The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

AW 15คดีทุจริตป.ป.ช.ต้องฟ้องเอง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by prnacc.4815, 2022-09-26 03:36:33

AW 15คดีทุจริตป.ป.ช.ต้องฟ้องเอง

AW 15คดีทุจริตป.ป.ช.ต้องฟ้องเอง

15 คดที ุจรติ ป.ป.ช. ตอ้ งฟอ้ งเอง

ลTำ� IMดEบั LเIหNตEกุ ารณ์

22 กมุ ภาพันธ์ 2551
ในการเตรียมการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกกรรมการ

ธนาคารแห่งประเทศไทย ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้รวบรวม
รายชอื่ สถานภาพ (ความมชี วี ติ อย)ู่ และทอี่ ยขู่ องผเู้ คยดำ� รงตำ� แหนง่
ในหน่วยงานส�ำคัญที่มีคุณสมบัติได้รับการพิจารณาแต่งต้ัง และมี
บันทึกถึงปลัดกระทรวงการคลังเพื่อเสนอรายชื่อบุคคลให้รัฐมนตรี
วา่ การกระทรวงการคลังพิจารณา

26 มีนาคม 2551
ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย

(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มผี ลใชบ้ ังคบั มีการจัดทำ� บญั ชรี ายช่ือบุคคล
ที่อย่ใู นขา่ ยไดร้ ับการพจิ ารณาแต่งตั้งให้เป็นกรรมการคัดเลอื ก และ
ทำ� เครอ่ื งหมายดอกจนั ทา้ ยรายชอื่ บคุ คลทอ่ี าจจะมคี ณุ สมบตั ติ อ้ งหา้ ม
มิให้ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 28/1
วรรคสาม เพ่ือน�ำเสนอรายช่ือให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
พจิ ารณา

149

15 คดที ุจริต ป.ป.ช. ตอ้ งฟ้องเอง

28 มนี าคม 2551
ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ยกร่างค�ำสั่งแต่งต้ัง

คณะกรรมการคดั เลอื ก โดยมี นายพนสั สมิ ะเสถยี ร นายอรญั ธรรมโน
นายปรชี า อรรถวภิ ชั น์ นายพลู ทรพั ย์ ปยิ ะอนนั ต์ นายกำ� จร สถริ กลุ
นายมนัส ลีวรี ะพันธ์ุ นายชวลติ ธนะชานนั ท์ และพนกั งานธนาคาร
แห่งประเทศไทยที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งต้ังเป็น
คณะกรรมการคัดเลอื ก

4 มถิ นุ ายน 2551
ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้แก้ไขร่างค�ำสั่งแต่งตั้ง

คณะกรรมการคัดเลือก โดยมี นายสมใจนึก เองตระกูล นายมนู
เลียวไพโรจน์ นายนิพัทธ พุกกะณะสุต นายสถิตย์ ล่ิมพงศ์พันธุ์
นายวสิ ทุ ธิ์ ศรสี พุ รรณ นายวจิ ติ ร สพุ นิ จิ และนายชยั วฒั น์ วบิ ลู ยส์ วสั ด์ิ
และพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทยแต่งตั้งเป็นเลขานุการ และนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงการคลงั ไดล้ งนามในคำ� สงั่ กระทรวงการคลงั
ท่ี 769/2551 ลงวนั ที่ 4 มิถนุ ายน 2551 แต่งตัง้ คณะกรรมการ
คดั เลอื กตามที่สำ� นักงานเศรษฐกิจการคลงั เสนอ

ในรายช่ือคณะกรรมการคัดเลือกท่ีแต่งตั้งน้ัน ปรากฏว่ามี
3 รายทเ่ี ปน็ บุคคลทม่ี ีเครอ่ื งหมายดอกจนั กำ� กับไว้ท้ายรายชื่อบุคคล
ทอ่ี าจจะมีคณุ สมบตั ิตอ้ งหา้ มตามมาตรา 28/1 วรรคสาม ได้แก่

1. นายสถติ ย์ ลมิ่ พงศพ์ นั ธ์ุ ดำ� รงตำ� แหนง่ ประธานกรรมการ
ธนาคารทหารไทย จ�ำกดั (มหาชน)

2. นายวิจิตร สุพินิจ ด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการอิสระ
และกรรมการตรวจสอบธนาคารทหารไทย จ�ำกัด (มหาชน)

150

15 คดที จุ รติ ป.ป.ช. ตอ้ งฟอ้ งเอง

3. นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ด�ำรงต�ำแหน่งรองประธาน
กรรมการและประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย จ�ำกัด
(มหาชน)
22 กรกฎาคม 2551 ถงึ 29 กรกฎาคม 2551

คณะกรรมการคัดเลือกกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
ได้ท�ำหน้าที่เลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลงั ได้มคี ำ� ส่งั กระทรวงการคลังแตง่ ต้ังกรรมการผู้ทรง
คุณวุฒิ และมีหนังสือน�ำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการ
แตง่ ตง้ั ประธานกรรมการ ตอ่ มาคณะรฐั มนตรีไดม้ มี ติเหน็ ชอบตาม
ทเ่ี สนอ

29 สิงหาคม 2551
นายอมั มาร์ สยามวาลา มหี นงั สอื รอ้ งเรยี นตอ่ คณะกรรมการ

ป.ป.ช. วา่ นายสุรพงษ์ สืบวงศล์ ี รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการคลงั
มีค�ำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
โดยไม่ชอบดว้ ยกฎหมาย

151

15 คดีทุจริต ป.ป.ช. ตอ้ งฟ้องเอง

15 ตลุ าคม 2551
ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติว่า กรรมการคัดเลือกบางคนเป็น

ผดู้ ำ� รงตำ� แหนง่ ในสถาบนั การเงนิ ซง่ึ อาจเปน็ ผมู้ สี ว่ นไดเ้ สยี ทขี่ ดั ตอ่
การปฏิบัติหน้าท่ีตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามมาตรา 28/1 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย
พุทธศักราช 2485 การแต่งต้ังคณะกรรมการคัดเลือกตามค�ำสั่ง
กระทรวงการคลงั ที่ 769/2551 ลงวนั ที่ 4 มถิ นุ ายน 2551 เปน็ การ
กระท�ำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และได้มีหนังสือแจ้งนายกรัฐมนตรี
และผรู้ อ้ งเรยี น และใหร้ ฐั มนตรวี า่ การกระทรวงการคลงั ยกเลกิ การแตง่ ตงั้
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
กับให้ด�ำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกใหม่ให้เป็นไปตาม
กฎหมาย และมีหนังสือแจ้งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยว่าได้
มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้ระงับการทูลเกล้าฯ เพื่อทรงแต่งตั้ง
ประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารแหง่ ประเทศไทยแลว้

1 ธนั วาคม 2551
นายสชุ าติ ธาดาธำ� รงเวช รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงการคลงั

คนใหม่ มคี �ำส่ังกระทรวงการคลงั ที่ 1757/2551 ลงวนั ท่ี 1 ธันวาคม
2551 ยกเลิกคำ� สั่งกระทรวงการคลัง ท่ี 769/2551 ฉบบั ลงวันที่ 4
มถิ นุ ายน 2551 และมคี ำ� สงั่ แตง่ ตง้ั นายพนสั สมิ ะเสถยี ร นายศภุ ชยั
พิศิษฐวานิช นายก�ำจร สถิรกุล นายมนู เลียวไพโรจน์ นายเสรี
สุขสถาพร นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม และนายมนัส ลีวีระพันธุ์
เป็นคณะกรรมการคัดเลือกชุดใหม่ กับมีพนักงานธนาคารแห่ง
ประเทศไทยทผ่ี วู้ า่ การธนาคารแหง่ ประเทศไทยแตง่ ตงั้ เปน็ เลขานกุ าร

152

15 คดที ุจริต ป.ป.ช. ต้องฟ้องเอง

คณะกรรมการคัดเลือกกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
ชดุ ใหมไ่ ดท้ ำ� หนา้ ทเี่ ลอื กประธานกรรมการและกรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ ิ
ในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลังได้มคี ำ� ส่งั กระทรวงการคลังแตง่ ต้งั กรรมการผู้ทรง
คณุ วฒุ ิ และมกี ารโปรดเกลา้ ฯ แตง่ ตง้ั ประธานกรรมการในเวลาตอ่ มา

153

15 คดที ุจริต ป.ป.ช. ตอ้ งฟอ้ งเอง

การพิจารณาของศาลฎีกา

การเป็นผู ้มีผลประโยชนห์ รือสว่ นไดเ้ สีย

ในขณะท่นี ายสถติ ย์ ลิ่มพงศพ์ นั ธ์ุ นายวิจติ ร สุพนิ จิ และนายชยั วัฒน์
วบิ ลู ยส์ วสั ดิ์ ไดร้ บั การแตง่ ตง้ั เปน็ กรรมการคดั เลอื กนน้ั ถอื เปน็ ผมู้ ผี ลประโยชน์
หรือส่วนได้เสียที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าท่ีตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่ง
ประเทศไทย พทุ ธศกั ราช 2485 มาตรา 28/1 วรรคสาม หรือไม่

พระราชบญั ญตั ธิ นาคารแหง่ ประเทศไทย พทุ ธศกั ราช 2485 กำ� หนด
ใหค้ ณะกรรมการธนาคารแหง่ ประเทศไทยมอี ำ� นาจกำ� หนดขอ้ บงั คบั วา่ ดว้ ยการ
เสนอชื่อ การพิจารณา และการคดั เลือกผ้ทู รงคณุ วฒุ เิ ป็นกรรมการ ในคณะ
กรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบนั การเงนิ และคณะ
กรรมการระบบการชำ� ระเงนิ กบั แตง่ ตง้ั กรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ ใิ นคณะกรรมการ
นโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงินและคณะกรรมการ
ระบบช�ำระเงินตามลำ� ดับอีกทอดหนง่ึ

เทา่ กบั ว่า คณะกรรมการธนาคารแหง่ ประเทศไทยมิได้
มีความส�ำคัญเพียงแคเ่ ป็นผู้ควบคมุ การบรหิ ารงานของธนาคาร
แห่งประเทศไทยเท่านนั้ แตย่ งั เป็นตน้ ก�ำเนิดของคณะกรรมการ
ผู้ทรงคณุ วุฒใิ นคณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการ
นโยบายสถาบันการเงนิ และคณะกรรมการระบบการช�ำระเงนิ

ซ่ึงท�ำหน้าท่กี ำ� หนดนโยบายเพ่ือรกั ษาเสถยี รภาพ
ทางการเงินของประเทศ

154

15 คดที ุจริต ป.ป.ช. ต้องฟอ้ งเอง

เม่ือนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ นายวิจิตร สุพินิจ และนายชัยวัฒน์
วบิ ลู ยส์ วสั ดิ์ บคุ คลทงั้ สามราย ตา่ งดำ� รงตำ� แหนง่ เปน็ ผบู้ รหิ ารทำ� หนา้ ทคี่ วบคมุ
ก�ำกับการด�ำเนินงานธุรกิจของธนาคารพาณิชย์แทนผู้ถือหุ้น ซึ่งมีสถานะ
ไมแ่ ตกต่างจากผู้ถือหุ้นรายอ่ืนที่เป็นภาคเอกชน และโดยหลักย่อมต้องบริหาร
เพื่อปกป้องและรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและธนาคารพาณิชย์ โดยบุคคล
ทง้ั สามได้รับเงินเปน็ คา่ ตอบแทนและเบ้ยี ประชุมหรือเงินปันผลดว้ ย

ทงั้ นี้ ธนาคารพาณชิ ยย์ อ่ มมวี ตั ถปุ ระสงคใ์ นการแสวงหากำ� ไร และมี
การแขง่ ขนั ทางการคา้ กบั ธนาคารอนื่ หรอื สถาบนั การเงนิ อนื่ ทม่ี วี ตั ถปุ ระสงค์
ทำ� นองเดยี วกนั โดยตอ้ งอยภู่ ายใตก้ ารกำ� กบั และตรวจสอบของธนาคารแหง่
ประเทศไทย การดำ� เนนิ นโยบายของกรรมการธนาคารพาณชิ ยอ์ กี หลายเรอื่ ง
จึงอาจขดั แยง้ กบั อำ� นาจหนา้ ท่ีของธนาคารแห่งประเทศไทย

