The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jjooee777, 2022-07-05 05:28:36

Inside Logistic 18.2x25.7 cm

Inside Logistic 18.2x25.7 cm

โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ซั พ พ ล า ย เ ช น ใ น ร ะ บ บ ธุ ร กิ จ | 29

2.6 ประโยชนข องการจัดการซพั พลายเชน

ประโยชนก ารจัดการซพั พลายเชนมดี ังตอไปนี้
1. เพิ่มความรวดเร็วและความวองไวใหกับธุรกิจ (Speed and Agility) เกิดความ
สะดวกรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตางๆของ Supply Chain ทําใหสามารถลด
ระยะเวลาในการสงมอบสินคา ทําใหการตลาดและการผลิตเปนแบบ Just in Time มีผลตอการสง
มอบวัตถุดิบและบริการตางๆ ไดอยางทันเวลา ซ่ึงจะสงผลท่ีดีตอการนําสินคาใหมๆเขาสูตลาด
(Fast Time To Market)
2. การลดตนทุนของสินคาและตนทุนรวมไดอยางมีประสิทธิผล เน่ืองจากลดจํานวน
สินคาคงคลงั ทําใหต นทนุ ของการดําเนินธุรกิจในกระบวนการ Supply Chain มตี นทนุ โดยรวมลดลง
เชน ตน ทนุ การขนสง , ตนทุนการเก็บสนิ คา , ตน ทนุ ดอกเบย้ี และตน ทุนในการลงทนุ ใน Fixed Asset
โดยทําใหสามารถขายสนิ คา ไดมากข้นึ และทําใหผ ลตอบแทนจากการลงทนุ กิจกรรมไดเร็ว เน่ืองจาก
ทกุ กระบวนการมุง ไปสูความพอใจของลกู คาเปนหลัก
3. การตัดสินใจทางธุรกิจตั้งอยูบนฐานของขอมูลและขาวสารท่ีถูกตองแมนยํา และ
มีเครือขาย Network ไปยังสวนตางๆของโลก โดยผานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology) ทําใหการตัดสินใจเปนแบบ E-Rational Decisionคือการตัดสินใจทางธุรกิจ ตั้งอยู
บนฐานของขอ มลู อเิ ล็กทรอนิกส ซงึ่ มคี วามรวดเรว็ แมนยํา
4. เพิ่มความสามารถในการแขงขัน (Core Competency) ทําใหแ ตล ะกระบวนการใน
Supply Chain เช่ือมตอ เปน ลูกโซ มีผลทาํ ใหการตลาดและ Logistics สามารถเชื่อมโยงในระดบั โลก
(Global Niche) สามารถเพมิ่ ผลผลติ -ยอดขาย เพม่ิ Market Share และกาํ ไรไดอยางมั่นคง
5. เปนการรวมพลังทางธุรกิจ (Business Synergy) กอใหเกิดประโยชนสูงสุดแกทุก
ธุรกิจท่ีอยูในกลุมเดียวกันของหวงโซอุปทานที่ซับซอนกัน ทําใหมีการแบงงานตามความถนัด
Division of Labour บนอาณาบริเวณซึ่งมีความ Specialist และมีตนทุนท่ีตํ่าสุด ซ่ึงจะเพ่ิม
ประสิทธิภาพในเชิงการแขงขัน (Benchmarking) ท่ีดีกวาธุรกิจอื่นท่ีไมไดเขามาอยูในกระบวนการ
หวงโซอุปทาน
6. สรางความพอใจใหกับลูกคา (Customer Satisfaction) โดยกระบวนการตางๆ
ในหว งโซอปุ ทานสามารถสนองตอความตอ งการของลกู คาไดตรงเปาหมาย ซงึ่ ทาํ ใหข จดั อปุ สรรคการ
ดําเนินงานไดอยางมีประสิทธิภาพ เน่ืองจากแตละกระบวนการสามารถเชื่อมตอผสมผสานกันแบบ
ปฏสิ ัมพันธ คือ มกี ารประสานสัมพนั ธเ ปนบรู ณาการ

30 | โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ซั พ พ ล า ย เ ช น ใ น ร ะ บ บ ธุ ร กิ จ

7. สามารถพัฒนาไปสูการตลาดแบบบูรณาการ (Total Integrated Marketing)
ซึ่งจะมีการปรับองคกรไปสู Customers Base คือลกู คาเปนศูนยกลางของการดําเนินงานและทําให
การตลาดมีการขับเคลือ่ นแบบพลวตั (Market Dynamic) เปนการตลาดเพอ่ื ลูกคา อยา งแทจริง

8. ในทุกกระบวนการสามารถที่จะทําดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพไดอยางเท่ียงตรง
โดยสามารถเลอื กรูปแบบของ KPI และ Balance Scorecard ใหตรงกบั ลกั ษณะของธุรกจิ

9. เปน การพัฒนาธุรกจิ ไปสคู วามยงั่ ยนื (Sustainable Business) ซ่งึ ประโยชนขอนี้จะ
เปน หวั ใจของการนํา SCM มาใชแ ละเปน หัวใจของการทําธุรกจิ

2.7 แนวคิดการบรหิ ารจดั การซพั พลายเชนในอนาคต

2.7.1 การบรหิ ารซัพพลายเชนเพอื่ สงิ่ แวดลอม
โลกในทุกวันน้ีกําลังเผชิญปญหาส่ิงแวดลอมจนลุกลามเปนปรากฏการณภาวะโลกรอน
(Global Warming) ท่ีสงผลกระทบตอมวลมนุษยชาติ ทําใหองคกรท่ัวโลกตางหันมาใหความสนใจ
และใสใจใหความรวมมือแกปญหาสิ่งแวดลอมที่เกิดขึ้น รวมทั้งพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ผูบริโภค ใหหันมาใสใจสิ่งแวดลอมมากยิ่งขึ้น แมวาหลายปท่ีผานมาการบริหารหวงโซอุปทานได
สนับสนุนการขับเคล่ือนใหเกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ แตผลการพัฒนาดังกลาวไดนํามาซ่ึงความ
เสยี หายใหกบั ส่ิงแวดลอ มและเกิดกระแสอนรุ ักษสง่ิ แวดลอ มซง่ึ เปนทีม่ าของแนวคิด “การจดั การซัพ
พลายเชนเพ่ือสิ่งแวดลอม(Green Supply chain)” โดยเฉพาะประเด็นการควบคุมมลพิษและของ
เสียที่ถูกปลอ ยออกจากกระบวนการหว งโซอุปทาน เชน การลดไอเสียจากรถขนสง รวมถึงการสราง
เครือขา ยโลจิสติกสเพื่อขจัดขยะและลดของเสยี เปน ตน
การจัดการซัพพลายเชนเพื่อสิ่งแวดลอม (Green Supply chain)จึงเปนแนวคิดใหมท่ีเอื้อ
ประโยชนในดานการจัดการส่ิงแวดลอมที่สงผลใหองคกรดําเนินการอนุรักษสิ่งแวดลอมรวมกับคูคา
สะทอนถงึ ความใสใ จของธุรกิจท่ัวโลก ที่ไมไดใหค วามสนใจเพียงแคผลกาํ ไรแตยังมุงรักษาสมดุลของโลก
และสรางความเปนมิตรกับส่ิงแวดลอม ความรวมมือกันระหวางคูคากับผูสงมอบตองดําเนินการ
สอดคลองกับแนวคิดรักษาส่ิงแวดลอม การดําเนินการอยางเปนรูปธรรมอาจแสดงดวยการตรวจสอบ
และออกใบรับรองมาตรฐานส่ิงแวดลอมอยาง ISO14001 ใหกับผูผลิตหรือคูคา ดังกรณีบริษัทโตโยตา
ผลักดันใหผูผลิตชิ้นสวนและกลุมผูใหบริการกับโตโยตาดําเนินการพัฒนาระบบคุณภาพใหไดใบรับรอง
มาตรฐานการจัดการส่ิงแวดลอม รวมท้ังมุงลดผลกระทบส่ิงแวดลอมอันเกิดจากกิจกรรมบํารุงรักษาจึง
ผลักดันใหศูนยบริการและตัวแทนจําหนายดําเนินการพัฒนาใหไดใบรับรองมาตรฐานการจัดการ
สิ่งแวดลอม ISO14001 โดยทั่วไปองคกรมีความพยายามลดความสูญเปลาเพ่ือสรางผลกําไรและ
ความสามารถการแขง ขันทม่ี ีผลตอการลดผลกระทบทางส่ิงแวดลอม

โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ซั พ พ ล า ย เ ช น ใ น ร ะ บ บ ธุ ร กิ จ | 31

จากทไี่ ดกลาวมาขา งตน น้ัน จะทําใหเ ราทราบถึงสาเหตุความสําคัญของการจัดการซัพพลายเชน
เพ่ือสิ่งแวดลอม (Green Supply chain)วาทําไมปจจุบันน้ีธุรกิจหลาย ๆ ธุรกิจไดหันมาใสใจกับแนวคิดนี้
กอนอ่ืนตองมาพิจารณาความหมายของการจัดการซัพพลายเชนเพื่อสิ่งแวดลอม (Green Supply Chain)
หมายถึงการเช่ือมโยงหรือการบูรณการกิจกรรมตา งๆเพ่ือใหผูเลน ในกิจกรรมตางๆตลอดซัพพลายเชนไดมี
การลดการใชพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ รวมทงั้ ปลอยมลพิษนอยทสี่ ุด โดยใหเกิดประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลโดยรวม กลาวงายๆคือ ธุรกิจแตละธุรกิจในซัพพลายเชนจะตองรวมกันลด/ละ/เลิกการใช
พลังงานและทรัพยากรหรือปจจัยการผลิตลง ซ่ึงถาธุรกิจแตละธุรกิจในซัพพลายเชนทุกรายลด/ละ/เลิก
การใชทรัพยากรตางๆ หรือมีการใชอยางเหมาะสมก็จะทําใหลดผลกระทบตอส่ิงแวดลอมและ
ทรพั ยากรธรรมชาตขิ องโลกในท่ีสดุ

2.7.2 การบรหิ ารซัพพลายเชนระดับโลก
ในปจจุบันนี้การเติบโตของธุรกิจเกิดขึ้นอยางรวดเร็ว ในทุกๆธุรกิจมีการแขงขนั กันสูงมาก
ท้ังในรูปแบบการแขงกันภายในประเทศที่ทุกๆ ธุรกิจไดมีผูลงทุมมากขึ้น มีการแขงขันกันทางดาน
ราคา บริการ การขนสง และยังมีการแขงขันจากภายนอกประเทศท่ีทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
เปนผลมาจากการที่แตละประเทศมกี ารเปด เสรที างดา นการคา มากข้ึน สามารถใหชาวตางชาติเขา ไป
ลงทุน หรอื เปนผูร วมลงทุนได รวมทัง้ ในภาครัฐของแตล ะประเทศมนี โยบายทีช่ วยผลกั ดันใหเกดิ การ
ลงทุนจากภายนอก สงผลใหผูบริโภคไดรับผลประโยชนทางดานราคาขายที่ลดลง แตสินคายังคงมี
คณุ ภาพที่ดีอยู ตางจากในมุมของผูผลิตทตี่ องทําการผลิตสินคาท่ีมีตนทุนที่ถกู ลงแตมคี ุณภาพที่ดีข้ึน
ประกอบกับการกลายเปนโลกาภิวัตน (Globalisation) ความกาวหนาทางดานการขนสง
ความกาวหนา ทางดานเทคโนโลยี และรายไดของแตละคนเพิ่มขน้ึ เปนปจจัยสงเสริมการแขงขันทาง
ธรุ กิจท่สี ูงข้นึ
กาวตอไปของการเปลี่ยนแปลงตางๆ บนโลกธุรกิจท่ีกําลังจะเกิดข้ึนในอนาคตอันใกลนี้
สงผลใหองคกรธุรกิจและอุตสาหกรรมทั่วโลกตางใหความสําคัญกับการชวงชิงการเปนผูนําในธุรกิจ
และการเติบโตอยางย่ังยืน รวมถึงมองหาโอกาสใหมๆ ใหกับธุรกิจการเปลี่ยนแปลงที่วานี้เกิดจาก
ปจจัยตางๆ รอบตัวที่สงผลกระทบตอภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ไมวาจะเปนในความแปรปรวนที่
เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตดานพลังงาน ตลอดจนการเกิดภาวะโลกรอน รวมถึงภัยพิบัติทาง
ธรรมชาติตางๆ แผนดินไหว สึนามิ ความเสี่ยงจากการกอวินาศกรรม รวมไปถึงความเช่ือมโยงทาง
เศรษฐกิจและการคา ซ่ึงสงผลใหเกิดการเคล่ือนยายปจจยั การผลิตและเงินทุน ส่ิงตางๆ เหลานี้ลวน
สงผลใหผูประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรมตองปรับเปลี่ยนรูปแบบการดําเนินธุรกิจใหสอดรับและ
สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงไดอ ยา งรวดเรว็ ถกู ตอง ปลอดภยั และมีตน ทนุ ท่ีตา่ํ

32 | โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ซั พ พ ล า ย เ ช น ใ น ร ะ บ บ ธุ ร กิ จ

จากกระแสดังกลาวขางตนสะทอนใหภาคอุตสาหกรรมเริ่มปรับเปล่ียนแนวคิดและวิธีการ
ดําเนินธุรกิจใหสอดคลองกับการเปล่ียนแปลงของซัพพลายเชนในธุรกิจและอุตสาหกรรมระดับโลก
โดยนําเทคโนโลยแี ละนวตั กรรมมาใชต ลอดโซค ุณคา (Value Chain) การเชอื่ มโยงของกจิ กรรมตา งๆ
โดยมีเปาหมายเพือ่ เพ่มิ คุณคาใหกบั สินคาและบริการ เพ่ือสรางความพงึ พอใจสูงสดุ ใหกับลูกคา และ
ตอยอดใหเกิดโซการผลิตในภูมิภาค (ASEAN Production Chain) โดยอาศัยการขับเคล่ือนอยางมี
ประสิทธภิ าพดว ยการบริหารจัดการโลจสิ ตกิ สและโซอปุ ทาน ซ่ึงสามารถเชอ่ื มโยงเครือขายธรุ กจิ ไปสู
ระดับสากลการจัดการโลจิสติกส (Logistics Management) จึงไดรับการจัดใหเปนหน่ึงในกลยุทธ
สําคัญในทศวรรษนี้ท่ีนํามาใชในการเพ่ิมขีดความสามารถในการแขงขันทางการคา เนื่องจากการ
จัดการโลจิสตกิ สเ กี่ยวขอ งกบั กระบวนการวางแผน ดาํ เนินงาน และควบคุมการเคล่อื นยา ยของสินคา
บริการ ขอมูล และการเงิน ต้ังแตจุดเร่ิมตนของการผลิตไปสูจุดสุดทายของการบริโภคอยางมี
ประสิทธิภาพตรงตามความตองการ โดยมีตนทุนที่แขงขันไดการจัดการโลจิสติกส ประกอบดวย
กิจกรรมตางๆ เชน การจัดหาวัตถุดิบ การเคลื่อนยาย การผลิต การจัดเก็บ และการกระจายสินคา
ฉะนั้นหากประเทศไทยมีระบบโครงสรางพื้นฐานการขนสงตอเน่ืองทั้งทางบก ทางราง ทางอากาศ
และทางนาํ้ ท่สี ะดวกรวดเรว็ พรอ มทัง้ มรี ะบบสารสนเทศเช่อื มโยงขอมูลการใหบริการระหวางภาครฐั
และภาคเอกชน อีกท้ังอุตสาหกรรมของไทยมีการบริหารจัดการโลจิสติกสท่ีดีและมีประสิทธิภาพ
ก็จะทาํ ใหสินคา และบรกิ ารมีตนทุนโลจิสติกสโดยรวมท่ีลดลง เสริมสรางความเขม แข็งและศักยภาพ
ในการแขงขันใหกับผูประกอบการอุตสาหกรรมไทยในการเขาสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community: AEC) ไดอยา งงายดาย

2.8 กรณศี ึกษา

กรณศี ึกษาท่ี 1 ทําไมตอ งใช ! COLD CHAIN LOGISTICS
COLD CHAIN LOGISTICS คือ กระบวนการหนง่ึ ในหวงโซอปุ ทาน สําหรบั สินคาที่ตองการ

การจัดเก็บและการขนสงแบบควบคุมอุณหภูมิ เพื่อรักษาคุณภาพสินคา ยกระดับความปลอดภัย
ใหกับผูบ ริโภค และลดการสูญเสียของผลติ ภัณฑ โดยนิยมใช 2 รปู แบบดงั นี้

1. การรกั ษาอณุ หภูมิดว ยการแชแข็ง (Frozen)
การบวนการคลังสินคาและการขนสง ณ อุณ หภูมิตํ่ากวาจุดเยือกแข็ง ตั้งแต
-15 องศาเซลเซียส อาหารทเ่ี ก็บในอุณหภูมิ Frozen เชน เนือ้ อาหารทะเลแชแ ขง็ ไอศครมี เนอ้ื สตั ว
สด เปนตน

โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ซั พ พ ล า ย เ ช น ใ น ร ะ บ บ ธุ ร กิ จ | 33

