The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการ เชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by forestgumz, 2022-11-15 22:29:24

แนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการ เชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

แนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการ เชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

179

ดูดตะกอนและเศษอาหารออกจากพ้ืนบ่อ ผนงั บอ่ ดา้ นในทาสี Penguard Enamel (สีอพี ๊อกซีประเภทน้ำหนัก
โมเลกลุ สูง ชนดิ สองสว่ นผสม) เพอ่ื สะดวกในการทำความสะอาด และสังเกตอาการลกู ก้งุ ภายในบอ่

- บ่อซีเมนต์สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความจุประมาณ 5 - 25 ลูกบาศก์เมตร ความสูงของบ่ออยู่
ระหว่าง 60 - 80 เซนติเมตร บ่อที่มีขนาดใหญ่มากช่วยให้อุณหภูมิน้ำในบ่อไม่เปลีย่ นแปลงรวดเรว็ มากในรอบวนั
ซ่ึงส่งผลดีต่อสุขภาพลูกกุ้งและจะให้ผลผลิตสูง แต่ไม่สะดวกในการจัดการ อีกทั้งใช้น้ำปริมาณมากในการ
อนุบาลลูกกุ้ง นอกจากน้ีมุมบ่อมักเป็นจุดอับ ซึ่งอาจแก้ไขโดยทำมุมบ่อให้โค้งมน ทั้งนี้ผลผลิตลูกกุ้งข้ึนอยู่กับ
ความสามารถในการจัดการดแู ลทด่ี แี ละการแก้ไขปญั หาตา่ ง ๆ

(3) บ่อเพาะไรน้ำเค็ม ไรน้ำเค็มหรืออาร์ทีเมีย (Artemia sp.) มีความสำคัญในการอนุบาล
ลูกกุ้งก้ามกราม เพราะเป็นอาหารหลักที่ใช้อนุบาลลูกกุ้งต้ังแต่แรกฟักจนพัฒนาเป็นกุ้งตัวเต็มวัยหรือกุ้งคว่ำ
(post larvae) บ่อเพาะไรน้ำเค็ม อาจจะเป็นบ่อซีเมนต์กลม ถังไฟเบอร์กลาส หรือถังรูปกรวย โดยทั่วไป
มีความจุประมาณ 250 - 1,000 ลิตร ใช้เพาะไรน้ำเค็มเพ่อื เปน็ อาหารสำหรบั ลูกกุ้งในแตล่ ะวนั

(4) บ่อพักน้ำท้ิง การระบายน้ำท้ิงไม่ควรระบายโดยตรงลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ และควรมี
บอ่ พกั นำ้ ทง้ิ ทีม่ ีขนาดเพียงพอสำหรับรองรบั น้ำทงิ้ จากระบบการเพาะฟกั

3) ระบบและอปุ กรณ์เคร่อื งมืออื่น ๆ
(1) ระบบน้ำและระบบระบายน้ำทิ้ง เครื่องสูบน้ำที่ใช้ควรมีขนาดเหมาะสมกับขนาดของ
โรงเพาะฟัก อาจใช้แบบที่ฉุดด้วยมอเตอร์แบบหอยโข่งขนาดท่อส่ง 2 - 3 น้ิว ขึ้นอยู่กับขนาดบ่อ หรือใช้
เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าแบบจุ่ม ซึ่งสามารถใช้งานได้อเนกประสงค์ในโรงเพาะฟัก การวางระบบท่อน้ำเพื่อเชื่อมต่อ
ระหว่างบ่อน้ำเค็ม บ่อน้ำจืด และบ่อน้ำผสมเพื่อนำไปยังบ่อเพาะและอนุบาลลูกกุ้งควรเป็นท่อที่แยกจากกัน
เพือ่ สะดวกในการใชน้ ้ำ และปอ้ งกนั การปนเปือ้ นของสารเคมจี ากบ่อเตรยี มน้ำ และเชื้อโรคหรอื สง่ิ แปลกปลอม
อื่น ๆ ที่จะเข้าสู่บ่ออนุบาล การใช้ระบบท่อน้ำควรระวังน้ำที่ค้างอยู่ในท่ออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกกุ้งได้
ส่วนระบบระบายน้ำท้ิงจากบ่อเพาะและอนุบาลลูกกุ้งโดยปกติใช้วิธีลดระดับน้ำในแต่ละบ่อลงรางระบายน้ำรวม
และไหลลงสู่บ่อพักน้ำทิ้งภายนอกโรงเพาะฟัก ควรจัดทำระบบท่อส่งน้ำและระบบระบายน้ำทิ้งให้สะดวก
ในการใชง้ านและทำความสะอาดไดง้ ่าย
(2) ระบบเพิ่มอากาศในน้ำ การเพิ่มอากาศในบ่อเพาะและอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม
มีความสำคัญมาก เนื่องจากลูกกุ้งต้องการออกซิเจนสูงในการเจริญเติบโต ปริมาณออกซิเจนในบ่ออนุบาล
ควรสูงกว่า 5 พีพีเอ็ม (part per million - ส่วนในล้านส่วน) การเพิ่มอากาศทำได้โดยใช้เครื่องเพิ่มอากาศ
ในน้ำซึ่งมีหลายแบบ เช่น เครื่องเป่าอากาศแบบหมุน (roots blower) หรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor)
ขนาดของเครอ่ื งเพม่ิ อากาศต้องเหมาะสมกบั จำนวนและขนาดของบ่อตา่ ง ๆ ในโรงเพาะฟัก กรณที ่ใี ช้เคร่ืองอัด
อากาศควรมีทอ่ พกั น้ำมนั เพ่ือปอ้ งกันไมใ่ ห้น้ำมนั หล่อลนื่ ไหลออกมาพร้อมกับลมท่ีจะผา่ นไปยงั บ่ออนุบาลลูกกุ้ง
ลมที่ออกจากเครื่องเพิ่มอากาศจะไปสู่บ่อต่าง ๆ โดยมีสายยาง และหัวทรายหรือท่อพีวีซีขนาดเล็กเจาะรูวาง
ก้นบ่ออนุบาล และควรมีวาล์วควบคมุ แรงดันลมตามต้องการ จำนวนหัวทรายต้องให้เพียงพอกับขนาดของบอ่
อนุบาลเพื่อช่วยให้อาหารกระจายทั่วบ่อเพื่อลูกกุ้งจับกินได้สะดวก เนื่องจากต้องให้อากาศตลอดเวลา
การอนุบาล จึงควรมีเคร่อื งยนตส์ ำรองสำหรับหมนุ เครอื่ งเปา่ อากาศกรณีไฟฟา้ ดับ

180

(3) อปุ กรณ์ที่จำเป็นอน่ื ๆ ในการปฏิบตั งิ าน คอื
- เครื่องวัดความเค็ม (salinometer) หรอื เครอื่ งวดั ความถว่ งจำเพาะ (hydrometer)
- เครื่องมือวดั ความเป็นกรดเปน็ ดา่ ง (pH meter)
- เคร่ืองวดั อณุ หภมู ิ (thermometer)
- อปุ กรณ์ในการเตรียมอาหารลกู กงุ้ เชน่ เคร่ืองป่ันอาหาร เตาแก๊ส ต้เู ย็น เป็นตน้
- ท่อดดู ตะกอน
- อปุ กรณอ์ น่ื ๆ เช่น ถุงกรองน้ำ สวงิ ขนาดชอ่ งตาต่าง ๆ กะละมงั อุปกรณ์ลำเลียงลูกกงุ้ เช่น
ถังบรรจุออกซเิ จน ถุงพลาสติก ฯลฯ

การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในระบบ GAP จากเอกสารการเพาะเล้ียงกุ้งก้ามกรามตามมาตรฐาน
GAP ของกรมประมงระบรุ ายละเอยี ดการเลี้ยงกงุ้ กา้ มกราม ดงั นี้

การเลี้ยงกุ้งท่ีไม่ผ่านการอนบุ าล นำลกู กุ้งท่ีคว่ำแล้วจากโรงเพาะฟักปล่อยลงบอ่ เล้ียงในอัตรา
30,000 - 50,000 ตัวต่อไร่ หลังจากน้ันประมาณ 4 เดือนขึ้นไปจึงเริ่มจบั โดยในการจับคร้ังแรก ๆ จะเน้นจบั
กงุ้ ตวั เมยี และกงุ้ แคระแกร็นออก (กงุ้ จกิ๊ โก๋หรอื กุ้งก้ามลาก) จากน้ันจะทยอยจบั กุ้งทโี่ ตได้ขนาดตลาด ขายเดอื น
ละคร้ังจนหมดบ่อ โดยปกตมิ อี ัตรารอดประมาณ 60 - 80 เปอรเ์ ซน็ ต์ วิธนี ี้มีข้อดีคือ ไม่ตอ้ งอนุบาลลูกกุ้ง และ
เป็นวิธีที่เหมาะกับผู้เลี้ยงที่มีจำนวนบ่อน้อย ข้อเสียคือ การปล่อยลูกกุ้งเล็กทำให้มีอัตรารอดไม่แน่นอน
เนื่องจากบางส่วนไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในบ่อได้ การทยอยจับอาจทำให้กุ้งที่เหลือในบ่อ
บอบช้ำและตายได้ และบางคร้ังอาจมีการฟุ้งกระจายของของเสียบริเวณพื้นบ่อทำให้น้ำในบ่อมีคุณสมบัติ
ไม่เหมาะสม

การเล้ียงกุ้งที่ผ่านการอนุบาลน้ำลูกกุ้งที่ผ่านการอนุบาลประมาณ 2 เดือน ซึ่งมีขนาด 2 - 5
กรัมต่อตัว (200 - 500 ตัวต่อกิโลกรัม) ปล่อยลงเล้ียงในอัตรา 8,000 - 10,000 ตัวต่อไร่ หลังจากเลี้ยงในบ่อ
อกี ประมาณ 4 - 5 เดือน ก็สามารถจับหมดบอ่ ได้ ตัวผ้สู ่วนใหญ่จะไดข้ นาดประมาณ 20 ตัวตอ่ กิโลกรัม ตัวเมีย
ขนาด 40 - 50 ตวั ตอ่ กโิ ลกรัม เปน็ วธิ ีที่เหมาะกับผ้เู ล้ียงท่ีมีบ่อจำนวนมาก ข้อดีคือ ได้ผลผลติ กุ้งท่ีมีขนาดใหญ่
สม่ำเสมอ อัตรารอดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 เนื่องจากลูกกุ้งที่ผ่านการอนุบาลมีความแข็งแรงและปรับตัวเข้ากับ
สภาพแวดล้อมในบ่อเล้ียงไดด้ ี และใช้ระยะเวลาเล้ียงส้ัน โดยปจั จบุ ันนยิ มซื้อลกู กุ้งขนาด 2 - 5 กรมั จากฟาร์ม
ทม่ี ีการอนุบาลมาเลี้ยงมากขน้ึ

การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไม ต้ังแต่ปลายปี พ.ศ. 2549 เกษตรกรผู้เล้ียง
กุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ในพ้ืนที่ภาคกลางซึ่งเลี้ยงกุ้งด้วยน้ำความเค็มต่ำประสบปัญหา
การระบาดของไวรัสหัวเหลือง (Yellow-head virus) โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และจังหวัดนครปฐม
(ชลอ และคณะ, 2551) พบการระบาดอย่างต่อเนื่อง โดยกุ้งที่ป่วยพบได้ตั้งแต่อายุประมาณ 40 - 60 วัน
หลังจากปล่อยลูกกุ้งลงเล้ียง การตายของกุ้งจะเริ่มหลังจากกุ้งแสดงอาการป่วยและเพิ่มข้ึนอย่างรวดเร็ว
จนกระทั่งพบกุ้งตายหมดบ่อภายในเวลาไม่กี่วัน (นิติ และคณะ, 2550; ปิยนุช, 2550) ด้วยเหตุผลดังกล่าว
ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ซึ่งเลี้ยงกุ้งด้วยน้ำความเค็มต่ำเปลี่ยนรูปแบบการเล้ียง จากการเล้ียงกุ้งขาวแวนนาไม

181

เพียงชนิดเดียวเป็นการเล้ียงกุ้งขาวแวนนาไมร่วมกับกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ซึ่งจะ
ปล่อยกุ้งขาวแวนนาไมลงเล้ียงก่อนประมาณ 40 - 45 วัน จากน้ัน จึงปล่อยกุ้งก้ามกรามขนาด 5 กรัม ลงไปเสริม
โดยอัตราความหนาแน่นในการปล่อยกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งก้ามกรามจะแตกต่างกัน เกษตรกรบางกลุ่ม
ที่เล้ียงกุ้งขาวเป็นหลักจะปล่อยกุ้งขาวลงเล้ียงในอตั ราความหนาแน่นทสี่ ูงประมาณ 80,000 - 100,000 ตัว/ไร่
แต่ปล่อยกุ้งก้ามกรามในอัตราความหนาแน่นต่ำประมาณ 4,000 - 6,000 ตัว/ไร่ เล้ียงโดยคำนวณอาหาร
เฉพาะกุ้งขาวที่ปล่อย ไม่คำนวณให้อาหารกุ้งก้ามกราม เพื่อให้กุ้งกา้ มกรามกนิ กุ้งขาวที่อ่อนแอจากการตดิ เชื้อ
ในบ่อเลี้ยง ในขณะที่เกษตรกรบางกลุ่มที่เลี้ยงกุ้งก้ามกรามเป็นหลักจะปล่อยกุ้งก้ามกรามลงเล้ียงในอัตรา
ความหนาแน่นสูงประมาณ 8,000 - 10,000 ตัว/ไร่ และปล่อยกุ้งขาวลงเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นต่ำ
ประมาณ 40,000 - 60,000 ตัว/ไร่ เลี้ยงโดยคำนวณใหอ้ าหารเชน่ เดียวกับวธิ แี รกโดยเกษตรกรสว่ นใหญ่พบว่า
การเลี้ยงวิธีน้ี จะทำให้ได้ผลผลิตกุ้งขาวแวนนาไมขนาดใหญ่ และได้กุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่หลังจากเลี้ยง
ประมาณ 120 วัน และทำให้ได้รับผลตอบแทนสูงกว่าการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมเพียงชนิดเดียว หรือ
กุ้งก้ามกรามเพียงชนิดเดียว ซึ่งจะได้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ เนื่องจากปัญหาการระบาดของโรคไวรัสหัวเหลือง
ในกงุ้ ขาวและการระบาดของโรคไวรสั (Macrobrachium rosenbergii Nodavirus; MrNv ) ในกุง้ ก้ามกราม

โรคกุง้ กา้ มกรามและการป้องกนั รักษา จากเอกสารโรคกุ้งก้ามกรามของสถาบันวิจัยสุขภาพ
สตั ว์น้ำจืด สำนักวิจยั และพัฒนาประมงน้ำจดื กลา่ วถึงรายละเอยี ดโรคกงุ้ ก้ามกราม ไว้ดงั น้ี

โรคกุ้งก้ามกรามในโรงเพาะฟัก
1) โรคหางขาว (white tail disease) ปัญหาลูกกุ้งก้ามกรามอายุ 10 วันขึ้นไปอ่อนแอ
และมีอัตราการตายสูง พบว่ามีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสที่มีสารพันธุกรรมชนิดอาร์เอ็นเอ อนุภาค
รูปหกเหลี่ยม สองขนาดคือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 27 และ 15 นาโนเมตร ในครอบครัว Nodaviridae
ชื่อ Macrobrachium rosenbergii nodavirus (MrNV) และ Extrasmall virus (XSV) เช้ือไวรัสสองชนิดนี้
มีการเจริญและเพิ่มจำนวนใน Cytoplasm ของเซลล์ตามอวัยวะต่าง ๆ เกือบทุกส่วนของลูกกุ้ง ทำให้เกิด
การตายของกล้ามเน้ือลายท้ังบริเวณส่วนท้อง ส่วนหัวอก และรยางค์ รวมท้ังเน้ือเยื่อเกี่ยวพันบริเวณตับและ
ตบั อ่อน
ลักษณะอาการ ลูกกุ้งก้ามกรามที่ติดเช้ือ MrNV และ XSV ส่วนใหญ่เริ่มแสดงออกเมื่ออายุ
10 วันข้ึนไป ลูกกุ้งป่วยจะกินอาหารลดลง สีซีด อ่อนแอ อาจมีหรือไม่มีอาการกล้ามเน้ือขาวขุน่ หากมีอาจจะ
ขาวข่นุ ทงั้ ตัวหรอื บางสว่ น เชน่ บริเวณหลงั หรอื ปลายหาง และมอี ัตราการตายสงู ประมาณ 50 - 90 เปอร์เซ็นต์
ในช่วงเวลา 4 - 5 วันหลังจากเรมิ่ แสดงอาการ ลูกก้งุ ทไี่ ดร้ ับเช้ือไวรัสมีความรนุ แรงมากจะมีอัตราการตายสูงถึง
90 เปอร์เซ็นต์ ในชว่ งเวลา 2 - 3 วนั และบางส่วนจะมรี ยางค์ขาดกรอ่ น
การติดต่อเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้ สามารถติดต่อท้ังโดยการสัมผัสผ่านทางน้ำ การใช้อุปกรณ์
ต่าง ๆ ร่วมกัน การกินอาหารที่มีเช้ือไวรัสแฝงอยู่และจากแม่สู่ลูก ถึงแม้ว่าแม่พันธุ์ติดเชื้อไวรัสเหล่าน้ีมักไม่
แสดงอาการของโรคแต่สามารถเปน็ พาหะนำเช้ือไวรสั ไปสลู่ กู ก้งุ ได้
การป้องกันและรักษา เนื่องจากเชื้อ MrNV และ XSV มีการเจริญและเพิ่มจำนวนใน
Cytoplasm ของเซลล์ การใชย้ าหรือสารเคมีเพ่ือการรักษาจึงมีผลต่อเซลล์เจา้ บ้าน โรคนี้สามารถป้องกนั ไดโ้ ดย

