The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jjooee777, 2022-07-05 05:28:36

Inside Logistic 18.2x25.7 cm

Inside Logistic 18.2x25.7 cm

การบรกิ ารลกู คาและการบรหิ ารความสัมพันธล กู คา | 129

2. Analytical CRM ระบบวิเคราะหขอมูลลูกคาท่รี วบรวมไดจ ากสว น Operational CRM
หรือจากแหลงอื่นๆ เพ่ือแบงลูกคาออกเปนกลุมและคนหากลุมลูกคาเปาหมายท่ีบริษัทสามารถ
นําเสนอสินคา หรอื บริการเพ่ิมเติมได

3. Collaborative CRM ระบบชวยสนับสนุนในการติดตอปฏิสัมพันธกับลูกคาผานทาง
ชองทางตางๆ เชน ติดตอสวนตัว จดหมาย แฟกซ โทรศัพท เว็บไซต E-Mail เปนตน รวมถึงชวย
จัดการทรัพยากรท่ีบริษัทมีคือพนักงาน กระบวนการทํางาน และฐานขอมูล (Database)
ลูกคา เพอื่ นาํ ไปใหบ รกิ ารแกล กู คา และชว ยรกั ษาฐานลกู คา ของบริษัทไดด ขี นึ้

7.4 ประโยชนข องการบริหารความสัมพันธล กู คา (CRM) ตอธรุ กจิ

1. เพ่ิมความสามารถในการใหบริการลูกคาไดดีขึ้น เชน ใชเว็บไซตในการใหขอมูล
เกย่ี วกับสนิ คา วธิ กี ารใชสนิ คา และใหความชว ยเหลือแกล กู คาไดต ลอด 24 ชัว่ โมง เปน เครอื่ งมือท่ีจะ
ชวยใหการบรกิ ารลูกคานัน้ มรี ะบบมากย่งิ ขึน้

2. พัฒนาความสัมพันธระหวางองคกรกับลูกคาใหดีขึ้น ชวยใหบริษัทรูถึง ความสนใจ
ความตองการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกคา ทําใหบริษัทสามารถนําเสนอสินคาที่เหมาะสม กับ
ลกู คาได และชวยใหบริษัทสามารถใหบริการหลังการขายแกลูกคาตามท่ีลูกคาตองการได การสราง
ความสัมพันธกับลูกคาในระยะยาวจะชวยเพ่ิมความจงรักภักดีตอองคกรหรือสินคาขององคกร
(Loyalty) ลดการสูญเสียลูกคา ลดตนทุนการตลาด เพ่ิมรายไดจากการที่ลูกคาซื้อซํ้าหรือแนะนําให
คนรูจักซือ้ สนิ คาของบริษทั และนน่ั หมายถึงกําไรของบรษิ ัททีเ่ พ่มิ มากขน้ึ

7.5 การบรหิ ารความสัมพนั ธลูกคาใชก ับใครไดบ าง

การบริหารงานลูกคาสัมพันธไมใชเพียงแตมุงเนนเฉพาะเจาะจงไปท่ีกลุมลูกคาคาดหวัง
เทานั้นหากแตจ ะตองสรา ง สมั พนั ธภาพอนั ดีและความม่ันคงในระยะยาวกับกลมุ ตาง ๆ ดวยอนั ไดแ ก

1. ลูกคา เปน กลุมบคุ คลหลกั ในการใชกลยทุ ธน ้ี เพอื่ ใหเกิดความพึงพอใจและความผูกพนั
ตอตัวสนิ คา และองคกร

2. ตลาดผูมีอิทธิพลตอการตัดสินใจซ้ือ ในการตัดสินใจซ้ือสินคาน้ันไมเพียงแตผูซื้อ
เทานั้นทม่ี ีอิทธิพลตอการตัดสินใจซื้อหรือใชบริการ หากแตม ีกลมุ ผูมอี ิทธิพลตอการตัดสินใจนั้นดวย
ดังนน้ั หากเราสามารถสรางความผูกพันและภาพลักษณทีด่ ีกับกลมุ ดังกลาวได ยอมหมายถึงโอกาสท่ี
จะขายไดม ากยงิ่ ขึ้น

3. พนักงานขององคกร กลยุทธการบริหารความสัมพันธลูกคานั้นสามารถปรับใชกับ
บุคคลากรขององคกรไดดวย และหากสามารถปรับใชไดผล บุคลากรเหลาน้ันก็จะเกิดความนับถือ
และความมั้นใจในการทาํ งานและภาคภมู ใิ จท่ีจะไดทาํ งานของตนตอ ไป

130 | การบริการลูกคา และการบรหิ ารความสมั พันธล ูกคา

4. ตลาดผูขายวัตถุดิบและพันธมิตรทางธุรกิจ ในปจจุบันมีการนําเอากลยุทธบริหาร
ความสัมพันธลูกคามาปรับใชกับกลุมผูขายวัตถุดิบและพันธมิตรทางการคามากข้ึน เน่ืองจากการ
แขง ขันทร่ี ุนแรงมากข้ึน การทํางานกับกลุมคนที่มีความสมั พนั ธก นั ยอมสงผลดีกวา กลุมคนทมี่ ุงแตจ ะ
ทาํ กาํ ไรของตนเพียงอยา งเดยี วแนนอน

7.6 แบบจําลองการสรางสัมพันธ

ในการสรางความสมั พนั ธโดยใชแนวคิดการสรางความสัมพันธก ับลกู คานั้น มีการประยกุ ต
เอาทฤษฎีมาสรางเปนกิจกรรมท่ีหลากหลาย โดยในการประกอบธุรกิจในปจจุบันน้ี สามารถมา
จัดเปนแบบจําลองการสรางสัมพันธภาพกับลูกคา ซ่ึงเปนแนวคิดตนแบบของกิจกรรมการสราง
ความสัมพนั ธ ไว 4 รปู แบบ ดงั นี้

แบบจําลองการสรางสัมพันธดวยรางวัล
แบบจําลองแบบนมี้ กั จะมงุ เนน ทีก่ ารตัง้ พฤติกรรมเปา หมายของลูกคา และถา หากลกู คา สามารถ
ทําพฤติกรรมเปาหมายน้ันไดสาํ เร็จก็จะมีรางวัลให ยกตัวอยางกิจกรรมเชน การสะสมแตม การสะสมไมค
การสะสมถงุ หรอื สติ๊กเกอร หรอื แมแ ตการส่ังซอ้ื ใหไ ดจาํ นวนทต่ี อ งการ เพ่อื แลกกบั รางวลั เปน ตน
ในการนําแบบจําลองตัวน้ีไปใช ตองระมัดระวังในเร่ืองของกรอบเวลาและส่ิงจูงใจใหดี
เพราะกรอบในการต้ังพฤติกรรมน้ันอยาใหยาวเกินไป เพราะลูกคาอาจเกิดความเคยชินจน และ
รางวัลจะตอ งเปน รางวัลที่สามารถสรา งแรงจงู ใจใหเกดิ กับลูกคาได
แบบจําลองการสรา งสัมพนั ธแบบเงอ่ื นไขสญั ญา
แบบจําลองน้ีคือแบบจําลองที่มุงเนนการผูกพันในระยะยาว โดยการสรางเงื่อนไขสัญญา
เพื่อผูกมัดลูกคาใหอยูกับองคกรไปนาน ๆ เชนการทําบัตรสมาชิก เพ่ือเปนการผูกมัดดวยเง่ือนไข
สัญญาวา หากลูกคากลับมาใชบริการอีกคร้ังก็จะมีสิทธิพิเศษให ยกตัวอยางกิจกรรม เชน การทํา
บัตรสมาชิก หรอื การทาํ สัญญาระยะยาว
ในการนําแบบจําลองน้ีไปใช ตองสามารถสรางความเช่ือม่ันและแรงจูงใจในการทําสัญญา
ใหได ลกู คาตอ งสามารถเห็นความแตกตา งของลกู คาสมาชกิ กับลูกคาทไ่ี มใชสมาชกิ ไดอยา งชัดเจน
แบบจาํ ลองการสรา งสมั พันธด วยบรกิ ารพิเศษ
แบบจําลองน้ีคอื แบบจําลองทีม่ อบสทิ ธิพเิ ศษหรือบรกิ ารพเิ ศษใหแกลูกคา โดยอาจจะมอบ
สิทธิพิเศษ หรือของชํารวยพิเศษ โดยอาจจะมีหลักในการพิจารณาใหบริการพิเศษจากขอมูลบาง
ประการของลกู คา ยกตวั อยางกิจกรรม เชน มีการบรกิ ารพเิ ศษ ในเดอื นเกิด เปน ตน
ในการนําแบบจาํ ลองนไ้ี ปใช ตองมอบบริการพิเศษท่ีมีคณุ คา ในสายตาของลกู คา ไมใ ชม อบ
ส่งิ ที่มีคณุ คาในสายตาขององคกรเอง

การบริการลกู คาและการบริหารความสัมพนั ธล กู คา | 131

แบบจําลองการสรางสัมพันธดว ยการใหความรู
แบบจําลองน้ีคือแบบจําลองที่มุงเนนการใหความรูแกลูกคา โดยการออกแบบกิจกรรมจะ
เปลี่ยนจากการใหรางวัลเปนการใหองคความรูท่ีจําเปนแทน ยกตัวอยางกิจกรรม เชน การสงนัก
บัญชี ไปสอนการลงบญั ชใี หล ูกคา เพือ่ เพ่มิ ประสทิ ธภิ าพในการบริหารจดั การ
ในการนําแบบจําลองน้ีไปใช จะตองใหความสําคัญกับองคความรูที่จะนําไปมอบใหกับ
ลูกคา โดยองคกรจะตองแสวงหาสิ่งท่ีเปนองคความรูท่ีลูกคาตองการ และเปนองคความรูที่เปน
ประโยชนก ับลูกคา ไดอยางชดั เจน
ก ารบ ริห ารค วาม สั ม พั น ธกั บ ลู ก ค าบ น สั งค ม อ อ น ไล น ( Social Customer
Relationship Management)
SCRM หรือการบรหิ ารความสัมพันธล ูกคา บนสังคมออนไลน เปนอีกชองทางหนึง่ ในการทํา
ความสัมพันธลูกคาที่มีความสําคัญในปจจุบัน และจะยิ่งทวีความสําคัญมากขึ้นในอนาคต เนื่องดวย
เหตุจากพฤติกรรมของผูบริโภคที่เปล่ียนแปลงไปอยางมาก ซ่ึงเกิดผลกระทบมาจากการพัฒนาของ
เทคโนโลยีสารสนเทศในปจจุบัน ท่ีทําผูบริโภคสามารถท่ีจะเขาถึงขอมูลขาวสารไดจากทุกท่ีทุกเวลา
ท่ีเรามักเรียกวา ยคุ โลกาภวิ ัติ ทาํ ใหผ ูประกอบการเองไมสามารถเพิกเฉยกบั ส่งิ ตางๆ ท่เี ปลยี่ นแปลงไป
ได ดังน้ันจึงเกิดแนวคิด SCRM ทีพ่ ัฒนามาจากแนวคิด CRM แบบดั่งเดิม โดยมจี ุดมงุ หมายอยูท่ีการ
สรางความสัมพันธกับลูกคาบนสงั คมออนไลน เพอ่ื แลกเปลี่ยนขอมลู ขาวสาร และแบงปน รวมไปถึง
การเสนอขายสนิ คา และบริการดว ยความรวดเร็ว และสามารถเขา ถงึ ลูกคา ไดท กุ ทที่ กุ เวลา ดงั น้นั การ
บริหารความสัมพันธลูกคาบนสังคมออนไลน จะมีความแตกตางจากการบริหารความสัมพันธลูกคา
แบบด้ังเดิม โดยมีรายละเอียดตามภาพที่ 7.1
ววิ ัฒนาการของ CRM และ SCRM

ภาพที่ 7.1 ววิ ฒั นาการของ CRM และ SCRM
ทีม่ า:http://www.socialmediaexaminer.com/what-is-social-crm/

132 | การบริการลกู คา และการบรหิ ารความสมั พันธลูกคา

จากภาพท่ี 7.1 วิวัฒนาการของ CRM และ SCRM สามารถอธบิ ายกระบวนการทํางานที่แตกตางกัน
ไดด งั น้ี

x ดา นผูรับผดิ ชอบ แบบดั้งเดิม จะมีการมอบหมายใหหนวยงานลูกคาเปนผูดแู ล แบบสังคม
ทกุ คนในองคกรตอ งรวมกันรบั ผดิ ชอบในการสรา งความสมั พนั ธกับลกู คา

x ดานกระบวนการ แบบดั้งเดิม องคกรจะเปนผูกําหนดกระบวนการในการบริหาร
ความสัมพนั ธ แบบสังคมกระบวนการในการสรา งความสัมพนั ธจะถกู าํ หนดโดยผบู ริโภค

x ขอบเขตเวลาในการสรางความสัมพันธ แบบดั้งเดิม ขอบเขตการบริการจะถูกจาํ กัดโดย
เวลาทําการ แบบสังคม ขอบเขตการบริการจะตองกําหนดโดยคํานึงถึงไลฟสไตลของ
ลกู คา

x จดุ สรางความสัมพันธ แบบด้ังเดิม องคกรจะเปนคนกําหนดสถานที่ที่จะพบปะและสราง
ความสัมพันธกับลูกคา แบบสังคม ผูบริโภคจะเปนคนสรางชองทางใหม ๆ ข้ึนมา องคกร
จะตอ งศกึ ษาและพยายามหาชอ งทางท่ีสามารถเขา ถงึ ลกู คา ใหได

x ทาํ ไมถึงเปล่ียน แบบด้ังเดมิ องคก รจะมงุ เนน การสรางความสมั พันธท เ่ี ปนข้ันตอนหรือการ
การทําธุรกรรม แบบสงั คม จะเนน ในเรื่องของการมสี วนรวมในกจิ กรรมระหวา งองคกรกับ
ผูบ รโิ ภค

x ทาํ อยา งไร แบบด้ังเดิม องคกรมกั จะวิเคราะหว าตนมคี วามสามารถหรือจุดแขง็ ใดนาํ เสนอ
เปน กจิ กรรมในการสรา งความสมั พันธอ อกไป แบบสงั คม องคก รตอ งทําการวิเคราะหค วาม
ตองการของผูบ ริโภคเสยี กอ นแลวคอ ยนาํ มาวางแผนการจัดกิจกรรมเพอื่ สรางความสัมพนั ธ

7.7 การบริหารความสัมพั นธกับซัพ พ ลายเออร (Supplier Relationship
Management)

การจัดการความสัมพันธกับซัพพลายเออรหรือท่ีเรียกวา SRM เปนวิธีการท่ีเปนระบบใน
การประเมินการมีสวนรวมของซัพพลายเออรในธุรกิจของคุณ ชวยใหคุณพิจารณาวาซัพพลายเออร
รายใดมีอทิ ธพิ ลท่ีดีท่ีสุดตอ ความสําเร็จของคุณและทําใหแนใจวาพวกเขาทํางานไดดี การจัดการหว ง
โซอปุ ทานใช SRM ในการจัดซ้ือการดาํ เนนิ งานและการจดั การโครงการ

SRM ชวยเสริมสรางความสัมพันธเชิงบวกกับซัพพลายเออรของคุณและชวยแนะนํา
กิจกรรมท่ีคุณควรมีสวนรวมกับซัพพลายเออรแตละราย มันทํางานในลักษณะเดียวกับการจัดการ
ความสมั พนั ธกบั ลกู คาหรอื CRM ทําในสวนหนา จัดการกบั ลูกคา โดยตรง

เปาหมายหลักของ SRM คอื การปรับปรุงกระบวนการทางธรุ กิจระหวางคุณและซัพพลาย
เออรของคุณ ดวยการสรางแนวทางท่ีคลองตัวคุณปรับปรุงประสิทธิภาพสําหรับธุรกิจและซัพพลาย

การบรกิ ารลกู คาและการบรหิ ารความสมั พนั ธล ูกคา | 133

เออรของคุณ แมวาแนวทางของ SRM จะแตกตางกันไปในแตละองคกร แตประเด็นหลักคือการ
พัฒนาความสมั พันธทีเ่ ปน ประโยชนรวมกนั กับซัพพลายเออรท ั้งหมดของคุณโดยเฉพาะอยา งย่ิงพวก
ท่ีถือวา เปน พันธมติ รเชิงกลยุทธส ําหรับแบรนดข องคณุ

ในปจจุบันการบริหารจัดการโซอุปทานน้ันมีความสําคัญอยางย่ิงกับองคกร เพราะการ
บริหาร โซอุปทานไดดียอมหมายถึงการที่องคกรน้ันสามารถควบคุมเก่ียวกับการไหลของสินคาและ
บริการไดด ี ดังน้ันการควบคมุ โซอ ปุ ทานทีด่ คี ือการควบคมุ ตั้งแตตนน้ํา จนถงึ ปลายนา้ํ ดังนั้นหลักการ
สรางความสัมพันธก ับลูกคาท่ีไดเรียนมาเมื่อตอนตนของบทน้ี ยังไมเพียงพอตอการสรางการบริหาร
หว งโซอุปทานที่ดี จึงเกิดแนวคิดใหในการยอนกลับไปบริหารความสัมพันธบริเวณตนน้ําดวย นั้นคือ
การบริหารความสัมพันธกับ ซัพพลายเออร เพื่อเปนการยืนยันไดวา เราจะมีวัตถุดิบปอนเขาสู
กระบวนการผลิตอยา งตอเนอื่ ง ถกู ตองตามคณุ ภาพทก่ี ําหนด และทันเวลาทตี่ องการ ตามภาพท่ี 7.2

