The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือวิทย์ป.2 เล่ม1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jakkapan.wa, 2022-05-10 03:25:37

คู่มือวิทย์ป.2 เล่ม1

คู่มือวิทย์ป.2 เล่ม1

ววทิ ทิ ยยาาศศาาสสตตรร์ ์คมู่ อื ครูรายวชิ าพน้ื ฐาน ชน้ั ประถมศกึ ษาปที ่ี

เลเม่ลม่ ๑๑ ๒

ตามมาตรฐานการเรยี นรแู้ ละตวั ชว้ี ดั
กลมุ่ สาระการเรยี นรวู้ ทิ ยาศาสตร์ (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ. ๒๕๖๐)
ตามหลกั สตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑



คมู อื ครรู ายวชิ าพ้นื ฐานวิทยาศาสตร
ชน้ั ประถมศึกษาปท ี่ ๒ เลม ๑

กลมุ สาระการเรียนรวู ิทยาศาสตร

ตามมาตรฐานการเรยี นรแู ละตัวช้ีวดั กลมุ สาระการเรยี นรวู ทิ ยาศาสตร
(ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐)

ตามหลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐาน พทุ ธศักราช ๒๕๕๑

จดั ทาํ โดย
สถาบนั สงเสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยี

กระทรวงศกึ ษาธิการ



คาํ ชี้แจง

สถาบันสงเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (สสวท.) ไดจัดทําตัวช้ีวัดและสาระการเรียนรู
แกนกลาง กลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขัน้ พ้นื ฐาน พุทธศกั ราช ๒๕๕๑ โดยมีจุดเนนเพ่ือตองการพัฒนาผูเรียนใหมีความรูความสามารถท่ีทัดเทียมกับ
นานาชาติ ไดเ รยี นรวู ิทยาศาสตรทเี่ ชอ่ื มโยงความรกู ับกระบวนการในการสบื เสาะหาความรูและการแกปญหาที่
หลากหลาย มกี ารทํากิจกรรมดวยการลงมือปฏิบัติเพื่อใหผูเรียนไดใชทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรและ
ทักษะแหงศตวรรษท่ี ๒๑ ซึ่งในปการศึกษา ๒๕๖๑ เปนตนไปน้ี โรงเรียนจะตองใชหลักสูตรกลุมสาระ
การเรียนรูวิทยาศาสตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) สสวท. จึงไดจัดทําหนังสือเรียนที่เปนไปตามมาตรฐาน
การเรยี นรูแ ละตวั ชี้วัดของหลกั สตู รเพือ่ ใหโ รงเรียนไดใชส ําหรับจดั การเรียนการสอนในชัน้ เรียน

คูมือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร ชั้นประถมศึกษาปที่ ๒ เลม ๑ กลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร
เลมนี้ สสวท. ไดพัฒนาข้ึน เพื่อนําไปใชประกอบหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร ช้ันประถมศึกษา
ปท่ี ๒ เลม ๑ โดยภายในคูมือครูประกอบดวยผังมโนทัศน ตัวชี้วัด ขอแนะนําการใชคูมือครู ตารางแสดงความ
สอดคลองระหวา งเนอื้ หาและกจิ กรรมในหนงั สือเรยี นกบั มาตรฐานการเรียนรูและตัวชี้วัด กลุมสาระการเรียนรู
วิทยาศาสตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ตลอดจนแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรูท่ีมุงเนนการพัฒนาทักษะรอบดาน ทั้งการอาน การสํารวจตรวจสอบ
การฝกปฏิบัติ การปฏิบัติการทดลอง การสืบคนขอมูล และการอภิปราย โดยมีเปาหมายใหนักเรียนพัฒนาท้ัง
ดานความรู ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร ทักษะแหงศตวรรษที่ ๒๑ จิตวิทยาศาสตร กระบวนการ
สืบเสาะหาความรู ทักษะการคิด การอาน การสื่อสาร การแกปญหา ตลอดจนการนําความรูไปใชใน
ชีวิตประจําวันอยางมีคุณธรรมและคานิยมที่เหมาะสม สามารถดํารงชีวิตอยูในสังคมแหงการเปล่ียนแปลงใน
ศตวรรษที่ ๒๑ อยางมีความสุข ในการจัดทําคูมือครูรายวิชาพ้ืนฐานวิทยาศาสตร ช้ันประถมศึกษาปที่ ๒
เลม ๑ กลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตรเลมน้ี ไดรับความรวมมืออยางดีย่ิงจากคณาจารย ผูทรงคุณวุฒิ
นกั วชิ าการ และครูผสู อน จากสถาบนั การศึกษาตาง ๆ จึงขอขอบคณุ ไว ณ ท่ีนี้

สสวท. หวังเปน อยา งยิ่งวา คูมือครูรายวิชาพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร ชน้ั ประถมศกึ ษาปท่ี ๒ เลม ๑ กลุมสาระ
การเรียนรูวิทยาศาสตรเลมนี้ จะเปนประโยชนแกครูและผูเกี่ยวของทุกฝาย ที่จะชวยใหการจัดการศึกษาดาน
วิทยาศาสตรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หากมีขอเสนอแนะใดที่จะทําใหคูมือครูเลมนี้สมบูรณย่ิงขึ้น
โปรดแจง สสวท. ทราบดวย จกั ขอบคุณย่งิ

(ศาสตราจารยชกู ิจ ลมิ ปจํานงค)
ผูอ ํานวยการ

สถาบนั สงเสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ ละเทคโนโลยี
กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

สารบัญ

หนา

คําช้ีแจง

เปา หมายของการจัดการเรียนการสอนวทิ ยาศาสตร......................................................................................... ก

คณุ ภาพของผูเรียนวิทยาศาสตร เม่ือจบชัน้ ประถมศึกษาปท่ี 3......................................................................... ข

ทกั ษะท่สี ําคัญในการเรยี นรูว ทิ ยาศาสตร ......................................................................................................... ค

ผังมโนทศั น (concept map) รายวิชาพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร ช้ันประถมศึกษาปท่ี 2 เลม 1............................... ช

ตัวช้ีวดั สาระการเรียนรูแกนกลาง วทิ ยาศาสตร ป.2 เลม 1............................................................................. ซ

ขอแนะนําการใชค มู ือครู.................................................................................................................................. ฌ

การจดั การเรยี นการสอนวิทยาศาสตรใ นระดับประถมศึกษา .............................................................................ธ

การจดั การเรยี นการสอนท่ีเนนการสืบเสาะหาความรทู างวิทยาศาสตร..............................................................ธ

การจดั การเรียนการสอนที่สอดคลอ งกบั ธรรมชาติของวิทยาศาสตร ................................................................. บ

และกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร

การวัดผลและประเมินผลการเรยี นรูวิทยาศาสตร............................................................................................. ผ

ตารางแสดงความสอดคลองระหวา งเนอ้ื หาและกจิ กรรม ระดบั ชั้นประถมศึกษาปที่ 2 เลม 1...........................ฟ

กบั ตวั ช้วี ดั หลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ. 2560)

รายการวัสดุอุปกรณวิทยาศาสตร ป.2 เลม 1................................................................................................... ภ

หนวยท่ี 1 การเรยี นรูสิ่งตาง ๆ รอบตัว 1

ภาพรวมการจดั การเรยี นรูประจาํ หนว ยท่ี 1 การเรียนรูสิ่งตาง ๆ รอบตวั ...................................................1

บทท่ี 1 เรยี นรูแ บบนักวิทยาศาสตร .......................................................................................................3

บทนี้เร่ิมตนอยางไร ..................................................................................................................................... 6

เรอ่ื งที่ 1 ทักษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร ........................................................................................... 13

กจิ กรรมที่ 1.1 สงั เกตส่งิ ตาง ๆ ไดอยา งไร.................................................................................. 17

กจิ กรรมที่ 1.2 จาํ แนกประเภทสงิ่ ตาง ๆ ไดอยา งไร.................................................................... 29

เรือ่ งที่ 2 การสบื เสาะหาความรูทางวทิ ยาศาสตร....................................................................................... 46

กิจกรรมท่ี 2 รวบรวมขอมลู เพอ่ื หาคาํ ตอบไดอยางไร.................................................................. 50

กจิ กรรมทา ยบทที่ 1 เรยี นรูแ บบนักวทิ ยาศาสตร....................................................................................... 66

แนวคําตอบในแบบฝกหดั ทายบท 68

บรรณานุกรม หนวยท่ี 1 การเรยี นรูสิ่งตา ง ๆ รอบตัว 72

สารบัญ

หน่วยที่ 2 วสั ดแุ ละการใชป้ ระโยชน์ หนา้

ภาพรวมการจัดการเรียนร้ปู ระจาหนว่ ยท่ี 2 วสั ดแุ ละการใช้ประโยชน์ 73
บทท่ี 1 สมบัตกิ ารดดู ซับน้าของวสั ดแุ ละการใช้ประโยชนจ์ ากวสั ดุ
บทนีเ้ ร่มิ ตน้ อย่างไร 73
เรือ่ งที่ 1 สมบตั ิการดดู ซบั น้าของวัสดุ 75
78
กิจกรรมที่ 1 การดดู ซบั น้าของวสั ดุแตล่ ะชนิดเป็นอยา่ งไร 84
เรอื่ งที่ 2 สมบัตขิ องวสั ดทุ ่ีได้จากการผสมวสั ดุ 88
111
กจิ กรรมท่ี 2 สมบัติของวสั ดุก่อนและหลังผสมกนั เปน็ อย่างไร 115
เรื่องที่ 3 การใชป้ ระโยชนจ์ ากวัสดุ 126
131
กิจกรรมที่ 3.1 เลือกวัสดมุ าใชป้ ระโยชน์ได้อย่างไร 145
กิจกรรมที่ 3.2 วัสดทุ ใี่ ช้แลว้ นากลับมาใช้ใหม่ได้อยา่ งไร 157
กจิ กรรมทา้ ยบทที่ 1 สมบตั ิการดดู ซับน้าของวัสดแุ ละการใช้ประโยชนจ์ ากวสั ดุ 160
แนวคาตอบในแบบฝกึ หดั ท้ายบท 163
แนวคาตอบในแบบทดสอบทา้ ยเลม่ 167
บรรณานกุ รม 169
คณะทางาน

ก คู่มือครรู ายวิชาพนื้ ฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1

เปา้ หมายของการจัดการเรยี นการสอนวทิ ยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์เป็นเร่ืองของการเรียนรู้เก่ียวกับธรรมชาติ โดยมนุษย์ใช้กระบวนการสังเกต สารวจ
ตรวจสอบ และการทดลองเก่ียวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแล้วนาผลที่ได้มาจัดระบบหลักการ แนวคิด
และทฤษฎี ดังนั้นการเรียนการสอนวิทยาศาสตรจ์ ึงมุ่งเน้นให้นักเรยี นได้เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองมากท่ีสุด
นั่นคือใหเ้ กดิ การเรียนรู้ท้ังกระบวนการและองคค์ วามรู้

การจัดการเรียนรวู้ ทิ ยาศาสตร์ในสถานศึกษามเี ปา้ หมายสาคัญ ดังน้ี
1. เพอ่ื ใหเ้ ข้าใจแนวคิด หลกั การ ทฤษฎี กฎและความรพู้ ืน้ ฐานของวิทยาศาสตร์
2. เพื่อใหเ้ ข้าใจขอบเขตธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และขอ้ จากัดของวทิ ยาศาสตร์
3. เพอ่ื ให้มที ักษะท่สี าคญั ในการสบื เสาะหาความรู้และพัฒนาเทคโนโลยี
4. เพื่อให้ตระหนักถึงการมีผลกระทบซ่ึงกันและกันระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์ และ

สงิ่ แวดลอ้ ม
5. เพื่อนาความรู้ แนวคิดและทักษะต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ

สงั คมและการดารงชีวิต
6. เพ่ือพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการจัดการ ทักษะใน

การสือ่ สาร และความสามารถในการประเมนิ และตดั สนิ ใจ
7. เพื่อให้เป็นผู้ท่ีมีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยอี ย่างสรา้ งสรรค์

⎯ สถาบนั ส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ฉบบั ปรบั ปรุง เดอื นกรกฎาคม 2562

คูม่ ือครรู ายวิชาพนื้ ฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1 ข

คณุ ภาพของนกั เรยี นวิทยาศาสตร์ เมอ่ื จบชนั้ ประถมศึกษาปที ี่ 3

นักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีท่ี 3 ควรมีความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการ และจิตวิทยาศาสตร์
ดังน้ี

1. เขา้ ใจลกั ษณะทว่ั ไปของสิ่งมชี วี ิตและการดารงชวี ิตของสิง่ มชี ีวิตรอบตัว
2. เข้าใจลักษณะที่ปรากฏ ชนิดและสมบัติบางประการของวสั ดทุ ี่ใช้ทาวัตถุและการเปลี่ยนแปลงของวัสดุ

รอบตัว
3. เข้าใจการดึง การผลัก แรงแม่เหล็ก และผลของแรงที่มีต่อการเปล่ียนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ

พลงั งานไฟฟา้ และการผลติ ไฟฟา้ การเกดิ เสียง แสงและการมองเห็น
4. เข้าใจการปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาว ปรากฏการณ์ขึ้นและตกของดวงอาทิตย์

การเกิดกลางวันกลางคืน การกาหนดทิศ ลักษณะของหิน การจาแนกชนิดดิน และการใช้ประโยชน์
ลักษณะและความสาคัญของอากาศ การเกดิ ลม ประโยชน์และโทษของลม
5. ตง้ั คาถามหรอื กาหนดปัญหาเกีย่ วกบั สิ่งที่จะเรียนรู้ตามท่กี าหนดใหห้ รือตามความสนใจ สงั เกต สารวจ
ตรวจสอบโดยใช้เคร่ืองมืออย่างง่าย รวบรวมข้อมูล บันทึก และอธิบายผลการสารวจตรวจสอบด้วย
การเขียนหรือวาดภาพ และสื่อสารส่ิงท่ีเรียนรู้ด้วยการเล่าเร่ือง หรือด้วยการแสดงท่าทางเพื่อให้ผู้อ่ืน
เข้าใจ
6. แก้ปัญหาอยา่ งง่ายโดยใชข้ ้ันตอนการแก้ปัญหา มีทกั ษะในการใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เบ้ืองตน้ รักษาข้อมูลสว่ นตวั
7. แสดงความกระตือรือร้น สนใจที่จะเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องท่ีจะศึกษาตามท่ี
กาหนดให้หรอื ตามความสนใจ มสี ว่ นรว่ มในการแสดงความคดิ เหน็ และยอมรับฟงั ความคดิ เห็นผู้อ่นื
8. แสดงความรับผิดชอบด้วยการทางานท่ีได้รับมอบหมายอย่างมุ่งม่ัน รอบคอบ ประหยัด ซ่ือสัตย์
จนงานลลุ ่วงเปน็ ผลสาเรจ็ และทางานรว่ มกับผูอ้ ่นื อย่างมีความสขุ
9. ตระหนักถึงประโยชน์ของการใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดารงชีวิต ศึกษา
หาความรเู้ พิม่ เตมิ ทาโครงงานหรือสรา้ งชน้ิ งานตามทีก่ าหนดให้หรอื ตามความสนใจ

ฉบับปรบั ปรงุ เดือนกรกฎาคม 2562 สถาบนั ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

ค คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1

ทกั ษะทีส่ าคญั ในการเรยี นรวู้ ิทยาศาสตร์

ทักษะสาคัญที่ครูครูจาเป็นต้องพัฒนาให้เกิดข้ึนกับนักเรียนเม่ือมีการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เช่น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทกั ษะแหง่ ศตวรรษท่ี 21

ทักษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ (Science Process Skills)

การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์จาเป็นต้องใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อนาไปสู่
การสืบเสาะค้นหาผ่านการสังเกต ทดลอง สร้างแบบจาลอง และวิธีการอื่นๆ เพื่อนาข้อมูล สารสนเทศและ
หลักฐานเชิงประจักษ์มาสร้างคาอธิบายเก่ียวกับแนวคิดหรือองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการ
ทางวทิ ยาศาสตร์ ประกอบดว้ ย

ทกั ษะการสังเกต (Observing) เป็นความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอยา่ งใดอย่างหน่ึง หรือ
หลายอย่างสารวจวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติหรือจากการทดลอง โดยไม่ลงความคิดเห็นของ
ผสู้ งั เกต ประสาทสมั ผสั ทัง้ 5 ไดแ้ ก่ การดู การฟงั เสยี ง การดมกลิน่ การชมิ รส และการสมั ผัส

ทักษะการวัด (Measuring) เป็นความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือในการวัดปริมาณต่าง ๆ
ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงความสามารถในการหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ จากเครื่องมือท่ีเลือกใช้ออกมาเป็น
ตวั เลขไดถ้ ูกตอ้ งและรวดเร็ว พร้อมระบหุ น่วยของการวัดไดอ้ ยา่ งถกู ต้อง

ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) เป็นความสามารถในการคาดการณ์อย่างมี

หลักการเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ โดยใช้ข้อมูล (Data) หรือสารสนเทศ (Information) ที่เคย

เก็บรวบรวมไวใ้ นอดีต

ทกั ษะการจาแนกประเภท (Classifying) เป็นความสามารถในการแยกแยะ จดั พวกหรือจดั กลุ่ม
สิ่งต่าง ๆ ท่ีสนใจ เช่น วัตถุ สิ่งมีชีวิต ดาว และเทหะวัตถุต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ท่ีต้องการศึกษาออกเป็น
หมวดหมู่ นอกจากนี้ยังหมายถึงความสามารถในการเลือกและระบุเกณฑ์หรือลักษณะร่วมลักษณะใดลักษณะ
หน่งึ ของสงิ่ ตา่ ง ๆ ทตี่ ้องการจาแนก

ทักษะการหาความสัมพันธ์ของสเปซกับเวลา (Relationship of Space and Time) สเปซ
คือ พื้นท่ีที่วัตถุครอบครอง ในท่ีนี้อาจเป็นตาแหน่ง รูปร่าง รูปทรงของวัตถุ ส่ิงเหล่านี้อาจมีความสัมพันธ์กัน
ดงั น้ี

การหาความสัมพนั ธ์ระหวา่ งสเปซกบั สเปซ เป็นความสามารถในการหาความเกี่ยวข้อง
สัมพั น ธ์กัน ระห ว่างพ้ื น ที่ ท่ี วัตถุต่างๆ
(Relationship between Space and Space) ครอบครอง

การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับเวลา เป็นความสามารถในการหาความเก่ียวข้อง
สัมพันธ์กันระหว่างพ้ืนท่ีท่ีวัตถุครอบครอง
(Relationship between Space and Time) เมอื่ เวลาผา่ นไป

⎯ สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ฉบับปรบั ปรุง เดอื นกรกฎาคม 2562

คู่มอื ครูรายวิชาพ้นื ฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1 ง

ทักษะการใช้จานวน (Using Number) เป็นความสามารถในการใช้ความรู้สึกเชิงจานวน และ
การคานวณเพื่อบรรยายหรอื ระบุรายละเอยี ดเชิงปรมิ าณของส่งิ ท่ีสงั เกตหรือทดลอง

ทักษะการจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing and Communicating Data)
เป็นความสามารถในการนาผลการสงั เกต การวัด การทดลอง จากแหล่งต่าง ๆ มาจัดกระทาให้อยู่ในรูปแบบที่
มีความหมายหรอื มีความสัมพันธ์กันมากข้ึน จนงา่ ยต่อการทาความเข้าใจหรือเหน็ แบบรูปของข้อมูล นอกจากน้ี
ยังรวมถึงความสามารถในการนาข้อมูลมาจัดทาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ วงจร กราฟ
สมการ การเขียนบรรยาย เพ่ือสอ่ื สารใหผ้ ู้อน่ื เข้าใจความหมายของขอ้ มลู มากขึน้

ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) เป็นความสามารถในบอกผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ สถานการณ์
การสังเกต การทดลองที่ได้จากการสังเกตแบบรูปของหลักฐาน (Pattern of Evidence) การพยากรณ์ที่
แม่นยาจึงเป็นผลมาจากการสังเกตท่ีรอบคอบ การวัดท่ีถูกต้อง การบันทึก และการจัดกระทากับข้อมูลอย่าง
เหมาะสม

ทักษะการต้ังสมมติฐาน (Formulating Hypotheses) เป็นความสามารถในการคิดหาคาตอบ
ล่วงหน้าก่อนดาเนินการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพ้ืนฐานคาตอบที่คิด
ล่วงหน้าที่ยังไม่รู้มาก่อน หรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรือ ทฤษฎีมาก่อน การต้ังสมมติฐานหรือคาตอบท่ีคิดไว้
ล่วงหน้ามักกล่าวไว้เป็นข้อความท่ีบอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ซึ่งอาจเป็นไปตามท่ี
คาดการณไ์ ว้หรือไม่กไ็ ด้

ทักษะการกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally) เป็นความสามารถในการ
กาหนดความหมายและขอบเขตของสิง่ ตา่ ง ๆ ทอี่ ยู่ในสมมตฐิ านของการทดลอง หรือท่ีเกี่ยวขอ้ งกบั การทดลอง
ใหเ้ ข้าใจตรงกนั และสามารถสงั เกตหรือวัดได้

ทักษะการกาหนดและควบคุมตัวแปร (Controlling Variables) เป็นความสามารถในการ
กาหนดตัวแปรต่าง ๆ ทั้งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรท่ีต้องควบคุมให้คงที่ ให้สอดคล้องกับสมมติฐาน
ของการทดลอง รวมถึงความสามารถในการระบุและควบคุมตัวแปรอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ซึ่งอาจ
ส่งผลต่อผลการทดลอง หากไม่ควบคุมให้เหมือนกันหรือเท่ากัน ตัวแปรที่เก่ียวข้องกับการทดลอง ได้แก่
ตวั แปรตน้ ตัวแปรตาม และตวั แปรทีต่ ้องควบคุมให้คงท่ี ซง่ึ ลว้ นเปน็ ปัจจัยท่ีเกีย่ วข้องกับการทดลอง ดังน้ี

ตวั แปรตน้ (Independent Variable) หมายถงึ สิง่ ทเ่ี ป็นต้นเหตุทาให้เกดิ การเปลี่ยนแปลง จึงต้อง
จัดสถานการณ์ให้มสี ิง่ นี้แตกต่างกัน

ตวั แปรตาม (Dependent Variable) หมายถงึ สง่ิ ทเี่ ป็นผลจากการจัดสถานการณ์บางอย่างให้
แตกตา่ งกัน และเราต้องสังเกต วดั หรอื ตดิ ตามดู

ตวั แปรทีต่ อ้ งควบคุมให้คงที่ (Controlled Variable) หมายถึง สง่ิ ตา่ ง ๆ ท่ีอาจส่งผลตอ่ การจดั
สถานการณ์ จงึ ต้องจดั สิ่งเหล่านี้ให้เหมือนกนั หรือเทา่ กนั เพื่อให้มน่ั ใจวา่ ผลจากการจัดสถานการณ์เกดิ จากตัว
แปรต้นเทา่ น้นั

ฉบบั ปรบั ปรงุ เดอื นกรกฎาคม 2562 สถาบนั ส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

จ คู่มือครรู ายวิชาพ้นื ฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1

ทกั ษะการทดลอง (Experimenting) การทดลองประกอบดว้ ย 3 ข้ันตอน คอื การออกแบบการ
ทดลอง การปฏิบัติการทดลอง และการบันทึกผลการทดลอง ทักษะการทดลองจึงเป็นความสามารถในการ
ออกแบบและวางแผนการทดลองได้อย่างรอบคอบ และสอดคล้องกับคาถามการทดลองและสมมติฐาน
รวมถึงความสามารถในการดาเนินการทดลองได้ตามแผน และความสามารถในการบันทึกผลการทดลองได้
ละเอยี ด ครบถว้ น และเทีย่ งตรง

ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interpreting and Making Conclusion)
ความสามารถ ในการแปลความหมาย หรือการบรรยาย ลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ ตลอดจน
ความสามารถในการสรุปความสมั พันธ์ของขอ้ มลู ทั้งหมด

ทักษะการสร้างแบบจาลอง (Formulating Models) ความสามารถในการสร้างและใช้สิ่งท่ีทา
ขึ้นมาเพื่อเลียนแบบหรืออธิบายปรากฏการณ์ท่ีศึกษาหรือสนใจ เช่น กราฟ สมการ แผนภูมิ รูปภาพ
ภาพเคล่ือนไหว รวมถึงความสามารถในการนาเสนอข้อมูล แนวคิด ความคิดรวบยอดเพ่ือให้ผอู้ ่ืนเข้าใจในรูป
ของแบบจาลองแบบตา่ ง ๆ

ทกั ษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)

ราชบัณฑิตยสถานได้ระบุทักษะที่จาเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งสอดคล้องกับสมรรถนะท่ีควรมีในพลเมือง
ยุคใหม่รวม 7 ด้าน (สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2558; ราชบัณฑิตยสถาน, 2557)
ในระดบั ประถมศกึ ษาจะเน้นให้ครูครสู ง่ เสรมิ ใหน้ กั เรยี นมีทกั ษะ ดงั ต่อไปน้ี

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) หมายถึง การคิดโดยใช้เหตุผลท่ีหลากหลาย
เหมาะสมกับสถานการณ์ มีการคิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ ประเมินหลักฐานและข้อคิดเห็นด้วยมุมมองท่ี
หลากหลาย สังเคราะห์ แปลความหมาย และจัดทาข้อสรุป สะท้อนความคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้
ประสบการณแ์ ละกระบวนการเรียนรู้

การแก้ปัญหา (Problem Solving) หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาท่ีไม่คุ้นเคย หรือ
ปญั หาใหม่ โดยอาจใช้ความรู้ ทักษะ วธิ ีการและประสบการณท์ เ่ี คยรู้มาแล้ว หรอื การสบื เสาะหาความรู้ วธิ ีการ
ใหม่มาใช้แก้ปัญหาก็ได้ นอกจากน้ียังรวมถึงการซักถามเพ่ือทาความเข้าใจมุมมองท่ีแตกต่าง หลากหลาย
เพ่อื ให้ไดว้ ธิ แี กป้ ัญหาทดี่ ีย่งิ ขึน้

การสือ่ สาร (Communications) หมายถงึ ความสามารถในการสอ่ื สารไดอ้ ย่างชดั เจน เช่ือมโยง
เรียบเรียงความคดิ เเละมุมมองต่าง ๆ แลว้ สื่อสารโดยการใช้คาพูด หรือการเขยี น เพ่ือใหผ้ ู้อน่ื เข้าใจได้
หลากหลายรูปแบบและวัตถุประสงคน์ อกจากนี้ยงั รวมไปถึงการฟงั อย่างมีประสทิ ธภิ าพเพ่ือให้เขา้ ใจ
ความหมายของผู้ส่งสาร

ความร่วมมือ (Collaboration) หมายถึง ความสามารถในการทางานร่วมกับคนกลุ่มต่าง ๆ ท่ี
หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพและให้เกียรติ มีความยืดหยุ่นและยินดีที่จะประนีประนอม เพื่อให้บรรลุ

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรงุ เดอื นกรกฎาคม 2562

คมู่ ือครรู ายวิชาพ้นื ฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1 ฉ

เปา้ หมายการทางาน พร้อมทงั้ ยอมรับและแสดงความรับผิดชอบต่องานท่ีทาร่วมกัน และเห็นคณุ ค่าของผลงาน
ท่พี ฒั นาข้ึนจากสมาชิกแต่ละคนในทีม

การสร้างสรรค์ (Creativity) หมายถึง การใช้เทคนิคที่หลากหลายในการสรา้ งสรรค์แนวคิด เช่น
การระดมพลังสมอง รวมถึงความสามารถในการพัฒนาต่อยอดแนวคิดเดิม หรือได้แนวคิดใหม่ และ
ความสามารถในการกลน่ั กรอง ทบทวน วิเคราะห์ และประเมนิ แนวคิด เพื่อปรับปรงุ ให้ได้แนวคิดที่จะส่งผลให้
ความพยายามอยา่ งสรา้ งสรรคน์ ี้เปน็ ไปไดม้ ากทส่ี ดุ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology
(ICT) หมายถึง ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นเคร่ืองมือสืบค้น จัดกระทา
ประเมินและสือ่ สารข้อมลู ความรูต้ ลอดจนร้เู ท่าทันส่ือโดยการใชส้ ื่อต่าง ๆ ได้อยา่ งเหมาะสมมีประสทิ ธภิ าพ

ฉบับปรับปรงุ เดือนกรกฎาคม 2562 สถาบันสง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

ช คมู่ ือครรู ายวิชาพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1
ผังมโนทัศน์ (concept map)

รายวิชาพ้นื ฐานวิทยาศาสตร์ ช้ันประถมศึกษาปที ี่ 2 เล่ม 1

ประกอบด้วย

ไดแ้ ก่ ได้แก่

⎯ สถาบันส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรบั ปรุง เดอื นกรกฎาคม 2562

คู่มือครรู ายวิชาพ้ืนฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 ซ

ตวั ชี้วัด สาระการเรยี นรู้แกนกลาง วิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1

ตวั ชวี้ ดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง

ว 2.1 ป.2/1

เปรียบเทียบสมบัติการดูดซับน้าของ  วสั ดุแต่ละชนิดมีสมบัติการดูดซบั น้าแตกต่างกันจงึ นาไปทาวัตถุเพ่ือใช้ประโยชนไ์ ด้

วัสดุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และ แตกต่างกัน เช่น ใช้ผ้าที่ดูดซับน้าได้มากทาผ้าเช็ดตัว ใช้พลาสติกซึ่งไม่ดูดซับน้า

ระบุการนาสมบัติการดูดซับน้าของวัสดุ ทารม่

ไป ป ระ ยุ ก ต์ ใช้ ใน ก ารท าวั ต ถุ ใน

ชวี ิตประจาวนั

ว 2.1 ป.2/2

อธิบายสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุท่ีเกิด  วัสดุบางอย่างสามารถนามาผสมกันซ่ึงทาให้ได้สมบัติที่เหมาะสม เพื่อนาไปใช้

จากการน าวัสดุ มาผสมกั นโดยใช้ ประโยชน์ตามต้องการ เช่น แป้งผสมน้าตาลและกะทิ ใช้ทาขนมไทย ปูน

หลักฐานเชงิ ประจกั ษ์ ปลาสเตอร์ผสมเยอื่ กระดาษใช้ทากระปุกออมสิน ปูนผสมหิน ทราย และน้าใช้ทา

คอนกรีต

ว 2.1 ป.2/3

เปรียบเทียบสมบัติท่ีสังเกตได้ของวัสดุ  การนาวัสดุมาทาเป็นวัตถุในการใช้งานตามวัตถุประสงค์ขึ้นอยู่กับสมบัติของวัสดุ

เพื่อนามาทาเป็นวัตถุในการใช้งานตาม วัสดุที่ใช้แล้วอาจนากลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น กระดาษใช้แล้วอาจนามาทาเป็นจรวด

วตั ถุประสงค์และอธิบายการนาวัสดุท่ีใช้ กระดาษ ดอกไมป้ ระดิษฐ์ถงุ ใส่ของ

แล้วกลับมาใช้ใหม่โดยใช้หลักฐานเชิง

ประจกั ษ์

ว 2.1 ป.2/4

ตระหนักถึงประโยชน์ของการนาวัสดุที่

ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ โดยการนาวัสดุที่

ใชแ้ ล้วกลบั มาใช้ใหม่

ฉบบั ปรับปรงุ เดือนกรกฎาคม 2562 สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

