The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการ เชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by forestgumz, 2022-11-15 22:29:24

แนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการ เชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

แนวทางบริหารจัดการสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crops) ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการ เชิงรุก (Agri-Map) ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

79
5) จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ปลูกยางพารา ตามความเหมาะสมทางกายภาพรวม 356,159 ไร่
แบ่งเป็น พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) จำนวน 4,530 ไร่ พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) จำนวน 267,722 ไร่ พื้นที่
เหมาะสมเล็กน้อย (S3) จำนวน 81,776 ไร่ และพืน้ ทีไ่ มเ่ หมาะสม (N) จำนวน 2,131 ไร่

ส่วนโรงงานหรือแหล่งรับซื้อยางพาราของจังหวัดชลบุรีมีโรงงานผลิตยางแผ่น โรงงาน
แปรรูปผลผลติ จากยางพารา โรงงานแปรรปู ไม้ยางพารา และโรงงานด้านการเกษตรอื่น ๆ ที่เก่ียวขอ้ ง จำนวน
174 แหง่

ภาพที่ 4.22 แผนที่แสดงการเพาะปลูกยางพาราตามชั้นความเหมาะสมและแสดงจุดแหล่งรับซื้อยางพารา
จงั หวัดชลบรุ ี
ท่ีมา : กรมพฒั นาทดี่ นิ Agri-Map online สำนกั งานเศรษฐกิจการเกษตร GISTDA , 2561-2563

80
6) จังหวัดระยอง มีพื้นที่ปลูกยางพารา ตามความเหมาะสมทางกายภาพรวม 769,071 ไร่
แบ่งเป็น พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) จำนวน 210,677 ไร่ พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) จำนวน 453,180 ไร่
พน้ื ทเ่ี หมาะสมเลก็ นอ้ ย (S3) จำนวน 21,268 ไร่ และพืน้ ท่ไี ม่เหมาะสม (N) จำนวน 83,946 ไร่

ส่วนโรงงานหรือแหล่งรับซื้อยางพาราของจังหวัดระยองมีโรงงานผลิตยางแผ่น โรงงาน
แปรรปู ผลผลติ จากยางพารา โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา โรงงานผลิตยางเครป และโรงงานด้านการเกษตรอนื่ ๆ
ทเ่ี ก่ียวข้อง จำนวน 178 แห่ง

ภาพที่ 4.23 แผนที่แสดงการเพาะปลูกยางพาราตามชั้นความเหมาะสมและแสดงจุดแหล่งรับซื้อยางพารา
จงั หวัดระยอง
ที่มา : กรมพัฒนาทด่ี นิ Agri-Map online สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตร GISTDA , 2561-2563

81
7) จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ปลูกยางพารา ตามความเหมาะสมทางกายภาพรวม 381,750 ไร่
แบง่ เป็น พื้นทีเ่ หมาะสมสูง (S1) จำนวน 50,783 ไร่ พื้นทีเ่ หมาะสมปานกลาง (S2) จำนวน 223,495 ไร่ พ้ืนท่ี
เหมาะสมเล็กน้อย (S3) จำนวน 75,241 ไร่ และพื้นทไ่ี ม่เหมาะสม (N) จำนวน 32,231 ไร่

สว่ นโรงงานหรือแหล่งรับซื้อยางพาราของจังหวัดจนั ทบุรีมโี รงงานผลติ ยางแผ่น โรงงานแปรรูป
ผลผลติ จากยางพารา โรงงานแปรรปู ไม้ยางพารา และโรงงานด้านการเกษตรอนื่ ๆ ท่เี ก่ยี วขอ้ ง จำนวน 102 แห่ง

ภาพที่ 4.24 แผนที่แสดงการเพาะปลูกยางพาราตามชั้นความเหมาะสมและแสดงจุดแหล่งรับซื้อยางพารา
จงั หวดั จนั ทบุรี
ที่มา : กรมพฒั นาที่ดนิ Agri-Map online สำนกั งานเศรษฐกจิ การเกษตร GISTDA , 2561-2563

82
8) จังหวัดตราด มีพื้นที่ปลูกยางพารา ตามความเหมาะสมทางกายภาพรวม 449,066 ไร่
แบ่งเป็น พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) จำนวน 8,830 ไร่ พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) จำนวน 339,330 ไร่ พื้นที่
เหมาะสมเลก็ น้อย (S3) จำนวน 74,527 ไร่ และพืน้ ทไี่ ม่เหมาะสม (N) จำนวน 26,379 ไร่

ส่วนโรงงานหรือแหล่งรับซื้อยางพาราของจังหวัดตราดมีโรงงานแปรรูปผลผลิตจาก
ยางพารา โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา และโรงงานดา้ นการเกษตรอน่ื ๆ ท่ีเกย่ี วขอ้ ง จำนวน 45 แหง่

ภาพที่ 4.25 แผนที่แสดงการเพาะปลูกยางพาราตามชั้นความเหมาะสมและแสดงจุดแหล่งรับซื้อยางพารา
จังหวดั ตราด
ทมี่ า : กรมพัฒนาทดี่ ิน Agri-Map online สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร GISTDA , 2561-2563

83

4.2 ตน้ ทุนการผลิตและผลตอบแทนของสินคา้ สำคญั ทีม่ มี ูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสูง
1) ต้นทุนการปลูกข้าวนาปี มีต้นทุนรวมต่อไร่ เท่ากับ 4,704.60 บาท แบ่งเป็น ต้นทุนผันแปร

3,757.18 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 79.86 ต้นทุนคงที่ 947.42 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20.14 โดยที่ผลผลติ
ต่อไร่ เท่ากับ 592.33 กิโลกรัม ณ ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ 9.03 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะได้
ผลตอบแทนต่อไร่ 5,348.15 บาท ดังนั้นเมื่อเกษตรกรปลูกข้าวนาปี เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่
เท่ากับ 643.55 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.68 ของตน้ ทุนการผลิต

2) ต้นทุนการปลูกข้าวนาปรัง มีต้นทุนรวมต่อไร่ เท่ากับ 5,150.53 บาท แบ่งเป็น ต้นทุนผันแปร
4,045.72 บาท หรือคดิ เป็นรอ้ ยละ 78.55 ตน้ ทุนคงท่ี 1,104.81 บาท หรอื คดิ เป็นรอ้ ยละ 21.45 โดยท่ีผลผลิต
ต่อไร่ เท่ากับ 616.00 กิโลกรัม ณ ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ 8.36 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะได้
ผลตอบแทนต่อไร่ 5,837.83 บาท ดังนั้นเมื่อเกษตรกรปลูกข้าวนาปรัง เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่
เทา่ กับ 687.30 บาท หรอื คิดเป็นร้อยละ 13.34 ของต้นทุนการผลติ

3) ต้นทุนการปลูกมันสำปะหลัง มีต้นทุนรวมต่อไร่ เท่ากับ 6,624.48 บาท แบ่งเป็นต้นทุนผันแปร
5,488.22 บาท หรอื คดิ เปน็ ร้อยละ 82.85 ต้นทนุ คงที่ 1,136.16 บาท หรอื คิดเป็นรอ้ ยละ 17.15 โดยท่ีผลผลิต
ต่อไร่ เท่ากับ 3,497.00 กิโลกรัม ณ ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ 1.87 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะได้
ผลตอบแทนต่อไร่ 6,539.39 บาท ดงั นนั้ เมื่อเกษตรกรปลกู มนั สำปะหลัง เกษตรกรจะไดผ้ ลตอบแทนสทุ ธิต่อไร่
เท่ากบั -85.09 บาท หรอื คิดเปน็ รอ้ ยละ -1.28 ของต้นทนุ การผลิต

4) ต้นทุนการปลูกยางพารา มีต้นทุนรวมต่อไร่ เท่ากับ 10,327.23 บาท แบ่งเป็น ต้นทุนผันแปร
6,550.86 บาท หรอื คิดเปน็ ร้อยละ 63.43 ต้นทุนคงท่ี 3,776.37 บาท หรอื คิดเปน็ รอ้ ยละ 36.57 โดยท่ีผลผลติ
ต่อไร่ เท่ากับ 404.04 กิโลกรัม ณ ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ 18.53 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะได้
ผลตอบแทนต่อไร่ 7,486.86 บาท ดังนั้นเมื่อเกษตรกรปลูกยางพารา เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่
เทา่ กับ -2,840.37 บาท หรือคดิ เปน็ ร้อยละ -27.50 ของต้นทุนการผลิต

ทั้งนี้ หากพิจารณาเปรียบเทียบอัตรากำไรต่อการลงทุนทั้ง 4 สินค้า พบว่า การลงทุน 100 บาท
ในสินค้าขา้ วนาปี ขา้ วนาปรงั มคี วามคมุ้ คา่ ไดก้ ำไร 14 บาท หรือ 13 บาท หรอื คิดเป็นรอ้ ยละ 13-14 แต่อตั รา
กำไรต่อการลงทุนของมันสำปะหลังและยางพารามีการขาดทุนจากการลงทุนร้อยละ 1 และ 28 ตามลำดับ
ดังนั้น หากนำไปเปรียบเทียบกับต้นทุนผลตอบแทนของสินค้าเกษตรทางเลือกควรพิจารณาอัตรากำไรต่อการ
ลงทนุ ดว้ ย เน่อื งจากเกษตรกรแตล่ ะครวั เรือนมเี งนิ ลงทนุ ท่ีมากน้อยตา่ งกนั

84

ตารางท่ี 4.2 ต้นทนุ การผลติ สินคา้ เกษตรหลกั เพ่ือใชเ้ ปรยี บเทียบกบั สินค้าเกษตรทางเลอื ก

รายการ ขา้ วนาปี ระดับภาค1 ยางพารา
1. ต้นทนุ ผันแปร 3,757.18 ขา้ วนาปรัง มันสำปะหลงั 6,550.86

4,045.72 5,488.32

2. ต้นทุนคงท่ี 947.42 1,104.81 1,136.16 3,776.37
3. ต้นทุนรวมต่อไร่ 4,704.60 5,150.53 6,624.48 10,327.23
4. ตน้ ทนุ รวมต่อ กก.
5. ผลผลติ (กก.) 7.94 8.36 1.89 25.56
6. ราคา (บาทตอ่ กก.) 592.33 616.00 3,497.00 404.04
7. ผลตอบแทนต่อไร่ 18.53
8. ผลตอบแทนสุทธติ อ่ ไร่ 9.03 9.48 1.87 7,486.86
5,348.15 5,837.83 6,539.39 -2,840.37

643.55 687.30 -85.09

9. ผลตอบแทนสทุ ธติ อ่ กก. 1.09 1.12 -0.02 -7.03

10. อตั รากำไรตอ่ การลงทนุ 0.14 0.13 -0.01 -0.28

ทมี่ า : 1) ศูนยส์ ารสนเทศการเกษตร สำนกั งานเศรษฐกจิ การเกษตร ตน้ ทนุ ณ ไร่นา (ณ เดือนมิถนุ ายน 2564)

คือภาคกลางซ่ึงรวมภาคตะวันออก

85

4.3 การวิเคราะห์ด้านเศรษฐกจิ สนิ ค้าเกษตรทางเลอื กเชิงลึกของภาคตะวนั ออก
ภาคตะวันออกกำหนดให้สินค้า ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลงั ในพืน้ ท่ีทไี่ ม่เหมาะสมหรือเหมาะสมน้อย

(S3,N) ของแต่ละจังหวัดภาคตะวันออกและยังมีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ เป็นสินค้าหลักของ 9 จังหวัด
ภาคตะวันออก ประกอบดว้ ย จงั หวดั ชลบุรี ระยอง จันทบรุ ี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว
และสมุทรปราการ ควรดำเนินการปรับเปลี่ยนหรือหาสินค้าทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crop) มาเสริม
เพิ่มรายได้ ดังนั้นเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าในพื้นที่ไม่เหมาะสม
(S3,N) จึงควรวิเคราะห์ความเหมาะสมทั้งด้านการผลิต การตลาด และวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจของสินค้า
ทางเลือก (Future Crop) เชิงลึกให้เหมาะสมกับภาคตะวันออก ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้สินค้าหลัก 3 ชนิด ได้แก่
ขา้ ว ยางพารา และมันสำปะหลงั เปรียบเทยี บด้วยสินค้าทางเลือกจำนวน 6 สินคา้ ได้แก่ ไผ่ หญ้าเนเปยี ร์ โกโก้
มะพรา้ วน้ำหอม มะม่วงนำ้ ดอกไม้ และกุ้งก้ามกรามผสมก้งุ ขาวแวนนาไม รายละเอียดดังนี้

4.3.1 ไผ่สนิ ค้าเกษตรทางเลอื กของภาคตะวนั ออก
1) การวเิ คราะห์ข้อมูลด้านการผลติ
ไผ่ พืชทางเลือกใหม่ที่มีอนาคต (Future Crops) ไผ่เป็นพืชตระกูลหญ้าที่ปลูกและเติบโต

ได้ทุกสภาพดิน เหมาะสมทางกายภาพ/ภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ไผ่ทนต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนใน
ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี จุดแข็งของไผ่คือโตเร็ว (โต 3 ฟุต/วัน) ปลูกได้ 45-100 ต้นต่อไร่ และไผ่มีอายุยืนยาว
60 ปขี ้ึนไป ไผ่อยกู่ บั วถิ ชี วี ติ ของคนไทยมาต้ังแต่อดีตถงึ ปัจจุบัน คนไทยนยิ มบริโภคไผ่ และใช้ผลิตภัณฑ์จากไผ่
ผลผลติ ไผข่ ายได้ทั้ง หน่อสด ต้นพันธ์ุ และลำ ใหผ้ ลผลิตเรว็ ลงทุนตำ่ และมีข้นั ตอนการดูแลรักษาน้อย เร่ิมให้
ผลผลิตในปีที่ 1 - 3 เป็นสนิ ค้าท่ีมศี ักยภาพด้านการผลิตและการตลาด สรา้ งมลู คา่ เพิ่มหลากหลายธุรกิจ ลำไผ่
มพี อ่ ค้ามาตัดและรับซ้อื ท่ีสวน และมีความตอ้ งการผลผลิตลำไผใ่ นภาคตะวันออกปริมาณมาก

ผลผลิตไผ่ขายได้ทั้งหน่อไผ่ ต้นพนั ธ์ุไผ่ และลำไผ่ คนไทยนิยมบรโิ ภคไผ่ มกี ารแปรรูปหน่อไผ่
เพื่อถนอมอาหาร รวมทั้งโอกาสต่อยอดแปรรูปและเข้าสู่โรงงาน ส่วนลำสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่าง
หลากหลาย เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมประมง ปักเป็นแนวกันคลื่นและขยะ ค้ำยันในสวนผลไม้ ใช้ทำข้าวหลาม
หนองมน อุตสาหกรรมก่อสร้าง รวมถึงไม้ไผ่สามารถเสริมแนวสวนเพื่อป้องกันลมและป้องกั นสัตว์ป่ารุกล้ำ
ไม้ไผ่อัดแผ่น ไม้ไผ่ชุบน้ำยากันมอด นั่งร้าน งานสถาปัตยกรรม เฟอร์นิเจอร์ และงานหัตกรรมจักสาน อีกท้ัง
การผลิตถ่านจากไผ่ เช่น ถ่านไบโอชาร์ ถ่านชีวภาพ ไผ่สามารถพัฒนาเป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ยขุยไผ่ ไผ่สร้าง
มูลค่าเพิ่มหลายธุรกิจ เช่น น้ำส้มควันไม้ ชาไผ่ เครื่องสำอาง เครื่องนุ่งห่มจากเส้นใยไผ่ เยื่อกระดาษ ภาชนะ
จากไผ่

โดยภาคตะวันออกมีความตอ้ งการใช้ไม้ไผ่มากที่สุดประมาณ 6.7 ล้านลำต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอ
ต่อปริมาณความต้องการใช้ลำไผ่ของภาคตะวันออก ต้องนำเข้าจากภาคอื่นและนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
กว่าร้อยละ 80 ทำให้เกิดต้นทุนโลจิสติกส์ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงในอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะไม้ผล
ดังนั้นควรส่งเสริมให้มีการปลูกไผ่เพื่อใช้ในพื้นที่เพิ่มขึ้น โดยเน้นเรื่องขายลำ จะสามารถลดต้นทุนด้าน
โลจิสติกส์ในการขนส่งไผ่จากนอกพื้นที่ภาคตะวันออกและลดการนำเข้าไม้ไผ่จากต่างประเทศได้ ดังนั้น ไผ่
พืชทางเลือกใหม่ที่มีอนาคต (Future Crops) เหมาะสมกับจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา

86

ปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว เป็นพืชอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนการปลูกข้าว ยางพารา
และมันสำปะหลัง ท่อี ยใู่ นเขตเหมาะสมน้อยหรือไม่เหมาะสมได้ หรอื แหล่งเกิดโรคใบดา่ งมันสำปะหลัง จะเห็น
ได้วา่ ภาคตะวันออก เปน็ ภาคทีเ่ หมาะสมต่อการปลูกไผ่ มคี วามเหมาะสมทางกายภาพ/ภมู ิศาสตร์ มีศักยภาพ
ทั้งด้านการผลิตและการตลาด สอดคล้องกับสังคมวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ทั้งนี้ควรร่วมขยายผลยกระดับเป็น
แนวทางการพัฒนาไผไ่ ม้เศรษฐกจิ ภาคตะวนั ออกต่อไป

ซึ่งตามนโยบาย กษ. เร่งให้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว ยางพารา
มันสำปะหลัง มาปรับเปลี่ยนเป็นพืชอื่นแทนหรือปลูกผสมผสานเพิ่มรายได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินให้เหมาะสม
เกดิ ผลประโยชนส์ งู สุดน้ัน โดยสำนกั งานเศรษฐกจิ การเกษตรไดร้ บั นโยบายและทำการวเิ คราะห์ข้อมูลพืชของ
ภาคตะวันออกแล้ววิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนเปรียบเทียบกับสินค้าทางเลือกเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สนับสนุนเกษตรกรปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกสินค้าหลักทั้ง 3 ชนิด ปรับเปลี่ยนมาเป็น
กจิ กรรมอ่นื เป็นพืชทางเลือกหรอื พชื เสริมรายได้ สามารถเปรียบเทียบตน้ ทนุ ได้ดังนี้

จากข้อมูลต้นทุนการผลิตสินค้าหลักทั้ง 3 ชนิดในระดับภาค พบว่า ต้นทุนการผลิตข้าวนาปี
มีต้นทุนรวมต่อไร่ เท่ากับ 4,704.60 บาท เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนต่อไร่ 5,348.15 บาท ดังน้ัน
เมื่อเกษตรกรปลูกข้าวนาปี เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ เท่ากับ 643.55 บาท ต้นทุนการปลูก
ขา้ วนาปรงั มีตน้ ทนุ รวมต่อไร่ เทา่ กบั 5,150.53 บาท เกษตรกรจะไดผ้ ลตอบแทนต่อไร่ 5,837.83 บาท ดงั น้ัน
เมื่อเกษตรกรปลูกข้าวนาปรัง เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ เท่ากับ 687.30 บาท ต้นทุนการปลูก
มันสำปะหลัง มีต้นทุนรวมต่อไร่ เท่ากับ 6,624.48 บาท เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนต่อไร่ 6,539.39 บาท
ดังนั้นเมื่อเกษตรกรปลูกมันสำปะหลัง เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ เท่ากับ -85.09 บาท และต้นทุน
การปลูกยางพารา มีต้นทุนรวมต่อไร่ เท่ากับ 10,327.23 บาท เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนต่อไร่ 7,486.86 บาท
ดังนั้นเมื่อเกษตรกรปลูกยางพารา เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ เท่ากับ -2,840.37 บาท (ตารางที่ 4.3)
ซึ่งนำมาเปรียบเทียบกับต้นทุนและผลตอบแทนของไผ่สินค้าทางเลือก พบว่า ต้นทุนการผลิตหน่อไผ่
ภาคตะวันออกปี 2563 มีตน้ ทุนรวมเท่ากบั 11,212.06 บาท/ไร/่ ปี โดยส่วนใหญ่จะเปน็ ตน้ ทุนผันแปร เท่ากับ
9,346.13 บาท/ไร่/ปี หรือคิดเป็นร้อยละ 83.36 เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าแรงงานในการดูแลรักษา ค่าปุ๋ย
เป็นต้น ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด มีผลผลิตต่อไร่แบบผลสด 1,209 กิโลกรัม ราคาที่เกษตรกรขายได้ 15.83
บาท/กิโลกรมั ใหผ้ ลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 19,133.25 บาท มีผลตอบแทนสุทธติ ่อไร่เทา่ กบั 7,921.19 บาท มอี ตั รา
ผลตอบแทนสุทธิต่อการลงทุน 0.71 ถือว่ายังมีกำไรต่อการลงทุนเพราะอายุขัยของไผ่ประมาณ 60 ปีขึ้นไป
ต้นทุนการผลิตลำไผ่ภาคตะวันออกปี 2563 มีต้นทุนรวมเท่ากับ 17,925.95 บาท/ไร่/ปี โดยส่วนใหญ่จะเป็น
ต้นทุนผันแปร เท่ากับ 15,827.22 บาท/ไร่/ปี หรือคิดเป็นร้อยละ 88.29 เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าแรงงาน
ตัดแต่งกิ่ง ค่าปุ๋ย เป็นต้น ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด มีผลผลิตต่อไร่ 500 ลำ ราคาที่เกษตรกรขายได้
60 บาท/กิโลกรัม ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 30,000 บาท มีผลตอบแทนสุทธติ ่อไร่เท่ากับ 12,074.05 บาท
มอี ตั ราผลตอบแทนสุทธติ ่อการลงทุน 0.67 ถอื วา่ ยังมีกำไรต่อการลงทนุ เพราะอายุขัยของไผป่ ระมาณ 60 ปีข้ึนไป
และตน้ ทุนการผลติ กงิ่ พันธ์ไุ ผ่ภาคตะวนั ออกปี 2563 มตี น้ ทุนรวมเทา่ กับ 34,372.09 บาท/ไร่/ปี โดยสว่ นใหญ่
จะเป็นต้นทุนผันแปร เท่ากับ 32,449.34 บาท/ไร่/ปี หรือคิดเป็นร้อยละ 94.41 เช่น ค่าแรงงานในการดูแล