ความหมายของการบรหิ ารความสมั พันธกับซพั พลายเออร
ศิริวรรณ ไชยสูรยกานต ไดใหใหคําจํากัดความของ SRM ตาม Burnes (1998) “SRM as
where customers and suppliers develop a close and long-term relationship work
together as partners” หรือ “จุดที่ลูกคาและซัพพลายเออรมีการพัฒนาความสัมพันธกันอยาง
ใกลช ดิ และเปนการทํางานรวมกันในระยะยาวในฐานะหนุ สวน”
ดร.สทิ ธชิ ยั ฝรัง่ ทอง ไดใหใหค ําจํากัดความของ SRM ไววา การทํางานรวมกันในระยะยาว
ในฐานะหุนสวน นับตั้งแตการแลกเปลี่ยนขอมูล เทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาหรือการออกแบบ
ผลติ ภัณฑร วมกัน เพ่อื กอใหเกดิ ผลประโยชนรว มกันทง้ั สองฝาย
รศ.ดร.ดวงพรรณ กรชิ ชาญชัย ศฤงคารินทร (2549) ไดอางถงึ คํากลาวของ Julie England
ประธานกลุมบริษัท Texas Instruments Semiconductor กลาวถึงพันธมิตรทางธุรกิจวา
เปนความสัมพันธชนิดหนึ่งของธุรกิจที่ต้ังอยูบนพื้นฐานของความเชื่อใจ เปดเผย และการแบงปน
ผลประโยชนที่เกิดขึ้น หรือแมกระท่ังความเสี่ยง ความสัมพันธแบบน้ีจะทําใหเกิดความสามารถ
ทางการแขงขนั เชงิ ยุทธศาสาตรม ากกวา ทฝี่ า ยหนง่ึ ฝา ยใดทําดวยตนเอง
โดยสรุป การบริหารความสัมพันธกับซัพพลายเออร คือการออกแบบการทํางานกับซัพ
พลายเออร โดยการแลกเปล่ียน แบงปน ขอมูล ขาวสาร เทคโนโลยี หรือแมแตการทํางานรวมกัน
เพื่อใหเกิดความสัมพันธอันดีตอกัน โดยมุงเนนการสรางความสัมพันธในระยะยาว บนพื้นฐานของ
ความเช่ือใจกัน เพื่อมุงสปู ระสทิ ธิผลท่ีมากกวา ตา งคนตา งทาํ

134 | การบริการลูกคา และการบรหิ ารความสมั พันธล กู คา

Building Trust

Continuous Share vision

improvement & objective

Performance Partnership Personal
metrics Relationship

Information Mutual benefits
& needs
sharing
Chang Commitment
& TM support
management

ภาพท่ี 7.2 รปู แบบการบรหิ ารความสมั พนั ธก ับซัพพลายเออร
ท่ีมา: ผศ.ดร. ธเนศ สริ กิ ิต

การสรางความสัมพันธกับซัพพลายเออร โดย ผศ.ดร. ธเนศ สิริกิต ไดมีการแยก
องคประกอบไวท ัง้ สนิ้ 9 องคประกอบ ดงั นี้

1. สรางความไวว างใจ เนื่องจากการทํางานรวมกันนัน้ ตองมพี ืน้ ฐานจากความไววางใจซ่ึง
กนั และกนั เสียกอน ถึงจะสามารถดาํ เนนิ การดานอ่ืนๆ ตอ ไปโดยราบรืน่

2. แบงปนวิสัยทัศนและวัตถุประสงค เปนที่ทราบกันดีวาทุกๆ องคกรจําเปนตองมี
วิสัยทัศนและวัตถุประสงคของตนเอง แตการทํางานรวมกันระหวางองคกรนั้น จําเปนที่จะตอง
แบงปนขอ มูลดังกลา ว เพือ่ ทีจ่ ะใหอ กี ฝายเขา ใจซึง่ กนั และกันไดด ียิ่งขึ้น

3. ความสัมพันธสวนบุคคล ในการสรางความสัมพันธระหวางองคกร มักมีจุดเร่ิมตนมา
จากการมคี วามสัมพันธสว นตวั เสียกอน แลว คอ ยๆ ขยายไปสคู วามสมั พนั ธทีใ่ หญขน้ึ

4. แบงปนความตอ งการและผลกําไรอยางเหมาะสม แนน อนทุกองคกรยอมหวังผลกําไร
แตการแบงปนกันอยางเหมาะสมนั้นจะสามารถเปนกาวใจ ในการเช่ือมทั้ง 2 บริษัทใหสามารถ
ทํางานรวมกนั ได ดงั คาํ กลา วที่วา ผลประโยชนต า งตอบแทน นน่ั เอง

การบรกิ ารลกู คา และการบริหารความสัมพนั ธล กู คา | 135

5. พนั ธะผกู พนั และการสนบั สนุนจากผูบริหารระดับบน หากตองการสรา งความสมั พนั ธ
จาํ เปนท่ีจะตองสรางขอตกลงรวมกันเพ่ือเปนสัญญาในระดับตน และจําเปนอยางยิ่งทต่ี องไดรับการ
สนบั สนุนจากผูบรหิ ารขององคก ร

6. การบรหิ ารความเปล่ียนแปลง ในโลกปจ จุบนั ธรุ กจิ น้ันพฒั นาตัวอยางรวดเรว็ และมีการ
วิวัฒนาการของพฤติกรรมผูบริโภค ดังนั้นหากองคกรยังมองซัพพลายเออรแบบเดิมๆ ไมนําเอา
แนวคิดดานการบริหารความเปลี่ยนแปลงเขามาใชงาน อาจทําใหองคกรน้ันปรับตัวไมทันและอาจ
สงผลถงึ ความมัน่ คงขององคก รได

7. แบงปนขอมูล ในการทํางานรวมกันควรมีการแบงปนขอมูลที่สําคัญขององคกรเพ่ือให
อกี ฝา ยสามารถนําขอมลู ไปวางแผนการผลติ ของตนได เชน การแบงปนตารางการผลติ เปน ตน

8. การประเมินประสิทธิภาพรวมกัน ในการดําเนินงานขององคกรน้ัน จําเปนอยางย่ิงที่
จะตองมกี ารวดั ผลการดาํ เนินงาน แตก ารวดั ผลการดาํ เนนิ งานรวมกนั นัน้ จะเนนไปในเร่อื งของการวัด
เพอื่ นาํ ขอ ดอ ยมาปรับแก และพฒั นากระบวนการใหดียง่ิ ๆ ขึ้น

9. ควรมีการพัฒนาอยางตอเนื่อง องคกรใดไรซ่ึงการพัฒนา ก็ไมตางจากองคกรท่ีรอวัน
ปด ตวั ฉะน้นั เมื่อเราไดผ ลของการประเมนิ แลว เราควรนําผลนน้ั มาปรับปรุงใหเกดิ ประสิทธิภาพ และ
การปรบั ปรงุ ไมใ ชงานประจาํ ป แตค วรเปน งานทีท่ าํ อยางตอ เน่ืองตลอดเวลา

ขอดีของการจดั การซพั พลายเออร
ในยุคสมัยของการจัดซื้อหวงโซอุปทานกําลงั ทวีความซับซอนมากขึ้นเร่ือย ๆ โดยซัพพลาย
เออรหลายรายถูกใชโดยองคกรหน่ึงเพื่อผลติ ผลิตภัณฑข้ันสุดทาย ดวยแรงกดดันที่เพ่ิมขึ้นในหวงโซ
อุปทานเพื่อรักษาตนทุนใหลูกคาลดลงมันจึงยากท่ีจะรักษาอัตรากําไรท่ีดีเพื่อใหผลกําไรและ
ประสิทธิภาพอยูในระดับสูงสุด บริษัท จะตองใชแนวทางที่เปนระบบกับกลยุทธการจัดหาของพวก
เขา น่นั คอื สิ่งทกี่ ารจดั การความสัมพันธก ับซัพพลายเออรมีขอไดเปรยี บ 5 ประการ ดงั นี้
1. ลดตนทุน เมื่อพูดถึงการคนหาและเจรจาขอตกลงใหมกับซัพพลายเออรรายใหมมี
จํานวนของคาใชจายเร่ิมตนท่ีเกี่ยวของ มักจะมีคาใชจายท่ีสําคัญบางอยางที่เกี่ยวของกับการต้ังคา
ขอตกลงกับซัพพลายเออรใหม แตโปรแกรมการจัดการความสัมพันธกับซัพพลายเออรสามารถลด
ตนทุนเหลาน้ันไดดวยการสรางความสัมพันธที่มีคุณคารวมกันกับผูจัดหาท่ีสําคัญองคกรสามารถ
บรรลุการประหยัดตนทุนในระยะยาวในรูปแบบของปญหาที่ลดลงพรอมความพรอมคุณภาพและ
ความลาชาในการจดั หา
2. ปรับปรุงประสิทธิภาพ เมื่อความสัมพันธกับซัพพลายเออรขององคกรพัฒนาขึ้นการ
สอื่ สารก็ดีขึ้น เชนเดียวกับความสัมพันธใด ๆ เนื่องจากมีการพฒั นาซัพพลายเออรจะไดร ับรูเพิ่มเติม
เก่ียวกับองคกรและชวยใหพวกเขาเพ่ิมประสิทธิภาพการบริการของพวกเขา ปญหาการส่ังซ้ือจะ

136 | การบรกิ ารลกู คา และการบริหารความสมั พันธล กู คา

ลดลงและในกรณีท่ีมีปญหาเก่ียวกับการสั่งซ้ือเกิดข้ึนความสัมพันธท่ีดีระหวางองคกรและซัพพลาย
เออรจะทาํ ใหการแกไขปญ หางา ยขน้ึ

3. หว งโซอุปทานรวม ย่งิ องคก รและซพั พลายเออรเขาใจเกี่ยวกบั ธุรกจิ ของกันและกันมาก
เทา ใดพวกเขากจ็ ะสามารถชวยเหลอื ซง่ึ กนั และกันไดม ากขึน้ เทาน้ัน สิง่ นอ้ี าจตองปรับตัวท้ังสองดาน
แตอาจนําไปสูประสิทธิภาพท่ีเพ่ิมข้ึนและมูลคาการดําเนินงานท่ีเพิ่มข้ึน หากองคกรสามารถลด
จาํ นวนซัพพลายเออรท่ีตองการไดกระบวนการซ้ือและการจัดทํางบประมาณจะงายข้ึนและอาจชวย
ประหยัดไดมาก

4. กิจกรรมการจัดจาง เมื่อความสมั พันธระหวางซัพพลายเออรแ ละองคกรพัฒนาขึ้นควร
สรางความเชื่อม่ันระหวางสองซัพพลายเออร สิ่งน้ีจะชวยใหองคกรสามารถจัดหากิจกรรมท่ีไมใช
ธุรกิจหลักใหกับ ซัพพลายเออรอยางถาวรรวมถึงความรับผิดชอบดานสินคาคงคลังและการ
บริการลูกคา ในระดับหนง่ึ

5. การดําเนินการปรับปรุงอยางตอเน่ือง การสรางความสัมพันธท่ีดีในระยะยาวระหวาง
ซัพพลายเออรและองคก รจะชวยใหสามารถสงขอคิดเห็นและขอ เสนอแนะระหวางทั้งสองได ส่งิ น้ีจะ
ชวยใหการปรับปรุงการดําเนินงานคลองตัวในหวงโซอุปทานและลดตนทุนนอกเหนือจากการ
ปรับปรุงการบรกิ ารลกู คา

7.8 กรณศี ึกษา

ตัวอยา งการทํา CRM ทที่ าํ ให Starbucks ไดใ จลูกคา ทัว่ โลก
สําหรับการทําธุรกิจ “ความพึงพอใจของลูกคา” คือส่ิงที่ชี้วัดความสําเร็จไดดีท่ีสุด
นักธุรกิจและนักการตลาดสวนใหญจึงเลือกทํา CRM หรือ Loyalty Program เพ่ือสรางความ
ประทบั ใจใหกับลูกคาของพวกเขา แตการจะมัดใจลกู คา ใหส ําเร็จ ก็ไมใชเ รื่องงา ย ๆ เราจึงตอ งศึกษา
ตัวอยางการทํา CRM จากแบรนดท่ีหลายคนทั่วโลกพากันหลงรักอยาง Starbucks กันสักหนอย
วา พวกเขาใชว ิธแี บบไหนกนั ถงึ มดั ใจลูกคา ทั่วโลกไดเ หนยี วแนนขนาดน้ี ?
เทคนคิ มัดใจลกู คา ฉบับ Starbucks
ถา พดู ถงึ รา นกาแฟที่มีฐานลกู คาเหนียวแนน และเปน ตัวอยางการทาํ CRM ทด่ี ที ี่สดุ แบรนด
หนึ่ง คงไมมีใครมองขาม Starbucks ไปไดอยางแนนอน สังเกตไดจากรานสตารบัคสแทบทุกสาขา
ที่มีลูกคาขาประจําหมุนเวียนเขามาใชบริการกันอยางไมขาดสาย ซ่ึงนอกเหนือไปจากการใชบริการ
หนารานแลว ส่ืออ่ืน ๆ อยางเว็บไซต อินสตาแกรม เฟสบุค หรือแอปพลิเคชันของสตารบัคส
กย็ ังมลี กู คาตดิ ตามและใชง านกนั เปนจาํ นวนมาก แลว คุณรไู หมวาสตารบัคสเ ขาทาํ แบบนไ้ี ดอ ยา งไร ?

การบรกิ ารลกู คาและการบรหิ ารความสมั พันธล ูกคา | 137

กุญแจดอกสําคัญท่ีทําใหสตารบัคสมัดใจลูกคาไดอยางเหนียวแนน ก็คือ “การทําความ
เขาใจและใสใจรายละเอียดตาง ๆ เกี่ยวกับลูกคา” เพื่อสรางความประทับใจลูกคาใหไดมากท่ีสุด
ดว ยวธิ ีการดังตอไปน้ี

™ พัฒนาบริการใหต อบโจทยลกู คา
สตารบัคส คือ “รานกาแฟ” นอกเหนือไปจากคุณภาพของกาแฟแลว อีกสิ่งท่ีจะทําให
ลูกคาประทับใจได ก็คืองานบริการและบรรยากาศของราน สตารบัคสท่ีเขาใจรสนิยมของลูกคา
ตวั เองดี จึงมกี ารตกแตง รานใหอ บอุน มกี ลิ่น มเี สยี งทที่ าํ ใหร ูสึกผอนคลาย รวมถงึ การอบรมพนักงาน
ใหใสใจรายละเอยี ดของลูกคา จดจาํ ชือ่ และเมนปู ระจําของแตละคนได พรอ มท้งั เขียนชอ่ื ลูกคา ลงบน
แกวกาแฟ ก็ถอื เปนกลยทุ ธท ส่ี รา งความสมั พันธกับลกู คาไดเ ปนอยา งดี

™ ใชเทคโนโลยีใหมบี ทบาทสาํ คัญ
สตารบัคส ไดนําเทคโนโลยี CRM เขามาใชในการทํา Loyalty Program ไมวาจะเปน
STARBUCKS CARD (บัตรสมาชิก), STARBUCKS REWARDS (ระบบสะสมแตม), ระบบ E-Wallet
หรือแอปพลิเคชันสําหรับสั่งกาแฟกอนถึงหนารานได เทคโนโลยีเหลานี้จะชวยใหลูกคาใชบริการได
สะดวกขน้ึ เขาถึงโปรโมชนั่ ไดง ายข้ึน และประทบั ใจในสตารบ คั สมากยงิ่ ขึ้น

™ สรางกจิ กรรมอยา งตอเนอ่ื ง
สตารบ ัคส คือหน่ึงในรา นกาแฟที่มโี ปรโมชันหรอื กจิ กรรมทางการตลาดถ่ีมาก ไมวาจะเปน
การเปดตวั เครอื่ งด่ืมใหม ๆ คอลเลคชนั บัตรสตารบัคสแ ละแกวน้ําตามเทศกาล ไปจนถึงโปรโมชันลด
แลก แจก แถม ทมี่ ใี หล ูกคา ไดรว มสนกุ และเขาถงึ สตารบัคสอ ยางตอ เน่ือง
ทม่ี า : http://www.thaidotcompayment.co.th/2018/05/crm-starbucks/

138 | การบริการลูกคา และการบรหิ ารความสมั พนั ธล ูกคา

แบบฝก หัดทา ยบทท่ี 7
การบริการลกู คาและการบรหิ ารความสัมพนั ธลกู คา

ตอนที่1 จงเลือกคําตอบทถ่ี ูกท่ีสุด

1) ขอใดไมใช ความสาํ คญั หลักของการบริการลกู คา

ก. เปน การสรางความพึงพอใจ
ข. เปนการสรา งขอไดเ ปรียบทางการแขงขนั
ค. เปน การยกระดับการใหบ ริการ
ง. เปนการเพิม่ ยอดขาย

2) ระดับการใหบ ริการลกู คา มีก่รี ะดบั

ก. 1 ระดับ
ข. 2 ระดับ
ค. 3 ระดับ
ง. 4 ระดบั

3) ขอ ใด ไมใช ระดบั การใหบริการ

ก. การบรกิ ารลกู คา กอ นการขาย
ข. การบริการลูกคา ในระดับลาง
ค. การบริการลูกคาระหวา งการขาย
ง. การบรกิ ารลกู คา หลังการขาย

4) กระบวนการทาํ งานของระบบการบรหิ ารลกู คา สัมพันธมที ัง้ หมดก่ขี น้ั ตอน

ก. 2 ข้นั ตอน
ข. 3 ขัน้ ตอน
ค. 4 ขนั้ ตอน
ง. 5 ขน้ั ตอน

5) ขอ ใดกลา วถงึ กระบวนการทาํ งานของระบบการบรหิ ารลกู คาสมั พันธไดถกู ตอ ง

ก. Identify, Differentiate, Interact, Customize, Happy
ข. Identify, Differentiate, Interact, Customize
ค. Identify, Interact, Customize
ง. Interact, Customize

การบริการลูกคาและการบรหิ ารความสมั พนั ธล ูกคา | 139

6) เปาหมายสงู สดุ ของการบรหิ ารความสัมพันธล ูกคา

ก. เกบ็ ขอ มลู ลูกคา
ข. เปล่ียนจากลูกคา ใหเปนลกู คาตลอดไป
ค. สรา งประสบการณแ ปลกใหม
ง. ทาํ ใหล ูกคาพงึ พอใจสงู สดุ

7) จงเลือกคาํ ตอบทถี่ ูกท่สี ุด เราสามารถใชการบรหิ ารความสมั พันธล กู คา กับกลุมบคุ คลใดไดบ าง

ก. ลกู คา , ตลาดผูม ีอทิ ธพิ ลตอ การตดั สินใจซื้อ, พนักงานขององคกร, ตลาดผขู าย
วตั ถดุ ิบและพนั ธมติ รทางธรุ กจิ

ข. ลกู คา, พนกั งานขององคก ร, ตลาดผูข ายวตั ถดุ ิบและพันธมิตรทางธรุ กจิ
ค. ลูกคา, ตลาดผูมีอิทธพิ ลตอ การตดั สนิ ใจซอ้ื
ง. ลูกคา , ตลาดผูขายวตั ถดุ ิบ

8) จงเลอื กกิจกรรมท่ใี ชแนวคิดแบบจาํ ลองการสรางสัมพันธด ว ยรางวัล

ก. โชวบัตรสมาชิก ลดทันที 10 %
ข. โทรฟรี 24 ชม. ในวันเกดิ ของคุณ
ค. หากจา ยดวยเงินสดลด 5%
ง. ซือ้ กาแฟครบ 10 แกว แถมชาเย็น 1 แกว ภายใน 1 เดอื น

9) อะไร ไมใ ช กจิ กรรมทใี่ ชแ นวคิดแบบจาํ ลองการสรางสมั พันธด ว ยบรกิ ารพิเศษ

ก. ชุดของสะสมพเิ ศษ แลกซื้อไดเฉพาะสมาชิก
ข. ทจี่ อดรถพเิ ศษสาํ หรบั ลกู คา ผหู ญงิ
ค. บรกิ ารท่จี อดรถ Super Car
ง. โชวบัตรสมาชกิ ลดทันที 10 %

10) ขอ ใดไมใ ชแ บบจาํ ลองการสรางความสัมพันธ

ก. แบบจําลองการสรา งสมั พันธด วยรางวัล
ข. แบบจาํ ลองการสรา งสมั พนั ธดว ยบรกิ ารพเิ ศษ
ค. แบบจําลองการสรางสมั พนั ธด ว ยการใหค วามรเู ฉพาะดา น
ง. แบบจําลองการสรา งสมั พันธดวยการสะสมแตม

140 | การบริการลกู คาและการบรหิ ารความสมั พนั ธลูกคา

ตอนท่ี 2 จงตอบคําถามตอ ไปนี้ และอธิบายพอเปนสังเขป
1. จงอธิบายความสาํ คัญของการบริการลกู คา และระดับในการบรกิ ารลกู คา อยางละเอียด
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………

การบริการลกู คาและการบริหารความสัมพนั ธล กู คา | 141

2. จงอธิบายถงึ ความเปนมาของการบรหิ ารความสัมพันธล กู คา พอสงั เขป
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….

