ือว่าเสนาสนะปา่
ประโยชนพ์ ิเศษ ภิกษุอย่ใู นเสนาสนะเช่นนี้ ไดร้ ับประโยชนพ์ ิเศษ เพื่อจะอย่ปู ราศจากจีวรเพม่ิ ขนึ้ อีก
6 คืน ตามพระพุทธานญุ าตในสิกขาบทนี้
สิกขาบทท่ี 10 ภิกษุรแู้ ลว้ และนอ้ มลาภทเ่ี ขาจะถวายสงฆ์มาเพ่ือตน ต้องนสิ สคั คยิ ปาจิตตยิ ์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคีย์ไปพูดกับคณะบุคคล ซ่ึงเตรียมอาหารและจีวรไว้ถวายแก่สงฆ์
เพ่ือให้เขาถวายแก่ตน เขารับถูกเร้าหนัก ก็เลยถวายไป ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติ
สิกขาบทวา่ ภิกษุรอู้ ยูน่ ้อมลาภมาเพอ่ื ตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตย์อธบิ ายดังนี้
ลาภ ลาภในท่นี ้ีได้แก่ ปัจจัย 4 คอื จีวร บณิ ฑบาต เภสัช และของทีเ่ ปน็ กัปปยิ ะ(ของท่ีควรบริโภคใช้
สอย)อยา่ งอืน่ ๆ อกี .
อาการน้อมลาภ คือ นอ้ มลาภท่ีเขาเตรยี มไวด้ ว้ ยตง้ั ใจจะถวายสงฆ์ แต่ยงั ไมท่ ันจะไดถ้ วาย
ลักษณะแหง่ อาบตั ิ
1. ภิกษุน้อมลาภเช่นนั้นมาเพ่ือตน คือขอเอาก็ดี พูดเลียบเคียงเพ่ือจะให้เขาให้ก็ดี ในประโยคที่ทำ
เปน็ ทุกกฏ ได้ของนน้ั มาเป็นนิสสัคคยี ์
2. น้อมลาภเชน่ นั้น เพื่อสงฆ์หมูอ่ นื่ กด็ ี เพือ่ เจดยี ก์ ็ดี เปน็ ทกุ กฏ
3. น้อมลาภท่เี ขาจะถวายเจดีย์ก็ดี ก็เขาจะถวายบคุ คลก็ดใี ห้สับกนั เสยี เปน็ ทกุ กฏเหมอื นกนั
4. เพราะมีคำว่ารู้อยู่ อาบัติในสิกขาบทน้ี จึงเป็นสจิตตกะ (จงใจน้อมลาภนจึงเป็นอาบัติ) แม้เช่นนี้
ภกิ ษไุ ม่รู้แน่ แตส่ งสยั ขืนลว่ ง ตอ้ งทกุ กฏ เขาปรึกษาบอกแนะนำ ไม่เปน็ อาบตั ิ
คำเสียสละ น้อมลาภได้มาเป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละ คำเสียสละแก่บุคคลว่า “อิทัง เม ภันเต
ชานงั สังฆิกงั ลาภงั ปะรณิ ะตงั อตั ติโน ปรณิ ามติ ัง นิสสัคคยิ ัง , อิมาหงั อายัสมะโต นิสสชั ชาม”ิ
แปลว่า “ลาภนี้ เขาน้อมไปเป็นของจะถวายสงฆ์ ข้าพจ้ารู้อยู่ น้อมมาเพื่อตน จะต้องสละ ข้าพเจ้า
ขอสละลาภน้ีแกท่ ่าน”
สรุปนิสสัคคยิ วตั ถุ
ของท่ีเป็นนิสสคั คียใ์ น 30 สิกขาบทน้ี ควรจะจดั เข้าได้เป็น 3 หมวด คือ
หมวดท่ี 1. เป็นนสิ สคั คีย์ โดยวัตถุ
หมวดท่ี 2. เปน็ นสิ คั คีย์ โดยอาการของภิกษุ
หมวดท่ี 3. เป้นนิสัคคยี ์ โดยล่วงเวลา
หมวดท่ี 1 เป็นนสิ สัคคยี ์ โดยตรง
1. ทองและเงิน 2. ของเป็นกปั ปยิ ะทแี่ ลกเปลย่ี นด้วยรปู ิยะ 3. สันถัตที่หลอ่ เจือดว้ ยไหม 4.สนั ถัต
ทีห่ ลอ่ ด้วยขนเจยี มดำลว้ น 5. สนั ถัตทหี่ ล่อใชข้ นเจียม
หมวดท่ี 2 เป็นนสิ สคั คยี ์ โดยอาการของภิกษโุ ดยกริ ิยาทไ่ี ดม้ า
1. จีวรทร่ี บั จากมอื นางภกิ ษณุ ผี ไู้ มใ่ ช่ญาติ
2. จีวรที่ขอต่อคฤหสั ถผ์ ูม้ ิใชญ่ าติ มใิ ชป่ วารณา
212
3. จีวรทีข่ อเกนิ กำหนดในเมือ่ มีสมยั ท่ีจะขอได้
4. จวี รท่สี งั่ ใหเ้ ขาจ่ายดีขนึ้ ไปกว่าทเ่ี ขากำหนดไว้มี 2 ชนิด
5. จีวรท่ไี ด้มาด้วยทวงเกนิ กำหนด
6. ของทแ่ี ลกเปล่ียนกับคฤหสั ถไ์ ดม้ า
7. บาตรทขี่ อเขาในกาลยงั ไมค่ วร
8. จีวรที่ใหแ้ กภ่ กิ ษุอืน่ แลว้ ชิงเอาคืนมา
9. ดา้ ยทีข่ อเขามาทอจีวร
10. จวี รทีส่ ั่งให้ช่างหกู ทอดีกวา่ เจ้าของเขากำหนดไว้
11. ลาภสงฆ์ที่น้อมมาเพอื่ ตน
โดยกริ ยิ าท่ที ำ
1. จีวรทใ่ี ช้นางภิกษุณีผู้มิใชญ่ าติ ใชช้ ักก็ดี ใหย้ ้อมก็ดี ในทุบก็ดี 2.สันถัตท่ีหลอ่ ใหม่ในเม่ือใช้สันถัต
เก่ายงั ไม่ถึง 6 ปี 3. สันถัตทีห่ ลอ่ ใหมไ่ ม่เอาสันถตั เกา่ ปน
โดยกิรยิ าท่ใี หล้ ้ำกำหนด
1. ขนเจยี มทถ่ี ือมาเองเกิน 3 โยชน์
2. ผา้ อาบน้ำฝนท่ีหาได้ หรือทำนุ่งลำ้ วันกำหนด
หมวดที่ 3 เป็นนิสสคั คยี ์ โดยลว่ งเวลา
1. ไตรจีวรท่ีอยู่ปราศจากเกิน 1 ราตรี 2. อติเรกจีวรล่วง 10 วัน 3. อติเรกบาตรล่วง 10 วัน 4.
อกาลจีวรท่ีได้อนุญาตเกิน 1 เดือน 5. อัจเจกจีวรล่วงจีวรกาด 6. จีวรท่ีอยู่ปราศจากเกิน6 คืนในคราวได้
อนญุ าตพิเศษ 7. เภสัชล่วง 7วนั
วธิ สี ละ ของท่ตี ้องสละ พงึ ทำตามอนรุ ูป (ตามสมควร) ดังนี้
1. ถ้าการต้องอาบตั ิน้ัน เปน็ เหตุอือ้ ฉาวกระฉอ่ นเป็นที่รังเกียจของคนมากควรสละในสงฆ์
2. ถา้ ไมม่ ีใครถอื เอาเป็นขอ้ รังเกยี จใหญโ่ ต ควรสละแก่บุคคล
3. ถ้าเป็นของไม่ควรบริโภค (ใช้สอย) คำเสียสละไม่ควรจะว่า “สังฆัสสะ” แต่สงฆ์ “อายัสมะโต”
แก่ท่าน ควรจะว่าเพียง “อิมาหัง นิสสัชชามิ” ข้าพเจ้าขอสละของนี้เสีย เพราะของเป็นอกัปปิยะ (ของไม่
ควรบริโภคใช้สอย) สงฆ์ก็ดี บุคคลก็ดี จะรับเอาไวอ้ ย่างไร สมควรมอบให้แก่คฤหัสถ์หรอื ท้ิงเสีย อนุโลมตาม
อย่างทองและเงิน
4. ของเป็นนิสสัคคยี ์ แตส่ ูญหายไปเสีย ไมม่ จี ะเสียสละ เป็นแตเ่ พียงแสดงอาบตั เิ ท่านนั้
อาบัติแต่หมวดน้ีลงไป จัดเป็นอาบัติเบา เรียกว่าลหุกาบัติ และจะพ้นได้ด้วยวิธีแสดง เรียกเทส
นาคามนิ ี ถุลลจั จัยก็จัดเข้าในหมวดน้เี หมอื นกนั
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล วนิ ัยปฎิ ก มหาวิภงั ค์ ภาค 2 เล่ม 2 (2555, หนา้ 1 -871)
ปาจิตตีย์ ศัพท์ “ปาจิตตีย์” นี้ ปาจิตตีย์ที่ไม่ต้องสละสิ่งของ เรียกให้แปลกจากนิสสัคคิยปาจิตตีย์
วา่ สุทธิกปาจิตตีย์ แปลว่า ปาจติ ตยี ล์ ้วน แต่ในบาลีเรียกเพยี งปาจิตตยี ์
ในกณั ฑ์นี้มี 92 สกิ ขาบท จัดเข้าเปน็ 9 วรรค ๆ ละ 10 สิกขาบท เว้นแต่สหธรรมมิกวรรคมี 8 มี 12
สิกขาบท
มสุ าวาทวรรคท่ี 1
สิกขาบทท่ี 1 พดู ปด ต้องปาจติ ตยี ์
นทิ านต้นบัญญัติ พระหัตถกะ ศากยบุตร สนทนากับพวกเดียรถีย์ปฏิเสธแลว้ กลับรับ รับแล้วกลับ
ปฏิเสธ กล้าพดู ปดทัง้ ๆ รู้ พระผู้มพี ระภาคจึงทรงบญั ญตั ิสิกขาบทปรับอาบัตปิ าจิตตยี ์ แกภ่ ิกษุผู้พดู ปดทัง้ ๆ
รอู้ ธบิ ายดังน้ี
213
ลักษณะพูด สัมปชานมุสาวาท (พูดปด) นั้น คือรู้ตัวอยู่กล่าวเท็จ พึงรู้โดยลักษณะอย่างน้ี เรื่อง
เป็นอยู่อย่างใดอย่างหน่ึง แต่ผู้พูดจงใจจะพูดให้คลาดจากความจริงพูดหรือแสดงอาการอย่างอื่นด้วยเจตนา
นน้ั ให้ผ้ฟู ังเข้าใจเป็นอยา่ งอื่นจากความจรงิ แสดงเพยี งกายประโยค เชน่ เขียนหนงั สือ กเ็ ขา้ ในลกั ษณะนี้
ลักษณะแห่งอาบัติ อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นสจิตตกะ (มีเจตนา) คือ ต้ังใจพูดเท็จ จึงจะเป็นอาบัติ
ไม่ตง้ั ใจพูดเท็จ ไม่เป็นอาบัติ รับคำของเขาด้วยจติ บริสทุ ธแ์ิ ล้ว ภายหลงั ไมไ่ ด้ทำตามรบั นั้นเรียกปฏิสสวะ (ฝนื
คำท่รี ับปากเขาไว้) ปรบั ทุกกฎ
สิกขาบทท่ี 2 ด่าภกิ ษุ ตอ้ งปาจิตตีย์
นิทานบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคีย์ ทะเลาะกับภิกษุผู้มีศีลอันเป็นท่ีรักอ่ืน ๆ แล้วด่า แช่งด้วยคำด่า 10
ประการ คือ ถ้อยคำทพี่ าดพงิ ถึง ชาติ (กำเนดิ ) ชอ่ื โคตร การงาน ศิลปะ อาพาธ เพศ กเิ ลส อาบัติ และคำ
ด่าที่เลว พระผู้พระภาคทรงทราบจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ด่าภิกษุอื่นอธิบาย
ดงั นี้
ลักษณะด่า โอมสวาท (คำด่า) นั้น คือ คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจ พร้อมด้วยจิตปรารถนาจะให้เขา
เจ็บใจ และวัตถุสำหรับอ้างขึ้นกล่าวเสียดแทงน้ัน คือ ชาติได้แก่ช้ันหรือกำเนิดของคน 1 ช่ือ 1 โคตรคือแซ่
1 การงาน 1 ศลิ ปะ 1 โรค 1 รูปพรรณ สณั ฐาน 1 กเิ ลส 1 อาบัติ คำสบประมาทอย่างอืน่ อีก 1 รวมเปน็ 10
น้ีเรยี กวา่ อักโกสวตั ถุ แปลว่าเรือ่ งสำหรับดา่
กริ ยิ าเสียดแทง
1. แกล้งพูดยกย่องด้วยเร่ืองที่ดีเกินความจริงกระทบถึงชาติเป็นต้นเรียกว่าพูดแดกดันบ้าง พูด
ประชดบ้าง (กล่าวกระทบกระแทกหรอื ประชดเพราะความไม่พอใจ)
2. พดู กดให้เลวลง (ใชถ้ อ้ ยคำวา่ คนอ่นื ดว้ ยคำหยาบเขา้ เลวทราม)เรยี กวา่ ด่า
ทุพภาสติ าบัติ ไม่ไดเ้ พง่ ความเจบ็ ใจหรอื ความอัปยศ พดู ล้อเลน่ แต่กระทบวตั ถุ (เรื่อง) มชี าติกำเนิด
ชาติตระกูล เป็นตน้ กบั อุปสัมบนั ก็ตาม อนปุ สมั บันกต็ าม พูดเจาะตัวกต็ าม พูดเปรย ๆ ก็ตาม เป็นทุพภาสิต
เหมอื นกนั
ลกั ษณะแหง่ อนาบัติ อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นสจิตตกะเหมือนกัน เพราะฉะน้ัน ถ้ามุ่งอรรถมุ่งธรรม
มุ่งสัง่ สอน แม้กลา่ วถงึ ชาติกำเนิดเป็นต้น ไมเ่ ป็นอาบตั ิ
สกิ ขาบทที่ 3 สอ่ เสียด (ยแุ หย่) ภิกษุ ตอ้ งปาจติ ตยี ์
นทิ านต้นบัญญัติ ภิกษุฉพั พัคคีย์ พดู ส่อเสียดภิกษสุ องฝา่ ยซึ่งทะเลาะกัน ฟังความข้างน้ีไปบอกขา้ ง
นั้น ฟังความข้างโน้นมาบอกข้างนี้ เพื่อให้แตกร้าวกันทำให้ทะเลาะกันย่ิงข้ึน พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึง
ทรงบญั ญัตสิ ิกขาบท ปรับอาบัตปิ าจติ ติยแ์ ก่ภกิ ษุผพู้ ดู ส่อเสยี ดภิกษุอ่นื อธบิ ายดังน้ี
ลักษณะส่อเสียด คำสอ่ เสียด (ยุแหย)่ เรียกโดยช่ือว่า เป็นสญุ ญวาท พึงรู้โดยลักษณะอย่างนี้เก็บคำ
ข้างนี้ไปบอกขา้ งใน เพือ่ ทำลายขา้ งนี้ เก็บคำข้างโน้มแล้วแล้วมาบอกข้างนเี้ พื่อทำลายขา้ งโนน้ ด้วยปรารถนา
จะได้เป็นทร่ี ักของเขาบา้ ง ด้วยปรารถนาจะใหแ้ ตกกนั เปน็ การทอนกำลังเขาลงบา้ ง
ลักษณะแหง่ อาบตั ิ
1. สอ่ เสียดภิกษุตอ่ ภิกษุด้วยกนั ตอ้ งปาจติ ตีย์
2. ข้างหนึ่งเป็นอุปสัมบัน (ภิกษุ) อีกข้างหน่ึงเป็นอนุปสัมบัน(สามเณรหรือคฤหัสถ์) หรือเป็น
อนุปสมั บนั ทง้ั 2 สอ่ เสียด (ยแุ หย)่ ตอ้ งทุกกฎ
3. ได้ฟังมาแล้ว บอกดว้ ยปรารถนาเหตุอยา่ งอ่ืน ไมไ่ ด้ปรารถนาจะให้เขาชอบและให้แตกกนั ไม่เปน็
อาบตั ิ
4. อาบัติท่ีจะพึงปรับในสิกขาบทน้ี เป็นเพียงทุกกฎ แต่คำมุสาในที่น้ีมีโทษแรงกว่ามุสา สับปลับ
(พูดเท็จกลับกลอก) ควรปรับเปน็ ปาจติ ตยี ์ เพราะมสุ า
214
สิกขาบทที่ 4 ภิกษุสอนธรรมแก่อนุปสัมปันโน (ผู้มิใช่ภกิ ษุ คือ คฤหัสถ์ชายหญิง ถ้าว่าพร้อมกัน
ตอ้ งปาจติ ตยี ์)
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคีย์ สอนอุบาสกทั้งหลายให้กล่าวธรรม (พร้อมกัน) โดยบททำให้
