The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการ เชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by forestgumz, 2022-11-15 22:29:24

แนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการ เชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

แนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการ เชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

แนวทางบริหารจดั การสนิ ค้าเกษตรทางเลอื กที่มอี นาคต
(Future Crops) ตามแผนทเ่ี กษตรเพอ่ื การบรหิ ารจดั การ

เชงิ รกุ (Agri-Map) ในเขตพื้นทภ่ี าคตะวนั ออก

นครนายก
ปราจนี บรุ ี

สระแกว้

สมทุ รปราการ ฉะเชิงเทรา
ชลบรุ ี

ระยอง จันทบรุ ี

ตราด

สำนกั งำนเศรษฐกิจกำรเกษตรที่ 6 REGIONAL OFFICE OF AGRICULTURAL ECONOMICS 6

สำนักงำนเศรษฐกจิ กำรเกษตร OFFICE OF AGRICULTURAL ECONOMICS

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ MINISTRY OF AGRICULTURE AND COOPERATIVES

กนั ยำยน 2564 SEBTEMBER 2021

แนวทางบรหิ ารจัดการสนิ คา้ เกษตรทางเลือกท่มี อี นาคต (Future Crops)
ตามแผนท่เี กษตรเพือ่ การบรหิ ารจัดการเชิงรุก (Agri-Map)
ในเขตพ้นื ทภ่ี าคตะวนั ออก

โดย

สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตรท่ี 6
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร



บทสรุปผบู้ รหิ าร

การศึกษาปี 2564 เป็นการศึกษาต่อเนื่องจากปี 2563 โดยครั้งนี้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ได้
จัดทำโครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map)
โดยเน้นศึกษาสินค้าเกษตรทางเลือกเชิงลึกระดับภาคเพื่อกำหนดแนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตร
ทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ในเขต
พ้ืนท่ีภาคตะวนั ออก ซง่ึ ไดท้ ำการวิเคราะห์ดา้ นเศรษฐกิจสินค้าเกษตรทางเลือกเชิงลกึ ระดับภาคที่สอดรับท้ังด้าน
กายภาพ ดา้ นเศรษฐกจิ และด้านภมู สิ งั คมวฒั นธรรมเพ่อื เป็นสินค้าทางเลือกทีม่ ีอนาคตไปใชป้ รับเปลี่ยนกิจกรรม
การผลิตข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ในพื้นที่ไม่เหมาะสมตามแผนที่ Agri-Map รวมทั้งประสบปัญหาภัย
พิบัติซ้ำซาก เกิดโรคระบาดสะสม เพอ่ื จัดทำข้อเสนอแนะเชงิ นโยบาย มาตรการและแนวทางในการบริหารจัดการ
พื้นที่และสินค้าเกษตรทางเลือกแต่ละชนิดเป็นการสร้างฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจของสินค้าเกษตรทางเลือก
สำหรับการจัดสรรพื้นท่ีเพาะปลูกให้เกิดความเหมาะสมของสินค้าเกษตรที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ให้สอดคล้อง
เหมาะสมกับฐานทรัพยากรของประเทศเพื่อเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับ
ภาคตะวนั ออกและระดบั ประเทศต่อไป รายละเอียดดังน้ี

สินค้าเกษตรทางเลือกเชิงลึกระดับภาคตะวันออกได้แก่ ไผ่ หญ้าเนเปียร์ มะม่วงน้ำดอกไม้ โกโก้
มะพร้าวน้ำหอม และกุ้งก้ามกรามผสมกุ้งขาวแวนนาไม เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าเกษตรที่สำคัญทาง
เศรษฐกิจทั้ง 3 ชนิดของภาคตะวันออก พบว่า สนิ คา้ ทางเลือกท่ีมอี นาคตให้ผลตอบแทนสุทธสิ ูงกวา่ และมีความ
ค้มุ คา่ ทางเศรษฐกิจกว่าสินค้าหลักดังกล่าว และได้เสนอพื้นทเี่ ปา้ หมายและปรมิ าณพ้ืนท่ีท่ีควรส่งเสริม รวมท้ัง
พิกัดแหล่งรับซื้อที่สำคัญและวิเคราะห์อุปสงค์ อุปทานส่วนเกินและส่วนขาดให้สอดรับเงื่อนไขโลจิสติกส์ที่
เหมาะสม และข้อมูลจำกัดจากการดูแลรักษาโรคและศัตรูพืช การผลิต การแปรรูป และการตลาดเพ่ือ
ประกอบการตัดสินใจให้เกษตรกร ผู้สนใจลงทุนเพื่อสมัครร่วมโครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตร
ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือเพื่อลงทุน
ปรับเปลี่ยนหรือผสมผสาน รวมทั้งเสนอมาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่าง
ภาครฐั ภาคเอกชนและเกษตรกรตามนโยบายตลาดนำการผลติ ตง้ั แต่ตน้ ทางถึงปลายทาง ดงั น้ี

1) ไผ่ พืชทางเลือกใหม่ที่มีอนาคต เป็นพืชเศรษฐกิจใช้ประโยชน์หลากหลายและสร้างโอโซนลดโลก
รอ้ นอกี ทางเลอื กหนง่ึ ที่สามารถปรับเปล่ียนการปลูกขา้ ว ยางพารา และมนั สำปะหลงั ท่ีอยูใ่ นเขตเหมาะสมน้อย
หรือไม่เหมาะสมหรือแหล่งเกิดโรคใบด่างมันสำปะหลัง จากการประมาณการอุปสงค์อุปทานไผ่ในพื้นท่ี
เปา้ หมายเหมาะสมกับจังหวัดชลบรุ ี ระยอง จนั ทบรุ ี ฉะเชิงเทรา ปราจนี บรุ ี นครนายก และสระแก้ว พบว่า
ผลผลิตหน่อและกิ่งพันธุ์ไผ่ของภาคตะวันออกมีความสมดุลของผลผลิตมีเพียงพอเหมาะสมกับปริมาณ
ความต้องการการแต่ ลำ ยังขาดความสมดุลกับความต้องการใช้จำนวน 5,956,930 ลำ ต้องนำเข้ามาจากนอก
ภาคตะวันออก จึงควรส่งเสริมให้ปลูกไผ่พืชเศรษฐกิจ เพื่อใช้ลำอีกประมาณ 11,914 ไร่ ในพื้นที่นำร่อง
7 จังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งควรมีมาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ
ภาคเอกชนและเกษตรกรตามนโยบายตลาดนำการผลิตตั้งแต่มาตรการต้นทาง ดังน้ี 1)จัดพื้นที่ Zoning



เขตเมอื ง เขตอตุ สาหกรรม เขตเกษตรกรรมจัดพ้ืนทเ่ี หมาะสมการปลูกพืชแตล่ ะชนิด 2)อพั เดทการขึ้นทะเบียน
เกษตรกรพื้นที่เพาะปลูกไผ่เพื่อเป็นข้อมูล supply 3)ส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้แปลงต้นแบบ Sharing
ทั้งการปลูกดูแลรักษาและการดูงาน 4)มีเครือข่าย Connection การรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ใช้
เทคโนโลยีมาช่วยในการผลิต การรักษาคุณภาพสินค้า 5)สร้างแหล่งน้ำให้เกษตรกร (บ่อจิ๋ว สระน้ำ/บ่อน้ำ
ชุมชน) 6)สนับสนุนเงินช่วยเหลือในการปรับเปลี่ยนในช่วงปีที่ยังไม่ให้ผลผลิต 7)สนับสนุนปัจจัยการผลิตและ
ช่วยควบคุมดูแลราคาปัจจัยการผลิต 8)สนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ 9)ควรมีศูนย์เรียนรู้แปลงไผ่ต้นแบบครบ
วงจรในระดับพื้นท่ี ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง (เกษตรจังหวัด/สวพ.6/พด./สปก.) มาตรการกลาง
ทาง 1)ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรให้มีทักษะที่เหมาะสมและจำเป็นทั้งในด้านการผลิต การตลาด การจัดการ
หลังการเก็บเกี่ยว และสนับสนุนทุนและเทคนิคการแปรรูปขั้นต้นเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น หน่อด้วยการดอง ถุง
ซีลหน่อไม้ ชาไผ่ การแปรรูปไม้ไผ่ หัตถกรรม เส้นใยไผ่ เฟอร์นิเจอร์ ปุ๋ยขุยไผ่ และถ่านไผ่ เป็นต้น (เกษตร
จงั หวัด/AIC แปรรูป/ศูนย์ส่งเสรมิ อุตสาหกรรมภาค 9) 2)สนับสนนุ ทุนวิจยั และพัฒนาในการแปรรูปผลิตภัณฑ์
ใหม่และนำนวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มกับทุกส่วนของไผ่แบบ (BCG) ทั้งในด้านการสร้างอัตลักษณ์ไผ่ตะวันออก
ให้หลากหลายได้มาตรฐานสากลและมีตันทุนการผลิตที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก (สสว./สวก./สหกรณ์
จังหวัด/AIC/พาณิชย์) 3)สร้างความร่วมมือ KU–Bamboo in Thailand Project โครงการเพิ่มศักยภาพ
การจัดการธุรกจิ ไผไ่ ม้เศรษฐกิจชมุ ชน 4)สนับสนุนกล่มุ เกษตรกร ผแู้ ปรรูป สหกรณ์ทม่ี คี วามสามารถเป็นแหล่ง
รับซื้อและแหล่งแปรรูปผลผลิตไผ่ให้กับเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนและสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายได้
อย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการขายผลผลิต มาตรการปลายทางตลาดนำการผลิต 1)ระดับ
นโยบาย กษ. ใช้กลไกคณะกรรมการความร่วมมือ กษ. กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) เพ่ือ
เชื่อมโยงเป็นคลัสเตอร์ไผ่และสมุนไพร ซึ่งมีอุตสาหกรรมที่หลากหลายทั้งอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง
(กษ./(ส.ป.ก./กสก.)/ส.อ.ท./พณ./อว.) 2)จดั ทำแผน Bamboo BCG Value Chain เป็นแผนพัฒนารายสินคา้ ท่ี
สำคัญของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด (กษ.จ./พณ./อก./ทท./อว./ทส.) 3)ระดับพื้นที่สนับสนุนการสร้างเครือข่าย
เชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการในพื้นที่กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อทราบถึงปริมาณและคุณภาพมาตรฐาน
ผู้ประกอบการต้องการ (ส.อ.ท.จังหวัดและภาค/สภาหอการค้า/เกษตรจังหวัด) 4)ส่งเสริมไผ่และผลิตภัณฑ์ไผ่
ของไทยในตลาดล่วงหนา้ อยา่ งจริงจงั (พณ.)/ส.อ.ท./พาณชิ ย์ sale man)

2) หญ้าเนเปียร์ สินค้าเกษตรทางเลือกของภาคตะวันออก สินค้าที่มีศักยภาพการผลิตไม่เพียงพอต่อ
ความต้องการของตลาด เพื่อความมั่นคงด้านอาหารสัตว์ของภาคตะวันออกควรมีการทำแปลงหญ้าควบคู่
การแปรรูปหญ้าเพื่อเป็นแหล่งสำรองอาหารสัตว์คุณภาพช่วยลดต้นทุนด้านอาหารผสมครบส่วน (TMR) จาก
การประมาณการอุปสงค์อุปทานหญ้าเนเปียร์ในพื้นที่เป้าหมาย ของภาคตะวันออกเขตส่งเสริมการปลูก
แปลงหญ้าอาหารสัตวใ์ นเชิงธุรกิจของภาคตะวันออกควรอยู่ใกล้แหล่งเลี้ยงปศุสัตว์ในรัศมีไมเ่ กิน 100 กม.
ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายนำร่องที่เหมาะสมควรเป็นจังหวัดสระแก้วและรอยต่ออำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
ซึ่งต้องนำเข้าฟางร้อยละ 67 มาใช้ทดแทนหญ้า หากต้องการให้มีความมั่นคงด้านเสบียงอาหารสัตว์ทีเ่ พียงพอ
สามารถพิจารณาปลูกหญ้าเพิ่มเติมประมาณการได้ 3 แบบจำลอง ดังนี้แบบจำลองที่ 1) Best: 365 วัน หากมี
หญ้าให้โคกินครบทุกวัน จะต้องการปริมาณหญ้า 1,468,563 ตัน หรือพื้นที่ปลูกหญ้า 53,833 ไร่ ยังขาด



ปริมาณหญ้า 991,040 ตนั หรือเพ่ิมพ้นื ที่ปลูกหญา้ 36,328 ไร่ แบบจำลองที่ 2) Scenario 9m. หากมีหญ้าให้
กนิ 270 วนั จะต้องการปริมาณหญา้ 1,086,334 ตนั หรอื พน้ื ทป่ี ลูกหญา้ 39,822 ไร่ ยงั ขาดหญ้า 608,811 ตัน
หรือเพิ่มพื้นที่ปลูกหญ้า 22,317 ไร่ แบบจำลองที่ 3) Scenario 8m หากมีหญ้าให้กิน 240 วัน จะต้องการ
ปริมาณหญ้า 608,811 ตัน หรือพื้นที่ปลูกหญา้ 35,397 ไร่ ยังขาดหญ้า 131,288 ตัน หรือเพิ่มพื้นที่ปลูกหญ้า
4,813 ไร่ ดังนั้น ควรจัดทำแนวทางบริหารจัดการสินค้าทางเลือกเพิ่มพื้นที่หญ้าอาหารสัตว์ในพื้นที่เป้าหมาย
ของพื้นที่ไม่เหมาะสมของข้าว มันสำปะหลัง ควบคู่กับการเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรจากสินค้า
เดิม และพื้นที่เกิดโรคใบด่างมันสำปะหลังสะสม มาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วม
ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและเกษตรกร มเี ปา้ หมายจังหวดั สระแก้วและจันทบุรีเป็น“แหลง่ พืชอาหารสัตว์
ที่เหมาะสมของภาคตะวันออก”เพื่อความมั่นคงด้านอาหารสัตว์ของภาคตะวันออก ตั้งแต่มาตรการ
ปลายทางตลาดนำการผลิต ดังน้ี 1)Business Matching กลุ่มผลิตหญ้าอาหารสัตว์ทำเสบียงอาหารสัตว์
“ผูกปิ่นโต”เกษตรพันธสญั ญากับสหกรณ์โครงการโคบาลบรู พา +สหกรณ์โคนม ตลอดปีเพื่อเชื่อมโยงการเลีย้ ง
โคแบบประณีต Intensiveฟาร์มอย่างยั่งยืน (ปศ.+กสส. และนโยบายรัฐบาล) 2)จัดทำแผนพัฒนาสินค้าหญ้า
อาหารสัตว์ BCG Value Chain เป็นสินค้าเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด(กษ.+พณ.+อก.)
มาตรการกลางทาง 1)สนับสนุนความรู้การรวมกลุ่มส่งเสริมหลักการสหกรณ์ต่อยอดสร้างธุรกิจแปรรูปหญ้า
เนเปียร์ต่อเนือ่ ง (กสส.+ธกส.) 2)ยกระดับเป็นเครือข่ายสหกรณ์แปลงใหญ่ปศสุ ัตวแ์ ละหญ้าอาหารสัตว์สมัยใหม่
ครบวงจรของภาคตะวันออก (ปศ.+ธกส.) 3)จัดทำมาตรฐานการผลิตหญ้าเนเปียร์สำหรับอาหารสัตว์
(ปศ.+มกอช.) มาตรการต้นทาง 1)กำหนดพื้นที่ Zone เหมาะสมใกล้แหล่งเลี้ยงสัตว์หนาแน่น นำ GIS มาใช้
จัดทำระบบฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อประมาณการณ์ผลผลิตอย่างใกล้ชิดและประชาสัมพันธ์แหล่งผลิต
เสบียงอาหารสัตว์ (สศก.+พด.+ปศ.+กสส.+กสก.+AIC) 2)ปรับเพิ่มเงื่อนไขมาตรการค่าชดเชยเป็นมาตรการ
ค่าปรับเปลี่ยนเป็นสินค้าทางเลือกพร้อมมาตรการส่งเสริมท่อนพันธุ์หญ้าและสนับสนุนเครื่องจักรกลทดแทน
แรงงาน+แปรรปู หญา้ เนเปียรเ์ พ่ิมข้นึ (พณ.+ปศ.+กสก.) 3)สรา้ งและพัฒนาแหลง่ น้ำหรือระบบแพร่กระจายน้ำ
ชมุ ชนประหยัดพลงั งานรว่ มกัน (ส.ป.ก.+พด.+ชป.+กรมทรพั ยากรน้ำบาดาล) 4)วจิ ัยและพัฒนานวัตกรรมสูตร
ผสมหญา้ อาหารสตั ว์ใหม่ ๆ โดยนำพืชทอ้ งถนิ่ ทมี่ สี รรพคุณทางยาเปน็ มิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Herb Feed)
เช่น สูตรผสมต้านโควิดลดโลกร้อน กับใบไผ่ บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจรฯลฯ (ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์
สระแก้ว(ศวอ.สก. ปศ.) 5)เสริมองค์ความรู้ปรับทัศนคติการสร้างคุณค่าโภชนะอาหารสัตว์ตลอดกระบวนการ
ตั้งแต่วางแผนการปลูกและแปรรูปหญ้าเชิงธุรกิจ (ศวอ.สก. ปศ.) 6)สร้างแปลงเรียนรู้ต้นแบบการผลิตหญ้า
อาหารสตั วค์ ุณภาพเชิงธรุ กิจเสบยี งอาหารสัตว์และพลงั งานชวี มวล (ปศ.+กสส.+กสก.)

3) โกโก้ สินค้าที่ไม่พียงพอต่อความต้องการของตลาด สร้างมูลค่าเพิ่มได้หลากหลายธุรกิจ จาก
การประมาณการอุปสงค์อุปทานสินค้าในพื้นที่เป้าหมายปี 2563 ในพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัดภาคตะวันออก
นำร่อง ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง ซึ่งมีพื้นที่ปลกู แล้วท่ียังไม่ให้ผลผลิตอีก 1,003.00 ไร่ คิดเป็น
ผลผลิต 1,289.53 ตัน ยังขาดความสมดุลกับความต้องการใช้ จำนวน 22,157.54 – 27,157.54 ตัน ต้องนำเข้า
มาจากนอกภาคตะวันออก จงึ ตอ้ งส่งเสรมิ ใหป้ ลกู โกโก้ประมาณ 16,231.24 – 20,120.26 ไร่ ในพ้นื ท่ีเป้าหมาย
เพราะมีสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำสวนโกโก้ เป็นดินร่วนปนทราย การระบายน้ำค่อนข้างดี และมีฝนตก



กระจายสม่ำเสมอ มีปริมาณน้ำฝน 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี มีความเหมาะสมทางกายภาพ/ภูมิศาสตร์ มี
ศักยภาพทั้งด้านการผลิตและการตลาด สอดคล้องกับสังคมวัฒนธรรมและวิถีชีวิต และสอดคล้องกับนโยบาย
และแผนพัฒนาระดับพื้นที่ รวมทั้งมีโอกาสต่อยอดสร้างธุรกิจแปรรูปโกโก้ต่อเนื่องเพื่อเป็นทางเลือกใน
การปรับเปลี่ยน/ปลูกแซมสวนยางพาราและควรมีการแปรรปู เบ้ืองตน้ ถึงขน้ั สูงได้จะมีโอกาสในส่วนแบ่งรายได้ท่ี
มากขึ้น ส่วนมาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและ
เกษตรกรตั้งแต่มาตรการปลายทางตลาดนำการผลิต ได้แก่ 1)ระดับนโยบายกษ. ใช้กลไกคณะกรรมการ
ความร่วมมอื กษ. กับสภาอตุ สาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) เพือ่ เช่อื มโยงเป็นคลัสเตอรโ์ กโก้ครบวงจร ซ่ึง
มีอุตสาหกรรมที่หลากหลายทั้งอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยารักษาโรค ยาสูบ และน้ำมันโกโก้ (กษ./
ส.อ.ท./พณ.). 2)ระดับพื้นท่ี สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเช่ือมโยงระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่กบั กลุ่ม
เกษตรกรเพื่อทราบถึงปริมาณและคุณภาพมาตรฐานทโี่ รงงานต้องการ (ส.อ.ท.จังหวดั และภาค/สภาหอการค้า/
เกษตรจังหวัด) 3)ส่งเสริมการค้าโกโก้และผลิตภัณฑ์ของไทยในตลาดล่วงหน้าอย่างจริงจัง (พณ.) มาตรการ
กลางทาง 1)ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรให้มีทักษะที่เหมาะสมและจำเป็นทั้งในด้านการผลิต การตลาด
การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และสนับสนุนทุนและเทคนิคการแปรรูปขั้นต้น เช่น วิธีการหมักโกโก้ให้ได้
มาตรฐานเมล็ดโกโก้แห้งเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าซึ่งง่ายต่อการนำไปใช้ เป็นต้น (เกษตรจังหวัด/AIC แปรรูป/ศูนย์
ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 9) 2)สนับสนนุ ทุนวจิ ยั และพัฒนาในการแปรรปู ผลิตภัณฑ์ใหม่และนำนวัตกรรมสร้าง
มูลค่าเพิ่มกับทุกส่วนของโกโก้แบบ (BCG) ทั้งในด้านการสร้างอัตลักษณ์โกโก้ตะวันออกให้หลากหลายได้
มาตรฐานสากลและมีตันทุนการผลิตที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก (สสว./สวก./สหกรณ์จังหวัด/AIC/
พาณิชย์) 3)สนับสนุนกลุ่มเกษตรกร ผู้แปรรูป สหกรณ์ที่มีความสามารถเป็นแหลง่ รับซื้อผลผลิตสด/เมลด็ โกโก้
ใหก้ บั เกษตรกรทปี่ รับเปลี่ยนและสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายได้อยา่ งตอ่ เนื่อง และประชาสมั พันธ์เพื่อกระตุ้น
การขายผลผลติ (สหกรณ์จังหวัด/ส.อ.ท./พาณชิ ย์ sale man) มาตรการต้นทาง 1)ควรวิจัยปรบั ปรุงพันธ์โุ กโก้
พันธุ์ดี เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ให้มีศักยภาพการผลิตเชิงการค้า และให้มีการผลิตต้นกลา้ คุณภาพต้านทานโรค
เพื่อกระจายต้นพันธุ์ดีและถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรท่ีสนใจปรับเปลี่ยน (สถาบันวิจัยพืชสวน) 2)คัดกรองเกษตร
พันธสัญญาของบริษัทเข้ามาส่งเสริมที่มีความเป็นธรรมเพื่อคัดเลือกบริษัท/ผู้ประกอบการที่ควรส่งเสริมให้
เกษตรกรตัดสินใจก่อนปลูก (สป.กษ./กษ.จ./เกษตรจังหวัด) 3)กยท. ควรสนับสนุนทุนและพัฒนาอาชีพอย่าง
ต่อเนื่อง ให้เกษตรกรชาวสวนยางปรับเปลี่ยนมาปลูกโกโก้ร่วมในสวนยางพาราและพื้นที่ว่างเปล่าอย่างถูกวิธี
(กยท.) 4)ควรมีศูนย์เรียนรู้แปลงโกโก้ต้นแบบครบวงจรในระดับพื้นที่ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง
(เกษตรจังหวัด/สวพ.6/พด.)