3. นกั ศึกษาคดิ วา ประโยชนข องการบรหิ ารความสัมพันธลูกคาตอธุรกิจคอื อะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………

142 | การบริการลูกคาและการบรหิ ารความสมั พันธลกู คา

4. จงอธิบายไดว า การบริหารความสมั พนั ธลกู คา สามารถใชกบั ใครไดบ าง
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………

5. จงอธิบายความหมายความสําคญั และขอ ดีของการบรหิ ารซพั พลายเออรม าพอสงั เขป
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………

ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า | 143

รายละเอยี ดการสอน
ประจําสัปดาหท่ี 8 (จาํ นวน 3 ชั่วโมง)

หัวขอการสอน : การบรหิ ารคลงั สนิ คา และศนู ยก ระจายสนิ คา
(Warehouse Management and Distribution Center)

จุดประสงคก ารสอน เพือ่ ใหส ามารถ

1. อธบิ ายความหมายและความแตกตางของคลงั สนิ คา และศนู ยก ระจายสนิ คาได
2. อธบิ ายถงึ วตั ถุประสงคและประโยชนของคลงั สนิ คา และศูนยกระจายสนิ คา ได
3. แบงประเภทของคลังสนิ คา ตามประเภทตา งๆ ได
4. อธิบายความสมั พันธของคลังสนิ คา กบั กจิ กรรมอื่นๆ ของโลจิสติกสได

รายการสอน

1. ความหมายของคลงั สนิ คา
2. วตั ถุประสงคและประโยชนข องคลังสินคา
3. การแบง ประเภทของคลังสินคา
4. กระบวนการพน้ื ฐานที่สาํ คญั ในการบรหิ ารคลงั สินคา
5. การพัฒนาประสิทธิภาพการจดั การคลังสินคา
6. ความสัมพนั ธของคลังสนิ คา กบั กจิ กรรมโลจิสตกิ สอ ื่นๆ

วิธกี ารสอน

บรรยาย ถาม – ตอบ

หนงั สอื / เอกสารประกอบการสอน

คํานาย อภิปรัชญาสกุล. การจัดการคลังสินคา Warehouse Management. พิมพคร้ังท่ี 3.
กรุงเทพฯ: บริษทั โฟกัสมเี ดยี แอนด พบั ลิชชิ่ง จํากดั . 2553.

ชุติระ ระบอบ. (2556) การจัดการโลจิสติกสและโซอุปทาน. สมุทรปราการ: โครงการสํานักพิมพ
มหาวทิ ยาลยั หัวเฉยี วเฉลิมพระเกียรติ

ไชยยศ ชัยม่ันคง, มยุขพันธุ ไชยม่ันคง. กลยุทธโลจิสติกสและซัพพลายเชนเพื่อการแขงขันใน
ตลาดโลก. –กรุงเทพฯ: ซี.วาย.ซิสเต็มพรินต้ิง, 2550

144 | ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า

เรื่องนารูเกี่ยวกับคลังสินคา ตอนท่ี 1. เอกสาร online http://www.logisticscorner.com
/index.php?option=com_content&view=article&id=2548:-
1&catid=38:warehou sing&Itemid=92

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี. (2559). เอกสาร
ประกอบการสอนวิชา การจัดการโลจิสติกสและซัพพลายเชน (Logistics and Supply
Chain Management) พมิ พครัง้ ที่ 2. กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลยั ธนบุรี

Lambert,D.M., Stock, J.R.,&Ellram, L.M. (1998). Fundamentals of logistics management.
Boston, Mass.:Irwin/McGraw-Hill.

N. Faber, Organizing warehouse management, International Journal of Operations &
Production Management, vol. 33, pp. 1230-1256, 2013.

โสตทศั นวสั ดุ

บอรด ขาว ปากกา เครื่องคอมพวิ เตอร เคร่ืองฉายภาพ

การประเมินผล

ถาม – ตอบในช้ันเรียน
ทดสอบยอ ยในชน้ั เรียน
ตรวจการทําแบบฝก หัดทายบท
ผลการสอบประจาํ ภาคการศกึ ษา

งานทมี่ อบหมาย

1. ใหท าํ แบบฝกหัดทายบททกุ ขอ
2. ใหท บทวนบทเรียนตามทไี่ ดเรยี นไป
3. ใหศกึ ษาเพิ่มเติมและทดลองทําแบบฝกหดั ในหัวขอที่ไดเรยี นไปจากหนังเลม อ่ืน ๆ
4. ใหเ ตรียมเนือ้ หาสาระความรูสาํ หรบั ที่จะเรียนประจาํ สปั ดาหต อไป

ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า | 145

บทที่ 8
การบรหิ ารคลงั สนิ คา และศูนยกระจายสินคา

คลังสินคามีวิวัฒนาการมาเปนเวลานาน โดยไดรับอิทธิพลของแนวคิดจากการเก็บรักษา
อาหาร และวัตถดุ บิ ในครวั เรอื น ตอ มาไดพัฒนาการมาสูการเก็บรักษาวัตถุดบิ และสนิ คา ไวเ พือ่ รอการ
ผลิต และจําหนา ย ในประเทศไทยวิวัฒนาการของคลงั สินคาเรม่ิ มีความสาํ คญั เมื่อมีชาวตางชาติจาก
ยโุ รปและอเมริกาเขามามีบทบาทดา นการคา ชวงหลังสงครามโลกคร้ังท่ี 2 และจากวิวัฒนาการของ
การคาและเศรษฐกิจของโลกที่มีการเปล่ียนแปลงอยางมากภายหลังส้ินสุดสงครามโลกครั้งท่ี 2
ประมาณป พ.ศ. 2488 หรือ ค.ศ. 1945 เมื่อญี่ปุนยอมแพสงครามเปนตนมา มีการแขงขันทาง
เศรษฐกิจกันอยางมากมาย สินคาเร่ิมมีการเคลื่อนยายจากทองถิ่นหนึ่งสูอีกทองถ่ินหนึ่ง พัฒนาไปสู
อีกเมืองหนึ่ง และอีกประเทศหนึ่งในเวลาตอมา สงผลตอปริมาณการผลิต และการคาซึ่งผูผลิตเริ่ม
มองเห็นความสําคัญของระบบการจําหนายสินคาและเกี่ยวของไปถึงระบบของการจัดการเ ก่ียวกับ
วัตถุดิบท่ปี อ นเขา สูกระบวนการผลติ จนเปนสินคาสาํ เรจ็ รปู ทไี่ ดมกี ารผลิตแลว ปจ จยั เหลาน้สี ง ผลไปสู
การแสวงหาวิธีการจัดการทีด่ ีเกี่ยวกับวตั ถดุ ิบและสินคา สาํ เร็จรปู ทผี่ ลติ ไวเปน จาํ นวนมากวางกองเพ่อื
รอการจําหนา ย ผูป ระกอบการเองไมส ามารถหาวธิ กี ารทีด่ ีในการจัดการเก่ยี วกบั ปจจัยดังกลาวได จึง
ไดเ กดิ แนวคิดในการจัดการเกี่ยวกบั คลงั สินคา ซึ่งถือวาเปนองคป ระกอบสําคญั อยางย่ิงในระบบของ
การผลิตสินคาท่ีสงผลตอการใหบริการลูกคาท่ีดี อีกทั้งยังหมายถึง การใชตนทุนหรือคาใชจายท่ี
เกดิ ขน้ึ ใหเ กดิ ประสิทธิภาพสูงสุด

8.1 ความหมายของคลงั สนิ คา

ไดมีผูใหความหมาย/คําจํากัดความของคําวา คลังสินคา (Warehouse) ไวหลาย
ความหมาย ซงึ่ ขอนาํ มากลา วไวด งั นี้

คลังสินคา หมายถึง พ้ืนท่ีท่ีไดวางแผนแลวเพื่อใหเกิดประสิทธิภาพในการใชสอยและ
เคลื่อนยายสินคาและวัตถุดิบ (A planned space for the efficient accommodation and
handling of goods and materials) (คํานาย อภปิ รัชญาสกุล, 2547)

คลงั สินคา หมายถึง เปนสวนหนงึ่ ของระบบโลจิสตกิ สของกิจการซ่ึงเกบ็ สินคา คงคลังท่ีอยู
ในระหวางจุดกําเนิดกับจุดบริโภค และจัดหาสารสนเทศเพ่ือการบริหารในเรื่องสถานะภาพ เง่อื นไข
และการจัดเรียงของสินคา คงคลงั ท่กี ําลงั เก็บอยู (โภคทรัพย พมุ พวง.2549; อางอิงมาจาก J R Stock and D
M Lambert)

146 | ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า

คลังสินคา หมายถึง ส่ิงปลูกสรางท่ีมีไวเพื่อใชในการพัก และเก็บรักษาสินคาในปริมาณที่
มาก กิจกรรมของคลังสินคาสวนใหญจะเก่ียวของกับการเคล่ือนยายสินคาหรือวัตถุดิบ การจัดเก็บ
โดยไมใหส ินคาเสื่อมสภาพหรอื แตกหกั เสยี หาย ลักษณะท่วั ไปของคลงั สินคา คืออาคารช้นั เดียวมีพืน้ ที่
โลงกวา งสาํ หรบั เก็บสนิ คา ที่มปี ระตูขนาดใหญห ลายประตเู พ่อื สะดวกในการขนถายสินคา

ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 คําวา “คลังสินคา” หมายความวา
“โรงพักสินคาที่มั่นคง” ปจจุบันความหมายของคลังสินคาไดครอบคลุมถึงสถานที่จัดเก็บสินคาทํา
หนาท่ีเปน จุดพัก จัดเก็บกระจายการจัดสินคา หรือ วตั ถุดิบ ท้ังในสวนของการบริหารสินคาคงคลัง
และการบรหิ ารการจัดเก็บ

http://www.logisticscorner.com/images/stories/Articles/Warehouse/w

h20110918_02_02.jpgคลังสินคา (Warehouse) หรือท่ีในอดีตนิยมเรียกวา โกดัง (Go
down) คือ อาคารทางพาณิชยที่ใชสําหรับเก็บสินคาเพื่อรอการขนสง คลังสินคาถูกใชโดยผูผลิต
ผนู ําเขา ผูส งออก ผคู าสง ธรุ กิจขนสง ศุลกากร ฯลฯ คลังสินคา มักเปนอาคารหลังใหญและกวาง
ตงั้ อยูในเขตอุตสาหกรรมในตัวเมือง ภายในอาคารมีทางลาดเอียงสําหรับขนถายสินคาข้ึนหรือลงรถ
หรือบางคร้ังกข็ นถา ยสนิ คามาจากสถานีรถไฟ สนามบิน หรอื ทาเรือโดยตรงและมกั จะมีเครนหรือรถ
ฟอรค ลิฟท เพื่อเคลือ่ นยายสินคาทวี่ างอยบู นพาเลท (pallet) ไปยังสถานทจี่ ัดเกบ็ ตอไป

จากความขางตนสามารถสรุป ความหมายของคาํ วา คลงั สินคา (Warehouse) หมายถึง
สถานทที่ ใี่ ชในการจดั เก็บวัตถุดบิ สนิ คาสําเรจ็ รปู เพ่ือสํารองไวใ ชในเวลาท่เี หมะสม

ภาพท่ี 8.1 คลงั สินคา (Warehouse)

ที่มา: http://dimiroma.com/ru/index.html

ใน สวนของค วาม ห ม ายท่ีเกี่ยวของกับ ค ลังสินค า คือ คําวา ก ารค ลั งสิ น คา
(Warehousing) หมายถึง การเก็บรักษาสนิ คา

ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า | 147

การคลังสินคา (Warehousing) หมายถึง กระบวนการในการรับ การเก็บ การหยิบ
ตลอดจนถึงการสงสินคา ใหแกผูรับเพ่ือการขาย หรือการใชงานตอไป (กอเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา.
2549)

การคลังสินคา (Warehousing) หมายถึง การปฏิบัติทางกายภาพเกี่ยวกับการรับ การเก็บ
รักษา และการจายพัสดุ (คํานาย อภิปรัชญาสกุล.2548; อางอิงมาจากT.M. 743-200, Storage and
Materials handling)

สรุปความหมายของคําวา การคลังสินคา (Warehousing) หมายถึง การดําเนินการ
เกยี่ วกบั การรับเกบ็ รักษาสินคา ดูแลและใหบ รกิ ารตา ง ๆ แกลูกคา

ภาพท่ี 8.2 การคลังสินคา (Warehousing)
ที่มา: http://www.asnlog.com/warehousing/
ในสว นความหมายของคําวา ศนู ยกระจายสนิ คา (Distribution Center) มผี ูใหค ําจํากัด
ความท่ีเปนความหมายท่ีนาสนใจ และทําใหสามารถแยกแยะความแตกตางระหวางคลังสินคาและ
ศูนยก ระจายสินคา ไดอยา งชดั เจน ดังนี้
ในพจนานุกรมโลจิสติกส ไดใหคําจํากัดความคําวา ศูนยกระจายสินคา คือ
“เปนคลังสินคาของผลิตภัณฑสําเร็จรูป ซ่ึงรวมไปถึงสถานที่ท่ีรวมสินคาของการคาสงและคาปลีก”
(กอ เกียรติ วริ ยิ ะกจิ พฒั นา.2549)

148 | ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า

ภาพที่ 8.3 ศูนยกระจายสินคา (Distribution Center)
ท่ีมา: http://www.bastiansolutions.com/blog/index.php/2011/07/13/the-lipstick-and-

rouge-behind-the-material-handling-industry/#.VWQLa_ntmko

http://www.logisticscorner.com/images/stories/Articles/Warehouse/wh201109

18_02_03.jpg ศูนยกระจายสินคา คือ คลังสินคาที่ทําหนาที่ทั้งในฐานะเปนคลังสินคา
(Warehouse) และเปนหนวยเชื่อมโยงระหวางผูผลิต (Manufacturer) กับผูขายปลีก (Retailers)
ศูนยกระจายสินคาหรือศูนยจัดจําหนาย นิยมเรียกยอๆ วา DC ที่มาจากคําวา (Distribution
center) หมายถึง คลังสินคาของบริษัทเอกชนที่ดําเนินการในการรวบรวมคําสั่งซื้อจากหลาย ๆ ที่
รวบรวมเปน คาํ สั่งซือ้ เดียว และจัดสงคาํ ส่งั ซอ้ื ไปยงั โรงงานผูผลิต หรือ Suppliers เพื่อใหจ ดั สง สนิ คา
มาในคราวเดยี วเพื่อลดตน ทุน ลดระยะเวลาในการจดั สง และทําหนา ทใี่ นการแยกยอยสินคา ไปบรรจุ
ลงกลอ งจดั สงไปยงั สาขาตางๆ ของบรษิ ทั เอกชนเหลา น้ัน ถอื วาเปน คลงั สินคา อีกประเภทหนึ่งท่ไี ดรับ
ความนิยมมาก ดาํ เนินการจัดต้ังขึ้นโดยธุรกจิ คนกลางท้ังคาสง และคาปลกี โดยมีวัตถุประสงคในการ
รวบรวมการจัดสงสินคาจากโรงงานผูผลิตตางๆ หรือ Suppliers จํานวนมาก ใหจัดสงสินคาไปยังที่
ใดที่หน่ึงเพ่ือลดตนทุนของเวลา และคาใชจาย โดยศูนยกระจายสินคาจะทําหนาที่ในการแยกแยะ
สินคา ท่มี ีขนาดใหญอ อกเปนขนาดยอ ยและจัดสง ไปยังสาขาของธุรกจิ ทีก่ ระจัดกระจายกันทั่วไป ศนู ย
กระจายสินคา หรือ DC เปนวิธีการที่ทันสมัยโดยมปี รชั ญาการดาํ เนินงานเพอ่ื ลดตน ทนุ คลังสนิ คา ลด
การมีสินคาคงคลังเกินความจําเปน ลดระยะเวลาในการเก็บรักษาสินคา มีการบริหารจดั การโดยใช
เทคโนโลยี รับคําสั่งซื้อจากสาขาตาง ๆ ของกิจการ กลาวคือ ทําหนาที่ในการรวบรวมคําสั่งซ้ือท่ีมี
ปริมาณไมมากนักจากสาขาจนกลายเปนคําส่ังซ้ือท่ีมีปริมาณมากข้ึน เพื่อสะดวกในส่ังซื้อ รวมการ
ขนสง สินคา

ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า | 149

ปจจุบันไดมีแนวคิดดานการกระจายสินคาไปอยางรวดเร็ว และเรียกวิธีการนี้วา Cross
Dock โดยใหสินคามีเวลาอยูในศูนยกระจายสินคานอยทส่ี ุด ระบบ Cross Dock จะทาํ หนาที่บรรจุ
และคัดแยกสินคา โดยเปลี่ยนถายสินคาหรือโอนถายสินคาจากพาหนะขาเขาท่ีมาสงสินคาไปยัง
พาหนะขาออกโดยตรงผานศูนยกระจายสินคา โดยไมมีการนําไปจัดเก็บ (Put - away) ดังนั้น
การทํางานในรูปแบบ Cross Dock ตองอาศัยการวางแผนและการประสานงานท่ีดี โดยปกติในการ
ควบคุมการทํางานใหเกิดประสิทธิผลจะมีการสรางระบบชดุ คําสั่งควบคุมหรือ software ข้ึนมาเพื่อ
ทําหนาที่ในการเชื่อมโยง และประสานงานซ่ึงจะชวยใหเกิดการลดตนทุนในระบบการจัดเก็บลง
อีกทง้ั ทาํ ใหส นิ คา ไปถึงจุดหมายปลายไดร วดเร็ว

สรุป ความหมายของคําวา ศูนยกระจายสินคา (Distribution center) เปนคลังสินคา
ลักษณะหน่ึงที่เนนกระบวนการในการกระจาย คัดแยกหรือแปลงหนวยสินคาไปยังรานคายอย
มกั เปนท่ีรวมสินคา ของการคา ปลีกและคาสง

8.2 วตั ถุประสงคแ ละประโยชนของคลงั สินคา

คลังสินคามีวัตถุประสงคหลายๆ ดาน เชน เพ่ือทําหนาท่ีรักษาระดับสินคาคงคลังเพ่ือ
สนับสนุนการผลิต(Manufacturing support) เพ่ือทําหนาที่ผสมสินคา (Product-mixing) เพื่อทํา
หนาที่รวบรวมสินคากอนจัดสง (Consolidation) เพ่ือทําหนาที่แยกหีบหอ (Break-bulk) หรือทํา
หนาท่ีเปนศูนยกระจายสินคา (Cross dock) เปนตน เนื่องจากคลังสินคามีหนาท่ีหลากหลาย
ประโยชนของคลังสนิ คา จึงมมี ากมาย ซึ่ง สามารถสรุปไดดังตอไปนี้

8.2.1 ประโยชนข องคลังสนิ คา มีดังน้ี
1. เปนสถานทท่ี ใ่ี ชในการจัดเก็บสํารองวัตถุดิบ และสินคา ไวใชใ นการดาํ เนินงานอยา ง

เหมาะสมโดยหนาที่หลักของคลังสินคาจะทําหนาท่ีในการจัดเก็บรักษาวัตถุดิบ สินคาสําเร็จรูป
ทง้ั เพือ่ รอนาํ เขา สูกระบวนการผลติ และรอการจัดจําหนา ยไปยังตลาด ซึง่ ในบางคร้ังอาจตองใชเวลา
ผลิตเสร็จอาจไมมีคําส่ังซื้อหรือมีคําส่ังซื้อเปนจํานวนไมเหมาะสม อาจทําใหตองมีการเก็บรักษาไว
ระยะเวลาหนง่ึ เพื่อรอการจําหนา ยตอ ไป

2. สามารถตอบสนองการทํางานในระบบการทํางานแบบทันเวลาพอดี (Just in
Time) ซึ่งเปน ปรัชญาการบริหารสนิ คาคงคลังที่มุง ลดการสูญเสีย และลดสนิ คา คงคลัง ระบบจะเนน
ในเรื่องการผลิตในสิ่งท่ีลูกคาตองการ และจะตองการวัตถุดิบเม่ือมีการผลิตดวยตนทุนที่ต่ํา และ
คุณภาพที่เหมาะสม ลดการถือครองสินคา หรือวัตถุดิบลงจนทําใหเกิดการพัฒนารูปแบบการจัด
ตารางการสง สินคา และปรับลดระยะเวลาในสถานทีพ่ ักสนิ คาลงใหม ากที่สดุ จนกลายเปน รูปแบบของ

150 | ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า

ศูนยกระจายสินคาในปจจุบัน การดําเนินงานในรูปแบบน้ีจะตองประสานกันอยางใกลชิดกับความ
ตองการในอุปสงคดานโลจิสติกส บริษัทขนสง ผูจดั สง สนิ คา วัตถดุ บิ และผผู ลิต

3. ตอบสนองความพึงพอใจของลูกคาในดานการมสี ินคาและบริการไวอยา งตอเนอ่ื ง
การมีระบบของการจัดการคลงั สนิ คาท่ีดี เหมาะสม จะชวยใหการจัดการเกย่ี วกับสินคา ท่ีมอี ยู จัดสง
ไปใหบรกิ ารลูกคาตามคาํ สงั่ ซื้อ และเวลาที่ลกู คาตองการไดทันทว งที เปนอีกบริบทหนงึ่ ของการสราง
ความพึงพอใจใหแ กล กู คา

4. ปองกันการขาดแคลนสินคาทอ่ี าจมกี ารปรับเปลีย่ นไดตามสถานการณของตลาด
และฤดูกาล คลังสินคาทําหนาท่ีในการจัดเก็บสํารองวัตถุดิบ และสินคาสําเร็จรูปในปริมาณที่
เหมาะสม ยอมเปน วิธีการในการปองกนั การขาดแคลนสินคาท่ีจะตอบสนองความตองการของตลาด
และลูกคาได

5. กอใหเกิดความประหยัดในดานตนทุนดําเนินการและระบบการผลิตสินคา
กลาวคือ ในทฤษฎีเรื่องความประหยัดท่ีมีตอขนาด Economies of Scale การมีคลังสินคาชวย
สงเสรมิ การผลิตจํานวนมากอันสง ผลไปสตู น ทุนรวมในการผลิตทีจ่ ะลดลงตามขนาดของการผลติ

6. สรา งความไดเปรียบดา นการแขง ขันในอุตสาหกรรม คลังสินคาจดั เปนเคร่ืองมือ
ที่สําคัญอยางหนึ่งในการสรางความไดเปรียบทางดานการแขงขัน ท้ังในดานเวลา สถานท่ี ปริมาณ
ทพ่ี รอ มเสมอท่จี ะใหบริการแกลกู คา ของธุรกจิ อยางตอเนื่อง

8.2.2 ประโยชนของศนู ยกระจายสนิ คา
ในป จจุบั นการเพ่ิมข้ึน ของจํานวน ประชากรในป ระเทศ ไทยมี อั ตราสูงข้ึนอยาง

ตอเน่ือง สงผลตอความตองการบริโภคสินคา และบริการ หนาที่ในการตอบสนองความตองการ
เหลานั้นเปนหนาที่ของผูผลิต และผูจัดจําหนายสินคา ท่ีจะตองตอบสนองใหทันเวลาและความ
ตองการ คลังสินคาอาจไมสามารถสนองความตองการไดอยางสมบูรณ ผูประกอบการคาสง และ
คาปลกี จงึ หนั มาใหค วามสําคญั กับการสรางศนู ยกระจายสินคา เพ่ือชวยใหธรุ กจิ ลดตน ทนุ ดานการจัด
จาํ หนาย รวมท้ังการใหบรกิ ารท่ีดี รวดเร็ว ประโยชนพ้ืนฐานของศูนยกระจายสินคาจะแตกตางจาก
คลังสินคาท่ัวไป ซึ่งพอสรุปไดดังนี้

1. http://www.logisticscorner.com/images/stories/Articles/Wareh
ouse/wh20090812_01-2.jpgศูนยกระจายสินคาจะเปนจุดรวบรวมสินคา (Consolidation
Facility) แยกประเภท (Product Assortment Facility) และกระจายสินคา (Distribution) ที่มา
จากตนทางหลายแหงเพ่ือไปยังลูกคา โดยผูขนสงสินคาจากแหลงตาง ๆ จะนําสินคามารวมรวมท่ี
ศูนยกระจายสินคา เพ่ือบรรจุและคัดแยกสินคา สงมอบโดยกระจายสินคาแกลูกคาปลายทางที่

ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า | 151

หลากหลาย การดําเนนิ การในลกั ษณะนจ้ี ะชว ยลดตน ทุนในการขนสง จากตน ทาง (ผผู ลติ ) ไปยังลกู คา
ปลายทาง (ผูประกอบการคาสง และคา ปลกี )

2. เปนจุดเปลี่ยนถายสินคาระหวางการขนสงหลายรูปแบบ (Inter-Modal Trans-
Shipment Facility) เชน การเปล่ียนถายจากการขนสงโดยรถบรรทุกคอนเทนเนอร มาเปน
รถบรรทกุ ขนาดเล็ก หรอื จากการขนสงจากรถไฟ มาเปน รถบรรทกุ ซึ่งเปนเหตผุ ลสําคัญที่ทาํ ใหสนิ คา
และบริการเคลื่อนท่ีและสง มอบใหก บั ลกู คาปลายทางไดอยางเหมาะสมตามสภาพของแตล ะทอ งถิ่น

3. ศูนยกระจายสินคาจะทําหนาที่เปนจุดเก็บสินคา (Storage Facility) เพ่ือเปนที่
เก็บสินคาในการนําสงตอไปยังลูกคา โดยมีวัตถุประสงคเพ่ือลดระยะทางและเวลาในการนําสง โดย
ปกติการจัดตั้งศูนยกระจายสินคา ของผปู ระกอบการคาสง และคาปลกี ขนาดใหญ มักจะกําหนดพื้นที่
ในการจัดต้งั ศนู ยโดยแบง เปน เขตหรือ โซน แตล ะเขต หรอื โซนจะรับผิดชอบพ้นื ทก่ี ารใหบรกิ ารลกู คา
โดยมีกําหนดระยะเวลาในการดําเนินงานสั้น ๆ เพื่อใหทันเวลา สามารถสงมอบสินคาใหลูกคาได
อยา งสม่าํ เสมอ

4. จุดใหบริการดานการผลิต (Manufacturing related Services) และ บริการ
ดา นโลจิสตกิ ส (Logistics related Services) เปน การใหบรกิ ารที่เพมิ่ มูลคาใหกับสินคา สําหรับการ
บรกิ ารดา นการจัดการท่ีอยใู นศูนยก ระจายสินคา มักจะเปนการดาํ เนินกิจกรรม งาย ๆ เชน การบรรจุ
หีบหอ ทเ่ี หมาะสม และนาํ สงใหกบั ลกู คาปลายทางตามความตองการ

โดยท่ัวไปกิจกรรมพ้ืนฐานภายในคลังสินคาจะประกอบดวย 3 กิจกรรมหลัก ไดแก
กิจกรรมในการรับสินคา (receiving) กิจกรรมในการเก็บสินคาเขาช้ันวาง (Put-away or
Transfer/Bulk storage) และกิจกรรมในการจายสินคาหรือหยิบสินคา (Order Picking) สําหรับ
ศูนยกระจายสินคาจะมีกิจกรรมพิเศษเพ่ิมเติม คือ กิจกรรมในการคัดแยกหรือแปลงหนวย
(Selection or Let down) เพ่ือแยกสินคาเปนหนวยยอย และบรรจุลงในหีบหอใหมสําหรับจัดสง
ใหก บั รานคา ปลกี ทีเ่ ปน สาขาท่ัวไป

ตารางท่ี 8.1 การเปรียบเทียบความแตกตางระหวา งคลังสนิ คากับศนู ยกระจายสินคา

คลงั สินคา ศนู ยกระจายสนิ คา

1. ใชไ ดกบั การดาํ เนินกจิ การทุกประเภท 1. ใชไดเฉพาะกับกิจการคา ที่เปนกิจการจําหนาย
สินคาใหแกลูกคาจํานวนมาก และมีสาขากระจายกัน
ท่วั ไป

2. สามารถเกบ็ รกั ษาสนิ คา ไดท ุกประเภท 2. เก็บรักษาสินคาไดเฉพาะประเภท และเนนสินคาท่ี
เปนความตองการของตลาด เหมาะสําหรับสินคา

152 | ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า

คลงั สินคา ศูนยกระจายสนิ คา

อปุ โภค บรโิ ภคท่วั ไป

3. ข้ันตอนในการดาํ เนนิ งานจะยาว มัก 3. ลดขั้นตอนการดําเนินงานมีการดําเนินงานโดยนํา

ประกอบดว ย การรบั การจดั เก็บ การ ระบบ Cross Docking หรือการสงขามฟากทามาใช

จดั สง กลาวคือในบางคร้ังจะลดข้ันตอนการจัดเก็บ เม่ือนํา

สินคาเขาประตูหนา อาจสงสินคาออกทันทีในวัน

เดียวกนั ลดตนทนุ การจัดเกบ็ สนิ คาลง

4. เปนกิจการคลงั สินคาเอกชน และ 4. เปน คลังสนิ คาเอกชนเทา นน้ั

คลงั สนิ คาสาธารณะกไ็ ด

5. เทคโนโลยที ีใ่ ชอ ยใู นขั้นตา่ํ กวา 5. มีการควบคุมการดําเนินงานโดยใชเทคโนโลยีตั้งแต

ข้ันตอนการรวบรวมคําสั่งซ้ือ สั่งซ้ือ รอรับสินคา

แยกแยะสินคา จนถึงการนําสง โดยใช Software

เฉพาะของแตละกิจการ ใช Barcode เขามาชวยใน

การดําเนินการมากกวาคลงั สนิ คา ทว่ั ไป

6. มีกิจกรรมในการดําเนินงานหลักเพียง 6. มีกิจกรรมในศูนยกระจายสินคาจะมีกิจกรรม

3 กิจกรรม คือ การรับ การจัดเก็บ และ มากกวากิจกรรมในคลัง โดยกิจกรรมที่เพิ่มข้ึนคือ

การจดั สง กจิ กรรมในการคดั แยกหรอื แปลงหนวย เพื่อแยกสินคา

เปนหนวยยอย และบรรจุลงหีบหอใหมสําหรับการ

จดั สงใหกบั รานคาปลีกสาขาทวั่ ไป

8.3 การแบงประเภทของคลังสนิ คา

คลังสินคาโดยท่ัวไปจะทําหนาท่ีเก็บวัตถุดิบ หรือ สินคาสําเร็จรูป เปนหลัก หรือบางครั้ง
อาจใชเก็บงานระหวางการผลิต ช้นิ สวนหรอื สินคากึ่งสําเรจ็ รปู บา งซง่ึ ในการจัดเกบ็ สินคา หรือวัตถดุ ิบ
จาํ พวกนี้ จําเปนตองมกี ารจัดการท่ีมีประสิทธิภาพเพ่อื ใหเกิดการทํางานท่ีมีประสิทธิภาพสงู สดุ และ
ไมใหเกิดความเสียหายตอสินคา และวัตถุดิบที่เก็บอยูภายในคลังสินคา การแบงประเภทของ
คลังสินคาสามารถทําไดโดยแบงตามลักษณะธุรกิจ แบงประเภทคลังสินคาตามลักษณะงาน หรือ
แบงตามลักษณะสนิ คาทเ่ี กบ็ รักษา ดงั ตอไปน้ี

8.3.1 การแบง ประเภทของคลังสินคา ตามลกั ษณะธุรกิจ

ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า | 153

คลังสนิ คา ยงั แบง ได 2 ประเภทตามลักษณะธุรกจิ คือ คลังสาธารณะ (Public
warehouse) และคลงั สวนตวั (Private warehouse) ซง่ึ แตล ะประเภทมีขอดขี อเสียดังตอไปนี้

1. คลังสาธารณะ (Public warehouse)
คลงั สาธารณะคือ คลังทเี่ จาของธรุ กจิ เปด ขน้ึ เพอื่ รับเกบ็ สินคา เปน หลกั เปดโกดงั สนิ คา

แลวเก็บคาเชาในการจัดเก็บสินคา เชน พวกคลังหองเย็นตาง ท่ีรับจัดเก็บปลาแชแข็งที่มาจากเมือง
นอก โดยท่ีโรงงานแปรรูปไมตองการลงทุนสรางคลังหองเย็นเปนของตัวเอง ก็จะจัดจางใหคลังหอง
เยน็ ชวยจัดเกบ็ ใหโ ดยคดิ คา จัดเกบ็ เปนตน
ตารางที่ 8.2 การเปรยี บเทยี บขอดีและขอ เสยี ของคลังสาธารณะ

ขอ ดีของคลังสาธารณะ ขอ เสยี ของคลังสาธารณะ

1. มีการใชประโยชนของเงินทุนมากข้ึน 1. อาจมปี ญหาเรือ่ งการสื่อสารขอ มลู
เนื่องจากคลังทส่ี รา งไดใ หบริการแกลูกคา เพราะระบบการสอ่ื สารอาจมคี วาม
หลายคน แตกตางกันมาก

2. มกี ารใชประโยชนจ ากพืน้ ทีไ่ ดด กี วา เพราะมี 2. อาจไมม ีการบริการพิเศษบางประเภท
การใหบ รกิ ารแกล ูกคา หลายคน ซงึ่ เปน ความตองการเฉพาะดา นของตวั
สินคา
3. เปนการลดความเส่ยี งตอการวางของ
คลงั สนิ คา 3. พ้นื ทอี่ าจไมเ พยี งพอในบางชวงของความ
ตองการ
4. มกี ารใชประโยชนเ ชิง
เศรษฐศาสตร(Economies of scale)
มากกวา

5. มีความยดื หยนุ สงู
6. มีความรู และความชาํ นาญในเรอ่ื งการ

จดั เก็บ และเคลื่อนยา ยมากกวา

2. คลังสวนตัว (Private Warehouse)
คลังสว นตวั คือคลงั สินคาทว่ั ไปของบริษัทหลายๆแหง ไดส รา งคลงั ในพ้ืนท่ขี องตวั เอง

เชน คลังวตั ถดุ บิ คลงั สนิ คาสําเรจ็ รปู เปน ตน และใชใ นการจัดเก็บวตั ถดุ ิบหรือสนิ คา สาํ เรจ็ รูปของ
บริษัทเทา นนั้

ตารางที่ 8.3 การเปรยี บเทยี บขอ ดแี ละขอ เสยี ของคลงั สวนตัว

154 | ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า

ขอ ดีของคลังสวนตวั ขอ เสยี ของคลงั สวนตวั

1. มกี ารควบคมุ ทท่ี าํ งา ย 1. ขาดความยดื หยนุ
2. มคี วามยืดหยนุ สงู 2. ขอ จํากัดทางดา นการเงิน
3. มีตนทุนตํ่ากวาในระยะยาว 3. ผลตอบแทนตอ การลงทนุ ตาํ่
4. มกี ารใชแ รงงานทีม่ ีประสิทธิภาพสงู

8.3.2 การแบงประเภทของคลังสินคาตามลกั ษณะงาน
1. คลงั สนิ คา สําหรบั เกบ็ รกั ษาสนิ คา