182

(1) ควรคดั เลือกพ่อแมพ่ นั ธุก์ งุ้ ก้ามกรามท่ีปลอดเช้ือไวรัสท้ัง 2 ชนิดนี้ ในการเพาะพันธุ์ลกู กุ้ง
(2) ไม่ควรนำกุ้งที่มีประวัติการติดเช้ือไวรัส หรือยังไม่แน่ใจว่ามีการติดเช้ือไวรัสไปเล้ียงรวม
กบั กุง้ บ่ออืน่
(3) ควรมีบอ่ พกั น้ำและฆา่ เชื้อน้ำก่อนใช้
(4) หลกี เลยี่ งการใช้อุปกรณต์ า่ ง ๆ รว่ มกนั ระหว่างบ่อ และควรทำความสะอาดฆา่ เช้ือทุกครั้ง
หลังใช้งาน
(5) การอนุบาลลูกกุ้งควรระมัดระวังไม่ให้ลูกกุ้งเครียด โดยหลีกเลี่ยงสาเหตุความเครียด
ทเ่ี กดิ จากเชื้อโรคอนื่ ๆ คุณภาพน้ำ คณุ ภาพอาหาร และการปล่อยลูกกงุ้ หนาแน่น
(6) ซากกุ้งตายเนอ่ื งจากเช้ือไวรัสให้ทำลายโดยการใส่ยาฆ่าเช้ือลงในบ่อที่มกี งุ้ ตาย
(7) น้ำท้ิงควรมีการฆ่าเช้ือก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะด้วยแคลเซียมไฮโปคลอไรท์
(ปรมิ าณคลอรีน 60 เปอรเ์ ซ็นต)์ 50 กรัมตอ่ น้ำ 1,000 ลิตร เปน็ ระยะเวลาอยา่ งน้อย 3 ชว่ั โมง
2) โรคเรืองแสง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบชนิดวิบริโอ ฮาวีอาย
(Vibrio harveyi) แบคทีเรียชนิดน้ี สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในสภาพที่มีและไม่มีออกซิเจน และสามารถ
เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในน้ำที่มีความเค็ม 10 - 40 พีพีที โรคเรืองแสงพบได้ในการอนุบาลลูกกุ้งวัยอ่อน
ในน้ำเค็ม 10 - 15 พีพีที ลูกกุ้งป่วยจะทยอยตายในช่วงแรก ๆ แต่ต่อมาอัตราการตายจะสูงขึ้นและเร็วข้ึน
หากตรวจดใู นเวลากลางคนื จะพบการเรอื งแสงของลกู กุง้ ปว่ ย
การป้องกนั และรักษา
(1) เนื่องจากแบคทีเรียเรืองแสงสามารถปนเปื้อนมากับน้ำทะเลจึงควรฆ่าเช้ือน้ำทะเลที่ใช้
ในการเพาะลูกกุ้งด้วยสารเคมี เช่น แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ ความเข้มข้น 30 พีพีเอ็ม (คลอรีน 60 เปอร์เซ็นต์
50 กรัมตอ่ น้ำ 1,000 ลิตร) นานอยา่ งนอ้ ย 3 ชัว่ โมง แลว้ เตมิ สารกำจดั คลอรีน ไดแ้ ก่ โซเดยี มไธโอซลั เฟต หรือ
ทง้ิ ไวใ้ หค้ ลอรนี สลายตวั กอ่ นนำมาใช้
(2) กรณีพบลูกกุ้งเรืองแสงในตอนกลางคืน ควรใช้ยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าชัยคลิน 10 กรัม
ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ตดิ ต่อกัน 3 - 5 วัน แต่ถา้ พบลูกกุ้งป่วยมากกว่า 50 เปอรเ์ ซน็ ต์ การรักษาด้วยยาอาจจะ
ไม่ไดผ้ ล จึงควรทำลายลูกกงุ้ ชดุ นั้น แล้วทำความสะอาดฆา่ เช้ือบ่อกอ่ นการเพาะกุง้ รนุ่ ต่อไป
3) โรคโปรโตซัว ในบ่ออนุบาลที่มีอาหารเหลือมาก หรือมีการหมักหมมของเสียบริเวณ
พ้ืนบ่อ มักพบโปรโตซัวหลายชนิด เช่น ซูโอแทมเนียม (Zoothamnium) อีพิสไทลิส (Epistylis) อะซินีต้า
(Acineta) หรือวอร์ติเซลล่า (Vorticella) เกาะตามลำตัว รยางค์ และเหงือกของลูกกุ้ง โปรโตซัวเหล่านี้
อาจปนมากับน้ำที่ไมไ่ ด้ฆ่าเช้ือหรอื ติดมากับแม่กุ้ง ตามปกติเมื่อลกู กุ้งลอกคราบโปรโตซวั เหลา่ น้ี จะหลุดไปกับ
คราบด้วย แต่หากโปรโตซัวเหล่านี้ ยังไม่ถูกกำจัดออกจากบ่อก็จะกลับมาเกาะตัวกุ้งได้ใหม่ ทำให้กุ้งหายใจ
ไม่สะดวก อ่อนแอ ลอกคราบยาก หรือไม่ลอกคราบ ก้งุ ไม่โต และทยอยตายไปเรอื่ ย ๆ
การป้องกนั และรักษา
1) ควบคมุ ปริมาณอาหารใหเ้ หมาะสม
2) ควรทำความสะอาดพื้นและขอบบ่อก่อนการเปลีย่ นถา่ ยน้ำ

183

3) น้ำท่นี ำมาใช้ในบ่อควรผ่านการกรองหรือผ่านการฆา่ เชื้ออยา่ งดี
4) ใชฟ้ อร์มาลิน 25 - 30 ซซี ี ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่นาน 24 ช่ัวโมง
4) โรคกุง้ ก้ามกรามในบ่อดนิ ส่วนใหญ่มกั เร่ิมจากสภาพแวดล้อมไมเ่ หมาะสม ดงั น้ันการใช้ยา
หรือสารเคมีจึงไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นนัก แต่ควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีข้ึนเสียก่อน หากไม่ได้ผลจึงใช้สารเคมี
ชว่ ยเป็นกรณไี ป
5) โรคเหงือกเน่า เกิดจากเช้ือแบคทีเรียลักษณะเป็นเส้นยาวเกาะบริเวณเหงือกกุ้งทำให้กุ้ง
เกิดอาการเหงือกบวมซีด หายใจไม่สะดวก อ่อนแอ และลอยตายตามขอบบ่อ ซึ่งปริมาณการเกาะของ
แบคทเี รยี ชนิดน้ี มีความสมั พนั ธโ์ ดยตรงกบั ปรมิ าณสารอนิ ทรยี ใ์ นน้ำและทีพ่ ื้นบ่อ
การป้องกันและรักษา ควรลดปรมิ าณการให้อาหารลง ทำความสะอาดพ้ืนบ่อโดยการดูดเลน
ออกแล้วจึงเติมน้ำใหม่เข้าบ่อ ซึ่งจะช่วยลดความเน่าเสียของน้ำได้บ้าง และที่สำคัญการถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้ง
คร้ังละมาก ๆ นั้น ผู้เล้ียงต้องมั่นใจว่าน้ำที่เติมเข้าบ่อมีคุณภาพที่เหมาะสม โดยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
6.5 - 8 ความกระด้างและความเป็นด่างมากกว่า 100 พีพีเอ็ม โดยทั่วไปแล้วถ้ากุ้งป่วยไม่มากนัก การเปลี่ยน
ถ่ายน้ำและปรับปรุงคุณภาพน้ำใหเ้ หมาะสมจะทำให้กุ้งฟ้ืนกลบั สู่สภาพปกติได้ แต่ถ้าพบกุ้งป่วยและมีการตาย
อย่างต่อเนื่องก็อาจใช้ยาปฏิชีวนะที่มีทะเบียนถูกต้องผสมอาหารให้กุ้งกิน และจะต้องงดการใช้ยานาน
ประมาณ 21 วัน เพ่ือให้ยาทตี่ กคา้ งในตวั กงุ้ สลายตัวไปหมดก่อนการจับขาย
6) โรคเหงือกดำ พบบ่อยในกุ้งที่เล้ียงในบ่อที่พื้นเน่าเสีย เช่น บ่อเก่าที่ไม่มีการลอกเลน
ก้นบอ่ ออกหลงั จากจับกงุ้ แตล่ ะรอบ ทำใหม้ กี ารสะสมของอนภุ าคของดนิ และเกลือของธาตเุ หล็กบริเวณเหงือก
และแผ่นปิดเหงือกอาการที่สามารถสังเกตได้คือ แผ่นปิดเหงือกของกุ้งมีสีดำหรือน้ำตาลเข้ม ถ้าเปิดเปลือก
บริเวณน้ันดูจะพบคราบสีดำเกาะด้านในของเปลือกหรือเคลือบบริเวณเหงือกจนทำให้เห็นเหงือกเป็นรอยดำ
ทวั่ ไป
การปอ้ งกันและรักษา
(1) ควรเตรียมบ่อให้ดีก่อนการปล่อยกุ้งลงเลี้ยง เช่น อัดพื้นบ่อให้แน่นและโรยปูนขาวให้ทั่ว
ประมาณ 60 - 100 กโิ ลกรัม/ไร่ ขน้ึ อย่กู ับสภาพความเป็นกรดเป็นดา่ งของดนิ พื้นบ่อ
(2) ไม่ควรใหอ้ าหารมากเกินไปเพราะจะทำใหเ้ กิดการสะสมของเสียบรเิ วณพ้ืนบอ่ มาก
(3) เวลาเปลี่ยนถา่ ยน้ำควรดูดเลนก้นบ่อออกให้มากที่สุดเทา่ ท่จี ะทำได้
(4) การเล้ียงโดยการย้ายบ่อเมื่อกุ้งมีขนาดโตข้ึนและมกี ารสะสมของเลนกน้ บ่อมากข้ึนจะช่วย
บรรเทาหรอื ป้องกันโรคชนดิ น้ีได้
7) โรคเปลือกกรอ่ นและหางแดง กงุ้ ที่เลี้ยงในบอ่ ทมี่ ีการสะสมของของเสยี หรือมีเลนก้นบ่อมาก
จะมีสภาพอ่อนแอและติดเช้ือแบคทีเรียต่าง ๆ เช่น วิบริโอ ซูโดโมแนส และแอโรโมแนสได้ง่าย กุ้งที่ติดเชื้อ
แบคทีเรียเหล่าน้ี มักมีเปลือกเน่ากร่อนเป็นรอยแหว่ง อาจพบจุดดำบริเวณเหงอื กและหาง ส่วนขาว่ายน้ำและ
ขาเดนิ เปลย่ี นเป็นสสี ม้ แดง มกั พบการตายของกงุ้ เปน็ จำนวนมากทุกวนั และมีการตายตลอดทั้งวนั
การป้องกันและรักษา ควรแก้ปัญหาพื้นบ่อไม่ให้มีเลนสะสม และปรับคุณภาพน้ำให้มี
ค่าความเปน็ กรดเป็นด่างอยู่ในช่วง 6.5 - 8 ควบค่ไู ปกบั การใชย้ าปฏิชวี นะผสมอาหารใหก้ ุ้งกิน

184

8) โรคซูโอแทมเนียม เป็นปัญหาที่พบเสมอในบ่อที่พื้นไม่สะอาดมีอาหารเหลือมาก หรือ
บ่อท่นี ำ้ มีสีเขียวเข้ม คา่ ความเป็นกรดเป็นด่าง และค่าความเป็นด่างสูงทำให้กุ้งไมล่ อกคราบ และพบซูโอแทมเนียม
เกาะอยู่บนเปลือกกุ้งจำนวนมาก จนอาจสังเกตเห็นลักษณะเป็นขุยบนเปลือกได้ ปัญหาซูโอแทมเนียมนี้ไม่ได้
ทำความเสยี หายรุนแรง แต่จะมีผลตอ่ ขนาดและผลผลิตของกุ้ง

การป้องกันและรักษา ควรลดปริมาณการให้อาหารลง และมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำในปริมาณ
ทม่ี ากขึ้น เพอ่ื ลดปริมาณตะกอนและของเสยี ตา่ ง ๆ หลงั จากก้งุ ลอกคราบแลว้ ซโู อแทมเนยี มกล็ ดลงไปดว้ ย

9) โรคหมัด เกิดจากปรสิตจำพวกเปลือกแข็ง ขนาดความยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร
ลำตัวเป็นรูปไข่แบ่งเป็นปล้อง ๆ เกาะบริเวณกระพุ้งแก้มของกุ้งเพื่อดูดเลือดกินเป็นอาหาร ทำให้กุ้งอ่อนแอ
และตดิ เช้ือโรคชนิดอื่นไดง้ ่าย

การป้องกันและรักษา ไข่ของหมัดพวกนี้ มักติดมากับน้ำ หากมีการกรองน้ำก่อนน้ำเข้าบ่อ
ก็จะเป็นการป้องกนั โรคไปไดร้ ะดับหน่งึ

10) กุ้งอ่อนแอและตายจากปัญหาคุณภาพน้ำ ในบ่อที่น้ำมีแพลงก์ตอนพืชเขียวเข้ม วันที่มี
แดดจัด ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำจะสูงมากในช่วงบ่าย เนื่องจากมีการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอน
พืชมาก ทำให้น้ำมีความเป็นกรดเป็นด่างสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้แอมโมเนียมีความเป็นพิษสูงขึ้นด้วย กุ้งที่ได้รับ
พษิ ของแอมโมเนียจะขึ้นมาตายบริเวณรมิ บ่อ โดยตวั ก้งุ ทต่ี ายไม่มีลักษณะผิดปกติ

การป้องกันและรักษา รบี แก้ไขปัญหาน้ำเขียวเข้มในบ่อ โดยระบายน้ำเขยี วออกและเติมน้ำใหม่
ที่ไม่มีแพลงก์ตอนพืชมากเข้าบ่อ และควบคุมปริมาณอาหารอย่าให้เหลือ เพราะอาหารที่เหลือจะเน่าสลาย
ให้สารอาหารที่แพลงก์ตอนพืชน้ำไปใช้ในการเจริญเติบโต และที่สำคัญจะต้องควบคุมให้ค่าความกระด้าง
ของน้ำมากกวา่ 100 พพี เี อ็ม



บทท่ี 5
บทสรุป

การศึกษาปี 2564 ครั้งน้ี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ได้จัดทำโครงการบริหารจัดการการผลิต
สินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) โดยเน้นศึกษาสินค้าเกษตรทางเลือก
เชิงลกึ ระดับภาคเพ่ือกำหนดแนวทางบรหิ ารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกท่มี ีอนาคต (Future Crops) ตามแผน
ที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นการสร้างฐานข้อมูลด้าน
เศรษฐกิจของสินค้าเกษตรทางเลือกสำหรับการจัดสรรพื้นท่ีเพาะปลูกให้เกิดความเหมาะสมของสินค้าเกษตรที่
สำคัญทางเศรษฐกิจ จำนวน 3 ชนิดสินค้าสำคัญของภาคตะวันออกได้แก่ ยางพารา ข้าว มันสำปะหลังโรงงาน
ที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งประสบปัญหาภัยพิบัติซ้ำซาก เกิดโรคระบาดสะสม เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
มาตรการและแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่และสินค้าเกษตรทางเลือกแต่ละชนิดให้สอดคล้องเหมาะสมกับ
ฐานทรัพยากรของประเทศเพื่อเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับ ภาคตะวันออก
รายละเอียดดังน้ี
5.1 บทสรปุ

5.1.1 ภาพรวมศักยภาพพื้นที่ตามความเหมาะสมและแหล่งรับซื้อของสินค้าเกษตรสำคัญระดับ

จงั หวดั ของภาคตะวนั ออก

จากขอ้ มลู Agri-Map online ของความร่วมมือระหว่างกรมพัฒนาทีด่ นิ สำนกั งานเศรษฐกิจการเกษตร
และ GISTDA ปี 2561-2563 พบว่า พื้นที่เพาะปลูกในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ ของข้าว มันสำปะหลัง และ
ยางพารา ของภาคตะวนั ออก ดังนี้

ภาคตะวันออกส่วนใหญ่มีพื้นที่เพาะปลูกในชั้นความเหมาะสมปานกลาง (S2) ของสินค้าข้าวมีจำนวน
1,059,121 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 38.81 รองลงมาพื้นที่เหมาะสมสูง (S1) จำนวน 1,026,572 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
37.62 พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) จำนวน 388,433 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 14.23 และพื้นที่ไม่เหมาะสม (N)
จำนวน 254,844 ไร่ คดิ เปน็ ร้อยละ 9.34

สว่ นมันสำปะหลังของภาคตะวันออกส่วนใหญม่ ีพื้นที่เพาะปลูกในชั้นความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) จำนวน
744,400 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 53.51 รองลงมาพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีจำนวน 486,347 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
34.96 พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) จำนวน 113,093 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.13 และพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) จำนวน
47,213 ไร่ คดิ เป็นรอ้ ยละ 4.00

สุดท้ายสินค้ายางพาราของภาคตะวันออกส่วนใหญ่มีพื้นที่เพาะปลูกในชั้นความเหมาะสมปานกลาง (S2)
มีจำนวน 1,738,553 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 69.77 รองลงมาพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) จำนวน 312,203 ไร่
คิดเป็นร้อยละ 12.53 พื้นที่เหมาะสมสงู (S1) จำนวน 286,777 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 11.51 และพื้นที่ไม่เหมาะสม
(N) จำนวน 154,348 ไร่ คิดเปน็ ร้อยละ 6.19

186

จากข้อมูลศักยภาพพื้นที่ตามความเหมาะสมของข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา ของแต่ละจังหวัด
ควรพจิ ารณาจุดแหลง่ รับซื้อท่ีเก่ียวข้องกับแตล่ ะชนดิ สินค้าดังกล่าว เพื่อสะท้อนความเหมาะสมและความคุ้มค่า
ในดา้ นโลจสิ ติกสใ์ นการขายผลผลิตไปยังแหล่งรบั ซ้อื ของสนิ ค้าเกษตรสำคัญระดบั จังหวัดของภาคตะวนั ออกได้

5.1.2 ต้นทนุ การผลติ และผลตอบแทนของสนิ ค้าสำคัญที่มีมูลคา่ ผลติ ภณั ฑม์ วลรวมสูง
1) ต้นทุนการปลูกข้าวนาปี มีต้นทุนรวมต่อไร่ เท่ากับ 4,704.60 บาท แบ่งเป็นต้นทุนผันแปร

3,757.18 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 79.86 ต้นทุนคงที่ 947.42 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20.14 โดยที่ผลผลิต
ต่อไร่ เท่ากับ 592.33 กิโลกรัม ณ ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ 9.03 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะได้
ผลตอบแทนต่อไร่ 5,348.15 บาท ดังนั้นเมื่อเกษตรกรปลูกข้าวนาปี เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่
เท่ากบั 643.55 บาท คดิ เป็นร้อยละ 13.68 ของต้นทุนการผลติ

2) ต้นทุนการปลูกข้าวนาปรัง มีต้นทุนรวมต่อไร่ เท่ากับ 5,150.53 บาท แบ่งเป็นต้นทุนผัน
แปร 4,045.72 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 78.55 ต้นทุนคงที่ 1,104.81 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21.45 โดยท่ี
ผลผลิตต่อไร่ เท่ากับ 616.00 กิโลกรัม ณ ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ 8.36 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะได้
ผลตอบแทนต่อไร่ 5,837.83 บาท ดังนั้นเมื่อเกษตรกรปลูกข้าวนาปรัง เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่
เท่ากับ 687.30 บาท คิดเป็นรอ้ ยละ 13.34 ของตน้ ทุนการผลติ

3) ต้นทุนการปลูกมันสำปะหลัง มีต้นทุนรวมต่อไร่ เท่ากับ 6,624.48 บาท แบ่งเป็นต้นทุนผัน
แปร 5,488.22 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 82.85 ต้นทุนคงที่ 1,136.16 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.15 โดยที่
ผลผลติ ตอ่ ไร่ เท่ากับ 3,497.00 กิโลกรมั ณ ราคาเฉลย่ี ทีเ่ กษตรกรขายได้ 1.87 บาทตอ่ กโิ ลกรมั เกษตรกรจะได้
ผลตอบแทนต่อไร่ 6,539.39 บาท ดงั นนั้ เมื่อเกษตรกรปลูกมันสำปะหลัง เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่
เทา่ กับ -85.09 บาท คดิ เป็นรอ้ ยละ -1.28 ของต้นทุนการผลิต

4) ต้นทุนการปลูกยางพารา มีต้นทุนรวมต่อไร่ เท่ากับ 10,327.23 บาท แบ่งเป็นต้นทุนผัน
แปร 6,550.86 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 63.43 ต้นทุนคงที่ 3,776.37 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 36.57 โดยท่ี
ผลผลติ ตอ่ ไร่ เท่ากับ 404.04 กิโลกรมั ณ ราคาเฉลย่ี ทเ่ี กษตรกรขายได้ 18.53 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะได้
ผลตอบแทนต่อไร่ 7,486.86 บาท ดังนั้นเมื่อเกษตรกรปลูกยางพารา เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่
เท่ากบั -2,840.37 บาท คิดเป็นร้อยละ -27.50 ของตน้ ทนุ การผลิต

ทงั้ นี้ หากพิจารณาเปรยี บเทยี บอตั รากำไรต่อการลงทนุ ทงั้ 4 สนิ ค้า พบวา่ การลงทนุ 100 บาท
ในสินคา้ ข้าวนาปี ขา้ วนาปรัง มีความคุ้มค่าไดก้ ำไร 14 บาท หรือ 13 บาท หรอื คดิ เปน็ ร้อยละ 13-14 แต่อัตรา
กำไรต่อการลงทุนของมันสำปะหลังและยางพารามีการขาดทุนจากการลงทุนร้อยละ 1 และ 28 ตามลำดับ
ดังนั้น หากนำไปเปรียบเทียบกับต้นทุนผลตอบแทนของสินค้าเกษตรทางเลือกควรพิจารณาอัตรากำไรต่อการ
ลงทนุ ดว้ ยเนอื่ งจากเกษตรกรแตล่ ะครวั เรอื นมีเงนิ ลงทุนท่ีมากน้อยต่างกัน

187

5.1.2 ผลวิเคราะห์สนิ คา้ ทางเลอื กเชิงลึกระดับพ้ืนท่ีในภาคตะวันออก

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับสินค้าพืชทางเลือกหรือพืชเสริมรายได้ภาคตะวันออก พบว่า ไผ่
หญา้ เนเปียร์ มะม่วงนำ้ ดอกไม้ โกโก้ มะพรา้ วนำ้ หอม และกงุ้ กา้ มกรามผสมกงุ้ ขาวแวนนาไม ดังนี้

