The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by natcha254082, 2022-07-06 05:57:27

รวมหลักสูตร

รวมหลักสูตร

หลักสูตรสถานศกึ ษา

โรงเรียนบา้ นเพชรมงคล (ฉบบั ปรับปรุง)
พทุ ธศักราช ๒๕๖๕

ตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พื้นฐาน
พทุ ธศักราช ๒๕๕๑

สานกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พืน้ ฐาน
กระทรวงศึกษาธกิ าร

ประกาศโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล
เรอื่ ง ใหใ้ ช้หลกั สูตรโรงเรียนบ้านเพชรมงคล พทุ ธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

……………………………….
ตามท่ีโรงเรียนบ้านเพชรมงคล ได้ประกาศใช้หลักสูตรโรงเรียนบ้านเพชรมงคล พุทธศักราช ๒๕๖๕
โดยเร่ิมใช้หลักสูตรดังกล่าวกับนักเรียนทุกระดับชั้นในปีการศึกษา ๒๕๖๓ เพ่ือให้สอดคล้องรับกับนโยบาย
เร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ มีเวลา
ในการทากิจกรรมเพ่ือพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การสร้างวินัย
การมีจิตสานึกรับผิดชอบต่อสังคม ยึดมั่น ในสถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ และมีความภาคภูมิใจใน
ความเปน็ ไทย ตลอดจนการเรยี นการสอนในวิชาประวัติศาสตร์ และหนา้ ท่ีพลเมอื ง รวมถึงการสอนศีลธรรมแก่
นักเรียน โรงเรียนบ้านเพชรมงคล ได้ดาเนินการจัดทาหลักสูตรโรงเรียนบ้านเพชรมงคล พุทธศักราช ๒๕๖๕
สอดคล้องตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ือง การบริหารจัดการเวลาเรียน และปรับมาตรฐานและ
ตัวชี้วัด สอดคล้องกับ คาสั่ง สพฐ. ท่ี ๑๒๓๙/๖๐ และประกาศ สพฐ.ลงวันท่ี ๘ มกราคม ๒๕๖๐ เป็นที่
เรียบรอ้ ยแล้ว

ท้ังน้ีหลักสูตรโรงเรียนได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาข้ันพ้ืนฐาน เม่ือวันที่ ๒๐
เมษายน ๒๕๖๕ จงึ ประกาศให้ใชห้ ลกั สูตรโรงเรียนตัง้ แต่บัดนี้เป็นตน้ ไป

ประกาศ ณ วนั ท่ี ๓๐ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕

ลงชอื่ ลงชือ่
(นายทองแดง วังครี ี) (นายสมพร นวนงาม)

ประธานคณะกรรมการสถานศกึ ษาข้ันพืน้ ฐาน ผอู้ านวยการโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล
โรงเรียนบา้ นเพชรมงคล

คานา

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเพชรมงคล ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นแผน หรือแนวทาง ข้อกาหนดการจัดการศึกษา
โรงเรียนบ้านเพชรมงคล ท่ีใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพ่ือพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความสมดุลท้ังด้าน
ร่างกาย ความรู้ คุณธรรมมีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมุข มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติ และความพรอ้ มท่จี ะเรียนรู้ส่ิง
ต่างๆ เพื่อการประกอบอาชีพเม่ือจบการศึกษา หรือสามารถเรียนต่อในระดับท่ีสูงข้ึน สามารถแข่งขันและอยู่
รว่ มกับประชาคมโลกได้ โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญบนพ้ืนฐานความเชอ่ื ว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนา
ตนเองได้เต็มตามศักยภาพ สอดคล้องกับคาสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ. ๑๒๓๙/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๗
สงิ หาคม ๒๕๖๐ ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบบั ปรับปรงุ พทุ ธศกั ราช
๒๕๖๐) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม
ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อนาไปใช้ประโยชน์และเป็นกรอบในการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรของ
สถานศึกษาและจัดการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มีกระบวนการนา
หลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ โดยมีการกาหนดวิสัยทัศน์ สมรรถนะสาคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด โครงสร้างเวลาเรียน ตลอดจนเกณฑ์การวัดประเมินผลให้มีความสอดคล้อง
กบั มาตรฐานการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้โรงเรียนสามารถกาหนดทิศทางในการจัดทาหลักสตู รการเรยี นการสอน
ในแต่ละระดบั ตามความพร้อมและจุดเน้น โดยมกี รอบแกนกลางเป็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อตอบสนองนโยบาย
ไทยแลนด์ ๔.๐ มีความพร้อมในการกา้ วสู่สงั คมคณุ ภาพ มีความรูอ้ ย่างแทจ้ ริง และมีทกั ษะในศตวรรษที่ ๒๑

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กาหนดไว้ในเอกสารนี้ ช่วยทาให้หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องในทุกระดับ
เห็นผลคาดหวังท่ีต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนท่ีชัดเจนตลอดแนว ซ่ึงจะสามารถช่วยให้
หน่วยงานท่ีเก่ียวข้องในระดับท้องถ่ินและสถานศึกษาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรได้อย่างม่ันใจ ทาให้การจัดทา
หลกั สตู รในระดับสถานศกึ ษามีคณุ ภาพและมีความเป็นเอกภาพยง่ิ ขึ้น อีกท้ังยงั ชว่ ยใหเ้ กิดความชดั เจนเรอื่ งการ
วัดและประเมินผลการเรียนรู้ และช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา ดังนั้นในการพัฒนา
หลักสูตรในทุกระดับต้งั แต่ระดับชาตจิ นกระท่ังถึงสถานศึกษา จะต้องสะท้อนคณุ ภาพตามมาตรฐานการเรยี นรู้
และตัวชี้วดั ทกี่ าหนดไว้ในหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขน้ั พื้นฐาน รวมทั้งเป็นกรอบทศิ ทางในการจัดการศกึ ษา
ทกุ รปู แบบ และครอบคลมุ ผูเ้ รียนทกุ กลุ่มเป้าหมายในระดบั การศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน

โรงเรียนบ้านเพชรมงคล ขอขอบคุณคณะกรรมการสถานศึกษาข้ันพื้นฐาน คณะกรรมการบริหาร
หลักสูตรและวิชาการโรงเรียนบ้านเพชรมงคล คณะศึกษานิเทศก์ คณะครูและผู้เกี่ยวขอ้ งทุกท่าน ท่ีมีส่วนร่วม
ในการจัดทาหลักสูตรฉบบั นี้ให้สาเร็จลลุ ว่ งดว้ ยดี สามารถนาไปใช้เพื่อพัฒนาผูเ้ รียนให้มีความรู้ ความสามารถมี
ทักษะที่จาเป็นสาหรับการเรียนรู้ มีความพร้อมที่จะประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษา หรือสามารถเรียนต่อใน
ระดบั ท่ีสูงขนึ้ เป็นคนดี มคี ุณธรรม สามารถแข่งขนั และอยรู่ ่วมกับผูอ้ นื่ ในสังคมได้อยา่ งเปน็ สุข

………………………………………
(นายสมพร นวนงาม)

ผ้อู านวยการโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล

สารบัญ

เร่อื ง หนา้

ประกาศโรงเรยี น ๑
คานา ๒
ความนา........................................................................................................... ......... ๒
วสิ ัยทศั น.์ .................................................................................................................. ๓
สมรรถนะสาคัญของผเู้ รียน...................................................................................... ๑๐
คุณลกั ษณะอันพึงประสงค.์ ...................................................................................... ๒๒
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา............................................................................. .... ๒๓
คาอธิบายรายวิชา…………………………………………………………………………………………. ๔๐
๕๒
กลมุ่ สาระการเรยี นรภู้ าษาไทย.......................................................................... ๗๘
กลมุ่ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์........................................................................ ๑๐๙
กลมุ่ สาระการเรียนรวู้ ทิ ยาศาสตร์เทคโนโลย.ี ..................................................... ๑๒๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้สงั คมศกึ ษา ศาสนา และวัฒนธรรม................................ ๑๓๘
กล่มุ สาระการเรยี นรู้สขุ ศึกษาและพลศึกษา...................................................... ๑๕๐
กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ศิลปะ................................................................................ ๑๖๔
กลุ่มสาระการเรียนรกู้ ารงานอาชพี .................................................................... ๑๗๒
กลมุ่ สาระการเรียนรู้ภาษาองั กฤษ..................................................................... ๑๘๒
กิจกรรมพฒั นาผ้เู รยี น..............................................................................................
หลักการวัดและประเมนิ ผลการเรียนรู้.....................................................................
เกณฑ์การจบหลกั สูตร............................................................................................
ภาคผนวก..............................................................................................................

1

ความนา

หลักสูตรโรงเรียนบ้านเพชรมงคล พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ัน
พืน้ ฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ. ๒๕๖๑) ได้จัดทาขึ้นตามแนวทางทก่ี าหนดไว้ในหลักสตู ร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๕) และเป็นไปตามมาตรา
๒๗ วรรคสอง แหง่ พระราชบัญญตั ิการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และท่ีแกไ้ ขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.
๒๕๔๕ ซ่ึงกาหนดให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดทาสาระของหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักการ จุดหมายของ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐานกาหนด เพ่ือตอบสนองต่อความต้องการในส่วนที่เก่ียวกับสภาพ
ปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถ่ิน คุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ เพื่อให้เยาวชนเป็นสมาชิกที่ดีของ
ครอบครวั ชุมชน สังคมและประเทศชาติ

ดังน้ัน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมคนให้สามารถปรับตัวรองรับ
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม กระทรวงศกึ ษาธิการจึงกาหนดเปน็ นโยบายสาคญั และ
เร่งด่วนให้มี การปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการ
เรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ
วัฒนธรรม รวมท้งั สาระ เทคโนโลยี โดยยังคงหลกั การและโครงสร้างเดิมของหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษา
ข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คือประกอบด้วย ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ แต่มุ่งเน้นการปรับปรุงเนื้อหา
ให้มีความทันสมัย ทันต่อ การเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่างๆ คานึงถึงการ
สง่ เสริมใหผ้ ู้เรียนให้มีทักษะที่จาเป็นสาหรบั การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เตรยี มผู้เรียนให้มีความพร้อมที่
จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ พร้อมท่ีจะประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษา หรือสามารถเรียนต่อในระดับท่ีสูงข้ึน
สามารถแขง่ ขนั และอยูร่ ่วมกบั ประชาคมโลกได้

กรอบในการปรับปรุง คือ ให้มีองค์ความรู้ท่ีเป็นสากลเทียบเท่านานาชาติ ปรับมาตรฐานการ
เรียนรู้และตัวช้ีวัดให้มีความชัดเจน ลดความซ้าซ้อน สอดคล้องและเชื่อมโยงกันภายในกลุ่มสาระการ
เรียนรู้ และระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตลอดจนเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
และเทคโนโลยีเข้าดว้ ยกัน จัดเรียงลาดับความยากง่ายของเนื้อหาในแต่ละระดับช้ันตามพัฒนาการแต่ละ
ชว่ งวัย ให้มีความเช่ือมโยงความรแู้ ละกระบวนการเรียนรู้ โดยให้เรียนรูผ้ ่านการปฏิบัติท่สี ่งเสรมิ ใหผ้ ู้เรียน
พัฒนาความคดิ

สาระสาคญั ของการปรบั ปรุงหลกั สูตรมีดังน้ี
๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวทิ ยาศาสตรเ์ ทคโนโลยี

๑.๑ จัดกลุ่มความรู้ใหม่และนาทักษะกระบวนการไปบูรณาการกับตัวช้ีวัด เน้นให้ผู้เรียน
เกดิ การคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา และมีทกั ษะในศตวรรษที่ ๒๑

๑.๒ กาหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวช้ีวัดสาหรบั ผู้เรียนทุกคน ท่ีเป็นพื้นฐานทเ่ี ก่ียวข้อง
กับชีวิตประจาวนั และเปน็ พนื้ ฐานสาคญั ในการศึกษาตอ่ ในระดับทส่ี ูงข้ึน

หลกั สูตรสถานศกึ ษาโรงเรียนบ้านเพชรมงคล ฉบบั ปรบั ปรงุ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพ้นื ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

2

๒. กล่มุ สาระการเรียนร้วู ิทยาศาสตร์ ไดเ้ พิ่มสาระเทคโนโลยี ซง่ึ ประกอบด้วยการออกแบบและ
เทคโนโลยีและวิทยาการคานวณ ทั้งน้ีเพื่อเอ้ือต่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการสาระการเรียนรู้ทาง
คณติ ศาสตร์ วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี กับกระบวนการเชงิ วศิ วกรรมตามแนวคิดสะเต็มศกึ ษา

๓. สาระภูมศิ าสตร์ ซง่ึ เปน็ สาระหนึ่งในกล่มุ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวฒั นธรรม
ได้ปรับมาตรฐานการเรียนร้แู ละตัวช้ีวัดให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับพัฒนาการตามช่วงวัย มีองค์ความรู้
ทีเ่ ปน็ สากล เพิ่มความสามารถ ทักษะ และกระบวนการทางภูมิศาสตรท์ ่ชี ดั เจน

จากความจาเป็นดังกล่าว โรงเรียนบ้านเพชรมงคล จึงได้จัดทาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียน
บ้านเพชรมงคล พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ขึ้น ตามคาส่ังกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ. ๑๒๓๙/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๐ เรื่อง ให้ใช้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวช้ีวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๑) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และ
สอดคล้องกบั บริบท จุดเนน้ โรงเรียน เพอื่ พฒั นาผู้เรยี นใหม้ ีความรู้ ความสามารถ มีทักษะที่จาเปน็ สาหรับ
การเรียนรู้ มีความพร้อมท่ีจะประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษา หรือสามารถเรียนต่อในระดับท่ีสูงขึ้น
สามารถแข่งขันและอยูร่ ่วมกับประชาคมโลกได้

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล ฉบบั ปรับปรงุ พุทธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑

3

ปรัชญา วสิ ยั ทศั น์ โรงเรียนบ้านเพชรมงคล

ปรชั ญา

นตถิ ปญญฺ า สมา อาภา (แสงสว่างเสมอดว้ ยปญั ญาไม่มี)

วิสยั ทศั น์

โรงเรียนบ้านเพชรมงคลมุ่งพัฒนาผเู้ รยี นให้มคี ณุ ลักษณะอันพงึ ประสงค์และคณุ ลักษณะผเู้ รียนใน
ศตวรรษท่ี ๒๑ มีทกั ษะทางวิชาการ ทกั ษะชวี ติ และทักษะอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
เปน็ คนดี คนเก่งและสามารถดารงชีวติ อยูใ่ นสังคมอย่างมีความสขุ

พนั ธกิจ (Mission )

โรงเรียนร่วมกบั หนว่ ยงานทเ่ี ก่ียวขอ้ ง จัดการศกึ ษาให้กับนักเรยี นทอ่ี ยูใ่ นวัยการศึกษาภาคบังคับ
โรงเรียน ผปู้ กครองและองค์กรสว่ นท้องถ่นิ ร่วมพฒั นานักเรียนใหเ้ ปน็ ผมู้ คี วามรูค้ วามสามารถทางด้าน
ทักษะวชิ าการ ทกั ษะชวี ติ และมคี ุณลักษณะอนั พงึ ประสงค์

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบับปรับปรงุ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

4

๑. พัฒนาคุณภาพของผเู้ รียนให้มีคุณลกั ษณะอันพึงประสงค์
๒. พัฒนาคณุ ภาพของผเู้ รยี นมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี ๒๑ มีความเป็นเลิศดา้ นวชิ าการ
นาไปสู่การสรา้ งขีดความสามารถในการแข่งขนั

๓. พัฒนาผู้เรยี นใหม้ ีทกั ษะอาชพี และทักษะชีวิต มสี ุขภาวะทดี่ สี ามารถดารงชวี ติ อยู่ใน
สังคม ได้อยา่ ง มคี วามสขุ

๔. สง่ เสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีคณุ ภาพ สู่ครมู ืออาชีพ