อุบาสกเหล่านั้นขาดความเคารพในภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติ
ปาจติ ตีย์ แกภ่ กิ ษุผู้สอนธรรมแก่อนสุ ัมบัน (คือผู้มิได้เปน็ ภกิ ษุหรือภิกษุณี) อธิบายดงั นี้
ลกั ษณะอนปุ สัมบนั ในสิกขาบทน้ี อนุปสัมบัน ไดแ้ กค่ นผู้มใิ ช่ภิกษุมใิ ช่ภกิ ษณุ ี ทงั้ ผู้ชายทั้งผ้หู ญงิ
ลักษณะของธรรม
1. ภาษติ ของพระพุทธเจ้า 2.ภาษิตของพระสาวก
3. ภาษิตของฤาษี 4. ภาษิตของเทวดา
อาการสอนธรรม
1. โดยบท ว่าขึ้นพรอ้ มกัน จบลงพรอ้ มกนั
2. โดยอนบุ ท วา่ ขน้ึ ไม่พรอ้ มกนั จบลงพรอ้ มกนั
3. โดยอนอุ กั ขระ ขน้ึ อกั ษรรว่ มกันบา้ ง ไมร่ ว่ มกันบา้ ง
4. โดยอนุพยัญชนะ ลงพยัญชนะร่วมกันบ้าง ไม่ร่วมกนั บ้างทั้ง 4 อย่างนี้ให้ต้องอาบัติเหมือนกัน
เป็นอาบัติมากน้อย ตามประโยคทีส่ อนใหว้ า่ พร้อมกัน กำหนดดว้ ยขนึ้ และลงคราวหนง่ึ ๆ
ลักษณะแห่งอาบัติและอนาบัติ อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะ(ไม่มีเจตนา) เพราะเหตุน้ัน แม้
ตง้ั ใจจะระวัง ไม่วา่ พร้อมกนั แตพ่ ลาดวา่ พรอ้ มกนั เป็นอาบตั เหมือนกัน
สวดและท่องพร้อมกันท้ังอนุปสัมบันผู้ว่าผิดกลางคันไม่นับว่าสอนธรรมไม่เป็นอาบัติ สิกขาบทน้ี
บญั ญตั เิ พ่ือไม่ให้ศิษย์หมน่ิ ครู
สิกขาบทที่ 5 ภิกษุนอนในท่ีมุงท่ีบังอันเดียวกันกับอนุปสัมบัน (ผู้มิใช่ภิกษุ คือ คฤหัสถ์ผู้ชาย)
เกิน 2 คนื ข้นึ ไปตอ้ งปาจิตตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ พวกอุบาสกไปฟังธรรม แล้วนอนค้างที่วัดในหอประชุม ภิกษุบวชใหม่ก็นอน
ร่วมกับเขาด้วย เป็นผู้ไม่มีสติสัมปชัญญะ นอนเปลือยกาย ละเมอ กรน เป็นท่ีติเตียน ของอุบาสกเหล่าน้ัน
พระผู้มีพระภาคจำทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัติปาจิตติย์ แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบัน (ผู้มิใช่ภิกษุ)
ตอ่ มาทรงผ่อนผนั ในนอน ร่วมกนั ได้ไม่เกนิ 3 คนื อธิบายดงั น้ี
ลกั ษณะอนปุ สัมบัน อนปุ สมั บนั ในท่ีนหี้ มายเอาผชู้ ายซึ่งไมใ่ ชภ่ กิ ษุ
อาการนอนร่วม การนอนรว่ มกันนัน้ กำหนดด้วยนอนในทแ่ี ลเหน็ กนั ได้ในเวลาหลบั เปน็ เขตแหง่ สห
ไสย (นอนรว่ มกนั ) อนั หน่ึง ๆ เทยี บตามเขตไม่อยปู่ ราศจากไตรจวี ร ทก่ี ำหนดดว้ ยเรือนของต่างสกุล
อาการท่ีนอกนร่วมกันน้ัน คือเหยียบกายอยู่พร้อมกัน ใครเหยียดก่อนใครเหยียดหลังหรือเหยียด
พรอ้ มกนั ไม่เป็นประมาณ สุดแต่เหยียดรว่ มกนั เขา้ เรยี กว่านอนร่วมกนั จะหลบั หรือไม่หลบั ไมน่ ับในทน่ี ้ี
นอนร่วมกันได้ 2 คืนแล้ว ในคืนที่ 3 ในพรากกันเสีย หรือให้ลุกข้ึนเสียฝ่ายหนึ่ง ก่อนเวลาอรุณข้ึน
เมื่อได้ทำอย่างน้ีแล้ว หักราตรีที่นอนร่วมกันผ่านมาออกไปหมด นับต้ังต้น 1 ไปใหม่ ถ้านอนร่วมกันเกิน 3
คืนแลว้ ในคืนท่ี 4 ตงั้ แต่ตะวันตกดินไปแลว้ เหยยี ดกายรว่ มกันมไิ ด้ แมข่ ณะหนึง่ ถ้านอนรว่ มกนั ต้องปาจิตตยี ์
กำหนดสถานที่ สถานที่กงึ่ มุงก่ึงบงั เปน็ เขตแห่งอาบัตทิ ุกกฎ
สถานท่ีมุงหมดแต่ไม่ได้บังเลย เช่น ศาลาโถง สถานที่บังหมดแต่ไม่ได้มุงเลย เช่น คอยสัตว์ก็ดี
สถานท่มี ุงโดยมาก แต่ไม่ได้บังโดยมาก เชน่ ศาลาโถงนั้นอันมุงไวไ้ มห่ มด และกั้นฝาไวโ้ ดยเอกเทศ (สว่ นหน่ึง)
ไม่ถึงครึ่ง ไม่จัดเป็นเขตสหไสยนอนด้วยกันในท่ีนั้น ไม่เป็นอาบัติ อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะ แม้นับ
ราตรีพลาดก็ไม่พน้ อาบัติ
ความมุ่งหมายแห่งสกิ ขาบท
215
เพื่อจะกันชาวบา้ นไมใ่ หเ้ ห็นกิรยิ านอนหลับของภิกษุ อันจะแสดงท่าทางวิปลาสผิดจากอาการของผู้
สังวร (สำรวมระวัง) อนั ไม่เป็นเครื่องเจริญใจของผู้ได้พบเห็น
สิกขาบทที่ 6 ภกิ ษุนอนในที่มุงทบ่ี ังอนั เดียวกันกบั ผู้หญิง แม้ในคืนแรกต้องปาจติ ตีย์
นิทานต้นบัญญัติ พระอนุรุทธะเดินทางในโกศลชนบท จะไปสู่กรุงสาวัตถี ขออาศัยในอาคารพัก
แรมของหญิงคนหน่ึง ต่อมามีคนเดินทางขออาศัยในโรงพักนั้นอีก หญิงเจ้าของบ้านพอใจในรูปโฉมของพระ
อนุรุทธะ จึงจัดให้พักใหม่ห้องเดียวกับนาง แล้วยั่วยวนท่านต่าง ๆ ท่านกลับเฉย และแสดงธรรมให้ฟัง จน
หญิงน้ันปฏิญญาณตนถึงพระรัตนตรัยตลอดชวี ิต พระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัติ
ปาจิตตีย์ แก่ภิกษผุ นู้ อนร่วมกันกบั มาตุคาม (คอื หญิง)อธบิ ายดังน้ี
หญงิ ทห่ี ้ามในสกิ ขาบท หญิง (มาตคุ าม) ในทนี ้ี หมายเอาหญงิ มนษุ ย์ แม้เกดิ ในวันน้ัน
สิกขาบทที่ 7 ภิกษุแสดงธรรมแก่หญิงเกินกว่า 6 คำขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้
เดียงสา (รู้ผิดรชู้ อบ) อยดู่ ว้ ย
นิทานต้นบัญญัติ พระอุทายีแสดงธรรมกระซิบที่หูของสตรี ทำให้ผู้อ่ืนสงสัย พระผู้มีพระภาคจึง
ทรงบญั ญัติสิกขาบทห้ามแสดงธรรมแก่สตรี ภายหลังมีเหตเุ กิดข้ึน จึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมว่า ภกิ ษุแสดงธรรม
แกม่ าตุคาม (สตร)ี เกิน 6 คำต้องปาจิตตยี ์ เวน้ ไวแ้ ต่มชี ายผรู้ เู้ ดียงสาอยู่ดว้ ยอธบิ ายว่า
หญิงที่ห้ามในสกิ ขาบท หญิงในทนี่ ี้ หมายถึงเอาหญิงมนษุ ย์ผู้รเู้ ดียงสา (ร้ผู ิดรู้ชอบ)
สกิ ขาบทท่ี 8 ภิกษุบอกอุตตริมนุสสธรรม (ธรรมอันยวดย่งิ ของมนษุ ย์คอื คุณวิเศษ ได้แก่ ฌาน ,
วิโมกข์ ,สมาธิ , สมาบัติ , มรรคผล) ที่มจี ริงแกอ่ นุปสมั บนั (ผู้มใิ ช่ภกิ ษุ) ต้องปาจติ ตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ พระพุทธเจ้าทรงปรารภเรื่องเช่นเดียวกับที่เกิดข้ึนในปาราชิก สิกขาบทท่ี 4 คือ
อวดคณุ วเิ ศษที่ไมม่ ีในตน แต่คราวนี้ ทรงบญั ญตั สิ กิ ขาบท ปรบั อาบตั ิปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผบู้ อกคุณวิเศษทม่ี ีจริง
แก่ผู้มิไดบ้ วช (มิได้เป็นภิกษุ หรอื ภิกษุณี)
สิกขาบทท่ี 9 ภกิ ษุฉัพพัคคยี ช์ ัว่ หยาบของภิกษุอื่นแก่อนุปสมั บนั (ผู้มิใช่ภิกษุ) ต้องปาจิตตีย์ เว้น
ไว้แตไ่ ด้สมมติ (ได้รับมอบหมาย)184
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคีย์ ทะเลาะกับพระอุปนันทะ ศากยบุตร เลยแกล้งประจานพระ
อุปนันทะกับพวกอุบาสกท่ีกำลังเล้ียงพระว่า พระอุปนันทะต้องอาบัติสังฆาทิเสสสิกขาบทท่ี 1 พระผู้มีพระ
ภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุบอกอาบัติช่ัวหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน (ผู้มิได้เป็นภิกษุ
หรือภกิ ษุณ)ี ต้องปาจิตตยี ์ เว้นไวแ้ ต่ได้รับสมมติอธิบายไดว้ ่า
ลักษณะแห่งอาบัติช่ัวหยาบ อาบัติชั่วหยาบน้ัน ในคัมภีร์วิภังค์ (หนังสือจำแนกความอธิบาย
ความหมายแห่งสิกขาบทใหช้ ดั เจน)แกว้ า่ ปาราชิก 4 สังฆาทิเสส 13.
ความมุ่งหมายแหงสิกขาบท ทรงบัญญัติไว้ เพ่ือจะห้ามไม่ให้ภิกษุเอาความเสียหายของกันไป
ประจาน
ลักษณะแห่งอาบัติ ภิกษผุ ้ไู ด้รบั สมมติ (ไดร้ ับมอบหมายให้บอก) นั้น กำหนดอาบัติก็มีกำหนดสกลุ ก็
มี ไม่กำหนดก็มี ได้รบั สมมติอย่างใด ต้องบอกอย่างนั้น ทำนอกเหนือไปต้องปาจิตตีย์เหมือนกัน บอกอาบัติ
ไม่ชว่ั หยาบ เปน็ ทกุ กฎ
สิกขาบทที่ 10 ภิกษขุ ดุ เองก็ดี ใชใ้ ห้ผูอ้ น่ื ขุดกด็ ี ซง่ึ แผน่ ดนิ ต้องปาจติ ตีย์
184 เรอ่ื งเดยี วกัน.
216
นิทานต้นบัญญตั ิ ภกิ ษชุ าวเมอื งอาฬวีทำการก่อสร้าง จึงขดุ ดินเองบ้าง ใช้ให้ผู้อ่ืนขุดบ้างมนุษย์ท้งั หลาย
พากันติเตียนว่าผิดประเพณีนิยมของสมณะ พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่าภิกษุขุดดินเองหรือใช้ใน
ผอู้ ื่นขดุ ต้องปาจิตตีย์ (ทรงอนโุ ลมตามประเพณที ีถ่ ึงว่าแผน่ ดินเป็นของมีชวี ิตคือมอี นิ ทรียอ์ ยา่ งหน่ึง)
อธิบายลกั ษณะของแผ่นดิน ในคัมภีร์วภิ ังค์ (หนังสือจำแนกความอธบิ ายความหมายแห่งสิกขาบท
ใหช้ ัดเจน) แจกปฐพี (แผ่นดิน) เปน็ 2 คือ
1. ชาตปฐพี แผ่นดนิ แท้คือมีดนิ รว่ นลว้ น มีดนิ เหนียวล้วน หรือมขี องอื่นเช่น หนิ กรวด กระเบือ้ ง
แร่ และทรายปนนอ้ ย มดี นิ รว่ นดินเหนยี วมาก
2. อชาตปฐพี แผ่นดนิ ไมแ่ ท้ เป็นหิน เป็นกรวด เปน็ กระเบ้ือง เปน็ แร่และเปน็ ทรายล้วน หรือมดี ิน
รว่ นดนิ เหนยี วปนน้อยเป็นของอ่ืนมากกองดินรว่ นก็ดี กองดนิ เหนียวก็ดี อันฝนตกรดยังน้อยกว่า 4 เดือน นับ
เข้าในแผ่นดินไม่แท้สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติขึ้นตามความเข้าใจในสมัยหน่ึงว่าแผ่นดินเป็นของมีชีวิตอินทรีย์
(สภาวะทเ่ี ปน็ ใหญใ่ นการคอยรกั ษาสง่ิ ทเ่ี กิดร่วมดว้ ย)
ภตู คามวรรคที่ 2 สิกขาบทที่ 1 ภกิ ษุพรากของเขยี วซึง่ เกดิ อยู่กบั ท่ี ใหห้ ลุดจากท่ี ต้องปาจิตตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุชาวเมืองอาฬวีทำการก่อสร้างจึงตัดต้นไม้เอาบ้างใช้ให้ผู้อื่นตัดบ้างมนุษย์
ท้ังหลายพากันติเตียนดว้ ยถือว่าต้นไม้มีชีวิตมีอินทรีย์อย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาค (ทรงอนุโลมตามสมมติของ
ชาวโลก) จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ทำให้ต้นไม้ตาย (ต้นไม้มี 5 อย่าง คือที่มีหัว
เป็นพืชเช่นขงิ มลี ำต้นเป็นพืชเชน่ ไทร มปี ลอ้ งเป็นพืชเช่น อ้อย ไม้ไผ่ มิยอมเป็นพชื เช่นผักชีล้อม มีเมล็ดเป็น
พืช เช่น ข้าว ถวั่ ) อธบิ ายวา่
ลกั ษณะของเขยี ว ของเขียวอนั ไดแ้ กภ่ ูตคาม ทา่ นแจกไว้ 5 ชนดิ คือ
1. พืชเกดิ จากเง่า คอื ใชเ้ ง่าเพราะ เชน่ ขมิน้ เปน็ ตน้
2. พชื เกดิ จากตน้ คือตอนออกไดจ้ ากต้นไมท้ ัง้ หลาย มีตน้ โพเปน็ ต้น
3. พืชเกิดจากข้อ คอื ใชข้ อ้ ปลกู ได้แกไ่ ม้ลำ เชน่ อ้อยและไมไ้ ผเ่ ปน็ ต้น
4. พืชเกดิ จากยอด คือใช้ยอดปกั กเ็ ป็น ได้แกผ่ ักตา่ งๆ มผี ักชลี อ้ มเป็นต้น
5. พืชเกิดจากเมล็ด คอื ใชเ้ มล็ดเพาะ ได้แก่ถวั่ งาเปน็ ตน้
ตามนยั อรรถกถา (เค้าความแนวคำอธบิ ายในคมั ภีร์ที่พระอาจารยใ์ นภายหลงั แตง่ อธบิ ายความหมาย
บาลีในพระไตรปฏิ ก) พชื พันธุอ์ นั ถกู พรากจากที่แล้ว แตย่ ังจะเปน็ ไดอ้ ีก เรียกวา่ พชื คาม
