The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จารึกอโศก รัฐศาสตร์แห่งธรรมธิปไตย (ป.อ. ปยุตโต)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-05-05 23:02:11

จารึกอโศก รัฐศาสตร์แห่งธรรมธิปไตย (ป.อ. ปยุตโต)

จารึกอโศก รัฐศาสตร์แห่งธรรมธิปไตย (ป.อ. ปยุตโต)

Keywords: จารึกอโศก,ป.อ. ปยุตโต

จารึกอโศก

(ธรรมจกั รบนเศียรสส่ี งิ ห)

รัฐศาสตรแ์ ห่งธรรมาธปิ ไตย

พระพรหมคณุ าภรณ

(ป. อ. ปยตุ โฺ ต)

หลักศิลาจารกึ อโศก

วัดญาณเวศกวัน

เขา พรรษา ๒๕๕๒

จารึกอโศก (ธรรมจักรบนเศียรสส่ี งิ ห)

รัฐศาสตรแหง ธรรมาธิปไตย

© พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต)

ISBN 978-974-300-589-3

พิมพคร้ังที่ ๑ — เขา พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๒ ๑๐,๐๐๐ เลม

- ทนุ พิมพห นงั สือธรรมทาน วดั ญาณเวศกวนั ๒,๑๙๕ เลม

- สถานพาํ นกั สงฆส ายใจธรรม เขาดงยาง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชงิ เทรา ๑,๐๐๐ เลม

- คณุ หญิงกระจางศรี รักตะกนษิ ฐ และคณะโยมเลี้ยงพระลาํ ดับวนั ๕๕๐ เลม

- โยมผศู รัทธารว มระลกึ วาระครบ ๒๐ ป สถานพาํ นกั สงฆส ายใจธรรม ๕๓๗ เลม

- คณะผศู รัทธารว มใจเผยแผธ รรม ๕,๗๑๘ เลม

แบบปก: พระชัยยศ พทุ ฺธวิ โร

พมิ พที่ สาํ นักพิมพผลิธมั ม

๖๑/๘๕๐ หมู ๓
ต.บางปลา อ.บางพลี
จ.สมทุ รปราการ ๑๐๕๔๐

โทร. ๐๒-๗๕๐-๗๗๓๒
โทรสาร ๐๒-๗๕๐-๗๖๓๒

คําปรารภ

“โยมสรา งวัด พระสรางคน” คาํ นีบ้ างทา นอาจจะวาไมถ ูก ที่ถกู น้นั
ตรงกนั ขา ม แตทแ่ี ท ถกู แลว นแี่ หละคอื หลกั สาํ คัญ

พระพุทธเจา ทรงสอนไววา โยม คือพทุ ธศาสนิกชนผมู ศี รัทธา อปุ ถัมภ
บํารุงพระสงฆดว ยปจ จยั สี่ อนั มเี สนาสนะรวมทง้ั อารามวัตถสุ ถานเปนปจ จยั ท่ี
๓ สวน พระ เมอ่ื ดานวตั ถไุ มต อ งกังวล ก็มงุ เกอ้ื หนนุ ประชาชนดว ยการฝก
อบรมสอนสรา งผูม ีกายเกดิ มา ใหเ ปน คนทเ่ี จริญงอกงามเติบใหญใ นไตรศกึ ษา
มีศีล มีสมาธิ มีปญญา

ดงั นน้ั ทีว่ ดั ญาณเวศกวนั นี้ ท้ังตามหลักท่ีกลา วน้ัน และโดยความเปน
มาของวัดที่เกิดขึ้นจากญาติโยมชวยกันหารวมกันสรางเพ่ือใหพระมีที่สัปปายะ
ทจ่ี ะบาํ เพญ็ สมณกจิ ทาํ งานพระศาสนาไดด วยดี เรือ่ งวตั ถุสถานการกอสรางจงึ
เปนภาระของญาติโยม ท่ีพระสงฆเพียงชวยดูแลระวังใหเปนไปอยางถูกตอง
ตามพระธรรมวินยั และสนองจุดหมายท่ีเปน กศุ ล

เสาศลิ าจารกึ แหง สารนาถ ของพระเจา อโศกมหาราช (จาํ ลอง) ทส่ี รา งขน้ึ ดัง
ปรากฏในวัดอยูบ ัดน้ี ก็มีความเปน มาตามหลกั และประเพณที ีไ่ ดกลาวขา งตน

เมอื่ ไดทราบจากญาตโิ ยมวาเสาอโศกจะเสรจ็ ทันวนั วิสาขบูชา และตอ มา
เลอ่ื นเปน ทนั วนั เขา พรรษา กไ็ ดบ อกญาตโิ ยมวา ทางดา นพระ จะใหม หี นงั สอื
แสดงเรอื่ งจารกึ อโศกออกมาใหท นั วาระนน้ั เขา คกู ันกับเสาอโศกที่เปนวัตถุดวย
เพื่อสือ่ ใหเ สาอโศกเปน แหลง แหงการศึกษา เปน ที่เจริญกุศล สบื ตอ ไป

หนังสือเร่ือง จารึกอโศก (ธรรมจักรบนเศียรสี่สิงห) รัฐศาสตรแหง

ธรรมาธิปไตย จงึ เกดิ มขี ึ้นโดยนยั ดังทว่ี า
ความเปน มาในสว นรายละเอียด และขอควรทราบอยา งอ่ืน ทานที่สนใจ

พึงอานเพ่มิ เติมในทายเลมหนงั สือน้ี

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต)

๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒



สารบญั

คําปรารภ ก

จารึกอโศก (ธรรมจักรบนเศียรสี่สิงห) ๑

รัฐศาสตรแ หงธรรมาธิปไตย

ภาค ๑

นิเทศ จารึกอโศก

เปดเรอื่ ง ๑

อังกฤษรอื้ อิฐหนิ เปดทางให
ยอนไปดอู ดตี อันตระการของชมพูทวีป............................................ ๑

จารึกอโศกสบื ประวัติ
ขานรบั กับคมั ภีรพุทธศาสนา ............................................................๖

จารึกอโศกแนชัด
คือเกยี รตปิ ระวตั ิแหงชาตอิ ินเดยี ...................................................๑๒

อเลกซานเดอรม หาราช
สืบโยงอยางไรกบั อโศกมหาราช.....................................................๑๕

๑. ดอู ินเดยี พทุ ธกาลถึงอโศก ๑๙

พทุ ธกาล: ๑๖ แควน ใหญจรงิ ๕............................................. ๖

สูความยง่ิ ใหญหนึ่งเดยี ว: เหลอื มคธ หมดวชั ชี....................... ๑๙

สูค วามยงิ่ ใหญหน่งึ เดยี ว: เหลือมคธ หมดโกศล..................... ๒๘

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ค

มคธยิง่ ใหญเปนหนึ่ง: หลายราชวงศท ีผ่ นั ผา น........................ ๓๑

สืบสายราชวงศอโศก: พุทธกาลถึงครองมคธ ......................... ๓๖

อโศกมหาราช: ตอ เมอื่ ดี จึงยงิ่ ใหญจรงิ ................................. ๔๒

ทรัพยแ ละอํานาจตอ งรับใชธ รรม .......................................... ๔๘

๒. อโศกธรรม - ธรรมวิชยั ๕๑

อโศกมหาราช - อโศกธรรม.................................................. ๕๑

ราชาสอนทิฏฐธรรม - พระสอนลํ้าเลยตอ ไป .......................... ๕๖

พระพฒั นาคน - รฐั พฒั นาพลเมือง........................................๖๐

ธรรมราชา - ธรรมวชิ ัย..........................................................๖๖

ธรรมวชิ ยั : จากหลกั การมาเปน นโยบาย................................ ๖๙

อโศกธรรม - โพธสิ ัตวธรรม .................................................. ๗๒

จกั รพรรด-ิ ธรรมราชา........................................................... ๗๗

จากดพู ทุ ธพจน มาอานธรรมโองการ..................................... ๘๒

ทฏิ ฐธัมมิกัตถ คือมาตรวดั นกั ปกครอง .................................. ๘๙

เสรภี าพ เพื่อเขา ถงึ โอกาสแหง ธรรมบรกิ าร ............................ ๙๕

คนออนแอเกินไป จึงรักษาสนั ติไมไ หว................................... ๙๗

เลกิ บชู ายญั หันไปแบง ปน.................................................๑๐๒

แบงปน ใหอยูก นั ดี พรอมทีจ่ ะพัฒนาในธรรม .......................๑๐๕

ภาค ๒ ๑๑๕
๑๑๖
ตัวบท จารึกอโศก ๑๒๑

บญั ชศี ิลาจารกึ ๑๔๑
ความนํา ๑๖๗
หมวด ก: ศิลาจารึกฉบบั จําเพาะ และเบ็ดเตลด็

(รวมทง้ั จารึกพเิ ศษแหงกลิงคะ)

หมวด ข: จารกึ ศลิ า ๑๔ ฉบบั
หมวด ค: จารกึ หลักศิลา ๗ ฉบับ

บทเฉพาะที่

เสาจารึกอโศก (จําลอง) วัดญาณเวศกวัน

๑. คาํ “จารกึ หลกั ศลิ าทสี่ ารนาถ” บน เสาศลิ าจารกึ อโศก (จาํ ลอง) ๑๘๙

๒. คําจารึกบน ๘ แทนหิน ทางดานตะวันออกของเสา ๑๙๑

แผน ๑ คํา “จารึกหลักศิลาท่ีสารนาถ” บนเสาศิลาจารึกฯ (๑๘๙)

คูซา ย ๑๙๑
แผน ๒–๓ คําอธิบาย “สีส่ งิ ห ทนู ธรรมจกั ร”

คูกลาง
แผน ๔–๕ ตวั อยา งคาํ จารกึ เพอื่ เทยี บธรรมในพระไตรปฎ ก ๑๙๔

คูขวา ๑๙๗
แผน ๖–๗ พุทธพจนจากพระไตรปฎก

เพ่ือสบื ท่มี าของธรรมในศลิ าจารกึ ของพระเจา อโศก

แผน ๘ ทด่ี นิ ทตี่ ง้ั วดั ญาณเวศกวนั ๓ แปลง
ซง่ึ ตอ กนั ณ หลกั เขตจดุ ทปี่ ระดษิ ฐานเสาศลิ าจารกึ ฯ(จําลอง) ๒๐๐

ทายเลม: ตนเร่ือง ๒๐๑



ภาค ๑

นเิ ทศ จารกึ อโศก



จารึกอโศก

(ธรรมจกั รบนเศยี รสี่สิงห)

รฐั ศาสตร์แห่งธรรมาธิปไตย

-E-

เปดิ เรื่อง

องั กฤษรื้ออิฐหนิ เปดทางให
ยอ นไปดูอดตี อันตระการของชมพทู วีป

พระพทุ ธศาสนาเกดิ ขึ้นเมือ่ ๒๕๙๗ ปม าแลว (พ.ศ.๒๕๕๒
+ พทุ ธกิจ ๔๕ พรรษา) ในชมพูทวปี คอื ดนิ แดนทเี่ ปนประเทศ
อนิ เดยี รวมทัง้ บังคลาเทศ จนถงึ ปากีสถาน และอัฟกานสิ ถานใน
ปจจุบัน แลวไดรุงเรืองและเจริญแพรหลายออกไปในนานา
ประเทศทว่ั ทวีปเอเชยี จนมาบดั น้ี กําลังแผขยายไกลออกไปในซีก
โลกทางตะวนั ตก

๒ หลกั ศิลาจารกึ อโศก

แตใ นชมพูทวีปเอง เม่ือพระพทุ ธศาสนาเจริญรงุ เรอื งสืบมา
ไดป ระมาณ ๑,๗๐๐ ป คร้ันถงึ ชวง พ.ศ.๑๗๔๑–๑๗๕๐ (ค.ศ.
1198-1207) กองทพั มุสลิมเตอรกไดบ ุกเขา มาทางตะวันตกเฉียง
เหนอื หลงั จากทาํ สงครามชนะมาตามลาํ ดบั กไ็ ดรกุ รบเขา มาแถบ
แควนพิหารและเบงกอล แลว ฆา ฟนผคู นทีไ่ มย อมเปลย่ี นศาสนา
สงั หารพระภกิ ษสุ งฆ เผาวดั ทาํ ลายสถานทส่ี ําคัญ เชน มหา
วทิ ยาลัยพทุ ธศาสนาทกุ แหง และกวาดขนเอาทรัพยสินไปหมดสิน้
ทําใหพ ระพทุ ธศาสนาสูญสนิ้ ไปจากชมพทู วปี โดยถอื วาการเกิด
ขึ้นของรฐั สุลตานแหงเดลีใน พ.ศ.๑๗๔๙ เปนจุดกําหนด และเร่อื ง
ราวของพระพุทธศาสนา ทีเ่ จริญรงุ เรอื งในอนิ เดียมา ๑๗ ศตวรรษ
ครึ่ง ก็ถงึ กาลอวสานแตบัดนั้น

เม่ือเวลาผานมา เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาก็เลือน
หายไปจากความทรงจําของชาวชมพูทวีป และซากปูชนียสถาน
โบราณวัตถุท้ังหลายท่ีมากมายท่ัวทวีป ก็ถูกทับถมจมลงใตผืน
แผน ดนิ หายไปจากสายตาของประชาชน ไมเ หลอื รอ งรอย จนคน
อินเดียไมรูจักพระพุทธศาสนา ไมเคยไดยินพระนามอโศกธรรม
ราชา ในขณะที่พระพุทธศาสนาน้ันไปรุงเรือง และพระนามศรี
ธรรมาโศกราชเปนท่ีเลาขานสืบกันมาไมข าดสาย ในประเทศทีห่ าง
ไกลจากอนิ เดยี ออกไป

กาลลว งมาจนถงึ พ.ศ.๒๓๐๐ (ค.ศ.1757) อินเดยี เริ่มเสียดิน
แดนตกไปอยูใตการปกครองของอังกฤษ ต้ังตนแตแควนเบงกอล
มาตามลาํ ดบั จนองั กฤษรวมปกครองประเทศในป ๒๓๑๗/1774
และในท่ีสุด อังกฤษก็เนรเทศกษัตริยโมกุลองคสุดทายไปยงั เมือง
รางกงุ ลม ราชวงศมขุ าลลง แลว ครอบครองอนิ เดยี เปน อาณานิคม

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๓

โดยสมบรู ณใ น พ.ศ.๒๔๐๑ (ค.ศ.1858) กบั ทง้ั ตอ มากไ็ ดร วมพมา
เขา มาเปน แควน หนงึ่ ในประเทศอนิ เดยี ขององั กฤษในป ๒๔๒๙/1886

ระยะเวลาเกอื บ ๒ ศตวรรษแหง การปกครองขององั กฤษ ได
กลายเปนยุคแหงการเปดทางยอนกลับไปชมอดีตอันรุงเรืองย่ิง
ใหญในประวตั ศิ าสตรของชมพทู วปี