2. การเกบ็ รักษาอณุ หภมู ิดว ยการแชเย็น (Chilled)
กระบวนการคลังสินคาและการขนสงสินคา ณ อุณหภูมิ 0 – 8 องศาเซลเซียส อาหารท่ี
เกบ็ ในอุณหภมู ิ Chilled เชน นม ผัก ผลไม เครื่องดื่ม ไขไ กเปนตน

ธุรกิจ Cold Chain Logistics มีแนวโนมขยายตัวอยางตอเนื่อง เน่ืองจากการเติบโตของ
อุตสาหกรรมอาหารและเคร่ืองดื่ม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลไมสด แชเย็น แชแข็ง ซึ่งเปนหนึ่งใน
กลุมสินคาสงออกสําคัญของไทย รวมถึงไดรับอานิสสงคจากแนวโนมการขยายตัวของอุตสาหกรรม
ยาและเวชภัณฑในชวงสถานการณการแพรร ะบาดของเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019

ปจ จบุ ันมธี รุ กจิ ที่ใหบ ริการดานโลจิสติกสแ บบควบคมุ อณุ หภูมิ 2 บรกิ ารหลกั
1. คลังสินคาแบบควบคุมอุณหภูมิ เปนการจัดเก็บดวยคลังสินคาควบคุมอุณหภูมิหรือ
หองเย็น ซึ่งการจัดเก็บแบบควบคุมอุณหภูมิมีหลายรูปแบบ ทั้งการจัดเก็บ เพ่ือรอการแปรรูปหรือ
รอบรรจุในบรรจุภัณฑ การจัดเก็บเพ่ือรอการกระจายสินคา ซ่ึงการจัดเก็บจะข้ึนอยูกับประเภท
ขนาดและท่ีต้ังของคลังสินคา เชน การจัดการคลังสินคาควบคุมอุณหภูมิ แบบสงผาน หรือ
Cross Docking สนิ คาจะถกู สงเขา คลังสนิ คา ในชวงระยะเวลาสน้ั ๆ เพอื่ เตรียมจัดสงตอ ไป

34 | โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ซั พ พ ล า ย เ ช น ใ น ร ะ บ บ ธุ ร กิ จ

2. การขนสงแบบควบคุมอุณหภูมิ เปนการขนสงดวยการรักษาอุณหภูมิและความช้ืนให
คงที่ ตลอดจนรักษา ความสมบูรณของสินคา โดยในการขนสงแบบควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งสวนใหญ
จาํ เปน ตองมีตูคอนเทนเนอรท่ีใชงานไดดีภายใตสภาวะการขนสงรปู แบบตาง ๆ และสามารถควบคุม
อุณหภูมิภายในตูใหเหมาะสมตอสนิ คา และทนตอ สภาวะอากาศภายนอกทอี่ าจเยน็ หรือรอ นจดั ตลอด
เสนทางขนสง

ท่ีมา : กรมสง เสรมิ การคา ระหวางประเทศ กระทรวงพาณิชย

โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ซั พ พ ล า ย เ ช น ใ น ร ะ บ บ ธุ ร กิ จ | 35

แบบฝกหัด
บทท่ี 2 โลจิสติกสและซัพพลายเชนในระบบธุรกิจ

ตอนที่ 1 จงเลอื กคาํ ตอบท่ถี ูกตอ ง

1. ขอใดไมใชอ งคป ระกอบหลกั ของธรุ กจิ

ก. การผลิต (Production) ข. การตลาด (Marking)

ข. การเงิน (Finance) ง. การขนสง (Transport)

2. “ผูจดั หาวตั ถดุ บิ มาปอ นใหแกอ งคก ร” คอื องคประกอบใดของซัพพลายเชน

ก. ลูกคา (Customers) ข. ผจู ดั หาวัตถดุ ิบ (Suppliers)

ค. ผูขายปลีก (Retailers) ง. ผูผลิต (Manufacturer)

3. “บคุ คล/องคก รทท่ี าํ ธุรกจิ เก่ียวขอ งกบั การนาํ วตั ถดุ บิ มาเขา สกู ระบวนการผลติ เปน สินคา

หรอื บริการ จดั จาํ หนายกระจายสนิ คาออกสูทอ งตลาด” คอื องคป ระกอบใดของซพั พลาย

เชน

ก. ลกู คา (Customers) ข. ผขู ายสง (Wholesalers/Distributors)

ค. ผขู ายปลกี (Retailers) ง. ผูผลิต (Manufacturer)

4. “เปน การคา ทม่ี ขี นาดใหญ ครอบคลุมพนื้ ท่ีกวา งขวางกวา การคา ปลกี สินคาท่ขี ายจะขาย

ยกกลอ ง หรือยกแพ็ค ไมข ายสินคา เปน หนว ยยอ ย” คือองคป ระกอบใดของซพั พลายเชน

ก. ผูจ ัดหาวัตถดุ บิ (Suppliers) ข. ผขู ายสง (Wholesalers/Distributors)

ค. ผูขายปลกี (Retailers) ง. ผูผลติ (Manufacturer)

5. “การขายสินคา ใหก ับผูบ รโิ ภคคนสดุ ทา ย โดยการซื้อสนิ คา นนั้ ไปเพ่ือการบรโิ ภคของ

ตนเอง และครอบครวั ” คือองคประกอบใดของซพั พลายเชน

ก. ผจู ดั หาวัตถดุ บิ (Suppliers) ข. ผขู ายสง (Wholesalers/Distributors)

ค. ผขู ายปลกี (Retailers) ง. ผูผลติ (Manufacturer)

6. “ผูซื้อ อาจเปนไดท้ังผบู รโิ ภคคนสดุ ทายทซี่ อ้ื ไปบริโภคเองและในครอบครวั หรอื อาจจะ

เปน การซอื้ ไปเพ่ือขายตออกี ทอดหน่ึงเพอื่ การทํากาํ ไร หรืออาจซ้ือไปเพือ่ แปรรปู เปน

วัตถุดบิ ของอตุ สาหกรรมอ่นื ๆ” คอื องคป ระกอบใดของซพั พลายเชน

ก. ลกู คา (Customers) ข. ผูขายสง (Wholesalers/Distributors)

ค. ผขู ายปลกี (Retailers) ง. ผูผ ลิต (Manufacturer)

36 | โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ซั พ พ ล า ย เ ช น ใ น ร ะ บ บ ธุ ร กิ จ

7. Information Flow คอื อะไร

ก. การไหลของขอมลู สารสนเทศ ข. ระบบการไหลของสินคา กลับไป

ค. การไหลของเงนิ ง. การไหลของวตั ถุดิบ บรกิ าร

8. Reverse Product Flow คอื อะไร

ก. การไหลของขอ มลู สารสนเทศ ข. ระบบการไหลของสินคากลับไป

ค. การไหลของเงิน ง. การไหลของวตั ถุดิบ บรกิ าร

9. Primary Product Flow คืออะไร

ก. การไหลของขอมลู สารสนเทศ ข. ระบบการไหลของสินคา กลับไป

ค. การไหลของเงนิ ง. การไหลของวตั ถดุ บิ บริการ

10. ขอใดไมใ ชประโยชนของการจดั การซัพพลายเชน

ก. เพิ่มความรวดเรว็ และความวองไวใหก บั ธรุ กิจ (Speed and Agility)

ข. การลดตน ทุนของสินคาและตน ทุนรวมไดอ ยา งมีประสทิ ธิผล

ค. เพิ่มความสามารถในการแขงขนั (Core Competency)

ง. สามารถสรา งธรุ กิจไดด ว ยตนเอง

โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ซั พ พ ล า ย เ ช น ใ น ร ะ บ บ ธุ ร กิ จ | 37

ตอนท่ี 2 จงตอบคําถามตอ ไปนี้
1. ใหนกั ศกึ ษาอธิบายความหมายของการจัดการซัพพลายเชน

……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………
2. ใหนักศึกษาเขียนโครงขายการจัดการซัพลายเชนของกลุมสินคาอุปโภคบริโภคมา 1 ชนิดสินคา
พรอ มทั้งเขยี นอธิบายถึงองคประกอบและหนา ท่ีในซัพพลายเชน

38 | กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น

รายละเอียดการสอน
ประจําสปั ดาหท่ี 3 (จํานวน 3 ชัว่ โมง)

หวั ขอการสอน : กจิ กรรมโลจสิ ติกสแ ละการจดั การซพั พลายเชน
จดุ ประสงคก ารสอน เพื่อใหสามารถ

1. อธิบายถึงกจิ กรรมโลจิสติกสไ ดว ามีก่ีประเภท อะไรบาง
2. อธิบายขอบเขตงานของแตละกจิ กรรมดา นโลจิสตกิ สไ ด

รายการสอน

3.1 บทนาํ
3.2 กจิ กรรมโลจิสตกิ ส
3.3 กรณศี ึกษา

วิธีการสอน

บรรยาย ถาม – ตอบ

หนังสอื / เอกสารประกอบการสอน

กมลชนก สทุ ธวิ าทนฤพฒุ ิ และคณะ.(2546) การจัดการโซอุปทานและโลจสิ ติกส. กรงุ เทพฯ:
ฟสกิ ซ เซน็ เตอร

คํานาย อภิปรัชญาสกุล. (2554) โลจิสติกสและโซอุปทาน. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดียแอนด
พับลิซซงิ่

ชุติระ ระบอบ. (2556) การจัดการโลจิสติกสและโซอุปทาน. สมุทรปราการ: โครงการ
สํานักพิมพม หาวทิ ยาลัยหัวเฉยี วเฉลิมพระเกยี รติ

ประจวบ กลอมจิตร. (2556) โลจิสติกส-โซอุปทาน: การออกแบบและจัดการเบื้องตน. กรุงเทพฯ: วีพร้ิน
(1991)

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี.(2559). เอกสาร
ประกอบการสอนวิชา การจัดการโลจิสติกสและซัพพลายเชน(Logistics and
Supply Chain Management)พมิ พค ร้ังท่ี 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลยั ธนบรุ ี

เอกสารประกอบโครงการภายใตกรอบความรวมมือระหวางภาครัฐและภาคเอกชน SMEs
Project

กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น | 39

โสตทศั นวัสดุ

บอรด ขาว ปากกา แผน บนั ทึกขอมลู เคร่อื งคอมพิวเตอร

การประเมินผล

ถาม – ในชั้นเรยี น
ทดสอบยอ ยในชัน้ เรียน
ตรวจการทําแบบฝกหดั ทา ยบท
ผลการสอบประจําภาคการศึกษา

งานที่มอบหมาย

1. ใหทาํ แบบฝก หดั ทา ยบททุกขอ
2. ใหท บทวนเรียนตามทไ่ี ดเ รยี นไป
3. ใหศ ึกษาเพิ่มเติมและทดลองทําแบบฝกหัดในหัวขอ ทไ่ี ดเรยี นไปจากตาํ ราเลม อ่นื ๆ
4. ใหเ ตรยี มเน้ือหาสาระความรสู ําหรับทจ่ี ะเรียนประจาํ สัปดาหต อ ไป

40 | กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น

บทที่ 3
กิจกรรมโลจิสติกสแ ละการจัดการซพั พลายเชน

3.1 บทนาํ

การบริหารจัดการโลจิสติกสและซัพพลายเชน เปนเคร่ืองมือที่ชวยใหการทํางานมี
ประสิทธิภาพและประสทิ ธผิ ลมากยงิ่ ขึ้น โดยการจัดการโลจิสติกสจ ะครอบคลุมการทํางานต้ังแตการ
วางแผนงาน การจัดหาวตั ถุดิบ การผลิต การขนสง การจัดเก็บสนิ คา การจัดเตรียมอะไหล รวมทงั้ ใน
ดานการบริการ ไมวาจะเปนในเร่ืองของการสงสินคากลับคืนบริษัท การบริการหลังการขายตาง ๆ
โดยกิจกรรมทางดา นโลจิสติกสจะชวยในการสรางความพงึ พอใจใหก ับลูกคา

3.2 กจิ กรรมดานโลจสิ ตกิ ส

กมลชนก สุทธวิ าทนฤพุฒิ และคณะ (2546) ไดใหจาํ กดั ความ “กิจกรรม โลจิสตกิ สว า เปน
กิจกรรมสนับสนุนการทํางานภายในองคกร เพื่อใหทุกหนวยงานภายในเชื่อมโยงเขาหากัน รวมถึง
การเช่ือมโยงภายนอกองคกรท้ังดานอุปสงค และอุปทานโดยกิจกรรมหลกั ดานโลจิสติกส (Logistics
Activities) สามารถแบงออกเปน 13 กิจกรรม”โดยสามารถแบงไดเปนสองกลุม คือกลุมท่ีเปน
กจิ กรรมหลักขององคกรและกลุมที่เปนกิจกรรมสนับสนุนการทํางานขององคกร กิจกรรมซง่ึ ถือเปน
กิจกรรมหลักขององคกรประกอบดวยกิจกรรมหลัก 8 กิจกรรม สวนที่เหลืออีก 5 กิจกรรม ถือเปน
กจิ กรรมท่ีสนบั สนนุ การดําเนินงานขององคกร ดงั รายละเอียดดงั ตอ ไปนี้
กจิ กรรมหลกั

3.2.1 การบริการลกู คา (Customer Services)
การบริการลูกคา (Customer Service) เปนกิจกรรมท่ีองคกรพยายามตอบสนองความ
ตองการของลูกคา เพื่อสรางความพึงพอใจสูงสุดใหกับลูกคา การใหบริการลูกคาไมใชเปนเพียงแค
กจิ กรรมกิจกรรมหน่ึงแตเปนผลกระทบของกิจกรรมอ่ืนๆ ของโลจิสติกสซึ่งประสิทธิภาพการทํางาน
ของการบริการลูกคาจะทําไดดีเพียงใดนั้นตองข้ึนอยูกับประสิทธิภาพของกิจกรรมโลจิสติกสอ่ืน ๆ
เขา มาประกอบดว ย
ดังน้ันงานดานการใหบรกิ ารลูกคาจึงเปนกจิ กรรมท่เี ปน แรงผลักดันใหเกิดกิจกรรมอื่น เชน
การขนสง สินคา บรรจุภัณฑ การจัดซ้ือ การบริหารสินคาคงคลัง เปนตน การใหบริการจะตองทําให
ลูกคาเกิดความพึงพอใจสูงสุด โดยเฉพาะการสงมอบสินคาที่ถูกตอง ตรงเวลา และสงสินคาไดครบ
ตามจํานวน

กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น | 41

ลักษณะสําคัญของการบรกิ าร
ศริ พิ ร วษิ ณมุ หมิ าชัย กลา วถึงลักษณะสาํ คญั ของการบรกิ าร ไวด งั นี้
1) เปนสินคาทีไ่ มอ าจจับตองได (Intangibility)การบริการโดยทวั่ ไปมลี กั ษณะทค่ี อ นขา ง
เปนนามธรรม ไมมีตัวตน ไมมีรูปราง ดังนั้นจึงเปนการยากที่เราจะสามารถรับรูถึงการบริการผาน
ประสาทสัมผสั ตาง ๆ ของเราได เชน เราไมส ามารถมองเห็นรปู รางของการทอ งเที่ยวได ดังน้ันความ
ไมมีตัวตนของการบริการที่ทําใหเราไมอาจจับตองบริการไดดังกลาวสงผลกระทบตอผูบริโภคคือ
ทาํ ใหผ ูบริโภคเกิดความเสีย่ งในการเลอื กซอ้ื บรกิ ารได
2) มีคณุ ภาพไมค งที่ (Variability Heterogeneity) คณุ ภาพของการบรกิ ารโดยทว่ั ไปมี
ความไมแนนอนคอนของสูงเน่ืองจากจะข้ึนอยูกับ พนักงานที่เปนผูสงมอบบริการ เวลาท่ีใหบริการ
ของผูสงมอบบริการ มาตรฐานของผูรับบริการ วิธีการในการใหบริการ และสถานท่ีที่ใหบริการแก
ลูกคาเปนตน
3) ไมสามารถแยกการผลิตออกจากการบริโภคได (Inseperability) โดยทั่วไปบริการ
มักจะถูกเสนอขายกอน และหลังจากน้ันการผลิตและการบริโภคบริการจะเกิดขึ้นในระยะเวลา
เดียวกนั (Simultaneous production and consumption) โดยลกู คา ทเี่ ปนผซู ือ้ บริการมักจะตอ ง
มีสวนรวมในกระบวนการผลติ บรกิ ารนั้นดวย เชน บริการรานตดั ผม เมือ่ ลูกคาตกลงใจซ้ือบรกิ ารตัด
ผม ขัน้ การผลติ จะเริ่มตน ต้งั แตล กู คานัง่ ลงบนเกา อ้ีตดั ผม โดยจะเห็นวาขณะทช่ี างตดั ผมทาํ การตดั ผม
ชา งตดั ผมจะเรมิ่ กระบวนการผลิตและลูกคา ก็จะทําการบริโภคสนิ คาไปพรอ ม ๆ กนั
4) ไมสามารถเก็บรักษาไวได (Perishability) การบริการไมสามารถท่ีจะเก็บรักษา
บริการไวในรปู ของสินคาคงคลงั ได ทําใหองคก รเสียโอกาสในการขายบริการได เพราะสาเหตุมาจาก
เราไมสามารถแยกการผลิตออกจากกการบริโภคของลูกคาได ดังนั้นเม่ือลูกคามาซื้อในเวลาใด ผูขาย
จงึ จะเร่ิมทาํ การผลิตไดเ ม่อื นั้น (ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา, 2547: 14 -15)

