The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จารึกอโศก รัฐศาสตร์แห่งธรรมธิปไตย (ป.อ. ปยุตโต)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ืทีมงานกรุธรรม, 2022-05-05 23:02:11

จารึกอโศก รัฐศาสตร์แห่งธรรมธิปไตย (ป.อ. ปยุตโต)

จารึกอโศก รัฐศาสตร์แห่งธรรมธิปไตย (ป.อ. ปยุตโต)

Keywords: จารึกอโศก,ป.อ. ปยุตโต

หมวด ข
จารึกศลิ า ๑๔ ฉบบั



จารึกศลิ า ๑๔ ฉบับ

จารึกศิลา ฉบับท่ี ๑

ธรรมโองการนี้ สมเด็จพระเจาอยูหัวปริยทรรศี ผูเปนที่รัก
แหง ทวยเทพ ไดโปรดใหจ ารกึ ไว

ณ ถิ่นน้ี บุคคลไมพ งึ ฆา สัตวม ชี ีวิตใดๆ เพือ่ การบชู ายญั ไม
พงึ จัดงานชมุ นมุ เพือ่ การมว่ั สุมร่ืนเรงิ ใดๆ เพราะวา สมเด็จพระเจา
อยหู ัวปรยิ ทรรศี ผเู ปนท่รี กั แหง ทวยเทพ ทรงมองเหน็ โทษเปนอนั
มากในการชมุ นมุ เชนน้นั

ก็แลการชุมนุมบางอยางท่ีสมเด็จพระเจาอยูหัวปริยทรรศี ผู
เปน ทรี่ กั แหง ทวยเทพ ทรงเหน็ ชอบวา เปน สงิ่ ทดี่ ียอ มมอี ยอู กี สว นหนง่ึ

แตก อ นน้ี ในโรงครวั หลวงของพระเจา อยหู ัวปริยทรรศี ผูเ ปน
ทีร่ ักแหงทวยเทพ สตั วไ ดถ ูกฆา เพ่อื ทาํ เปน อาหารวนั ละหลายแสน
ตัว คร้ันมาในบัดน้ี เมื่อธรรมโองการน้ีอันพระองคโปรดใหจารึก
แลว สัตวเ พยี ง ๓ ตวั เทา น้ันที่ถูกฆา คือ นกยงู ๒ ตัว และเน้ือ ๑
ตวั ถงึ แมเนือ้ นน้ั ก็มิไดถูกฆา เปน ประจาํ ก็แลสตั วท ้ังสามน้ี (ใน
กาลภายหนา) ก็จักไมถกู ฆา อกี เลย.

๑๔๔ จารึกอโศก

จารกึ ศิลา ฉบับที่ ๒

ณ ทที่ กุ สถาน ในแวน แควนของพระเจาอยูหวั ปริยทรรศี ผู
เปน ทีร่ กั แหง ทวยเทพ และในดินแดนขางเคียงทงั้ หลาย กลาวคอื
อาณาจักรชาวโจละ ชาวปาณฑยะ กษัตริยสัตยปุตระ เจา ครอง
นครเกรลปตุ ระ ผคู รองดินแดนจดแมน ํา้ ตามรปรรณี กษัตริยโ ยนก
(กรีก) พระนามวาอันติโยคะ (Antiochus) พรอมทงั้ กษตั รยิ ทัง้
หลายอื่น ในแควนใกลเคียงแหง พระเจา อันตโิ ยคะพระองคน น้ั ใน
สถานทท่ี ้ังปวงนัน้ พระเจาอยูหวั ปริยทรรศี ผเู ปนที่รกั แหงทวยเทพ
ไดโ ปรดใหจ ัดบรกิ ารในดา นเวชกรรมไว ๒ ประการ คือ การรกั ษา
โรคของมนษุ ยประการหนง่ึ การรกั ษาโรคของปศุสัตวประการหน่งึ

เคร่ืองสมุนไพรท่ีเปนยาสาํ หรับมนุษย และที่เปนยาสําหรับ
สัตว ไมมี ณ สถานทใ่ี ด กโ็ ปรดใหน าํ เขา มา และใหปลูกข้นึ ไว ณ
สถานทีน่ ้ัน

ในทํานองเดยี วกัน ไมราก และไมผ ล ไมมี ณ สถานท่ีใดๆ ก็
โปรดใหนําเขา มา และใหป ลกู ข้ึนไว ณ สถานท่ีน้นั ๆ

ตามถนนหนทางทงั้ หลาย กโ็ ปรดใหป ลูกตนไม และขุดบอ
นํา้ ขนึ้ ไว เพ่อื ใหส ตั วแ ละมนุษยท ง้ั หลายไดอาศยั ใชบ รโิ ภค.

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๑๔๕

จารึกศลิ า ฉบบั ท่ี ๓

สมเดจ็ พระเจาอยูหวั ปรยิ ทรรศี ผเู ปน ที่รกั แหง ทวยเทพ ได
ตรัสไว ดงั นี้:-

ขา ฯ เมื่ออภิเษกแลว ได ๑๒ ป ไดสง่ั ประกาศความขอ นไ้ี วว า
ทกุ หนทกุ แหงในแวน แควนของขา ฯ เจา หนาที่ยกุ ตะ เจา หนา ทร่ี ัชชูกะ
และเจาหนาทีป่ ราเทศกิ ะ จงออกเดนิ ทาง (ตรวจตรา) ทุกๆ ๕ ป
เพ่ือประโยชนอันนี้ คือเพ่ือการสั่งสอนธรรมนี้ พรอมไปกับการ
ปฏิบตั หิ นาที่ราชการอยางอนื่ (เจา หนา ท่เี หลา นน้ั พึงส่งั สอน) วา

- การเชอ่ื ฟง มารดาบดิ า เปน ความดี
- การเผ่ือแผแบงปนแกมิตรสหาย ญาติ และแกสมณ-

พราหมณ เปน ความดี
- การไมท รมานผลาญชวี ิต เปน ความดี
- การประหยัด ใชจายแตน อย การไมสะสมส่ิงของเครื่องใช

ใหม าก เปนความดี

อนึ่ง แมสภาคณะมนตรี ก็จะสั่งกํากบั แกเ จา หนาท่ยี ุกตะ ให
คดิ คาํ นวณ (คาใชจา ยทง้ั ปวงของเจาหนาทผ่ี เู ดนิ ทาง) ใหเปนไป
ตามความมุงหมายและตามลายลักษณอักษร (แหงพระราช
กาํ หนดกฎหมาย).

๑๔๖ จารึกอโศก

จารกึ ศิลา ฉบบั ท่ี ๔

กาลยาวนานลวงแลว ตลอดเวลาหลายรอ ยป การฆาสตั ว
เพื่อบชู ายญั การเบยี ดเบยี นสตั วทงั้ หลาย การไมป ฏบิ ัตชิ อบตอ หมู
ญาติ การไมปฏบิ ตั ชิ อบตอ สมณพราหมณท้ังหลาย ไดพ อกพูนขน้ึ
ถายเดยี ว

แตม าบดั นี้ ดว ยการประพฤติปฏบิ ตั จิ ดั ดําเนนิ การทางธรรม
(ธรรมจรณะ) ของพระเจา อยูหัวปริยทรรศี ผเู ปนทร่ี กั แหง ทวยเทพ
เสยี งกลองรบ (เภรโี ฆษ) ไดก ลายเปน เสยี งประกาศธรรม (ธรรมโฆษ)
แลทงั้ การแสดงแกป ระชาชน ซงึ่ วมิ านทรรศน หสั ดทิ รรศน อคั นขี นั ธ
และทิพยรูปอนื่ ๆ กไ็ ดมีขึน้ ดวย

- การไมฆา สตั วเ พือ่ บชู ายัญ
- การไมเบยี ดเบยี นสตั วท ั้งหลาย
- การปฏบิ ตั ชิ อบตอ หมญู าติ
- การปฏิบัติชอบตอ สมณพราหมณท ั้งหลาย
- การเชอ่ื ฟง มารดาบดิ า
- การเชื่อฟงทานผูเฒาผูใหญ
ซ่ึงไมเคยมมี ากอนตลอดเวลาหลายรอยป ไดเจรญิ งอกงาม
ขนึ้ แลว ในบดั นี้ เพราะการสงั่ สอนธรรมของพระเจา อยหู ัวปรยิ ทรรศี
ผเู ปน ทร่ี กั แหง ทวยเทพ

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๔๗

ความดีงามน้ี และการปฏิบัติธรรมอยางอ่ืนๆ อีกหลาย

ประการ ไดเ จรญิ งอกงามขน้ึ แลว พระเจาอยูหวั ปรยิ ทรรศี ผูเปน ท่ี

รกั แหง ทวยเทพ จักทาํ ใหการปฏิบตั ิธรรมน้เี จรญิ ยิ่งขึน้ ไปอกี และ

พระราชโอรส พระราชนัดดา พระราชปนัดดาของพระเจาอยูหัว

ปรยิ ทรรศี ผเู ปนทร่ี ักแหง ทวยเทพ กจ็ ักสง เสริมการปฏิบัตธิ รรมน้ี

ใหเจริญยิง่ ขึ้นตอ ไปจนตลอดกลั ป

ทัง้ จกั ส่งั สอนธรรม ดว ยการตง้ั มัน่ อยใู นธรรมและในศลี ดวย
ตนเอง เพราะวาการสง่ั สอนธรรมนแี้ ล เปนการกระทําอนั ประเสริฐ
สุด และการประพฤตธิ รรมยอ มไมมแี กผ ูไรศ ลี

ก็แลความเจริญงอกงาม และความไมเสื่อมถอยในการ
ปฏิบตั ธิ รรมน้ี ยอมเปน สง่ิ ทดี่ ี

เพื่อประโยชนนี้ จึงไดจารึกธรรมโองการน้ีขึ้นไว ขอชนทั้ง
หลายจงชวยกันประกอบกิจ เพื่อความเจริญงอกงามแหง
ประโยชนน ี้ และจงอยาไดม วี นั กลา วถงึ ความเสื่อมเลย

ธรรมโองการนี้ สมเด็จพระเจาอยูหัวปริยทรรศี ผูเปนที่รัก
แหง ทวยเทพ โปรดใหจารึกไวแลว เมื่ออภเิ ษกได ๑๒ พรรษา.