ท้ังนี้ จะดวยเหตุท่ีชนชาวอังกฤษผูมาปกครองนั้นลวนเปน
คนมีการศึกษาสูงมีความใฝรูท่ีฝงลึกสนิทแนนมาในภูมิหลังของ
ชาติ หรือดวยความเปนนักปกครองผฉู ลาดทพ่ี งึ รทู นั เทา เขา ใจถน่ิ
แดนและประชากรทต่ี นไปปกครอง หรือเพราะการทจ่ี ะธํารงรักษา
อํานาจความย่ิงใหญไวไดจะตองมีศักด์ิศรีแหงการทรงภูมิปญญา
ท่ีเหนือกวา หรือแมเพียงเพ่ือจะรักษาเกียรติภูมิแหงปรีชาญาณ
ของความเปน ชนชาติทีม่ ีอารยธรรมสูงใหญน าํ หนา หรอื ดวยเหตุที่
จะนําความรูประวัติศาสตรดานบูรพทิศท่ีเชื่อมตะวันตก-ตะวัน
ออกโยงถึงกันไปเสริมความรูประวัติศาสตรแหงอารยธรรมตะวัน
ตกของตนและขยายพรมแดนแหงวิชาประวัติศาสตรโ ลก เชน เรื่อง
การเดินทัพของอเลกซานเดอรมหาราชมาทางอาเซียกลางอันให
เกิดอาณาจกั รกรีกแหงโยนก เปน ตน

จะดวยขอใดในเหตุผลท่ีกลาวมา หรือดวยเหตุผลทั้งหมด
นั้นหรือหลายขอรวมกันก็ตาม ราชการของจักรภพอังกฤษได
สนับสนุนและรับเอางานสํารวจและขุดคนทางโบราณคดีอินเดีย
เปนกจิ การของรัฐ เร่ิมแตวอรเรน ฮาสตงิ ส (Warren Hastings) ผู
สําเร็จราชการของอังกฤษ ไดยอมรับเขาโอบอุมสนับสนุนอาเซีย
สมาคมแหง เบงกอล (Asiatic Society of Bengal) ทตี่ ้งั ขน้ึ โดย

๔ หลักศลิ าจารึกอโศก

เซอร วิลเลยี ม โจนส (Sir William Jones) ใน พ.ศ.๒๓๒๗
(ค.ศ.1784) ตลอดจนอุปราชแหงอินเดยี คนแรก คอื ลอรดแคนนง่ิ
( L o r d C a n n i n g ) ไ ด ตั้ ง ส ว น ร า ช ก า ร โ บ ร า ณ ค ดี ขึ้ น
(Archaeological Department) ในป ๒๔๐๓/1860 แลว งาน
โบราณคดีในอินเดียก็ไดผูกพันมั่นสนิทอยูในนโยบายของรัฐบาล
อังกฤษตลอดมาจวบจนอินเดยี ไดเอกราชในป ๒๔๙๐/1947

ขอ ความทป่ี รากฏใน วารสารเอเชยี สมาคมแหง เบงกอล ป ๒๔๐๕
(Journal of the Asiatic Society of Bengal for 1862) ตอไปน้ี คงบอก
ถงึ ความนกึ คิดของรฐั บาลอังกฤษไดบา งอยา งนอยกส็ วนหน่งึ

ในฐานะเปน เจา อาํ นาจผปู กครองทม่ี ปี รชี าญาณ มนั จะ
ไมเ ปน เกยี รตเิ ปน ศรแี กเ ราแตอ ยา งใดเลย ถา เรายงั ปลอ ย
ใหแ หลง งานสบื คน ดงั เชน ซากนครหลวงเกา ของชาวพทุ ธ
ในรฐั พหิ าร๑ ถนิ่ ทรี่ าบรอบกรงุ เดลี อนั พรง่ั พรบ่ึ ไปดว ย
สถานทป่ี รกั หกั พงั หนาแนน ยงิ่ กวา แมแ ตแ คมปานยา แหง
กรงุ โรม และทอี่ นื่ ๆ อกี เปน อนั มาก ไมไ ดร บั การสาํ รวจ
ตรวจตราเพมิ่ ขน้ึ ใหม ากกวา เทา ทไี่ ดท าํ กนั มา

แตไมวาจะอยางไรก็ตาม ความสําเร็จที่แทของงานสํารวจ
และขุดคน ทง้ั หมดน้นั เกดิ จากฉันทะและความเพยี รพยายามอยา ง
อทุ ศิ ชวี ิตจิตใจของบคุ คลบางทานทีม่ ใี จรกั และใฝรูอยา งแทจรงิ

บุคคลท่ีควรกลาวถึงเปนพิเศษ เร่ิมดวยเจมส ปรินเสป
(James Prinsep, ค.ศ.1799-1840) เลขานกุ ารของเอเชยี สมาคม
แหงเบงกอล ซึ่งเปนบุคคลแรกท่ีเพียรพยายามอานตัวอักษร
พราหมี และอักษรขโรษฐี จนอานศิลาจารึกของพระเจาอโศก

๑ คงหมายถงึ เมอื งปาตลบี ตุ รหรอื ปต นะ(Patna)ซง่ึ เปน เมอื งหลวงของพระเจา อโศกมหาราช

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๕

มหาราชไดสาํ เรจ็ ในป ๒๓๘๐/1837
แลวก็มาถึงบุคคลท่ีถือไดวาสําคัญท่ีสุดในการร้ือฟนพุทธ

สถาน คือ เซอรอเลกซานเดอร คันนิงแฮม (Sir Alexander
Cunningham) ซึ่งเดิมทีมารบั ราชการทหารในอินเดีย แตเ ม่ือได
พบกับเจมส ปรินเสป ก็เกิดความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร
อินเดยี และชอบศกึ ษาโบราณวัตถทุ ้งั หลาย พอถึงป ๒๔๐๔ ขณะ
เปนพลตรี รับราชการมาได ๒๘ ป ก็ขอลาออก เพ่ืออุทศิ ชีวติ อุทศิ
เวลาใหแ กการขดุ คน วดั วาอารามโบราณสถาน

คันนิงแฮมไดเรียกรองกระตุนเราใหรัฐบาลเอาจริงเอาจังใน
การอนุรักษและคนควาวิจัยเร่ืองโบราณวัตถุสถานอยางเปนระบบ
และมีมาตรฐาน เปนเหตุใหรัฐบาลอังกฤษตั้งหนวยงานสํารวจ
โบราณคดีอินเดียข้ึนในป ๒๔๐๔/1861 เรียกวา Indian
Archaeological Survey โดยเปนการช่ัวคราวกอ น มคี นั นงิ แฮม
เปน ผอู าํ นวยการ และตอมาในป ๒๔๑๓/1870 กไ็ ดต้งั ข้ึนใหมเปน
Archaeological Survey of India โดยมคี นั นิงแฮมเปน ผอู าํ นวย
การใหญ (Director General) คนั นิงแฮมอุทิศตัวทํางานน้ตี อมา
จนอายุ ๗๑ ป จงึ ลาเลิกใน พ.ศ. ๒๔๒๘/1885

คันนิงแฮมไดทํางานขดุ คน ฟนฟทู ี่สาํ คัญ เชน สารนาถ สาญจี
ตักสิลา และพุทธคยา สวนรายงานการสํารวจขุดคนท่ีไดตีพิมพ
ออกมา ก็มีประมวลจารกึ พระเจา อโศกมหาราชซ่งึ เปนชดุ แรกดวย

ดวยอาศัยการศึกษาคนควาของชาวอังกฤษที่มีเซอรอเลก
ซานเดอร คันนิงแฮม เปน ตัวชูน้ี พุทธปชู นียวตั ถุสถาน และพระ
เกยี รติประวตั ิของพระเจาอโศกมหาราช ทจ่ี มซอ นอยูใตผนื แผน ดิน

๖ หลกั ศิลาจารึกอโศก

และจางหายไปหมดแลว จากความทรงจําของชาวอนิ เดียเอง ก็ได
ปรากฏขึน้ มาใหชืน่ ชมบชู ากันใหม

จารึกอโศกสบื ประวตั ิ

ขานรบั กับคมั ภีรพ ทุ ธศาสนา

เคยมผี สู งสัยวา มหี ลกั ฐานอะไรทแ่ี สดงวา ศิลาจารกึ นพ้ี ระ
เจาอโศกสรา งไว อันนีเ้ ปนศลิ าจารึกของพระเจา อโศกมหาราช

เม่ือจะตอบขอสงสัยนี้ ควรขยายคาํ ตอบใหกวางออกไปอกี
นอกจากหลักฐานวาเปนศิลาจารึกของพระเจาอโศกแลว ก็ตอบ
ดวยวา แนใจไดอยางไรวา จารึกของพระเจาอโศกนัน้ แสดงหลกั
และเร่อื งราวในพระพทุ ธศาสนา

หลักฐานในเรื่องนี้ นอกจากดใู นศลิ าจารึกเองแลว ก็ดูความ
สอดคลองหรือยืนยันกันระหวางศิลาจารึกกับขอมูลในเอกสารคือ
คัมภีรพุทธศาสนา และอีกอยางหน่ึง คือเหตุการณในประวัติ
ศาสตรทเี่ กีย่ วของ เฉพาะอยางย่ิงความเปนไปในลังกาทวปี ซึง่ มี
เรอ่ื งราวเกีย่ วโยงหรืออางอิงกนั ตอ เน่อื งมา

ศลิ าจารึกของพระเจาอโศกน้ี มีขอ ความเขียนไวสง่ั สอนแนะ
นาํ แสดงนโยบายของพระเจา อโศกแกป ระชาชน เชน บอกใหคนที่
เปนเจา หนาท่บี านเมือง คลายๆ นายอําเภอและกาํ นนั อะไรพวกน้ี
นําเอาขอความนั้นๆ ไปบอกแจงชี้แจงอธิบายแกประชาชนของ
ตนๆ แสดงวาพระเจาอโศกใชศิลาจารึกเปนเครื่องมือในการสั่ง

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๗

สอนประชาชนและบรหิ ารราชการแผนดนิ เพราะในสมยั น้นั ไมได
ใชกระดาษอยา งทกุ วันนี้ ก็เลยใชศิลา ใหเ จา หนาทเี่ ขยี นจารึกไว
ตามท่ตี างๆ เชน โขดหนิ เขา ภผู า แลว กใ็ หมาอานไปบอกกัน

ความริเริ่มนี้นาจะเปนเหตุปจจัยอยางหน่ึงท่ีชวยใหประชา
ชนสมัยนั้นมีการศึกษา และวัดก็เปนศูนยกลางการศึกษาอยูแ ลว
ตําราฝรั่งบางเลมถึงกับบอกวา ในอินเดียสมัยพระเจาอโศกนี้
ประชาชนรูห นังสือมากกวา ยคุ ปจ จบุ นั จะจรงิ หรอื ไม เราไมเ หน็ เขา
คงประเมนิ เทยี บเคยี งตามสภาพ แตพ ดู ครา วๆ ไดว า เรอื่ งศลิ าจารกึ
และวดั นแี้ สดงวา สมัยนัน้ คนมีการศกึ ษาท่นี ับวาดี

ทีน้ี มีเครื่องหมายอะไรท่ีแสดงวาพระเจาอโศกเปนผูสราง
ศลิ าจารึกเหลานไี้ ว และเรือ่ งท่ีจารกึ ไวเ กีย่ วของกับพทุ ธศาสนา

ท่ีจริง การพิสูจนวา ศิลาจารึกน้ีเปนของพระเจาอโศก
มหาราช คือพระเจาอโศกสรางไวน้ัน เปนเร่ืองของนักประวัติ
ศาสตร-โบราณคดี ท่ีเขาไดศึกษาและวนิ ิจฉัยกนั ไว ถา จะใหต รง
เรือ่ งกค็ อื เราควรไปฟง ไปอานเร่ืองทีเ่ ขาเขียนช้แี จงรายงานไว

อยา งงายๆ ขอความในจารกึ หลายแหง กบ็ อกเหตกุ ารณท ่ีทํา
ใหนักประวัติศาสตรม่ันใจไดแลววา เปนพระเจาอโศกมหาราช
เชน เรอ่ื งการทาํ สงครามกบั แควนกลงิ คะ ทจ่ี ริงแคขอนี้ก็พอแลว

นอกจากขอความแบบนี้แลว ศิลาจารึกบางแหงก็ทําเปน
หลักหรือเปนเสาไวประกาศเรื่องเฉพาะที่ระบุชัดลงไปเลยทีเดียว
เชน ตรงท่ีประสูติของพระพทุ ธเจา กจ็ ารกึ บอกวา ณ สถานทนี่ ้ี
(คือลมุ พินีวัน) พระพุทธศากยมนุ ีไดป ระสูติ เปนตน และบนยอด
เสาที่มเี ครือ่ งหมายอยางรูปธรรมจกั รก็บอกชดั อยูในตวั

๘ หลักศิลาจารกึ อโศก

ในคัมภีรต้ังแตอรรถกถาจนถึงพวกพงศาวดารลังกาท่ีรักษา
กันมานอกชมพูทวีปเปนสหัสวรรษ โดยผูเรียนและผูรักษาไมเคย
มารูม าเห็นเรอ่ื งในอินเดยี บอกเหตกุ ารณ เรอ่ื งราว ลาํ ดบั กษัตรยิ 
ราชวงศ กาลเวลา ยคุ สมัย ตรงกับทต่ี กลงกันนํามาเขียนในตํารา
ประวัตศิ าสตรท ่ีใชเ ปนหลกั กนั อยูใ นปจ จบุ ัน

ศิลาจารึกของพระเจาอโศกนี้ มีคําข้ึนตนบอกไวชัดทุกครั้ง
เปนแบบเลย คอื ประโยควา “สมเด็จพระเจา้ อยูห่ วั ปิยทัสสผี เู้ ปน็ ทร่ี ัก
แหง่ ทวยเทพ ตรัสว่า” หรืออะไรอยางน้ี ขอความน้ีบงชัดวาเปน คํา
ของพระเจา แผน ดิน แลวคิดงา ยๆ เวลาน้ัน ใครเปนพระเจาแผน ดนิ
ก็ยอมเปนการจารึกคําของราชาพระองคน้ัน น่ีคือแนวาเปนพระ
เจา อโศก

ตรงนีม้ ีเกร็ดความรทู ่ีนาสงั เกตแทรกเขามาหนอ ย คอื คําท่ี
เรยี กพระเจา อโศกในจารกึ ใชวา “สมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัวปยิ ทสั สผี ู้เปน็ ทีร่ กั
แหง่ ทวยเทพ” อนั นแ้ี ปลจากคาํ ในจารกึ วา “เทวานัมปยะ ปย ทัสสี ราชา”