ฌ ค่มู ือครูรายวิชาพ้นื ฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1

ขอ้ แนะนาการใชค้ ู่มอื ครู

คู่มือครูเล่มนี้จัดทาข้ึนเพ่ือใช้เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมสาหรับครู ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้
นักเรียนจะได้ฝึกทักษะจากการทากิจกรรมต่าง ๆ ท้ังการสังเกต การสารวจ การทดลอง การสืบค้นข้อมูล การ
อภิปราย การทางานร่วมกัน ซึ่งเป็นการฝึกให้นักเรียนช่างสังเกต รู้จักต้ังคาถาม รู้จักคิดหาเหตุผล เพื่อตอบ
ปัญหาต่าง ๆ ไดด้ ้วยตนเอง ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นกั เรียนได้เรยี นรู้และค้นพบดว้ ยตนเองมากท่ีสุด ดงั นั้น
ในการจัดการเรียนรู้ครูจึงเป็นผชู้ ่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนนักเรียนให้รู้จกั สืบเสาะหาความรู้จากส่ือและ
แหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และเพิม่ เติมข้อมูลท่ีถูกตอ้ งแกน่ ักเรยี น เพอ่ื ให้นกั เรียนมีทักษะจากการศึกษาหาความรู้
ด้วยตนเอง

เพ่ือให้เกิดประโยชน์จากคู่มือครูเล่มนี้มากที่สุด ครูควรทาความเข้าใจในรายละเอียดของแต่ละ
หวั ข้อ และข้อเสนอแนะเพ่ิมเติม ดังนี้

1. สาระการเรยี นรู้แกนกลาง

สาระการเรียนรู้แกนกลางเป็นสาระการเรียนรู้เฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ปรากฏใน
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวช้ีวัด ฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กระทรวงศึกษาธิการ ได้กาหนดไว้เฉพาะส่วนท่ีจาเป็นสาหรับเป็นพ้ืนฐาน
เก่ียวข้องกับชีวิตประจาวัน และเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับท่ีสูงขึ้น โดยสอดคล้องกับสาระและ
ความสามารถ ความถนัดและความสนใจของนักเรียน ในทุกกิจกรรมจะมีสาระสาคัญ ซ่ึงเป็นเน้ือหาสาระ
ท่ปี รากฏอยู่ตามสาระการเรยี นรู้โดยสถานศึกษาสามารถพัฒนาเพ่ิมเติมได้ตามความเหมาะสม

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ได้เพิ่มสาระเทคโนโลยี ซ่ึงประกอบด้วย
การออกแบบและเทคโนโลยี และวิทยาการคานวณ ทั้งนี้เพ่ือเอ้ือต่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการสาระ
ทางคณติ ศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กบั กระบวนการเชงิ วศิ วกรรม ตามแนวคิดสะเต็มศกึ ษา

2. ภาพรวมการจัดการเรียนรปู้ ระจาหนว่ ย

ภาพรวมการจัดการเรยี นรูป้ ระจาหน่วยมีไว้เพื่อเชื่อมโยงเน้ือหาสาระกับมาตรฐานการเรยี นรแู้ ละ
ตัวช้ีวัดที่จะได้เรียนในแต่ละกิจกรรมของหน่วยนั้น ๆ และเป็นแนวทางให้ครูครูนาไปปรับปรุงและ
เพ่มิ เตมิ ตามความเหมาะสม

3. จดุ ประสงค์การเรียนรู้

แต่ละหน่วยการเรียนรู้นักเรียนจะได้ทากิจกรรมอย่างหลากหลาย ในแต่ละส่วนของหนังสือเรียนทั้ง
ส่วนนาบท นาเร่ือง และกิจกรรมมีจุดประสงค์การเรียนรู้ท่ีสอดคล้องกับตัวชี้วัดชั้นปีเพ่ือให้ นักเรียนเกิด
การเรียนรู้ โดยยึดหลักให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ สืบเสาะหาความรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการแก้ปัญหา การสื่อสาร และความสามารถในการตัดสินใจ การนาความรู้ไปใช้ในชีวิตและ
ในสถานการณ์ใหม่ มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี มีเจตคติ คณุ ธรรม จริยธรรม และค่านยิ มท่ีเหมาะสม
สามารถอยู่ในสงั คมไทยได้อย่างมีความสุข

⎯ สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรบั ปรงุ เดือนกรกฎาคม 2562

ค่มู ือครูรายวิชาพน้ื ฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 ญ

4. บทน้ีมอี ะไร

ส่วนท่ีบอกรายละเอียดในบทนัน้ ๆ ซึง่ ประกอบด้วยชื่อเรื่อง คาสาคัญ และชื่อกจิ กรรม เพื่อครจู ะ
ได้ทราบองค์ประกอบโดยรวมของแตล่ ะบท

5. สือ่ การเรยี นรูแ้ ละแหลง่ เรยี นรู้

ส่วนที่บอกรายละเอียดส่ือการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่ต้องใช้สาหรับการเรียนในบท เรื่อง และ
กิจกรรมนั้น ๆ โดยส่ือการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ประกอบด้วยหน้าหนังสือเรียนและแบบบันทึกกิจกรรม
และอาจมีโปรแกรมประยุกต์ เว็บไซต์ สื่อส่ิงพิมพ์ ส่ือโสตทัศนูปกรณ์หรือวีดิทัศน์ตัวอย่างปฏิบัติการ
ทางวทิ ยาศาสตร์เพ่อื เสรมิ สร้างความม่นั ใจในการสอนปฏบิ ัติการวิทยาศาสตร์สาหรับครู

6. ทกั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทกั ษะแหง่ ศตวรรษท่ี 21

ทักษะท่ีนักเรียนจะได้ฝึกปฏิบัติในแต่ละกิจกรรม โดยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็น
ทักษะที่นักวิทยาศาสตร์นามาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ในการสืบเสาะหาความรู้ ส่วนทักษะแห่ง
ศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะท่ีช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของนักเรียนในด้านต่าง ๆ
เพอ่ื ใหท้ นั ตอ่ การเปลี่ยนแปลงของโลก

ฉบบั ปรับปรุง เดอื นกรกฎาคม 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

ฎ คมู่ อื ครรู ายวิชาพ้ืนฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1

วดี ิทัศนต์ วั อยา่ งการปฏิบตั กิ ารวทิ ยาศาสตร์สาหรบั ครูเพ่ือฝกึ ฝนทกั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ตา่ ง ๆ มดี ังนี้

รายการวีดทิ ัศน์ตวั อยา่ ง ทักษะกระบวนการทาง Short link QR code
การปฏิบัตกิ ารวทิ ยาศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์

วดี ทิ ัศน์ การสงั เกตและการ การสงั เกตและการลง http://ipst.me/8115

ลงความเหน็ จากขอ้ มลู ความเห็นจากข้อมูล

ทาไดอ้ ยา่ งไร

วีดทิ ัศน์ การวัดทาได้อยา่ งไร การวัด http://ipst.me/8116

วดี ทิ ศั น์ การใช้ตวั เลขทาได้ การใช้จานวน http://ipst.me/8117
อย่างไร

วีดทิ ศั น์ การจาแนกประเภท การจาแนกประเภท http://ipst.me/8118
ทาได้อยา่ งไร

วีดิทัศน์ การหาความสัมพนั ธ์ การหาความสมั พันธ์ http://ipst.me/8119
ระหว่างสเปซกบั สเปซ ระหวา่ งสเปซกบั สเปซ http://ipst.me/8120
ทาได้อยา่ งไร http://ipst.me/8121
http://ipst.me/8122
วดี ิทัศน์ การหาความสัมพันธ์ การหาความสมั พันธ์
ระหว่างสเปซกับเวลา ระหว่างสเปซกบั เวลา
ทาได้อยา่ งไร

วดี ทิ ศั น์ การจดั กระทาและสอื่ การจดั กระทาและส่อื
ความหมายข้อมลู ความหมายข้อมูล
ทาได้อย่างไร

วีดทิ ศั น์ การพยากรณ์ทาได้ การพยากรณ์
อย่างไร

⎯ สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ฉบบั ปรับปรงุ เดอื นกรกฎาคม 2562

คูม่ ือครรู ายวิชาพ้ืนฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1 ฏ

รายการวีดิทศั นต์ วั อยา่ ง ทกั ษะกระบวนการทาง Short link QR code
การปฏบิ ัตกิ ารวทิ ยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ http://ipst.me/8123
วีดทิ ัศน์ ทาการทดลองได้
การทดลอง
อยา่ งไร

วดี ทิ ัศน์ การต้งั สมมตฐิ านทา การตง้ั สมมตฐิ าน http://ipst.me/8124
ไดอ้ ย่างไร

วดี ทิ ศั น์ การกาหนดและ การกาหนดและควบคุม http://ipst.me/8125
ควบคุมตัวแปรและ ตัวแปรและ
การกาหนดนิยามเชงิ การกาหนดนิยามเชงิ
ปฏิบตั กิ ารทาได้ ปฏบิ ัตกิ าร
อย่างไร
การตีความหมายข้อมลู และ http://ipst.me/8126
วีดิทัศน์ การตคี วามหมาย ลงขอ้ สรุป
ข้อมลู และลงข้อสรปุ
ทาได้อย่างไร

วีดทิ ัศน์ การสร้างแบบจาลอง การสรา้ งแบบจาลอง http://ipst.me/8127
ทาได้อยา่ งไร

ฉบบั ปรบั ปรุง เดอื นกรกฎาคม 2562 สถาบนั ส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

ฐ คู่มอื ครรู ายวิชาพื้นฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1

7. แนวคดิ คลาดเคลื่อน

ความเชื่อ ความรู้ หรือความเข้าใจที่ผิดหรือคลาดเคล่ือนซึ่งเกิดขึ้นกับนักเรียน เน่ืองจาก
ประสบการณ์ในการเรยี นรทู้ ี่รับมาผิดหรือนาความร้ทู ี่ได้รบั มาสรุปตามความเข้าใจของตนเองผิด แล้ว
ไม่สามารถอธิบายความเข้าใจนั้นได้ ดังนั้นเมื่อเรียนจบบทน้ีแล้วครูควรแก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนของ
นักเรียนใหเ้ ปน็ แนวคดิ ท่ถี ูกตอ้ ง

8. บทนี้เร่มิ ต้นอยา่ งไร

แนวทางสาหรับครูในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพ่ือส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดด้วยตนเอง
รู้จักค้นคว้าหาเหตุผล ครูควรกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในบทเรียนนั้น ๆ โดยและให้นักเรียน
ตอบคาถามสารวจความรู้ก่อนเรียน จากนั้นครูสังเกตการตอบคาถามของนักเรียนและยังไม่เฉลย
คาตอบที่ถูกต้อง เพือ่ ใหน้ ักเรยี นไปหาคาตอบจากเรอ่ื งและกจิ กรรมตา่ ง ๆ ในบทน้ัน

9. เวลาทีใ่ ช้

การเสนอแนะเวลาทใ่ี ชใ้ นการจัดการเรยี นการสอนวา่ ควรใช้ประมาณกชี่ ัว่ โมง เพื่อช่วยใหค้ รูครไู ด้
จัดทาแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามครูอาจปรับเปลี่ยน เวลาได้ตาม
สถานการณแ์ ละความสามารถของนักเรยี น

10. วสั ดอุ ปุ กรณ์

รายการวัสดุอุปกรณ์ท้ังหมดท้ังหมดสาหรับการจัดกิจกรรม โดยอาจมีท้ังวัสดุสิ้นเปลือง อุปกรณ์
สาเร็จรปู อุปกรณ์พน้ื ฐาน หรอื อ่นื ๆ

11. การเตรยี มตวั ลว่ งหนา้ สาหรบั ครู เพ่ือจัดการเรยี นรู้ในคร้งั ถดั ไป

การเตรียมตัวล่วงหน้าสาหรับการจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป เพื่อครูจะได้เตรียมสื่อ อุปกรณ์
เคร่ืองมือต่าง ๆ ท่ีต้องใช้ในกิจกรรมให้อยู่ในสภาพท่ีใช้การได้ดีและมีจานวนเพียงพอกับนักเรียน โดย
อาจมบี างกิจกรรมต้องทาลว่ งหนา้ หลายวนั เช่น การเตรียมถุงปรศิ นาและข้าวโพดคัว่ หรือส่งิ ท่กี นิ ได้

ข้อเสนอแนะเพิม่ เติม
นกั เรยี นในระดบั ชั้นประถมศึกษา มีกระบวนการคดิ ที่เป็นรูปธรรม ครจู ึงควรจัดการเรยี นการสอนที่

มุ่งเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติหรือทาการทดลองด้วยตนเอง ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งท่ีนักเรียนจะได้มีประสบการณ์ตรง
ดงั นัน้ ครูครจู งึ ตอ้ งเตรยี มตัวเองในเรื่องตอ่ ไปนี้

11.1 บทบาทของครู ครูจะต้องเปล่ียนบทบาทจากการเป็นผู้ช้ีนาหรือผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้
ช่วยเหลือ โดยส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนในการแสวงหาความรู้จากส่ือและแหล่งการ
เรียนรู้ต่าง ๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียน เพ่ือให้นักเรียนได้นาข้อมูลเหล่านั้นไปใช้
สรา้ งสรรคค์ วามร้ขู องตนเอง

⎯ สถาบันส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ฉบับปรับปรุง เดอื นกรกฎาคม 2562

ค่มู อื ครูรายวิชาพน้ื ฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 ฑ

11.2 การเตรียมตัวของครูและนักเรียน ครูควรเตรียมนักเรียนให้มีความพร้อมในการทา
กิจกรรมต่าง ๆ แต่บางครั้งนักเรียนไม่เข้าใจและอาจจะทากิจกรรมไม่ถูกต้อง ดังน้ันครูจึง
ต้องเตรียมตัวเอง โดยทาความเขา้ ใจในเรือ่ งตอ่ ไปน้ี
การสืบค้นข้อมูลหรือการค้นคว้าด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น สอบถามจากผู้รู้ในท้องถิ่น
ดูจากรูปภาพแผนภูมิ อ่านหนังสือหรือเอกสารเท่าท่ีหาได้ น่ันคือการให้นักเรียนเป็นผู้หา
ความรู้และพบความรหู้ รือขอ้ มูลดว้ ยตนเอง ซึง่ เปน็ การเรียนรู้ด้วยวธิ ีแสวงหาความรู้
การนาเสนอ มีหลายวิธี เช่น ให้นักเรียนหรือตัวแทนกลุ่มออกมาเล่าเร่ืองท่ีได้รับ
มอบหมายให้ไปสารวจ สังเกต หรือทดลองหรอื อาจให้เขียนเป็นคาหรือเป็นประโยคลงใน
แบบบันทึกกิจกรรมหรือสมุดอื่นตามความเหมาะสม นอกจากนี้อาจให้วาดรูป หรือตัด
ขอ้ ความจากหนังสือพิมพ์ แล้วนามาติดไว้ในห้อง เป็นตน้
การสารวจ ทดลอง สืบค้นข้อมูล สร้างแบบจาลองหรืออื่น ๆ เพ่ือสร้างองค์ความรู้เป็น
ส่ิงสาคัญยิ่งต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ครูครูสามารถให้นักเรียนทากิจกรรมได้ท้ังใน
ห้องเรียน นอกห้องเรียนหรือที่บ้าน โดยไม่จาเป็นต้องใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ราคาแพง
อาจใช้อุปกรณ์ท่ีดัดแปลงจากส่ิงของเหลือใช้ หรือใช้วัสดุธรรมชาติ ข้อสาคัญ คือ ครูครู
ต้องให้นักเรียนทราบวา่ ทาไมจึงต้องทากิจกรรมน้ัน และจะต้องทาอะไร อย่างไร ผลจาก
การทากิจกรรมจะสรุปผลอย่างไร ซ่ึงจะทาให้นักเรียนได้ความรู้ ความคิด และทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตรพ์ ร้อมกบั เกดิ คา่ นิยม คุณธรรม เจตคติทางวิทยาศาสตร์ดว้ ย

