The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือชุด กฎหมายเพื่อการเรียนรู้ ผู้ศึกษาเเละเรียบเรียง นายภูมินทร์ เกณสาคู

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ภูมินทร์ เกณสาคู, 2021-04-10 02:43:44

หนังสือชุด กฎหมายเพื่อการเรียนรู้ ผู้ศึกษาเเละเรียบเรียง นายภูมินทร์ เกณสาคู

หนังสือชุด กฎหมายเพื่อการเรียนรู้ ผู้ศึกษาเเละเรียบเรียง นายภูมินทร์ เกณสาคู

- หากหนป้ี ระธาน คอื เอกู้เงนิ บี มนั เกิดจากการที่เอสำคัญผิดในเจา้ หน้ี เช่น เอสำคญั ผิดว่าบีเป็นคนที่
ตนตงั้ ใจกูด้ ้วย แต่กลับเปน็ อกี หน่ึงคน หรอื บีเจ้าหนี้เป็นคนวกิ ลจริตแตข่ ณะทำไม่แสดงอาการวิกลจริต ทำให้เอ
จึงยอมกู้ด้วย และขณะทำนั้นเอ ให้ซีมาค้ำประกัน ทำให้ซีมาค้ำประกันหนี้ประธาน ซึ่งเกิดจากการสำคัญผิด
สัญญาค้ำประกนั นี้จะสมบรู ณ์เมื่อ ในขณะซไี ปทำสัญญาเน่ยี ซี กร็ ู้วา่ ทเ่ี อไปทำสญั ญานัน้ มันผดิ คน ถ้าซีรู้อย่าง
น้ี สัญญาค้ำกส็ มบูรณ์ ซตี ้องรับผิดด้วย หากซีไมร่ ู้ ซไี มต่ อ้ งรับผิดกับการสำคัญผิดเน่ยี

เมือ่ สัญญาประธานสำคญั ผิดหรือไร้ความสามารถ สัญญาอปุ กรณ์คือคำ้ ประกัน จะสมบูรณไ์ ด้ เมื่อผู้ค้ำ
ประกนั รเู้ หตสุ ำคัญผดิ หรอื ไร้ความสามารถขณะเขา้ ทำสัญญา

สรุป หากหนีป้ ระธานนั้นเกิดจากการสำคัญผิดหรือทำกับคนไรค้ วามสามารถ สัญญาค้ำประกันจะ
สมบูรณ์และผู้ค้ำต้องรับผิดด้วยก็ต่อเมื่อ ผู้ค้ำรู้ว่าการทำสัญญาประธานนั้นมันผิด หากผู้ค้ำไม่รู้ว่าสัญญา
น้ันผดิ ก็ไม่ตอ้ งรับผดิ
………………………………………………………………………………………………………………………………………….

-ค้ำประกัน เป็นสัญญาอุปกรณ์
โดยปกติจะมีสัญญาประธาน และสัญญาอปุ กรณ์
เช่น สัญญาซึ่งคน ๒ ฝ่ายมาทำสัญญากัน เช่น เอกับบีทำสัญญากู้ยืมเงิน ๕ หมื่นบาท หนี้ก็คือหนี้กู้ยืมเงิน
เรียกว่า สัญญาประธาน ต่อมาซีเป็นบุคคลภายนอก เขา้ มาคำ้ ประกันหน้รี ะหวา่ งเอกับบี เรยี กสัญญาท่ีซีเข้ามา
ค้ำประกันว่า สญั ญาอปุ กรณ์
-สญั ญาค้ำประกันจะสมบูรณไ์ ด้ หนีป้ ระธาน(สญั ญาระหว่างลูกหน้ีกับเจ้าหน้ี)นน้ั ต้องสมบูรณ์ เช่น
ถูกกฎหมาย บังคับกันได้ เพราะ หากสัญญาประธานไม่สมบูรณ์แล้ว สัญญาอุปกรณ์(สัญญาค้ำประกัน) ก็ไม่
อาจเกิดได้
เช่น เอกูเงินบี ๓ แสนเพื่อไปซื้อยาบ้า มีซีค้ำประกัน นั่นคือ หนี้ประธานระหว่างเอกับบีไม่สมบูรณ์
สญั ญาอุปกรณ์ค้ำประกนั ระหวา่ งเอกบั ซี ก็เกิดไม่ได้
สรปุ สัญญาประธานตาย สัญญาอุปกรณ์ก็ไมเ่ หลอื
………………………………………………………………………………………………………………………………………….
-การค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือเงื่อนไขนั้นอาจทำได้ แต่ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการก่อหนี้รายที่
คำ้ ประกนั ลกั ษณะของมูลหนี้ จำนวนเงนิ สงู สดุ ท่คี ้ำประกนั และระยะเวลาในการก่อหนี้ทจ่ี ะค้ำประกนั เว้น
แต่ เปน็ การค้ำประกันเพ่ือกจิ การเนอ่ื งกันไปหลายคราว

คำวา่ หน้ีในอนาคต เชน่ บีเปน็ ลูกหน้ีบอกเอว่า เนีย่ นายเอ เดีย๋ วราว ๆ กลางปหี น้า เราว่าจะขอกู้เงิน
เอหนอ่ ย สัก ๓ แสน แม้จะกู้กลางปีหน้า วันน้กี ็ทำสัญญากู้ยืมไวล้ ะ แต่ทำไว้เฉยๆ จะเอาเงินปีหน้า การที่บียัง
ไม่ได้รบั เงนิ ทำให้บีกย็ ังไมม่ ีหนา้ ท่ี เพราะสัญญาจะเกิดเมื่อรบั เงนิ นายซมี สี ิทธิม์ าค้ำหนใ้ี นอนาคตได้

คำว่า หนม้ี ีเงื่อนไข เชน่ บเี ป็นลูกหนี้บอกเอวา่ เนี่ยนายเอ เราขอกเู้ งินเอหน่อย สัก ๓ แสน เอเลยบอก
ว่า ได้ แตจ่ ะยมื ได้ ตอ้ งให้ลูกบีกลับมาจากต่างประเทศก่อนนะ แลว้ วันไหนลกู กลับมาจะทำสัญญาให้ แสดงว่า
วันน้นั หนไ้ี มเ่ กิด เงื่อนไข คอื รอลูกกลบั มา นายซกี ค็ ำ้ ได้

คำ้ ประกันหนใี้ นอนาคตหน้มี เี ง่อื นไข กอ็ าจจะทำได้ แต่
-ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการก่อหน้ีรายที่ค้ำประกนั คือ หนี้ประธานจะก่ออะไรขึ้นหรือเป็นสัญญาอะไร เชน่
หนกี้ ยู้ มื ฝากทรัพย์
-ตอ้ งระบลุ กั ษณะของมูลหนี้ คือ ว่าหน้ีประธานเป็นมูลหน้ีอะไร
-ต้องระบุจำนวนเงินสูงสุดที่ค้ำประกนั คือ บอกด้วยว่าผู้คำ้ จะค้ำกี่บาท เช่น หนี้ประธาน ๔ หมื่น ถ้าผู้ค้ำจะ
คำ้ ๔ หมน่ื เลยกร็ ะบไุ ป ถ้าจะคำ้ ๑ หม่ืนกบ็ อกไป เป็นตน้
-ต้องระบุระยะเวลาในการก่อหนี้ที่จะค้ำประกัน เช่น วันนี้เอเข้าไปค้ำประกันหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไข
ต้องระบุด้วยว่าจะค้ำภายในเวลาเท่าไหร่ เช่น ค้ำในเวลา ๑ ธันวาถึง ๓๑ ธันวา หากเกิดอะไรในช่วงนี้เอจะ
รับผิดชอบ หากเกิน ๓๑ ธนั วาก็ไมต่ อ้ งรับผิดชอบในสญั ญาประธาน

หากไม่ตรง ๔ ประเด็นนี้ จะค้ำหนี้อนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขไม่ได้ ยกเว้น เป็นการค้ำประกันเพ่ือ
กจิ การเนอ่ื งกันไปหลายคราว

-บุคคลภายนอกทำสัญญาคำ้ ประกันกับเจ้าหนี้ โดยที่ลูกหนี้ไม่ยินยอมก็ได้ เพราะกฎหมายใช้คำว่า
“ ค้ำนัน้ คือสัญญาซ่ึงบุคคลภายนอกคนหนึง่ ” และลูกหนจี้ ะเป็นผ้คู ำ้ เองไมไ่ ด้

-ค้ำประกนั เป็นการประกนั ด้วยบุคคลเทา่ น้ัน แต่การจำนองนั้นเปน็ การประกนั ด้วยทรพั ย์
คืออสังหาฯ และสังหาฯพิเศษ และการจำนำน้ันตอ้ งเปน็ ประกนั ด้วยสังหาฯเทา่ น้ัน

-สัญญาค้ำประกันไม่มีแบบ หากแต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำ
ประกันเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ อย่างไรก็ดแี ตถ่ ้าสัญญาจำนองนั้นหากมิได้ทำเปน็ หนงั สือและ
จดทะเบยี น ย่อมเป็นโมฆะ และค้ำประกันไม่ตอ้ งสง่ มอบทรัพย์ ตา่ งสญั ญาจำนำ แมม้ ิได้กำหนดแบบไว้แต่อย่าง
ใด แต่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำ ถ้าไม่ส่งมอบก็ไม่เป็นจำนำ ก็ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสอื
ดว้ ยจงึ จะฟ้องร้องกันได้

-สัญญาค้ำประกันสามารถตกลงอย่างใดๆก็ได้ในสัญญา เท่าที่ไม่ขัดต่อบทกฎหมายข้อตกลงนั้นก็
สมบูรณ์

-สัญญาค้ำประกันเจ้าหนี้มีสิทธ์ิที่จะเรียกให้ผู้ค้ำชำระหนี้ได้นับแต่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ กล่าวคือ
เม่ือหนีถ้ ึงกำหนดชำระแลว้ จงึ เรยี กให้ลูกหนี้รับผิด หากลูกหนีล้ ะเลยไมป่ ฏบิ ัติ เจา้ หนจี้ ึงจะเรยี กผูค้ ้ำได้

-สญั ญาค้ำประกนั มอี ายุความ 10 ปี หากหนี้ขาดอายลุ กู หนี้ยกข้อต่อสหู้ รือผู้ค้ำยกข้อต่อสู้ตอ่ เจ้าหนี้
ได้

- สัญญาค้ำประกันต้องระบุหนี้หรือสัญญาที่ค้ำประกันไว้โดยชัดแจ้ง และผู้ค้ำประกันย่อมรับผิด
เฉพาะหนหี้ รือสญั ญาท่ีระบไุ ว้เท่านนั้

-ขอ้ ตกลงใดท่กี ำหนดให้ผู้คำ้ ประกนั ต้องรับผดิ อยา่ งเดยี วกบั ลูกหน้ีรว่ มหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม
ขอ้ ตกลงนัน้ เป็นโมฆะ ยกเวน้ กรณผี คู้ ำ้ ประกนั ซึ่งเป็นนิติบคุ คลและยนิ ยอมเขา้ ผูกพันตนเพ่ือรบั ผดิ อย่างลูกหนี้
รว่ มหรือในฐานะเปน็ ลูกหนรี้ ว่ ม

-ค้ำประกันอยา่ งไม่มีจำกดั นั้นใหร้ วมท้งั ดอกเบีย้ และค่าสินไหมทดแทนซ่ึงลูกหนี้คา้ งชำระ ตลอดจนค่า
ภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แหง่ หน้ีรายน้นั ด้วย

-ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมที่ลูกหน้ีต้องให้แก่เจา้ หน้ี หากโจทย์มิได้เรียกก่อน ๖๐ วันนับ
แตเ่ บีย้ วหนี้ ผ้คู ้ำไมต่ ้องรบั ผดิ

-ถ้าเมื่อบังคับตามสัญญาค้ำประกันนัน้ ผู้ค้ำประกันไม่ชำระหนี้ทั้งหมดของลูกหนี้ รวมทั้งดอกเบี้ย ค่า
สินไหมทดแทน และอุปกรณ์ด้วยไซร้ หนี้ยังเหลืออยู่เท่าใด ท่านว่าลูกหนี้ยังคงรับผิดต่อเจ้าหนี้ในส่วนที่เหลือ
นั้น

ผลกอ่ นชำระหน้ี

-เมอื่ ลกู หน้ีผดิ นัด ให้เจ้าหนมี้ ีหนังสอื บอกกลา่ วไปยังผ้คู ำ้ ประกนั ภายในหกสบิ วนั นับแต่วันที่ลูกหน้ีผิด
นัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้คำ้ ประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้
ค้ำประกนั มไิ ด้ แต่ไม่ตัดสิทธผิ คู้ ้ำประกันทีจ่ ะชำระหนเ้ี มื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ

ตวั อยา่ ง

เชน่ เมอ่ื ถึงกำหนดชำระหนี้ บีเบยี้ วหนเี้ อ เอตอ้ งมหี นงั สือแจ้งไปยังซีผู้ค้ำ ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันท่ี
บีเบยี้ วหนี้ ใหซ้ ีทราบว่าบีซ่งึ เป็นลกู หนเ้ี บ้ียวหน้ีตน

เอไม่มีสทิ ธิ์ บังคบั ซีผู้คำ้ ชำระหนี้ ถา้ หนังสือยังไม่ถึงผคู้ ำ้ และหนังสือนัน้ ตอ้ งถึงซใี น ๖๐ วันดว้ ย
หากเม่อื ถงึ วนั ที่หน้ีครบกำหนด แล้วลกู หน้ีไม่ชำระ ถ้าหากผคู้ ำ้ มคี วามบริสุทธิ์ใจ จะชำระแทนเลย
ก็ได้ แม้หนงั สอื จะไม่ถงึ หรือเจา้ หนจ้ี ะบังคับผู้ค้ำหรือไมก่ ต็ าม ไม่สนใจ ก็ชำระได้ แตถ่ ้าผคู้ ำ้ ไมส่ ะดวกชำระ
แล้วหนังสือยังไมถ่ ึง หรือเกนิ ๖๐ วัน เจา้ หนี้ไม่มีสทิ ธิ์บังคับ

หากเจ้าหนี้มีหนังสือไปไม่ทันผู้ค้ำ ภายใน ๖๐ วันนับแต่มีการเบี้ยวหนี้ ให้ผู้ค้ำหลุดพ้นจากความ
รบั ผิดใน ดอกเบ้ีย ค่าสินไหม ค่าภาระติดพันอนั เป็นอปุ กรณห์ น้ี (คอื ดอกเบี้ยที่เกดิ ข้นึ ตง้ั แต่วนั ทล่ี ูกหนี้ผิด
นั้น ถึงวันที่ ๖๐ ต้องรับ หากดอกเบี้ยที่เกิดในวันที่ ๖๑ เป็นต้นไปไม่ต้องรบั ผิด) แต่พวกเงินต้นทั้งหลายผู้
คำ้ ต้องจ่าย

-เจา้ หนีม้ ีสทิ ธเิ รียกใหผ้ ้คู ้ำประกนั ชำระหน้ี ตง้ั แต่วนั ท่หี นังสอื ถึงผคู้ ำ้
-ผู้ค้ำประกนั มสี ทิ ธิชำระหนี้ ตง้ั แตว่ นั ทห่ี นี้ครบกำหนดชำระ

-ผู้ค้ำประกนั อาจชำระหน้ีท้ังหมด หรือใช้สิทธิชำระหนี้ตามเงื่อนไขและวิธกี ารในการชำระหนีท้ ี่ลูกหน้ี
มีอยู่กบั เจา้ หน้ีก่อนการผดิ นดั ชำระหนี้ เชน่ ก่อนผิดนัดมี ๕ หมน่ื พอผดิ นัดมเี พ่ิมมาเป็น ๕ พัน ๕ ร้อยบาท
ผู้ค้ำมีสิทธิช์ ำระอันไหนก็ได้ หรือเฉพาะในสว่ นทีต่ นต้องรับผิดตามสัญญากไ็ ด้ เช่น หนี้ ๕ พัน สัญญาระบุ
วา่ ผคู้ ำ้ ตอ้ งรบั ผดิ เพยี ง ๔ พัน กต็ ้องชำระ ๔ พนั เรยี กว่า สทิ ธ์ไิ ล่เบ้ยี

-ระหวา่ งทผ่ี ู้ค้ำกำลงั เริม่ ชำระหน้ตี ามกฎหมายอย่างถูกตอ้ ง เจา้ หน้ีจะเรยี กดอกเบี้ยเพิ่มไม่ได้

-เมอ่ื เจา้ หน้ีทวงใหผ้ ู้ค้ำประกนั ชำระหน้ีแล้ว ผคู้ ้ำมีเหตจุ ำเป็นทไ่ี ม่ชำระกอ่ นได้ เรียกว่า สิทธิ์เก่ียง
คอื

ผู้คำ้ ประกนั สามารถจะขอใหเ้ รียกลูกหนี้ชั้นต้นชำระก่อนได้ เวน้ แต่ลกู หนจ้ี ะถูกศาลพิพากษาให้เป็น
คนล้มละลายเสียแลว้ หรอื ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ไปอยู่แห่งใดในพระราชอาณาเขต หากมี ๒ กรณีน้ี ผู้ค้ำไม่มีสิทธิ์
เกี่ยงหรือเรียกให้ลูกหน้ชี ้นั ต้นชำระ ผูค้ ำ้ กต็ อ้ งทำหน้าที่ชำระต่อไป

ผู้ค้ำพิสูจน์ได้ว่า ลูกหนี้ชั้นต้นมันไม่ได้ลำบาก มีทรัพย์พอจะชำระได้ ผู้ค้ำมีสิทธิ์ขอให้เจ้ าหนี้ไป
บงั คับเอากับลกู หน้ีช้นั ตน้ กอ่ น และการจะบังคบั เอากบั ลกู หนีช้ นั้ ตน้ น้นั ไม่ใช่เรอ่ื งยากด้วย

ถ้าเจ้าหนี้มีทรัพย์ของลูกหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ์ขอให้เจ้าหนี้ชำระหนี้เอาจาก
ทรัพยซ์ ึง่ เป็นประกันน้ันกอ่ น อาจจะเปน็ การเอาทรัพยไ์ ปขาย เหลือเทา่ ไหรค่ อ่ ยวา่ กนั

ปรับโครงสร้างหน้ี

กรณีเจา้ หนี้กับลูกหนี้ตกลงกนั ลดจำนวนหนี้ การลดนอี้ าจรวมทั้งดอกเบี้ย คา่ สนิ ไหมทดแทน หรือ
ค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น เจ้าหน้ีต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบถึงข้อตกลง
ดังกลา่ วภายในหกสบิ วันนับแต่วนั ท่ีตกลงกันนนั้

ถ้าลูกหนี้ได้ชำระเงินจำนวนใหม่ที่แก้ไขกันแล้ว หรือ ลูกหนี้ชำระหนี้ตามที่ได้ลดไม่ครบถ้วนแต่ผู้
ค้ำประกันได้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือนั้นแล้ว หรือลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามที่ได้ลดแต่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหน้ี
ตามที่ได้ลดนนั้ ใหผ้ ู้คำ้ ประกนั เป็นอนั หลุดพน้ จากการค้ำประกนั

ผู้ค้ำประกันมีสิทธิชำระหนี้ได้ แม้จะล่วงเลยกำหนดเวลาชำระหนี้ตามที่ได้ลดแต่ต้องไม่เกินหกสิบวัน
นบั แตว่ นั ที่ครบกำหนดเวลาชำระหน้ีดังกลา่ ว

ในกรณีท่ีเจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบถึงข้อตกลงดังกล่าวเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลา
ชำระหนี้ตามทไี่ ดล้ ดแล้ว ใหผ้ ูค้ ้ำประกันมสี ิทธิชำระหนี้ได้ภายในหกสิบวันนับแตว่ นั ท่เี จ้าหนี้มีหนังสือแจ้งให้ผู้
ค้ำประกนั ทราบถึงข้อตกลงนั้น ทง้ั นี้ ขอ้ ตกลงท่ีทำขึ้นภายหลังที่ลูกหนผี้ ิดนัดชำระหน้ีแล้ว หากในข้อตกลงนั้น
มกี ารขยายเวลาชำระหน้ีให้แกล่ ูกหน้ี มิให้ถือว่าเป็นการผอ่ นเวลา

-ข้อตกลงใดที่มีผลเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ค้ำประกันให้มากกว่าที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ข้อตกลง
น้ันเป็นโมฆะ

-อายคุ วามสะดดุ หยดุ ลงเปน็ โทษแกล่ ูกหนี้นั้น ย่อมเปน็ โทษแกผ่ ูค้ ้ำประกนั ด้วย

ผลภายหลังชำระหนี้

-เมอ่ื ผ้คู ้ำประกนั ชำระหน้ีแลว้ มีสทิ ธิท์ ีจ่ ะเรียกเอาจากลูกหน้ชี ั้นตน้ คืนได้ ทั้งต้นเงินและดอกเบย้ี ทำให้
ผู้คำ้ ประกนั กลายเปน็ เจา้ หน้ีน้ันแทน

-ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ได้ ถ้าว่าตนได้ชำระหนี้แทนไป โดยมิได้บอกลูกหนี้ และ
ลูกหนีย้ ังมิรู้ความมาชำระหนซ้ี ้ำอีก ผคู้ ำ้ ประกันก็ได้แตเ่ พยี งจะฟ้องเจา้ หนีเ้ พ่ือคนื ลาภมิควรได้เท่าน้ัน

-การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของเจ้าหนี้เอง เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงได้ทั้งหมดหรือ
แต่บางส่วนในสิทธิก็ดี จำนองก็ดี จำนำก็ดี และบุริมสิทธอิ ันได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้แต่กอ่ นหรือในขณะทำสญั ญาค้ำ
ประกันเพื่อชำระหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดเพียงเท่าทีต่ นต้องเสยี หายเพราะการ
นั้น
ความระงับสิน้ ไปแห่งการค้ำประกัน

-ผคู้ ำ้ ประกนั ย่อมหลดุ พ้นจากความรบั ผิด ในขณะเม่ือหน้ขี องลูกหนร้ี ะงบั สิ้นไป ไมว่ ่าเพราะเหตใุ ด ๆ
-การค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราว ไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้นั้น ท่านว่าผู้ค้ำ
ประกนั อาจเลิกเสียเพือ่ คราวอนั เป็นอนาคตได้ โดยบอกกล่าวความประสงคน์ นั้ แก่เจา้ หนี้

ในกรณเี ช่นน้ี ท่านว่าผูค้ ้ำประกนั ไมต่ อ้ งรบั ผดิ ในกิจการท่ลี ูกหนี้กระทำลงภายหลงั คำบอกกล่าวน้ัน
ได้ไปถึงเจา้ หนี้

- ถ้าค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน และเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลกู หนี้ ผู้
ค้ำประกนั ย่อมหลดุ พน้ จากความรบั ผิด เวน้ แต่ผ้คู ้ำประกันจะไดต้ กลงดว้ ยในการผ่อนเวลาน้ัน

ข้อตกลงที่ผู้ค้ำประกันทำไว้ล่วงหน้าก่อนเจ้าหนี้ผ่อนเวลาอันมีผลเป็นการ ยินยอมให้เจ้าหนี้ผ่อน
เวลา ขอ้ ตกลงนั้นใชบ้ งั คับมิได้

ความในวรรคสอง มิให้ใช้บังคับแก่กรณีผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือค้ำประกันเพื่อ
สินจา้ งเป็นปกติธรุ ะ

-ค้ำประกันจะขอชำระหนี้แก่เจา้ หนี้ ตั้งแต่เมื่อถึงกำหนดชำระก็ได้ ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหน้ี ผู้ค้ำ
ประกันก็เปน็ อันหลุดพ้นจากความรบั ผิด

สญั ญายืม

แบบสญั ญายมื แบ่งออก ๒ ชนิด ตาม
สภาพแห่งการใชท้ รัพย์
และเจตนาการใชท้ รัพย์ เชน่ ยมื ข้าวสาร แมจ้ ะเป็นสภาพท่ีเสยี ภาวะไดเ้ พราะการใช้ แต่ผยู้ มื ไม่ได้มี

เจตนาจะเอาไปหงุ ใหเ้ สียสภาพ ก็ไมใ่ ช่ยมื สิ้นเปลือง แตย่ ืมไปจัดแสดงในงานเกษตรจงึ เป็นยืมใช้คงรปู

ยมื ใชค้ งรูป

-การยืมไม่ทำให้ตัวทรัพย์ที่ยืมเสียสภาพไป หรือ หมดไปจากการใช้ทรัพย์ เช่น ยืมหนังสือไปอ่าน ไม่
ทำใหห้ นังสือสนิ้ เปลอื งไป เวลาคนื ก็ต้องคนื ทรัพยเ์ ดินทยี่ ืมไป

ดังนั้น ยืมใช้คงรูปน้ัน คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ยมื ให้บุคคลอีกคนหน่ึง เรียกว่า ผู้ยืม
ใช้สอยทรัพยส์ ินส่งิ ใดสงิ่ หนึง่ ได้เปล่า และผยู้ ืมตกลงว่าจะคืนทรพั ยส์ นิ นน้ั เม่ือไดใ้ ช้สอยเสรจ็ แล้ว

-การใหย้ ืมใช้คงรูปน้ัน จะสมบรู ณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซ่ึงให้ยมื ไม่เปน็ โมฆะ แต่ไม่มีผลผูกพัน ไม่
เกดิ สทิ ธหิ น้าทต่ี ามสญั ญา ถา้ ตกลงกนั วา่ จยมื ถือวา่ สญั ญายืมเกิดแล้ว แตถ่ ้าไมส่ ่งมอบจะไม่สมบรู ณ์

-คา่ ฤชาธรรมเนยี มในการทำสญั ญา คา่ ส่งมอบและคา่ ส่งคนื ทรพั ยส์ ินทย่ี ืม ให้ผยู้ มื เปน็ ผเู้ สีย
-ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ยืม เพราะผู้ยืมต้องคืน เมื่อใช้เสร็จแล้ว ยืมทรัพย์ไหนก็ต้องคืน
ทรพั ยน์ นั้ จะคืนทรัพย์อน่ื ไมไ่ ด้
-ผู้ให้ยืมไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์ที่ยืมเสียหายจะอ้างว่า ทรัพย์นั้นไม่ใช่ของผู้
ให้ยืมไม่ได้
-ถือเอาผู้ยืมใช้คงรูปเป็นสาระสำคัญ หมายถึง ผู้ยืมตาย สัญญาใช้คงรูปจะระงับ ไม่ตกทอดทายาท
ถา้ ผูใ้ หย้ มื ตาย สญั ญาไม่ระงบั ทายาทมีสิทธ์ิเรยี กทรพั ย์คนื จากผู้ยืมได้ แต่จะเรียกคืนก่อนใชเ้ สร็จไมไ่ ด้
-พจิ ารณาคณุ สมบัติผู้ยมื ไว้ใจผู้ยมื วา่ จะดูแลทรัพยน์ ้นั ได้
-เป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน เพื่อประโยชน์ของผู้ยืมฝ่ายเดียว ยืมไปอย่างไรก็ก็คืนอย่างนั้น ถ้ามีการ
ให้ยมื รถ แล้วจา่ ยเดอื นละ ๕ พัน จะไมใ่ ช่สญั ญายมื จะเป็นสัญญาเชา่ ทรพั ย์

หน้าที่ของผ้ยู ืมใชค้ งรูป

-ผู้ยืมต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ค่าส่งมอบ ค่าส่งคืนทรัพย์ ในการทำสัญญา เพราะผู้ยืมได้ประโยชน์
ฝา่ ยเดยี ว ถ้าตกลงไวอ้ ย่างอ่นื เชน่ ใหผ้ ้ใู หย้ ืมเปน็ ผ้เู สียกท็ ำได้

-ผยู้ ืมต้องใช้ทรัพย์สินทยี่ มื มา อยา่ งดี
-ถ้าผูย้ มื เอาไปใช้อยา่ งอ่ืน นอกจากที่ควรจะใช้ทรพั ย์คอื ใช้ทรพั ย์ตามหน้าที่ของมัน

เช่น ยืมขันเพื่อตักน้ำ จะเอาไปขุดดินไม่ได้ หรือ ยืมรถใช้ไปเที่ยว แต่เอาไปขนของหนักจนเสียหาย ผู้
ยืมตอ้ งรับผิด ถือว่าฝ่าฝนื
-หรือใช้ทรพั ยน์ อกจากทีเ่ ขียนในสัญญา

เช่น บอกวา่ ยืมรถเก่าไปจดั แสดง ถา้ เอาไปบรรทกุ สัมภาระอน่ื ๆ ถอื วา่ ผิด หรอื ยืมรถไปอบุ ล แตข่ ับไป
สรุ ินทรด์ ว้ ย ถอื วา่ ผดิ หรือบอกว่ายืมรถไปใชเ้ อง แตเ่ อารับจ้างโดยสารด้วยถอื ว่าผิด
-หรือเอาไปให้บคุ คลภายนอกใชส้ อย

เช่น ยืมรถเขามา แตเ่ อาใหค้ นอื่นเช่าตอ่ หากเสียหายตอ้ งรบั ผดิ
-หรือเอาไปไว้นานเกนิ

