The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ชีวิตงามนามจุลสิงห์

1

อนุ รณ์ในโอกา

มเดจ็ พระกนิ ฐาธริ าชเจา้ กรม มเดจ็ พระเทพรตั นราช ดุ าฯ
ยามบรมราชกมุ ารี

เ ด็จพระราชดำาเนนิ ไปในการพระราชทานเพลงิ พ
า ตราจารยพ์ เิ จลุ งิ ์ ันต งิ ์ ม.ป.ช. , ม. .ม. , ร.จ.พ.

ณ เมรุ ลวง นา้ พลบั พลาอิศรยิ าภรณ์ วัดเทพศริ ินทราวา
วนั อาทติ ยท์ ี่ ๑๕ ธันวาคม พุทธศกั ราช ๒๕๖๒

2



4

พร�ำะนบกึ ำใทนพมรเะดมจ็ พำรกะรเุณจ้ำำอธยคิ ู่ณุ ั

เมอ่ื ความทราบใตฝ้ า่ ละอองธลุ พี ระบาทวา่ ศาสตราจารยพ์ เิ ศษจลุ สงิ ห ์ วสนั ตสงิ ห ์ อดตี อยั การสงู สดุ
กราบถวายบงั คมลาถงึ แก่อนิจกรรม เมอ่ื วนั เสาร์ท่ี ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ ัวทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจาต้ังประดับ ปี่ กลองชนะ
ประโคมเวลาพระราชทานน้�าหลวงอาบศพ พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเวลากลางคืน ๓ คืน พร้อมทั้ง
พระราชทานพวงมาลาวางหน้าโกศศพ
เมอื่ ถงึ คราวงานพระราชทานเพลงิ ศพไดพ้ ระราชทานพระบรมราชานญุ าตใหร้ บั พระราชทานเพลงิ ที่
เมรหุ ลวงหนา้ พลบั พลาอศิ รยิ าภรณเ์ ปน็ เกยี รตยิ ศพรง่ั พรอ้ มดว้ ยเครอื่ งประกอบเกยี รตยิ ศทง้ั ไดพ้ ระราชทาน
ผา้ ไตรสา� หรบั พระสงฆบ์ งั สกุ ลุ อทุ ศิ พระราชทานผวู้ ายชนมด์ ว้ ย นบั เปน็ พระมหากรณุ าธคิ ณุ ลน้ เกลา้ ลน้ กระหมอ่ ม
หาทีส่ ดุ มไิ ด้ ทง้ั แก่ศาสตราจารยพ์ ิเศษจลุ สงิ ห์ วสนั ตสงิ ห ์ ผู้ถึงแก่อนิจกรรมล่วงไปแลว้ และแกค่ รอบครัว
ทอี่ ยู่เบือ้ งหลัง
หากศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ วสันตสิงห์ จะสามารถหยั่งทราบด้วยญาณวิถีใดคงจะมีแต่ความ
ปลาบปลม้ื ปติ ชิ นื่ ชมโสมนสั และซาบซง้ึ ในพระมหากรณุ าธคิ ณุ ลน้ เกลา้ ลน้ กระหมอ่ มทไี่ ดท้ รงพระกรณุ าโปรด
เกล้าโปรดกระหมอ่ มพระราชทานในวาระทีส่ ดุ แห่งชวี ิตเช่นน ้ี
ข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นภรรยาและบุตรธิดา ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบถวายบังคม
แทบเบอ้ื งพระยคุ ลบาทดว้ ยความสา� นกึ ในพระมหากรณุ าธคิ ณุ และจกั ขอเทดิ ทนู ไวเ้ หนอื เกลา้ เหนอื กระหมอ่ ม
เป็นสริ มิ งคลแก่วงศต์ ระกูลสืบไปตลอดกาลนาน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ขา้ พระพุทธเจา้ นางภัทรา วสนั ตสิงห์
นายศวิ ัช วสันตสงิ ห์
นางสาวณัฏฐา วสันตสิงห์

5

6

มเด็จพระกนิ ฐำธำ� ิรนำกึ ชใเนจพำ้ รกะรมม ำมกเรดณุ จ็ ำพธริคะุณเทพรตั นรำช ดุ ำ ฯ
ยำมบรมรำชกมุ ำรี

ตลอดชีวิตราชการและชีวิตการท�างานในฐานะนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ และการท�างานอุทิศแด่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์พิเศษ
จลุ สงิ ห ์ วสนั ตสงิ ห ์ ไดม้ โี ชควาสนาอนั สงู ยง่ิ ไดถ้ วายงานรบั ใชเ้ บอ้ื งพระยคุ ลบาท สมเดจ็ พระกนษิ ฐาธริ าชเจา้
กรมสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ผ้ทู รงเปน็ เจา้ พระคุณของท่านด้วยความภาคภมู ิใจ
และปล้ืมปิตเิ ป็นทีส่ ดุ
เมื่อความทราบฝ่าละอองพระบาทว่า ศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อดีตอัยการสูงสุด
กราบถวายบังคมลาถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันเสาร์ท่ี ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พระราชทานพวงมาลาวางหน้าโกศศพ เม่ือถึงคราวจะรับพระราชทานเพลิงศพ ทรงพระมหากรุณาเสด็จ
พระราชด�าเนินมาในการพระราชทานเพลิงศพ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นเกินกว่าถ้อยค�าใดจะ
พรรณนาได ้ ทง้ั แกศ่ าสตราจารยพ์ เิ ศษจลุ สงิ ห ์ วสนั ตสงิ ห ์ ผถู้ งึ แกอ่ นจิ กรรมลว่ งไปแลว้ และแกค่ รอบครวั ทอี่ ยู่
เบอื้ งหลังซึง่ ได้รบั พระราชทานพระมหากรณุ าธคิ ุณเป็นร่มเกล้า ในวาระอันทีต่ ้องสญู เสยี ผูเ้ ป็นท่ีรักไปเชน่ น ้ี
หากศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ วสันตสิงห์ จะสามารถหย่ังทราบด้วยญาณวิถีใด คงจะมีแต่ความ
ปลาบปลืม้ ปิติโสมนัสและซาบซึ้งในพระมหากรณุ าธิคณุ ทไี่ ดพ้ ระราชทานในวาระสุดท้ายแหง่ ชีวติ
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นภรรยาและบุตรธิดา ขอพระราชทานพระราชวโรกาสกราบถวายบังคมแทบ
เบ้ืองพระยุคลบาทด้วยความส�านึกในพระมหากรุณาธิคุณ และจักขอเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม
เป็นสิริมงคลแก่วงศ์ตระกลู สบื ไปตลอดกาลนาน

ด้วยเกล้าดว้ ยกระหมอ่ ม
ข้าพระพทุ ธเจ้า นางภัทรา วสันตสิงห์
นายศวิ ัช วสันตสิงห์
นางสาวณัฏฐา วสันตสิงห์

7

8

พระเจ้ำ ร ง เ์ ธอ พำ�รนะอึกงใคน์เพจรำ้ ะโกรมุณำลธีคิ กุณรม ม่นื ุทธนำรีนำถ

เมอื่ ความทราบฝา่ พระบาทวา่ ศาสตราจารยพ์ เิ ศษจลุ สงิ ห ์ วสนั ตสงิ ห ์ อดตี อยั การสงู สดุ กราบถวาย
บังคมลาถึงแก่อนิจกรรม เม่ือวันเสาร์ท่ี ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวล ี
กรมหม่ืนสุทธนารีนาถ ทรงพระกรุณาประทานพวงมาลาวางหน้าโกศศพ นับเป็นพระกรุณาธิคุณท้ังแก่
ศาสตราจารย์พเิ ศษจลุ สิงห์ วสันตสงิ ห์ ผถู้ งึ แกอ่ นจิ กรรมลว่ งไปแล้ว และแกค่ รอบครัวที่อยเู่ บ้อื งหลัง
หากศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ วสันตสิงห์ จะสามารถหย่ังทราบด้วยญาณวิถีใด คงจะมีแต่
ความปล้ืมปติ ิ และซาบซึ้งในพระกรุณาธคิ ุณทีไ่ ด้รบั ประทานในวาระทส่ี ดุ แห่งชีวิต
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นภรรยาและบุตรธิดา ขอประทานพระวโรกาสกราบแทบฝ่าพระบาทด้วย
ความส�านึกในพระกรุณาธิคุณ และจักขอเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมเป็นสิริมงคลแก่วงศ์ตระกูล
สบื ไป
ควรมคิ วรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจา้ นางภัทรา วสนั ตสิงห์
นายศวิ ชั วสันตสงิ ห์
นางสาวณฏั ฐา วสนั ตสิงห์

9

10

มเดจ็ พระเจ้ำลูกเธอ�ำนเกึจใ้ำนฟพ้ำพระชั กรรกุณติ ำิยธำิคภุณำ นเรนทิรำเทพย ดี
กรม ล งรำช ำริณี ิรพิ ชั ร ม ำ ัชรรำชธิดำ

ในฐานะอัยการสูงสุด ศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ วสันตสิงห์ ได้มีโอกาสถวายงานรับใช ้
สมเดจ็ พระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟ้าพัชรกิตยิ าภา นเรนทริ าเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณสี ิรพิ ชั ร มหาวัชรราชธิดา
ต้ังแต่เม่ือครั้งยังทรงด�ารงพระยศเป็นพระเจ้าหลานเธอ และได้ทรงรับราชการเป็นพนักงานอัยการใน
ส�านักงานอัยการสูงสุด ยังความปลาบปลื้มช่ืนชมแกศ่ าสตราจารย์พเิ ศษจุลสิงห์ วสันตสิงห์เป็นที่ยิ่ง
เม่ือความทราบฝ่าพระบาทว่า ศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ วสันตสิงห์ป่วยและเข้ารับการรักษา
ทโี่ รงพยาบาลศริ ริ าช สมเดจ็ พระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟา้ พชั รกติ ยิ าภา นเรนทริ าเทพยวด ี กรมหลวงราชสารณิ สี ริ พิ ชั ร
มหาวชั รราชธดิ า ไดท้ รงพระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ มพระราชทานดอกไมเ้ ยย่ี มเมอื่ วนั ท ่ี ๓๐ มถิ นุ ายน
๒๕๖๒
คร้ันเม่อื ศาสตราจารยพ์ เิ ศษจุลสงิ ห์ วสันตสิงห์ กราบถวายบังคมลาถงึ แก่อนิจกรรม เม่อื วันเสารท์ ่ี
๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพวงมาลาวางหน้าโกศศพ
และได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จมาในการสวดพระอภิธรรมศพ ณ ศาลากวีนฤมิต วัดเทพศิรินทราวาส
เมื่อวันท่ี ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒ อีกท้ังเม่ือถึงคราวจะรับพระราชทานเพลิงศพทรงพระกรุณาโปรดให้
เชิญดอกไม้จันทน์ส่วนพระองค์มาวางพระราชทาน นับเป็นพระกรุณาธิคุณอย่างย่ิงทั้งแก่ศาสตราจารย์
พิเศษจุลสิงห์ วสันตสิงห์ ผถู้ งึ แกอ่ นจิ กรรมลว่ งไปแลว้ และแกค่ รอบครวั ทอี่ ยเู่ บอื้ งหลงั ซงึ่ ไดร้ บั พระราชทาน
พระกรุณาธคิ ุณเปน็ ขวญั เป็นทพ่ี ึ่งในยามท่ตี ้องสญู เสยี ผูเ้ ป็นท่ีรกั ไป
หากศาสตราจารย์พเิ ศษจุลสงิ ห์ วสนั ตสิงห ์ จะสามารถหยั่งทราบด้วยญาณวถิ ีใด คงจะมีแตค่ วาม
ปลาบปลื้มปติ ิและซาบซึ้งในพระกรุณาธิคณุ ทีไ่ ด้พระราชทานในอวสานแหง่ ชีวิต
ขา้ พระพทุ ธเจา้ ผเู้ ปน็ ภรรยาและบตุ รธดิ า ขอพระราชทานพระวโรกาสกราบถวายบงั คมแทบพระบาท
ดว้ ยความสา� นกึ ในพระกรณุ าธคิ ณุ และขอจกั เทดิ ทนู ไวเ้ หนอื เกลา้ เหนอื กระหมอ่ มเปน็ สริ มิ งคลแกว่ งศต์ ระกลู
ตลอดไป

