The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ชีวิตงามนามจุลสิงห์

“หลงั จำกทค่ี ณุ ยำยและคณุ ปเู่ สยี ชวี ติ ไมน่ ำนคณุ พอ่ กล็ ม้ ปว่ ยลงดว้ ยโรคหวั ใจระหวำ่ งกำรเลน่ เทนนสิ
และถกู สง่ ไปรกั ษำตวั อยทู่ โี่ รงพยำบำลจฬุ ำลงกรณจ์ นอำกำรดขี น้ึ ทำ่ นและทกุ คนคดิ วำ่ คงจะหำยดแี ลว้ กลบั
บำ้ นได ้ แตจ่ ู่ ๆ ทำ่ นเกดิ มอี ำกำรทรดุ ลงเกนิ กวำ่ แพทยจ์ ะเยยี วยำไดแ้ ละสน้ิ ชวี ติ ลง วนั ทค่ี ณุ พอ่ เสยี พวกเรำ
กำ� ลงั เรยี นหนงั สอื อยทู่ โ่ี รงเรยี น คณุ ปำ้ กองกำญจน ์ ซง่ึ เปน็ พส่ี ำวของพอ่ อำยหุ ำ่ งกนั ไมม่ ำก กไ็ ปตำมโรงเรยี น
ของพวกเรำ เพื่อเรอื่ งขอลำหยุด แล้วพำอมู ำกรำบศพพ่อทว่ี ดั พวกเรำลกู ๆ ทกุ คนตำ่ งร้สู ึกเสียใจมำก แม้
อยู ังเด็ก แตเ่ รำกร็ ู้ว่ำเขำเสยี ใจมำกเช่นกัน
หลงั จำกน้ันไมน่ ำน คุณปำ้ หม่อมหลวงปอ้ งสงสำรพวกเรำ จึงยกที่ดินแปลงหน่งึ ท่ีเป็นมรดกจำกคณุ
ตำคุณยำยในบริเวณบำ้ นวิสุทธคำมให้ปลูกบ้ำน เพรำะไม่อยำกใหแ้ ม่กับลกู ๆ อยู่กันตำมล�ำพงั เม่อื ปลกู
บ้ำนเสร็จก็ย้ำยกลับมำอยู่ท่ีบ้ำนหลังนี้ พวกเรำทุกคนจึงเติบโตขึ้นมำท่ำมกลำงควำมรักควำมอบอุ่นของ
ญำตพิ นี่ อ้ งในบำ้ นวสิ ทุ ธคำมอกี คร้งั หนึง่ ”

ในชว่ งทคี่ ณุ จลุ สงิ หก์ ลบั มาอยบู่ า้ นวสิ ทุ ธคามครงั้ น ้ี คณุ จลุ สงิ หไ์ ดม้ โี อกาสคนุ้ เคยกบั ญาตผิ ใู้ หญท่ า่ น
หนงึ่ ทมี่ บี ทบาทส�าคญั ตอ่ ชวี ิตของเขา ผใู้ หญท่ า่ นน ี้ คอื หม่อมหลวงป่ิน มาลากลุ ผู้เปน็ คุณลุง และเป็น
ผดู้ แู ลอุปการะในวัยเรียน บทบาทของทา่ นนัน้ จะเหน็ ได้จากค�าบอกเล่าของ คุณจันทรวรรณ เชน่ กันวา่

คณุ จลุ สงิ หก์ ับ ฯพณฯ หม่อมหลวงปิน่ มาลากลุ เกือบ ๖๐ ปี ตอ่ มาในวนั บวงสรวงเปดิ อนุสาวรีย์
คุณลุงผูอ้ ุปการะ ฯพณฯ หม่อมหลวงปน่ิ ท่โี รงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

95

“คณุ ลงุ หมอ่ มหลวงปิ่น ท่ำนแตง่ งำนกบั ทำ่ นผู้หญงิ ดุษฎมี ำลำ (ไกรฤกษ)์ และแยกออกไปอยูบ่ ำ้ น
ของท่ำน แตไ่ มม่ บี ุตร ท่ำนจงึ มกั มำนัง่ เล่นทบ่ี ้ำนเพอื่ เยย่ี มน้องสำว คือแมแ่ ละหลำน ๆ ถอื เปน็ กำรพกั ผ่อน
จำกงำนหนักท่ีท่ำนต้องรับผิดชอบตำมต�ำแหน่งหน้ำที่ จนตอนหลังท่ำนท�ำเรื่องหอวชิรำวุธำนุสรณ ์
ในบริเวณหอสมุดแห่งชำติ ซึง่ เป็นงำนสดุ ท้ำยในชีวติ ของท่ำน ทำ่ นไดท้ มุ่ เทกำ� ลังกำย ก�ำลงั ใจ และกำ� ลัง
ทรพั ย ์ ในกำรสร้ำงหอฯ นขี้ นึ้ มำ เพอื่ น้อมรำ� ลึกในพระมหำกรณุ ำธคิ ุณต่อลน้ เกลำ้ ฯ รัชกำลที ่ ๖ เพรำะคณุ
ตำนำ� ทำ่ นไปถวำยตวั เปน็ มหำดเลก็ รบั ใชใ้ กลช้ ดิ ในพระองคท์ ำ่ น ตงั้ แตท่ ำ่ นยงั เดก็ คณุ ลงุ เลำ่ วำ่ ไดร้ บั ควำมรู้
และประสบกำรณ์มำกมำยจำกรัชกำลท่ี ๖ เร่ืองในรำชส�ำนัก ขนบประเพณีต่ำง ๆ กำรแต่งบทละคร
กำรประพันธ์ หรือกำรฝึกซ้อมรบ ท�ำให้ท่ำนได้ลักษณะนิสัยเหมือนกับกำรท่ีอูได้รับจำกโรงเรียนวชิรำวุธฯ
ท่ีเป็น Public School เหมือนทีอ่ ังกฤษ
เวลำคณุ ลุงมำพกั ทบี่ ้ำน มักจะเล่ำเรือ่ งอะไรดี ๆ ใหห้ ลำน ๆ ฟงั อูกม็ ำฟังด้วย หน่ึงในเร่อื งเลำ่
คือ ปัญหำของคณิตศำสตร์ อชู อบฟงั และคอยตอบคุณลงุ ทำ่ นก็รักอมู ำก เพรำะเปน็ หลำนชำยคนเดยี วใน
ครอบครวั ดงั นัน้ เขำจะไดร้ ับถ่ำยทอดจำกคณุ ลุงทงั้ ด้ำนคณิตศำสตร ์ กำรละคร เขำสนกุ ในกำรคดิ เขำ
จงึ ได้พน้ื ฐำนทัง้ ภำษำไทยและคณิตศำสตร ์ อมู คี วำมจ�ำดี ขยนั ตั้งใจเรียน ท่องหนังสอื โดยแมไ่ ม่ตอ้ งคอย
เตือน จนเขำเคยไดร้ บั พระรำชทำนรำงวัลเรยี นดจี ำกในหลวง รัชกำลที ่ ๙ คณุ ลงุ กไ็ ดไ้ ปรว่ มแสดงควำม
ชน่ื ชมยนิ ด ี ยงั มภี ำพถำ่ ยเกบ็ ไว ้ ซงึ่ อชู อบภำพนมี้ ำก เหมอื นเปน็ เหตกุ ำรณเ์ ชน่ เดยี วกบั สมยั คณุ ตำ (เจำ้ พระยำ
พระเสด็จสเุ รนทรำธบิ ดี) ซง่ึ เคยเข้ำวังและเรยี นหนังสอื ทโี่ รงเรียนพระต�ำหนกั สวนกหุ ลำบ เรียนจบประโยค
๑ และ ๒ ภำยในปเี ดียว และได้รับพระรำชทำนรำงวลั พเิ ศษจำกในหลวง รัชกำลท ี่ ๕ สมเด็จเจ้ำฟ้ำฯ กรม
พระยำบ�ำรำบปรปกั ษ ์ กเ็ สดจ็ ไปทอดพระเนตรเจำ้ พระยำพระเสด็จฯ รบั พระรำชทำนรำงวัลดว้ ย พวกเรำท่ี
เปน็ พีเ่ ห็นภำพนี้ของอแู ลว้ ยงั รสู้ กึ ประทบั ใจ”

คุณจนั ทรวรรณยงั เล่าถึงเกรด็ เรอื่ งเล่าอีกเรื่องหนึง่ ของหมอ่ มหลวงปน่ิ ที่คุณจลุ สงิ หม์ ีความชืน่ ชอบ
และมผี ลตอ่ การดา� เนนิ ชวี ิตของเขาเมือ่ เติบโตข้นึ

“คุณลุงชอบคณิตศำสตร์มำก ท่ำนได้ใช้ควำมชอบน้ีสร้ำงงำนอดิเรกอะไรหลำยอย่ำงที่เกี่ยวกับ
คณติ ศำสตรอ์ อกมำ เชน่ สรำ้ งปฏทิ นิ รอ้ ยป ี และหนงึ่ ในผลงำนสรำ้ งสรรคข์ องคณุ ลงุ ทอี่ ชู อบมำกคอื ไพ ่ Redphe
ย่อมำจำก Regional Educational Development Project Including Higher Education ไพน่ ้เี กิดขน้ึ จำก
กำรทค่ี ณุ ลุงต้องพำคณะฯ ไปประชุมเพ่อื ดูกำรศกึ ษำในชนบท ส�ำหรับวำงแผนพฒั นำ ระหวำ่ งนัน้ ทำ่ นได้
คิดสร้ำงไพ่ขึ้นมำเล่นเพ่ือควำมสนุกสนำนและผ่อนคลำยควำมเครียด อูชอบเล่นไพ่น้ีมำก เพรำะเป็นไพ่ท่ี
สอนใหว้ ำงแผน สังเกต และจ�ำ ถ้ำเลน่ ไดต้ ำมแผนทีว่ ำงไว้ก็จะชนะและได้คะแนนโบนสั เพ่ิม อูมักชวนพ ี่ ๆ
รวมท้งั พีเ่ อ (จิรำยุ อิศรำงกรู ณ อยธุ ยำ) พ่เี อ๋ (สวุ มิ ล โปษยำนนท์) เลน่ ดว้ ยกนั เสมอ

96

ภาพแหง่ ความภาคภมู ใิ จขณะรบั พระราชทานรางวลั ณ วชริ าวธุ วทิ ยาลยั เมอ่ื พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยมี ฯพณฯ หมอ่ มหลวงปน่ิ มาลากลุ
ประธานกรรมการอำานวยการวชริ าวธุ วทิ ยาลยั ในขณะนนั้ รว่ มช่นื ชมความสำาเรจ็

นอกจำกน้ี อูยังผูกพันกับดนตรีและกีฬำ เขำเลยไม่เหงำ ดิฉันรักและชอบเล่นเปียโนจึงไปเรียน
อูเห็นดิฉันเล่นเปียโน ก็สำมำรถเคำะเปียโนเล่นเป็นเพลงได้โดยท่ีไม่ได้เรียน เป็นพรสวรรค์ท่ีได้จำกคุณปู่
ซงึ่ ท่ำนเก่งทำงดำ้ นดนตรี พออเู ข้ำโรงเรียนวชริ ำวุธฯ ตอนประถม เขำก็เขำ้ วงดนตรีเป่ำเมโลดิกำ้ (กดเสยี ง
เหมอื นคียเ์ ปียโน) พอเขำโตข้ึนกอ็ ย่วู งป่ีสกอ๊ ต เวลำโรงเรยี นไปออกงำนท่ไี หน เช่น ไปเดินแถวเลน่ ดนตรี
ถวำยบงั คมพระบรมรปู ทรงมำ้ หรอื ไปถวำยบงั คมพระบรมรำชำนสุ ำวรีย์ รชั กำลที่ ๖ ทีห่ นำ้ สวนลุมพนิ ี แม่
และพ่ี ๆ ก็จะตำมไปด ู อูยังร้องเพลง ทั้งเพลงไทยเดมิ และเพลงไทยสำกลไดด้ ี ควำมทเ่ี ขำมคี วำมจำ� ดเี ปน็
พเิ ศษ ประกอบกบั เขำชอบบทกลอน จึงมักชอบนำ� บทกลอนต่ำง ๆ ทเ่ี ขำชอบมำพดู กบั พ่ี ๆ ได้คลอ่ ง บำง
โอกำสเขำยงั สำมำรถแตง่ กลอนไดด้ ว้ ย สว่ นเรื่องกฬี ำ เวลำเขำลงแขง่ กรฑี ำในโรงเรียนบำ้ ง หรอื ไปเลน่ รกั บ้ี
ทอ่ี ่ืนบำ้ ง พวกเรำก็จะไปดเู สมอ...
ต่อมำเม่ือคุณป้ำป้องถึงแก่กรรม พวกเรำพ่ีน้องต่ำงมีครอบครัวแยกย้ำยกันไป คงเหลือแต่คุณแม ่
และอ๋ออยู่ท่ีบ้ำนวิสุทธคำม อูมำดูแลคุณแม่และพ่ี ๆ อย่ำงสม�่ำเสมอ เมื่อคุณแม่จำกไป อูก็ยังเข้ำมำดูแล
ช่วยเหลือพี่ ๆ เปน็ ประจำ� ดว้ ยควำมห่วงใย”

97

บ้านวิสุทธคามเป็นบ้านที่ให้ร่มเงาและความสุขแก่สมาชิกในครอบครัววสันตสิงห์จนในเวลาต่อมา
๕ พี่น้องวสนั ตสงิ ห ์ ได้เตบิ โตในวิถที างของแตล่ ะคน และมคี รอบครัวของตนเอง ดงั นี้
๑. นางกณุ ฑล สจุ ริตกลุ สมรสกบั นายเตยี บ สุจริตกลุ มบี ุตรธิดาคือ นางสาวมนทริ า
และนายตนัย สจุ ริตกลุ
๒. นางจนั ทรวรรณ เทวรกั ษ ์ สมรสกบั รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ เทวรกั ษ์
๓. นางสาววัชรวี รรณ วสนั ตสิงห์
๔. นางเริงฤดี วสนั ตสงิ ห ์ เคยสมรสกบั นายศิรพิ งษ์ เกียรตินยิ ม มีบตุ รคอื นายศิระ
และนายวสนั ต์ เกียรตนิ ยิ ม
๕. นายจลุ สิงห์ วสนั ตสงิ ห ์ สมรสกบั นางภัทรา วสนั ตสงิ ห ์ (สกลุ เดมิ วรี เธยี ร) มีบตุ รธดิ า คือ
๑. นายศิวัช สมรสกับนางภัทรนิ มีบุตร ๑ คน คือเดก็ ชายปัญญ์ วสนั ตสิงห์
๒. นางสาวณฏั ฐา วสนั ตสิงห์

ทาำ บุญพร้อมญาติมิตร

98

คุณจลุ สงิ ห์และญาติพี่น้องบ้านวสิ ทุ ธคามในปัจจบุ ัน

พบปะสงั สรรคก์ ับพน่ี อ้ งวสันตสิงห์

“วสิ ุทธคามยามทม่ี ีทกุ ขร์ อ้ น มผี ้ผู อ่ นโศกคลายหายทุกข์ได”้ เป็นกลอนบาทหน่ึงท่หี ม่อมหลวงปิ่น
มาลากุล ได้แต่งให้หม่อมหลวงป้อง มาลากุล ผู้เป็นพ่ีสาว ผู้เป็นเสมือนเสาหลักของบา้ นวสิ ทุ ธคามในอดตี
กลอนบาทนคี้ ณุ จลุ สงิ หส์ ามารถทอ่ งจา� ไดข้ นึ้ ใจ และไดท้ า� ใหบ้ า้ นวสิ ทุ ธคามยงั คง “มผี ผู้ อ่ นโศกคลายหายทกุ ขไ์ ด”้
อยตู่ ลอดมา ดงั ทค่ี ุณจันทรวรรณได้กลา่ วในท้ายท่สี ุดว่า
“อูชอบท่องกลอนบทนี้บอ่ ย ๆ และเขายนิ ดีทจ่ี ะทา� ความดีสานตอ่ ตามเจตนารมณข์ องผใู้ หญ ่ คอย
ชว่ ยเหลือดแู ลทกุ คนในครอบครัวตลอดมา...จนถงึ วนั สุดทา้ ยของชวี ติ เขา”

99

บทท่ี ๓

นกั เรยี นโรงเรยี นวชริ าวธุ วิทยาลยั

โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เดิมมีช่ือ คณุ จลุ สิงห ์ ถ่ายรูปกบั คณุ แม่
ว่าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เป็นโรงเรียนที่ เม่ือแรกเข้าเรยี นท่วี ชิราวุธวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นตาม
แบบโรงเรยี นรฐั บาลของประเทศองั กฤษ ตง้ั ขนึ้
เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ด้วย
พระราชประสงคเ์ พอ่ื ใหก้ ารศกึ ษาอยา่ งแทจ้ รงิ
แกก่ ลุ บตุ รชาวไทย และเปน็ เสมอื นพระอาราม
หลวงประจา� รชั กาล โดยทรงกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ
พระราชทานพระราชทรัพย์และที่ดินส่วน
พระองค์ เพ่ือสร้างโรงเรียนแห่งน้ีให้เป็น
Public School ตามพระบรมราโชบายทว่ี ่า
“ข้าต้องการให้การศึกษาเป็นส่ิงที่
งดงาม จนท�าให้เด็กท่ีออกไปแล้ว หวนกลับ
มาคิดถงึ ในวันข้างหน้าด้วยความภาคภูมิใจ”

วันแรกทค่ี ณุ จุลสิงห์เข้าเรียนในโรงเรียนวชริ าวธุ วิทยาลัยนน้ั ตรงกบั วนั ทีเ่ ขาอายุครบ ๘ ขวบพอดี
โดยเรม่ิ เขา้ เรียนชั้นประถม ๓ ในคณะเดก็ เลก็ ๑ และเขาก็ได้พบเพ่อื นนกั เรียนคนแรก คอื หมอ่ มราชวงศ์
ศุภดิศ ดิศกลุ ซึง่ ทา่ นได้ยอ้ นร�าลกึ ถึงวันแรกทเ่ี ขา้ โรงเรยี นให้ฟังว่า

“จลุ สงิ หก์ บั ผมและเพอ่ื นอกี คน คอื หมอดาว (นายแพทยด์ าวฤกษ์ สนิ ธวุ นชิ ย)์ เขา้ โรงเรยี นวชริ าวธุ ฯ
พรอ้ มกนั คอื วนั ท ี่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ ผมจ�าวันท่ีไดแ้ ม่น เพราะเปน็ วันคลา้ ยวันเกิดของจุลสงิ ห ์
วนั นั้นเราต่างคนต่างกเ็ ข้าเรยี นในชัน้ ประถม ๓ พรอ้ มกนั แลว้ อยู่คณะเดยี วกนั คือ คณะเดก็ เล็ก ๑ สว่ น
หมอดาวอยู่คณะเด็กเล็ก ๒ คณะหมายถึง ตึกที่พักของนักเรียน โดยโรงเรียนวชิราวุธฯ มีคณะเด็กเล็ก
๑ - ๒ - ๓ อยขู่ า้ งนอก เมอื่ จบระดบั ประถมศกึ ษากจ็ ะเขา้ ชน้ั มธั ยมศกึ ษา จงึ จะยา้ ยมาอยคู่ ณะใน คณะเดก็ เลก็
อยู่ขา้ งนอก มคี รแู มบ่ ้านดแู ล พอเข้าคณะในมีรุ่นพ่เี ปน็ หัวหนา้ คณะคอยดแู ล
จุลสงิ ห์กับผม เป็นท้งั เพ่ือนและญาติ ตอนเจา้ พระยาพระเสดจ็ ฯ คุณตาของจุลสิงห ์ รับราชการเคย
เปน็ เลขานุการของเสดจ็ ปผู่ ม (สมเด็จกรมพระยาดา� รงราชานุภาพ) ท่ีกระทรวงธรรมการ สมยั รัชกาลท ี่ ๕
ทา่ นผหู้ ญงิ เสง่ยี ม คุณยายของเขา มนี ้องสาวชอ่ื ล�าดวน ก็เป็นหมอ่ มของเสด็จป ู่ ดงั น้นั หม่อมหลวงปานตา

100

คณุ แมข่ องจุลสิงหก์ น็ บั ว่าผมกบั จุลสงิ หเ์ ปน็ ญาตกิ ัน แมว้ ่าพ่อผม (หม่อมเจ้าพิริยดิศ ดศิ กุล) จะไมใ่ ช่โอรส

ทเ่ี กดิ กบั หมอ่ มลา� ดวนกต็ าม และบา้ นเขากอ็ ยตู่ ดิ กบั วงั วรดศิ ดว้ ย แตพ่ อ่ กบั ผมไมไ่ ดอ้ ยทู่ ว่ี งั วรดศิ เราเขา้ มา

โดยต่างคนต่างไม่รู้ว่าเป็นญาติกัน วันแรกท่ีเข้ามาคณะเด็กเล็กเราก็เรียนร่วมกัน มารู้ว่าเป็นญาติก็ตอน

ที่มีคนมาเยี่ยม โดยโรงเรียนวชิราวุธฯ นั้น คณะเด็กเล็กเขามีวันให้มาเย่ียมได้คือช่วงบ่าย ๓ - ๕ โมง

ของวันพฤหัสบดีและวันอาทิตย์ พอมาเยี่ยมจึงรู้ว่าเป็นญาติกัน หม่อมหลวงปานตามาวันพฤหัสบดี

พอ่ ผมมาวนั อาทติ ย ์ บางทคี ณุ พอ่ ของเขากม็ าเยย่ี มในวนั อาทติ ยด์ ว้ ย หมอ่ มหลวงปานตาซง่ึ ผมเรยี กทา่ นวา่

คุณแม่ ตามจุลสิงห์ ท่านใจดีเรยี กจุลสิงหก์ ับผมมากินอาหารทนี่ า� มาด้วยกัน เป็นพวกขนมจีบ ซาลาเปา

ขา้ วหมแู ดง ขา้ วมนั ไก่ ฯลฯ มีพ่สี าวเขาสลับกนั ตามคุณแมม่ าเย่ียมดว้ ย ผมจงึ รวู้ า่ เราเปน็ ญาติกนั ผมเลย

เรียกช่ือเล่นของเขาว่า (ไอ้) อู ส่วนผม ไม่มีช่ือเล่น ก็เรียก ชาย แต่เพื่อน ๆ ตั้งชื่อให้ตอนหลังว่า ดิศ

พอพอ่ ผมมาเยยี่ มวนั อาทติ ย ์ กม็ อี าหารพวก ไกย่ า่ ง ขา้ วเหนยี ว สม้ ตา� มา ทา่ นเรยี กจลุ สงิ หม์ ากนิ ดว้ ย เขาเรยี ก

พ่อผมว่าท่านพ่อ เรยี กตามกัน สรุปคอื สัปดาห์หนงึ่ เรา ๒ คน ได้กินอาหารพเิ ศษ นอกจากอาหารโรงเรียน

ทง้ั ๒ วนั

จุลสิงห์เขามีความจ�าท่ีดีมาก เขาจ�าอาหารม้ือแรกท่ี

เราเคยกนิ กนั ทคี่ ณะเดก็ เลก็ ๑ ไดว้ า่ เปน็ นา้� พรกิ กะปกิ บั เนอื้ เคม็

ซ่ึงเป็นมื้อแรกและมื้อเดียวท่ีโรงเรียนเล้ียงอาหารรายการน ี้

หลังจากน้ันไม่มีอีกเลย โรงเรียนเด็กเล็ก ๑ ได้อาหารจาก

ทา่ นผ้บู งั คับการของโรงเรยี น ตอนน้ันคือ พระยาภะรตราชา

(หมอ่ มหลวงทศทศิ อศิ รเสนา) สง่ั โรงครวั ทา� อาหารสง่ เดก็ เลก็ ๑

กับเด็กเลก็ ๒ อาหารแย่มาก ผมวา่ เป็นเศษอาหารมากกว่าที่

ทา� ใหพ้ วกเรากนิ กัน เรามาจากบ้าน พ่อแมเ่ ลย้ี งด ี พอมาเจอ

อาหารแบบนี้เลยรู้สึกแย่มาก มีแค่วันแรกวันเดียวที่มี

อาหารอร่อย ซ่ึงจุลสิงห์เขาพูดถึงอาหารเย็นวันแรกของพวก

เราเสมอ เพราะจากน้นั มากไ็ ม่มีมื้ออรอ่ ยอีกเลย...