เป้าหมาย

๑. นักเรยี นมีคณุ ลักษณะอันพึงประสงค์ และคณุ ลักษณะผู้เรยี นในศตวรรษที่ ๒๑
๒. นกั เรียนมีทักษะอาชพี และทักษะชวี ติ สามารถดารงชวี ิตอยใู่ นสงั คม ไดอ้ ยา่ งมคี วามสุข
ตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง
๓. ครู และบุคลากรทางการศึกษา เป็นผู้เรียนรู้ มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีความแม่นยาทาง
วิชาการ มีทักษะการจัดการเรียนรู้ท่ีหลากหลายตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นผู้สร้างสรรค์
นวตั กรรม และทักษะในการใช้เทคโนโลยี
๔. ผู้บริหารสถานศึกษา มีความเป็นเลิศส่วนบุคคล คิดเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม มีภาวะผู้นาทาง
วชิ าการ มีสานึกความรบั ผดิ ชอบ (Accountability) และการบริหารแบบร่วมมอื
๕. สถานศึกษาบริหารงานและจัดการเรียนรู้ ร่วมมือกับชุมชน ภาคเอกชน และผู้เก่ียวข้องในการ
จัดการศึกษาระดบั พนื้ ท่จี ดั สภาพแวดล้อมในโรงเรียน เพ่ือการเรยี นรใู้ นทกุ มติ ิ เปน็ โรงเรยี นนวัตกรรม
๖. โรงเรียนมีการบริหารงานเชิงบูรณาการ ใช้ข้อมูลสารสนเทศ พัฒนาในการขับเคล่ือนคุณภาพ
กากบั ติดตาม ประเมินและรายงานผลอยา่ งเปน็ ระบบ
๗. โรงเรียนปรับเปล่ียนวฒั นธรรมการทางาน บริหารงานเชิงบูรณาการมรี ะบบข้อมูลสารสนเทศท่ี
มีประสิทธิภาพ กากับ ติดตาม ประเมินผล และการรายงานผลอย่างเป็นระบบ ใช้วิจัย และนวัตกรรมใน
การขบั เคลือ่ นคณุ ภาพ

หลกั สตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรบั ปรงุ พุทธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาข้นั พ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

5

อัตลกั ษณ์

มีวนิ ัย ใฝเ่ รยี นรู้ อยู่อย่างพอเพยี ง

เอกลกั ษณ์

ย้มิ ไหว้ ทักทาย

สมรรถนะสาคญั ของผูเ้ รียน

หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านเพชรมงคล ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตามหลักสูตร
แกนกลางการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มงุ่ ให้ผเู้ รียนเกดิ สมรรถนะสาคญั ๕ ประการ ดงั นี้

๑. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้
ภาษาถ่ายทอดความคดิ ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพ่ือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสงั คม รวมท้ังการเจรจาต่อรองเพ่ือขจัดและ
ลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง
ตลอดจนการเลือกใช้วธิ กี ารส่ือสาร ทม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพโดยคานึงถึงผลกระทบทม่ี ตี อ่ ตนเองและสงั คม

๒. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด
อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพ่ือนาไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือ
สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเก่ียวกบั ตนเองและสงั คมได้อยา่ งเหมาะสม

๓. ความสามารถในการแก้ปญั หา เป็นความสามารถในการแก้ปญั หาและอุปสรรคตา่ ง ๆ ทเี่ ผชิญ
ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพ้ืนฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์
และการเปล่ียนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกัน
และแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคานึงถึงผลกระทบที่เกิดข้ึนต่อตนเอง สังคมและ
สิง่ แวดลอ้ ม

๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนากระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
การดาเนินชีวิตประจาวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทางาน และการอยู่ร่วมกัน
ในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่าง
เหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยง
พฤตกิ รรมไมพ่ งึ ประสงคท์ ่สี ่งผลกระทบตอ่ ตนเองและผู้อ่นื

หลักสูตรสถานศกึ ษาโรงเรียนบ้านเพชรมงคล ฉบับปรบั ปรงุ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑

6

๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ
และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพ่ือการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร
การทางาน การแกป้ ญั หาอยา่ งสร้างสรรค์ ถูกตอ้ ง เหมาะสม และมีคณุ ธรรม

คณุ ลกั ษณะอันพึงประสงค์

หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านเพชรมงคล พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตามหลักสูตรแกนกลาง

การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถ

อยู่ร่วมกบั ผอู้ ืน่ ในสังคมไดอ้ ย่างมคี วามสุข ในฐานะเปน็ พลเมืองไทยและพลโลก ดงั นี้

๑. รกั ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๕. อยอู่ ยา่ งพอเพยี ง

๒. ซ่อื สัตยส์ จุ รติ ๖. มุ่งม่นั ในการทางาน

๓. มีวินัย ๗. รกั ความเป็นไทย
๔. ใฝ่เรียนรู้ ๘. มจี ติ สาธารณะ

โครงสรา้ งหลักสูตรสถานศึกษา

โครงสร้างหลกั สตู รสถานศึกษามี ๒ ส่วนได้แก่ โครงสรา้ งเวลาเรียนและโครงสร้างหลักสูตรชนั้ ปี ดังน้ี
๑. การจดั เวลาเรียน

๑.๑ เวลาเรยี นท่ีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้นื ฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑ กาหนด
เวลาเรียนในระดับประถมศึกษาตอนต้น จัดเวลาเรียนเป็นรายปี ไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ช่วั โมง
ประกอบด้วย เวลาเรียนในรายวิชาพื้นฐาน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๙๒๐ ชว่ั โมง กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๑๒๐
ชว่ั โมง และรายวิชาหรอื กิจกรรมเพมิ่ เติมตามจุดเนน้ ของโรงเรยี น

เวลาเรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย จัดเวลาเรียนเป็นรายปี ไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐
ช่ัวโมง ประกอบด้วย เวลาเรียนในรายวิชาพื้นฐาน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘๘๐ ชั่วโมง กิจกรรมพัฒนา
ผเู้ รียน ๑๒๐ ชั่วโมง และรายวชิ าหรือกิจกรรมเพ่ิมเตมิ ตามจดุ เนน้ ของโรงเรียน

เวลาเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค ไม่น้อยกว่า ๑,๒๐๐ ชั่วโมง
คิดน้าหนักของรายวิชาท่ีเรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์ ๔๐ ช่ัวโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้าหนักวิชา เท่ากับ ๑
หน่วยกิต (นก.) ประกอบด้วย เวลาเรียนในรายวิชาพ้ืนฐาน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๙๒๐ ชั่วโมง กิจกรรม
พฒั นาผู้เรยี น ๑๒๐ ชวั่ โมง และรายวชิ าหรือกจิ กรรมเพ่ิมเติมตามจดุ เน้นของโรงเรียน

หลกั สตู รสถานศึกษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบับปรับปรงุ พุทธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลักสตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

7

๑.๒ เวลาเรียนและการเรียนการสอนตามคาส่ัง ประกาศ และหนังสือราชการของ
กระทรวงศึกษาธกิ าร

๑) การเรียนการสอนวิชาหน้าที่พลเมือง จัดการเรียนการสอนบูรณาการและวัดผลรวมอยู่
ในกล่มุ สาระการเรียนร้สู ังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

๒) การเรยี นการสอนสาระประวตั ิศาสตร์ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น
๔๐ ช่ัวโมง/ปี

๓) การเรยี นการสอนภาษาอังกฤษ ในชนั้ ประถมศกึ ษาปีที่ ๑ – ๓ จานวน ๒๐๐ ช่วั โมง/ปี
โดยจัดการเรียนการสอนเป็นรายวิชาพื้นฐาน ๑๒๐ ชั่วโมง/ปี รายวชิ าเพมิ่ เตมิ ๘๐ ชว่ั โมง/ปี

๔) การเรียนการสอนสาระการออกแบบและเทคโนโลยี เพิ่มช่ัวโมงในกลุ่มสาระการเรียนรู้
วทิ ยาศาสตร์ แทนการงานอาชีพและเทคโนโลยี ในช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ ๑-๓ จานวน ๔๐ ชวั่ โมง/ปี

๑.๓ เวลาเรยี นและการเรียนการสอนรายวิชาเพ่ิมเติมตามจดุ เน้นของโรงเรียน
๑) การเรียนการสอนภาษาอังกฤษช้ันประถมศึกษาปีท่ี ๑ – ๖ จานวน ๘๐ ชวั่ โมง/ปี
๒) การเรียนการสอนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี ๑ – ๓ เน้นการปฏิบัติในกลุ่มสาระการเรียนรู้

คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ ๘๐ ชวั่ โมง/ปี และงานอาชพี ๑๒๐ ชั่วโมง/ปี
๒. จานวนมาตรฐานการเรียนรแู้ ละตัวชวี้ ัด และลกั ษณะตวั ชว้ี ดั
๒.๑ จานวนมาตรฐานการเรยี นรู้และตัวชว้ี ัดกลุ่มสาระการเรยี นรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

สาระภมู ิศาสตรแ์ ละการงานอาชพี และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๑) มดี ังนี้

หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรบั ปรงุ พทุ ธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลักสตู รแกนกลางการศึกษาขนั้ พื้นฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑

8

สาระและมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณติ ศาสตร์
สาระท่ี ๑ จานวนและพชิ คณติ
มาตรฐาน ค ๑.๑ เขา้ ใจความหลากหลายของการแสดงจานวน ระบบจานวน การดาเนินการของ

จานวนผลทีเ่ กดิ ข้ึนจากการดาเนนิ การ สมบตั ิของการดาเนินการ และนาไปใช้
มาตรฐาน ค ๑.๒ เข้าใจและวเิ คราะห์แบบรปู ความสมั พันธ์ ฟังกช์ นั ลาดับและอนุกรม และนาไปใช้
มาตรฐาน ค ๑.๓ ใชน้ พิ จน์ สมการ และอสมการ อธบิ ายความสัมพันธ์หรือช่วยแก้ปญั หาทีก่ าหนดให้
สาระที่ ๒ การวดั และเรขาคณติ
มาตรฐาน ค ๒.๑ เข้าใจพนื้ ฐานเกี่ยวกบั การวัด วัดและคาดคะเนขนาดของส่ิงท่ีต้องการวดั และนาไปใช้
มาตรฐาน ค ๒.๒ เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณติ สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสมั พันธร์ ะหว่างรปู

เรขาคณิต และทฤษฎีบททางเรขาคณติ และนาไปใช้
สาระท่ี ๓ สถติ ิและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค ๓.๑ เขา้ ใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถติ ิในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค ๓.๒ เขา้ ใจหลักการนบั เบื้องตน้ ความนา่ จะเป็น และนาไปใช้

จานวนมาตรฐานการเรียนรูแ้ ละตัวชี้วดั คณิตศาสตรพ์ ้นื ฐาน

มาตรฐานการเรียนรู้ จานวนตวั ชวี้ ัดแต่ละระดบั /แตล่ ะสาระ รวม
จานวน
ชอ่ื สาระ จานวน รหัส ประถมศกึ ษา มธั ยมศึกษาตอนตน้ ตัวชวี้ ัด

มาตรฐาน มาตรฐาน ป.๑ ป.๒ ป.๓ ป.๔ ป.๕ ป.๖ ม.๑ ม.๒ ม.๓ ๖๖

๑.จานวนและ ๓ ค ๑.๑ ๕ ๘ ๑๑ ๑๖ ๙ ๑๒ ๓ ๒ - ๖
๓๕
พชิ คณิต ค ๑.๒ ๑ - ๑ - - ๑ - ๒ ๒ ๒๓
๑๑
ค ๑.๓ - - - - - - ๓ - ๓ ๓
๑๔๙
๒.การวัดและ ๒ ค ๒.๑ ๒ ๖ ๑๓ ๓ ๔ ๓ - ๒ ๒

เรขาคณติ ค ๒.๒ ๑ ๑ ๑ ๒ ๔ ๔ ๒ ๕ ๓

๓.สถิติและ ๒ ค ๓.๑ ๑ ๑ ๒ ๑ ๒ ๑ ๑ ๑ ๑

ความนา่ จะเปน็ ค ๓.๒ - - - - - - - - ๑

๗ ๑๐ ๑๖ ๒๘ ๒๒ ๑๙ ๒๑ ๙ ๑๒ ๑๒

รวมตวั ชว้ี ดั ๑๑๖ ๓๓

หลักสูตรสถานศกึ ษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบับปรับปรงุ พทุ ธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

9

สาระและมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้วทิ ยาศาสตรเ์ ทคโนโลยี
สาระที่ ๑ วทิ ยาศาสตร์ชวี ภาพ
มาตรฐาน ว ๑.๑ เขา้ ใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งสง่ิ ไมม่ ชี ีวิตกบั สิ่งมีชีวติ

และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับส่ิงมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศการถ่ายทอด
พลังงานการเปลี่ยนแปลงแทนที่ในระบบนิเวศ ความหมายของประชากร ปัญหาและ
ผ ล ก ร ะ ท บ ท่ี มี ต่ อ ท รั พ ย า ก ร ธ ร ร ม ช า ติ แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม แ น ว ท า ง ใ น ก า ร อ นุ รั ก ษ์
ทรพั ยากรธรรมชาติและการแกไ้ ขปญั หาสง่ิ แวดลอ้ มรวมท้ังนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๑.๒ เข้าใจสมบัตขิ องส่ิงมชี วี ิต หนว่ ยพน้ื ฐานของสิง่ มชี ีวิต การลาเลียงสารเข้าและออกจาก
เซลล์ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าท่ีของระบบต่างๆของสัตว์และมนุษย์ที่
ทางานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ของพืชท่ี
ทางานสัมพันธก์ นั รวมทง้ั นาความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๑.๓ เข้าใจกระบวนการและความสาคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมสาร
พันธุกรรม การเปล่ียนแปลงทางพันธุกรรมท่ีมีผลต่อสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทาง
ชีวภาพและววิ ัฒนาการของสงิ่ มชี วี ติ รวมทง้ั นาความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ
มาตรฐาน ว ๒.๑ เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสาร
กับ โครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของกา ร
เปล่ยี นแปลง สถานะของสสาร การเกดิ สารละลาย และการเกดิ ปฏกิ ริ ยิ าเคมี
มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจาวัน ผลของแรงที่กระทาต่อวัตถุ ลักษณะการ
เคลื่อนที่ แบบต่างๆ ของวัตถุรวมทัง้ นาความรู้ไปใชป้ ระโยชน์
มาตรฐาน ว ๒.๓ เขา้ ใจความหมายของพลงั งาน การเปลย่ี นแปลงและการถา่ ยโอนพลังงานปฏสิ มั พนั ธ์
ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชวี ติ ประจาวนั ธรรมชาติของคล่นื ปรากฏการณท์ ี่
เก่ยี วข้องกับเสยี ง แสง และคลน่ื แมเ่ หลก็ ไฟฟ้า รวมท้ังนาความรไู้ ปใช้ประโยชน์
สาระท่ี ๓ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ
มาตรฐาน ว ๓.๑ เขา้ ใจองค์ประกอบ ลกั ษณะ กระบวนการเกิด และวิวฒั นาการของเอกภพกาแลก็ ซี
ดาวฤกษ์และระบบสุรยิ ะ รวมท้ังปฏิสมั พันธ์ภายในท่สี ่งผลต่อส่งิ มชี ีวติ
และการประยกุ ตใ์ ชเ้ ทคโนโลยีอวกาศ
มาตรฐาน ว ๓.๒ เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปล่ียนแปลงภายใน
โลก และ บนผวิ โลก ธรณีพบิ ัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟา้ อากาศและภูมิอากาศ
โลก รวมทง้ั ผลต่อสิ่งมชี วี ิตและสงิ่ แวดล้อม

หลกั สูตรสถานศกึ ษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรบั ปรงุ พุทธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พนื้ ฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑

10

สาระที่ ๔ เทคโนโลยี
มาตรฐาน ว ๔.๑ เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดารงชีวิตในสังคมท่ีมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง

รวดเร็ว ใช้ ความรู้และทักษะทางดา้ นวิทยาศาสตร์คณติ ศาสตร์และศาสตรอ์ ืน่ ๆ
เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนา งานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิง
วิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคานึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และ
สงิ่ แวดลอ้ ม
มาตรฐาน ว ๔.๒ เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคานวณในการแก้ปัญหาท่ีพบในชีวิตจริงอยา่ งเป็นขั้นตอนและ
เป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้การทางาน และการ
แก้ปัญหาไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธิภาพ รเู้ ท่าทนั และมีจรยิ ธรรม
สาระท่ี ๒ การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง ๒.๑ เข้าใจเทคโนโลยแี ละกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสรา้ งสิง่ ของเคร่อื งใช้ หรือ