ภาพที่ 3.1 การบรกิ ารลกู คา
ทมี่ า:(www.navy.mi.th: 20 พ.ค. 2558)
3.2.2 การติดตอ สื่อสารดา นโลจสิ ตกิ ส( Logistics Communications)

42 | กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น

ไพฑูรณ กําลังดี ไดกลาวถึงการติดตอส่ือสารดานโลจิสติกสไววา “ขอมูลจากการ
ติดตอสื่อสารเรียกไดวาเปนจุดเร่ิมตนของกระบวนการทางธุรกิจ ท่ีทําใหเกิดกระบวนการทาง
โลจิสติกส การส่ือสารภายนอกองคกร คือ การส่ือสารกับลูกคาหรือกับผูขายเทาน้ันที่องคกรไดให
ความสาํ คญั และการสื่อสารระหวา งหนว ยงานภายในองคก รกเ็ พื่อใหม ผี ลตอประสทิ ธิภาพการทํางาน
ทางดานโลจิสติกส การสื่อสารเปนปจจัยหน่ึงที่กอใหเกิดตนทุนขึ้นได เชน การรับขอมูลและสงตอ
ขอมูลท่ีผิดพลาด ท่ีใหฝายผลิตหรือจัดสงนําสงสินคาผิดรายการหรือผิดจํานวน มีผลตอระดับการ
ใหบริการหรือความพึงพอใจของลกู คา (Service Level) ดังนั้นการติดตอสอื่ สารที่ดีสงผลใหองคกร
เกิดความไดเปรียบในการแขงขัน เพราะจะทําใหเกิดการดําเนินงานที่ตอเน่ือง เกดิ การเชื่อมโยงและ
การไหลของขอ มลู สง ผลใหก ระบวนการเคลือ่ นไปไดอยางมีประสิทธภิ าพ”

ปรากฏการณแ สมา (Bullwhip Effect)
เปนปรากฏการณท่ีเกิดการผันผวนในการบริหารงานโซอุปทานคือในกรณีท่ีสินคาขาด
ตลาดหรือสนิ คาลนตลาด เหตุผลก็เพราะผูผลิตไมสามารถทราบถึงความตองการของลูกคาที่แทจริง
ได หรือความตองการนั้นถูกแปรปรวนหรือผันผวน เนื่องดวยเพราะโซอุปทาน (Supply Chain)
มีหลายข้ันตอน เกิดความซับซอน สวนสาเหตุที่ทําใหเกิดปญหาปรากฏการณแสมาคือ แตละ
หนวยงานในโซอปุ ทาน ตางคนตา งทํา ตางคนตา งตดั สินใจ ไมทํางานเปน ทีมและขอมลู ความตองการ
ของลกู คา ไมส ามารถไหลมาถึงปลายทางภายในองคก รได

ภาพที่ 3.2 ปรากฏการณแ สม า
ท่มี า: (businessconnectionknowledge.blogspot.com : 20 พ.ค. 2558)

3.2.3 กระบวนการส่ังซ้อื (Order processing)
กระบวนการในการจัดการคําส่ังซ้ือ จะครอบคลุมตั้งแตการรับคําส่ังซื้อจากลูกคา
การติดตอส่ือสารกับลูกคา การตรวจสอบยอดสินคาคงคลัง รวมถึงรายละเอียดเก่ียวกับลูกคา
กิจกรรมน้ีเปนจุดเช่ือมตอระหวางองคกรกับลูกคา ดังนั้นกิจกรรมน้ีจะมีผลตอระดับความพึงพอใจ

กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น | 43

ของลูกคาไดงา ย จึงควรใชเวลาในกระบวนการน้ีใหส้ันท่ีสุดและหลีกเล่ียงความผิดพลาดท่จี ะเกิดขึ้น
ใหไดมากทส่ี ดุ

ในปจ จุบันองคก รสวนใหญม ักนําระบบคอมพิวเตอรและการจัดการธุรกจิ เชิงอิเล็คทรอนคิ ส
เขามาชว ยในดานการติดตอสื่อสาร การเชื่อมตอระหวางลูกคากับองคกรเพ่ือลดความเสี่ยงท่ีอาจจะ
เกิดความผิดพลาดข้ึน สรางความรวดเร็ว สะดวกสบาย และยังสามารถสรางความพึงพอใจใหกับ
ลูกคาไดอีกดวย ระบบการส่ังซ้ือท่ีมักถูกนํามาใชในงาน เชน ระบบ EDI (Electronic Data
Interchange) เปน ตน

ระบบ Electronic Data Interchange
คือ การแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหวางบริษัทคูคาในรูปแบบมาตรฐานสากลจากเครอื่ ง
คอมพิวเตอรเครอ่ื งหนึ่งไปยังเครือ่ งคอมพิวเตอรอีกเครื่องหน่ึง โดยระบบ EDI จะมีองคประกอบที่สําคัญ
อยู 2 อยางคือ การใชเอกสารอิเล็กทรอนิกสแทนเอกสารท่ีเปนกระดาษ และเอกสารอิเล็กทรอนิกส
เหลาน้ีตองอยูในรูปแบบมาตรฐานสากล ดวยสององคประกอบนี้ทําใหทุกธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยน
เอกสารกนั ไดทั่วโลก
สวนประกอบสําคญั ของระบบ EDI
1. Hardware หมายรวมถึงคอมพิวเตอรทุกประเภท และ อุปกรณขางเคียงของ
คอมพิวเตอร คอมพิวเตอรเปนองคประกอบสําคัญในการติดต้ัง EDI Communication โดยจะเปน
ตัวชว ยในการสง ผา นขอ มลู ระหวางคคู า (Trading Partners)
2. Telecommunication Networks จะใชสายโทรศัพท (Telephone Line) ในการ
สงผา นขอ มูลระหวา งผูสง และ ผูรับ โดยอาจตดิ ตอกนั ผา นทางดาวเทียม
3. Communication Software and Translation Software ใชใ นการสงผานขอ มูล
และ รบั ขอมลู ระหวา งคอมพวิ เตอร เชน เม่อื ผูใชคอมพิวเตอรค นหนึ่ง ตองการติดตอ กับคอมพิวเตอร
ท่อี นื่ เขาตอ งมี Communication Software และ Translation Software
3.2.4 การคาดการณค วามตองการ (Demand forecasting)
เปนการพยากรณความตองการในตัวสินคาหรือบริการของลูกคา นับวาเปนกิจกรรมท่ีมี
ความสําคัญในการสรางผลกําไรหรือทําใหองคกรขาดทุนได การคาดการณความตองการชวยให
องคกรสามารถกําหนดทิศทางในการดําเนินงาน กลาวคือ สามารถวางแผนความตองการใช
ทรัพยากรในแตละกระบวนการไดอยางเหมาะสม สงผลใหปริมาณการจัดเก็บสินคาคงคลังเปนไป
อยา งมีประสิทธิภาพ

44 | กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น

ขอ พจิ ารณาในการเลือกใชว ิธีการพยากรณ
1) วัตถุประสงคของการพยากรณ (Why) ในการพยากรณท่ีตองพิจารณาวัตถุประสงค

หรอื จดุ มงุ หมายของการพยากรณเปน สาํ คญั เนื่องจากจะมีผลตอ รูปแบบและวธิ ีการพยากรณต ดิ ตาม
มาเชน การพยากรณความตองการของลูกคา การพยากรณเพื่อการวางแผนผลิต การพยากรณ
พฤติกรรมของลกู คา ในอนาคต จะมผี ลตอการวางแผนและตัดสนิ ใจในโซอปุ ทาน

2) บุคคลที่เก่ียวของกับการพยากรณ คือใคร (Who) บุคคลในท่ีนี้หมายถึง ผูที่มีสวน
เก่ียวของในโซอุปทาน ไดแก ผูที่พยากรณใหใครเปนผูพยากรณ(เชน ฝายวางแผน ฝายวิจัยตลาด
หรือบรษิ ัทตัวแทนจากภายนอก) ผูใชผลผิตจากการพยากรณคือใคร(ผูบริหารแตละระดบั ของแตละ
องคกร ผูจัดหาหรือผูขาย ผูจัดการฝายการตลาด ผูจัดการฝายผลิต หรือตัวแทนจําหนาย)เน่ืองจาก
วิถีการใหไดมาซึ่งตัวเลขพยากรณและความตองการใชขอมูลท่ีไดจากการพยากรณของห นวยงาน
ตางๆแตกตา งกัน

3) จะพยากรณเม่อื ใด (When) หมายถึงระยะเวลาทีใ่ ชใ นการพยากรณ อาจเปนระยะส้นั
ภายใน 1-3 เดอื น หรอื ระยะปานกลางภายในสองป หรอื ระยะยาวตงั้ แตส องปขนึ้ ไป ซ่ึงระยะเวลาที่
ใชในการพยากรณจะมีผลตอการถูกตองแมนยําในคาพยากรณเนื่องจากย่ิงระยะเวลาท่ีนานข้ึนก็จะมี
ปจจัยตางๆซง่ึ อาจมีผลกระทบตอ คา พยากรณในการจัดการโซอุปทานมากขนึ้

4) การใหมาซ่ึงขอมูล (How) ลักษณะของขอมูลแตละประเภทจะใชขอมูลการพยากรณท่ี
แตกตางกัน เชน ขอมูลสินคาตามฤดูกาล (ผลไมที่ออกเฉพาะฤดู เสื้อผาใน ฤดูกาลตางๆ) ขอมูลที่เปน
แนวโนม (สินคาประเภท ทองคํา น้าํ มนั ) ขอ มูลท่ีมกี ารเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอยูเสมอในระยะเวลาสั้น (สินคาใน
หางสรรพสินคา สินคาท่ีขายในตลาดทั่วไป) หรือขอมูลแบบสุมท่ีเกิดจากเหตุการณผิดปกติของธรรมชาติ
นอกจากประเภทของขอมลู ท่ีกลาวมาแลว ยงั จะตองพิจารณาเกี่ยวกบั คณุ ภาพและความนาเชอื่ ถือของขอ มูล
จาํ นวนขอ มูลที่ตอ งการอีกดวย

5) การพยากรณจะใชวิธีอะไร (What) เทคนิคและวิธีพยากรณมีหลากหลายและมี
คุณลักษณะที่แตกตางกัน ท้ังน้ีข้ึนอยูกับประเภทของขอมูล โดยจําแนกออกวิธีหลักไดแก
การพยากรณเชงิ คณุ ภาพ และการพยากรณเชงิ ปริมาณ นอกจากนนั้ ยงั แบง ยอยออกเปน

• การพยากรณเชิงคุณภาพ ไดแก การพยากรณโดยใชขอมูลในอดีต
การพยากรณตามความเห็นของผูแทนขาย การพยากรณโดยใชเลขดัชนี การพยากรณโดยการวิจัย
ตลาด วธิ เี ดลฟาย

• การพยากรณ เชิงปริมาณ ไดแก การพยากรณ คา เฉลี่ยเคลื่อนที่
การพยากรณเ ชิงเรยี บ การพยากรณเ อ็กโปรเนนเชียล การพยากรณเ ชิงสาเหตุ การพยากรณแ นวโนม
การวเิ คราะหความถดถอยเปนตน

กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น | 45

3.2.5การจดั ซือ้ (Procurement)
การจัดซื้อเปนกิจกรรมในการจัดหาแหลงวัตถุดิบ เพื่อจัดซื้อสินคาหรือวัตถุดิบ รวมไปถึง
การบริหารอุปทานโดยรวมต้ังแต การคัดเลือกผูขาย การเจรจาตอรองราคาหรือเง่ือนไข ปรมิ าณใน
การสั่งซ้ือ และการประเมินคุณภาพของผขู ายสินคาหรือวตั ถุดิบ เพือ่ ใหม ั่นใจวา องคก รจะไดรบั สนิ คา
หรือวัตถุดิบที่มีคุณภาพตรงตามความตองการไปใชในการปฏิบัติงานขององคกรตามสวนงานตางๆ
ดว ยตนทุนทีเ่ หมาะสมทีส่ ุด
การประมวลคําส่ังซ้อื (Order Processing)
การประมวลคาํ สง่ั ซอื้ มีหลายข้ัน แตล ะข้ันมีเรอื่ งของเวลาเขา มาเกีย่ วขอ ง เวลาทใี่ ชใ นการ
ประมวลคาํ สั่งซ้ือจะมากหรือนอยขึ้นอยกู บั หลายปจ จัย ซึ่งสง ผลตอ ความพงึ พอใจของลกู คา

ภาพท่ี 3.3 การประมวลคาํ สง่ั ซ้ือ (Order Processing)
ลูกคาจัดทําใบสัง่ ซอื้ : Order Preparation
เปนการตรวจสต็อกเพื่อจะไดทราบวาจะตองสงั่ สินคาประเภท ชนิด ขนาด สี มาเตมิ สินคา
คงคลัง (Replenishment) เม่ือไรและจํานวนเทาใดเม่ือลูกคา ทราบสถานะสนิ คาคงคลังของตนแลว
ลกู คากจ็ ะจดั ทาํ ใบส่งั ซื้อสินคา โดยปกติลูกคา ไมต องการมสี ินคา คงคลงั มาก จะสงั่ ซ้อื สินคา ในปรมิ าณ
ทีเ่ พียงพอขายในชว งเวลาหนงึ่ และเม่ือสนิ คา ใกลจ ะหมดก็จะส่ังซ้ือสินคาลวงหนา
การสง คําสั่งซ้อื : Order Transmission
ลูกคาสั่งซื้อหลายวิธี เชน สั่งซื้อทางจดหมาย ทางโทรศัพท ทาง Fax ทาง EDI ระบบ
Internet / Network หรือส่ังซื้อกับพนักงานขายของบริษัท วิธีการส่ังซ้ือมีผลตอเวลาและความ
ถกู ตอง

46 | กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น

การรับและประมวลคาํ ส่ังซื้อ : Order Receiving and Processing
เมื่อบริษัทไดรับใบส่ังซ้ือพนักงานจะนํามาบันทึกลงในแบบฟอรมสั่งซ้ือของบริษัท การ
บันทึกคําส่ังซ้ือจะชาหรือเร็วข้ึนอยูกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท ถาบริษัทนําระบบ
คอมพิวเตอรม าใชก ารบันทึกรายการซื้อลงในแบบฟอรมจะรวดเร็ว ใบส่ังซ้ือของลูกคา ที่ไดบันทึกลง
รายการตามแบบ ฟอรมของบริษัทแลว กจ็ ะสงไปใหฝ า ยตางๆ เพอื่ ดําเนนิ การดังตอไปนี้

• ตรวจสอบสนิ เช่อื : Credit Check
• ตรวจสอบสินคา คงคลงั : Inventory Availability
• การแกไ ขใบสั่งซ้อื : Order Modification
• ราคาสนิ คา : Order Pricing
การหยบิ และหีบหอ สินคา : Order Picking and Packing
เม่ือทําการผลิตสินคาเสร็จแลวข้ันตอนตอมาจะเปนการการหยิบและหีบหอสินคา
เพือ่ เตรยี มที่จะจดั สง สนิ คาโดยในขั้นตอนนจ้ี ะใชเ วลามากนอ ยขึน้ อยกู ับปจจยั ตา งๆ ดังนี้
• ปริมาณสนิ คา ทส่ี ัง่ ซ้อื
• ระยะทางขนสง
• วิธีการขนสง (เคลือ่ นยาย)
การขนสงและสงมอบ : Order Shipped and Delivery
การขนสงเปนปจ จยั หนึ่งท่ีมคี วามสําคัญตอเวลาการสงสินคาใหล ูกคา เวลาทีใ่ ชข นสง ขนึ้ อยู
กบั ปจจยั หลกั 2 ประการ คอื
1. ระยะทาง ถาระยะทางจากจดุ สง สนิ คาไปใหล กู คาไกลกใ็ ชเ วลามาก
2. รูปแบบการขนสง กเ็ ปนปจจยั สาํ คญั ดา นเวลาการขนสง

3.2.6 การบรหิ ารสินคาคงคลงั (Inventory Management)
การบริหารสินคาคงคลังเปนกิจกรรมหน่ึงที่มีผลกระทบตอประสิทธิภาพการทํางานของสวน
งานอ่นื รวมถงึ มีผลตอกําไรขาดทุนขององคกร เชน หากระดับสนิ คาคงคลังสูงทําใหตนทุนในการจดั เก็บ
ดแู ลเพิ่มขนึ้ หากสนิ คาท่ีเก็บลา สมัยก็กอ ใหเกิดตนทนุ เพ่มิ มากขนึ้ อกี ในแงของผลกระทบตอ สวนงานอ่ืน
เชน หากมกี ารจัดเก็บสินคาคงคลังท่ีนอ ย ตน ทุนในการจัดเกบ็ ดูแลก็จะตํา่ แตองคก รอาจพบวา ตนทุนใน
การขนสงเพิ่มมากข้ึนก็เปนได เพราะปริมาณการจัดเก็บที่นอย ทําใหความถี่ในการขนสงสูงข้ึน ทั้งน้ี
ทัง้ นน้ั ตอ งพจิ ารณาประกอบกันไปอยูเสมอ
ประเภทของสินคาคงคลงั
โดยสนิ คาคงคลังท่อี ยภู ายในโซอ ุปทาน อาจอยใู นรูปตา งๆ ดงั น้ี

กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น | 47

1. สินคาคงคลังท่ีอยูในรูปวัตถุดิบ (Raw Material Inventory) เปนวัตถุดิบเพื่อแปลง
สภาพเปน สินคา ระหวางการผลติ หรือ สินคา กึ่งสําเรจ็ รปู และสินคา สาํ เร็จรปู ในที่สดุ เชน แผนเหล็ก
สบั ปะรดสด ยางแผน รมควัน ผา กระดมุ ดาย เปน ตน

2. สินคาคงคลังท่ีอยูในรูปของสินคาท่ีอยูระหวางการผลิต (Work-in-process
Inventory)เปนสินคาท่ีอยูในระหวางกระบวนการผลิต เชน เหล็กที่ข้ึนรูปเปนกระปอง สับปะรดท่ี
ห่ันเปน ช้นิ ๆ ทรี่ อเขากระบวนการบรรจุ ยางท่ผี สมสตู รตาง ๆ (Vulcanized rubber) ผา ทีต่ ัดพรอม
สําหรบั การเยบ็ เปนตน

3. สินคาคงคลังท่ีอยูในรูปของสินคาสําเร็จรูป (Finished Goods Inventory)เปน
สินคาท่ีผลิตเปนสินคาสําเร็จรูปที่พรอมจําหนายใหแกลูกคาได เชน กระปองสําหรับบรรจุอาหาร
สับปะรดกระปอง ยางรถยนต และเสอ้ื ผา สาํ เร็จรูป เปนตน

4. สินคาคงคลังท่ีอยูในระหวางการกระจายสินคา (Distribution Inventory)
เปนสินคาคงคลังทอี่ ยูในกระบวนการกระจายสินคาจากผูผลิตไปยังลกู คา ซ่ึงอาจจะเปนผบู ริโภคข้ัน
สุดทาย หรือ โรงงานที่จะนําเอาสินคาคงคลังนั้นไปแปรรูปตอได เชน ดอกทิวลิปจากเนเธอรแลนด
สินคาแฟช่นั จากอติ าลี หรอื เหล็กเสน จากรัสเซยี เปนตน

5. สินคาคงคลังสําหรับการซอมบํารุง (Maintenance and Repair Operation
Inventory) เปนสินคาคงคลังที่สํารองในการซอมบํารุงรักษาอุปกรณและเครื่องจักร เพ่ื อรักษา
กระบวนการรับคําส่ังซ้ือ กระบวนการผลิต กระบวนการจัดสงสินคาในโซอุปทาน เปนไปอยางมี
ประสิทธภิ าพ เชน สายพาน น็อต สกรู เปนตน

3.2.7 การบริหารการขนสง (Transportation Management)
การบริหารการขนสง หมายรวมถงึ การเคล่อื นยายวัตถุดิบหรอื สินคาต้ังแตจดุ เร่ิมตนไปยัง
จดุ ทม่ี ีการบริโภค หรือการขนสงคนการสนิ คาผิดปกต/ิ ชํารุดเสียหายกลับมายงั คลังสินคา รวมถงึ การ
ขนยา ยสินคาเพ่ือนําไปยังจุดท่ีมจี ะทําลาย ทําใหอ งคกรตอ งคํานึงถึงรูปแบบลักษณะการเลือกวิธีการ
ขนสงประเภทตางๆ ที่เหมาะสมกับตัวสินคา รวมถึงเสนทางในการขนสงอีกดวย เชน ทางอากาศ
ทางน้ํา ทางรถไฟ ทางทอ ทางถนน เปนตน เพื่อใหถูกตองตามกฎระเบียบของภมู ภิ าคนั้นๆ และเปน
การสรางความม่ันใจใหกับลูกคา องคกรมีความจําเปนท่ีจะตองดําเนินการจัดสงให ถูกสถานท่ี
ถูกเวลา ในสภาพที่สมบรู ณ รวมถงึ การควบคุมตน ทนุ ทจี่ ะเกดิ ขน้ึ ใหเ ปนไปอยางมปี ระสิทธภิ าพสูงสดุ
รปู แบบการขนสง
1) การขนสงทางถนน (Road Transportation) เปนรูปแบบการขนสงท่ีมีปริมาณสูง
ท่ีสุดการขนสงทางถนนกระทําไดโดยการใชรถบรรทุก 4 ลอ 6 ลอ 10 ลอ หรือมากกวา 10 ลอ
เปนยานพาหนะในการเคลื่อนยายปจจุบันประเทศไทยมีโครงขายถนนคอนขางดีมากท้ังในเขตเมือง

48 | กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น

และนอกเมืองการขนสงสินคาทางถนนสามารถเขาถึงไดทั่วขอดีของการขนสงทางถนน คือ ไมตองมี
การขนถายซ้ําใหบริการไดอยางรวดเร็วและสามารถรักษาตนทุนไดถือวาเปนการขนสงแบบ Door-
to-Door

2) การขนสงทางนํ้า (Water Transportation) เปนรูปแบบการขนสงท่ีมีตนทุนตอ
หนวยตํ่าทส่ี ุดอาศัยเสนทางท่ีมอี ยแู ลว ตามธรรมชาตเิ ปน สําคญั เชน คลอง แมนํ้าเปนการขนสง ท่ชี าที่สุด
เหมาะกับสินคาท่ีไมมีขอจํากัดเรื่องระยะเวลาสงมอบสินคา มักจะเปนสินคาท่ีมีมูลคาตอหนวยตํ่าและ
ขนสงในปริมาณมากๆเชน วัสดุกอสรางจําพวกอิฐ หิน ปูน ทราย เปนตน แบงยอยออกเปน 2 รูปแบบ
ตามลักษณะของเสนทางขนสง ไดแกการขนสงทางลําน้ํา (Inland Water Transportation) และการ
ขนสงทางทะเล (Sea and Ocean Transportation)

3) การขนสงทางอากาศ (Air Transportation) เปนรูปแบบการขนสงท่ีไปไดไกลท่ีสุด
และรวดเร็วที่สุด มตี น ทุนตอ หนว ยแพงทส่ี ุด จาํ เปนตอ งกอสรา งโครงสรางจํานวนมหาศาลเพ่ือรองรบั
รูปแบบการขนสงตองอาศัยระบบขนสงสนิ คาทางถนนเพ่ือใหสินคาไปถงึ ลูกคาที่ปลายทางตามพื้นที่
ตา งๆ ได

4) การขนสงทางรถไฟ (Rail Transportation) เปนรูปแบบการเดินทางที่อยูคูสังคมไทย
มานับต้ังแตสมัยรัชกาลที่ 5 สินคาท่ีขนสงทางรางมักจะเปนสินคาท่ีมีการขนยายคราวละมากๆ เชน ขาว
นา้ํ ตาล ปนู ซีเมนต ถานหนิ กาซและผลิตภัณฑปโตรเลียม เปนตน การขนสงสินคาทางรถไฟมปี รมิ าณและ
มูลคา เพมิ่ สูงขนึ้ ในสวนของโครงขา ยทไี่ มทั่วถึงและการเชื่อมโยงระหวางรถไฟกบั การขนสง วธิ ีอื่นๆ ยงั ทําได
ไมด อี ยา งทีผ่ ูประกอบการขนสง ตองการ

5)ก ารข น ส งท างท อ (Pipeline Transportation) เป น ร ะ บ บ ก า ร ข น ส งท่ี มี
ลักษณะเฉพาะ สินคาท่ีขนสงตองอยูในรูปของเหลวเปนการขนสงทางเดียวจากแหลงผลิตไปยัง
ปลายทาง สินคาท่ีนิยมขนสงทางทอ ไดแก นํ้า น้ํามันดิบ ผลิตภัณ ฑ ปโตรเลียมและ
กาซธรรมชาติเปนตน

3.2.8การบรหิ ารคลังสนิ คา และการจดั เกบ็ (Warehousing และStorage)
กิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในคลังสินคา ต้ังแตกระบวนการในการวางโครงสรางคลังสินคา
การออกแบบและจัดวาง การจัดการพ้ืนท่ีภายในคลังสินคาระดับของสินคาคงคลัง รวมถึงการดูแล
รักษาอุปกรณเครื่องใชตางๆ ท่ีจําเปนในการดําเนินกิจกรรมภายในคลังสินคาเพ่ือใหการจั ดการ
คลงั สินคา เปนไปอยา งมปี ระสทิ ธิภาพสงู สดุ ดวยตน ทุนทเ่ี หมาะสมท่สี ุด

กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น | 49

ทาํ ไมตองมีคลังสนิ คา
1) สนับสนุนใหบรรลุวัตถุประสงคในการใหบริการลูกคา (Service Level) เพ่ือให

แนใจวามีสินคาเพียงพอตอความตองการของลูกคา เปนการสรางความพึงพอใจของลูกคาตอบริษัท
ในดานของ ความสะดวกสบาย ความถกู ตอง ความรวดเรว็ ดวยตนทุนท่ีตํ่าที่สุด

2) ชวยสนับสนุนใหการผลิตเปนไปไดอยางราบรื่น (Smooth Production)
คลังสนิ คาจะชวยรองรับความตองการของลูกคา ณ จดุ สูงสุดได (Demand Peaks) ชวยปองกันการ
เกดิ ปญ หาวัตถดุ ิบขาดแคลนซึง่ จะสงผลตอการผลติ

3)จัดเก็บสินคาจากการผลิตคลังสินคาจะเปนสถานท่ีจัดเก็บสินคาที่ไดจากการผลิต
จํานวนมาก เพ่ือความคุมคาในการผลิต (Mass Production) ท่ีเปนผลจากการผลิตแบบMake-to-
stock ดังนัน้ การผลติ แบบน้จี ึงตอ งการคลังสนิ คาเพื่อจัดเก็บสนิ คา

4)ทาํ ใหบ รษิ ัทไดเ ปรยี บทางการแขงขันในแงข องการจดั ซอ้ื จัดหาในแงข องการจดั ซื้อ
การซ้ือสินคาครั้งละมาก ๆ หรือซ้ือเปนชุด (Bulk Purchases)ก็เพื่อตองการสวนลดจากการส่ังซื้อ
(Quantity discounts) และตอ งการลดคา ใชจ า ยจากการขนสง เมอ่ื ซือ้ สนิ คาจาํ นวนมากขึน้

5)การจัดใหมีกระบวนการเพิ่มมูลคา เพ่ือการใหบริการสําหรับแตละลูกคา
(Customization) ท่นี ับวันตอ งมีความตองการใหบรกิ ารพเิ ศษสาํ หรับตนเองมากขน้ึ

6)เพ่ือตอบสนองความตอ งการของลกู คาใหเร็วขนึ้ (Response Time)
7)การเก็บสินคา สําหรบั ชวงวิกฤต หรือสถานการณฉกุ เฉิน (Emergency)เชน การตนุ
สินคาบรโิ ภคในชว งทเี่ กดิ วิกฤตทางการเมือง
8) การเกบ็ สนิ คาเพอื่ ใชใ นการสงเสรมิ การขาย (Promotion Material)
9) การเกบ็ Dead Stockเพอื่ ลูกคา คนสําคัญเชน การเกบ็ อุปกรณซ อ มเครอื่ งจักรรุน
001 เพอ่ื ลกู คารายใหญของบรษิ ัท เปนตน

กิจกรรมสนับสนนุ
3.2.9 โลจิสตกิ สยอนกลบั (Reverse Logistics)
โลจิสติกสยอนหลับ (Reverse Logistics) หมายถึง กระบวนการวางแผน ปฏิบัติ และการ

ควบคุมการเคล่ือนยายสินคาหรือขอมูลขาวสาร จากปลายทางซ่ึงก็คือผูบริโภค ยอนกลับไปยังแหลง
ผลิตตนทางอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือหากยึดตามนิยามของ Reverse Logistics
Executive Council ไดใหความหมายไววา“เปนกระบวนการของการวางแผน การประยุกตใช และการ
ควบคุมการไหลของวตั ถดุ ิบ สินคาคงคลัง สนิ คา สําเรจ็ รูป และขอมูลที่เกี่ยวของ จากจุดที่ทาํ การบริโภค
(Point of Consumption) ไปยังจุดเริ่มตน (Point of Origin) เพ่ือทําการกําจัดอยางมีประสิทธิภาพ
หรอื นาํ ไปสรา งมูลคา แทนทจี่ ะตอ งทิ้งหรอื สูญเปลาไป”

50 | กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น

กระบวนการจดั การสินคาที่ถกู สงกลับคืน ไมวา จะดวยเหตผุ ลท่ีวา สินคาหรอื ผลติ ภณั ฑเกิดการ
ชํารุดเสียหาย มีตําหนิ ตกรุน หมดอายุการใชงาน สินคาขายไมไดเปนจํานวนมาก สินคาท่ีสงมอบผิด
ประเภทผิดขนาด หรือดวยสาเหตุดานสิ่งแวดลอมและความปลอดภัยของผูบริโภคองคกรมีความจําเปนท่ี
จะตองวางนโยบายที่จะรองรับสินคาท่ีถูกสงคืนอยางมีประสิทธิภาพ เพ่ือใหเกิดตนทุนนอยท่ีสุด บางคร้ัง
สินคาเหลานี้อาจนํากลับมาสรางประโยชนโดยผาน กระบวนการผลิตมาสรางมูลคาใหม (Recapturing
Value) โดยอาจมีกิจกรรมที่เกี่ยวของ ไดแก การนํามาใชซ้ํา (Reuse) การจัดจําหนายใหม (Resell)
การซอมแซม (Repair) การผลิตซ้ํา (Remanufacture) และการนําไปแปรรูปเพ่ือนํากลับมาใชใหม
(Recycle) ซ่ึงจะชวยในเร่ืองของตนทุนไดเปนอยางดี แตในกรณีท่ีเปนสินคาอันตรายมีผลตอ
สภาพแวดลอมปจจุบันมีกฏระเบียบท่ีเครงครัดสําหรับเร่ืองการทําลายสินคาอันตรายใหเหมาะสมท่ีให
องคก รควรตระหนักถึงสวนนี้ดว ยนอกจากน้ี องคการจะตอ งดําเนินการดวยความเต็มใจและจริงใจท่ีจะรับ
คนื สินคา ดวยความรวดเรว็ ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพ่ือแกไขปญหาใหกับผูมีสว นไดสวนเสียกับ
องคการ

ในประเทศโซนยุโรปและประเทศญ่ีปุน ไดใหความใสใจกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมเปน
พิเศษ สินคาหลายตัวจําเปนตองมีนโยบายท่ีชัดเจนที่ผูผลิตตองมีภาระในการจัดใหมีระบบการสงมอบ
สินคาที่หมดอายกุ ารใชงานหรือท่ีลูกคาไมตองการแลว เพื่อใหมกี าร Recycle และไมกอใหเ กิดขยะพิษตอ
สิ่งแวดลอม ท่ีเราพอจะเห็นไดชัดเจน เชน การคืนขวดพลาสติกและขวดแกวตามหางคาปลีกตางๆ การ
รณรงคใหมีการแยกประเภทขยะตางๆ การจํากัดการใชบรรจุภัณฑประเภทถุงพลาสติกและโฟมเพื่อการ
ขนสง การใชถุงพลาสติกคลมุ หรือหอเส้ือผากใ็ หบรรจุหลายชิ้นตอถุงหน่ึงใบและควรใชพลาสติกประเภทท่ี
นําไป Recycleไดดวย บรรจุภัณฑเพ่ือการขนสง (Industrial packaging) มีการวิจัยใหใชกระดาษท่ีมี
ความแข็งแรงมากขึ้นทนตอการแรงกดทับและการแบกไดดีข้ึนและตองนํากลับมาใชซ้ําดวย เชน บรรจุ
ภัณฑเพื่อใสเครื่องปรับอากาศขนสงไปยังจุดขายและลูกคา เปนภาระใหตองมีการขนสงบรรจุภัณฑคืน
กลบั ไปทผ่ี ูผลติ เพือ่ นาํ ไปใชซาํ้ ตอ ไป(อา งอิงจาก: http://www.similantechnology.com)

3.2.10 การจัดเตรยี มอะไหลแ ละชน้ิ สว นตางๆ (Parts และ Services Support)
โลจิสติกสนอกจากจะควบคุมในสวนงานการวางแผนการผลิต การผลิต การขนสง
การจัดเก็บสินคาแลว ยังมีความรับผิดชอบในสวนของการบริการหลังการขาย โดยมีการจัดหา
ชิ้นสวนอะไหล และเคร่ืองมืออุปกรณตางๆ เพ่ือเตรียมพรอมสําหรับการใหบริการท่ีรวดเร็วและมี
ประสิทธิภาพในกรณีท่ีสินคาเกิดชํารุดเสียหาย ไมวาจะเปนเพราะจากความบกพรองของ
กระบวนการผลติ หรือจากการใชงานของลูกคาเองก็ตาม เพื่อเปนการรักษาระดับความพึงพอใจของ
ลูกคาไว (Service Level)และรักษาลูกคา ใหค งอยูกับองคก รในระยะยาว ดงั นน้ั องคกรมคี วามจาํ เปน
ท่ีจะตองมรี ะบบการจัดการในสว นน้ีทม่ี ปี ระสิทธภิ าพ

กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น | 51

3.2.11 การเลือกที่ต้ั งโรงงาน และคลังสิน คา (Plant และ Warehouse Site
Selection)