4) มะพรา้ วน้ำหอม พชื ทางเลือกหรือพชื เสริมรายไดข้ องภาคตะวันออก จากการวเิ คราะห์ดา้ นอุปสงค์
และอุปทานของมะพร้าวน้ำหอมในภาคตะวันออก พบว่าด้านอุปทานสามารถผลิตได้ 30,382 ตัน ในขณะท่ี
ด้านอุปสงค์มีความต้องการใช้หรือการนำไปใช้ประโยชน์มากถึง 43,300 ตัน ซึ่งเป็นการนำไปใช้ภายใน
ภาคตะวันออก และกระจายไปยังตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น ยังขาดความสมดุลกับ
ความต้องการใช้ จำนวน 12,918 ตัน หรือประมาณ 4,300 ไร่ ซึ่งปัจจุบันต้องนำเข้ามะพร้าวน้ำหอมจากนอก
ภาคตะวันออกซึ่งทำให้เกิดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ราคาขายปลีกมะพร้าวน้ำหอมใน



ภาคตะวันออกมีราคาสูงระหว่าง 15-30 บาทต่อผล เพื่อให้เกิดความเพียงพอต่อความต้องการใช้ควรมี
การส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทราและ
สมทุ รปราการควรปลูกมะพร้าวนำ้ หอมเสรมิ ในพืน้ ทหี่ ัวไร่ปลายนาเพื่อใหเ้ ปน็ รายได้เสรมิ นอกเหนือจากรายได้
จากข้าวในพื้นที่ปลูกที่ไม่เหมาะสม จังหวัดชลบุรีและระยองควรปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพื่อเป็นทางเลือกให้
เกษตรกรปรับเปล่ียนจากการปลกู ขา้ วในพ้นื ทป่ี ลูกที่ไมเ่ หมาะสมได้ ส่วนมาตรการส่งเสริมการปรับเปล่ยี นการ
ผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและเกษตรกรตั้งแต่มาตรการปลายทางตลาดนำการผลิต
ได้แก่ 1)จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่ดึงดูดและน่าสนใจการเข้าถึงข้อมูลเรื่องอัตลักษณ์และสัญลักษณ์ GI อย่าง
ทั่วถึง (กสก.) 2)สนับสนุนผู้ส่งออกและกลุ่มเกษตรกรเข้าสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายมะพร้าวน้ำหอมไทยผ่าน
แพลตฟอร์ม e-Commerce เช่น taobao.com และ shopee.com/ แพลตฟอร์มการไลฟ์สดผ่านสื่อ Social
ต่าง ๆ เช่น Facebook Instagram เป็นต้น (พณ. กสก. กษ.จ. และเกษตรจังหวัด) มาตรการกลางทาง
1)ส่งเสริมเครือข่ายการเกษตรแบบแปลงใหญ่สมัยใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต การลดต้นทุน
การพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐาน การบริหารจัดการและการจัดการด้านการตลาด (กษ.จ. + เกษตรจังหวัด)
2)พัฒนารูปแบบสินค้าให้หลากหลาย มีความแตกต่าง หรือบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่น น่าสนใจ เพื่อต่อยอดไปสู่
รายได้ที่เพิ่มขึ้น (พณ.) 3)ส่งเสริมความร่วมมือมือกับเครือข่ายผู้ผลิตผู้ประกอบการส่งออกร่วมยกระดับสร้าง
มาตรฐานทางการค้าสินค้ามะพร้าวน้ำหอมเพื่อการส่งออกที่มีอัตลักษณ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น GMP
ฉลากสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย GI ฉลากสิ่งแวดล้อม: ฉลากลดคาร์บอน ฉลาก Water footprint
(พณ. เกษตรจังหวัด และ สอจ.) มาตรการต้นทาง 1)ควรใหค้ วามรู้และคำแนะนำเกษตรกรตั้งแต่เรื่องการปลูก
การดูแลรักษา การจำกัดโรคและแมลงศัตรูพืชและเกษตรกรต้องติดตามสถานการณ์ด้านการตลาดและหมั่น
ดูแลสวนมะพร้าวเพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชให้ได้ทันท่วงที โดยเฉพาะการจัดการปัญหาศัตรูมะพร้าว
น้ำหอม ไรสี่ขา ด้วงแรด และหนอนหัวดำ เป็นต้น (กษ.จ. + เกษตรจังหวัด) 2)สนับสนุนความรู้การใช้สารเคมี
ควบคู่รักษาคุณภาพมาตรฐานสารตกค้างตั้งแต่ต้นทาง (เกษตรจังหวัด) 3)ส่งเสริมการเข้าสู่มาตรฐานการผลิต
และตรวจสอบย้อนกลับ (GAP/PGS) (มกอช.) 4)พัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ใน
กระบวนการเก็บเกี่ยว เพื่อลดแรงงาน และหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อคงสภาพความสดใหม่ของมะพร้าวน้ำหอม
กอ่ นถึงมือผบู้ รโิ ภค (AIC และมหาวิทยาลัยในพนื้ ที่)

5) มะม่วงน้ำดอกไม้ สินค้าเกษตรทางเลือกของภาคตะวนั ออก สินคา้ คณุ ภาพดี มศี ักยภาพทางการค้า
มีโอกาสเติบโตบนเวทตี ลาดโลก จากการวเิ คราะหข์ ้อมลู สนบั สนุนเกษตรกรปรับเปล่ียนจากพน้ื ท่ีไม่เหมาะสมใน
การปลูกข้าว มันสำปะหลัง ซึ่งมะม่วงน้ำดอกไม้ที่ได้ขึ้นทะเบียนสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย GI มีเฉพาะใน
พื้นที่ภาคตะวันออกเท่านั้น 3 แหล่ง นับเป็นจุดแข็งที่เป็นอัตลักษณ์ควรนำมายกระดับแนวทางพัฒนา รวมท้ัง
ควรยกระดับเป็นแปลงใหญ่มะม่วงสมัยใหม่ 5 แปลงในจังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรีและ
สระแก้ว และควรใช้เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วงตามความเหมาะสมของที่ดินของภาคตะวันออกของ
กรมพฒั นาทด่ี ินท่ีมีพน้ื ท่ีชน้ั ความเหมาะสมรวม (S1+S2) จำนวน 4,221,644 ไร่ ซึง่ ถือว่ามคี วามเหมาะสม
ต่อการปลูกมะม่วงค่อนข้างมาก ดังนั้น ควรยกระดับการพัฒนามะม่วงตามเขตความเหมาะสมและสร้าง
อัตลักษณ์เป็นมาตรฐานทางการค้าของภาคตะวันออก และสอดรับกับแหล่งรับซื้อมะม่วงภาคตะวันออก



กระจายในรัศมี 100 กิโลเมตรจากแหล่งผลิตอยู่ในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของภาคตะวันออก ซึ่งถือว่า
เหมาะสมและสอดคล้องกับแหล่งผลิต แต่ในส่วนพื้นที่เป้าหมายท่ีอำเภอสอยดาวและอำเภอโป่งน้ำร้อน เป็น
แหล่งผลิตที่อยู่ในเขตความเหมาะสมสูง (S1) ที่ยังไม่มีผู้ประกอบรวบรวมในพื้นที่ต้องพึ่งพาการขายผ่าน
เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสระแก้วจึงควรส่งเสริมรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่เพื่อเชื่อมโยงตลาดให้มี
การแข่งขนั ทางการตลาดมากขน้ึ จากการประมาณการอุปสงค์-อุปทาน มะม่วงนำ้ ดอกไม้ของภาคตะวันออก
มีพื้นที่เป้าหมายที่เหมาะสมควรส่งเสริมสินค้าทางเลือกมะม่วงได้แก่ จังหวัดสระแก้ว ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี สมุทรปราการ และอำเภอสอยดาว และอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ซึ่งสามารถประมาณ
การอุปสงค์และอุปทานมะม่วงน้ำดอกไม้ภาคตะวันออกอยู่ที่ 70,000 ตัน ซึ่งมีความสมดุลสอดรับกับตลาด
แต่ด้วยภาวะวิกฤตโควิด-19 มะม่วงส่งออกได้รับผลกระทบในการขนส่ง ดังนั้นควรพึ่งพาตลาดในประเทศ ลด
ต้นทุนค่าขนส่ง ควรยกระดับมาตรฐานคุณภาพจากเกรดในประเทศเป็นเกรด GI เพิ่มสัดส่วนสินค้าอัตลักษณ์อีก
ร้อยละ 10 หรือประมาณ 7,000 ตัน หรือ 7,000 ไร่ ซึ่งมีโอกาสทางการตลาดสะท้อนอัตลักษณ์สินค้าบ่งชี้ทาง
ภูมิศาสตรไ์ ทย มะมว่ งน้ำดอกไม้ของฝากพรีเมยี มจากภาคตะวันออกที่มีเพียงภาคเดียวของไทย โดยใช้จุดแข็งของ
มาตรฐานคุณภาพ (Standard) และสะท้อนจุดเด่นด้วยเรื่องราว (story) เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนมะม่วงได้รับ
ราคาที่สูงขึ้น และผู้บริโภคในประเทศได้บริโภคสินค้าที่มีมาตรฐานและภาคภูมิใจในการสนับสนุนสินค้าที่มี
ลักษณะเฉพาะมีอัตลักษณ์ของผลไม้ไทย สำหรับมาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วม
ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและเกษตรกร สอดรับการขับเคลื่อน Roadmap แผนปฏิบัติการพัฒนาผลไม้ไทย
ปี 2565-2570 ใน 5 ปีข้างหน้า และตามนโยบายตลาดนำการผลิต ควรมีเป้าหมาย ยกระดับการพัฒนา
มะม่วงภาคตะวันออกตามเขตความเหมาะสมสร้างอัตลักษณ์สู่มาตรฐานทางการค้าในเวทีนานาชาติ ดังนี้
มาตรการปลายทางตลาดนำการผลิต 1)พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดไม้ผลด้วย
เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2)เพิ่มเจรจาสิทธิประโยชนท์ างการค้าลดภาษนี ำเขา้ มะมว่ งไทย 3)เร่งประชาสัมพนั ธ์
Story อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ GI เสมือนมาตรฐานเครื่องหมายทางการค้า 4)จัดทำแผนพัฒนาสินค้ามะม่วง
BCG Value Chain เป็นสินค้าเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด (กษ./พณ./อก./ทท.) 5)Business
Planning and Matching ส่งเสริมความร่วมมือวางแผนการตลาดและทำตลาดล่วงหน้า Pre Order
6)สนับสนุนผู้ส่งออกและกลุ่มเกษตรกรเข้าสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายมะม่วงไทยผ่านแพลตฟอร์ม
e-Commerce เช่น taobao.com และ shopee.com/ แพลตฟอรม์ การไลฟ์สด (Live Streaming) มาตรการ
กลางทางประสานการผลิตสู่การตลาด 1)ส่งเสริมเครือข่ายการเกษตรแบบแปลงใหญ่มะม่วงสมัยใหม่
2)พัฒนาระบบโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็น (Cold Chain) โดยเฉพาะห้องเย็นชะลอความสุกช่วยบริหารจัดการ
ลดความเสี่ยงช่วงกระจุกตัวและรักษาความสดเพิ่มคุณภาพผลผลิต และห้องบ่มมะม่วงที่ใช้เทคโนโลยีการบ่ม
รูปแบบใหม่ด้วยความเย็นพร้อมปล่อยแก๊สเอทิลีน ช่วยให้มะม่วงสุกสม่ำเสมอ 3)พัฒนาแปรรูปมะม่วงเป็น
อาหารอนาคต (Future Food) 4)พัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ยืดอายุและเพื่อปรับตามรูปแบบการขนส่ง
ทุกเสน้ ทางโดยเฉพาะทางรางท่ีมีการพัฒนาเชื่อมโยงกับไทย-ลาว-เสน้ ทางสายไหมของจีนสูต่ ะวนั ออกกลางและ
ยุโรป 5)ส่งเสริมความร่วมมือกับเครือข่ายผู้ผลิตผู้ประกอบการส่งออกร่วมยกระดับสร้างมาตรฐานทางการค้า
สินคา้ มะมว่ งเพือ่ การส่งออกที่มีอัตลักษณ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น GMP ฉลากสินค้าบง่ ชที้ างภูมิศาสตร์ไทย



GI ฉลากสิ่งแวดล้อม: ฉลากลดคาร์บอน ฉลาก water footprint มาตรการต้นทางการผลิตรักษามาตรฐาน
1)ส่งเสริมการผลิตตามเขตความเหมาะสม (Zoning) สอดคล้องตามฤดูกาลควบคู่การอนุรักษ์ดินและน้ำใน
ระดับพื้นที่โดยใช้มาตรการจูงใจทางเศรษฐศาสตร์และไม่ใช่ทางเศรษฐศาสตร์ 2)ปรับเขตกรรมการสร้างสวน
มะม่วงแบบเกื้อกูลเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3)พัฒนาพันธ์ุเพิ่ม
ความหลากหลายสายพันธุ์มะม่วงเพื่อบริหารความเสี่ยงตามความต้องการแต่ละตลาด 4)พัฒนาการจัดการ
ปัญหาดว้ งเจาะเมลด็ มะม่วงตลอดวงจรชวี ิตดว้ ยเทคโนโลยีการเกษตรแม่นยำ 5)สนับสนุนความรูก้ ารใช้สารเคมี
ควบคู่รักษาคุณภาพมาตรฐานสารตกค้างตั้งแต่ต้นทาง 6)ส่งเสริมการเข้าสู่มาตรฐานการผลิต+ตรวจสอบ
ยอ้ นกลับ (GAP/PGS) 7)จัดทําฐานข้อมูล Big Data มะม่วงใหเ้ ชอื่ มโยงกัน

6) กงุ้ กา้ มกราม เป็นสินค้าท่เี หมาะสมกับศักยภาพของพนื้ ที่ จุดแขง็ ของการเลยี้ งกุ้งก้ามกรามร่วมกับ
กุ้งขาวจะช่วยลดต้นทุนเรื่องอาหาร สามารถทำรายได้ 2 ทางในบ่อเดียวกัน เป็นแนวทางช่วยให้เกษตรกรมี
รายได้ที่เพิ่มขึ้น จากการวิเคราะห์ถึงอุปสงค์อุปทานกุ้งก้ามกรามใน 5 จังหวัดนำร่อง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี ชลบุรี นครนายก และสมุทรปราการ ประมาณการผลผลิต 2,828 ตัน และมีความต้องการรับซ้ือ
ผลผลิตปริมาณ 2,952 – 4,428 ตัน โดยการนำไปใช้ภายในภาคตะวันออก และการส่งออกไปตลาดทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น ผลผลิตกุ้งก้ามกรามของภาคตะวันออก ยังขาดความสมดุลกับความต้องการใช้
ประมาณ 124 – 1,600 ตัน ควรส่งเสริมให้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามประมาณ 714 - 9,217 ไร่ ในพื้นที่นำร่อง
5 จังหวดั ภาคตะวันออก หากสถานการณก์ ารระบาดของโรคอบุ ัตใิ หม่คล่ีคลายมากข้ึน สภาวะเศรษฐกจิ กลับมา
เป็นปกติ เปิดการท่องเที่ยว จะทำให้ความต้องการรกุ้งก้ามกรามมากขึ้น และส่งผลให้ราคาดีขึ้น สำหรับ
มาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและเกษตรกรดังนี้
มาตรการปลายทาง 1)ระดับนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรภายใต้
โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพือ่ เพม่ิ ประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน รวมถึงการเชื่อมโยง
สินค้าสู่ตลาด (กษ.+ประมง+พณ.) 2)ระดับพื้นที่สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างร้านอาหาร/
โรงแรม/ ภัตตาคารในพื้นที่กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อทราบถึงปริมาณและคุณภาพมาตรฐานและขนาดที่ต้องการ
(สภาหอการค้า+ประมง) 3)ส่งเสริมการค้ากุ้งก้ามกรามของไทยในตลาดออนไลน์ (พณ.) มาตรการกลางทาง
1)ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรให้มีทักษะที่เหมาะสมและจำเป็นทั้งในด้านการผลิต การตลาด การจัดการ
(ประมงจงั หวัด+AIC) 2)สนับสนุนทนุ วจิ ยั และพัฒนาเทคโนโลยีและนวตั กรรมในการเพาะเล้ียงกุ้งก้ามกรามให้
มีความทันสมัยมีประสิทธิภาพสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งพัฒนารูปแบบผลิตภณั ฑ์กุ้งก้ามกรามให้มี
ความหลากหลาย หรือพัฒนาเทคโนโลยีในการขนส่งหรือบรรจุภัณฑ์กุ้งมีชีวิต เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต (ประมง
จังหวัด+สสว.+สวก.+AIC+พาณิชย์) 3)สนับสนุนกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ที่มีความสามารถเป็นแหล่งรับซื้อ
ผลผลิตให้กับเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนและสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายได้อย่างต่อเน่ือง และประชาสัมพันธ์เพ่ือ
กระตุน้ การขายผลผลติ (สหกรณ์จังหวดั +ส.อ.ท.+พาณิชย์ sale man) มาตรการตน้ ทาง 1)ควรพัฒนาสายพันธ์ุ
กุง้ กา้ มกรามให้มคี ุณภาพดี เพ่ือให้มอี ตั รารอดสูงและโตเรว็ 2)ส่งเสริมการเลีย้ งกงุ้ ก้ามกรามโดยใช้ลูกพันธุ์ขนาด
200-300 ตัว/กก. ทำให้กุง้ มอี ตั รารอดสงู ขึ้นและใช้เวลาเล้ยี งน้อยลง 3)พฒั นาเทคนิควิธีการคัดแยกเพศลูกพันธุ์
กุ้งก้ามกรามหรอื ให้มีสัดสว่ นกุง้ เพศผมู้ ากข้ึนเพ่ือเพิม่ ประสิทธผิ ลในการเลีย้ ง (ประมงจงั หวดั )



คำนำ

รฐั บาลไดม้ อบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดแนวทางในการบริหารจัดการสนิ ค้าเกษตร
เพื่อใหส้ อดรบั กบั สถานการณ์ท่ีปรับเปลีย่ นโดยมุ่งเนน้ การบริหารจัดการการผลิตท่ีมีประสิทธภิ าพสอดคล้องกับ
ดา้ นการตลาด อปุ สงค์ และอุปทาน และให้เหมาะสมกบั ศกั ยภาพของพน้ื ท่ีเพ่ือให้เกิดประสิทธิภาพสงู สุด

โครงการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรจึงเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญของกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ได้ทำการวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจสินค้าเกษตร
ทางเลือกเชิงลึกระดับภาคที่สอดรับทัง้ ด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านภูมิสังคมวัฒนธรรมเพื่อเป็นสินคา้
ทางเลือกที่มีอนาคตไปใช้ปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม
แผนที่ Agri-Map และเป็นแนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตาม
แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อกำหนดเป็นเขต
บรหิ ารจัดการสินคา้ เกษตรที่เหมาะสมในพื้นท่ี และสรปุ เป็นแนวทางในการบรหิ ารจัดการดงั กลา่ ว

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ขอขอบคุณความร่วมมือจากกองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ระยอง สำนักวิจัยและพัฒนา
การเกษตรเขตที่ 6 ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สระแก้ว สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด สำนักงานเกษตรและ
สหกรณ์จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานประมงจังหวัด สำนักงานสหกรณ์
จังหวัด การยางแห่งประเทศไทยจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สภาเกษตรกร
จังหวัด สภาอุสาหกรรมจังหวัดและภาคตะวันออก และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ประกอบการ
เกษตรกรใน 9 จงั หวัดภาคตะวันออก ทอ่ี นเุ คราะหข์ อ้ มูลและให้ขอ้ คดิ เห็นทเ่ี ปน็ ประโยชน์ในการจดั ทำแนวทาง
บริหารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการ
เชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อใช้ขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคเกษตร
ระดับพน้ื ท่ี สุดท้ายนีส้ ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรท่ี 6 หวงั เป็นอย่างยิ่งวา่ การศึกษาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์
กบั ผ้ทู เ่ี ก่ียวข้องจะได้นำไปใชป้ ระโยชน์ต่อไป

สว่ นแผนพัฒนาเขตเศรษฐกจิ การเกษตร
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรท่ี 6
กันยายน 2564



ญ หนา้

สารบัญ ฌ

บทสรุปผู้บริหาร ฏ
คำนำ ฐ
สารบัญ ฑ
สารบญั ตาราง
สารบญั ตารางผนวก 1
สารบญั ภาพ 2
บทที่ 1 บทนำ 2
2
1.1 ความสำคญั ของการศึกษา 3
1.2 วตั ถุประสงค์ของการศึกษา
1.3 ขอบเขตการศกึ ษา 5
1.4 วธิ กี ารศกึ ษา 14
1.5 ประโยชน์ทค่ี าดวา่ จะได้รับ
24
บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคดิ ทฤษฎี 32
34
2.1 การตรวจเอกสาร 34
2.2 แนวคิดทฤษฎี 37

บทท่ี 3 ขอ้ มูลพน้ื ฐาน 55
83
3.1 ขอ้ มลู ด้านกายภาพ 85
3.2 ขอ้ มูลด้านเศรษฐกิจ
3.3 จำนวนครัวเรอื นเกษตรกร
3.4 ข้อมลู ดา้ นทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อม
3.5 แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณร์ ะดับจงั หวัด
บทที่ 4 ผลการศกึ ษา
4.1 ภาพรวมศกั ยภาพพืน้ ทต่ี ามความเหมาะสมและแหล่งรับซื้อของสินคา้ เกษตรสำคญั

ระดบั จงั หวัด ของภาคตะวันออก
4.2 ต้นทนุ การผลิตและผลตอบแทนของสนิ คา้ สำคญั ที่มีมูลคา่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมสงู
4.3 การวิเคราะหด์ ้านเศรษฐกจิ สนิ ค้าเกษตรทางเลือกเชิงลึกของภาคตะวนั ออก



สารบัญ (ต่อ)

บทท่ี 5 สรุปและข้อเสนอแนะ หนา้
5.1 สรุป
5.2 ขอ้ เสนอแนะ 185
201
บรรณานุกรม 204
ภาคผนวก 208



สารบญั ตาราง

ตารางท่ี หนา้

3.1 ผลติ ภัณฑม์ วลรวม ปี พ.ศ. 2562 (ลา้ นบาท) 32
4.1 พน้ื ทเ่ี พาะปลูกในชัน้ ความเหมาะสมต่าง ๆ ของสนิ ค้าข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา 56
4.2 ตน้ ทนุ การผลติ สินคา้ เกษตรหลักเพอ่ื ใชเ้ ปรยี บเทียบกับสินคา้ เกษตรทางเลือก 84
4.3 ตน้ ทนุ การผลิตสนิ คา้ สำคญั ขา้ วนาปี ข้าวนาปรงั ยางพารา และมันสำปะหลัง ปี 2563 87
4.4 ตน้ ทนุ การผลติ ไผ่สนิ ค้าทางเลอื กปี 2563 88
4.5 แหล่งรับซ้ือผลผลติ ของภาคตะวันออก ในปี 2563 93
4.6 เปรยี บเทยี บตน้ ทุนและผลตอบแทนการผลิตสินค้าสำคัญกบั หญ้าเนเปียรส์ นิ คา้ ทางเลอื ก
102
ปี 2563 109
4.7 แหล่งรับซ้ือผลผลิตหญา้ เนเปยี รข์ องพ้นื ที่นำร่องเป้าหมายในภาคตะวันออก 113
4.8 พนื้ ท่ีปลูกมนั สำปะหลังไมเ่ หมาะสมของอำเภอเปา้ หมายในจงั หวดั สระแกว้ และจนั ทบรุ ี 115
4.9 พ้ืนที่ปลูกขา้ วไม่เหมาะสมของอำเภอเปา้ หมายในจังหวัดสระแก้ว 121
4.10 ต้นทนุ การผลติ สนิ ค้าสำคัญกับยางพารากับโกโกส้ ินค้าทางเลอื กปี 2563
4.11 แหลง่ รับซ้ือผลผลิตของภาคตะวันออก (3 จงั หวัดนำรอ่ ง) ในปี 2563 125
130
และแนวโนม้ ปี 2565 136
4.12 ระยะเวลาการใส่ปุ๋ย 139
4.13 ต้นทนุ การผลิตสนิ คา้ สำคัญขา้ วและมะพร้าวนำ้ หอมสินคา้ ทางเลือกปี 2563
4.14 แหล่งรบั ซ้ือผลผลติ มะพรา้ วนำ้ หอมทสี่ ำคัญของภาคตะวันออก ในปี 2563 155
4.15 การเปรยี บเทยี บตน้ ทุนและผลตอบแทนการผลิตสินค้าสำคญั กบั มะมว่ งน้ำดอกไม้ 161
169
สินคา้ ทางเลือก ปี 2563 172
4.16 แหล่งรบั ซอื้ ผลผลติ ของพื้นท่ีนำร่องเป้าหมายในภาคตะวันออก 173
4.17 ตน้ ทนุ การผลติ สินค้าสำคัญกบั ขา้ วกบั กุ้งกา้ มกรามสนิ ค้าทางเลือกปี 2563
4.18 ราคากงุ้ ก้ามกรามมชี วี ิตขายสง่ เฉล่ยี ณ ตลาดไท ปี 2563 - 2564 (ม.ค - ม.ิ ย.)
4.19 แหลง่ รับซื้อผลผลติ ของภาคตะวนั ออก