วิธกี ารตามกระบวนการเทคโนโลยอี ย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เลือกใชเ้ ทคโนโลยใี น
ทางสร้างสรรค์ ตอ่ ชวี ิต สงั คม สง่ิ แวดล้อม และมีส่วนรว่ มในการจัดการเทคโนโลยที ่ี
ย่ังยนื
สาระท่ี ๓ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสอ่ื สาร
มาตรฐาน ง ๓.๑ เขา้ ใจ เหน็ คุณคา่ และใชก้ ระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลการเรียนรู้
การส่ือสาร การแก้ปัญหา การทางาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมี
คุณธรรม

จานวนมาตรฐานการเรยี นรแู้ ละตัวชี้วดั วิทยาศาสตรพ์ ้นื ฐาน

มาตรฐานการเรยี นรู้ จานวนตัวชี้วดั แตล่ ะระดบั /แต่ละสาระ รวม
จานวน
ชือ่ สาระ จานวน รหสั ประถมศกึ ษา มธั ยมศึกษาตอนต้น ตวั ชีว้ ดั

๑.วทิ ยาศาสตร์ มาตรฐาน มาตรฐาน ป.๑ ป.๒ ป.๓ ป.๔ ป.๕ ป.๖ ม.๑ ม.๒ ม.๓ ๑๒
ชวี ภาพ ๕๐
๓ ว ๑.๑ ๒ - - - ๔ - - - ๖ ๑๘
๒.วทิ ยาศาสตร์ ๔๑
กายภาพ ว ๑.๒ ๒ ๓ ๔ ๑ - ๕ ๑๘ ๑๗ - ๒๙
๕๔
๓.วทิ ยาศาสตร์ ว ๑.๓ - ๑ - ๔ ๒ - - - ๑๑ ๑๖
โลกและอวกาศ ๓๘
๔.เทคโนโลยี ๓ ว ๒.๑ ๒ ๔ ๒ ๔ ๔ ๑ ๑๐ ๖ ๘ ๑๕
๔๐
ว ๒.๒ - - ๔ ๓ ๕ ๑ ๑ ๑๕ -

ว ๒.๓ ๑ ๒ ๓ ๑ ๕ ๘ ๗ ๖ ๒๑

๒ ว ๓.๑ ๒ - ๓ ๓ ๒ ๒ - - ๔

ว ๓.๒ ๑ ๒ ๔ - ๕ ๙ ๗ ๑๐ -

๒ ว ๔.๑ - - - - - - ๕ ๕ ๕

ว ๔.๒ ๕ ๔ ๕ ๕ ๕ ๔ ๔ ๔ ๔

หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเพชรมงคล ฉบบั ปรบั ปรงุ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

11

๑๐ ๑๕ ๑๖ ๒๕ ๒๑ ๓๒ ๓๐ ๕๒ ๖๓ ๕๙ ๓๑๓
รวมตัวชีว้ ดั ๑๓๙ ๑๗๔

สาระและมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศกึ ษา ศาสนาและวฒั นธรรม (สาระที่ ๕
ภมู ศิ าสตร)์
สาระที่ ๕ ภูมศิ าสตร์
มาตรฐาน ส ๕.๑ เขา้ ใจลกั ษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพนั ธข์ องสรรพส่ิงซึ่งมผี ล ตอ่ กนั และ

กันในระบบของธรรมชาติ ใชแ้ ผนที่และเคร่อื งมือทางภมู ิศาสตร์ ในการคน้ หา
วิเคราะห์ สรุป ตามกระบวนการภูมิศาสตร์ ตลอดจนใชข้ ้อมูลภูมสิ ารสนเทศอยา่ งมี
ประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ส ๕.๒ เข้าใจปฏิสัมพนั ธ์ระหวา่ งมนุษยก์ บั สิง่ แวดลอ้ มทางกายภาพที่กอ่ ให้เกดิ การสรา้ งสรรค์
วิถีการดาเนินชีวิต มีจิตสานึกในการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อการพัฒนาท่ียั่งยืน

สาระและมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชพี

ปกี ารศึกษา ๒๕๖๑ ชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี ๑ และ ๔ และชั้นมัธยมศึกษาปที ่ี ๑
ปกี ารศึกษา ๒๕๖๒ ช้ันประถมศึกษาปีที่ ๑, ๒ และ ๔, ๕ และชัน้ มธั ยมศึกษาปที ี่ ๑,๒
ปีการศกึ ษา ๒๕๖๓ ทุกชนั้ ปี
ปกี ารศึกษา ๒๕๖๔ ทุกชั้นปี
ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๕ ทุกช้ันปี
สาระท่ี ๑ การดารงชีวติ และครอบครัว
มาตรฐาน ง ๑.๑ เข้าใจการทางาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทางาน ทักษะการ

จัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทางานร่วมกัน และทักษะการ
แสวงหาความรู้ มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทางาน มีจิตสานึกในการใช้
พลงั งาน ทรัพยากร และสง่ิ แวดลอ้ ม เพือ่ การดารงชีวติ และครอบครวั
สาระท่ี ๒ การอาชพี
มาตรฐาน ง ๒.๑ เข้าใจ มีทักษะท่ีจาเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยี
เพอ่ื พฒั นาอาชีพ มีคณุ ธรรม และมีเจตคติทด่ี ตี ่ออาชพี

ปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๑ ช้นั ประถมศึกษาปีที่ ๒, ๓ และ ๕, ๖ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒, ๓
ปีการศกึ ษา ๒๕๖๒ ชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี ๓ และ ๖ และชัน้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี ๓
ปกี ารศึกษา ๒๕๖๕ ทกุ ชัน้ ปี

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล ฉบับปรบั ปรงุ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

12

สาระท่ี ๑ การดารงชีวติ และครอบครวั
มาตรฐาน ง ๑.๑ เข้าใจการทางาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทกั ษะกระบวนการทางาน ทกั ษะการ

จัดการ ทักษะกระบวนการแกป้ ัญหา ทักษะการทางานร่วมกัน และทกั ษะการ
แสวงหาความรู้ มีคณุ ธรรม และลกั ษณะนิสัยในการทางาน มจี ติ สานกึ ในการใช้
พลังงาน ทรพั ยากร และสิง่ แวดลอ้ ม เพือ่ การดารงชีวติ และครอบครวั
สาระท่ี ๔ การอาชีพ
มาตรฐาน ง ๔.๑ เขา้ ใจ มีทักษะทจี่ าเปน็ มปี ระสบการณ์ เหน็ แนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพ่ือ
พัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมเี จตคติท่ดี ตี ่ออาชีพ

๓. เป้าหมาย จุดเน้นการพัฒนาผ้เู รยี นของโรงเรียน
การเรยี นการสอนในรายวิชาเพ่ิมเตมิ ตามจุดเน้นของโรงเรียน
๓.๑ การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษชัน้ ประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ เพ่ือวางพน้ื ฐานสสู่ ากล
๓.๒ การเรยี นการสอนวิชาคณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ และงานอาชีพ เน้นการฝึกปฏิบัติ

ในชนั้ มธั ยมศกึ ษาปีท่ี ๑ – ๓ เพื่อการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ

๔. ระเบียบ แนวปฏบิ ตั ิในการบรหิ ารจดั การหลักสตู ร
๔.๑ การกาหนดรายวิชา โรงเรียนบ้านเพชรมงคล ได้นาความรู้และทักษะตามมาตรฐานการ

เรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ๘ กลุ่ม มาจัดทาเป็นรายวิชา กาหนดรหัสวิชา ระบุเวลาเรียนหรือ
จานวนหน่วยกิต โดยในระดับประถมศึกษาจัดทารายวิชาเป็นรายปี ระดับมัธยมศึกษาจัดทารายวิชาเป็นภาค
เรยี น

๔.๒ ประเภทของรายวชิ า
๑) รายวิชาพน้ื ฐาน ๘ กลุ่มสาระการเรยี นรู้ กาหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวช้วี ัดของ ๘

กลมุ่ สาระการเรียนรู้ ตามทหี่ ลักสตู รแกนกลางฯ กาหนด เป็นเป้าหมายการพฒั นาคุณภาพผเู้ รยี น
๒) รายวิชาเพมิ่ เติมตามจดุ เน้นของโรงเรียน กาหนด “ผลการเรียนรู้” เป็นเปา้ หมาย

ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สอดคลอ้ งกบั เกณฑ์การจบของโรงเรยี น
๔.๓ การจัดรายวิชา
ระดับประถมศกึ ษา ประกอบด้วย
๑) ประถมศึกษาตอนต้น รายวิชาพื้นฐาน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ จานวน ๙๒๐
ชว่ั โมงตอ่ ปี
๒) ประถมศึกษาตอนปลาย รายวิชาพ้ืนฐาน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ จานวน ๘๘๐
ชว่ั โมงต่อปี

หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล ฉบับปรบั ปรงุ พุทธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

13

๓) รายวิชาสังคม รายวิชาประวัติศาสตร์ และรายวิชาหน้าท่ีพลเมือง รายวิชาละ
๔๐ ช่ัวโมง รวม ๑๒๐ ช่วั โมงต่อปี

๔) สาระเทคโนโลยี จัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไม่ได้แยกเป็น
รายวชิ าเฉพาะ

๕) รายวิชาเพิ่มเตมิ วชิ าภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปที ่ี ๑ – ๖ ปลี ะ ๘๐ ชวั่ โมง
ระดับมธั ยมศกึ ษา ประกอบด้วย

๑) รายวิชาพื้นฐาน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดเป็นรายภาคเรียน รวมจานวน
๙๒๐ ช่วั โมงต่อปี

๒) ๑ รายวิชามีค่าน้าหนัก ไม่น้อยกว่า ๐.๕ หน่วยกิต (๑ หน่วยกิต คิดเป็น ๔๐
ช่วั โมงตอ่ ปี

๓) รายวิชาประวิติศาสตร์ ภาคเรียนละ ๐.๕ หน่วยกิต รวม ๖ ภาคเรียน ๓.๐
หนว่ ยกติ

๔) รายวิชาเพ่ิมเติม วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และงานอาชีพ
เน้นการฝกึ ปฏิบัติ

๔.๔ การกาหนดรหัสวิชา กาหนดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช
๒๕๕๑

หลกั สตู รสถานศกึ ษาโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล ฉบับปรับปรงุ พุทธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้นั พืน้ ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

14

โครงสร้างหลักสตู ร

โรงเรยี นบ้านเพชรมงคล พุทธศกั ราช ๒๕๖๕

ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

กลุ่มสาระ เวลาเรียน
การเรยี นร้/ู กจิ กรรม
ระดับประถมศกึ ษา ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้

ป. ๑ ป. ๒ ป. ๓ ป. ๔ ป. ๕ ป. ๖ ม. ๑ ม. ๒ ม. ๓

 กล่มุ สาระการเรียนรู้

รายวิชาพืน้ ฐาน

ภาษาไทย ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐
(๓ นก.) (๓ นก.) (๓ นก.)

คณติ ศาสตร์ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐
(๓ นก.) (๓ นก.) (๓ นก.)

วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๖๐ ๑๖๐ ๑๖๐
(๔ นก.) (๔ นก.) (๔ นก.)

สังคมศกึ ษา ศาสนา ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐

และวัฒนธรรม ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ (๓ นก.) (๓ นก.) (๓ นก.)
๔๐ ๔๐ ๔๐
- ประวัติศาสตร์ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๔๐ (๑ นก.) (๑ นก.) (๑ นก.)

- ศาสนา ศลี ธรรม จริยธรรม

- หนา้ ทีพ่ ลเมือง วัฒนธรรม

และการดาเนินชีวิตในสังคม

- เศรษฐศาสตร์ - ภมู ศิ าสตร์

สุขศกึ ษาและพลศึกษา ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐
(๒นก.) (๒นก.) (๒นก.)

ศลิ ปะ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐
(๒นก.) (๒นก.) (๒นก.)

การงานอาชพี ๔๐ ๔๐ ๔๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐
(๒นก.) (๒นก.) (๒นก.)

ภาษาตา่ งประเทศ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐

(๓ นก.) (๓ นก.) (๓ นก.)

รวมเวลาเรียน (พ้นื ฐาน) ๙๒๐ ๙๒๐ ๙๒๐ ๘๘๐ ๘๘๐ ๘๘๐ ๙๒๐ ๙๒๐ ๙๒๐
(๒๓ นก.) (๒๓ นก.) (๒๓ นก.)

 กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รียน ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐ ๑๒๐

หลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนบ้านเพชรมงคล ฉบบั ปรับปรงุ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

15

รายวชิ า / กิจกรรม เสรมิ ทักษะภาษาอังกฤษ ๘๐ เสรมิ ทกั ษะภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ๔๐
ทโี่ รงเรยี นจดั เพิม่ เติม คอมพิวเตอร์ ๔๐ ๘๐ คณติ ศาสตร์เพิ่มเติม ๔๐
คอมพวิ เตอร์ ๔๐ คอมพวิ เตอร์ ๔๐
คณิตศาสตรเ์ พิ่มเติม ๔๐ การงาน ๔๐

รวมเวลาเรียนทัง้ หมด ๑,๑๖๐ ช่ัวโมง/ปี ๑,๑๖๐ ช่ัวโมง/ปี ๑,๒๐๐ ชั่วโมง/ปี

หลักสูตรสถานศกึ ษาโรงเรียนบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรบั ปรงุ พุทธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑

16

โครงสร้างหลกั สตู รโรงเรียนบ้านเพชรมงคล

ตามหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พ้ืนฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

รายวิชา / กิจกรรม เวลาเรียน
(ชม. / ป)

รายวชิ าพนื้ ฐาน ๙๒๐

ท ๑๑๑๐๑ ภาษาไทย ๒๐๐

ค ๑๑๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๒๐๐

ว ๑๑๑๐๑ วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๘๐

ส ๑๑๑๐๑ สังคมศกึ ษา ๘๐

ส ๑๑๑๐๒ ประวตั ศิ าสตร์ ๔๐

พ ๑๑๑๐๑ สุขศึกษาและพลศกึ ษา ๘๐

ศ ๑๑๑๐๑ ศลิ ปะ ๘๐

ง ๑๑๑๐๑ การงานอาชพี ๔๐

อ ๑๑๑๐๑ ภาษาองั กฤษ ๑๒๐

รายวิชาเพม่ิ เติม ๑๒๐

อ ๑๑๒๐๑ เสรมิ ทักษะภาษาองั กฤษ ๘๐

ง ๑๑๒๐๑ คอมพวิ เตอร์ ๔๐

กจิ กรรมพัฒนาผเู้ รยี น ๑๒๐

ก ๑๑๙๐๑ กจิ กรรมแนะแนว ๔๐

ก ๑๑๙๐๒ ลกู เสือ / เนตรนารี ๔๐

ก ๑๑๙๐๓ ชมรม / ชมุ นมุ ๔๐

รวมเวลาเรียนท้ังสน้ิ ๑,๑๖๐

หลกั สตู รสถานศึกษาโรงเรียนบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรบั ปรงุ พุทธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลักสตู รแกนกลางการศึกษาข้นั พนื้ ฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑

17

โครงสรา้ งหลกั สูตรโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล

ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาข้นั พื้นฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

ชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี ๒

รายวชิ า / กจิ กรรม เวลาเรียน
(ชม. / ป)

รายวิชาพ้ืนฐาน ๙๒๐

ท ๑๒๑๐๑ ภาษาไทย ๒๐๐

ค ๑๒๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๒๐๐

ว ๑๒๑๐๑ วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๘๐

ส ๑๒๑๐๒ สังคมศกึ ษา ๘๐

ส ๑๒๑๐๒ ประวตั ิศาสตร์ ๔๐

พ ๑๒๑๐๑ สุขศึกษาและพลศกึ ษา ๘๐

ศ ๑๒๑๐๑ ศลิ ปะ ๘๐

ง ๑๒๑๐๑ การงานอาชีพ ๔๐

อ ๑๒๑๐๑ ภาษาองั กฤษ ๑๒๐

รายวชิ าเพ่ิมเติม ๑๒๐

อ ๑๒๒๐๑ เสริมทกั ษะภาษาอังกฤษ ๘๐

ง ๑๒๒๐๑ คอมพิวเตอร์ ๔๐

กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รียน ๑๒๐

ก ๑๒๙๐๑ กิจกรรมแนะแนว ๔๐

ก ๑๒๙๐๒ ลกู เสอื / เนตรนารี ๔๐

ก ๑๒๙๐๓ ชมรม / ชมุ นุม ๔๐

รวมเวลาเรียนทั้งสนิ้ ๑,๑๖๐

หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรบั ปรุง พทุ ธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

