The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ชีวิตงามนามจุลสิงห์

กบั คนอน่ื แลว้ พอ่ ไมเ่ ขา้ ขา้ งเรา ผมมคี า� ถามตงั้ แตเ่ ดก็ คุณจุลสงิ ห์รับรางวัลพ่อดีเดน่ แหง่ ชาติ
แตผ่ มรวู้ า่ พอ่ รกั ผมทส่ี ดุ ในโลก คอื ไมเ่ คยงอน มอี ะไร
แบบนี้อยใู่ นหัว แตแ่ อบมีความคิดเล็ก ๆ ว่า พอ่ จะ
แฟร์มากเกินไปไหม แฟร์ไปท�าไม แต่พอโตข้ึนก็ย่ิง
เขา้ ใจวธิ ีคดิ ของทา่ นมากขึ้น
ตอนแรก ๆ ผมไมเ่ ขา้ ใจพอ่ วา่ ทา� ไมไมช่ ว่ ยพวก
เรากอ่ น นน่ั เปน็ ธรรมชาตนิ สิ ยั ของคนไทยสว่ นใหญค่ อื
เห็นแก่พรรคพวก พอ่ เป็นคนทีแ่ ฟร์จริง ๆ ไม่ไดแ้ ฟร์
แค่เรื่องคดี แต่ในเรื่องอ่ืนๆ เช่น การท�าธุรกิจ คือ
ผมทา� ธุรกจิ รองเท้ากฬี า (Ari ) ท่านก็สอนไม่ให้เอา
เปรียบคนอืน่ ตอ่ ใหเ้ รารวู้ า่ เราสามารถเอาเปรยี บได้
ก็ไม่ให้ท�า นี่คือเร่ืองจริงในชีวิตทุกอย่างท่ีเราโตมา
แต่พ่อไม่อยากให้เราถูกเอาเปรียบ แตเ่ อาเปรยี บใคร
นี่ไม่ได้ ทั้งท่ีด้วยต�าแหน่งของท่าน ทุกอย่างแทบจะ
บีบคอเขาเอาได้หมด ไม่อย่างน้ันธุรกิจผมก็สบาย
แต่พ่อจะช่วยในสิ่งที่อยู่ในอ�านาจหน้าที่ท่ีท่านช่วยได้
ถ้าเป็นการไม่เอาเปรียบใคร แล้วไม่มีใครเสียเปรียบ
ทา่ นก็ชว่ ยหมด”

คุณณัฏฐาเสริมเร่ืองนวี้ ่า

“ออนภูมิใจมากที่พ่อเป็นคนท่ีซ่ือสัตย์สุจริต

มคี วามเป็นธรรมต่อทุกคน ทกุ คด ี พ่อไม่เคยอ่อนไหว

เพราะปจั จยั ใด ๆ ภายนอก สง่ิ ทพ่ี อ่ คา� นงึ ถงึ คอื จา� เลย ไปทอ่ งเที่ยวกบั ภรรยา
เขาผดิ จรงิ หรอื ไม ่ และควรฟอ้ งเขาหรอื ไม ่ ออนบอกได้

เลยวา่ พอ่ ไมไ่ ดส้ งั่ คดแี คเ่ พราะมนั ถกู ตอ้ งตามกฎหมาย

แต่เพราะมันชอบธรรมด้วย โดยในเร่ืองการรับราชการและชีวิต พ่อสอนเสมอให้ออนไม่อ่อนไหว ท�าใน

สิ่งที่ถูกต้อง ไม่คดโกง และขอให้ออนมีเมตตากับทุกคน ให้อภัยคนท่ีคิดไม่ดีกับเรา หรือท�าไม่ดีกับเรา

อยา่ งทีพ่ ่อทา� มาตลอดชวี ติ ...”

ตลอดเวลาทผ่ี ่านมา ความทมุ่ เทดูแลเอาใจใส ่ ตลอดจนความรกั ท่ีมใี ห้ลูกท้ังคา� พูดและการกระท�า
ของคุณจลุ สิงห์ เป็นสงิ่ ทลี่ ูกทงั้ ๒ คนได้ซมึ ซบั และเตม็ อ่มิ ในความรกั นัน้ มากพอทจ่ี ะกลา่ วไดว้ า่

“พ่อเปน็ ผู้ใ ท้ ่แี ทจ้ ริง”

145

พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหส้ มเดจ็ พระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟา้
พชั รกติ ยิ าภา นเรนทริ าเทพยวดี กรมหลวงราชสารณิ สี ริ พิ ชั ร มหาวชั รราชธดิ า และนายจลุ สงิ ห์ วสนั ตสงิ ห์ ขณะดาำ รงตาำ แหนง่ อยั การสงู สดุ
เข้าเฝ้าฯ เป็นการส่วนพระองค์ หลังนาำ พนักงานอยั การใหมเ่ ข้าเฝ้าฯ พธิ ีถวายสัตย์ปฏญิ าณ ในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

146

บทที่ ๖

ยั การ ูง ดุ “ผ้ทู �า มคู่ ณะใ ง้ ดงาม”

คุณจุลสิงห์ วสันตสิงห์ เริ่มต้นรับราชการท่ีกรมอัยการ (ในขณะนั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ปจั จบุ นั กรมอยั การเปลยี่ นสถานภาพเปน็ สา� นกั งานอยั การสงู สดุ ซง่ึ เปน็ องคก์ รตามรฐั ธรรมนญู ) ในตา� แหนง่
อยั การผู้ช่วย เมอื่ พ.ศ. ๒๕๑๘

“ ัยการ นมุ่ มีดีกรจี ากต่างประเท ”
หลังจากผ่านการอบรมภาควิชาการและภาคปฏิบัติในส�านักงานส่วนกลางเป็นเวลา ๑ ปี แล้ว
อัยการใหม่ทุกคนจะได้รับการแต่งต้ังเป็นอัยการจังหวัดผู้ช่วย ซึ่งจะต้องไปปฏิบัติหน้าที่ในต่างจังหวัด
คุณจลุ สิงหเ์ องกเ็ ช่นกนั ทา่ นถกู ส่งไปปฏิบตั ิหน้าที่ในตา่ งจงั หวดั ครงั้ แรกท่ีจงั หวดั สมทุ รปราการ ซงึ่ เป็นการ
ไปรับราชการในต่างจังหวัดเพียงครั้งเดียวในชีวิตของท่าน เพราะแม้ว่าต่อมาอีกหลายปีเมื่อท่านได้รับการ
แตง่ ตง้ั ใหด้ า� รงตา� แหนง่ อยั การจงั หวดั คณะกรรมการอยั การ (ก.อ.) ไดม้ มี ตใิ หท้ า่ นไปปฏบิ ตั งิ านทสี่ า� นกั งาน
อัยการคดีศาลแขวงอบุ ลราชธานี แต่ก็เปน็ คา� สั่งท่มี ีผลเพียงวนั เดยี ว เนือ่ งจากอธบิ ดีกรมอัยการในขณะนน้ั
ไดม้ คี �าส่ังให้ท่านกลบั มาปฏิบัติงานท่กี องทปี่ รึกษาตามเดมิ

เรอ่ื งราวของคณุ จลุ สงิ หเ์ มอ่ื ครงั้ ทไ่ี ปปฏบิ ตั หิ นา้ ทที่ จี่ งั หวดั สมทุ รปราการนน้ั คณุ วชิ ติ แกน่ กาำ จร อดตี
อธิบดอี ยั การภาค ๑ เพ่ือนอยั การร่วมร่นุ กับท่านเลา่ ว่า

“ท่านจุลสิงห์เป็นอัยการหนุ่มมีดีกรีจากต่างประเทศ รูปหล่อ คมสัน เป็นคนมีเสน่ห์ ขี้เล่น จิตใจ

โอบอ้อมอารี เป็นท่ีรักใคร่ของเพ่ือนร่วมงานตลอดจนผู้บังคับบัญชา คราวหนึ่งท่ีผมพาภรรยาไปคลอดลูกที่

โรงพยาบาลรามา ขณะนั้นผมยังเป็นอัยการจังหวัดผู้ช่วยที่สมุทรปราการกับท่านจุลสิงห์น่ีแหละ ผมยังเป็น

ข้าราชการชั้นผู้น้อยที่ไม่มีรถยนต์ขับ วันที่ไปรับภรรยาและลูกน้อยกลับจากโรงพยาบาล ยืนเก้ ๆ กัง ๆ

กา� ลงั มองหาแทก็ ซไ่ี ปสง่ บา้ นกเ็ หน็ รถเปอรโ์ ยสี

เขียวขับมาจอดหนา้ โรงพยาบาล ท่านจุลสงิ ห์

กา้ วลงมาจากรถแลว้ บอกวา่ ‘ผมมารบั หลานสาว

กลับบ้าน’

ชีวิตอัยการในจังหวัดสมุทรปราการ

นั้นสนุกสนานมาก พวกเรากลุ่มอัยการยัง

เติร์ก ซง่ึ มที า่ นจุลสิงห์ ท่านรัฐกร น่ิมวัฒนา

(อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย,

รองอธิบดีอัยการ) ท่านตระกูล วนิ ิจนยั ภาค ท่านจุลสงิ ห์เม่ือแรกรับราชการอยั การ

147

(อดตี อัยการสูงสดุ ) และผม ตกเยน็ จะไปทานข้าวด้วยกนั เสมอ ๆ ซึง่ ท่านจุลสิงหจ์ ะออกตวั ก่อนว่าไปไหน
ไปด้วยแต่ขอกลับเร็ว
ผมเคยตามทา่ นจลุ สงิ ห์ไปวา่ ความทศี่ าล ดว้ ยความอยากรวู้ า่ นกั เรยี นนอกอยา่ งทา่ นจะมลี ลี าอย่างไร
เวลาว่าความ แล้วก็พบว่า ท่านจุลสิงหเ์ ปน็ คนทม่ี พี ลงั ในการท�างานมาก ออกจะไฮเปอรด์ ว้ ยซา้� ขณะว่า
ความท่านจะเดินไปเดินมาตลอดเวลาระหว่างบัลลังก์กับคอกพยาน ใช้ความคิดกล่ันออกมาเป็นค�าถาม
จนผู้พิพากษาที่น่ังบนบัลลังก์ต้องกล่าวติดตลกให้อัยการหยุดเดินบ้าง เพราะศาลเสียสมาธิในการ
จดคา� เบิกความ
ทา่ นจลุ สงิ หเ์ ปน็ คนกตญั ญรู คู้ ณุ ทกุ ปที า่ นจลุ สงิ หจ์ ะไปกราบอวยพรปใี หมท่ า่ นสมหมาย ศริ ยิ านนท์
อยั การจงั หวดั สมทุ รปราการสมยั นนั้ ไมเ่ คยขาด เพราะทา่ นสมหมายใหค้ วามรกั ความเมตตาตอ่ ทา่ นจลุ สงิ ห์
และยังได้สนับสนุนส่งเสริมให้ท่านสมชาย ปัทมสุคนธ์ อดีตเลขานุการคณะกรรมการอัยการ ดึงตัว
ทา่ นจลุ สงิ ห์ไปปฏบิ ตั หิ นา้ ทใี่ นภารกจิ ทสี่ า� คญั ของกรมอยั การ ทก่ี องทป่ี รกึ ษากฎหมาย (ปจั จบุ นั คอื สา� นกั งาน
ทป่ี รึกษากฎหมาย) ซ่ึงนบั เป็นจดุ พลิกผนั ของชีวติ การเป็นอัยการของท่านจลุ สิงหค์ รัง้ สา� คญั ”

ก งทป่ี รึก ากฎ มาย
จากลกู ก งใน ัย นุ่ม ู่ ธบิ ดี ยั การ �านกั งานที่ปรึก ากฎ มาย
กลา่ วไดว้ า่ ในบรรดาสา� นกั งานภายในของสา� นกั งานอยั การสงู สดุ นน้ั ทา่ นจลุ สงิ ห ์ วสนั ตสงิ ห ์ มคี วาม
ผกู พนั กบั กองทป่ี รกึ ษากฎหมาย (สา� นกั งานปรกึ ษากฎหมาย) ยงิ่ กวา่ สา� นกั งานอน่ื ใด ดงั ทค่ี ณุ ชยั เกษม นติ สิ ริ ิ
เลา่ วา่ หลงั จากกลบั เขา้ มาจากตา่ งจงั หวดั ทง้ั คกู่ ม็ าอยกู่ องทป่ี รกึ ษาดว้ ยกนั เปน็ เวลานานหลายป ี ชวี ติ ราชการ
ส่วนใหญ่ของท่านจุลสิงห์จึงวนเวียนคลุกคลีอยู่กับภารกิจทางด้านนี้มาโดยตลอด ผ่านการด�ารงต�าแหน่ง
ต่าง ๆ ในส�านักงานแห่งนี้มาเกือบครบทุกต�าแหน่ง ตั้งแต่ยังเป็นลูกกองในวัยหนุ่มท่ีเพิ่งกลับเข้ามา
จากตา่ งจังหวัดไปจนถงึ ดา� รงตา� แหน่ง อธบิ ดีอยั การ สาำ นกั งานทีป่ รึกษากฎหมาย อนั เปน็ ตา� แหน่งสงู สดุ
ของสา� นกั งานน ี้ แมใ้ นบางชว่ งบางขณะอาจจะโยกยา้ ยไปดา� รงตา� แหนง่ ในสา� นกั งานอนื่ บา้ งตามวถิ ที างของ
ราชการ แตก่ ม็ กั จะเปน็ สา� นกั งานทแ่ี ตกตวั ออกไปจากสา� นกั งานทป่ี รกึ ษากฎหมายนน่ั เอง และแมก้ ระทงั่ เมอ่ื
ทา่ นกา้ วขึ้นสู่ต�าแหน่งทส่ี ูงกวา่ ต�าแหน่งอธิบดอี ยั การ คือต�าแหน่ง รองอัยการสงู สุด ท่านกย็ งั ไดร้ บั ความไว้
วางใจจากอยั การสงู สดุ มอบหมายภารกจิ ใหเ้ ปน็ ผดู้ แู ลในสายงานน ี้ จนกระทงั่ เมอ่ื ทา่ นดา� รงตา� แหนง่ สงู สดุ
ขององค์กร คือ อยั การสูงสุด ซง่ึ ยอ่ มแน่นอนวา่ จะตอ้ งเป็นผู้วนิ ิจฉยั ขั้นสดุ ทา้ ยในงานสา� คัญของส�านกั งาน
ที่ปรึกษากฎหมายน้ี

คุณวีระพล ปานะบตุ ร อดตี รองอัยการสูงสุด และอดีตอธิบดอี ัยการ ส�านกั งานทปี่ รึกษากฎหมาย
เปน็ อกี ทา่ นหน่งึ ซึ่งไดร้ ่วมงานกบั ทา่ นจลุ สงิ ห์ทส่ี �านักงานท่ปี รึกษากฎหมายมาเปน็ เวลายาวนาน ไดเ้ ลา่ เท้า
ความยอ้ นไปในอดตี วา่ ส�านกั งานที่ปรกึ ษากฎหมาย (Department of Legal Counsel) มีประวัตยิ อ้ นหลัง
มายาวนาน โดยกอ่ นหน้านี้มีชื่อว่า “กองทีป่ รกึ ษา” ซ่งึ แม้ปัจจุบันอัยการสว่ นใหญร่ วมทั้งบคุ ลากรในหน่วย
ราชการอ่นื และรฐั วสิ าหกจิ ท่เี คยใช้บริการของกองทปี่ รึกษากย็ ังเรยี กตดิ ปากในชอื่ นี้กันอยู ่ ใน พ.ศ. ๒๕๑๒
ในสมัยรฐั บาล จอมพล ถนอม กติ ตขิ จร เป็นนายกรัฐมนตรี ไดม้ าถงึ หัวเลยี้ วหวั ตอ่ สา� คัญของหนว่ ยงานน้ี

148

โดยได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๕๑๒ ออกใช้
บังคับ โดยเปลี่ยนช่ือกองอัยการเสียใหม่เป็น กองที่ปรึกษา พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ลงประกาศใน
ราชกจิ จานุเบกษา วันท่ี ๓๐ กนั ยายน ๒๕๑๒
คุณจุลสิงห์เข้าปฏิบัติหน้าที่ในส�านักงานน้ีเมื่อต้นทศวรรษ ๒๕๒๐ ตั้งแต่ในยุคที่ยังใช้ช่ือว่า
กองท่ีปรกึ ษาน้เี อง ส�านักงานนม้ี ีกองยอ่ ย ๔ กอง คณุ จุลสงิ ห์สังกดั ในกอง ๒ และดว้ ยความรู้ความสามารถ
ท่มี อี ยู่ทา� ให้ทา่ นเป็นก�าลงั ส�าคญั ของกองนอ้ี ย่างไม่ตอ้ งสงสยั
โครงสรา้ งของกองทป่ี รกึ ษาในสมยั นน้ั มตี า� แหนง่ ผบู้ งั คบั บญั ชาสงู สดุ คอื อยั การพเิ ศษฝา่ ยปรกึ ษา ซงึ่
เรยี กกนั ยอ่ ๆ วา่ อป. (ปจั จบุ นั คอื อธบิ ดอี ยั การ สา� นกั งานทปี่ รกึ ษากฎหมาย ซงึ่ กย็ งั เรยี กยอ่ วา่ อป. เชน่ เดมิ )
ถดั ลงมาคอื หัวหน้าพนักงานอัยการและรองหวั หน้าพนักงานอยั การกองย่อยทงั้ ๔ กอง โดยแต่ละกองย่อย
จะมีลกู กองกองละ ๒ คน
ดว้ ยจา� นวนบุคลากรเพยี งเท่านที้ �าใหค้ วามสัมพันธข์ องพนกั งานอยั การมีความสนมิ สนมกลมเกลียว
ประหนง่ึ เปน็ ครอบครวั เดยี วกนั ในขณะนนั้ อาคารทที่ า� การของกรมอยั การมเี พยี งแหง่ เดยี วคอื อาคารหลกั เมอื ง
ใกลส้ นามหลวง ซง่ึ ประกอบดว้ ยอาคาร ๓ ชนั้ หลงั เกา่ กบั อาคาร ๕ ชน้ั ทเี่ พงิ่ สรา้ งขน้ึ ใหม ่ โดยกรมโยธาธกิ าร
ช่วยออกแบบใหส้ ามารถเดนิ เชือ่ มต่อถึงกันได้ กองทปี่ รึกษาอย่ทู ชี่ นั้ ๔ ของอาคารหลังใหม ่ ภาพทอ่ี ัยการ
ในยคุ นนั้ เห็นกนั จนเจนตาคือพอถงึ เวลาพกั เท่ยี ง ชาวกองที่ปรกึ ษาซ่ึงรวมท้งั ท่านจุลสิงห์ดว้ ย จะพากนั เดิน
ลงมาในห้องอาหารท่ีช้ัน ๒ ของอาคารหลังเก่าเพ่ือรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันที่โต๊ะยาวซึ่งบรรดา
ลกู ค้าประจ�าจะทราบกนั วา่ เป็นโตะ๊ ส�าหรบั กองที่ปรึกษา
ภารกจิ ในความรบั ผิดชอบของกองที่ปรึกษาในยคุ นนั้ จ�าแนกไดเ้ ป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ ไดแ้ ก ่ งานซึ่ง
อยูใ่ นอา� นาจหน้าที่ของอธบิ ดกี รมอยั การ กบั งานซงึ่ อยู่ในอา� นาจหนา้ ที่ของกรมอยั การ
งานส่วนแรก คืองานในอ�านาจหน้าที่ของอธิบดีกรมอัยการน้ัน คืองานด้านคดีอาญาที่มีกฎหมาย
บญั ญตั ใิ หอ้ ธิบดีกรมอยั การเปน็ ผู้วินจิ ฉยั สัง่ คดโี ดยเฉพาะ อันไดแ้ ก ่ การเปน็ พนักงานสอบสวนทีร่ บั ผิดชอบ
ในคดคี วามผดิ ซ่งึ เกดิ นอกราชอาณาจักร งานชีข้ าดความเห็นแย้งทั้งในชัน้ ต้นและชน้ั อทุ ธรณฎ์ ีกา กับงาน
รบั รองใหอ้ ทุ ธรณแ์ ละรบั รองใหฎ้ กี า (ตามประมวลกฎหมายวธิ พี จิ ารณาความอาญา) งานอนญุ าตใหฟ้ อ้ งคดี
ในศาลแขวง (ตามกฎหมายวา่ ดว้ ยการจดั ตงั้ ศาลแขวงและวธิ พี จิ ารณาความอาญาในศาลแขวง) งานอนญุ าต
ให้ฟ้องคดีในศาลคดีเด็กและเยาวชน (ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนท่ีใช้บังคับอยู ่
ในขณะนนั้ ) ปจั จุบันงานเหล่านีไ้ ด้แยกออกไปเปน็ ภารกจิ ของส�านกั งานอ่ืนหมดแลว้
สว่ นงานในอา� นาจหนา้ ทขี่ องกรมอยั การกไ็ ดแ้ กง่ านตรวจรา่ งสญั ญาทห่ี นว่ ยงานภาครฐั จะทา� กบั เอกชน
และงานตอบขอ้ หารอื ในปญั หาขอ้ กฎหมายใหแ้ กห่ นว่ ยงานภาครฐั ซง่ึ เปน็ งานของสา� นกั งานทป่ี รกึ ษากฎหมาย
ในปัจจบุ ันนัน่ เอง
อาจจะกลา่ วไดว้ า่ คณุ จลุ สงิ หเ์ ปน็ ผมู้ คี วามรคู้ วามเชยี่ วชาญและประสบการณเ์ กย่ี วกบั สญั ญาภาครฐั
เป็นอย่างสูง ไม่ว่าสัมปทานทางด่วน สัมปทานรถไฟฟ้า สัมปทานรถไฟฟ้าใต้ดิน สัมปทานดาวเทียม
สมั ปทานโทรคมนาคม ลว้ นผา่ นการพจิ ารณาตรวจรา่ ง ขดั เกลา ตกแตง่ เจรจา และตคี วามจากคณุ จลุ สงิ ห์
ทงั้ สิ้น ซง่ึ ในช่วงเวลานั้น กองทีป่ รกึ ษากฎหมายกองท่ี ๔ มีอกี ชอื่ หนงึ่ วา่ กองสญั ญาต่างประเทศ (สต.) ซึ่ง

149

ตามกฎกระทรวง (มหาดไทย) แบง่ สว่ นราชการ ไดก้ า� หนดขอบเขตอา� นาจหนา้ ทข่ี องกองสญั ญาตา่ งประเทศ
คอื ตรวจรา่ งสญั ญาภาษาอังกฤษ สญั ญาสัมปทานโครงการของรฐั ขนาดใหญ ่ ซ่งึ คณุ จุลสงิ หไ์ ด้เปน็ หัวหนา้
กองคนท ่ี ๒ ตอ่ จากคุณคัมภรี ์ แก้วเจริญ (อดีตอยั การสงู สดุ ) หลังจากคณุ จลุ สงิ หข์ ยบั ขน้ึ ไปดา� รงตา� แหน่ง
รองอธิบดีอัยการ ส�านักงานกิจการต่างประเทศ กองสัญญาต่างประเทศก็เปลี่ยนชื่อเป็นส�านักงานสัญญา
และหารอื ๔ จนถงึ ปัจจบุ ัน คุณจลุ สงิ หจ์ งึ เปน็ หัวหน้ากองสญั ญาตา่ งประเทศคนสุดทา้ ย เม่อื คุณจุลสงิ หข์ ้ึน
ดา� รงต�าแหนง่ เป็นอธิบดสี า� นักงานทป่ี รกึ ษาใน พ.ศ. ๒๕๔๗ และต้องท�าหนา้ ท่ีเปน็ ประธานในการประชมุ
ใหญ่ ของส�านักงานท่ปี รึกษากฎหมาย ประโยคที่ทา่ นมักจะกล่าวก่อนเปิดประชมุ คอื

“ความเห็นทแ่ี ตกตา่ งก็รกั กนั ได”้

เปน็ ทรี่ กู้ นั ในหมอู่ ยั การสา� นกั งานทปี่ รกึ ษากฎหมายวา่ สา� นกั งานนเี้ ปน็ เวทกี ารตอ่ สกู้ นั ทางความคดิ
อยเู่ สมอ และประโยคทที่ า่ นมกั จะกลา่ วตอนเปดิ การบรรยายใหอ้ ยั การใหมท่ เ่ี ขา้ มาทา� งานในสา� นกั งานนกี้ ค็ อื
การตรวจรา่ งสัญญาตอ้ งมี “business mind” จึงจะอา่ นสัญญาได้เขา้ ใจและย�้ากับอัยการคนอน่ื ๆ เสมอว่า
การท�างานทส่ี า� นักงานที่ปรกึ ษากฎหมายต้องมี “service mind” เพราะไม่ใชก่ ารส่ังคดีอาญา

ดาวรุ่งแห่งกองทปี่ รกึ ษา

เพชรเมด็ งามในงานดา้ น ญั ญาภาครฐั
ความเปน็ เพชรเมด็ งามในงานดา้ นสญั ญาภาครฐั ของคณุ จลุ สงิ หไ์ ดถ้ กู เจยี ระไนทสี่ า� นกั งานทปี่ รกึ ษา
กฎหมายแหง่ น้ี คุณชยั เกษม นติ สิ ิร ิ อยั การร่นุ พี่ซง่ึ เคยรว่ มงานกับคุณจุลสงิ หท์ ่สี า� นกั งานแห่งนีเ้ ล่าว่า
“กองท่ปี รกึ ษาสมัยนัน้ ตัง้ อยู่ทช่ี น้ั ๔ กรมอัยการ ถนนหนา้ หบั เผย (อาคารหลักเมอื ง) การท�างาน
ของกองที่ปรึกษาในยุคนั้นหากมีปัญหากฎหมายท่ียุ่งยากเราจะปรึกษาหารือกันเสมอ มีผม คุณชัยฤกษ์

150

ดิษฐอ�านาจ และท่านจุลสิงห์ ส�าหรับโครงการรถไฟฟ้า BTS กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นองค์การบริหารส่วน
ท้องถ่ินประสงค์จะให้สัมปทานเอกชนร่วมลงทุนเพ่ือจัดการจราจรท่ีแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร แต่
ข้อโต้แย้งว่า กรุงเทพมหานครไม่มีอ�านาจท่ีจะให้สัมปทานเอกชน เนื่องจากตามกฎหมายว่าด้วยการให้
สัมปทาน (ประกาศของคณะปฏวิ ตั ิ ฉบับท่ี ๕๘) ก�าหนดให้กระทรวงคมนาคมมอี า� นาจและหน้าทเี่ กี่ยวกบั
กิจการการรถไฟ ส่วนกระทรวงมหาดไทยมีอ�านาจและหน้าท่ีเก่ียวกับกิจการการรถราง ท่านจุลสิงห์ได้
ท�าการค้นคว้าเอกสารทางกฎหมายและหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพ่ือแสดงให้เห็นว่า ในอดีตมีการเดิน
รถรางอยูใ่ นเขตกรงุ เทพมหานคร เมื่อรถไฟฟ้า BTS ใชร้ ะบบเดินรถเชน่ เดยี วกับรถราง กระทรวงมหาดไทย
โดยกรุงเทพมหานครจึงมีอ�านาจเกี่ยวกับกิจการรถราง และสามารถท�ารถรางที่อยู่ภายในเขตของ
กรุงเทพมหานครได้ และไมว่ ่ารถนัน้ จะเดนิ ด้วยเครอ่ื งจักรหรือไฟฟ้า หากเดินบนรางกรุงเทพมหานครยอ่ ม
สามารถท�าไดจ้ ึงเปน็ จุดเรม่ิ ต้นที่รถไฟฟ้าเกดิ ข้นึ มาได้และทา� ให้ประชาชนไดใ้ ชป้ ระโยชนอ์ ยา่ งมากมาย”

คณุ จลุ สงิ ห์ คุณชัยเกษม แม้กาลเวลาผ่านไปแต่ความสนิทสนมของทัง้
และคณุ ชยั ฤกษ์ท่กี องทีป่ รกึ ษา สองทา่ นก็ไมเ่ คยเปล่ียนแปลง