12. แนวการจดั การเรยี นรู้

แนวทางสาหรับครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท่ีมุ่งส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดด้วย
ตนเอง รู้จักค้นคว้าหาเหตุผลและสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการนาเอาวิธีการต่าง ๆ ของกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ไปใช้ วิธีการจัดการเรียนรู้ท่ี สสวท. เห็นว่าเหมาะสมท่ีจะนานักเรียนไปสู่เปา้ หมายที่กาหนด
ไว้ก็คือ วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซ่ึงมีองค์ประกอบท่ีสาคัญ คือ การมองเห็นปัญหา การสารวจ
ตรวจสอบ และอภปิ รายซกั ถามระหวา่ งครกู ับนักเรยี นเพื่อนาไปสู่ขอ้ มลู สรปุ

ข้อเสนอแนะเพิม่ เติม
นอกจากครูจะจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามคู่มือครูนี้ ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความ

เหมาะสมเพื่อให้บรรลุจดุ ม่งุ หมาย โดยจะคานึงถึงเรอ่ื งตา่ ง ๆ ดังต่อไปนี้
12.1 นกั เรียนมีสว่ นร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรใหน้ ักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกจิ กรรมการ
เรียนรู้ตลอดเวลาด้วยการกระตุ้นให้นักเรียนลงมือทากิจกรรมและอภิปรายผล โดยครูอาจ
ใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การใช้คาถาม การเสริมแรงมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้การเรียน
การสอนนา่ สนใจและมีชวี ติ ชีวา

ฉบบั ปรับปรุง เดอื นกรกฎาคม 2562 สถาบันสง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

ฒ คู่มือครูรายวิชาพ้ืนฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1

12.2 การใช้คาถาม เพ่ือนานักเรียนเข้าสู่บทเรียนและลงข้อสรุป โดยไม่ใช้เวลานานเกินไป ท้ังน้ี
ครูต้องวางแผนการใช้คาถามอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเลือกใช้คาถามที่มีความยากง่าย
พอเหมาะกับความสามารถของนักเรยี น

12.3 การสารวจตรวจสอบซ้า เป็นส่ิงจาเป็นเพื่อให้ได้ข้อมูลท่ีน่าเช่ือถือ ดังนั้นในการจัดการเรียนรู้
ครูควรเนน้ ย้าใหน้ กั เรียนไดส้ ารวจตรวจสอบซา้ เพ่อื นาไปสขู่ อ้ สรุปท่ถี ูกตอ้ งและเชื่อถือได้

13. ข้อเสนอแนะเพม่ิ เตมิ

ข้อเสนอแนะสาหรับครูท่ีอาจเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ เช่น ตัวอย่างวัสดุอุปกรณ์
ท่ีเหมาะสมหรือใช้แทน ข้อควรระวัง วิธีการใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมและปลอดภัย วิธีการทากิจกรรม
เพอ่ื ลดขอ้ ผิดพลาด ตัวอย่างตาราง และเสนอแหล่งเรยี นรเู้ พอื่ การคน้ คว้าเพม่ิ เตมิ

14. ความร้เู พิ่มเตมิ สาหรบั ครู

ความรู้เพิ่มเติมในเน้ือหาที่สอนซึ่งจะมีรายละเอียดท่ีลึกข้ึน เพ่ือเพิ่มความรู้และความม่ันใจ
ในเรื่องที่จะสอนและแนะนานักเรียนที่มีความสามารถสูง แต่ครูต้องไม่นาไปสอนนักเรียนในช้ันเรียน
เพราะไม่เหมาะสมกบั วัยและระดับช้ัน

15. อยา่ ลืมนะ

ส่วนที่เตือนไม่ให้ครูเฉลยคาตอบท่ีถูกต้อง ก่อนท่ีจะได้รับฟังความคิดและเหตุผลของนักเรียน
เพื่อให้นักเรียนได้คิดด้วยตนเองและครูจะได้ทราบว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นอย่างไร
บ้าง โดยครคู วรให้คาแนะนาเพื่อใหน้ ักเรียนหาคาตอบไดด้ ้วยตนเอง นอกจากนั้นครคู วรให้ความสนใจ
ตอ่ คาถามของนกั เรียนทุกคนด้วย

16. แนวการประเมินการเรยี นรู้

การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนท่ีได้จากการอภิปรายในชั้นเรียน คาตอบของนักเรียนระหว่าง
การจัดการเรียนรู้และในแบบบันทึกกิจกรรม รวมทั้งการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ
ทักษะแหง่ ศตวรรษที่ 21 ท่ไี ด้จากการทากิจกรรมของนกั เรยี น

17. กิจกรรมทา้ ยบท

ส่วนท่ใี หน้ ักเรียนได้สรปุ ความรู้ ความเข้าใจ ในบทเรียน และได้ตรวจสอบความรู้ในเนื้อหาท่เี รียน
มาทง้ั บท หรืออาจต่อยอดความรู้ในเรื่องนนั้ ๆ

ขอ้ แนะนาเพิม่ เตมิ

1. การสอนอา่ น
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคาว่า “อ่าน” หมายถึง ว่าตาม

ตวั หนังสือ ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง ถ้าไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ หรอื อีกความหมาย
ของคาว่า “อ่าน” หมายถึง สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านใจ ตีความ
เช่น อ่านรหสั อา่ นลายแทง

⎯ สถาบนั สง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบบั ปรับปรุง เดอื นกรกฎาคม 2562

คมู่ อื ครรู ายวิชาพื้นฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1 ณ

ปีพุทธศักราช 2541 กรมวิชาการ ได้กล่าวถึงความสาคัญของการอ่านไว้ว่า การอ่านเป็นทักษะท่ีสาคัญ
จาเป็นต้องเน้นและฝึกฝนให้แก่นักเรียนเป็นอย่างมาก เนื่องจากการอ่านเป็นกระบวนการสาคัญท่ีทาให้ผู้อ่าน
สร้างความหมายหรือพัฒนาการวิเคราะห์ ตีความในระหว่างอ่าน ผู้อ่านจะต้องรู้หัวเร่ือง รู้จุดประสงค์การอ่าน
มี ค ว าม รู้ท างภ าษ าใก ล้ เคี ย งกั บ ภ า ษ าที่ ใช้ ใน ห นั งสื อ ที่ อ่ าน แล ะจ า เป็ น ต้ องใช้ ป ระส บ ก ารณ์ เดิ มท่ี เป็ น
ประสบการณ์พ้ืนฐานของผู้อ่าน ทาความเข้าใจเรื่องที่อ่าน ท้ังนี้นักเรียนแต่ละคนอาจมีทักษะในการอ่านท่ี
แตกต่างกัน ข้ึนอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น ประสบการณ์เดิมของนักเรียน ความสามารถด้านภาษา
หรือความสนใจเรื่องท่อี ่าน ครูควรสงั เกตนักเรียนว่านักเรียนแต่ละคนมีความสามารถในการอ่านอยู่ในระดบั ใด
ซงึ่ ครจู ะตอ้ งพิจารณาทงั้ หลกั การอ่าน และความเข้าใจในการอ่านของนกั เรยี น

การรู้เรื่องการอ่าน (Reading literacy) หมายถึง การเข้าใจข้อมูล เนื้อหาสาระของส่ิงท่ีอ่าน การใช้
ประเมินและสะท้อนมุมมองของตนเองเก่ียวกับส่ิงท่ีอ่านอย่างตั้งใจเพื่อบรรลุเป้าหมายส่วนตัวของตนเองหรือ
เพื่อพัฒนาความรู้และศักยภาพของตนเองและนาความรู้และศักยภาพน้ันมาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน
สังคม (PISA, 2018)

กรอบการประเมินผลนกั เรียนเพ่อื ให้มีสมรรถนะการอ่านในศตวรรษที่ 21 ตามแนวทางของ PISA สามารถ
สรุปได้ดังแผนภาพด้านล่าง

จากกรอบการประเมินดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การรู้เร่ืองการอ่านเป็นสมรรถนะท่ีสาคัญท่ีครูควรส่งเสริมให้
นักเรียนมีความสามารถให้ครอบคลุม ตั้งแต่การค้นหาข้อมูลในสิ่งที่อ่าน เข้าใจเนื้อหาสาระท่ีอ่านไปจนถึง
ประเมินค่าเนื้อหาสาระที่อ่านได้ การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จาเป็นต้องอาศัยการอ่านเพื่อหาข้อมูล
ทาความเข้าใจเน้ือหาสาระของสิ่งที่อ่าน รวมทั้งประเมินสิ่งที่อ่านและนาเสนอมุมมองของตนเองเก่ียวกับสิ่งท่ี
อ่าน นกั เรียนควรไดร้ ับส่งเสรมิ การอา่ นดงั ต่อไปนี้

ฉบับปรับปรงุ เดอื นกรกฎาคม 2562 สถาบันสง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

ด คมู่ ือครูรายวิชาพ้นื ฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1

1. นักเรยี นควรไดร้ ับการฝึกการอา่ นข้อความแบบตอ่ เนื่องจาแนกขอ้ ความแบบต่าง ๆ กัน เชน่ การบอก
การพรรณนา การโต้แย้ง รวมไปถึงการอ่านข้อเขียนที่ไม่ใช่ข้อความต่อเนื่อง ได้แก่ การอ่านรายการ
ตาราง แบบฟอร์ม กราฟ และแผนผัง เป็นต้น ซ่ึงข้อความเหล่านี้เป็นส่ิงท่ีนักเรียนได้พบเห็นใน
โรงเรียน และจะต้องใช้ในชีวิตจริงเมือ่ โตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งในคูม่ อื ครูเล่มนี้ตอ่ ไปจะใชค้ าแทนขอ้ ความทง้ั ท่ี
เปน็ ข้อความแบบตอ่ เน่ืองและขอ้ ความท่ีไมใ่ ชข่ ้อความตอ่ เน่ืองวา่ ส่ิงที่อ่าน (Text)

2. นักเรียนควรได้รับการฝึกฝนให้มีความสามารถในการประเมินส่ิงท่ีอ่านว่ามีความเหมาะสมสอดคล้อง
กับลักษณะของข้อเขียนมากน้อยเพียงใด เช่น ใช้นวนิยาย จดหมาย หรือชีวะประวัติเพ่ือประโยชน์
ส่วนตัว ใช้เอกสารราชการหรือประกาศแจ้งความเพื่อสาธารณประโยชน์ ใช้รายงานหรือคู่มือต่างๆ
เพือ่ การทางานอาชพี ใชต้ าราหรือหนงั สือเรียน เพ่อื การศกึ ษา เป็นตน้

3. นกั เรียนควรไดร้ ับการฝกึ ฝนให้มีสมรรถนะการอา่ นเพ่ือเรยี นรู้ ในดา้ นต่าง ๆ ต่อไปนี้
3.1 ความสามารถทจี่ ะคน้ หาเนือ้ หาสาระของสิง่ ท่ีอา่ น (Retrieving information)
3.2 ความสามารถที่จะเข้าใจเนื้อหาสาระของสิ่งที่อา่ น (Forming a broad understanding)
3.3 ความสามารถในการแปลความของส่ิงทอี่ า่ น (Interpretation)
3.4 ความสามารถในการประเมินและสามารถสะท้อนความคิดเห็นหรือโต้แย้งจากมุมมองของตน
เกีย่ วกับเนือ่ หาสาระของส่ิงทอ่ี ่าน (Reflection and evaluation the content of a text)
3.5 ความสามารถในการประเมินและสามารถสะท้อนความคิดเห็นหรือโต้แย้งจากมุมมองของตน
เกยี่ วกับรปู แบบของสง่ิ ท่ีอา่ น (Reflection and evaluation the form of a text)

ทง้ั นี้ สสวท. ขอเสนอแนะวธิ กี ารสอนแบบตา่ ง ๆ เพื่อเปน็ การฝึกทักษะการอา่ นของนกั เรียน ดงั นี้

 เทคนิคการสอนแบบ DR-TA (The Directed Reading-Thinking Activity)
การสอนอ่านท่ีมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ฝึกกระบวนการคิด กล่ันกรองและตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการอ่าน

ด้วยตนเอง โดยให้นักเรียนคาดคะเนเน้ือหาหรือคาตอบล่วงหน้าจากประสบการณ์เดิมของนักเรียน โดยมี
ข้นั ตอนการจดั การเรียนการสอน ดงั นี้

1. ครจู ดั แบ่งเน้ือเร่อื งท่ีจะอา่ นออกเป็นส่วนย่อย และวางแผนการสอนอา่ นของเน้อื เรื่องทงั้ หมด
2. นาเขา้ สู่บทเรียนโดยชักชวนใหน้ ักเรยี นคิดว่านกั เรียนรู้อะไรเก่ยี วกับเรอ่ื งทีจ่ ะอา่ นบา้ ง
3. ครูให้นกั เรียนสงั เกตรปู ภาพ หวั ขอ้ หรอื อ่นื ๆ ที่เก่ียวกบั เนอ้ื หาท่ีจะเรยี น
4. ครูตั้งคาถามให้นักเรียนคาดคะเนเน้ือหาของเรื่องท่ีกาลังจะอ่าน ซ่ึงอาจให้นักเรียนคิดว่าจะได้เรียน

เก่ยี วกบั อะไร โดยครูพยายามกระตุ้นให้นกั เรียนได้แสดงความคดิ เหน็ หรอื คาดคะเนเนื้อหา
5. ครูอาจให้นักเรียนเขียนส่ิงท่ีตนเองคาดคะเนไว้ โดยจะทาเป็นรายคนหรือเป็นคู่ก็ได้ หรือครูนา

อภปิ รายแล้วเขยี นแนวคดิ ของนักเรยี นแต่ละคนไว้บนกระดาน

⎯ สถาบันสง่ เสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรับปรงุ เดือนกรกฎาคม 2562

คู่มือครูรายวิชาพ้นื ฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 ต

6. นักเรียนอ่านเน้ือเรื่อง จากนั้นประเมินหรือตรวจสอบ และอภิปรายว่าการคาดคะเนของตนเอง
ตรงกับเนื้อเรื่องที่อ่านหรือไม่ ถ้านักเรียนประเมินว่าเรื่องท่ีอ่านมีเน้ือหาตรงกับที่คาดคะเนไว้ให้
นักเรียนแสดงขอ้ ความทส่ี นบั สนนุ การคาดคะเนของตนเองจากเนื้อเรื่อง

7. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน โดยครูวิเคราะห์ว่านักเรียนแต่ละคนสามารถใช้การคาดคะเนด้วย
ตนเองอยา่ งไรบ้าง

8. ทาซ้าขั้นตอนเดิมในการอ่านเนื้อเรื่องส่วนอ่ืน ๆ เม่ือจบท้ังเรื่องแล้ว ครูปิดเร่ืองโดยการทบทวน
เนือ้ หาและอภปิ รายถึงวิธีการคาดคะเนของนักเรียนที่ควรใชส้ าหรบั การอ่านเรื่องอ่นื ๆ

 เทคนคิ การสอนแบบ KWL (Know – Want – Learning)
การสอนอ่านที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่อย่างเป็นรูปธรรม

และเป็นระบบ โดยผ่านตาราง 3 ช่อง คือ K-W-L (นักเรียนรู้อะไรบ้างเกย่ี วกบั เร่ืองที่จะอ่าน นักเรยี นตอ้ งการรู้
อะไรเก่ียวกับเรอ่ื งท่ีจะอ่าน นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากเร่ืองท่ีอ่าน) โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน
ดงั น้ี

1. นาเข้าสู่บทเรียนด้วยการกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยการใช้คาถาม การนาด้วยรูปภาพหรือ
วดี ิทศั น์ที่เก่ียวกับเนอ้ื เรื่อง เพอ่ื เช่อื มโยงเข้าสเู่ ร่ืองที่จะอ่าน

