The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการ เชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by forestgumz, 2022-11-15 22:29:24

แนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการ เชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

แนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการ เชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

129

มาตรการต้นทาง
1. ควรวิจัยปรับปรุงพันธุ์โกโก้พันธุ์ดี เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ให้มีศักยภาพการผลิต

เชิงการค้า และให้มีการผลิตต้นกล้าคุณภาพต้านทานโรค เพื่อกระจายต้นพันธุ์ดีและถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกร
ทสี่ นใจปรับเปลยี่ น (สถาบันวจิ ัยพชื สวน)

2. คัดกรองเกษตรพันธสญั ญาของบริษัทเข้ามาสง่ เสริมที่มีความเปน็ ธรรมเพ่ือคดั เลอื กบริษัท/
ผู้ประกอบการทีค่ วรส่งเสริมใหเ้ กษตรกรตัดสินใจกอ่ นปลูก (สป.กษ./กษ.จ./เกษตรจังหวัด)

3. กยท. ควรสนับสนุนทุนและพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง ให้เกษตรกรชาวสวนยาง
ปรบั เปลี่ยนมาปลกู โกโก้ร่วมในสวนยางพาราและพน้ื ท่วี า่ งเปล่าอย่างถูกวธิ ี (กยท.)

4. ควรมีศูนย์เรียนรู้แปลงโกโก้ต้นแบบครบวงจรในระดับพื้นที่ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และ
ปลายทาง (เกษตรจังหวดั /สวพ.6/พด.)

6) ข้อมูลประกอบการตัดสนิ ใจดา้ นการผลิตและการตลาด
6.1) ขอ้ มลู ประกอบการตดั สินใจดา้ นการผลิต
พนั ธ์ุ สำหรับในประเทศไทย มีการพัฒนาสายพนั ธุล์ ูกผสม ออกมาอยา่ งนอ้ ย 2 สายพนั ธ์ุ คือ
1. พันธุ์ลูกผสม ชุมพร 1 ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพเมล็ดดี โดยให้ผลผลิตเมล็ดโกโก้แห้ง

สูงสุดตลอดเวลาการทดลอง 13 ปี สูงกว่าพันธุ์ที่เกษตรกรปลูกประมาณ 31.4% เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ไขมันสูง
ประมาณ 57.27% ลักษณะผลป้อม ไม่มีคอและก้นไม่แหลม ผิวผลเรียบ ร่องค่อนข้างตื้นเมล็ดมีเนื้อในเป็น
สีม่วง มีความทนทานต่อโรคกิ่งแห้งค่อนข้างสูง ทนทานต่อโรคผลเน่าดำปานกลาง ลักษณะการผสมเกสร
เป็นพวกผสมข้ามต้น ควรปลูกลูกผสมพันธุ์อื่นร่วมด้วยอย่างน้อย 1 พันธุ์ในแปลงเดียวกัน โดยปลูกคละปน
กนั ไปเพื่อประโยชนใ์ นการผสมเกสร

2. พันธุ์ลูกผสม I.M.1 พัฒนาพันธุ์ โดย ดร.สัณห์ ละอองศรี สาขาไม้ผล ภาควิชาพืชสวน
คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะเด่นคือ เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง
เหมาะสำหรับปลูกในเขตภาคกลาง เหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ผลผลิตสูง เริ่มออกดอกติดผลและ
เก็บเกี่ยวได้ในปีที่ 3 หลังจากปลูก เมล็ดแห้งมีขนาดและคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด เมล็ดมี
ปริมาณไขมันสูงเฉลยี่ 52%

การปลกู
การปลูกโกโก้ นิยมปลูกแซมในสวนผลไม้ และยางพารา เพราะปริมาณแสงแดดที่โกโก้ได้รับ
จะเหมาะสมพอดี ไม่มากและน้อยเกินไป และโกโกม้ รี ะบบรากลึก ระยะปลูกท่ีให้ผลผลิตดี กรณีปลูกโกโก้เดี่ยว ๆ
คอื 3×4 เมตร และโกโกแ้ ซมในสวนยางพารา 7×3 เมตร (โกโก้ 50-54 ต้น)
การตดั แตง่ ก่ิง มจี ุดประสงคห์ ลกั 3 ประการคอื
1. การตัดแต่งก่ิงเพื่อสร้างรูปทรงของต้น : กิ่งขา้ งท่ีแตกออกจากต้น ในระดบั ต่ำกว่า 0.5 เมตร
ควรตดั ออกใหห้ มด ไวก้ ่ิงข้างท่สี มบูรณ์ประมาณ 3-4 ก่ิงรอบลำตน้ หากมีกิง่ กระโดงขนึ้ มาก็ควรตัดออก

130

2. การตัดแต่งกิ่งเพื่อบำรุงรักษา : ควรตัดกิ่งที่คดงอ ซ้อนทับกัน ปลายกิ่งเข้าหาลำต้น

กิ่งใกล้กันมาก ๆ กิ่งที่โน้มลงดินมากไป กิ่งฉีกหัก ทั้งนี้เพื่อให้ก่ิงที่ออกผลแขง็ แรง และสะดวกต่อการเกบ็ เกีย่ ว

ผลผลติ

3. การตัดแตง่ ก่ิงเพื่อป้องกันโรค แมลง : หากมีโรคหรือแมลง เชน่ โรคกิง่ แห้ง โรคไหม้ หรือ

แมลงเจาะต้น ก็ควรตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกไปทำลายเพื่อป้องกันการระบาด และช่วยไม่ให้กิ่งทึบเกินไป

ชว่ ยให้อากาศถา่ ยเท ลดการระบาดของโรค

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่งคือ การตัดแต่งใหญ่ให้ทำช่วงปลายฤดูร้อน ก่อนฤดูฝน

และการตดั แต่งก่งิ ส่วนน้อยให้ทำปลายฤดฝู น

การใสป่ ุ๋ยโกโก้

ดินที่ปลูกโกโก้ควรจะมีความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6-7 ดังนั้น ถ้าหากดินมีความเปน็

กรดมากควรใส่ปูนขาว เพื่อลดความเป็นกรดของดิน สำหรับปุ๋ยที่ควรใส่ในต้นโกโก้นั้น ควรใส่ทั้งปุ๋ยคอก

ปุ๋ยหมัก หรือปยุ๋ อินทรยี ค์ วบคู่ไปกับการใส่ปยุ๋ วิทยาศาสตร์ โดยแบง่ ใส่ปีละ 3 คร้ัง ดงั น้ี ใสก่ อ่ นฤดฝู น กลางฤดูฝน

และปลายฤดฝู น การใสป่ ยุ๋ ใหห้ วา่ นรอบบริเวณทรงพุม่ โดยแบ่งใส่ปลี ะ 2-3 ครง้ั โดยใชป้ ุ๋ยเคมตี ามอตั ราดงั นี้

ตารางที่ 4.12 ระยะเวลาการใสป่ ุ๋ย

ระยะเวลาการใส่ป๋ยุ อัตราป๋ยุ (กรมั /ต้น) ชนดิ ปยุ๋

แรกปลูกรองกน้ หลมุ 200 หนิ ฟอสเฟต

4 เดือน 100-150 15-15-15

8 เดอื น 300 15-15-15

12 เดือน 300 15-15-15

16 ดือน 500 15-15-15

20 เดือน 500 15-15-15

24 เดอื น 500 15-15-15

28 เดอื นขน้ึ ไป 1,500 12-12-17-2

ที่มา: ค่มู ือการปลูกโกโก้ ศูนย์วิจยั พชื สวนชุมพร (2533)

การกำจัดวัชพืช โดยเฉพาะในระยะ 1 – 2 ปีแรก วัชพืชจะขึ้นมากควรกำจัดวัชพืช

รอบบรเิ วณทรงพมุ่ ออกใหห้ มด เมอ่ื โกโกโ้ ตเตม็ ท่ปี ญั หาวชั พืชจะหมดไป

การให้น้ำ โกโก้เป็นพืชที่ชอบอากาศค่อนข้างชุ่มชื้นในช่วงฤดูแล้ง ถ้าฝนทิ้งช่วงนานกว่า

3 เดือน จำเป็นต้องให้น้ำช่วยการใช้เศษวัชพืชคลุมโคนและใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรอบโคน โดยขุดเป็นร่อง

รอบทรงพมุ่ ชว่ งปลายฤดฝู นจะชว่ ยลดการให้นำ้ ชว่ งฤดูรอ้ นได้พอสมควร

ศตั รพู ชื โกโก้

1. โรคพืช

1.1 โรคผลเน่า (Black Pod Rot) เกิดขึ้นได้ทั้งผลอ่อน และผลแก่ ลักษณะอาการจะเกิด

จุดใส ๆ ขึ้นที่ผิวของผล จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและสีดำอย่างรวดเร็ว จะลุกลามทั้งผลใน เวลาประมาณ

131

2 สปั ดาห์ ผลจะมลี กั ษณะฉ่ำนำ้ สาเหตขุ องโรคน้ีจะเกิดจากเชื้อรา การป้องกนั และกำจัดทำได้โดย เก็บผลเน่า
ทแ่ี ห้งคาต้นท้งิ ตดั แตง่ ตน้ โกโก้ให้โปรง่

1.2 โรคกิ่งแห้ง อาจจะเกิดขึ้นกับกิ่งแก่หรือต้นกล้าของโกโก้ก็ได้ กิ่งที่เป็นโรคจะเห็นเส้น
กลางใบ บางใบจะเหลืองซีด และมีจุดสีเขียวกระจายอยู่ทั่วไปและแห้งเป็นสนี ้ำตาลในระยะต่อมาการป้องกนั
กำจดั ทำได้โดยตดั แต่งกง่ิ ท่ีเปน็ โรคออกทำลาย โดยการเผาทิ้งและคดั เลอื กพนั ธทุ์ ี่มคี วามต้านทานมาปลกู

1.3 โรคไหม้ เกิดขึ้นเพราะเชื้อราสร้างเส้นใยสีขาวสานกันเป็นร่างแหปิดคลุมใบและ
กิ่งก้านของโกโก้ ทำให้ใบและกิ่งแห้งตาย โดยใบที่แห้งตายติดอยู่กับกิ่งโดยมีเส้นใยของเชื้อรายึดติดอยู่ ใบจึง
ไม่หลุดรว่ งไป เส้นใยสขี าวน้ี ถ้าอากาศชน้ื จะเจริญลุกลามไปตามกิ่งก้านของตน้ โกโก้ ซึ่งจะสามารถมองเห็นได้
ชดั เจน การปอ้ งกันและกำจัดทำได้โดยเผาทิ้ง หลกั จากทำการตดั แต่งกง่ิ แลว้ ให้ใช้สารเคมีป้องกันเชื้อราจำพวก
สารประกอบทองแดงทำทร่ี อยแผล

2. แมลงศตั รโู กโก้
2.1 มวนโกโก้ (Mosquito bug) ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะใช้ปากเจาะดูดกินน้ำเลี้ยง

จากผลและยอดอ่อนโกโก้ ทำให้เกิดเป็นรอยแผลสีดำเป็นบริเวณกว้างและเชื้อโรคจะเข้าทำลาย ทำให้ผลเน่า
โดยเฉพาะในฤดฝู น มวนโกโกต้ ัวหนง่ึ จะเจาะ ดูดน้ำเล้ยี งทำใหเ้ กิดแผลจดุ ดำไดถ้ ึง 50 จุด/วัน

2.2 ด้วงกุหลาบ (Rose beetle) ตัวเต็มวัยจะกัดกิน ใบเป็นรูพรุน ออกหากินในเวลา
พลบค่ำและตลอดทั้งคืน ส่วนกลางวันมักหลบซ่อนอยู่ในดินหรือกองใบไม้ผุ โกโก้ต้นอ่อนจะถูกทำลายมาก
ในฤดูร้อนถ้ามีการขาดน้ำ แมลงพวกนี้กัดกินใบมาก ๆ ทำให้ต้นแคระแกร็น โตช้า และอาจตายได้ ส่วนโกโก้
ท่ีให้ผลแล้วไมเ่ ป็นปญั หามากนักเนอ่ื งจากมีใบมาก

2.3 หนอนเจาะกง่ิ และลำต้น (Red branch borer) ตัวอ่อนจะเขา้ ไปกัดกนิ เน้ือไม้ภายใน
ตน้ โกโก้อายนุ ้อยจะพบวา่ มแี ม่ผีเสื้อวางไขต่ ามตายอดเม่อื เปลยี่ นเป็นตัวหนอนจะเจาะเข้าไปตรงไสก้ ลางลำต้น

2.4 มอด ตัวเต็มวัยจะเจาะเข้าไปในกิ่งและลำต้นอ่อนของโกโก้และกัดกินเนื้อไม้ภายใน
โดยตัวเมียจะวางไข่ไว้ด้วยซึ่งมันจะกัดกินเนื้อไม้ที่ยังสดอยู่และจะเจาะไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะผสมพันธุ์และ
ตัวเมยี บนิ ไปวางไขใ่ นต้นอ่นื

2.5 เพลีย้ ออ่ นส้ม (Brown citrus aphid) ตัวอ่อนและตวั แก่จะดูดกินนำ้ เล้ียงจากยอดอ่อน
และผลอ่อน ทำให้ผลบิดเบี้ยวเสียรูปทรงได้ สำหรับการป้องกันกำจัดนั้น หากพบว่ามีการระบาดไม่มากนัก
ใหใ้ ชม้ อื จบั แลว้ บหี้ รือขย้ีทงิ้

3. สัตวศ์ ัตรโู กโก้
3.1 หนู ที่พบมากจะเป็นหนูท้องขาวหรือหนูสวน จะกัดกินผลโกโก้ที่สุกหรือเริ่มจะสุก

ลกั ษณะรอยกดั กว้างกวา่ รอยกดั แทะของกระรอก
3.2 กระรอก มกั จะทำลายผลทส่ี กุ และเกือบสกุ รอยแผลทท่ี ำลายจะเล็กกวา่ รอยกัดแทะ

ของหนู แตก่ ระรอกจะกดั แทะเมลด็ ภายในเกือบหมด

132

การเกบ็ ผล
โกโก้จะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อย่างเข้าปีที่ 3 โดยโกโก้จะทยอยออกดอกเป็นรุ่นตลอดทั้งปี
โดยปกตจิ ะหา่ งกันประมาณ 2-3 สัปดาห์ หากดแู ลดโี กโก้จะให้ผลผลิตตลอดทั้งปี โดยจะเก็บเก่ียวได้ 2-3 สัปดาห์
ต่อครั้ง อายุของผลนับจากดอกบานประมาณ 5-6 เดือน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลืองหรือแดง ขึ้นอยู่กับ
สายพันธุ์ การเก็บผลโกโก้นั้นควรใช้กรรไกรตัดขั้วผลออกจากกิ่ง ไม่ควรใช้มือเด็ด เพื่อป้องกันไม่ให้ขั้วผลช้ำ
และจะได้เกิดเป็นตาดอกและผลรุ่นถัดไป
การหมกั โกโก้
ผลโกโก้ที่เก็บมาแล้วจะต้องผ่าผลแล้วแกะเมล็ดออกจากผลและไส้ทตี่ ิดมากับเมล็ด แล้วนำเมล็ด
(พร้อมทั้งเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาว) มาหมักเพื่อให้ได้เมล็ดโกโก้แห้งที่มีกลิ่น รส และคุณภาพที่ดี โดยผลที่จะนำมา
หมักต้องสุกพอดี โดยดูจากสีผลที่เป็นสีเหลือง ปริมาณเมลด็ โกโก้ที่เหมาะสมกับการหมักแต่ละครั้งอย่รู ะหว่าง
50-100 กิโลกรัม หรือประมาณ 500 ผล (ปริมาณต่ำสุดไมค่ วรนอ้ ยกวา่ 30 กโิ ลกรมั ) เพ่ือให้ไดก้ ลนิ่ และรสที่ดี
ข้อควรคำนงึ ในการหมักเมล็ดโกโก้
1. เมล็ดที่แกะออกจากผล จะต้องทำการหมักในทันที และไม่มีการล้างเมล็ด และห้ามใช้น้ำ
ลา้ งเมลด็
2. ภาชนะที่ใส่เมล็ดเพือ่ หมักไม่ควรเป็นโลหะ เพราะเยื่อหุ้มเมล็ดมีกรดซึ่งจะทำปฏิกิริยากบั
โลหะทำให้ได้กลน่ิ และรสไม่เปน็ ท่ตี ้องการ ลงั ไม้ หรอื เขง่ เป็นภาชนะทีเ่ หมาะสมท่ีจะใช้ในการหมกั
3. ภาชนะที่หมักจะต้องมีรูระบายของเหลวที่เกิดจากการสลายตัวของเยื่อหุ้มเมล็ดออกได้
สะดวก
4. อณุ หภมู ใิ นระหวา่ งการหมักจะสงู ขึ้นจนถงึ 50 องศาเซลเซยี ส กล่นิ และรสของเมลด็ จะเริ่ม
เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิประมาณ 48-50 องศาเซลเซียส และต้องรักษาอุณหภูมินี้ให้ได้นาน 72 ชั่วโมง ดังน้ัน
ปริมาณเมลด็ จงึ ตอ้ งมีมากเพียงพอ และควรหาพลาสตกิ และกระสอบปา่ นคลมุ ภาชนะหมัก
5. การคลมุ เมล็ดด้วยใบตอง จะทำให้การหมักสมบูรณ์ขึ้น เนื่องจากใบตองมีจุลินทรีย์ ที่ช่วยใน
การหมกั เมล็ด
6. ตอ้ งมีการถ่ายเทของอากาศดว้ ย ดังนั้นจงึ ตอ้ งกลบั เมลด็ ทกุ 48 ชั่วโมง (2 วนั )
7. การผึ่งเมล็ดให้แห้ง อาจใช้การตากแดดหรือเตาอบ การตากแดดให้ตากบนเสื่อหรือ
ลานซเี มนต์ เกล่ียเมล็ดทตี่ ากให้หนา 2-3 เซ็นติเมตร และควรกลับเมล็ด เพื่อใหแ้ หง้ สนิทท่ัวท้ังเมล็ด การตากแดด
ใช้เวลา 3-4 วัน หลังตากแดดดีแล้ว เมล็ดจะมีความชื้นไม่เกิน 7.5% ภายในเมล็ดจะเปลี่ยนสีเป็นสีโกโก้หรือ
สีนำ้ ตาลอ่อนก็นำมาบรรจุกระสอบ
มาตรฐานเมล็ดโกโก้แหง้
เมล็ดโกโก้แห้งที่ดีนั้นจะต้องมีลักษณะเป็นเมล็ดที่เต่ง ผิวเรียบไม่เหี่ยวย่น ขนาดของเมล็ด
สมำ่ เสมอ แหง้ สะอาด มีเยอื่ หมุ้ เมลด็ ติดอยูน่ ้อย ไมม่ ีสง่ิ เจือปน เช่น เปลือกผลโกโก้ ดิน ทราย เมล็ดไม่จับกัน
เป็นกอ้ น โดยเมล็ดทไี่ ด้มาตรฐานมีลักษณะดังนี้

133

1. ความชนื้ ของเมล็ดไมเ่ กนิ 7.5%
2. เปลอื กหุ้มเมลด็ ไมต่ ิดแนน่ กบั เน้ือเมล็ด แตก่ แ็ ข็งแรงพอที่จะไม่แตกหักง่าย ไม่มีเยื่อหุ้มติดกับ
เมล็ดมาก
3. ในการสุม่ ตัวอย่างเมล็ดโกโกแ้ ห้ง 200 เมล็ด นำมาผ่าตามความยาวเมล็ด เม่อื นำจำนวนที่
สุ่มตัวอย่างมาใช้ เมล็ดต้องมีคุณสมบัติดังน้ี เมล็ดที่เป็นราไม่เกิน 3% เมล็ดที่เป็นสีเทา หรือสีหินชนวนมีไม่เกนิ
3% เมล็ดที่ถกู แมลงเจาะทำลายเมลด็ งอกและเมล็ดลบี เสยี รวมกันมไี ม่เกิน 3% เมล็ดสมี ่วงมไี มเ่ กิน 20%
สถานที่ศึกษาดูงาน ในภาคตะวันออก เกษตรกรมีแนวโน้มขยายพื้นที่ปลูกโกโก้เพิ่มขึ้น
โดยจะปลูกโกโก้แซมสวนยางพาราที่ราคาผลผลิตตกต่ำ ปลูกเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง และยังมีจุดเรียนรู้
กระจายอยู่ในหลายจงั หวดั ของภาคตะวนั ออก ไดแ้ ก่
1. สวนโกโก้สุริยา (นายสุรยิ า ใจสทุ ธ)ิ เลขท่ี 5/6 หมทู่ ี่ 1 ตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัด
จันทบุรี เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจสามารถศึกษาเรียนรู้ และเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน โกโก้ครบวงจร (ตั้งแต่ปลูก
จนถงึ การแปรรปู เมลด็ แห้งโกโก้ (สง่ ออกตา่ งประเทศ))
2. ตามโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ภายใต้รูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน (นางเดือนเพ็ญ
บอนแดง) เลขที่ 121 หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมือง จังหวัดตราด เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจสามารถศึกษา
เรียนรู้ ตั้งแตว่ ธิ ีการปลกู โกโก้ การดแู ลรกั ษา และเรอ่ื งโรคแมลง
3. เกษตรกรรุ่นใหม่กลุ่ม Young smart framer (นายสุพักร์ ตั๊นวิเศษ) วิสาหกิจโกโก้ชลบุรี
(บา้ นเขาซก) เลขท่ี 189 หมทู่ ี่ 3 ตำบลเขาซก อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบรุ ี ศนู ยเ์ รียนรู้โกโกค้ รบวงจร (ต้ังแต่
ปลูกจนถงึ การแปรรปู เมลด็ แห้งโกโก้ (ส่งออกตา่ งประเทศ)) ในรปู แบบกลุ่มวสิ าหกจิ ชุมชน
6.2) ข้อมูลประกอบการตัดสินใจด้านการตลาดจากข้อมูลส่วนแบ่งรายได้ของช็อกโกแลต
หนึ่งแท่ง ราคาแท่งละ 100 บาท แบ่งเป็น เกษตรกรผู้ปลูกโกโก้มีรายได้ 6.60 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6.60
ผู้แปรรูปผงโกโก้มีรายได้ 7.60 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.60 โรงงานช็อกโกแลตมีรายได้ 35.20 บาท หรือ
คิดเป็นร้อยละ 35.20 รา้ นคา้ ปลกี มีรายได้ 44.20 บาท หรอื คดิ เปน็ รอ้ ยละ 44.20 แบ่งเป็นคา่ ขนสง่ 2.10 บาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 2.10 และค่าภาษอี ีก 4.30 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.30 จะเห็นได้วา่ ส่วนแบ่งรายไดเ้ ปน็
ของเกษตรกรร้อยละ 6.60 ดงั น้นั ควรคำนงึ ถึงการควบคุมต้นทุนการผลิตและควรมีการแปรรูปเบ้ืองต้นถึงขั้นสูง
ได้จะมโี อกาสในสว่ นแบ่งรายได้ท่มี ากขึน้ (ภาพท่ี 4.45)