ตอนเรียนเราสนิทกันมาก เพราะเรียนมาต้ังแต่ ป.๓

แล้วเป็นญาติด้วย พอวันเด็ก โรงเรียนหยุดให้เรากลับบ้าน

เรากไ็ ปเทยี่ วดว้ ยกนั ไปตามสถานทรี่ าชการตา่ ง ๆ โดยพอ่ ผม

จัดรถตู้มารบั เขาท่บี า้ น เขาจา� ไดว้ ่า มอี ย่ปู ีหน่งึ เราไปเทยี่ ว

กันที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ตรงสะพาน ๒๒ (ปัจจุบันเป็น

สะพานพระราม ๗) ไปดวู ธิ กี ารผลติ ไฟฟา้ ตอนหลงั ๆ เมอ่ื ได้

พบกนั จลุ สิงห์คุยให้ผมฟงั ว่า เขาไปเป็นบอร์ดของการไฟฟ้า

ฝ่ายผลติ ซง่ึ เด๋ียวนใี้ ชค้ �ายอ่ ภาษาอังกฤษวา่ EGAT สมยั ก่อน

เราเคยไปเทยี่ วดว้ ยกนั ตอนวันเดก็ ” นกั เรยี นวชริ าวธุ วิทยาลัย

101

เพือ่ นสนทิ ท้งั ๒ คน เรยี นหนงั สอื และเตบิ โตมาด้วยกนั จนกระทัง่ ถึงระดับมัธยมศกึ ษากต็ อ้ งแยก
คณะ หมอ่ มราชวงศศ์ ภุ ดศิ ไปอยคู่ ณะผบู้ งั คบั การ สว่ นคณุ จลุ สงิ หไ์ ปอยคู่ ณะจติ รลดา แตค่ วามผกู พนั ระหวา่ ง
กนั กย็ งั คงอยู่ไม่เปลยี่ นแปลง

“เราเรียนด้วยกันมาจนถึงคณะใน คือชั้นมัธยมศึกษา เราก็ต้องแยกคณะกัน เพราะผมเข้าคณะ
ผู้บังคบั การ เนือ่ งจากหม่อมย่าของผมคือ หมอ่ มหลวงใหญ ่ อิศรเสนา เปน็ ลูกพ่ีลกู น้องกบั เจา้ คณุ ภะรตฯ
ดงั น้นั ผมจงึ ไปคณะอืน่ ไมไ่ ด้ นอกจากคณะที่ท่านเปน็ ผ้บู งั คับการ ซงึ่ อาหารแย่มาก แต่จุลสงิ ห์ถูกแยกไป
อยู่คณะจิตรลดา เขากับผมเป็นทั้งเพ่ือนและญาติ โตมาด้วยกัน เรียนห้องเดียวกันมาตลอดคือ ห้อง ก.
ซึง่ ถือวา่ เป็นหอ้ งของเด็กนกั เรียนชั้นด ี จนกระทั่งเวลา ๑๐ ปีผ่านไป เราเรยี นจบพร้อมกัน คือ วันท ี่ ๑๙
พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ จลุ สิงหเ์ ขาจ�าแม่น เพราะมันตรงกบั วันเกดิ เขา”

เมอ่ื ทงั้ คเู่ รยี นจบ ตา่ งกแ็ ยกยา้ ยกนั ไปเรยี นในระดบั อดุ มศกึ ษาตามสาขาทตี่ วั เองสนใจ และไมไ่ ดพ้ บ
กันอกี นาน กวา่ จะได้โคจรมาพบกันอีกครัง้ เมอื่ เข้าสวู่ ัยท�างานแลว้

“จลุ สิงหเ์ ปน็ คนร่าเริงและเพือ่ น ๆ รักมาก เขาเปน็ นกั กีฬา ผมวา่ เขาไดร้ ับความเกง่ ด้านน้ีมาจาก
คณุ พ่อ (คุณเมอื งเรงิ ) ซง่ึ เปน็ อดีตแชมปน์ ักเทนนิส ดงั นั้น เขาเกง่ ด้านกีฬา เปน็ คนว่งิ เรว็ เพ่อื น ๆ จึงตง้ั
ชอ่ื เล่นใหเ้ ขาว่า ไอล้ งิ เน่อื งจากเปน็ คนคล่องแคลว่ ว่องไวมาก จากจลุ สิงห์เลยกลายเปน็ จุลลิงและไอล้ งิ ไป
พอแยกมาแลว้ เขาไปอยคู่ ณะจติ รลดา ผมกห็ า่ งมาหนอ่ ย แตเ่ วลาเรยี นยงั เจอกนั ในหอ้ งเรยี น หอ้ ง ก. พอเรยี น
จบแลว้ ต่างคนตา่ งแยกกนั ไปเรียนมหาวิทยาลัย และมาพบกนั อีกทีตอนทเี่ ขาเป็นอยั การ ส่วนผมทา� งานอยู่
การบินไทย ชว่ งแรก ๆ เขามักจะตดิ ต่อมาเรอ่ื งเดินทางไปปฏิบตั ภิ ารกิจในต่างประเทศ จงึ เป็นเร่อื งทที่ า� ให้
เราไดก้ ลบั มาคุ้นเคยกันใหม่”

ในปีท่ีคุณจุลสิงห์เข้าเรียนในโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ยังมีเพื่อนรุ่นพี่อีกคนหน่ึง ที่เข้าเรียนพร้อม
กบั เขา และมคี วามสนทิ สนมคนุ้ เคยกบั เขามาโดยตลอด น่นั คือ ท่านองคมนตร ี พลากร สวุ รรณรฐั ทา่ นได้
เลา่ ย้อนความหลังในเวลาน้นั ใหฟ้ งั วา่

“ความจริงโรงเรียนวชิราวุธฯ เปิดรับนักเรียนตั้งแต่ ป.๓ แต่ผมเข้าตอน ป.๔ จุลสิงห์เข้า ป.๓
ตามกา� หนดของโรงเรยี น ผมคิดวา่ เราเข้าพรอ้ มกัน เราอยูค่ ณะเดก็ เล็ก ๑ ดว้ ยกนั คือ คณะสนามจนั ทร ์
ภายใตก้ ารปกครองของคณุ ครบู รรจง ลวพันธุ ์ คุณครูจ�ารัส จนั ทรางศุ และคณุ ครมู ณี เอมะศิร ิ ผมจ�าได้
๓ ท่าน ความทรงจ�าของผม คือผมเป็นเด็กท่ีร่างกายผอมเก้งก้าง แต่จุลสิงห์เป็นเด็กล�่าสันบึกบึนมา
ต้ังแต่เล็ก ดงั น้ัน ผมจงึ จ�าไดว้ ่า ตั้งแต ่ ป.๓ - ป.๔ และ ม.๑ - ม.๒ นั้น จุลสิงห์เป็นนักวิ่งในการแขง่ ขนั กรฑี า

102

คณุ จลุ สงิ หก์ ับบทบาทนักดนตรีในงานต่างๆ ของโรงเรียน

ถึงแม้ตัวจะไม่สูงหรือขาไม่ยาว แต่ด้วยความที่มีรูปร่างบึกบึน มีกล้ามเน้ือเยอะ เขาสามารถว่ิงได้อย่าง
รวดเร็วมาก และชนะที่ ๑ ตลอด ตั้งแต่วิ่งระยะสั้น ๘๐ เมตรรุ่นเล็ก พอขึ้นรุ่นใหญ่ก็เป็นวิ่ง ๑๐๐ เมตร
เขายังได้แชมปอ์ ีก

พอจบคณะเด็กเล็กเข้าคณะใน จุลสิงห์แยกเข้าไปคณะจิตรลดา ส่วนผมไปอยู่คณะผู้บังคับการ
แต่ความท่ีอยู่ด้วยกันสมัยเด็กเล็ก ก็ยังมีสัมพันธ์รักกันฉันพี่น้องและมีมาโดยต่อเน่ือง เขาให้ความเคารพ
นับถือผม ทั้งท่ีเป็นเด็กประจ�า บางทีถ้าเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องห่างกันแค่ปีเดียวก็เป็นเหมือนเพื่อนกัน แต่เขาไม่
เป็นแบบน้นั เรยี กผมวา่ พหี่ นุ่ย ทกุ คา� ผมเรยี กเขา ไอล้ งิ ตามเพอ่ื น ๆ ของเขา เพราะตอนเล่นกีฬามที งั้
เพื่อนเขาและเพ่ือนผมหลายคนที่เล่นกีฬาด้วยกัน จนต่างคุ้นเคยสนิทสนม ทุกคนเรียกเขาว่าไอ้ลิงหมด
เดก็ วชริ าวธุ ฯ ถา้ เปน็ รนุ่ ตดิ กนั กม็ กั จะใกลช้ ดิ กนั ในฐานะพนี่ อ้ ง บางคนสนทิ สนมกนั แบบเพอ่ื นขา้ มรนุ่ ไปเทยี่ ว
ด้วยกันก็มี รุ่นผม ๓๙ กับรุ่นจุลสิงห์ ๔๐ เราสนิทข้ามรุ่นกันเยอะ แล้วทุกคนรักไอ้ลิงหมด ไม่มีใครท่ีจะ
ไม่ชอบเขาสักคน เขาเป็นคนยิ้มทั้งตาทั้งปาก ยิ้มตลอดเวลา ไม่ค่อยเครียด เขาย้ิมรับสถานการณ์ต่าง ๆ
ได้ดีในทุก ๆ เร่อื ง เล่นกีฬา เขาก็ไม่เครียด เขาเป็นสุภาพบุรษุ นักกีฬามาตัง้ แต่เดก็ ...
จนกระทั่งเราเรียนจบชน้ั สูงสุดของโรงเรยี น ผมสอบเขา้ รฐั ศาสตร์ จุฬาฯ ได้กอ่ น แลว้ เขาสอบเข้า
ตามมาในปีถัดมา แต่เข้าแผนกนิติศาสตร์ อยู่ในคณะรัฐศาสตร์ พอเขาเข้ามาก็เข้าทางพอดี อันแรกคือ
เขาเข้าร่วมทีมกรฑี าของคณะฯ และสอง เขาเปน็ นักกีฬารกั บีข้ องคณะฯ กบั เขา้ รว่ มทมี ของมหาวิทยาลัย
ด้วยเช่นกัน กเ็ ปน็ แบบนี้ ๓ ปีเต็ม ๆ ท่เี ราซ้อมกฬี าด้วยกันทุกเยน็ สนทิ คุน้ เคยรักกนั เหมือนพีน่ อ้ ง จนผม
เรียนจบกอ่ น แล้วแยกย้ายกันไป แตก่ ย็ งั ไดร้ ขู้ า่ วคราวกนั เสมอ...”

103

คณุ จลุ สิงห์กบั บทบาทนกั กฬี าดาวเดน่ ของวชิราวธุ วทิ ยาลยั

ขณะที่ นายแพทย์ดาวฤกษ์ สินธุวณิชย์ เพ่ือนนักเรียนที่เรียนเก่งท่ีสุดในบรรดากลุ่มเพื่อนของ
คุณจุลสิงห ์ เล่าให้เห็นถงึ ภาพของโรงเรียนวชิราวุธฯ ในเวลาน้นั เพ่มิ เติมวา่

“ดังทีค่ ุณชายศภุ ดิศเลา่ ว่า เรา ๓ คน เข้า ป.๓ ซง่ึ ตอนนนั้ โรงเรยี นวชริ าวธุ ฯ แบ่งเปน็ พวกเด็กเลก็
ต้ังแต่ ป.๓ - ม.๒ (ป.๓ ป.๔ และ ม.๑ ม.๒) รวม ๔ ปี แลว้ พวกเดก็ โตต้ังแต่ ม.๓ - ม.๘ อีก ๖ ปี รวม
ทง้ั หมด ๑๐ ป ี แต่ตอนพวกเราเรยี นมธั ยมปลาย กระทรวงศกึ ษาธิการได้เปลี่ยนแปลงระบบใหม ่ พวกเรา
จึงจบ ม.ศ.๕ แทนที่จะจบ ม.๘ เราเขา้ เรียนวันเปิดเทอมวันแรก ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ เปน็ วันเกิด
จุลสิงห์พอดี แต่จุลสิงห์กับศุภดิศไปอยู่คณะเด็กเล็ก ๑ ผมอยู่คณะเด็กเล็ก ๒ มีเพ่ือนรุ่นพ่ีคือ พรเพชร
(คณุ พรเพชร วชิ ิตชลชัย) เขาเรียนกอ่ นผมปีหนึง่ แต่ตอนมธั ยมปลายเขาไปทุน AFS ทต่ี า่ งประเทศ ๑ ป ี
พอกลบั มาจึงมาเรียนกับพวกเราและสนทิ กบั จุลสงิ ห์ ครูของคณะเด็กเล็ก ๑ ดทุ ี่สดุ เป็นนักเรยี นทม่ี เี ชือ้ สาย
จะอย่คู ณะเด็กเล็ก ๑ เช้ือสายผมไมแ่ รงเลยอยเู่ ดก็ เลก็ ๒ (หัวเราะ) และครูคณะเดก็ เล็ก ๒ กับ ๓ ก็ดุน้อย
ลงหนอ่ ย แต่เวลาเรียน เราเรียนด้วยกนั ในหอ้ ง ก. ซ่งึ ถือวา่ เป็นเด็กเรียนดีหน่อย เราจึงสนิทกนั

104

พอเรียนจบช้ันเด็กเล็ก ต้องเข้าคณะในเป็นช้ันเด็กโต ศุภดิศกับผมถูกจัดไปอยู่คณะผู้บังคับการ
ส่วนจุลสิงห์ไปอยู่คณะจิตรลดา ตอนนั้นมี ครูอรุณ แสนโกศิก ผู้ช่วยผู้บังคับการและเป็นผู้ก�ากับ
คณะจิตรลดา ซึ่งท่านเคยเป็นท้ังอดีตนักรักบี้ฟุตบอลทีมชาติ นักฟุตบอลทีมชาติ และนักกรีฑาทีมชาต ิ
ทา่ นเปน็ นักกรฑี าทมี ชาตไิ ทยชุดแรกทไี่ ด้ไปแขง่ กรฑี าโอลิมปกิ ท่ีกรงุ เฮลซิงก ิ ประเทศฟนิ แลนด ์ ทา่ นจบ
จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท�างานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย แล้วท่านมาท�าหน้าที่เป็นผู้ก�ากับ
คณะจติ รลดา ชว่ ยโรงเรยี นในเรอ่ื งกฬี า เปน็ โคช้ รกั บ ี้ ปกตโิ รงเรยี นวชริ าวธุ ฯ กเ็ กง่ ดา้ นกฬี ารกั บมี้ านานแลว้
แต่ครเู ขา้ มากไ็ ดช้ ่วยวางระบบใหแ้ ขง็ แกรง่ และเกง่ ยิง่ ข้ึน”

นายแพทย์ดาวฤกษ์ยังอธิบายต่อถึงภาพของนักเรียนโรงเรียนวชิราวุธฯ ท่ีแตกต่างจากโรงเรียน
อืน่ ว่า

“โรงเรียนวชิราวุธฯ เปิดโอกาสและส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสแสดงฝีมือได้ทุกด้าน เพราะเด็กแต่ละ
คนเก่งไม่เหมือนกัน แต่การศึกษาไทยไปเน้นเก่งในห้องเรียนอย่างเดียว เพราะฉะน้ันเด็กนักเรียนท่ีไม่
เกง่ ในห้องเรียนจงึ แย่ แลว้ พาลไปเกเร แตท่ ีโ่ รงเรียนวชิราวุธฯ ไมใ่ ช่อย่างนั้น ถ้าไม่เก่งในหอ้ งเรียน กไ็ ป
เก่งกีฬา แต่สมัยนั้นกีฬาไม่ได้รับการโปรโมทมากเหมือนสมัยน้ี ถ้าคนไหนไม่เก่งกีฬา ก็อาจไปเก่งดนตร ี
เกง่ วาดรปู กไ็ ด้ คลา้ ยกบั โรงเรยี นเขา้ ใจว่า คนเราไมจ่ า� เป็นตอ้ งเก่งเรียนหนงั สอื แลว้ จะประสบความสา� เรจ็
คนเกง่ ในด้านอื่นกป็ ระสบความส�าเร็จได ้ ผมเองเรยี นเก่งในหอ้ งเรยี นแต่กฬี าไม่ได้เรอื่ ง ศิลปะวาดรูปกว็ าด
ไม่สวย ส่วนจุลสิงห์เขาเรียนปานกลาง แต่เด่นเร่ืองกีฬา ผมจึงคิดว่า เขาถึงได้รับคัดเลือกไปอยู่คณะที่
ผู้ก�ากบั เป็นอดตี นกั กฬี า”

ทมี วอลเลย์บอล คณะจิตรลดา

105

คณุ เอกชยั ไหลมา สถาปนกิ ชอื่ ดงั คนหนงึ่ ของเมอื งไทย และเปน็ หนง่ึ ในกลมุ่ เพอื่ นรว่ มคณะจติ รลดา
ของคุณจลุ สงิ ห์ สนั นิษฐานถงึ เหตุทค่ี ณุ จุลสิงห์มาอยู่คณะนเ้ี ชน่ กนั วา่
“พวกเราคิดว่าจุลสิงห์เข้ามาอยูค่ ณะจิตรลดา เพราะคุณพอ่ เขาเป็นนักกีฬาเทนนิสระดับแชมเปีย้ น
คุณพอ่ หลอ่ มากนะ แลว้ ทา่ นร้จู ักกับครอู รุณ เปน็ นักกฬี าเหมือนกนั จลุ สงิ หเ์ องก็เล่นกฬี าเกง่ เขาเป็นนกั วง่ิ
ของโรงเรียนด้วย และเล่นรักบ้ี ปกติเวลาอยู่นอกสนาม เขาจะเป็นคนช้า ๆ แต่พออยู่ในสนาม เขาวิ่ง
เรว็ มาก เพอื่ น ๆ ชอบลอ้ วา่ เขาวงิ่ เรว็ กจ็ รงิ แตเ่ รว็ แบบลกุ ลลี้ กุ ลน พอรบั ลกู ไดแ้ ลว้ ชอบทา� ลกู หลน่ (หวั เราะ)
การท่ีเขามาอยู่คณะน้ีก็เหมาะสมแล้ว ตอนนั้นพวกเราไม่ค่อยรู้ว่าเขาเป็นหลานหม่อมหลวงปิ่น เพราะ
คนละนามสกุล ทั้งท่ีทา่ นมชี ือ่ เสียงในสมัยนั้น จนพวกเรามารูภ้ ายหลังว่าคณุ แมเ่ ขาเป็นน้องหมอ่ มหลวงป่นิ
และภรรยาท่านคือ ท่านผหู้ ญิงดุษฎมี าลา กแ็ ต่งกลอนใหโ้ รงเรยี นวชริ าวุธฯ อยเู่ ปน็ ประจา� จุลสงิ ห์ไม่เคย
โอ้อวดหรือคยุ ให้ฟงั เลย สมยั เรยี นเราไม่คิดถึงความแตกตา่ ง ทกุ คนเปน็ เพือ่ นกนั หมด

คณุ จุลสงิ ห์กับเพ่อื นนักกฬี าวชิราวธุ วทิ ยาลยั

106

จุลสิงห์เป็นคนเรียบร้อย มีน�้าใจช่วยเหลือเพื่อนฝูง ไม่ว่าเพื่อนขออะไรเขาก็จะช่วยตลอด เช่น
เขาไมก่ นิ เหลา้ กินเบียร์ แต่กไ็ ปนงั่ กับเพือ่ น ๆ ได้ แล้วคอยรับสง่ เพ่อื น เขาเปน็ คนให้เกยี รตเิ พ่อื น ๆ เสมอ
เวลาเจอใคร เขาจะแนะน�าว่าเราเป็นใคร เคยท�าอะไรให้เขา ทั้งท่ีเราลืมไปแล้ว นิสัยอีกอย่างของเขาคือ
มคี วามจ�าดมี าก เร่ืองอะไรท่ีเปน็ ประวัตเิ ก่า ๆ เวลาเจอกนั เขาจะเล่าใหฟ้ ัง ท้ัง ๆ ทพ่ี วกเราอาจจะจา� ไมไ่ ด ้
นอกจากเลา่ แลว้ เขายงั มหี ลกั ฐานดว้ ย เพราะเขาเกบ็ เอกสารทกุ อยา่ งหมด และจา� แมน่ มาก โดยเฉพาะเพอื่ น
คนไหนยืมเงินไปเทา่ ไร เขาจา� ได้หมด แลว้ ทวงดว้ ย (หวั เราะ)”

ขณะที่ พลเรือตรี มั่นใจ บุญมา นายทันตแพทย์ทหารเรือ เป็นอีก ๑ คนในกลุ่มเพ่ือนสนิท
คณะจติ รลดา บอกเลา่ ถงึ ภาพของคุณจุลสงิ หใ์ นวยั เยาวอ์ ีกมมุ หนงึ่ ว่า

“ตอนท่ีจุลสิงหอ์ ยู่คณะเดก็ เล็ก ๑ ผมอยูค่ ณะเดก็ เล็ก ๓ แต่เวลาเรยี น เราหอ้ งเดียวกนั มาตลอด
คือ โรงเรียนวชริ าวธุ ฯ ในสมัยนน้ั มคี ณะทัง้ หมด ๗ คณะ คณะใน ๔ คณะ สว่ นเดก็ เล็กม ี ๓ คณะ ตกึ ก็
เรียงติด ๆ กนั แตต่ กึ เลคเชอร์อยทู่ างฝั่งเด็กเลก็ ๑ เวลาเรียนกเ็ ดนิ ผ่านตึกพกั ของเขาตลอด ใครอยู่คณะ
ไหน อยทู่ ีท่ างโรงเรียนจัดสรร คณะนไี่ ม่สา� คัญ แตห่ อ้ งเรียนส�าคัญกวา่ เขากับผมถอื ว่าเรยี นเก่ง เพราะอยู่
ห้อง ก. เกาะกนั มาตลอด แต่ท่ีต่างคือ เขาเป็นนกั กฬี า แต่ผมไมใ่ ชน่ กั กีฬาขนาดเขา พอโตขน้ึ ย้ายเข้ามา
เรียนในคณะใน กย็ ้ายมาอยตู่ กึ คณะจติ รลดา ทางด้านพระต�าหนักจติ รลดา ถึงตอนนี้เรากจ็ ะสนทิ กันมาก
เพราะจุลสงิ ห์เขามีนสิ ัยชอบผูกมติ ร ผมกเ็ ป็นคนเฮฮาอยแู่ ลว้ และเราเรียนหอ้ งเดยี วกันมาตลอด
เรอ่ื งของความผกู พนั ตอนอยทู่ ค่ี ณะจติ รลดา ทผ่ี มจา� ได ้ เชน่ เวลาเราเดนิ ไปเรยี นตอนเชา้ เราเดนิ ไป
ดว้ ยกัน แตจ่ ุลสงิ หเ์ ปน็ นักกฬี าวิง่ เขาแข็งแกร่ง สว่ นผมตวั เลก็ นดิ เดียว เขาจะท้าผมว่ิงแข่ง พอเลิกเรยี น
เดนิ กลับคณะ เขากท็ า้ ผมว่ิงแขง่ อกี ผมกแ็ พ้เขาตลอด เขาต่อใหผ้ มว่ิงนา� ๕ เมตร ๑๐ เมตร ใครแพ้โดน
เขกหัว ผมก็โดนเขกหัวตลอด (หัวเราะ)
ในตอนคา่� หลังจากกินข้าวเสร็จ ๖ โมงเยน็ กจ็ ะมานัง่ ทา� การบา้ นกนั ๑ ช่ัวโมงกอ่ นนอน จลุ สงิ ห์
หวั ดนี ะ แตบ่ างครง้ั เขามเี วลาเขา้ เรยี นนอ้ ย เพราะตอ้ งไปทา� ธรุ ะอน่ื พอมกี ารบา้ น เขากม็ าถามผม ผมบอกวา่
ลอกการบ้านไม่ได้ เด๋ียวครูจับได้ เขาบอกไม่ได้ลอก แต่ให้ช่วยอธิบายว่า ข้อนี้ท�าอย่างไร แล้วข้ออื่น ๆ
เขาจะท�าเอง ไม่เหมือนเพื่อนบางคนท่ีลอกท้ังดุ้น วิชาที่เขาชอบท่ีสุดคือ วิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร ์
เขาจ�าไดห้ มด ความจ�าเขาดีจรงิ ๆ
เวลาหยุดเสาร์-อาทิตย์ ถา้ ไม่ไดก้ ลับบา้ น กไ็ ปเท่ยี วบ้านเพ่ือนกัน บ้านผมอยปู่ ากนา้� สมุทรปราการ
จุลสิงห์ก็มาเท่ียว บ้านของจุลสิงห์ผมก็ไป แล้วเขาไม่กินผัก มีอยู่ครั้งหนึ่งเราไปเที่ยวบ้านของเขมชาต ิ
โพธารามกิ เพ่ือนในคณะอกี คนทีอ่ �าเภอโพธาราม ราชบุร ี แมข่ องเขมชาตทิ า� ผัดถ่วั ฝักยาวใหก้ ิน แลว้ ชวน
ใหก้ ิน เขาถงึ กินถว่ั ฝักยาวเปน็ ตั้งแต่นั้น”

วิถีชีวิตของเด็กนักเรียนโรงเรียนวชิราวุธฯ ของคุณจุลสิงห์เป็นไปด้วยความรักและความผูกพัน
ระหวา่ งเพอื่ นรุ่นพรี่ นุ่ นอ้ ง หากจะสรปุ เปน็ ภาพรวมใหเ้ ห็นชดั คงตอ้ งยกค�าบอกเลา่ ของตัวแทนของรุ่นนอ้ ง

107

สงั สรรค์กับเพือ่ น โอว ี ๔๐

อนั ประกอบดว้ ย คณุ ปฏภิ าณ สคุ นธมาน คณุ ไชยวฒุ ์ิ พง่ึ ทอง คณุ สคั คเดช ธนะรชั ต ์ และ ดร.ปกรณ ์ อาภาพนั ธ์
แมจ้ ะหา่ งกนั หลายรนุ่ จากคณุ จลุ สงิ หน์ บั ๑๐ ป ี แตค่ า� บอกเลา่ กย็ งั ฉายใหเ้ หน็ ชดั ถงึ ภาพนนั้ โดยคณุ ปฏภิ าณ
เริ่มต้นเล่าว่า

“เป็นเพราะพวกเราถูกสอนมาเหมือนกนั ในความเห็นส่วนตวั ผม ผมวา่ ช่วงท่ีอยโู่ รงเรยี นวชิราวุธฯ
เปน็ ชว่ งท ี่ suffer ทส่ี ดุ ในชวี ติ เลย นบั ตงั้ แตช่ ว่ งทอี่ อกมาจากออ้ มอกพอ่ แม ่ แลว้ ผมเชอ่ื วา่ ทโ่ี รงเรยี นตอ้ งการ
จะฝกึ เด็ก ๆ ใหม้ รี ะเบียบทกุ อย่าง มีครูแมบ่ ้านแก่ ๆ มาคอยดแู ลเรา ซ่ึงดุมากเลย กินอาหารกต็ อ้ งกนิ ให้
เหมอื นกัน อย่างบางคณะ เขามีกฎว่าจะน�าเคร่ืองปรุงมาเองก็ไม่ได้ เขามีน�้าปลาขวดหนึ่ง พริกป่นขวด
หนึ่งให้แค่นั้น น้�าในห้องอาหารก็กินไดแ้ กว้ เดียว เขาตอ้ งการฝึกวา่ ไมค่ วรกนิ นา�้ ระหวา่ งกินข้าว เพราะจะ
ท�าใหน้ า�้ ยอ่ ยจาง น�้ากไ็ มเ่ คยไดส้ ัมผสั กับน้�าแข็ง ขนาดขนมหวานหลังอาหาร เป็นขนมท่ีใส่น้�าแข็งแล้ว
อร่อย เราก็กินขนมแบบไม่มีน้�าแข็ง ทกุ อยา่ งน่าเศรา้ ใจไปหมด
ในขณะทพ่ี อทกุ คนโตขน้ึ มา โรงเรยี นกเ็ รมิ่ ปลอ่ ย แลว้ เราจะพบวา่ มกี ารใชร้ ะบบอาวโุ ส มกี ารซอ่ มกนั
โดยสอนใหป้ กครองซงึ่ กนั และกนั ทกุ คนไดร้ บั การปลกู ฝงั ใหอ้ ยใู่ นระเบยี บ วธิ คี ดิ วธิ ใี ชช้ วี ติ เหมอื นกนั ตงั้ แต่
ตอนเปน็ เดก็ เล็ก แล้วจะสงั เกตเห็นวา่ ทีโ่ รงเรียนวชิราวธุ ฯ จะมคี นเข้ามาระหวา่ งกลางคนั หรือเขา้ มาตอน
มธั ยมศกึ ษาน้อยมาก หลายคนเข้ามาแลว้ ส่วนใหญ่อยู่ไมไ่ ด้ พวกท่อี ยไู่ ด้คือพวกเซยี นจริง เก่งจริง

108

พอเขา้ มาอยคู่ ณะใน หมายถงึ ระดบั มธั ยม โรงเรยี นปลอ่ ยใหป้ กครองกนั เอง พปี่ กครองนอ้ ง มหี วั หนา้
คณะ ใชร้ ะบบ Seniority คอื พวกทโี่ ตกวา่ กต็ อ้ งมคี วามเปน็ อาวโุ ส นอ้ งทเี่ ลก็ กวา่ กต็ อ้ งเคารพ ทส่ี า� คญั กวา่ นน้ั
คอื เวลาพซี่ อ่ มนอ้ ง ซอ่ มแลว้ ตอ้ งสอนนะ ซอ่ มแบบทนี่ อ้ งผดิ จรงิ ไมใ่ ชห่ มน่ั ไสแ้ ลว้ อยากอดั กอ็ ดั คณุ มคี วามผดิ จรงิ
เราก็ลงโทษแลว้ สอน ถา้ ไม่ดีข้นึ กล็ งโทษหนกั ขึน้ กว่าเดิมแล้วก็สอน พวกเราถงึ ได้รกั กนั เกรงใจกัน”

