The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ชีวประวัติและพระธรรมเทศนา พระสุจิณฺโณ หลวงปู่แหวน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-07-11 22:03:41

ชีวประวัติและพระธรรมเทศนา พระสุจิณฺโณ หลวงปู่แหวน

ชีวประวัติและพระธรรมเทศนา พระสุจิณฺโณ หลวงปู่แหวน

Keywords: ชีวประวัติและพระธรรมเทศนา พระสุจิณฺโณ หลวงปู่แหวน

ชีวประวัติและพระธรรมเทศนา

พระสุจณิ ฺโณ หลวงปูแ่ หวน

วดั ดอยแมป่ ง๋ั อำ� เภอพร้าว จังหวดั เชียงใหม่

อนสุ รณ์พพิ ธิ ภัณฑ์ฉันทกรานสุ รณ์
วัดปา่ อมั พโรปัญญาวนาราม ในพระสังฆราชปู ถมั ภ์
สมเดจ็ พระอรยิ วงศาคตญาณ (อมพฺ รมหาเถร) สมเดจ็ พระสงั ฆราช สกลมหาสงั ฆปรณิ ายก

ชวี ประวัตแิ ละพระธรรมเทศนา

พระสุจิณโฺ ณ หลวงปแู่ หวน

เลขมาตรฐานหนงั สือ : ๙๗๘-๖๑๖-๔๔๐-๘๐๒-๙
พิมพค์ รั้งที่ ๑ : สิงหาคม ๒๕๖๐
จ�ำนวนพมิ พ์ : ๕,๐๐๐ เล่ม
จัดพมิ พโ์ ดย : มูลนธิ ิพทุ ธสมนุ ไพรคแู่ ผ่นดินไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์


สงวนลขิ สิทธ์ิ : ห้ามคดั ลอก ตัดตอน เปลี่ยนแปลง แกไ้ ข ปรบั ปรงุ
ขอ้ ความใดๆ ท้งั สน้ิ หรอื นำ� ไปพมิ พ์จำ� หนา่ ย
หากทา่ นใดประสงคจ์ ะพมิ พเ์ พ่ือให้เปน็ ธรรมทาน
โปรดตดิ ต่อขออนุญาตจากทางมูลนิธิพทุ ธสมนุ ไพรคู่แผน่ ดินไทย
ในพระบรมราชูปถมั ภ์ โทร. ๐๘๙-๑๗๒-๔๔๒๘

พมิ พ์ที่ : บรษิ ัท ศิลปส์ ยามบรรจุภัณฑแ์ ละการพมิ พ์ จำ� กดั
๖๑ ถนนเลยี บคลองภาษีเจรญิ ฝง่ั เหนือ ซ.เพชรเกษม​๖๙
แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
โทรศพั ท์ ๐­-­­๒๔๔๔-๓๓๕๑-๙ โทรสาร ๐-๒๔๔๔-๐๐๗๘
E-mail: [email protected] www.silpasiam.com

ค�ำปรารภ

เร่ืองการจัดท�ำหนังสือมรดกธรรมยอดโอวาทค�ำสอนของสมณะนักปราชญ์
วสิ ทุ ธเิ ทวา (พระปา่ ) จดั ทำ� ขน้ึ ๓๔ องค์ สมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ ระหวา่ งปี พทุ ธศกั ราช
๒๔๖๐-๒๕๕๔ โอวาทธรรมยอดแห่งค�ำสอนของวิสุทธิบุคคล ท่านแสดงบริสุทธิ์
สมบรู ณไ์ มว่ า่ ยคุ ใดสมยั ใด นำ� ผสู้ นใจพยายามตง้ั ใจปฏบิ ตั ติ าม ยอ่ มกา้ วลว่ งทกุ ขไ์ ปได้
สมความปรารถนา คณะปสาทะศรทั ธาเห็นควรจัดทำ� ข้ึนสงวนรกั ษาไว้ เพ่อื กุลบตุ ร
สุดท้ายภายหลังที่ พิพิธภัณฑ์ฉันทกรานุสรณ์ วัดป่าอัมพโรปัญญาวนาราม บ้าน
หนองกลางดอน ต�ำบลคลองกว่ิ อ�ำเภอบา้ นบึง จังหวดั ชลบุรี ผสู้ นใจกรณุ าเขา้ ไป
ศกึ ษาได้ตามโอกาส เวลาพอดี

ผฉู้ ลาดยึดหลักนักปราชญ์เปน็ แบบฉบับพาดำ� เนนิ ปกครองรกั ษาตน
คณะปสาทะศรทั ธา

ห้ามพิมพเ์ พือ่ จ�ำหนา่ ย สงวนลขิ สทิ ธ์ิ

สารบญั ๑

พระสุจิณโฺ ณ หลวงป่แู หวน ๑๙๓
๒๓๑
ชวี ประวัตแิ ละพระธรรมเทศนา พระสจุ ิณฺโณ หลวงปแู่ หวน
ชวี ประวตั ิ พระสจุ ิณฺโณ หลวงป่แู หวน
พระธรรมเทศนา พระสุจิณโฺ ณ หลวงปแู่ หวน
คตธิ รรม พระสจุ ณิ โฺ ณ หลวงปูแ่ หวน

พระสุจณิ โฺ ณ หลวงปแู่ หวน

วัดดอยแมป่ ัง๋ อ�ำ เภอพรา้ ว จังหวัดเชียงใหม่

พระสุจิณฺโณ หลวงปู่แหวน
พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดุลยเดช รชั กาลท่ี ๙

ชีวประวตั ิและพระธรรมเทศนา

พระสุจิณฺโณ หลวงปู่แหวน

1



ชวี ประวัติ

พระสจุ ณิ ฺโณ หลวงป่แู หวน

ชาติภูมิ

หลวงปแู่ หวน สจุ ณิ โฺ ณ มภี มู ลิ ำ� เนาเดมิ อยทู่ บี่ า้ นนาโปง่ ตำ� บลหนองใน ปจั จบุ นั
คอื ต�ำบลนาโปง่ อำ� เภอเมอื ง จังหวดั เลย เมือ่ ตอนเดก็ หลวงปมู่ ีช่ือว่า ยาน เกิดเมือ่
วนั ท่ี ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๐ ตรงกบั วนั จนั ทร์ ขึน้ ๓ ค่�ำ เดอื นย่ี ปกี นุ

บิดาชอ่ื นายใส รามสิริ ปแู่ ละย่าไม่ปรากฏชอ่ื
มารดาช่ือ นางแกว้ รามสริ ิ ยายชือ่ ยายขุนแก้ว ตาชอื่ ตาขุนแก้ว
อาชีพของบดิ ามารดาคือท�ำนา สบื เชอื้ สายมาจากชาวหลวงพระบาง อพยพมา
นานแลว้ หลายชวั่ คน อาชพี พเิ ศษอยา่ งหนงึ่ ของนายใส ผบู้ ดิ า คอื เปน็ ชา่ งตเี หลก็ มคี วาม
ช�ำนาญในการหลอมเหลก็ ตเี หลก็ มาก เปน็ ทเ่ี ลอื่ งลอื ของคนในถ่นิ นั้น
หลวงป่มู พี ีน่ อ้ งรว่ มบิดามารดาเดยี วกนั อยู่ ๒ คน คอื หลวงปู่ กบั พ่สี าวชื่อ
นางเบ็ง ราชอักษร

3

มารดาขอใหบ้ วชตลอดชวี ิต

เมื่อหลวงปู่อายุได้ประมาณ ๕ ขวบ โยมมารดาเริ่มป่วยกระเสาะกระแสะ
รกั ษาเยยี วยาโดยหมอพนื้ บา้ นตามทมี่ ใี นสมยั นนั้ อาการไมด่ ขี น้ึ มแี ตท่ รงกบั ทรดุ ลง
เรอื่ ยๆ แมโ้ ยมมารดามสี ขุ ภาพไมแ่ ขง็ แรง แตท่ า่ นกเ็ ปน็ คนใจบญุ สนุ ทาน ไหวพ้ ระทำ� บญุ
เปน็ ประจำ� โยมมารดารตู้ วั วา่ นางคงอยไู่ ดไ้ มน่ านจงึ เรยี กลกู ชายเขา้ ไปหา จบั มอื ลกู รกั
ไว้แน่น แล้วพดู เปน็ การสงั่ เสยี ว่า

“ลกู เอย๋ แมย่ นิ ดตี อ่ ลกู สมบตั ใิ ดๆ ในโลกนจี้ ะเปน็ กลี่ า้ นกโี่ กฏกิ ต็ าม แมไ่ มย่ นิ ดี
แมจ่ ะยนิ ดมี ากถา้ ลกู จะบวชใหแ้ ม่ เมอื่ ลกู บวชแลว้ กใ็ หต้ ายไปกบั ผา้ เหลอื ง ไมต่ อ้ งสกึ
ออกมามีลูกมเี มียนะ”

คำ� สั่งเสยี ของมารดาในคร้ังนน้ั เปน็ เสมอื นประกาศิตสวรรค์ทก่ี ำ� หนดแนวทาง
ดำ� เนนิ ชวี ติ ของหลวงปู่ ทา่ นจดจำ� ค�ำส่ังเสยี ของมารดาตรงึ แน่นอยใู่ นหวั ใจไม่เคยลืม
และคำ� สง่ั นเี้ ปน็ พลงั ใจใหห้ ลวงปสู่ ามารถฟนั ฝา่ อปุ สรรคตา่ งๆ ไดอ้ ยา่ งไมเ่ คยทอ้ ถอย
ส่งผลให้ท่านบรรลถุ งึ ธงชยั ในพระพุทธศาสนาได้อย่างนา่ เลื่อมใสศรทั ธาเปน็ ทยี่ ิง่

4

ความฝันของคณุ ยาย

หลงั จากสงั่ เสยี บตุ รชายไดไ้ มน่ าน โยมมารดาของหลวงปกู่ ถ็ งึ แกก่ รรม เดก็ ชาย
ยานและพ่ีสาวจึงอยู่ในความอปุ การะเล้ียงดขู องคณุ ยายต่อมา

คนื หนง่ึ คณุ ยาย (ชาวอสิ านเรยี กวา่ แมใ่ หญ)่ ของทา่ นไดฝ้ นั ไปวา่ เหน็ หลานชาย
ตวั นอ้ ยอยใู่ นดงขมนิ้ ผวิ กายแลดเู หลอื งอรา่ มไปหมด คณุ ยายเชอ่ื วา่ เปน็ ฝนั ดี ถอื เปน็
บุพนิมิตแสดงให้เห็นว่าหลานชายของท่านคงจะได้มีวาสนาอยู่ในสมณเพศตามท่ี
มารดาตอ้ งการ

ตน่ื เช้า คนุ ยายไดเ้ ลา่ ความฝนั ใหห้ ลานชายฟังว่า
“ยายฝันประหลาดมาก ฝนั เห็นเจ้าไปนง่ั อย่ใู นดงขมิ้น เนือ้ ตัวของเจา้ ดูเหลือง
อร่ามไปหมด เห็นแล้วน่ารักน่าเอ็นดูย่ิงนัก ยายเห็นว่าเจ้ามีอุปนิสัยวาสนาในทาง
บวชเรยี น ยายจงึ อยากใหเ้ จา้ บวชตลอดชวี ติ ไมต่ อ้ งสกึ ออกมามลี กู มเี มยี ตามทแ่ี มเ่ จา้
บอกไว้ เจา้ จะท�ำไดบ้ ่”
นบั เปน็ ประกาศติ ครง้ั ทสี่ อง เดก็ ชายยานไดร้ บั ปากตามคำ� ขอของยาย ทำ� ใหย้ าย
ปลาบปลม้ื ยินดเี ป็นอย่างย่งิ

5

ขอให้บวชพรอ้ มกับน้าชาย

เด็กชายยานมีเพื่อนเล่นอายุรุ่นราวคราวเดียวกันแต่มีศักด์ิเป็นน้าชาย ทั้งน้า
และหลานมคี วามใกลช้ ดิ สนทิ สนมกนั มาก วนั หนง่ึ คณุ ยายไดเ้ รยี กเดก็ ทง้ั คเู่ ขา้ ไปหา
แลว้ พดู อย่างเปน็ การเป็นงานวา่

“ยายอยากใหเ้ จ้าทัง้ สองบวชเป็นเณร เจา้ จะบวชใหย้ ายได้บ่ ครั้นบวชแลว้ กไ็ ม่
ตอ้ งสกึ เจา้ จะรบั ปากยายไดบ้ ”่ ฝา่ ยนา้ ชายตอบรบั ตามทย่ี ายตอ้ งการ แลว้ ยายจงึ ถาม
หลานชายอีกว่า “แลว้ เจา้ ละ่ จะว่าอย่างไร จะบวชใหย้ ายได้ไหม บวชแลว้ ไมต่ อ้ งสึก”

เดก็ ชายยานตอบยนื ยนั ตามทเี่ คยสญั ญาไวว้ า่ จะขอบวชจนตลอดชวี ติ ตามทแ่ี ม่
และยายต้องการ