ลักษณะแหง่ อาบตั ิ
1. ภตู คาม ทำเองกด็ ี ใหผ้ ู้อ่นื ทำกด็ ี เปน็ ปาจติ ตีย์
2. พชื คาม ทำเองกด็ ี ใชใ้ ห้ผูอ้ ื่นทำก็ดี เปน็ ทุกกฏ
สิกขาบทที่ 1 ภิกษุประพฤติอนาจาร (ประพฤติไม่ดีไม่งาม) สงฆ์เรียกตัวมาถาม แกล้งพูดกลบ
เกล่ือนก็ดี น่ิงเสยี ไมพ่ ูดก็ดี ถา้ สงฆส์ วดประกาศขอ้ ความนนั้ จบ ตอ้ งปาจติ ตยี ย์
นิทานตน้ บัญญัติ พระฉนั นะประพฤตอิ นาจาร ถูกโจทอาบัติในทา่ มกลางสงฆ์ กลบั พดู เฉไฉเป็นตา่ ง
ๆ บ้าง น่ิงเสียบ้าง พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัตปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พูดไป
อยา่ งอืน่ ผทู้ ำสงฆใ์ หล้ ำบาก (ด้วยการนง่ิ ในเม่ือถกู ไตส่ วนในท่ามกลางสงฆ)์ อธบิ ายดงั นี้
การสวดประกาศ ภิกษุประพฤติอนาจาร มีพระพุทธานุญาตให้สงฆ์สวดประกาศ ข้อความน้ันด้วย
ญัตติทุติยกรรม อย่างต้นเรียกว่า “ยกอัญญวาทกกรรม” คือกรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้พูดกลบเกล่ือน
อย่างหลังเรียกว่า “ยกวิเหสกกรรม” คือกรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ยังสงฆ์ให้ลำบากเม่ือสงฆ์ยังไม่ได้ทัก
กรรมอยา่ งใดอย่างหน่งึ ภิกษทุ ำอย่างนัน้ ตอ้ งทุกกฎ
217
ลักษณะแหง่ อาบัติ อาบัติในสิกขาบทน้ี เป็นอจิตตกะ (ไม่จงใจทำก็เป็นอาบัติ) ถ้ากรรมนั้นสงฆ์ทำ
เป็นธรรมแล้ว มีเจตนาอย่างไรก็ตาม ทำอย่างนั้นคงไม่พ้นอาบัติ เว้นไว้แต่อาการที่แสดงนั้น ไม่จัดว่ากลบ
เกล่อื น หรอื ทำใหล้ ำบาก
สิกขาบทท่ี 3 ภิกษุติเตียนภิกษุอื่นที่สงฆ์สมมติ (มอบหมาย) ทำการสงฆ์ ถ้าเธอทำโดยชอบ ติ
เตยี นเปล่า ๆ ต้องปาจติ ตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุท้ังหลายซ่ึงมีพระเมตติยะและพระภุมมชกะเป็นหัวหน้า ติเตียนบ่นว่าพระ
ทพั พมัลลบุตร ผู้แจกเสนาสนะแจกภัต พระผู้มีพระภาคทรงสอบสวนแล้วจึงทรงบัญญัติสกิ ขาบทปรับอาบัติ
ปาจิตตยี ์แก่ภิกษผุ ตู้ เิ ตียน บ่นว่า (ภกิ ษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ) อธบิ ายว่า
เหตุแห่งการติเตียน เป็นธรรมเนียมของสงฆ์จะสมมติ (แต่งตั้ง) ภิกษุบางรูปไว้ทำกิจสงฆ์เช่นเป็นผู้
แจกเสนาสนะเป็นต้น ภิกษุผ้ไู มไ่ ด้รับประโยชนท์ ่ีพอใจ ด้วยไม่เข้าใจธรรมเนียมที่แจก หรือดว้ ยกำลังโทมนัส
พูดกล่าวโทษท่านต่อหน้าภิกษุอ่ืนอย่างนี้เรียกว่าโพนทนา ไม่ทำอย่างนั้น เป็นแต่พูดติท่าน หรือแสดงความ
ขดั ใจแตล่ ำพังผู้เดยี ว ไมต่ ั้งใจจะใหใ้ ครฟังอยา่ งนีเ้ รยี กวา่ บน่ ว่า
ลกั ษณะแห่งอาบัติ
1. ติเตยี นตอ่ หนา้ อุปสัมบัน (ภกิ ษ)ุ ตอ้ งปาจติ ตยี ์
2. ติเตียนตอ่ หน้าอนุปสมั บัน (ผู้มใิ ช้ภกิ ษ)ุ ตอ้ งทกุ กฎ
3. ติเตยี นภกิ ษุท่ีสงฆไ์ มไ่ ดส้ มมติ (ไม่ได้แตง่ ต้ัง) แต่ทำการสงฆ์โดยลำพังตอ้ งทกุ กฎ
4. ถ้าทำการไม่เป็นธรรม ลำเอียงด้วยอคติจริง ๆ ติเตียนไม่เป็นอาบัติแต่ข้อนี้ท่านว่าไม่พ้นจาก
อาบัติทกุ กฎเพราะไมเ่ ปน็ ธรรมเนียมทดี่ ี
สิกขาบทที่ 4 ภกิ ษุเอาเตียง ตัง่ ฟูก เกา้ อ้ี ของสงฆไ์ ปตั้งในท่แี จง้ แล้วเม่อื หลีกไปจากทน่ี ัน้ ไมเ่ ก็บ
เองกด็ ี ไมใ่ ช้ใหผ้ อู้ ื่นเก็บก็ดี ตอ้ งปาจิตตีย์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุท้ังหลายนำเสนาสนะ (ที่นอนท่ีนง่ั ) มาไว้กลางแจ้งในฤดูหนาว ผิงแดดแล้ว
หลีกไปไม่เก็บ ไม่ใช่ให้ผู้อ่ืนเก็บ ไม่บอกให้ใครรับรู้ เสนาสนะถูกหิมะตกใส่(เปียกชุ่ม)พระผู้มีพระภาคจึงทรง
บัญญตั สิ ิกขาบทว่าภิกษตุ ั้งไวเ้ อง หรือใชผ้ ู้อ่นื ให้ต้ังไว้ซง่ึ เตียง ต่ัง ฟกู เกา้ อีข้ องสงฆใ์ นกลางแจง้ เมื่อหลกี ไปไม่
เก็บเอง ไม่ใช้ให้ผู้อ่ืนเก็บ หรือไปโดยไม่บอกกล่าวให้ใครรับรู้ ต้องปาจิตตีย์ ต่อมาทรงอนุญาตพิเศษให้เก็บ
เสนาสนะในมณฑปหรือที่โคนไม้ซ่งึ สังเกตว่า ฝนจะไม่ตกรั่วรด กา เยี่ยวจะไม่ถา่ ยมูลได้ตลอด 8 เดอื น (แห่ง
ฤดูหนาวและฤดูรอ้ น ฤดูละ 4 เดือน) อธบิ ายว่า
ลักษณะแหงอาบตั ิ
1. ของสงฆเ์ ปน็ วัตถแุ ห่งปาจิตตยี ์
2. ของบคุ คลนอกจากของตนเอง เป็นวตั ถแุ ห่งทุกกฎ
3. ของอย่างอ่ืนจากวัตถุทรี่ ะบใุ นสกิ ขาบท เป็นวตั ถุแห่งทุกกฏ
ขอ้ ยกเว้น
1 .นั่งอยู่กอ่ น มใี ครมาน่งั ภายหลัง เปน็ ธรุ ะของเขา หรือเกิดเหตฉุ ุกเฉินไปโดยด่วน ไมเ่ ปน็ อาบตั ิ
2. เอาของเช่นนน้ั ออกตาก ไมน่ ับเข้าในทีน่ ี้
ความมุง่ หมายแหง่ สิกขาบท ทรงบัญญตั ิเพอื่ จะกนั ความสะเพร่า และเพื่อให้รจู้ ักถนอมของ
สิกขาบทที่ 5 ภิกษเุ อาที่นอนของสงฆป์ นู อนในกฏุ ีสงฆ์แล้ว เมือ่ หลกี ไปจากท่นี ัน้ ไมเ่ กบ็ เองก็ดี ไม่
ใช้ใหผ้ ู้อ่ืนเกบ็ ก็ดี ไม่มอบหมายแก่ผูอ้ นื่ กด็ ี ตอ้ งปาจิตตีย์
นทิ านต้นบัญญัติ ภิกษุพวก 17 รูป ปทู ี่นอนในวหิ ารของสงฆแ์ ลว้ หลีกไปไม่เก็บเอง ไมใ่ ช้ให้ผู้อนื่ เก็บ ไม่
บอกให้ใครรบั รู้ ปลวกกินเสนาสนะ พระผมู้ ีพระภาคจึงทรงบญั ญัติสิกขาบทวา่ ภิกษุปหู รือใหป้ ูท่ีนอนในวหิ ารของ
สงฆ์แลว้ เมอ่ื หลีกไปไม่เกบ็ เองหรือไม่ใช้ใหผ้ ู้อนื่ เก็บ หรอื ไมบ่ อกกล่าวใหใ้ ครรับรู้ ต้องปาจิตตียอ์ ธบิ ายวา่
218
ลกั ษณะท่ีนอนและกุฎี
1. ท่ีนอนในท่ีน้ี หมายเอาฟูก เสื่อผปู้ ูนอน และของชนิดเดียวกัน ไม่ไม่หมายเอาเตียงเอาม้าซง่ึ เป็น
ของใชต้ ง้ั
2. กุฏคี อื วหิ ารน้นั ไดแ้ ก่ที่อยู่ ซ่ึงในบดั นเ้ี รยี กกฏุ ี (หรือกฏุ ิ) ทัง้ นน้ั
กริ ิยาที่หลีกไป กิริยาท่ีหลีกไป หมายความว่าไปไม่กลับ ถ้าไปแล้วยังจะกลับมา ไม่นับว่าทิ้งของไว้
ยงั ไม่เกบ็ กไ็ ม่เปน็ อาบตั ิ
ลักษณะแหง่ อาบตั แิ ละอนาบัติ
1. วหิ ารของสงฆ์ เป็นวตั ถแุ หง่ ปาจติ ตีย์
2. ของบุคคลอนื่ นอกจากของตน เป็นวัตถแุ หง่ ทุกกฎ
3. ของตนเอง เป็นวัตถแุ หงอนาบตั ิ(ไม่เป็นอาบัต)ิ
สิกขาบทที่ 6 ภิกษุรู้อยู่ว่ากุฏีน้ีมีผู้อยู่ก่อน แกล้งไปนอนเบียด ด้วยหวังจะให้ผู้อยู่ก่อนคับแคบ
ใจเข้า กจ็ ะหลกี ไปเอง ตอ้ งปาจิตตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคยี ์หาวิธีแย่งที่อยู่ภกิ ษุอ่ืนโดยเข้าไปนอนเบียดภิกษุเถระด้วยคิดว่าเธออึด
อัดเข้าก็จะหลีกไปเอง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่าภิกษุรู้อยู่เข้าไปนอนในวิหารของสงฆ์ด้วยคิดว่า
เธออดึ อดั กจ็ ะหลีกไปเอง เธอม่งุ อย่างน้เี ท่าน้ัน ไม่ใช่อยา่ งอืน่ ตอ้ งปาจตี ตยี ์อธิบายว่า
ลักษณะแหง่ อาบัติ
1. ถ้าวิหารน้ันเป็นของสงฆ์ และมีภิกษุแก่กว่าหรือภิกษุใช้เข้าไปอยู่ก่อนภิกษุผู้คิดแย่งท่ีอยู่เข้าไป
อยแู่ ทรงแซงในอปุ จาร คอื ที่ใกล้แหง่ เตยี งกด็ ีแหง่ ตั่งก็ดีแห่งทางเจ้าทางออกก็ดี ตอ้ งปาจิตตยี ์
2. เข้าไปอย่แู ทรกแซงในวิหารของบคุ คล นอกจากของตนเอง ตอ้ งทกุ กฎ
3. เข้าไปอยู่แทรกแซงในอุปจารแห่งวิหารก็ดีในที่อื่นอันไม่ใช่ที่อยู่เฉพาะตัวเช่นในอุปัฏฐานศาลา
(หอฉัน) ก็ดี ในปะรำท่ีโคนไม้กด็ ี ในที่แจ้งกด็ ี ตอ้ งทกุ กฎ
ข้อยกเว้น อยู่แทรกแซงในวิหารตนเอง หรือแม้ในวิหารของสงฆ์ หรือมีกิจจำเป็นเข้าไปอาศัย ไม่
เป็นอาบตั ิ
สกิ ขาบทที่ 7 ภิกษุโกรธเคอื งภิกษุอื่น ฉดุ ครา่ ไล่ออกจากกฏุ สี งฆ์ ตอ้ งปาจิตตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ภกิ ษุฉัพพัคคีย์ (พวก 6) แยง่ ท่ีภิกษุสัตตรสวัคคีย์ (พวก 17) เมื่อเห็นขดั ขืนก็โกรธ
จึงจับคอฉดุ คร่าออกไป พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญตั ิสกิ ขาบทว่า ภิกษุโกรธไม่พอใจฉุดคร่าเองก็
ดี ใชใ้ ห้ผอู้ ื่นฉุดคร่ากด็ ี ซง่ึ ภิกษุ จากวหิ ารของสงฆ์ ต้องปาจิตตยี ์อธบิ ายวา่
ความมุ่งหมายแห่งสิกขาบท สิกขาบทนี้ เข้าใจว่า ความจะติดต่อมาจากสิกขาบทก่อน คร้ันเขาไม่หลีก
ไป จงึ ฉดุ คร่าขับไลเ่ สีย แม้ขนเอาบริขารของภิกษผุ อู้ ยู่ก่อนออกไปขา้ งนอกกฎุ ีสงฆ์ กต็ อ้ งทุกกฎ
ขอ้ ยกเว้น ขับสัทธวิ ิหาริกหรืออันเตวาสิกผู้ประพฤตไิ มช่ อบกด็ ี ขับภิกษุผู้ไม่สมควรจะให้อยกู่ ็ดี จาก
สำนกั ตน ไมน่ ับเข้าในสิกขาบทนี้
สิกขาบทที่ 8 ภิกษุนั้นทับก็ดี นอนทับก็ดี บนเตียงก็ดี บนตั่งก็ดี อันมีเท้าไม่ได้ตรึงให้แน่น ซ่ึงเขา
วางไว้บนรางรา้ นทีเ่ ขาเกบ็ ของในกฎุ ี ตอ้ งปาจิตตีย์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุ 2 รูปอยู่ในกุฏีเดียวกัน เตียงหน่ึงอยู่ข้าล่างเตียงหน่ึงอยู่ข้างบนภิกษุอยู่
ขา้ งบนนั่งบนเดียงโดยแรง เท้าเตียงหลุดตกลงถกู ศีรษะของภกิ ษุผู้อยขู่ ้างลา่ งพระผู้มพี ระภาคจึงทรงบัญญัติ
สิกขาบทวา่ ภิกษุนัง่ นอนบนเตียงหรอื ตงั่ อันมเี ท้าเสียบ (ในตวั เตียง) ในวหิ ารของสงฆ์ต้องปาจิตตีย์อธิบายวา่
ลักษณะเตยี งต่งั เตียงมีหลายชนดิ ชนิดท่ีกล่าวถึงในสกิ ขาบทน้ี เขาทำเอาเทา้ เสยี บเขา้ ไปในแม่แคร่
ไม่ไดต้ รึงสลัก เรยี กทับศพั ท์วา่ อาหัจจบาท
219
รา้ นในทน่ี ี้คอื โครงท่ีตั้งขึ้นในวิหาร บักเสาตอมอ่ ขึ้นแล้ว วางรอดขึ้นบนน้ันสูงพอศีรษะไม่กระทบพื้น
ถา้ ไม่ใช่ปูพื้นข้างบน กเ็ อาเตียนวางลงไป ให้พ้นื เตยี งคานรอดอยู่ ขาเตียงห้อยลงไป ใชเ้ ป็นทีอ่ ยู่ ขาเตยี งห้อย
ลงไป ใช้เป็นทอี่ ยูไ่ ด้ทัง้ ขา้ งบนขา้ งลา่ ง รา้ นข้างบนนนั้ เรียกทับศพั ทว์ า่ เวหาสกฏุ ิ
ความประสงค์แห่งสิกขาบท ต้นบัญญัติแห่งสิกขาบทนี้ว่า ภิกษุรูปหน่ึงน่ังบนเตียงนั้นโดยแรงเท้า
เตียงหลุดลงมาถูกศีรษะคนข้างล่าง จึงทรงห้ามไม่ให้น่ังนอนบนเตียงเช่นนั้นอันอยู่บนร้านถ้าท่ีนั่งท่ีนอน
แขง็ แรงพอ นง่ั ทบั นอนทับ ไมเ่ ป็นอาบตั ิ
สิกขาบทท่ี 9 ภิกษุจะเอาดินหรือปูนโบกหลังคากุฏี พึงโบกได้แต่เพียง 3 ชั้น ถ้าโบกเกินกว่าน้ัน
ตอ้ งปาจิตตีย์
นทิ านต้นบญั ญัติ มหาอำมาตย์ผู้อุปัฎฐากของพระฉันนะให้สรา้ งวิหารถวายพระ เมือ่ เสรจ็ แลว้ พระ
ฉันนะดำเนินการพอหลงั คาพอกปนู บอ่ ย ๆ วหิ ารก็เลยพงั ลงมายกโทษติเตียน พระผูม้ ีพระภาคจึงทรงบัญญัติ