อีกเสียงยืนยันที่ว่าคุณจุลสิงห์เปรียบดั่งเพชรเม็ดงามและเป็นดาวรุ่งของกองที่ปรึกษาคงหนีไม่พ้น
เหตกุ ารณท์ คี่ ราวหนง่ึ วฒุ สิ ภาไดเ้ ชญิ ผแู้ ทนจากสา� นกั งานอยั การสงู สดุ ไปชแี้ จงกรณ ี “คา่ โงท่ างดว่ น” ทกี่ า� ลงั
ออื้ ฉาวในสมยั นนั้ เพราะหนว่ ยงานของรฐั เพงิ่ แพค้ ดชี นั้ อนญุ าโตตลุ าการ วฒุ สิ ภาจงึ ใหค้ วามสา� คญั กบั เรอ่ื งนี้
เปน็ อยา่ งมาก และไดต้ งั้ กรรมาธกิ ารเพอื่ ชา� แหละปมประเดน็ สญั ญาสมั ปทานทผ่ี า่ นการตรวจของสา� นกั งาน
อยั การสงู สดุ ว่าเอ้อื ประโยชน์ใหเ้ อกชนผู้รับสมั ปทานหรอื ไม่
“ตอนน้ัน ผมรับราชการที่ส�านักงานที่ปรึกษากฎหมาย เช้าตรู่ท่านจุลสิงห์โทร.มาเรียกผมไปพบที่
รฐั สภา เพือ่ ฟังการชี้แจงของท่าน” คุณธรมั พ์ ชาลีจนั ทร ์ รองอธบิ ดอี ยั การ สา� นกั งานคณะกรรมการอยั การ
ซ่งึ เคยเปน็ เลขานุการอัยการสูงสุดในสมัยทคี่ ุณจลุ สงิ หด์ �ารงต�าแหน่งอยั การสูงสุดเล่า
“ทา่ นไมเ่ พยี งแคเ่ ชยี่ วชาญงานเอกสาร แตก่ ารพดู ชแ้ี จง การบรรยาย การกลา่ วสนุ ทรพจน ์ ไมว่ า่
ในโอกาสใดก็ท�าได้ดี ด้วยบุคลิกที่เป็นกันเอง ย้ิมแย้มแจ่มใส ไม่เคร่งเครียด ท่าทีที่สบาย ๆ ท่ีส�าคัญ
ท่านรู้ลึกรู้ละเอียดฉับไวในส่ิงที่ท่านพูด กรรมาธิการวุฒิสภาใช้เวลากว่า ๒ ชั่วโมง ท้ังไล่ต้อนบดขยี้

151

ด้วยค�าถามท่ีหลากหลายและรุนแรง ท่านจุลสิงห์
ชี้แจงได้ครบถ้วนทุกค�าถาม ไม่มีหลบหรือเล่ียง
ประเด็น ซ่ึงสร้างความพอใจให้กรรมาธิการวุฒิสภา
กว่า ๒๐ คนในห้องน้ัน ดูไดจ้ ากเสียงหัวเราะครืน
ๆ เป็นระยะ ๆ เม่ือจบการช้ีแจง วุฒิสมาชิก
ท่านหนึ่งกล่าวว่า ‘คุณจะได้เป็นอัยการสูงสุดต่อไป’
ภาพนัน้ ตดิ ตาผมมาจนวันน้”ี

งานตรวจร่างสัญญาเป็นงานท่ีท่านจุลสิงห์ ช้แี จงด้วยรอยยม้ิ อยเู่ สมอ
รัก แม้วันที่ท่านเป็นอัยการสูงสุดแล้ว ก็ยังเรียก
สา� นวนจากสา� นกั งานทป่ี รกึ ษามาตรวจรา่ งดว้ ยตนเอง
แล้วเรียกเจ้าของส�านวนมาน่ังฟังด้วย คุณวีรพล
ปานะบตุ ร ไดส้ รุปไว้อย่างน่าฟังว่า

“เทา่ ทไ่ี ดก้ ลา่ วมาทง้ั หมดจะเหน็ ไดว้ า่ กองทปี่ รกึ ษาตง้ั แตใ่ นยคุ ทที่ า่ นจลุ สงิ หเ์ ขา้ มาเปน็ ลกู กองและมี
วิวัฒนาการมาเรอื่ ย ๆ ตราบจนเป็นส�านักงานท่ปี รกึ ษากฎหมายในปจั จบุ ัน มภี ารกจิ กว้างขวางรอบดา้ น
จงึ ไมน่ า่ แปลกใจเลยทที่ า่ นจลุ สงิ หม์ คี วามเจนจดั ในงานทกุ ดา้ นของสา� นกั งานอยั การสงู สดุ ทา� ใหท้ า่ นสามารถ
วางแนวทางนานปั การซงึ่ ชว่ ยใหอ้ ยั การรนุ่ หลงั ไดย้ ดึ ถอื เปน็ แบบอยา่ งในการปฏบิ ตั งิ าน ตลอดจนทา� ใหท้ า่ น
สามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะอัยการสูงสุดในกาลต่อมาได้อย่างครบเครื่องเต็มภาคภูมิ อันเป็นผลจากการ
ท่ีได้สั่งสมประสบการณ์เป็นเวลายาวนานหลายทศวรรษจากกองที่ปรึกษาและสา� นักงานที่ปรึกษากฎหมาย
นเี้ อง ท่านจลุ สิงห์นับวา่ เปน็ ต�านานของส�านกั งานทปี่ รึกษากฎหมาย เฉกเช่นเดยี วกบั ท่านโอภาส อรณุ นิ ท ์
ทา่ นสชุ าต ิ ไตรประสิทธ์ ิ ท่านคมั ภรี ์ แก้วเจริญ และท่านชยั เกษม นติ ิสิร ิ บรรพอยั การกอ่ นหนา้ นี”้

ด้วยประสบการณ์ความเช่ียวชาญด้านการตรวจร่างสัญญาภาครัฐท่ีท่านสั่งสมมาจากกองที่ปรึกษา
(หรือส�านกั งานท่ีปรึกษากฎหมายในปจั จุบนั ) นี้เอง คณุ จุลสงิ หจ์ ึงเปน็ ผู้มบี ทบาทสา� คญั ในการยกรา่ งพระ
ราชบญั ญตั วิ า่ ดว้ ยการใหเ้ อกชนเขา้ รว่ มงานหรอื ดา� เนนิ การในกจิ การของรฐั พ.ศ. ๒๕๓๕ ซง่ึ เปน็ กฎหมายท่ี
กา� หนดแนวทางการปฏบิ ตั แิ ละใชบ้ งั คบั แกก่ ารใหส้ มั ปทานหรอื การรว่ มงานหรอื ดา� เนนิ การในกจิ การของรฐั
ในโครงการที่มีการลงทุนหรือมีทรัพย์สินต้ังแต่หนึ่งพันล้านบาทข้ึนไป ซ่ึงต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็น
พระราชบญั ญัติการให้เอกชนรว่ มลงทนุ ในกิจการของรฐั พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึง่ มีข้อกา� หนดมาตรฐานของสัญญา
ร่วมลงทุนและก�าหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนให้ส�านักงานอัยการสูงสุด
ตรวจพิจารณาทุกกรณ ี นับเป็นครัง้ แรกทีก่ ฎหมายไดก้ �าหนดให้สา� นกั งานอยั การสูงสดุ มีหนา้ ทใี่ นการตรวจ
รา่ งสญั ญาของรฐั จากเดมิ ทเ่ี คยกา� หนดไวใ้ นมตคิ ณะรฐั มนตร ี ทา� ใหบ้ ทบาทของพนกั งานอยั การในดา้ นการ
รักษาผลประโยชน์ของรฐั มีความชดั เจนเป็นอยา่ งมาก

152

ผู้ริเร่มิ ิชา “ ญั ญาข งรัฐ” ท่คี ณะนติ ิ า ตร์ จุ าลงกรณม์ า ิทยาลยั
ความรู้ความสามารถและความเช่ียวชาญของท่านในด้านน้ีก็มิได้จ�ากัดอยู่เพียงแค่การปฏิบัติ
หน้าท่ีพนักงานอัยการท่ีส�านักงานอัยการสูงสุดเท่านั้น คุณจุลสิงห์เป็นผู้มีพรสวรรค์ทางด้านการสอน
การถา่ ยทอดความร ู้ ทา่ นจงึ เปน็ ผรู้ เิ รมิ่ ใหม้ กี ารเปดิ สอนวชิ า “สญั ญาของรฐั ” ขนึ้ ทค่ี ณะนติ ศิ าสตร ์ จฬุ าลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั เปน็ ทแี่ รกและทเ่ี ดยี วในประเทศไทย และตอ่ มาทา่ นกไ็ ดเ้ ปน็ อาจารยผ์ สู้ อนวชิ า “การเจรจาตอ่
รองรา่ งสญั ญา” ในหลกั สตู รศลิ ปศาสตรมหาบณั ฑติ ทคี่ ณะนติ ศิ าสตร ์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ดว้ ย ซงึ่ ทงั้
สองวชิ าลว้ นแตเ่ ปน็ การถา่ ยทอดความรแู้ ละประสบการณจ์ ากการปฏบิ ตั หิ นา้ ทใี่ นกองทปี่ รกึ ษาของทา่ นทงั้ สน้ิ
ทา่ นได้ทา� การสอนท้ังสองวิชาดงั กลา่ วมาเป็นเวลารว่ มย่ีสิบป ี ด้วยเทคนคิ การสอนทีเ่ ป็นเอกลกั ษณ์
เฉพาะตวั ของทา่ น คอื จะไมม่ กี ารเปดิ ตา� ราหรอื เอกสารใด ๆ ในขณะสอน แตจ่ ะเปน็ การบรรยายโดยอธบิ าย
หลกั กฎหมายแลว้ ยกตวั อยา่ งสญั ญาหรอื ปญั หาการตคี วามและการบรหิ ารสญั ญาทเ่ี กดิ ขนึ้ จรงิ ใหน้ สิ ติ ฟงั ซงึ่
ทา่ นสามารถอธบิ ายหลักกฎหมายเรือ่ งที่ยากให้เป็นเรือ่ งเขา้ ใจงา่ ย นา่ สนใจ สนกุ สนาน และเชน่ เดยี วกบั
บคุ ลกิ ของทา่ นในการวา่ ความในศาล ขณะทา� การสอนทา่ นจะเดนิ ไปมาเพอื่ พดู คยุ ถามคา� ถามและฟงั ความ
คิดเห็นจากนิสิตท�าให้เกิดบรรยากาศความเป็นกันเองในห้องเรียน นอกจากการจ�าเลขมาตราในประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้อย่างแม่นย�าโดยไม่ต้องเปิดต�าราแล้ว ท่านยังสามารถจดจ�าช่ือของลูกศิษย์
แตล่ ะรนุ่ ไดเ้ ปน็ อยา่ งด ี และมกั นา� มาตงั้ เปน็ ชอื่ ตวั ละครในขอ้ สอบดว้ ย กลา่ วไดว้ า่ ทา่ นมคี วาม “ปอ๊ ปปลู า่ ร”์
ในหมลู่ ูกศษิ ยเ์ ปน็ อยา่ งมาก เม่ือหมดเวลาเรยี นในแตล่ ะคร้ังจะมีลูกศษิ ยม์ ารมุ ถามปัญหา พดู คุย หรือขอ
ถ่ายภาพร่วมกับท่านเป็นประจ�า และบ่อยครั้งในเวลาตรวจข้อสอบมักจะพบข้อความท่ีลูกศิษย์เขียนลงใน
ตอนทา้ ยของสมุดคา� ตอบวา่ ขอบคุณท่านและชอบเรยี นวิชาของทา่ นมากทส่ี ุด

ร ง ธิบดี ยั การ และ ธิบดี ยั การ �านกั งานตา่ งประเท
กับผลงานคดี ่งผูร้ ้ายข้ามแดน “ราเกซ ักเ นา” และ “ปน่ิ จักกะพาก”

คุณจุลสิงห์ขึ้นด�ารงต�าแหน่งรองอธิบดีอัยการ ส�านักงานต่างประเทศ โดยมีคุณคัมภีร์ แก้วเจริญ
(อดตี อยั การสงู สดุ ) เปน็ อธบิ ดอี ยั การคนแรกของสา� นกั งานน ี้ ซงึ่ รบั ผดิ ชอบงานความรว่ มมอื ระหวา่ งประเทศ
ทางอาญา (mutual legal assistance in criminal matters) และงานส่งผู้ร้ายข้ามแดน (extradition)
ส�านักงานต่างประเทศ ถูกต้ังข้ึนใน พ.ศ. ๒๕๔๐ ท่ีอาคารถนนรัชดาภิเษก ทุกอย่างดูใหม่ไปหมดทั้งตัว
อาคารและลกั ษณะของงาน สา� หรบั คณุ จลุ สงิ หซ์ งึ่ ไมค่ นุ้ เคยกบั งานดา้ นนเ้ี หมอื นงานของสา� นกั งานทปี่ รกึ ษา
กฎหมาย แตด่ ้วยบคุ ลิกท่เี ฉลียวฉลาด ม่งุ ม่นั คิดเรว็ และท�างานเชงิ รุก คุณจุลสงิ ห์กบั คุณคมั ภรี ไ์ ด้ร่วมกัน
บกุ เบกิ จัดวางระบบใหส้ �านกั งานแห่งนต้ี งั้ ม่ันถาวรจนถงึ ทกุ วนั น ี้
ในครั้งน้นั พนักงานอัยการใตบ้ งั คบั บญั ชาที่ได้รว่ มงานกับคณุ จลุ สงิ ห ์ ล้วนแต่เป็นอยั การเลือดใหม่
ไฟแรง เปน็ ดาวรงุ่ ของสา� นกั งานอยั การสงู สดุ ทง้ั สนิ้ เชน่ คณุ ตระกลู วนิ จิ นยั ภาค (อดตี อยั การสงู สดุ ) คณุ ปยิ ะพนั ธ์ุ
อดุ มศลิ ป ์(อดตี รองอยั การสงู สดุ ) คณุ ประวทิ ย ์ รอ้ ยแกว้ คณุ ปยิ ะธดิ า เจมิ หรรษา คณุ ตอ่ ศกั ด ์ิ บรู ณะเรอื งโรจน์
คณุ ประธาน จุฬาโรจน์มนตรี

153

คดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนท่ีสร้างช่ือให้คุณจุลสิงห์ คือคดีความผิดทางการเงินซึ่งเป็นสาเหตุของวิกฤต ิ
การคลงั ของประเทศไทยในชว่ ง พ.ศ. ๒๕๔๐ หรอื ทเ่ี ราเรียกวา่ “วิกฤตติ ้มย�ากุง้ ” ผู้ถกู กล่าวหาท่ีถกู วิพากษ์
วิจารณ์เป็นอย่างมาก คือ นายราเกซ สักเสนา และนายปิ่น จักกะพาก โดยเฉพาะนายราเกซ ว่าเป็น
ตน้ เหตขุ องการลม่ สลายของสถาบนั ทางการเงนิ ธนาคารกรงุ เทพพาณชิ ยการ (BBC) นายราเกซหลบหนอี อก
ไปจากประเทศไทยพรอ้ มหอบทรพั ยไ์ ปเก็บไว้ในตา่ งประเทศ (สวติ เซอรแ์ ลนด,์ แคนาดา) กว่าพันลา้ นบาท
หน้าที่ของสา� นกั งานต่างประเทศคอื ติดตามเอาทรัพยส์ ินทถี่ กู ยักยอกไปคนื มา และนา� ตัวผู้กระทา� ความผดิ
มาลงโทษในราชอาณาจกั รไทย แตก่ ารนา� ตวั นายราเกซกลบั มาเปน็ เรอ่ื งทย่ี ากเยน็ ยงิ่ มกี ฎหมายทเี่ กยี่ วขอ้ งทงั้
กฎหมายของไทย (พระราชบญั ญตั สิ ง่ ผรู้ า้ ยขา้ มแดน ประมวลกฎหมายวธิ พี จิ ารณาความอาญา) กฎหมายของ
รฐั ทผ่ี ตู้ อ้ งหาหนไี ปหลบซอ่ น (กฎหมายแคนาดา) และกฎหมายระหวา่ งประเทศ คณุ ประธาน จฬุ าโรจนม์ นตรี
อยั การผเู้ ชยี่ วชาญพเิ ศษ ผชู้ ว่ ยเลขานกุ ารอยั การสงู สดุ หนงึ่ ในทมี อยั การทไ่ี ดร้ ว่ มงานกบั คณุ จลุ สงิ หใ์ นคดนี ี้
(ต่อมาคุณประธานได้เป็นรองเลขานุการอัยการสูงสุด เมื่อคุณจุลสิงห์ข้ึนด�ารงต�าแหน่งอัยการสูงสุด) ได้
เล่าใหฟ้ งั วา่

“ในยคุ นนั้ สา� นกั งานอยั การสงู สดุ ยงั ไมม่ ศี กั ยภาพเพยี งพอในเรอื่ งการขอใหส้ ง่ ตวั ผรู้ า้ ยกลบั มาดา� เนนิ
คดีในราชอาณาจักร เน่ืองจากก่อนหน้านี้ เป็นภารกิจของส�านักงานคดีอาญา ซึ่งเคยประสานงานเฉพาะ
กรณที ่ีทางการไทยไดร้ บั คา� รอ้ งขอใหส้ ง่ ผูร้ ้ายขา้ มแดนใหแ้ กป่ ระเทศอนื่ ยงั ไม่เคยประสานงานขอใหร้ ฐั บาล
ต่างประเทศส่งตวั ผู้ต้องหากลบั มาลงโทษในราชอาณาจักรไทยมาก่อน
ทา่ นจลุ สงิ หซ์ ง่ึ ดา� รงตา� แหนง่ รองอธบิ ดอี ยั การ สา� นกั งานตา่ งประเทศในขณะนน้ั ไดร้ บั ความไวว้ างใจ
จากท่านคมั ภรี ์ แกว้ เจรญิ อธบิ ดีอยั การ สา� นกั งานต่างประเทศ (ต�าแหนง่ ในขณะนนั้ ) ให้เปน็ หัวหนา้ คณะ
ทา� งานในการดา� เนนิ การเรอื่ งน ี้ ซงึ่ เปน็ งานทย่ี าก ทา้ ทาย และตอ้ งทา� งานแขง่ กบั เวลา เนอื่ งจากตอ้ งเรง่ ดา� เนนิ
การใหท้ นั ตามกา� หนดเวลาในกฎหมาย เราจงึ ตอ้ งทา� งานกันอย่างหามรงุ่ หามคา�่ เป็นเวลานานแรมเดือน”

ในท่สี ดุ อยั การไทยตดิ ตามตัวนายราเกซกลบั มาด�าเนินคดีในประเทศไทยไดส้ า� เร็จ แมจ้ ะใชร้ ะยะ
เวลาการดา� เนนิ การถงึ ๑๓ ป ี ตง้ั แตค่ ณุ จลุ สงิ หด์ า� รงตา� แหนง่ รองอธบิ ดอี ยั การ สา� นกั งานตา่ งประเทศ จนถงึ
วนั ทนี่ ายราเกซถกู สง่ ตวั กลบั ถงึ ประเทศ คณุ จลุ สงิ หก์ ข็ นึ้ ดา� รงตา� แหนง่ รองอยั การสงู สดุ เปน็ หวั หนา้ ทมี อยั การ
ไทยทีก่ า� กบั การด�าเนนิ คดีอยา่ งใกลช้ ิด โดยเดินทางไปปกั หลักอยู่ทแี่ คนาดานานนบั สปั ดาห ์

ดร.วิลาวรรณ มังคละธนะกุล (อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ)
ซ่งึ เคยรว่ มงานกบั ทา่ นในคดี Walter Bau กล่าวถึงคณุ จลุ สงิ หไ์ วว้ า่

“ทา่ นเป็น fighter ถา้ เป็นหมาก็เปน็ หมา Buldog ทก่ี ดั ไม่ปล่อยในสนามตอ่ สู้”

154

ถา่ ยกับนายโรเจอร์ แมก็ มีน อยั การแคนาดา ในคดนี ายราเกซ
ขณะนนั้ ท่านจุลสิงห์ ดาำ รงตำาแหนง่ รองอธบิ ดีอยั การ สาำ นักงานต่างประเทศ

ส�าหรับคดี นายปิ่น จักกะพาก แม้ ประชมุ หารอื คดสี ่งผรู้ ้ายข้ามแดนนายป่ิน จกั กะพาก
ทางการไทยจะไม่ประสบความส�าเร็จใน ณ สถานเอกอัครราชทตู ณ กรุงลอนดอน
การน�าตัวจากอังกฤษกลับมาด�าเนินคดีใน
ประเทศไทยกต็ าม แตค่ ณุ จลุ สงิ หก์ ไ็ ดใ้ ชค้ วาม
พยายามอย่างเต็มท่ีในการวางรูปคดีจนศาล
อังกฤษรับค�าร้องไว้พิจารณาและต่อสู้คดีกัน
จนถงึ ศาลอทุ ธรณข์ ององั กฤษ หลงั เสรจ็ สน้ิ คดี
นี้ ท่านได้ให้ข้อคิดในการท�างานแก่พนักงาน
อยั การ สา� นกั งานต่างประเทศที่ไดร้ ว่ มกันท�า
คดีนี้กับท่านว่า “อาชีพอัยการก็เป็นแบบน้ี
win some, lose some เปน็ สัจธรรมของชีวติ ”

155

คณุ ประธาน จฬุ าโรจน์มนตร ี ยงั ไดเ้ ล่าเพ่ิมเติมอีกว่า

“นอกจากงานดา้ นคดีส่งผู้ร้ายขา้ มแดนแลว้ ระหวา่ งปฏิบตั หิ นา้ ทีร่ องอธิบดที ส่ี า� นกั งานต่างประเทศ
ทา่ นจลุ สงิ หย์ งั ไดว้ างนโยบายในเรอ่ื งการประสานความรว่ มมอื ระหวา่ งประเทศในคดอี าญาเรอื่ งความผดิ อนั
ยอมความได ้ เพราะกฎหมายกา� หนดวา่ ความผดิ ทจ่ี ะขอใหม้ กี ารประสานความรว่ มมอื ระหวา่ งประเทศไดน้ นั้
จะต้องมีอัตราโทษจ�าคุกต้ังแต่ ๑ ปีข้ึนไป ซึ่งความผิดท่ีมีเป็นจ�านวนมากคือความผิดเก่ียวกับการใช้เช็ค
บางกรณีเป็นการขอประสานความร่วมมือโดยไม่จ�าเป็น ท่านจุลสิงห์จึงได้วางนโยบายใหม่ว่าถ้าเป็นความ
ผิดอันยอมความได้ ให้เป็นดุลพินิจของอัยการสูงสุดที่จะพิจารณามีค�าส่ัง ซ่ึงก็ได้ยึดถือปฏิบัติกันต่อมา
จนถงึ ปจั จุบนั ”

กา้ ่ตู า� แ นง่ “ ยั การ ูง ุด
ทา่ มกลางค ามเปลยี่ นแปลงข ง �านักงาน ยั การฯ”
หลังพน้ จากต�าแหนง่ อธิบดีอัยการ สา� นักงานต่างประเทศ คณุ จุลสงิ หไ์ ด้ดา� รงต�าแหนง่ อธบิ ดอี ยั การ
ส�านกั งานคดอี ัยการสงู สดุ อธบิ ดีอยั การ สา� นักงานท่ปี รึกษากฎหมาย และผตู้ รวจการอยั การ แห่งละ ๑ ปี
ก่อนก้าวขึ้นสู่ต�าแหน่งรองอัยการสูงสุด จนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐ หลังการรัฐประหารได้มีการประกาศใช้
รฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ นบั เปน็ ครง้ั แรกในประวตั ศิ าสตรข์ องสา� นกั งานอยั การสงู สดุ
ทร่ี ฐั ธรรมนญู ไดบ้ ญั ญตั ถิ งึ สถานะขององคก์ รอยั การอยใู่ นหมวดองคก์ รตามรฐั ธรรมนญู และการขนึ้ สตู่ า� แหนง่
อัยการสูงสุดต้องไดร้ บั ความเหน็ ชอบจากวฒุ สิ ภา และอยั การสงู สุด เปน็ ประธานคณะกรรมการอัยการโดย
ตา� แหน่ง (ปัจจบุ นั รฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ไดม้ กี ารเปล่ยี นหลกั การทเี่ คยให้
อัยการสูงสุดเป็นประธานคณะกรรมการอัยการโดยตา� แหน่ง เป็นบุคคลที่ได้รับเลือกจากข้าราชการอัยการ
ทัง้ ประเทศเปน็ ประธานคณะกรรมการอัยการ)
ขณะที่มีการยกร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ อัยการสูงสุดขณะนั้น คือ
คุณชัยเกษม นิติสิริ ได้มอบหมายให้คุณจุลสิงห์ ซ่ึงด�ารงต�าแหน่งรองอัยการสูงสุด อาวุโสล�าดับท่ี ๑
เปน็ หัวหน้าคณะผู้แทนสา� นักงานอยั การสูงสดุ ไปชี้แจงรา่ งกฎหมายในช้ันคณะกรรมการกฤษฎกี าและสภา
นิติบัญญตั ิแห่งชาต ิ และเมอ่ื คณุ จุลสงิ หไ์ ด้ดา� รงตา� แหน่งอัยการสงู สดุ ยาวนานถงึ ๔ ปี และเป็นประธาน
คณะกรรมการอัยการ ๓ ปี ในเวลาต่อมา จึงหลีกเล่ียงไม่ได้ที่หลายคนมองว่ากฎหมายฉบับนี้ยกร่างขึ้น
เพือ่ ทา่ นโดยเฉพาะ ซ่ึงคณุ จลุ สิงหไ์ ดเ้ คยเล่าวา่

“ร่างเดิมเราเสนอไปว่าประธานคณะกรรมการอัยการเป็นบุคคลภายนอกที่มาจากการเลือกตั้งของ
อยั การทงั้ ประเทศ (ซง่ึ คอื หลกั การของกฎหมายปจั จบุ นั ) แตป่ ระธานคณะกรรมการยกรา่ งชนั้ สา� นกั งานคณะ
กรรมการกฤษฎกี า ท่านมีชยั ฤชุพันธ ์ เหน็ วา่ อัยการสูงสดุ ควรด�ารงตา� แหนง่ ประธานคณะกรรมการอัยการ
ดว้ ย เช่นเดียวกับประธานศาลฎีกาซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการตุลาการ”

156

คุณจุลสิงห์ข้ึนรับต�าแหน่งอัยการสูงสุดเม่ือวันท่ี ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ในวันแรกท่ีท่านได้รับ
ต�าแหน่ง ท่านได้แถลงนโยบายของท่านพร้อมท้ังหลักท่ีท่านยึดถือปฏิบัติในการท�างาน (motto) ดังน้ี
• พัฒนาการอ�านวยความยุติธรรมทางอาญา ท้ังการวินิจฉัยส่ังคดี และการด�าเนินคด ี
ชน้ั ศาลใหม้ มี าตรฐานความเปน็ กลาง เทยี่ งธรรม เปน็ ทย่ี อมรบั ของสงั คม และเปน็ หนว่ ยงานหลกั อนั เปน็ ทพ่ี ง่ึ
ส�าคญั ในกระบวนการยุตธิ รรมทางอาญา พัฒนาการก�ากับดูแลการสอบสวน และเพมิ่ บทบาทของพนักงาน
อัยการในการสอบสวนคดีอาญา
• พฒั นาการด�าเนนิ คดแี พ่ง คดปี กครอง และการใหค้ �าปรึกษาหารอื กฎหมายให้มีประสทิ ธภิ าพ
รวดเรว็ ทนั ตอ่ เวลา รวมตลอดถงึ พฒั นาระบบการบังคบั คด ี รกั ษาผลประโยชนข์ องรฐั ให้บงั เกดิ ประสทิ ธผิ ล
อย่างเป็นรปู ธรรม
• สง่ เสรมิ งานคมุ้ ครองสทิ ธแิ ละชว่ ยเหลอื ทางกฎหมายแกป่ ระชาชนใหเ้ ปน็ หลกั ในการคมุ้ ครองสทิ ธิ
มนุษยชน การช่วยเหลือเหย่ืออาชญากรรม และการคุม้ ครองผูบ้ รโิ ภค และเพ่ิมบทบาทการตอ่ ตา้ นการค้า
มนุษยภ์ ายใตพ้ ันธกรณีระหว่างประเทศโดยเน้นการท�างานเชิงรกุ
• พัฒนาบทบาทของส�านกั งานอัยการสงู สุดในฐานะท่เี ป็นองค์กรตามรัฐธรรมนญู
• บรหิ ารงานดว้ ยหลกั ธรรมาภบิ าลตามแนวทางการบรหิ ารงานภาครฐั สมยั ใหม ่ โดยยดึ ประชาชน
เปน็ ศนู ยก์ ลางของการปฏบิ ตั งิ าน รบั ฟงั ความคดิ เหน็ ของบคุ ลากรในองคก์ รกอ่ นตดั สนิ ใจในสง่ิ ทม่ี ผี ลกระทบ
ต่อองคก์ รอยา่ งสา� คัญ มีระบบประเมนิ ผลทช่ี ดั เจนทกุ ระดับเพอ่ื ใหเ้ กดิ ความเปน็ ธรรมในการบรหิ ารงาน
• พัฒนาศักยภาพการท�างานของพนักงานอัยการสู่ระดับสากล และสร้างคลังสมองให้เกิด
การพัฒนาผู้ช�านาญการเฉพาะด้าน ทั้งน้ี โดยพัฒนาการท�างานของข้าราชการธุรการและบุคลากรอื่น
ของส�านักงานอัยการสูงสุดควบคู่ไปด้วยกัน พร้อมท้ังจัดหาทุนการศึกษาเพ่ือพัฒนาการปฏิบัติราชการ
ในทกุ ระดบั ชน้ั
• พัฒนางานวิจัย งานพัฒนากฎหมาย การยกร่างกฎหมาย และการชี้แจงร่างกฎหมาย
ให้มีประสิทธภิ าพอยา่ งมืออาชพี
• ยกระดบั มาตรฐานสวสั ดกิ าร คณุ ภาพชวี ติ และครอบครวั ของขา้ ราชการอยั การ ขา้ ราชการธรุ การ
และบคุ ลากรอนื่ ของสา� นกั งานอยั การสงู สดุ ใหเ้ หมาะสมกบั ตา� แหนง่ ขององคก์ รหลกั ในกระบวนการยตุ ธิ รรม
• ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายทางสังคมตลอดจนประชาสัมพันธ์ภารกิจและผลงานของส�านักงาน
อยั การสูงสุดให้สงั คมรับทราบอยา่ งสม�่าเสมอและตอ่ เนอื่ ง

ลักปฏิบัตทิ ่ที ่านยดึ ถื ในการทา� งานตล ดมา (motto)

เท่ียงธรรมเปน็ กลาง fairness, impartiality
รรค์ ร้าง ามัคคี unity
โปรง่ ใ ใน นา้ ที่ transparency
ภักดตี อ่ แผน่ ดนิ and loyalty

157

วนั แถลงนโยบาย วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อยั การสงู สดุ คนท่ี ๑๐

ภาพประวตั ศิ าสตร์อัยการสูงสุด ๑๐ ทา่ น ถ่ายภาพร่วมกนั เนอื่ งในโอกาส
พระราชบญั ญตั ิองคก์ รอยั การและพนกั งานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลบงั คับใช้

158

คุณจุลสิงห์ข้ึนรับต�าแหน่งอัยการสูงสุดท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของส�านักงานอัยการสูงสุด

ทเ่ี ปลย่ี นสถานภาพเปน็ องคก์ รอยั การตามรฐั ธรรมนญู นบั เปน็ ความทา้ ทายอยา่ งยงิ่ กบั ภารกจิ ในการบญั ญตั ิ

กฎหมายที่เก่ียวข้องกับองค์กรอัยการท่ีด�าเนินเร่ือยมาต้ังแต่ในช้ันของคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แล้วเสร็จ

จากนั้นรัฐบาลได้เสนอร่างกฎหมายดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซ่ึงเป็นท่ีทราบกันดีอยู่แล้ว

วา่ การพจิ ารณารา่ งกฎหมายแตล่ ะฉบบั ในสภานน้ั มขี นั้ ตอนยงุ่ ยากอยา่ งไร ดงั นน้ั คณุ จลุ สงิ ห ์ ในฐานะอยั การ

สงู สดุ ผรู้ บั ผดิ ชอบรา่ งกฎหมายจงึ ไดเ้ พยี รพยายามในการประสานงานกบั ผเู้ กยี่ วขอ้ งทกุ ฝา่ ยเพอ่ื ชแี้ จงเหตผุ ล

และความจา� เปน็ ในการยกรา่ งกฎหมายดงั กลา่ วดว้ ยตนเองทง้ั ในชน้ั สภาผแู้ ทนราษฎรและวฒุ สิ ภา จนกระทงั่

ท่ีประชุมสภาผู้แทนราษฎรไดล้ งมตเิ หน็ ชอบรา่ งพระราชบญั ญตั อิ งคก์ รอัยการและพนกั งานอยั การ พ.ศ. ....