6

สามเณรแหวน

คุณยายสุดแสนปลาบปล้ืมยินดี เมื่อหลานทั้งสองรับค�ำว่าจะบวชตลอดชีวิต
จึงได้จดั หาบรขิ ารส�ำหรบั บวชเณรจนไดค้ รบ

คณุ ยายนำ� หลานชายทง้ั สองไปถวายตวั ต่อพระอาจารยค์ ำ� มา ซึ่งมีศักดเิ์ ปน็ น้า
ของปู่ และเปน็ เจา้ อาวาสวดั โพธชิ์ ยั วดั ประจำ� หมบู่ า้ นนาโปง่ นนั้ เอง เพอ่ื ใหห้ ลานทง้ั สอง
ไดฝ้ กึ ขานนาคและเรยี นรธู้ รรมเนยี มการอยวู่ ดั เตรยี มตวั บรรพชาเปน็ สามเณรตอ่ ไป

ทงั้ นา้ ชายและเดก็ ชายยาน จงึ ไดบ้ รรพชาเปน็ สามเณรทว่ี ดั โพธชิ์ ยั แหง่ นนั้ ขณะนน้ั
อยู่ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ หลวงปู่มีอายไุ ด้ ๙ ปี

หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว เด็กชายยานได้รับการเปล่ียนชื่อใหม่เป็น
สามเณรแหวน ต้ังแตน่ ั้นเป็นต้นมา

7

เหตุสะเทอื นใจครัง้ ท่สี อง

หลงั จากเข้าพรรษาแรกไดป้ ระมาณสองเดอื น สามเณรท่ีมีศกั ด์ิเปน็ น้าชายเกิด
อาพาธสุดท่ีจะเยยี วยาได้ จึงมรณภาพในทส่ี ุด

การสญู เสยี ในครงั้ นน้ั ทำ� ใหส้ ามเณรแหวนสะเทอื นใจอกี ครงั้ หนง่ึ เพราะสามเณรนน้ั
เปน็ ทง้ั ญาติ เพอื่ นเลน่ และเปน็ คนู่ าคตอนบรรพชาดว้ ย เรยี กวา่ ใกลช้ ดิ สนทิ สนมกนั
มาต้งั แตเ่ กิด และไมเ่ คยแยกหา่ งจากกันเลย เป็นการสะเทือนใจคร้ังที่สองหลังจาก
สูญเสียโยมมารดามาเปน็ ครั้งแรก

คุณยายพยายามพูดปลอบใจสามเณร รวมทั้งพูดเตือนย�้ำค�ำขอร้องแต่เดิมวา่
“หลานจะบวชอยู่ในผา้ เหลอื งไปจนตายตามที่เคยรบั ปากแมก่ บั ยายไดไ้ หม”

สามเณรแหวนยังคงรบั ค�ำหนักแน่นเชน่ เดมิ

8

ส�ำนักเรียนมูลกจั จายน์

ในสมยั นนั้ อบุ ลราชธานเี ปน็ จงั หวดั ทมี่ กี ารศกึ ษามลู กจั จายนก์ นั อยา่ งแพรห่ ลาย
มสี ำ� นกั เรยี นท่มี ีชอื่ เสยี งหลายแหง่ ถือเป็นแหล่งผลิตครูอาจารยท์ างพระพทุ ธศาสนา
อยา่ งเป็นหลกั เป็นฐาน

สำ� นกั เรยี นทม่ี ชี อ่ื เสยี งมากและมนี กั เรยี นจำ� นวนมาก ไดแ้ ก่ สำ� นกั เรยี นเวฬวุ นั
สำ� นักเรียนบา้ นไผ่ใหญ่ สำ� นกั เรยี นบ้านเค็งใหญ่ ส�ำนักเรยี นบา้ นหนองหลกั และ
ส�ำนักเรียนบ้านสร้างถ่อ พระเณรทั่วภาคอีสานที่ใฝ่ต่อการศึกษาต่างเดินทางมายัง
ส�ำนักเรยี นเหล่าน้ี

การเรียนมูลกัจจายน์เป็นการเรียนท่ียาก ผู้เรียนต้องมีสมองดีและมีความ
พยายามสูง ผู้ท่ีสามารถเรียนจบหลักสูตร จะได้รับการยกย่องจากคนท่ัวไปว่าเป็น
นักปราชญ์ มีความแตกฉานในธรรมะและในภาษาบาลี สามารถแปลธรรมะได้ทุก
ประเภท

ตอ่ มาภายหลงั สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชริ ญาณวโรรสฯ ทรงเหน็ วา่
การเรยี นมลู กจั จายนน์ น้ั ยากเกนิ ไป มผี เู้ รยี นจบหลกั สตู รนอ้ ย และตอ้ งเสยี เวลานาน
เกนิ ความจำ� เปน็ จงึ ทรงปรบั ปรงุ เปลยี่ นแปลงหลกั สตู รการเรยี นเสยี ใหม่ จนไดก้ ลาย
มาเปน็ หลักสตู รของการศึกษาฝา่ ยคณะสงฆ์มาจนปัจจุบนั

นบั แตน่ นั้ เปน็ ต้นมา การเรียนมูลกัจจายน์จงึ ได้ถกู ลมื ไปจากวงการศกึ ษาของ
คณะสงฆ์ตราบจนทกุ วันนี้

9

ฝากตวั กับพระอาจารย์สิงห์

เหตกุ ารณอ์ ยใู่ นปี พ.ศ. ๒๔๔๕ พระอาจารยอ์ ว้ น ผเู้ ปน็ หลวงอา ไดพ้ าสามเณรแหวน
เดนิ ทางรอนแรมไปยงั จงั หวดั อบุ ลราชธานี โดยนำ� ไปฝากกบั พระอาจารยส์ งิ ห์ ขนตฺ ยาคโม
ศษิ ยเ์ อกสำ� คญั สงู สดุ องคห์ นง่ึ ของหลวงปมู่ น่ั ภรู ทิ ตโฺ ต พระอาจารยใ์ หญฝ่ า่ ยวปิ สั สนา
กรรมฐาน

ในสมยั นน้ั ทา่ นพระอาจารยส์ งิ หย์ งั ไมไ่ ดเ้ ขา้ มาเปน็ ศษิ ยข์ องหลวงปมู่ นั่ ทา่ นยงั
เปน็ อาจารย์สอนปรยิ ตั ิอยู่ท่สี ำ� นกั เรยี นวดั บา้ นสรา้ งถ่อ อำ� เภอเกษมสมี า (ภายหลงั
เปลีย่ นเป็นอ�ำเภอมว่ งสามสิบ) จงั หวดั อุบลราชธานี

ชว่ งนนั้ เปน็ เวลาเยน็ พระอาจารยส์ งิ หก์ ำ� ลงั จะสรงนำ�้ พอดี เหลอื บไปเหน็ พระภกิ ษุ
กบั สามเณรนอ้ ยเดนิ มงุ่ ตรงเขา้ มาทว่ี ดั ไดเ้ หน็ นมิ ติ ปรากฏทร่ี า่ งสามเณรเปน็ แสงโอภาส
คลา้ ยรศั มขี องผมู้ บี ญุ ญาภนิ หิ าร กร็ สู้ กึ ประหลาดใจ พระอาจารยส์ งิ หล์ ว่ งรดู้ ว้ ยอำ� นาจ
ญาณทนั ทวี า่ สามเณรนอ้ ยรปู นเี้ ปน็ ผมู้ บี ญุ บารมมี าเกดิ ทา่ นจงึ เปลยี่ นใจไมไ่ ปอาบนำ้�
รีบควา้ จวี รมานุ่งหม่ ให้เรียบร้อย แลว้ นั่งรอบนกุฏิ

พระอาจารยอ์ ว้ นนำ� สามเณรขนึ้ มากราบพระอาจารยส์ งิ ห์ แนะนำ� ตนเองวา่ มาจาก
เมอื งเลยอันไกลโพ้น และเป็นอาของสามเณร เดิมสามเณรชอ่ื ยาน พอบวชเป็นเณร
แลว้ เปลย่ี นช่ือเปน็ แหวน

10

“ออ้ ชอ่ื สามเณรแหวนร”ึ พระอาจารยส์ งิ หก์ ลา่ วดว้ ยความชน่ื ชม “ชอื่ แหวนนด้ี ี
แหวนเปน็ เครอื่ งประดบั กายของมนษุ ยจ์ งึ เปน็ ของสำ� คญั เปรยี บไดก้ บั สตปิ ญั ญาของเรา
ที่จะมาเสริมแตง่ ตัวเราใหร้ ุ่งเรอื งเปร่ืองปราดต่อไปในอนาคต”

ตอ่ จากนนั้ พระอาจารยส์ งิ หก์ ไ็ ดซ้ กั ถามเรอื่ งราวของสามเณร แลว้ พระอาจารยอ์ ว้ น
ไดแ้ จง้ ความประสงคว์ า่ ตอ้ งการนำ� สามเณรมาฝากเพอ่ื ขอศกึ ษาบาลธี รรม ดว้ ยวา่ สำ� นกั
แห่งนี้มชี อ่ื เสยี งโดง่ ดัง มพี ระเณรจากหวั เมืองตา่ งๆ ในอิสานเดินทางมาฝากตัวเป็น
ลูกศิษย์ลกู หามากมาย

พระอาจารย์สิงห์ทราบความประสงค์แล้วก็มีความยินดี มองพินิจพิจารณา
สามเณรนอ้ ย รปู รา่ งผวิ พรรณเกลยี้ งเกลาสะอาด นยั นต์ าสกุ ใสบรสิ ทุ ธ์ิ ทา่ ทางสำ� รวม
มีสง่าราศีอย่างประหลาด

นแ่ี หละ ชา้ งเผอื กแก้วเกดิ ในป่าแนแ่ ล้ว
จากน้นั จงึ พาสามเณรไปท่กี ุฏิพระอาจารย์หลี เจา้ อาวาส แนะน�ำใหร้ ้จู ักไว้ตาม
ธรรมเนียม พระอาจารย์หลียนิ ดอี นญุ าตใหพ้ ระอาจารยส์ ิงห์รบั สามเณรไวศ้ กึ ษาใน
สำ� นกั ไดต้ ามปรารถนา
ขณะนนั้ มพี ระเณรเรยี นอยใู่ นสำ� นกั วดั สรา้ งถอ่ หวั ตะพาน ซง่ึ มพี ระอาจารยส์ งิ ห์
ขนตฺ ยาคโม เปน็ พระอาจารยใ์ หญส่ อนอยปู่ ระมาณ ๗๐ รปู ตอนนนั้ พระอาจารยส์ งิ ห์
ยงั เปน็ พระมหานิกาย ยงั ไม่ไดป้ วารณาเป็นศษิ ยก์ รรมฐานของพระอาจารย์ใหญม่ ัน่
ภูรทิ ตโฺ ต

11

เพื่อนรว่ มเรยี นและครผู ู้สอน

เพอ่ื นพระเณรทเี่ รยี นมลู กจั จายนด์ ว้ ยกนั กบั หลวงปตู่ ามทท่ี า่ นเลา่ กม็ ี พระเฮยี ง
กบั พระเหลา ภายหลงั เพอ่ื นทง้ั สองไดพ้ ากนั ลาสิกขาไปหมด

สำ� หรบั ครูผู้สอนทหี่ ลวงปู่เคยพูดถงึ มีดังน้ี
พระอาจารยเ์ อ่ยี ม วัดเวฬวุ นั บา้ นไผ่ใหญ่ สอนวิชามลู กจั จายน์
พระอาจารยช์ ม เปน็ พระทใี่ จเยน็ เวลาสอนหนงั สอื กใ็ จเยน็ ลกู ศษิ ยช์ อบทา่ นมาก
พระอาจารยช์ าลี เวลาสอนหนงั สอื จะดมุ าก แตแ่ ปลหนงั สอื ไดพ้ สิ ดาร เพราะเคย
ลงไปศึกษาอยู่กรงุ เทพฯ นานถึง ๑๐ ปี
พระอาจารย์อ้วน สอนไวยากรณ์ สอนแปล โดยยึดพระปาฏิโมกข์เป็นพ้ืน
หดั แปลกนั จนคลอ่ งแคลว่ ขน้ึ ใจ
หลวงปู่เล่าวา่ ทา่ นเองไม่เคยท่องปาฏิโมกข์ แตท่ า่ นสามารถยกสกิ ขาบทข้ึนมา
แปลไดอ้ ย่างคล่องแคล่วโดยไมต่ ดิ ขัดเลย
สำ� หรบั หลวงปสู่ งิ ห์ ขนตฺ ยาคโม ในขณะนน้ั ทา่ นเปน็ ครสู อนปรยิ ตั ธิ รรมในฝา่ ย
มหานิกายอยู่ ทา่ นมภี าระยุ่งอยู่กบั การค้นคว้าตำ� รบั ตำ� ราคมั ภีร์ตา่ งๆ เพื่อเตรยี มไว้
สอนลกู ศษิ ย์ จงึ หาเวลาวา่ งทจี่ ะอบรมกรรมฐานใหไ้ มไ่ ด้ หลวงปสู่ งิ หไ์ ดแ้ ตเ่ พยี งแนะนำ�
หลกั กวา้ งๆ อนั เปน็ พน้ื ฐานในการทำ� สมาธภิ าวนาเทา่ นนั้ ซง่ึ หลวงปแู่ หวนทา่ นใหค้ วาม
สนใจมาก แต่ยังไมม่ ีโอกาสที่จะปฏบิ ตั ิอยา่ งจริงจงั