ขณะท ่ี คุณไชยวฒุ ์ิ พึง่ ทอง กล่าวเสริมว่า
“สมัยก่อนต้องบอกว่า เข้าโรงเรียนวชิราวุธฯ จ่ายค่าเทอม เทอมละ ๓,๐๐๐ บาท น่ีเป็นเฉพาะ
ค่าอาหาร เพราะเรียนฟร ี ปีหนงึ่ ถกู มาก ท้งั เรยี น ทงั้ ที่พกั พอกนิ พออย ู่ แลว้ เด็กนกั เรียนโรงเรยี นวชิราวุธฯ
ตง้ั แตร่ นุ่ กอ่ น ๆ จนถงึ ปจั จบุ นั เรอ่ื งการรกั ษามารยาทตอ่ หนา้ ผใู้ หญน่ คี่ อ่ นขา้ งด ี ถงึ กาลเวลาเปลย่ี นไปจาก
สมัยพวกเราในช่วงรุ่น ๕๐ - ๕๑ ยคุ น้นั กต็ าม เพราะทกุ วนั หลังจากชว่ั โมงเรยี นเลกิ ประมาณ ๑๓.๐๐ น.
มีครูอยู่ในโรงเรียนแค่ ๕ - ๖ คน เป็นผู้ก�ากับคณะ ๔ คน และครูอีก ๒ คน ท่ีเหลือคือ รุ่นพ่ีสอนรุ่นน้อง
เลน่ ดนตรี เล่นกฬี า สอนทุกอย่าง คอื รนุ่ พ่มี ีหนา้ ที่ตอ้ งสอน ไมม่ คี รู”

บทบาทของรุ่นพี่ในโรงเรยี นวชิราวธุ วิทยาลยั น้ันมมี ากมาย คุณปฏิภาณ ได้อธบิ ายเพิ่มเติมวา่
“เดก็ โรงเรยี นวชริ าวธุ ฯ ทกุ คนเลน่ รกั บใี้ ชไ่ หม แตพ่ วกเราตงั้ แตเ่ ดก็ จนโต เราไมเ่ คยสมั ผสั กบั โคช้ เลย
เราสัมผสั แตร่ ่นุ พ่ี พอต้องออกไปแข่งข้างนอก ถึงจะมโี คช้ เปน็ เรอื่ งเป็นราว แต่ผมเช่อื ว่าสาเหตหุ นงึ่ ทท่ี า� ให้
เรารกั กนั คอื ความทเี่ ราตรงไปตรงมา เปดิ ใจซงึ่ กนั และกนั ปญั หาทเ่ี กดิ ขน้ึ อยา่ งผมตอนเปน็ เดก็ ๆ รนุ่ พเ่ี ขา
สอนว่า ถา้ เจอกนั แล้วหงดุ หงิด ไม่ถกู ใจกัน ไมช่ อบหน้ากัน ก็ทา้ ชก ตอ่ ยกนั แบบลกู ผู้ชายเลย แต่ต่อยกัน
แลว้ ต้องหาย กอดกัน ลืมทกุ อย่าง ซ่งึ วิถเี ดก็ วชริ าวุธฯ เปน็ อย่างน้ี เราจะไมเ่ หมือนคนอ่ืนทีเ่ กบ็ ไวข้ ้างในใจ
ไม่พูด ถงึ เวลาแล้วแก้แค้นทีหลงั น่นั ไมใ่ ชว่ ถิ ีของวชริ าวุธฯ”

คณุ สคั คเดช ธนะรัชต ์ เลา่ เพ่ิมเติมด้วยว่า
“อย่างผมเคยเจอรุ่นพี่ท่ีซ่อมผมมาก่อน มีวันหน่ึงผมไปนั่งกินก๋วยเต๋ียวอยู่ ไม่ทันสังเกตว่ามีใคร
นัง่ อยกู่ ่อน กนิ เสร็จผมเรียกเก็บเงนิ เขาบอกคนขา้ งหลงั คณุ จา่ ยใหเ้ รยี บรอ้ ยแล้ว พอหนั ไปกเ็ จอรุ่นพ่ีท่ีเคย
ซ่อมผมหนัก หลงั จากน้ัน ผมเจอรนุ่ นอ้ ง ผมกท็ า� อย่างนต้ี อ่ ไป”

ขณะท ี่ ดร.ปกรณ ์ อาภาพนั ธ ์ กล่าวถึงความรสู้ กึ ในประเด็นรนุ่ พ่ีนว้ี า่
“ผมเคยถามตัวเองหลายครั้งว่า โรงเรียนวชิราวุธฯ มีวิธีท�าอย่างไร ถึงท�าให้พวกเรารักกัน อย่าง
พ่ีไชยวุฒ์ิกับพ่ีปฏิภาณ ผมไม่ทันรุ่นพ่ี ๆ เขา แต่ว่าพี่ชายน้อย (คุณสัคคเดช) เป็นหัวหน้าตอนผมอยู่
ม.๓ พี่อย ู่ ม.๖ เปน็ หวั หน้าใหญ่ หา่ งกนั ๓ ปี แตเ่ ปน็ ทนี่ ่าประหลาดใจมากวา่ ความรู้สกึ ที่ผมให้พวกพ ี่ ๆ
ทไ่ี มท่ นั กนั รกั กนั เปน็ ความรสู้ กึ ทโ่ี ปรง่ โลง่ ผมวา่ เปน็ เพราะมาจากความจรงิ ใจ บางทเี ราทา� อะไรจากใจไปเลย
เพราะพวกเราจรงิ ใจแลว้ โฉง่ ฉา่ งเลก็ นอ้ ย ความจรงิ ใจเกดิ จากตอนเรยี นทเ่ี ราอยใู่ นสภาพทไ่ี มต่ อ้ งไปตอ่ สมู้ าก

109

เราตน่ื มา ๖ โมง กไ็ ปเรยี นหนงั สอื มธี รรมชาตทิ ดี่ ี ตอนบา่ ยกไ็ ปเรยี นดนตร ี เลน่ ดนตร ี เลน่ กฬี า เราไมต่ อ้ ง
กดดนั เราไมต่ อ้ งสเู้ พอื่ อะไร ความกดดนั เหลา่ นนั้ ทา� ใหเ้ ราเจรญิ เตบิ โตเปน็ ตวั เราเอง วธิ คี ดิ วธิ กี ารทา� งาน พอมา
ตรงนเ้ี ราถกู ปลกู ฝงั เรอ่ื งความมวี นิ ยั ตง้ั แตเ่ ดก็ การรบั ประทานขา้ ว การตกั อาหาร การไมพ่ ดู กนั ในหอ้ งอาหาร
เปน็ มารยาทสงั คม มารยาทผดู้ หี มด เราซมึ ซบั มาไดโ้ ดยไมไ่ ดจ้ ากการอา่ นหนงั สอื นะ สง่ิ เหลา่ นเี้ ปน็ การปลกู ฝงั
วนิ ยั ใหม้ มี ารยาทในสงั คม และการเลน่ กฬี าเปน็ การสอนทางออ้ ม ถงึ การร้จู ักกติกา การมีนา�้ ใจ ส่ิงเหลา่ นี้
ถา้ อา่ นหนงั สอื กไ็ มม่ ี เพราะการสอนดว้ ยการกระทา� ผมคดิ วา่ เปน็ สง่ิ ทโ่ี ชคดที เ่ี ราไดเ้ รยี นรตู้ รงน”้ี

คุณปฏิภาณได้กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า
“ในสงั คมของพวกเรา พวกท่ีแอบจดชอื่ ไปฟ้องครู พวกน้จี ะอย่ไู ม่ได ้ เพราะวา่ โรงเรยี นสอนใหเ้ รา
อยดู่ ว้ ยกนั ดว้ ยตวั เอง ถ้าคุณเอาตวั รอด จดชื่อเพือ่ นพดู ในหอ้ งประชุมไปฟอ้ งครูต่าง ๆ เหลา่ น ี้ คณุ จะโดน
สังคมบีบให้อยู่ไม่ได้ คุณอยู่คนเดียว ไม่มีพ่อแม่ แล้วคุณจะอยู่อย่างไร คุณต้องปรับตัวกันให้อยู่ให้ได้
ในสงั คม คุณไปแทงเขาลบั หลังไม่ได ้
แล้วความจริงใจของพวกเราท่ีเป็นรุ่นพ่ีรุ่นน้องที่มีต่อกัน อย่างพ่ีจุลสิงห์ห่างจากพวกเราหลายปี
แตเ่ วลาทท่ี า่ นเรยี กใหม้ าชว่ ยงานอะไร ทกุ คนกย็ นิ ด ี และเตม็ ใจกนั เพราะเราสมั ผสั ไดถ้ งึ ความจรงิ ใจของทา่ น”

วนั เวลาอนั แสนสนกุ อบอนุ่ ในวยั เยาวข์ องคณุ จลุ สงิ หก์ บั เพอื่ น ๆ ลว่ งผา่ นไป จนกระทง่ั ทกุ คนเตบิ โต
เปน็ เดก็ หนมุ่ ชนั้ มธั ยมปลายทเ่ี ตรยี มจะสอบเขา้ ศกึ ษาตอ่ ในระดบั อดุ มศกึ ษา แตล่ ะคนตา่ งกม็ แี ผนในชวี ติ วา่ จะ
ไปสอบเขา้ เรยี นตอ่ ทางดา้ นใดตามความถนดั และสนใจ โดย คุณพรเพชร วชิ ิตชลชัย ประธานวุฒสิ ภา เพอ่ื น
รุน่ พีท่ ีส่ อบไดท้ นุ แลกเปล่ยี น เอเอฟเอส (American Field Service - AFS) ไปเรยี นตอ่ ต่างประเทศเปน็ เวลา
๑ ปี เม่ือกลับมาเมืองไทย จึงต้องมาเรียนรุ่นเดียวกับคุณจุลสิงห์ และกลายมาเป็นเพ่ือนสนิทกันในที่สุด
ซ่งึ ทา่ นได้เล่าถงึ ความสมั พนั ธ์กบั คุณจุลสิงหว์ ่า

“ผมเปน็ รนุ่ พจี่ ลุ สงิ ห ์ ๑ ป ี ผมเปน็ รนุ่ ๓๙ รนุ่ เดยี วกบั ทา่ นพลากร จลุ สงิ หร์ นุ่ ๔๐ เราเหน็ กนั ตง้ั แตเ่ ลก็
จนมาอยู่คณะจิตรลดา แต่ไม่ได้สนิทอะไรกันมาก ตอนผมเรียนมัธยมปลายปีสุดท้าย ซ่ึงตอนนั้นเปล่ียน
เป็นระบบ ม.ศ.๕ ไม่ใช่ ม.๘ เหมอื นแต่ก่อน (ม.ศ.๕ รนุ่ แรกนนั้ เริม่ ตน้ เม่อื พ.ศ. ๒๕๐๗) ผมสอบได้เปน็
นกั เรยี นทุนแลกเปล่ียน AFS ไปเรยี นต่างประเทศ ๑ ป ี กลับมาก็ตอ้ งอยชู่ น้ั เดียวกบั เขา และเรียนจบ ม.ศ.๕
พร้อมกัน ผมจึงกลายเปน็ รนุ่ ๔๐ ดว้ ย
ช่วงทเ่ี รียน ม.ศ.๕ ดว้ ยกนั ผมก็สนทิ สนมกบั จุลสงิ หม์ ากขน้ึ ไปมาหาสูท่ บี่ า้ นเขา ไดพ้ บทั้งคุณแม ่
และพ ี่ ๆ ของเขา เราได้คยุ กันในเรื่องตา่ ง ๆ อยา่ งถกู คอ โดยเฉพาะเรอ่ื งการวางแผนจะเรียนตอ่ ทางสาขา
วชิ าใดด ี กต็ กลงกันว่า เราจะเรียนดา้ นกฎหมายกนั เพราะวา่ เราดวู ิชาทเี่ ราเรยี นแล้ว คือ โรงเรียนวชริ าวธุ ฯ
จะมแี ตแ่ ผนกวทิ ยาศาสตร ์ แตผ่ ลการเรยี นของเราทงั้ ๒ คน ไมไ่ ดเ้ กง่ ทางวทิ ยาศาสตรพ์ อทจ่ี ะไปสกู้ บั คนอน่ื
ในเรอ่ื งจะไปเรยี นแพทยห์ รือวิศวะ ดงั นัน้ เราจึงต้องสอบเข้าเรยี นทางสงั คมศาสตร ์

110

พร้อมหน้าเพื่อน โอวี ในการประชุมคราวหน่ึง

ทั้งจุลสิงห์กับผมก็สนใจและชอบทางการเมืองและสังคมอยู่แล้ว เราก็ดูว่าถ้าเป็นคณะวิชาทาง
ศิลปศาสตรค์ วรเรยี นอะไร แต่เราจะไปเรยี นอกั ษรศาสตร์หรือเรียนเปน็ ครูกค็ งไมใ่ ช่ จึงเหลือแตร่ ัฐศาสตร์
กบั นติ ศิ าสตร ์ เราคดิ กนั วา่ นติ ศิ าสตรน์ า่ จะกวา้ งกวา่ รฐั ศาสตร ์ ประกอบกบั เราคดิ วา่ นติ ศิ าสตรน์ น้ั จะทา� ใหเ้ รา
มีโอกาสไปท�างานท่ีเป็นการรับใช้ประเทศชาติได้ คือชีวิตของเด็กวชิราวุธฯ หรือชีวิตของเด็กนักเรียน
ในช่วงน้ัน ส่วนใหญ่ตั้งใจว่า เมื่อเรียนจบแล้วจะท�างานรับใช้ประเทศชาติเป็นหลัก ไม่ได้คิดถึงเรื่องอื่น
เราคดิ วา่ เราเรียนกฎหมายแลว้ เราจะท�างานเพ่ือประเทศชาติไดด้ ีกวา่ จงึ ตดั สินใจเลอื กสอบวิชาน้ดี ว้ ยกัน”

ในทส่ี ดุ เดก็ หนมุ่ ทง้ั สองกผ็ า่ นระบบการสอบคดั เลอื กเขา้ สสู่ ถาบนั อดุ มศกึ ษา ในสาขาวชิ าทต่ี ง้ั ใจได้
ส�าเรจ็ ตามความปรารถนา...

111

บทที่ ๔

นิสติ จฬุ าฯ

คุณจุลสิงห์และคุณพรเพชร ผ่านการสอบเอ็นทรานซ์เข้าเป็นนิสิตในแผนกวิชานิติศาสตร ์
คณะรฐั ศาสตร ์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ได ้ ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ ชวี ติ ในรว้ั จามจรุ สี ชี มพขู องทง้ั สอง จงึ ไดเ้ รมิ่ ตน้ ขน้ึ
เวลานั้น นิติศาสตร์ยังเป็นเพียงแผนกวิชาหนึ่งของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซ่ึงเป็นไป
ตามพระราชกฤษฎกี าจดั แบง่ แผนกวชิ าในคณะตา่ ง ๆ แหง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั พ.ศ. ๒๔๙๔ ตอ่ มาใน
พ.ศ. ๒๕๐๑ แผนกวิชานิติศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตร และเปิดรับนิสิตเข้าเรียนในแผนกวิชาโดยตรง
การเรยี นการสอนในขณะนน้ั จงึ แยกออกจากแผนกวชิ ารฐั ศาสตรท์ งั้ หมด แตก่ ย็ งั สงั กดั อยใู่ นคณะรฐั ศาสตร์
เช่นเดมิ มไิ ดแ้ ยกออกมาเปน็ คณะตา่ งหาก
การศึกษาวิชากฎหมายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นล�าดับ จนกระท่ัง
มหาวิทยาลัยในขณะนั้นได้เล็งเห็นความส�าคัญท่ีจะต้องเปิดภาคสมทบข้ึน เพ่ือสนองความต้องการของ
ผู้ท่ีจะเข้าศึกษา จึงไดเ้ ปดิ การสอนภาคสมทบ คือการเรยี นภาคค่�าข้ึนในปีการศกึ ษา ๒๕๐๘
ตอ่ มา ทางมหาวทิ ยาลยั ไดพ้ จิ ารณาเหน็ วา่ การศกึ ษาวชิ านติ ศิ าสตรไ์ ดเ้ จรญิ กา้ วหนา้ ขนึ้ และเรมิ่ เปดิ
ท�าการสอนจนถึงข้ันปริญญาโท ต้ังแต่ปีการศึกษา ๒๕๑๒ สมควรท่ีจะยกฐานะแผนกวิชานิติศาสตร์
ขึ้นเป็นคณะนิติศาสตร์ เพ่ือให้การบริหารด�าเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งข้ึน ประกอบกับเหตุผล
ส�าคัญคือ ในต่างประเทศถือว่าการศึกษาวิชานิติศาสตร์เป็นวิชาส�าคัญ ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง
จะต้องมีคณะนติ ศิ าสตรข์ น้ึ เปน็ คณะส�าคัญ

ถา่ ยภาพกับคุณแม่ เมื่อเปน็ นิสติ ใหม่ และเม่อื สาำ เร็จการศกึ ษาจากจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั

112

ในท่ีสุด ได้มีการด�าเนินการจัดต้ังคณะนิติศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันท่ี ๑๕
มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับท ่ี ๑๖๔ เท่ากบั วา่ คณะนิตศิ าสตร์ ไดร้ ับการจดั ตงั้
ขึ้นเป็นคณะอย่างสมบูรณ์ เร่ิมตั้งแต่วันท่ี ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ซ่ึงเป็นวันถัดจากวันลงประกาศ
ดังกล่าว ในราชกจิ จานเุ บกษา เปน็ ต้นไป
ดังน้ัน หากจะนับรุ่นกันแล้ว คุณพรเพชรกับคุณจุลสิงห์เป็นนิสิตรัฐศาสตร์ รุ่น ๒๑ นิติศาสตร์
รุ่น ๑๑ โดยนับจาก พ.ศ.๒๕๐๑ ที่แผนกวิชานิติศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตรและแยกออกจากแผนกวิชา
รัฐศาสตร์ทง้ั หมด เปน็ รุ่นท่ี ๑

คณุ พรเพชรไดเ้ ล่ายอ้ นถึงความสนทิ สนมกับคณุ จุลสิงหใ์ นรั้วจฬุ าฯ ว่า
“เพอ่ื น ๆ ในรนุ่ ของเราตา่ งแยกยา้ ยกนั ไปเรยี นตามมหาวทิ ยาลยั ตา่ ง ๆ รวมทงั้ ทจี่ ฬุ าฯ แตต่ า่ งคณะ
มเี ราเพยี ง ๒ คน จากโรงเรียนวชิราวุธฯ ทีเ่ ขา้ ไปเรียนในคณะรฐั ศาสตร์ แผนกวชิ ากฎหมายหรอื นิติศาสตร ์
ความสนิทสนมจึงมีมากขึ้นตั้งแต่ตอนน้ัน จุลสิงห์มีลักษณะพิเศษท่ีส�าคัญประการหนึ่งคือ เขาเป็นคนท่ีม ี
ไมตรีจิต มีความรักใคร่เพ่ือนฝูง เขาได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อน ๆ บ่อย เม่ือเราไปอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์
ซึ่งเรียนกฎหมายตอนนั้น ก็ช่วยเหลือกัน แล้วไปรับประทานข้าวกลางวันกับเพื่อน ๆ กลุ่มใหม่ที่ได้เริ่ม
คบหากัน”

เม่ือคุณจุลสิงห์เข้าศึกษาต่อที่คณะรัฐศาสตร ์
แผนกวชิ านติ ศิ าสตร์ จุฬาลงกรณฯ์ แลว้ เขาไดเ้ ขา้
รว่ มกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เชน่ กิจกรรม
การรบั นอ้ งใหม ่ คณุ กณุ ฑลกบั คณุ จนั ทรวรรณ พสี่ าวท่ี
เรยี นอยตู่ า่ งคณะ ไดพ้ าเพอ่ื น ๆ มารว่ มรบั นอ้ งใหมด่ ว้ ย
และอีกกิจกรรมหน่ึงที่คุณจุลสิงห์ได้ใช้ทักษะความ
สามารถทมี่ อี ยเู่ ขา้ รว่ มดว้ ย นนั่ คอื กฬี านอ้ งใหม่ ซง่ึ ได้
ลงแข่งประเภทกรีฑาหลายประเภท จนได้รับเหรียญ
รางวัลมามากมาย รวมท้ังได้เป็นนักกีฬารักบ้ีของ
มหาวทิ ยาลยั ในเวลาต่อมา

คณุ ตนั ติ ปรพิ นธพ์ จนพสิ ทุ ธ์ิ เจา้ ของธรุ กจิ สว่ นตวั มอบโล่ นสิ ติ เกา่ ดีเด่น คณะนิตศิ าสตร์
เป็นเพ่ือนสนิทอีกคนหน่ึงของคุณจุลสิงห์ ท้ังเรียน ใหค้ ณุ พรเพชร วิชติ ชลชัย
และเลน่ กฬี ามาดว้ ยกนั ตง้ั แตว่ ยั เดก็ ทโ่ี รงเรยี นวชริ าวธุ
วทิ ยาลยั และสอบเขา้ มาเรยี นในมหาวทิ ยาลยั เดยี วกนั 113
แตต่ ่างคณะ เล่าวา่

“จุลสิงห์กับผมเข้ามาเรียน ป.๓ รุ่นเดียวกัน

อยคู่ ณะเดก็ เลก็ ดว้ ยกนั เขามแี วววงิ่ เรว็ มาตงั้ แตเ่ ดก็ แลว้

ผมยอมรบั วา่ เขาวง่ิ เรว็ กวา่ ผม พอโตเขา้ คณะในกแ็ ยก

กันคนละคณะ เจอกันตอนแข่งกีฬา โดยเฉพาะรักบ ้ี

ผมเปน็ คนชอบเลน่ แรง ๆ จลุ สงิ หเ์ ขาจะนง่ิ ๆ เราเลน่

มาตง้ั แตร่ นุ่ เลก็ รนุ่ กลาง รนุ่ ใหญ ่ เหมอื นเปน็ คแู่ ขง่ กนั มา

คือผมสนใจเรื่องเล่นมากกว่าเรื่องเรียน เวลาสอบ

เขากับผมก็จะผลัดกันชนะผลัดกันแพ้ เราสอบกันได้

คะแนนสกั ๖๐ เปอรเ์ ซน็ ตม์ ง้ั พอจบมธั ยมปลายกส็ อบ

ตาม ๆ กันเข้ามา ไม่ได้สนใจว่าจะเรียนคณะอะไร

คดิ แตว่ า่ จะเขา้ มาเลน่ รกั บ ้ี เพอื่ นไปสอบเขา้ คณะวศิ วะ

ผมก็ไม่เอา มาเลือกสอบเข้าแผนกวิชาเศรษฐศาสตร ์

ซ่ึงตอนน้ันอยู่ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญช ี

จฬุ าลงกรณ์ฯ เพ่งิ มายกฐานะเปน็ คณะเศรษฐศาสตร์

เม่อื พ.ศ. ๒๕๑๓

ตอนรนุ่ ผมป ี ๑ มนี สิ ติ ผหู้ ญงิ สอบเขา้ มาไดเ้ ปน็

จา� นวนมาก เพราะเปน็ ปแี รกทม่ี กี ารเปลย่ี นวธิ กี ารสอบ

ให้ใช้ภาษาสอบเข้ามาได้ ท�าให้รุ่นผมทั้งหมด ๒๐๐

กว่าคน มีผู้ชายแค่ ๓๐ - ๔๐ คน โดยไม่นับพวก

ภาคสมทบนอกเวลา นอกน้นั เป็นผู้หญิง ผู้ชายทุกคน นักกฬี าแห่งร้วั สิงห์ดำา
เลน่ กฬี าเปน็ หรอื ไมเ่ ปน็ โดนบงั คบั ลงมาเลน่ หมด ผมก็

ลงเลน่ เจอจลุ สงิ หท์ ล่ี งแขง่ ดว้ ย กฬี าประเภทกรฑี าตา่ ง ๆ

ว่ิงกี่ร้อยเมตร เขาลงวิ่งแข่งหมด แล้วชนะได้เหรียญมาเยอะด้วย เวลาเรียนเราเคยเจอกันวิชาหนึ่งตอน

ป ี ๓ แตเ่ รากส็ นทิ กนั เพราะเราเจอกนั ในกฬี ารกั บมี้ าตลอด เปน็ นกั กฬี ารกั บข้ี องมหาวทิ ยาลยั ดว้ ยกนั จนถงึ ชว่ ง

ทา� งาน กห็ า่ งกนั ไปพกั หนง่ึ ตามหนา้ ทก่ี ารงาน แตต่ อนสรา้ งบา้ นมคี รอบครวั เรากใ็ หเ้ พอ่ื นคอื เอกชยั ไหลมา

ที่จบสถาปัตย์ จุฬาฯ เป็นคนออกแบบ พอตงั้ หลักปกั ฐานกนั เสรจ็ ก็กลับมาเจอกัน”

คณุ อนชุ า โมกขะเวส ท่ปี รกึ ษารัฐมนตรีวา่ การกระทรวงมหาดไทย ผู้มชี ่ือเลน่ ว่า เสือ เป็นเพือ่ นใหม่
ทก่ี ลายมาเป็นเพือ่ นสนิทของคณุ จลุ สงิ หใ์ นเวลาต่อมา เลา่ ถึงจดุ เร่ิมตน้ ท่รี จู้ กั กนั ว่า

“ผมมาเจอจลุ สงิ หค์ รง้ั แรกทรี่ ฐั ศาสตร ์ จฬุ าฯ จา� ไดว้ า่ วนั รบั นอ้ งใหม ่ ผมถกู รนุ่ พผี่ กู จกุ ตดิ กบั จลุ สงิ ห์
ด้วยโบจามจุร ี แลว้ เขาก็ไปลงในหนังสอื รุ่นว่า ‘ลงิ จับมอื เสือ เสอื จบั มือลิง’ เพราะเรา ๒ คน มชี ื่อเล่นแปลก