สารบัญตารางผนวก หนา้
210
ตารางผนวกท่ี
1 แหลง่ รบั ซ้อื ผลผลิตก้งุ ก้ามกรามภาคตะวนั ออก



สารบัญภาพ

ภาพท่ี หน้า

2.1 ข้อมลู และปัจจัยท่คี วรพิจารณาในกรอบแนวคดิ

Zoning = Area + Commodity + Human Resource 19

2.2 กรอบแนวคิดหว่ งโซค่ ณุ ค่า (value chain) การผลติ สินค้าเกษตร 21

2.3 โจทย์สำคญั ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการเพ่มิ ประสทิ ธิภาพบริหารจดั การ

ห่วงโซค่ ณุ ค่าการผลิตสินคา้ เกษตร 22

4.1 แผนทแ่ี สดงการเพาะปลกู ข้าวตามชน้ั ความเหมาะสมและแสดงจุดแหล่งรับซ้ือขา้ ว

จงั หวดั นครนายก 58

4.2 แผนที่แสดงการเพาะปลกู ขา้ วตามชั้นความเหมาะสมและแสดงจุดแหล่งรบั ซอ้ื ข้าว

จังหวัดปราจนี บุรี 59

4.3 แผนท่แี สดงการเพาะปลูกขา้ วตามชน้ั ความเหมาะสมและแสดงจุดแหล่งรบั ซ้ือขา้ ว

จังหวัดฉะเชงิ เทรา 60

4.4 แผนท่ีแสดงการเพาะปลูกข้าวตามช้ันความเหมาะสมและแสดงจดุ แหล่งรับซ้ือข้าว

จังหวัดสมุทรปราการ 61

4.5 แผนทแ่ี สดงการเพาะปลกู ข้าวตามชนั้ ความเหมาะสมและแสดงจุดแหลง่ รบั ซือ้ ขา้ ว

จังหวัดสระแกว้ 62

4.6 แผนท่แี สดงการเพาะปลกู ขา้ วตามชั้นความเหมาะสมและแสดงจุดแหลง่ รับซอ้ื ข้าว

จงั หวัดชลบรุ ี 63

4.7 แผนทแ่ี สดงการเพาะปลกู ขา้ วตามชัน้ ความเหมาะสมและแสดงจุดแหล่งรับซ้ือข้าว

จงั หวดั ระยอง 64

4.8 แผนที่แสดงการเพาะปลูกขา้ วตามชน้ั ความเหมาะสมและแสดงจดุ แหลง่ รับซื้อขา้ ว

จงั หวดั จันทบุรี 65

4.9 แผนที่แสดงการเพาะปลูกข้าวตามชน้ั ความเหมาะสมและแสดงจุดแหลง่ รับซอ้ื ขา้ ว

จังหวัดตราด 66

4.10 แผนท่ีแสดงการเพาะปลูกมันสำปะหลังตามชั้นความเหมาะสมและแสดงจุดแหลง่ รบั ซอ้ื

มนั สำปะหลังจังหวดั นครนายก 67

4.11 แผนทแี่ สดงการเพาะปลูกมนั สำปะหลงั ตามชั้นความเหมาะสมและแสดงจุดแหลง่ รับซอ้ื

มันสำปะหลังจังหวดั ปราจนี บุรี 68

4.12 แผนทีแ่ สดงการเพาะปลกู มนั สำปะหลังตามชั้นความเหมาะสมและแสดงจดุ แหลง่ รบั ซื้อ

มันสำปะหลงั จังหวัดฉะเชิงเทรา 69



สารบัญภาพ (ต่อ)

ภาพที่ หนา้

4.13 แผนทแ่ี สดงการเพาะปลูกมนั สำปะหลังตามชน้ั ความเหมาะสมและแสดงจุดแหลง่ รับซ้ือ

มันสำปะหลังจงั หวดั สระแก้ว 70

4.14 แผนทีแ่ สดงการเพาะปลูกมันสำปะหลังตามชนั้ ความเหมาะสมและแสดงจดุ แหลง่ รบั ซอ้ื

มนั สำปะหลังจังหวัดชลบุรี 71

4.15 แผนทีแ่ สดงการเพาะปลูกมันสำปะหลังตามช้ันความเหมาะสมและแสดงจุดแหลง่ รบั ซือ้

มนั สำปะหลังจังหวดั ระยอง 72

4.16 แผนท่แี สดงการเพาะปลกู มนั สำปะหลังตามช้ันความเหมาะสมและแสดงจดุ แหลง่ รับซื้อ

มันสำปะหลงั จงั หวดั จันทบุรี 73

4.17 แผนทแ่ี สดงการเพาะปลกู มนั สำปะหลงั ตามช้ันความเหมาะสมจงั หวัดตราด 74

4.18 แผนทแ่ี สดงการเพาะปลูกยางพาราตามชนั้ ความเหมาะสมและแสดงจดุ แหล่งรบั ซื้อ

ยางพาราจงั หวัดนครนายก 75

4.19 แผนทแ่ี สดงการเพาะปลกู ยางพาราตามชั้นความเหมาะสมและแสดงจุดแหลง่ รบั ซ้ือ

ยางพาราจงั หวดั ปราจนี บรุ ี 76

4.20 แผนที่แสดงการเพาะปลูกยางพาราตามชั้นความเหมาะสมและแสดงจดุ แหล่งรบั ซ้ือ

ยางพาราจงั หวัดฉะเชิงเทรา 77

4.21 แผนทแ่ี สดงการเพาะปลกู ยางพาราตามชน้ั ความเหมาะสมและแสดงจุดแหลง่ รับซ้ือ

ยางพาราจังหวดั สระแกว้ 78

4.22 แผนที่แสดงการเพาะปลกู ยางพาราตามชน้ั ความเหมาะสมและแสดงจุดแหล่งรับซื้อ

ยางพาราจังหวัดชลบุรี 79

4.23 แผนที่แสดงการเพาะปลกู ยางพาราตามชนั้ ความเหมาะสมและแสดงจดุ แหลง่ รับซ้ือ

ยางพาราจงั หวัดระยอง 80

4.24 แผนที่แสดงการเพาะปลกู ยางพาราตามช้นั ความเหมาะสมและแสดงจุดแหลง่ รบั ซ้ือ

ยางพาราจงั หวัดจันทบุรี 81

4.25 แผนที่แสดงการเพาะปลูกยางพาราตามชั้นความเหมาะสมและแสดงจดุ แหลง่ รับซ้ือ

ยางพาราจังหวัดตราด 82

4.26 วิถีการตลาดไผ่ (หน่อ) ภาคตะวนั ออกปี 2563 89

4.27 วิถกี ารตลาดไผ่ (ลำ) ภาคตะวันออกปี 2563 90

4.28 วถิ ีการตลาดไผ่ (ก่งิ พันธุ์) ภาคตะวันออกปี 2563 91

4.29 การประมาณการอุปสงคอ์ ปุ ทานไผ่ในพ้ืนท่ีเปา้ หมายของภาคตะวันออก 95

4.30 วถิ ีการตลาดหญ้าเนเปียรข์ องจังหวัดสระแกว้ และจันทบุรี 104



สารบญั ภาพ (ตอ่ )

ภาพที่ หนา้

4.31 เสบยี งอาหารสัตว์โครงการโคบาลบรู พา 105
4.32 ข้อมูลเกษตรกรผู้ผลิตพชื อาหารสตั วจ์ ำหนา่ ย ปีงบประมาณ 2564 106
4.33 เกษตรกรผูผ้ ลิตหญ้าเนเปยี ร์ปากช่อง 1 และเนเปยี รแ์ คระเพ่อื จำหน่าย 107
4.34 พนื้ ที่ผลติ หญา้ เนเปยี ร์ปากช่อง 1 และเนเปียร์แคระเพื่อจำหนา่ ย 107
4.35 การประมาณการอุปสงค์อุปทานและพืน้ ท่ีเปา้ หมายการพัฒนาหญา้ เนเปยี ร์
111
ภาคตะวันออก 112
4.36 พื้นที่แหล่งเกดิ โรคใบด่างระบาดสะสม ภาคตะวนั ออก
4.37 ปรมิ าณและมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกจิ ของโรคใบดา่ งมันสำปะหลัง 112
114
ในพน้ื ทส่ี งู สุด 10 จงั หวัด 114
4.38 พ้ืนทเ่ี ป้าหมายปลูกมนั สำปะหลังบนชน้ั ความไม่เหมาะสมจังหวดั สระแกว้ 115
4.39 พน้ื ทเี่ ปา้ หมายปลูกมันสำปะหลงั บนช้ันความไมเ่ หมาะสมจงั หวัดจันทบุรี 122
4.40 พื้นที่เป้าหมายปลกู ขา้ วบนช้นั ความไม่เหมาะสมจงั หวดั สระแก้ว 122
4.41 โครงสร้างตลาดโกโก้ 123
4.42 ลักษณะการขายผลผลิตโกโก้ปี 2563 127
4.43 วถิ ีการตลาดโกโกภ้ าคตะวันออกปี 2563 134
4.44 การประมาณการอุปสงคอ์ ุปทานโกโกใ้ นพื้นที่เปา้ หมายของภาคตะวนั ออก 137
4.45 สว่ นแบ่งรายไดข้ องชอ็ คโกแลตหนึง่ แท่ง
4.46 วถิ ีการตลาดมะพรา้ วน้ำหอมภาคตะวนั ออกปี 2563 140
4.47 การประมาณการอุปสงค์ อุปทาน ของมะพรา้ วนำ้ หอมในพืน้ ที่เปา้ หมาย 141
142
ของภาคตะวนั ออก 143
4.48 พื้นทเ่ี ปา้ หมายเพ่ือปรบั เปลี่ยนพื้นทป่ี ลกู ข้าวบนชั้นความเหมาะสมจงั หวัดฉะเชงิ เทรา 143
4.49 แผนที่แสดงพ้ืนที่ปลูกมะพร้าวบนชัน้ ความเหมาะสมจงั หวัดฉะเชิงเทรา 144
4.50 พื้นทเี่ ป้าหมายเพ่ือปรับเปลย่ี นพื้นท่ปี ลกู ข้าวบนชนั้ ความเหมาะสมจังหวดั ชลบรุ ี 145
4.51 แผนทีแ่ สดงพ้ืนทป่ี ลูกมะพร้าวบนชัน้ ความเหมาะสมจังหวัดชลบุรี 146
4.52 พื้นท่ีเป้าหมายเพ่ือปรบั เปล่ียนพื้นท่ีปลกู ขา้ วบนชน้ั ความเหมาะสมจังหวดั ระยอง 146
4.53 แผนท่ีแสดงพน้ื ท่ีปลูกมะพรา้ วบนชน้ั ความเหมาะสมจังหวัดระยอง
4.54 แผนทแี่ สดงพื้นท่ปี ลูกข้าวบนช้ันความเหมาะสมจังหวดั สมุทรปราการ
4.55 แผนทีแ่ สดงพื้นทป่ี ลูกมะพรา้ วบนช้นั ความเหมาะสมจงั หวัดสมุทรปราการ

ด หนา้

สารบญั ภาพ (ตอ่ ) 149
156
ภาพท่ี 157
159
4.56 ระยะปลูกมะพรา้ วแบบสี่เหล่ียมจัตรุ ัส (ก) และ ระยะปลูกมะพร้าวแบบสามเหลี่ยม
ด้านเท่า (ข) 162
170
4.57 สัดสว่ นการขายผลผลิตมะม่วงภาคตะวันออก 171
4.58 วถิ กี ารตลาดมะมว่ งน้ำดอกไม้ของภาคตะวนั ออก ปี 2563 173
4.59 แผนท่คี วามเหมาะสมของทด่ี ินสำหรับพชื เศรษฐกจิ มะมว่ ง ภาคตะวนั ออก
4.60 การประมาณการอุปสงค์อุปทานและพนื้ ทเ่ี ป้าหมายการพฒั นามะม่วงนำ้ ดอกไม้

ภาคตะวนั ออก
4.61 ผู้มีส่วนได้สว่ นเสียในอุตสาหกรรมก้งุ กา้ มกราม
4.62 วิถกี ารตลาดก้งุ ก้ามกรามภาคตะวนั ออกปี 2563
4.63 การประมาณการอุปสงค์อปุ ทานกงุ้ ก้ามกรามในพ้ืนทเ่ี ป้าหมายของภาคตะวันออก

บทที่ 1

บทนำ

1.1 ความสำคัญของการศึกษา
การขบั เคลื่อนนโยบายการบริหารจดั การการผลติ สนิ ค้าเกษตรตามแผนทเ่ี กษตรเพื่อการบริหารจัดการ

เชงิ รกุ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการมาอยา่ งต่อเนื่อง และถอื เปน็ นโยบายสำคญั ในการพัฒนาและ
แก้ไขปัญหาด้านการเกษตรของประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์จากที่ดนิ ให้เกิดประสิทธิภาพ ปรับสมดุลของอุปสงค์
(Demand) และอุปทาน (Supply) ของสินค้าเกษตรในพื้นที่ และได้ประกาศเขตเหมาะสมต่อการปลูกพืช
ปศุสัตว์ และประมงแล้ว จำนวน 20 ชนิดสินค้า ประกอบด้วย พืช 13 ชนดิ ปศสุ ตั ว์ 5 ชนิด และประมง 2 ชนิด
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำการผลิตหรือส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรที่เหมาะสม ซึ่งต้อง
พิจารณาความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของพื้นที่ (Area) ชนิดสินค้า (Commodities) เกษตรกร รวมถึง
ผู้ประกอบการ/โรงงาน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ (Human Resource) โดยใช้ข้อมูลด้านเศรษฐกิจสำหรับเป็น
ฐานข้อมูลของสินค้าสำคัญและสินค้าทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) เพื่อกำหนดพื้นที่เพาะปลูกที่
เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เช่น ข้อมูลราคาสินค้าเกษตร ต้นทุนและผลตอบแทน ความ
ต้องการของอุตสาหกรรมเกษตรทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมาตรฐาน เป็นต้น ซึ่งการจัดทำแนวทางการ
บริหารจัดการที่ดินให้เกิดประโยชน์สอดคล้องกับศักยภาพและผลตอบแทนที่เหมาะสม ต้องพัฒนาอย่างเป็น
ระบบตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ
สินค้าเกษตรโดยมีเป้าหมายใช้ประโยชน์ที่ดินเต็มศักยภาพ ตอบสนองตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างความ
ม่ันคงทางรายได้

ปี 2563 ที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรท่ี 1-12 ในฐานะหน่วยงานดำเนินการโครงการ
บริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Zoning by Agri-Map)
ในระดับพื้นที่ได้เล็งเห็นว่าแต่ละจังหวัดยังมีการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญอีกหลายชนิดที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ
เท่าที่ควร เนื่องจากปริมาณของผลผลิตไม่สมดุลกับปริมาณความต้องการของตลาด รวมทั้งมีการเพาะปลูกพืชใน
พื้นที่ที่มีความเหมาะสมน้อย และไม่เหมาะสม ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิต จึงได้สร้างฐานข้อมูลระดับจังหวัด
ด้านเศรษฐกิจสำหรับการจัดสรรพื้นที่ปลูกให้เกิดความเหมาะสมของสินค้าเกษตรที่สำคัญทางเศรษฐกิจ จำนวน
7 ชนดิ สนิ คา้ ไดแ้ ก่ ขา้ ว ขา้ วโพดเลี้ยงสตั ว์ มันสำปะหลงั โรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สับปะรด และมะพร้าว
และศึกษาสินค้าหรือกิจกรรมทางเลือกทดแทนเพื่อสำหรับการปรับเปลี่ยนสินค้าเกษตรที่สำคัญทางเศรษฐกิจตาม
ความเหมาะสมของพื้นท่ีเป็นรายจังหวัด ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ดำเนินการศึกษาปรับเปลี่ยนใน
สนิ ค้าเกษตรที่สำคัญทางเศรษฐกิจทีส่ ร้างมูลค่าสงู ของแตล่ ะจังหวัดซึ่งส่วนใหญ่เป็นสนิ ค้ายางพาราและข้าว

สำหรับการศึกษาปี 2564 ครั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ได้จัดทำโครงการบริหารจัดการ
การผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) โดยเน้นศึกษาสินค้าเกษตร

2

ทางเลือกเชงิ ลึกระดับภาคเพ่ือกำหนดแนวทางบรหิ ารจดั การสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops)
ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นท่ีภาคตะวันออก ซึ่งเป็นการสร้าง
ฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจของสินค้าเกษตรทางเลือกสำหรับการจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกให้เกิดความเหมาะสมของ
สินค้าเกษตรที่สำคัญทางเศรษฐกิจ จำนวน 3 ชนิดสินค้าสำคัญของภาคตะวันออกได้แก่ ยางพารา ข้าว มัน
สำปะหลังโรงงาน ท่ีไมเ่ หมาะสมรวมท้ังประสบปัญหาภัยพิบัติซ้ำซาก เกิดโรคระบาดสะสม เพ่อื จัดทำข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบาย มาตรการและแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่และสินค้าเกษตรทางเลือกแต่ละชนิดให้สอดคล้อง
เหมาะสมกับฐานทรัพยากรของประเทศเพื่อเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับ ภาค
ตะวนั ออก ต่อไป
1.2 วัตถปุ ระสงค์ของการศึกษา

1.2.1 เพื่อศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจของสินค้าเกษตรทางเลือกเชิงลึกระดับภาคตามความเหมาะสม
ของพนื้ ทใ่ี นการปรับเปลีย่ น/ผสมผสาน

1.2.2 เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มาตรการและแนวทางบรหิ ารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือก
ที่มีอนาคตและสินค้าเกษตรแตล่ ะชนดิ ให้สอดคล้องเหมาะสมกบั ฐานทรัพยากรตามความเหมาะสมของพ้นื ที่
1.3 ขอบเขตการศึกษา

สินค้าเกษตรทางเลือกเชิงลึกระดับภาคตามความเหมาะสมของพื้นที่ในปีเพาะปลูก 2563/64 เพื่อ
ปรบั เปล่ียน/ผสมผสานในสนิ คา้ เกษตรท่ีสำคญั ของภาคตะวันออกไดแ้ ก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลังโรงงาน ซง่ึ
ภาคตะวันออกครอบคลุมทั้ง 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี
นครนายก ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ
1.4 วิธกี ารศึกษา

1.4.1 การรวบรวมข้อมูล
1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) อาทิ ข้อมูลต้นทุนการผลิต ข้อมูลอุปสงค์ อุปทานของสินคา้

เกษตรทางเลือกในการปรับเปลี่ยน เป็นข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์เกษตรกรในแต่ละจังหวัด
หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์
กรมชลประทาน กรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้ประกอบการภาคเอกชน และเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์
การเกษตร เป็นต้น

2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) อาทิ ข้อมูลการจำแนกพื้นที่ความเหมาะสมเป็นข้อมูลที่
รวบรวมจากเอกสาร รายงานการศึกษา นโยบาย ข่าว บทความ วารสาร งานวิจยั ต่าง ๆ ที่เกยี่ วขอ้ ง และข้อมูล
จากแผนทเี่ กษตร Agri-Map

1.4.2 การจดั เกบ็ ข้อมูล
1) การคัดเลือกสินค้าเกษตรที่สำคัญและมีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออก จำนวน

3 สินค้าได้แก่ ยางพารา ข้าว (ข้าวนาปี และนาปรัง) มันสำปะหลังโรงงาน ซึ่งพิจารณาเฉพาะสินค้าพืช ไม่รวม
อันดับสินค้าประมงและปศุสัตว์ อาหาร เพื่อผสมผสานหรือปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าสำคัญเหล่านี้ที่อยู่ในเขต
เหมาะสมน้อยหรือไม่เหมาะสมเป็นสินค้าทางเลอื กท่มี ีอนาคต

3

2) การคัดเลือกสินค้าทางเลือกที่มีอนาคต พิจารณาจากข้อมูลการตลาดนำการผลิต ซึ่งแนวคดิ
และปจั จัยทน่ี ำมาพจิ ารณาประกอบเพ่อื เสนอสนิ ค้าทางเลือกทม่ี ีศักยภาพในพ้ืนท่ี ควรคำนึงถงึ สินคา้ ทางเลือกท่ี
ให้ผลตอบแทนสูงกวา่ สินค้าหลกั ท่ถี ูกปรบั เปลย่ี นเพอื่ ผลตอบแทนทส่ี งู ขน้ึ และสนิ ค้าทางเลอื กมคี วามเหมาะสม
ทางกายภาพ/ภูมิศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ สินค้าทางเลือกมีศักยภาพทั้งด้านการผลิตและ
การตลาด มคี วามเหมาะสมดา้ นโลจิสติกส์ สอดคล้องกบั สังคมวฒั นธรรมและวิถชี วี ิต สอดคลอ้ งกบั นโยบายและ
แผนพฒั นาระดบั พื้นท่ี เพ่อื สรา้ งความมนั่ คงดา้ นอาหาร

3) การจัดเก็บต้นทุนและผลตอบแทน ให้ดำเนินการตามหลักการจัดทำต้นทุนของศูนย์
สารสนเทศการเกษตร สำนกั งานเศรษฐกิจการเกษตร โดยมลี ักษณะตน้ ทนุ การผลิต แบ่งเป็น

3.1) กลุ่มข้าว พืชไร่ ประมงเพาะเลี้ยงเป็นการปลูก/เลี้ยงและเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จสิ้นในแต่
ละรอบการผลติ หรอื รนุ่ ตน้ ทุนการผลติ จะมีชดุ เดียว เชน่ ข้าว (ขา้ วนาปี และนาปรัง) มนั สำปะหลังโรงงาน เป็น
ตน้

3.2) กลุ่มพืชไร่มอี ายกุ ารเก็บเกี่ยวมากกว่า 1 ครั้ง เปน็ การปลกู ครง้ั เดียว แตส่ ามารถเก็บเก่ียว
ผลผลติ ได้มากกวา่ หน่ึงรอบ และต้นทนุ การผลิตจะมตี ้นทนุ การผลิตปีที่ปลูก และตน้ ทุนถัดจากปีปลูกทุกปีจนถึง
ส้ินสดุ รุน่ การผลติ (ร้ือทิ้ง) และคำนวณตน้ ทนุ เฉลี่ย เชน่ สับปะรดโรงงาน หญ้าอาหารสตั ว์ เป็นต้น