134

ภาพที่ 4.45 ส่วนแบ่งรายได้ของชอ็ คโกแลตหนง่ึ แทง่
ทม่ี า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
4.3.4 มะพรา้ วน้ำหอมสินคา้ เกษตรทางเลือกของภาคตะวนั ออก
ภาคตะวันออกกำหนดให้ข้าว เปน็ พชื ท่ีตอ้ งดำเนินการปรับเปลี่ยน เพราะข้าวยังคงมีปญั หาเรื่องราคา
ผลผลิตตกต่ำ ซึ่งในการวิเคราะห์นี้ เป็นการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกสินค้าในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3,N)
โดยวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาด้านการผลิตและการตลาด ทั้งนี้จะนำสินค้าหลัก (ข้าว) เปรียบเทียบกับสินค้า
ทางเลือก ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และสมุทรปราการ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสินค้าทางเลือก
ที่สำคญั และเป็นพื้นทท่ี ี่มคี วามตอ้ งการบรโิ ภคมากทส่ี ดุ ในภาคตะวนั ออก
1) การวเิ คราะห์ขอ้ มูลดา้ นการผลิต
สำหรับสินค้าพชื ทางเลอื กหรือพชื เสริมรายได้ของภาคตะวันออก สินค้ามะพร้าวเป็นไม้ผล
ที่คนนิยมรับประทาน ทานได้ทั้งเนื้อและน้ำ และเกษตรกรสามารถจำหน่ายมะพร้าวน้ำหอมได้หลากหลาย
รูปแบบด้วยกัน เช่น น้ำมะพร้าวแช่เย็น มะพร้าวทั้งผลปอกตัดแต่ง มะพร้าวเผา วุ้นในลูกมะพร้าว เป็นต้น
การปลูกมะพร้าวน้ำหอมให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพ ประกอบด้วยปัจจัยหลักสำคัญ ได้แก่ สภาพแวดล้อม
เช่น ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ แสงแดด ระดับความสูงของพื้นที่ปลูก ลักษณะดิน ลม เป็นตน้
นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงพันธุ์ดี การปฏิบัติดูแลรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม การป้องกันกำจัดโรคและ
แมลงศัตรู ตลอดจนสัตว์ศัตรู เช่น กระรอก กระแต และหนู การปฏิบัติดังกล่าวจะช่วยให้การปลูกมะพร้าว
นำ้ หอมมกี ารเจรญิ เติบโตดี ตดิ ผลไดเ้ ร็ว และใหผ้ ลผลิตทม่ี ีคณุ ภาพ

135

จากข้อมูลต้นทุนการผลิตต่อไร่ของข้าวระดับภาคปี 2563 พบว่า ข้าวนาปี มีต้นทุนต่อไร่
4,704.60 บาท ผลผลิตต่อไร่ 592.33 กิโลกรัม ราคาที่ได้รับ ณ ไร่นา 9.03 บาทต่อกิโลกรัม ให้ผลตอบแทน
ต่อไร่เท่ากับ 5,348.74 บาท เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ เท่ากับ 644.14 บาท ส่วนข้าวนาปรัง
มีต้นทุนต่อไร่ 5,150.53 บาท ผลผลิตต่อไร่ 616.00 กิโลกรัม ราคาที่ได้รับ ณ ไร่นา 9.48 บาทต่อกิโลกรัม
ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 5,839.68 บาท เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ เท่ากับ 689.15 บาท ซึ่งจะ
เห็นได้ว่าพื้นที่ปลูกข้าวได้ผลตอบแทนเป็นบวกหรือมีกำไรเล็กน้อย ซึ่งตามนโยบาย กษ. เร่งให้มี
การปรับเปลี่ยนพื้นท่ีไม่เหมาะสมในการข้าวมาปรับเปลี่ยนเป็นพืชอื่นแทน โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ได้รับนโยบายและทำการวิเคราะห์ข้อมูลพืชของภาคตะวันออกแล้ววิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนเพื่อให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนเกษตรกรปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ไม่เหมาะสมในการ ข้าวปรับเปลี่ยนมาเป็น
กิจกรรมอืน่ เปน็ พืชทางเลือกหรือพชื เสรมิ รายได้ทใ่ี หผ้ ลตอบแทนมากกว่า

ในการศึกษาครั้งนี้ได้เสนอมะพร้าวน้ำหอมเป็นสินค้าทางเลือกหนึ่งเพื่อให้เกษตรกร
ประกอบการตัดสินใจ ดังนี้ ต้นทุนการผลิตมะพร้าวน้ำหอมภาคตะวันออกปี 2563 พบว่า หากเกษตรกรปลูก
มะพร้าวแบบสวนเดี่ยว (40 ต้น/ไร่) จะมีต้นทุนรวมเทา่ กับ 11,235.81 บาท/ไร่/ปี โดยส่วนใหญ่จะเป็นตน้ ทุน
ผันแปร เท่ากับ 8,663.43 บาท/ไร่/ปี เช่น ค่าพันธุ์ ค่าแรงงาน ค่าปุ๋ย เป็นต้น หรือคิดเป็นร้อยละ 77.11
ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด มีผลผลิตต่อไร่ 3,855 กิโลกรัม ราคาที่เกษตรกรขายได้ 8.94 บาท/กิโลกรัม
ใหผ้ ลตอบแทนตอ่ ไรเ่ ท่ากบั 34,463.70 บาท ทำให้มผี ลตอบแทนสุทธหิ รือมีกำไรต่อไร่เท่ากับ 23,227.89 บาท
มีอตั ราผลตอบแทนสุทธิต่อการลงทุน 2.07 ถอื วา่ มกี ำไรต่อการลงทุน อีกทัง้ มะพรา้ วอายุขัยนานถึง 30 – 40 ปี
ส่วนการปลูกมะพร้าวแบบขอบบ่อหรือผสมนาข้าว (30 ต้น/ไร่) จะมีต้นทุนรวมเท่ากับ 4,402.58 บาท/ไร่/ปี
โดยส่วนใหญ่จะเปน็ ตน้ ทนุ ผันแปร เท่ากับ 3,651.76 บาท/ไร่/ปี เช่น ค่าพันธุ์ ค่าแรงงาน ค่าปุ๋ย เป็นต้น หรือ
คิดเปน็ รอ้ ยละ 82.95 ของตน้ ทนุ การผลติ ทงั้ หมด มีผลผลติ ตอ่ ไร่ 1,800 กิโลกรัม ราคาทเ่ี กษตรกรขายได้ 8.94
บาท/กิโลกรัม ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 16,092.00 บาท ทำให้มีผลตอบแทนสุทธิหรือมีกำไรต่อไร่เท่ากับ
11,689.42 บาท มีอตั ราผลตอบแทนสทุ ธติ อ่ การลงทุน 2.66 ถือว่ามีกำไรตอ่ การลงทุน

หากเปรียบเทียบผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ระหว่างข้าว และมะพร้าวน้ำหอม พบว่า
หากเกษตรกรปลูกมะพร้าวแบบสวนเดี่ยว (40 ต้น/ไร่) มีผลตอบแทนสุทธิหรือมีกำไรต่อไร่เท่ากับ 23,227.89 บาท
มีอัตราผลตอบแทนสุทธิต่อการลงทุน 2.07 ถือว่ามีกำไรต่อการลงทุน หากปลูกมะพร้าวแบบขอบบ่อหรือ
ผสมนาข้าว (30 ต้น/ไร่) มีผลตอบแทนสทุ ธิหรือมกี ำไรต่อไรเ่ ทา่ กับ 11,689.42 บาท มีอัตราผลตอบแทนสทุ ธิ
ต่อการลงทุน 2.66 ถือว่ามีกำไรต่อการลงทุน ซึ่งทั้ง 2 แบบ ให้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่สูงกว่าข้าวและมีความ
คุ้มค่าตอ่ การลงทุน

136

ตารางท่ี 4.13 ต้นทนุ การผลติ สินคา้ สำคัญข้าวและมะพรา้ วนำ้ หอมสนิ ค้าทางเลือกปี 2563

ระดบั ภาค 1) มะพร้าวนำ้ หอมภาคตะวันออก 2)

รายการ ขา้ วนาปี ข้าวนาปรงั ปลกู เด่ียว ปลูกขอบบ่อ/

ผสมนาขา้ ว

1. ต้นทนุ ผนั แปร 3,757.18 4,045.72 8,663.43 3,651.76

2. ตน้ ทุนคงท่ี 947.42 1,104.81 2,572.38 750.82

3. ตน้ ทุนรวมต่อไร่ 4,704.60 5,150.53 11,235.81 4,402.58

4. ต้นทุนรวมตอ่ กิโลกรัม 7.94 8.36 2.91 2.45

5. ผลผลติ (กก.) 592.33 616.00 3,855.00 1,800.00

6. ราคา (บาทต่อ กก.) 9.03 9.48 8.94 8.94

7. ผลตอบแทนตอ่ ไร่ 5,348.74 5,839.68 34,463.70 16,092.00

8. ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ 644.14 689.15 23,227.89 11,689.42

9. ผลตอบแทนสทุ ธติ ่อกก. 1.09 1.12 6.03 6.49

10. อัตรากำไรต่อการลงทุน 0.14 0.13 2.07 2.66

หมายเหตุ – ปลกู เด่ยี วแบบยกรอ่ งเฉลีย่ 40 ต้นต่อไร่

- ปลกู ขอบบอ่ /ผสมนาข้าวเฉลยี่ 30 ตน้ ต่อไร่

ที่มา : 1) ภาคกลางรวมภาคตะวันออก ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ต้นทุน

ณ ไรน่ า (ณ เดอื นมถิ ุนายน 2564)

2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรท่ี 6

2) การวเิ คราะหข์ ้อมูลดา้ นการตลาด
เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมในภาคตะวันนออก แบ่งการปลูกเป็น 2 แบบ คือ

ปลูกมะพร้าวสวนเดี่ยวแบบยกร่อง ปลูกจำนวนเฉลี่ย 40 ต้นต่อไร่ และปลูกมะพร้าวผสมในนาข้าวหรือ
ปลูกขอบบ่อ ปลูกจำนวนเฉลี่ย 30 ต้นต่อไร่ สำหรับผลผลิตมะพร้าวน้ำหอม มีโครงสร้างตลาดและลักษณะ
การขายผลผลิต ส่วนใหญ่เพื่อขายผลสด ได้แก่ ขายให้พ่อค้ารวบรวมในภาคตะวันออก ขายให้โรงงานแปรรูป
ในภาคตะวันออก ขายปลีกในภาคตะวันออก และขายให้พ่อค้ารวบรวมนอกภาคตะวันออก ซึ่งทั้งหมด
จะนำไปส่ผู ้บู รโิ ภคท้งั ในประเทศและสง่ ออกไปยงั ต่างประเทศ

137
วิถีการตลาดมะพร้าวน้ำหอมภาคตะวันออกปี 2563 ผลผลิตมะพร้าวผลสดจากเกษตรกรใน
ภาคตะวันออก ส่วนใหญ่ขายผลผลิตให้กับพ่อค้ารวบรวมในภาคตะวันออก ร้อยละ 56.49 รองลงมา คือ
ขายให้โรงงานแปรรูปในภาคตะวันออก ร้อยละ 19.78 เกษตรขายปลีกเองในภาคตะวันออก ร้อยละ 15.63
(ขายทั้งมะพร้าวผลสด มะพร้าวทั้งผลปอกตัดแต่ง มะพร้าวเผา) และบางส่วนขายให้กับพ่อค้ารวบรวม
นอกภาคตะวันออก ร้อยละ 8.10 จากนั้น พ่อค้ารวบรวมในภาคตะวันออกจะนำผลผลิตที่รับซื้อส่งต่อไปยัง
โรงงานแปรรูปในภาคตะวันออก รอ้ ยละ 45.72 และขายให้กับผู้บรโิ ภคในประเทศ รอ้ ยละ 10.77 สว่ นโรงงาน
แปรรูปในภาคตะวันออก นอกจากรับซื้อผลผลิตจากผู้รวบรวมในภาคตะวันออกและเกษตรกรใน
ภาคตะวันออก ยังรับซื้อผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมนอกภาคตะวันออกด้วยอีกร้อยละ 16.70 เนื่องจากผลผลิต
ท่รี ับซ้ือในภาคตะวันออกมีไม่เพียงพอ จงึ ได้นำเขา้ ผลผลติ มะพร้าวนำ้ หอมจากจังหวดั ราชบรุ ี สมทุ รสาคร และ
สมทุ รสงคราม ประกอบกบั คุณภาพของผลผลติ ของมะพร้าวน้ำหอมในภาคตะวนั ออกไมต่ รงตามมาตรฐานของ
โรงงาน จากน้ัน โรงงานแปรรูปในภาคตะวนั ออก จะแปรรูปมะพรา้ วผลสดเปน็ มะพร้าวท้งั ผลปอก และตดั แต่ง
ส่งขายไปยังห้างโมเดิร์นเทรดและผู้บริโภคในประเทศ ร้อยละ 16.78 และส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น จีน
ญ่ีปนุ่ และกมั พูชา รวมรอ้ ยละ 19.70 (ภาพท่ี 4.46)

ภาพที่ 4.46 วิถีการตลาดมะพร้าวนำ้ หอมภาคตะวันออกปี 2563
ทม่ี า จากการสำรวจ

138

3) การวเิ คราะหด์ ้านเศรษฐกิจของมะพร้าวนำ้ หอมเชิงลึกของภาคตะวนั ออก
สินค้ามะพร้าวน้ำหอมภาคตะวันออก เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกเป็นแบบมะพร้าวสวนเดี่ยว

แบบยกร่อง และมีบางส่วนปลูกแบบหัวไร่ปลายนา หรือปลูกรอบ ๆ ขอบบ่อ ซึ่งในภาคตะวันออกมีความ
ต้องการบริโภคมะพร้าวน้ำหอมอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคของผู้บริโภคเอง หรือความต้องการ
ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมของโรงงานแปรรูปในภาคตะวันออก จากรสชาติน้ำมะพร้าวที่มีความหวาน หอม
ซึ่งผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมมีผู้รวบรวมหรือพ่อค้าเข้ามารับซื้อถึงในสวน นอกจากนี้ ในภาคตะวันออกเองยังมี
แหล่งผลิตมะพร้าวน้ำหอมที่สำคัญ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical
Indication; GI) อย่ใู นพ้ืนท่ีจงั หวดั ฉะเชงิ เทรา คอื มะพรา้ วนำ้ หอมบางคล้า ข้ึนทะเบยี นเมื่อ 2 เมษายน 2551
เป็นมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์หมูสี มีลักษณะผลเล็กรียาว ขนาดผลเล็ก ผิวเปลือกมีสีเขียวอมเหลือง เปลือกนอก
บางไม่ชุ่มน้ำ ก้นผลมี 3 จีบ เนื้อมะพร้าวสีขาวขุ่น น้ำมะพร้าวมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย รสชาติหวานเด่น
แหล่งผลิตมะพร้าวน้ำหอมซึ่งปลูกในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ บางคล้า คลองเขื่อน และเมืองฉะเชิงเทรา และ
มแี ปลงใหญม่ ะพรา้ วนำ้ หอมในพนื้ ที่อำเภอคลองเข่ือน สว่ นจังหวัดระยอง มแี ปลงใหญม่ ะพรา้ วน้ำหอมในพ้ืนท่ี
อำเภอบ้านฉาง และจงั หวดั สมทุ รปราการมีแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอมในพ้ืนที่อำเภอบางบ่อ ซง่ึ ภาคตะวันออก
มีพื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมแล้วประมาณ 9,903 ไร่ มีเนื้อที่เก็บเกี่ยวประมาณ 9,382 ไร่ (ข้อมูลจาก ทบก.)
และมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ประมาณการผลผลิต
มะพร้าวน้ำหอมของภาคตะวันออกและสมทุ รปราการ (9 จงั หวัด) ในปี 2563 เท่ากับ 30,382 ตนั

แหลง่ รับซื้อผลผลิตของภาคตะวนั ออกในปี 2563 สว่ นใหญ่ส่วนใหญก่ ระจายตวั อยู่ในพื้นท่ี
3 จังหวัด ได้แก่ 1) จังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนใหญ่ในพื้นที่อำเภอบางคล้า อำเภอพนมสารคาม อำเภอเมือง
อำเภอบ้านโพธิ์ 2) จังหวัดชลบุรี สว่ นใหญอ่ ยใู่ นพื้นท่ีอำเภอเมือง อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง และอำเภอ
สัตหบี และ 3) จงั หวัดระยอง ส่วนใหญอ่ ยูใ่ นพนื้ ที่อำเภอเมอื ง จากการสมุ่ สำรวจแหล่งรบั ซอ้ื สำคัญของจังหวัด
ฉะเชงิ เทรามีความตอ้ งการผลผลติ มะพร้าวน้ำหอม ปี 2563 ประมาณ 14,428 ตนั ซึง่ ยงั มแี หลง่ รับซอ้ื มะพร้าว
น้ำหอมกระจายในพื้นท่ีจังหวัดชลบุรี ระยอง และสมุทรปราการ โดยส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือ
แหล่งชุมชนเมือง ซึ่งหากประมาณความต้องการผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่า จำนวน
43,300 ตัน

139

ตารางที่ 4.14 แหล่งรบั ซื้อผลผลติ มะพร้าวนำ้ หอมทีส่ ำคญั ของภาคตะวนั ออก ในปี 2563

ลำดบั ชือ่ โรงงาน ทอี่ ยู่ ประมาณการ พกิ ดั สถานทป่ี ระกอบการ
/ผปู้ ระกอบการ ปริมาณความ XY
ต้องการรับซ้อื หรือ
1 รา้ นศริ ิวรรณ มะพรา้ ว 57/6 ม.3 ต.บางกรดู กำลังการผลิตต่อปี 720857 1508689
735007 1517930
น้ำหอม อ.บา้ นโพธิ์ จ.ฉะเชงิ เทรา 1,440 ตัน 734464 1519995
734604 1520016
2 นายศราวธุ พรชยั สทิ ธ์ิ 1/2 ม.4 ต.คลองจกุ กระเฌอ 1,095 ตนั 759897 1524514
730686 1514397
อ.เมอื ง จ.ฉะเชิงเทรา 1,080 ตนั 734584 1519823
730473 1511012
3 นายโสพล ศริ อิ ดุ มศลิ ม.6 ต.บางตลาด 897 ตนั 730646 151596
730685 1514436
อ.คลองเข่ือน จ.ฉะเชงิ เทรา 400 ตนั

4 นายไพโรจน์ พลู โพคา ม.6 ต.บางตลาด 378 ตนั

อ.คลองเข่อื น จ.ฉะเชงิ เทรา 216 ตนั

5 บริษัท ไรซงิ 64/5-6 ต.บา้ นซ่อง 84 ตัน

(ไทยแลนด์) จำกดั อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชงิ เทรา 84 ตนั

6 นางมติ ทิรา ด้วงคง ม.1 ต.คลองจุกกระเฌอ 40 ตนั

อ.เมือง จ.ฉะเชงิ เทรา

7 นางศรีนวล สขุ โพธ์ิ ม.4 ต.บางตลาด อ.คลองเขอ่ื น

จ.ฉะเชงิ เทรา

8 รา้ นลงุ ศกั ด์ิ ม.8 ต.บางไผ่ อ.เมอื ง

จ.ฉะเชงิ เทรา

9 PP Coconut ม. 11 ต.บางแก้ว อ.เมือง

จ.ฉะเชิงเทรา

10 ร้านเฮงเจริญมะพร้าว 1/2 ม.4 ต.คลองจกุ กระเฌอ

น้ำหอม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

ทีม่ า: จากการสำรวจ

140

4) การประมาณการอปุ สงคอ์ ุปทานมะพร้าวน้ำหอมในพ้ืนท่เี ปา้ หมาย
จากการวิเคราะห์ด้านอุปสงค์และอุปทานของมะพร้าวน้ำหอมในภาคตะวันออก พบว่า

ด้านอุปทาน (Supply Side) สามารถผลิตได้ 30,382 ตัน ในขณะที่ด้านอุปสงค์ (Demand Side) มีความ
ต้องการใช้หรือการนำไปใช้ประโยชน์มากถึง 43,300 ตัน ซึ่งเป็นการนำไปใช้ภายในภาคตะวันออก และ
กระจายไปยังตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น ยังขาดความสมดุลกับความต้องการใช้ จำนวน
12,918 ตัน หรือประมาณ 4,300 ไร่ ซึ่งปัจจุบันต้องนำเข้ามะพร้าวน้ำหอมจากนอกภาคตะวันออกซึ่งทำให้
เกิดต้นทุนด้านโลจสิ ติกสท์ ีเ่ พิม่ มากข้ึนทำให้ราคาขายปลีกมะพร้าวน้ำหอมในภาคตะวนั ออกมีราคาสูงระหว่าง
15-30 บาทต่อผล เพื่อให้เกิดความเพียงพอต่อความต้องการใช้ควรมกี ารส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ
เพ่มิ พน้ื ทน่ี ำร่อง 4 จังหวดั ได้แก่ จังหวัดฉะเชงิ เทรา ชลบรุ ี ระยอง และสมุทรปราการ

ภาพที่ 4.47 การประมาณการอุปสงค์ อปุ ทาน ของมะพร้าวน้ำหอมในพืน้ ที่เปา้ หมายของภาคตะวันออก
ที่มา: จากการวเิ คราะห์

ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดมาตรการปิดประเทศ
ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาคตะวนั ออก โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวของท้ัง 4 จังหวัด มีนักท่องเที่ยว
ต่างชาติลดลง แม้แต่คนไทยเองก็ชะลอการท่องเที่ยวเนื่องจากต้องปฏิบัติตามมาตรการการป้องกัน
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวลดลง สำหรับโรงงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก ยังคง
มีความต้องการผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมะพร้าวน้ำหอมยังเป็นที่นิยมในการบริโภค
สำหรบั ตลาดโมเดริ ์นเทรดและตลาดสง่ ออกต่างประเทศ

141

สำหรับพื้นที่เป้าหมายเพื่อการปรับเปลี่ยนสู่การจัดทำแนวทางพัฒนาสินค้าทางเลือก
มะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชทางเลือกหรือเสริมรายได้ พบว่า อาจนำร่องในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด
ฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากทั้ง 4 พื้นที่มีแหล่งผลิตมะพร้าว
นำ้ หอมที่สำคญั และเป็นแหล่งทมี่ ีความต้องการบริโภคหรือความต้องการใช้ประโยชน์มะพรา้ วน้ำหอมมากท่ีสุด
โดยแบ่งการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ปลูกข้าวและมะพร้าวบนชั้นความเหมาะสมของทั้ง 4 จังหวัด
ดงั นี้

1) จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา ควรปลูกมะพรา้ วน้ำหอมเสริมในพื้นทีห่ วั ไรป่ ลายนาเพื่อให้เป็นรายได้
เสริมนอกเหนือจากรายได้จากข้าวในพื้นที่ปลูกข้าวที่ไมเ่ หมาะสม ซึ่งจังหวัดฉะเชิงเทรามีพืน้ ที่ปลูกข้าวบนชัน้
ความเหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3 N) ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเภอพนมสารคาม สนามชัยเขต และ
ท่าตะเกียบ (ภาพที่ 4.48) สำหรบั พืน้ ทป่ี ลูกมะพร้าวบนช้ันความเหมาะสมของท่ีดนิ มพี ืน้ ทรี่ วม 405,497.35 ไร่
ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเภอพนมสารคาม สนามชัยเขต ท่าตะเกียบ แปลงยาว และเมือง (ภาพที่ 4.49) ซึ่งมี
เกษตรกรปลกู มะพร้าวในพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) แลว้ 3,496.79 ไร่ คดิ เปน็ ร้อยละ 0.86 ของพ้ืนที่ปลูก
มะพรา้ วบนชนั้ ความเหมาะสมปานกลางทัง้ หมด

ภาพที่ 4.48 พ้ืนที่เป้าหมายเพื่อปรับเปลย่ี นพนื้ ทีป่ ลกู ขา้ วบนชั้นความเหมาะสมจังหวดั ฉะเชิงเทรา
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6, การบริหารจัดการสินค้าสำคัญและสินค้าทางเลือกเชิงลึกตาม
Agri-map ปี 2564

142

ภาพท่ี 4.49 แผนทแ่ี สดงพ้ืนท่ีปลูกมะพร้าวบนช้นั ความเหมาะสมจังหวัดฉะเชงิ เทรา
ที่มา: กรมพัฒนาทดี่ ิน (2561)