114

วนั รบั นอ้ งใหม่ จุฬาฯ พ.ศ. ๒๕๑๑

๕๐ ปผี า่ นไป

กวา่ คนอน่ื ผมไมเ่ คยเลน่ กฬี ารกั บมี้ ากอ่ น ตอนนน้ั ทา่ นพลากรเรยี นอยรู่ ฐั ศาสตรป์ ี ๒ และเปน็ ประธานกฬี ารกั บ ี้
จบั ผมลงมาเลน่ ผมกเ็ รมิ่ เลน่ รกั บเ้ี ปน็ ทนี่ ่ี แตม่ กั เปน็ ตวั สา� รองของคณุ ตนั ต ิ ตกเยน็ กเ็ ขา้ หอ้ งเชยี ร ์ มรี นุ่ พว่ี า้ ก
จุลสิงหก์ ับผมก็จะยดื กนั มาก เพราะใสเ่ สื้อเลน่ รักบี้เข้าไป เราไมค่ อ่ ยชอบหอ้ งเชียรอ์ ย่แู ล้วท่คี นร่นุ เดียวกนั
มาตะโกนใส่ พวกพ่วี ้ากเห็นก็อนญุ าตใหเ้ ราไปซอ้ มรกั บ้ีได้ ตอนนั้นคณะรัฐศาสตร์ต้ังอย่นู อกเมอื ง ต้องมดุ
รวั้ สงั กะสอี อกมาซอ้ มทส่ี นามแถวคณะสถาปตั ย ์ ตอนหลงั เรากข็ บั รถไปจอดใกลร้ วั้ คณะสถาปตั ย ์ แลว้ เปลยี่ น
เสอ้ื กันตรงนั้น
มีเร่อื งขา� ๆ ของจลุ สงิ ห์ คือ เขาใส่สปอร์ตเตอร์ เปน็ กางเกงหุม้ กระจับ เลน่ รกั บต้ี อ้ งใส ่ แตเ่ ขาใส่
แลว้ ไมค่ อ่ ยซัก เพราะบางวันฝนตกกเ็ ลยทิง้ ไว้ในรถใสซ่ �้านานเปน็ เดอื นเลย (หัวเราะ) ตอนทีเ่ รยี น มีเพอ่ื น
สนิทอีกคน คอื พรเพชร ชอ่ื เลน่ ว่า โกรง่ ท่เี ป็นเพ่ือนจุลสิงห ์ เวลาไปไหนเราก็ไปดว้ ยกัน ๓ คน เพ่อื น ๆ
พี่ ๆ เลยเรยี ก ‘เสือ ลิง โกร่ง’ แล้วเรามเี พ่อื นสาวในรนุ่ ทีส่ นิทไปด้วยอีก ๓ คน คือ แดง (ภัทรา วีรเธยี ร)
หนูแดง (พิมลพรรณ ยง่ั ยืน) อว้ น (เฉลยลาภ เนตตะสตู ) เป็น ๓ คู่ ที่เพ่ือนในรนุ่ รู้กนั สุดทา้ ยแดงแตง่ กับ
จลุ สงิ ห์ หนูแดงเคยแต่งกับโกร่ง ยกเวน้ ผม เราก็ผูกพนั กันมาตลอด”

115

เรอ่ื งการเลน่ รักบ ้ี คณุ พรเพชร วชิ ิตชลชัย เล่าเสริมวา่
“จุลสิงห์มีความสามารถพิเศษในเร่ืองการว่ิงเร็ว ดังน้ัน เขาสามารถเล่นกีฬาได้ทั้งเร่ืองการว่ิง
ขณะเดียวกัน เขาก็เล่นกีฬารักบี้ ซ่ึงเป็นกีฬาหลักของโรงเรียนวชิราวุธฯ นักเรียนวชิราวุธฯทุกคนก็เรียนเล่น
รักบี้ ในการเล่นรักบ้ีต�าแหน่งของเขาคือ ต�าแหน่งท่ีเรียกว่ากองหลัง ซึ่งเป็นต�าแหน่งที่กองหน้าจะพยายาม
ครอบครองให้ได้ลูกเพื่อส่งไปท่ีกองหลัง แล้วกองหลังก็จะว่ิงน�าลูกน้ันไปวางทรัย คือเข้าไปเขตประตูของ
อกี ฝา่ ยหนงึ่ จลุ สงิ หม์ คี วามสามารถตรงนโ้ี ดดเดน่ มากในเรอื่ งของความเรว็ เมอ่ื รบั ลกู รกั บมี้ าแลว้ ตอ้ งพาลกู
ไปให้ถึงจุดหมายเพื่อวางทรัยให้ได้เพ่ือคะแนน ดังน้ัน ความเร็วของเขาท�าให้อีกฝ่ายหน่ึงจับตัวเขา ซึ่งเรียก
ว่าแท็กเกิลไม่ทัน ท�าให้กีฬารักบ้ีน้องใหม่ คณะรัฐศาสตร์ของเราได้รางวัลชนะเลิศในปีน้ัน เพราะว่า
ทีมเราเก่ง”

ส่วนในเรื่องการเรียนน้ัน เพื่อน ๆ ที่เรียนแผนกวิชานิติศาสตร์หลายคน ได้ช่วยกันเล่าถึงภาพชีวิต
นสิ ติ จฬุ าฯ ของคณุ จลุ สงิ หใ์ นชว่ งเวลานนั้ เรม่ิ จาก คณุ นนั ทศกั ด์ิ พลู สขุ อยั การอาวโุ ส และอดตี อธบิ ดอี ยั การ
สา� นกั งานคดีพเิ ศษเลา่ วา่

“รนุ่ ผมทเี่ ข้ามาตอนนั้นมี ๕๐ คน ไมน่ ับภาคสมทบท่ีมาเรยี นตอนเยน็ อกี ๕๐ คน ตอนสอบเข้า
มานัน้ มีการประกาศคะแนนทสี่ อบได้ด้วย พรเพชรสอบเข้ามาได้เป็นท ี่ ๑ แต่จลุ สงิ หส์ อบไดค้ นท ี่ ๔๙ ซ่งึ
เขาพดู เสมอว่า เขาสอบไดเ้ กือบเป็นคนสุดทา้ ย แลว้ วชิ าภาษาองั กฤษแบ่งตามคะแนนท่ีสอบเข้ามาไดเ้ ปน็
๒ กลุม่ กลุ่มแรกเป็นพวกท่ีได้คะแนนดี กลมุ่ สองเปน็ พวกคะแนนน้อยหนอ่ ย จุลสิงห์อยกู่ ลมุ่ ท ่ี ๒ แมภ้ าษา
อังกฤษของเขาไม่ด ี แต่เขามคี วามพยายามฝึกฝนมาก เขาสนใจวชิ ากฎหมายมากทุกวชิ า ทั้งกฎหมายแพ่ง
และกฎหมายอาญา เขาช่างซักช่างถาม แล้วมีประเด็นค�าถามในหัว เขาจะถามในเร่ืองท่ีอาจารย์สอนไป
ไมถ่ งึ ในเรอ่ื งนน้ั ๆ โดยเฉพาะอาจารยท์ เี่ ปน็ ผพู้ พิ ากษาเบอร ์ ๑ ทมี่ าจากศาล เชน่ อาจารยส์ มภพ โหตระกติ ย ์
อาจารย์ประภาศน์ อวยชัย อาจารย์คนึง ฦาไชย ฯลฯ มาสอนที่น่ีหมด เขาเป็นคนถามมากท่ีสุด คู่กับ
จรัญ ภกั ดธี นากลุ และพรเพชรดว้ ย อาจารย์ก็จะอธบิ ายจนพวกเราเขา้ ใจกันทงั้ หมด
ผมขอเล่าถึงพรเพชรนิดหนึ่ง เพราะคุณพ่อเขา (สุรเจตน์ วิชิตชลชัย) เป็นอธิบดีศาลท่ีจบจาก
ต่างประเทศ ดังน้ัน พรเพชรจึงมีหนังสือประมวลแพ่ง ประมวลอาญา วิแพ่ง วิอาญา ทั้งภาษาไทยและ
ภาษาองั กฤษ และมยี อ่ พพิ ากษาศาลฎกี าพรอ้ มคา� อธบิ าย ซง่ึ คณุ พอ่ เขานา� มาจากนกั เรยี นทนุ กระทรวงยตุ ธิ รรม
ใหด้ ู แตพ่ รเพชรไมอ่ า่ นหรอก จรญั กบั จลุ สงิ หเ์ อามานงั่ อา่ นประกอบกบั ตวั บททอี่ าจารยอ์ ธบิ าย ถา้ ไมเ่ ขา้ ใจ
เขาก็จะน่งั ถกกนั ผมได้ความรูเ้ พราะเพอื่ นกลุ่มน้ ี แลว้ จา� ไดว้ ่าครั้งหนึ่งตอนป ี ๓ อาจารยป์ ระภาศน์ อวยชยั
สอนวิชาตั๋วเงิน ปรากฏ ๒ คนน้ัน คุยกันในเร่ืองท่ีเรียน โดยอาจารย์ก�าลังเขียนบนกระดาน ท่านก็หัน
มามองคล้ายจะด ุ แต่พอรูว้ ่าเขาท้ังสองมปี ญั หาในวิชาท่เี รียน ท่านกไ็ ม่ไดด้ วุ า่ อะไร...”

116

คุณจงกลนี เล่ือนศักด์ิ เจ้าของธุรกิจส่วนตัว เป็นเพื่อนร่วมรุ่นท่ีได้น่ังเรียนใกล้กับคุณจุลสิงห์
มาตลอด ไดเ้ ล่าถงึ บรรยากาศการเรยี นในตอนนัน้ รวมทง้ั ความมนี า�้ ใจของคณุ จุลสิงหเ์ มือ่ คร้งั ยังเป็นนสิ ิต
ด้วยกนั วา่
“ในชว่ งเรยี น ๔ ป ี ดฉิ นั เปน็ บดั ดกี้ บั จลุ สงิ ห ์ สาเหตทุ เี่ ปน็ บดั ด ้ี เพราะวา่ เวลานง่ั เรยี น ทางคณะจดั ให ้
นงั่ เรยี นเรยี งกนั ตามชอ่ื อกั ษร ก.ไก ่ ข.ไข ่ ค.ควาย จ.จาน... ดฉิ นั ชอื่ จงกลน ี ดงั นนั้ จงึ ถกู จดั ใหน้ ง่ั อยรู่ ะหวา่ ง
จรัญกบั จุลสงิ ห์ เทา่ กับวา่ ดิฉันถกู ขนาบด้วยคนเกง่ ๒ คน ทีน้พี อถูกไล่ชอื่ ใหม้ าทา� case study กฎหมาย
จงกลนกี ็ตดิ กบั จลุ สิงห์ เธอกบั ดิฉันจงึ เปน็ บัดดก้ี ันทกุ เคส
ขอบอกว่า ดฉิ ันรักจุลสิงห์มาก เพราะว่าเธอจะเปน็ คนวางแผนเก่งมาก ดฉิ ันจึงเป็นคนดา� เนินการ
เหมอื นตวั เองเปน็ เลขานกุ าร ไมว่ า่ เธอจะทา� คดเี รอ่ื งอะไรทอี่ าจารยใ์ ห ้ สว่ นใหญจ่ ะเปน็ คดอี าญาของอาจารย์
จิตติ ตงิ ศภทั ิย ์ เราจึงมักจะท�าคดอี าญาดว้ ยกัน พอท�าคดอี าญาปุบ๊ จุลสงิ หก์ บ็ อกดฉิ ันให้วางแผนอย่างน ้ี ๆ
คดขี ม่ ขนื จะตอ้ งเปน็ อยา่ งน ี้ ตอ้ งเรม่ิ ตน้ จากตรงนนั้ แลว้ มาตรงน ้ี ๆ เธอไปเขยี นมา ดฉิ นั เขยี นเสรจ็ เธอกอ็ า่ น
พออ่านเสร็จก็บอกวา่ ตรงนี้ไม่ได้ ตอ้ งแกไ้ ข ต้องเอามาตราน้ีเข้ามา เอามาตราน้อี อก เพราะไมจ่ า� เป็น นี่คอื
สง่ิ ทด่ี ิฉันสัมผัสกบั เขามาโดยตลอด ๔ ปเี ต็ม เพราะฉะนัน้ ในชว่ ง ๔ ปีน้นั ขอสรปุ ถงึ จุลสงิ หท์ ่ดี ฉิ นั รูจ้ ักวา่
๑. เธอเป็นสุภาพบุรุษ ๒. เธอรักเพอื่ นฝงู มาก ๓. เธอไม่เคยวา่ ต�าหนติ เิ ตียนใครเลย ๔. ถา้ เรามปี ัญหาใด ๆ
เขาแกไ้ ดห้ มด หมายความวา่ ถ้าเรามปี ญั หา เขาจะคอยช่วยแนะนา� วิธใี ห้เราแก้ไข เขามนี า้� ใจมาก
เราเรยี นหลักสูตรปริญญาตรีท้ังหมด ๔ ปี ตอนอยู่ป ี ๓ ดิฉนั เกอื บจะสอบตกกลางปีอยวู่ ชิ าหน่ึง คอื
ว.ิ อาญา เพราะอาจารยต์ ัดที่ ๖๐ คะแนน ซง่ึ สงู มาก ถา้ ปลายปไี ม่ได ้ ๒๕ คะแนน ดิฉันต้องไปลงเรียนซา้�
แตจ่ ลุ สิงห์กับจรญั จดั ตวิ ใหเ้ ลย ติวจนกระทั่งวันสุดท้ายก่อนจะเขา้ ห้องสอบ พวกเธอยังเกง็ ข้อสอบให้ดว้ ย
บอกว่าให้ดูเจาะจงตรงน้ี รับรองออกแน่ แต่ให้ดิฉันฝึกเขียนแล้วน�ากลับมาให้ดู ท้ัง ๒ คน ดูแล้วบอกว่า
อยา่ งนผ้ี า่ นแน ่ ไมต่ อ้ งกลวั พอถงึ วนั สอบ ดฉิ นั กลวั จนนง่ั รอ้ งไห ้ พวกเธอกป็ ลอบใจวา่ ไมต่ อ้ งกลวั ผา่ นแน ่ ๆ
แล้วดิฉนั ก็สอบผา่ นจริง ๆ นค่ี อื บญุ คณุ ของเพ่อื นทงั้ ๒ คนน ้ี ไม่เคยท้ิงเพื่อน จุลสิงห์ไมเ่ คยคดิ ว่าตัวเองเก่ง
แลว้ จะทง้ิ ไปกอ่ น เธอจะคอยดแู ลเพอ่ื นดว้ ยนา้� ใจ ไมเ่ คยทง้ิ คอยถามวา่ เปน็ อยา่ งไร สอบผา่ นไดไ้ หม ไมเ่ ขา้ ใจ
ตรงไหน แลว้ จะชว่ ยตวิ สองคนนเี้ ปน็ คนทโี่ อบอมุ้ ดฉิ นั มาจนจบป ี ๔ ได ้ นค่ี อื ความลบั ทอ่ี ยใู่ นใจมานาน ๔๕ ปี
หลงั จากเรยี นจบกแ็ ยกยา้ ยกนั ไป ดฉิ นั รบั ราชการอยชู่ ว่ งหนงึ่ และออกไปอยตู่ า่ งจงั หวดั พอมคี รอบครวั
กล็ าออกไปทา� ธรุ กจิ ไมไ่ ดพ้ บกบั เพอ่ื น ๆ อกี จนลกู ๆ โตหมด ถงึ มเี วลากลบั มาตดิ ตอ่ ไดเ้ จอเพอื่ น ๆ อกี ครง้ั ”

ขณะที่ ศาสตราจารย์พิเศษจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่น
ท่ีมคี วามสนทิ สนมในเรอื่ งการเรียนในแผนกวิชานติ ศิ าสตร์ จุฬาลงกรณว์ ิทยาลัย เป็นอยา่ งมาก ได้เลา่ ถึง
ความสมั พนั ธ์กบั เพ่อื นรักวา่

117

“เราพบกนั ต้งั แต่วันแรกของการรายงานตวั เมอื่ พ.ศ. ๒๕๑๑ เนอ่ื งจากช่ือขน้ึ ตน้ ดว้ ยอกั ษร จ.จาน
เราก็อยตู่ ดิ กนั โดยตลอด แล้วข้าง ๆ เรากม็ ีจงกลนี กับธีราภรณ ์ (บุณยอาคม) ตัณฑพานชิ ซ่งึ เป็นอักษร
ธ.ธง ไมน่ า่ จะมาได ้ แตจ่ งั หวะเรยี งกนั อยา่ งไรกไ็ มท่ ราบ กลายเปน็ เรา ๔ คน ทนี่ งั่ ใกลก้ นั ผมมาจากโรงเรยี น
ชายลว้ น ไมค่ ่อยค้นุ กบั ผ้หู ญงิ จงึ คุยกบั จุลสิงห์มากกวา่ เรานั่งเรยี นด้วยกันมาตลอดต้ังแต่ป ี ๑ ถงึ ป ี ๔ เปน็
เวลา ๔ ปเี ต็ม เฉพาะทอ่ี ยู่ในห้องเรียนด้วยกันกย็ าวนาน และถือวา่ สนิทกันมากท่สี ดุ ในทางวิชาการ การไป
รว่ มกจิ กรรมนอกหลกั สตู รยงั ไมม่ ากเทา่ กบั ตอนเรยี น ระหวา่ งเรยี นกถ็ ามกนั บา้ ง เสนอแนะความเหน็ กนั บา้ ง
แล้วปรากฏว่าผลการเรียนการสอบของเราไล่กันมาตลอด ผมถนัดกฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย ์
แต่จุลสิงห์มีทักษะทางวิชากฎหมายอาญา กฎหมายและวิธีพิจาณาคดีอาญามาตั้งแต่สมัยเรียน ในวิชา
กฎหมายอาญา เขาไดค้ ะแนนมากกวา่ ผม เขาเปน็ Top ในช้นั ผมกไ็ ล่หลังเขาในวชิ าอาญาฯ

คะแนนของเราก็อาจมีเพอื่ นบางกลุ่มแทรกเขา้ มา แตจ่ ุลสิงหก์ ับผมก็เดนิ ในเส้นทางวิชาการ สนใจ
ในการเรยี นแทบจะไมเ่ คยขาดเลคเชอร ์ ผมไดเ้ ปรยี บเขานดิ หนงึ่ ตรงทเ่ี ขาเปน็ นกั กฬี ารกั บขี้ องมหาวทิ ยาลยั
ตอ้ งจัดเวลาไปซอ้ ม พอตกเย็นเขาตอ้ งไปซ้อมรกั บ้ี แทนที่จะมีเวลานั่งอา่ นหนังสอื แบบผม ถึงเวลาแขง่ ขนั
เขาก็ไปเข้าแข่งขัน เขาเป็นดาราเด่นทางด้านกีฬา นั่นคือลักษณะของจุลสิงห์ ส่ิงท่ีผมได้รับรู้จากการได้
ใกลช้ ดิ กบั เขา เรยี กวา่ เปน็ เพอื่ นสนทิ กบั เขาคนหนงึ่ คอื ความเปน็ คนมนี า�้ ใจนกั กฬี า เปดิ เผย ตรงไปตรงมา
คิดอย่างไรพูดอยา่ งนั้น มีนา้� ใจไมตรกี บั เพ่อื น โดยเฉพาะเพอ่ื นทด่ี อ้ ยกวา่

ตอนปี ๑ ปี ๒ เขากับผมยังไม่ค่อยมีกิจกรรมร่วมกัน จนกระทั่งปีที่ ๓ เราสนิทกันมากข้ึน เขาก็
จะชวนผมไปนั่งรถของเขา ตอนน้ันเขาขับรถโอเปิลสไี ขไ่ ก่ เปน็ รถของที่บา้ นเขา เป็นรถเกา่ หน่อย เวลาเขา
ขับมา ก็ไม่ค่อยเอามาให้เพ่ือนในคณะเห็น เขามักจะไปจอดไกล ๆ กว่าผมจะรู้ว่าเขาขับรถมาเรียนก็ป ี
๒ แล้ว เวลาเขาชวนผมไป ก็ตอ้ งเดนิ ไปที่รถ เขาจอดแอบ ๆ ไว ้ ไปหาที่สงบ ๆ ดหู นังสือ ทบทวนกันเวลา
ใกลส้ อบ สว่ นใหญไ่ ปทสี่ วนทมี่ ตี น้ จามจรุ เี ยอะมาก อยดู่ า้ นหนา้ หรอื หลงั หอประชมุ ใหญ ่ สมยั นน้ั ไมค่ อ่ ยมคี น
เถียงกนั ได้ถนัด

สังสรรค์กบั เพื่อนรฐั ศาสตร์ จุฬาฯ รุ่น ๒๑

118

กิจกรรมถกกันในวิชาเรียน ผมไม่เคยมีกิจกรรมแบบนี้กับเพ่ือนคนอื่น อย่างมากก็ติวกันเป็น
กลุม่ แล้วเวลาเราถกกนั ๒ คนน้นั ไม่ใชต่ ิวกันนะครับ เชน่ วิชาทจ่ี ะสอบในสัปดาหห์ น้า วิชาน ี้ ๆ ผม
เตรยี มอะไรไป มเี นอื้ หาอะไร ผมก็จะเลา่ เขาก็จะบอกว่าเขาเตรยี มมาแบบไหนและมีความคิดเหน็ อยา่ งไร
สว่ นใหญก่ ต็ รงกนั เพราะมาจากครเู ดยี วกนั ตา� ราเดยี วกนั แตแ่ งม่ มุ อาจไมเ่ หมอื นกนั เรากร็ บั รซู้ งึ่ กนั และกนั
สิ่งหน่ึงทผี่ มคดิ ว่า เขาต้องรู้สกึ เหมือนผม คอื เพอ่ื นคนนี้ไมเ่ คยมอี ะไรปกปดิ เราเลย เขาร้อู ะไร เขากบ็ อก
อยา่ งนนั้ เชน่ เดยี วกบั ผม คอื ผมรอู้ ะไรกพ็ ดู หมด ผมจงึ เขา้ ใจวา่ เขาเปน็ คนทตี่ รงไปตรงมา แลว้ การทเี่ ขาชวน
ผมไปถกแถลงกัน ไม่ใชว่ ่าต้องการความรู้อะไรจากผม เขาต้องการบรรยากาศหรอื กจิ กรรมแบบนนั้ จริง ๆ
เขาจะไปมีกิจกรรมแบบนี้กับเพื่อนคนอ่ืนด้วยหรือไม่ ผมไม่ทราบ ส่วนผมเวลาไปท�ากิจกรรมทางวิชาการ
กับเพ่ือนคนอืน่ ๆ มักจะเปน็ กลุ่มใหญ่ ไมใ่ ช่เปน็ การส่วนตวั มักจะเปน็ เรอื่ งท่เี พื่อน ๆ บอกผมไปบรรยาย
สรปุ ให้ ซงึ่ ไม่สนกุ เหมอื นกับการไปแลกเปลยี่ นข้อมลู ดีเบตกัน
ผมจ�าได้ติดใจมาก ตอนอยู่ปี ๔ เราเช็คกันก่อนเข้าห้องสอบวิชาพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ผมมี
ความคิดเห็นอย่างหน่ึง จุลสิงห์ตั้งประเด็นขึ้นมาว่า มีประเด็นแบบนี้ ปัญหาน้ี ผมมีความเห็นว่าอย่างไร
ผมก็เปดิ กฎหมายดูอา่ นกฎหมายแล้วกต็ อบฉับพลัน ผมบอกว่านา่ จะเป็นอย่างน ้ี แตเ่ ขาบอกว่าเขาไม่เหน็
อย่างผม แล้วเขาก็บอกวา่ เขามีความคดิ เห็นอีกอยา่ งหนง่ึ พอเข้าไปสอบก็ออกมาเป็นขอ้ สอบจรงิ ๆ แลว้
ค�าตอบของเขานั้นถูก แต่ผมก็ไมผ่ ดิ เพราะผมกลบั ฉกุ ใจคิดวา่ แนวท่ีผมคดิ ไว้น้ันไมใ่ ช ่ ในขณะท่ีผมตอบ
ผมกค็ ดิ ไปตอบไปวา่ ไม่ใช่ ถา้ จะใหถ้ กู ต้องและเปน็ ธรรมกต็ ้องตอบอย่างแนวคดิ ของจลุ สิงห ์ พอสอบเสร็จ
ออกมา เขาถามผมวา่ เปน็ อยา่ งไร ตอบไปอยา่ งทผี่ มบอกเขาใชไ่ หม ผมบอกไมใ่ ช ่ ผมตอบตามความคดิ เขา
ถ้าเปน็ เพอ่ื นทเ่ี ขาไมไ่ วใ้ จ เขาคงจะตอ้ งระแวงวา่ ผมจะปกปดิ ใชไ่ หม คือ แกลง้ ปกปิด พอเข้าไปสอบจรงิ
แลว้ พลกิ กลบั ไปอกี อยา่ ง แตเ่ ขามน่ั ใจวา่ ผมไมไ่ ดป้ กปดิ เขาจรงิ ๆ ซงึ่ พอผมบอกไปตามนนั้ เขากไ็ มว่ า่ อะไร
แต่พูดวา่ ‘อั๊วบอกแลว้ วา่ ต้องเปน็ อย่างนี’้
ส่วนใหญ่หลังถกกันเสร็จ ผมเข้าใจว่าเขาชอบกินไอศกรีมมาก เขาจึงพาผมไปกินไอศกรีมท่ีร้าน
หลายรส ผมบอกอรอ่ ยด ี แต่ไม่ตดิ ใจมาก และรวู้ ่าเป็นของชอบทเ่ี ขากนิ แลว้ มีความสขุ ร้านน้ผี มไม่คอ่ ย
รจู้ ัก เพราะเรยี นเสร็จก็กลับบ้าน ชวี ติ ผมจ�ากัดมาก ถ้าผมไมไ่ ดม้ าเรยี นและพบกบั เขาท่ีจฬุ าฯ และไมม่ ชี ่ือ
ตัวอกั ษร จ.จาน เหมอื นกันจนไดน้ ั่งเรยี นใกล้กัน ผมคงไมม่ ีโอกาสได้เป็นเพ่อื นสนิทกบั เขา...”

