The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

8-1_LA21202_กฎหมายอาญา_1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by peaw.2749, 2022-07-05 10:00:08

8-1_LA21202_กฎหมายอาญา_1

8-1_LA21202_กฎหมายอาญา_1

๔๕

(๒/๑) ความผดิ เกย่ี วกบั บตั รอเิ ลก็ ทรอนกิ สต ามทบ่ี ญั ญตั ไิ วใ นมาตรา ๒๖๙/๑
ถึงมาตรา ๒๖๙/๗

(๒/๒) ความผิดเก่ียวกับหนังสอื เดินทางตามท่บี ญั ญตั ไิ วในมาตรา ๒๖๙/๘
ถึงมาตรา ๒๖๙/๑๕

(๓) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไวในมาตรา ๒๗๖ มาตรา ๒๘๐
และมาตรา ๒๘๕ ทงั้ น้ี เฉพาะทเ่ี กีย่ วกบั มาตรา ๒๗๖

(๔) ความผดิ ตอชีวติ ตามท่บี ัญญตั ิไวในมาตรา ๒๘๘ ถงึ มาตรา ๒๙๐
(๕) ความผิดตอ รางกาย ตามท่ีบัญญตั ิไวใ นมาตรา ๒๙๕ ถงึ มาตรา ๒๙๘
(๖) ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนปวยเจ็บหรือคนชรา ตามท่ีบัญญัติไวใน
มาตรา ๓๐๖ ถึงมาตรา ๓๐๘
(๗) ความผิดตอเสรีภาพ ตามท่ีบัญญัติไวในมาตรา ๓๐๙ มาตรา ๓๑๐
มาตรา ๓๑๒ ถงึ มาตรา ๓๑๕ และมาตรา ๓๑๗ ถึงมาตรา ๓๒๐
(๘) ความผดิ ฐานลกั ทรพั ยแ ละวงิ่ ราวทรพั ย ตามทบี่ ญั ญตั ไิ วใ นมาตรา ๓๓๔
ถึงมาตรา ๓๓๖
(๙) ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย ชิงทรัพย และปลนทรัพย ตามท่ี
บัญญตั ไิ วในมาตรา ๓๓๗ ถงึ มาตรา ๓๔๐
(๑๐) ความผดิ ฐานฉอ โกง ตามท่บี ญั ญัตไิ วในมาตรา ๓๔๑ ถงึ มาตรา ๓๔๔
มาตรา ๓๔๖ และมาตรา ๓๔๗
(๑๑) ความผิดฐานยกั ยอก ตามทบ่ี ัญญตั ไิ วในมาตรา ๓๕๒ ถงึ มาตรา ๓๕๔
(๑๒) ความผิดฐานรบั ของโจร ตามทบ่ี ญั ญตั ิไวใ นมาตรา ๓๕๗
(๑๓) ความผิดฐานทาํ ใหเสียทรัพย ตามที่บัญญัติไวในมาตรา ๓๕๘ ถึง
มาตรา ๓๖๐
กรณตี ามมาตรา ๘ ผูใดกระทําความผิดนอกราชอาณาจักร และ
(ก) ผูกระทําความผิดเปนคนไทย และรัฐบาลของประเทศที่ความผิดเกิดหรือผูเสียหาย
รอ งขอใหล งโทษ
(ข) ผูกระทําความผิดเปนคนตางดาว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเปนผูเสียหาย
และผูเสียหายไดร อ งขอใหลงโทษ
สําหรับความผิดตามมาตรา ๘ นไ้ี ดจํากัดไว ๑๓ อนมุ าตราดวยกัน เชน ความผดิ เกี่ยวกับ
ชีวิตตามมาตรา ๒๘๘ ถึงมาตรา ๒๙๐ (มาตรา ๘ (๔)) ความผิดตอรางกายตามมาตรา ๒๙๕ ถึง
มาตรา ๒๙๘ (มาตรา ๘ (๕)) ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย ชิงทรัพย และปลนทรัพยตาม
มาตรา ๓๓๗ ถึงมาตรา ๓๔๐ (มาตรา ๘ (๘))

๔๖

คําอธบิ าย ทงั้ ความผิดทร่ี ะบใุ นมาตรา ๗ และมาตรา ๘ เปนเรื่องการกระทาํ ความผิด
ท่ีเกิดข้ึนนอกราชอาณาจักรเชนเดียวกัน โดยผูกระทาํ ความผิดอาจเปนคนไทยหรือคนตางดาวก็ได
แตค วามผดิ ทร่ี ะบใุ นมาตรา ๗ นน้ั ศาลไทยมอี าํ นาจลงโทษผกู ระทาํ ความผดิ ไดโ ดยไมต อ งมกี ารรอ งขอ
สว นความผดิ ทรี่ ะบใุ นมาตรา ๘ ตอ งมกี ารรองขอใหศาลไทยลงโทษโดยบคุ คลทรี่ ะบใุ นมาตรา ๘ (ก)
หรือ (ข) กอ น หากไมมีการรอ งขอโดยบุคคลดังกลา วศาลไทยก็ไมม ีอาํ นาจลงโทษผูก ระทําความผดิ ได
ดฎู กี าที่ ๖๕๑๖/๒๕๓๗

ฎีกาที่ ๖๕๑๖/๒๕๓๗ ความผิดฐานปลนทรัพยและฆาผูอื่นเกิดข้ึนในทะเลหลวง
นอกราชอาณาจกั ร ศาลไทยจะลงโทษผกู ระทาํ ผดิ ทเ่ี ปน คนไทยในขอ หาความผดิ ตอ ชวี ติ ตามมาตรา ๘ (๔)
ไดตอเม่ือผูเสียหายไดรองขอใหลงโทษตาม ป.อ.มาตรา ๘ (ก) เม่ือไมปรากฏวาผูตายซ่ึงถือวาเปน
ผเู สียหายเปนใคร และไมป รากฏวาจะมีผูใดซึ่งสามารถจัดการแทนผูตายไดต าม ป.ว.ิ อ.มาตรา ๕ (๒)
ดําเนินการรองขอใหศาลไทยลงโทษ จึงลงโทษจาํ เลยฐานฆาผอู ่นื ไมไ ด

ขอสังเกตอีกประการหน่ึงสําหรับความผิดฐานปลนทรัพย ถาเกิดข้ึนในทะเลหลวงเปน
ความผิดทรี่ ะบไุ วในมาตรา ๗ (๓) ถามไิ ดเ กิดข้ึนในทะเลหลวงเปนความผดิ ทรี่ ะบุไวใ นมาตรา ๘ (๙)
(แตก็ตองเปนกรณีความผิดที่เกิดข้ึนนอกราชอาณาจักรดวย) จึงตองมีการรองขอใหลงโทษจําเลย
ในราชอาณาจักรดวย ดูฎกี าที่ ๘๐๑/๒๕๐๕ (ประชุมใหญ)