87

รักษา ค่าปุ๋ย ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด มีผลผลิตต่อไร่ 5,717
กิ่งต่อไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 14 บาท/กิ่ง ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 80,038 บาท มีผลตอบแทนสุทธิ
ต่อไร่เท่ากับ 45,665.91 บาท มีอัตราผลตอบแทนสุทธิต่อการลงทุน 1.33 ถือว่ายังมีกำไรต่อการลงทุนเพราะ
อายขุ ยั ของไผป่ ระมาณ 60 ปขี ึ้นไป (ตารางท่ี 4.4)

ซง่ึ เมือ่ เปรียบเทยี บกบั ผลตอบแทนจากการผลติ ไผ่ แต่ละประเภททัง้ ใชห้ นอ่ ใชล้ ำไม้ไผ่ และกงิ่ พันธุ์ไผ่
พบวา่ ไผม่ ีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ในช่วง 8,000-45,000 บาทตอ่ ไร่ ซึง่ มากกว่าการผลิตพืชหลักท้ัง 3 ชนิด
และมีอตั รากำไรต่อการลงทนุ ที่คุ้มค่าต่อการลงทุนมากกว่า

ตารางที่ 4.3 ต้นทุนการผลติ สินคา้ สำคัญ ขา้ วนาปี ขา้ วนาปรงั ยางพารา และมนั สำปะหลัง ปี 2563

รายการ ระดับภาค 1)

1. ตน้ ทนุ ผันแปร ขา้ วนาปี ขา้ วนาปรัง ยางพารา มันสำปะหลงั
2. ต้นทนุ คงที่
3. ต้นทุนรวมตอ่ ไร่ 3,757.18 4,045.72 6,550.86 5,488.32
4. ต้นทุนรวมต่อหน่วย
5. ผลผลิตต่อไร่ 947.42 1,104.81 3,776.37 1,136.16
6. ราคา (บาท) 4,704.60 6,624.48
7. ผลตอบแทนต่อไร่ 5,150.53 10,327.23
8. ผลตอบแทนสทุ ธติ อ่ ไร่ 7.94 1.89
9. ผลตอบแทนสุทธิตอ่ กก. 592.33 8.36 25.56 3,497.00
10. อัตรากำไรตอ่ การลงทนุ
9.03 616.00 404.04 1.87
5,348.74 6,539.39
9.48 18.53
644.14 -85.09
5,839.68 7,486.86
1.09 -0.02
0.14 689.15 -2,840.37 -0.01

1.12 -7.03

0.13 -0.28

ที่มา : 1) ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ต้นทุน ณ ไร่นา (ณ เดือนมิถุนายน
2564)

2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรท่ี 6

88

ตารางท่ี 4.4 ต้นทุนการผลิตไผ่สินค้าทางเลือกปี 2563

รายการ หนอ่ (กก.) ภาคตะวันออก 2) ก่ิงพนั ธุ์ (ต่อกง่ิ )
9,346.13 32,449.34
1. ต้นทนุ ผนั แปร 1,865.93 ลำ (ตอ่ ลำ) 1,922.75
2. ตน้ ทนุ คงท่ี 11,212.06 15,827.22 34,372.09
3. ต้นทนุ รวมต่อไร่ 9.28 2,098.73 6.01
4. ตน้ ทุนรวมตอ่ หน่วย 1,209 17,925.95 5,717
5. ผลผลิตตอ่ ไร่ 15.83 35.85 14.00
6. ราคา (บาท) 500 80,038.00
7. ผลตอบแทนต่อไร่ 19,133.25 60 45,665.91
8. ผลตอบแทนสทุ ธิตอ่ ไร่ 7,921.19 30,000
9. ผลตอบแทนสุทธติ ่อ กก. 12,074.05 7.99
10. อัตรากำไรต่อการลงทุน 6.55 1.33
0.71 24.15
ที่มา : 1) สำนกั งานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 0.67

2) การวิเคราะห์ข้อมูลดา้ นการตลาด
โครงสร้างตลาดไผ่และลกั ษณะการขายผลผลติ เกษตรกรผู้ปลูกไผ่ จะมีลักษณะการขายผลผลิต
แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ ขายแบบผลสด ขายลำ และขายกิ่งพันธุ์ วิถีการตลาดไผ่ภาคตะวันออกปี 2563
แบ่งเป็น วิถีการตลาดไผ่ที่เป็น หน่อ ลำ และกิ่งพันธุ์ ดังน้ี
2.1) วิถีตลาดของไผ่ (หน่อ) ในภาคตะวันออก การกระจายผลผลิตหน่อของเกษตรกรผ้ผู ลิต
ขายผ่านโรงงานแปรรูป ขายปลีกให้กับผู้บรโิ ภคในพื้นที่ ขายพ่อค้ารวบรวม และวิสาหกิจชมุ ชนกลุ่มเกษตรกร
โดยพอ่ คา้ รวบรวมผลผลิตไผ่ (หน่อ) จากเกษตรกรเพื่อไปกระจายต่อสู่ตลาดในประเทศ ได้แก่ ตลาดสี่มุมเมือง
ตลาดไท ตลาดชายแดน ตลาดราชบรุ ี ตลาดมหาชัย และหา้ งสรรพสนิ คา้ แมค็ โคร

89

ภาพท่ี 4.26 : วิถีการตลาดไผ่ (หน่อ) ภาคตะวันออกปี 2563
ที่มา : จากการสำรวจ

2.2) วิถีตลาดของไผ่ (ลำ) ในภาคตะวนั ออก เกษตรกรผู้ปลูกไผ่ใช้ลำส่วนใหญ่ปลูกเพ่ือขายลำ
วิถีการตลาดลำไผ่ในภาคตะวันออก การกระจายผลผลิตของเกษตรกร โดยเกษตรกรเก็บไว้ใช้งานเองในสวน
ขายให้โรงงานชวี มวล ขายปลีกพ่อค้ารวบรวมในภาคตะวันออก พ่อค้ารวบรวมนอกภาคตะวันออก โดยพ่อค้า
รวบรวมจะกระจายผลผลิตลำไปโรงงานแปรรูป อุตสาหกรรมก่อสร้าง เฟอร์นเิ จอร์ ขา้ วหลามหนองมน ไม้ค้ำยัน
ผลไม้ อตุ สาหกรรมประมง และแนวกันคลืน่ และขยะ

90

ภาพที่ 4.27 : วถิ กี ารตลาดไผ่ (ลำ) ภาคตะวนั ออกปี 2563
ที่มา : จากการสำรวจ

วิถีตลาดของไผ่ (กิ่งพันธุ์) ในภาคตะวันออก การซื้อขายกิ่งชำพันธุ์ จะเป็นการรับทำกิ่งพันธ์ุ
ตามออเดอร์ โดยคำส่งั ซือ้ จากนายหน้าหลายเจ้ามาทีแ่ กนนำของกลุ่มในหมบู่ ้านซึ่งมหี ลายแกนนำ แต่สว่ นใหญ่
แกนนำหลักคือเจ้าของศูนย์เรียนรู้ไผ่เศรษฐกิจชุมชนบ้านคลองปริง จากนั้นจะจัดสรรคำสั่งซื้อให้กับสมาชิกท่ี
ทำการเพาะชำกิ่งพันธุ์ไผ่ในพันธุท์ ี่ตลาดต้องการ ซึ่งมีวิถีการตลาดดงั นี้ เกษตรกรชำกิ่งพันธ์ุ ส่วนใหญ่กระจาย
ผลผลิตกิ่งพันธุ์โดยการขายปลีก ขายผ่านพ่อค้ารวบรวมในภาคตะวันออก พ่อค้ารวบรวมนอกภาคตะวันออก
โดยพ่อค้ารวบรวมกิ่งพันธุ์จากเกษตรกรเพื่อไปกระจายสู่ตลาดไม้ดอกไม้ประดับ ตลาดบ้านดงบัง ตลาดบ้าน
หนองชะอม ตลาดไม้ดอกไม้ประดับคลอง 15 ขายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ และ
ขายตา่ งประเทศ เชน่ ลาว กมั พูชา มาเลเซยี และเวยี ดนาม

91

ภาพท่ี 4.28 : วิถีการตลาดไผ่ (ก่ิงพนั ธ์ุ) ภาคตะวนั ออกปี 2563
ทมี่ า : จากการสำรวจ

3) การวเิ คราะห์ดา้ นเศรษฐกิจของไผเ่ ชงิ ลกึ ของภาคตะวนั ออก
สินค้าไผภ่ าคตะวนั ออก เกษตรกรสว่ นใหญ่ปลูกเปน็ สวนไผ่เชิงเด่ียว ผลผลิตไผ่ขายได้ทง้ั หน่อไผ่
ตน้ พันธ์ุไผ่ และลำไผ่ คนไทยนยิ มบรโิ ภคไผ่ มกี ารแปรรูปหน่อไผ่ เพอ่ื ถนอมอาหาร รวมทงั้ โอกาสต่อยอดแปรรูป
และเขา้ สโู่ รงงาน สว่ นลำไผส่ ามารถใช้ในอตุ สาหกรรมประมง ปกั เป็นแนวกันคล่ืนและขยะ ค้ำยันในสวนผลไม้
ใช้ทำข้าวหลามหนองมน อุตสาหกรรมก่อสร้าง รวมถึงไม้ไผ่สามารถเสริมแนวสวนเพื่อป้องกันลมและป้องกัน
สัตว์ป่ารุกล้ำ ไม้ไผ่อัดแผ่น ไม้ไผ่ชุบน้ำยากันมอด นั่งร้าน งานสถาปัตยกรรม เฟอร์นิเจอร์ และงานหัตกรรม
จักสาน อีกทั้งการผลิตถ่านจากไผ่ เช่น ถ่านไบโอชาร์ ถ่านชีวภาพ ไผ่สามารถพัฒนาเป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ยขุยไผ่
ไผ่สร้างมูลค่าเพิ่มหลายธุรกิจ เช่น น้ำส้มควันไม้ ชาไผ่ เครื่องสำอาง เครื่องนุ่งห่มจากเส้นใยไผ่ เยื่อกระดาษ
ภาชนะจากไผ่
หน่อไผ่เกษตรกรส่วนใหญ่ขายใหผ้ ู้รวบรวมท้องถ่ิน และวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มเกษตรกร ขายให้
โรงงานแปรรูป และเก็บไว้แปรรูปเอง ซึ่งภาคตะวันออกมีจุดเด่นที่มีผู้รวบรวมหลายราย แล้วผลผลิตกระจาย
ไปตลาดต่าง ๆ ในประเทศ ส่วนการแปรรปู หนอ่ ไผ่ ส่วนใหญ่จะเป็นการแปรรปู เพื่อส่งออก โดยผลผลิตหน่อไผ่
ของภาคตะวนั ออกเพยี งพอต่อความต้องการบรโิ ภคของผู้บริโภค
กิ่งพันธุ์ไผ่เกษตรกรส่วนใหญ่ขายตามออเดอร์ โดยเกษตรกรชำกิ่งพันธุ์ ส่วนใหญ่กระจาย
ผลผลิตกิ่งพันธุ์โดยขายผ่านพ่อค้ารวบรวมในภาคตะวันออก พ่อค้ารวบรวมนอกภาคตะวันออก โดยพ่อค้า
รวบรวมกิ่งพันธุ์จะกระจายสู่ตลาดไม้ดอกไม้ประดับ ตลาดบ้านดงบัง ตลาดบ้านหนองชะอม ตลาดไม้ดอก

92

ไม้ประดับคลอง 15 ขายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ และขายต่างประเทศ เช่น ลาว กัมพูชา
มาเลเซีย และเวียดนาม

ลำไผ่เกษตรกรผู้ปลูกไผ่ใช้ลำส่วนใหญ่กระจายผลผลิตผ่านพ่อค้ารวบรวมในภาคตะวันออก
พ่อค้ารวบรวมนอกภาคตะวันออก โดยพอ่ ค้ารวบรวมจะกระจายผลผลติ ลำไปยังอตุ สาหกรรมประมง ไม้ค้ำยัน
ผลไม้ ขา้ วหลามหนองมน แนวกนั คลน่ื และขยะ อุตสาหกรรมก่อสร้าง เฟอร์นเิ จอร์ โรงงานแปรรูป และโรงงาน
ชีวมวล ลำบางสว่ นขายปลีก เกษตรกรเกบ็ ไวใ้ ช้งานเองในสวน ผลผลติ ลำไผ่ไมเ่ พียงพอตอ่ ความต้องการบริโภค
ของผ้บู ริโภค

เมื่อพิจารณาสินค้าข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ในพื้นที่ไม่เหมาะสมในจังหวัดชลบุรี
ระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว เปรียบเทียบกับสินค้าพืชทางเลือกหรือ
พชื เสริมรายได้ของภาคตะวันออกแล้ว ไผ่ เปน็ พชื ทางเลือกหรือเสริมรายได้ท่ีเหมาะสมกับ 7 จังหวัดนำร่อง
ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว เพราะมีสภาพพื้นท่ี
ทเ่ี หมาะสมกับการปลูกไผ่ มีความเหมาะสมทางกายภาพ/ภูมิศาสตร์ มศี ักยภาพทัง้ ด้านการผลติ และการตลาด
สอดคล้องกับสังคมวัฒนธรรมและวิถีชวี ิต และสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาระดับพื้นที่ รวมทั้งความ
ต้องการใชล้ ำไผ่ในภาคตะวนั ออกที่มปี รมิ าณมากใชใ้ นหลากหลายอตุ สาหกรรม และมโี อกาสตอ่ ยอดสร้างธุรกิจ
แปรรูปไผต่ ่อเนือ่ ง

แหล่งผลิตไผ่ที่สำคัญของภาคตะวันออก มีเนื้อที่เก็บเกี่ยวผลผลิต จำนวน 15,667 ไร่ พื้นท่ี
ปลกู มากทส่ี ุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ จังหวัดปราจนี บุรี จำนวน 10,031 ไร่ คดิ เปน็ ร้อยละ 64.03 จังหวดั นครนายก
จำนวน 2,586 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.51 จังหวัดฉะเชิงเทราจำนวน 2,586 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.30 จังหวัด
สระแก้ว จำนวน 933 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.96 จังหวัดชลบุรี จำนวน 455 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.90 โดยมีพื้นที่
ปลูกที่สำคัญ 7 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว
โดยจังหวัดปราจีนบุรี ปลูกไผ่มากในอำเภอประจันตคาม อำเภอเมือง และอำเภอนาดี จังหวัดนครนายก
ปลูกไผ่มากในอำเภอปากพลี และอำเภอบ้านนา จังหวัดฉะเชิงเทรา ปลูกไผ่มากในอำเภอท่าตะเกียบ และ
อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดสระแก้ว ปลูกไผ่มากในอำเภอคลองหาด อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอเมือง และอำเภอ
เขาฉกรรจ์ จังหวัดชลบุรี ปลูกไผ่มากในอำเภอบ่อทอง อำเภอบ้านบึง และอำเภอพนัสนิคม จังหวัดระยอง
ปลูกไผม่ ากในอำเภอแกลง จังหวดั จนั ทบุรี ปลูกไผม่ ากในอำเภอโปง่ น้ำร้อน และอำเภอสอยดาว

แหล่งรับซื้อผลผลิตของภาคตะวันออก ในปี 2563 มีการกระจายตัวทั่วทั้งภาคตะวันออก
แหลง่ รับซ้ือผลผลิตหนอ่ ได้แก่ อำเภอประจนั ตคาม อำเภอเมอื ง จงั หวดั ปราจีนบุรี อำเภอทา่ ตะเกยี บ จังหวัด
ฉะเชิงเทรา อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก อำเภอเขาฉกรรจ์ จงั หวัดสระแก้ว อำเภอบ่อทอง
และอำเภอพนัสนคิ ม จังหวัดชลบรุ ี มีโรงงานแหล่งรบั ซื้อหนอ่ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอพนัสนคิ ม
จงั หวดั ชลบรุ ี

แหล่งรับซื้อกิ่งพันธุ์ ได้แก่ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอเมือง
จงั หวดั ปราจนี บรุ ี อำเภอองครกั ษ์ จังหวดั นครนายก

93

แหล่งรับซื้อลำ ได้แก่ อำเภอประจันตคาม อำเภอเมือง อำเภอบ้านสร้าง อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอ
ศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอเมือง อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหบี จังหวัดชลบุรี อำเภอ
บางปะกง อำเภอเมอื ง อำเภอบ้านโพธ์ิ อำเภอคลองเข่ือน จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอแกลง อำเภอเมอื ง อำเภอ
บ้านฉาง อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง อำเภอขลุง อำเภอท่าใหม่ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอแหลมสิงห์
อำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอคลองหาด อำเภอวังน้ำเย็น
จังหวดั สระแกว้ มีโรงงานแหลง่ รับซอ้ื ลำเพ่ือแปรรูป อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอแกลง จังหวดั ระยอง
อำเภอพนัสนิคม จังหวดั ชลบรุ ี

ตารางท่ี 4.5 แหลง่ รบั ซอื้ ผลผลติ ของภาคตะวันออก ในปี 2563

ช่ือโรงงาน ประมาณการปรมิ าณ พิกัด
/ผปู้ ระกอบการ ความตอ้ งการรบั ซ้อื
ท่อี ยู่ หรอื กำลังการผลติ ตอ่ ปี XY
บรษิ ทั Siam Bicent
Commercial 199 ม.10 ถ.สุวรรณศร 634 ตนั 764082 1564693
ต.ดงขีเ้ หลก็ อ.เมอื ง
บรษิ ัทแพนอินดสั เตรยี ล จ.ปราจีนบรุ ี 84 ตนั 747226 1489283
ปารค์ จำกดั 99 ม.5 ต.นาวังหิน
อ.พนัสนคิ ม 500,000 กง่ิ 769130 1469825
สวนไผ่เศรษฐกิจ (มะนาว อบต. จ.ชลบุรี
ฤกษ์) ต.เกษตรสุวรรณ 200,000 กิ่ง 822695 1505239
อ.บอ่ ทอง 150,000 กง่ิ
นายประสาน สขุ สทุ ธ์ิ จ.ชลบุรี 100,000 กิง่ 750741 1565595
ต.หนองหวา้ อ.เขาฉกรรจ์ 100,000 ลำ 788458 1414915
สวนไผ่นานาพนั ธุ์ จ.สระแก้ว
โย่ง แบมบู (นายณรงค์ พลิ าแพง) อ.เมอื ง จ.ปราจีนบรุ ี 100,000 ลำ 767492 1560684
อ.แกลง จ.ระยอง 100,000 ลำ
Thailand Bamboo Factory ต. เนินหอ้ ม อ. เมือง 100,000 ลำ 767709 1563408
คณุ เบริ ด์ รับซ้ือลำแนวกันคลื่น จ.ปราจีนบุรี 10,000 ลำ 788458 1414915
และอุตสาหกรรมประมง
ไผ่พญาบรู พา (ปา้ ดา) จังหวดั กาญจนบุรี 822274 1536420
โย่ง แบมบู (นายณรงค์ พลิ าแพง)
อ.เมือง จ.ปราจนี บุรี
โรงไฟฟ้าชีวมวล อ.แกลง จ.ระยอง
160 ม. 14 ต.ศาลาลำดวน
ทม่ี า : จากการสำรวจ อ.เมือง จ.สระแกว้