และรา่ งพระราชบญั ญตั ริ ะเบยี บขา้ ราชการฝา่ ยอยั การ พ.ศ. .... ซงึ่ ตอ่ มาทปี่ ระชมุ วฒุ สิ ภาไดล้ งมตเิ หน็ ชอบกบั

รา่ งกฎหมายทง้ั ๒ ฉบบั โดยมกี ารแกไ้ ขเลก็ นอ้ ย และเมอื่ ตอ้ งสง่ กลบั มาพจิ ารณาทสี่ ภาผแู้ ทนราษฎรอกี ครงั้

หนง่ึ เมอื่ วนั พฤหสั บดที ี่ ๑๘ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ปรากฏวา่ ทปี่ ระชมุ สภาผแู้ ทนราษฎรไดล้ งมตเิ หน็ ชอบ

รา่ งกฎหมายทงั้ ๒ ฉบบั น้ี ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น ซงึ่ มีขอ้ ทน่ี า่ ยนิ ดวี า่ รา่ งกฎหมายท้ัง ๒ ฉบับดังกล่าว

ผา่ นรฐั สภาภายในสมยั ประชมุ ของสภาผแู้ ทนราษฎรสมยั เดยี วเทา่ นน้ั คอื ระหวา่ งเดอื นสงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ถึงเดอื นพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ทง้ั นีเ้ พราะสา� นกั งานอัยการสูงสดุ ได้รับความรว่ มมือรว่ มใจจากบคุ คลที่

เกย่ี วข้องทกุ ฝา่ ย อนั แสดงให้เหน็ ถึงความสามารถอันโดดเด่นของอัยการสูงสุดทา่ นน้ี

คุณจุลสิงห์ถือเป็นอัยการสูงสุด

ท่ีด�ารงต�าแหน่งยาวนานที่สุดท่าน

หน่ึง ในช่วงเวลา ๔ ปี ที่คุณ

จุลสิงห์ด�ารงต�าแหน่งอัยการสูงสุด

และอีก ๓ ปี ทด่ี �ารงต�าแหนง่ ประธาน

คณะกรรมการอัยการ มีเหตุการณ์

ต่าง ๆ เกิดข้ึนมากมาย การที่ท่าน

ด�ารงต�าแหน่งอย่างยาวนานท�าให้

ท่านสามารถพัฒนาองค์กรอัยการให้

รุดหนา้ ก้าวไกล มเี กยี รติและศักดิ์ศรี

เทยี บเทา่ องคก์ รตามรฐั ธรรมนญู อนื่ ๆ

คุณประธาน จุฬาโรจน์มนตรี

ซง่ึ ขณะนน้ั ดา� รงตา� แหนง่ รองเลขานกุ าร

รองอยั การสงู สดุ ได้มีโอกาสติดตาม

คุ ณ จุ ล สิ ง ห ์ ไ ป ชี้ แ จ ง ก ฎ ห ม า ย

เก่ียวกับองค์กรอัยการเล่าว่า ส่ิงที่

ทา่ นจุลสิงหก์ บั เพอ่ื นขา้ ราชการอัยการ เป็นความคิดริเริ่มของคุณจุลสิงห ์

159

ในกฎหมายว่าดว้ ยองคก์ รอัยการและพนกั งานอัยการมอี ยู ่ ๔ เรือ่ ง คือ

หนึ่ง องค์กรอัยการเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
ซงึ่ ในรฐั ธรรมนญู กา� หนดวา่ พนกั งานอยั การตอ้ งปฏบิ ตั หิ นา้ ทด่ี ว้ ยความเทยี่ งธรรม แตใ่ นรา่ งพระราชบญั ญตั ิ
องคก์ รอัยการและพนกั งานอยั การ มาตรา ๗ ก�าหนดให้องคก์ รอัยการประกอบด้วยคณะกรรมการอยั การ
(ก.อ.) อยั การสูงสดุ และพนกั งานอัยการอน่ื โดยมีส�านกั งานอัยการสูงสดุ เปน็ หนว่ ยธุรการ ซึ่ง ก.อ. อาจ
ประกอบด้วยบคุ คลท่ีไม่ใชพ่ นักงานอัยการก็ได้ ท่านจลุ สิงห์จงึ ขอให้เพิ่มบทบัญญตั เิ ป็นมาตรา ๘ ทก่ี า� หนด
ว่า “การปฏิบัติหน้าท่ีขององค์กรอัยการต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและหลักนิติธรรม” ซ่ึง
หมายความว่าการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการอัยการก็ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายและหลักนิติธรรม
ด้วย

สอง เร่ืองการฟ้องคดีอาญาซึ่งเป็นระบบดุลพินิจ พนักงานอัยการสามารถใช้ดุลพินิจ
ในการสงั่ ไมฟ่ อ้ งคดที ไี่ มเ่ ปน็ ประโยชนแ์ กส่ าธารณชน หรอื จะมผี ลกระทบตอ่ ความปลอดภยั หรอื ความมน่ั คง
ของชาติ หรอื ตอ่ ผลประโยชน์อนั ส�าคญั ของประเทศได ้ ซ่ึงประมวลกฎหมายวธิ พี จิ ารณาความอาญาไม่ได้
บญั ญตั เิ รอ่ื งนไี้ ว ้ แตถ่ กู กา� หนดไวใ้ นระเบยี บวา่ ดว้ ยการดา� เนนิ คดอี าญาของพนกั งานอยั การ ทา่ นจลุ สงิ หเ์ ปน็
บคุ คลแรกทผี่ ลักดันให้มีการน�าการใช้ดุลพนิ ิจของพนักงานอยั การในเรอื่ งนีม้ าบญั ญตั ิไว้ในมาตรา ๒๑ แห่ง
พระราชบญั ญัติองคก์ รอยั การและพนกั งานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญตั ิ

สาม ซ่ึงมีความส�าคัญต่อการบริหารองค์กรอัยการเป็นอย่างมากคือ ในมาตรา ๒๗ บัญญัติให้
อัยการสูงสุดมีอ�านาจบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของส�านักงานอัยการ
สูงสุด และมีอ�านาจออกระเบียบโดยความเห็นชอบของ ก.อ. เก่ียวกับการบริหารจัดการงบประมาณ
การเงนิ ทรพั ย์สนิ และการพสั ดุของสา� นกั งานอยั การสงู สดุ ได้ ซง่ึ ทา� ใหส้ �านกั งานอัยการสูงสุดมีความเปน็
อิสระในการบรหิ ารทางดา้ นการเงนิ และงบประมาณอยา่ งทไี่ ม่เคยปรากฏมาก่อนในยุคใดสมยั ใด

ส่ี เป็นความคิดริเร่ิมของท่านและถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างสูงสุดขององค์กรอัยการ คือการท่ี
พระราชบัญญตั ริ ะเบียบขา้ ราชการฝา่ ยอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๓๗ ไดบ้ ญั ญตั ิให้อัยการประจา� กอง
และอัยการจังหวัดผู้ช่วยก่อนเข้ารับหน้าท่ีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับ
การด�ารงต�าแหน่งของข้าราชการตุลาการ ซึ่งระหว่างที่ท่านจุลสิงห์ด�ารงต�าแหน่งอัยการสูงสุด ท่าน
จะน�าพนักงานอัยการ ที่จะเข้ารับหน้าที่ถวายสัตย์ด้วยตนเองต่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทกุ ครั้ง

160

สมเด็จพระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟ้าพชั รกิตยิ าภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณสี ิริพัชร มหาวชั รราชธิดา
เมื่อคร้งั ดาำ รงพระอิสริยยศเป็นพระเจา้ หลานเธอ พระองค์เจา้ พชั รกติ ยิ าภา

ทรงนาำ อัยการผู้ช่วยเขา้ ถวายสตั ย์ปฏิญาณ ณ โรงพยาบาลศริ ริ าช เม่อื วันจนั ทรท์ ่ี ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

คุณจุลสิงห์เป็นข้าราชการที่จงรักภักดีและผูกพันกับสถาบันกษัตริย์อย่างสูงยิ่ง เป็นท่ีทราบกันดีว่า
สมเดจ็ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสารณิ สี ิริพชั ร มหาวชั รราชธิดา
ทรงรับราชการอัยการ และด้วยพระอัจฉริยภาพและสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระองค์ ขณะท่ีด�ารง
พระอสิ รยิ ยศเปน็ พระเจา้ หลานเธอ พระองคเ์ จา้ พชั รกติ ยิ าภา ทที่ รงเหน็ ความสา� คญั ของปญั หาการใชค้ วาม
รุนแรงต่อผู้หญิงทมี่ มี าชา้ นานอนั เปน็ การละเมดิ สทิ ธิมนษุ ยชนขนั้ พ้ืนฐาน
เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ พระองค์ทรงรับเป็นองค์ทูตสันถวไมตรีให้กับกองทุนการพัฒนา
เพอ่ื สตรีแหง่ สหประชาชาติ หรือ UNIFEM (United Nations Development Fund for Women) ซ่ึงตอ่ มา
ไดเ้ ปล่ยี นช่ือเป็น UN Women) โดยใน พ.ศ. ๒๕๕๒ พระองคท์ รงให้การสนับสนนุ โครงการ “SAY NO -
UNiTE to End Violence against Women” ของสหประชาชาต ิ ทรี่ ณรงคใ์ หป้ ระชาคมโลกตระหนกั ถงึ ปญั หา
ความรนุ แรงตอ่ ผหู้ ญงิ โดยไดเ้ ปดิ ใหม้ กี ารลงชอ่ื สนบั สนนุ การยตุ คิ วามรนุ แรงตอ่ ผหู้ ญงิ ผา่ นทางอนิ เทอรเ์ นต็
ในการนปี้ ระเทศไทยภายใตพ้ ระบารมขี องพระองคท์ า่ น ทา� ใหส้ ามารถรวบรวมรายชอื่ ไดก้ วา่ ๓ ลา้ นรายชอื่
จาก ๕,๐๖๖,๕๔๙ รายชื่อทั่วโลก ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๕๓ มีพระด�าริให้แปรเปล่ียนเสียงสนับสนุน

161

การศึกษาดูงานเรอื รบหลวงจักรนี ฤเบศร หลักสูตรรองอัยการจงั หวดั คมุ้ ครองสิทธแิ ละช่วยเหลอื ประชาชน
ทางกฎหมาย เม่ือวันที่ ๓ มนี าคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม โดยทรงเป็นผู้น�าในการสร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นว่าการกระท�าความ
รุนแรงต่อผู้หญิงเป็นปัญหาสังคมไม่ใช่ปัญหาส่วนตัวอีกต่อไปและทรงมอบหมายให้ส�านักงานอัยการสูงสุด
จดั กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อยตุ คิ วามรุนแรงต่อผ้หู ญิงและเดก็ นอกจากกิจกรรมอบรมสรา้ งความร้คู วามเข้าใจ
ต่อปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กแล้ว ยังได้จัดสร้างโมบายกระดิ่งท่ีทรงประทานให้เป็นสัญลักษณ ์
ในการรณรงค์สร้างเครือข่ายยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงในทุกครัวเรือนให้เสียงโมบายกระด่ิงเตือนให ้
คนในครอบครัวมีสติยั้งคิด ยั้งท�า ไม่กระท�าความรุนแรงต่อผู้อื่นในทุกรูปแบบ ซ่ึงประเทศไทยสามารถ
รวบรวมได้ถึง ๖๒๒,๑๘๙ กจิ กรรม จากเปา้ หมายของสหประชาชาติ จ�านวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ กิจกรรม
ดังน้ัน เพ่อื เปน็ การสานต่อพระด�าริของพระองค ์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ สา� นกั งานอยั การ
สูงสุด ภายใต้การนา� ของคณุ จุลสงิ ห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสดุ ในขณะน้นั จงึ ได้จดั ตง้ั ส�านกั งานกิจการและ
โครงการในพระด�าริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (พระอิสริยยศในขณะน้ัน) ข้ึนเพ่ือ
ปฏิบัติภารกิจของส�านักงานอัยการสูงสุดในการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก รวมไปถึงจัดโครงการ
และกจิ กรรมตา่ ง ๆ เกีย่ วกบั การยุตคิ วามรนุ แรงตอ่ ผูห้ ญิงและเด็กตามแนวพระด�ารขิ องพระองค์ ตอ่ เนอ่ื ง
เป็นที่ประจักษ์มาจนถึงปัจจบุ ัน

162

กจิ กรรมรณรงคย์ ุตคิ วามรนุ แรงตอ่ ผูห้ ญิง ณ สาำ นักงานอยั การสูงสดุ พ.ศ. ๒๕๕๓

วันสากลยุตคิ วามรุนแรงต่อผู้หญิง ณ องคก์ ารสหประชาชาติ เม่ือวันท่ี ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓

163

อาจกลา่ วไดว้ ่าในช่วง พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๖

ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและ

พนกั งานอยั การ พ.ศ. ๒๕๕๓ มผี ลบังคบั ใชแ้ ล้ว ใน

ระหวา่ งทท่ี า่ นดา� รงตา� แหนง่ อยั การสงู สดุ และประธาน

คณะกรรมการอยั การนนั้ ไดม้ กี ารออกอนบุ ญั ญตั ติ าม

ความในพระราชบัญญตั ฉิ บับน้เี ปน็ จ�านวนมาก ไมว่ า่

จะเป็นระเบียบ ประกาศ ท่ีเกี่ยวกับคณะกรรมการ

อัยการ ระเบียบ ข้อก�าหนด ประกาศ ท่ีเก่ียวกับ

ข้าราชการอัยการ ระเบียบท่ีเกี่ยวกับข้าราชการ

ธุรการ ระเบียบและประกาศท่ีเกี่ยวกับการเงิน การ ท่านจลุ สิงห์ ขณะร่วมกจิ กรรมยุติความรนุ แรง
งบประมาณ การพัสดุ การบริหารราชการส�านกั งาน

อัยการสูงสุด และระเบียบที่เก่ียวกับการด�าเนินคด ี

ซึ่งครอบคลุมและเป็นกลไกส�าคัญในการขับเคล่ือน

องค์กรอยั การครบทกุ ดา้ น คณุ จลุ สงิ ห์ใหค้ วามส�าคัญ

ในการยกร่างอนุบัญญัติไม่ต่างจากการตรวจร่าง

สัญญาของกองท่ีปรึกษา ท่านมีค�าสั่งต้ังคณะท�างาน

ยกร่างอนุบัญญัติขึ้นหลายคณะ โดยแต่ละคณะมีผู้

ตรวจการอัยการเป็นประธาน เมอื่ คณะท�างานยกรา่ ง

อนุบญั ญัติเสร็จแลว้ ทา่ นไดต้ ้งั คณะท�างานกลน่ั กรอง กจิ กรรมถูกจัดขน้ึ อย่างตอ่ เนอื่ งท่ัวประเทศ
อนุบัญญัติข้ึนโดยมีท่านเป็นประธานและท่านจะเข้า เสียงโมบายกระดิ่งดังไม่เคยขาดสาย
ร่วมในการประชมุ กล่ันกรองรา่ งอนุบัญญตั ิดว้ ยตัวเอง

ทุกฉบับ

ระเบยี บทท่ี า่ นใหค้ วามสา� คญั เปน็ อยา่ งมากคอื ระเบยี บทเ่ี กยี่ วกบั คา่ ตอบแทนการปฏบิ ตั งิ านเพอื่ เปน็

ขวญั และกา� ลงั ใจแกผ่ ปู้ ฏบิ ตั งิ าน เชน่ เงนิ รางวลั ตอบแทนพเิ ศษเพอ่ื มงุ่ เนน้ ผลสมั ฤทธข์ิ องสา� นกั งานอยั การใน

พืน้ ทีพ่ เิ ศษชายแดนภาคใต้ คา่ ตอบแทนเหมาจา่ ยแทนการจัดหารถประจ�าตา� แหน่ง ส�าหรบั ตา� แหน่งอัยการ

ผเู้ ชี่ยวชาญและอยั การอาวุโส เงนิ ค่าโทรศัพทเ์ คลอื่ นทสี่ �าหรับขา้ ราชการฝ่ายอัยการ เงนิ ค่าตอบแทนพิเศษ

ของข้าราชการธรุ การ ส�านกั งานอัยการสงู สุด และเงนิ เพ่ิมพเิ ศษส�าหรบั ตา� แหนง่ นิติกร (พตก.) จากผลงาน

ดงั กลา่ วของทา่ นนบั วา่ สา� นกั งานอยั การสงู สดุ ไดร้ บั การพฒั นาอยา่ งมาก ทา� ใหข้ า้ ราชการฝา่ ยอยั การมขี วญั

ก�าลังใจและมีความมุ่งม่ันในการปฏิบัติหน้าที่มากย่ิงข้ึน เพราะได้รับการจัดสรรและจัดหาอัตราก�าลังของ

บคุ ลากรทง้ั ฝา่ ยธรุ การและพนกั งานอยั การเพม่ิ มากขนึ้ ใหเ้ พยี งพอตอ่ การรองรบั ปรมิ าณงานทเี่ พมิ่ ขน้ึ มกี าร

กอ่ สรา้ งอาคารสถานทที่ า� งานและทพี่ กั ในแตล่ ะเขตในแตล่ ะจงั หวดั เพมิ่ มากขน้ึ ทา� ใหเ้ กดิ ความสะดวกสบาย

ในการปฏบิ ตั หิ นา้ ท ี่ รวมถงึ การไดร้ บั คา่ ตอบแทนและสวสั ดกิ ารตา่ งๆ ดว้ ย หรอื แมแ้ ตเ่ ครอ่ื งแบบขา้ ราชการ

164

ฝ่ายอัยการ ซ่ึงเดิมใช้แบบเดียวกับข้าราชการพลเรือน ท่านก็ยังให้มีการออกแบบและจัดท�าอินทรธนูใหม่
ส�าหรับขา้ ราชการอัยการโดยเฉพาะ
มเี รื่องเล่าจากอยั การทอ่ี ยใู่ นคณะทา� งานกลั่นกรองอนบุ ญั ญตั วิ า่ คณุ จลุ สิงห์ชอบงานยกรา่ งระเบยี บ
มาก ทา่ นเปน็ เหมือนครสู อนทุกคนในการยกร่าง การประชมุ คณะทา� งานกล่ันกรองจะจัดข้ึนทหี่ อ้ งประชุม
เลก็ ในหอ้ งอยั การสูงสดุ ทา่ นจะนง่ั ประชุมอยโู่ ดยตลอด แต่เม่ือมแี ขกมาพบหรอื มีงานดว่ นท่านจะปลกี ตัว
ออกไปแล้วกลบั เข้ามานั่งประชุมตอ่ จนเสร็จ หลายครงั้ กเ็ ลิกดึกดืน่ บางคร้ังท่านบอกกบั คณะทา� งานวา่ จะ
ออกไปงานศพก่อนแลว้ จะกลับเขา้ มาใหม่ตอนสามทุ่ม ขอให้ทกุ คนประชุมไปเรอื่ ย ๆ จนกว่าท่านจะกลบั
มา ที่เป็นเช่นน้ีเพราะท่านให้นโยบายว่าทุกคราวที่มีการประชุม ก.อ. จะต้องเสนออนุบัญญัติให้ท่ีประชุม
ก.อ. พจิ ารณาครัง้ ละ ๒ ฉบบั เสมอ ครั้งหน่ึงเมอ่ื มกี ารจัดงานกฐนิ ของสา� นกั งาน ส�านกั งาน ก.อ. จงึ เห็น
ชอบให้น�าอนุบัญญัติเหล่าน้ีมารวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือแจกในงานกฐิน ซึ่งก็เป็นหนังสือท่ีมีความหนาพอ
สมควรและเปน็ ทีต่ อ้ งการของข้าราชการฝ่ายอัยการเป็นอยา่ งมาก

“การทา� งานใ ้ �าเรจ็ คุณต้ งมี passion”
แมด้ ว้ ยภารกจิ ทรี่ ดั ตวั และมหี ลายเรอื่ งทต่ี อ้ งตดั สนิ ใจในฐานะผนู้ า� องคก์ ร หลายครงั้ ทท่ี า่ นตอ้ งทา� งาน
จนดกึ ดนื่ แตภ่ าพทผี่ ใู้ ตบ้ งั คบั บญั ชาทไ่ี ดร้ ว่ มงานกบั ทา่ นไดพ้ บเหน็ อยเู่ ปน็ ประจา� คอื ทา่ นจะทา� งานดว้ ยทา่ ท ี
ท่ีสบาย ๆ มอี ารมณ์ขัน ประโยคหน่ึงทท่ี ่านมกั จะบอกแก่ทมี เลขาฯ ของทา่ นอยเู่ สมอคือ

“การท�างานให้ส�าเรจ็ คุณตอ้ งมี passion”

๓ ป ี ทค่ี ณุ จลุ สิงหท์ �าหนา้ ทีป่ ระธานคณะกรรมการอัยการ ก�ากับควบคุมการประชุมท่ีมกี ารถกเถยี ง
แสดงความเหน็ กันอย่างเครง่ เครียด จรงิ จัง และดว้ ยความทท่ี า่ นเปน็ คนอารมณด์ ี มคี วามเป็นกนั เองเขา้ ถงึ
งา่ ยและมอี ารมณข์ ัน การประชุมคณะกรรมการอัยการในสมัยทา่ นจึงผา่ นไปอยา่ งราบรืน่ และผ่อนคลาย มี
เร่ืองเล่าข�าขันที่สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภาพอันเป็นเสน่ห์ของท่านในช่วงท่ีอยู่ระหว่างการบัญญัติกฎหมาย
องค์กรอัยการใน พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งท่านผลักดันจนส�าเร็จในวาระท่ี ๓ ในช้ันวุฒิสภา โดย คุณสมชาย
คูวิจิตรสุวรรณ อดีตอธิบดีอัยการ ส�านักงานนโยบาย ยุทธศาสตร์ และงบประมาณ อดีตอธิบดีอัยการ
ส�านักงานคณะกรรมการอัยการ และอดีตอธิบดอี ัยการ ส�านักงานคดเี ศรษฐกิจและทรัพยากร เล่าวา่

“คนื นน้ั ท่านต้องไปรอช้แี จงคณะสมาชกิ วุฒิสภา และเพ่ือลงมตใิ นวาระท ่ี ๓ จนค�า่ มดื กว่าจะเสรจ็
กร็ าว ๔ ทุม่ เศษ ผมและคณะอยั การธรุ การส�านักงานนโยบาย ยทุ ธศาสตร์ และงบประมาณ ก็ไปนั่งรอลุ้น
และเอาใจชว่ ยทา่ นอยทู่ ร่ี า้ นอาหารแหง่ หนง่ึ แถววสิ ทุ ธกิ ษตั รยิ ์ จนกระทงั่ ทราบขา่ วกฎหมายผา่ นสภาเรยี บรอ้ ย
แล้วท่านจะกลับบ้าน ท่านก็ให้เกียรติมารว่ มทานอาหารกับพวกเราและเล่าเร่ืองทไ่ี ปสภามา สดุ ท้ายท่านก็
รอ้ งเพลงใหท้ กุ คนในท่นี ัน้ ฟงั คอื เพลง ‘Moonlight Swim’

165

ถัดจากนั้นก็ถึงคิวพวกเราข้ึนกล่าวแสดงความยินดีและขอบคุณท่านท่ีท�างานให้ส�านักงานอัยการ
สงู สดุ จนสา� เรจ็ นา่ ชนื่ ชม โดยทา่ นสชุ าต ิ หลอ่ โลหการ อดตี รองอธบิ ดอี ยั การ สา� นกั งานคณะกรรมการอยั การ
ขน้ึ กลา่ วแสดงความยนิ ด ี และขอรอ้ งเพลงเปน็ กา� ลงั ใจใหท้ า่ น พวกเรากล็ นุ้ วา่ จะรอ้ งเพลงอะไร ปรากฏเพลง
น้ันคือ ‘เชียงรายร�าลึก’ ท่านและพวกเราก็หัวเราะกันครนื เลยเพราะข�าขันทา่ นสุชาติและเป็นเพลงทที่ า่ นจา�
ทา่ นสชุ าติแมน่ ยา� เมื่อพูดถงึ ท่านสุชาติท่านก็จะบอกว่า ‘ออ๋ !! อยั การเชยี งรายร�าลกึ ’ ”