ควรมคิ วรแล้วแตจ่ ะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ข้าพระพทุ ธเจา้ นางภทั รา วสนั ตสงิ ห์
นายศวิ ัช วสันตสงิ ห์
นางสาวณัฏฐา วสนั ตสิงห์

11

ดอกไม้พระราชทานเยีย่ ม
เมือ่ วันที่ ๓๐ มิถนุ ายน ๒๕๖๒ ณ โรงพยาบาลศิริราช

12

เสดจ็ ในการสวดพระอภิธรรมศพ เม่อื วันท่ี ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒

13

14

15

16

17

18

19

20

สารบญั ๔
�ำนึกในพระม ำกรุณำธิคุณ และพระกรุณำธคิ ุณ ๑๔
มำยรบั งั่ ๒๘
ประวตั ิ ังเขป ๓๕
พระธรรมเทศนำ ๔๘
คำ� ไว้ ำลยั ๖๔
ค�ำน�ำ ๖๖
ชีวติ งำมนำมจุล งิ ์ ๖๗
บทที่ ๑ ว ันต งิ ์ และ มำลำกลุ ๘๘
บทที่ ๒ ณ บำ้ นวิ ุทธคำม ๑๐๐
บทท่ี ๓ นักเรียนโรงเรียนวชริ ำวุธวทิ ยำลยั ๑๑๒
บทท่ี ๔ นิ ติ จุ ำฯ ๑๒๔
บทที่ ๕ ก่ รำ่ ง รำ้ งคร บครวั ๑๔๖
บทท่ี ๖ ัยกำร ูง ุด “ผู้ท�ำใ ้ มู่คณะงดงำม” ๑๗๔
บทที่ ๗ ทดแทน “พระคุณข งแ ลง่ เรยี นมำ” ๒๐๖
บทท่ี ๘ “Esprit de Corps” ข งจลุ งิ ์ ว นั ต งิ ์ ๒๒๐
บทท่ี ๙ จุล งิ ์นน้ั แปลว่ำ งิ ์เล็ก แต่ เป็คกลบั เป็น งิ ใ์ ญ่ ๒๓๔
บทที่ ๑๐ ผเู้ ปน็ ทีร่ กั ๒๕๒
บทท่ี ๑๑ บท ่งท้ำย ๒๕๖
ค�ำข บพระคุณ...จำกใจ ๒๕๘
รำยนำมผรู้ ่วมเป็นเจำ้ ภำพบ�ำเพญ็ กศุ ล ๒๖๐
รำยนำมผ้มู บเงินร่วมบำ� เพ็ญกุศล ๒๗๖
รำยนำมผู้ ง่ รีดมำเคำรพศพ

21

22

23

24

25

26

27

28

า ตราจารปย์พระเิ ตั ิจังลุ เขงิป ์ นั ต ิง ์
ม.ป.ช., ม. .ม., ร.จ.พ.

ก�าเนดิ
ศาสตราจารยพ์ ิเศษจลุ สงิ ห ์ วสันตสงิ ห์ เกิดเมอ่ื วนั ท ่ี ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๙๓ เปน็ บตุ รชายของนาย
เมอื งเรงิ วสนั ตสงิ ห ์ อดตี เลขาธกิ ารคณะองคมนตร ี บตุ รพระยาเพช็ รพไิ สยศรสี วสั ด ิ์(แมน้ วสนั ตสงิ ห)์ กบั คณุ
หญิงเรียบ สกลุ เดมิ สุวรรณสุภา และหม่อมหลวงปานตา วสันตสิงห ์ ราชสกุลเดมิ มาลากุล บุตรเี จา้ พระยา
พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) กับท่านผู้หญิงเสง่ียม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี
สกุลเดิม วสันตสงิ ห์
เมอื่ แรกเกดิ พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ทรง
พระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ มพระราชทานนามวา่ “จลุ สงิ ห”์ ศาสตราจารยห์ มอ่ มหลวงปน่ิ มาลากลุ
ผเู้ ปน็ ลงุ ไดอ้ ปุ การะมาตงั้ แตเ่ ยาวว์ ยั เสมอดว้ ยบตุ รผสู้ บื ตระกลู ศาสตราจารยพ์ เิ ศษจลุ สงิ ห ์ มพี น่ี อ้ งรว่ มบดิ า
มารดาเดยี วกนั ๔ คน คอื นางกณุ ฑล สจุ รติ กลุ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารยจ์ นั ทรวรรณ เทวรกั ษ ์ นางสาววชั รวี รรณ
วสันตสงิ ห์ และนางเริงฤด ี วสันตสงิ ห์

การ ึก า
• ประถมศกึ ษาและมัธยมศึกษา โรงเรยี นวชริ าวธุ วทิ ยาลัย
• นติ ิศาสตรบณั ฑติ (เกยี รตินยิ ม) จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย
• เนตบิ ัณฑติ ไทย สา� นักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบณั ฑิตยสภา
• Master of Comparative Law, University of Ilinois สหรัฐอเมรกิ า
• ประกาศนยี บตั ร Harvard Business School, Harvard University สหรัฐอเมริกา

การฝกึ อบรม
• หลกั สูตรการป้องกนั ราชอาณาจักร วิทยาลยั ป้องกนั ราชอาณาจักร (วปรอ.รนุ่ ท ี่ ๓๘๘)
• หลกั สตู รการเมอื งการปกครองในระบอบประชาธปิ ไตยสา� หรบั นกั บรหิ ารระดบั สงู สถาบนั พระปกเกลา้
(ปปร. รนุ่ ท่ี ๘)
• หลกั สูตรผู้บริหารระดบั สูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท. รนุ่ ท ี่ ๕)
• หลกั สูตรผบู้ รหิ ารระดบั สูงด้านวทิ ยาการพลังงาน สถาบนั วทิ ยาการพลงั งาน (วพน. ร่นุ ท ี่ ๑)
• หลกั สูตรผบู้ รหิ ารระดบั สงู ดา้ นการคา้ และการพาณชิ ย์ สถาบันวทิ ยาการการคา้ มหาวทิ ยาลยั
หอการค้าไทย (TEPCOT รุ่นท่ี ๕)
• หลกั สตู รภูมิพลังแผน่ ดนิ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นท ่ี ๑

29

รบั ราชการ
• ๒๕๑๘ เรม่ิ รับราชการทก่ี รมอยั การ ปจั จบุ ันคือ ส�านักงานอยั การสูงสุด
• ๒๕๔๓ อธิบดอี ยั การส�านักงานต่างประเทศ
• ๒๕๔๕ อธิบดอี ัยการส�านักงานคดีอยั การสูงสุด
• ๒๕๔๖ อธบิ ดีอัยการส�านักงานท่ปี รึกษากฎหมาย
• ๒๕๔๗ ผู้ตรวจราชการอยั การ
• ๒๕๔๘ รองอัยการสูงสดุ
• ๒๕๕๒ อยั การสงู สดุ

การทา� งานอ่ืน ๆ ในภาครัฐและภาคเอกชน
• กรรมการกฤษฎกี า
• กรรมการสภาจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• กรรมการจดั การทรัพย์สนิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั
• อาจารยพ์ เิ ศษ คณะนติ ิศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั
• อาจารยผ์ ู้บรรยาย สา� นกั อบรมศกึ ษากฎหมายแห่งเนติบัณฑติ ยสภา
• เลขาธิการเนตบิ ณั ฑติ ยสภา ในพระบรมราชปู ถัมภ ์
• กรรมการอา� นวยการวชริ าวธุ วทิ ยาลยั
• กรรมการบริหารจัดการทรัพย์สินวชริ าวธุ วทิ ยาลัย
• รองประธานกรรมการมลู นิธพิ ัฒนางานอัยการ
• อนุญาโตตุลาการ
• กรรมการ การไฟฟ้านครหลวง
• กรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแหง่ ประเทศไทย
• กรรมการ บรษิ ทั ผลติ ไฟฟ้าราชบรุ ีโฮลด้ิง จา� กัด (มหาชน)
• กรรมการ บรษิ ัท บรหิ ารและจดั การน�้าภาคตะวนั ออก จา� กดั
• กรรมการ บริษัท ปตท. จา� กดั (มหาชน)
• กรรมการ บรษิ ัท ปตท. ส�ารวจและผลติ ปโิ ตรเลยี ม จ�ากัด (มหาชน)
• กรรมการ บริษัท ทา่ อากาศยานไทย จา� กัด (มหาชน)
• กรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรงุ เทพแห่งใหม่ จา� กัด
• กรรมการ บรษิ ทั การบินไทย จ�ากดั (มหาชน)
• กรรมการ ธนาคารกรุงไทย จ�ากดั (มหาชน)

30

• กรรมการ ธนาคารออมสิน
• กรรมการ องคก์ ารเพ่ือการปฏริ ูประบบสถาบนั การเงนิ
• กรรมการ บริษทั อสมท จ�ากัด (มหาชน)
• กรรมการ บรษิ ัท ไทยออยล์ จ�ากดั (มหาชน)
• กรรมการ บรษิ ทั โกลบอล เพาเวอร ์ ซินเนอรย์ ่ ี จ�ากดั (มหาชน)
• กรรมการ บริษัท ธนชาตประกันภยั จ�ากดั (มหาชน)
• กรรมการ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จา� กัด (มหาชน)
• กรรมการ บรษิ ทั ควอลิต้ี เฮา้ ส ์ จ�ากดั (มหาชน)
• ทปี่ รึกษา บรษิ ทั เครือเจริญโภคภณั ฑ์ จ�ากัด
• ท่ีปรกึ ษา บริษทั มิตซบู ชิ ิ มอเตอร์ส ประเทศไทย จา� กัด

การท�างานเพ่อื งั คม
• ๒๕๔๖-๒๕๕๐ นายกสมาคมนิสิตเก่านติ ิศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั
• ๒๕๕๐-๒๕๕๔ นายกสมาคมนกั เรียนเก่าวชิราวุธวทิ ยาลัย ในพระบรมราชปู ถัมภ์
• ๒๕๕๔-๒๕๕๘ นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ในพระบรมราชปู ถัมภ์
• ๒๕๕๔-๒๕๕๘ ประธานมลู นิธสิ มาคมนิสติ เกา่ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ในพระราชปู ถัมภส์ มเดจ็
พระเทพรัตนราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี

เคร่ืองราชอิ ริยาภรณ์
• มหาปรมาภรณช์ ้างเผอื ก

• มหาวชิรมงกฎุ

• เหรียญจกั รพรรดมิ าลา

เกียรติย
• ศาสตราจารยพ์ ิเศษ คณะนติ ิศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั
• นิตศิ าสตรดษุ ฎบี ณั ฑติ กิตติมศักด์ิ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั
• นติ ิศาสตรดุษฎบี ัณฑิตกิตติมศกั ด์ิ มหาวิทยาลยั รามค�าแหง
• นติ ศิ าสตรดุษฎีบณั ฑิตกติ ติมศกั ดิ์ มหาวิทยาลัยโยนก
• นสิ ิตเก่าดเี ดน่ สมาคมนิสิตเก่านิตศิ าสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• นิสิตเก่าดเี ดน่ สมาคมนสิ ติ เกา่ รฐั ศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย
• รางวัล วชริ าวธุ ๑๐๐ ปี ๑๐๐ คน เนือ่ งในโอกาสงานฉลอง ๑๐๐ ปีวชิราวุธวทิ ยาลัย
• Distinguished Alumni Colege of Law, University of Ilinois