94

4) การประมาณการอปุ สงค์อปุ ทานสนิ คา้ ในพ้ืนที่เป้าหมาย
การวิเคราะห์ถึงบัญชีสมดุลสินค้าไผ่ในภาคตะวันออก การกระจายตัวในรัศมี 100 กิโลเมตร
พบวา่ หน่อ ประมาณการผลผลิต สามารถผลิตได้ 9,153 ตัน และมีความตอ้ งการใช้หรือการนำไปใช้ประโยชน์
มีปริมาณ 9,200 ตัน โดยการนำไปใช้ภายในภาคตะวันออก และการส่งออกไปตลาดทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ ดังนั้น จึงสรุปผลการวิเคราะห์ผลผลิตหน่อไผ่ของภาคตะวันออก ตลาดมีความสมดุล ผลผลิต
มเี พียงพอเหมาะสมกับปริมาณการบริโภค
กิ่งพันธ์ุ ประมาณการผลผลิต สามารถผลิตได้ 4,635,121 กิ่ง และมีความต้องการใช้หรือ
การนำไปใชป้ ระโยชนม์ ีปรมิ าณ 4,640,000 กิง่ โดยการนำไปใชภ้ ายในภาคตะวนั ออก และการส่งออกไปตลาด
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น จึงสรุปผลการวิเคราะห์ผลผลิตกิ่งพันธุ์ไผ่ของภาคตะวันออก ตลาดมี
ความสมดุล ผลผลติ มเี พยี งพอเหมาะสมกับปริมาณความต้องการการใช้ก่ิงพนั ธ์ุ
ลำ ประมาณการผลผลิต สามารถผลิตได้ 819,070 ลำ และมีความต้องการใช้หรอื การนำไปใช้
ประโยชน์มีปริมาณ 6,776,000 ลำ โดยการนำไปใช้ภายในภาคตะวันออกไม่เพียงพอ ยังขาดความสมดุลกับ
ความต้องการใช้ อย่างไรก็ตาม พบว่า ความต้องการใช้หรือการนำไปใช้ประโยชน์ ยังขาดอีกจำนวน
5,956,930 ลำ ดังนั้น ต้องนำเข้ามาจากนอกภาคตะวันออก จึงต้องส่งเสริมให้ปลูกไผ่ เพื่อใช้ลำอีกประมาณ
11,914 ไร่ ในพน้ื ท่ีนำร่อง 7 จงั หวัดภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกมคี วามต้องการใชไ้ ม้ไผ่มากถงึ 6-7 ลา้ นลำตอ่ ปี ดังนี้
- ไม้ไผ่ด้านอุตสาหกรรมประมง ทำโป๊ะจับปลา เลี้ยงหอย เลี้ยงปลากระชัง พันธุ์ไผ่ที่ใช้ ได้แก่
ไผร่ วก ไผ่เลี้ยง ไผ่ตง ไผซ่ างหมน่ และไผห่ นาม เปน็ ตน้ มีความต้องการใช้ปลี ะประมาณ 4,800,000 ลำ/ปี
- ไม้ไผ่เพื่อการค้ำยันในสวนผลไม้ ค้ำสวนทุเรียน สวนลำไย และต้นกล้วย เป็นตัน พันธุ์ไผ่ที่ใช้
ได้แก่ ไผ่เลี้ยง ไผ่ลวก ไผ่ซางหม่น และไผ่กิมซุง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 - 4 นิ้ว ยาว 4 - 8 เมตร
มีความต้องการใช้ประมาณ 800,000 ลำ/ปี
- ไม้ไผ่เพื่อข้าวหลามหนองมน พันธุ์ไผ่ที่ใช้ ได้แก่ ไผ่หนาม หรือไผ่ป่า เส้นผ่าศูนย์กลาง
3 - 3.5 นิ้ว ยาว 6 เมตร มคี วามต้องการใช้ประมาณ 576,000 ลำ/ปี
- ไม้ไผ่นำไปปักเป็นแนวกันคลื่นและขยะ พันธุ์ไผ่ที่ใช้ ได้แก่ ไผ่ซางหม่น และไผ่เลี้ยง มีขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้วขึ้นไป ส่วนใหญ่ใช้ 5 - 9 นิ้ว ยาว 6 เมตรขึ้นไป มีความต้องการใช้ปีละประมาณ
400,000 ลำ/ปี
- ไมไ้ ผ่ทีใ่ ช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง งานกอ่ สร้างจากไมไ้ ผ่ สถาปตั ยกรรม ไม้นงั่ รา้ น พนั ธุ์ไผท่ ่ใี ช้
ได้แก่ ไผ่ซางนวล ไผ่ซางหม่น และไผ่ตง เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 - 4 นิ้ว ยาว 6 เมตร มีความต้องการใช้ประมาณ
200,000 ลำ/ปี

95
สรุปการประมาณการณอ์ ปุ สงค์และอุปทานไผ่ ปี 2563
กิ่งพันธุ์ ประมาณความต้องการใช้ 4,640,000 กิ่ง กิ่งพันธ์ุ ประมาณการผลผลิต 4,635,121 กิ่ง เพียงพอ
เหมาะสม
หนอ่ ประมาณความต้องการใช้ 9,200 ตนั หน่อ ประมาณการผลผลติ 9,153 ตนั เพียงพอเหมาะสม
ลำ ประมาณความต้องการใช้ 6,776,000 ลำ ลำ ประมาณการผลผลติ 819,070 ลำ ยงั ไมเ่ พยี งพอ
โดยความตอ้ งการใช้ “ลำ” ยังขาดผลผลิตอีก 5,956,930 ลำ ควรส่งเสริมให้ปลูกไผ่ เพื่อใชล้ ำอีกประมาณ
11,914 ไร่

ภาพท่ี 4.29 : การประมาณการอปุ สงค์อุปทานไผใ่ นพื้นที่เปา้ หมายของภาคตะวันออก
ท่มี า : จากการวเิ คราะห์

ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อตลาดหน่อสด มีมาตรการ
ปิดตลาด และมาตรการเคอร์ฟิว ส่งผลกระทบต่อการขนส่ง การค้าและการส่งออกสินค้าเกษตร ราคาสินค้า
หน่อสดตกต่ำ ความต้องการบริโภคไผ่ลดลง เนื่องจากผู้บริโภคมีกำลังการซื้อที่ลดลงตามสภาพเศรษฐกิจ
รวมทั้งตลาดปิด ส่งกระทบต่อการกระจายสินค้า และต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น เมื่อตลาดมีความต้องการสินค้าไผ่
ที่ลดลง ทำให้เกษตรกรไม่มีตลาดขายผลผลิตหน่อ เกษตรกรจำเป็นต้องปล่อยหน่อทิ้งให้โตเป็นลำต่อไป และ
บางส่วนกแ็ ปรรูป

96

5) มาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน
และเกษตรกร
มาตรการตน้ ทาง

1. จัดพน้ื ที่ Zoning เขตเมอื ง เขตอุตสาหกรรม เขตเกษตรกรรมจัดพืน้ ท่ีเหมาะสมการปลกู พืชแตล่ ะชนิด
2. อพั เดทการขึ้นทะเบยี นเกษตรกร พ้นื ที่เพาะปลกู ไผเ่ พอ่ื เปน็ ข้อมลู supply
3. ส่งเสริมการถา่ ยทอดองค์ความรู้แปลงต้นแบบ Sharing ทง้ั การปลูก การดแู ลรักษา และการดงู าน
4. มเี ครือขา่ ย Connection การรวมกลุ่มวิสาหกจิ ชุมชนแปลงใหญ่
5. ใชเ้ ทคโนโลยมี าช่วยในการผลิต การรักษาคณุ ภาพสนิ ค้า
6. สรา้ งแหล่งนำ้ ให้เกษตรกร (บอ่ จิ๋ว สระนำ้ /บอ่ น้ำชมุ ชน)
7. สนับสนุนเงนิ ช่วยเหลอื ในการปรบั เปลยี่ น ขัน้ ตอนสำหรับปีทีย่ งั ไมใ่ ห้ผลผลิต
8. สนับสนนุ ปจั จยั การผลิต และชว่ ยควบคุมดูแลราคาปัจจัยการผลิต
9. สนบั สนุนเงนิ ทนุ ดอกเบีย้ ตำ่
10. ควรมีศูนย์เรียนรู้แปลงไผ่ต้นแบบครบวงจรในระดับพื้นที่ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง
(เกษตรจังหวดั /สวพ.6/พด./ส.ป.ก.)
มาตรการกลางทาง
1. ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรให้มีทักษะที่เหมาะสมและจำเป็นทั้งในด้านการผลิต การตลาด
การจัดการหลังการเก็บเก่ียว และสนบั สนุนทุนและเทคนคิ การแปรรูปข้ันตน้ เป็นผลติ ภัณฑ์ เชน่ หนอ่ ดว้ ยการดอง
ถุงซีลหน่อไม้ ชาไผ่ การแปรรูปไม้ไผ่ หัตถกรรมเส้นใยไผ่ เฟอร์นิเจอร์ ปุ๋ยขุยไผ่ และถ่านไผ่ เป็นต้น
(เกษตรจังหวดั /AIC แปรรปู /ศูนยส์ ่งเสริมอตุ สาหกรรมภาค 9)
2. สนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่และนำนวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มกับ
ทุกส่วนของไผ่แบบ (BCG) ทั้งในด้านการสร้างอัตลักษณ์ไผ่ตะวันออก ให้หลากหลายได้มาตรฐานสากลและ
มีตันทนุ การผลิตทีส่ ามารถแขง่ ขันไดใ้ นตลาดโลก (สสว./สวก./สหกรณจ์ ังหวัด/AIC/พาณิชย)์
3. สร้างความรว่ มมือ KU–Bamboo in Thailand Project โครงการเพิ่มศักยภาพการจัดการธุรกิจไผ่
ไม้เศรษฐกจิ ชุมชน
4. สนับสนุนกลุ่มเกษตรกร ผู้แปรรูป สหกรณ์ที่มีความสามารถเป็นแหล่งรับซื้อและแหล่งแปรรูป
ผลผลติ ไผ่ใหก้ บั เกษตรกรท่ีปรับเปล่ียนและสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายได้อย่างต่อเน่ือง และประชาสัมพันธ์
เพ่อื กระตุ้นการขายผลผลติ (สหกรณ์จงั หวัด/ส.อ.ท./พาณิชย์ sale man)
มาตรการปลายทางตลาดนำการผลิต
1. ระดบั นโยบาย กษ. ใชก้ ลไกคณะกรรมการความร่วมมือ กษ. กบั สภาอตุ สาหกรรมแห่งประเทศไทย
(กรกอ.) เพื่อเชื่อมโยงเป็นคลัสเตอร์ไผ่ สมุนไพร ซึ่งมีอุตสาหกรรมที่หลากหลายทั้งอาหารและเครื่องด่ืม
เครอื่ งสำอาง (กษ./(ส.ป.ก./กสก.)/ส.อ.ท./พณ./อว.)
2. จัดทำแผน Bamboo BCG Value Chain เป็นแผนพัฒนารายสินค้าที่สำคัญของจังหวัด/
กลุ่มจังหวัด (กษ.จ./พณ./อก./ทท./อว./ทส.)

97

3. ระดับพื้นที่สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการในพื้นที่กับกลุ่มเกษตรกร
เพื่อทราบถึงปริมาณและคุณภาพมาตรฐานผู้ประกอบการต้องการ (ส.อ.ท.จังหวัดและภาค/สภาหอการค้า/
เกษตรจังหวัด)

4. ไผแ่ ละผลติ ภณั ฑ์ไผข่ องไทยสง่ เสรมิ ในตลาดลว่ งหน้าอยา่ งจริงจัง (พณ.)
ซึ่งหากแบง่ มาตรการของแตล่ ะชนดิ การใชป้ ระโยชน์จากไผด่ ังนี้

มาตรการลำ
1. งานวจิ ยั พัฒนาสินคา้
2. สนบั สนุนเครอื ข่าย เชื่อมโยง โรงงานอุตสาหกรรม
3. สนบั สนนุ Technology เครอื่ งมอื การตัดไม้
4. ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของไมไ้ ผ่ ความแข็งแรงคงทน รณรงคใ์ หข้ องในประเทศคุณภาพดี
5. สนบั สนนุ ดา้ นการตลาดสง่ ออก
มาตรการหน่อ
1. สนบั สนนุ เครอื ขา่ ยเชือ่ มโยงโรงงานอุตสาหกรรม
2. สนบั สนุนด้านตลาดส่งออก
3. ประกันราคา
4. สนับสนุนสอนเรอ่ื งตลาดออนไลน์
5. สนับสนุนให้รวมกลุ่มแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยเรื่องการส่งตลาด Modern trade, Hyper
market
6. สนับสนุนเทคโนโลยีการแปรรูปสินคา้
7. สนับสนุนงานวิจัยพัฒนาสนิ คา้
มาตรการตน้ พนั ธ์ุ
1. สง่ เสรมิ Service Provider กลมุ่ อาชีพการสรา้ งภูมิสถาปัตย์สวนไผเ่ ก้อื กลู เพ่อื นิเวศน์ชมุ ชน การให้
คำปรกึ ษา คลนิ กิ ไผ่ การการันตีเพ่อื การรบั รองพันธไ์ุ ผแ่ ต่ละชนิดตามแหล่งผลติ ทีม่ ีคุณภาพ
2. วิจัยพัฒนาสายพนั ธ์ุไผ่เชงิ พาณิชย์
มาตรการเพม่ิ มลู ค่า
1. สนับสนนุ งานวจิ ยั ในการแปรรูปผลติ ภณั ฑ์จากไผ่
2. การจดลขิ สทิ ธสิ์ นิ คา้ การเอ้อื ตอ่ ผปู้ ระกอบการไทย
3. การชว่ ยผปู้ ระกอบการ โดยการมีงบประมาณสนับสนุน Start up Development product
4. จัดทำกระบวนการการรับรองมาตรฐานสินค้าหน่อไม้/มาตรฐานลำไม้ไผ่ เช่น ใช้เครื่องมือวัด
ความแข็งแรง ความยดื หย่นุ ของลำไผ่

98

การขับเคลอ่ื นสินคา้ ไผ่ในภาคตะวนั ออก มภี าคเี ครอื ข่ายร่วมกันดำเนินการ เช่น
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมูลนิธิคลังสมองสหกรณ์ไทย และภาคีเครือข่าย ใช้หลักการ
ขบั เคลอ่ื น CBOC (4 value drivers for Basic Science and advanced Technologies)
C: Community Drivers B: Business Drivers O: Organization Drivers C: Country
Drivers
- สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชลบุรีและหน่วยงานภาคีในจังหวัดชลบุรีร่วมขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ไผ่ไม้เศรษฐกิจชุมชนจังหวัดชลบุรีเพื่อการเพิ่มศักยภาพ การจัดการเทคโนโลยีและธุรกิจไผ่
ไม้เศรษฐกิจชมุ ชม Beneficial of Bamboo Community Change
- แปลงใหญ่ไผ่ จังหวัดปราจีนบุรี และแปลงใหญ่ไผ่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นต้นแบบที่ได้รับรางวลั
ระดบั ประเทศสามารถศกึ ษาดูงานขยายผลได้
- สำนักงานเกษตรจงั หวดั สระแกว้ จัดทำโครงการส่งเสริมการปลกู ไผ่เพ่ือลดความเสี่ยงทางการเกษตร
Bamboo Bank จังหวัดสระแก้ว เพื่อสร้างความยั่งยืนในการปรับสภาพดินด้วยสวนไผ่และสร้างคาร์บอนด้วย
ถ่านไผ่ โดยเฉพาะในพื้นทีท่ เ่ี กิดโรคใบดา่ งมนั สำปะหลัง เปน็ ตน้

6) ข้อมูลประกอบการตดั สินใจดา้ นการผลติ และการตลาด
6.1) ขอ้ มูลประกอบการตัดสนิ ใจด้านการผลิต
พันธุ์ไผ่ ไผ่ซางหม่น (Dendrocalamus sericeus) ลำใหญ่ตรงสูงประมาณ 15-20 เมตร
เส้นผ่าศูนย์กลางลำเฉลี่ย 6-10 ซม. ปล้องยาว 30-40 ซม. ลำมีสีเขียวหม่น ลำอ่อนมีแป้งสีขาวที่ปล้อง ลำแก่
สีเขียวเข้ม เนื้อหนา ใบคล้ายไผ่ตง พบมากทางภาคเหนือ การขยายพันธุ์ โดยการตอนกิ่ง การชำ กิ่งแขนง
การใช้ประโยชน์ลำ ใช้ในงานก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์คุณภาพดีราคาสูง หน่อเป็นอาหาร หน่อมีนํ้าหนักเฉลี่ย
ประมาณ 1.5–2 กโิ ลกรัม ไผอ่ ายุ 3 ปี จะใหห้ นอ่ สงู สดุ ถึง 40 หนอ่ ต่อกอ
การปลูก ไผ่สามารถเจริญได้ดีในที่ราบหรือที่ราบเชิงเขาที่มีดินปนทราย มีการระบายนํ้าดี
นํ้าไม่ท่วมขัง ซึ่งถ้านํ้าท่วมขังเป็นเวลานานจะทำให้ไผ่ชะงักการเจริญเติบโตถึงตายได้ โดยเฉพาะไผ่ที่เริ่มปลูก
ใหม่ ๆ การปลูกไผ่เพื่อการใช้ประโยชน์ในครัวเรือนสามารถปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป เนื่องจากไผ่มีระบบรากตื้น
กระจายอยู่รอบลำต้น ช่วยในการยึดและปรับปรุงดิน แต่การปลูกไผ่ในเชิงพาณิชย์ ต้องคำนึงถึงระบบนํ้า
เนือ่ งจากความชื้นในดนิ มผี ลต่อการเจรญิ เติบโตและการพัฒนาของตาเหง้า
ระยะปลูก ขึ้นอยู่กับชนิดไผ่ ไผ่ที่มีกอขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เช่น ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ใช้ระยะ
ปลูก 4x4 เมตร ไผ่ซาง ไผ่ซางนวล ใช้ระยะปลูก 4x5 หรือ 5x5 เมตร ไผ่ที่มีกอขนาดใหญ่ เช่น ไผ่ตง ใช้ระยะ
ปลกู 5x5 เมตร ไผป่ ่า ไผส่ สี ุก ไผ่บง ควรใช้ระยะปลกู 5x5 หรอื 6x6 เมตร
การเตรียมพื้นที่ปลูก การเตรียมพื้นที่ในการปลูกไผ่ไม่จำเป็นต้องพิถีพิถันมากนัก ทำการ
กำจัดวัชพืชออก แล้วไถพรวน 2 ครั้ง ปรับพื้นที่ให้เรียบเพื่อความสะดวกในการจัดการดูแลแปลงปลูก
ในอนาคตหากพ้ืนท่ีไม่สมาํ่ เสมอให้ทำทางระบายน้ําไว้เพื่อป้องกันนํ้าขัง และในกรณีที่เป็นพ้ืนที่ลุ่มมีน้ําขังหรือ
เป็นท่ีน้าํ ซบั ควรยกร่องปลูกใหร้ ะยะหา่ งของร่องเทา่ กับระยะปลูก

99

ฤดูกาลปลูก การปลูกไผ่ควรทำในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน - สิงหาคม เพื่อให้
ไผม่ อี ตั ราการรอดตายสงู สามารถตั้งตวั ได้เร็ว และแตกหนอ่ ใหมไ่ ด้ทันภายในฤดเู ดยี ว ซึ่งทำให้เจริญเติบโตได้ดี
ในปถี ดั ไป