2. ครูทาตารางแสดง K-W-L และอธิบายข้ันตอนการทากิจกรรมโดยใช้เทคนิค K-W-L ว่ามีขั้นตอน
ดงั น้ี
ขัน้ ท่ี 1 กิจกรรมก่อนการอ่าน เรียกว่า ข้ัน K มาจาก know (What we know) เป็นข้ันตอนที่ให้
นักเรียนระดมสมองแสดงความคิดเห็นเก่ียวกับเรื่องที่จะอ่าน แล้วบันทึกสิ่งที่ตนเองรู้ลงใน
ตารางช่อง K ข้ันตอนน้ีช่วยให้นักเรียนรู้ว่าตนเองรู้อะไรแล้วต้องอ่านอะไร โดยครูพยายาม
ตั้งคาถามกระตุ้นใหน้ ักเรียนได้แสดงความคิดเหน็
ขั้นที่ 2 กิจกรรมระหว่างการอ่าน เรียกว่า ขั้น W มาจาก want (What we want to know) เป็น
ข้ันตอนท่ีให้นักเรียนตั้งคาถามเก่ียวกับสิ่งที่ต้องการรู้เก่ียวกับเร่ืองที่กาลังจะอ่าน โดยครูและ
นักเรียนร่วมกนั กาหนดคาถาม แลว้ บนั ทึกสงิ่ ท่ตี อ้ งการรู้ลงในตารางชอ่ ง W
ขั้นที่ 3 กิจกรรมหลังการอ่าน เรียกว่า ข้ัน L มาจาก learn (What we have learned) เป็น
ข้ันตอนท่ีสารวจว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการอ่าน โดยหลังจากอ่านเน้ือเรื่อง นักเรียน
หาข้อความมาตอบคาถามที่กาหนดไว้ในตารางช่อง W จากนั้นนาข้อมูลที่ได้จากการอ่านมา
จดั ลาดบั ความสาคัญของข้อมลู และสรปุ เนื้อหาสาคัญลงในตารางช่อง L

3. ครแู ละนกั เรยี นร่วมกันสรุปเนอื้ หา โดยการอภปิ รายหรอื ตรวจสอบคาตอบในตาราง K-W-L
4. ครแู ละนกั เรยี นอาจรว่ มกนั อภิปรายเก่ยี วกบั การใช้ตาราง K-W-L มาช่วยในการเรียนการสอนการอ่าน

ฉบับปรับปรงุ เดอื นกรกฎาคม 2562 สถาบนั ส่งเสริมการสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

ถ คูม่ อื ครรู ายวิชาพ้นื ฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1

 เทคนิคการสอนแบบ QAR (Question-answer relationship)

การสอนอ่านที่มุ่งเน้นให้นักเรยี นมีความเข้าใจในการจัดหมวดหมู่ของคาถามและตั้งคาถาม เพื่อให้ได้มา

ซึ่งแนวทางในการหาคาตอบ ซึ่งนักเรียนจะได้พิจารณาจากข้อมูลในเน้ือเรื่องท่ีจะเรียนและประสบการณ์เดิม

ของนักเรยี น โดยมีขนั้ ตอนการจัดการเรยี นการสอน ดงั นี้

1. ครูจัดทาชุดคาถามตามแบบ QAR จากเร่ืองท่ีนักเรียนควรรู้หรือเรื่องใกล้ตัวนักเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียน

เข้าใจถึงการจดั หมวดหมู่ของคาถามตามแบบ QAR และควรเชือ่ มโยงกบั เร่ืองท่ีจะอ่านต่อไป

2. ครูแนะนาและอธิบายการสอนแบบ QAR โดยครูควรช้ีแจงนักเรียนเกี่ยวกับการอ่านและการตั้งคาถาม

ตามหมวดหมู่ ได้แก่ คาถามท่ีตอบโดยใช้เน้ือหาจากเรื่องท่ีอ่าน คาถามที่ต้องคิดและค้นคว้า คาถามที่

ไม่มคี าตอบโดยตรง ซง่ึ จะต้องใชค้ วามรู้เดมิ และส่ิงที่ผเู้ ขยี นเขยี นไว้

3. นกั เรยี นอา่ นเน้ือเรอื่ ง ตง้ั คาถามและตอบคาถามตามหมวดหมู่ และรว่ มกนั อภปิ รายเพ่ือสรุปคาตอบ

4. ครูและนักเรยี นรว่ มกันอภิปรายเกีย่ วกบั การใชเ้ ทคนิคนี้ดว้ ยตนเองได้อย่างไร

5. ครูและนกั เรยี นอาจร่วมกันอภิปรายเกีย่ วกับการใช้ตาราง K-W-L มาชว่ ยในการเรยี นการสอนการอ่าน

2. การใช้งานส่ือ QR CODE

QR CODE เป็นรหัสหรือภาษาท่ีต้องใช้โปรแกรมอ่านหรือสแกนข้อมูลออกมา ซ่ึงต้องใช้งานผ่าน

โทรศัพท์เคลื่อนท่ีหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งกล้องไว้ แล้วอ่าน QR Code ผ่านโปรแกรมต่าง ๆ เช่น

LINE (สาหรับโทรศัพท์เคล่ือนที่) Code Two QR Code Reader (สาหรับคอมพิวเตอร์) Camera (สาหรับ

ผลติ ภณั ฑ์ของ Apple Inc.)

ข้นั ตอนการใชง้ าน

1. เปดิ โปรแกรมสาหรับอา่ น QR Code

2. เล่ือนอุปกรณอ์ เิ ล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศพั ท์เคลือ่ นท่ี แท็บเลต็ เพือ่ ส่องรปู QR Code ได้ท้ังรูป

3. เปดิ ไฟล์หรือลงิ ก์ที่ขึ้นมาหลงั จากโปรแกรมได้อ่าน QR CODE

**หมายเหตุ อุปกรณท์ ี่ใช้อ่าน QR CODE ตอ้ งเปดิ Internet ไว้เพื่อดงึ ขอ้ มลู

3. การใชง้ านโปรแกรมประยุกต์ความจริงเสริม (ภาพเคล่ือนไหว 3 มิติ)

โปรแกรมประยุกต์ความจริงเสริม (Augmented reality) เป็นโปรแกรมที่สร้างข้ึนเพื่อเป็นส่ือเสริม

ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเน้ือหาสาระของบทเรียนอย่างเป็นรูปธรรมมากข้ึน สาหรับระดับประถมศึกษาปีท่ี 2 จะ

ใช้งานผ่านโปรแกรมประยุกต์ “วทิ ย์ ป.2” ซึ่งสามารถดาวนโ์ หลดได้ทาง Play Store หรอื Apps Store

**หมายเหตุ เน่ืองจากโปรแกรมมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่ประมาณ 150 เมกะไบต์ หากพื้นท่ีจัดเก็บไม่เพียงพออาจ

ต้องลบข้อมลู บางอยา่ งออกก่อนตดิ ต้ังโปรแกรม

ขัน้ ตอนการตดิ ต้ังโปรแกรม

1. เข้าไปท่ี Play Store ( ) หรือ Apps Store ( )

2. คน้ หาคาวา่ “AR วิทย์ ป.2”

3. กดเข้าไปทโ่ี ปรแกรมประยุกตท์ ี่ สสวท. พัฒนา

4. กด “ตดิ ตง้ั ” และรอจนติดต้ังเรียบรอ้ ย

⎯ สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบบั ปรบั ปรุง เดือนกรกฎาคม 2562

คมู่ อื ครูรายวิชาพืน้ ฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1 ท

5. เข้าสโู่ ปรแกรมจะปรากฏหนา้ แรก จากนน้ั กด “วิธีการใช้งาน” เพื่อศึกษาการใชง้ านโปรแกรม
เบือ้ งต้นดว้ ยตนเอง

6. หลงั จากศึกษาวธิ ีการใชง้ านดว้ ยตนเองแล้ว กด “สแกน
AR” และเปิดหนังสือเรยี นหนา้ ทมี่ สี ญั ลักษณ์ AR

7. ส่องรูปท่ีอยู่บริเวณสญั ลักษณ์ AR โดยมรี ะยะห่างประมาณ
10 เซนติเมตร และเลือกดูภาพในมุมมองต่าง ๆ ตาม
ความสนใจ

ฉบบั ปรบั ปรงุ เดอื นกรกฎาคม 2562 สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

ธ ค่มู ือครรู ายวิชาพ้ืนฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1

การจัดการเรียนการสอนวทิ ยาศาสตรใ์ นระดบั ประถมศกึ ษา

นักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1 - ป.3) ตามธรรมชาติแล้วมีความอยากรู้อยากเห็น
เก่ียวกับส่งิ ต่างๆ รอบตวั และเรียนรู้ไดด้ ที ส่ี ุดดว้ ยการค้นพบ จากการลงมือปฏบิ ัตดิ ้วยตนเองโดยอาศยั ประสาท
สัมผัสทั้งห้า ดังน้ันการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาตอนต้น จึงควรให้โอกาสนักเรียนมีส่วนร่วม
ในการลงมือปฏิบัติ การสารวจตรวจสอบ การค้นพบ การตั้งคาถามเพ่ือนาไปสู่การอภิปราย การแลกเปลี่ยนผล
การทดลองด้วยคาพูด หรือภาพวาด การอภปิ รายเพ่ือสรุปผลร่วมกนั สาหรับนักเรยี นในระดบั ชัน้ ประถมศึกษา
ตอนปลาย (ป.4-ป.6) มีพัฒนาการทางสติปัญญาจากขั้นการคิดแบบรูปธรรมไปสู่ขั้นการคิดแบบนามธรรม
มีความสนใจในสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และสนใจว่าส่ิงต่าง ๆ ถูกประกอบเข้าด้วยกันอย่างไร และทางานอย่างไร
นักเรียนในช่วงวัยนี้ต้องการโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในการทากิจกรรมกลุ่มโดยการทางานแบบร่วมมือ ดังน้ันจึง
ควรส่งเสริมให้นักเรียนทาโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกันซ่ึงจะเป็นการสร้างความสามัคคี และประสานสัมพันธ์
ระหวา่ งนักเรียนในระดับนี้ด้วย

การจดั การเรยี นการสอนทีเ่ น้นการสบื เสาะหาความรูท้ างวทิ ยาศาสตร์

การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หมายถึงวิธีการท่ีนักวิทยาศาสตร์ใช้เพื่อศึกษาสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
อย่างเป็นระบบ และเสนอคาอธิบายเก่ียวกับส่ิงท่ีศึกษาด้วยข้อมูลท่ีได้จากการทางานทางวิทยาศาสตร์ มีวิธีการอยู่
หลากหลาย เช่น การสารวจ การสบื ค้น การทดลอง การสรา้ งแบบจาลอง

นักเรียนทุกระดับชน้ั ควรไดร้ ับโอกาสในการสืบเสาะหาความรู้ทางวทิ ยาศาสตร์และพัฒนาความสามารถใน
การคิดและแสดงออกด้วยวิธีการที่เชื่อมโยงกับการสืบเสาะหาความรู้ซึ่งรวมท้ังการต้ังคาถาม การวางแผนและ
ดาเนินการสืบเสาะหาความรู้ การใช้เคร่ืองมือและเทคโนโลยีท่ีเหมาะสมในการรวบรวมข้อมูล การคิดอย่างมี
วิจารณญาณและมีเหตุผลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพยานหลักฐานและการอธิบาย การสร้างและวิเคราะห์
คาอธบิ ายท่ีหลากหลาย และการสอ่ื สารขอ้ โตแ้ ยง้ ทางวทิ ยาศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนท่ีเนน้ การสืบเสาะหาความรู้ ควรมหี ลายรูปแบบ แต่ละรปู แบบมคี วามต่อเนอื่ งกัน
จากที่เนน้ ครูเป็นสาคัญไปจนถึงเน้นนกั เรยี นเป็นสาคัญ โดยแบ่งได้ดังน้ี

• การสืบเสาะหาความรู้แบบครูเป็นผู้กาหนดแนวทาง (Structured inquiry) ครูเป็นผู้ตั้งคาถามและบอก
วธิ กี ารใหน้ กั เรียนคน้ หาคาตอบ ครชู ้แี นะนักเรียนทุกขัน้ ตอนโดยใช้กระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์

• การสืบเสาะหาความรู้แบบทั้งครูและนักเรียนเป็นผู้กาหนดแนวทาง (Guided inquiry) ครูเป็นผู้ต้ังคาถาม
และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสารวจตรวจสอบให้กับนักเรียน นักเรียนจะเป็นผู้ออกแบบการทดลอง
ด้วยตวั เอง

• การสืบเสาะหาความรู้แบบนักเรียนเป็นผู้กาหนดแนวทาง (Open inquiry) นักเรียนทากิจกรรมตามที่ครู
กาหนด นักเรียนพัฒนาวิธี ดาเนินการสารวจ ตรวจสอบจากคาถามท่ีครูต้ังข้ึน นักเรียนตั้งคาถามในหัวข้อที่
ครเู ลือก พร้อมทงั้ ออกแบบการสารวจตรวจสอบด้วยตนเอง

⎯ สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบบั ปรบั ปรุง เดอื นกรกฎาคม 2562

คมู่ อื ครูรายวิชาพ้นื ฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1 น

การสบื เสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในหอ้ งเรยี น
เราสามารถจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียนโดยจัดโอกาสให้ นักเรียนได้สืบเสาะหาความรู้ทาง

วิทยาศาสตร์ตามที่หลักสูตรกาหนด ด้วยกระบวนการแบบเดียวกันกับท่ีนักวิทยาศาสตร์สืบเสาะ แต่อาจมีเรา
สามารถจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียนโดยจัดโอกาสให้นักเรียนได้สืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ตามที่หลักสูตรกาหนด ด้วยกระบวนการแบบเดียวกันกับที่นักวิทยาศาสตร์สืบเสาะ แต่อาจมีรูปแบบท่ี
หลากหลายตามบริบทและความพร้อมของครูและนักเรียน เช่น การสืบเสาะหาความรู้แบบปลายเปิด (Open
inquiry) ที่นักเรียนเป็นผู้ควบคุมการสบื เสาะหาความรู้ของตนเองตั้งแต่การสร้างประเด็นคาถาม การสารวจ
ตรวจสอบ (Investigation) และอธิบายส่ิงที่ศกึ ษาโดยใชข้ ้อมลู (Data) หรือหลักฐาน (Evidence) ท่ีไดจ้ ากการ
สารวจตรวจสอบ การประเมินและเชื่อมโยงความร้ทู ่ีเกีย่ วข้องหรอื คาอธิบายอืน่ เพื่อปรบั ปรุงคาอธบิ ายของตน
และนาเสนอต่อผู้อ่ืน นอกจากน้ี ครูอาจใช้การสืบเสาะหาความรู้ท่ีตนเองเป็นผู้กาหนดแนวในการทากิจกรรม
(Structured inquiry) โดยครสู ามารถแนะนานักเรยี นได้ตามความเหมาะสม

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ครูสามารถออกแบบการสอนให้มีลักษณะ
สาคญั ของการสืบเสาะ ดังน้ี

ภาพ วัฏจักรการสบื เสาะหาความรูท้ างวทิ ยาศาสตร์ในหอ้ งเรยี น

ฉบับปรบั ปรงุ เดอื นกรกฎาคม 2562 สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