3.3) กลุ่มไม้ผลไม้ยืนต้น เป็นการปลูกครัง้ เดียว แต่สามารถยืนต้นให้ผลผลิตไดห้ ลายปี ต้นทนุ
การผลติ เกิดจากต้นทนุ ปีใหผ้ ลผลิต รวมกับต้นทนุ กอ่ นใหผ้ ลผลติ ทเ่ี ฉลีย่ ไปทุกปีของการเกบ็ เก่ียวตั้งแต่ปีเริ่มต้น
เก็บเกย่ี วจนหมดอายขุ ัยทางเศรษฐกิจของพชื น้นั เชน่ ยางพารา โกโก้ มะพรา้ วนำ้ หอม ไผ่

4) การจัดทำวิถีการตลาดของสินค้าและการจัดเก็บข้อมูลอุปทาน (Supply) และอุปสงค์
(Demand) ระดับจงั หวัดใชห้ ลกั การกระจายผลผลิตของวถิ กี ารตลาดใหไ้ ด้ครบร้อยละ 100

1.4.3 การวิเคราะห์และประมวลผลขอ้ มูล
1) การวเิ คราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) เป็นการนำข้อมูลท่ีเกดิ จากการเก็บ

รวบรวมโดยการสำรวจและใช้แบบสอบถาม อาทิ การสัมภาษณ์ การสังเกต มาวิเคราะห์และพรรณนาในรูป
ข้อความ หรอื ใชส้ ถิตขิ น้ั ตน้ เช่น ค่าเฉลี่ย รอ้ ยละ เปน็ ตน้ ประกอบการพรรณนา

2) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantities Analysis) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือนเกษตรกร มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด การใช้ที่ดิน สัดส่วน
ครัวเรือนเกษตร ฯลฯ มาวิเคราะห์ โดยจัดหมวดหมู่ หรือเรียงลำดับ ด้วยวิธีการทางสถิติพรรณนา เช่น
คา่ ความถ่ี ค่าเฉลย่ี รอ้ ยละ เป็นต้น และนำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยวิธกี ารพรรณนาโดยใช้ตารางประกอบ
1.5 ประโยชน์ทค่ี าดว่าจะได้รบั

1.5.1 เกษตรกรสามารถทราบศักยภาพพื้นที่การผลิต และตัดสินใจผลิตสินค้าเกษตรได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ เพือ่ เพมิ่ รายได้จากการทำการเกษตร

1.5.2 หน่วยงานในระดับจังหวัด นำแนวทางบริหารจัดการไปพิจารณาประกอบการจัดทำแผนพัฒนา
การเกษตรในระดับพน้ื ที่

4

1.5.3 ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบผลการศึกษาและ
นำไปใช้ประโยชนใ์ นการปรับปรุงและวางแผนการดำเนินงานโครงการให้บรรลตุ ามวตั ถปุ ระสงคข์ องโครงการ

บทที่ 2
การตรวจเอกสาร แนวคิดทฤษฎี

2.1 การตรวจเอกสาร
ในการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการสินค้าเกษตรสำคัญในพื้นท่ีตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหาร

จัดการเชิงรุก (Agri-Map) ภาคตะวันออกคร้ังนี้ ได้นำผลการศึกษา ผลงานวิจัยหลายฉบับจากหลายภาคส่วน
ท่ีมีประเด็นการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดการเชิงพ้ืนท่ี (Zoning) มาพิจารณา สำนักงาน
เศรษฐกิจการเกษตร (2563) ได้วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2563 และแนวโน้มปี 2564 ในด้าน
แนวทางการบริหารจัดการสินค้าข้าว พบว่า ปัจจุบันการผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิดของประเทศไทยยังไม่มี
ประสิทธภิ าพเท่าท่ีควร จากสาเหตุด้านการใช้ประโยชน์ทด่ี ินไมเ่ หมาะสมและผลิตไม่ตรงตามความต้องการของ
ตลาด สำหรับปี 2560 – 2562 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ศึกษาวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่
สำคัญ ภายใต้โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก
(Agri – Map) โดยเฉพาะข้าวซ่ึงเปน็ พืชเศรษฐกิจที่สำคญั มีปริมาณผลผลติ จำนวนมากและมีความผันผวนด้าน
ราคา จากสถิติในปี 2562 ประเทศไทยมีเน้ือทใ่ี ช้ประโยชน์ทางการเกษตร 149.24 ล้านไร่ เป็นเน้ือทีเ่ พาะปลูก
ข้าว 66.51 ลา้ นไร่ คิดเป็นร้อยละ 44.56 ของเนอ้ื ที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรทง้ั หมด จากการศึกษาวิเคราะห์
แนวทางการบริหารจัดการสินค้าข้าว เพ่ือให้ผลผลิตข้าวมีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของ
ตลาดตามศักยภาพของพ้ืนท่ี โดยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ร่วมกับ
กระบวนการมสี ่วนร่วมผา่ นการจัดเวทรับฟังความคดิ เห็น (Focus Group) ได้ผลดงั น้ี 1) ดา้ นการบรหิ ารจดั การ
พื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) สินค้าข้าว เพ่ือสร้างความสมดุลด้านปริมาณผลผลิตข้าว ต้องกำหนดด้านอุปสงค์
และอุปทาน จากการคาดการณ์ผลผลิตข้าวรวม (Supply) ของสำนกั งานเศรษฐกิจการเกษตร (ณ เดือนมีนาคม
2563) ปี 2563 จำนวน 29.13 ล้านตันข้าวเปลือก และความต้องการสินค้าข้าว (Demand) รวมการใช้ใน
ประเทศและการส่งออก ปี 2564 จำนวน 28.79 ลา้ นตันขา้ วเปลอื ก (จากเดมิ ปี 2563 มีจำนวน 32.48 ลา้ นตัน
ข้าวเปลือก เนื่องจากส่งออกได้ลดลง) ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตข้าวมีมากกว่าความต้องการ จำนวน 0.34 ล้าน
ตันข้าวเปลือก ต้องปรับลดพ้ืนที่ปลูกข้าว จำนวน 0.81 ล้านไร่ สามารถนำมากำหนดพ้ืนท่ีสำหรับการบริหาร
จัดการพืน้ ที่ปลูกข้าว ซง่ึ ปี 2563 มพี ้ืนท่เี หมาะสมมากและปานกลาง (S1/S2) จำนวน 44.35 ลา้ นไร่ และพืน้ ที่
เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) จำนวน 24.34 ล้านไร่ จึงควรลดพื้นที่ปลูกข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม
(S3/N) เป็นลำดับแรก 2) แนวทางการบริหารจัดการสินค้าข้าว สำหรับพื้นที่เหมาะสมมากปละปานกลาง
(S1/S2) โดยการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ส่งเสริมการจัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธ์ุข้าวเพื่อผลิต
เมล็ดพนั ธุ์ที่ดตี ามมาตรฐาน GAP เพื่อลดต้นทนุ การผลติ ข้าวและสนับสนุนพนั ธุ์ที่มีโอกาสทางการตลาดมากกว่า
ยกระดับคุณภาพสินค้าสู่มาตรฐาน (GAP/Organic) ส่งเสริมการใชเ้ ทคโนโลยีท่ีเหมาะสมเขา้ มาช่วยในการปลูก

6

ข้าว ส่งเสริมการวางแผนการผลิตข้าวให้สอดคล้องกับแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร และแผน
บริหารจัดการน้ำ ส่งเสริมด้านการตลาดหรือขายผ่านออนไลน์ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสนับสนุนการวิจัย
และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ท่ีหลากหลาย ส่วนการปรับลดพื้นท่ีปลูกข้าวในพื้นท่ีเหมาะสมน้อยและไม่
เหมาะสม (S3/N) กรณีปรับเปล่ียนพื้นที่ปลูกข้าวนาปี (ปลูกพืชชนิดอ่ืน) สามารถทำได้โดยปรับปรุงเงื่อนไข
ระเบียบที่เก่ยี วข้องการเช่าท่ีนาให้เหมาะสมเป็นธรรม สนับสนุนการใช้ Agri-Map ร่วมกับฐานข้อมูล Big Data
ด้านการเกษตร จัดทำเมนูการผลิต และการตลาดสำหรับสินค้าทางเลือกในแต่ละจังหวัด สนับสนุนกิจกรรม
หรือโครงการอย่างต่อเน่ืองในเรื่องที่เกี่ยวกับการปรับเปล่ียนการผลิต สนับสนุนและจูงใจให้เกษตรกร
ปรบั เปลี่ยนการผลติ สนิ คา้ เกษตรอื่นทีเ่ หมาะสมกับสภาพพื้นท่ีและให้ผลตอบแทนท่ีดีกว่า เชน่ สนับสนุนสนิ เชื่อ
ดอกเบี้ยต่ำหรือมาตรการด้านสินเช่ือ สนับสนุนปัจจัยการผลิต ส่วนกรณีปรับเปลี่ยนพ้ืนที่ปลูกข้าวนาปรัง
สามารถทำได้โดยสนับสนุนองค์ความรู้และข้อมูลด้านพืชทางเลือกใหม่ โดยเฉพาะพืชใช้น้ำน้อยหรือพืชอายุส้ัน
รวมทั้งการสนับสนุนข้อมูลด้านตลาด เพ่ือสร้างโอกาสและทางเลือกให้เกษตรกรมีรายได้เพ่ิมขึ้น สอดรับกับ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2563) ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ด้านกายภาพและด้านเศรษฐกิจของสินค้า
ขา้ วและยางพารา ภายใต้โครงการบรหิ ารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพ่ือการบริหารจัดการ
เชงิ รุก(Agri-Map) เพื่อจดั ทำแนวทางการบรหิ ารจดั การของสินค้าขา้ วและยางพาราในระดบั ภาค โดยมแี นวทาง
บริหารจัดการสินค้าข้าวและยางพาราในภาคตะวันออก คือ สินค้าข้าว มีแนวทางบริหารจัดการ ดังน้ี
1) แนวทาง/มาตรการ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในพ้ืนที่เหมาะสม (S1/S2) สามารถทำได้โดยส่งเสริม
การผลิตข้าวไปสู่ตลาดเฉพาะ เชน่ ข้าวอินทรีย์ข้าวท่ีมีดัชนีน้ำตาลต่ำ เป็นต้น ส่งเสริมให้ผปู้ ระกอบอาชีพทำนา
หันมาทำเกษตรกรรมธรรมชาติ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกล ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร
ส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวรุ่นใหม่ให้เป็นผู้จัดการนามืออาชีพ สนับสนุนอาชีพเสริมหลังจากเก็บเก่ียวข้าว
วิจัยและพัฒนาการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย 2) แนวทาง/มาตรการ การปรับลดพ้ืนท่ีปลูกข้าวใน
พ้ืนท่ีไม่เหมาะสม (S3/N) โดยในกรณีปรับเปล่ียนพื้นที่ปลูกข้าวนาปี (ปลูกพืชชนิดอ่ืน) สามารถทำได้โดย
ส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพทำนาทำการเกษตรแบบผสมผสานส่งเสริมการผลิตผลไม้ภาคตะวันออกเป็นศูนย์
ผลไม้เมอื งรอ้ น โดยอาศยั ข้อมูลจาก Agri-Map และ Big Data ดา้ นการเกษตร เชื่อมโยงตลาดระหวา่ งผชู้ ้ือและ
ผ้ผู ลิตท้ังในระบบออฟไลน์ และออนไลน์ กรณีปรับเปลยี่ นพ้ืนทป่ี ลูกข้าวนาปรัง สนบั สนุนองค์ความรู้และข้อมูล
ด้านพืชทางเลือกใหม่ โดยเฉพาะพืชอายุส้ัน พืชใช้น้ำน้อย และพืชอาหาร ส่วนสินค้ายางพารา มีแนวทาง
บริหารจัดการ ดังนี้ 1) แนวทาง/มาตรการ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในพื้นที่เหมาะสม (S1/S2) สามารถ
ทำได้โดยการยกระดับการผลิต การแปรรูป การเชื่อมโยงตลาดนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ส่งเสริมและให้
ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับเทคนิคการปลูกจนถึงการกรีดยางพาราและการแปรรูปขั้นต้น ส่งเสริมให้ทำ
การปลูกพชื แบบผสมผสานและใช้ประโยชน์จากทด่ี นิ อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรใหม้ ี
การรวมกลุ่มเพื่อการแปรรูปและการขายผลผลิต และสนับสนุนการนำผลงานวิจัย องค์ความรู้มาใช้เพ่ือ
พัฒนาการผลิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่อยอดในอุตสาหกรรม 2) แนวทาง/มาตรการ การปรับลดพื้นท่ีปลูก

7

ยางพาราในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3/N) สามารถทำได้โดยพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมใหม่ทดแทนการทำสวนยาง
ด้วยการสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพ สนับสนุนองค์ความรู้ดา้ นการผลติ การรวมกลุ่ม การใชเ้ ทคโนโลยี
การแปรรูปผลิตภัณฑ์ สร้างความเช่ือมโยงตลาดและผู้ผลิตจัดหาแหล่งน้ำรองรับการปลูกพืชอ่ืนทดแทนการ
ปลูกยางพารา รวมถึงแนะนําให้เกษตรกรแบง่ พ้ืนที่บางส่วนเพื่อขุดสระนำ้ เพ่ือเก็บกักน้ำไว้ใช้ในไร่นาของตนเอง
สนับสนุนปัจจัยการผลิต/สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและให้คำแนะนําถงึ ความเส่ียงท่ีอาจเกิดข้ึนในอนาคตหลังจากการ
ปรับเปลี่ยนการปลูกพืช สอดคล้องกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 (2560-2562) ได้ศึกษาวิเคราะห์
ด้านเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญตามแผนท่ี Agri-Map จำนวน 9 จังหวัด ในพ้ืนท่ีรับผิดชอบของสำนักงาน
เศรษฐกิจการเกษตรท่ี 6 ได้แก่ จงั หวัดชลบรุ ี ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจนี บุรี นครนายก ฉะเชงิ เทรา
และสมทุ รปราการ โดยมีวตั ถุประสงคเ์ พ่ือศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลติ สินค้าเศรษฐกิจสำคัญที่มมี ูลค่า
ผลิตภัณฑ์มวลรวมระดับจังหวัด 4 อันดับแรกของจังหวัด (Top4) ศึกษาสภาพการผลิต การตลาด และสมดุล
สินค้า (Demand Supply) ของสินค้าเศรษฐกิจสำคัญที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมระดับจังหวัด 4 อันดับแรก
ของจังหวัด และสินค้าทางเลือก ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการปรับเปล่ียนการผลิตข้าวในพ้ืนที่ไม่เหมาะสม
(S3 N) เป็นสินค้าทางเลือกท่ีมีศักยภาพระดับพ้ืนที่ ซ่ึงสอดคล้องกับการศึกษาด้านนโยบายการบริหารจัดการ
พื้นท่ีเกษตรกรรม (Zoning) ของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 (2562) ไดศ้ ึกษาแนวทางการพัฒนาการ
บริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญ : ภาคตะวันออก 1) การจัดการพื้นที่เขตอุตสาหกรรม
และพ้ืนท่ีเกษตรกรรม 2) พัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน 3) ส่งเสริมการ
ปรับเปล่ียนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและเกษตรกร โดยมาตรการดำเนินการ 1) มาตรการด้าน
การผลิต 1.1) มาตรการเพื่อรักษาพ้ืนท่ีเกษตรกรรม โดยการประกาศเขตพ้ืนที่เกษตรกรรม เขตเมือง
เขตอุตสาหกรรม และพืน้ ทป่ี ระมงชายฝั่ง โดยกำหนดขอบเขตพ้ืนท่ผี ังเมอื งใหช้ ัดเจน แบ่งแยกตามกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจในระดับพื้นท่ีที่มีความสำคัญ เพ่ือความสะดวกในการบริหารจัดการ การจัดสรรทรัพยากรให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มครองเขตที่มีทรัพยากรที่เหมาะสม ให้สามารถดำเนินกิจกรรมการผลิตได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และยั่งยืนในอนาคต 1.2) มาตรกรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตามความเหมาะสมของพ้ืนที่
ประกอบด้วย (1) กรณีเพาะปลูกในพ้ืนที่เหมาะสม สนับสนุนและส่งเสริมการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพ
ด้วยการรวมกลุ่มและใช้เทคโนโลยีในการผลิต (2) กรณีพื้นท่ีไม่เหมาะสมและต้องมีการปรับเปลี่ยนการผลิต
โดยการจดทะเบียนเกษตรกรผู้สนใจปรับเปลี่ยนระบบการผลิต แยกเป็นกลุ่มตามกิจกรรมการผลิต
(เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน และเกษตรทฤษฎีใหม่) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมตัวกัน เพื่อให้ภาครัฐ
สมารถบริหารจัดการด้านความรู้ การถ่ายทอดความรู้ด้านการวางแผนการผลิต กรตลาด และการแปรรูป
ผลผลิตข้ันต้น รวมถึงการให้ความช่วยเหลืออ่ืน ๆ แก่เกษตรกร 1.3) มาตรการสนับสนุนปัจจัยอ่ืน ๆ
ประกอบด้วย (1) สนับสนุนการตรวจสอบสารพิษตกค้างจากห้องปฏิบัติกรของรัฐ โดยการรับรองคุณภาพ
สามารถตรวจสอบย้อนกลบั ได้ เพื่อสร้างความม่ันใจวา่ ผลผลิตมีความปลดภยั และมีคุณภาพท่ีเหมาะสมสำหรับ
ผู้บริโภค รวมทั้งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (2) การถ่ายทอด ความรู้ให้เกษตรกรมีทักษะท่ีเหมาะสมและ

8

จำเป็น ทั้งในด้านการผลิต การตลาด การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวหรือ การแปรรูปซึ่งต้องง่ายต่อการนำไปใช้
เช่น วิธีการใช้ปัจจัยการผลิตให้มีประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงานเพื่อลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น
และ (3) สนับสนุนองค์ความรู้การใช้เทคโนโลยีในการผลิต ดูแลเก็บเกี่ยว เพ่ือรักษาคุณภาพผลผลิตให้มี
มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ ยกระดับการเกษตรที่อาศัยแรงงานเป็นการใช้นวัตกรรมขั้นสูง และอาศัย
เทคโนโลยีการสือ่ สารในการจดั กรผลผลติ ให้เกิดประสทิ ธิภาพ ทำใหเ้ กษตรกรมีรายไดท้ ่ีมัน่ คง สรา้ งแรงจูงใจให้
ทำการเกษตรต่อไป 2) มาตรการด้านการตลาด 2.1) สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างโรงงาน
อุ ต ส า ห ก ร ร ม ใน พ้ื น ที่ กั บ ก ลุ่ ม เก ษ ต ร ก ร เพ่ื อ ท ร า บ ถึ ง ป ริ ม า ณ แ ล ะ คุ ณ ภ าพ ม าต ร ฐ า น ท่ี โ ร งงา น ต้ อ งก า ร
2.2) สนับสนุนการส่งออกและสร้างความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ในการจัดหาตลาดส่งออกที่มีศักยภาพ
โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ภาคตะวันออก 3) มาตรการเพ่ือสร้างมูลค่าเพิ่ม และยกระดับภาคเกษตร
3.1) สนับสนุนเงนิ ทนุ ดอกเบี้ยต่ำเพ่ือปรับปรุงกระบวนการผลิตและแปรรูปขั้นต้น เพ่ือให้ได้ผลผลิตทม่ี ีคุณภาพ
และมูลค่าเพ่ิมข้ึน 3.2) สนับสนุนทุนการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์พื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์ ให้มีศักยภาพ
การผลิตเชิงการค้า เช่น ทุเรียนพวงมณีที่มีเนื้อน้อยแต่มีรสชาติหวานจัด เป็นต้น 3.3) สนับสนุนการวิจัยและ
พัฒนาในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ที่มีมากในพ้ืนท่ี ท้ังในด้ านการสร้าง
เอกลักษณ์ คุณภาพ มูลค่า การแปรรูป รวมท้ังการออกแบบและนวัตกรรมเพ่ือยกระดับคุณภาพและรูปแบบ
ผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายได้มาตรฐานสากลและมีตันทุนการผลิตท่ีสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ซ่ึงสอดคล้อง
กับการศึกษาของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรท่ี 6 (2563) ได้การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการสินค้า
เกษตรสำคัญในพื้นท่ีตามแผนท่ีเกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ภาคตะวันออก โดยมี
วัตถุประสงค์เพ่ือ 1) ศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจสินค้าเกษตรท่ีสำคัญของจังหวัด 7 สินค้า (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยง
สตั ว์ มันสำปะหลังโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สับปะรด และมะพร้าว) และสินค้าหรือกิจกรรมทางเลือกใน
การปรับเปล่ียนตามความเหมาะสมของพ้ืนที่ และ 2) จัดทำแนวทาง และมาตรการจูงใจในการผลิตสินค้า
เกษตรตามความเหมาะสมของพื้นท่ี ผลการศึกษาพบวา่ ภาคตะวนั ออกมสี ินค้ายางพาราและข้าว เป็นพืชที่ตอ้ ง
ดำเนินการปรับเปล่ียน เพราะมีสัดส่วน GPP ในภาคเกษตรมากที่สุด และยังมีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ
โดยการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกสินค้าในพ้ืนที่ไม่เหมาะสม (S3,N) ได้วิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาด้านการผลิต
และการตลาด ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ จะส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง จะส่งผลให้เกษตรกร
ได้รับผลตอบแทนน้อย ผลผลิตส่วนเกินหรือผลผลิตล้นตลาด จะส่งผลให้ราคาผลผลิตตกต่ำ จึงกำหนดให้
ยางพาราเป็นสินค้าหลักของจังหวัดชลบุรี ระยอง จนั ทบุรี ตราด ส่วนขา้ วเป็นสินค้าหลักของจงั หวัดนครนายก
ปราจีนบรุ ี ฉะเชงิ เทรา สมุทรปราการ และสระแกว้ ผลวเิ คราะห์รายจังหวัด เม่ือพิจารณาเปรยี บเทียบกบั สินค้า
พืชทางเลือกหรือพืชเสริมรายได้เป็นดังนี้ 1) จังหวัดชลบุรี มีพืชทางเลือกคือ ไผ่และขนุน พบว่า ต้นทุน
การผลิตไผ่กิมซุง มีต้นทุนรวมเท่ากับ 35,588 บาท/ไร่/ปี มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่เท่ากับ 60,183 บาท ต้นทุน
การผลิตไผ่ปักกิ่ง มีต้นทุนรวมเท่ากับ 27,201 บาท/ไร่/ปี มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่เท่ากับ 111,201 บาท
ต้นทุนการผลิตไผ่หวาน มีต้นทุนรวมเท่ากับ 13,406 บาท/ไร่/ปี มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่เท่ากับ 52,543 บาท