กิจกรรรมการเลือกสถานท่ีตั้งโรงงานและคลังสินคาเปนการตัดสินใจเชิงกลยุทธท่ีสําคัญ
เน่ืองจากจะสงผลตอเรอื่ งของตน ทุนคาขนสงสนิ คา ระดับการใหบริการเพ่ือใหเ กิดความพงึ พอใจของ
ลกู คา (Service Level) และความรวดเรว็ ในการตอบสนองตอความตองการลูกคา

ปจ จัยที่มีผลตอ การเลือกท่ตี ้งั
1) แหลงวัตถุดิบ (Raw materials resource) แหลงวัตถุดิบ เปนปจจัยประการสําคัญ
ท่ีมีบทบาทตอการเลือกทําเลทต่ี ั้งโรงงานอตุ สาหกรรม หากเลือกทําเลที่ตง้ั โรงงานใกลแหลงวัตถุดิบก็จะ
ลดคาใชจายในการขนสง หรือลดตนทุนคาขนสงวัตถุดิบไปยังโรงงาน (Transportation Costs) และลด
เวลา ในการขนสง วตั ถุดบิ ดวย
2) แหลงแรงงาน (Labor) ในการพิจารณาดานแรงงานนั้น ตองทราบกอนวา ตองการ
แรงงานประเภทใดมากท่ีสุด และทําเลที่จะไปตั้งโรงงาน มีแรงงานเพียงพอหรือไม หากแรงงานใน
แถบนัน้ ไมเ พยี งพอกจ็ ะเปน ปญหาใหก ับโรงงาน
3 ) ท่ี ตั้ ง ข อ ง ต ล า ด ห รื อ แ ห ล ง จํ า ห น า ย ( Location of markets) ต ล า ด
เปนองคประกอบท่ีมีบทบาทสําคัญประการหนึ่ง ในการพิจารณา เลือกทําเลท่ีตั้งโรงงานผลิตสินคา
เพ่ือจดั สงสนิ คา ไปจาํ หนายท่ตี ลาดอุตสาหกรรมบางประเภทไมเ พยี งแตจะสงสินคาไปจําหนายเทานั้น
แตยังจะตองอาศัยวตั ถุดบิ ตา งๆ จากตลาดเขา มาเขาในกระบวนการผลติ อีกดวย
4) ที่ดนิ (Land) การซ้ือทีด่ ินเปน การตดั สินใจทีต่ องอาศัยเงินลงทุนมหาศาล โดยปกตแิ ลว
ทําเลที่ตั้งในเขตเมืองจะมีราคาสูงและมีคาใชจายอ่ืนๆท่ีตามมาก็จะราคาสูงดวย ดังนั้นโรงงาน
สวนมากจะต้ังไกลเมืองออกไปอยูตามชนบทหรือชานเมือง นอกจากราคาที่ดินตองพิจารณาแลว
ยังจะตอ งพิจารณาในสวนเรอ่ื งของความปลอดภัยจากภัยธรรมชาตอิ กี ดวย
5) การขนสง (Transportation) เปนปจจัยที่มีความสําคัญมากที่จะสงผล ตอการ
กําหนดคาใชจ ายในการลงทนุ และคาใชจายในการขนสงจะสง ผลใหร าคาสินคาสงู หรอื ต่าํ ลงได จงึ นบั
ไดวา การขนสงถือวาเปนปญหาทตี่ องพิจารณาเปนลาํ ดับตน ๆ ควรพิจารณาอยา งรอบคอบมีเหตุผล
ทั้งนี้เพราะวา ปจจัยการผลิตตางๆ ไมวาจะเปนวัตถุดิบ คน เครื่องจักร อุปกรณ และส่ิงท่ีสนับสนุน
การผลติ ตา งๆ ที่จะนาํ ไปสูโ รงงาน ลวนแตอ าศยั การขนสง ทัง้ สิ้น
6) พลังงาน (Energy) อุตสาหกรรมแตละรูปแบบจะมีความตองการในเร่ืองของแหลง
พลงั งาน และเชื้อเพลิงท่ีแตกตางกันไป สวนใหญแลว มักจะตอ งการ แหลง พลังงานจากกระแสไฟฟา
โดยใชบ ริการกระแสไฟฟา จากการไฟฟาฝา ยผลิตมากกวาท่จี ะผลิตกระแสไฟฟา ใชเ อง

52 | กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น

7) สาธารณูปโภค (Public service) โรงงานอุตสาหกรรมทุกโรงงานจําเปนตองใชน้ํา
ไฟฟา และระบบนํ้าบัดนํ้าเสีย เชน การบําบดั สารเคมี น้าํ มัน กอ นปลอยลงแมนาํ้ โรงงานจําเปน ตอง
รบั ผดิ ชอบตอ สงั คม และปฏิบัตติ ามกฎหมายอยางเครง ครดั

3.2.12 Material Handling
การขนถายวัสดุ (Materials Handling) หมายถึงการจัดเตรียมสถานท่ีและตําแหนงของ
วสั ดุเพ่ืออํานวยความสะดวกในการเคล่ือนยายหรือเก็บรักษา วัตถดุ ิบ สนิ คา ระหวางผลิต และสนิ คา
สําเร็จรูปภายในโรงงานหรือคลังสินคาโดยมีวัตถุประสงคในการลดระยะทางในการเคลื่อนยาย
ลดจํานวนครั้งในการเคล่ือนยายรวมถึงปริมาณของวัตถทุ ่ีเคล่ือนยาย เพื่อใหมีตนทุนในการจัดการที่
ต่าํ ที่สุด เพราะการเคลื่อนยายทกุ คร้งั กอใหเกดิ ตนทนุ แกองคกร
องคประกอบสําคัญของการขนถา ยวสั ดุ
ควรคาํ นึงถึงองคป ระกอบท่ีสําคญั 4 ประการคือ
1)การเคลื่อนท่ี เปนการเคล่ือนยายวัสดุสินคาจากจุดหน่ึงไปยังอีกจุดหน่ึง ซ่ึงการ
เคลื่อนยายของวัสดุสินคาแตละประเภทยอมมีรูปแบบการเคล่ือนยายที่แตกตางกันดังนั้นจะทํา
อยา งไรใหวิธกี ารการขนถายวัสดมุ ีประสทิ ธภิ าพสงู สดุ
2) เวลา นับเปนปจจัยท่ีบงบอกถึงประสิทธิภาพของการขนถายวัสดุในแตละข้ันตอนของ
กระบวนการผลิตตางกอ็ าศัยเวลาเปน ตวั กําหนดการทํางาน
3) ปริมาณ สินคาที่ตองเคล่ือนที่ตองสัมพันธกับปริมาณความตองการของจุดตางๆ
ตอ งสอดคลองกบั เวลาทเี่ หมาะสมของระบบ และประหยดั ตนทนุ
4) เนื้อท่ี เปนองคประกอบที่สําคัญของการการขนถายวัสดุ เพราะวาการขนถายวัสดุ
จาํ เปน ตองใชเนือ้ ท่สี าํ หรับต้ังกลไกของระบบการขนถา ยวสั ดทุ ่ีมีประสิทธภิ าพ
3.2.13 การบรรจภุ ัณฑแ ละหีบหอ (Packaging and Packing)
วัตถุประสงคของบรรจุภัณฑและหีบหอตามหลักการตลาดมีไวเพ่ือเปนการบงบอก
รายละเอียดของสินคาและสรางการรับรูในตัวสินคา สงเสริมการขายโฆษณาประชาสัมพันธดวย
ลกั ษณะท่ีดึงดดู สสี ันทสี่ ดใส ดึงดดู ความสนใจลกู คา และบรรจภุ ณั ฑย ังสามารถสรา งความประทบั ใจใหแก
ลกู คาไดอ ีกดว ย แตใ นดานโลจิสตกิ ส บรรจภุ ัณฑและหบี หอ นนั้ มไี วเพ่ือปอ งกันตัวสินคา จากความชาํ รดุ
เสียหาย และอํานวยความสะดวกในการเคลื่อนยายและจัดเก็บ การออกแบบบรรจภุ ัณฑหรือหีบหอ
นัน้ ตองมีความเหมาะสมกับอปุ กรณการขนยา ยและคลังสนิ คา เพอ่ื ชว ยในการลดตนทนุ ดา นวตั ถดุ บิ

กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น | 53

3.3 กรณศี ึกษา

Bullwhip Effect (ปรากฏการณแสมา) คือปรากฏการณอุปทานเกิดการแกวงข้ึนลง เกิดจาก
อุปสงคที่ผันผวน โดยความผันผวนเล็กนอยทําใหอุปทานแกวงไดมาก เชน สินคา A วางตลาด มีคน
ตองการเยอะ แหกันซื้อ รานคาเลยเกงกักตุนสินคา บริษัทก็เรงผลิต แตพอผลิตแลว คนเลิกเหอ
ของขายไมออก ลักษณะนี้ เกิดจากการคาดการณตลาดผิดพลาด และกักตุนสินคา ซ่ึงจะเจอกันได
บอ ยๆ ถา ของไมข าด ของก็เหลอื อาจจะขาดบางท่ี หรอื เหลือบางที่

Bullwhip Effect ในภัยพิบัติ เกิดขึ้นเนื่องจากอุปสงคปลายทาง หรือความตองการของผู
ประสบ ภัยพุงสูงขึ้น (Demand Surge) ซึ่งเปน การพุงชั่วคราว แตการจะหาของมาตอบสนองความ
ตองการของผูประสบภยั มกั จะมาชากวา ความตองการ เชน

มีน้ําทว ม เสน ทางตัดขาด ไมม อี าหาร กเ็ รงจดั ซอื้ อาหารบรจิ าค
การระดมทนุ ในวันที่ 1 อาจจะไดไ มมาก ผูประสบภัยอดขาวไป
วนั ท่ี 2 ไดม ากขน้ึ แตซ้ืออาหารไมท นั ส่ังใหค นเตรยี มไว
วนั ท่ี 3 อาหารมากองเต็ม
วนั ท่ี 4 อาหารเขามา คนที่ประสบภยั มีอาหารกิน วันท่ี 5 เร่ิมอพยพคนออกจากพืน้ ที่ วนั ที่
6 อพยพหมด อีก 10 วันนํา้ ลด กลับเขา บา นได
จะเห็นวา วันท่ี 1-2 ผูประสบภัยอดอยาก ไมมีอะไรกิน เกิดอุปสงคแลว อุปทานยังไม
พรอ ม แตพ อวันท่ี 3 เปน ตนไป อปุ สงคเ ร่ิมคงที่ แตอ ปุ ทานไม
เหตกุ ารณจริงๆ ของภัยพิบัติคือ อุปทานมักจะไปตอเร่อื ยๆ และพุงในอตั ราเรว็ มากขึ้น ใน
วันที่ 3-5 ของการประสบภัย (จากการสังเกตของผมเอง) การจัดซ้ือมันมีทั้ง Lead Time และ Lag
Time กวาจะไดของบริจาคเต็มที่ คือวันที่ 5-7 ของเหตุการณ ซ่ึงเปนชวงท่ีเหตุการณเร่ิมนิ่ง
demand ลด ดังนั้น ถาเอามาเขียนกราฟ เราจะเห็นวา demand ของผูประสบภัยจะพุงขึ้นไมเกิน
7 วันแรก และลดลงมาในระดับท่ีสงู กวา ปรกติ แตน อ ยกวาชวงแรก
แต supply ของผบู รจิ าค จะพุงข้ึนในวนั ที่ 3-5 และตัวสินคา จะพุงขึน้ ในวันท่ี 5-7 ซง่ึ เปน
ชวงที่ demand เรมิ่ ลงพอดี สง่ิ ของบรจิ าค จงึ ไมถึงมอื ผรู ับในแบบทค่ี วรจะได แตมักจะกลายเปน ยัด
เยยี ดและขยะเปน จาํ นวนมาก เพราะ supply เหลือไมร จู ะทํายงั ไง กําจัดกแ็ พง
อีกสวนหน่ึงคือการกักตุนสินคา เพราะการประเมินความรุนแรงของภัยพิบัติไมชัดเจน
ทําใหคนท่ีมีโอกาสเขาถึงของที่ตองการบริจาคกอน เอาไปกักตุนไว ในกรณีท่ี supply เทาเดิม
demand สงู ขนึ้ ถา มีบางคนกกั ตนุ ก็จะมีบางคนไมไ ดของทจี่ ําเปน พอทุกคนพยายามกักตุน ก็ทําให
supply พยายามเพิ่ม แตเพิม่ เทาไรกไ็ มพอ จนสุดทายเกิดภาวะของขาดตลาด และคนที่จําเปน ไมไ ด
ของน้ัน เหตกุ ารณนเ้ี กดิ ในทกุ ประเทศ แตก ารแกปญหามีหลายวธิ ที ี่ตางกนั

54 | กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น

กรณศี กึ ษากระทรวงสาธารณสขุ
จากเหตุการณน้ําทวมป 2554 พบวามีการแจงความตองการซื้อนํ้าเกลือในจํานวนสูงมาก

และมีบางรพ.ไมมีน้ําเกลือใช เมื่อมีการแจงวาขาดแคลนเขามาจํานวนมาก สธ.โดยองคการเภสัช
กรรม จึงมีการจัดซื้อน้ําเกลือจากตางประเทศจํานวนหนึ่ง นาจะหลายรอยลานบาท ซ่ึงกวาจะได
น้ําเกลือมาก็ผานชวงนํ้าทวมไปแลวหลายสัปดาห และน้ําเกลือที่ไดมาคุณภาพไมตรงตามที่ตองการ
เมอ่ื เหตุการณนง่ิ ความตอ งการลดลง

สุดทา ยแลว เหลือนํา้ เกลอื ที่ตองทาํ ลายไปเพราะหมดอายุแลว ใชไมไ ด รวมกนั หลายสบิ ลาน
บาท ซึ่งทําลายไปไมก ว่ี นั กอน ดว ยงบประมาณอกี หลายแสนบาท
ความจริงทีอ่ ยูเ บื้องหลังเหตกุ ารณนคี้ อื

น้าํ เกลือบา นเราแทบไมไดขาด แตไมมีใครใหยืมกัน และรพ.ทโ่ี ดนนํ้าทวมชา ก็กักตุนไวใน
ปริมาณมาก ทางออกของปญหาน้ีที่ดีท่ีสุดคือใชแนวคิด Virtual Inventory หรือระบบคลังเสมือน
โดยเช่ือมขอมูลคลังของทุกรพ.ในเครือขายเขาดวยกัน จังหวัดตัวอยางท่ีทําแบบนี้คืออางทอง
อางทองมีการกําหนดพื้นทีป่ ลอดภัยสําหรับเก็บสํารองยาของท้ังจังหวัด โดยมีการแลกเปลี่ยนขอมูล
คลังกนั การเตรยี มแผนของอางทองคือ กรณีเกิดน้ําทว มจะสามารถขนของไปเกบ็ ไวท่ีรพ.ทป่ี ลอดภัย
ท่สี ุดได และกระจายกลับจากรพ.น้ัน ไปยังรพ.อื่นๆ ในจังหวัด ปญหาของการจดั การแบบนี้ คือหลัก
ท่ีเรียกวา Humanitarian Logistic มันยังใชไมได หากมีการจัดการแบบแยกสวน และเกิด panic
รนุ แรงแบบทผ่ี า นมา

การศึกษาเรื่อง bullwhip effect และ demand surge ในภัยพิบัติ มีพอสมควร และเรา
สามารถใชหลัก Supply Chain Management จัดการไดเลย ผานเหตุการณนํ้าทวมใหญมา 4 ป
ถงึ ตอนนี้ ระบบกย็ ังไมไดพ ัฒนาไปเทาไร แตเ ช่ือวา panic นาจะลดลงเพราะเคยเจอแลว รูแ ลววา จะ
จัดการยงั ไง
ที่มา: http://www.apichart.net (About Apichart Chantanisr)

กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น | 55

แบบฝกหัดบทที่ 3
กจิ กรรมโลจิสติกสแ ละการจัดการซพั พลายเชน

ตอนที่ 1 จงเลอื กคาํ ตอบท่ีถกู ทสี่ ดุ เพียงขอเดยี ว

1. ขอใดไมใ ชก ิจกรรมทางดา นโลจสิ ตกิ ส

ก. Transportation Management ข. Global Logistics

ค. Demand forecasting ง. Inventory Management

2. Bullwhip Effect คืออะไร

ก. ปรากฏการณท คี่ วามตองการของลูกคา ไมส ามารถไหลมาถงึ ปลายทางภายในองคกรได

ข. เปน การเคลื่อนยา ยสนิ คา จากผขู ายปจจัยการผลิตทัง้ ในและตา งประเทศมาสง ยังโรงงาน

ค. กระบวนการวางแผนปฏบิ ัติงานในเคลือ่ นยายสนิ คา จากปลายทางยอนกลบั ไปยงั แหลงผลติ

ง. การแลกเปลย่ี นเอกสารทางธรุ กิจระหวางบรษิ ทั คูคา ในรปู แบบมาตรฐานสากล

3. ระบบ Electronic Data Interchange คอื อะไร

ก. ปรากฏการณท่คี วามตอ งการของลูกคาไมส ามารถไหลมาถึงปลายทางภายในองคก รได

ข. เปนการเคล่อื นยา ยสนิ คา จากผูข ายปจ จยั การผลิตทัง้ ในและตางประเทศมาสงยังโรงงาน