ทนี ้ี ในอรรถกถาจนถึงตํานานยอ ยๆ ในลังกา เลาวา ตอนท่ี
พระเจาอโศกครองชมพทู วีปนนั้ ลังกา (เวลาน้นั เรยี กวา ตมั พปณณิ
ทวปี ) มีราชาพระนามวา“เทวานัมปย ตสิ สะ”

พระเจาอโศกกับพระเจาเทวานัมปยติสสะน้ี เปนพระสหาย
ซึ่งไมเคยพบกัน ไมเคยเห็นองคกัน (อทิฏฐสหาย) และพระมหินท
เถระ โอรสของพระเจา อโศกก็นําพระพทุ ธศาสนาไปประดษิ ฐานใน
ตัมพปณณิทวีปในรัชสมัยของพระเจาเทวานัมปยติสสะนี้ ในปท่ี
๑๘ แหงรัชกาลพระเจาอโศกมหาราชนับแตราชาภิเษกแลว คือ
พ.ศ.๒๓๖ (ตําราฝร่งั ประมาณวา 251 BC แตน า จะเปน 248 BC)

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๙

พระนามของกษตั ริยล ังกาพระองคน ้ีท่วี า “เทวานมั ปย ตสิ สะ”
ทําใหนึกถึงพระนามของพระเจาอโศกมหาราชท่ีเรียกในศิลาจารึก

วา “เทวานัมปย ะ ปยทัสส”ี แลว กค็ ิดไปวา มอี ะไรโยงใยกนั ในการตง้ั

พระนามบางไหม (พระเจาเทวานัมปยติสสะขึ้นครองราชยในปท่ี
๑๗ แหง รัชกาลพระเจา อโศกมหาราช แลว ปต อมา พระมหินทก น็ ํา
พระพทุ ธศาสนาไปยงั ลงั กา)

[คาํ วา “เทวานมั ปิยะ” นี้ ตามปกติ ถือเปน คาํ หนง่ึ ในจาํ พวก
คําเรยี กแสดงความเคารพนับถอื หรอื ใหเกยี รติ เหมือนทีเ่ รียกพระ
ดว ยคําวา “อายสฺมา” และ “อายสมฺ นโฺ ต”]

ทนี ก้ี ม็ จี ดุ สาํ คญั ทีศ่ ิลาจารกึ บอกเหตุการณซงึ่ มาบรรจบกบั
หลักฐานในคัมภรี  ซง่ึ ทาํ ใหเ ห็นวา องค “เทวานมั ปย ะ ปย ทสั สี ราชา”
หรอื “เทวานามปรยิ ะ ปริยทรรศี ราชา” ในศลิ าจารกึ นน้ั เปนองคเ ดยี ว
กับพระเจา อโศกมหาราชในคมั ภรี 

ขอยกขอความตอนหน่ึงในศิลาจารึกมาใหดูกัน (คัดมาใหดู

เพยี งสว นหนงึ่ ขอ ความเตม็ พึงอา นในตอนวาดว ยจารึก ขา งในเลม )

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เปน็ ทรี่ ักแหง่ ทวยเทพ
ได้มีพระบรมราชโองการให้ประกาศแก่มหาอาํ มาตยท์ ง้ั หลาย
ณ พระนครปาฏลีบตุ ร และ ณ นครอ่นื ๆ วา่

สงฆ์ (อันข้าฯ) ได้ทําให้สามัคคีเป็นอันเดียวกันแล้ว
(“สเํ ฆ สมเค กเฏ”) บคุ คลใดๆ จะเปน็ ภกิ ษุ หรอื ภกิ ษณุ กี ต็ าม
ไมอ่ าจทาํ ลายสงฆไ์ ด้

ก็แล หากบคุ คลผใู้ ด จะเปน็ ภกิ ษุหรอื ภิกษุณกี ็ตาม จัก
ทาํ สงฆ์ใหแ้ ตกกัน บุคคลผ้นู ้ันจักต้องถกู บงั คับใหน้ ุ่งหม่ ผ้า
ขาว และไปอยู่ ณ สถานทอี่ นั มิใช่วดั

๑๐ หลักศิลาจารึกอโศก

พงึ แจ้งสาสน์ พระบรมราชโองการนีใ้ ห้ทราบทัว่ กัน ทั้งใน
ภิกษสุ งฆแ์ ละในภิกษุณีสงฆ์ ด้วยประการฉะนี้

พระผู้เปน็ ท่รี กั แห่งทวยเทพได้ตรสั ไว้ดังนี้:- ก็ประกาศ
พระบรมราชโองการเช่นนี้ ท่านทง้ั หลายพงึ นําไปติดไว้ ณ
ทางสัญจรภายในเขตใกล้เคียงของท่านทั้งหลายฉบับหนึ่ง
และจงเก็บรักษาประกาศพระบรมราชโองการอันเดียวกันนี้
แล ไว้ในเขตใกลเ้ คยี งของอุบาสกทงั้ หลายอกี ฉบบั หนึ่ง

ทกุ ๆ วนั อุโบสถ บรรดาอุบาสกเหล่านน้ั พึงทาํ ตนให้มี
ความรู้ความเข้าใจแนบแน่นในประกาศพระบรมราชโองการ
นี้ และทุกๆ วันอุโบสถ มหาอํามาตย์ทกุ ๆ คนพึงไปรว่ มใน
การรกั ษาอโุ บสถด้วยเป็นประจาํ เพอ่ื จกั ไดเ้ กดิ ความคนุ้ เคย
แนบสนทิ และรเู้ ข้าใจทั่วถึง ซึ่งประกาศพระบรมราชโองการ
น้นั แล…

ธรรมโองการนี้ ในจารึกเองก็บอกวาไดโปรดใหติดประกาศ
ทั่วไปทุกหนแหง แตเฉพาะทน่ี ักโบราณคดีขุดคนพบแลว ๓ แหง มี
ขอ ความยาวสั้นกวากนั บา ง แตท กุ แหง มีตอนสาํ คญั คือยอหนา ที่
๒-๓ [สงฆ์ (อันขา้ ฯ) ได้ทาํ ให้สามคั คี ณ สถานทอ่ี ันมใิ ชว่ ัด]

สามแหงท่ีพบจารึกนี้ คือ ที่ สารนาถ โกสัมพี และสาญจี
การท่ีจารึกตางแหงบอกเหมือนกันวา “สงฆอันขาฯ ไดทําใหสามัคคี
กันแลว” แสดงวาเปนเหตุการณใหญของสวนรวมทั่วทั้งแวนแควน
ไมใชเร่ืองเฉพาะของท่ีนั้นๆ (สารนาถ วัดระยะทางผานโกสัมพี
ไปถงึ สาญจี = ๖๐๐ กม.) และขอ ความตอนทา ยๆ ของจารกึ เอง ก็
บอกใหมหาอาํ มาตยดําเนินการรกั ษาสามัคคนี ที้ ั่วทกุ หนแหง

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๑

การทาํ ใหสงฆสามัคคี ก็แสดงวาไดมีการแตกแยก และ
ไดแกปญหาความแตกแยกน้ันเสร็จแลว

น่ีก็คือการสังคายนาครั้งท่ี ๓ ที่เมืองปาตลีบุตร ที่พระ
เจาอโศกทรงอุปถัมภ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕ ซึ่งคัมภีรสมันตปาสาทิกา
ไดเลาไว และบอกดวยวา พระท่ีกอปญหา (ทานวาปลอมบวช
เขามา) ไดถูกบังคับใหนุงผาขาว (=ใหสึกออกไป) ดังความ
ตอนหน่ึงในสมันตปาสาทิกาน้ัน (วินย.อ.๖๐) วา

ในวันท่ี ๗ พระราชา (อโศก) โปรดใหประชุมภิกษุ

สงฆท อ่ี โศการาม … ทรงทราบวา พวกนม้ี ใิ ชภ กิ ษุ พวกนเี้ ปน

อัญเดียรถีย พระราชทานผาขาวแกบุคคลเหลานั้น ให

สึกเสีย … ลําดับนั้น พระราชาตรัสวา “พระคุณเจาผู

เจริญ บัดน้ี พระศาสนาบริสุทธิ์แลว ขอภิกษุสงฆจงทํา

อุโบสถเถิด” พระราชทานอารักขาแลว เสด็จคืนสูพระ

นคร สงฆซึ่งสามัคคีกันแลว ไดกระทําอุโบสถ

ตามศิลาจารกึ แสดงวา แมส งฆจ ะสามัคคีกันไดแลว มาตร-
การท่ีจะรักษาความสามัคคีน้ันใหหนักแนนมั่นคง พรอมทั้ง
ปองกันปญหาอันอาจจะมีข้ึนอีก ก็ยังดําเนินตอไป โดยใหมหา
อํามาตยดูแลรับผิดชอบตามความในจารึกน้ัน

เร่ืองราวท่ีเปดเผยออกมาดวยซากพุทธสถานของจริงและ
จากธรรมลิปคือขอมูลลายสือธรรมในศิลาจารึกของพระเจาอโศก
มหาราช ที่แหลงเดิมในชมพูทวีป ซึ่งเพ่ิงฟนขึ้นพบกันใหม มา
ประสานขานรับกบั บันทกึ และตํานานในคัมภีรพ ระพทุ ธศาสนา ต้งั
แตพ ระไตรปฎ ก และอรรถกถาลงมา ซ่งึ รกั ษาสบื ทอดกันไวนานนกั
หนาในประเทศพทุ ธศาสนาที่หา งไกลจากชมพูทวปี

๑๒ หลักศิลาจารกึ อโศก

จารกึ อโศกแนช ดั

คือเกยี รติประวัติแหง ชาตอิ ินเดีย

ขอยกอีกตัวอยางหน่งึ คมั ภีรอ รรถกถาและฎีกาเลาวา๑ พระ
เจาอโศกมหาราช เมื่อยงั เปน ราชกุมาร ไดรับพระราชบัญชาใหไป
เปน อุปราชครองแควน อวันตี ทเ่ี มอื งอุชเชนี ระหวางทางกอนถงึ
อุชเชนี อโศกกุมารไดแ วะทีเ่ มืองเวทสิ และ ณ ทน่ี ี้ อโศกกุมารได
พบกบั ธดิ าเศรษฐี นามวา เวทิสา และไดเ ธอเปน คูครอง นําไปอยู
ดว ยท่นี ครอุชเชนี แลว ประสูติโอรสนามวาเจาชายมหินทะ และตอ
มาอกี ๒ พรรษา มีราชธิดานามวาสงั ฆมิตตา

เจาชายมหินทะ และเจาหญิงสังฆมิตตาน้ี ตอมาได
อุปสมบท แลว พระมหินทเถระพรอมดวยคณะภิกษสุ งฆไดน ําพระ
พุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกาทวีป และพระสังฆมติ ตาเถรกี ็
ไดนาํ ภิกษุณีสงฆไปประดิษฐานในลงั กาทวปี นนั้ ตามตอมา

อรรถกถายงั เลา ตอ ไปอีกดวยวา กอนท่ีพระมหินทเถระจะไป
ลังกาทวปี ทา นไดเดินทางมาเยย่ี มโยมมารดา คอื พระเวทิสาเทวี ท่ี
เมอื งเวทิสนคร และคร้งั นัน้ พระนางเวทิสาไดสรา งวดั ถวาย ตั้งช่อื
วาเวทิสครี มี หาวิหาร

คมั ภีรส ารัตถทีปนบี อกดวยวา เวทสิ นครนน้ั อยูหางจากพระ
นครปาตลีบตุ ร ๕๐ โยชน คือ ๘๐๐ กโิ ลเมตร

คร้ันถึงยุคองั กฤษครองอินเดีย ทพ่ี ทุ ธสถานจมดนิ หมดแลว

๑ อรรถกถา คอื สมนั ตปาสาทกิ า (วนิ ย.อ.๑/๗๐) ฎกี า คอื สารตั ถทปี นี (วนิ ย.ฏ.ี ๑/๘๐, ๒๓๖)

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๑๓

นี้ เซอรอเลกซานเดอร คนั นิงแฮม เมอ่ื ไดขุดฟนพระสถปู และวดั วา
อาราม ณ สารนาถ สถานทแี่ สดงปฐมเทศนา ในชว งทศวรรษ 1830s
(ราว พ.ศ.๒๓๗๕)แลว กไ็ ดม าทาํ งานขดุ ฟน ทเ่ี มอื งเวทสิ นี้ ซงึ่ ปจ จบุ นั
เรียกวา เมืองวิทศิ ในชว งทศวรรษ 1840s (ราว พ.ศ.๒๓๘๕)

แตใ นสมยั ของคันนงิ แฮม ชอ่ื เมอื งน้คี นเรยี กกันเพย้ี นไปเปน
ภลิ สะ/Bhilsa จนกระทัง่ ถึงป ๒๔๙๙/1956 รฐั บาลอินเดียจึงให
เปล่ียนช่ือกลับไปเรียกใหถูกตองตามเดิมวาเมืองวิทิศะ/Vidisha
ดังปรากฏในแผนที่ปจ จุบนั

ณ เมอื งวทิ ศิ ะน้ี คันนิงแฮมไดพ บและขุดฟนมหาสถปู ทีม่ ชี อ่ื
เรยี กกันในบัดน้ีวา “สาญจ”ี อันมีชื่อเสียงโดง ดงั มาก ท้งั สวยงาม
ใหญโตเดนสงา และยงั อยใู นสภาพท่นี ับวาดี อนั สบื กนั ไดวาพระ
เจาอโศกมหาราชไดทรงสรางไว (บางทีจะเปนทีว่ ัดซงึ่ คัมภีรบ อกวา
พระเวทสิ าเทวีไดทรงสรา ง?) และมกี ารซอ มเสรมิ ในยคุ ตอ ๆ มา

มหาสถูปสาญจีนี้ อยูหางจากเมืองปต นะ (คือปาตลีบตุ ร)
วัดเปนเสนตรงตามแผนที่ปจจุบันได ๘๐๐ กิโลเมตร จะโดย
บังเอญิ หรืออยา งไรก็ตาม ก็เทา กนั ตรงพอดกี ับท่ีบอกไวใ นสารตั ถ-
ทีปนี (ถา วัดจากตวั เมอื งวิทิศะปจ จุบนั ถงึ ปต นะ ได ๗๗๕ กม.)