1) ไผ่ พชื ทางเลือกใหม่ที่มีอนาคต (Future Crops) เปน็ พืชตระกูลหญ้าท่ปี ลูกและเติบโตได้
ทุกสภาพดิน เหมาะสมทางกายภาพ/ภมู ิศาสตร์ของประเทศไทย ทนต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนในปัจจุบนั ได้
เป็นอย่างดี จุดแข็งของไผ่คือโตเร็ว (โต 3 ฟุต/วัน) ปลูกได้ 45-100 ต้นต่อไร่ และไผ่มีอายุยืนยาว 60 ปีขึ้นไป
ไผ่อยู่กับวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คนไทยนิยมบริโภคไผ่ และใช้ผลิตภัณฑ์จากไผ่ ผลผลิตไผ่
ขายได้ท้งั หนอ่ สด ตน้ พันธ์ุ และลำ ให้ผลผลิตเร็ว ลงทุนต่ำ และมีข้ันตอนการดูแลรักษาน้อย เรม่ิ ให้ผลผลติ ในปี
ท่ี 1 - 3 เปน็ สนิ คา้ ทีม่ ศี ักยภาพดา้ นการผลติ และการตลาด สร้างมลู ค่าเพมิ่ หลากหลายธุรกิจ ลำไผ่มีพอ่ คา้ มาตัด
และรับซื้อที่สวน และมีความต้องการผลผลิตลำไผ่ในภาคตะวันออกปริมาณมาก เมื่อเปรียบเทียบกับ
ผลตอบแทนจากการผลติ ไผ่ แตล่ ะประเภทท้ังใชห้ น่อ ใช้ลำไมไ้ ผ่ และก่ิงพนั ธไุ์ ผ่ พบว่า ไผ่มีผลตอบแทนสุทธิต่อ
ไรใ่ นช่วง 8,000-45,000 บาทตอ่ ไร่ ซึง่ มากกวา่ การผลติ พชื หลักทงั้ 3 ชนดิ (ข้าว ยางพารา มนั สำปะหลัง) และ
มีอัตรากำไรต่อการลงทุนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนมากกว่า โดยภาคตะวันออกมีความต้องการใช้ไม้ไผ่มากที่สุด
ประมาณ 6.7 ล้านลำต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอต่อปริมาณความต้องการใช้ลำไผ่ของภาคตะวันออก ต้องนำเข้าจาก
ภาคอื่นและนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านกว่าร้อยละ 80 ทำให้เกิดต้นทุนโลจิสติกส์ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูง
ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะไม้ผล ดังนั้นควรส่งเสรมิ ให้มีการปลูกไผเ่ พื่อใช้ในพื้นทีเ่ พิ่มขึ้น โดยเน้นเรื่อง
ขายลำ จะสามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ในการขนส่งไผจ่ ากนอกพื้นที่ภาคตะวันออกและลดการนำเขา้ ไม้ไผ่
จากต่างประเทศได้ ดังนั้น ไผ่ พืชทางเลือกใหม่ที่มีอนาคต (Future Crops) เหมาะสมกับจังหวัดชลบุรี
ระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว เป็นพืชอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถ
ปรับเปลยี่ นการปลูกขา้ ว ยางพารา และมันสำปะหลัง ทอี่ ยู่ในเขตเหมาะสมน้อยหรือไม่เหมาะสมได้ หรือแหล่ง
เกิดโรคใบด่างมันสำปะหลัง จะเห็นได้ว่า ภาคตะวันออก เป็นภาคที่เหมาะสมต่อการปลูกไผ่ มีความเหมาะสม
ทางกายภาพ/ภูมิศาสตร์ มีศักยภาพทั้งด้านการผลิตและการตลาด สอดคล้องกับสังคมวัฒนธรรมและวิถีชีวิต
ทั้งนี้ควรร่วมขยายผลยกระดับเป็นแนวทางการพัฒนาไผ่ไม้เศรษฐกิจภาคตะวันออก จากการประมาณการ
อุปสงค์อุปทานสินค้าในพื้นที่เป้าหมายการวิเคราะห์ถึงบญั ชีสมดุลสินค้าไผ่ในภาคตะวันออก การกระจายตัว
ในรัศมี 100 กิโลเมตร พบว่า หน่อ ประมาณการผลผลิต สามารถผลิตได้ 9,153 ตัน และมีความต้องการใช้
หรอื การนำไปใช้ประโยชน์มีปริมาณ 9,200 ตัน โดยการนำไปใช้ภายในภาคตะวนั ออก และการส่งออกไปตลาด
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น จึงสรุปผลการวิเคราะห์ผลผลิตหน่อไผ่ของภาคตะวันออก ตลาดมี
ความสมดุล ผลผลิตมีเพียงพอเหมาะสมกับปริมาณการบริโภค กิ่งพันธุ์ ประมาณการผลผลิต สามารถผลิตได้
4,635,121 กิ่ง และมีความต้องการใช้หรือการนำไปใช้ประโยชน์มีปริมาณ 4,640,000 กิ่ง โดยการนำไปใช้
ภายในภาคตะวันออก และการส่งออกไปตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น จึงสรุปผลการวิเคราะห์
ผลผลิตกง่ิ พันธไ์ุ ผ่ของภาคตะวันออก ตลาดมคี วามสมดุล ผลผลติ มีเพยี งพอเหมาะสมกบั ปริมาณความต้องการการใช้
กิ่งพันธุ์ ลำ ประมาณการผลผลิต สามารถผลิตได้ 819,070 ลำ และมีความต้องการใช้หรือการนำไปใช้
ประโยชน์มีปริมาณ 6,776,000 ลำโดยการนำไปใช้ภายในภาคตะวันออกไม่เพียงพอ ยังขาดความสมดุลกับ

188

ความตอ้ งการใช้ อยา่ งไรกต็ าม พบวา่ ความต้องการใชห้ รอื การนำไปใช้ประโยชน์ ยังขาดอีกจำนวน 5,956,930
ลำ ดงั น้ัน ตอ้ งนำเข้ามาจากนอกภาคตะวันออก จึงตอ้ งส่งเสริมให้ปลูกไผ่ เพ่ือใชล้ ำอีกประมาณ 11,914 ไร่ ใน
พื้นที่นำร่อง 7 จังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งควรมีมาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วม
ระหวา่ งภาครฐั ภาคเอกชนและเกษตรกรตามนโยบายตลาดนำการผลิตตั้งแตต่ ้นทางถึงปลายทาง ดังนี้
มาตรการต้นทาง

1. จัดพื้นที่ Zoning เขตเมือง เขตอุตสาหกรรม เขตเกษตรกรรมจัดพื้นที่เหมาะสมการปลกู พชื
แต่ละชนิด

2. อพั เดทการข้นึ ทะเบียนเกษตรกร พ้นื ท่เี พาะปลูกไผ่เพือ่ เป็นข้อมูล supply
3. ส่งเสรมิ การถ่ายทอดองค์ความรู้ แปลงต้นแบบ Sharing ท้งั การปลูกดแู ลรักษา การดูงาน
4. มเี ครือขา่ ย Connection การรวมกลมุ่ วิสาหกจิ ชมุ ชนแปลงใหญ่
5. ใช้เทคโนโลยมี าช่วยในการผลิต การรักษาคุณภาพสนิ คา้
6. สร้างแหล่งนำ้ ใหเ้ กษตรกร (บอ่ จ๋วิ สระนำ้ /บอ่ นำ้ ชมุ ชน)
7. สนบั สนุนเงนิ ชว่ ยเหลอื ในการปรับเปลี่ยน ข้ันตอนสำหรบั ปีที่ยงั ไม่ใหผ้ ลผลิต
8. สนบั สนนุ ปจั จยั การผลติ และช่วยควบคุมดแู ลราคาปจั จัยการผลติ
9. สนับสนุนเงินทุนดอกเบีย้ ตำ่
10. ควรมีศูนย์เรียนรู้แปลงไผ่ต้นแบบครบวงจรในระดับพื้นที่ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และ
ปลายทาง (เกษตรจังหวัด/สวพ.6/พด./สปก.)
มาตรการกลางทาง
1. ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรให้มีทักษะที่เหมาะสมและจำเป็นทั้งในด้านการผลิต การตลาด
การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และสนับสนุนทุนและเทคนิคการแปรรูปขั้นต้นเปน็ ผลิตภัณฑ์ เช่น หน่อด้วยการ
ดอง ถุงซีลหน่อไม้ ชาไผ่ การแปรรูปไม้ไผ่ หัตถกรรม เส้นใยไผ่ เฟอร์นิเจอร์ ปุ๋ยขุยไผ่ และถ่านไผ่ เป็นต้น
(เกษตรจังหวดั /AIC แปรรูป/ศูนย์สง่ เสรมิ อุตสาหกรรมภาค 9)
2. สนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาในการแปรรปู ผลติ ภัณฑ์ใหม่และนำนวัตกรรมสรา้ งมลู ค่าเพิ่มกับ
ทุกส่วนของไผ่แบบ (BCG) ทั้งในด้านการสร้างอัตลักษณ์ไผ่ตะวันออก ให้หลากหลายได้มาตรฐานสากลและมี
ต้นทุนการผลิตท่สี ามารถแขง่ ขันไดใ้ นตลาดโลก (สสว./สวก./สหกรณ์จังหวัด/AIC/พาณิชย)์
3. สร้างความร่วมมือ KU–Bamboo in Thailand Project โครงการเพิ่มศักยภาพการจัดการ
ธุรกิจไผไ่ มเ้ ศรษฐกิจชุมชน
4. สนับสนุนกลุ่มเกษตรกร ผู้แปรรูป สหกรณ์ที่มีความสามารถเป็นแหล่งรับซื้อและแหล่งแปร
รูปผลผลิตไผ่ให้กับเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนและสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง และ
ประชาสัมพันธเ์ พ่ือกระต้นุ การขายผลผลติ (สหกรณ์จังหวัด/ส.อ.ท./พาณิชย์ sale man)

189

มาตรการปลายทางตลาดนำการผลิต
1. ระดับนโยบาย กษ. ใช้กลไกคณะกรรมการความร่วมมือ กษ. กับสภาอุตสาหกรรมแห่ง

ประเทศไทย (กรกอ.) เพื่อเชื่อมโยงเป็นคลัสเตอร์ไผ่ สมุนไพร ซึ่งมีอุตสาหกรรมที่หลากหลายทั้งอาหารและ
เครือ่ งดืม่ เคร่ืองสำอาง (กษ./(ส.ป.ก./กสก.)/ส.อ.ท./พณ./อว.)

2. จดั ทำแผน Bamboo BCG Value Chain เปน็ แผนพฒั นารายสนิ คา้ ทสี่ ำคญั ของจังหวดั /กลุ่ม
จงั หวดั (กษ.จ./พณ./อก./ทท./อว./ทส.)

3. ระดับพื้นที่สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการในพื้นที่กับกลุ่ม
เกษตรกรเพื่อทราบถึงปริมาณและคุณภาพมาตรฐานผู้ประกอบการต้องการ (ส.อ.ท.จังหวัดและภาค/สภา
หอการค้า/เกษตรจังหวดั )

4. ไผ่และผลติ ภัณฑ์ไผข่ องไทยส่งเสรมิ ในตลาดล่วงหน้าอย่างจรงิ จัง (พณ.)
2) หญ้าเนเปียร์ สินค้าเกษตรทางเลือกของภาคตะวันออก สินค้าที่มีศักยภาพการผลิตไม่
เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จุดแข็งของหญ้าเนเปียรค์ ือเป็นพืชอาหารสัตว์หลายชนิดที่มีคุณค่าโภชนะ
ทางอาหารสัตว์สูง เติบโตเร็วปรับเจริญเติบโตได้ดีในดินหลายสภาพแต่ไม่ทนต่อน้ำท่วมขัง ต้องการน้ำฝน
1,000-2,000 มม./ปี ชอบแสงแดดจา้ ไม่มีโรคและแมลงรบกวน มีปริมาณความต้องการใช้น้ำต่อรอบเก็บเก่ียว
360 ลบ.ม/ไร่/60วัน และให้ผลผลิตต่อไร่สูง สามารถเก็บเกี่ยวต้นได้ตลอดทั้งปี เก็บเกี่ยวได้นาน 5-7 ปี ต่อ
การปลูก 1 คร้ัง เหมาะกบั ฟาร์มเลีย้ งปศสุ ัตวท์ ี่มีพื้นทีจ่ ำกัด เพอื่ เป็นหญา้ อาหารหยาบสามารถใชเ้ ลี้ยงสัตว์เค้ียว
เอื้อง ได้แก่ โคนม โคเนื้อ กระบือ แพะ แกะ และสัตว์กระเพาะเดียว ได้แก่ สุกร สัตว์ปีก และช้าง รวมทั้งปลา
กินพืช สามารถนำไปผสมกับวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่น ๆ ผลิตเป็นอาหารผสมครบส่วน (TMR) สามารถใช้
ประโยชน์หลายรูปแบบและสร้างมูลค่าเพิ่มได้ หากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตสินค้าสำคัญกับหญ้าเนเปียร์
สนิ คา้ ทางเลือก ปี 2563 พบว่า ต้นทนุ การผลิตหญ้าเนเปียรล์ งทุนสงู กวา่ การผลิตข้าวและมันสำปะหลัง แต่หาก
พิจารณาผลตอบแทนต่อไร่และผลตอบแทนสุทธิต่อไรหรือกำไรต่อไร่พบว่าหญ้าเนเปยี ร์มีกำไรมากกว่าข้าวและ
มันสำปะหลัง รวมทั้งคุ้มค่าต่อการลงทุนโดยพิจารณาจากอัตรากำไรต่อการลงทุนการผลิตหญ้าเนเปียร์ของ
จังหวัดสระแก้วที่มากกว่าอัตรากำไรต่อการลงทุนของข้าวและมันสำปะหลัง ยกเว้นอัตรากำไรต่อการลงทุน
การผลิตหญ้าเนเปียร์ของจังหวัดจันทบุรีที่มากกว่าเฉพาะมันสำปะหลังเท่านั้น ภาคตะวันออกมีการส่งเสริม
แปลงใหญ่หญ้าเนเปียร์เพียงแปลงเดียวที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือ
แปลงหญ้าอาหารสัตวใ์ นโครงการโคบาลบรู พามีพนื้ ทนี่ ้อยซง่ึ บางปีเจอปญั หาภัยแลง้ ทำใหแ้ ปลงหญ้าไดร้ ับความ
เสยี หาย จึงจำเปน็ ตอ้ งใช้ฟางแหง้ เป็นเสบยี งอาหารสัตวท์ ดแทนเป็นการนำเข้าฟางจากนอกพื้นท่ีภาคตะวันออก
กว่าร้อยละ 60 โดยฟางมีคุณค่าทางโภชนะที่ต่ำมากทำให้ส่งผลกระทบต่ออัตราการแลกเนื้อไม่คุ้มค่ากับเวลา
เลี้ยงโคที่เสียไป ดังนั้น เพื่อความมั่นคงด้านอาหารสัตว์ของภาคตะวันออกควรมีการทำแปลงหญ้าควบคู่
การแปรรูปหญ้าเพื่อเป็นแหล่งสำรองอาหารสัตว์คุณภาพช่วยลดต้นทุนด้านอาหารผสมครบส่วน (TMR)
ภาคตะวันออกมีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ผลิตพืชอาหารสัตว์เพื่อจำหน่ายจำนวนน้อยเพียง 114 ราย 578 ไร่
นับเป็นโอกาสสำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชชนิดอืน่ สามารถปลูกหญ้าอาหารสัตว์เป็นรายได้หลักหรือเสรมิ รายได้
ส่งผลผลิตขายสู่ฟาร์มปศุสัตว์ต่อไป ซึ่งวิถีการการตลาดหญ้าเนเปียร์ของจังหวัดสระแก้วและจันทบุรีส่วนใหญ่

190

ปลูกเพื่อพึ่งพาตนเอง ผลิตใช้เอง และใช้เครื่องจักรกลขั้นพื้นฐานทดแทนแรงงาน หากเปรียบเทียบกับ
ภาคกลางที่มีการทำแปลงหญ้าเชิงการค้าจะมีพัฒนาการทางเครื่องจักรกลใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถ
ประหยัดแรงงาน ดังนั้นภาคตะวันออกหากจะต้องส่งเสริมการยกระดับการทำแปลงหญ้าเชิงพาณิชย์คงต้องมี
การถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือส่งเสริมการลงทุนในเรื่องเครื่องจักรกลให้เพิ่มขึ้น จากการประมาณการอุปสงค์
อุปทานหญ้าเนเปียร์ในพื้นที่เป้าหมายของภาคตะวันออกหากพิจารณาด้านต้นทุนโลจิสติกส์ร่วมด้วยเขต
ส่งเสริมการปลูกแปลงหญ้าอาหารสัตว์ในเชิงธุรกิจของภาคตะวันออกควรอยู่ใกล้แหล่งเลี้ยงปศุสัตว์ในรัศมี
ไม่เกิน 100 กม.เป็นขอบเขตเพื่อคณุ ภาพที่ดีของหญ้า สะดวกในการขนส่ง และประหยัดต้นทนุ โลจิสติกส์ ซึ่งมี
พื้นที่เป้าหมายนำร่องที่เหมาะสมควรเป็นจังหวัดสระแก้วและรอยต่ออำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี พบว่า
อุปสงค์จากข้อมูลปริมาณโคเนื้อและโคนมทั้ง 2 จังหวัด มีจำนวน 114,956 ตัว หากคิดอัตรากินหญ้าเฉลี่ยข้นั
ต่ำ 35 กก./วัน อุปทานปัจจุบันทั้ง 2 จังหวัดเป้าหมายมีแปลงหญา้ อาหารสัตวท์ ี่แจ้งขึ้นทะเบียนปลูก 17,505
ไร่ หากคิดอัตราผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 27.280 ตัน จะมีปริมาณผลผลิตหญา้ 477,523 ตันคิดเป็นรอ้ ยละ 33 ของ
ความต้องการหญ้า ซึ่งต้องนำเข้าฟางร้อยละ 67 มาใช้ทดแทนหญ้า ดังนั้น หากต้องการให้มีความมั่นคงด้าน
เสบยี งอาหารสัตว์ท่ีเพยี งพอ สามารถพจิ ารณาปลูกหญ้าเพม่ิ เติมประมาณการได้ 3 แบบจำลอง ดังน้ี

แบบจำลองที่ 1) Best: 365 วัน หากมีหญ้าให้โคกินครบทุกวัน จะต้องการปริมาณหญ้า
1,468,563 ตัน หรือพื้นที่ปลูกหญ้า 53,833 ไร่ ยังขาดปริมาณหญ้า 991,040 ตัน หรือเพิ่มพื้นที่ปลูกหญ้า
36,328 ไร่

แบบจำลองที่ 2) Scenario 9m. หากมีหญ้าใหก้ ิน 270 วนั จะตอ้ งการปริมาณหญา้ 1,086,334
ตัน หรือพนื้ ที่ปลกู หญ้า 39,822 ไร่ ยงั ขาดหญา้ 608,811 ตนั หรอื เพ่ิมพน้ื ทีป่ ลูกหญา้ 22,317 ไร่

แบบจำลองที่ 3) Scenario 8m หากมีหญ้าให้กิน 240 วัน จะต้องการปริมาณหญ้า 608,811
ตนั หรือพนื้ ทปี่ ลกู หญ้า 35,397 ไร่ ยงั ขาดหญา้ 131,288 ตนั หรอื เพิม่ พ้ืนทปี่ ลูกหญ้า 4,813 ไร่
ดังนั้น ควรจัดทำแนวทางบริหารจดั การสินค้าทางเลือกเพิม่ พื้นที่หญ้าอาหารสัตว์ในพืน้ ที่เป้าหมายของพื้นท่ไี ม่
เหมาะสมของข้าว มันสำปะหลัง และพื้นที่เกิดโรคใบด่างมันสำปะหลังสะสม เพื่อปรับเปลี่ยนพื้นท่ีทั้งนี้ พื้นท่ี
เป้าหมายเพื่อการส่งเสริมปรับเปลี่ยนสู่การจัดทำแนวทางพัฒนาสินค้าทางเลือกสามารถพิจารณาได้ใน 2 มิติ
ได้แก่มิติที่ 1 ด้านการลดพื้นที่ตัดวงจรใบด่างมันสำปะหลังระบาดสะสมและลดการชดเชยค่าเสียหายสามารถ
ปรับเปลี่ยนในพื้นที่แหล่งเกิดโรคใบด่างระบาดสะสมของจังหวัดสระแก้วเป็นอันดับ 2 ของประเทศ พื้นท่ีกว่า
48,000 ไร่ ซ่งึ ชดเชยไรล่ ะ 3,000 บาท มลู ค่า 144 ล้านบาท หรือหากคดิ ทีผ่ ลผลิตมนั สำปะหลังเสียหายสิ้นเชิง
มีมูลค่ากว่า 277 ล้านบาท และมิติที่ 2 ด้านลดพื้นท่ีไม่เหมาะสมที่มีผลตอบแทนต่อการใช้พื้นที่น้อย และลด
การชดเชยส่วนต่างประกันรายได้แบ่งเป็นด้านปรับไร่มันสู่นาหญ้าควบคู่ปศุสัตว์มีอำเภอเป้าหมายสำคัญใน
จังหวัดสระแก้วและจันทบุรี ได้แก่ อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอคลองหาด อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว และ
อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบรุ ี ที่ควรจัดการส่งเสริมให้ปรบั เปล่ียนหรือผสมผสานจากไร่มันสำปะหลังเป็นการ
ปลกู หญ้าเนเปยี ร์ควบคู่กบั การเลย้ี งปศสุ ัตวเ์ พอ่ื เพิ่มรายไดใ้ ห้เกษตรกรจากสนิ คา้ เดิม และดา้ นยกระดับนาข้าวสู่
นาหญ้าควบคู่ปศุสัตว์มีอำเภอเป้าหมายสำคัญในจังหวัดสระแก้ว ได้แก่ อำเภอตาพระยา อำเภอวัฒนานคร
อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ซึ่งยังมีพื้นที่เหมาะสมน้อยหรือไม่เหมาะสมปลูกข้าวที่ควรจัดการส่งเสริมให้