ฎกี าที่ ๘๐๑/๒๕๐๕ (ประชมุ ใหญ) คดที จ่ี าํ เลยเปน คนสญั ชาตไิ ทยกระทาํ ผดิ ฐานปลน ทรพั ย
นอกราชอาณาจักร ซึ่งผูเสียหายไดรองขอใหลงโทษจําเลยภายในราชอาณาจักรตองตาม ป.อ.
มาตรา ๘ น้ัน โจทกไมมหี นาที่นําสบื แสดงวาไมม ีขอ หามมิใหลงโทษจําเลยตามมาตรา ๑๐ อกี

ฎีกาท่ี ๑๒๘๙/๒๕๒๑ จําเลยเปนคนไทยกระทําความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ.มาตรา
๓๕๓ ท่ีประเทศไตหวนั ผูเ สยี หายจงึ รองทุกขและศาลไทยมีอํานาจลงโทษจําเลยตามมาตรา ๘ (๑๑)

ฎีกาท่ี ๔๕๘/๒๕๐๓ (ประชุมใหญ) ความผิดฐานลักทรัพยและรับของโจรซ่ึงคนไทย
ทําข้ึนในตางประเทศนั้น ป.อ.มาตรา ๘ มิไดมีขอความกําหนดใหโจทกจําตองนําสืบวาจะตองเปน
การกระทําท่ีกฎหมายในตางประเทศบัญญัติวาเปนความผิด ทั้งความผิดท้ังสองฐานนี้ก็ไดมีบัญญัติ
ไวใ นมาตรา ๘(๘)(๑๒) แลว ฉะนนั้ แมค วามผดิ ทงั้ สองฐานนจี้ ะเกดิ ขน้ึ ในตา งประเทศโจทกก ไ็ มจ าํ ตอ ง
นําสืบวาความผิดดังกลา วเปนความผิดของประเทศนน้ั ๆ ดวย

ฎกี าที่ ๓๗๙๕-๓๗๙๖/๒๕๓๘ จาํ เลยที่ ๑ รอู ยแู ลว วา เงนิ ทไี่ ดร บั มาจาก ก. เปน ทรพั ยส นิ
ที่ไดมาจากการกระทําผดิ ฐานฉอโกงในประเทศญ่ีปุน ความผิดฐานฉอ โกงและความผิดฐานรับของโจร
ตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศญี่ปุน มีหลักเชนเดียวกับความผิดฐานฉอโกงและความผิด
ฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย ดังน้ัน เม่ือจําเลยท่ี ๑๑ ซึ่งอยูในประเทศไทย
รบั เอาทรพั ยส นิ ทไ่ี ดม าดว ยการกระทําผดิ ฐานฉอ โกงทเ่ี กดิ ในประเทศญป่ี นุ จําเลยท่ี ๑ กม็ คี วามผดิ ฐาน
รบั ของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๗

มาตรา ๙ เจา พนกั งานของรฐั บาลไทยกระทาํ ความผิดตามทบี่ ญั ญตั ิไวในมาตรา ๑๔๗
ถงึ มาตรา ๑๖๖ และมาตรา ๒๐๐ ถงึ มาตรา ๒๐๕ นอกราชอาณาจักร จะตองรับโทษในราชอาณาจักร

๔๗

หลักเกณฑการลงโทษกรณมี คี าํ พิพากษาของศาลตางประเทศ (มาตรา ๑๐, ๑๑)
มาตรา ๑๐ ผูใดกระทําการนอกราชอาณาจักรซึ่งเปนความผิดตามมาตราตาง ๆ
ทรี่ ะบุไวในมาตรา ๗ (๒) และ (๓) มาตรา ๘ และมาตรา ๙ หา มมใิ หลงโทษผูน้นั ในราชอาณาจักร
เพราะการกระทาํ นัน้ อกี ถา

(๑) ไดม คี าํ พพิ ากษาของศาลในตา งประเทศอนั ถงึ ทส่ี ดุ ใหป ลอ ยตวั ผนู นั้ หรอื
(๒) ศาลในตา งประเทศพพิ ากษาใหล งโทษ และผนู น้ั ไดพ น โทษแลว
ถา ผตู อ งคาํ พพิ ากษาไดร บั โทษสาํ หรบั การกระทาํ นนั้ ตามคาํ พพิ ากษาของศาล
ในตา งประเทศมาแลว แตย งั ไมพ น โทษ ศาลจะลงโทษนอ ยกวา ทก่ี ฎหมายกาํ หนดไวส าํ หรบั ความผดิ นน้ั
เพยี งใดกไ็ ด หรือจะไมล งโทษเลยกไ็ ด ท้ังนี้ โดยคาํ นงึ ถงึ โทษทผ่ี นู ัน้ ไดร ับมาแลว
สังเกตวาสําหรับความผิดตามมาตรา ๗ (๑) (๑/๑) ซ่ึงเปนความผิดเกี่ยวกับความม่ันคง
แหง ราชอาณาจกั ร (มาตรา ๗ (๑) และความผดิ เกย่ี วกบั การกอ การรา ย (มาตรา ๗ (๑/๑) ศาลไทยลงโทษ
จาํ เลยในราชอาณาจักรได โดยไมตองคาํ นึงวาศาลในตางประเทศมีคําพิพากษาแลวหรือไม เพราะ
มาตรา ๑๐ ไมไดบ ญั ญัตใิ นกรณตี ามมาตรา ๗ (๑) (๑/๑) ไวดว ย
มาตรา ๑๑ ผใู ดกระทาํ ความผดิ ในราชอาณาจกั ร หรอื กระทาํ ความผดิ ทปี่ ระมวลกฎหมายน้ี
ถือวาไดกระทําในราชอาณาจักร ถาผูนั้นไดรับโทษสําหรับการกระทํานั้นตามคําพิพากษาของศาล
ในตางประเทศมาแลวท้ังหมด หรือแตบางสวน ศาลจะลงโทษนอยกวาท่ีกฎหมายกําหนดไวสําหรับ
ความผดิ นน้ั เพียงใดก็ได หรอื จะไมล งโทษเลยก็ได ทง้ั นี้ โดยคาํ นึงถึงโทษทผ่ี ูน้ันไดร บั มาแลว
ในกรณีที่ผูกระทําความผิดในราชอาณาจักร หรือกระทําความผิดท่ีประมวล
กฎหมายนี้ถือวาไดกระทําในราชอาณาจักร ไดถูกฟองตอศาลในตางประเทศโดยรัฐบาลไทยรองขอ
หามมใิ หล งโทษผูน ้ันในราชอาณาจกั รเพราะการกระทํานนั้ อกี ถา
(๑) ไดม คี าํ พพิ ากษาของศาลในตา งประเทศอนั ถงึ ทส่ี ดุ ใหป ลอ ยตวั ผนู นั้ หรอื
(๒) ศาลในตางประเทศพพิ ากษาใหล งโทษ และผนู น้ั ไดพน โทษแลว