9

ส่วนต้นทุนการผลิตขนุน พบว่า มีต้นทุนรวมเท่ากับ 16,914 บาท/ไร่/ปี มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่เท่ากับ
10,270 บาท ซ่ึงผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ของพืชทางเลือกมีมากกว่าการผลิตยางพาราในพื้นที่ไม่เหมาะสมของ
จังหวัดชลบุรีทั้งสิ้น 2) จังหวัดระยอง มีพืชทางเลือก คือ มะพร้าวน้ำหอมและขนุน พบว่า ต้นทุนการผลิต
มะพร้าวน้ำหอม มีต้นทุนรวมเท่ากับ 14,392 บาท/ไร่/ปี มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่เท่ากับ 2,996 บาท
ส่วนต้นทุนขนุน พบว่า ต้นทุนรวมเท่ากับ 19,667 บาท/ไร่/ มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่เท่ากับ 5,031 บาท
ซ่ึงผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ของพืชทางเลือกมีมากกว่าการผลิตยางพาราในพื้นท่ีไม่เหมาะสมของจังหวัดระยอง
3) จังหวัดจันทบุรี มีพืชทางเลือก คือ โกโก้และหมาก พบว่า ต้นทุนการผลิตโกโก้ อายุปีท่ี 1-15 มีต้นทุนรวม
เฉลี่ยเท่ากับ 11,747 บาท/ไร่/ปี มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่เท่ากับ 12,148 บาท ส่วนหมาก มีต้นทุนการผลิต
เท่ากับ 18,053 บาท/ไร่/ปี มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่เท่ากับ 22,382 บาท ซ่ึงผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ของพืช
ทางเลือกมีมากกว่าการผลิตยางพาราในพ้ืนท่ีไม่เหมาะสมของจังหวัดจันทบุรี 4) จังหวัดตราด มีพืชทางเลือก
คือ โกโก้และกาแฟ (โรบัสต้า) พบว่า โกโก้ มีต้นทุนรวมต่อไร่ เท่ากับ 4,362.00 บาท เกษตรกรจะได้
ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ เท่ากับ 12,084.50 บาท ส่วนการปลูกกาแฟ (โรบัสต้า) มีต้นทุนรวมต่อไร่ เท่ากับ
10,910.00 บาท เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิตอ่ ไร่ เท่ากับ 12,505.00 บาท ซง่ึ ผลตอบแทนสุทธติ ่อไร่ของ
พืชทางเลือกมีมากกว่าการผลิตยางพาราในพื้นที่ไม่เหมาะสมของจังหวัดตราด 5) จังหวัดนครนายก มีพืช
ทางเลือก คือ ไทรเกาหลีและกุ้งก้ามกราม พบว่า ไทรเกาหลี มีต้นทุนรวมเท่ากับ 47,215 บาท/ไร่/ปี
มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ เท่ากับ 34,385 บาท ส่วนกุ้งก้ามกราม มีต้นทุนรวมเท่ากับ 23,195 บาท/ไร่/ปี
มีผลตอบแทนสทุ ธิต่อไร่ เท่ากบั 11,005 บาท ซง่ึ ผลตอบแทนสทุ ธิตอ่ ไร่ของพืชทางเลอื กมมี ากกว่าการผลิตข้าว
ในพ้ืนที่ไม่เหมาะสมของจังหวัดนครนายก 6) จังหวัดปราจีนบุรี มีพืชทางเลือก คือ ต้นโมกและไผ่ (หน่อ)
พบว่า ต้นโมก มีต้นทุนรวมเท่ากับ 42,744 บาท/ไร่/ปี ได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่เท่ากับ 57,420 บาท
สว่ นต้นทุนการผลิตไผ่ (หน่อ) มีต้นทุนรวมเท่ากบั 13,716 บาท/ไร่/ปี ไดผ้ ลตอบแทนสทุ ธิตอ่ ไร่ เท่ากบั 19,767
บาท ซง่ึ ผลตอบแทนสทุ ธิต่อไรข่ องพืชทางเลือกมมี ากกว่าการผลติ ขา้ วในพนื้ ที่ไมเ่ หมาะสมของจังหวัดปราจนี บรุ ี
7) จังหวดั ฉะเชงิ เทรา มีสนิ คา้ ทางเลือก คือ เหด็ ฟางโรงเรือนระบบปิดและชะอม พบวา่ การผลิตเพาะเห็ดฟาง
โรงเรือนระบบปิด มตี ้นทุนรวมเท่ากับ 267,270 บาท/ไร่/ปี มีผลตอบแทนสุทธติ ่อไร่เทา่ กบั 84,298 บาท ส่วน
ชะอม มีต้นทุนการผลิตชะอมเท่ากับ 19,488 บาท/ไร่/ปี มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่เท่ากับ 25,512 บาท ซึ่ง
ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ของพืชทางเลือกมีมากกว่าการผลิตข้าวในพ้ืนที่ไม่เหมาะสมของจังหวัดฉะเชิงเทรา
8) จังหวัดสมุทรปราการ มีสินค้าทางเลือก คือ มะพร้าวน้ำหอมและมะม่วงน้ำดอกไม้ พบว่า มะพร้าวน้ำหอม
มีต้นทุนรวมเท่ากับ 4,466.31 บาท/ไร่/ปี มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ เท่ากับ 17,800.80 บาท ส่วนมะม่วง
น้ำดอกไม้ มีต้นทุนรวมเท่ากับ 6,334.64 บาท/ไร่/ปี มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ เท่ากับ 26,960.29 บาท ซึ่ง
ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ของพืชทางเลือกมีมากกว่าการผลิตข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสมของจังหวัดสมุทรปราการ
และ 9) จังหวัดสระแก้ว มีสินค้าทางเลือก คือ ไผ่และหญ้าเนเปียร์ พบว่า ไผ่ มีต้นทุนการผลิตไผ่รวมเท่ากับ
3,665 บาท/ไร่/ปี มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่เท่ากับ 5,637 บาท ส่วนหญ้าเนเปียร์ มีต้นทุนรวมเท่ากับ 7,577

10

บาท/ไร่/ปี มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่เท่ากับ 10,147 บาท ซึ่งผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ของพืชทางเลือกมีมากกว่า
การผลิตข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสมของจังหวัดสระแก้ว สำหรับแนวทางการบริหารจัดการสินค้าเกษตรสำคัญ
ระดับจังหวัด/ระดับภาคตะวนั ออกภายใตโ้ ครงการเกษตรเขตเศรษฐกิจสินค้าเกษตรท่ีสำคัญ (Zoning) ภาครัฐ
ควรให้การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต สินเช่ือดอกเบ้ียต่ำ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี/นวัตกรรม
ส่งเสริมการแปรรูป สนับสนุนให้มีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพ้ืนฐาน มีแหล่งรับซื้อผลผลิตให้กับ
เกษตรกรท่ีปรับเปล่ียน และสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น สอดรับกับ พรรณิภา
อนุรักษากรกุล ณรงค์ พลีรักษ์ (2556) ศึกษาการวิเคราะห์การเปล่ียนแปลงการใช้ที่ดินและผลตอบแทน
ทางการเงินในการลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจในภาคตะวันออก การวิจัยนแี้ บ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คอื ศกึ ษาการ
เปล่ียนแปลงของพ้ืนที่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันและวิเคราะห์ผลตอบแทนการทางการเงินในการลงทุน
ปลูกยางพาราและปาลม์ น้ำมันที่อยู่ในเขตเหมาะสมมากและไม่เหมาะสมในภาคตะวันออก ประกอบดว้ ยจงั หวัด
ระยอง จันทบุรี และตราด การเปล่ียนแปลงพ้ืนที่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน ในช่วงปี พ.ศ. 2548 - 2552
และช่วงปี พ.ศ. 2552 -2556 พบว่า รูปแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงจากพื้นท่ีอ่ืน ๆ
มาเป็นพ้ืนท่ีปลูกยางพารา จังหวัดท่ีมีการเปลี่ยนแปลงมากท่ีสุดคือจังหวัดระยอง คิดเป็นพื้นที่ 625,872.07 ไร่
และจังหวัดจันทบุรีเท่ากับ 295,287.89 ไร่ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของการลงทุน
ปลูกยางพาราในเขตเหมาะสมมากเปรียบเทียบกับเขตไม่เหมาะสม จังหวัดระยองและจันทบุรีในเขตไม่
เหมาะสมมีความคุ้มค่าทางการเงินมากกว่า ส่วนจังหวัดตราดในเขตเหมาะสมมากมีความคุ้มค่าทางการเงิน
มากกว่า ผลการวิเคราะห์ทางการเงินของการลงทุนทำสวนปาล์มน้ำมัน พบว่าจังหวัดระยองในเขตพ้ืนท่ี
เหมาะสมมากมีความคุ้มค่าทางการเงินมากกว่า ในขณะที่การลงทุนทำสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดจันทบุรีและ
จงั หวัดตราดพบวา่ การลงทุนทำสวนปาลม์ น้ำมันทง้ั ในเขตเหมาะสมมากและในเขตไม่เหมาะสมไมม่ ีความคุ้มค่า
ทางการเงิน ของ พรรณิภา อนุรักษากรกุล ณรงค์ พลีรักษ์ กฤษณะ อิ่มสวาสด์ิ และภาสิรี ยงศิริ (2556)
ศึกษาการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินในการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดชลบุรี การวิจัยน้ีแบ่ง
ออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน การปลูกปาล์มน้ำมันและจัดทำข้อเสนอแนะเชิง
นโยบายสำหรับการจัดการการปลูกปาล์มน้ำมันท่ีอยู่ในเขตเหมาะสมมากและไม่เหมาะสมในจังหวัดชลบุรี
ผลการศึกษา พบว่า การวิเคราะห์ทางการเงินของการลงทุนทำสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดชลบุรีพบว่า NPV
(Net Present Value) ในเขตเหมาะสมมาก เทา่ กับ 19,228,056.04 บาท เฉลย่ี เทา่ กับ 81,727.62 บาทต่อไร่
ซ่ึงมากกว่า NPV ในเขตไม่เหมาะสมที่มีค่าเท่ากับ 9,537,643.38 บาท เฉล่ียเท่ากับ 74,547.78 บาทต่อไร่
ทำให้การลงทุนทำสวนปาล์มน้ำมันในเขตเหมาะสมมากให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรสูงกว่าการลงทุนทำสวน
ปาล์มน้ำมันเขตไม่เหมาะสม ส่วนตัวชี้วัด BCR (Benefit Cost Ratio) ในเขตเหมาะสมมาก เท่ากับ 2.98 ซึ่ง
น้อยกว่าเขตไม่เหมาะสมที่มีค่าเท่ากับ 3.52 แสดงว่าการลงทุนในเขตไม่เหมาะสมให้กำไรมากกว่า ส่วน IRR
(Internal Rate of Return) ในเขตเหมาะสมมากและไม่เหมาะสมสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณ 4 เท่า
ดงั น้ันให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุนทั้งสองพ้ืนที่ เพื่อให้การปลูกปาล์มน้ำมันเป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม

11

ควรมีการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานเพื่อนำไปใช้ในการจัดการพ้ืนที่ปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดชลบุรี โดย วาสนา
พุฒกลาง และ ชรัตน์ มงคลสวัสด์ิ (2556) ท่ีศึกษาเพื่อประเมินความเหมาะสมของท่ีดินสำหรับปลูกพืช
เศรษฐกิจ ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และยางพารา ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และทำโซนน่ิงพ้ืนที่
การเกษตรด้วยการสร้างขอบเขตหน่วยการใช้ที่ดินท่ีเหมาะสมสำหรับการผสมผสานทางเลือกการใช้ที่ดินโดย
คำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจสังคมและส่ิงแวดล้อม พ้ืนที่ศึกษาครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือเนื้อที่ประมาณ
170,000 ตารางกิโลเมตร พืชเศรษฐกิจท่ีสำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และยางพารา
การวิเคราะห์โซนน่ิงคร้ังนี้เพื่อหาความเหมาะสมของที่ดินของพืชเศรษฐกิจ ท้ัง 4 ชนิด ซ่ึงเป็นไปตามหลักการ
ประเมินที่ดินของ FAO โดยบูรณาการคุณภาพที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจหลักแต่ละชนิด ได้แก่ น้ำ คุณสมบัติ
ของดิน ศักยภาพของดินเค็ม และสภาพภูมิประเทศ สร้างเป็นช้ันข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และทำ
การวิเคราะห์แบบซ้อนทับสร้างแบบจำลองแบบผลคูณ เพื่อให้ได้ความเหมาะสมของท่ีดินที่เป็นไปตามความ
ต้องการคุณภาพที่ดินของพืชแต่ละชนิด จากน้ันทำการตรวจสอบภาคสนาม เพ่ือวิเคราะห์ความถูกต้องของ
แบบจำลองโดยใช้สัมประสิทธ์ิ Kappa ผลท่ีได้นำมาประเมินด้านเศรษฐกิจ และการสูญเสียดิน เมื่อได้รับความ
เหมาะสมของที่ดนิ ของพชื แต่ละชนดิ แล้วนำช้ันความเหมาะสมของพืชทงั้ 4 ชนิดน้ี มาวเิ คราะห์แบบซ้อนทบั อีก
คร้ังหน่ึง และกำหนดทางเลือกเฉพาะความเหมาะสมมาก และความเหมาะสมปานกลางเพ่ือเสนอทำแผนท่ี
แบบบูรณาการพืชทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลังและยางพารา โดยจำแนกระดับความเหมาะสม
ออกเป็น เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย และไม่เหมาะสม ซึ่งการบูรณาการข้อมูล
ความเหมาะสมของท่ีดินสำหรับพืชแต่ละชนิด โดยการคัดเลือกเฉพาะพ้ืนท่ีเหมาะสมมากและเหมาะสม
ปานกลาง นำมาสร้างเป็นแผนที่โซนน่ิงพ้ืนท่ีการเกษตรสำหรับการผสมผสานทางเลือกการใช้ที่ดิน
ผลการบูรณาการสามารถสรา้ งหน่วยแผนทีไ่ ด้ท้ังสิน้ 23 หนว่ ยแผนท่ีทม่ี ีความยืดหยุ่นให้เกษตรกรสามารถเลอื ก
ปลกู พชื และผสมผสานการใช้ท่ีดนิ ได้หลายชนดิ การกำหนดหนว่ ยแผนทแ่ี ละโซนน่ิงแบ่งออกเป็น 5 โซนนง่ิ หลัก
ได้แก่ โซนนิ่งพ้ืนท่ีเหมาะสมมากสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ โซนนิ่งพื้นที่เหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกพืช
เศรษฐกิจ โซนนิ่งพื้นที่ป่าไม้เพ่ือการอนุรักษ์ โซนนิ่งพ้ืนท่ีชุมชนและท่ีอยู่อาศัย และโซนนิ่งพื้นที่แหล่งน้ ำ
ตามลำดับ

สำหรับการศึกษาด้านการตลาด การผลิต พฤติกรรมผู้บริโภค สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดย
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1-12 ( 2563) ได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดสินค้า
เกษตรอินทรยี ์ 6 กลมุ่ ชนิดสินค้าสำคญั ที่ มปี รมิ าณการผลิตอย่างแพร่หลายในพื้นท่ที ั่วประเทศในปัจจุบนั ได้แก่
ข้าว ถ่วั เหลือง พชื ผกั ผลไม้ ปศุสัตว์ และประมง โดยอาศัยข้อมลู หลายประเด็นที่เกย่ี วข้องกับระบบตลาดสินค้า
เกษตรอินทรีย์ อันได้แก่ ข้อมูลสภาพการตลาดในด้านต่าง ๆ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติอย่างง่าย และ
ข้อมูลด้านทัศนคติและความคิดเห็นของผู้มีส่วนเก่ียวข้องในระบบตลาด อาทิ การดำเนินนโยบายด้านเกษตร
อินทรีย์ของภาครัฐ ผลการดำเนินงานของตลาด โดยใช้ Likert Scale ให้ค่าคะแนนที่สะท้อนถึงระดับ
ความสำคัญของข้อมูลในแต่ละประเด็นแล้วนำข้อมูลท่ีได้มาวิเคราะห์ด้วย SWOT และ TOWS Matrix พิจารณา

12

ครอบคลุมถึงสภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอกทางด้านการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์จากผู้ที่มี
ส่วนเกี่ยวข้องในระบบตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยจำนวน 6,276 ราย ประกอบด้วย ผู้ประกอบการค้า
กลุ่มเกษตรกร และเกษตรกรที่เก่ียวข้องกับการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งในและต่างประเทศ เกษตรกรผู้ผลิต
ผู้จัดการตลาด ตลอดจนผู้บริโภคทั้งที่เคย และไม่เคยบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและ
ภาคีเครือข่ายท่ีเก่ียวข้องกับระบบตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้ เพ่ือให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกร
ผู้ประกอบการภาคเอกชน เครอื ข่ายภาคประชาสังคม หรือผ้ทู ี่สนใจใชเ้ ป็นข้อมูลประกอบการพจิ ารณาตัดสนิ ใจ
ผลิตและลงทุนด้านการตลาด หน่วยงานภาครัฐที่เก่ียวข้องนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแนวทาง
การส่งเสริมการผลิตการตลาดตลอดห่วงโซ่อุปทาน การจัดทำแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องเพ่ือขับเคลื่อน
นโยบายเกษตรอินทรีย์ให้บรรลุผลนำไปสู่การพัฒนาท่ียั่งยืน รวมทั้งเป็นข้อเสนอแนะท่ีผู้บริหารระดับสูง
สามารถนำไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย มาตรการ แผนงานโครงการท่ีเก่ียวข้องต่อไป โดย
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 (2562) ศึกษาการผลิต การตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคทุเรียนและ
มังคุดอินทรีย์ในตลาดเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ
ระยอง มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตการผลิตทุเรียนและมังคุดอินทรีย์ในระยะ
ปรบั เปลีย่ นของภาคตะวนั ออก เพ่ือศกึ ษาต้นทนุ การตลาด สว่ นเหลื่อมการตลาด และวิถตี ลาดทเุ รียนและมังคุด
อินทรีย์ในภาคตะวันออกปี 2560 และเพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคทุเรยี นและมังคุดอินทรีย์ในจังหวดั ท่อี ยู่เขต
พัฒนาพิเศษภาคตะวันออกปี 2561 สรุปผลได้ดังนี้ ด้านการผลิต ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตทุเรียน
อินทรีย์ในระยะปรับเปล่ียน 18 เดือน พบว่า จังหวัดจันทบุรีมีต้นทุนรวมสูงท่ีสุดเฉล่ียไร่ละ 20,807.07 บาท
รองลงมาจงั หวดั ตราดเฉลีย่ ไร่ละ 20,365.96 และจังหวัดระยองเฉลีย่ ไรล่ ะ 17,590.60 บาท โดยจังหวัดจนั ทบรุ ี
มีผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) ไร่ละ 63,513.24 บาท รองลงมาจังหวัดระยองมีผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 41,950.32
บาท และจังหวัดตราดมีผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 21,927.13 บาท ส่วนต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตมังคุด
อนิ ทรีย์ พบว่า จังหวัดตราดมีต้นทุนรวมสูงท่ีสุดเฉลยี่ ไรล่ ะ 25,017.40 บาท รองลงมาจงั หวดั จันทบุรีเฉล่ียไร่ละ
19,282.22 บาท และจังหวัดระยองเฉลี่ยไร่ละ 15,661.01 บาท โดยจังหวัดตราดมีผลตอบแทนสุทธิ (กำไร)
สูงสุดไร่ละ 33,752.30 บาท รองลงมาจังหวัดจันทบุรีมีผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 22,544.55 บาท และจังหวัด
ระยองมีผลตอบแทนสุทธิไร่ละ 4,444.62 บาท ด้านการตลาด วิถีการตลาดของทุเรียนอินทรีย์และผลิตภัณฑ์
ภาคตะวันออก พบว่า เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนอินทรีย์ส่วนใหญ่ขายผลผลิตผ่านพ่อค้าคนกลางร้อยละ 37.64
สว่ นวิถีการตลาดของมังคุดอนิ ทรีย์และผลติ ภัณฑ์ภาคตะวันออก พบว่า เกษตรกรผู้ผลิตมังคุดอินทรีย์ส่วนใหญ่
ขายผู้แปรรูปเพื่อทำการแปรรูปมังคุดอินทรีย์ร้อยละ 29.40 และต้นทุนและผลตอบแทนการตลาดของทุเรียน
อนิ ทรีย์และมังคุดอินทรีย์กรณีขายแบบออนไลน์ในตลาดดิจิทัล พบว่า ทุเรียนอินทรีย์มีต้นทุนการตลาดร้อยละ
31.12 และมีผลตอบแทนการตลาดของทุเรียนอินทรยี ์รอ้ ยละ 7.83 ของราคาขายปลีกทุเรยี นอนิ ทรีย์ออนไลน์ท่ี
ผ้บู ริโภคตลาดภายในประเทศ ส่วนมังคุดอินทรีย์มีต้นทุนการตลาดร้อยละ 33.92 และมีผลตอบแทนการตลาด
ของมังคุดอินทรีย์ร้อยละ 17.60 ของราคาขายปลีกมังคุดอินทรีย์ออนไลน์ที่ผู้บริโภคตลาดภายในประเทศ
ด้านพฤติกรรมผู้บริโภค รู้จักตราสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานเกษตอินทรีย์มากกว่า 1 ชนิด ส่วนใหญ่รู้จักตรา
สัญลักษณ์รับรองมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ (มกษ.) ของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเทศไทย หรือ

13

ตรา Organic Thailand ซึง่ ตรารับรองมาตรฐาน รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์มีผลต่อการตดั สินใจซอ้ื ผลไม้อินทรีย์
ส่วนใหญ่ศึกษาข้อมูลผลไม้อินทรีย์ที่จะซ้ือก่อนตัดสินใจซ้ือ รับรู้ข้อมูลสินค้าเกษตรอินทรีย์จาก อินเตอร์เน็ต/
เวปไซต์ เลือกซื้อทม่ี ีบรรจุภัณฑ์และฉลากอธิบายและเลือกซื้อผลไม้อินทรยี ์จากเกษตรกรโดยตรง ยอมรับระดับ
ราคาผลไม้อินทรีย์สูงกว่าราคาผลไม้ทั่วไปได้ 10% - 19% เหตุผลที่เลือกซ้ือผลไม้อินทรีย์เพราะคำนึงถึง
ความปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และเหตุผลท่ีไม่เลือกซื้อผลไม้อินทรีย์เพราะแหล่งจำหน่ายมี
น้อยหรือหาซ้ือได้ยาก โดยเลือกซื้อทุเรียนอินทรีย์ต่อคร้ังเฉล่ีย 6.42 กิโลกรัมและส่วนใหญ่ซื้อครั้งละ
3 กิโลกรัม เลือกซ้ือมังคุดอินทรีย์ต่อครั้งเฉล่ีย 5.64 กิโลกรัมและส่วนใหญ่ซื้อครั้งละ 2 กิโลกรัม ปัจจัยส่วน
ประสมทางการตลาดให้ความสำคัญในระดับมากได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ซ่ึงผลไม้อินทรีย์ต้องมีคุณภาพ มีฉลาก
หรือตรารับรองสินค้าที่ได้มาตรฐาน ด้านการส่งเสริมการตลาดควรการประชาสัมพันธ์ผ่านส่ือ มีโฆษณา
ณ จุดจำหน่าย และด้านราคาควรแสดงป้ายราคาจำหน่ายที่ชัดเจน ตามลำดับ ถึงแม้ด้านช่องทาง
การจัดจำหน่ายให้ความสำคัญระดับปานกลางแต่ในเรื่องการวางจำหน่ายในร้านค้าท่ีมีความน่าเช่ือถือยังมี
ความสำคัญระดับมาก ผู้บริโภคมีแนวโน้มการตัดสินใจเลือกบริโภคผลไม้อินทรีย์ เลือกซื้อผลไม้อินทรีย์ใน
อนาคต และแนะนำให้ผ้อู ื่นซอ้ื ผลไม้อนิ ทรีย์มากกวา่ ร้อยละ 90 และส่วนใหญ่มีทศั นคติเห็นด้วยกับบริการจัดส่ง
ผลไม้อินทรีย์ให้ถึงบ้านในรูปแบบส่ังจองล่วงหน้า (Pre order) และผ่านการขาย online แล้วส่งถึง ผู้บริโภค
(Delivery) มีทิศทางปรับตัวเข้าสู่ตลาดออนไลน์ซึ่งเป็นตามกระแสการปรับเปล่ียนสู่ตลาดดิจิทัล และเห็นควร
สนับสนุนให้มีการหมุนเวียนจัดงานมหกรรมเกษตรอินทรยี ์หรือมีตลาดนัดเกษตรอินทรยี ์สีเขียวในแต่ละจังหวัด
EEC เพ่ือให้ผู้บริโภคได้รับรู้การประชาสัมพันธ์ข้อมูลของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ดังน้ัน ผู้ผลิตและ
ผปู้ ระกอบการผลไมอ้ นิ ทรีย์ควรให้ความสำคญั ในปจั จยั ส่วนผสมทางการตลาดในทุกดา้ น และควรปรับตัวรบั กับ
ความตอ้ งการของตลาดดิจิทัลเพื่อจำหน่ายโดยตรงสู่ผูบ้ ริโภคในเขต EEC ภาครัฐ ควรส่งเสรมิ ให้เกษตรกรผลิต
ผ ล ไม้ อิ น ท รี ย์ เพ่ิ ม ขึ้ น เพื่ อ เพ่ิ ม ร า ย ได้ โ ด ย น ำ ผ ล ก า ร วิ จั ย ต้ น ทุ น ก า ร ผ ลิ ต ใน ร ะ ย ะ ป รั บ เป ล่ี ย น เป็ น ข้ อ มู ล
ประกอบการสร้างมาตรการจงู ใจสนับสนนุ การลงทนุ การผลิตผลไม้อินทรีย์ในระยะปรับเปล่ียน และควรสง่ เสริม
ให้เกษตรกรมีความร้คู วามเข้าใจในประโยชน์ของการจำหน่ายผลไม้อินทรีย์ โดยตรงสู่ผู้บริโภคผา่ นตลาดดิจิทัล
ท้ังแบบออฟไลน์และออนไลน์ รวมทั้งควรสร้างรูปแบบหุ้นส่วนประชารัฐมาดำเนินการสร้างร้านค้าจำหน่าย
สินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งระยะปรับเปลี่ยนและผ่านการรับรองแล้วเน้นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้า
รวมทั้งควรสนับสนุนให้จัดต้ังศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อการรองรับการค้าขายแบบ
ออนไลน์หรือระบบ E-Commerce ผู้บริโภคผลไม้อินทรีย์ควรตระหนักถึงคุณค่าทางโภชนาการที่มี
ความปลอดภัยและมีส่วนช่วยอนุรักษ์ระบบนิเวศน์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นรวมท้ังควรตระหนักถึง
ความประณีตใส่ใจในกระบวนการผลิตผลไม้อินทรีย์ของเกษตรกรทุกภาคส่วนท่ีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลไม้
อนิ ทรยี ์ควรช่วยกันสือ่ สารประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของการผลิตและบริโภคผลไม้อินทรีย์ในด้านการดูแลรกั ษา
สขุ ภาพและเปน็ สว่ นหนง่ึ ท่ีช่วยอนุรกั ษ์ระบบนิเวศนส์ ิ่งแวดลอ้ มให้ดีข้นึ ดว้ ยการบรโิ ภคผลไม้อินทรยี ์