๑๔๘ จารึกอโศก

จารึกศลิ า ฉบับที่ ๕

สมเดจ็ พระเจาอยหู วั ปรยิ ทรรศี ผูเ ปน ที่รักแหงทวยเทพ ตรัส
ไววา

กรรมดีเปนส่งิ ที่กระทําไดยาก บุคคลใดเปน ผกู ระทาํ กรรมดี
เปนคนแรก บุคคลนน้ั ชอ่ื วา กระทํากรรมอันบุคคลกระทําไดยาก

ก็กรรมดีเปนอันมากอนั ขาฯ ไดก ระทาํ แลว ถาวา ลูกหลาน
และทายาทตอจากนนั้ ของขาฯ จักประพฤตติ ามอยางเดียวกับขาฯ
จนตลอดกัลปแลวไซร เขาเหลา น้นั จักไดชอ่ื วา กระทํากรรมอนั ดี
แท สวนผูใดจักปลอยใหยอหยอนบกพรองไปแมเพียงสวนหนึ่ง
(ของหนา ทขี่ องตนหรอื ของบญั ญัตนิ ้)ี ผนู น้ั จกั ชือ่ วากระทาํ กรรมช่ัว
เพราะขนึ้ ชอ่ื วา บาป ยอมเปน สิ่งที่ควรกําจดั ใหส้ินเชงิ

ก็กาลอันยาวนานไดลวงไปแลว ยังไมเคยมีธรรมมหา
อํามาตยเลย แตธรรมมหาอํามาตยเ ชน น้นั ขาฯ ไดแ ตงตั้งแลวเมื่อ
อภเิ ษกได ๑๓ ป ธรรมมหาอํามาตยเหลาน้ัน เปนผมู หี นาทีเ่ กย่ี ว
ขอ งในหมูศ าสนกิ ชนแหงลทั ธศิ าสนาท้งั ปวง ทําหนา ท่เี พ่อื ความตง้ั
มั่นแหงธรรม เพื่อความเจริญงอกงามแหงธรรม กับทั้งเพื่อ
ประโยชนเก้ือกลู และความสุขของเหลาชนผปู ระกอบดวยธรรม

ธรรมมหาอํามาตยเหลาน้ัน ทําหนาท่ีเพ่ือประโยชนเกื้อกูล
และความสขุ ของชาวโยนก (กรกี ) ชาวกัมโพชะ และชาวคนั ธาระ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๔๙

พรอ มท้ังประชาชนเหลา อ่ืนผอู าศัยอยู ณ ชายแดนตะวันตก กับทั้ง

เพื่อประโยชนเก้ือกูลและความสุข แหงลูกจางและนายจาง

พราหมณ คนม่งั มี คนอนาถา และคนเฒา ชรา และเพื่อชว ยปลด

เปล้อื งเหลา ชนผปู ระกอบดวยธรรม มิใหตอ งไดรบั ความเดอื ดรอ น

ธรรมมหาอํามาตยเ หลานั้น มีหนาทขี่ วนขวาย เพ่อื ชว ยหา

ทางใหม กี ารแกไขผอนปรนคําพิพากษาของศาล ชวยใหมีความไม

เดือดรอน และการปลดปลอยพนโทษแกบุคคลที่ถูกจองจํา ใน

กรณีทไ่ี ดค าํ นึงเหน็ เหตผุ ลวา บคุ คลเหลา น้นั เปนผูมบี ตุ รผูกพันอยู

เปน ผูไดทาํ คุณงามความดีมามาก๑ หรอื เปนผูม ีอายมุ าก

ณ ทนี่ ี้ และในเมืองอืน่ ๆ ภายนอก ธรรมมหาอํามาตยไ ดร บั

การแตงต้ังใหทําหนาที่ทั่วทุกหนทุกแหง ท้ังในสํานักฝายในแหง

ภาดาและภคินขี องขา ฯ และมวลญาตอิ น่ื ๆ ทุกหนทกุ แหง ในแวน

แควนของขา ฯ ธรรมมหาอํามาตยเหลาน้นั ไดรบั มอบหมายหนา ท่ี

ใหส อดสองดูในหมชู นผูประกอบดว ยธรรมวา บุคคลผนู ี้เปนผฝู ก ใฝ

ในธรรม หรอื วาบคุ คลนเี้ ปนผูใ สใจในการบริจาคทาน

เพือ่ ประโยชนอันน้ี จงึ โปรดใหจ ารกึ ธรรมโองการนขี้ ึน้ ไว ขอ

จารึกธรรมน้ีจงดาํ รงอยูตลอดกาลนาน และขอประชาชนของขา ฯ

จงประพฤติปฏบิ ัตติ ามดงั น้นั .

๑ คาํ เดิมวา “กตาภิการ” ยงั ไมอาจวินิจฉัยคาํ แปลไดเดด็ ขาด อาจแปลวา ถกู กระทําความ
บีบค้นั กดดนั อยา งหนกั หรอื หมายถึงความเสียจริต เพราะความกดดันทางจิตใจ หรอื
อาจแปลวา ผูเคยทําคณุ งามความดมี ามาก ในที่นี้ เลอื กเอาอยา งหลัง

๑๕๐ จารกึ อโศก

จารึกศิลา ฉบบั ท่ี ๖

สมเด็จพระเจา อยูหวั ปริยทรรศี ผเู ปนท่รี ักแหง ทวยเทพ ตรสั
ไว ดังนี้:-

กาลอันยาวนานลวงไปแลว ตลอดกาลทงั้ ปวงนัน้ ยงั ไมเคย
มีการดาํ เนนิ งานตดิ ตอ ราชการ หรอื การรายงานขอ ราชการ (อยา ง
นาพอใจ) เลย ฉะน้นั ขาฯ จึงไดจ ดั ดําเนินการขึน้ ไว ดงั นี้

ตลอดเวลา ไมวาขา ฯ จะเสวยอยูก็ดี อยใู นสาํ นกั ฝา ยในกด็ ี
อยใู นหอ งใน (หองสวนพระองค) กด็ ี อยใู นคอกสตั วก ด็ ี อยบู นหลัง
มา กด็ ี อยูในอุทยานก็ดี ทกุ หนทกุ แหง เจา หนาที่ผรู ายงานขาว พึง
รายงานใหข า ฯ ทราบกิจการงานของประชาชนในทีท่ กุ แหง

กแ็ มถาขาฯ จักออกคาํ สั่งใดๆ ดว ยวาจา แกเ จา หนาทผี่ สู งั่ จา ย
เงิน หรอื เจาหนาที่ผูออกประกาศคําสงั่ หรอื อกี ประการหน่ึง เมือ่ ขาฯ
ออกคาํ ส่งั ไปยงั มหาอาํ มาตยทงั้ หลายในกรณที ี่มเี รอื่ งรบี ดวน และ
ในกรณนี ั้น เกิดมขี อ โตแยงกนั หรือการถกเถยี งกนั เพื่อยุติขอ ขดั แยง
ดําเนินไปในสภาคณะมนตรี เร่ืองราวความเปนไปนั้น จะตองถูก
รายงานไปใหข า ฯ ทราบทันที ในทท่ี ุกสถาน และในกาลทุกเม่อื

ขา ฯ ไดอ อกคาํ สง่ั ไวด งั นี้ เพราะวา ขา ฯ ยงั ไมม คี วามอมิ่ ใจเลย
ในความแขง็ ขนั ปฏบิ ตั หิ นา ที่ หรอื ในการพจิ ารณาดําเนินกิจการ

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๑๕๑

ประโยชนเก้ือกูลแกชาวโลกท้ังมวลน่ี คือส่ิงที่ขาฯ ถือเปน

หนา ท่อี นั จะตองทาํ อน่งึ เลา ความขยันขนั แขง็ และความฉับไวใน

การปฏบิ ัตริ าชการ ยอ มเปนมูลรากแหงการปฏบิ ัตหิ นาทีเ่ ชน นั้น

แทจ ริง กิจการอนื่ ใดที่ย่งิ ไปกวา ประโยชนเ ก้อื กลู แกชาวโลก
ยอ มไมม ี และกจิ การใดกต็ ามทขี่ าฯ ลงมือทํา นนั่ ก็ยอมเปน เพราะ
เหตุผลท่วี า ขา ฯ จักไดป ลดเปล้อื งหนข้ี องขาฯ ท่ีมตี อสัตวทั้งหลาย
เพอ่ื วา ขาฯ จกั ไดช ว ยทําใหส ตั วบ างเหลา ไดร บั ความสุขในโลก
บดั นี้ และสตั วเ หลาน้ันจักไดส วรรคในโลกเบื้องหนา

เพื่อประโยชนนี้ จึงโปรดใหจารึกธรรมโองการน้ีขึ้นไว ขอ
จารกึ ธรรมนีจ้ งดํารงอยตู ลอดกาลนาน และขอบตุ รและภรรยาของ
ขาฯ จงลงมือทํางานเพอ่ื ประโยชนเ กือ้ กลู แกช าวโลก

ก็งานนี้ หากปราศจากความพยายามอยางยิ่งยวดเสียแลว
ยอมเปนส่ิงยากแทท่ีจะกระทาํ ใหสําเรจ็ ได.

๑๕๒ จารึกอโศก

จารกึ ศิลา ฉบับที่ ๗

สมเด็จพระเจา อยูหวั ปริยทรรศี ผูเปน ทรี่ ักแหง ทวยเทพ ทรง
มีพระทัยปรารถนาทั่วไปในท่ีทุกหนทุกแหงวา ขอศาสนิกชนแหง
ลทั ธิศาสนาทั้งหลายทงั้ ปวงจงอยรู ว มกนั เถิด เพราะวา ศาสนกิ ชน
ทงั้ ปวงน้นั ลวนปรารถนาความสาํ รวมตน และความบรสิ ทุ ธแิ์ หง
ชวี ติ ดว ยกันท้ังสิน้

กระนั้นก็ตาม ธรรมดามนุษยยอมมีความพอใจและความ
ปรารถนาสูงต่ําแตกตางกันไป ศาสนิกชนเหลาน้ัน จึงจักปฏิบัติ
ตามลัทธิความเช่ือถือของตนๆ ไดครบถวนบาง ไดเพียงสวน
เดียวบาง

แตก ระนั้น ถึงแมว าบุคคลผูใ ด (ในลทั ธศิ าสนาเหลา นัน้ ) จะ
มิไดกระทําการบริจาคทานอยางมากมาย (บุคคลผูน้ัน) ก็ยังมี
ความสาํ รวมตน ความทาํ ใจใหบริสทุ ธ์ิ ความกตญั ู และศรัทธา
อันมัน่ คงอยอู ยางแนแท หยอ นบาง ยิ่งบาง (หมายความวา ถึงแม
วาคนบางคนจะไมสามารถบรจิ าคทานไดม าก ถงึ กระน้ัน ทกุ คนก็
มีคุณธรรม เชน การสาํ รวมตนเอง เปน ตน อยโู ดยแนนอน ท่ัวทกุ
นกิ าย แมจ ะยงิ่ หยอ นกวา กันบาง).

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๑๕๓

จารกึ ศลิ า ฉบบั ที่ ๘

ตลอดกาลยาวนานท่ีลวงไปแลว สมเด็จพระเจาอยูหัวท้ัง
หลายไดเสด็จไปในการวิหารยาตรา (การทองเที่ยวหาความ
สําราญ) ในการวหิ ารยาตรานั้นๆ ไดม กี ารลาสัตว และการแสวงหา
ความสนุกสนานอน่ื ๆ ในทํานองเดียวกนั น้นั

สมเดจ็ พระเจาอยูหัวปริยทรรศี ผเู ปน ท่ีรกั แหงทวยเทพ เม่อื
อภเิ ษกแลว ได ๑๐ พรรษา ไดเ สด็จไปสูสมั โพธิ (พุทธคยา-สถานที่
ตรสั รขู องพระพทุ ธเจา ) จากเหตกุ ารณค รง้ั นน้ั จงึ เกดิ มธี รรมยาตรา
(การทอ งเทีย่ วโดยทางธรรม) น้ีขน้ึ

ในการธรรมยาตราน้ัน ยอมมกี จิ ดังตอ ไปน้ี คอื การเย่ยี ม
เยยี นสมณพราหมณ และการถวายทานแดท า นเหลานนั้ การเยยี่ ม
เยียนทา นผูเฒา ผูสูงอายุ และการพระราชทานเงินทองเพอ่ื (ชวย
เหลอื ) ทา นเหลาน้ัน การเยย่ี มเยียนราษฎรในชนบท การส่ังสอน
ธรรมและซักถามปญหาธรรมแกก นั

ความพึงพอใจอันเกิดจากการกระทาํ เชนน้ัน ยอมมีเปนอัน
มาก นับเปน โชคลาภของสมเดจ็ พระเจา อยหู วั ปริยทรรศี อีกอยา ง
หน่ึงทเี ดียว.