ค. กระบวนการวางแผนปฏบิ ตั ิงานในเคล่อื นยา ยสินคาจากปลายทางยอนกลับไปยังแหลง ผลิต

ง. การแลกเปลย่ี นเอกสารทางธรุ กิจระหวา งบรษิ ทั คคู าในรูปแบบมาตรฐานสากล

4. การขนสงรูปแบบใดทีถ่ ือวา เปนการขนสงแบบ Door-to-Door

ก. การขนสงทางอากาศ ข. การขนสงทางราง

ค. การขนสง ทางถนน ง. การขนสงทางน้าํ

5. ขอใดไมใ ชป จ จัยในการเลอื กทต่ี ัง้ โรงงาน

ก. การขนสง ข. ใกลต ลาด

ค. แรงงาน ง. ใกลเ ขตการคาชายแดน

6. ขอ ใดไมใชรูปแบบการขนสง

ก. ทางถนน ข. ทางน้ํา

ค. ทางอวกาศ ง. ทางทอ

7. ขอ ใดไมใ ชปจจัยที่มผี ลตอ การเลอื กท่ีต้ัง

ก. แหลง วัตถดุ บิ ข. แหลง แรงงาน

ค. สาธารณปู โภค ง. Material Handling

56 | กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น

8. ขอใดไมใ ชขอ พจิ ารณาในการเลือกใชว ธิ ีการพยากรณ

ก. วตั ถปุ ระสงคของการพยากรณ ข. ผูเกบ็ ขอ มลู การพยากรณ

ค. จะพยากรณเ มอ่ื ใด ง. การพยากรณจะใชวิธอี ะไร

9. ขอใดไมใ ชอ งคป ระกอบสําคญั ของการขนถา ยวสั ดุ

ก. การเคลอ่ื นที่ ข. ราคา

ค. ปริมาณ ง. เนื้อที่

10. ขอ ใดไมใชล ักษณะสาํ คัญของการบริการ

ก. ไมสามารถเก็บรกั ษาไวไ ด ข. มีคณุ ภาพไมคงที่

ค. ไมสามารถแยกการผลิตออกจากการบริโภคได ง. จับตอ งได

กิ จ ก ร ร ม โ ล จิ ส ติ ก ส แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร ซั พ พ ล า ย เ ช น | 57

ตอนที่ 2 จงตอบคาํ ถามตอไปนี้
1. ใหน กั ศึกษาอธบิ ายถึงกจิ กรรมทางดานโลจสิ ตกิ สมาพอสังเขป

………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………….........................................................…………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………

58 | การพยากรณค วามตองการ

รายละเอยี ดการสอน

ประจาํ สัปดาหท ี่ 4 (จํานวน 3 ชั่วโมง)

หัวขอการสอน : การพยากรณค วามตองการ
จดุ ประสงคก ารสอน

1. อธบิ ายความหมายและความสาํ คญั ของการพยากรณได
2. สามารถเขาใจถงึ กระบวนการพยากรณไ ด
3. สามารถใชเ ทคนิคการพยากรณแ ละประเมนิ ความแมนยาํ ได

รายการสอน

4.1 ความหมายการพยากรณ
4.2 ความสาํ คัญของการพยากรณ
4.3 กระบวนการพยากรณ
4.4 ประเภทของการพยากรณ
4.5 การประเมนิ ความแมนยําของการพยากรณ
4.6 แนวทางในการเลอื กเทคนคิ สาํ หรับการพยากรณ

วธิ ีการสอน

บรรยาย ถาม – ตอบ กรณศี ึกษา

หนังสือ / เอกสารประกอบการสอน

ผศ.ดร.ธนัญญา วสุตรี การจัดการสินคาคงคลังและกระจายสินคา กรุงเทพฯ : หจก.สุเนตรฟลม,
2552

รศ.พิภพ ลลติ าภรณ, การวางแผนและควบคุมการผลติ , กรงุ เทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชนัK , 2556
เอกสารประกอบการสอน 27 3204 การจัดการความตองการและสนิ คาคงคลงั ประจวบ

โสตทศั นวสั ดุ

บอรดขาว ปากกา แผนบันทกึ ขอมูล เคร่ืองคอมพวิ เตอร

การพยากรณความตอ งการ | 59

การประเมนิ ผล

ถาม – ในชั้นเรียน
ทดสอบยอยในชั้นเรียน
ตรวจการทําแบบฝก หดั ทา ยบท
ผลการสอบประจําภาคการศึกษา

งานทม่ี อบหมาย

1. ใหท าํ แบบฝก หดั ทา ยบททกุ ขอ
2. ใหท บทวนเรียนตามที่ไดเรยี นไป
3. ใหศึกษาเพ่ิมเติมและทดลองทาํ แบบฝก หัดในหวั ขอ ทีไ่ ดเ รยี นไปจากตาํ ราเลมอ่นื ๆ
4. ใหเ ตรยี มเนือ้ หาสาระความรสู าํ หรบั ทจ่ี ะเรียนประจาํ สปั ดาหต อไป

60 | การพยากรณค วามตองการ

บทที่ 4
การพยากรณความตอ งการ (Demand forecasting)

การพยากรณความตองการเปนการคาดการณส่ิงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และนําผลที่ได
จากการพยากรณมาใชในการวางแผนในการกําหนดกลยุทธข ององคกรหรือหนวยงานตาง ๆ เพื่อจะ
ไดเตรียมปจจัยท่ีจําเปนตอการผลิตไวใหพรอม และดําเนินการไปไดดวยความประหยัด การใช
ประโยชนจากการพยากรณในการจดั การดําเนินงานมหี ลายประการ โดยเฉพาะอยางยงิ่ การพยากรณ
ความตองการของลกู คา เพ่ือชวยในการกาํ หนดระดบั กาํ ลงั การผลิตและการจดั การสนิ คา คงคลัง

4.1 ความหมายการพยากรณ

การพยากรณ (forecast) หมายถึง การทํานายหรือการประมาณคาจริงในชวงเวลาใน
อนาคต (สาํ หรับขอมูลอนุกรมเวลา) หรอื การพยากรณคาจริงในสถานการณอื่น ดงั น้ัน การพยากรณ
(forecasting) จงึ เปน การประมาณคาจากสถานการณทไ่ี มร(ู Armstrong , J. Scott)

การพยากรณ หมายถึง การคํานวณหรือการทํานายเหตุการณห รอื สถานการณในอนาคต
โดยปกติการพยากรณเกิดจากการศึกษาหรือการวิเคราะหขอมูลที่เก่ียวของท่ีมีอยู (Merriam –
Webster online dictionary)

การพยากรณ เปน การประมาณคา ของตวัแปร (หรือกลมุ ตวัแปร) ในอนาคต มกั จะทาํ ข้ึน
เพ่ือนํามาใชประกอบการตัดสินใจและวางแผนในอนาคต หากกิจการสามารถพยากรณวาจะเกิด
อะไรขึ้นในอนาคต กจิ การสามารถเปลย่ี นแปลงการกระทําในปจจุบนั เพ่ือทาํ ใหอนาคตมีสภาพที่ดีขึ้น
กวาที่ควรจะเปน (Beasley, J E.)

การพยากรณ หมายถึง การคาดคะเนหรือทํานายการเกิดเหตุการณ หรือสภาพการณ
ตางๆ ในอนาคต โดยการพยากรณจะทําการศกึ ษาแนวโนม และรปู แบบการเกดิ
เหตุการณตามขอมูลในอดีตหรือใชความรูความสามารถประสบการณและดุลยพินิจของผูพยากรณ
ในปจจุบันการพยากรณมักจะนําไปใชเก่ียวกับการวางแผนอุปสงค (demand planning) หรือการ
พยากรณหวงโซอุปทาน (supply chain forecasting) ซ่ึงจะใชทั้งวิธีิการพยากรณทางสถิติและ
วิธีการสํารวจความคิดเห็น และการพยากรณมักใชกับขอมูลอนุกรมเวลา เห็นไดวาการพยากรณมี
ความจําเปนอยางย่ิงตอการวางแผน และการตัดสินใจเก่ียวกับการดําเนินงานในทุกสาขาอาชีพ
(นิภา นริ ตุ ตกิ ุล)

การพยากรณความตองการ | 61

ดังน้ัน การพยากรณ คือ การคาดคะเนหรอื ทํานายเหตกุ ารณในอนาคตจากขอ มลู ในอดตี
ปจจุบัน หรือประสบการณก ารพยากรณเปนท้ังศาสตรและศิลป ตงั้ แตสมัยโบราณมนุษยร◌ู◌จกั การ
พยากรณเพอ่ื การดํารงชีวิต เชน การพยากรณดินฟาอากาศเพ่ือการลาสัตวแ◌ละเพาะปลกู ปจจุบัน
การพยากรณไดถูกนํา มาใชในการตัดสินใจสําหรับการดําเนินชีวิตประจําวันสําหรับแตละคนจนถึง
การดําเนินกิจกรรมในองคการตาง ๆ การพยากรณจะใหคาพยากรณคือ จํานวนหรือปริมาณท่ี
ตอ งการทราบในอนาคต ในธุรกิจคาพยากรณที่สําคัญ คือ ปรมิ าณความตองการสนิ คา หรือบริการใน
อนาคตท่ีฝายการตลาดจะทําการพยากรณออกมาและฝายผลิตจะนําไปใชในการวางแผนการผลิต
ตอ ไป

4.2 ความสาํ คญั ของการพยากรณ

ความสําคัญของการพยากรณที่มีตอการดําเนินงานของธุรกิจและการตัดสินใจโดยการ
พยากรณม คี วามสําคญั ดังนี้

1. การพยากรณทําใหสามารถคาดคะเนปริมาณความตองการสินคาและบริการ ซ่ึงเปน
ขอ มูลสาํ คัญในการวางแผนดาํ เนินงานขององคการ

2. การพยากรณช ว ยในการวางแผนดําเนินงานทางการผลิต ไดแกการเลือกทําเลทต่ี ั้งและ
วางแผนกําลงั การผลิต การวางแผนการผลิต การวางแผนดานการจางแรงงาน การวางแผนดานวัสดุ
การลําเลียงและการขนสง ซ่ึงขอมูลของการพยากรณทําใหผูบริหารสามารถวางแผนการผลิตและ
ดําเนินการผลิตใหไดสินคาและบริการพอดีกับความตองการของตลาด ลดความเสียหายของการ
ดําเนนิ ธรุ กจิ จากการผลิตสนิ คา มากเกินความตองการทําใหสญู เสยี ทรพั ยากรและเกิดตน ทุนสงู และถา
ผลิตสินคานอยกวาความตองการ ทําใหเสียโอกาสทางธุรกิจและไมสามารถสรางความพึงพอใจให
ลูกคา ได

3. การพยากรณช วยในการตัดสินใจดา นการวางแผนทางการตลาด โดยใชในการ
วเิ คราะหสวนครองตลาด (market share) การกาํ หนดนโยบายดานราคาและการสงเสริมการตลาด

4. การพยากรณชวยในการวางแผนดานการเงิน เชน การคาดคะเนอัตราดอกเบ้ีย
การตดั สินใจดานการลงทุน และการวิเคราะหก าํ ไร

5. การพยากรณช วยในการวางแผนดา นทรัพยากรมนษุ ยก ารพยากรณท าํ ใหทราบ
จํานวนแรงงานท่ีตองการในอนาคต และเตรียมการจางงาน การฝกอบรมไวใหพรอมตอการ
ปฏบิ ตั ิงาน

สรุปไดวา การพยากรณมีความสําคัญตอการดําเนินงานในทุก ๆ ดานขององค็การ
ผลที่ไดจากการพยากรณเปนปจจัยนําเขาสวนหน่ึง (input) ของการวางแผนทุกประเภท จึงเปน
ความจําเปนท่ีผูบรหิ ารจะตองตระหนักถึงความสําคัญของการพยากรณ และสามารถเลอื กใชเทคนิค

62 | การพยากรณค วามตองการ

ของการพยากรณท เี่ หมาะสม เพ่อื นาํ ผลของการพยากรณไ ปใชใ นการวางแผนไดอยา งมีประสทิ ธภิ าพ
และประสทิ ธิผลตอไป

4.3 กระบวนการพยากรณ

กระบวนการพยากรณ (Forecasting process) ประกอบดวยขนั้ ตอนทสี่ ําคัญ 5 ข้ันตอน
ดงั นี้

1. ระบุวัตถปุ ระสงคข องการพยากรณ
วตั ถุประสงคข องการพยากรณมีหลายประการ และผทู ่ีตอ งการใชผลจากการพยากรณใ น
แตล ะองคก รมหี ลายระดับ เชน ผบู ริหารระดับสงู ผูบ ริหารระดบั กลาง ผูบริหารระดับลา ง หรอื
พนกั งานระดบั ปฏบิ ตั ิการ ดงั นนั้ การระบผุ ูท ต่ี องการใชผลจากการพยากรณค วบคไู ปกับวตั ถุประสงค
ของการพยากรณท าํ ใหส ามารถเลอื กเทคนคิ การพยากรณท่มี รี ะดับการใชงานที่เหมาะสม
2. กําหนดชว งเวลาทีต่ องการพยากรณ
การพยากรณโ ดยทว่ั ไปแบง เปน 3 ระยะ ดงั นี้
การพยากรณระยะสั้น (Short-term forecasting) ซึ่งเปนการพยากรณที่ใชสําหรับ
ชวงเวลาไมเกนิ 1 ป เชน การพยากรณรายไตรมาส การพยากรณรายเดอื น หรือแมแตการพยากรณ
รายวัน เปน ตน
การพยากรณระยะกลาง (Medium-term forecasting) ซ่ึงเปนการพยากรณที่ใช
สําหรับชวง 1-3 ป
การพยากรณร ะยะยาว (Long-term forecasting) ซง่ึ เปน การพยากรณที่ใชส าํ หรับ
ชวง 3-5 ป หรอื มากกวา น้นั
การกําหนดระยะเวลาสําหรับการพยากรณจะแตกตางกันไปในแตละกิจการ โดยสวน
ใหญข้ึนอยูกับรอบระยะเวลาในการผลิตและการจําหนายสินคาแตละประเภทวา มีชวงระยะเวลา
ดังกลาวมากนอยเพียงใด เชน ธุรกิจท่ีเก่ียวกับอุปกรณอิเล็กทรอนิกส ซ่ีงมีการพัฒนาสินคาไปอยาง
รวดเรว็ ทาํ ใหชวงเวลาในการพยากรณของธุรกิจประเภทนส้ี ้นั กวา ธรุ กจิ ประเภทอน่ื
3. เลอื กเทคนคิ การพยากรณท ่ีเหมาะสม
เทคนิคการพยากรณ (Forecasting techniques) แบงเปน 2 ประเภทใหญ ๆ ไดแก
เทคนิคการพยากรณเชิงปริมาณ (Quantitative forecasting techniques ) และเทคนิคการ
พยากรณเชิงคุณภาพ (Qualitative forecasting techniques) ซึ่งในการเลอื กเทคนิคการพยากรณ
ควรจะใหเหมาะสมกบั วัตถปุ ระสงคข องการพยากรณ ขอ มูลทตี่ องการพยากรณ ระยะเวลาที่ตองการ
พยากรณ และตนทุนในการพยากรณ นอกจากนั้น ควรพิจารณาวาผูที่ตองการใชผลการพยากรณ
ตองการความถูกตองแมนยําจากการพยากรณอยูในระดับใด เนื่องจากเทคนิคการพยากรณแตละ

การพยากรณความตองการ | 63

อยางใหความแมน ยําไมเทา กันและใชตนทุนในการพยากรณท่ีแตกตางกัน เทคนิคการพยากรณท่ีให
ความแมนยําสูงสวนใหญจะมีตนทุนสูงเชนกัน ดังนั้น ผูท่ีทําการพยากรณควรพิจารณาวาคุมคา
หรอื ไมในการใชเ ทคนิคการพยากรณแ ตละประเภท

4. เก็บขอ มลู ทีต่ องการใชในการพยากรณ
ในขน้ั ตอนนเ้ี ปนการเกบ็ ขอมลู ทต่ี อ งการใชในการพยากรณ สิง่ ที่สาํ คัญคือ ขอ มลู ที่เก็บมา
จะตองเหมาะสมกบั เทคนิคการพยากรณทีก่ ําหนดไว
5. ทําการพยากรณ
ในข้ันตอนนี้เปนการนําขอมูลท่ีไดมาทําการพยากรณสิ่งที่ตองการโดยใชเทคนิคการ
พยากรณทก่ี าํ หนดไว ทง้ั นี้ควรพิจารณาความถกู ตองแมน ยาํ ของการพยากรณด วยเชนกัน

4.4 ประเภทของการพยากรณ

ประเภทของการพยากรณแบงเปน 2 ประเภท คือ
1. การพยากรณเชงิ คณุ ภาพ (Qualitative Forecasting)
2. การพยากรณเ ชิงปริมาณ (Quantitative Forecasting)

การพยากรณเชิงคุณภาพ (Qualitative Forecasting)
การพยากรณ เชิงคุณ ภาพอาศัยวิจารณญาณ (Judgement Method) เปนหลัก