191

ปรับเปลี่ยนหรอื ผสมผสานยกระดับนาขา้ วเป็นการปลูกหญ้าเนเปียร์ควบคกู่ บั การเล้ียงปศุสตั ว์เพื่อเพิม่ รายได้ให้
เกษตรกรจากสนิ ค้าเดิม ซึง่ ได้เสนอมาตรการส่งเสริมการปรับเปล่ียนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ
ภาคเอกชนและเกษตรกรเป็นแนวทางการบริหารจัดการสินค้าสำคัญและหญ้าเนเปียร์สินค้าทางเลือกเชิง
ลึกตาม Agri-map มีเป้าหมาย จังหวัดสระแก้วและจันทบุรีเป็น“แหล่งพืชอาหารสัตว์ที่เหมาะสมของ
ภาคตะวนั ออก”เพอ่ื ความม่ันคงด้านอาหารสัตว์ของภาคตะวันออกตงั้ แตต่ ้นทางถึงปลายทางดังนี้
มาตรการปลายทาง

1.Business Matching กลุ่มผลิตหญ้าอาหารสตั ว์ทำเสบียงอาหารสัตร์ “ผูกปิ่นโต”เกษตรพันธ
สัญญากับสหกรณ์โครงการโคบาลบูรพา +สหกรณ์โคนม ตลอดปีเพื่อเชื่อมโยงการเลี้ยงโคแบบประณีต
Intensiveฟาร์มอย่างยงั่ ยืน (ปศ.+กสส. และนโยบายรฐั บาล)

2.จัดทำแผนพฒั นาสินค้าหญ้าอาหารสตั ว์ BCG Value Chain เป็นสินค้าเศรษฐกิจทีส่ ำคัญของ
จังหวดั /กลุ่มจงั หวัด(กษ.+พณ.+อก.)
มาตรการกลางทาง

1.สนับสนุนความรู้การรวมกลุ่มส่งเสริมหลักการสหกรณ์ตอ่ ยอดสรา้ งธุรกิจแปรรูปหญา้ เนเปยี ร์
ตอ่ เน่อื ง (กสส.+ธกส.)

2.ยกระดับเป็นเครือข่ายสหกรณ์แปลงใหญ่ปศุสัตว์และหญ้าอาหารสัตว์สมัยใหม่ครบวงจรข อง
ภาคตะวันออก (ปศ.+ธกส.)

3.จดั ทำมาตรฐานการผลิตหญา้ เนเปยี ร์สำหรับอาหารสตั ว์ (ปศ.+มกอช.)
มาตรการต้นทาง

1.กำหนดพื้นที่ Zone เหมาะสมใกล้แหล่งเลี้ยงสัตว์หนาแน่น นำ GIS มาใช้จัดทำระบบ
ฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อประมาณการณ์ผลผลิตอย่างใกล้ชิดและประชาสัมพันธ์แหล่งผลิต เสบียงอาหาร
สตั ว์ (สศก.+พด.+ปศ.+กสส.+กสก.+AIC)

2.ปรับเพิ่มเงื่อนไขมาตรการค่าชดเชยเป็นมาตรการค่าปรับเปลี่ยนเป็นสินค้าทางเลือก พร้อม
มาตรการส่งเสริมท่อนพันธุ์หญ้าและสนับสนุนเครื่องจักรกลทดแทนแรงงาน+แปรรูปหญ้าเนเปียร์เพิ่มขึ้น
(พณ.+ปศ.+กสก.)

3.สร้างและพัฒนาแหล่งน้ำหรือระบบแพร่กระจายน้ำชุมชนประหยัดพลังงานร่วมกัน (ส.ป.ก.+
พด.+ชป.+กรมทรัพยากรนำ้ บาดาล)

4.วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสูตรผสมหญ้าอาหารสัตว์ใหม่ๆ โดยนำพืชท้องถิ่นที่มีสรรพคุณทาง
ยาเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Herb Feed)เช่น สูตรผสมต้านโควิดลดโลกร้อน กับใบไผ่ บอระเพ็ด
ฟา้ ทะลายโจรฯลฯ (ศูนย์วิจยั และพัฒนาอาหารสัตว์สระแก้ว(ศวอ.สก. ปศ.)

5.เสริมองค์ความรู้ปรับทัศนคติการสร้างคุณค่าโภชนะอาหารสัตว์ตลอดกระบวนการตั้งแต่วาง
แผนการปลกู และแปรรปู หญ้าเชิงธุรกจิ (ศวอ.สก. ปศ.)

6.สร้างแปลงเรียนรู้ต้นแบบการผลิตหญ้าอาหารสัตว์คุณภาพเชิงธุรกิจเสบียงอาหารสัตว์และ
พลังงานชวี มวล (ปศ.+กสส.+กสก.)

192

3) โกโก้ จุดแข็งของโกโก้ คือ ปลูกได้ทั้งเชิงเดี่ยวและแซมในพืชอืน่ สามารถปลูกได้ 100 - 200
ต้นตอ่ ไร่ ใหผ้ ลผลิตเร็ว เรม่ิ ให้ผลในปีที่ 2-3 ออกดอกติดผลตลอดปี อายตุ ้นยนื ยาว 60 ปี เป็นพืชท่ีปลูกภายใต้
ร่มเงา มีหลายบริษัททำสัญญาซื้อในราคาประกันระยะยาวและส่งเสริมโดยการรับซื้อผลผลิตถึงสวน และโกโก้
สามารถแปรรูปสร้างมลู ค่าเพิม่ ไดห้ ลากหลายธรุ กจิ ทง้ั ธรุ กิจช็อกโกแลต ใช้แตง่ กล่ินอาหาร และเคร่ืองด่มื ธุรกิจ
ยารักษาโรค ธุรกิจเครื่องสำอาง เป็นต้น สภาพพื้นทีท่ ีเ่ หมาะสมกับการทำสวนโกโก้ เป็นดินรว่ นปนทราย การ
ระบายน้ำค่อนข้างดี และมีฝนตกกระจายสม่ำเสมอ มีปริมาณน้ำฝน 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี มีปริมาณ
ความต้องการใชน้ ำ้ ตลอดชว่ งอายุ 1) โกโก้แซมยางพารา 54 ตน้ ใชน้ ำ้ 252.72 ลบ.ม/ไร่ 2) โกโกแ้ ซมไมผ้ ล 70
ต้น ใช้น้ำ 327.60 ลบ.ม/ไร่ และ 3) โกโก้เดี่ยว 100 ต้น ใช้น้ำ 468.00 ลบ.ม/ไร่ กรณีที่ปลูกโกโก้ในพื้นที่ที่มี
ฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรต้องมีแหล่งนำ้ สำรองและติดตั้งระบบให้น้ำ เพื่อให้ต้นโกโก้ไดร้ ับน้ำอย่างเพียงพอ
ไม่กระทบต่อผลผลิตในกรณีฝนทิ้งช่วง ร่วมกับการรักษาความชื้นให้ดินบริเวณโคนต้น โดยการใช้วัสดุเหลือใช้
ทางการเกษตรคลุมรอบโคนในฤดูแล้ง และข้อที่ควรระวังในกรณีการปลูกโกโก้เป็นพืชเชิงเดี่ยวที่ไม่มีพืชให้ร่ม
เงาในระยะเริ่มปลูก ต้นโกโก้อาจแสดงอาการใบไหม้จากการได้รับแสงแดดมากเกินไป หรือการตัดแต่งกิ่งมาก
เกนิ ไป จะทำให้แสงแดดส่องลงมาที่กิ่ง ทำใหก้ ิง่ แห้ง มผี ลกระทบตอ่ การเจริญเตบิ โตของดอกและผลที่กิ่ง จะทำ
ให้ได้ผลผลิตนอ้ ย ต้นทุนการผลิตโกโก้ ภาคตะวันออกปี 2563 พบว่า มีต้นทุนรวมเท่ากับ 10,217.67 บาท/ไร่
โดยส่วนใหญ่จะเป็นต้นทนุ ผันแปร มีผลผลิตตอ่ ไรแ่ บบผลสด 1,285.67 กิโลกรมั ราคาทเ่ี กษตรกรขายได้ 15.06
บาท/กิโลกรมั ให้ผลตอบแทนตอ่ ไร่เท่ากับ 19,355.71 บาท มีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่เท่ากับ 9,138.04 บาท มี
อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อการลงทุน 0.89 ถือว่ายังมีกำไรต่อการลงทุนเพราะอายุขัยของโกโก้ประมาณ 60 ปี
ข้อมูลการตลาด เกษตรกรผู้ปลูกโกโก้จะมีลักษณะการขายผลผลิต แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ขายแบบผลสด
และขายแบบเมล็ดตากแห้ง ไปยังพ่อค้าคนกลางในพื้นที่ ผู้รวบรวม หรือตัวแทนของบริษัทที่ทำเกษตรพันธ
สัญญากันไว้ จากนั้นก็จะเขา้ สู่กระบวนการของโรงงานแปรรูปโกโกข้ ั้นต้น และโรงงานแปรรูปโกโก้ขั้นสูง จะได้
ผลิตภณั ฑ์ช็อกโกแลตในรูปแบบทีห่ ลากหลาย และส่งไปยังผคู้ า้ ส่ง/ค้าปลีกในประเทศ สง่ ตอ่ ไปยังกลุ่มผู้แปรรูป
อาหารและเครือ่ งดื่ม เครื่องสำอาง และส่งออกต่างประเทศ ช่องทางการจำหน่าย/จัดสง่ ไปสู่ผูบ้ ริโภค ลักษณะ
การขายผลผลิตโกโก้ปี 2563 ภาคตะวันออก เกษตรกรส่วนใหญ่จะขายผลผลิตโกโก้แบบผลสดถึงร้อยละ
96.38 และขายแบบเมล็ดตากแห้งร้อยละ 3.62 เนื่องจากเกษตรกรยังขาดองค์ความรูเ้ ร่ืองการทำเมล็ดตากแห้ง
วิถีการตลาดโกโก้ภาคตะวันออกปี 2563 ส่วนใหญ่ผลผลิตโกโก้สด ส่งขายไปยังผู้รวบรวมท้องถิ่น/ตัวแทนของ
บรษิ ทั รอ้ ยละ 96.26 สถานการณ์ดา้ นการผลิตและการตลาด เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกเป็นสวนผสมกับผลไม้
ยางพารา พันธุ์โกโกท้ ี่ปลูก ไดแ้ ก่ ชุมพร 1 I.M.1 และโกโกไ้ ทย 1 เกษตรกรส่วนใหญ่ขายใหผ้ ้รู วบรวมท้องถ่ิน/
ตวั แทนบริษทั ขายให้ผแู้ ปรรปู ท้องถ่ิน และเก็บไว้แปรรูปเอง ซึ่งภาคตะวันออกมีจุดเด่นท่ีมผี รู้ วบรวมหลายราย
ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านราคารับซ้ือผลผลิตเพราะผลผลิตยังมีไม่เพียงพอ รวมท้ังมผี แู้ ปรรูปในภาคตะวันออก
ที่มีการแปรรูปเพื่อส่งต่อให้กับโรงงานหรือบริษัทผลิตช็อกโกแลตรายใหญ่ไปต่างประเทศ แหล่งผลิตโกโก้ท่ี
สำคัญของจังหวัดนำร่องในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง ในปี 2563 โกโก้มีพื้นที่ยืน
ต้น จำนวน 2,669.46 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 54.43 ของพื้นที่ยืนต้นภาคตะวันออก ส่วนผลผลิตรวมจังหวัด
จันทบุรี ตราด และระยอง จำนวน 2,141.28 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 44.04 ของผลผลิตภาคตะวันออก แหล่ง

193

รับซื้อผลผลิตของภาคตะวันออกในปี 2563 มีการกระจายตัวในรัศมี 100 กิโลเมตร ของ 3 จังหวัดนำร่อง
ได้แก่ อำเภอเมือง แก่งหางแมว โป่งน้ำร้อน ขลุง และแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดตราด
อำเภอบ้านค่าย วังจันทร์ และแกลง จังหวัดระยอง อำเภอบ่อทอง และหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี และอำเภอ
เมือง จังหวัดสระแก้ว ความต้องการผลผลิตโกโก้สดปี 2563 จำนวน 21,419.51 - 31,431.51 ตัน
สถานการณ์แนวโน้มแหล่งรับซื้อในอนาคต ปี 2565 บริษัทควีนส์ โก้โก้ 1971 จำกัด อำเภอบอ่ ไร่ จังหวัดตราด
จะเริ่มรับซื้อผลผลิตโกโก้สด และทำผงโกโก้และสกัดน้ำมันโกโก้ เพื่อจำหน่ายและส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็น
โรงงานขนาดใหญ่มีกำลังการผลิตถึง 168,000 ตัน/ปี ซึ่งปัจจุบันบริษัทกำลังส่งเสริมการปลูกโกโก้ในพื้นท่ี
จงั หวดั ตราด และพ้นื ที่ภาคตะวนั ออกท้งั หมด ความตอ้ งการผลผลติ โกโก้สดปี 2565 ประมาณ 192,367.01
– 202,373.01 ตัน จากการประมาณการอุปสงค์อุปทานสินค้าในพน้ื ที่เป้าหมายปี 2563 ยงั ขาดความสมดุล
กับความต้องการใช้ จำนวน 22,157.54 – 27,157.54 ตัน ต้องนำเขา้ มาจากนอกภาคตะวันออก ซ่ึงมีพ้ืนท่ีปลูก
แล้วที่ยังไม่ให้ผลผลิตอีก 1,003.00 ไร่ (คิดเป็นผลผลิต 1,289.53 ตัน) จึงต้องส่งเสริมให้ปลูกโกโก้ประมาณ
16,231.24 – 20,120.26 ไร่ ในพื้นท่ีนำร่อง 3 จังหวัดภาคตะวันออกนำร่อง ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ตราด และ
ระยอง เพราะมสี ภาพพื้นทีท่ ี่เหมาะสมกับการทำสวนโกโก้ เป็นดนิ ร่วนปนทราย การระบายนำ้ คอ่ นข้างดี และมฝี น
ตกกระจายสม่ำเสมอ มีปริมาณน้ำฝน 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี มีความเหมาะสมทางกายภาพ/ภูมิศาสตร์
มีศักยภาพท้ังดา้ นการผลิตและการตลาด สอดคลอ้ งกับสังคมวัฒนธรรมและวิถีชีวิต และสอดคล้องกับนโยบาย
และแผนพัฒนาระดับพื้นที่ รวมทั้งมีโอกาสต่อยอดสร้างธุรกิจแปรรูปโกโก้ต่อเนื่องเพื่อเป็นทางเลือกในการ
ปรับเปลี่ยน/ปลูกแซมสวนยางพาราในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด มีพื้นที่ไม่เหมาะสมเปรียบเทียบกับ
สินค้าพืชทางเลือกหรือพืชเสริมรายได้ของภาคตะวันออกแล้ว ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค
โควิด-19 ทำให้มีมาตรการปิดด่านการค้าชายแดน ส่งผลกระทบต่อการขนส่ง การค้า และการส่งออกสินค้า
เกษตร และกระทบไปถึงแรงงานต่างด้าวที่ไม่สามารถกลับเข้าประเทศไทยมาเก็บผลผลิตสินค้าเกษตรส่งผล
กระทบอย่างมาก เพราะในการทำการเกษตรสว่ นมากใชแ้ รงงานต่างด้าว รวมไปถึงสถานการณ์ด้านการบรโิ ภค
สินค้าและผลิตภัณฑ์โกโก้ ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง ส่งผลกระทบถึงผู้ประกอบการรับซื้อผลผลิตลดลงจากเดมิ
ถึง 40-60% โดยชว่ งสถานการณ์การปกติก่อนชว่ งการแพร่ระบาดของโรคโควดิ -19 ผู้ประกอบการสามารถขาย
ส่งออกตา่ งประเทศได้ 60% และขายภายในประเทศ 40% แตใ่ นชว่ งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-
19 ส่งออกต่างประเทศได้เพียง 20% และขายภายในประเทศ 80% ซึ่งผู้ประกอบการต้องปรับตัวขายสินค้า
แบบออนไลน์ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น ดังนั้นการลงทุนผลิตโกโก้ควรคำนึงข้อมูลส่วนแบ่งรายได้ของ
ช็อกโกแลตหนึ่งแท่ง ราคาแท่งละ 100 บาท แบ่งเป็น เกษตรกรผู้ปลูกโกโก้มีรายได้ 6.60 บาท หรือคิดเป็น
ร้อยละ 6.60 ผู้แปรรูปผงโกโก้มีรายได้ 7.60 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.60 โรงงานชอ็ กโกแลตมีรายได้ 35.20
บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 35.20 ร้านค้าปลีกมีรายได้ 44.20 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.20 แบ่งเป็นค่าขนส่ง
2.10 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.10 และค่าภาษีอีก 4.30 บาท หรือคิดเป็นรอ้ ยละ 4.30 จะเห็นได้ว่าส่วนแบง่
รายได้เป็นของเกษตรกรร้อยละ 6.60 ดังนั้น ควรคำนึงถึงการควบคุมต้นทุนการผลิตและควรมีการแปรรูป
เบอื้ งต้นถึงข้ันสูงได้จะมโี อกาสในสว่ นแบง่ รายได้ท่มี ากขึ้น และสามารถไปสถานทศ่ี กึ ษาดูงานในภาคตะวันออก
เกษตรกรมีแนวโน้มขยายพื้นที่ปลูกโกโก้เพิ่มขึ้น โดยจะปลูกโกโก้แซมสวนยางพารา ที่ราคาผลผลิตตกต่ำ

194

ปลูกเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง และยังมีจุดเรียนรู้กระจายอยู่ในหลายจังหวัดของภาคตะวันออก ส่วน
มาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและเกษตรกรตั้งแต่
มาตรการปลายทางตลาดนำการผลิต ไดแ้ ก่

1. ระดับนโยบาย กษ. ใช้กลไกคณะกรรมการความร่วมมือ กษ. กับสภาอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย (กรกอ.) เพื่อเชื่อมโยงเป็นคลสั เตอร์โกโก้ครบวงจร ซึ่งมีอุตสาหกรรมที่หลากหลายทั้งอาหารและ
เครอื่ งด่มื เครอ่ื งสำอาง ยารักษาโรค ยาสบู และน้ำมนั โกโก้ (กษ./ส.อ.ท./พณ.)