การทนี่ ายสรุ พงษ์ สบื วงศล์ ี รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงการคลงั จำ� เลย
ไดแ้ ต่งตั้งให้บุคคลทัง้ สามซง่ึ เป็นกรรมการของธนาคารพาณชิ ยอ์ นั เปน็ สถาบัน
การเงนิ ทอ่ี ยภู่ ายใตก้ ารกำ� กบั ดแู ลของธนาคารแหง่ ประเทศไทย เปน็ กรรมการ
คัดเลือกท�ำหน้าที่คัดเลือกบุคคลท่ีสมควรได้รับการแต่งต้ังเป็นประธาน
กรรมการและกรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ ใิ นคณะกรรมการธนาคารแหง่ ประเทศไทย
แม้มาตรา 28/1 วรรคสาม ไม่ได้บัญญตั หิ า้ มไว้ และบคุ คลทง้ั สามไมไ่ ด้เปน็
ผู้ถือหุ้นในฐานะส่วนตัวก็ตาม แต่ต่อไปบุคคลท่ีได้รับการแต่งต้ังเป็นประธาน

155

15 คดีทจุ ริต ป.ป.ช. ต้องฟอ้ งเอง

กรรมการและกรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ ใิ นคณะกรรมการธนาคารแหง่ ประเทศไทย
จะตอ้ งมหี นา้ ทแี่ ตง่ ตง้ั กรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ ใิ นคณะกรรมการนโยบายการเงนิ
คณะกรรมการระบบการช�ำระเงนิ และคณะกรรมการนโยบายสถาบนั การเงิน
ที่จะต้องไปก�ำกับดูแลธนาคารทหารไทย จ�ำกัด (มหาชน) และธนาคาร
กรุงไทย จ�ำกดั (มหาชน) ทมี่ บี ุคคลทงั้ สามเปน็ ผ้บู ริหาร จึงอาจสง่ ผลกระทบ
ต่อความเป็นอิสระในการบริหารจัดการเพ่ือให้ธนาคารแห่งประเทศไทย
คมุ้ ครองดา้ นการเงนิ ของประเทศและประชาชน และการแขง่ ขนั ทเี่ ปน็ ธรรม
ระหวา่ งธนาคารหรอื สถาบนั การเงนิ และผลกระทบตอ่ บทบาทของการดำ� เนนิ
ภารกิจอันเป็นงานของธนาคารกลาง เพื่อเป็นหลักประกันว่าธนาคารแห่ง
ประเทศไทยมีความเปน็ ธนาคารกลางอย่างแท้จรงิ

นอกจากนี้ ถ้อยค�ำในมาตรา 28/1 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า “ไม่มี
ผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าท่ี” ยังเป็นการก�ำหนด
คณุ สมบตั ขิ องคณะกรรมการคดั เลอื กทม่ี คี วามหมายอยา่ งกวา้ งเพอื่ ปอ้ งกนั การ
แทรกแซงความเปน็ อิสระของธนาคารแห่งประเทศไทย

จึงท�ำใหเ้ ห็นว่าผู้ท่จี ะเข้ามาเป็นกรรมการคดั เลอื กซ่ึงมหี น้าท่ี
คดั เลือกบุคคลท่ีสมควรไดร้ บั การแต่งตงั้ เป็นประธานกรรมการ

และกรรมการผูท้ รงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคาร
แห่งประเทศไทยตอ้ งไม่เก่ียวข้องกบั การเมืองและไมม่ ี
ผลประโยชนห์ รือสว่ นไดเ้ สีย ไมว่ า่ ในทางตรงหรือทางอ้อม

กับธนาคารแห่งประเทศไทย

ดังน้ัน เมื่อบุคคลทั้ง 3 ราย ต่างเป็นผู้แทนในสถาบันการเงิน
ที่อยู่ภายใต้การก�ำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปเป็น
คณะกรรมการคดั เลอื กกรรมการธนาคารแหง่ ประเทศไทยเสยี เอง ยอ่ มเปน็

156

15 คดที จุ ริต ป.ป.ช. ต้องฟอ้ งเอง

ผู้มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ในขณะได้รับการ
แต่งตัง้ และในระหว่างการปฏิบตั ิหนา้ ที่ ตามความหมายของพระราชบัญญัติ
ธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 มาตรา 28/1 วรรคสาม แกไ้ ข
เพ่มิ เติมโดยพระราชบญั ญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับท่ี 4) พ.ศ. 2551

การกระทำ� ของจ�ำเลยเป็นความผิด
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

ขณะนั้นจ�ำเลยด�ำรงต�ำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เป็นผู้มีอ�ำนาจหน้าท่ีในการแต่งต้ังคณะกรรมการคัดเลือกประธานกรรมการ
และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยตาม
พระราชบญั ญตั ิธนาคารแห่งประเทศไทย พทุ ธศกั ราช 2485

• ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้มีบันทึก
พร้อมกับแนบบัญชีรายช่ือบุคคลที่อยู่ในข่ายได้รับการพิจารณา
แต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการคัดเลือกและมีการท�ำเครื่องหมาย
ดอกจันท้ายรายชื่อบุคคลที่อาจมีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสีย
ทขี่ ดั ตอ่ การปฏบิ ตั หิ นา้ ทอ่ี นั เปน็ ลกั ษณะตอ้ งหา้ มมใิ หร้ บั การแตง่ ตง้ั
เปน็ คณะกรรมการคดั เลอื ก เพอ่ื นำ� เสนอรายชอื่ ใหจ้ ำ� เลยพจิ ารณา

• จ�ำเลยได้เรียกให้ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเศรษฐกิจ
การคลงั ไปพบหลายครงั้ และไดม้ กี ารแจง้ รายชอื่ บคุ คลทจี่ ะแตง่ ตง้ั
ให้เป็นคณะกรรมการคัดเลือก โดยมอบกระดาษที่เขียนรายชื่อ

157

15 คดีทจุ รติ ป.ป.ช. ต้องฟ้องเอง

บคุ คลดว้ ยลายมอื จำ� นวน 7 รายช่อื คือ นายสมใจนกึ เองตระกูล
นายมนู เลียวไพโรจน์ นายนิพัทธ พุกกะณะสุต นายสถิตย์
ลิ่มพงศ์พันธุ์ นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ นายวิจิตร สุพินิจ และ
นายชยั วฒั น์ วบิ ลู ยส์ วสั ด์ิ เพอ่ื ใหต้ รวจสอบคณุ สมบตั แิ ละสอบถาม
ความสมัครใจ

• สำ� นกั งานเศรษฐกจิ การคลงั ไดน้ ำ� เสนอรา่ งคำ� สง่ั แตง่ ตง้ั
คณะกรรมการคัดเลือกที่ท�ำการแก้ไขรายช่ือต่อจ�ำเลยเพ่ือมีค�ำสั่ง
เปน็ บคุ คลทง้ั เจด็ ตามทจ่ี ำ� เลยสงั่ การ และจำ� เลยกไ็ ดม้ คี ำ� สง่ั แตง่ ตงั้
บุคคลทัง้ เจด็ เปน็ คณะกรรมการคดั เลอื ก

เห็นว่า แม้จ�ำเลยจะเป็นผู้มีอ�ำนาจหน้าที่ในการแต่งต้ังคณะ
กรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะ
กรรมการธนาคารแหง่ ประเทศไทย ตามมาตรา 28/1 แห่งพระราชบญั ญัติ
ธนาคารแหง่ ประเทศไทย พทุ ธศกั ราช 2485 และทแี่ กไ้ ขเพม่ิ เตมิ แตจ่ ำ� เลย
ต้องใช้อ�ำนาจและปฏบิ ัติหนา้ ท่โี ดยชอบ ตามบทบัญญัติมาตรา 28/1 วรรค
สาม ตามหลักการขัดกนั แห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest)

โดยเจตนารมณ์ของบทบญั ญตั ิมาตรา 28/1 วรรคสาม
มคี วามมุ่งหมายใหค้ ณะกรรมการคัดเลอื กต้องเป็น

ผู้ไมม่ ผี ลประโยชน์ หรอื สว่ นได้เสยี ท่ีขัดต่อการปฏิบัตหิ นา้ ท่ี
ไมว่ ่าในทางใด ๆ

158

15 คดีทุจรติ ป.ป.ช. ต้องฟอ้ งเอง

ซง่ึ ถา้ คณะกรรมการคดั เลอื กเองยงั เปน็ กรรมการหรอื ดำ� รงตำ� แหนง่ ใด
ในสถาบนั การเงนิ ทอ่ี ยภู่ ายใตก้ ารกำ� กบั ดแู ลของธนาคารแหง่ ประเทศไทยอยใู่ น
ขณะทไ่ี ดร้ บั การแตง่ ตง้ั คณะกรรมการคดั เลอื กดงั กลา่ วยอ่ มไมอ่ าจปฏบิ ตั หิ นา้ ที่
คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการและกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความโปร่งใส
มคี วามเป็นกลาง และสามารถปฏบิ ตั หิ น้าท่ีด้วยความอสิ ระ

เมอื่ นายสถติ ย์ ลม่ิ พงศพ์ นั ธ์ุ ดำ� รงตำ� แหนง่ ประธานกรรมการธนาคาร
ทหารไทย จ�ำกัด (มหาชน) นายวจิ ิตร สพุ นิ ิจ ดำ� รงตำ� แหน่งกรรมการอสิ ระ
และกรรมการตรวจสอบธนาคารทหารไทย จำ� กดั (มหาชน) และนายชยั วัฒน์
วบิ ลู ยส์ วสั ดิ์ ดำ� รงตำ� แหนง่ รองประธานกรรมการและประธานกรรมการบรหิ าร
ธนาคารกรงุ ไทย จำ� กดั (มหาชน) ซง่ึ ธนาคารทหารไทย จำ� กดั (มหาชน) และ
ธนาคารกรุงไทย จ�ำกัด (มหาชน) เป็นสถาบนั การเงินภายใตก้ ารกำ� กบั ดแู ล
ของธนาคารแหง่ ประเทศไทย และสำ� นกั งานเศรษฐกจิ การคลงั ทำ� เครอ่ื งหมาย
ดอกจนั ทา้ ยรายชอ่ื บคุ คลทง้ั สามไวแ้ ลว้ ตง้ั แตแ่ รก แสดงวา่ บคุ คลทง้ั สามเปน็
บุคคลท่ีอาจมีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียท่ีขัดต่อการปฏิบัติหน้าท่ีอันเป็น
ลักษณะต้องหา้ ม

เม่ือจ�ำเลยทราบเหตุดงั กลา่ วอยแู่ ลว้ แทนท่ีจะหลีกเลย่ี งปญั หาการ
มีผลประโยชน์ขัดกันโดยเลือกบุคคลอ่ืนที่ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสีย
ที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ แต่จ�ำเลยกลับส่ังการให้แก้ไขรายชื่อองค์ประกอบ
ของคณะกรรมการคดั เลอื ก โดยใหเ้ สนอชอื่ ตามทจี่ ำ� เลยตอ้ งการ จนตอ้ งแกไ้ ข
ร่างค�ำส่ังแต่งตั้งโดยมีบุคคลทั้งเจ็ดตามที่จ�ำเลยต้องการเป็นคณะกรรมการ
คัดเลอื ก และจำ� เลยมคี ำ� สง่ั ที่ 769/2551 ลงวันที่ 4 มถิ ุนายน 2551 แต่งตง้ั
คณะกรรมการคดั เลือกบุคคลทส่ี มควรไดร้ บั การแต่งตงั้ เป็นประธานกรรมการ
และกรรมการผู้ทรงคุณวฒุ ิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย

การกระท�ำของจ�ำเลยเป็นการกระท�ำโดยมีเจตนาให้คณะกรรมการ
คัดเลือกที่จ�ำเลยแต่งต้ัง ไปคัดเลือกบุคคลท่ีจ�ำเลยประสงค์จะให้ได้รับการ
แต่งตั้งเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย อนั เป็นการแทรกแซงการด�ำเนินกิจการของธนาคาร

159

15 คดีทจุ รติ ป.ป.ช. ต้องฟอ้ งเอง

แหง่ ประเทศไทยไมใ่ หเ้ ปน็ ไปโดยอสิ ระและทำ� หนา้ ทธ่ี นาคารกลางในการดำ� รงไว้
ซ่ึงเสถียรภาพทางการเงนิ เสถยี รภาพของระบบสถาบนั การเงนิ และระบบการ
ช�ำระเงินได้อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ

แม้บุคคลท้ังสามจะมีความเหมาะสมในการได้รับการแต่งตั้ง
เป็นคณะกรรมการคัดเลือกเพียงใดก็ตาม แต่เม่ือบุคคลทั้งสามเป็นผู้มี
ผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียที่ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 28/1
วรรคสาม แหง่ พระราชบญั ญตั ธิ นาคารแหง่ ประเทศไทย พทุ ธศกั ราช 2485
และทแ่ี กไ้ ขเพมิ่ เตมิ แลว้ จำ� เลยยอ่ มไมอ่ าจใชอ้ ำ� นาจในฐานะรฐั มนตรแี ตง่ ตงั้
บคุ คลทัง้ สามเป็นคณะกรรมการคดั เลอื กได้

ค�ำพพิ ากษา

จ�ำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จ�ำคกุ 1 ปี และปรับ 20,000 บาท

พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ภายหลังจากจ�ำเลยมีค�ำส่ังแต่งตั้ง
คณะกรรมการคัดเลือก แม้คณะกรรมการคัดเลือกจะได้คัดเลือกกรรมการ
ผทู้ รงคณุ วฒุ ใิ นธนาคารแหง่ ประเทศไทยแลว้ แตต่ อ่ มามกี ารยกเลกิ คำ� สงั่ แตง่ ตง้ั
คณะกรรมการคดั เลอื กและกรรมการธนาคารแหง่ ประเทศไทยทไี่ ดร้ บั การแตง่ ตงั้
ดังกล่าว จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก ประกอบกับไม่ปรากฏว่า
จ�ำเลยเคยได้รับโทษจ�ำคุกมาก่อน โทษจ�ำคุกให้รอการลงโทษไว้มีก�ำหนด
1 ป ี

160

15 คดีทจุ รติ ป.ป.ช. ต้องฟ้องเอง

BANK

ธนาคาร
แหง่ ประเทศไทย

คณะกรรมการธนาคารแหง่ ประเทศไทย

อาศัยอำนาจตาม คณะกรรมการคัดเลือกบุคคล
พ.ร.บ.ธนาคาร ท่ีสมควรไดร้ บั การแตง่ ต้ังเป็น

แห่งประเทศไทย (ฉบบั ท่ี 4) กรรมการ (7 คน)
พ.ศ. 2551 มาตรา 28/1

แตง่ ต้งั ในกระบวนการ
เสนอช่อื ผทู้ ่จี ะเปน็
กรรมการคัดเลือกฯ

ปรากฏว่ามผี ู้มี
คุณสมบัตติ อ้ งหา้ ม
ตามมาตรา 28/1 วรรคสาม
แหง่ พ.ร.บ.ธนาคาร

แห่งประเทศไทย
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

นายสุรพงษ์ สบื วงศล์ ี

ในฐานะรฐั มนตรวี า่ การกระทรวงการคลงั

มอี ำนาจหน้าท่ตี าม
พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศกั ราช 2485
และ พ.ร.บ. ปรบั ปรงุ กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา 11

161



15 คดที จุ รติ ป.ป.ช. ตอ้ งฟ้องเอง

6คดที ่ี

กรณกี ลา่ วหา นาวสาวปารีณา ไกรคุปต์
เม่อื ครัง้ ดำ� รงตำ� แหน่งสมาชิ กสภาผู แ้ ทนราษฎร

ฝ่ าฝื นหรอื ไมป่ ฏิบัติตามมาตรฐาน
ทางจรยิ ธรรมอย่างรา้ ยแรง

อ่านคำ� พพิ ากษา (ฉบบั เต็ม)

163

15 คดที ุจรติ ป.ป.ช. ตอ้ งฟอ้ งเอง

คดหี มายเลขด�ำท่ี คมจ. 1/2564
คดีหมายเลขแดงท่ี คมจ. 1/2565

นางสาวปารีณา ไกรคปุ ต์ ผูค้ ัดค้าน ด�ำรงต�ำแหนง่ สมาชิกสภาผแู้ ทน
ราษฎรจังหวัดราชบุรี รวม 4 สมัย ในการเขา้ รบั ตำ� แหน่งสมาชกิ สภาผ้แู ทน
ราษฎร สมยั ที่ 4 (ต้ังแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2562) นางสาวปารีณาฯ ได้
ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหน้ีสินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ร้อง
และรับรองสําเนาถูกต้องว่ามีทรัพย์สินเป็นที่ดินประเภท ภ.บ.ท. 5 จํานวน
29 แปลง เนอื้ ท่ี 853 ไร่ 75 ตารางวา อยใู่ นเขตพ้นื ท่ีหมู่ท่ี 6 ตําบลรางบัว
อําเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยได้เข้ายึดถือครอบครองและใช้ประโยชน์
ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินดังกล่าว โดยไม่มีคุณสมบัติท่ีจะมีสิทธิได้รับการ
จดั สรรทีด่ ินได ้

164

15 คดีทจุ รติ ป.ป.ช. ตอ้ งฟ้องเอง

ลT�ำIMดEับLเIหNEตุการณ์

ปี 2521
มีพระราชกฤษฎีกาก�ำหนดเขตปฏิรูปท่ีดิน พ.ศ. 2521
(ครง้ั ท่ี 1) ครอบคลมุ แนวเขตการปกครองทั้งอำ� เภอจอมบงึ จงั หวัด
ราชบรุ ี เพอ่ื ท่ีจะจัดซ้ือท่ีดินน�ำมาปฏิรูป
ปี 2530
พันโท มนสั รัศมี ขายท่ีดินให้นายทวี ไกรคุปต์ บิดาของ
ผคู้ ัดค้าน
ปี 2536
ส�ำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้รับมอบท่ีดิน
239,818 ไร่ ในเขตปา่ สงวนแหง่ ชาติ บรเิ วณปา่ ฝง่ั ซา้ ยรมิ แมน่ ำ�้ ภาชี
จากกรมป่าไม้ แต่มีการจัดสรรงบประมาณว่าจะด�ำเนินการปฏิรูป
ที่ดนิ บริเวณท่ีดนิ พิพาทและเขตใกล้เคยี ง ในปี พ.ศ. 2556 - 2563

165

15 คดีทจุ ริต ป.ป.ช. ตอ้ งฟ้องเอง

ปี 2537
ที่ดินพิพาทมีชื่อบุคคลอื่นและนายทวี ไกรคุปต์ บิดาผู้
คดั คา้ น เปน็ ผคู้ รอบครองทาํ ประโยชน์ โดยนายทวฯี ประกอบกจิ การ
ทาํ ฟาร์มเล้ียงหมู เลีย้ งไก่ โดยใช้ช่อื “เขาสนฟารม์ ” และ “เขาสน
ฟาร์ม 2”
ปี 2554
มพี ระราชกฤษฎกี าก�ำหนดเขตต�ำบลรางบวั อ�ำเภอจอมบงึ
จังหวดั ราชบรุ ี เป็นเขตปฏริ ูปท่ีดิน
ปี 2555
นายทวีฯ ไดม้ อบสิทธคิ รอบครองในที่ดินพพิ าทและกจิ การ
ฟาร์มเล้ียงไก่ “เขาสนฟาร์ม” และ “เขาสนฟาร์ม 2” ใหแ้ ก่ผ้คู ดั คา้ น

166

15 คดีทจุ ริต ป.ป.ช. ตอ้ งฟอ้ งเอง

ปี 2561
ผ้คู ดั ค้านจดทะเบียนจดั ตง้ั บริษัท ปารีณา ไกรคุปต์ จํากดั
ประกอบกจิ การฟารม์ เลยี้ งสตั ว์ และขออนญุ าตประกอบกจิ การฟารม์
เล้ียงสตั ว์ ใชช้ ือ่ “เขาสนฟาร์ม” และ “เขาสนฟาร์ม 2” และขอใบ
อนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยมีการต่อใบ
อนญุ าต เสยี ภาษบี ำ� รงุ ทอ้ งทต่ี ามแบบ ภ.บ.ท.5 และเสยี ภาษโี รงเรอื น
25 พฤษภาคม 2562
ผคู้ ัดคา้ นเข้ารบั ต�ำแหน่งสมาชิกสภาผแู้ ทนราษฎรสมยั ท่ี 4
และย่ืนบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อผู้ร้อง โดยแจ้งว่า
ครอบครองทดี่ นิ พพิ าท ประเภท ภ.บ.ท. 5 จำ� นวน 29 แปลง เนือ้ ท่ี
853 ไร่ 75 ตารางวา ในเขตพืน้ ทห่ี มทู่ ่ี 6 ตำ� บลรางบัว อ�ำเภอ
จอมบงึ จงั หวดั ราชบุรี
17 มิถุนายน 2562
คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดราชบุรีประกาศให้
ผู้ครอบครองท่ีดินยื่นค�ำขอเข้าร่วมการปฏิรูปที่ดินเป็นคร้ังท่ี 2
แต่ผู้คดั คา้ นก็ยงั ไม่เข้าร่วม

167

15 คดที ุจรติ ป.ป.ช. ตอ้ งฟอ้ งเอง

4 ธนั วาคม 2562
ผู้คัดค้านได้แจ้งต่อคณะกรรมการปฏิรูปท่ีดินจังหวัดราชบุรี

วา่ ครอบครองทดี่ นิ พพิ าท 853 ไร่ และมหี นงั สอื ขอเขา้ สกู่ ระบวนการ
ปฏริ ปู ทด่ี นิ แตค่ ณะกรรมการดงั กลา่ วเหน็ วา่ ผคู้ ดั คา้ นไมม่ คี ณุ สมบตั ิ
ทจ่ี ะมีสิทธไิ ดร้ ับการจดั สรรที่ดิน จงึ แจง้ ให้คืนที่ดินพพิ าทดังกล่าว

2 มกราคม 2563
ผู้คัดค้านได้ส่งคืนท่ีดินพิพาทให้ส�ำนักงานการปฏิรูปที่ดิน

เพื่อเกษตรกรรมโดยไม่มเี งื่อนไข

168

15 คดีทุจรติ ป.ป.ช. ต้องฟอ้ งเอง

ประเด็นท่คี ณะกรรมการ ป.ป.ช. ช้ี มูลความผิด

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ในฐานะผู้ร้อง ได้ด�ำเนินการไต่สวนแล้วมีมติเป็นเอกฉันท์ด้วยคะแนนเสียง
9 เสยี ง เหน็ วา่ นางสาวปารีณา ไกรคปุ ต์ ผู้คัดค้าน

1. กระท�ำการอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทาง
จริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยกระท�ำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์
ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ตามบทบัญญัติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 235 ประกอบพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนญู ว่าด้วยการปอ้ งกันและปราบปรามการทจุ ริต พ.ศ. 2561
มาตรา 87 และ

2. กระท�ำการทีก่ อ่ ใหเ้ กดิ ความเสื่อมเสียตอ่ เกยี รติศกั ดิ์ของการด�ำรง
ต�ำแหน่งอันถอื ว่ามีลักษณะร้ายแรง ตามมาตรฐานทางจรยิ ธรรมของตลุ าการ
ศาลรฐั ธรรมนูญ และผดู้ ำ� รงต�ำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทง้ั ผู้วา่ การตรวจเงิน
แผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ
พ.ศ. 2561 ข้อ 11 และข้อ 17 ประกอบขอ้ 3 และข้อ 27 วรรคสอง

มมี ลู ความผิด

169

15 คดที จุ ริต ป.ป.ช. ต้องฟ้องเอง

ข้อพิจารณาตามคำ� รอ้ งของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในกรณกี ลา่ วหา
นางสาวปารณี า ไกรคุปต์

• ท่ีดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปท่ีดิน เป็นพื้นที่ป่าในเขต
ปา่ สงวนแหง่ ชาติ และยงั ไมเ่ ขา้ สกู่ ระบวนการปฏริ ปู ทด่ี นิ ยงั ไมม่ กี าร
ออกเอกสารสทิ ธิ ยงั ไมไ่ ดร้ บั อนญุ าตใหเ้ ขา้ ทาํ ประโยชนใ์ นเขตปฏริ ปู
ท่ดี นิ (ส.ป.ก. 4-01) จงึ ยงั คงมีสถานะเปน็ ป่าสงวนแหง่ ชาติ ทง้ั เปน็
ทดี่ นิ ทย่ี งั ไมม่ บี ุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน จึงถือว่าเป็นทปี่ ่า

• คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดราชบุรีได้ประกาศให้
เกษตรกรท่ีมีคุณสมบัติยื่นค�ำขอเข้าทําประโยชน์ในเขตปฏิรูปท่ีดิน
ในพ้ืนท่ีบริเวณที่ดินพิพาท ซึ่งผู้ครอบครองท่ีดินบริเวณใกล้เคียง
ได้ย่ืนคําขอเข้าทําประโยชน์ แต่ผู้คัดค้านยังคงใช้ประโยชน์ในที่ดิน
แต่กลับไม่ยื่นค�ำขอเข้าทําประโยชน์ให้ถูกต้อง แสดงให้เห็นว่า
ผู้คัดค้านมีเจตนาหลีกเลยี่ งไม่ใหท้ ่ีดินพิพาทเขา้ สกู่ ระบวนการปฏิรปู
ทดี่ นิ อนั เปน็ การปดิ โอกาสหรอื หวงกนั ไมใ่ หบ้ คุ คลอนื่ เขา้ ใชป้ ระโยชน์
ในทีด่ ินท่ผี ู้คัดค้านครอบครอง