สิกขาบทว่า ถ้าภิกษุจะให้ทำวหิ ารใหญ่พึงยืนในที่ไม่มีของเขียว (พืชพันธุ์ไม้)ดำเนินการพอกหลังคาไม่เกิน 3
ช้ันจนจดกรอบประตูเพื่อตั้งบานประตูได้เพ่ือทาสีหน้าต่างได้ ถ้าทำให้เกินกว่าน้ันแม้ยืนในท่ีปราศจากของ
เขียวต้องอาบัตปิ าจิตตีย์อธบิ ายว่า
ความมุ่งหมายแห่งสิกขาบท ในนิทานกล่าวไว้ว่า พระฉันนะให้พอกให้โบกวิหารท่ีทำสำเร็จแล้ว
บ่อย ๆ เข้า วิหารหนักทานไม่ไหวก็พังลง ทา่ นจงึ เก็บรวบรวมหญ้าและไม้ ไดย้ งั นาขา้ วเหนียวของพราหมณ์ผู้
หนึ่งใหเ้ สียหาย ทรงปรารภเร่ืองน้ี จงึ ไดท้ รงบญั ญตั สิ กิ ขาบทนีไ้ ว้
สกิ ขาบทท่ี 10 ภกิ ษุรอู้ ย่วู า่ นำ้ มตี วั สัตว์ เอารดหญ้าหรือดนิ ต้องปาจิตตยี ์
นทิ านต้นบัญญัติ ภิกษุชาวเมืองอาฬวีทำการก่อสรา้ ง รู้อยู่ว่าน้ำมตี ัวสัตว์เอาน้ำน้ันรดหญ้าบ้าง ดิน
บา้ ง ใชใ้ หร้ ดบา้ งเปน็ ทตี เิ ตียนของภิกษทุ ั้งหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญตั ิสิกขาบทว่า ภกิ ษุรอู้ ยเู่ อานำ้ มี
ตวั สัตว์รดหนา้ หรือดิน หรอื ใช้ให้ผ้อู ืน่ รดตอ้ งปาจิตตีย์
อธบิ ายลกั ษณะน้ำและอนาบัติ
น้ำมตี วั สตั วน์ ้ัน หมายเอาตวั สัตวเ์ ล็ก ๆ ซงึ่ อยูใ่ นนำ้ เชน่ ลกู นำ้ เพราะมีคำวา่ รอู้ ยู่ อาบัติในสิกขาบทน้ี
เป็นสจติ ตกะ (จงใจทำจึงเป็นอาบัติ) ภกิ ษุ สำคญั ว่าไม่มี รดลง ไมเ่ ป็นอาบตั ิ
โอวาทวรรคที่ 3
สกิ ขาบทในวรรคนี้ ปรารภถึงภิกษุณี (พระผ้หู ญิงในพระพุทธศาสนา) ท้งั นัน้ สมควรจะทราบประวตั ิ
ความเปน็ มาแหง่ ภกิ ษุณีกอ่ น ซ่งึ ท่านได้กำหนดไว้เปน็ 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระราชเทวีของพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา ทูลขอบวช
เป็นภิกษณุ ี ด้วยยอมรับประพฤติธรรมบางประการ
ตอนที่ 2 กลา่ วถึงก็รัวเต็มท่ี (คือไม่ขดั , ไมแ่ จม่ แจง้ ) ไม่ได้เก่ียวในท้องเรอ่ื ง
ตอนที่ 3 กลา่ วถึงนางสังฆมติ ตาราราชกมุ ารี พระราชบุตรขี องพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงผนวชเป็น
ภิกษุณีและมาประดษิ ฐานภิกษณุ ีสงฆ์ที่ลงั กา
ความจริงมอี ยู่เพียงไร ยังเปน็ ขอ้ จะพึงสนั นิษฐาน คราวน้จี ักกล่าวถึงสิกขาบทตอ่ ไป
สกิ ขาบทท่ี 1 ภกิ ษทุ ี่สงฆ์ไม่ไดส้ มมติ (ไม่ไดแ้ ต่งต้ัง) ส่งั สอนภกิ ษณุ ี ตอ้ งปาจิตตีย์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉพั พัคคีย์ เห็นภิกษุอ่ืน ๆ สอนภิกษุณีแล้วได้ของถวายต่าง ๆอยากจะมีลาภ
บ้าง จงึ แจง้ ความประสงค์แก่ภิกษุณีทง้ั หลาย เมือ่ ภิกษุณีไปสดับโอวาทกส็ อนเพยี งเล็กน้อย แล้วชวนสนทนา
เรื่องไร้สาระโดยมาก พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุท่ีไม่ได้รับสมมติจากสงฆ์ สอนภิกษุณี
ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังภิกษุฉัพพัคคีย์หาทางสมมติกันเองในท่ีนอกสีมา(เพราะจำนวน 6 รูป พอท่ีจะเป็น
220
จำนวนสงฆ์) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมสำหรับภิกษุท่ีจะสอนภิกษุณีถึง 8 ข้อ โดย
กำหนดให้มพี รรษาถึง 20 หรอื เกนิ กว่าเปน็ ข้อสุดทา้ ยอธิบายวา่
เป็นธรรมเนียมของภิกษุณี จะต้องรับโอวาทจากภิกษุสงฆ์ทุกครงึ่ เดือนถา้ ล่วงคราว ต้องปาจิตตยี ์ นี้
เป็นธรรมประการหนงึ่ ทตี่ รัสกำหนดสัญญาใหพ้ ระนางปชาบดโี คตรมียอมรับถอื ปฏบิ ตั ิ
สกิ ขาบทท่ี 2 แม้ภกิ ษุทส่ี งฆส์ มมติแลว้ ต้งั แต่อาทติ ย์ตกแล้ว ไปสอบภกิ ษุณี ตอ้ งปาจติ ตีย์
นิทานต้นบัญญัติ พระจูฬปันถกสอนภิกษุณีจนค่ำ มนุษย์ทั้งหลายติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรง
บัญญัตสิ กิ ขาบทวา่ เมอ่ื อาทิตย์ตกแลว้ ภิกษุสอนภกิ ษณุ ี ตอ้ งปาจิตตีย์
สิกขาบทท่ี 3 ภิกษเุ ขา้ ไปสอนภกิ ษณถี งึ ในทอี่ ยู่ ตอ้ งปาจิตตีย์ เว้นไวแ้ ตภ่ กิ ษุณี ปว่ ยไข้
นทิ านต้นบญั ญัติ ภกิ ษฉุ ัพพัคคยี ์ เขา้ ไปสอนภกิ ษุณถี ึงทีอ่ ยู่ ภิกษุณที ง้ั หลาย ตเิ ตยี นพระผู้มพี ระภาค
จึงทรงบญั ญัตสิ กิ ขาบทว่า ภิกษไุ ปสอนภกิ ษณุ ถี ึงท่อี ย่ตู ้องปาจิตตยี ภ์ ายหลังทรงผอ่ นผนั ใหเ้ มอื่ ภิกษณุ เี จบ็ ไข้
สกิ ขาบทท่ี 4 ภิกษุตเิ ตียนภิกษอุ ่นื ว่า สอนภิกษเุ พราะเห็นแก่ลาภ ตอ้ งปาจติ ตยี ์
นิทานตน้ บัญญัติ ภิกษฉุ พั พคั คีย์ กล่าวว่าพระเถระท้ังหลายสอนภกิ ษุณเี พราะเหน็ แก่อามิส(สิ่งของ)
พะผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุพูดว่าภิกษุท้ังหลายสอนภิกษุณีเพราะเห็นแก่อามิส ต้อง
ปาจิตตีย์ (ห้ามประจานกันเอง แมเ้ ห็นแก่อามสิ จริงถ้าเทยี่ วพดู ไปก็ตอ้ งอาบัตทิ ุกกฎ)
สิกขาบทท่ี 5 ภิกษุใหจ้ วี รแกภ่ ิกษุณีที่ไม่ใชญ่ าติ ต้องปาจิตตีย์ เว้นไวแ้ ตแ่ ลกเปลย่ี นกนั
นิทานต้นบัญญตั ิ ภิกษรุ ูปหนึง่ ให้จีวรแก่ภิกษณุ ีผู้มิใชญ่ าติ มผี ูต้ เิ ตยี น พระผ้มู ีพระภาคจงึ ทรงบญั ญัติ
สกิ ขาบทวา่ ภิกษุใหจ้ ีวรแก่ภิกษุณีผู้มใิ ชญ่ าติ ตอ้ งปาจิตตีย์
สิกขาบทท่ี 6 ภกิ ษุเยบ็ จีวรของภิกษุณีทไี่ ม่ใชญ่ าติกด็ ี ใช้ใหผ้ ู้อื่นเยบ็ กด็ ี ตอ้ งปาจติ ตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ พระอุทายีเย็บจีวรให้ภิกษุณี มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ว่าภิกษุเย็บเองหรอื ใชผ้ ู้อ่นื ให้เยบ็ จีวรเพ่ือภิกษุผูม้ ิใชญ่ าติ ต้องปาจิตตยี ์
สกิ ขาบทท่ี 7 ภิกษุชวนภิกษุณีเดินทางดว้ ยกัน แม้ส้ินระยะทางบ้านหน่ึง ต้องปาจิตตยี ์เว้นไว้แต่
ทางเปล่ยี ว
นทิ านต้นบัญญัติ ภิกษุฉพั พัคคยี ์ชวนภิกษุณีเดินทางไกลร่วมกัน มีผตู้ ิเตียน พระผูม้ ีพระภาคจึงทรง
บัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุชวนภิกษุณีเดินทางไกลร่วมกัน แม้ช่ัวระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรง
ผอ่ นผันให้เดินทางรว่ มกันได้ เมอ่ื ทางนั้นมภี ัยต้องไปเปน็ คณะ
สิกขาบทท่ี 8 ภิกษุชวนภิกษุณีลงเรือลำเดียวกัน ข้ึนน้ำก็ดี ล่องน้ำก็ดี ต้องปาจิตตีย์เว้นไว้แต่
ข้ามฟาก
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคีย์ ชวนภิกษุไปในเรือลำเดียวกัน มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาค จึงทรง
บัญญัติสกิ ขาบทว่า ภิกษชุ วนภกิ ษณุ ีลงเรอื ลำเดยี วกันขน้ึ หรือลอ่ งต้องปาจิตตีย์ ภายหลงั ทรงผ่อนผนั ให้ข้ามฟากได้
สิกขาบทท่ี 9 ภิกษุรู้อยู่ฉันของเค้ียวของฉัน ที่นางภิกษุณีบังคับให้คฤหัสถ์เขาถวายต้อง
ปาจิตตีย์ เวน้ ไว้แตค่ ฤหัสถ์เขาเร่ิมไว้ก่อน
นทิ านต้นบัญญัติ นางถุลลนนั ทาภิกษุณีเที่ยวไปสู่ตระกลู แนะนำให้เขาถวายอาหารแก่พระเทวทัต
กับพวก มีผู้ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะให้เขา
ถวาย ต้องปาจิตตีย์ ภายหลังทรงผอ่ นผันให้วา่ ถ้าคฤหสั ถเ์ ขาเริ่มไว้เองก่อนฉันได้
สิกขาบทที่ 10 ภิกษนุ งั่ ก็ดี นอนก็ดี ในที่ลับสองต่อสองกบั ภกิ ษณุ ี ตอ้ งปาจติ ตยี ์
นทิ านต้นบัญญัติ พระอุทายีน่ังในลับสองตอ่ สองกับนางภกิ ษณุ ีผูเ้ ป็นอดีตภรรยาของตนเสมอ มีผตู้ ิ
เตียน พระผ้มู ีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทวา่ ภิกษุน่ังในท่ีลบั สองต่อสองกับภิกษุณี ต้องปาจิตตีย์ ตั้งแต่
สิกขาบทท่ี 2 ถึงสิกขาบทที่ 10 มีเนื้อความกระจ่างแล้ว ท้ังล่วงกาลเวลาแล้ว แม้มีข้อท่ีจะพึงกล่าวบ้าง ก็
เกรงจะชกั ช้าดว้ ยไมจ่ ำเปน็ จงึ งดเสยี
221
โภชนวรรคท่ี 4
สกิ ขาบทในวรรคน้ี ปรารภถงึ โภชนะ คือ ของฉัน สมควรจะทราบโภชนะนัน้ ให้เขา้ ใจก่อน
โภชนะ 5 อย่าง ในคัมภีร์วิภังค์(หนังสือจำแนกความอธิบายความหมายแห่งสิกขาบทให้ชัดเจน)
กลา่ วโภชนะไว้ 5 อย่าง คอื
1. ข้าวสกุ ได้แก่ ธญั ชาตทิ ุกชนดิ ทห่ี งุ สุกแล้ว เชน่ ข้าวเจ้า ขา้ วเหนียว ฯลฯ
2. กุมมาส คือ ขนมสด มอี ันจะบูดเม่ือลว่ งกาลแล้ว เชน่ ขนมด้วง
3. สัตตุ คือ ขนมแห้ง ทไ่ี ม่บดู เชน่ ขนมทีเ่ รียกวา่ จันอบั
4. ปลา สงเคราะห์เอา หอย กุ้ง และ สัตวน์ ้ำเหลา่ อน่ื ทใี่ ช้เปน็ อาหารเข้าดว้ ย
5. เน้ือ คือ มังสะของสตั ว์บกและนกท่ีใช้เป็นอาหาร
สว่ นผลไม้ต่างชนิด และเงา่ ต่างชนิด มีเผือกมันเป็นต้น เรียกว่าขาทนียะของขบของเคีย้ ว ไม่นับ
เขา้ ในโภชนะ ชะรอยจะเลง็ เหน็ ว่าเปน็ ของใชก้ ดั กินมาก่อนแต่จดั เปน็ อาหารเหมอื นกนั
สิกขาบทที่ 1 อาหารในโรงทานท่ีทั่วไปไม่นิยมบุคคล ภิกษุไม่เจ็บไข้ฉันได้แต่เพียงวันเดียวแล้ว
ต้องหยุดเสยี ในระหวา่ ง ต่อไปจึงฉันได้อีก ถ้าฉนั ติด ๆ กนั ต้งั แต่ 2 วันขน้ึ ไป ตอ้ งปาจติ ตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคีย์ไปฉันอาหารท่ีศาลาพักของคนเดินทางท่ีคณะเจ้าของเขาจัด
อาหารให้เป็นทานแก่คนเดินทางที่มาพักและฉันเป็นประจำ เป็นที่ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติ
สิกขาบทว่า ภิกษพุ ึงฉันเอาหารทีศ่ าลาพกั เพียงมือ้ เดียว ถา้ ฉนั เกินกว่านั้นต้องปาจติ ตยี ์ ภายหลงั ทรงผ่อนผนั
ใหภ้ ิกษใุ ชซ้ งึ่ เดนิ ทางตอ่ ไปไม่ไหวฉันเกนิ มื้อเดียวได้อธบิ ายวา่
อาหารในโรงทาน อาหารในโรงทานน้ัน คือ โภชนะ 5 อย่างใดอย่างหน่ึง ที่เขาจัดไว้ไม่เฉพาะ
บุคคลและพวก เช่น ไม่ได้เตรียมไว้ถวายภิกษุจำพวกเดยี ว คนเดินทางหรอื คนอดอยากก็อาศัยกินได้ อาหาร
ในโรงทานเช่นน้ี ภิกษุไม่อาพาธ อาจจะออกจากโรงทานน้ันไปได้ พึงฉันได้เวลาเดียว ถ้าฉันเกินกำหนดนั้น
ตอ้ งปาจติ ตีย์
ข้อยกเว้น เว้นวันแลว้ ฉันอีกก็ได้ เจ้าของเขานิมนต์แล้วอังคาส (ถวายอาหารเลี้ยงพระ)เองก็ฉนั ได้
ถา้ อาหารนนั้ ไม่ไดต้ งั้ ให้เปน็ ทานท่ัวไป ไม่นับเข้าในสกิ ขาบทนี้
สิกขาบทที่ 2 ถ้าทายกเขามานิมนต์ ออกช่ือโภชนะทั้ง 5 อย่าง ถ้าไปรับของน้ันมาหรือฉันของนั้น
พร้อมกันตั้งแต่ 4 รปู ขน้ึ ไป ต้องปาจติ ตีย์ เว้นไว้แตส่ มัย คือเป็นไข้อย่างหนงึ่ หนา้ จีวรกาลอย่างหน่ึง เวลาทำ