๔. คาํ ถามทายบทเรยี น

๑. จงใหค วามหมายของกฎหมายอาญาวา มีความหมายอยา งไร
๒. เอกลักษณข องกฎหมายอาญามอี ยา งไร จงอธิบาย
๓. กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิไดยกเลิกความผิดตามกฎหมายท่ีใชในขณะกระทํา
ความผิดแตม คี วามแตกตา งกัน จะใชกฎหมายใดบงั คับแกคดจี งอธิบาย

๔๘

เอกสารอา งองิ

เกยี รตขิ จร วจั นสวสั ด.์ิ (๒๕๕๑).คาํ อธบิ ายกฎหมายอาญา ภาค ๑ กรงุ เทพฯ:พลสยามพรน้ิ ตงิ้ .
คณิต ณ นคร.(๒๕๔๗). กฎหมายอาญา ภาคท่วั ไป. กรุงเทพฯ:วิญชู น.
ทวเี กยี รติ มนี ะกนษิ ฐ.(๒๕๕๓).คาํ อธบิ ายกฎหมายอาญา ภาคทว่ั ไป. กรงุ เทพฯ:วญิ ชู น.
ประภาศน อวยชยั .(๒๕๒๖).ประมวลกฎหมายอาญา ภาค ๑. กรงุ เทพฯ:สาํ นกั อบรมศกึ ษา
กฎหมายแหง เนตบิ ัณฑิตยสภา.
สหรัฐ กิติศุภการ.(๒๕๕๗).หลักและคําอธิบายกฎหมายอาญา.กรุงเทพฯ:อมรินทร
พรน้ิ ตง้ิ แอนดพบั ลชิ ชิ่ง

๔๙

º··èÕ ó

¤ÇÒÁÃѺ¼Ô´·Ò§ÍÒÞÒ

๑. วัตถปุ ระสงคก ารเรียนรปู ระจาํ บท

เพ่ือใหนักเรียนนายสิบตํารวจเขาใจถึงเรื่องความรับผิดทางอาญาตามกฎมายอาญา
เรือ่ งตาง ๆ ดังนี้

- การกระทําโดยเจตนา
- การกระทําโดยประมาท
- การกระทาํ โดยพลาด
- ความสาํ คัญผดิ ในตวั บุคคล
- ความสาํ คัญผดิ ในตัวบุคคลขอเท็จจรงิ
- ความไมร กู ฎหมาย
- ความมนึ เมา
- การกระทําความผดิ ดวยความจาํ เปน
- การปองกันโดยชอบดวยกฎหมาย
- การกระทาํ ความผิดในฐานะเปนญาติหรือสามภี รรยา
- บนั ดาลโทสะ
- ผกู ระทําผดิ ท่ีไดรบั ผลดเี นอื่ งจากเกณฑอ ายุ

๒. สว นนํา

กอ นทจ่ี ะศกึ ษาบทบญั ญตั ขิ องประมวลกฎหมายอาญาในเรอ่ื งตา ง ๆ นนั้ จะตอ งเขา ใจถงึ
ความรับผิดในทางอาญา ในเรื่องของการกระทําเพราะบุคคลจะตองรับผิดชอบในทางอาญาจะตองมี
การกระทาํ ตวั ผกู ระทาํ จะตอ งรสู าํ นกึ ในการกระทาํ การกระทาํ นนั้ อาจเปน การกระทาํ โดยการเคลอื่ นไหว
หรือไมเคลือ่ นไหวรา งกายก็ได และการกระทาํ นั้นจะตอ งครบองคประกอบภายนอกและภายใน โดยที่
ผูก ระทําจะตอ งรูข อเท็จจริงอันเปน องคประกอบของความผดิ

โครงสรา งความรับผิดทางอาญา บุคคลจะตองรบั ผิดในทางอาญา ตอ เม่ือ
๑. การกระทําครบ “องคป ระกอบ” ทก่ี ฎหมายบัญญตั ิ
๒. การกระทาํ ไมมกี ฎหมายยกเวนความผิด
๓. การกระทําไมมกี ฎหมายยกเวน โทษ

๕๐

ó. à¹Í×é ËÒ
¡ÒáÃÐทําâ´Âà¨μ¹Ò

ÁÒμÃÒ õù ÇÃäáá “บุคคลจะตองรบั ผดิ ในทางอาญาก็ตอ เมอ่ื ไดกระทําโดยเจตนา
เวนแตจะไดกระทําโดยประมาทในกรณีท่ีกฎหมายบัญญัติใหตองรับผิดเม่ือไดกระทําโดยประมาท
หรอื เวนแตใ นกรณที ่กี ฎหมายบญั ญตั ิไวโดยแจงชัดใหต อ งรับผิดแมไดกระทําโดยไมเจตนา”

หมายความวา ถาไมมีกฎหมายกลาวไวเปนอยางอื่น ความผิดในทางอาญาจะตอง
กระทําโดยเจตนา ถากฎหมายตองการใหรับผิดกรณีขาดเจตนา กฎหมายจะตองบัญญัติชัด ในท่ีน้ี
มี ๒ กรณี

๑. กฎหมายบัญญัติใหตองรับผิดชอบเมื่อไดกระทําโดยประมาท ซ่ึงตามประมวล
กฎหมายอาญาในภาคความผิดมที ้ังสน้ิ ๗ มาตรา คือ มาตรา ๒๐๕, ๒๒๕, ๒๓๙, ๒๙๑, ๓๐๐, ๓๑๑,
๓๙๐

๒. กฎหมายบัญญัติไวโดยแจงชัดใหตองรับผิดแมไดกระทําโดยไมเจตนา ซึ่งตาม
ประมวลกฎหมายอาญาก็ไดแก ความผิดลหุโทษ ซ่ึงมาตรา ๑๐๔ บัญญัติวา “การกระทําความผิด
ลหุโทษตามประมวลกฎหมายน้ีแมกระทําโดยไมมีเจตนาก็เปนความผิด เวนแตตามบทบัญญัติ
ความผดิ นนั้ จะมคี วามบัญญัติใหเห็นเปน อยา งอน่ื ” สวนตามกฎหมายอนื่ ก็ไดแ ก ความผดิ ตาม พ.ร.บ.
ศุลกากร เปน ตน

¡ÒáÃÐทาํ â´Âà¨μ¹Ò ตามมาตรา ๕๙ วรรค ๒ ไดบัญญัตวิ า “การกระทําโดยเจตนา
ไดแ ก กระทาํ โดยรสู าํ นกึ ในการกระทาํ และขณะเดยี วกนั ผกู ระทาํ ประสงคต อ ผล หรอื ยอ มเลง็ เหน็ ผลของ
การกระทาํ น้ัน”