170

15 คดีทุจริต ป.ป.ช. ตอ้ งฟ้องเอง

• ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดิน
พพิ าท เนอ่ื งจากขาดคณุ สมบตั ใิ นการเปน็ เกษตรกรซง่ึ ต้องเป็นผ้อู ยู่
อาศยั ไรท้ ท่ี าํ กนิ ใชเ้ วลาสว่ นใหญท่ าํ การเกษตร ทงั้ ผคู้ ดั คา้ นยงั มที ด่ี นิ
แปลงอื่นอีก ย่อมไม่ได้เป็นคนยากจน มีท่ีดินทํากินเป็นของตนเอง
และยังเปน็ กรรมการบริษัท ปารณี า ไกรคปุ ต์ จํากัด

นอกจากน้ียังปรากฏว่าผู้คัดค้านมีรายได้จากการใช้
ประโยชนใ์ นทดี่ นิ จากการประกอบกจิ การฟารม์ เลย้ี งสตั วเ์ ปน็ จำ� นวน
109,962,076.14 บาทตอ่ ปี มรี ายไดป้ ระจำ� และคา่ ตอบแทนจากการ
ด�ำรงต�ำแหน่งสมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎรมาตั้งแต่ปี 2548

ตามบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินปรากฏว่า
ผคู้ ดั ค้านมที รพั ย์สินมลู ค่ารวมกวา่ 163 ล้านบาท ดังนั้น ผูค้ ดั คา้ น
ตอ้ งทราบอยูแ่ ลว้ ว่า ตามกฎหมาย ตนเองไม่ใชเ่ กษตรกร และไม่มี
คุณสมบัติที่จะมีสทิ ธิไดร้ ับอนญุ าตและออกเอกสารสทิ ธิฯ ผคู้ ัดค้าน
จงึ เป็นผขู้ าดคุณสมบตั มิ าตง้ั แตต่ น้

• ภายหลงั จากทผ่ี คู้ ดั คา้ นเปน็ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรแลว้
คณะกรรมการปฏิรูปท่ีดินจังหวัดราชบุรีได้ประกาศให้เกษตรกรท่ีมี
คุณสมบัติยื่นค�ำขอเข้าท�ำประโยชน์ในเขตปฏิรูปท่ีดิน แต่ผู้คัดค้าน
ไมไ่ ดแ้ จง้ การครอบครองหรอื สง่ คนื พน้ื ทแี่ กส่ ำ� นกั งานการปฏริ ปู ทดี่ นิ
เพื่อเกษตรกรรม ยงั คงครอบครองทำ� ประโยชน์ในพืน้ ท่พี พิ าทตอ่ ไป
โดยมีเจตนาไมค่ ืนที่ดนิ ใหก้ บั รฐั และยังอยู่ระหว่างการถกู ดำ� เนินคดี
อาญาฐานบุกรุกที่ดินของรฐั อกี ดว้ ย

171

15 คดที ุจริต ป.ป.ช. ตอ้ งฟ้องเอง

การกระท�ำดังกล่าวข้างต้นของนางสาวปารีณา ไกรคุปต์ ผู้คัดค้าน
ถอื ว่า

• ไม่รักษาเกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ
ท�ำเพอ่ื ประโยชนส์ ว่ นตน

• ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม
ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ด�ำรงต�ำแหน่งในองค์กร
อสิ ระ รวมทั้งผู้วา่ การตรวจเงนิ แผน่ ดนิ และหัวหน้าหนว่ ยงาน
ธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561
ซ่ึงน�ำมาใช้บังคับกับผู้คัดค้านซ่ึงด�ำรงต�ำแหน่งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรดว้ ย

• ไมร่ กั ษาผลประโยชนข์ องรฐั /แสวงหาประโยชนจ์ าก
ทรพั ยากรธรรมชาตอิ นั เปน็ ประโยชนส์ ว่ นรวมไปเปน็ ประโยชน์
ส่วนตนก่อนและขณะด�ำรงต�ำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เป็นความผิดทั้งทางอาญาและจริยธรรม

• กระท�ำการอันขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 114
ที่ก�ำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
ยอ่ มเปน็ ผู้แทนปวงชนชาวไทยไม่อยใู่ นความผกู มดั แหง่ อาณตั ิ
มอบหมาย หรือความครอบง�ำใด ๆ และตอ้ งปฏบิ ัติหน้าท่ีด้วย
ความซ่ือสัตย์สุจริตเพ่ือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ
และความผาสกุ ของประชาชนโดยรวมโดยปราศจากการขดั กนั
แห่งผลประโยชน์

172

15 คดที ุจรติ ป.ป.ช. ต้องฟอ้ งเอง

ค�ำขอทา้ ยค�ำร้องของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

1. ขอให้ศาลฎีกามีค�ำพิพากษาหรือค�ำส่ังว่า ผู้คัดค้าน
ฝ่าฝืนหรอื ไมป่ ฏิบตั ติ ามมาตรฐานทางจรยิ ธรรมอยา่ งร้ายแรง

- ตามรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย มาตรา 235
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ
ปราบปรามการทจุ ริต พ.ศ. 2561 มาตรา 87

- ตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาล
รัฐธรรมนูญ และผู้ด�ำรงต�ำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้ง
ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาล
รฐั ธรรมนูญและองคก์ รอิสระ พ.ศ. 2561 ข้อ 11 และข้อ 17
ประกอบข้อ 3 และขอ้ 27 วรรคสอง

2. ให้ผู้คัดค้านหยุดปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันท่ีศาลฎีกา
รับค�ำร้องจนกว่าจะมีคำ� พิพากษา

3. ใหผ้ คู้ ดั คา้ นพน้ จากตำ� แหนง่ นบั แตว่ นั หยดุ ปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ี
4. เพิกถอนสทิ ธิสมัครรบั เลือกตงั้ ของผคู้ ัดคา้ น
5. เพกิ ถอนสทิ ธเิ ลอื กตัง้ มีก�ำหนดเวลาไม่เกินสบิ ปี

173

15 คดีทุจริต ป.ป.ช. ตอ้ งฟอ้ งเอง

การพจิ ารณาของศาลฎีกา

อำ� นาจในการย่นื คำ� ร้อง

ผูร้ อ้ งมีอาํ นาจย่ืนคําร้องคดีน้ีหรอื ไม่
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 219 วรรคหนึ่ง

ก�ำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระร่วมกันกําหนดมาตรฐานทาง
จรยิ ธรรมขึน้ และเมอ่ื ประกาศในราชกิจจานเุ บกษาแลว้ ใหใ้ ช้บังคบั ครอบคลมุ
ถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย โดยมาตรฐานทางจริยธรรมที่จัดท�ำข้ึน
ต้องมีการก�ำหนดถึงการรักษาเกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ และต้อง
ระบุให้ชัดแจ้งว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมใดมีลักษณะ
รา้ ยแรง แตไ่ มห่ า้ มสภาผแู้ ทนราษฎรทจ่ี ะกาํ หนดจรยิ ธรรมเพม่ิ ขนึ้ ใหเ้ หมาะสม
กบั การปฏบิ ตั หิ นา้ ทขี่ องตนไดแ้ ตจ่ รยิ ธรรมทกี่ ำ� หนดเพม่ิ ขน้ึ ตอ้ งไมข่ ดั หรอื แยง้
กบั มาตรฐานทางจรยิ ธรรมฯ

โดยมาตรา 234 วรรคหนง่ึ (1) กำ� หนดใหเ้ ปน็ อาํ นาจของคณะกรรมการ
ป.ป.ช. ผู้ร้อง ในการไต่สวนกรณีมีการกล่าวหาว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ส่วนข้อบังคับ
วา่ ดว้ ยประมวลจรยิ ธรรมของสมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรและกรรมาธกิ าร พ.ศ. 2563

174

15 คดีทุจรติ ป.ป.ช. ตอ้ งฟ้องเอง

ท่ีประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ตราข้ึนโดยอาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 128 ประกอบมาตรา 219 วรรคสอง
ใหอ้ ำ� นาจสภาผแู้ ทนราษฎรกาํ หนดจรยิ ธรรมเพมิ่ เตมิ ใหเ้ หมาะสมกบั การปฏบิ ตั ิ
หนา้ ทข่ี องสมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรทอี่ าจมรี ายละเอยี ดในการปฏบิ ตั หิ นา้ ทแ่ี ตก
ตา่ งจากองคก์ รอืน่ ได้ ผ้คู ัดค้านจงึ ตอ้ งปฏบิ ตั ิตามมาตรฐานทางจรยิ ธรรมและ
ข้อบังคบั วา่ ด้วยประมวลจริยธรรมดังกล่าว

การตรวจสอบมาตรฐานทางจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จึงกระทําได้หลายทางและโดยองค์กรที่ต่างกัน ไม่ได้มีบทกฎหมายใดจํากัด
ให้ต้องดําเนินการเฉพาะทางใดทางหนึ่งเท่านั้น และแม้ผู้คัดค้านจะได้
ครอบครองที่ดินตั้งแต่ปี 2555 ถึงปี 2562 ซ่ึงเป็นการครอบครองที่ดิน
ท้ังก่อนและหลังจากที่มาตรฐานทางจริยธรรมฯ ได้ถูกบัญญัติขึ้น แต่เมื่อ
มาตรฐานทางจรยิ ธรรมฯ มผี ลใชบ้ งั คบั แลว้ ผคู้ ดั คา้ นกต็ อ้ งไมก่ ระทาํ การใด
ท่ีเป็นการขัดต่อมาตรฐานทางจริยธรรมฯ อีกต่อไป เมื่อมีการกล่าวหา
ว่าผู้คัดค้านได้ครอบครองท่ีดินต่อเน่ืองกันมาจนถึงเวลาท่ีมาตรฐานทาง
จริยธรรมฯ และบทกฎหมายที่ผู้ร้องอ้างมีผลใช้บังคับ ผู้ร้องจึงมีอํานาจ
ไต่สวนและมีมติเป็นคดนี ไ้ี ด้

ส่วนท่ีผู้คัดค้านอ้างว่า ผู้ร้องไม่มีอํานาจไต่สวนกรณีการฝ่าฝืน
หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ในกรณีน้ี เพราะผู้ร้องไต่สวน
และมมี ตใิ นการกระทาํ ของผคู้ ดั คา้ นทอ่ี า้ งวา่ ฝา่ ฝนื มาตรฐานทางจรยิ ธรรมตาม
ข้อ 11 และขอ้ 17 ซ่งึ อยูใ่ นหมวด 2 แต่ผรู้ อ้ งมอี �ำนาจดำ� เนนิ การไดเ้ ฉพาะตาม
หมวด 1 เทา่ นนั้

ในเร่อื งนี้ ขอ้ 27 วรรคหนงึ่ ของมาตรฐานทางจรยิ ธรรมฯ กําหนดไว้
ว่า การฝ่าฝนื หรือไมป่ ฏบิ ัติตามมาตรฐานทางจรยิ ธรรมฯ ในหมวด 1 ใหถ้ ือว่า
มีลกั ษณะร้ายแรง และขอ้ 27 วรรคสอง กาํ หนดว่า การฝา่ ฝนื หรอื ไมป่ ฏิบตั ิ
ตามมาตรฐานทางจรยิ ธรรมฯ ในหมวด 2 และหมวด 3 จะถอื วา่ มลี กั ษณะ
ร้ายแรงหรอื ไม่ ให้พจิ ารณาถึงพฤตกิ รรมของการฝา่ ฝนื หรอื ไม่ปฏิบตั ิ เจตนา
และความร้ายแรงของความเสียหายทเี่ กดิ จากการฝา่ ฝืนหรอื ไมป่ ฏบิ ัตินั้น

การกล่าวหาว่าผู้คัดค้านฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทาง

175

15 คดที ุจริต ป.ป.ช. ตอ้ งฟ้องเอง

จริยธรรมฯ ในหมวด 2 จึงอาจเป็นเร่ืองท่ีมีลักษณะร้ายแรงก็ได้ ผู้ร้องจึงมี
อำ� นาจไตส่ วนและเสนอเรอื่ งตอ่ ศาลฎกี าไดต้ ามรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั ร
ไทย มาตรา 235 วรรคหนึง่ (1) และไมไ่ ดม้ ีอาํ นาจไตส่ วนเฉพาะการกระทาํ ที่
ฝา่ ฝนื ตอ่ มาตรฐานทางจรยิ ธรรมฯ ในหมวด 1 ตามทผี่ คู้ ดั คา้ นกลา่ วอา้ งเทา่ นน้ั

การกระทําอันเป็นการขดั กนั ระหวา่ ง
ประโยชน์สว่ นบุคคลกบั ประโยชน์สว่ นรวม

ผคู้ ดั คา้ นซงึ่ เปน็ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรกระทาํ การอนั เปน็ การขดั กนั
ระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ท้ังน้ี ไม่ว่าโดยทางตรงหรือ
ทางอ้อม อันถือว่ามีลักษณะร้ายแรงตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 11
ประกอบข้อ 3 และข้อ 27 วรรคสอง หรอื ไม่