จีวรอย่างหน่ึง เดินทางไกลอย่างหน่ึง ไปทางเรืออย่างหน่ึง อยู่มากด้วยกันบิณฑบาตไม่พอฉันอย่างหน่ึง
โภชนะเปน็ ของสมณะอยา่ งหนง่ึ
นิทานต้นบญั ญตั ิ พระเทวทตั เส่ือมลาภสักการะ จึงตอ้ งเทย่ี วขออาหารเขาตามสกลุ ฉนั รวมกลมุ่ กบั
บริษัทของตน มนุษย์ท้ังหลายพากันติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุฉันอาหาร
รวมกัน ตอ้ งอาบัติปาจติ ตีย์ ภายหลงั ทรงผ่อนผันให้เมื่อเป็นไข้ เม่ือถึงหน้าถวายจีวร เมอื่ ถงึ คราวทำจวี ร เม่ือ
เดนิ ทางไกล เม่ือไปทางเรือ เม่ือประชมุ กนั อยู่มาก ๆ เมื่อนักบวชเป็นเจ้าภาพถวายอาหารอธบิ ายวา่
ลกั ษณะแหง่ อาบตั ิ เพราะคำว่า “คณะ”ในท่นี ้ี ท่านถอื เอาความวา่ ต้ังแต่ 4 รูปขน้ึ ไป ท่านจึงแกว้ ่า
2 รูปฉันดว้ ยกนั หรือบิณฑบาตมาแลว้ ประชมุ กนั ฉัน ไมเ่ ปน็ อาบัติ
ภตั มีช่ือต่าง ๆ มีนิตยภัตเป็นต้น ไม่เป็นอันออกชอ่ื โภชนะ ท่านไมจ่ ัดวา่ เป็นอาบัติ ยกเว้นโภชนะท้ัง
5 เสยี ไม่เป็นอาบตั ิทุกประการ
อาบัติในสิกขาบทน้ี เป็นอจิตตกะ (ไม่จงใจ) ถ้าเป็นคณโภชน์ แม้เข้าใจไปว่าไม่เป็น ก็คงเป็น
ปาจิตตยี ์เหมือนกนั ไม่ใช่สมัยท่จี ะพงึ ได้รบั อนุญาต แมเ้ ขา้ ใจไปวา่ เป็นสมยั กค็ งไม่พ้นอาบัติ
222
ลักษณะการฉันหมู่ การฉันเปน็ หมู่มที างทจ่ี ะเขา้ ใจได้อีกอย่างหนึง่ คอื น่ังล้อมโภชนะฉนั เรยี กสนั้ ๆ
ว่าฉันเข้าวง ชื่อว่าฉันเป็นหมู่ ตามธรรมเนียมของพราหมณ์ก็ดี ของภิกษุก็ดี เวลาฉันนั่งเรียงเป็นแถว ไม่น่ัง
ล้อมเปน็ วง บางทจี ะหา้ มการฉันเขา้ วงอย่างนบ้ี ้างก็เปน็ ได้
สิกขาบทท่ี 3 ภิกษุรับนิมนต์แห่งหนึ่ง ด้วยโภชนะทั้ง 5 อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ไม่ไปฉันในที่
นิมนต์นั้น ไปฉนั เสียในท่อี ื่น ต้องปาจิตตยี ์ เวน้ ไว้แต่ยกสว่ นท่ีรับนมิ นต์ไว้ก่อนน้ันให้แก่ผอู้ ่นื เสยี หรือหน้า
จวี รกาลและเวลาทำจวี ร
นิทานต้นบัญญัติ กรรมกรผู้ยากจนคนหนึ่งนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขไปฉันท่ีบ้าน
ภิกษุท้ังหลายไปเที่ยวบิณฑบาตฉันเสียก่อน (อาจจะเกรงว่าอาหารเลวหรือไม่พอฉัน) เมื่อไปฉันท่ีบ้าน
กรรมกรคนนัน้ จึงฉันได้เพยี งเลก็ นอ้ ย (เพราะอมิ่ มาก่อนแล้ว) ความจรงิ อาหารเหลือเฟอื เพราะชาวบ้านร้ขู ่าว
เอาของไปช่วยมากพระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะรบั นิมนต์แล้วไปฉัน
อาหารรายอน่ื กอ่ น ภายหลังทรงผ่อนผันให้ในยามเจบ็ ไข้ ในหนา้ ถวายจวี รในคราวทำจีวร มอบให้ภกิ ษุอ่ืนฉัน
ในทีน่ ิมนตแ์ ทน
อธิบายวิธีรับนิมนต์ ถ้าเขาไม่ได้นิมนต์เฉพาะตน จะต้องการเพียงสักว่าภิกษุให้ครบจำนวนเพียง
เท่าน้ัน ภิกษผุ ู้เป็นภัตตทุ เทสะ(ผแู้ จกอาหาร) แจกสว่ นมาถึงตน เชน่ นจี้ ะวิกัป(ยกให้) ให้ภกิ ษอุ ื่นได้อยู่ แตถ่ ้า
เขานิมนตเ์ ฉพาะตน จะวกิ ัปไมช่ อบ เว้นไว้แตจ่ ะตกลงกับผ้นู มิ นต์
สิกขาบทที่ 4 ภิกษุเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน ทายกเขาเอาขนมมาถวายเป็นอันมาก จะรับได้เป็นอย่าง
มากเพยี ง 3 บาตรเทา่ นัน้ ถ้ารบั ใหเ้ กนิ กว่านนั้ ตอ้ งปาจติ ตีย์ ของทร่ี ับมามากเช่นนนั้ ต้องแบง่ ให้ภกิ ษุอื่น
นิทานต้นบัญญัติ มารดานางกาณาทำขนมไว้จะให้บุตรนี ำไปสู่สกุลแห่งสามี ภิกษุเข้าไปรบั คร้ังที่ 3
ทีท่ ำขนมก็เกิดเร่ืองทำนองนี้จนบุตรีของนางกาณาไม่ได้ไปสสู่ กุลสามสี กั ทที ำให้เกิดความเสยี หายแต่บุตรีของ
นาง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทวา่ ภิกษุเข้าไปสู่สกุล ถ้าเข้าปวารณาด้วยขนมหรือด้วยข้าวสัตตุ
ผง เพ่ือนำไปได้ตามปรารถนา พึงรบั เพียงเต็ม 2-3 บาตร ถ้ารับเกินกวา่ น้ันต้องปาจิตตีย์ ทางท่ีชอบ ภกิ ษรุ ับ
2-3 บาตรแล้ว พึงนำไปแบ่งกับภิกษุท้ังหลายอธิบายว่าขนมที่กล่าวมาในสิกขาบท 2 อย่าง คือ 1.ขนม
ท่านเพง่ เอาของขนั หมาก 2. ข้าวสตั ตุ ท่านเพง่ เอาของเปน็ เสบียงเดิมทาง
ความมงุ่ หมายแห่งสกิ ขาบท สกิ ขาบทน้ี ทรงบญั ญัติไว้ เพ่อื จะรกั ษาหน้าของทายก
ลกั ษณะหา้ มอาหาร
1 .กำลงั ฉันอาหารอยู่ 2. เขาเอาโภชนะมาถวายอีก
3. เขาอยใู่ นหัตถบาส (บ่วงมือหรือที่ใกลต้ ัว น่ังห่างกนั ไม่เกิน 1 ศอก) 4. เขานอ้ มถวาย
5. ภิกษุหา้ มเสีย
ของเป็นเดน 2อย่าง
1. ภกิ ษุใชเ้ หลอื เรียกว่าเดนภกิ ษุใช้
2. ของที่ภิกษุทำใหเ้ ป็นเดน โภชนะชนิดหลังน้ี เปน็ กัปปยิ ะควรฉันได้
ของทำวินัยกรรรม ภิกษุรับประเคนแล้ว ฉันบ้างแล้ว ยังไม่ลุกเจากอาสนะ ยกขึ้นส่งให้แก่ภิกษุผู้
หา้ มอาหารแล้วในหตั ถบาส บอกวา่ พอแลว้ เพราะเปน็ ของแสร้งทำ ดังน้ี ท่านจงึ เรียกว่า ของทำวินัยกรรม
ลกั ษณะแหง่ อาบตั ิ ภิกษุละเมิดในขณะรับ ตอ้ งทกุ กฎ ขณะกลืน ต้องปาจติ ตีย์ ของอ่นื ที่ไม่ได้ใช้เป็น
อาหาร ไมน่ ับเขา้ ในข้อน้ี
สิกขาบทท่ี 6 ภิกษุร้ยู งั ว่า ภกิ ษุอ่ืนหา้ มขา้ วแล้ว (ตามสิกขาบทท่ี 5) คดิ จะยกโทษ (ใส่ร้าย)เธอแกล้ง
เอาของเคีย้ วของฉันที่ไมเ่ ปน็ เดนภกิ ษไุ ขไ้ ปล่อให้เธอฉนั ถ้าเธอฉนั แล้ว ตอ้ งปาจิตตยี ์
223
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุรูปหนึ่งรู้ว่า ภิกษุอีกรูปหน่ึง ฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว แกล้งแค่นไค้ให้ฉัน
อาหารอีกเพื่อจบั ผิดเธอ (ตามสิกขาบทที่ 5) พระผู้มพี ระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทปรับอาบัติปาจติ ตีย์ แก่
ภกิ ษผุ ทู้ ำเช่นน้นั
ความมุ่งหมายแห่งสิกขาบทน้ี เพื่อจะห้ามไม่ให้ภิกษุผู้มีเจตนาไม่ดี แกล้งหลอกให้สำคัญผิด อาบัติ
สกิ ขาบทน้จี ึงเป็นสจติ ตกะ (จงใจทำจึงเปน็ อาบัต)ิ ไมเ่ ป็นอาบตั ิแกภ่ กิ ษุผู้สำคญั ผิดแล้วแนะนำใหฉ้ นั
สิกขาบทที่ 7 ภิกษุฉันเคี้ยวของฉันท่ีเป็นอาหารในเวลาวิกาล คือ ต้ังแต่เท่ียงแล้วไปจนถึงวัน
ใหม่ ต้องปาจติ ตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุซ่ึงรวมกันเป็นพวก 17 รูปฉันอาหารในเวลาวิกาล พระผู้มีพระภาคจึงทรง
บญั ญตั ิสิกขาบทปรบั อาบตั ิปาจติ ตยี ์แก่ภกิ ษผุ ู้ฉันอาหารในเวลาวกิ าล(ตง้ั แต่เทยี่ งไปจนรุน่ อรณุ )อธิบายว่า
ลักษณะแห่งอาบัติ อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะ(ไม่มีเจตนา แต่ฉัน) ในเวลาวิกาล คือต้ังแต่
เทยี่ งวนั แล้วจนอรณุ ข้นึ ภกิ ษเุ ข้าใจว่ายงั เป็นกาลหรอื สงสัย ฉนั อาหารคงไมพ่ ้นปาจิตตยี ์กาลิก(ของท่ีกลืนกิน
ใดในเวลาทีก่ ำหนดไว้) อืน่ ไมน่ บั เขา้ ในสกิ ขาบทนฉ้ี ันได้ตามกำหนดพระพุทธานุญาต
สกิ ขาบทท่ี 8 ภกิ ษุฉันของเคย้ี วของฉนั ทีเ่ ป็นอาหาร ซึ่งรบั ประกนั ไวค้ า้ งคนื ตอ้ งปาจติ ตีย์
นิทานต้นบัญญัติ พระเวลัฏฐสีสะเก็บข้าวตากไว้ฉันในวันอ่ืน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติ
สิกขาบทปรบั อาบตั ปิ าจิตตยี แ์ ก่ภิกษุผู้ฉันอาหารท่เี กบ็ ไวค้ ้างคืนอธบิ ายวา่
อาหารที่เป็นสันนิธิ การสั่งสมน้ัน เรียกโดยคัพท์มคธว่า “สันนิธิ” ของเค้ียวของฉันอันรับประเคน
แล้ว กล่าวคือ ถึงมือแล้วในวันนี้ เก็บไว้ค้างคืน เพ่ือจะฉันในวันรุ่งขึ้น ช่ือว่าเป็นสันนิธิ ฉันของนั้น เป็น
ปาจติ ตยี ์ ทา่ นปรบั ปาจติ ตยี ์ทกุ คำกลืน อาบัตใิ นสิกขาบทน้ี เป็นอจิตตกะ (ไมเ่ จตนาฉนั เข้าไปก็ต้องอาบตั ิ)
สิกขาบทท่ี 9 ภิกษุไม่ใช่ผู้อาพาธ ขอโภชนะอันประณีต คือ ข้าวสุกกระคนด้วยเนยใส เนยข้น
นำ้ มัน น้ำผ้ึง นำ้ ออ้ ย ปลา เนื้อ นมสด นมสม้ ต่อคฤหัสถ์ที่ไมใ่ ช่ญาติไม่ไชป่ วารณา(ไมไ่ ด้บอกให้ขอ) เอา
มาฉนั ตอ้ งปาจติ ตีย์
นิทานต้นบัญญัติภิกษุฉัพพัคคีย์ ขออาหารประณีต คือ เนยใส , เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผ้ึง , น้ำอ้อย ,
ปลา , เนื้อ , นมสด , นมส้ม มาเพือ่ ฉันเอง เปน็ ท่ีตเิ ตียน พระผู้มพี ระภาคจึงทรงบญั ญตั ิสกิ ขาบท ปรับอาบตั ิ
ปาจิตตีย์ แกภ่ กิ ษผุ ู้ทำเช่นนั้น เว้นไวแ้ ตอ่ าพาธอธิบายวา่
อาการขอที่ไม่เป็นอาบตั ิ
1. อาพาธ (เจ็บป่วย) เวน้ ของเหล่านนั้ ไม่ผาสุก (ไม่สบาย , ไมส่ ำราญ) ขอเขาได้
2. เมื่อภิกษุอาพาธ ขอมาเพ่ือประโยชนต์ น ภกิ ษุไมใ่ ชผ่ ้อู าพาธพลอยฉนั ด้วยก็ได้
3. ภิกษไุ มใ่ ชผ่ ้อู าพาธขอตอ่ ญาติหรอื ตอ่ คนปวารณา เพือ่ ประโยชนต์ นเอง
4. ขอตอ่ คนอ่ืน เพือ่ ประโยชนแ์ ก่ภิกษุผอู้ าพาธไดแ้ ละอาบัติในสกิ ขาบทน้ีเปน็ อจติ ตกะเหมอื นกัน
สิกขาบทที่ 10 ภิกษุกลืนเกินอาหารที่ยังไม่มีผู้ให้ คือ ยังไม่ได้รับประเคนให้ล่วงช่องปากเข้าไป
ต้องปาจิตตีย์ เวน้ ไว้แต่น้ำและไมส้ ฟี ัน
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุรูปหนึ่ง ไม่ชอบรับอาหารที่มนุษย์ถวาย จึงไปถือเอาเคร่ืองเซ่น ท่ีเขาท้ิงไว้ตาม
สสุ าน (ป่าช้า) บ้างตามหัวบันไดบา้ งมาฉัน เป็นที่ติเตียนของคนท้งั หลาย พระผมู้ ีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ปรับอาบัตปิ าจติ ตยี ์แก่ภกิ ษุผูฉ้ นั อาหารท่ีเขามิไดใ้ ห้ (มไิ ด้ประเคน) เว้นไวแ้ ต่น้ำและไมส้ ีฟันอธบิ ายดงั นี้
อาหาร หมายเอาของทีจ่ ะพงึ กลืนกนิ ทั่วไป
น้ำ นำ้ โดยปกติ ไมใ่ ช่อาหารท่เี ป็นของเหลว เช่น น้ำแกงหรอื น้ำอ้อย
ไมช้ ำระฟัน ไม้ชำระฟัน พงึ เขา้ ใจว่า ไม่ใชข่ องจะพึงกลนื กิน
องคแ์ หง่ การประเคน
1. ของไม้ใหญโ่ ตหรือหนกั เกนิ ไป พอคนปานกลางยกไดค้ นเดยี ว
224
2. ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส (บ่วงมือหรอื ทใี่ กล้ตัวนง่ั หา่ งกนั ไม่เกนิ 1 ศอก)
3. เขาน้อมเขา้ มา
4. กริ ิยาท่นี ้อมเข้ามาใหน้ ่ัน ด้วยกายกไ็ ด้ ดว้ ยของเนอ่ื งด้วยกายก็ได้ดว้ ยการการโยกให้ก็ได้
5. ภกิ ษุรบั ดว้ ยกายกไ็ ด้ ดว้ ยของเนอ่ื งดว้ ยกายก็ได้
ลักษณะแหง่ อาบัติ อาบัติในสิกขาบทนี้ เป็นอจิตตกะเหมือนกัน ภิกษุบวชใหม่ เผลอฉันของที่ไม่ได้
รับประเคน คงไม่พน้ จากปาจติ ตยี ์