31

ครอบครั
ศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช บรมนาถบพติ ร ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ มประกอบพธิ สี มรสพระราชทาน
กับนางภทั รา วสนั ตสงิ ห์ สกุลเดิม วรี เธียร บุตรพี ระประกาศสหกรณ ์ (สดับ วีรเธียร) กบั คณุ หญิงอุดมพร
ประกาศสหกรณ ์ (อุดมพร วรี เธียร) ณ พระราชวงั ไกลกงั วล จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ ์ มีบุตร ๑ คน ธดิ า
๑ คน คือ นายศวิ ชั วสนั ตสงิ ห์ และนางสาวณฏั ฐา วสันตสงิ ห ์ นายศิวัช วสันตสิงห ์ สมรสกับ นางภทั รนิ
(ชุณหวงศ์) มีบุตรซ่ึงเป็นหลานปู่ของศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ ๑ คน สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อมพรมหาเถร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ประทานนามวา่ เด็กชายปัญญ์ วสนั ตสิงห์
อ าน
ศาสตราจารย์พเิ ศษจุลสิงห์ วสนั ตสิงห์ เปน็ ผ้มู สี ุขภาพดีมาโดยตลอด จนเริ่มมอี าการของโรคมะเรง็
เม่ือกลางปีพุทธศักราช ๒๕๖๑ ได้เข้ารับการรักษาพยาบาลมาโดยล�าดับ กระท่ังสุดความสามารถแพทย์
จะเยยี วยาได ้ จงึ ถงึ แก่อนจิ กรรมเม่ือวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ด้วยอาการตดิ เช้อื ในกระแสโลหติ อนั เป็น
อาการแทรกซอ้ นของโรคมะเรง็ สิริอายไุ ด้ ๖๙ ปี

เมื่อความทราบฝา่ ละอองธลุ ีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรด
กระหมอ่ ม พระราชทานน้า� หลวงอาบศพ ปก่ี ลองชนะประโคมตามเกยี รติยศ พระราชทานโกศแปดเหล่ยี ม
และฉตั รเบญจาตงั้ ประดับ และพระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ก�าหนด ๓ คืนด้วย เม่อื จะถงึ
อวสานแหง่ การศพไดท้ รงพระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ มพระราชทานเพลงิ และพระราชทานพระบรม
ราชานุญาตให้รับพระราชทานเพลิงที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส นับเป็น
พระมหากรณุ าธิคุณย่ิง

32

33



พระธรรมเท นา
จั จะขนั ติกถา
โดย

พระราชกิตตดั มิ โงคมลนั (กิติ ตาชิรยั อภิชโย)
าในตกราารจบาา� รเยพ์พ็ญเิ กุ ลจลุ ๗ งิ นั ์ อุทันิ ตแดงิ ่ ์

อดตี อัยการ ูง ดุ
นั เ าร์ที่ ๑๓ กรกฏาคม พ. . ๒๕๖๒
ณ าลาก ีนิรมิต ัดเทพ ิรนิ ทรา า กรุงเทพม านคร

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสสฺ
สจเฺ จน กติ ฺตึ ปปโฺ ปติ ขนตฺ ยา ภยิ ฺโย น วิชชฺ ตีติ

บัดน ้ี จักรบั ประทานแสดงพระธรรมเทศนา ในสจั จะขนั ติกถา พรรณนาสจั จะ ความจรงิ และขนั ต ิ
ความอดทน ฉลองศรทั ธาประดบั ปัญญาบารมี อนุรูปกุศลบุญราศที กั ษณิ านปุ ระทานกิจ ซง่ึ คณะเจา้ ภาพ
ประกอบด้วยภริยาบุตร และ ปยิ ชนทัง้ หลาย ได้มาปรารภการบา� เพ็ญกศุ ล ๗ วัน ศพ ศาสตราจารย์พเิ ศษ
จลุ สิงห์ วสนั ตสงิ ห์
ศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ วสันตสิงห์ได้อาศัยปุพเพกตปุญญตา คือความเป็นผู้มีบุญได้สร้างสม
อบรมไวใ้ นกาลกอ่ น หนนุ นา� ใหอ้ บุ ตั มิ าเปน็ มนษุ ยพ์ บพระพทุ ธศาสนาและอบุ ตั ใิ นสกลุ ทเ่ี ปน็ สมั มาทฐิ ิ เกดิ เมอ่ื
วนั ท่ี ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๙๓ เปน็ บุตรชายของนายเมืองเรงิ วสนั ตสิงห ์ กบั หม่อมหลวงปานตา วสนั ตสิงห์
ราชสกลุ เดมิ มาลากลุ เปน็ หลานปพู่ ระยา เพช็ รพไิ สยศรสี วสั ด ์ิ(แมน้ วสนั ตสงิ ห)์ และเปน็ หลานตาเจา้ พระยา
พระเสดจ็ สเุ รนทราธบิ ด ี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากลุ ) เม่ือแรกเกดิ พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธิเบศร
มหาภมู พิ ล อดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ มพระราชทานนามวา่
“จุลสิงห์” ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้เป็นลุงได้อุปการะมาต้ังแต่เยาว์วัยเสมอด้วยบุตร
ผู้สืบตระกูล ปฐมเหตุนี้เป็นต้นทางของความเจริญในชีวิตกล่าวคือน�าพาให้คบหาคนดีมีศีลธรรม น�าไปสู่
การตัง้ ตนไว้ชอบในกรอบระเบยี บประเพณอี นั ถูกตอ้ งตามกศุ ลวิถีสุจรติ ธรรมทงั้ ปวง ธรรมทงั้ ๔ คอื ๑ การ
อยู่ในถน่ิ ท่ีสมควร ๒ คบคา้ สมาคมกับคนดี ๓ ต้ังตนไวช้ อบ ๔ ความเปน็ ผมู้ ีบญุ ไดท้ า� ไวแ้ ล้วในปางก่อน
เป็นดุจล้อรถน�าบคุ คลนั้นไปสู่ความเจริญรงุ่ เรอื งสดุ วาสนาบารมี ดังทป่ี รากฏแล้วกบั ผู้ถึงแกอ่ นิจกรรม
ศาสตราจารย์พิเศษจลุ สิงห์ วสันตสงิ หม์ อี ธั ยาศัยใฝก่ ารศึกษามาแตย่ งั เยาวว์ ัย ได้รับการศึกษาขน้ั
ตน้ ถงึ มธั ยมปลายทโี่ รงเรยี นวชริ าวธุ วทิ ยาลยั แลว้ จงึ เขา้ ศกึ ษาตอ่ ในแผนกวชิ านติ ศิ าสตร ์ ในคณะรฐั ศาสตร์

35

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซ่ึงต่อมาได้ยกฐานะเป็นคณะนิติศาสตร ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส�าเร็จการ
ศึกษาได้รับพระราชทานปริญญานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากน้ันเข้าศึกษาและสอบไล่ได้เป็นเนติ
บัณฑิตไทย จากส�านักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา แล้วจึงไปศึกษาและส�าเร็จการศึกษา
ระดบั ปรญิ ญาโททางกฎหมายเปรยี บเทียบ จากมหาวิทยาลยั อลิ ลนิ อยส์ สหรัฐอเมริกา หลงั จากน้นั กย็ งั รับ
การศึกษาในหลักสูตรส�าคัญต่าง ๆ อีก เป็นต้นว่า หลักสูตรปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ประกาศนยี บตั รนกั ปกครองระดบั สงู วทิ ยาลยั การปกครอง กระทรวงมหาดไทย นอกจากนยี้ งั ไดร้ บั ปรญิ ญา
นติ ศิ าสตรดษุ ฎบี ณั ฑติ กติ ตมิ ศกั ด ิ์ จากจฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลยั รามคา� แหง และมหาวทิ ยาลยั
โยนก เมอ่ื เจรญิ วยั ไดอ้ าศยั หลกั ธรรมในพระพทุ ธศาสนาเปน็ แนวในการดา� เนนิ ชวี ติ เปน็ ตน้ วา่ มธี รรมสา� หรบั
ผู้ใหญ่ คือความรักใคร่ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข ความสงสารคิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ ความพลอย
ยนิ ดเี มอื่ ผอู้ นื่ ไดด้ ี ความวางเฉยไมด่ ใี จ ไมเ่ สยี ใจเมอื่ ผอู้ น่ื ถงึ ความวบิ ตั ิ ตลอดถงึ มธี รรมยดึ เหนย่ี วนา� ใจผอู้ น่ื
คือ โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ถ้วนท่วั วางตัวสมา�่ เสมอ คุณธรรมเปน็ ตน้ เหล่านส้ี ถติ มน่ั ในเรอื นใจ
ของทา่ น ทา่ นจงึ เปน็ เสมอื นรม่ คนั ใหญท่ คี่ อยกางกน้ั อปุ สรรคอนั ตรายไมใ่ หม้ าแผว้ พานบรวิ ารชนคนคนุ้ เคย
ยังผลคือความปลอดโปร่งใจคลายกังวล แช่มช่ืนเบิกบานยามที่ได้อยู่ชิดใกล้ จึงเป็นศูนย์รวมของความ
เคารพบูชายกย่องเทิดทูนอย่างแนบแน่นเสมอมาตราบ อวสานสมัย แม้ในการรับราชการสนองคุณ
แผน่ ดนิ กย็ ดึ ธรรมประจา� ตนตามนยั แหง่ วธิ รุ ชาดกวา่ ผมู้ ปี ญั ญา ถงึ พรอ้ มดว้ ยความรู้ ฉลาดในวธิ จี ดั การ รกู้ าล
รสู้ มยั เขาพงึ อยใู่ นราชการได ้ และในการประกอบธรุ ะหนา้ ทนี่ น้ั ๆ มคี ณุ ธรรมใหส้ า� เรจ็ ความประสงคป์ ระจา�
อธั ยาศัยกล่าวคอื ผกู ความพอใจในงานนน้ั เพียรประกอบงานนน้ั ด้วยความมงุ่ ม่นั เอาใจใส่นา� พาไม่เพิกเฉย
และหมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในส่ิงน้ันๆ จึงท�าให้การศึกษา ตลอดถึงหน้าท่ีการงานเรียบร้อยราบรื่น
มีประสทิ ธิผลเกิดประสิทธิภาพ น�าไปสูส่ งิ่ ทีพ่ ึงประสงค์ไดเ้ ป็นอย่างดี
ศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ วสันตสิงห์ได้สร้างสมคุณงามความดีท่ีเก้ือกูลตนเอง และสังคมส่วน
รวมไว้มาก เปน็ บคุ คลตัวอยา่ งของความดที วีคูณ กลา่ วคือต้งั ตนไว้ชอบด้วยดีสถานหน่ึง เสกสร้างความดี
ให้เกดิ กับสังคมสว่ นรวมสถานหนง่ึ อาศยั เนอื้ ความดังที่แสดงมาแล้วนน้ั จงึ ทา� ให้ท่านไดป้ ฏบิ ัติหนา้ ท่ตี ่างๆ
ตามสมมตอิ ยา่ งเพียบเพ็ญ เรมิ่ ตั้งแต่รบั ราชการครง้ั แรกเมือ่ พุทธศกั ราช ๒๕๑๘ ทีก่ รมอัยการ ได้มีความ
เจรญิ ก้าวหน้าในหนา้ ที่ราชการเปน็ ล�าดับ ไดร้ ับต�าแหน่งสา� คัญ เช่น อธบิ ดอี ัยการฝา่ ยต่างประเทศ อธิบดี
อัยการฝา่ ยคดีอยั การสงู สุด อธิบดอี ยั การฝ่ายทปี่ รกึ ษากฎหมาย ผู้ตรวจราชการอยั การ รองอัยการสงู สุด
จนกระทั่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นอัยการสูงสุดเมื่อพุทธศักราช
๒๕๕๒ และดา� รงต�าแหน่งอยู่จนถงึ พทุ ธศักราช ๒๕๕๖ ในระหวา่ งรบั ราชการทส่ี า� นกั งานอัยการสูงสุดนเ้ี อง
ไดม้ ีโอกาสถวายงานรบั ใช้สมเด็จพระเจา้ ลูกเธอ เจา้ ฟ้าพัชรกิตยิ าภา นเรนทิราเทพยวดี ซ่งึ ทรงรับราชการ
เป็นพนกั งานอยั การดว้ ย
นอกจากการทา� งานในราชการประจ�าแล้ว ศาสตราจารย์พิเศษจุลสงิ ห์ ยงั ได้รบั พระมหากรณุ าธิคณุ
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งต้ังเป็นกรรมการกฤษฎีกา และได้เป็นอาจารย์พิเศษในคณะนิติศาสตร ์
จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ตอ่ เนอ่ื งมาอยา่ งยาวนาน มผี ลงานทางวชิ าการทง้ั การสอนและตา� ราเปน็ ทยี่ อมรบั