¡ÒáÃÐทําâ´ÂÃÙŒสํา¹Ö¡ คือ การกระทําท่ีอยูในบังคับของจิตใจ อันเกิดจากสมองส่ังการ
ซ่ึงมีทฤษฎีการกระทําผิดไดวางหลักวามีอยู ๔ ขั้นตอน คือ คิด, ตกลงใจ, ตระเตรียมและลงมือ
สาํ หรบั ความรบั ผดิ ตามประมวลกฎหมายอาญานนั้ ถอื เอาการกระทาํ ทถ่ี งึ ขนั้ ตอนของการลงมอื ยกเวน
บางความผิดท่ีตองการเอาผิดแมอยูในขั้นตอนตระเตรียมก็จะบัญญัติไวโดยเฉพาะ เชน ตระเตรียม
ลอบปลงพระชนม ตามมาตรา ๑๐๗ ตระเตรยี มเพอ่ื เปน กบฏ ตามมาตรา ๑๑๔ ตระเตรียมวางเพลงิ
ตามมาตรา ๒๑๙ เปนตน

สําหรับการกระทําโดยไมรูสํานึก ถือวาไมมีการกระทํา เชน การกระทําโดยละเมอ
การกระทําของเด็กที่ไมร ูเ ดยี งสา เปนตน

¡. »ÃÐʧ¤μ‹Í¼Å หมายถึง ความประสงคในผลน้ันๆ โดยตรงของผูกระทํา เชน
เอาปนยิงศีรษะผูใดผูหนึ่งแสดงวา ประสงคตอชีวิตผูน้ัน แตถาเอาปนยิงลงเบ้ืองลางไมไดประสงค
ตอ ชวี ิต ประสงคแตเพยี งผลตอ รา งกาย

μÑÇÍ‹ҧ ก.ใชปนยิงศีรษะ ข. ก. รูสํานึกประสงคในความตายประสงคชีวิตของ ข.
ก. กระทําโดยมีเจตนาฆา

ก. ใชปน ยิง ข. ในระยะใกลแ ตยงิ ลงเบื้องลา งถูกเทา ก. รสู าํ นึกแต ก. ไมไ ดป ระสงค
ตอ ชีวติ ข. ประสงคแ ตเ พียงผลทางรางกาย ก. การทาํ โดยมีเจตนาทําราย

๕๑

®Õ¡Ò·Õè ø÷ð/òõòö ผูเสียหายกับจําเลยทะเลาะกัน ในท่ีสุดจําเลยชักปนเล็งไปที่
หนา อกผเู สียหาย และข้นึ นกปนจะยงิ ในระยะหา งประมาณ ๑ เมตรเศษ สามีจาํ เลยเขา จบั มอื กดลงต่าํ
ปนลั่นกระสนุ ถูกผูอืน่ ทเ่ี ทา ดังนี้ จาํ เลยมคี วามผดิ ฐานพยายามฆา

®¡Õ Ò·èÕ õ/òõòù จาํ เลยใชปน จอ งไปทางผเู สียหายเปน เวลาประมาณ ๑๕ วนิ าที แตก็
ไมไดล ัน่ ไกปน ถา จาํ เลยมีเจตนาจะยงิ ผเู สยี หายก็ยิงไดทันเปนจาํ นวน ๑ นัด กอนท่ีผเู สียหายจะวิ่ง
หลบหนีไปอยูขางหลังคนอื่น การกระทําของจําเลยจึงเปนเพียงการจองปนขูผูเสียหาย จําเลยไมมี
ความผิดฐานพยายามฆา

®Õ¡Ò·èÕ òôñò/òõóð จําเลยใชอาวุธปนลูกซองยาว กระชากลูกเล่ือนใหกระสุนปน
เขา รงั เพลงิ พรอ มยงิ แลว จอ ปน ทหี่ นา อกผเู สยี หายหา งราว ๑ คบื พรอ มกบั พดู วา มงึ ตายเสยี เถอะ แต ท.
ซ่ึงนั่งดูโทรทัศนอยูกับพื้น ลุกมาปดกระบอกปนเบนไปทางอ่ืนไดทัน ขณะน้ันผูเสียหายนั่งดูโทรทัศน
อยูกับพื้น หากจําเลยจะยิงจริงก็ยิงไดจําเลยกับผูเสียหายนับถือกันเพิ่งมีเรื่องขัดใจกันเพียงเล็กนอย
เพราะผูเสียหายทวงเงินคาเบียร ๓๐ บาท การกระทําของจําเลยจึงเปนเพียงแตมีเจตนาขูให
ผูเ สยี หายตกใจกลวั ไมเ ปน ความผดิ ฐานพยายามฆา ผอู ื่น

®Õ¡Ò·Õè õööô/òõóô จําเลยใชอาวุธปนยิงผูเสียหายในระยะหางเพียง ๓ เมตร
ถูกที่บริเวณเอวของผูเสียหาย อันเปนอวัยวะสําคัญของรางกายซ่ึงหากรักษาไมทันทวงทีอาจจะเปน
อันตรายถึงชีวิตได ถอื ไดวาจําเลยกระทําไปโดยเจตนาฆาผูเสียหายแลว หากเปน เพียงการยงิ ขูจ ําเลย
ก็มโี อกาสทจี่ ะยิงไปยงั ทิศทางอนื่ ทมี่ ิใชท ศิ ทางท่ีผเู สียหายยืนอยู เชน ยิงข้นึ ฟา เปน ตน

¢. à¨μ¹Ò‹ÍÁàÅç§àË繼Šหมายถึง การกระทําท่ีมิไดประสงคตอผลเชนนั้นโดยตรง
แตคาดไดแ นแทว า ตอ งเกดิ ผลเชน นั้น เชน ก. ใชป น ยิงเขาไปในกลุมคน กระสนุ ปนถกู ข. ซึง่ อยูใ นกลมุ
ถึงแกความตาย เชนนีจ้ ะกลาววา ก. ประสงคต อชวี ติ ข. โดยตรงยอ มไมได การกระทาํ ของ ก. เพยี งแต
คาดไดแนแทวาคนในกลุมจะตองถูกกระสุนปนตายได การกระทําของ ก. จึงเปนเจตนาฆา
โดยเลง็ เห็นผล