๑๕๔ จารกึ อโศก

จารกึ ศลิ า ฉบับท่ี ๙

สมเดจ็ พระเจาอยหู วั ปริยทรรศี ผเู ปนทรี่ ักแหง ทวยเทพ ตรัส
ไวว า

ประชาชนทง้ั หลาย ยอ มประกอบพิธมี งคลตางๆ เปน อันมาก
ในคราวเจบ็ ปวย ในคราวแตงงานบตุ ร (อาวาหะ) ในคราวแตง งาน
ธิดา (ววิ าหะ) ในคราวคลอดบตุ ร และในคราวออกเดินทางไกล ใน
โอกาสเหลาน้นั และโอกาสอน่ื ๆ ทค่ี ลายกันนี้ ประชาชนทง้ั หลาย
พากันประกอบพิธีมงคลตางๆ มากมาย กใ็ นโอกาสเชนน้นั แม
บานและมารดาทั้งหลาย ยอมประกอบพิธีกรรมมากมายหลาย
อยาง อนั เปนเร่ืองหยมุ หยิมไรส าระ และไมประกอบดวยประโยชน

อยา งไรกต็ าม อันพธิ กี รรมยอมเปน สิง่ ท่ีควรประกอบโดยแท
แตวา พิธมี งคลอยา งนมี้ ีผลนอย

โดยนัยตรงขาม ยงั มีพิธกี รรมท่เี รียกวา “ธรรมมงคล” ซึง่ เปน
พิธกี รรมมผี ลมาก ในพิธีธรรมมงคลนั้น ยอมมีกิจตอไปนี้ คือ

- การปฏิบตั ชิ อบตอ คนรบั ใชแ ละคนงาน
- การแสดงความเคารพนับถือตอ ครูอาจารย
- การสาํ รวมตนตอ สัตวท ัง้ หลาย
- การถวายทานแกสมณพราหมณ

การกระทาํ เหลา น้ี และการกระทาํ อ่นื ๆ ทีค่ ลายกนั เชน นีน้ ่ัน
แล ไดชื่อวาธรรมมงคล

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๑๕๕

ฉะน้นั บิดาก็ดี บตุ รกด็ ี พ่ีนองชายก็ดี นายหรือสามกี ด็ ี มิตร
และผูคุนเคยกด็ ี ตลอดถงึ เพ่อื นบาน พงึ กลาวถอยคาํ (แกก ัน) ดงั นี้
“ธรรมมงคลนี้ ประเสรฐิ แท พิธีมงคลอยางน้ี เปนส่ิงที่ควรประกอบ
จนกวา จะสาํ เรจ็ ผลทป่ี ระสงค”

ขอ นี้เปนอยางไร (คือวา) พิธีกรรมชนิดอนื่ ๆ นัน้ ยงั เปนส่งิ ท่ี
นาเคลือบแคลงสงสัย (ในผลของมัน) มันอาจใหสําเร็จผลที่
ประสงค หรอื อาจไมสาํ เร็จอยา งนัน้ ก็ได เพราะวา มนั เปน เพยี งสงิ่ ท่ี
เปนไปไดในโลกน้ีเทาน้ัน สวนธรรมมงคลนี้เปน “อกาลิกะ”
(อํานวยผลไมจํากัดกาลเวลา) แมถาวามันไมอาจใหสําเร็จผลท่ี
ประสงคนั้นไดในโลกบัดน้ี มันก็ยอมกอใหเกิดบุญอนั หาที่สดุ มไิ ด
ในโลกเบอื้ งหนา ถาแมน วา มนั ใหสาํ เร็จผลทป่ี ระสงคน ้นั ไดในโลก
นไ้ี ซร ในคราวน้ัน ยอ มเปนอนั ไดผ ลกาํ ไรทัง้ สองประการ กลาวคือ
ผลทป่ี ระสงคใ นโลกบัดนี้ (ยอมสาํ เรจ็ ) ดวย และในโลกเบอื้ งหนา
บญุ อันหาท่ีสดุ มไิ ด ยอมเกดิ ข้นึ เพราะอาศยั ธรรมมงคลนนั้ ดวย

อน่งึ มีคาํ ทก่ี ลาวไววา การใหทานเปนความดี ก็แตวา ทานหรือ
การอนเุ คราะหท ่เี สมอดว ยธรรมทาน หรือธรรมานเุ คราะห ยอ มไมมี

ฉะนั้น จงึ ควรที่มติ ร เพือ่ นรัก ญาติ หรอื สหาย จะพึงกลา ว
แนะนาํ กนั ในโอกาสตางๆ วา “(ธรรมทานหรอื ธรรมานุเคราะห) นี้
เปนกิจควรทํา น้ีเปนส่ิงดีงามแท” ดวยธรรมทานหรือธรรมานุ-
เคราะหนี้ ยอมสามารถทาํ สวรรคใ หสาํ เร็จได และจะมีอะไรอ่นื อกี
เลา ท่ีควรกระทาํ ใหส ําเร็จ ยิ่งไปกวา การลถุ งึ ซ่งึ สวรรค.

๑๕๖ จารึกอโศก

จารกึ ศิลา ฉบบั ที่ ๑๐

สมเดจ็ พระเจาอยปู ริยทรรศี ผเู ปน ทีร่ ักแหง ทวยเทพ ไมท รง
ถือวา ยศ หรอื เกียรติ จะเปน สงิ่ ท่นี ํามาซึง่ ประโยชนอ ันย่ิงใหญไ ด
เวนแตจ ะทรงปรารถนายศหรอื เกียรตเิ พื่อความมงุ หมายดังนว้ี า

“ทัง้ ในบัดนี้ และในเบื้องหนา ขอประชาชนท้ังหลายจงตงั้ ใจ
สดับฟงคําสอนธรรมของขาฯ และจงปฏิบัติตามหลักความ
ประพฤติในทางธรรม”

เพือ่ ประโยชนอนั นเ้ี ทาน้ัน สมเดจ็ พระเจา อยูหัวปรยิ ทรรศี ผู
เปน ทร่ี กั แหง ทวยเทพ จึงจะทรงปรารถนายศหรือเกยี รติ

การกระทาํ ใดๆ กต็ าม ท่ีสมเด็จพระเจาอยูหัวปริยทรรศี ผู
เปนที่รักแหงทวยเทพ ทรงพากเพยี รกระทํา การกระทําน้ันๆ ทัง้
ปวง ยอ มเปนไปเพือ่ ประโยชนส ุขในชวี ิตเบือ้ งหนาโดยแท คอื อยา ง
ไร? คือ เพ่ือวาทกุ ๆ คนจะไดเ ปนผมู ีทกุ ขภัยแตน อ ย อนั ทุกขภ ัย (ที่
กลาว) นัน้ กค็ อื ความชวั่ อันมใิ ชบุญ

ก็ภาวะเชน น้ัน ยอ มเปน สิ่งทก่ี ระทาํ ไดย ากโดยแท ไมว า จะ
โดยคนช้ันต่ําก็ตาม หรือคนช้ันสูงก็ตาม เวนแตจะกระทําดวย
ความพยายามอยางสูงสุด โดยยอมเสียสละส่ิงทั้งปวง แตการเสีย
สละเชน น้ี เปน สงิ่ ยากยิ่งนักท่คี นชัน้ สูงจะกระทําได.

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๑๕๗

จารกึ ศิลา ฉบับที่ ๑๑

สมเดจ็ พระเจาอยูหวั ปรยิ ทรรศี ผูเปนทีร่ ักแหง ทวยเทพ ตรัส
ไว ดังน:้ี -

ไมม ที านใดเสมอดวยการใหธรรม (ธรรมทาน) การแจกจา ย
ธรรม (ธรรมสงั วิภาค) และความสมั พันธก ันโดยธรรม (ธรรมสมั พนั ธ)
อาศยั ธรรม (ธรรมทาน เปน ตน) น้ี ยอ มบงั เกดิ มสี งิ่ ตอไปนี้ คือ

- การปฏบิ ตั ิชอบตอ คนรับใชและคนงาน
- การเชือ่ ฟง มารดาบิดา
- การเผ่อื แผแ บงปน แกมิตร คนคุนเคย ญาติ และแกส มณ-

พราหมณ
- การไมฆาสตั วเ พ่อื บูชายัญ

บดิ ากด็ ี บุตรก็ดี พ่นี องชายกด็ ี นาย (หรือสามี) ก็ดี มติ รและ
คนคนุ เคยก็ดี ตลอดถงึ เพอื่ นบา น พึงกลา วคําน้ี (แกก นั ) วา “นเี่ ปน
สิง่ ดงี ามแท นี่เปนกิจควรทํา”

บคุ คลผูปฏบิ ัติเชนนี้ ยอมทําความสุขในโลกนใี้ หส าํ เรจ็ ดว ย
และในโลกเบ้ืองหนา ยอมประสพบุญหาที่สุดมิไดเพราะอาศัย
ธรรมทานน้ันดว ย.

๑๕๘ จารึกอโศก

จารึกศลิ า ฉบบั ที่ ๑๒

สมเดจ็ พระเจาอยูหวั ปริยทรรศี ผูเ ปน ท่รี กั แหงทวยเทพ ยอ ม
ทรงยกยองนับถือศาสนิกชนแหงลัทธิศาสนาทั้งปวง ทั้งที่เปน
บรรพชิตและคฤหัสถ ดว ยการพระราชทานส่งิ ของ และการแสดง
ความยกยองนับถอื อยา งอืน่ ๆ แตพระผเู ปนทรี่ ักแหงทวยเทพ ยอ ม
ไมทรงพิจารณาเห็นทานหรือการบูชาอันใด ท่ีจะเทียบไดกับสิ่งนี้
เลย สง่ิ นคี้ อื อะไร? สงิ่ นนั้ ก็คือ การท่ีจะพึงมีความเจริญงอกงาม
แหง สารธรรมในลทั ธศิ าสนาท้ังปวง

ก็ความเจริญงอกงามแหงสารธรรมน้ี มีอยูมากมายหลาย
ประการ แตส ว นท่เี ปน รากฐานแหง ความเจรญิ งอกงามอนั นน้ั ไดแ ก
สงิ่ นค้ี อื การสาํ รวมระวงั วาจา ระวงั อยา งไร? คอื ไมพ งึ มกี ารยกยอ ง
ลทั ธศิ าสนาของตน และการตาํ หนลิ ทั ธศิ าสนาของผอู น่ื ในเมอ่ื มใิ ช
โอกาสอันควร หรือแมเม่ือถึงโอกาสอันสมควรอยางใดอยางหน่ึง
(การยกยองลัทธิศาสนาของตน และการตําหนิลัทธิศาสนาของผู
อน่ื ) น้นั ก็พงึ มแี ตเ พยี งเลก็ นอย เพราะวา ลัทธิศาสนาทัง้ หลายอื่น
กย็ อ มเปน ส่ิงควรแกก ารเคารพบูชาในแงใดแงห นึง่

บุคคลผูกระทํา (การเคารพบูชาลัทธิศาสนาทั้งหลายอ่ืน
ดวย) เชน นี้ ชอ่ื วา เปน ผูส ง เสรมิ ลทั ธศิ าสนาของตนเองใหเ จรญิ ข้ึน
ดวย และทงั้ (ในเวลาเดียวกัน) กเ็ ปน การเออ้ื เฟอแกล ทั ธิศาสนา
อื่นดวย แตเม่ือกระทาํ โดยวิธตี รงขาม ยอมชอ่ื วา เปนการทาํ ลาย
ลัทธิศาสนาของตนเองดวย และทั้งเปน การทํารา ยแกล ทั ธศิ าสนา

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๕๙

ของคนอ่ืนดว ย
อนั บคุ คลผูยกยองลทั ธิศาสนาของตน และกลา วตเิ ตียนลัทธิ

ศาสนาของผูอื่นน้นั ยอมทาํ การทั้งปวงน้นั ลงไปดวยความภักดีตอ
ลัทธศิ าสนาของตนน่ันเอง ขอนั้นอยางไร? คือดวยความตัง้ ใจวา
“เราจะแสดงความดีเดนแหงลัทธิศาสนาของเรา” แตเมื่อเขา
กระทําลงไปดังนั้น ก็กลับเปนการทําอันตรายแกลัทธิศาสนาของ
ตนหนักลงไปอกี

ดว ยเหตฉุ ะนน้ั การสงั สรรคป รองดองกนั นน่ั แลเปน สงิ่ ดงี ามแท
จะทําอยางไร? คือ จะตองรับฟง และยินดรี ับฟง ธรรมของกันและกนั

จริงดังนน้ั พระผูเ ปนที่รักแหง ทวยเทพทรงมคี วามปรารถนา
วา เหลาศาสนิกชนในลัทธิศาสนาท้ังปวง พึงเปนผูมีความรอบรู
และเปน ผยู ดึ มั่นในกรรมดี

ชนเหลาใดกต็ าม ซึง่ มีศรทั ธาเล่ือมใสในลทั ธศิ าสนาตา งๆ กนั
ชนเหลานั้นพึงกลาว (ใหรูกันทั่วไป) วา พระผูเปนท่ีรักแหงทวยเทพ
ไมทรงถือวาทานหรือการบูชาอันใดจะทัดเทียมกับส่ิงน้ีเลย สิ่งนี้คือ
อะไร? ส่ิงน้ีไดแกการท่ีจะพึงมีความเจริญงอกงามแหงสารธรรมใน
ลทั ธศิ าสนาทงั้ ปวง และ(ความเจรญิ งอกงามน)ี้ พงึ มเี ปน อนั มากดว ย

เพื่อประโยชนอันน้ี จงึ ไดทรงแตงตั้งไวซ งึ่ ธรรมมหาอํามาตย
สตรีอัธยักษมหาอํามาตย (มหาอํามาตยผูดูแลสตรี) เจาหนาท่ี
วรชภูมิก (ผูดูแลทอ งถิ่นเกษตรกรรม) พรอ มท้ังเจาหนา ที่หมวด
อน่ื ๆ และการกระทาํ เชน น้ี ก็จะบงั เกดิ ผลใหม ีทั้งความเจรญิ งอก
งามแหง ลัทธศิ าสนาของตนๆ และความรงุ เรืองแหงธรรมดว ย.