18

โครงสรา้ งหลกั สูตรโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล

ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาข้นั พื้นฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

ชน้ั ประถมศึกษาปที ่ี ๓

รายวชิ า / กจิ กรรม เวลาเรียน
(ชม. / ป)

รายวิชาพ้ืนฐาน ๙๒๐

ท ๑๓๑๐๑ ภาษาไทย ๒๐๐

ค ๑๓๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๒๐๐

ว ๑๓๑๐๑ วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๘๐

ส ๑๓๑๐๒ สังคมศกึ ษา ๘๐

ส ๑๓๑๐๒ ประวตั ิศาสตร์ ๔๐

พ ๑๓๑๐๑ สุขศึกษาและพลศกึ ษา ๘๐

ศ ๑๓๑๐๑ ศลิ ปะ ๘๐

ง ๑๓๑๐๑ การงานอาชีพ ๔๐

อ ๑๓๑๐๑ ภาษาองั กฤษ ๑๒๐

รายวชิ าเพ่ิมเติม ๑๒๐

อ ๑๓๒๐๑ เสริมทกั ษะภาษาอังกฤษ ๘๐

ง ๑๓๒๐๑ คอมพิวเตอร์ ๔๐

กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รียน ๑๒๐

ก ๑๖๙๐๑ กิจกรรมแนะแนว ๔๐

ก ๑๓๙๐๒ ลกู เสอื / เนตรนารี ๔๐

ก ๑๓๙๐๓ ชมรม / ชมุ นุม ๔๐

รวมเวลาเรียนทั้งสนิ้ ๑,๑๖๐

หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรบั ปรุง พทุ ธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

19

โครงสร้างหลักสตู รโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล

ตามหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ชนั้ ประถมศกึ ษาปีท่ี ๔

รายวิชา / กิจกรรม เวลาเรียน
(ชม. / ป)

รายวชิ าพ้นื ฐาน ๘๘๐

ท ๑๔๑๐๑ ภาษาไทย ๑๖๐

ค ๑๔๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๑๖๐

ว ๑๔๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๑๒๐

ส ๑๔๑๐๒ สงั คมศกึ ษา ๘๐

ส ๑๔๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๔๐

พ ๑๔๑๐๑ สขุ ศึกษาและพลศกึ ษา ๘๐

ศ ๑๔๑๐๑ ศลิ ปะ ๘๐

ง ๑๔๑๐๑ การงานอาชีพ ๘๐

อ ๑๔๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๘๐

รายวชิ าเพิ่มเติม ๑๖๐

อ ๑๔๒๐๑ เสริมทกั ษะภาษาองั กฤษ ๘๐

ง ๑๔๒๐๑ คอมพิวเตอร์ ๔๐

ค ๑๔๒๐๑ คณิตศาสตร์เพิ่มเตมิ ๔๐

กจิ กรรมพัฒนาผู้เรียน ๑๒๐

ก ๑๔๙๐๑ กิจกรรมแนะแนว ๔๐

ก ๑๔๙๐๒ ลกู เสือ / เนตรนารี ๔๐

ก ๑๔๙๐๓ ชมรม / ชุมนมุ ๔๐

รวมเวลาเรียนทงั้ ส้นิ ๑,๑๖๐

หลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนบ้านเพชรมงคล ฉบับปรบั ปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาข้นั พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

20

โครงสร้างหลกั สตู รโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล

ตามหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ช้นั ประถมศกึ ษาปีท่ี ๕

รายวิชา / กจิ กรรม เวลาเรียน
(ชม. / ป)

รายวชิ าพ้ืนฐาน ๘๘๐

ท ๑๕๑๐๑ ภาษาไทย ๑๖๐

ค ๑๕๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๑๖๐

ว ๑๕๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๑๒๐

ส ๑๕๑๐๒ สงั คมศกึ ษา ๘๐

ส ๑๕๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๔๐

พ ๑๕๑๐๑ สขุ ศึกษาและพลศกึ ษา ๘๐

ศ ๑๕๑๐๑ ศลิ ปะ ๘๐

ง ๑๕๑๐๑ การงานอาชีพ ๘๐

อ ๑๕๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๘๐

รายวชิ าเพ่มิ เติม ๑๖๐

อ ๑๕๒๐๑ เสริมทกั ษะภาษาองั กฤษ ๘๐

ง ๑๕๒๐๑ คอมพิวเตอร์ ๔๐

ค ๑๕๒๐๑ คณิตศาสตร์เพิ่มเตมิ ๔๐

กจิ กรรมพฒั นาผู้เรยี น ๑๒๐

ก ๑๕๙๐๑ กิจกรรมแนะแนว ๔๐

ก ๑๕๙๐๒ ลกู เสือ / เนตรนารี ๔๐

ก ๑๕๙๐๓ ชมรม / ชุมนมุ ๔๐

รวมเวลาเรียนทง้ั สน้ิ ๑,๑๖๐

หลกั สตู รสถานศกึ ษาโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล ฉบับปรบั ปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาข้นั พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

21

โครงสร้างหลักสตู รโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล
ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ชน้ั ประถมศกึ ษาปีท่ี ๖

รายวิชา / กิจกรรม เวลาเรียน
(ชม. / ป)
รายวชิ าพ้นื ฐาน ๘๘๐
ท ๑๖๑๐๑ ภาษาไทย ๑๖๐
ค ๑๖๑๐๑ คณิตศาสตร์ ๑๖๐
ว ๑๖๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๑๒๐
ส ๑๖๑๐๒ สงั คมศึกษา
ส ๑๖๑๐๒ ประวัตศิ าสตร์ ๘๐
พ ๑๖๑๐๑ สขุ ศึกษาและพลศึกษา ๔๐
ศ ๑๖๑๐๑ ศลิ ปะ ๘๐
ง ๑๖๑๐๑ การงานอาชพี ๘๐
อ ๑๖๑๐๑ ภาษาองั กฤษ ๘๐
๘๐
รายวชิ าเพ่มิ เติม ๑๖๐
อ ๑๖๒๐๑ เสริมทกั ษะภาษาอังกฤษ ๘๐
ง ๑๖๒๐๑ คอมพิวเตอร์ ๔๐
ค ๑๖๒๐๑ คณิตศาสตร์เพ่ิมเตมิ ๔๐
๑๒๐
กจิ กรรมพัฒนาผ้เู รียน ๔๐
ก ๑๖๙๐๑ กิจกรรมแนะแนว ๔๐
ก ๑๖๙๐๒ ลกู เสือ / เนตรนารี ๔๐
ก ๑๖๙๐๓ ชมรม / ชมุ นมุ ๑,๑๖๐

รวมเวลาเรยี นทงั้ สิน้

หลกั สตู รสถานศกึ ษาโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล ฉบับปรบั ปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาข้นั พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

22

โครงสรา้ งหลกั สตู รโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล
ตามหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ชั้นมัธยมศกึ ษาปีที่ ๑

ชนั้ มธั ยมศึกษาปีที่ ๑ (ภาคเรยี นที่ ๑) ช้ันมัธยมศึกษาปที ี่ ๑ (ภาคเรยี นที่ ๒)
รายวชิ า / กจิ กรรม
เวลาเรียน รายวชิ า / กจิ กรรม เวลาเรียน
หน่วยกิต(ช.ม.)
หน่วยกิต(ช.ม.)
รายวชิ าพน้ื ฐาน ๑๑.๕ (๔๖๐) รายวชิ าพ้ืนฐาน ๑๑.๕ (๔๖๐)

ท ๒๑๑๐๑ ภาษาไทย ๑.๕ (๖๐) ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๑.๕ (๖๐)

ค ๒๑๑๐๑ คณติ ศาสตร์ ๑.๕ (๖๐) ค ๒๑๑๐๒ คณติ ศาสตร์ ๑.๕ (๖๐)

ว ๒๑๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๒.๐ (๘๐) ว ๒๑๑๐๒ วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๒.๐ (๘๐)

ส ๒๑๑๐๑ สงั คมศึกษา ๑.๕ (๖๐) ส ๒๑๑๐๓ สงั คมศึกษา ๑.๕ (๖๐)

ส ๒๑๑๐๒ ประวัตศิ าสตร์ ๐.๕ (๒๐) ส ๒๑๑๐๔ ประวัตศิ าสตร์ ๐.๕ (๒๐)

พ ๒๑๑๐๑ สุขศึกษาและพลศกึ ษา ๑.๐ (๔๐) พ ๒๑๑๐๒ สขุ ศึกษาและพลศกึ ษา ๑.๐ (๔๐)

ศ ๒๑๑๐๑ ศลิ ปะ ๑.๐ (๔๐) ศ ๒๑๑๐๒ ศลิ ปะ ๑.๐ (๔๐)

ง ๒๑๑๐๑ การงานอาชีพ ๑.๐ (๔๐) ง ๒๑๑๐๒ การงานอาชพี ๑.๐ (๔๐)

อ ๒๑๑๐๑ ภาษาองั กฤษ ๑.๕ (๖๐) อ ๒๑๑๐๒ ภาษาองั กฤษ ๑.๕ (๖๐)

รายวชิ าเพ่ิมเตมิ ๒.๐ (๘๐) รายวิชาเพ่มิ เติม ๒.๐ (๘๐)

ว ๒๑๒๐๑ ทักษะกระบวนการ ว ๒๑๒๐๒ ทกั ษะกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์ ๐.๕ (๒๐) ทางวทิ ยาศาสตร์ ๐.๕ (๒๐)

ค ๒๑๒๐๑ คณติ ศาสตร์เพ่มิ เตมิ ๐.๕ (๒๐) ค ๒๑๒๐๒ คณติ ศาสตร์เพม่ิ เตมิ ๐.๕ (๒๐)

ง ๒๑๒๐๕ คอมพวิ เตอร์ ๑ ๐.๕ (๒๐) ง ๒๑๒๐๖ คอมพวิ เตอร์ ๒ ๐.๕ (๒๐)

ง ๒๑๒๒๑ อาหารวา่ ง ๐.๕ (๒๐) ง ๒๑๒๒๒ อาหารว่าง ๐.๕ (๒๐)

กจิ กรรมพัฒนาผเู้ รียน (๖๐) กิจกรรมพฒั นาผเู้ รียน (๖๐)

ก ๒๑๙๐๑ กิจกรรมแนะแนว ๒๐ ก ๒๑๙๐๒ กจิ กรรมแนะแนว ๒๐

ก ๒๑๙๐๓ ลกู เสือ / เนตรนารี ๒๐ ก ๒๑๙๐๔ ลกู เสือ / เนตรนารี ๒๐

ก ๒๑๙๐๕ ชมรม /ชุมนุม ๒๐ ก ๒๑๙๐๖ ชมรม /ชุมนุม ๒๐

รวมเวลาเรยี นทง้ั สน้ิ ๖๐๐ รวมเวลาเรยี นทงั้ สิน้ ๖๐๐

หลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนบา้ นเพชรมงคล ฉบับปรบั ปรุง พทุ ธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

23

โครงสร้างหลักสตู รโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ช้นั มัธยมศึกษาปที ่ี ๒

ช้นั มัธยมศึกษาปที ี่ ๒ (ภาคเรียนที่ ๑) ช้ันมธั ยมศึกษาปีท่ี ๒ (ภาคเรยี นท่ี ๒)
รายวิชา / กจิ กรรม
เวลาเรียน รายวชิ า / กิจกรรม เวลาเรียน
หนว่ ยกิต(ช.ม.)
หนว่ ยกิต(ช.ม.)
รายวิชาพ้นื ฐาน ๑๑.๕ (๔๖๐) รายวิชาพน้ื ฐาน ๑๑.๕ (๔๖๐)

ท ๒๒๑๐๑ ภาษาไทย ๑.๕ (๖๐) ท ๒๒๑๐๒ ภาษาไทย ๑.๕ (๖๐)

ค ๒๒๑๐๑ คณติ ศาสตร์ ๑.๕ (๖๐) ค ๒๒๑๐๒ คณิตศาสตร์ ๑.๕ (๖๐)

ว ๒๒๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๒.๐ (๘๐) ว ๒๒๑๐๒ วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๒.๐ (๘๐)

ส ๒๒๑๐๑ สงั คมศกึ ษา ๑.๕ (๖๐) ส ๒๒๑๐๓ สงั คมศึกษา ๑.๕ (๖๐)

ส ๒๒๑๐๒ ประวตั ิศาสตร์ ๐.๕ (๒๐) ส ๒๒๑๐๔ ประวตั ศิ าสตร์ ๐.๕ (๒๐)

พ ๒๒๑๐๑ สุขศกึ ษาและพลศึกษา ๑.๐ (๔๐) พ ๒๒๑๐๒ สขุ ศึกษาและพลศึกษา ๑.๐ (๔๐)

ศ ๒๒๑๐๑ ศลิ ปะ ๑.๐ (๔๐) ศ ๒๒๑๐๒ ศลิ ปะ ๑.๐ (๔๐)

ง ๒๒๑๐๑ การงานอาชพี ๑.๐ (๔๐) ง ๒๒๑๐๒ การงานอาชีพ ๑.๐ (๔๐)

อ ๒๒๑๐๑ ภาษาองั กฤษ ๑.๕ (๖๐) อ ๒๒๑๐๒ ภาษาองั กฤษ ๑.๕ (๖๐)

รายวชิ าเพม่ิ เติม ๒.๐ (๘๐) รายวิชาเพ่มิ เตมิ ๒.๐ (๘๐)

ค ๒๑๒๐๑ คณติ ศาสตร์เพิม่ เติม ๐.๕ (๒๐) ค ๒๑๒๐๑ คณติ ศาสตร์เพมิ่ เติม ๐.๕ (๒๐)

ว ๒๒๒๐๓ โครงงานวิทยาศาสตร์ ๓ ๐.๕ (๒๐) ว ๒๒๒๐๔ โครงงานวิทยาศาสตร์ ๔ ๐.๕ (๒๐)

ว ๒๑๒๐๕ คอมพิวเตอร์ ๓ ๐.๕ (๒๐) ว ๒๑๒๐๖ คอมพิวเตอร์ ๔ ๐.๕ (๒๐)

ง ๒๒๒๒๑ ขยายพนั ธุไ์ ม้ ๐.๕ (๒๐) ง ๒๒๒๒๒ ขยายพนั ธไ์ุ ม้ ๐.๕ (๒๐)

กิจกรรมพฒั นาผู้เรียน (๖๐) กจิ กรรมพฒั นาผู้เรียน (๖๐)

ก ๒๒๙๐๑ กจิ กรรมแนะแนว ๒๐ ก ๒๒๙๐๒ กิจกรรมแนะแนว ๒๐

ก ๒๒๙๐๓ ลกู เสอื / เนตรนารี ๒๐ ก ๒๒๙๐๔ ลกู เสอื / เนตรนารี ๒๐

ก ๒๒๙๐๕ ชมรม /ชุมนมุ ๒๐ ก ๒๒๙๐๖ ชมรม /ชุมนมุ ๒๐

รวมเวลาเรยี นทั้งสนิ้ ๖๐๐ รวมเวลาเรยี นท้ังสน้ิ ๖๐๐

หลกั สตู รสถานศึกษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบับปรับปรงุ พทุ ธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

24

โครงสรา้ งหลกั สูตรโรงเรียนบา้ นเพชรมงคล
ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพืน้ ฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑

ชนั้ มัธยมศึกษาปที ี่ ๓

ชน้ั มธั ยมศึกษาปที ่ี ๓ (ภาคเรียนท่ี ๑) ช้ันมธั ยมศึกษาปีท่ี ๓ (ภาคเรียนที่ ๒)
รายวิชา / กจิ กรรม
เวลาเรียน รายวิชา / กจิ กรรม เวลาเรียน
หนว่ ยกิต(ช.ม.)
หนว่ ยกิต(ช.ม.)
รายวชิ าพ้ืนฐาน ๑๑.๕ (๔๖๐) รายวชิ าพนื้ ฐาน ๑๑.๕ (๔๖๐)

ท ๒๓๑๐๑ ภาษาไทย ๑.๕ (๖๐) ท ๒๓๑๐๒ ภาษาไทย ๑.๕ (๖๐)

ค ๒๓๑๐๑ คณติ ศาสตร์ ๑.๕ (๖๐) ค ๒๓๑๐๒ คณิตศาสตร์ ๑.๕ (๖๐)