12

ความเห็นพระอาจารยส์ ิงห์

พระอาจารย์สิงห์ท่านมีความคิดเห็นว่า ธรรมะของพระพุทธองค์ที่ทรงค้นพบ
ส่ังสอนให้คนเราหลุดพ้นจากวัฏสังสารทุกข์ คือความเวียนว่ายตายเกิด เพ่ือไปสู่
พระนพิ พาน คอื ความดบั สนิท พระสงฆ์ผสู้ บื ศาสโนวาทของพระพุทธเจา้ พึงปฏิบัติ
ดว้ ย กาย วาจา ใจ ใหบ้ รรลตุ ามเปา้ หมายของพระพทุ ธองคท์ ที่ รงวางหลกั บญั ญตั ไิ วน้ ้ี

ในขณะเดียวกันก็จะต้องไม่ลืมความจริงในข้อที่ว่า มนุษย์โดยมากคือคนเรา
ทุกวันน้ี ยังไม่สามารถจะไปนิพพานกันได้ง่ายๆ ต่างก็ด�ำเนินชีวิตอยู่เป็นหมู่คณะ
มชี มุ ชนเปน็ หมบู่ ้าน เป็นเมือง เป็นประเทศชาติ ต้องทำ� มาหาเลีย้ งปากเล้ียงท้องดว้ ย
ความเหนอื่ ยยาก มโี ลภ มโี กรธ มหี ลง ดงั นน้ั ชาวบา้ นทง้ั หลายจงึ เหน็ พระสงฆอ์ งคเ์ จา้
คือผู้ที่ปลดเปลื้องทุกข์ให้พวกเขาไปเสียแทบทุกอย่าง เห็นพระเป็นครูบาอาจารย์
เป็นหมอยา เป็นตุลาการตดั สนิ ปัญหาของชาวบ้าน และเป็นอะไรต่อมิอะไรทีจ่ ะต้อง
ชว่ ยชาวบา้ นแกป้ ญั หารอ้ ยแปด ซง่ึ พระกต็ อ้ งจำ� ใจอนโุ ลมตามเพอ่ื ชว่ ยเหลอื ญาตโิ ยม
ชาวบา้ นไปตามมตี ามเกดิ เพราะถา้ ไมช่ ว่ ยแลว้ ชาวบา้ นกจ็ ะกลา่ วหาเอาไดว้ า่ พระสงฆ์
องค์เจา้ ไมเ่ หน็ มปี ระโยชนอ์ ะไร ชว่ ยเหลือชาวบา้ นก็ไมไ่ ด้ ดังน้ัน พระจึงจ�ำเปน็ ตอ้ ง
เรยี นรเู้ วทมนตรค์ าถา เอาทางไสยศาสตรม์ าประยกุ ตใ์ ชเ้ พอ่ื อำ� นวยประโยชนใ์ หช้ าวบา้ น
ตามสมควรแก่กรณี แตอ่ ย่าสอนให้ชาวบ้านงมงายหลงใหลในไสยศาสตรจ์ นเกินไป
กแ็ ล้วกนั

ส่ิงใดมีประโยชน์บางอย่างทางไสยเวทวิทยาคม เราต้องยอมรับเอาไว้ใช้ใน
พระพทุ ธศาสนาบา้ ง ไมค่ วรจะเหยยี ดหยามสง่ิ ทม่ี คี ณุ คา่ ของลทั ธอิ นื่ ๆ โดยไมอ่ ยากจะ
เอาความรดู้ ๆี ของคนอื่นมาใชอ้ �ำนวยประโยชนด์ ้วย

13

ด้วยเหตนุ ้เี อง พระอาจารยส์ ิงห์ซึ่งเปน็ พระคณาจารย์ทีม่ ีชอ่ื เสยี งทางธรรมบาลี
อกั ขรสมัย และไสยเวทวิทยาคมในสมยั นนั้ จงึ ไดถ้ ่ายทอดวชิ าไสยเวท อำ� นาจจิต
ใหพ้ ระเณรลกู ศิษยท์ ส่ี นใจในทางนี้ ควบคู่ไปกับบาลีธรรมด้วย เพอ่ื ที่พระเณรจะได้
นำ� ไปสงเคราะหช์ าวบา้ นปา่ เมอื งดงชนบททห่ี า่ งไกลความเจรญิ ทไี่ ดร้ บั ทกุ ขภยั เจบ็ ไข้
ไดป้ ว่ ยดว้ ยโรครา้ ยนานา

บ้างก็ถูกคุณไสยต้องอาถรรพ์ บ้างก็ถูกสัตว์ร้ายขบกัด บ้างก็ต้องอุบัติเหตุ
กระดูกหักรักษาไม่หาย พระก็ต้องใช้เวทมนตร์คาถาประสานกระดูกให้ บ้างก็ปัด
รงั ควาน และสะเดาะกมุ ารตายในครรภ์ ฯลฯ ซง่ึ แพทยส์ มยั ใหมไ่ มส่ ามารถจะเดนิ ทาง
เข้าไปเยยี วยารักษาใหไ้ ด้ เพราะอยู่ห่างไกล

“เป็นวิชาพิเศษที่พระเณรจะต้องเรียนรู้ไว้นะ เพราะพระเณรและวัดเป็นที่พ่ึง
ทางกายทางใจของชาวบ้าน ถ้าชาวบ้านเขามาขอความช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยแล้วเรา
ช่วยเหลือเขาไม่ได้ ชาวบ้านก็จะกล่าวหาเอาได้ว่า พระเณรบวชเรียนแล้วไม่เห็นท�ำ
ประโยชน์อะไรให้ชาวบา้ นได้ บวชเปลอื งผา้ เหลอื ง เปลอื งขา้ วสกุ ชาวบ้านไปเปล่าๆ
เอาสบายแต่ตวั เอง”

พระอาจารยส์ ิงห์กล่าวท�ำนองนีก้ บั สามเณรแหวน ผเู้ ป็นศษิ ยด์ ้วยความเมตตา
เอน็ ดู

14

อยา่ หลงใหลไสยศาสตร์

สามเณรแหวนมีความสนใจใคร่ในศาสตร์ลึกลับมหัศจรรย์ในพระศาสนาตาม
ทพ่ี ระอาจารยส์ งิ หแ์ นะนำ� พระอาจารยก์ เ็ ลง็ เหน็ นสิ ยั ใจคออนั บรสิ ทุ ธข์ิ องสามเณรอยู่
แลว้ วา่ มคี วามเหมาะสมทคี่ วรจะไดร้ บั วชิ าพเิ ศษน้ี จงึ ไดถ้ า่ ยถอดประสทิ ธปิ์ ระสาทให้
จนสน้ิ ตำ� ราเลยทีเดียว แต่กไ็ ด้ก�ำชับวา่

“วชิ าไสยเวทวทิ ยาคมนี้ เปน็ เพยี งโลกยี วชิ าเทา่ นน้ั ไมใ่ ชว่ ชิ าประเสรฐิ ใหเ้ รยี นรู้
ไวด้ ้วยใจมน่ั เพยี งเพื่อเอาไวส้ งเคราะหช์ าวบา้ นเทา่ น้ันนะ แตเ่ ม่ือสามเณรออกธุดงค์
กรรมฐานเมอ่ื ไร ขอใหป้ ลอ่ ยวางวชิ าไสยเวทนเ้ี สยี อยา่ ยดึ มน่ั ถอื มน่ั อยา่ ตดิ ใจหลงใหล
ว่าเป็นวิชาประเสริฐเพราะเป็นเพียงโลกียวิชาเท่านั้น เป็นวิชาที่ขัดขวางโลกุตรธรรม
ขัดขวางมรรค ผล นิพพาน”

สามเณรแหวนรับค�ำสอนของพระอาจารย์สิงหท์ ุกประการ
พระอาจารยส์ งิ ห์กล่าวตอ่ ไปวา่ “ธรรมดาพระเณรท่ีบ�ำเพญ็ เพยี รด้านกรรมฐาน
จนบรรลุธรรมแก่กล้า ไดฌ้ านสมาบตั ิ ไดว้ ิโมกข์ ไดอ้ ภิญญาจติ ข้อใดขอ้ หนงึ่ แล้ว
ถา้ คิดจะสงเคราะหช์ าวบ้านเมือ่ ไร ไม่จำ� เป็นต้องใช้เวทมนตรค์ าถาเลย เพยี งแต่นึก
อธษิ ฐานจติ ขอบารมพี ระพุทธคณุ พระธรรมคณุ พระสงั ฆคุณ ให้ช่วยขจดั ปดั เปา่
ปญั หาน้ันๆ กจ็ ะสำ� เรจ็ ประโยชนใ์ นพรบิ ตาเปน็ ท่นี า่ อศั จรรย”์
ด้วยเหตุนี้เอง สามเณรแหวนจึงเปน็ ผู้รอบรทู้ างไสยเวทวทิ ยาคมอกี แขนงหนง่ึ
ควบคู่ไปกับการเรียนบาลีธรรมต้ังแต่เยาว์วัย เม่ือมีญาติโยมมาขอรดน้�ำมนต์
สะเดาะเคราะหจ์ ากพระอาจารยส์ งิ หท์ ว่ี ดั พระอาจารยม์ กั จะใหส้ ามเณรแหวนทำ� หนา้ ที่
รดน้ำ� มนตแ์ ทนทา่ นอยเู่ สมอ เป็นการทดสอบวชิ าความสามารถของลกู ศษิ ยไ์ ปดว้ ย

15

อปุ นิสยั ของสามเณรแหวน

ปฏปิ ทาจรยิ าวตั รของสามเณรแหวน จดั เปน็ ผถู้ อื เครง่ ในพระธรรมวนิ ยั พดู นอ้ ย
ชอบใช้ความคิด เงียบขรมึ รกั สงบ ชอบอยใู่ นที่สงัดวิเวก ไม่ชอบรว่ มคลุกคลกี ับ
หมคู่ ณะ มักจะหาโอกาสแยกตนออกไปน่งั ในท่สี งดั นอกวดั เสมอ เป็นตน้ ว่า ตามใต้
ร่มไม้ ในทุ่ง ตามปา่ ชา้ โคนตน้ ไม้

บางวันภายหลังจากเรยี นบาลีธรรมกับพระอาจารยแ์ ล้ว สามเณรแหวนจะออก
จากวัดเขา้ ไปนงั่ สงบอยูใ่ นป่าชา้ แตล่ �ำพงั โดดเดีย่ วตลอดท้ังคนื จนพระอาจารยส์ งิ ห์
ออกปากกบั พระอาจารยห์ ลี เจา้ อาวาส วา่ “สามเณรนอ้ ยนกี้ ลา้ หาญมาก มจี ติ ใจองอาจ
ไมก่ ลวั อะไรเลย เปน็ มหานกิ ายทถ่ี อื เครง่ เหมอื นธรรมยตุ อาหารกฉ็ นั มอื้ เดยี ว ไมส่ นใจ
อาหารประเภทเนือ้ เลย”

สามเณรแหวนต่ืนนอนประมาณตีสามตีส่ีเป็นประจ�ำ ถ้าคืนไหนไม่ได้ออกไป
นงั่ สมาธใิ นปา่ ชา้ จะลงจากกฏุ ไิ ปเดนิ จงกรมประมาณ ๑ ชวั่ โมง แลว้ กลบั ขนึ้ กฏุ นิ ง่ั สมาธิ
ให้จิตใจสงบตามหลักสมถกรรมฐานจนสว่าง แล้วจึงออกจากสมาธิไปท�ำกิจวัตร
ประจ�ำวนั ต่อไป

ปฏิปทาจริยาวัตรของสามเณรแหวนนี้นา่ รักน่าเล่อื มใส เปน็ ท่ีชน่ื ชมเมตตาของ
พระอาจารย์สิงห์ และพระอาจารย์หลี ผู้เป็นครบู าอาจารย์ย่ิงนัก

16

เหน็ แจ้งโดยธรรมชาติ

หลังจากฉันอาหารเช้าวันหน่ึง พระอาจารย์สิงห์ได้ถามสามเณรแหวนว่า
“ชอบกรรมฐานมากหรอื จวั นอ้ ย” (จวั เปน็ ค�ำอสิ านใชเ้ รียกสามเณร)