®¡Õ Ò·Õè ñò÷ð/òõòö จําเลยขับรถยนตบรรทุกดินลูกรังสูงเกินกําหนด พอถึง
จุดตรวจซ่ึงมีแผงเหล็กเคร่ืองหมายหยุด ตั้งอยูกลางถนน เจาพนักงานตํารวจไดเปานกหวีดและให
สัญญาณใหจําเลยหยุด จําเลยกลัวถูกจับจึงไมหยุด แตกลับเรงเคร่ืองยนตหลีกเคร่ืองหมายจราจร
พงุ เขา ใสเ จา พนกั งานตาํ รวจทยี่ นื อยทู างซา ย ๒-๓ คน แตเ จา พนกั งานตาํ รวจกระโดดหลบเสยี ทนั ดงั น้ี
จาํ เลยยอ มเลง็ เหน็ ผลของการกระทาํ ไดว า รถยนตท จี่ าํ เลยขบั พงุ ใสเ ชน นน้ั จะตอ งชนเจา พนกั งานตาํ รวจ
ที่ยืนอยูในถนนถึงแกความตายได จําเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆาเจาพนักงานซึ่งปฏิบัติการ
ตามหนา ที่ ตาม ป.อ. มาตรา ๒๘๙, ๘๐

®Õ¡Ò·èÕ óóòò/òõóñ ผูเสียหายซ่ึงเปนเจาพนักงานตํารวจจะเขาตรวจคน
รถยนตบ รรทุกท่ีจาํ เลยขับ โดยโหนตัวข้นึ ไปยนื บนบันไดรถ จาํ เลยขบั รถกระชากออกไปโดยเรว็ และ
ไมยอมหยุดรถโดยเจตนาใหผูเสียหายตกจากรถเพ่ือมิใหติดไปกับรถของจําเลย ดังน้ี จําเลยยอม
เล็งเห็นผลไดวาการตกจากรถในลักษณะเชนน้ัน อาจเปนเหตุใหผูเสียหายไดรับอันตรายแกกาย

๕๒

ถอื ไดว า จาํ เลยมเี จตนาทาํ รา ยรา งกายผเู สยี หายเมอื่ ผเู สยี หายไดร บั อนั ตรายสาหสั จาํ เลยจงึ มคี วามผดิ
ตาม ป.อ. มาตรา ๒๙๘

®¡Õ Ò·Õè òòð÷/òõóò พวกของจาํ เลยใชอาวธุ ปน ยิง ช. คนขบั รถขณะท่ีจาํ เลยกาํ ลัง
ปลดทรัพยผูเสียหายและคนโดยสารอื่น แมจําเลยจะไมไดเปนคนใชอาวุธปนยิง ช. ดวยตนเอง
แตพวกของจําเลยรวมท้ังจําเลยเองก็มีอาวุธปนติดตัวมาดวยในการปลนทรัพย จําเลยยอมเล็งเห็น
ไดวาพวกของจําเลยอาจใชอาวุธปนยิงผูใดผูหนึ่งในรถคันเกิดเหตุ หากผูน้ันขัดขืน เพ่ือความสะดวก
ในการกระทําผิดฐานปลนทรัพย เมื่อพวกของจําเลยใชอาวุธปนยิง ช. แต ช. ไมถึงแกความตาย
จําเลยยอ มมีความผดิ ฐานเปน ตวั การรว มกนั พยายามฆาผอู น่ื เพอ่ื ความสะดวกในการปลนทรัพยด ว ย

®Õ¡Ò·èÕ òô/òõóó ผูเสียหายกับจําเลยเปนเพ่ือนกันไมเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกัน
มากอน แมจาํ เลยจะยิงผเู สยี หายโดยไมเจตนาประสงคต อ ผลคอื ความตาย เพราะยงิ ในขณะทจ่ี าํ เลย
มนึ เมาสุรา แตการทจ่ี าํ เลยยกอาวุธปน ขึน้ เลง็ แลว ยงิ ไปท่ผี ูเสยี หายในระยะกระช้ันชดิ จําเลยยอมเลง็
เห็นผล

®Õ¡Ò·Õè õõùò/òõóó การที่จําเลยใชปนอันเปนอาวุธที่รายแรงยิงเขาไปในบาน
ผูเสียหายในยามวิกาล ซึ่งวิญูชนท่ัวไปยอมรูดีวาตองมีบุคคลหลับนอนหรือพักอาศัยอยูในบาน
แมกระสุนปนท่ีจําเลยยิงเขาไปในบานจะไมถูกผูเสียหาย หรือผูใดที่อยูในบาน แตเมื่อตําแหนงท่ี
ถูกกระสุนปน นัดหนึ่งหางจากผูเสียหายเพียง ๑ เมตร อีกนัดหนึ่งถูกใตขอบหนาตางบาน ดังนี้
การกระทําของจาํ เลยยอ มเลง็ เห็นผลไดว ามเี จตนาฆา ผูเ สียหาย

®Õ¡Ò·Õè ôùòô/òõô÷ การที่จําเลยใชปนอันเปนอาวุธที่มีอานุภาพรายแรงยิงเขาไป
ในกลุมของผูตาย จําเลยยอมเล็งเห็นไดวากระสุนปนอาจจะถูกผูหน่ึงผูใดในกลุมน้ันถึงแกความตาย
ได เมื่อกระสุนปนท่ียิงถูกผูตายถึงแกความตายเปนผลโดยตรงจากการกระทําของจําเลย จําเลยจึงมี
ความผิดฐานฆา ผูอ ่ืนโดยเจตนา

¡ÒÃÃÙŒ¢ŒÍà·¨ç ¨ÃÔ§Í¹Ñ à»¹š ͧ¤»ÃСͺ¢Í§¤ÇÒÁ¼´Ô
ÁÒμÃÒ õù ÇÃä ó “ถา ผกู ระทํามิไดร ูข อเท็จจริงอนั เปนองคประกอบของความผดิ
จะถือวา ผกู ระทําประสงคตอ ผล หรอื ยอ มเลง็ เหน็ ผลของการกระทาํ น้ันมไิ ด”
ความผิดใดที่จะถือวาผูกระทํามีเจตนาผูน้ันจะตองรูขอเท็จจริงอันเปนองคประกอบ
ภายนอกของความผิดนั้นๆ หากไมรูกฎหมายถือวาไมไดประสงคตอผล หรือเล็งเห็นผล เทากับวา
ไมม เี จตนานน่ั เอง เชน ความผดิ ฐานฆาผอู นื่ หากผกู ระทาํ เขา ใจผิดไปวากระทาํ ตอสตั ว แตป รากฏวา
ไปกระทาํ ตอคนจะถอื วา มเี จตนากระทําตอ คนไมไ ด
μÑÇÍ‹ҧ ก. เขาไปลาสัตวในปา ก. เห็นมีการเคลื่อนไหวหลังพุมไม ก. เขาใจวา
เปนสัตวจึงใชปนยิงไป ปรากฏวาเปน ข. กําลังเก็บของอยู ข. ถูกกระสุนของ ก. ตาย จะถือวา ก.
มีเจตนาฆา ข. ไมไ ด
μÑÇÍ‹ҧ ก. หยิบทรัพยของ ข. ไปโดยเขาใจวาเปนทรัพยของตัวเอง จะกลาววา
ก. มเี จตนาลักหรือเอาทรพั ยของผอู ่นื ไมได