ว ๒๓๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๒.๐ (๘๐) ว ๒๓๑๐๒ วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๒.๐ (๘๐)

ส ๒๓๑๐๑ สงั คมศกึ ษา ๑.๕ (๖๐) ส ๒๓๑๐๓ สงั คมศึกษา ๑.๕ (๖๐)

ส ๒๓๑๐๒ ประวตั ศิ าสตร์ ๐.๕ (๒๐) ส ๒๓๑๐๔ ประวตั ศิ าสตร์ ๐.๕ (๒๐)

พ ๒๓๑๐๑ สุขศกึ ษาและพลศึกษา ๑.๐ (๔๐) พ ๒๓๑๐๒ สขุ ศกึ ษาและพลศกึ ษา ๑.๐ (๔๐)

ศ ๒๓๑๐๑ ศลิ ปะ ๑.๐ (๔๐) ศ ๒๓๑๐๒ ศลิ ปะ ๑.๐ (๔๐)

ง ๒๓๑๐๑ การงานอาชพี ๑.๐ (๔๐) ง ๒๓๑๐๒ การงานอาชพี ๑.๐ (๔๐)

อ ๒๓๑๐๑ ภาษาอังกฤษ ๑.๕ (๖๐) อ ๒๓๑๐๒ ภาษาองั กฤษ ๑.๕ (๖๐)

รายวชิ าเพิ่มเตมิ ๒.๐ (๘๐) รายวิชาเพิ่มเติม ๒.๐ (๘๐)

ค ๒๓๒๐๑ คณติ ศาสตร์เพมิ่ เตมิ ๐.๕ (๒๐) ค ๒๓๒๐๑ คณิตศาสตร์เพิ่มเตมิ ๐.๕ (๒๐)

ว ๒๓๒๐๑ ปฏิบตั ิการทางวทิ ยาศาสตร์ ๐.๕ (๒๐) ว ๒๓๒๐๒ ปฏบิ ตั กิ ารทางวิทยาศาสตร์ ๐.๕ (๒๐)

ว ๒๓๒๐๕ คอมพวิ เตอร์ ๕ ๐.๕ (๒๐) ง ๒๓๒๐๔ คอมพวิ เตอร์ ๖ ๐.๕ (๒๐)

ง ๒๓๒๒๑ อาหารจานเดยี ว ๐.๕ (๒๐) ง ๒๓๒๒๒ อาหารจานเดยี ว ๐.๕ (๒๐)

กิจกรรมพัฒนาผเู้ รียน (๖๐) กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รียน (๖๐)

ก ๒๓๙๐๑ กจิ กรรมแนะแนว ๒๐ ก ๒๓๙๐๒ กจิ กรรมแนะแนว ๒๐

ก ๒๓๙๐๓ ลกู เสอื / เนตรนารี ๒๐ ก ๒๓๙๐๔ ลกู เสอื / เนตรนารี ๒๐

ก ๒๓๙๐๕ ชมรม /ชุมนมุ ๒๐ ก ๒๓๙๐๖ ชมรม /ชุมนมุ ๒๐

รวมเวลาเรียนทั้งส้ิน ๖๐๐ รวมเวลาเรยี นทง้ั ส้ิน ๖๐๐

หลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรับปรงุ พุทธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑

25

คาอธบิ ายรายวิชา

หลกั สตู รสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเพชรมงคล ฉบบั ปรบั ปรุง พุทธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พื้นฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

26

รายวชิ าภาษาไทย คาอธิบายรายวชิ าพืน้ ฐาน กลุมสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ช้ันประถมศกึ ษาปท่ี ๑ รหสั วิชา ท๑๑๑๐๑ เวลา ๒๐๐ ชว่ั โมง/ปี

ฝกึ อ่านออกเสียงคา คาคล้องจอง และข้อความสนั้ ๆ บอกความหมายของคาและข้อความ ตอบคาถาม
เล่าเร่ืองย่อ คาดคะเนเหตุการณ์ เลือกอ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่าเสมอ นาเสนอเรื่องท่ีอ่าน บอก
ความหมายของเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์สาคัญท่ีมักพบเห็นในชีวิตประจาวัน มีมารยาทในการอ่าน ฝึกคัด
ลายมือดว้ ยตวั บรรจงเตม็ บรรทัด เขียนสื่อสารดว้ ยคาและประโยคงา่ ยๆ มมี ารยาทในการเขียน

ฝึกทักษะในการฟัง ฟังคาแนะนา คาส่ังง่ายๆและปฏิบัติตาม ตอบคาถาม เล่าเร่ือง พูดแสดงความคิดเห็น
และความรูส้ ึกจากเรื่องทฟ่ี ังและดู พดู สอ่ื สารได้ตามวตั ถปุ ระสงค์ เน้นมารยาทในการฟงั การดแู ละการพดู

ฝึกทักษะการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย เขียนสะกดคาและบอกความหมายของคา
เรียบเรียงคาเป็นประโยคงา่ ยๆ ตอ่ คาคล้องจองงา่ ยๆ

บอกข้อคิดท่ีได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสาหรับเด็ก ฝึกท่องจาบท
อาขยานตามที่กาหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ โดยใช้กระบวนการอ่าน กระบวนการเขียน
กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิด การฝึกปฏิบัติ อธิบาย บันทึก การต้ังคาถาม
ตอบคาถาม ใช้ทกั ษะการฟัง การดแู ละการพดู พดู แสดงความคดิ เห็น กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด

เพอ่ื ให้เกดิ ความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สอ่ื สารไดถ้ ูกต้อง รกั การเรียนภาษาไทย เห็นคุณคา่ ของการ
อนุรักษ์ภาษาไทย และตัวเลขไทย สามารถนาความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพยี งและสามารถนาไปประยกุ ต์ใช้กบั ชวี ิตประจาวนั ได้อย่างถกู ต้องเหมาะสม

มาตรฐานการเรยี นร้/ู ตวั ชว้ี ดั
ท ๑.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔, ป.๑/๕, ป.๑/๖, ป.๑/๗, ป.๑/๘
ท ๒.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓
ท ๓.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔, ป.๑/๕
ท ๔.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔
ท ๕.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒

รวม ๕ มาตรฐาน ๒๒ ตวั ชี้วดั

หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรียนบา้ นเพชรมงคล ฉบับปรับปรุง พุทธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

รายวิชาภาษาไทย 27 กลุมสาระการเรียนรภู้ าษาไทย
ชัน้ ประถมศกึ ษาปที่ ๒ เวลา ๒๐๐ ช่วั โมง/ปี
คาอธิบายรายวิชาพืน้ ฐาน
รหัสวิชา ท๑๒๑๐๑

ฝกึ อ่านออกเสียงคา คาคลอ้ งจอง ข้อความ และบทร้อยกรองง่ายๆ อธบิ ายความหมายของคาและ
ข้อความทอ่ี า่ น ตัง้ คาถาม ตอบคาถาม ระบใุ จความสาคัญและรายละเอยี ด แสดงความคิดเห็นและคาดคะเน
เหตุการณ์ เลือกอ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่าเสมอและนาเสนอเร่ืองท่ีอ่าน อ่านข้อเขียนเชิงอธิบาย
และปฏิบัติตามคาส่งั หรือขอ้ แนะนา มมี ารยาทในการอ่าน

ฝึกคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัด เขียนเรื่องสั้นๆ เก่ียวกับประสบการณ์ เขียนเรื่องส้ันๆ ตาม
จินตนาการ มีมารยาทในการเขียน

ฝึกทักษะการฟัง ฟังคาแนะนา คาสั่งทซ่ี ับซ้อนและปฏิบตั ิตาม เล่าเรื่อง บอกสาระสาคัญของเร่ือง
ตั้งคาถาม ตอบคาถาม พูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก พูดสื่อสารได้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์
มมี ารยาทในการฟัง การดูและการพดู

ฝกึ ทักษะการเขยี นพยญั ชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย เขียนสะกดคาและบอกความหมายของ
คาเรียบเรียงคาเป็นประโยคได้ตรงตามเจตนาของการส่ือสาร บอกลักษณะคาคล้องจอง เลือกใช้ภาษาไทย
มาตรฐานและภาษาถน่ิ ได้เหมาะสมกับกาลเทศะ

ฝกึ จบั ใจความสาคัญจากเร่ือง ระบุขอ้ คดิ ท่ไี ด้จากการอ่านหรือการฟงั วรรณกรรมสาหรับเดก็ เพอ่ื นาไปใช้ใน
ชีวิตประจาวนั ร้องบทร้องเลน่ สาหรับเด็กในท้องถน่ิ ท่องจาบทอาขยานตามทีก่ าหนดและบทรอ้ ยกรองท่มี คี ุณค่าตาม
ความสนใจ โดยใช้กระบวนการอา่ น กระบวนการเขียน กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการ
คิดวิเคราะห์ กระบวนการสื่อความ กระบวนการแก้ปัญหา การฝึกปฏิบัติ อธิบาย บันทึก การต้ังคาถาม ตอบ
คาถาม ใชท้ ักษะการฟัง การดแู ละการพดู พดู แสดงความคดิ เห็น กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด

เพ่ือใหเ้ กดิ ความรู้ ความคิด ความเขา้ ใจ สอ่ื สารได้ถูกต้อง รกั การเรียนภาษาไทย เห็นคณุ คา่ ของการ
อนุรักษ์ภาษาไทย และตัวเลขไทย สามารถนาความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพยี งและสามารถนาไปประยกุ ต์ใชก้ ับชีวติ ประจาวนั ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

มาตรฐานการเรยี นรู้/ตัวช้วี ัด
ท ๑.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕, ป.๒/๖, ป.๒/๗, ป.๒/๘
ท ๒.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔
ท ๓.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕ ป.๒/๖, ป.๒/๗
ท ๔.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕
ท ๕.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓

รวม ๕ มาตรฐาน ๒๗ ตัวชวี้ ดั

หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบับปรบั ปรงุ พทุ ธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑

รายวชิ าภาษาไทย 28 กลุมสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชนั้ ประถมศึกษาปที่ ๓ เวลา ๒๐๐ ชว่ั โมง/ปี
คาอธบิ ายรายวิชาพ้ืนฐาน
รหสั วิชา ท๑๓๑๐๑

ฝกึ อา่ นออกเสยี งคา ข้อความ เรือ่ งส้ัน ๆ และบทร้อยกรองง่ายๆ อธบิ ายความหมายของคาและข้อความที่
อ่าน ต้ังคาถาม ตอบคาถามเชิงเหตุผล ลาดับเหตุการณ์ คาดคะเนเหตุการณ์ สรุปความรู้ ข้อคิดจากเร่ืองท่ีอ่าน
เพื่อนาไปใชใ้ นชีวิตประจาวนั เลือกอา่ นหนังสือตามความสนใจอย่างสม่าเสมอและนาเสนอเรื่องทีอ่ ่าน อา่ นขอ้ เขียนเชิง
อธิบาย และปฏิบัติตามคาสั่งหรือข้อแนะนา อธิบายความหมายของข้อมูลจากแผนภาพ แผนท่ี และแผนภูมิ
มีมารยาทในการอา่ น

ฝึกคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัด เขียนบรรยาย เขียนบันทึกประจาวัน เขียนเร่ืองตามจินตนาการ
มมี ารยาทในการเขียน

ฝึกทักษะการฟัง การดแู ละการพูด เลา่ รายละเอียด บอกสาระสาคญั ตั้งคาถาม ตอบคาถามพดู แสดงความ
คดิ เห็น ความรู้สึก พดู สอ่ื สารไดช้ ัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ มีมารยาทในการฟงั การดแู ละการพูด

ฝึกเขียนตามหลักการเขียน เขียนสะกดคาและบอกความหมายของคา ระบุชนิด หน้าที่ของคาใช้
พจนานุกรมค้นหาความหมายของคา แตง่ ประโยคง่ายๆ แต่งคาคลอ้ งจองและคาขวัญ เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและ
ภาษาถน่ิ ไดเ้ หมาะสมกบั กาลเทศะ

ระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรม เพ่ือนาไปใช้ในชีวิตประจาวัน รู้จักเพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก เพ่ือ
ปลูกฝังความช่ืนชมวัฒนธรรมท้องถ่ิน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีที่อ่าน ท่องจาบทอาขยานตามท่ีกาหนดและ
บทร้อยกรองท่ีมีคุณค่าตามความสนใจ โดยใช้กระบวนการอ่าน กระบวนการเขียน กระบวนการแสวงหาความรู้
กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการส่ือความ กระบวนการแก้ปัญหา การฝึกปฏิบัติ อธิบาย บันทึก
การตง้ั คาถาม ตอบคาถาม ใชท้ กั ษะการฟงั การดแู ละการพูด พูดแสดงความคิดเหน็ กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด

เพ่ือให้เกดิ ความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สื่อสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์
ภาษาไทย และตัวเลขไทย สามารถนาความรไู้ ปใชใ้ หเ้ กดิ ประโยชน์โดยใชห้ ลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถ
นาไปประยกุ ตใ์ ช้กับชีวิตประจาวันไดอ้ ยา่ งถูกตอ้ งเหมาะสม

มาตรฐานการเรยี นร/ู้ ตัวชี้วดั
ท ๑.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖, ป.๓/๗, ป.๓/๘, ป.๓/๙
ท ๒.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖
ท ๓.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖
ท ๔.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖
ท ๕.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔

รวม ๕ มาตรฐาน ๓๑ ตัวชี้วัด

หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรียนบา้ นเพชรมงคล ฉบับปรับปรงุ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขั้นพืน้ ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

29

รายวิชาภาษาไทย คาอธิบายรายวิชาพื้นฐาน กลมุ สาระการเรียนรภู้ าษาไทย
ชนั้ ประถมศกึ ษาปที ่ี ๔ รหสั วิชา ท๑๔๑๐๑ เวลา ๑๖๐ ชัว่ โมง/ปี

ฝึกอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง อธิบายความหมายของคา ประโยคและสานวนจาก
เรื่องท่ีอ่าน อ่านเรื่องสน้ั ๆ ตามเวลาที่กาหนดและตอบคาถามจากเรื่องที่อ่าน แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น
จากเร่ืองท่ีอา่ น คาดคะเนเหตุการณ์จากเร่ืองท่อี ่าน โดยระบเุ หตุผลประกอบ สรุปความรแู้ ละข้อคิดจากเร่ือง
ท่ีอ่าน เพื่อนาไปใช้ในชีวิตประจาวัน เลือกอ่านหนังสือที่มีคุณค่าตามความสนใจอย่างสม่าเสมอและแสดง
ความคิดเห็นเกี่ยวกับเร่ืองที่อ่าน มีมารยาทในการอ่าน ฝึกคัดลายมือด้วยตวั บรรจงเต็มบรรทัดและคร่ึงบรรทัด
เขียนสื่อสารโดยใช้คาได้ถูกต้อง ชัดเจนและเหมาะสม เขียนแผนภาพโครงเร่ืองและแผนภาพความคิดเพื่อใช้
พัฒนางานเขียน เขียนย่อความจากเร่ืองส้ัน ๆ เขียนจดหมายถึงเพ่ือนและมารดา เขียนบันทึกและเขียน
รายงานจากการศึกษาค้นควา้ เขียนเรอ่ื งตามจนิ ตนาการ มีมารยาทในการเขียน

ฝกึ ทกั ษะการฟงั การดูและการพดู จาแนกข้อเท็จจรงิ และขอ้ คิดเห็นเรื่องท่ฟี ังและดู พูดสรปุ จากการ
ฟงั และดู พูดแสดงความรู้ ความคดิ เห็นและความร้สู ึกเก่ียวกับเรื่องที่ฟงั และดู ตั้งคาถามและตอบคาถามเชิง
เหตุผลจากเร่อื งท่ีฟังและดู พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นทศ่ี กึ ษาคน้ คว้าจากการฟัง การดูและการสนทนา
มมี ารยาทในการฟัง การดแู ละการพดู ฝึกเขียนตามหลักการเขียน เขียนสะกดคาและบอกความหมายของคาใน
บริบทต่าง ๆ ระบชุ นดิ และหนา้ ทขี่ องคาในประโยค ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคา แต่งประโยคได้
ถกู ต้องตามหลักภาษา แต่งบทร้อยกรองและคาขวัญ บอกความหมายของสานวน เปรยี บเทียบภาษาไทย
มาตรฐานและภาษาถน่ิ ได้