36

อย่างกว้างขวางในวงวิชาการ จนกระท่ังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งต้ังเป็น
ศาสตราจารย์พิเศษ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๔ นอกจากน้ียังเป็นอาจารย์ผู้บรรยาย ณ สา� นักอบรมศึกษา
กฎหมายแห่งเนติบัณฑติ ยสภา และเปน็ อดตี เลขาธิการเนตบิ ัณฑิตยสภาอกี ด้วย
ศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นท่ีเชิดชูยิ่งช้างเผือก
ชนั้ มหาปรมาภรณช์ า้ งเผอื ก เครอื่ งราชอสิ รยิ าภรณอ์ นั มเี กยี รตยิ ศยง่ิ มงกฎุ ไทย ชน้ั มหาวชริ มงกฎุ และเหรยี ญ
จักรพรรดิมาลา เป็นบา� เหน็จความชอบในราชการแผ่นดนิ
ในด้านกิจกรรมสมาคม ศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ ได้รับการเลือกตั้งให้ด�ารงต�าแหน่งนายก
สมาคมศษิ ยเ์ กา่ ในสถาบนั ทไี่ ดเ้ ลา่ เรยี นมาถงึ สามสถาบนั คอื นายกสมาคมนกั เรยี นเกา่ วชริ าวธุ วทิ ยาลยั ใน
พระบรมราชปู ถมั ภ ์ นายกสมาคมนสิ ติ เกา่ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ในพระบรมราชปู ถมั ภ ์ และนายกสมาคม
นสิ ติ เกา่ นติ ศิ าสตร ์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ทงั้ ไดเ้ ปน็ กรรมการอา� นวยการวชริ าวธุ วทิ ยาลยั และกรรมการ
สภาจุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ด้วย นอกจากน้ี ภายหลังจากเกษยี ณอายุราชการแล้ว ยังไดร้ บั เป็นกรรมการ
และท่ีปรึกษาในบริษทั เอกชน สมาคมและองคก์ รตา่ ง ๆ อกี หลายแห่ง
ในด้านชีวิตครอบครัว ศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จ
พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ประกอบพิธีสมรสพระราชทานกับนางภัทรา วสันตสิงห์ สกุลเดิม วีรเธียร บุตรีพระประกาศสหกรณ์
(สดับ วรี เธยี ร) กับคณุ หญิงอุดมพร ประกาศสหกรณ์ (อุดมพร วีรเธยี ร) ณ พระราชวงั ไกลกงั วล จังหวัด
ประจวบคีรีขนั ธ ์ มบี ุตร ๑ คน ธิดา ๑ คน คือ นายศวิ ชั วสนั ตสิงห ์ และนางสาวณฏั ฐา วสันตสงิ ห์
ศาสตราจารยพ์ เิ ศษจลุ สงิ ห ์ วสนั ตสงิ หบ์ รบิ รู ณพ์ รอ้ มพรง่ั ดงั ถวายวสิ ชั นาเพราะอาศยั ธรรม ๒ ประการ
คือ สัจจะ ความจริง ขันติ ความอดทน เป็นก�าลังอุดหนุนเกื้อกูลสมตามพระพุทธภาษิตท่ีได้ยกเป็น
หัวขอ้ เทศนา บัดนจ้ี ะวิสชั นาธรรม ๒ ประการ เปน็ การเพ่มิ พนู กุศลในการฟงั ธรรมอีกส่วนหนง่ึ สัจจะน้นั
ไดแ้ ก่ความจรงิ ความตรง ความแท้ ประพฤติส่งิ ใดให้ไดจ้ ริง จัดเป็นอธษิ ฐานธรรม ธรรมทค่ี วรต้ังไว้ในใจ
เม่ือเปน็ อัธยาศยั และความประพฤตยิ อ่ มปรากฏ ๕ ประการ คอื
๑.ความจริงต่อการงาน ท�าอะไรท�าจริงไม่ย่อท้อ ถึงพร้อมด้วยความเพียร ๓ ประการ คือความ
พยายาม ความอุตสาหะ และความบากบัน่
๒.ความจริงต่อหน้าที่ ได้แก่ท�าจริงและถูกต้องสมควรในการงานท่ีตนได้รับมอบหมายซ่ึงเรียกว่า
หนา้ ท่ี ไมป่ ระมาทไม่หลกี เลี่ยง ไมห่ ละหลวม ไม่บิดเบอื นทา� แชเชือน ดา� เนินไปบนวถิ แี ห่งสุจริตธรรม
๓.ความจริงตอ่ วาจา พดู อย่างไรท�าให้ไดจ้ รงิ ดังพูด ไมด่ ีแต่พดู รจู้ กั ยับยงั้ ชง่ั ใจ ตั้งใจส�ารวมวาจา
๔.ความจริงตอ่ บคุ คล ไดแ้ กซ่ ่อื ตรงต่อมิตร เคารพในผ้ปู กครองของตน และกตัญญูกตเวทตี อ่ ท่าน
ผ้มู ีพระคณุ มบี ดิ ามารดา ครูอาจารย์ พระมหากษตั รยิ ์ สมเดจ็ พระสมั มาสัมพุทธเจ้า
๕.ความจรงิ ตอ่ ความด ี ได้แกป่ ระพฤตคิ วามดีอยา่ งใดก็ประพฤติจรงิ ให้เปน็ อัธยาศยั เนือ้ แทข้ องตน
อย่างน้นั จริงๆ ไมโ่ ลเล ไม่สบั ปลับ ไมห่ วาดหวนั่ ไมท่ า� เพอื่ อวด ไม่ทา� เพ่อื ลวงโลก

37

ความจรงิ ทัง้ ๕ น้ีมใี นท่านผู้ใด ผู้นนั้ ช่อื วา่ ตงั้ มนั่ ในสจั จะ เปน็ พลังใหท้ า� การตา่ งๆ สา� เรจ็ ได้ดีตาม
ประสงค์ ยอ่ มทา� ให้เกิดความเช่ือถอื ความเคารพรักไม่เสอ่ื มคลายไม่จืดจางของคนทงั้ หลาย มเี กีรยติยศชือ่
เสยี งฟงุ้ ขจร เปน็ ทเี่ ลา่ ขานของคนรนุ่ หลงั อยา่ งเปน็ อมตะ ยอ่ มไดพ้ บกบั ความจรงิ คอื ความสา� เรจ็ สง่ิ ทต่ี อ้ งการ
ในชีวิต ตอ้ งการลาภยศ เกียรติคุณอันงามกย็ อ่ มได้ ต้องการความสุขชัน้ โลกิยะ หรอื โลกุตตระกย็ อ่ มได้
สมเดจ็ พระสัมมาสมั พุทธเจ้า จงึ ไดต้ รสั สรรเสริญสจั จะไว ้ มที ่ีมาในอาฬวกสูตร สุตตนบิ าต ขทุ ทกนกิ าย
ทไี่ ด้อัญเชิญเปน็ หัวขอ้ เทศนาในเบอื้ งต้นนน้ั วา่ สจฺเจน กติ ฺตึ ปปโฺ ปต ิ คนได้ชื่อเสียงเกีรยตยิ ศเพราะความ
สตั ย์ ดงั นี้
สัจธรรมน้ีจะดา� เนินไปมน่ั คงได้ ต้องอาศยั ขันตธิ รรม ความอดทน เปน็ อปุ การธรรมชว่ ยสนบั สนุน
ความจริงต่อการงาน ต่อหน้าที่ ต่อวาจา ต่อบุคคล ต่อความดี จะเสถียรสถิตได้ก็ด้วยมีขันติธรรมเข้า
ประกอบ ดังนัน้ ขนั ตธิ รรม จงึ จา� ปรารถนาอกี ประการหนึ่ง

ขนั ติธรรม ความดีคือขันต ิ ไดแ้ ก่ความอดทนต่อหนาวร้อนหิวกระหาย ความเจบ็ ปวด อันเกิดจาก
ความเจบ็ ไขเ้ ป็นตน้ และคา� ด่าวา่ เสยี ดสีให้เจ็บใจตา่ งๆ ความอดทนอยา่ งสา� คัญคือความอดทนต่ออา� นาจ
กิเลส คอื ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไมป่ ล่อยให้กิเลสมามอี า� นาจครอบงา� เหนอื จิตใจ เปน็ เหตใุ ห้
ท�าความชัว่ ประพฤตเิ สียหายตา่ งๆ ขนั ตธิ รรมมอี ปุ การะมาก ในการด�าเนนิ ชวี ติ ในสงั คมตงั้ แต ่ ๒ คนขน้ึ
ไป หากใช้ความอดทนกจ็ ะเปน็ คนเขม้ แข็ง ลดการกระทบกระทั่ง ในการด�าเนนิ ชีวิตแมบ้ างคราวบางครั้ง
จะตอ้ งเหนอื่ ยยากลา� บากตรากตรา� เพยี งไร กจ็ ะทา� ใหเ้ กดิ กา� ลงั ใจในกจิ การนนั้ ๆ เพราะสามารถกา� จดั ความ
ทอ้ แทอ้ อ่ นแอเสยี ได ้ แมใ้ นคราวทไ่ี ดร้ บั ทกุ ขเวทนาอนั เกดิ จากโรคภยั ไขเ้ จบ็ เบยี ดเบยี นทางรา่ งกาย เมอ่ื ไดใ้ ช้
ความอดทนก็จะช่วยระงับความเจ็บปวดน้ันให้บรรเทาเบาบางลงได้ แม้ในการละความชั่วประพฤติความ
ดีทางกายวาจาหรือการอบรมจิตให้สะอาดผ่องใสจากกิเลสความเศร้าหมอง ท้ังหมดน้ีต้องอาศัยความ
อดทนเป็นพ้นื ฐาน คอื การไม่ท�าความชั่วก็ต้องอดทน การทา� ความดกี ็ต้องอดทน การปฏบิ ัตเิ พอ่ื ขจัดสนมิ
ในใจให้เป็นธรรมชาตสิ ะอาดผ่องใสกต็ ้องอดทน ผไู้ มม่ ีความอดทนจะละบาป สร้างสมความดใี ดๆไดย้ าก
ความอดทนเป็นธรรมส�าหรับทุกคนต้ังแต่เด็กจนแก่ ผู้มีความอดทนย่อมประสบความส�าเร็จในชีวิตได้ไม่
ยากแรน้ แสนเขญ็ และไดช้ อ่ื วา่ ฉลาดในกระบวนจติ ของตน รจู้ กั ยบั ยงั้ ควบคมุ ความนกึ คดิ จะทา� จะพดู อะไร
กเ็ ป็นไปดว้ ยความรอบคอบชอบดว้ ยเหตุผลไม่ดื้อดึงถอื เอาความคิดของตนเป็นประมาณ
มคี า� กลา่ วอปุ มาขนั ตธิ รรมวา่ เหมอื นแผน่ ดนิ ซง่ึ เมอ่ื พจิ ารณาโดยรอบคอบแลว้ จะเหน็ วา่ อนั ธรรมดา
แผ่นดินนนั้ ย่อมรับไดซ้ ึ่งส่งิ สกปรกเนา่ เหมน็ เช่น ซากส่งิ สกปรก เป็นต้น และซากสิง่ สกปรกน้นั หากนา� ฝงั
ในดินใหล้ ึกพอประมาณ แผ่นดินน้นั ก็ป้องกันกลน่ิ เหม็นไมใ่ ห้ปรากฏได ้ ทงั้ ยังทา� ซากส่งิ สกปรกเหล่านัน้ ให้
กลบั เปน็ ประโยชนเ์ ปน็ ปยุ๋ เป็นอาหารของต้นหมากรากไม้ได้อกี ฉนั ใด ผู้มีความอดทนกฉ็ นั น้ัน ยอ่ มแกไ้ ข
เรือ่ งรา้ ยใหก้ ลบั กลายเปน็ ดี หรอื เลือนหายไป