2. ระดับพื้นท่ี สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่กับ
กลุ่มเกษตรกรเพื่อทราบถึงปริมาณและคุณภาพมาตรฐานที่โรงงานต้องการ (ส.อ.ท.จังหวัดและภาค/
สภาหอการค้า/เกษตรจังหวัด)

3. สง่ เสริมการค้าโกโก้และผลิตภัณฑข์ องไทยในตลาดลว่ งหน้าอย่างจรงิ จัง (พณ.)
มาตรการกลางทาง

1. ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรให้มีทักษะที่เหมาะสมและจำเป็นทั้งในด้านการผลิต การตลาด
การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และสนับสนุนทุนและเทคนิคการแปรรูปขั้นต้น เช่น วิธีการหมักโกโก้ให้ได้
มาตรฐานเมล็ดโกโก้แห้งเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าซึ่งง่ายต่อการนำไปใช้ เป็นต้น (เกษตรจังหวัด/AIC แปรรูป/
ศูนย์ส่งเสริมอตุ สาหกรรมภาค 9)

2. สนับสนนุ ทุนวิจยั และพฒั นาในการแปรรูปผลติ ภัณฑ์ใหมแ่ ละนำนวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มกับ
ทุกส่วนของโกโก้แบบ (BCG) ทั้งในด้านการสร้างอัตลักษณ์โกโก้ตะวันออก ให้หลากหลายได้มาตรฐานสากล
และมตี ้นทุนการผลติ ทีส่ ามารถแข่งขนั ได้ในตลาดโลก (สสว./สวก./สหกรณจ์ งั หวดั /AIC/พาณชิ ย์)

3. สนับสนุนกลุ่มเกษตรกร ผูแ้ ปรรปู สหกรณท์ ม่ี คี วามสามารถเป็นแหลง่ รบั ซือ้ ผลผลิตสด/เมล็ด
โกโก้ให้กับเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนและสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์เ พ่ือ
กระตุ้นการขายผลผลติ (สหกรณจ์ งั หวัด/ส.อ.ท./พาณิชย์ sale man)
มาตรการตน้ ทาง

1. ควรวิจัยปรับปรงุ พันธุ์โกโก้พันธ์ุดี เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ให้มีศักยภาพการผลิตเชิงการค้า
และให้มีการผลิตต้นกล้าคุณภาพต้านทานโรค เพื่อกระจายต้นพันธุ์ดีและถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรที่สนใจ
ปรับเปลย่ี น (สถาบนั วจิ ัยพชื สวน)

2. คัดกรองเกษตรพันธสัญญาของบริษัทเข้ามาส่งเสริมที่มีความเป็นธรรมเพื่อคัดเลือกบริษัท/
ผ้ปู ระกอบการท่คี วรสง่ เสริมให้เกษตรกรตัดสินใจกอ่ นปลูก (สป.กษ./กษ.จ./เกษตรจังหวัด)

3. กยท. ควรสนับสนนุ ทุนและพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนือ่ ง ให้เกษตรกรชาวสวนยางปรบั เปลี่ยน
มาปลูกโกโก้ร่วมในสวนยางพาราและพืน้ ท่ีวา่ งเปล่าอย่างถกู วธิ ี (กยท.)

4. ควรมีศูนย์เรียนรู้แปลงโกโก้ต้นแบบครบวงจรในระดับพื้นที่ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และ
ปลายทาง (เกษตรจังหวดั /สวพ.6/พด.)

195

4) มะพร้าวน้ำหอม พืชทางเลือกหรือพืชเสริมรายได้ของภาคตะวันออก เป็นไม้ผลที่คนนิยม
รับประทาน ทานได้ทั้งเนื้อและน้ำ และเกษตรกรสามารถจำหน่ายมะพร้าวน้ำหอมได้หลากหลายรูปแบบ
ด้วยกัน เช่น น้ำมะพร้าวแช่เย็น มะพร้าวทั้งผลปอกตัดแต่ง มะพร้าวเผา วุ้นในลูกมะพร้าว เป็นต้น การปลูก
มะพร้าวน้ำหอมให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพ ประกอบด้วยปัจจัยหลักสำคัญ ได้แก่ สภาพแวดล้อม เช่น ปริมาณ
น้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ แสงแดด ระดับความสูงของพื้นที่ปลูก ลักษณะดิน ลม เป็นต้น นอกจากน้ัน
ยังต้องคำนึงถึงพันธุ์ดี การปฏิบัติดูแลรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม การป้องกันกำจั ดโรคและแมลงศัตรู
ตลอดจนสัตว์ศัตรู เช่น กระรอก กระแต และหนู การปฏิบัติดังกล่าวจะช่วยให้การปลูกมะพร้าวน้ำหอมมี
การเจริญเติบโตดี ติดผลได้เร็ว และให้ผลผลิตทีม่ ีคุณภาพ ในภาคตะวนั ออกเองยงั มีแหล่งผลิตมะพร้าวนำ้ หอม
ที่สำคัญ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภมู ิศาสตร์ (Geographical Indication; GI) อยู่ในพื้นท่ี
จังหวัดฉะเชิงเทรา คือ มะพร้าวน้ำหอมบางคล้า หากเปรียบเทียบผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ระหว่างข้าวและ
มะพร้าวน้ำหอมพบว่า หากเกษตรกรปลูกมะพร้าวแบบสวนเดย่ี ว (40 ต้น/ไร)่ มผี ลตอบแทนสทุ ธิหรอื มีกำไรต่อ
ไร่เท่ากับ 23,227.89 บาท มีอัตราผลตอบแทนสุทธิต่อการลงทุน 2.07 ถือว่ามีกำไรต่อการลงทุน หากปลูก
มะพร้าวแบบขอบบอ่ หรือผสมนาข้าว (30 ต้น/ไร่) มีผลตอบแทนสุทธิหรอื มีกำไรตอ่ ไร่เท่ากับ 11,689.42 บาท
มอี ตั ราผลตอบแทนสทุ ธิตอ่ การลงทนุ 2.66 ถอื ว่ามกี ำไรตอ่ การลงทนุ ซ่ึงทัง้ 2 แบบใหผ้ ลตอบแทนสุทธิต่อไร่สูง
กว่าข้าวและมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน ลักษณะการขายผลผลิต ซึ่งมะพร้าวน้ำหอมภาคตะวันออก เกษตรกร
ส่วนใหญป่ ลกู เป็นแบบมะพร้าวสวนเดีย่ วแบบยกร่อง และสว่ นใหญ่เพ่ือขายผลสด วถิ กี ารตลาดมะพรา้ วน้ำหอม
ภาคตะวนั ออกปี 2563 ผลผลติ มะพรา้ วผลสดจากเกษตรกรในภาคตะวนั ออก ส่วนใหญข่ ายผลผลติ ให้กับพ่อค้า
รวบรวมในภาคตะวนั ออก ร้อยละ 56.49 จากการวิเคราะหด์ า้ นอุปสงคแ์ ละอปุ ทานของมะพร้าวนำ้ หอมในภาค
ตะวันออก พบว่าด้านอุปทาน (Supply Side) สามารถผลิตได้ 30,382 ตัน ในขณะที่ด้านอุปสงค์ (Demand
Side) มีความต้องการใช้หรือการนำไปใช้ประโยชน์มากถึง 43,300 ตัน ซึ่งเป็นการนำไปใช้ภายในภาค
ตะวันออก และกระจายไปยังตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น ยังขาดความสมดุลกับความต้องการใช้
จำนวน 12,918 ตัน หรือประมาณ 4,300 ไร่ ซึ่งปัจจุบันต้องนำเข้ามะพร้าวน้ำหอมจากนอกภาคตะวนั ออกซ่ึง
ทำให้เกิดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ราคาขายปลีกมะพร้าวน้ำหอมในภาคตะวันออก มีราคาสูง
ระหว่าง 15-30 บาทต่อผล เพื่อให้เกิดความเพียงพอต่อความต้องการใช้ควรมีการส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการ
ผลติ และเพม่ิ พื้นทน่ี ำร่อง 4 จงั หวดั ไดแ้ ก่ จงั หวัดฉะเชงิ เทรา ชลบุรี ระยอง และสมุทรปราการ

สำหรับพื้นที่เป้าหมายเพื่อการปรับเปลี่ยนสู่การจัดทำแนวทางพัฒนาสินค้าทางเลือกมะพร้าว
น้ำหอมเปน็ พชื ทางเลือกหรอื เสริมรายได้ พบว่า อาจนำรอ่ งในพ้นื ที่ 4 จังหวดั ไดแ้ ก่ จังหวดั ฉะเชงิ เทรา จงั หวัด
ชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากทั้ง 4 พื้นที่มีแหล่งผลิตมะพร้าวน้ำหอมที่สำคัญและ
เป็นแหล่งที่มีความต้องการบริโภคหรือความต้องการใช้ประโยชน์มะพร้าวน้ำหอมมากที่สุด โดยแบ่งการ
วิเคราะห์เปรียบเทยี บระหว่างพืน้ ที่ปลูกข้าวและมะพรา้ วบนช้ันความเหมาะสมของทั้ง 4 จังหวัด ดังนี้ จังหวดั
ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการควรปลูกมะพร้าวน้ำหอมเสริมในพื้นที่หัวไร่ปลายนาเพื่อให้เป็นรายได้เสริม
นอกเหนือจากรายได้จากข้าวในพื้นทปี่ ลูกข้าวท่ีไม่เหมาะสม จังหวัดชลบุรี และระยองควรปลูกมะพร้าวน้ำหอม
เพอ่ื เปน็ ทางเลอื กใหเ้ กษตรกรปรบั เปลีย่ นจากการปลูกขา้ วในพน้ื ท่ปี ลูกขา้ วท่ีไมเ่ หมาะสมได้

196

ส่วนมาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน
และเกษตรกรตง้ั แตม่ าตรการปลายทางตลาดนำการผลิต ไดแ้ ก่
มาตรการปลายทางตลาดนำการผลติ

1. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่ดึงดูดและน่าสนใจการเข้าถึงข้อมูลเรื่องอัตลักษณ์และสัญลักษณ์
GI อยา่ งท่วั ถงึ (กสก.)

2. สนับสนุนผู้ส่งออกและกลุ่มเกษตรกรเข้าสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายมะพร้าวน้ำหอมไทยผ่าน
แพลตฟอร์ม e-Commerce เช่น taobao.com และ shopee.com/ แพลตฟอร์มการไลฟ์สดผ่านสื่อ Social
ต่าง ๆ เช่น Facebook Instagram เปน็ ตน้ (พณ. กสก. กษ.จ. และเกษตรจงั หวดั )
มาตรการกลางทาง

1. สง่ เสริมเครอื ข่ายการเกษตรแบบแปลงใหญส่ มัยใหม่ เพือ่ เพม่ิ ประสทิ ธิภาพด้านการผลติ การ
ลดต้นทุน การพฒั นาคุณภาพให้ได้มาตรฐาน การบริหารจดั การและการจัดการด้านการตลาด (กษ.จ. + เกษตร
จังหวัด)

2. พัฒนารูปแบบสินคา้ ใหห้ ลากหลาย มีความแตกต่าง หรอื บรรจุภัณฑ์ท่โี ดดเด่น นา่ สนใจ เพื่อ
ต่อยอดไปสู่รายได้ท่เี พ่มิ ขน้ึ (พณ.)

3. เครือข่ายผู้ผลิตผู้ประกอบการส่งออกร่วมยกระดับสร้างมาตรฐานทางการค้าสินค้ามะพร้าว
น้ำหอมเพื่อการส่งออกที่มีอัตลักษณ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น GMP ฉลากสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย GI
ฉลากสง่ิ แวดลอ้ ม: ฉลากลดคารบ์ อน ฉลาก Water footprint (พณ. เกษตรจงั หวดั และ สอจ.)
มาตรการตน้ ทาง

1. ควรให้ความรู้และคำแนะนำเกษตรกรตั้งแต่เรื่องการปลูก การดูแลรักษา การจำกัดโรคและ
แมลงศัตรูพืช และเกษตรกรต้องติดตามสถานการณ์ด้านการตลาดและหมั่นดูแลสวนมะพร้าวเพื่อป้องกันโรค
และแมลงศัตรพู ืชให้ได้ทันท่วงที โดยเฉพาะการจัดการปัญหาศตั รูมะพร้าวนำ้ หอม ไรสี่ขา ด้วงแรด และหนอน
หวั ดำ เปน็ ต้น (กษ.จ. + เกษตรจังหวดั )

2. สนับสนุนความรู้การใช้สารเคมีควบคู่รักษาคุณภาพมาตรฐานสารตกค้างตั้งแต่ต้นทาง
(เกษตรจงั หวดั )

3. สง่ เสริมการเขา้ สูม่ าตรฐานการผลติ และตรวจสอบย้อนกลบั (GAP/PGS) (มกอช.)
4. พัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในกระบวนการเก็บเกี่ยว เพื่อลดแรงงาน
และหลงั การเกบ็ เกี่ยวเพือ่ คงสภาพความสดใหม่ของมะพร้าวนำ้ หอมก่อนถงึ มือผบู้ รโิ ภค (AIC และมหาวิทยาลัย
ในพน้ื ที่)
5) มะมว่ งนำ้ ดอกไม้ สนิ คา้ เกษตรทางเลือกของภาคตะวนั ออก สนิ ค้าคณุ ภาพดี มศี กั ยภาพทาง
การค้า มีโอกาสเติบโตบนเวทีตลาดโลก จากการวิเคราะห์ข้อมูลสนับสนุนเกษตรกรปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ไม่
เหมาะสมในการปลูกข้าว มันสำปะหลังปรับเปลี่ยนมาเป็นกิจกรรมอื่นเป็นพืชทางเลือกหรือพืชเสริมรายได้ซ่ึง
มะม่วงน้ำดอกไม้เป็นสินค้าทางเลือกชนิดหนึ่งของภาคตะวันออกเพราะด้วยจุดแข็งของมะม่วงน้ำดอกไม้ คือ
ปลูกได้ทุกภาคและปลูกไดใ้ นดินทั่วไป แต่ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะมว่ งที่ได้รับจะแตกต่างกันไปตาม

197

แหล่งที่ปลูก ดังนั้น การปลูกมะม่วงเพื่อการค้าจึงควรศึกษาถึงปัจจัยความเหมาะสมต่าง ๆ ตั้งแต่การผลิต
จนกระทั่งการตลาด เพื่อให้ได้พื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับการปลูกมะม่วง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ตลอดจน
สามารถเพิ่มผลผลิตมะม่วงที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานให้ออกสู่ตลาดเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค พันธุ์ที่มี
ศกั ยภาพนิยมปลูกเชิงการคา้ ได้แก่ มะมว่ งพนั ธุ์นํ้าดอกไมส้ ีทอง และมะมว่ งพันธุ์นํ้าดอกไม้เบอร์ 4 และมะม่วง
ต้องการช่วงของความแห้งแล้งหรือช่วงที่ปราศจากฝนสําหรับการพักตัว เพื่อสะสมอาหารก่อนที่จะออกดอก
ค่าความต้องการใช้น้ำของมะม่วงภาคตะวันออกตลอดอายุ 2,772 - 4,435 ลบ.ม./ไร่ หรือต้องการใช้น้ำ 7.6
มม.ต่อต้นต่อวัน หากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตสินค้าสำคัญกับมะม่วงน้ำดอกไม้สินค้าทางเลือก ปี 2563
พบว่า ต้นทุนการผลิตมะม่วงลงทุนสูงกว่าการผลิตข้าวและมันสำปะหลัง แต่หากพิจารณาผลตอบแทนต่อไร่
และผลตอบแทนสุทธิต่อไรหรือกำไรต่อไร่พบว่ามะม่วงมีกำไรมากกว่าข้าวและมันสำปะหลัง รวมทั้งคุ้มค่ าต่อ
การลงทุนโดยพิจารณาจากอัตรากำไรต่อการลงทุนที่มากกว่า 8-18 เท่าเมื่อเทียบกับการอัตรากำไรต่อการ
ลงทุนของข้าวและมันสำปะหลัง ตลาดมะม่วงส่งออกไปประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่น เป็นสำคัญซึ่งมีมาตรฐาน
การนำเขา้ ทม่ี ีข้อกำหนดทลี่ ะเอียดออ่ นแต่สินคา้ มะมว่ งไทยสามารถดำเนนิ การสง่ ออกไปได้ จงึ นบั ว่ามะม่วงไทย
เปน็ สนิ ค้าคณุ ภาพมีมาตรฐานระดบั สากล สัดส่วนการขายผลผลติ มะมว่ งภาคตะวันออก ส่วนใหญ่เปน็ เกรดใน
ประเทศร้อยละ 57 รองลงมาเป็นเกรดส่งออกร้อยละ 29 เกรด GI ร้อยละ 9 และเกรดแปรรูปร้อยละ 5 ซึ่งใน
ปัจจบุ นั ชาวสวนมะมว่ งมีการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างชาวสวนมะม่วงทว่ั ประเทศ สามารถวางแผนการผลิตให้
มผี ลผลติ ปอ้ นเข้าสตู่ ลาดตลอดทั้งปี สามารถกระจายความเส่ยี งในเร่ืองผลผลติ ลน้ ตลาดราคาตกต่ำได้ระดับหนึ่ง
วิถีการตลาดมะม่วงนำ้ ดอกไม้ของภาคตะวันออกปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่เกิดภาวะวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ทำให้
กระทบต่อวิถีการตลาดมะม่วงเปล่ียนไป กล่าวคือ ผลผลิตมะม่วงผลสดของเกษตรกรร้อยละ 100 ส่วนใหญ่สง่
ขายกระจายไปผ่านในนามกลมุ่ วิสาหกจิ ชมุ ชน สหกรณ์ ร้อยละ 48 และส่งขายกระจายไปผา่ นผู้รวบรวม พ่อค้า
แต่ละระดับร้อยละ 47 และกระจายขายปลีกเองทัง้ ออนไลนแ์ ละออฟไลน์ร้อยละ 5 ทั้งนี้ หากสถานการณ์การ
ระบาดของโรคโควิด-19 ลดลงคาดว่าการตลาดหลังโควิด-19 อาจมีการปรับตวั มากขึ้น และภาคเกษตรกรต้อง
ปรับรูปแบบการพึ่งพาตลาดภายในประเทศแบบหลายช่องทางโดยเฉพาะตลาดในประเทศที่มีกำลังซื้อ และ
สนใจสินคา้ มมี าตรฐาน (Standard) เรือ่ งราว (Story) มอี ัตลักษณ์เฉพาะถิน่ ซง่ึ มะม่วงนำ้ ดอกไมภ้ าคตะวันออก
ไดข้ ึน้ ทะเบยี นสนิ คา้ บง่ ชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (Geographical Indication: GI) จำนวน 3 แหลง่ ได้แก่ GI มะม่วง
น้ำดอกไม้คุ้งบางกระเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ GI มะม่วงน้ำดอกไม้สระแก้ว GI มะม่วงน้ำดอกไม้สี
ทองบางคลา้ จ.ฉะเชงิ เทรา และกำลงั อยู่ในกระบวนการขอ GI มะม่วงน้ำดอกไมส้ มุทรปราการ ซงึ่ จากทะเบียน
สนิ คา้ บง่ ชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยของกรมทรัพยส์ นิ ทางปญั ญามีสินค้ามะมว่ งน้ำดอกไม้ที่ขึ้นทะเบียนเฉพาะในพ้ืนท่ี
ภาคตะวันออกเท่านน้ั นบั เปน็ จดุ แข็งท่ีเป็นอัตลักษณ์ควรนำมายกระดับแนวทางพัฒนารรวมท้ังภาคตะวันออก
ยกระดับเป็นแปลงใหญ่มะม่วง 5 แปลงในจังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรีและสระแก้ว ทั้งนี้
กรมพัฒนาที่ดินได้ทำการวิเคราะห์เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วงตามความเหมาะสมของที่ดินสำหรับพชื
เศรษฐกิจมะม่วงภาคตะวันออกพื้นท่ีชั้นความเหมาะสมรวม (S1+S2) จำนวน 4,221,644 ไร่ ซึ่งถือว่า
ภาคตะวนั ออกมคี วามเหมาะสมต่อการปลูกมะม่วงค่อนข้างมาก ดังนั้น ควรยกระดับการพัฒนามะม่วงตาม
เขตความเหมาะสมสร้างอัตลักษณ์มาตรฐานทางการค้าของภาคตะวันออก และสอดรับกับแหล่งรับซ้ือ