บ คู่มอื ครรู ายวิชาพ้ืนฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1

การจัดการเรียนการสอนทส่ี อดคลอ้ งกับธรรมชาตขิ องวิทยาศาสตร์
และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ เป็นลักษณะเฉพาะตัวของวิทยาศาสตร์ท่ีมีความแตกต่างจากศาสตร์อ่ืน ๆ
เป็นค่านิยม ข้อสรุป แนวคิด หรือคาอธิบายที่บอกว่า วิทยาศาสตร์คืออะไร มีการทางานอย่างไร
นักวิทยาศาสตร์คือใคร ทางานอย่างไร และงานด้านวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์อย่างไรกับสังคม ค่านิยม
ขอ้ สรุป แนวคิด หรือคาอธิบายเหลา่ นี้จะผสมกลมกลืนอยู่ในตัววทิ ยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการ
พัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนต้น ความเข้าใจเก่ียวกับธรรมชาติ
ของวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขึ้นอยู่กับระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนและ
ประสบการณ์ท่ีครูจดั ให้แก่นักเรยี น ความสามารถในการสังเกตและการสื่อความหมายของนักเรียนในระดับน้ี
ค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ครูควรอานวยความสะดวกในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแนวคิด
ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน นักเรียนในระดับนี้เริ่มที่จะเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร วิทยาศาสตร์ทางาน
อย่างไร และนักวิทยาศาสตร์ทางานกันอย่างไรโดยผ่านการทากิจกรรมในห้องเรียน จากเรื่องราวเก่ียวกับ
นักวิทยาศาสตร์ และจากการอภปิ รายในหอ้ งเรยี น

นักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลายซึ่งกาลังพัฒนาฐานความรู้โดยใช้การสังเกตมากข้ึน
สามารถนาความรู้มาใช้เพ่ือก่อให้เกิดความคาดหวังเก่ียวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โอกาสการเรียนรู้สาหรับนักเรียน
ในระดับนี้ ควรเน้นไปท่ีทักษะการต้ังคาถามเชิงวิทยาศาสตร์ การสร้างคาอธิบายท่ีมีเหตุผลโดยอาศัย
พยานหลักฐานทปี่ รากฏ และการส่ือความหมายเก่ยี วกับความคิดและการสารวจตรวจสอบของตนเองและของ
นักเรียนคนอื่นๆ นอกจากนี้เรอื่ งราวทางประวัติศาสตร์สามารถเพิ่มความตระหนักถึงความหลากหลายของคน
ในชุมชนวิทยาศาสตร์ นักเรียนในระดับนี้ควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมท่ีช่วยให้เขาคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เกย่ี วกบั พยานหลกั ฐานและความสัมพันธ์ระหว่างพยานหลกั ฐานกบั การอธิบาย

การเรียนรู้วทิ ยาศาสตรข์ องนกั เรยี นแตล่ ะระดับชน้ั มีพฒั นาการเป็นลาดับดงั นี้

ชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี 1 สามารถ ชั้นประถมศกึ ษาปที ่ี 2 สามารถ
• ตัง้ คาถาม บรรยายคาถาม เขียนเก่ยี วกับคาถาม • ออกแบบและดาเนินการสารวจตรวจสอบเพ่ือ
• บั นทึ กข้อมู ลจากประสบการณ์ ส ารวจ
ตอบคาถามทไ่ี ดต้ ัง้ ไว้
ตรวจสอบชน้ั เรียน • ส่อื ความหมายความคิดของเขาจากส่ิงที่
• อภิปรายแลกเปลยี่ นหลักฐานและความคดิ
• เรียนรวู้ า่ ทุกคนสามาเรยี นรวู้ ิทยาศาสตร์ได้ สังเกต
• อา่ นและการอภิปรายเร่อื งราวต่าง ๆ เกยี่ วกบั

วิทยาศาสตร์

⎯ สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบบั ปรับปรงุ เดือนกรกฎาคม 2562

คมู่ ือครรู ายวิชาพืน้ ฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1 ป

ชน้ั ประถมศกึ ษาปีท่ี 3 สามารถ ชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี 4 สามารถ
• ทาการทดลองอย่างง่าย ๆ
• ต้ังคาถามที่สามารถตอบไดโ้ ดยการใช้ • ใหเ้ หตผุ ลเก่ยี วกับการสังเกต การส่อื
ฐานความรู้ทางวทิ ยาศาสตร์และการสงั เกต
ความหมาย
• ทางานในกลุ่มแบบร่วมมือเพื่อสารวจ • ลงมอื ปฏิบัตกิ ารทดลองและการอภิปราย
ตรวจสอบ • ค้นหาแหลง่ ข้อมลู ทีเ่ ช่ือถือได้และบรู ณาการ

• ค้นหาข้อมลู และการส่อื ความหมายคาตอบ ข้อมูลเหล่าน้นั กับการสงั เกตของตนเอง
• ศกึ ษาประวตั ิการทางานของนักวทิ ยาศาสตร์
• สรา้ งคาบรรยายและคาอธบิ ายจากส่ิงที่
สงั เกต

• นาเสนอประวัติการทางานของ
นกั วทิ ยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปที ่ี 5 สามารถ ชั้นประถมศึกษาปที ี่ 6 สามารถ

• สารวจตรอบสอบ • สารวจตรอบสอบทเ่ี นน้ การใช้ทกั ษะทาง
วิทยาศาสตร์
• ตงั้ คาถามทางวทิ ยาศาสตร์
• รวบรวมขอ้ มูลท่เี กย่ี วข้อง การมองหาแบบ
• ตคี วามหมายข้อมูลและคิดอย่างมี แผนของข้อมลู การสื่อความหมายและการ
วิจารณญาณโดยมหี ลกั ฐานสนบั สนุน แลกเปล่ียนเรยี นรู้
คาอธบิ าย
• เขา้ ใจความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์
• เข้าใจธรรมชาตวิ ิทยาศาสตร์จากประวตั ิการ และเทคโนโลยี
ทางานของนักวิทยาศาสตร์ท่ีมีความมานะ
อุตสาหะ • เขา้ ใจการทางานทางวทิ ยาศาสตร์ผา่ น
ประวัตศิ าสตรข์ องนักวิทยาศาสตร์ทกุ เพศ
ที่มีหลายเชื้อชาติ วัฒนธรรม

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเก่ียวกับการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นการสืบเสาะหาความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์และการจัดการเรียนรู้ทส่ี อดคล้องกบั ธรรมชาติของวิทยาศาสตรแ์ ละกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์
จากคู่มือการใชห้ ลักสูตร

http://ipst.me/8922

ฉบบั ปรบั ปรุง เดือนกรกฎาคม 2562 สถาบันส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

ผ คมู่ ือครูรายวิชาพ้นื ฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์

แนวคิดสาคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 2) พุทธศักราช 2545 ที่เน้นนักเรียนเป็นสาคัญ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ี
เปิดโอกาสให้นักเรียนคิดและลงมือปฏิบัติด้วยกระบวนการที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา
ตนเองเต็มตามศักยภาพ การวัดและประเมินผลจึงมีความสาคัญและจาเป็นอย่างย่ิงต่อการจัดกิจกรรมการ
เรยี นรู้ในหอ้ งเรียน เพราะสามารถทาให้ครปู ระเมนิ ระดบั พฒั นาการการเรยี นรู้ของนักเรียนได้

กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนมีหลากหลาย เช่น กิจกรรมสารวจภาคสนาม กิจกรรมการสารวจ
ตรวจสอบ การทดลอง กิจกรรมศึกษาค้นคว้า กิจกรรมศึกษาปัญหาพิเศษ หรือโครงงานวิทยาศาสตร์ อย่างไร
ก็ตามในการทากิจกรรมเหล่าน้ีต้องคานึงว่านักเรียนแต่ละคนมีศักยภาพแตกต่างกัน นักเรียนจึงอาจทางาน
ช้นิ เดียวกนั ได้สาเรจ็ ในเวลาที่แตกต่างกัน และผลงานที่ได้ก็อาจแตกต่างกนั ด้วย เมอื่ นกั เรยี นทากิจกรรมเหล่านี้
แล้วก็ต้องเก็บรวบรวมผลงาน เช่น รายงาน ช้ินงาน บันทึก และรวมถึงทักษะปฏิบัติต่าง ๆ เจตคติทาง
วิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ความรัก ความซาบซึ้ง กิจกรรมที่นักเรียนได้ทาและผลงานเหล่าน้ีต้องใช้
วิธีประเมินท่ีมีความเหมาะสมและแตกต่างกันเพ่ือช่วยให้สามารถประเมินความรู้ความสามารถและความรู้สึก
นกึ คิดท่ีแท้จริงของนักเรียนได้ การวัดผลและประเมินผลจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเม่ือมีการประเมินหลายๆ ด้าน
หลากหลายวิธี ในสถานการณ์ต่าง ๆ ท่ีสอดคล้องกับชีวิตจริง และตอ้ งประเมินอย่างตอ่ เนื่อง เพอื่ จะได้ข้อมูลท่ี
มากพอท่จี ะสะทอ้ นความสามารถท่แี ทจ้ ริงของนักเรียนได้

จดุ มุ่งหมายหลกั ของการวดั ผลและประเมินผล

1. เพ่ือค้นหาและวินิจฉยั ว่านักเรียนมีความรคู้ วามเข้าใจเน้ือหาวิทยาศาสตร์ มีทักษะความชานาญ
ในการสารวจตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างไรและในระดับใด เพื่อเป็น
แนวทางให้ครูสามารถวางแผนการจัดการเรียนการสอนได้อยา่ งเหมาะสมเพื่อพัฒนาการเรียนรขู้ องนักเรียนได้
อยา่ งเตม็ ศกั ยภาพ

2. เพือ่ ใชเ้ ป็นขอ้ มลู ยอ้ นกลบั สาหรบั นกั เรยี นวา่ มีการเรียนรอู้ ย่างไร
3. เพ่อื ใชเ้ ป็นข้อมูลในการสรุปผลการเรยี น และเปรยี บเทยี บระดบั พฒั นาการด้านการเรยี นร้ขู องนกั เรียน
แต่ละคน
การประเมินการเรียนรู้ของนกั เรียน มี 3 แบบ คือ การประเมินเพ่ือค้นหาและวนิ ิจฉัย การประเมิน
เพื่อปรบั ปรงุ การเรียนการสอน และการประเมนิ เพื่อตดั สินผลการเรยี นการสอน
การประเมินเพื่อค้นหาและวินิจฉัย เป็นการประเมินเพ่ือบ่งชี้ก่อนการเรียนการสอนว่า นักเรียนมี
พื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ เจตคติ และแนวคิดที่คลาดเคลื่อนอะไรบ้าง การประเมินแบบน้ีสามารถ
บ่งช้ีได้วา่ นักเรียนคนใดตอ้ งการความชว่ ยเหลือเป็นพิเศษในเรื่องท่ขี าดหายไป หรือเป็นการประเมินเพื่อพฒั นา
ทักษะท่ีจาเป็นก่อนท่ีจะเรียนเร่ืองต่อไป การประเมินแบบน้ียังช่วยบ่งชี้ทักษะหรือแนวคิดท่ีมีอยู่แล้วของ
นักเรียนอีกด้วย การประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน เป็นการประเมินในระหว่างช่วงที่มีการเรียนการ

⎯ สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบบั ปรบั ปรุง เดือนกรกฎาคม 2562

คมู่ อื ครูรายวิชาพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1 ฝ

สอน การประเมินแบบนี้จะช่วยบ่งช้ีระดับที่นักเรียนกาลังเรียนอยู่ในเรือ่ งที่ได้สอนไปแล้ว หรอื บ่งชี้ความรู้ของ
นักเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ท่ีได้วางแผนไว้ เป็นการประเมินที่ให้ข้อมูลย้อนกลับกับนักเรียนและกับครู
ว่าเป็นไปตามแผนการท่ีวางไว้หรือไม่ ข้อมูลท่ีได้จากการประเมินแบบน้ีไม่ใช่เพ่ือเป้าประสงค์ในการให้ระดับ
คะแนน แต่เพ่อื ช่วยครูในการปรับปรงุ การสอน และเพือ่ วางแผนประสบการณ์ตา่ งๆ ที่จะใหก้ บั นักเรียนต่อไป

การประเมินเพื่อตดั สินผลการเรียนการสอน เกดิ ขึ้นเม่อื สน้ิ สดุ การเรียนการสอนแล้ว ส่วนมากเป็น
“การสอบ” เพ่ือให้ระดับคะแนนแก่นักเรยี น หรือเพื่อให้ตาแหน่งความสามารถของนักเรียน หรือเพื่อเป็นการบ่งช้ี
ความก้าวหน้าในการเรียน การประเมินแบบนี้ถือว่ามีความสาคัญในความคิดของผู้ปกครองนักเรียน ครู
ผูบ้ ริหาร อาจารยแ์ นะแนว ฯลฯ แต่ก็ไม่ใชเ่ ป็นการประเมินภาพรวมทงั้ หมดของความสามารถของนกั เรียน ครู
ต้องระมัดระวังเมื่อประเมินผลรวมเพ่ือตัดสินผลการเรียนของนักเรียน ท้ังน้ีเพ่ือให้เกิดความสมดุล ความ
ยตุ ิธรรม และเกดิ ความตรง

การตัดสินผลการเรียนของนักเรียนมักจะมีการเปรียบเทียบกับส่ิงอ้างอิง ส่วนมากการประเมิน
มักจะอ้างอิงกลุ่ม (Norm reference) คือเป็นการเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนโดยเปรียบเทียบกับกลุ่ม
หรือคะแนนของนักเรียนคนอ่ืนๆ การประเมินแบบกลุ่มน้ีจะมี “ผู้ชนะ” และ “ผู้แพ้” อย่างไรก็ตามการประเมิน
แบบอิงกลุ่มน้ีจะมีนักเรียนคร่ึงหนึ่งที่อยู่ต่ากว่าระดับคะแนนเฉล่ียของกลุ่ม นอกจากน้ียังมีการประเมินแบบอิง
เกณฑ์ (Criterion reference) ซ่ึงเป็นการเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนกับเกณฑ์ที่ต้ังเอาไว้โดยไม่
คานึงถึงคะแนนของนักเรียนคนอื่นๆ ฉะนั้นจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอนจะต้องชัดเจนและมีเกณฑ์ที่บอกให้
ทราบว่าความสามารถระดับใดจึงจะเรียกว่าบรรลุถึงระดับ “รอบรู้” โดยที่นักเรียนแต่ละคน หรือชั้นเรียนแต่ละ
ชั้น หรือโรงเรยี นแต่ละโรงจะได้รับการตัดสินว่าประสบผลสาเรจ็ กต็ ่อเม่ือ นักเรียนแต่ละคน หรือชั้นเรยี นแต่ละชั้น
หรือโรงเรียนแต่ละโรงได้สาธิตผลสาเร็จ หรือสาธิตความรอบรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือตามเกณฑ์ท่ีตั้งไว้
ข้อมูลที่ใช้สาหรับการประเมินเพื่อวินิจฉัย หรือเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน หรือเพื่อตัดสินผลการเรียนการ
สอนสามารถใช้การประเมินแบบอิงกลุ่มหรอื อิงเกณฑ์ เท่าท่ีผ่านมาการประเมินเพ่ือตัดสินผลการเรียนการสอนจะ
ใชก้ ารประเมนิ แบบองิ กลมุ่

แนวทางการวดั ผลและประเมินผลการเรยี นรู้

การเรียนรจู้ ะบรรลุตามเป้าหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนร้ทู วี่ างไว้ ควรมีแนวทางดังต่อไปนี้
1. วัดและประเมินผลท้ังความรู้ความคิด ความสามารถ ทักษะกระบวนการ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม

ค่านยิ มดา้ นวิทยาศาสตร์ รวมท้งั โอกาสในการเรียนรู้ของนักเรียน
2. วิธกี ารวดั และประเมินผลต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรทู้ ี่กาหนดไว้
3. เก็บขอ้ มูลจากการวดั และประเมินผลอยา่ งตรงไปตรงมา และต้องประเมินผลภายใต้ข้อมลู ทีม่ ีอยู่
4. ผลของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนต้องนาไปส่กู ารแปลผลและลงข้อสรปุ ที่สมเหตุสมผล
5. การวัดและประเมินผลต้องมีความเที่ยงตรงและเป็นธรรม ทั้งในด้านของวิธีการวัดและโอกาสของการ