38

แผน่ ดินรองรับส่ิงต่างๆ เช่นภูเขา ตึกอาคารใหญๆ่ เป็นตน้ แม้หนกั แสนหนกั ใหญแ่ สนใหญไ่ ว้
ได้ฉันใด ผู้มีความอดทนก็ฉันน้ัน งานแม้จะใหญ่ ยากล�าบาก หรือเหตุการณ์หนักหนาร้ายกาจเพียงไร
ก็สามารถรองรับงานและแก้ไขเหตกุ ารณน์ ั้นๆให้ส�าเรจ็ ลลุ ว่ งไปได้ดว้ ยดี
แผน่ ดนิ เปน็ ท่เี กดิ และหลอ่ เลย้ี งบรรดาพืชพันธ์ธญั ชาติ ตา่ งๆ ใหเ้ จริญงอกงามฉนั ใด ความอดทน
ก็เป็นที่พึ่งพ�านักอาศัยของมวลมนุษย์ให้เจริญด้วยคุณธรรมน�าสุขประโยชน์มาให้นานัปการมา คุณธรรมท่ี
จะใหส้ า� เร็จประโยชน์ทั้งทางทางโลกทางธรรม ยิง่ กว่าขนั ตไิ ม่ม ี สมด้วยพระพทุ ธภาษิตที่มาในอาฬวกสูตร
สุตตนบิ าต ขุททกนกิ าย ที่ได้อัญเชิญเปน็ หวั ข้อเทศนาท่ี ๒ ท่ีวา่ ขนตฺ ยา ภิยฺโย น วชิ ฺชติ คุณธรรมท่จี ะให้
ส�าเร็จประโยชน์ยิง่ กว่าขนั ติไมม่ ี ดังนี้

ชวี ติ ของศาสตราจารยพ์ เิ ศษจลุ สงิ ห์ วสนั ตสงิ ห ์ ดา� เนนิ มานบั แตต่ น้ จนปจั ฉมิ วยั อยา่ งเพยี บพรอ้ มดว้ ย
อัตสมบัต ิ ประโยชนต์ น และปรหติ ปฏิบตั ิ ข้อปฏบิ ตั ิเพอ่ื ประโยชนเ์ ก้ือกูลผูอ้ นื่ ด�ารงตนตามแนวทางแห่ง
พระบรมพทุ โธวาท สามารถสรรคส์ รา้ งคณุ ความดีไวเ้ ปน็ อุปการะแกโ่ ลก ใหช้ นท้งั หลายได้ยกย่องและตาม
รา� ลกึ ถงึ ดงั พยานปรากฏวา่ เมอ่ื ถงึ อวสานสมยั สมเดจ็ บรมบพติ ร พระราชสมภารพระองค ์ ผทู้ รงพระคณุ อนั
ประเสรฐิ ยงั ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ มพระราชทานนา้� หลวงอาบศพ ป่ีกลองชนะประโคมใน
เวลารบั พระราชทานนา�้ หลวงอาบศพ พระราชทานโกศแปดเหลยี่ มและฉตั รเบญจาตง้ั ประดบั นอกจากน ้ี ยงั
ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรดกระหมอ่ มใหม้ พี ระพธิ ธี รรมสวดพระอภธิ รรมอกี ๓ คนื ทง้ั ยงั มญี าตมิ ติ รและ
ผเู้ คารพนบั ถอื หลง่ั ไหลมาแสดงความอาลยั อนสุ รณถ์ งึ เปน็ จา� นวนมาก ตงั้ แตว่ นั พระราชทานนา�้ หลวงอาบศพ
ตราบถึงการบ�าเพ็ญกุศลในวาระน้ี ทั้งนี้ย่อมเป็นท่ีเข้าใจได้ว่าอานุภาพแห่งสัจจะ ความจริง และขันติ
ความอดทนทีศ่ าสตราจารยพ์ เิ ศษจุลสิงห์ วสันตสิงห ์ ยดึ ถือเปน็ ธรรมประจา� ตนมาโดยตลอด ไดย้ งั ความ
ปลาบปลื้มใจให้เกดิ แก่คนทงั้ ปวง สมควรยกย่องเปน็ แบบอยา่ งแกอ่ นชุ นทุกประการ ไมว่ ่ากาลบัดน ้ี หรอื
กาลไหนๆศาสตราจารย์พเิ ศษจุลสงิ ห์ วสนั ตสิงหจ์ ะไปอุปบัต ิ ณ ภพภมู ิใดกต็ าม คณุ ธรรมทง้ั นนั้ จะเสถยี ร
สถติ ด�ารงมั่นมิรู้แปรผนั ไมส่ ญู หายสนทิ เส่อื มถอยเขา้ ถงึ ความคร่�าคร่าช�ารดุ ชราแตส่ ถานใด ตอ้ งตามพระ
พทุ ธภาษติ วา่ สตญฺจ ธมฺโม น ชร� อุเปต ิ ความวา่ ธรรมของสตั บรุ ุษคนดี ยอ่ มไมถ่ ึงความคร่�าครา่ ฉะนน้ั
ย่อมปรากฏในความทรงจ�าของปชิ นชนคนเปน็ ท่ีเคารพรัก อยา่ งมิจดื จางตลอดกาลนาน

อิมินา กตปุญเฺ ญน ดว้ ยอ�านาจกุศลทกั ษิณานปุ ระทาน การบ�าเพ็ญกศุ ล ๗ วนั ศพศาสตราจารย์
พิเศษจลุ สงิ ห์ วสันตสงิ ห ์ จงส�าเร็จเป็นบญุ นฤธี อ�านวยอฐิ คณุ วบิ ลุ ราศีแก่ทา่ นผถู้ งึ แก่อนิจกรรมไปแลว้ น้ัน
ใหป้ ระสบความเกษมสวัสดภี ิญโญภาพในอุปบตั ิภพ สมดงั เจตนาปรารภอทุ ิศ โดยฐานะนยิ มทกุ ประการ
รบั ประทานวสิ ัชนาพระธรรมเทศนาในสัจจะขนั ตกิ ถา ยุตลิ งด้วยเวลา เอว� กม็ ี ดว้ ยประการฉะนี้.

39

พระธรรมเท นา
ังฆโ ภณกถา

พระจลุ คณิ ร ( ุรินทร์ รนิ โโทด)ย ัดราชบพิธ ถิตม า มี าราม
ในการบา� าเพญ็ตรกาุ จลาปรยัญพ์ ญเิ า มจลุ ารงิ คร์ บ ๕นั ๐ต งิ ัน ์อุทิ แด่
อดีตอยั การ ูง ดุ
ันเ าร์ ที่ ๒๔ ิง าคม พ. . ๒๕๖๒
ณ าลาก นี ิรมติ ดั เทพ ิรนิ ทรา า กรุงเทพม านคร

นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพทุ ธฺ สสฺ .
โย โหติ พยตโฺ ต จ วิสารโท จ
พหุสฺสโุ ต ธมมฺ ธโร จ โหติ
ธมมฺ สสฺ โหติ อนธุ มฺมจารี
ส ตาทิโส วจุ ฺจติ สงฆฺ โสภโณฯ

ณ บดั นจี้ กั ไดแ้ สดงพระธรรมเทศนาเพอื่ ฉลองศรทั ธาประดบั สตปิ ญั ญาบารม ี อนโุ มทนากศุ ลบญุ ราศี
สว่ นธมั มสั วนมยั ในการบา� เพญ็ กศุ ลทกั ษณิ านปุ ระทาน ทคี่ ณะทา่ นเจา้ ภาพทงั้ หลาย มเี พอื่ น และญาต ิ ตลอด
ถงึ ท่านผมู้ เี กียรติท่ีมีน้�าใจไมตรี ได้มาปรารภบ�าเพ็ญกศุ ลอทุ ศิ แดศ่ าสตราจารย์พิเศษ จลุ สงิ ห์ วสันตสงิ ห์
ผู้ล่วงลับไปแล้ว ด้วยจิตใจอันกอปรด้วยความเมตตาโอบอ้อมอารีย์และกตัญญูกตเวทีต่อผู้วายชนม์
จงึ กอ่ ใหเ้ กดิ การบา� เพญ็ กศุ ลดว้ ยแรงแหง่ ความรกั และเคารพของคณะเจา้ ภาพ ซงึ่ หวงั จะใหท้ า่ นผวู้ ายชนมไ์ ด้
รบั ความสุขในสถานทเ่ี กดิ น้ันๆ แม้จะตระหนกั ดีว่า เมอ่ื ท่านยังมชี ีวิตอย่ไู ด้สรา้ งแตส่ งิ่ ที่เปน็ บุญกุศลไว้มาก
ซงึ่ บรรดาญาตมิ ติ รตา่ งเชอื่ แนว่ า่ ทา่ นจกั ตอ้ งสถติ อยใู่ นสรวงสวรรคอ์ ยา่ งแนแ่ ท ้ แตด่ ว้ ยแรงแหง่ ความรกั และ
เคารพดงั กลา่ วแลว้ พรอ้ มทงั้ ความเมตตากรณุ าของทา่ นผวู้ ายชนม ์ ไดช้ ว่ ยเปน็ พลงั ใหท้ า่ นเจา้ ภาพจดั บา� เพญ็
กศุ ลขึ้นอีก เพอื่ เป็นการยกยอ่ งและเป็นการอนกุ ลู ใหท้ ่านผ้วู ายชนม์ไดป้ ระสบความสุขยิง่ ข้ึนในสัมปรายภพ
อนงึ่ นบั ตงั้ แตว่ นั ทศี่ าสตราจารยพ์ เิ ศษ จลุ สงิ ห ์ วสนั ตสงิ ห ์ ไดถ้ งึ แกก่ รรมอา� ลาจากโลกไป บรรดาบตุ ร
ธิดา ภรรยา ญาติมติ ร และผเู้ คารพนับถอื ทง้ั หลาย ได้พรอ้ มใจกนั เชญิ สรรี ะสังขารทีไ่ รว้ ญิ ญาณของทา่ น
มาตง้ั แตง่ ประดษิ ฐานไวบ้ นแทน่ สกั การบชู า ประดบั ประดาดว้ ยดอกไมแ้ พรวพรรณสสี นั นานาชนดิ แลว้ สา� รวม
จติ ประกอบพิธกี ราบไหว้บูชา ดว้ ยความเคารพนบนอบ และยังบา� เพ็ญกุศลทักษณิ า โดยอาราธนาพระสงฆ์
มาสวดพระอภิธรรม แล้วถวายจตุปัจจัยไทยทานเป็นการน้อมน�าบุญกุศลอุทิศแก่ปุพพการีชนผู้ล่วงลับไป