๑๖๐ จารึกอโศก

จารกึ ศิลา ฉบับที่ ๑๓

สมเด็จพระเจาอยหู วั ปรยิ ทรรศี ผูเ ปนทรี่ กั แหงทวยเทพ เมอ่ื
อภเิ ษกแลวได ๘ พรรษา ทรงมชี ัยปราบแควน กลงิ คะลงได จาก
แควน กลิงคะนน้ั ประชาชนจํานวนหนง่ึ แสนหาหมืน่ คนไดถ กู จบั ไป
เปนเชลย จาํ นวนประมาณหน่ึงแสนคนถูกฆา และอีกหลายเทา
ของจาํ นวนนน้ั ไดล มตายไป

นับแตกาลน้ันมาจนบัดนี้ อันเปนเวลาท่ีแควนกลิงคะไดถูก
ยึดครองแลว การทรงประพฤตปิ ฏิบัตธิ รรม ความมีพระทัยใฝธ รรม
และการทรงอบรมส่งั สอนธรรม ก็ไดเ กิดมีข้นึ แลว แกพระผเู ปน ทร่ี กั
แหง ทวยเทพ

การท่ไี ดท รงปราบปรามแควน กลิงคะลงน้นั ทําใหพ ระผเู ปน
ทรี่ กั แหงทวยเทพ ทรงมีความสํานกึ สลดพระทยั เพราะวา ในขณะ
ทกี่ ารปราบปรามแวน แควนอนั เปนเอกราช กําลังเปนไปอยู กย็ อ ม
มกี ารฆาฟนกนั การลม ตาย และการจับประชาชนไปเปนเชลยเกิด
ขึ้น ณ ทีน่ น้ั ส่งิ เหลา นี้ พระผูเปนทีร่ กั แหง ทวยเทพ ทรงสาํ นกึ วา
เปนสิ่งทพ่ี งึ เวทนาเปน อยางยิ่ง และเปนกรรมอนั หนัก

ก็แตขอท่ีสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงถอื วาเปน กรรมอนั รา ยแรง
ยงิ่ กวาน้นั อีก กค็ ือ ทุกหนทกุ แหง (ในแควน กลงิ คะนนั้ ) ยอมเปนที่
อยูอาศัยของพราหมณ สมณะ ศาสนิกชนผูนับถือลทั ธิศาสนาอนื่ ๆ

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๑๖๑

หรือเหลาคฤหัสถชนท้ังหลาย ซ่ึงมีการประพฤติปฏิบัติคุณธรรม

เหลาน้ี คอื การเช่ือฟงทานผใู หญ การเช่อื ฟงมารดาบดิ า การเชื่อ

ฟง ครูอาจารย การปฏบิ ัตติ นดวยดตี อ มิตร คนคนุ เคย สหาย และ

ญาติ ตอทาส และคนรบั ใช และความซื่อสตั ยม่ันคงตอหนา ที่ ณ ที่

นั้น ประชาชนเหลาน้ีตองไดรับบาดเจ็บบาง ถูกประหัตประหาร

บา ง บคุ คลผูเปน ที่รกั ตองพลัดพรากไปเสียบาง

อน่ึง บรรดาประชาชนผูส รางชวี ติ เปนหลักฐานไดม ่ันคงแลว

ยังมีความรกั ใครก นั มิจืดจางเส่อื มคลาย มิตร คนรจู ักมกั คุน สหาย

และญาตขิ องเขา ก็ตองพากันมาถงึ ความพินาศลง แมอ นั น้ีก็ตอ งนบั

วา เปนการกระทาํ รายตอประชาชนเหลาน้นั อยา งหน่ึงเหมือนกัน

การประสบเคราะหกรรมของมวลมนษุ ยทั้งนี้ พระผเู ปน ทรี่ กั

แหงทวยเทพทรงสาํ นึกวา เปนกรรมอนั หนกั

เวนแวนแควนของชาวโยนกเสยี ยอ มไมมถี ิน่ ฐานแหงใดทไ่ี ม

มีกลุมชนประเภทพราหมณและสมณะเหลาน้ีอาศัยอยู และยอม

ไมมีถ่ินฐานแหงใดท่ีในหมูมนุษยทั้งหลาย ไมมีความเลื่อมใสนับ

ถือในลัทธิศาสนาอันใดอนั หนึง่

ดว ยเหตุฉะนนั้ ในคราวยดึ ครองแควน กลิงคะนี้ จะมปี ระชา

ชนท่ถี กู ฆาลม ตายลง และถูกจับเปน เชลยเปน จาํ นวนเทาใดก็ตาม

แมเพียงหนง่ึ ในรอยสวน หรอื หนึ่งในพนั สว น (ของจาํ นวนทีก่ ลา ว

นนั้ ) พระผเู ปน ท่รี กั แหง ทวยเทพยอมทรงสํานึกวา เปนกรรมอนั รา ย

๑๖๒ จารกึ อโศก

แรงย่ิง และแมหากจะพึงมีบุคคลผูใดผูหนึ่งกระทําผิด (ตอพระ
องค) บุคคลผนู ้ันกพ็ งึ ไดรบั ความอดทน หรืออภยั โทษ จากพระผู
เปนท่ีรักแหงทวยเทพ เทาที่พระองคจะทรงสามารถอดทน (หรือ
อภยั ให) ได

สําหรับประชาชนชาวปาดง ที่มีอยูในแวนแควนของพระผู
เปนท่ีรักแหงทวยเทพ พระราชอาํ นาจของพระผูเปนที่รักแหงทวย
เทพ พึงเปน เครอ่ื งนาํ มาซ่ึงความอบอนุ ใจ พึงเปน เครื่องนําใหเ ขา
ทั้งหลายมีความดําริ (ในทางที่เหมาะสม) และชักนําใหเขาทั้ง
หลายมคี วามรสู ึกสํานึกสลดใจ (ในการกระทาํ กรรมชั่ว) พึงแจงให
พวกเขาทราบดังนี้ “ทานทั้งหลายพึงมีความละอาย (ตอการ
กระทําความช่ัว) ถาทานไมตองการที่จะประสบความพินาศ”
เพราะวา พระผเู ปน ทีร่ กั แหงทวยเทพ ทรงปรารถนาใหส รรพสตั วมี
ความปลอดภยั มกี ารบังคับใจตนเองได (สํยมะ) มีความประพฤติ
สมควร (สมจริยา) และมีความสุภาพออ นโยน (มทั ทวะ บางฉบบั
เปน รภสิเย มีความสขุ ความรา เริง)

สําหรับพระผูเปนที่รักแหงทวยเทพ ชัยชนะท่ีทรงถือวาย่ิง
ใหญที่สุด ไดแ ก “ธรรมวชิ ัย” (ชัยชนะโดยธรรม) และธรรมวิชยั น้ัน
พระผูเปนทีร่ ักแหงทวยเทพไดทรงกระทาํ สาํ เรจ็ แลวทง้ั ณ ทีน่ ้ี (ใน
พระราชอาณาเขตของพระองคเอง) และในดินแดนขางเคียงท้ัง
ปวง ไกลออกไป ๖๐๐ โยชน ในดนิ แดนอนั เปน ทปี่ ระทบั แหง กษตั รยิ 

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๖๓

โยนก(Ionian หรอื Greek)๑พระนามวา อนั ตโิ ยคะ(Antiochus) และ
ดินแดนตอจากพระเจาอันติโยคะน้ันไป (คือในทางตะวันตกเฉียง
เหนือ) อนั เปนทีป่ ระทบั แหง กษตั รยิ  ๔ พระองค พระนามวา พระ
เจาตุรมายะ (หรือตุลมย-Ptolemy) พระเจาอันเตกินะ
(Antigonos) พระเจามคะ (Magas) และพระเจาอลิกสุนทระ
(Alexander)และถัดลงไป (ในทางทิศใต) ถึงแวนแควน ของชาวโจละ
(Cholas) แวนแควนของชาวปาณฑยะ (Pandyas) ตลอดถึง
ประชาชนชาว (แมน า้ํ ) ตามรปรรณี (Tamraparni) และในแวน
แควน ภายในพระราชอาํ นาจของพระองค กเ็ ชน เดยี วกัน คอื แวน
แควน ของชาวโยนก (Ionians หรือ Greeks) และชนชาวกมั โพชะ
(Kambojas) ชนชาวนาภปนติแหง นาภคะ ชนชาวโภชะ และชน
ชาวปต ินกิ ชนชาวอนั ธระ (Andhra) และชนชาวปลุ ินทะ

ทุกหนทุกแหง (ประชาชนเหลานี้) พากันประพฤติปฏิบัติ
ตามคําสอนธรรมของพระผเู ปน ท่รี ักแหง ทวยเทพ

แมในถน่ิ ฐานที่ราชทตู ของพระผูเ ปนที่รกั แหงทวยเทพมไิ ดไป
ถึง ประชาชนทงั้ หลาย เมอื่ ไดทราบถงึ ธรรมวัตร ธรรมวธิ าน และ
ธรรมานุศาสนของพระผูเปนที่รักแหงทวยเทพแลว ก็พากัน
ประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ ามธรรมและจกั ประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ ามธรรมนนั้ ตอ ไป

๑ พระเจาอันติโยคะ (Antiochus) และกษัตริยอ กี ๔ พระองค ทร่ี ะบุในจารกึ นี้ คอื
กษัตรยิ ก รีก ซงึ่ ครองดนิ แดนท่ีพระเจา อเลกซานเดอรมหาราช (Alexander the Great)
ไดพ ิชิตไวร ะหวา ง 336-330 BC (ราว พ.ศ.๑๔๘–๑๕๔) ครอบคลุมจากกรซี ลงสอู ียปิ ต
มาถงึ อหิ รา น จดแดนของพระเจา อโศกมหาราชเอง (ดู หนา ๑๗)

๑๖๔ จารกึ อโศก

ดวยเหตเุ พยี งนี้ ชยั ชนะน้เี ปนอันไดก ระทาํ สาํ เรจ็ แลว ในท่ีทกุ
สถาน เปน ชัยชนะอันมีปติเปน รส พร่ังพรอมดว ยความเอบิ อ่มิ ใจ
เปน ปต ิท่ีไดม าดว ยธรรมวิชยั

แตก ระนั้นก็ตาม ปตินย้ี งั จดั วา เปนเพยี งสิ่งเล็กนอย พระผู
เปนทร่ี กั แหงทวยเทพ ยอ มทรงพิจารณาเห็นวา ประโยชนอ ันเปน
ไปในโลกเบ้ืองหนาเทา น้นั เปนสิ่งมีผลมาก

เพื่อประโยชนอันน้ี จึงโปรดใหจารึกธรรมโองการนี้ข้ึนไว
ดว ยมุง หมายวา ขอใหลูกหลานของขาฯ ไมวาจะเปน ผูใดก็ตาม จง
อยา ไดค ิดถึง (การแสวงหา) ชัยชนะเพม่ิ ขน้ึ ใหมอีกเลย ถา หากวา
เขาแสวงหาชัยชนะมาเปนของตนเพ่ิมขึ้นใหมแลว ก็ขอใหเขาพอ
ใจในการใหอภัย และการใชอาชญาแตเพียงเลก็ นอย และขอให
เขายดึ ถอื วา ชัยชนะอนั แทจริงนั้น จะตอ งเปน “ธรรมวชิ ัย” เทา นนั้
ดวยวาธรรมวิชัยนนั้ เปน ไปได ท้งั ในโลกบัดน้ี และโลกเบื้องหนา

ขอปวงความยินดีแหงสัตวทั้งหลาย จงเปนความยินดีใน
ความพากเพยี รปฏิบตั ิธรรม เพราะวา ความยนิ ดนี น้ั ยอมอํานวย
ผลท้ังในโลกบดั นี้ และในโลกเบ้ืองหนา .

