The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จารึกอโศก รัฐศาสตร์แห่งธรรมธิปไตย (ป.อ. ปยุตโต)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-05-05 23:02:11

จารึกอโศก รัฐศาสตร์แห่งธรรมธิปไตย (ป.อ. ปยุตโต)

จารึกอโศก รัฐศาสตร์แห่งธรรมธิปไตย (ป.อ. ปยุตโต)

Keywords: จารึกอโศก,ป.อ. ปยุตโต

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๑๙๑

๒. คําจารึกบน ๘ แทน หนิ

คซู าย แผน ที่ ๒–๓* (คําอธิบาย “สีส่ งิ ห ทนู ธรรมจกั ร”)

…………………………………………………………………………

สี่สิงห ทูนธรรมจักร

พระเจาอโศกมหาราช กษัตริยพระองคท่ี ๓ แหง ราชวงศโมริ
ยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนครปาฏลีบุตร ในชมพูทวีป เม่อื
พ.ศ.๒๑๘-๒๖๐ (ตําราฝา ยตะวันตกมกั วา พ.ศ.๒๗๐-๓๑๒) ทรง
เปนพระมหากษัตริยท่ีย่ิงใหญที่สุดในประวัติศาสตรของชมพูทวีป
ครองอาณาจักรกวางใหญที่สุดในประวัติศาสตรชาติอินเดีย เปน
องคเอกอัครศาสนูปถัมภกสําคัญที่สุดในประวัติศาสตรแหงพระ
พทุ ธศาสนา และเปน อคั รมหาบรุ ษุ ผหู นง่ึ ในประวตั ศิ าสตรโ ลก

เม่อื ครองราชยไ ด ๘ พรรษา ทรงกรีฑาทพั ไปปราบแควน
กลิงคะ แมจะมีชัยชนะ แตทรงสลดพระทัยในความโหดรา ยของ
สงคราม เปนเหตุใหทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนา และทรง
ดําเนินนโยบายธรรมวิชัย มุงทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา ปกครอง
แผนดินโดยธรรม สรางสรรคป ระโยชนส ุขของประชาชน สงเสรมิ
ความเจริญรุงเรืองของประเทศในทางสันติ พระนามที่เคยเลาลือ
กันวาเปน จัณฑาโศก (อโศกผูโหดราย) ก็เปลี่ยนใหมมาเปน

* คาํ จารกึ บน ๘ แทน่ หิน แผนท่ี ๑ ไมนํามาพมิ พไว เพราะซํา้ กบั คําจารึกบนเสา ในขอ ๑.

๑๙๒ จารึกอโศก

ธรรมาโศก (อโศกผูทรงธรรม) ชาวพุทธไทยแตเดิมมามักเรยี กพระ
องคว า พระเจา ศรีธรรมาโศกราช

พระเจาอโศกมหาราช ไดทรงสรางวิหาร (วัด) ๘๔,๐๐๐
แหง เปน ศนู ยกลางการศกึ ษา ทสี่ ัง่ สอนประชาชน ทรงอปุ ถัมภก าร
สงั คายนาครงั้ ท่ี ๓ และการสงศาสนทตู ไปเผยแพรพ ระพุทธศาสนา
ในนานาประเทศ เชน พระมหนิ ทเถระไปยังลงั กาทวีป และพระ
โสณะ-พระอุตตระมายงั สวุ รรณภมู ิ เปนตน

พระเจาอโศกมหาราช โปรดใหเขียนสลกั ศิลาจารึก (เรียกวา
“ธรรมลิป” คือ ลายสอื ธรรม หรือธรรมโองการ) ไวในท่ตี า งๆ ทว่ั
มหาอาณาจกั ร เพอ่ื สอ่ื พระราชกรณยี กจิ ตามหลกั ธรรมวชิ ยั เชน การ
จดั บรกิ ารสาธารณะ ไมว า จะเปน บอ นาํ้ ทพี่ กั คนเดนิ ทาง สวนปา
โอสถศาลา สถานพยาบาลเพ่อื คนและเพอ่ื สัตว ยกเลิกประเพณี
เสด็จเท่ียวลาสัตวหาความสําราญ เปล่ียนมาเปนธรรมยาตรา
เสดจ็ ไปนมัสการปูชนียสถาน เยีย่ มเยยี นชาวชนบท ยํ้าการปฏบิ ัติ
ธรรมในสังคม เชน การเชื่อฟงบิดามารดา การเคารพนับถือครู
อาจารย การปฏิบตั ิชอบตอ ทาสกรรมกร เปน ตน ใหเสรภี าพในการ
นับถือศาสนา โดยมีความสามัคคีเอ้ือเฟอกันระหวางชนตางลัทธิ
ศาสนา และเจรญิ พระราชธรรมไมตรกี บั นานาประเทศ (ที่ระบุใน
จารกึ โดยมากเปนอาณาจักรกรกี ถงึ อียิปต และทางใตล งมาถงึ ศรี
ลงั กา สว นทางสวุ รรณภูมิ มศี าสนทูตมา แตไมปรากฏการตดิ ตอ
กันเปนทางการ)

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๑๙๓

ธรรมลิปที่โปรดใหจ ารกึ ไว ทัง้ บนแผนศิลา และบนเสาศลิ า

เทาทพ่ี บมี ๒๘ ฉบับ แตล ะฉบับมกั จารกึ ไวหลายแหง บางฉบับขุด

คนพบแลวถึง ๑๒ แหง

โดยเฉพาะเสาศิลาจารึกท่ีสารนาถ คือที่ปาอิสิปตน

มฤคทายวนั อนั เปนทแ่ี สดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจา ซึ่งจาํ ลอง