เห็นว่า การกระทําอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมตาม
ขอ้ 11 จะตอ้ งมกี ารกระทาํ ทข่ี ดั กนั แหง่ ผลประโยชน์ หรอื ทเ่ี รยี กวา่ “ผลประโยชน์
ทับซ้อน” (Conflict of Interest) โดยจะต้องมีสถานการณ์หรือการกระทํา
ทบ่ี คุ คลในองคก์ รหรอื หน่วยงานน้ัน ๆ มีผลประโยชนส์ ่วนตน อนั อาจกระทบ
ต่อการวินิจฉัยส่ังการหรือการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติงานตามอํานาจหน้าท่ี
ในตาํ แหนง่ ของบคุ คลนนั้ โดยอาจเปน็ อาํ นาจหนา้ ทใี่ นการกาํ กบั ดแู ล ควบคมุ
หรือตรวจสอบในเรอ่ื งทีต่ นมผี ลประโยชนเ์ กี่ยวข้องด้วย

176

15 คดที ุจริต ป.ป.ช. ต้องฟอ้ งเอง

เมื่อผู้คัดค้านเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีหน้าท่ีหลักในทาง
นิตบิ ัญญัติ อาทิ การเสนอและพจิ ารณาพระราชบัญญัตปิ ระกอบรฐั ธรรมนูญ
และร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดย
ตัง้ กระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทวั่ ไป เปน็ ตน้ ผู้คัดค้านจึงไม่ได้มอี าํ นาจหนา้ ท่ี
โดยตรงในการกาํ กบั ดแู ล ควบคมุ หรอื ตรวจสอบการปฏบิ ตั งิ านของกรมปา่ ไม้
และสาํ นักงานการปฏริ ูปท่ดี นิ เพ่ือเกษตรกรรม

การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านไม่ได้มีผลต่อการ
วินิจฉัยคุณสมบัติของผู้คัดค้านในการท่ีจะมีสิทธิครอบครองท่ีดินท้ังในเขตป่า
เขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตปฏิรูปที่ดิน อีกทั้งไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเข้าไปมี
สว่ นรว่ มในการตดั สนิ ใจหรอื ปฏบิ ตั หิ นา้ ทใ่ี นกรมปา่ ไมห้ รอื สาํ นกั งานการปฏริ ปู
ท่ีดินเพ่ือเกษตรกรรม จึงยังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านกระทําการอันเป็นการขัดกัน
ระหวา่ งประโยชนส์ ว่ นตนกบั ประโยชนส์ ว่ นรวม ไมว่ า่ โดยทางตรงหรอื ทางออ้ ม
อันถอื วา่ มีลกั ษณะรา้ ยแรง ตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 11 ประกอบข้อ
3 และข้อ 27 วรรคสอง

การกระทาํ ท่กี อ่ ให้เกดิ ความเส่อื มเสียต่อเกียรติศักดิ์
ของการดํารงตําแหน่งสมาชิ กสภาผู ้แทนราษฎร

ผู้คัดค้านกระทําการที่ก่อให้เกิดความเส่ือมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของ
การดาํ รงตาํ แหนง่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อนั ถือว่ามลี กั ษณะร้ายแรง ตาม
มาตรฐานทางจรยิ ธรรมฯ ข้อ 17 ประกอบข้อ 3 และข้อ 27 วรรคสอง หรอื ไม่

เห็นว่า การท่ีผู้คัดค้านครอบครองท่ีดินในเขตปฏิรูปที่ดินโดยไม่มี
เอกสารสทิ ธิใดท่ีจะใชย้ นั กับรฐั ได้ ในขณะทีท่ ี่ดินบริเวณรอบ ๆ มกี ารปฏริ ปู
ทด่ี ินและออก ส.ป.ก. 4-01 ไปแลว้ หลายสิบแปลง และสํานักงานการปฏริ ปู
ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้แจ้งให้ประชาชนในพื้นท่ีน�ำท่ีดินในความครอบครอง
เข้าสู่กระบวนการปฏริ ปู ท่ดี ินมาตั้งแต่ปี 2554 จึงเชื่อวา่ ผคู้ ัดค้านซึง่ ประกอบ
กิจการเลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ในพื้นที่จะต้องทราบเก่ียวกับประกาศดังกล่าว
เชน่ เดยี วกบั ผคู้ รอบครองทดี่ นิ รายอนื่ ทงั้ ตอ่ มาไดม้ กี ารประกาศใหผ้ คู้ รอบครอง
ทดี่ นิ นำ� ทด่ี นิ เขา้ สกู่ ระบวนการปฏริ ปู ทดี่ นิ เปน็ ครงั้ ทส่ี อง ผคู้ ดั คา้ นกย็ งั ไมด่ ำ� เนนิ การ

177

15 คดีทุจริต ป.ป.ช. ตอ้ งฟ้องเอง

โดยตามประกาศหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินกําหนดว่า ผู้ที่มีสิทธิขอรับการ
จดั สรรทดี่ นิ จะต้องมคี ุณสมบตั ิดังตอ่ ไปนี้ 1) เป็นเกษตรกร คอื เปน็ ผใู้ ชเ้ วลา
สว่ นใหญใ่ นการท�ำเกษตรกรรม 2) ไม่มีที่ดนิ เป็นของตนเองหรอื ของบคุ คลใน
ครอบครวั หรอื มที ด่ี นิ เพยี งเลก็ นอ้ ย ไมเ่ พยี งพอตอ่ การทำ� การเกษตรเพอ่ื เลย้ี งชพี
และโดยท่วั ไปจะจัดสรรทีด่ ินให้ไม่เกินคนละ 50 ไร่

ขอ้ เทจ็ จรงิ ขา้ งตน้ จงึ บง่ ชี้วา่ ท่ีผู้คดั ค้านไมเ่ ขา้ ส่กู ระบวนการ
ปฏิรูปท่ดี ินน่าจะเป็นเพราะ ทราบวา่ ตนเองครอบครองท่ีดนิ
มากกว่าเกษตรกรคนอ่ืนนับสบิ เทา่ ถ้าเขา้ สกู่ ระบวนการปฏิรูป
ท่ีดิน ผูค้ ัดคา้ นก็อาจสูญเสียการครอบครองท่ีดินพิพาทได้

ท�ำให้เช่ือว่าผู้คัดค้านมีเจตนาท่ีจะไม่ส่งมอบท่ีดินคืนแก่สํานักงาน
การปฏิรูปท่ีดินเพื่อเกษตรกรรม จนกระทั่งมีการร้องเรียน ผู้คัดค้านจึงได้
คืนท่ีดนิ ประกอบกับผคู้ ดั คา้ นเปน็ สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎรถงึ 4 สมัย ย่อม
ตอ้ งรวู้ า่ การจดั สรรทด่ี นิ ในเขตปฏริ ปู มเี งอื่ นไขอยา่ งไร แตผ่ คู้ ดั คา้ นยงั คงครอบ
ครองทําประโยชน์ในท่ีดินพิพาทมาอย่างต่อเน่ืองโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต ปิด

178

15 คดีทจุ ริต ป.ป.ช. ต้องฟ้องเอง

โอกาสเกษตรกรรายอื่นในการน�ำท่ีดินพิพาทไปจัดสรรให้แก่ผู้ยากไร้และไม่มี
ที่ดนิ ทํากิน

ผู้คัดค้านมีรายได้ประจําจากเงินเดือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
มาตั้งแต่ปี 2548 จึงไม่ใช่เกษตรกร และไม่ได้อาศัยอยู่ในท้องท่ีที่ท่ีดิน
พิพาทตั้งอยู่ นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของท่ีดินอีกหลายสิบแปลง มีทรัพย์สิน
รวมกวา่ 163 ล้านบาท ผคู้ ดั คา้ นจงึ ไม่ใชผ่ ู้ทีไ่ มม่ ีท่ีดนิ ท�ำกิน ไม่ไดเ้ ปน็ คน
ยากจน จงึ ขาดคุณสมบตั มิ าต้ังแตต่ ้น

การท่ีผูค้ ัดคา้ นครอบครองท่ีดินเป็นจาํ นวนมากเพ่ือประกอบ
กิจการขนาดใหญ่ในเขตปฏิรูปท่ีดนิ โดยไม่มเี อกสารสิทธิ
ถือได้ว่าก่อใหเ้ กดิ ความเสียหายร้ายแรงตอ่ ความเช่ือม่ัน
ในการบงั คับใช้กฎหมายเก่ยี วกบั การปฏริ ูปท่ีดิน

ทัง้ เป็นการกดี กนั ไมใ่ หเ้ กษตรกรผู้ยากจนได้รบั การจัดสรรท่ีดนิ
ท�ำกินด้วย เม่ือพจิ ารณาถงึ พฤตกิ รรม เจตนาของผูค้ ดั คา้ น

และความเสยี หายแลว้ เห็นว่าเป็นกรณีมลี ักษณะร้ายแรง
ตามมาตรฐานทางจรยิ ธรรมฯ ขอ้ 27 วรรคสอง

การเข้าครอบครองท่ีดินในเขตปฏิรูปท่ีดินโดยที่รู้ว่าตนเองไม่มี
คณุ สมบตั แิ ละไมม่ เี อกสารสทิ ธเิ ปน็ เรอ่ื งทสี่ มาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรซงึ่ ควรเปน็
แบบอยา่ งทด่ี แี กป่ ระชาชนทว่ั ไปไมพ่ งึ ปฏบิ ตั ิ การกระทาํ ของผคู้ ดั คา้ นจงึ เปน็ การ
กอ่ ใหเ้ กดิ ความเสอื่ มเสยี ตอ่ เกยี รตศิ กั ดใ์ิ นการดาํ รงตาํ แหนง่ สมาชกิ สภาผแู้ ทน
ราษฎร ตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ข้อ 13

สว่ นทผี่ คู้ ดั คา้ นอา้ งวา่ เขา้ ครอบครองทด่ี นิ เพอ่ื ดแู ลกจิ การตอ่ จากบดิ า
และนําเงนิ มาเล้ยี งดูบดิ าตามหลกั ศลี ธรรมและจรยิ ธรรมนน้ั เหน็ วา่ การเลย้ี ง

179

15 คดีทุจริต ป.ป.ช. ต้องฟอ้ งเอง

ดูบิดามารดาเป็นมาตรฐานและหน้าท่ีทางศีลธรรมและจริยธรรมท่ีพึงปฏิบัติ
ซึ่งบุคคลท่ัวไปก็มีภาระหน้าที่ดังกล่าวเช่นเดียวกันกับผู้คัดค้าน แต่ก็ต้องอยู่
ภายใตก้ รอบของกฎหมาย ซงึ่ ในกรณนี ีค้ ือกฎหมายเก่ียวกบั การปฏริ ูปทีด่ ินที่
มีเจตนารมณ์จะให้ประชาชนผ้ยู ากไร้มีท่ดี นิ ทํากินเพอ่ื เล้ยี งดูตนเองได้

ผู้คัดค้านจะอ้างหน้าท่ีส่วนตัวมาก่อภาระแก่สังคมโดยรวมไม่ได้
ทง้ั ผคู้ ดั คา้ นเปน็ ผมู้ หี นา้ ทที่ างนติ บิ ญั ญตั คิ วรปฏบิ ตั ติ นเปน็ ตวั อยา่ งทดี่ ใี นการ
เคารพและปฏบิ ตั ติ ามกฎหมาย แมต้ อ่ มา ผคู้ ดั คา้ นจะคนื ทด่ี นิ พพิ าททงั้ หมด
โดยไมม่ เี งอ่ื นไขก็ตาม กไ็ มไ่ ด้ทาํ ให้การฝ่าฝนื มาตรฐานทางจริยธรรมทเ่ี กิด
ขึ้นไปแลว้ กลับกลายเป็นไม่เคยเกดิ ข้นึ ได้ ขอ้ ต่อสูข้ องผู้คัดค้านฟงั ไมข่ ้นึ

ค�ำพิพากษา

ผู้คัดค้านฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่าง
ร้ายแรง ตามรัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 235 วรรคหนึ่ง (1)
วรรคสามและวรรคส่ี ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การป้องกนั และปราบปรามการทุจรติ พ.ศ. 2561 มาตรา 81 และมาตรา 87
และมาตรฐานทางจรยิ ธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนญู และผดู้ ํารงตาํ แหนง่
ในองคก์ รอสิ ระ รวมทง้ั ผวู้ า่ การตรวจเงนิ แผน่ ดนิ และหวั หนา้ หนว่ ยงานธรุ การ
ของศาลรฐั ธรรมนญู และองคก์ รอิสระ พ.ศ. 2561 ขอ้ 3 ขอ้ 17 ประกอบขอ้
27 วรรคสอง