คลังสินคาชนิดนี้มีหนาที่หลักในการเก็บรักษาสินคาซ่ึงอาจจะอยูในรูป
วัตถุดบิ หรือสินคาสําเรจ็ รูป เพ่ือทําหนาทตี่ อบสนองเคาตองการของฝายผลิต หรือรานคาตามลําดับ
ดังน้ันการจัดการสินคาประเภทนี้จะเนนที่การรักษาสภาพสินคา และการปองกันการสูญหายของ
สนิ คาเปน สาํ คัญ

2. ศนู ยก ระจายสินคา (Distribution Center: DC)
ศนู ยก ระจายสินคา คือ คลังสินคาที่ทําหนาท่ีท้ังในฐานะเปนคลงั สินคา (Warehouse)

และเปนหนวยเช่ือมโยงระหวางผูผลิต (Manufacturer) กับผูขายปลีก (Retailers) จะเปน
ผูใหบ ริการทางดา นโลจสิ ติกส (Logistics Provider) ในดา นการจดั เก็บสนิ คา และการจดั การขนยาย
สินคาสําเร็จรูปใหก ับลกู คา ไดทันเวลา และถูกตองตามความตอ งการ DC สวนใหญจะเปน ผูใหบรกิ าร
ภายนอก (Outsource) หรือ Third Logistics Service Providers (3PL) จะทําหนาที่รับสินคาจาก
ผูผลิตแตละรายมาเก็บในคลังสินคาของตน โดยบริการดําเนินการบริหารจัดการในการควบคุม
ปริมาณในดานเทคโนโลยีในการกระจาย และจัดสงสินคาแทนเจาของสินคาหรือผูผลิตสินคาโดย
รับผิดชอบงานขนสงจนสินคาไปสูมือผูรบั ประโยชนท ่ีเกดิ ขึ้นน้คี ือ การลดคาใชจายในการขนสงของ
ผูผลิตไปสูผูขายปลีกหรือลูกคาแตละราย ผูผลิตสามารถขนสงมาท่ี DC เพียงหน่ึงเดียว โดย DC
จะทําการกระจายสินคาสูผูขายปลีกตามความถี่ที่ผูขายปลีกตองการ ทําใหไมจําเปนตองมีที่จัดเก็บ
สินคา คงคลงั จํานวนมากท่ีผูขายปลีกอีกตอไป คาใชจายสวนพัสดุคงคลังของรานขายปลีกก็
ลดลง ทําใหตนทนุ รวมสงผลใหม ีความไดเปรียบในดานการแขงขันท้ังดานราคา และความรวดเร็วใน
การบรกิ าร ในปจจุบันรานขายปลกี หลายแหงจงึ สามารถรบั ประกันราคาต่ําสดุ จากผบู ริโภคได

3. ศนู ยร วบรวม และกระจายสนิ คา (Cross Dock)
ศูนยรวบรวม และกระจายสินคาหมายถึง คลังสินคาใชสําหรับในการรับสินคา และ

สงสินคาในเวลาเดียวกัน หรือเปนคลังสินคาที่มกี ารออกแบบพิเศษ เพื่อใชในการขนถายจากพาหนะ
หนง่ึ ไปสูอกี พาหนะหนึง่ โดย Cross Dock สว นใหญแ ลวจะเปน สถานท่ี ซงึ่ มีลกั ษณะเปนศูนยร วบรวม

ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า | 155

และกระจายสินคา ซ่ึงจะทําหนา ที่ในการบรรจุและคัดแยกสินคาโดย Cross Dock จะทําหนาที่เปน
สถานีเปลย่ี นถา ยสินคา ระหวา งรูปแบบการขนสง ซ่ึงอาจเปนจากซับพลายเออรห ลายราย แลวนํามา
คัดแยก รวบรวม บรรทุก เพื่อจดั สง ใหล ูกคาแตละราย ซงึ่ จะจดั สง ตอ ใหล กู คาซ่ึงสวนใหญจะเปน รา น
ผขู ายปลีก หรอื รานสะดวกซอื้ ซึ่งจะมี ความตองการสินคายอ ยที่หลากหลาย

Cross Dock จะมีลกั ษณะคลายคลงั สินคาทม่ี ี 2 ดา น โดยดา นหนึ่งจะใชส ําหรับการรบั
สินคา และอีกดานหน่งึ ใชใ นการจดั สงสินคา โดยสนิ คาที่นําเขามาใน Cross Dock จะมีกระบวนการ
คัดแยก-บรรจุ และรวบรวมสนิ คาเพือ่ จัดสงใหกบั ผูรับ ซึ่งโดยปกติแลวนาํ สินคาเขามาเก็บและจดั สง
มกั จะดาํ เนินการใหเ สรจ็ สิ้นภายใน 24 ชั่วโมง ภารกิจสําคัญของ Cross Dock จะเปน ตวั กลางในการ
รวบรวมสินคาใหสามารถจัดสงไดเต็มคันรถ หรือใชพื้นท่ีในคอนเทรนเนอรใหไดเต็มพิกัด โดย
Cross Dock ซ่ึงอาจจะเรยี กไดวาศูนยรวบรวม และกระจายสินคา สวนใหญแลวศูนยรวบรวม และ
กระจายสินคาจะกระจายอยูตามภาค หรือจังหวัด ซ่ึงเปนศูนยกลางของการขนสง จึงมีสวนชวยใน
การแกไขปญหารถบรรทุกท่ีไมมีสินคาในเที่ยวกลับ ซ่ึงเปนปญหาสําคัญของการขนสงทางถนนของ
ประเทศไทย ทั้งน้ี Cross Dock อาจทําหนาที่เปน ICD (Inland Container Depot) โดยสามารถ
เช่ือมโยงการขนสงในรูแบบตางๆ ไมวาจะเปนการขนสงทางรถไฟ ทางรถบรรทุก หรือขนสงทางนํ้า
ทา เรอื -สนามบิน

ซงึ่ แสดงใหเหน็ วา Cross Dock จะมีบทบาท และปจจัยสําคญั ตอการสนบั สนุนรปู แบบการ
ขนสง ท่ีเรียกวา Multimodal Transport

ภาพท่ี 8.4 Cross Dock

ท่ีมา: http://archive.constantcontact.com/fs009/1102150928614/archive/1102574363757.html

8.3.3 การแบงประเภทของคลังสนิ คา ตามลักษณะสนิ คา
1. คลังสนิ คา ท่วั ไป (General merchandise warehouse)

156 | ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า

เปน คลงั สินคาท่อี อกแบบสําหรับเก็บรักษาสินคา สนิ คาชนิดใดกไ็ ดข องผูผลิต ผูขายสง
และผูขายปลีก คลังสินคาแบบน้ีจะเปนแบบธรรมดาที่สุดสําหรับเก็บรักษาสินคา ซ่ึงใชวิธีเก็บรักษา
สินคาธรรมดา ไมตองใชวิธีการเก็บรักษาพิเศษ ลักษณะโครงสรางของอาคารซึ่งเปนแบบท่ีใชกัน
โดยท่ัวไป จะเปนอาคารช้ันเดียวหรือหลายชั้น มีหลังคา และฝาผนังท้ังสี่ดาน แตโดยท่ัวไปอาคาร
มาตรฐาน จะเปนแบบชั้นเดียวเพราะสะดวกในการเก็บรักษา และเคล่ือนยายสินคาสรางดวย
คอนกรตี พนื้ อาคารยกสงู ในระดับเดียวกับพื้นบรรทุกของรถยนต

2. คลังสินคา หองเยน็ (Refrigerated or Cold-Storage Warehouses)
คลังสินคาชนิดน้ีทําหนาท่ีเก็บสินคาท่ีเปนของสด อาทิเชน อาหาร ผัก ผลไม และ

เครือ่ งด่มื เปน ตน ซง่ึ สินคา เหลา นีต้ องการการดูแลเปน พิเศษดวยการควบคมุ อุณหภมู ใิ หอ ยูในระดบั ท่ี
เหมาะสมเพ่ือรักษาความสดใหมของสนิ คา โครงสรางขอคลังสินคา หองเย็นจะมีลักษณะเชนเดียวกับ
คลังสินคาท่ัวไป คือ มีหลังคาและฝาผนังทั้งส่ีดาน แตจะมีขนาดเล็กกวาและมีการผนึกอยางมิดชิด
เหมาะสมสาํ หรบั เก็บรกั ษาสนิ คา ชนิดน้ันๆ โดยเฉพาะ

ภาพที่ 8.5 คลังสินคาหอ งเยน็ (Refrigerated or Cold-Storage Warehouses)
ทม่ี า: http://www.milestonefresh.com/cold-storage-warehousing

3. คลังสนิ คาทัณฑบน (Bonded Warehouse)
คลังสินคาที่เก็บรักษาสินคาบางชนิดซ่ึงตองรอการดําเนินการตามระเบียบศุลกากร

เชน รอการยกเวน ภาษี รอการเสียภาษี รอการตรวจ กรณีเปนสินคาควบคมุ หรอื สินคาตองหามสินคา
ท่ีเกบ็ รักษาในคลังสินคาแบบนี้แยกเปน สินคา เขา และสินคา ออก

ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า | 157

ภาพที่ 8.6 คลงั สินคาทัณฑบน (Bonded Warehouse)
ท่มี า: http://advantagebizmag.com/blog/2011/03/10/a-move-in-the-right-direction/

4. คลังสินคาเฟอรน ิเจอรและเครื่องใชใ นครัวเรอื น (Household-Goods and
furniture warehouse)

คลงั สินคา ท่ที าํ หนา ทีเ่ กบ็ รกั ษาทรพั ยส นิ สว นบคุ คลมากกวา เกบ็ รกั ษาสนิ คาและมกั จะเปน
การเกบ็ รกั ษาช่ัวคราว วิธกี ารเกบ็ รักษาอาจจะเกบ็ ไวใ นพ้นื ทโี่ ลง คือ มแี ตหลงั คา ไมม ฝี าผนังหรือเกบ็ ใน
หอ งเฉพาะที่มรี ะบบรกั ษาความปลอดภยั หรือเก็บรกั ษาในภาชนะทบี่ รรจเุ รยี บรอยปอ งกนั การถูกกระแทก

5. คลังสินคาสําหรบั พืชผลเฉพาะอยาง (Special-commodity warehouse)
คลังสินคาท่ีใชเก็บรักษาผลิตผลทางการเกษตรกรรม เชน ฝายและขนสัตว เปนตน

โดยทว่ั ไปแตละคลงั สินคาจะเก็บรกั ษาผลติ ผลทางการเกษตรแตเพียงชนิดใดชนิดหนง่ึ เพยี งชนดิ เดียว
และใหบ รกิ าร เฉพาะสนิ คา ชนดิ น้ันเทาน้ัน

ภาพท่ี 8.7 คลังสินคา สาํ หรับพชื ผลเฉพาะอยา ง (Special-commodity warehouse)
ท่ีมา: http://businesseleven3c.blogspot.com/2012/10/types-of-warehouses.html

158 | ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า

8. คลังสินคา สําหรับสนิ คาท่ีมลี กั ษณะเปนกองใหญ (Bulk Storage warehouses)
คลังสนิ คาที่ทําการเก็บสนิ คา ทม่ี ีจํานวนมากเปนกองใหญ ลกั ษณะของคลังสินคา แบบน้ี

อาจมีถังเพ่ือบรรจุสินคาท่ีเปนของเหลว หรือมีท่ีเก็บรักษาท้ังท่ีเปนที่โลงและมีหลงั คา สําหรับสินคา
แหง เชน ถานหิน ทราย และเคมภี ณั ฑ เปนตน

ภาพที่ 8.8 คลังน้ํามนั จดั เปนคลงั สนิ คาทม่ี ลี ักษณะเปน กองใหญ (Bulk Storage warehouses)

ทม่ี า: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=auto-thailand&month=06-
2014&date=08&group=1&gblog=67

8.4 กระบวนการพน้ื ฐานที่สําคญั ในการบริหารคลงั สินคา

กิจกรรมหรือกระบวนการทํางานในคลังสินคา สามารถแยกกิจกรรมหลักๆ ออกได 3
กิจกรรมประกอบดวย การรบั สนิ คา การจัดเกบ็ สินคา และการกระจายสินคา มีรายละเอยี ดดงั นี้

1. การรับสินคา (Receiving)
ประกอบดวยกิจกรรม เชน การขนถายสนิ คาจากพาหนะที่นําเขาคลังสินคา การตรวจ

นับสินคาใหตรงกับ จํานวนที่ส่ังซ้ือ รวมทั้งการรับสินคาคืนจากลูกคา เปนตน การรับสินคาจึงเปน
กิจกรรมพื้นฐานของทุกคลังสินคาสําหรับการเปนสถานท่ีพักสินคา ถามีการบริหารจัดการการรับ

ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า | 159

สนิ คาที่ดีองคการ จะมนั่ ใจไดวา มีสินคาเพียงพอตอความตองการของลูกคาไมวาลูกคาจะอยูสวนใด
ของโซอ ปุ ทานกต็ าม

2. การจดั เก็บสินคา (Storing)
เปนการใชอุปกรณในการเคล่ือนยายประเภทตางๆ นําสินคาเขาไปจัดเก็บตามช้ันวาง

หรือในพื้นท่ีท่ีไดกําหนดหวใหถูกตองตามท่ีกําหนดไว ในข้ันตอนนี้จะตองอาศัยการวางแผนการ
จัดเก็บท่ีดี โดยตองคํานึงถึงเวลาท่ีจะทําการเบิกจายในภายหลังวา จะตองคนหาไดรวดเร็วและเลือก
หยิบสินคาไดอยางแมนยํา คลังสินคาบางแหงมีงานยอยเพิ่มเติมในขั้นตอนนี้ เชน การแตกหอยอย
(Break-bulk) กอนการเบิกจาย การยายสินคาจากบริเวณ Bulk storage มาสูชั้นวางที่คอยเติมเต็ม
สําหรับการบิกจา ยแบบอตั โนมตั ิ (Replenishing) ผบู รหิ ารควรมีการจัดการการจดั เก็บสนิ คา ท่ดี เี พอื่
ลดตนทุนการจัดเก็บ(storage cost) จะทําใหลดตนทุนขององคการไดนอกจากน้ีการจัดเก็บรักษา
สินคา ทาํ ใหเ กิดมูลคาเพ่ิมในสินคา (value added) เมื่อไปถึงปลายทาง

3. การกระจายสินคา Distribution
เป น กิ จ ก ร ร ม ที่ ผู บ ริ ห าร ต อ งว า ง แ ผ น เพื่ อ ให ก า ร ก ร ะ จ า ย สิ น ค า ต ร งต า ม คุ ณ ภ า พ

(Right Quality) ตรงตามจํานวน (Right Quantity) ตรงตามเวลา (Right Time) ตรง ตามสถานท่ี
(Right Place) และตรงตามเงื่อนไข (Right Condition) ที่ลูกคากําหนด ซ่ึงจะทําใหไดระดับการ
บริการที่ดีอยางสม่ําเสมอ โดยการกระจายสินคามีกิจกรรมท่ีสําคัญ เชน การสงสินคาใหผูขาย
การโอนสนิ คา จากคลังสินคาหน่ึงไปยังอกี คลังสินคาหนง่ึ ภายในองคก ารเดยี วกนั เปน ตน การกระจาย
สินคายังมีความสัมพันธกับงานดานอื่นๆ อีกดวย เชน ดานการขนสง (Transportation) ดานสินคา
คงคลงั (Inventory Management) เปนตน

8.5 การพฒั นาประสิทธภิ าพการจัดการคลงั สินคา

การจัดการคลังสินคามคี วามสําคญั และจําเปน อยางย่ิงโดยเฉพาะที่เกยี่ วของกนั ในดานการ
ขนสง หรือโลจิสติกสถือวาเปนตนทุนที่สําคัญองคการขนาดใหญจะเล็งเห็นถึงความสําคัญของ
กระบวนการดา นการขนสง หรือการบรหิ ารสต็อก ไดแ ก การจดั การคลงั สนิ คาและศูนยก ระจายสนิ คา
โดยกระบวนการทํางานในดานนี้จะสงผลโดยตรงตอตนทุนโลจิสติกสและประสิทธิภาพในการ
ตอบสนองลูกคาทั้งในดานของเวลาในการดําเนินการ และคณุ ภาพมาตรฐานในการสงมอบสินคาให
ครบตามจํานวน เปน ไปตามท่ีลูกคาตอ งการ ดงั นนั้ การพฒั นาขดี ความสามารถในการบริหารจัดการ
งานคลังสินคาโดยแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคลังสินคาและศูนยกระจายสนิ คาท่ีบรษิ ัทและ
องคการตา งๆ เลอื กใชเพือ่ ยกระดับกระบวนการทํางานโลจิสติกส ไดแ ก

1. Drop-Shipping คือ การลดภาระสินคาท่ีผานคลังสินคา เปนวิธีการวางแผนจัดหา
วัตถดุ บิ จากซพั พลายเออรห รอื การวางแผนการผลิตของโรงงานใหเสร็จทันการใชงานหรือสง มอบโดย

160 | ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า

บรษิ ทั จะมีการจัดเกบ็ ท่ีซพั พลายเออร หรือทโ่ี รงงานแทนการเกบ็ ทีค่ ลงั สนิ คา โดยเมือ่ มคี วามตองการ
ในตัวสินคาเกิดขึ้น สินคาจะถูกสงมอบโดยตรงจากซัพพลายเออรถึงโรงงาน หรือสงมอบตรงจาก
โรงงานถึงลูกคา วิธีการน้ถี ือวา เปนวิธกี ารท่ีดที ่ีสุดตอบริษทั เพราะทําใหบ ริษทั ไมตองมีภาระดา นงาน
คลงั สนิ คา แตอยางใด และทาํ ใหตนทุนโลจิสติกสโดยรวมลดลง แตมีขอดอ ยตรงที่บริษัทจะตอ งมีการ
วางแผนดานการจัดหา การผลิต และการสงมอบท่ีดีเยี่ยม วิธีการน้ีโดยสวนมากจะนํามาใชก ับสินคา
จาํ พวกส่งั ผลติ