ณ พทุ ธสถานสําคัญหลายแหง ไดพ บหลกั ศลิ าจารกึ ที่พระ
เจาอโศกมหาราชไดทรงประดิษฐานบอกความสําคัญไว โดย
เฉพาะทีส่ ารนาถ คอื ปาอิสิปตนะมฤคทายวนั ที่พระพุทธเจาทรง
แสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสตู ร ใกลเ มอื งพาราณสี มีเสา
หลกั ใหญซ ่ึงแมจ ะถกู โคนหรอื ลม ลงมาหักเปนทอ นๆ แตเห็นไดชัด
ถึงความหมายทย่ี งิ่ ใหญง ามสงา และศลิ ปะทป่ี ระณตี บรรจง

๑๔ หลักศลิ าจารกึ อโศก

นอกจากคําจารึกบนเสาหิน ซึ่งบงความสอดคลองกับเร่ือง
การทําสงั คายนาครั้งท่ี ๓ เม่อื พ.ศ.๒๓๕ ซงึ่ ไดแกป ญ หาความเหน็
ผิดเพี้ยนและความแตกแยกของสงฆ ดังท่ีไดกลาวถึงขางตนน้ัน
แลว หัวสงิ หทั้งสีเ่ ทนิ ธรรมจักรบนยอดเสาศิลาจารกึ นนั้ กม็ คี วาม
หมายสําคัญและโดดเดนขึ้นมาเช่ือมโยงประเทศอินเดียปจจุบัน
เขา สูประวัตศิ าสตรแ หงชมพูทวีปดวย

บนยอดเสาศิลาจารกึ ณ ท่ีแสดงปฐมเทศนานี้ มีสิงหส ต่ี ัว หัน
หัวไปสี่ทิศ บนเศียรสิงหเทินวงลอพระธรรมจักร นาจะสันนิษฐาน
ไดว า สิงหท้งั สี่เปนเครอ่ื งหมายของพระราชอํานาจ และพระราช
อํานาจนน้ั ตอ งรองรับอยูใตธ รรมและเชิดชูสง เสรมิ ธรรม

พรอมนัน้ สีส่ ิงหซงึ่ หันเศียรไปสี่ทิศ แผดเสียงบนั ลอื สหี นาท
เปนเครื่องหมายของความเขมแข็งม่ันคงองอาจในการประกาศ
สัจจธรรม คือหลักการแหงความจริงแทท่ีไมมีผูใดจะคัดคานตาน
โตไ ด (ธมมฺ จกกฺ ํ ปวตฺติต อปฺปฏิวตตฺ ยิ )

เมื่ออินเดียไดเอกราชพนจากการปกครองของอังกฤษ ในป
๒๔๙๐/1947 แมว า ชนชาวอนิ เดยี หรอื ภารตะเวลานนั้ แทบจะไมร จู กั
พระพทุ ธศาสนาแลว แตเ พราะตระหนกั วา รชั สมยั ของพระเจา อโศก
มหาราชท่ีรุงเรืองยิ่งใหญที่สุดในประวตั ศิ าสตรของอนิ เดยี ควรจะ
เปน สญั ลกั ษณข องชาติ จงึ ไดต กลงนาํ วงลอ พระธรรมจกั รมาวางไว
เปน สญั ลกั ษณท ใี่ จกลางของธงชาตอิ นิ เดยี และเอาเศยี รสส่ี งิ หห นั ไป
สท่ี ศิ มาตง้ั เปน ตราแผน ดนิ ของอนิ เดยี พรอ มทง้ั เขยี นคตไิ วใ ตเ ทา
สงิ หเ ปน คาํ สนั สกฤตวา “สตยฺ เมว ชยเต” (สจั จะเทา นน้ั ชนะ, Truth
alone triumphs.)

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๑๕

พระเจา อโศกมหาราช และการประกาศพระธรรมจกั ร จงึ กลบั
ฟน คนื มา พรอ มกบั การคนื ชพี ของชาตอิ นิ เดยี

พระเจา อโศกมหาราช แมจะสวรรคตไป ๒ พนั กวาปแลว ก็
ยังสรางเกียรติยศและความภูมิใจใหแกชนชาติอินเดียในปจจุบัน
เปนหลักที่อางอิงไดเสมอ ดังท่ีนักวิชาการสมัยใหมชาวตะวันตก
ซงึ่ มาศึกษาเร่ืองของอินเดยี แลว นาํ ไปกลา วขวัญสรรเสริญ อยา ง
H. G. Wells ทเ่ี ขียนตาํ ราประวัตศิ าสตรแ สดงความยกยอ งนับถือ
พระเจาอโศกมหาราช เปนกษัตริยท่ีโดดเดนพระองคเดียวใน
ประวัติศาสตรโ ลก๑

อเลกซานเดอรม หาราช

สบื โยงอยางไรกบั อโศกมหาราช

ศิลาจารึกของพระเจาอโศกมหาราชนนั้ นอกจากเปน ประวตั ิ
ศาสตรใ นตวั มนั เองแลว ยงั เปน หลกั ฐานทชี่ ว ยในการสบื คน เรอ่ื งราว
สว นอน่ื ในประวตั ศิ าสตรด ว ย

ตามปกติ ฝรง่ั ไมค อ ยไวใ จตวั เลขบอกกาลเวลาเปน ตน ของ
ชาวอนิ เดยี ซง่ึ เขาบอกวา มกั เปน ตาํ นานทว่ี า เอาเอง แตศ ลิ าจารกึ น้ี

๑ H.G. Wells เขยี นไวใน The Outline of History (N.Y.: Garden City Books, 1949, vol. I,

p. 404): “Amidst the tens of thousands of names of monarchs that crowd
the column of history, their majesties and graciousnesses and serenities
and royal highnesses and the like, the name of Asoka shines, and shines
almost alone, a star. From the Volga to Japan his name is still honoured.
China, Tibet, and even India, though it has left his doctrine, preserve the
tradition of his greatness. More living men cherish his memory to-day than
have ever heard the names of Constantine or Charlemagne.”

๑๖ หลักศิลาจารึกอโศก

เปน หลกั ฐานบอกกาลเวลาทแี่ นช ดั จงึ เกอ้ื กลู ยงิ่ ตอ การกาํ หนดเวลา
กาละยคุ สมยั ในประวัติศาสตรโ ลก เชอื่ มโยงระหวา งตะวนั ออกกบั
ตะวนั ตก ดงั ทใี่ นจารกึ ศลิ า ฉบบั ที่ ๑๓ กลา วถงึ พระนามของกษตั รยิ 
ทร่ี ว มสมยั หลายพระองคใ นอาณาจกั รทางฝา ยตะวนั ตก วา

สําหรับพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ ชัยชนะที่ทรงถอื ว่า
ยง่ิ ใหญท่ ส่ี ดุ ไดแ้ ก่ “ธรรมวชิ ยั ” (ชยั ชนะโดยธรรม) และธรรม
วิชัยน้ัน พระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพได้ทรงกระทาํ สาํ เร็จแลว้
ทงั้ ณ ทน่ี ี้ (ในพระราชอาณาเขตของพระองคเ์ อง) และในดนิ
แดนขา้ งเคยี งทงั้ ปวง ไกลออกไป ๖๐๐ โยชน์ ในดนิ แดนอนั
เปน็ ทปี่ ระทบั แหง่ กษตั รยิ โ์ ยนก (Ionian Greek) พระนามวา่
อนั ตโิ ยคะ (Antiochus) และดนิ แดนตอ่ จากพระเจา้ อนั ตโิ ยคะ
นน้ั ไป (คอื ในทางตะวนั ตกเฉยี งเหนอื ) อนั เปน็ ทปี่ ระทบั แหง่
กษตั รยิ ์ ๔ พระองค์ พระนามวา่ พระเจา้ ตรุ มายะ (หรอื ตลุ มย -
Ptolemy) พระเจ้าอันเตกินะ (Antigonos) พระเจ้ามคะ
(Magas) และพระเจา้ อลกิ สนุ ทระ (Alexander) และถดั ลงไป (ใน
ทางทศิ ใต)้ ถงึ … และในแวน่ แควน้ ภายในพระราชอาํ นาจของ
พระองคก์ เ็ ชน่ เดยี วกนั คอื แวน่ แควน้ ของชาวโยนก (Ionians
หรอื Greeks)และชนชาวกมั โพชะ (Kambojas)…

ทุกหนทุกแห่ง (ประชาชนเหล่าน้ี) พากันประพฤติ
ปฏิบตั ิตามคาํ สอนธรรมของพระผเู้ ปน็ ท่ีรักแห่งทวยเทพ แม้
ในถิ่นฐานที่ราชทูตของพระผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพมิได้ไปถงึ
ประชาชนทั้งหลายเมอื่ ไดท้ ราบถึงธรรมวตั ร ธรรมวธิ าน และ
ธรรมานศุ าสนข์ องพระผเู้ ป็นทร่ี กั แห่งทวยเทพแล้ว กพ็ ากัน

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๗

ประพฤติปฏิบัติตามธรรม และจักประพฤติปฏิบัติตามธรรม
นัน้ ตอ่ ไป

กษตั รยิ  ๕ พระองคท ร่ี ะบพุ ระนามในจารกึ น้ี ซง่ึ มสี มั พนั ธไมตรี
กบั พระเจา อโศกมหาราช นกั ประวตั ศิ าสตรต ะวนั ตกกาํ หนดไดแ ลว
วา เปน กษัตรยิ กรีก ซง่ึ มอี าณาจกั รอยรู มิ หรอื ใกลฝ ง ดา นตะวนั ออก
ดา นเหนอื และดา นใต ของทะเลเมดเิ ตอเรเนยี น (ในยคุ ทอี่ ารยธรรม
กรกี ยงั รงุ เรอื งและแผค ลมุ ดนิ แดนแถบน)ี้ คอื

๑. พระเจา อนั ตโิ ยคะ ไดแ ก ราชา Antiochus II Theos แหง
ซีเรีย ซ่ึงเปนหลาน (โอรสของโอรส) ของพระเจา Seleucus I

Nicator

๒. พระเจา ตรุ มายะ หรอื ตลุ มย ไดแ ก ราชา Ptolemy II
Philadelphus ทน่ี ครอเลกซานเดรยี แหง อยี ปิ ต

๓. พระเจา อนั เตกนิ ะ ไดแ ก ราชา Antigonus II Gonatas
แหง มาซโิ ดเนยี (Macedonia, ดนิ แดนกรกี แถบเหนอื )

๔. พระเจา มคะ ไดแ ก ราชา Magas แหง ไซรนี ี (Cyrene, นคร
กรกี โบราณ อยปู ลายเหนอื สดุ แถบตะวนั ออกของลเิ บยี ในปจ จบุ นั )

๕. พระเจา อลกิ สนุ ทระ ไดแ ก ราชา Alexander (ไมใ ชอ เลก
ซานเดอรม หาราช แตเ ปน รนุ หลานเหลน องคน นี้ กั ประวตั ศิ าสตรไ ม
แนใ จวา จะเปน อเลกซานเดอรแ หง Epirus หรอื อเลกซานเดอรแ หง
Corinth)

ความสัมพันธระหวางกษัตริยกรีกเหลาน้ีกับพระเจาอโศก
มหาราช เปน เรอ่ื งทสี่ บื เนอ่ื งมาตงั้ แตย คุ สมยั ของพระเจา อเลกซาน
เดอรม หาราชในศตวรรษกอ น โดยทตี่ วั กษตั รยิ ก รกี เหลา นสี้ บื เชอื้ สาย

๑๘ หลกั ศิลาจารึกอโศก

เกย่ี วโยงมาจากอเลกซานเดอรม หาราช
โดยเฉพาะสององคแ รก กค็ อื นดั ดาและโอรส ของแมท พั ของ

อเลกซานเดอรม หาราช ทตี่ งั้ ตวั ขน้ึ เปน ราชาเรม่ิ วงศก ษตั รยิ ใ หมเ มอ่ื
อเลกซานเดอรม หาราชสวรรคต และเสน ทางตดิ ตอ สมั พนั ธก ด็ าํ เนนิ
ไปตามเสน ทางเดนิ ทพั ของอเลกซานเดอรม หาราช

เฉพาะอยา งยง่ิ พระเจา อโศกมหาราชเองทรงเปน กษตั รยิ แ หง
โมรยิ วงศ (สนั สกฤตเปน เมารยะ) ตน วงศค อื พระอยั กา ซง่ึ มพี ระนาม
วา พระเจา จนั ทรคปุ ต กไ็ ดเ ผชญิ พระพกั ตรแ ละเคยคดิ การศกึ รว มกบั
อเลกซานเดอรม หาราช แลว ไดข นึ้ เปน กษตั รยิ ต งั้ โมรยิ วงศใ นชว งท่ี
อเลกซานเดอรมหาราชยกทัพกลับ และไดยกทัพไปเผชิญกับพระ
อยั กาของพระเจา อนั ตโิ ยคะ คอื พระเจา Seleucus I Nicator ทไี่ ด
ตง้ั ตวั ขน้ึ เปน กษตั รยิ เ มอ่ื อเลกซานเดอรม หาราชสวรรคต

อกี อยา งหนงึ่ พอเรมิ่ เรอื่ ง เรากม็ าเจอพระเจา อโศก และพระ
เจา อโศกนก้ี เ็ กย่ี วขอ งกบั พระพทุ ธศาสนา ซงึ่ ตอนนนั้ เมอื่ พระเจา
อโศกขนึ้ ครองราชยก ็ พ.ศ.๒๑๘ แลว เราควรจะรดู ว ยวา กอ นมาถงึ
เวลานนั้ พระพทุ ธศาสนาเปน อยา งไร เรอ่ื งราวเปน มาอยา งไร

เพ่ือลําดับเร่ืองราวใหเห็นชัดเจนข้ึน จึงขอยอนหลังกลับไป
เลา ความเปนมาในประวัตศิ าสตร ต้ังแตพุทธกาล ในสมัยตน เดมิ
ของโมริยวงศ จนมาตั้งโมริยะเปนวงศกษัตริยในยุคที่อเลกซาน
เดอรมหาราชเขา มา



ดูอนิ เดีย พทุ ธกาลถึงอโศก

พุทธกาล: ๑๖ แควน ใหญจ ริง ๕

ยอ นกลับไปสมยั พทุ ธกาล ต้งั แตกอนพุทธศักราช คือเกอื บ
๒๖๐๐ ปม าแลว ตอนนน้ั ประเทศอินเดยี เรยี กวา ชมพูทวีป

ชมพูทวีปเปนดินแดนท่ีกวางใหญไพศาล ในสมัยกอน
พุทธกาลจนถึงพุทธกาลน้ัน มีอาณาจักรหรือแวนแควนมากมาย
ทา นใชค าํ ในภาษาบาลวี า มหาชนบท คอื มที งั้ หมด ๑๖ มหาชนบท

คาํ วา “ชนบท” นนั้ ในภาษาบาลี ไมไ ดห มายความแคว า
บา นนอก แตค ลา ยๆ กบั คาํ วา “country” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งใชไ ด
๒ ความหมาย ในความหมายทวั่ ไป country ก็คือประเทศ แตถา
พูดวา the country ก็หมายถึงบา นนอก

“ชนบท” ในภาษาบาลกี ็คลายกัน โดยท่ัวไปแปลวา ถน่ิ ท่ี
อยูของมนษุ ย คอื แวนแควน หรอื ประเทศ แตเ มอื่ ใชใ นความแวด
ลอมบางอยา ง กเ็ ปนชนบทในความหมายแบบไทย คอื บา นนอก