ไว ณ ท่นี ี้ ถือกนั วาสงา งาม สําคัญ และเปนที่รูจักกนั มากทส่ี ุด

เม่ืออินเดียเปนเอกราชพนจากการปกครองของอังกฤษใน

พ.ศ.๒๔๙๐ ไดน าํ เอารูปพระธรรมจักร ซ่งึ ทูนอยูบนหวั สิงหย อด

เสาศิลาจารึกของพระเจาอโศกมหาราช ที่สารนาถ มาเปนตรา

สัญลกั ษณทกี่ ลางผืนธงชาติ และใชรปู สิงหทงั้ สท่ี ีท่ ูนพระธรรมจกั ร

น้นั เปนตราแผน ดินสบื มา

สงิ หท้ังสี่ หมายถงึ พระราชอาํ นาจท่แี ผไ ปทั่วทั้งส่ีทิศ

สิงหเทินธรรมจักร ส่ือความวา อํานาจรัฐนั้น ถือธรรมเปน

ใหญ เชดิ ชบู ชู าธรรม และหนนุ การแผข ยายธรรมไปทว่ั ทศิ ทง้ั ส่ี

— •—

ขอ พงึ ศึกษา:

ธรรมวชิ ยั [จกั กวตั ติสูตร/จกั กวัตตสิ ีหนาทสูตร, พระไตรปฎ ก ๑๑/๓๓/๖๒]

ธรรมจกั ร, จกั รรตั นะ[ธมั มจักกปั ปวตั ตนสตู ร, ๔/๑๓/๑๗ และจักกวัตตสิ ูตร]

สงิ ห [ราชสีห, สีหะ, สหี นาท]

สารนาถ Å สารงฺคนาถ [อสิ ิปตน-มคิ ทายวัน]

๑๙๔ จารึกอโศก

๒. คําจารกึ บน ๘ แทน หิน

คกู ลาง แผน ท่ี ๔–๕ (ตัวอยา งขอความจาก “จารกึ อโศก”)

…………………………………………………………………………

ศลิ าจารึก

ของ

พระเจา อโศกมหาราช

จารึกศิลา ฉบบั ท่ี ๑๓

ชัยชนะน้ีแล อันพระผูเปนที่รักแหงทวยเทพ ทรงถือวาย่ิง
ใหญที่สดุ ไดแก ธรรมวิชยั (ชยั ชนะโดยธรรม) และธรรมวชิ ัยนนั้
พระผูเปนที่รักแหงทวยเทพไดทรงกระทาํ สาํ เร็จแลว ทั้ง ณ ที่น้ี
และในดินแดนขา งเคียงท้งั ปวง ไกลออกไป ๖๐๐ โยชน … เปนชัย
ชนะอันมีปติเปนรส พร่ังพรอมดว ยความเอบิ อ่ิมใจ เปน ปต ิที่ไดม า
ดว ยธรรมวิชัย

แตกระนนั้ ปตินี้ยงั นับวา เปน เพยี งสิ่งเล็กนอย พระผเู ปนที่รกั
แหงทวยเทพ ยอ มทรงพจิ ารณาเหน็ วา ประโยชนอันเปนไปเบื้อง
หนา เทาน้ัน เปน สง่ิ มผี ลมาก เพอื่ ประโยชนน้ี จงึ โปรดใหจารกึ ธรรม
โองการนีข้ ้นึ ไว ดว ยมงุ หมายวา ขอใหลูกหลานของขาฯ ไมว า จะ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๙๕

เปน ผใู ดกต็ าม จงอยา ไดค ิดถงึ (การแสวงหา) ชยั ชนะเพม่ิ ข้นึ ใหม

อีกเลย ถาหากวาเขาแสวงหาชัยชนะมาเปนของตนเพิ่มข้ึนใหม

แลว ก็ขอใหเขาพอใจในการใหอภัย และการใชอาชญาแตเพียง

เลก็ นอย และขอใหเขายึดถือวา ชัยชนะอนั แทจ ริงนั้น จะตอ งเปน

ธรรมวชิ ยั เทา นน้ั ดว ยวาธรรมวชิ ัยน้ันเปน ไปได ท้ังในโลกบดั น้ี

และในโลกเบ้อื งหนา

ขอปวงความยินดแี หงสัตวทั้งหลาย จงเปนความยินดีในการ
พากเพยี รปฏิบตั ิธรรม เพราะวาความยนิ ดนี ัน้ ยอมอาํ นวยผลทงั้ ใน
โลกบดั นี้ และในโลกเบ้ืองหนา .

จารกึ ศลิ า ฉบับที่ ๙ และ ๑๑

อนึ่ง มีคําที่กลาวไววา การใหท านเปนความดี กแ็ ตวาทาน
หรือการอนุเคราะหท่ีเสมอดวยธรรมทาน หรือธรรมานุเคราะห
ยอ มไมมี ฉะน้นั จึงควรทีม่ ติ ร เพื่อนรัก ญาติ หรือสหาย จะพึง
กลา วแนะนํากันในโอกาสตางๆ วา นเ้ี ปนกจิ ควรทาํ นีเ้ ปน สิง่ ดีงาม
แท ดวยธรรมทานหรอื ธรรมานุเคราะหน ี้ ยอ มสามารถทําสวรรค
ใหสาํ เร็จได และจะมีอะไรอื่นอีกเลาที่ควรกระทาํ ใหส าํ เรจ็ ย่งิ ไป
กวาการลถุ งึ ซึ่งสวรรค.

๑๙๖ จารึกอโศก

สมเดจ็ พระเจา อยหู ัวปริยทรรศี ผูเปน ทีร่ ักแหงทวยเทพ ตรสั
ไว ดงั น้ี:-

ไมมีทานใดเสมอดวยการใหธรรม (ธรรมทาน) ความสนิท
สนมกันโดยธรรม (ธรรมสันถวะ, ตวั อกั ษรเลือนไป อาจเปน ธรรม
สันถาร? คือการตอนรับดวยธรรม) การแจกจายธรรม (ธรรมสัง
วิภาค) และความสัมพันธกันโดยธรรม (ธรรมสัมพันธ) อาศัย
(ธรรมทาน เปน ตน )นนั้ ยอ มบงั เกิดมีสิ่งตอ ไปน้ี คือ

- การปฏิบัตชิ อบตอคนรบั ใชและคนงาน
- การเชอ่ื ฟง มารดาบดิ า
- การเผื่อแผแบง ปน แกมิตร คนคนุ เคย และญาตทิ ้งั หลาย
- การถวายทานแกส มณพราหมณ
- การไมฆ า สัตวเ พอื่ บูชายัญ

บิดากด็ ี บตุ รกด็ ี พี่นองชายกด็ ี นายกด็ ี มิตรและคนคนุ เคยก็
ดี ตลอดถงึ เพื่อนบาน พึงกลาวคาํ น้ี (แกก นั ) วา “น่ีเปน สง่ิ ดงี ามแท
น่ีเปน กิจควรทาํ ” สําหรบั บคุ คลผปู ฏิบัตเิ ชนนี้ ความสุขอนั เปน ไป
ในโลกนี้ยอ มสําเร็จดว ย และในโลกเบื้องหนา บุญหาทสี่ ดุ มิไดย อม
บงั เกิดมี เพราะอาศยั ธรรมทานนั้นดว ย.