เชน่ ขอยมื รถ ๑ เดอื น แต่ ๒ เดือนกไ็ ม่คนื ถือว่าผิด และเข้าประเดน็ ผดิ เกนิ สัญญาด้วย
ทั้งหมดที่กล่าวมา หากเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์ สูญหาย บุบสลาย ผู้ยืมจะต้องรับผิด แม้จะเป็น
เพราะเหตุสดุ วสิ ัยกต็ าม เวน้ แต่จะพสิ ูจนไ์ ด้ยังไงทรพั ย์นั้นมนั ตอ้ งพัง สญู หายหรือบบุ สลายอยู่น่นั เอง
หากผูย้ มื ฝ่าฝืนการใชท้ รพั ย์ ผู้ใหย้ มื มสี ิทธิบอกเลกิ สญั ญาทันที แมท้ รัพย์นั้นจะไม่เสียหาย
ถ้าผู้ยืมใช้ทรัพย์อย่างดีตามกรอบถ้าพังผู้ยืมไม่ต้องรับผิด เช่น ผู้ยืมใช้ทรัพย์ตามที่ขออนุญาต
ทั้งหมด และรถที่ยืมกลับถูกชนโดยคนภายนอก ผู้ยืมไม่ต้องรับผิด แต่ถ้าผู้ยืมใช้ค่าเสียหายให้ผู้ให้ยืมแล้ว ผู้
ใหย้ มื ก็ไม่อาจเรียกเอาจากบคุ คลภายนอกได้ ฟ้องบคุ คลภายนอกน้นั ก็ไม่ได้
ถ้ามขี ้อตกลงกนั ว่า หากผู้ยืมฝา่ ฝนื ไมต่ อ้ งรับผดิ กไ็ ม่ตอ้ งรบั ผิด
-ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์ที่ยืมมา ยืมมายังไงก็ต้องคืนสภาพเดียวกัน ทรัพย์เดียวกัน การคืนต้องคืนเมื่อใช้
เสร็จตามหลกั ทวั่ ไป ถ้ามีกำหนดเวลาไว้ก็คืนตามสัญญา ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาไว้ให้คนื เมอื่ เสร็จ ถา้ ไมม่ ีเวลาและ
สัญญาก็ไม่ปรากฏเรียกคืนเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าผู้ยืมไม่คืนถือว่าผิดสญั ญา และอาจเป็นการทำละเมิด แต่ผู้ให้ยืมจะ
เรียกคืนก่อนนั้นก็ได้เม่อื เวลาได้ลว่ งไปพอแก่การทผี่ ูย้ ืมจะไดใ้ ชส้ อยทรัพย์สินนัน้ เสรจ็ แล้ว
-ผู้ยืมไม่สามารถส่งคืนทรัพย์นั้นได้โดยไม่ผิดหน้าที่อะไร ผู้ยืมไม่ตอบรับผิด เช่น เกิดภัยพิบัติ แต่ถ้า
ส่งคืนไม่และทำผิด ผู้ให้ยืมมีสิทธิ์ฟ้อง ราคา(คิดราคาตามตกลง หรือคิดตามท้องตลาดในวันฟ้อง) ค่าเสียหาย
อนื่ ๆ
-ผู้ยมื ต้องบำรุงรักษา คอื คา่ ใชจ้ ่ายในการบำรงุ ทรพั ย์นนั้ ผ้ยู ืมต้องเป็นผู้เสีย ผูย้ ืมออกเงินแลว้ จะ
เรียกคืนไมไ่ ด้ ถ้ามีคา่ ใช้จ่ายกรณีพเิ ศษ ผ้ใู ห้ยมื ต้องเสยี
-ผู้ยืม ต้องสงวน ดูแล ทรัพย์นั้นดูแลเสมือนทรัพย์นั้นเป็นของตน ดูแลทรัพย์ตามแบบที่ควรจะเป็น
หากฝา่ ฝนื ผใู้ หย้ มื บอกเลกิ สัญญาได้ เรียกคา่ เสยี หายไดด้ ้วย
เช่น ยืมรถเขามา แต่เอาไปตากแดดนาน ก็บอกเลิกได้ เพราะถ้าเป็นของตัวเองคงไม่เอาไว้ตากแดด
หรือยืมรถเขามารักษาไม่ระวัง คือ จอดรถไว้นอกบ้านไม่เอากุญแจออกจนโดนขโมย ต้องรับผิด แต่ถ้าเก็บใน
บา้ นอย่างดี ถ้าหายไมต่ ้องรับผิด หรือถ้าไมไ่ ด้รกั ษาอยา่ งดี แต่มนั เกิดเพราะเหตุสดุ วสิ ัย ก็ไมต่ ้องรับผิด

-ถ้าทรัพย์สินที่ยืมมาสูญหาย พัง ไม่ใช่ความผิดของผู้ยืม ผู้ให้ยืมต้องรับเอาความเสียหายนั้นเอง จะ
เรียกคา่ ชดใช้จากผ้ยู มื ไมไ่ ด้ เชน่ ยมื รถไปตรงตามวัตถุประสงค์ ตามสญั ญาทุกอย่าง แต่ถูกชน ไมต่ อ้ งรับผิด

อายุความ

-ความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทน กรณีทรัพย์เสียหาย ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่สุด
สัญญา

ค่าทดแทน คือ ความชำรุดจากการผิดสัญญาหรือใช้อย่างไม่วิญญูชน หรือ ไม่ออกค่าใช้จ่ายในการส่ง
มอบ หรอื ไมย่ อมเสยี ค่าดแู ลทรพั ย์

-กรณกี ารเรยี กทรัพย์คืน มสี ทิ ธ์ฟิ ้องใน ๑๐ ปี

ข้อสอบ นายแดงยืมรถจากนายขาว ใช้สำหรับขับไปทำงานที่กรุงเทพ มีเวลายืม ๑ เดือน ในระยะเวลานั้น

นายแดงได้ใช้รถขบั ไปเที่ยวท่ีพัทยา และถูกนายเขียวขบั ชนจนรถเสียหาย คดิ เป็นเงนิ ๒ หมืน่ บาท นายขาวจึง
ให้บอกเลิกสัญญาและให้ชำระข้าซ่อม นายแดงคืนรถแต่ไม่ยอมชำระค่าซ่อม นายขาวจึงฟ้องศาลบังคับนาย
แดงชำระ นายแดงต่อสู้วา่ ตนไมก่ อ่ ความเสยี หายจึงไม่ยอมรับผดิ ศาลจะวนิ ิจฉัยอย่างไร

ตอบ เปน็ สัญญายืมใช้คงรูปทส่ี มบูรณท์ ุกอย่าง เพราะสง่ มอบแลว้ กรณนี ้นี ายแดงผิดสัญญา เพราะให้
ใช้ไปทำงาน แต่เอาไปเทีย่ ว นายแดงต้องชำระคา่ เสยี หาย

ยมื ใชส้ ้นิ เปลือง

ยืมไปแล้วทำให้ทรัพย์ไม่สามารถคงสภาพเดิมได้ เวลาคืน ต้องคนื ด้วยทรัพย์อื่น ทมี่ ปี ระเภท ชนิด
ปรมิ าณเดยี วกับท่ยี มื แต่คนละตัวทรัพย์ เชน่ ยมื เงิน ยมื ขา้ วสารไปหงุ ยืมโคไปฆ่า

ดังนั้น ยืมใช้สิน้ เปลอื ง คือ สญั ญาซึง่ ผู้ให้ยมื โอนกรรมสทิ ธิ์ในทรัพยส์ นิ ใหผ้ ู้ยมื
เป็นทรัพย์สนิ ชนิดใชไ้ ปส้ินไป คือ ไม่สามารถเอาทรัพยน์ ั้นมาใช้อีก ขา้ วสารเอาไปหุง กไ็ ม่สามารถส่ง
ทรพั ยต์ วั ทีย่ มื ได้
ทรัพยท์ ่ใี ห้ยืมน้ัน ต้องมปี ริมาณมีกำหนด เชน่ ข้าวสาร ๑ กิโล เมอ่ื เอาทรัพยน์ ้ันไปหงุ ต้องหาขา้ วสาร
ใหม่มาคืนในปริมาณ ๑ กิโล
และผูย้ มื ตกลงว่าจะคนื ทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปรมิ าณเช่นเดียวกนั ให้แทนทรัพยส์ ินซ่ึง
ใหย้ ืมน้ัน เชน่ ขา้ วสารหอมมะลิ ๑ กโิ ล เอาไปหุง เมื่อจะคืน ทรพั ย์ใหม่ท่คี นื นนั้ ต้องเป็นข้าวสาร พันธห์ อม
มะลิ จำนวน ๑ กิโลเทา่ เดมิ

ลกั ษณะสำคญั

สัญญานี้บริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม ไม่เป็นโมฆะ แต่ไม่มีหน้าที่ แบ่งเป็นส่งมอบโดยตรง
คือ ยื่นให้กัน กับ ส่งมอบโดยปริยาย เช่น การกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องมอบในวันนั้น หรือ จำเลยทำสัญญากู้ยืม
เงินกับโจทย์ แทนการวางมัดจำเงินสดในสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อจำเลยผิดสัญญาซื้อที่ดิน โจทย์เลยมีสิทธ์ริ บิ
มดั จำและฟ้องได้ กรณนี ี้เปน็ การส่งมอบเงินก้แู ก่กันแลว้

เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน เพราะผูย้ ืมมีประโยชน์ฝ่ายเดยี ว แต่อาจมีค่าตอบแทนได้ เช่น ยืมเงิน
อาจมดี อกเบีย้ (ยืมเงนิ เป็นยมื ใชส้ ิ้นเปลอื ง)

เป็นสัญญาที่มีการโอนกรรมสิทธ์ิในทรัพย์ที่ยืม ผู้ให้ยืมต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ถ้าเกิดความวินาศ
แกท่ รัพยค์ วามรับผดิ เป็นของผู้ยมื เพราะกรรมสิทธิม์ นั โอน ยมื น้ำตาลทราย แต่น้ำตาลทรายมันดันหก ไม่ได้ใช้
เลย แต่ผู้ยมื กค็ งมหี น้าทไี่ ปหาน้ำตาลมาคืนเขา

ทรัพย์สินที่คนื ต้องเป็นประเภท ชนิด ปริมาณ เดียวกับที่ยืมไป เช่น ยืมทรัพย์สินประเภทข้าว ชนิด
หอมมะลิ ปรมิ าณ ๑ กิโลกรมั ตอ้ งคืนเทา่ กนั ทุกประการ จะใชข้ ้าวเสาไห้ ไม่ได้

หนา้ ท่ผี ยู้ มื ใชส้ นิ้ เปลอื ง

-ผยู้ มื มหี น้าทีเ่ สยี ค่าธรรมเนยี มในการทำสญั ญา การส่งมอบ ส่งคนื
-ผยู้ ืมต้องคนื ทรัพย์ที่ยมื ตามประเภท ชนดิ ปรมิ าณ เดียวกับทย่ี ืมไป
-ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์
ถ้ามีการตกลงกำหนดคนื ตอ้ งตามเวลาท่กี ำหนด หากไม่ทำตามคอื ผิดนดั มีสทิ ธิ์ฟอ้ งไดท้ นั ที
ถ้าในสัญญาไม่มีกำหนดเวลา ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าวแก่ผู้ยืมให้คืนทรัพย์ในเวลาอันควร ซึ่งกำหนดในคำบอก
กลา่ วนัน้ กไ็ ด้ ตีความคำว่า กไ็ ด้ คือ ผู้ให้ยมื จะบอกกลา่ วกอ่ นกไ็ ด้ หรือ ฟอ้ งเลยโดยไมบ่ อกก็ได้

อายคุ วาม

ไม่ไดก้ ำหนดอายคุ วามโดยเฉพาะ ตอ้ งนำอายคุ วามทั่วไปมาใช้ คือ อายุความ ๑๐ ปี

ประเภทของสัญญายมื ใช้สน้ิ เปลอื ง คอื ก้ยู ืมเงนิ และ ไม่ใชเ่ งนิ

สัญญากูย้ ืมเงนิ

กูย้ มื เงนิ เป็นสัญญายมื ใชส้ ้ินเปลือง
ความสมบูรณข์ องสญั ญากยู้ มื เงิน

-กยู้ มื เงนิ สมบูรณ์เมื่อ คำเสนอขอยืมกับคำสนองใหย้ มื ตรงกนั
-กยู้ ืมเงิน สมบรู ณ์เมอื่ ส่งมอบ คอื

มอบให้โดยตรง คอื ย่ืนให้
มอบโดยปริยาย คือ มีมูลหนี้ต่อกัน เช่นอาจเกิดจากการแปลงหนี้อื่น มาเป็นสัญญากู้ยืมเงิน
ตัวอย่างฎกี าหน้ปี ริยาย
ตัวอย่างฏีกาแรก จำเลยทำสัญญาจะซื้อที่นา ผู้ซื้อก็เรียกเงินมัดจำเพิ่มเติม แต่จำเลยไม่มีเงินจ่ายค่า
มัดจำ จงึ ทำสัญญากแู้ ทนจา่ ยเงินสด ผูข้ ายก็ทำใบเสรจ็ รบั เงนิ ให้ กรณีนีถ้ อื เป็นการส่งมอบแลว้ โดยปริยาย เป็น
การเปล่ียนคา่ มดั จำเป็นเงินกู้
ตวั อย่างฎีกาสอง โจทยม์ อบเงินจำนวนหนึง่ ให้จำเลยนำไปฝากธนาคาร แตจ่ ำเลยกลบั นำเงนิ ไปใช้เอง
ต่อมาจำเลยจึงทำสญั ญากู้เงินโจทย์จำนวนเทา่ กับที่จำเลยใช้ กรณีนี้สัญญากูเ้ งนิ สมบรู ณ์ เพราะมีมูลหนีต้ ่อกัน
เปน็ การเปลี่ยนเงินทีเ่ อาไปใช้ เปน็ เงนิ กู้
ตัวอย่างสาม การค้างค่าที่ดิน มีการเปลี่ยนค่าที่ดินที่ค้างมาเป็นสัญญากู้เงิน ให้ถือเอาสัญญาจำนอง
เปน็ หลกั ฐานกูเ้ งิน กรณนี ีม้ มี ูลหน้ี สญั ญาก้เู งินสมบูรณ์ คอื เปลยี่ นจากคา่ ที่ดนิ เป็นเงินกู้

หลักฐานการกู้ยืมเงิน

ตัวอย่างสี่ บิดาชายไปสู่ขอฝ่ายหญิง ทำสัญญาเงินกู้ให้เป็นสินสอด ต่อมาบิดชายเบี้ยว ไม่ชำระเงินกู้
ตามสญั ญา บดิ าหญงิ มีสทิ ธฟ์ิ อ้ ง
หลกั ฐานการกู้ยืมเงิน

-การก้ยู ืมเงินกว่า ๒ พันบาทขึน้ ไป ถา้ ไม่มหี ลักฐานเปน็ หนงั สือ ลงลายมือชอ่ื ผูย้ ืม ไม่จำเป็นต้องมีผู้ให้
ยืม จะฟ้องบังคับคดีกันไม่ได้ ถ้ามันเท่ากับ ๒ พันบาทหรือน้อยกว่า ๒ พันบาทไม่มีหนังสือ ไม่มีลายเซ็น ยืม
ปากเปล่าวาจากฟ็ อ้ งคดกี ันได้ คำวา่ ฟอ้ งไม่ได้ มันรวมถึง หา้ มยกเป็นข้อตอ่ สู้ในคดีด้วย

สัญญาก็ยืมเงินเป็นสัญญาไม่มีแบบ ถ้าไม่มีหนังสือก็ไม่โมฆะ แค่ฟ้องไม่ได้ เพราะการสมบูรณ์ของ
สัญญาขึน้ กับการสง่ มอบเงนิ ก้แู ก่กนั

เช่น นายเอกู้เงินนายบี ๓ พันบาท นายบีก็ส่งมอบให้แล้ว แต่ไม่ได้ทำหนังสือ ก็ถือว่าสัญญากู้ยืมเงิน
เนี่ยสมบูรณ์ แต่ปรากฏว่าต่อมานายเอกับเบี้ยวนัด นายบีไม่มีสิทธิ์ฟ้อง เพราะเงินมันเกิน ๒ พัน และไม่มี
หนังสอื ลงลายมือชอ่ื ผ้ยู มื แตต่ ่อมาอกี นายเอสำนึก นำเงนิ มาชำระ สญั ญากร็ ะงบั

การกยู้ มื เงิน ต้องมหี นงั สือ คือ พยานเอกสารเท่าน้นั หนงั สอื น้นั ตอ้ งมีข้อความแสดงการกู้ ระบจุ ำนวน
เงนิ ที่กู้ ลงลายมือช่ือผยู้ ืม และต้องมหี นงั สอื ขณะฟอ้ งด้วย

-ต้องมีหนังสือ จะกล่าวในพินัยกรรมก็ได้ หรือถ้อยคำในอำเภอก็ได้ รายงานการประชุมก็ได้ หรือ
ข้อความในสัญญาค้ำประกันเงินกู้ได้ หรือจดหมายก็ได้ ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นผู้ให้กู้ทำเพื่อให้ผู้กู้ แต่อาจเป็น
จดหมายมถี ึงผอู้ น่ื กไ็ ด้ ไม่จำเป็นตอ้ งระบุวนั เดือนปที ี่ชำระหนี้ หรืออตั ราดอกเบี้ยกไ็ ด้ ไม่ระบผุ ู้ใหก้ ู้ก็ยงั ได้

จำ เช็ก ไม่ใช่หลักฐานกู้ยมื เงิน แม้ผูก้ ู้จะลงสง่ั จา่ ย

-ต้องระบุจำนวนเงนิ หากไม่ระบุก็ฟ้องไม่ได้ การแก้ไขจำนวนเงิน เม่ือมีการแกไ้ ขจำนวนเงนิ
-แก้ขณะทำสัญญาตรงกับความประสงค์ของผู้กู้ และขณะนั้นยังไม่ลงชื่อ แม้จะไม่มีการลงลายมือใด
กำกับก็สมบรู ณ์
-หากแก้หลังจากทำสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอม จะต้องลงลายมือชื่อกำกับ หากไม่ทำเท่ากับว่าการกู้ครั้ง
หลงั ไมม่ ีการลงลายมอื ฟอ้ งไม่ได้ จะฟอ้ งได้เฉพาะสัญญาครั้งแรก
-หากแก้ภายหลัง และผู้กู้ไม่ยินยอม ถือเป็นเอกสารปลอมครั้งหลัง แต่ก็ยังถือว่าครั้งแรกก็ยังสมบูรณ์
บงั คบั ได้
-ผู้กู้ลงลายมือชื่อในแบบสัญญาเปล่า ผู้ให้กู้ลงจำนวนเงินหลัง ไม่ตรงตามความจริง ถือเป็นเอกสาร
ปลอมทงั้ ฉบับ ยกฟ้อง บงั คบั คดไี มไ่ ด้
-ผกู้ ู้ลงลายมือชื่อในสัญญาเปล่า ผู้ให้กูลงลายมือหลงั แต่ลงตามความจรงิ สัญญาสมบรู ณ์
-กรณกี ารกรอกตวั เลขและตัวอักษรในสญั ญาไมต่ รงกนั ใหย้ ดึ ตามตวั อกั ษร
-กรณีจำนวนเงนิ ท่ีกู้รวมเอาหน้ีเก่าหรือดอกเบ้ยี เข้าดว้ ยกัน หากมมี ลู หนจ้ี รงิ หรือหนี้เก่ามาแปลง ก็ถือ
ว่าสมบูรณ์แต่หากมีมูลหนี้ส่วนโมฆะรวมด้วย เช่น ดอกเบี้ยเกินอัตราย่อมโมฆะ หากแยกโมฆะออกได้ส่วนท่ี
เหลอื ก็สมบรู ณ์ หากแยกไม่ไดก้ ็โมฆะหมด
-การลงลายมอื ชอ่ื ผู้ยืม หนังสอื ไมจ่ ำเป็นตอ้ งเขยี นเอง แตต่ ้องลงลายมือ
-การลงลายมือชอ่ื นัน้ จะเป็นลายเซน็ ก็ได้ ภาษาตา่ งประเทศกไ็ ด้ ตวั อกั ษรธรรมดาก็ได้ ตวั หวดั กไ็ ด้ ช่ือ
เลน่ ก็ได้
-แต่ผกู้ ู้จะมอบอำนาจให้ผอู้ ืน่ แทนไมไ่ ด้
-หากเป็นลายนิ้วมือ แกงไดหรือเครื่องหมายอื่น ต้องมีพยาน ๒ คนจึงจะเท่ากับลายมือจริง พยานจะ
ลงหลังก็ได้หากผู้กู้ยินยอม พยาน ๒ คนนั้น ตัวผู้ให้กู้จะลงเป็นพยานก็ได้(แต่ต้องต้องระบุให้ชัดว่าเป็นพยาน)
พยานต้องลงชื่อเท่านั้น จะลงลายมืออีกไม่ได้ พยานอ่านไม่ออกหรือไม่บรรลุนิติภาวะก็ได้หากลงชื่อได้ พยาน
ทั้ง ๒ ไม่จำเป็นต้องลงพร้อมกัน พยานแม้ไม่มีคำรับรองว่าเป็นพยานก็ใช้ได้ ผู้เขียนหลักฐานการกู้ก็เป็นพยาน
ได้
-การลงลายนิ้วมือ แกงได เคร่ืองหมาย หากไม่มพี ยานก็ทำได้ แต่ตอ้ งลงตอ่ หนา้ พนักงานเจ้าหน้าท่ี
-หลักฐานท่เี ปน็ หนังสือจะมีขณะกู้ก็ได้ หลงั กกู้ ไ็ ด้ แตต่ อ้ งมกี ่อนฟ้องหรือขณะฟ้อง มีหลงั ฟอ้ งไมไ่ ด้

หลกั ฐานนำสืบการใช้หนีเ้ งินกู้

นำสืบการชำระหนี้ ป้องกันเจ้าหนี้โกง หากเกิน ๒ พันสัญญานัน้ ต้องมหี ลักฐานเป็นหนังสอื มีหนังสอื
ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือ เอกสารหลักฐานการกู้นั้นเวนคืนแล้ว(ต้องเป็นต้นฉบับเท่านั้น) หรือ
แทงเพิกถอนแล้ว(ลงลายมือผู้ให้กู้หรือผู้ได้รับมอบหมายด้วย) ทั้ง ๓ อย่างนี้ หมายความเอาเพียงเงินสด
หากเป็นทรัพย์อย่างอื่นสืบได้แม้ไม่มี และเอาเฉพาะเงินต้นเท่านั้นไม่เอาดอกเบี้ย ดอกเบี้ยนั้นแม้ไม่มี
หนังสอื ก็สืบเอาได้

การชำระหนี้ด้วยทรัพยอื่นที่ไม่ใช่เงินสด เช่น มอบฉันทะให้ไปเอาเอง มอบบัตรเอทีเอ็มให้ไปเอา
เอง ผา่ นโทรศพั ท์ ผ่านไปรษณยี ์ โอนที่ดินชำระหนี้ ไม่ตอ้ งมี ๓ อยา่ งด้านบน ก็สบื โดยพยานบุคคลได้ได้

ดอกเบยี้

กรณีที่มีดอกเบี้ย เช่น คำว่า ยอมให้ดอกเบี้ยตามกฎหมาย หรือ ยอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือนแต่ไม่ได้
กำหนดดอกเบย้ี ชดั เจน ใหใ้ ช้อัตราร้อยรอ้ ยละ ๗.๕ ตอ่ ปี

กรณีกำหนดดอกเบี้ย ต้องไมเ่ กนิ ร้อยละ ๑๕ ตอ่ ปี ให้ดอกเบ้ยี ท้งั หมดเปน็ โมฆะ เทา่ กับวา่ ไม่มีดอกเบ้ีย
เลย ให้ใช้เงินต้นตามปกติ ระวัง กฎหมายเดิมให้ลดเหลือ ๑๕ แตป่ ัจจุบนั ไมใ่ ช้แล้ว

แมด้ อกเบ้ยี จะโมฆะ แตก่ ม็ ีสทิ ธไ์ิ ดด้ อกเบีย้ ระหว่างผิดนดั ร้อยละ ๗.๕ ต่อปี

อายุความเงินกู้

กู้เงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ไม่มีอายุความแน่นอน จึงใช้ ๑๐ ปี แต่เป็นอายุความเงินต้นเท่านั้น
ถา้ เป็นดอกเบี้ยมีอายคุ วาม คือ ๕ ปี

ถา้ ทำสญั ญากู้ยืมเงนิ กัน และผูก้ ูย้ ืมยอมรบั เอาส่ิงของหรือทรัพย์สินอย่างอืน่ แทนจำนวนเงินนั้นท่านให้
คดิ เปน็ หนเ้ี งินค้างชำระ โดยจำนวนเทา่ กับราคาท้องตลาดแห่งส่ิงของหรือทรัพย์สนิ นั้นในเวลาและ ณ สถานท่ี
สง่ มอบ

ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทน
เงินที่กู้ยืมไซร้ หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้น ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของ
หรือทรัพยส์ นิ น้ันในเวลาและ ณ สถานท่ีส่งมอบ

ความตกลงกันอยา่ งใด ๆ ขดั กบั ขอ้ ความดงั กลา่ วมานี้ ท่านวา่ เป็นโมฆะ
ข้อท่ีเหมือนกนั ระหว่างคงรปู กบั ส้นิ เปลอื ง คอื

-มคี ูส่ ญั ญา คือ ผยู้ ืมและผูใ้ หย้ มื
-ไมใ่ ชส่ ัญญาตา่ งตอบแทน
-ผยู้ มื มีสิทธิใ์ ชส้ อยทรัพยส์ ินทย่ี ืม แลว้ คนื ให้
-สมบูรณด์ ว้ ยการสง่ มอบ
ข้อแตกต่างเหมอื นกนั ระหว่างคงรูปกบั สนิ้ เปลือง คือ
-สัญญายืมใช้คงรูป ทรัพย์จะไม่เสื่อมไปหลังใช้งาน แต่ยืมใช้สิ้นเปลือง ทรัพย์ต้องเสื่อมสภาพ หมด
สภาพ รอ่ ยหรอหลงั ใช้งาน
-ยมื ใช้คงรูป กรรมสทิ ธ์ิไมโ่ อน แตใ่ ชส้ ิน้ เปลืองกรรมสิทธิ์จะโอน
-ยืมใช้คงรูป คืนทรัพย์เดิมที่ใช้มา แต่ยืมใช้สิ้นเปลือง คืนทรัพย์ใหม่แต่ต้องมีประเภท ชนิด ปริมาณ
เดยี วกัน
-ยืมใช้คงรูป ใช้สอยทรัพย์สินเปล่าไม่มีค่าตอบแทน แต่ยืมใช้สิ้นเปลืองอาจจะมีค่าตอบแทนก็ได้ เช่น
ยืมเงินมีดอกเบี้ย

สญั ญาจำนอง

หมวด ๑ บทเบ็ดเสรจ็ ทวั่ ไป

จำนอง คือ สัญญาซึ่งบคุ คลคนหนึง่ เรยี กว่า ผจู้ ำนอง เอาทรพั ยส์ นิ ตราไว้แกบ่ คุ คลอกี คนหน่งึ เรียกวา่
ผู้รบั จำนอง เพอื่ ประกันการชำระหนี้ ถา้ ไมใ่ ชเ่ พอ่ื ชำระหนต้ี ามสญั ญาประธาน ก็ไม่ใชจ่ ำนอง

การจำนอง ไม่ส่งมอบทรัพย์สนิ น้ันทจี่ ำนองใหแ้ ก่ผ้รู ับจำนอง (แตถ่ ้ามกี ารตกลงกันว่าจะส่งมอบ ก็
ทำได้นะ) หากมกี าร “ตรา” ไมต่ ้องมอบ คอื ทำสญั ญาเป็นหนงั สือและจดทะเบียนต่อเจ้าหนา้ ท่ี

ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่า
กรรมสทิ ธใิ์ นทรัพย์สินจะไดโ้ อนไปยังบคุ คลภายนอกแล้วหรอื หาไม่

-จำนองเปน็ สญั ญาอปุ กรณ์
-หนท้ี จ่ี ะจำนองต้องเป็นหนี้สมบูรณ์
-ทรัพย์ที่จะจำนองต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์(ทุกชนิด)หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ(เรือมีระวาง
ตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพ สัตว์พาหนะ สังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ
เช่น เคร่ืองจักรจดทะเบยี น รถยนตจ์ ดทะเบียน )
-ในสญั ญาจำนอง ตอ้ งระบุทรัพย์สินทจี่ ำนองใหช้ ดั เจน หากเป็นที่ดนิ ตอ้ งระบทุ ่ไี หน โฉนด
-ถ้าไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่จำนอง ไม่มีสิทธิ์เลยที่จะนำทรัพย์คนอื่นมาจำนอง เช่น หากเป็นที่ดินต้องมี
กรรมสทิ ธใิ์ นโฉนด แต่น.ส.๓อาจไม่ได้ต้องดูใหด้ ี
-ผู้จำนอง จะเป็นลกู หน้ีกไ็ ด้ หรอื บุคคลภายนอก ถ้ายอมเอาทรัพย์มาจำนองก็ทำได้
-ผูร้ บั จำนองจะเปน็ คนอ่ืนไมไ่ ด้ นอกจากเจ้าหน้ี
-หากผู้จำนองเอาทรัพย์อันเดียว ไปให้บุคคลหลายคนรับจำนอง ให้ถือลำดับผู้รับจำนองเรียงตามวัน
และเวลาจดทะเบียน และผู้รับจำนองคนแรกจะได้รับใช้หนี้ก่อนผู้รับจำนองคนหลัง หรือคนแรกจะได้รับเงิน
ก่อน ผูร้ บั จำนองคนหลงั จะบงั คบั ตามสทิ ธขิ องตน ใหเ้ สียหายแกผ่ รู้ ับจำนองคนก่อนกท็ ำไม่ได้
หากขายทอดตลาดได้เงิน ก็ใช้แก่ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนองคนแรกได้ก่อน ตามด้วยคนถัดไป และถ้ายัง
มเี งนิ เหลืออยูอ่ กี ก็ใหส้ ่งมอบแก่ผู้จำนอง
-เจ้าหนี้ที่มีประกันจำนอง จะได้รับการชำระหนี้ก่อน เจ้าหนี้สามัญ(คือเจ้าหนี้ไม่มีการจำนอง) เช่น มี
ที่ดิน ๑ แปลง หากนำไปขาย ต้องนำเงินที่ได้ไปใช้หนี้ เจ้าหนี้มีจำนองก่อน ถึงจะเอาที่เหลือไปชำระเจ้าหนี้
สามัญได้
แต่เจ้าหน้สี ามญั มีสทิ ธ์ิฟอ้ งบังคบั เอากับทรัพย์ได้ก่อนผู้รับจำนอง เชน่ หากหน้มี กี ำหนดก่อน แต่จะได้
เงินมย้ั ต้องรอให้เหลือจากการใชห้ นี้เจ้าหนม้ี ปี ระกัน
-ต่อให้ผู้จำนอง โอนกรรมสิทธิ์ที่จำนองไปให้คนอื่น ผู้รับจำนองก็มีสิทธิ์ไปบังคับเอากับผู้รับโอนได้
และสามารถบงั คับเอาทรัพยไ์ ปขายทอดตลาดมาใช้หน้ตี นได้ และผู้รับโอนไมม่ สี ทิ ธฟิ์ อ้ งอะไร
-บางกรณีคนเป็นเจ้าทรัพย์จำนอง อาจเป็นเจ้าของบางส่วน เช่น ที่ดิน ๑ แปลงมีเจ้าของสองคนคือ
นายเอและนายบี เป็นต้น มันจะไม่เกิดปัญหาอะไรถ้าทั้ง ๒ คนยอมที่จะจำนอง แต่จะมีปัญหาทันที ถ้านายเอ
จะนำไปจำนอง แตบ่ ีไม่ยอม นายเอก็สามารถจำนองไดเ้ พยี งสทิ ธิ์ทต่ี นเองมี เชน่ มีสทิ ธ์ิครึ่งหนึง่ กจ็ ำนองได้เพียง