14

2.2 แนวคิดทฤษฎี
2.2.1 ทฤษฎตี ้นทุนการผลิต
ต้นทุนการผลิต (Cost) หมายถึง มูลค่าของทรัพยากรท่ีสูญเสียไปเพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการโดย

การวิเคราะห์ต้นทุนสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ต้นทุนทางบัญชี (ต้นทุนที่เป็นเงินสด) และต้นทุนทาง
เศรษฐศาสตร์ (ต้นทุนที่เป็นเงินสด และต้นทุนท่ีไม่เป็นเงินสด) กล่าวคือ ต้นทุนทางบัญชีน้ันจะสามารถวัด
คา่ ใช้จ่ายทเี่ สยี ไปเปน็ ตัวเงนิ เพยี งอย่างเดียวหรือเรียกได้วา่ เปน็ ต้นทนุ ที่เหน็ แจง้ ชดั (Explicit Cost) แตส่ ำหรับ
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Cost) นั้น จะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่เสียไปทั้งท่ีสามารถวัดเป็นตัวเงินได้
และวัดเป็นตัวเงินไม่ได้ นั่นก็คือต้นทุนท่ีเห็นแจ้งชัด (Explicit Cost) และต้นทุนไม่แจ้งชัด (Implicit Cost)
ในทางเศรษฐศาสตร์จะเรยี กต้นทุนท่ีมองไม่เห็นอีกอย่างหนึ่งว่า “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” (Opportunity Cost)
และจะเป็นต้นทุนอีกตัวหนึ่งที่ต้องมีการประเมิน ดังน้ันจะเห็นได้ว่าต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ประกอบด้วย
ต้นทุนแจ้งชัดกับต้นทุนไม่แจ้งชัดรวมกัน ต้นทุนทางบัญชีจะมีค่าน้อยกว่าต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ และมีผล
ทำให้กำไรทางบัญชีมีค่าสูงกว่ากำไรทางเศรษฐศาสตร์ (นราทิพย์ ชุติวงศ์, 2547) ซ่ึงองค์ประกอบต้นทุน
การผลติ แบ่งเป็น 2 ประเภท คอื ต้นทุนผันแปรรวม และตน้ ทุนคงทร่ี วม (อรวรรณ ศรโี สมพันธ,์ 2557)

1) ต้นทุนผันแปรรวม (Total Variable Cost : TVC) หมายถึง ต้นทุนการผลิตท่ีเปล่ียนแปลงไป
ตามปริมาณของผลผลิตซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายท่ีเกิดจากการใช้ปัจจัยผันแปรในการผลิต คือเป็นปัจจัยการผลิตที่
ผผู้ ลิตสามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ได้ในช่วงเวลาการผลิตหน่ึง ๆ ซ่ึงค่าใช้จ่ายส่วนน้ีจะเปลี่ยนแปลงไป
ตามปริมาณการผลิต ถ้ามีการผลิตผลผลิตจำนวนมากต้นทุนประเภทน้ีจะสูง แต่ถ้ามีการผลิตจำนวนน้อย
ต้นทุนส่วนน้ีจะต่ำ โดยต้นทุนการผลิตผันแปรส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับปัจจัยการผลิตทางตรง
เช่น ค่าใช้จ่ายเก่ียวกับเมล็ดพันธุ์ สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและน้ำมันเช้ือเพลิง เป็นต้น โดยการวิเคราะห์
ต้นทนุ ผนั แปรสามารถแบ่งเป็น 2 ชนดิ คือ ต้นทนุ ผนั แปรที่เป็นเงนิ สดและตน้ ทนุ ผันแปรทไ่ี ม่เปน็ เงินสด

1.1) ต้นทุนผันแปรท่ีเป็นเงินสด หมายถึง ค่าใช้จ่ายผันแปรท่ีผู้ผลิตจ่ายออกไปจริงเป็นเงินสดใน
การซ้ือหรือเช่าปัจจัยการผลิตผันแปร เช่น ค่าใช้จ่ายที่เก่ียวกับวัสดุทางตรงท่ีใช้เกี่ยวกับการผลิต (ค่าพันธุ์ข้าว
ค่าปุ๋ยเคมี ค่าสารเคมี ค่าน้ำมันเช้ือเพลิง) ค่าจ้างเกี่ยวกับแรงงานหรือค่าเช่าเครื่องจักร (เตรียมดิน เก็บเก่ียว
ดูแลรักษา ค่าอาหารสำหรับแรงงาน) ค่าวัสดุอื่น ๆ (รองเทา้ ยาง ถุงมือ และหน้ากากป้องกันสารเคม)ี ค่าใช้จา่ ย
อื่น ๆ (ค่าซอ่ มบำรุงเครอ่ื งจักรและอุปกรณ์ คา่ โสหุ้ย) เป็นตน้ บางครง้ั คา่ ใช้จ่ายเหลา่ นั้นอาจจะอยู่ในรปู ของเงิน
เชื่อในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็ต้องชำระให้แล้วเสร็จภายในหน่ึงปีหรือหนึ่ งฤดูการผลิต ซ่ึงในกรณีน้ี
การคำนวณต้นทุนจะคำนวณเปน็ ต้นทนุ แปรทเ่ี ป็นเงนิ สด

1.2) ต้นทุนผันแปรท่ีไม่เป็นผลผลิต หมายถึง ค่าใช้จ่ายท่ีผู้ผลิตไม่ได้จ่ายออกไปจริงเป็นเงินสดใน
การใช้ปัจจัยการผลิตผันแปรนั้น ๆ ซึ่งเป็นค่าปัจจัยการผลิตการผลิตต่าง ๆ ท้ังท่ีเป็นของผู้ผลิตเอง เช่น ค่าเสีย
โอกาสของแรงงานเจ้าของฟาร์ม ค่าแรงงานในครัวเรือนหรือแรงงานแลกเปลี่ยน ค่าเสียโอกาสเงินลงทุนของ
เจ้าของฟาร์มที่นำมาจ่ายในการผลิต ค่าเสียโอกาสของปัจจัยการผลิตที่ฟาร์มผลิตขึ้นเอง (ค่าพันธ์ุข้าว
ปยุ๋ ชวี ภาพ ปยุ๋ คอก ป๋ยุ พชื สด) และค่าเสยี หายอันเนื่องมาจากการเนา่ เสียของผลผลิตเป็นต้น

15

2) ต้นทุนคงท่ีรวม (Total Fixed Cost : TFC) หมายถึง ต้นทุนการผลิตท่ีไม่เปล่ียนแปลงไปตาม
ปริมาณของผลผลิต ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายท่ีเกิดข้ึนจากการใช้ปัจจัยคงที่ในการผลิต หรือไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
ปริมาณการใช้ได้ในช่วงระยะเวลาของการผลิต ไม่ว่าจะผลิตให้ได้ผลผลิตเป็นปริมาณมากน้อยเท่าใดก็ตาม
ผู้ผลิตต้องเสียต้นทุนในจำนวนเท่าเดิม ปัจจัยคงท่ี ได้แก่ ที่ดิน ทรัพย์สินคงท่ีต่าง ๆ เช่น รถแทรกเตอร์
เคร่ืองสูบน้ำ โรงเรือน เป็นต้น ต้นทุนคงที่จัดเป็นค่าใช้จ่ายที่มีอยู่แล้วในฟาร์มแม้ว่าปัจจัยคงที่ดังกล่าวจะไม่ถูก
ใชใ้ นช่วงเวลาของการผลิตน้ัน ๆ

กรณีไม้ผลไม้ยืนต้น จำเป็นต้องคำนวณต้นทุนก่อนให้ผลผลิตคิดในโครงสร้างต้นทุนไม้ผลไม้ยืนต้น
เป็นต้นทุนก่อนให้ผลเฉล่ียต่อไร่ท่ีคำนวณจากค่าใช้จ่ายท่ีเกิดขึ้นท้ังหมดตั้งแต่ปีแรกถึงปีก่อนให้ผลผลิตและ
นำไปปรับลดมูลค่าด้วยวิธี Discount Factor : DF แล้วนาไปกระจายเป็นค่าใช้จ่ายต่อปีในทุกช่วงอายุท่ีให้ผล
ผลิตด้วยวิธี Cost Recovery Factor : CRF หรือคือ(ต้นทุนรวมต่อไร่ ปีที่ 1 + ผลรวมต้นทุนรวมต่อไร่ ปีท่ี 2
ถงึ ปกี อ่ นเกบ็ เกย่ี ว) * DF * CRF

ท้ังน้ีต้นทุนคงที่สามารถแบ่งต้นทุนคงท่ีเป็น 2 ชนิด คือ ต้นทนุ การผลิตคงทท่ี ่ีเป็นเงินสดและตน้ ทุน
การผลติ คงท่ีที่ไม่เป็นเงินสด

2.1) ต้นทุนการผลิตคงท่ีที่เป็นเงินสด หมายถึง ค่าใช้จ่ายท่ีผู้ผลิตจะต้องจ่ายในรูปของเงินสด
เก่ียวกับปัจจัยการผลิตคงท่ี เช่น ค่าเช่าท่ีดิน ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว ค่าภาษีท่ีดิน ค่าประกันภัยของฟาร์ม
คา่ ภาษโี รงเรือน ค่าค้นควา้ วจิ ยั ผลผลิต คา่ ส่งเสรมิ การขาย ค่าเงินเดือนของฝา่ ยบริหารฟารม์ เปน็ ต้น

2.2) ต้นทุนการผลติ คงที่ท่ไี ม่เปน็ เงินสด หมายถึง ค่าใช้จ่ายจำนวนคงทีท่ ่ีผู้ผลติ ไม่ได้จา่ ยออกไปจริง
ในรูปของเงินสดหรือเป็นค่าใช้จ่ายท่ีประเมินจากค่าเสียโอกาสของปัจจัยการผลิตคงท่ีในแต่ละฤดูการผลิต เช่น
ค่าสึกหรอหรือค่าเส่ือมราคาของอุปกรณ์การเกษตรที่มีอายุการใช้งาน ค่าเสื่อมราคาของโรงเรือนหรือที่เก็บ
ผลผลิตของฟาร์ม และค่าใช้ท่ีดินกรณีเป็นที่ดินของตนเองแต่ประเมินตามอัตราค่าเช่าท่ีดินในท้องถ่ินน้ัน
เป็นต้น

3) ต้นทุนท้ังหมด (Total Cost : TC) หมายถึง ต้นทุนซ่ึงเป็นผลรวมของต้นทุนผันแปรและต้นทุน
คงที่ทั้งหมด การคำนวณหาต้นทุนทงั้ หมดนิยมคำนวณออกมาในรูปต้นทนุ การผลติ ตอ่ หนว่ ย

ตน้ ทุนท้ังหมด = ตน้ ทนุ ผนั แปร + ต้นทุนคงที่
TC = TFC + TVC

ตน้ ทุนทัง้ หมด = (ตน้ ทนุ ผันแปรท่เี ปน็ เงนิ สด + ตน้ ทุนผันแปรทีไ่ มเ่ ปน็ เงินสด)
+ (ตน้ ทนุ คงที่ท่เี ป็นเงินสด)

2.2.2 แนวคิดผลตอบแทนการผลิต
ผลตอบแทนการผลิต (Revenue) คือ ผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลผลิตท่ีทำการผลิตหรือ ส่วนต่าง

ของรายไดร้ วมจากการขายผลผลิตกบั ต้นทุนการผลิตทัง้ หมด
ผลผลติ หมายถึง จำนวนผลผลติ ท้ังหมดทผ่ี ผู้ ลิตผลติ ได้ตอ่ หน่งึ รอบการผลติ

16

ผลผลิตตอ่ ไร่ หมายถงึ จำนวนผลผลติ ทงั้ หมดทผี่ ้ผู ลติ ผลติ ได้ตอ่ หน่ึงรอบการผลิตคิดต่อพื้นทผี่ ลติ
ราคาของผลผลติ หมายถงึ ราคาทีผ่ ผู้ ลิตรายได้หรอื ได้รบั จากการขายผลผลิตทฟี่ ารม์
รายได้ หมายถึง รายได้ทั้งหมดท่ีผู้ผลิตได้รับจากการผลิตต่อหน่ึงรอบการผลิตซึ่งเท่ากับจำนวน
ผลผลติ ท้งั หมดคูนดว้ ยราคาของผลผลิตต่อหน่วยทเ่ี กษตรกรขายได้
รายได้ต่อไร่ หมายถึง รายไดท้ ้ังหมดของผผู้ ลิตที่ไดร้ ับจากการผลติ ต่อหนงึ่ รอบการผลิตโดยคดิ เฉล่ีย
ตอ่ พืน้ ทผ่ี ลติ หนงึ่ ไร่
ผลตอบแทนสทุ ธิ (Net Return) หมายถึง รายได้ทงั้ หมดลบด้วยตน้ ทุนทั้งหมด
ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด หมายถึง ผลต่างระหว่างรายได้ท้ังหมดกับต้นทุนทั้งหมดที่
เปน็ เงนิ สด
2.2.3 แนวคดิ บัญชสี มดุลสินคา้ เกษตร(balance sheet) และปกี ารตลาด (National Marketing Year)
การทำบัญชีสมดุลสินค้าเกษตรมีความใกล้เคียงกับการทำบัญชีสมดุลทางการเงินทั่วไปที่เรารู้จักกัน
ในขณะท่ีบัญชีสมดุลทางการเงินเป็นการทำข้อมูลเกี่ยวกับ “รายรับและผลประโยชน์” เท่ากับ “รายจ่ายและ
การเสียผลประโยชน์” หรือ “กำไร” เทา่ กับ “ขาดทุน” ซง่ึ เป็นการลงข้อมูลเป็นมูลคา่ ของเงินที่เกดิ ขึ้น บัญชีสมดุล
สินค้าเกษตรเป็นการบันทึกปริมาณของสินค้าเกษตร และสามารถจัดทำได้ทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด
ด้านการบนั ทึกขอ้ มูลสามารถจดั ทำเปน็ ไดท้ ั้งรายปแี ละรายเดือน
บัญชีสมดุลสินค้าเกษตรช่วยในเรื่องของการรายงานสถานการณ์ภาวะการผลิต การนำไปใช้ สต็อก
ราคาและการตลาดของสินค้าเกษตร ตลอดจนการประมาณการความต้องการและการใช้สินค้าเกษตรเหล่าน้ี
ทำให้รู้ปริมาณสินค้าเกษตรที่มีอยู่ภายในตลาดของประเทศ ซึ่งมีความเชื่อมโยงถึงปริมาณของอาหารท่ีมีอยู่
(Food Availability) ของโลก ปริมาณการบริโภคอาหารของคนและการเตรียมพรอ้ มสำหรับการผลิตอาหารเพื่อ
ประชากรท่ัวทั้งโลก โดยเฉพาะสต็อกสินค้าเกษตรของแต่ละประเทศซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อระดับราคาของ
สินค้าเกษตรได้ นอกจากนี้ การทำบัญชีสมดุลสินค้าเกษตรยังช่วยให้มีการจัดทำสารสนเทศของสินค้าเกษตร
ตา่ ง ๆ ท้งั ในเร่ืองของการผลิต อปุ สงค์ อปุ ทาน ของประเทศอยา่ งเปน็ ระบบระเบียบมากย่ิงขน้ึ ดว้ ย
บญั ชสี มดลุ สนิ ค้าเกษตร มีองค์ประกอบ 2 ดา้ นคอื ด้านผลผลิต (Production) และด้านการนำไปใช้
ประโยชน์ (Utilization)
ผลผลิตรวมของจังหวดั (Supply) = การนำไปใชป้ ระโยชน์ (Utilization)
ผลผลิตรวมของจงั หวดั
• ปรมิ าณผลผลติ ของจังหวดั ในช่วง 12 เดือน หรือ 1 ปี
• ปรมิ าณนำเขา้ จากจังหวัดอ่ืน/ต่างประเทศในช่วง 12 เดือน หรือ 1 ปี
ผลผลิตรวมของจังหวัด = ปริมาณการผลิต + การนำเข้าสินค้า
การใช้ประโยชน์
• การใช้ภายในจังหวดั เชน่ บริโภค เลย้ี งสตั ว์ แปรรูป ในช่วง 12 เดอื น
• การสง่ ออกไปจังหวดั อืน่ และต่างประเทศในช่วง 12 เดือน
การนำไปใชป้ ระโยชน์ = การใชภ้ ายในประเทศ + การสง่ ออกสินค้า

17

แนวคดิ การทำบญั ชสี มดุลสินค้าเกษตรและปีการตลาด (National Marketing Year)

2.2.4 การศึกษาลักษณะของระบบตลาด (Marketing System Approach) เป็นการวิเคราะห์เพ่ือดู
ลักษณะความสัมพันธ์ของการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ในการตลาด ระหว่างผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ประกอบการ และ
ผบู้ รโิ ภค ของสินคา้ หลกั และสนิ ค้าทางเลอื ก จำแนกออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1) โครงสร้างการตลาด (Structure) เป็นการพิจารณาถึงการวิเคราะห์ส่วนประกอบของ
การตลาด ประกอบด้วย ผู้ผลิต พ่อค้าคนกลาง พ่อค้าส่ง–ปลีก ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคว่ามีความสัมพันธ์
อย่างไร โดยการพิจารณาในหลายด้าน อาทิ ความแตกต่างของสินค้าสามารถตอบสนองความต้องการของ
ผู้บริโภคได้แค่ไหน ใครเป็นผู้นำตลาด มีจำนวนและขนาดธุรกิจ ลักษณะการแข่งขันของตลาด สภาพวิถี
การตลาดเป็นอย่างไร มีส่วนแบ่งการตลาดระดับการผกู ขาดที่กระทบต่อผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเข้าสู่ธุรกิจ
หรือการออกจากธรุ กิจมากน้อยเพียงใด

2) ระบบพฤติกรรมการตลาด (Behavioral System) พิจารณ าบุคคลที่ทำหน้าท่ีใน
การตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ ในตลาดว่ามีระบบพฤติกรรมแบบใด โดยพฤติกรรมของบุคคลในระบบตลาดจะ
แสดงออกในลักษณะการตัดสินใจด้านต่าง ๆ อาทิ การกำหนดราคา ขนาดของธุรกิจ การกำหนดนโยบาย
การผลิต และกลยุทธ์การสง่ เสริมการขาย จำแนกได้ 4 ประเภท ไดแ้ ก่

2.1) ระบบปัจจัยผลผลิต คือ พฤติกรรมชอบตัดสินใจบนพ้ืนฐานของปัจจัยท่ีหายากแต่ให้ได้
ผลผลติ ทน่ี า่ พอใจมีการใช้เทคโนโลยใี หม่ ๆ มาชว่ ยลดต้นทุนดา้ นการตลาด

2.2) ระบบอำนาจ คือ พฤติกรรมชอบการแข่งขันเพื่อเอาชนะธุรกิจอ่ืน ๆ เพื่อสร้างอำนาจ
ผูกขาดใหต้ นเอง

2.3) ระบบข่าวสารธุรกิจ คือ พฤติกรรมที่บุคคลในระบบตลาดมีความรวดเร็วด้านข้อมูล
ขา่ วสารการตลาด จะนยิ มทำการทดสอบประกอบการตัดสินใจ

2.4) ระบบการปรับตัวต่อการเปล่ียนแปลงทั้งภายนอกและภายใน คือ พฤติกรรมท่ีบุคคลใน
ระบบตลาดมีการตัดสินใจทฉ่ี ับไวพร้อมปรับตัวต่อการเปลยี่ นแปลงของการตลาดเพ่ือการแขง่ ขนั

3) ผลการดำเนินงานของตลาด (Performance) เป็นการวิเคราะห์เพ่ือให้ทราบถึงระบบตลาดท่ี
มีประสิทธิภาพมากท่ีสุด สามารถศึกษาได้หลายวิธี อาทิ การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขาย
การวเิ คราะห์ด้านตัวสินค้า (การวิเคราะหถ์ ึงระบบหรือรูปแบบการส่งเสริมการขายว่าตรงกับความต้องการของ
ผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด แสดงถึงการประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ) การวิเคราะห์ด้านเทคโนโลยี
การผลิตและการตลาด (การวิเคราะห์ถึงความสามารถในการลดต้นทุนการตลาดโดยนำเทคโนโลยีเพ่ือการผลิต
การตลาดที่มีประสิทธิภาพมาประยุกต์ใช้ ให้บริการการตลาดดีข้ึน แสดงถึงการประสบความสำเร็จใน
การดำเนินธุรกจิ ) การวเิ คราะห์ด้านผลกำไรและต้นทนุ การตลาดของหน่วยธุรกจิ (การวเิ คราะหถ์ ึงอัตราผลกำไร
ความคุ้มค่าในการลงทุนด้านการตลาด ที่จะส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการขยายธุรกิจซ่ึงจะเป็นผลดีต่อ
ระบบตลาด)