2) จังหวัดชลบุรี ควรปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจาก
การปลูกข้าวในพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมได้ ซึ่งจังหวัดชลบรุ ีมีพื้นที่ปลูกข้าวบนชัน้ ความเหมาะสมนอ้ ยและ
ไม่เหมาะสม (S3 N) ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านบึง พนัสนิคม เกาะจันทร์ และบางละมุง (ภาพที่ 4.50)
สำหรับพื้นที่ปลูกมะพร้าวบนชั้นความเหมาะสมของที่ดิน มีพื้นท่ีรวม 1,124,986.67 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่
อำเภอพนัสนิคม เกาะจันทร์ หนองใหญ่ บ้านบึง ศรีราชา และบางละมุง (ภาพที่ 4.51) ซึ่งมีเกษตรกร
ปลูกมะพรา้ วในพนื้ ท่ีเหมาะสมปานกลาง (S2) แลว้ 57,397.55 ไร่ คิดเปน็ ร้อยละ 5.10 ของพ้นื ท่ปี ลกู มะพร้าว
บนชนั้ ความเหมาะสมปานกลางท้งั หมด

143

ภาพท่ี 4.50 พืน้ ทีเ่ ปา้ หมายเพอ่ื ปรับเปล่ียนพืน้ ท่ีปลกู ขา้ วบนชน้ั ความเหมาะสมจังหวัดชลบรุ ี
ที่มา: สำนกั งานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6, การบริหารจัดการสนิ ค้าสำคัญและสินค้าทางเลือกเชิงลึกตาม Agri-map
ปี 2564

ภาพท่ี 4.51 แผนท่แี สดงพื้นที่ปลกู มะพรา้ วบนชั้นความเหมาะสมจงั หวัดชลบุรี
ทม่ี า: กรมพฒั นาที่ดนิ (2561)

144
3) จังหวัดระยอง ควรปลูกมะพร้าวน้ำหอมเพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจาก
การปลกู ขา้ วในพ้ืนท่ีปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมได้ ซง่ึ จงั หวัดระยองมีพ้ืนที่ปลูกข้าวบนช้นั ความเหมาะสมน้อยและ
ไมเ่ หมาะสม (S3 N) สว่ นใหญ่อย่ใู นพ้นื ทอี่ ำเภอเมืองและแกลง (ภาพที่ 4.52) สำหรับพื้นทปี่ ลูกมะพรา้ วบนชั้น
ความเหมาะสมของที่ดิน มีพื้นที่รวม 1,182,804.38 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านฉาง นิคมพัฒนา
ปลวกแดง บ้านค่าย และวังจันทร์ (ภาพที่ 4.53) ซึ่งมีเกษตรกรปลูกมะพร้าวในพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2)
แล้ว 6,057.52 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของพื้นที่ปลูกมะพร้าวบนชั้นความเหมาะสมสูงและเหมาะสม
ปานกลางทั้งหมด

ภาพท่ี 4.52 พ้นื ทีเ่ ป้าหมายเพื่อปรับเปล่ียนพืน้ ทปี่ ลูกข้าวบนชัน้ ความเหมาะสมจังหวัดระยอง
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6, การบริหารจัดการสินค้าสำคัญและสินค้าทางเลือกเชิงลึกตาม
Agri-map ปี 2564

145

ภาพที่ 4.53 แผนทีแ่ สดงพนื้ ท่ีปลูกมะพร้าวบนชนั้ ความเหมาะสมจังหวดั ระยอง
ท่ีมา: กรมพฒั นาที่ดนิ (2561)

4) จังหวัดสมุทรปราการ ควรปลูกมะพร้าวน้ำหอมเสริมในพื้นที่หัวไร่ปลายนาเพื่อให้เป็น
รายไดเ้ สริมนอกเหนือจากรายได้จากข้าวในพ้ืนทีป่ ลูกข้าวท่ีไม่เหมาะสม ซง่ึ จังหวดั สมุทรปราการ มีพ้ืนที่ปลูกข้าว
บนชั้นความเหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3 N) ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเภอบางบ่อ และบางเสาธง
(ภาพที่ 4.54) สำหรับพื้นที่ปลูกมะพร้าวบนชั้นความเหมาะสมของที่ดิน มีพื้นที่รวม 10,363.28 ไร่ ส่วนใหญ่
อยูใ่ นพื้นทอ่ี ำเภอพระประแดง และเมือง (ภาพท่ี 4.55) ซ่งึ มีเกษตรกรปลูกมะพร้าวในพ้นื ทเ่ี หมาะสมปานกลาง
(S2) แล้ว 301.78 ไร่ คดิ เปน็ รอ้ ยละ 2.92 ของพ้นื ที่ปลูกมะพร้าวบนช้ันความเหมาะสมปานกลางทง้ั หมด

146

ภาพท่ี 4.54 แผนท่ีแสดงพื้นที่ปลูกขา้ วบนชั้นความเหมาะสมจังหวดั สมทุ รปราการ
ที่มา: การบริหารจัดการสินค้าสำคัญและสินค้าทางเลือกเชิงลึกตาม Agri-map ปี 2564, สำนักงานเศรษฐกิจ
การเกษตรท่ี 6

ภาพที่ 4.55 แผนทแี่ สดงพ้นื ที่ปลกู มะพร้าวบนชัน้ ความเหมาะสมจงั หวดั สมทุ รปราการ
ทมี่ า: กรมพฒั นาที่ดนิ (2561)

147

5) มาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน
และเกษตรกร
มาตรการปลายทางตลาดนำการผลติ

1. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่ดึงดูดและน่าสนใจการเข้าถึงข้อมูลเรื่องอัตลักษณ์และสัญลักษณ์
GI อยา่ งทว่ั ถงึ (กสก.)

2. สนับสนุนผู้ส่งออกและกลุ่มเกษตรกรเข้าสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายมะพร้าวน้ำหอมไทย
ผ่านแพลตฟอร์ม e-Commerce เช่น taobao.com และ shopee.com/แพลตฟอร์มการไลฟ์สดผ่านสื่อ
Social ตา่ ง ๆ เชน่ Facebook Instagram เปน็ ต้น (พณ. กสก. กษ.จ. และเกษตรจังหวัด)
มาตรการกลางทาง

1. ส่งเสริมเครือข่ายการเกษตรแบบแปลงใหญ่สมัยใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต
การลดต้นทุน การพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐาน การบริหารจัดการและการจัดการด้านการตลาด (กษ.จ.+
เกษตรจงั หวัด)

2. พัฒนารูปแบบสินค้าให้หลากหลายมีความแตกต่าง หรือบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่น น่าสนใจ
เพื่อต่อยอดไปสูร่ ายได้ทเี่ พ่มิ ข้ึน (พณ.)

3. เครือข่ายผู้ผลิตผู้ประกอบการสง่ ออกร่วมยกระดับสร้างมาตรฐานทางการค้าสินค้ามะพรา้ ว
น้ำหอมเพื่อการส่งออกที่มีอัตลักษณ์เป็นมิตรตอ่ สิ่งแวดล้อม เช่น GMP ฉลากสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย GI
ฉลากสิ่งแวดลอ้ ม: ฉลากลดคาร์บอน ฉลาก Water footprint (พณ. เกษตรจงั หวัด และ สอจ.)
มาตรการต้นทาง

1. ควรให้ความรู้และคำแนะนำเกษตรกรตั้งแตเ่ รื่องการปลูก การดูแลรกั ษา การจำกัดโรคและ
แมลงศัตรูพืช และเกษตรกรต้องติดตามสถานการณ์ด้านการตลาดและหมั่นดูแลสวนมะพร้าวเพื่อป้องกันโรค
และแมลงศัตรูพืชให้ได้ทันท่วงที โดยเฉพาะการจัดการปัญหาศัตรูมะพร้าวน้ำหอม ไรสี่ขา ด้วงแรด และ
หนอนหวั ดำ เป็นต้น (กษ.จ. + เกษตรจังหวัด)

2. สนับสนุนความรู้การใช้สารเคมีควบคู่รักษาคุณภาพมาตรฐานสารตกค้างตั้งแต่ต้นทาง
(เกษตรจังหวัด)

3. ส่งเสรมิ การเขา้ สูม่ าตรฐานการผลติ และตรวจสอบย้อนกลบั (GAP/PGS) (มกอช.)
4. พัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในกระบวนการเก็บเกี่ยว เพื่อลดแรงงาน
และหลังการเก็บเกี่ยวเพ่อื คงสภาพความสดใหมข่ องมะพร้าวน้ำหอมก่อนถึงมือผบู้ ริโภค (AIC และมหาวิทยาลัย
ในพ้นื ท)่ี
6) ข้อมูลประกอบการตัดสินใจดา้ นการผลิตและการตลาด

6.1) ขอ้ มลู ประกอบการตดั สินใจดา้ นการผลิต
สำหรับการปลูกมะพร้าวน้ำหอมให้มีการเจริญเติบโตดี ติดผลได้เร็ว และให้ผลผลิตที่มี

คณุ ภาพ มีรายละเอียดดงั น้ี

148

1.1) สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโต (การจัดการความรู้เทคโนโลยีการผลิต
มะพรา้ วนำ้ หอม, กรมวชิ าการเกษตร (2562))

1.1.1) ปริมาณน้ำฝน ในพื้นที่ปลูกมะพร้าวควรมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,500
มิลลิเมตร/ปี และมีฝนตกสม่ำเสมอทุกเดือน หากฝนแล้งติดต่อกันนาน 3 เดือน (ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 50
มิลลิเมตร) จะส่งผลกระทบต่อการให้ผลผลิตรวมถึงปริมาณเนื้อมะพร้าวต่อผลลดลง (กิตติพงศ์และคณะ ,
2549; คนอง, 2538; Peiris et al., 1995; Thampan, 1975) ดังนั้น ควรจัดเตรียมแหลง่ น้ำอย่างนอ้ ยร้อยละ
10 ของพ้นื ที่ปลกู มะพรา้ ว

1.1.2) อุณหภูมิ อุณหภูมิเฉลี่ยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต คือ 27 องศา
เซลเซียส (อุณหภูมิควรอยู่ในช่วง 19 - 35 องศาเซลเซียส) และหากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส จะมี
ผลกระทบต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช เป็นสาเหตุให้มะพร้าวน้ำหอมมีการเจริญเติบโตช้า และ
การออกดอกตวั ผู้และตวั เมียนอ้ ยลง ส่งผลใหป้ ระสทิ ธภิ าพการผสมพันธุน์ ้อยลง (Grimwood, 1975)

1.1.3) ความชืน้ สมั พทั ธ์ ความชืน้ สมั พัทธท์ เ่ี หมาะสมภายในแปลงมะพรา้ วจะทำให้
การเจริญเติบโตดี และการผสมพันธุ์ของละอองเกสรดีขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตของมะพร้าวน้ำหอมมากขึ้นตามไป
ด้วยซ่งึ ความช้นื สัมพทั ธ์ ทเ่ี หมาะสมไม่ต่ำกวา่ ประมาณรอ้ ยละ 70

1.1.4) แสงแดด มะพร้าวชอบแสงแดดจัด ควรได้รับแสงเฉลี่ยประมาณวันละ
5 ชัว่ โมง/วนั จงึ จะมีการเจรญิ เติบโตและใหผ้ ลผลิตดี (Child, 1974)

1.1.5) ระดับความสูงของพื้นที่ปลูก ความสูงของพื้นที่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิ
โดยพืน้ ทีส่ งู ขนึ้ ทกุ ๆ 1 กิโลเมตรจากระดบั น้ำทะเล อณุ หภูมิจะลดลง 6.5 องศาเซลเซียส

1.1.6) ดิน ควรเป็นดินร่วนหรือร่วนปนทราย อุ้มน้ำได้ดี ถ้าเป็นดินเหนียวต้องมี
การระบายน้ำดีแต่ดินที่เหมาะสมดีที่สุดในการปลูกมะพร้าว คือ ดินตะกอนแม่น้ำ เนื่องจากมีการสะสมของ
อินทรียวัตถุ และธาตุอาหารต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก (กิตติพงศ์ และคณะ, 2549; Thampan, 1975) ความเป็นกรด
เป็น 31 ด่างของดินควรอยู่ระหว่าง 6.4 - 7.0 (วาสนา, 2541) หน้าดินควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร
มีระดับนำ้ ใต้ดินลกึ กวา่ 2 เมตร หากปลกู ในทมี่ ีน้ำขงั ต้องมกี ารขุดยกร่อง ไม่ควรให้รากมะพรา้ วแช่น้ำ

1.1.7) ลม ในแปลงมะพรา้ วน้ำหอมควรมีการหมนุ เวียน และการถา่ ยเทของอากาศ
ท่ีพอเหมาะ หากมนี อ้ ยเกนิ จะมีผลทำใหอ้ ตั ราการคายนำ้ ของพืชต่ำ ทำใหพ้ ชื ไมส่ ามารถดดู แรธ่ าตุตา่ ง ๆ ข้นึ มา
ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ แต่หากมลี มแรงจัดและอากาศแห้ง จะทำใหอ้ ัตราการคายนำ้ สูง อาจทำให้
พืชไดร้ บั อันตรายเนื่องจากการขาดน้ำได้ (มอี าการใบเหี่ยว ใบตก ใบแห้ง และทางใบหักคร่ึง) จึงควรปลูกไม้โตเร็ว
สำหรบั ปอ้ งกนั ความแรงของลมในช่วงแรกของการเจริญเติบโต

1.2) สำหรับการปลูกมะพรา้ วน้ำหอม เตรยี มการดังนี้
1.2.1) การเตรียมพืน้ ท่ีปลกู หากปลกู บรเิ วณพื้นทร่ี าบ ควรทำใหเ้ ตียน ถอนตอราก

ไม้ออกให้หมดเพื่อให้ไถพรวนได้สะดวก หากปลูกพื้นที่ลาดเอียง ควรทำขั้นบันไดแล้วปลูกพืชเพื่อป้องกัน
การทลายของดิน หากปลูกบริเวณพื้นลุ่มหรือที่มีน้ำท่วมขัง ต้องทำการยกรองหรือคันดินปลูกเพื่อป้องกัน
นำ้ ทว่ มขงั ในฤดูฝน

149

1.2.2) ระยะปลูกมะพร้าว หากปลูกบริเวณพื้นที่ราบ/ลาดเอียง สามารถปลูกได้
2 แบบ คอื ปลูกแบบส่เี หลย่ี มจัตุรัส (ระยะระหวา่ งตน้ 6.50 เมตร ระยะระหวา่ งแถว 6.50 เมตร จะได้จำนวน
37 ต้น/ไร่) และปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า (ระยะระหว่างต้น 6.50 เมตร ระยะระหว่างแถว 6.63 เมตร
จะได้จำนวน 43 ต้น/ไร่) หากปลูกบริเวณพื้นที่ลุ่ม รูปแบบที่จะปลูกมะพร้าวให้สะดวกต่อการปฏิบัติงาน คือ
ควรปลกู แบบส่ีเหลี่ยมจัตรุ สั (37 ต้น/ไร)่ ดังภาพท่ี 4.56

ภาพที่ 4.56 ระยะปลกู มะพร้าวแบบส่ีเหล่ียมจตั ุรสั (ก) และระยะปลกู มะพรา้ วแบบสามเหล่ียมดา้ นเทา่ (ข)
ท่มี า การจดั การความรู้เทคโนโลยีการผลติ มะพร้าวน้ำหอม, กรมวิชาการเกษตร
1.2.3) การเตรียมหลุมปลูกและวัสดุรองก้นหลุม ให้ขุดเอาดินชั้นบนไว้ด้านหน่ึง

และดนิ ช้นั ลา่ งไว้อีกด้านหน่งึ ควรขุดในฤดูแล้ง หลังจากขดุ หลุมแล้วให้ตากดนิ ประมาณ 7 วัน ควรรองก้นหลุม
ด้วยกาบมะพร้าว 2 ชั้น แล้วเอาดินชั้นบนใส่ลงไปประมาณครึ่งหลุม จากนั้นใส่ดินผสมกับปุ๋ยคอก และ
กาบมะพร้าว สลับกันไปเป็นชั้น ๆ โดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกปริมาณ 10 - 15 กิโลกรัม/หลุม และ/หรือ
หินฟอสเฟต (0-3-0) ปริมาณ 0.5 กิโลกรัม/หลมุ ใส่ดนิ และป๋ยุ ทผ่ี สมกันแล้วจนเตม็ หลุมและทิ้งไวจ้ นถึงฤดูปลกู

1.2.4) วิธีการปลูก เริ่มปลูกในฤดูฝนหลังจากที่ฝนตกในปริมาณมากถึง 2 คร้ัง
ควรปลูกต่ำกว่าปากหลุม 15 เซนติเมตร แต่หากปลูกในพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ควรปลูกให้เสมอกับ
ปากหลุม หรอื สูงกวา่ ปากหลุมเล็กน้อย เมือ่ นำต้นกลา้ มะพร้าววางลงในหลุมให้กลบดิน และอัดดินรอบบริเวณ
ต้นกล้าให้แน่น ควรระมัดระวังอย่ากลบดินบริเวณคอต้นกล้าแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้บริเวณคอมะพร้าวเน่า
และเจริญเตบิ โตชา้ หลงั จากปลกู เสร็จเกลย่ี ดนิ บรเิ วณปากหลุมให้เรยี บร้อยและเอาไม้หลักปักผูกตดิ กับต้นกล้า
เพือ่ ป้องกันลมแรง ซึง่ อาจทำใหก้ ระทบกระเทือนต่อระบบรากมะพร้าวได้

1.3) การดแู ลรักษา ปฏบิ ัติดงั น้ี
1.3.1) การใส่ปุ๋ย เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิต เนื่องจากมะพร้าวเป็นพืชที่มีอายุยาว

ประมาณ 30 - 40 ปี บริเวณรากที่หาอาหารอยู่ในบริเวณจำกัด หากธาตุอาหารในดินมีน้อยจะไม่เพียงพอ
ในการออกดอกติดผล จำเป็นต้องมีการใส่ปุ๋ยเพิ่มเติม ซึ่งการใส่ปุ๋ยทำให้ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมเพิ่มขึ้นได้
เฉลี่ย 5,500 ผล/ไร่/ปี (สุดประสงค์, 2549) ฤดูทีเ่ หมาะสมในการใส่ปุ๋ยคอื ตน้ ฝนและปลายฝน จากการทดลอง

150

ของ Jayasekara (1993) พบว่า การใสป่ ุ๋ยใหก้ ับมะพร้าวน้ำหอมบนพ้ืนฐานของปริมาณธาตุอาหารและผลผลิต
จากการวิเคราะห์ตัวอย่างใบมะพร้าวพบว่าร้อยละ 80 ขาดธาตุโพแทสเซียมและแมกนีเซียม ร้อยละ 20
ขาดธาตุไนโตรเจน และร้อยละ 10 ขาดธาตุฟอสฟอรัส โดยโพแทสเซียมมีอิทธิพลอย่างมากต่อผลผลิต
เนื้อมะพร้าวแห้งต่อต้น จำนวนช่อดอกต่อต้น จำนวนดอกตัวเมียในช่อดอก และการเพิ่มขนาดความสูง
เส้นรอบวงลำต้น และเพิ่มจำนวนทางใบ ด้านคุณภาพผล น้ำมะพร้าวหวานขึ้น เนื้อหนา และกะลาแข็งแรง
ลดการแตกของผล (Mahatim and Mishra,1993) นอกจากปุ๋ยเคมีที่แนะนำสูตร 13-13-21 ร่วมกับ
ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต แล้วควรมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 30-50 กิโลกรัม/ต้น/ปี ร่วมด้วยเพื่อเพิ่มการติดผล
และคุณภาพของมะพร้าวน้ำหอม และช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย หากประเมินความต้องการปุ๋ยได้
จะทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต โดยจะประเมินจากผลวิเคราะห์ใบ ค่าวิเคราะห์ดินและลักษณะอาการ
ขาดธาตอุ าหารของมะพร้าว

1.3.2) การให้น้ำ ในพน้ื ทร่ี าบ/ลาดเอียงปลูกโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ในช่วงฤดูแล้ง
ฝนทิ้งชว่ งนานเกิน 3 เดือน ไมม่ ีการให้น้ำ หากมกี ารขาดนำ้ ใบจะหกั พบั ลง ตาดอกทแ่ี ตกออกมาใหมห่ ยดุ ชะงัก
การเจริญ ผลร่วงก่อนถึงระยะเก็บผลผลิต ส่งผลให้มะพร้าวมีผลผลิตลดลง ดังนั้น ควรมีการให้น้ำมะพร้าว
อยา่ งสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการพัฒนาของตาดอก อย่างตอ่ เนื่องและมะพร้าวผลผลิตไม่ขาดคอ ปจั จุบันมีการทำ
ระบบนำ้ ในแปลงปลกู เนอ่ื งจากสภาพแวดล้อมมคี วามแปรปรวนสงู สง่ ผลกระทบตอ่ มะพร้าวในการให้ผลผลติ

1.4) โรคมะพร้าวที่สำคญั
1.4.1) โรคผลรว่ ง (Immature nut fall) เกิดเชือ้ รา Phytophthora Palmivora

ผลมะพรา้ วจะรว่ งก่อนกำหนด ควรปอ้ งกนั โดยทำลายต้นและผลทีแ่ สดงอาการของโรค ทำความสะอาดบริเวณ
คอมะพร้าว และเม่ือพบอาการในระยะแรกเก็บส่วนที่แสดงอาการของโรคออกใหห้ มด แล้วพ่นดว้ ยสารป้องกัน
กำจัดโรคพืช เชน่ ฟอสอีทลิ -อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 40 กรมั ตอ่ น้ำ 20 ลติ ร หรือเมทาแลกซิล 25% WP
อัตรา 20-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลติ ร

1.4.2) โรคใบจุด (Helminthosporium leaf spot) เกิดจากเชอ้ื รา
heiminthosporium sp. ทำความเสียหายให้แก่มะพร้าวในระยะต้นกล้ามากและลุกลามอย่างรวดเร็ว
ควรป้องกนั โดยเผาทำลายใบทเี่ ป็นโรค และพ่นดว้ ยสารป้องกันกำจัดโรคพชื เช่น ไทแรม 80% อตั รา 50 กรัม
ต่อน้ำ 20 ลิตร ควรผสมสารจับใบทุกครั้งที่พ่น (ในกรณีเกิดการระบาดมากและรุนแรงควรเพิ่มอัตราสารเคมี
ที่ใช้ใหม้ ากขึ้น และฉดี พน่ ทุกสัปดาห์ตดิ ต่อกันจนกวา่ โรคจะลดความรุนแรงลง โดยสังเกตจากใบที่เกิดขน้ึ ใหม)่

1.4.3) โรคยอดเน่า (heart leaf rot) เกิดจากเชื้อรา Pythium sp. มักเกิดกับ
มะพร้าวพันธุ์ท่ีนำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น พันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย โรคนี้มกั พบในระยะต้นกล้าในสภาพ
ที่มีฝนตกชุก และอากาศมีความชื้นสูง ป้องกันโดยทำลายต้นและผลที่แสดงอาการของโรค ทำความสะอาด
บริเวณคอมะพร้าว และเมื่อพบอาการในระยะแรกเก็บส่วนที่แสดงอาการของโรคออกให้หมด แล้วพ่นด้วย
สารป้องกันกำจดั โรคพชื เช่น ฟอสอีทิล-อะลูมเิ นยี ม 80% WP อัตรา 40 กรัมตอ่ น้ำ 20 ลติ ร หรือเมทาแลกซิล
25% WP อัตรา 20-40 กรมั ต่อน้ำ 20 ลิตร

151

1.5) แมลงศตั รมู ะพรา้ วท่ีสำคัญ
1.5.1) หนอนหัวดำมะพร้าว Opisina arenosella Walker (Lepidoptera:

Oeacohoridae) การทำลายส่วนใหญ่พบบนใบแก่ ใบที่ถูกทำลายจะมีลักษณะแห้งเป็นสีน้ำตาล หากการ
ทำลายรุนแรงอาจทำให้ต้นมะพร้าวตายได้ สามารถป้องกันและกำจัดได้โดยวิธีเขตกรรมและวิธีกล ตัดใบที่มี
หนอนหวั ดำมะพรา้ วนำไปเผาทำลาย ไม่ควรเคล่อื นยา้ ย การใช้แตนเบยี น โดยการใชแ้ ตนเบยี นทเ่ี ฉพาะเจาะจง
กับหนอนหัวดำมะพร้าว ได้แก่ แตนเบียนโกนีโอซัส นีแฟนติดิส (Goniozus nephantidis) ก่อนปล่อย
แตนเบียนออกสู่ธรรมชาติ ควรให้แน่ใจว่าแตนเบียนผสมพันธุ์เรียบร้อยแล้ว (จะผสมพันธุ์หลังจากออกจาก
ดักแด้แล้ว 4 - 7 วัน) ซึ่งเมื่อปล่อยแตนเบียนในธรรมชาติ แตนเบียนจะสามารถไปเบียนและวางไข่บนตัว
หนอนหัวดำมะพรา้ วไดท้ นั ที

1.5.2) แมลงดำหนามมะพร้าว เป็นด้วงชนิดหนึ่งลำตัวแบนสีดำ มี 2 ชนิด คือ
Plesispa rechei Chapuis พบในแปลงเพาะชำ และ Brontispa longgissima Gastro ทำลายมะพร้าวใน
แปลงปลูก สามารถป้องกันและกำจัดได้โดยวิธีเขตกรรมและวิธีกล ไม่ควรเคลื่อนย้ายต้นพันธุ์มะพร้าวหรือ
พืชตระกูลปาล์มมาจากแหล่งท่ีมกี ารระบาด หรือการใช้ชีววิธีโดยการใชแ้ ตนเบยี นที่เฉพาะเจาะจงกับแมลงดำ
หนามมะพร้าว ได้แก่ แตนเบียนอะซีโคเดส ฮิสไพนารัม (Asecodes hispinarum) ซึ่งนำเข้าจากประเทศ
เวียดนาม มาเลี้ยงขยายปล่อยช่วยทำลายหนอนแมลงดำหนามมะพร้าว และแตนเบียนเตตระสติคัส บรอนทิสป้ี
(Tetrastichus brontispae) ทำลายดักแดแ้ มลงดำหนามมะพร้าว

1.5.3) ด้วงแรด (rhinoceros beetle) ชื่อวิทยาศาสตร์ Oryctes rhinoceros
Linnaeus เป็นศัตรทู ี่สำคญั ร้ายแรงสำหรับมะพร้าวมาก ด้วงแรดมี 2 ชนิด คอื ชนิดเลก็ และชนดิ ใหญ่ สามารถ
ป้องกันและกำจัดได้โดยวิธีเขตกรรม โดยการทำความสะอาดบริเวณสวนมะพร้าวเพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์
เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดี ถ้ามีกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กองขยะ กองขี้เลื้อย แกลบ ควรกำจัดออกไปจากบริเวณสวน
หากพบหนอนให้จับทำลายหรือเผากองขยะนั้นเสีย ส่วนของลำต้นและตอมะพร้าวที่โค่นทิ้งไว้ หรือมะพร้าว
ทยี่ ืนต้นตายควรโค่นลงมาเผาทำลาย หรือการใช้ชวี วธิ ี โดยใชเ้ ชือ้ ราเขยี ว Metarhizium anisopliae ใสไ่ ว้ตาม
กองขยะ กองปยุ๋ คอก หรอื ท่อนมะพรา้ วท่ีมหี นอนด้วงแรดมะพรา้ วอาศัยอยู่ เชอื้ ราจะแพร่กระจายไปเอง และ
จะทำลายดว้ งแรดมะพร้าวทุกระยะการเจรญิ เติบโต

1.5.4) ด้วงงวงมะพร้าว มี 2 ชนิด คือ ชนิดเล็กและชนิดใหญ่ ด้วงงวงชนิดเล็ก
พบแพร่ระบาดอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศ สามารถป้องกันและกำจัดได้โดยป้องกันและกำจัดด้วงแรด
มะพร้าวอย่าให้ระบาดในสวนมะพร้าว เพราะรอยแผลที่ด้วงแรดมะพร้าวเจาะไว้จะเป็นช่องทางให้ด้วงงวง
มะพร้าววางไข่ และเมอื่ ฟักออกเป็นตัวหนอนแลว้ หนอนของด้วงงวงมะพร้าวจะเข้าไปทำลายในต้นมะพร้าวได้ง่าย
และใช้วิธีเดียวกับวิธีการป้องกันกำจัดด้วงแรดมะพร้าว จะสามารถกำจัดไข่ หนอนและตัวเต็มวัยของด้วงงวง
มะพรา้ วได้

1.5.5) ไรสี่ขา (Colomerus novahebridensis Keifer) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก
ไมส่ ามารถมองเห็นไดด้ ว้ ยตาเปลา่ อาศัยอยู่ได้ตามธรรมชาติท่วั ไป ซง่ึ ไม่สามารถพ่นสารฆา่ ไรอย่างเดยี วแล้วจะ
กำจัดไรได้อย่างสิ้นซาก เนื่องจากสารฆ่าไรเป็นสารประเภทถูกตัวตายเท่านั้น ไรจะเข้าทำลายอยู่ภายใน

152

ขั้วผลมะพร้าว ทำให้การฉีดสารไม่สามารถโดนตัวไรได้ ดังนั้นจึงต้องตัดทำลายจั่นช่อดอก และช่อผล
ของมะพร้าวทัง้ หมดจนกวา่ จะไม่พบอาการลูกลาย

1.6) สัตวฟ์ ันแทะศัตรูมะพร้าว
สัตว์แทะศัตรูมะพร้าวที่สำคัญ ได้แก่ หนู และกระรอก (rats and squirrels)

พบทั่วทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่สวนที่มีสภาพรก ติดกับป่า ภูเขา จะถูกทำลายมาก ยิ่งถ้า
เปน็ ชว่ งฤดรู อ้ นอากาศแห้งแลง้ ผลมะพรา้ วจะถกู กัดกนิ เพ่ิมขึ้น เนอื่ งจากช่วงฤดูร้อนมีผลไม้อืน่ ๆ น้อย ป้องกนั
โดยกำจัดแหล่งอาศัยทงั้ บริเวณโคนต้นและกำจัดวัชพชื กองทางมะพร้าว เพอ่ื ไม่ให้เป็นแหล่งที่หลบซ่อนของหนู
และบนยอดมะพร้าวจะต้องไม่รกเป็นที่อาศัยทำรังของหนู ตัดต้นไม้บริเวณรอบ ๆ แปลง โดยเฉพาะด้านที่
ตดิ กบั ตน้ ไม้ปา่ เพ่ือไมใ่ หห้ นูจากป่าเข้ามาอาศัยในสวน และใชแ้ ผน่ สงั กะสแี ผ่นเรียบกว้าง 30 – 35 เซนติเมตร
ตดิ ล้อมรอบลำต้น สูงจากพื้นดิน 1 เมตร จะช่วยไมใ่ หห้ นปู ีนต้นไปทำลายผลผลิตได้

สำหรับพื้นที่ที่แนะนำให้ปลูกมะพร้าวในภาคตะวันออก ควรปลูกมะพร้าวน้ำหอมเสริม
ในพื้นที่หัวไร่ปลายนาเพื่อให้เปน็ รายได้เสริมนอกเหนือจากรายได้จากข้าวในพ้ืนทีป่ ลูกขา้ วทีไ่ ม่เหมาะสม หรือ
ปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวเป็นปลูกมะพร้าวจะทำให้มีผลตอบแทนสุทธิที่มากกว่าด้วย ในขณะที่มะพร้าว
น้ำหอมยังไม่ให้ผลผลิต (ปีที่ 1-3 ) ควรปลูกแซมพืชในพื้นที่ระหว่างแถวมะพร้าวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
และเกษตรกร สามารถสร้างรายได้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนต่อไป เช่น กล้วยน้ำว้า พืชตระกูลถั่ว แตงร้าน เผือก
และแตงโม เปน็ ตน้

6.2) ขอ้ มลู ประกอบการตดั สนิ ใจดา้ นการตลาด
สำหรับด้านตลาด พบว่า มะพร้าวน้ำหอมยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะตลาดส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกไปจำหน่ายที่ประเทศจีน ผ่านล้งที่เข้ามารับซื้อผลผลิตจาก
เกษตรในพื้นที่โดยตรง และการจำหน่ายในห้างสรรพสนิ ค้าขนาดใหญ่ในประเทศ แต่ยังคงมีความเสี่ยงในด้าน
การพึ่งพาตลาดต่างประเทศค่อนข้างมาก หากจีนเกิดปัญหาระบาดของโรคโควิด-19 จนกระทั่งปิดประเทศ
ก็จะส่งผลต่อการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมของไทยได้ สำหรับคู่แข่งในตลาดส่งออกมะพร้าวน้ำหอมไทย พบว่า
มีคู่แข่งหลัก คือ ประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และอินเดีย แต่มะพร้าวน้ำหอมของไทย มีเอกลักษณ์เด่น
ทส่ี ามารถแขง่ ขนั กับประเทศอ่นื ๆ ได้ คอื น้ำมะพร้าวมคี วามหอมหวาน แต่ไม่ควรประมาทกับคู่แข่งหลักอย่าง
ประเทศเวียดนาม เพราะได้พัฒนาสายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมให้มีความหอมหวานเช่นเดียวกับประเทศไทยดว้ ย
ทั้งนี้ ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมมักขาดแคลนในช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคมของทุกปี เนื่องจากผสมไม่ติดดอก
ตัวเมียร่วงในช่วง 6 เดือนก่อนหน้านั้นประมาณ 5 จั่นที่ผลผลิตไม่ติดหรือติดน้อยมาก จึงไม่พัฒนาไปเป็นผล
ส่งผลให้ราคามะพร้าวอ่อนในช่วงนั้นสูงกว่าปกติ เนื่องจากผลผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
ส่วนในช่วงฤดูฝน ผลผลิตจะออกสู่ตลาดมาก ส่งผลให้ราคามะพร้าวตกต่ำลง ดังนั้นเกษตรกรควรสร้างความ
แตกต่างหรือการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามะพร้าวน้ำหอม ซึ่งเป็นผลโดยตรงกับรายได้ที่
เกษตรกรจะได้รับ

153

4.3.5 มะม่วงนำ้ ดอกไม้สนิ ค้าเกษตรทางเลอื กของภาคตะวนั ออก
สินค้าคุณภาพดี มศี กั ยภาพทางการค้า มีโอกาสเตบิ โตบนเวทตี ลาดโลก

1) การวเิ คราะหข์ อ้ มูลดา้ นการผลิต
ตามนโยบาย กษ. เร่งให้มีการปรับเปลี่ยนการปลูกข้าว มันสำปะหลังในพื้นที่ไม่เหมาะสมหรือ
ให้ผลตอบแทนต่ำมาปรับเปลี่ยนผสมผสานกับสินค้าทางเลือกอื่น โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รับ
นโยบายและทำการวิเคราะห์ข้อมูลพืชของภาคตะวันออกแล้ววิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนเพื่อให้หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องสนับสนุนเกษตรกรปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว มันสำปะหลังปรับเปลี่ยน
มาเป็นกิจกรรมอื่นเป็นพืชทางเลือกหรือพืชเสริมรายได้ ซึ่งมะม่วงน้ำดอกไม้เป็นสินค้าทางเลือกชนิดหนึ่ง
ของภาคตะวันออกเพราะด้วยจุดแข็งของมะม่วงน้ำดอกไม้ คือปลูกได้ทุกภาคและปลูกได้ในดินทั่วไป
แต่ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตมะม่วงที่ได้รับจะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่ปลูก ดังนั้น การปลูกมะม่วง
เพื่อการค้าจึงควรศึกษาถึงปัจจัยความเหมาะสมต่าง ๆ ตั้งแต่การผลิตจนกระทั่งการตลาด เพื่อให้ได้พื้นท่ี
ที่เหมาะสมสําหรับการปลูกมะม่วง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนสามารถเพิ่มผลผลิตมะม่วงที่มี
คุณภาพและได้มาตรฐานให้ออกสู่ตลาดเป็นที่ยอมรบั ของผู้บริโภค พันธ์ทุ ี่มีศักยภาพนิยมปลูกเชิงการค้า ได้แก่
มะม่วงพันธ์ุนํ้าดอกไมส้ ที อง และมะม่วงพันธ์ุน้ําดอกไม้เบอร์ 4 และมะม่วงต้องการช่วงของความแห้งแล้งหรอื
ช่วงที่ปราศจากฝนสําหรับการพักตัว เพื่อสะสมอาหารก่อนที่จะออกดอก ค่าความต้องการใช้น้ำของมะม่วง
ภาคตะวนั ออกตลอดอายุ 2,772 - 4,435 ลบ.ม./ไร่ หรอื ต้องการใช้นำ้ 7.6 มม.ต่อตน้ ตอ่ วนั (ที่มา: สำนักอุทก
วทิ ยาและบริหารน้ำ กรมชลประทาน, 2556)
หากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตสินค้าสำคัญข้าว และมนั สำปะหลัง กับมะม่วงน้ำดอกไม้สินค้า
ทางเลือก ปี 2563 พบว่า ต้นทุนการผลิตข้าวนาปี ระดับภาค มีต้นทุนการผลิตต่อไร่ 4,704.60 บาท ผลผลิต
ต่อไร่ 592.33 กิโลกรัม ราคาที่ได้รับ ณ ไร่นา 9.03 บาทต่อกิโลกรัม ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 5,348.15 บาท
เมอื่ หกั ต้นทุนการผลิตมผี ลตอบแทนสุทธิต่อไร่ 643.55 บาท
ต้นทุนการผลิตข้าวนาปรัง ระดับภาค มีต้นทุนการผลิตต่อไร่ 5,150.53 บาท ผลผลิตต่อไร่
616.00 กิโลกรัม ราคาที่ได้รับ ณ ไร่นา 9.48 บาทต่อกิโลกรัม ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 5,837.83 บาท
เม่ือหกั ตน้ ทนุ การผลติ มผี ลตอบแทนสุทธติ ่อไร่ 687.30 บาท
และต้นทุนการผลิตมันสำปะหลัง ระดับภาค มีต้นทุนการผลิตต่อไร่ 6,624.48 บาท ผลผลิต
ต่อไร่ 3,497.00 กโิ ลกรัม ราคาท่ไี ดร้ บั ณ ไรน่ า 1.87 บาทต่อกิโลกรมั ใหผ้ ลตอบแทนต่อไร่เทา่ กับ 6,539.39 บาท
เมื่อหักต้นทุนการผลิตมีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ 85.09 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทั้งข้าว และมันสำปะหลัง
มผี ลตอบแทนสุทธิตอ่ ไร่ ไมเ่ กนิ 700 บาท
ในส่วนของต้นทุนการผลิตสินค้าทางเลือกมะม่วงน้ำดอกไม้ของจังหวัดเป้าหมายใน
ภาคตะวันออกปี 2563 ได้แก่ จงั หวัดสระแกว้ ฉะเชิงเทรา ปราจนี บุรี และสมุทรปราการ ดังนี้
จังหวัดสระแก้ว มีต้นทุนรวมต่อไร่เท่ากับ 14,296.04 บาท ผลผลิตต่อไร่ 1,037.45 กิโลกรัม
ราคาท่ีได้รบั ณ ไร่นา 22.51 บาทต่อกโิ ลกรัม ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 23,352.97 บาท เมื่อหักต้นทุนการ
ผลติ มีผลตอบแทนสทุ ธติ ่อไร่ 9,056.93 บาท มีอตั ราผลตอบแทนสทุ ธิตอ่ การลงทุน 0.63

154

จังหวัดฉะเชิงเทรา มีต้นทุนรวมต่อไร่เทา่ กับ 11,431.68 บาท ผลผลิตต่อไร่ 602.82 กิโลกรัม
ราคาทีไ่ ด้รบั ณ ไร่นา 30.12 บาทตอ่ กิโลกรมั ใหผ้ ลตอบแทนต่อไร่เท่ากบั 18,156.94 บาท เมื่อหักต้นทุนการ
ผลิตมผี ลตอบแทนสทุ ธติ อ่ ไร่ 6,725.26 บาท มอี ตั ราผลตอบแทนสทุ ธิตอ่ การลงทุน 0.59

จงั หวัดปราจีนบรุ ี มตี น้ ทุนรวมตอ่ ไร่เท่ากบั 14,264.14 บาท ผลผลติ ต่อไร่ 1,124.62 กโิ ลกรัม
ราคาที่ไดร้ ับ ณ ไร่นา 29.21 บาทต่อกโิ ลกรัม ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากบั 18,156.94 บาท เม่ือหักต้นทุนการ
ผลิตมีผลตอบแทนสุทธิตอ่ ไร่ 18,586.01 บาท มอี ตั ราผลตอบแทนสุทธิต่อการลงทนุ 1.30

จังหวัดสมุทรปราการ มีต้นทุนรวมต่อไร่เท่ากับ 6,198.26 บาท ผลผลิตต่อไร่ 1,115.38
กิโลกรัม ราคาที่ได้รับ ณ ไร่นา 23.83 บาทต่อกิโลกรัม ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 26,579.51 บาท เมื่อหัก
ต้นทุนการผลิตมีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ 20,381.25 บาท มีอัตราผลตอบแทนสุทธิต่อการลงทุน 3.29 ถือว่า
ยังมกี ำไรตอ่ การลงทุนเพราะอายุขยั ของมะมว่ งประมาณ 30 ปี

หากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตสินค้าสำคัญกับมะม่วงน้ำดอกไม้สินค้าทางเลือก ปี 2563
พบว่า ต้นทุนการผลิตมะม่วงลงทุนสูงกว่าการผลิตข้าว และมันสำปะหลัง แต่หากพิจารณาผลตอบแทนต่อไร่
และผลตอบแทนสุทธิต่อไร่หรือกำไรต่อไร่ พบว่า มะม่วงมีกำไรมากกว่าข้าว และมันสำปะหลัง รวมทั้งคุ้มค่า
ต่อการลงทุน โดยพิจารณาจากอัตรากำไรต่อการลงทุนที่มากกว่า 8-18 เท่า เมื่อเทียบกับอัตรากำไรต่อ
การลงทนุ ของขา้ ว และมันสำปะหลัง (ตารางท่ี 4.15)

155

ตารางที่ 4.15 การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตสินค้าสำคัญกับมะม่วงน้ำดอกไม้สินค้า
ทางเลอื ก ปี 2563

รายการ ระดบั ภาค1) มะม่วงนำ้ ดอกไมภ้ าคตะวันออก2)

1. ต้นทนุ ผันแปร ข้าวนาปี ขา้ วนาปรัง มนั สระแก้ว ฉะเชงิ เทรา ปราจนี บุรี สมทุ รปราการ
3,757.18 สำปะหลัง 9,977.75 8,272.42 11,592.45 3,314.12

4,045.72 5,488.32

2. ตน้ ทนุ คงท่ี 947.42 1,104.81 1,136.16 4,318.29 3,159.26 2,671.69 2,884.14

3.ต้นทุนรวมตอ่ ไร่ 4,704.60 5,150.53 6,624.48 14,296.04 11,431.68 14,264.14 6,198.26

4.ตน้ ทนุ รวมตอ่ กก. 7.94 8.36 1.89 13.78 18.96 12.68 5.56

5. ผลผลิต (กก.) 592.33 616.00 3,497.00 1,037.45 602.82 1,124.62 1,115.38

6.ราคา(บาทต่อกก.) 9.03 9.48 1.87 22.51 30.12 29.21 23.83

7. ผลตอบแทน 5,348.15 5,837.83 6,539.39 23,352.97 18,156.94 32,850.15 26,579.51

ตอ่ ไร่

8. ผลตอบแทน 643.55 687.30 - 85.09 9,056.93 6,725.26 18,586.01 20,381.25

สทุ ธิต่อไร่

9. ผลตอบแทน 1.09 1.12 - 0.02 8.73 11.16 16.53 18.27

สทุ ธติ อ่ กก.

10. อัตรากำไร 0.14 0.13 - 0.01 0.63 0.59 1.30 3.29

ตอ่ การลงทนุ

ท่ีมา : 1) ศูนยส์ ารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตน้ ทุน ณ ไร่นา (ณ เดือนมถิ ุนายน 2564)

2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6

2) การวเิ คราะหข์ ้อมูลดา้ นการตลาด
การตลาดมะม่วง สามารถใช้ประโยชน์หลายรูปแบบและสร้างมูลค่าเพิ่มได้ รูปแบบส่งออก
มากที่สุดคือ มะม่วงสด (พันธุ์นํ้าดอกไม้สีทอง นํ้าดอกไม้เบอร์ 4 เขียวเสวย ฯลฯ) รองลงมาเป็น มะม่วงบรรจุ
ภาชนะอดั ลม (พันธม์ุ หาชนก โชคอนันต์) มะม่วงอบแห้ง (พนั ธุท์ ะวายเดือน 9 แก้วขม้ิน โชคอนันต์ ฯลฯ) และ
มะม่วงแช่แขง็ (พนั ธุน์ าํ้ ดอกไม้สที อง น้าํ ดอกไม้เบอร์ 4) ตามลําดบั
ตลาดส่งออกมะม่วงที่สําคัญ ปริมาณการส่งออก 117,472 ตัน มูลค่าส่งออก 4,385 ล้านบาท
มะม่วงสดคือ ประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เวียดนาม จีน //มะม่วงบรรจุภาชนะอัดลมคือ ประเทศญี่ปุ่น
สหรฐั อเมรกิ า ออสเตรเลยี //มะม่วงอบแห้งคือ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ เยอรมนี //มะม่วงแชแ่ ข็งคือ ประเทศ
ญ่ีปุ่น เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ แต่ปัจจุบันคู่แข่งสําคัญคือ ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน จะเห็นได้ว่า ตลาดมะม่วง
ส่งออกไปประเทศเกาหลีใต้ และญี่ปุ่นเป็นสำคัญ ซึ่งมีมาตรฐานการนำเข้าที่มีข้อกำหนดที่ละเอียดอ่อน
แต่สินค้ามะม่วงไทยสามารถดำเนนิ การส่งออกไปได้ จึงนบั วา่ มะม่วงไทยเปน็ สินคา้ คุณภาพมีมาตรฐานระดับสากล

156

ตลาดในประเทศ ผู้บริโภคในประเทศนิยมบริโภคมะม่วงผลสดมากกว่าร้อยละ 90 โดยเฉพาะ
ในรูปแบบผลสด นิยมมะม่วงน้ำปลาหวาน มะม่วงมัน และสุก ซึ่งเป็นผลไม้ที่คนไทยคุ้นชินและเป็นตลาด
รองรับผลผลิตมะมว่ ง

ราคามะม่วงผันแปรตามฤดูกาลผลิตออกสู่ตลาด พบว่า ผลผลิตเกรดส่งออกและเกรด GI
พรีเมียม ในช่วงฤดูกาลเดือนมีนาคม-พฤษภาคม สามารถจำหน่ายได้ในราคา 50 – 60 บาทต่อกิโลกรัม
แต่ในช่วงนอกฤดูกาลแบบหลังฤดูเดือนสิงหาคม-ธันวาคม ผลผลิตสามารถจำหน่ายได้สูงถึง 90 –100 บาท
ต่อกโิ ลกรัม ส่วนราคาเกรดในประเทศจะนอ้ ยกว่าราคาสง่ ออกประมาณ 30-50%