สามเณรแหวนพนมมอื ตอบนอบนอ้ มวา่ “กระผมชอบความเงยี บสงดั ชอบพจิ ารณา
ต้นไมใ้ บหญ้า แล้วคดิ เปรียบเทยี บกับชวี ติ มนษุ ย์และสัตว์ แลว้ เหน็ ว่าธรรมชาตกิ ับ
ใบไมใ้ บหญา้ นคี้ ลา้ ยชวี ติ คนเรา มเี กดิ มดี บั หาความเทยี่ งแทแ้ นน่ อนไมไ่ ดเ้ ลย ยงิ่ คดิ
ยง่ิ พจิ ารณากม็ คี วามเพลดิ เพลนิ เจรญิ ใจ เกดิ สตปิ ญั ญาแปลกๆ ผดุ ขนึ้ มาใหค้ ดิ ใหข้ บ
เหมือนน้�ำไหลรนิ ไม่ขาดสาย”

พระอาจารย์สิงห์ฟังแล้วเห็นอัศจรรย์อุทานในใจว่า เณรน้อยรูปนี้มีอารมณ์
วปิ สั สนา ทง้ั ๆ ทเ่ี รายงั ไมท่ นั ไดส้ อนเลย เปน็ ปญั ญาเหน็ แจง้ ซง่ึ สภาวธรรมโดยธรรมชาติ
คือเหน็ ชาติ ชรา มรณะ ผูเ้ ห็นแจง้ อย่างนเ้ี รยี กวา่ เริม่ มองเหน็ มรรค ผล นิพพาน
ได้รำ� ไรแล้ว

พระอาจารย์สงิ หร์ ู้สกึ ยนิ ดี กลา่ วกับสามเณรแหวนว่า “จวั น้อยปฏิบตั ชิ อบแล้ว
ถกู ทางแลว้ การปฏบิ ตั ธิ รรม ถา้ เราไดอ้ ยใู่ กลช้ ดิ กบั ธรรมชาตยิ อ่ มจะเปลย่ี นจติ ใจเรา
ใหไ้ ปอยใู่ นลกั ษณะทจ่ี ะเขา้ ถงึ ธรรมชาติ รจู้ กั ความจรงิ ตามธรรมชาติ การเขา้ ถงึ ธรรม
กง็ า่ ยเขา้ เปรยี บเหมอื นตน้ ไมใ้ นภาพเขยี น ยอ่ มจะไมเ่ หมอื นกบั ตน้ ไมจ้ รงิ ๆ ในปา่ ฉนั ใด
ปรยิ ตั กิ ับการปฏบิ ตั ิกฉ็ นั นนั้ ปริยตั ิเปรยี บไดก้ ับตน้ ไมใ้ นภาพเขยี น ส่วนการปฏิบัติ
เปรียบเหมอื นตน้ ไม้ในปา่ จริงๆ

17

พระพทุ ธเจ้าท่านประสตู ทิ า่ มกลางธรรมชาติ กลางดนิ โคนตน้ ไม้ ทา่ นตรัสรู้
ทพ่ี ้นื ดินที่โคนตน้ ไม้แห่งหน่ึง ทา่ นปรินพิ พานท่ีใต้ต้นไมก้ ลางพ้นื ดนิ ระหวา่ งโคนไม้
สองตน้ ในสวนป่าอทุ ยานแหง่ หน่ึง ธรรมชาติน้แี หละช่วยให้คนเรามจี ิตใจสงบ เมอ่ื มี
จิตใจสงบแล้ว การศึกษาไม่วา่ จะเปน็ ทางธรรมหรอื ทางใดก็บรรลผุ ลไดด้ ยี ิง่ ขึ้น”

สามเณรแหวนไดส้ ดบั อรรถธรรมทพ่ี ระอาจารยส์ งิ หเ์ ทศนโ์ ปรดแลว้ กใ็ หม้ คี วาม
อม่ิ เอบิ ชน่ื บานใจ มน่ั ใจในหนทางทต่ี นดำ� เนนิ ยง่ิ ขนึ้ เหน็ วา่ การทไ่ี ดบ้ วชเรยี น สละความ
สุขทางโลกนเ้ี ป็นการดำ� เนินทถ่ี กู ทางแลว้ มองเห็นทางวิมตุ ตสิ ขุ หรือความหลดุ พ้น
สำ� หรบั ผเู้ ดนิ ตามรอยพระพทุ ธองคไ์ ดร้ ำ� ไรอยไู่ กลโพน้ หากวาสนาบารมคี ำ�้ ชู เราคงจะ
ได้พบกับวิมุตติสขุ ในวันขา้ งหนา้ อยา่ งแม่นมัน่

นแ่ี สดงใหเ้ หน็ วา่ หลวงปแู่ หวนทา่ นเกดิ มาเพอื่ ทจ่ี ะเปน็ สมณะนกั บวชผแู้ สวงบญุ
ตามรอยบาทพระพทุ ธเจา้ โดยแท้ มมี โนปณธิ านแนว่ แนต่ อ่ การปฏบิ ตั ธิ รรม นา่ สรรเสรญิ

18

พธิ เี ข้าอปุ สมบท

ขณะที่หลวงปู่แหวนก�ำลังเรียนหนังสืออยู่ท่ีจังหวัดอุบลราชธานีนั้น อายุท่าน
ครบบวช คือมอี ายุ ๒๐ ปีบรบิ รู ณ์ ทา่ นจงึ ได้อุปสมบทในพัทธสมี าวัดบา้ นสร้างถอ่
ทท่ี ่านพ�ำนักอยนู่ น้ั เอง

หลวงปบู่ วชในคณะมหานกิ าย มพี ระอาจารย์แวน่ เป็นพระอุปชั ฌาย์ สว่ นพระ
กรรมวาจาจารย์ และพระอนสุ าวนาจารย์ น้ันไมท่ ราบช่ือ

ตอนหลงั หลวงปไู่ ดอ้ อกธดุ งคไ์ ปคกู่ บั หลวงปตู่ อ้ื อจลธมโฺ ม อยหู่ ลายปี เทยี่ วไป
ตามป่าเขาล�ำเนาไพรทั้งในประเทศและต่างประเทศ และได้แปรญัตติเป็นพระฝ่าย
ธรรมยตุ กิ นกิ าย ทวี่ ดั เจดยี ห์ ลวง จงั หวดั เชยี งใหม่ ซง่ึ จะไดก้ ลา่ วถงึ โดยละเอยี ดตอ่ ไป

19

ทำ� อยา่ งไรจึงจะบวชได้ตลอด

หลวงปไู่ ดย้ อ้ นระลกึ ไปถงึ ความตง้ั ใจทไี่ ดร้ บั ปากไวก้ บั แมแ่ ละยายวา่ จะบวชไป
จนตายกบั ผา้ เหลอื ง ทา่ นใครค่ รวญในใจวา่ มที างใดบา้ งทจี่ ะทำ� ใหเ้ ราบวชแลว้ อยไู่ ด้
ตลอดไปจนตายกบั ผา้ เหลอื ง ตามที่รับคำ� ไว้กบั แมแ่ ละยาย

จากการท่ีหลวงปู่ได้รับรู้ถึงแนวทางปฏิบัติกรรมฐานมาบ้างจากหลวงปู่สิงห์
ขนฺตยาคโม ท่านจึงตัดสนิ ใจไดว้ ่า

การออกปฏบิ ตั ิ นา่ จะเปน็ ทางเดยี วทท่ี ำ� ใหเ้ ราบวชอยไู่ ดน้ านตลอดชวี ติ เหมอื น
ครบู าอาจารย์สายกรรมฐานทีไ่ ด้ปฏบิ ตั ิกนั มา ทา่ นเหลา่ น้นั ไดอ้ อกปฏบิ ตั กิ นั อยู่ตาม
ปา่ เขาล�ำเนาไพร ไม่ไดอ้ าลยั อาวรณอ์ ยู่กับหมูค่ ณะ เราน่าจะเลือกหนทางน้ี

20

พระอาจารย์สงิ ห์ตดิ ตามหลวงปูม่ ัน่

ยอ้ นกลบั ไปกลา่ วถงึ พระอาจารยส์ งิ ห์ ขนตฺ ยาคโม ทา่ นไดเ้ ลกิ สอนบาลธี รรมท่ี
วดั สร้างถ่อ เพราะทางหลวงปเู่ สาร์ กนตฺ สโี ล (พระอาจารยข์ องหลวงปู่ม่นั ) ได้นมิ นต์
ใหพ้ ระอาจารยส์ งิ หเ์ ขา้ ไปอยวู่ ดั เลยี บในเมอื งอบุ ลฯ เพอ่ื ใหช้ ว่ ยสอนบาลธี รรมพระเณร
ซง่ึ เพมิ่ จำ� นวนมากขน้ึ ทกุ วนั จนครไู มพ่ อสอน ทว่ี ดั เลยี บนเ้ี อง พระอาจารยส์ งิ หไ์ ดพ้ บ
กบั หลวงปมู่ ั่น ภรู ทิ ตฺโต เปน็ ครงั้ แรก ซึง่ หลวงปมู่ น่ั ได้กลับจากธดุ งคฝ์ ั่งลาวมาเยี่ยม
พระอาจารยใ์ หญ่เสาร์ กนฺตสโี ล

พระอาจารยส์ งิ หไ์ ดย้ นิ ไดฟ้ งั กติ ตศิ พั ทข์ องหลวงปมู่ นั่ มานานแลว้ วา่ ทา่ นเปน็ พระ
มกั น้อย ถือเครง่ ในธรรมวินยั อย่างย่ิงยวด มงุ่ บำ� เพ็ญเพยี รเพ่ือแสวงหาทางหลดุ พน้
อย่างเด็ดเดีย่ วกล้าหาญ ดจุ ราชสหี ์ท่องเท่ียวไปในป่ากว้างไม่เกรงกลัวอนั ตรายใดๆ

พระอาจารยส์ งิ หเ์ มอื่ พบกบั หลวงปมู่ น่ั ไดเ้ สพเสวนาธรรมกนั เปน็ ทสี่ บอธั ยาศยั
กนั อยา่ งลกึ ซงึ้ เพราะทางฝา่ ยหลวงปมู่ นั่ เกง่ ทางภาคปฏบิ ตั ิ สว่ นพระอาจารยส์ งิ หเ์ กง่ ทาง
ปรยิ ตั ิ แตกฉานในทางตำ� ราเรยี น รพู้ ระสตู ร พระวนิ ยั พระอภธิ รรม อยา่ งเจนจบ ถา้ เปรยี บ
ไปแลว้ ก็เหมอื นกับพระอาจารย์สงิ ห์เก่งทางต�ำรา เหมอื นเราเรยี นตำ� ราอาหาร ตำ� รา
แผนที่ ตำ� รายา เปน็ ตน้ ฝา่ ยหลวงปมู่ นั่ นน้ั ไดล้ งมอื ทำ� ตามตำ� ราอยา่ งจรงิ จงั เปรยี บได้
กบั การเดนิ ทางตามแผนที่ หรอื เหมอื นการลงมอื ปรงุ ยาตามตำ� ราแลว้ รบั ประทานไดเ้ ลย
จึงเล่อื มใส

21

ความจริงน้ันก่อนหน้าน้ี พระอาจารย์สิงห์เคยปฏิบัติกรรมฐานได้ฌานสมาธิ
มาแลว้ แตย่ งั ไมแ่ กก่ ลา้ ชำ� ระอนิ ทรยี ส์ มใจหวงั เพราะยงั ขาดพระอาจารยผ์ ชู้ ำ� นาญชว่ ย
แนะน�ำช้ีแนวทาง ดังนั้น เม่ือได้พบหลวงปู่มั่นผู้ช�ำนาญเปร่ืองปราดในด้านสมถะ
และวปิ ัสสนากรรมฐาน ไดฟ้ ังทา่ นเลา่ ถงึ ชีวติ การจาริกธุดงค์ไปตามปา่ เขาล�ำเนาไพร
ถ่ินลึกลับอาถรรพ์ต่างๆ จึงเกิดความต่ืนเต้นจรัสจรุงใจเลื่อมใสศรัทธาจนขนลุก
ขนชันทเี ดียว ไดป้ วารณาฝากตัวขอเปน็ ศษิ ย์ติดตามจาริกธดุ งค์ และหลวงปมู่ ่ันก็รบั
พระอาจารยส์ งิ ห์เปน็ ศษิ ย์หรือสหธรรมกิ ดว้ ยความเตม็ ใจ

พระอาจารยส์ งิ หจ์ งึ ละการเปน็ ครสู อนบาลธี รรม ออกปฏบิ ตั ใิ นปา่ เขาลำ� เนาไพร
ติดตามหลวงปมู่ ั่นตงั้ แต่บดั น้ัน