ระบุข้อคิดจากนิทานพื้นบ้านหรอื นิทานคติธรรมอธิบายข้อคิดจากการอ่านเพ่ือนาไปใช้ในชีวิตจริงร้อง
เพลงพื้นบ้านท่องจาบทอาขยานตามท่ีกาหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ โดยใช้กระบวนการ
อ่าน กระบวนการเขียน กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิดวิเคราะห์และสรุป
ความ กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการสื่อความ กระบวนการแก้ปัญหา การฝึกปฏิบัติ
อธิบาย บันทึก การต้ังคาถาม ตอบคาถาม ใช้ทักษะการฟัง การดูและการพูดพูดแสดงความคิดเห็น
กระบวนการสรา้ งความคิดรวบยอด

เพ่ือให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ส่ือสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย เห็นคุณค่าของ
การอนุรักษ์ภาษาไทยและตัวเลขไทย สามารถนาความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้วิธีการของเศรษฐกิจ
พอเพยี งและสามารถนาไปประยุกต์ใชก้ บั ชีวิตประจาวนั ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

มาตรฐานการเรียนร้/ู ตัวชีว้ ัด
ท ๑.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕, ป.๔/๖, ป.๔/๗, ป.๔/๘
ท ๒.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕, ป.๔/๖, ป.๔/๗, ป.๔/๘
ท ๓.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕, ป.๔/๖

หลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรบั ปรงุ พุทธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑

30

ท ๔.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔, ป.๔/๕, ป.๔/๖, ป.๔/๗
ท ๕.๑ ป.๔/๑, ป.๔/๒, ป.๔/๓, ป.๔/๔
รวม ๕ มาตรฐาน ๓๓ ตัวชีว้ ัด

หลักสตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรับปรุง พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

รายวชิ าภาษาไทย 31 กลมุ สาระการเรียนรภู้ าษาไทย
ชั้นประถมศกึ ษาปีที่ ๕ เวลา ๑๖๐ ช่วั โมง/ปี
คาอธิบายรายวชิ าพ้นื ฐาน
รหัสวิชา ท๑๕๑๐๑

ฝึกอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง อธิบายความหมายของคา ประโยคและข้อความท่ี
เป็นการบรรยายและการพรรณนา อธิบายความหมายโดยนัย แยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น วิเคราะห์
แสดงความคิดเห็น อ่านงานเขียนเชิงอธบิ าย คาส่ัง ขอ้ แนะนา และปฏิบัติตาม เลือกอ่านหนังสือทม่ี ีคุณค่า
ตามความสนใจ มีมารยาทในการอ่าน

ฝึกคัดลายมือด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด เขียนส่ือสาร เขียนแผนภาพโครงเรื่อง
แผนภาพความคิด เขียนย่อความ เขียนจดหมายถึงผู้ปกครองและญาติ เขียนแสดงความรู้สึกและความ
คดิ เหน็ กรอกแบบรายการตา่ ง ๆ เขยี นเรอ่ื งตามจนิ ตนาการ มมี ารยาทในการเขยี น

ฝึกทักษะการฟัง การดูและการพูด พูดแสดงความรู้ ความคิดเห็นและความรู้สึก ตั้งคาถาม
ตอบคาถาม วิเคราะหค์ วาม พดู รายงาน มีมารยาทในการฟงั การดูและการพูด

ระบุชนิดและหน้าท่ีของคาในประโยค จาแนกส่วนประกอบของประโยค เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐาน
และภาษาถิ่น ใช้คาราชาศัพท์ บอกคาภาษาต่างประเทศในภาษาไทย แตง่ บทร้อยกรอง ใชส้ านวนได้ถกู ตอ้ ง

สรุปเร่ืองจากวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่อ่าน ระบุความรู้ ข้อคิดจากการอ่านวรรณคดีและ
วรรณกรรมที่สามารถนาไปใช้ในชีวิตจริง อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม ท่องจาบทอาขยาน
ตามท่ีกาหนดและบทร้อยกรองท่ีมีคุณค่าตามความสนใจ โดยใช้กระบวนการอ่าน กระบวนการเขียน
กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิดวิเคราะห์และสรุปความ กระบวนการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการส่ือความ กระบวนการแก้ปัญหา การฝึกปฏิบัติ อธิบาย บันทึก การตั้ง
คาถาม ตอบคาถาม ใช้ทกั ษะการฟัง การดูและการพูด พูดแสดงความคิดเห็น กระบวนการสร้างความคิด
รวบยอด

เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ส่ือสารได้ถูกต้อง รักการเรียนภาษาไทย เห็นคุณค่าของ
การอนุรักษ์ภาษาไทย และตัวเลขไทย สามารถนาความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้วิธีการของเศรษฐกิจ
พอเพยี งและสามารถนาไปประยกุ ต์ใชก้ ับชวี ิตประจาวนั ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
มาตรฐานการเรยี นร/ู้ ตวั ชว้ี ดั

ท ๑.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕, ป.๕/๖, ป.๕/๗, ป.๕/๘
ท ๒.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕, ป.๕/๖, ป.๕/๗, ป.๕/๘, ป.๕/๙
ท ๓.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕
ท ๔.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔, ป.๕/๕, ป.๕/๖, ป.๕/๗
ท ๕.๑ ป.๕/๑, ป.๕/๒, ป.๕/๓, ป.๕/๔
รวม ๕ มาตรฐาน ๓๓ ตัวชี้วดั

หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเพชรมงคล ฉบับปรับปรงุ พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขนั้ พ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

32

รายวิชาภาษาไทย คาอธิบายรายวิชาพนื้ ฐาน กลมุ สาระการเรียนรภู้ าษาไทย
ช้ันประถมศึกษาปที ่ี ๖ รหสั วชิ า ท๑๖๑๐๑ เวลา ๑๖๐ ชวั่ โมง/ปี

ฝึกอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง อธิบายความหมายของคา ประโยคและข้อความที่

เป็นโวหาร อ่านเรื่องส้ัน ๆอย่างหลากหลาย แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเร่ืองที่อ่าน วิเคราะห์และ
แสดงความคิดเห็นเก่ียวกับเร่ืองที่อ่านเพ่ือนาไปใช้ในการดาเนินชีวิต อ่านงานเขียน เชิงอธิบาย คาส่ัง

ข้อแนะนา และปฏิบัติตาม อธิบายความหมายของข้อมูลจากการอ่านแผนผัง แผนท่ี แผนภูมิและกราฟ
เลือกอ่านหนังสือตามความสนใจและอธิบายคณุ ค่าท่ีไดร้ บั มมี ารยาทในการอา่ น

ฝกึ คดั ลายมอื ดว้ ยตัวบรรจงเต็มบรรทดั และครึง่ บรรทดั เขียนสือ่ สารโดยใช้คาได้ถกู ต้อง ชดั เจน และ
เหมาะสม เขียนแผนภาพโครงเร่ืองและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน เขียนเรียงความ เขียนย่อ

ความจากเรอ่ื งอ่าน เขียนจดส่วนตัว กรอกแบบรายการต่าง ๆ เขียนเร่ืองตามจนิ ตนาการและสรา้ งสรรค์ มี
มารยาทในการเขียน

ฝึกทักษะการฟัง การดูและการพูด พูดแสดงความรู้ ความเข้าใจจุดประสงค์ของเร่ืองที่ฟังและดู
ต้ังคาถามและตอบคาถามเชิงเหตุผลจากเรื่องท่ีฟังและดู วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากเร่ืองที่ฟังและดูสื่อ
โฆษณาอย่างมเี หตผุ ล พูดรายงานเรอื่ งหรือประเด็นทศี่ ึกษาค้นควา้ จากการฟัง การดแู ละการสนทนา พูดโน้ม

นา้ วอยา่ งมีเหตผุ ลและนา่ เชื่อถอื มมี ารยาทในการฟัง การดแู ละการพดู
ฝึกวิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคาในประโยค ใช้คาได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล รวบรวม

และบอกความหมายของคาภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย ระบุลักษณะของประโยค แต่งบทร้อยกรอง
วเิ คราะห์เปรียบเทยี บสานวนทีเ่ ปน็ คาพังเพยและสภุ าษติ

ฝกึ แสดงความคดิ เห็นจากวรรณคดีหรอื วรรณกรรมท่อี ่าน เล่านิทานพ้นื บ้านท้องถนิ่ ตนเองและนิทาน
พ้ืนบ้านของท้องถิ่นอ่ืน อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมท่ีอ่านและนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

ท่องจาบทอาขยานตามที่กาหนดและบทร้อย โดยใช้กระบวนการอ่าน กระบวนการเขียน กระบวนการ
แสวงหาความรู้ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการคิดวิเคราะห์และสรุปความ กระบวนการคิดอย่างมี

วิจารณญาณ กระบวนการส่ือความ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการสังเกต กระบวนกรแยกข้อเท็จจริง
กระบวนการค้นคว้า กระบวนการใช้เทคโนโลยีในการสอ่ื สาร กระบวนการใช้ทกั ษะทางภาษา การฝึกปฏิบตั ิ

อธิบาย บันทึก การต้ังคาถาม ตอบคาถาม ใช้ทักษะการฟัง การดูและการพูด พูดแสดงความคิดเห็น
กระบวนการสรา้ งความคดิ รวบยอด

เพอ่ื ให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ส่ือสารได้ถกู ตอ้ ง รกั การเรียนภาษาไทย เห็นคุณค่าของการ
อนุรักษ์ภาษาไทย และตัวเลขไทย สามารถนาความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยใช้วิธีการของเศรษฐกิจ
พอเพยี งและสามารถนาไปประยุกต์ใชก้ ับชีวิตประจาวนั ได้อยา่ งถูกต้องเหมาะสม

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชว้ี ดั
ท ๑.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖, ป.๖/๗, ป.๖/๘, ป.๖/๙
ท ๒.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖, ป.๖/๗, ป.๖/๘, ป.๖/๙
ท ๓.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖
ท ๔.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖

หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล ฉบับปรบั ปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

33

ท ๕.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔
รวม ๕ มาตรฐาน ๓๔ ตวั ชี้วัด

หลกั สตู รสถานศกึ ษาโรงเรียนบ้านเพชรมงคล ฉบบั ปรับปรงุ พุทธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลักสตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

34

คาอธบิ ายรายวิชาพ้ืนฐาน

รายวชิ าภาษาไทย รหสั วชิ า ท๒๑๑๐๑ กล่มุ สาระการเรียนรูภ้ าษาไทย
จานวน ๑.๕ หนว่ ยกติ
ชัน้ มัธยมศกึ ษาปีที่ ๑ ภาคเรยี นท่ี ๑ เวลา ๖๐ ช่ัวโมง

อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้อง จับใจความสาคัญ ระบุเหตุผลและข้อคิดเท็จ
จริงกับความคิดเห็น อธิบายคาเปรียบเทียบ และคาท่ีมีหลายความหมาย ตีความคายากในเอกสารวิชาการ
ข้อสังเกตและความสมเหตุสมผลของงานเขียนประเภทชักจูงโน้มน้าวใจ โดยพิจารณาจากบริบทต่าง ๆ
จากเรื่องท่ีอา่ นปฏิบัตติ ามคมู่ ือแนะนาวิธีการใชง้ านของเครือ่ งมือหรอื เครอ่ื งใช้ในระดับท่ียากข้ึน วิเคราะห์คุณ
คา่ ทีไ่ ด้รบั จากการอา่ นงานเขยี นอยา่ งหลากหลาย เพ่อื นาไปแก้ปัญหาชีวติ มมี ารยาทในการอ่าน

คัดลายมือตัวบรรจงคร่ึงบรรทัด เขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคาท่ีถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม และ
สละสลวย เขียนบรรยายประสบการณ์ โดยระบุสาระสาคัญและรายละเอียดสนับสนุน เขียนเรียงความ
เขียนย่อความจากเรื่องท่ีอ่าน เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากส่วนที่ได้รับ เขียนจดหมายส่วนตัว
และจดหมายกิจธุระ เขยี นรายงานการศึกษาคน้ ควา้ และโครงงาน มีมารยาทในการเขยี น

พูดสรุปใจความสาคัญของเร่ืองท่ีฟังและดู เล่าเรื่องย่อจากเรื่องท่ีฟังและดู พูดแสดงความคิดเห็น
อย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับเร่ืองที่ฟังและดู ประเมินความน่าเช่ือถือของส่ือท่ีมีเน้ือหาโน้มน้าวใจ พูดรายงาน
เรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา มีมารยาทในการฟัง การดูและการพูด
และพดู สอ่ื ความเกยี่ วกับประเทศในกลุม่ อาเซยี น

อธิบายลกั ษณะของเสียงและสร้างคาในภาษาไทย วิเคราะหช์ นิดและหน้าท่ีของคาในประโยค ความ
แตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียน แต่งบทร้อยกรอง จาแนกและใชส้ านวนทเ่ี ปน็ คาพังเพยและสุภาษิต

สรุปเน้ือหา วิเคราะห์ อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน พร้อมยกเหตุผลประกอบ
สรุปความรู้และข้อคิด จากการอ่านเพ่ือประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ท่องจาบทอาขยานตามท่ีกาหนดและบทร้อย
กรองท่มี ีคุณค่าตามความสนใจ

โดยใช้กระบวนการทางภาษาไทย การอ่าน การเขยี น การฟัง การดู และการพดู การสบื เสาะหา
ความร้กู ารสบื คน้ ข้อมลู บันทึก วิเคราะห์วจิ ารณ์และการอภปิ ราย

เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ความรูสึก เห็นคุณค่าและนาความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง มี
คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม มีมารยาทในการใช้ภาษา การอ่าน การเขียน การฟัง การดู
และการพูด เห็นคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน รักความเป็นไทย นาข้อคิดจากเรื่องที่อ่านไป
ประยกุ ต์ใช้ในชวี ติ ประจาวัน

มาตรฐานการเรยี นร/ู้ ตัวชีว้ ดั
ท ๑.๑ ม.๑/๑, ม.๑/๒, ม.๑/๓, ม.๑/๔, ม.๑/๕, ม.๑/๖, ม.๑/๗, ม.๑/๘, ม.๑/๙
ท ๒.๑ ม.๑/๑, ม.๑/๒, ม.๑/๓, ม.๑/๔, ม.๑/๕, ม.๑/๖, ม.๑/๗, ม.๑/๘, ม.๑/๙
ท ๓.๑ ม.๑/๑, ม.๑/๒, ม.๑/๓, ม.๑/๔, ม.๑/๕, ม.๑/๖

หลกั สตู รสถานศึกษาโรงเรียนบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรับปรุง พทุ ธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขนั้ พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

35

ท ๔.๑ ม.๑/๑, ม.๑/๒, ม.๑/๓, ม.๑/๔, ม.๑/๕, ม.๑/๖
ท ๕.๑ ม.๑/๑, ม.๑/๒, ม.๑/๓, ม.๑/๔, ม.๑/๕
รวม ๕ มาตรฐาน ๓๕ ตัวช้ีวัด

หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรียนบ้านเพชรมงคล ฉบับปรับปรงุ พุทธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑

36

คาอธบิ ายรายวิชาพ้นื ฐาน

รายวชิ าภาษาไทย รหัสวิชา ท๒๑๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
จานวน ๑.๕ หน่วยกิต
ช้นั มัธยมศกึ ษาปที ี่ ๑ ภาคเรยี นท่ี ๒ เวลา ๖๐ ช่วั โมง

อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้อง จับใจความสาคัญ ระบุเหตุผลและข้อคิดเท็จ
จริงกับความคิดเห็น อธิบายคาเปรียบเทียบ และคาที่มีหลายความหมาย ตีความคายากในเอกสารวิชาการ
ข้อสังเกตและความสมเหตุสมผลของงานเขียนประเภทชักจูงโน้มน้าวใจ โดยพิจารณาจากบริบทต่าง ๆ จาก
เรื่องทอี่ ่านปฏบิ ัติตามคู่มือแนะนาวธิ ีการใช้งานของเครอ่ื งมอื หรือเครื่องใช้ในระดับทย่ี ากข้นึ วิเคราะหค์ ุณค่าท่ี
ได้รับจากการอา่ นงานเขียนอย่างหลากหลาย เพอื่ นาไปแก้ปัญหาชวี ติ มมี ารยาทในการอา่ น