40

ได้ปฏิบัติเช่นน้ีมาเป็นประจ�าทุกค่�าคืน และวันนี้เป็นการบ�าเพ็ญกุศลปัญญาสมวารศพ คณะท่านเจ้าภาพ
ยังใหจ้ ัดให้มกี ารแสดงพระธรรมเทศนาอกี กณั ฑ์หนึง่ อนั จะกลา่ วไดว้ ่าเป็นการบา� เพญ็ กศุ ลพเิ ศษในวาระนี้
ศาสตราจารย์พิเศษ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ หรือท่ีคนท่ัวไปจะเรียกขานกันว่า “ท่านจุล” หรือ
“พี่จุลสิงห์” ฉะน้ัน ณ ที่น่ีขอกล่าวค�าล�าลองว่า “ท่านจุล” ท่านจุลน้ัน เป็นบุตรของนายเมืองเริง
วสนั ตสงิ ห ์ และหมอ่ มหลวงปานตา มาลากลุ และกลา่ วไดว้ า่ ทา่ นจลุ นน้ั เปน็ คนหลานชายคนโตของราชสกลุ
มาลากุลและสกุลวสนั ตสงิ ห์ เมอ่ื วยั เยาวน์ ้ันได้เขา้ ศึกษาชัน้ มธั ยมศึกษาที่โรงเรียนวชิราวุธวทิ ยาลยั จากน้นั
เข้าศึกษาต่อในขัน้ อุดมศึกษาในแผนกนติ ศิ าสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั จนจบไดเ้ ขา้ รับ
พระราชทานปริญญาบตั รด้วยเกยี รตินยิ ม ด้วยความวิริยะอตุ สาหะของท่านจุล เมือ่ ศึกษาจบนิตศิ าสตร์บณั
ทิตแลว้ ได้เขา้ ศกึ ษาตอ่ และสอบไลไ่ ดเ้ ป็นเนตบิ ณั ฑิตไทย จากส�านักอบรมศกึ ษากฎหมายแหง่ เนติบัณฑติ
ยสภา และศึกษาต่อจนจบปริญญามหาบัณฑิตทางกฎหมายเปรียบเทียบ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์
รัฐอลิ ลินอยส์ ประเทศสหรฐั อเมริกา ด้านชีวิตการท�างานนั้น ทา่ นจลุ ได้รบั พระมหากรณุ าธคิ ุณโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อมแต่งต้ังเป็นอัยการสูงสุด ซ่ึงเป็นการยืนยันถึงความสามารถในการท�างานเพ่ือประเทศชาติ
และความจงรกั ภกั ดีของท่านจลุ ทมี่ ตี อ่ สถาบนั พระมหากษตั รยิ ์อยา่ งยง่ิ ยวด
คณุ ธรรมอกี ประการของทา่ นจุล อันเป็นตวั อยา่ งท่ีดีแก่นอ้ ง ๆ และเพ่ือน และควรกลา่ วสรรเสริญ
ใหป้ รากฏคือความเมตตาการณุ ย์ เพราะว่าตลอดชีวิตของท่านจุลนนั้ ได้ชว่ ยเหลือคนจา� นวนมาก ไม่วา่ จะ
เปน็ เพอื่ นรว่ มงาน ญาตพิ น่ี อ้ ง ตลอดจนลกู ศษิ ย ์ ทมี่ าของความชว่ ยเหลอื ทา่ นในยามทกุ ขย์ าก ซง่ึ จะสงั เกต
ไดจ้ ากแขกจา� นวนมากทม่ี ารว่ มไวอ้ าลยั ทา่ นในงานบา� เพญ็ กศุ ลศพ จนศาลามสิ ามารถรองรบั ความจจุ า� นวน
คนได้ น่จี งึ เป็นการแสดงออกถงึ ความดคี วามเมตตาท่ีทา่ นไดส้ รา้ งไวเ้ ม่อื คราวมชี วี ิตอยู่
แม้ท่านจุล จะได้จากไปจากโลกน้ีแล้ว แต่ก็เป็นการจากไปเพียงกายเท่านั้น ส่วนคุณประโยชน์
ท้ังหลายที่ท่านจุลได้กระท�ามาในสมัยที่ยังด�ารงชีวิตอยู่ ก็มิได้สูญลับตามร่างกายของท่านไปด้วย ดังใน
พระนพิ นธภาษติ ของสมเดจ็ พระสังฆราช (สา ปุสสฺ เทวมหาเถร) ความว่า รปู ํ ชรี ติ มจจฺ าน� นามโคตตฺ � น
ชีรติ แปลความว่า รา่ งกายของสตั วย์ อ่ ยยบั ไปได้แต่ช่อื และสกลุ ไมย่ อ่ ยยบั ไป
ทา่ นจุล หรืีอพจ่ี ลุ สงิ ห์นัน้ เป็นผ้ทู รงไว้ซ่ึงคุณธรรมอันดีงาม กอปรด้วยเมตตากรุณาต่อเพื่อนๆ และ
น้องๆ เมอ่ื จะไปในที่ใดกต็ าม ยอ่ มท�าให้สถานท่ีนน้ั เจรญิ สวยงาม ทา� ให้เกิดปตี ิปราโมทย์ นา� ประโยชนส์ ขุ
มาใหแ้ ก่ผ้ทู ี่ไดป้ ระสบพบเห็น ท้งั น้ี เพราะทา่ นจลุ เปน็ ผู้เพยี บพร้อมด้วยคุณธรรม ๕ ประการ คือ ความ
ฉลาด ความแกล้วกลา้ เปน็ พหสุ ตู ทรงไวซ้ ึ่งคณุ ธรรมอันด ี และประพฤติปฏิบตั ธิ รรมตามสมควร คณุ ธรรม
ทั้ง ๕ ประการนม้ี อี ยู่ในผูใ้ ด ผู้นน้ั ชื่อวา่ ยงั หมูใ่ หง้ ดงาม
ความฉลาดสามารถในกจิ การงานหรอื ความชา� นชิ า� นาญในกจิ ทง้ั ปวง ยอ่ มเปน็ ทปี่ รารถนาของบณั ฑติ
ทั้งฝา่ ยคดีโลกและคดีธรรม เพราะสามารถน�าบคุ คลและสงั คมไปสคู่ วามเจรญิ รุ่งเรืองทันกาลสมัย ซึง่ ท่าน
จ�าแนกความฉลาดของบุคคลไว้ ๓ ประการ คือ

41

อายโกศล ความฉลาดรอบรู้เทา่ ทันตอ่ เหตแุ หง่ ความเจรญิ
อปายโกศล ความฉลาดรอบร้ตู ่อเหตุแหง่ ความเสอ่ื ม
อุปายโกศล ความฉลาดรอบรู้ในอุบายท่ีจะประกอบกรณยี กจิ หลกี เลยี่ งทางทีผ่ ิดด�าเนินแตใ่ นกจิ
ทีช่ อบอย่างเดยี ว
ผู้ท่ีท�าสิ่งใดก็ตาม ท�าด้วยความม่ันใจ ไม่สะทกสะท้านหรือหวาดหวั่นต่ออุปสรรคที่ตนได้ประสบ
สามารถขจดั ปัญหาตา่ งๆ ท�ากิจกรรมน้นั ๆ ส�าเร็จลุลว่ งไปดว้ ยด ี ทา� อยา่ งองอาจแกลว้ กลา้ เพราะมีธรรม
ประจา� อยใู่ นจิตใจ ๕ ประการ คือ
มศี รทั ธา เชอ่ื สง่ิ ที่ควรเชอ่ื
มีศีล มคี วามประพฤตดิ ีงาม
พาหสุ จั จะ ไดส้ ดบั หรือศึกษามาก
วริ ิยารมั ภะ เพียรท�ากิจอย่างจริงจงั
มีปญั ญา รู้รอบและรู้ชัดเจนในส่งิ ทคี่ วรรู้
ผู้ทเ่ี ป็นพหสู ตู หมายถึงบคุ คลผสู้ ดบั มาก คือมีการศกึ ษามาก หรือไดย้ ินไดฟ้ งั ร้เู หน็ มามาก โดยนี้
จึงรวมถงึ การเล่าเรยี นเขยี นอา่ น การอบรมวิชาการใหเ้ กดิ ความช�านาญ แต่พหูสูตนัน้ จะตอ้ งเป็นไปในทาง
ท่ดี ี เช่นสดบั อรรถธรรมหรอื โอวาทานุศาสนี คา� ส่งั สอนในทางพระพุทธศาสนา อบรมศลิ ปวทิ ยาทปี่ ราศจาก
โทษ อ่านเรื่องราวทดี่ ีมคี ุณประโยชน์อนั จะใหเ้ กดิ ความรู้แตกฉานในทางภมู ปิ ัญญาแกต่ น คณุ ข้อนมี้ ีอยู่มาก
ในบุคคลใด จะเป็นปัจจัยให้เกิดความนิยมยกย่องนับถือของกลุ่มชน แม้ว่าถึงคราวขัดสนในทรัพย์สมบัต ิ
แต่เพราะมีปรีชาสามารถ ย่อมจะแสวงหาทรัพย์และประโยชน์สุขมาสู่ตนได้ เข้าสมาคมใดก็ไม่ครั่นคร้าม
ขลาดขยาด มีความองอาจกล้าหาญในการเจรจา หากปฏิบัติตนแต่ในปฏิปทาท่ีปราศจากโทษ ก็จะน�า
มาซ่ึงคุณประโยชน์ท้ังแก่ตนและผู้อื่นเป็นอันมาก สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงยกย่องคุณธรรมข้อน้ีเป็น
หลายนัย เช่นว่า เป็นคุณธรรมท่ีท�าให้เกิดความกล้าหาญบ้าง เป็นธรรมของสัตบุรุษ คือท�าให้เป็นคนดี
บา้ ง เปน็ ทรพั ยอ์ ันประเสรฐิ บ้าง เป็นคุณธรรมทีพ่ ง่ึ แกต่ นและบคุ ลอน่ื บ้าง ดังตัวอยา่ งเช่น พระอานนทเถระ
ท่านเป็นผู้สดับธรรมและจดจ�าไว้มาก แม้สมเด็จพระผู้มีพระภาคก็ทรงยกย่องท่านไว้ว่า “เลิศกว่าภิกษุทั้ง
หลายในทางพหูสูต” ภายหลังเม่ือสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท่านพระอานนท์ก็เป็น
กา� ลงั สา� คญั ในการทา� สงั คายนา คอื รอ้ ยกรองพระธรรมวนิ ยั จดั เปน็ ระเบยี บแบบแผนคา� สง่ั สอนไว ้ รวมเรยี ก
ว่า พระไตรปิฎก นับว่าท่านได้ท�าคุณประโยชน์ไว้แก่พระพุทธศาสนาจนถึงปัจจุบัน ก็โดยอาศัยการสดับ
และทรงจา� ไว้มากของทา่ นพระอานนทเถระ เหตนุ นั้ สมเด็จพระบรมศาสดาจงึ ตรสั สรรเสรญิ พหสู ูตบคุ คล
ดงั พระนพิ นธคาถาในอัปปสุตสตู รว่า

พหุสฺสุต� ธมมฺ ธร� สปฺปญฺ พุทธฺ สาวก�
เนกขฺ � ชมฺโพนทสฺเส โก ต� นินทติ ุมรหติ
เทวาปิ น� ปส�สนฺติ พรฺ หฺมนุ าปิ ปส�สโิ ต

42

ความว่า ใครสมควรทจี่ ะตเิ ตียนผเู้ ป็นพหูสูต ทรงจา� ไวไ้ ด ้ เป็นพุทธสาวก มีปญั ญาดังแทง่ ชมพูนุท
แม้เทพเจา้ ก็นิยม ถึงพระพรหมกส็ รรเสริญ ดงั นี้
พหสู ตู บคุ คลนนั้ จะตอ้ งกา� หนดจดจา� อรรถธรรมหรอื หวั ขอ้ ธรรมไวใ้ หไ้ ด ้ ความจดจา� เปน็ หลกั สา� คญั
ของผ้ฉู ลาดท้งั ทางโลกและทางธรรม ในทางโลกน้นั ความรอบรู้และความชา� นาญในวิชาการต่างๆ ที่นัก
ปราชญไ์ ดว้ างหลกั ไว้ อันผศู้ ึกษาตอ้ งจดจ�าหลักแห่งวชิ าการนัน้ ไว้ใหไ้ ด ้ ไม่เช่นนนั้ กไ็ มอ่ าจนา� มาใช้ใหเ้ ปน็
ประโยชน ์ แมใ้ นทางธรรมคอื ทางพระศาสนากเ็ ชน่ เดยี วกนั ผจู้ ะปฏบิ ตั ใิ หถ้ กู ตอ้ งตามทา� นองคลองธรรม หรอื
จะแนะนา� สงั่ สอนผู้อ่ืนให้ปฏบิ ตั ชิ อบตามธรรม กต็ อ้ งทรงจ�าอรรถธรรมไวใ้ ห้ไดก้ ่อน และต้องมคี วามเขา้ ใจ
เน้อื ความแหง่ ธรรมน้ันๆ ด้วยจงึ จะได้ชือ่ วา่ ผู้ทรงธรรม
ความเป็นผู้ทรงธรรม จึงเกื้อกูลแก่ความเฉลียวฉลาดและความสามารถในกิจการก็เพียงแต่การ
ทรงธรรมไว้ แต่ถ้าไม่น�ามาใช้เป็นหลักแห่งความประพฤติของตน การเป็นผู้ทรงธรรมนั้นก็ไร้ผล ไม่อาจ
ช่วยตนใหเ้ ปน็ คนดมี ปี ระโยชน์แต่อยา่ งใด เพราะฉะน้ัน ผูท้ ี่ช่อื วา่ เปน็ ผทู้ รงธรรม จ�าตอ้ งปฏิบัตติ ามคลอง
ธรรม สมั มาปฏบิ ตั ิ ประพฤตติ ามคลองธรรมนน้ั ตอ้ งใหเ้ ปน็ ไปตามความเหมาะสมกบั ฐานะแหง่ บคุ คล เชน่
ในฐานะท่ีตนเป็นผู้ใหญ่จะทา� อะไร ต้องประกอบด้วยเมตตากรุณาและเห็นอกเห็นใจต่อผู้น้อย ในฐานะที่
ตนเป็นผู้น้อย ตอ้ งมีสัมมาคารวะ ออ่ นน้อมถ่อมตนและเคารพย�าเกรงต่อผูใ้ หญ ่ ในฐานะทเ่ี ปน็ ผู้ปกครอง
ต้องไม่ล�าเอยี ง มีความเทย่ี งธรรมตามภาระหนา้ ทที่ ีต่ นรกั ษา ในฐานะผใู้ ต้บังคบั บญั ชา ตอ้ งเคารพเชอ่ื ฟงั
ตามคา� สงั่ อนั ชอบธรรมของผเู้ ปน็ นาย ในฐานะทเ่ี ปน็ พลเมอื ง ตอ้ งเคาระและตอ้ งปฏบิ ตั ติ ามพระราชกา� หนด
กฎหมาย และประกอบสมั มาอาชพี เปน็ พลเมืองทดี่ ี ในฐานะเป็นมิตร ต้องมีไมตรีและความซอื่ สัตย์ต่อกัน
ในฐานะเป็นผู้น�าของคณะ ต้องเป็นผู้เอาธุระการงาน มีท้ังความเด็ดขาดกล้าหาญและระเบียบยุติธรรม
ในฐานะท่ีเป็นศาสนิกชน ต้องด�ารงตนอยู่ในความสุจริต ไม่ประพฤติผิดพระธรรมค�าส่ังสอนของพระบรม
ศาสดา ในฐานะท่ีเป็นบรรพชติ ตอ้ งส�ารวมกายวาจาของตนให้อยูใ่ นความสงั วรระวัง ไม่ปฏบิ ตั ิตนใหเ้ หิน
หา่ งจากพระธรรมวนิ ยั อนั บคุ คลผมู้ ฐี านะใดๆ ประพฤตติ นใหเ้ ปน็ ไปตามฐานะนนั้ ๆ ยอ่ มไดช้ อื่ วา่ ประพฤติ
ปฏบิ ตั ิธรรมตามสมควร เป็นผู้มคี วามงดงาม และทา� หมู่คณะให้งดงามเชน่ เดียวกนั สมตามวจนประพันธ์
ทยี่ กเป็นหวั ข้อพระธรรมเทศนาว่า