สัดส่วนการขายผลผลิตมะม่วงภาคตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นเกรดในประเทศร้อยละ 57
รองลงมาเป็นเกรดส่งออกร้อยละ 29 เกรด GI ร้อยละ 9 และเกรดแปรรูปร้อยละ 5 ซึ่งในปัจจุบันชาวสวน
มะม่วงมีการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างชาวสวนมะม่วงทั่วประเทศ สามารถวางแผนการผลิตให้มีผลผลิต
ป้อนเข้าสตู่ ลาดตลอดทงั้ ปี สามารถกระจายความเส่ียงในเร่อื งผลผลิตล้นตลาดราคาตกตำ่ ไดร้ ะดับหนึง่

เกรดGI เกรดส่งออก
เกรดแปรรูป 9% 29%

5%

เกรดในประเทศ
57%

ภาพท่ี 4.57 สัดสว่ นการขายผลผลิตมะม่วงภาคตะวันออก
ท่ีมา จากการสำรวจ

วิถกี ารตลาดมะมว่ งนำ้ ดอกไม้ของภาคตะวันออกปี 2563 ซ่ึงเป็นปีท่ีเกดิ ภาวะวกิ ฤตโรคระบาด
โควิด-19 ทำให้กระทบต่อวิถีการตลาดมะม่วงเปลี่ยนไป กล่าวคือ ผลผลิตมะม่วงผลสดของเกษตรกรร้อยละ
100 ส่วนใหญ่ส่งขายกระจายไปผ่านในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ร้อยละ 48 และส่งขายกระจาย
ไปผ่านผู้รวบรวม พ่อค้าแต่ละระดับร้อยละ 47 และกระจายขายปลีกเองทั้งออนไลน์และออฟไลน์ร้อยละ 5
ซ่ึงวิถีตลาดมะม่วงภาคตะวันออกมีการเปลี่ยนไปโดยเกษตรกรมีความเข้มแข็งเพ่ือฝ่าฟันวิกฤตและรวมกลุ่มกันผลิต
และขายมากข้นึ กอ่ นส่งพ่อคา้ ผรู้ วบรวม

157

โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ส่วนใหญ่กระจายผลผลิตมะม่วงต่อไปให้ผู้รวบรว ม พ่อค้า
ร้อยละ 17 และกระจายไปผู้ส่งออกร้อยละ 10 และขายปลีกทั้งออนไลน์และออฟไลน์ร้อยละ 10 ในสัดส่วน
ที่เท่ากันเนื่องด้วยสถานการณ์ปี 2563 เกิดภาวะโรคโควิด-19 ระบาดทำให้เส้นทางการขนส่งทางอากาศ
เพื่อส่งออกมะมว่ งหยุดชะงกั จึงทำให้เกิดปรบั ตวั เป็นการขายปลีกเองมากขน้ึ และกลุม่ วสิ าหกิจชมุ ชน สหกรณ์
กระจายผลผลิตมะม่วงไปโรงงานแปรรูปภายในภาคตะวันออกร้อยละ 9 สุดท้ายกระจายไปห้างสรรพสินค้า
ร้อยละ 2 ซ่งึ ถอื ว่าลดลงอยา่ งมากเพราะหา้ งสรรพสนิ คา้ สว่ นใหญ่อยู่ในกรงุ เทพมหานคร ซึ่งเป็นจดุ แพร่ระบาด
และถกู สัง่ ปดิ หรือจำกัดเวลาการเปดิ ทำให้สง่ ผลกระทบต่อตลาดมะม่วง

ดา้ นผรู้ วบรวม พ่อคา้ แต่ละระดบั กระจายผลผลติ มะมว่ งส่วนใหญไ่ ปถงึ ผ้บู รโิ ภคตามตลาดแต่ละ
ระดับทั้งขายส่งและขายปลีก ร้อยละ 47 รองลงมากระจายไปผู้ส่งออกร้อยละ 12 เพื่อการส่งออกในประเทศ
เพ่อื นบ้านเป็นสว่ นใหญ่ จากนั้นกระจายไปโรงงานแปรรูปรอ้ ยละ 5

ดังนั้น ตลาดปลายทางที่รับซื้อผลผลิตเป็นผู้ส่งออกร้อยละ 22 โรงงานแปรรูปร้อยละ 14 และ
ห้างสรรพสนิ คา้ ร้อยละ 2 รวมผลผลิตกระจายไปผ้บู รโิ ภครอ้ ยละ 100 (ภาพที่ 4.58)

ทั้งนี้ หากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ลดลงคาดว่าการตลาดหลังโควิด-19 อาจมี
การปรับตัวมากขึ้น และภาคเกษตรกรต้องปรับรูปแบบการพึ่งพาตลาดภายในประเทศแบบหลายช่องทาง
โดยเฉพาะตลาดในประเทศทมี่ ีกำลังซ้ือ และสนใจสนิ ค้ามีมาตรฐาน เรอ่ื งราวมีอตั ลักษณ์เฉพาะถิน่

ภาพที่ 4.58 วิถกี ารตลาดมะม่วงนำ้ ดอกไมข้ องภาคตะวันออก ปี 2563
ทมี่ า จากการสำรวจ

158

3) การวเิ คราะห์ดา้ นเศรษฐกิจของมะม่วงนำ้ ดอกไมเ้ ชงิ ลกึ ของภาคตะวันออก
ประเทศไทยมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ 51,173 ครัวเรือน พื้นท่ี
เพาะปลูก 796,914 ไร่ พนื้ ท่ีเก็บเกีย่ ว 776,686 ไร่ ภาคตะวันออก 6,869 ครัวเรอื น พน้ื ที่เพาะปลูก 70,763 ไร่
หรือ 9% ของประเทศ พื้นที่เก็บเกี่ยว 69,280 ไร่ โดยปลูกมากที่สุดจังหวัดฉะเชิงเทรา (18,816 ไร่)
สมุทรปราการ (18,156 ไร)่ สระแก้ว (17,474 ไร)่ (ทมี่ าระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง, กรมส่งเสริม
การเกษตร, 2563) ผลผลติ ประมาณ 70,000 ตนั ทั้งนี้ ปี 2563 ภาคตะวนั ออกยกระดบั เป็นแปลงใหญ่มะม่วง
5 แปลง ได้แก่
1) แปลงใหญม่ ะม่วง ตำบลบางคลา้ อำเภอบางคล้า จังหวดั ฉะเชิงเทรา
2) แปลงใหญม่ ะมว่ งนำ้ ดอกไม้ หมู่ 3 ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จังหวดั สมุทรปราการ
3) แปลงใหญม่ ะมว่ งนำ้ ดอกไม้ หมู่ 5,7,9,10 ต.บางโฉลง อ.บางพลี จงั หวดั สมุทรปราการ
4) แปลงใหญ่มะมว่ ง หมู่ 10 ตำบลหนองโพรง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบรุ ี
5) แปลงใหญ่มะม่วงบ้านคลองมิตรสัมพันธ์ หมู่ 15 ต.หนองหว้า อ. เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว
รวมทั้งมะม่วงน้ำดอกไม้ภาคตะวันออกได้ขึ้นทะเบียนสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (Geographical
Indication: GI) จำนวน 3 แหล่ง ได้แก่ GI มะม่วงน้ำดอกไม้คุ้งบางกระเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
GI มะมว่ งนำ้ ดอกไม้สระแก้ว GI มะมว่ งนำ้ ดอกไม้สีทองบางคล้า จ.ฉะเชงิ เทรา และกำลงั อยใู่ นกระบวนการขอ
GI มะม่วงน้ำดอกไม้สมุทรปราการ ซึ่งจากทะเบียนสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
มีสินค้ามะม่วงน้ำดอกไม้ที่ขึ้นทะเบียนเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเท่านั้น นับเป็นจุดแข็งที่เป็นอัตลักษณ์
ควรนำมายกระดบั แนวทางพัฒนา
สอดรับกับชาวสวนมะม่วงได้กล่าววา่ “มะม่วงเชิงการค้าปลูกน้อยขายยาก ปลูกมากขายง่าย”
เพราะการขายมะม่วงให้กับผู้ประกอบการแต่ละครั้งคุ้มค่าต่อการขนส่ง หากรวมกลุ่มในพื้นที่ใกล้เคียงกัน
จะชว่ ยสะดวกในการบริหารจดั การท้ังการวางแผนชว่ งเวลาเกบ็ เกยี่ วและการทำสัญญาตกลงซ้ือขายล่วงหน้าได้
ซง่ึ มะม่วงไทยมคี ุณภาพดี เปน็ ทย่ี อมรบั ในตลาดคู่คา้ ได้ใชส้ ิทธปิ ระโยชน์จาก FTA โดยเฉพาะ 12 ประเทศคู่ค้า
ทำให้ตัวเลขการส่งออกในปีที่ผ่านมาสามารถขยายตัวได้ดีในประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และกลุ่มประเทศ
อาเซยี น ซงึ่ กรมพฒั นาทด่ี นิ ได้ทำการวิเคราะห์เขตการใช้ท่ดี นิ พชื เศรษฐกิจมะม่วงตามความเหมาะสมของท่ีดิน
สำหรับพืชเศรษฐกิจมะม่วงภาคตะวันออก (ตามภาพท่ี 4.58) พบว่า
พืน้ ทช่ี น้ั ความเหมาะสมสงู (S1) จำนวน 582,161 ไร่
พืน้ ทช่ี ั้นความเหมาะสมปานกลาง (S2) จำนวน 3,639,483 ไร่
พ้ืนทชี่ น้ั ความเหมาะสมน้อย (S3) จำนวน 1,504,668 ไร่
พื้นท่ีชั้นความเหมาะสมรวม (S1+S2) จำนวน 4,221,644 ไร่ ซึ่งถือว่าภาคตะวันออก
มีความเหมาะสมต่อการปลูกมะม่วงค่อนข้างมาก ดังนั้น ควรยกระดับการพัฒนามะม่วงตามเขต
ความเหมาะสมสร้างอตั ลกั ษณ์มาตรฐานทางการค้าของภาคตะวันออก

159
โดยการกำหนดเขตการใช้ท่ีดนิ พชื เศรษฐกิจมะม่วง พิจารณาความสอดคล้องกบั
1) ศกั ยภาพของทด่ี นิ ทรพั ยากรธรรมชาติ สภาพเศรษฐกิจและสงั คม
2) นโยบายสำคัญของรัฐบาล กระทรวง แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ.2565 – 2570
แผนพัฒนาระดับพื้นที่ระดับภาค/กลุ่มจังหวัด/จังหวัด และแนวทางการพัฒนาอาชีพการทำสวนมะม่วง
ของสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
ท้งั นี้ สอดรบั กับการศกึ ษาการใหผ้ ลตอบแทนและระยะเวลาคืนทุนของการปลูกมะมว่ งในพืน้ ทต่ี ามชั้น
ความเหมาะสมพบว่า การปลูกมะม่วงในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1) ให้ผลตอบแทนภายใน
ระยะเวลา 3 ปี 3 เดือน 25 วัน การปลูกมะม่วงในพืน้ ทที่ ี่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) ใหผ้ ลตอบแทน
ภายในระยะเวลา 4 ปี 11 เดือน 12 วัน และการปลูกมะม่วงในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3)
ใหผ้ ลตอบแทนภายในระยะเวลา 5 ปี 11เดอื น 12 วัน (ท่ีมา: เขตการใชท้ ด่ี ินพืชเศรษฐกิจมะม่วง กองนโยบาย
และแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน, 2562) จะเห็นได้ว่า การเลือกพื้นที่ในการปลูกมะม่วงตามระดับ
ความเหมาะสมมผี ลตอ่ ระยะเวลาคืนทนุ ไดเ้ รว็ ตามความเหมาะสมของพน้ื ท่ี

ภาพที่ 4.59 แผนที่ความเหมาะสมของท่ีดินสำหรบั พืชเศรษฐกจิ มะม่วง ภาคตะวนั ออก
ทม่ี า: เขตการใช้ทีด่ ินพชื เศรษฐกจิ มะมว่ ง กองนโยบายและแผนการใช้ท่ดี นิ กรมพฒั นาท่ีดนิ , 2562

160

ด้านแหล่งรับซื้อ ภาคตะวันออกมีแหล่งรับซื้อมะม่วงกระจายอยู่ในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิต
สำคัญของภาคตะวนั ออก มแี หล่งรบั ซ้อื ผลผลิตมีการกระจายตวั ในรัศมี 100 กิโลเมตรจากแหล่งผลิต ซ่ึงถือว่า
เหมาะสมและสอดคลอ้ งกบั แหล่งผลติ จากสุม่ การสำรวจแหล่งรับซ้อื ผลผลิตในปี 2563 ซึ่งได้รับผลกระทบจาก
โรคระบาดโควดิ -19 ทท่ี ำให้ประมาณการกำลังรับซ้ือลดลดงกว่าร้อยละ 50 เม่อื เทียบกับสถานการณ์การตลาด
ปกติ พบว่า จังหวัดสระแก้วมีทั้งผู้ประกอบการและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้
ทกุ อำเภอในจังหวัดสระแก้วกระจายในแหล่งผลิตประมาณความต้องการรับซ้ือหรือกำลังการผลิต 17,300 ตันต่อปี
ซึ่งถือว่าจังหวัดสระแก้วเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของภาคตะวันออก มีครบทั้งรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่มะม่วงที่มี
มาตรฐานการผลิต GAP และ GI มีตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้ทดลองเปิดตลาดมะม่วงที่จีน
ซ่ึงตอ้ งการมะม่วงแก่กว่าเกาหลี ญ่ปี ุ่น ซึง่ เปน็ การกระจายความเสี่ยงในหลายตลาดส่งออก

รองลงมาเป็นจังหวัดฉะเชิงเทราที่มีผู้ประกอบการ สหกรณ์ชมรมชาวสวนมะม่วงจังหวัด
ฉะเชิงเทรา จำกัด และวิสาหกจิ ผลิตมะมว่ งบางคล้า ในการเปน็ กลไกผลติ และรวบรวมรับซื้อมะม่วงท้ังในจังหวัด
และพื้นที่ใกล้เคียงเนือ่ งจากเป็นจังหวัดที่อยู่ศูนย์กลางของภาคตะวันออกและเป็นแหลง่ ผลิตมะม่วงดั่งเดิมทีม่ ี
ชื่อเสียงของภาคตะวันออกมีครบทั้งรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่มะม่วงที่มีมาตรฐานการผลิต GAP และ GI ประมาณ
ความต้องการรับซื้อหรือกำลังการผลิต 6,800 ตันต่อปี ต่อมาจังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่ผลิตมะม่วง
น้ำดอกไม้ที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งที่ไม่มีผู้ประกอบตั้งจุดรวบรวมเพราะจำนวนประชากร
มีมากและอยู่ในเขตปริมณฑล เน้นการขายในรูปแบบปลีกและการสั่งจองทั้งตลาดออนไลน์และออฟไลน์
ผ่านแปลงใหญ่มะม่วง 2 แปลงที่อำเภอพระประแดง และอำเภอบางพลี รวมทั้งสั่งตรงจากสวนที่มีชื่อเสียง
โดยตรง เพราะมะม่วงสมุทรปราการมีรสชาดหวานหอม เนื้อละเอียดเปลือกบาง หรือมะม่วง 3 น้ำ (น้ำจืด
น้ำเค็ม น้ำกร่อย) จนได้รับเป็นสินค้าอัตลักษณ์บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI และมีกำลังการขอขึ้นทะเบียน GI
ใหค้ รอบคลุมอัตลักษณ์น้ีทั้งจังหวัดสมุทรปราการ ประมาณความต้องการรับซื้อหรือกำลงั การผลิต 10,400 ตันต่อปี
ส่วนจังหวัดปราจีนบุรีเป็นจังหวัดที่มีการปลูกมะม่วงแบบแปลงใหญ่บ้านมาบเหียง ตำบลหนองโพรง อำเภอ
ศรีมหาโพธิ ที่มีพัฒนาการที่เข้มแข็งขึ้นในการพัฒนาแปลงอย่างต่อเนื่องและได้รับรางวัลดีเด่นหลายรายการ
มีผู้ประกอบการรวบรวมทั้งตลาดในประเทศและส่งออกต่างประเทศมารวบรวมถึงกลุ่มแปลงใหญ่ทำให้
เกษตรกรไมต่ อ้ งขนส่งไปขายไกล ประมาณความต้องการรับซ้ือหรือกำลงั การผลิต 1,000 ตันต่อปี

จะเห็นได้ว่า แหล่งรับซื้อมะม่วงในจังหวัดเป้าหมายมีเพียงพอในแหล่งผลิตสำคัญสามารถช่วย
กระจายผลผลิตมะม่วงไปตามวิถีตลาดข้างต้น แต่ในส่วนพื้นที่เป้าหมายที่เป็นแหล่งผลิตที่อยู่ในเขตความ
เหมาะสมสูง (S1) อีกแห่งที่ยังไม่มีผู้ประกอบรวบรวมในพื้นที่คือ อำเภอสอยดาว และอำเภอโป่งน้ำร้อน
โดยต้องพึ่งพาการขายผ่านเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสระแก้ว จึงควรส่งเสริมรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่
เพ่ือเชอ่ื มโยงตลาดใหม้ กี ารแข่งขนั ทางการตลาดมากขน้ึ

161

ตารางท่ี 4.16 แหลง่ รับซอื้ ผลผลิตของพ้นื ทน่ี ำรอ่ งเปา้ หมายในภาคตะวันออก

ลำดบั แปลงใหญ/่ ผู้ประกอบการ ที่อยู่ ประมาณการปรมิ าณ
ความต้องการรบั ซื้อหรือกำลงั
1 แปลงใหญม่ ะม่วงบา้ นมาบเหียง ม.10 ต.หนองโพรง อ.ศรมี หาโพธิ
การผลิต (ตัน/ปี)
จ.ปราจนี บรุ ี 1,000

X 779963 Y 1525201 300

2 รา้ นมะม่วงเจ้เอ้ง บางคล้า 95 ถ.บางคลา้ แปลงยาว อ.บางคลา้ 3,000

จ.ฉะเชงิ เทรา 300
3,200
X 738807 Y 1517542
17,000
3 กลุ่มวสิ าหกิจชุมชน 56 ม.3 ต.สาวชะโงก อ.บางคลา้
300
ผลิตมะมว่ ง บางคลา้ จ.ฉะเชิงเทรา 10,000

X 733292 Y 1513685 400

4 อำไพ 250 เจ๊หมวยบางคล้า ต.บางคลา้ อ.บางคลา้ จ.ฉะเชิงเทรา 0.5

X 738762 Y 1517681

5 สหกรณช์ มรมชาวสวนมะมว่ ง 97/5 ม.1 ต.เขาหนิ ซอ้ น อ.พนมสารคาม

จงั หวดั ฉะเชิงเทรา จำกดั จ.ฉะเชงิ เทรา

X 767647 Y 1518777

6 เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ทที่ ำการ วสช. เลขที่ 270 ม.1 ต.วงั ใหม่

กลุ่มผูป้ ลกู มะม่วงน้ำดอกไม้ อ.วังสมบรู ณ์ จ.สระแกว้

ทกุ อำเภอในจังหวัดสระแกว้ X 196637 Y 1484566

7 เจห้ นอ่ ย เขาฉกรรจ์ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแกว้

รับซอื้ มะมว่ งทกุ ชนิด X 184261 Y 1515100

8 คณุ ธญั ลกั ษณ์ บุตตะโส 55/3 ม.5 ถ.เฉลิมพระเกียรตฯิ

กลุม่ แปลงใหญ่มะมว่ ง ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

น้ำดอกไม้ X 690432 Y 1509404

9 พันโทชำนาญ อ่อนแย้ม 13/8 ม.3 ต.ทรงคนอง

ศูนย์การเรียนรูก้ ารเพมิ่ อ.พระสมุทรเจดยี ์ จ.สมุทรปราการ

ประสทิ ธภิ าพการผลติ มะมว่ ง X 668095 Y 1511116

นำ้ ดอกไมค้ ณุ ภาพดี

10 คณุ สมชาย ออ่ นแย้ม 13/1 ม.3 ต.ทรงคนอง

แปลงใหญ่มะม่วงนำ้ ดอกไม้ อ.พระสมทุ รเจดยี ์ จ.สมุทรปราการ

X 668096 Y 1511121

ที่มา จากการสำรวจ

162
4) การประมาณการอุปสงค์อปุ ทานมะม่วงนำ้ ดอกไมใ้ นพ้นื ทเ่ี ปา้ หมายของภาคตะวันออก
การประมาณการอุปสงค์-อุปทาน มะม่วงน้ำดอกไม้ของภาคตะวันออกมีพื้นที่เป้าหมาย
ที่เหมาะสมควรสง่ เสรมิ สินคา้ ทางเลอื กมะม่วง ไดแ้ ก่ จงั หวดั สระแก้ว ฉะเชงิ เทรา ปราจีนบุรี สมทุ รปราการ
และอำเภอสอยดาว และอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ซึ่งสามารถประมาณการอุปสงค์และอุปทาน
ได้ดังน้ี อุปทาน (Supply Side) ประมาณการผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ภาคตะวันออกอยู่ที่ 70,000 ตัน อุปสงค์
(Demand Side) ประมาณการรบั ซ้ือผลผลติ มะม่วงน้ำดอกไมภ้ าคตะวนั ออกอยู่ที่ 70,000 ตนั ซ่ึงมีความสมดุล
สอดรับกับตลาด อย่างไรก็ตาม ด้วยภาวะวิกฤตโควิด-19 มะม่วงส่งออกได้รับผลกระทบในการขนส่ง ดังน้ัน
การพึ่งพาตลาดในประเทศเป็นสิ่งที่มะม่วงไทยควรปรับมายกระดับและลดต้นทนุ ค่าขนส่งและเปน็ ผลไม้ทีค่ นไทย
นิยมคุ้นเคย ควรยกระดับมาตรฐานคุณภาพจากเกรดในประเทศเป็นเกรด GI เพิ่มสัดส่วนสินค้าอัตลักษณ์อีก
ร้อยละ 10 หรือประมาณ 7,000 ตัน หรือ 7,000 ไร่ ซึ่งมีโอกาสทางการตลาดสะท้อนอัตลักษณ์สินค้าบ่งช้ี
ทางภูมิศาสตร์ไทย มะม่วงน้ำดอกไม้ของฝากพรีเมียมจากภาคตะวันออกที่มีเพียงภาคเดียวของไทย โดยใช้
จุดแข็งของมาตรฐานคุณภาพ (Standard) และสะท้อนจุดเด่นด้วยเรื่องราว (story) เพื่อให้เกษตรกร
ชาวสวนมะม่วงได้รับราคาที่สูงขึ้น และผ้บู ริโภคในประเทศได้บริโภคสินค้าท่ีมีมาตรฐานและภาคภูมิใจในการ
สนับสนนุ สนิ คา้ ทมี่ ลี ักษณะเฉพาะมีอตั ลักษณ์ของผลไมไ้ ทย

ภาพท่ี 4.60 การประมาณการอปุ สงค์อุปทานและพ้นื ท่เี ปา้ หมายการพฒั นามะมว่ งน้ำดอกไม้ภาคตะวนั ออก
ทม่ี า จากการวเิ คราะห์

163

5) มาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน
และเกษตรกร

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในหลายมิติสามารถสรุป แนวทางการบริหารจัดการสินค้า
สำคัญและมะม่วงสินค้าทางเลือกเชิงลึกตาม Agri-map ภาคตะวันออก เพื่อให้สอดรับการขับเคลื่อน
Roadmap แผนปฏบิ ัตกิ ารพฒั นาผลไมไ้ ทยปี 2565-2570 ใน 5 ปีขา้ งหนา้ และตามนโยบายตลาดนำการผลิต
ควรมีเป้าหมาย ยกระดับการพัฒนามะม่วงภาคตะวันออกตามเขตความเหมาะสมสร้างอัตลักษณ์สู่มาตรฐาน
ทางการคา้ ในเวทีนานาชาติ ดงั น้ี
มาตรการปลายทางตลาดนำการผลติ