18

2.2.5 แนวคดิ ด้านการวัดทัศนคตขิ องมนษุ ย์
ทัศนคติ หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลท่ีมีต่อสิ่งใดส่ิงหน่ึงท้ังท่ีเกี่ยวกับบุคคล ส่ิงของและ

สภาพการณ์ เม่ือเกิดความรู้สึกนั้นแล้วจะมีการเตรียมพร้อมเพื่อสร้างปฏิกิริยาตอบโต้ไปในทิศทางใดทิศทาง
หน่งึ ตามความรูส้ กึ ของตนเอง การศกึ ษาทัศนคติของบคุ คลสามารถทำได้โดยดูจากการแสดงพฤติกรรมของผู้นั้น
โดยใชว้ ิธีการสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์และทดสอบ นกั จิตวทิ ยามีความเหน็ ว่าทัศนคตเิ ป็นพ้ืนฐานอย่างหนึ่งใน
การกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ อาจกล่าวได้ว่าทัศนคติเป็นพื้นฐานที่แท้จริงในการแสดงพฤติกรรมของแต่ละ
บคุ คล และสามารถจำแนกทัศนคติออกเป็น 2 ประเภท คือ ทัศนคติทางบวก คือ ความรู้สึกท่ีดี ท่ีชอบ ทอี่ ยาก
มีความสัมพันธ์กับส่ิงใดส่ิงหน่ึง และทัศนคติทางลบ คือ ความรู้สึกท่ีไม่ดี ไม่ชอบ ไม่อยากมีความสัมพันธ์กับ
สิ่งใดส่ิงหน่ึง โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดทัศนคติ ได้แก่ ประสบการณ์ต่าง ๆ ในอดีตท่ีถูกหล่อหลอมมาจากความเชื่อ
ของแตล่ ะคน และการรับทศั นคติของผอู้ ืน่ มาเปน็ ของตน

2.2.แนวคดิ การบริหารจัดการพนื้ ท่เี กษตรกรรมโดยใชแ้ ผนที่ Agri-Map (Zoning by Agri-Map)
กรอบแนวคดิ ดงั กล่าวมงุ่ เนน้ การวางแผนภาคการเกษตรอย่างยงั่ ยืน โดยกำหนดยุทธศาสตร์ทสี่ ำคัญ

คือ เพ่ิมประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการยกระดับมาตรฐาน
สินค้าเกษตรสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการผลิตสินค้าให้มีความสมดุล
ระหวา่ งอุปสงค์และอปุ ทาน ซ่งึ เกิดจากการผสานของแนวคิด Zoning และหว่ งโซ่คุณคา่ (Value Chain) ดงั นี้

1) แนวคดิ zoning = area + commodity + Human resource
แ น ว คิ ด zoning = area + commodity + Human resource มี ส า ร ะ ส ำ คั ญ คื อ

การขับเคล่ือนนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (zoning) ในพ้ืนท่ีหนึ่งให้ประสบความสำเร็จต้อง
อาศัยความพร้อมของปัจจัยหลัก 3 ด้านในการขับเคลื่อน ประกอบด้วย การบริหารจดั การพ้ืนที่และทรัพยากร
ที่เหมาะสม ผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาด รวมทั้งการมีบุคลากรด้านการเกษตรท้ังเกษตรกร
และเจ้าหน้าที่ท่ีจะทำหน้าที่บริหารจัดการการผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัจจัยท้ัง 3 ด้านที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ น้ัน มีความแตกต่าง
กัน โดยในบางพ้ืนท่ีมีความพร้อมสำหรับการพัฒนา เช่น พื้นท่ีมีความเหมาะสมและโครงสร้างพื้นฐาน
เอ้ืออำนวยสินค้าหลักในพ้ืนท่ีมีราคาดีมีตลาดรองรับ มีบุคลากรทั้ง Smart Farmer และ Smart Officer ท่ีมี
ความพรอ้ มในการบริหารจัดการการผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่าของสนิ ค้าเกษตรต่าง ๆ ในพื้นท่ีนั้น
เป็นต้น แต่ในบางพ้ืนที่อยู่ในเขตยังขาดความพร้อมในบางเร่ือง หรือมีปัญหาท่ีต้องเร่งแก้ไขก่อน การพัฒนาใน
แต่ละพ้ืนที่จึงไม่สามารถใช้รูปแบบ วิธีการเหมือนกันได้ หน่วยงานในพ้ืนท่ีและคณะกรรมการระดับจังหวัด
จะต้องกำหนดมาตรการ โครงการและกิจกรรมในการพัฒนาท่ีเหมาะสมและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย พื้นที่
และสินค้าโดยคำนึงถึงข้อมูลข้อเท็จจริงจากปัจจัยท้ัง 3 ด้านท่ีดำเนินการสำรวจ รวบรวม ตรวจสอบข้อมูล
ตา่ ง ๆ ทเี่ ก่ยี วขอ้ งมาแล้วเปน็ สำคัญ

19

สำหรับชนิดของข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในปัจจัยหลักท้ัง 3 ด้าน ได้ประมวลไว้เป็นตัวอย่าง
ตามภาพที่ 3 ซ่ึงหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและจังหวัดจำเป็นต้องทราบเพื่อนำมาพิจารณากำหนดแนวทางการ
พฒั นาหรือตัดสินใจในการแนะนำและส่งเสริมแก่เกษตรกรอย่างเหมาะสม พจิ ารณาได้จากภาพที่ 1

ภาพท่ี 2.1 ขอ้ มูลและปัจจัยท่ีควรพจิ ารณาในกรอบแนวคิด
Zoning = Area + Commodity + Human Resource
การให้ได้มาของข้อมูลท่ีสำคัญดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ขอความร่วมมือให้หน่วยงาน
ในและนอกสังกัดกระทรวง โดยเฉพาะหน่วยงานในระดับจังหวัดดำเนินการสำรวจ รวบรวม ตรวจสอบข้อมูล
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากในพื้นท่ีมาเป็นระยะ ซึ่งการบริหารจัดการข้อมูลดังกล่าวมีความสำคัญและส่งผลต่อ
ความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบาย Zoning เป็นอย่างมาก ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่าน้ีจะเป็นปัจจัยในการ
พิจารณากำหนดมาตรการ โครงการ กจิ กรรม เพื่อพัฒนาการเกษตรใหต้ รงตามศักยภาพและเหมาะสมกับพ้นื ท่ี
ให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาตามกรอบแนวคิด Zoning = Area + Commodity + Human Resource
ซึ่งต้องมีการบูรณาการนโยบายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะการพิจารณาความเชื่อมโยงของกรณีที่พบจาก
ข้อมูล/ข้อเท็จจริงพื้นท่ีและข้อมูลจากส่วนกลาง ทั้งด้านพ้ืนที่และทรัพยากร (Area & Resource) ด้านสินค้า
(Commodity) และด้านทรัพยากรบุคลากร (Human Resource: Smart Farmer & Smart officer) โดยจับ
คกู่ รณีตา่ งๆ แล้วกำหนด โครงการ/กิจกรรม แนวทางการตอบสนองต่อกรณี รวมทง้ั ช่วงเวลาในการดำเนนิ การ
ทีเ่ หมาะสม
ดังตัวอย่างการขับเคล่ือนนโยบายตามกรอบแนวคิด Zoning = Area + Commodity + Human
Resource (ภาพท่ี 2.1) กล่าวคอื การบริหารจัดการพ้ืนที่เกษตรกรรม (Zoning) เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินของ
ประเทศให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องอาศัยปัจจัยหลักทั้ง 3 ด้าน ท้ังด้านพื้นที่และทรัพยากร
(Area & Resource) ด้านสินค้า (Commodity) และด้านคน (Human Resource: Smart Farmer & Smart

20

officer) ร่วมกันขับเคล่ือนนโยบายดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ โดยดำเนินการขับเคล่ือนบูรณาการนโยบาย
ตา่ ง ๆ ประกอบดว้ ย โครงการ One ID Card for Smart Farmer เพ่ือตรวจสอบสทิ ธขิ องเกษตรกรและบรกิ าร
e-services ด้านต่าง ๆ ของกระทรวง การสำรวจ คัดกรองเกษตรกรและแบ่งเกษตรกรออกเป็น 3 กลุ่ม
ประกอบด้วย Smart Farmer ต้นแบบ Existing Smart Farmer และ Developing Smart Farmer ว่าใน
พื้นท่ีมีแต่ละกลุ่มเท่าไร และนโยบาย Zoning เป็นเครื่องมือท่ีสำคัญในการพิจารณาความเหมาะสมของ
การผลิตสินค้าเกษตรชนิดต่าง ๆ ในพ้ืนที่ รวมท้ังนโยบาย Commodity เพื่อเป็นข้อพิจารณาในการกำหนด
ปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรชนดิ ต่าง ๆ ในพื้นทีเ่ ชน่ กัน หลังจากน้ันนำข้อมูลท้ังหมดนำเสนอในรูปแบบแผนท่ี
และเจ้าหน้าท่ีของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นท่ี ไปดำเนินการ สำหรับตัวอย่างที่ได้นำเสนอ คือ พื้นที่
ต.บ้านพริก อ.บ้านนา จ.นครนายก จากข้อมูลพื้นที่เขตความเหมาะสมในการปลูกข้าว พบว่าตำบลน้ีอยใู่ นเขต
ชั้นความเหมาะสมปานกลางและเหมาะสมน้อย เมื่อนำข้อมูลเกษตรกรแต่ละรายลงแผนที่ก็ทราบได้ว่า
เกษตรกรแต่ละรายลงแผนที่ก็ทราบได้ว่าเกษตรกรท่ียังเป็น Developing Smart Farmer เน่ืองจากสาเหตุใด
เช่น ปลูกพืชในพ้ืนที่ไม่เหมาะสม มีกระบานการผลิตท่ีไม่ดี ทำให้สามารถกำหนดโครงการและกิจกรรมเพ่ือ
พัฒนาและส่งเสริมเกษตรกรรายนั้น ๆ ได้ตรงตามความต้องการ รวมทั้งการดำเนินงานและการติดต่อ
ประสานงานของ Smart Officer ท่ีมีความรู้ความเชี่ยวชาญในพื้นที่และองค์ความรู้ทางด้านการเกษตรสาขา
ต่าง ๆ ของกรมเป็นผู้ให้คำแนะนำ และประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เก่ียวข้องภายในพื้นท่ีทั้งภาครัฐและ
ภาคเอกชน โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการช่วยเหลือ ให้คำปรึกษากับเกษตรกรใน
พื้นที่ รวมท้ังการเรียนรู้และถ่ายทอดบทเรียนซึ่งกันและกันระหว่าง Smart farmer ต้นแบบกับเกษตรกร
รายอ่ืน ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเกษตรกรพ้ืนท่ี และสินค้าได้อย่างเหมาะสม และสามารถบริหารจัดการ
การผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้การตลาดเป็นตัวชี้นำในการส่งเสริม
การผลติ ซ่งึ ตั้งเป้าหมายว่าผลติ ออกมาแล้วตอ้ งขายไดใ้ นราคาท่ีเกษตรกรอยู่ได้

2) แนวคิดหว่ งโซ่คณุ ค่า (value chain) การผลติ สินคา้ เกษตร
ห่วงโซ่คุณค่า (value chain) การผลิตสินค้าเกษตร เป็นอีกหลักการหนึ่งท่ีที่ผู้ร่วมดำเนินการจาก

ทุกภาคส่วน ท้ังหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรในพื้นที่ควรทำความเข้าใจให้ตรงกัน เน่ืองจากภายใต้
ห่วงโซ่คุณค่าการผลิตสินค้าเกษตรมีกระบวนการและข้ันตอนรวมทั้งผู้ที่เก่ียวข้องอยู่เป็นจำนวนมาก และ
ก า ร พั ฒ น า ก า ร ผ ลิ ต สิ น ค้ า เก ษ ต รให้ มี ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ แ ล ะ มี ป ร ะ สิ ท ธิ ผ ล ต่ อ ท รั พ ย าก ร ให้ ม าก ท่ี สุ ด ต้ อ งมี
การดำเนินการอย่างสอดคลอ้ งกนั ต้ังแต่ต้นนำ้ จนถงึ ปลายนำ้ พิจารณาไดจ้ ากภาพท่ี 2.2

21

ภาพท่ี 2.2 กรอบแนวคิดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) การผลิตสนิ คา้ เกษตร
จากภาพท่ี 2.2 กรอบแนวคิดห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) การผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร
และพลังงาน โดยทัว่ ไปทิศทางของสินค้าเกษตรจะเคลื่อนจากตน้ นำ้ สูป่ ลายน้ำ โดย ต้นน้ำ จะเป็นด้านการผลิต
จากการจัดหาปัจจัยการผลิตเพ่ือทำการผลิต การปลูกเล้ียงจนได้ผลผลิตออกมาส่งต่อไปท่ี กลางน้ำ เป็นส่วน
ของการแปรรูปซึ่งต้องจัดหาวัตถุดิบ ตามความต้องการป้อนสู่กระบวนการแปรรูปให้เป็นสินค้าแต่ละชนิด
เพอ่ื เขา้ สกู่ ลไก ปลายน้ำ ซงึ่ เป็นกระบวนการด้านการตลาดสผู่ ู้บรโิ ภคทั้งในและต่างประเทศ
สำหรับทิศทางของผลตอบแทนจะเป็นในทิศทางตรงข้าม กล่าวคือ ผู้บริโภคจะเป็นต้นทางของ
ผลตอบแทนให้กับผู้ท่ีเกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าการผลิตสินค้าเกษตรชนิดน้ัน ๆ โดยจ่ายผลตอบแทนให้กับ
พ่อค้า/นักธุรกิจท่ีเป็นผู้นำเสนอสินค้าและบริการท่ีตรงตามความต้องการของผู้บริโภค โดยพ่อค้า/นักธุรกิจจะ
เลือกซ้ือสินค้าที่มีคุณภาพ/มาตรฐานจากแหล่งแปรรูปซึ่งอยู่กลางน้ำ ตามปริมาณท่ีผู้บริโภคต้องการซึ่งเป็นไป
ตามกลไกตลาด ซึ่งหากมีปริมาณเพ่ิมมากข้ึนแหล่งแปรรูปก็จะซ้ือผลผลิตทางการเกษตรซึ่งเป็นวัตถุดิบใน
การแปรรูปมากขึน้ ให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตทางการเกษตรได้เพม่ิ ขึ้น
ทั้งน้ี ปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการให้ห่วงโซ่คุณค่าการผลิตสินค้าเกษตรแต่ละชนิด ให้มี
ประสิทธิภาพ คือ การสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตรแต่ละชนิดในตลาดต้ังแต่ต้นน้ำ
ถงึ ปลายน้ำ ในสภาพปัจจุบนั ประเทศไทยยังประสบปัญหาการผลิตท่ีไมส่ อดคล้องกับความต้องการของตลาดใน
สินค้าเกษตรหลาย ๆ ชนิด ซ่ึงเป็นปัญหาสำคัญที่สร้างความสูญเสียโอกาสในการพัฒนาต่าง ๆ ส่งผลต่อ
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมตามมาในหลายกรณี
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการขับเคล่ือนการผลิตสินค้าเกษตรส่วนต้นน้ำเป็น
หลักและสนับสนุนการขับเคลื่อนส่วนกลางน้ำและปลายน้ำให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ต้องทำความเข้าใจโจทย์
สำคญั ท่ตี ้องเร่งดำเนินการทง้ั ในสว่ นตน้ นำ้ กลางนำ้ และปลายน้ำ โดยในเบ้ืองต้นสามารถสรุปได้จากภาพที่ 2.3

22

โจทยส์ ำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

มีขอ้ มูลเชิงพ้ืนที่ ทง้ั ปจั จัย รู้ข้อมลู ความตอ้ งการผลผลิต มชี อ่ งทางหรือวิธีการที่จะรูข้ อ้ มูล
การผลิต เกษตรกรทชี่ ัดเจน เกษตรแตล่ ะชนดิ ทใ่ี ชเ้ ปน็ วัตถดุ ิบ ปรมิ าณและคุณภาพสนิ คา้ ข้อมูล
เพยี งพอหรอื ไม่ ของหน่อยธุรกิจ/โรงงานแปรรปู ท้งั แนวโนม้ ความต้องการสนิ คา้ ที่มีอยู่
ในเชิงปรมิ าณและคุณภาพหรือไม่ ในตลาดหรือไม่ อยา่ งไร
มีข้อมูลการผลติ และผลผลติ ทง้ั
ปริมาณและคณุ ภาพสินคา้ ศักยภาพของสหกรณ์/วสิ าหกจิ / มีช่องทางหรอื วธิ ีการท่จี ะรขู้ อ้ มลู
การเกษตรทีช่ ดั เจนเพยี งพอหรอื ไม่ กลมุ่ เกษตรกรในการแปรรูปสนิ คา้ ความต้องการสินค้าท่ีผลติ จาก
และการสร้างมูลคา่ เพ่ิมเปน็ อย่างไร ผลผลติ ทางการเกษตรทัง้ เชงิ
มีชอ่ งทางและขอ้ มูลข่าวสาร ปริมาณและคณุ ภาพหรือไม่
องค์ความรเู้ พ่ือสนบั สนุนการผลิตที่ มกี ารสรา้ งเครอื ข่ายความรว่ มมือ อยา่ งไร
มีประสทิ ธิภาพเพยี งพอหรือไม่ กับหนว่ ยงานภาครฐั เอกชน
สถาบนั การศึกษาในด้านข้อมลู / มีการสรา้ งเครอื ขา่ ยความรว่ มมือ
มีแนวทางการบรหิ ารจดั การและ เทคโนโลย/ี แนวโนม้ ความตอ้ งการ กับหนว่ ยงานภาครฐั เอกชน
สง่ เสริมการผลติ ให้เกดิ ผลผลติ ทางการเกษตรเพอ่ื แปรรปู ที่ สถาบนั การศึกษาในดา้ นขอ้ มลู /
ประสทิ ธิภาพสูงสดุ อย่างไร เพยี งพอหรือไม่ ความต้องการผู้โภค/ตลาดทงั้ ใน
และต่างประเทศ ที่เพียงพอหรือไม่
ฯลฯ ฯลฯ
ฯลฯ

ภาพที่ 2.3 โจทย์สำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการเพิ่มประสทิ ธิภาพบริหารจดั การห่วงโซ่คณุ ค่า
การผลิตสนิ คา้ เกษตร

สำหรับการจัดการโซ่อุปทานเป็นกระบวนการในการบูรณาการเก่ียวกับการจัดการความสัมพันธ์
(Relationship) ระหว่างคู่ค้า (Supplier) และลูกค้าต้ังแต่ต้นน้ำซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดวัตถุดิบ (Origin -
Upstream) จนสินค้าน้ันได้มีการเคล่ือนย้ายจัดเก็บและส่งออกในแต่ละช่วงของโซ่อุปทานจนสินค้าได้ส่งมอบ
ไปถึงผู้รับคนสุดทา้ ย (Customer Down Stream) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสทิ ธผิ ลทั้งในเชิงต้นทุนและ
ระยะเวลาในการสง่ มอบ (ธนติ โสรตั น์, 2550)

องค์ประกอบของความหมายของการจัดการโซ่อุปทาน ได้แก่ 1) การจัดการความสัมพันธ์
(Relationship Management) เป็นการจัดการปฏิสมั พนั ธร์ ะหว่างตวั บริษทั (Firm) กบั คู่ค้าทเ่ี ปน็ (Source of
supplier) และลูกค้าที่เป็น (End Customer) โดยประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการโซอ่ ุปทานอยู่ท่ี
การจัดความสมดุลในการพ่ึงพาระหว่างหน่วยงานธุรกิจในโซ่อุปทานในส่วนท่ีเก่ียวข้องอุปสงค์และอุปทาน
การจัดการความสัมพันธ์ท่ีมีประสิทธิภาพจะต้องพัฒนาไปสู่วัฒนธรรมขององค์กรกับองค์กรมากกว่าการสร้าง
ความสัมพันธ์ในลักษณะท่ีเป็นบุคคลท่ีเป็น Personal Relationship การจัดความสัมพันธ์ไม่ใช่แค่เป็น

23

"Good Customer" แต่ต้องพัฒนาไปสู่ระดับท่ีเป็น "Good Partnership" ท่ีมีความยุติธรรมทางธุรกิจต่อกัน
รวมถึงการไว้วางใจและเชื่อถือต่อกัน 2) การจัดการความร่วมมือ (Chain Collaborate Management)
ระหว่างองค์กรหรือระหว่างหน่วยงานต่างบริษัท (Firm) เพ่ือให้เกิดการประสานภารกิจ (Co-Ordination) ใน
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การไหลลื่นของข้อมูลข่าวสารในโซ่อุปทานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยกิจกรรม
การจัดการโลจิสติกส์ ซ่ึงประสบความล้มเหลว ปัจจัยสำคัญเกิดการขาดประสิทธิภาพของการประสาน
ประโยชนแ์ ละความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมทางโลจสิ ติกส์ร่วมกันในการกระจายสินคา้ และสง่ มอบสินค้า
ระหว่างองค์การต่าง ๆ ภายในโซ่อุปทานในลักษณะท่ีเป็นบูรณาการทางธุรกิจ (Business Integration) ซึ่ง
ผลกระทบจากการขาดประสทิ ธิภาพหน่วยงานใดหรอื องค์กรใดในโซ่อปุ ทานจะสง่ ผลต่อต้นทุนรวมและส่งผลต่อ
ขีดความสามารถในการแข่งขันของทุกธุรกิจในโซ่อุปทาน 3) การจัดการความน่าเชื่อถือ (Reliability Value
Management) การเพิ่มระดับของความเช่ือถือ เชื่อมั่น ที่มีต่อการส่งมอบสินค้าที่ตรงต่อเวลา ไปสู่
ความไว้วางใจและความน่าเช่ือถือ ในการท่ีจะเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการความไหลลื่น ของสินค้าในโซ่
อุปทาน ภายใต้เง่ือนไขของข้อจำกัดของสถานที่ต่อเงื่อนไขของเวลา (Place and Time Utility) จำเป็นที่ต่าง
ฝ่ายจะต้องมีการปฏบิ ัติการอย่างเป็น (Best Practice) จนนำไปสกู่ ารเช่ือม่ันท่ีเป็น (Reliability Value) ซึง่ เป็น
ปัจจัยในการลดต้นทุน สินค้าคงคลังส่วนเกิน หรือเรียกว่า Buffer Inventory 4) การรวมพลังทางธุรกิจ
(Business Synergy) ความร่วมมือทางธุรกิจในกลุ่มของ Supplier ในโซ่อุปทานท้ังท่ีมาจากกลุ่มอุตสาหกรรม
สนับสนนุ ท่ีเป็น Support Industries เช่นผู้ผลิตกล่อง ผู้ผลิตสลาก ผ้ผู ลติ วัตถุดิบ วัสดุ – อปุ กรณ์ทใ่ี ช้การผลิต
บรรจุ ผสม และประกอบรวมตลอดไปจนถึงธุรกิจ ให้บริการ โลจิสติกส์ โดยบริษัทจะต้องมียุทธศาสตร์ใน
การจัดการความสมดุลของความสัมพันธ์ของคู่ค้า (Suppliers Relationship Management : SRM) กับ
ความสัมพันธ์ ของคู่ค้าที่เป็นลูกค้า (Customer Relationship Management : CRM) ท้ังระบบการสื่อสาร
การประสานผลประโยชน์ท่ีเป็น Win - Win Advantage และการใช้ยุทธศาสตร์ร่วมกัน ภายใต้ลูกค้า
คนสดุ ทา้ ยเดียวกนั