โย โหติ พยตโฺ ต จ วสิ ารโท จ
พหสุ ฺสโุ ต ธมฺมธโร จ โหติ
ธมมฺ สสฺ โหติ อนุธมมฺ จารี
ส ตาทโิ ส วจุ จฺ ติ สงฆฺ โสภโณฯ

ความวา่ ผูใ้ ดเป็นคนฉลาด กลา้ หาญ สดับตรับฟังมาก เปน็ ผูท้ รงธรรม และประพฤติปฏิบัตธิ รรม
ตามสมควร ผูเ้ ช่นนน้ั ทา่ นกล่าววา่ เปน็ ผ้ทู �าหมใู่ ห้งดงาม ดังนี้

43

ศาสตราจารยพ์ ิเศษ จุลสิงห์ วสนั ตสงิ ห์ หรือ “ทา่ นจลุ หรือ พจ่ี ลุ สงิ ห ์ นน้ั ” ได้บ�าเพ็ญประโยชน์
ต่างๆด้วยสติปัญญาฉลาดกล้าหาญ มีจิตใจกอรปด้วยเมตตา ต้ังมั่นอยู่ในคุณธรรมที่ดีงามประพฤติ
ปฏิบัติธรรมตามสมควรมาโดยตลอดและได้บ�าเพ็ญประโยชน์น้อยใหญ่ด้วยก�าลังสติปัญญาอย่างเต็มที่แก่
สังคมตลอดจนประเทศชาติ เกดิ เป็นพลังแห่งความดงี ามความสขุ ความเจริญแก่ภรรยา บตุ ร ธดิ า ตลอด
จนกัลยาณมิตรอย่างหาประมาณมิได้ จึงท�าให้ท่านจุลสมควรได้รับยกย่องว่า “ผู้ท�าหมู่คณะให้งดงาม”
ความพระพทุ ธภาษิตทไี่ ด้ยกมา ณ เบอ้ื งตน้ ดว้ ยประการฉะนี้

อิมินา กตปุญฺเญน ขออานุภาพกุศลบุญราศีท่ีคณะเจ้าภาพทั้งหลายได้มาบ�าเพ็ญกุศลอุทิศนี้
จงสา� เรจ็ เปน็ บญุ นฤธอี า� นวยทพิ ยสมบตั ิ ศภุ อรรถอฐิ คณุ มนญุ ผล แดศ่ าสตราจารยพ์ เิ ศษ จลุ สงิ ห ์ วสนั ตสงิ ห์
ในอุปบตั ิภพ สมกับเจตนาปรารภของคณะเจ้าภาพ โดยฐานนยิ มทกุ ประการ
แสดงพระธรรมเทศนาใน สงั ฆโสภณกถา พรรณนาถงึ ผู้ท�าหมคู่ ณะให้งดงาม มีนยั ดังวสิ ัชนามา
ดว้ ยประการฉะน.ี้

44

พระธรโรดมยเท นา
พระญเาจณ้าไอตารโาลก ดั( บมรคมดิ งจิน์อฺติ ยรโ ร,าปรา.ธม.๔,รพิธ.ามร. กิตต์)ิ

รองเจา้ คณะจงั ดั พระนคร รีอยุธยา รูปท่ี ๑
ในการบ�าเพ็ญกุ ลทัก ิณานุปทาน ครบ ๑๐๐ ัน อุทิ แด่

า ตราจารย์พิเ จลุ งิ ์ ันต งิ ์
นั จันทรท์ อี่ ด๑ตี ๔อยัตกุลาารคมูงพดุ . . ๒๕๖๒
ณ าลาก นี ิรมิต ัดเทพ ริ นิ ทรา า กรงุ เทพม านคร

นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมมฺ าสมพฺ ทุ ธสสฺ
นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมฺมาสมพฺ ุทธสสฺ
นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมมฺ าสมฺพุทธสสฺ

ธมฺโม สจุ ิณฺโณ สุขมาวหาติ

ณ โอกาสบัดน้ี นับว่าเปน็ วาระโอกาสทีม่ คี วามส�าคัญอย่างสงู สดุ เป็นวาระโอกาสแหง่ การสญู เสยี
บุคคลอันเป็นท่ีรักที่เคารพ ย่อมกระทบกระเทือนจิตใจอย่างสูงสุดกับบุคคลที่มีความเก่ียวข้องกับท่านจุล
สิงห์ วสันตสงิ ห์ ทีเ่ กยี่ วข้องโดยสายเลือด โดยสายสกลุ โดยสายรัก ย่อมกระทบกระเทือนถงึ สายรักแรก คอื
คชู่ วี ติ กระเทอื นจติ ใจกบั คณุ ภทั รา วสนั ตสงิ ห ์ และสายรกั อกี สองคนคอื คณุ ศวิ ชั และคณุ ณฏั ฐา วสนั ตสงิ ห ์
กระทบกระเทือนไปถึงสายสกุลวสันตสิงห์ และสายสกุลมาลากุล เพราะมารดาของท่านจุลสิงห์ มีสาย
สกุลมาลากุล ที่กระทบกระเทือนมากถึงลูกรักท้ังสองคน เพราะท่านจุลสิงห์อยู่ในฐานะพ่อผู้มีพระคุณ
พ่อน้มี ีพระคณุ อบอุ่นใหญ่หลวง พอ่ นีม้ บี ญุ คณุ อบอุ่นเย็นฉา�่ เข้าไปถงึ ในทรวง พ่อน้ีมีอุปการคุณยิง่ ใหญก่ วา่
ใครทง้ั ปวง พอ่ นีม้ เี กยี รติคุณเอนกอนนั ตด์ ุจพระอรหนั ต์ประจ�าทรวง
ใ นการสูญเสียส่ิงที่เคารพรัก แตท่ ีไ่ ด้ส่งิ ที่รักมาประจักษ์ให้เหน็ เช่น ได้เหน็ ความรัก ความกตญั ญู
ได้รู้ได้เห็นน�้าใจมิตร ได้มารักษาพุทธกิจท่ีส�าคัญของพระศาสนาของพระศาสดา ได้มาสดับตรับฟังพระ
ธรรมเทศนาไดข้ อ้ คดิ ไดร้ เู้ รอ่ื งดๆี งามๆของคนทเ่ี ปน็ ตน้ แบบทดี่ ขี องคนดมี ศี ลี ไดย้ นิ เรอ่ื งดๆี งามๆ ของหลกั
ธรรมท่ีดีๆงามๆ ของคนท่ีเป็นต้นแบบของคนดีท่ีมีคุณธรรม แล้วจะได้น�าไปปฏิบัติในส่วนท่ีเป็นบุญกุศล
ในโอกาสครบ ๑๐๐ วนั ทา่ นจลุ สงิ ห ์ วสนั ตสงิ ห ์ จงึ พรอ้ มใจกนั บา� เพญ็ กศุ ลอยา่ งสงู สง่ เพราะบญุ เปน็ ตน้ เหตุ
ของความดที ้งั หมด บญุ เป็นต้นทางของสงิ่ ทดี่ ีๆงามๆ ตามมาปรากฏ ใหเ้ ราได้รบั ผลของบญุ เปน็ ความสุข