วิธีการปลูก การปลูกไผ่ แบ่งออกตามลักษณะการเตรียมกล้าได้ 2 วิธี คือ ปลูกโดยใช้เหง้า
หรือกิ่งตอน และปลูกจากกล้าถุง ซึ่งมาจากการเพาะเมล็ด การชำ และการตอน ดังนี้ ปลูกโดยใช้เหง้าหรือ
กงิ่ ตอน เปน็ การนำเหงา้ หรอื ก่ิงตอนที่ตดั มาจากต้นแม่ไปปลูกในพ้ืนท่ีโดยตรง เชน่ ไผร่ วกลำใหญ่ เหง้าท่ีแยก
จากกอมาแล้วควรนำไปปลูกภายใน 3-5 วัน (แล้วแต่ความชื้น) แต่ถ้ายังไม่ปลูกต้องชำในวัสดุชำที่อุ้มนํ้า เพ่ือ
ไม่ให้ตาเหง้าแห้งตาย ทำการขุดหลุมปลูกกว้างและลึกขนาด 30x30 หรือ 50x50 ซม. ขึ้นอยู่กับขนาดเหง้า
หรือกิ่งตอน รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 1 กำมือ ผสมปุ๋ยฟอสเฟต 1 กำมือ ช่วยให้ดินร่วนซุย และยาฆ่าแมลง
ฟูราดาน 1 ช้อนแกง กำจัดไส้เดือนฝอยกัดราก กลบดินบาง ๆ วางเหง้าหรือกิ่งตอนในหลุมให้ตาเหง้าอยู่
ด้านบน ลำเอียงเล็กน้อยไม่ต้ังฉาก พร้อมกับปักหลักเพื่อผูกเชอื กฟางยึดลำไว้กลบดินในหลุมให้แน่น คลุมโคน
ดว้ ยฟางหรือใบไม้ เพ่ือรกั ษาความชนื้ พรอ้ มกบั รดน้ำให้ชุ่ม และควรใช้ทางมะพรา้ วหรอื วัสดชุ ่วยพรางแสงช่วย
ในระยะแรก ปลูกโดยใช้กล้าถงุ เป็นกล้าท่ีไดจ้ ากการเพาะเมล็ด การตอนหรือการชำกิง่ แขนงแลว้ ย้ายชำลงถุงชำ
เมื่อกล้ามีความสูงประมาณ 30-50 ซม. ซึ่งเป็นขนาดพร้อมปลูก ทำให้กล้าแกร่งโดยการเพิ่มปริมาณแสง
ลดการใหน้ ้ํา และวางกล้าไว้กลางแจ้ง 1-2 เดอื น เพื่อให้กล้าปรบั ตวั ให้เข้ากับพื้นที่ปลูก ขดุ หลุมปลูกกว้างและลึก
30x30 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 1 กำมือ ผสมปุ๋ยฟอสเฟต 1 กำมือ เพื่อช่วยให้ดินร่วนซุย และยาฆ่าแมลง
ฟูราดาน 1 ช้อนแกง/หลุม เพื่อกำจัดไส้เดือนฝอยกัดราก การปลูกฉีกถุงชำออกแล้วบีบดินในถุงให้แน่น
เพื่อป้องกันดินแตก นำกล้าวางในหลุมกลบดินให้แน่นเพื่อป้องกันน้ำขังและรดน้ำให้ชุ่ม กลบดินบาง ๆ
เช่นเดียวกันกับการปลูกด้วยเหง้า ควรใช้ทางมะพรา้ วหรอื วสั ดุช่วยพรางแสงช่วยในระยะแรก เช่นเดียวกันกบั
การปลูกดว้ ยเหงา้ หรือกิง่ ตอน

การบำรุง ดูแลรักษาไผ่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ แบ่งได้เป็น 2 อย่าง คือ
ปลกู เพื่อการผลติ หน่อ และปลกู เพือ่ การผลิตลำ การดแู ลรักษาจึงแตกต่างกันออกไป ดงั น้ี การบำรงุ ดูแลรกั ษา
แปลงไผ่ที่ปลูกเพื่อผลผลิตหน่อ การบำรุง ดูแลรักษาแปลงไผ่เพื่อการผลิตหน่อต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ได้ผลผลิตหน่อสมํ่าเสมอทุก ๆ ปี กิจกรรมที่จะดำเนินการขึ้นอยู่กับชนิดไผ่ วัตถุประสงค์ เงินทุน และ
การตลาด ซึ่งแบ่งระดับในการบำรุงรักษาได้ 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 เพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างสมํ่าเสมอและ
ต่อเนื่อง ระดับที่ 2 เพื่อผลิตหน่อนอกฤดู และระดับที่ 3 เพื่อปลูกไผ่ในเชิงประณีต ให้ได้ผลผลิตเร็ว และ
ออกหนอ่ นอกฤดกู าล โดยมีกจิ กรรมและระยะเวลาในการปฏบิ ตั ิ

1) การตัดสางลำหรือการตัดแต่งกอ การตัดสางลำ จะทำเมื่อสิ้นสุดฤดูฝน ประมาณเดือน
พฤศจิกายน - ธันวาคม โดยตัดเอาลำไผ่ที่มีอายุตั้งแต่ 4 ปี ซึ่งมีความสามารถในการแตกหน่อลดลงออกไป
และเปิดโอกาสให้ลำ อายุ 1 - 2 ปี เจริญเตบิ โตได้เตม็ ท่ี โดยมีลำ อายุ 3 ปี ซึ่งมีใบสมบรู ณท์ ำหนา้ ทผ่ี ลิตอาหาร
เล้ียงหน่ออ่อน โดยท่วั ไปการตัดสางกอจะเหลือหน่อไว้เจริญเตบิ โตในปีถัดไปเพยี ง 3-4 หนอ่ /กอ ซ่ึงเลือกหน่อ
ทีล่ ำตั้งตรงและแข็งแรงไว้ การตัดแต่งกอควรดำเนินการ ดงั นี้ 1.1 ตัดก่ิงทเี่ ปน็ โรคและก่งิ แห้งออก

100

1.2 กอไผท่ ีม่ ีอายรุ ะหว่าง 1-2 ปี ไม่ควรรบี ตดั หน่อ ทงั้ น้ีเพอ่ื ทิ้งไว้เป็นลำสำหรับเลี้ยงกอและ
ขยายกอใหใ้ หญ่ขน้ึ

1.3 กอไผ่ท่มี ีอายุ 2 ปี ให้เลือกตดั หน่อท่เี บยี ดชดิ ลำอื่น และหน่อทไ่ี มส่ มบูรณ์ออกเหลือไว้เพียง
5-7 หน่อต่อกอ

1.4 กอไผ่ที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป ให้เลือกตัดลำแก่ที่มีอายุเกิน 3 ปีขึ้นไปออกเพื่อขายหรือ
ใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม โดยเหลือลำแม่ที่สมบูรณ์ไว้ประมาณ 10-15 ลำต่อกอ เพื่อเลี้ยงกอและ
เล้ยี งหน่อทอี่ อกใหม่ การตัดลำแก่ออกนีค้ วรตดั จากลำท่ีอยตู่ รงกลางกอออก กอไผจ่ ะได้โปร่งและขยายออกได้

2) การกำจัดวัชพืช ในแต่ละปีทำ 2 ครั้ง ในช่วงฤดูกาลเจริญเติบโตหรือฤดูฝน ประมาณ
เดอื นมถิ นุ ายน - กรกฎาคม และชว่ งปลายฤดฝู น ประมาณเดอื นตุลาคม - พฤศจิกายน

3) การพรวนดิน/คลุมดิน ทำเพื่อป้องกันตาเหง้าและรากแห้งเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง สามารถทำ
ต่อเนื่องหรือควบคู่ไปกับการกำจดั วชั พืช ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมของปีถัดไป โดยพูนดินกลบโคนกอไผ่
สงู 50 ซม. รัศมี 1 เมตรรอบกอไผ่

4) การให้น้ำ เป็นกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นเพื่อผลิตหน่อไม้นอกฤดูกาล โดยให้น้ำในฤดูแล้งตั้งแต่
เดือนมกราคม - พฤษภาคม เพื่อให้ผลิตหน่อในเดือนมีนาคม - เมษายน ปกติไผ่ตงต้องการนํ้าประมาณ 120
ลิตร/วนั หรือ 6 ป๊ีบ/กอ/วนั

5) การใส่ปุ๋ย โดยทั่วไปจะใส่ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม แต่ถ้า
ต้องการผลผลิตหน่อนอกฤดู ให้ใส่ปุ๋ย 2 ช่วงคือ ประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน และประมาณเดือน
กรกฎาคม - สิงหาคม เพื่อให้ได้ผลผลิตหนอ่ จำนวนมาก โดยใส่ปุ๋ยคอก (ปุ๋ยขี้ไก่) ประมาณ 20-30 กิโลกรัม/กอ
ประมาณ 1.5-2.0 ตัน/ไร่ และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 0.5 กิโลกรัม/กอ ประมาณ 30-40 กิโลกรัม/ไร่
โดยพรวนดินรอบกอแล้วหว่านปุ๋ยในรัศมี 1 เมตรรอบกอ เสร็จแล้วคลุมด้วยกอหญ้าแห้งเพื่อป้องกัน
ฝนชะหน้าดิน

6) แมลงที่พบในสวนไผ่และไผ่ในธรรมชาติ ได้แก่ หนอนผีเสื้อกลางคืน กัดกินใบ หนอนด้วงงวง
เจาะหน่อไผ่ (Cyrtotrachelus sp.) ด้วงกินหน่อ (Xylotrupes Gideon L.) ด้วงงวงเจาะกิ่ง (Otidognathus sp.)
เพลย้ี อ่อน (Pseudoregma sp.) และมวนดดู น้าํ เลีย้ ง (Physomerus grossipes) การป้องกันกำจดั ทำไดห้ ลาย
วิธี เช่น การใช้สารเคมี เช่น มาลาไธออน เซฟวิน ผสมนํ้าราดหน่อและเหง้า หรือโดยใช้วนวัฒนวิธี เช่น
การสางกิ่ง สางลำแก่ เพื่อกำจัดที่อยู่ของดักแด้ นอกจากนี้ ยังต้องมีการป้องกันสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย ที่จะ
เข้าไปเหยียบย่ำ กล้าไผ่ในขณะที่ยังเล็กหรือกินใบและหน่อเมื่อไผ่ให้ผลผลิต และมีการป้องกันไฟ โดยการทำ
แนวกันไฟ และกวาดใบออกจากพ้ืนท่เี พอื่ ลดปรมิ าณเชอ้ื เพลงิ

7) การเก็บหน่อ ช่วงฤดูกาลเก็บหน่อโดยทั่วไปคือช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน - ตุลาคม
แต่ถ้าทำไผ่นอกฤดูสามารถเก็บผลผลิตหน่อได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม สำหรับการบำรุงรักษาไผ่
เชิงปราณีตในระดับที่ 3 เพื่อให้ได้ผลผลิตเร็ว จะดำเนินการเช่นเดียวกับการบำรุงรักษาในระดับที่ 2 แต่เพ่ิม
กิจกรรมการให้นํ้า ให้ปุ๋ยทุกเดือนตั้งแต่เริ่มปลูก ประมาณ 8-12 เดือน จากนั้นเข้าสู่การบำรุงรักษา เพื่อผลิต
หนอ่ ไม้นอกฤดู ในระดบั ที่ 2 ต่อไป การบำรงุ ดแู ลรักษาแปลงไผ่ท่ีปลูกเพ่ือผลผลติ ลำไผ่ทป่ี ลูกเพ่ือการจำหน่ายลำ

101

มีอยู่หลายชนดิ เช่น ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่ซางนวล ไผ่ซาง ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง และไผ่ซางหม่น เป็นต้น การบำรุง ดูแล
รักษามีกิจกรรมและวิธปี ฏิบตั เิ ชน่ เดียวกบั การบำรงุ ดูแลรกั ษาแปลงปลกู ไผ่เพ่อื ผลิตหนอ่

6.2) ขอ้ มลู ประกอบการตัดสนิ ใจดา้ นการตลาด
จากข้อมูลการสำรวจไผ่ ราคาเฉลี่ย และสเปคลำไผ่ที่ความต้องการแต่ละอุตสาหกรรมใช้หน่อ
ราคาเฉลี่ย 15 บาท/กก. กิ่งพันธุ์ (กิมซุง) ราคาเฉล่ีย 14 บาท/กิ่ง ลำ (ซางหม่น) ราคาเฉลี่ย 60 บาท/ลำ
ไผ่ลวก ขนาด 1 – 2 นิ้ว ราคาขาย 25 – 50 บาท/ลำ ไผ่เลี้ยง ขนาด 1 – 3 นิ้ว ราคาขาย 40 – 80 บาท/ลำ
ไผ่ลำมะลอก ขนาด 2 – 4 นิ้ว ราคาขาย 60 – 120 บาท/ลำ ไผ่ซางหม่น ขนาด 2 – 4 นิ้ว ราคาขาย 60 –
150 บาท/ลำ

4.3.2 หญา้ เนเปียรส์ นิ ค้าเกษตรทางเลือกของภาคตะวนั ออก
สนิ ค้าท่มี ศี ักยภาพการผลิตไม่เพยี งพอต่อความต้องการของตลาด

1) การวิเคราะหข์ อ้ มูลดา้ นการผลิต
จุดแข็งของหญ้าเนเปียร์ คือ เป็นพืชอาหารสัตว์หลายชนิดที่มีคุณค่าโภชนะทางอาหารสัตว์สูง
เติบโตเร็วทำให้เจริญเติบโตได้ดีในดินหลายสภาพแต่ไม่ทนต่อน้ำท่วมขัง ต้องการน้ำฝน 1,000-2,000 มม./ปี
ชอบแสงแดดจา้ ไม่มโี รคและแมลงรบกวน มีปริมาณความตอ้ งการใช้น้ำตอ่ รอบเก็บเกีย่ ว 360 ลบ.ม/ไร/่ 60 วนั
และให้ผลผลิตตอ่ ไร่สูง สามารถเก็บเกี่ยวต้นได้ตลอดทั้งปี เกบ็ เกยี่ วไดน้ าน 5-7 ปี ต่อการปลกู 1 ครง้ั
หญ้าเนเปียร์ เหมาะกับฟาร์มเลี้ยงปศสุ ัตว์ที่มีพื้นที่จำกดั เพื่อเป็นหญ้าอาหารหยาบสามารถใช้
เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง ได้แก่ โคนม โคเนื้อ กระบือ แพะ แกะ และสัตว์กระเพาะเดียว ได้แก่ สุกร สัตว์ปีก และ
ช้าง รวมท้งั ปลากินพชื สามารถนำไปผสมกับวตั ถุดบิ อาหารสัตว์อ่ืน ๆ ผลติ เป็นอาหารผสมครบสว่ น (TMR)
หญ้าเนเปียร์ สามารถใช้ประโยชน์หลายรูปแบบและสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เช่น หญ้าเนเปียร์หมัก
หญ้าเนเปียร์บดแห้งที่นิยมคือนำหญ้าเนเปียร์ต้นสด ขายแบบบดสดซึ่งปัจจุบันมีการปลูกในลักษณะฟาร์ม
ขนาดใหญ่เพือ่ จำหนา่ ยมากข้ึน รวมท้งั เป็นปัจจยั สรา้ งพลังงานชีวมวล
จากผลการศึกษาศักยภาพการผลิต และการตลาดโคเน้ือโคบาลบูรพา จงั หวัดสระแก้วปี 2563
พบว่าต้นทุนผลิตโคเนื้อมีค่าอาหารหยาบประมาณ 4,822 บาทต่อตัว หรือประมาณร้อยละ 18 ของต้นทุน
การเล้ยี งโคเนื้อ (สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตรที่ 6, 2564)
หากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตสินค้าสำคัญข้าวและมันสำปะหลัง กับหญ้าเนเปียร์สินค้า
ทางเลอื ก ปี 2563 พบวา่ ต้นทนุ การผลิตขา้ วนาปี ระดับภาค มีตน้ ทนุ การผลติ ต่อไร่ 4,704.60 บาท ผลผลิต
ตอ่ ไร่ 592.33 กโิ ลกรมั ราคาที่ไดร้ บั ณ ไร่นา 9.03 บาทตอ่ กิโลกรัม ใหผ้ ลตอบแทนต่อไร่เทา่ กับ 5,348.15 บาท
เมื่อหักต้นทุนการผลิตมีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ 643.55 บาท ต้นทุนการผลิตข้าวนาปรัง ระดับภาค มีต้นทุน
การผลิตต่อไร่ 5,150.53 บาท ผลผลิตต่อไร่ 616.00 กิโลกรัม ราคาที่ได้รับ ณ ไร่นา 9.48 บาทต่อกิโลกรัม
ใหผ้ ลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 5,837.83 บาท เมื่อหักตน้ ทุนการผลิตมีผลตอบแทนสุทธติ ่อไร่ 687.30 บาท และ
ต้นทุนการผลิตมันสำปะหลัง ระดับภาค มีต้นทุนการผลิตต่อไร่ 6,624.48 บาท ผลผลิตต่อไร่ 3,497.00
กิโลกรัม ราคาที่ได้รับ ณ ไร่นา 1.87 บาทต่อกิโลกรัม ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 6,539.39 บาท เมื่อหัก

102

ต้นทุนการผลิตมีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ 85.09 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทั้งข้าว และมันสำปะหลังมีผลตอบแทน

สุทธติ อ่ ไร่ ไมเ่ กนิ 700 บาท

ในส่วนของต้นทุนการผลิตสินค้าทางเลือกหญ้าเนเปียร์ของจังหวัดเป้าหมายในภาคตะวันออก

ปี 2563 ได้แก่ จังหวดั สระแกว้ และจนั ทบรุ ี ดังน้ี

จังหวดั สระแก้ว มตี ้นทุนรวมตอ่ ไรเ่ ท่ากับ 22,926.78 บาท ผลผลิตต่อไร่ 45,270.00 กิโลกรัม

ราคาที่ได้รับ ณ ไร่นา 0.67 บาทต่อกิโลกรัม ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 30,330.90 บาท เมื่อหักต้นทุน

การผลิตมีผลตอบแทนสุทธติ ่อไร่ 7,404.12 บาท มีอัตราผลตอบแทนสทุ ธิต่อการลงทุน 0.32 จังหวัดจันทบุรี

มีต้นทุนรวมต่อไร่เท่ากับ 28,930.71 บาท ผลผลิตตอ่ ไร่ 51,500.00 กิโลกรัม ราคาทไ่ี ดร้ ับ ณ ไร่นา 0.60 บาท

ต่อกิโลกรัม ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 30,900.00 บาท เมื่อหักต้นทุนการผลิตมีผลตอบแทนสุทธิต่อไร่

1,969.29 บาท มีอัตราผลตอบแทนสุทธิต่อการลงทุน 0.07 หากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตสินค้าสำคัญกับ

หญ้าเนเปียร์สินค้าทางเลือก ปี 2563 พบว่า ต้นทุนการผลิตหญ้าเนเปียร์ลงทุนสูงกว่าการผลิตข้าวและ

มนั สำปะหลัง แต่หากพจิ ารณาผลตอบแทนต่อไร่และผลตอบแทนสุทธิต่อไร่หรือกำไรต่อไร่ พบว่าหญ้าเนเปียร์

มกี ำไรมากกวา่ ขา้ ว และมันสำปะหลัง รวมทง้ั คุ้มคา่ ตอ่ การลงทุนโดยพิจารณาจากอัตรากำไรต่อการลงทุนการผลิต

หญ้าเนเปียร์ของจังหวัดสระแก้วที่มากกว่าอัตรากำไรต่อการลงทุนของข้าว และมันสำปะหลัง ยกเว้นอัตรา

กำไรตอ่ การลงทุนการผลิตหญา้ เนเปยี ร์ของจังหวัดจนั ทบรุ ที มี่ ากกว่าเฉพาะมนั สำปะหลงั เทา่ นัน้ (ตารางท่ี 4.6)

ตารางที่ 4.6 เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตสินค้าสำคัญกับหญ้าเนเปียร์สินค้าทางเลือก

ปี 2563

รายการ ระดับภาค1) หญ้าอาหารสัตว(์ เนเปียร์)2)

ขา้ วนาปี ข้าวนาปรงั มนั สำปะหลงั จ.สระแกว้ จ.จนั ทบรุ ี

1. ตน้ ทนุ ผนั แปร 3,757.18 4,045.72 5,488.32 21,721.86 26,742.38

2. ต้นทนุ คงที่ 947.42 1,104.81 1,136.16 1,204.92 2,188.33

3. ตน้ ทุนรวมต่อไร่ 4,704.60 5,150.53 6,624.48 22,926.78 28,930.71

4. ต้นทุนรวมต่อ กก. 7.94 8.36 1.89 0.51 0.56

5. ผลผลติ (กก.) 592.33 616.00 3,497.00 45,270.00 51,500.00

6. ราคา (บาทตอ่ กก.) 9.03 9.48 1.87 0.67 0.60

7. ผลตอบแทนตอ่ ไร่ 5,348.15 5,837.83 6,539.39 30,330.90 30,900.00

8. ผลตอบแทนสุทธิตอ่ ไร่ 643.55 687.30 - 85.09 7,404.12 1,969.29

9.อัตรากำไรต่อการ 0.14 0.13 - 0.01 0.32 0.07

ลงทนุ

ทมี่ า : 1) ภาคกลาง ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกจิ การเกษตร ต้นทุน ณ ไรน่ า (ณ เดือนมถิ ุนายน 2564)
2) สำนกั งานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6