จากผลงานในชว่ ง ๔ ปี ท่ีทา่ นด�ารงตา� แหน่งดังกลา่ วมาขา้ งต้นนนั้ ซง่ึ สะทอ้ นถึงบคุ ลิกและลกั ษณะ
พิเศษหลายอยา่ งของท่านท่ีท�าใหก้ ารท�างานของท่านลุล่วงสา� เร็จเสมอ ซึ่งประการส�าคญั คือท่านมคี วามมงุ่
มนั่ ตง้ั ใจทา� งานทกุ เรอื่ งใหส้ า� เรจ็ มคี วามเดด็ ขาด แตอ่ อ่ นโยน มคี ณุ ธรรม จรยิ ธรรม เอาใจเขามาใสใ่ จเรามี
มนษุ ยสมั พนั ธท์ ดี่ กี บั ทกุ คน ทส่ี า� คญั คอื ทา่ นเปน็ คนสบาย ๆ ไมม่ คี วามวติ กกงั วลกบั งานทกุ เรอื่ งทจี่ ะทา� เมอ่ื
ผใู้ ตบ้ งั คบั บญั ชามปี ญั หาตอ้ งหารอื ทา่ น ทา่ นกจ็ ะบอกวา่ ไมม่ ปี ญั หาและกแ็ นะนา� ชว่ ยกนั แกไ้ ขปญั หา สดุ ทา้ ย
งานกส็ า� เรจ็ ลลุ ว่ งไมม่ ปี ญั หาใหต้ อ้ งวติ กกงั วลอยา่ งเชน่ ทที่ า่ นวา่ ทา่ นเปน็ อยั การสงู สดุ ทที่ กุ คนสามารถเขา้ ถงึ
ได ้ ไม่ว่าใครจะมีปญั หาอะไร ประตหู ้องท�างานของท่านจะเปดิ รบั เสมอ ด้วยความที่ท่านเปน็ คนไมถ่ ือเน้ือ
ถือตัว ให้ความเป็นกันเอง และรบั ฟงั ความคิดเหน็ ของผอู้ น่ื
ในการแตง่ ตงั้ โยกยา้ ยอยั การแตล่ ะครง้ั จะมอี ยั การตงั้ แตช่ นั้ อยั การผชู้ ว่ ย ถงึ อยั การระดบั สงู เขา้ พบทา่ น
ซงึ่ ทา่ นกใ็ จดมี ากใหเ้ ขา้ พบไดเ้ สมอ หากใครไดเ้ ขา้ มาทห่ี อ้ งอยั การสงู สดุ ในสมยั นน้ั กจ็ ะเหน็ บรรยากาศทคี่ กึ คกั
เตม็ ไปดว้ ยขา้ ราชการอยั การไมว่ า่ จะระดบั ผบู้ รหิ ารหรอื หวั หนา้ พนกั งานอยั การไปจนถงึ อยั การผปู้ ฏบิ ตั งิ าน
ตลอดจนข้าราชการและเจ้าหน้าท่ีธุรการ ที่มารอพบ
ท่านอย่างไม่เคยขาดสาย ซึ่งท่านไม่เคยปฏิเสธไม่ให้
เขา้ พบ ความเปน็ คนสบาย ๆ และเปน็ กนั เองของทา่ น
มใี หเ้ ห็นจากวิธีการบรหิ ารงานของทา่ นเสมอ
ท่านได้สร้างนวัตกรรมในการบริหารงานใน
บรรยากาศท่ีผ่อนคลายคือการจัด “สภากาแฟ” ขึ้น
ในตอนเช้าตร ู่ ชว่ งเวลาประมาณ ๗.๓๐ นาฬิกา ซงึ่
เป็นการพบปะกันระหว่างผู้บริหารของส�านักงาน
อยั การสงู สดุ เดอื นละ ๑ ครง้ั โดยทา่ นจะใชส้ ภากาแฟ
แห่งน้ีเป็นเวทีในการหารือ พูดคุย ไต่ถาม ติดตาม
งาน และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องตา่ งๆ ในการบรหิ าร
งานของสา� นกั งานทา่ มกลางบรรยากาศทเี่ ปน็ กนั เองไป
พรอ้ ม ๆ กบั การจบิ กาแฟและรบั ประทานอาหารเชา้
รว่ มกัน

ภาพจาก “สภากาแฟ”

166

แม้ท่านจะเป็นคนสบาย ๆ มีความเป็นกันเอง แต่ คุณภทั รา และคณุ จุลสงิ ห์ วสนั ตสิงห์
ท่านก็เป็นคนมุ่งม่ันต้ังใจท�างานอย่างจริงจังและใส่ใจราย ในงานเลยี้ ง IAP
ละเอียดปลีกย่อยแทบทกุ ด้าน ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ สา� นักงาน
อัยการสูงสุดเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมาคมอัยการโลก “Moonlight Swim” ท่พี ัทยา
(International Association of Prosecutors) เปน็ คร้งั แรก มี
อยั การทว่ั โลกกวา่ ๑๐๐ ประเทศเขา้ รว่ มงานทกี่ รงุ เทพมหานคร ลงนามความรว่ มมือระหว่างประเทศกบั
และทีพ่ ัทยา ในฐานะเจ้าภาพ คุณจลุ สงิ ห์ได้ผลกั ดนั เร่อื งการ อัยการสงู สดุ แห่งสหพนั ธรัฐรสั เซีย
ประชุมคร้ังนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพื่อขอรับ
การสนับสนุนงบประมาณการจัดงานจากรัฐบาลซึ่งนายก แถลงขา่ วคนขบั แทก็ ซน่ี าำ กระเปา๋ สตางคม์ ามอบ
รฐั มนตรใี นขณะนน้ั ไดเ้ หน็ ความสา� คญั ขององคก์ รอยั การและ คนื ใหผ้ แู้ ทนชาวตา่ งประเทศทม่ี ารว่ มประชมุ
ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงานด้วย ความส�าเร็จและ
คุณูปการจากการจัดงานครั้งนี้ท�าให้ทั่วโลกเห็นศักยภาพของ 167
ส�านักงานอัยการสูงสุด สง่ ผลใหอ้ ัยการสงู สดุ ของไทยซึ่งเดมิ
เปน็ เพยี งสมาชกิ สมาคม (member) ไดร้ บั เชญิ จากสมาคมให้
เปน็ คณะกรรมการบรหิ ารสมาคม (executive member) มา
จวบจนทกุ วนั น ้ี นบั เปน็ สง่ิ ทค่ี ณุ จลุ สงิ หภ์ าคภมู ใิ จเปน็ อยา่ งยง่ิ
ในการจัดการประชุมของสมาคมอัยการโลกครั้งน้ัน
คุณจุลสิงห์จะมาถึงสถานที่จัดประชุมต้ังแต่เช้า ท่านจะเดิน
ตรวจตราความเรียบร้อยของการจัดงาน พบปะพูดคุยกับ
บุคลากรของส�านักงานอัยการสูงสุดที่เป็นทีมจัดงานเพ่ือรับ
ฟังปัญหาที่เกิดข้ึนในแต่ละวัน พร้อมกับหาทางแก้ปัญหาให้
แม้กระท่ังมีอัยการจากประเทศหน่ึงเดินเข้ามาแจ้งกับท่านว่า
ยังไม่ได้รับกระเป๋าเดินทางจากสายการบินที่ผู้นั้นเดินทางมา
ท่านก็มีบัญชาให้ทีมผู้จัดงานไปติดตามมาให้ได้อย่างรวดเร็ว
หรือเมื่ออัยการจากประเทศหน่ึงลืมกระเป๋าสตางค์ไว้บนรถ
แท็กซ่ี แล้วคนขับแท็กซ่ีน�ามามอบคืนให้ ท่านก็จัดให้มีการ
แถลงข่าวโดยมีประธานกรรมการบริหารสมาคมเข้าร่วมด้วย
เพื่อขอบคุณคนขับแท็กซี่และเผยแพร่ภาพลักษณ์ท่ีดีให้แก่
ประเทศไทย สว่ นในค�่าคนื ทีม่ กี ารเล้ยี งตอ้ นรับคณะอยั การ
กวา่ รอ้ ยประเทศทีพ่ ทั ยาท่านกร็ อ้ งเพลง Moonlight Swim ซึ่ง
เปน็ เพลงโปรดของท่าน ให้แขกได้รับฟงั กันอยา่ งสนุกสนาน

อัยการสงู สุดผไู้ มม่ ีปัญหาและน่ารักเสมอ

“ ยั การ ูง ดุ ทไี่ มม่ ีปัญ า ผู้นา่ รักเ ม ”
หากจะกลา่ วสรปุ ถงึ อดตี อยั การสงู สดุ ทช่ี อ่ื จลุ สงิ ห ์ วสนั ตสงิ ห ์ คงไมม่ คี า� กลา่ วใดจะสมบรู ณไ์ ปกวา่ ท่ี
คุณสมชาย ควู จิ ิตรสุวรรณ ผรู้ ว่ มงานท่มี คี วามใกลช้ ิดสนทิ สนมกับคณุ จลุ สิงหเ์ ปน็ อยา่ งมาก ไดใ้ หค้ า� จ�ากัด
ความสา� หรับทา่ นไวว้ า่ “อัยการสงู สุดทีไ่ มม่ ีปัญหา ผูน้ า่ รกั เสมอ” พร้อมกับเลา่ ออกมาจากใจวา่

“ผมโชคดีทรี่ ับราชการมาก็พบแตผ่ ้บู งั คับบญั ชาท่ีดี เปน็ แบบอยา่ งผนู้ า� ทเ่ี ป็นตวั อย่างให้เราไดย้ ึดถอื
เป็นแนวทางปฏิบัติได้ ท่านจุลสิงห์ วสันตสิงห์ นับเป็นผู้บังคับบัญชาที่ดีท่ีผมเคารพรักมากท่ีสุดคนหน่ึง
ของอดีตอยั การสูงสุดหลาย ๆ ท่านที่ผา่ นมาตลอดชวี ติ รับราชการของผม เพราะท่านเปน็ ผนู้ า� องคก์ รท่ีมี
ความรู้ ความสามารถ มีความเท่ียงธรรม มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความอ่อนโยนแต่เด็ดขาด เป็นกันเอง
มมี นษุ ยสมั พนั ธท์ ด่ี ตี อ่ ผใู้ ตบ้ งั คบั บญั ชา เพอื่ นรว่ มงาน ตอ่ บคุ คลทวั่ ไป ทง้ั ภายในองคก์ รอยั การและภายนอก
ไมว่ า่ จะเป็นหนว่ ยงานภาครฐั รฐั วสิ าหกิจ หรอื ภาคเอกชน ทา่ นจะให้เกียรตทิ ุกคน มองโลกในแง่ด ี ทา่ น
เปน็ นกั กฬี าทง้ั รกั บแ้ี ละกอลฟ์ สง่ิ ตา่ ง ๆ เหลา่ นท้ี ท่ี า่ นสามารถนา� พาองคก์ รอยั การใหเ้ จรญิ กา้ วหนา้ ในทกุ ๆ
ด้านอย่างมาก อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าด้านการอ�านวยความยุติธรรมทั้งคดีอาญาและแพ่ง การคุ้มครอง
สทิ ธแิ ละเสรภี าพของประชาชน การเปน็ ทปี่ รกึ ษาดา้ นกฎหมายแกห่ นว่ ยงานของรฐั การพฒั นาบคุ ลากรของ
องคก์ รอยั การ ดา้ นการเพมิ่ อตั รากา� ลงั ทงั้ พนกั งานอยั การและธรุ การ ทงั้ จดั ใหม้ สี ทิ ธปิ ระโยชนแ์ ละสวสั ดกิ าร

168

ต่าง ๆ เช่น อาคารสา� นกั งาน อาคารบ้านพกั การบัญญัตกิ ฎหมายองคก์ รอยั การ จัดท�าระเบียบขอ้ บงั คับ
ตา่ ง ๆ ทเี่ กย่ี วเนอ่ื งมากมาย ทง้ั ดา้ นการบรหิ ารงานบคุ คล บรหิ ารงานงบประมาณ พสั ดคุ รภุ ณั ฑ ์ เพอ่ื อา� นวย
ความสะดวกในการปฏิบัติหน้าท่ีและด�ารงตนของบุคลากรในส�านักงานอัยการสูงสุด ท่านเป็นคนอ่อนโยน
แตเ่ ด็ดขาด เอ้อื อาทรต่อผู้เดอื ดรอ้ น ให้ค�าปรกึ ษาชแี้ นะ ชว่ ยเหลอื ได้ทกุ เรอ่ื ง บางครงั้ พวกเราท�างานจน
ค�่ามืดทา่ นก็จะเดินมาใหก้ �าลงั ใจเสมอ นัน่ เองเป็นท่ีมาวา่ ทา� ไมพวกเราทุกคนที่ได้สมั ผัสกบั ท่าน จึงรกั และ
เคารพท่านมาก พวกเราภมู ใิ จในตวั ท่านมาก”

ค�าพูดของคุณสมชายมิได้เป็นการกล่าวยกยอเกินจริงแต่อย่างใด เพราะในยุคท่ีคุณจุลสิงห์เป็น
รองอยั การสงู สดุ และอัยการสูงสุดน้นั คุณสมชายเป็นอธบิ ดอี ัยการ ส�านักงานนโยบาย ยุทธศาสตร์ และงบ
ประมาณ และอธบิ ดอี ยั การ สา� นักงานคณะกรรมการอัยการ รับผิดชอบทัง้ ส�านกั งานนโยบาย ยุทธศาสตร์
และงบประมาณ และส�านักงาน ก.อ. ซงึ่ เกีย่ วขอ้ งกบั การทจี่ ะตอ้ งจดั ทา� ค�าของบประมาณ การตดิ ตามการ
กอ่ สรา้ งอาคารสา� นกั งานท่พี ักในหลาย ๆ ส�านกั งาน หลายเขตทัว่ ประเทศ ในแต่ละปีงบประมาณปรากฏ
ผลงานมากมาย ดังตวั อยา่ งรายการ การก่อสร้างในปงี บประมาณ ๒๕๕๒ ถึง ๒๕๕๖ ดงั นี้

ปีงบประมาณ ๒๕๕๒

๑. โครงการกอ่ สร้างอาคารท่พี ักสำานกั งานอัยการจงั หวัดสกลนคร พรอ้ มส่งิ ก่อสรา้ งประกอบ จำานวน ๒๘ หนว่ ย
๒. โครงการก่อสร้างท่พี ักสำานกั งานอัยการจังหวัดสวา่ งแดนดนิ พร้อมสงิ่ ก่อสรา้ งประกอบ จำานวน ๑๗ หน่วย
๓. โครงการก่อสรา้ งที่พักสำานกั งานอยั การจังหวัดกาฬสินธ์ุ พรอ้ มสงิ่ กอ่ สร้างประกอบ จาำ นวน ๑๗ หน่วย
๔. โครงการกอ่ สร้างที่พักสำานักงานอยั การจงั หวดั ตรัง พร้อมบ้านพกั และสิ่งก่อสร้างประกอบ
๕. โครงการก่อสร้างทพ่ี กั สาำ นกั งานอยั การจงั หวดั สตูล พรอ้ มบ้านพกั และสง่ิ ก่อสร้างประกอบ
๖. โครงการก่อสรา้ งที่พักสาำ นักงานอยั การจงั หวัดอุดรธานี พร้อมบ้านพักและสิ่งกอ่ สรา้ งประกอบ
๗. โครงการกอ่ สร้างทพี่ กั สาำ นกั งานอยั การจังหวดั ทงุ่ สงและสาำ นกั งานคดปี กครองนครศรธี รรมราช พรอ้ มบ้านพกั และสง่ิ กอ่ สร้าง
ประกอบ

ปีงบประมาณ ๒๕๕๔

๑. โครงการกอ่ สรา้ งที่พักสำานักงานอัยการจงั หวัดพิมาย พร้อมบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบ
๒. โครงการก่อสร้างทพ่ี กั สาำ นักงานอยั การจังหวดั วเิ ชียรบรุ ี พรอ้ มบา้ นพักและสง่ิ กอ่ สรา้ งประกอบ
๓. โครงการก่อสรา้ งทีพ่ กั สำานกั งานอยั การจงั หวัดนครสวรรค์ พรอ้ มบา้ นพักและส่งิ กอ่ สร้างประกอบ
๔. โครงการกอ่ สร้างท่ีพกั สำานกั งานอัยการจังหวดั กำาแพงเพชร พร้อมบา้ นพักและสงิ่ ก่อสร้างประกอบ
๕. โครงการก่อสรา้ งทพ่ี กั สาำ นักงานอยั การจงั หวัดปทมุ ธานี พรอ้ มบ้านพกั และส่งิ ก่อสร้างประกอบ
๖. โครงการก่อสรา้ งท่พี ักอาศัยขา้ ราชการสาำ นกั งานอยั การจงั หวัดกระบ่ี พรอ้ มสงิ่ กอ่ สรา้ งประกอบ รวม ๓๒ หนว่ ย
๗. โครงการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยขา้ ราชการสาำ นกั งานอยั การจงั หวดั ขอนแก่น พร้อมส่งิ ก่อสรา้ งประกอบ รวม ๓๔ หน่วย

169

๘. โครงการกอ่ สร้างอาคารชดุ พกั อาศัยขา้ ราชการสาำ นักงานอัยการจงั หวดั กบนิ ทร์บรุ ี พร้อมส่งิ กอ่ สรา้ งประกอบ รวม ๑๒ หนว่ ย
๙. โครงการกอ่ สรา้ งอาคารชุดพักอาศยั ข้าราชการสำานกั งานอัยการจังหวดั กาญจนบุรี พร้อมสิง่ กอ่ สร้างประกอบ รวม ๑๕ หน่วย

ปีงบประมาณ ๒๕๕๕

๑. โครงการกอ่ สรา้ งอาคารสำานักงานอัยการจงั หวดั สุรินทร์ พรอ้ มบา้ นพกั และส่งิ ก่อสร้างประกอบ
๒. โครงการกอ่ สร้างอาคารสำานักงานอัยการจังหวดั ชุมพร พรอ้ มบ้านพักและสิง่ ก่อสรา้ งประกอบ
๓. โครงการก่อสรา้ งอาคารสาำ นกั งานอยั การจังหวัดมกุ ดาหาร พร้อมบ้านพกั และสิง่ กอ่ สรา้ งประกอบ
๔. โครงการกอ่ สร้างอาคารสำานักงานอัยการจังหวดั เพชรบุรี พร้อมสิ่งกอ่ สร้างประกอบ

ปงี บประมาณ ๒๕๕๖

๑. โครงการกอ่ สร้างอาคารสาำ นกั งานอัยการจงั หวดั เกาะสมุย พรอ้ มบ้านพกั และสิ่งก่อสร้างประกอบ
๒. โครงการก่อสรา้ งอาคารสำานกั งานอัยการจังหวดั นาทวี พร้อมบา้ นพักและสง่ิ ก่อสร้างประกอบ
๓. โครงการกอ่ สรา้ งอาคารสาำ นักงานอยั การจังหวัดชมุ พร พร้อมบา้ นพกั และส่งิ ก่อสรา้ งประกอบ
๔. โครงการกอ่ สร้างอาคารสำานักงานคดีปกครองเชียงใหม่ พร้อมบ้านพักและสงิ่ กอ่ สร้างประกอบ

ท้ังงานกอ่ สรา้ งอาคารสา� นกั งาน บา้ นพัก งานจัดตง้ั ส�านกั งานภายในเพิม่ เตมิ และงานออกระเบียบ
เก่ยี วกับเงินค่าตอบแทนและสวสั ดิการตา่ ง ๆ ดงั ท่ไี ด้กลา่ วมาข้างตน้ จะไม่ส�าเรจ็ แน่หากไมไ่ ด้ผู้นา� อยา่ ง
ทา่ นจลุ สงิ หเ์ ปน็ ผชู้ แ้ี นะ ตดิ ตอ่ ประสานงานกบั ทกุ หนว่ ยงานทเ่ี กยี่ วขอ้ ง ไมว่ า่ จะเปน็ สภาผแู้ ทนราษฎร รฐั บาล
กระทรวงการคลัง ส�านักงบประมาณ กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย เริ่มต้ังแต่การจัดท�าค�าของบ
ประมาณ การไปชแ้ี จงตอ่ คณะกรรมาธกิ ารงบประมาณ ซงึ่ กวา่ จะสา� เรจ็ ไดง้ บประมาณกต็ อ้ งเหนด็ เหนอ่ื ยกนั
มาก ๆ เมอ่ื ไดร้ บั การอนมุ ตั งิ บประมาณมาแลว้ กต็ อ้ งบรหิ ารจดั การใชง้ บประมาณใหท้ นั การและคมุ้ คา่ ทส่ี ดุ
ท่านจะตดิ ตามกวดขันใหเ้ ร่งด�าเนินการอยา่ งจรงิ จงั บ่อยครง้ั ท่านต้องเดนิ ทางไปตามสา� นกั งานเขตตา่ ง ๆ
ที่ไดร้ บั จดั สรรงบประมาณด้วยตนเอง ตอ้ งนา� ทมี งานของสา� นกั งานนโยบาย ยุทธศาสตร์ และงบประมาณ
และสา� นกั งาน ก.อ. ออกไปชแ้ี จงกบั อยั การและผเู้ กยี่ วขอ้ งใหร้ บั ทราบถงึ นโยบายและเรง่ รบี การใชง้ บประมาณ
ใหท้ นั ปงี บประมาณ ทา� ใหก้ ารใชง้ บประมาณของสา� นกั งานอยั การสงู สดุ เกดิ ประสทิ ธภิ าพสงู สดุ ปญั หาตา่ ง ๆ
หากจะมกี จ็ ะลดน้อยหรือหมดไป เพราะท่านไปให้ค�าแนะนา� และติดตามอยา่ งสมา�่ เสมอนั่นเอง
แม้ภารกิจในฐานะผู้น�าสงู สุดขององคก์ รจะมากมายเพยี งใด คุณจลุ สงิ หก์ ็ไมล่ ืมท่ีจะห่วงใยและคอย
ดูแลสารทุกข์สุกดิบรวมถึงความเป็นอยู่ของผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอ ๆ คุณธรัมพ์ ชาลีจันทร์ เลขานุการ
ของท่านเลา่ ความประทบั ใจทีม่ ตี อ่ ท่านว่า

“ทา่ นเป็นคนสบาย ๆ เป็นคนคดิ บวก มี passion ในการทา� งาน แม้งานจะมากมายเพียงใดทา่ นก็
จะทา� อยา่ งมีความสุขจนงานน้ันส�าเรจ็ ลลุ ว่ ง แมจ้ ะเกิดปัญหาหรอื อุปสรรค ท่านกไ็ ม่เคยเก็บมาเครียดหรอื

170

เกบ็ มาคดิ ใหบ้ ่ันทอน ทา่ นรกั ลกู นอ้ งและไม่เคยเบียดเบียนลูกน้อง ผมจา� ได้วา่ ทา� หน้าที่เป็นเลขาฯ ของทา่ น
มาเป็นเวลา ๙ ป ี เคยเลี้ยงข้าวทา่ นแค่ครงั้ เดยี วเนอ่ื งในวันเกิดของทา่ น ท่านไมเ่ คยยอมให้ลูกน้องเล้ยี งข้าว
หรอื จา่ ยเงินอะไรใหท้ ่านเลย มีอย่คู รง้ั หนง่ึ ผมตดิ ตามท่านไปงานพิธีซ่งึ ต้องใสช่ ดุ ขา้ ราชการสขี าว ผา้ ทีต่ ดั
ชดุ ของผมสขี าวผดิ ปกติจนพีแ่ ดง ภรรยาของท่านทักวา่ ชดุ ผมสีขาวไปหรือเปลา่ ทา่ นกห็ ันมาแลว้ บอกว่าไม่
เห็นจะขาวไปเลย ใช้ได้แลว้ แสดงใหเ้ หน็ วา่ ทา่ นรกั และปกปอ้ งลูกนอ้ งในทุก ๆ เร่ือง”

ส�าหรับข้อคิดและการปฏิบัติตัวของท่านในการท�างานนั้น คุณประธาน จุฬาโรจน์มนตรี เป็น
ตวั แทนของคณะเลขานุการบอกเล่าความประทบั ใจทีม่ ีตอ่ ท่านวา่

“ในการทา� งาน ทา่ นมองผลประโยชน์ของประเทศชาติเปน็ หลัก ท่านเป็นคนใหค้ วามสา� คญั กบั งาน
ราชการของส�านกั งานอยั การสงู สดุ มาก แม้ท่านจะได้รบั แตง่ ต้ังเปน็ คณะกรรมการบริหารรฐั วสิ าหกิจซึง่ ใน
การประชมุ แตล่ ะครงั้ ไดร้ บั เบยี้ ประชมุ เปน็ หลกั หมนื่ แตถ่ า้ รฐั วสิ าหกจิ นน้ั นดั ประชมุ ตรงกบั งานของสา� นกั งาน
ซ่ึงเป็นความรับผดิ ชอบของท่าน ท่านเลอื กทจ่ี ะเขา้ ประชมุ หรอื อยู่ทา� งานท่สี �านักงานอัยการสูงสดุ เสมอโดย
ไม่มีเบี้ยประชุมแม้แต่บาทเดียว งานคดี งานเอกสารในความรับผิดชอบของท่าน ท่านไม่เคยมีงานค้าง
บางคร้งั ทา่ นก็น่ังท�าจนดึกดื่นหรือเขา้ มาท�างานในวันหยดุ ดว้ ย”

คณุ จลุ สงิ หถ์ า่ ยภาพรว่ มกบั คณะเลขานุการอยั การสงู สดุ

171

ความเมตตาห่วงใยของท่านที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

มไิ ดม้ เี ฉพาะตอ่ บคุ คลใกลต้ วั เทา่ นน้ั แตท่ า่ นใสใ่ จและใหค้ วาม

สา� คญั กบั บคุ ลากรของสา� นกั งานอยั การสงู สดุ อยา่ งทว่ั ถงึ นอก

เหนอื จากการออกระเบยี บเกย่ี วกบั คา่ ตอบแทนและสวสั ดกิ าร

ตา่ ง ๆ เป็นจา� นวนมากดงั ท่ีไดก้ ลา่ วขา้ งตน้ แลว้ ทกุ ๆ ปี

ส�านักงานอัยการสูงสุดจะจัดงานวันกีฬาท่ีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต

ทา่ นจะใหค้ วามสา� คญั กบั งานกฬี ามาก เพราะเปน็ วนั ทอ่ี ยั การ กับท่านพงษน์ วิ ฒั น์ ยทุ ธภณั ฑบ์ ริภาร

เจ้าหน้าที่ ข้าราชการธุรการและครอบครัวทั่วประเทศจะได้ อยั การสงู สดุ คนท่ี ๑๓ ในงานกฬี า

ร่วมพบปะสงั สรรค์กนั ในตอนกลางคืนซง่ึ มงี านเล้ยี ง เราจะ

ไดเ้ หน็ ทา่ นจลุ สงิ หเ์ ดนิ ทกั ทายถา่ ยรปู กบั ขา้ ราชการธรุ การทกุ

โต๊ะอย่างทั่วถึงและไม่ถือเน้ือถือตัว ของรางวัลและเงินขวัญ

ถุงส�าหรับข้าราชการอัยการสามจังหวัดชายแดนจะต้องจัด

ให้เตม็ ท่ีเพื่อเป็นขวญั และกา� ลังใจในการปฏบิ ัติหนา้ ที่ในพนื้ ที่

เสี่ยงภัย ๔ ปีท่ีท่านเดินทางไปตรวจราชการทุกภาคใบหน้า

ของท่านจะเปื้อนไปด้วยรอยยิ้มแห่งความสุขท่ามกลางหมู่ ถ่ายภาพร่วมกบั บคุ ลาการของสำานักงาน
อยั การข้าราชการและเจา้ หนา้ ทีธ่ ุรการท่ีล้อมรอบ อยา่ งท่วั ถึงและเปน็ กนั เอง

เมื่อครั้งที่เกิดมหาอุทกภัยใน พ.ศ. ๒๕๕๔ มี

ข้าราชการและบุคคลากรของส�านักงานอัยการสูงสุดจ�านวน

มากตกเป็นผ้ปู ระสบภัย แม้แตท่ ท่ี �าการท่ศี ูนยร์ าชการ ถนน

แจ้งวัฒนะ ก็ถูกน้�าท่วมเป็นเวลานานร่วมเดือน คุณจุลสิงห์

จงึ ไดไ้ ปนง่ั ทา� งานทอี่ าคารหลกั เมอื งแทนเปน็ การชวั่ คราว และ

ยังได้เชิญชวนให้บุคลากรที่ประสบภัยมาพักอาศัยท่ีอาคาร

หลักเมืองด้วย แม้สถานที่จะคับแคบและไม่สะดวกสบาย

เหมือนอยู่บ้านตัวเอง แต่บรรยากาศท่ีอาคารหลักเมืองช่วง ถ่ายกบั เพอื่ นขา้ ราชการอยั การบนรถ GMC
น้ันดอู บอุ่นเหมือนบ้านหลังใหญ ่ คุณจุลสงิ ห์ซงึ่ ดา� รงต�าแหนง่ ที่อาคารหลักเมือง ในชว่ งมหาอุทกภยั
อยั การสงู สดุ ขณะนน้ั ทา� หนา้ ทห่ี วั หนา้ ครอบครวั ใหญไ่ ดอ้ ยา่ ง พ.ศ. ๒๕๕๔