22

จะหาครูกรรมฐานได้ท่ไี หน

ฝ่ายหลวงปแู่ หวน สุจิณโฺ ณ เม่ือตัดสินใจจะออกปฏบิ ตั ิกรรมฐานแล้ว จึงมา
คิดทบทวนดู ครูอาจารย์ท้ังหลายที่มีชื่อเสียงในด้านกรรมฐานในสมัยน้ันว่ามีอยู่
ณ ทีใ่ ดบา้ ง เท่าท่เี คยได้ยินกติ ติศพั ทก์ ม็ ีอยูห่ ลายแห่งด้วยกันท่มี ชี ่ือเสยี งในเวลานน้ั
มอี ยู่ ๓ แหง่ มอี ยทู่ างเวยี งจนั ทน์ อยทู่ างอำ� เภอทา่ อเุ ทน จงั หวดั นครพนม และอกี แหง่
อย่แู ถบจังหวัดสกลนคร

หลวงปแู่ หวนมโี อกาสไดพ้ บปะกบั พระธดุ งคอ์ ยบู่ อ่ ยๆ บา้ งกม็ าจากถนิ่ ไกลๆ เชน่
ขอนแกน่ ร้อยเอ็ด สระบุรี นครพนม และทขี่ า้ มโขงมาจากฝ่ังลาวกม็ ี ทา่ นไดพ้ บปะ
สนทนาธรรมแลกเปลย่ี นความรกู้ นั พระธดุ งคท์ ห่ี ลวงปแู่ หวนไดพ้ บปะพดู คยุ ปรากฏวา่
อยู่ในสายหลวงปมู่ ่นั ภรู ทิ ตโฺ ต มากทีส่ ุด ท�ำใหไ้ ดย้ นิ กิตตศิ ัพทค์ วามเปรอ่ื งปราด
เพง่ เพียรอันยิง่ ใหญข่ อง “พระอาจารยใ์ หญ่มัน่ ” อยูเ่ สมอ

นอกจากนยี้ งั ทราบวา่ พระอาจารยส์ งิ ห์ ขนตฺ ยาคโม ผใู้ หค้ วามรดู้ า้ นกรรมฐาน
องค์แรกแก่ท่าน ก็อ�ำลาจากการเป็นครูสอนปริยัติธรรมและก�ำลังติดสอยห้อยตาม
พระอาจารย์ใหญ่มั่นในฐานะศิษย์เอกผู้ใกล้ชิดด้วย “แสดงว่าพระอาจารย์ใหญ่ม่ัน
ท่านต้องเก่งจริง ไม่เช่นน้ันพระอาจารย์สิงห์อาจารย์ของเรา คงไม่ยอมฝากตัวเป็น
ศษิ ยแ์ น”่ กย็ ง่ิ เพม่ิ ความศรทั ธาและกระหายจะไดฝ้ ากตวั เปน็ ศษิ ยพ์ ระอาจารยใ์ หญม่ นั่
ให้เร็ววัน เมื่อพิจารณาทบทวนแล้ว จึงได้ตัดสินใจไปหาครูบาอาจารย์ทางจังหวัด
สกลนคร คือ พระอาจารย์ใหญม่ ัน่ ภูริทตโฺ ต

23

อธิษฐานใหไ้ ด้พบครูอาจารย์

เยน็ วนั นน้ั หลวงปแู่ หวนรบี สรงนำ้� แตว่ นั คำ�่ ลงกเ็ ขา้ ทส่ี วดมนตต์ ามปกติ เสรจ็ แลว้
ไดต้ ั้งสัจจาธิษฐาน ตงั้ จิตตรงตอ่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

“ข้าพเจ้าขออุทิศชีวิตพรหมจรรย์ของข้าพเจ้าถวายแด่พระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ ดว้ ยอำ� นาจของพระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ และดว้ ยอำ� นาจบญุ บารมขี อง
ข้าพเจ้าท่ีเคยได้อบรมสั่งสมมา ขอให้ข้าพเจ้าได้พบหรือได้ข่าวครูอาจารย์ผู้ปฏิบัติดี
ปฏบิ ตั ชิ อบ ผสู้ ามารถแนะนำ� สงั่ สอนขา้ พเจา้ ได้ แมท้ า่ นจะอยู่ ณ ทใี่ ดๆ กต็ าม ขอให้
ขา้ พเจา้ ไดพ้ บหรอื ไดย้ นิ ขา่ วของทา่ นในเรว็ วนั และเมอ่ื ขา้ พเจา้ ออกปฏบิ ตั กิ รรมฐานแลว้
ขออย่าไดม้ อี ปุ สรรคขัดขวางใดๆ แก่ข้าพเจ้าเลย”

หลงั จากตง้ั สจั จาธษิ ฐานแลว้ ทา่ นบอกวา่ เกดิ อาการขนลกุ ซเู่ ยน็ ซาบซา่ นไปทงั้ ตวั
รสู้ กึ เบากาย เบาใจ จติ ใจปลอดโปรง่ ทงั้ คนื

24

ได้ขา่ วหลวงปูม่ น่ั ภรู ทิ ตฺโต

รุ่งข้ึนเช้า หลวงป่แู หวนออกบิณฑบาตโปรดสตั วต์ ามปกติ ได้เลา่ ถึงความต้งั ใจ
และการอธษิ ฐานจติ ของทา่ นใหแ้ มก่ าสี โยมอปุ ฏั ฐากฟงั โยมแมก่ าสรี สู้ กึ เหน็ ชอบ และ
อนุโมทนาในความต้งั ใจออกปฏิบัตกิ รรมฐานของหลวงปู่ พรอ้ มกบั รบั ปากวา่ จะชว่ ย
สอบถามขา่ วคราวเกย่ี วกบั พระอาจารยใ์ ห้ หากไดย้ นิ ขา่ วหรอื รวู้ า่ พระอาจารยใ์ หญม่ นั่
ภรู ทิ ตโฺ ต อยู่ทใ่ี ด จะรีบบอกให้ทราบทนั ที

หลงั จากนน้ั อกี เพยี ง ๒-๓ วนั โยมแมก่ าสกี เ็ ลา่ ใหฟ้ งั วา่ พระอาจารยจ์ วง วดั ธาตเุ ทงิ
อำ� เภอเขอื่ งใน จงั หวดั อบุ ลราชธานี ไดไ้ ปกราบหลวงปมู่ นั่ เพงิ่ จะกลบั มาไดไ้ มก่ ว่ี นั นเ้ี อง
ให้ไปถามพระอาจารยจ์ วงดู คงจะทราบข่าวของหลวงปมู่ ัน่ อยา่ งแนน่ อน

นับเป็นข่าวที่น่ายินดีมากส�ำหรับหลวงปู่ ความหวังท่ีจะได้พบพระอาจารย์
ผปู้ ฏบิ ตั ดิ ี ปฏบิ ตั ชิ อบ และสามารถสง่ั สอนทา่ นได้ เรม่ิ ไดเ้ คา้ ความเปน็ จรงิ ขน้ึ มาตาม
ค�ำอธษิ ฐานแลว้

25

ไปสอบถามพระอาจารย์จวง

เมอ่ื กลบั จากบณิ ฑบาต ฉนั เสรจ็ หลวงปกู่ จ็ ดั บรขิ ารสำ� หรบั เดนิ ทาง กราบลาทา่ น
เจา้ สำ� นกั บอกลาผคู้ นุ้ เคย แลว้ เดนิ ทางเพอื่ ไปพบพระอาจารยจ์ วงทอ่ี ำ� เภอเขอ่ื งในทนั ที
พระอาจารย์จวงไดเ้ ลา่ เรือ่ งท่ีทา่ นไปกราบและฟังธรรมกบั หลวงป่มู ่ันวา่

“บรรดาครูอาจารย์ท่ีออกปฏิบตั เิ วลานี้ คงไมม่ ีใครเกนิ ญาคมู ่ันไปได้ ครัง้ แรก
ผมกไ็ ดย้ นิ แตก่ ติ ตศิ พั ท์ มผี เู้ ลา่ ใหฟ้ งั วา่ ทา่ นเทศนเ์ กง่ รใู้ จคนฟงั มผี ไู้ ปฟงั ธรรมจาก
ท่านมากมาย ตอนแรกผมเช่ือบา้ งไม่เชอ่ื บ้าง ต่อมาเมือ่ ผมมีโอกาสเดินทางไปอดุ รฯ
ผมจงึ ไปกราบนมสั การฟงั ธรรมจากทา่ น พอผมไปถงึ ยงั ไมไ่ ดพ้ ดู อะไรเลย ทา่ นกพ็ ดู วา่
อยา่ งนนั้ อยา่ งนตี้ ามทผ่ี มคดิ ไว้ จนผมไมก่ ลา้ พดู อะไร ผมกลวั ทา่ นมาก ทา่ นรใู้ จเราจรงิ ๆ
เมอ่ื ผมกราบนมสั การและฟงั ธรรมทา่ นแลว้ ผมกล็ าทา่ นกลบั มาถงึ วดั ไมก่ ว่ี นั มานเ้ี อง”

พระอาจารย์จวงแนะต่อไปว่า “ผมไม่กล้าอยู่กับท่านญาคูมั่นนานวัน เพราะ
ท่าทางค�ำพดู ของทา่ นน่ากลัว ถ้าหากทา่ นจะไปศกึ ษากบั ท่านญาคูมน่ั ก็ไปเถิด ผมยงั
มองไม่เห็นใครเวลานี้ที่ปฏิบัติได้ดีไปกว่าท่าน ท่านญาคูม่ันท่านปฏิบัติได้เด็ดเดี่ยว
จรงิ ๆ ทา่ นชอบไปองคเ์ ดยี ว ไมช่ อบไปเปน็ หมคู่ ณะ มนี สิ ยั หลกี เรน้ ปรารภความเพยี ร
ไมท่ อ้ ถอย มพี ระภกิ ษุ สามเณร และประชาชนจำ� นวนมาก ไปกราบนมสั การและฟงั ธรรม
จากทา่ นเสมอไมไ่ ดข้ าด”

26

ออกเสาะหาหลวงปมู่ ่ัน

จากคำ� บอกเลา่ ของพระอาจารยจ์ วง ทำ� ใหห้ ลวงปยู่ งิ่ ศรทั ธาหลวงปมู่ น่ั มากยง่ิ ขนึ้
กระหายอยากไปฝากตวั เปน็ ศิษย์ใหเ้ รว็ ที่สุด

หลวงปู่แหวนพักอยู่ที่วัดบ้านธาตุเทิง แค่พอให้หายเหนื่อยจากการเดินทาง
แลว้ กราบลาพระอาจารยจ์ วงไปเสาะหาหลวงปมู่ น่ั ตอ่ ไป ทา่ นออกเดนิ ทางบกุ ปา่ ฝา่ หนาม
ไปโดยลำ� พังองค์เดียวดว้ ยหัวใจแน่วแนว่ า่ จะตอ้ งไปหาครบู าอาจารย์ให้พบ

เปน็ การเดนิ ทางทยี่ าวไกลไปองคเ์ ดยี วเปน็ ครงั้ แรก โดยออกจากอำ� เภอเขอื่ งใน
รอนแรมผ่านอำ� เภอมว่ งสามสบิ ค�ำเข่อื นแก้ว ยโสธร เขา้ เขตจงั หวดั นครพนมทาง
อ�ำเภอเลงิ นกทา อำ� เภอมุกดาหาร คำ� ชะอี นาแก แลว้ เข้าสกลนคร ตดิ ตามเสาะหา
หลวงปู่มน่ั ด้วยความหวัง นับเปน็ การเดินทางที่มงุ่ ม่ันและทรหดอดทนอย่างยิ่ง

27

พบกบั หลวงปู่ตอื้ อจลธมฺโม

ครบู าอาจารยบ์ างองคเ์ ลา่ วา่ หลวงปแู่ หวนไดพ้ บกบั หลวงปตู่ อ้ื อจลธมโฺ ม กอ่ นท่ี
จะได้ไปกราบพระอาจารยใ์ หญ่มนั่ ภูริทตโฺ ต

หลวงปแู่ หวนออกธดุ งคเ์ สาะหาหลวงปมู่ น่ั กบั หลวงปสู่ งิ ห์ แตไ่ มพ่ บสกั ที เพราะ
พระอาจารย์ใหญ่และศิษย์ได้จาริกธุดงค์ไปยังที่ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ได้พ�ำนัก
ปักหลักอยู่กับท่ี ประกอบกับการไปมาหาสู่กันในป่าดงถิ่นห่างไกลทุรกันดารเป็นไป
ไมส่ ะดวก ทำ� ใหต้ ้องคลาดกันบ่อยๆ

ระหว่างออกเดนิ ทางค้นหาพระอาจารยใ์ หญ่น้ี ท่านก็ได้พบกับพระธดุ งค์หนมุ่
รปู หนงึ่ มาจากวดั บา้ นขา่ อำ� เภอศรสี งคราม จงั หวดั นครพนม หลวงปแู่ หวนกบั พระธดุ งค์
รูปน้ัน มีความประสงค์และปฏิปทาคล้ายกันและถูกอัธยาศัยกัน ซึ่งต่อมาก็เป็น
พระธุดงคส์ หธรรมกิ องคส์ ำ� คัญในอนาคตซ่ึงก็คอื หลวงปตู่ ้อื อจลธมโฺ ม นน่ั เอง