- พฒั นาขีดความสามารถในการแขง่ ขันดา้ นการตลาดไมผ้ ลดว้ ยเทคโนโลยีและนวตั กรรม
- เพม่ิ เจรจาสทิ ธปิ ระโยชน์ทางการค้าลดภาษนี ำเข้ามะมว่ งไทย
- เร่งประชาสัมพันธ์ Story อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ GI เสมือนมาตรฐานเครื่องหมายทาง
การค้า
- จัดทำแผนพัฒนาสินค้ามะม่วง BCG Value Chain เป็นสินค้าเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด/
กล่มุ จังหวดั (กษ./พณ./อก./ทท.)
- Business Planning and Matching ส่งเสริมความร่วมมือวางแผนการตลาดและทำตลาด
ลว่ งหนา้ Pre Order
- สนบั สนุนผู้ส่งออกและกลุม่ เกษตรกรเข้าสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายมะม่วงไทยผ่านแพลตฟอร์ม
e-Commerce เชน่ taobao.com และ shopee.com/ แพลตฟอรม์ การไลฟส์ ด (Live Streaming)
มาตรการกลางทางประสานการผลติ สูก่ ารตลาด
- ส่งเสริมเครอื ข่ายการเกษตรแบบแปลงใหญ่มะม่วงสมัยใหม่
- พัฒนาระบบโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็น (Cold Chain) โดยเฉพาะห้องเย็นชะลอความสุก
ช่วยบริหารจัดการลดความเสีย่ งช่วงกระจุกตัวและรกั ษาความสดเพิ่มคุณภาพผลผลิต และห้องบ่มมะม่วงที่ใช้
เทคโนโลยีการบม่ รูปแบบใหมด่ ว้ ยความเย็นพรอ้ มปล่อยแกส๊ เอทลิ นี ช่วยให้มะม่วงสกุ สม่ำเสมอ
- พฒั นาแปรรูปมะมว่ งเปน็ อาหารอนาคต (Future Food)
- พัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ยืดอายุและเพื่อปรับตามรูปแบบการขนส่งทุกเส้นทาง
โดยเฉพาะทางรางทมี่ ีการพฒั นาเชอ่ื มโยงกบั ไทย-ลาว-เสน้ ทางสายไหมของจนี สตู่ ะวันออกกลางและยโุ รป
- เครือข่ายผู้ผลิตผู้ประกอบการส่งออกร่วมยกระดับสร้างมาตรฐานทางการค้าสินค้ามะม่วง
เพื่อการส่งออกที่มีอัตลักษณ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น GMP ฉลากสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย GI
ฉลากส่งิ แวดล้อม: ฉลากลดคาร์บอน ฉลาก water footprint
มาตรการต้นทางการผลติ รักษามาตรฐาน
- มาตรการส่งเสริมการผลิตตามเขตความเหมาะสม (Zoning) สอดคล้องตามฤดูกาลควบคู่
การอนุรักษ์ดินและน้ำในระดับพื้นที่โดยใชม้ าตรการจูงใจทางเศรษฐศาสตรแ์ ละไมใ่ ชท่ างเศรษฐศาสตร์

164

- ปรับเขตกรรมการสร้างสวนมะม่วงแบบเกื้อกูลเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนและ
เป็นมติ รกบั สง่ิ แวดลอ้ ม

- พัฒนาพันธุ์ เพิ่มความหลากหลายสายพันธุ์มะม่วงเพื่อบริหารความเสี่ยงตามความต้องการ
แต่ละตลาด

- การจัดการปญั หาด้วงเจาะเมล็ดมะม่วงตลอดวงจรชวี ิตดว้ ยเทคโนโลยกี ารเกษตรแมน่ ยำ
- สนับสนนุ ความรกู้ ารใช้สารเคมคี วบค่รู ักษาคณุ ภาพมาตรฐานสารตกคา้ งตง้ั แตต่ ้นทาง
- สง่ เสรมิ การเข้าสู่มาตรฐานการผลติ +ตรวจสอบยอ้ นกลบั (GAP/PGS)
- จดั ทําฐานขอ้ มลู Big Data มะมว่ งให้เชื่อมโยงกัน

6) ขอ้ มูลด้านโรคและศตั รพู ชื ประกอบการตดั สนิ ใจในการผลิตและการตลาด
จากข้อมูลการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจของสินค้าทางเลือกเชิงลึกสะท้อนให้เห็นถึงจุดแข็ง
จุดเด่น แต่ทั้งนี้การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าเกษตรทางเลือกต้องพิจารณาข้อมูลด้านโรคและศัตรูพืช หรือข้อควร
ระวงั ในการประกอบการตัดสินใจลงทนุ ท้ังดา้ นการผลิตและการตลาดให้สอดคล้องกบั สังคมวัฒนธรรม และวิถี
ชีวิตของเกษตรกรแต่ละบุคคลด้วย ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงนำข้อมูลด้านวิชาการเกษตรมาเป็นข้อมูล
ประกอบการตัดสนิ ใจ (ชชู าติ วัฒนวรรณ และอรณุ ี วัฒนวรรณ, 2550) ดังนี้
6.1) โรคสำคญั ของมะม่วง
มะม่วงเปน็ พืชที่ปรับคัวเขา้ กับสภาพแวดล้อมได้ดี แตเ่ ม่ือจะผลิตเพ่ือการสง่ ออกแล้ว มีโรคพืช
หลายชนิดที่ทำความเสียหายให้ผลผลิต ทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามความต้องการของตลาด ราคาตกต่ำ และ
เป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อการผลิดมะม่วงเพื่อการส่งออก ในเนื้อหาจะนำเฉพาะโรคที่สำคัญ
ที่กระทบต่อการส่งมะม่วงไปต่างประเทศ ที่เกษตรกรจัดการตั้งแต่แปลงปลูกเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ
โดยเฉพาะโรคสำคญั ที่พบประจำ เช่น
- โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) หรือชื่ออื่นเรียกว่าโรคใบจุด ช่อดอกดำ ผลจุด
ผลเน่า สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colfetotrichum gioeosporioides Penz. มีลักษณะอาการท่ีใบเป็นจุดแผล
สีน้ำตาลรูปร่างไม่แนน่ อนขยายตัวอย่างรวดเร็ว จำนวนแผลอาจจะมีมากจนเป็นแผลติดต่อกัน ทำให้ใบแห้งเหี่ยว
หรือบิดเบี้ยวเสียรูปทรง เชื้อโรคเข้าทำลายที่ยอดอ่อนก็จะทำให้ยอดอ่อนเห่ียวดำ และอาจตายทั้งต้นได้
สำหรับอาการที่ช่อดอกเป็นจุดหรือขีดสีน้ำตาลแดงเล็ก ๆ อยู่ประปรายบนก้านช่อดอกและก้านดอก จุดแผล
ขนาดใหญ่อาจจะทำให้ช่อดอกเหี่ยวแห้ง ชอ่ ดอกไหม้ดำ และดอกหลุดรว่ งก่อนที่จะติดผล ผลอ่อนเป็นจุดแผล
สีน้ำตาลดำแห้งแข็งติดกับก้านดอก หรืออาจจะหลุดร่วงไป ลักษณะอาการบนผลจะเป็นจุดสีดำ รูปร่างกลม
ขนาดไม่แน่นอน แผลขยายลุกลามต่อกันทำให้ผลเน่าทั้งผล ตรงกลางแผลอาจพบเม็ดเล็ก ๆ สีดำเรียงเป็นวง
เป็นชั้น ๆ และมีน้ำเมือกสีส้ม กระจายอยู่บริเวณกลางแผล แผลอาจจะพบรอยแตกตรงกลางผล การแพร่
ระบาด เชือ้ ราสามารถแพร่ระบาดไดด้ ้วยลม ในสภาพความช้นื สูงเช้ือราจะสามารถเจริญเติบโตและเข้าทำลาย
ส่วนอ่อน ๆ ของพืช ทำให้เกิดความเสียหายได้อย่างรุนแรง แหล่งระบาดมักจะเป็นสวนมะม่วงที่มีการปลูก
ระยะชิด มีทรงพมุ่ แน่นทึบ มะมว่ งทมี่ อี ายุมาก มะมว่ งทปี่ ลกู ในสภาพยกรอ่ ง หรือสวนทม่ี สี ภาพความชนื้ สูง

165

วธิ ีการปอ้ งกนั กำจัด
1. ตัดแต่งกึ่งหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อควบคุมทรงพุ่มให้มีชนาดเหมาะสมกับระยะปลูก และ
เป็นการลดความชืน้ ในทรงพมุ่ ใหแ้ สงแดดสอ่ งถงึ และอากาศถ่ายเทได้สะดวก
2. เก็บทำลายกิง่ เปน็ โรค เศษใบเป็นโรคทีร่ ว่ งหลน่ ด้วยการเผาหรือฝัง
3. ทำจัดวัชพืชบริเวณโดนตัน โดยฉพาะในช่วงท่อนออกตอกและติดผล เพื่อลดความขึ้นใน
บริเวณทรงพมุ่
4. ควบคุมปริมาณธาตุอาหารบำรุงตันให้เหมาะสม ลดปริมาณไนโตรเจนในกรณีที่ใบและ
ยอดอ่อนแสดงความสมบรู ณ์เกนิ ไป ซ่ึงจะทำให้อ่อนแอตอ่ การเกิดโรค
5. ในช่วงการเจริญเติบโตของพืชที่อ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรค ได้แก่ ช่วงแตก
ใบออ่ น ช่วงออกดอก และช่วงคิดผล หม่นั ตรวจสอบการเกิดอาการโรคของพืชอยา่ งสม่ำเสมอ
6. การตัดสนิ ใจท่ีจะใช้วิธีการป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี ขน้ึ อยู่กับการเร่ิมพบการระบาดของโรค
และช่วงการเจริญเติบโตของมะม่วงในแหล่งปลูกที่พบการระบาดของโรคเป็นประจำ อาจจะจำเป็นต้องใช้
สารเคมพี น่ ป้องกนั ความเสยี หาย
- โรคขั้วผลเน่าหรืออาการผลเน่า มีอาการผลเน่าบริเวณขั้วผลนี้มักจะพบเกิดกับมะม่วง
หลังเก็บเกี่ยวเท่านั้น ลักษณะอาการเป็นจุดซ้ำสีดำจาง ๆ ส่วนใหญ่มักพบบริเวณขั้วผล จุดแผลตังกล่าว
จะขยายตวั ลกุ ลามอยา่ งรวดเรว็ จนเกิดอาการเนา่ ท้งั ผลได้ในเวลาไมก่ ่ีวัน แผลจะมีลกั ษณะเนา่ นิม่ โดยมีสาเหตุ
เกดิ จากเชอ้ื รา Botyodiplodia theobromaePat.
วิธีการป้องกันกำจัด ควรเก็บเกี่ยวมะม่วงด้วยความระมัดระวัง อย่าให้เกิดการกระทบ
กระแทก หรือตกหล่น และอย่าเก็บผลมะม่วงไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง เพราะจะทำให้โรคลุกลามไป ได้อย่าง
รวดเร็ว หลังหักก้านมะม่วง ควรวางคว่ำผลบนผ้ากระสอบที่สะอาด ไม่ควรวางกับดินหรือหญ้าบริเวณโคนตน้
อันจะทำให้เช้ือโรคที่อาจมีในดินเข้าทำลายผล ทำให้เกิดการเน่าเสียได้ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัด
โรคแอนแทรคโนสในชว่ งตดิ ผลมะม่วงอยา่ งสมำ่ เสมอจะชว่ ยลดการเกิดผลเน่าหลงั เกบ็ เกีย่ วได้
6.2) แมลงศตั รสู ำคญั ของมะม่วงและการป้องกนั กำจดั
แมลงหลายชนิดเป็นศัตรูที่สำคัญของการผลิตมะม่วงให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออกบางชนิด
ยังเป็นแมลงกักกันระหว่างประเทศ เช่น แมลงวันผลไม้ ซึ่งห้ามไม่ให้มีติดไปกับผลมะม่วงจึงต้องมีมาตรการ
ปอ้ งกนั กำจดั เช่น การอบไอน้ำ เป็นตน้ แมลงศัตรูสำคัญของมะมว่ ง เชน่
- เพลี้ยไฟพริก (Chilli thrips) เป็นแมลงศัตรูสำคัญทำลายส่วนต่าง ๆ ของมะม่วง ตั้งแต่
ตาใบ ยอดอ่อน ดอก ผลอ่อน ปัจจุบันพบว่ามีเพลี้ยไฟหลายชนิด เพลี้ยไฟที่พบตามดอกมะม่วง เป็นแมลง
ขนาดเล็ก มีลำตัวยาวประมาณ 1-2 มม. ตัวอ่อนมีสีเหลอื ง ตัวเต็มวัยสีนำ้ ตาลปนเหลือง ขอบปีกมีขนเป็นแผง
เพลี้ยไฟมักอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ชอบหากินบริเวณฐานของดอกและขั้วผลอ่อน มีการขยายพันธุ์ทั้งแบบมีการ
ผสมพนั ธแ์ุ ละแบบไม่ต้องมีการผสมพนั ธุ์ ตัวเมยี มีอายุประมาณ 15 วนั และเมือ่ ได้รบั การผสมพันธจ์ุ ะออกไข่ได้
ครั้งละประมาณ 40 ฟอง ส่วนตัวเมียไม่ได้รับการผสมจะออกไข่ได้ครั้งละประมาณ 30 ฟอง วงจรชีวิตจากไข่
ถึงตัวเต็มวัยประมาณ 15 วัน ระยะไข่ 4-7 วัน ตัวอ่อนวัยที่หนึ่ง 2 วัน วัยที่สอง 4 วัน วัยที่สามฟักตัว 3 วัน

166

จงึ เป็นตัวเต็มวัยสมบูรณ์ ส่วนการแพรก่ ระจายและฤดูกาลเพล้ียไฟระบาดเม่ืออากาศร้อนและแห้งแล้ง มีวงจร
ชีวิตสั้นมาก และจะระบาดรุนแรงโดยทำลายมะม่วงระยะใบอ่อน ช่ออ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ระหว่าง
เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ซึ่งระยะเวลาการระบาดของเพลี้ยไฟจะพบในช่วงเริ่มแทงช่อดอกไนระยะเดือยไก่
และปริมาณจะลดลงในระยะดอกตูม จากนนั้ จำนวนเพลี้ยไฟจะเพ่ิมขนึ้ อีกคร้ัง เม่ือดอกใกลบ้ านจนถึงดอกบาน
เต็มที่ จากนั้นจะเริ่มลดลงเมื่อเริ่มติดผล และจะพบน้อยมากเมื่อผลแก่ภายหลังฤดูกาลเก็บผลมะม่วง เมื่อมี
การแตกยอดอ่อน (ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน) ถ้าอากาศร้อนและแห้งแล้ง ตาและยอดอ่อนจะถูก
ทำลาย เกิดอาการใบไหม้ม้วนงอในมะม่วง ศัตรูธรรมชาติที่ช่วยทำลายเพลี้ยไฟ ได้แก่ ไรตัวห้ำ เพลี้ยไฟตัวห้ำ
และด้วงเต่าตัวห้ำ

วิธีการปอ้ งกนั กำจดั
1. ถ้าพบไม่มากให้ตัดส่วนที่แมลงระบาดไปเผาทิ้ง เพราะเพลี้ยไฟมักจะอยู่กันเป็นกลุ่ม
บริเวณสว่ นยอดออ่ นของพืช
2. การพ่นสารฆ่าแมลงควรพันในระยะติดดอกอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ ระยะเริ่มแทงช่อดอก
และระยะเร่ิมติดผลขนาดมะเขือพวง (ประมาณ 0.5-1 ชม.) ถา้ หากมีเพลย้ี ไฟระบาดรุนแรงก็จำเป็นต้องพ่นซ้ำ
ในระยะก่อนดอกบาน สารฆ่าแมลงที่แนะนำ คือ lambda cyhalothrin 2.5 % EC อัตรา 10 ซีซี ผสมน้ำ
20 ลิตร หรือ fenpropathrin 10% EC อัตรา 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ในขณะที่ช่อดอกบานควรหลีกเลี่ยง
การใช้สารดังกล่าว เนอ่ื งจากอาจเป็นอันตรายตอ่ แมลงผสมเกสรได้
3. ในระยะแตกใบอ่อน ถ้ามีการระบาดให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลงดังข้อ 2 ถ้าเพลี้ยไฟทำลาย
รุนแรงจนยอดออ่ นไม่แตกใบ ต้องตัดแตง่ กง่ิ ช่วยอกี ทางหนง่ึ
- แมลงวนั ผลไม้ มลี กั ษณะการทำลายพบกระจายอยู่ทั่วไปท้ังประเทศในเขตอบอุน่ เขตร้อน
และเขตหนาว โดยเหตุที่มีการแพร่กระจายมากมายทั่วโลก ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการค้าขายระหว่างประเทศ
เพราะแต่ละประเทศก็จะมีกฎหมายข้อกำหนดระเบียบในการนำเข้าพืชผัก ผลไม้ที่เป็นพืชอาศัยของแมลงวัน
ผลไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงชนิดนีแ้ พร่ระบาดไปทำความเสียหายในประเทศน้ัน ๆ ทำให้การค้าขายผลไม้สด
ระหว่างประเทศเปน็ ไปไดล้ ำบากขึ้น จึงจำเป็นตอ้ งมีการกำจัดหนอนดว้ ยวิธกี ารต่าง ๆ กอ่ นการส่งออกเป็นเหตุ
ให้ต้นทุนราคาสินค้าสูงขึ้นด้วยความเสียหายของแมลงวันผลไม้มักจะเกิดขึ้นเมื่อเพศเมียใช้อวัยวะ วางไข่
(ovipositor) แทงเข้าไปไนเนื้อผลไม้ ตวั หนอนที่ฟักจากไขจ่ ะอาศัยและชอนไซอยูภ่ ายใน ทำให้ผลเน่าเสียและ
ร่วงหล่นลงพื้น ตัวหนอนจะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดนิ แล้วจึงออกเป็นตัวเตม็ วัย แมลงวันผลไมว้ างไข่ในผลไม้
ที่ใกล้สุก และมีเปลือกบาง ในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยากอาจพบอาการใชบ้ ริเวณใตผ้ ิวเปลือกเมือ่ หนอนโต
ขึ้นเรื่อย ๆ จะทำไห้ผลเน่าและมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ ผลไม้ที่ถูกทำลายนี้
มักจะมีโรคและแมลงชนิดอื่น ๆ เข้าทำลายซ้ำ ดังนั้นความเสียหายที่เกิดกับผลผลิตโดยตรงนี้จึงมีมูลค่า
มหาศาล ก่อให้เกิดปัญหาต่อเศรษฐกิจในระดับชาติเป็นอันมาก ด้านการแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
แมลงวันผลไม้ระบาดในทวีปอเมริกา ยุโรป เอเชีย หมู่เกาะแปซิฟิก ไต้หวัน ญี่ปุ่น ปาปัวนิวกินี ฮาวาย ฯลฯ
ในประเทศไทยพบการระบาดทั่วทุกภาค และสามารถอยู่ ได้แม้มีระดับความสูงถึง 2,760 เมตร
จากระดับน้ำทะเล และยังพบตลอดทั้งปี เนื่องจากมีพืชอาหารมากมาย แต่จะมีปริมาณแมลงวันผลไม้สูงสุด

167

ในชว่ งเดอื นทม่ี ีผลไมส้ ุกคือในช่วงเดือนมนี าคม-มิถนุ ายน อุณหภูมิทีเ่ หมาะสมอยใู่ นช่วง 25-28 องศาเซลเซียส
ความช้ืนสัมพทั ธ์ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ พชื อาหารมมี ากกว่า 150 ชนิดทีพ่ บมากในบา้ นเรา ได้แก่ มะมว่ ง
ฝรั่ง ชมพู่ พุทรา กระท้อน กล้วย มะละกอ น้อยหน่า ส้มชนิดต่าง ๆ เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ ขนุน ทับทิม ชมพู่
ลางสาด ลองกอง กาแฟ เป็นต้น ศัตรูธรรมชาติมีแตนเบียนหนอนแมลงวันผลไม้วางไข่ตามรอยแผลบนผลไม้
ตวั ห้ำแมลงวันผลไม้ ไดแ้ ก่ มดคัน

วธิ ีการป้องกนั กำจัด
1. การทำความสะอาดบริเวณแปลงเพาะปลูก แมลงวันผลไม้สามารถเพิ่มจำนวนประชากร
ได้อย่างรวดเร็วในขณะที่มีพืชอาศัยอยู่มาก ฉะนั้นการทำความสะอาดแปลงเพาะปลูกโดยการรวบรวมทำลาย
ผลไม้ที่เน่าเสียอันเนื่องมาจากถูกแมลงวันผลไม้เข้าทำลายเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถหยุดยั้งการเพิ่มจำนวน
ของประชากรอยา่ งรวดเรว็ ของแมลงได้
2. การหอ่ ผลไม้ เปน็ การปอ้ งกนั การเข้าไปวางไข่ในผลไม้ท่ีงา่ ยและได้ผลดีท่สี ุดวิธีหน่ึง อีกทั้ง
ยังเป็นวิธีการที่ปลอดภัยจากการใช้สารฆ่าแมลง การห่อผลไม้นี้ควรจะห่อให้มิดชิดไม่ให้มีรูหรือรอยฉีกขาด
เกิดขึน้ มฉิ ะน้นั แมลงจะเขา้ ไปวางไข่ได้
3. การฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลง การใช้สารฆ่าแมลงนั้นเป็นการลดปริมาณประชากร
ของแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติได้อย่างรวดเร็วและเห็นผลได้ชัด แต่ในขณะเดียวกันแมลงมีการเคลื่อนย้าย
จากแหล่งที่ไม่ได้ฉีดพ่นสารฆา่ แมลงเข้าทำลายอีก และตอ้ งพน่ ซ้ำแล้วซำ้ อกี

4.3.6 กุ้งกา้ มกรามสินค้าเกษตรทางเลือกของภาคตะวันออก
กุ้งก้ามกรามเป็นสินค้าที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ จุดแข็งของกุ้งก้ามกราม เกษตรกร

มีลักษณะการเลยี้ งกุ้งก้ามกรามร่วมกบั กุง้ ขาวแวนนาไม ทำให้สามารถทำรายได้ 2 ทางในบ่อเดียวกนั การเลี้ยง
ก้งุ ขาวแวนนาไมรวมกับกุ้งก้ามกรามเปน็ แนวทางช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ท่ีเพิ่มข้ึน หากช่วงไหนกุ้งขาวแวนนาไม
โรคลง หรือราคาตกต่ำ ก็ยังมีกุ้งก้ามกรามยังคงที่เรื่องราคาอยู่ ทำให้เกษตรกรยังมีรายได้ “การเลี้ยง
กงุ้ ก้ามกรามร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไมจะช่วยลดต้นทนุ เร่ืองอาหาร เพราะว่ากุ้งท้ังสองช่วยเก้ือหนุนซ่ึงกันและกัน”
เพราะวา่ กุ้งขาวแวนนาไมจะกินอาหารด้านบน ส่วนอาหารทต่ี กไปดา้ นล่างจะเปน็ ของกุง้ ก้ามกราม”

ผู้บริโภคนิยมรับประทานกุ้งก้ามกราม และมีแพกุ้งในภาคตะวันออกเป็นจำนวนมาก
โดยกุ้งก้ามกรามมีตลาดรองรับ ลักษณะการขายกุ้งเป็น เป็นการอ๊อกกุ้งก้ามกราม ใส่รถออกซิเจนกระจาย
ไปตลาดตา่ ง ๆ ในประเทศ สว่ นกงุ้ แช่แขง็ สง่ ออกหอ้ งเย็นไปขายทง้ั ตลาดในประเทศและตลาดตา่ งประเทศ

กุ้งก้ามกรามจึงเป็นสินค้าทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพในพื้นที่ในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ข้าว
ไมเ่ หมาะสมทอ่ี ยูใ่ นพ้นื ทล่ี มุ่ ของภาคตะวันออก เปน็ สินคา้ ทางเลอื กทม่ี ผี ลตอบแทนท่ดี กี ว่า