คัดลายมือตัวบรรจงคร่ึงบรรทัด เขียนส่ือสารโดยใช้ถ้อยคาที่ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม และ
สละสลวย เขียนบรรยายประสบการณ์ โดยระบุสาระสาคัญและรายละเอียดสนับสนุน เขียนเรียงความ
เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากส่วนที่ได้รับ เขียนจดหมายส่วนตัว
และจดหมายกิจธรุ ะ เขยี นรายงานการศกึ ษาค้นคว้าและโครงงาน มมี ารยาทในการเขียน

พูดสรุปใจความสาคัญของเรื่องท่ีฟังและดู เล่าเร่ืองย่อจากเรื่องที่ฟังและดู พูดแสดงความคิดเห็น
อย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับเร่ืองที่ฟังและดู ประเมินความน่าเช่ือถือของส่ือที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ พูดรายงาน
เร่ืองหรือประเด็นท่ีศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา มีมารยาทในการฟัง การดูและการพูด
และพดู สื่อความเกย่ี วกับประเทศในกลมุ่ อาเซียน

อธิบายลกั ษณะของเสียงและสร้างคาในภาษาไทย วิเคราะหช์ นิดและหน้าท่ีของคาในประโยค ความ
แตกตา่ งของภาษาพดู และภาษาเขียน แต่งบทรอ้ ยกรอง จาแนกและใช้สานวนทีเ่ ป็นคาพงั เพยและสุภาษิต

สรุปเนื้อหา วิเคราะห์ อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมท่ีอ่าน พร้อมยกเหตุผลประกอบ
สรุปความรู้และข้อคิด จากการอ่านเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ท่องจาบทอาขยานตามที่กาหนดและบทร้อย
กรองท่มี คี ุณคา่ ตามความสนใจ

โดยใช้กระบวนการทางภาษาไทย การอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด การสบื เสาะหา
ความรูก้ ารสืบคน้ ข้อมลู บนั ทึก วิเคราะหว์ ิจารณ์และการอภปิ ราย

เพ่ือให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ความรูสึก เห็นคุณค่าและนาความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง มี
คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม มีมารยาทในการใช้ภาษา การอ่าน การเขียน การฟัง การดู
และการพูด เห็นคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน รักความเป็นไทย นาข้อคิดจากเร่ืองที่อ่านไป
ประยุกตใ์ ชใ้ นชวี ติ ประจาวนั

มาตรฐานการเรยี นรู้/ตัวช้ีวัด
ท ๑.๑ ม.๑/๑, ม.๑/๒, ม.๑/๓, ม.๑/๔, ม.๑/๕, ม.๑/๖, ม.๑/๗, ม.๑/๘, ม.๑/๙
ท ๒.๑ ม.๑/๑, ม.๑/๒, ม.๑/๓, ม.๑/๔, ม.๑/๕, ม.๑/๖, ม.๑/๗, ม.๑/๘, ม.๑/๙
ท ๓.๑ ม.๑/๑, ม.๑/๒, ม.๑/๓, ม.๑/๔, ม.๑/๕, ม.๑/๖

หลกั สตู รสถานศึกษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบับปรับปรุง พทุ ธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑

37
ท ๔.๑ ม.๑/๑, ม.๑/๒, ม.๑/๓, ม.๑/๔, ม.๑/๕, ม.๑/๖
ท ๕.๑ ม.๑/๑, ม.๑/๒, ม.๑/๓, ม.๑/๔, ม.๑/๕,
รวม ๕ มาตรฐาน ๓๕ ตวั ชว้ี ัด

หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรบั ปรงุ พุทธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลักสตู รแกนกลางการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

38

คาอธิบายรายวชิ าพ้นื ฐาน

รายวชิ าภาษาไทย รหัสวิชา ท๒๒๑๐๑ กลุ่มสาระการเรยี นรู้ภาษาไทย
จานวน ๑.๕ หนว่ ยกิต
ชนั้ มัธยมศึกษาปที ่ี ๒ ภาคเรยี นที่ ๑ เวลา ๖๐ ช่ัวโมง

อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วที่เป็นบทบรรยาย บทพรรณนา บทร้อยกรอง เช่น กลอนบทละคร กลอนนิทาน
กลอนเพลงยาว และกาพยห์ ่อโคลง อ่านจบั ใจความจากส่อื ต่าง ๆ เช่น วรรณคดี บทความ บนั ทึกเหตุการณ์ บทสนทนา
บทโฆษณา งานเขยี นโน้มนา้ วใจ บทความ เรอื่ งราวจากบทเรยี น การอ่านตามความสนใจ มีมารยาทในการอ่าน

คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย การเขียนบรรยาย และพรรณนา เขียน
เรียงความเก่ียวกับประสบการณ์ เขียนย่อความจากส่ือต่าง ๆ เช่น นิทาน คาสอนบทความทางวิชาการ บันทึก
เหตุการณ์ เร่ืองราวในบทเรียน นิทานชาดก การเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้าและรายงานโครงงาน การเขียน
จดหมายกิจธุระ ได้แก่ จดหมายเชิญวิทยากรและจดหมายขอความอนุเคราะห์ เขียนวิเคราะห์วิจารณ์จากสื่อต่าง ๆ
เช่น บทความ บทเพลง หนังสืออา่ นนอกเวลา สารคดีและบนั เทิงคดี มมี ารยาทในการเขียน

พูดสรุปความจากเร่ืองที่ฟังและดู พูดวิเคราะห์ พูดในโอกาสต่าง ๆ เช่น อวยพร โน้มน้าว โฆษณา พูด
รายงานการศึกษาค้นคว้า มีมารยาทในการฟงั การดู และการพดู

การสร้างคาสมาส ลักษณะของประโยคในภาษาไทย ประโยคสามัญ ประโยครวม ประโยคซ้อน
แตง่ กลอนสภุ าพ คาราชาศัพท์ คาทมี่ าจากภาษาตา่ งประเทศ

วรรณคดีและวรรณกรรมเก่ียวกบั ศาสนา ประเพณี พิธีกรรม สุภาษิต คาสอน เหตุการณ์
ประวัติศาสตร์ บันเทิงคดี และบันทึกการเดินทาง การวิเคราะห์คุณค่าและข้อคิดจากวรรณกรรม วรรณคดี
และวรรณกรรมท้องถ่ิน บทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่า ตามที่กาหนดและตามความสนใจ

โดยการใช้ทักษะกระบวนการอ่าน กระบวนการ ทักษะกระบวนการคิด การรวบรวมและนาเสนอ
ขอ้ มูลและงาน การใช้ทักษะกระบวนการกลุม่ การวิเคราะห์ การสงั เคราะห์

เพ่ือพัฒนาส่งเสริมทักษะทางภาษาอย่างเต็มตามศักยภาพ สามารถสื่อสารกับผู้อ่ืนได้ เห็นคุณค่าของ
วรรณคดี นาไปประยกุ ตใ์ ช้ในชีวติ จริง มีทกั ษะชีวิต อนุรักษภ์ าษาไทยอนั เป็นเอกลักษณ์ของชาติ มคี วามซาบซ้ึง
และมีสนุ ทรยี ภาพทางภาษา

มาตรฐานการเรียนรู/้ ตัวชวี้ ัด
ท ๑.๑ ม.๒/๑, ม.๒/๒, ม.๒/๓, ม.๒/๔, ม.๒/๕, ม.๒/๖, ม.๒/๗, ม.๒/๘
ท ๒.๑ ม.๒/๑, ม.๒/๒, ม.๒/๓, ม.๒/๔, ม.๒/๕, ม.๒/๖, ม.๒/๗, ม.๒/๘
ท ๓.๑ ม.๒/๑, ม.๒/๒, ม.๒/๓, ม.๒/๔, ม.๒/๕, ม.๒/๖
ท ๔.๑ ม.๒/๑, ม.๒/๒, ม.๒/๓, ม.๒/๔, ม.๒/๕
ท ๕.๑ ม.๒/๑, ม.๒/๒, ม.๒/๓, ม.๒/๔, ม.๒/๕

รวม ๕ มาตรฐาน ๓๒ ตัวชี้วดั

หลกั สตู รสถานศึกษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรบั ปรงุ พุทธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้นั พืน้ ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

39

คาอธบิ ายรายวิชาพื้นฐาน

รายวชิ าภาษาไทย รหัสวิชา ท๒๒๑๐๒ กลุ่มสาระการเรียนร้ภู าษาไทย
จานวน ๑.๕ หน่วยกติ
ช้ันมธั ยมศึกษาปที ี่ ๒ ภาคเรยี นที่ ๒ เวลา ๖๐ ชั่วโมง

ฝึกทักษะการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง จับใจความสาคัญ สรุปความ
และอธิบายรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน เขียนผังความคิดเพื่อแสดงความเข้าใจในบทเรียนต่าง ๆ ท่ีอ่าน
วิเคราะห์และจาแนกข้อเท็จจรงิ ข้อมูลสนับสนุนและขอ้ คิดเหน็ จากบทความท่ีอ่าน อ่านหนังสือบทความหรือ
คาประพันธ์อย่างหลากหลาย และประเมินคุณค่าหรือแนวคิดท่ีได้จาก การอ่านเพ่ือนาไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต
ฝึกคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด เขียนย่อความ เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า เขียนจดหมายกิจธุระ
ฝกึ วิเคราะหข์ ้อเท็จจรงิ ขอ้ คิดเหน็ และความนา่ เชอ่ื ถอื ของข่าวสารจากสอ่ื ต่าง ๆ วิเคราะห์วิจารณเ์ รื่องท่ีฟังและ
ดูอย่างมีเหตุผลเพื่อนาข้อคิดมาประยุกต์ใช้ในการดาเนินชีวิต พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นท่ีศึกษาค้นคว้า
จากการฟัง การดูและการสนทนา ศึกษาการสรา้ งคาในภาษาไทย วิเคราะหโ์ ครงสรา้ งประโยคสามัญ ประโยค
ความรวมและประโยคความซ้อน แต่งบทร้อยกรอง รวบรวมและอธิบายความหมายของคาภาษาต่างประเทศ
ที่ใช้ในภาษาไทย สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมท่ีอ่านในระดับทยี่ ากขน้ึ วเิ คราะห์และวิจารณ์วรรณคดี
วรรณกรรมท้องถ่ินท่ีอ่านพร้อมยกเหตุผลประกอบ อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมท่ีอ่าน สรุป
ความรู้และข้อคิดจากการอ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ท่องจาบทอาขยานตามท่ีกาหนดและบทร้อยกรองที่มี
คุณคา่ ตามความสนใจ

โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคิด
กระบวนการปฏิบตั ิ กระบวนการเรียนรขู้ องตนเอง กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเรยี นภาษา กระบวนการ
เรียนรู้ความเข้าใจ เพ่ือให้เกิดความรู้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การพูด และการดู มี
ความสามารถในการส่ือสาร ในการคิดการใช้ทักษะชีวิต ในการใชเ้ ทคโนโลยี เปน็ ผู้ใฝร่ ใู้ ฝเ่ รยี น มุ่งม่นั ในการ
ทางาน รกั ความเปน็ ไทย มีคณุ ธรรม จริยธรรม และคา่ นยิ มทีเ่ หมาะสม

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวช้ีวดั
ท ๑.๑ ม.๒/๑, ม.๒/๒, ม.๒/๓, ม.๒/๕, ม.๒/๗, ม.๒/๘
ท ๒.๑ ม.๒/๑, ม.๒/๔, ม.๒/๕, ม.๒/๖, ม.๒/๗
ท ๓.๑ ม.๒/๒, ม.๒/๓, ม.๒/๕
ท ๔.๑ ม.๒/๑, ม.๒/๒, ม.๒/๓, ม.๒/๕
ท ๕.๑ ม.๒/๑, ม.๒/๓, ม.๒/๔, ม.๒/๕

รวม ๕ มาตรฐาน ๒๒ ตัวชีว้ ดั

หลกั สตู รสถานศึกษาโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล ฉบบั ปรบั ปรุง พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขนั้ พ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

40

คาอธบิ ายรายวชิ าพ้ืนฐาน

รายวิชาภาษาไทย รหสั วิชา ท๒๓๑๐๑ กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ภาษาไทย
จานวน ๑.๕ หนว่ ยกิต
ชัน้ มัธยมศกึ ษาปีท่ี ๓ ภาคเรยี นที่ ๑ เวลา ๖๐ ช่วั โมง

อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว บทความทั่วไป บทความปกิณกะ บทร้อยกรอง เช่น กลอนบทละคร
กลอนเสภา กาพยย์ านี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และโคลงส่ีสุภาพ อา่ นจับใจความจากสอื่ ต่าง ๆ เชน่ วรรณคดี
ในบทเรียน ข่าวและเหตุการณ์สาคัญ บทความ บันเทงิ คดี สารคดี สารคดีเชิงประวัติ ตานาน งานเขียน
เชิงสร้างสรรค์ เรื่องราวจากบทเรียน การอา่ นตามความสนใจ เชน่ หนังสืออา่ นนอกเวลา หนังสอื อ่านตาม
ความสนใจ หนงั สืออา่ นท่ีครแู ละนักเรียนร่วมกันกาหนดมารยาทในการอ่าน

คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย การเขียนข้อความตาม
สถานการณ์และโอกาสต่าง ๆ เช่น คาอวยพร คาขวัญ คาคม โฆษณา คติพจน์ สุนทรพจน์ การเขียน
อตั ชวี ประวัติหรอื ชีวประวัติ เขียนย่อความจากส่ือต่าง ๆ เช่น นิทาน ประวัติ ตานาน สารคดี ทางวิชาการ
พระราชดารัส พระบรมราโชวาท จดหมายราชการ การเขียนจดหมายกิจธุระ เพ่อื เชิญวิทยากร ขอความ
อนุเคราะห์และแสดงความขอบคุณ การเขียนอธิบาย ช้ีแจง แสดงความคิดเห็นและโต้แย้งในเร่ืองต่าง ๆ
การเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความรู้ความคิดเห็นจากสื่อต่าง ๆ เช่นบทโฆษณา บทความทางวิชาการ
การกรอกแบบสมัครงาน การเขยี นรายงานจากการศกึ ษาคน้ คว้าและรายงานโครงงาน มารยาทในการเขยี น

พูดแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ วิจารณ์ พูดรายงานการศึกษาค้นคว้าเก่ียวกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
พดู โอกาสตา่ ง ๆ เช่นการพูดโต้วาที อภปิ ราย ยอวาที โน้มน้าว มารยาทในการฟัง การดู และการพูด

คาท่ีมาจากภาษาต่างประเทศ ประโยคซับซ้อน ระดับภาษา คาทับศัพท์ คาศัพท์บัญญัติ คาศัพท์
ทางวชิ าการ และวชิ าชีพ โคลงสสี่ ุภาพ

วรรณคดี วรรณกรรม และวรรณกรรมท้องถ่ินเก่ียวกับ ศาสนา ประเพณี พิธีกรรม สุภาษิตคา
สอน เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ บันเทิงคดี การวิเคราะห์วิถีไทยและคุณค่าจากวรรณคดีและวรรณกรรม
บทอาขยานและบทร้อยกรองท่ีมีคุณค่าท้งั บทอาขยานตามทก่ี าหนดและตามความสนใจ

โดยการศึกษา ค้นคว้า ใช้ทกั ษะกระบวนการอ่าน การะบวนการเขียน ทกั ษะกระบวนการคิด เพ่ือ
พฒั นาส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะทางภาษาอย่างเต็มตามศกั ยภาพ สามารถใช้ทักษะการส่ือสารได้เป็นอย่างดี
เห็นคุณค่าของวรรณคดีไทย มีความซาบซ้ึงและมีสุนทรียภาพ อนุรักษ์ภาษาไทยไว้เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
นาไปประยกุ ต์ใชใ้ นชวี ติ ประจาวนั มที ักษะชวี ติ และจิตสาธารณะ

มาตรฐานการเรยี นรู/้ ตวั ช้วี ัด
ท ๑.๑ ม.๓/๑, ม.๓/๒, ม.๓/๓, ม.๓/๔, ม.๓/๕, ม.๓/๖, ม.๓/๗, ม.๓/๘, ม.๓/๙, ม.๓/๑๐
ท ๒.๑ ม.๓/๑, ม.๓/๒, ม.๓/๓, ม.๓/๔, ม.๓/๕, ม.๓/๖, ม.๓/๗, ม.๓/๘, ม.๓/๙, ม.๓/๑๐
ท ๓.๑ ม.๓/๑, ม.๓/๒, ม.๓/๓, ม.๓/๔, ม.๓/๕, ม.๓/๖
ท ๔.๑ ม.๓/๑, ม.๓/๒, ม.๓/๓, ม.๓/๔, ม.๓/๕, ม.๓/๖