ประเมนิ

ฉบับปรับปรุง เดือนกรกฎาคม 2562 สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

พ คูม่ อื ครรู ายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1

วธิ ีการและแหล่งขอ้ มูลทีใ่ ชใ้ นการวดั ผลและประเมนิ ผล

เพื่อใหก้ ารวดั ผลและประเมินผลได้สะท้อนความสามารถท่ีแท้จริงของนกั เรียน ผลการประเมินอาจ
ได้มาจากแหลง่ ข้อมลู และวธิ กี ารตา่ งๆ ดังต่อไปน้ี

1. สงั เกตการแสดงออกเป็นรายบุคคลหรอื รายกลมุ่
2. ชิ้นงาน ผลงาน รายงาน
3. การสมั ภาษณ์ท้ังแบบเปน็ ทางการและไมเ่ ป็นทางการ
4. บันทึกของนกั เรยี น
5. การประชุมปรึกษาหารือรว่ มกันระหว่างนักเรียนและครู
6. การวดั และประเมินผลภาคปฏิบตั ิ
7. การวดั และประเมนิ ผลด้านความสามารถ
8. การวัดและประเมินผลการเรยี นร้โู ดยใชแ้ ฟม้ ผลงาน

⎯ สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ฉบับปรบั ปรุง เดือนกรกฎาคม 2562

ค่มู อื ครรู ายวิชาพนื้ ฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 ฟ

ตารางแสดงความสอดคลอ้ งระหว่างเนอ้ื หาและกจิ กรรม ระดบั ชั้นประถมศึกษาปที ี่ 2 เล่ม 1
กับตวั ชี้วัด กลมุ่ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ. 2560) ตามหลกั สูตร
แกนกลางการศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน พุทธศกั ราช 2551

หน่วยการเรยี นรู้ ช่อื กิจกรรม เวลา ตัวชว้ี ัด
(ชว่ั โมง)

หนว่ ยที่ 1 การ บทที่ 1 เรียนร้แู บบนกั วทิ ยาศาสตร์ 2-
เรียนร้สู ่ิงต่าง ๆ เรอ่ื งท่ี 1 ทักษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ 1
รอบตวั 2
กจิ กรรมที่ 1.1 สังเกตสงิ่ ต่าง ๆ ไดอ้ ย่างไร 3
หน่วยท่ี 2 วัสดุ กจิ กรรมที่ 1.2 จาแนกประเภทส่ิงตา่ ง ๆ ไดอ้ ยา่ งไร 1
และการใช้ เร่ืองท่ี 2 การสบื เสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 3
ประโยชน์ กิจกรรมท่ี 2 รวบรวมข้อมูลเพื่อหาคาตอบได้อยา่ งไร 2
กจิ กรรมท้ายบทท่ี 1 เรียนร้แู บบนกั วิทยาศาสตร์
2 • เปรียบเทียบสมบัติการดูดซับน้า
บทท่ี 1 สมบัติการดดู ซับนา้ ของวสั ดแุ ละการใช้ประโยชนจ์ ากวัสดุ 1 ข องวัส ดุ โด ย ใช้ ห ลั ก ฐาน เชิ ง
เรอ่ื งท่ี 1 สมบัติการดูดซบั นา้ ของวสั ดุ 3 ประจักษ์ และระบุการนาสมบัติ

กจิ กรรมท่ี 1 การดูดซบั น้าของวสั ดุแตล่ ะชนดิ เปน็ ก า ร ดู ด ซั บ น้ า ข อ ง วั ส ดุ ไ ป
อยา่ งไร 1 ป ระยุกต์ ใช้ใน ก ารท าวัต ถุใน
เร่อื งที่ 2 สมบตั ขิ องวัสดุทไี่ ดจ้ ากการผสมวัสดุ 3 ชวี ติ ประจาวัน
กิจกรรมที่ 2 สมบตั ขิ องวัสดทุ ่ีไดจ้ ากการนาวัสดุมาผสม
กันเป็นอย่างไร • อธบิ ายสมบตั ิท่สี ังเกตได้ของวสั ดุท่ี
เรื่องที่ 3 การใชป้ ระโยชนจ์ ากวสั ดุ 1 เกิดจากการนาวัสดุมาผสมกันโดย
กิจกรรมที่ 3.1 เลือกวัสดุมาใชป้ ระโยชน์ไดอ้ ย่างไร 2 ใชห้ ลกั ฐานเชงิ ประจักษ์
กิจกรรมท่ี 3.2 วัสดุทใ่ี ชแ้ ลว้ นากลบั มาใชใ้ หม่ได้อยา่ งไร
กจิ กรรมท้ายบทท่ี 1 สมบตั กิ ารดูดซับนา้ ของวัสดแุ ละการใช้ • เปรียบเทียบสมบัติท่ีสังเกตได้ของ
ประโยชนจ์ ากวัสดุ 2 วัสดุ เพื่อนามาทาเป็นวัตถุในการ

ใช้งานตามวัตถุป ระสงค์และ
2 อธบิ ายการนาวัสดุท่ีใช้แลว้ กลับมา

ใชใ้ หม่โดยใชห้ ลกั ฐานเชงิ ประจกั ษ์

• ตระหนักถึงประโยชน์ของการนา

วัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ โดย

การนาวสั ดทุ ีใ่ ช้แล้วกลับมาใชใ้ หม่

รวมจานวนชวั่ โมง 31

หมายเหตุ: กิจกรรม เวลาท่ีใช้ และสิง่ ที่ต้องเตรียมลว่ งหน้าน้นั ครสู ามารถปรบั เปล่ยี นเพิ่มเตมิ ได้ตามความ
เหมาะสมของสภาพท้องถนิ่

ฉบับปรบั ปรงุ เดือนกรกฎาคม 2562 สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

ภ คู่มือครูรายวิชาพืน้ ฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1
รายการวัสดอุ ปุ กรณว์ ทิ ยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1

ลาดับที่ รายการ จานวน/กลมุ่ จานวน/หอ้ ง จานวน/คน

หน่วยท่ี 1 การเรียนรสู้ ง่ิ ต่าง ๆ รอบตัว

1 ไรทะเล (หรือไรแดง หรือมด) 1 ตวั
1 ใบ
2 แว่นขยาย 2 อนั 1 ใบ

3 จานสี 1 แผ่น

4 กล่องพลาสติกใส

5 หลอดหยด 1 อนั

6 บัตรภาพสง่ิ ต่าง ๆ 1 ชุด
1 แผน่
7 แผ่นพลาสตกิ ลกู ฟูก 1 มว้ น

8 เทปใส 1 กล่อง

9 กระดาษ A4

10 สไี ม้

หนว่ ยท่ี 2 วสั ดุและการใช้ประโยชน์

1 พลาสติก (5 cm x10 cm) 1 แผน่
1 ผนื
2 ผ้าฝา้ ย (5 cm x10 cm) 1 แผน่
1 แผน่
3 กระดาษเยื่อ (5 cm x10 cm)
4 ใบ
4 อะลูมเิ นียมฟอยล์ (5 cm x10 cm) 1 อนั
1 กลอ่ ง
5 สผี สมอาหาร - 1 ซอง
1 กระปุกใหญ่ -
6 แก้วน้า 1 ถงั
1 ใบ
7 หลอดหยด 1 เล่ม
1 ใบ
8 กล่องนม

9 กระดาษเหลือใช้ (นักเรียนเตรียมเอง) -

10 กาวลาเทกซห์ รือกาวแป้งเปยี ก

11 น้า

12 กะละมงั

13 กรรไกร

14 จานกระเบื้อง

⎯ สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบบั ปรับปรุง เดอื นกรกฎาคม 2562

คูม่ ือครรู ายวิชาพน้ื ฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เลม่ 1 ม

ลาดบั ที่ รายการ จานวน/กลมุ่ จานวน/หอ้ ง จานวน/คน
15 สงิ่ ของท่ีใชแ้ ลว้ (นกั เรียนเตรียมเอง) - --
16 กระดาษสี (คละสี) 4 แผน่
17 สีเมจิก 1 แพ็ค
18 สนี ้า 1 กล่อง
19 จานสี 1 ใบ
20 พู่กัน 2-3 อนั
21 กาว 1 กระปุก
22 ไม้บรรทดั 1 อัน

ฉบบั ปรบั ปรงุ เดอื นกรกฎาคม 2562 สถาบนั ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ⎯

1 คู่มอื ครรู ายวิชาพื้นฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 | หน่วยท่ี 1 การเรียนร้สู ิง่ ตา่ ง ๆ รอบตัว

หนว่ ยที่ 1 การเรียนรสู้ งิ่ ตา่ ง ๆ รอบตวั

ภาพรวมการจัดการเรยี นรู้ประจาหนว่ ยที่ 1 การเรียนรสู้ ง่ิ ต่าง ๆ รอบตัว

บท เรื่อง กจิ กรรม ลาดับการจดั การเรียนรู้ ตัวช้ีวัด
-
บทที่ 1 เรยี นร้แู บบ เรอื่ งที่ 1 ทักษะ กิจกรรมที่ 1.1 สังเกต • การสังเกตนอกจากจะใช้
นักวิทยาศาสตร์ กระบวนการทาง สงิ่ ต่าง ๆ ได้อย่างไร ประสาทสัมผัสทั้งห้าแล้ว
วิทยาศาสตร์ ยงั อาจใช้เครอ่ื งมอื มาช่วยใน
การสังเกตเพื่อให้ได้ข้อมูล
ทางวิทยาศาสตร์ท่ีชัดเจน
และละเอยี ดยงิ่ ขน้ึ

กจิ กรรมที่ 1.2 จาแนก • การจาแนกประเภทเป็นการ
ประเภทส่งิ ต่าง ๆ ได้ น าข้ อ มู ล ท่ี เห มื อ น ห รือ
อย่างไร แตกต่างกันมาแยกเป็นกลุ่ม

โดยใชเ้ กณฑใ์ นการจาแนก

เรื่องท่ี 2 การ กิจกรรมที่ 2 รวบรวม • การรวบ รวม ข้อ มู ล จาก

สบื เสาะหาความรู้ ขอ้ มลู เพือ่ หาคาตอบได้ แหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง

ทางวทิ ยาศาสตร์ อยา่ งไร ท่ีน่าเช่ือถือ เป็นส่วนหนึ่ง

ของการสืบเสาะหาความรู้

ท า ง วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ เพื่ อ ห า

คาตอบในส่ิงท่ีสงสัย หรือ
แกป้ ญั หาท่เี กดิ ขนึ้

รว่ มคิด รว่ มทา

⎯ สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบบั ปรับปรงุ เดือนกรกฎาคม 2562

คมู่ อื ครรู ายวิชาพื้นฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรยี นรู้ส่งิ ตา่ ง ๆ รอบตวั 2

ฉบบั ปรบั ปรงุ เดอื นกรกฎาคม 2562 สถาบันส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

3 คู่มือครูรายวิชาพืน้ ฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 | หน่วยท่ี 1 การเรยี นรูส้ งิ่ ต่าง ๆ รอบตัว

บทที่ 1 เรียนรูแ้ บบนกั วทิ ยาศาสตร์

จุดประสงค์การเรยี นรปู้ ระจาบท บทน้มี ีอะไร

เมื่อเรยี นจบบทน้ี นักเรียนสามารถ เรื่องท่ี 1 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. ใช้ทักษะการสงั เกต โดยใช้เคร่ืองมือช่วยในการสงั เกต กจิ กรรมที่ 1.1 สงั เกตสงิ่ ตา่ ง ๆ ได้อย่างไร
2. ใชท้ ักษะการจาแนกประเภท โดยระบุเกณฑท์ ี่ใชใ้ นการ กจิ กรรมท่ี 1.2 จาแนกประเภทสิง่ ตา่ ง ๆ ได้อย่างไร
เร่อื งที่ 2 การสบื เสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
จาแนกสิ่งตา่ ง ๆ ออกเปน็ กลุ่ม กิจกรรมที่ 2 รวบรวมข้อมลู เพ่ือหาคาตอบไดอ้ ยา่ งไร
3. ใชก้ ารรวบรวมข้อมูลจากแหล่งตา่ ง ๆ ในการสบื เสาะหา

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

เวลา 14 ชวั่ โมง
แนวคดิ สาคัญ

เมื่อต้องการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับส่ิงต่าง ๆ
รอบตัว นอกจากจะใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตแล้ว ยัง
สามารถใช้เคร่ืองมือต่าง ๆ ช่วยในการสังเกต เพ่ือให้ได้
ข้อมูลท่ีชัดเจนและละเอียดขึ้น และสามารถนาข้อมูลที่
รวบรวมได้ไปใช้ในการจาแนกประเภทของสิ่งท่ีสังเกตและ
ตอบคาถามทต่ี ้องการสืบเสาะหาความรทู้ างวทิ ยาศาสตร์

สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรยี น ป. 2 เล่ม 1 หนา้ 1-19
2. แบบบันทกึ กิจกรรม ป. 2 เลม่ 1 หนา้ 1-29

⎯ สถาบนั ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ฉบบั ปรบั ปรุง เดอื นกรกฎาคม 2562

คมู่ อื ครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 | หน่วยท่ี 1 การเรียนรสู้ ิง่ ต่าง ๆ รอบตวั 4

ทกั ษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์และทกั ษะแหง่ ศตวรรษท่ี 21

รหัส ทกั ษะ กิจกรรมที่
1.1 1.2 2
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  
S1 การสงั เกต
S2 การวัด 
S3 การใชจ้ านวน
S4 การจาแนกประเภท  
S5 การหาความสมั พันธร์ ะหว่าง
 
 สเปซกับสเปซ
 สเปซกบั เวลา 
S6 การจดั กระทาและส่อื ความหมายข้อมลู 
S7 การพยากรณ์  
S8 การลงความเห็นจากข้อมูล  
S9 การต้งั สมมตฐิ าน 
S10 การกาหนดนยิ ามเชิงปฏิบัติการ
S11 การกาหนดและควบคุมตัวแปร
S12 การทดลอง
S13 การตีความหมายข้อมูลและลงขอ้ สรุป
S14 การสรา้ งแบบจาลอง
ทักษะแห่งศตวรรษท่ี 21
C1 การสรา้ งสรรค์
C2 การคิดอย่างมวี จิ ารณญาณ
C3 การแก้ปัญหา
C4 การสือ่ สาร
C5 ความร่วมมอื
C6 การใช้เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสื่อสาร

หมายเหตุ : รหสั ทักษะทปี่ รากฏน้ี ใชเ้ ฉพาะหนงั สือคู่มือครเู ล่มน้ี

ฉบบั ปรบั ปรงุ เดอื นกรกฎาคม 2562 สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

5 คู่มือครรู ายวิชาพ้ืนฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรูส้ ่ิงตา่ ง ๆ รอบตัว

แนวคิดคลาดเคลือ่ น

แนวคิดคลาดเคล่ือนที่อาจพบและแนวคิดท่ีถูกต้องในบทที่ 1 การเรียนรู้แบบนักวทิ ยาศาสตร์ มดี ังตอ่ ไปน้ี