ภาคตะวันออกกำหนดให้ข้าว เป็นพืชที่ต้องดำเนินการปรับเปลี่ยน เพราะมีสัดส่วน GPP
ในภาคเกษตรอยู่ใน 10 ลำดับแรกของแต่ละจังหวัดภาคตะวันออก และยังมีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ
ทั้งน้ี การปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกสินค้าในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3,N) โดยวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาด้านการผลิต

168

และการตลาด ทั้งนี้จะนำสินค้าหลัก (ข้าว) เปรียบเทียบกับสินค้าทางเลือก ได้แก่ ข้าวเป็นสินค้าหลักของ
จงั หวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบรุ ี นครนายก และสมุทรปรากร

1) การวิเคราะห์ข้อมลู ด้านการผลิต
สินค้าทางเลือกเพื่อเสริมรายได้ของภาคตะวันออก ได้แก่ กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามกราม มีช่ือ
ท้องถิ่นซึ่งเป็นที่รู้จักต่าง ๆ กัน เช่น กุ้งนาง กุ้งแห้ง กุ้งใหญ่ กุ้งหลวง กุ้งแม่น้ำ และกุ้งก้ามเลี้ยง พบกุ้งชนิดนี้
ทั่วไปในแหล่งน้ำจืดที่มีทางติดต่อกับทะเล และแหล่งน้ำกร่อยในบริเวณปากแม่น้ำ ลำคลอง ปัจจุบันนี้
กรมประมงและฟาร์มเอกชนสามารถเพาะพันธุ์กุ้งก้ามกรามได้จึงท ำให้มีผู้เล้ียงกุ้งชนิดน้ีกันอย่างแพร่หลาย
โดยเฉพาะในภาคตะวนั ออกของประเทศไทย เชน่ จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา ปราจนี บรุ ี และชลบรุ ี เป็นต้น
สาเหตุที่เกษตรกรนิยมเล้ียงกุ้งชนิดน้ี เนื่องจากเน้ือมีรสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้
มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์น้ำจืดหลายชนิด จึงเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดีให้แก่เกษตรกร แต่การ
เล้ียงกุ้งก้ามกรามให้ประสบผลสำเร็จน้ันต้องอาศัยทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ พร้อมท้ัง
การดแู ลเอาใจใสใ่ หผ้ ลผลิตท่ไี ด้มีคณุ ภาพดี
การเลือกสถานที่เลี้ยงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จหรือล้มเหลว
ในการเล้ียงกุ้งก้ามกราม เพราะพื้นที่บางแห่งอาจจะไม่สามารถใช้เลี้ยงสัตว์น้ำได้เลย หรือบางแห่งอาจจะใช้
เลี้ยงสัตว์น้ำได้แต่จะมีการปรับปรุง บางแห่งอาจไม่ต้องปรับปรุงเลย สำหรับการเลือกพื้นที่เลี้ยงกุ้งก้ามกรามนั้น
มีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ดังนี้ คุณภาพดิน ควรเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนสามารถเก็บกักน้ำได้ดี และคันดิน
ไม่พังทลายง่าย ดินไม่ควรเป็นดินเปรี้ยวเพราะทำให้สภาพน้ำเป็นกรด ซึ่งไม่เหมาะในการเลี้ยงกุ้ง และ
อาจส่งผลทำให้กุ้งตายได้ คุณภาพน้ำ บ่อเลี้ยงกุ้งควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีคุณภาพดี สะอาด ไม่มีมลภาวะ
จากโรงงานอุตสาหกรรม แหลง่ ชุมชน และแหล่งเกษตรกรรม น้ำควรมปี ริมาณมากเพียงพอตลอดท้ังปี ถ้าเป็น
พ้ืนที่ที่มีน้ำส่งเข้าบ่อโดยไม่ต้องสูบน้ำ เช่น น้ำจากแม่น้ำลำคลอง คลองชลประทาน ก็จะเป็นการดีเพราะ
ชว่ ยลดคา่ ใชจ้ า่ ย กรณที ไี่ มแ่ นใ่ จว่าคณุ สมบัติของน้ำเหมาะสมหรือไม่ ควรนำไปวเิ คราะห์ท่ีศนู ย์วิจัยและพัฒนา
ประมงหรือสถานีประมงฯ ที่อยู่ใกลเ้ คยี ง แหล่งพนั ธกุ์ ุ้ง พนื้ ท่เี ล้ียงควรอยู่ในบรเิ วณที่ไม่ห่างจากแหล่งพันธุ์กุ้ง
เพราะจะชว่ ยใหส้ ะดวกในการลำเลียงขนสง่ และการจัดหาพนั ธ์ุ ซงึ่ จะเปน็ ผลดีต่อสุขภาพกงุ้ เน่ืองจากกุ้งที่ผ่าน
การขนส่งเป็นเวลานานมักจะอ่อนแอและมีอัตรารอดต่ำ สาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกหลายอย่าง
จำเปน็ มากตอ่ การเลี้ยงกุง้ ให้ไดผ้ ลดี เช่น ถนน ไฟฟ้า เพือ่ สะดวกในการขนส่งอาหาร ผลผลิต การเตรียมอาหาร
หรือการเพิ่มออกซิเจนในบ่อ ตลาด แหล่งเล้ียงกุ้งควรอยู่ไม่ไกลตลาดมากเกินไปเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการ
ขนสง่
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิต
ของขา้ วภาคตะวนั ออกปี 2563 ได้แก่ ข้าวนาปี มีตน้ ทุนรวมต่อไรเ่ ท่ากับ 4,704.60 บาท ผลผลติ ต่อไร่ 592.33
กิโลกรัม ราคาที่ได้รับ ณ ไร่นา 9.03 บาทต่อกิโลกรัม ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 5,348.74 บาท ดังนั้นเมื่อ
เกษตรกรปลูกข้าว 1 ไร่ แล้วเกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ เท่ากับ 644.14 บาท ส่วนข้าวนาปรังมีต้นทุน
รวมต่อไร่เท่ากับ 5,150.53 บาท ผลผลิตต่อไร่ 616.00 กิโลกรัม ราคาที่ได้รับ ณ ไร่นา 9.48 บาท
ต่อกิโลกรัม ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 5,839.68 บาท ดังนั้นเมื่อเกษตรกรปลูกข้าว 1 ไร่ แล้วเกษตรกรจะได้

169

ผลตอบแทนสทุ ธิต่อไร่ เท่ากบั 689.15 บาท ซงึ่ จะเห็นได้ว่าพ้ืนที่ปลกู ขา้ วของภาคตะวันออก ได้ผลตอบแทนต่ำ
ซึ่งตามนโยบาย กษ. เร่งให้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าวมาปรับเปลี่ยนเป็นพืชอื่นแทน
โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รับนโยบายและทำการวิเคราะห์ข้อมูลพืชของภาคตะวันออกแล้ว
วิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนเกษตรกรปรับเปล่ียนจากพื้นท่ีไม่เ หมาะสม
ในการปลูกข้าวปรับเปล่ียนมาเป็นกิจกรรมอนื่ เป็นพืชทางเลือกหรอื พชื เสริมรายได้

ต้นทุนการผลิตกุ้งกา้ มกรามผสมกุ้งขาวแวนนาไมภาคตะวันออกปี 2563 พบว่า มีต้นทุนรวม
ต่อไร่เท่ากับ 36,705.02 บาท โดยส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนผันแปร เท่ากับ 33,929.88 บาท/ไร่ เช่น ค่าพันธุ์
ค่าแรงงาน ค่าอาหาร เป็นต้น หรือคิดเป็นร้อยละ 92.44 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด มีผลผลิตต่อไร่ 303.65
กิโลกรัม ราคาที่เกษตรกรขายได้ 148.60 บาท/กิโลกรัม ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 45,122.15 บาท
มีผลตอบแทนสทุ ธิตอ่ ไรเ่ ท่ากับ 8,417.13 บาท มีอัตราผลตอบแทนสุทธิต่อการลงทุน 0.23

หากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตข้าวกับกุ้งก้ามกรามสินค้าทางเลือก ปี 2563 พบว่า ต้นทุน
การผลิตกุ้งก้ามกรามลงทุนสูงกว่าการผลิตข้าว แต่หากพิจารณาผลตอบแทนต่อไร่และผลตอบแทนสุทธิต่อไร่
หรอื กำไรต่อไร่ พบว่า ก้งุ กา้ มกรามมีกำไรมากกว่าข้าว รวมทัง้ ค้มุ คา่ ต่อการลงทุน โดยพิจารณาจากอัตรากำไร
ต่อการลงทนุ ทมี่ ากกว่า 1-2 เทา่ เมอ่ื เทยี บกบั การอตั รากำไรต่อการลงทนุ ของขา้ ว (ตารางท่ี 4.17)
ตารางที่ 4.17 ตน้ ทนุ การผลิตสนิ คา้ สำคญั กับข้าวกับกุง้ ก้ามกรามสินคา้ ทางเลอื กปี 2563

รายการ ระดบั ภาค1) ภาคตะวันออก2)

ขา้ วนาปี ขา้ วนาปรัง กงุ้ ก้ามกรามผสมกุ้งขาวแวนนาไม

1. ตน้ ทนุ ผนั แปร 3,757.18 4,045.72 33,929.88

2. ต้นทนุ คงที่ 947.42 1,104.81 2,775.14

3. ต้นทนุ รวมตอ่ ไร่ 4,704.60 5,150.53 36,705.02

4. ต้นทนุ รวมตอ่ กโิ ลกรมั 7.94 8.36 120.88

5. ผลผลิต (กก.) 592.33 616.00 303.65

6. ราคา (บาทต่อ กก.) 9.03 9.48 148.60

7. ผลตอบแทนต่อไร่ 5,348.74 5,839.68 45,122.15

8. ผลตอบแทนสทุ ธติ อ่ ไร่ 644.14 689.15 8,417.13

9. ผลตอบแทนสุทธิต่อ กก. 1.09 1.12 27.72

10. อัตรากำไรตอ่ การลงทนุ 0.14 0.13 0.23

ที่มา : 1) ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ต้นทุน ณ ไร่นา (ณ เดือนมิถุนายน
2564)

2) สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตรท่ี 6

170

2) การวิเคราะห์ข้อมลู ดา้ นการตลาด
โครงสรา้ งตลาดกุ้งก้ามกรามผู้ท่ีมีส่วนเกี่ยวข้องในหว่ งโซ่คุณค่า (Value Chain) มีส่วนได้ส่วนเสีย
ในอุตสาหกรรมกุ้งกรามกราม สามารถแบ่งออกเปน็ 3 กลุ่มดังน้ี
กลุ่มต้นน้ำ เป็นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการในการผลิต/การจัดการดูแลฟาร์ม
เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ประกอบด้วย โรงเพาะฟักลูกกุ้งก้ามกราม ผู้จำหน่ายปัจจัยในการผลิต อาทิ ผู้ผลิตและ
จำหน่าย อาหารสำเร็จรูปในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ผู้ผลิตและจำหน่ายยาและสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันและ
รกั ษาโรคเกษตรกรผ้เู ลีย้ งกุ้งรายยอ่ ย และเกษตรกรผเู้ ลีย้ งกุ้งรายใหญ่
กลุ่มกลางน้ำ เป็นกลุ่มธุรกิจที่ทำหน้าที่รับซื้อ รวบรวม กุ้งก้ามกรามจากกลุ่มตันน้ำเพื่อนำไป
จำหน่ายใหก้ ับกลุ่มปลายน้ำ ประกอบดว้ ย ผูร้ ับซื้อกงุ้ พอ่ ค้าคนกลาง แพกุ้ง และโรงงานแปรรูป
กลุ่มปลายน้ำ เป็นกลุ่มธุรกิจที่รับซื้อผลผลิตจากกลุ่มกลางน้ำเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค
ประกอบด้วย ผู้ค้าปลีกทั้งในตลาดสดต่าง ๆ หรือร้านขายกุ้งก้ามกรามริมถนนไปจนถึงร้านอาหาร และ
ผสู้ ่งออก ดังแสดงในภาพที่ 4.61

กลุ่มตน้ นำ้ กลุ่มกลางนำ้ กลุ่มปลายน้ำ

ภาพท่ี 4.61 ผ้มู ีส่วนได้สว่ นเสยี ในอตุ สาหกรรมกงุ้ ก้ามกราม
ท่มี า กองวิจยั และพฒั นาการเพาะเล้ยี งสัตวน์ ำ้ จดื กรมประมง (2563)

วิถีการตลาดกุ้งก้ามกรามภาคตะวันออกปี 2563 เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม
ของภาคตะวันออก มีการจำหน่ายผลผลิตไปยังแพรวบรวมภายในภาคตะวันออก ขายไปยังแพจังหวัด
สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ร้อยละ 95 และมีเกษตรกรบางส่วนจำหน่ายเองโดยตรง

171

ให้ผู้บริโภค ร้อยละ 5 แต่ทั้งนี้แพกุ้งต่าง ๆ จะมีเครือข่ายเกษตรกรที่ซ้ือขายกันประจำอยู่แล้ว โดยที่เกษตรกร
จะติดต่อคนสุ่มกุ้งให้มาสุ่มขนาดไซด์กุ้ง แล้วเสนอราคากุ้งว่าแพไหนให้ราคาดี เกษตรกรก็จะเลือกแพน้ัน
แล้วตกลงราคากุ้งก้ามกราม ตามขนาดไซด์กุ้งและเพศของกุ้งก้ามกราม ทั้งนี้การผ่านคนสุ่ม แพก็จะจ่าย
ค่าตอบแทนให้คนสุ่มกุ้ง แต่ถ้าไม่ผ่านคนสุม่ โดยเจ้าของแพก็จะติดต่อกบั เกษตรกรโดยตรง แล้วไปจับกุง้ ที่บอ่
ซึง่ ค่าขนส่ง น้ำแขง็ คา่ หอ้ งเยน็ คนงาน ค่าออกซเิ จน ทางแพจะเปน็ ฝา่ ยรบั ผดิ ชอบคา่ ใชจ้ า่ ยให้

แพกุ้ง ในภาคตะวันออก ที่ซื้อกุ้งก้ามกรามมาจากฟาร์มเกษตรกรภาคตะวันออก ส่วนใหญ่
จะขายให้กับผู้ค้าปลีก/ค้าส่ง ร้อยละ 80 และตลาดกลาง (ตลาดมหาชัย) รอ้ ยละ 20

ผู้ค้าปลีก/ค้าส่ง ซึ่งพ่อค้าปลีกและพ่อค้าในภาคตะวันออกจะทำหน้าที่กระจายสินค้า
กุ้งก้ามกรามไปยังผู้บริโภคภายในประเทศ และต่างประเทศ เช่น กทม. ต่างประเทศ และตลาดกลาง
(ตลาดมหาชัย) เป็นตลาดใหญ่ที่สุดในประเทศที่รับซื้ออาหารทะเล โดยกุ้งก้ามกรามจากแพกุ้งภาคตะวันออก
ใส่รถออกซิเจน หรือห้องเย็นไปส่งที่ตลาดกลาง (ตลาดมหาชัย) โดยกุ้งจะถูกกระจายต่อไปให้กับผู้บริโภค
ภายในประเทศ เช่น กทม. สระบรุ ี สระแกว้ ขอนแกน่ นครราชสมี า อุบลราชธานี อดุ รธานี และต่างประเทศ

ภาพท่ี 4.62 วถิ ีการตลาดกงุ้ ก้ามกรามภาคตะวนั ออกปี 2563
ท่มี า จากการสำรวจ

3) การวิเคราะหด์ ้านเศรษฐกจิ ของก้งุ ก้ามกรามเชิงลึกของภาคตะวนั ออก
สินค้ากุ้งก้ามกรามภาคตะวันออก เกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงผสมกับกุ้งขาวแวนนาไม และ
ปลานิล เกษตรกรส่วนใหญ่ขายให้ผู้รวบรวมท้องถิ่น แพกุ้ง ซึ่งภาคตะวันออกมีจุดเด่นที่มีผู้รวบรวมหลายราย
อีกทั้งมีแหล่งท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก จึงมีความต้องการผลผลิตยังไม่เพียงพอ รวมทั้งมีห้องเย็นใน
ภาคตะวันออกทม่ี กี ารแปรรูปกุ้งแชแ่ ข็งสง่ ออกไปตา่ งประเทศ
แหล่งผลิตกุ้งก้ามกรามที่สำคัญของจังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอ
เมอื งฉะเชงิ เทรา, อำเภอบางนำ้ เปรี้ยว, อำเภอบางปะกง, อำเภอบ้านโพธ์ิ, อำเภอคลองเขื่อน, อำเภอราชสาส์น

172

, อำเภอพนมสารคาม, อำเภอบางคล้า, อำเภอแปลงยาว, อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดชลบุรี อำเภอพนัสนิคม
จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี, อำเภอบ้านสร้าง, อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดนครนายก อำเภอ
องครักษ์, อำเภอเมืองนครนายก, อำเภอปากพลี จงั หวดั สมุทรปราการ อำเภอบางเสาธง, อำเภอบางบอ่

แหล่งรับซื้อผลผลิตของภาคตะวันออก ในปี 2563 มีการกระจายตัวทั่วทั้งภาคตะวันออก
ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา, อำเภอบางคล้า, อำเภอบ้านโพธิ์, อำเภอบางปะกง จังหวัด
ปราจีนบุรี อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดชลบุรี อำเภอพนัสนิคม, อำเภอพานทอง จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอ
บางบ่อ, อำเภอบางเสาธง

สถานการณ์ราคา ราคากุงกามกรามมีชีวิตขายสงเฉลี่ย ณ ตลาดไท ในชวง 6 เดือนแรก
ป 2564 จาํ แนกตามขนาดกุง คอื ขนาดใหญ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ราคาเฉลี่ยกโิ ลกรัมละ 336 285 และ
220 บาท ตามลําดับ เมื่อเทียบกับชวงเดียวกันของปกอน กุงกามกรามทุกขนาดราคาเฉลี่ยลดลง รอยละ 8.2
15.4 และ 18.7 ตามลําดับ (ตารางที่ 4.18) ซึ่งสถานการณราคากุงกามกรามในประเทศยังไมดีขึ้น เนื่องจาก
สถานการณการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 จากคลัสเตอรตลาดกุง ตั้งแตชวงปลายป 2563
สงผลกระทบตอความเช่ือมั่นในการบริโภคสินคากุง รวมถึงสินคากุงกามกรามดวยเชนกัน ประกอบกับกิจการ
รา้ นอาหารซ่งึ ไดรับผลกระทบจากนกั ทองเท่ยี วทล่ี ดลง ทาํ ให้ราคากุงกามกรามตกตำ่

ตารางที่ 4.18 ราคากุ้งกา้ มกรามมชี ีวิตขายส่งเฉลีย่ ณ ตลาดไท ปี 2563 - 2564 (ม.ค - มิ.ย.)

เดอื น ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเลก็
2563 2564 %∆
2563 2564 %∆ 2563 2564 %∆ 265 215 -18.9
265 215 -18.9
ม.ค. 353 329 -6.8 333 278 -16.5 265 221 -16.6
271 231 -14.8
ก.พ. 353 318 -9.9 331 278 -16.0 280 220 -21.4
280 220 -21.4
มี.ค. 353 334 -5.4 331 286 -13.6 278
282
เม.ย. 366 346 -5.5 347 291 -16.1 280
285
พ.ค. 390 330 -15.4 340 285 -16.2 285
267
ม.ิ ย. 382 357 -6.5 340 293 -13.8 271 220 -18.7

ก.ค. 382 344

ส.ค. 401 353

ก.ย. 442 362

ต.ค. 435 363

พ.ย. 435 363

ธ.ค. 427 348

เฉลย่ี 6 เดอื น 366 336 -7.4 337 285 -15.4

ทีม่ า : www.talaadthai.com และจากการคาํ นวณ

173

ตารางที่ 4.19 แหล่งรบั ซอื้ ผลผลติ ของภาคตะวนั ออก

จังหวดั จำนวนแหง่ ประมาณการปริมาณความต้องการรบั ซ้ือตอ่ ปี (ปี 2563)

สมทุ รปราการ 17 965 – 1,448 ตนั

ฉะเชงิ เทรา 15 852 – 1,277 ตนั

ปราจนี บรุ ี 14 795 – 1,192 ตัน

ชลบรุ ี 6 341 – 511 ตัน

ที่มา จากการสำรวจ

4) การประมาณการอุปสงคอ์ ปุ ทานกุ้งก้ามกรามในพื้นทเ่ี ป้าหมาย
การวิเคราะห์ถึงอุปสงค์อุปทานกุ้งก้ามกรามใน 5 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี ชลบุรี นครนายก และสมุทรปราการ ประมาณการผลผลิต 2,828 ตัน และมีความต้องการรับซ้ือ
ผลผลิตปริมาณ 2,952 – 4,428 ตัน โดยการนำไปใช้ภายในภาคตะวันออก และการส่งออกไปตลาดท้ัง
ในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น จึงสรุปผลการวิเคราะห์ผลผลิตกุ้งก้ามกรามของภาคตะวันออก ยังขาด
ความสมดุลกับความต้องการใช้ อย่างไรก็ตาม พบว่า ความต้องการใช้หรือการนำไปใช้ประโยชน์ ยังขาด
อีกจำนวน 124 – 1,600 ตัน ควรส่งเสริมให้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามประมาณ 714 - 9,217 ไร่ ในพื้นที่นำร่อง
5 จังหวัดภาคตะวันออก

ภาพที่ 4.63 การประมาณการอปุ สงค์อปุ ทานกุ้งกา้ มกรามในพืน้ ทเี่ ป้าหมายของภาคตะวันออก
ทีม่ า จากการวเิ คราะห์

174

ทั้งนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งส่งผลต่อการบรโิ ภคกุง้ ก้ามกรามในภาพรวมลดลง สำหรับการคา้
ระหวา่ งประเทศของไทยมีการสง่ ออกกุง้ ก้ามกรามและผลิตภัณฑล์ ดลงทง้ั ในเชงิ ปรมิ าณและมูลค่า ทั้งนสี้ ะท้อน
ใหเ้ ห็นถงึ การผลิตภายในประเทศที่มแี นวโนม้ ลดลง

เนื่องจากเกษตรกรยังมีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไมในหลายพื้นที่ ทำให้ มี
โรงเพาะฟักสามารถผลิตลูกพันธุ์ได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเกษตรกรมีการชำหรืออนุบาลลูกกุ้งก่อนลงเลี้ยง
ซึ่งทำให้สามารถเลี้ยงกุ้งได้ 2-3 รอบการผลิต/ปี แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงในด้านต่าง ๆ อาทิ คุณภาพลูกพันธ์ุ
ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ รวมถึงผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และการระบาดโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรน่า 2019 ซึ่งเกษตรกรต้องปรับตัวขายสินค้าแบบออนไลน์ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น
หากสถานการณ์การระบาดของโรคอุบัติใหม่คลี่คลายมากขึ้น สภาวะเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติ เปิดการ
ท่องเท่ียวจะทำให้ความตอ้ งการรกงุ้ ก้ามกรามมากขึ้น และสง่ ผลให้ราคาดีข้นึ ตามไปดว้ ย

5) มาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน
และเกษตรกร
มาตรการปลายทาง

1. ระดับนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรภายใต้
โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน รวมถึง
การเชอื่ มโยงสินคา้ สตู่ ลาด (กษ.+ประมงจงั หวดั +พณ.)