๕๓

¡ÒáÃÐทาํ â´Â»ÃÐÁÒ·

ÁÒμÃÒ õù ÇÃäÊèÕ “กระทําโดยประมาท ไดแก กระทําความผิดมิใชโดยเจตนา
แตกระทําโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเชนนั้นจักตองมีตามวิสัยและพฤติการณ
และผกู ระทาํ อาจใชค วามระมดั ระวงั เชนวานน้ั ได แตหาไดใ ชใหเ พียงพอไม”

ñ. äÁ‹ãª‹à»¹š ¡ÒáÃÐทาํ â´Âà¨μ¹Ò
หากเปนการกระทําโดยเจตนาแลวไมวาจะเปนเจตนาประเภทประสงคตอผล

หรือเล็งเห็นผลก็ไมใชการกระทําโดยประมาท การกระทําโดยประมาทน้ันผูกระทําจะตองไมมีเจตนา
ใดๆ เลย เชน ความผิดฐานทําใหคนตายโดยประมาทตามมาตรา ๒๙๑ นอกจากผูกระทําจะมิได
มีเจตนาตอความตายของผตู ายแลว ผกู ระทําจะตอ งไมมเี จตนาในสวนอื่นๆ เชน ทํารายรางกายดวย
หากไมม เี จตนากระทาํ ตอ ชวี ติ แตเ จตนากระทาํ ตอ รา งกายและผถู กู กระทาํ ถงึ แกค วามตาย ผกู ระทาํ กผ็ ดิ
ฐานฆาคนตายโดยไมเจตนาตามมาตรา ๒๙๐ ไมใ ชฐ านทําใหคนตายโดยประมาทตามมาตรา ๒๙๑

การไมม ีเจตนานัน้ อาจเปนเพราะ (๑) รูขอ เท็จจรงิ อนั เปนองคป ระกอบภายนอก
ของความผิด แตไมประสงคตอผลหรือเล็งเห็นผล เชน รูวาในหองมีคนน่ังอยูใกลๆ แตยังหยิบปน
ข้ึนมาทาํ ความสะอาด ทาํ ใหปนลัน่ ถูกคนตาย เปนตน

ò. ¡ÃÐทาํ â´Â»ÃÒȨҡ¤ÇÒÁÃÐÁ´Ñ ÃÐÇ§Ñ «§èÖ º¤Ø ¤Åã¹ÀÒÇÐહ‹ ¹¹éÑ ¨¡Ñ μÍŒ §ÁμÕ ÒÁÇÊÔ ÂÑ
áÅоÄμ¡Ô Òó áÅмٌ¡ÃÐทาํ ÍҨ㪤Œ ÇÒÁÃÐÁÑ´ÃÐÇ§Ñ àª¹‹ Ç‹Ò¹¹Ñé ä´Œ áμ‹ËÒä´ãŒ ªãŒ ËàŒ ¾ÂÕ §¾ÍäÁ‹

การกระทาํ โดยประมาท คอื การกระทาํ โดยขาดความระมดั ระวงั ความระมดั ระวงั
ในที่น้หี มายถงึ

ò.ñ ¤ÇÒÁÃÐÁÑ´ÃÐÇѧã¹ÀÒÇÐઋ¹¹éѹ ภาวะเชนนั้น หมายถึง ในขณะกระทําการ
นัน้ ๆ เชน ในขณะขับรถไปตามถนน (ในกรณขี บั รถชนคนตาย) หรอื ในขณะหยิบปนมาทาํ ความสะอาด
(ในกรณีทําปนล่ันถูกคนตาย) หรือในขณะบรรจุวัตถุระเบิดลงในหีบหอ (ในกรณีวัตถุระเบิด
เกิดระเบดิ ขน้ึ เปนเหตุใหคนตาย) เปนตน

ò.ò ¤ÇÒÁÃÐÁ´Ñ ÃÐÇ§Ñ μÒÁ “ÇÊÔ ÂÑ ” วสิ ยั หมายความวา สภาพภายในตวั ผกู ระทาํ
ซึ่งตองแยกออกเปน วิสัยคนธรรมดา ซ่ึงพิจารณาตาม อายุ เพศ การอบรม ความจัดเจนแหงชีวิต
และอ่ืนๆ และวิสัยบุคคลผมู ีวชิ าชีพ เชน เปนแพทย เปนนายชาง เปน ตน

ò.ó ¤ÇÒÁÃÐÁ´Ñ ÃÐÇ§Ñ μÒÁ “¾Äμ¡Ô Òó” พฤตกิ ารณ หมายความวา เหตภุ ายนอก
ตัวผกู ระทาํ เชน ในการขบั รถ “พฤตกิ ารณ” ยอ มหมายถงึ สภาพรถ สภาพถนน สภาพแวดลอ มถนน
(ความแออดั ของชมุ ชนในบรเิ วณ ความพลกุ พลา นของจราจร สภาพแสงสวา ง) รวมทงั้ เหตกุ ารณต า งๆ
ท่ีเกดิ ขึน้ ดวย เชน มีคนปวยเจ็บหนกั กลางปา ตอ งทําการผา ตดั ฉกุ เฉนิ ทนั ทกี ลางปา เพอ่ื ชวยชีวิตผูป ว ย

®Õ¡Ò·èÕ ôùñ/òõðù รถยนตโดยสารสองคันแลนตามกันมา คันหน่ึงขอทาง
จะแซงขึ้นหนา อีกคันหน่ึงไมยอมกลับเรงความเร็วข้ึนเพื่อแกลงรถคันที่ขอทาง รถยนตท้ังสองคัน
จึงไดแลนแขงกันมาดวยความเร็วสูงเกินกวาที่กฎหมายกําหนดในถนนซึ่งแคบและเปนทางโคง

๕๔

เปนการเสี่ยงตออันตราย รถยนตคันขอทางเฉ่ียวกับรถบรรทุกซ่ึงจอดแอบขางทางแลวเซไปปะทะกับ
รถยนตคนั ทแี่ ขงกนั มาน้ันตกถนนพลิกควา่ํ คนโดยสารไดรบั อันตรายถึงสาหัสตอ งถือวา คนขบั รถยนต
โดยสารท้ังสองคนั นั้นกระทําโดยประมาท