ร้อยเอก ธีระ หลินรัตน์ อดีตผู้บริหารระดับกลางของ ปตท. เพ่ือนร่วมรุ่นอีกคนหนึ่ง และเป็น
นักกิจกรรมตัวยงในระหว่างที่ศึกษาอยู่ มีเร่ืองราวและประสบการณ์ท่ีเกี่ยวข้องกับคุณจุลสิงห์ในช่วงเรียน
ในแผนกวิชานติ ิศาสตรด์ ว้ ยกนั ดงั ทเ่ี ขาเล่าวา่

“ตอนทเี่ รยี นรว่ มกนั ในภาคปกต ิ แผนกนติ ศิ าสตร ์ คณะรฐั ศาสตร ์ จฬุ าฯ ๔ ปเี ตม็ ผมเปน็ นสิ ติ ประเภท
ทเี่ รยี กวา่ นกั กจิ กรรม ทา� ทกุ อยา่ งทเ่ี ปน็ กจิ กรรมของมหาวทิ ยาลยั ไมค่ อ่ ยไดเ้ ขา้ เรยี น ไมค่ อ่ ยไดเ้ ลคเชอรเ์ ทา่ ไร
อาศัยเพ่ือน ๆ ช่วยกันนั่งเก้าอี้ตามอักษรแทนบ้าง เช็คช่ือลงเวลาแทนบ้าง จดเลคเชอร์แทนบ้าง พอใกล้
สอบก็หาคนเรยี นเก่งติว ในรุ่นเรามีเพอื่ นประมาณ ๕ - ๖ คน ทเี่ ป็นทีมชาต ิ หมายถึง เป็นศัพท์ทใ่ี ช้เรียก

119

คนทต่ี ัง้ ใจเรยี นหนังสือเตม็ ท ี่ ใช้เวลาเรยี นมากกว่าท�ากิจกรรม (ปัจจบุ ันเดก็ ๆ ใชค้ า� วา่ เดก็ เรยี น) บางคน
เป็นนกั กฬี า กไ็ ปฝึกซ้อมกีฬาตามฤดกู าลแขง่ ขัน จลุ สิงหเ์ องกเ็ ปน็ คนเรยี นด ี และเปน็ นกั กฬี ารักบ ี้ ตัวแทน
มหาวิทยาลัยอยา่ งทที่ ราบกัน แต่วา่ ในเวลาเรยี นน้ัน เขาตั้งใจเรียนมาก มกี ารซกั ถามอาจารย์ในประเด็น
ท่ีไม่เข้าใจหรือสงสัย หรือบางประเด็นที่รู้สึกว่าอาจารย์อาจจะยังอธิบายได้ไม่ชัดเจน หรือประเด็นที่เขามี
ความเหน็ ไมต่ รงกบั อาจารย์
สิ่งเหล่านี้ทา� ให้เขาพอจะมองออกวา่ แนวขอ้ สอบจะออกมาอยา่ งไร แนวข้อสอบของอาจารย์แต่ละ
ท่านแต่ละหมวดกฎหมาย แต่ละมาตรานั้นอยู่ตรงไหน เขาเก็งข้อสอบได้เก่งมาก ผมคิดว่า ข้อสอบที่เขา
เก็งแล้วบอกเพ่ือน ๆ จะถูกประมาณ ๘๐ เปอร์เซน็ ตท์ ีเดยี ว ผมเองก็ได้อานสิ งสต์ รงนี้ดว้ ย เพราะผมมีเวลา
เรยี นนอ้ ย เลคเชอรก์ ็น้อย จึงตอ้ งอาศยั การเกง็ ขอ้ สอบจากจุลสิงห์ เขาไม่เคยหวงวิชา เช่นเดียวกนั กบั จรัญ
และพรเพชร เวลาถามอะไรกับทง้ั ๓ คน พวกเขาตอบใหห้ มด นี่คอื ความดอี ย่างหนึ่ง โดยเฉพาะจุลสิงหน์ ั้น
ใครถามอะไรก็อธบิ ายแบบหมดเปลือก เขาเรียนเกง่ ทงั้ ท่เี ขาทา� กจิ กรรมเยอะ เป็นนกั กฬี าด้วย เปน็ คนครบ
เคร่ืองจริง ๆ ขอ้ ดีอกี อยา่ งคือ เขาชอบไปค้นคว้าเพิ่มเติมนอกเหนอื จากที่อาจารย์สอน เขาจะไปค้นหาฎีกา
คา� พพิ ากษาเร่อื งนัน้ ๆ แล้วเอามาขยายความใหเ้ พอ่ื น ๆ ฟงั ทา� ให้เพื่อน ๆ ได้คะแนนสอบดขี ้นึ ด้วย เวลา
ใกลส้ อบผมกจ็ ะใกล้ชดิ กับจุลสิงหห์ นอ่ ย (หวั เราะ) พอเรียนจบแลว้ ผมไปเป็นทหารกอ่ น จนมาทา� ท ่ี ปตท.
ก็ได้เจอเขาบ้างในตอนหลงั ”

ขณะท่ีเพ่ือนนิสิตของคุณจุลสิงห์ที่ไม่ได้เรียนในภาคปกติร่วมกับเขา แต่เป็นภาคสมทบ ก็ยังรู้จัก
และคุ้นเคยกับเขาอย่างด ี เช่น คุณวศิน ธรี เวชญาณ อดีตเอกอัครราชทตู หลายประเทศ เลา่ วา่

“ผมเรียนรุ่นเดียวกันกับจุลสิงห์ แต่ผมเรียนภาคสมทบ คือภาคเย็น เพราะกลางวันผมท�างานท ่ี
กรมศุลกากร ในปีท่ี ๔ ผมเป็นประธานภาคสมทบ จึงมีโอกาสคุ้นเคยกับเพ่ือนภาคกลางวันเยอะ เช่น
เราตา่ งเปน็ นักกีฬาให้กบั จุฬาฯ ไปแข่งกับมหาวิทยาลัยอน่ื ผมเลน่ ยโู ด ส่วนจุลสิงหเ์ ล่นรักบ ้ี ผมก็คุ้นเคย
กับเขาและภรรยาเขา คอื ภัทรา เพราะเรยี นคณะเดยี วกัน จนถงึ ช่วงทา� งาน ผมเข้ารับราชการในกระทรวง
การตา่ งประเทศ ในชว่ งทีผ่ มออกประจ�าการอยูต่ ่างประเทศ จุลสงิ หเ์ คยไปเยีย่ มผมทีต่ ่างประเทศหลายครง้ั
เช่น ที่เนเธอรแ์ ลนด์ และเกาหลใี ต้ เปน็ ตน้ ซง่ึ ขณะนน้ั ผมเป็นเอกอัครราชทูตอยู่
ในชว่ งหลงั ผมกไ็ ดร้ จู้ กั คนุ้ เคยกบั ลกู สาวของเขา คอื นอ้ งออน ซง่ึ มาสอบเขา้ กระทรวงการตา่ งประเทศ
และทา� งานดา้ นกฎหมายอยกู่ รมสนธสิ ญั ญาและกฎหมายทผี่ มเคยเปน็ อธบิ ด ี ครง้ั ทผี่ มไปประชมุ เรอื่ งเขตแดน
กบั มาเลเซยี ในฐานะประธานคณะกรรมการเขตแดนไทย - มาเลเซยี นอ้ งออนซง่ึ ไปประจา� การทส่ี ถานทูต
ไทยทีก่ รงุ กวั ลาลมั เปอร์ กไ็ ด้มาร่วมประชมุ ในฐานะผแู้ ทนฝา่ ยไทยด้วย
หลังจากผมเกษยี ณแลว้ นอกจากท�างานในกระทรวงการต่างประเทศในเรอื่ งเขตแดนแลว้ ผมก็เป็น
กรรมการของบรษิ ทั หลายแหง่ เช่น ที่ PTTGC (Global Chemical) ของ ปตท. จุลสิงห์เองกเ็ ป็นกรรมการ

120

ของ ปตท. ก็ไดม้ โี อกาสพบปะกันไม่น้อย โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ เราตา่ งชอบตกี อล์ฟ จงึ ได้ชกั ชวนกนั ตกี อล์ฟ
ดว้ ยกนั บอ่ ยครง้ั แม้วา่ ต่างก็มงี านยุง่ กต็ าม”
เพ่ือนอกี คนหนง่ึ ท่ีเรยี นภาคสมทบ คือ พันตำารวจเอก ยุทธบลู ดสิ สะมาน อดีตเลขาธกิ ารสา� นกั งาน
ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงนิ (ปปง.) เลา่ วา่

สังสรรคก์ บั เพื่อนนติ ิฯ จุฬาฯ

“ผมเป็นนอ้ งใหมร่ นุ่ ปเี ดยี วกันกับจุลสงิ ห์ เรยี นภาคสมทบซง่ึ เร่มิ ต้นใน พ.ศ. ๒๔๐๘ แต่ผมเข้ามา
พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงเป็นสมทบรุ่นท่ี ๔ ผมรู้จักกับเขาจากการไปน่ังกินไอศกรีมกัน ๒ คน เป็นไอศกรีมท่ีคน
ขายใสก่ ระติกแล้วแบกมาขาย แลว้ จุลสิงห์มักจะขอคนขายตักจากกระติกเอง (หวั เราะ) ผมเรียนตอนเยน็
แตผ่ มไมไ่ ดท้ า� งาน กจ็ ะมาขลกุ กบั เพอ่ื น ๆ ภาคปกตทิ า� กจิ กรรมนอ้ งใหมด่ ว้ ยกนั และเรากจ็ อดรถใกล ้ ๆ กนั
ตรงบนั ไดศาลาพระเก้ียว เราเจอกนั บ่อยในช่วงทยี่ งั เรยี น จนเรยี นจบ ผมไปสอบเป็นตา� รวจ เขาไปเรียนต่อ
กแ็ ยกยา้ ยกันไปจนเขากลบั มาเป็นอยั การ เราได้เจอกันบ้าง แตไ่ มบ่ อ่ ย เพราะไม่ได้ขึน้ ศาลด้วยกนั กระทัง่
ช่วงหลงั ราว พ.ศ. ๒๕๔๒ ผมโอนย้ายจากกรมต�ารวจไปเป็นข้าราชการพลเรอื นอยสู่ า� นักงาน ปปง. ทต่ี ้งั ขึ้น
มาใหม ่ ผมมาเปน็ รองเลขาธกิ าร จงึ มกี จิ กรรมทตี่ อ้ งมาประสานงานกบั อยั การ กไ็ ดเ้ จอกนั บอ่ ยขน้ึ แมต้ อ่ มา
เขาจะเป็นถึงอัยการสูงสุด แต่เขากย็ งั ท�าตวั เหมือนเดิม”

คุณอุดมเดช บูรพ์ภาค ท่ีปรึกษาบริษัท ทีพีไอ โพลีน จ�ากัด (มหาชน) ซ่ึงเป็นเพ่ือนร่วมรุ่นใน
ภาคปกติ ไดก้ ลา่ วสรุปถงึ ภาพคุณจลุ สงิ หใ์ นความทรงจ�าวา่

121

“จุลสิงหเ์ ปน็ คนใหเ้ กยี รติเพ่ือน ๆ เสมอ ไมว่ ่าจะเจอกนั ทีไ่ หน เขาจะแนะนา� ให้คนอืน่ ในทนี่ น้ั ตลอด
ว่า เขาเป็นเพื่อนกับเรา เขามีความสนใจในเร่ืองกีฬาและเป็นนักกีฬาด้วย เขาเป็นคนมีใจเมตตาสูงมาก
เออื้ เฟอ้ื ผอู้ น่ื ตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว เออื้ เฟ้อื ต่อเพอื่ น ตอ่ รนุ่ น้อง สอนรนุ่ นอ้ งเลน่ รกั บ ้ี เรยี นจบไปแล้วกย็ งั มา
รว่ มทา� กจิ กรรมของคณะฯ ของสมาคมนิสิตเก่านติ ศิ าสตรฯ์ และของสมาคมนิสิตเกา่ จุฬาฯ ด้วย ตอนเรียน
เขาตง้ั ใจเรยี นวชิ ากฎหมายจรงิ ๆ แลว้ จบั ประเดน็ ไดด้ วี า่ อะไรสา� คญั เอาไวเ้ กง็ ขอ้ สอบ สว่ นวชิ าอน่ื เขาไมไ่ ด้
ใชก้ ลยทุ ธ์อะไรในการเรียน ก็จะไปเร่ือย ๆ เอาแค่ผา่ น ๆ พอเอาความร้อู ย่างเดยี ว ถงึ กระน้ันเขากจ็ บด้วย
คะแนนเกียรตินิยมอนั ดบั ๒ โดยจรัญได้เกยี รตินยิ มอันดับ ๑ เหรียญทอง เวลาขึน้ รับพระราชทานปรญิ ญา
เขาจะเป็นเกียรตินยิ มอนั ดับ ๒ คนแรกทขี่ ้ึนรับตอ่ จากจรัญ เข้าใจวา่ คงเรยี งล�าดับตามอักษร เพราะมีคนได้
อนั ดบั ๒ อยู่หลายคน”

ก่อนท่ีจะเรียนจบในหลักสูตรปริญญาตรี คุณจุลสิงห์ได้วางแผนการเรียนต่อไว้ล่วงหน้าแล้ว ดังท ่ี
คณุ นนั ทศักดเิ์ ลา่ ว่า

สังสรรคก์ บั เพือ่ นรฐั ศาสตร์ จุฬาฯ รุ่น ๒๑

“ทั้งจุลสิงห์และพรเพชรมาจากโรงเรียนวชิราวุธฯ ด้วยกัน เขามีความมุ่งม่ัน เป็นนักกิจกรรม
และนกั วางแผนทง้ั คู่ เพราะพรเพชรเป็นประธานนิสิตคณะรฐั ศาสตร์ แต่อย่แู ผนกนิติศาสตร์ ส่วนจุลสงิ ห์
เปน็ ประธานชมรมรกั บ ้ี ผมจา� ไมไ่ ดว้ า่ ปไี หน แตเ่ วลาเรยี นกบั เวลาเลน่ กฬี า เขาวางแผนแบง่ เวลาถกู เพราะเวลา
แข่งรกั บีน้ อ้ งใหม่ แน่นอนวา่ ปี ๑ ทุกคนต้องท�ากิจกรรมกนั เยอะ แตป่ ี ๒ ปี ๓ ปี ๔ จลุ สิงห์จะหาเวลาวา่ ง
ไปซอ้ มรกั บ ี้ ถา้ พน้ จากเทศกาลรกั บป้ี ระเพณแี ลว้ เขากอ็ า่ นหนงั สอื โดยเฉพาะชว่ งใกลเ้ วลาสอบ เขาจะมาตวิ

122

รับโล่นสิ ิตเก่าดเี ด่น คณะรฐั ศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย
จากคณุ อนชุ า โมกขะเวส เพอ่ื นรกั

ใหพ้ วกเรา แลว้ เวลาสอบเนติบัณฑติ ช่วงปี ๔ เขาจะบอกพวกเราวา่ ถงึ เวลาแล้วใหไ้ ปสมัคร แลว้ ชว่ ยกนั ติว
เขาวางแผนไว้ชัดเจนว่า เรียนจบปริญญาตรีแล้วก็เรียนต่อเนติบัณฑิต จากนั้นเขาก็ไปเรียนต่อปริญญาโท
ที่ตา่ งประเทศ จบกลับมากเ็ ขา้ ท�างานจนประสบความสา� เร็จในสายงานของเขา ทกุ อยา่ งเป็นไปตามแผนท่ี
เขาวางไว้”

อดีตท่านทูตวศนิ ก็ไดก้ ลา่ วย�้าถงึ คณุ จุลสงิ ห์ในสายตาของทา่ นวา่
“ผมเคยไดย้ นิ จากปากของจุลสิงหเ์ องวา่ ตอนสมัยเรยี นปริญญาตรี ภาษาอังกฤษของเขาไมค่ ่อยดี
เท่าไร แตห่ ลงั จากนั้นเขากพ็ ฒั นาตัวเองในดา้ นภาษาองั กฤษขน้ึ มา จนเรยี นจบจากต่างประเทศ และเขา
ภมู ใิ จทเ่ี ขาไดเ้ ปน็ อธบิ ดอี ยั การฝา่ ยตา่ งประเทศ และเปน็ อยั การสงู สดุ นน่ั เปน็ เพราะความมงุ่ มนั่ อยา่ งแทจ้ รงิ
ของเขานั่นเอง”

123

บทที่ ๕

ก่อรา่ ง ร้างครอบครัว

พบรกั ในรว้ั จามจรุ ี
เมอื่ คณุ จลุ สงิ หเ์ ขา้ มาเปน็ นสิ ติ ใหมใ่ นรวั้ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ไดไ้ มน่ าน เขากไ็ ดพ้ บกบั ภทั รา วรี เธยี ร
หรือ คุณแดง บุตรีคนสวยของพระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
ในขณะนน้ั ความสมั พนั ธ์ของทัง้ สองค่อย ๆ สานต่อจากความเปน็ เพอื่ นจนกลายเปน็ ความรักฉันหน่มุ สาว
ดังท่ี คณุ พรเพชร วชิ ติ ชลชยั เล่าว่า

“...จลุ สงิ ห์ไดพ้ บกับ คณุ แดง ภัทรา ภรรยาเขาท่ีคณะรฐั ศาสตร ์ เพราะคณุ ภทั ราสอบเขา้ มาเรียน
แผนกการคลัง ซึ่งคนละสาขากัน มีการไปรับประทานอาหารกลางวันด้วยกัน ไปเท่ียวด้วยกันบ้าง
ผมสงั เกตวา่ จลุ สงิ หน์ า่ จะมคี วามรกั ใหก้ บั คณุ
ภัทราอยา่ งมาก...”

ขณะท่ีคุณภัทราเล่าถึงจุดเร่ิมต้นท่ีได้
รจู้ กั กบั คณุ จลุ สงิ ห ์ โดยผา่ นรปู ถา่ ยและชอื่ เลน่
ของเขา ท่ีสะดุดตาสะดุดใจวา่

“เราเรมิ่ รจู้ กั กนั ตงั้ แต ่ พ.ศ. ๒๕๑๑ เปน็ คณุ ภทั ราและคณุ จลุ สงิ ห์ ในวนั ทค่ี ณุ จลุ สงิ ห์
นอ้ งใหม่ร่นุ เดียวกันท่ีคณะรฐั ศาสตร์ สมัยนั้น รบั ปรญิ ญานติ ศิ าสตรดษุ ฎบี ณั ฑติ กติ ตมิ ศกั ด์ิ
แผนกวิชานิติศาสตร์และแผนกวิชาคลังยัง
เป็นแผนกวิชาหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์ เพราะ จากจฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั
ฉะน้ันป ี ๑ เรามีบางวิชาที่เรียนด้วยกนั รวมทกุ
แผนกวิชา แล้วทั้งรุ่นมีประมาณ ๒๕๐ คน
เผอิญดิฉันรู้จักคุณจุลสิงห์เพราะวันหนึ่ง
รุ่นพ่ีน�ารูปถ่ายพร้อมช่ือ ช่ือเล่น มาติดเรียง
บนกระดาน เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักว่าคนนี้
มีชื่อจริงและชื่อเล่นว่าอะไร ดิฉันก็ไปดู เอ้ย!
มคี นชอ่ื ลงิ ดว้ ย กต็ นื่ เตน้ มาก เกดิ มาไมเ่ คยรู้จัก
ใครที่ชื่อลิง ท�าไมช่ือเล่นช่ือลิง ชื่ออื่นดี ๆ
มีตั้งเยอะ นั่นคือคร้ังแรกที่รู้จักช่ือ แต่ยัง
ไม่รู้จักตัว เพราะวา่ คนเยอะ

124

หลังจากนั้นก็เริ่มไปเล่นกีฬา เป็นนักกีฬาด้วยกัน เพราะว่าเข้าเรียนปี ๑ เขาจัดให้มีการแข่งขัน
กรีฑา ในกีฬาน้องใหม ่ คณุ จลุ สงิ ห์จบมาจากโรงเรยี นวชิราวธุ ฯ เขาเปน็ นักวงิ่ นกั ทมุ่ นา้� หนกั กระโดดสงู
กระโดดไกล ฯลฯ เขาลงเลน่ กีฬาเกอื บทุกประเภท พ่ีหนุย่ (องคมนตร ี พลากร สุวรรณรฐั ) ซ่งึ เป็นรุน่ พี่ป ี ๒
และเป็นประธานชมรมกรีฑา เป็นคนคัดตัวดิฉัน ให้ลงไปแข่งว่ิงด้วย จึงต้องซ้อม ก็ได้เห็นหน้ากันบ้าง
นาน ๆ ครง้ั รู้วา่ เขาเป็นนักกีฬาดว้ ยกนั พอแขง่ เสร็จประธานชมรมฯ พาไปเล้ียง ระหว่างท่ยี ืนคอยอยหู่ น้า
รา้ นอาหาร ดิฉนั ยืนอยู่กบั พวกนกั กฬี าผ้หู ญิงด้วยกนั เหน็ คณุ จลุ สงิ ห์เดินมา ก็ทักทายเขาว่า
‘โห เกง่ จงั เลย ไดเ้ หรยี ญตง้ั หลายอนั เอามาแบง่ กนั บา้ งส’ิ เพราะเขาไดเ้ หรยี ญทองแบบเปน็ เขม็ อะไร
สกั อยา่ งหลายอัน ดิฉนั พดู คลา้ ย ๆ อย่างน้เี หมือนเปน็ เพ่อื นกัน เขาก็ไม่พูดอะไร ไดแ้ ตย่ มิ้ ต่างคนตา่ งกนิ
เสร็จแลว้ แยกยา้ ยกันกลบั บ้าน
พอวันรุ่งขึน้ เขาน�าเหรียญมาใหจ้ รงิ ๆ ดิฉนั บอก ‘อุย๊ ...ไมเ่ อาหรอก เมอ่ื วานนพี้ ูดเล่น’ เขาบอกวา่
เขาใหจ้ รงิ ๆ ตงั้ แตน่ น้ั กเ็ รม่ิ เจอหนา้ กนั แบบ อา้ ว! เรารจู้ กั กนั แลว้ นะ แตย่ งั ไมไ่ ดค้ ยุ กนั มาก และตอนนนั้ ดฉิ นั
จบั กลมุ่ กับเพ่ือนทม่ี าจากโรงเรยี นวฒั นาวทิ ยาลยั ด้วยกัน ๓ คน คอื หนูแดง (พมิ ลพรรณ) อว้ น (เฉลยลาภ)
และดฉิ ัน คณุ จลุ สงิ ห์จบั กล่มุ อยกู่ บั คณุ พรเพชรท่ีมาจากโรงเรียนวชริ าวุธฯ ด้วยกนั และคุณอนชุ า มาจาก
โรงเรยี นสาธติ จฬุ าฯ ก็เป็นผชู้ าย ๓ คน ผูห้ ญงิ ๓ คน แล้วอว้ นเป็นคนชอบชวน จะไปไหนกช็ วนสามหนุ่ม
น่ีไปดว้ ย”

จนกระทง่ั ถงึ วนั ทส่ี องหนมุ่ สาวเฟรชช ี่ เรม่ิ มคี วามรสู้ กึ เปน็ พเิ ศษตอ่ กนั เปน็ ครงั้ แรก และวนั นน้ั เปน็ วนั
ทเ่ี ป็นมหามงคลยง่ิ ซ่งึ คณุ ภทั รายอ้ นร�าลึกความทรงจา� ใหฟ้ ังวา่

“วนั ทคี่ ดิ วา่ เราจะชอบกนั วนั นน้ั คอื วนั ทรงดนตร ี เปน็ วนั ทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั รชั กาลท ี่ ๙
เสด็จฯ มาทรงดนตรีและทรงสังสรรค์ร่วมกับนิสิตจุฬาฯ เป็นการส่วนพระองค์ท่ีหอประชุม และในปีน้ัน
พระองคท์ ่านเสดจ็ ฯ มาในวันท่ี ๒๐ กนั ยายน พ.ศ. ๒๕๑๑ พวกเราเป็นน้องใหมก่ ไ็ ปเข้าแถวรับเสดจ็ เสรจ็
แลว้ ยงั กลบั ไมไ่ ดต้ อ้ งรอสง่ เสดจ็ เรากจ็ ะเตรก่ นั แถวนน้ั เรากเ็ รม่ิ มองหนา้ กนั แลว้ รสู้ กึ มอี ะไรนดิ หนอ่ ย แลว้ ไป
กินข้าวกัน หลังจากน้ันก็ไปกินบ่อยมาก แต่ไปกันทั้งหมด ๖ คน ไม่ใช่ไปกัน ๒ คน จนจบปี ๑ ข้ึนปี ๒
ก็ต้องแยกวิชาเรียนกันแล้ว ดิฉันเรียนวิชาคลัง เพ่ือนเรียนวิชาอ่ืน เราเร่ิมไปกินข้าวกัน ๒ คน ท�าให้ได้
รู้จักเขาในมุมต่าง ๆ มากข้ึน พบว่าเขาเป็นคนไม่ฟุ่มเฟือยในทุก ๆ เรื่อง อย่างเวลาไปกินข้าวกลางวัน
ถ้าคนเป็นแฟนกัน เขาจะไปกินด้วยกันทุกวัน แต่คู่ของเราไม่ใช่ ไปกันแค่สัปดาห์ละครั้ง ถ้าจ�าไม่ผิดจะ
เป็นวันจันทร์ วันอื่นที่เขาไม่ได้ไป เขาจะอ่านหนังสือหรือท�าอะไรต่าง ๆ ในห้อง เป็นอย่างน้ีจนจบปี ๔
ชว่ งปดิ เทอมอาจจะโทรศัพท์คุยกันบา้ ง นัดออกไปกินขา้ วดูหนงั บา้ ง ตวั ไมไ่ ด้ติดกันเหมือนคอู่ ่ืน แลว้ ตอน
ปี ๑ ดฉิ นั มคี นขบั รถทบ่ี า้ นมารบั - สง่ พอขึ้นปี ๒ ก็ขับรถไปเรียนเอง เขากข็ บั รถของเขา เพราะฉะนั้นจงึ ไม่
ตอ้ งอาศยั ให้เขาไปสง่ หรอื รับทบ่ี า้ น ยกเวน้ เวลามกี ิจกรรมพเิ ศษ เชน่ ลอยกระทง ถงึ จะไป - กลับด้วยกนั ”

125

คณุ ณัฏฐาลกู สาวคนเล็กเสรมิ ว่า
“ตงั้ แตเ่ ลก็ ออนชอบคยุ กบั พอ่ บอ่ ย ๆ เรอื่ งความรกั ของพอ่ กบั แม ่ เวลาเราขบั รถผา่ นคณะรฐั ศาสตร์
จฬุ าฯ และผา่ นตน้ จามจุรีต้นใหญ่ต้นหนงึ่ พ่อจะชี้วา่ ตรงนีแ้ หละเป็นจดุ ที่พ่อรวู้ ่าพ่อรกั แม ่ และยังเสรมิ ว่า
ความรักของพ่อกับแม่คล้ายกับเพลง ‘หน่ึงมิตรชิดใกล้’ โดยเฉพาะตรงท่อน ‘เริ่มแต่วันที่เราคบกัน
คลา้ ยเพ่ือน แตด่ เู หมือนมสี ่งิ เร้าใจไหวหวนั่ ปลอ่ ยให้รมุ สมุ ทรวงนานวนั เปลยี่ นเปน็ ฉนั รกั เธอ’”