2. Cross-Docking คือ การสง ผา นสินคาเขาคลังเปน อีกวิธีการหนึ่งที่ชว ยใหป ระสทิ ธิภาพ
ดานคลงั สินคาของบริษัทสูงขึ้นจะถูกสงเขามาในคลงั สินคา เพียงชั่วคราวเปนชวงระยะเวลาสนั้ ๆเพ่ือ
ลําเลียงข้ึนรถขนสงรวมกับสินคาอ่ืนๆ ท่ีอาจมีการสงเขามาในชวงระยะเวลาไลเลี่ยกัน โดยมากชวง
ระยะเวลาน้ีจะนอยกวา 1 วัน ทําใหสินคาไมตองมีการขนเขาไปจัดเก็บที่บริเวณจัดเก็บของคลัง สินคา
เปนเพียง "สินคาสงผานคลัง" เทานั้น ทําใหคลังสินคาไมเกิดการจัดเก็บ และรองรับปริมาณสินคา
ไดมากขึ้น ผลิตภาพการทํางานของคลังสูงขึ้น อยางไรก็ตามวิธีการน้ีมีความยากคลายกับวิธีการ
Drop-Shipping เชนกนั เพราะจะตองมกี ารประสานขอมลู ดา นสนิ คา ขาเขาและขาออกจากคลงั จาก
ตน ทางถึงปลายทางพรอมๆ กันในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจเปนเร่ืองที่ยากลําบากพอสมควรสําหรับบาง
ธุรกิจ หรือบางบรษิ ทั

3. การนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกตใช ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสําหรับงาน
คลงั สินคา การใชระบบเทคโนโลยีฯ เขาชว ยในการปฏิบัติงานดานคลงั สินคา ทสี่ าํ คญั ไดแ ก

• ระบบบารโคด โดยการนําระบบบารโคดมาใชกับคลังสินคาจะสามารถใชไดในหลายๆ
จุด ไดแก การรบั และสง สินคาเขาออกจากคลงั การจัดระบบเก็บสินคาภายในคลงั และการตรวจนับ
สินคาภายในคลงั เปน ตน ปญ หาภายในคลังสนิ คา โดยเฉพาะขอผิดพลาดท่ีเกดิ จากพนกั งานตรวจนับ
รับสงสินคาสามารถบรรเทาลงไดดวยการประยุกตใชระบบบารโคดโดยสินคาตางๆ ที่เขาออก และ
จัดเก็บภายในคลังสินคาจะใชระบบบารโคดในการระบุตัวสินคาและบรรจุภัณฑเพื่อขนยาย และ
จัดเก็บ การปรับปรงุ คลงั สินคาดวยวิธีนี้จะทาํ ใหการทาํ งานดานเอกสาร และการตรวจเช็ค ตรวจนับ
ตางๆ ภายในคลังสินคาสามารถทําไดรวดเร็วขึ้น และชวยใหขอผิดพลาดตางๆ ที่เกิดจากการปอน
ขอ มลู ดวยคนสามารถลดลงได
. • ระบบ RFID ซ่ึงเปนระบบที่มีการทํางานและสามารถใชประโยชนคลายคลึงกับระบบ
บารโคด แตอ าศยั คลน่ื วิทยุแทนคลน่ื แสง และสามารถอานขอ มลู ในระยะไกลโดยไมจาํ เปน ตอ งสัมผัส
สนิ คา มีความละเอียด และสามารถบรรจุขอมูลไดมากกวา ซึ่งทําใหสามารถแยกความแตกตางของ
สินคาแตละชิ้นแมจะเปน SKU (Stock Keeping Unit-ชนิดสินคา) เดียวกันก็ตามความเร็วในการ
อานขอมลู จากแถบ RFID เรว็ กวาการอานขอมูลจากแถบบารโคดหลายสบิ เทา สามารถอา นขอมูลได

ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า | 161

พรอมกันหลายๆ แถบ RFID สามารถสงขอมูลไปยังเคร่ืองรับไดโดยไมจําเปนตองนําไปจอในมุมท่ี
เหมาะสมอยางการใชเครื่องอานบารโคด (Non-Line of Sight) และคาเฉล่ียของความถูกตองของ
การอานขอมูลดว ยเทคโนโลยี RFID นั้นจะอยูที่ประมาณ 99.5 เปอรเซ็นต ขณะท่ีความถูกตองของ
การอานขอ มลู ดวยระบบบารโ คดอยูท ่ี 80 เปอรเซ็นต โดยสามารถเขียนทับขอมลู ได จึงทาํ ใหส ามารถ
นํากลับมาใชใหมได ซึ่งจะลดตนทุนของการผลิตปา ยสนิ คา ซ่ึงคิดเปนประมาณ 5% ของรายรบั ของ
บริษัทขจัดปญหาท่ีเกิดขึ้นจากการอานขอมูลซ้ําท่ีอาจเกิดข้ึนจากระบบบารโคด โดยความเสียหาย
ของปายช่ือ (Tag) นอยกวาเนื่องจากไมจําเปนตองติดไวภายนอกบรรจุภัณฑ และระบบความ
ปลอดภัยสูงกวา ยากตอการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบ อีกท้ังทนทานตอความเปยกชื้น
แรงสั่นสะเทอื น การกระทบกระแทก จึงนยิ มนาํ มาใชใ นคลังสนิ คา
. • ระบบ Electronic Data Interchange (EDI) หรอื ระบบแลกเปลยี่ นและสงขอ มูลทาง
อเิ ล็กทรอนกิ ส การประยุกตใ ชร ะบบ EDI น้จี ะทําใหการรบั และสง มอบสนิ คาจากซัพพลายเออร และ
ลูกคา สามารถทําไดร วดเร็ว ท่ีสําคัญสามารถเตรียมการตางๆ ท้ังในเรอื่ งของพ้ืนท่ี อุปกรณ และพิธี
การรับสงสนิ คา ตางๆ ไดลวงหนาประกอบกับทําใหล ดข้นั ตอน และขอผดิ พลาดตา งๆ ของการรบั และ
สง มอบสินคา เอกสารตา งๆ มีความถูกตองและรวดเร็วยิ่งขึ้น การตรวจทานตางๆ สามารถทําไดงาย
และคลอ งตัวมากขน้ึ สงผลใหต น ทนุ และประสิทธิภาพดา นเวลารบั และสงมอบสนิ คาดีขน้ึ
. 4. การปรบั ปรุงกระบวนการทาํ งานภายใน ไดแก

x การรวมคลังสินคาใหเหลือนอยลงใหมีลักษณะเปนศูนยกระจายสินคา
(Distribution Center: DC) ในแตละพ้นื ที่ ทาํ ใหเกดิ ความสะดวกในแงข องกาบรหิ ารและการขนสง

x การจัดทํา 5ส. หรือกิจกรรมการปรับปรุง การสะสางสต็อก หรือวัสดุอุปกรณ
ตางๆ ทไ่ี มไ ดกอ ประโยชนแลว ออกจากคลังสินคา , การทําความสะอาดภายในคลังสินคา ใหส ามารถใช
งานไดเต็มประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงตาง ๆ ท่ีอาจจะกอใหเกิดอุบัติเหตุภายในคลังสินคาได,
การเพ่ิมความสะดวกในการเคลื่อนยายสินคาเขาออกภายในคลังสินคาโดยการจัดระเบียบเ สนทาง
คมนาคมภายในคลังรวมถึงการตีเสนแบงเสนจราจรภายในคลังอยางชัดเจน , การดูแลในเร่ือง
สุขลักษณะภายในคลังสินคา เชน ชองลม ชองแสง ปญหาเรื่องความชื้น ฝุน ที่อาจกอใหเกิดปญหา
ท้ังในดานสุขภาพของพนักงาน และประสทิ ธิภาพการทํางานและการจัดเก็บสนิ คาภายในคลงั สินคา

x การสรางอุปนิสัยที่ดีในการทํางานภายในคลังสินคา เชน การออกกฎระเบียบขอ
หามตางๆ ในการปฏิบัติงานภายในคลังสินคา ไมวาจะเปนการหามขับรถยกดวยความเร็วสูง หรือการ
กลับรถยกภายในชองเก็บสินคา การหามขึ้นลงสินคานอกบริเวณขึ้นลง การหามวางสินคาตรงบริเวณ
ประตูข้นึ ลงสนิ คา เปน ตน

162 | ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า

x การพัฒนารูปแบบและวิธีการจัดวางสินคาใหม โดยการกําหนดพื้นท่ีต้ัง
ตามลําดับความสําคญั เชิงปรมิ าณเขา ออก หรือลกั ษณะการใชง านคลงั สินคา หรอื เรียกวา รูปแบบใน
การจัดเก็บสินคาภายในคลังสินคา แบบโซน ABC สงผลใหประสิทธิภาพในการใชพื้นท่ีภายในคลัง
สูงข้ึน และทําใหการบริหารควบคุมสตอ กภายในคลงั งา ยขน้ึ

x การพัฒนาข้ันตอนการทํางานใหงาย เร็ว และมีประสิทธิภาพ เชน ข้ันตอนการ
รับและตรวจเช็กนับสนิ คา , การนําสินคาเขาบริเวณหรือชัน้ จัดเก็บสินคา, การดูแลสนิ คา ขณะจดั เก็บ
ใหอยูในสภาพที่ดี ไมเส่ือมสภาพหรือเสียหาย, การหยิบสินคาที่จัดเก็บออกมาใชหรือเตรยี มสงมอบ,
การคัดแยกและเตรียมสนิ คาเพ่ือจัดสง, การบรรจุหีบหอหรือติดปายตราสินคาตางๆ สําหรับสงมอบ
และสงออกพรอมทั้งนําวิธีการคิดตนทุนแบบกิจกรรม ที่นิยมเรียกกันวา Activity-Based Costing
มาประเมินตนทุนในแตละกิจกรรม และประเมินกิจกรรม หรือการปฏิบัติงานตาง ๆ ภายใน
คลังสินคา วา ในการปฏิบัตงิ านกจิ กรรมใดทชี่ วยสรางหรอื เพม่ิ มลู คา เพมิ่ หรือไมอยางไร ซึง่ จะสามารถ
ทาํ ใหการทาํ งานของคลังสนิ คาตา ง ๆ มปี ระสิทธภิ าพและประสิทธผิ ลดีขึน้

x การจัดหาอุปกรณขนถายวัสดุ หรืออุปกรณขนยายท่ีเหมาะสม พรอมทั้ง
ปรบั เปลยี่ นระบบการจัดเกบ็ และระบบการขนยายโดยใชพาเลตหรือกระดานรอง โดยวิธกี ารนีจ้ ะทํา
ใหการทํางานของคลังสินคาสะดวกและรวดเรว็ ย่ิงข้ึน การนําของข้ึนและลง ไมวาจะเปนในชวงของ
การรับสินคาเขาคลงั สนิ คา หรือในชวงของการนาํ สนิ คาออกมาจากบรเิ วณจัดเกบ็ รวมถงึ ชว งของการ
ยกสินคาข้ึนรถบรรทุกตางๆ สามารถทําไดงาย และรวดเร็ว ซึ่งสงผลใหประสิทธิภาพดานเวลา และ
รอบของการปฏบิ ัตงิ านดีข้นึ ผลติ ภาพของคลงั สงู ข้ึน

8.6 ความสัมพนั ธของคลังสินคากบั กิจกรรมโลจสิ ติกสอื่นๆ

คลังสินคามีความสัมพันธกับกิจกรรมดานอ่ืนๆ ของโลจิสติกส เชน การผลิต การขนสง
และการใหบรกิ ารลกู คา ดงั นี้

8.6.1 คลังสินคากับการผลิต (Warehouse and Production) มีความสัมพันธกัน คือ
การผลิตสินคานอยลง ทําใหเกิดสินคาคงคลังจํานวนนอย ซึ่งทําใหมีความตองการพ้ืนท่ีเก็บสินคาจํานวน
นอย อยางไรก็ตามการผลิตสินคาจํานวนนอย สงผลใหตองมีการผลิตที่บอยครั้ง ซ่ึงทําใหตนทุน การต้ัง
เคร่ืองจักร (Setup Cost) และตนทุนการเปลี่ยนสายการผลิต (Line Chang Cost) สูง ในทางตรงกันขามการ
เดินสายการผลติ เพือ่ ผลติ สินคา จํานวนมาก ทาํ ใหเกดิ การประหยัดตอ ขนาด (Economics of Scale) ซ่งึ ทาํ ให
ตนทุนการผลิตตอหนวยตํ่า แตทําใหเกิดสินคาคงคลังจํานวนมาก และตองการพ้ืนท่ีในการจัดเก็บสินคา
จํานวนมาก นอกจากนั้นในบางครั้งธุรกิจจะตองสั่งซื้อวัตถุดิบหรือสวนประกอบตางๆ เพื่อตองการใหได
สวนลดการคา สง ผลทาํ ใหตนทนุ ในการผลิตสินคาลดลง แตท างตรงกนั ขามตนทุนสนิ คาคงคลังกลับเพมิ่ มาก

ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า | 163

ขน้ึ ดังน้ัน ผูบ รหิ ารจงึ ควรเปรียบเทยี บระหวางตน ทุนการผลิตทส่ี ามารถประหยดั ได กับ ตนทุนสินคาคงคลัง
เพมิ่ ขนึ้ เพ่อื ทาํ ใหไ ดต นทุนรวมท่ีต่าํ ท่สี ุด

8.6.2 คลังสินคา กบั การขนสง (Warehouse and Transportation) มีความสัมพนั ธ
กัน คือ คลังสินคาจะรับวัตถุดิบจากผูขายปจจยั การผลิตหลายราย เพื่อรวบรวมเปนขนาดการขนสง
ใหญขึ้นและสงปอนโรงงานการผลิตตอไปสงผลใหเกิดการประหยัดตอขนาดการขนสง คลังสินคา
หลายที่สามารถจะประหยัดคาขนสงไดเชนกัน โดยคลังสินคาจะรับสินคาจากหลายโรงงานเพ่ือ
รวบรวมสงใหกับลูกคาซ่ึงจะทําใหเกิดการประหยัดมากกวาท่ีแตละโรงงานสงสินคาใหกับลูกคา
โดยตรง ซึ่งการขนสงโดยรวมนี้จะขนสงโดยใชขนาดเต็มรถบรรทุก (Truck Load : TL) หรือ ขนาดท่ี
นอ ยกวา รถบรรทกุ (Lower Truck Load : LTL) ได

8.6.3 คลังสินคากับการใหบริการลูกคา (Warehouse and Customer Service)
มีความสมั พันธกันหลายประการ เชน นโยบายการใหบรกิ ารลูกคาตลอด 24 ชั่วโมง ตองการสินคา
คงคลังจํานวนมาก นอกจากน้ันการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางการตลาด สามารถสงผลกระทบถึง
การเกบ็ สินคา ในคลังสนิ คาไดเ ชนกัน ท้ังนี้เนอ่ื งจากการพยากรณความตองการสินคา เปน สง่ิ ที่กระทํา
ไดยาก ดังนั้น คลังสินคาจึงมีความจําเปนที่จะตองเก็บสินคาสวนเกินกวาความตองการลูกคาไว
จํานวนหนึ่ง เพื่อใหสามารถรองรับความตองการของลูกคาไดในกรณีท่ีการผลิตมีปญหาหรือการสง
มอบจากโรงงานลาชา กวา ปกติ

164 | ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า

แบบฝก หัดบทท่ี 8
การบรหิ ารคลงั สนิ คาและศนู ยก ระจายสนิ คา

ตอนท่1ี จงเลอื กคาํ ตอบทถ่ี กู ทสี่ ดุ
1) ขอ ใด ไมใช หนาทเ่ี กยี่ วกบั การบริหารคลังสินคา
ก. เพ่ือรักษาระดบั สนิ คา คงคลัง
ข. เพื่อจดั เกบ็ สินคา
ค. เพอื่ ใชใ นปอ งกนั ขอ ผดิ พลาดในการขาย
ง. จัดการกจิ กรรมการเคล่อื นยา ยสนิ คา หรอื วัตถดุ ิบ
2) ขอ ใด กลาวผิด หนาที่เกยี่ วกับศูนยก ระจายสินคา
ก. ทาํ หนาทใ่ี นการเกบ็ สนิ คา โดยทราบระยะเวลาในการจดั เกบ็
ข. ทําหนา ท่ใี นการเกบ็ สนิ คา โดยไมทราบระยะเวลาในการจดั เก็บ
ค. ทําหนา ทเ่ี ปนทร่ี วบรวมคําสัง่ ซ้ือ
ง. ทาํ หนาท่ีแยกยอยสินคา ไปยังสาขาตา งๆ
3) ขอ ใด กลาวผดิ เกย่ี วกบั ระบบ Cross Dock
ก. คกั แยกสนิ คาและจดั สง ทันที
ข. จดั การสินคาในระยะเวลา 24 ช่วั โมง
ค. มีพ้นื ท่สี าํ หรับการจดั เก็บสินคา
ง. ไมมกี ารจดั เกบ็ สินคา
4) ขอใด กลาวผิด เก่ยี วกับประโยชนของคลงั สนิ คา
ก. ใชใ นการสาํ รองวัตถดุ ิบ
ข. ปองกันสินคา ขาดแคลน
ค. สรา งความไดเ ปรยี บดา นการแขง ขนั
ง. ถูกทกุ ขอ งทีก่ ลา วมา
5) ขอ ใด ไมใช ประโยชนข องศนู ยก ระจายสินคา

ก. Consolidation Facility
ข. Inter-Modal Trans-Shipment Facility
ค. Storage Facility
ง. Put-away

ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า | 165

6) การแบงประเภทของคลังสนิ คาตามลักษณะธรุ กิจแบง ไดก ี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. 5 ประเภท

7) ขอ ใด ไมใช การแบง ประเภทของคลังสินคา ตามลกั ษณะงาน
ก. Private Warehouse
ข. Distribution Center: DC
ค. Cross Dock
ง. คลังสนิ คา สาํ หรบั เก็บรกั ษาสนิ คา

8) การแบง ประเภทของคลังสินคาตามลักษณะสินคาแบง ไดก่ปี ระเภท
ก. 3 ประเภท
ข. 4 ประเภท
ค. 5 ประเภท
ง. 6 ประเภท

9) ขอ ใด คือ การพื้นฐานในการบรหิ ารคลงั สินคา
ก. Receiving, Storing, Distribution
ข. Receiving, Storing
ค. Storing, Distribution
ง. Distribution, Receiving

10) ขอใด ไมใช การพฒั นาประสทิ ธภิ าพการจัดการคลังสนิ คา
ก. Drop-Shipping
ข. Cross-Docking
ค. EDI
ง. Consolidation Facility

166 | ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า

ใหนักศกึ ษาตอบคําถามตอไปนี้

1. ใหนกั ศึกษาอธบิ ายถึงความหมายและความแตกตางของคลังสินคา การคลังสินคา ศูนยก ระจาย
สนิ คา
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………

2. อธบิ ายถงึ วัตถุประสงคและประโยชนข องคลงั สินคา ศนู ยก ระจายสนิ คาได
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………

3. ระบบ Cross Dock มกี ระบวนการอยา งไร จงอธิบาย
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
..............................................................................................................................................