103

2) การวเิ คราะห์ข้อมูลด้านการตลาด
หญ้าเนเปียร์เพื่อความมั่นคงด้านอาหารสัตว์ของภาคตะวันออก ปัจจุบันตลาดหญ้าเนเปียร์
ทส่ี ำคัญคอื ตลาดอาหารสตั ว์ซึ่งไมเ่ พียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะภาคตะวันออกท่ีมโี ครงการโคบาลบูรพา
และกลุ่มเลี้ยงโคนมสระแก้วและจันทบุรียงั ต้องนำเขา้ จากภาคอื่น ๆ
จากการสำรวจพบว่า ลักษณะการตัดสับหญ้าเพื่อขายหญ้าเนเปียร์เชิงพาณิชย์นิยมใช้รถตัด
สับหญ้าแล้วใส่กระสอบใหญ่ขนส่งไปที่ฟาร์มเลี้ยงโค ตามรอบการสั่งจองล่วงหน้าราคาตลาดซื้อขายหญ้าเนเปียร์
ตัดสดรวมขนสง่ ประมาณ 1-1.2 บาทตอ่ กิโลกรัม และสว่ นใหญเ่ ป็นฟาร์มโคนมท่ีส่ังจอง ซึง่ ต่างจากการใช้หญ้า
ในฟาร์มตนเอง เกษตรกรจะเนน้ ตัดหญ้าสดท้งั ตน้ ใส่กระบะรถ ใสพ่ ่วงท้ายกบั รถไถ หรือพ่วงขา้ งรถจักรยานยนต์
แล้วนำมาสบั ดว้ ยเครื่องสบั หรอื มดี สบั ท่ีฟาร์มเลีย้ งโค
สำหรับวิถีการตลาดหญ้าเนเปียร์ของจังหวัดสระแก้วและจันทบุรีซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายใน
การส่งเสริมปรับเปล่ียน โดยเร่มิ ท่ีต้นทางคือเกษตรกรที่ปลูกหญ้าเนเปยี ร์ สว่ นใหญ่จะผลิตไว้ใช้เองในฟาร์มปศุสัตว์
ร้อยละ 87 รองลงมากระจายแบ่งขายให้ฟาร์มปศุสัตว์อื่นที่ซื้อหญ้ามาใช้ร้อยละ 9 ซึ่งบางฟาร์มมีหญ้า
ไม่เพียงพอหรืออยากเสริมโภชนะอาหารให้กับโคในบางช่วงก่อนจำหน่ายโค ต่อมากระจายไปขายผ่าน
ผู้รวบรวมร้อยละ 3 เพื่อจะแพคใส่ถุงพลาสติกขายส่งต่อไปฟาร์มปศุสัตว์ที่ซื้อใช้ร้อยละ 2 และเพื่อขายให้
ร้านขายอาหารสัตว์ร้อยละ 1 ซึ่งมีสัดส่วนน้อยจะทำตามที่มีคำสั่งซื้อเฉพาะเท่านั้นแล้วส่งขายไปฟาร์มปศุสัตว์
ที่ซื้อใช้ สุดท้ายการกระจายขายหญ้าผ่านกลุ่ม/สหกรณ์ปศุสัตว์อีกร้อยละ 1 เพื่อใช้ในฟาร์มเลี้ยงปศุสัตว์
(ภาพท่ี 4.30)
จะเห็นไดว้ า่ วิถีการตลาดหญ้าเนเปียร์ของจังหวัดสระแก้วและจันทบุรีสว่ นใหญ่ปลูกเพื่อพึ่งพา
ตนเอง ผลิตใช้เอง และใช้เครื่องจักรกลขั้นพื้นฐานทดแทนแรงงาน หากเปรียบเทียบกับภาคกลางที่มีการทำ
แปลงหญ้าเชิงการค้าจะมีพัฒนาการทางเครื่องจักรกลใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถประหยัดแรงงาน ดังนั้น
ภาคตะวันออกหากจะต้องส่งเสริมการยกระดับการทำแปลงหญ้าเชิงพาณิชย์คงต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี
หรอื สง่ เสรมิ การลงทุนในเรื่องเคร่ืองจักรกลใหเ้ พิม่ ข้ึน

104

ภาพที่ 4.30 วถิ กี ารตลาดหญ้าเนเปยี ร์ของจังหวัดสระแกว้ และจนั ทบุรี
ท่ีมา จากการสำรวจ

3) การวเิ คราะห์ดา้ นเศรษฐกจิ ของหญา้ เนเปยี รเ์ ชงิ ลึกของภาคตะวนั ออก
พื้นที่เขตปศุสัตว์ที่ 2 ภาคตะวันออกมีประชากรประมาณ 6,182,416 คน มีความต้องการ
บริโภคเนื้อโคประมาณปีละ 110,437 ตัว (เฉลี่ย 2.77 กิโลกรัม/คน/ปี) แต่สามารถผลิตได้ 67,237 ตัว/ปี
ยังไม่เพยี งพอต่อการบริโภคอยจู่ ำนวน 53,200 ตัว/ปี จงึ มีการส่งเสรมิ อาชีพเลี้ยงปศสุ ัตว์เพอื่ เพิ่มรายได้เพิ่มข้ึน
โดยเฉพาะในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ หรือบริเวณป่ารอยต่อ 5 จังหวัด สอดรับนโยบายรัฐบาลมีหลายโครงการ
ขับเคลื่อนช่วยเหลือที่สำคัญ เช่น โคบาลบูรพามีแนวทางการส่งเสริมการผลิตโคเนื้อ โดยการรวมกลุ่ม
ในรปู แบบสหกรณ์ สรา้ งความเช่อื มโยงเครอื ขา่ ยต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายนำ้ เน้นการเลย้ี งโคเนื้อแบบประณีต
(Intensive Farm) มีระบบป้องกันโรคและการทำเสบียงอาหารสัตว์ไว้ใช้ยามขาดแคลน ดังนั้น จึงควรมี
หญ้าอาหารสัตว์เป็นเสบียงอาหารสัตว์เพ่อื โภชนะที่ดมี คี ุณภาพและปรมิ าณเพยี งพอตามปรมิ าณการเลี้ยงสัตว์
แต่ในทางกลบั กนั พบวา่ ภาคตะวนั ออกมีการส่งเสริมแปลงใหญ่หญา้ เนเปียร์เพียงแปลงเดียวท่ี
อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือแปลงหญ้าอาหารสัตว์ในโครงการโคบาล
บูรพามีพื้นที่น้อยซึ่งบางปีเจอปัญหาภัยแล้งทำให้แปลงหญ้าได้รับความเสียหาย จึงจำเป็นต้องใช้ฟางแห้งเป็น
เสบียงอาหารสัตวท์ ดแทนสอดรบั กับผลการศึกษาแนวทางการส่งเสรมิ การผลิตโคเน้ือใหเ้ พยี งพอต่อการบริโภค
ในภาคตะวนั ออกปี 2561 ที่พบว่า ฟารม์ เลีย้ งโคเนื้อใช้ฟางแห้งเป็นเสบียงอาหารสัตว์ทดแทนประมาณร้อยละ
90 รองลงมาเป็นหญ้าแห้งร้อยละ 6 และหญ้าหมักเพียงร้อยละ 4 โดยที่ไม่มีข้าวโพดหมักในการเป็นเสบียง
อาหารสัตว์ (ภาพที่ 4.31) ทั้งนี้ เป็นการนำเข้าฟางจากนอกพื้นที่ภาคตะวันออกกว่าร้อยละ 60 โดยฟางมี

105

คุณค่าทางโภชนะที่ต่ำมากทำให้ส่งผลกระทบต่ออัตราการแลกเนื้อไม่คุ้มค่ากับเวลาเลี้ยงโคที่เสียไป ดังนั้น
เพื่อความมั่นคงด้านอาหารสัตวข์ องภาคตะวันออกควรมกี ารทำแปลงหญ้าควบคู่การแปรรูปหญ้าเพือ่ เปน็
แหลง่ สำรองอาหารสัตวค์ ณุ ภาพชว่ ยลดต้นทุนดา้ นอาหารผสมครบส่วน (TMR)

หญ้าแหเ้งสบียงอาหขาา้ รวสโพัตดวหม์ กั

6% หญ้าหมกั 0%
4%

ฟางแหง้
90%

ภาพท่ี 4.31 เสบียงอาหารสตั ว์โครงการโคบาลบูรพา
ทมี่ า อำพันธ์ เวฬุตนั ต,ิ วปอ.2561

ทั้งนี้ หากพิจารณาข้อมูลจากสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ พบว่า ภาคตะวันออก
มีเกษตรกรท่ีขึ้นทะเบียนผูผ้ ลิตพืชอาหารสตั ว์เพือ่ จำหน่ายจำนวนน้อยเพียง 114 ราย 578 ไร่ นับเป็นโอกาส
สำหรับเกษตรกรท่ีปลูกพืชชนิดอ่ืนสามารถปลูกหญ้าอาหารสตั วเ์ ป็นรายไดห้ ลักหรือเสริมรายได้ สง่ ผลผลิตขาย
สู่ฟาร์มปศสุ ัตว์ตอ่ ไป (ภาพที่ 4.32)

106

ภาพที่ 4.32 ข้อมลู เกษตรกรผู้ผลติ พืชอาหารสตั ว์จำหนา่ ย ปงี บประมาณ 2564
ที่มา สำนกั พฒั นาอาหารสัตว์, กรมปศุสัตว์, 2564

จากข้อมูลทะเบียนเกษตรกรผู้ผลิตหญ้าเนเปียร์เชิงธุรกิจเพื่อจำหน่ายของเขตปศุสัตว์ที่ 2
ภาคตะวันออกมีจำนวนเกษตรกร 110 ราย พื้นที่ 513 ไร่ ที่จำหน่ายหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 เชิงธุรกิจเทา่ นน้ั
โดยพืน้ ทีป่ ลูกหญา้ เนเปียร์เชิงธุรกิจท้ังพนั ธ์ุปากช่อง 1 และพนั ธุ์แคระ ส่วนใหญป่ ลูกในเขตปศสุ ัตว์ที่ 3, 7 และ 4
เช่น จังหวัดนครราชสีมา สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และสกลนคร เป็นต้น ซึ่งมีการส่งเข้ามาเป็น
หญา้ อาหารสตั ว์ใช้ในภาคตะวันออก รวมทง้ั ฟางขา้ วด้วย แตต่ ้องมีการบวกคา่ โลจสิ ติกส์ที่เพ่ิมขึ้น จึงเป็นสาเหตุหน่ึง
ทท่ี ำใหผ้ ู้เลยี้ งสัตวบ์ างส่วนไมส่ ามารถลงทุนซือ้ หญา้ อาหารสัตวไ์ ว้เปน็ เสบยี งได้ (ภาพที่ 4.33 และ 4.34)

107

ภาพท่ี 4.33 เกษตรกรผ้ผู ลิตหญ้าเนเปยี ร์ปากช่อง 1 และเนเปยี รแ์ คระเพ่ือจำหนา่ ย
ทม่ี า สำนักพฒั นาอาหารสัตว์, กรมปศสุ ัตว์, 2564

ภาพที่ 4.34 พืน้ ทผ่ี ลิตหญ้าเนเปียรป์ ากช่อง 1 และเนเปียร์แคระเพอ่ื จำหนา่ ย
ท่มี า สำนักพฒั นาอาหารสตั ว์, กรมปศุสัตว์, 2564

108

ด้านแหล่งรับซื้อ ภาคตะวันออกมีแหล่งรบั ซือ้ หญ้าเนเปียร์กระจายอยู่ในจังหวัดที่เป็นแหล่ง
ผลิตปศุสัตว์ที่สำคัญของภาคตะวันออก โดยเฉพาะพื้นที่ส่งเสริมเป้าหมายควรมีแหล่งรับซื้อผลผลิตมีการ
กระจายตัวในรัศมี 100 กิโลเมตรจากแหล่งผลิตซึ่งถือว่าเหมาะสมและสอดคล้องกับแหล่งผลิต จากการสุ่ม
สำรวจแหล่งรับซื้อผลผลิตในปี 2563 พบว่า จังหวัดจันทบุรี มีผู้ผลิตหญ้าเนเปียร์ที่เป็นรายย่อยและแบบ
แปลงใหญ่เพื่อจำหน่าย ที่อำเภอสอยดาว ประมาณความต้องการรับซื้อหรือกำลังการผลิต 7,950 ตันต่อปี
ส่วนใหญ่ไว้จำหน่ายฟาร์มเลี้ยงโคนม และโคเนื้อบางส่วน ซึ่งแปลงใหญ่หญ้าเนเปียร์อำเภอสอยดาวเป็นเพียง
แปลงใหญ่เดียวในภาคตะวันออกและได้รับการส่งเสริมยกระดับเป็นแปลงใหญ่สมัยใหม่ได้รับการสนับสนุน
อุปกรณ์เครื่องจักรกลทางการเกษตรในการเกี่ยวหญ้า รถพ่วงท้ายขนส่งหญ้า รถไถปรับแปลง ถังหมักหญ้า
และมีบ่อน้ำบาดาลที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น จึงเป็นโอกาสดีที่สามารถเพิ่มศักยภาพในการผลิตหญ้า
เพอ่ื ใชเ้ ปน็ อาหารสัตว์คุณภาพให้กบั ฟารม์ ปศสุ ัตว์ในภาคตะวนั ออก

จังหวัดสระแก้ว มีโครงการโคบาลบูรพาเพื่อยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งมีหลายกลุ่ม
สมาชิกแปลงใหญ่โคเนื้อในแต่ละอำเภอเป้าหมายของโครงการในจังหวัดสระแก้ว เช่น อำเภอวัฒนานคร
อำเภอโคกสงู อำเภอตาพระยา อำเภออรัญประเทศ อำเภอวังสมบูรณ์ และอำเภอเขาฉกรรจ์ โดยมเี ง่อื นไขของ
โครงการหากได้รับโคเนื้อ 5 ตัว ต้องมีการปลูกแปลงหญ้า 5 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารสัตว์เพื่อไว้ใช้
ในฟาร์มตนเอง ส่วนใหญ่รวมกลุ่มสมาชิกเป็นแปลงใหญ่โคเนื้อเพื่อขายโคเนื้อทั้งผ่านสหกรณ์ และขายพ่อค้า
ที่มาซื้อในพื้นที่ ซึ่งยังไม่มีการรวมเป็นแปลงใหญ่หญ้าอาหารสัตว์อย่างจริงจั ง จากการสุ่มสำรวจพบว่า
ประมาณความต้องการใช้/รับซื้อหรือกำลังการผลิต 44,490 ตันต่อปี ซึ่งไม่สามารถใช้เป็นเสบียงอาหารสัตว์
ท่ีเพยี งพอตลอดทั้งปี โดยเฉพาะฤดแู ล้งต้องอาศยั ฟางขา้ วเป็นเสบียงอาหารสัตว์ทดแทนหญา้

ทั้งนี้ หญ้าเนเปียร์ยังมีโอกาสทางการตลาดในการผลิตป้อนโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพเป็น
พลงั งานทางเลือกได้ โดยต้นอ่อนกำลังดีทเี่ ปน็ อาหารสตั ว์ หากเกบ็ เกย่ี วไม่ทนั เกนิ อายุทเ่ี หมาะสมก็นำไปสู่การ
เปน็ ปจั จัยการผลติ ของพลังงานทางเลือกได้ ซ่ึงมีนโยบายสนับสนุนจากกระทรวงพลงั งานส่งเสริมให้มีโรงไฟฟ้า
ชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากในหลายจังหวัด จากข้อมูลอุตสาหกรรม เช่น บริษัท ไทยอีสเทิร์น ไบโอ
พาวเวอร์ จำกัด ต้องการผลิตก๊าซชีวภาพโดยต้องใช้จากหญ้าเนเปียร์ 10,000 ไร่ หรือประมาณความต้องการใช้/
รับซื้อหญ้าหรือกำลังการผลิต 500,000 ตันต่อปี เป็นต้น นับว่าเป็นโอกาสในการจัดการแปลงหญ้าเนเปียร์
เชิงธุรกจิ ได้ต่อไป (ตารางท่ี 4.7)

109

ตารางที่ 4.7 แหล่งรับซอ้ื ผลผลิตหญ้าเนเปยี ร์ของพ้นื ทน่ี ำรอ่ งเป้าหมายในภาคตะวันออก

ลำดบั แปลงใหญ/่ ผู้ประกอบการ ทอี่ ยู่ ประมาณการปริมาณ

ความตอ้ งการรับซ้ือหรือกำลงั

การผลิต (ตนั /ปี)

1 “แปลงหญา้ หมีทับชา้ ง” ต.ทับช้าง อ.สอยดาว จ.จันทบรุ ี 750

X 285303 Y 1467601

2 แปลงใหญส่ มัยใหม่หญา้ เนเปียร์ ม.5 บา้ นเตาถ่าน ต.ทุ่งขนาน อ.สอยดาว 7,200

ต.ท่งุ ขนาน อ.สอยดาว จ.จนั ทบุรี

จ.จนั ทบรุ ี X 404481 Y 1463169

3 กลมุ่ คลองหวาย ม.6 ต.วังใหม่ อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแกว้ 3,600

X 500182 Y 1490587

4 วสิ าหกจิ ขุมชนกลมุ่ เลย้ี งสัตว์ 16 ม. 19 ต.พระเพลงิ อ.เขาฉกรรจ์ 740

เพอื่ สร้างอาชีพบ้านเนนิ สยาม จ.สระแก้ว

X 175740 Y 1511214

5 ศนู ย์วิจยั และพฒั นาอาหารสัตว์ 222 ม.3 ต.คลองไกเ่ ถือ่ น อ.คลองหาด 1,000

สระแก้ว จ.สระแกว้

X 209175 Y 1473529

6 กลุ่มสมาชกิ แปลงใหญโ่ คเนอ้ื 185 ไร่ ต.หนองสังข์ อ.อรัญประเทศ 5,550

ตำบลหนองสงั ข์ จ.สระแกว้

X 233346 Y 1525988

7 กลมุ่ สมาชิกแปลงใหญโ่ คเน้อื 440 ไร่ ต.หนองแวง อ.โคกสงู จ. 13,200

ตำบลหนองแวง สระแก้ว

X 251984 Y 1535947

8 กลุม่ สมาชกิ แปลงใหญโ่ คเนอ้ื 250 ไร่ ต.หนองมว่ ง อ.โคกสูง 7,500

สามคั คโี คบาล ตำบลหนองม่วง จ.สระแก้ว

X 236503 Y 1535770

9 กลุ่มสมาชกิ แปลงใหญโ่ คเนื้อ 230 ไร่ ต.โนนหมากเค็ง 6,900

ตำบลโนนหมากเค็ง อ.วัฒนานคร จ.สระแกว้

X 206342 Y 1529180

10 กลุ่มสมาชกิ แปลงใหญโ่ คเน้ือ 200 ไร่ ต.หนองตะเคยี นบอน 6,000

ตำบลหนองตะเคยี นบอน อ.วฒั นานคร จ.สระแกว้

X 204073 Y 1536766

11* บรษิ ัท ไทยอีสเทริ ์น ไบโอ พาว ม.2 ต.เขาซก อ.หนองใหญ่ จ.ชลบรุ ี 500,000

เวอร์ จำกดั ผลติ กา๊ ซชีวภาพ X 759043 Y 1447190

ตอ้ งใช้จากหญา้ เนเปยี ร์

10,000 ไร่ , ทางในปาลม์

ที่มา จากการสำรวจ

110

4) การประมาณการอุปสงคอ์ ุปทานหญ้าเนเปยี ร์ในพน้ื ทีเ่ ปา้ หมายของภาคตะวันออก
หากพิจารณาด้านต้นทุนโลจิสติกส์ร่วมด้วย เขตส่งเสริมการปลูกแปลงหญ้าอาหารสัตว์ในเชิง
ธรุ กจิ ของภาคตะวันออกควรอยู่ใกล้แหลง่ เลี้ยงปศุสัตว์ในรัศมีไม่เกิน 100 กิโลเมตร เป็นขอบเขตเพ่ือคุณภาพที่
ดีของหญ้า สะดวกในการขนส่ง และประหยัดต้นทุนโลจิสติกส์ ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายนำร่องที่เหมาะสมควรเป็น
จังหวัดสระแก้วและรอยต่ออำเภอสอยดาว จังหวัดจนั ทบุรีซึ่งสามารถประมาณการอุปสงค์และอุปทานได้ดังนี้
(ภาพท่ี 4.35)
อุปสงค์
จากข้อมูลปริมาณโคเนื้อและโคนมทั้ง 2 จังหวัด มีจำนวน 114,956 ตัว หากคิดอัตรากินหญ้า
เฉลี่ยขั้นต่ำ 35 กก./วัน และหากคิดอัตราผลผลติ เฉล่ียตอ่ ไร่ 27.280 ตัน ประมาณการได้ 3 แบบจำลอง ดังน้ี
แบบจำลองที่ 1) Best: 365 วัน หากมีหญ้าให้โคกินครบทุกวัน จะต้องการปริมาณหญ้า
1,468,563 ตัน หรือพืน้ ทป่ี ลกู หญา้ 53,833 ไร่
แบบจำลองที่ 2) Scenario 9m. หากมีหญ้าให้กิน 270 วัน จะต้องการปริมาณหญ้า
1,086,334 ตนั หรือพ้นื ทป่ี ลกู หญา้ 39,822 ไร่
แบบจำลองท่ี 3) Scenario 8m หากมีหญ้าให้กิน 240 วนั จะต้องการปริมาณหญ้า 608,811 ตัน
หรอื พน้ื ท่ปี ลกู หญ้า 35,397 ไร่
อปุ ทาน
ปัจจุบันทั้ง 2 จังหวัด เป้าหมายมีแปลงหญ้าอาหารสัตว์ที่แจ้งขึ้นทะเบียนปลูก 17,505 ไร่
หากคิดอัตราผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 27.280 ตัน จะมีปริมาณผลผลิตหญ้า 477,523 ตัน คิดเป็นร้อยละ 33
ของความต้องการหญ้า ซึ่งต้องนำเข้าฟางร้อยละ 67 มาใช้ทดแทนหญ้า ดังนั้น หากต้องการให้มีความมั่นคง
ดา้ นเสบียงอาหารสตั วท์ ่เี พยี งพอ สามารถพิจารณาปลกู หญ้าเพ่มิ เติมประมาณการได้ 3 แบบจำลอง ดงั นี้
แบบจำลองที่ 1) Best 365 วัน หากต้องการมีหญ้าให้โคกินครบทุกวัน ยังขาดปริมาณหญ้า
991,040 ตัน หรอื เพม่ิ พน้ื ทปี่ ลกู หญ้า 36,328 ไร่
แบบจำลองที่ 2) Scenario 9m หากต้องการมีหญ้าให้โคกิน 270 วัน ยังขาดหญ้า 608,811 ตัน
หรือเพ่มิ พน้ื ทีป่ ลูกหญา้ 22,317 ไร่
แบบจำลองที่ 3) Scenario 8m หากต้องการมีหญ้าให้โคกิน 240 วัน ยังขาดหญ้า 131,288 ตัน
หรอื เพ่ิมพน้ื ทป่ี ลกู หญ้า 4,813 ไร่
ควรจัดทำแนวทางบริหารจัดการสินค้าทางเลือกเพิ่มพื้นที่หญ้าอาหารสัตว์ในพื้นที่เป้าหมาย
ของพ้ืนทไ่ี ม่เหมาะสมของขา้ ว มันสำปะหลงั และพนื้ ที่เกดิ โรคใบด่างมนั สำปะหลังสะสม เพ่ือปรับเปลี่ยนพ้ืนที่