เหตุยกเว้น เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น งูกัด กัปปิยการา (ศิษย์) ไม่มี ถือเอายามหาวิกัฎ 4 อย่างคือ
มูตร คูถ เถ้า ดิน ฉัน ไม่เป็นอาบัติ ในอรรถกถากล่าววา่ ภกิ ษุจะตัดไม้เผาทำเถ้าถา่ น หรือจะขุดพ้ืนดินเพื่อ
จะเอาดนิ ก็ได้ ไม่เปน็ ปาจติ ตีย์ เพราะโทษตัดไม้และขุดดนิ
อเจลกวรรคท่ี 5
สิกขาบทท่ี 1 ภิกษใุ หข้ องเคย้ี วของฉนั แกน่ กั บวชนอกศาสนา ด้วยมือของตน ต้องปาจติ ตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ขนมเกิดขึ้นแก่สงฆ์ (เหลือเฟือ) พระผู้มีพระภาคจึงทรงโปรดให้พระอานนท์แจก
เป็นทานแก่คนอดอยาก พระอานนท์จึงแจก มีนักบวชนอกศาสนาท่ีเป็นผู้หญิงมารับแจกด้วย เผอญิ ท่านให้
เกนิ ไป 1 ก้อน แกน่ ักบวชหญิงนั้น ดว้ ยเขา้ ใจผดิ พวกเขาเองจึงล้อกนั วา่ พระอานนทเ์ ป็นชูข้ องหญิงนัน้ และ
ภิกษุรูปหน่ึงฉันเสร็จก็เอาข้าวสุกคลุกเนยใสให้แก่อาชีวกผู้หนึ่ง มีผู้เห็นว่าไม่เหมาะสม (เพราะเหยียดตัวเอง
ลงเป็นคฤหัสถ์) พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามให้อาหารแก่ชีเปลือย แก่ปริพาชก ด้วยมือของ
ตน ทรงปรับอาบตั ปิ าจติ ตยี ์ แกภ่ ิกษผุ ู้ลว่ งละเมดิ อธบิ ายดงั น้ี
นักบวชนอกศาสนา
1. อเจลก คอื ชีเปลือย
2. ปรพิ าชก คือ นักบวชผชู้ าย
3. ปริพาชิกา คอื นักบวชผู้หญิง
ความมุ่งหมายแห่งสิกขาบท ทรงบัญญัติสิกขาบทนี้ เพื่อไม่ให้เขาหม่ันไส้ เพราะภิกษุให้ของเคี้ยว
ของกินด้วยมือของตน ชอ่ื ว่า วางตัวเป็นอนุปสัมปนั (คฤหัสถ์) แก่นกั บวชเหลา่ นน้ั เพราะเหตุน้ัน ส่ังให้ ให้ก็ดี
วางใหก้ ด็ ี ใหข้ องอย่างอ่ืน นอกจากของอนั จะพงึ กลืนกินกด็ ี ทา่ นวา่ ไมเ่ ปน็ อาบตั ิ
สิกขาบทที่ 2 ภกิ ษชุ วนภิกษอุ ืน่ ไปเที่ยวบิณบาตรด้วยกัน หวังจะประพฤติอนาจาร(ประพฤติไมด่ ี
ไม่งาม) ไลเ่ ธอกลบั มาเสีย ตอ้ งปาจีตตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ พระอุปนันทะ ศากยบุตร ชวนภิกษุรูปหนึ่งไปเที่ยวบิณฑบาตด้วยกันแล้วไล่เธอ
กลับ พระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามทำเช่นน้ัน ทรงปรับอาบัติปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด
อธิบายวา่
เหตุไม่เป็นอาบัติ มีเหตุอ่ืน นอกจากจะปิดบังความชั่วเสียหายส่วนตัว เช่นบาตรของภิกษุเต็มแล้ว
บอกให้กลับมากอ่ น ไมเ่ ป็นอาบัติ
สกิ ขาบทท่ี 3 ภกิ ษสุ ำเร็จการนง่ั แทรกแซงในสกลุ ท่ีเขากำลงั บริโภคอาหารอยู่ต้องปาจิตตีย์
นิทานต้นบัญญัติพระอุปนันทะ ศายกบุตร เข้าไปในสกุลที่สามีภริยาเขาน่ังอยู่ด้วยกัน ได้ภิกษา
(อาหาร) แล้ว สามีไล่ให้กลับแต่ภริยานิมนต์ให้นั่งอยู่ก่อน จึงนั่งอยู่ เขาไล่ถึง 3 คร้ัง ก็ไม่กลับ พระผู้มีพระ
ภาคจึงทรงบัญญัติสกิ ขาบทห้ามภกิ ษเุ ข้าสสู่ กลุ ทีม่ ีสามีภริยาอยู่ด้วยกนั ทรงปรับอาบัติปาจิตตียแ์ ก่ภิกษุผลู้ ว่ ง
ละเมิดอธิบายว่า
ความมุ่งหมายแห่งสกิ ขาบท การเขา้ ไปหาสกุลท่เี ขากำลงั บรโิ ภคอาหารอยเู่ ป็นการเสยี มารยาท จึง
ทรงบัญญตั ิสกิ ขาบทน้ี เพื่อกนั ความเสยี หายเชน่ น้นั
สกิ ขาบทท่ี 4 ภกิ ษนุ ง่ั ในที่แจง้ กบั หญงิ สองต่อสอง ต้องปาจติ ตีย์
225
นทิ านต้นบัญญตั ิ พระอุปนนั ทะ ศากยบุตร ไปสเู่ รอื นสหาย นั่งในทลี่ ับ (หู) กับภรรยาของสหายนั้น
สองต่อสอง เขาติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามนั่งในท่ีลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
(ผู้หญงิ ) ทรงปรับอาบัตปิ าจติ ตยี ์แกภ่ กิ ษุผลู้ ว่ งละเมดิ
กิริยาน่ังในท่ีแจ้ง ที่แจ้งหมายเอาที่ลับหู เทียบกันได้กันอนิยตสิกขาบทท่ี 2 เพราะมีคำว่าตัวต่อตัว
จึงทำให้เข้าใจว่า ถา้ นัง่ กลางแจ้งกบั หญิงหลายคน หญิงหล่าน้ันคุ้มอาบตั ไิ ด้ (คือไมเ่ ปน็ อาบัต)ิ
สกิ ขาบทที่ 6 ภกิ ษุรบั นมิ นต์ไปฉันโภชนะทง้ั 5 จะไปในที่อ่นื จากทน่ี ิมนตน์ ั้น ในเวลากอ่ นกอ่ นฉันก็ดี
ฉนั กลับมาแลว้ กด็ ี ต้องลาภิกษุท่มี ีอยู่ในวดั ก่อน จึงจะไปได้ ถา้ ไม่ลาก่อนเท่ยี วไป ตอ้ งปาจติ ตยี ์ เวน้ ไวแ้ ตส่ มัย
คือ จวี รกาย (คราวถวายจีวร) และเวลาทำจวี ร (เวลาตอ้ งเก็บจีวร)
นิทานต้นบัญญัติ พระอปุ นนั ทะ ศากยบุตร รับนิมนตไ์ ปฉันทแ่ี ห่งหน่ึงแลว้ ไปสู่สกลุ อื่นเสียกอ่ น ทำ
ให้ภิกษุอ่ืนและเจ้าของบ้านที่นิมนต์ไว้ต้องคอย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามทำเช่นนั้น
ภายหลังมเี หตุเกิดข้ึน จงึ ทรงบัญญตั ิเพ่ิมเตมิ หลายครง้ั รวมความในสิกขาบทนว้ี ่า ภิกษุรบั นมิ นต์แล้ว ไม่บอก
ลาภิกษุท่ีมีอยู่ (ในวัด) เท่ียวไปในสกุลทั้งหลายก่อนฉันก็ดี ภายหลังฉันก็ดี เว้นแต่สมัย คือ คราวถวายจีวร
และคราวทำจวี ร ตอ้ งอาบัตปิ าจติ ตยี อ์ ธิบายว่า
1. ภิกษุรับนิมนต์ฉันโภชนะไว้ห้ามไม่ให้เท่ียวไปในท่ีอื่นในเวลาก่อนฉันคือ เมื่อจะไปฉัน ห้ามไม่ให้
เชอื นแช (ไถล) ไปในทีอ่ น่ื กอ่ น เพือ่ จะกลับไม่ให้ไปช้าหรอื ตามตวั ไม่พบ
2. การหา้ มไม่ให้เที่ยวไปท่ีอ่ืนหลังฉนั โภชนะแล้วนั้น คือ กลับจากบา้ นท่นี ิมนต์แล้ว ไม่ให้ถือโอกาส
ที่รบั นิมนตน์ ั้นเลยไปเท่ียวที่อน่ื ต่อไป แต่เมื่อมีกิจจำเป็นจะตอ้ งทำใน 2 อย่างน้ัน อย่างใดอยา่ งหน่ึง จึงจะให้
บอกลาภกิ ษุใว้เปน็ หลกั ฐาน
3. ไปสู่ท่ีอาศัยของภิกษุณี ไปสู่ท่ีอยู่เดียรถีย์ ไม่เป็นอาบัติ แต่ในเรื่องเช่นน้ีทำให้เสียผล ท่านเคย
ปรับเป็นอาบัติทุกกฎแวะเรือนอันอยู่ตามทางในเวลากลับนับวา่ ไม่ได้เลยไปเท่ียว ท่านอนุญาต แต่ถ้ามีภิกษุ
ตอ้ งบอกลา เพราะมีสกิ ขาบทอน่ื บังคับใหท้ ำเชน่ นน้ั
สิกขาบทที่ 7 ถ้าเขาปวารณา (บอกให้เขา หรือเปิดโอกาสให้ขอ) ให้รับปัจจัย 4 เพียง 4 เดือน พึง
ขอเขาได้เพียงกำหนดนั้นเท่านั้น ถ้าขอให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องปาจิตตีย์เว้นไว้แต่เขาปวารณาอีก หรือ
ปวารณาเปน็ นิตย์
นทิ านตน้ บัญญัติ มหานามศากยะ ปวารณาตอ่ ภิกษุสงฆ์ ให้ขอเภสชั ได้ตลอด 4 เดือนแลว้ ปวารณา
ตอ่ อีก 4 เดือน แล้วปวารณาต่อจนตลอดชีวิต ภิกษุฉพั พัคคีย์ ขอเนยใส ในขณะท่ีคนใช้ของมหานามศากยะ
ไปทำงาน แมจ้ ะถูกขอร้องให้คอยก็ไม่ยอม กลับพูดวา่ ปวารณาแล้วไม่ให้ พระผู้มพี ระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติ
สิกขาบทว่าภิกษุไม่เป็นไข้ พึงขอปัจจัยสำหรับภิกษุไข้ท่ีเขาปวารณา 4 เดือนได้ ถ้าขอเกินกำหนดนั้นเว้นไว้
แต่เขาปวารณาอีก และปวารณาตลอดชวี ิต ตอ้ งปาจิตตีย์ (ไมเ่ ป็นไขข้ อไม่ได้ แสรง้ ขอในเม่อื ไม่มีความจำเป็น
ก็ไมไ่ ด้)อธบิ ายว่า
ปัจจัย 4 คำว่า “ปัจจัย” ในที่น้ี ได้แก่เภสัช เรียกว่าคิลานปัจจัย แต่ควรหมายถึงปัจจัยอันเป็น
สาธารณะ(ปัจจยั ทั่วๆไป) ได้แก่จวี ร บณิ ฑบาต เสนาสนะ และเภสชั
คนปวารณา คนปวารณา (คนบอกให้ขอปัจจัยเม่ือต้องการ) น้ัน แสดงโดยนัยซ่ึงกล่าวไว้ในคัมภีร์
วิภงั ค์(หนังสือจำแนกความอธิบายความหมายแหง่ สิกขาบทใหช้ ัดเจน) มี 4 คือ
1. ปวารณากำหนดปจั จัย 3. ปวารณากำหนดทั้ง 2 อย่าง
2. ปวารณากำหนดกาล 4. ปวารณาไม่กำหนดทัง้ 2 อย่าง
กำหนดกาลปวารนา ถา้ เขาปวารณาซำ้ อกี ขอได้เพียงคราวละ 4 เดอื น ถา้ เขาปวารณาเป็นนติ ย์ ขอ
ได้เสมอไป
สกิ ขาบทท่ี 8 ภกิ ษุไปดกู ระบวนทพั ซง่ึ เขายกไปเพ่ือจะรบกนั ต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แตม่ เี หตุ
226
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคีย์ ไปดูกองทพั ท่ียกไป พระเจ้าปเสนทิโกศลทอดพระเนตรเห็นก็ทรง
ทกั ทว้ ง คนทั้งหลายก็พากนั ตเิ ตียน พระผู้พระภาคจึงทรงบัญญัตสิ กิ ขาบทว่าภิกษไุ ปดูกองทพั ที่เขายกไป ตอ้ ง
ปาจิตตีย์ ภายหลังทรงอนญุ าตใหไ้ ปในกองทัพได้ เมื่อมเี หตสุ มควรอธบิ ายวา่
เหตทุ ย่ี กเวน้ และไมเ่ ปน็ อาบตั ิ
1. ญาตขิ องภิกษเุ ปน็ ไข้ เขาขอพบก็ไปได้ แมจ้ ะปรารภเหตอุ ื่นอนั เปน็ กจิ ท่คี วรก็ไปได้
2. กระบวนทพั ยกมาทางอาราม หรือเดนิ สวนทางไปพบแลเหน็ ไม่เป็นอาบัติ
3. มอี ันตรายเกดิ ข้นึ เช่น ถกู จบั ไปเป็นเชลย
สิกขาบทที่ 9 ถ้าเหตุท่ีจะต้องไปมีอยู่ พึงไปอยู่ในกองทัพได้เพียง 3 วัน ถ้าอยู่ให้เกินกำหนดน้ันไป
ตอ้ งปาจติ ตยี ์
นทิ านต้นบัญญัติ ภิกษุฉพั พัคคีย์ มเี หตจุ ำเป็นไปในกองทัพ และพักอยู่เกิน 3 คืน มผี ู้ตเิ ตียนพระผ้มู ี
พระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า เม่ือมีเหตุจำเป็นจะต้องไปในกองทัพภิกษุจะพักอยู่ในกองทัพไดไ้ มเ่ กิน 3
ราตรี ถา้ อยู่เกินกว่าน้ัน ตอ้ งปาจิตตยี อ์ ธบิ ายดังน้ี
วธิ ีนบั วัน วิธีนับวันน้นั กำหนดเวลาที่พระอาทิตย์ตก ปรับเป็นอาบัติในวนั ท่ี 4 ต่อเม่ือตะวันตกแล้ว
ถ้าอยู่เพยี ง 3 วัน แล้วกลับเสยี ภายหลังไปอยไู่ ด้อีก
เหตุยกเว้น มีเหตุจำเป็น เช่น เจ็บอยู่ในกองทัพ หรือกองทัพถูกข้าศึกล้อม และมีเหตุขัดขวางอย่าง
อ่นื ๆ อยูเ่ กนิ กวา่ กำหนดนั้นได้
สิกขาบทท่ี 10 ในเวลาที่อยู่ในกองทพั ตามกำหนดน้ัน ถ้าไปดเู ขารบกันก็ดี หรือไปดูเขาตรวจพลกด็ ี
ดูเขาจัดกระบวนทัพก็ดี ดูหมู่เสนาท่จี ดั เปน็ กระบวนแลว้ กด็ ี ต้องปาจติ ตยี ์
นิทานตน้ บัญญตั ิ ภกิ ษุฉัพพคั คยี ์ มเี หตจุ ำเป็นต้องไปพักท่ีกองทพั 2-3 ราตรี เธอได้ไปดกู ารรบ การ
ตรวจพล การจัดทัพและดูทัพท่ีจัดเป็นกระบวนเสร็จแล้ว ภิกษุรูปหน่ึงในจำนวน 6 รูป ถูกลูกเกาทัณฑ์
(เพราะไปดูเขารบกัน) เป็นที่เยาะเย้นติเตียนของคนท้ังหลาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้าม
ภิกษุทพี่ ักอยู่ในกองทัพ 2-3 ราตรี ไปดูการรบ การตรวจพล การจัดทัพ และทพั ท่จี ัดเป็นขบวนเสรจ็ แล้วทรง
ปรบั อาบัติปาจติ ตีย์แกภ่ กิ ษุผู้ลว่ งละเมิดอธิบายวา่
ความมงุ่ หมายแหง่ สกิ ขาบท เน้ือความเหมอื นสิกขาบทกอ่ น ตา่ งแตส่ กิ ขาบทนี้ หา้ มในระหวา่ งทีอ่ ยู่
ในกระบวนทัพ มใิ ห้ไปดูเขาจัดทำตามยทุ ธวิธี.