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๖๕

จารกึ ศลิ า ฉบับท่ี ๑๔

ธรรมโองการนี้ พระเจาอยูหัวปรยิ ทรรศี ผเู ปนท่รี ักแหง ทวย
เทพ ไดโปรดใหจารึกขึ้นไว ใหมีขนาดยนยอพอไดความบาง มี
ขนาดปานกลางบาง มขี อ ความละเอียดพิสดารบาง เพราะเหตวุ า
ทุกสิ่งจะเหมาะสมเหมือนกันไปในที่ทุกหนทุกแหงก็หาไม แวน
แควนของขาฯ นี้กวา งใหญไ พศาล สงิ่ ที่จารึกไปแลวก็มเี ปน อันมาก
และขา ฯ กจ็ กั ใหจ ารึกเพ่มิ ขนึ้ เรอ่ื ยไป

อนึ่ง ในจารึกนี้ มีขอความบางอยางที่กลาวซํา้ ซาก ทั้งน้ี
เน่ืองจากมีอรรถะอันไพเราะ อันจะเปนเหตุชวยใหประชาชน
ประพฤตปิ ฏิบตั ิตาม

ในจารึกท้ังนี้ อาจมคี วามบางอยางทเ่ี ขยี นข้นึ ไวไมครบถวน
สมบูรณ (แตท้ังนี้ก็ไดกระทาํ ไป) โดยพิจารณาถึงถ่ินที่จารึกบาง
พจิ ารณาถึงเหตตุ า งๆ ที่จะทาํ ใหล บเลือนไปบา ง หรืออาจเกดิ จาก
ความผิดพลาดของผเู ขยี นจารกึ บาง.



หมวด ค
จารึกหลักศิลา ๗ ฉบบั



จารึกหลักศิลา ๗ ฉบับ

จารกึ หลักศิลา ฉบับท่ี ๑

สมเด็จพระเจา อยูห วั ปรยิ ทรรศี ผเู ปน ทีร่ ักแหงทวยเทพ ได
ตรัสไว ดังน้ี:-

ธรรมโองการนี้ ขา ฯ ไดใ หจ ารกึ ขน้ึ ไว เม่ืออภเิ ษกแลว ได ๒๖
พรรษา ประโยชนใ นโลกน้ีและโลกหนา ยอมเปนสงิ่ ที่จะพึงปฏิบัติ
ใหส ําเรจ็ ไดโดยยาก หากปราศจาก

- ความเปนผูใครธ รรมอยา งยง่ิ ยวด (อคั ค-ธมั มกามตา)
- การใชปญญาไตรต รองอยางยงิ่ ยวด๑ (อัคค-ปรกิ ขา)
- การต้ังใจฟง คาํ ส่งั สอนอยางยงิ่ ยวด (อัคค-สุสสูสา)
- ความเกรงกลัว (ตอ บาป) อยา งยิง่ ยวด (อคั ค-ภยะ)
- ความอุตสาหะอยา งย่ิงยวด (อัคค-อุสสาหะ)๒

บัดน้ี ดวยอาศัยคาํ สง่ั สอนของขาฯ ความมงุ หวงั ทางธรรม

๑ บางฉบับวา การพิจารณาตรวจสอบตนเองอยา งยิง่ ยวด
๒ คาํ ศพั ทใ นวงเลบ็ ทั้งหมดนี้ พงึ ทราบวา ไมใ ชร ูปเดิมในศลิ าจารกึ แตเ ปน การถอดรูปออก

มา และเขียนเทียบเปนคําบาลี เพ่ือใหไ ดประโยชนใ นการศกึ ษามากขึ้น (เชน ขอ ๒ ท่ี
ถอดเปน “อัคค-ปริกขา” น้นั คาํ ในจารกึ เปน “อคาย ปลขี ายา”) แตท นี่ ีม่ ใิ ชโ อกาสทีจ่ ะ
อธบิ ายมากกวานี้

๑๗๐ จารึกอโศก
และความฝกใฝใครธ รรม ไดเจริญงอกงามข้ึนแลว ทกุ ๆ วนั และจัก
เจริญงอกงามยิ่งข้ึนเรือ่ ยไป

แมบรรดาขาราชการท้ังหลายของขาฯ ไมวาจะเปนผูมี
ตําแหนง สูง มตี ําแหนง ปานกลาง ตา งพากนั ประพฤติตาม และ
ปฏิบตั ิใหเ กดิ ผลสําเร็จโดยเหมาะสม เพอื่ เปน การชักจงู บุคคลทย่ี งั
ไมม ัน่ คง (ใหม าประพฤติปฏิบัติกศุ ลกรรม) ตามท่ีตนสามารถ๑

อน่ึง มหาอํามาตยแหงเขตชายแดนทั้งหลาย (ไดแก
เทศาภบิ าล หวั เมืองชายแดน) ก็ไดป ฏิบตั เิ ชน เดยี วกันน้ี

ตอไปน้ี คอื ระบบวิธีในการปฏบิ ตั ิราชการ กลาวคอื
- การปกครองโดยธรรม
- การวางระเบยี บขอ บังคบั (หรอื บัญญตั กิ ฎหมาย) ใหเปน

ไปโดยธรรม
- การอํานวยความผาสกุ แกประชาชนโดยธรรม
- การชว ยปกปองคมุ ครองโดยธรรม

๑ วรรคน้ีอาจแปลอกี นัยหนง่ึ วา และขาราชการเหลา นีก้ เ็ ปนผสู ามารถทจี่ ะแนะนําชกั จงู ให
บุคคลอน่ื ๆ มายอมรบั นับถือคาํ สั่งสอนของขาฯ ไปปฏิบตั ิตามดว ย

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๗๑

จารึกหลักศลิ า ฉบับที่ ๒

สมเด็จพระเจาอยูหัวปรยิ ทรรศี ผเู ปน ท่ีรกั แหงทวยเทพ ไดต รสั
ไว ดังนี้ :-

“ธรรม” เปนสง่ิ ดงี าม ก็สิ่งใดเลาชือ่ วา ธรรม ธรรมน้นั ไดแ กส่งิ
ตอไปน้ี คอื

- การมีความเสียหายนอ ย (อัปปาทีนวะ?)๑
- การมคี วามดีมาก (พหกุ ัลยาณะ)
- ความเมตตากรุณา (ทยา)
- การเผือ่ แผแบง ปน (ทาน)
- ความสตั ย (สจั จะ)
- ความสะอาด (โสไจย)

ขาฯ ไดม อบใหแลว ซึ่งดวงตาปญญา (จักษุทาน) ดวยวธิ กี าร
ตางๆ มากมายหลายวิธี ขาฯ ไดกระทําการอนุเคราะหแลวดวย
ประการตา งๆ แกเหลา สัตวทวิบาท สัตวจตบุ าท ปกษณิ ชาติ และ
สัตวน า้ํ ท้งั หลาย ตลอดถึงการใหชีวิตทาน แมก รรมอนั ดงี ามอืน่ ๆ อกี
หลายประการ ขา ฯ ก็ไดประกอบแลว

เพอื่ ประโยชนน ้ี ขาฯ จึงไดใหจารกึ ธรรมโองการน้ีข้ึนไว ขอชน
ท้ังหลายจงไดประพฤติปฏิบัติตามคําสอนนี้ และขอจารึกธรรมนี้จง
ดาํ รงอยตู ลอดกาลนาน

อนง่ึ บคุ คลใดตง้ั ใจประพฤตปิ ฏบิ ัติตามคําสอนนี้ บคุ คลนน้ั
จักไดช่อื วา กระทาํ กรรมอันดงี ามแล.

๑ คาํ ท่ีถอดออกมาจากศิลาจารกึ วา “อปาสนิ เว” และไดแ ปลกนั ไปตางๆ สดุ แตจ ะโยงไปสู
คาํ ศพั ทใ ด เชน บางทานคิดวาคงเปน อัปปาสวะ ก็แปลวามีอาสวะ/กิเลสนอย ในท่ี
นี้ เมื่อเทียบกับ “พหุกัลยาณะ” เห็นวานาจะเปน “อปั ปาทนี วะ” จงึ แปลอยางนี้

๑๗๒ จารกึ อโศก

จารึกหลกั ศิลา ฉบับที่ ๓

สมเด็จพระเจาอยหู วั ปริยทรรศี ผูเปน ท่ีรกั แหงทวยเทพ ได
ตรสั ไว ดังนี้

บุคคลยอมมองเห็นเฉพาะแตกรรมดีของตนอยางเดียววา
“กรรมดีอันนี้เราไดกระทําแลว” แตเขาไมแลเห็นกรรมชั่วของตน
เองวา “กรรมชว่ั นี้เราไดกระทาํ แลว” หรือเห็นวา “กรรมอันนไ้ี ดช อื่
วา เปน กรรมชั่ว” กก็ ารทีจ่ ะพจิ ารณาเหน็ ดังน้ี ยอ มเปน สิ่งยากแทที่
จะกระทาํ ได

กระนั้นก็ตาม บคุ คลพงึ พจิ ารณาเหน็ ในเร่ืองนี้วา “สิง่ ตางๆ
ดังตอไปน้ี ยอมชักนาํ ไปสูการกระทําบาป กลา วคือ ความดุดัน ๑
ความโหดราย ๑ ความโกรธ ๑ ความถือตัว ๑ ความริษยา ๑ ขอ
ขา พเจา จงอยา ไดถ กู ตเิ ตียน (หรือถงึ ความพนิ าศ) เพราะความช่วั
เหลาน้ีเปนเหตเุ ลย”

บุคคลจะตองพิจารณาโดยรอบคอบวา “สิ่งน้ีเปนไปเพื่อ
ประโยชนแกเราในโลกบัดน้ี สิง่ นี้เปนไปเพอื่ ประโยชนส ขุ แกเราใน
โลกเบอ้ื งหนา”.