ตามคาํ พิพากษาฎกี าเร่ืองนี้ พฤติการณยอ มหมายถึงถนนแคบและเปน ทางโคง เปน ตน
μÑÇÍ‹ҧคาํ ¾Ô¾Ò¡ÉÒ®Õ¡Òà¡ÂÕè ǡѺ¡ÒáÃÐทาํ â´Â»ÃÐÁÒ·
®Õ¡Ò·èÕ òøð/òõñø จําเลยขับรถยนตบรรทุกหินดวยความเร็วประมาณ
๗๐ ไมลต อ ชว่ั โมง ผา นทางแยกซง่ึ มคี นพลกุ พลา น และแซงรถยนตบ รรทกุ ซง่ึ จอดรมิ ถนนหา งทางแยก
ประมาณ ๕ วา เปนการขับรถโดยประมาท แมจะปรากฏวารถยนตว่ิงเขามาเฉี่ยวรถจําเลย
ในเสน ทางของรถจาํ เลยกไ็ มทาํ ใหจ าํ เลยพนผิดไปได
®Õ¡Ò·èÕ ñõöó/òõòñ คนโดยสารเรือตกนํ้า เรือถอยหลังไปชวยทําใหใบจักร
ฟนคนท่ีตกนํ้าตาย แทนที่จะโยนชูชีพลงไปชวยตามขอบังคับการเดินเรือ เปนการขาด
ความระมัดระวังตามควรแกเหตุการณและนายทายผูประกอบวิชาชีพเดินเรือควรไดคาดคิด
จงึ เปน ความผิดฐานทาํ ใหค นตายโดยประมาทตามมาตรา ๒๙๑
®Õ¡Ò·Õè òôøó/òõòø จําเลยใชอาวุธปนขูผูตายมิใหเอาถานมาปายหนาจําเลย
โดยจาํ เลยไมร วู า อาวธุ ปน นน้ั มกี ระสนุ บรรจอุ ยู ฟง ไมไ ดว า จาํ เลยมเี จตนาฆา ผตู าย จาํ เลยไมม คี วามผดิ
ฐานฆา ผอู น่ื แตก ารทจ่ี าํ เลยใชอ าวธุ ปน ซงึ่ เปน อาวธุ รา ยแรงออกมาขผู ตู าย โดยจาํ เลยไมด เู สยี ใหด กี อ น
วา มีกระสุนบรรจอุ ยหู รือไม เปนเหตใุ หก ระสุนปนล่นั ไปถกู ผอู ่ืนถึงแกค วามตาย ดังนจ้ี าํ เลยมคี วามผิด
ฐานกระทําโดยประมาทเปน เหตใุ หผ อู ื่นถงึ แกค วามตาย
®Õ¡Ò·Õè ñóó÷/òõóð การท่ีทอยางเบรกออน ลอหนาซายรถยนตมีรอยแตก
จนกระทั่งเบรกไมอยู ยอมจะมีขอชํารุดบกพรองใหพบเห็นไดกอน แตจําเลยซ่ึงมีหนาที่ขับรถประจํา
คันดังกลาว มิไดตรวจตราซอมแซมใหอยูในสภาพสมบูรณเสียกอนท่ีจะนํารถออกแลนจนกระทั่ง
เกิดเหตุขึ้น ถือไดวาจําเลยขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซ่ึงบุคคลในภาวะเชนจําเลย
จักตองมีตามวิสัยและพฤติการณ และจําเลยอาจใชความระมัดระวังเชนวาน้ันได แตจําเลยหาไดใช
ใหเ พยี งพอไม
®Õ¡Ò·èÕ óñùò/òõóñ จาํ เลยขับรถบรรทุกสิบลอบรรทุกหินและทรายหนัก ๑๓ ตัน
ผานทางแยกทางรวม สองขางทางเปนรานคาและบานคนอยูอาศัย ทั้งมีเด็กๆ กําลังว่ิงเลน
อยูดวยความเร็วประมาณ ๗๐ กิโลเมตรตอชั่วโมง มิไดลดความเร็วเลย เปนการขับรถโดยประมาท
แมเ ดก็ ชาย ส. ผตู ายวิง่ ตัดหนารถจําเลยในระยะ ๔๐ เมตร แตถา จาํ เลยไมขับรถเร็ว เม่อื จาํ เลยเห็น
ผูตายว่ิงขามถนนในระยะ ๔๐ เมตร จําเลยยอมหยุดรถไดทัน การท่ีจําเลยขับรถชนผูตายถึงแก
ความตาย จงึ เปน ผลโดยตรงจากความประมาทของจําเลย
®¡Õ Ò·èÕ ôô÷ô/òõóñ จาํ เลยจดุ ไฟเผากองฟางในลานนวดขา วของนายทองในเวลาแดด
รอนจัด ไฟไดไหมลุกลามไปไหมไรกลวยของผูเสียหายเปนการกระทําโดยประมาท จําเลยมีความผิด
ตามมาตรา ๒๒๕

๕๕

®Õ¡Ò·Õè òòñò/òõóò จาํ เลยที่ ๒ ขับรถมาตามถนนพหลโยธินจากสามแยก
เกษตรมุงหนาไปทางลาดพราวเมื่อถึงสี่แยกพหลโยธินตัดกับถนนรัชดาภิเษกสัญญาณ
ไฟจราจรเปนสีแดง จาํ เลยท่ี ๒ ไดขับรถเคล่ือนอยางชาๆ ฝาฝนสัญญาณไฟจราจรสีแดง
เขาไปในสี่แยกจนเลยเสนสีขาวท่ีกาํ หนดใหรถหยุดประมาณ ๑๐ เมตร เกือบถึงกลางส่ีแยก
รถจาํ เลยท่ี ๒ จงึ ขวางทางรถจาํ เลยที่ ๑ ซงึ่ แลน มาดว ยความเรว็ จากถนนรชั ดาภเิ ษกดา นถนนวภิ าวดรี งั สติ
มงุ หนา ไปตามถนนรชั ดาภเิ ษกเขา ไปในสแี่ ยก รถจาํ เลยท่ี ๑ หา มลอ และหกั หลบเฉีย่ วชนรถจาํ เลยที่ ๒
แลว เสยี หลกั ไปทางขวาไปชนรถทจ่ี อดรอสญั ญาณไฟจราจรในถนนรชั ดาภเิ ษกดา นทมี่ าจากลาดพรา ว
และชนผเู สียหาย พฤติการณเ ชน นี้ถือวาจําเลยท่ี ๒ ขบั รถดว ยความประมาทเปนเหตโุ ดยตรง ทําให
รถจาํ เลยที่ ๑ เฉี่ยวชนรถจําเลยท่ี ๒ และชนผูเสยี หายไดร ับอนั ตรายแกก ายและไดร ับอนั ตรายสาหัส