คณุ ภัทราเล่าต่อวา่
“ระหว่างท่ีคบกัน ดิฉันได้ศึกษานิสัยใจคอของคุณจุลสิงห์มากขึ้นแล้วพบว่า เขาเป็นคนอารมณ์ดี
มองโลกในแง่ดี พูดจาด ี ดจู ริงใจ มีเมตตา สภุ าพ และจติ ใจมัน่ คง
...ถ้าถามวา่ อะไรท่ที า� ใหด้ ฉิ นั ร้สู กึ วา่ เขาเป็นคนทใี่ ช ่ คอื เขาเป็นคนมคี วามเมตตากรุณา สมยั ทยี่ ัง
เรยี นหนังสืออย ู่ เขาก็ไม่ได้มีรายไดอ้ ะไร วธิ ที �าบุญของคณุ จุลสงิ ห์คอื ไปบริจาคโลหิตทกุ ๓ เดอื น ตัง้ แต่
เป็นนสิ ิตจฬุ าฯ เพราะความทีจ่ ฬุ าฯ อยู่ใกลก้ าชาด ทนี ้ี ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นปีทด่ี ิฉันไปเมอื งนอก พอถงึ
วันเกิดในเดือนตุลาคม เขาก็เขียนจดหมายมาถึง ก่อนหน้านั้นก็ส่งการ์ดมา พอเลยวันเกิดไปดิฉันก็ได้
จดหมายฉบบั หนงึ่ ลงวนั ท ่ี ๑๓ ตลุ าคม ซงึ่ เปน็ วนั เกดิ ดฉิ นั เขาเขยี นบอกวา่ วนั นว้ี นั เกดิ แดง ผมไปทา� บญุ มา
ให ้ ไปบริจาคโลหติ มา และมอบบตั รบรจิ าคโลหิตใหใ้ นวนั เกดิ เขา้ ใจว่าจนกลับจากเมืองนอก คุณจุลสงิ ห์
ก็ยังบรจิ าคโลหิตอยู่นะ จนกระทง่ั ท�างานเปน็ อยั การ ดิฉนั เคยเหน็ สมุดบรจิ าคโลหิตของเขา ประมาณกวา่
๓๐ - ๔๐ คร้งั นะคะ
นอกจากนั้นดิฉันก็เห็นว่า พ้ืนฐานครอบครัวของเราคล้าย ๆ กัน เพราะคุณลุงของเขา คือ
หมอ่ มหลวงป่ิน มาลากุล ท่านเปน็ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธกิ ารในคณะรัฐบาลเดียวกบั คุณพ่อดิฉัน
(พระประกาศสหกรณ)์ ซงึ่ เปน็ รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงเกษตร เพราะฉะนน้ั ในความรสู้ กึ จงึ เหมอื นคนคนุ้ เคย
แลว้ คณุ ปา้ ปอ้ ง (หมอ่ มหลวงปอ้ ง มาลากลุ ) ซง่ึ เปน็ คณุ ปา้ ของเขา หรอื ใครตอ่ ใครในครอบครวั เขา กเ็ ปน็ คนที่
คณุ พอ่ คณุ แมด่ ฉิ นั รจู้ กั แตไ่ มไ่ ดห้ มายความวา่ ครอบครวั เราสองคนรจู้ กั มกั คนุ้ กนั มากขนาดนน้ั แตห่ มายถงึ
ว่าอยู่ในสังคมเดียวกัน จึงไม่มีอะไรท่ีแตกต่าง คุณพ่อคุณแม่ก็ดี อยู่ในแวดวงที่ดี ฯลฯ สรุปว่ามองโดย
ภาพรวมแลว้ ...คนนใ้ี ช่ ดังน้นั เราคบกนั มาแบบไปเร่อื ย ๆ เป็นเพ่อื นด้วย ไมไ่ ด้จี๋จา๋ เป็นแฟนกันตลอดเวลา
จึงไม่ค่อยมใี ครเห็นดิฉนั เดินกบั คุณจลุ สิงห์ในคณะมากนกั นอกจากออกไปกนิ ขา้ วด้วยกนั
เมื่อจบปี ๔ ดิฉันเดินทางไปเรียนต่อปริญญาโทท่ีมหาวิทยาลัยเวสต์เทิร์น มิชิแกน (Western
Michigan University) สหรฐั อเมริกาทันที แต่คณุ จุลสิงหอ์ ยากเป็นผูพ้ ิพากษาหรืออยั การ ซง่ึ เขาวางแผนไว้
แล้วว่าอยากจะสอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา แต่ต้องสอบเนติบัณฑิตให้ได้เสียก่อน เพราะฉะนั้นเกือบ ๑ ปีท่ี
ดฉิ นั ไปเรยี นตา่ งประเทศ เขากอ็ ยบู่ า้ นอา่ นหนงั สอื เพอ่ื จะสอบเนตบิ ณั ฑติ ในขณะเดยี วกนั กด็ แู ลคณุ แมด่ ว้ ย
เพราะซ่ึงเขาเป็นลูกชายคนเล็กและคนเดียว คุณแม่จึงรักลูกคนน้ีมากกว่าลูกคนอื่นเป็นพิเศษ แต่พี่สาว
ทงั้ ๔ คนของเขากไ็ ม่ไดน้ อ้ ยใจอจิ ฉาอะไร เพราะคณุ จลุ สงิ ห์รบั ใชค้ ุณแม่มากอย่างแท้จรงิ เช่น พาคณุ แม่

126

ไปซื้อของท่ีตลาดนัดสนามหลวงในสมัยน้ัน ภาพท่ีคณุ จลุ สงิ หม์ อบให้คุณแดงเพอ่ื ระลกึ ถงึ ยามไกลกัน
หรอื พาคณุ แมไ่ ปตลาดท่าพระจันทร์ เขากน็ ัง่
รอในรถไดค้ รัง้ ละ ๒ - ๓ ชั่วโมงโดยไม่บน่ เลย 127
คุณแมจ่ งึ สบายใจ เอาวา่ เป็นทีพ่ ึ่งของคุณแม่
ได้สมใจ เขาจงึ สบาย ๆ อยากท�าอะไรก็ได้
การแสดงความรักระหว่างคุณแม่กับ
คณุ จลุ สงิ ห ์ ทเ่ี ขาเลา่ ใหด้ ฉิ นั และลกู ๆ ฟงั บอ่ ย ๆ
กค็ อื ตอนยงั เลก็ กอ่ นเขา้ นอน คณุ แมจ่ ะไปสง่
ลูกเข้านอนทุกคน แต่ในกรณีของคุณจุลสิงห์
แมจ่ ะถามวา่ อรู กั แมม่ ยั้ จะ๊ ทกุ คนื ซงึ่ ไมว่ า่ คณุ
จลุ สงิ หจ์ ะหลบั หรอื ตน่ื กจ็ ะตอบคณุ แมท่ กุ ครงั้
ถา้ รสู้ กึ ตวั อยกู่ จ็ ะตอบรบั ถา้ ครง่ึ หลบั ครงึ่ ตนื่ ก็
จะพยักหน้า ไม่เคยท่ีจะไม่ตอบรับ พอคุณ
จลุ สงิ หม์ ลี กู เมอื่ จะจบบทสนทนากบั ลกู ไมว่ า่ จะ
ทางโทรศัพท์ หรือพูดกันตัวต่อตัว พ่อจะจบ
วา่ พอ่ รกั เอ๊กนะ พ่อรักออนนะ เปน็ การแสดง
ความรักต่อลกู ”

เม่ือคุณภัทราเดินทางไปศึกษาต่อใน
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ต่างประเทศ ส่วน
คุณจุลสิงห์ยังเรียนเนติบัณฑิตในเมืองไทย
ท้ังสองก็ได้ติดต่อกันอย่างสม่�าเสมอ ด้วย
การเขยี นจดหมายถึงกัน

“เราเขยี นจดหมายถงึ กนั ทกุ วนั จดหมาย
เหล่าน้ันเรายังเก็บไว้ ตอนแรกที่ดิฉันเขียน
สง่ มา ผา่ นไประยะหนงึ่ กไ็ มไ่ ดร้ บั จดหมายตอบ
กลบั เสยี ท ี จนกระทงั่ วนั หนง่ึ ไดร้ บั จดหมายตอบ
คณุ จลุ สงิ หเ์ ขยี นเลา่ วา่ เขาอยเู่ มอื งไทย แตไ่ มไ่ ด้
รบั จดหมายจากดฉิ นั เลย เขาแปลกใจมากวา่ ดฉิ นั
ไปตงั้ เกอื บ ๒ สปั ดาหแ์ ลว้ ยงั ไมม่ จี ดหมายมา

จนวันหนึ่งเขาเห็นจดหมายจากเมืองนอกวางอยู่ที่บ้านพร้อมกัน ๖ ฉบับ เขาบอกว่าดีใจจนบอกไม่ถูก
อยากอยูค่ นเดียวแล้วเปิดอา่ นจดหมายท้ัง ๖ ฉบับทันที แต่เผอิญเขาต้องออกไปธุระกับคุณแม่ เสร็จธุระ
แล้วกลับมาจึงหาเวลาเปิดอ่านท้ังหมด หลังจากนั้นเขาก็เขียนมาทุกวัน บางวันเขียนได้ครึ่งฉบับก็ยังไม่ส่ง
สมัยก่อนจะมีกระดาษเขียนจดหมายส่งตา่ งประเทศเรียกว่า แอโรแกรม เราก็จะเขียนสง่ ถงึ กนั ตลอด
จนกระทั่งคุณจลุ สงิ หส์ อบไลไ่ ด้เปน็ เนตบิ ณั ฑิต (อันดับ ๘ ของสมยั ท ี่ ๒๕) และสอบ toefl ไดแ้ ลว้
จงึ อยากจะสมคั รไปเรียนต่อมหาวิทยาลยั ท่ีสหรัฐอเมรกิ า เขาอยากเรยี นมหาวทิ ยาลัยท่ีอยู่ใกลด้ ฉิ ัน เขากด็ ู
มหาวิทยาลัยรอบ ๆ มีแห่งหนึ่งท่ีอยู่ใกล้ที่สุดคือ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) ที่เมือง
เออรแ์ บนา่ (Urbana) เขาอยากเขา้ ทนี่ ี่ เพราะดแู ลว้ ระยะทางประมาณ ๒๐๐ ไมล ์ สามารถขบั รถได ้ จงึ สมคั รไป
แตเ่ มอ่ื ระยะเวลาผา่ นไป ยงั ไมไ่ ดร้ บั การตอบรบั จากมหาวทิ ยาลยั ฯ ดฉิ นั จงึ นงั่ รถเมลจ์ ากเมอื งทอ่ี ยคู่ อื เมอื ง
คาลามาซ ู (Kalamazoo) ไปเมืองเออรแ์ บนา่ พอดีทีเ่ มืองน้นั มีรนุ่ พีท่ ี่รจู้ ัก จงึ ขอคา้ งกบั เขา แลว้ ไปขอพบ
คณบดขี องเออรแ์ บนา ลอว ์ สคลู (Urbana Law school) ถามทา่ นว่า มีเพอื่ นอยากมาเรียนทนี่ ี่ สอบ toefl
ไดค้ ะแนนเทา่ นจ้ี ะรบั ไหม อยากใหร้ บั ขอใหร้ บั หนอ่ ย เรยี กวา่ ใชเ้ สน้ (ตวั เอง)ตง้ั แตต่ อนนนั้ เลย ทา่ นกร็ บั ปาก
จะพิจารณาให้ แล้วท่านก็ถามดิฉันว่า ‘แล้วยูไม่มาเรียนที่น่ีเหรอ ยูจะ transfer มาไหมจากท่ียูเรียน
อยู่มาที่น ี่ เดยี๋ วไอจะคยุ กบั คณะให้’
ดิฉนั ก็ตอบปฏิเสธไป ดว้ ยวา่ มีทเ่ี รยี นอย่แู ลว้ และเรามีความร้สู ึกวา่ อยูแ่ ยกกัน ต่างคนต่างเรียนนา่
จะดแี ละเหมาะสมกวา่ เราคอ่ นขา้ งมแี นวทางชวี ติ และความเหน็ บางอยา่ งทค่ี อ่ นขา้ งตรงกนั จงึ ตดั สนิ ใจตา่ ง
คนต่างเรียนกันคนละแหง่ ”

หลังจากนน้ั ไมน่ านกม็ ีโทรศัพทต์ ดิ ต่อแจ้งข่าวมาว่ามหาวทิ ยาลัยฯ ยนิ ดรี บั คุณจุลสิงห ์ และเขาเอง
ก็ได้รับจดหมายตอบรับให้เข้าเรียน จึงเดินทางมาพร้อมกับคุณพรเพชร เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖
แตค่ ณุ พรเพชรไดร้ บั ทนุ จากรฐั บาล จงึ แยกไปเรยี นทมี่ หาวทิ ยาลยั ฮารว์ ารด์ เมอื งบอสตนั สว่ นคณุ จลุ สงิ หม์ า
พบคณุ ภทั รา แลว้ ไปสมคั รเรยี นภาษาองั กฤษกอ่ นทแี่ อนน ์ อารเ์ บอร ์ (Ann Arbor) มหาวทิ ยาลยั ทมี่ ชิ แิ กนเชน่
กนั แตค่ นละเมอื ง จนกระทงั่ เปดิ เทอมจงึ กลบั ไปเรยี น
หลกั สตู รปรญิ ญาโท Master of Comparative Law ท ี่
มหาวิทยาลัยอลิ ลินอยส์
ระหวา่ งทเี่ รยี นอยใู่ นสหรฐั อเมรกิ า คณุ จลุ สงิ ห์
ไดเ้ ชา่ หอพกั อยกู่ บั เพอื่ นรว่ มหอ้ งเปน็ ชาวตา่ งชาต ิ ๒ คน
ดว้ ยความตง้ั ใจทจี่ ะไมอ่ ยใู่ นกลมุ่ คนไทย เพอ่ื จะใชเ้ ปน็
โอกาสในการฝึกฝนทกั ษะทางดา้ นภาษาองั กฤษ ซง่ึ ก็
ได้ผล ท�าให้เขาพูดภาษาอังกฤษได้ดี นอกจากน้ัน
ท้ังคุณจุลสิงห์และคุณภัทราได้ตกลงท่ีจะพบกันเฉล่ีย
เดอื นละครงั้ โดยยงั เขยี นจดหมายถงึ กนั ทกุ วนั เชน่ เดมิ ฉลองวนั เกดิ คณุ จุลสิงห์ทอ่ี ลิ ลินอยส์ พ.ศ. ๒๕๑๗

128

กับรมู เมทสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยอลิ ลนิ อยส์

ถ่ายกบั อาจารยแ์ ละเพือ่ นของคุณภทั ราทม่ี ิชแิ กน สองหนมุ่ สาวท่ีชคิ าโก

“ชว่ งนนั้ ดฉิ นั มกี จิ วตั รประจา� วนั คอื พอเรยี นเสรจ็ กลบั มากจ็ ะวง่ิ ไปดตู จู้ ดหมายกอ่ นวา่ มจี ดหมายมา
หรือยัง เพราะจดหมายกวา่ จะมาถึงกใ็ ช้เวลา ๑ - ๒ วัน คือเราตกลงกันวา่ จะไม่ใช้โทรศพั ท ์ เพราะต้องการ
ประหยัด เราจะเขียนบอกเลา่ ชีวิตประจ�าวันวา่ วนั น้ที า� อะไร อากาศเป็นอยา่ งไร หรอื ไปไหนมาบ้าง ฯลฯ”
ในช่วงนั้น ท้ังสองก็ได้ไปเย่ียมเยียนคุณพรเพชรท่ีบอสตันและได้มีโอกาสขับรถท่องเท่ียวทั่ว
สหรัฐอเมรกิ า ดังทคี่ ุณพรเพชรได้เล่าย้อนความหลังว่า

“ระหว่างท่ีพวกเราเรียนอยู่ที่นั่น มีการไปเย่ียมเยียนกัน จุลสิงห์กับคุณภัทรามาเย่ียมผมกับภรรยา
(คุณพิมลพรรณ) ก่อนท่ีบอสตัน ส่วนผมพอเรียนครบปีและปิดภาคฤดูร้อนแล้ว ผมกับภรรยาก็ไปเยี่ยม
จุลสิงห์และคุณภัทราบ้าง แล้วเช่ารถขับไปเท่ียวรอบสหรัฐอเมริกาด้วยกัน ออกจากเออร์แบน่าไปมิสซูร ี
ไปเยลโลสโตน ไปแกรนดแ์ คนยอน แลว้ มาซานฟรานซสิ โก ไปนอนบา้ น ดร.วษิ ณ ุ เครอื งาม จากนน้ั กลบั มาท่ี
เออร์แบนา่ แลว้ ผมก็กลบั บอสตัน หลงั จากนนั้ ไมน่ าน คณุ ภัทราเรยี นจบกลับเมืองไทย ถอื วา่ ในชว่ งของ
การศึกษาในอเมริกา เราได้ใช้ชีวิตร่วมกัน เรามีทุกข์มีสุข เราแลกเปล่ียนความคิดเห็นกัน ไปมาหาสู่กัน
ถงึ แมจ้ ะอยู่ไกลกนั แต่เรากไ็ ปหากัน นค่ี อื ความสัมพันธ์ของเราท่มี ตี อ่ กันมานาน”

129

รถมัสแตงทใ่ี ช้ระหว่างเรยี นทต่ี า่ งประเทศ

คุณจุลสิงห์และคุณพรเพชร ท่องเที่ยวในสหรฐั อเมริกา

หลงั จากคุณภทั ราส�าเรจ็ การศึกษา กไ็ ดเ้ ดนิ ทางกลบั ประเทศไทยเมอื่ เดอื นกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗
หลงั จากน้ันในเดือนธนั วาคมปีเดยี วกนั คณุ จลุ สิงห์ก็เรยี นจบและเดินทางกลบั มาเช่นเดยี วกนั

“ดิฉันเรียนจบกลับมาก่อน ใช้เวลาเรียนแค่ปีคร่ึง ปกติตามหลักสูตรต้องเรียน ๒ ปี แต่ดิฉันรีบ
ลงทะเบยี นเรยี นใหจ้ บไว ๆ เพอ่ื กลบั มาใหท้ นั รว่ มฉลองวนั เกดิ คณุ แม ่(คณุ หญงิ อดุ มพร วรี เธยี ร) ครบ ๔ รอบ
แล้วเข้าท�างานที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส่วนคุณจุลสิงห์กลับมาในเดือนธันวาคม
ปเี ดียวกัน คือ เขาเรยี นจบปุ๊บกก็ ลบั มาเลย เพือ่ สอบบรรจเุ ขา้ เปน็ ขา้ ราชการอัยการ ซ่งึ เราไดต้ ดั สินใจกัน
ตั้งแต่ตอนที่เรียนอยู่ที่นั่นแล้วว่าเขาจะท�างานเป็นอัยการ เพราะพิจารณาจากหลาย ๆ อย่างแล้วน่าจะ
เหมาะสมทีส่ ุด”

ขณะทคี่ ณุ พรเพชรเล่าถงึ การตัดสินใจเขา้ สูเ่ สน้ ทางอัยการของคุณจุลสงิ หว์ ่า
“ผมไม่ทราบว่าท�าไมจุลสิงห์ถึงเปล่ียนเป้าหมายจากความต้ังใจที่จะเป็นผู้พิพากษามาเป็นอัยการ
แต่เขามาปรึกษากับผมว่า เขาขาดวิชาที่ส�าคัญ ซ่ึงจะต้องใช้เป็นเงื่อนไขในการท่ีจะไปสอบผู้พิพากษา
วชิ านน้ั นา่ จะเป็นวิชากฎหมายลกั ษณะพยาน เขาจะทา� อยา่ งไรดี ผมกบ็ อกวา่ ถ้าจะอยเู่ รยี นวิชานี ้ อาจตอ้ ง
ใช้เวลาอีกปีหน่ึง หรือว่าเทอมหน่ึงราว ๖ เดือน แต่ถ้าจะเรียนซัมเมอร์ ยังมีวิชาอื่นเปิดสามารถที่จะลง

130

ทะเบียนเรียนและจบได้ แล้วเดินทางกลับได้ ทว่าเขาจะ รบั โลศ่ ษิ ย์เก่าดีเด่นจาก
ไม่สามารถสอบผู้พิพากษา แต่สามารถสอบเป็นอัยการได ้ Colege of Law, University of Ilinois
เพราะอัยการไม่ก�าหนดว่าจะต้องเรียนวิชานี้ เขาก็ตัดสินใจ
บอกวา่ เอาละ กลบั บา้ นดกี วา่ เรยี นแคว่ ชิ าทส่ี ามารถเปน็ อยั การได ้ ท่เี ดมิ แตต่ า่ งเวลา....
ผมกบ็ อกดแี ลว้ เขาเหมาะสา� หรบั เปน็ อยั การ กลบั ไปเถอะ ไมจ่ า� ภาพคุณจลุ สงิ หข์ ณะศึกษาที่
เป็นต้องเป็นผู้พิพากษา เป็นอัยการก็ดีเหมือนกัน ไปเอาดี Colege of Law, University of Ilinois
ทางอัยการกไ็ ด้” และในวันทไ่ี ปรบั โล่ศิษยเ์ กา่ ดเี ดน่

หลังจากคุณจุลสิงห์เรียนจบที่ University of Illinois 131
ใน พ.ศ. ๒๕๑๗ อีก ๓๘ ปตี อ่ มา จึงได้มโี อกาสกลบั ไปเยือน
สถาบนั แหง่ นอ้ี กี ครัง้ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อรบั
โลศ่ ิษย์เกา่ ดเี ดน่ จาก Colege of Law, University of Ilinois

ครอบครวั เล็ก ๆ อนั อบอุน่
หลังจากส�าเร็จการศึกษาและเดินทางกลับมาถึง
เมอื งไทยแล้วในเดอื นธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ เพียงหน่ึงเดอื น
ตอ่ มาคณุ จลุ สงิ หไ์ ดก้ ราบเรยี นผใู้ หญใ่ หไ้ ปเจรจาสขู่ อคณุ ภทั รา
จากนั้นได้จัดพิธีหม้ันขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘
คุณภัทราได้เล่าถึงเหตุการณ์ส�าคัญในการเริ่มต้นของชีวิตคู่
ในช่วงน้ันวา่

“ระหว่างทอี่ ยูเ่ มอื งนอก นอกจากเราคดิ วางแผนชวี ิต
กนั ตอ่ ไปแลว้ เรากค็ ดิ ไวด้ ว้ ยวา่ กลบั มาเมอื งไทยเราจะแตง่ งาน
ตลอดเวลาทเ่ี ราคบกนั เราตา่ งไมค่ ดิ วอกแวกอะไรเลย ตา่ งคน
ตา่ งเรยี น เขยี นจดหมาย โทรศพั ทบ์ า้ ง ตอนซมั เมอรก์ ไ็ ปเทย่ี วกนั
แต่ไม่ได้ไป ๒ คน มีคุณพรเพชรกับคุณพิมลพรรณไปด้วย
เขาแตง่ งานกนั กอ่ นแลว้ ไปเรยี น ซง่ึ ภรรยาเขากเ็ ปน็ เพอื่ นสนทิ
ดิฉัน...หลังจากหมั้นกันแล้ว คุณจุลสิงห์ก็สอบบรรจุเข้าเป็น
อยั การเมอ่ื เดือนกุมภาพันธ์ ดิฉนั กท็ �างาน ต่างคนตา่ งทา� งาน
ไม่มีเวลาท่ีจะไปกินขา้ วตามรา้ นกันได้ เขากจ็ ะมากนิ ข้าวเยน็
ทบี่ ้านดิฉนั แล้วอยนู่ ั่งคุยจนดึก พอเกิน ๓ ทุ่มปุ๊บ คุณพ่อ
จะเดินมาพูดว่า ‘คณุ จลุ สิงห์ กลบั บา้ นก่อนไม่ดีเหรอ เดี๋ยว
มารดาคุณจะเป็นหว่ งนะ’ เขาก็จะรตู้ วั ละวา่ ต้องกลบั บา้ น

ภาพมหามงคลขณะเข้ารับพระราชทานนำา้ สังข์ ณ วังไกลกังวล หวั หนิ

ทำาบญุ วันแต่งงาน หม่อมหลวงป้อง มาลากุล และคูบ่ า่ วสาว

วนั ฉลองมงคลสมรส

132

จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม เราก็แต่งงาน โดยขอพระราชทานน้�าสังข์ พอดีช่วงนั้นเป็นช่วงท่ี
พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั รัชกาลท ่ี ๙ เสดจ็ ฯ ไปประทบั ท่ีพระราชวังไกลกังวล หัวหนิ เราต้องขบั รถไป
เขา้ เฝา้ ฯ เพอื่ รบั พระราชทานนา้� สงั ขใ์ นวนั ท ี่ ๒ พฤษภาคม ตามทท่ี รงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ลงมา แลว้ กลบั
มาเลย้ี งฉลองวนั รงุ่ ขนึ้ ทโี่ รงแรมเอราวณั ซงึ่ เปน็ โรงแรมทห่ี รมู ากของกรงุ เทพฯ ในสมยั นน้ั หลงั จากนน้ั ไมน่ าน
โรงแรมแหง่ นีก้ ็ทบุ ทิง้ แลว้ สร้างปรบั ปรงุ ใหม่เปน็ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวณั ทุกวันน”ี้

เหตกุ ารณส์ า� คญั ในวนั แตง่ งานน ี้ คณุ จลุ สงิ หไ์ ดใ้ หส้ มั ภาษณไ์ วใ้ นหนงั สอื อนสุ รณพ์ ระราชทานเพลงิ ศพ
ทา่ นผหู้ ญงิ อรอวล อศิ รางกรู ณ อยธุ ยา วา่ ไดก้ ราบเรยี นเชญิ คณุ อาคอื ทา่ นผหู้ ญงิ อรอวล และคณุ จรญู พนั ธ์ ุ
อศิ รางกรู ณ อยธุ ยา เปน็ ผใู้ หญใ่ นการทา� พธิ ปี ทู น่ี อนในงานแตง่ งาน เมอ่ื วนั ท ่ี ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ วา่

“...เมอ่ื ครงั้ ทผี่ มแตง่ งาน ตามประเพณไี ทยตอ้ งมพี ธิ ปี ทู นี่ อน เราตอ้ งเชญิ ญาตผิ ใู้ หญท่ เี่ ปน็ ตน้ แบบและ
เรามน่ั ใจวา่ ทา่ นมชี วี ติ คทู่ ม่ี คี วามสขุ มาทา� พธิ ใี ห ้ ซงึ่ ทา่ นผหู้ ญงิ อรอวลเปน็ ผทู้ มี่ กี ารศกึ ษาด ี กริ ยิ ามารยาทงาม
มสี ามที ี่ด ี มีลกู ชายลูกสาวท่เี จรญิ กา้ วหนา้ ในการงาน และมคี วามเคารพรกั ใหแ้ กบ่ ดิ ามารดา ขณะเดยี วกัน
ท่านยงั มีสะใภ้และเขยท่ีมาร่วมกันสรา้ งความสขุ ครอบครัวของทา่ นผหู้ ญงิ จึงเหมาะสมกับการเป็นตน้ แบบ
ของครอบครัวท่ีดี ซ่ึงลูกหลานควรน�าไปยึดถือปฏิบัติตาม เราจึงเชิญท่านผู้หญิงอรอวลและท่านจรูญพันธุ์
มาท�าพธิ ี เพอื่ เปน็ หลกั ใหเ้ ราอยอู่ ย่างรม่ เย็นเป็นสขุ
ทา่ นทั้งสองปฏบิ ัติตามประเพณที ด่ี ี ทา่ นท�านายทายทกั และอวยชัยใหพ้ รแกเ่ ราคู่บ่าวสาว เราก็จ�าไว้
ต่อมา เมือ่ เราได้รบั เชญิ ให้ไปปทู ่นี อนแกค่ บู่ า่ วสาวอนื่ เรากป็ ฏบิ ัติอย่างเดยี วกนั ...”