สมบรู ณไ์ มข่ าดตกบกพรอ่ ง ทา่ นจะเดนิ พบปะ ไถถ่ ามสารทกุ ข์

สกุ ดบิ ของทกุ คนอยตู่ ลอดเวลา นา� ถงุ ยงั ชพี มาแจกดว้ ยตวั เอง และบางครง้ั ยงั ลงมอื ทา� อาหารแจกดว้ ยตวั เอง

อกี ด้วย นอกจากนท้ี ่านยังชว่ ยประสานงานขอให้มกี ารน�ารถ GMC ของกองทพั มาชว่ ยอา� นวยความสะดวก

ในการรับสง่ บคุ ลากรในการเดนิ ทางมาปฏบิ ตั งิ าน และขนสง่ เอกสารระหว่างสา� นกั งานต่าง ๆ ในช่วงภาวะ

วิกฤติการณ์นา้� ทว่ มอกี ด้วย

172

ท่ีกล่าวมาขา้ งตน้ เป็นเพยี งชวี ิต งาน วนั ท่ี ๓๐ กนั ยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ณ เมอื ง URKE
และบทบาทของพนักงานอัยการท่ีช่ือจุลสิงห ์ ประเทศนอรเ์ วย์
วสนั ตสงิ ห์ เพียงสงั เขปเท่าน้ัน ซ่งึ แนน่ อนวา่
ถ้าจะพรรณนาให้หมด หนังสือเล่มน้ีคงจะ
ต้องมีความหนาเอาการทีเดียว เพราะตลอด
๓๘ ปีในชีวิตราชการของท่าน ท่านได้ทุ่มเท
แรงกายแรงใจ อุทิศเวลาให้กับงานราชการ
ของส�านักงานอัยการสูงสุดมาโดยตลอด จน
กอ่ นวนั ทที่ า่ นจะพน้ จากตา� แหนง่ อยั การสงู สดุ
เพียงไม่กี่วัน ท่านได้ลาพักร้อนเพ่ือเดินทาง
ไปพกั ผอ่ นกับครอบครัวท่ปี ระเทศนอรเ์ วย์ ใน
วนั ท่ี ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ขณะอยู่ที่
เมือง URKE ตามเวลาท้องถ่ินของประเทศ
นอรเ์ วยข์ ณะนนั้ คอื ๑๑.๒๙ นาฬกิ า ซง่ึ ตรงกบั
เวลา ๑๖.๒๙ นาฬกิ า ของประเทศไทย ทา่ น
ได้ขอใหค้ ณุ ภทั รา วสันตสิงห์ ภรรยาของท่าน
ชว่ ยถ่ายรปู ให ้ พร้อมกบั บอกวา่ “ผมพน้ จาก
ตำาแหนง่ แล้ว”

ชีวิตการรับราชการอัยการของ “ศาสตราจารย์พิเศษจุลสิงห์ วสันตสิงห์ หรือ “ท่านจุล หรือพี่
จุลสิงห์ นั้น” ได้บ�าเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ ด้วยสติปัญญา ฉลาด กล้าหาญ มีจิตใจกอรปด้วยเมตตา
ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมท่ีดีงามประพฤติปฏิบัติธรรมตามสมควรมาโดยตลอด และได้บ�าเพ็ญประโยชน์
น้อยใหญ่ด้วยก�าลังสติปัญญาอย่างเต็มท่ีแก่สังคม ตลอดจนประเทศชาติ เกิดเป็นพลังแห่งความดีงาม
ความสุขความเจริญแก่ภรรยา บุตร ธิดา ตลอดจนกัลยาณมิตรอย่างหาประมาณมิได้ จึงท�าให้ท่าน
สมควรไดร้ บั ยกยอ่ งวา่ เปน็ “ผทู้ าำ หมคู่ ณะใหง้ ดงาม” สมดงั เนอ้ื ความในพระธรรมเทศนาสงั ฆโสภณกถาทท่ี า่ น
เจา้ คณุ จุลคณศิ ร วัดราชบพธิ สถติ มหาสีมารามแสดงในงานบ�าเพญ็ กุศลปัญญาสมวารของทา่ นทุกประการ

173

รบั พระราชทานปรญิ ญานิติศาสตรดุษฎีบณั ฑติ กติ ตมิ ศกั ด์ิ จากจุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย
๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒

เฝา้ ทลู ละอองพระบาท
ในฐานะประธานกรรมการจัดงานคนื เหย้าชาวจฬุ าฯ ๒๕๕๔

174

บทที่ ๗

ทดแทน “พระคุณข งแ ล่งเรยี นมา”

“ผมรสู้ กึ ผกู พนั และสำ� นกึ ในพระคณุ ของจฬุ ำลงกรณม์ หำวทิ ยำลยั เปน็ ทส่ี ดุ จฬุ ำลงกรณม์ หำวทิ ยำลยั
คอื ผใู้ หเ้ สมอมำ ใหก้ ำรศกึ ษำทด่ี เี ลศิ ใหโ้ อกำสในกำรพบภรรยำผเู้ ปน็ ทรี่ กั ยงิ่ ใหท้ บ่ี ม่ เพำะวชิ ำควำมรแู้ กบ่ ตุ ร
ชำยและบตุ รสำวจนประสบควำมส�ำเร็จในหน้ำทก่ี ำรงำน ใหห้ ลักกำรทสี่ ำ� คัญทีน่ �ำเอำมำใชใ้ นชวี ิตรำชกำร
อีกท้ังได้รับเกียรติท่ีได้รับพระรำชทำนปริญญำนิติศำสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒
อนั เปน็ ควำมภมู ใิ จทส่ี ดุ ในชวี ติ เพรำะฉะนนั้ จฬุ ำลงกรณม์ หำวทิ ยำลยั คอื ผใู้ หอ้ ยำ่ งแทจ้ รงิ ดงั นน้ั หำกมโี อกำส
ท�ำงำนให้จฬุ ำลงกรณ์มหำวิทยำลัย ก็ยนิ ดแี ละเต็มใจเสมอ...”

คุณจลุ สิงห์ - คณุ ภทั รา วสนั ตสิงห์ ขอ้ ความขา้ งตน้ คอื ขอ้ ความทคี่ ณุ จลุ สงิ ห ์ วสนั ตสงิ ห ์ ไดก้ ลา่ ว
ในงานปิยมหาราชานสุ รณ์ ถงึ ความผูกพันกบั จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั ไวใ้ นสจู ิบัตรงานคืนเหยา้
ชาวจฬุ าฯ พ.ศ. ๒๕๕๔ ดว้ ยความสา� นกึ ในพระคณุ ของสถาบนั อนั พนั
ผูกเก่ียวร้อยกับชีวิตของคุณจุลสิงห์ คนในครอบครัว และมวลมิตร
เอาไว้อย่างแนบแน่นยาวนานตลอดมา จึงไม่น่าแปลกใจท่ีความสุข
ประการหน่ึงในชีวิตของคุณจุลสิงห์คือ การทุ่มเทแรงกายและแรงใจ
ทา� งานเพอื่ ทดแทน “พระคณุ ของแหลง่ เรยี นมา” ไมว่ า่ จะเปน็ การดา� รง
ตา� แหนง่ นายกสมาคมศษิ ยเ์ กา่ นติ ศิ าสตร ์ จฬุ าฯ นายกสมาคมนสิ ติ เกา่
จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ในพระบรมราชปู ถมั ภฯ์ กรรมการทรพั ยส์ นิ
จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั และการทา� หนา้ ทอี่ าจารยพ์ เิ ศษผสู้ อนวชิ า
กฎหมายทค่ี ณะนติ ศิ าสตร ์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ซง่ึ ในทกุ บทบาท
หนา้ ทล่ี ว้ นเปน็ สง่ิ ทผ่ี เู้ กย่ี วขอ้ งไดซ้ มึ ซบั รบั รเู้ ปน็ อยา่ งดถี งึ “นา�้ ใจนอ้ งพี่
สชี มพ”ู ทคี่ ณุ จลุ สงิ หไ์ ดม้ อบใหแ้ กเ่ พอ่ื นพอ้ งนอ้ งพ ่ี ลกู ศษิ ยล์ กู หา และ
จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ...สถาบนั อนั เปน็ ทรี่ กั ยง่ิ ตลอดมา

จิตวิญญาณข งความเป็น “คร”ู
และภาระแ ่งความผูกพันกับ ถาบัน ันเปน็ ทรี่ ัก
จากนิสิตแผนกวิชานิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เม่ือ พ.ศ. ๒๕๑๑
ในอกี ๒๕ ปีต่อมา คณุ จุลสงิ ห ์ วสันตสงิ ห์ ไดห้ วนกลับส ู่ “แหล่งเรียนมา” ในบทบาทของอาจารยพ์ ิเศษ
ผู้สอนวิชากฎหมายท้ังในหลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยได้ใช้ประสบการณ์การท�างานในการเป็นอัยการผู้เจนจัด มาเชื่อมโยงกับความรู้ทางวิชาการเพื่อ
ถา่ ยทอดใหแ้ กน่ สิ ติ อยา่ งตอ่ เนอื่ งเรอื่ ยมา แมต้ อนดา� รงตา� แหนง่ อยั การสงู สดุ ซง่ึ มภี ารกจิ มากมายแลว้ กต็ าม
อาจารยพ์ เิ ศษทา่ นนกี้ ย็ งั คงปฏิบตั หิ น้าทอี่ ยูเ่ ชน่ เดิม จนกระท่งั ก่อนถึงวาระสดุ ท้ายของชีวิตเพยี งไม่กีเ่ ดือน

175

“ความสุข” จากการเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่นิสิตรุ่นแล้วรุ่นเล่า คือปัจจัยส�าคัญที่ท�าให้คุณ
จุลสิงหย์ งั คงสอนหนงั สืออยู่เปน็ เวลายาวนานหลายสิบป ี ในชว่ งเวลาดังกลา่ วน ี้ ท่านได้ทา� งานทางวชิ าการจน
ไดร้ บั ตา� แหน่งศาสตราจารย์พเิ ศษ มตี �าราทางวชิ าการท่ีเปน็ ผลงานส�าคัญ คอื สญั ญาของรัฐ กบั กฎหมายวธิ ี
พิจารณาความอาญา โดยเฉพาะอย่างยงิ่ วิชา “สัญญาของรัฐ” น้นั เปน็ วิชาท่ีท่านมคี วามเชี่ยวชาญเป็นพเิ ศษ
และได้เร่มิ ตน้ สอนวชิ านที้ คี่ ณะนติ ศิ าสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย มาต้ังแต ่ พ.ศ. ๒๕๓๖
ทงั้ นี้ อาจารยน์ ารี ตัณฑเสถียร รองอธบิ ดีอัยการ สา� นักงานท่ปี รึกษากฎหมาย ซง่ึ ได้เคยทา� การสอน
ในวิชาสญั ญาของรัฐร่วมกับคณุ จุลสงิ ห์ และเคยเปน็ ผูใ้ ต้บงั คบั บญั ชาทสี่ า� นกั งานอัยการสงู สดุ ได้เลา่ ถงึ จดุ เริม่
ต้นของวิชาน้ีในคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงการท�างานร่วมกับคุณจุลสิงห์ ท้ังในฐานะ
อัยการและอาจารย์วา่

“ในตอนนั้นกำรท�ำสัญญำของรัฐนั้นไม่มีต�ำรำที่เป็นวิชำเฉพำะท่ีเกี่ยวกับเรื่องสัญญำของรัฐโดยตรง
เรำก็รู้สึกแปลกใจว่ำมีวิชำอย่ำงนี้ด้วย? ทีนี้ก็มีคนบอกท่ำนว่ำดิฉันเป็นรุ่นน้องจุฬำฯ ตอนน้ันดิฉัน
ท�ำงำนอยู่กองคดีอำญำซึ่งในช่วงนั้นเป็นกอง ยังไม่เป็นส�ำนัก ท่ำนจุลสิงห์ท่ำนอยู่กองท่ีปรึกษำกฎหมำย
ตอ่ มำดิฉนั ยำ้ ยมำอยู่กองทปี่ รึกษำฯ มกี ำรก่อต้งั กองกำรต่ำงประเทศขึ้น โดยท่ที ำ่ นจุลสงิ ห์ได้เป็นหวั หน้ำกอง
สัญญำต่ำงประเทศ (ก่อนมีกำรกอ่ ตั้งสำ� นักงำนต่ำงประเทศ งำนทอี่ ยู่ในหน้ำที่ควำมรบั ผดิ ชอบของสำ� นักงำน
ต่ำงประเทศในปัจจุบันเป็นงำนส่วนหน่ึงของส�ำนักงำนท่ีปรึกษำกฎหมำย) กองสัญญำต่ำงประเทศน้ันเกิดข้ึน
เป็นครั้งแรกในสมัยของท่ำนอำจำรย์จุลสิงห์ ตอนนั้นก็มีโอกำสร่วมท�ำงำนกับอำจำรย์ เป็นทั้งรุ่นน้องเป็นทั้ง
ลูกกอง และทำ่ นกใ็ หโ้ อกำสท�ำสญั ญำส�ำคญั ๆ เชน่ สัญญำ ในกลุ่มพลังงำน เปน็ ตน้
อย่มู ำวันหนึง่ ทำ่ นกบ็ อกว่ำ คณุ นำรไี ดเ้ วลำแล้วละ ท่จี ะมำสอนหนังสอื โอเค เรำก็มำสอน เพรำะดฉิ ัน
ก�ำลงั จะข้ึนส่ตู ำ� แหนง่ รองอยั กำรสงู สดุ ตอ่ ไปจะตอ้ งมีภำรกิจเยอะแยะมำกมำย เวลำจะเหลอื น้อยลง ท่ำนก็
เลยให้ไปสอนหนังสือในช่วงนี้
...ทำ่ นสอนอยทู่ ค่ี ณะนติ ศิ ำสตร ์ จฬุ ำฯ หลำยวชิ ำ แตว่ ชิ ำทท่ี ำ่ นรกั และเปน็ เอกลกั ษณป์ ระจำ� ตวั ทำ่ นคอื
‘วิชำสญั ญำของรัฐ’ ถำ้ พดู ถงึ เร่อื งโครงกำรภำครฐั หรือสัญญำของรฐั แล้วจะต้องนึกถึงท่ำนจลุ สงิ ห ์ วสนั ตสงิ ห์
เพรำะอยู่ในสำยงำนของท่ำนด้วย ท่ำนเป็นผู้เร่ิมก่อตั้งวิชำน้ีในคณะนิติศำสตร์ จุฬำฯ ตั้งแต่ พ.ศ.
๒๕๓๖ เป็นวิชำทใี่ ห้ประโยชน์แก่นสิ ิตทีส่ นใจว่ำอยำกจะทำ� law firm แตจ่ ะเป็น law firm ภำครัฐ คอื law
firm ไม่ได้มีแต่ภำคเอกชน คือบำงคนเขำไม่ชอบงำน Education เขำชอบงำนท่ีปรึกษำ งำนกลุ่มนี้จำก
ประสบกำรณ์ที่ท่ำนได้ท�ำมำซ่ึงล้วนแต่เป็นโครงกำรใหญ่ ๆ ของภำครัฐ เช่น โครงกำรโทรศัพท์ ๓ ล้ำน
เลขหมำย (โครงกำร ‘กำรลงทุนขยำยโครงข่ำยโทรศัพท์ ๓ ล้ำนเลขหมำย’) โครงกำรทำงด่วนซ่ึงเป็น
โครงกำร Mega Project ภำครฐั ท่ำนมีส่วนรว่ มในกำรยกรำ่ งสัญญำ ในชั้นตรวจสญั ญำ และในช้นั บรหิ ำร
สัญญำ ถือว่ำท่ำนเป็นปูชนียบุคคลของวงกำรสัญญำภำครัฐอยำ่ งชัดเจนมำก ท่ำนเป็นตัวอยำ่ ง เป็นรูปแบบ
และแนวคิดในกำรท�ำงำนได้ดีมำก เช่น ในกำรท�ำสัญญำ ถ้ำคุณเขียนแบบไม่ Balance ประโยชน์ระหว่ำง
รัฐกับเอกชน เช่น ไปเอำเปรียบเอกชน เอกชนเขำอยู่ไม่ได้ ก็จะเป็นโครงกำรที่ไม่ประสบควำมส�ำเร็จ
ในฝำ่ ยภำครัฐเอง ทำ่ นก็บอกวำ่

176

‘คุณนำรี บำงคร้ังกำรออกไปประชุมข้ำงนอกนั้นจะท�ำให้อัยกำรเข้ำใจถึงกำรท�ำโครงกำรของผู้แทน
หน่วยงำนท้ังหลำย ในเมื่อเรำมีโอกำสออกไปท�ำงำนขำ้ งนอก เรำต้องเขำ้ ใจควำมร้สู ึกของคนทท่ี ำ� โครงกำร น่ี
ก็เปน็ เร่ืองของกำรเจรจำ เร่อื งของกำรเจรจำเป็นท้งั ศำสตร์และศิลป์’
เพรำะฉะน้นั เร่อื งนีค้ ณุ จุลสิงห์คอื สดุ ยอดในวงกำรแล้ว”

ไม่ว่าภารกิจการงานในด้านอ่ืน ๆ จะมากมายเพียงใดก็ตาม แต่ภารกิจการสอนหนังสือก็ยังคง
เป็น “ภาระแห่งความผูกพัน” ของคุณจุลสิงห์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างแนบแน่นตลอดมา ดังท ี่
คุณนารไี ด้เลา่ ไวว้ า่

“วิชำสัญญำของรัฐน้ีเดิมครึ่งหน่ึงเป็นของท่ำนอำจำรย์จุลสิงห์ ส่วนอีกครึ่งหน่ึงเป็นของอำจำรย์
นันทวัฒน์ บรมำนนท์ ส่วนที่เป็นของอำจำรย์จุลสิงห์ ท่ำนจะให้ดิฉันสอน ๖ คลำส แล้วท่ำนก็บอกเลยว่ำ
ไมว่ ำ่ ท่ำนจะมภี ำรกจิ ยงุ่ แคไ่ หน ทำ่ นก็จะไมท่ ง้ิ ทำ่ นยงั ตอ้ งมำสอนอยู่ ๒ คลำสเสมอ ตอ่ มำอำจำรยน์ นั ทวัฒน์
ท่ำนไมร่ บั ภำรกิจนแี้ ล้ว อำจำรย์จุลสิงห์ท่ำนก็เลยรบั มำสอนเต็มที่ โดยมีวำ่ น (อาจารยศ์ ริ ธชั ศิรชิ มุ แสง) มำ
ชว่ ยสอน แลว้ มีทมี งำน แตท่ ำ่ นไม่ได้ปล่อยให้มำคนเดยี วนะ ท่ำนก็มำน่ังดว้ ย
อันน้ีเป็นควำมผูกพันของท่ำนที่มีต่อคณะนิติศำสตร์ จุฬำฯ ท่ำนเคยสั่งไว้ว่ำ ‘อะไรก็แล้วแต่ที่คณะ
นิตศิ ำสตร์ จุฬำฯ ขอให้ท�ำนัน้ ไม่ให้ปฏเิ สธ’ หำกมบี รรยำยพิเศษอะไร มีหลักสตู รบรรยำยพิเศษ กจ็ ะมีทำ่ น
จุลสงิ ห์ไปเปิด แล้วจะมีนำรตี ำมมำ คือถำ้ จุฬำฯ เชญิ ท่ำนไมป่ ฏิเสธเลย นค่ี ือควำมผกู พนั ท่ีทำ่ นมีกับจฬุ ำฯ”

ผู้ที่ยืนยันถึงความผูกพันของคุณจุลสิงห์กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผ่านการเป็นอาจารย์ได้ดีที่สุดอีก
ท่านหนงึ่ คอื อาจารย์ศิรธชั ศริ ิชมุ แสง หรือ อาจารย์วา่ น ซ่งึ ได้ท�างานรว่ มกับท่านในฐานะอาจารย์ผ้สู อนวชิ า
“ความเป็นมาและววิ ัฒนาการของสัญญารฐั รวมถึงตวั อยา่ งร่างสัญญาในต่างประเทศ”

“ทำ่ นสอน ๒ วชิ ำ ๒ วชิ ำในปรญิ ญำตร ี และ ๑ วชิ ำในปรญิ ญำโท ๒ วชิ ำในปรญิ ญำตร ี คอื กฎหมำยวธิ ี
พจิ ำรณำควำมอำญำ และสญั ญำของรฐั สว่ นปรญิ ญำโททำ่ นสอนในหลกั สตู ร ศลิ ปศำสตรมหำบณั ฑติ กฎหมำยธรุ กจิ
สว่ นตวั ผมเองได้ช่วยงำนท่ำนในเร่ืองงำนสอนคอื ท่ำนสอนวิชำสญั ญำของรฐั ตอนน้ันผมยงั ไมไ่ ด้เปน็
อำจำรยป์ ระจำ� ทำ่ นโทร.หำผม บอกว่ำวิชำสัญญำของรัฐท่ำนอยำกให้ผมมำชว่ ย ทำ่ นร้วู ่ำผมจบทำงปกครอง
จำกตำ่ งประเทศ ทำ่ นกใ็ หผ้ มบรรยำยเรอ่ื งววิ ฒั นำกำรของสญั ญำทำงปกครองและแบบอยำ่ งสญั ญำทำงปกครอง
ในต่ำงประเทศ แตว่ ำ่ ตอนน้ันเน่อื งจำกวำ่ ผมยังไมไ่ ดเ้ ป็นอำจำรยป์ ระจ�ำ ผมจึงเรียนทำ่ นว่ำอยำกใหท้ ำ่ นเรียน
ใหค้ ณบดที รำบเสียกอ่ น ทำ่ นก็อุตสำหะ ไปขอคณบดี เพือ่ ขออนญุ ำตใหผ้ มได้มำสอน

เวลำผมไปสอนเด็กนักเรียนในคลำส ท่ำนจะแนะน�ำให้เกียรติคนท่ีมำบรรยำยให้ท่ำน แนะน�ำว่ำ
‘น่ีอำจำรย์ว่ำน จบจำกเมืองนอก’ ท่ำนให้เกียรติเรำตลอด และท่ำนก็นั่งฟังผมบรรยำยรำวกับเป็นนิสิต
คนหนึ่ง ไมเ่ คยวำงท่ำใด ๆ เลย ให้เกยี รติตลอดมำ ถึงตรงไหนที่ทำ่ นเหน็ ชอ่ งวำ่ ทำ่ นควรจะเสรมิ ทำ่ นจะ
บอกวำ่ ขออนญุ ำตนดิ หนง่ึ และทำ่ นกเ็ สรมิ ประสบกำรณข์ องทำ่ นทไ่ี ดเ้ จอมำ โดยทำ่ นเสรมิ ในลกั ษณะของคน

177

ทีเ่ ข้ำใจและผำ่ นมำจรงิ ๆ ส่วนใหญท่ ผ่ี มสอนได้คือทฤษฎี ผมไม่รู้หรอก ในทำงปฏบิ ัติทำ่ นย่อมจะแม่นยำ�
ชำ� นำญยิ่งกวำ่ ผม ผมอธิบำย บรรยำยเรื่องประวตั ศิ ำสตรข์ องสญั ญำทำงปกครองซ่งึ เป็นแต่ทฤษฎ ี แตท่ ำ่ น
เปน็ คนอยู่ในหลำย ๆ เหตุกำรณ์ส�ำคญั เกี่ยวกับสญั ญำทำงปกครองของไทย กลำ่ วไดว้ ่ำพลวัตเร่ืองสัญญำ
ปกครองจำ� นวนไมน่ อ้ ยนน้ั มำจำกทำ่ น เชน่ เรอื่ งสมยั ทท่ี ำ่ นอยอู่ ยั กำร ทำ่ นไดต้ รวจรำ่ งสญั ญำ ทำ่ นทำ� สญั ญำ
สมั ปทำนมำกมำย และท่ำนได้แบง่ ปันประสบกำรณ์ตรงน้ใี ห้นิสิตไดร้ ู้ เพรำะประสบกำรณน์ ้นั อยู่ในตัวทำ่ น
เวลำผมสอน ท่ำนก็จะนั่งฟังจนจบคำบ ถ้ำจะออกกอ่ นกอ็ อกไปกอ่ นไมน่ ำน น่ันคือทำ่ นให้ควำมส�ำคัญกับ
กำรสอนมำก ซ่ึงผมชว่ ยทำ่ นสอนทงั้ ภำคปกติและภำคบณั ฑิต”

อาจกล่าวได้ว่า ประสบการณ์ในการท�างานของคุณจุลสิงห์เป็นการน�าความรู้ในภาคปฏิบัติออก
มาสู่ภาควิชาการ และนับเป็นคุณสมบัติอันโดดเด่นท่ีสุดของคุณจุลสิงห์ในบทบาทของอาจารย์ ดังท่ี
รองศาสตราจารยธ์ ิติพนั ธุ์ เชื้อบญุ ชัย อดีตคณบดคี ณะนิติศาสตร ์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ผซู้ ึ่งไดส้ มั ผสั
ถงึ การทา� งานของคณุ จุลสิงหม์ าตลอด ไดบ้ อกเลา่ ถงึ ประเด็นดังกลา่ วอยา่ งน่าสนใจว่า

รศ.ธติ ิพันธ์ุ เชื้อบญุ ชัย คุณจุลสิงห์-ณัฏฐา วสันตสงิ ห์ บุตรสาว และ ผศ.ดร.ปารีณา ศรวี นิชย์

“...ผมเขำ้ ใจวำ่ ในชว่ งทอ่ี ำจำรยบ์ วรศกั ด ิ์(ศำสตรำจำรยก์ ติ ตคิ ณุ ดร.บวรศกั ด ์ิ อวุ รรณโณ) เปน็ คณบดี
นำ่ จะเปน็ ยคุ แรกทเี่ ชญิ พจี่ ลุ สงิ หม์ ำสอน ตอ่ มำใน พ.ศ. ๒๕๔๑ ทมี่ หี ลกั สตู รศลิ ปศำสตรมหำบณั ฑติ สำขำ
วชิ ำกฎหมำยเศรษฐกจิ เนอ่ื งจำกวำ่ หลกั สตู รนผี้ มมสี ว่ นรว่ มในกำรจดั ทำ� คอ่ นขำ้ งเยอะ ผมไดเ้ สนอพจ่ี ลุ สงิ ห์
เปน็ อำจำรยส์ อนวชิ ำกำรเจรจำตอ่ รองและกำรรำ่ งสญั ญำ ซงึ่ เปน็ สง่ิ ทพ่ี จี่ ลุ สงิ หถ์ นดั ตงั้ แตร่ นุ่ แรก สอนตงั้ แต ่
พ.ศ. ๒๕๔๑ เรม่ิ เปดิ สอนหลกั สตู รศลิ ปศำสตรมหำบณั ฑติ สำขำวชิ ำกฎหมำยเศรษฐกจิ เปน็ รนุ่ แรกในปนี นั้ ก็
เชญิ ทำ่ นมำสอน และทำ่ นสอนตง้ั แตร่ นุ่ แรกของหลกั สตู รนจี้ นถงึ ปที แี่ ลว้ ตอ่ เนอ่ื งมำ ๒๐ กวำ่ ป ี
...อย่ำงไรก็ตำม วิชำท่ีท่ำนเช่ียวชำญมำกในกำรน�ำควำมรู้ทำงภำคปฏิบัติออกมำสู่ภำควิชำกำร
คือเรื่องกฎหมำยสัญญำของรัฐ ท่ำนโดดเด่นมำกท่ีสุดในประเทศ เน่ืองจำกท่ำนมองประเด็นปัญหำนั้น

178

ท่ำนไม่ได้มองเพียงแค่โกยทรำยเข้ำวัดอย่ำงเดียว หมำยถึงจะเอำประโยชน์เข้ำรัฐแต่เพียงอย่ำงเดียว
สว่ นเอกชนจะเสยี หำยกช็ ำ่ งเอกชน ทำ่ นมองวำ่ ถำ้ จะเดนิ ไปไดด้ ว้ ยกนั จะตอ้ งทำ� อยำ่ งไร เพรำะฉะนนั้ สญั ญำ
ทพ่ี จี่ ลุ สงิ หท์ ำ� ไมใ่ ชส่ ญั ญำทจี่ ะเอำเปรยี บเอกชนแตเ่ พยี งอยำ่ งเดยี ว แตจ่ ะเปน็ สญั ญำทที่ ำ� ใหท้ งั้ รฐั และเอกเชน
เดนิ ควบคกู่ นั ไปได ้ รฐั กไ็ ดผ้ ลประโยชนต์ อบแทนทเี่ หมำะสมนำ� ไปพฒั นำประเทศได้
...ท่ำนมีควำมสุขในกำรสอนและคนท่ีเรียนก็จะรักและชอบท่ำน เพรำะส่ิงที่ท่ำนสอนไม่ใช่ตำม
ตัวบท แต่น�ำประสบกำรณ์ท่ีได้มำจำกส�ำนักงำนอัยกำรสูงสุดมำถ่ำยทอดและมักได้รับค�ำถำม โดยเฉพำะ
ประเดน็ ทำงกำรเมอื งหนอ่ ย ๆ สมยั นนั้ คนทก่ี ลำ้ พดู เรอื่ งน้ีไมค่ อ่ ยมเี ทำ่ ไร พจ่ี ลุ สงิ หเ์ หน็ วำ่ เปน็ เรอื่ งวชิ ำกำร
กำรพดู ในคลำสกไ็ มน่ ำ่ เปน็ อะไร ทำ่ นจงึ เลำ่ เรอ่ื งตำ่ ง ๆ ใหฟ้ งั ถำ้ ถำมวำ่ นสิ ติ ชอบทำ่ นหรอื ไม?่ ไมต่ อ้ งถำม
เลย เพรำะวำ่ ทกุ คนจะรกั ทำ่ นและรสู้ กึ ผกู พนั กบั ทำ่ น”

ผลจากความอุตสาหะทุ่มเทในงานวิชาการและการสอนหนังสือในคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั ของคณุ จลุ สงิ หท์ เ่ี หน็ เปน็ รปู ธรรมคอื การสรา้ งบคุ ลากรทมี่ คี วามรใู้ นทางกฎหมายทม่ี คี ณุ ภาพ
ออกไปรบั ใชส้ งั คมและประเทศชาตมิ ากมาย และยงิ่ ไปกวา่ นนั้ “ชนั้ เรยี นของอาจารยจ์ ลุ สงิ ห”์ ยงั ไดส้ รา้ งแรง
บนั ดาลใจใหล้ กู ศษิ ยไ์ ดน้ า� วชิ ากฎหมายไปประยกุ ตท์ ง้ั ในการงานและการใชช้ วี ติ นอกรวั้ มหาวทิ ยาลยั ดว้ ย ดงั
ทลี่ กู ศษิ ยค์ นหนง่ึ ของทา่ นคอื คณุ จรยี ว์ บิ ลู บญุ ชนะโกศล ไดน้ ยิ ามถงึ “อาจารยจ์ ลุ สงิ ห”์ ไวว้ า่

“อาจารย์ไมไ่ ด้เป็นแคค่ รกู ฎหมาย แต่อาจารย์เป็นครชู ีวิตดว้ ย”

คุณจรีย์วิบูลเป็นลูกศิษย์ในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต กฎหมายเศรษฐกิจ ซ่ึงเป็นหลักสูตร
พเิ ศษที่เปิดกว้างให้ผู้ท่ีไมต่ ้องจบกฎหมายสามารถมาเรยี นในหลักสูตรน้ไี ด้ เมอ่ื มาเรยี นหลักสูตรน้ ี สง่ิ ท่ีได้
รบั กลบั มากกวา่ วชิ ากฎหมาย...