ครึง่ หน่ึง เปน็ ตน้ แตถ่ ้าจะขาย อาจจะตอ้ งขายท้งั แปลง เพราะใครจะซื้อครง่ึ แปลง ถ้าขายแล้ว เอก็ต้องรับเงิน
เพยี งครึ่งเดยี วเท่าทีส่ ทิ ธ์ขิ องตน

-สัญญาจำนองน้ันต้องจำนวนเงินระบุไว้เป็นเงินไทยเป็นจำนวนแน่ตรงตัว หรือจำนวนขั้นสูงสุดที่ได้
เอาทรพั ยส์ นิ จำนองนั้นตราไว้เป็นประกัน

เช่น หน้ีเงนิ กู้ ๕ แสน ถา้ เอาที่ดนิ มาจำนองตอ้ งระบุวา่ จำนอง ๕ แสน ต้องเปน็ ไทย
ถา้ ไมร่ ้วู ่าเปน็ เงินเท่าไหร่ เช่น หนใ้ี นอนาคต อาจจะระบุตรงตัวไม่ได้ ต้องระบเุ งนิ เป็นเงินขั้นสงู สุด เช่น
ลกู จา้ งทำความละเมิดนายจ้าง ผจู้ ำนองยอมใหท้ รัพย์นีร้ บั ผิดไมเ่ กิน ๕ แสน เงิน ๕ แสนก็ถือเปน็ ขนั้ สงู สุด ถ้า
ความจรงิ ก็จ่ายเทา่ ทเี่ สยี หาย ไมจ่ ำเป็นต้อง ๕ แสน
-ถา้ เกดิ หนขี้ ้ึน จะนำทรัพยห์ ลายชน้ิ ทม่ี ีเจ้าของคนเดยี วหรือหลายคนมาจำนองกไ็ ด้ เช่น ถา้ นายเอ
เปน็ หน้หี น้ี ๑ แสนบาท นำท่ีดินของนายเอ รถยนต์ของนายบี ชา้ งของนายซี มาจำนองก็ได้
คู่สัญญาจะตกลงกันดงั ต่อไปนี้ก็ได้ คอื ว่า
ให้ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับเอาแก่ทรัพย์สินซึ่งจำนองตามลำดับอันระบุไว้ เช่น ถ้ามีการบังคับชำระ
หนี้ ที่ดินนายเอขายไม่พอใช้หนี้ ให้นำรถยนต์ของนายบีมาขายต่อเพื่อชำระ ตามกับช้างได้ ตามลำดับทรัพย์
ผรู้ บั จำนองจะบังคบั เอากับช้างก่อนได้
ให้ถือเอาทรัพย์สินแต่ละสิ่งเป็นประกันหนี้เฉพาะแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดที่ระบุไว้ เช่น ที่ดินเอมีมูลค่า ๑
ล้าน แต่จำกัดความรับผิดได้เพียง ๕ หมื่น เจ้าหนี้ก็รับได้เพียง ๕ หมื่น ก็ยังไม่พอ ไปบังคับเอากับรถยนตบ์ ีตอ่
ได้
-ถ้ามีการตกลงว่า “ถ้าไม่ชำระหนี้ ให้ผู้รับจำนองเข้าเป็นเจ้าของทรพั ย์สนิ ซึ่งจำนอง หรือว่าให้จัดการ
แก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นอย่างใดนอกจากตามบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยการบัง คับจำนองนั้นไซร้”ถ้า
หากกอ่ นเวลาหน้ถี งึ กำหนดชำระวา่ ไม่สมบรู ณ์ หากตกลงหลังหน้ีถึงกำหนดชำระคือสมบูรณ์
สรปุ เพราะปกตกิ ารจำนอง เม่ือบงั คับเอาเงินจะตอ้ งขายทอดตลาด แตก่ ารตกลงวา่ ใหเ้ อาทรพั ย์นั้นไป
เลยแทนการใช้หนี้ โดยไม่ขายทอดตลาด เขาไม่ให้ทำมันจะไม่สมบูรณ์ หากตกลงหลังหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว
จะเอาใหเ้ ลยโดยไมข่ าย ก็ไม่ว่ากนั
และ หากตกลงอะไรก่อนหนชี้ ำระ ไม่เปน็ ตามกฎหมาย กไ็ มส่ มบูรณ์
-ผจู้ ำนอง หากเอาทรัพย์ไปจำนองไว้กบั คนหน่งึ จะเอาไปจำนองกับอีกคนหนึง่ เพ่มิ กไ็ ด้ แม้จะตกลงกัน
วา่ ห้ามจำนองเพมิ่ กย็ งั ทำได้ เพราะผู้จำนองมีสิทธใิ์ นทรพั ย์เขา
เช่น เอนำที่ดินไปจำนองกับบี บีบอกว่าห้ามเอาทรัพย์ไปจำนองกับใครอีกนะ ต่อมาเอเอาที่ดินนั้นไป
จำนองกบั ซตี ่อ เอกท็ ำได้ เพราะบีไมม่ สี ิทธห์ิ า้ ม
-ผู้รับจำนองคนแรกเรียงตามวันและเวลาจดทะเบียน มีสิทธิ์ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์ก่อนคนอื่น
เช่น เอาที่ดินไปจำนองไว้หลายที่ เมื่อขายที่ดินได้เงิน ต้องเอาเงินไปใช้หน้ีผู้รับจำนองคนแรกก่อน เหลือเงิน
เทา่ ไหร่ผูร้ บั จำนองคนต่อ ๆ ไปจงึ จะได้รบั ถ้าเหลอื ไมถ่ งึ อาจจะไม่ได้เงิน
-ผจู้ ำนองจะชำระหน้ลี ้างจำนองเป็นงวดก็ได้ แตถ่ ้าตกลงกนั ว่าห้ามชำระเป็นงวด ก็ต้องปฏิบัติตามกัน
ถ้าไม่ตกลงก็จ่ายงวดได้ จนครบ แต่จะชำระงวดได้ต้องเป็นการชำระก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระ หากหลังผู้รับ
จำนองเขาก็มสี ิทธ์ิให้ชำระเตม็ อยแู่ ล้ว
-จำนอง ตอ้ งทำเป็นหนังสือและจดทะเบยี นต่อพนกั งานเจ้าหน้าท่ี มฉิ ะน้นั เปน็ โมฆะ

หมวด ๒ สิทธจิ ำนองครอบเพยี งใด

-ดูว่าทรัพย์สินที่จำนองเพื่อ ประกันการชำระหนี้ ครอบคลุมถึงหนี้ส่วนไหนบ้างหรือรับผิดในหนี้
อะไรบ้าง
สว่ นแรก คอื ตน้ เงิน เช่น นำท่ดี นิ มาจำนองเพ่ือประกนั ชำระหนเ้ี งนิ ต้นจำนวน ๑ แสนบาท ถือว่าท่ีดินแปลงน้ี
ประกนั ชำระหน้ี ๑ แสน
ส่วนสอง คอื แตถ่ า้ มดี อกเบย้ี ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหน้ี ค่าฤชาธรรมเนยี มในการบังคับจำนอง(เช่น
ฟอ้ งศาล คา่ ขายทอดตลาด) ทรพั ยท์ ีจ่ ำนองกต็ ้องรับผดิ ดว้ ย

-ทรัพย์มีหลายชิ้น จำนองย่อมครอบคลุมถึงทรัพย์ทั้งหมด แม้จะชำระหนี้ไปบางส่วน ก็ไม่สิทธิ์เอา
ทรพั ยอ์ อกไป จนกว่าจะชำระครบ ตราบใดทม่ี ีหน้ี จำนองกม็ อี ยู่ เชน่ หนี้ ๑ ล้าน จำนองบา้ น ๓ หลัง แม้จะใช้
หน้ีไป ๓ แสน ก็ไม่มีสิทธถ์ิ อนบ้านหลังใดหลังหน่งึ ออกไป จนกว่าจะชำระครบ

-แม้ว่าทรัพย์สินท่ีจำนองจะแบ่งออกเป็นหลายส่วนก็ตาม จำนองก็ยังคงครอบไปถึงสว่ นเหล่านั้นหมด
ทุกส่วน คือ มีทรัพย์อันเดียวแบ่งได้ เช่น ขณะทำสัญญาจำนอง เป็นที่ดินแปลงใหญ่ ๑ แปลง ต่อมามีการขอ
แบง่ โฉนด กถ็ ือเป็นแบ่งทรพั ย์ จำนองก็ยังคงคลุมถงึ ทัง้ หมด แมจ้ ะแบง่ แล้ว

ถา้ ทรัพยแ์ บ่งเป็นหลายส่วน จะโอนบางสว่ นคนื ผู้จำนองก็ได้ และตอ้ งจดทะเบียน หากไม่จดทะเบียน
ก็ไม่สมบรู ณ์ เพราะถ้ามีบุคคลภายนอกเขา้ มา ก็ถอื วา่ ยังไม่โอน คนภายนอกที่มารับช่วงเจ้าหนี้มีสิทธิ์บังคับเอา
เสมอวา่ มีหน้ตี อ่ กัน และจะยกขน้ึ เปน็ ข้อต่อสูแ้ ก่บุคคลภายนอกก็ไม่ได้

ถา้ ผรู้ บั จำนองโอนทรัพย์ส่วนที่แบง่ กลับไปใหผ้ ้จู ำนอง โดยไม่จดทะเบยี น แลว้ บอกว่าไม่ได้โอน หนี้ถึง
กำหนดชำระ กจ็ ะบงั คบั กับทรพั ยน์ ้ันขายทอดตลาดไดป้ กติ

-ถา้ ทรพั ยท์ ี่จำนอง มีทรัพย์อน่ื ตดิ อย่ดู ว้ ย มผี ลให้ทรัพยท์ ี่ติดอยู่ถูกจำนองไปดว้ ย เชน่ จำนองที่ดิน แต่
ท่ดี นิ มบี า้ นอยู่ด้วย กถ็ ือว่าบ้านตดิ จำนอง ขายทด่ี ินกับบ้านได้เท่าไหรก่ ็เอาไปหมดได้ แตม่ ี ๓ ประการ ท่ีทรัพย์
นน้ั แมจ้ ะติดกับทรัพย์จำนอง แตท่ รพั ยน์ ั้นครอบไม่ถึง คือ

ตอนจดทะเบียนจำนองที่ดิน ไม่มีบ้านหรือโรงเรือนสร้างอยู่ ต่อมามีการสร้างบ้านหรือเรือนโรงข้ึน
ภายหลัง จำนองจะครอบไม่ถึงทรัพย์ที่สร้างภายหลังน้ี เว้นแต่จะมีข้อความกล่าวไว้โดยเฉพาะในสัญญาว่าให้
ครอบไปถึง คอื ระบวุ ่าภายหลงั จากจดทะเบียนจำนองมีการสร้างโรงเรือนขึ้นให้ถือว่าทรัพย์นนั้ จำนองได้ หรือ
ไม่มีข้อความนี้ ให้ผู้รับจำนองขายเรือนโรงไปกับที่ดิน แต่เงินที่ได้มาจะได้แค่ค่าที่ดินเท่านั้น เงินค่าบ้านต้อง
สง่ คืนผู้จำนอง เช่น ขายบา้ นไปกบั ที่ดนิ ราคาบ้าน ๒ แสน ทด่ี นิ ๓ แสน รวม ๕ แสน ผ้รู ับจำนองได้เพียงราคา
ท่ีดินคือ ๓ แสน ส่วนอีก ๒ แสนคืนใหเ้ จา้ ของ

จำนองเรือนโรงหรอื ส่ิงปลูกสรา้ งอยา่ งอนื่ เชน่ บา้ น ซง่ึ ตง้ั บนทดี่ ินของคนอ่นื จำนองย่อมครอบไม่
ถึงทีด่ ินนั้น เวลาขายก็ขายไดแ้ ค่บ้านหรือโรงเรือน ในทางกลบั กันจำนองท่ีดิน ท่ีมบี ้านคนอน่ื ต้ังอยู่ ก็ขายได้แค่
ทด่ี ิน ก็ต้องร้อื บ้านออก

ถ้ามีดอกผลเกิดจากทรัพย์สินท่ีจำนอง จำนองจะครอบไม่ถึงดอกผลนั้น (ดอกผลมีทั้งธรรมดาและ
ดอกผลนิตินัย ดอกผลธรรมดาคือเกิดจากทรัพย์โดยตรง เช่น ลูกของวัว ดอกผลนิตินัย เช่น ค่าเช่า ) เว้นแต่
ผรู้ ับจำนองได้บอกกล่าวแกผ่ ู้จำนองหรือผู้รบั โอน ว่าตนจำนงจะบังคบั จำนอง

เช่น ขณะมีการจำนองแม่ววั ผรู้ บั จำนองไม่ได้บอกว่าจะเอาลูกววั เปน็ ทรัพย์จำนองดว้ ย ลกู วัวท่ีเกิดมา
จำนองจะไมค่ รอบถึง ถา้ ไดบ้ อกแลว้ ลกู ววั นั้นเปน็ ทรพั ย์จำนอง

หมวด ๓ สทิ ธิและหนา้ ทข่ี องผู้รับจำนองและผูจ้ ำนอง

-ถ้าเอาทรัพย์มาจำนอง ขณะนั้นไม่มีภาระจำยอม ทรัพยสิทธิใด ๆ บนทรัพย์นั้น ต่อมามีการจด
ทะเบยี นภาระจำยอมหรือทรพั ยสทิ ธิอยา่ งอ่ืน เชน่ จดทะเบียนให้รัฐใช้เปน็ ถนน วางเสาไฟ สทิ ธเิ กบ็ กนิ เปน็ ต้น

ผูร้ บั จำนองยอมการจดทะเบียนเหล่านัน้ กส็ มบรู ณ์ หากผู้รับจำนองมิไดย้ ินยอม ใหถ้ ือสิทธิจำนองย่อม
เป็นใหญ่กว่าภาระจำยอมหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่น หากเสื่อมเสียสิทธิแก่ผู้รับจำนองในเวลาบังคับจำนอง เช่น
ภาระจำยอมมีผลให้ขายที่ดินไมพ่ อใช้หนี้ ต้องลบสิทธิภาระจำยอมออกจากทะเบียน แต่ถ้าภาระจำยอมนั้นไม่
เสื่อมเสียสิทธิกไ็ มม่ สี ิทธลิ บ เช่น ติดหนี้ ๑ ลา้ น ขายทด่ี นิ ท่ีมีภาระจำยอมได้ ๒ ล้าน มนั กพ็ อใชห้ น้ี ผู้รับจำนอง
ก็ไม่มีสทิ ธิลบภาระจำยอม เป็นตน้

-ถา้ ทรัพย์สินซ่งึ จำนองบบุ สลาย หรือสว่ นใดสว่ นหน่ึงสูญหาย ทำให้ทรัพย์ท่ีเหลือนั้นไม่พอใช้หนี้ ผู้รับ
จำนองจะบงั คับจำนองใชห้ นท้ี ันทกี ็ได้

เช่น มีหนี้ ๓ ล้านจำนองด้วยทรัพย์ ๓ อย่างคือ บ้าน รถ ที่ดิน ต่อมารถถูกขโมย บ้านไฟไหม้ เหลือ
เพียงทีด่ นิ ขายได้ ๒ ลา้ น ซึง่ ไม่พอใช้หนี้ ผรู้ ับจำนองจะบังคับชำระได้ทันทโี ดยเอาทดี่ ินออกขาย โดยไม่ดูว่าหนี้
นัน้ ถึงกำหนดหรอื ไม่ แตถ่ า้ ทีด่ ินที่เหลืออยนู่ ัน้ มีราคา ๓ ล้านบาทซงึ่ พอใชห้ นี้ กไ็ ม่มีสทิ ธิบ์ ังคบั ทนั ที เปน็ ต้น

เวน้ แต่เมอื่ เหตุนั้นมิได้เป็นเพราะความผิดของผู้จำนอง ผู้จำนองก็เสนอจะจำนองทรัพย์สินอ่ืนแทนให้
มรี าคาเพียงพอ หรอื เสนอจะรบั ซอ่ มแซมแก้ไขความบบุ สลายนัน้ ภายในเวลาอันสมควรแก่เหตุ

เช่น รถที่หาย เกิดจากผู้จำนองไม่ล็อกรถ บ้านที่ไฟไหม้เกิดจากการลืมปิดแก๊ส ก็ถือเป็นความผิดผู้
จำนองโดยตรงบังคบั ไดท้ นั ที แต่ถา้ ผู้จำนองดแู ลรถดีแล้วแต่ถูกงดั บา้ นถูกไฟฟ้าลัดวงจร ไม่ใชค่ วามผิดผจู้ ำนอง
ผูจ้ ำนองมีสทิ ธิห์ าทรพั ยอ์ ื่นมาจำนองแทนรถ หรอื ซอ่ มบา้ นให้สมบูรณ์ ในเวลาสมควร เปน็ ต้น

-กรณีผู้จำนอง เอาทรัพย์ของตนมาจำนองแทนบุคคลอื่น(ลูกหนี้) หรือ เอาเงินไปใช้หนี้แทนลูกหน้ี
เรียกว่าการไลเ่ บ้ีย เมื่อตนถกู ผรู้ บั จำนองบังคับจำนองขายทรัพย์ หรือใชห้ น้ีแทนไปแลว้ ผู้จำนองมีสิทธ์ิจะเรียก
เงินคนื จะลูกหนี้ เท่าท่ตี นเสียไป

-เมื่อมีคนหลายคนเอาทรัพย์มาจำนองประกันนี้ และมิได้ระบุลำดับชำระหนี้ไว้ ใครที่เป็นผู้ที่ได้ชำระ
หน้ีไม่มสี ิทธไิ ลเ่ บยี้ เอากบั ผ้จู ำนองคนอืน่ ๆ ได้

เช่น เอ บี ซี นำที่ดินคนละแปลง มาจำนองหนี้ ๑ ล้านบาท แล้วเอถูกบังคับขายที่ดินได้เงินชำระหน้ี
จนครบ เอไม่มสี ิทธทิ์ จี่ ะไปไล่เบ้ียเอาจากบีและซี

-เมือ่ มคี นหลายคนเอาทรัพยม์ าจำนองประกนั น้ี และได้ระบุลำดบั ชำระหนี้ไว้ ท่านวา่ การทีผ่ ู้รับจำนอง
ยอมปลดหนี้ให้แก่ผู้จำนองคนหนึ่งนั้น ย่อมทำให้ผู้จำนองคนหลัง ๆ ได้หลุดพ้นด้วยเพียงขนาดที่เขาต้องรับ
ความเสยี หายแต่การนนั้

เช่น หนี้ ๙ ล้าน ระบุว่าที่ดินของเอรับผิดก่อน ไม่พอค่อยบังคับกับที่ดินบี และที่ดินซีตามลำดับ แต่
ผู้รับจำนองไม่อยากบังคับเอากับเอ จึงปลดหนี้ให้เอ เพื่อหวังจะไปเอากับบี บีก็มีสิทธิ์อ้างว่าตนเสียหายจะมา
บงั คบั เอาทัง้ หมด ๙ ล้านจากตนไม่ได้ ต้องกลับไปดวู ่าเอเสียเทา่ ไหร่ หากพบวา่ ทีด่ นิ ของเอขายได้ ๘ ล้าน บีจึง
จะยอมจ่ายเพยี ง ๑ ลา้ นใหค้ รบ ทำใหผ้ ูร้ ับจำนองได้เงิน ๑ ล้านแทน ๙ ล้าน นน่ั เอง

-ผู้จำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก นำทรัพย์ของตนมาประกันหน้ีแทนคนอื่น ไม่ต้องรับผิดในหนี้นัน้ เกนิ
ราคาทรัพย์สินที่จำนอง (ราคาทรัพย์ในเวลาบังคับจำนอง) เช่น เอมีหนี้กับบี ๓ ล้าน ซีเอาที่ดินของตนมา

ประกนั หนใ้ี ห้ เมื่อถึงกำหนดชำระเอไม่มเี งิน บีจงึ มาบังคบั จำนองกบั ซี ปรากฏวา่ ทด่ี ินซีขายไดเ้ พยี ง ๒ ลา้ น ซีก็
รบั ผดิ เพียง ๒ ล้าน ผรู้ บั จำนองไมม่ สี ิทธิ์เรียกเพม่ิ ใหค้ รบ

หากมกี ารตกลงกนั ต่างหากหรือในสญั ญาว่า เมื่อทรัพย์นนั้ ขายได้ไม่พอ ให้ผจู้ ำนองซง่ึ เป็นคนภายนอก
จา่ ยใหค้ รบ ถอื ว่าของตกลงน้ันเปน็ โมฆะ

เว้นแต่เป็นกรณีที่นิติบุคคลเป็นลูกหน้ีและผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้จำนองเพื่อประกันหนี้นั้นของนิติ
บุคคลและผู้จำนองได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้เปน็ สัญญาต่างหาก ผู้แทนนิติบุคคลต้องรบั ผิดเกินราคาทรพั ย์นัน้
หากมนั ชำระหนไ้ี ม่ครบ

หมวด ๔ การบงั คบั จำนอง

-การบังคับจำนองมี ๓ วิธี คือ ฟ้องต่อศาลให้ยึดทรัพย์ไปขายทอดตลาด ฟ้องต่อศาลยึดเอาทรัพย์
จำนองมาเปน็ ของตน ไม่ตอ้ งฟ้องคดีโดยทีผ่ ู้จำนองทำหนงั สอื ยินยอมใหข้ ายทอดตลาด

-เมื่อจะบังคับจำนอง ผู้รับจำนองต้องมีหนังสือบอกกล่าวแจ้งไปยังลูกหนี้ก่อน ว่าให้ลูกหนี้ชำระหนี้
ภายในหกสบิ วันนับแต่ไดร้ ับคำบอกกล่าว หากไมม่ ีหนังสือเจา้ หนไี้ มม่ สี ิทธ์ฟิ อ้ งศาล

ถ้าเกนิ ๖๐ วนั แล้วลูกหน้ีละเลยเสยี ไม่ปฏิบัตติ ามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนองจะฟ้องคดตี อ่ ศาลเพื่อให้
พพิ ากษาส่ังใหย้ ึดทรพั ย์สนิ ซงึ่ จำนองและให้ขายทอดตลาดก็ได้

ถ้าเป็นกรณีผู้จำนองเป็นบุคคลภายนอก ไม่ใช่ลูกหนี้ ผู้รับจำนองต้องส่งหนังสือบอกกลา่ วดงั กล่าว
ให้ผู้จำนองทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ส่งหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบ ถ้าผู้รับจำนองไม่ได้ดำเนินการ
ภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนั้น ให้ผูจ้ ำนองไมต่ อ้ งรับผิดในส่วนดอกเบ้ยี และคา่ สินไหมทดแทน คา่ ภาระติดพัน
ที่เกิดขึ้น นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาสิบห้าวนั ดังกล่าว แต่ถ้าดอกเบี้ยน้ันเกิดก่อน ๑๕ วันและต้นเงินผู้จำนอง
ต้องใช้

หากมีหนังสือแจ้งไปยังลูกหนี้แล้วภายใน ๖๐ วันนั้นลูกหนี้ไม่ชำระ จนได้ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้
พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดแล้ว แต่เจ้าหนี้เห็นว่า ทรัพย์ที่จำนองนั้น ผู้จำนอง
ไม่ได้เอาไปจำนองกับใครอีก ตนเป็นผู้รับจำนองคนเดียว ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกเอาทรัพย์
จำนองหลุดเป็นของตนแทนการขายทอดตลาดก็ได้ ถ้าอยากได้ทรัพย์ แตต่ ้องอยูใ่ นเงื่อนไขต่อไปนี้

ลกู หนีไ้ ด้ขาดส่งดอกเบ้ยี มาแลว้ เปน็ เวลาถึงหา้ ปี และ
ผู้รับจำนองแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นนอ้ ยกว่าจำนวนเงินอันค้างชำระ คือ หาก
ทรัพยน์ ้นั ขายไดแ้ พงกวา่ หน้ี ไม่มสี ทิ ธฟิ์ อ้ งเอามาเป็นของตน

กรณีบังคับคดโี ดยไม่ต้องขึ้นฟ้องศาล คือก็ไม่ต้องแจ้งไปยังลูกหนี้ให้ชำระเงนิ ภายใน ๖๐ วัน แต่ให้ผู้
จำนองทำหนังสือ ยินยอมให้ผู้รับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์สินได้เอง และทรัพย์นั้นต้องไม่มีผู้จำนองราย
อ่นื หรือผู้มที รพั ยเ์ หนอื ทรพั ย์นน้ั ด้วย

ผู้รับจำนองต้องดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองภายในเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รับ
หนังสือแจง้ จากผูจ้ ำนอง ให้ถือว่าหนังสอื แจง้ ของผจู้ ำนองเป็นหนงั สอื ยินยอมใหข้ ายทอดตลาด

กรณีที่ผู้รับจำนอง ไม่ได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองภายใน ๑ ปี ให้ผู้จำนองพ้น
จากความรบั ผิดในดอกเบีย้ และค่าสินไหมทดแทนซงึ่ ลูกหน้คี า้ งชำระ ตลอดจนคา่ ภาระตดิ พนั

เมื่อผู้รับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองได้เงินเท่าใด ผู้รับจำนองต้องหักหนี้และค่าดอกเบ้ีย
ค่าสินไหม ภาระติดพันจนครบ ถ้ายังมีเงินเหลือก็ต้องส่งคืนให้แก่ผู้จำนองหรือแก่บุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น แต่
ถ้าได้เงินน้อยกว่าจำนวนที่ค้างชำระ ต้องดูว่าใครเป็นผู้จำนอง หากเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผดิ ในเงนิ นั้น(ถ้าตกลง
อย่างอื่นก็ได้) หากเปน็ บุคคลภายนอกผู้จำนองไม่ต้องรับผิดในหน้ีนน้ั เกินราคาทรัพย์สินที่จำนอง(เว้นแต่ลูกหนี้
นติ บิ คุ คล และผู้จำนองเป็นผ้แู ทนนติ ิบุคคล)

-ถ้าเอาทรพั ยจ์ ำนองหลุดและราคาทรัพย์สนิ ราคาตำ่ กวา่ หนี้ ลูกหนีไ้ ม่ตอ้ งรบั ผดิ
-ถา้ เอาทรพั ย์สินทจ่ี ำนองออกขายทอดตลาดใชห้ น้ี ไดเ้ งนิ ไม่พอใชห้ นี้ ลกู หน้ีก็ไมต่ อ้ งรับผิดในเงนิ น้ัน
-ถ้าจำนองทรัพย์สินหลายสิ่งเพื่อประกันหน้ีจำนวนเดียว ผู้รับจำนองจะบังคับแก่ทรัพย์สินใดก็ได้ แต่
ไมใ่ ห้ใช้กับทรพั ยท์ ีม่ รี าคามากกว่าหนี้
-ถ้าผู้รบั จำนองใชส้ ิทธิของตนบังคับแก่ทรัพย์สินทั้งหมดพร้อมกัน ให้แบง่ ภาระแห่งหนี้น้ัน กระจายไป
ตามส่วนราคาแห่งทรพั ย์สินนั้น ๆ เว้นแต่ในกรณที ีไ่ ด้ระบจุ ำนวนเงินจำนองไว้เฉพาะทรพั ย์สินแต่ละสิ่ง ๆ เป็น
จำนวนเทา่ ใด ให้แบง่ กระจายไปตามจำนวนเงินจำนองทร่ี ะบุไวเ้ ฉพาะทรัพย์สงิ่ น้นั ๆ
-แต่ถ้าผู้รับจำนองใช้สิทธิของตนบังคับแก่ทรัพย์สินอันใดอันหนึ่งแต่เพียงสิ่งเดียว ผู้รับจำนองจะให้
ชำระหนี้อันเป็นส่วนของตนทั้งหมดจากทรัพย์สินอันนั้นก็ได้ ในกรณีเช่นนั้น ให้ถือว่าผู้รับจำนองคนถัดไปโดย
ลำดบั ยอ่ มเขา้ รับช่วงสทิ ธขิ องผู้รบั จำนองคนก่อนและจะเข้าบังคบั จำนองแทนท่คี นก่อนก็ได้แต่เพียงเท่าจำนวน
ซง่ึ ผรู้ บั จำนองคนกอ่ นจะพงึ ได้รับจากทรัพย์สินอื่น ๆ
-หากผู้จำนองได้โอนทรัพย์นั้นไปให้คนอื่น ผู้รับจำนองมีสิทธิ์บังคับเอากับผู้รับโอนได้ แต่ผู้รับจำนอง
ต้องมจี ดหมายบอกกลา่ วแก่ผรู้ ับโอนลว่ งหน้าเปน็ ระยะเวลาไมน่ ้อยกวา่ หกสบิ วันกอ่ น จึงจะบังคบั จำนองได้

หมวด ๕ สทิ ธแิ ละหน้าทขี่ องผรู้ บั โอนทรพั ยส์ นิ ซ่งึ จำนอง

-ผู้รับโอนทรัพยส์ ินท่ีจำนองมาจากผู้จำนอง จะไถ่ถอนจำนองกไ็ ด้ แต่ผู้รับโอนน้ันห้ามเป็นลูกหนี้ ผู้ค้ำ
ประกนั ทายาทของลกู หน้ี ทายาทผคู้ ำ้ ประกนั ไถ่ถอนจากราคาทรัพย์ ไม่ใชร่ าคาหนี้

-ผู้รับโอนจะไถ่ถอนจำนองเมื่อใดก็ได้ แต่ถ้าผู้รับจำนองได้บอกกล่าวว่าจะบังคับจำนอง ผู้รับโอน
ตอ้ งไถ่ถอนจำนองภายในหกสบิ วันนับแตว่ ันรับคำบอกกลา่ ว

-ผู้รับโอนซึ่งประสงค์จะไถ่ถอนจำนอง ต้องบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่ผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้น และ
ตอ้ งส่งคำเสนอไปยังบรรดาเจ้าหน้ีทไ่ี ด้จดทะเบียน ไมว่ า่ ในทางจำนองหรือประการอน่ื ว่าจะรับใช้เงินให้เป็น
จำนวนอันสมควรกบั ราคาทรัพย์สนิ นนั้