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๑๗๓

จารึกหลกั ศิลา ฉบบั ท่ี ๔

สมเดจ็ พระเจาอยหู วั ปริยทรรศี ผเู ปน ทีร่ ักแหงทวยเทพ ได
ตรสั ไว ดงั น้ี

ธรรมโองการนี้ ขา ฯ ไดใ หจ ารกึ ข้นึ ไว เมื่ออภิเษกแลวได ๒๖
พรรษา

ขาฯ ไดแตง ตัง้ (เจา หนาท่ีช้ันสงู ในตําแหนง) รัชชกู ะ ข้นึ ไว
ใหมีหนาท่ีดูแลรับผิดชอบในหมูประชาชนจํานวนหลายแสนคน
ขาฯ ไดม อบอํานาจสิทธ์ขิ าดในการพจิ ารณา ตงั้ ขอ กลาวหา หรอื
ในการลงโทษ (ผูกระทาํ ความผดิ ) ใหแกเ จา หนาทร่ี ชั ชกู ะเหลา นั้น
ขอน้ีเพราะเหตุวา เจาหนาที่รัชชูกะท้ังหลาย เม่ือมีความมั่นใจ
และปราศจากความหวาดกลัว กจ็ ะพึงบรหิ ารหนาท่ีการงานใหเปน
ไป พึงปฏิบัติกิจเพ่ือประโยชนเก้ือกูลและความสุขของประชาชน
ในชนบท และกระทาํ การอนุเคราะหแ กประชาชนเหลา นั้น

ขา ราชการเหลา นี้ จักหย่ังทราบถงึ ส่งิ ท่ีจะทาํ ใหเ กดิ ความสขุ
และความทุกขแกประชาชนดวย เม่ือตนเองเปนผูประกอบดวย
ธรรมแลว กจ็ กั ชวยช้แี จงสัง่ สอนแกประชาชนชาวชนบทดวย ทง้ั น้ี
เพอื่ ใหประชาชนเหลานนั้ สามารถประสบประโยชนส ขุ ท้ังในโลกนี้
และโลกหนา

๑๗๔ จารกึ อโศก

เจาหนาที่รัชชูกะทั้งหลาย ยอมขวนขวายท่ีจะปฏิบัตหิ นาที่
สนองตามคําสั่งของขาฯ ถึงแมขาราชการทั้งหลาย (โดยท่ัวไป)
ของขา ฯ ก็จักปฏบิ ัติหนา ท่สี นองตามความประสงคของขาฯ เชน
กัน และขาราชการเหลานั้นจะชวยช้ีแจงแกประชาชนไดบางบาง
สวน อันจะเปนเหตุชวยใหเจาหนา ทีร่ ัชชกู ะสามารถปฏบิ ัตกิ ารให
สําเร็จตามความประสงคข องขา ฯ ได

เปรียบเหมือนวา บุคคล เมือ่ ไดมอบหมายบุตรของตนใหแก
พเี่ ลีย้ งผูสามารถชว ยดแู ลแลว ยอ มมีความรสู ึกมน่ั ใจวา “พเ่ี ลย้ี งผู
ชํานาญจักสามารถคุมครองดูแลบุตรของเราไดด ว ยดี” ฉันใด เจา
หนาที่รชั ชูกะของขาฯ กฉ็ ันนั้นเหมือนกัน ยอ มไดรับการแตงตั้งไว
เพื่อประโยชนเก้อื กลู และความสขุ แหง ประชาชนชาวชนบท ดว ยมุง
หมายวา เจาหนาที่เหลานั้น เม่ือเปนผูไมมีความหวาดกลัว มี
ความม่นั ใจ และไมอดึ อดั ใจ ก็จะพึงบริหารหนาทก่ี ารงานใหเ ปน
ไปได ดวยเหตผุ ลเชนนี้ ขาฯ จึงมอบอํานาจสิทธ์ิขาดในการจบั กุม
หรือในการลงโทษ ใหแกเ จา หนา ท่รี ัชชูกะทง้ั หลาย

อน่ึง ส่ิงตอไปนี้เปนขอท่ีพึงปรารถนา คือ ควรจะมีความ
สมํ่าเสมอเปนแบบแผนเดียวกัน ในการพิจารณาไตสวนอรรถคดี
ในศาล และความสมา่ํ เสมอเปน แบบเดียวกนั ในการตดั สนิ ลงโทษ

อีกประการหนึง่ ในเร่ืองน้ี ขาฯ ยงั ไดม ีโองการไวตอ ไปอีกวา

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๑๗๕

สําหรับคนที่ถูกจองจําคุมขังอยู และเมื่อไดรับการพิจารณาโทษ

แลวถกู ตดั สนิ ประหารชีวติ ขาฯ อนญุ าตสิทธพิ ิเศษใหเปนเวลา ๓

วัน ระหวางระยะเวลานี้ บรรดาญาตขิ องผตู องโทษ จกั ไดข อรอ งให

(เจาหนาที่รัชชูกะ) บางทานพิจารณาไตสวน (เปนการทวน

ยอนหลัง) เพ่อื ชวยชีวติ นกั โทษเหลา นน้ั (คอื ทาํ การย่ืนฎกี าขอพระ

ราชทานอภัยโทษประหาร) ถาแมไมมีผูมายื่นคําขอใหพิจารณา

สอบสวนคดใี หมอกี นกั โทษเหลา นน้ั กจ็ ะ (ไดร ับโอกาสให) ทําการ

บรจิ าคทาน หรือรกั ษาอโุ บสถ อันจะเปน ไปเพ่อื ประโยชนสขุ ใน

โลกหนา

ทัง้ น้ี เพราะขา ฯ มีความปรารถนาอยูอยางนีว้ า แมใ นยามที่
ถกู จองจําคมุ ขงั อยู นักโทษเหลา นนั้ ก็จะไดสามารถบําเพญ็ ตนเพอ่ื
ประสบประโยชนสขุ ในโลกเบื้องหนา ดวย และในหมปู ระชาชนกจ็ ะ
มีการประพฤติปฏิบัติคุณธรรมตางๆ ความสํารวมใจ และการ
จําแนกแจกทาน เจริญเพมิ่ พนู ขึ้นดวย.

๑๗๖ จารกึ อโศก

จารกึ หลกั ศลิ า ฉบบั ท่ี ๕

สมเดจ็ พระเจาอยหู ัวปริยทรรศี ผูเปนท่ีรักแหงทวยเทพ ได
ตรสั ไว ดังนี:้ -

ขาฯ เมอื่ อภิเษกแลวได ๒๖ พรรษา ไดอ อกประกาศ ใหส ตั ว
ทัง้ หลายตอไปน้ี เปน สัตวปลอดภยั จากการถูกฆา กลา วคอื นก
แกว นกสาลกิ า นกจากพราก หงส นกนา้ํ นนั ทิมขุ ๑ นกน้าํ คราฏะ
คางคาว มดแดงมะมวง เตา เล็ก ปลาไมมกี ระดูก ตวั เวทาเวยกะ
ตัวคงั คาปฏุ กะ๒ ปลากระเบน เตา และกบ๓ กระรอก๔ กวางเร็ว ววั
ตอน สัตวท อ่ี าศัยหากินในเรอื น แรด นกพิราบขาว๕ นกพริ าบบาน
และบรรดาสัตวสีเ่ ทา ทั้งปวงที่มใิ ชสตั วสําหรับปฏโิ ภค (ใชหนงั ใช
กระดูก ฯลฯ) และมิใชสัตวสาํ หรับบริโภค

แมแ พะ แมแ กะ และแมหมู ทก่ี าํ ลงั มีทองกด็ ี กาํ ลังใหน มอยู
ก็ดี ยอมเปน สตั วท ่ไี มพงึ ฆา และแมลูกออนของสัตวเ หลา น้นั ทอี่ ายุ
ยงั ไมถงึ ๖ เดอื น ก็ไมพึงถกู ฆา เชน กนั ไมพึงกระทาํ การตอนไก ไม
พึงเผาแกลบที่มีสัตวมีชีวิตอาศัยอยู ไมพึงเผาปาเพ่ือการอันหา
ประโยชนมไิ ด หรือเพ่อื การทาํ ลายสตั ว ไมพึงเลยี้ งชีวิตดว ยชีวิต

๑ ปราชญบ างทา นวา นกเปด หงษ
๒ บางทานวา นกกระเรียน
๓ บางทา นวา เมน
๔ บางทานวา กระตายที่อยูตามคาคบไม
๕ บางทานวา นกเขาขาว

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๗๗

ไมพึงฆาและขายปลา ในวันเพ็ญท่ีครบจาตุรมาส๑ท้ัง ๓
และในวนั เพ็ญแหงเดอื นติษยะ๒ คราวละ ๓ วนั คอื ในวันข้นึ ๑๔

ค่ํา ข้นึ ๑๕ ค่าํ แรม ๑ คํา่ และทุกวันอุโบสถ เปน การเสมอไป

อนึ่ง ในวันดงั กลาวมาน้ี ไมพงึ ฆา แมเหลาสตั วช นดิ อน่ื ๆ ใน
ปา ชา งและในเขตสงวนปลาของชาวประมง

ในดิถีที่ ๘ แหงปกษ (ข้นึ หรอื แรม ๘ คาํ่ ) กด็ ี ในดถิ ีที่ ๑๔
และ ๑๕ ก็ดี ในวันติษยะ และวันปุนพั สุ๓ ก็ดี ในวนั เพญ็ ครบจาตรุ -
มาสทง้ั ๓ กด็ ี และในวนั มงคลทงั้ ปวง ไมพึงทาํ การตอนววั แมถ งึ
แกะ แพะ หมู และเหลา สัตวอ น่ื ๆ ที่เคยตอนกันอยู ก็ไมพ ึงทาํ การ
ตอน (ในวนั เชน นนั้ )

ไมพึงทําการประทับตรามาและโค ในวันติษยะ และวัน
ปุนัพสุ ในวันเพญ็ ครบจาตรุ มาส และตลอดทุกวันในปกษแหงวัน
เพ็ญครบจาตุรมาสน้ัน

ตราบถงึ บัดน้ี เม่ืออภเิ ษกแลว ได ๒๖ พรรษา ขาฯ ไดส ่ังใหมี
การพระราชทานอภยั โทษแลว รวม ๒๕ ครัง้ .

๑ วนั เพญ็ ท่คี รบจาตรุ มาส เรียกวา “จาตุรมาส”ี คือ วันเพ็ญทค่ี รบรอบ ๔ เดือน ไดแ ก

เพญ็ เดือน ๘ เพญ็ เดือน ๑๒ และเพ็ญเดือน ๔ ซงึ่ เปนวาระเปลี่ยนฤดู; ในพระไตรปฎ ก
ตามปกตใิ ชในรปู “จาตมุ าสินี” (คัมภรี ช ั้นหลงั บางทใี ช “จาตมุ าสี”) และมาดวยกนั กบั
“โกมทุ ”ี ในวลี “โกมุทยิ า จาตุมาสนิ ิยา” คอื ในวันเพ็ญเดอื น ๑๒ ทคี่ รบ ๔ เดอื นแหง ฤดู

ฝน ยามทีด่ อกโกมทุ คอื บวั แดง บานไสว อนั รกู นั วาเปน วาระท่ี ทองฟาแจมใส จันทร

เพญ็ กระจาง ราตรสี ดชน่ื นารืน่ รมย
๒ เดือนตษิ ยะ คอื เดอื นยี่ หรือเดือนสอง
๓ ปุนัพสุ เปน ชอ่ื ดาวฤกษท ี่ ๗ (ดาวสาํ เภาทอง หรอื ดาวตาเรอื ชยั ) จนั ทรเ พญ็ เสวยฤกษนี้

ในระหวา งเดอื นมาคสิร (เดือนอา ย) ตน เดอื นผุสส หรือ ปษุ ย (เดอื นย่ี)

๑๗๘ จารกึ อโศก

จารึกหลกั ศิลา ฉบบั ท่ี ๖

สมเด็จพระเจา อยหู ัวปริยทรรศี ผเู ปนทร่ี ักแหง ทวยเทพ ได
ตรัสไว ดงั น้ี :-

ขา ฯ เมือ่ อภิเษกแลวได ๑๒ พรรษา จงึ ไดเ ร่ิมจารึกธรรม
โองการข้ึนไว เพ่ือประโยชนเกื้อกูลและความสุขแกประชาชนท้ัง
หลาย ประชาชนเหลานัน้ เมือ่ ไมฝ าฝนธรรมโองการน้ัน ก็จะพงึ
ประสบความเจริญงอกงามแหง คุณธรรม

ขาฯ ยอมพิจารณาสอดสองอยูวา ประโยชนเก้ือกูลและ
ความสุขของประชาชนทง้ั หลาย จะมีไดด วยวธิ กี ารอยางน้ๆี ขาฯ
ปฏิบตั เิ ชนนี้ตอ หมญู าตทิ ั้งหลาย ฉันใด ขา ฯ กป็ ฏิบตั ิตอหมูชนผู
ใกลชดิ และหมูชนทีอ่ ยหู างไกล ฉนั นัน้ เมือ่ เห็นวา ขาฯ จะนาํ
ความสุขมาใหแกชนเหลาไหนไดอยางไร ขาฯ ก็จะจัดดาํ เนินให
เปนไปอยางนั้น

ขาฯ สอดสอ งดแู ลกลมุ ชนทุกพวกทกุ หมูสมาํ่ เสมอเชน เดียว
กันหมดดงั นี้

แมถึงลัทธิศาสนาทั้งหลายทั้งปวง ขาฯ ก็ไดกระทําการ
เคารพนบั ถอื ทวั่ กันหมด ดวยวธิ กี ารเคารพบูชาตางๆ แบบ ตา งๆ
ชนิด แตขอทีข่ า ฯ ถอื วา เปน สิง่ สาํ คัญที่สุด ก็คือ การไดเขา ไปพบ
ปะถงึ กัน

ธรรมโองการนี้ ขา ฯ ไดใหจ ารึกขึ้นไว เมอื่ อภเิ ษกแลวได ๒๖
พรรษา.