“อำจำรย์ท่ำนเป็นคนคิดบวกทุกเรื่อง คือเร่ือง Positive thinking ส�ำหรับนักกฎหมำย เพรำะว่ำ
กฎหมำยมคี วำมชดั เจนกจ็ ริง แต่บำงเร่ืองสำมำรถทีจ่ ะมที ำงออกได้ถำ้ เกิดวำ่ ปญั หำพบทำงตนั อนั นี้คิดวำ่
อำจำรย์ใช้วิชำชีพของอำจำรย์มำถ่ำยทอดให้เรำ คือไม่ใช่ไปใช้ช่องว่ำงหรือว่ำอะไร แต่ว่ำจะมีวิธีเสมอ
อยำ่ งอัยกำร วชิ ำชีพของอัยกำรก็ต้องดูเร่ืองสัญญำรัฐ บำงทมี ขี ้อขดั แยง้ กัน แต่อำจำรยม์ ีทำงออก และได้
ยกตัวอย่ำงให้พวกนิสิตฟังว่ำทำงออกในเร่ืองน้ีคืออะไร แล้วไม่เสียหำย ไม่กระทบใคร ท่ำนจะเล่ำ
เคสทีไ่ ม่เปน็ ช้ันควำมลบั
อีกอย่ำงหน่ึง ท่ำนมีส่วนในกำรสร้ำงแรงบันดำลใจให้ลูกศิษย์ได้เห็นควำมส�ำคัญของกฎหมำย
ในวชิ ำชีพอ่นื ๆ ในสังคม ในโลกปจั จุบนั วศิ วะ แพทย์ อำจำรย์ นกั วิชำกำรกเ็ ปน็ อำชพี ทส่ี ำ� คญั แต่ว่ำ
วิชำชีพนักกฎหมำยนั้นส�ำคัญ เพรำะชีวิตประจ�ำวันของทุกคนต้องเก่ียวข้องกับกฎหมำย เป็นนักวิชำกำร
ก็เกี่ยวข้องกับกฎหมำย เป็นแพทย์ก็จะมีกรณีฟ้องร้องกับผู้ป่วย ท�ำให้บำงคนที่มำเรียนต่อ กลับไปเรียน
ปริญญำตรีกฎหมำย ทำ่ นมสี ่วนสร้ำงแรงบันดำลใจใหค้ นเรม่ิ เรยี นเปน็ นิติศำสตรบณั ฑติ ใหม่

179

ทสี่ �ำคัญท่ีสุด เวลำที่พวกเรำเรียนกฎหมำยเศรษฐกจิ ทำ� ใหเ้ ห็นทกุ มมุ เหน็ ภำพกว้ำงในมติ ติ ำ่ ง ๆ
ไม่ไดเ้ ห็นแคว่ ่ำเกยี่ วขอ้ งกับเศรษฐกิจอย่ำงไร สังคมกเ็ ก่ยี ว กำรเมืองก็เกีย่ ว ท่ำนพยำยำมชใ้ี ห้เรำเหน็ จำก
กำรยกตัวอย่ำง อำจำรย์สอนสนุกมำก สมมติพูดเร่ืองกำรเมืองแบบน้ีแต่เรำจะไม่รู้ตัวเลย อำจำรย์จะไม่
เขำ้ ข้ำงฝำ่ ยใดฝำ่ ยหนึ่ง แต่วำ่ สำมำรถที่จะยกตวั อย่ำงไดใ้ นห้องเรยี นวำ่ เพรำะอะไรสญั ญำตรงนเี้ ปน็ แบบน ี้
สมัยนัน้ กำรเมอื งเป็นอย่ำงไร บำงครั้งมีกำรถกเถยี งกันในหอ้ งเรียนแต่กจ็ บแคต่ รงนน้ั ซึ่งอำจำรยเ์ ขำจะทิ้ง
ใหเ้ รำคิด อำจำรย์เขำไม่ไดแ้ บบชีช้ ัดว่ำใครถูกใครผิด แต่ทกุ อยำ่ งจะอยบู่ นพน้ื ฐำนของกฎหมำย
เพรำะฉะนนั้ อำจำรย์ไมไ่ ดเ้ ปน็ แคค่ รกู ฎหมำย อำจำรยเ์ ปน็ ครชู วี ติ ดว้ ย ในบำงเรอื่ งทอี่ ำจำรยใ์ หข้ อ้ คดิ
พวกเรำ อยำ่ งเคยน่ังทำนข้ำวกนั อำจำรยบ์ อกว่ำ คุณรไู้ หมวำ่ ในชีวติ ของคนทกุ คนมีเรื่องท ่ี unbelievable
เกดิ ขนึ้ เยอะมำก แลว้ บำงอยำ่ งเรำไมไ่ ดต้ ง้ั รบั แตเ่ รำตอ้ งหำวธิ ที จี่ ะแกไ้ ข เรอ่ื งกฎหมำยกเ็ หมอื นกนั บำงอยำ่ ง
ที่เกิดข้อขัดแย้งระหว่ำงหน่วยงำนรัฐกับหน่วยงำนเอกชนท่ีท�ำเป็นคู่สัญญำกันมีบำงเร่ืองที่ unbelievable
แต่เรำต้องแก้ไขให้ได ้ และเรำจะท�ำให้ค�ำว่ำ unbelievable กลำยเป็นเรื่องที่สำมำรถประคองให้มันถูก
ต้อง ไม่ให้ใครเสียหำย ให้เป็นส่ิงที่เป็นผลบวกต่อประเทศชำติ ให้เป็นทำงท่ีเป็นธรรมส�ำหรับทุกคนได้
อย่ำงไร เชน่ เดียวกบั เร่อื งชวี ติ ดว้ ย อำจำรย์บอกว่ำ ชีวติ คนเรำก็มปี ัญหำเหมือนกนั ทกุ คน แตข่ อให้เรำมวี ิธี
กำรทดี่ ี แล้วก็ใช้สติในกำรแก้ปญั หำ นค่ี อื แนวคดิ ท่มี คี ่ำทด่ี ิฉันได้รบั จำกอำจำรย์และประทบั ใจมำก ๆ”

ในชนั้ เรยี นหลกั สตู รศลิ ปศาสตรบณั ฑติ เปน็ ท่ี
กลา่ วขานกนั ในหมลู่ กู ศษิ ยเ์ สมอมาวา่ เปน็ วชิ าทผ่ี เู้ รยี น
ได้รับความรู้อย่างเต็มท่ี ไม่มีง่วงหรือเบ่ือ เนื่องจาก
“อาจารย์จุลสิงห์สอนหนังสือเหมือนกับทอล์กโชว์”
ดังท่ี คุณโชคชัย สิทธิผลกุล รองเลขานุการอัยการ
สูงสุด ผู้ซ่ึงเคยเป็นหนึ่งในทีมงานของคุณจุลสิงห์
ขณะดา� รงต�าแหนง่ อัยการสูงสุดและยังเป็นลกู ศษิ ย์ใน
หลกั สูตรวิชาน ี้ ได้นิยามถงึ อาจารย์จลุ สิงหไ์ ว้

อาจารย์กบั ลูกศษิ ยจ์ ากชั้นเรยี นกฎหมายเศรษฐกิจ “เวลำท่ีท่ำนสอนหนังสือ ท่ำนถ่ำยทอดแล้ว
ท่ำนมีควำมสุข ผมรู้สึกมำตลอดว่ำท่ำนสนุกกับกำร
180 สอนหนังสือ และท่ำนเป็นคนที่เตรียมตัวนำนในกำร
มำสอนหนังสือ ไม่ใช่อยู่ ๆ มำสอนนะ ท่ำนเตรียม
ตัวเป็นวัน ๆ เลย บำงทีท่ำนไปสอน ๑ ช่ัวโมงนะ
ครับ แต่เสำร์ - อำทิตย์ท่ำนเตรียมเต็มท่ีเลย เป็น
คนท่ีต้องมีข้อมูลเต็มที่ถึงไปสอนหนังสือ คนเป็น
อำจำรย ์ กำรถำ่ ยทอดสำ� คญั ทส่ี ดุ แตก่ ำรถำ่ ยทอดไดด้ ี

รับประทานอาหารกบั ลกู ศิษย์ ศศ.ม. 7

คณุ ตอ้ งมคี วำมรเู้ รอื่ งนน้ั อยำ่ งเตม็ ท ่ี คณุ ตอ้ งมคี วำมพรอ้ ม ทำ่ นจลุ สงิ หท์ ำ่ นมเี ทคนคิ ในกำรสอน ทำ่ นถำ่ ยทอด
สอื่ สำรได้ดี และท่ำนสอนหนังสอื เหมอื นกับทอลก์ โชว์ ท�ำให้เรำเรียนหนังสือแลว้ เพลิดเพลิน”

ในฐานะผูใ้ ต้บังคบั บัญชาและลกู ศษิ ย์ คุณโชคชัยจงึ ไดส้ ัมผัสคุณจลุ สงิ หใ์ นบทบาทของอาจารย์และ
อัยการเป็นระยะเวลายาวนานและในหลากหลายโอกาส จึงสามารถตอบค�าถามได้ว่า เหตุใดคุณจุลสิงห์
จึงเปน็ ท่ีรกั ของผคู้ นในทุกวงการและทกุ ระดับชนั้

“ท่ำนเป็นคนมีจิตวิทยำไม่ว่ำจะท�ำงำนหรือกับลูกศิษย์ ก่อนจะมำสอนท่ำนจะถำมว่ำคนน้ีชื่ออะไร
ท�ำงำนท่ีไหน พอเรียกช่ือปุ๊บ เด็กจะมีควำมรู้สึก ดีจัง ท�ำไมจ�ำช่ือได้ ไม่ว่ำท่ำนจะเดินไปไหน เด็ก ๆ
จะมคี วำมรูส้ กึ รักใคร่ทำ่ นมำก ส่วนในท่ที �ำงำน ทำ่ นเปน็ คนทไี่ ม่ค่อยถือตัวกับลูกน้องในสำยงำนรำชกำร
ทักตั้งแต่ยำมจนถงึ ขำ้ งบนเลย
นอกจำกท่ำนจะเป็นครูผมแล้ว ยังเป็นผู้บังคับบัญชำผมด้วย ผมนิยำมว่ำนอกจำกท่ำนเป็น
นักกฎหมำยท่ีมีควำมเป็นธรรม ควำมเฉลียวฉลำดแล้ว ยังเป็นครูกฎหมำยท่ีให้ควำมรู้แก่เด็ก ๆ ทุกคน
เป็นคนท่ีมคี วำมเมตตำกรณุ ำ เอำใจใสผ่ ูใ้ ตบ้ งั คบั บญั ชำและลกู ศิษย์
ในส่วนของงำน เรื่องของกำรให้ควำมเป็นธรรมในคดีอำญำซึ่งส�ำนักงำนอัยกำรสูงสุดเรำมีบทบำท
มำกที่สุดในกรณีท่ีอัยกำรชั้นต้นส่ังไม่ฟ้อง ต�ำรวจแย้ง คนเดียวที่จะช้ีขำดควำมขัดแย้งคืออัยกำรสูงสุด
ซงึ่ เปน็ เบอรห์ นงึ่ เลย ถำ้ ตรงนเ้ี รำไมใ่ หค้ วำมยตุ ธิ รรมกจ็ ะเกดิ ผลเสยี หำยมำกมำย ทำ่ นจะใหค้ วำมเปน็ ธรรม
ตรงน้ี สิง่ หนึง่ ท่ีผมประทบั ใจท่ีสุดคอื เรือ่ งทบี่ ริษัทต่ำงชำติแหง่ หนง่ึ มำขอวิ่งคด ี มนั มีเรอ่ื งของกำรข้ึนรำคำ
สนิ คำ้ แตใ่ นทส่ี ดุ ทำ่ นสง่ั ฟอ้ ง ทำ� ใหท้ กุ คนโจมตที ำ่ นเยอะแยะเลย หนว่ ยงำนของรฐั หนว่ ยงำนหนง่ึ บอกวำ่ กำร
สัง่ ฟ้องของท่ำนทำ� ให้เกิดปญั หำ แต่ท่ำนกล้ำสง่ั นีค่ อื ควำมท่ที ำ่ นเปน็ คนเด็ดขำดแล้วเชือ่ ในควำมถูกตอ้ ง”

181

“ผมอยู่กบั ทา่ น ผมก็กลา้ ยนื ยนั วา่ ทา่ นไมร่ ับสนิ บนเลย ทา่ นสั่งคดดี ว้ ย
ความเปน็ ธรรมจริง ๆ ไม่เช่นนนั้ ไม่มีคนรักท่านขนาดนีห้ รอก”

การท�างานในฐานะอาจารย์สอนวิชากฎหมายท่ีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ของคุณจุลสิงห์ คือการ
ทดแทน “พระคุณของแหลง่ เรยี นมา” ดว้ ยการน�าวชิ าความรแู้ ละประสบการณท์ ่ีส่ังสมมาถา่ ยทอดใหแ้ ก่นสิ ิต
นักศึกษาจากรุ่นสู่รุ่นเป็นเวลายาวนานหลายสิบปี จนอาจกล่าวได้ว่า ท่านเป็นผู้หน่ึงที่มีลูกศิษย์ลูกหาอยู่
มากมายท่ัวประเทศไทย และเชือ่ ว่าลูกศษิ ยห์ ลายคนทไ่ี ดเ้ คยเรียนวิชากฎหมายกับคณุ จุลสงิ ห ์ ก็ยากทีจ่ ะลมื
เลือนอาจารย์ท่านนี้ ด้วยว่า “จิตวิญญาณของความเป็นครู” ของท่านยังคงอยู่ในใจของลูกศิษย์อยู่เสมอมา
ดงั ที่ ดร.มณฑาทิพย์ ชินวัตร ลกู ศษิ ย์คนหนงึ่ ในชั้นเรียนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑติ กฎหมายเศรษฐกิจ
กลา่ ววา่ นค่ี อื คณุ สมบตั หิ นงึ่ ในสามขอ้ ทที่ า� ใหเ้ คารพและศรทั ธา “อาจารยจ์ ลุ สงิ ห”์ อยา่ งไมเ่ คยเสอ่ื มคลาย และ
เหนอื สง่ิ อ่นื ใด ความเคารพนบั ถอื จากหัวใจของลกู ศิษย ์ คือดอกไมบ้ ชู าครูท่งี ดงามและมคี วามหมายทส่ี ดุ แลว้

“คณุ สมบตั ิ ๓ ข้อ ท่ที �ำใหด้ ิฉันเคำรพอำจำรย์มำก คอื ๑. อำจำรยม์ ีจติ วญิ ญำณควำมเป็นครทู ีช่ ัดเจน
ทีส่ ุด อำจำรยเ์ ป็นผ้ใู หต้ ลอดมำ ใหท้ ัง้ ควำมร้แู ละให้ควำมคดิ ใหม ่ ๆ แกเ่ รำอยตู่ ลอดเวลำ อำจำรยเ์ ป็นคนท่ี
น�ำควำมจริงกับทฤษฎีมำเทียบเคียงกันท�ำให้เห็นภำพได้ชัด อย่ำงเช่น เรื่องของกำรพิพำท แม้จะมีบำงคนท่ี
เป็นนักกฎหมำยแต่ส่วนมำกจะเป็นนักธุรกิจด้วย อำจำรย์จึงอธิบำยให้เห็นภำพและเทียบเคียงท�ำให้เรำเข้ำใจ
ภำพรวมว่ำมันคืออะไร ถ้ำเป็นนักกฎหมำยท่ัวไปก็จะว่ำมำตรำน้ันมำตรำน้ี แต่อำจำรย์จะไม่ใช่ ท่ำนจะน�ำ
ควำมจรงิ มำกอ่ นแลว้ เทียบเคยี งกบั ข้อกฎหมำยท่ีเกดิ ข้นึ วธิ นี นี้ ักกฎหมำยโดยท่ัวไปกจ็ ะไล่มำตรำก่อน มำตรำ
๑ ๒ ๓ คนท่ไี ม่มีพ้ืนฐำนก็จะงง แตใ่ นกำรสอนของอำจำรย ์ ทำ่ นจะยกควำมเปน็ จรงิ มำคละกบั แง่กฎหมำย
นำ� ประสบกำรณ์ข้นึ มำเทยี บเคียงกบั หลกั กฎหมำย ขอ้ นี ้ ๆ เรำจึงสำมำรถจ�ำวธิ กี ำรแกไ้ ขได ้ เพรำะมันเหน็ เปน็
รปู ธรรมชัดเจนเหมือนจับต้องได้ แตถ่ ้ำเป็นนกั กฎหมำยอนื่ เขำจะยกกฎหมำยขน้ึ กอ่ นวำ่ หลักขอ้ น ี้ ๆ กอ่ น ถึง
จะสอนกำรใชด้ ุลยพินิจคดิ อย่ำงไร ซง่ึ อำจำรย์จะไมท่ ำ� แบบน้ ี ทำ่ นจะสอนใหเ้ ขำ้ ใจ เรำจึงเขำ้ ใจขอบเขตและ
วิธีกำรของธรรมชำตขิ องกฎหมำยที่จะนำ� ไปใชว้ ่ำควรตอบโจทย์อยำ่ งไร
๒. ควำมเมตตำ ควำมเอ้ืออำทรที่มีให้แก่ลูกศิษย์ ไม่ว่ำอย่ำงไรก็เป็นผู้ให้เสมอไม่ว่ำลูกศิษย์
ขอควำมชว่ ยเหลอื อะไร อำจำรย์ก็ยินดีเสมอ
๓. อำจำรย์ไมเ่ คยถอื ตัวไม่วำ่ อำจำรย์จะอยูใ่ น power สูงคับฟ้ำระดบั ไหน อำจำรย์ก็ยงั คงเปน็ อำจำรย ์
ไม่เคยยึดติดกับหัวโขนสักอย่ำงเดียว น่ีคือควำมศรัทธำท่ีเรำไม่คิดว่ำจะมีใครเป็นได้อย่ำงอำจำรย์อีกแล้ว
บำงคนเมอ่ื ขนึ้ จดุ สงู สดุ ทกุ คนจะมหี นำ้ กำกหรอื หวั โขนตลอดเวลำ แตอ่ ำจำรย์ไมเ่ คยมสี ำ� หรบั ลกู ศษิ ย ์ อำจำรย์
สำมำรถขน้ึ และลงได ้ ไมย่ ดึ อะไรมำเปน็ สรณะ ดฉิ นั ศรทั ธำมำกทที่ ำ่ นมกี ฎเกณฑท์ ช่ี ดั เจน เปน็ ผใู้ หแ้ ละมเี มตตำ
ตอ่ ทกุ คน จึงเปน็ สงิ่ ท่ีท�ำให้ดฉิ นั เคำรพอำจำรยอ์ ย่ำงแท้จริง”

182

“ผู้ทรงคุณวฒุ ิ ผู้บา� เพ็ญคุณประโยชนเ์ กอื้ กูลวงวชิ าการและวชิ าชีพนติ ิศาสตร์”

นอกเหนือจากความรักและความนับถือที่ได้รับจากลูกศิษย์และบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณจุลสิงห์ยังได้รับเกียรติยศอันพึงได้รับจากคณะนิติศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันเป็นความภาค
ภูมิใจอย่างสูงสุดประการหนง่ึ ในชวี ิต เมือ่ สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไดม้ มี ติอนมุ ัตปิ ริญญานิติศาสตรดษุ ฎี
บณั ฑิตกติ ติมศกั ดิแ์ ก่คุณจุลสิงห ์ วสันตสงิ ห ์ ในฐานะ “ผู้ทรงคณุ วฒุ ิ ผบู้ �าเพญ็ คุณประโยชนเ์ กือ้ กลู วงวชิ าการ
และวชิ าชีพนติ ิศาสตร์” ใน พ.ศ. ๒๕๕๒

รองศาสตราจารย์ธติ ิพันธ์ุ เช้ือบญุ ชยั ซ่งึ ขณะนั้นดา� รงต�าแหนง่ คณบดคี ณะนติ ิศาสตร ์ จฬุ าฯ และเป็น
ผู้เสนอช่อื คณุ จุลสิงห์ตอ่ สภาจฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั ได้เล่าถึงเหตกุ ารณใ์ นชว่ งนัน้ ไวว้ ่า

“ย้อนกลับไปถึงท่ีงำนเลี้ยงหลักสูตรศิลปศำสตรบัณฑิต กฎหมำยธุรกิจ ซ่ึงส่วนหน่ึงก็เป็นกำรแสดง
ควำมยินดีกับพ่ีจุลสิงห์ที่ได้รับพระรำชทำนปริญญำดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักด์ิ จำกมหำวิทยำลัยรำมค�ำแหง
วันนั้นผมทรำบแล้วว่ำทำงจุฬำลงกรณ์มหำวิทยำลัยได้อนุมัติกำรขอรับพระรำชทำนปริญญำดุษฎีบัณฑิต
กติ ติมศกั ด ิ์ สำขำนิติศำสตร์ ให้แก่พ่จี ลุ สงิ ห์แลว้ เพยี งแตว่ ำ่ กระบวนกำรของ จุฬำฯ นนั้ คนที่จะแจง้ ขำ่ วน้นั
ต้องเปน็ อธกิ ำรบด ี ไม่ใชผ่ ม เพรำะฉะน้ัน พอทำ่ นพูดเร่อื งได้รับจำกนติ ิศำสตร์ รำมคำ� แหง ในใจผมกบ็ อกว่ำ
นติ ิศำสตร์ จฬุ ำฯ ได้ขอใหท้ ำ่ นอยแู่ ลว้ แตผ่ มไม่ไดพ้ ดู อะไร ณ ตอนนัน้
หลังจำกนั้นวันสองวันท่ำนก็โทร.มำหำผม บอกว่ำ ‘ช้ำง คุณเสนอให้ผมเป็นนิติศำสตรดุษฎีบัณฑิต
กิตติมศักด์ิด้วยหรือ’ แล้วก็เล่ำว่ำ อำจำรย์หมอภิรมย์ (ศำสตรำจำรย์ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิกำรบดี
จุฬำลงกรณม์ หำวิทยำลัยในขณะนน้ั ) โทร.ไปบอกทำ่ นวำ่ สภำมหำวทิ ยำลัยได้อนุมัตใิ ห้ทำ่ นไดร้ บั พระรำชทำน
ปริญญำดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักด์ิ สำขำนิติศำสตร์ หมอภิรมย์ก็ถำมท่ำนว่ำยินดีรับไหม เพรำะกำรท่ีจะแต่ง
ตง้ั หรอื มอบหรอื พระรำชทำนใครภำยในน้ัน จะตอ้ งถำมคนท่ไี ด้รับกำรเสนอชือ่ นัน้ มคี วำมยินดีท่จี ะรบั ไหม?
ท่ำนบอกว่ำพอหมอภริ มยถ์ ำม กบ็ อกวำ่ ยินดสี ิ ก็คุยกันแบบสนุกสนำน เมือ่ เรำเจอกนั ทไี่ หน เรำกพ็ ดู กันเร่อื ง
น้ี วำ่ ผมเปน็ คนเสนอ แตค่ วำมจริงคอื คณะกรรมกำรประจ�ำคณะเหน็ สมควรท่จี ะเสนอไป
หัวใจส�ำคัญท่ีเป็นเหตุผลให้ท่ำนได้รับควำมดีควำมชอบให้ได้เป็นนิติศำสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
เนื่องจำกในสมัยก่อนน้ันส�ำนักงำนจัดกำรทรัพย์สินจะมีคณบดีคณะนิติศำสตร์เข้ำไปนั่งเป็นกรรมกำรกำร
จัดกำรทรัพย์สิน เนื่องจำกจุฬำลงกรณ์มหำวิทยำลัยนั้นเป็นหน่วยงำนรำชกำร สัญญำทุกอย่ำงที่เก่ียวข้องจึง
เป็นสัญญำของรัฐท้ังหมดเลย ผมจึงเสนอต่อท่ำนอำจำรย์สุชำดำว่ำควรเชิญพ่ีจุลสิงห์มำเป็นกรรมกำรกำร
จัดกำรทรพั ยส์ นิ เพรำะท่ำนจะช่วยมำดูมำประเมินเอกสำรวำ่ ขัดกบั กฎหมำย และระเบยี บรำชกำรหรือไม่ ซง่ึ
คุณหญิงก็เชิญท่ำนเข้ำมำ ที่จริงกำรที่ผมอยำกให้ท่ำนเข้ำไปท�ำงำนในนั้น ไม่ใช่ควำมสัมพันธ์ส่วนตัว เพียง
แต่ผมคิดว่ำพ่ีจุลสิงห์น่ำจะท�ำสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้มำก ตรงนี้ต่ำงหำกท่ีส�ำคัญว่ำพี่จุลสิงห์ได้สร้ำงคุณงำม
ควำมดีให้แก่จุฬำลงกรณ์มหำวิทยำลัยได้มำกจริง ๆ โดยเฉพำะเร่ืองกำรจัดกำรทรัพย์สินในส่วนบริเวณพื้นท่ี
สยำมทมี่ ปี ระเด็นขอ้ พิพำทกับผเู้ ชำ่ หรือผทู้ รงอิทธพิ ลบำงคน ท่ำนก็ไปเคลียร ์ ไปจดั กำรให้ ดว้ ยขอ้ กฎหมำย
ตำ่ ง ๆ เทำ่ ท่ีท่ำนจะทำ� ได้ พอเสนอทป่ี ระชมุ แล้วปรำกฏวำ่ ทกุ คนมคี วำมเห็นตรงกันว่ำทำ่ นสมควรไดร้ ับ”