คำเสนอนน้ั ใหแ้ จ้งขอ้ ความทงั้ หลายต่อไปนี้ คอื
(๑) ตำแหนง่ แหลง่ ทแี่ ละลกั ษณะแหง่ ทรัพย์สนิ ซึ่งจำนอง
(๒) วนั ซึง่ โอนกรรมสทิ ธ์ิ
(๓) ชอ่ื เจ้าของเดิม
(๔) ช่อื และภูมิลำเนาของผู้รับโอน
(๕) จำนวนเงนิ ท่ีเสนอวา่ จะใช้
(๖) คำนวณยอดจำนวนเงินที่ค้างชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่ง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์และจำนวนเงินที่จะ
จดั เปน็ ส่วนใชแ้ ก่บรรดาเจ้าหน้ีตามลำดบั กนั
ถ้าเจ้าหนคี้ นหน่งึ คนใดไม่ยอมรับคำเสนอ เจา้ หนีค้ นน้ันตอ้ งฟ้องคดตี ่อศาลภายในเดอื นหนงึ่ นับแต่
วนั มคี ำเสนอ เพื่อใหศ้ าลพพิ ากษาสั่งขายทอดตลาดทรพั ย์สนิ ซงึ่ จำนองน้ัน แตว่ ่าเจ้าหน้นี น้ั จะต้องปฏิบัติการดัง
จะกล่าวตอ่ ไปนี้ด้วย คือ
(๑) ออกเงนิ ทดรองค่าฤชาธรรมเนยี มการขายทอดตลาด
(๒) ตอ้ งเข้าส้รู าคาเอง หรือแต่งคนเข้าสรู้ าคาเปน็ จำนวนเงินสงู กว่าท่ีผู้รบั โอนเสนอจะใช้
(๓) บอกกล่าวการที่ตนไม่ยอมนั้นให้ผู้รับโอนและเจ้าหนี้คนอื่น ๆ บรรดาได้จดทะเบียน กับทั้ง
เจา้ ของทรัพย์คนก่อนและลูกหนชี้ ั้นต้นทราบด้วย
-ขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิเกินจำนวนเงินที่ผู้รับโอนเสนอว่าจะใช้ ให้ผู้รับโอนเป็นผู้ออกใช้ค่า
ฤชาธรรมเนยี มในการขายทอดตลาด ถา้ ไดไ้ ม่ถงึ เกินจำนวน ใหเ้ จา้ หน้ผี ูร้ ้องขอใหข้ ายทอดตลาดเปน็ ผอู้ อก
-เมื่อเจ้าหนี้ทั้งหลายได้สนองรับคำเสนอทั่วทุกคนแล้ว โดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ดี ท่านว่า
จำนองหรือบุริมสิทธิก็เป็นอันไถ่ถอนได้ด้วยผู้รับโอนใชเ้ งิน หรือวางเงินตามจำนวนที่เสนอจะใช้แทนการชำระ
หน้ี
-ถ้าการบังคับจำนองก็ดี ถอนจำนองก็ดี เป็นเหตุให้ทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุดมือไปจากบุคคลผู้ได้
ทรัพย์สินน้ันไว้แตก่ ่อนไซร้ ท่านว่าการท่ีทรัพยส์ ินหลุดมือไปเชน่ นั้นหามีผลย้อนหลังไม่ และบุริมสิทธิทั้งหลาย
ของเจ้าหนี้แห่งผู้ที่ทรัพย์หลุดมือไปอันมีอยู่เหนือทรัพย์สินและได้จดทะเบียนไว้นั้น ก็ย่อมเข้าอยู่ในลำดับหลัง
บุริมสทิ ธอิ นั เจา้ หน้ีของผู้จำนอง หรอื เจา้ ของคนก่อนไดจ้ ดทะเบยี นไว้
ในกรณีเช่นน้ี ถ้าสิทธิใด ๆ อันมีอยู่เหนือทรัพย์สินซึ่งจำนองเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลผู้ได้
ทรพั ยส์ นิ ซึ่งจำนองไวแ้ ต่ก่อนได้ระงับไปแลว้ ดว้ ยเกลื่อนกลืนกนั ในขณะท่ีไดท้ รัพย์สนิ น้นั มาไซร้ สิทธินั้นท่านให้
กลบั คนื มาเปน็ คณุ หรอื เปน็ โทษแกบ่ คุ คลผ้นู นั้ ได้อกี ในเมื่อทรัพยส์ นิ ซึ่งจำนองกลบั หลดุ มือไป

-ถา้ ผู้รบั โอนไดท้ ำให้ทรัพย์สินซ่ึงจำนองเสื่อมราคาลงเพราะการกระทำหรือความประมาทเลินเล่อแห่ง
ตน เป็นเหตใุ ห้เจ้าหนี้ทั้งหลายผู้มีสทิ ธิจำนองหรือบุริมสิทธิเหนือทรัพยส์ นิ น้ันต้องเสียหายไซร้ ท่านว่าผู้รับโอน
จะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้น อย่างไรก็ดี อันผู้รับโอนจะเรียกเอาเงินจำนวนใด ๆ ซึ่งตนได้ออกไป หรือ
เรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ตนได้ทำให้ทรัพย์สินดีขึ้นนั้น ท่านว่าหาอาจจะเรียกได้ไม่ เว้นแต่ที่เป็นการทำให้
ทรพั ย์สนิ นั้นงอกราคาข้ึน และจะเรียกไดเ้ พียงเทา่ จำนวนราคาท่ีงอกขึน้ เม่ือขายทอดตลาดเท่านนั้

หมวด ๖ ความระงบั ส้ินไปแห่งสัญญาจำนอง

-จำนองย่อมระงบั เมอ่ื
(๑) เม่อื หนีท้ ่ีประกันระงับสนิ้ ไปดว้ ยเหตุประการอน่ื ใดมิใชเ่ หตอุ ายุความ
(๒) เมื่อปลดจำนองใหแ้ ก่ผู้จำนองด้วยหนงั สือเปน็ สำคัญ
(๓) เมือ่ ผู้จำนองหลุดพน้ เชน่ เจ้าหนผ้ี อ่ นเวลาใหล้ ูกหน้ีผูจ้ ำนองไม่ยอม
(๔) เมอ่ื ถอนจำนอง
(๕) เมอ่ื ขายทอดตลาดทรัพยส์ ินตามศาลสง่ั หรอื ผจู้ ำนองยินยอม
(๖) เม่อื เอาทรัพย์สนิ ซง่ึ จำนองนนั้ หลดุ

-แม้หน้ปี ระธานจะขาดอายุความแลว้ แตก่ บ็ ังคับจำนองได้ เพราะจำนองไม่มีอายุความ ตราบใดทรัพย์
นั้นยังอยู่ก็บังคับได้เสมอ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้ ค่าสินไหม ค่า
ภาระตดิ พันกเ็ รียกได้

-การชำระหน้ีไม่วา่ ครงั้ ใด ๆ สน้ิ เชงิ หรือแตบ่ างส่วนก็ดี การระงบั หนีอ้ ย่างใด ๆ กด็ ี การตกลงกันแก้ไข
เปลี่ยนแปลงจำนองหรือหนี้อันจำนองเป็นประกันนั้นเป็นประการใดก็ดี ท่านว่าต้องนำความไปจดทะเบียน
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพราะถ้าไม่จด เมื่อมีคำขอร้องของผู้มีส่วนได้เสีย ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้
บุคคลภายนอก

จำนำ

หมวด ๑ บทเบ็ดเสร็จท่วั ไป

จำนำ คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคน
หนงึ่ เรียกว่า ผูร้ ับจำนำ เพ่อื เปน็ ประกนั การชำระหนี้

ลักษณะของสญั ญาจำนำ

1.เปน็ การประกันการชำระหนีด้ ้วย “สงั หารมิ ทรพั ย์”และสิทธิอนั เกย่ี วกับทรัพย์สนิ น้ันเท่าน้ัน หาก
ใช้อสังหารมิ ทรัพยแ์ ละสังหารมิ ทรพั ย์ชนิดพิเศษจะเปน็ จำนอง

2.สญั ญาจำนำจะสมบูรณ์ ตอ้ ง “ส่งมอบ” ทรัพย์สินท่จี ำนำแกผ่ ูร้ ับจำนำ เพอ่ื ประกนั การชำระหน้ี คือ
โอนการครอบครอง แตไ่ มโ่ อนกรรมสทิ ธิ์

3.ผู้จำนำตอ้ งเป็น“เจ้าของ”ทรัพย์สินทีจ่ ำนำ
4. สัญญาจำนำเป็นหนี้อุปกรณ์ “หนี้ประธานต้องสมบูรณ์” หากสัญญาประธานไม่สมบูรณ์
สัญญาอปุ กรณก์ ็ไม่เกดิ
สัญญาจำนำไม่มีแบบ สัญญาจำนำสมบูรณ์ทันเมื่อส่งมอบ โอนการครอบครอง ไม่ใช่โอน
กรรมสิทธ์ิ ต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องมีหนังสือ จดทะเบียนอะไรเลย เพียงส่งมอบ
สงั หารมิ ทรัพยเ์ พื่อประกนั การชำระหน้กี เ็ พยี งพอ
-เมื่อจะขายทอดตลาดไม่จำเป็นต้องฟ้องต่อศาล เอาไปขายได้เลย ซึ่งต่างจากจำนองที่ต้องฟ้อง
ศาล เพราะการจำนำตนมกี ารครอบครองอยู่แล้ว แตจ่ ำนองตอ้ งฟ้องเพราะท้ังการครอบครองท้ังกรรมสิทธ์ิ
ไม่ไดอ้ ย่กู ับตน
-ทั้งการจำนำและจำนองเหมือนกนั คือ ผ้จู ำนำหรอื จำนองจะเปน็ ลูกหนี้เองหรือบุคคลภายนอกก็ได้
และท้ัง ๒ เปน็ สญั ญาอปุ กรณ์
-เอาทองไปเข้าโรงรับจำนำ แล้วได้เงินมา เกิด ๒ สัญญา คือ สัญญากู้เงิน(สัญญาประธาน)
สญั ญาจำนำ(สญั ญาอุปกรณ์)
- การจำนำอาจส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่ง หรือหลายสิ่งประกันการชำระหน้ีประธานรายเดียว
ก็ได้ เชน่ มหี นี้ ๑ ล้าน อาจเอาโทรทัศน์ พัดลม ตูเ้ ย็น มาจำนำก็ได้ แต่หากจ่ายเงนิ ไมค่ รบ คือจ่ายบางส่วน
ไมม่ ีสทิ ธิ์จะเอาทรพั ย์ชนิ้ ใดชิ้นหน่ึงออกไป จนกว่าจะครบ
-การส่งมอบทรัพย์สินท่ีจำนำ เป็นเงื่อนไขทีท่ ำให้จำนำเกดิ ขึ้น ถือว่าเปน็ “แบบ” ของนิติกรรม ถ้าไม่
มกี ารส่งมอบสังหาริมทรัพย์ท่ีจำนำ จำนำไม่เกิด คู่สัญญาจะตกลงไม่ให้มีการส่งมอบทรัพย์สินท่ีจำนำไม่ได้
เพราะสัญญาจำนำจะไมเ่ กิด
-การจำนำไมม่ ีกฎหมายบงั คับว่าจะตอ้ งมีหลักฐานเปน็ หนังสือหรือจดทะเบยี นอะไร กฟ็ อ้ งได้
-ผู้จำนำอาจเป็นตัวลูกหนี้ชั้นต้น คือ ผู้กู้เอง หรือบุคคลภายนอกมาจำนำประกันการชำระหนี้แทน
ลูกหน้ีชัน้ ตน้ ก็ได้

-เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำแล้วคู่สัญญาอาจตกลงให้บุคคลที่สามเป็นผู้เก็บรักษาได้ เป็นใครก็ได้ที่
ไม่ใช่ ผ้จู ำนำเอง เพราะ จะทำใหส้ ญั ญาจำนำระงบั ถือว่ามกี ารคืนทรพั ยจ์ ำนำ

-การส่งมอบโฉนดที่ดินให้เจ้าหนี้ ไม่ถือว่าเป็นจำนองและการจำนำ เจ้าหนี้มีแต่เพียงสิทธิยึดถือ
โฉนด แม้โฉนดที่ดินจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ แต่ก็ไม่ใช่จำนอง เพราะการจำนองต้องทำหนังสือจดทะเบียน
เจา้ หน้าท่ี ไม่มีการสง่ มอบ และไม่ใชจ่ ำนำ แม้จะมีการส่งมอบ แต่กไ็ ม่ใช่สังหารมิ ทรัพย์

ผลของการไม่ใชเ่ จา้ หนี้ผู้รับจำนำ

-เจ้าหนผี้ ู้นั้นไมอ่ าจยน่ื ฟอ้ งลูกหนีอ้ ยา่ งเจ้าหนี้มีประกนั
-เจ้าหนี้ผู้นั้นไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกัน หรือไม่อาจที่จะมีสิทธิอย่างเจ้าหนี้มี
ประกันท่ีไมจ่ ำตอ้ งย่นื คำขอรบั ชำระหน้ี
- ถา้ ส่งมอบเพยี งโฉนดทด่ี นิ สมดุ ฝากเงนิ ทะเบยี นรถยนต์ ฯลฯ ไม่ถือเปน็ เจา้ หน้ีผ้รู บั จำนำ เพราะการ
ส่งมอบของเหลา่ นไี้ ม่ใชก่ ารจำนำ

สญั ญาจำนำเป็นหนอี้ ปุ กรณ์ “หนี้ประธานต้องสมบูรณ์”

-หนี้ประธานต้องสมบูรณ์ เช่น สัญญากู้เงินต้องสมบูรณ์ ไม่ผิดกฎหมาย จึงจะมีการค้ำประกัน การ

จำนอง การจำนำเป็นประกันการชำระหนี้ได้ (สัญญาค้ำประกัน จำนำ จำนอง เป็นสัญญา
อุปกรณ์เหมือนกัน)

-หนี้ประธานที่ไม่สมบูรณ์ เช่น กู้เงินไปซื้อยาบ้าโมฆะกรรม กู้เงินที่ไม่มีการส่งมอบเงินที่กู้ยืม เหล่าน้ี
ถอื ว่าหนป้ี ระธานไมส่ มบูรณ์ หนอ้ี ุปกรณอ์ ยา่ งการจำนำกเ็ กิดไม่ได้

- หนี้ขาดอายุความหรือ หนี้ขาดหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดี เป็นหนี้ที่อาจมีการประกนั การ
ชำระหน้ีได้

-โมฆียกรรม ยังสมบรู ณ์อยู่จนกวา่ ถูกบอกลา้ ง จงึ อาจมีการจำนำได้ เชน่ กเู้ งนิ ผิดคนโดยสำคัญผดิ

ผู้จำนำต้องเปน็ “เจ้าของ” ทรัพย์สนิ ทจ่ี ำนำ

-ถ้าจำนำทรัพย์ที่ตนไม่ใช่เจ้าของ เจ้าของที่แท้จริงติดตามเอาทรัพย์คืนได้ โดยไม่ต้องไถ่ถอนจำนำ
ใหแ้ กผ่ รู้ บั จำนำ

-สว่ นผรู้ บั จำนำ ต้องเป็นเจา้ หนผี้ ้ทู ่ีมีสทิ ธิไดร้ บั ชำระหนี้
-ถ้าผู้จำนำไม่ใช่เจ้าของทรัพย์จำนำ แต่เจ้าของที่แท้จริงมาทราบหลังจากเจ้าหนี้บังคับจำนำโดยการ
นำทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาด ถ้าผู้ที่ซื้อทรัพย์โดยสุจริตจากการขายทอดตลาด ย่อมได้รับความ
คุ้มครองไมต่ อ้ งคนื ให้กับเจ้าของที่แทจ้ ริง เว้นแตไ่ ด้ชดใช้ราคาเท่าทีซ่ อื้ มา

ทรพั ยส์ นิ ทจี่ ำนำประกันหน้ีอะไรบ้าง

การจำนำเพ่อื ประกนั การชำระหน้ี คอื ต้นเงนิ รวมกบั ทงั้ คา่ อุปกรณ์ตอ่ ไปนี้ดว้ ย คือ
(๑) ดอกเบี้ย คือ ดอกเบี้ยในหนี้ประธาน (ถ้ามี) ดอกเบี้ยผิดนัด คู่สัญญาจำนำอาจตกลงว่า

ทรพั ย์สนิ ทจ่ี ำนำไม่ครอบไปถึงดอกเบย้ี ในหนปี้ ระธานก็ได้ เพราะ ไม่ใช่กฎหมายท่ีเกย่ี วด้วยความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอนั ดขี องประชาชน ดงั นัน้ คสู่ ญั ญาสามารถตกลงเป็นอยา่ งอื่นได้

(๒) คา่ สนิ ไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้
(๓) ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนำ คือ ค่าบอกกล่าวในการบังคับจำนำ ค่าใช้จ่ายในการ
ขายทอดตลาด เช่น คา่ เช่าสถานที่ในการขายทอดตลาด ฯลฯ
(๔) ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินซ่ึงจำนำ คือ เพราะการจำนำต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์ เช่น ส่ง
สุนัข ๑ ตัวเพื่อประกันชำระหนี้ให้กับผู้จำนำ ผู้จำนำต้องจ่าย ค่าพยาบาลหมา ค่าอาหารหมา เป็นต้น ผู้รับ
จำนำในการเรยี กร้องคา่ ใช้จ่ายตามสมควร ในการรักษาทรพั ย์สนิ ท่จี ำนำจากผ้จู ำนำได้ โดยต้องเรยี กรอ้ งภายใน
อายคุ วาม 6 เดอื นนบั แตส่ ง่ คืนทรัพย์ / ขายทอดตลาดทรพั ย์
(๕) ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินจำนำซึ่งไม่
เห็นประจักษ์ คือ สังหาริมทรพั ย์ที่สง่ ใหน้ ั้นอาจมคี ่าบกพร่อง ซึ่งไม่เหน็ เวลาส่งมอบ เพราะถ้าเห็นเวลาส่งมอบ
ผรู้ บั จำนำคงไม่รบั สังหาริมทรัพย์น้ัน แต่รบั มาแลว้ กต็ อ้ งเรียกค่าซ่อมดูแล ถ้าเหน็ แล้วรับมาเรียกไม่ได้ เช่น รับ
มอบสนุ ขั มา ตอนส่งไม่รูว้ า่ มันเป็นโรคผิดสุนัขบา้ แต่เมื่อร้กู ต็ ้องเรียกเงนิ จากผูจ้ ำนำมารกั ษาสนุ ัข หรือ สุนัขกัด
ผ้รู ับจำนำ ต้องไปหาหมอ ก็เรียกค่าทดแทนจากผู้จำนำได้ ถ้าเหน็ อยแู่ ล้ววา่ สนุ ขั มนั มีอาการดุแปลกๆ แต่รับมา
ไม่มีสิทธิ์เรียกค่าสินไหม เป็นต้น เมื่อทรัพย์สินนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับจำนำ ผู้รับจำนำมีสิทธิ
เรยี กรอ้ งจากผจู้ ำนำได้ภายใน 6 เดอื นนับแต่ส่งคนื ทรพั ย/์ ขายทอดตลาดทรัพย์

การจำนำซ่ึงมีตราสาร

สิทธิตราสาร คือ ตราสารอะไรก็ตามที่มันแสดงออกซึ่งสิทธิของผู้ที่เป็นผู้ทรงสิทธิ์เหนือตราสารน้ัน
เช่น ตั๋วเงิน ใบหุ้น(ระบุว่าใครเป็นเจ้าของหุ้น) เป็นต้น ตัวอย่างที่ไม่ใช่ตราสาร เช่น ลูกหนี้เอาสมุดบัญชีให้
เจา้ หนี้ เจ้าหนี้กไ็ ม่มีสิทธิ์เบิก เพราะไมม่ ีชื่อในสมุด ต้องใหเ้ ขาเขยี นใบมอบอำนาจ เปน็ ตน้

การจำนำสทิ ธซิ งึ่ มตี ราสารทัว่ ไป

-“ถ้าทรัพย์สนิ ที่จำนำเป็นสิทธซิ ึง่ มตี ราสาร และมไิ ดส้ ง่ มอบตราสารนัน้ ให้แกผ่ ูร้ บั จำนำ ทัง้ มไิ ด้บอก
กล่าวเป็นหนงั สอื แจ้งการจำนำ แกล่ กู หนี้แหง่ สิทธนิ ้ันด้วยไซร้ ทา่ นว่าการจำนำย่อมเปน็ โมฆะ”

-เช่น ใบประทวนสินค้าจะต้องส่งมอบตราสาร คือ ส่งใบประทวนสินค้าให้ผู้เป็นรับจำนำ ต้องแจ้งให้
คลังสนิ ค้าผเู้ ป็นลกู หนีแ้ หง่ สิทธทิ ราบดว้ ย เมอ่ื สินคา้ มาถึงคลัง หนี้ครบชำระ ก็มสี ิทธเิ อาใบประทวนสนิ ค้าไปรับ
ของในใบนน้ั มาขายทอดตลาดได้

- การจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารต้องปฏิบัติตามแบบ วิธีการจำนำของตราสารชนิดนั้น ๆ ด้วย เช่น การ
จำนำประทวนสนิ ค้า การจำนำตั๋วแลกเงิน ฯลฯ และ

-ตอ้ งสลกั หลงั ตราสารวา่ เปน็ การจำนำ
-ต้องบอกกล่าวการจำนำไปยังลูกหนี้แห่งตราสารและส่งมอบตราสารนัน้ ให้แก่ผู้รับจำนำ มิฉะนั้น
ย่อมเป็นโมฆะ

การจำนำสทิ ธซิ ่งึ มตี ราสารชนดิ ออกให้แก่บคุ คลทีเ่ ขาสงั่

- “ถ้าจำนำตราสารชนิดออกให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่ง ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก
เว้นแต่จะได้สลักหลังไว้ที่ตราสารให้ปรากฏการจำนำเช่นนั้น อนึ่ง ในการนี้ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวแก่ลูกหนี้
แหง่ ตราสาร”

-ตราสารชนิดออกให้แก่บคุ คลทเี่ ขาสงั่ คอื ตราสารทีร่ ะบุชอื่ ผู้ทรงสทิ ธิตามตราสารนั้น
- การจำนำตราสารชนิดออกให้แก่บุคคลที่เขาสั่ง ต้องสลักหลังตราสารว่าเป็นการจำนำมิฉะน้ัน
จะยกขน้ึ เปน็ ขอ้ ต่อสู้บคุ คลภายนอกไม่ได้
-ตราสารชนิดออกให้แกบ่ คุ คลที่เขาส่ัง ไม่บอกกลา่ วไปยงั ยังลกู หนแ้ี หง่ ตราสาร

การจำนำสทิ ธซิ ึ่งมตี ราสารชนิดออกใหแ้ ก่บคุ คลโดยนาม และโอนแก่กนั ไมไ่ ดด้ ้วยการสลกั หลงั

-“ถ้าจำนำตราสารชนิดออกให้แก่บุคคลโดยนาม และจะโอนกันด้วยสลักหลังไม่ได้ ท่านว่าต้องจด
ข้อความแสดงการจำนำไว้ให้ปรากฏในตราสารนั้นเอง และท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนีแ้ ห่งตราสาร
หรือบุคคลภายนอก เว้นแตจ่ ะได้บอกกล่าวการจำนำน้ันใหท้ ราบถึงลูกหนี้แห่งตราสาร”

-ตราสารชนิดออกให้แก่บุคคลโดยนามและโอนกันไม่ได้ด้วย (การสลักหลัง คือตราสารที่ห้ามโอน
เปล่ียนมอื ตาม)

-ตอ้ งสลกั หลงั ตราสารวา่ เป็นการจำนำ
-ต้องบอกกล่าวไปยังลูกหนี้แห่งตราสารนั้น มิฉะนั้นจะยกขึ้นต่อสู้ลูกหนี้แห่งตราสารและ
บคุ คลภายนอกหาไดไ้ ม่

การจำนำใบหุ้นหรอื ใบหุ้นก้ชู นดิ ระบชุ ื่อ

- “ถ้าจำนำใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อ ท่านห้ามมิให้ยกขึน้ เป็นขอ้ ต่อสูบ้ ริษัทหรอื บุคคลภายนอก
เว้นแต่จะได้จดลงทะเบียนการจำนำนั้น ไว้ในสมุดของบริษัทตามบทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะ 22 ว่าด้วย
การโอนหุน้ หรอื หุ้นก”ู้

-ต้องจดแจ้งการจำนำในสมุดทะเบียนบริษัท มิฉะนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บริษัทและ
บุคคลภายนอกหาได้ไม่

-ต้องทำเปน็ หนังสือลงลายมือชอ่ื ผ้จู ำนำและผู้รบั จำนำ
-ตอ้ งมพี ยานอยา่ งนอ้ ย 1 คนรบั รองลงลายมือชื่อนน้ั
-ต้องแถลงหมายเลขของหนุ้ ซึ่งจำนำ

สิทธิตามตราสารทีน่ ำมาจำนำถงึ กำหนดชำระกอ่ นหน้ีประธานทีเ่ ป็นประกัน

-“ถ้าสิทธิซึ่งจำนำนั้น ถึงกำหนดชำระก่อนหนี้ซึ่งประกันไวน้ ั้นไซร้ ท่านว่าลูกหนีแ้ ห่งสิทธิต้องสง่ มอบ
ทรัพยส์ ินอนั เป็นวัตถแุ ห่งสิทธิให้แก่ผรู้ ับจำนำ และทรพั ยส์ นิ นั้นกก็ ลายเปน็ ของจำนำแทนสิทธิซง่ึ จำนำ

- ถ้าสิทธิซึ่งจำนำนั้นเป็นมูลหนี้ซึ่งต้องชำระเป็นเงิน และถึงกำหนดชำระก่อนหนี้ซึ่งประกันไว้นั้นไซร้
ท่านว่าต้องใช้เงินให้แก่ผู้รับจำนำและผู้จำนำร่วมกัน ถ้าและเขาทั้งสองนั้นไม่ปรองดองตกลงกันได้ ท่านว่าแต่
ละคนชอบทจ่ี ะเรียกให้วางเงนิ จำนวนนั้นไว้ ณ สำนกั งานฝากทรัพยไ์ ด้เพือ่ ประโยชนอ์ นั ร่วมกนั ”

-วรรคแรก สิทธิตามตราสาร คือ ทรัพย์สิน ให้ถือว่าทรัพย์สินดังกล่าวกลายเป็นทรัพย์ประกันที่นำมา
จำนำแทนตราสารนั้น โดยลกู หนี้แห่งตราสารต้องส่งมอบทรพั ย์สนิ น้ันใหแ้ กเ่ จ้าหนีผ้ ูร้ ับจำนำ

-วรรคสอง สิทธิตามตราสาร คือ เงิน ให้แก่ลูกหนี้แห่งตราสารส่งมอบเงินให้แก่ทั้งเจ้าหนี้ผู้รับจำนำ
และผู้รบั จำนำรว่ มกนั ถา้ ทัง้ สองตกลงกันไม่ได้ใหน้ ำไปวางทรัพย์ ณ สำนักงานวามทรัพย์

-หน้าที่ของผู้จำนำสิทธิ ซึ่งมีตราสารที่ต้องไม่ทำให้สิทธินั้นสิ้นไป หรือไม่แก้ไขสิทธินั้นให้ผู้รับจำนำ
เสียหาย ตามมาตรา 755

- “ถ้าจำนำสิทธิ ท่านห้ามมิให้ทำสิทธิน้ันให้ส้ินไป หรือแก้ไขสิทธินั้นให้เสียหายแก่ผู้รับจำนำโดยผ้รู บั
จำนำมไิ ด้ยินยอมดว้ ย”

ผ้จู ำนำสิทธซิ ่ึงมีตราสารทต่ี อ้ งไม่ทำให้สทิ ธติ ามตราสารนัน้ สิ้นไปจนทำใหผ้ ู้รบั จำนำเสยี หาย
ผ้จู ำนำสทิ ธซิ ง่ึ มีตราสารท่ีต้องไม่แก้ไขสทิ ธิตามตราสารจนทำให้ผ้รู บั จำนำเสียหาย

ขอ้ สัญญาท่ไี ม่สมบรู ณ์ในสญั ญาจำนำ

คือ การตกลงก่อนที่หนี้ประธานถึงกำหนดชำระว่า ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ผู้รับจำนำเข้าเป็นเจ้าของ
ทรพั ย์สินทจี่ ำนำ หรอื ใหจ้ ัดการแก่ทรพั ย์สินท่ีจำนำเปน็ อย่างอนื่ นอกจากบทบัญญตั ิวา่ ดว้ ยการบังคับจำนำ จะ
เปน็ สัญญาทไ่ี ม่สมบูรณ์

แต่ถา้ มกี ารทำตามนน้ั ไปแล้วจะฟอ้ งเพกิ ถอนไม่ได้
แต่สญั ญาในสว่ นอ่นื ท่ไี มเ่ กีย่ วขอ้ งยังคงมีผลใชบ้ งั คบั ได้
มี 5 กรณี ทเ่ี จ้าของท่ีแท้จริงมสี ิทธิติดตามเอาคืนได้โดยไม่ต้องชำระค่าไถ่ถอนจำนำก่อน สิ่งของท่ีเป็น
ของใช้ราชการ สิ่งของที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานว่าเป็นของหาย สิ่งของที่รู้ / มีเหตุอันควรรู้ว่าทรัพย์จำนำ
ได้มาจากการกระทำความผิด รับจำนำโดยไม่จดแจ้งรายการบัตรประชาชนผู้จำนำ รับจำนำทรัพย์ที่มีราคา
เกิน 100,000 บาท

หมวด 2. สทิ ธแิ ละหน้าท่ีของผู้รับจำนำและผู้จำนำ

สิทธิของผู้รับจำนำมี

-สิทธิที่จะยึดทรัพย์สินที่จำนำไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน คือ ทรัพย์สินที่จำนำย่อมเป็น
ประกันชำระหนี้ประธานและค่าอุปกรณ์ทั้งหมด แม้เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้แล้วบางส่วน ตราบใดที่เจ้าหนี้ยงั
ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์สินท่ีจำนำไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้จน
ครบถว้ น แม้จะเป็นสง่ิ ของหลายชนิ้ กไ็ มม่ สี ิทธ์ิเอาช้ินใดชน้ิ หนง่ึ ออกไป