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๗๙

จารึกหลักศิลา ฉบบั ที่ ๗

(พบที่หลัก Delhi-Topla แหงเดยี ว)

๑. สมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัวปรยิ ทรรศี ผูเ้ ปน็ ทรี่ กั แหง่ ทวยเทพ ไดต้ รสั
ไว้ ดังน้ี:-

ตลอดกาลยาวนานลว งมาแลว ไดมพี ระราชาหลายองคท รง
ปรารถนาวา “ทาํ ไฉนประชาชนทั้งหลายจะพึงเจริญกาวหนาดวย
ความเจริญทางธรรม” แตประชาชนก็หาไดเจริญกาวหนาข้ึนดวย
ความเจรญิ ทางธรรมตามสมควรไม

๒. ในเร่ืองนี้ สมเด็จพระเจา้ อยู่หวั ปริยทรรศี ผเู้ ป็นที่รักแหง่ ทวย
เทพ ไดต้ รสั ไว้ ดงั น้ี:-

ขา ฯ ไดเ กิดมีความคดิ ข้นึ วา ตลอดกาลยาวนานลว งมาแลว
ไดมีพระราชาหลายพระองคทรงปรารถนาวา “ทาํ ไฉนประชาชนทัง้
หลายจะพงึ เจริญกา วหนา ดวยความเจรญิ ทางธรรม” แตป ระชาชน
ก็หาไดเจริญกาวหนา ข้นึ ดว ยความเจรญิ ทางธรรมตามสมควรไม

ก็แลดวยอุบายวิธีอันใดหนอ ประชาชนท้ังหลายจะพึง
ประพฤติปฏิบตั ิตาม ดวยอบุ ายวธิ อี นั ใดหนอ ประชาชนทงั้ หลาย
จะพึงเจริญกาวหนาดวยความเจริญทางธรรมตามสมควร ดวย
อุบายวิธีอันใดหนอ ขาฯ จะพึงยกระดับประชาชนข้ึนดวยความ
เจริญทางธรรมไดบ า ง

๑๘๐ จารกึ อโศก

๓. ในเร่ืองน้ี สมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัวปริยทรรศี ผู้เปน็ ท่รี ักแหง่ ทวย
เทพ ไดต้ รสั ไว้ ดงั น:ี้ -

ขา ฯ ไดเ กิดมคี วามคิดขน้ึ วา “ขาฯ จักจดั ใหม ีการประกาศ
ธรรม ขาฯ จักจัดใหม กี ารอบรมสงั่ สอนธรรม ประชาชนทั้งหลาย
คร้ันไดสดับธรรมนี้แลว ก็จักพากันประพฤติปฏิบัติตาม จักยก
ระดับตนเองสูงขึ้น และจักมีความเจริญกาวหนาข้ึนดวยความ
เจรญิ ทางธรรมอยา งม่ันคง”

เพ่อื ประโยชนน ี้ ขา ฯ จงึ จดั ใหม ีการประกาศธรรม และสั่งให
มีการอบรมส่ังสอนธรรมขึ้นเปนหลายแบบหลายอยาง เพ่ือใหขา
ราชการท้งั หลาย ท่ีขา ฯ ไดแตง ตั้งไวด แู ลประชาชนจาํ นวนมาก จกั
ไดชวยกันแนะนําส่ังสอนบาง ชวยอธิบายขยายความใหแจมแจง
ออกไปบา ง

แมเ จา หนา ทร่ี ชั ชกู ะ ขา ฯ กไ็ ดแ ตง ตงั้ ไวด แู ลชวี ติ หลายแสนชวี ติ
เจา หนา ทรี่ ชั ชกู ะเหลา นนั้ กไ็ ดร บั คาํ สงั่ จากขา ฯ วา “ทา นทงั้ หลายจง
อบรมสงั่ สอนประชาชน ใหเ ปนผปู ระกอบดว ยธรรมอยา งนๆี้ ”

๔. สมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวปรยิ ทรรศี ผเู้ ป็นทีร่ ักแห่งทวยเทพ ได้ตรัส
ไวว้ ่า

เมื่อไดพิจารณาใครครวญในเรื่องนี้ โดยถองแทแลวนั่นแล
ขา ฯ จึงใหป ระดิษฐานหลกั ศลิ าจารกึ ธรรมข้นึ ไว แตงต้งั ธรรมมหา
อํามาตยข น้ึ ไว และจัดใหมกี ารประกาศธรรม

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ ฺโต) ๑๘๑

๕. สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ปรยิ ทรรศี ผเู้ ป็นทร่ี กั แหง่ ทวยเทพ ได้ตรสั

ไว้ ดงั น:้ี -

แมต ามถนนหนทาง ขา ฯ กไ็ ดใหปลูกตน ไทรขน้ึ ไว เพ่ือจกั ได
เปนรมเงาใหแกสัตวแ ละมนุษยท ้ังหลาย ใหปลกู สวนมะมว ง ใหขดุ
บอ น้ําไวท กุ ระยะก่งึ โกรศะ๑ ใหส รา งที่พักคนเดนิ ทางข้นึ ไว๒ และให
สรางอางเก็บน้ําจํานวนมากมายขึ้นไวในที่ตางๆ เพ่ือการใชสอย
แหง สัตวและมนุษยทัง้ หลาย

แตการใชป ระโยชนเชน นี้ ยงั จดั วาเปน ส่งิ เลก็ นอย พระราชา
ท้ังหลายในกาลกอนกด็ ี ตัวขาฯ กด็ ี ตางกไ็ ดบาํ รุงประชาชนทงั้
หลายใหมีความสุขดวยวธิ กี ารบํารงุ สขุ ประการตางๆ แตท ข่ี าฯ ได
กระทําการเชนน้ี กด็ วยความมงุ หมายขอนี้ คือ เพ่ือใหป ระชาชนท้งั
หลายประพฤตปิ ฏิบตั ติ ามธรรม

๖. สมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นท่รี ักแห่งทวยเทพ ได้ตรสั

ไว้ ดงั นี้:-
แมธ รรมมหาอํามาตยท ้ังหลาย ขาฯ ก็ไดม อบหมาย ใหทาํ

หนา ท่ีเกีย่ วกับกิจการตา งๆ มากหลายประการ อนั จะเปน ไปเพ่อื

๑ ผรู อู า นจากศลิ าจารกึ วา “อฒ-โกสกิ ยฺ าน”ิ และถอดรปู วา คาํ แรกคอื อฑฒฺ แปลวา กงึ่ , ครง่ึ สว น
คาํ หลงั วา เปน โกส จงึ แปลวา ครง่ึ โกสะ; เทยี บตามมาตราฝา ยบาลี โกสะ=๑ กม. ครง่ึ โกสะ=

ครงึ่ กม. นบั วา ใกลม าก; ทางฝา ยสนั สกฤต โกสÆโกรฺ ศ บา งวา =๔,๐๐๐ หสตฺ (คืบ) =๑ กม.

บา งวา =๘,๐๐๐ หสฺต =๒ กม. ครึง่ โกสะ จงึ =ครึ่งกม. หรือ ๑ กม. ตามลาํ ดับ
บางทานใหล องเทียบวา “อฒ” อาจจะเปน อฏฐฺ คือ ๘ จึงเปน ๘ โกส/โกรฺ ศ ถาอยาง

นี้ กจ็ ะเปน ๘ หรอื ๑๖ กม. ตามลําดบั ผศู กึ ษาพงึ พจิ ารณา ในทีน่ ้ี ยงั ไมพ ดู มากกวา นี้
๒ บางฉบับแปลวา แผงลอย หรอื รานตลาด

๑๘๒ จารกึ อโศก

การอนเุ คราะห ทั้งแกบ รรพชติ และคฤหัสถท ้งั หลาย และธรรมมหา
อํามาตยเหลาน้นั ไดรับมอบหมาย ใหมีหนาทเี่ กย่ี วของกับหมชู นผู
นบั ถือลทั ธศิ าสนาทง้ั ปวง

แลเพ่ือประโยชนแกค ณะสงฆ ขาฯ กไ็ ดมีคาํ สง่ั วา ใหม ีเจา
หนาท่ีธรรมมหาอํามาตย ที่มีหนาท่ี (เก่ียวกับผลประโยชนของ
คณะสงฆ) แมส ําหรบั พวกพราหมณแ ละอาชีวกิ ะทง้ั หลาย กเ็ ชน
กัน ขาฯ ก็ไดม ีคาํ สง่ั วา ใหมีเจา หนา ท่ธี รรมมหาอํามาตย ซึ่งจกั มี
หนา ท่ีรับผิดชอบ (เกีย่ วกบั ผลประโยชนข องพราหมณและอาชวี ิกะ
เหลานน้ั ) สําหรับในหมูน คิ รนถท ั้งหลาย ก็เชน กนั ขา ฯ กไ็ ดมีคําสง่ั
ไวว า ใหม ีเจาหนา ท่ีธรรมมหาอํามาตย ซงึ่ จกั มหี นา ท่ีรับผดิ ชอบ
(เพ่ือผลประโยชนข องนิครนถเหลา น้นั )

แมส ําหรบั ในหมูชนผูนบั ถอื ลทั ธศิ าสนาตางๆ ขาฯ ก็ไดม ีคํา
สั่งไววา ใหม ีเจาหนาที่ธรรมมหาอํามาตยเหลานน้ั ซง่ึ จกั มหี นา ที่
รับผิดชอบ (เพือ่ ผลประโยชนข องลทั ธิศาสนาเหลานนั้ ดว ย)

เจาหนา ทีม่ หาอํามาตยตําแหนง ตางๆ ยอ มมหี นารับผดิ ชอบ
รักษาหนาที่อันเฉพาะของตนๆ เทาน้ัน สวนพวกธรรมมหา
อํามาตยนี้ ขาฯ มอบหมายใหม ีหนาทีร่ บั ผดิ ชอบท้งั กิจการเหลาน้ี
ดว ย และมหี นาทเี่ กีย่ วกบั ลัทธศิ าสนาทงั้ หลายอนื่ ท้งั หมดดวย

๗. สมเด็จพระเจา้ อยูห่ ัวปริยทรรศี ผูเ้ ปน็ ที่รกั แหง่ ทวยเทพ ได้
ตรัสไว้ ดังน้ี:-

พระพรหมคณุ าภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต) ๑๘๓

เจา หนาที่ช้ันผใู หญเหลานี้ และพวกอนื่ ๆ อกี จํานวนมาก ได
รับมอบหมายใหมีหนาท่ีทําการจําแนกแจกทาน ท้ังในนามของ
ขาฯ เอง และในนามแหงพระราชเทวีทัง้ หลาย ทั่วทุกสํานกั ฝา ยใน
ของขาฯ เจาหนา ทช่ี ้ันผใู หญเ หลา นี้ สามารถจัดดาํ เนนิ การในกจิ
ตา งๆ ที่มุงหมาย จนเปนทน่ี าพอใจได ดว ยวิธีการมากมายหลาย
ประการ ทัง้ ใน (พระนครหลวง) นี้ และในสว นตา งๆ (ของประเทศ)