ห่วงโซ่อุปทานมีความแตกต่างของโลจิสติกส์ คือ โลจิสตกิ สเ์ ป็นกระบวนการทเี่ น้นกจิ กรรมเกี่ยวกับ
การเคลือ่ นยา้ ย การจัดเก็บ การกระจายสนิ ค้าและบรกิ าร การวางแผนการผลติ และการส่งมอบสินค้าจากผ้ผู ลิต
ไปยังผู้บริโภค ในขณะที่โซ่อุปทานจะเป็นกิจกรรมท่ีเก่ียวข้องกับการจัดการปฏิสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ
ของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในองค์กรและระหว่างองค์กรต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องสอดประสานใน
การทำงานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการส่งมอบสินค้าภายใต้ต้นทุนท่ีสามารถแข่งขันได้
โดยความแตกต่างที่ชัดเจนนั้นเห็นได้จากโลจิสติกส์จะเน้นพันธกิจเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ
รวมทั้งข้อมูลข่าวสาร ส่วนโซ่อุปทานจะเน้น บทบาทเกี่ยวกับความสัมพันธ์ และความร่วมมือระหว่างองค์กร
เพื่อให้โซ่อุปทานมีความบูรณาการโดยกิจกรรมของโลจิสติกส์จะดำเนินอยู่ภายในโซ่อุปทาน ดังนั้น โลจิสติกส์
และโซอ่ ุปทานจึงเป็นกิจกรรมทด่ี ีลกั ษณะเป็นบูรณาการยากทีจ่ ะแยกแยะได.้



บทที่ 3
ข้อมลู พน้ื ฐาน

ในการศึกษาครง้ั นี้ได้รวบรวมขอ้ มูลพื้นฐานจากแผนพฒั นาการเกษตรและสหกรณจ์ ังหวดั พ.ศ.2561 –
2565 ฉบับทบทวน ของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดทั้ง 9 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัด
ชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
จงั หวดั นครนายก และจงั หวัดสมุทรปราการ มีรายละเอียดดังน้ี

3.1 ข้อมูลด้านกายภาพ
3.1.1 สภาพท่วั ไป
จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย หรือริมฝั่งทะเลด้านตะวันออกของ

อ่าวไทย มีเนื้อที่รวมทั้งจังหวัดประมาณ 4,363 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,726,875 ไร่ อาณาเขตติดต่อทิศเหนือ
ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยอง
ทศิ ใตต้ ิดตอ่ กบั จงั หวัดระยอง ทิศตะวนั ตกติดต่อกบั ทะเลฝ่ังตะวนั ออกของอา่ วไทย

จังหวัดระยอง ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 3,552 ตารางกิโลเมตร
หรือประมาณ 2,220,000 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับเขต อ.หนองใหญ่ อ.บ่อทอง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
ทิศตะวันออกตดิ ตอ่ กับเขต อ.นายายอาม อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ทิศใตต้ ิดต่อกบั ชายฝ่ังอ่าวไทย ทศิ ตะวนั ตก
ติดต่อกับเขต อ.สตั หีบ อ.บางละมุง จ.ชลบรุ ี

จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 5 ,351 ตาราง
กิโลเมตร หรือประมาณ 3,344,375 ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ทางทิศตะวันออกประมาณ 75 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อทิศเหนือติดต่อกับ จังหวัดนครนายกและจังหวัดปราจีนบุรี ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดชลบุรี
อ่าวไทย และจังหวัดจันทบุรี ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระแก้ว ทิศตะวันตกติดต่อ
กบั จงั หวัดสมุทรปราการ จงั หวัดปทมุ ธานี และกรงุ เทพมหานคร

จังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศ ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออก
ของอ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 6,338 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,961,250 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือติดต่อ
กับอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว
ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอบอ่ ไร่ อำเภอเขาสมิง จังหวดั ตราด และจงั หวัดพระตะบอง ราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศใต้ติดต่อกับทะเลอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอเขาชะเมา อำเภอแกลงจังหวัดระยอง และอำเภอ
บอ่ ทอง จังหวัดชลบุรี

จังหวัดตราด อาณาเขตด้านชายแดนติดกับประเทศกัมพูชาทั้งทางบกและทางทะเล ยาว 330
กิโลเมตร ซึ่งมีแนวชายแดนธรรมชาติติดทิวเขาบรรทัด เป็นเส้นแบ่งเขตแดนตลอดแนวยาว 165 กิโลเมตร
และมีแนวอาณาเขตทางทะเลยาว 165.5 กิโลเมตร มีอาณาเขตพื้นที่ทางบก 2,819 ตารางกิโลเมตร หรือ
1,761,000 ไร่ มีพน้ื ทีป่ กครองทางทะเล 7,257 ตารางกิโลเมตร ทศิ เหนือตดิ กับอำเภอขลุง จงั หวัดจันทบุรีและ

25

ราชอาณาจกั รกัมพูชา ทิศใตต้ ิดกับอา่ วไทยและน่านนำ้ ทะเลราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศตะวันออกตดิ กบั ประเทศ
กัมพูชา มที ิวเขาบรรทัดเปน็ แนวกัน้ เขตและทิศตะวนั ตกตดิ กบั อำเภอขลงุ จังหวัดจนั ทบรุ ี

จังหวดั สระแกว้ ตัง้ อยภู่ าคตะวนั ออกของประเทศไทย มเี น้อื ท่ีประมาณ 7,195 ตารางกิโลเมตร
หรือ 4,497,453 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอโนนดินแดง
จังหวัดบุรีรัมย์ ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ทิศตะวันออกติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอกบินทร์บุรี อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัด
ฉะเชิงเทรา

จังหวัดปราจีนบุรี ตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศ มีอาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับจังหวัด
นครราชสีมา ทศิ ตะวนั ออกติดตอ่ กบั จงั หวดั สระแก้ว ทิศตะวนั ตะวันตกตดิ ตอ่ กบั จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา และจงั หวดั
นครนายก ทิศใต้ตดิ ต่อกับจงั หวัดฉะเชิงเทรา

จังหวัดนครนายก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 2,122 ตาราง
กิโลเมตรหรือประมาณ 1,326,250 ไร่ อาณาเขตติดต่อทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดสระบุรีและจังหวัด
นครราชสีมา ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดปราจีนบุรี ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัด
ปราจนี บรุ ีและจังหวัดฉะเชงิ เทรา ทิศตะวนั ตกติดต่อกบั จังหวดั ปทุมธานี

จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ริมฝั่งแมน่ ้ำเจ้าพระยาตอนปลายสดุ ของแม่น้ำเจ้าพระยาและเหนอื
อ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 1,004 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 627,557 ไร่ ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย
อาณาเขตติดต่อทิศเหนือติดต่อกับกรุงเทพมหานคร ทิศใต้ติดต่อกับอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัด
ฉะเชงิ เทรา ทิศตะวนั ตกตดิ ต่อกบั กรงุ เทพมหานคร

3.1.2 สภาพพนื้ ทีแ่ ละการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรของจงั หวัด
1) ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดชลบุรี โดยทั่วไป สภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาด

อยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัดในเขตอำเภอพนัสนิคม บ้านบึง หนองใหญ่ ศรีราชา บางละมุง และอำเภอ
บ่อทอง มีประมาณร้อยละ 63.84 ของเนื้อที่จังหวัด รองลงมาเป็นพื้นที่ราบลุ่ม อยู่ทางด้านเหนือและชายฝั่ง
ทะเล ประมาณร้อยละ 25.03 ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ภูเขา ประมาณร้อยละ 11.23 ลักษณะเป็นเทือกเขาอยู่
ทางด้านใต้ของอำเภอบ่อทอง ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จันทบุรี และระยอง ระหว่างอำเภอ
หนองใหญ่ และอำเภอบ่อทอง ระหวา่ งอำเภอบ้านบงึ กับอำเภอศรรี าชาและกระจายอยู่ทางด้านตะวันออกของ
อำเภอศรีราชา ดา้ นตะวนั ตกเฉยี งเหนือของอำเภอบางละมุงและด้านใต้ของอำเภอสตั หบี

ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดระยอง สามารถแบ่งได้ 1. หาดทรายและสันทราย เนื่องจาก
จังหวัดระยองอยู่ติดชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย จึงมีแนวหาดทราย และสันทรายเป็นแนวยาวอยู่ทางใต้สุดของ
จังหวัด ตามแนวของชายฝั่งทะเล คือ แนวตะวันออก-ตะวันตก 2. ที่ลุ่มต่ำและที่ราบเรียบ บริเวณที่ลุ่มต่ำมี
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มต่ำมาก น้ำทะเลท่วมถึง มีน้ำแช่ขังตลอดปีหรือเกือบตลอดปี ส่วนที่ราบเรียบจะอยูถ่ ดั
ขึ้นมาจากที่ลุ่มต่ำ 3. บริเวณที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดและลูกคลื่นลอนชัน 4. บริเวณที่เป็นเนินเขาและที่ลาด
เชงิ เขา บรเิ วณพน้ื ทีน่ ้ีจะมีลกั ษณะเป็นเนนิ เขาลกู เล็กๆ ติดต่อกันไป หรอื เปน็ ที่ลาดเชิงเขา

26

จงั หวัดฉะเชงิ เทรา สามารถแบง่ สภาพการพัฒนาตามกายภาพของพื้นที่ ออกเปน็ 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 เป็นพื้นที่ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ของจังหวัด ติดต่อกับกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการและ
จังหวัดชลบรุ ี มีสภาพเปน็ ท่ีล่มุ สว่ นที่ 2 เป็นพ้นื ทฝ่ี ่งั แมน่ ำ้ บางปะกง (พน้ื ที่ตอนกลางของจงั หวดั ) ส่วนท่ี 3 เป็น
ทร่ี าบสลบั ภเู ขา มปี า่ ไม้ เขตรักษาพันธส์ุ ัตว์ปา่ และแหล่ง ตน้ นำ้ ลำธารในปัจจบุ ันป่าสงวนแห่งชาตแิ ควระบม–สียดั

จังหวัดจันทบุรี ลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. ป่าไม้ ภูเขา และเนินสูง
อยู่ทางด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัด และตอนบนของอำเภอขลุง 2. ที่ราบสลับภูเขา อยู่ตอนกลางของ
จงั หวัด 3. ท่รี าบฝั่งทะเล มลี กั ษณะเป็นท่ีราบชายฝ่ังทะเลสลับดว้ ยเนนิ เขาและบรเิ วณป่าชายเลน

จังหวัดตราด แบ่งออกเป็น 4 เขตดังน้ี 1. ที่ราบลุ่มบริเวณลุ่มนำ้ ได้แก่ บริเวณที่ราบตอนกลาง
และตะวนั ออกประกอบด้วยลำน้ำสำคัญหลายสาย 2. ทร่ี าบบริเวณภูเขา มพี ื้นทีก่ ว้างขวางมากเน่ืองจากมีภูเขา
กระจายอยทู่ ่วั ไปในแทบทุกสว่ นของ 3. ทีส่ ูงบริเวณภเู ขา ภเู ขาในจังหวดั ตราดมบี ริเวณกวา้ งขวางมากทางตอน
เหนือแผ่ลงมาทางตอนใต้ตามพรมแดนจนถึงสุดเขตทางตอนใต้ของจังหวัด ซึ่งเป็นแนวภูเขาสลับซับซ้อนส่วน
ด้านตะวันตกมีภูเขาที่ไม่สูงนักรวมกันอยู่ในบริเวณแคบ ๆ 4. บริเวณที่ราบต่ำฝั่งทะเล ตามบริเวณฝั่งเกือบ
ตลอดแนวเปน็ บริเวณท่ีถูกนำ้ จากแม่นำ้ ลำคลองตา่ ง ๆ พดั เอาโคลนมาทบั ถมเปน็ จำนวนมากทำใหเ้ กดิ ทรี่ าบต่ำ

จงั หวดั สระแกว้ โดยรวมเป็นพื้นที่ราบถงึ ราบสงู มีภูเขาสูง สลบั เนินเขา ตอนบนของจังหวัดเป็น
พื้นที่ภูเขามีเทือกเขาบรรทัดซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำบางปะกง ในเขตอำเภอตาพระยา อำเภอวัฒนานคร
และอำเภอเมืองสระแก้ว ส่วนทางตอนใต้ของพื้นที่จังหวัด บริเวณอำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอคลองหาดและ
อำเภอวังน้ำเย็น เป็นพื้นที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขาลาดเทไปยังตอนกลางของจังหวัด พื้นที่ราบตอนกลางมี
ลักษณะลาดเทไปทางทิศตะวันออกบริเวณอำเภออรัญประเทศแถบประเทศกัมพูชา และลาดเทไปยังทิศ
ตะวนั ตกไปยังบรเิ วณอำเภอเมืองสระแกว้ อีกท้งั ยงั พบพื้นท่เี นนิ เขากระจายอยู่ทั่วไป

จังหวัดปราจนี บุรี มีลักษณะภูมิประเทศตอนบนเป็นที่ราบสูงและป่าทึบสลบั ซับซ้อน มียอดเขา
สูง 1,326 เมตร และเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำหลายสายมีธรรมชาติที่สวยงาม ทิศเหนือเต็มไปด้วยเทือกเขา
และตอนล่างเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ เหมาะแก่การเพาะปลูก ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำปราจีนบุรี
เกิดจากแควหนุมานและแควพระปรงไหล มาบรรจบกันที่อำเภอกบินทร์บุรี และไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอ
บางปะกง จังหวดั ฉะเชงิ เทรา

จังหวัดนครนายก สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบทางตอนเหนือและตะวันออกเป็นภูเขาสูงชัน
ในเขตอำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก และอำเภอปากพลีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับอีก 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี นครราชสีมาและปราจีนบุรี มีเทือกเขาติดต่อกับเทือกเขา
ดงพญาเย็นมียอดเขาสูงที่สุดของจังหวัด คือยอดเขาเขียวมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,351 เมตร ส่วนทาง
ตอนกลางและตอนใต้เป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่เรียกว่า
“ทร่ี าบกรุงเทพ”

จังหวัดสมุทรปราการ ลักษณะภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน
กลาง แยกพื้นที่ออกเป็นด้านตะวันตก และด้านตะวันออก และมีลำคลองมากมาย ลักษณะภูมิประเทศ
โดยท่วั ไป สามารถแบง่ พืน้ ที่ออกไดเ้ ปน็ 3 ส่วน คอื 1. บริเวณรมิ แม่น้ำเจ้าพระยาท้ังสองฝง่ั ซึ่งที่ราบลุ่มทั้งหมด

27

2. บริเวณตอนใต้ใกล้ชายฝั่งทะเล เป็นพื้นที่น้ำทะเลท่วมถึง และพื้นดินจะเค็มจัดในฤดูแล้ง ลักษณะทาง
กายภาพของดินเป็นเลนเหลวลุ่มลึก 3. บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ทางตอนเหนือ และทางตะวันออก ซึ่งเป็นที่
ราบลุ่มขนาดใหญ่ตดิ ตอ่ กันตลอด มคี ลองชลประทาน และประตนู ้ำชลประทานหลายแห่ง

2) ลกั ษณะภมู ิอากาศ
จังหวัดชลบุรีมีลักษณะอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ทำให้มีฝนตกชุกช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มี
อากาศหนาวและแห้งแลง้ ในช่วงเดอื นพฤศจิกายน – กมุ ภาพนั ธ์ และเน่อื งจากทีต่ ัง้ ของจังหวดั ชลบรุ ี ทางทศิ
ตะวนั ตกติดกับทะเล จึงทำใหก้ ารเปลีย่ นแปลงของสภาพภมู ิอากาศมีไม่มากนัก
จังหวัดระยองมีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ลมทะเลพัดผ่านตลอดปี อากาศอบอุ่น
ไม่ร้อนจัด บริเวณชายฝั่งทะเลเย็นสบาย ฤดูฝนจะมีฝนตกชุกระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมของทุกปี
ฤดูแล้งเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนเมษายน จังหวัดระยองได้รับอิทธิพลจากลมประจำฤดูกาล ได้แก่
ลมมรสมุ ตะวนั ตกเฉยี งใต้ ลมพายหุ มนุ เขตรอ้ น และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้นยงั ได้รับอิทธิพล
จากลมประจำถ่นิ อยู่เป็นประจำ
จังหวดั ฉะเชิงเทรามีลกั ษณะอากาศรอ้ นชน้ื เขตศูนยส์ ตู ร โดยมลี มมรสุมพดั ปกคลมุ เกือบตลอดปี
ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม โดยมีลมตะวันออกและลมใต้พัดปกคลุม ทำให้มีอากาศ
ร้อนอบอ้าวและอากาศร้อนจัดเป็นบางวัน บางครั้งอาจมีพายุฤดูร้อน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถงึ
กลางเดือนตุลาคม โดยมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประกอบกับมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่าน
ภาคกลางและภาคตะวันออกทำให้มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไปและตกหนักบางพื้นที่ ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่
กลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดปกคลุม ประกอบกับบริเวณ
ความกดอากาศสูงพัดผ่านทำใหท้ อ้ งฟา้ โปรง่ อากาศเยน็ กบั มีหมอกในตอนเช้า และมฟี า้ หลวั ในตอนกลางวัน
จังหวัดจันทบุรีมีสภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน เนื่องจากได้รับอิทธิพลของม รสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกตลอด 6 เดือน (มิถุนายน-สิงหาคม) โดยท่ี
อณุ หภูมิในแต่ละฤดูของจงั หวัดจะไม่มคี วามแตกตา่ งกันมากนัก อนั เนอ่ื งมาจากการตงั้ อยู่ใกล้กับทะเล ฤดหู นาว
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือน
พฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นระยะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้
พดั ปกคลมุ ประเทศไทย
จังหวัดตราดมีสภาพที่แตกต่างไปจากจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเพราะนอกจากจะได้รับ
อิทธิพลจากลมมรสุมที่พัดผ่านประจำแล้วยังได้รับอิทธิพลจากลมทะเลอีกด้วยจึงทำให้ภูมิอากาศเป็นแบบ
รอ้ นชน้ื จงั หวัดตราดมีอาณาเขตตดิ กับทะเลโดยตลอดลมทะเลสามารถช่วยบรรเทาความร้อนที่แผ่มาพร้อมกับ
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนในฤดูหนาวก็มีทิวเขาบรรทัด ซึ่งขนานกับแนวชายฝั่งช่วยบรรเทากำลังแรงของ
ลมมรสุมตะวันออกเฉยี งเหนืออันมีผลทำให้ความหนาวเย็นลดลงและยังเป็นกำแพงต้านพายโุ ซนร้อนซึ่งเคลือ่ น
ตัวจากประเทศสาธารณะรฐั เวียดนามเขา้ สู่ประเทศไทย

28

จังหวัดสระแก้ว แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล ฤดูร้อน เริ่มต้นแต่เดอื นกุมภาพันธ์ - เดือนเมษายน
ฤดูฝน ตง้ั แต่เดอื นพฤษภาคม - เดือนตุลาคม ฤดหู นาวต้งั แตเ่ ดือนพฤศจกิ ายน - เดอื นมกราคม อากาศเย็นและ
มหี มอกในตอนเชา้

จงั หวัดปราจนี บุรี ไดร้ บั อิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวนั ตกเฉียงใต้
ประกอบกับลมฝ่ายใต้ที่พัดปกคลุมภาคตะวันออกรวมทั้งหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุม
ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ฤดูร้อนเริ่มต้นแต่เดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม และ
ฤดูหนาวเร่มิ ตัง้ แตเ่ ดอื นตุลาคมถึงเดือนกมุ ภาพนั ธ์

จังหวัดนครนายก ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์และสิ้นสุดประมาณกลางเดือน
พฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงท่ีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
พัดปกคลุมประเทศไทย ซึ่งจะนำความช้ืนจากทะเลอันดามันพัดผ่านอ่าวไทยเข้าสูภ่ าคตะวนั ออก ทำให้อากาศ
จะชุ่มช้ืนและมีฝนตกชกุ ทวั่ ไป ฤดหู นาวเรม่ิ ตงั้ แต่กลางเดอื นตลุ าคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

จังหวัดสมุทรปราการมีอากาศแบบชายทะเล เนื่องจากมีพื้นที่บางส่วนอยู่ติดกับอ่าวไทย
จึงได้รับอิทธิพลของลมทะเลและลมมรสุมตะวนั ตกเฉียงใต้ อากาศเยน็ สบายตลอดปี ไม่รอ้ นจดั และไม่หนาวเย็น
จนเกินไป ฤดูร้อนเริ่มเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มเดือนมิถุนายน – ตุลาคม ฤดูหนาวเริ่มเดือน
พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

3) ปริมาณน้ำฝน
จังหวัดชลบุรี มีปริมาณน้ำฝนในปี 2562 จำนวน 1,083.2 มิลลิเมตร มีปริมาณน้ำฝนลดลง
เมอื่ เทยี บกับเม่อื ปีทผี่ า่ นมา ท่ีมีปริมาณนำ้ ฝน จำนวน 1,332.8 มิลลเิ มตร
จังหวัดระยอง มีปริมาณน้ำฝนในปี 2562 จำนวน 946.00 มิลลิเมตร มีปริมาณน้ำฝนลดลง
เมอื่ เทยี บกบั เม่อื ปีทีผ่ ่านมา ทมี่ ีปริมาณน้ำฝน จำนวน 1,008.10 มลิ ลเิ มตร
จงั หวัดฉะเชงิ เทรา มีปริมาณน้ำฝนในปี 2562 จำนวน 920.50 มลิ ลเิ มตร มปี ริมาณน้ำฝนลดลง
เมือ่ เทียบกับเม่ือปีท่ีผา่ นมา ที่มีปรมิ าณน้ำฝน จำนวน 1,920.80 มลิ ลิเมตร
จังหวดั จนั ทบุรี มีปริมาณน้ำฝนในปี 2562 จำนวน 2,545.40 มิลลเิ มตร มปี ริมาณนำ้ ฝนมากข้ึน
เมอื่ เทียบกับเมอ่ื ปที ผ่ี า่ นมา ที่มปี ริมาณนำ้ ฝน จำนวน 2,402.20 มลิ ลิเมตร
จังหวัดตราด มีปริมาณน้ำฝนในปี 2562 จำนวน 5,357.50 มิลลิเมตร มีปริมาณน้ำฝนมากขึ้น
เมอื่ เทียบกบั เมอ่ื ปที ีผ่ ่านมา ทีม่ ปี รมิ าณนำ้ ฝน จำนวน 4,885.00 มิลลเิ มตร
จังหวัดสระแก้ว มีปริมาณน้ำฝนในปี 2562 จำนวน 1,123.1 มิลลิเมตร มีปริมาณน้ำฝนลดลง
เมื่อเทยี บกับเมื่อปที ีผ่ ่านมา ที่มปี ริมาณน้ำฝน จำนวน 1,726.2 มิลลิเมตร
จังหวัดปราจีนบุรี มีปริมาณน้ำฝนในปี 2562 จำนวน 1,341.40 มิลลิเมตร มีปริมาณน้ำฝน
ลดลงเม่ือเทียบกับเมอ่ื ปที ีผ่ า่ นมา ทม่ี ปี รมิ าณน้ำฝน จำนวน 1,979.90 มลิ ลิเมตร
จังหวัดนครนายก มีปริมาณน้ำฝนในปี 2562 จำนวน 1,341.40 มิลลิเมตร มีปริมาณน้ำฝน
ลดลงเมอ่ื เทยี บกบั เม่ือปีที่ผา่ นมา ท่มี ีปรมิ าณน้ำฝน จำนวน 1,720.6 มลิ ลเิ มตร


Click to View FlipBook Version