ก า ร บ ริ ห า ร ค ลั ง สิ น ค า แ ล ะ ศู น ย ก ร ะ จ า ย สิ น ค า | 167

4. ระบบ Cross Dock ทาํ หนาทเี่ ปน ICD (Inland Container Depot) อยางไร จงอธบิ าย
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………..………….

5. คลังสินคา แบงเปน ก่ปี ระเภท และแตละประเภทประกอบดวยอะไรบาง จงอธบิ าย
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
………......................................................…….…………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………
………......................................................…….…………………………………………………………………
………......................................................…….…………………………………………………………………
………......................................................…….…………………………………………………………………
………......................................................…….…………………………………………………………………

168 | ก า ร บ ริ ห า ร สิ น ค า ค ง ค ลั ง

รายละเอียดการสอน
ประจาํ สัปดาหที่ 9 (จาํ นวน 3 ช่วั โมง)

หวั ขอการสอน : การบริหารสินคาคงคลงั (Inventory Management)
จดุ ประสงคก ารสอน เพือ่ ใหสามารถ

1. อธิบายความหมายของสนิ คาคงคลงั และการจดั การสินคา คงคลังได
2. อธบิ ายถงึ ประเภท วัตถุประสงคข องสินคาคงคลงั ได
3. อธบิ ายตน ทนุ ของสินคาคงคลงั ได
4. บอกเหตุผลของการลดปริมาณสนิ คาคงคลงั ได
5. อธบิ ายแนวทางการบรหิ ารสินคาคงคลงั ได
6. ทราบเทคนิคการตรวจสอบสินคาคงคลงั ได
7. อธิบายปริมาณการส่งั ซ้ือทป่ี ระหยัด
8. อธบิ ายวธิ กี ารการจัดเกบ็ สนิ คาคงคลังในการวิเคราะห เอ บี ซี (ABC Analysis)
9. อธิบายถึงบทบาทของสนิ คาคงคลังในซัพพลายเชนได
10. อธิบายระบบ VMI ได

รายการสอน

1 ความหมายสินคา คงคลัง
2 ประเภทของสินคาคงคลัง
3 วัตถุประสงคข องสนิ คาคงคลงั
4 ตน ทุนของสนิ คา คงคลัง
5 เหตผุ ลในการลดสนิ คา คงคลงั
6 สนิ คาคงคลังและแนวทางการจัดการสินคา คลงั
7 เทคนิคการตรวจสอบสนิ คาคงคลงั
8 ปริมาณการส่ังซือ้ ทีป่ ระหยดั
9 การจดั เกบ็ สินคาคงคลงั ในการวเิ คราะห เอ บี ซี (ABC Analysis)
10 บทบาทของสนิ คาคงคลังในซพั พลายเชน (Supply Chain)
11 ระบบ VMI หรือ Vendor Managed Inventory

ก า ร บ ริ ห า ร สิ น ค า ค ง ค ลั ง | 169

วิธีการสอน

บรรยาย ถาม – ตอบ

หนงั สือ / เอกสารประกอบการสอน

ฐิติมา ไชยะกุล. (2555). หลักการผลิตและการดําเนินการ. กรุงเทพฯ :เพียรสัน เอ็ดดูเคชั่น
อินโดไชนา

ปรียาวดี ผลเอนก. (2557). การบริหารการผลิต. พิมพคร้ังที่ 3. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพแหง
จุฬาลงกรมหาวิทยาลยั .

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี. (2559). เอกสาร
ประกอบการสอนวิชา การจัดการโลจิสติกสและซัพพลายเชน (Logistics and Supply
Chain Management) พมิ พคร้งั ที่ 2. กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลยั ธนบุรี

Joel D. Wisner et al. (2009). Principles of Supply Chain Management. 2nd ed. United
State of America: South -Western Cengage Learning.

Jacobs, Robert F. & Chase, Rechard B. ( 2010) . Operations and supply Chain
Management. 2nd ed. NY : McGraw-Hill Irwin

Russell, Roberta S. and Talor III, Bernard W. (2011). Opertion Management. 7th ed.
NJ: John Wiley & Son (Asia)

โสตทศั นวัสดุ

บอรด ขาว ปากกา เครือ่ งคอมพิวเตอร เคร่ืองฉายภาพ

การประเมินผล

ถาม – ตอบในชั้นเรียน
ทดสอบยอยในชัน้ เรยี น
ตรวจการทาํ แบบฝกหัดทา ยบท
ผลการสอบประจําภาคการศกึ ษา

งานท่ีมอบหมาย

1. ใหท ําแบบฝกหัดทายบททุกขอ
2. ใหทบทวนบทเรียนตามทีไ่ ดเรียนไป
3. ใหศึกษาเพิ่มเตมิ และทดลองทําแบบฝกหัดในหวั ขอที่ไดเ รยี นไปจากหนงั เลมอนื่ ๆ
4. ใหเตรียมเนือ้ หาสาระความรสู าํ หรบั ทจ่ี ะเรยี นประจําสปั ดาหตอไป

170 | ก า ร บ ริ ห า ร สิ น ค า ค ง ค ลั ง

บทท่ี 9
การบรหิ ารสนิ คาคงคลัง

สนิ คาคงคลัง หรือสินคา คงเหลือ (Inventory) เปนสง่ิ ท่ีจําเปนสําหรับธุรกจิ เพราะจัดเปน
สินทรัพยหมุนเวียนรายการหน่ึงซึ่งธุรกิจพึงมีไวเพื่อใหการผลิตหรือการขาย สามารถดําเนินไปได
อยางราบร่ืน สินคาคงคลังถือเปนสินทรัพยท่ีมีมูลคาสูงสุดในองคกร อาจจะมีสัดสวนมากถึง 10%
ของรายไดท้ังหมด หรอื คิดเปนสัดสวน 20% ของสินทรพั ยท ้ังหมดของธรุ กิจ (Wisner et al., 2009)
การมีสินคาคงคลังมากเกินไปอาจเปนปญหากับธุรกิจ ทั้งในเร่ืองตนทุนการเก็บรักษาที่สูง สินคา
เสอื่ มสภาพ หมดอายุ ลาสมัย ถูกขโมย หรอื สญู หาย นอกจากน้ยี งั ทําใหสูญเสียโอกาสในการนาํ เงินท่ีจม
อยูกับสินคาคงคลังนี้ไปหาประโยชนในดานอื่นๆ แตในทางตรงกันขาม ถาธุรกิจมีสินคาคงคลังนอย
เกินไป ก็อาจจะประสบปญหาสินคาขาดแคลน ไมเพียงพอ (Stock out) เกิดการสูญเสียโอกาสใน
การขายสินคาใหแกลูกคา เปนการเปดชองใหแกคูแขงขัน และก็อาจตองสูญเสียลูกคาไปในที่สุด
นอกจากนี้ถา สง่ิ ทขี่ าดแคลนน้ันเปนวัตถดุ ิบทสี่ ําคญั การดาํ เนินงานท้ังการผลิตและการขายก็อาจตอง
หยุดชะงัก ซ่ึงอาจสงผลตอภาพลักษณของธุรกิจในอนาคตได ดังน้นั จึงเปนหนาท่ีของผูประกอบการ
ในการจัดการสินคาคงคลังของตนใหอยูในระดับท่ีเหมาะสมไมมาก หรือ นอยจนเกินไป เพราะการ
ลงทุนในสนิ คา คงคลังตองใชเ งินจาํ นวนมาก และอาจสงผลกระทบถงึ สภาพคลองของธุรกิจได

การจัดการสินคาคงคลังอยางมีประสิทธิภาพ เปนการทําใหเกิดสมดุลระหวางสินคาและ
ระดับความพงึ พอใจของลกู คา เชน การตอบสนองตอการส่ังซื้อของลูกคา (order fill rates) แตท้งั น้ี
ความเสี่ยงตางๆ ที่เกิดจากการบริหารสินคาคงคลัง อาจเปนการเก็บสตอกไวม ากเกินไป และสินคา
มอี ยูไมใชสินคาที่ลูกคา ตองการซื้อจริงๆ ก็ทาํ ใหสภาพคลองทางการเงนิ ชะงักได หรืออีกทางหนึ่งคือ
สญู เสียรายไดจ ากการทสี่ นิ คา ทต่ี องการไมม ีขาย

9.1 ความหมายของสนิ คา คงคลัง

สินคาคงคลัง (Inventory) หมายถึง สินคาสําเร็จรูป วัตถุดิบ ช้ินสวนประกอบที่
เก่ียวของกับการดําเนินงานทีอ่ งคการเก็บไว โดยสินคาคงคลังของแตล ะองคการอาจมคี วามแตกตาง
กัน เชน มหาวิทยาลัย อาจจะมีการจัดการจัดเก็บ กระดาษ หมึกพิมพเอกสาร ปากกาไวทบอรด
แปรงลบกระดาน หนงั สือ สมดุ ฯลฯ เปน สินคาคงคลัง ในขณะท่รี า นอาหาร อาจจะจดั เก็บ ผัก ผลไม
เนื้อสตั ว จาน ชาม แกว น้ํา กลองบรรจอุ าหารฯลฯ เปนสินคา คงคลงั

ก า ร บ ริ ห า ร สิ น ค า ค ง ค ลั ง | 171

การบ ริห ารสิน ค าคงคลั ง (Inventory Management) คื อ การบ ริห ารสินค า
ซึ่งอาจจะเปน วตั ถดุ ิบ สินคา สําเร็จรปู งานระหวางผลิต สนิ คาท่ีเปนสวนประกอบ วัสดสุ นิ้ เปลือง ให
มีตนทุน และมีระดับความพึงพอใจของลูกคาท่ีเหมาะสม และใหเกิดความสมดุลกันระหวางอุปสงค
กับอุปทาน

9.2 ประเภทของสินคาคงคลัง

โดยปกติสว นใหญมกั คดิ วาสนิ คา คงคลงั คือ ผลติ ภณั ฑขัน้ สดุ ทาย หรือ สินคาสําเรจ็ รูปทรี่ อ
การจัดจําหนายไปยังผูบริโภค แตในแงข องโลจิสติกสในของอุตสาหกรรมการผลิตแลวสินคาคงคลัง
หมายรวมถึงสง่ิ ตางๆ ดงั ตอ ไปน้ี (Russell & Taylor, 2011:557)

9.2.1. วตั ถุดิบ (Raw Material)
9.2.2 ช้ินสวนทีส่ ง่ั ซือ้ มาและวัสดสุ น้ิ เปลือง (Purchased and Supplies)
9.2.3 งานระหวางทํา (Work in Process: WIP)
9.2.4 สนิ คา ที่อยรู ะหวา งการขนสง (Items Being Transported)
9.2.5 เครื่องมือ และอปุ กรณ (Tool and Equipment)

ภาพที่ 9.1 วัตถดุ บิ (Raw Material)

ทีม่ า: http://stenametalinc.com/Iron-raw-materials/

172 | ก า ร บ ริ ห า ร สิ น ค า ค ง ค ลั ง

ภาพท่ี 9.2 ช้นิ สวนที่สัง่ ซือ้ มาและวสั ดุส้นิ เปลือง (Purchased and Supplies)

ท่ีมา: http://www.mrlikestock.com/2012/09/19/cpr-1/

9.3 วตั ถปุ ระสงคข องสนิ คาคงคลัง

สนิ คาคงคลังมคี วามสาํ คญั ตอ องคการแตละประเภทแตกตางกนั โดยองคก ารสวนใหญร กั ษา
ระดบั สนิ คา คงคลังดวยวตั ถปุ ระสงคดังตอ ไปนี้ (Jacobs & Chase, 2010:389-390)

9.3.1 เพื่อรองรับกับความตองการในอนาคต เมื่อลูกคามีความตองสินคาหรือบริการ
องคการสามารถสงมอบสินคาหรือบริการไดอยางรวดเรว็ ลดปญหาสินคาขาดแคลนเมื่อลูกคา สั่งซ้ือ
สินคา และเปนการรักษาฐานลูกคาเดิมไมใหไปซ้ือสินคาหรือบริการจากคูแขงขันกรณีสินคาขาด
แคลน ท้ังนี้ การเก็บสินคาคงคลังยังสงผลใหกระบวนการผลติ ดําเนินงานอยางปกติ แมวาเคร่ืองจักร
ชาํ รุดเสยี หาย หรอื วตั ถุดิบขาดแคลน หรือมีวัตถดุ ิบมีราคาแพงข้ึน องคการสามารถนาํ สินคาคงคลังท่ีเก็บ
ไวใชในการดําเนินงานตอไป

9.3.2 เพ่ือลดตนทุนในการดําเนินงาน อันไดแก คาใชจายในการต้ังเครื่องจักร คาใชจายใน
การส่ังซ้ือ และคาใชจายในการขนสง รวมท้ังไดรับลวนลดเชิงปริมาณ การผลิตหรือการส่ังซ้ือสินคา
แ ล ะ เก็ บ เป น สิ น ค า ค งค ลั งม าก ข้ึ น จ ะ ส ง ผ ล ให ค ว า ม ถ่ี ใน ก า รผ ลิ ต ห รื อ สั่ งซื้ อ สิ น ค า ล ด น อ ย ล ง
การดําเนินงานทตี่ องใชเคร่ืองจักร ลดคาใชจายในการขนสงสินคาเม่ือเพ่ิมปรมิ าณการสง่ั ซื้อแตละครั้ง
ใหมากขึ้น การจัดซื้อสินคาคร้ังละมากๆ เพ่ิมอํานาจในการตอรองราคาสินคาที่ซื้อและไดรับสวนลด
ปริมาณ รวมท้ังอาจเปนการชะลอการข้ึนราคาวัตถุดิบของผูจัดหาเน่ืองจากผูจัดหาไดรับคําส่ังซ้ือมาก
ขึน้

9.3.3 เพ่ือความสะดวกในการจัดกําลังการผลิต กรณีที่อุปสงคของสินคาหรือบริการเปน
แบบฤดูกาล ในชวงเวลาที่มีอุปสงคนอยองคการควรผลิตสินคาเพ่ือเก็บเปนสินคาคงคลังและนํา
ออกมาขายในชวงเวลาท่ีอุปสงคสูง ซึ่งจะสงผลใหงายตอการจัดการผลิต ของพนักงาน และ

ก า ร บ ริ ห า ร สิ น ค า ค ง ค ลั ง | 173
เครื่องจักร รวมท้ังสงผลใหลดการจางพนักงานทํางานลวงเวลาในชวงเวลาท่ีมีอุปสงคสูง เน่ืองจาก
ผลติ เก็บไวลวงหนาแลว การเกบ็ สินคาคงคลังสงผลใหการใชง านงานและเครือ่ งจักรมีอัตราคงที่ และ
เพม่ิ อรรถประโยชนก ารใชทรัพยากร

ภาพที่ 9.3 โครงสรางตนทุนโลจสิ ติกสของประเทศไทย
ทม่ี า: รายงานโลจสิ ตกิ สของประเทศไทยประจาํ ป 2560
โดย สาํ นักงานคณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกจิ และสงั คมแหงชาติ

9.4 ตนทนุ ของสนิ คา คงคลัง

ในการตัดสินใจเร่ืองผลกระทบที่มีตอขนาดสินคาคงคลัง คาใชจายตางๆ ท่ีตองนํามา
พิจารณา คือ (Jacobs & Chase, 2010:390)

ภาพที่ 9.4 กราฟแสดงตนทุนสนิ คาคงคลงั Inventory Cost

174 | ก า ร บ ริ ห า ร สิ น ค า ค ง ค ลั ง

9.4.1 ตน ทุนการเก็บรกั ษา (Holding Cost / Carrying Cost)
ตนทุนประเภทน้ี รวมถึงคาใชจายสําหรับส่ิงอํานวยความสะดวกในการ

จัดเก็บสินคา การจัดการสินคา การประกันภัย การขโมย คาเสียหาย ความลาสมัย คาเสื่อมราคา
ภาษแี ละคา เสียโอกาสในการลงทุน หากคาใชจ ายในการเกบ็ รกั ษาสงู มีแนวโนมทจ่ี ะทําใหระดับสินคา
คงคลงั ตํ่าและมกี ารเตมิ เต็มสนิ คาบอ ยข้ึน

9.4.2 คาใชจายในการติดต้ัง หรือ คาใชจายในการเปลี่ยนแปลงการผลิต
(Setup Cost / Production Change Cost)

การผลิตสนิ คาทแ่ี ตกตา งกนั การรบั วตั ถุดิบทจ่ี ําเปน การต้งั คา อุปกรณเฉพาะ
การกรอกเอกสารท่จี าํ เปน การเปลี่ยนเวลาและเปลย่ี นวัตถุดบิ การเคล่อื นยายสตอกวตั ถดุ ิบกอนหนา
สิ่งเหลาน้ีมักมีคาใชจายและการสูญเสียเวลาในการเปลี่ยนการผลิตสินคาไปเปนอีกชนิดหน่ึง โดย
สินคาขนาดเล็กจํานวนมากก็จะไดรับการผลิตการกอน เพ่ือเปนการลดระดับสินคาคงคลังโดยมี
จุดมุงหมายในการประหยัดคาใชจาย ความทาทายในปจจุบันนี้คือ การพยายามลดคาใชจายในการ
ติดต้ังการผลิตแบบกลุมขนาดเล็ก (Smaller Lot Size) ซ่ึงถือเปนเปาหมายสําคัญของการผลิตแบบ
ทันเวลาพอดี (Just in Time)

9.4.3 คา ใชจ ายในการส่ังซ้อื (Ordering Cost)
คาใชจายในการสั่งซ้ือ หมายถึง คาจัดการและคาใชจายดานธุรการในการ

จัดซื้อหรือการผลิต เชน การนับและการคํานวณปริมาณการสั่งซ้ือ คาใชจายในการักษาระบบการ
ติดตามคาํ สงั่ ซอ้ื ซึง่ นับรวมเปน คา ใชจ ายในการส่ังซื้อดว ย

9.4.4 คา ใชจา ยในสภาวะสนิ คา ขาดมือ (Shortage Cost)
เมื่อสตอกวัตถุดิบหมด จะมีการส่ังซื้อสตอกเพิ่มเพื่อเติมสตอกวัตถุดิบนั้น