๒๐ หลกั ศิลาจารกึ อโศก

ในสมัยพุทธกาลและกอ นน้นั ถอื วา อินเดีย หรอื ชมพูทวีป
น้ี มีแวน แควน ใหญอยู ๑๖ มหาชนบทดว ยกนั ตามหลักฐานใน
พระไตรปฎ ก วา มี องั คะ มคธ กาสี โกศล วชั ชี มลั ละ เจตี วงั สะ กรุ ุ
ปญ จาละ มจั ฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คนั ธาระ และกมั โพชะ

(เชน อง.ฺ ตกิ .๒๐/๕๑๐)

แวน แควน เหลา นี้ พดู ครา วๆ วา เรยี งจากตะวนั ออกไปตะวนั
ตก เรมิ่ ดวย องั คะ ซง่ึ ตงั้ อยใู นดินแดนที่ปจจุบนั น้ีเปนบังคลาเทศ
หรือตอจากบงั คลาเทศ จะดูใหงาย กไ็ ลมาตง้ั แตตะวนั ออกของ
เมอื งกัลกตั ตา นคี่ ือแควนท่ี ๑

ตอจากนัน้ กถ็ งึ แควน มคธ แลว ตอไปทางตะวนั ตกเปน กาสี
ท่ีมีเมืองหลวงชื่อพาราณสี

แตถ า ข้นึ เหนอื จากมคธ ไปขางบนก็เปน แควน วชั ชี แลวเลย
ตอไปก็ถึงมัลละ ท่ีมีกุสินาราเปนเมืองหลวง จากนั้นก็เปนแควน
โกศล ทม่ี เี มืองหลวงชอ่ื วาสาวัตถี

นอกจากน้ี เจตี เปน ตน ก็วาเรือ่ ยไป จนถึง กุรุ ซ่งึ อยแู ถว
เมืองเดลี ตอจากนั้น ปญจาละ มัจฉะ สรุ เสนะ อัสสกะ อวันตี ก็
เอาเดลีเปนจุดกําหนด ออกไปทางเหนอื ทางใต และขางๆ จนในที่
สุดจงึ ถึงคนั ธาระ กัมโพชะ โนน แถวปากสี ถาน จนถงึ อฟั กานสิ ถาน

เปน อนั วา ไลค รา วๆ ไป ตงั้ แตต ะวนั ออก จนถึงตะวนั ตก นี้
คอื ชมพทู วปี หรืออินเดียในสมัยโบราณ

เปนธรรมดา เรือ่ งของการเมอื ง ยอ มมกี ารแขง ขันแยงชิง
อาํ นาจกัน ประเทศท่มี ีอํานาจมากกวา ก็บกุ รกุ ทําสงครามขยายดนิ
แดน จนกระทงั่ กวาจะมาถึงยคุ พุทธกาล ใน ๑๖ แวนแควน นั้น

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๑

บางประเทศก็หมดอํานาจไป หรอื ถูกยุบรวมเขากับแควนอนื่
องั คะแถวบงั คลาเทศกเ็ ขา ไปอยใู ตอ าํ นาจของมคธแลว มคธ

กลายเปน แควน ทย่ี ง่ิ ใหญ
สว นกาสี ทม่ี เี มอื งหลวงคอื เมอื งพาราณสี กข็ น้ึ อยใู ตอ าํ นาจ

ของแควน โกศลไปแลว
วชั ชี ก็เปน แควนสําคัญ ในสมยั พทุ ธกาล ยงั มอี าํ นาจมาก
ตอ ไปกแ็ ควน วงั สะ ซงึ่ มเี มอื งหลวงช่อื วาโกสมั พี อนั เปนทร่ี ู

จกั กนั ดใี นเรอ่ื งวาสฏิ ฐี หรอื กามนติ และอีกแควนหนึ่งคือ อวันตี ซ่ึง
มีอุชเชนีเปน เมอื งหลวง กค็ ือถิ่นของกามนิตนนั่ แหละ

เปน อันวา เมอ่ื ถงึ พุทธกาล ในบรรดา ๑๖ แควน ก็เหลอื
แควน หรือรัฐ หรือประเทศ ทีย่ ิ่งใหญมอี าํ นาจมากแค ๕ แควน คอื

๑. มคธ มรี าชคฤหเปน เมืองหลวง
๒. โกศล มีสาวัตถเี ปนเมืองหลวง
๓. วชั ชี มีเวสาลีเปนเมืองหลวง
๔. วังสะ มโี กสัมพเี ปน เมอื งหลวง
๕. อวันตี มอี ชุ เชนเี ปน เมืองหลวง
สองแควนหลังนี้อยูไกลออกไปทางตะวันตก โดยเฉพาะ
แควนอวนั ตอี ยไู กลมาก วดั จากราชคฤห ลดั ฟา ตดั ตรงเปนเสนไม
บรรทัด ถงึ เมอื งหลวงอุชเชนี ๘๑๕ กโิ ลเมตร และคงเดนิ ทางยาก
อยใู นแถบเทอื กเขาวนิ ธยะ จดั เปนทกั ขิณาบถ (เรียกอยา งสันสกฤต
วา ทักษิณาบถ) คือดินแดนหนใต เปน ปจจันตชนบท คอื ถนิ่ หา ง
ไกลปลายแดน เลยไมมีเร่ืองเก่ียวของมาก ไมปรากฏวาพระพทุ ธ
เจา เคยเสด็จไปทอ่ี ุชเชนี

๒๒ หลักศลิ าจารกึ อโศก

แตถึงจะเปนแดนหางไกล ก็เปนถ่ินของพระมหาสาวก
สาํ คญั ทานหน่งึ คอื พระมหากัจจายนะ ท่ีวา กันวาเปนที่มาของพระ
สงั กัจจายน

ศิษยเอกของพระมหากจั จายนะน้ี ก็เปนมหาสาวกดว ย คอื
พระโสณะกุฏิกัณณะ ซึ่งไดเดินทางมาเฝาพระพุทธเจาหลังจาก
บวชได ๑ พรรษา และนาํ คาํ ของพระอปุ ช ฌายม ากราบทลู ถงึ สภาพ
ติดขัดไมสะดวกเรียบร่ืนของปจจันตชนบท เพื่อขอผอนผันพุทธ
บัญญัติบางขอ รวมทั้งขอที่ตองอุปสมบทดวยสงฆทสวรรค คือ
๑๐ รปู เปน เหตใุ หท รงมีพระพุทธานุญาตใหอ ปุ สมบทในปจ จันต-
ชนบทไดดวยสงฆป ญจวรรค (โดยมีพระวินยั ธรเปนท่คี รบ ๕)

ขอแทรกเปน เกรด็ ความรวู า มีพระมหาสาวก ๒ ทาน ชอื่ วา
“โสณะ” เหมือนกนั แตอยูไ กลกนั สดุ แดนตรงขาม ไดแ กพ ระโสณะ
กฏุ ิกัณณะ แหง แควนอวันตนี ี้ อยูใกลส ดุ ดานซา ยของแผนที่ (ทาง
ตะวันตกเฉยี งใต เลยเมอื งโภปาล/Bhopal ไปทางตะวนั ตก)

อีกทานหน่ึงคือ พระโสณะโกฬิวิสะ แหงเมืองจัมปา ใน
แควนอังคะ สดุ ดานขวา (ใกลก ัลกัตตา หรือดา นบงั คลาเทศ)

ในพุทธกาล แควนอวันตีมีพระราชาปกครอง พระนามวา
จัณฑปช โชต

สวนแควนวังสะ ซึ่งพระเจาอุเทนปกครอง ที่จริงก็ไมไกล
นัก วัดตัดตรงจากราชคฤหถึงโกสัมพีแค ๔๐๕ กม. (โกสัมพี
วัดตัดตรงตอไปยังอุชเชนี ๖๒๐ กม.) แตมีเรื่องราวเก่ียวกับ
อํานาจการเมืองไมมาก จึงตัดไป

เมื่อจํากัดเขามาอีก คือตัดแควนอวันตีท่ีมีเมืองอุชเชนีเปน

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๒๓

เมืองหลวง กบั แควนวงั สะท่มี ีเมอื งโกสมั พเี ปนเมืองหลวงออกเสีย
เอาแควน ใหญท เ่ี ดน จรงิ ๆ กเ็ หลอื ๓ แควน คอื มคธ โกศล และ วชั ชี

สามแควน นี้ มเี รอื่ งราวเกีย่ วขอ งกับพระพุทธศาสนามาก อยู
ดานตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ของอินเดยี ตดิ ตอใกลเคยี งกันทงั้ หมด

โดยเฉพาะแควนมคธ มชี ่ืออยูย งั่ ยืนทสี่ ุด สวนแควนอ่ืนๆ ท่ี
วาใหญอ ยใู นสมยั พุทธกาล พอถงึ ยคุ หลงั พทุ ธกาลก็คอ ยๆ หมดไป

สคู วามยิง่ ใหญหนึ่งเดียว: เหลือมคธ หมดวัชชี

มเี รอื่ งนา สงั เกตและนาสนใจ คอื แควน ทมี่ กี ารปกครองตา ง
แบบกนั ท่คี วรพดู ถงึ ไดแก แควนมคธ กับแควนวัชชี

มคธเปนแควน ท่ีปกครองแบบราชาธปิ ไตย อยูต ิดกนั กับวัชชี
ซึ่งปกครองแบบสามัคคธี รรม ฝร่งั เรียกวา ปกครองแบบ republic
หรอื สาธารณรฐั

ในการปกครองแบบสามัคคีธรรมน้ัน ไมใชมีผูปกครองเด็ด
ขาดเพียงผเู ดยี ว แตใ ชวิธีที่วา มชี นชนั้ ปกครองจํานวนหน่งึ ซง่ึ มาก
ทเี ดียว อาจถึง ๗,๗๐๗ องค หมนุ เวียนกนั ข้นึ มาปกครอง เวลาจะ
บริหารราชการแผนดินก็ตองมีการประชุมในสภา ซึ่งมีหอประชุม
ที่เรียกวา สัณฐาคาร (บางทีเขยี น สนั ถาคาร)

ในคมั ภรี  ทา นเรยี กราชาทร่ี ว มกนั ปกครองแบบนว้ี า “คณราช”
เมอ่ื มเี รอื่ งราวทจี่ ะตอ งตดั สนิ ใจหรอื วนิ จิ ฉยั กนั เชน จะรบหรือไมรบ
กบั ตางประเทศ หรือเกดิ เรื่องเกิดราวสําคัญขึน้ หรอื มีราชการอะไร
ท่สี ําคัญจะตองตดั สนิ วนิ จิ ฉัย อยางเชน เมอื่ พระพทุ ธเจาเสด็จดับ

๒๔ หลักศิลาจารกึ อโศก

ขันธปรนิ พิ พาน กษตั รยิ มลั ละซงึ่ ปกครองแบบนี้ ก็ตองมาประชมุ
กนั ในสัณฐาคารเพอ่ื พจิ ารณาวา จะปฏิบัตอิ ยางไรในการปลงพระ
สรีระของพระพทุ ธเจา อยางนี้เปนตน

แควน วชั ชีน้กี ็ปกครองแบบสามคั คธี รรม รวมกันปกครอง ซ่งึ
ตองประชุมกันในสัณฐาคาร พวกกษตั ริยว ัชชมี ีช่ือเรยี กวา ลจิ ฉวี
เปน พวกทเ่ี ขมแข็งมาก

ในสมัยพุทธกาลนัน้ แควนมคธกับแควนวชั ชีแขง อํานาจกนั
มาก แควน โกศลก็รบกบั แควนมคธนิดหนอย แตตอ มา โกศลหาย
ไป วชั ชกี ห็ ายไป ตางกส็ ญู เสยี อาํ นาจแกแ ควน มคธ

วาที่จริง ตอนตนพุทธกาล เม่ือมคธมีพระเจาแผนดินพระ
นามวาพิมพิสารน้ัน เทาท่ีปรากฏ บานเมืองดูจะสงบ ทางดาน
โกศลกต็ าม ทางดา นวัชชกี ต็ าม ไมพบปญ หาหรอื เรื่องราวขัดแยง
กัน (พงึ สังเกตวา พระเจาพมิ พสิ ารเปนโสดาบนั )

แตมาถึงปลายพทุ ธกาล ในสมัยของพระเจา อชาตศตั รซู ง่ึ เปน
โอรสของพระเจาพิมพิสาร มคธมเี รอ่ื งขัดแยงกันเรื่อย ทง้ั กับวัชชี
และกบั โกศล

เฉพาะอยางยิ่งกับวัชชีน้ัน นาสังเกตวา ถึงกับมีการสราง
เมอื งปอมหรือเมืองหนาดา นขนึ้ มาเพือ่ จะตาน จะกัน้ หรือเพือ่ รบั
มอื กบั วชั ชโี ดยเจาะจงลงไปเลยทเี ดยี ว

พระเจาอชาตศัตรูมีเรื่องหงุดหงิดพระทัยกับกษัตริยลิจฉวี
และอยากจะหาํ้ หัน่ พวกวชั ชเี รอ่ื ยมา นอกจากความขดั แยงกระทบ
กระท่ังสวนพระองคแลว ก็ยังเปนเร่ืองของการแยงชิงอาํ นาจ และ
ความหวาดกลวั เพราะวชั ชเี ปน ระบบอาํ นาจแบบเกา มกี ารปกครอง

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๕

แบบเดมิ เมอ่ื มคี วามเขม แขง็ กจ็ ะเปน ภยั คกุ คามตอ มคธ
ไดบอกแลววา เมืองหลวงของมคธในสมัยพุทธกาลมีช่ือวา

ราชคฤห นี้คือเมืองหลวงเดิมของแควนมคธในสมัยท่ีพระพุทธเจา
ประทับอยู

พระพุทธเจาทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่เมือง
ราชคฤหน้ัน พูดอีกสํานวนหนึ่งก็คือ ทรงประดิษฐานพระพุทธ
ศาสนาทเ่ี มอื งหลวงของแควนมคธ

เมอื งราชคฤห หรือเมอื งหลวงของมคธนนั้ ไดเ ปน ศนู ยก ลาง
การเผยแพรพระพุทธศาสนาเรื่อยมา แมเม่ือพระพุทธเจา
ปรนิ ิพพานแลว ก็เปนทท่ี ําสงั คายนาครั้งท่ี ๑

ตอมาเม่ือเมืองหลวงของมคธยายไปที่อื่นแลว ศูนยกลาง
การเผยแพรพระพทุ ธศาสนากย็ า ยไปทนี่ น้ั ดวย สังคายนาคร้ังท่ี ๑
ทําที่ราชคฤห เมืองหลวงเกา ตอมาเมื่อถงึ สงั คายนาครั้งท่ี ๓ เมอื ง
หลวงของมคธยา ยไปอยูทเ่ี มอื งปาตลีบตุ รแลว สังคายนาครัง้ ท่ี ๓ ก็
ทาํ ท่ีปาตลีบุตร ซ่ึงเปน เมอื งหลวงใหมนั้น (สังคายนาครัง้ ที่ ๒ ทําที่
เมืองเวสาลี ซ่ึงก็เปนเมืองหลวงหรือเมืองสําคัญของมคธแลวใน
เวลานนั้ ) ขอใหล องเชือ่ มโยงเรื่องราวดู