-สิทธขิ องเจา้ หน้ี ผู้รบั จำนำที่จะได้รบั ชำระหนก้ี อ่ นเจ้าหนี้สามญั อ่นื (ในทรพั ยส์ ินที่จำนำ)
-ผู้รบั จำนำจะร้องขดั ทรัพย์ไม่ได้ ไดแ้ ต่ร้องขอรบั ชำระหนี้ก่อนเจ้าหน้ีสามัญผ้นู ำยดึ หรือแม้แต่ไม่ได้ยื่น
คำร้องขอชำระหนก้ี อ่ น การบงั คบั คดกี ไ็ มก่ ระทบกระเทือนถงึ สิทธขิ องเจ้าหนีผ้ รู้ ับจำนำ
-ค่าใช้จ่ายใด ๆ อันควรแก่การบำรุงรักษาทรัพยส์ ินจำนำนั้น ผู้จำนำจำต้องชดใช้ให้แก่ผู้รับจำนำ
เว้นแต่จะได้กำหนดไวเ้ ปน็ อยา่ งอนื่ ในสัญญา
-สิทธิที่ได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ หากขายได้เงินต้องใช้หนี้ผู้รับจำนำก่อน เจ้าอื่นได้เงิน
ตามลำดับ
-สิทธิของเจ้าหนี้ผู้รบั จำนำกับเจา้ หนบ้ี รุ มิ สิทธิอนื่
-ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญา หากมีดอกผลนิตินัยงอกจากทรัพย์สินนั้นอย่างไร ให้ผู้รับ
จำนำจัดสรรใช้เป็นค่าดอกเบี้ยอันค้างชำระแก่ตน และถ้าไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระ ท่านให้จัดสรรใช้ต้นเงินแห่ง
หน้ีอนั ได้จำนำทรัพย์สนิ เปน็ ประกนั นน้ั
-ดอกผลนิตินัย คือ ทรัพย์หรือประโยชน์อื่นที่ได้มาเปน็ ครั้งคราวแก่เจ้าของทรพั ย์จากผูอ้ ื่น เพื่อการที่
ไดใ้ ชท้ รพั ย์นั้นและสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวนั หรอื ตามระยะเวลาทีก่ ำหนด เชน่ คา่ เช่า ดอกเบี้ย
เงนิ ปนั ผล ฯลฯ
- เจา้ หนี้มีสิทธินำดอกผลนิตนิ ัยมาชำระดอกเบี้ยและหนป้ี ระธานเทา่ นัน้ ส่วนค่าอุปกรณ์อื่นๆ เจ้าหน้ี
ไมม่ สี ิทธินำดอกผลนติ นิ ัยมาชำระได้
แตจ่ ะนำดอกผลธรรมดาของทรัพย์สินท่จี ำนำมาชำระไม่ได้ เว้นแต่ เม่อื เจ้าหนี้บงั คับจำนำแล้วได้เงิน
ไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ที่เหลือจากทรัพย์สินอื่น (รวมดอกผลธรรมดา) ของลูกหนี้ผู้
จำนำได้
ควรจำ
-การจำนำ เจ้าหนี้มีสิทธิกับเฉพาะบังคับกับดอกผลนิตินัย(ดอกเบี้ย ค่าเช่า เงินปันผล) ส่วนดอก
ธรรมดา(ลกู วัว) บังคบั ไม่ได้ แต่การจำนอง เจา้ หน้มี สี ทิ ธบิ งั คบั ไดก้ บั ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตนิ ยั
-การบังคับกับดอกผลนิตินัยได้แม้ว่ายังไม่มีการบังคับจำนำ แต่ต้องมีการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่ผู้
จำนอง / ผ้รู ับโอน

หนา้ ท่ขี องผู้รบั จำนำมี 2 ประการ
-ผูร้ บั จำนำตอ้ งเก็บรักษาและสงวนทรัพย์สินทจ่ี ำนำ

-ผู้รบั จำนำต้องไมน่ ำทรัพย์สนิ ท่จี ำนำมาใช/้ ใหบ้ ุคคลภายนอกใช้หรือเกบ็ รกั ษาโดยท่ีผู้จำนำไม่ยินยอม
ผู้รับจำนำจะต้องรับผิด เพื่อที่ทรัพย์สินจำนำนั้นสูญหาย หรือบุบสลายไปอย่างใดๆ แม้ทั้งเป็นเพราะเหตุ
สดุ วสิ ัย เว้นแต่จะพิสจู น์ไดว้ า่ ถึงอยา่ งไร ๆ กค็ งจะตอ้ งสญู หาย หรือบุบสลายอยู่นั่นเอง

แตเ่ อาไปใหบ้ ุคคลภายนอกเกบ็ ไว้ได้ ถ้าตกลงกันแลว้ หากยนิ ยอมแล้ว เม่อื ผจู้ ำนำเอามาใช้เองหรือให้
คนอื่นเก็บแล้วทรัพย์นั้นเสียหาย ผู้รับจำนำไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ประมาทหรือจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ผู้รับ
จำนำก็ตอ้ งรบั ผดิ ฐานละเมิด

-ผู้จำนำตอ้ งเก็บรักษาและสงวนทรัพยส์ ินท่ีจำนำอย่างวญิ ญชู น เสมือนทรพั ย์ตนเอง

สิทธิและหน้าทข่ี องผ้จู ำนำ

-สทิ ธิทจ่ี ะไถถ่ อนทรัพย์สินที่จำนำ
-สิทธทิ จ่ี ะได้รับใช้ราคาทรัพยส์ ินที่จำนำคืนจากลกู หนชี้ นั้ ต้น ในกรณีท่ผี ้จู ำนำเปน็ บุคคลภายนอก

สิทธไิ ล่เบย้ี จะไถถ่ อนทรพั ย์สนิ ท่จี ำนำ แยกพิจารณาได้ 2 กรณี คอื

-กรณีผู้จำนำเป็นบุคคลภายนอก มีสิทธิ์ไล่เบี้ย หากทรัพย์ของตนถูกขาย ไปตามเอาเงินจากลูกหน้ี
ชั้นต้นได้

-กรณีผูจ้ ำนำเปน็ ลูกหนีช้ ั้นตน้ มสี ิทธิไ์ ถถ่ อนทรัพย์

หนา้ ท่ขี องผจู้ ำนำ

-ผู้จำนำต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาในทรัพย์สินที่จำนำคืนให้แก่ผู้รับจำนำ หากไม่จ่ายผู้รับจำนำ
สิทธเิ รียกรอ้ งน้ีมอี ายุความ 6 เดือน นบั แต่วนั ส่งคืนทรพั ย์หรอื ขายทอดตลาดทรัพย์สินทีจ่ ำนำ

ผู้รับจำนำไม่มีสิทธิ์ ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน หรือฟ้องเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่าย เพื่อการบำรุงรักษา
ทรัพย์สินจำนำ หรือฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอันเกิดแก่ผู้รับจำนำ เพราะความชำรุด
บกพร่องในทรัพย์สินจำนำซึ่งไม่เห็นประจักษ์ หากพ้นหกเดือนนับแต่วันส่งคืน หรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน
จำนำ

-ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความบุบสลายอันผู้รบั จำนำก่อใหเ้ กิดแกท่ รัพย์สินที่จำนำ ฟ้องได้ ๖ เดือน ใช้
เฉพาะกรณีที่ทรัพย์สินที่จำนำนั้นบุบสลายเท่านั้น แต่ไม่ถึงขนาดว่าทรัพย์สินนั้นสูญหาย ถ้าทรัพย์สินนั้นสูญ
หายผจู้ ำนำในฐานะเจา้ ของสิทธติ ิดตามเอาทรพั ย์คนื ได้ โดยไมม่ ีกำหนดอายคุ วาม

-แต่ถ้าทรัพย์ถูกทำลายไปทั้งหมดแล้ว อายุความในการเรียกค่าราคาทรัพย์ คือ 1 ปี นับแต่การมีการ
ทำละเมิดและรตู้ วั ผ้ทู ีจ่ ะตอ้ งชดใชค้ า่ สินไหมทดแทน

หมวด 3. การบังคบั จำนำ

เมื่อจะบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้และอุปกรณ์
ภายในเวลาอันควรซึ่งกำหนดใหใ้ นคำบอกกลา่ วนนั้

ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำชอบที่จะเอาทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายได้ แต่
ตอ้ งขายทอดตลาด ผรู้ ับจำนำต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยงั ผู้จำนำ บอกเวลาและสถานทซ่ี ึ่งจะขายทอดตลาด
ดว้ ย”

การบงั คับจำนำทรัพยส์ ินที่จำนำทวั่ ไป
เมอ่ื หน้ีประธานถึงกำหนดเวลาชำระหน้ีหรือลกู หนีไ้ มอ่ าจถือประโยชนแ์ หง่ เง่ือนเวลาได้
ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวบังคับจำนำเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้+ ผู้จำนำให้ชำระหนี้ ให้ครบถ้วนภายใน

กำหนดเวลาทก่ี ำหนดในคำบอกกลา่ ว
ถ้าไม่มีการชำระหนี้ให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะนำทรัพย์สินที่จำนำออกขาย

ทอดตลาดได้ (โดยไม่ต้องฟ้องบังคับจำนำ) โดยต้องบอกกล่าวไปยังผู้จำนำว่าจะขายทอดตลาดในเวลาใด และ
สถานทใ่ี ดเพอ่ื ให้มโี อกสาขอไถ่ถอนทรพั ย์ท่จี ำนำ

ขอ้ สงั เกต

การบังคับจำนำ เจ้าหนี้ไม่ต้องฟ้องคดีก่อนที่จะนำทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาด แต่การบังคับ
จำนองเจ้าหนีต้ อ้ งฟอ้ งคดีเพอ่ื ให้ศาลมคี ำสั่งนำทรพั ยส์ ินทีจ่ ำนองออกขายทอดตลาด

-การบงั คบั จำนำมีทางเดียว คือการนำทรพั ย์สนิ ที่จำนำออกขายทอดตลาด ไม่มีกรณที ี่จะนำทรพั ย์สินท่ี
จำนำหลุดเป็นสิทธิ แต่การบังคับจำนองมกี ารเอาทรพั ยส์ ินหลุดเปน็ สทิ ธิของตนได้

-เจา้ หนีผ้ รู้ บั จำนำอาจจะสละบุรมิ สทิ ธแิ ละเลอื กฟ้องลูกหนอ้ี ย่างเจา้ หน้สี ามัญตามก็ได้
-กรณีการบอกกล่าวบังคับจำนำไมช่ อบ ไม่ทำให้การขายทอดตลาดโมฆะ แต่เจา้ หนต้ี อ้ งรบั ผิดในการที่
ทรัพย์สนิ ทจ่ี ำนำขายทอดตลาดได้ราคาตำ่ กวา่ ราคาท้องตลาดที่แท้จรงิ
-ถ้าไม่สามารถจะบอกกล่าวก่อนได้คือ กรณีเจ้าหนี้ไม่รู้ว่าลูกหนี้ + ผู้จำนำย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่ไหน
ผู้รับจำนำจะเอาทรัพย์สินจำนำออกขายทอดตลาดเสีย ในเมื่อหนี้ค้างชำระมาล่วงเวลาเดือนหนึ่งแล้วก็ให้ทำ
ได้”
-เจ้าหนีผ้ ู้รับจำนำทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้ ต่อเมื่อหนี้ประธานและค่าอุปกรณ์ค้างชำระ
มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน แต่หากถ้าฝ่าฝืนขายทอดตลาดไป เจ้าหนี้ต้องรับผิดที่ขายทอดตลาดได้น้อยกว่า
ราคาทีแ่ ท้จริง
การบังคบั จำนำแก่ต๋ัวเงิน
-ถ้าจำนำตั๋วเงิน ให้ผู้รับจำนำเก็บเรียกเงินตามตั๋วเงินนั้นในวันถึงกำหนด ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าว
ก่อน”
คอื เม่ือหน้ปี ระธานถงึ กำหนดเวลาในการชำระหน้ี / ลกู หน้ีไม่อาจท่ีจะถอื ประโยชน์แห่งเง่อื นเวลาได้
เจ้าหนีท้ ีร่ ับจำนำตั๋วเงินมีสิทธทิ ีจ่ ะบังคับจำนำตั๋วเงินทีร่ บั จำนำไว้ได้ โดยที่เจ้าหนี้ไม่ต้องบอกกล่าวบังคับจำนำ
ก่อนและไม่ต้องนำต๋วั เงินกออกขายทอดตลาด ถ้าเงนิ ทเี่ รียกเก็บตามตว๋ั เงนิ มากกวา่ หน้ีประธาน เจ้าหนี้ต้องคืน
ใหแ้ กผ่ ู้จำนำ

การบงั คับจำนำกรณมี ที รัพย์สินหลายส่ิงเพอื่ ประกันการชำระหนีป้ ระธานรายเดียว

-ถ้าจำนำทรัพย์สินหลายสิ่ง เพื่อประกันหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียว ผู้รับจำนำจะเลือกเอาทรัพย์สินสิ่ ง
หน่ึงสิง่ ใดออกขายกไ็ ด้ แตจ่ ะขายจนเกินกว่าที่จำเปน็ เพอื่ ใช้เงนิ ตามสทิ ธิแห่งตนนน้ั หาไดไ้ ม่

-ตอ้ งมีการบอกกลา่ วบังคับจำนำตาม เว้นแต่กรณีไมส่ ามารรถบอกกลา่ วได้หรือการบังคับจำนำตัว๋ เงิน
-ผู้รับจำนำมีสิทธิที่จะเลือกว่าจะขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนำชิ้นไหนก่อนหรือหลังก็ได้ แต่จะขาย
ทอดตลาดมากกว่าส่ิงทจี่ ำเป็นไม่ได้

-หากว่าขายทอดตลาดได้พอชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้จะขายทอดตลาดทรัพย์สินอื่นต่อไปไม่ ได้ผลหลัง

การบงั คับจำนำ

-เมื่อบังคับจำนำได้เงินจำนวนสุทธิเท่าใด ท่านว่าผู้รับจำนำต้องจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์เพื่อให้
เสรจ็ สน้ิ ไป และถ้ายงั มีเงินเหลอื กต็ อ้ งส่งคนื ใหแ้ ก่ผจู้ ำนำ หรอื แกบ่ ุคคลผูค้ วรจะได้เงินน้ัน

ถ้าได้เงนิ นอ้ ยกวา่ จำนวนค้างชำระ ท่านวา่ ลูกหนี้กย็ ังคงตอ้ งรบั ใชใ้ นส่วนทข่ี าดอย่นู ัน้ ”
สรปุ เงินทไี่ ดจ้ ากการขายทอดตลาดทรัพย์สินท่ีจำนำ

ไดเ้ งินจำนวนสทุ ธจิ งึ นำไปชำระหนป้ี ระธานและค่าอุปกรณ์
ถา้ มเี งินเหลือหลงั ชำระหนีแ้ ลว้ ต้องคืนให้แก่ผูจ้ ำนำ / ผ้มู ีสิทธใิ นเงิน
ลูกหนี้ชั้นต้นยังต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือ กล่าวคือ กรณีขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้
ประธานและหนี้อุปกรณ์ ลกู หนช้ี ้นั ตน้ ต้องรับผิดชำระหนท้ี เ่ี หลือใหแ้ ก่เจ้าหนี้
ผู้จำนำที่เป็นบุคคลที่สามไม่ต้องรบั ผิดในการชำระหน้ีที่เหลือแก่เจา้ หน้ี เว้นแต่มีข้อตกลงเป็นอย่าง
อ่ืน
ถ้าหนี้ที่เหลือเป็น “หนี้ที่มีข้อต่อสู้” ลูกหนี้มีสิทธิที่จะยกข้อต่อสู่ดังกล่าวขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ เช่น หน้ี
ขาดอายคุ วาม หนี้ขาดหลกั ฐานในการฟ้องรอ้ งบังคบั คดี ฯลฯ
หากขายแลว้ ไม่พอหนี้ ลกู หน้ีช้นั ตน้ ยงั ตอ้ งรบั ผิดในหนี้ส่วนท่เี หลือ

หมวด 4. ความระงบั สิน้ ไปแหง่ การจำนำ

-อนั จำนำยอ่ มระงบั สน้ิ ไป
(๑) หน้ีประธานระงบั หนปี้ ระธานระงบั มี 5 กรณี คอื การชำระหนีค้ รบถ้วน การปลดหนี้ การ

หักกลบลบหน้ี การแปลงหนใี้ หม่ หน้ีเกล่ือนกลนื กนั หรอื อืน่ ๆ ทีม่ ใิ ชเ่ พราะอายุความ
การปลดจำนำไม่ได้ทำใหห้ นป้ี ระธานระงบั ไปดว้ ย
หนี้ประธานขาดอายุความ ไม่ทำให้การจำนำระงับ แต่เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับจำนำได้โดยได้รับชะหนี้แก่

ต้นเงนิ และดอกเบีย้ ไม่เกนิ 5 ปี
(๒) การคืนการครอบครอง ผู้รับจำนำให้ทรัพย์นั้นกลับคืนไปสู่ผู้จำนำ คือ ผู้รับจำนำปลดการจำน

ต้องเปน็ กรณเี จา้ หนี้ผู้รบั จำนำ “ยนิ ยอม” ใหท้ รัพย์สินทจ่ี ำนำคืนไปสู่การครอบครองของผ้จู ำนำ หากทรัพย์สิน
ไปอยู่ในการครอบครองของผจู้ ำนำ โดยผ้รู บั จำนำมายนิ ยอม การจำนำไมร่ ะงบั

-ถา้ มิได้กำหนดไว้เป็นอยา่ งอ่ืนในสัญญา หากมดี อกผลนติ ินยั งอกจากทรพั ยส์ นิ น้นั อย่างไร ทา่ นให้ผู้รับ
จำนำจัดสรรใช้เป็นค่าดอกเบี้ยอันค้างชำระแก่ตน และถ้าไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระ ท่านให้จัดสรรใช้ต้นเงินแห่ง
หนอ้ี นั ได้จำนำทรัพย์สนิ เปน็ ประกนั น้ัน

-ค่าใช้จ่ายใด ๆ อันควรแก่การบำรุงรักษาทรัพย์สินจำนำนัน้ ผู้จำนำจำตอ้ งชดใช้ให้แกผ่ ูร้ ับจำนำ เว้น
แตจ่ ะไดก้ ำหนดไว้เปน็ อยา่ งอนื่ ในสญั ญา

-ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีดังจะกล่าวต่อไปนี้ เมื่อพ้นหกเดือนนับแต่วันส่งคืน หรือขายทอดตลาด
ทรัพย์สินจำนำ คอื

(๑) ฟ้องเรยี กคา่ สินไหมทดแทนเพ่ือความบบุ สลายอันผรู้ ับจำนำก่อใหเ้ กิดแก่ทรัพย์สินจำนำ
(๒) ฟ้องเรียกใหช้ ดใชค้ า่ ใชจ้ า่ ยเพ่อื การบำรงุ รกั ษาทรพั ย์สินจำนำ

(๓) ฟ้องเรียกค่าสนิ ไหมทดแทนเพ่ือความเสียหายอันเกดิ แกผ่ ู้รับจำนำ เพราะความชำรุดบกพร่อง
ในทรัพย์สินจำนำซงึ่ ไมเ่ ห็นประจกั ษ์

หมวด ๓ การบังคับจำนำ

-เมื่อจะบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลกู หนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้และอุปกรณ์
ภายในเวลาอนั ควรซ่ึงกำหนดใหใ้ นคำบอกล่าวนัน้

ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำชอบที่จะเอาทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายได้
แตต่ อ้ งขายทอดตลาด

อนงึ่ ผ้รู ับจำนำตอ้ งมจี ดหมายบอกกลา่ วไปยังผูจ้ ำนำบอกเวลาและสถานที่ซงึ่ จะขายทอดตลาดด้วย
-ถ้าไม่สามารถจะบอกกล่าวก่อนได้ ผู้รับจำนำจะเอาทรัพย์สินจำนำออกขายทอดตลาดเสียในเมื่อหน้ี
คา้ งชำระมาล่วงเวลาเดือนหนึง่ แล้วกใ็ หท้ ำได้
-ถา้ จำนำตว๋ั เงิน ทา่ นให้ผู้รับจำนำเก็บเรยี กเงินตามตั๋วเงินนั้นในวันถึงกำหนด ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าว
ก่อน
-เมื่อบังคับจำนำได้เงินจำนวนสุทธิเท่าใด ท่านว่าผู้รับจำนำต้องจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์เพื่อให้
เสร็จส้ินไป และถ้ายงั มีเงินเหลือกต็ อ้ งส่งคืนให้แก่ผู้จำนำ หรอื แก่บุคคลผคู้ วรจะไดเ้ งนิ นัน้
ถ้าได้เงนิ น้อยกว่าจำนวนค้างชำระ ท่านว่าลกู หนี้ก็ยังคงต้องรับใชใ้ นส่วนท่ขี าดอยนู่ ัน้
-ถ้าจำนำทรัพยส์ นิ หลายส่ิงเพอื่ ประกันหน้ีแต่รายหน่งึ รายเดียว ท่านว่าผรู้ ับจำนำจะเลือกเอาทรัพย์สิน
สง่ิ หนึง่ สิง่ ใดออกขายก็ได้ แต่จะขายจนเกนิ กวา่ ทจี่ ำเปน็ เพื่อใช้เงนิ ตามสทิ ธแิ ห่งตนน้ันหาได้ไม่

บรรพท่ี ๔ ทรพั ย์

หมวด ๑ การไดม้ าซ่ึงกรรมสทิ ธ์ิ

-มาตรา ๑๓๐๘ ที่ดนิ แปลงใดเกิดท่ีงอกริมตล่งิ ทีง่ อกยอ่ มเป็นทรพั ยส์ ินของเจ้าของทดี่ นิ แปลงนนั้
-มาตรา ๑๓๐๙ เกาะที่เกิดในทะเลสาบ หรือในทางน้ำหรือในเขตน่านน้ำของประเทศก็ดี และท้อง
ทางนำ้ ท่เี ขนิ ขน้ึ ก็ดี เป็นทรพั ย์สนิ ของแผน่ ดิน

การไปสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น โดยผู้สร้างสุจริต(เข้าใจว่าเป็นที่ดินของตน) เจ้าของที่ดินได้
กรรมสิทธิ์ในโรงเรือน แต่ต้องชดใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้สร้าง ค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น คือ ไม่ใช่ราคาค่าปลูก
สรา้ ง แต่คำนวณจากเอาราคาบ้านพร้อมทด่ี ินลบกับราคาทด่ี ินเฉย ๆ ส่วนตา่ งนนั้ เจ้าของทดี่ นิ ตอ้ งคนื ใหผ้ สู้ ร้าง

แตถ่ ้าเจ้าของทด่ี นิ สามารถแสดงไดว้ ่า มไิ ดม้ ีความประมาทเลนิ เล่อ( เชน่ เจ้าของทดี่ นิ มาล้อมร้ัวไว้ ทำ
ประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งผู้อื่นจะอ้างว่าไม่มีเจ้าของไม่ได้) จะไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรยี กใหผ้ ู้สร้างรือ้ ถอนไป
และทำที่ดินให้เปน็ ตามเดิมกไ็ ด้ เว้นไว้แต่ถ้าการรือ้ น้ีจะทำไม่ได้เพราะใช้เงนิ เกินสมควร( หมายถึง การรื้อต้อง
ใชเ้ งนิ รอื้ เกินกวา่ ราคาครึง่ หน่ึงของส่ิงปลูกสร้าง) เจา้ ของท่ดี นิ จะเรียกใหผ้ ู้สร้างซื้อท่ีดินทงั้ หมดหรือแต่บางส่วน
ตามราคาตลาดก็ได้

การไปสรา้ งโรงเรือนในที่ดินของผู้อ่นื โดยผู้สร้างไม่สจุ ริต บคุ คลนั้นต้องทำท่ีดินให้เป็นตามเดิมแล้ว
ส่งคืนเจ้าของ เว้นแต่เจ้าของจะเลือกให้ส่งคืนตามที่เป็นอยู่(ไม่ให้รื้อ แต่นับเอาโรงเรือนด้วย) ในกรณีเช่นนี้
เจ้าของที่ดินต้องใช้ราคาโรงเรือนหรือใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นแล้วแต่จะเลือก
แตผ่ ู้สร้างจะอ้างสทิ ธวิ า่ คา่ ร้ือแพง ขอซอื้ ทดี่ ินไม่ได้เพราะไมส่ ุจรติ

ไม่สุจริต คือ รู้ทั้งรู้ว่าที่ดินเป็นของเขายังจะสร้าง เช่น บุตรสร้างบ้านบนที่ดินบิดา ทั้งที่รู้ เป็นการ
สร้างโดยไม่สุจริต แต่ไม่รับผิดการบุกรุก เพราะได้รับความยินยอม ถ้ามีปัญหาตามหลังคือ ต่อมาบุตรไม่ได้รับ
อนญุ าตให้อยบู่ นทด่ี ินบดิ าแล้ว บ้านท่ีสรา้ งตอ้ งรอ้ื ออก โดยไม่ได้รับคา่ รือ้ ถอน แตจ่ ะยอมความตกลงอย่างอ่ืนก็
ได้

การรู้ว่าไม่ใช่ที่ดินตน ถ้ารู้ในระหว่างปลูกสร้างแล้วไม่รื้อถอน เช่น ตอนเริ่มสร้างผู้สร้างเข้าใจว่าเป็น
ท่ดี ินตน แต่สร้างไปไดค้ รง่ึ หลงั รู้วา่ ไม่ใชข่ องตน ถา้ หยดุ ปลกู ก็ไมม่ ีเรอื่ ง ถา้ สรา้ งต่อเราถือวา่ สรา้ งโดยไมส่ จุ รติ

กรณีสรา้ งโดยไมด่ ขู อบเขตทด่ี ินของตน เลขระวางทด่ี นิ แลว้ สร้างผดิ ที่ โดยประมาท เป็นการสร้างโดย
ไม่สจุ ริต

การสร้างโรงเรือนบนที่ดินของตนเอง(ส่วนควบของที่ดิน) แต่มีบางส่วนของโรงเรือนลุกล้ำเข้าไปใน
ท่ีดินของคนอืน่ โดยสุจริต เจ้าของโรงเรอื นยังเปน็ เจา้ ของสว่ นท่ลี ุกลำ้ อยู่ แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็น
ค่าใช้ที่ดินนั้น และจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม ต่อภายหลังถ้าโรงเรือนนั้นสลายไปทั้งหมด เจ้าของที่ดิน
จะเรียกให้เพกิ ถอนการจดทะเบียนเสยี ก็ได้(เฉพาะสว่ นทลี่ กุ ล้ำ)

คำวา่ โดยสุจริต คอื ตรวจสอบดแี ลว้ แตก่ ารกอ่ สร้างมคี วามบกพรอ่ ง
เช่น นายเอสร้างบ้านในที่ดินของตนเอง พอสร้างเสร็จพบว่า หลังคาบ้านนั้นลุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ
นายบี หากว่านายเอสุจริต เอก็ยงั เปน็ เจา้ ของหลังคาสว่ นทล่ี ้ำอยู่ เพียงแต่นายเอต้องเสียค่าเงินค่าใช้ท่ีดินแก่บี
และบตี ้องยอมจดทะเบยี นภาระจำยอมด้วย โดยท่เี อไมต่ ้องร้อื สว่ นท่ีล้ำออกไป หากหลายปตี ่อมาหลังคาส่วนที่
ลกุ ล้ำถูกพายุพดั หายไป บีผู้เป็นเจ้าของทีด่ นิ จะเรยี กใหเ้ พกิ ถอนการจดทะเบียนก็ได้
แต่ รั้ว ถังส้วมซีเมนต์ โรงรถ ท่อประปา แทงก์น้ำไม่ใช่ส่วนควบของโรงเรือนคือบ้าน ถ้าส่วนที่ลุกล้ำ
น้นั ไมใ่ ชส่ ่วนควบของโรงเรอื น หากลุกล้ำตอ้ งร้ือถอนออก จะอา้ งเพ่อื เสียค่าใชจ้ ่าย จดภาระจำยอมไมไ่ ด้
สรุป ถ้าเป็นสว่ นควบอา้ งได้ ถ้าไม่ใช่สว่ นควบรื้อเสมอ

ถ้าบุคคลผู้สร้างโรงเรือนลุกล้ำนั้นกระทำการโดยไม่สุจริต เจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป
และทำท่ดี ินให้เป็นตามเดมิ โดยผู้สรา้ งเปน็ ผ้อู อกค่าใชจ้ า่ ยก็ได้

ไม่สจุ รติ คือ รวู้ า่ ลุกล้ำกอ่ นหรือระหว่างสรา้ ง แตไ่ ม่ร้ือ ปลอ่ ยจนสรา้ งเสรจ็

การได้ทรพั ยส์ นิ มาโดยสจุ รติ ในพฤตกิ ารณ์
-สิทธิของบุคคลผูไ้ ด้มาซึ่งทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตน้ัน ท่านว่ามเิ สียไป ถึงแม้ว่าผู้โอน

ทรัพย์สนิ ให้จะได้ทรพั ยส์ นิ นน้ั มาโดยนติ กิ รรมอันเปน็ โมฆยี ะ และนิติกรรมน้นั ได้ถกู บอกลา้ งภายหลัง
สรุป

มีนติ ิกรรม ๒ คร้ัง ครงั้ แรกนติ ิกรรมระหว่างบคุ คลอื่นกับผู้โอนให้เปน็ โมฆยี ะ
นติ ิกรรมครง้ั ที่ ๒ ระหว่างผโู้ อนกับบคุ ลที่ได้ทรัพย์มาภายหลังต้องสมบูรณ์
ผู้ที่ได้ทรัพย์มาต้องมีค่าตอบแทน สุจริต ได้มาก่อนนิติกรรมครั้งแรกถูกบอกล้าง ผลคือ ไม่ต้องคืน
ทรัพย์
นายเอผเู้ ยาว์ขายโทรศัพท์ราคา ๓ หมื่นบาทใหน้ ายบี (นติ กิ รรมครงั้ ๑ ซ่ึงเปน็ นิติกรรมโมฆียะ เพราะ
ผู้เยาว์ทำนิติกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต) แต่ยังไม่ได้มีการบอกล้างนิติกรรมโมฆียะนี้หรือให้สัตยาบัน นายบีนำ
โทรศัพท์นี้ไปขายต่อใหน้ ายซีราคา ๔ หมื่นบาทมาอย่างสุจริตเพราะไม่รู้ว่าบีซือ้ มาจากผูเ้ ยาว์ (นิติกรรมคร้งั ท่ี
๒ ผลสมบูรณ์) ต่อมามีการบอกล้างนิติกรรมครั้งที่ ๑ จนเป็นโมฆะ ทำให้บีต้องคืนโทรศัพท์ให้เอ แต่บีไม่มี
เพราะขายให้ซีแลว้ ถามว่า เอจะตามไปเรียกโทรศัพท์คืนจากซีไดห้ รือไม่ ตอบคือ
ต้องดูว่าซีได้มาโดยมีค่าตอบแทน(จ่ายเงิน แลกเปลี่ยน แรงงาน) สุจริต(ไม่รู้ว่านิติกรรมครั้งก่อนเป็น
โมฆยี ะ) หลังบอกล้างนิติกรรมแรกหรือไม่ สรปุ คือไดม้ าโดยได้ค่าตอบแทน สุจริต มาหลังบอกลา้ ง ซไี ม่ต้องคนื
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

-ผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มลลายน้ัน
สิทธิของผู้ซื้อไม่เสียไป แม้ว่าภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ของจำเลย หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา
หรือผ้ลู ้มละลายกต็ าม