ให้ผู้คัดค้านพ้นจากตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี
นบั แต่วนั ท่ี 25 มนี าคม 2564 อันเป็นวนั ทศี่ าลฎีกามีคาํ สั่งใหผ้ คู้ ดั คา้ นหยุด
ปฏบิ ตั ิหน้าที่ ให้เพิกถอนสทิ ธิสมคั รรบั เลือกตงั้ ของผู้คัดคา้ นตลอดไป รวมถึง
ไมม่ สี ทิ ธดิ าํ รงตาํ แหนง่ ทางการเมอื งใด ๆ ตามรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย
มาตรา 235 วรรคส่ี และเพิกถอนสิทธิเลือกต้ังของผู้คัดค้านมีกําหนดเวลา
10 ปี นบั แตว่ ันท่ศี าลฎกี ามคี ําพิพากษา

คําขออื่นนอกจากน้ีให้ยก
180

15 คดที จุ รติ ป.ป.ช. ตอ้ งฟอ้ งเอง

แมน่ ้ำภาชี

อำเภอจอมบงึ
จงั หวัดราชบุรี

เขาสนฟาร์ม

(ที่ดนิ ประเภท ภ.บ.ท. 5 จำนวน 29 แปลง
เนอ้ื ท่ี 853 ไร่ 75 ตารางวา)

เขตปฏิรูปท่ีดินตามพระราชกฤษฎีกา
กำหนดเขตตำบลรางบวั อำเภอจอมบึง จงั หวัดราชบรุ ี

ใหเ้ ปน็ เขตปฏริ ปู ที่ดิน

■ คณะกรรมการปฏริ ปู ที่ดิน จังหวดั ราชบุรี ไดป้ ระกาศให้
เกษตรกรที่มีคุณสมบตั ยิ ่นื คำขอเข้าทำประโยชนใ์ นเขตปฏิรปู ท่ดี นิ

■ นางสาวปารณี า ไกรคุปต์ ครอบครองที่ดิน แตไ่ ม่ยืน่ คำขอ
เข้าทำประโยชน์

181

15 คดีทจุ รติ ป.ป.ช. ตอ้ งฟอ้ งเอง
182

15 คดที จุ ริต ป.ป.ช. ตอ้ งฟอ้ งเอง

7คดที ่ี

กรณีกล่าวหา นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เม่ือครัง้ ดำ� รง
ตำ� แหนง่ รองปลดั กระทรวงมหาดไทย รกั ษาราชการ

แทนปลัดกระทรวงมหาดไทย
ได้พิจารณาอุทธรณ์และสัง่ ใหเ้ พกิ ถอนค�ำสัง่
อธบิ ดีกรมท่ดี นิ ท่ี 2308/2544 โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
เพ่ือช่ วยเหลือเจ้าของพื้นท่สี นามกอลฟ์ อัลไพน์

อ่านค�ำพพิ ากษา (ฉบับเต็ม)

183

15 คดที จุ รติ ป.ป.ช. ตอ้ งฟ้องเอง

คดีหมายเลขดำ� ท่ี อท. 38/2559
คดหี มายเลขแดงท่ี อท. 282/2560

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เม่ือคร้ังด�ำรงต�ำแหน่งรองปลัดกระทรวง
มหาดไทย รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาอุทธรณ์
และส่ังให้เพิกถอนค�ำสั่งอธิบดีกรมท่ีดิน ท่ี 2308/2544 โดยมิชอบด้วย
กฎหมาย ฝ่าฝืนค�ำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นการจงใจปฏิบัติ
หน้าท่ีราชการโดยฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี โดยมีเจตนาเพ่ือช่วยเหลือบริษัท
อัลไพน์ เรียลเอสเตท จ�ำกัด บริษัท อัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ
จ�ำกัด และผู้ถือกรรมสิทธิ์ท่ีดินในเวลาต่อมา ให้ไม่ต้องถูกเพิกถอนรายการ
จดทะเบยี นสิทธิ และไมใ่ หท้ ีด่ นิ ต้องตกเป็นทีธ่ รณีสงฆ์ตามค�ำส่ังกรมท่ีดนิ

184

15 คดีทุจริต ป.ป.ช. ตอ้ งฟอ้ งเอง

ล�ำดบั เหตุการณ์

20 พฤศจกิ ายน 2512
นางเนอ่ื ม ช�ำนาญชาตศิ ักดา ได้ทำ� พนิ ัยกรรมยกทีด่ นิ สอง

แปลง จำ� นวน 924 ไร่ 2 งาน 75 ตารางวา ตงั้ อยทู่ อ่ี ำ� เภอคลองหลวง
จงั หวดั ปทมุ ธานี ใหว้ ดั ธรรมกิ ารามวรวหิ าร อกี สองปตี อ่ มาปรากฏวา่
นางเนื่อมฯ ได้ถึงแก่ความตาย

19 กันยายน 2531
เจ้าอาวาสวัดธรรมิการามวรวิหารได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงมหาดไทย ขออนุญาตให้ได้มาซ่ึงท่ีดินดังกล่าว แต่
นายเสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น
ไดส้ ั่งการไม่อนุญาต โดยอาศยั ความตามมาตรา 84 แห่งประมวล
กฎหมายที่ดนิ

ประมวลกฎหมายท่ีดนิ

มาตรา 84 การไดม้ าซ่ึงท่ดี นิ ของวดั วาอาราม วัดบาดหลวงโรมัน
คาธอลิค มูลนิธเิ ก่ียวกบั ครสิ ต์จักร หรือมัสยิดอสิ ลาม ต้องไดร้ ับอนุญาต

จากรฐั มนตรี และให้ได้มาไม่เกิน 50 ไร่
ในกรณีท่ีเป็นการสมควร รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ได้มาซ่ึงท่ีดินเกิน
จำ� นวนท่บี ญั ญัติไว้ในวรรคแรกก็ได้

185

15 คดที จุ รติ ป.ป.ช. ตอ้ งฟ้องเอง

11 สิงหาคม 2533
ศาลแพง่ มคี ำ� สง่ั ใหม้ ลู นธิ มิ หามกฏุ ราชวทิ ยาลยั เปน็ ผจู้ ดั การ

มรดกของนางเน่อื มฯ แทนผจู้ ดั การมรดกคนเดมิ ตอ่ มาเมื่อวันท่ี 21
สงิ หาคม 2533 มลู นธิ มิ หามกฏุ ราชวทิ ยาลยั ในฐานะผจู้ ดั การมรดก
รายใหมจ่ ึงไดโ้ อนทดี่ ินทั้งสองแปลงอนั เป็นมรดกของวัดธรรมิการาม
วรวหิ าร ใหแ้ กม่ ลู นธิ มิ หามกฏุ ราชวทิ ยาลยั เอง และในวนั เดยี วกนั นนั้
ก็ได้จดทะเบียนโอนขายท่ีดินดังกล่าวให้แก่บริษัท อัลไพน์
เรียลเอสเตท จำ� กดั และบริษทั อลั ไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอรต์ คลบั
จ�ำกดั โดยทันที

25 ธันวาคม 2543
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีหนังสือหารือ

ปัญหาข้อกฎหมายทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของนางเน่ือมฯ
ไปยงั คณะกรรมการกฤษฎกี า ซงึ่ คณะกรรมการกฤษฎกี าไดว้ นิ จิ ฉยั วา่
ทดี่ นิ ซง่ึ ไดท้ ำ� พนิ ยั กรรมยกกรรมสทิ ธใ์ิ หแ้ กว่ ดั ยอ่ มตกเปน็ กรรมสทิ ธิ์
ของวดั ซงึ่ เปน็ ทายาทตามพนิ ยั กรรมโดยผลของกฎหมาย และเปน็ ท่ี
ธรณสี งฆน์ บั ตงั้ แตน่ างเนอื่ มฯ ผทู้ ำ� พนิ ยั กรรมถงึ แกค่ วามตาย การโอน
ทธ่ี รณสี งฆน์ นั้ ผจู้ ดั การมรดกตามพนิ ยั กรรมชอบแตจ่ ดั การจำ� หนา่ ย
จา่ ยโอนทดี่ นิ ใหแ้ กว่ ดั ซงึ่ เปน็ ผรู้ บั มรดกตามพนิ ยั กรรมเทา่ นน้ั จะโอน
ใหแ้ กบ่ คุ คลอนื่ ทพี่ นิ ยั กรรมมไิ ดร้ ะบไุ วม้ ไิ ด้ (ความเหน็ คณะกรรมการ
กฤษฎกี า เร่อื งเสร็จท่ี 73/2544)

186

15 คดที จุ รติ ป.ป.ช. ต้องฟอ้ งเอง

25 ธันวาคม 2543
• กรมการศาสนาจงึ ไดม้ หี นงั สอื ไปยงั กรมทด่ี นิ เพอื่ พจิ ารณา

ดำ� เนนิ การเพกิ ถอนรายการจดทะเบยี นทดี่ นิ ดงั กลา่ ว ซงึ่ ภายหลงั จาก
ที่ได้มีการสอบสวนแล้ว อธิบดีกรมที่ดินได้มีค�ำสั่งท่ี 2308/2544
ลงวนั ที่ 20 ธนั วาคม 2544 ใหเ้ พกิ ถอนรายการจดทะเบยี นโอนมรดก
เพิกถอนโฉนดทด่ี ินท่แี บ่งแยก และรายการจดทะเบียนโอนขายท่ดี ิน
ตลอดจนรายการจดทะเบียนอ่ืน ๆ เนื่องจากเป็นการจดทะเบียน
โดยไม่ชอบดว้ ยกฎหมาย และแจง้ คำ� สง่ั เพิกถอนดงั กล่าวใหผ้ ู้มีส่วน
ได้เสยี ทราบ

• มลู นธิ มิ หามกฏุ ราชวทิ ยาลยั บรษิ ทั อลั ไพน์ เรยี ลเอสเตท
จ�ำกดั บรษิ ัท อลั ไพน์ กอลฟ์ แอนด์ สปอร์ตคลับ จ�ำกดั กับพวก
จึงได้ยื่นค�ำร้องอุทธรณ์ค�ำสั่งเพิกถอนดังกล่าว อย่างไรก็ดี อธิบดี
กรมทด่ี นิ พจิ ารณาแลว้ ไมเ่ หน็ ดว้ ยกบั คำ� รอ้ งอทุ ธรณ์ จงึ ใหย้ กอทุ ธรณ์

• ผู้มีส่วนได้เสียจึงส่งค�ำอุทธรณ์ดังกล่าวไปยังกระทรวง
มหาดไทยสามคร้งั ได้แก่ เมื่อวนั ที่ 11 มกราคม 2545 วันท่ี 31
มกราคม 2545 และวนั ที่ 5 มนี าคม 2545 เปน็ เหตใุ หป้ ลดั กระทรวง
มหาดไทยมีค�ำสั่งแต่งต้ังคณะท�ำงานพิจารณากลั่นกรองอุทธรณ์
ค�ำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในท่ีดินที่พิพาท
โดยมีจ�ำเลยในฐานะรองปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน
คณะทำ� งาน มีอำ� นาจพิจารณาอุทธรณต์ ามกฎหมาย

หลังจากนั้น เม่ือวันที่ 5 มีนาคม 2545 ปลัดกระทรวง
มหาดไทยไดล้ าออกจากตำ� แหนง่ จ�ำเลยจึงเป็นผรู้ ักษาราชการแทน
ดังกลา่ ว

187

15 คดีทุจริต ป.ป.ช. ต้องฟ้องเอง

13 มนี าคม 2545
จ�ำเลยได้อาศัยอ�ำนาจหน้าท่ีในฐานะรองปลัดกระทรวง

รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย เพิกถอนค�ำส่ังอธิบดี
กรมท่ดี ินท่ี 2308/2544 ลงวนั ที่ 20 ธนั วาคม 2544

1 เมษายน 2545
• คณะกรรมการกฤษฎกี า (ทปี่ ระชมุ ใหญ)่ ไดม้ หี นงั สอื แจง้

ไปยงั รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงมหาดไทยวา่ การดำ� เนนิ การของจำ� เลย
จะกอ่ ใหเ้ กดิ ปญั หาขอ้ กฎหมายอยา่ งตอ่ เนอ่ื งไมเ่ ปน็ ทย่ี ตุ ิ และเสนอแนะ
ให้ด�ำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาในเร่ือง
ดงั กลา่ ว ตามมตคิ ณะรฐั มนตรี เมอ่ื วนั ที่ 28 กมุ ภาพนั ธ์ 2482 ทวี่ างหลกั
ใหก้ ระทรวง ทบวง กรม ปฏบิ ตั ติ ามทคี่ ณะกรรมการกฤษฎกี ามคี วามเหน็
ทางกฎหมายไว้แลว้

• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้
จ�ำเลยในฐานะปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณาด�ำเนินการตาม
กฎหมาย แตจ่ ำ� เลยกลบั เพกิ เฉย และไดม้ หี นงั สอื กระทรวงมหาดไทย
ด่วนท่ีสุดท่ี มท 1209.3/6840 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2545
ถงึ เลขาธกิ ารคณะกรรมการกฤษฎกี าวา่ ความเหน็ ของคณะกรรมการ
กฤษฎกี าไมม่ ีผลผกู พนั กระทรวงมหาดไทยและกรมทดี่ นิ เน่อื งจาก
ไม่ได้เป็นผู้หารือ และไม่อาจอ้างมติคณะรัฐมนตรีเม่ือวันที่
28 กุมภาพนั ธ์ 2482 มาใชก้ ับกรณีนี้

188

15 คดที จุ รติ ป.ป.ช. ตอ้ งฟอ้ งเอง

ค�ำฟ้ องของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

จ�ำเลยดำ� รงต�ำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทน
ปลัดกระทรวงมหาดไทย ระหวา่ งวันที่ 5 มนี าคม 2545 ถึงวนั ที่ 5 กันยายน
2545 และดำ� รงต�ำแหน่งปลดั กระทรวงมหาดไทย ระหวา่ งวนั ท่ี 5 กันยายน
2545 ถึงวันท่ี 30 กนั ยายน 2545 (โดยค�ำสงั่ ย้อนหลังไปถงึ วนั ที่ 5 มนี าคม
2545) ถือเป็นเจ้าพนักงานและเป็นเจ้าหน้าท่ีของรัฐ มีอ�ำนาจหน้าท่ีในการ
บริหารราชการแผ่นดินและบริหารงานทุกด้านในฐานะปลัดกระทรวง จำ� เลย
ได้กระท�ำความผิดตามกฎหมายอาญาในขณะด�ำรงต�ำแหน่ง โดยได้พิจารณา
อุทธรณ์และสั่งให้เพิกถอนค�ำส่ังอธิบดีกรมที่ดินท่ี 2308/2544 ลงวันที่ 20
ธนั วาคม 2544 โดยมิชอบดว้ ยกฎหมาย ฝา่ ฝืนค�ำวนิ จิ ฉยั ของคณะกรรมการ
กฤษฎกี า เปน็ การจงใจปฏบิ ตั หิ นา้ ทร่ี าชการโดยฝา่ ฝนื มตคิ ณะรฐั มนตรี โดยมี
เจตนาเพอ่ื ชว่ ยเหลอื บรษิ ทั อลั ไพน์ เรยี ลเอสเตท จำ� กดั บรษิ ทั อลั ไพน์ กอลฟ์
แอนด์ สปอรต์ คลบั จำ� กดั และผถู้ อื กรรมสทิ ธทิ์ ด่ี นิ ในเวลาตอ่ มา ใหไ้ มต่ อ้ งถกู
เพิกถอนรายการจดทะเบียนสิทธิ และไม่ให้ที่ดินต้องตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ตาม
ค�ำส่ังกรมท่ีดิน เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพ่ือ
ให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ วัดธรรมิการามวรวิหาร กรมการศาสนา
กรมท่ดี ิน และกระทรวงมหาดไทย หรือปฏบิ ัติหรอื ละเวน้ การปฏิบตั หิ นา้ ท่ี
โดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ท่ีมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายส�ำหรับ
ตนเองหรือผู้อืน่ ขอใหล้ งโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

จ�ำเลยให้การปฏเิ สธ

189

15 คดที จุ ริต ป.ป.ช. ตอ้ งฟ้องเอง

คำ� พิพากษาของศาลอาญาคดที จุ รติ และประพฤติมิชอบกลาง

1. สารจากพนิ ยั กรรม

ศาลได้พิจารณาพินัยกรรมของนางเน่ือมฯ อันเป็นท่ีมาของการ
จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมท่ีถูกเพิกถอนตามค�ำสั่งอธิบดีกรมท่ีดิน
ที่ 2308/2544 ลงวนั ท่ี 20 ธนั วาคม 2544 แล้ว มขี อ้ ความตามพนิ ัยกรรม
ที่เก่ยี วข้องกบั ท่ีดินพิพาท ใจความว่า

“ขอ้ 1. เม่ือขา้ พเจา้ ถึงแกค่ วามตายไปแล้ว บรรดาทรัพยส์ นิ
ของข้าพเจ้าที่มีอยู่และท่ีจะเกิดข้ึนในภายหน้า ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็น
กรรมสิทธ์ิแก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมนี้ ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตาม
จำ� นวนทซ่ี ง่ึ กำ� หนดไว้ดงั ต่อไปน้ี คอื ...

(ง) ทีด่ ินโฉนดเลขท่ี 20 ตำ� บลคลองซอยที่ 5 ฝัง่ ตะวันออก
(บึงตะเคียน) อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เน้ือท่ี 730 ไร่
1 งาน 51 ตารางวา ขา้ พเจา้ ขอยกกรรมสทิ ธใ์ิ หแ้ กว่ ดั ธรรมกิ ารามวรวหิ าร

(จ) ทดี่ นิ โฉนดท่ี 1446 อยทู่ ที่ งุ่ บงึ อา้ ยเสยี บ อำ� เภอคลองหลวง
จงั หวดั ธญั บรุ ี (ปทมุ ธานี) เนอื้ ที่ 194 ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา ขา้ พเจา้
ขอยกกรรมสิทธใ์ิ ห้แก่วดั ธรรมกิ ารามวรวิหาร …

ข้อ 4. ขอให้เจ้าอาวาสวัดธรรมิการามวรวิหารจัดการมอบ
อสงั หารมิ ทรพั ยแ์ ละจำ� นวนเงนิ (ถา้ ม)ี ซงึ่ ไดแ้ กว่ ดั ธรรมกิ ารามวรวหิ าร
รวมท้ังสิ้น แก่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยช่วยกันจัดท�ำผลประโยชน์
เพื่อใช้ผลประโยชน์น้ันบ�ำรุงจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร หรือจรรโลง
พระพทุ ธศาสนาโดยประการอน่ื อาทเิ ชน่ การสง่ เสรมิ การศกึ ษาคนั ถธรุ ะ
และวปิ สั สนาธรุ ะ หรอื บรู ณะถาวรวตั ถใุ นวดั ธรรมกิ ารามวรวหิ าร สดุ แต่
เจ้าอาวาสวดั ธรรมิการามวรวิหารจะพิจารณาตามสมควรแก่กรณี”

190

15 คดีทจุ ริต ป.ป.ช. ต้องฟอ้ งเอง

เห็นได้ว่าข้อความในพินัยกรรมระบุไว้ชัดเจนว่านางเนื่อมฯ ยก
กรรมสทิ ธใิ์ นทดี่ นิ พพิ าททง้ั สองแปลงใหแ้ กว่ ดั ธรรมกิ ารามวรวหิ ารเทา่ นนั้ มไิ ด้
ระบยุ กกรรมสทิ ธท์ิ ดี่ นิ ดงั กลา่ วใหแ้ กม่ ลู นธิ มิ หามกฏุ ราชวทิ ยาลยั เพอื่ นำ� ไปขาย
แต่อย่างใด

ทงั้ ความในข้อ 4 ของพินยั กรรมดงั กล่าวกม็ เี พยี งวา่
ให้เจา้ อาวาสฯ จัดการมอบอสังหารมิ ทรัพย์ซ่ึงไดม้ านนั้
แกม่ ูลนิธิฯ โดยช่ วยกันจดั ทำ� ผลประโยชน์ ฯ ซ่ึงไมอ่ าจ

ขยายความออกไปให้หมายรวมถงึ การใหม้ ูลนธิ ิฯ
มอี ำ� นาจขายอสังหาริมทรพั ย์นนั้ ได้

จึงเห็นว่า ที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกที่นางเนื่อมฯ แสดงเจตนาไว้ใน
พินัยกรรมว่ายกให้แก่วัด รวมทั้งที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นที่ธรณีสงฆ์
ทนั ทีท่ีนางเนื่อมฯ ถงึ แก่ความตาย แมจ้ ะยงั มไิ ด้จดทะเบยี นเปลย่ี นแปลงผถู้ ือ
กรรมสทิ ธเิ์ ปน็ ชอื่ วดั กต็ าม นอกจากน้ี คณะกรรมการกฤษฎกี า (ทป่ี ระชมุ ใหญ)่
ก็ได้มคี วามเหน็ ในเรือ่ งดังกลา่ วไวแ้ ล้วตามเรือ่ งเสรจ็ ท่ี 73/2544 โดยเป็นการ

191

15 คดีทุจริต ป.ป.ช. ต้องฟ้องเอง

วินิจฉัยตามข้อหารือของกรมการศาสนาซ่ึงเป็นหน่วยงานของรัฐ อันเป็นการ
ปฏบิ ัติหนา้ ที่ตามพระราชบัญญตั คิ ณะกรรมการกฤษฎกี า พ.ศ. 2522 มาตรา
7 (2) และประเดน็ ขอ้ กฎหมายทว่ี นิ จิ ฉยั กม็ ใิ ชเ่ รอ่ื งซงึ่ หากใหค้ วามเหน็ แลว้ จะมี
ผลกระทบกระเทือนทางการเมืองตามระเบียบคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าด้วย
การรบั ปรึกษาให้ความเห็นทางกฎหมายของกรรมการกฤษฎกี า พ.ศ. 2522



2. ความชอบด้วยกฎหมายของค�ำสงั่ อธิบดกี รมท่ดี ิน
ท่ี 2308/2544 ลงวันท่ี 20 ธันวาคม 2544

จากขอ้ เทจ็ จรงิ ที่พิจารณาได้ความขา้ งตน้ และได้พจิ ารณาข้อกฎหมาย
ในเร่ืองนี้แล้ว ศาลเห็นชอบด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา
(ท่ีประชุมใหญ่) ดังกล่าว เม่ือประกอบกับข้อเท็จจริงท่ีรับฟังได้แล้ว เห็นว่า
ค�ำสั่งอธิบดีกรมท่ีดินที่ 2308/2544 ลงวันท่ี 20 ธันวาคม 2544 ที่ให้
เพิกถอนรายการจดทะเบียนโอนมรดกท่ีดินและรายการจดทะเบียนขาย รวม
สองโฉนด ตลอดจนรายการจดทะเบยี นลำ� ดบั ตอ่ ๆ มา จากรายการจดทะเบยี น
ขายรวมสองโฉนดดงั กลา่ ว รวมทง้ั เพกิ ถอนโฉนดทดี่ นิ แปลงแยกนน้ั เปน็ คำ� สง่ั
ท่ีถูกต้องตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้ว ท้ังเป็นค�ำส่ังที่เจ้าหน้าท่ีผู้ท�ำ
ค�ำส่งั ด�ำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 36 และมาตรา 37 แหง่ พระราช
บัญญตั ิวิธีปฏบิ ตั ิราชการทางปกครอง พ.ศ. 2542 จึงเป็นคำ� สงั่ ทางปกครอง
ท่ชี อบด้วยกฎหมาย

3. อ�ำนาจหน้าท่ตี อ้ งมาพร้อมกับความระมัดระวงั
และละเอยี ดรอบคอบ

การที่จ�ำเลยในฐานะประธานคณะท�ำงานพิจารณากล่ันกรอง
อุทธรณ์และในฐานะปลัดกระทรวงมหาดไทยซ่ึงเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอ�ำนาจ
พิจารณาอทุ ธรณ์มีความเหน็ ว่า ค�ำสั่งอธิบดกี รมท่ดี ินที่ 2308/2544 ลงวนั ท่ี
20 ธันวาคม 2544 ไม่ชอบด้วยกฎหมายน้ัน จึงไม่ถูกต้องท้ังในข้อเท็จจริง
และข้อกฎหมาย ทั้งท่ีจ�ำเลยก็ทราบความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา
(ที่ประชุมใหญ่) รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีเม่ือวันท่ี 28 กุมภาพันธ์ 2482

192

15 คดีทุจริต ป.ป.ช. ต้องฟ้องเอง

ทใ่ี หก้ ระทรวง ทบวง กรมถอื ปฏบิ ตั ติ ามความเหน็ ของคณะกรรมการกฤษฎกี า
ที่ใหค้ วามเหน็ ทางกฎหมายในเรอื่ งน้ัน ๆ เป็นอยา่ งดี

หากจำ� เลยมีความเหน็ ในขอ้ กฎหมายดังกลา่ วแตกตา่ ง
และเหน็ วา่ เป็นกรณไี ม่ปกตทิ ่ีจะปฏิบตั ิตามความเห็นของ
คณะกรรมการกฤษฎีกาฯ โดยสุจริตใจอย่างแท้จรงิ แลว้
จำ� เลยสามารถขอใหม้ ีการทบทวนความเหน็ ดังกลา่ วได้

อีกทัง้ ในการพจิ ารณาอุทธรณ์ของจำ� เลย
แม้จะเป็นการพิจารณาโดยอาศยั อ�ำนาจหนา้ ท่ี
ซ่ึงจ�ำเลยมอี ำ� นาจท่จี ะพจิ ารณาอุทธรณไ์ ด้
แต่กต็ อ้ งใช้ดุลพนิ จิ พิจารณาอยา่ งระมัดระวงั