แนวคดิ คลาดเคลอื่ น แนวคิดท่ถี กู ต้อง

จดุ ประสงค์ของการทดลองทางวทิ ยาศาสตรค์ ือการพิสูจน์ จุดประสงค์ของการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพ่ือค้นพบความรู้
แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ (Egger, 2009) ทางวทิ ยาศาสตรห์ รือหาคาตอบท่ีสงสัย (Egger, 2009)
นกั วิทยาศาสตรจ์ ะทาการทดลองเฉพาะในห้องปฏบิ ตั ิการ การทดลองไม่จาเป็นต้องทาเฉพาะในห้องปฏิบัติการเท่านั้น
เทา่ นัน้ (Egger, 2009) (Egger, 2009)
นกั วิทยาศาสตร์รทู้ ุกอย่างและไม่เคยทาผดิ พลาด (Egger, นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้รู้ทุกอย่าง ดังนั้นจึงต้องมีการสืบเสาะหา
2009) ความรู้เพื่อหาคาตอบ และนักวิทยาศาสตร์ก็สามารถทาผิดพลาด
หรือคาตอบของนกั วทิ ยาศาสตร์กม็ ีโอกาสผดิ ได้ (Egger, 2009)
นกั วทิ ยาศาสตร์ใชเ้ พียงวธิ ีการเดียวในการหาคาตอบทาง นักวิทยาศาสตร์ใช้หลาย ๆ วิธีการในการหาคาตอบทาง
วทิ ยาศาสตร์ (Ecklund and Sceitle, 2007) วิทยาศาสตร์ (Ecklund and Sceitle, 2007)
การทดลองเป็นสงิ่ ทจ่ี าเป็นในกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์ การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถทาได้หลายกระบวนการ
ถ้าไม่มกี ารทดลองจะไม่ถือวา่ มกี ารเรยี นรทู้ างวิทยาศาสตร์ ไม่จาเป็นต้องใช้การทดลองเพียงอย่างเดียว (Ecklund and
(Ecklund and Sceitle, 2007) Sceitle, 2007)
แนวคดิ ทางวทิ ยาศาสตรถ์ ูกต้องเสมอและไม่มกี าร แนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการค้นพบ
เปล่ียนแปลง (Ecklund and Sceitle, 2007) หลกั ฐานเพมิ่ เตมิ (Ecklund and Sceitle, 2007)

ถ้าครพู บว่ามแี นวคิดคลาดเคล่ือนใดท่ยี งั ไม่ไดแ้ กไ้ ขจากการทากจิ กรรมการเรยี นรู้ ครูควรจัดการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อแก้ไข
ตอ่ ไปได้

⎯ สถาบนั สง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบบั ปรับปรงุ เดือนกรกฎาคม 2562

คมู่ ือครรู ายวิชาพนื้ ฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรยี นร้สู ง่ิ ตา่ ง ๆ รอบตวั 6

บทนี้เริ่มตน้ อยา่ งไร (2 ชวั่ โมง) ใน ก า ร ท บ ท ว น ค ว า ม รู้ พ้ื น ฐ า น
คุณครูควรให้เวลานักเรียนคิดอย่าง
1. ครูทบทวนความรู้พ้ืนฐานของนักเรียนเก่ียวกับการสืบเสาะหา เห ม าะส ม รอ ค อ ย อ ย่ างอ ด ท น
ความรู้ ท่ีเคยเรียนผ่านมาแล้วในช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 โดยครู นักเรียนต้องตอบคาถามเหล่าน้ีได้
อาจนารูป วีดิทัศน์ หรือตัวอย่างจริง เกี่ยวกับสัตว์หลาย ๆ ชนิด ถู ก ต้ อ ง ห าก ต อ บ ไม่ ได้ ห รือ ลื ม
ท้งั ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ในแหลง่ ท่ีอยู่ต่าง ๆ เช่น แหล่งน้าที่มี ครูตอ้ งใหค้ วามรู้ทถี่ ูกตอ้ งทันที
ปลา กบ ลูกอ๊อด ใบไม้ท่ีมีมดเกาะอยู่ มาให้นักเรียนดู แล้วใช้
คาถามดงั น้ี

1.1 จากรปู นกั เรยี นสงั เกตเหน็ อะไรบา้ ง (ปลา กบ ลกู อ๊อดวา่ ยน้า
อยใู่ นสระ มดกาลังเกาะบนใบไม)้

1.2 นักเรียนอยากรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับสัตว์เหล่านี้ (นักเรียนตอบ
ตามความอยากรู้ของตนเอง)

1.3 นักเรียนจะหาคาตอบในสิ่งที่อยากรู้ในข้อ 1.2 ได้อย่างไร
(นักเรยี นตอบตามวิธกี ารของตนเอง)

1.4 การหาคาตอบตามวิธีในข้อ 1.3 เป็นการสืบเสาะหาความรู้
หรือไม่ เพราะเหตุใด (นักเรียนตอบตามความเข้าใจของ
ตนเอง)

2. ครูชักชวนนักเรียนศึกษาเรื่องการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยให้
อ่านช่ือหน่วย และอ่านคาถามสาคัญประจาหน่วยที่ 1 คือ “เรา
เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างไร” ครูให้นักเรียนตอบคาถามนี้
โดยยังไม่ต้องเฉลยคาตอบ แต่จะให้นักเรียนย้อนกลับมาตอบอีก
คร้ังหลังจากเรียนจบหนว่ ยน้แี ล้ว

3. ครูให้นักเรียนอ่าน ชื่อบท และจุดประสงค์การเรียนรู้ประจาบท
ในหนังสือเรียนหนา้ 1 จากน้นั ครูใชค้ าถามดังน้ี

3.1 บ ท น้ี จ ะ ได้ เรีย น เร่ือ งอ ะ ไร (เรื่อ งก าร เรีย น รู้ แ บ บ
นกั วทิ ยาศาสตร)์

3.2 จากจดุ ประสงค์การเรยี นรู้เม่ือเรียนจบบทน้ีนักเรียนสามารถ
ทาอะไรได้บ้าง (จะสามารถสังเกต โดยใช้เครื่องมือช่วยใน
การสังเกต สามารถจาแนกประเภท โดยระบุเกณฑ์ท่ีใช้ใน
การจาแนกส่ิงต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่ม และสามารถรวบรวม

ฉบบั ปรับปรงุ เดอื นกรกฎาคม 2562 สถาบนั สง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

7 คู่มือครูรายวิชาพืน้ ฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 | หนว่ ยท่ี 1 การเรยี นรสู้ ่งิ ตา่ ง ๆ รอบตัว

ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ในการสืบเสาะหาความรู้ทาง นั ก เ รี ย น อ า จ ไ ม่ ส า ม า ร ถ ต อ บ
วิทยาศาสตร์) คาถามหรืออภปิ รายได้ตามแนวคาตอบ
4. นักเรียนอ่านช่ือบท และแนวคิดสาคัญ ในหนังสือเรียนหน้า 2 ค รูค วรให้ เวล านั กเรีย น คิ ด อ ย่าง
จากนั้นครูใช้คาถามว่า จากการอ่านแนวคิดสาคัญ นักเรียนคิดว่า เหมาะสม รอคอยอย่างอดทน และรับ
จะได้เรียนเก่ียวกับเรื่องอะไรบ้าง (จะได้เรียนเก่ียวกับเร่ือง ฟังแนวความคดิ ของนักเรยี น
การรวบรวมข้อมูล การสังเกต การจาแนกประเภท การสืบเสาะ
หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์)

5. ครูชกั ชวนให้นกั เรยี นสงั เกตรปู และอา่ นเนื้อเรอื่ งในหนา้ 2 โดยครู
ฝกึ ทักษะการอ่านตามวธิ กี ารอ่านที่เหมาะสมกับความสามารถของ
นักเรียน ครูใช้คาถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจจากการอ่าน โดย
ใชค้ าถามดังนี้

5.1 สถานการณ์นเ้ี กดิ ขน้ึ ท่ีไหน (โรงเรยี น)
5.2 เด็ก ๆ ในรูปกาลงั ทาอะไร (เลีย้ งไก่ไข่ และเก็บไข)่
5.3 เด็กเอาไข่มาทาอะไร (ทาอาหารกลางวัน และขาย)
5.4 การเล้ยี งไก่ไขข่ องเด็กในโรงเรยี นนี้มีปัญหาอะไรเกดิ ข้นึ (ไข่มี

จานวนมากเกนิ ไปทาให้กินไมท่ ัน)
5.5 เมือ่ กนิ ไม่ทนั เดก็ ๆ ในโรงเรียนน้ีมวี ธิ ีการแก้ปญั หาอย่างไร

(เอาไขท่ ่เี หลือกินไปขาย)
5.6 การนาไข่ไก่ไปขายมีปัญหาอะไรบ้าง (ไข่ไก่แต่ละฟองมี

ขนาดไมเ่ ท่ากนั จะต้ังราคาในการขายอย่างไร)
5.7 ถ้านักเรียนต้องเป็นคนขายไข่ไก่ นักเรียนจะทาอย่างไร

(นกั เรียนตอบตามความคดิ ของตนเอง)
5.8 นอกจากสถานการณ์น้ี ในชีวิตประจาวันของเรา ยังมีปัญหา

อย่างอ่ืนอีกหรือไม่ที่เราต้องหาข้อมูลและวิธีการต่าง ๆ ใน
การแก้ปัญหา (นกั เรียนตอบตามความเขา้ ใจของตนเอง)
6. ครูชักชวนนักเรียน ตอบคาถามเกี่ยวกับ การเรียนรู้แบ บ
นักวิทยาศาสตร์ ในสารวจความรกู้ ่อนเรียน
7. นักเรียนทาสารวจความรู้ก่อนเรียน ในแบบบันทึกกิจกรรม หน้า
2 โดยนักเรียนอ่านคาถามแต่ละข้อ ครูตรวจสอบความเข้าใจของ
นักเรียน จนแน่ใจว่านักเรียนสามารถทาได้ด้วยตนเอง จึงให้
นักเรียนตอบคาถาม โดยคาตอบของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน
และคาตอบอาจถกู หรอื ผดิ ก็ได้

⎯ สถาบันส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรบั ปรุง เดอื นกรกฎาคม 2562

คูม่ ือครรู ายวิชาพน้ื ฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรยี นรูส้ งิ่ ต่าง ๆ รอบตัว 8

8. ครูสังเกตการตอบคาถามของนักเรียนเพื่อตรวจสอบว่านักเรียนมี การเตรียมตวั ลว่ งหน้าสาหรับครู
แนวคิดเก่ียวกับการเรียนรู้แบบนักวิทยาศาสตร์อย่างไร โดยอาจ เพื่อจดั การเรียนรใู้ นครง้ั ถดั ไป
สมุ่ ให้นักเรียน 2 – 3 คน นาเสนอคาตอบของตนเอง ครูยังไม่ต้อง
เฉลยคาตอบ แต่จะให้นักเรียนย้อนกลับมาตรวจสอบอีกคร้ัง ในครั้งถัดไป นักเรียนจะได้เรียน
หลังจากเรียนจบบทน้แี ล้ว ทั้งนี้ครูควรบันทึกแนวคิดคลาดเคลื่อน เรื่อ งท่ี 1 ทั ก ษ ะ ก ระ บ ว น ก ารท าง
หรือแนวคิดท่ีน่าสนใจของนักเรียน แล้วนามาใช้ในการออกแบบ วิทยาศาสตร์ ซึ่งเก่ียวข้องกับทักษะการ
การจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง และต่อ สังเกตและการจาแนกประเภท ครูเตรียม
ยอดแนวคิดทน่ี ่าสนใจของนักเรียน ของเล่น ของใช้หลาย ๆ ชนิด ที่นักเรียน
คุ้นเคย เช่น ลูกปัด กระดุม ที่มีสี รูปทรง
และจานวนรูบนกระดุมแตกต่างกัน และ
เตรียมตะกร้า เพื่อให้นักเรียนเล่มเกม ฉัน
ควรอยู่ที่ใด ในขั้นตรวจสอบความรู้เดิม
ของนกั เรยี น

ฉบบั ปรับปรงุ เดอื นกรกฎาคม 2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

9 คู่มือครรู ายวิชาพ้ืนฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 | หน่วยท่ี 1 การเรียนรสู้ ิ่งต่าง ๆ รอบตัว

แนวคาตอบในแบบบนั ทึกกจิ กรรม

การสารวจความรู้ก่อนเรียน นักเรยี นอาจตอบคาถามถูกหรือผดิ ก็ไดข้ ึน้ อยกู่ บั ความร้เู ดิมของนักเรยี น
แตเ่ มื่อเรยี นจบบทเรยี นแล้ว ให้นักเรยี นกลับมาตรวจสอบคาตอบอีกครั้งและแก้ไขให้ถูกต้อง ดังตวั อย่าง

ใชแ้ ว่นขยายสอ่ ง

⎯ สถาบนั ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบบั ปรับปรงุ เดือนกรกฎาคม 2562

คมู่ ือครูรายวิชาพืน้ ฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 | หน่วยท่ี 1 การเรียนรสู้ ่ิงต่าง ๆ รอบตัว 10

จาแนกตามชนิดของวัสดุซ่ึงจาแนกออกได้ 2 กลุ่ม คือ
1. สงิ่ ของทท่ี าจากผา้ 2. สงิ่ ของทีท่ าจากพลาสตกิ

ฉบบั ปรบั ปรงุ เดอื นกรกฎาคม 2562 สถาบนั สง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

11 คูม่ ือครูรายวชิ าพ้ืนฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 | หนว่ ยที่ 1 การเรียนรู้สง่ิ ต่าง ๆ รอบตัว

2
ทาจากพลาสติกเหมอื นกบั ไม้บรรทดั กล่องขา้ ว และกล่องดนิ สอ

1

ทาจากผ้าเหมือนกับเส้ือ กระโปรง และผา้ เช็ดตวั

⎯ สถาบนั สง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับปรบั ปรงุ เดอื นกรกฎาคม 2562

ค่มู ือครูรายวิชาพน้ื ฐานวทิ ยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 | หน่วยที่ 1 การเรียนรูส้ ง่ิ ต่าง ๆ รอบตัว 12










ฉบบั ปรับปรุง เดือนกรกฎาคม 2562 สถาบันสง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ⎯

13 คมู่ ือครูรายวชิ าพ้ืนฐานวิทยาศาสตร์ ป.2 เล่ม 1 | หน่วยท่ี 1 การเรียนร้สู ิ่งต่าง ๆ รอบตัว

เร่อื งที่ 1 ทกั ษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร์

ในเร่ืองนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เคร่ืองมือช่วยใน
การสังเกต และการจาแนกประเภทโดยระบุเกณฑ์ที่ใช้ในการจาแนก
สิ่งต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่ม ซ่ึงการสังเกตและการจาแนกประเภทเป็น
ทักษะหน่ึงของทกั ษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

จุดประสงคก์ ารเรียนรู้

1. ฝึกทักษะการสงั เกตโดยใชแ้ ว่นขยายเป็นเครื่องมือช่วยในการ
สังเกต

2. ฝกึ ทกั ษะการจาแนกประเภทของสิ่งต่าง ๆ โดยระบเุ กณฑ์ในการ
จาแนก

เวลา 6 ชวั่ โมง

วสั ดุ อุปกรณส์ าหรบั ทากจิ กรรม

ไรทะเล หรือไรแดง หรอื มด แว่นขยาย จานสี กล่องพลาสติกใส
หลอดหยด บัตรภาพส่งิ ต่าง ๆ แผน่ พลาสติกลูกฟูก เทปใส

(หมายเหตุ: การเลือกมดมาใช้ในกิจกรรม ควรใช้มดท่ีไม่มีพิษ เช่น มดดา
มดน้าตาล มดเหม็น มดละเอยี ด ครูควรนามดใส่ในกล่องพลาสติกใสขนาด
เล็กก่อนแจกให้นกั เรียน เพอ่ื ไมใ่ ห้นักเรียนสมั ผัสมดและป้องกนั มดกัด และ
นาไปปล่อยหลังการทากิจกรรม และควรสอบถามเร่ืองการแพ้มดของ
นกั เรียน ในกรณีมคี นท่แี พม้ ด ต้องไม่ใหส้ มั ผัสกบั มดเด็ดขาด)

ส่อื การเรยี นรแู้ ละแหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรยี น ป.2 เล่ม 1 หนา้ 4-9
2. แบบบันทึกกจิ กรรม ป.2 เล่ม 1 หนา้ 6-15

⎯ สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ฉบบั ปรบั ปรงุ เดือนกรกฎาคม 2562


Click to View FlipBook Version