สรุปงา่ ยๆ หลงั จากคดีสิ้นสุด เชน่ ผดิ สญั ญาก้ยู มื เงินหรือคดีล้มละลาย เมอ่ื มกี ารขายทอดตลาดทรัพย์
ของลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ให้ลูกหนี้ ผู้ที่ซื้อทรัพย์นั้นมาโดยสุจริต(แปลว่า คิดว่าเป็นทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำ
พิพากษา แตถ่ ้าทราบมาว่าทรพั ย์เอามาขายน้นั ไม่ใช่ทรัพย์ของลูกหน้ีท่ีแพ้คดีแสดงว่าไมส่ ุจรติ ) แม้จะปรากฏว่า
ทรัพย์นั้นไม่ใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ที่ซื้อโดยสุจริตไม่ต้องคืนทรัพย์ เจ้าของทรัพย์ที่แท้จริง ต้องไป
เรียกร้องเอากับบุคคลอื่น เช่น ลูกหนี้ แต่ถ้าทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์แผ่นดินผู้ซื้อต้องคืน เช่น ที่ดินอุทยาน
โบราณวัตถุ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

-ผู้ที่ได้เงินตรา(เงินไทยเท่านั้นหากเป็นเงินต่างประเทศถือเป็นทรัพย์) มาโดยสุจริต จะได้มาโดยมี
ค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้ เช่น ได้มาจากให้โดยเสน่หา ไม่ต้องคืนแม้ว่าภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าเงินนั้นมิใช่ของ
บุคคลซ่งึ ไดโ้ อนใหม้ า
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สิน(รวมถึงเช่าซื้อที่ชำระครบ โอนกรรมสิทธิ์ด้วย)มาโดยสุจริต(ขายโดยเปิดเผย
ถูกกฎหมายในเวลาทำการ ไม่ใชห่ ลังรา้ น) จากการขายทอดตลาด(สูร้ าคามา) หรือในทอ้ งตลาด หรือจากพ่อค้า
ซ่งึ ขายของชนดิ น้นั หากเจ้าของชดใช้ราคาทซี่ ื้อมาให้ ผซู้ ้อื ต้องคนื ทรพั ย์ให้ หากเจ้าของทรัพยไ์ มไ่ ด้ใชร่ าคามาก็
ไมต่ ้องคนื
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

-ท่านวา่ กรรมสิทธน์ิ ้ัน อาจได้มาโดยอายุความตามที่บัญญตั ไิ วใ้ นลักษณะ ๓ แหง่ บรรพนี้
-ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอ่ืน
ตามกฎหมายท่ดี นิ นน้ั ท่านว่าบุคคลอาจได้มาตามกฎหมายท่ีดนิ

หมวด ๒ แดนแห่งกรรมสทิ ธ์ิ และการใช้กรรมสทิ ธ์ิ

กรรมสิทธิ์ คือ สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ยันได้กับทุกคนทั่วโลก ต่างชาติมารบกวนกรรมสทิ ธ์ิ
เรา เรากข็ ึ้นศาลไทยได้

แดนกรรมสทิ ธิ์ทีด่ นิ อยูไ่ ดท้ ง้ั เหนอื พ้นื ดินและใตพ้ ้นื ดิน ตามประมวลกฎหมายแพง่ หรือกฎหมายอนื่
แดนกรรมสทิ ธ์ใิ ชก้ ับทดี่ นิ

คำวา่ เหนือพน้ื ดิน เช่น ปลกู ต้นไม้ สรา้ งอาคาร ห้ามตกึ สงู เกินกฎหมายอ่ืนตามเขตควบคมุ
คำว่า ใตด้ นิ เช่น บ่อปลา ห้องใตด้ นิ บาดาล บอ่ ดนิ บอ่ ทราย
เจ้าของทม่ี ีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สนิ นั้นแล้วย่อมมสี ทิ ธิ

มีสิทธใิ ชส้ อยทรพั ยน์ ั้น
มีสิทธิขดั ขวางมิใหผ้ ู้อ่นื สอดเขา้ เก่ยี วข้องกบั ทรพั ยส์ ินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
มอี ำนาจจำหน่ายทรพั ยส์ ินของตน (จำหน่าย คือ โอนกรรมสทิ ธิ์ อาจจะขาย ให้ แลกเปลี่ยน
กไ็ ด้)
ควรจำ มีสทิ ธทิ ำลายทรพั ยต์ นได้ แตก่ ฎหมายหา้ มเผาบา้ นตนเอง ผดิ ฐานวางเพลงิ เผาทรัพย์

มีสิทธิได้ดอกผลแห่งทรัพย์สินตน (ดอกผลธรรมดา เช่น ลูกหมู ผลมะม่วง และดอกผลนิติ
นัย เช่น คา่ เช่า เงนิ ปันผล ดอกเบย้ี กำไร)

มีสทิ ธติ ิดตามและเอาคนื ซ่งึ ทรัพย์สนิ ของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธจิ ะยึดถือไว้
เช่น หากมีคนอื่นเอาโฉนดไปจำนำ(เพราะเพียงใบโฉนดไม่ใช่จดจำนอง)หรือทรัพย์อื่น ๆ โดยเจ้าของ
ไมท่ ราบ เจ้าของทแ่ี ทจ้ รงิ มสี ิทธติ ิดตามเอาได้ โดยไมม่ ีอายุความ หากเอาไปเองจะสู้เจา้ หนีไ้ ม่ได้
เช่น หากเอาพระเครื่องของมีค่าไปไว้ในอัฐิบรรพบุรุษในวัด มีโจรมาทุบไป ติดตามเอาคืนได้หากมี
หลกั ฐาน
เช่น บางคร้ังการติดตามเอาคนื อาจต้องใชศ้ าล เชน หมดสญั ญาเชา่ แตผ่ ู้เชา่ ไมย่ อมมอบบ้านคืน จะไป
ยึดขนของออกเองไม่ได้ ผดิ ฐานบุกรกุ แตต่ อ้ งฟ้องศาล
-บุคคลใดใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่
ควรคดิ หรือคาดหมายได้ ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอนั ควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งท่ีอยู่แห่งทรัพย์สิน
นั้นมาคำนึงประกอบ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิจะปฏิบัตกิ ารเพื่อยังความเสียหายหรอื เดือดร้อนนัน้ ใหส้ น้ิ
ไป ท้งั นี้ ไม่ลบล้างสิทธิทจี่ ะเรียกเอาคา่ ทดแทน

ข้อจำกดั สิทธแิ ห่งเจา้ ของอสงั หาริมทรพั ย์

-ข้อจำกดั สิทธแิ ห่งเจา้ ของอสังหาริมทรพั ย์ซ่งึ กฎหมายกำหนดไวน้ นั้ ทา่ นวา่ ไมจ่ ำต้องจดทะเบียน
ข้อจำกัดเช่นนี้ ท่านว่าจะถอนหรือแก้ให้หย่อนลงโดยนิติกรรมไม่ได้ นอกจากจะได้ทำนิติกรรมเป็นหนังสือ
และจดทะเบยี นกบั พนกั งานเจ้าหน้าท่ี

ข้อจำกดั ซ่งึ กำหนดไวเ้ พื่อสาธารณประโยชนน์ ั้น เชน่ วางสายไฟ วางประปา(มสี ิทธไ์ิ ด้รับค่าทดแทน) จะ
ถอนหรอื แก้ใหห้ ยอ่ นลงมิได้เลย

-ท่ดี นิ ทีอ่ ยตู่ ำ่ กว่า ต้องยอมรับนำ้ ทไ่ี หลมาจากทส่ี ูงกวา่ และเจา้ ของทดี่ นิ ท่ีอยูส่ งู กว่าจะกันเอาไว้ได้เพียง
ทีจ่ ำเปน็ แกท่ ่ีดินของตน

-การขดุ ดินตอ้ งเวน้ ระยะ ห่างจากทีด่ นิ คนอ่นื ปอ้ งกนั ดนิ ถล่ม
-ปลูกต้นมะม่วง แล้วผลมะม่วงยื่นมาในที่ดินคนอื่น เจ้าของที่ดินที่กิ่งนั้นล้ำเข้ามาไม่สามารถเก็บกนิ
ได้ เว้นแต่มันจะหล่นลงในบ้านเรา แต่ถ้าเป็นกิ่งไม้ยื่นมาตอ้ งแจ้งให้ตัดกิ่งก่อนตามสมควร ถ้าเจ้าของไม่ตัด
เราตดั เองไดเ้ ลย
-เจา้ ของที่ดนิ จำตอ้ งรับน้ำซึ่งไหลเพราะระบายจากท่ดี นิ สูงมาในทดี่ นิ ของตน ถา้ ก่อนทีร่ ะบายนั้นน้ำได้
ไหลเขา้ มาในทีด่ นิ ของตนตามธรรมดาอย่แู ลว้
-ถ้าได้รับความเสียหายเพราะการระบายน้ำ เจ้าของที่ดินต่ำอาจเรียกร้องให้เจ้าของที่ดินสูงทำทาง
ระบายน้ำและออกค่าใช้จ่ายในการนั้น เพื่อระบายน้ำไปให้ตลอดที่ดินต่ำจนถึงทางน้ำ หรือท่อน้ำสาธารณะ
ทง้ั น้ีไม่ลบล้างสทิ ธิแห่งเจา้ ของท่ีดนิ ตำ่ ในอนั จะเรียกเอาคา่ ทดแทน
-มิให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ทำหลงั คาหรอื การปลกู สร้างอย่างอื่น ที่จะทำให้น้ำฝนตกลงยงั ทรัพยส์ นิ
ซึง่ อยู่ติดต่อกัน
-บ่อ สระ หลมุ รบั น้ำโสโครก หรือหลมุ รับป๋ยุ หรือขยะมลู ฝอยนนั้ จะขุดในระยะ ๒ เมตรจากแนวเขต
ท่ดี นิ ไมไ่ ด้

-คูหรือการขุดร่องเพื่อวางท่อน้ำใต้ดินหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันนั้น ท่านว่าจะทำใกล้แนวเขตที่ดินกว่า
ครงึ่ หนึ่งแห่งสว่ นลกึ ของคหู รือรอ่ งน้ันไม่ได้ แต่ถา้ ทำหา่ งแนวเขตหน่ึงเมตรหรือกวา่ นั้น ทา่ นวา่ ทำได้

-ถ้ากระทำการดังกล่าวไว้ในสองวรรคก่อนใกล้แนวเขตไซร้ ท่านว่าต้องใช้ความระมัดระวังตามควร
เพอื่ ป้องกันมิใหด้ นิ หรอื ทรายพงั ลง หรอื มใิ หน้ ้ำหรอื สง่ิ โสโครกซมึ เขา้ ไป

-ห้ามมิให้ขุดดินหรือบรรทุกน้ำหนักบนที่ดินเกินควรจนอาจเป็นเหตุอันตรายแก่ความอยู่มั่นแห่งที่ดนิ
ตดิ ตอ่ เวน้ แต่จะจัดการเพยี งพอเพอ่ื ป้องกันความเสยี หาย

-รั้ว กำแพง รั้วต้นไม้ คู ซึ่งหมายเขตที่ดินนั้น ท่านให้สนั นษิ ฐานไว้กอ่ นว่าเจ้าของท่ีดินทั้งสองขา้ งเปน็
เจา้ ของรวมกัน

-เมื่อรั้วต้นไม้ หรือคูซึ่งมิได้ใช้เป็นทางระบายน้ำ เป็นของเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างรวมกัน ท่านว่า
เจ้าของขา้ งใดข้างหนึ่งมีสิทธิทีจ่ ะตดั ร้ัวต้นไม้ หรือถมคูนน้ั ได้ถึงแนวเขตที่ดินของตน แต่ต้องก่อกำแพง หรือทำ
รั้วตามแนวเขตน้ัน

-ถ้ามีต้นไม้อยู่บนแนวเขตที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของต้นไม้
รวมกัน ดอกผลเป็นของเจ้าของที่ดินคนละสว่ นเสมอกัน และถา้ ตัดต้นลงไซร้ ไมน้ น้ั เป็นของเจ้าของท่ีดินคนละ
ส่วนดุจกนั

เจ้าของแต่ละฝ่ายจะต้องการให้ขุดหรือตัดต้นไม้ก็ได้ ค่าใช้จ่ายในการนั้นต้องเสียเท่ากันทั้งสองฝ่าย
แต่ถ้าเจ้าของอีกฝ่ายหน่ึงสละสิทธิในต้นไม้ไซร้ ฝ่ายที่ต้องการขุดหรือตัดต้องเสียค่าใช้จ่ายฝ่ายเดียว ถ้าต้นไม้
นั้นเปน็ หลักเขตและจะหาหลกั เขตอน่ื ไม่เหมาะเหมือน ทา่ นว่าฝา่ ยหน่งึ ฝา่ ยใดจะตอ้ งการใหข้ ดุ หรอื ตัดไม่ได้

เจ้าของท่ีดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากท่ีดินตดิ ต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ย่นื ล้ำเข้ามา เม่ือเจ้าของ
ทดี่ ินไดบ้ อกผู้ครอบครองที่ดนิ ติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่ผู้นั้นไมต่ ัด ท่านว่าเจ้าของท่ีดินตัดเอา
เสยี ได้

ดอกผลแห่งต้นไม้ที่หล่นตามธรรมดา ลงในที่ดินติดต่อแปลงใด ให้สันนิษฐานว่าเป็นดอกผลของที่ดิน
แปลงนัน้

สรปุ รากไมต้ ดั ได้เลยไมต่ อ้ งบอก กง่ิ ไมต้ ้องบอกก่อน

ทางจำเปน็ หรือทด่ี นิ ตาบอด

-ที่ดินตาบอดหรอื ทางจำเปน็ คือ ที่ดินที่มที ีด่ นิ แปลงอ่ืนล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้
เจ้าของทดี่ นิ แปลงน้ันมีสทิ ธิจะขอผ่านท่ดี นิ แปลงใดแปลงหน่งึ ซึ่งล้อมอยไู่ ปสู่ทางสาธารณะได้

หรือ ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้ แต่ต้องข้ามสระ บึง หรือทะเล หรือมีที่ชันอันระดับที่ดินกับทาง
สาธารณะสูงกว่ากันมาก ให้ขอผ่านได้ เหมือนกัน ยกเว้นแม่น้ำลำคลองใช้ทางจำเป็นไม่ได้ (แต่ใช้ภาระจำ
ยอมได)้ ถา้ นำ้ ตื่นเขนิ ใช้เรือไมไ่ ด้ อาจขอทางจำเป็นได้

-ทางจำเป็นต้องขอผ่านไปที่สาธารณะเท่านั้น ไม่ใช่ขอผ่านเพื่อไปที่ดินแปลงอื่นของตน ต่างจาก
ภาระจำยอม คือ ไม่จำเปน็ ต้องไมม่ ที างออก แต่อาจมที างออกอยู่แลว้ แตข่ อผา่ นไปทางไหนกไ็ ด้

-ทางจำเป็นไม่ต้องจดทะเบียนการได้มาตอ่ เจา้ หน้าท่ี แตภ่ าระจำยอมต้องทำหนงั สือจดทะเบียนต่อ
เจา้ หน้าที่

-หากความจำเป็นหมดไป ทางจำเป็นก็หมดไป

เช่น ที่ดินนายเอ ถูกที่ดินนายบี ซี ดี ล้อมไว้ นายเอจึงขอทางจำเป็นผ่านที่ดินนายบีผ่านสู่สาธารณะ
ตอ่ มานายเอขอซ้ือท่ีดินจากนายบีจนเป็นแปลงเดียวกัน ยอ่ มทำใหท้ างจำเปน็ หมดไป เพราะนายเอมที ่ีดินแปลง
ใหมต่ ิดกบั ทางสาธารณะแลว้

เชน่ มีถนนตัดผ่าน
ทางจำเป็นได้มาโดยกฎหมายเสมอ แต่ภาระจำยอมอาจมาโดยนิตกิ รรมหรอื อายุความก็ได้
ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ไม่จำเป็นต้องได้ที่ดินมาโดยสุจริต ก็ใช้ทางจำเป็นได้ เช่น นายเอรู้อยู่แล้วว่าที่ดิน
นายบีเป็นท่ดี นิ ตาบอดก็ยังซอ้ื แบบนน้ี ายเอก็มีสิทธใิ ชท้ างจำเป็น
-ทางจำเปน็ หากเกดิ ความเสียหาย ก็ชดใช้
-ทางจำเปน็ อาจจะใชร้ ถวงิ่ กไ็ ด้

กรณีที่ ๑ เจา้ ของทด่ี ินตาบอด ถกู ท่ีดนิ แปลงอนื่ ล้อมรอบ ตอ้ งยน่ื คำรอ้ งขอผา่ น ซึ่งการย่ืนคำร้อง

ต่อศาลเพื่อขอผ่าน เป็นคดีไม่มีข้อพิพาท แสดงเจตนาชัดเจนว่าจะขอผ่านที่ดินแปลงใด ทางผ่านกว้างเท่าไหร่
ศาลก็จะส่งหมายไปยังที่ดินที่เราขอผ่าน เพื่อให้รับรู้คำร้อง และยอมรับรับ ถ้าจะแย้งต้องฟ้องแย้งเข้ามาว่า
ทด่ี นิ แปลงนอ้ี ะ มนั มที างออกอยู่ ไม่ไดต้ นั ขนาดนน้ั แต่จะแย้งวา่ ไมใ่ หผ้ ่าน ใหไ้ ปผ่านแปลงอ่นื ไมไ่ ด้

ที่และวิธีทำทางผ่านนั้น ต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึง
ท่ีดนิ ทล่ี อ้ มอยู่ใหเ้ สยี หายแต่น้อยทสี่ ุดท่จี ะเปน็ ได้ ถา้ จำเปน็ ผ้มู สี ทิ ธจิ ะผา่ นจะสรา้ งถนนเป็นทางผา่ นก็ได้

ผทู้ ่ใี หเ้ ขาผา่ นจะได้ค่าเสยี หายเพราะสร้างถนน(อาจจะไดห้ รือไม่ได)้ และเงินรายปี(ไดเ้ สมอ) แต่จะ
เรียกไม่เรยี กกไ็ ด้ จะฟอ้ งเอากไ็ ด้ ไมถ่ ือว่าเป็นฟอ้ งซำ้

กรณีที่ ๒ หากท่ดี นิ นนั้ ไม่ได้ตาบอดมาแต่เดิม แต่เกดิ จากการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกัน(แบ่งโดย

ซื้อขายหรือมรดกหรือปรปักษ์ก็ได้) เป็นเหตุให้แปลงหน่ึงไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้(แบง่ มากี่ปกี ็ได)้
ท่านวา่ เจ้าของท่ดี นิ แปลงนน้ั มีสิทธเิ รียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้ เฉพาะบนท่ดี ินแปลงท่ีได้แบ่งแยก
หรือแบง่ โอนกันและไม่ตอ้ งเสยี ค่าทดแทน แบ่งนานเทา่ ใดกไ็ ด้

หากท่ดี นิ แปลงใหญ่นี้ไมม่ ที างออกอยูแ่ ลว้ แบ่งมากอ็ อกไม่ได้เหมือนเดิม ใชก้ รณีท่ี ๑
คือ นายเอมีที่ดิน ๑ แปลงใหญ่ มีทางออกสู่ถนนได้ปกติ ต่อมามีการแบ่งโอนเป็น ๕ แปลงย่อย
ปรากฏว่า แปลงที่ ๕ อยู่ตรงกลางพอดี ไม่มีทางออกจึงเป็นทางตาบอด มีสิทธิขอผ่านได้ตามปกติ แต่ผ่านได้
เฉพาะใน ๔ แปลงยอ่ ยของนายเอเท่านัน้ ได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน จะผ่านไปยังแปลงอื่น ๆที่ไม่ได้เกิดจาก
การแบ่งแปลงใหญ่ไม่ได้ เชน่ ของนายบีไม่ได้
-เจ้าของที่ดิน เมื่อบอกล่วงหน้าตามสมควรแล้ว อาจใช้ที่ดินติดต่อเพียงที่จำเป็นในเจการปลูกสร้าง
หรือซ่อมแซมรั้ว กำแพง หรือโรงเรือน ตรงหรือใกล้แนวเขตของตน แต่จะเข้าไปในเรือนที่อยู่ของเพื่อนบ้าน
ข้างเคียงไม่ได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอม ถ้าได้ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นไซร้ ท่านว่าเพื่อนบ้านข้างเคียงจะ
เรียกเอาค่าทดแทนกไ็ ด้
มาตรา ๑๓๕๒ ท่านว่าถ้าเจ้าของที่ดินได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว ต้องยอมให้ผู้อื่นวางท่อน้ำ
ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของตน เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินติดต่อ ซึ่งถ้าไม่ยอมให้
ผ่านก็ไม่มีทางจะวางได้ หรือถ้าจะวางได้ก็เปลืองเงินมากเกินควร แต่เจ้าของที่ดินอาจให้ยกเอาประโยชน์ของ
ตนข้นึ พิจารณาด้วย

หมวด ๓ กรรมสิทธิร์ วม

กรรมสทิ ธ์ิรวม หมายถึง บุคคลต้ังแต่ ๒ คนข้นึ ไป เป็นเจา้ ของทรัพย์สนิ เดยี วกัน โดยปกตเิ จ้าของรวม
จะมีส่วนในทรัพย์สินรวมนั้นเพียงใดย่อมเป็นไปตามส่วนแห่งความเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น หากไม่สามารถ
พิสูจน์แสดงความเป็นเจ้าของได้ว่ามีส่วนเท่าใดแล้ว กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วน
เทา่ กนั

ลกั ษณะ ๓ สทิ ธิครอบครอง

สิทธิครอบครอง หมายถงึ สทิ ธิทจี่ ะยึดถอื ทรัพยส์ นิ ไวเ้ พื่อตน ซึง่ การจะได้สิทธคิ รอบครองจะต้อง
ประกอบด้วยหลกั เกณฑ์ 2 ประการคอื

1. มีการยดึ ถอื ทรพั ยส์ นิ โดยจะยดึ ถือดว้ ยตนเองหรือให้บุคคลอ่นื ยึดถอื แทนก็ได้
2. มีเจตนายึดถือทรัพย์สินนัน้ ไว้เพือ่ ตนเอง แต่ไม่จำต้องมีเจตนาเป็นเจา้ ของ เช่น ผู้ยืมทรัพย์สินของ
ผู้อ่ืน มีการยึดถือเพ่ือประโยชนข์ องตนเอง กล่าวคอื เพอื่ ใช้ประโยชน์ในระหวา่ งทยี่ ืมทรพั ย์
ผลของการมสี ิทธิครอบครอง
1. ผู้มสี ทิ ธิครอบครองมีสทิ ธิใหป้ ลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองโดยมชิ อบด้วยกฎหมาย
2. ผู้มสี ทิ ธิครอบครองมสี ิทธิเรียกเอาการครอบครองคนื จากผ้ทู ่ีแยง่ การครอบครองโดยมิชอบ
3. ผู้มีสทิ ธคิ รอบครองมสี ิทธิได้ดอกผล
4. ผมู้ ีสทิ ธิครอบครองมีสิทธโิ อนสิทธคิ รอบครองได้
-สิทธิครอบครองใช้กับสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ได้ แต่เป็นทรัพย์ที่ไม่มีกรรมสิทธ์ิ เช่น
ทรพั ย์ที่มคี นทไี่ ว้ เปน็ การยึดถอื ทรัพยส์ ินโดยเจตนาจะยึดถอื เพ่ือตน
-สิทธิครอบครองใชใ้ นที่ดิน เชน่ สค๑ นส๓ นส๓ก ภบท(ภาษีบำรุงทอ้ งท่)ี ทีด่ นิ มอื เปลา่ ไมใ่ ช้กับที่ดิน
มโี ฉนดและสปก(ปฎิรปู เพอื่ เกษตรกรรม) เพราะทีด่ ินมีโฉนดใช้เรอ่ื งกรรมสทิ ธ์ิ
-หลักเกณฑ์การได้สิทธิครอบครอง คือ เป็นการยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน เช่น ที่ดิน
ตามป่าเขาไปถางเอา หรือทำนาในที่ดินในป่า ได้สิทธิครอบครอง อาจให้ผู้อื่นไปถือไว้ให้ก็ได้สิทธิครอบครอง
เช่นกนั
-บคุ คลใดยึดถอื ทรัพย์สนิ ไว้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลนนั้ ยึดถือเพ่ือตน
-ผู้ครอบครองน้นั ท่านใหส้ นั นษิ ฐานไว้ก่อนวา่ ครอบครองโดยสุจรติ โดยความสงบและโดยเปดิ เผย
-ถ้าพิสูจน์ได้วา่ บุคคลใดครอบครองทรพั ย์สินเดียวกนั สองคราว ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลน้ัน
ได้ครอบครองตดิ ต่อกนั ตลอดเวลา
มาตรา ๑๓๗๒ สิทธิซึ่งผู้ครอบครองใช้ในทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็น
สิทธซิ งึ่ ผ้คู รอบครองมตี ามกฎหมาย
มาตรา ๑๓๗๓ ถ้าทรัพย์สินเป็นอสงั หาริมทรัพย์ท่ีได้จดไวใ้ นทะเบียนทีด่ ิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อน
ว่าบคุ คลผู้มีชื่อในทะเบยี นเปน็ ผมู้ ีสทิ ธคิ รอบครอง

รบกวนการครอบครอง

-ถ้าผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สิน เพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบด้วย
กฎหมาย ผู้ครอบครองมีสิทธิจะให้ปลดเปลื้องการรบกวนนั้นได้ ถ้าเป็นที่น่าวิตกว่าจะยังมีการรบกวนอีก ผู้

ครอบครองจะขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้ การฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวน ต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่
เวลาถกู รบกวน

ตัวอย่างการรบกวนการครอบครอง เช่น นายเอยึดถือครอบครองที่ดินแปลงหนึ่งสร้างเล้าไก่ และมี
โรงเรือนสำหรบั นอนเฝ้าไก่ มนี ายบซี งึ่ ครอบครองท่ีดนิ ข้างๆ เผาขยะทกุ วันจนควนั ไฟสรา้ งความรำคาญรบกวน
ไก่และนายเอเอง ถือว่านายบีทำการรบกวนการครอบครอง นายเอมีสิทธฟิ ้องปลดเปลือ้ งการรบกวน ขอให้ไป
เผาที่อื่นหรือนาน ๆทีเผา ถ้านายเอวิตกว่านายบีจะเผาอีก จะขอศาลให้สั่งห้ามก็ได้ ต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับ
แตเ่ วลาถูกรบกวน

แย่งการครอบครอง

-ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้
คืนซึ่งการครอบครอง เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธเิ หนอื ทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเปน็ เหตุใหเ้ รียกคืนจากผู้ครอบครอง
ได้ การฟอ้ งคดีเพื่อเอาคนื ซง่ึ การครอบครองนั้น ต้องฟ้องภายในปหี นึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง

เช่น นายเอทำนาบนที่ดินที่ตนครอบครองอยู่ทุก ๆ ปี ปรากฏว่าปีนี้มีนายบีเข้ามาชงิ ปลูกข้าวกอ่ นตน
ถือว่านายบีแย่งการครอบครองจากนายเอ นายเอต้องฟ้องนายบีภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการ
ครอบครอง แต่ถ้าหากว่านายบมี ีสิทธิเหนอื ทด่ี ินดีกวา่ เช่น มีกรรมสิทธ์ิ นายเอกไ็ ม่มีสทิ ธิฟ้อง

การแย่งการครอบครองมี ๒ วธิ คี ือ
เข้าแยง่ ตวั ทรพั ย์โดยตรง เชน่ บุกรกุ มาทำไร่ในทีด่ นิ ผ้อู ืน่ ในกรณียดึ ถอื เพ่ือตน และ
การแย่งการครอบครองขณะยึดถือแทนผู้อ่ืนโดยการบอกเปลี่ยนลักษณะการยึดถือก่อน ต้องมีการเปลี่ยน
การยึดถือจากผู้แทนเป็นเพื่อตนก่อน ถ้าไม่เปลี่ยนจากการครอบครองแทนเป็นเพื่อตนพันปีก็ไม่ได้สิทธิ
ครอบครอง

เช่น นายเอมอบหมายให้นายบีไปดูแลที่สวน ซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีโฉนด แสดงว่านายบีกำลัง
ครอบครองแทน แม้ว่านายบีจะครอบครองอยู่ร้อยปี นายบีก็ไม่ได้สทธิครอบครอง เพราะเป็นการครอบครอง
แทนนายเอ หากว่านายบีอยากได้ที่ดนิ นี้เปน็ ของตัวเอง ส่งิ ทีน่ ายบตี ้องทำคือ นายบีต้องแจ้งไปท่ีนายบีว่า จาก
นี้ไปนายบีจะไม่ครอบครองแทนนายเอแล้วนะ แล้วนายบีกย็ ังอยู่บนท่ีดินนีต้ ่อไปเพื่อยึดถือเพื่อตน หากนายเอ
ไมย่ อมตอ้ งฟ้องคืนภายใน ๑ ปนี ับแตก่ ารบอกเปลยี่ นน้ี

การโอนการครอบครองทำไดโ้ ดยการส่งมอบทรัพยท์ ่ีครอบครอง ไม่ตอ้ งทำหนังสอื จดทะเบยี นอะไร
-ถ้าจะต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่บุคคลผู้มีสิทธิเอาคืนไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๑๒ ถึง ๔๑๘
แหง่ ประมวลกฎหมายน้ีว่าดว้ ยลาภมิควรได้มาใช้บงั คบั โดยอนโุ ลม
-ถ้าผู้ครอบครองสละเจตนาครอบครอง หรอื ไม่ยดึ ถือทรัพย์สินต่อไปไซร้ การครอบครองย่อมสุดส้ินลง
ถ้าเหตอุ นั มีสภาพเป็นเหตชุ ั่วคราวมมี าขัดขวางมิใหผ้ คู้ รอบครองยึดถือทรัพยส์ ิน การครอบครองไม่สดุ สิน้ ลง
-ถ้าผู้รับโอนหรือผู้แทนยึดถือทรัพย์สินอยู่แล้ว ท่านว่าการโอนไปซึ่งการครอบครองจะทำเพียงแสดง
เจตนาก็ได้
-การโอนไปซงึ่ การครอบครองย่อมเป็นผล แมผ้ ู้โอนยงั ยดึ ถอื ทรัพยส์ ินอยู่ ถ้าผู้โอนแสดงเจตนาว่าต่อไป
จะยึดถือทรัพย์สินนั้นแทนผู้รับโอน ถ้าทรัพย์สินนั้นผู้แทนของผู้โอนยึดถืออยู่ การโอนไปซึ่งการครอบครองจะ
ทำโดยผ้โู อนส่งั ผ้แู ทนวา่ ต่อไปใหย้ ึดถอื ทรพั ยส์ นิ ไว้แทนผรู้ ับโอนก็ได้