111

ภาพที่ 4.35 การประมาณการอปุ สงค์อุปทานและพน้ื ที่เปา้ หมายการพฒั นาหญ้าเนเปยี ร์ภาคตะวนั ออก
ทม่ี า จากการวเิ คราะห์

ทั้งนี้ พื้นที่เป้าหมายเพื่อการส่งเสริมปรับเปลี่ยนสู่การจัดทำแนวทางพัฒนาสินค้าทางเลือก
สามารถพิจารณาไดใ้ น 2 มิติ ไดแ้ ก่

มิติที่ 1 ด้านการลดพื้นที่ตัดวงจรใบด่างมันสำปะหลังระบาดสะสมและลดการชดเชย
คา่ เสียหาย

หญ้าเนเปียร์ จึงเป็นสินค้าทางเลือกหนึ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนในพื้นที่แหล่งเกิดโรคใบด่าง
ระบาดสะสมของจังหวัดสระแก้วเป็นอันดบั 2 ของประเทศ พื้นท่ีกว่า 48,000 ไร่ ซึ่งชดเชยไร่ละ 3,000 บาท
มูลค่า 144 ล้านบาท หรือหากคิดที่ผลผลิตมันสำปะหลังเสียหายสิ้นเชิงมีมูลค่ากว่า 277 ล้านบาท
(ภาพที่ 4.36 และ 4.37)

112

ภาพท่ี 4.36 พืน้ ที่แหล่งเกิดโรคใบด่างระบาดสะสม ภาคตะวนั ออก
ทมี่ า WWW.NABC.go.th, ศูนยข์ อ้ มลู เกษตรแห่งชาติ

ภาพที่ 4.37 ปริมาณและมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรคใบด่างมันสำปะหลงั ในพ้ืนที่สงู สดุ 10 จงั หวดั
ท่มี า WWW.NABC.go.th, ศนู ยข์ ้อมลู เกษตรแห่งชาติ

113

มติ ิท่ี 2 ด้านลดพืน้ ทไี่ ม่เหมาะสมทม่ี ีผลตอบแทนตอ่ การใช้พื้นท่นี ้อย และลดการชดเชยส่วน
ตา่ งประกนั รายได้

หญ้าเนเปียร์จึงเป็นสนิ ค้าทางเลือกหนึ่งทีส่ ามารถปรับเปลีย่ นจากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง และ
ขา้ วทีอ่ ย่ใู นเขตเหมาะสมน้อยหรือไมเ่ หมาะสมทีใ่ ห้ผลตอบแทนสุทธิตอ่ ไรน่ อ้ ยกว่าการปลูกหญ้าเนเปยี ร์

มิติที่ 2.1 ดา้ นปรับไรม่ ันส่นู าหญ้าควบคูป่ ศุสัตว์
จากแผนที่แสดงพื้นที่เหมาะสมน้อยหรือไมเ่ หมาะสมในการปลูกมนั สำปะหลังท่ีให้ผลตอบแทน
สุทธิต่อไร่น้อยกว่าการปลูกหญ้าเนเปียร์ของอำเภอเป้าหมายสำคัญในจังหวัดสระแก้วและจันทบุรี ได้แก่
อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอคลองหาด อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว และอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
ซ่ึงยงั มพี ื้นที่กว่า 2 แสนไร่ ทค่ี วรจัดการสง่ เสริมให้ปรับเปลี่ยนหรือผสมผสานจากไร่มนั สำปะหลังเป็นการปลูก
หญ้าเนเปยี ร์ควบคู่กับการเลีย้ งปศุสตั วเ์ พือ่ เพ่ิมรายไดใ้ หเ้ กษตรกรจากสนิ ค้าเดิม

ตารางท่ี 4.8 พืน้ ทไ่ี ม่เหมาะสมในการปลูกมนั สำปะหลงั ของอำเภอเปา้ หมายในจงั หวัดสระแกว้ และจนั ทบรุ ี

จงั หวัด อำเภอ พื้นท่ไี มเ่ หมาะสมปลกู มนั สำปะหลัง (ไร่)

สระแกว้ วังสมบรู ณ์ 80,275.95

คลองหาด 66,699.96
วังน้ำเย็น 44,928.68

จันทบรุ ี สอยดาว 34,785.79
ทีม่ า Agri-Map Online, 2563

114

ภาพที่ 4.38 พ้นื ทเ่ี ป้าหมายปลูกมนั สำปะหลังบนชั้นความไมเ่ หมาะสมจังหวัดสระแกว้
ท่ีมา: สำนกั งานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6, การบรหิ ารจัดการสนิ ค้าสำคัญและสินค้าทางเลือกเชงิ ลึกตาม Agri-map
ปี 2564

ภาพที่ 4.39 พน้ื ทเี่ ปา้ หมายปลูกมันสำปะหลงั บนช้นั ความไมเ่ หมาะสมจังหวดั จันทบุรี
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6, การบริหารจัดการสินค้าสำคัญและสินค้าทางเลือกเชิงลึกตาม
Agri-map ปี 2564

115

มิติท่ี 2.2 ด้านยกระดับนาขา้ วสนู่ าหญา้ ควบคปู่ ศุสัตว์
จากแผนที่แสดงพื้นที่ปลูกข้าวในเขตเหมาะสมน้อยหรือไม่เหมาะสมที่ให้ผลตอบแทนสุทธิ
ต่อไร่น้อยกว่าการปลูกหญ้าเนเปียร์ของอำเภอเป้าหมายสำคัญในจังหวัดสระแก้ว ได้แก่ อำเภอตาพระยา
อำเภอวัฒนานคร อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ซึ่งยังมีพื้นที่เหมาะสมน้อยหรือไม่เหมาะสมปลูกข้าว
กว่า 3 แสนไร่ ที่ควรจัดการส่งเสริมให้ปรับเปลี่ยนหรือผสมผสานยกระดับนาข้าวเป็นการปลูกหญ้าเนเปียร์
ควบค่กู ับการเล้ียงปศสุ ัตว์เพื่อเพิม่ รายได้ใหเ้ กษตรกรจากสนิ คา้ เดิม
ตารางที่ 4.9 พ้นื ทไ่ี มเ่ หมาะสมในการปลูกขา้ วของอำเภอเป้าหมายในจงั หวดั สระแก้ว
จังหวัด อำเภอ พื้นท่ไี มเ่ หมาะสมปลูกข้าว (ไร)่

สระแกว้ ตาพระยา 111,677.70

วัฒนานคร 98,865.40

อรัญประเทศ 91,397.80

ท่มี า Agri-Map Online, 2563

ภาพที่ 4.40 พื้นทเี่ ป้าหมายปลูกขา้ วบนช้นั ความไมเ่ หมาะสมจังหวัดสระแกว้
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6, การบริหารจัดการสินค้าสำคัญและสินค้าทางเลือกเชิงลึกตาม
Agri-map ปี 2564

116

5) มาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน
และเกษตรกร

แนวทางการบริหารจัดการสินค้าสำคัญและหญ้าเนเปียร์สินค้าทางเลือกเชิงลึก
ตาม Agri-map มีเป้าหมาย จังหวัดสระแก้วและจันทบุรีเป็น “แหล่งพืชอาหารสัตว์ที่เหมาะสมของ
ภาคตะวันออก” เพอื่ ความมน่ั คงดา้ นอาหารสัตว์ของภาคตะวันออก
มาตรการปลายทาง

- Business Matching กลุม่ ผลติ หญ้าอาหารสัตว์ทำเสบียงอาหารสัตร์ “ผูกป่นิ โต” เกษตรพันธ
สัญญากับสหกรณ์โครงการโคบาลบูรพา+สหกรณ์โคนม ตลอดปีเพื่อเชื่อมโยงการเลี้ยงโคแบบประณีต
Intensive ฟารม์ อยา่ งยง่ั ยืน (ปศ.+กสส. และนโยบายรัฐบาล)

- จดั ทำแผนพัฒนาสินค้าหญ้าอาหารสตั ว์ BCG Value Chain เป็นสินค้าเศรษฐกิจที่สำคัญของ
จงั หวดั /กลุ่มจงั หวดั (กษ.+พณ.+อก.)
มาตรการกลางทาง

- สนบั สนนุ ความรู้การรวมกลุ่มส่งเสริมหลักการสหกรณ์ต่อยอดสร้างธรุ กิจแปรรูปหญ้าเนเปียร์
ต่อเนือ่ ง (กสส.+ธกส.)

- ยกระดับเป็นเครือข่ายสหกรณ์แปลงใหญ่ปศุสัตว์และหญ้าอาหารสัตวส์ มัยใหม่ครบวงจรของ
ภาคตะวนั ออก (ปศ.+ธกส.)

- จัดทำมาตรฐานการผลติ หญ้าเนเปยี รส์ ำหรบั อาหารสัตว์ (ปศ.+มกอช.)
มาตรการต้นทาง

- กำหนดพื้นที่ Zone เหมาะสมใกล้แหล่งเลี้ยงสัตว์หนาแน่น นำ GIS มาใช้จัดทำระบบ
ฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อประมาณการณ์ผลผลิตอย่างใกล้ชิดและประชาสัมพันธ์แหล่งผลิตเสบียงอาหารสัตว์
(สศก.+พด.+ปศ.+กสส.+กสก.+AIC)

- ปรับเพิ่มเงื่อนไขมาตรการค่าชดเชยเป็นมาตรการค่าปรับเปลี่ยนเป็นสินค้าทางเลือก พร้อม
มาตรการส่งเสริมท่อนพันธุ์หญ้าและสนับสนุนเครื่องจักรกลทดแทนแรงงาน+แปรรูปหญ้าเนเปียร์เพิ่มขึ้น
(พณ.+ปศ.+กสก.)

- สร้างและพฒั นาแหล่งน้ำหรือระบบแพร่กระจายน้ำชมุ ชนประหยัดพลังงานร่วมกัน (ส.ป.ก.+
พด.+ชป.+กรมทรัพยากรนำ้ บาดาล)

- วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสูตรผสมหญ้าอาหารสัตว์ใหม่ ๆ โดยนำพืชท้องถิ่นที่มีสรรพคุณ
ทางยาเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Herb Feed) เช่น สูตรผสมต้านโควิดลดโลกร้อนกับใบไผ่ บอระเพ็ด
ฟ้าทะลายโจร ฯลฯ (ศนู ยว์ ิจยั และพัฒนาอาหารสตั ว์สระแกว้ (ศวอ.สก. ปศ.)

- เสริมองค์ความรู้ปรับทัศนคติการสร้างคุณค่าโภชนะอาหารสัตว์ตลอดกระบวนการตั้งแต่
วางแผนการปลกู และแปรรูปหญ้าเชงิ ธรุ กิจ (ศวอ.สก. ปศ.)

- สร้างแปลงเรียนรู้ต้นแบบการผลิตหญ้าอาหารสัตว์คุณภาพเชิงธุรกิจเสบียงอาหารสัตว์และ
พลงั งานชีวมวล (ปศ.+กสส.+กสก.)

117

6) ข้อมลู ดา้ นโรคและศตั รูพชื ประกอบการตัดสินใจในการผลิตและการตลาด
สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์, 2561 มีคู่มือการปลูกหญ้าเนเปิยร์ปากช่อง 1
(Pennisetum purpureum Pakchong 1) ซึ่งเป็นหญ้าเนเปียร์ลูกผสมสายพันธุ์หนึ่ง เกิดจากการคัดเลือก
และส่งเสรมิ โดยสำนักพฒั นาอาหารสัตว์ ลักษณะทัว่ ไปเป็นหญ้าอายหุ ลายปีทรงต้นเปน็ กอตั้งตรงสูง 2-4 เมตร
แตกกอดี มรี ะบบรากแข็งแรง ชอบดนิ ที่มีการระบายน้ำได้ดี มีความอุดมสมบูรณส์ ูง ไมท่ นน้ำท่วมขัง ไม่ทนต่อ
การเหยยี บย่ำของสตั ว์
หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 เป็นหญ้าที่เติบโตเร็ว สูงเต็มที่ประมาณ 4 เมตร ปรับตัวและ
เจริญเติบโตได้ดีในดินหลายสภาพ ชอบแสงแดดจ้า สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ตอบสนอง
ต่อปุ๋ยไดด้ ี ไม่มีโรคและแมลงรบกวน สามารถปลกู หญ้าสำหรับตดั ใหส้ ตั ว์กนิ หรอื นำมาทำหญา้ หมักเปน็ อาหารหยาบ
คณุ ภาพดีของโคนม โคเนือ้ กระบือ แพะ แกะ หมู ไกง่ วง และปลากินพืช สามารถนำมาเลีย้ งสตั ว์ในรูปหญ้าตัดสด
หญ้าหมัก และอาหารผสมครบส่วน (TMR) เหมาะสำหรับเกษตรกรผ้เู ล้ียงสตั วท์ ่ีมพี ืน้ ทปี่ ลูกหญ้าจำกัด มรี ะบบ
รากแข็งแรง แผ่กระจาย ดูดซมึ นำ้ ดีตอบสนองต่อการให้น้ำและปุ๋ยได้ดีมาก ลำตน้ ต้งั ตรง แตกกอดี เจริญเติบโตเร็ว
ให้ผลผลติ สงู โปรตีนสงู มโี ภชนะทส่ี ามารถย่อยได้สงู มีความนา่ กินสูง สตั วช์ อบกิน ไม่มรี ะยะพักตวั ให้ผลผลิต
ได้ทงั้ ปี มีระยะออกดอกสนั้ ขอบใบไม่คม ใบและลำตน้ มีขนน้อยไม่คนั มปี ริมาณนำ้ ตาลสูง สามารถนำมาผลิต
เปน็ หญ้าหมักคณุ ภาพดไี ด้
การปลูก เจริญเติบโตได้ดีในดินหลายประเภท ดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนเหนียว
ชอบดินทมี่ ีการระบายน้ำดีและมคี วามอุดมสมบูรณ์ทนแล้ง แตไ่ ม่ทนน้ำทว่ มขงั ต้องการปรมิ าณน้ำฝนประมาณ
1,000-1,200 มิลลิเมตรต่อปี ด้านการเตรียมดิน ทำการไถดะ (ใช้รถไถติดผาน 3 หรือ 4 จาน) ไถแปร (ใช้รถ
ติดไถผาน 7 จาน) ไถพรวน (ใช้รถไถติดจอบหมุนตีนเป็ดไถในทิศทางสานกัน (ทิศตะวันออกไปตก แล้วไถสาน
ทศิ เหนอื ไปทิศใต้) ใสป่ ุย๋ อินทรยี ์ เช่น ปยุ๋ คอกหรือปุ๋ยหมัก 2-4 ตนั ต่อไร่
การปลกู ดำเนินการได้ 3 รูปแบบ ดังน้ี
1) แบบปักท่อนพันธุ์ เลือกท่อนพันธุ์จากแปลงที่เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรงมีขนาดลำต้น
สม่ำเสมอ อายุประมาณ 3 เดือน อัตราการปลกู 400-600 กิโลกรัม/ไร่ ควรปลูกเป็นแถว ระยะระหว่างแถว x
หลุม 120 x 80 เซนติเมตร หรือ 100 x 100 เซนติเมตร ตัดท่อนพันธุ์เฉียงเป็นท่อน ๆ (1 ท่อนมี 2 ข้อ)
ปักเอยี งทำมุมกับพน้ื ดิน 30 องศา โดย 1 หลมุ ปกั ท่อนพันธุ์ 2 ทอ่ น ในลักษณะไขวก้ นั
2) แบบวางท่อนพันธุ์ในร่อง ชักร่องเป็นแถวแบบปลูกอ้อย ระยะระหว่างร่อง 120 เซนติเมตร
วางท่อนพันธุ์ต่อกันในร่อง โดยให้ส่วนปลายยอดของท่อนหนึ่งซ้อนเหลื่อมกับส่วนโคนของอีกท่อน ประมาณ
20 เซนตเิ มตร ใชม้ ีดสับทอ่ นพันธใ์ุ ห้สัน้ ลงเพอื่ ใหท้ อ่ นพันธแุ์ นบดินที่สดุ พร้อมเกล่ียดนิ กลบท่อนพนั ธุ์
3) แบบปลูกด้วยเครื่องปลูก เหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยใช้เครื่องปลูกอ้อย
ติดท้ายรถแทรกเตอร์ ในการปลูก 1 ชั่วโมง สามารถปลูกได้ประมาณ 4 ไร่ ในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ท่อนพันธุ์ 600
กโิ ลกรมั
การใส่ปุ๋ย ใสป่ ๋ยุ เคมีรองพื้นสูตร 15-15-15 อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ (ขึน้ อยู่กับคุณภาพของดิน)
ขณะเตรียมดิน และหลังการตัดหญ้าไปใช้ประโยชน์แต่ละครั้งอาจใช้ไถสิ่ว (Ripper) ไถแหวกลงระหว่างแถว

118

แล้วใส่ปุ๋ยมูลสัตว์รอบ ๆ กอ ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม/กอ ร่วมกับปุ๋ยยูเรียที่กอหญ้าปริมาณ 1 ซ้อนโต๊ะ/กอ
หรอื อัตรา 10-20 กโิ ลกรมั /ไร่ และควรใสป่ ยุ๋ บำรงุ ตอทนั ทีหลงั การเกบ็ เกย่ี ว เมือ่ ดนิ มีความชน้ื เหมาะสม

การกำจัดวัชพืช กำจัดวัชพืชหลังปลูกครั้งแรกที่อายุ 2-4 สัปดาห์ และทุกครั้งหลังการ
เก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน (ใช้จอบถากวัชพืช) ใช้รถไถนาเดินตาม ติดไถแหวกร่อง หรือใช้รถไถติดจอบหมุน
กำจัดวชั พืชระหว่างแถว ตามดว้ ยการใชจ้ อบถากระหวา่ งต้น

การใช้ประโยชน์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 เมื่ออายุ 60-7 5 วันหลังปลูก ให้ดำเนินการตัดใช้
ประโยชน์ครั้งแรก และการตัดครั้งต่อไป ตัดทุก ๆ 60 วัน (ปีละ 5-6 ครั้ง) ในแปลงขนาดเล็กการเก็บเกี่ยว
ผลผลิตโดยใช้มีด หรอื ใช้เคร่ืองตัดหญ้าสะพายไหล่ ควรตัดให้ชิดดนิ มากท่ีสุดเท่าทจ่ี ะทำได้ ส่วนในแปลงขนาดใหญ่
อาจใช้เครื่องตัดสับพืชอาหารสัตว์แบบ Double chop ในการตัดเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อลดระยะเวลาในการ
เก็บเกี่ยวและลดการใช้แรงงานคนในการตัดหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ให้ผลผลิตสูงประมาณ 80 ตันต่อไร่ต่อปี
(น้ำหนักสด) หากมีการจัดการแบบประณีต เช่น มีระบบการให้น้ำหลังการตัดได้ทันที พื้นที่เป็นดินที่มีความ
อดุ มสมบรู ณ์ สามารถใส่ป๋ยุ คอก และปุ๋ยเคมีไดต้ ามความต้องการของหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 เกบ็ เกี่ยวได้ชิดดิน
และตอไม่ช้ำ เป็นต้น แตถ่ ้าภายใต้การจดั การแบบปกติทัว่ ไป เช่น ปลกู ในพน้ื ท่ไี ม่มรี ะบบชลประทาน ใช้น้ำฝน
ดินไม่อดุ มสมบูรณ์ และการเก็บเก่ียวไมถ่ ูกต้อง เปน็ ต้น จะให้ผลผลิตประมาณ 35-40 ตันตอ่ ไร่ตอ่ ปี (นำ้ หนกั สด)