หลวงปูแ่ หวนกับหลวงป่ตู ือ้ พบกนั ครัง้ แรกท่ปี า่ ภูพาน ขณะน้นั หลวงปู่ตอื้ จาริก
ธดุ งค์มาจากพระบาทบวั บก จังหวดั อุดรธานี ได้สนทนาธรรมแลกเปลีย่ นความร้กู ัน
เปน็ ทชี่ อบอธั ยาศยั ถกู ใจกนั เปน็ อนั ดี หลวงปตู่ อื้ เองกใ็ ฝใ่ จปรารถนาอยากจะพบพระ
อาจารยใ์ หญม่ นั่ ใหไ้ ดเ้ หมอื นกนั เพราะไดย้ นิ ไดฟ้ งั กติ ตศิ พั ทเ์ กย่ี วกบั พระอาจารยใ์ หญ่
มามาก แต่ก็ยงั ไมไ่ ด้พบพระอาจารยใ์ หญ่มั่นตามทีห่ วงั ไว้

28

ธุดงคค์ กู่ ับหลวงปูต่ ้ือ

หลวงปแู่ หวนกบั หลวงปตู่ อ้ื ซงึ่ ยงั เปน็ พระหนมุ่ ทง้ั สององคไ์ ดป้ รกึ ษาหารอื กนั วา่

“หากวาสนายังมีคงจะได้พบกับพระอาจารย์ใหญ่มั่นสมใจหวัง เราอย่าเร่งรัด
ตัวเองให้มากเลย จะธุดงค์ไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ตายเสียก่อน จะต้องได้ฟังธรรมจาก
พระอาจารย์ใหญ่อย่างแน่นอน ในระหว่างน้ีเราควรจะจาริกธุดงค์ไปตามทางของ
เราก่อน บำ� เพ็ญเพียรสรา้ งบารมีกันไปตามแนวทางท่พี ระธุดงค์วางไว้ หาความรู้ด้าน
กรรมฐานจากปา่ ดงพงพี ธรรมชาตริ อบกายเรานแี้ หละ เมอ่ื มปี ญั หาธรรมอนั ใดทเี่ กนิ
วิสัยสติปญั ญา กเ็ ก็บเอาไว้คอยถามพระอาจารย์ใหญ่มัน่ เมอ่ื มโี อกาส”

เมอ่ื ปรกึ ษาตกลงกนั ไดเ้ ชน่ นแี้ ลว้ หลวงปแู่ หวนกบั หลวงปตู่ อ้ื กพ็ ากนั จารกิ ธดุ งค์
แสวงหาวเิ วกบำ� เพญ็ สมณธรรมมงุ่ หนา้ ขา้ มแมน่ ำ้� โขงไปทางสวุ รรณเขต ฝง่ั ประเทศลาว

คนื แรกทข่ี า้ มไปฝง่ั ลาว หลวงปทู่ ง้ั สองไดเ้ ลอื กเอาชายปา่ แหง่ หนง่ึ เปน็ ทก่ี างกลด
พักบ�ำเพ็ญภาวนา วนั รงุ่ ข้นึ กอ็ อกเดนิ ทางตอ่ ไป จติ มงุ่ ในธรรมะอย่างเดยี ว จติ ร่าเรงิ
สดชนื่ กระปรี้กระเปร่า ไม่กลวั ความลำ� บาก ไม่กลัวตาย ธรรมชาตใิ นปา่ ล้วนให้
เพลดิ เพลนิ มองไปทางไหนมแี ต่ปา่ เขาเขียวชอมุ่ ป่าไม้แนน่ ขนัด ล้วนเยน็ ตาเย็นใจ
ฝากกายฝากใจไว้กับพระธรรม พร้อมท่ีจะพลีชีวิตเพ่ือธรรมอย่างตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว
ไม่กลวั ตาย

29

หลวงปแู่ หวนกบั หลวงปตู่ อ้ื มจี รติ นสิ ยั คลา้ ยกนั คอื ยง่ิ อดอาหารขบฉนั จติ กย็ งิ่
สงบ เขา้ สมาธเิ รว็ ขน้ึ มน่ั คงขน้ึ แมจ้ ะเปน็ การทรมานตน แตก่ ไ็ มร่ สู้ กึ หวิ โหย หรอื กงั วล
ใดๆ จิตมีแต่ความเพลิดเพลินก้าวหน้าอาจหาญในธรรมภาวนา จะพิจารณาส่ิงใด
กแ็ ยบคาย ปญั ญากว็ อ่ งไวกวา้ งขวาง บางครง้ั ไมไ่ ดฉ้ นั อาหารตดิ ตอ่ กนั ๗-๘ วนั กม็ ี

หรอื แม้แต่ประสบอันตราย เช่น ไปในท่ๆี มเี สอื ดว้ ยความกลัวกเ็ ร่งภาวนา
เรง่ บริกรรมพทุ โธใหม้ ากขึน้ จนลืมเร่อื งเสือ จติ เข้าสู่สมาธิ พอจติ คลายตวั จากสมาธิ
กไ็ มพ่ บเสอื ไมไ่ ดย้ นิ เสยี งรอ้ งของมนั ทำ� ใหเ้ กดิ ความมน่ั ใจวา่ พทุ โธ ธมั โม สงั โฆ ชว่ ยให้
พน้ จากเสอื ได้ เลยเกดิ ความรคู้ วามเชอื่ มน่ั วา่ พระพทุ โธคมุ้ อนั ตรายไดจ้ รงิ ๆ กบ็ งั เกดิ
ความกล้าหาญ หายหวาดกลัวภัยอันตรายตา่ งๆ ไดป้ ัญญาว่า “ตวั เรานีม้ ีจรติ นิสยั
ชอบทางใหค้ วามกลวั บงั คบั แทๆ้ จติ จงึ จะไดส้ งบนงิ่ เกดิ ความรอบรู้ จะพจิ ารณาอะไร
ตอ่ ไปกแ็ ยบคาย รเู้ หตรุ ผู้ ล และเหน็ โทษของความกลวั เปน็ เรอื่ งนา่ ละอาย และเหน็ คณุ
ของพระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างซาบซ้งึ ใจ”

30

ธุดงคใ์ นป่าดงพงไพร

ปา่ ดงพงไพรเปน็ สถานทกี่ ำ� จดั ความเกยี จครา้ นและความกลวั ตา่ งๆ ไดด้ ี การอยู่
ปา่ ชฏั เตม็ ไปดว้ ยสตั วร์ า้ ยและภยั อนั ตรายตา่ งๆ พระธดุ งคจ์ งึ ตอ้ งตนื่ ตวั อยตู่ ลอดเวลา
มสี ตคิ วบคมุ กายและใจไมใ่ หป้ ระมาท สตั วป์ า่ ทเ่ี ปน็ อนั ตรายเปน็ เครอื่ งเตอื นสตไิ มใ่ ห้
พระธดุ งคเ์ กยี จครา้ นตอ่ การเพง่ เพยี รภาวนา ไมเ่ ชน่ นนั้ อาจถกู สตั วป์ า่ เหลา่ นนั้ คกุ คาม
ทำ� อนั ตรายได้ ดว้ ยเหตนุ ี้ พระธดุ งคท์ เี่ ขา้ ปา่ ใหมๆ่ จงึ ไดส้ ภาพแวดลอ้ มในปา่ ชว่ ยใน
ด้านสมาธิภาวนาเป็นอยา่ งมาก เพราะกลวั ตายจงึ ต้องเรง่ ภาวนา

สว่ นพระธดุ งคท์ แี่ กก่ ลา้ ในการบำ� เพญ็ เพยี ร ทา่ นยอ่ มอยเู่ หนอื อำ� นาจความกลวั ใดๆ
แมแ้ ตค่ วามตายทา่ นกไ็ มก่ ลวั ทา่ นจงึ สามารถไปไหนๆ ตามลำ� พงั องคเ์ ดยี วได้ เพราะ
จติ ใจทา่ นมนั่ คง ผา่ นเหตกุ ารณต์ า่ งๆ มามาก ยอ่ มพจิ ารณาคณุ และโทษไปในทางอนจิ จงั
ทกุ ขงั อนตั ตา เลง็ แลเหน็ สตั วป์ า่ ทง้ั หลายเปน็ เพอ่ื นรว่ มเกดิ แกเ่ จบ็ ตายดว้ ยกนั ทง้ั หมด
ทง้ั สิน้ ทา่ นจงึ แผเ่ มตตาให้สตั วท์ ั้งหลายไม่มปี ระมาณ

การพจิ ารณาตน้ ไมใ้ บหญา้ ธรรมชาตแิ วดลอ้ มรอบกายอนั มคี วามสงดั วเิ วก ชว่ ยชู
จติ ใหส้ งบ ยอ่ มจะทำ� ใหเ้ กดิ ปญั ญารแู้ จง้ ในธรรม เหน็ มรรค ผล นพิ พาน ไดง้ า่ ยกวา่
อยู่ในบ้านในเมืองทีม่ คี วามพลุกพลา่ นวุ่นวายดว้ ยประการท้งั ปวง

การเขา้ ปา่ บำ� เพญ็ ภาวนาอดๆ อยากๆ อดหลบั อดนอน พารา่ งกายเดนิ บกุ ปา่ ฝา่ ดง
ขน้ึ เขาลงหว้ ยบา้ ง ใหย้ งุ กดั บา้ ง ใหเ้ สอื รอ้ งขม่ ขคู่ กุ คามบา้ ง เหลา่ นจ้ี ดั เปน็ อบุ ายแยบคาย
ท่ีจะทรมานรา่ งกายและจิตใจใหห้ ายพยศไปตามล�ำดับขน้ั ตอน

31

หลวงปทู่ งั้ สองไดธ้ ดุ งคล์ งใตไ้ ปถงึ แขวงจำ� ปาศกั ดิ์ ชนดิ ทว่ี นั เวลาทผ่ี า่ นไปไมไ่ ด้
น�ำมาจดจ�ำเอาใจใส่ เพราะมีแต่ความร่าเริงใจในธรรมที่เพ่งเพียรอย่างไม่อ่อนก�ำลัง
ท้อถอย ไม่แสดงอาการออ่ นแอยอมแพต้ ่อกิเลสมาร มตี วั ตัณหาวฏั สงสารเป็นคู่ตอ่ สู้
อยู่ในหัวใจ จ�ำเปน็ ตอ้ งใช้ก�ำลงั ใจที่แกก่ ลา้ ยอมตายถวายชีวติ จงึ จะสามารถขดู กเิ ลส
ออกจากใจและสามารถบรรลุถึงภูมิจิตภูมิธรรมแต่ละขั้นแต่ละตอนตามวิถีทางแห่ง
อรยิ มรรคได้

ทางฝั่งลาวเป็นป่าทึบและมีภูเขามาก ฝนตกชุกแทบทุกวัน บางครั้งฝนตก
ตดิ ตอ่ กนั ถงึ สบิ วนั สบิ คนื กม็ ี หลวงปทู่ งั้ สองตอ้ งผจญกบั ความยากลำ� บาก ไหนจะตอ้ ง
เปยี กฝนทนทุกข์ ต้องต่อสู้กบั ความหนาว ยิ่งถา้ เกดิ การเจบ็ ไขไ้ ด้ปว่ ยด้วยก็ไม่มียา
จะรกั ษา ความขาดแคลนปจั จยั สมี่ อี าหารบณิ ฑบาต นบั เปน็ ความลำ� บากอยา่ งยงิ่ สำ� หรบั
ทอี่ ยอู่ าศยั และเครอื่ งนงุ่ หม่ นนั้ แทบไมต่ อ้ งกลา่ วถงึ เพราะเปยี กชมุ่ ดว้ ยนำ�้ ฝน แตท่ า่ น
ท้ังสองก็ฟนั ฝ่ามาได้

หลวงปแู่ หวนเลา่ ใหพ้ ระเณรรุ่นหลังฟังว่า “ขณะธุดงค์อยู่ในปา่ ฝนตกหนักจน
เปยี กโชก ทนหนาวเหนบ็ และอดอาหารอยหู่ ลายวนั หลายคนื อยา่ งนนั้ สงิ่ ทจ่ี ะตอ้ งระวงั
ท่สี ุดก็คอื อารมณ์กลวั ตายที่อาจจะฟงุ้ ซ่านขน้ึ มาได้งา่ ยๆ”