รอบคอบและมเี หตุผลฟั งได้

เม่ือข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายรับฟังได้ว่าที่ดินอันเป็นทรัพย์
มรดกของนางเนื่อมฯ รวมทั้งที่ดินพิพาทดังกล่าวตกเป็นที่ธรณีสงฆ์ทันทีท่ี
นางเนอ่ื มฯ ถงึ แกค่ วามตายแลว้ แมจ้ ะยงั มไิ ดจ้ ดทะเบยี นเปลยี่ นแปลงผถู้ อื
กรรมสทิ ธเิ์ ปน็ ชอื่ วดั กต็ าม และการจำ� หนา่ ยจา่ ยโอนทธี่ รณสี งฆจ์ ะกระทำ� ได้
ก็แต่โดยพระราชบัญญัตหิ รอื พระราชกฤษฎีกา ท้ังน้ี ตามมาตรา 34 แห่ง
พระราชบัญญตั ิคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505

จำ� เลยในฐานะทเี่ คยดำ� รงตำ� แหนง่ อธบิ ดกี รมทด่ี นิ มากอ่ น ยอ่ มทราบดี
ว่ามีกรณีท่ีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่อนุญาตให้วัดได้มาซ่ึงที่ดิน
ตามมาตรา 84 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินเพียงครั้งเดียว คือ กรณีท่ี
นายเสนาะฯ มีค�ำสั่งดังกล่าว ซ่ึงหากพิจารณาโดยละเอียดแล้ว จ�ำเลยก็จะ
พบว่ามีการก้าวล่วงไปสั่งให้เจ้าอาวาสวัดธรรมิการามวรวิหารด�ำเนินการตาม
ขอ้ 4 แห่งพนิ ัยกรรมด้วย

193

15 คดีทจุ รติ ป.ป.ช. ต้องฟ้องเอง

จ�ำเลยย่งิ สมควรต้องใช้ความรูค้ วามสามารถในการพิจารณา
พยานหลักฐานและข้อกฎหมายในเร่ืองนอี้ ยา่ งรอบคอบ
และระมัดระวงั เพ่อื ใหเ้ กดิ ความถกู ต้องทงั้ ในข้อเทจ็ จรงิ
และข้อกฎหมาย ให้สมกับความรู้ความสามารถของจ�ำเลย

ท่ผี า่ นการดำ� รงตำ� แหนง่ สำ� คญั มาหลายตำ� แหน่งจนกระท่ัง
ได้รบั การแตง่ ตงั้ ให้เป็นผู้รักษาราชการแทน
ปลัดกระทรวงมหาดไทย

จ�ำเลยควรจะพิจารณาไดว้ ่า เมอื่ รัฐมนตรไี ม่อนญุ าตใหว้ ดั ธรรมกิ า
รามวรวหิ ารไดม้ าซงึ่ กรรมสทิ ธท์ิ ดี่ นิ พพิ าททง้ั สองแปลงแลว้ วดั จงึ ยงั ไมไ่ ดม้ า
ซ่ึงที่ดินพิพาท จะให้ด�ำเนินการมอบท่ีดินพิพาทให้แก่มูลนิธิมหามกุฏ
ราชวทิ ยาลยั ชว่ ยจดั ทำ� ผลประโยชนฯ์ ตามขอ้ 4 แหง่ พนิ ยั กรรมดงั ทนี่ ายเสนาะฯ
มคี ำ� ส่งั น้ันไดอ้ ย่างไร

ท้ังศาลยังได้วินิจฉัยด้วยว่าความในข้อ 4 ของพินัยกรรมดังกล่าว
ไม่อาจขยายความออกไปให้หมายความรวมถึงการให้มูลนิธิฯ มีอ�ำนาจขาย
อสงั หารมิ ทรพั ยน์ นั้ ได้ และในเรอ่ื งนผ้ี อู้ ำ� นวยการสำ� นกั มาตรฐานการทะเบยี น
ที่ดิน ก็ได้เคยเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ท่ีได้รับผลกระทบจากการ
เพิกถอนรายการจดทะเบยี นโอนมรดกและรายการจดทะเบียนล�ำดบั ต่อ ๆ มา
ไว้แล้ว เช่ือว่าจำ� เลยได้ทราบแนวทางแกป้ ัญหานี้ แตก่ ็มไิ ดน้ ำ� ไปประกอบการ
พิจารณาอุทธรณ์และมีคำ� สั่ง ดงั นนั้ ตามความเหน็ ของจำ� เลยขา้ งตน้ ท่ีใหเ้ พิก
ถอนค�ำสั่งทางปกครองของอธิบดีกรมที่ดินน้ัน จึงไม่ถูกต้องท้ังในข้อเท็จจริง
และข้อกฎหมาย และไม่อาจรับฟังได้ว่าจ�ำเลยได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาอุทธรณ์
ในเรอ่ื งนโี้ ดยใชห้ ลกั ความมนั่ คงแหง่ สทิ ธิ หลกั ความสจุ รติ หรอื หลกั ความเสยี หาย
ตอ่ ประโยชนส์ าธารณะอย่างสมเหตสุ มผลและสุจริตใจแต่อยา่ งใด

194

15 คดที จุ ริต ป.ป.ช. ต้องฟอ้ งเอง

4. บทสรุปการกระทำ� ของจำ� เลย

จากพฤติการณ์ของจ�ำเลยที่มีค�ำสั่งให้เพิกถอนค�ำส่ังอธิบดีกรมที่ดินท่ี
2308/2544 ซงึ่ ถอื เปน็ คำ� สงั่ ทางปกครองดังกล่าว เปน็ ไปโดย

• จงใจละเลยขอ้ เทจ็ จรงิ ทวี่ ดั ธรรมกิ ารามวรวหิ ารไดเ้ ขา้
ครอบครองและถอื เอาประโยชนใ์ นทดี่ นิ พพิ าทดว้ ยการใหเ้ ชา่ รวมทง้ั
วดั ไดน้ ำ� ทด่ี ินพพิ าทไปลงทะเบยี นเป็นท่ธี รณีสงฆ์แลว้

• จงใจตคี วามและใชก้ ฎหมายใหผ้ ดิ เพยี้ นไปจากทค่ี ณะ
กรรมการกฤษฎีกา (ที่ประชุมใหญ่) ได้วินิจฉัยให้ความเห็นไว้
และ

• จงใจฝา่ ฝนื ไมป่ ฏบิ ตั ติ ามมตคิ ณะรฐั มนตรเี มอื่ วนั ที่ 28
กมุ ภาพนั ธ์ 2482 ทใี่ หก้ ระทรวง ทบวง กรมปฏบิ ตั ติ ามความเหน็
ทางกฎหมายทคี่ ณะกรรมการกฤษฎีกาได้ใหค้ วามเห็นไว้แล้ว

จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าการกระท�ำของจ�ำเลยเป็นการใช้ดุลยพินิจโดย
ชอบและประกอบด้วยเหตุผลแต่อย่างใด และผลจากการมีค�ำสั่งของจ�ำเลย
น้นั ท�ำใหบ้ ริษัท อัลไพน์ เรยี ลเอสเตท จ�ำกดั และบรษิ ทั อลั ไพน์ กอล์ฟ
แอนด์ สปอร์ตคลบั จำ� กัด ไดร้ ับประโยชน์ โดยไมต่ ้องถกู เพิกถอนการจด
ทะเบยี นสทิ ธแิ ละนติ กิ รรมและไมต่ อ้ งรบั ผดิ ตอ่ ผรู้ บั โอนตอ่ ๆ มาทจ่ี ะตอ้ งถกู
เพกิ ถอนตามคำ� สงั่ ทางปกครองของอธบิ ดกี รมทดี่ นิ ดว้ ย ซงึ่ ถอื ไดว้ า่ เปน็ การ
กระทำ� เพ่ือแสวงหาประโยชนท์ ี่มคิ วรได้โดยชอบดว้ ยกฎหมายสำ� หรบั ผอู้ น่ื

ท้ังการจงใจกระท�ำการของจ�ำเลยดังกล่าวยังท�ำให้เกิดความเสียหาย
แก่วัดธรรมิการามวรวิหารซ่ึงเป็นทายาทตามพินัยกรรม ท�ำลายศรัทธาของ
ผทู้ เี่ ลอ่ื มใสในพระพทุ ธศาสนา เชน่ นางเนอ่ื มฯ ทเ่ี จตนาทำ� พนิ ยั กรรมยกทรพั ย์
มรดกใหแ้ กว่ ดั เพอื่ นำ� ไปจดั ทำ� ผลประโยชนบ์ ำ� รงุ จตปุ จั จยั แกภ่ กิ ษสุ ามเณร หรอื
จรรโลงพระพุทธศาสนาด้วยการส่งเสริมการศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระ
หรอื บูรณะถาวรวตั ถใุ นวดั แตก่ ลับมีการจงใจจัดการทรัพย์มรดกใหผ้ ิดไปจาก

195

15 คดที จุ รติ ป.ป.ช. ตอ้ งฟอ้ งเอง

เจตนาของเจ้ามรดกท่ีแสดงไว้แล้ว และยังท�ำให้กรมท่ีดินอันเป็นหน่วยงาน
ของรัฐซ่ึงได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายแล้วต้องเสื่อมเสียหรือ
เสียหายต่อชื่อเสยี งจากการถูกเพิกถอนคำ� ส่ังอกี ด้วย

ถึงแม้ว่าภายหลังจากจ�ำเลยมีค�ำสั่งเพิกถอนค�ำส่ังทางปกครองของ
อธิบดีกรมท่ีดินดังกล่าวแล้วจะไม่มีผู้มีส่วนได้เสียคนใดน�ำเร่ืองนี้ไปฟ้องต่อ
ศาลปกครองก็ตาม ก็หามีผลท�ำให้การกระท�ำของจ�ำเลยไม่เป็นความผิดไม่
ดงั นนั้ จงึ เหน็ วา่ การกระทำ� ของจำ� เลยดงั กลา่ วเปน็ การปฏบิ ตั หิ นา้ ทโ่ี ดยทจุ รติ และ
โดยมิชอบอนั เปน็ ความผิดตามฟ้อง

5. ค�ำพพิ ากษา

พพิ ากษาวา่ จำ� เลยมคี วามผดิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จ�ำคุก 2 ปี



196

15 คดีทจุ ริต ป.ป.ช. ต้องฟ้องเอง

พนิ ยั กรรมของนางเนื่อมฯ ลงวนั ท่ี 20 พ.ย. 2512
ยกกรรมสทิ ธิใ์ นท่ดี ินจำนวน 730 ไร่ และ 194 ไร่
1 งาน 24 ตารางวา ใหแ้ ก่วดั ธรรมมกิ ารามวรวิหาร

ประมวลกฎหมายทด่ี นิ มาตรา 84

ปี พ.ศ. นายสนั่น ขจรประสาท รัฐมนตรชี ว่ ย

2531 วา่ การกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งไม่อนญุ าตในขณะนั้น

ผล : ทำใหท้ ่ีดนิ ตามพนิ ัยกรรมท้ังหมดยงั ไมต่ กเป็น
ของวัดธรรมมกิ ารามวรวหิ ารโดยชอบดว้ ยกฎหมาย

ปี พ.ศ. ศาลแพ่งมีคำสั่งใหม้ ลู นิธมิ หามกุฎวทิ ยาลยั
2533 เป็นผู้จดั การมรดกของนางเนื่อมฯ

มลู นธิ ฯิ โอนท่ดี ินตามพินัยกรรมใหเ้ ป็นกรรมสิทธิข์ องมลู นิธิฯ เอง

ในวันเดียวกัน ไดจ้ ดทะเบียนโอนขายทด่ี ินใหก้ บั บจก.อัลไพน์
เรยี ลเอสเตท และ บจก. อัลไพน์กอล์ฟ แอนด์ สปอรต์ คลบั

กรมการศาสนามหี นังสอื ไปยังกรมทด่ี ิน ขอใหเ้ พิกถอนการจดทะเบยี น
โอนกรรมสทิ ธแิ ละอธบิ ดีกรมทีด่ นิ มีคำสง่ั ให้เพิกถอน

มลู นิธิฯ และ บจก. ท้ัง 2 ไดอ้ ทุ ธรณ์คำสง่ั มายังกระทรวงมหาดไทย

จำเลย ในฐานะรองปลดั กระทรวงฯ รักษาการแทนปลดั กระทรวง
มีคำสัง่ เพิกถอนคำส่งั อธิบดีกรมท่ดี ิน

ศาลพพิ ากษาโทษจำเลย มีความผดิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
197

15 คดีทจุ รติ ป.ป.ช. ตอ้ งฟอ้ งเอง
198


Click to View FlipBook Version