สุราปานวรรคท่ี 6
สิกขาบทท่ี 1 ภิกษุดืม่ นำ้ เมา ต้องปาจิตตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ พระสาคตะ ปราบนาค (งูใหญ่) ของพวกชฎิลได้ ชาวบ้านดีใจปรึกษากันว่าจะ
ถวายอะไรท่ีหาได้ยาก ภิกษุฉัพพัคคีย์ แนะให้ถวายเหล้าใส สีแดงด่ังสีเท้านกพิราบ ชาวบ้านจึงเตรียมเหล้า
แดงไว้ และถวายให้พระสาคตะดื่ม พระสาคตะเมานอนอยู่ท่ีประตูเมือง พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติ
สกิ ขาบทห้ามภิกษุด่ืมสุรา(น้ำเมาที่กลั่น)และเมรัย (น้ำเมาที่หมกั หรือดอง) ทรงปรบั อาบตั ิปาจิตตียแกภ่ ิกษุผู้
ล่วงละเมิดอธิบายวา่
ลกั ษณะนำ้ เมา
1. เมรัย ได้แก่น้ำอันมีรสหวานทุกอย่างท่ีเป็นเอง เช่น น้ำตาลสด แต่เมื่อล่วงเวลาแล้ว รสหวานน้ำ
กลายเปน็ รสเมา
2. สรุ า ไดแ้ ก่เมรัยทเ่ี ขากลน่ั สกดั เพ่ือใหร้ สเมาแรงข้ึน
ลักษณะแห่งอาบตั ิ อาบัติในสิกขาบทนี้ เปน็ อจิตตกะ (คอื ไมม่ ีเจตนา สำคัญว่ามใิ ช่น้ำเมา ดม่ื เขา้ ไป ก็คง
อาบตั ิ) เพราะไม่มคี ำบ่งเจตนา ไมเ่ หมอื นสกิ ขาบทของสามเณรและของคฤหสั ถ์
227
ข้อยกเวน้
1. ของที่มิใชเ่ ปน็ นำ้ เมา แตม่ ีสี กลนิ่ รส ดุจน้ำเมา เช่น ยาดองบางอยา่ ง ไม่เปน็ วตั ถุแหง่ อาบตั ิ
2. น้ำเมาท่ีเจือในแกงในเนื้อหรือในของอื่น เพ่ือชูรสหรือกันเสีย ไม่ถึงกับเป็นเหตุเมา ชื่อว่าเป็น
อพั โพหารกิ (ไม่ตอ้ งพดู ถงึ คอื บอกไม่ได้วา่ มี , มีแต่ไมป่ รารถกฏ) ฉนั หรือดื่มของเช่นนนั้ ไมเ่ ป็นอาบัติ
สกิ ขาบทท่ี 2 ภิกษุ (เอาน้วิ ) จภ้ี กิ ษุ ต้องปาจิตตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคีย์เอานิ้วมือจ้ีภิกษุสัตตรสวัคคีย์ (พวก17) รูปหน่ึง เธอสะดุ้งเลยขาด
ใจตาย พระผ้พู ระภาคจงึ ทรงบัญญตั ิสิกขาบทว่า ภิกษุจภี้ ิกษุ ตอ้ งปาจติ ตยี อ์ ธบิ ายดังน้ี
วัตถุแห่งอาบัติ 2
1. ภิกษุ เปน็ วัตถแุ ห่งปาจิตตีย์ 2. อนุปสัมบัน (ผมู้ ใิ ช่ภกิ ษุ) เป็นวตั ถุแหง่ ทุกกฏ
สกิ ขาบทที่ 3 ภิกษุวา่ ยน้ำเลน่ ต้องปาจิตตีย์
นิทานตน้ บัญญัติ ภิกษุ (พวก 17) เล่นน้ำในแมน่ ้ำอจิรวดี พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงออกอุบาย ฝาก
ขนมไปถวายพระพุทธเจ้าเพื่อให้ทรงทราบวา่ ภิกษุเหล่านี้ไปเล่นน้ำพระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท
ห้ามภกิ ษุว่ายนำ้ เลน่ ทรงปรับอาบตั ิปาจติ ตยี ์ แกภ่ ิกษุผลู้ ่วงละเมิดอธิบายวา่
วัตถุแห่งอาบตั ิ
1. น้ำลึกพอที่จะดำไดม้ ดิ ตวั หรอื ลึกพอท่จี ะว่ายไดส้ ะดวกเปน็ วตั ถุแห่งปาจติ ตยี ์
2. เล่นอย่างอนื่ เช่นเอามอื วกั นำ้ เปน็ ต้น เปน็ วัตถุแหง่ ทุกกฎ
3. น้ำตืน้ ไม่ถงึ กำหนดทเ่ี ป็นวัตถุแห่งปาจติ ตียก์ ด็ ี นำ้ ในภาชนะก็ดี เป็นวัตถแุ หง่ ทุกกฏ
สิกขาบทที่ 4 ภิกษแุ สดงความไม่เออ้ื เฟือ้ ในวนิ ัย (คอื ประพฤติลว่ งละเมิดพระวนิ ัย) ตอ้ งปาจิตตีย์
นิทานตน้ บัญญตั ิ พระฉนั นะประพฤติอนาจาร (ประพฤติไม่ดไี ม่งาม) ภิกษุทงั้ หลายว่ากลา่ วตักเตือน
กลับไมเ่ ออื้ เฟือ้ ดอ้ื ดา้ นตอ่ ไป พระผู้พระภาคจงึ ทรงบัญญตั ิสกิ ขาบทว่าภิกษไุ ม่เอือ้ เฟ้ือในวินัย ตอ้ งปาจติ ตีย์
อธิบายว่า ความไม่เอ้ือเฟื้อ 1. ไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล คือ ผู้กล่าวส่ังสอนตักเตือน 2. ไม่เอ้ือเฟื้อใน
ธรรม คือ บัญญัติและธรรมอนั มิใชบ่ ัญญัติ
ความมุ่งหมายแห่งสิกขาบท เพ่ือจะห้ามไม่ให้ภิกษุเป็นผู้ด้ือดึง ได้รับคำแนะนำหรือตักเตือนแล้ว ให้
แสดงความเออ้ื เฟื้อและถือเอาแต่การทถี่ ูกเป็นประมาณ ไม่ใหด้ ถู กู บุคคลผู้พูดหรอื ข้อทยี่ กขึ้นพดู
สกิ ขาบทท่ี 5 ภิกษุหลอนภิกษใุ หก้ ลวั ผี ต้องปาจิตตีย์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก 6) หลอกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ (พวก 17) ให้กลัวผีจนร้องไห้
พระผู้มพี ระภาคจงึ ทรงบญั ญัติสกิ ขาบทวา่ ภิกษทุ ำภิกษุให้กลัวผี ต้องปาจติ ตยี ์อธิบายว่า
กิริยาหลอน กิริยาว่าหลอนน้ัน คือพูดก็ดี และแสดงอาการอย่างอื่นก็ดี ให้ตกใจกลัวผีหรือพูดขู่ให้
ตกใจกลัวโจร กลวั สตั ว์ร้าย ผถู้ ูกหลอนจะตกใจหรือไมต่ กใจ ไม่เปน็ ประมาณ
ลกั ษณะแห่งอาบัติ
1. หลอนอุปสมั บนั (ภิกษ)ุ ตอ้ งปาจตี ตีย์
2. หลอนอนปุ สัมบัน (ผมู้ ใิ ช่ภกิ ษุ) ตอ้ งกทุกกฏ
3. ไมไ่ ด้มุ่งใหต้ กใจ ไม่เป็นอาบัติ
สิกขาบทที่ 6 ภิกษุไม่เป็นไข้ ติดไฟให้เป็นเปลวเองก็ดี ใช้ให้ผู้อ่ืนติดก็ดี เพ่ือจะผิงต้องปาจิตตีย์ ติด
เพอื่ เหตอุ ืน่ ไม่เป็นอาบัติ
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุทั้งหลายก่อให้ไฟผิงในฤดูหนาว งูร้อนออกจากโพรงไล่กัดภิกษุแตกหนี
กระจายไป พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุก่อไฟเองก็ดี ใช้ให้ผู้อ่ืนก่อไฟก็ดี เพื่อจะผิง ต้อง
ปาจติ ตีย์ ภายหลงั ทรงอนุญาตให้ทำไดเ้ มอ่ื เปน็ ไข้ (ผิงไฟท่คี นอน่ื เขากอ่ ไวแ้ ล้ว ไมผ่ ดิ ) อธบิ ายว่า
228
ความมุ่งหมายแห่งสิกขาบท การห้ามผิงไฟในสิกขาบทนี้ เพื่อจะกันไฟไหม้กุฏีท่ีทำด้วยไม้และมุง
ด้วยหญ้า การผิงไฟในท่ีทำไว้สำหรับผิง ซึ่งเรียกว่าเรือนไฟห่างจากอันตราย เช่นน้ัน ทรงอนุญาต ภิกษุ ผู้
อาพาธเวน้ การผงิ ไฟแลว้ อย่ไู ม่ผาสุก หรอื ติดหรอื กจิ อยา่ งอ่นื ท่ีจำเป็น ได้รับยกเว้น
สกิ ขาบทที่ 7 ภกิ ษุอย่ใู นมชั ฌิมประเทศ คอื จงั หวดั กลางแห่งประเทศอนิ เดยี 15 วันจงึ อาบน้ำได้หน
หน่ึง ถ้ายังไม่ถึง 15 วันอาบน้ำต้องปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็นในปัจจันตประเทศ เช่นประเทศเรา
อาบน้ำไดเ้ ปน็ นติ ย์ไม่เปน็ อาบัติ
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุทั้งหลายอาบน้ำในแม่น้ำตโปทา พระเจ้าพิมพิสารก็เสด็จไปจะสนาน
(อาบน้ำ) พระเกศาทรงรออยู่ ภิกษุเหล่าน้ันอาบอยู่จนค่ำ พระองค์จึงได้สนานพระเกศาและกลับไปไม่ทัน
ประตเู มืองปดิ ต้องทรงพักค้างแรมอยนู่ อกเมอื ง พระผมู้ พี ระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุ
อาบนำ้ กอ่ นกำหนดคร่ึงเดือน ทรงปรับอาบัติปาจติ ตีย์แกภ่ ิกษุผูล้ ่วงละเมิด ภายหลังทรงอนุญาต ใหอ้ าบนำ้ ได้
ก่อนกำหนดระยะครึ่งดือน ในเมื่อมีเหตุจำเป็นเช่นร้อนจัด เจ็บไข้ (ในปัจจันตประเทศเช่นประเทศเรา ไม่
เก่ียวกบั สกิ ขาบทน้ี เพราะทรงบญั ญัติสำหรับประเทศภาคกลางของอนิ เดีย) อธบิ ายวา่
ความมุ่งหมายแห่งสิกขาบท สิกขาบทน้ี ท่านว่าเป็นประเทศบัญญัติ คือทรงตั้งไว้เอาเฉพาะใน
มัธยมประเทศ จังหวัดกลางแห่งชมพูทวีป สิกขาบทน้ี ทรงบัญญัติเฉพาะประเทศที่อัตคัดน้ำ เพราะกาลที่
กนั ดารน้ำ เชน่ ในประเทศดอน ในคราวฤดูแล้ง
สิกขาบทท่ี 8 ภิกษุได้จีวรใหม่ ต้องพินทุ (ทำวงกลม ๆ เหมือนหยาดน้ำ) ด้วยสี 3 อย่างคือ เขียว
คราม โคลน ดำคลำ้ อย่างใดอยา่ งหน่งึ ก่อน จึงนุ่งห่มได้ ถ้าไมท่ ำพนิ ทุกอ่ นแลว้ นุง่ หม่ ต้องปาจติ ตีย์
นิทานตน้ บัญญตั ิ ภิกษุและปรพิ าชก เดินทางจากเมอื งสาเกตมาสู่เมืองสาวตั ถี โจรปลน้ ระหว่างทาง
เจา้ หนา้ ท่จี ับโจรได้พรอ้ มท้งั ของกลาง จงึ ขอใหภ้ ิกษุไปเลือกจวี รของตนทถี่ ูกชิงไป ภกิ ษเุ หล่าน้นั จำไมไ่ ด้ เป็น
ที่ติเตียน พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุได้จีวรใหม่มา พึงถือเอาเคร่ืองทำให้เสียสี สีใดสี
หน่ึงใน 3 สี คือ สีคราม สีโคลน สีดำคล้ำ (มาทำเครื่องหมาย) ถ้าไม่ทำอย่างนั้นใช้จีวรใหม่ต้องปาจิตตีย์
อธบิ ายว่า
ความมุ่งหมายแห่งสิกขาบท สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติให้ทำเคร่ืองหมาย เพ่ือจะให้จำได้ว่าของตน แต่ใน
สิกขาบทเอง เพง่ ความทำใหเ้ สยี สี อนโุ ลมตามลขู ปฎิบัติ คือ ประพฤตปิ อนๆ ใช้ของเศรา้ หมอง
เรือ่ งน้ใี นสมยั นถี้ ือเป็นพิธีเสยี แล้ว จึงไม่มใี ครนึก นอกจากทำจุดเปน็ วงกลมใหญเ่ ท่าแววตานกยงู เลก็ เท่า
หลังตัวเรือด เรียกว่า ทำพินทุกัปปะ ภิกษุได้จีวรใหม่ ต้องทำเครื่องหมายก่อน จึงนุ่งห่มได้ เม่ือทำไว้แล้วรอยหาย
สูญไป ไม่ต้องทำใหม่ เอาผา้ อน่ื เยบ็ ติดกับจีวรทท่ี ำเครือ่ งหมายแล้ว ไมต่ อ้ งพนิ ทผุ า้ ใหม่
สิกขาบทท่ี 9 ภกิ ษุวิกัป (ฝาก) จีวรแกภ่ กิ ษุก็ดี ภกิ ษณุ กี ็ดี นางสิกขมานา (สามเณรี อายุ 18 ปี อกี 2
ปี จะบวชเป็นภิกษุณี) ก็ดี สามเณรก็ดี สามเณรี (สามเณรหญิง) ก็ดี ผู้รับยังไม่ได้ถอน (คือผู้รับฝากยังไม่ได้
บอกให้ผู้ฝากเอากลับไปใช)้ นงุ่ หม่ จวี รนนั้ ตอ้ งปาจิตตีย์
นิทานตน้ บญั ญัติ พระอปุ นันทะ ศากยบุตร วิกัปจีวรกับภิกษุอ่นื แล้วยงั ไม่ได้ถอน ใช้จีวรนั้นพระผู้มี
พระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุ วิกัปจีวร กับภิกษุ ภิกษุณีนางสิกขมานา สามเณร หรือ สามเณรี
แลว้ ใช้จีวรนนั้ ที่ยงั มิไดถ้ อน ตอ้ งปาจิตตีย์
ลกั ษณะวกิ ัป วิกัปนั้น โดยความก็คือทำให้เปน็ ของ 2 เจา้ ของมี 2วิธีคือ
1. วกิ ัปตอ่ หนา้
2. วิกัปลับหลงั
วิธีวกิ ปั ผ้า วกิ ัปต่อหน้าน้นั คือ วกิ ัปตอ่ หน้าผทู้ ี่รับ ว่าดงั น้ี
“อิมงั จวี ะรงั ตยุ หงั วิกปั เปม”ิ แปลว่า “ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แกท่ ่าน”
229
หลายผืนว่า “อิมานิ จีวะรานิ” แทน “อิมัง จีวะรัง” อยู่นอกหัตถบาสว่า “เอตัง” แทน “อิมัง” ว่า
“เอตาน”ิ แทน “อิมานิ”
วิกัปลับหลังนั้น คอื วิกัปให้สหธรรมิกรูปใดรูปหน่ึง ผู้ไม่ได้อยูเ่ ฉพาะหน้าเปล่งวาจาต่อหน้าสหธรรมกิ รูปอ่ืน
ว่า “อิมงั จวี ะรัง อติ ถนั นามัสสะ วกิ ัปเปม”ิ แปลวา่ “ขา้ พเจ้าวิกปั จีวรผืนนี้แก่สหธรรมิกชื่อนี้”
ถ้าวิกัปแก่ภิกษุ ต่างว่าช่ืออุตตระ ก็บอกช่ือว่า “อุตตะรัสสะ ภิกขุโน” หรือ “อายัสมะโต อุ
ตตะรสั สะ” แทน “อิตถันนามสั สะ” โดยสมควรแกผ่ ู้รับอ่อนกวา่ หรือแกก่ ว่า
จวี รทวี่ กิ ัปไวแ้ ลว้ ผูร้ บั ยังไม่ได้ถอน ห้ามไมใ่ หส้ อยนงุ่ ห่มด้วยสิกขาบทนถ้ี อนแลว้ จงึ ใช้นุ่งหม่ ได้
คำถอนวา่ “อมิ งั จวี ะรัง มยั หงั สันตะกงั ปะริภญุ ชะ วา วิสัชเชหิ วา ยะถาปจั จะยัง วา กะโรห”ิ
ถ้าผู้ถอนอ่อนกว่า ว่าดังน้ี “อิมัง จีวะรัง มัยหัง สันตะกัง ปะริภุญชะถะ วา วิสัชเชถะ วา ยะ
ถาปัจจะยงั วา กะโรถะ” ความเดยี วกัน เป็นแต่ใช้แสดงเคารพ
แปลว่า “จีวรผนื น้ีของข้าพเจา้ ท่านจงใช้สอยกต็ าม จงสละกต็ าม จงทำตามปัจจยั ก็ตาม”
มติเรื่องวกิ ัป
1. จีวรที่ถอนวิกัปแล้ว กลับเปน็ อติเรกจวี รไปใหมถ่ งึ 10 วนั ตอ้ งวิกัปอีกเสมอไป
2. จีวรที่ถอนวิกัปแล้ว คงเป็นวิกัปปิตจีวร (จีวรที่ทำให้เป็นของ 2 เจ้าของแล้ว) อยู่นั้นเอง ถือวิกัป
หนเดียวแล้วก็เป็นอนั แล้วกัน ไม่ต้องวิกัปซำ้
ทั้ง 2 มตนิ ้ี คงใช้กันอยใู่ นบางอาราม สุดแต่ความนิยมอนั ภิกษสุ งฆใ์ นอารามนัน้ จะพงึ ปฏิบตั ิ
สิกขาบทท่ี 10 ภิกษุซ่อนบริขาร คือ บาตร จีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม ประคตเอว สิ่งใดส่ิงหน่ึงของ
ภกิ ษอุ ื่น ดว้ ยคิดว่าจะล้อเล่น ต้องปาจติ ตียอ์ ธบิ ายว่า
ลักษณะแห่งอาบัติและอนาบัติ ซ่อนบริขารอื่น หรือซ่อนของอนุปสัมปัน (ผู้มิใช้ภิกษุ) เป็นทุกกฎ
ไม่ไดห้ มายจะล้อเล่น เห็นของวางไว้ไม่ดี ช่วยเก็บไว้ให้ ไม่เป็นอาบัติ
สปั ปาณวรรคท่ี 7
สิกขาบทที่ 1 ภกิ ษุ (จงใจ) ฆา่ สัตว์ดริ จั ฉาน ตอ้ งปาจิตตีย์
นิทานต้นบัญญัติ พระอุทายี เกลียดอีกาจึงยิงอีกา ตัดศีรษะเสียบไว้ด้วยหลาว พระผู้มีพระภาคจึง