183

รับพระราชทานปริญญานติ ิศาสตรดุษฎบี ณั ฑิตกติ ตมิ ศกั ด์ิ มหาวิทยาลัยรามค�าแหง
๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒

คณุ จุลสิงหไ์ ด้เข้ารบั พระราชทานปริญญาดุษฎบี ัณฑติ กติ ตศิ กั ด์ิ ในวนั ท ี่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
เป็นวันเดยี วกับที่บตุ รสาว คอื ณัฏฐา วสันตสิงห ์ ไดร้ บั พระราชทานปริญญานติ ศิ าสตรบัณฑิต เกยี รตินยิ ม
อันดับ ๑ วันน้ันจงึ เป็นวันแห่งความภาคภมู ิและปลาบปลมื้ ใจทีส่ ุดวนั หนง่ึ ในชวี ิตของท่านก็วา่ ได ้ เมื่อได้รบั
เกยี รตจิ ากสถาบนั อันเปน็ ทีร่ กั ยง่ิ ในวาระเดยี วกันกับวันแหง่ ความสา� เร็จดา้ นการศกึ ษาของบุตรสาว

วนั แห่งความภาคภูมใิ จ

184

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซ่ึงเป็นผู้
แจ้งข่าวการอนุมัติปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่คุณจุลสิงห์ได้เล่าว่า เหตุผลท่ีคุณจุลสิงห์
ไดร้ บั เกียรติน้ี มาจากความรู้และความสามารถของท่านอย่างไมม่ ใี ครปฏิเสธได ้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในการ
ท�าหนา้ ท่ีกรรมการบริหารทรัพย์สนิ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย แตเ่ หนือสิ่งอนื่ ใดคือเหตผุ ลที่วา่ “ท่านเป็น
คนทีร่ กั จุฬาฯ สดุ หัวใจ”

“ส่ิงที่ท่ำนท�ำให้จุฬำฯ ไม่ได้ท�ำตำมหน้ำที่แต่ท�ำด้วยใจ ใจของท่ำนที่เกิน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

ท่ีให้แก่จุฬำฯ ท่ำนก็ไม่เคยบอกว่ำไม่มีเวลำ มีแต่ว่ำให้ ๆ ๆ ให้เวลำเต็มท่ี จ�ำได้ว่ำตอนท่ำนมำช่วย

จฬุ ำฯ ตอนนั้นทำ่ นยังเป็นรองอยั กำรสูงสุด จริง ๆ นกึ วำ่ ท่ำนจะไมม่ ีเวลำ แต่ท่ำนมำตลอด ด้วยศักยภำพ

ดว้ ยควำมร้คู วำมสำมำรถของทำ่ น เครอื ข่ำยต่ำง ๆ ที่ทำ่ นมปี ระสบกำรณ์และควำมเชีย่ วชำญของทำ่ นเปน็

ประโยชน์อย่ำงมหำศำลมำกกับกำรบรหิ ำรจดั กำรทรพั ย์สินของจุฬำฯ

ในช่วงวกิ ฤตเิ ศรษฐกจิ กต็ ำม นำ้� ท่วมใหญ่ก็ตำม หรือกำรชมุ นมุ ทำงกำรเมือง ไฟไหม้สยำมสแควร ์

ท่ำนเป็นคนเสนอเองว่ำอย่ำไปเพ่ิมควำมเดือดร้อนให้ผู้เช่ำ ท่ำนให้หลักกำรว่ำผู้เช่ำเขำต้องอยู่ได้ เรำก็อยู่

ได้ด้วย แล้วก็ไม่มีกำรเอำเปรียบซึ่งกันและกัน ท่ำนบอกเลยว่ำ พวกน้ีเขำเดือดร้อน มีกำรปรับลดค่ำเช่ำ

อยำ่ งไฟไหม ้ ทำ่ นตงั้ เต็นท์ใหแ้ ล้วก็อย่ฟู รีตลอดจนเกิดสยำมสแควรว์ นั

เวลำที่มำประชุมกับเรำ ท่ำนเตรียมข้อมูล ท�ำกำรบ้ำนมำอย่ำงดีทุกครั้ง และทุกคร้ังท่ำนมีสรุป

ท่ำนมีคำ� ตอบทเ่ี หมำะสมใหก้ รรมกำรเสมอ ท่ำนไม่ได้มคี �ำตอบท่ีตอบเฉพำะหลักทำงด้ำนนติ ศิ ำสตร์ ทำ่ น

ยังรู้ในด้ำนอื่น ๆ ด้วย น่ำท่ึงว่ำท�ำไมถึงมีควำมรู้อื่น ๆ มำกมำยในคนคนเดียวกัน รู้ท้ังหลักรัฐศำสตร์

รู้ท้ังหลักบริหำรจัดกำร รู้ทั้งหลักกำร

เศรษฐศำสตร์ แล้วน�ำมำท�ำให้เกิด

ควำมสมดลุ หลักกำรของทำ่ น ๔ - ๕

อย่ำงคือ ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

แก่จุฬำฯ รักษำชื่อเสียงภำพพจน ์

เกียรติภูมิให้จุฬำฯ รักษำควำมเป็น

ธรรมให้ทุกฝำ่ ย ไม่เฉพำะจฬุ ำฯ รวม

ทง้ั ผคู้ ำ้ ผเู้ ชำ่ ดว้ ย แตผ่ ลประโยชนส์ งู สดุ

นนั้ ประเทศชำตติ อ้ งไดร้ บั ประโยชน ์ สงิ่

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภริ มย์ กมลรตั นกุล นท้ี ำ� ให้เป็นตน้ แบบใหห้ นว่ ยงำนอืน่ ๆ

นายกสภาจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั ไปด�ำเนินกำรต่อได้ จุดนี้ท�ำให้ผม

เมื่อคร้งั เป็นอธิการบดมี อบดอกไม้แสดงความยนิ ดี ประทบั ใจทำ่ นมำก”

185

กรรมการบริ ารทรพั ย์ ิน จุ าลงกรณ์ม าวิทยาลัย
คุณจุลสิงห์ได้เข้าด�ารงต�าแหน่งกรรมการบริหารทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.

๒๕๔๘ นับเป็นการใช้ความรู้ความสามารถในทางกฎหมายเพื่อทดแทนพระคุณของแหล่งเรียนมา
อย่างเต็มที่เพ่ือด�ารงไว้ซ่ึงเกียรติยศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเพื่อผลประโยชน์ท่ีเป็นธรรมแก่
ทกุ ฝ่ายท่ีเก่ียวขอ้ ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาที่ได้รับพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพ่ือให้ใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษาและจัดหาผลประโยชน์ หลังจากที่ได้ทรง
สถาปนาจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึน้ ใน พ.ศ. ๒๔๕๙ เพอื่ เปน็ พระบรมราชานุสาวรียถ์ วายพระเกยี รตแิ ด่
พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั โดยทต่ี ง้ั ของจฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั เปน็ ทดี่ นิ ทพี่ ระบาทสมเดจ็
พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ทรงใชพ้ ระราชทรพั ยส์ ว่ นพระองคใ์ นการจดั ซอ้ื โดยทรงกา� หนดใหข้ น้ึ ทดี่ นิ แปลงนี้
ไวใ้ นบญั ชีเลี้ยงชพี บาทบริจารกิ าในพระองค์ จนกระท่งั ใน พ.ศ. ๒๔๘๒ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั จึงไดร้ ับ
กรรมสทิ ธท์ิ ดี่ นิ พระราชทานโดยสมบรู ณ ์ เพอ่ื ใชป้ ระโยชนใ์ นดา้ นการศกึ ษาดงั พระราชประสงคข์ องพระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจา้ อยู่หัว และได้มพี ระราชดา� ริเกี่ยวกบั ที่ดนิ ผืนนี้ว่า

“...ให้ใชท้ ่ีดนิ ส่วนหนึ่งเพ่ือปลูกสร้างสถานศกึ ษาและอกี สว่ นหนึง่
ให้ใช้จัดหาผลประโยชน์เพอื่ น�ามาปรับปรงุ การศึกษา
โดยมิตอ้ งพึง่ งบประมาณแผ่นดินแต่เพยี งอย่างเดียว”

ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ มหาวทิ ยาลัยได้มีมตอิ นมุ ัตใิ ห้จดั ตั้งส�านักงานจัดการผลประโยชนข์ น้ึ และต่อมาใน
พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้มีการก่อต้งั สา� นกั งานจัดการทรพั ย์สนิ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั มีหนา้ ทใ่ี นการพฒั นาและ
บริหารให้เกิดรายไดใ้ นพน้ื ท่ีนอกเขตการศึกษา ซงึ่ ต้งั อย่ใู จกลางกรงุ เทพมหานคร และเป็นพน้ื ทท่ี ่ีมมี ูลคา่
ทางเศรษฐกิจสูงมากในปจั จุบนั เนอ่ื งจากเปน็ ท่ีต้งั ของอาคารส�านักงาน ร้านคา้ ศูนย์การคา้ ฯลฯ ทา� ให้
ส�านักงานจัดการทรพั ยส์ นิ ฯ ตอ้ งบริหารจัดการผลประโยชน์และพฒั นาพ้ืนทีด่ งั กล่าวใหเ้ หมาะสม จากเดมิ
ทเ่ี ป็นการใหเ้ ชา่ ทด่ี นิ มาเป็นการพัฒนาและบรหิ ารอสงั หาริมทรพั ย์
ภารกิจดังกล่าวนับว่าเป็นความท้าทายอย่างย่ิงส�าหรับส�านักงานฯ ภายใต้กระแสความผันผวน
ทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการแขง่ ขนั จากภาคเอกชน โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งในช่วง พ.ศ. ๒๕๔๗
- ๒๕๕๑ ซึ่งมีการต่อสัญญากับมาบุญครองเซ็นเตอร์ และก�าหนดอัตราค่าเช่าสยามสแควร์รูปแบบใหม่
ในชว่ งเวลาดงั กลา่ ว คณุ จลุ สงิ หไ์ ดเ้ ขา้ มาเปน็ กรรมการบรหิ ารทรพั ยส์ นิ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั และ
ไดป้ ฏบิ ตั ภิ ารกจิ ใหญท่ ง้ั สองภารกจิ นจ้ี นสา� เรจ็ ลลุ ว่ ง โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ การตอ่ สญั ญากบั มาบญุ ครองเซน็ เตอร์
นนั้ นบั วา่ เปน็ ผลงานทปี่ ระสบความสา� เรจ็ อยา่ งสงู สดุ และไดก้ ลายเปน็ ตน้ แบบสา� คญั ของประเทศไทยในการ
ต่อสญั ญาของภาครฐั กบั เอกชนในเวลาต่อมา

186

ศาสตราจารยก์ ติ ตคิ ณุ ดร.คณุ หญงิ สชุ าดา
กรี ะนนั ทน์ อดตี นายกสภาจฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั
ซึ่งด�ารงต�าแหน่งอธิการบดี จุฬาฯ ในขณะนั้น
ได้เล่าถึงการท�างานของคณะกรรมการบริหาร
ทรัพย์สินฯ ในชว่ งเวลานน้ั ว่า

กับอดีตคณะกรรมการทรัพย์สิน จุฬาฯ “คณะกรรมกำรบรหิ ำรจัดกำรทรพั ย์สนิ ฯ
เป็นคณะกรรมกำรชุดเล็ก มีไม่กี่คน มีผู้ทรง

คุณวุฒิ ๕ คน อธิกำรบดี และรองอธิกำรบด ี

คุณจุลสิงห์ก็ได้เข้ำมำช่วงนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่จุฬำฯ มีเร่ืองเยอะมำก โดยเฉพำะเรื่องของกำรบริหำรจัดกำร

ทรัพยส์ ิน พอทำ่ นเข้ำมำใหม ่ ๆ ก็เจอเรอ่ื งสยำมสแควร์ เรอื่ งสัญญำมำบญุ ครอง เรอ่ื งของจัตุรัสจำมจรุ ีที่ยงั

ไมจ่ บ ทง้ั หมดเป็นเร่อื งขอ้ กฎหมำยเยอะมำก เมื่อคณุ จุลสงิ ห์กำ้ วเขำ้ มำเป็นกรรมกำร ตอ้ งบอกวำ่ ตวั ดิฉัน

เองรสู้ กึ ประทบั ใจอย่ำงยิง่ เพรำะวำ่ ทำ่ นจะใชค้ วำมรทู้ ำงกฎหมำยและมมี นษุ ยธรรมในกำรแกป้ ัญหำ ทำ่ น

เขำ้ ใจดวี ำ่ กฎหมำยไมไ่ ดต้ ำยตัวแน่นอน และมองวำ่ มหำวทิ ยำลยั แหง่ น ี้ เปน็ สถำนทท่ี ่ไี ดร้ ับพระรำชทำนมำ

ดังน้ัน จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ไม่ว่ำจะท�ำกำรใด ๆ ก็จะต้องระวังไม่ให้เส่ือมเสียพระเกียรติยศว่ำจุฬำฯ

น้นั ไปไล่บ้ีผู้เชำ่

คุณจลุ สงิ หบ์ อกว่ำถงึ แมว้ ำ่ กฎหมำยจะอนญุ ำตให้เรำท�ำแบบน ี้ ๆ ได ้ แตถ่ ำ้ เรำขยับมำอีกสักหนอ่ ย

มันก็จะดูงำมขึ้นส�ำหรับทุกฝ่ำย เรำก็จะมีนักกฎหมำยอีก ๑ ท่ำน และมีผู้เชี่ยวชำญทำงด้ำนธุรกิจอยู ่

ซงึ่ บำงทีเขำมองแคว่ ำ่ หน้ำท่ขี องเขำคอื บรหิ ำรจดั กำรทรพั ยส์ นิ ให้มหำวทิ ยำลยั ดังนั้น เขำต้องทำ� ทุกอยำ่ ง

เพ่ือให้ได้มีรำยได้สูงสุด ทำงกฎหมำยเขำบอกว่ำนี่ท�ำได้ นี่ท�ำไม่ได้ เรำต้องมำตัดสินใจว่ำ ภำยใต้กรอบ

ท้งั หมดน้ี เรำจะเดนิ ทำงสำยไหนทพี่ อดี บำงครั้งเรำต้องเขม้ เพรำะหำกเรำไมเ่ ขม้ เช่นเร่ือง สยำมสแควร ์

เรำก็ตำย ถ้ำหำกเรำอ่อนเกินไป เขำก็รุมเรำแน่นอน แต่ถ้ำเรำเข้มเกินไปอีก มันก็จะเกิดภำพว่ำจุฬำฯ

ไล่จบั ชำวบ้ำน ถำ้ จะดูเรอื่ งคดี เรำจะโดนฟอ้ งเปน็ ประจำ� เพรำะเขำกห็ ำเรือ่ งทุกทำง ในเวลำนนั้ ดฉิ ันถกู

ฟ้อง ๑๐๓ คด ี ส�ำหรบั ท่สี ยำมสแควร ์ ฟ้องกันทุกเรื่องเลย เชน่ สัญญำไมเ่ ปน็ ธรรม ว่ิงไปกรมธนำรักษ ์ อะไร

ตอ่ อะไร เดอื ดรอ้ นมำกอะไรในช่วงนั้น คณะกรรมกำรทรพั ย์สนิ ฯ กจ็ ะชว่ ยดูในเร่ืองรำยละเอยี ดในสญั ญำ

เรำกป็ ระชุมกนั บ่อยมำก”

สยามสแควร์เป็นย่านเศรษฐกิจส�าคัญท�าเลทองใจกลางกรุงเทพฯ ที่มีชื่อเสียงมายาวนานในฐานะ
พ้ืนที่ที่เป็นจุดหมายปลายทางของวัยรุ่นทุกยุคทุกสมัย เน่ืองจากเป็นจุดศูนย์รวมของร้านค้า ร้านอาหาร
โรงภาพยนตร์ โรงแรมท่ีดึงดูดผู้คนให้มาใช้บริการอย่างมากมาย จึงนับว่าเป็นโจทย์ส�าคัญของส�านักงาน

187

จัดการทรัพย์สินฯ ในการบริหารจัดการพ้ืนท่ี โดยเฉพาะอย่างย่ิงเม่ือมีการส�ารวจพบว่ามีการน�าอาคาร
พาณชิ ยใ์ นสยามสแควรไ์ ปใหเ้ ชา่ ช่วงเพอื่ หาประโยชนจ์ ากสว่ นต่างของค่าเชา่ และมีธุรกจิ นายหน้ารวบรวม
พน้ื ทีอ่ าคารพาณิชยม์ าใหเ้ ชา่ ช่วงในราคาทสี่ ูงกวา่ อัตราคา่ เช่าที่มหาวิทยาลัยก�าหนดหลายเทา่ ตวั
ต่อมาเมื่อสัญญาเช่าอาคารสิ้นสุดใน พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงได้มีการก�าหนดกลยุทธ์การต่อสัญญา
เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและเป็นธรรมแก่มหาวิทยาลัย โดยก�าหนดราคาค่าเช่าที่สะท้อนความเป็นจริง
โดยพิจารณาจากท�าเลและราคาตลาด ให้ส่วนลดแก่ผู้เช่าด้ังเดิม และหาแนวทางให้ผู้ประกอบการจริง
ได้เช่าพน้ื ที่จากมหาวทิ ยาลัยโดยตรง
การก�าหนดกลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหาที่สยามสแควร์นี้เกิดขึ้นในช่วงที่คุณจุลสิงห์เข้ามาเป็นกรรมการ
บริหารทรพั ยส์ นิ ฯ และได้ใหค้ �าปรกึ ษาแก่สา� นกั งานฯ โดยยดึ หลักความถกู ต้องเป็นธรรมแก่ทกุ ฝ่ายในการ
จดั การผลประโยชน ์ ดงั ท ี่ คณุ ภคทชั ช พศั ภคั ชญช ์ ผชู้ ว่ ยผอู้ า� นวยการสา� นกั งานจดั การทรพั ยส์ นิ จฬุ าลงกรณ์
มหาวทิ ยาลัย ได้เลา่ ถงึ เหตุการณ์ในช่วงเวลาน้นั ไว้ว่า

“ ในเวลำนัน้ เรำต้องเผชิญกับผเู้ ชำ่ จำ� นวนมำก ส่ิงทเี่ ขำใชก้ ค็ อื สือ่ มวลชน และ Tactic เร่อื งของ
ทำงกฎหมำยทุกอยำ่ ง วกิ ฤติน้สี �ำนกั งำนฯ จะเดินหนำ้ ตอ่ ไมไ่ ด้ถำ้ เรำไมม่ นี ักกฎหมำยแบบทำ่ นจลุ สงิ ห์อยู่
ขำ้ งหลังเพอ่ื สนบั สนุนว่ำ คณุ ทำ� ไปเถอะ ส่งิ ทค่ี ณุ ตดั สินใจและสิ่งท่คี ณุ เดินไป ถำ้ มนั ตอ้ งเจอ แล้วคณุ ถำม
มำผมว่ำมันใช่หรอื ไม่ใช่ เรำจะต้องโดนคดีอำญำไหม ถ้ำท่ำนบอกวำ่ ไมก่ ค็ อื ไม ่ นน่ั คอื ส่ิงทท่ี ำ่ นใหก้ �ำลังใจ
กลบั มำในเรอ่ื งของกำรตอ่ สกู้ บั ปญั หำตรงน ี้ เพรำะฉะนน้ั กำรทำ� งำนของเรำตงั้ แตท่ ำ่ นเขำ้ มำจนตอนทท่ี ำ่ น
เสีย ทำ่ นจุลสิงห์ Back up ในเรอื่ งของทำงกฎหมำยใหเ้ รำท้งั หมด ทำ่ นพดู เสมอว่ำ ‘จ�ำไว้นะ จุฬำฯ ทำ� ผดิ
กฎหมำยไม่ได ้ ใครทำ� ผิดได้ก็ทำ� ไป แตจ่ ฬุ ำฯ ท�ำผิดกฎหมำยไมไ่ ด’้

ดงั นนั้ ท่ำนจะดูเร่ืองต่ำง ๆ บนพืน้ ฐำนควำมยตุ ิธรรม กับจุฬำฯ กับเอกชน ทุกผลงำนมที ำ่ นจลุ สิงห์
อยู่เบ้ืองหลังว่ำทำงท่ีเรำเดินไปนั้นถูกต้องแล้วและไม่ผิดกฎหมำย น่ีต่ำงหำกที่ส�ำคัญและมีคุณค่ำส�ำหรับ
สำ� นักงำนทรพั ยส์ นิ ฯ ท่ีเรำไดท้ ำ� งำนกบั ท่ำนมำ ๑๐ กวำ่ ปี”

นอกจากสยามสแควร์ ภารกิจส�าคัญของส�านักงานจัดการทรัพย์สินฯ และกรรมการบริหารทรัพย์
สินฯ คือการต่อสัญญากับศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์ ซ่ึงเป็นคอมเพล็กซ์แห่งแรกของประเทศไทย
และปจั จบุ นั ไดก้ ลายเปน็ ศนู ยก์ ารคา้ ขนาดใหญแ่ ละมชี อื่ เสยี งในหมนู่ กั ทอ่ งเทยี่ วทงั้ ชาวไทยและชาวตา่ งชาติ
โครงการพฒั นาทด่ี นิ บรเิ วณสแี่ ยกปทมุ วนั นน้ี บั วา่ เปน็ โครงการพฒั นาตน้ แบบของประเทศ เนอ่ื งจาก
มีวิธีคิดในการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการและการเงินท�าให้การพัฒนาที่ดินในเชิงพาณิชย์ของ
มหาวทิ ยาลยั มมี ลู คา่ เพม่ิ ขน้ึ และไดก้ ลายเปน็ ตน้ แบบการพฒั นาทดี่ นิ ของมหาวทิ ยาลยั ในอกี หลายโครงการ
โดยใน พ.ศ. ๒๕๕๐ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั ไดม้ กี ารต่อสัญญาล่วงหน้ากับศนู ยก์ ารคา้ มาบุญครอง โดย
การประเมนิ มลู คา่ โครงการดว้ ยวธิ รี ายได ้(Revenue Approach) นา� มาซง่ึ การเปน็ ตน้ แบบของการตอ่ สญั ญา
ของภาครฐั กบั เอกชน ทงั้ น้ี คณะรัฐมนตรีในขณะน้นั ไดม้ มี ตเิ มอื่ วันท ่ี ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ว่า

188

“จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั ได้ด�าเนนิ การอยา่ งเป็นระบบและเปน็ ไปตามข้นั ตอน
ของกฎหมาย และหนว่ ยงานของรัฐคสู่ ญั ญาได้รับคา่ ผลประโยชน์ตอบแทนสงู
สมควรทกี่ ระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ)์ และหนว่ ยงานของรัฐอื่นๆ จะได้

นา� เรื่องนไ้ี ปศกึ ษาในรายละเอียดเพ่อื ใช้เป็นแนวทางในการด�าเนนิ การ
เร่อื งทา� นองเดียวกันในโอกาสตอ่ ไป”

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.คุณหญิงสุชาดา ได้เล่าถึงการต่อสัญญาฉบับท่ีท่านขนานนามว่า
“ฉบับลือลัน่ ” ไว้วา่

“ตอนที่จะต่อสัญญำฉบับลือลั่นกับมำบุญครอง เรำไม่ได้ใช้วิชำมำรหรือใด ๆ แต่เรำบอกว่ำ
ขอท�ำแบบมืออำชีพ ที่ผ่ำนมำนนั้ จุฬำฯ มีท่ีดิน ก็ให้มำบญุ ครองเชำ่ ไป สัญญำแรกเรำได ้ ๒๕ ล้ำนบำท
ต่อปี แลว้ ขนึ้ มำเรื่อย ๆ จนปีท่ี ๒๕ - ๓๐ เรำได้ ๖๐ - ๖๕ ลำ้ นต่อป ี แคค่ ่ำใช้จำ่ ยกับมำบุญครองก็เกนิ
๖๕ ล้ำนแล้ว ณ ตอนนัน้ เพรำะฉะน้ัน ก็เลยบอกไปวำ่ ไม่ได้ ประเมินวำ่ เมอ่ื ครบ ๓๐ ปี ตกึ น้จี ะตอ้ งเป็น
ของจุฬำฯ ตำมสัญญำ เม่ือตึกนเ้ี ปน็ ของจุฬำฯ กป็ ระเมินไปเลยวำ่ ผลประโยชนท์ ่ีทำงเอกชนได้นั้นคอื เทำ่ ไร
คณุ ได ้ เรำได้ ถ้ำคณุ ไมไ่ ด ้ เรำจะไปบ้ีคณุ มันก็ไมไ่ ด ้ ตอนนน้ั กร็ ะบอื ลอื ลน่ั ดงั นนั้ คณะกรรมกำรทรพั ย์สินฯ
จะเปน็ หลกั ที่คอยช่วยเรำ กรรมกำรที่เป็นหัวแรงแขง็ ขันก็คอื คณุ จุลสิงห ์ และ ดร.วชิ ยั ทเ่ี ปน็ นกั กฎหมำย
รวมถึงคนอนื่ ๆ ท่เี คยท�ำธรุ กิจมำบำ้ ง กม็ ำช่วยกนั ระดมควำมคิดเห็น ซ่งึ หลักกำรบรหิ ำรอืน่ ๆ มันกพ็ อสู้
ไหวนะคะ แต่หลกั กฎหมำยน้นั เรำตอ้ งฟังนักกฎหมำย
กรณขี องมำบญุ ครองน ี้ คณุ จลุ สงิ หช์ ว่ ยมำก เรำกจ็ ำ้ งบรษิ ทั ๒ - ๓ แหง่ เขำ้ มำประเมนิ พนื้ ท ่ี ประเมนิ
รำยได ้ ซงึ่ วธิ คี ดิ คำ่ เช่ำมนั มหี ลำยแบบ แน่นอนวำ่ เรำกต็ อ้ งเอำตวั ทสี่ งู ทส่ี ดุ ซง่ึ กจ็ ะเป็นแบบ Income Based
ที่จะน�ำไปประเมินต่อไป ทีน้ีคุณจุลสิงห์แนะน�ำว่ำต้องตั้งคณะกรรมกำร ในขณะน้ันเรำยังเป็นหน่วยงำน
รำชกำร เพรำะฉะน้นั ก็ตอ้ งดำ� เนินกำรตำมพระรำชบัญญตั ิกำรรว่ มกำรงำนระหว่ำงเอกชน กบั ภำครฐั พ.ศ.
๒๕๓๕ ซึง่ ในกรรมกำรชุดนัน้ ตอ้ งประกอบดว้ ยคณะกรรมกำรท่จี ะตอ้ งพจิ ำรณำเรื่องนีต้ ำมมำตรำ ๑๓ ซง่ึ
จะตอ้ งมผี ู้แทนของกระทรวงฯ เปน็ หัวหน้ำ มีผู้แทนอยั กำรสงู สุด กรมบัญชีกลำง ประมำณน้ีนะคะ โดยมี
จุฬำฯ เปน็ กรรมกำรเลขำนกุ ำรฯ ตอนนนั้ เรำเป็นห่วงวำ่ ถ้ำเรำไดป้ ระธำนทีไ่ มต่ รงไปตรงมำ กจ็ ะล�ำบำก
จึงไปขอพบรัฐมนตรี ถำมท่ำนว่ำไว้ใจดิฉันไหม? ถ้ำไว้ใจ ก็มอบหมำยให้ดิฉันเป็นประธำนฯ เข้ำใจว่ำ
รัฐมนตรีในตอนนั้นก็เป็นศิษย์เก่ำจุฬำฯ ด้วย ท่ำนก็ไว้ใจและแต่งตั้งดิฉันเป็นประธำนฯ อำจำรย์บุญสมก็
เป็นเลขำฯ เรำจึงตอ้ งไปหำคนทเี่ ข้ำใจสถำนกำรณ ์ และต้องเป็นคนซอ่ื ตรง ซ่ือสตั ย ์ เรำก็ชว่ ยกันคัดเลอื ก
รำยช่ือ นีค่ ือกำรจดั ตวั บุคคลกรรมกำรซึ่งถอื วำ่ เปน็ หวั ใจ สดุ ทำ้ ยกไ็ ด้กรรมกำรชดุ สดุ ยอด ตรงเผ็ง ทำ่ นจะ
แนะนำ� และชว่ ยช้ที ำงออกให้เรำในเวลำทเ่ี รำไปคุยเรอื่ งเหล่ำน ี้ มีทำงท่ีไมต่ ันเสียทีเดยี ว เปน็ รูปแบบท่ีภำค
รัฐท�ำได้ กำรเจรจำมกี รอบอยำ่ งไร? ประเดน็ ไหนที่สำ� คัญขำดไม่ได?้ กำรสรุปเรื่องและรำยงำนกำรประชมุ
จะต้องจ้ีประเด็นให้ถูก พวกเรำมักเขียนรำยงำนกำรประชุมแบบเขียนไปเร่ือย ซึ่งคุณจุลสิงห์แนะน�ำว่ำใน