198

มะม่วงภาคตะวนั ออกกระจายในรัศมี 100 กิโลเมตรจากแหลง่ ผลิตอยูใ่ นจังหวัดทเี่ ป็นแหล่งผลิตสำคัญของภาค
ตะวนั ออก ซึ่งถอื วา่ เหมาะสมและสอดคล้องกับแหล่งผลิต แต่ในส่วนพนื้ ทเี่ ป้าหมายทีเ่ ป็นแหล่งผลิตท่ีอยู่ในเขต
ความเหมาะสมสงู (S1) อกี แห่งท่ียังไม่มผี ู้ประกอบรวบรวมในพน้ื ท่คี ืออำเภอสอยดาวและอำเภอโปง่ น้ำร้อน โดย
ต้องพึ่งพาการขายผ่านเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสระแก้ว จึงควรส่งเสริมรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่เพื่อ
เชื่อมโยงตลาดใหม้ ีการแข่งขันทางการตลาดมากขึ้น การประมาณการอุปสงค์-อุปทาน มะม่วงน้ำดอกไม้ของ
ภาคตะวันออกมีพื้นที่เป้าหมายที่เหมาะสมควรส่งเสริมสินค้าทางเลือกมะม่วงได้แก่ จังหวัดสระแก้ว
ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สมุทรปราการ และอำเภอสอยดาว และอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ซ่ึง
สามารถประมาณการอุปสงค์และอุปทานได้ดังน้ี อุปทาน (Supply Side) ประมาณการผลผลิตมะม่วง
น้ำดอกไม้ภาคตะวันออกอยู่ที่ 70,000 ตัน อุปสงค์ (Demand Side) ประมาณการรับซื้อผลผลิตมะม่วง
นำ้ ดอกไมภ้ าคตะวนั ออกอยู่ที่ 70,000 ตนั ซึง่ มคี วามสมดุลสอดรับกบั ตลาด อย่างไรก็ตาม ด้วยภาวะวิกฤตโควิด-
19 มะม่วงส่งออกไดร้ ับผลกระทบในการขนส่ง ดังนัน้ มะม่วงไทยควรปรบั ตวั พึ่งพาตลาดในประเทศและลดต้นทุน
ค่าขนส่ง ควรยกระดับมาตรฐานคุณภาพจากเกรดในประเทศเป็นเกรด GI เพิ่มสัดส่วนสินค้าอัตลักษณ์อีก
รอ้ ยละ 10 หรือประมาณ 7,000 ตนั หรือ 7,000 ไร่ ซงึ่ มีโอกาสทางการตลาดสะท้อนอัตลักษณ์สนิ ค้าบ่งชี้ทาง
ภูมิศาสตร์ไทย มะม่วงน้ำดอกไม้ของฝากพรีเมียมจากภาคตะวันออก ที่มีเพียงภาคเดียวของไทย โดยใช้จุด
แข็งของมาตรฐานคุณภาพ (Standard) และสะท้อนจุดเด่นด้วยเรื่องราว (story) เพื่อให้เกษตรกรชาวสวน
มะมว่ งไดร้ ับราคาท่สี ูงขึน้ และผ้บู ริโภคในประเทศได้บรโิ ภคสนิ ค้าที่มีมาตรฐานและภาคภูมิใจในการสนับสนุน
สนิ ค้าทม่ี ลี ักษณะเฉพาะมีอัตลักษณ์ของผลไมไ้ ทย

สำหรบั มาตรการส่งเสริมการปรับเปล่ียนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน
และเกษตรกร เพอื่ ให้สอดรบั การขบั เคลื่อน Roadmap แผนปฏิบัตกิ ารพฒั นาผลไม้ไทยปี 2565-2570 ใน 5 ปี
ข้างหน้า และตามนโยบายตลาดนำการผลติ ควรมีเป้าหมาย ยกระดบั การพัฒนามะม่วงภาคตะวันออกตามเขต
ความเหมาะสมสร้างอัตลักษณ์ส่มู าตรฐานทางการคา้ ในเวทีนานาชาติ ดงั นี้
มาตรการปลายทางตลาดนำการผลติ

1. พฒั นาขดี ความสามารถในการแข่งขันดา้ นการตลาดไมผ้ ลดว้ ยเทคโนโลยีและนวตั กรรม
2. เพิม่ เจรจาสทิ ธปิ ระโยชนท์ างการคา้ ลดภาษนี ำเขา้ มะม่วงไทย
3. เร่งประชาสัมพันธ์ Story อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ GI เสมือนมาตรฐานเครื่องหมายทาง
การคา้
4. จัดทำแผนพัฒนาสินค้ามะม่วง BCG Value Chain เป็นสินค้าเศรษฐกจิ ทีส่ ำคัญของจงั หวัด/
กลุม่ จังหวัด (กษ./พณ./อก./ทท.)
5. Business Planning and Matching ส่งเสริมความร่วมมือวางแผนการตลาดและทำตลาด
ล่วงหน้า Pre Order
6. สนับสนุนผู้ส่งออกและกลุ่มเกษตรกรเข้าสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายมะม่วงไทยผ่าน
แพลตฟอร์ม e-Commerce เช่น taobao.com และ shopee.com/ แพลตฟอรม์ การไลฟส์ ด
(Live Streaming)

199

มาตรการกลางทางประสานการผลติ สกู่ ารตลาด
1. ส่งเสริมเครือข่ายการเกษตรแบบแปลงใหญ่มะม่วงสมัยใหม่
2. พฒั นาระบบโลจิสติกสห์ ว่ งโซค่ วามเยน็ (Cold Chain) โดยเฉพาะห้องเย็นชะลอความสุกช่วย

บริหารจัดการลดความเสี่ยงช่วงกระจุกตัวและรักษาความสดเพิ่มคุณภาพผลผลิต และห้องบ่มมะม่วงที่ใช้
เทคโนโลยกี ารบม่ รปู แบบใหม่ด้วยความเย็นพร้อมปล่อยแก๊สเอทลิ นี ช่วยใหม้ ะม่วงสุกสม่ำเสมอ

3. พฒั นาแปรรูปมะม่วงเปน็ อาหารอนาคต (Future Food)
4. พัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ยืดอายุและเพื่อปรับตามรูปแบบการขนส่งทุกเส้นทาง
โดยเฉพาะทางรางที่มีการพฒั นาเช่ือมโยงกับไทย-ลาว-เส้นทางสายไหมของจีนสตู่ ะวนั ออกกลางและยโุ รป
5. เครือข่ายผู้ผลิตผู้ประกอบการส่งออกร่วมยกระดับสร้างมาตรฐานทางการค้าสินค้ามะม่วง
เพื่อการส่งออกที่มีอัตลักษณ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น GMP ฉลากสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย GI ฉลาก
สงิ่ แวดลอ้ ม: ฉลากลดคาร์บอน ฉลาก water footprint
มาตรการตน้ ทางการผลติ รักษามาตรฐาน
1. มาตรการส่งเสรมิ การผลติ ตามเขตความเหมาะสม (Zoning) สอดคลอ้ งตามฤดูกาลควบคู่การ
อนุรกั ษด์ ินและนำ้ ในระดับพื้นทีโ่ ดยใช้มาตรการจูงใจทางเศรษฐศาสตร์และไม่ใชท่ างเศรษฐศาสตร์
2. ปรับเขตกรรมการสร้างสวนมะม่วงแบบเกื้อกูลเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนและ
เป็นมติ รกบั ส่งิ แวดลอ้ ม
3. พัฒนาพันธุ์ เพิ่มความหลากหลายสายพันธุ์มะม่วงเพื่อบริหารความเสี่ยงตามความต้องการ
แตล่ ะตลาด
4. การจดั การปัญหาดว้ งเจาะเมลด็ มะมว่ งตลอดวงจรชวี ติ ด้วยเทคโนโลยกี ารเกษตรแม่นยำ
5. สนบั สนุนความร้กู ารใชส้ ารเคมคี วบครู่ ักษาคณุ ภาพมาตรฐานสารตกค้างตัง้ แตต่ ้นทาง
6. สง่ เสรมิ การเขา้ สู่มาตรฐานการผลติ +ตรวจสอบย้อนกลบั (GAP/PGS)
7. จัดทาํ ฐานขอ้ มลู Big Data มะม่วงใหเ้ ช่ือมโยงกนั

6) กุ้งก้ามกราม เป็นสินค้าที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ จุดแข็งของการเลี้ยงกุง้ ก้ามกราม
ร่วมกับกงุ้ ขาวจะชว่ ยลดตน้ ทุนเร่ืองอาหาร เพราะวา่ ก้งุ ทัง้ สองช่วยเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เพราะวา่ กุ้งขาวจะกิน
อาหารด้านบน ส่วนอาหารที่ตกไปด้านล่างจะเป็นของกุ้งก้ามกราม ลักษณะการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับ
กุ้งขาวแวนาไม ทำให้สามารถทำรายได้ 2 ทางในบ่อเดียวกัน เป็นแนวทางช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มข้ึน
หากช่วงไหนกุ้งขาวโรคลง หรือราคาตกต่ำก็ยังมีกุ้งก้ามกรามยังคงที่เรื่องราคาอยู่ ทำให้เกษตรกรยังมี
รายได้ การเลือกสถานที่เลี้ยงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จหรือล้มเหลว ในการ
เล้ียงกุ้งก้ามกราม เพราะพ้ืนที่บางแห่งอาจจะไม่สามารถใช้เลี้ยงสัตวน์ ้ำไดเ้ ลย หรือบางแห่งอาจจะใช้เล้ียงสัตว์
น้ำได้แต่จะมีการปรับปรุง บางแห่งอาจไม่ต้องปรับปรุงเลยโดยคำนึงถึงปัจจัยคุณภาพดิน ควรเป็นดินเหนียว
หรือดินร่วนสามารถเก็บกกั น้ำไดด้ ี คุณภาพน้ำ บ่อเลยี งก้งุ ควรอยใู่ กล้แหลง่ น้ำทมี่ ีคณุ ภาพดี สะอาด แหล่งพันธ์ุ
กุ้ง พื้นที่เล้ียงควรอยู่ในบริเวณที่ไม่ห่างจากแหล่งพันธุ์กุ้ง สาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกหลายอย่าง

200

จำเป็นมากต่อการเลี้ยงกงุ้ ให้ไดผ้ ลดี เช่น ถนน ไฟฟา้ เพื่อสะดวกในการขนส่ง และ ตลาด แหลง่ เล้ียงกุ้งควรอยู่
ไม่ไกลตลาดมากเกินไปเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ส่วนใหญ่พบการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในแหล่งน้ำจืดที่มี
ทางติดต่อกับทะเล และแหล่งน้ำกร่อยในบริเวณปากแม่น้ำ ลำคลอง ปัจจุบันนี้ กรมประมงและฟาร์มเ อกชน
สามารถเพาะพันธุ์กงุ้ ก้ามกรามได้จงึ ทำให้มีผูเ้ ล้ียงกงุ้ ชนดิ นี้ กนั อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในภาคตะวนั ออกของ
ประเทศไทย เชน่ จงั หวัดฉะเชิงเทรา ปราจนี บุรี ชลบุรี เปน็ ตน้

หากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตข้าวกับกุ้งก้ามกรามสินค้าทางเลือก ปี 2563 พบว่า มีต้นทุน
รวมต่อไรเ่ ท่ากับ 36,705.02 บาท ใหผ้ ลตอบแทนตอ่ ไรเ่ ท่ากบั 45,122.15 บาท มผี ลตอบแทนสุทธิตอ่ ไร่เท่ากับ
8,417.13 บาท มีอัตราผลตอบแทนสุทธิต่อการลงทุน 0.23 ดังนั้นต้นทุนการผลิตกุ้งก้ามกรามลงทุนสูงกว่า
การผลิตข้าว แต่หากพิจารณาผลตอบแทนต่อไร่และผลตอบแทนสุทธิต่อไร่หรือกำไรต่อไร่พบว่ากุง้ ก้ามกรามมี
กำไรมากกว่าข้าว รวมทั้งคุ้มค่าต่อการลงทุนโดยพิจารณาจากอัตรากำไรต่อการลงทุนที่มากกว่า 1-2 เท่าเมื่อ
เทียบกับการอัตรากำไรต่อการลงทุนของข้าว ส่วนวิถีการตลาดกุ้งก้ามกรามภาคตะวันออกปี 2563 เกษตรกร
ผู้เลี้ยงกุ้งกา้ มกรามของภาคตะวนั ออก มีการจำหน่ายผลผลิตไปยงั แพรวบรวมภายในภาคตะวนั ออก ขายไปยัง
แพจังหวัดสมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ร้อยละ 95 และมีเกษตรกรบางส่วนจำหน่ายเอง
โดยตรงใหผ้ บู้ ริโภค รอ้ ยละ 5 แตท่ ้งั นแ้ี พกุ้งต่าง ๆ จะมีเครอื ขา่ ยเกษตรกรท่ีซ้ือขายกันประจำอยู่แล้วและแพกุ้ง
ในภาคตะวันออกท่ซี ้ือกุ้งก้ามกรามมาจากฟารม์ เกษตรกรภาคตะวันออก สว่ นใหญ่จะขายให้กับผู้ค้าปลีก/ค้าส่ง
ร้อยละ 80 และตลาดกลาง (ตลาดมหาชัย) ร้อยละ 20 จากการวิเคราะห์ถึงอุปสงค์อุปทานกุ้งก้ามกรามใน
5 จังหวัดนำร่อง จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี นครนายก และสมุทรปราการ ประมาณการผลผลิต
2,828 ตัน และมีความตอ้ งการรับซอ้ื ผลผลติ ปริมาณ 2,952 – 4,428 ตนั โดยการนำไปใชภ้ ายในภาคตะวนั ออก
และการส่งออกไปตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น ผลผลิตกุ้งก้ามกรามของภาคตะวันออก ยังขาด
ความสมดุลกับความต้องการใช้ ประมาณ 124 – 1,600 ตัน ควรส่งเสริมให้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามประมาณ
714 - 9,217 ไร่ ในพื้นที่นำรอ่ ง 5 จังหวัดภาคตะวันออก เนื่องจากเกษตรกรยังมีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับ
ก้งุ ขาวแวนนาไมในหลายพ้ืนที่ ทำให้มโี รงเพาะฟักสามารถผลิตลูกพนั ธุ์ได้เพ่มิ ขึ้น รวมถงึ เกษตรกรมีการชำหรือ
อนุบาลลูกกุ้งก่อนลงเล้ียง ซึ่งทำให้สามารถเลี้ยงกุ้งได้ 2-3 รอบการผลิต/ปี แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงในด้านต่าง ๆ
อาทิ คุณภาพลูกพันธุ์ ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ รวมถึงผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และ
การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ซึ่งเกษตรต้องปรับตัวขายสินค้าแบบออนไลน์ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค
ได้มากขึ้น หากสถานการณ์การระบาดของโรคอุบัติใหม่คลี่คลายมากขึ้น สภาวะเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติ
เปดิ การท่องเทีย่ วไดจ้ ะทำให้ความต้องการรกงุ้ ก้ามกรามมากขึ้นส่งผลใหร้ าคาดขี นึ้

สำหรับมาตรการสง่ เสริมการปรับเปล่ียนการผลิตแบบมสี ่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน
และเกษตรกรดังนี้
มาตรการปลายทาง

1. ระดับนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรภายใต้
โครงการระบบสง่ เสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพอื่ เพ่ิมประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน รวมถึงการเช่ือมโยง
สินค้าสู่ตลาด (กษ.+ประมง+พณ.)

201

2. ระดับพนื้ ท่สี นับสนนุ การสร้างเครือขา่ ยเชื่อมโยงระหวา่ งร้านอาหาร/โรงแรม/ ภตั ตาคารใน
พื้นทก่ี บั กลุ่มเกษตรกรเพ่ือทราบถึงปรมิ าณและคุณภาพมาตรฐานและขนาดทตี่ ้องการ (สภาหอการคา้ +ประมง)

3. สง่ เสรมิ การคา้ ก้งุ ก้ามกรามของไทยในตลาดออนไลน์ (พณ.)
มาตรการกลางทาง

1. ถ่ายทอดความรใู้ ห้เกษตรกรใหม้ ีทกั ษะทเ่ี หมาะสมและจำเป็นทั้งในดา้ นการผลิต การตลาด
การจัดการ และสนับสนุนทนุ และเทคโนโลยเี ปน็ ตน้ (ประมงจงั หวดั +AIC)

2. สนบั สนุนทุนวจิ ยั และพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ รวมถงึ การพัฒนานวัตกรรมในการเพาะเลี้ยงกุ้ง
กา้ มกรามให้มีความทนั สมยั มีประสทิ ธิภาพสงู และเปน็ มติ รกบั ส่งิ แวดล้อม อีกทง้ั พัฒนารูปแบบผลติ ภัณฑ์กงุ้
กา้ มกรามให้มีความหลากหลาย หรือพฒั นาเทคโนโลยใี นการขนสง่ หรือบรรจุภณั ฑ์กงุ้ มชี วี ิต เพือ่ เพ่มิ มลู คา่
ผลผลิต (ประมงจงั หวดั +สสว.+สวก.+AIC+พาณชิ ย)์

3. สนับสนุนกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ที่มีความสามารถเป็นแหล่งรับซื้อผลผลิตให้กับเกษตรกรที่
ปรับเปลีย่ นและสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายไดอ้ ย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพนั ธ์เพ่ือกระตุ้นการขายผลผลิต
(สหกรณ์จังหวัด+ส.อ.ท.+พาณชิ ย์ sale man)
มาตรการตน้ ทาง

1. ควรพัฒนาสายพันธุ์กุ้งก้ามกรามให้มีคุณภาพดี เพื่อให้มีอัตรารอดสูงและโตเร็ว (ประมง
จังหวดั )

2. การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามโดยใช้ลกู พันธ์ุขนาด 200-300 ตัว/กก. ทำให้กุ้งมีอัตรารอดสูงขึ้นและ
ใช้เวลาเลยี้ งนอ้ ยลง แตอ่ าจทำใหต้ น้ ทุนลูกพนั ธ์เุ พ่ิมขน้ึ (ประมงจงั หวดั )

3. พฒั นาเทคนิควิธีการคัดแยกเพศลูกพนั ธกุ์ งุ้ ก้ามกรามหรือให้มสี ดั ส่วนกงุ้ เพศผู้มากขน้ึ เพ่ือเพ่ิม
ประสทิ ธิผลในการเล้ยี ง (ประมงจังหวัด)

5.2 ขอ้ เสนอแนะ
จากการนำเสนอผลวิเคราะหข์ ้อมูลสนิ ค้าทางเลือกเชงิ ลึกของภาคตะวันออกปี 2564 ในท่ปี ระชมุ หารือ

ย่อยทางไกล (Online Focus Group) ซึ่งมีข้อคิดเห็นจากหลายภาคส่วนทั้งผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน
ภาคเกษตรกร โดยให้ข้อคิดเห็นในที่ประชุมและส่งข้อมูลผ่าน QRCODE ส่วนใหญ่เห็นชอบในสินค้าทางเลือก
ระดับภาคท่ีนำเสนอทั้ง 6 ชนิด รวมท้ังมาตรการที่เสนอ ทั้งน้ี ทป่ี ระชมุ มีข้อเสนอแนะเพม่ิ เติมและข้อเสนอแนะ
ในการศึกษาครั้งต่อไปเพื่อให้มีข้อมูลที่ครอบคลุมมากขึ้นและปรับมาตรการให้ชัดเจนมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีและ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ได้นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงเพิ่มเติมในรายงานผลการศึกษาครั้งน้ี
เรียบร้อยแล้ว และข้อเสนอแนะบางส่วนเป็นข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป ทั้งนี้ สามารถพิจารณา
รายละเอียดข้อเสนอแนะจากท่ีประชมุ ไดด้ ังนี้

202

5.2.1 ขอ้ เสนอแนะจากผลการประชมุ กลมุ่ ย่อย (Focus Group)
1) ในภาพรวมของสินค้าทางเลือกภาคตะวันออกควรใส่เงื่อนไข ข้อจำกัดของแต่ละสินค้า เพ่ือ

เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้เกษตรกร เช่น เรื่องโกโก้ สายพันธุ์โกโก้ การปลูกแซมในสวนยางพารา
การจดั การปญั หารากยางพารา การเสรมิ ระบบน้ำในฤดแู ล้ง ศัตรูพชื /โรคพชื ตา่ ง ๆ

2) ให้ข้อสังเกต เรื่องไผ่ ปลูกง่าย เรื่อง หญ้าเนเปียร์ ในพื้นที่ดอน ต้องมีระบบน้ำให้เพียงพอ
สว่ นมะพรา้ วนำ้ หอมควรยดึ แผนท่ีความเหมาะสมก่อนสง่ เสรมิ ความต้องการสินคา้ มมี าก แต่ชะลอตัวชว่ งโควดิ -
19 กระทบกับการท่องเที่ยวภาคตะวันออก ในภาพรวมให้พิจารณาเรื่องนำ้ พื้นที่ความเหมาะสม ตลาดนำการ
ผลิตตอ้ งมีแผนการรองรับ และควรพิจารณาเรื่องพืชที่มีอยู่แล้วและสร้างมลู ค่าสูง เช่น ทุเรยี น หน่วยงานต่าง ๆ
ควรสนับสนุนองค์ความรู้ให้เกษตรกร ให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น เช่น เรื่องราคายางพาราตกต่ำมาก ภาครัฐควร
นำไปใช้แทนพื้นคอนกรีต และโรงงานผลิตยางรถยนต์ 30 กว่าโรง ให้ลดสัดส่วนยางสังเคราะห์ เพิ่มสัดส่วน
ยางพาราแท้ 5-8% จะช่วยเกษตรกรได้ และเรื่องน้ำ ระบบน้ำชลประทานมีเพียงพอสำหรับภาคตะวันออก
หรอื ไม่ในอนาคต