ท่านเล่าว่า เคยมีพระธุดงค์หนุ่มบางรูปทนความล�ำบากขาดแคลนกันดารใน
ปจั จยั ส่ไี มไ่ หว และไหนจะลำ� บากในการประกอบความเพยี ร คอื ฝึกสมาธทิ รมานจิต
ที่แสนคะนองโลดโผนประจ�ำนิสัยมาแต่เดิม ไม่สามารถจะบังคับจิตอันมีพยศให้
อยู่ในขอบเขตร่องรอยท่ีต้องการได้ ความล�ำบากเพราะเดินจงกรมนาน นั่งภาวนา
นาน เกิดทุกขเวทนาทรมานร่างกายจิตใจ และหิวโหยโรยแรงเพราะอดอาหาร
เป็นตน้ ท�ำให้พระธุดงคท์ ้อแทใ้ จหมดสิ้นความมานะพยายาม ต้องหนกี ลบั บ้านกลับ
เมืองในท่ีสดุ ดงั นั้น พระธุดงคกรรมฐานจะตอ้ งเดด็ เดยี่ ว ไมก่ ลวั ตาย จะตอ้ งเอา
พระพุทธเจา้ เป็นสรณะท่พี ง่ึ ท่ีระลึกวา่ พระพทุ ธองค์และพระสาวกทั้งหลายในอดีต
ท่านเคยผ่านความล�ำบากยากแค้นขาดแคลนกันดารกว่านีม้ าก่อน ทา่ นยงั ทนไดส้ ไู้ ด้
เราจะตอ้ งปฏบิ ตั ติ ามทา่ นใหไ้ ด้ จะตอ้ งกลา้ หาญ อดทน คอื ทนตอ่ สภาพอากาศ ทนตอ่

32

ความเจบ็ ไขไ้ ดป้ ว่ ยและทกุ ขท์ รมานตา่ งๆ ทนตอ่ ความหวิ โหย ทนตอ่ ความเปลย่ี วกาย
เปลี่ยวใจไร้เพื่อนฝูง และครูบาอาจารย์ผู้เคยอบรมสั่งสอน ที่ส�ำคัญอีกอย่างคือ
พระธดุ งคจ์ ะตอ้ งฝกึ ใจใหก้ ลา้ แขง็ ตอ่ แรงพายอุ ารมณก์ เิ ลสมาร ความฟงุ้ ซา่ นตา่ งๆ ท่ี
จะเกดิ ขน้ึ จากใจตวั เอง พายอุ ารมณห์ ลอกลวงเหลวไหลเปน็ มายาจติ ตวั กเิ ลสนแ้ี หละ
เปน็ ตวั การสำ� คญั รา้ ยกาจคอยทำ� ลายความเพยี รภาวนาของพระธดุ งค์ เปน็ ตวั การใหญ่
คอยกีดขวางทางด�ำเนนิ เพื่อมรรค ผล นพิ พาน ตอ่ ไปได้

33

ธดุ งค์แยกทางกนั

จากคำ� บอกเล่าของครบู าอาจารย์บอกว่า หลวงป่แู หวนกบั หลวงป่ตู อ้ื รว่ มธดุ งค์
มาจนถึงเมืองสวุ รรณเขต ก็ตกลงกนั วา่

ตอ่ ไปนจี้ ะพลชี พี ดว้ ยตวั เองเพอื่ แลกธรรมใหเ้ หน็ ดำ� เหน็ แดง คอื ตา่ งองคก์ จ็ ะเดนิ
ธดุ งคโ์ ดดเดยี่ วแตล่ ำ� พงั ไมต่ อ้ งคอยหวงั พงึ่ ซง่ึ กนั และกนั เปน็ การทดสอบกำ� ลงั จติ ใจ
ครัง้ ส�ำคัญว่าจะแกรง่ กล้าแสวงหาธรรมไปไดต้ ลอดรอดฝั่งหรอื ไม่

จากน้ัน หลวงปู่ท้ังสองก็แยกทางกัน โดยหลวงปู่ตื้อธุดงค์เลียบฝั่งขึ้นไปทาง
เวยี งจนั ทนแ์ ตล่ ำ� พงั สว่ นหลวงปแู่ หวนไดย้ อ้ นกลบั ขา้ มโขงมาฝง่ั ไทย เพอื่ มงุ่ แสวงหา
หลวงปูม่ น่ั พระอาจารย์ใหญ่ ตามทตี่ งั้ ใจไวเ้ ดมิ

34

ถวายตัวกบั หลวงปู่มน่ั

หลวงปแู่ หวนไดพ้ ยายามสบื เสาะถามหาทพ่ี ำ� นกั ของหลวงปมู่ น่ั ภรู ทิ ตโฺ ต ในทส่ี ดุ
ได้ทราบว่าพระอาจารย์ใหญ่ท่านพักอยู่ที่อ�ำเภอบา้ นผือ จังหวัดอุดรธานี จึงรีบเร่ง
เดนิ ทางไปหาโดยมริ อชา้ เมอ่ื ไปถงึ อำ� เภอบา้ นผอื กส็ อบถามชาวบา้ นทราบวา่ หลวงปมู่ น่ั
พกั อย่ทู ดี่ งมะไฟ บ้านค้อ จงึ ได้เข้าไปกราบและถวายตัวเป็นศษิ ย์เมื่อสบโอกาส

ประโยคแรกท่ีหลวงปูม่ ่ันทักถามคือ “มาจากไหน” เมือ่ เรียนทา่ นว่า “มาจาก
อบุ ลฯ ครบั ” หลวงปมู่ น่ั กลา่ วเปน็ ประโยคทสี่ อง ซงึ่ หมายถงึ ทา่ นลงมอื ใหก้ ารสอนทนั ที
ว่า “เออ ตอ่ ไปน้ีภาวนา ความรทู้ เ่ี รียนมาใหเ้ อาใส่ตู้ไว้ก่อน”

ค�ำพูดของพระอาจารย์ใหญเ่ พยี งส้ันๆ แคน่ ้ี ชา่ งมคี วามหมายตอ่ หลวงปู่แหวน
มากมายเหลอื เกนิ เพราะเปน็ ความตอ้ งการของทา่ นจรงิ ๆ ทา่ นสดุ แสนจะดใี จโดยเฉพาะ
อย่างย่ิงทไี่ ด้ยนิ คำ� ว่า “ตอ่ ไปนี้ใหภ้ าวนา” เทา่ กับความตัง้ ใจของหลวงปูไ่ ด้บรรลตุ าม
ความประสงค์โดยไม่ตอ้ งเอ่ยปากขอแต่ประการใด

35

จ�ำใจเดินทางกลับมาตุภูมิ

ครงั้ ทห่ี ลวงปแู่ หวนเขา้ ถวายตวั เปน็ ศษิ ยพ์ ระอาจารยใ์ หญม่ นั่ ภรู ทิ ตโฺ ต ในครงั้ แรก
ทดี่ งมะไฟ บา้ นคอ้ นน้ั อยใู่ นปี พ.ศ. ๒๔๖๑ หลวงปแู่ หวนอายุ ๓๑ ปี มอี ายพุ รรษา
ในมหานกิ าย ๑๑ พรรษา หลวงปแู่ หวนเรม่ิ ตน้ ฝกึ ภาวนา จติ ใจเรม่ิ สงบเยน็ เรม่ิ พบกบั
ความหวงั และเริ่มม่นั ใจวา่ น่ีเปน็ หนทางท่ีจะท�ำให้ท่านสามารถอยู่ในสมณเพศไปได้
ตลอดรอดฝง่ั ตามทไ่ี ดใ้ ห้สญั ญากับโยมแม่และโยมยายเอาไว้

ในขณะทก่ี ำ� ลงั ดใี จกบั การไดพ้ บพระอาจารยต์ ามความตงั้ ใจ และอยอู่ บรมดา้ น
ภาวนากบั ทา่ นไดแ้ ค่ ๔ วนั เพง่ิ เรมิ่ สมั ผสั กบั ความสงบเยน็ จติ ใจเพยี งเรม่ิ ตน้ จดั ระเบยี บ
เพ่ือก้าวไปสู่ความสงบเท่านั้นเอง พอวันที่ ๕ ก็มีน้าเขยและพี่เขยเดินทางมาจาก
จงั หวดั เลย มานิมนตใ์ ห้ทา่ นเดนิ ทางกลบั จังหวัดเลย ตอนแรกนา้ เขยกบั พ่เี ขยว่าจะ
ไปตามทจี่ งั หวดั อบุ ลราชธานี เมอื่ ไตถ่ ามดทู ราบวา่ หลวงปมู่ าอยกู่ บั หลวงปมู่ นั่ ทอ่ี ำ� เภอ
บา้ นผอื อดุ รธานี จงึ ไดร้ บี ตามมา หลวงปแู่ หวนถามวา่ “กลบั ไปทำ� ไม” นา้ เขยกบั พเ่ี ขย
ตอบวา่ “พอ่ แม่ พน่ี อ้ ง และญาตๆิ ตอ้ งการเหน็ หนา้ เพราะจากบา้ นมานานแลว้ ยงั ไมเ่ คย
กลับไปเยี่ยมบ้านเลย”

หลวงปู่ไดท้ บทวนดแู ล้วกเ็ ห็นดว้ ย เพราะจากบา้ นมากว่า ๑๕ ปีแลว้ โยมบดิ า
คงจะชราไปมาก ถา้ กลบั ไปเยย่ี มทา่ นบา้ งกค็ งจะดี จงึ ตกลงใจกลบั ไปเยยี่ มบา้ นพรอ้ ม
กับญาตทิ เ่ี ดนิ ทางมารับ

36

พระอาจารยใ์ หญเ่ ตือนใหร้ บี กลับ

เวลาเยน็ หลงั เสรจ็ กจิ ธรุ ะแลว้ หลวงปแู่ หวนไดเ้ ขา้ ไปกราบเรยี นพระอาจารยใ์ หญ่
วา่ มญี าตมิ ารบั ใหก้ ลบั ไปเยย่ี มบา้ น หลวงปมู่ นั่ ถามวา่ “กลบั ไปทำ� ไมบา้ น” กราบเรยี น
ทา่ นวา่ “กระผมจะกลบั ไปใหโ้ ยมบดิ า พีน่ ้อง และญาติๆ ไดเ้ หน็ หนา้ เทา่ น้นั เอง”

หลวงปมู่ น่ั ท่านอนุญาต และเตอื นว่า
“เออ ไปแล้วให้รีบกลับมา อย่าอยู่นาน อยู่นานไม่ได้ประเด๋ียวเสียท่าเขานะ
เสยี ทา่ เขาถกู เขามดั ไวเ้ ดี๋ยวจะดิน้ ไมห่ ลุด”
เม่ือพระอาจารย์ใหญ่อนุญาตแล้ว รุ่งขึ้นอีกวัน หลวงปู่ก็ออกเดินทางกลับ
จงั หวัดเลยไปต้ังแตเ่ ช้าตรูเ่ ลยทีเดียว

37

กลับมาเย่ยี มบา้ นเกดิ

เมื่อหลวงปแู่ หวน สุจณิ ฺโณ กลบั ถึงบ้านเกิดทจ่ี งั หวดั เลยแลว้ ทา่ นได้ไปพกั อยู่
ท่ีวัดโพธ์ิชัย วัดท่ีท่านบวชเณรในครั้งแรกนั่นเอง ข่าวการกลับมาเยี่ยมบ้านของ
หลวงปูแ่ หวน เปน็ ขา่ วใหญข่ องบ้านนาโป่งและหมบู่ า้ นใกลเ้ คียง ขา่ วน้ีแพรส่ ะพัดไป
อย่างรวดเร็ว

เมอ่ื ชาวบา้ นทราบขา่ ววา่ พระแหวน ทไ่ี ปศกึ ษาทเี่ มอื งอบุ ลฯ ไดก้ ลบั มาบา้ นแลว้
บรรดาญาตพิ น่ี อ้ ง และผคู้ นุ้ เคย ตา่ งกพ็ ากนั มาเยย่ี มเยยี นมไิ ดข้ าด รวมทง้ั จากหมบู่ า้ น
อน่ื ๆ กม็ ากนั มาก เพอื่ จะไดไ้ ตถ่ ามถงึ การไปศกึ ษาเลา่ เรยี นและเรอ่ื งราวตา่ งๆ ทพี่ วกเขา
ไม่เคยรู้มาก่อน

ในเวลานน้ั กลา่ วไดว้ า่ ญาตโิ ยมตา่ งหลงั่ ไหลมากราบมาเยยี่ มหลวงปตู่ ลอดเวลา
เพราะเป็นเหตุการณ์คร้ังแรกในท้องถิ่นที่พระในหมู่บ้านไปศึกษาเล่าเรียนในถิ่น
หา่ งไกลนานกวา่ ๑๕ ปี จงึ ไดห้ วนกลบั มาบา้ น ใครๆ กอ็ ยากพบอยากเหน็ ทง้ั นน้ั นบั วา่
ไมใ่ ชเ่ รอ่ื งธรรมดา เพราะพระเณรสว่ นใหญใ่ นละแวกนน้ั บวชแคร่ ะยะสน้ั ๆ และสกึ ออก
มาใช้ชวี ติ ฆราวาสเสยี เป็นส่วนใหญ่ ญาติโยมสว่ นหน่งึ นิมนต์ใหห้ ลวงปอู่ ยจู่ �ำพรรษา
แตท่ า่ นไม่รบั คำ� เพยี งแต่บอกว่า

“...การนมิ นตอ์ าตมาใหอ้ ยกู่ อ็ ยไู่ ด้ แตจ่ ะเปน็ กเี่ ดอื นกวี่ นั กป่ี นี นั้ ไมต่ อ้ งนบั ถา้ เหน็
อาตมายงั อยู่ กใ็ หร้ วู้ า่ อยู่ แตถ่ า้ ไมเ่ หน็ กใ็ หร้ วู้ า่ ไปแลว้ จะใหก้ ำ� หนดวา่ นานเทา่ นน้ั เทา่ น้ี
กำ� หนดไมไ่ ด้...”