ราชคฤหเ ปนเมอื งหลวงของมคธในพทุ ธกาล ตลอดสมยั ของ
พระเจา พมิ พสิ าร ตอ มาพระราชโอรสของพระเจา พมิ พสิ าร คือพระ
เจาอชาตศตั รู ไดป ลงพระชนมพระราชบิดา แลวข้นึ ครองราชยท่ี
เมืองราชคฤหน นั่ แหละ จนถงึ ปลายพทุ ธกาลจงึ มเี รอ่ื งราวของการ
สรา งเมอื งหนา ดา นเพอื่ ปอ งกนั วชั ชนี ขี้ น้ึ มา

เหตุการณนี้เกิดข้ึนกอนพระพุทธเจาปรินิพพานไมนาน มี

๒๖ หลักศลิ าจารกึ อโศก

เรอ่ื งบนั ทกึ ไวใ นพระไตรปฎ ก ดงั ทที่ า นเลา ไวใ นมหาปรนิ พิ พานสตู ร
เรื่องเริ่มที่เมืองราชคฤห เมื่อพระพุทธเจาประทับอยูที่ภูเขา

คชิ ฌกฏู พระเจา อชาตศตั รูสง วสั สการพราหมณมหาอาํ มาตยแ หง
มคธไปเฝา โดยบอกใหก ราบทลู วา พระองคจะทรงยกทพั ไปปราบ
กําจัดแควนวัชชีใหพินาศยอยยับ และใหฟงดูวาพระพุทธเจาจะ
ตรัสวาอยางไร อันนี้เปนขอปรารภใหพระพุทธเจาทรงแสดงหลัก
อปรหิ านิยธรรมหลายหมวด

ตอ มา พระพทุ ธเจา เสดจ็ ออกจากเมอื งราชคฤหแ หง มคธ เพอื่
ไปทรงจําพรรษาในแควนวัชชี ไดเ สดจ็ ผานนาลนั ทาไปยงั หมบู าน
ปาตลคิ าม (ปาฏลคิ าม กเ็ ขยี น) เพอื่ เสดจ็ ขา มแมน า้ํ คงคาจากทนี่ น่ั
ไปเขา สเู ขตแดนของวชั ชี

เมอ่ื เสด็จถึงปาตลิคาม กท็ รงไดพบกับสุนีธะ และวสั สการ
พราหมณ มหาอํามาตยแหง มคธ ซงึ่ มาบัญชาการสรางเมอื งหนา
ดานเพอื่ ตานโตวชั ชดี ังทีก่ ลาวขา งตน

สุนีธะและวัสสการไดมาเฝาและทูลนิมนตไปรับถวาย
ภัตตาหารท่บี า นพกั ของตน หลังจากเสวยภัตตท ีน่ น่ั แลว พระพทุ ธ
เจา กเ็ สดจ็ ไปทรงขา มแมน า้ํ คงคาเขา สเู ขตแดนแควน วชั ชี และเสดจ็
ตอ ไปเพอื่ จาํ พรรษาทเ่ี วฬวุ คาม ใกลเ มอื งเวสาลี ทเ่ี ปน เมอื งหลวง
ของวชั ช๑ี

๑ ตามความในมหาปรินิพพานสูตร จะเห็นเสนทางเสด็จของพระพุทธเจาในปสุดทายท่ีจะ

ปรินิพพาน ลาํ ดบั สัน้ ๆ คือ เรมิ่ ท่ีเมืองราชคฤห แลว เสดจ็ ออกเดนิ ทาง แวะทรี่ าชอุทยานอมั พ-

ลฏั ฐิกา ทีเ่ มืองนาลันทา (ณ ปาวาทิกมั พวัน) ทปี่ าตลคิ าม ทรงขามแมน ้ําคงคาเขา เขตวชั ชี เสด็จ

ตอ ไปแวะท่ีโกฏิคาม ทนี่ าทกิ คาม (นาตกิ า กว็ า ) แลว เสดจ็ ถงึ เมอื งเวสาลี แวะทอี่ มั พปาลวี นั แลว ไป

ทรงจาํ พรรษาทเ่ี วฬวุ คาม ระหวา งพรรษาทรงอาพาธหนกั ทรงดาํ รวิ า ไมค วรจะปรนิ พิ พานโดยยงั ไมไ ด

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๒๗

ตอนนน้ั เมอื งหนา ดา นทก่ี าํ ลงั สรา งยงั ไมป รากฏชอ่ื รกู นั เพยี ง
วาเปนเมืองใหมซึ่งสรางข้ึนที่หมูบานปาตลิคาม มาไดยินชื่ออีกที
เปน ปาตลบี ตุ ร เมอ่ื กลายเปน เมอื งใหญโ ตแลว เปน เมอื งหลวงใหม
ของมคธในยคุ หลงั ตอ มา รวมทง้ั ในสมยั พระเจา อโศกมหาราช

รวมความวา เวลานั้น พระเจา อชาตศตั รกู าํ ลงั มปี ญ หากับ
แควนวัชชี ตอ งการปราบแควน วชั ชี จงึ ตอ งสรา งความเขมแข็งดาน
ชายแดน โดยเฉพาะหมูบานปาตลิคามนั้นเปนจุดยุทธศาสตร
สําคัญ อยูบนฝงแมนํ้าคงคาดานตรงขามกับวัชชี เพียงมีแมนํ้า
คงคาค่นั อยู จึงไดท รงดําเนินการสรา งใหเ ปนเมืองปอม หรอื เมือง
หนาดา น เพือ่ เตรยี มสงครามกับแควนวชั ชี นค่ี ือกําเนิดของเมือง
ปาตลีบุตร (ปจจุบนั ชอ่ื ไดเพ้ียนมาเปน “ปตนะ”)

ตอ มา วัสสการพราหมณผ สู รางเมืองหนาดา นทป่ี าตลคิ ามนี่
แหละ ก็ใชกลอุบายใหพระเจา อชาตศตั รทู าํ ทลี งโทษขบั ไลต วั ออก
ไป แลว กเ็ ขา ไปอยกู บั พวกวชั ชี พอไดโ อกาสกเ็ กล้ียกลอ มยุแหย จน
กระทัง่ กษัตรยิ ลิจฉวที ่ีปกครองแควนวชั ชีนัน้ แตกสามัคคีกันหมด

เม่ือพระเจา อชาตศัตรูยกทัพไป พวกเจา ลจิ ฉวี กษัตรยิ ว ัชชี
ไมพรอ มใจกนั ออ นแอ กเ็ ลยพายแพ อาณาจกั รวชั ชกี ็พินาศ และ
กลายเปนดินแดนของแควนมคธสืบมา น้ีเปนเหตุการณหลัง
พทุ ธกาลไมน าน

ลาอปุ ฏ ฐากและภกิ ษสุ งฆ จงึ ทรงระงบั อาพาธไว (พระสตู รพกั เรอ่ื งไว อรรถกถาเลา แทรกตอ วา ออก
พรรษาแลว เสดจ็ ไปเมอื งสาวตั ถี แลว ไปเมอื งราชคฤห แลว ขา มแมน าํ้ คงคาเขา เขตวชั ชที อ่ี กุ กเจลา)
พระสตู รเลา ตอ วา เสดจ็ เขา เมอื งเวสาลี ปลงพระชนมายสุ งั ขารทป่ี าวาลเจดยี  (จาปาล- กว็ า ) แลว ทรง
แจง แกท ปี่ ระชมุ สงฆท ปี่ า มหาวนั เสดจ็ เขา ไปบณิ ฑบาตครง้ั สดุ ทา ยในเวสาลี จากนนั้ เสดจ็ ไปแวะ
ภณั ฑคาม หตั ถคิ าม อมั พคาม ชมั พคุ าม โภคนคร แลว ไปเมอื งปาวา เสวยทบ่ี า นนายจนุ ทะ แลว เสดจ็
สเู มอื งกสุ นิ ารา ปรนิ พิ พานทส่ี าลวโนทยาน

๒๘ หลกั ศิลาจารึกอโศก

ตอ มา หลงั พทุ ธกาลนนั้ ไปอกี นาน จนกระทงั่ สน้ิ วงศข องพระ
เจาอชาตศัตรูไปอีกระยะหนึ่งแลว จึงมีการยายเมืองหลวงจาก
ราชคฤห มาอยูที่ปาตลีบุตร ซึง่ ตอนนนั้ เปน เวลาที่แควนวัชชีไดส้ิน
อํานาจไปนานแลว และแควนมคธท่ีมีปาตลบี ตุ รเปน เมอื งหลวงก็
เจริญสืบมา จนกระท่ังถงึ ยคุ สมยั ของพระเจา อโศกแหง โมรยิ วงศ

สูค วามยง่ิ ใหญห นง่ึ เดยี ว: เหลอื มคธ หมดโกศล

สวนโกศลก็เปนแควนย่ิงใหญ และดังไดบอกแลว กอนถึง
พุทธกาล กาสซี ง่ึ มีพาราณสเี ปนเมอื งหลวง ไดตกเปน สวนหนงึ่ ของ
โกศลพระเจา ปเสนทิโกศลก็ปกครองทั้งสองแควน เปนมหาอํานาจ

พระเจาปเสนทิโกศล มีความสัมพันธอันดีกับพระเจาพิมพิ
สาร เพราะทรงเปนพี่เขย กลาวคือเจาหญิงโกศลเทวีซึ่งเปนพระ
กนษิ ฐาของพระเจา ปเสนทิโกศล เปนมเหสขี องพระเจา พมิ พิสาร

เมอ่ื องคร าชาทรงเปนพระญาตกิ นั แลว แควน ท้ังสองน้ีซง่ึ อยู
ในฐานะทจ่ี ะแขง อํานาจกัน กอ็ ยกู นั โดยสงบ และมคี วามใกลช ดิ
กนั มาก ขอนีอ้ าจจะเปน โยงใยอยา งหนึ่งที่วา เมอ่ื พระเจา พมิ พสิ าร
มคี วามสัมพนั ธเ ลื่อมใสพระพุทธเจา ก็ทําใหพระเจา ปเสนทโิ กศลมี
ความเลอ่ื มใสงาย เพราะมคี วามใกลชิดสนิทถึงกนั

เมือ่ พระเจามหาโกศล พระราชบิดาของพระเจา ปเสนทโิ กศล
พระราชทานพระราชธิดาไปอภิเษกสมรสกับพระเจาพิมพิสารแลว
ก็ไดพระราชทานหมูบานในแควนกาสีหมูบานหนึ่ง ใหเปนของ
ขวัญในงานอภเิ ษกสมรสแกแควนมคธของพระเจา พิมพสิ าร

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๒๙

ตอมาพระเจาอชาตศัตรูซ่ึงเปนหลานของพระเจาปเสนทิ
โกศล ไดป ลงพระชนมพ ระราชบดิ าคอื พระเจา พมิ พสิ าร พระนาง
โกศลเทวีซึ่งเปนพระมเหสีของพระเจาพิมพิสาร และเปนพระ
กนิษฐาของพระเจาปเสนทโิ กศล ทรงเสยี พระทัยมาก จนเปน เหตุ
ใหส้ินพระชนมต ามไป

พระเจาปเสนทิโกศลกริ้วพระเจาอชาตศัตรูเปนอยางยิ่ง จึง
ยึดเอาหมูบานกาสีที่ไดพระราชทานใหเปนของขวัญน้นั กลบั คืนมา
โดยทรงถือวา ผูฆา พอ ไมม ีสิทธ์ิไดทรัพยส มบตั ิของพอ แลว ตอมาก็
ทรงทําสงครามกบั พระเจาอชาตศัตรู ผลดั กนั แพผ ลัดกนั ชนะ

ครัง้ สุดทาย พระเจา ปเสนทโิ กศลชนะ จับเปน พระเจา อชาต
ศตั รูได แตกไ็ มฆา เพราะเหน็ เปน พระนัดดา แตใหสละราชสมบตั ิ
และตอมาพระเจาปเสนทิโกศลคงจะเห็นพระทัย โปรดใหกลับไป
ครองราชสมบัติอีก และยังพระราชทานพระราชธิดาใหไปดวย
มคธกับโกศลจงึ กลับเปนไมตรกี ันอกี จนกระท่งั สิ้นรัชกาล

ในตอนปลายรัชกาล เจาชายวิฑูฑภะซึ่งเปนพระราชโอรส
ของพระเจา ปเสนทิโกศล ไดยดึ อาํ นาจพระเจา ปเสนทโิ กศล

พระเจาปเสนทิโกศลทรงมาหนีไป โดยตั้งพระทัยจะไปขอ
กําลังพระเจาอชาตศัตรู ซ่ึงเปนพันธมิตรกันแลวและก็เปนหลาน
ดวย ใหมาชวย ไดทรงมาตลอดเวลายาวนานและรีบรอน ทรง
เหน็ดเหนือ่ ยมาก โดยมีผูติดตามไปคนเดียว

พระเจาปเสนทิโกศลเสด็จไปไมทัน ประตูเมืองปดเสียกอน
เพราะทเ่ี มอื งราชคฤหนั้น พอคา่ํ เขากป็ ด ประตเู มอื ง และไมว า ใคร
ท้ังน้นั ไมย อมใหเ ขา จึงตองประทับคา งแรมอยนู อกเมือง

๓๐ หลักศลิ าจารึกอโศก

ขณะน้นั ทรงพระชรามากแลว มีพระชนมายุถึง ๘๐ พรรษา
อีกท้ังอากาศก็หนาวมากและทรงเหน็ดเหนื่อยมาดวย เลยเสด็จ
สวรรคตท่ีหนา ประตเู มอื ง พอรุง เชา ขา วถึงพระเจา อชาตศตั รู ก็
เสดจ็ มาอญั เชญิ พระศพไปจัดพิธีถวายพระเพลงิ

ฝายเจาชายวิฑูฑภะ เมื่อยึดอํานาจไดแลว ดวยเพลิงแคน
และผูกอาฆาตไวตอเจาศากยะท่ีเคยแสดงความรังเกียจเหยียด
หยามชาติกําเนิดของตน ตอมาก็ยกทัพไปลางเผาพันธุศากยะ
ครน้ั เสรจ็ การแลว ในยามราตรี ระหวา งทางกลบั สรู าชธานี ขณะพกั
ทพั บนหาดทรายรมิ ฝง แมน า้ํ อจริ วดี มฝี นใหญก ระหนาํ่ และนา้ํ ไดข น้ึ
มาไหลบา อยา งรวดเร็วทว มกองทพั พารพี้ ลกับทง้ั พระเจาวฑิ ูฑภะ
ใหมว ยมรณในกระแสน้ํา และทําใหโ กศลรฐั รา งราชาไรผ ูปกครอง