3) พืชทางเลือกต้องมองอนาคต เรื่องน้ำสำคัญมาก การรุกล้ำของน้ำทะเล พืชสามารถทน
น้ำเคม็ ไดใ้ นระดบั ไหน และการใช้น้ำของแตล่ ะพืช ระบบน้ำ รวมถึงสภาพอากาศท่ีเหมาะสมกับแตล่ ะพืช

4) ภาพรวมควรจัดทำยุทธศาสตร์เกษตรระยะ 5 ปี, 10 ปี โดยใช้หลักตลาดนำการผลิต มอง
ตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศ สรา้ งมลู คา่ เพ่ิมโดยการแปรรูป และสถานท่ีเกบ็ ผลผลติ (ห้องเยน็ ) เกบ็
ไว้แปรรูปได้ เรื่องนิคมอตุ สาหกรรมเกษตร เรมิ่ ตน้ เปน็ รูปธรรมที่อำเภอนายายอาม จงั หวดั จนั ทบุรี

5) เรื่องยุทธศาสตร์ด้านเกษตร การยกระดับการผลิตให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานท่ี
ตลาดต้องการท้ังในและตา่ งประเทศ ควรพจิ ารณาเร่ืองโรคระบาดศัตรูพืช วธิ ีปอ้ งกนั กำจัดโรค ควรระบุข้อควร
ระวังตา่ ง ๆ

6) ในภาพรวมควรพิจารณาเรื่องตลาดนำการผลิต เกษตรกรมีต้นแบบให้ศึกษาเรียนรู้ ส่วนใน
รายละเอียดรายสินค้าเรื่องไผ่ มีการแปรรูปเชิงอุตสาหกรรม เรื่องหญ้าเนเปียร์ มีความต้องการสูง เรื่องมะม่วง
น้ำดอกไม้ ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เรื่องการส่งออกทำให้ราคาตกตำ่ ควรพิจารณาเรื่องตลาดนำการผลติ
มาตรฐานทต่ี ลาดตา่ งประเทศต้องการ ทำเกษตรพันธสญั ญาลดความเสย่ี งให้กับเกษตรกร เรื่องโกโก้ จะมีปญั หา
เรื่องพันธุ์โกโก้ คุณภาพผลผลิต มีตลาดรองรับหรือไม่ เรื่องมะพร้าวน้ำหอม ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และ
มีการแข่งขันกับภาคกลาง ควรพิจารณาเรื่องคุณภาพมาตรฐาน ราคาสามารถแข่งขันได้ เรื่องกุ้งก้ามกราม
ไดร้ บั ผลกระทบจากโควิด-19

7) เรื่องไผ่ ควรมีพื้นที่ปลูกอำเภอโป่งน้ำร้อน และสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เรื่องโกโก้ ต้องมี
ตลาดรองรับสำหรับเกษตรกร และต้องมีมาตรฐานในการแปรรูปโกโก้ และแนะนำพืชตัวใหม่ที่น่าสนใจ คือ
ขนุน น้อยหน่า และอโวคาโด และไผ่ในจังหวัดชลบุรี มีการขับเคลื่อนตั้งแต่ปี 2562-2564 มีเครือข่ายในการ
จัดทำยุทธศาสตร์ไผ่ BCG Model ไผ่ (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสเี ขียว) และจะสอดรบั
กับจังหวัดสระแก้ว ส่งเสริมการปลูกไผ่ได้รับงบของจังหวัดสระแก้ว 200,000 ไร่ ใน 6 ปี ได้วิเคราะห์พื้นที่
เหมาะสมแลว้ คือในอำเภอวัฒนานคร โคกสงู และตาพระยา ควรพิจารณาเรื่องการตลาดนำการผลิตให้ชัดเจน

203

หากมีรถไฟความเร็วสูงจากจีนมาลาวสินค้าแปรรูปจากไผ่จีนจะเข้ามา ท่าทีการพัฒนาไผ่ของไทยจะเป็น
ชอ่ งทางใด

8) ขอให้มงุ่ เนน้ ใหเ้ ปน็ มาตรการระยะยาว เพ่อื ความมั่นคงย่งั ยืนของตวั เกษตรกรเอง
9) เป็นข้อมูลทีม่ ีประโยชน์ต่อการพจิ ารณาสง่ เสรมิ การเกษตร
10) พืชทางเลือกท่ีนำเสนอมาเป็นพืชที่น่าสนใจสำหรับจงั หวดั จนั ทบุรี คือไผ่ หญ้าเนเปียร์ และ
มะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งหากจะนำมาแนะนำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการปลูก ควรมีการศึกษาเรื่องข้อมูลด้าน
ผลตอบแทนเมื่อเปรียบเทียบกับพืชที่เกษตรกรผลิตอยู่จริง เช่น อำเภอสอยดาว มีการปลูกลำไย และกำลังมี
ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ จึงควรเปรียบเทียบตน้ ทุนพืชทดแทนกับพืชทีม่ ีปัญหา และการปลูกแบบผสมกับพชื
อนื่ โดยเฉพาะปริมาณน้ำทใี่ ชใ้ นการเพาะปลกู และวิธีการปลูก ความเหมาะสมของดนิ กฎระเบียบมาตรฐานท่ี
เกี่ยวข้องกับสินค้า มูลค่าการส่งออก เพื่อให้สามารถเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการผลิตให้กับเกษตรกร
โดยเฉพาะแนวโนม้ ตลาดในอนาคต เนอ่ื งจากเกษตรกรจันทบุรีเคยชินกบั การรวบรวมโดยผู้รบั ซอ้ื
11) พืชทางเลือกท่ีเลอื กมคี วามเหมาะสมแลว้ ควรเน้นเรื่องตลาดนำการผลติ ให้ชัดเจน
12) การรวมกลมุ่ ของเกษตรกร เพอ่ื การผลติ ยงั สนิ ค้าเกษตร ยงั ขาดความตอ่ เนอ่ื งและยั่งยืน ทำ
ให้การผลักดนั การสง่ เสรมิ ดา้ นการตลาด และการยกระดับตลาดเปน็ ไปไมต่ ่อเนื่อง
13) ตามท่ไี ดม้ ีผเู้ สนอแนะไปแลว้ โดยเนน้ เร่ืองแหล่งน้ำ เงื่อนไขด้านการผลิตและการตลาด
14) ขอบคุณที่เพิ่มสินค้าประมง เป็นสินค้าทางเลอื กให้เกษตรกรดว้ ย นอกเหนือจากสนิ ค้าด้าน
พชื โดยภาพรวมขอ้ มลู สมบูรณแ์ ล้ว แตห่ ากเพม่ิ จุดอ่อนของสนิ ค้าแต่ละสินคา้ ดว้ ยก็จะสมบรู ณ์มากย่ิงขึ้น

5.2.2 ขอ้ เสนอแนะในการทำการศึกษาครัง้ ตอ่ ไป
1) ศกึ ษาเพิ่มเติมในส่วนของพชื สมุนไพร อนิ ทผาลมั พริกไทย นอ้ ยหน่า และไขไ่ ก่ รวมถึงสินค้า

ท่มี ีโอกาสทางการตลาด
2) เรื่องนโยบายตลาดนำการผลิต มีข้อมูลด้านตลาดน้อยมาก ควรรวบรวมรายชื่อบริษัท ล้ง

หรือแหล่งรับซอ้ื สนิ ค้าทางเลือกชนิดตา่ ง ๆ เพื่อเป็นประโยชนใ์ นการส่งเสริมการเกษตรทางเลอื กให้เกษตรกรได้
เลอื กสรร

3) ควรศกึ ษาสภาพแวดล้อมของพ้นื ทเ่ี ขตตดิ ตอ่ อุทยาน ปญั หาสัตวป์ ่าทำลายผลผลติ การเกษตร
4) ศึกษาเทคโนโลยเี ตาเผาถ่านไบโอชาร์แบบไหลตอ่ เนอื่ ง
5) ขอให้ดำเนินการศึกษาข้อมูลพืชสมุนไพร น่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่ตอบโจทย์ในทุกพื้นท่ี
โดยเฉพาะเกษตรกรสนใจการปลูกพืชสมุนไพรมาก จากการที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชลบุรี ได้
จัดทำโครงการฝึกอบรมการปลูกและแปรรูปพืชสมุนไพร ผลการประเมินโครงการ เกษตรกรสนใจการปลูก
ฟ้าทลายโจร ลำดับ 1 ถัดมาเป็น ขมิ้นชัน ขิง ข่า และตะไคร้ ตามลำดับ และสนใจจะรวมกลุ่มกนั ปลูกเพ่ือเพมิ่
รายได้ หากจัดทำข้อมูลพืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือก ก็จะเป็นข้อมูลที่หลายหน่วยงานสามารถนำไปใช้
ประโยชนใ์ หเ้ กษตรกรในพืน้ ทไี่ ด้ และหน่วยงานสามารถนำขอ้ มลู ไปจัดคำของบประมาณตอ่ ไปได้



บรรณานุกรม

กรมชลประทาน, (2556). ความตอ้ งการใช้น้ำของพืช. สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ.
กรมปศสุ ัตว.์ (2563). คู่มือสำหรับเกษตรกร การผลติ หญ้าเนเปยี รป์ ากช่อง 1 สำหรบั การเล้ียงสัตว์. สำนกั

พัฒนาอาหารสตั ว์.
กรมปศุสัตว.์ (2563). ข้อมลู เกษตรกรผู้ผลิตพชื อาหารสัตว์จำหน่าย [ออนไลน์]. เขา้ ถงึ ได้จาก: สำนกั พฒั นา

อาหารสัตว์. https://nutrition.dld.go.th/nutrition/index.php/ (วันที่สืบคน้ ขอ้ มูล: 29 สิงหาคม
2564).
กรมพัฒนาที่ดิน. (2563). Agri-Map online สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร GISTDA (2561-2563) แผนที่
แสดงการเพาะปลูกข้าวตามช้ันความเหมาะสมและแสดงจุดแหล่งรับซ้ือสินค้าข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมพัฒนาที่ดิน. (2563). Agri-Map online สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร GISTDA (2561-2563) พ้ืนท่ี
เพาะปลูกในชน้ั ความเหมาะสมตา่ ง ๆ ของสินค้าขา้ ว มนั สำปะหลัง ยางพารา. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมพฒั นาท่ดี นิ , (2562). เขตการใชท้ ีด่ นิ พชื เศรษฐกจิ มะม่วง. กองนโยบายและแผนการใชท้ ีด่ ิน.
กรมวิชาการเกษตร. (2563). สถานการณ์การผลิตโกโก้ [ออนไลน์]. เข้าถงึ ไดจ้ าก: https://www.doa.go.th/
hort/wp-content/uploads/2020/12/สถานการณ์การผลิตโกโก้_พฤศจิกายน63.pdf. /(วันที่สืบค้น
ข้อมูล: 30 สิงหาคม 2564). 10 กนั ยายน 2564.สถาบนั วจิ ยั พืชสวน
กรมวิชาการเกษตร. (2533). คูม่ ือการปลูกโกโก.้ ศูนยว์ จิ ัยพืชสวนชมุ พร สำนกั วิจยั และพัฒนาการเกษตรเขตท่ี 7.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). รายงานทะเบียนเกษตรกร [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.
farmer.doae.go.th/ (วันท่ีสืบค้นขอ้ มูล: 2 มถิ ุนายน 2564).
ชชู าติ วัฒนวรรณ และอรณุ ี วัฒนวรรณ. 2550. ยกระดบั การผลิตมะม่วงไทยเพ่ือการสง่ ออก [ออนไลน์]. เข้าถึง
ได้จาก: http://lib.doa.go.th/multim/e-book/EB00011.pdf. /(วันที่สืบค้นข้อมูล: 10 กันยายน
2564).
ธนิต โสรตั น์. (2550). การประยุกต์โลจสิ ตกิ ส์และโซ่อปุ ทาน. กรงุ เทพฯ: วี-เซริ ์ฟ โลจิสติกส.์
พรรณิภา อนุรักษากรกุล ณรงค์ พลีรักษ์ (2556). การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและผลตอบแทน
ทางการเงินในการลงทนุ ปลูกพชื เศรษฐกจิ ในภาคตะวันออก. มหาวิทยาลยั ศรนี ครนิ ทรวิโรฒ.
พรรณิภา อนุรักษากรกุล ณรงค์ พลีรักษ์ กฤษณะ อิ่มสวาสดิ์ และภาสิรี ยงศิริ. (2556). การวิเคราะห์ความ
คุม้ ค่าทางการเงินในการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมนั ในจงั หวัดชลบรุ ี. มหาวิทยาลัยบรู พา.
วาสนา พุฒกลาง และ ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์. (2556). การโซนนิ่งพ้ืนท่ีเกษตรกรรมสำหรับการผสมผสานหา
ทางเลอื ก สำหรับการใชท้ ่ดี นิ ในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื . มหาวิทยาลัยขอนแกน่ .
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดตราด
(พ.ศ. 2561 - 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
จนั ทบรุ ี.

203

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดตราด
(พ.ศ. 2561 - 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
ฉะเชิงเทรา.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดชลบุรี
(พ.ศ. 2561 - 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
ชลบรุ ี.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดตราด
(พ.ศ. 2561 - 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
ตราด.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวดั นครนายก
(พ.ศ. 2561 - 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
นครนายก.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดตราด
(พ.ศ. 2561 - 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
ปราจีนบุรี.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดตราด
(พ.ศ. 2561 - 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
ระยอง.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดตราด
(พ.ศ. 2561 - 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
สมทุ รปราการ.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดตราด
(พ.ศ. 2561 - 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
สระแก้ว.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด แบบปริมาณลูกโซ่
ฉบบั พ.ศ. 2562. ขอ้ มูลเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). การบริหารจัดการสินค้าสำคัญและสินค้าทางเลือกเชิงลึกตาม
Agri-map ปี 2564. สำนกั งานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). การศกึ ษาศักยภาพการผลิต และการตลาดโคเนื้อโคบาลบูรพา จังหวัด
สระแกว้ ปี 2563. สำนกั งานเศรษฐกจิ การเกษตรท่ี 6.

สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตร. (2564). ต้นทุน ณ ไรน่ า (ณ เดือนมถิ ุนายน 2564). ศูนย์สารสนเทศการเกษตร
กรงุ เทพมหานคร.

204

สำนกั งานเศรษฐกจิ การเกษตร. (2564). ปริมาณและมลู คา่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรคใบด่างมันสำปะหลงั
ในพ้ืนที่สูงสุด 10 จังหวัด [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.nabc.go.th (วันท่ีสืบค้นข้อมูล: 30

สิงหาคม 2564).
สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตร. (2563). โครงการบรหิ ารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนท่ีเกษตรเพ่ือการ

บริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) เพื่อจัดทำแนวทางการบริหารจัดการของสินค้าข้าวและยางพาราใน
ระดับภาค. กองนโยบายและแผนพฒั นาการเกษตร กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). แนวทางการบริหารจัดการสินค้าเกษตรสำคัญในพ้ืนที่ตามแผนที่เกษตร
เพอื่ การบรหิ ารจัดการเชงิ รุก (Agri-Map) ภาคตะวันออก. สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตรที่ 6.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์.
สำนกั งานเศรษฐกิจการเกษตรท่ี 1 -12.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2563 และแนวโน้มปี 2564.
กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร กรุงเทพมหานคร.
สำนกั งานเศรษฐกจิ การเกษตร. (2562). การผลิต การตลาด และพฤตกิ รรมผบู้ ริโภคทเุ รียนและมงั คุดอินทรยี ใ์ น
ตลาดเขตพัฒนาพเิ ศษภาคตะวันออก. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6.
สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตร. (2562). การวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจสินค้าเกษตร เพอ่ื เปน็ ทางเลอื กปรับเปลย่ี น
กิจกรรมการผลิตในพ้ืนท่ีไม่เหมาะสม ตามแผนท่ี Agri-Map (Zoning) จังหวัดจันทบุรี. สำนักงาน
เศรษฐกจิ การเกษตรท่ี 6.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). การวเิ คราะห์ดา้ นเศรษฐกิจสินคา้ เกษตร เพื่อเป็นทางเลอื กปรับเปลยี่ น
กิจกรรมการผลิตในพื้นท่ีไม่เหมาะสม ตามแผนที่ Agri-Map (Zoning) จังหวัดฉะเชิงเทรา. สำนักงาน
เศรษฐกจิ การเกษตรท่ี 6.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). การวเิ คราะห์ด้านเศรษฐกจิ สินคา้ เกษตร เพอื่ เปน็ ทางเลือกปรับเปลย่ี น
กิจกรรมการผลิตในพื้นท่ีไม่เหมาะสม ตามแผนท่ี Agri-Map (Zoning) จังหวัดชลบุรี. สำนักงาน
เศรษฐกิจการเกษตรท่ี 6.
สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตร. (2562). การวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจสินคา้ เกษตร เพอ่ื เป็นทางเลอื กปรับเปล่ียน
กิจกรรมการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม ตามแผนที่ Agri-Map (Zoning) จังหวัดตราด. สำนักงาน
เศรษฐกิจการเกษตรที่ 6.
สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตร. (2562). การวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจสินค้าเกษตร เพ่ือเป็นทางเลอื กปรับเปลย่ี น
กิจกรรมการผลิตในพื้นท่ีไม่เหมาะสม ตามแผนท่ี Agri-Map (Zoning) จังหวัดนครนายก. สำนักงาน
เศรษฐกจิ การเกษตรท่ี 6.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). การวิเคราะห์ดา้ นเศรษฐกิจสินค้าเกษตร เพื่อเปน็ ทางเลอื กปรับเปลี่ยน
กิจกรรมการผลิตในพื้นท่ีไม่เหมาะสม ตามแผนท่ี Agri-Map (Zoning) จังหวัดปราจีนบุรี. สำนักงาน
เศรษฐกจิ การเกษตรท่ี 6.

205

สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตร. (2562). การวเิ คราะห์ด้านเศรษฐกจิ สินคา้ เกษตร เพือ่ เป็นทางเลือกปรับเปลี่ยน
กิจกรรมการผลิตในพื้นท่ีไม่เหมาะสม ตามแผนท่ี Agri-Map (Zoning) จังหวัดระยอง. สำนักงาน
เศรษฐกจิ การเกษตรท่ี 6.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). การวเิ คราะห์ด้านเศรษฐกจิ สินค้าเกษตร เพื่อเป็นทางเลือกปรับเปลยี่ น
กิจกรรมการผลิตในพ้ืนที่ไม่เหมาะสม ตามแผนท่ี Agri-Map (Zoning) จังหวัดสมุทรปราการ.
สำนกั งานเศรษฐกจิ การเกษตรท่ี 6.

สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตร. (2562). การวเิ คราะห์ดา้ นเศรษฐกิจสินค้าเกษตร เพ่อื เป็นทางเลอื กปรับเปล่ียน
กิจกรรมการผลิตในพื้นท่ีไม่เหมาะสม ตามแผนที่ Agri-Map (Zoning) จังหวัดสระแก้ว. สำนักงาน
เศรษฐกิจการเกษตรท่ี 6.

สำนกั งานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกจิ สินค้าเกษตร
ทส่ี ำคัญ : ภาคตะวนั ออก. สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตรที่ 6.

สำนักงานส่งเสริมวสิ าหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). กจิ กรรมพัฒนาคลัสเตอรโ์ กโก้. ในการประชุม
ชี้แจงทำความเขา้ ใจและสร้างความร่วมมือในการดำเนินงาน กิจกรรมพัฒนาคลสั เตอร์โกโก้ภายใต้
โครงการสนบั สนุนและพัฒนาคลัสเตอร์ SME ประจำปี 2564. กรงุ เทพมหานคร : มหาวิทยาลยั
เทคโนโลยพี ระจอมเกลา้ พระนครเหนือ.

อรวรรณ ศรีโสมพันธ์. (2557). โครงสร้างการผลติ และการตลาดข้าวหอมมะลไิ ทย. มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม.
อำพันธุ์ เวฬุตันติ. (2561). แนวทางการส่งเสริมการผลิตโคเนื้อให้เพียงพอ ต่อการบริโภคในภาคตะวันออก.