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๙๗

๒. คําจารึกบน ๘ แทน หิน

คูขวา แผนที่ ๖–๗ (พทุ ธพจน/ พระไตรปฎ ก เพื่อสืบที่มาของธรรมในจารึกอโศก)

…………………………………………………………………………

พทุ ธพจนใ นพระไตรปฎ ก

จกั กวตั ตสิ ูตร

ภกิ ษทุ ้งั หลาย … ราชา ผจู ักรพรรดิ ทรงธรรม เปน ธรรมราชา
… ทรงมีชัยชนะโดยธรรม (ธมฺเมน อภวิ ิชิย) มติ อ งใชอ าชญา มิ
ตอ งใชศ สั ตรา จกั ปกครองแผนดนิ น้ี มสี าครเปน ขอบเขต …

(ท.ีปา. ๑๑/๔๘/๘๒)

หลายสตู รในทานวรรคและสนั ถารวรรค

[๓๘๖] ภิกษทุ ้งั หลาย ทาน ๒ อยางนี้ คือ อามสิ ทาน ๑ ธรรม
ทาน ๑ บรรดาทาน ๒ อยางน้ี ธรรมทาน เปนเลิศสงู สดุ …

[๓๙๒] ภิกษุทงั้ หลาย สังวภิ าค (การแจกจา ย) ๒ อยางน้ี คือ
อามิสสังวิภาค ๑ ธรรมสังวภิ าค ๑ บรรดาสังวภิ าค ๒ อยางน้ี
ธรรมสังวิภาค เปนเลศิ สงู สุด …

[๓๙๔] ภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห ๒ อยางนี้ คือ อามสิ
อนุเคราะห ๑ ธรรมานุเคราะห ๑ บรรดาการอนุเคราะห ๒ อยา งน้ี
ธรรมานเุ คราะห เปน เลศิ สงู สดุ …

๑๙๘ จารึกอโศก

[๓๙๖] ภกิ ษุท้ังหลาย สันถาร (การตอ นรับ) ๒ อยา งนี้ คอื
อามิสสันถาร ๑ ธรรมสนั ถาร ๑ บรรดาสันถาร ๒ อยา งน้ี ธรรม-
สันถาร เปน เลศิ สูงสดุ

(อง.ฺจตุกฺก. ๒๑/๓๘๖–๓๙๖/๑๑๔-๖; และดู ขุ.อติ ิ. ๒๕/๒๘๐/๓๐๘)

สงิ คาลกสูตร

[๑๙๘] ดูกรคฤหบดีบุตร อริยสาวกเปนผูปกแผทิศทั้ง ๖
อยา งไร ทา นพงึ ทราบทศิ ๖ เหลานี้ คอื

- มารดาบดิ า เปน ทศิ เบ้อื งหนา
- อาจารย เปน ทิศเบอื้ งขวา
- บุตรภรรยา เปน ทิศเบอื้ งหลัง
- มติ รสหายและคนใกลช ิดผชู วยกจิ การ เปนทิศเบื้องซา ย
- คนรับใชและคนงาน เปน ทศิ เบือ้ งลา ง
- สมณพราหมณ เปน ทศิ เบื้องบน …

(ที.ปา. ๑๑/๑๙๘/๒๐๒)

สัปปุรสิ สตู ร

[๔๒] สปั ปุรสิ ชน (คนดีท่ีแท) เกิดในพงศเผาเหลา ใด ยอม
ชว ยใหเกิดประโยชนเกอื้ กูลและความสุข แกช นเปน อนั มาก ทง้ั
- แกม ารดาบดิ า
- แกบตุ รภรรยา

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๑๙๙
- แกคนรบั ใชแ ละคนงาน
- แกม ติ รสหายและคนใกลชิดผูชว ยกิจการ
- แกเหลาสมณพราหมณ

[ใน “สัปปรุ สิ สูตร” อกี แหงหนงึ่ (องฺ.อฏก. ๒๓/๑๒๘/๒๔๘) เพมิ่ คนอกี ๓ กลมุ คือ
แกบ รรพชน แดอ งคร าชาหรือราชการ และแดทวยเทพเทวา]

อุชชยสตู ร

[๓๙] การบชู ายัญอันย่ิงใหญ มกี ารสังหารเบยี ดเบยี นมาก
คอื อัศวเมธ (ฆา มา บชู ายัญ) ปรุ สิ เมธ (ฆา คนบชู ายัญ) สมั มาบาส
(มหายัญอันลุลอดบวงบาศ) วาชเปยะ (มหายัญเฉลิมชยั ) และ
นริ คั คฬะ (คือ สรรพเมธ อันฆาครบทกุ อยา งบูชายัญ) มหายัญ
เหลา น้ัน จะมผี ลมากกห็ าไม ในยญั อนั มกี ารฆาแพะ แกะ โค และ
สตั วต างๆ นนั้ ทา นผูดําเนนิ ในทางชอบธรรม ผใู ฝแ สวงคณุ ความดี
ที่ยงิ่ ใหญ หาเขา ไปของแวะไม

(ส.ํส. ๑๕/๓๔๙/๑๐๙)

๒๐๐ จารกึ อโศก

๒. คําจารกึ บน ๘ แทน หนิ

แผน ที่ ๘ (บอกหลกั เขตท่ีวดั เปน ท่ตี งั้ เสาอโศก)

…………………………………………………………………………

เสาศลิ าจารึกอโศก แหง สารนาถ

(จาํ ลอง)