ดังไดเลา แลว วา หลังจากพระพทุ ธเจาปรินิพพานแลว พระ
เจาอชาตศัตรูไดยกทัพไปกําจัดแควนวัชชีสาํ เร็จ และอีกดานหนง่ึ
แควนโกศลก็ถูกผนวกเขาไปไวใตอํานาจแควนมคธ จึงเปนอันวา
ท้ังแควน วัชชแี ละแควน โกศลกไ็ ดเ ขา ไปรวมอยูในแควนมคธ

โดยนัยนี้ จึงเหลือแตมคธ เปนแควนเดียวที่ย่ิงใหญ เปน
มหาอาํ นาจสงู สดุ และรงุ เรอื งตอ มา จนในทสี่ ดุ ไดต กเปน ของราชวงศ
โมรยิ ะ เมอ่ื พระเจาจันทรคปุ ต พระอยั กาของพระเจาอโศกมหาราช
ขึ้นครองมคธนั้น เร่ิมราชวงศใหมใน พ.ศ.๑๖๘ (นับและคาํ นวณ
อยา งฝรง่ั วา 321 BC/พ.ศ.๑๖๓) หลงั จากทีอ่ เลกซานเดอรม หาราช
เลกิ ทพั กลับไปจากการทจ่ี ะเขา ตอี นิ เดีย ในป 325 BC

จากน้ัน เวลากผ็ า นมาจนพระเจาอโศกข้นึ ครองราชย เปน
ราชาแหงมคธใน พ.ศ. ๒๑๘

เรอื่ งเปน มาอยา งไร พึงดกู นั ตอไป

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๓๑

มคธยิง่ ใหญเ ปน หน่ึง: หลายราชวงศท่ีผนั ผา น

สิ้นพุทธกาล เมอื่ แควน โกศล และวชั ชี มาตกอยใู ตอาํ นาจ
ของแควนมคธหมดแลว ราชคฤห ซ่ึงเปน เมอื งหลวงของมคธ ก็เปน
ศูนยกลางแหงความเจรญิ รุงเรืองและอาํ นาจทางการเมือง

เมืองราชคฤหนี้ เปนเมืองหลวงของแควนมคธมาตลอด
พทุ ธกาล แลว ภายหลงั ไดย า ยเมืองหลวงไปต้ังทีป่ าตลีบุตร

แตกอนท่ีจะยายไปปาตลีบุตรน้ัน ตามตํานานบางแหงวา
ยายไปเมืองเวสาลีกอน

คมั ภรี บอกวา พระเจาสสุ นู าค (เรยี กสสุ นุ าค บา ง สสิ นุ าค
บางกม็ ;ี คมั ภรี ส นั สกฤตเรียกวา ศิสนุ าค) เปนผูยายเมอื งหลวงของ
แควนมคธจากราชคฤหไ ปทเี่ วสาลี (แตห ลกั ฐานนไ้ี มแ นน นกั หลกั
ฐานสวนมากบอกวา ยายจากราชคฤหไปปาตลีบุตรเลยในสมัย
พระเจา กาลาโศกราช ซ่ึงเปนโอรสของพระเจาสุสนู าค)

เวสาลี เปนเมืองหลวงของแควนวัชชี เวลาเรียกเปนภาษา
ไทยเรามักนิยมใชร ูปสนั สกฤตวา ไวศาลี โดยแผลงเปน ไพศาลี

การที่พระเจาสุสูนาคแหงแควนมคธ ยายเมืองหลวงจาก
ราชคฤหไปตงั้ ทเ่ี วสาลีไดน ัน้ ก็เพราะวา แควน มคธไดปราบแควน
วชั ชีลง และวชั ชีกลายเปนสวนหนึง่ ของแควน มคธไปแลว

เร่อื งนีก้ เ็ ปนเครื่องยืนยนั วา เวสาลีไดกลายเปนสวนหนึ่งของ
แควนมคธแลว พระเจาแผน ดนิ มคธจงึ ยา ยเมืองหลวงไดตามชอบ
ใจ เมือ่ ชอบเมืองเวสาลี กย็ ายไปเมอื งเวสาลี

เหตุผลอีกอยางหนึ่ง ที่พระเจาสุสูนาคยายเมืองหลวงจาก

๓๒ หลกั ศลิ าจารึกอโศก

ราชคฤหไปยังเวสาลีนั้น อาจเปนไดวาเพราะพระเจาสุสูนาคเอง
เปน เช้ือสายเจา ลจิ ฉวใี นเมอื งเวสาลแี หงแควนวัชชีเกา

ขอเลาความยอนหลังอีกครั้งวา ในวงศของพระเจาพิมพสิ าร
กษัตรยิ นับจากพระเจา อชาตศัตรเู ปน ตน มา ลวนทาํ ปตุฆาต คอื ฆา
พระราชบดิ าทงั้ สนิ้ จนเรยี กไดว า เปน ราชวงศป ต ฆุ าตตามลาํ ดบั ดงั น้ี

พระเจา พิมพิสาร ครองราชย ๕๒ ป

พระเจาอชาตศัตรู ปลงพระชนมพ ระราชบดิ าแลว ครองราชย ๓๑ ป

(แบง เปน กอนพทุ ธปรินพิ พาน ๗ ป และหลงั พทุ ธปรินพิ พาน ๒๔ ป)

พระเจา อทุ ยภทั ร (หรืออุทายภิ ทั ท) ปลงพระชนมพ ระเจาอชาตศตั รูราช

บิดาแลว ครองราชย ๑๖ ป

พระเจา อนรุ ทุ ธ ปลงพระชนมพ ระราชบดิ าแลว ครองรวม ๘ ป
พระเจา มณุ ฑะ ปลงพระชนมพ ระราชบดิ าแลว

พระเจานาคทสั สก (หรือนาคทาสกะ) ปลงพระชนมพระราชบดิ าแลว

ครองราชย ๒๔ ป

ในรัชกาลน้ี ถึง พ.ศ.๗๒ อาํ มาตยและราษฎรไมพอใจวงศ
กษัตริยที่มีแตปตุฆาตตลอดมา จึงถอดพระเจานาคทัสสกจากราช
สมบตั ิ แลว อญั เชญิ สสุ นู าค ซงึ่ เปน อาํ มาตยร บั ราชการอยใู นราชคฤห
แตเ ปน เชอื้ สายเจา ลจิ ฉวีขนึ้ ครองราชย ตงั้ ราชวงศใ หมช อื่ วา ไศศนุ าค

ในรัชกาลพระเจา สสุ นู าคนี้ แควน มคธกป็ ราบแควน อวนั ตไี ด
และผนวกเขา เปน สวนหนึ่งของมคธ

พระเจา สสุ ูนาคครองราชยอ ยู ๑๘ ป แลว

โอรสชอื่ กาลาโศกครองราชยต ออกี ๒๘ ป

ในปที่ ๑๐ แหง รัชกาลน้ี ครบ ๑๐๐ ปน บั แตพทุ ธปรนิ ิพพาน
ก็ไดม ีการสังคายนา ครั้งท่ี ๒ ท่ีเมืองเวสาลี

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๓

พระเจา กาลาโศกราช ซึง่ เปน พระเจา แผนดินมคธ แตเ ปนเชอื้
สายของวัชชี ไดท รงอปุ ถัมภก ารสงั คายนา ครงั้ ท่ี ๒ ซ่งึ จัดข้นึ ท่ี
เมอื งเวสาลี ทไ่ี ดเ ปน สวนหน่งึ ของแควน มคธแลว น้ี

ตอ มา พระเจากาลาโศกราชนแ่ี หละ กเ็ ปน ผยู ายเมืองหลวง
จากเวสาลี ไปทปี่ าตลบี ตุ ร แสดงวา มกี ารยา ย ๒ ครง้ั คอื ยา ยจาก
ราชคฤห ไปเวสาลี แลวก็ยา ยจากเวสาลี ไปท่ปี าตลีบตุ ร อกี ทีหนง่ึ

ตอนที่พระเจา กาลาโศกราช อุปถมั ภสงั คายนาครัง้ ท่ี ๒ นัน้
การสังคายนาจัดที่เมืองเวสาลี อาจเปนไดวา หลังจากสังคายนา
แลว พระเจากาลาโศกราชจึงไดยายเมืองหลวงไปที่ปาตลีบุตร
หรืออาจจะยายไปกอ น แตเมอื งเวสาลีก็เปนเมอื งใหญ และเรอ่ื งก็
เกดิ ข้ึนที่นั่น พระสงฆจงึ มาจัดการสงั คายนาข้นึ ท่เี วสาลนี ้ี

(หลักฐานสวนมากบอกวา พระเจากาลาโศกราช ยา ยเมือง
หลวงจากราชคฤห ไปยังปาตลีบุตร)

ท่ีปาตลบี ตุ ร เมอื งหลวงใหมน ี้ มีมหากษัตริยปกครองตอ จาก
พระเจา กาลาโศกราช สืบมา คือ

ราชโอรส ๑๐ พระองคข องพระเจา กาลาโศก รว มกนั ปกครอง ๒๒ ป

หลกั ฐานตอนนี้ขัดแยง กนั บา ง ทก่ี ลา วนี้วาตาม วนิ ย.อ.๑/๗๓
ซ่ึงบอกวา พระเจากาลาโศกมีโอรส ๑๐ พระองค ซงึ่ ไดร ว มกนั ปก
ครองแผน ดนิ ตอ จากพระเจา กาลาโศกอกี ๒๒ ป แต Encyclopaedia
Britannica, 1988 (คาํ “Shaishunaga dynasty”) สันนษิ ฐานวา พระ
เจากาลาโศกถกู จบั ปลงพระชนมโ ดยกษัตริยท ต่ี ัง้ ราชวงศใ หม คอื
ราชวงศน ันทะ

๓๔ หลกั ศลิ าจารึกอโศก

จากนนั้ ราชวงศไศศุนาคไดส้นิ สุดลง เพราะมหาปทมนันทะ
แยงราชสมบัติได และต้ังราชวงศใหมคือราชวงศนันทะ กษัตริย
องคน ้เี ห้ียมโหดมาก และไดขยายอาณาจกั รออกไปอีกกวา งไกล

ราชวงศนนั ทะ มีกษัตริยป กครองตอมา ๙ รชั กาล รวม ๒๒ ป
กษตั รยิ อ งคส ดุ ทา ยของราชวงศน ี้ พระนามวา ธนนนั ทะ ครอง
ราชยในชวงท่ีพระเจาอเลกซานเดอรมหาราช (Alexander the
Great) กรีฑาทัพมาถงึ เขตแดนชมพทู วปี
อเลกซานเดอร ราชาแหง มาซโิ ดเนยี (Macedonia) โอรสของ
พระเจา ฟล ปิ ที่ ๒ ศษิ ยข องอรสิ โตเตลิ (Aristotle) ซง่ึ เปน อาจารย
ประจาํ พระองคเ มอื่ มชี นมายุ ๑๓–๑๖ และไดส อนใหส นพระทยั ใน
ปรชั ญา การแพทย และการสอบคน ทางวทิ ยาศาสตร แตย งั สอนให
ถอื ความคดิ ทส่ี บื กนั มาวา คนชาตอิ นื่ จากกรกี เปน ไดเ พยี งทาส
อเลกซานเดอรข น้ึ ครองราชยใ นป 336 BC๑ (พ.ศ.๑๔๘) แลว
ปราบปรามเมอื งใหญเมืองนอ ยไดครอบครองแดนกรกี ทง้ั หมด ตอ
มาจึงขยายอาํ นาจมายึดครองอียิปตในป 332 BC แลวมาพิชิต
จกั รวรรดเิ ปอรเ ซยี ทย่ี ง่ิ ใหญเ สรจ็ สน้ิ ในป 330 BC จากนน้ั ในป 328
BC กเ็ ขา ครองอาณาจกั รบากเตรยี (Bactria, ชาวชมพทู วปี เรยี กวา
โยนก) แลว ในปต อ มา ยกพลออกจากบากเตรยี (Plutarch เขยี นไว
วา กาํ ลงั พล ๑๒๐,๐๐๐ แตน กั ประวตั ศิ าสตรส นั นษิ ฐานวา คงรวม
กําลังหนุนทั้งหมดดวย เฉพาะกําลังรบแทๆ นาจะประมาณ

๑ ตาํ ราประวัตศิ าสตรฝ า ยตะวันตกวา ราชวงศนันทะส้ินสุด 321 BC เทียบกับตัวเลขของ

อรรถกถา (วินย.อ.๑/๗๓) ซ่ึงลาํ ดับรัชกาลแหงราชวงศในชมพูทวีปวาราชวงศนันทะ

ครองถึง พ.ศ.๑๖๒ เม่อื คํานวณตามนี้ ถือไดวาตรงกัน (ในทน่ี คี้ อื 484-336=148)

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๓๕

๓๕,๐๐๐ คน) มาหยดุ ยง้ั ตงั้ ทพั ทเี่ มอื งตกั สลิ าในป 326 BC เตรยี ม
ทําสงครามรุกลึกเขาไปในลุมแมน้ําสินธุ และไดพบกับจันทรคุปต
(กรกี เรยี กวา Sandrokottos) เจา เชอื้ สายโมรยิ ะ ซงึ่ กาํ ลงั คดิ การลม
ราชวงศน นั ทะ

หลกั ฐานฝา ยกรกี บนั ทกึ ไวว า กองทพั มคธของราชวงศน นั ทะ
มีร้ีพลทหารราบ ๒๐๐,๐๐๐ ทหารมา ๒๐,๐๐๐ กองทัพรถ
๒,๐๐๐ และกองทพั ชา ง ๓,๐๐๐

ประวตั ศิ าสตรเ ลา วา ในป 325 BC พระเจา อเลกซานเดอรได
เลิกความคิดที่จะเขาตีอินเดียและยกทัพกลับประเทศกรีก แต
สวรรคตกลางทาง โดยไมท ราบเหตผุ ลวา ทาํ ไมจงึ ไมร บกบั มคธ

แตมีหลกั ฐานวา เมอ่ื อเลกซานเดอรทําสงครามผานปญจาบ
เขามา ทหารกรีกซ่ึงออนลาทั้งรางกายและจิตใจ พากันแข็งขืน
แสดงความเหนอื่ ยหนายไมยอมรบตอ ไปอีก

นักประวัติศาสตรบ างทา นสันนษิ ฐานวา ทหารกรกี เหน็ กอง
ทพั ของกษตั ริยนนั ทะแหง มคธแลวหวาดกลวั ไมย อมรบ (ดู “India,
Pre-Mauryan states”, Encyclopaedia Britannica, 1988)