โดยมีวัตถุประสงคเพื่อท่ีจะรักษาระดับความตองการวัตถุดิบและคาใจจายจากการท่ีสตอกวัตถุดิบ
หมดใหสมดุลกัน การรักษาสมดุลของสตอกวัตถุดิบนั้นทําไดลําบากมาก เนื่องจากเปนไปไดยากใน
การประมาณการสูญเสียผลกําไร ผลกระทบของการสูญเสียลกู คา โดยคาใชจ ายในการประมาณการ
สินคา ขาดมอื นนั้ สามารถระบุออกมาเปนยอดคา ใชจายไดย ากมากนน่ั เอง

9.5 เหตุผลในการลดสินคา คงคลงั

เหตผุ ลในการลดสนิ คาคงคลงั (Verma & Boyer, 2009:197-198) ประกอบดวย
9.5.1 การเกบ็ รกั ษาและการจัดการ (Storage and Handling)
จาํ นวนสินคาคงคลังท่เี กบ็ ไวจ ํานวนมากในคลังสนิ คานัน้ จําเปน จะตองมกี าร

บริหารจัดการใหมีประสิทธิภาพเนื่องจากตนทุนคาใชจายท่ีบริษัทตองแบกภาระเอาไวสูง เชน
การเชาพื้นที่เก็บสินคาท่ัวไป การเชาพื้นที่พิเศษสําหรับสินคา GMP (Good Manufacturing

ก า ร บ ริ ห า ร สิ น ค า ค ง ค ลั ง | 175

practice) เรียกวาบริเวณพื้นท่ีสีเหลืองรอรับประกนคุณภาพจากแผนกควบคุมคุณภาพ (Quality
control: QC) อีกที จํานวนสินคาคงคลังพิเศษเหลาน้ีมีโอกาสในการที่จะเก็บสินคาผิดที่เนื่องจาก
มองเหน็ ไมช ดั เจนและอาจไมสะดวกในการหยิบไปใชไ ด

9.5.2 ดอกเบย้ี และตนทุนคาเสยี โอกาส (Interest and Opportunity Cost)
เงินทุนที่ใชในการซื้อสินคาเพ่ือเก็บสตอกไวนั้นควรท่ีจะนํามาลงทุนในดาน

อืน่ ๆ มากกวา เนื่องจากเงินท่ีใชในการลงทุนนั้นถูกนํามาจมกับสินคาคงคลัง ทําใหเสียโอกาสในการ
ลงทุนอยางอ่ืนของบริษัทอยางไรก็ตาม บริษัทควรจัดสรรเงินสําหรับซ้ือสินคาเพ่ือเก็บสตอกไว
ประมาณ 3-30% ตอป

9.5.3 ทรัพยส นิ และเบย้ี ประกนั ภัยระดับสงู
การประกันภัยสินคาคงคลังตองมีการทําประกันชั้นหน่ึงซึ่งไดถูกรวบรวม

ราคาการประกันภยั สนิ คาไวในตนทุนการจดั เก็บสินคาคงคลังแลว ดังน้ัน การลดระดับจํานวนสนิ คา
คงคลังลงก็จะชวยลดราคาคาประกันภัยสินคาลงไดเชนกัน ในกรณีท่ีมีความเสียหายจากอัคคีภัย
เกิดข้นึ ความเสยี่ งในการจดั เก็บสติ คาคงคลังก็จะนอยลงเนอื่ งจากมีการลดระดบั จํานวนสนิ คา คงคลัง
ในสตอกลงแลวนน่ั เอง

แตในความเปนจริงแลวบางบริษัทจะผลิตสินคาเพียงอยางเดียว ในการ
จัดเก็บและการกระจายสินคาคงคลังนั้นจะเปนหนาท่ีของบริษัทผูใหบริการ (Service Provider)
ตวั อยางเชน บริษัท Unicharm ผูผลิตผาอนามัยโซฟ และผา ออมเด็กมามี โปะโกะ ไดมอบหมายให
บริษัท Hi-tech Nistsu ซ่ึงเปนบริษัทผูใหบริการดูแลดานคลังสินคา โดยใชวิธีการเก็บสินคาคงคลัง
ไวหในสตอกในแตละเดือนสินคาท่ีบริษัท Unicharm ผลิตออกมาจะตองมีการเก็บสตอกไวจํานวน
หนึ่งในความดูแลของบริษัท Hi-tech Nistsu เนื่องจากความตองการสินคาของลูกคาไมแนอน เชน
ในชวงเทศกาลตางๆ บริษัท Unicharm จะมีวันหยดุ จํานวนมาก พนักงานสว นใหญจะกลบั ภมู ลิ ําเนา
ดังนั้น บริษัทจึงตองทําการผลิตสินคาเพ่ือเก็บสตอกไวเปนจํานวนมากเผื่อสินคาขาดมือในชวง
เทศกาล เพ่ือปองกันความเสียหายท่ีอาจจะเกิดกับตัวสินคา เชน ไฟไหม หรือสูญหาย บริษัท
Hi-tech Nistsu ในฐานะบริษัทผูใหบริการ (Service Provider) ดูแลสินคา จําเปนท่ีจะตองทํา
ประกันภัยสินคาโดยจายคาเบี้ยประกันในราคาสูง (Premium) เพื่อปองกันความเสียงที่อาจจะ
เกิดขนึ้ นน่ั เอง

9.5.4 การหดตวั และเนาเสีย
สินคาที่มีลักษณะอายุส้ัน หรือมีลักษณะในการเปล่ียนรูปตัวเอง การผลิต

สินคาประเภทน้ีแลวเก็บเปนสินคาคงคลังจึงมีความเสี่ยงสูงมากที่จะทําใหไมสามารถกระจายสินคา
เหลานี้สูมือผูบริโภคไดทันตามกําหนดเวลา ทําใหสินคาบางชนิดไมสามารถที่จะเก็บสตอกไวเปน

176 | ก า ร บ ริ ห า ร สิ น ค า ค ง ค ลั ง

ระยะเวลายาวนานได สินคาประเภทนี้ไดแก นมสด โยเกิรต นมเปรี้ยว อาหารกระปอง อาหาร
สําเร็จรูป ฯลฯ สวนสินคาที่มีการหดตัว เชน ไอศกรีมท่ีจะตองจัดเก็บไวในหองควบคุมอุณหภูมิ
หากมีการเคลือ่ นยายทีผ่ ิดวธิ ีกอ็ าจสงผลการการหดตัวได เชน กนั

9.6 สนิ คา คงคลงั และแนวทางการจดั การสนิ คาคลงั

สนิ คาคงคลังในองคก าร ท่ีองคการเก็บไว รวมถึงวัตถุดิบ ช้ินสวนประกอบ งานระหวางทํา

หรือสินคาสําเร็จรูป อาจแบงประเภทของสินคาคงคลังตามวัตถุประสงคของการนําสินคาคลังไปใช

สินคาคงคลังได 4 ประเภท ไดแ ก สินคาคงคลังในวงจรสินคาคงคลงั (cycle inventory) สนิ คา คงคลัง

เพ่ือความปลอดภัย(safety stock inventory) สินคาคงคลังที่เก็บไวลวงหนา (anticipate

inventory)และสนิ คา คงคลังที่อยูระหวางการขนสง (pipeline inventory)เน่อื งจากการเกบ็ สินคา คง

คลังในปริมาณท่ีมากเกินไปกอใหเกิดคาใชจายมีมากเกินความจําเปนตอองคการ ในสวนน้ีจะ

กลาวถึงแนวทางการปรับลดปริมาณสินคาคงคลังในแตละประเภทโดยเทคนิคพื้นฐานในการลด

ปริมาณสินคาคงคลังแบงออกเปนเทคนิคหลัก(primary lever)ซึ่งทําใหสินคาคงคลังลดลง และ

เทคนคิ รอง(secondary lever)ซง่ึ เปน แนวทางการลดคา ใชจ า ยที่เกดิ ข้ึนจากการใชเทคนิคหลกั โดยไม

กระทบตอปริมาณสินคาคงคลัง

9.6.1 สนิ คา คงคลังในวงจรสินคา คงคลงั

สินคาคงคลังในวงจรสินคาคงคลัง (cycle inventory) หมายถึง สินคาคง

คลังท่ีแปรผันตรงกับขนาดการสั่งซื้อ (lot size : Q) ซ่ึงขนาดการส่ังซื่อ หมายถึง ปริมาณในการ

สั่งซ้ือตอคร้ัง ซ่ึงการหาขนาดการสั่งซ้ือมีหลักการดังน้ีขนาดการสั่งซื้อแปรผันตรงกับรอบเวลาการ

สั่งซื้อแตละคร้ัง เชน ถาบริษัทส่ังซื้อวัตถุดิบทุก5 สัปดาหดังนั้นขนาดการส่ังซื้อเฉลี่ยตองเทากับอุป

สงคสินคาใน 5 สัปดาห เมื่อรอบเวลาการส่ังซ้อื แตละคร้งั นานขึ้นปริมาณสนิ คาคงคลังในวงจรสินคา

คงคลังตองมากข้ึนเชนกัน เม่ือรับสินคาที่สั่งซื้อมาวันแรกสินคาคงคลังในวงจรสินคาคงคลังจะมี

ปริมาณมากที่สุดหรือมีคาเทากบั Q และเม่ือส้ินสุดรอบเวลาการส่ังซ้ือสินคาคงคลังในวงจรสนิ คาคง

ลงั จะมีปริมาณนอยท่ีสุดหรือมีคาเทากับศูนย ดังนั้นปริมาณสินคาคงคลังในวงจรสินคาคงคลังเฉล่ีย

จึงมีคา เทา กบั ดังตอไปน้ี

ปริมาณสนิ คาคงคลงั ในวงจรสนิ คา คงคลงั เฉลย่ี

(Average cycle inventory) = ொା଴ ൌ ொ

ଶଶ

ทัง้ นี้ สมการหาปริมาณสินคา คงคลังในวงจรสินคาคงคลงั เฉล่ียน้ีมคี วามแมน ยําเมื่ออุปสงค

คงท่ี อยางไรกต็ ามเมือ่ อปุ สงคไมค งทอี่ าจใชส มการนป้ี ริมาณการขัน้ ตน ได

ก า ร บ ริ ห า ร สิ น ค า ค ง ค ลั ง | 177

การลดปริมาณสนิ คาคงคลังในวงจรสินคา คงคลงั นั้นมีเทคนิคหลัก ไดแ ก การลดขนาดการ
สงั่ ซ้ือซ่ึงองคการอาจอาศัยการผลิตแบบทันเวลาพอดี (just-in time) รวมท้ังลดขนาดการส่ังซื้อหรือ
ขนาดการผลิตใหนอยลง แตทั้งน้ีการลดขนาดการส่ังซ้ืออาจสงผลเสียตอองคการทําใหองคการตอง
เสียคาใชจายในการส่ังซ้ือหรือคาใชจายในการตั้งเคร่ืองจักรท่ีสูงขึ้นได ดังนั้น องคการอาจอาศัย
เทคนคิ รองไดแก

1. การปรบั ปรงุ การส่งั ซือ้ และการตง้ั คาเคร่อื งจกั รใหมปี ระสิทธฺภาพมากขนึ้ ซง่ึ จะ
ลดคาใชจ า ในการสง่ั ซอื้ และคาใชจา ยในการต้งั เคร่ืองจักรและลดขนาดการส่งั ซือ้ ได

2. นอกจากนี้องคการควรเพ่ิมการผลิตในรูปแบบซํ้าเดิมทั้งน้ีเพื่อลดความถี่ใน
การเปล่ียนวิธีตั้งเครื่องจักร โดยอาจใชช้ินสวนประกอบเหมือนกันเพ่ือผลิตสินคาหลาย
ประเภท เปน ตน การผลิตในรูปแบบเดมิ บอยครงั้ ทาํ ใหองคก ารกําหนดวธิ ีการตงั้ เคร่ืองจกั ร
ท่ีเหมาะสมคาใชจายในการขนสงลดลง และอาจไดรบั สวนลดจากผูจัดหาเนื่องจากอุปสงค
ในวสั ดุประเภทเดียวกนั สงู ข้นึ

9.6.2 สินคาคงคลงั เพอื่ ความปลอดภยั
สินคาคงคลังเพื่อความปลอดภัย (safety stock inventory) คือ สินคาคง

คลังซง่ึ เก็บไวเพือ่ นาํ มาใชเ มอื่ เกิดเหตุการณที่ไมคาดคดิ ในอนาคต ตวั อยางเชน เม่ือผูจ ัดหาไมสามารถ
สงมอบสินคา ในปริมาณหรอื คณุ ภาพตามท่ตี อ งการภายในวันที่ระบไุ ด หรือเม่ือบริษทั ตอ งผลติ สินคา
ใหมหรือมีการผลิตเสีย ดังนั้นองคการจึงเก็บสินคาคงคลังเพ่ือความปลอดภัยเพื่อปองกันปญหาใน
การใหบริการลูกคาและปองกันการเสียคาใชจายจากการไมมีชิ้นสวนประกอบ เห็นไดวาสินคาคง
คลังเพ่ือความปลอดภัยทําใหกระบวนการผลติ ไมห ยุดชะงกั เมอื่ มปี ญหาเกิดขึ้น ดงั นนั้นองคการตอง
สงั่ ซอ้ื ลวงหนาเพื่อปองกันสินคาขาดเนื่องจากเหตุการณที่ไมไดคาดการณลวงหนา ตัวอยางเชน ถา ผู
จัดหามีระยะเวลานําสงเทากับ 4 สัปดาห และบริษัทอาจส่ังสินคาลวงหนาใหเพียงพอสําหรับ
5 สัปดาหในอนาคต แสดงวาสนิ คาคงคลังเพอื่ ความปลอดภยั เทากับ 1 สปั ดาห

ภาพที่ 9.5 สนิ คาคงคลังเพ่อื ความปลอดภยั Safety Stock Inventory

178 | ก า ร บ ริ ห า ร สิ น ค า ค ง ค ลั ง

สําหรับเทคนิคหลักในการลดสินคาคงคลังเพื่อความปลอดภัย ไดแก การส่ังซื้อวัตถุดิบใน
เวลาใกลเ คยี งกับเวลาท่ีตองใชว ตั ถดุ บิ แตอยางไรกต็ ามวิธกี ารนอี้ าจทําใหองคการไมสามารถบรกิ าร
ลูกคาไดเพียงพอถาอุปสงค อุปทานและการสงมอบวัตถุดิบมีความผันผวน ดังน้ัน องคการอาศัย
เทคนคิ รอง 4 ประการในการดําเนนิ งาน คือ

1. ปรบั ปรุงการพยากรณอ ุปสงคเพ่อื ลดความไมแนน อนของอปุ สงค
2. ปรับลดระยะเวลานําสงจากการซื้อสินคาหรือการผลิตสินคาโดยองคการอาจ
เลอื กผูจ ัดหาในทอ งถน่ิ ซึ่งมีระยะเวลานําสงสั้นทัง้ น้ีเพื่อลดความไมแ นนอนของระยะเวลานําสง
3. จัดวางแผนการผลติ รวมกับผูจัดหา เพ่ือลดตความไมแนน อนของผจู ัดหาโดยทํา
ใหผจู ัดหาพยากรณอุปสงคไ ดถกู ตองมากขน้ึ
4. ใหความสําคัญกับเคร่ืองจักรและพนักงาน โดยเนนการบํารงรักษเชิงปองกัน
เพื่อลดความเสียหายของเคร่ืองจักร และการเก็บกําลังการผลิตสํารองและฝกอบรมพนักงานให
ทํางานไดหลายหนาท่ีซ่ึงสามารถทํางานแทนพนักงานคนอื่นได โดยเฉพาะอยางยิ่งธุรกิจบริการควร
ตระหนักถงึ การฝก อบรมพนกั งานเนอ่ื งจากธรุ กจิ ไมส ามารถเกบ็ การบรกิ ารเปน สนิ คา คงคลงั ได
9.6.3 สนิ คา คงคลังที่เก็บไวล วงหนา

สนิ คา คงคลังท่ีเก็บไวล วงหนา (anticipate inventory) คือ สินคาคงคลงั ที่
องคการเกบ็ ไวเ พือ่ ลดความผันผวนของอปุ สงคและอทุ านของสินคา โดยเฉพาะองคก ารทีม่ ีอปุ สงคใ น
สินคามีรูปแบบฤดูกาลตัวอยางเชน โรงงานผลิตเคร่ืองปรับอากาศมียอดขายแบบฤดูกาล องคการ
อาจผลติ เครอื่ งปรับอากาศในชว งทอี่ ุปสงคต่าํ ในอตั ราการผลติ คงท่ีโดยสินคา คงคลงั ท่ีเหลือจะถูกเก็บ
ไวเพ่ือขายในชวงท่ีอุปสงคสูง ท้ังน้ี การรักษาอัตราการผลิตใหคงที่ตลอดทั้งปโดยอาศัยการเก็บ
สินคาคงคลังลวงหนาสงผลใหประสิทธิภาพการผลิตขององคการเพ่ิมขึ้นและ ตนทุนการผลิตต่ําลง
นอกจากนี้สินคาคงคลังสามารถลดความผันผวนของอุปทานไดเชนกัน ดังเชนในกรณีท่ีผูจัดหา
วัตถุดิบมีกําลังการผลิตจํากัด ดังน้ันองคการอาศัยอาจเก็บวัตถุดิบท่ีซื้อจากผูจัดหาไวลวงหนา
องคการท่ีตองการลดปริมาณสินคาคงคลังที่เก็บไวลวงหนาควรมีเทคนิคหลักคือ การปรับปริมาณ
สินคาท่ีตองการใหเทา กับปริมาณสินคาท่ีผลิต ทั้งน้ีเทคนคิ คลองทําโดยปรับอุปสงคสินคาของลูกคา
ไดแก การเพ่ิมสินคาใหมซ่ึงมีวงจรอุปสงคแตกตางกัน ซึ่งในชวงเวลาเดียวกันสินคาชนิดหน่ึงตองมี
อุปสงคส ุงและสินคา อกี ชนดิ หน่ึงมีอุปสงคต ่าํ การสง เสริมการขายในชวงทีม่ อี ุปสงคนอย และการวาง
แผนการตัง้ ราคาท่ีแตกตา งกนั ในชวงเวลาตางกัน

9.6.4 สินคาคงคลงั ท่อี ยรู ะหวา งการขนสง
สินคาคงคลังที่อยูระหวางการขนสง (pipeline inventory) คือ วัตถุดิบ

งานระหวางทํา หรือสินคาสําเร็จรูปที่อยูระหวางการเคล่ือนยายจากที่หน่ึงไปยังอีกท่ีหนึ่ง อาทิเชน


Click to View FlipBook Version