ประดษิ ฐาน ณ ทตี่ ง้ั หลกั เขต
จดุ ตอ ทด่ี นิ ทต่ี งั้ วดั ญาณเวศกวนั ๓ แปลง:

— •—

๑. แปลงท่ีขออนญุ าตสรางวดั (เสาอยูมมุ ต.ตก ฉ.ใต; ทวี่ ดั แปลง

แรก ๑๑ ไร ๒๔ ตร.วา ซ่ึงนายยงยทุ ธ ธนะปรุ ะ และนางชตุ มิ า
ธนะปุระ (สุวรรณกุล) ถวาย เพ่ือดําเนินการสรางวัด ตามใบ
อนญุ าตสรา งวดั ลว. ๓๐ ธ.ค. ๒๕๓๑ และถวายเปน ของวัด ตาม
หนังสือสัญญาใหท ่ดี นิ ซงึ่ ไดท าํ เม่ือ ๒๖ ธ.ค. ๒๕๔๐)

๒. แปลงท่ตี ้ังอโุ บสถ (เสาอยูมุม ต.ออก ฉ.ใต; ที่วัดแปลงที่สอง ๘

ไร ๙๓ ตร.วา ซงึ่ ญาตโิ ยมรวมใจซอ้ื ถวาย เซน็ สญั ญา ๒ ม.ี ค.
๒๕๔๐ มลู คา ๑๙,๗๕๘,๐๐๐.๐๐ บาท)

๓. แปลงลานเสาศิลาจารึกอโศก (เสาอยูมุม ต.ออก ฉ.เหนอื ; ทีว่ ดั

แปลงทห่ี า ๔ ไร ๓ งาน ๑๕ ตร.วา ซ่งึ พีน่ องตระกลู “สุจรติ ” รวมใจ
อุทศิ บรรพบุรษุ บุรพการี ถวายเม่ือ ๒๒ ส.ค. ๒๕๔๗)

ทายเลม: ตนเร่ือง

เรือ่ งบงั เอิญใหญ รอไวก อน

เสาศิลาจารกึ อโศกแหงสารนาถ (จําลอง) ทว่ี ัดญาณเวศก-
วนั น้ี มกี ารเกดิ ขึ้นท่ีเปนความบงั เอญิ สาํ คัญ ๒ ประการ คือ

๑. เสาจารึกนเ้ี อง เกดิ ขึ้นโดยบงั เอิญเปนเรือ่ งบานปลายมา
๒. เสาจารกึ นีเ้ สร็จ บังเอญิ ครบ ๒๐ ป วดั ญาณเวศกวัน
ทีจ่ รงิ แมกระทง่ั เสาจะเสร็จอยแู ลว กย็ งั ไมไ ดนึกถงึ เร่ืองกาล
เวลา แลว กบ็ งั เอิญอีกนัน่ แหละวา ไดมีการพูดกันถงึ วันทาํ บญุ ประ
จําปอ ุทศิ แกคณุ สายใจ หลมิ สุนทร ผูส รางสถานพาํ นกั สงฆส ายใจ
ธรรม(ท่ีเขาดงยาง)วา ปนี้ สถานพํานกั สงฆส ายใจธรรมครบ ๒๐ ป
จึงทําใหนึกไดวา วัดญาณเวศกวันก็เรมิ่ ในปเดียวกบั สายใจธรรม
เพราะฉะนนั้ วดั ญาณเวศกวนั กค็ รบ ๒๐ ปด ว ย
แลว จงึ นกึ ตอ มาถงึ เสาจารกึ อโศกทกี่ าํ ลงั จะเสรจ็ กเ็ ลยกลาย
เปนวามาบรรจบเวลาที่เสาเสร็จประจวบกับวัดญาณเวศกวันมี
อายุครบ ๒๐ ป
เม่ือเร่ืองมาบรรจบกันในเวลาที่ถือไดวาสําคัญอยางนี้ ก็จึง
นึกวา ถงึ เวลาตองทําประวตั ิวัดญาณเวศกวันใหเสร็จเสยี ที
เรื่องความเปนมาของวัดญาณเวศกวันน้ี นึกไวนานนกั แลว
วาจะทําหนงั สือเลาประวตั ไิ ว แตย งั ไมมที างเปนไปได เพราะชอง

๒๐๒ จารกึ อโศก

วา งไมม ี และเหตจุ ําเปน ทบ่ี งั คบั ก็ยังไมเกดิ ขึ้น ถา ทาํ จริง จะตอ ง
คนเอกสาร เฉพาะอยา งย่งิ ยอนดบู ันทกึ กองใหญทเี ดียว

คร้นั มาบัดน้ี เกดิ เหตบุ งั คบั วาเสาจารึกเสร็จ จะตองเลาเรอื่ ง
ทไ่ี ปที่มาไว และเสากม็ าเสรจ็ ในวาระทวี่ ดั มอี ายคุ รบ ๒๐ ป เสาเกดิ
ขน้ึ กเ็ ปน เรอ่ื งท่อี ยใู นประวัติของวัด ถาเลาประวตั ิวดั ก็เทากบั เลา
ประวัตขิ องเสานน้ั ดวย

กะวาจะนําเรื่องประวัติวัดลงไวเปนสวนทายของหนังสือเสา
จารึกอโศก ดังน้นั พอทําเนือ้ เรื่องเสาจารึกอโศกเสร็จ ก็จงึ หนั ไป
เรม่ิ เขียนประวตั วิ ัด

ตอนแรก ทางดานญาติโยมบอกวางานสรา งเสาจะเสรจ็ ทัน
วันวสิ าขบชู า ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ถา อยา งน้ี กย็ งั ไมครบ ๒๐ ป
แท ไดแคเ ปนปที่ ๒๐ ของวัด

แตตอ มา ญาติโยมแจงวา งานสรางไมท นั วันวสิ าขบูชา ตอง
เลื่อนไปเสรจ็ ทันวนั เขาพรรษา คอื ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒ พอเล่ือน
อยา งน้ี กลบั กลายเปน พอดีวา ครบเตม็ ๒๐ พรรษา เพราะพระ ๓
รูปแรกมาเขาอยทู วี่ ัดนีใ้ นวนั เขาพรรษา ท่ี ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒

อยา งไรก็ตาม เรื่องไมเ ปนไปดังคาด เหตุติดขดั หลายอยาง
ทาํ ใหการเขยี นไมร าบร่ืน และเร่ืองราวที่จะเขยี นก็มากมาย ตอ งใช
เวลายาวนาน

ในท่สี ดุ เนอื้ เรือ่ งทยี่ ืดยาว กบ็ งั คบั ใหต อ งยกแยกออกไปเปน
หนังสือประวัติวัดเลมหน่ึงตางหาก และตีกลับใหตองหันมาเขียน
ไวในเลมน้ี เฉพาะเรื่องความเปนมาของเสาจารกึ อโศกอยา งเดียว

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๐๓

เรื่องบังเอญิ ยอย ปลอ ยใหเสร็จ

ความบังเอิญท่ีเสาอโศกจะเกิดข้ึนน้ัน โยงกันกับเรื่องการ
สรา งโบสถ ตามเร่อื งท่เี ปนมาวา วัดญาณเวศกวันมพี ระมาอยูจํา
พรรษา ดงั ทวี่ า ตงั้ แต ๑๘ ก.ค. ๒๕๓๒๑ เวลาผา นมาๆ งานการตา งๆ
กเ็ ดนิ หนา เสรจ็ ไปๆ จนกระทัง่ มปี ระกาศตงั้ เปนวัดตามกฎหมายใน
วันท่ี ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๗ นบั วาวดั มีหลักฐานมนั่ คงแลว

เมอื่ เร่ืองทตี่ องจัดตองทาํ ลลุ วงไปตามลําดับ พอใกลถึง พ.ศ.
๒๕๔๐ พทุ ธบริษัทก็มุงมาคดิ กันในเรื่องทีว่ า นาจะมโี บสถ มีพทั ธ-
สีมา จะไดเ ปนวดั ทสี่ มบูรณอยางบริบรู ณ ใหโ ปรง โลง ไมตองมี
ภาระอะไรคางคาอีกตอ ไป

จาํ ไดว า เรอ่ื งสรา งโบสถน ้ี โยมคณุ หญงิ กระจา งศรี รกั ตะกนษิ ฐ
เปนผูเ ร่ิมแรก ไดต ้ังทุนบริจาคเปนประเดมิ ไว ๑ ลานบาท ในความ
จํานั้นกร็ ะลึกไดว าตั้งไวน านแลว แตเ จาะชัดลงไปไมไ ด คิดเอาวา ก็
คงอยใู นชว งใกล พ.ศ. ๒๕๔๐ น่นั แหละ แตเม่ือจะพูดถึง ก็ควรให
ชดั จึงพยายามสบื คน ไมพบ จนแทบตอ งยอมเลกิ ความพยายาม

แตแลวก็เจอในบันทึกเกา บอกวา โยมคุณหญิงกระจางศรี
รักตะกนิษฐ ถวายทุน ๑ ลานบาทเปด บัญชีสาํ หรบั สรางอโุ บสถ
ตง้ั แตป  ๒๕๓๒ ประมาณวนั ท่ี ๒๔ เมษายน เลยกลายเปนวา โยม
ไดต ง้ั ทนุ บริจาคถวายสรางโบสถต ง้ั แตก อ นท่พี ระ ๓ รูปแรกจะเขา
ไปอยูจําพรรษา ณ ท่กี อ สรางวดั ญาณเวศกวันดว ยซ้ําไป คอื เตรียม

๑ พระ ๓ รปู แรกนน้ั ไดแ ก พระเทพเวที (ประยทุ ธ ปยุตฺโต) ซงึ่ ปจ จบุ นั มสี มณศกั ดิ์ที่ พระ

พรหมคุณาภรณ, พระมหาอนิ ศร จนิ ตฺ าปฺโ ซึ่งบดั นค้ี อื พระครูปลัดสุวฒั นพรหมคณุ

และพระฉาย ปฺ าปทีโป คือ พระครสู ังฆรกั ษ ฉาย ในปจ จุบัน

๒๐๔ จารึกอโศก

สรางโบสถตั้งแตกอนวดั เกิด หรือจะวาพรอมกับสรางวดั ก็ได

บนั ทกึ บอกดว ยวา เมอ่ื ทราบแลว กไ็ ดแ ตอ นโุ มทนา พรอ มทง้ั
ไดพูดยาํ้ กับโยมขอใหสรางโบสถเพียงขนาดเล็กๆ เพียงแคพอแก
ประโยชนใชสอย และวานาจะกําหนดต้ังลงไปเลยวาจะสรางโดย
ใชเงินเพยี ง ๑ ลานบาททโ่ี ยมคุณหญิงถวายน้ี ไมรบั บริจาคเพิ่มอกี

ตอนนน้ั หลวงลงุ พระครสู งั ฆรกั ษฉ าย ไดแ สดงความเหน็ วา
จะสรา งเลก็ คงไมไ ด ทา นมปี ระสบการณต อนรบั นมิ นตไ ปจาํ พรรษา
เพอื่ สอนพระปรยิ ัตธิ รรม ทวี่ ดั สระศรเี จริญ (ใน อ.ดอนเจดยี  จ.
สุพรรณบุร)ี ไดเห็นโบสถที่นนั่ ไมพอใชก าร ปรากฏวา หลวงลุงวา ไว
ถูกตอง โบสถว ัดญาณเวศกวนั ทีส่ รางไวน ้ี ขนาดใชเ งินหลายลา น
เวลาน้ี ในหลายโอกาสกก็ ลายเปน จะเลก็ เกินไป

เมอ่ื ญาตโิ ยมจะสรางโบสถ ท้ังโยมทัง้ พระก็มองหาจุดเหมาะ
ซงึ่ จะเปน ท่ตี ้ังของโบสถ แตไมมที ่วี า งพอควรบนพืน้ ดิน จึงมุงไปท่ี
กลางสระนาํ้ และคิดหาทางกันวาจะสรา งอยา งไรจึงจะดี แตไมวา
จะสรางอยางไหน นอกจากทําใหวัดคับแคบ ก็เกิดขอไมสะดวก
หลายอยา ง หลายทานจงึ ไมป ลงใจ