อน่งึ ในสวนแหงโอรสของขาฯ และเจา ชายอน่ื ๆ ซ่งึ ประสตู ิ
แตพระราชเทวีทัง้ หลาย ขา ฯ กไ็ ดส ่งั ใหกระทําการ (จําแนกแจก
ทาน) เชนนี้ โอรสของขาฯ เหลาน้ี จักเปน ผฝู ก ใฝในการจําแนก
แจกทาน อันจะเปนการชว ยสง เสรมิ หลักการในทางธรรม และการ
ประพฤตปิ ฏิบัติตามธรรม

หลักการในทางธรรม และการประพฤติปฏิบัติตามธรรม
เหลา น้ี กลาวคือ

- ความเมตตากรุณา (ทยา)
- การเผ่อื แผแ บง ปน (ทาน)
- ความสตั ย (สจั จะ)
- ความสะอาด (โสไจย)
- ความสุภาพออ นโยน (มัททวะ)
- ความเปนสาธชุ น (สาธวะ)
จะพึงเจริญเพมิ่ พนู ข้ึนในหมปู ระชาชน

๑๘๔ จารกึ อโศก

๘. สมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัวปรยิ ทรรศี ผเู้ ปน็ ท่รี กั แหง่ ทวยเทพ ไดต้ รัส

ไว้ ดงั นี้:-
กรรมดีใดๆ กต็ ามทข่ี าฯ ไดกระทาํ แลว ประชาชนทั้งหลายก็

ไดพากันประพฤติปฏิบัติกรรมดีนั้นๆ ตามอยางแลว และยังคง
ดําเนนิ ตามกรรมดนี ั้นๆ อยตู อ ไป ดว ยการกระทําเชน นั้น ประชา
ชนท้ังหลายกไ็ ดมคี วามเจรญิ งอกงามขน้ึ แลว และยังจักเจรญิ งอก
งามยงิ่ ๆ ขน้ึ ไปอกี ดว ยการเชอ่ื ฟง มารดาบดิ า การเชอื่ ฟง ครทู งั้ หลาย
การปฏบิ ตั ชิ อบตอ ทา นผเู ฒา ชรา การปฏบิ ตั ชิ อบตอ พราหมณแ ละ
สมณะ ตอคนยากจนและคนตกทุกข ตลอดถงึ คนรับใชและคนงาน
ทั้งหลาย

๙. สมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ปริยทรรศี ผู้เป็นท่ีรักแห่งทวยเทพ ได้

ตรัสไว้ ดงั นี้:-
ในหมูมนุษยท้ังหลาย ความเจริญงอกงามแหงธรรม ยอม

เกิดมีขึ้นไดดวยวิธีการสองประการ คือ ดวยการบัญญัติกฎขอ
บังคับในทางธรรมประการหนึ่ง และดวยการนําธรรมไปเพงพินิจ
ประการหนึง่

บรรดาวิธีการท้ังสองนั้น การบัญญัติกฎขอบังคับในทาง
ธรรม เปนส่งิ ไมส าํ คญั การนําไปเพง พินจิ น่ันแล เปนสิง่ สาํ คญั ยิง่

กระนั้นก็ตาม ขาฯ ก็ไดกระทาํ การบัญญัติกฎขอบังคับใน
ทางธรรมขึ้นไวแลว เชนวา ดังนี้ “สตั วจําพวกนี้ๆ เปน สัตวท ีห่ า ม
มิใหฆ า ”

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยตุ โฺ ต) ๑๘๕

กแ็ ลกฎขอ บงั คบั ในทางธรรมอ่นื ๆ ที่ขา ฯ ไดบ ญั ญัติไวแ ลว

ยังมีเปนอันมาก แตห ากดว ยอาศัยการนําไปเพง พินจิ น่ันแล ความ

เจริญงอกงามแหงธรรมจึงไดเพิ่มพูนขึ้นแลวอยางมากมายในหมู

มนษุ ยท ัง้ หลาย ยงั ผลใหบงั เกิดการไมเบียดเบยี นเหลา สตั ว และ

การไมฆ า สตั วเพอื่ บชู ายญั

เพื่อประโยชนน ี้ ขา ฯ จงึ ไดกระทาํ การจารกึ อยางนี้ข้ึน เพื่อ

วาลูกหลานทั้งหลายของขาฯ จักพึงเชอ่ื ฟงความท่จี ารึกนัน้ และ

จารกึ นัน้ จักไดดาํ รงอยตู ลอดไป ตราบเทาทเ่ี ดอื นและตะวนั ยังสอ ง

แสง อกี ทัง้ ประชาชนทงั้ หลายกจ็ ะพึงประพฤติปฏบิ ตั เิ ชน น้นั ดวย

ก็แลบุคคลผูประพฤติปฏิบัติตามอยูเชนนั้น ยอมเปนผู

ประสบประโยชนสุข ทั้งในโลกนแ้ี ละโลกหนา

ธรรมโองการน้ีขาฯ ไดใหจารึกไว เมื่ออภิเษกแลวได ๒๗

พรรษา

๑๐. สมเด็จพระเจา้ อยู่หวั ปริยทรรศี ผเู้ ป็นท่รี ักแหง่ ทวยเทพ ได้
ตรัสไว้ ดงั น:ี้ -

หลักศิลา หรือแผน ศลิ า มีอยู ณ สถานทใ่ี ด ธรรมโองการน้ี
จะตองถกู นาํ ไปจารึกไว ณ สถานทีน่ น้ั เพื่อใหดํารงอยชู ่วั กาลนาน.



บทเฉพาะที่

เสาศิลาจารึกอโศกท่ีสารนาถ

(จําลอง)

ณ วัดญาณเวศกวัน

ลําดับคําจารึก

๑. คํา “จารึกหลกั ศิลาทสี่ ารนาถ” บน เสาศลิ าจารกึ อโศก (จาํ ลอง)

เปนคําแปลภาษาไทย จากฉบับแปลภาษาอังกฤษ ซ่ึง
แปลโดยเทียบเคียงกับภาษาสันสกฤต ที่ถอดจากจารึก
เดิมภาษาปรากฤต เขียนดวยอักษรพราหมี

๒. คําจารึกบน ๘ แทนหิน ทางดานตะวันออกของเสา

แผนท่ี ๑ คํา “จารึกหลักศิลาที่สารนาถ” บนเสาศิลาจารึกฯ
(ซ้ํากับบนเสา นํามาเขียนไวเพื่อใหอานไดชัดและสะดวก)

คูซา ย
แผน ท่ี ๒–๓ คาํ อธบิ ายที่มา ความหมาย และความสําคญั ของ
“ส่ีสงิ ห ทนู ธรรมจกั ร” เรม่ิ แตพ ระประวตั ขิ องพระเจา อโศกมหาราช

คูกลาง
แผนท่ี ๔–๕ ตัวอยางขอความในศิลาจารึก ของพระเจาอโศก
มหาราช (จาก จารึกศิลา ฉบับที่ ๑๓ ที่ ๙ และที่ ๑๑)
สําหรับ คน เ ทีย บ หลัก ธ รรมในพุท ธ พจนบ น แทน หิน คูข ว า

คูขวา
แผนที่ ๖–๗ พุทธพจน จากพระไตรปฎก เชน จักกวัตติสูตร
สาํ หรบั เทียบ เพอ่ื สืบทม่ี าของธรรมในจารึกของพระเจาอโศก
แผนท่ี ๘ บอกวา ท่ีประดิษฐานเสาศิลาจารึกฯ (จําลอง) ตรงกับที่
ปก หลกั เขต อนั เปน จดุ ตอ ทดี่ นิ ทต่ี งั้ วดั ญาณเวศกวนั ๓ แปลง คอื
๑. แปลงท่ีขออนุญาตสรางวัด ๒. แปลงที่ต้ังอุโบสถ
๓. แปลงลานเสาศิลาจารึกอโศก

พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ๑๘๙

๑. คํา “จารกึ หลักศิลาทส่ี ารนาถ”

บน เสาศิลาจารกึ อโศก (จาํ ลอง)

…………………………………………………………………………

จารึกหลักศิลา ท่ีสารนาถ

(คาํ แปล)

สมเด็จพระเจา อยหู ัวปรยิ ทรรศี ผูเปนทีร่ ักแหง ทวยเทพ ไดม ี
พระบรมราชโองการใหประกาศแกมหาอํามาตยทัง้ หลาย ณ พระ
นครปาฏลีบตุ ร และ ณ นครอน่ื ๆ วา

ขาฯ ไดก ระทําใหส งฆมคี วามสามคั คเี ปน อันหน่ึงอันเดียวกัน
แลว บุคคลใดๆ จะเปนภิกษหุ รอื ภกิ ษณุ กี ต็ าม ไมอาจทาํ ลายสงฆ
ได ก็แล หากบุคคลผูใด จะเปนภิกษุหรือภกิ ษณุ ีก็ตาม จกั ทําสงฆ
ใหแ ตกกนั บคุ คลผนู ้นั จักตอ งถกู บังคบั ใหนุง หม ผา ขาว และไปอยู
ณ สถานที่อนั มใิ ชว ดั

พงึ แจง สาสน พระบรมราชโองการนใี้ หท ราบทัว่ กนั ทั้งในภิกษุ
สงฆแ ละในภิกษุณีสงฆ ดวยประการฉะนี้

พระผเู ปนที่รกั แหง ทวยเทพ ไดตรสั ไว ดังน:ี้ -
ประกาศพระบรมราชโองการเชนนี้แล ทานท้ังหลายพึงจัด
รกั ษาไว ณ ทางสัญจรภายในเขตใกลเ คียงของทานทง้ั หลาย ฉบบั

๑๙๐ จารกึ อโศก

หน่ึง และจงจดั รกั ษาประกาศพระบรมราชโองการเดยี วกันนีแ้ ล ไว
ในเขตใกลเคยี งของอบุ าสกท้งั หลาย อกี ฉบบั หนึ่ง

ทุกวันอุโบสถ บรรดาอบุ าสกเหลานั้น พงึ ทําตนใหมีความรู
เขาใจแนบแนนในประกาศพระบรมราชโองการน้ี และทุกวัน
อุโบสถ มหาอํามาตยทกุ คนพงึ ไปรวมในการรกั ษาอุโบสถดว ยเปน
ประจํา เพื่อจักไดเ กดิ ความคุน เคยแนบสนิท และรเู ขา ใจทว่ั ถงึ ซึ่ง
ประกาศพระบรมราชโองการนนั้ แล

ทั่วทุกหนทุกแหงท่ีอํานาจบริหารราชการของทานทั้งหลาย
แผไ ปถงึ ทา นท้ังหลายพงึ ขบั ไล (บคุ คลผูท าํ ลายสงฆ) ออกไปเสยี
และฉันเดียวกันนั้น ทานท้ังหลายพึงใหขับไล (บุคคลที่ทําลาย
สงฆ) ในเมอื งดา น และในทองถิ่นทัง้ หลายออกไปเสีย โดยใหเ ปน
ไปตามขอ ความในประกาศนี้.

(จารกึ พระบรมราชโองการ ของพระเจา อโศกมหาราช บนหลกั ศลิ าทส่ี ารนาถ
ทแี่ ปลมาน้ี ตวั อกั ษร ๓ บรรทดั แรก ชาํ รดุ เลอื นหายไปมาก นกั อานจารกึ ได

ฟนขอความโดยเทียบกบั จารกึ หลกั ศิลาที่ โกสมั พี และทสี่ าญจี ซึ่งมขี อ
ความใกลเคียงกัน อันจัดไวดวยกันในชุดที่เรียกวา “จารึกหลักศิลา
ฉบบั นอย” ซ่งึ ไดพบ ๔ แหง)


Click to View FlipBook Version