การครอบครองปรปักษ์

ครอบครองปรปักษ์ คือ การครอบครองทรพั ย์สินของผูอ้ ื่นไวโ้ ดยความสงบและเปดิ เผย มเี จตนาเป็น
เจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครอง
ตดิ ต่อกันเป็นเวลาห้าปี ทา่ นวา่ บุคคลนั้นไดก้ รรมสิทธิ์

-ต้องเป็นทรัพย์สินของผู้อื่นเท่านั้น ไม่มีการครอบครองปรปักษ์ทรัพย์สินตนเอง กรณี การ
ครอบครองมรดกของผู้จัดการมรดก ซึ่งยังไม่ได้แบ่งสู่ทายาท ไม่สามารถอ้างการครอบครองปรปักษ์ เพราะ
ครอบครองแทน โดยมีทรัพยม์ รดกของตนรวมอยู่ จะนับวา่ เปน็ การครอบครองปรปักษ์ได้ต่อเม่ือ มีการแบ่ง
มรดกเป็นสว่ นๆแล้ว

-ใช้กับที่ดินมีโฉนดหรือตราจองเท่าน้ัน(นส.4) ใช้กับที่ดินมือเปล่า นส๓ นส๓ก สค๑ ไม่ได้เลย
เพราะเขาบอกว่าได้กรรมสิทธิ์ หากไม่มีกรรมสิทธิ์ก็จะไม่ได้กรรมสิทธ์ิ แต่จะเป็นสิทธิครอบครองซึ่งไม่ตรง
ตามมาตราแพง่

-เมื่อเริ่มครอบครองปรปักษ์ จะเริ่มความผิดฐานบุกรุก ฐานลักทรัพย์ ฐานยักยอกทันที เพราะใช้
ทรัพย์ของผอู้ นื่ โดยท่เี ราไม่มีสทิ ธ์ิ

กรณีที่ครอบครองรถยนต์ประจำตำแหน่ง จะนับว่าครองปรปักษไ์ ม่ได้เพราะตนมีสิทธิ์ในรถอยู่ แต่
เมอ่ื ไหรท่ ส่ี ิน้ ตำแหนง่ แต่ไม่ส่งรถคืน ยังครองรถน้ันอยู่ ก็ถือวา่ เรม่ิ ครองปรปักษ์ เพราะเป็นการครองทรัพย์
ผู้อื่นโดยไม่มสี ิทธิ์ มีความผิดฐานยักยอก แต่ถ้าใช้ไปโดยสงบเปิด เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของ โดยเจ้าของ
ไม่โต้แยง้ ฟ้อง เมื่อครบ ๕ ปีจะได้กรรมสิทธิ์ เพราะรถเป็นสังหาริมทรัพย์ คำว่า โต้แย้งของเจ้าของทรัพย์
คือ ฟอ้ งศาลเทา่ นั้น ถ้าบอกทางวาจาว่าหา้ มใช้ ไม่ถอื ว่าคัดค้าน ถอื ว่าสงบอยู่

-คำว่า สงบ คอื เจา้ ของทแ่ี ทจ้ ริงไมฟ่ ้องศาล ถ้าเพยี งต่อวา่ กย็ ังถอื วา่ สงบอยู่
-คำว่า เปิดเผย คือ ไม่ปิดบัง ทำเหมือนใช้ทรัพย์ของตนเอง เช่น ใช้รถที่ลักมาหรือยักยอกมา โดย
ปกติเหมือนซื้อมา ไม่ปิดบังเจ้าของหรือใคร ๆ ขับไปทำงาน ไปตามที่ต่าง ๆ แต่ถ้ากลางวันเอาผ้าคลุมไว้ พอ
กลางคืนเหน็ ว่าไมม่ คี นจงึ เอารถมาใช้ ถอื ว่าไม่เปดิ เผย
-คำวา่ เจตนาเปน็ เจา้ ของ เช่น นายเอเข้าไปปลกู ข้าวบนที่ดินนายบี เพราะเห็นว่าถกู ท้ิงรา้ ง ถ้าเราไป
ถามนายเอว่า เข้าอยู่จะเอาเป็นของตนใช้มั้ย ถ้านายเอตอบว่า เปล่า เห็นที่ดินว่างๆเลยมาทำ ถ้าเจ้าของมา
ห้ามเราก็เลิก แสดงว่าไม่แสดงเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้านายเอตอบว่า ใช่ เพราะว่าเจ้าของไม่มาเลย ก็เลยยึดซะ
เลย แสดงวา่ มีเจตนา ต้องเปน็ การเบิกความในศาล
-การครอบครองที่ไม่ตดิ ต่อกัน ตอ้ งดวู ่า ถ้าผคู้ รอบครองขาดยดึ ถอื ทรัพยส์ นิ โดยไม่สมคั รและได้คืน
ภายในเวลาปหี น่ึงนบั ตงั้ แตว่ นั ขาดยึดถือหรือได้คนื โดยฟอ้ งคดภี ายในกำหนด ท่านมใิ ห้ถือวา่ การครอบครอง
สะดุดหยดุ ลง หากเป็นดังนี้ ใหน้ บั รวมไดต้ ่อได้
คำว่า ไมส่ มัครใจ เชน่ ถกู จำคุก ถกู แย่งการครอบครอง เกณฑท์ หาร เจบ็ ปว่ ย ตอ้ งขาดยึดถอื ไม่เกิน ๑
ปี เชน่
นายเอไปครอบครองทด่ี นิ นายบี ได้ ๕ ปีแลว้ ในระหวา่ งนั้นนายเอก็ไปลกั ขโมยจนถูกจำคุก ๓ เดอื น
เปน็ การขาดการครอบครองโดยไมส่ มัครใจ และไมถ่ ึง ๑ ปี ให้นบั เป็นปีท่ี ๖ ได้เลย ไมต่ ้องนบั ใหม่
นายเอถูกนายบแี ย่งการครอบครอง ทำให้นายเอฟ้องขบั ไล่ผู้ทม่ี าแยง่ หากฟ้องไมเ่ กนิ ๑ ปีนบั แตถ่ ูก
แย่ง ถือว่าไม่ขาดการครอบครอง แม้คดีจะสน้ิ ๒ ปไี มว่ ่ากัน

หากเปน็ สมคั รใจ เชน่ บวช ถกู สั่งย้ายไปทำงานท่ีอืน่ แต่มีวิธีแก้คือ เม่อื ออกบวชต้องให้ผู้อน่ื ยดึ ถอื ไว้
แทน นบั เวลาครอบครองต่อไปได้เลย โดยไมต่ อ้ งนบั ใหม่

-การโอนการครอบครอง ผู้รับโอนนับเวลาการครอบครองของผู้โอนรวมได้ เชน่ นายเอครอบครองมา
ได้ ๕ ปี โอนให้นายบี นายบไี ม่ตอ้ งเริ่มนบั ๑ ใหม่ แตน่ บั ต่อจากนายเอไดเ้ ลย แต่ข้อบกพร่องของผ้โู อนตกเปน็
ของผู้โอนด้วย เชน่ หากมีการโตแ้ ยง้ ว่าครอบครองไมค่ รบ ๑๐ ปี ผรู้ ับโอนจะอา้ งวา่ เปน็ ความผดิ ของผโู้ อนไมไ่ ด้

-หากถูกครอบครองปรปักษ์ สามารถฟอ้ งคดีเพ่ือเอาคนื ที่ดินได้ แต่การครอบครองปรปักษ์น้นั จะต้อง
อยู่ในเง่ือนไข คือ ถา้ ผู้ครอบครองถูกแยง่ การครอบครองปรปกั ษ์ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผคู้ รอบครองเดิมมี
สทิ ธจิ ะได้คนื ซึง่ การครอบครอง แต่ต้องฟ้องภายในระยะเวลาหนึง่ ปี นบั ต้ังแตถ่ ูกแยง่ ครอบครองปรปักษ์หรือ
วันท่ผี ้คู รองครองปรปักษ์ได้จดทะเบียนต่อศาลในการครอบครองปรปักษ์นน่ั เอง

-การครอบครองปรปกั ษ์ ต้องใชโ้ ฉนดทีด่ นิ ฉบบั เจ้าของที่ดินในการขอกรรมสิทธิ์ แตถ่ ึงผู้ครอบครอง
ปรปกั ษ์ไม่มีโฉนดฉบับน้ี เจ้าพนักงานจะถือวา่ โฉนดทด่ี นิ สญู หาย และออกใบแทนโฉนดท่ีดินใหม่ ซึ่งใน
กรณีน้ีโฉนดทีด่ นิ เดิมเป็นอันใช้ไมไ่ ดต้ ่อไป

-หากเจ้าของทดี่ นิ ไม่ได้เข้าไปดแู ลทด่ี นิ เข้าไประวงั แนวเขตทดี่ นิ หรือ มีการทำสัญญาใหเ้ ปน็ ลกั ษณะ
กับผู้ทเ่ี ขา้ มาอยู่อาศยั ในฐานะผ้เู ชา่ จนสามารถมีผคู้ รอบครองปรปักษไ์ ด้ โดยการใชห้ ลกั ฐานต่าง ๆ แจ้งต่อเจา้
พนกั งานเพ่ือแสดงความเป็นเจ้าของ นับตง้ั แตม่ ีการจดทะเบียนหากลว่ งเลยระยะเวลาเกิน 1 ปี หากไมม่ ีผูม้ า
ฟอ้ งร้องแย่งกรรมสิทธิ์ หรอื ฟ้องร้องขบั ไล่ก็จะถือว่าท่ีดินในส่วนนั้นถกู ครอบครองปรปักษ์ทันที

-การไดก้ รรมสิทธใ์ิ นอสงั หาริมทรพั ยโ์ ดยการครอบครองปรปักษ์ ถอื ว่าเปน็ การไดก้ รรมสทิ ธ์ิโดยผลของ
กฎหมาย ถ้ายังมิได้จดทะเบียนจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนมิได้ และจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้
บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้
เม่อื ผู้ใดไดค้ รอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเขา้ และได้กรรมสิทธิ์แลว้ จงึ จำเปน็ ตอ้ งจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าท่ี ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะต้องยื่นคำขอพร้อมด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดแสดงว่า ตนมี
กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวนัน้ ดังนั้น ก่อนที่ผู้ได้กรรมสิทธ์ิในอสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองปรปกั ษ์จะมา
ขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้นั้นจะต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าตนได้
กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง แล้วจึงนำคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดมาแสดงต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ เพ่อื ขอจดทะเบยี นลงชื่อตนเปน็ ผถู้ ือกรรมสิทธโ์ิ ดยการครอบครองปรปกั ษต์ ่อไป

-ส่วนการนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ ถือเอาระยะเวลาครอบครองของฝ่ายผู้ครอบครองที่ต้อง
ครอบครองติดต่อกัน ไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ให้
ผู้อื่นหรือไม่ และไม่จำต้องถือเอาทางฝ่ายเจ้าของอสังหาริมทรพั ย์แต่ละคนที่รับโอนกรรมสิทธ์ิมาเป็นเกณฑ์ใน
การเรมิ่ นบั ระยะเวลาครอบครองใหม่ทุกคร้ังทีม่ ีการเปลี่ยนตัวเจ้าของ แตห่ ากบคุ คลภายนอกรับโอนโดยสุจริต
เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ยอ่ มไดร้ บั ความคุ้มครองมผี ลทำให้การครอบครองปรปักษ์ก่อน
หนา้ นนั้ สน้ิ ไป

การไดก้ รรมสิทธ์ิในทรพั ย์สนิ หาย

เอาทรพั ยส์ ินหายไปเปน็ ของตนเอง ผดิ "ยกั ยอกทรัพยส์ ิน"
สิง่ ตอบแทนจากการส่งคนื

ของที่มีมูลค่าไม่ถึง 30,000 บาท เจ้าของมีหน้าที่ให้รางวัลแก่ผู้เก็บได้ อย่างน้อยร้อยละ 10 ของ
ราคาทรพั ยส์ นิ นัน้ ๆ

แตถ่ ้าเกิน 30,000 บาท ผเู้ ก็บได้มสี ิทธไิ ด้รับอีกรอ้ ยละ 5 ของจำนวนที่เพม่ิ ขึน้
ถา้ ส่งตำรวจแล้วไม่มีคนมารบั ภายใน 1 ปีนับแต่วันท่ีเก็บได้ กรรมสิทธต์ิ กแก่ผู้เกบ็ ได้ แต่ถ้าทรัพย์สิน
ซึ่งไม่มีผู้เรียกเอานั้นเป็นโบราณวัตถุไซร้ กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นตกแก่แผ่นดิน แต่ผู้เก็บได้มีสิทธิจะได้รับ
รางวัลร้อยละ 10 แหง่ คา่ ทรัพยส์ ินนั้น
ถา้ ผ้เู ก็บได้ซ่งึ ทรพั ยส์ นิ หายมไิ ด้ปฏบิ ตั ิตามดังนี้ ผู้นัน้ ไมม่ ีสทิ ธิจะรบั รางวลั คอื
(1) สง่ มอบทรพั ยส์ นิ นัน้ แก่ผ้ขู องหายหรอื เจ้าของ หรือบคุ คลอืน่ ผู้มสี ทิ ธิจะรับทรพั ย์สินน้นั หรือ
(2) แจ้งแก่ผขู้ องหายหรอื เจ้าของ หรือบุคคลอน่ื ผ้มู ีสิทธจิ ะรบั ทรพั ยส์ ิน นั้นโดยมิชักช้า หรอื
(3) ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นภายใน 3 วันและแจ้งพฤติการณ์
ตามท่ีทราบอันอาจเป็นเครอื่ งชว่ ยในการสบื หาตวั บคุ คลผู้มสี ทิ ธจิ ะรบั ทรัพย์สินนัน้
ถ้าผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่น ให้
เสียเงินอีกร้อยละ 2.5 แห่งค่าทรัพย์สินเป็นค่าธรรมเนียมแก่ทบวงการนั้นๆ เพิ่มขึ้นเป็นสว่ นหน่ึงต่างหาก
จากรางวลั ซึ่งให้แกผ่ ูเ้ กบ็ ได้แตค่ า่ ธรรมเนียมนีใ้ ห้จำกัดไว้ไม่เกนิ 1,000 บาท

บรรพท่ี ๖ กฎหมายมรดก

ควรจำ
-ครอบครวั และมรดก ห้ามใช้กบั ๔ จังหวัด คือ ปตั ตานี สตลู ยะลา นราธิวาส ให้ใชก้ ฎหมายอิสลาม
-ห้ามเอาบรรพ ๖ มรดก ไปแบ่งมรดกของนิติบุคคล เพราะแม้จะเลิกก็ไม่ถือว่าตาย เพราะนิติบุคคล

ตายไมไ่ ด้

หมวด ๑ การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก

มาตรา ๑๕๙๙ เม่ือบคุ คลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิใน
มรดกได้แตโ่ ดยบทบญั ญัตแิ หง่ ประมวลกฎหมายน้ีหรือกฎหมายอื่น
สรุป
-เม่ือบุคคลใดตาย

๑.ตายธรรมดา คือ เสียชวี ติ ถือเอาแกนสมองหยดุ ทำงานหรือหวั ใจหยุดทำงาน
๒.ตายโดยผลของกฎหมาย คือ สาบสูญ หายไปจากภูมิลำเนาไม่มีใครพบเห็น ๕ ปี หรือ ๒ ปีกรณี
พเิ ศษ(ไปรบ สงคราม หรอื ยานพาหนะหรือเรืออับปาง ) กรณีหายไปยังไม่ครบกำหนดเรียกว่า ผูไ้ ม่อยู่ ผู้มีส่วน
ได้เสียหรอื อัยการร้องขอศาลสง่ั เปน็ คนสาบสญู ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ เป็นคนตายนบั แต่วนั ท่ีครบ ๕ ปีหรือ ๒
ปี มรดกตกทอด
เช่น หายไป วันที่ ๓ มกราคม ร้องของ ๕ พฤษภาคม ศาลสั่ง ๒๕ มิถุนายน ให้ถือว่าตายในวันที่ ๓
มกราคมที่หายไปครบกำหนด ดูว่าทรัพย์ สิทธิหน้าที่มีเท่าไหร่ ในวันที่ ๓ มกราคม จึงแบ่ง และดูสิทธิของ
ทายาทในวนั ที่ ๓ มกราคมวา่ มีสทิ ธิรับหรอื ไม่
ระวงั ถา้ คนสาบสูญกลบั มา
ถ้าศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ แบ่งมรดกแล้วโดยชอบ และใช้มรดกไปหมดแล้ว ปรากฏว่าคนสาบสูญ
กลับมา กลายเป็นไม่ตาย มรดกที่ใช้ไปแล้วไม่ต้องคืน เพราะแบ่งโดยสุจริต แต่ถ้าเหลือแค่ไหนต้องคืนเท่านั้น
ใช้หลักลาภมคิ วรได้
ระวัง ถ้าสูญหายในกรณีธรณีพิบัติ เช่น หายไปสึนามิ ไม่ต้องสนว่าไปเที่ยวหรือบ้านอยู่ที่นั่น ให้ตาย
พร้อมกันในเวลาเริ่มเกิดสึนามิ ไม่ต้องรอ ๒ ปีหรือ ๕ ปี เพราะ ใช้พรบ.ว่าด้วยการยกเว้นการนับเวลาและ
เง่ือนไขตามมาตรา ๖๑ แห่งปพพ. มาใช้บังคับแกผ่ สู้ ญู หายกรณธี รณพี บิ ตั ิ พ.ศ.๒๕๔๘ แทน

-มรดกของบคุ คลนนั้ ตกทอดแกท่ ายาท
-คำวา่ กองมรดกของผูต้ าย ไดแ้ ก่ ทรพั ย์สนิ ทกุ ชนิดของผู้ตาย ตลอดทัง้ สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง

ๆ เวน้ แตต่ ามกฎหมายหรือวา่ โดยสภาพแลว้ เป็นการเฉพาะตัวของผูต้ ายโดยแท้
-มรดกของผู้ตาย ตอ้ งเปน็ ทรพั ยท์ ่ีมีก่อนตายเท่านน้ั จะเปน็ ทรัพยท์ ี่มหี ลงั ตายหรอื ได้มาเนือ่ งจากความ

ตายของเจา้ มรดกไมไ่ ด้ เช่น เงนิ ฌาปนกจิ สงเคราะหไ์ ม่ถอื เปน็ มรดก เพราะได้มาจากความตาย
-มรดกตกทอดผ่านทายาท ๒ ประเภท คือ ตกทอดผ่านทางพินัยกรรม เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม และ

ตกทอดผ่านทางสิทธติ ามกฎหมาย เรยี กวา่ ทายาทโดยธรรม
-ถ้าเจา้ มรดกไม่ได้ทำพนิ ยั กรรม ไม่ไดต้ ้งั มูลนิธิ ไมม่ ที ายาท มที ายาทแตเ่ สียสิทธิในทรัพย์มรดก มรดก

ตกแก่แผน่ ดิน
-ทายาทต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน เช่น มีมรดก ๑ ล้าน มีหนี้ ๒ ล้าน ทายาท

รบั ผิด ๑ ลา้ นเทา่ นั้น
-หากมีพินัยกรรม ก็แบ่งตามพินัยกรรม แต่ถ้ามีทรัพย์ที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม ก็แบ่งต่อให้ทายาท

โดยธรรม
-ถา้ เปน็ ผูร้ ับพินยั กรรมแล้ว มสี ิทธิรบั มรดกในฐานะทายาทโดยธรรมได้อกี หากมที รพั ย์เหลอื แล้วตนมี

สทิ ธฝิ
-คำว่า ทายาทโดยธรรม คอื ญาติ ๖ ลำดับ(ผู้สบื สนั ดาน บิดามารดา พนี่ อ้ งร่วมบิดามารดาเดยี วกัน พี่

น้องรว่ มบดิ าหรอื มารดาเดียวกนั ปยู่ ่าตายาย ลงุ ป้าน้าอา) กบั ค่สู มรส
-ทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส ต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น ไม่มีคู่สมรสโดย

พฤตกิ ารณ์ อยกู่ นิ กันนานก่ปี ีก็ไม่สมบูรณ์
-ทายาทโดยธรรมประเภทญาติ มี ๖ ลำดับ ห้ามสลบั ลำดับเด็ดขาด ดังนี้
๑.ผ้สู บื สนั ดาน
๒.บิดามารดา คอื มารดาได้รบั มรดกของบุตรเสมอเพราะเป็นมารดาชอบดว้ ยกฎหมาย ยกเว้นมารดา

บุญธรรมรับไม่ได้ แต่บิดา ต้องเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น(คือ บิดาที่สมรสกับมารดาหรือภายใน ๓๑๐
วันนับแต่การสมรสสิน้ สุดหรือสมรสภายหลัง รับรองบตุ ร ศาลสั่ง) ถ้าเป็นบิดานอกกฎหมายหรอื บิดารบั รองโดย
พฤติการณห์ รือบดิ าบุญธรรมรบั ไมไ่ ด้

ถ้าบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมีลูก แม้บิดาจะรับรองโดยพฤติการณ์ ถ้าลูกตายมารดารบั ได้
คนเดียว บดิ าตายลกู รับได้ แต่มารดารับได้ทกุ กรณีไมว่ ่าตนจะตายหรือลูกตาย เพราะมารดาชอบด้วยกฎหมาย
เสมอ

๓.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ไม่สนใจว่าบิดามารดาจดทะเบียนหรือไม่ แต่ต้องเป็นพี่น้องตาม
ความเป็นจริง

๔.พ่นี ้องร่วมบดิ าหรือมารดาเดียวกนั ไม่สนว่าฝ่ายใดจะจดทะเบยี นหรอื ไม่ ถือตามความเป็นจริง
๕.ปยู่ า่ ตายาย ต้องเปน็ ปยู่ า่ ตายายท่ชี อบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนครบถว้ น มี ๔ คนเทา่ นน้ั
๖.ลงุ ปา้ นา้ อา ถอื ตามความเปน็ จริง
-รายละเอียดของทายาทโดยธรรม ชั้นผู้สบื สนั ดาน เป็นดงั นี้

๑.ผู้สืบสันดาน คือ บตุ รเท่านั้น แตห่ ลาน เหลน ล่ือ ไมไ่ ด้ กลา่ วคอื ถา้ มีชัน้ ลกู ชัน้ หลาน เหลน ล่ือ

ไม่มีสทิ ธิเลย ถา้ ไมม่ ชี ั้นบนของตนจึงจะรบั แทนทีไ่ ดแ้ ทนกันลงมาได้ บตุ รมี ๓ ประเภท คอื
๑.๑.บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ บุตรที่เกิดจากพ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน หรือการสมรสสิ้นสุดลง

(ตาย หยา่ และศาลพิพากษาเพกิ ถอน)แล้วเกิดภาย ๓๑๐ วัน เด็กเปน็ บุตรทีช่ อบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอ
ระวัง การอุม้ บญุ เด็กท่เี กดิ มาเป็นของหญิงท่ีคลอด

ควรจำ บุตรนอกฎหมาย คือ บุตรที่บิดามารดาไม่ได้สมรสกัน ไม่มีสิทธิรับมรดกบิดาเลย แต่จะเป็น
บตุ รชอบกฎหมายกต็ ่อเม่ือบิดามารดาสมรสกันภายหลัง หรือ บดิ าจดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตร(คนจดต้อง
เป็นพ่อแท้ๆ หากไม่ใช่เป็นเหตุเพิกถอนได้ เพราะนิติกรรมเฉพาะตัว และรอให้เด็กคลอด โดยเด็กและมารดา
เด็กยินยอมด้วย แม้มีคนหนึ่งไม่ยอมก็ไม่ได้ ต้องยินยอมทั้ง ๒ คน แต่ถ้าให้ความยินยอมได้ เช่น แม่ตาย หรือ
เด็กเล็ก ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาต ศาลไต่สวนแล้วอนุญาต ก็เอาคำสั่งศาลไปจด ได้) หรือ ศาล
พพิ ากษาวา่ เปน็ บตุ ร รบั มรดกบดิ าได้

ควรจำ การสมรสสนิ้ สดุ ลง มี ๓ ประเภท คือ
(๑) ตาย แบ่งเปน็ ตายธรรมดา(การสมรสสน้ิ สดุ ลง) และ สาบสญู (ไม่ทำใหก้ ารสมรสสิน้ สดุ ลง เปน็ เหตุ

ให้หย่าเทา่ น้นั ถ้าไมไ่ ปฟ้องหยา่ กไ็ ม่สิ้นสดุ )
(๒) หย่า แบ่งเป็น ยินยอม(ไปร่วมจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ สมรสสิ้นสุด ) และ ศาลพิพากษา ต้องมี

เหตใุ หฟ้ อ้ ง
เม่อื หย่าแลว้ มีเด็กเกดิ มาภายใน ๓๑๐ วนั ถือเปน็ บุตรชอบดว้ ยกฎหมายของชาย ดังน้นั จึงห้ามให้หญิง
สมรสใหม่ภายใน ๓๑๐ วนั นบั จากหย่า เวน้ แต่ คลอดบุตรแลว้ จดทะเบยี นกับคสู่ มรสเดมิ มีใบรบั รองแพทย์ว่า
ไม่ได้ท้อง และให้ศาลสั่ง หากสมรสฝ่าฝืน ๓๑๐ วันการสมรสก็สมบูรณ์ แต่บุตรที่เกิดมาถือว่า เป็นบุตรชอบ
กฎหมายของชายคนหลงั
(๓) ศาลพพิ ากษาใหเ้ พกิ ถอน แบง่ เป็น
สมรสโมฆะ ไดแ้ ก่
กรณี สมรสซ้อน(จดทะเบียน ๒ คร้งั ) จะรอศาลพิพากษา หรอื ผ้มู ีสว่ นไดเ้ สยี ยกกลา่ วอา้ งก็ได้ ถ้าชาย
เปน็ ฝา่ ยจดทะเบียนสมรสซ้อน แล้วหญิงท้ัง ๒ คนคลอดลกู เดก็ ที่เกดิ จากหญิงสมรสคนแรกชอบด้วยกฎหมาย
เด็กที่เกิดกับหญิงสมรสครั้งหลังก็เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือแม้ศาลพิพากษาผ่านไปภายใน ๓๑๐ วันก็
ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าหญิงเป็นฝ่ายจดทะเบียนซ้อน แล้วมีบุตรก่อนสมรสโมฆะ ถือสันนิษฐานว่าเป็นลูกของ
ชายคนหลงั หากชายคนหลงั โตแ้ ยง้ แล้วศาลพิพากษากเ็ ป็นของชายคนแรก ถ้าศาลพิพากษาว่าสมรสเป็นโมฆะ
แลว้ คลอดบุตรมา หากภายใน ๓๑๐ วันกเ็ ป็นของชายคนหลงั
กรณี สมรสกับสายเลือดเดียวกัน สมรสกับคนวิกลจริต สมรสโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรส
ต้องรอศาลพพิ ากษาเปน็ โมฆะเท่านน้ั จึงถือวา่ เปน็ โมฆะ ถ้าเด็กเกิดมาก่อนศาลพิพากษาวา่ โมฆะ เป็นบตุ รชอบ
กฎหมาย หรือ ภายใน ๓๑๐ วนั นับแตศ่ าลเพิกถอนกช็ อบด้วยกฎหมาย ถา้ เกนิ ๓๑๐ วนั ไม่ใช่
สมรสเป็นโมฆียะ ได้แก่ สมรสก่อน ๑๗ ปี สมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของบิดามารดา สมรส
เพราะถูกกลฉ้อฉล( ใช้อุบายหลอกลวงและฝ่ายหนึ่งต้องเชือ่ แต่ถ้าไม่เชื่อแล้วแต่งก็สมบูรณ์) สมรสเพราะถูก
ข่มขู่ (ใช้อำนาจบังคับแก่กายหรือจิตใจและกลัวด้วย) สมรสเพราะสำคัญผิด(เข้าใจผิดคน ในกรณีฝาแฝด

เท่าน้นั ) ถ้าเด็กเกิดมาก่อนศาลพิพากษาวา่ โมฆยี ะ เปน็ บุตรชอบกฎหมาย หรือ ภายใน ๓๑๐ วนั นบั แตศ่ าลเพิก
ถอนก็ชอบดว้ ยกฎหมาย ถ้าเกิน ๓๑๐ วนั ไมใ่ ช่

๑.๒.บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง คือ บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ไม่ได้จดภายหลัง
ไม่ได้รับรองบุตร ไม่มีศาลสั่ง จึงไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมาย แต่บิดารับรองโดยพฤติการณ์ คือ กิริยาอาการ
รับรองว่าเป็นบุตรอย่างเปิดเผยแก่สาธารณชน สามารถรับรองโดยพฤติการณ์ได้ต้ังแต่ในครรภ์ ยังคงเป็นบุตร
นอกกฎหมายเพียงแต่รับมรดกได้อย่างเดียว ไม่มีหน้าที่อื่นใด เช่น ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูไม่ได้ เช่น พาไปฝาก
ครรภ์ บอกทกุ คนว่าลกู ในครรภ์เป็นลูกตน พาไปคลอด ใหใ้ ชน้ ามสกุล เลี้ยงดู