ความจรงิ ทวี่ ดั ก็ไมใ ชเ ลก็ นอ ย คุณยงยทุ ธ ธนะปรุ ะ และคุณ
ชุติมา ธนะปรุ ะ (สวุ รรณกลุ ) ขายท่ดี ิน ๒๕ ไร ซึ่งไดถ วาย ทว่ี งั นอย
อยธุ ยา แตพ ระทดลองไปพักอยแู ลวไมเหมาะ จงึ นาํ เงนิ ไดจ ากขาย
ทที่ ่ีน่นั มาซื้อท่ีหลงั พุทธมณฑล ที่ญาติโยมมีมตเิ หน็ ชอบพรอมกัน
น้ี ไดท ด่ี ิน ๑๑ ไร ๒๔ ตร.วา ก็นับวา กวา งขวาง แตท ําไมจึงวาไมพอ

เหตุก็คือ ท่ีวัดแปลงน้ีมีคลองสาธารณะ ช่ือวาคลองใหม
เจรญิ สุข ผา นเขาตน ทางดา นใตตรงมุมทที่ ศิ ตะวนั ตก ไหลผาทแยง
เกือบตลอดที่ตั้งวัด แลนทะลุไปทางตะวันออก (ปจจุบันถือเปน

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๒๐๕

เสนแบงเขตระหวางพุทธาวาส กบั สงั ฆาวาส) และมสี ระนาํ้ ขนาด
คอนขางใหญอ ยางทป่ี รากฏเหน็ กนั อยู รวมแลว ท่วี ดั จึงมสี วนทเี่ ปน

นํา้ มาก พ้นื ดนิ เหลือพอสรา งเขตสงฆ กับสวนบํารงุ เลย้ี ง และท่ที ํา

กิจวัตรบําเพ็ญกุศลกลุมยอย ไมพอแกงานท่ีมีการชุมนุมของ
ประชาชนเนอ่ื งดวยสังฆกรรมสาํ คญั หรือในคราวเทศกาล

เปน อันวา พอคิดจะสรา งโบสถก ันข้นึ มา เรอ่ื งทุนรอนไมเปน

ปญหา เพราะโยมเรมิ่ เตรียมทนุ ไวน านแลว และจากทุนประเดมิ ที่
ต้งั เรมิ่ ไว ถึงเวลานั้นก็ไดม ีเขา มาทบเพิม่ ขยายจํานวนมาก ซึ่งทาง
พระกไ็ มไ ดส ังเกต ไมไ ดจ ดจาํ กลายเปนกองทุนใหญ ทนุ ท่ีจะสราง
ไมเ ปน ไร แตท่จี ะสรางกลบั ติดขดั เปน ปญหาวา เอาตรงไหน

เมอื่ คดิ พจิ ารณา พดู จากนั ไป พอขนึ้ ปใ หม พ.ศ. ๒๕๔๐ ได ๑๒

วัน ญาติโยมทั้งหลายก็เห็นชอบตกลงตามคําชักชวนของคุณหมอ
กาญจนา เกษสอาด วาจะซ้อื ทีด่ ินขางวดั ดานตะวนั ตก ๘ ไรเศษ
(ทแ่ี ปลงขา วเจา ของใหช าวบา นเชา ทาํ นา)ถวายวดั เปน ทส่ี รา งโบสถ

ตอ จากนนั้ ญาตโิ ยมกเ็ ดนิ หนา ในเรอื่ งการสรา งโบสถม าตาม

ลาํ ดบั จนกระท่ังนําพระประธานขึ้นประดษิ ฐานในโบสถใ นวนั ท่ี ๗
มกราคม ๒๕๔๒ และปด ทองพระประธานจนเสรจ็ ณ ๑๒ ม.ค.
แลวตอนค่าํ ก็ไดทาํ วัตรสวดมนต-อธบิ ายธรรมในโบสถ เปน คร้งั
แรก เปนเครื่องหมายวาการกอ สรา งอาคารอุโบสถเสร็จแลว

ตอมาก็ไดร ับพระราชทานวสิ งุ คามสมี า ตามประกาศสาํ นกั

นายกรฐั มนตรี ลงวันที่ ๒๐ กนั ยายน ๒๕๔๒ (วดั ไดรบั ประกาศ
นัน้ ๑๗ พ.ย. ๔๒) และครบถว นสมบรู ณเมือ่ มกี ารฝงลกู นิมิตท่เี รม่ิ
งานในวนั ที่ ๖ มกราคม จบลงดวยสังฆกรรมผูกสมี าในวันที่ ๑๔
มกราคม ๒๕๔๔

๒๐๖ จารึกอโศก

บงั เอิญบานปลาย เสากลายเปน หลกั ใหญโต

ถงึ ตอนน้ี อาจมคี ําทว งวา เลาเร่ืองมาจนสรา งโบสถเสร็จ ก็
ยังไมเหน็ วาจะโยงกับเรือ่ งเสาอโศกท่ีตรงไหน

ตรงนี้แหละคือถงึ ตอนทจี่ ะชีว้ า โยงอยา งไร - โบสถเ กิดขน้ึ ได
เริ่มดวยมีทท่ี ีจ่ ะสรางโบสถ และบอกแลววา ญาตโิ ยมตกลงซื้อที่
ดินขางวัดดานตะวนั ตก ๘ ไรเศษ ถวายวัดเปนที่สรางโบสถ

พอมที แี่ ปลงใหมม าตอ ใหท วี่ ดั ขยาย เขตวดั กเ็ ลอื่ นออกไป เสา
หลกั ปก เขตเกาในแถบที่ที่ตอกันน้ันก็หมดความหมาย หลักเขตก็
จะทยอยจมหลดุ แตกหักพลัดหายไป จนในท่สี ดุ กจ็ ะไมรูวา ทีว่ ดั ได
เตบิ โตขยายจากเดิมทีเ่ คยเปนอยางไร