เมอื่ คณุ จลุ สงิ หแ์ ตง่ งานแล้ว ไดย้ า้ ยเข้าไปเปน็ สมาชกิ ในครอบครวั ของคุณภัทรา ต่อมาได้ปลกู บา้ น
หลงั ใหมข่ นึ้ บนพน้ื ทด่ี นิ แปลงหนงึ่ ในรวั้ เดยี วกนั ทคี่ ณุ พอ่ คณุ แมข่ องคณุ ภทั รายกให ้ โดย คณุ เอกชยั ไหลมา
สถาปนิกฝีมือช้ันเย่ียมคนหน่ึงของเมืองไทย เพื่อนร่วมรุ่นที่โรงเรียนวชิราวุธฯ ของเขา เป็นผู้ออกแบบให ้
อย่างสวยงามน่าอยู่ เพ่ือเตรียมรับสมาชิกใหม่ท่ีจะเกิดมา คุณภัทราได้เล่าการเริ่มต้นใช้ชีวิตคู่กับผู้เป็น
สามีวา่

“ชวี ติ คขู่ องเรากเ็ หมอื นคแู่ ตง่ งานทวั่ ไป ทตี่ อ้ งมปี ญั หากนั บา้ งเหมอื นลน้ิ กบั ฟนั ถา้ ใครบอกวา่ แตง่ งาน
แลว้ ไมท่ ะเลาะกนั ดฉิ นั ไมเ่ ชอื่ เอาเปน็ วา่ ทะเลาะกนั ท ี แคไ่ หนดกี วา่ อยา่ งไรกต็ อ้ งมบี า้ งละ เรอื่ งโนน้ เรอื่ งน ้ี
ก็แล้วแต่ มีเถียงกันบ้าง โกรธกันบ้าง งอนกันบ้าง แต่เด๋ียวไป ๆ มา ๆ ก็ดีกันได้ แล้วเขาเป็นคนท่ีค่อนข้าง
จะเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ทราบ แต่เขาเป็นคนที่มีมารยาทมาก ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวเขาไม่พูด ไม่ว่าจะเป็น
เร่ืองส่วนตัวของเพื่อนหรือเร่ืองงานบางเรื่องก็ไม่พูด ความที่ในช่วงแรกท่ีเรายังไม่มีลูก เราอยู่กัน ๒ คน
เรากจ็ ะคยุ กันมากหน่อย

133

เคยมีคนถามว่า ดิฉนั เปน็ เพอื่ นคูค่ ิดกบั คุณจลุ สงิ ห์ไดไ้ หม ก็คงจะได ้ เพราะเรารนุ่ เดียวกัน อย่ใู น
level ที่ไมไ่ ด้ตา่ งกนั เปน็ คูค่ ดิ ได้ เป็น second thought ใหไ้ ด ้ เป็นคนชว่ ยแนะนา� ได้ แต่วา่ ทุกอยา่ งคุณ
จุลสิงหก์ ็ทา� เอง คือ ต้องยอมรับว่าเขาเป็นคนรับผดิ ชอบมาก ค่าใชจ้ ่ายในบ้าน เขาจะเป็นผู้ให ้ ข้าราชการ
สมยั กอ่ นเงนิ เดอื นไมม่ าก จา� ไดว้ า่ ตอนทา� งานครง้ั แรก เงนิ เดอื นของดฉิ นั มากกวา่ คณุ จลุ สงิ หส์ กั ๑๐๐ - ๒๐๐
บาท เพราะเปน็ อยั การตอนแรกได ้ ๓,๐๐๐ กวา่ บาท ดฉิ นั กไ็ ด ้ ๓,๐๐๐ กวา่ บาท ในสมยั นน้ั นบั วา่ เยอะนะคะ
แล้วเงินเดือนก็ข้ึนมาเร่ือย ๆ เราก็ต้ังใจมีลูก หลังจากแต่งงานราว ๒ ปี ประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๒๑
ดฉิ นั กท็ อ้ ง แตป่ รากฏวา่ ทอ้ งนอกมดลกู หลงั จากนนั้ พ.ศ. ๒๕๒๕ กม็ ี เอก๊ (ศวิ ชั ) เปน็ ลกู ชายคนแรก พอเอก๊
อายุได้ปีกว่า ๆ ดิฉันก็ท้อง แต่ท้องนอกมดลูกอีก จน พ.ศ. ๒๕๒๙ ถึงมี ออน (ณัฏฐา) เราอยู่ที่บ้าน
หลังแรกน้ีจนถึง พ.ศ. ๒๕๓๕ ลกู เรม่ิ โตขนึ้ เราจงึ คิดจะปรับปรุงขยายบ้านใหใ้ หญข่ ึ้น โดยรอื้ บางสว่ นออก
ก็ให้คณุ เอกชัยออกแบบเหมอื นเดิมและครอบครัวเราก็อยูบ่ า้ นหลังน้มี าตลอด”
แมค้ ณุ จลุ สงิ หจ์ ะมคี รอบครวั เปน็ ของตวั เองแลว้ แตเ่ ขากย็ งั หมนั่ ไปดแู ลคณุ แมแ่ ละพ ี่ ๆ อยเู่ สมอดงั ท ่ี
คณุ ภทั ราได้เลา่ ยอ้ นถงึ ความรักทีค่ ณุ จลุ สงิ หม์ ีต่อคณุ แมว่ า่

คุณยา่ พ่อ และเอก๊ ท่ีบา้ นชะอำา พ่อกับเอก๊

พ่อ เอ๊ก ออน ฉลองวันเกดิ คุณภัทรา ทำาขวัญเดอื นออน พอ่ กับออน

134

“คุณจุลสิงห์ดูแลคุณแม่ดีมาก ตอนแรก ๆ หลังแต่งงานกันปุ๊บ เขาจะไปบ้านคุณแม่กินข้าวกับ

ทา่ นสปั ดาหล์ ะ ๒ วนั ทกุ วนั เสาร ์- อาทติ ย ์ และมคี ณุ ปา้ ปอ้ งดว้ ย หลงั จาก ๒ - ๓ ปผี า่ นไป เราเรมิ่ มกี จิ กรรมท่ี

ตอ้ งไปทา� ในวนั หยดุ เราจงึ ไปบา้ นคณุ แมเ่ ฉพาะวนั เสาร ์ ซง่ึ เปน็ วนั ทพ่ี น่ี อ้ งทกุ คนพาครอบครวั ไปทานขา้ วกบั

คณุ แม ่ แตว่ นั ธรรมดา ถา้ คณุ จลุ สงิ หว์ า่ งกจ็ ะมากนิ ขา้ วกลางวนั ทบ่ี า้ นคณุ แม ่ เพราะวา่ บา้ นกบั สา� นกั งานอยั การ

ไมไ่ กลกนั เขารกั คณุ แมม่ าก รกั และดแู ลทา่ นจรงิ ๆ รวมถงึ ดแู ลพสี่ าวของเขาทง้ั ๔ คน เชน่ พสี่ าว คนหนงึ่

คอื พอ่ี ๋อ (วชั รีวรรณ) ไมส่ บาย เขาก็ดูแลอย่างดี จนกระท่งั ในช่วงหลงั ทพ่ี ี่อ๋อป่วยมากขึ้น เขาก็ชว่ ยเหลอื

คา่ รกั ษาพยาบาล จดั หาเครอ่ื งมอื ทกุ อยา่ งทคี่ นไขต้ อ้ งใช ้ พอขาดอะไรแมบ่ า้ นทดี่ แู ลกจ็ ะบอกมา คณุ จลุ สงิ ห์

กม็ หี นา้ ท่ีซือ้ แลว้ นา� ไปให้ ตอนหลังดฉิ ันเห็นเขามภี ารกิจการงานต่าง ๆ มากมาย จึงบอกแมบ่ า้ นให้แจ้งมา

ทด่ี ฉิ นั แทน เพราะดฉิ นั รจู้ กั รา้ นขายยารา้ นหนง่ึ กจ็ ะสง่ั แลว้ ใหร้ า้ นไปสง่ เปน็ การชว่ ยแบง่ เบาภาระเขา

พอมีลกู จนลกู โตเข้าโรงเรียน เนอื่ งจากว่าลกู

ไปเรียนท่ีโรงเรียนใกล้ที่ท�างานของดิฉัน ตอนนั้น

ดิฉันท�างานอยู่ท่ีบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่ง

ประเทศไทย จา� กดั (IFCT) ตรงถนนเพชรบุรตี ัดใหม ่

ลูก ๒ คนเรียนอย่โู รงเรียนสาธิต มศว.ประสานมติ ร

ไม่ไกลกันมาก ดิฉันจึงรับหน้าที่ไปส่งลูกในตอนเช้า

พอเยน็ กว็ นมารบั กลบั คณุ จลุ สงิ ห์ไมต่ อ้ งรบั ภาระตรงน ี้

จนกระทั่งเอ๊กจบ ม.๑ แล้วขอไปเรียนท่ีประเทศ

ออสเตรเลีย ส่วนออนเรียนถึง ป. ๖ แล้วย้ายไปเรียน

ทโี่ รงเรยี นสาธติ มศว.ปทมุ วนั กเ็ ปลยี่ นเปน็ หนา้ ทขี่ อง

พ่อไปสง่ -รับลกู สาวแทน” เอ๊กไปโรงเรียนวนั แรก
คุณภัทรายังเล่าถึงสไตล์การท�างานของคุณ

จลุ สงิ หด์ ้วยวา่

“ความร้สู กึ ของดิฉันคิดว่า คณุ จุลสิงห์ท�างาน

แบบมืออาชีพ คือ รู้จักว่าควรจะท�าอะไร อย่างไร

กับใคร เปน็ คนไมก่ า้ วรา้ วเลย นายกค็ ือนาย ไมเ่ หน็

ด้วยกับนาย เขาก็พดู ดดี ้วย กับลกู น้อง เขาก็ไมเ่ คยดุ

หรือว่าเลย มแี ต่ความเมตตา กรุณา สว่ นอเุ บกขาเขา

อาจจะลา� เอยี งทจี่ ะชว่ ยถา้ เหน็ ใครเดอื ดรอ้ น แตท่ แี่ น ่ ๆ

คือเขามีความเป็นผู้ดีจริง ๆ เขาประพฤติปฏิบัติ

ตัวอย่างที่เขียนในหนังสือ ‘สมบัติผู้ดี’ ที่คุณตาของ

คุณจุลสิงห์ (เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี)

ไดเ้ ขียนไวท้ กุ อย่าง ไม่วา่ จะเป็นกิริยา มารยาท วาจา ออนไปโรงเรยี นวันแรก

135

ตั้งแต่แต่งงาน เขาก็ห่างจากเพื่อน ๆ ไป จะมีก็แต่เพ่ือนท่ีเป็นอัยการท่ีไปเที่ยวด้วยกัน ต้ังแต่
ลูกยังเล็ก ๆ ไปพักผ่อนท่ีชะอ�าเพราะเรามีบ้านพักอยู่ท่ีน่ัน กับเพื่อนโรงเรียนวชิราวุธฯ ก็แยกย้ายกันไป
เกือบหมด เหลอื แต่กลมุ่ เพือ่ นทีม่ ีคุณเอกชยั ไหลมา เขาเปิดบรษิ ัทรบั ออกแบบ มีเพ่ือนวชิราวุธฯ มาถือหุ้น
เขาก็ชวนคุณจุลสิงห์ถือหุ้นด้วยนิดหน่อย ไปช่วยดูเรื่องกฎหมาย แต่สมัยก่อนไม่ค่อยมีปัญหา ไม่เหมือน
สมัยน้ีท่ีใคร ๆ ก็ต้องการที่ปรึกษาทางกฎหมาย
วันเวลาท่ีผ่านไป ลูกโตขึ้นเร่ือย ๆ คุณจุลสิงห์กับดิฉันต่างท�างานของตัวเองไป เขาเติบโต
ไปตามวถิ ที างของสายงาน แตม่ อี ยอู่ ยา่ งหนงึ่ คอื ดฉิ นั ไมอ่ ยากใหเ้ ขายา้ ยออกตา่ งจงั หวดั เขากแ็ ทบไมไ่ ดอ้ อก
ตา่ งจงั หวัดเลย มอี อกแค่ครงั้ เดยี วคอื ไปอยสู่ มทุ รปราการ ซ่งึ ใกล้มาก ครัง้ นั้นเปน็ ครงั้ แรกที่เขาตอ้ งยา้ ย
ซงึ่ เปน็ วถิ ขี องคนเปน็ อยั การคอื พอเขา้ ไปเปน็ อยั การผชู้ ว่ ย จะอยกู่ รงุ เทพฯ สกั ปสี องป ี อบรมหลกั สตู รตา่ ง ๆ
เสร็จแล้วก็จะเร่ิมย้ายกัน เขาได้ย้ายไปอยู่สมุทรปราการประมาณ ๒ - ๓ ปี หลังจากน้ันก็ย้ายกลับมาอยู่
กรุงเทพฯ พอดชี ่วงน้นั ประเทศไทยก�าลังเริม่ เตบิ โตอยา่ งก้าวกระโดด มกี ารกอ่ สรา้ งสาธารณปู โภคใหญ ่ ๆ
ไม่ว่าจะเปน็ ไฟฟา้ ประปา ทางดว่ น โทรศัพท์ ซ่ึงเปน็ จังหวะของเขาพอด ี ทีไ่ ดไ้ ปอยู่ในจดุ ท่ตี อ้ งดูกฎหมาย
การท�าสัญญาเหล่าน้ี เขาได้อยู่ดูเร่ืองกฎหมายมาตั้งแต่ต้นและเขาก็ท�าได้ดี ไม่ได้มีปัญหาอะไร หรือถ้า
จะมเี ขาก็ไม่เคยกลัว...”

คือ...พอ่ ของลูก ๆ

พ่อกบั เอ๊ก พ่อลกู ออ่ น

ในบรรดากลุ่มเพ่ือน ผูใ้ ต้บังคับบญั ชา หรอื แวดวงคนท่รี จู้ ักคุณจุลสิงห ์ จะมคี วามคิดเห็นตรงกันว่า
เขาเป็นคนท่ีรักครอบครัวมาก และเกรงใจภรรยากับลูก ๆ ท่ีสุด ซึ่งคุณภัทราเล่าย้อนถึงตอนท่ีท้ังสอง
มีบตุ รในวัยแรกเกิดวา่

136

“ตอนที่ดิฉันคลอดลูกคนแรก คือเอ๊ก เราจ้างพยาบาลมาช่วยเล้ียง ๒๔ ชั่วโมง พยาบาลคนน ้ี
เคยเล้ียงลกู ใหพ้ ี่เอ๋อ (เรงิ ฤดี) พ่สี าวของคุณจุลสิงหม์ ากอ่ น เราจะเข้าไปดูในช่วงทพ่ี ยาบาลพัก คนทเ่ี ขา้ ไป
ดูลูกมากที่สุดคือคุณจุลสิงห์ เขามีหน้าท่ีแบกลูก เพราะพยาบาลต้องกินข้าวตอนเย็น พ่อก็มีหน้าที่
แบกเอ๊กให้เรอ พยาบาลก็กินข้าวไป แม่ก็กินข้าวของแม่สบายไป พ่อก็จะดูเอ๊กตลอด แบกจนหลับ
และเรอเรยี บร้อย พยาบาลกินข้าวเสร็จแลว้ กค็ อ่ ยสง่ ให้เขา พยาบาลเล้ยี งจนเอ๊กโตร้คู วาม เราถงึ เลี้ยงเอง
พอมอี อน เราก็ใหพ้ ยาบาลชว่ ยดแู ลเหมอื นกัน
สา� หรบั เรอ่ื งทหี่ ลายคนมองวา่ คณุ จลุ สงิ หก์ ลวั ภรรยาไหม เขาไมก่ ลวั แตเ่ กรงใจมากกวา่ และกลวั ลกู
มากกว่าภรรยานะคะ”

คณุ ณัฏฐาลูกสาวคนเล็กเสรมิ ขึ้นว่า
“พอ่ ไมก่ ลวั แม ่ แต่เกรงใจในแง่ท่วี ่า พ่อไมอ่ ยากขดั ใจแม ่ เกรงจะมปี ัญหา พอ่ กจ็ ะไปขอให้แมต่ ดั สิน
ใจกอ่ น”

คณุ ภัทราเลา่ ต่อว่า
“ดฉิ นั ได้รับเกยี รตอิ ย่างยิ่งให้เป็นฝา่ ยค้านของบา้ น ฝ่ายไม่ค้านมี ๓ คน คอื พอ่ เอ๊ก ออน ฝา่ ย
คา้ น ยกใหแ้ มค่ นเดยี ว ตอนทลี่ กู ยงั เดก็ เวลาทล่ี กู ๆ อยากไดอ้ ะไรเปน็ พเิ ศษ ตอ้ งรอเวลาใหแ้ มไ่ ปเมอื งนอก
พอแมไ่ ม่อยู่บา้ น ๒ คนน้กี ็เรม่ิ ละ อ้อนขอพ่อซ้ือคอมพิวเตอรใ์ หม ่ โทรศพั ทใ์ หม่ให”้

ส�าหรับบทบาทความเปน็ พ่อของคณุ จุลสงิ ห์ ในความทรงจ�าของลกู ชาย - หญิงทั้งสองนน้ั คณุ ศิวัช
เรม่ิ ตน้ เล่าวา่

“ท้ังพ่อและแม่เลี้ยงผมมาแบบเต็มมาก โตมาแบบเต็ม ไม่มีปมอะไร ไม่ได้โตขึ้นมาแบบอยากได ้
คอื อยากได้เหมือนเดก็ ทั่วไป ถา้ ให้ explain ค�าวา่ เต็ม ก็คือ ทส่ี ดุ แลว้ ไดค้ วามรกั เต็มที ่ ถามว่าสปอยล์ไหม
ก็คืออยากได้อะไรก็ได้ตามก�าลังที่ควรจะได้ แต่อย่างหนึ่งที่ผมได้จากพ่อจริง ๆ ตั้งแต่เด็กจนโต คือ
ถา้ พอ่ คดิ วา่ ผดิ พอ่ จะไมช่ ว่ ย เชน่ ถา้ ไมอ่ ยากไปโรงเรยี นแลว้ ตอ้ งโกหกอาจารยว์ า่ ไมส่ บาย พอ่ จะไมส่ นบั สนนุ
ผมโตมาเรียกว่าเตม็ ไม่ไดม้ ีอะไรขาด กไ็ ดท้ ุกอย่าง
ผมไมม่ ีฮีโร ่ ใกล้สุดก็คอื พ่อ ผมโตมากบั ความคดิ ท่วี า่ พ่อทา� ส่ิงท่ถี ูกเสมอ ตอนเด็ก ๆ ผมสนิทกบั
พ่อมาก พอโตข้ึนมาก็เล่นกับพ่อหมดทุกอย่าง ต้ังแต่เล่นของเล่นยันเล่นกีฬาทุกชนิด พ่อไม่ซีเรียสกับ
การเรียน ไม่บังคับให้อ่านหนังสือ แต่อยากให้เรียนให้ดี พ่อชอบเล่นกีฬา ส่วนใหญ่เราจึงเล่นกีฬากัน
แต่ผมไปเมืองนอกเร็ว ตอนวัยรุ่นจึงไม่ได้อยู่กับพ่อมากนัก แต่ท่านก็ไปเยี่ยม แล้วผมก็กลับบ้านบ่อย
เราเจอกนั ตลอด”

137

พอ่ ไปดเู อ๊กเล่นโขน ท่ปี ระสานมิตร พ่อพาเอก๊ ไปเท่ยี วตา่ งประเทศ

ไปเยี่ยมเอก๊ ทอ่ี อสเตรเลีย

ขณะทคี่ ณุ ณฏั ฐาลูกสาวคนเล็กเลา่ ว่า
“ออนค่อนข้างจะมคี วามทรงจ�ากับพ่อเยอะ ต้ังแตก่ ารมองว่าพ่อเป็น role model ในเรอื่ งของความ

มงุ่ มนั่ ทา� อะไรแลว้ ตอ้ งท�าใหส้ �าเร็จ พอ่ มีความเชือ่ มั่นในตัวออนมาตลอดว่า ออนทา� อะไรกท็ า� ได้ ไมม่ อี ะไร
ท่ที �าไมไ่ ด ้ ตอนเด็ก ๆ ออนเปน็ เด็กทเ่ี รยี นไมด่ ี ที่โรงเรียนสาธติ มศว.ประสานมิตร ออนก็ไมเ่ ขา้ ใจวา่ ทา� ไม
ตวั เองถงึ เรยี นไมด่ ี สอบไดเ้ ปน็ อนั ดบั สดุ ทา้ ย แมก่ ม็ นึ มากวา่ ทา� ไมออนถงึ เปน็ ทโี่ หล ่ โดยพอ่ จะเปน็ คนตวิ วชิ า
ภาษาองั กฤษให้ตลอด แตก่ ย็ ังไม่ดขี น้ึ ไมเ่ ขา้ ใจเหมือนเดมิ (หวั เราะ) แตพ่ ่อจะบอกว่า เฮย้ ! ออน ไม่เปน็ ไร
เดย๋ี วยเู ขา้ จฬุ าฯ ไดแ้ นน่ อน ทา่ นเชอ่ื มนั่ ในตวั ออนมาตลอด คอยสนบั สนนุ ไมเ่ คยคา้ น จนในหนงั สอื รนุ่ สมยั
ป. ๖ เราเขยี นวา่ อาชีพทใ่ี ฝ่ฝันคอื อยั การ เพราะอยากเปน็ เหมอื นพ่อ
เมอื่ จบ ป. ๖ กไ็ ปสอบเขา้ โรงเรยี นสาธติ มศว.ปทมุ วนั ผลการเรยี นกด็ ขี น้ึ มาเลย กลายเปน็ เดก็ เรยี นดี
สมัยมัธยมปลายก็เรียนได้ท่ี ๑ ของห้องเสมอๆ โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษและฝร่ังเศส ซ่ึงไม่เป็น
สองรองใคร จากท่ีพ่อเคยติวเมื่อตอนเด็ก ก็พัฒนาได้จนพ่อภูมิใจ ก็คุยกับพ่อว่า สมัยเด็กๆ ท่ีเรียนไม่ด ี
เปน็ เพราะออนไม่เห็นด้วยกบั ส่งิ ทีอ่ าจารยส์ อน จึงปฏเิ สธทจ่ี ะเชอ่ื ตามนน้ั คลา้ ยๆ กบั กรณีของไอน์สไตน ์
เราไมเ่ ขา้ ใจวา่ ทา� ไม ๑+๑ ต้องเทา่ กบั ๒ ท�าไม ๑+๑ ไม่เท่ากับ ๑ ซงึ่ พอ่ ก็เข้าใจ พยายามอธิบาย และให้
ก�าลังใจเสมอมา โดยตั้งแต่เล็กจนโตได้ย�้ากับออนในทุกๆ คร้ังท่ีออนท้อ ว่าออนจะประสบความส�าเร็จ
แนน่ อน พอ่ กม็ กั จะพดู วา่ ‘I have no doubt in you’ ซง่ึ เรามกั จะพดู ภาษาองั กฤษกนั และโตต้ อบกนั ผา่ น
ข้อความในโทรศัพท์เป็นภาษาองั กฤษเสมอ

138

การใหก้ า� ลงั ใจของพอ่ มมี ากกวา่ คา� พดู ตวั อยา่ งเชน่ เรอื่ งตอนออนอาย ุ ๗ ขวบ ไดไ้ ปงาน sport day
ของราชกรฑี าสโมสร (RBSC) หรอื สปอรต์ คลบั ซง่ึ ออนไดเ้ ลน่ เกมหลายอยา่ งในสนาม ไดเ้ หรยี ญมาเยอะมาก
พอบา่ ยแก ่ ๆ เขาประกาศให้เด็ก ๆ อายไุ ม่เกิน ๑๕ ป ี มาแข่งวงิ่ รอบสนามกอลฟ์ ถา้ จ�าไมผ่ ิดนา่ จะมรี ะยะ
ทางประมาณ ๒ กิโลเมตร ออนบอกพ่อแม่ว่า อยากลงแขง่ ดว้ ย ทกุ คนไมแ่ นใ่ จว่าควรจะใหแ้ ข่งไหมเพราะ
ยงั เดก็ มาก แตท่ าง RBSC บอกวา่ เขาจะมรี ถตู้ตามเกบ็ เด็กที่วิ่งแลว้ เหน่อื ยจนว่ิงไมไ่ หวตามทาง เพ่ือนพ่อก็
บอกวา่ ใหว้ งิ่ ไปเถอะ เดยี๋ วออนกก็ ลบั มากบั รถเอง พอวงิ่ ไประยะแรก ๆ สกั ๒๐๐ - ๓๐๐ เมตร เดก็ คนอนื่ ๆ
หยดุ วง่ิ กนั เปน็ แถว ออนยงั วง่ิ ตอ่ ตง้ั หนา้ ตงั้ ตาวง่ิ พอถงึ จดุ ครงึ่ ทางเรม่ิ เหนอ่ื ยมาก มเี ดก็ คนหนง่ึ อาย ุ ๙ ขวบ
ว่ิงตามมา ไล่หลัง อีกสัก ๓๐๐ เมตรจะแซงออน พอออนหันไปก็เจอพ่อวิ่งอยู่ใกล้ ๆ และพ่อก็ชวนเด็ก
คนนั้นคุย ถามนั่นถามน่ีไปเรื่อย แล้วออนก็วิ่งเข้าเส้นชัยได้เป็นที่ ๑ เป็นคนท่ีเด็กที่สุดในบรรดาทุกคน
ท่ีลงแข่ง บอกเลยว่าเหนื่อยมาก ตอนน้ันภูมิใจมากท่ีชนะ แต่พอมาตอนน้ี ไม่ใช่ความประทับใจที่เรา
อึดและชนะ แต่เป็นเพราะพ่อว่ิงตามตลอดระยะทาง และพยายามสกัดคู่แข่งที่ว่ิงตามออนมา โดยการ
ชวนคุย สนับสนุนให้ออนชนะเป็นที่ ๑ (หัวเราะ) แล้วออนก็เรียนเทนนิสเหมือนคุณปู่ ตีกอล์ฟเหมือนพ่อ
พอ่ เปน็ คนพาไปซอ้ มกบั โปรตง้ั แตอ่ าย ุ ๑๒ ป ี เราไดรฟ์ กอลฟ์ ดว้ ยกนั ตลอด พอ่ มกั จะอวดคนแถวนนั้ ตลอดวา่
‘น่ลี กู สาวผม วงสวยมาก ตีหัวไม้หนงึ่ ได้ ๑๘๐ หลาแลว้ นะ’ ตอนนั้น มีความสขุ มากท่อี อนทา� ไดด้ ที ุกอยา่ ง
ตามท่ีพ่อหวัง เสียดายท่ีออนไม่ชอบเล่นกีฬาเท่าไร จึงไม่ค่อยได้ไปออกรอบกับพ่อ ไม่อย่างนั้นเราคงได้
ใช้เวลาด้วยกันมากกว่าน้ี แต่มีครั้งหนึ่ง ตอนออนอายุ ๑๔ ปี ออกรอบกับพ่อแล้วได้พาร์ ๓ พ่อปล้ืมมาก
กลบั มาเลา่ ให้ทุกคนฟัง และยงั คงเลา่ จนออนโต
นอกจากน้ัน ในวัยมัธยม พ่อเป็นอธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ ก็จะต้องไปต่างประเทศบ่อย
ออนกับคุณแม่ก็ได้ติดตามไปด้วยบ้าง เราบินไปเจอกับพ่อที่นั่น เมื่อพ่อว่างก็ไปเที่ยวกัน ไปท�างานกับ
พอ่ บา้ ง ออนเดนิ เขา้ ตกึ ขององคก์ ารสหประชาชาตคิ รงั้ แรกท ่ีGeneva กเ็ พราะไปเยยี่ มพอ่ ตอนพอ่ ไปประชมุ
ทนี่ น่ั มนั เปน็ จดุ แรกๆ ทส่ี รา้ งแรงบนั ดาลใจใหอ้ อนสนใจงานดา้ นการตา่ งประเทศ จนเตบิ โตมาไดร้ บั ราชการ
ทก่ี ระทรวงการตา่ งประเทศ และเปน็ นกั การทตู ทง้ั น ้ี สง่ิ ทอ่ี อนจา� ไดแ้ มน่ ทสี่ ดุ เกยี่ วกบั พอ่ ในเรอ่ื งการทา� งาน
ก็คือ ความมุ่งม่ันของพ่อในการท�างาน ความหลักแหลม การตัดสินใจที่เด็ดขาด และความแม่นย�าใน
ขอ้ กฎหมาย
ความประทบั ใจของออนกบั พอ่ มมี ากมาย เลา่ ยงั ไงกไ็ มห่ มด แตม่ อี กี เรอื่ งทเี่ หน็ วา่ ควรเลา่ คอื ตง้ั แต่
เด็กพ่อจะเล่าให้ฟังเร่ืองประวัติศาสตร์ ทั้งสาแหรกครอบครัว ประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา
จนมาถึงปัจจุบัน พ่อท�าให้ออนรักประวัติศาสตร์ เราคุยกันเร่ืองประวัติศาสตร์ไทยเสมอ ออนอ่าน
พงศาวดารกรงุ ศรอี ยธุ ยา-คา� ใหก้ ารขนุ หลวงหาวดั ไดต้ งั้ แตอ่ ยปู่ ระถมเพราะพอ่ และกม็ หี นงั สอื อยเู่ ลม่ หนงึ่ ท่ี
เราเร่มิ อา่ นพร้อมกนั คือ ‘เกดิ วังปารุสก’์ ด้วยเพราะพอ่ งานเยอะ และออนก็ปิดเทอม จงึ อา่ นจบกอ่ นพอ่ ได ้
ท�าให้พ่อประหลาดใจมาก”