ทางฝายจันทรคุปตยังคิดการมุงม่ันสูรบตอไปจนข้ึนครอง
มคธไดส ําเรจ็

สวนอเลกซานเดอรมหาราช แมจะไดเลิกทัพกลับไปและ
สวรรคตระหวา งทางใน ๒ ปต อ มา แตแ มท พั ของพระองคซ ง่ึ ปกครอง
ดินแดนท่ีพิชิตไว ก็ไดตั้งตัวขึ้นเปนกษัตริยแลวแผอํานาจตอไป
และจันทรคุปตก็จะไดเผชิญกับกษัตริยอดีตแมทัพของอเลกซาน
เดอรม หาราช ท่คี รองดนิ แดนประชดิ ชมพูทวีปนี้ในไมช า

๓๖ หลักศิลาจารกึ อโศก

จนั ทรคปุ ต ลมราชวงศน นั ทะ ตงั้ ราชวงศโ มรยิ ะ (สันสกฤตวา
เมารยะ) ครองราชยแหงมคธที่กรุงปาตลบี ตุ ร และขยายดนิ แดน
ออกไปอยางกวางขวาง นาน ๒๔ ป

จากน้นั พระเจาพนิ ทุสาร ราชโอรส ครองราชย ๒๘ ป
สิน้ รชั กาลน้ี พ.ศ.๒๑๔ กถ็ ึงสมยั ของพระเจา อโศกมหาราช ซ่งึ
ครองราชย ๔ ป กอนราชาภิเษกใน พ.ศ.๒๑๘ แลว ครองแผนดนิ
ตอมาอกี ๔๒ ป จนสวรรคตใน พ.ศ.๒๖๐ (ตาํ ราฝา ยตะวนั ตกสว น
มากวา สมยั อโศก = พ.ศ.๒๗๐–๓๑๒)
นี้เปนภาพของเหตุการณสืบเนื่องจากพุทธกาล ที่เคียงขาง
กบั เรือ่ งราวในพระพุทธศาสนามาโดยตลอด

สืบสายราชวงศอ โศก: พุทธกาลถึงครองมคธ

ไดบ อกขา งตน วา จนั ทรคปุ ตเ ปน เจาเชื้อสายโมริยะ และไดข้ึน
ครองมคธ ตั้งราชวงศใ หม คอื โมริยวงศ (เขียนอยา งสันสกฤตเปน
เมารยะ) จงึ ควรทราบใหช ัดขึน้ สักหนอยวา โมริยวงศน ้ีมาจากไหน
และจนั ทรคุปตตงั้ โมริยวงศอ ยา งไร

เจาเผาโมรยิ ะนี้ วากนั วาเปน สายพระญาติวงศข องพระพุทธ
เจา ซึง่ อาจเปนไดวา สืบเชอ้ื สายมาจากเจา ศากยะทีถ่ กู ลา งเผา

เรอ่ื งราวกย็ อ นไปถงึ สมยั พทุ ธกาล และโยงไปทเี่ รอื่ งพระเจา
วทิ ูฑภะ ซ่งึ ไดเ ลา ไปแลววา ตอนทายพทุ ธกาล พระเจา วทิ ูฑภะยึด
อาํ นาจพระราชบดิ า คือพระเจาปเสนทโิ กศล แลวยกทัพไปปราบ
แควน ศากยะ โดยมงุ จะลา งเผา ของเจา ศากยะ คอื ศากยวงศ ซง่ึ กค็ อื

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๓๗

วงศข องพระพทุ ธเจา นน่ั เอง และไดท าํ ลายแควน ศากยะหมดส้ิน
กษัตรยิ สายศากยะที่หลงเหลอื อยู อาจหนีไปอยตู ามเชงิ เขา

หิมาลัย ตอมา กไ็ ดค อยๆ รวบรวมพวกพองเผาพนั ธุ มกี าํ ลังมาก
ขน้ึ โมริยะนี้ก็เปนศากยะสายหนง่ึ

จนกระทง่ั ประมาณ พ.ศ. ๑๖๐ ก็ไดม ีคนสาํ คญั ในพงศเ ผา
โมรยิ ะน้เี กดิ ขนึ้ ชอื่ วา จนั ทรคปุ ต ซง่ึ ไดพ ยายามทจ่ี ะรวบรวมอาํ นาจ
ขน้ึ มาชงิ แควน มคธ

เวลานั้น แควนมคธใหญมาก โมริยะเปนเพียงชนเผาหน่ึง
เทานั้น พวกโมรยิ ะ โดยจนั ทรคปุ ตเ ปน หวั หนา ไดพ ยายามเขา มายดึ
อาํ นาจแควน มคธ แตกย็ งั ทําการไมส ําเร็จ

พอดีถึงยุคที่พระเจาอเลกซานเดอรมหาราช มีอาํ นาจขึ้นมา
ทางกรกี ตองการแผอาํ นาจไปท่ัวโลก กไ็ ดกรฑี าทัพตีมาตลอด จน
ถงึ ชายแดนประเทศอนิ เดีย และคิดวาตอ งตีประเทศอินเดียดว ย จึง
ไดพกั กาํ ลงั พลอยูช ายแดนประเทศอนิ เดยี ทีเ่ มอื งตักสลิ า (บาลี =
ตกฺกสิลา; สนั สกฤต = ตกษฺ ศิลา; ฝร่ังเขยี นตามกรีก = Taxila)

ท่ีตักสิลาน้ัน อเลกซานเดอรมหาราชเตรียมวางแผนท่ีจะทํา
สงครามกับชมพูทวีป คือแควนมคธนี้ ซ่ึงกําลังเปนแควน
มหาอาํ นาจอยู

พอดีประจวบเวลาเดียวกันกับปูของพระเจาอโศก คือพระ
เจาจันทรคุปต ก็กําลังพยายามจะเขายึดอํานาจแควนมคธ จึงมี
ความคิดเกิดขน้ึ วา ถาท้งั สองฝายมารวมเปนพนั ธมิตรกนั แลว ชวย
กนั รบ ก็จะเอาชนะแควน มคธได

ท้ังสองฝายมีผลประโยชนรวมกัน พระเจาอเลกซานเดอรก็

๓๘ หลักศลิ าจารึกอโศก

คิดวา ถา ไดค นอนิ เดียเองมาชว ย การรบกจ็ ะมีกําลังทําใหสาํ เร็จ
งา ยขน้ึ ฝายจนั ทรคปุ ตก เ็ ชนเดียวกนั คิดวา ถา ไดอาศัยฝายอเลก
ซานเดอรมาชวย ก็จะสามารถรบชนะได เพราะตนมีกําลงั ไมพ อ
ทั้งสองฝา ยมคี วามคิดรวมกันอยางน้ี ก็นัดพบกัน

พอพบกนั กเ็ กดิ ปญ หาวา ใครจะเคารพใครกอ น ทง้ั สองฝา ย
ตา งกถ็ อื ตวั ไมยอมเคารพกอ น

ฝายจันทรคุปต (พวกกรีกเรียกวา Sandrocotus หรือ
Sandracottos) เขาไปในเขตอํานาจของพระเจาอเลกซานเดอร
เพราะเขาไปพบในคายของเขา พระเจา อเลกซานเดอรก็สง่ั จับ เอา
จนั ทรคปุ ตเ ขา คกุ ขงั ไว แตม เี รอ่ื งเลา วา ตอ มาจนั ทรคปุ ตห นอี อกไป
ได และมนี ยิ ายอิงประวัติศาสตรเ ลาเรื่องท่ีจันทรคปุ ตห นีออกมา

สว นทางฝา ยพระเจา อเลกซานเดอรเ อง คดิ ไปคดิ มา มเี รอื่ ง
ราวอยา งไรไมช ดั นกั กย็ กทพั กลบั ไป แลว กไ็ ปสวรรคตกลางทาง

ดนิ แดนทพ่ี ระเจา อเลกซานเดอรต ีได พระองคก ท็ ิง้ แมท ัพนาย
กองไวใหปกครอง แมท ัพนายกองเหลาน้นั ตอมากย็ กตวั ขึน้ เปน
พระเจาแผน ดิน เปนแควน ตา งๆ หลายแควน

กลาวฝายเจาจันทรคุปต เม่ือหนีออกมาจากเง้ือมมือของ
พระเจา อเลกซานเดอรไ ดแลว ก็ตอ งมาหาวธิ ียึดอาํ นาจแควน มคธ
ดวยตนเองตอไป และมเี รอ่ื งมีราวมากมาย

ครัง้ หนึ่งทส่ี ําคัญ จันทรคปุ ตนึกวาตวั เองมีกําลังมากพอแลว
กย็ กทพั เขา ตีแควน มคธ ปรากฏวา พายแพ ตัวเองเอาชวี ิตแทบไม
รอด แลว กห็ นซี อกซอนไปจนถงึ หมบู านแหง หนงึ่

เมื่อเขาไปในหมบู า นแหงนั้น พอดผี า นมาทางบา นทยี่ ายคน

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๓๙

หนึ่งกําลังทาํ ขนมเบื้องใหหลานกิน ทนี พ้ี อเอาลงจากเตา เรยี กวา
ทอดเสรจ็ ใหมๆ กห็ ยบิ สง ใหห ลาน หลานรบั มากาํ ลังรอนๆ กดั กรวม
ลงไปตรงกลาง กร็ อ งไหจ า เพราะมนั รอ นจดั ลวกเอาลนิ้ เอาปากเขา

เม่ือหลานรองข้ึนมา ยายก็เลยดาเอาวา “เอ็งมันโงเหมือน
เจาจันทรคปุ ต กดั กินลงไปไดยังไงตรงกลางยงั รอนจัด มนั ตอ งเล็ม
กินจากขอบขางนอกเขา มากอ นสิ” (ขอบมันบาง กเ็ ยน็ เร็วกวา)

เจา จนั ทรคปุ ต กาํ ลังหนีซอกซอนมาในชนบทถึงหมบู านนั้น
พอดี เมื่อไดย นิ เสียงยายดา หลานอยา งน้ี ก็ไดค วามคิดข้นึ มาทันที
จึงเปลี่ยนแผนการรบใหมวา จะไปรบโดยตรงบุกทะลวงเขาไปคง
ไมไ หว กําลงั เรานอ ยกวา ตองใชว ิธีแบบกนิ ขนมเบอื้ ง คอื เล็มจาก
ขอบเขามา

ดงั น้นั เจา จนั ทรคุปตจ งึ คอยๆ ไปซองสมุ กาํ ลงั ใหม โดยผกู
ไมตรีกับเผาเล็กเผานอย รวมไพรพลไดมากข้ึนแลว ก็เขามาตี
อาณาจักรมคธ ดว ยวธิ ลี อ มเขา มาจากรอบนอกตามลําดับ

ในทสี่ ดุ จนั ทรคปุ ตก ร็ บชนะกษตั รยิ ร าชวงศน นั ทะแหง แควน
มคธ แลวก็ขึ้นครองแผนดิน เปนกษัตริยแหงราชวงศใหม คือ
ราชวงศโมริยะ (น้ีเขียนตามภาษาบาลี แตตําราฝร่ังเขียนอยาง
สนั สกฤตเปน เมารยะ/Maurya) และครองเมืองปาตลีบุตรสบื มา

ไดบ อกแลว วา เมอ่ื พระเจา อเลกซานเดอรส วรรคตแลว แมทพั
ทพ่ี ระองคต้ังหรอื มอบหมายไวใ หป กครองดนิ แดนท่ีตไี ด กต็ ั้งตวั ข้ึน
เปน เจา ผปู กครอง เกดิ เปน แควน หรอื ประเทศใหมๆ ขน้ึ มา แลว กแ็ ยง
ชิงอํานาจและดินแดนกันเอง เชน นายพลโทเลมีก็ขึ้นเปนกษัตริย
เรมิ่ ตนราชวงศ Ptolemy ที่ปกครองอียปิ ต นายพลแอนตโิ กนัสก็

๔๐ หลกั ศลิ าจารกึ อโศก

ข้ึนเปนราชาแหงมาซิโดเนีย เปนตนกําเนิดของวงศกษัตริย
Antigonus นายพลซีลูคัสทีไ่ ดป กครองกรงุ บาบโิ ลน กย็ ดึ ครองดนิ
แดนทต่ี ไี ดท างตะวนั ออกดา นเอเชยี เชน อหิ รา น ทง้ั หมด (ในทส่ี ดุ ก็
ครองทซี่ เี รยี ) ข้นึ เปน พระเจา Seleucus ที่ ๑ (กษตั ริย Antiochus
ทง้ั หลาย อยูในสายราชวงศของ Seleucus น้ี)

โดยเฉพาะพระเจาซีลูคัสที่ ๑ เม่ือจัดการปญหาภายใน
ระหวางพวกขุนพลดวยกันพอลงตัวไดพอสมควรแลว ก็เริ่มงาน
กระชับอํานาจและขยายอาณาจักรทางตะวันออกดานอินเดีย จึง
มาขดั แยง กับพระเจา จันทรคปุ ต แลวก็ตองเผชิญกันในป 305 BC

ในทสี่ ุด ซลี คู ัสตอ งทําขอ ตกลงสละดนิ แดนในเขตชมพทู วปี ที่
อเลกซานเดอรต ไี ดไ ว กบั ทง้ั ดนิ แดนชายเขตแมท างตะวนั ตกของแม
นาํ้ สนิ ธุใหแ กจ นั ทรคปุ ต โดยไดร บั ชา ง๕๐๐ เชอื กเปน ของตอบแทน

ถงึ แมซลี คู ัสจะตอ งสญู เสียมากในคราวนี้ แตชางทไี่ ดไปกน็ าํ
โชคใหญมาใหเ ขาตอมา คือจากน้ันอกี ๔ ป พวกกษัตรยิ อ ดตี ขนุ
พลของอเลกซานเดอร ไดแ ตกกนั เปน ๒ คา ย พระเจา ซลี คู สั ท่ี ๑ นี้ ได
เขา กบั พระเจา โทเลมที ่ี ๑ เปน ตน รบกบั พระเจา แอนตโิ กนสั ที่ ๑
และโอรสชอื่ ดมิ ีตริอสุ ท่ี ๑ ทง้ั ทีฝ่ า ยพระเจา แอนตโิ กนสั มกี าํ ลงั ทพั
ราบและทพั มา เหนอื กวา และตอนแรกดิมีตริอุสชนะทัพมา ของฝาย
ซีลูคัส และบุกลึกเขามา แตแลวก็ถูกทัพชางฝายซีลูคัสขวางปด
ทาง ทาํ ใหออกไปชวยบิดาไมได พระเจา แอนตโิ กนสั ถกู สงั หาร และ
ดมิ ีตริอุสกต็ องหนเี อาตัวรอด พา ยแพเสยี ดนิ แดนใหแ กศ ัตรู

โชคนี้มาถึงรุนโอรสของซีลคู สั ดวย คอื ในสมัยของพระเจา
แอนไทโอคสั ท่ี ๑ (Antiochus I) พวกกอลส (Gauls) สองหมนื่ บกุ รกุ


Click to View FlipBook Version