ผเู ลานี้ คํานงึ ถึงสภาพทีว่ า นนั้ จงึ บอกแกพระและโยมขอให
ชว ยหาทางรักษาหลักเขตตรงหัวมมุ ดา นใต ซงึ่ เปนจดุ ตอระหวางที่
แปลงเกากับท่แี ปลงใหมไว (จากหลกั เขตตรงนั้น ตเี สนข้ึนเหนอื ไป
ตามแนวขอบสระน้าํ จนถงึ กําแพงหนา วดั กจ็ ะรูเ ขตท่ีแปลงเกา และ
แปลงใหม) ถา จะใหด ี นา จะทาํ เปนหลักที่ม่นั คงดวยวสั ดุที่ถาวร

เวลาน้ัน ตรงหลักเขตมเี สาปนู เกาต้ังซอ นตอ สงู ข้ึนมา เปน
สวนของรัว้ ท่กี ัน้ เขตของเดิม เมื่อเวลาผานไป เสาปนู น้นั กห็ ักแลวก็
พลดั หายไปจากที่ตงั้ ตอมา คุณสนั ติ ตนั ติวรี สตุ จงึ จัดทาํ หลกั หนิ
แกรนิตอยา งดีมาต้ัง สงู สกั ครึง่ เมตร พรอ มทงั้ จารกึ ขอความบอกไว
(ของจรงิ จัดวางรปู แบบไวดี ในท่ีนี้ รกั ษาไวแ ตถ อ ยคาํ ) ดงั นี้

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๒๐๗

“หลกั เขต (มมุ ตะวนั ออกเฉยี งใต) ท่ีวดั แปลงทส่ี อง – ท่ีต้งั

อุโบสถ ๘ ไร ๙๓ วา ญาติโยมรวมใจซือ้ ถวาย เซน็ สญั ญา ๒ มี.ค.

๒๕๔๐ ชาํ ระงวดสุดทาย ๒ ต.ค. ๒๕๔๑ ๙,๗๕๘,๐๐๐.๐๐ บาท”

หลักหินอันม่ันคงน้ีตั้งมั่นอยูหลายป แตเพราะเปนวัสดุที่มี
นาํ้ หนักอยางยิง่ ตอมาจงึ ทรดุ ตัวคอยๆ เอยี งลงไป ประจวบพอดี
วา ในป ๒๕๔๗ คณุ นยิ ม สุจรติ พรอมดวยนองสาว ๒ คน ซง่ึ มี
คณุ อาทีเ่ คารพนับถอื คอื คุณประมวล สจุ ริต อยใู นถ่ินนี้ ไดพ รอ ม
ใจกันถวายท่ีดินแปลงใหญซ่ึงอยูตอจากแปลงที่สรางโบสถลงไป
ทางใต เสาหนิ หลักเขตน้ันจงึ กลายเปน จดุ ตอของทีด่ ินวดั ๓ แปลง
รวมท้ังแปลงใหมที่คุณนิยมและนองไดถวายน้ีดวย ดังน้ัน ขอ
ความท่ีจารกึ ไวบ นหลกั หินจึงกลายเปน ไมสมบูรณ

ตอนนี้จึงมาคิดกันวาจะทําหลักเขตท่ีจุดน้ันใหม ผูเลาน้ีได
เสนอแนะวา ไหนๆ จะทาํ สง่ิ ทเ่ี ปน หลกั เปน ฐาน กน็ า จะทาํ ใหเ ปน สง่ิ ท่ี
มีความหมาย เปนที่ระลึกทางประวัตศิ าสตรพระพุทธศาสนา หรือ
เปน ส่ือทางการศึกษา เชน จําลองหลักศิลาจารึกมีเศียรสส่ี งิ หท่ี
สารนาถของพระเจาอโศกมหาราช (ไมไดจําเพาะเจาะจง)

ทีแ่ นะไปนน้ั ก็มงุ แคว า จะใหเปน เครือ่ งหมายท่มี คี วามหมาย
เทานั้น มิใชจะใหเปนวตั ถุสถานสาํ คญั อะไร ทีม่ ีความหมายเปน
สวนตัวของมันเอง และผูทีร่ เู รื่องตอนน้ัน กค็ อื ไมกี่คนทผ่ี านและดู
แลทแ่ี ถวนัน้ อยูเ สมอๆ

แลวก็ปรากฏวา คุณหมอกฤษณา โรหติ รัตนะ ซง่ึ มาชวยดู
แลปลกู และบาํ รงุ ตนไมใหว ดั อยูเ ปนประจําตลอดมา รเู หน็ สภาพน้ี
อยา งดี ไดจับเรอื่ งนไ้ี ปดาํ เนินการ

๒๐๘ จารกึ อโศก

คุณหมอกฤษณาไดเอาจริงเอาจังกับเรื่องเสาอโศกอยูนาน
จนเปน รปู เปน รางขน้ึ มา ในทส่ี ดุ กไ็ ดเศยี รส่สี ิงหข นาดยอ มๆ ทจ่ี ะ
เปนหวั เสา แลว กค็ ิดการในเรอ่ื งท่ีจะตั้งตน เสา

ตอนนก้ี ม็ กี ารคดิ พจิ ารณาปรกึ ษาหารอื กนั ในหมญู าตโิ ยม คณุ
ประพัฒน เกษสอาด ไวยาวจั กรของวดั เปนสถาปนกิ รเู ขา ใจอยกู บั
งานประเภทนโ้ี ดยตรง และมหี วั สงิ หอ ยแู ลว จงึ รว มกนั คดิ หาทางจะ
ทาํ ตอ โดยคาดวา จะลงทนุ อกี เพยี งเลก็ นอ ย แตไ ดข องทด่ี จู รงิ จงั มคี ณุ
คา เรอื่ งกข็ ยายและเดนิ หนา โดยคณุ หมอกาญจนา เกษสอาด เปน
แกนขบั เคลอ่ื นและประสานตดิ ตามเรอื่ งตลอดมาจนเสรจ็ สนิ้

ระหวา งนี้ ในทางศลิ ป และสถาปต ยกรรม กไ็ ดอ าจารยป ระชา
แสงสายณั ห มาชว ยช้แี นะ สวนทางพระสงฆ พระชยั ยศ พุทธฺ วิ โร
ไดเปนผูรบั ภาระ และพระอิสรา านิสสฺ โร ก็มารว มดูแล