189

รำยงำนกำรประชมุ จะตอ้ งระบุ ๑ ๒ ๓ จล้ี งไป ตรงน้ตี อ้ งไม่ลืมประเด็นน้ีนะ ตอ้ งหยิบมำตรำนี้ข้ึนมำพูดนะ
เพรำะทุกอยำ่ งจะตอ้ งส่งไประดับเหนือหมด หำกตรงไหนหลุดร่วงกจ็ ะตกี ลับมำหำเรำ ซ่งึ แน่นอนวำ่ ถำ้ เปน็
ดฉิ ันทำ� เองคงท�ำไมไ่ ดเ้ พรำะเรำไมช่ ำ� นำญเรอ่ื งแบบนี้ น่คี อื ควำมเชยี่ วชำญของทำ่ น”

อาจกล่าวได้ว่า เวลา ๑๐ กว่าปีท่ีคุณจุลสิงห์เป็นกรรมการทรัพย์สินฯ ท่านได้ใช้ความเป็น
นักกฎหมายในการทา� งานให้แกจ่ ฬุ าฯ อย่างเตม็ ความสามารถ และเข้าประชุมทุกนัดไมไ่ ดข้ าดแม้ว่าจะมี
ภารกิจมากมายในสา� นกั งานอยั การสูงสดุ

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.คุณหญิงสุชาดา ได้กล่าวสรุปถึงบทบาทหน้าที่ของคุณจุลสิงห์ในฐานะ
กรรมการบริหารทรัพยส์ ิน จุฬาฯ รวมทง้ั ความประทับใจในการท�างานดา� รงไว้ซงึ่ เกยี รตยิ ศของจุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลัยและเพ่ือผลประโยชน์ที่เป็นธรรมแก่ทกุ ฝ่ายที่เกยี่ วขอ้ งวา่

“คุณจุลสิงห์เป็นบุคคลที่มีควำมรู้ด้ำนกฎหมำยลึกซ้ึงและดีมำก ดิฉันมองว่ำเขำเป็นคนท่ีใช้
กฎหมำยอย่ำงตรงไปตรงมำ ให้ค�ำแนะน�ำท่ีตรงตำมตัวบทกฎหมำยตรงไปตรงมำ ไม่มีเบ้ียวซ้ำย เบี้ยว
ขวำ เรำเคยไดย้ ินใชไ่ หมว่ำมีนักกฎหมำยท่พี ลกิ แพลงเพอ่ื ให้เกดิ ประโยชน์กบั คนใดคนหนง่ึ แต่คุณจุลสิงห ์
บอกว่ำ ไม่ได้ ใหอ้ ย่กู ับควำมถกู ตอ้ ง ยงั ไงกไ็ มม่ ีวันตำย พูดร้อยครัง้ มนั กจ็ ะเป็นอยำ่ งน ี้ ไมม่ ีทำงเปน็ อน่ื ได ้
กบั จฬุ ำฯ ทำ่ นกใ็ หค้ วำมทมุ่ เทตง้ั ใจทำ� ใหอ้ ยำ่ งเตม็ ท ่ี เพรำะทำ่ นเขำ้ ใจวำ่ มหำวทิ ยำลยั จะเอยี งกระเทเ่ รไ่ มไ่ ด้
ล้มไมไ่ ด้ เสยี ช่อื เสยี งไมไ่ ด ้ ดังนั้น จงึ กลบั กลำยเป็นว่ำคุณจลุ สงิ หเ์ ป็นคนทเี่ ตอื นเรำอยำ่ งมำก บำงเร่อื งดิฉนั
กบ็ อกวำ่ ไม่ได ้ ตอ่ ใหช้ นกำ� แพงก็จะชน ท่ำนจุลสิงหก์ บ็ อกวำ่ มำกไปหน่อย ควรจะพอดี ๆ ถำ้ ไม่ยอมมันก็
เปน็ ทำงตัน มันก็ตอ้ งมีทำงออกโดยท่ไี ม่ไดเ้ สียหลักกำร ไม่ใชว่ ำ่ จะต้องไปเขำ้ ข้ำงใครหรือเอือ้ ประโยชนใ์ ห้
กบั ใคร กเ็ ปน็ ชว่ งหนงึ่ ของชวี ติ ทไี่ ดท้ ำ� งำนกบั คนทร่ี สู้ กึ ดแี ละประทบั ใจในควำมรคู้ วำมสำมำรถ รวมถงึ ควำม
ตง้ั ใจทจ่ี ะทำ� ประโยชนใ์ หแ้ กม่ หำวทิ ยำลยั อกี ทงั้ ยงั รกั ษำควำมเปน็ นกั กฎหมำยทดี่ ี มองประโยชนส์ ำธำรณะ
ขณะเดยี วกนั ก็ยงั คอยแคร ์ คอยหว่ งใยผลกระทบท่เี กิดข้ึนตำมมำในภำยหลงั ให้กบั เรำอีก ซึ่งเป็นเร่อื งยำก
น่ำชื่นชมควำมเป็นคนดีของเขำ และควำมไม่ยึดเอำผลประโยชน์ของตนเป็นที่ต้ัง แต่ยึดผลประโยชน์ของ
สว่ นรวมเป็นหลักตลอดมำ”

จลุ งิ ์ ว ันต ิง ์
๑๑ ผู้ าน ัมพนั ธใ์ ม้ น่ั คงเพื่ Law Chula

ดว้ ยแนวคดิ ในการยดึ ถอื ผลประโยชนข์ องสว่ นรวมเปน็ หลกั และความรกั จฬุ าฯ อยา่ งเตม็ เปย่ี มตลอด
มา ทา� ให้ตอ่ มาคุณจลุ สิงหไ์ ดเ้ ขา้ รบั ต�าแหน่งนายกสมาคมนสิ ิตเก่านติ ิศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน
พ.ศ. ๒๕๔๖ - ๒๕๔๙ ในฐานะนสิ ติ เก่า “ฬ ๑๑” ที่เข้าศึกษาในคณะนิตศิ าสตร์ จฬุ าฯ เมอื่ พ.ศ. ๒๕๑๑
และวันหน่งึ กไ็ ด้กลับมาทดแทนพระคณุ ของแหล่งเรยี นมา

190

สมาคมนิสิตเก่านิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สนนจ.) คือศูนย์รวมความรักและ
ความผกู พนั ของนสิ ติ เกา่ คณะนติ ศิ าสตร ์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ทปี่ จั จบุ นั ไดส้ า� เรจ็ การศกึ ษาออกไปรบั ใช้
สงั คมในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสงั คม และนานาชาตกิ ว่า ๑๐,๐๐๐ คน สมาคมนิสติ เก่านติ ศิ าสตร์
จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั กอ่ ตั้งข้นึ เมอ่ื วนั ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยมีวัตถุประสงค์หลกั คือการ
สง่ เสรมิ ความสามคั คแี ละความเจรญิ ใหแ้ กค่ ณะนติ ศิ าสตร ์ จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ดว้ ยการจดั หาทนุ การ
ศกึ ษาวจิ ัย และบ�าเพญ็ สาธารณประโยชน์ตา่ ง ๆ
ตลอดระยะเวลาที่ด�ารงต�าแหน่งนี้ คุณจุลสิงห์ได้ใช้คุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัวในการสานความ
สมั พันธ์ในระหวา่ งพีน่ อ้ งชาว “Law Chula” และทา� ประโยชน์ให้แกค่ ณะนิติศาสตร ์ จุฬาฯ ในหลากหลาย
มติ ิ ดังท่ี คณุ สรุ พล สร้างสมวงษ ์ อดีตนายกสมาคมนิสิตเก่านิตศิ าสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย วาระปี
พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๒ ได้กล่าวถงึ “รนุ่ พ่ี” ทา่ นน้ไี วด้ งั น้ี

“อำจจะพดู ไดว้ ำ่ คำแรคเตอรห์ นงึ่ ของควำมเปน็ นกั กฎหมำยนนั้ ทกุ คนมโี อกำสทจ่ี ะอยฝู่ ง่ั ตรงขำ้ มกนั
แตส่ ดุ ทำ้ ยแลว้ ทกุ คนจะตอ้ งมำอยรู่ ว่ มกนั ได ้ ซง่ึ ถำ้ หำกไมม่ คี นทจี่ ะมำชว่ ยดงึ ใหก้ ลบั มำอยตู่ รงนนั้ มนั ไมง่ ำ่ ย
เพรำะวำ่ ขณะทเี่ รำนง่ั กนั อยบู่ นบลั ลงั ก ์ หรอื อยใู่ นศำลแลว้ นน้ั มนั คอื กำรตอ่ สรู้ ะหวำ่ งกนั แตห่ ลงั จำกนน้ั เรำ
จะท�ำอยำ่ งไรทีจ่ ะท�ำให้คนเหล่ำนัน้ สำมำรถกลับไปอยู่ร่วมกัน ยงั คงรักใครก่ ันเหมอื นเดมิ เพรำะเมือ่ เวลำท่ี
มีกำรต่อสู้กันมีโอกำสที่จะพลำดพล้ังเจ็บกันได้ บำงคนค้ำนกันแบบชนิดท่ีเรำได้แต่บอกว่ำ มันค้ำนมำได้
ยงั ไง นเ่ี ป็นเรอ่ื ง Tactic แตเ่ รอ่ื งวธิ กี ำรซงึ่ เปน็ ลักษณะพเิ ศษของพ่ีจุลสงิ ห์จรงิ ๆ นัน้ พจ่ี ุลสงิ หส์ ำมำรถ
น�ำมำใช้ไดแ้ ละใชไ้ ดท้ กุ ทดี่ ้วย”

คุณสุรพลเล่าว่าจุดเริ่มต้นที่ได้มาร่วมงานกับคุณจุลสิงห์คือ เม่ือคร้ังคุณจุลสิงห์เป็นประธานชมรม
กอลฟ์ คณะนติ ศิ าสตร์ ซึ่งเปน็ ช่วงเวลาท่ชี มรมฯ มคี วามเคลือ่ นไหวคกึ คกั มากที่สุดก็ว่าได ้ ดว้ ยนโยบาย
ของประธานชมรมฯ ท่ีเนน้ ให้สมาชกิ “สรา้ งสัมพนั ธ์ดว้ ยกีฬา”

“ผมมองว่ำช่วงท่ีพ่ีจุลสิงห์เป็นประธำนชมรมกอล์ฟ นิติศำสตร์ จุฬำฯ รุ่งเรืองที่สุด เพรำะด้วย
บำรมีต�ำแหน่งรองอัยกำรสูงสุดและอัยกำรสูงสุด ท�ำให้ดึงคนเข้ำมำได้มำก พี่จุลสิงห์บอกว่ำเรำต้อง
สร้ำงควำมสัมพันธ์ด้วยกีฬำ ท�ำให้สำมำรถหำทุนจำกกำรจัดรำยกำรแข่งขันกอล์ฟได้มำก มีอยู่คร้ังหนึ่ง
ปีนั้นผมเคยจัดงำนแข่งกำรกุศลกับพ่ีจุลสิงห์เพ่ือหำเงินเข้ำคณะ เข้ำสมำคมฯ ทั้งรอบเช้ำและรอบบ่ำย
เตม็ ทงั้ ๒ รอบ หำเงินได้เยอะมำก ซง่ึ ไม่เคยมีมำกอ่ น ตอนน้ันผมเปน็ เลขำฯชมรมฯ ช่วยทำ� ชมรมกอลฟ์
กบั พี่จุลสงิ ห์มำ กเ็ ลยเริม่ คุน้ กัน หลังจำกท�ำชมรมกอลฟ์ สกั ระยะหนึ่ง พ่ีจลุ สิงหก์ ็ได้ขนึ้ มำเปน็ นำยกสมำคม
ศษิ ย์เกำ่ คณะนติ ศิ ำสตรฯ์ ก็เลยใหผ้ มเข้ำมำเป็นเหรัญญิกสมำคมฯ เดมิ ผมกท็ �ำงำนสมำคมฯ อย่แู ลว้ ตั้งแต่
สมยั พชี่ ยั เกษม นติ สิ ริ ิ สว่ นพจี่ ลุ สงิ หค์ วำมสมั พนั ธก์ พ็ ฒั นำเรอ่ื ยมำจำกกำรไดร้ จู้ กั กนั ในแวดวงควำมเปน็ นกั
กฎหมำย ซง่ึ ผมเปน็ ทนำยควำมอยูใ่ นภำคเอกชน พี่จลุ สงิ ห์อยูใ่ นภำครัฐ

191

ในกำรทำ� งำนสมำคมฯ เรำได้พยำยำมดึงให้นสิ ิตเก่ำ ท้งั รฐั ศำสตร์แผนกนิติศำสตร์ หรอื ใครก็ตำม
ทศ่ี กึ ษำเกยี่ วกบั กฎหมำย ใหม้ ำรวมกลมุ่ กนั ใหไ้ ด ้ และสรำ้ งตรงนขี้ น้ึ มำ ซง่ึ ผมพดู ไดเ้ ลยวำ่ พจ่ี ลุ สงิ หท์ ำ� งำน
ตรงนเี้ พอ่ื สร้ำงควำมสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นระหวำ่ งกลุ่มนสิ ิตเกำ่ เปน็ งำนเพื่อส่วนรวมจริง ๆ”

คณุ จุลสงิ หข์ ณะเลน่ กอลฟ์ ซง่ึ เป็นกฬี าท่ีชืน่ ชอบมากเปน็ พิเศษ

จากความสัมพันธ์ฉันพี่น้องที่เร่ิมจากการท�างานร่วมกันในชมรมกอล์ฟ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
และสมาคมนิสิตเก่านิติศาสตร์ จุฬาฯ ต่อมาความสัมพันธ์ก็กระชับกลมเกลียวขึ้นอีกเม่ือได้มาร่วม
ก๊วนกอล์ฟกนั และเปน็ โอกาสทที่ �าให้คณุ สุรพลไดร้ ู้จกั ตัวตนและบุคลกิ ของคณุ จลุ สงิ หใ์ นอีกแงม่ มุ หน่งึ
“พอพจี่ ุลสิงห์เขำ้ มำทำ� งำนกบั ชมรมกอล์ฟ ควำมเปน็ นกั กีฬำของทำ่ นก็เลยมำช่วย Support สำ� หรับ
พวกเรำภำคเอกชน ท�ำให้เรำรสู้ กึ วำ่ เรำโชคดีที่ได้เจอสำยรำชกำร แตเ่ วลำเจอกันน้ัน พี่จลุ สงิ ห์จะใชว้ ิธกี ำร
Manage ทไี่ ม่เสียท้ังรำชกำรและเอกชน ท�ำใหเ้ ข้ำดว้ ยกันได้ บำลำนซ์กนั ไดด้ ว้ ยควำมแฟร ์ ที่ท�ำให้ทกุ คน
มำน่งั อยู่ด้วยกนั ไดโ้ ดยไมม่ เี สน้ แบ่ง

192

กีฬำกอล์ฟเป็นกีฬำที่ดีคือ จะท�ำให้อ่ำนคนได้จำกกำรเล่น คุณซ่ือสัตย์แค่ไหน? คุณมีควำมเป็น
สุภำพบรุ ุษ คณุ เคำรพกฎกติกำ ขหี้ งุดหงิด รับผดิ ชอบ ฯลฯ มนั จะแสดงคำแรคเตอร์ของคนคนนนั้ ออกมำ
ในเกม มันเปน็ กฬี ำท่ีแปลกมำกทที่ �ำใหค้ นทม่ี ำเลน่ รว่ มกนั สนิทสนมกัน ถำ้ Chemistry ตรงกนั ก็เลน่ ด้วยกัน
ได้ ถำ้ Chemistry ไมต่ รงกันกเ็ ลน่ ด้วยกนั ไปแบบแกน ๆ”

อีก ๒ ท่าน ที่ร่วมเป็นเพ่ือนร่วมก๊วนกอล์ฟกับคุณจุลสิงห์ คือ คุณปรีชา พงษ์ประสิทธ์ิ และ
คณุ เฉลมิ ชยั เขยี วประดษิ ฐ ์ รนุ่ พร่ี นุ่ นอ้ งนติ ศิ าสตร ์ จฬุ าฯ ไดร้ ว่ มกนั เลา่ ถงึ การเลน่ กอลฟ์ ทสี่ ะทอ้ นถงึ อปุ นสิ ยั
ของคุณจลุ สงิ หไ์ วว้ า่

คุณปรีชา : ส�ำหรับพี่จุลสิงห์ แกมี Tactic ในกำรเล่นมำกกว่ำ เป็นนักสู้ สู้ทุกช็อต และมีกำร
ต่อรองเวลำจะเล่น ท่ำนมองขำดเลยนะ เวลำมำถึงนี่จะให้ใครคู่ใคร ป๊อบคู่คนน้ี คนนี้คู่คนน้ัน ทุกคน
กโ็ อเคตำมน้นั พ ่ี ๔ หลุมตอ่ รอบนะ อั้นเท่ำนบ้ี ำท จบแลว้ กต็ เี ลยไม่สนใจ เขำมวี ธิ ใี นกำรตอ่ รอง น่ีเปน็
ธรรมชำตขิ องพจ่ี ลุ สงิ หเ์ ลยนะ จบั คูใ่ ห้เรยี บรอ้ ย แลว้ เขำเปน็ คนไม่มโี ยเยกลำงทำง เป็นคนท ่ี set forward
ถำ้ ตงั้ กตกิ ำไว้แบบนแ้ี ล้ว ตกลงกนั แลว้ กจ็ บ และพอถงึ เวลำใกลแ้ พ ้ พ่ีจลุ สิงห์จะมีคำ� พดู ว่ำ อย่ำกะพรบิ ตำ
ดว้ ยควำมเปน็ นกั ส ู้ ใจสู้ แกก็จะบอกวำ่ อย่ำกะพริบตำ เปน็ คำ� พดู ท่พี ดู บ่อย ๆ

คณุ เฉลิมชยั : ผมทำ� งำนใหก้ บั สมำคมศษิ ย์เก่ำนิตศิ ำสตร์ จฬุ ำฯ มำนำนแลว้ เคยจัดกจิ กรรมแรลล่ี
เพื่อเชื่อมควำมสัมพันธ์ให้กับคณะ ท�ำงำนในสมำคมฯ ได้มีโอกำสได้พบเจอผู้หลักผู้ใหญ่เยอะ ได้เจอพ่ี
จลุ สงิ ห์ ทำ่ นกช็ ่วยงำนสมำคมฯ อยู่ เวลำประชุมกันก็จะได้เจอทำ่ น และตอ่ มำท่ำนก็ไดเ้ ป็นนำยกสมำคมฯ
ต่อจำกพี่ชัยเกษม และพ่ีจุลสงิ ห์กใ็ ห้ผมมำเปน็ เลขำธกิ ำรสมำคมนสิ ิตเกำ่ ฯ กไ็ ด้รบั ควำมรจู้ ำกทำ่ นมำกมำย
เวลำมีเรอื่ งอะไรทจี่ ะตอ้ งใชก้ ฎหมำยหรอื ใชท้ นำยควำม ท่ำนก็เรยี กใชผ้ ม ท�ำให้ได้ควำมรมู้ ำมำก และสอน
ด้วยนะครับ ท่ีผมบอกว่ำพี่จุลสิงห์เป็นผู้มีพระคุณน้ันเป็นเพรำะว่ำเวลำผมมีเร่ืองเดือดร้อน ผมปรึกษำพ่ี
จลุ สิงห์ไดเ้ สมอ

ส่ิงท่ีผมอยำกจะเล่ำเก่ียวกับพ่ีจุลสิงห์คือท่ำนเป็นคนมีควำมยุติธรรม ใครที่ถูกรังแก ไม่ว่ำจะ
จำกฝ่ำยรัฐหรืออะไรก็ตำม แกสู้ใจขำดเลยนะถ้ำใครถูกรังแกมำ ผมว่ำนี่คือควำมน่ำนับถือท่ีพี่จุลสิงห์รัก
ควำมยุติธรรมและเป็นอัยกำรท่ีดี ใครถูกรังแกมำแกไม่ยอมเลย เต็มที่เลย ค้นหำข้อกฎหมำยมำว่ำกัน
สู้เตม็ เหนย่ี ว

ในช่วง ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองที่ท�าให้เกิดความคิดเห็นท่ีแตกต่าง
กลายเป็นประเด็นท่ีละเอียดอ่อนต่อความสัมพันธ์ ในเร่ืองนี้ คุณสุรพลได้เล่าถึงเรื่องราวจากสนามกอล์ฟ
ท่ีเป็นบทพิสูจน์ของความคิดเร่ือง “กีฬาสร้างความสัมพันธ์” และท�าให้ได้รู้จักถึงตัวตนและความคิดของ
คุณจุลสงิ หใ์ นการรกั ษาความสมั พันธฉ์ นั นอ้ งพ่ีที่ส�าคญั เหนอื กว่าส่งิ อ่นื ใด

193

“ในเวลำนนั้ คนในคณะ หรอื ในสมำคมฯ กม็ คี วำมคดิ เหน็ ทแ่ี ตกตำ่ งกนั ไป ในชว่ งนนั้ คณะนติ ศิ ำสตร์
น่เี งยี บเลย ผมก็คยุ กบั พี่จลุ สิงห์ว่ำ เรำจะท�ำอย่ำงไรกันด ี ถ้ำอย่ำงนสี้ มำคมฯ ตำยแนน่ อน พีจ่ ุลสงิ ห์บอก
ว่ำ เอำแบบน ี้ เรำจะเริ่มสตำร์ทจำกกฬี ำกอลฟ์ นี่แหละ ผมก็ใหพ้ ่จี ลุ สิงหอ์ ยู่เฉย ๆ ก่อน ผมเป็นคนเชิญ
คนนน้ั คนนีก้ อ่ น ให้มำเล่นกอล์ฟดว้ ยกัน พจ่ี ลุ สงิ ห์ก็พยำยำมใหผ้ มดงึ พ่ ี ๆ กลับมำใหไ้ ด ้ ทำ่ นเป็นคนทรี่ ้วู ำ่
ตวั เองเปน็ ใคร ทำ� อะไร เพรำะอะไร เปน็ คนแบบไหน ขณะเดยี วกนั ทำ่ นกใ็ สใ่ จคนอนื่ ถำ้ เปน็ คนทไี่ มแ่ ครใ์ คร
กค็ งไมส่ นใจ ไมต่ อ้ งมำนง่ั ทำ� อยำ่ งน ้ี แตพ่ จ่ี ลุ สงิ หท์ ำ่ นไมใ่ ชค่ นแบบนน้ั เพรำะนคี่ อื ควำมรกั ในคณะนติ ศิ ำสตร์
ควำมรกั ในพี่น้อง ท่ำนอยำกให้พวกเรำเป็นกลุ่มเปน็ ก้อนและสำมำรถอยูร่ ว่ มกันแมว้ ำ่ เรำจะคิดต่ำงกัน”

ผลจากความทุ่มเทท�างานของคุณจุลสิงห์และคณะกรรมการในสมาคมนิสิตเก่านิติศาสตร์
จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั ทา� ให้กอ่ เกิดประโยชนม์ ากมายแกค่ ณะ และเปน็ การวางรากฐานการทา� งานของ
สมาคมฯในยคุ ต่อ ๆ มาอีกดว้ ย ดังท่ ี รองศาสตราจารยธ์ ิตพิ นั ธ์ุ เชื้อบญุ ชยั อดตี นายกสมาคมฯ ไดเ้ ล่าถึง
แนวทางการทา� งานท่ีชัดเจนของคุณจลุ สงิ หเ์ กี่ยวกบั สมาคมนสิ ิตเกา่ นติ ศิ าสตรฯ์ ว่า

“ในช่วงสมัยที่ผมเป็นคณบดีและพ่ีจุลสิงห์ได้เป็นนำยกสมำคมฯ แล้ว ก็ได้น่ังคุยกัน ท่ำนพูดเลย
ว่ำ สมำคมฯ น้ันเป็นส่วนหน่ึงของคณะนิติศำสตร์ ส่ิงท่ีหำมำได้ท้ังหมดจะต้องสนับสนุนคณะนิติศำสตร์
ท้ังหมด จ�ำได้ว่ำในช่วงหน่ึงผมมีไอเดียในกำรจัดอบรมสัมมนำและเก็บเงินได้ค่อนข้ำงมำก อย่ำงไรก็ตำม
พวกน้ีนั้นไม่ได้เกิดข้ึนจำกผมเองคนเดียวหรอก แต่อำจำรย์พิเศษผมที่ท�ำงำนอยู่ข้ำงนอก ก็จะให้ข้อมูล
มำว่ำตอนน้ีข้ำงนอกเขำสนใจอะไร เช่น ถ้ำเรำท�ำงำนในบริษัทจดทะเบียนตลำดหลักทรัพย์ เรำจะได้ยิน
ค�ำวำ่ เลขำนกุ ำรบริษัท ซง่ึ ไมไ่ ด้หมำยถงึ เปน็ เลขำนกุ ำรของกรรมกำรผจู้ ดั กำรใหญน่ ะ แตเ่ ปน็ เลขำนกุ ำร
ของบริษัท คณะเรำน้ันเป็นคณะแรกที่จัดเร่ืองเก่ียวกับเลขำนุกำรบริษัท เรำก็จัดและน�ำคนข้ำงนอกมำ
ส่วนใหญ่ก็จะถำมนิสิตเก่ำว่ำช่วยเหลืออะไรได้บ้ำง พ่ีจุลสิงห์ก็เป็นคนหน่ึงท่ีหำคนมำเรียนและมีไอเดีย
ในเรอื่ งกำรจัดอบรมสมั มนำในเรอื่ งสว่ นท่ีเกยี่ วขอ้ งกบั รฐั หลำยเร่ือง

พอผมรู้วำ่ พจ่ี ลุ สิงห ์ ซ่งึ เปน็ นำยกสมำคมฯ ช่วยหำคนท่จี ะมำเรยี นให ้ ผมก็กำ� หนดให้วำ่ ค่ำบรกิ ำร
วิชำกำร คณะนิติศำสตร์ ๑๐% สมำคมฯ ๑๐% แล้วจัดอย่ำงน้ีหลำยคร้ัง วันที่ออกเช็คไปให้พ่ีจุลสิงห์
ซึ่งเข้ำในนำมบัญชีสมำคมฯ พี่จุลสิงห์บอกเลยว่ำ เงินน้ีถือว่ำสมำคมฯ ถือไว้เพ่ือให้คณะนิติศำสตร ์
ท่ำนบอกว่ำ สมำคมฯไม่ได้ต้องกำรเงินจำกวิชำกำรซ่ึงเป็นกำรท�ำงำนของอำจำรย์ในคณะ ถึงแม้ว่ำจะ
มอบให้สมำคมฯ ท่ำนก็บอกว่ำสมำคมฯ ไม่มีควำมต้องกำรที่เอำเงินตัวน้ันเข้ำไปเป็นเงินของสมำคมฯ
อย่ำงเดียว แต่ท่ำนเก็บรกั ษำไวใ้ ห้แก่นิสติ คณะนิติศำสตร์ จุฬำฯ ทจี่ ะทำ� กิจกรรมตำ่ ง ๆ ทีเ่ ป็นประโยชน ์
ต่อนสิ ิตเองและต่อสังคม เชน่ ไปออกค่ำยแลว้ ต้องกำรเงินทุนในบำงสว่ น ถำ้ คณบดเี ซน็ อนุมัตไิ ป พี่จลุ สิงห์
กจ็ ะเขยี นเชค็ มำใหเ้ ลย หรอื ไปตำ่ งประเทศสำ� หรบั แขง่ โตว้ ำทรี ะหวำ่ งประเทศ ซงึ่ สมยั นนั้ นสิ ติ บำงคน ไมม่ ี

194


Click to View FlipBook Version