45

บญุ จงึ เปน็ ตน้ ทนุ ใหเ้ กดิ มคี วามพรอ้ มทง้ั รปู สมบตั ิ ทรพั ยส์ มบตั ิ คณุ สมบตั ทิ ดี่ ๆี เชน่ เกดิ ในตระกลู ทสี่ งู ศกั ด ิ์
เพราะบญุ เทา่ นนั้ บญุ เปน็ ตน้ ธรรมทงี่ ามๆ ทา� ใหเ้ กดิ เปน็ บญุ ญานภุ าพพเิ ศษ ในเวลามอี ะไรหรอื ไดอ้ ะไรกไ็ ด้
พเิ ศษกวา่ คนทไ่ี มม่ บี ญุ บญุ จงึ ปรงุ แตง่ ใหช้ วี ติ เปน็ ชวี ติ ทป่ี ระเสรฐิ เกดิ มามคี ณุ สมบตั ทิ ดี่ งี าม เกดิ เพราะตน้
ธรรมของบญุ ทตี่ งั้ ใจทา� ไวด้ แี ลว้ ทา� ดว้ ยความเคารพ ทา� ดว้ ยความเชอ่ื มน่ั ในพระปญั ญาคณุ ของพระพทุ ธเจา้
ทา� ดว้ ยจติ ใจท่ผี อ่ งใส ่ เป็นผลของบุญท้ังน้ัน เพราะบุญเมอ่ื ตั้งใจทา� ไวด้ แี ล้ว ย่อมนา� สขุ มาให ้ ยอ่ มเกดิ ผล
สา� เรจ็ ทกุ เมอ่ื บญุ จงึ ตอ้ งทา� คกู่ บั กศุ ล เพราะบญุ ทา� ใหเ้ กดิ ความสขุ สว่ นกศุ ลสง่ บญุ นน้ั ใหม้ อี านภุ าพสงู สง่ ขน้ึ
ก ารจัดให้มพี ระธรรมเทศนา เป็นสว่ นของกศุ ลทส่ี งู สง่ การตัง้ ใจฟังพระธรรมเทศนา จะเกดิ สง่ิ ที่ดๆี
งามๆ ตามมา เกดิ สตปิ ญั ญาท่ดี ๆี งามๆ ตามมา เกดิ ดวงตาเห็นธรรมตามมา เกิดบญุ กุศลทีด่ ๆี งามๆตาม
มา เกดิ จติ ใจและอารมณ์ทด่ี ๆี งามๆ ตามมา เกิดคุณสมบัตทิ ่ดี ๆี งามๆตามมา เกดิ คุณวเิ ศษทดี่ ีๆงามๆ
ตามมา การไดฟ้ งั พระธรรมเทศนา จะพฒั นาชวี ติ จติ ใจนน้ั งดงาม เมอ่ื จติ ใจงดงามเปน็ สดุ ยอดของคนดที ม่ี ี
ธรรม ทมี่ คี ณุ ธรรมเพราะคณุ ธรรมเปน็ ตน้ เหต ุ พฒั นาคนใหม้ จี ติ ใจงดงาม ลกู มธี รรมกเ็ ปน็ ลกู ทม่ี จี ติ ใจงดงาม
ลูกๆมีจิตใจงดงามพ่อแม่ก็ฉ่�าจิต หมู่ศิษย์มีจิตใจงดงามครูอาจารย์ก็ฉ�่าใหญ่ สามีจิตใจงดงามภรรยาก็
ชน่ื ฉา่� หวั ใจ พสกนกิ รไซรม้ จี ติ ใจงดงามกช็ มุ่ ฉา�่ กนั ทง้ั บา้ นทง้ั เมอื ง เพราะการตง้ั ใจฟงั ธรรมเทา่ นนั้ จะพฒั นา
จติ ใจคนให้พน้ ผดิ จะพฒั นาจิตใจคนไมใ่ ห้ไขว้เขว จะพัฒนาจิตใจคนไม่ให้รวนเร จะพฒั นาจติ ใจคนไม่ให้
เถลไถลออกนอกลนู่ อกทาง
ก ารฟังธรรม นั้นท�าให้จิตใจดีงาม คนมีจิตใจดีงามเป็นสุดยอดของคนดีท่ีมีธรรมคนฟังธรรมแล้ว
วาจาจะงาม วาจาจะเป็นธรรม พูดวาจางามๆ ชอ่ื วา่ ให้ธรรมเปน็ ทาน เป็นสดุ ยอดของทาน เปน็ ธรรมทาน
ที่ประเสริฐกว่าทานทั้งปวง การตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา จะพัฒนาให้จิตใจนั้นสดใส จิตใจสดใสเป็นสุด
ยอดของคนท่ีมีใจเป็นกุศล ต่อมาจิตใจจะสูงส่ง จิตใจสูงส่งเป็นสุดยอดของคนดีท่ีมีกตัญญู คนมีกตัญญู
จะนึกถึงบุญคุณคน นึกถึงพระคุณคน นึกถึงอุปการคุณคน นึกถึงเกียรติคุณ ต่อมาท�าให้จิตใจเยือกเย็น
คนมจี ิตใจเยอื กเยน็ เป็นสุดยอดของคนดมี ีศลี ธรรม เปน็ คนดีท่เี ลิศลา�้ ท�าให้จติ ใจมปี ิติสุข ใจมปี ติ สิ ขุ เปน็
สดุ ยอดของคนดที มี่ บี ญุ คนใจบญุ เปน็ คนมจี ติ ใจสงบนงิ่ เปน็ สดุ ยอดของคนดมี สี มาธ ิ ทา� ใหเ้ กดิ จติ ใจผอ่ งใส
คนมีจิตใจผ่องใสเป็นสุดยอดของคนดีมีภาวนาอยู่ในใจ พอใจผ่องใสก็เป็นจิตใจท่ีสะอาดบริสุทธิ์สดช่ืน
คนมีจิตใจสะอาดบริสุทธ์ิสดช่ืน เป็นสุดยอดของคนดีที่ได้เจริญวิปัสสนา เป็นสุดยอดของกุศลสูงสุด
รวมความว่า ท�าบุญใจเปน็ สขุ ฟังธรรมแลว้ ใจผ่องใส แมต้ ง้ั ใจฟังกจ็ ะได้ดวงตาเหน็ ธรรม งานน้ีจงึ มีทง้ั บุญ
และกุศลทส่ี มบูรณ์
ดงั นน้ั ในการบา� เพญ็ บญุ กศุ ลทกั ษณิ านปุ ทาน ครบ ๑๐๐ วนั ทา่ นจลุ สงิ ห ์ วสนั ตสงิ ห ์ นอกจากทา� บญุ
เปน็ ต้นเหตขุ องความสขุ แลว้ ท่มี พี ระธรรมเทศนา เพ่อื เสรมิ ให้บญุ น้นั สุขส่งขึ้นทีไ่ หนมกี ารทา� บญุ ท่นี นั่ มี
แตค่ วามร่มเย็นเปน็ สุข ทไ่ี หนมกี ารฟังพระธรรมเทศนา ทน่ี ัน่ มีแต่ความรม่ เยน็ เป็นสขุ จิตใจผอ่ งใสสดชนื่
ในโลกน ี้ ถา้ ไมม่ คี นใจบญุ กอ็ ยู่ยากล�าบากแทใ้ นโลกน้ี ถา้ ไม่มีคนใจกศุ ลก็อยู่ยากลา� บากใหญ ่ ถา้ ไม่มีท้ัง
บญุ และกศุ ลอุทศิ ไปให้กอ็ ยู่ยากล�าบากใจยิง่ อยู่ยากล�าบากจริง

46

ในงานบ�าเพญ็ กศุ ล ๑๐๐ วนั เจา้ ภาพจงึ ตั้งใจท�าบญุ อย่างงดงาม ตั้งใจทา� กุศลให้งดงาม เมือ่ กุศล
จิตงาม กุศลธรรมน้ันงามผ่องใส มีกุศลญาณอันงามวิไล พร้อมใจกันท�าบุญด้วยความรัก ความกตัญญู
เต็มใจทา� ตั้งแต่ต้นจนถึงบัดนี้ หากดวงจติ อันเปน็ ทิพย์ของทา่ นจุลสิงห์ วสนั ตสงิ ห ์ มารับรแู้ ละรับทราบใน
น�้าใจไมตรขี องทุกทา่ น คงจกั มีปติ สิ ุขในสัมปรายภพ พรอ้ มดว้ ยบญุ กุศลทท่ี ่านจลุ สงิ ห ์ วสนั ตสงิ ห ์ ได้ทา� ไว้
ดีแลว้ จะส่งผลใหเ้ กดิ เป็นทพิ ยสุข ตามทท่ี ่านได้ท�าหน้าท่ไี ว้ดีแลว้ ย่อมนา� ความสุขมาให้
ด งั พระบาลีทไ่ี ดย้ กขึน้ ไว้ในเบอ้ื งต้นว่า ธมฺโม สจุ ณิ ฺโณ สขุ มาวหาต ิ ผ้มู หี นา้ ท่แี ล้วทา� หนา้ ทไ่ี ดด้ ี ได้
ถูกต้อง ได้เป็นธรรม ทั้งปฏิบัติหน้าท่ีด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม มีคติเป็นสุขคติแม้ส้ินชีวิตไป
แล้ว ก็มสี คุ ติเปน็ ทีห่ วงั ได้ สมกับท่ที า่ นจลุ สิงห์ วสนั ตสงิ ห ์ ไดป้ ฏิบัติหนา้ ที่ไวด้ แี ลว้ ยอ่ มนา� สุขอันไพบูลย์
มาใหท้ า่ นไดร้ ับทุกประการ
ร บั ประทานแสดงพระธรรมเทศนามาสมสมัยได้เวลา ขอสมติยุตตพิ ระธรรมเทศนาลงคงไว้แตเ่ พยี ง
เทา่ น ้ี เอว� กม็ ดี ้วยประการฉะนี้ ฯ

47

คำ�ไ ้อ�ลัยคณุ จุล ิง ์ นั ต ิง ์

คณุ จุลสงิ ห ์ วสันตสิงห์ เปน็ นกั เรียนวชิราวุธวทิ ยาลยั ร่นุ นอ้ งผมหน่งึ ป ี กนิ นอนในโรงเรียนประจา�
ด้วยกนั มา ตัง้ แต่อาย ุ ๘-๙ ขวบ รจู้ กั นิสัยใจคอและสนิทสนม รกั ใคร่กันดจุ พ่นี อ้ ง จวบจนผมเรียนจบจาก
วชริ าวธุ ฯ ไดเ้ ข้าเรียนตอ่ ท่ีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั ส่วนจลุ สงิ หก์ ต็ ามมาในปีถดั มา เขา้
เรยี นที่แผนกนิตศิ าสตรซ์ ง่ึ ในเวลาน้ันยงั เป็น “แผนก” สังกัดอยูใ่ นคณะรัฐศาสตร์
ในสมัยเด็กๆ จุลสิงห์ได้รับการขนานนามจากเพ่ือนๆว่า “ลิง” คงเป็นคุณลักษณะประจ�าตัวที่
คลอ่ งแคล่วว่องไวและฉายแววความเปน็ นกั วง่ิ ลมกรดมาตง้ั แตเ่ ด็ก กล่าวได้วา่ “ลิง” เปน็ “จา้ วลู่” ในการ
แขง่ ขันกรีฑาว่งิ ระยะสน้ั มาโดยตลอด ต้ังแต่วชิราวธุ ฯ จนจบจฬุ าฯ นอกจากกรีฑาแล้ว ลิงเป็นนกั รกั บี้ผู้ทา�
ช่อื เสียงใหว้ ชริ าวธุ ฯ และจุฬาฯ ติดต่อกนั ทกุ ปี แทบจะไม่มกี ารแข่งขันนดั ใดทีล่ งิ ไมท่ า� ทรัยใหก้ ับทีม ความ
ผกู พนั ฉนั ทพ์ นี่ อ้ งของเราจงึ แนบแนน่ ยาวนาน ตราบจนลงิ ไดจ้ ากโลกนไี้ ปในเชา้ ของวนั ท ่ี ๖ กรกฎาคมทผี่ า่ น
มา
พวกเราภูมิใจท่ีลิงได้รับต�าแหน่งสูงสุดในสายงานท่ีรับราชการคือ “อัยการสูงสูด” และยังมีโอกาส
ไดต้ อบแทนสถาบนั การศกึ ษาของตนเองดว้ ยการรบั ตา� แหนง่ “นายกสมาคมนกั เรยี นเกา่ วชริ าวธุ วทิ ยาลยั ใน
พระบรมราชปู ถมั ป”์ และตา� แหนง่ “นายกสมาคมนสิ ติ เกา่ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ในพระบรมราชปู ถมั ป”์
ในช่วงทีผ่ มเปน็ นายกกรรมการอ�านวยการ วชริ าวธุ วิทยาลัย ประมาณชว่ งป ี พ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๙
นน้ั ลงิ ไดร้ บั พระมหากรณุ าธคิ ณุ โปรดเกลา้ ฯ ใหร้ ว่ มเปน็ กรรมการฯอยดู่ ว้ ย ภารกจิ ใดทค่ี ณะกรรมการฯมอบ
หมายใหล้ งิ ชว่ ยดา� เนนิ การนน้ั จะสา� เรจ็ เสรจ็ สน้ิ ดว้ ยความเรยี บรอ้ ยกอ่ นเวลาทกี่ รรมการฯกา� หนดเสมอ และ
ภารกจิ หลายประเภททลี่ งิ ไดป้ ฏบิ ตั แิ ละดา� เนนิ การใหน้ น้ั ยงั อา� นวยประโยชนใ์ หก้ บั วชริ าวธุ วทิ ยาลยั ตราบจน
ทกุ วนั นี้
พวกเพ่ือน OV เพ่งิ จะมาทราบในภายหลงั ไมก่ ่ปี มี านี้เองว่า “ลิง” นนั้ มชี ื่อเลน่ ทคี่ ณุ พ่อคุณแม่ต้ัง
ใหว้ ่า “อ”ู บดั น้ ี “ลงิ ” ของผองเพ่ือน OV และชาวจุฬาฯ หรือ “อ”ู ของครอบครัววสนั ตสิงห ์ ได้จากพวก
เราไปแตเ่ พยี งสงั ขารรา่ งกาย แต่จิตใจอนั งดงาม ผลงานทไี่ ดก้ ระทา� ให้แกส่ ถาบนั การศกึ ษา และส�านกั งาน
อยั การสงู สดุ นน้ั จะไดร้ ับการจารึกจดจ�าไว้ในใจของพวกเราทกุ คน ขอใหด้ วงวญิ ญาณของคณุ จลุ สงิ ห ์ วสนั
ตสิงห์ ได้สถติ ยอ์ ยู่อย่างสงบในสัมปรายภพตลอดไป

พลากร สวุ รรณรัฐ
องคมนตรี

48


Click to View FlipBook Version