พรอ มกนั นน้ั คณุ สทิ ธศิ กั ด์ิ ทยานวุ ฒั น นอกจากชว ยประสาน
งานกบั ทางบริษัท รัชดาหินออ น จาํ กัด แลว กไ็ ดด ําเนินการใหแ ผน
หินจารึกเพ่อื การศกึ ษาสาํ เร็จออกมาพรอมท่ีจะผนกึ บนแทน ทัง้ ๘

งานศิลปสําคัญอันเปนหัวใจของการสรา งเสาจารกึ คอื การ
ปน หนุ เศยี รสสี่ ิงห พรอ มท้งั แทน ท่ีสถิต เปน ผลสัมฤทธแ์ิ หง ฝมอื ทาํ
บุญของคุณวัชระ ประยูรคํา แลวออกมาเปนของจริงดวย
สมรรถนะอนั ประณีตของบริษทั รัชดาหินออน จาํ กดั

เรื่องราวในขั้นตอนเหลาน้ี ผูเลาแคดูฟงอยูหางๆ เพียงรับ
ทราบเปนคร้ังคราว และชวยดูชวยระวังใหส่ิงท่ีทําอยูในหลักแหง
พระธรรมวินยั ไมเสยี ธรรม ไมผ ิดวินัย ไมไดเขาไปรใู นรายละเอียด

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๒๐๙

ทงั้ นี้ เปนไปตามแนวทางดงั ไดบ อกกนั ไววา ทว่ี ดั น้แี ตต นสบื
มา ดา นวตั ถสุ ถานและการกอสรา ง เปนเรื่องของญาตโิ ยม ทม่ี า
เกื้อหนุนใหพระมีกําลังและสะดวกที่จะปฏิบัติสมณกิจไดเต็มท่ี
โยมอุปถัมภดวยปจจัยสพ่ี รอมดแี ลว พระก็มงุ หนา เลาเรยี นศึกษา
ปริยัติปฏิบัติและเผยแผสั่งสอนธรรมวินัยไดอยางอุทิศตัว ไมตอง
มวั มาเปนดงั สุครีพท่ีเอาเรี่ยวแรงมากมายไปถอนตนรัง

เพราะฉะน้ัน บรรดาวตั ถสุ ถานที่เกดิ มใี นวัดน้ี จงึ เปน ผลแหง
ศรัทธา ความเสียสละ และอิทธบิ าทธรรมของญาตโิ ยมทั้งหลาย
ซ่ึงควรแกการอนุโมทนาเปนอยางสูง และพึงเปนเคร่ืองเจริญปติ
ปราโมทยน าํ มาซึ่งความสุขทแ่ี ทจรงิ และยง่ั ยืนสืบไป

เปนอันวา เรอ่ื งราวทีเ่ ปนรายละเอยี ดของงานสรา งเสาจารึก
อโศก เปนสวนที่พึงทราบไดจากดานญาติโยมผูมาอทุ ศิ เวลาอุทิศ
เร่ยี วแรงกําลงั และความสามคั คีถวายใหแ กวดั และพระศาสนา

ในทน่ี ี้ ขอเลา รวบรดั วา เมื่องานขยายออกไป เศยี รสี่สงิ หหวั
แรกท่ีคณุ หมอกฤษณา โรหิตรตั นะ และคณุ ประพัฒน เกษสอาด ได
เตรียมไวเดมิ กย็ ตุ โิ ดยไปตง้ั อยบู นหวั เสาสงู ประมาณเทาศีรษะคน
บนฝง สระน้ํา ใกลท างขน้ึ ขางหนาหอญาณเวศกธ รรมสมุจย

สวนงานสรางเสาจารึก ตรงจุดที่ต้ังหลกั เขตเดิม แมจ ะขยาย
บานปลายออกไป กย็ งั มีความหมายเปน เครือ่ งแสดงเขตท่ดี นิ ของ
วัด พรอมท้งั มีคาํ จารึกบอกเขตที่ดนิ ดงั กลา ว แตแผอ อกไปครอบ
คลมุ สาระอยา งอื่นเพม่ิ เขามาดว ย ดงั ปรากฏอยู ณ ทีน่ น้ั ในบัดนี้

๒๑๐ จารึกอโศก

สวนหนังสอื เลม นกี้ ็เกิดข้ึน โดยมงุ ใหเสรจ็ พรอ มเขา คกู ับเสา
จารึกน้ัน ตามวตั ถปุ ระสงคทวี่ า เสาทีเ่ สร็จ ควรมคี วามหมายเปน
เครอื่ งสอื่ การศกึ ษา ดงั ไดก ลาวในคาํ ปรารภตนเลม แลว

เสาหรือหลักศิลาจารึกอโศกท่ีเปนเรื่องบานปลายมานี้ ตน
เรื่องท่ีแทไมใชอยูแคท่ีวัดน้ี แตมาจากพระเจาอโศกมหาราชใน
ชมพูทวปี แลว สืบลงไปอีก ก็คอื จากคาํ สอนของพระพทุ ธเจาท่ี
พระเจา อโศกนั้นนับถอื ซึง่ ปรากฏออกมาในศลิ าจารกึ ของพระองค
และคําแปลศิลาจารึกนั้น กม็ าเปน แกนของเร่ืองอยูใ นหนงั สอื นี้

เม่ือจับเอาตรงนี้ จุดเริ่มก็มาอยูที่หนังสือ Ashokan
Inscriptions ของ R. Basak ทท่ี า นอาจารย ศาสตราจารยพิเศษ
จาํ นงค ทองประเสรฐิ ไดหยบิ ยกใหแ ปล และผเู ลา น้ีไดแปลไวเ มอื่
พ.ศ. ๒๕๐๖ แลว มกี ารพมิ พแ จกกนั มาถงึ คราวนเี้ ปน ครง้ั ที่ ๖ จงึ ขอ
อนุโมทนาทานอาจารยจ ํานงค ทองประเสรฐิ ไว ณ ท่นี อ้ี กี ครั้งหน่ึง




Click to View FlipBook Version