ควรจำ บดิ าทรี่ บั โดยพฤตกิ ารณ์ บิดาไม่มีสิทธริ บั มรดกบตุ ร แต่บุตรรับมรดกได้
๑.๓.บุตรบุญธรรม คือ มีฐานะเช่นเดียวกับบุตรชอบกฎหมายหากจดทะเบียนรับบุตรธรรมตาม
กฎหมาย สามารถรบั มรดกของผรู้ บั บุญธรรมได้
การรบั บตุ รบญุ ธรรมจะสมบรู ณเ์ ม่อื จดทะเบยี นตามกฎหมาย ถา้ ไมไ่ ดจ้ ดเล้ยี งดนู านเทา่ ไหรก่ ็ไม่ใช่บุตร
บุญธรรม ไม่มกี ารรับบุตรบญุ ธรรมโดยรบั รองพฤติการณ์ ไมเ่ ป็นบตุ รนอกกฎหมายดว้ ย ไมส่ ทิ ธิรบั มรดกเลย
ถา้ ผ้จู ะรบั บตุ รบุญธรรมหรอื ผู้จะเป็นบตุ รบุญธรรมมคี ่สู มรส ต้องไดร้ บั ความยนิ ยอมจากคูส่ มรสอีกฝ่าย
หากไมย่ อมแมจ้ ะไปจด กถ็ อื ว่าไม่เป็นบุตรบญุ ธรรม
บตุ รบุญธรรมจะเปน็ บุตรบญุ ธรรมของคนอ่นื ไม่ได้ เว้นแต่คู่สมรสเท่านน้ั
ถ้าหากคู่สมรสอีกฝ่ายให้ความยินยอมแล้ว จดทะเบยี นเรยี บร้อยแลว้ บตุ รจะเปน็ บุตรบุญธรรมเฉพาะ
ของฝ่ายจดเท่านั้น ไม่ใช่บุตรบุญธรรมของคู่สมรสอีกฝ่าย แม้จะยินยอม แต่ไม่จดทะเบียนไม่ใช่ หากจะจดรับ
เพ่มิ ก็ทำไดห้ รอื รว่ มกันจดกไ็ ด้
ควรจำ บิดาหรือมารดาบุญธรรมไม่มีสิทธิทีจ่ ะมารบั มรดกของบุตรบุญธรรม นอกจากนี้แล้ว บุตรบุญ
ธรรมยังไม่เสียสทิ ธทิ ี่พึงมีตามกฎหมายในครอบครวั เดมิ แต่อย่างใด คอื ยงั มสี ิทธิรบั มรดกของบิดามารดาเดมิ
-ทายาทโดยธรรม เป็นได้เพียงบุคคลธรรมดาเท่านั้น ไม่มีนิติบุคคล แต่ผู้รับพินัยกรรมจะเป็นบุคคล
ธรรมดาหรือนิตบิ ุคคลก็ได้แล้วแต่เจตนาของเจา้ มรดก
-บุคคลจะรับมรดกได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือมีสิทธิ คือ คลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก คือ คลอด
ทั้งตัวแม้จะยังไมต่ ัดสายสะดือ และอยู่รอด คือ มีชีวิต หายใจ ร้องไห้ แม้แต่ ๑ วินาทีก็ตาม สรุป คือ มีสภาพ
บคุ คลในเวลาท่ีเจ้ามรดกถึงแกค่ วามตาย
ระวัง ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายใน ๓๑๐ วันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็น
ทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาท่ีเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คือ นับจากวันตายไป ๓๑๐ วันนับแต่วันตาย หาก
๓๑๑ วันแล้วคลอด รับไม่ได้ เช่น นายเอสมรสกับนางบี นางบีตั้งครรภ์ นายเอตาย นางบีคลอดลูกตามมา ชื่อ
เดก็ ซี แม้จะไมม่ ีสภาพบุคคลภายในเวลาตาย แต่เกิดภายใน ๓๑๐ วันก็รับมรดกบดิ าได้
-หากทายาทคนใดตายก่อนเจ้ามรดก(ไม่มีสภาพบุคคล) ไม่มีสิทธิรับมรดก แต่หากทายาทนั้นมี
ผ้สู ืบสันดาน ก็ให้ผู้สืบสันดานของทายาททตี่ ายก่อนนั้นก็รบั มรดกแทนทไ่ี ด้ เช่น นายเอเปน็ ลูกนายบี ตายก่อน
นายบี แต่นายเอมีลกู ชอ่ื ว่านายซี เม่อื นายบีตายนายซสี ามารถรับมรดกแทนท่ใี นสว่ นของนายเอได้
-การรบั มรดกแทนทตี่ ้องเป็นลูก(ผูส้ บื สันดานเท่าน้นั ไมม่ กี ารให้บุพกรรี บั มรดกแทนท่ี)

-การรับมรดกแทนที่ จำง่าย ๆ รับแทนใครได้เท่านั้น แม้คนแทนจะมีหลายคนก็ตาม ก็เอามาแบ่งกัน
อีกที เช่น นายเอเป็นบุตรของนายบี แต่ตายก่อน นายเอมีบุตร คือ นายซีและนายดี ทั้ง ๒ คนก็รับเอาเฉพาะ
สว่ นของนายเอมาแบ่งกนั อกี ที

-ทายาทโดยธรรมจะไดร้ ับมรดกเม่อื ไม่มพี นิ ยั กรรม พินัยกรรมใช้ไม่ได้ ผู้รับพนิ ยั กรรมตายก่อน(เพราะ
หา้ มแทนที่) หรอื มีทรัพยเ์ หลอื จากพนิ ัยกรรม

-คนจะรับมรดกได้ ตอ้ งครบองค์ประกอบดังน้ี คือ มีสภาพบุคคลในเวลาเจ้ามรดกตาย เปน็ ทายาทโดย
ธรรมหรือเป็นผู้รับพินยั กรรม และไม่เสียสทิ ธิในการรับมรดก เช่น ไม่ถูกกำจัด ไม่ถูกตัด ไม่สละมรดก หรือ ไม่
พ้นอายุความ
-ทายาทอาจเสียไปซึ่งสทิ ธิในมรดก มี ๔ ประการ คอื

๑.การถูกกำจดั มิใหร้ ับมรดก

คอื กฎหมายกำหนดกำจัดคนประพฤติช่ัว ดงั น้ี
-การกำจัดมิให้รับมรดกฐานยักย้ายปดิ บงั มรดก ต้องเกิดขึ้นหลงั เจ้ามรดกตายเท่านั้น แต่การถูกกำจัด
มิให้รบั มรดกฐานผูไ้ มส่ มควรจะเกดิ ขึน้ กอ่ นหรอื หลงั เจา้ มรดกตายก็ได้
-การกำจัดมิให้รับมรดกฐานยักย้ายปิดบังมรดก มีทั้งการถูกกำจัดมิให้รับมรดกบางส่วนและถูกกำจัด
ทัง้ หมด แต่การถูกกำจัดมิให้รบั มรดกฐานผู้ไมส่ มควรตอ้ งถูกกำจัดในทรัพย์มรดกทง้ั หมดจะรบั บางส่วนก็ไม่ได้
-การกำจัดมใิ ห้รบั มรดกฐานยักย้ายปิดบังมรดก มขี อ้ ยกเวน้ หา้ มใชก้ ับผู้รบั พินยั กรรมเฉพาะสิ่ง แต่การ
ถูกกำจัดมิใหร้ บั มรดกฐานผไู้ มส่ มควร หากผิดตอ้ งถูกกำจัดทุกประเภท แม้จะให้โดยเฉพาะ กไ็ มม่ ียกเว้น
-การกำจัดมิให้รับมรดกฐานยักย้ายปิดบังมรดก มีการสืบมรดกได้ แต่การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานผู้
ไม่สมควรหากเกิดก่อนตายมีการรับมรดกแทนที่ และเกิดหลังสืบมรดก จำง่าย ๆ ว่าจะเกิดก่อนหรือหลัง
ผสู้ บื สนั ดานกร็ บั แทนทไี่ ด้แคเ่ รยี กตา่ งกนั
-การกำจัดมิให้รับมรดกฐานยักย้ายปิดบังมรดก ไม่มีการให้อภัยเพราะเกิดหลังเจ้ามรดกตาย แต่การ
ถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานผู้ไม่สมควร หากเกิดก่อนตายจะมีการให้อภัยเป็นหนงั สือกไ็ ด้(ทำด้วยวาจาไม่ได้) ถ้า
เกดิ หลงั ตายจะไม่มีการให้อภัย จำงา่ ยๆวา่ ไมม่ ีการใหอ้ ภัยล่วงหนา้
ถกู กำจดั ในฐานยักย้ายหรือปิดบงั ทรัพยม์ รดก

กรณีท่ี ๑ ทายาททยี่ ักยา้ ย หรือปดิ บงั ทรพั ย์มรดกเท่าสว่ นท่ีตนจะได้หรือมากกว่านั้นโดยฉ้อฉลหรือ

รอู้ ย่วู า่ ตนทำใหเ้ สอ่ื มประโยชน์ของทายาทคนอ่ืน ทายาทคนน้ันต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลย สนิ้ สุดความเป็น
ทายาท ไม่มีสทิ ธิยกอายคุ วามมรดกข้ึนต่อสู้

ตวั อยา่ งท่ี ๑ นายใหญ่มีมรดก ๓ แสนบาท มีทายาทโดยธรรม ๓ คน คือ เอ บี ซี ปรากฏว่านายเอยัก
ยา้ ยปิดบงั มรดก ๑ แสนบาท และนายบี ปิดบงั ทรพั ย์มรดก ๒ แสนบาท จงแบ่งมรดกของนายใหญ่

ตอบ โดยปกติแล้วมที ายาท ๓ คนควรได้รบั มรดกคนละ ๑ แสนบาท
แต่นายเอถูกกำจัดมิให้รับมรดกถูกกำจัดมิให้รับมรดก เพราะ ปิดบังมรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้

และนายบีถูกกำจัด เพราะ ปิดบังมรดกเกินกว่าส่วนท่ีตนจะได้รับ ดังนั้นนายซีผู้สุจริตรับมรดกไปคนเดียว ๓
แสนบาท

กรณีที่ ๒ แต่ถา้ ไดย้ ักย้ายหรือปดิ บังทรพั ยม์ รดกน้อยกวา่ สว่ นทีต่ นจะได้ ทายาทคนนนั้ ต้องถูกกำจัด

มิใหไ้ ด้มรดกเฉพาะสว่ นท่ีได้ยกั ยา้ ยหรือปิดบงั ไว้นน้ั
ตวั อยา่ งท่ี ๒ นายใหญ่มมี รดก ๓ แสนบาท มที ายาทโดยธรรม ๓ คน คอื เอ บี ซี ปรากฏวา่ นายเอยัก

ย้ายปิดบังมรดก ๕ หมื่นบาท จงแบง่ มรดกของนายใหญ่
ตอบ โดยปกติแล้วมีทายาท ๓ คนได้รับมรดกคนละ ๑ แสนบาท แต่นายเอยักย้ายมรดกไป ๕ หมื่น

บาท ซึ่งนอ้ ยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ถูกกำจัดมิให้รับมรดก ๕ หมื่นบาทได้รับ ๕ หมนื่ บาท แต่นายบีและซี ได้รับคน
ละ ๑ แสน ๒ หมน่ื ๕ พันบาท เพราะไดเ้ พ่ิมมาจากส่วนทน่ี ายเอปิดบัง

ตวั อยา่ งท่ี ๓ นายใหญม่ ีมรดก ๓ แสนบาท มีทายาทโดยธรรม ๓ คน คอื เอ บี ซี ปรากฏวา่ นายเอยัก
ย้ายปิดบังมรดก ๑ แสนบาท และนายบี ปิดบงั ทรัพยม์ รดก ๕ หมื่นบาท จงแบง่ มรดกของนายใหญ่

ตอบ โดยปกตแิ ล้วมีทายาท ๓ คนควรไดร้ ับมรดกคนละ ๑ แสนบาท
แต่นายเอถูกกำจัดมิให้รับมรดกถูกกำจัดมิให้รับมรดก เพราะ ปิดบังมรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้

และนายบถี กู กำจัดมใิ หร้ ับมรดก ๕ หมื่นบาทไดร้ ับ ๕ หมนื่ บาท เพราะ ปดิ บงั มรดกน้อยกวา่ สว่ นทตี่ นจะไดร้ ับ
สรุป คอื นายเอมิให้รบั มรดก
นายบีรับมรดก ๑ แสนบาท เพราะไดเ้ พิม่ มาจากส่วนของเอ ๕ หมืน่ บาท
นายซี รับมรดก ๒ แสนบาท เพราะได้เพ่มิ มาจากส่วนของเอ ๕ หมน่ื บาท เพิ่มจากบี ๕ หมน่ื
ควรจำ ความผิดฐานยักย้ายปิดบังมรดก ใช้กับทายาทโดยธรรมและทายาทโดยพินัยกรรมลักษณะ

ทว่ั ไปเทา่ นน้ั ไมใ่ ห้ใช้บงั คับแก่ผู้รับพินยั กรรมลักษณะเฉพาะ ทผี่ ู้ตายไดท้ ำพนิ ัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะสิ่ง
เฉพาะอยา่ ง ในอันที่จะได้รบั ทรัพย์สนิ น้ัน

แต่ถ้าผู้รับพินัยกรรมเฉพาะสิ่งนั้น ยังมีสิทธิ์ได้รับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรมทั่วไปหรือทายาทโดย
ธรรม จะรบั อีกไมไ่ ด้ เพราะถูกกำจดั รบั ได้เฉพาะทรพั ยท์ ่กี ำหนดไว้

ตัวอย่าง นายใหญ่ทำพินัยกรรม ยกเครื่องเพชรประจำตระกูล ราคาสองแสนบาทให้นายเอ ส่วน

มรดกอนื่ ยกให้นายบี นายเอยักย้ายเงินมรดกมลู คา่ ๕ แสนบาท นายบตี ดิ ตามเอาเงินมรดกคนื มาไดห้ รือจะเอา
โทษทางอาญากับนายเอก็ได้ แต่นายบีจะให้ศาลพิพากษากำจัดนายเอมีให้รับมรดก คือ เครื่องเพชรประจำ
ตระกลู ไม่ได้ เพราะนายเอได้รับพนิ ัยกรรมมรดกเฉพาะส่ิง แม้จะยักยอกเกินทรพั ยต์ นกต็ าม

ตัวอย่าง นายใหญ่มีมรดกเครื่องเพชรและเงิน ๕ แสนบาท ทำพินัยกรรม ยกเครื่องเพชรประจำ

ตระกูล ราคาสองแสนบาทให้นายเอ ส่วนมรดกอ่ืนให้นายเอและนายบี แบ่งกันคนละครึ่ง ต่อมานายเอยักยอก
เงินมรดก ๔ แสนบาท เป็นการยักย้ายเกินกว่าทรัพย์ที่ตนได้รับคือ ๒ แสน ๕ หมื่น ทำให้นายเอถูกกำจัด แต่
ยงั คงได้รบั เครื่องเพชร เพราะเปน็ พินยั กรรมเฉพาะสิง่ เงิน ๕ แสนท่ีเป็นทรัพย์อน่ื นายบรี บั ไปคนเดยี ว

ควรจำ การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัว ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดก
ตอ่ ไปเหมือนหนง่ึ วา่ ทายาทนัน้ ตายแลว้

ควรจำ บุคคลท่จี ะถูกกำจดั มิใหร้ บั มรดก ถือเอาเฉพาะทายาทของเจา้ มรดกขณะเจ้ามรดกตายเท่านั้น
เช่น เจ้ามรดกตายมีทายาท ๓ คนคือ เอ บี ซี ต่อมาเอตายก่อนเจ้ามรดก นายอีซึ่งเป็นลกู นายเอ นายอีไปยัก
ย้ายปดิ บงั มรดก คนอนื่ จะฟ้องกำจดั มใิ ห้นายอรี ับมรดกไมไ่ ด้ เพราะเป็นเพยี งผ้สู บื สิทธิ มใิ ช่ทายาท

ถกู กำจดั ในฐานเป็นผู้ไม่สมควร

ควรจำ การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานผู้ไม่สมควร ใช้กับทายาททุกประเภท จะไม่ได้รับมรดกทุกกรณี
ไมว่ ่าจะพินยั กรรมทั่วไปหรอื เฉพาะสง่ิ กต็ าม

ควรจำ เจา้ มรดกอาจถอนข้อกำจัดฐานเป็นผู้ไมส่ มควรเสยี ก็ได้โดยให้อภัยไวเ้ ปน็ ลายลักษณ์อักษร จะ
อภัยด้วยวาจาไมไ่ ด้ ตอ้ งหนงั สือเท่าน้ัน โดยการกระทำนน้ั เกดิ ข้นึ แลว้ ใหอ้ ภัยลว่ งหนา้ ไมไ่ ด้

ไม่มีการให้อภยั การถกู กำจดั ฐานยักยา้ ยปดิ บังมรดก เพราะมนั เกิดหลงั เจา้ มรดกตาย
(๑) ผู้ท่ีตอ้ งคำพิพากษาถึงท่สี ุดว่าได้เจตนากระทำ หรอื พยายามกระทำให้เจ้ามรดกหรือผมู้ สี ิทธิได้รับ
มรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมชิ อบดว้ ยกฎหมาย
จะฆ่าสำเรจ็ หรอื พยายามฆ่าก็ถกู กำจัดหากเจตนา แต่ถา้ ประมาททำใหต้ ายหรือเจตนาทำร้ายแต่ตายก็
ไมถ่ กู กำจัด เพราะไม่ไดม้ เี จตนาฆ่า
คำวา่ ฆ่าผู้มีสิทธริ ับมรดกก่อนตน คือ ถ้ายงั มีคนนนั้ ตนจะไมไ่ ดร้ ับมรดก ถา้ เขาตายตนถงึ จะได้รับ
ระวงั การฆา่ ผูม้ ีสิทธริ บั มรดกพร้อมกบั ตน คอื ถงึ แมว้ า่ เขาไม่ตาย ตนก็ได้รบั ไม่ถกู กำจดั มิให้รับมรดก
คำว่า คำพิพากษาถึงที่สุดหากไม่อุทธรณ์หรือฏีกา คือ ต้องลงโทษ ถ้ามีเหตุยกเว้นโทษหรือป้องกัน
สมควรแกเ่ หตจุ ะไม่ถกู กำจัด แต่ปอ้ งกนั เกินสมควรแกเ่ หตหุ รือบันดาลโทสะต้องถูกกำจัด
(๒) ผ้ทู ี่ไดฟ้ อ้ งเจ้ามรดกหาวา่ ทำความผิดโทษประหารชีวิตและตนเองกลับต้องคำพิพากษาถึงท่ีสุดว่า
มีความผดิ ฐานฟ้องเทจ็ หรอื ทำพยานเท็จ
ทายาทตอ้ งฟอ้ งเอง จะเป็นโจทก์ฟ้องตามลำพงั หรอื โจทกร์ ว่ มกไ็ ด้
ตอ้ งฟอ้ งในความผิดอะไรก็ได้ ที่มโี ทษประหารชีวิต ศาลจะพิพากษายกฟ้องเจา้ มรดกหรือไม่ ไม่สำคัญ
แต่ทายาทถูกพิพากษาถึงที่สุดว่าฟ้องเท็จ หรือ ทำพยานเท็จ ถ้าไม่มีการฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จหรือ
พยานเทจ็ กไ็ มถ่ ูกตัด
ระวัง ถ้าไม่ได้ฟ้องด้วยตนเอง เพียงกล่าวหาเจ้ามรดกต่อพนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการเป็น
คนฟ้อง ไม่ถกู กำจดั
(๓) ผู้ท่รี ู้แล้ววา่ เจ้ามรดกถกู ฆา่ โดยเจตนา แตม่ ิไดน้ ำขอ้ ความนั้นขน้ึ ร้องเรียนเพื่อเป็นทางทจี่ ะเอาตัว
ผู้กระทำผดิ มาลงโทษ
ระวงั ตอ้ งรู้ว่าฆ่าโดยเจตนาเท่าน้ัน ถ้าประมาทหรือไม่เจตนา ไม่ถกู ตดั ตอ้ งบอกดว้ ยวา่ ใครฆ่าถา้ รู้ คือ
ถ้าบอกว่าถูกฆา่ แตไ่ ม่ยอมบอกว่าใครฆ่าทั้งทรี่ ู้ ไม่ถือว่าร้องเรียนเพื่อเอาคนผดิ มาทำโทษ ตอ้ งถกู กำจดั
ระวัง กรณีต่อไปนี้ แม้ทายาทจะรู้ว่าฆ่า ก็ไม่ต้องถูกกำจัด คือ ทายาทนั้นมีอายุยังไม่ครบ ๑๖ ปี
บริบูรณ์ หรือทายาทเป็นคนวิกลจริตไม่สามารถรู้ผิดชอบและคนไร้ความสามารถ หรือ ถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามี
ภรยิ าหรอื ผู้บพุ การหี รอื ผู้สบื สันดานของตนโดยตรงของทายาทเอง(สามีภรรยาชอบด้วยกฎหมาย ผูส้ บื สันดาน
โดยตรง คือ บตุ รชอบดว้ ยกฎหมายหรอื บตุ รนอกกฎหมายรับรอง ไม่รวมบุตรบุญธรรม)

ควรรู้ ผู้สืบสันดานโดยตรง หมายถึง ผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง บุตรบุญธรรมนั้น
กฎหมายถือวา่ เป็นผสู้ ืบสนั ดานเหมือนกับบุตรทช่ี อบดว้ ยกฎหมาย มีสิทธไิ ดร้ ับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่
บุตรบุญธรรมหาใชผ่ ้สู ืบสนั ดานโดยตรงของผู้รบั บุตรบุญธรรมไม่ จงึ ไมม่ สี ิทธิรบั มรดกแทนทผ่ี ู้รับบตุ รบุญธรรม

แตถ่ ้าเจ้ามรดกรับบุตรบญุ ธรรมมา แลว้ บตุ รบญุ ธรรมตาย ลกู แท้ๆของบตุ รบุญธรรมรับแทนได้
สรุปได้ว่า การรบั มรดกแทนที่กฎหมายใหส้ ิทธิเฉพาะผู้สบื สันดานโดยตรงเท่านั้นคือเฉพาะลูกในไส้ไม่
ว่าจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง แต่ไม่รวมถึงลูกนอกไส้คือบุตรบุญ
ธรรมเพราะ ไม่ใช่เปน็ ผ้สู ืบสันดานโดยตรงของผทู้ ี่ตนเขา้ รบั มรดกแทนท่ี
คำวา่ รอ้ งเรียน คือ รอ้ งทุกข์ กล่าวโทษ หรือพยานในข้อเท็จจริง เพ่ือเอาคนผดิ ลงโทษ
(๔)ผู้ท่ีฉ้อฉล(หลอกลวง)หรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำ หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแต่
บางส่วนหรือทง้ั หมดซ่ึงเก่ียวกบั ทรัพยม์ รดก หรือไม่ใหก้ ระทำการดงั กลา่ วน้นั
คำว่า ข่มขู่ คือ ต้องกลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่ตนเอง สกุล ชื่อเสียง ทรัพย์ ทำร้ายตนหรือทายาทคน
อนื่
ควรจำ ถ้าไม่ใช่พินัยกรรมเกี่ยวกับมรดก เช่น ตั้งผู้จัดการมรดก ก็ไม่ผิด หรือ ถ้าเป็นการฉ้อฉลที่ไม่
เกย่ี วกบั พนิ ัยกรรมก็ไมผ่ ิด
ตัวอยา่ ง พินยั กรรมระบยุ กทรัพย์ที่ดนิ ให้ผู้รับพนิ ัยกรรม ผ้รู ับพนิ ยั กรรมหลอกให้ผู้ทำพินัยกรรม มอบ
อำนาจขายที่ดินแก่ผูร้ ับพนิ ยั กรรม เป็นการฉอ้ ฉลทไ่ี มเ่ กยี่ วกบั พนิ ยั กรรม กไ็ มถ่ กู กำจดั
ตัวอย่าง หลอกให้เจ้ามรดกพิมพ์ลายนิ้วมือในพินัยกรรม ต้องถูกกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควร เพรา ะ
เกยี่ วกับพินัยกรรม
(๕)ผู้ท่ีปลอม ทำลาย หรอื ปิดบงั พนิ ยั กรรมแต่บางสว่ นหรือทง้ั หมด
ควรจำ จะเป็นพนิ ยั กรรมเกี่ยวกับทรพั ยห์ รือไม่ก็ตาม
การปลอม คอื ทำให้เหมือนจริง คนอ่นื เช่อื วา่ เปน็ พินยั กรรมจรงิ
ทำลาย คอื ทำใหส้ ้นิ ไป
ปดิ บัง คอื ไมใ่ ห้ใครร้วู า่ มี
ตัวอย่าง ปลอมพนิ ัยกรรมต้ังตนเป็นผู้จดั การมรดก ตอ้ งถกู กำจัด

๒.การถูกตดั มิให้รับมรดก

คอื เจ้ามรดกไม่ตอ้ งการให้มรดก เปน็ ผลของเจตนาเจ้ามรดก ตา่ งกับการกำจดั เป็นผลกฎหมาย
-การตดั มิใหร้ ับมรดก ใชเ้ ฉพาะกับทายาทโดยธรรมเท่าน้ัน หา้ มใช้กับผรู้ บั พนิ ัยกรรม
-การตดั มใิ หร้ ับมรดกโดยพนิ ยั กรรมหรือหนังสือแกเ่ จา้ หน้าท่ี ทำใหท้ ายาทคนน้ันไมม่ สี ทิ ธริ บั มรดกโดย
สิ้นเชิง แต่การตัดทายาทโดยธรรมโดยปริยาย เพราะเจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์ไปหมด หาก
พินัยกรรมสมบรู ณ์ทายาททีถ่ กู ตดั ก็ไม่ได้รับ หากพนิ ยั กรรมใช้ไม่ไดห้ รอื ผู้รบั พินยั กรรมตาย ทรพั ยน์ ั้นตอ้ งตกแก่
ทายาทโดยธรรม กม็ าแบ่งแก่คนทีถ่ ูกตัดได้ เพราะไม่มกี ารรบั มรดกแทนทผี่ ู้รับพินัยกรรม
-การตดั มใิ หร้ บั มรดก เป็นการตดั ท้ังสาย ไม่มกี ารสืบมรดกกบั การรับมรดกแทนที่ เพราะไม่มีกฎหมาย
บญั ญตั ิให้ ถ้าอยากใหห้ ลานก็ทำพินยั กรรมให้เลย
-หากทายาทโดยธรรมคนใดถูกตัดมิให้รับมรดก จะหมดสิทธิรับมรดกโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถยกอายุ
ความข้นึ ตอ่ สูก้ บั ผรู้ ับพินัยกรรมคนอ่นื ได้
-จะตัดตัวทายาทคนใดมิให้รับมรดกนั้นตอ้ งระบุไว้ให้ชัดเจน เช่น ตัดนายเอ นายบี เป็นต้น หรือสื่อได้
เช่น ตัดภรรยาของขา้ พเจ้า ตัดบุตรชายคนโตของขา้ พเจ้า เป็นตน้

-การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้นจะถอนเสียก็ได้ ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทำโดยพินยั กรรม
จะถอนเสียได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น ฝ่าฝืนไม่มีผลเป็นการตัด แต่ถ้าการตัดมิให้รับมรดกได้ทำเป็นหนังสอื
มอบไวแ้ ก่พนกั งานเจา้ หน้าที่ การถอนจะทำโดยพินัยกรรมหรอื หนงั สอื แก่เจา้ หน้าท่ีก็ได้

-ตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมใิ ห้รบั มรดกกไ็ ดแ้ ต่ดว้ ยแสดงเจตนาชัดแจง้
การตัดมิใหร้ บั มรดกโดยชัดแจง้ มี ๒ แบบ

(๑) ตดั ทายาทโดยพนิ ยั กรรม
ทำตามแบบพนิ ัยกรรม ๕ แบบ หากพนิ ัยกรรมไม่ถกู ตามแบบกโ็ มฆะ ทายาทคนนนั้ ก็ไมถ่ ูกตัด
แสดงเจตนาไมก่ ำกวม เช่น ระบุไมไ่ ดโ้ ดยตรงว่าตัดใคร
หากตัดไวโ้ ดยพินยั กรรม ถา้ จะถอนตอ้ งถอนโดยพินัยกรรมเท่าน้นั จะถอนโดยทำเป็นหนังสอื มอบไว้แก่
พนกั งานเจา้ หน้าที่ไม่ได้

(๒) ตัดโดยทำเป็นหนงั สือมอบไวแ้ กพ่ นักงานเจา้ หนา้ ที่
คำว่า พนักงานเจา้ หนา้ ที่ คือ นายอำเภอหรือผอู้ ำนวยการเขตหรอื ผปู้ ฏบิ ัตหิ น้าท่ีแทน
ทำหนังสือตัดทายาทมิให้รับมรดก โดยเจ้าที่ที่มีอำนาจ จะทำนอกสถานที่ราชการหรือทำนอกเวลา
นอกเวลาราชการกไ็ ด้ เพราะไมม่ กี ฎหมายห้ามไว้โดยเฉพาะ
การตัดมใิ ห้รับมรดกโดยการทำเปน็ หนังสอื มอบไว้แก่พนักงานเจา้ หนา้ ที่ จะถอนโดยทำพินยั กรรมหรือ
ทำเปน็ หนังสอื มอบไวแ้ ก่พนกั งานเจ้าหน้าที่ก็ได้ ตา่ งจากการตัดโดยพินยั กรรมท่ีตอ้ งถอนโดยพนิ ัยกรรมเท่านัน้
ควรจำ กรณีทำหนังสือตัดทายาท ชื่อถูก แต่สะกดนามสกุลผิด จาก “ธรรมรัตน์” เป็น “ธรรมรักษ์”
เปน็ การผิดพลาดเล็กนอ้ ย หนงั สอื ยังคงตดั ทายาทคนนั้นได้
การตัดมใิ หร้ ับมรดกโดยปริยาย
-แตเ่ มอื่ บุคคลใดไดท้ ำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสยี ทั้งหมดแล้ว ให้ถอื ว่าบรรดาทายาทโดยธรรม
ผู้ที่มิได้รับประโยชนจ์ ากพินัยกรรม เปน็ ผูถ้ กู ตัดมิใหร้ ับมรดก เป็นการตัดมรดกโดยปริยาย
สรปุ คอื ทำพินัยกรรมจ่ายทรพั ยไ์ ปหมดแลว้ แต่ไมเ่ หลอื ทรพั ยใ์ ห้ทายาทอีก ก็ถือวา่ ตัด
ตวั อยา่ ง เจา้ มรดกมีลูก ๒ คน คอื นายเอและนายบี มีสทิ ธิมรดกเทา่ กนั แต่เจ้ามรดกยกทรพั ย์ทั้งหมด
ให้นายเอคนเดยี ว กเ็ ป็นการตัดนายบโี ดยปรยิ าย

๓.การสละมรดก

คือ ทายาทมีสทิ ธิรับมรดก แต่ไมเ่ อามรดกจึงสละ จะเปน็ ทายาทโดยธรรมหรือผรู้ ับพินัยกรรมสละก็ได้
คอื ขอสละหลังเจา้ มรดกตาย

ควรจำ ตอ้ งสละหลังเจา้ มรดกตายแลว้ เทา่ น้ัน เพราะถา้ ไมต่ าย ทรพั ย์ยังไมถ่ ือวา่ เปน็ มรดก คงจะสละ
ไมไ่ ด้

ควรจำ ทายาทสละมรดกก่อนเจ้ามรดกตายไม่ได้เด็ดขาด มีผลคือ ทายาทมิได้สละมรดก มีสิทธิรับ
มรดกต่อไป ถา้ ตอ่ มาเจา้ มรดกตายก็สละใหม่ได้

เช่น นายเอทำสัญญาไว้กับเจ้ามรดกว่าก่อนตายว่า จะไม่ขอเกี่ยวข้องกับมรดก สละสิทธิ์ทุกอย่าใน
ทรัพย์มรดกที่ตนจะได้ ต่อมาเจ้ามรดกตาย สัญญานี้ไม่มีผลตัดมรดก นายเอรับมรดกได้ เพราะทำก่อนเจ้ า
มรดกตาย


Click to View FlipBook Version