หลกั สตู รสถานศึกษาโรงเรียนบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรับปรุง พทุ ธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

41

ท ๕.๑ ม.๓/๑, ม.๓/๒, ม.๓/๓, ม.๓/๔
รวม ๕ มาตรฐาน ๓๖ ตัวชว้ี ัด

หลกั สตู รสถานศกึ ษาโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล ฉบับปรับปรงุ พทุ ธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑

42

คาอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

รายวชิ าภาษาไทย รหสั วิชา ท๒๓๑๐๒ กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ภาษาไทย
จานวน ๑.๕ หนว่ ยกติ
ชนั้ มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ภาคเรยี นท่ี ๒ เวลา ๖๐ ช่วั โมง

ฝึกการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองประเภทต่างๆ ได้ถูกต้องและเหมาะสมกับเรื่อง
ท่ีอ่าน อ่านเรื่องจากวรรณคดีในบทเรียน ข่าวและเหตุการณ์สาคัญ บทความ สารคดี สารคดีเชิงประวัติ
ตานาน งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ เร่ืองราวจากบทเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระ
การเรียนรู้อื่น และระบุความแตกต่างของคาท่ีมีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย ประเมิน
ความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้สนับสนุนในเรื่องที่อ่าน วิจารณ์ความสมเหตุสมผล การลาดับความเป็นไปได้
ของเรื่อง และวิเคราะห์เพือ่ แสดงความคิดเหน็ โต้แย้ง ฝึกการเขียนข้อความตามสถานการณ์และโอกาสต่าง ๆ
โดยใชถ้ อ้ ยคาไดถ้ ูกตอ้ งตามระดับภาษา การเขียนอธบิ าย ชี้แจง แสดงความคิดเห็น และโต้แยง้ อยา่ งมเี หตผุ ล
การเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความรู้ ความคิดเห็น หรือโต้แย้ง การกรอกแบบสมัครงานพร้อม
เขียนบรรยายเกีย่ วกับความร้แู ละทักษะท่ีเหมาะสมกับงาน ฝึกการฟัง การดู การพูด ในโอกาสตา่ งๆ ได้ตรง
ตามวัตถุประสงค์ การพูดโน้มน้าวโดยนาเสนอหลักฐานตามลาดับเนื้อหาอย่างมีเหตุผลน่าเช่ือถือ
ศกึ ษาเก่ียวกับการวิเคราะห์ระดบั ภาษา การใชค้ าทับศพั ท์ ศพั ท์บญั ญัติ และคาศัพท์ทางวิชาการและวิชาชีพ
การแต่งบทร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพเกี่ยวกับท้องถิ่นสมุทรปราการ อ่านวรรณคดี วรรณกรรม
และวรรณกรรมท้องถิ่นเก่ียวกับศาสนา ประเพณี พิธีกรรม สุภาษิตคาสอน เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
บันเทิงคดี แล้ววเิ คราะห์วถิ ีไทยและคณุ คา่ ของวรรณคดี วรรณกรรม สรุปเนื้อหา ความรู้ ข้อคิด จากเรื่อง
ท่ีอ่านเพ่ือนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ตลอดจนท่องจาและบอกคุณค่าของบทอาขยานตามที่กาหนดและ
บทรอ้ ยกรองท่มี คี ุณค่าตามความสนใจและนาไปใช้อา้ งองิ

โดยใชก้ ระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้ กระบวนการคดิ
กระบวนการปฏบิ ัติกระบวนการกล่มุ กระบวนการเรยี นภาษา กระบวนการเรยี นรขู้ องตนเอง
เพื่อให้เกิดความรู้ มมี ารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู การพดู มีความสามารถในการสอื่ สาร
การคิด การใช้ทกั ษะชีวิต การใชเ้ ทคโนโลยี เป็นผู้ใฝร่ ใู้ ฝเ่ รยี น ม่งุ ม่นั ในการทางาน รักความเป็นไทย
มคี ุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมทเ่ี หมาะสม

มาตรฐานการเรียนร/ู้ ตวั ช้ีวัด
ท ๑.๑ ม.๓/๒, ม.๓/๒, ม.๓/๖, ม.๓/๗, ม.๓/๘, ม.๓/๑๐
ท ๒.๑ ม.๓/๒, ม.๓/๖, ม.๓/๗, ม.๓/๘, ม.๓/๑๐
ท ๓.๑ ม.๓/๔, ม.๓/๕, ม.๓/๖
ท ๔.๑ ม.๓/๓, ม.๓/๔, ม.๓/๕, ม.๓/๖
ท ๕.๑ ม.๓/๑, ม.๓/๒, ม.๓/๓, ม.๓/๔

รวม ๕ มาตรฐาน ๒๒ ตัวช้วี ัด

หลกั สตู รสถานศกึ ษาโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล ฉบับปรับปรุง พุทธศกั ราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑

รายวิชาคณิตศาสตร์ 43 กลมุ่ สาระการเรียนร้คู ณติ ศาสตร์
ชัน้ ประถมศกึ ษาปท่ี ๑ เวลา ๒๐๐ ชวั่ โมง/ปี
คาอธบิ ายรายวชิ าพน้ื ฐาน
รหสั วิชา ค๑๑๑๐๑

ศกึ ษา ฝกึ ทกั ษะการคิดคานวณและฝึกแกป้ ัญหา จานวนนับ ๑ ถึง ๑๐๐ และ ๐ บอกและแสดงจานวน
ส่ิงต่าง ๆ ตามจานวนที่กาหนด อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย การบอกอันดับที่หลัก ค่าของเลข
โดดในแต่ละหลัก และเขียนแสดงจานวนในรูปกระจาย เปรียบเทียบจานวนนับไม่เกิน ๑๐๐ และ ๐ โดยใช้
เคร่ืองหมาย = ≠ > < เรียงลาดับจานวนตั้งแต่ ๓ ถึง ๕ จานวน และหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยค
สัญลักษณ์แสดงการบวก การลบ การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ ของจานวนนับไม่เกิน ๑๐๐ และ ๐
ความยาวและน้าหนัก สร้างโจทย์ปัญหาพร้อมทั้งแสดงวิธีหาคาตอบของโจทย์ปัญหาการบวก การลบ ของ
จานวนนับไม่เกิน ๑๐๐ และ ๐ ระบุจานวนที่หายไปในแบบรูปของจานวนท่ีเพิ่มข้ึนหรือลดลงทีละ๑ ทีละ
๑๐ รูปที่หายไปในแบบรูปซ้าของรูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ ที่สมาชิกใน แต่ละชุดที่ซ้ามี ๒ รูป วัดและ
เปรียบเทียบความยาวเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร น้าหนักเป็นกิโลกรัมเป็นขีด และใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วย
มาตรฐาน จาแนกรปู สามเหลย่ี ม รูปสีเ่ หล่ียม วงกลม วงรี ทรงสเี่ หล่ียมมมุ ฉาก ทรงกลม ทรงกระบอก และกรวย
ใช้ขอ้ มลู จากแผนภูมริ ูปภาพในการหาคาตอบของโจทย์ปัญหา เมอ่ื กาหนดรปู ๑ รูปแทน ๑ หน่วย

มาตรฐานการเรียนรู้ /ตัวชว้ี ัด
ค ๑.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒, ป.๑/๓, ป.๑/๔, ป.๑/๕
ค ๑.๒ ป.๑/๑
ค ๒.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒
ค ๒.๒ ป.๑/๑
ค ๓.๑ ป.๑/๑

รวม ๕ มาตรฐาน ๑๐ ตัวช้ีวัด

หลกั สตู รสถานศึกษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบับปรบั ปรงุ พุทธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑

รายวิชาคณิตศาสตร์ 44 กลุม่ สาระการเรยี นรคู้ ณิตศาสตร์
ช้นั ประถมศกึ ษาปที่ ๒ เวลา ๒๐๐ ช่ัวโมง/ปี
คาอธิบายรายวชิ าพนื้ ฐาน
รหัสวิชา ค๑๒๑๐๑

ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคานวณและฝึกแก้ปัญหา จานวนนับ ๑ ถึง ๑,๐๐๐ และ ๐ บอกและแสดง
จานวนส่ิงต่าง ๆ ตามจานวนท่ีกาหนด อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย การบอกอันดับท่ีหลัก ค่า
ของเลขโดดในแต่ละหลัก และเขียนแสดงจานวนในรูปกระจาย เปรียบเทียบจานวนนบั ไม่เกิน ๑,๐๐๐ และ ๐
โดยใช้เคร่ืองหมาย = ≠ > < เรียงลาดับจานวนนับไม่เกิน ๑,๐๐๐ และ ๐ ต้ังแต่ ๓ ถงึ ๕ จานวน และหา
ค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการบวก การลบ การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบของ
จานวนนับไม่เกิน ๑,๐๐๐ และ ๐ หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการคูณของจานวน ๑
หลกั กับจานวนไม่เกนิ ๒ หลัก และประโยคสญั ลักษณ์แสดงการหารทีต่ ัวตง้ั ไมเ่ กิน ๒ หลัก ตวั หาร ๑ หลกั โดย
ท่ีผลหารมี ๑ หลัก ท้งั หารลงตัวและหารไม่ลงตัว หาผลลัพธ์การบวก ลบ คูณ หารระคนของจานวนนับไม่เกิน
๑,๐๐๐ และ ๐ แสดงวิธีหาคาตอบของโจทย์ปัญหา ๒ ข้ันตอนของจานวนนับไม่เกิน ๑,๐๐๐ และ ๐ แสดงวิธี
หาคาตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลาที่มีหน่วยเด่ียวและเป็นหน่วยเดียว วัดและเปรียบเทียบความยาวเป็น
เมตรและเซนติเมตร พร้อมทั้งแสดงวิธีการหาคาตอบของโจทย์ปัญหาการบวก การลบความยาวท่ีมีหน่วยเป็น
เมตรและเซนติเมตร วัดและเปรียบเทียบน้าหนักเป็นกิโลกรัมและกรัม กิโลกรัมและขีด พร้อมท้ังแสดงวิธีการ
หาคาตอบของโจทย์ปัญหาการบวกการลบเก่ียวกับน้าหนักท่ีมีหน่วยเป็นกิโลกรัมและกรัม กิโลกรัมและขีด วัด
และเปรียบเทียบปริมาตรและความจุเป็นลิตร จาแนกและบอกลักษณะของรูปหลายเหลี่ยมและวงกลม ใช้
ข้อมูลจากแผนภูมิรปู ภาพในการหาคาตอบของโจทย์ปัญหา เมื่อกาหนดรูป ๑ รูปแทน ๒ หน่วย ๕ หน่วยหรือ
๑๐ หน่วย

มาตรฐานการเรียนรู้ /ตวั ชี้วัด
ค ๑.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕, ป.๒/๖, ป.๒/๗, ป.๒/๘
ค ๒.๑ ป.๒/๑, ป.๒/๒, ป.๒/๓, ป.๒/๔, ป.๒/๕, ป.๒/๖
ค ๒.๒ ป.๒/๑
ค ๓.๑ ป.๒/๑

รวม ๔ มาตรฐาน ๑๖ ตวั ชี้วัด

หลักสตู รสถานศึกษาโรงเรยี นบา้ นเพชรมงคล ฉบบั ปรับปรงุ พทุ ธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑

รายวิชาคณติ ศาสตร์ 45 กลุ่มสาระการเรยี นรคู้ ณติ ศาสตร์
ชน้ั ประถมศกึ ษาปที ี่ ๓ เวลา ๒๐๐ ช่ัวโมง/ปี
คาอธบิ ายรายวิชาพน้ื ฐาน
รหัสวิชา ค๑๓๑๐๑

อา่ นและเขียน ตัวเลขฮนิ ดูอารบกิ ตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจานวนนับไมเ่ กนิ ๑๐๐,๐๐๐ และ
๐ เปรียบเทียบและเรียงลาดับจานวนนับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ และ ๐ จากสถานการณ์ต่าง ๆ บอก อ่านและ
เขียนเศษส่วนท่ีแสดงปริมาณส่ิงต่าง ๆ และแสดงสิ่งต่าง ๆ ตามเศษส่วนท่ีกาหนด เปรียบเทียบเศษส่วนที่ตัว
เศษเท่ากัน โดยที่ตัวเศษน้อยกว่าหรือเท่ากับตัวส่วน หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการ
บวกและการลบของจานวนนับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ และ ๐ หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดง
การคูณของจานวน ๑ หลักกับจานวนไม่เกิน ๔ หลักและจานวน ๒ หลักกับจานวน ๒ หลัก หาค่าของตัวไม่
ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการหารทตี่ ัวต้ังไม่เกิน ๔ หลกั ตวั หาร ๑ หลัก และหาผลลัพธ์การบวก ลบ
คณู หารระคนและแสดงวิธีการหาคาตอบของโจทย์ปัญหา ๒ ขั้นตอนของจานวนนับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ และ ๐
หาผลบวกและแสดงวิธีหาคาตอบของโจทย์ปญั หาการบวกของเศษส่วนท่ีมีตวั ส่วนเทา่ กันและผลบวกไม่เกิน ๑
และหาผลลบพร้อมทั้งแสดงวิธีหาคาตอบของโจทย์ปัญหาการลบของเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน ระบุจานวนที่
หายไปในแบบรูปของจานวนทเ่ี พ่ิมขึ้นหรอื ลดลงทีละเทา่ ๆ กัน แสดงวิธีหาคาตอบของโจทย์ปญั หาเก่ยี วกบั เงิน
เวลาและระยะเวลา เลือกใชเ้ ครอ่ื งมือความยาวทเ่ี หมาะสม วัดและบอกความยาวของส่ิงตา่ ง ๆ เปน็ เซนติเมตร
และมิลลิเมตร เมตรและเซนติเมตร คาดคะเนความยาวเป็นเมตรและเป็นเซนติเมตร เปรียบเทียบความยาว
และแสดงวิธีหาคาตอบของโจทย์ปัญหาเก่ียวกับระหวา่ งเซนติเมตรกับมิลลิเมตร เมตรกับเซนติเมตร กิโลเมตร
กับเมตร จากสถานการณ์ตา่ ง ๆ เลือกใชเ้ ครอ่ื งชั่งที่เหมาะสม วัดและบอกน้าหนักเป็นกิโลกรัมและขดี กโิ ลกรัม
และกรัม คาดคะเนน้าหนักเป็นกิโลกรัมและเป็นขีด เปรียบเทียบน้าหนักและแสดงวิธีหาคาตอบของโจทย์
ปัญหาเก่ียวกับน้าหนักท่ีมีหน่วยเป็นกิโลกรัมกับกรัม เมตริกตันกับกิโลกรัม จากสถานการณ์ต่าง ๆ เลือกใช้
เคร่ืองตวงท่ีเหมาะสม วัดและเปรียบเทียบปริมาตร ความจุเป็นลิตรและมิลลิลิตร คาดคะเนและแสดงวิธีหา
คาตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรและความจุเป็นลิตรและมิลลิเมตร ระบุรูปเรขาคณิตสองมิติท่ีมีแกน
สมมาตรและจานวนแกนสมมาตร เขียนแผนภูมิรปู ภาพและใช้ข้อมูลจากแผนภมู ิรูปภาพในการหาคาตอบของ
โจทย์ปัญหา เขยี นตารางทางเดียวจากขอ้ มูลทเ่ี ป็นจานวนนบั และใชข้ ้อมูลจากตารางทางเดียวในการหาคาตอบ
ของโจทย์ปญั หา

มาตรฐานการเรียนรู้ /ตัวชว้ี ัด
ค ๑.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖, ป.๓/๗, ป.๓/๘, ป.๓/๙, ป.๓/๑๐,
ป.๓/๑๑
ค ๑.๒ ป.๓/๑
ค ๒.๑ ป.๓/๑, ป.๓/๒, ป.๓/๓, ป.๓/๔, ป.๓/๕, ป.๓/๖, ป.๓/๗, ป.๓/๘, ป.๓/๙, ป.๓/๑๐,

หลกั สตู รสถานศกึ ษาโรงเรยี นบ้านเพชรมงคล ฉบบั ปรับปรงุ พุทธศักราช ๒๕๖๕
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขัน้ พ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑


Click to View FlipBook Version