2. ระดับพื้นที่สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างร้านอาหาร/โรงแรม/ภัตตาคาร
ในพื้นที่กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อทราบถึงปริมาณและคุณภาพมาตรฐานและขนาดที่ต้องการ (สภาหอการค้า+
ประมงจังหวดั )

3. สง่ เสริมการคา้ กุง้ ก้ามกรามของไทยในตลาดออนไลน์ (พณ.)
มาตรการกลางทาง

1. ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรให้มที ักษะที่เหมาะสมและจำเป็นทั้งในด้านการผลติ การตลาด
การจดั การ และสนับสนนุ ทุนและเทคโนโลยีเปน็ ต้น (ประมงจงั หวัด+AIC)

2. สนับสนุนทุนวิจยั และพัฒนาเทคโนโลยีตา่ ง ๆ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมในการเพาะเลี้ยง
กุ้งก้ามกรามให้มีความทันสมัยมีประสิทธิภาพสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์
กุ้งก้ามกรามให้มีความหลากหลาย หรือพัฒนาเทคโนโลยีในการขนส่งหรือบรรจุภัณฑ์กุ้งมีชีวิต เพื่อเพิ่มมูลค่า
ผลผลิต (ประมงจงั หวัด+สสว.+สวก.+AIC+พาณิชย)์

3. สนับสนุนกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ที่มีความสามารถเป็นแหล่งรับซื้อผลผลิตให้กับเกษตรกร
ที่ปรับเปลี่ยนและสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการขาย
ผลผลติ (สหกรณ์จังหวดั +ส.อ.ท.+พาณิชย์ sale man)

175

มาตรการต้นทาง
1. ควรพัฒนาสายพันธุ์กุ้งก้ามกรามให้มีคุณภาพดี เพื่อให้มีอัตรารอดสูงและโตเร็ว (ประมง

จังหวัด)
2. การเล้ยี งกุ้งก้ามกรามโดยใช้ลูกพันธ์ุขนาด 200-300 ตวั /กก. ทำใหก้ งุ้ มีอัตรารอดสูงขึ้นและ

ใช้เวลาเล้ยี งนอ้ ยลง แต่อาจทำให้ต้นทนุ ลูกพนั ธุเ์ พ่ิมขนึ้ (ประมงจงั หวดั )
3. พัฒนาเทคนิควิธีการคัดแยกเพศลูกพันธุ์กุ้งก้ามกรามหรือให้มีสัดส่วนกุ้งเพศผู้มากขึ้น

เพ่อื เพ่ิมประสิทธผิ ลในการเลี้ยง (ประมงจังหวดั )
6) ขอ้ มลู ประกอบการตัดสนิ ใจดา้ นการผลิตและการตลาด
6.1) ข้อมลู ประกอบการตัดสินใจด้านการผลิต
รูปแบบของบ่อและการกอ่ สรา้ งบ่อเลย้ี ง
1) รูปแบบบ่อเลี้ยงกุ้ง ส่วนมากนิยมทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพราะสะดวกในการจัดการ

และการจับกงุ้ ถ้าเป็นไปไดด้ ้านยาวของบอ่ ควรอยใู่ นแนวเดียวกบั ทิศทางลมเพ่ือใหอ้ อกซเิ จนละลายน้ำได้ดี
2) ขนาดของบอ่ ปกติจะกว้างประมาณ 25-50 เมตร สว่ นความยาวขึ้นกับขนาดที่ต้องการ

และลักษณะภูมิประเทศ ขนาดของบ่อที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 1-5 ไร่ต่อบ่อ แต่ถ้ามีพื้นที่น้อย อาจจะใช้
บ่อเล็กกว่านี้ได้ ส่วนบ่อที่มีขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้ดูแลจัดการลำบาก และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะทำให้เกิด
ความเสียหายมากการแก้ปัญหาก็ทำไดย้ าก พืน้ กน้ บ่อตอ้ งอัดเรียบแน่น ไมม่ ีสิง่ กดี ขวางในการลากอวน

3) ความลกึ ของบ่อ ต่ำสุดประมาณ 1 เมตร และลึกสุดไม่เกิน 1.5 เมตร โดยมีความลาดเอียง
ไปยังประตูระบายน้ำออกเพื่อสะดวกในการระบายน้ำและจับกุ้ง บ่อที่ลึกเกินไปจะมีปัญหาการขาดออกซิเจน
ในน้ำได้ แต่ถ้าตื้นเกินไปก็จะทำให้แสงแดดส่องถึงก้นบ่อทำให้เกิดวัชพืชน้ำได้ง่าย และอาจทำให้อุณหภูมิ
ของน้ำเปลี่ยนแปลงมากเกินไปในรอบวัน คันบ่อจะต้องสูงพอที่จะป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และมีความ
ลาดชันพอประมาณ ถ้าคันบ่อลาดชันน้อยไปจะทำให้พังทลายได้ง่าย แต่ถ้ามีความลาดชันมากไปจะทำให้
ส้นิ เปลอื งพ้นื ท่ี

4) ทางระบายน้ำเข้าและประตูระบายน้ำออก ควรอยู่ตรงข้ามกัน โดยอยู่ตรงส่วนปลาย
ของด้านยาว ประตูระบายน้ำควรมีขนาดใหญ่พอเหมาะกับขนาดของบ่อเพื่อให้สามารถระบายน้ำได้เร็ว และ
คลองระบายน้ำออกจะตอ้ งอย่ตู ่ำกว่าประตูระบายนำ้ เพื่อใหส้ ามารถระบายนำ้ ได้หมด

การเตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ควรระบายน้ำออกจากบ่อให้แห้ง เพื่อกำจัดศัตรูกุ้ง ได้แก่
ปลา กบ เขียด เป็นต้น ถ้าไม่สามารถระบายน้ำได้หมดให้ใช้โล่ติ๊นสด 2-4 กิโลกรัมต่อปริมาตรน้ำในบ่อ 100
ลูกบาศก์เมตร โดยนำโล่ต๊ินสดทุบให้ละเอียดแล้วแช่นำ้ ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ปี๊บ ทิ้งไว้ 1 คืน ขยำเอา
น้ำสขี าวออกหลาย ๆ ครง้ั จนหมด แล้วนำไปสาดใหท้ ว่ั บ่อทงิ้ ไวป้ ระมาณ 7 วนั จากน้ันหวา่ นปูนขาวขณะดินยังเปียก
กรณีที่บ่อมีเลนมากควรพลิกดินก่อนหว่านปูนขาวและตากบ่อ การตากบ่อจะช่วยให้ของเสียพวกสารอินทรีย์
หมักหมมอยู่พื้นบ่อสลายตวั ไป นอกจากนี้ ความร้อนจากแสงแดดและปูนขาวยังช่วยกำจัดเชื้อโรค และปรสติ
รวมทัง้ ศัตรูกุ้งด้วย

176

สำหรับบรเิ วณทีด่ ินมีสภาพเปน็ กรดหรือท่เี รยี กวา่ ดินเปรีย้ ว เมือ่ ตอ้ งการปรบั เปลี่ยนพ้ืนท่ีมา
เป็นบ่อเล้ียงกุ้งควรใชป้ ูนขาวใหม้ ากข้ึน ปริมาณปูนขาวท่ีใช้ขึ้นอยู่กับว่าดินเป็นกรดมากนอ้ ยแค่ไหน ซ่ึงต้องทำ
การวิเคราะห์ความต้องการปูนขาวของดิน โดยให้หน่วยงานราชการที่บริการการวิเคราะห์คุณสมบัติของดิน
เช่น สถานีพัฒนาที่ดิน ช่วยวิเคราะห์ความเป็นกรดของดิน แต่โดยทั่วไปถ้าเป็นบ่อขุดใหม่และดินไม่เป็นกรดมาก
อัตราการใส่ปูนขาวอยู่ประมาณ 160-200 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าเป็นบ่อที่เคยเลี้ยงกุ้งมาแล้วและไม่เป็นกรดมาก
ใส่ปูนขาวประมาณ 80-100 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วตากบ่อทิ้งไว้ 2-4 สัปดาห์ แต่ถ้าดินมีความเป็นกรดมาก
อาจต้องใช้ปนู ขาวสงู ถงึ 800 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่

การเตรียมน้ำสำหรับเลี้ยงกุ้งก้ามกราม หลังจากตากบ่อและใส่ปูนขาวประมาณ 2-4
สัปดาห์ จึงเปิดน้ำลงบ่อโดยกรองด้วยอวนไนลอน หรือตะแกรงตาถี่ เพื่อป้องกันศัตรูกุ้งที่ปนมากับน้ำ
โดยเฉพาะอย่างย่ิง ไขแ่ ละตวั อ่อนของปลา และกบ

ถ้าน้ำจากแหล่งน้ำที่ใช้มีคุณภาพดี ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ อันเนื่องมาจาก
การปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงและของเสียจากโรงงานและบ้านเรือนก็สามารถสูบน้ำเข้าบ่อได้เลย หลังจากนั้น
ควรกักน้ำไว้ 2-3 วัน เพื่อให้น้ำปรับสภาพเข้าสู่สภาวะสมดุลเสียก่อน แล้วจึงปล่อยกุ้งลงเลี้ยง หรืออาจจะใส่
ปยุ๋ เคมสี ูตร 15-15-15 ในอัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่ ละลายนำ้ แลว้ สาดใหท้ ั่วบ่อ ปล่อยทิ้งไว้ 1 สปั ดาห์ เพอ่ื ใหเ้ กิด
อาหารธรรมชาติก่อนปล่อยกุ้งได้ ถ้าสีของน้ำเป็นสีเขียวอมเหลืองหรือสีน้ำตาลแสดงว่ามีอาหารธรรมชาติ
พวกแพลงก์ตอนอุดมสมบูรณ์ กอ่ นปลอ่ ยกงุ้ 1-2 วนั ให้ใชม้ ุ้งเขยี วตาถี่ลองลากอวนในบ่อดูถ้าพบว่ามีแมลงน้ำ
เช่น มวนวน มวนกรรเชยี ง แมลงดาสวน ตัวออ่ นแมลงปอ อยู่มากให้กำจัดโดยใช้สบู่กับน้ำมันเครื่องในสัดส่วน
2:1 ใส่ในอตั รา 1.5-2 ลติ รตอ่ พนื้ ทผ่ี ิวน้ำ 1 ไร่ ใส่ในช่วงเวลาที่แดดจดั และมลี มสงบ คราบน้ำมนั จะปิดรูหายใจ
ของแมลง

การเลือกพันธุ์กุ้งก้ามกราม พันธุ์กุ้งก้ามกรามที่ดีควรมีการว่ายน้ำปราดเปรียว แข็งแรง
ลำตัวใสและเป็นกุ้งทีค่ ว่ำมาแล้วประมาณ 1 สัปดาหข์ ้ึนไป (อายุประมาณ 25-30 วันข้ึนไป) และได้รับการปรับ
สภาพใหอ้ ย่ใู นนำ้ จดื ไม่น้อยกวา่ 1-2 วัน (ถา้ ปลอ่ ยกุ้งท่พี ึ่งควำ่ สองสามวันมกั จะมีอตั รารอดต่ำ)

การลำเลียงพันธุ์กุ้งก้ามกราม การขนส่งลำเลียงในปัจจุบันนิยมใช้ถุงพลาสติกขนาดกว้าง
14 นิ้ว ยาว 24 นิ้ว (35×60 เซนติเมตร) บรรจุน้ำประมาณ 2.5 ลิตร อัดออกซิเจน 3 ส่วนต่อปริมาตรน้ำ
1 สว่ น บรรจลุ กู กงุ้ ควำ่ ประมาณ 2,000 ตวั ต่อถงุ โดยนยิ มขนส่งในชว่ งเวลาเชา้ มืดหรือเวลากลางคืน เน่อื งจาก
อณุ หภูมิอากาศไม่ร้อนจดั เกินไป ซึ่งถ้าขนสง่ ในช่วงเวลาเช้ามดื หรือกลางคืนไม่จำเปน็ ต้องใช้รถหอ้ งเย็นควบคุม
อณุ หภูมิก็ได้ แต่ตอ้ งระมดั ระวัง ความรอ้ นจากพนื้ รถไมใ่ หส้ มั ผัสกบั ถงุ บรรจุลกู กุ้งโดยตรง แต่ถ้าเป็นการขนส่ง
ในเวลากลางวันเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ควรใช้รถห้องเย็นที่ปรับอุณหภูมิภายในที่ 25 องศาเซลเซียส
เพราะถ้าใชอ้ ุณหภมู ขิ ณะขนสง่ ต่ำกวา่ 20 องศาเซลเซยี ส เป็นเวลานานทำให้กุง้ ส่วนใหญ่ตายได้

การปลอ่ ยพันธ์กุ ุ้งกา้ มกราม การปลอ่ ยลกู กุ้งก้ามกรามลงบ่อ นยิ มทำในเวลาที่สภาพอากาศ
ไม่ร้อนเกินไป เช่น เวลาเช้า หรือเย็น โดยนำถุงบรรจุพันธุ์กุง้ มาแช่ในบ่อที่จะเลีย้ งประมาณ 20 นาที เพื่อปรบั
อุณหภูมิของน้ำในถุงและน้ำในบ่อให้เท่ากัน แล้วเปิดปากถุงออก จากนั้นตักน้ำในบ่อมาผสมกับน้ำในถุง

177

อย่างช้า ๆ ก่อนปล่อยพันธุ์กุ้งลงบ่อ เพื่อช่วยให้กุ้งสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงและมีอัตรารอด
มากขน้ึ

วิธกี ารเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
วิธีท่ี 1 นำลกู กุง้ ท่ีควำ่ แล้วประมาณ 1 สปั ดาห์ และได้รับการปรับสภาพให้อยู่ในน้ำจืดอย่างน้อย
1-2 วนั ไปอนุบาลในบ่อดินโดยใช้อัตราปล่อยประมาณ 80,000-160,000 ตวั ตอ่ ไร่ อนุบาลนานประมาณ 2-3 เดือน
จึงได้กุ้งขนาด 2-5 กรัมต่อตัว (โดยปกติการอนุบาลในระยะนี้ จะมีอัตรารอดประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์)
หลงั จากนัน้ จงึ ย้ายไปเล้ียงในบ่อเลี้ยงกงุ้ โต โดยปลอ่ ยในอตั รา 20,000-30,000 ตวั ตอ่ ไร่ หลังจากเล้ียงในบ่ออีก
ประมาณ 4 เดือน ก็ทยอยจบั กุ้งบางส่วนท่ีโตได้ขนาดขายเดือนละครั้งและจับหมดทั้งบ่อเมื่อเล้ียง 6-10 เดือน
ขึ้นไป วิธีนี้มีข้อดีคือ อัตรารอดจะสูงไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากลูกกุ้งที่ผ่าน การอนุบาลมาแล้ว
จะแข็งแรงและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในบ่อเลี้ยงได้ดี แต่ข้อเสียคือ ต้องใช้แรงงานในการเคลื่อนย้าย
กงุ้ จากบอ่ อนุบาลไปลงบ่อเลีย้ ง
วิธีที่ 2 นำลูกกุ้งที่คว่ำแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ และได้รับการปรับสภาพให้อยู่ในน้ำจืด
อยา่ งนอ้ ย 1-2 วัน ปล่อยลงบ่อเลี้ยงโดยตรงในอัตราประมาณ 40,000-60,000 ตวั ต่อไร่ หลังจากน้ันประมาณ
6-10 เดือนข้ึนไป จึงทยอยจับกุ้งที่โตได้ขนาดขายและทยอยจับเดือนละคร้ัง จนเห็นว่ามีกุ้งเหลือน้อยจึงจับ
หมดบ่อ วิธีน้ีมีข้อดีคือ ไม่ต้องใช้แรงงานในการเคลื่อนย้ายลูกกุ้ง แต่ข้อเสียคือ ลูกกุ้งที่ผ่านการขนส่ง
เป็นเวลานาน บางส่วนอาจจะอ่อนแอและตายในขณะขนส่งหรือหลังจากปล่อยลงบ่อได้ไม่นาน เนื่องจาก
ไม่สามารถปรับตวั เข้ากับสภาพแวดล้อมในบ่อได้ ทำให้มอี ัตรารอดไม่แนน่ อน และอาจมีผลเสียต่อการคำนวณ
ปริมาณอาหารที่จะให้ แต่ถ้ามีการขนส่งที่ดีและลูกกุ้งแข็งแรง การเลี้ยงวิธีน้ีโดยปกติจะมีอัตรารอดประมาณ
50-60 เปอร์เซ็นต์
ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับ ระยะเวลาเลี้ยงกุ้งขึ้นอยู่กบั ขนาดที่ตลาดต้องการ โดยท่ัวไป
หลังจากเลี้ยงกุ้งก้ามกรามได้ประมาณ 4-6 เดือน ก็เริ่มคัดขนาดและจับกุ้งบางส่วนขายได้แล้ว และทยอยจับ
เดอื นละครั้ง และจบั ทั้งหมดเมือ่ เหน็ ว่ากุ้งเหลอื น้อย (รวมระยะเวลาการเล้ียงท้ังหมดประมาณ 8-12 เดือน)
การจับกุ้งให้ได้ผลดีควรลดระดับน้ำในบ่อเหลือประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วใช้อวนลาก
โดยใช้อวนช่องตาขนาด 4 เซนตเิ มตร เพ่อื ใหก้ ุ้งมขี นาดเล็กหลุดรอดออกไดแ้ ละลดการบอบช้ำ ท่ตี ีนอวนควรมี
ตะกั่วถ่วง สำหรับเชือกครา่ วบนเวลาลากอาจใช้ไมไ้ ผ่คาไว้โดยเสียบไว้กับทุ่นลอยที่ทำมาจากต้นกลว้ ย การจบั
กุ้งนยิ มดำเนินการในชว่ งเชา้ เพราะอากาศไมร่ ้อน
ผลผลิตและการคัดขนาดกุ้งก้ามกราม ผลผลิตกุ้งก้ามกรามที่ปล่อยในอัตรา 20,000 ตัวต่อไร่
โดยใช้กุ้งที่ผ่านการอนุบาลเป็นเวลา 2-3 เดือน แล้วเลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 6-10 เดือน จะอยู่ระหว่าง
400-500 กิโลกรัมต่อไร่ เนื่องจากกุ้งที่จับมีขนาดและลักษณะแตกต่างกัน จึงทำให้ราคากุ้งแตกต่างกันด้วย
ดงั นั้น จงึ มีการคัดขนาดกุ้งเป็นประเภทตา่ ง ๆ ตามลำดบั ดังน้ี
1) ตัวผขู้ นาดใหญ่ (ก้งุ ขนาด 1) ขนาดน้ำหนักประมาณ 100 กรัม (10 ตัว/กโิ ลกรมั )
2) ตวั ผขู้ นาดรอง (กงุ้ ขนาด 2) ขนาดน้ำหนกั ประมาณ 70 กรมั (15 ตัว/กโิ ลกรัม)
3) ตวั ผู้ขนาดเล็ก (กุ้งขนาด 3) ขนาดน้ำหนักประมาณ 50 กรมั (20 ตวั /กิโลกรมั )

178

4) ตัวผ้กู า้ มยาวใหญ่ราคาถูกกวา่ กุง้ ตัวผลู้ ักษณะธรรมดา
5) ตวั เมียไมม่ ไี ข่ ราคาจะดกี ว่าก้งุ ตัวเมียมไี ข่
6) ตวั เมยี มไี ข่
7) กุ้งนิ่ม หรอื กงุ้ ทีเ่ พ่ิงลอกคราบ
8) กุ้งจกิ๊ โก๋ เปน็ กุ้งแคระแกรน็ ไมล่ อกคราบ
ท่ีมา : https://www.nfc.or.th/content/6846

การเพาะและอนุบาลลูกกุ้งกา้ มกราม จากเอกสารการเพาะเลี้ยงกุ้งกา้ มกรามตามมาตรฐาน
GAP ของกรมประมงระบขุ น้ั ตอนการเพาะและอนุบาลกุ้งก้ามกราม ดังนี้

ระบบโรงเพาะฟัก
1) โรงเพาะฟัก (Hatchery) โรงเพาะฟักส่วนใหญ่ใช้พลาสตกิ ป้องกันแสง UV คลุมท้ังหมด
หรือบางส่วน เพื่อควบคุมอุณหภูมิของน้ำในบ่อเพาะและอนุบาลลูกกุ้งไม่ให้เปลี่ยนแปลงมากในรอบวัน
อันเนื่องมาจากสภาวะอากาศ ลม หรือฝน ซึ่งอุณหภูมิน้ำจะเป็นปัจจัยหลักต่อพัฒนาการและความแข็งแรง
ของลกู กุ้งกา้ มกราม โรงเพาะฟักควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำเค็มและน้ำจืดท่ีมีคุณภาพดี เน่ืองจากการเพาะลูกกุ้งใช้น้ำ
ทม่ี ีความเคม็ ระหวา่ ง 12 - 15 พพี ีที (part per thousand - ส่วนในพันสว่ น) มีการคมนาคมสะดวกเพื่อขนส่ง
ลูกกุง้ สบู่ ่อเล้ียง และอย่ใู กล้แหล่งเลี้ยงกุ้งเพือ่ สะดวกในการขนส่งแม่พนั ธกุ์ ุ้งส่โู รงเพาะฟัก
2) บ่อท่ีใชใ้ นการเพาะและอนบุ าลกุง้ ก้ามกราม
(1) บอ่ เตรยี มน้ำ โดยท่วั ไปเป็นบ่อซีเมนต์รูปสเ่ี หลยี่ มผืนผ้า มีความจรุ วมกันประมาณ 3 - 5 เท่า
ของปริมาตรน้ำใชใ้ นบอ่ อนุบาลลูกกุ้ง มขี นาดต้ังแต่ 20 - 100 ลูกบาศก์เมตรตอ่ บอ่ ซ่ึงจะประกอบด้วย
- บ่อพกั น้ำ ใชส้ ำหรบั พักน้ำจืดหรือน้ำเค็ม โดยใช้น้ำเค็มจากน้ำเกลือที่มีความเค็มสูงระหว่าง
70 - 120 พีพีที ผสมกับน้ำจืดให้ได้ความเค็มตามที่ต้องการ น้ำจืดควรปราศจากยาฆ่าแมลงหรือสารพิษ
ปนเปือ้ นซึ่งจะเป็นอนั ตรายต่อลูกกุ้ง
- บ่อตกตะกอน ใช้ในการตกตะกอนและฆ่าเช้ือโรคก่อนนำน้ำไปใช้เพื่อการเพาะและอนุบาล
ลูกก้งุ ก้ามกราม อาจใชบ้ อ่ ตกตะกอนเปน็ บอ่ ผสมน้ำและตกตะกอนเพ่ือประหยัดพ้ืนที่
- บ่อพักน้ำผสม ใช้สำหรับพักน้ำผสมที่พร้อมนำมาใช้ในการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม บ่อพัก
น้ำผสม ควรอยู่สูงกว่าบ่ออนุบาลลูกกุ้งเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำและประหยัดค่ากระแสไฟฟ้า
อย่างไรก็ดี ต้องคำนึงถงึ ความแขง็ แรงของโครงสรา้ งบ่อพักน้ำดว้ ย
(2) บ่อเพาะพันธุ์และอนุบาลลูกกุ้ง บ่อเพาะพันธุ์และอนุบาลอาจจะเป็นบ่อเดียวกันได้
ขนาดของบ่อควรมีความจุประมาณ 2.5 - 25 ลูกบาศก์เมตร ระดับเก็บกักน้ำในการใช้งานควรอยู่ในช่วง
ระหว่าง 40 - 60 เซนติเมตร เพื่อช่วยให้อณุ หภูมิน้ำไมเ่ ปลีย่ นแปลงรวดเรว็ มาก โดยบ่อเพาะพันธุแ์ ละอนบุ าล
ทเี่ หมาะสมควรเปน็ บอ่ ซีเมนต์ซ่งึ มี 2 รูปแบบ ดงั นี้

- บ่อซีเมนต์กลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 - 3 เมตร ความสูงของบ่ออยู่ระหว่าง 60 - 80
เซนติเมตร มีความจุประมาณ 2.5 - 5.0 ลูกบาศก์เมตร เพื่อสะดวกในการวนของน้ำ การทำความสะอาด


Click to View FlipBook Version