เอกสารการศกึ ษาหลกั สูตรการปอ้ งกนั ราชอาณาจกั ร ร่นุ ท่ี 60.

ภาคผนวก



209

ภาคผนวก ก
แหลง่ รับซ้อื ผลผลติ ก้งุ กา้ มกรามภาคตะวนั ออก



210

ตารางผนวกที่ 1 แหล่งรับซื้อผลผลติ กุ้งกา้ มกรามภาคตะวันออก

ลำดบั ชื่อโรงงาน/ ประกอบกิจการ พิกัดสถานที่
ผ้ปู ระกอบการ ทอี่ ยู่ ประกอบการ

Lat Long

1 นายสทุ ัศน์ ฐิติ บดเปลือกหอยและกุ้ง เลขที่ 95 หมู่ 14 ถ.ท้ายบา้ น 13.5522 100.5941
ปญุ ญา สำหรบั ผสมเปน็ อาหาร ต.ทา้ ยบ้าน อ.เมอื ง
สตั ว์ จ.สมทุ รปราการ 10280

2 บรษิ ัท มาไว ฟู้ด ผลติ อาหารสำเร็จรูปจาก เลขที่ 155/1 หมู่ 9 ถ.เทพารักษ์ กม.

คอร์ปอเรชนั่ จำกดั เนือ้ สตั ว์ สตั วน์ ำ้ และ 20 ต.บางปลา อ.บางพลี

พืชผักผลไม้ เช่น เนื้อววั จ.สมุทรปราการ 10540 13.5898 100.7423

หมู ไก่ กงุ้ ปลาหมึก และ

ผักต่าง ๆ

3 โรงงานลกู ช้นิ พ.ี พี ทำผลติ ภณั ฑอ์ าหาร เลขท่ี 13/319 ถ.อัศวนนท์ 6

นางอนัญญา สระ สำเรจ็ รปู จากเน้ือสตั ว์ เช่น ต.บางเมือง อ.เมอื ง จ.สมทุ รปราการ

ทองนวน ลกู ชิน้ ไก่ จ๊อไก่ แฮมไก่ 10260

ยอไก่ ฮอดกุ้ง เป็นตน้

4 บริษัท ว.ี ไทย. ทำอาหารจากสัตว์น้ำ และ เลขท่ี 221/1 หมู่ 1 ถ.สขุ สวสั ดิ์

ฟูด้ โปรดักท์ จำกดั ภาชนะบรรจุทผี่ นึก และ ต.ปากคลองบางปลากด

อากาศเขา้ ไมไ่ ด้ เชน่ มันปู อ.พระสมทุ รเจดีย์ จ.สมทุ รปราการ

เสวย มันกุง้ เสวย ทำ 10290

เคร่อื งเดื่มจากพชื เชน่

ชาไทย ทำขนมอบแห้ง 13.6100 100.5503

เชน่ ลอดชอ่ ง ซ่าหริ่ม

เครื่องปรุงกลนิ่ รสและสี

ของอาหาร เชน่ ซอสพริก

นำ้ พริกเผา กระเทียมเจียว

หอมเจียว

5 บริษัท แปซฟิ คิ แกะลา้ งกงุ้ เลขท่ี 104 หมู่ 7 ซ.วัดแหลมฟา้ ผา่ 13.5689 100.5516
ควีน จำกัด ถ.สุขสวัสด์ิ ต.ในคลองบางปลากด

211

ลำดับ ชือ่ โรงงาน/ ประกอบกิจการ พกิ ดั สถานที่
ผูป้ ระกอบการ ที่อยู่ ประกอบการ

Lat Long

อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ
10290

6 บริษัท ซนิ ตา้ จำกัด ผลิตลูกช้ินปลาและลกู ช้ิน เลขท่ี 97 หมู่ 8 ซ.สุขสวัสด์ิ 78

กงุ้ สำเรจ็ รูป ถ.สขุ สวัสดิ์ ต.บางจาก อ.พระประแดง 13.6134 100.5428

จ.สมทุ รปราการ 10130

7 บริษทั คาลบ้ธี ข้าวเกรยี บกุง้ เลขที่ 258 หมู่ 4 ซ.3 ถ.สุขมุ วทิ 13.5361 100.6585
นาวธั น์ จำกดั ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
10280

8 บริษทั ป๋ออ้ายเฟิง ผลติ จำหนา่ ยไข่อาร์ทีเมยี ต.มาบยางพร อ.ปลวกแดง จ.ระยอง
ไบโอเทคโนโลยี (Artermia) และอาหาร 21140
(ไทยแลนด์) จำกดั ปลากุง้ ทกุ ชนดิ

9 บริษทั สุรรี ตั น์ หอ้ งเยน็ และชำแหละ เลขที่ 105 หมู่ 13 ต.ปากน้ำแหลมสิงห์

ออแกนิค โฟรสเซ่น แกะ ล้างกงุ้ กุลาดำเพอื่ อ.แหลมสิงห์ จ.จนั ทบุรี 22130 12.4775 102.1031
จำกัด ถนอมอาหารหรอื สิ่งปรุง

แต่งอาหาร

10 บริษทั สงิ หอ์ ำนวย ชำแหละ แกะล้างสตั วน์ ำ้ เลขท่ี 111 หมู่ 13 ต. ปากน้ำแหลม

ฟู้ดส์ จำกัด และแชแ่ ขง็ สัตว์น้ำ เช่น สิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จนั ทบุรี 22130

ก้งุ สดแชแ่ ขง็

11 บรษิ ัท จนั ทบุรี ผลติ สตั วน์ ำ้ แช่แข็ง เลขท่ี 75/1 หมู่ 11 ถ.สุขุมวทิ ต.นา 12.7443 101.8866
ซฟี ู้ดส์ จำกัด เช่น กุง้ แช่แขง็ ยายอาม อ.นายายอาม จ.จันทบุรี
22160

12 นายวนั ชัย อังศุฤทธ์ิ ผลติ ขา้ วเกรียบกุ้ง เลขที่ 29/1 ถ.จนั ทคามวิถี ต.ตลาด
นายวนั ชยั พยคั ฆ์ อ.เมอื ง จ.จนั ทบรุ ี 22000
องั กรู

212

ลำดับ ชื่อโรงงาน/ ประกอบกจิ การ พิกัดสถานที่
ผู้ประกอบการ ทีอ่ ยู่ ประกอบการ

Lat Long

13 ห้างหุน้ ส่วนจำกัด ชำแหละ แกะ ล้างสัตว์น้ำ เลขที่ 189/1 หมู่ 4 ต.หนองโสน 12.1923 102.4679

ส.วารซี ฟี ดู๊ เช่น กงุ้ อ.เมือง จ.ตราด 23000

14 หา้ งหนุ้ สว่ นจำกดั ผลติ อาหารกงุ้ ออ่ น เลขที่ 79 หมู่ 5 ถ.ลาดกระบัง- 13.6769 101.0256
อนิ แลนด์ อควา ฉะเชงิ เทรา ต.บางกะไห อ.เมอื ง
เทค จ.ฉะเชงิ เทรา 24000

15 บรษิ ัท โอเวอร์ซีส์ ผลติ อาหารแปรรูปแช่แข็ง เลขท่ี 53/1 หมู่ 17 ต.คลองนครเนื่องเขต

โปรเซสซิ่ง จำกัด เช่น ไก่ กุ้ง ปลา ปลาหมึก อ.เมอื ง จ.ฉะเชิงเทรา 24000 13.7324 101.0221

ได้ปลี ะ 600 ตัน

16 บรษิ ัท ห้องเยน็ กดู้ ทำก้งุ กุลาดำแช่แขง็ กงุ้ เลขท่ี 58/5 หมู่ 1 ต.คลองประเวศ 13.6186 101.0345
ฟอร์จนู จำกัด ชนิดอ่นื ๆ แชเ่ ยน็ และ อ.บา้ นโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา 24140
หอ้ งเยน็

17 แพ อ.รุง่ เรือง ปลานำ้ จืด – กุง้ กร้ามกราม - เลขท่ี 3/3 หมู่ 7 ต.บางปลาร้า 13.9048 101.2893

กงุ้ ขาวแวนนาไม อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบรุ ี 25150

18 สหกรณป์ ระมง ปลานำ้ จดื – กงุ้ กร้ามกราม เลขท่ี 29 ตำบลบางปลาร้า อำเภอ
นิคมบ้านสรา้ ง
พัฒนาปราจีน - กุ้งขาวแวนนาไม บ้านสร้าง ปราจนี บรุ ี 25150 13.9357 101.2918
จำกดั

19 แพกุ้งครูปัญญา กงุ้ กร้ามกราม - กงุ้ ขาว เลขท่ี 14 ตำบลบางปลารา้ อำเภอ 13.9120 101.2855
กรุ๊ป
แวนนาไม บา้ นสร้าง ปราจนี บรุ ี 25150

20 แพกุง้ ม่งั มี กุ้งกร้ามกราม - ก้งุ ขาว เลขท่ี 1/1 หมู่ 8 ถนนบา้ นสร้าง - พนม
แวนนาไม สารคาม ตำบลบางปลารา้ อำเภอ 13.9340 101.2693
บา้ นสร้าง ปราจีนบรุ ี 25150

21 แพเพม่ิ พลู กุ้งกรา้ มกราม - กุ้งขาว ถนน บา้ นสรา้ ง - พนมสารคาม ตำบล
แวนนาไม บางขาม อำเภอบ้านสร้าง ปราจนี บุรี
25150 13.9165 101.2823

213

ลำดับ ชื่อโรงงาน/ ประกอบกิจการ พิกดั สถานที่
ผู้ประกอบการ ทอี่ ยู่ ประกอบการ

Lat Long

22 แพปฏิพล กุ้งกรา้ มกราม - กุ้งขาว ตำบลบางปลาร้า อำเภอบา้ นสร้าง 13.8942 101.3001

แวนนาไม ปราจนี บรุ ี 25150

23 แพกงุ้ พัฒนา กงุ้ กร้ามกราม - กุ้งขาว ตำบลบางปลาร้า อำเภอบา้ นสรา้ ง 13.8937 101.2998

แวนนาไม ปราจนี บุรี 25150

24 แพกงุ้ สองพ่นี อ้ ง กงุ้ กรา้ มกราม - กงุ้ ขาว ตำบลบางปลารา้ อำเภอบ้านสร้าง 13.8998 101.2967

แวนนาไม ปราจีนบุรี 25150

25 แพกุ้งพลู ทรัพย4์ 1 กุ้งกรา้ มกราม - กุ้งขาว ตำบล บางปลารา้ อำเภอ บา้ นสรา้ ง 13.9340 101.2693
แวนนาไม ปราจนี บรุ ี 25150

26 แพสถานีกงุ้ เป็น กุ้งกร้ามกราม - กุง้ ขาว ถนนบ้านสรา้ ง - พนมสารคาม ตำบล

แวนนาไม บางขาม อำเภอบ้านสรา้ ง ปราจนี บรุ ี 13.9163 101.2835

25150

27 แพป๋าดิษฐ์ ปลานำ้ จดื – กุ้งกร้าม เลขท่ี 9/2 ตำบลบางปลารา้ อำเภอ 13.9098 101.2877
กราม - กุ้งขาวแวนนาไม บา้ นสรา้ ง ปราจีนบุรี

28 แพศักดสิ ทิ ธ์ กงุ้ กร้ามกราม - ก้งุ ขาว เลขที่ 8 ตำบลบางปลาร้า อำเภอ 13.9089 101.2882

แวนนาไม บ้านสร้าง ปราจนี บรุ ี 25150

29 แพกงุ้ เจโ๊ หนง่ กุ้งกรา้ มกราม - กุ้งขาว ตำบลบางปลารา้ อำเภอบ้านสร้าง 13.8989 101.2958

แวนนาไม ปราจีนบรุ ี 25150

30 แพกุ้งสิทธิโชค กงุ้ กร้ามกราม - กุง้ ขาว เลขท่ี 62 ตำบลบางกะไห อำเภอเมอื ง 13.6724 101.0279
แวนนาไม ฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา 24000

31 แพกุ้งเอก-อร กงุ้ กร้ามกราม - กงุ้ ขาว เลขที่ 26 1 ตำบลบางตีนเปด็ อำเภอ 13.6613 101.0722
แวนนาไม เมอื งฉะเชงิ เทรา ฉะเชงิ เทรา 24000

32 แพกุ้งพีแอนดพ์ ี กุ้งกร้ามกราม - กุ้งขาว ถนนเลย่ี งเมอื ง ตำบลบางตีนเปด็
แวนนาไม อำเภอเมอื งฉะเชิงเทรา ฉะเชงิ เทรา
24000 13.6593 101.0716

214

ลำดับ ชอ่ื โรงงาน/ ประกอบกิจการ พกิ ัดสถานท่ี
ผ้ปู ระกอบการ ทอี่ ยู่ ประกอบการ

Lat Long

33 แพกุ้งปรชี า ก้งุ กร้ามกราม - กุ้งขาว 53 หมู่ 1 บางตีนเป็ด เมืองฉะเชิงเทรา 13.6590 101.0811
แวนนาไม ฉะเชิงเทรา 24000

34 แพกุ้งนิพนธ์ กงุ้ กร้ามกราม - ก้งุ ขาว ตำบลเสมด็ เหนือ อำเภอบางคล้า 13.6645 101.2243
แวนนาไม ฉะเชงิ เทรา 24110

35 แพกุ้งสธุ น กุ้งกร้ามกราม - กงุ้ ขาว 15 ตำบลทา่ ข้าม อำเภอพนสั นิคม 13.5716 101.1504
แวนนาไม ชลบรุ ี 20140

36 แพกุ้งวรฤทธิ์ กงุ้ กร้ามกราม - กงุ้ ขาว ตำบล หนองตนี นก อำเภอบา้ นโพธ์ิ 13.5689 101.1020
แวนนาไม ฉะเชงิ เทรา 24140

37 แพกุ้งผูใ้ หญ่ก๊ฟิ กุ้งกร้ามกราม - กุ้งขาว ตำบลโคกขีห้ นอน อำเภอพานทอง 13.5418 101.1047
แวนนาไม ชลบุรี 20160

38 แพกงุ้ ศุภฤกษ์ กงุ้ กร้ามกราม - กงุ้ ขาว 109 หมู่ 7 ตำบลทา่ ข้าม อำเภอ 13.5574 101.1361
แวนนาไม พนสั นคิ ม ชลบุรี 20140

39 แพกุ้งก. แต กงุ้ กร้ามกราม - ก้งุ ขาว ตำบลคลองดา่ น อำเภอบางบอ่ 13.5093 100.81047
แวนนาไม สมทุ รปราการ 10550

40 แพกุ้ง สุวรรณภมู ิ กุ้งกรา้ มกราม - กงุ้ ขาว บา้ นสร้าง - พนมสารคาม ถนน ตำบล
แวนนาไม บางพลวง อำเภอ บา้ นสร้าง ปราจนี บรุ ี 13.9537 101.2561
25150

41 แพกุ้งปรางค์ทอง กงุ้ กร้ามกราม - กุ้งขาว 99 ตำบล ศรี ษะจรเขใ้ หญ่ อำเภอ 13.6554 100.8217
แวนนาไม บางเสาธง สมทุ รปราการ 10570

42 แพกงุ้ เจ้มล กุ้งกร้ามกราม - กงุ้ ขาว 116/2 หมู่ 1 ต.คลองบา้ นโพธ์ิ อำเภอ 13.5805 101.0710
แวนนาไม บา้ นโพธิ์ ฉะเชิงเทรา 24140

43 แพกุง้ เจ้ออ กงุ้ กร้ามกราม - กงุ้ ขาว 126 หมู่ 7 ตำบลทา่ ข้าม อำเภอ 13.5566 101.1374
แวนนาไม พนสั นิคม ชลบรุ ี 20140

215

ลำดบั ช่อื โรงงาน/ ประกอบกจิ การ พิกดั สถานท่ี
ผปู้ ระกอบการ ทอ่ี ยู่ ประกอบการ
กุ้งกรา้ มกราม - กุ้งขาว
แวนนาไม Lat Long

44 อ.ววิ กุ้งสด กงุ้ กรา้ มกราม - ก้งุ ขาว เลขที่ 1/1 อำเภอบางคล้า ฉะเชงิ เทรา 13.8249 101.2165
แวนนาไม 24110

45 แพกุ้งบ๊กิ เสย่ กงุ้ กร้ามกราม - กุ้งขาว 102/12 ถ.ระเบียบกจิ อนสุ รณ์ ตำบล
แวนนาไม บางคล้า อำเภอบางคลา้ ฉะเชงิ เทรา
24110 13.7233 101.2042
กุง้ กร้ามกราม - ก้งุ ขาว
46 แพกงุ้ วรัญญา แวนนาไม ตำบลศรี ษะจรเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง 13.6516 100.8203
47 แพก้งุ เจ้อ้อย สมุทรปราการ 10570
48 แพกงุ้ เจ๊จุ่น กงุ้ กร้ามกราม - กุ้งขาว
49 แพกงุ้ อดั ศเดช แวนนาไม ตำบลหัวไทร อำเภอบางคลา้ 13.8245 101.2161
50 แพกุ้งน้องหญงิ ฉะเชงิ เทรา 24110
51 แพกงุ้ สินงอกงาม กุ้งกรา้ มกราม - กงุ้ ขาว
52 แพกงุ้ ผูใ้ หญ่โต แวนนาไม 392 หมู่ 1 ตำบลคลองดา่ น อำเภอ 13.5292 100.8716
53 แพกงุ้ อ.รวย บางบอ่ สมทุ รปราการ 10550
กงุ้ กร้ามกราม - กงุ้ ขาว
เพิม่ พลู แวนนาไม ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม ชลบุรี 13.5576 101.1322
54 แพก้งุ โชคสมบรู ณ์ 20140
กงุ้ กร้ามกราม - กุง้ ขาว
แวนนาไม 3127 ตำบลโคกข้หี นอน อำเภอ 13.5465 101.1079
พานทอง ชลบุรี 20160
กงุ้ กร้ามกราม - ก้งุ ขาว
แวนนาไม เทศบาล 19 ตำบลบางปะกง อำเภอ 13.4970 100.9978
บางปะกง ฉะเชิงเทรา 24130
กุ้งกร้ามกราม - กุง้ ขาว
แวนนาไม ตำบล สบิ เอ็ดศอก อำเภอบา้ นโพธิ์ 13.6040 101.1365
ฉะเชิงเทรา 24140
กุง้ กร้ามกราม - กงุ้ ขาว
แวนนาไม 67/1 ม.1 คลองด่าน อำเภอบางบอ่ 13.5270 100.8554
สมุทรปราการ 10550

3028 ตำบลศีรษะจรเขใ้ หญ่ อำเภอ 13.6548 100.7929
บางเสาธง สมทุ รปราการ 10540

216

ลำดับ ช่อื โรงงาน/ ประกอบกิจการ พิกดั สถานที่
ผู้ประกอบการ ที่อยู่ ประกอบการ

Lat Long

55 แพกุ้งเจแ๊ อน กุ้งกรา้ มกราม - กงุ้ ขาว 697 ซอยเทศบาลคลองดา่ น 13 ตำบล
แวนนาไม
คลองด่าน อำเภอบางบ่อ 13.5059 100.8284

สมุทรปราการ 10550

56 แพกุ้งสีเพชร กงุ้ กรา้ มกราม - กงุ้ ขาว ตำบลศรี ษะจรเขใ้ หญ่ อำเภอบางเสาธง 13.6467 100.8188
แวนนาไม สมทุ รปราการ 10540

57 แพกุ้งพรจริ ณฐั กุ้งกร้ามกราม - กุ้งขาว ซอยพฒั นา 2 ตำบลคลองดา่ น อำเภอ 13.5056 100.8291
แวนนาไม บางบอ่ สมุทรปราการ 10550

58 แพกุง้ ทรัพยเ์ จริญ ก้งุ กรา้ มกราม - กุ้งขาว 79/4 ซอยเทศบาลคลองดา่ น 2 ตำบล 13.5096 100.8152
แวนนาไม คลองดา่ น อำเภอบางบอ่
สมุทรปราการ 10550

59 แพกงุ้ 200 ปี กุง้ กร้ามกราม - ก้งุ ขาว 4036 ตำบลบางกะไชย อำเภอ 12.5175 102.0266
แวนนาไม แหลมสิงห์ จนั ทบุรี 22120
ท่มี า กรมประมง




Click to View FlipBook Version