38

ชาวบา้ นมาขอต่อศีล

ชว่ งทห่ี ลวงปแู่ หวน สจุ ณิ โฺ ณ พกั อยทู่ วี่ ดั โพธช์ิ ยั วดั บา้ นเกดิ ของทา่ น พอถงึ วนั พระ
บรรดาพระภกิ ษสุ ามเณรและญาตโิ ยม ตา่ งกเ็ อาดอกไมธ้ ปู เทยี นมาถวายและขอตอ่ ศลี
ดว้ ย พวกเขาตา่ งยอมรบั วา่ หลวงปแู่ หวนทา่ นเครง่ ครดั ตอ่ วนิ ยั ศลี ของทา่ นจงึ บรสิ ทุ ธิ์
ทง้ั พระเณรและชาวบา้ นจงึ มาขอตอ่ ศลี กบั ทา่ นเพอื่ พวกเขาเองจะไดม้ คี วามบรสิ ทุ ธดิ์ ว้ ย

หลวงปเู่ ล่าว่า การตอ่ ศีลของบรรดาอุบาสกอุบาสกิ าเหลา่ นั้นดแู ปลกประหลาด
มาก คอื เวลาเอาดอกไมธ้ ปู เทยี นมาถวายเพอื่ สมาทานศลี ๕ ศลี ๘ ศลี อโุ บสถ ตามความ
สมคั รใจของแตล่ ะคนน้นั พวกเขาตา่ งก็นงุ่ ขาวห่มขาวมากนั ทุกคน ดทู า่ ทางส�ำรวม
และเป็นระเบียบเรยี บรอ้ ยดมี าก เมอ่ื สมาทานศีลเสร็จแล้ว ต่างคนต่างกลับไปบา้ น
แลว้ ก็ถือเอาสุม่ เอาแห เอายอ สวงิ ออกจากบ้านไปจับปลากนั เป็นกลุ่มๆ

หลวงปทู่ า่ นวา่ เมอ่ื พจิ ารณาดแู ลว้ เหมอื นนกยางถอื ศลี คอื ศลี กจ็ ะรกั ษา ปลาก็
จะกนิ พวกเขาปฏบิ ตั กิ นั เชน่ นน้ั จนเคยชนิ ถงึ ทา่ นจะหา้ มพวกเขากค็ งไมฟ่ งั แมใ้ นสมยั
พุทธกาล พระพุทธองคย์ งั ไม่สามารถจะทรมานบุคคลบางจำ� พวกได้

เมอื่ หลวงปูพ่ ิจารณาแลว้ ก็ต้องปลอ่ ยพวกเขาไปตามยถากรรม เพราะการสอน
ในตอนนนั้ คงไม่เกดิ ประโยชน์

39

หลวงปู่อาพาธท่ีวดั บ้านเกิด

บรรดาผคู้ นทมี่ าเยย่ี มหลวงปใู่ นครงั้ นนั้ มมี าก มากนั ทง้ั วนั เหมอื นกบั ทว่ี ดั มงี าน
ชาวบ้านตา่ งก็ร่�ำลือกันว่า ไมเ่ คยเห็นพระเหน็ เณรทีไ่ หนทบี่ วชแล้วไมอ่ ยบู่ า้ น จากไป
เล่าเรยี นไปศกึ ษายังต่างถน่ิ เป็นเวลาถงึ ๑๕ ปีเศษ โดยไมเ่ คยกลบั มาเยี่ยมบ้านเลย
เมอื่ เลา่ เรยี นเสรจ็ แลว้ กป็ ลกี ไปอยอู่ งคเ์ ดยี วตามปา่ ตามเขา อยกู่ บั เสอื กบั ชา้ งกไ็ มเ่ ปน็
อนั ตราย ชา่ งน่าอศั จรรยย์ ิง่ นกั

เมอ่ื ชาวบา้ นตา่ งคนตา่ งพดู ไป ขา่ วกแ็ พรส่ ะพดั ไปอยา่ งรวดเรว็ ทำ� ใหช้ าวบา้ นใน
ต�ำบลใกล้เคียงต่างพากันมากราบมาเย่ียมมาขอพรจากหลวงปู่ตลอดเวลา หลวงปู่
จำ� ตอ้ งตอ้ นรบั ญาตโิ ยม คอยพดู คยุ ธรรมะและตอบคำ� ถามทญ่ี าตโิ ยมอยากรู้ จนทา่ น
ไมม่ ีเวลาพักผ่อน ร่างกายท่านอ่อนเพลีย ในท่สี ดุ ท่านก็อาพาธลง เมอ่ื หลวงปูอ่ าพาธ
บรรดาญาตพิ ี่น้องและผคู้ ุน้ เคย รวมท้งั ผู้ท่นี มิ นตใ์ หท้ ่านอย่จู �ำพรรษา ต่างกพ็ ากัน
หนหี นา้ ไป ไม่ได้เอาใจใสพ่ ยาบาลรกั ษาท่านตามท่ีควรจะเป็น

เหตุการณ์คร้ังน้ี หลวงปู่ได้ยกขึ้นมาเตือนสติของท่านว่า “เรามาท่ีน่ีก็มาตาม
คำ� นมิ นตใ์ หเ้ รามา ผคู้ นเหลา่ นต้ี า่ งกเ็ ปน็ ญาตเิ ปน็ ผคู้ นุ้ เคยกบั เราเปน็ สว่ นใหญ่ แตพ่ อ
เราปว่ ย เขากลบั ละทงิ้ เรา ทำ� เหมอื นกบั เรานเ้ี ปน็ คนอน่ื ทไี่ มร่ จู้ กั กนั ” หลวงปไู่ ดต้ ระหนกั
ถงึ คำ� สอนของพระพทุ ธองคว์ า่ จะตอ้ งพงึ่ ตวั เอง และพระพทุ ธ พระธรรม พระสงฆ์ เทา่ นนั้
จึงจะเป็นทีพ่ ง่ึ อนั อดุ ม จากการดำ� รถิ งึ การเจ็บป่วยของหลวงปใู่ นครง้ั นี้ ท�ำให้ทา่ นมี
แรงจงู ใจที่จะปลกี จากหมคู่ ณะออกค้นหาสัจธรรมอยา่ งมอบกายถวายชีวติ ต่อไป

40

เหตุเตอื นตนขอ้ ทสี่ อง

การอาพาธของหลวงปใู่ นครงั้ นน้ั เปน็ เหตเุ ตอื นตนขอ้ ทห่ี นง่ึ ทท่ี ำ� ใหท้ า่ นตอ้ งเรง่
บำ� เพญ็ เพยี รใหห้ นกั เหตเุ ตอื นตนขอ้ ทสี่ อง ทา่ นพจิ ารณาเหน็ วา่ ทว่ี ดั โพธชิ์ ยั บา้ นนาโปง่
บา้ นเกดิ ของทา่ นนน้ั บรรดาพระภกิ ษสุ ามเณรทเี่ คยบวชอยรู่ ว่ มกนั กด็ ี ผทู้ อ่ี าวโุ สบวช
กอ่ นกด็ ี ในสมยั ทท่ี า่ นบรรพชาเปน็ สามเณรอยนู่ น้ั มอี ยมู่ าก แตม่ าบดั นต้ี า่ งลาสกิ ขาไป
กนั หมด คงเหลือพระอยู่ประจำ� วดั เพียง ๒ รูปเทา่ นั้น

หลวงปรู่ ำ� พงึ กบั องคท์ า่ นเองวา่ “ถา้ เราจะอยทู่ น่ี ตี่ อ่ ไป จติ ใจของเราอาจไมม่ น่ั คง
อาจจะตอ้ งสกึ ออกไปกไ็ ด้ กอ่ นทเี่ ราจะมา ทา่ นอาจารยท์ า่ นกก็ ำ� ชบั แลว้ วา่ อยา่ อยนู่ าน
ให้รีบกลับไปภาวนา”

ในขณะท่ีจิตใจก�ำลังคิดสับสนอยู่น้ัน ค�ำส่ังของแม่และยายท่ีบอกท่านว่า
“ถ้าบวชแล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีลูกมีเมียนะ” ยังชัดเจนอยู่
ในความนกึ คดิ ของทา่ น

หลวงปจู่ งึ ตดั สนิ ใจอยา่ งแนว่ แนว่ า่ จะตอ้ งออกจากหมบู่ า้ นทนั ทที ร่ี า่ งกายแขง็ แรง
หายป่วยไข้

41

หวนคดิ ถึงเมืองอุบลฯ

ขณะท่ีหลวงปู่พกั อยทู่ วี่ ัดโพธช์ิ ยั บา้ นนาโป่ง น้นั ทา่ นไดส้ ดบั ตรบั ฟงั ข่าวจาก
เมอื งอบุ ลฯ อย่เู สมอ ได้รบั ขา่ วว่าท่านพระอุปชั ฌาย์กด็ ี พระอาจารยค์ ู่สวดกด็ ี ต่างก็
ลาสกิ ขาไปหมดแลว้ แมเ้ พอื่ นสหธรรมกิ ทง้ั สอง คอื พระเหลาและพระเฮยี ง กไ็ ดล้ าสกิ ขา
ไปหมดแล้วเช่นกนั

หลวงปไู่ ดห้ วนระลกึ ถงึ ทางเมอื งอบุ ลวา่ “บรรดาหนงั สอื ทเี่ ราจารไวก้ ม็ มี ากมาย
หลายผูก เมอื่ เราจากมาก็ไม่ได้มอบหมายใหอ้ าจารย์ใหเ้ ปน็ หลกั เปน็ ฐาน เราควรจะ
กลับขึน้ ไปเมืองอุบลเพ่ือจัดการเรอื่ งหนงั สอื ก่อนเหน็ จะดี”

ขณะเดียวกนั อีกความคิดหนึ่งก็แยง้ ข้ึนมาวา่ “ทางเมอื งอบุ ล บรรดาอุปัชฌาย์
อาจารย์และเพ่ือนกส็ ึกไปหมดแล้ว พระอาจารยส์ งิ ห์กไ็ ม่อย่ทู ี่นน่ั แลว้ เราจะกลับไป
เพ่อื ประโยชนอ์ ะไร”

42

ตัดสนิ ใจหลังไดร้ บั จดหมาย

นบั แตห่ ลวงปแู่ หวนไดจ้ ากพระอาจารยใ์ หญก่ ลบั มาเยยี่ มบา้ นไดป้ ระมาณ ๑ เดอื น
อาการป่วยท่านเริ่มทุเลา รา่ งกายมีกำ� ลงั พอที่จะออกเดินทางแลว้ ในขณะทค่ี วามคดิ
ของท่านก�ำลงั สับสนอยวู่ า่ จะกลับไปเมืองอุบลกอ่ นจะดหี รือไม่ ทา่ นกไ็ ดร้ บั จดหมาย
จากอาจารย์เอ่ียม ครทู ีเ่ คยสอนทีอ่ ุบล บอกทา่ นใหก้ ลบั ไปอุบลฯ เพอื่ เรียนตอ่ ให้จบ
จะไดก้ ลับมาสอนหนังสอื ที่บา้ นเกิด

ช่วงน้ันญาติโยมที่มาเย่ียมเยียนท่านเริ่มห่างๆ ไปแล้ว ท่านจึงมีเวลาพอที่จะ
ทบทวนเพือ่ การตัดสนิ ใจ เมื่อพจิ ารณาทบทวนเหตกุ ารณต์ า่ งๆ ที่ผา่ นมา คดิ กลบั ไป
กลบั มาหลายตลบ ในท่ีสุดหลวงปจู่ งึ ตดั สนิ ใจได้วา่ “การท่ีจะกลับไปเมอื งอุบลเพื่อ
เรยี นตอ่ นนั้ คงจะไมเ่ กดิ ประโยชนอ์ นั ใด แตก่ ารจะอยตู่ อ่ ไปทว่ี ดั โพธช์ิ ยั บา้ นนาโปง่ นี้
ก็ไมท่ ำ� ให้เกิดประโยชน์อนั ใดอกี เช่นกัน”

เมอ่ื หลวงปพู่ ิจารณาดูเหตุการณ์โดยถว้ นถแ่ี ล้ว จึงตัดสินใจวา่
“ตอ่ แตน่ ไ้ี ป เราจะไมข่ อ้ งเกย่ี วกบั หมคู่ ณะอกี ตอ่ ไป จะกลบั ไปหาอาจารยใ์ หญม่ น่ั
เพ่ือฝึกหัดภาวนาตามความตั้งใจเดิมของเราท่ีได้ต้ังสัจอธิษฐานไว้ก่อนออกจากวัด
สรา้ งถ่อ เมืองอบุ ล”

43


Click to View FlipBook Version