ทรงบัญญัติสิกขาบทว่าภิกษุจงใจฆ่าสัตว์ ต้องปาจิตตีย์ อธิบายว่า สัตว์ดิรัจฉานสัตว์ในท่ีน้ีหมายเอาสัตว์
ดิรัจฉานท้งั สตั ว์เล็กสตั วใ์ หญ่ เปน็ วตั ถุแห่อาบัติปาจิตตีย์ เสมอกนั หมด
สิกขาบทที่ 2 ภิกษุรอู้ ยวู่ า่ นำ้ มีตัวสตั ว์ บริโภคนำ้ น้ัน ต้องปาจิตตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุพวก 6 รู้อยู่ใช้น้ำมีตัวสัตว์ เป็นที่ติเตียน พระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติ
สิกขาบทว่า ภิกษรุ ้อู ย่ใู ชน้ ้ำมีตัวสตั ว์ ต้องปาจิตตยี อ์ ธิบายว่า
กริ ยิ าบริโภค ดืม่ กนิ กด็ ี ตักอาบกด็ ี ใช้สอยอย่างอนื่ กด็ ี นบั วา่ บรโิ ภคทงั้ นัน้
สกิ ขาบทท่ี 3 ภกิ ษุรอู้ ยูว่ า่ อธกิ รณ์ (เรื่องท่เี กดิ ขึน้ แลว้ สงฆต์ อ้ งดำเนนิ การ) สงฆท์ ำแลว้ โดยชอบ เพกิ
ถอนเสียกลบั ทำใหม่ ต้องปาจติ ตีย์
นทิ านตน้ บัญญัติ ภกิ ษุพวก 6 รอู้ ยรู่ ้ือฟ้นื อธกิ รณท์ ่ชี ำระถกู ต้องตามธรรมแล้ว เพ่ือใหช้ ำระใหม่ พระ
ผมู้ พี ระภาคจึงทรงบัญญัติสกิ ขาบทวา่ ภิกษุรอู้ ยู่ ร้ือฟ้ืนอธิกรณ์ที่ชำระถูกต้องตามธรรมแล้ว เพื่อให้ชำระใหม่
ต้องปาจติ ตีย์
230
อธบิ าย/อธิกรณ์ เร่อื งที่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องจัดตอ้ งทำ เรียกวา่ อธิกรณ์ ความพิสดารพงึ ดูในกณั ฑ์ท่ี 9
อธกิ รณสมถะน้นั เถิด
การกระทำที่ไม่เป็นอาบัติ ภิกษุท่ีมีเจตนาท่ีดี เข้าใจว่ากรรมท่ีทำน้ันไม่เป็นธรรม เพิกถอนกลับทำ
ใหม่ไม่เปน็ อาบตั ิ
สิกขาบทท่ี 4 ภิกษุร้อู ยู่ แกล้งปกปดิ อาบัตชิ ่วั หยาบของภกิ ษอุ นื่ ต้องปาจิตตีย์
นิทานตน้ บัญญัติ พระอุปนนั ทะ ศากยบุตร ต้องอาบัติสงั ฆาทิเสสแลว้ บอกว่าภิกษุรปู หนึ่งขอใหช้ ว่ ย
ปกปิดด้วย ภิกษุน้ันก็ช่วยปกปิด พระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่าภิกษุรู้อยู่ปกปิดอาบัติชั่วหยาบ
ของภกิ ษุ ตอ้ งปาจิตตีย์
อธิบาย/อาบตั ิชว่ั หยาบ อาบัติชวั่ หยาบนั้น ในคัมภรี ว์ ิภงั ค์ (หนังสือจำแนกความอธบิ ายความหมาย
แหง่ สิกขาบทใหช้ ัดเจน) แกว้ ่า ได้แก่ปาราชิก 4 และสังฆาทิเสส 13 แต่ในอรรถกถากลา่ ววา่ ได้แก่สังฆาทเิ สส
อยา่ งเดียว
การกระทำท่ีไม่เป็นอาบัติ ไม่ต้ังใจจะปิดแต่ไม่มีเหตุก็ไม่ได้บอกผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่เป็นอาบัติ ถ้าคิดเห็นว่า
บอกไปผลจะร้ายกว่านิ่งเสีย แล้วไม่บอก ในคัมภีร์วิภังค์ (หนังสือจำแนกความอธิบายความหมายแห่งสิกขาบทให้
ชดั เจน) ทา่ นอนุญาตเมือ่ เพ่งถึงเจตนา ก็หวงั จะปอ้ งกันผลรา้ ยกวา่ ตา่ งหากไม่จดั วา่ ปิด
สิกขาบทที่ 5 ภกิ ษุรอู้ ยู่ เปน็ อปุ ชั ฌายะอุปสมบทกลุ บุตร ผมู้ ีอายหุ ยอ่ นกวา่ 20 ปี
นิทานต้นบัญญตั ิ ภิกษุทงั้ หลายให้เด็ก ๆ บรรพชาอปุ สมบท เด็ก ๆ เหล่าน้นั ลุกข้ึนรอ้ งไหข้ ออาหาร
กนิ ในเวลากลางคืน เพราะทนหิวไม่ไหว พระผู้มีพระภาค จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่าภิกษุรูอ้ ยู่ให้บุคคลมอายุ
ตำ่ กว่า 20 อปุ สมบทผนู้ ั้นไม่เป็นอันอุปชั ฌายะให้บวช ตอ้ งปาจติ ตียอ์ ธิบายว่า
วิธีปรับอาบัติ ภิกษุท้ังหลายรู้อยู่ เข้าประชุมสงฆ์ ยังบุคคลผู้มีอายุหย่อนกว่า 20 ปี ให้อุปสมบท
อปุ ชฌายะตอ้ งอาบัติปาจติ ตีย์ ภิกษนุ อกจากนนั้ ตอ้ งอาบตั ิทุกกฎบุคคลผอู้ ุปสมบทน้ันไมเ่ ป็นภิกษุ ต้องถือว่า
เป็นสามเณรตามเดมิ การนับอายตุ อ้ งนบั เดือนปบี ริบูรณ์
สิกขาบทท่ี 6 ภกิ ษุรอู้ ยู่ ชวนพอ่ คา้ ผู้ซอ่ นภาษีเดนิ ทางดว้ ยกนั แม้ส้ินระยะบ้านหนงึ่ ตอ้ งปาจติ ตีย์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุรูปหนึ่ง รู้อยู่ ชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน พระผู้มีพระภาคจึงทรง
บัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุรู้อยู่ ชวนพ่อค้าผู้หนีภาษี เดินทางไกลร่วมกันแม้ส้ินระยะบ้างหน่ึง ต้องปาจิตตีย์
อธบิ ายวา่
กิริยาอื่นนอกจากการชวน ในคัมีร์วิภังค์ (หนังสือจำแนกความอธิบายความหมายแห่งสิกขาบทให้
ชดั เจน)แกว้ ่าหมายถงึ โจร ผู้ทำโจรกรรมมาหยก ๆ กด็ ี หรือไมไ่ ดท้ ำดังน้ันกด็ ีเดินทางร่วมกัน ไมพ่ น้ โทษอนั จะ
พึงมี
กำหนดระยะทาง ระยะบ้านหน่ึงนั้น กำหนดช่ัวไก่บินถึง แต่ในที่คนอยู่คับคงั่ น่าจะตอ้ งกำหนดตาม
เครื่องกำหนด ท่ีมีอยู่โดยปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นกำหนดเอาตามเจ้าของเป็นต้น ในป่าหาบ้านมิได้
กำหนดคร่งึ โยชน์ (200เสน้ ) เป็นเขต
สิกขาบทท่ี 7 ภิกษชุ วนหญิงเดินทางด้วยกัน แม้ส้ินระยะบา้ นหนึ่ง ตอ้ งปาจติ ตีย.์
231
นิทานตน้ บัญญัติ ภิกษุรูปหนึ่ง เดินทางในโกศลชนบท จะไปสู่กรุงสาวัตถี ถึงหมูบ่ ้านแห่งหนงึ่ สตรี
คนหนึ่งทะเลาะกับสามีขอเดินทางร่วมไปกับภิกษุน้ันด้วย สามีติดตามทำร้ายภิกษุ พระผู้มีพระภาคจึงทรง
บัญญัติสกิ ขาบทวา่ ภกิ ษุชวนหญงิ เดนิ ทางไกลร่วมกนั แมส้ ิ้นระยะบา้ นหนง่ึ ตอ้ งปาจิตตีย์ อธบิ ายวา่
ลักษณะของหญิง หญิงในท่ีนี้ ท่านแก้ว่าหญิงมนุษย์ผู้รู้เดียงสา (รู้ผิดรู้ชอบ) และอาบัติสิกขาบทนี้
เป็นสจติ ตกะ
สิกขาบทท่ี 8 ภกิ ษุกลา่ วคัดค้าน ธรรมเทศนาของพระพุทธเจา้ ภิกษอุ ่นื ห้ามไม่ฟงั สงฆ์สวดประกาศ
ขอ้ ความนั้นจบ ต้องปาจติ ตีย์
นิทานต้นบัญญัติ พระอรฎิ ฐะ ผู้เคยฆ่าแรง้ มาก่อน มคี วามเห็นผดิ กล่าวตู้พระธรรมวนิ ัยพระผู้มีพระภาค
จงึ ทรงบัญญตั ิสิกขาบท ใจความวา่ เม่ือมภี ิกษุกล่าวตู่พระธรรมวินัย ภิกษุทง้ั หลายพึงห้ามปราม ถ้าไมเ่ ช่ือฟัง สงฆ์
พึงสวดประกาศเพ่อื ให้เธอละเลิกเสีย สวดประกาศครบ 3 ครั้ง ยงั ไม่เชื่อฟัง ต้องปาจติ ตียอ์ ธบิ ายว่า
วิธีห้ามและสวดประกาศ หากจะมีภิกษุอวดดี คัดค้านพระธรรมเทศนา คือพระธรรมวินัยว่าไม่ถูก
อันเป็นเหตุเกิดแก่งแยง่ ข้ึนในหมู่ เป็นหน้าที่ของภิกษุท้ังหลายจะต้องห้ามปรามเพื่อให้ละการกระทำนั้นเสีย
ท่านใหท้ ำโดยประนปี ระนอมก่อน
คือว่ากล่าวแนะนำตักเตือน ถา้ ยงั ถือร้ันอยู่ ให้สงฆ์สวดประกาศห้ามด้วยอาณาสงฆ์ ถ้าไมฟ่ ัง ให้เลิก
จากการเขา้ สมาคมเรียกวา่ “อุกขติ ตะโก” ถ้าเธอกลบั ทำดใี หม่ สงฆส์ วดประกาศระงับโทษใหส้ มาคมอกี ได้
สิกขาบทที่ 9 ภกิ ษุคบภกิ ษุเช่นนนั้ คอื ร่วมกินก็ดี ร่วมอุโบสถสังฆกรรมก็ดี ร่วมนอนก็ดี ต้องปาจติ ตีย์
นทิ านตน้ บญั ญัติ ภิกษุฉัพพคั คยี ์ ยังคบหากับพระอริฏฐะ ผู้กลา่ วตู่พระธรรมวินัย ผู้ยังไมย่ อมละท้ิง
ความเห็นผิดนั้น พระผู้พระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามคบห้ามอยู่ร่วม ห้ามนอนร่วมกับภิกษุเช่นนั้น
ทรงปรบั อาบัตปิ าจิตตยี ์ แกภ่ กิ ษผุ ู้ล่วงละเมิดอธบิ ายว่า
กิริยาคบหา สิกขาบทนเี้ น่อื งมาแตส่ ิกขาบทก่อน และหา้ มคบหาภิกษุเช่นนั้นดว้ ยสิกขาบทน้ี
อาการคบมี 3
1. ร่วมกัน คอื รบั อามสิ เรียก อามิสสมโภค 1 เรยี นธรรม เรยี ก ธมั มะสมโภค 1
2. รว่ มอุโบสถ ปาวารณา และ สงั ฆกรรม ซ่งึ เรยี กวา่ อยรู่ ่วม
3. รว่ มนอน คือเหยียดกายร่วมกนั ในทม่ี หี ลงั คาเดยี วกัน
สิกขาบทที่ 10 ภิกษุเกลี้ยกล่อม สามเณรท่ีภิกษุอื่นให้ฉิบหาย (ลงโทษคือขับออกจากหมู่) แล้ว
เพราะโทษที่กล่าวคัดค้านธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ให้เปน็ อุปัฏฐาก (รบั ใช้) ก็ดี รว่ มนอนก็ดี รว่ มกินก็ดี
ต้องปาจติ ตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ สามเณรชื่อกัณฑกะมีความเห็นผิด กล่าวตู่พระธรรมวินัย สงฆ์จึงขับเสียจากหมู่
ภิกษุฉัพพัคคีย์กลับคบหา พูดจา ร่วมกินร่วมนอนกับสามเณรนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติสิกขาบท
หา้ มพูดด้วย ห้ามใช้ของร่วม หรือ นอนร่วมกับสามเณรเช่นนน้ั ทรงปรับอาบัติปาจิตตียแ์ ก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด
อธิบายว่า
กริ ยิ าทำนาสนะ ถา้ สมณุทเทส คอื สามเณรกลา่ วคดั คา้ นพระธรรมวนิ ยั อยา่ งนน้ั ภกิ ษุท้งั หลายหา้ ม
ปรามไม่ฟงั จะสวดประกาศยกจากสมาคมเหมือนอยา่ งทำกับภกิ ษุไม่ได้จึงมีพุทธานุญาตให้นาสนะ คือใหฉ้ ิบ
หายเสยี และหา้ มไมใ่ หภ้ กิ ษเุ อามาเลี้ยงไวป้ รับโทษแก่ผฝู้ า่ ฝนื เป็นปาจิตตยี ์
232
สหธรรมิกวรรคท่ี 8
สิกขาบทท่ี 1 ภิกษุประพฤติอนาจาร (ประพฤติไม่ดีไม่งาม) ภิกษุอ่ืนตักเตือน พูดผัดเพี้ยนว่า ยัง
ไม่ไดถ้ าม ท่านผู้รู้กอ่ น ขา้ พเจ้าจักไม่ศึกษาในสิกขาบทนี้ ตอ้ งปาจิตตีย์ธรรมดาภกิ ษผุ ศู้ ึกษา ยงั ไม่รสู้ ิง่ ใด ควร
จะรู้สง่ิ นนั้ ควรไตถ่ ามไลเ่ ลียงท่านผู้รู้.
นิทานบัญญัติ พระฉันนะประพฤติอานาจาร ภิกษุท้ังหลายว่ากล่าวตักเตือนกลับพูดว่าจะขอถาม
ภิกษุผรู้ ู้วินัยดูก่อน พระผมู้ ีพระภาคเจ้าทรงบญั ญัติสิกขาบทว่า ภิกษุท่ีภิกษุวา่ กล่าวถูกต้องตามธรรมกลบั พูด
ว่าจักยังไม่ศึกษาในสิกขาบท ความว่าเม่ือสวดปาติโมกข์ ภิกษุแกล้งกล่าวติเตียนสิกขาบท ต้องปาจิตตีย์
อธบิ ายวา่
เหตุยกเวน้ ไมป่ รารภจะแกล้ง แต่พูดตามเหตทุ ีป่ รารภถงึ ไมเ่ ปน็ อาบตั ิ
สกิ ขาบทที่ 2 ภกิ ษุอ่นื ทอ่ งปาตกิ โมกข์อยู่ ภกิ ษแุ กลง้ พูดให้เธอคลายอุตสาหะ ตอ้ งปาจติ ตีย์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฏัพพัคีย์แกล้งกล่าวติเตียนพระวินัยว่าสิกขาบทเล็กน้อย ชวนให้น่ารำคาญ
รบกวนเปลา่ ๆ พระผูม้ ีพราะภาคเจ้าจงึ ทรงบัญญัติสกิ ขาบท ความว่า เมื่อสวดปาติโมกข์ ภกิ ษุแกลง้ กล่ว
ตเิ ตยี นสิกขาบท ตอ้ งปาจิตตยี ์
เหตุยกเว้น ไม่ปรารถจะแกลง้ แต่พดู ตามเหตุทปี่ รารถถึง ไมเ่ ปน็ อาบตั ิ
สิกขาบทที่ 3 ภิกษุต้องอาบัติแล้วแกล้งพูดว่า ข้าพเจ้าเพิ่งรู้เดี๋ยวน้ีเองว่า ข้อน้ีมาในพระปาติโมกข์
ถ้าภิกษุอ่ืนรู้อยู่ว่า เธอเคยรู้มาก่อนแล้ว แต่แกล้งพูดกันเขาว่า พึงสวดประกาศความข้อนั้น เมื่อสงฆ์สวด
ประกาศแลว้ แกลง้ ทำไมร่ ูอ้ ีก ตอ้ งปาจิตตยี ์
นิทานต้นบัญญัติ ภิกษุฉพั พัคคีย์ประพฤตอิ นาจาร เม่ือฟงั สวดปาติโมกข์ว่าภิกษุไม่รู้ก็ตอ้ งอาบัติ จึง
กล่าวว่าเพิ่งรู้ว่าข้อความนี้มีในปาติโมกข์ (ทั้ง ๆ ที่ฟังมาแล้วไม่รู้ว่าก่ีคร้ังเป็นการแก้ตัว) พระผู้มีพระภาคจึง
ทรงบัญญตั ิสิกขาบทปรับอาบัตปาจิตตียแ์ ก่ภกิ ษุผู้กล่าวแก้ตัวเช่นนั้น เป็นการปรับอาบัติในภกิ ษุ (ผ้แู ก้ตัวว่า)
หลงลมื อธิบายว่า
โมหาโรปนกรรม (การสวดประกาศชีโ้ ทษภกิ ษวุ ่า แสร้งทำหลงคือรู้แล้วทำเปน็ ไม่ร้)ู ภิกษุตอ้ งอาบัติ
ตามวัตถุท่ีทำแล้ว จะพ้นด้วยอำนาจไขสือ (รู้แล้วทำเป็นไม่รู้) ไม่ได้ ภิกษุผู้รู้เท่าทันพึงสวดประกาศความข้อ
นั้น ยกโทษเธอเพิม่ ขน้ึ อีก ตั้งแต่สวดประกาศแล้วไป ยังขืนทำไขสืออยอู่ ีกตอ้ งปาจิตตยี ์ กิริยาสวดประกาศยก
โทษว่าแสร้งทำหลงดังน้ี เรียก “โมหาโรปนกรรม” ยังไม่เคยฟังปาติโมกข์พิสดารเลยก็ดี หรอื เคยฟังพิสดาร
แต่ไม่ถึง 2-3 คราวกด็ ีหรอื ไม่ปรารถนาจะแสรง้ ทำหลง ไม่ใช่ผู้ท่สี งฆ์จะพึงงลงโมหาโรปนกรรม
สกิ ขาบทท่ี 4 ภกิ ษุโกรธ ให้ประหาร (ทบุ ตี, ชกต่อย) ภกิ ษุอ่ืน ต้องปาจติ ตยี ์
นทิ านต้นบัญญัติ ภกิ ษุฉัพพัคคยี โ์ กรธ ทำรา้ ยรา่ งกายภกิ ษุสตั ตรสวัคคยี ์ (พวก 17) เธอรอ้ งไห้ พระผู้
มีพระภาคจึงทรงจึงบัญญตั ิสกิ ขาบทว่า ภกิ ษโุ กรธเคืองทำร้ายภิกษุ ต้องปาจิตตยี อ์ ธบิ ายวา่
กริ ยิ าประหาร การให้ประหารนนั้ ให้ดว้ ยกาย ดว้ ยของเน่อื งด้วยกาย หรอื ด้วยของขว้างไปปา จัดว่า
ใหป้ ระหารนัน้
วัตถแุ หง่ อาบัติ
1. ภกิ ษ,ุ เปน็ วัตถุแห่งปาจิตตยี ์
2. อนุปสัมบนั เป็นวตั ถุแหง่ ทุกกฏ