หญ้าเนเปียรป์ ากช่อง 1 สามารถเกบ็ เก่ยี วได้ทง้ั ปี (6 ครงั้ ตอ่ ปี) ใหผ้ ลผลิตตอ่ เนื่องประมาณ 8-9 ปี
หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หากเก็บเกี่ยวที่อายุ 45 วัน มีวัตถุแห้ง (DM) 15% มีโปรตีน (CP) 10-12% หากเก็บ
เกยี่ วท่ีอายุ 60 วนั มีวตั ถแุ หง้ (DM) 18% มีโปรตีน (CP) 8-10% การตดั หญ้าทีอ่ ายนุ ้อยกวา่ 60 วนั จะมีวัตถุแห้ง
หรือน้ำหนักแห้งน้อย มีน้ำอยู่มาก ไม่เหมาะกับการนำมาทำหญ้าหมัก จากผลผลิตหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1
ภายใต้การจดั การแบบประณีต การปลกู ในพนื้ ที่ 1 ไร่ สามารถใชป้ ระโยชน์นำมาเล้ียงโครดี นมได้ 5-6 ตวั

การให้นำ้ ปริมาณน้ำที่หญ้าเนเปยี ร์ปากช่อง 1 ตอ้ งการในแต่ละชว่ งเวลาของพชื ตัง้ แตใ่ นระยะ
ตั้งตัว (อายุ 1-20 วัน) ต้องการน้ำประมาณ 4 มิลลิเมตร/ต้น/วัน เป็นช่วงที่มีความสำคัญมากที่สุดในการปลูก
เนอื่ งจากต้องการใช้นำ้ ในการงอกของท่อนพันธรุ์ ะยะเตบิ โตทางลำตน้ และใบ (อายุ 21-60 วัน) ต้องการนำ้ 4.5
มิลลิเมตร/ตน้ /วนั หรือมีปริมาณน้ำที่ต้องการในแต่ละครั้งของการเก็บเกี่ยวประมาณ 360 ลูกบาศก์เมตร/ไร/่
60 วัน การให้น้ำอาจให้สัปดาห์ละ 1 -2 ครั้ง ขึ้นกับความชื้นของดิน และสภาวะอากาศในแต่ละฤดูกาล
รปู แบบการใหน้ ้ำมีหลายรูปแบบ เชน่ เทปนำ้ หยด เทปน้ำพุ่งสปริงกอร์ หรอื ปล่อยหลากเข้าแปลง แตท่ น่ี ยิ มคือ
การใช้แบบสปรงิ เกอร์ขนาดใหญซ่ ง่ึ สะดวกไม่กดี ขวางในการเก็บเกย่ี ว และสามารถกระจายนำ้ ได้ทวั่ ทง้ั แปลง

การผลิตหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 สำหรับเลี้ยงสัตว์ โดยนำหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 จากการ
เก็บเกี่ยว นำมาเก็บรักษาไว้ในสภาพความชื้นสูงที่ไม่มีอากาศ ซึ่งการเก็บแบบหมักนี้สามารถอยู่ได้เป็น
เวลานาน โดยส่วนประกอบต่าง ๆ และคุณค่าของอาหารไม่เปลี่ยนแปลงสำหรับไว้ใช้เป็นอาหารสัตว์ในช่วง
ขาดแคลนหญ้าสด หลังการทำหญ้าหมักประมาณ 1 สัปดาห์ จะเริ่มมีกลิ่นหอม ประมาณ 3 สัปดาห์ จะเกิด
การหมกั เต็มที่

119

ปัจจยั ท่ีควบคุมคุณภาพของการหมัก

1. ชนิดของพืช เป็นพืชที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งและน้ำตาลสูงพอสมควร ควรมีลำต้นตันเพื่อช่วยลด

ช่องอากาศภายในให้น้อยที่สุด เช่น ข้าวโพด หญ้าเนเปียร์ ซึ่งในหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 มีคาร์โบไฮเดรต

ละลายนำ้ ได้ 18% ดังนั้นจงึ มคี วามเหมาะสมในการนำมาผลติ หญ้าหมัก โดยไม่ตอ้ งเติมสารเสริมในการทำหญ้าหมัก

2. เวลาในการตัดพืชมาทำหมัก ไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป และยังมีคุณค่าทางอาหารอยู่

ในการตัดหญ้าเนเปยี รป์ ากช่อง 1 มาทำพชื หมักควรตัดทอ่ี ายุประมาณ 60-70 วัน

3. ความยาวของทอ่ นพืช ชว่ ยในการไลอ่ ากาศ เชน่ ห่นั ยาวประมาณ 1 น้วิ

4. ระดบั ความช้ืนเหมาะสม พืชทีน่ ำมาหมกั ควรมคี วามชืน้ ประมาณ 60-70%

5. การกำจัดอากาศออก เป็นหลักสำคัญที่สุดในการทำหญ้าหมัก เพราะป้องกันการเกิดเชื้อรา

และช่วยให้จลุ ินทรียท์ ่ีไมใ่ ชอ้ อกซเิ จนสร้างกรดมารกั ษาคุณภาพของหญ้าหมักเอาไว้

รูปแบบและวิธีการทำ มีหลายรูปแบบ ดังน้ี

1. หลุมหมักแบบราง 2. หลมุ หมกั แบบกำแพงคอนกรตี

3. หลุมหมักแบบปล่อง 4. หลมุ หมกั แบบท่อ

5. ถงุ หมกั แบบสุญญากาศ 6. แบบมว้ นก้อน

7. แบบกองพ้ืน 8.แบบบรรจุในภาชนะจากผลพลอยได้

ของโรงงานอตุ สาหกรรม

ขน้ั ตอนการทำหญา้ หมกั

1. การตัดหญ้าในระยะที่เหมาะสม อายุ 60-70 วัน หั่นให้มีขนาด 2-3 เชนติเมตร (1 นิ้ว)

เพ่อื ช่วยในการอัดหญา้ ใหแ้ น่น

2. การบรรจุลงหลุม หรือภาชนะหมัก จำเป็นต้องอัดให้แน่น เพื่อไล่อากาศออกให้ มากที่สุด

โดยใช้คนย่ำหรือใช้แทรกเตอร์วิ่งทับ หากบรรจุในถุงหรือถังพลาสติกจะต้องอัดลงภาชนะให้แน่น หรือ

ใชเ้ ครอ่ื งดดู อากาศออกจากถุง

3. การกลบหลุม หรือปิดภาชนะบรรจุ เมื่อบรรจุหญ้าเต็มหลุม และอัดหญ้าแน่นแล้ว จะต้อง

ปิดหลุมหรือภาชนะบรรจุให้สนิท เพื่อป้องกันอากาศซึมเข้าและฝนชะล้าง ถ้าหลุมขนาดใหญ่ควรใช้พลาสติก

คลมุ กอ่ นแลว้ จงึ ใชว้ สั ดตุ า่ ง ๆ กดทับบนผา้ พลาสตกิ อีกชั้น

4. การเก็บและเปิดใช้หญ้าหมัก ภายหลังการปิดหลุมหรือภาชนะ ใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ จะได้

หญ้าหมักที่สมบูรณ์ สามารถเปิดและนำมาใช้ได้ แต่ถ้าเปิดหลุมหมักทิ้งไว้นาน ๆ หญ้าหมักที่ไม่ได้นำมาใช้จะ

เกดิ การสญู เสียได้

ลกั ษณะที่ดขี องหญ้าเนเปยี ร์ปากช่อง 1 หมกั

1. สี ควรมีสีเขียวแกมเหลือง ถ้าสีน้ำตาลไหม้แสดงว่าเกิดความร้อนมากในขณะทำการหมัก

ถา้ เป็นสดี ำไม่ควรนำไปใชเ้ ลี้ยงสตั ว์

2. กล่ิน ควรมกี ลน่ิ หอมเปร้ียวออ่ น ๆ คลา้ ยผลไมด้ อง

3. เน้อื หญา้ หมัก ต้องไมเ่ ป็นเมือก ไมเ่ ละ เอามอื ถูเน้ือไมห่ ลุดออกมา ไม่มรี าหรอื สว่ นท่ีบูดเนา่

120

4. ความชืน้ ควรอย่รู ะหวา่ ง 65-70% หากมีความช้ืนสูงพืชหมกั จะเปรี้ยว หรือถา้ ความช้ืนน้อย
จะเสยี ได้งา่ ยกว่าปกติ

5. ความเป็นกรด ควรมี pH อยรู่ ะหวา่ ง 3.5 - 4.2

4.3.3 โกโก้สนิ ค้าเกษตรทางเลอื กของภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกกำหนดให้ยางพารา เป็นพืชที่ต้องดำเนินการปรับเปลี่ยน เพราะมีสัดส่วน GPP
ในภาคเกษตรอยู่ใน 10 ลำดับแรกของแต่ละจังหวัดภาคตะวันออก และยังมีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ
ทั้งน้ี การปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกสินค้าในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3,N) โดยวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาด้านการ
ผลิตและการตลาด ทั้งนีจ้ ะนำสนิ ค้าหลัก (ยางพารา) เปรียบเทียบกับสนิ ค้าทางเลือก ไดแ้ ก่ ยางพาราเป็นสนิ ค้า
หลักของจงั หวดั ชลบรุ ี ระยอง จันทบุรี และตราด

1) การวเิ คราะหข์ อ้ มลู ดา้ นการผลติ
สินค้าพืชทางเลือกหรือพืชเสริมรายได้ของภาคตะวันออก ได้แก่ โกโก้ เป็นพืชเขตร้อน

เจริญเติบโตได้ดีในที่ทีม่ ีอุณหภมู ิเฉลี่ยประมาณ 25-28 องศาเซลเซียส ต้องการน้ำสม่ำเสมอ พื้นที่ที่เหมาะสม
ควรมีฝนตกสม่ำเสมอตลอดทั้งปี หรือควรมีแหล่งน้ำเพียงพอ ดินที่เหมาะสมควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า
1.5 เมตร ค่า pH ประมาณ 6.5 โกโก้ชอบดินระบายน้ำดี สามารถทนน้ำท่วมได้ถึง 5 เดือน โกโก้เป็นพืชที่
ตอ้ งการรม่ เงาพอสมควร โดยเฉพาะต้นทีย่ งั เลก็ อยู่ โกโก้เปน็ สินคา้ ผสมผสานที่เหมาะสมกบั ศกั ยภาพของพื้นท่ี
ภาคตะวันออก จุดแข็งของโกโกค้ ือ ปลูกได้ทั้งเชิงเด่ียวและแซมในพืชอื่นสามารถปลูกได้ 100 - 200 ต้นต่อไร่
ให้ผลผลิตเร็ว เริ่มให้ผลในปีที่ 2-3 ออกดอกติดผลตลอดปี อายุต้นยืนยาว 60 ปี เป็นพืชที่ปลูกภายใต้ร่มเงา
มีหลายบริษัททำสัญญาซื้อในราคาประกันระยะยาวและส่งเสริมโดยการรับซื้อผลผลิตถึงสวน และโกโก้
สามารถแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มได้หลากหลายธุรกิจ ทั้งธุรกิจช็อกโกแลต ใช้แต่งกลิ่นอาหาร และเครื่องด่ืม
ธรุ กจิ ยารักษาโรค ธุรกิจเครอื่ งสำอาง เป็นต้น

สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำสวนโกโก้ เป็นดินร่วนปนทราย การระบายน้ำค่อนข้างดี
และมีฝนตกกระจายสม่ำเสมอ มีปริมาณน้ำฝน 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี มีปริมาณความต้องการใช้น้ำ
ตลอดช่วงอายุ ได้แก่ 1) โกโก้แซมยางพารา 54 ต้น ใช้น้ำ 252.72 ลบ.ม/ไร่ 2) โกโก้แซมไม้ผล 70 ต้น ใช้น้ำ
327.60 ลบ.ม/ไร่ และ 3) โกโก้เดี่ยว 100 ต้น ใช้น้ำ 468.00 ลบ.ม/ไร่ พื้นที่ที่แนะนำให้ปลูกโกโก้คือ
ภาคตะวันออก กรณีที่ปลกู โกโก้ในพื้นทีท่ ีม่ ีฝนตกไม่สมำ่ เสมอ เกษตรกรต้องมีแหล่งนำ้ สำรองและติดตั้งระบบ
ให้น้ำ เพื่อให้ต้นโกโก้ได้รับน้ำอย่างเพยี งพอ ไม่กระทบต่อผลผลติ ในกรณีฝนทิ้งช่วง ร่วมกับการรักษาความชืน้
ให้ดินบริเวณโคนต้น โดยการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรคลุมรอบโคนในฤดูแล้ง และข้อที่ควรระวังในกรณี
การปลกู โกโก้เปน็ พชื เชงิ เดยี่ ว ทไี่ ม่มพี ชื ให้ร่มเงาในระยะเร่มิ ปลกู ต้นโกโกอ้ าจแสดงอาการใบไหมจ้ ากการได้รับ
แสงแดดมากเกินไป หรือการตัดแต่งกิ่งมากเกินไป จะทำให้แสงแดดส่องลงมาที่กิ่ง ทำให้กิ่งแห้ง มีผลกระทบ
ต่อการเจรญิ เตบิ โตของดอกและผลทก่ี ่ิง จะทำให้ไดผ้ ลผลติ นอ้ ย

พื้นที่ปลูกยางพาราของภาคตะวันออก และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ได้ทำ
การสำรวจและวิเคราะหข์ ้อมูลตน้ ทุนการผลิตต่อไร่ ของยางพาราภาคตะวนั ออกปี 2563 เท่ากบั 10,327.23 บาท

121

ผลผลิตต่อไร่ 404.04 กิโลกรัม ราคาที่ได้รับ ณ ไร่นา 18.53 บาท/กิโลกรัม ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ
7,486.86 บาท ดังนั้นเกษตรกร เมื่อเกษตรกรปลูกยางพารา 1 ไร่ แล้วเกษตรกรจะได้ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่
เท่ากับ -2,840.37 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าพ้ืนท่ีปลกู ยางพาราของภาคตะวันออก ได้ผลตอบแทนทีต่ ิดลบ ซึ่งตาม
นโยบาย กษ. เร่งให้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกยางพารามาปรับเปลี่ยนเป็นพืชอื่นแทน
โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รับนโยบายและทำการวิเคราะห์ข้อมูลพืชของภาคตะวันออกแล้ว
วิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนเกษตรกรปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ไม่เหมาะสม
ในการปลกู ยางพาราปรับเปล่ยี นมาเปน็ กจิ กรรมอ่นื เปน็ พชื ทางเลอื กหรือพชื เสรมิ รายได้

ต้นทุนการผลิตโกโก้ภาคตะวันออกปี 2563 พบว่า มีต้นทุนรวมเท่ากับ 10,217.67 บาท/ไร่
โดยส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนผันแปร เท่ากับ 8,543.10 บาท/ไร่ เช่น ค่าพันธุ์ ค่าแรงงาน ค่าปุ๋ย เป็นต้น หรือ
คิดเป็นร้อยละ 83.61 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด มีผลผลิตต่อไร่แบบผลสด 1,285.67 กิโลกรัม ราคา
ท่ีเกษตรกรขายได้ 15.06 บาท/กโิ ลกรมั ให้ผลตอบแทนต่อไร่เท่ากับ 19,355.71 บาท มผี ลตอบแทนสุทธิต่อไร่
เท่ากับ 9,138.04 บาท มีอัตราผลตอบแทนสุทธิต่อการลงทุน 0.89 ถือว่ายังมีกำไรต่อการลงทุนเพราะอายุขัย
ของโกโกป้ ระมาณ 60 ปี

ตารางท่ี 4.10 ต้นทนุ การผลิตสนิ ค้าสำคญั กับยางพารากบั โกโกส้ นิ คา้ ทางเลือกปี 2563

รายการ ระดับภาค 1) ภาคตะวนั ออก 2)

1. ตน้ ทุนผันแปร ยางพารา โกโก้
2. ตน้ ทนุ คงท่ี 6,550.86 8,543.10
3. ตน้ ทนุ รวมตอ่ ไร่ 3,776.37 1,674.57
4. ตน้ ทนุ รวมต่อหนว่ ย 10,327.23 10,217.67
5. ผลผลติ ต่อไร่ 25.56
6. ราคา (บาท) 404.04 7.95
7. ผลตอบแทนต่อไร่ 18.53 1,285.67
8. ผลตอบแทนสทุ ธิต่อไร่ 7,486.86 15.06
9. ผลตอบแทนสุทธติ อ่ กก. -2,840.37 19,355.71
10. อตั รากำไรตอ่ การลงทนุ 9,138.04
-7.03
-0.28 7.11
0.89

ที่มา : 1) ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ต้นทุน ณ ไร่นา (ณ เดือนมิถุนายน
2564)

2) สำนกั งานเศรษฐกจิ การเกษตรท่ี 6

122
2) การวิเคราะห์ข้อมลู ดา้ นการตลาด
โครงสร้างตลาดโกโก้และลักษณะการขายผลผลิต เกษตรกรผู้ปลูกโกโก้จะมีลักษณะการขาย
ผลผลิต แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ขายแบบผลสด และขายแบบเมล็ดตากแห้ง ไปยังพ่อค้าคนกลางในพื้นท่ี
ผู้รวบรวม หรือตัวแทนของบริษัทที่ทำเกษตรพันธสัญญากันไว้ จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการของโรงงาน
แปรรูปโกโก้ขั้นต้น และโรงงานแปรรูปโกโก้ขั้นสูง จะได้ผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตในรูปแบบที่หลากหลาย และ
ส่งไปยังผู้ค้าส่ง/ค้าปลีกในประเทศ ส่งต่อไปยังกลุ่มผู้แปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และส่งออก
ต่างประเทศ จะมีช่องทางการจำหนา่ ย/จดั สง่ ท่ีหลากหลายไปสู่ผบู้ ริโภค

ภาพที่ 4.41 โครงสรา้ งตลาดโกโก้
ที่มา สำนักงานสง่ เสริมวิสาหกจิ ขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
ลักษณะการขายผลผลิตโกโก้ปี 2563 ของภาคตะวันออก เกษตรกรส่วนใหญ่จะขายผลผลติ
โกโก้แบบผลสดถึงร้อยละ 96.38 และขายแบบเมล็ดตากแห้งร้อยละ 3.62 เนื่องจากเกษตรกรยังขาด
องคค์ วามรู้เรื่องการทำเมลด็ ตากแห้ง

ภาพที่ 4.42 ลกั ษณะการขายผลผลิตโกโก้ปี 2563
ทีม่ า จากการสำรวจ

123

วิถีการตลาดโกโก้ภาคตะวันออกปี 2563 ผลผลิตโกโก้สด ส่งขายกระจายไปยังผู้รวบรวม
ท้องถิ่น/ตัวแทนของบริษัทผู้ประกอบการ ร้อยละ 96.26 จากที่ผู้รวบรวมท้องถิ่นบางราย นำรถมารับซื้อ
เกษตรกรถงึ ท่ีสวน และมีบางสว่ นทเี่ กษตรกรต้องขนผลผลติ ไปยังจุดรับซอื้ ของผู้รวบรวมท้องถิ่น ซ่ึงไม่ไกลจาก
สวนของเกษตรกรมากนัก ส่วนตัวแทนของบรษิ ัทผู้ประกอบการสว่ นใหญ่ จะมีการตกลงการประกอบธุรกิจใน
ระบบเกษตรพันธสัญญากันระหวา่ งเกษตรกรกบั บริษัท และตวั แทนบริษัทจะนำรถมารับซื้อเกษตรกรถึงท่ีสวน
มีแค่บางบริษัทที่ให้เกษตรกรต้องขนผลผลิตไปยังจุดรับซื้อของบริษัทซึ่งมีกระจายอยู่ในแต่ละจังหวัดของ
ภาคตะวันออก ในส่วนของผู้แปรรูปท้องถิ่น ร้อยละ 2.90 จะมีการนำผลผลิตสดนำไปแปรรูปเมล็ดแห้งโกโก้
จนถึงการแปรรูปเป็นสินค้าช็อกโกแลต ส่งขายภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ และที่เกษตรกรผู้ผลิต
เก็บไว้แปรรูปผลผลิตเอง ร้อยละ 0.84 เกษตรกรบางรายเริ่มฝึกทดลองทำการแปรรูปเป็นสินค้าช็อกโกแลตแท่ง
และฝึกทดลองทำเมล็ดตากแห้งเอง เพื่อจะเพิ่มมูลคา่ สินคา้ ด้วยตนเอง และลดความเสี่ยงเร่ืองราคาสินคา้ ดว้ ย
เพราะการแปรรูปเป็นเมล็ดแห้งสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานประมาณ 2-3 ปี ก็ยังรักษาคุณภาพของผลผลิตไว้
ไดค้ งเดิมอยู่