โดยท่ัวไปจะอาศัยความคิดเห็นของผูเช่ียวชาญเฉพาะดาน ซ่ึงตัดสินใจจากสามัญสํานึกลักษณะ
โดยท่ัวไปของเทคนิคการพยากรณคือ การรวบรวมเหตุผลและความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญตาง ๆ
ทีเ่ ก่ียวกับเร่ืองที่จะทําการพยากรณแลวนํามาประมวลผลเพื่อหาทางเลือก ขอจํากัดของวิธนี ี้คือ เรา
ไมสามารถบอกความถูกตองของการพยากรณวามีมากนอยเพียงใด แตก็มิไดหมายความวาวิธีการน้ี
จะใหความแมนยํานอยกวาการพยากรณเชงิ ปริมาณ โดยเทคนิคการพยากรณเ ชงิ คุณภาพที่นิยมใชม ี
5 วธิ ี ดงั น้ี

1. วธิ ีเดลฟาย (Delphi Method) เปนวธิ ีการพยากรณโ ดยการสรา งกลุมอภิปรายของ
ผูเชี่ยวชาญขึ้น วิธีการพยากรณจะใชวิธีการสรางแบบสอบถามอยางตอเน่ือง กลาวคือ คําตอบของ
แบบสอบถามหนง่ึ จะถกู นาํ มาใชเปนขอมูลสําหรบั แบบสอบถามตอ ๆ ไป การตอบแบบสอบถามของ
ผูเช่ียวชาญแตล ะคนจะเปนอสิ ระตอ กัน โดยจะมผี ูคอยรวบรวมขอมูลในแตละรอบแลวทําการสรปุ ผล
ท่ีไดตอไป

2. วิธีวิจัยตลาด (Marketing Research) เปนวิธีที่รวมเอาเทคนิคเชิงปริมาณอื่น ๆ
เขาไวใชประโยชนในดานการพยากรณขนาด โครงสราง และขอบเขตของตลาด เปนตน ขอ มลู ไดมา
จากการสงแบบสอบถาม การสํารวจทางโทรศัพท การอภิปรายกลุม และสัมภาษณ หลังจากน้ันนํา

64 | การพยากรณความตองการ

จํานวนขอมูลท่ีไดมาทดสอบทางสถิติเพ่ือพิสูจนสมมติฐานทางการตลาด วิธีวจิ ัยตลาดนี้นับเปนวิธที ่ี
ตองใชทัง้ เวลาและคาใชจ ายสูง แตผ ลลพั ธทีไ่ ดคอ นขา งจะถูกตองแมนยํามากท่ีสุด

3. วธิ ี Panet Consensus วิธีนี้ทําไดโดยเชญิ ผูท่ีมีความเชี่ยวชาญมารวมกลุมอภิปราย
ปญ หาตา ง ๆ จนกวา จะไดร ับขอสรปุ อันถือวาเปน พยากรณได

4. วิธี Grass-Roots Forecasting วิธีน้ีทําไดโดยสอบถามบุคคลท่ีอยูใกลชิดกับปญหา
หรือผูท่ีทํางานเกี่ยวของในสวนงานน้ัน ๆ โดยตรงใหพยากรณในขอบเขตที่เขารับผิดชอบแลวจึงนํา
การพยากรณของแตละคนมารวมกันเปนการพยากรณรวม เชน การพยากรณการขาย ความแมนยํา
ของการพยากรณน้ขี ้ึนอยูกับความแมน ยาํ ของการพยากรณของแตล ะคน

5. การพยากรณโดยยึดอดีตเปนหลัก (Historical Analog) เปนการใชสถานการณหรือ
ขอ มูลของเหตกุ ารณหน่ึงมาพยากรณอ ีกเหตุการณหนึ่ง ซง่ึ คลาย ๆ กนั เชน ใชเ หตุการณของสินคา ที่
มอี ยปู จจบุ นั มาพยากรณก ารวางแผนสนิ คาใหม

การพยากรณเชงิ ปรมิ าณ (Quantitative Forecasting)
การพยากรณเชิงปริมาณ เปนการนําขอมูลมาทําการพยากรณโดยใชตัวแบบทาง

คณิตศาสตร การพยากรณประเภทนเ้ี หมาะสมในกรณีท่ีขอมูลในการพยากรณมีเพียงพอ และขอมูล
เหลา น้ีสามารถเปนตวั แทนท่ีดีของคาพยากรณท่ีตอ งการในอนาคต เทคนคิ การพยากรณเชิงปริมาณ
แบง เปน 2 ประเภทใหญ ๆ ไดแ ก

1. การพยากรณแบบอนุกรมเวลา (Time-series Forecasting)
2. การพยากรณแบบความสัมพนั ธของขอมูล (Causal Forecasting)
การพยากรณแ บบอนกุ รมเวลา (Time-series Forecasting)
วิธีการน้ีนาํ ขอ มูลในอดีตมาพยากรณเหตุการณใ นอนาคต โดยมสี มมติฐานทว่ี า เหตกุ ารณ
ที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดข้ึนในอนาคต รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงในแตละชวงเวลาจะสม่ําเสมอ
ทําใหส ามารถพยากรณเ หตกุ ารณท ่นี าจะเกดิ ขึ้นในอนาคต โดยท่รี ะยะเวลาเปนกลไกสาํ คัญทจี่ ะทาํ ให
เกิดลักษณะเหตกุ ารณท ่นี าจะเกดิ ขึ้น
องคป ระกอบของอนุกรมเวลา ประกอบดว ย 4 ประการ คือ
1. องคประกอบแบบแนวนอน (Horizontal) เปนขอมลู ในอดตี ท่ีมีการเปลี่ยนแปลงไม

มาก กลาวคือ รูปแบบแนวนอนจะเกิดขึ้นเมื่อยอดขายในอดีตไมมีตัวเลขที่ขึ้นหรือ
ลงมากนักในแตละชวงเวลามีความใกลเคียงกัน ซ่ึงการคํานวณก็จะหาคาเฉล่ียได
โดยมคี วามผิดพลาดนอ ย

การพยากรณค วามตอ งการ | 65

ยอดขาย

เวลา

กราฟแสดงความสัมพันธระหวา งยอดขายกบั ระยะเวลาแบบแนวนอน

2. องคประกอบของแนวโนม (Trend) เปนการเปล่ียนแปลงของขอมูลท้ังหมดในอดีต
จนถึงปจจุบัน ซ่ึงอาจจะสูงขึ้นหรือลดลง ความเคลื่อนไหวในรูปแนวโนมเปนเรื่องของความตอเน่ือง
ตามระยะเวลาท่ผี า นไป ลักษณะของแนวโนมอาจจะเปน เสน ตรง เสน โคง และอน่ื ๆ ก็ได

ยอดขาย

เวลา

กราฟแสดงความสัมพนั ธร ะหวา งยอดขายกับระยะเวลาแบบแนวโนม

4. องคประกอบของฤดูกาล (Seasonal) องคประกอบตามฤดูกาลน้ีจะเกิดขึ้นเมื่อ
ยอดขายไดรับอิทธิพลจากปจจัยเวลา ขอมูลเปนลักษณะของการเคล่ือนไหวช้ีแจง โดยปกติมักจะ
เกิดขึ้นซ้ํา ๆ ในรอบเวลา 1 ป เชน เส้ือหนาวจะขายไดดีในฤดูหนาว เปนตน โดยสวนมากไมวาจะ
เปนการขาย หรอื การผลติ มกั จะเกดิ การเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ ตามฤดูกาล

ยอดขาย

เวลา
กราฟแสดงความสัมพนั ธร ะหวา งยอดขายกับระยะเวลาแบบฤดูกาล

5. องคประกอบของวัฏจักร (Cycle) เปนขอมูลท่ีมีการเปล่ียนแปลงในชวงเวลาท่ี
ยาวนาน โดยสวนมากเปนผลมาจากการเปล่ียนแปลงของสภาพธุรกิจ หรือวฏั จักรของธุรกิจ อยางไร

66 | การพยากรณค วามตองการ

ก็ตามการเปลี่ยนแปลงนี้ไมคอยมีผลกระทบตอการพยากรณในดานการผลิตมากนัก เพราะการ
เปล่ยี นแปลงสว นใหญจ ะมรี ะยะเวลามากกวา 1 ป

ยอดขาย

เวลา

กราฟแสดงความสัมพันธระหวา งยอดขายกับระยะเวลาแบบวฎั จกั ร

การพยากรณโ ดยใชต ัวแบบอนุกรมเวลา มวี ิธดี ังนี้

1. วิธีหาคาแบบตรงตัว (Naïve Approach) เปนวิธีหาคาแบบงาย ๆ โดยตั้งขอ

สมมติฐานความตองการในชวงถัดไปใหเทากับความตองการในชวงอ่ืน ๆ เชน สมมติบริษัทขาย

คอมพิวเตอรได 10 เครอ่ื งในเดือนมกราคม ก็จะสามารถพยากรณไดว า ยอดขายในเดือนกุมภาพันธ

จะได 10 เคร่อื งดวย ซึ่งวิธีนีป้ จ จบุ นั เปน วธิ ีการพยากรณท ี่งา ยท่สี ุด

2. วิธีหาคาเฉลี่ยเคลื่อนที่อยางงาย (Simple Moving Average) วิธีนี้เปนการหา

คาเฉลยี่ ของขอมูลในอดีตทผ่ี า นมาหลาย ๆ งวด เพ่ือทําการปรับขอมลู ใหร าบเรียบโดยใหนาํ้ หนักของ

ขอมูลในแตละงวดมีคาเทากัน วิธีน้ีเหมาะสําหรับขอมูลท่ีมีลักษณะราบเรียบ ซึ่งไมมีลักษณะท่ีเปน

แนวโนม หรือฤดกู าลโดยมสี ตู รทใี่ ชค ํานวณดงั นี้

ൌ σ୬୧ୀଵ ୧

กําหนดให n 
= จาํ นวนงวดท่ใี ชใ นการหาคา เฉลย่ี

୧ = คา จรงิ (Actual data) งวดที่ ‹
= คาพยากรณ

จํานวนงวดที่ใชในการหาคาเฉลี่ย () มีผลตอคาที่ไดจากการพยากรณ กลาวคือ คา n

ที่มากขึ้น สามารถทําใหคาที่ไดจากการพยากรณราบเรียบมากข้ึน แตในขณะเดียวกันจะทําใหคา

พยากรณสะทอ นการเปลี่ยนแปลงของขอ มลู จริงไดช าลง

ตวั อยางที่ 4.1

บริษัทธนบุรี มีขอมลู ยอดขายในชวง 9 เดือนท่ีผานมาตามท่ีปรากฏในตาราง จงใชวิธีหา

คาเฉลี่ยเคล่อื นทีอ่ ยางงา ยเพ่ือพยากรณก ารขายเดอื นท่ี 10 เมื่อกําหนดคา n=3 และ n=5

การพยากรณความตองการ | 67

เดือนที่ ยอดขาย (แสนบาท)
1 12.0
2 9.0
3 10.0
4 7.5
5 11.0
6 5.0
7 13.0
8 11.0
9 9.0
10 -

แสดงคา พยากรณโดยการใชว ิธีคาเฉลยี่ เคล่อื นท่อี ยางงา ย สาํ หรบั n=3 และ n=5 ดังตารางที่ 4.1

ตารางท่ี 4.1 คาพยากรณโดยวิธีคา เฉล่ียเคลื่อนทอี่ ยา งงา ย (Simple Moving Average)

เดือนท่ี ยอดขาย (แสนบาท) คา เฉลี่ยเคล่อื นท่ี n=3 คา เฉล่ยี เคลอื่ นท่ี n=5

1 12.0 - -

2 9.0 - -

3 10.0 - -

4 7.5 103 -

5 11.0 8.8 -

6 5.0 9.5 9.9

7 13.0 7.8 8.5

8 11.0 9.7 9.3

9 9.0 9.7 9.5

10 - 11.0 9.8

68 | การพยากรณความตอ งการ

ขอ ดที ส่ี ําคัญของการใชค า เฉลีย่ เคลื่อนทอี่ ยางงา ยคอื เปนการพยากรณที่สามารถเขาใจได
งายและสะดวกตอ การใชง าน อยา งไรก็ตาม ขอเสยี ที่สําคัญคือ วิธีนี้ตองการใชข อมูลในการพยากรณ
จํานวนมากเม่ือเปรียบเทียบกับการพยากรณบางประเภท เชน การพยากรณโดยวิธีการปรับเรียบ
แบบเอ็กซโ พแนนเชียล

ทั้งน้ี การพยากรณโดยวิธีคาเฉล่ียเคล่ือนที่งายกําหนดใหน้าํ หนักของขอมูลในอดตี เทากัน
ทุกงวด ซึ่งอาจจะทําใหคาพยากรณท่ีไดในบางสถานการณไมใกลเคียงกับคาจริงท่ีเปล่ียนแปลงไป
เทาใดนัก ในกรณีนี้ผูที่ทําการพยากรณอาจจะใช วิธีคาเฉล่ียเคล่ือนที่ถวงนํ้าหนัก (Weighted
moving average) ซ่ึงกําหนดใหขอมูลของงวดท่ีใกลกับเวลาปจจุบันมากที่สุดมีนํ้าหนักมากท่ีสุด
สวนนํ้าหนักของขอมูลในอดีตที่หางไกลออกไปจะลดลงไปตามลําดับโดยน้ําหนักของขอมูลทุกงวด
รวมกันจะตองเทากับ 1.00 ในทางปฏิบัติการกําหนดน้ําหนักของขอมูลแตละงวดข้ึนอยูกับการ
ประมาณตวั เลขของผูท่ีทาํ การพยากรณ
ตวั อยางที่ 4.2
จงพยากรณย อดขายในงวดท่ี 6 โดยใชวธิ คี าเฉล่ียเคลอื่ นทีถ่ ว งนาํ้ หนกั กําหนดใหนา้ํ หนกั ของ
ยอดขายงวดทผ่ี า นมาเปน ดงั นี้

ยอดขายงวดท่ี 5 นา้ํ หนักเทา กบั .50
ยอดขายงวดท่ี 4 นา้ํ หนกั เทา กบั .30
ยอดขายงวดที่ 3 นาํ้ หนักเทากบั .20

เดอื นที่ ยอดขาย (ลานบาท)
1 120
2 100
3 130
4 100
5 110

F6 = (0.50)(110) + (0.30)(100) + (0.20)(130)
= 111 ลานบาท

3. วิธีการปรับเรียบแบบเอ็กซโพแนนเชียล (Exponential Smoothing) เปนการหา
คาเฉลี่ยของขอมูลโดยกําหนดน้ําหนัก (Weight) ของขอมูลที่นํามาใชในการพยากรณแตกตางกัน
วธิ ีนี้ทําใหขอ มูลของงวดท่ีใกลกับเวลาปจจุบันที่สุดมีนํ้าหนักมากท่ีสุด และนํ้าหนักของขอมูลในอดีต

การพยากรณความตองการ | 69

จะลดลงไปเร่อื ย ๆ สาํ หรับเวลาท่ีหางออกไป วธิ นี ท้ี ําใหขอมูล วธิ ีนท้ี ําใหขอมลู ทีไ่ ดจากการพยากรณ
สะทอนการเปล่ียนแปลงของขอมูลไดเร็วกวาวิธีการใชคาเฉลี่ยเคล่ือนที่อยางงาย ซึ่งกําหนดให
น้ําหนักของขอมูลในอดีตเทากันหมด วิธีการปรับเรียบแบบเอ็กซโพเนนเชียลอยางงายมีสูตรที่ใชใน
การคํานวณดงั นี้

กําหนดให ୲ = ୲ିଵ ൅ Ƚሺ ୲ିଵ െ ୲ିଵሻ
୲ = คาพยากรณงวดท่ี –
୲ = คา จริงงวดที่ – െ ͳ
୲ିଵ = คาพยากรณงวดท่ี – െ ͳ
Ƚ = คาคงทข่ี องการทาํ ใหเ รยี บ (Smoothing constant)

คา Ƚ มีคาระหวาง 0-1 ซ่ึงคา Ƚ ท่ีสูงเหมาะสําหรับการพยากรณในกรณีท่ีขอมูลจริงมี

การเปล่ียนแปลงสูง (High Fluctuations) สวนคา Ƚ ท่ีตํ่าเหมาะสําหรับการพยากรณในกรณีท่ี

ขอมูลจริงมีการเปลี่ยนแปลงนอย (Low Fluctuations) โดยสวนใหญวิธีการปรับเรียบแบบเอ็ก

โพแนนเชียลอยางงายจะมีการกําหนดคาพยากรณเร่ิมแรก (Initialization) ซึ่งมักจะกําหนดคา

พยากรณข องงวดที่ 1 เทา กบั คาจรงิ ของงวดท่ี 1 เทา กบั คา จรงิ ของงวดท่ี 1 กลา วคอื ଵ= ଵ

ตัวอยางท่ี 4.3

บริษัท ธนบุรโี ลจิสตกิ ส จาํ กัด มยี อดขายตามทีป่ รากฏในตาราง จงพยากรณของเดือนท่ี
2 ถงึ 12 ดว ยวธิ ีการปรบั เรยี บแบบเอ็กซโ พเนนเชียล เม่ือกําหนด α = 0.3 และ α = 0.5 โดย
กําหนดคา เรมิ่ แรก ଵ= ଵ