139

คุณภัทรายังเล่าเพิ่มเติมว่า

คุณณัฏฐามีความเหมือนกับผู้เป็นพ่อ

หลายอย่างแบบไม่ต้องตรวจดีเอ็นเอ

พสิ จู น ์ เพราะนอกจากเกดิ ปขี าลเหมอื น

กนั แลว้ หนา้ ตายงั คลา้ ยกนั มาก โดย

เฉพาะเส้นลายมอื โดยตอนทค่ี ุณออน

เกิดพอคุณจุลสิงห์หงายมือบุตรสาวดู

พลนั กต็ ้องตกใจท่ีเห็นเส้นลายมือขาด

ทง้ั สองข้างเหมอื นกับตัวเอง เสน้ ลายมอื ของพอ่ กับออนทเ่ี หมือนกัน
สว่ นเรอื่ งการศกึ ษาของลกู ๆ มี

แนวทางการเรียนตา่ งกัน คือ คณุ ศวิ ชั

ไปเรียนต่างประเทศตง้ั แตเ่ ริ่มวยั รนุ่ แตค่ ณุ ออนเรียนในเมอื งไทยจนจบมหาวทิ ยาลยั ซงึ่ คุณภทั ราเลา่ วา่

“ตอนนั้นเป็นช่วงท่ีการเรียนพิเศษเร่ิมระบาดในวงการศึกษาของเด็กนักเรียนที่ต้องเรียนพิเศษตอน
เยน็ หรอื วันหยดุ เสาร์ - อาทิตย์ เรามีความรู้สึกว่า ชว่ งเวลาเหล่านัน้ ลกู นา่ จะไดอ้ ะไรทด่ี ีกวา่ การเรียนพเิ ศษ
พอดเี จอเพอื่ นคนหนงึ่ เขาสง่ ลกู ไปเรยี นตา่ งประเทศ เขาใหเ้ หตผุ ลวา่ เดก็ ไปเรยี นเมอื งนอกนน้ั ด ี เพราะเดก็
จะไดเ้ ปน็ ตวั ของตวั เอง แลว้ เรารสู้ กึ วา่ เอก๊ เปน็ เดก็ คอ่ นขา้ งสปอยล ์ มพี เ่ี ลยี้ งคอยชว่ ย จงึ ไมค่ อ่ ยจะดแู ลตวั เอง
สักเท่าไร เพราะฉะนั้นคิดว่าถ้าไปอยู่เมืองนอกน่าจะดีกว่า ก็ต้องยอมรับว่าการท่ีเขาเติบโตได้มาจนถึง
ทุกวันน ี้ เปน็ ผลจากการทเ่ี ขาไปเรียนเมอื งนอก”

คุณศิวัชเองก็ยอมรับว่า ถ้าเขายังคงเรียนอยู่ในเมืองไทยต่อไปคงสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได ้
อยา่ งแนน่ อน จงึ ยนิ ดที จี่ ะเดนิ ทางไปเรยี นทปี่ ระเทศออสเตรเลยี หลงั จากจบมธั ยมปที ี่ ๑ จนกระทงั่ เรยี นจบ
ระดับไฮสคลู แตเ่ ขารู้สึกไม่อยากเรยี นต่อ อยากจะกลับเมืองไทย จงึ ไมส่ มัครเขา้ สอบระดับอดุ มศกึ ษาทนี่ ่นั

“ผมอยากกลบั เพราะเบอ่ื แลว้ ไมอ่ ยากเรยี นมหาวทิ ยาลยั ทน่ี นั่ ทง้ั ทค่ี ะแนนกด็ ี ถา้ สมคั รสอบกค็ งได ้
พอขอกลบั พอ่ กใ็ หก้ ลบั เพราะทา่ นมองแลว้ วา่ อยากใหผ้ มมเี พอ่ื นรว่ มรนุ่ ทเ่ี มอื งไทย เพราะผมไปตง้ั แตว่ ยั เดก็
เพ่ือนจึงไม่ค่อยมี ช่วงท่ีผมไปน้ันก็ดีนะครับ ได้ไปเรียนรู้แล้วก็กลับมา ผมคุยกับพ่อว่าจะเรียนต่ออะไรดี
พอ่ อยากใหเ้ ปน็ ขา้ ราชการ เปน็ นกั การทตู เพราะเหน็ วา่ ผมชอบกนิ ชอบไปงานเลย้ี ง นกั การทตู นา่ จะเหมาะ
ทส่ี ดุ ผมเองกค็ ดิ แบบเดก็ ๆ ในตอนนนั้ วา่ ในโลกมปี ระเทศอยกู่ ป่ี ระเทศกร็ าว ๒๐๐ กวา่ ประเทศ อยา่ งนอ้ ย
ก็มีปารต์ ี ้ ๒๐๐ กว่างานละ แตส่ ่วนตัวผมอยากเรยี นเศรษฐศาสตร์ แต่วชิ าน้ีในตอนน้ัน timing ไม่คอ่ ยด ี
พ่อจึงแนะวา่ finance กน็ า่ สนใจ แลว้ ท่านก็ไปหาขอ้ มูลมาบอก สุดท้ายผมก็ไปสอบเข้าเรยี นในหลกั สูตร
BBA (Bachelor of Business Administration หรอื บริหารธุรกจิ บัณฑิต) คณะพาณชิ ยศาสตรแ์ ละการบัญช ี

140

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ เอก๊ รบั ปรญิ ญาตรที ธ่ี รรมศาสตร์
จะพูดว่าพ่อเลือกให้เลยก็ได้ ถ้าถามว่าแฮปปี้
ไหม กแ็ ฮปปค้ี รบั เรยี นกด็ ี คณะและหลกั สตู ร
กด็ ี ทกุ อยา่ งดีหมด
พ่อให้ความส�าคัญกับมหาวิทยาลัย
เหมือนกนั คือ ทา่ นรักจุฬาฯ มาก แต่ ณ ตอน
นนั้ จฬุ าฯ ยงั ไมม่ วี ชิ าใหเ้ รยี นจรงิ ๆ แลว้ ถา้ จะ
เปน็ มหาวทิ ยาลยั อน่ื ทพ่ี อ่ ยอมใหเ้ รยี นนอกจาก
จฬุ าฯ กค็ ือ ธรรมศาสตร์ พอ่ บอกวา่ ถ้าเรียน
มหาวิทยาลัยอื่นให้กลับไปเรียนเมืองนอกต่อ
เพราะท่านค่อนขา้ งอยากให้เข้าจฬุ าฯ มาก ๆ
ใคร ๆ กร็ วู้ า่ พอ่ รักจุฬาฯ แบบสุด ๆ ถา้ เลอื ก
ไดก้ อ็ ยากใหเ้ ขา้ จฬุ าฯ แต ่ ณ ตอนนน้ั เมอื่ ๒๐
ปีท่ีแล้ว หลกั สตู ร BBA ท่จี ฬุ าฯ ก็มี แตย่ ังไม่
ดเี ท่าตอนนี้...ผมกเ็ รยี นทีธ่ รรมศาสตร์จนจบ”

เมื่อคุณศิวัชเรียนจบแล้ว ผู้เป็นพ่อก็ประสงค์ให้เขาเรียนต่อปริญญาอีกใบที่คณะนิติศาสตร์ และ
แน่นอนว่าต้องเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เขารู้ตัวเองว่า ตนต้องประสบกับปัญหาเร่ืองภาษาไทย
ทไ่ี ม่แข็งแรง แต่เขากเ็ รยี นจบมาได้

“พ่ออยากให้ผมเรียนต่อนิติศาสตร์ในภาคบัณฑิตศึกษาให้ได้ พอดีตอนนั้นผมสอบเข้าท�างาน
กระทรวงการคลังได้ และผมรู้สึกว่าในกรณีที่ผมจะไปในสายการคลัง นิติศาสตร์น่าจะช่วยได้ จึงไปสอบ
เข้าเรยี นนิติศาสตร ์ จฬุ าฯ พอสอบเข้าไปเรียนแล้ว ตอ้ งบอกว่าเรยี นยากมาก เกดิ มาไมเ่ คยเรยี นอะไรยาก
ขนาดนี้ เพราะผมเรยี นภาษาไทยจบแค่ ม.๑ แตใ่ หพ้ ดู ไดห้ มด สว่ นเร่อื งเขยี นภาษาไทยกเ็ ขียนได ้ อยา่ งไร
ก็ไม่ดีเท่ากับคนท่ีเขียนมาท้ังชีวิต ย่ิงให้จ�าข้อกฎหมายท้ังฉบับ ย่ิงแล้วใหญ่ เพราะยากจริง ๆ ผมท�างาน
กระทรวงก็เหนื่อยยากอยู่แล้ว เวลาต้องเขียนร่างจดหมายภาษาไทย ต้องใช้สระต่าง ๆ เยอะแยะ น่ันคือ
ปัญหา แต่พ่อบอก เรียนเถอะ ผมต่างจากน้อง เพราะพ่อไม่ต้องช่วยเลย แต่ส�าหรับผม พ่อต้องช่วยผม
เยอะมาก ๆ เช่น ต้องติวผมก่อนสอบ และมีเรื่องตลกคือบางครั้งพ่อจะมีความเห็นต่างจากอาจารย์ท่ีสอน
ซ่ึงถ้าผมตอบข้อสอบตามที่พ่อสอน ผมก็ไม่ได้คะแนน (หัวเราะ) สุดท้าย ท่านก็เข็นผมจนจบมาได้แบบ
ทลุ ักทเุ ลพอควร”

141

ส่วนคุณณฏั ฐานนั้ เตบิ โตมาในแบบที่แตกต่างจากผู้เป็นพ่ีชาย
“ออนไม่ได้โดนเล้ียงดูมาแบบพ่ีเอ๊ก เราเป็นคนละแบบกัน เพราะออนเป็นเด็กที่ไม่ยอมให้พ่อแม่
หรือมีคนอนื่ ช่วย ต้องการท�าอะไรดว้ ยตัวเอง ต้องการสร้างด้วยตวั เอง ไมอ่ ยากทา� สิ่งใดภายใต้เงาของพ่อ
ออนจะระวงั ตัวมาก ตอนจะสอบเขา้ มหาวทิ ยาลยั พอ่ อยากให้เรียนกฎหมาย ตอนแรกออนก็ไม่อยากเรยี น
เพราะออนเก่งภาษา อยากเรียนอย่างอ่ืน และออนคิดว่า ถ้าเรียนกฎหมายแล้วก็ต้องอยู่ในเงาแบบต้องมี
พ่อ คนอื่นกจ็ ะมองเรา ไม่ใชเ่ รา ออนเป็นเดก็ ที่คิดเยอะ แต่พอ่ รจู้ ักออนดี ท่านจงึ ใชท้ ริคในการพดู ว่า ออน
อย่าเรียนกฎหมายเลย เพราะยากนะ ออนเรียนไม่ได้หรอก แต่ออนเป็นคนชอบความท้าทาย ก็เลยโอเค
ถ้าอย่างน้ันออนไม่เรียนอักษรศาสตร์ เปล่ียนมาเรียนกฎหมายก็ได้ และแน่นอนว่าต้องเป็นที่จุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั
ออนเรยี นอยา่ งมคี วามสขุ ไดเ้ รยี นกบั พอ่ ในวชิ ากฎหมายวธิ พี จิ ารณาความอาญา และพอ่ กช็ ว่ ยตวิ ใน
หลาย ๆ วชิ า ไดท้ า� กจิ กรรมทง้ั วชิ าการและศาลจา� ลอง ซงึ่ พอ่ สนบั สนนุ การทา� กจิ กรรมทกุ อยา่ งของออนเสมอ
ไมว่ า่ จะเป็นการหาทนุ (หัวเราะ) และการแนะน�าใหร้ จู้ ักกบั พ่ี ๆ อัยการทเ่ี ก่งดา้ นกฎหมายระหว่างประเทศ
เพอื่ เปน็ ทป่ี รกึ ษาตอนออนทา� คดใี นศาลจา� ลอง เมอื่ จบนติ ศิ าสตรบณั ฑติ และเขา้ รบั พระราชทานปรญิ ญาบตั ร
เม่ือ พ.ศ. ๒๕๕๒ ปีนั้น นับว่าเป็นปีท่ีพิเศษมาก เพราะพ่อได้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักด์ิจากจุฬาฯ
ดว้ ยเช่นกนั กลายเปน็ ว่าพ่อลูกได้ใสช่ ุดครุยพรอ้ มกนั ในวนั เดยี วกนั พ่อดีใจและดูมีความสขุ มาก มีคนมา
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีมากมาย เขาให้พ่อแล้วก็เลยให้ลูกด้วย แล้วเย็นนั้นเราจัดเลี้ยงด้วยกันที่
สปอร์ตคลับ ออนคดิ วา่ วันนนั้ เป็นวนั ทพ่ี อ่ มีความสุขมากวันหนึง่ ในชีวิตถา้ ดูจากรปู จะเห็นว่าย้ิมไมห่ ุบเลย
หลงั จากนน้ั ออนกจ็ บเนตบิ ณั ฑติ ในปตี อ่ มา เราพอ่ ลกู กไ็ ดใ้ สช่ ดุ ครยุ เนตบิ ณั ฑติ ถา่ ยรปู คกู่ นั อกี ครงั้ เพราะพอ่
ในฐานะอาจารยแ์ ละอปุ นายกของเนตบิ ณั ฑติ กเ็ ขา้ รว่ มงานดว้ ย จา� ไดว้ า่ เปน็ อกี วนั ทพี่ อ่ ภมู ใิ จมาก ๆ พอ่ บอก
ว่าไม่เคยคิดว่าออนจะได้เกียรตินิยมอันดับ ๑ ตอนจบจุฬาฯ เพราะพ่อได้อันดับ ๒ และไม่เคยคิดว่าออน
จะผ่านเนติบัณฑิตรอบเดียวทั้ง ๔ ขา แต่ออนก็ได้มาให้พ่อ จริง ๆ แล้วบอกได้เลยว่าความส�าเร็จทั้ง
๒ ปรญิ ญาล้วนมาจากการสนับสนนุ ของพ่อทัง้ น้ัน
ออนทา� ไดด้ ังใจพ่อทกุ อย่าง ยกเว้นเร่ืองเป็นอัยการ เพราะออนมาเปน็ นกั การทตู ออนขอพ่อทา� ตาม
ความฝนั ของตวั เองที่สนใจด้านการตา่ งประเทศและกฎหมายระหวา่ งประเทศ ชว่ ง ๒ - ๓ ปแี รกของการรับ
ราชการเปน็ นกั การทตู พอ่ กย็ งั คาดหวงั ใหอ้ อนไปสอบเปน็ อยั การ แตอ่ อนกไ็ มย่ อมสอบ พอเวลาผา่ นไปพอ่ บอก
ว่า ออนทา� ได้ดีแลว้ ในสายงานของออน เหมาะสมแล้ว ปจั จุบนั ออนประจา� การอยทู่ ่กี รุงกวั ลาลมั เปอร ์ พ่อ
แม่บนิ มาชว่ ยดูแลตอนย้ายเขา้ บ้าน และพอ่ เองกเ็ คยบนิ มาเย่ียมท่เี คแอลคนเดยี ว มาอยู่กบั ออน และมาตี
กอลฟ์ รอระหวา่ งวนั จากการคาดหวงั ใหล้ กู สาวเปน็ อยั การ จนวนั นพ้ี อ่ กภ็ มู ใิ จทอ่ี อนไดอ้ อกประจา� การ ทา� หนา้ ท่ี
ของนกั การทตู อยา่ งเตม็ ท ี่ และคา� พดู ของพอ่ ทอี่ อนจา� ไดข้ นึ้ ใจกค็ อื พอ่ จะแขง็ แรง จะอยจู่ นออนเปน็ ทตู ...”

บคุ ลกิ หนง่ึ ของคณุ จลุ สงิ หท์ ค่ี นรจู้ กั เขา อาจจะไมค่ อ่ ยพบเหน็ นน่ั คอื ความเปน็ คนตลก ดงั ทค่ี ณุ ณฏั ฐา
เลา่ ให้ฟงั ว่า

142

พอ่ และออนรบั ปรญิ ญาจากจฬุ าฯ พร้อมกนั พอ่ และออนในงานของเนตบิ ัณฑติ ยสภา

“พ่อเป็นคนตลก พ่อจะเล่นแบบมีอารมณ์ขันกับออนเยอะ บางคร้ังก็รวมหัวกับพี่เอ๊กแกล้งออน
เปน็ การเล่นสนุกกันในครอบครวั อาทิ มอี ยวู่ นั หนง่ึ พ่อขบั รถไปรับพี่เอก๊ กบั ออนท่โี รงเรยี น แลว้ พ่อบอกวา่
วนั นพ้ี อ่ จะขบั ไมเ่ บรกเลยสกั ครงั้ จนถงึ บา้ น แมเ้ ปน็ การเลน่ ทอี่ นั ตรายมาก แตเ่ ราสาม ๓ คนกห็ วั เราะตลอด
ทาง พีน่ อ้ งลุ้นใหพ้ ่อแพ ้ พอถงึ ไฟแดงควรจะเบรก แตพ่ ่อกไ็ มเ่ บรกจรงิ ๆ คอื โชคดมี ากเพราะไฟก็เปลย่ี น
เปน็ ไฟเขยี วตลอดทงั้ เสน้ ทาง...หรือพ่อมกั จะมมี ุกตลกท่ชี อบแกลง้ ให้ออนอาย เชน่ เมื่อก่อนเวลาพ่อไปเช่า
วิดีโอจากร้าน แล้วขับรถกลับบ้าน พ่อชอบแกล้งอ่านไม่ออกแล้วให้ออนอ่าน ออนก็ไม่ยอมอ่าน พ่อก็จะ
หยดุ รถขา้ งทาง แล้วเรียกปา้ แถวนั้นมาช่วยอ่านให้ ซง่ึ พอ่ กไ็ มร่ ู้จักปา้ คนนน้ั แตจ่ ะชอบแกล้งให้ออนอายใน
ท่ีสาธารณะ...
ออนยังจ�าได้อกี เรอื่ งหนง่ึ ท่ตี ลกมาก คือ พอ่ ชอบทักถามเด็กขายพวงมาลยั ว่า ทา� ไมไม่ไปโรงเรยี น
พอ่ ทกั ทุกครั้งทเ่ี จอ เช่น เวลาพอ่ ขบั รถไปส่งทโ่ี รงเรียน ทกุ คร้งั ท่ตี ดิ ไฟแดง พ่อก็เปดิ กระจกหน้าตา่ งถาม
เด็กก็ตอบไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะแม่เขาให้มาขาย ออนก็จะเครียดมาก ว่าไปบังคับให้เด็กพูด จนมีอยู่
วันหนึง่ ออนวา่ น่าจะเป็นวนั สุดท้ายท่ีพ่อถาม เป็นวนั ทจ่ี บ conversation เร่ืองการขายพวงมาลัยของเดก็
ขา้ งถนน วนั นน้ั ออนไปกบั พอ่ ๒ คน รถมาตดิ ไฟแดงแถวสลี ม พอ่ กเ็ ปดิ กระจกถามอกี วา่ ทา� ไมไมไ่ ปโรงเรยี น
เดก็ ทา� หนา้ เจอื่ นและตอบวา่ ‘วนั นวี้ นั เสารค์ รบั ’ ออนนง่ั หวั เราะใหญ ่ หลงั จากนนั้ พอ่ ไมถ่ ามคา� ถามนอ้ี กี เลย”

143

คุณภัทราเล่าเสรมิ ถงึ ความมีอารมณข์ นั ของผ้เู ปน็ สามวี า่
“คณุ จลุ สงิ หเ์ ขาชอบเลน่ กบั ออน เลน่ แบบจรงิ จงั เพราะเขารวู้ า่ ออนเปน็ คนเลน่ ‘ขน้ึ ’ เลน่ แลว้ กโ็ กรธจรงิ
แล้วเขาเองก็ชอบแหย่ดิฉันต่อหน้าพ่ี ๆ น้อง ๆ มาก เขาชอบแหย่ให้ดิฉันฟึดฟัด แล้วเขาจะรู้สึกสนุก
มีความสุขที่ท�าให้ออนกับดิฉัน ‘ข้ึน’ ได้ ...เข้าใจว่าด้วยต�าแหน่งหน้าท่ีการงานของเขาท่ีอยู่ข้างนอก
จะแกล้งเลน่ กบั คนอื่นไม่ได ้ จงึ มาเล่นกับคนในบ้านแทน
ดิฉันอยากกล่าวเสริมถึงอีกหลายเหตุผลท่ีดิฉันชอบคุณจุลสิงห์ และตัดสินใจที่จะแต่งงานด้วย
คือ เขาเปน็ คนอารมณ์ด ี อารมณเ์ ย็น มเี มตตากรุณา ดว้ ยธรรมชาตขิ องตวั เขาจริง ๆ ไม่ได้เสแสรง้ แกล้งทา�
ไม่เคยนินทาหรือว่าใคร ไม่ต�าหนิใคร พูดเพราะ ให้เกียรติทุกคนไม่ว่าคนน้ันจะเป็นใครก็ตาม ท้ังหมดนี้
ทา� ใหด้ ิฉันประทับใจ แลว้ มีความร้สู กึ ว่าเขาคือคนท่จี ะอยู่ด้วย แมแ้ ต่ตอนแตง่ งานแลว้ มีครอบครัว บางครงั้
เรามีเรื่องที่ท�าให้โกรธกันทะเลาะกัน จนดิฉันเกือบจะทนไม่ไหว แต่พอได้สติก็มาพิจารณาดูก็เห็นว่า
เขาพยายามทา� ทกุ อยา่ งด้วยความรักลูกรักภรรยา ซึ่งชวี ิตคู่ยอ่ มอาจจะมเี รื่องสะดุดบ้าง
ยิ่งช่วงหลงั เขามหี น้าท่ีการงานสูงขึ้น ดิฉนั กไ็ ม่ได้ยุ่งกบั เขามาก ปลอ่ ยไปตามสบาย เวลาไปงานก็
มีบ้างท่ีกลับมาแล้วทะเลาะกัน จนวันหน่ึงดิฉันโมโหมาก แล้วบังเอิญเจอหนังสือเล่มหน่ึงเป็นสูจิบัตรงาน
คืนเหยา้ ชาวจฬุ าฯ ๒๕๕๔ วางอยู่บนโตะ๊ ซ่ึงไม่เคยเปิดอ่านมากอ่ น แต่วนั น้นั ลองหยบิ มาเปดิ อา่ น อ่านแล้ว
หายโกรธเลย เพราะมีบทสัมภาษณส์ ้ัน ๆ ของเขาในหนังสือเลม่ น้นั เขาพดู ตอนหน่ึงวา่ ‘...จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย คือผ้ใู หเ้ สมอมา ใหก้ ารศกึ ษาทีด่ เี ลิศ ใหโ้ อกาสในการพบภรรยาผ้เู ป็นท่ีรกั ยิง่ ให้ที่บม่ เพาะ
วิชาความรู้แก่บุตรชายและบุตรสาวจนประสบความส�าเร็จในหน้าท่ีการงาน...’ นับแต่น้ัน เวลารู้สึกโกรธ
เขาทีไร กห็ ยบิ หนังสอื เล่มนมี้ าอา่ น แลว้ หาย
โกรธเขาทุกครง้ั ”

ส�าหรับมุมมองของคุณศิวัชมองผู้เป็น งานสโมสรสนั นบิ าต
พอ่ ว่า เนอ่ื งในวนั เฉลมิ พระชนมพรรษา 5 ธนั วาคม
“พ่อเป็นคนที่แฟร์มาก ซ่ึงเป็นเร่ืองด ี
แตผ่ มอดคดิ ไมไ่ ดว้ า่ จะมใี ครทแี่ ฟร์ไดข้ นาดน ้ี
ท่านเคยสอนผมตลอดว่า ถึงแม้จะเป็นคนที่
เลวทสี่ ดุ ในโลก เขากต็ อ้ งไดร้ บั ความเปน็ ธรรม
ไม่ได้เก่ียวกับว่าเขาท�าผิด เขาต้องถูกลงโทษ
ด้วยโทษท่ีเขาผิด แต่ไม่ใช่ว่าคุณไปยัดเยียด
โทษอนื่ ใหเ้ ขา เพราะวา่ เขาเลว นน่ั คอื ความคดิ
ของพอ่ มาตลอด ซง่ึ แสดงออกมาในการทา� งาน
ทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับพ่อ ท่านค่อนข้างแฟร์
มากแลว้ ซงึ่ ตอนเดก็ ๆ บางครง้ั ผมกไ็ มเ่ ขา้ ใจ
ว่าท�าไมพ่อไม่เข้าข้างเรา ท�าไมเราทะเลาะ

144


Click to View FlipBook Version