ผู้รวบรวมท้องถิ่น/ตัวแทนบรษิ ทั
96.26%

ผลผลิตสด ผแู้ ปรรปู ทอ้ งถนิ่
100% 2.90%

เก็บไวแ้ ปรรปู เอง
0.84%

ภาพท่ี 4.43 วิถกี ารตลาดโกโกภ้ าคตะวนั ออกปี 2563
ท่ีมา จากการสำรวจ

3) การวเิ คราะหด์ ้านเศรษฐกิจของโกโก้เชิงลกึ ของภาคตะวันออก
สินค้าโกโก้ภาคตะวันออก เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกเป็นสวนผสมกับผลไม้ ยางพารา และ
ปาล์มน้ำมัน พันธุ์โกโก้ที่ปลูก ได้แก่ ชุมพร 1 I.M.1 และโกโก้ไทย 1 เกษตรกรส่วนใหญ่ขายให้ผู้รวบรวม
ท้องถิ่น/ตวั แทนบรษิ ัท ขายให้ผูแ้ ปรรปู ทอ้ งถิ่น และเก็บไว้แปรรูปเอง ซึ่งภาคตะวนั ออกมีจุดเด่นที่มีผู้รวบรวม
หลายรายทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านราคารับซื้อผลผลิตเพราะผลผลิตยังมีไม่เพียงพอ รวมทั้งมีผู้แปรรูป
ในภาคตะวันออกท่มี กี ารแปรรูปเพ่ือสง่ ต่อให้กบั โรงงานหรอื บริษทั ผลิตชอ็ กโกแลตรายใหญ่ไปตา่ งประเทศ
แหล่งผลิตโกโก้ที่สำคัญของภาคตะวันออก (8 จังหวัด) ในปี 2563 มีพื้นที่ยืนต้น จำนวน
4,904.04 ไร่ และเนื้อที่ให้ผลแล้ว จำนวน 3,781.77 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 77.12 ของพื้นที่ยืนต้นทั้งหมด
และผลผลิตต่อไร่ 1,285.67 กโิ ลกรัม ส่วนผลผลิตรวมภาคตะวันออก จำนวน 4,862.11 ตัน และมีพืน้ ทป่ี ลูกมาก

124

ที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 1,753.11 ไร่ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 1,085.79 ไร่ และ
จังหวัดตราด จำนวน 534.13 ไร่ โดยมีพื้นที่ปลูก คิดเป็นร้อยละ 35.75 22.14 10.89 ของพื้นที่ปลูกโกโก้ท้ัง
ภาคตะวันออก ตามลำดับ มีผลผลิต 1,513.72 1,351.53 และ 219.21 ตัน คิดเป็นร้อยละ 31.13 27.80
4.51 ของผลผลติ โกโก้ท้งั ภาคตะวันออก ตามลำดับ

แหล่งรับซื้อผลผลิตของภาคตะวันออก (8 จังหวัด) ในปี 2563 มีการกระจายตัวทั่วทั้ง
ภาคตะวันออก ได้แก่ อำเภอเมือง แก่งหางแมว โป่งน้ำร้อน ขลุง และแหลมสงิ ห์ จังหวัดจันทบุรี อำเภอเมือง
จังหวัดตราด อำเภอบ้านค่าย วังจันทร์ และแกลง จังหวัดระยอง อำเภอบ่อทอง และพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก และอำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
ความตอ้ งการผลผลติ โกโกส้ ดปี 2563 จำนวน 21,428.10 - 31,440.10 ตัน

การวิเคราะห์ถึงบัญชีสมดุลสินค้าโกโก้ในภาคตะวันออก (8 จังหวัด) พบว่า ภาคตะวันออก
สามารถผลิตได้ 4,862.11 ตัน และมีความต้องการใช้หรือการนำไปใช้ประโยชน์มีปริมาณ 21,428.10 -
31,440.10 ตัน โดยการนำไปใช้ภายในภาคตะวันออก และการส่งออกไปตลาดทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ
ดงั นนั้ จงึ สรปุ ผลการวิเคราะห์ผลผลิตโกโก้ของภาคตะวันออก ยังขาดความสมดุลกบั ความต้องการใช้ อยา่ งไรก็ตาม
พบว่า ความต้องการใช้หรือการนำไปใช้ประโยชน์ ยังขาดอีกจำนวน 16,565.99 - 26,577.99 ตัน
ต้องนำเข้ามาจากนอกภาคตะวันออก จึงต้องส่งเสริมให้ปลูกโกโก้ประมาณ 12,885.10 - 20,672.48 ไร่
ในพ้ืนทภี่ าคตะวันออก

เมื่อพิจารณาสินค้ายางพาราในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด มีพื้นที่ไม่เหมาะสม
เปรียบเทียบกับสินค้าพืชทางเลือกหรือพืชเสริมรายได้ของภาคตะวันออกแล้ว โกโก้ เป็นพืชทางเลือกหรือ
เสริมรายได้ที่เหมาะสมกับ 3 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง เพราะมีสภาพพื้นที่ท่ี
เหมาะสมกับการทำสวนโกโก้ เป็นดินร่วนปนทราย การระบายน้ำค่อนข้างดี และมีฝนตกกระจายสม่ำเสมอ
มปี รมิ าณน้ำฝน 1,500-2,000 มิลลเิ มตรต่อปี มีความเหมาะสมทางกายภาพ/ภูมิศาสตร์ มศี กั ยภาพทั้งด้านการผลิต
และการตลาด สอดคล้องกับสงั คมวัฒนธรรมและวิถีชีวิต และสอดคลอ้ งกับนโยบายและแผนพัฒนาระดับพ้ืนท่ี
รวมทัง้ มีโอกาสต่อยอดสรา้ งธรุ กจิ แปรรูปโกโกต้ ่อเนื่อง

แหล่งผลิตโกโก้ที่สำคัญของจังหวัดนำร่องในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ตราด
และระยอง ในปี 2563 โกโก้มีพื้นที่ยืนต้น จำนวน 2,669.46 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 54.43 ของพื้นที่ยืนต้น
ภาคตะวันออก สว่ นผลผลติ รวมจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง จำนวน 2,141.28 ตัน หรอื คดิ เป็นร้อยละ
44.04 ของผลผลิตภาคตะวันออก และมีพื้นที่ปลูก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 1,753.11 ไร่ จังหวัดตราด
จำนวน 534.13 ไร่ และจังหวัดระยอง จำนวน 382.22 ไร่ โดยมีพื้นที่ปลูกจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง
คิดเป็นร้อยละ 35.75 10.89 7.79 ของพื้นที่ปลูกโกโก้ทั้งภาคตะวันออกมีผลผลิต 1,513.72 219.21 408.35 ตัน
คิดเปน็ ร้อยละ 31.13 4.51 8.40 ของผลผลิตโกโกท้ งั้ ภาคตะวนั ออก ตามลำดบั

พื้นที่ปลูกที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี ในอำเภอแก่งหางแมว นายายอาม ท่าใหม่ เขาคิชฌกูฏ
สอยดาว โป่งน้ำร้อน แหลมสิงห์ และขลุง จังหวัดตราด ในอำเภอเมือง บ่อไร่ เขาสมิง และแหลมงอบ และ
จังหวัดระยอง ในอำเภอเมอื ง บา้ นฉาง ปลวกแดง วงั จันทร์ เขาชะเมา และแกลง

125

แหล่งรับซื้อผลผลิตของภาคตะวันออกในปี 2563 มีการกระจายตัวในรัศมี 100 กิโลเมตร
ของ 3 จังหวัดนำรอ่ ง ได้แก่ อำเภอเมือง แกง่ หางแมว โป่งนำ้ รอ้ น ขลงุ และแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี อำเภอ
เมือง จงั หวัดตราด อำเภอบ้านค่าย วังจนั ทร์ และแกลง จงั หวดั ระยอง อำเภอบอ่ และหนองใหญ่ จงั หวดั ชลบรุ ี
และอำเภอเมือง จังหวัดสระแกว้ ความต้องการผลผลิตโกโก้สด ปี 2563 จำนวน 21,419.51 - 31,431.51 ตนั

สถานการณ์แนวโน้มแหล่งรับซื้อในอนาคต ปี 2565 บริษัทควีนส์ โก้โก้ 1971 จำกัด ที่อยู่
3091,3292 หม่ทู ี่ 2 ตำบลช้างทนู อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด จะเรมิ่ รบั ซ้ือผลผลิตโกโกส้ ด และทำผงโกโก้และ
สกัดน้ำมันโกโก้ เพื่อจำหน่ายและส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่มีกำลังการผลิตถึง 168,000
ตัน/ปี (จะเรมิ่ รบั ซ้ือผลผลิตในปี 2565) ซึ่งปัจจบุ นั บรษิ ัทกำลงั สง่ เสริมการปลูกโกโก้ในพ้ืนท่ีจังหวัดตราด และ
พนื้ ที่ภาคตะวันออกทัง้ หมด

ตารางที่ 4.11 แหล่งรับซื้อผลผลิตของภาคตะวันออก (3 จังหวัดนำร่อง) ในปี 2563 และแนวโน้ม
ปี 2565

ลำดับ ชือ่ โรงงาน ทอี่ ยู่ ประมาณการ ประมาณการ
/ผ้ปู ระกอบการ ปรมิ าณความ ปริมาณความ
ต้องการรับซื้อหรือ ต้องการรบั ซอ้ื หรอื
1 บรษิ ทั ควนี ส์ โก้โก้ 1971 3091,3292 ม.2 กำลงั การผลติ ตอ่ ปี กำลงั การผลติ ตอ่ ปี
(ปี 2563) (ปี 2565)
จำกัด พกิ ดั ค่า X 226135 ต.ช้างทูน อ.บ่อไร่ 168,000 ตัน
-
ค่า Y 1393995 จ.ตราด 20,000-30,000 ตัน
20,000-30,000 ตนั
2 บริษทั โกโก้ไทย 2017 จำกัด 36/133 ม.2 ถนนเลียบ 720 ตัน
600 ตัน
(วิ่งรับซือ้ ผลผลติ ถงึ สวนท้ัง 3 คลองสาม ต.คลองสาม 120 ตัน
-
จังหวดั นำร่อง) อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 108-114 ตัน
48-60 ตนั
3 บริษทั ATA โปรดักส์ จำกัด 88/77 ถนนเลยี บคลองสาม

(มีจดุ รับซ้อื กระจายอยู่ใน รังสิต-นครนายก

3 จังหวัดนำรอ่ ง) ต.คลองสาม อ.คลองหลวง

จ.ปทุมธานี

4 สนุ ียฟ์ ารม์ รบั ซือ้ อิสระ ม.2 ต.คลองปูน อ.แกลง

(นายวัฒนา ขาวแพร) จ.ระยอง

พิกดั ค่า X 798872

ค่า Y 1413754

5 สวนสรุ ยิ า (นายสรุ ยิ า ใจสทุ ธิ 5/6 ม.1 ต.ตรอกนอง

(ผลิตและรับซือ้ อสิ ระ) อ.ขลงุ จ.จนั ทบรุ ี

พกิ ัดค่า X 201196

ค่า Y 1386205

126

ตารางที่ 4.11 (ต่อ) ทอ่ี ยู่ ประมาณการ ประมาณการ
ปริมาณความ ปริมาณความ
ลำดบั ช่ือโรงงาน ตอ้ งการรับซอ้ื หรอื ตอ้ งการรับซ้อื หรอื
/ผูป้ ระกอบการ กำลงั การผลิตตอ่ ปี กำลงั การผลติ ตอ่ ปี
(ปี 2563) (ปี 2565)
6 นางสม้ แปน้ ธารวรรณ 21/1 ม.5 ต.ท่าพรกิ
(รบั ซื้ออิสระ/วง่ิ รบั ซ้ือถึงสวน) อ.เมือง จ.ตราด 700 ตัน 770 ตนั

พิกดั คา่ X 237895 ม.3 ต.หนองตาคง 43.50 ตัน 2,600 ตนั
ค่า Y 1356029 อ.โปง่ นำ้ ร้อน จ.จันทบรุ ี
7 นางไพศาล 24 ตัน 24 ตัน
(รับซ้อื อสิ ระ) 189 ม.3 ต.เขาซก
อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี - 20 ตนั
พกิ ัดคา่ X 214142
ค่า Y 1444451 65/3 ม.2 ต.พลงตาเอีย่ ม 2.01 ตนั 2.01 ตัน
8 PK CHOCOLATE อ.วงั จนั ทร์ จ.ระยอง
(นายสุพกั ร์ ต๊นั วเิ ศษ) 2 ตนั 3 ตัน
(รับซอื้ อิสระ/วงิ่ รบั ซ้ือถึงสวน) 111/1 ม.9 นคิ ม
อุตสาหกรรมเวลโกรว์
พกิ ดั คา่ X 762642 ต.บางววั อ.บางปะกง
ค่า Y 1448020 จ.ฉะเชิงเทรา
9 นายรฐั ศกั ดิ์ นารถมณี 1/2 ม.1 ต.พลิว้
รับซอ้ื อสิ ระ อ.แหลมสิงห์ จ.จนั ทบรุ ี

พิกดั คา่ X 776204
ค่า Y 1428608
10 บริษทั แกลโลไทย จำกดั
พิกดั ค่า X 710403
ค่า Y 1504290

11 นางจริญ ศริ ไิ สยยาท
รับซ้อื อิสระ

พกิ ดั คา่ X 190442
ค่า Y 1385430

ทีม่ า จากการสำรวจ

127

4) การประมาณการอุปสงคอ์ ุปทานโกโก้ในพื้นทเี่ ปา้ หมาย
การวิเคราะห์ถึงอุปสงค์อุปทานโกโก้ใน 3 จังหวัดนำร่อง จังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง
พบว่า สามารถผลิตได้ 2,141.28 ตัน และมคี วามต้องการใชห้ รือการนำไปใช้ประโยชน์มีปริมาณ 21,419.51 -
31,431.51 ตัน โดยการนำไปใช้ภายในภาคตะวันออก และการส่งออกไปตลาดทั้งในประเทศและตา่ งประเทศ
ดังน้นั จงึ สรุปผลการวิเคราะหผ์ ลผลิตโกโก้ของภาคตะวันออก ยงั ขาดความสมดุลกับความต้องการใช้ อยา่ งไรก็ตาม
พบว่า ความต้องการใช้หรือการนำไปใช้ประโยชน์ ยงั ขาดอีกจำนวน 22,157.54 – 27,157.54 ตนั ต้องนำเข้า
มาจากนอกภาคตะวนั ออก ซง่ึ มพี นื้ ทีป่ ลูกแลว้ ทย่ี ังไม่ใหผ้ ลผลติ อีก 1,003.00 ไร่ (คดิ เป็นผลผลิต 1,289.53 ตัน)
จึงตอ้ งส่งเสริมให้ปลูกโกโก้ประมาณ 16,231.24 – 20,120.26 ไร่ ในพ้นื ทีน่ ำร่อง 3 จังหวดั ภาคตะวนั ออก

สรุปการประมาณการณอ์ ุปสงค์และอปุ ทานโกโกป้ ี 2563

1. ประมาณการผลผลิต 2,141.28 ตนั (พนื้ ทีเ่ ก็บเกี่ยว 1,665.50 ไร่ ผลผลติ ตอ่ ไร่ 1,285.67

กิโลกรมั ตอ่ ไร)่

2. ความตอ้ งการใช้ 24,298.82 – 29,298.82 ตนั

3. ยงั ขาดผลผลติ อีก 22,157.54 – 27,157.54 ตนั

4. มีพนื้ ทปี่ ลูกแลว้ ยงั ไม่ให้ผล 1,003.00 ไร่ (คิดเปน็ ผลผลติ 1,289.53 ตัน)

5. ส่งเสรมิ ใหป้ ลกู เพ่มิ อีก 16,231.24 – 20,120.26 ไร่

ภาพท่ี 4.44 การประมาณการอุปสงค์อปุ ทานโกโก้ในพน้ื ทีเ่ ปา้ หมายของภาคตะวนั ออก
ท่ีมา จากการวิเคราะห์

128

ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้มีมาตรการปิดด่านการค้า
ชายแดน ส่งผลกระทบต่อการขนส่ง การค้า และการส่งออกสินค้าเกษตร และกระทบไปถึงแรงงานต่างด้าวที่
ไม่สามารถกลับเขา้ ประเทศไทยมาเก็บผลผลิตสินค้าเกษตรส่งผลกระทบอย่างมาก เพราะในการทำการเกษตร
สว่ นมากใช้แรงงานต่างด้าว รวมไปถงึ สถานการณด์ ้านการบริโภคสินค้าและผลิตภัณฑโ์ กโก้ ผูบ้ รโิ ภคมีกำลังซ้ือ
ลดลง ส่งผลกระทบถึงผู้ประกอบการรับซื้อผลผลิตลดลงจากเดิมถึง 40-60% โดยช่วงสถานการณ์การปกติ
ก่อนช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้ประกอบการสามารถขายส่งออกตา่ งประเทศได้ 60%
และขายภายในประเทศ 40% แต่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งออกต่างประเทศ
ได้เพียง 20% และขายภายในประเทศ 80% ซึ่งผู้ประกอบการต้องปรับตัวขายสินค้าแบบออนไลน์ เพื่อเข้าถงึ
ผู้บริโภคได้มากข้นึ

5) มาตรการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน
และเกษตรกร
มาตรการปลายทางตลาดนำการผลติ

1. ระดับนโยบาย กษ. ใช้กลไกคณะกรรมการความร่วมมือ กษ. กับสภาอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย (กรกอ.) เพือ่ เชื่อมโยงเปน็ คลัสเตอร์โกโก้ครบวงจร ซึ่งมอี ตุ สาหกรรมท่หี ลากหลายท้ังอาหารและ
เครอ่ื งด่ืม เครอ่ื งสำอาง ยารักษาโรค ยาสบู และนำ้ มันโกโก้ (กษ./ส.อ.ท./พณ.)

2. ระดับพื้นท่ี สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นท่กี บั
กลุ่มเกษตรกรเพื่อทราบถึงปริมาณและคุณภาพมาตรฐานที่โรงงานต้องการ (ส.อ.ท.จังหวัดและภาค/
สภาหอการคา้ /เกษตรจงั หวดั )

3. ส่งเสรมิ การคา้ โกโก้และผลิตภณั ฑ์ของไทยในตลาดลว่ งหน้าอย่างจริงจงั (พณ.)
มาตรการกลางทาง

1. ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรให้มีทักษะที่เหมาะสมและจำเป็นทั้งในด้านการผลิต
การตลาด การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และสนับสนุนทุนและเทคนิคการแปรรูปขั้นต้น เช่น วิธีการหมักโกโก้
ให้ได้มาตรฐานเมล็ดโกโก้แห้งเพื่อเพิม่ มูลค่าสินค้าซึง่ ง่ายต่อการนำไปใช้ เป็นต้น (เกษตรจังหวัด/AIC แปรรูป/
ศนู ย์สง่ เสรมิ อตุ สาหกรรมภาค 9)

2. สนบั สนนุ ทนุ วจิ ยั และพัฒนาในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่และนำนวัตกรรมสร้างมูลค่าเพ่ิม
กับทกุ ส่วนของโกโก้แบบ (BCG) ทง้ั ในดา้ นการสรา้ งอตั ลักษณโ์ กโก้ตะวนั ออก ให้หลากหลายไดม้ าตรฐานสากล
และมตี ันทุนการผลิตทสี่ ามารถแขง่ ขนั ได้ในตลาดโลก (สสว./สวก./สหกรณจ์ งั หวดั /AIC/พาณชิ ย)์

3. สนับสนุนกลุ่มเกษตรกร ผู้แปรรูป สหกรณ์ที่มีความสามารถเป็นแหล่งรับซื้อผลผลิตสด/
เมลด็ โกโก้ให้กบั เกษตรกรที่ปรับเปล่ียนและสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายได้อยา่ งต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์
เพ่อื กระต้นุ การขายผลผลิต (สหกรณจ์ งั หวัด/ส.อ.ท./พาณชิ ย์ sale man)


Click to View FlipBook Version