70 | การพยากรณค วามตองการ

เดือนที่ ยอดขาย (ลานบาท)
1 3.69
2 4.02
3 4.10
4 3.70
5 4.50
6 5.00
7 4.30
8 4.70
9 5.60
10 5.20
11 5.50
12 5.40

จากสูตร ୲ = ୲ିଵ ൅ Ƚሺ ୲ିଵ െ ୲ିଵሻ

เชน การพยากรณใ นเดอื นท่ี 2 ให  ଵ= ଵ

ଶ = ଵ ൅ Ƚሺ ଵ െ ଵሻ

= (3.69) + 0.30(3.69-3.69)

= 3.69 ลา นบาท

การพยากรณใ นเดอื นท่ี 3

ଷ = ଶ ൅ Ƚሺ ଶ െ ଶሻ
= (3.69) + 0.30(4.02-3.69)

= 3.79 ลานบาท

แสดงคาพยากรณของเดือนที่ 2 - 12 ดวยวธิ กี ารปรับเรียบแบบเอ็กซโ พเนนเชยี ลที่ α =

0.3 และ α = 0.5 ดังตารางที่ 4.2

การพยากรณค วามตองการ | 71

ตารางท่ี 4.2 คา พยากรณท ่ไี ดจากวิธีการปรบั เรยี บแบบเอ็กซโ พแนนเชียล

เดือนที่ ยอดขาย (ลา นบาท) α = 0.3 α = 0.5
-
1 3.69 -
3.69
2 4.02 3.69 3.85
3.98
3 4.10 3.79 3.84
4.17
4 3.70 3.88 4.58
4.44
5 4.50 3.83 4.57
5.09
6 5.00 4.03 5.14
5.32
7 4.30 4.32

8 4.70 4.31

9 5.60 4.43

10 5.20 4.78

11 5.50 4.91

12 5.40 5.08

4.การพยากรณแ บบความสัมพันธของขอมลู (Causal Forecasting)

การพยากรณประเภทน้ีใชความสัมพันธของขอมูลซึ่งเปนเหตุเปนผลกัน (Causal and effect)

เพ่ือคาพยากรณท่ีตองการในอนาคต เชน การใชตัวเลขคาโฆษณาของธุรกิจเพื่อพยากรณยอดขาย

ซึ่งส่ิงที่เปนเหตุคือคาโฆษณา สวนสิ่งท่ีเปนผลคือยอดขายท่ีคาดวาจะเปล่ียนแปลงไปเมื่อมีการ

เปล่ียนแปลงคาโฆษณา ซึง่ บทน้จี ะนําเสนอตัวแบบการถดถอยเชิงเสน (Linear Regression Model)

เทานนั้

ตวั แบบการถดถอยเชิงเสน (Linear Regression Model)

มีสมการท่ีใช ดังน้ี
›୲ = ƒ ൅ „–

กาํ หนดให
›୲ = ตวั แปรตาม (Dependent variable)
ƒ = จดุ ตัดบนแกน › (Y intercept)
„ = คาความลาดชันของเสนตรง (The slope of the line)
š = ตัวแปรอิสระ (Independent variable)
ƒ = σ ୷ିୠ σ ୶



72 | การพยากรณความตองการ

„ ୬ σ ୶୷ିσ ୶ σ ୷

= ୬ σ ୶మିሺσ ୶ሻమ

ตัวอยางท่ี 4.4

บรษิ ทั ขายเครือ่ งสาํ อางแหงหนึง่ ตอ งการทราบวายอดขายมคี วามสัมพนั ธก บั จาํ นวนวนั ที่

ใชส่อื โฆษณาหรือไหม โดยมขี อมูลดงั นี้

วนั ทใี่ ชส ่ือโฆษณา (วัน) ยอดขาย (ลา นบาท)

3 20

5 22

4 27

7 34

2 14

6 37

4 30

9 46

3 18

กําหนดให x = จาํ นวนวันทใ่ี ชส ่ือโฆษณา (วนั )

Y = ยอดขาย (ลา นบาท)

ตารางที่ 4.3 คา พยากรณโดยการใชตัวแบบการถดถอยเชิงเสน

ขอ มลู ท่ี x y xy X2
9
1 3 20 60 25
46
2 5 22 110 49
4
3 4 27 108 36
16
4 7 34 238 81
9
5 2 14 28 σ š2= 245

6 6 37 222

7 4 30 120

8 9 46 414

9 3 18 54
รวม σ σ š = 43 σ ‫ = ݕ‬248 σ š›= 1,354

การพยากรณค วามตองการ | 73

วธิ ที ํา

„ ൌ ୬ σ ୶୷ିσ ୶ σ ୷
୬ σ ୶మିሺσ ୶ሻమ

ൌ ଽሺଵǡଷହସሻ Ȃ ሺସଷሻሺଶସ଼ሻ
ଽሺଶସହሻିሺସଷሻమ

ൌ ଵଶǡଵ଼଺ିଵ଴ǡ଺଺ସ
ଶǡଶ଴ହିଵǡ଼ସଽ

ൌ ͶǤʹͺ

ƒ ൌ σ ୷ିୠ σ ୶



ൌ ଶସ଼ ି ሺସǤଶ଼ሻସଷ



ൌ ͹Ǥͳͳ

›୲ ൌ ƒ ൅ „–
ൌ ͹Ǥͳͳ ൅ ሺͶǤʹͺሻͳͲ

ൌ ͶͻǤͻͳ ลานบาท

จากตัวอยางดังกลา วขางตน ถามกี ารลงส่อื โฆษณา 10 วนั สามารถพยากรณยอดขายได เทากบั

49.91 ลานบาท

4.5 การประเมินความแมนยําของการพยากรณ

การประเมินความแมน ยาํ ของการพยากรณ สามารถประเมินไดจ ากคาความผดิ พลาดของ

การพยากรณ (Forecast error) ซ่ึงเปนความแตกตางระหวางคาท่ีเกิดขึ้นจริงและคาท่ีไดจากการ

พยากรณ แมวาในการพยากรณโดยทั่วไปจะไมสามารถหลีกเล่ียงความผิดพลาดท่ีเกิดข้ึนไดก็ตาม

แตวัตถุประสงคท ีส่ ําคญั ของการพยากรณไมวา จะใชเ ทคนิคใดก็ตาม คอื การทําใหค าความผดิ พลาดท่ี

เกิดข้นึ นอยทส่ี ดุ การวดั คา ความผิดพลาดการพยากรณม วี ิธี ดงั นี้

1. คาเฉลี่ยความคลาดเคลอ่ื น (Mean Error: ME)

= σሺ୅౪ି୊౪ሻ


กาํ หนดให

୲ = คา จริงงวดที่ –
୲ = คาพยากรณง วดที่ –
 = จํานวนชดุ ขอ มลู

การหาคาเฉลี่ยคลาดเคลื่อนเปนเทคนิคท่ีเปรยี บเทียบคา ทเี่ กิดขนึ้ จรงิ กบั คาพยากรณแ ลว

มาหาคาเฉลี่ยความผิดพลาดตองวด เทคนิคนี้มีขอจํากัดในกรณีท่ีบางเดือนมีคาสูงกวาคาพยากรณ

74 | การพยากรณความตองการ

คาความแตกตางเปนบวก บางเดือนคาท่ีเกิดขึ้นจริงตํ่ากวาคาพยากรณความแตกตางท่ีเปรียบเทียบ

ดว ยเทคนิคนี้มีคาเปนลบ ทําใหผลรวมคาบวกและ คา ลบจะหักลางกันไปมีผลตอคาเฉล่ียท่ีมีคาต่ํา

และการพยากรณจ ะไมแ มน ยํา

2. คาเฉล่ยี ความคลาดเคลือ่ นสมบรู ณ (Mean Absolute Deviation: MAD)

= σȁ୅౪ି୊౪ȁ



กําหนดให

୲ = คา จรงิ งวดท่ี –
୲ = คาพยากรณง วดท่ี –
 = จํานวนชุดขอ มูล

การหาคาเฉล่ียความคลาดเคล่ือนสมบูรณเปนวิธีการที่แกขอจํากัดของวิธีคาเฉล่ียความ

คลาดเคลอื่ น โดยที่ Absolute ซ่งึ จะใหผ ลตางของคา ที่เกดิ ข้นึ จรงิ กบั คา พยากรณเปน บวก

3. คาเฉลี่ยความคลาดเคล่ือนกาํ ลังสอง (Mean square error: MSE)

= σሺ୅౪ି୊౪ሻ૛



กาํ หนดให

୲ = คาจรงิ งวดท่ี –
୲ = คา พยากรณงวดท่ี –
 = จํานวนชุดขอ มลู

4. คา เฉลย่ี รอ ยละความคลาดเคลื่อนสมบรู ณ (Mean Absolute Percentage

Error: MAPE)

= σฬఽ౪ఽష౪ూ౪ฬ ൈ ૚૙૙



กําหนดให

୲ = คา จรงิ งวดที่ –
୲ = คาพยากรณง วดท่ี –
 = จํานวนชดุ ขอ มลู

เปนเทคนิควัดความแมนยําโดยคํานวณรอยละความผิดพลาดในการพยากรณ โดยไม

คํานึงถึงเครื่องหมาย คาท่ีไดตํ่า แสดงคาเทคนิคน้ันแมนยํา เชน ถา MAPE = 5% แสดงวา เทคนิคท่ี

เลือกมคี วามผดิ พลาดในการพยากรณเ ฉลย่ี รอยละ 5 ตอ งวด

การพยากรณค วามตองการ | 75

ตารางที่ 4.4 ตัวอยา งการคํานวณความแมนยาํ ในการพยากรณ

เดือน ยอดขาย (บาท) คา พยากรณ (บาท) ME MAD MSE MAPE

1 1,213 1,216 -3 3 9 0.25

2 1,217 1,215 2 2 4 0.16

3 1,216 1,215 1 1 1 0.08

4 1,210 1,214 -4 4 16 0.33

5 1,213 1,211 2 2 4 0.16

6 1,219 1,214 5 5 25 0.41

7 1,216 1,217 -1 1 1 0.08

8 1,212 1,216 -4 4 16 0.33

รวม -2 22 76 1.80

1. คาเฉลย่ี ความคลาดเคลอื่ น

= σሺ୅౪ି୊౪ሻ


= -2/8 =

= -0.25

2. คาเฉล่ียความคลาดเคลอื่ นสมบรู ณ

= σȁ୅౪ି୊౪ȁ



= 22/8

= 2.75

3. คาเฉลยี่ ความคลาดเคล่ือนกาํ ลงั สอง

= σሺ୅౪ି୊౪ሻ૛



= 76/8

= 9.5

4. คาเฉลยี่ รอยละความคลาดเคลอ่ื นสมบรู ณ

= σฬఽ౪ఽష౪ూ౪ฬ ൈ ૚૙૙



= 1.80/8

= 0.225 %

76 | การพยากรณค วามตอ งการ

การเลือกวิธีการวัดความแมนยําจะเลือกอันใดอันหนึ่งก็ได เทคนิค จะใหน้ําหนักลดลง
ความผิดพลาดเทากัน ๆ กัน ในขณะท่ีเทคนิค MSE จะใหน้ําหนักสําหรับความผิดพลาดสูงมากกวา
ความผิดพลาดที่เล็กนอย ท้ังน้ีเพราะใชหลักยกกําลัง 2 สว นเทคนิค MAPE จะทําใหทราบไดทันทีท่ี
เทคนคิ นัน้ ๆ มีความผิดพลาดรอยละเทา ใด

4.6 แนวทางในการเลอื กเทคนคิ สาํ หรบั การพยากรณ

แตละเทคนิคจะมคี วามเหมาะสมในการใชง านตา งกัน สามารถสรปุ ไดดังตารางที่

ตารางท่ี แนวทางในการเลอื กเทคนิคสําหรับการพยากรณ

วิธกี ารพยากรณ จาํ นวนขอมลู ใน รปู แบบของ ชว งการ

อดีต ขอมลู พยากรณ

คาเฉลีย่ เคลื่อนทอี่ ยา งงา ย 5-10 ขอมลู คอ นขา งคงท่ี สน้ั

คาเฉล่ียเคลอื่ นที่แบบถวงนํ้าหนกั 5-10 ขอมลู วัฎจกั รหรือ สั้น-กลาง

ฤดกู าล

การปรับเรียบแบบเอ็กซโพแนน 5-10 ขอมลู คอ นขางคงที่ ส้นั

เชียล

ตวั แบบการถดถอยเชงิ เสน 10 คาสงั เกต ซับซอ น สน้ั , กลาง, ยาว

การพยากรณค วามตองการ | 77

แบบฝก หดั บทที่ 4
การพยากรณความตองการ

ตอนท่ี 1 จงเลือกคําตอบที่ถกู ท่สี ดุ เพียงขอ เดียว

1. ขอใดตอ ไปน้กี ลา วถกู ตอ งของความหมายการพยากรณ (Forecasting)
ก. การคาดคะเนวา ควรจะผลิตสนิ คา หรือบรกิ ารอะไรดี
ข. การคาดคะเนจาํ นวนหรอื ปรมิ าณของสนิ คาหรอื บริการที่จะผลิต
ค. การคาดคะเนสถานการณใ นอนาคตของสินคาหรอื บริการ
ง. ถูกเฉพาะขอ ข และขอ ค

2. ขอใดตอไปน้ี ไมใช ความสําคัญของพยากรณ
ก. เปน ขอมูลสําคัญในการวางแผนดําเนินงานขององคก าร
ข. การเลือกทาํ เลทีต่ ั้งและวางแผนกําลงั การผลิต
ค. การตัดสนิ ใจดา นการวางแผนทางการตลาด
ง. การคัดเลือกซัพพลายเออร

3. ธรุ กจิ ใดตอไปน้ี ไม ควรกาํ หนดชว งเวลาพยากรณระยะยาว (Long-term forecasting) มากทีส่ ดุ
ก. ธรุ กจิ ผลิตอาหาร
ข. ธรุ กิจผลติ เฟอรนเิ จอร
ค. ธุรกจิ อสงั หารมิ ทรพั ย
ง. ธรุ กจิ อิเลก็ ทรอนกิ ส

จากขอมลู ตอไปนี้ สาํ หรบั ตอบโจทย ขอ 4-5 แสดงยอดขายคอมพวิ เตอรเดือน ม.ค.-ต.ค. ใชวธิ กี าร

พยากรณค า เฉลีย่ เคลอื่ นทอี่ ยางงาย (Simple Moving Average)

เดือน ม.ค. ก.พ. ม.ี ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค.

ยอดขายจรงิ 15 13 13 16 19 23 26 30 28 30

4. คา พยากรณยอดขายคอมพิวเตอรเ ดือน ส.ค. โดยใชวิธีคาเฉล่ียเคล่อื นท่ี 3 เดือน เทากบั เทาใด

ก. 22.66 ข. 26.33 ค. 24.50 ง. 29.33

5. คาพยากรณย อดขายคอมพิวเตอรเ ดือน ต.ค. โดยใชวธิ ีคาเฉล่ยี เคลอ่ื นที่ 4 เดอื น เทา กับเทาใด

ก. 17.75 ข. 15.25 ค. 16 ง. 26.75

78 | การพยากรณความตองการ

จากขอ มูลตอ ไปนี้ สําหรับตอบโจทย ขอ 6-9 แสดงยอดขายเสื้อกีฬาเดือน ม.ค.-ก.ค. ใชว ิธีการปรับ
เรียบแบบเอ็กซโพแนนเชียล (Exponential Smoothing) โดยกําหนดคาพยากรณเดือนมกราคม
เทา กบั 165

เดอื น ยอดขายจริง હ = 0.2 હ = 0.5

ม.ค. 174 165 165

ก.พ. 170 ..... .....

ม.ี ค. 175 ..... .....

เม.ย. 160 ..... .....

พ.ค. 160 ..... .....

ม.ิ ย. 167 ..... .....

ก.ค. ? ..... .....

6. คาพยากรณยอดขายเสื้อกีฬาเดือน มิ.ย. โดยใชวิธีปรับเรียบแบบเอ็กซโพแนนเชียล ท่ี α = 0.2
และ α = 0.5
ก. 156.45 , 157.25 ข. 166.61 , 166.05 ค. 166.73 , 165.59 ง. 165.73 , 163.09

7. คาพยากรณยอดขายเสื้อกีฬาเดือน ก.ค. โดยใชวิธีปรับเรียบแบบเอ็กซโพแนนเชียล ที่ α = 0.2
และ α = 0.5
ก. 166.78 , 166.30 ข. 165.98 , 165.05 ค. 155.9 , 165.05 ง. 166.65 , 166.43

8. คา ความคลาดเคล่ือนของการพยากรณดว ยวิธี MAD ที่ α = 0.2 และ α = 0.5
ก. 5.62 , 5.49 ข. 6.42 , 6.38 ค. 30.39 , 30.81 ง. 6.45 , 6.59

9. คา ความคลาดเคล่ือนของการพยากรณด วยวธิ ี MSE ท่ี α = 0.2 และ α = 0.5
ก. 352.40 , 416.21 ข. 60.70 , 66.86 ค. 49.38 , 56.54 ง. 42.97 , 48.74

10. เทคนคิ การพยากรณใ ดตอไปน้ี ใชความสมั พันธข องขอมูลซึ่งเปน เหตุเปนผลกัน
ก. Naïve Approach
ข. Simple Moving Average
ค. Exponential Smoothing
ง. Linear Regression Model


Click to View FlipBook Version