®Õ¡Ò·Õè òñõô/òõóô จาํ เลยท่ี ๒ สาํ คัญผิดวาบุตรแรกเกิดของตนตายแลว จึงโยน
ลงมาจากหนาตางโรงแรม จาํ เลยท่ี ๑ ซ่ึงเปนบิดาของเด็กทารกปลอยให จําเลยที่ ๒ โยนบุตรท้ิง
โดยมไิ ดห า มปราม ทง้ั ๆ ทจ่ี าํ เลยท่ี ๑ สามารถใชค วามระมดั ระวงั ในกรณเี ชน นไ้ี ด จําเลยท่ี ๑ มคี วามผดิ
ฐานกระทําโดยประมาทเปนเหตใุ หผูอื่นไดร ับอันตรายแกก ายตามมาตรา ๓๙๐ (ประกอบมาตรา ๕๙
วรรคทา ย)

®Õ¡Ò·èÕ ñõôò/òõóô จาํ เลยไมมีเจตนายิงปนเพ่ือฆาผูเสียหาย แตการที่จําเลยใช
อาวุธปนจ้ีท่ีศีรษะผูเสียหายไวในขณะท่ีอาวุธปนขึ้นนก โดยมีกระสุนบรรจุในรังเพลิงและไดทําอาวุธปนล่ัน
ถือไดวาจําเลยกระทาํ โดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งจาํ เลยจักตองมีตามวิสัยและพฤติการณ
และอาจใชค วามระมดั ระวังเชน วานัน้ ได แตหาไดใ ชใหเพียงพอไม จงึ เปน การกระทําโดยประมาท

¡ÒáÃÐทาํ â´Â§´àÇŒ¹

ÁÒμÃÒ õù ÇÃ䷌Ҡ“การกระทําใหหมายรวมถึง การใหเกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้น
โดยงดเวนการท่ีจักตอ งกระทาํ เพือ่ ปอ งกนั ผลอันนนั้ ดว ย”

บัญญัติวรรคนี้เรียกวา การกระทําโดยงดเวนการกระทํา ซ่ึงถือเปนการกระทําโดย
การเคล่ือนไหวรางกายประการหนึ่ง บางตาํ ราเรยี กวา การกระทําในทางลบ ซึง่ มีหลกั เกณฑดังตอ ไปน้ี

๑. หนา ทต่ี อ งกระทาํ ไดแ ก
๑.๑ หนาทต่ี ามทีก่ ฎหมายบัญญัติ เชน บดิ ามารดามหี นาท่อี ปุ การะเลยี้ งดบู ตุ ร

ถาบิดามารดางดเวนไมใหอาหารแกบุตรเพราะตองการใหบุตรตาย ถือวาบิดามารดามีการกระทํา
เพ่อื ฆาบตุ ร หากบุตรตาย บิดามารดายอมมีความผดิ ฐานฆาผูอ่นื

๑.๒ หนาท่ีอันเกิดจากการยอมรับโดยเจาะจง เชน นายดํามีหนาท่ีดูแล
ความปลอดภัยของผูท่ีมาวายนาํ้ ถานายดําเห็นผูที่มาวายน้ําจมน้ําแลวไมชวยเหลือ โดยตองการให
ผูน้นั ตาย นายดํายอมมีความผดิ ฐานฆาผอู ่นื

๕๖

๑.๓ หนาทอ่ี ันเกิดจากการกระทํากอ น ๆ ของตน เชน แดงจงู คนตาบอดขามถนน
แดงมีหนาท่ีตองจูงคนตาบอดใหพนถนน ถาจูงไปปลอยไวกลางถนนซ่ึงมีรถแลนเร็ว แดงยอมเล็ง
เห็นผลไดวารถจะชนคนตาบอดตายได ถือวามีเจตนาฆาตามมาตรา ๕๙ วรรคสอง หากคนตาบอด
ถูกรถชนตาย แดงมคี วามผดิ ฐานฆาผูอ่ืน

๑.๔ หนา ทอ่ี นั เกดิ จากความสมั พนั ธเ ปน พเิ ศษเฉพาะเรอื่ ง เชน ชายหญงิ อยกู นิ เปน
สามภี รรยากนั โดยไมไ ดจ ดทะเบยี นสมรส ไมม หี นา ทต่ี อ งอปุ การะเลยี้ งดกู นั ตามกฎหมาย แตก ม็ หี นา ท่ี
ตองชวยเหลอื เก้ือกูลกัน อันเกิดจากความสมั พนั ธก ันเปน พเิ ศษเฉพาะเร่อื ง เมือ่ หญิงปว ย ชายไมดแู ล
ปลอยใหหญงิ ตาย โดยมีเจตนาใหหญงิ ตาย ชายมคี วามผิดฐานฆาผอู ืน่

๒. งดเวน ไมกระทาํ การตามหนา ท่ี
๓. ผลทเ่ี กิดข้นึ เปนผลโดยตรงจากการงดเวน ไมก ระทาํ หนา ที่
μÑÇÍ‹ҧ มารดาประสงคใหบุตรตาย จึงงดเวนไมใหนมเปนเวลาติดตอกันหลายวัน
เปน เหตใุ หบ ตุ รตาย ถอื วา มารดาฆา บตุ รโดยเจตนาดว ยการงดเวน การกระทาํ หรอื มารดาลมื ทง้ิ ลกู นอ ย
ไวเปน เหตุใหลูกนอ ยคลานตกจากเรอื น เปนเหตใุ หล กู นอยพกิ าร ดังนี้ ถอื วามารดาประมาทเปนเหตุ
ใหลูกนอยไดรับอันตรายสาหสั ดวยการงดเวน การกระทาํ
μÇÑ Í‹ҧ แพทยเ วรรับคนไขซึง่ อยใู นอาการสาหสั ตอ งการความชว ยเหลอื อยา งเรง ดว น
แตปรากฏวา แพทยเ ผลอลืมทิ้งคนไขเ ปนเวลาหลายชว่ั โมง เปน เหตุใหค นไขตาย ขอ เท็จจริงปรากฏวา
ถา แพทยชว ยเหลอื ทนั เวลาก็จะไมตาย ดังนี้ ถือวา แพทยประมาทเปนเหตใุ หค นไขต าย ดวยการงดเวน
การกระทํา

¡ÒáÃÐทําâ´Â¾ÅÒ´

ÁÒμÃÒ öð “ผใู ดเจตนาทีจ่ ะกระทาํ ตอ บคุ คลหน่งึ แตผลของการกระทาํ เกิดแกอกี บุคคลหนง่ึ
โดยพลาดไป ใหถือวาผูน้ันกระทาํ โดยเจตนาแกบุคคล ซ่ึงไดรับผลรายจากการกระทํานั้น แตใน
กรณีที่กฎหมายบัญญัติใหลงโทษหนักขึ้น เพราะฐานะของบุคคล หรือเพราะความสัมพันธ
ระหวางผูก ระทํากบั ผไู ดรบั ผลรา ย มิใหน ํากฎหมายนัน้ มาใชบงั คบั เพ่ือลงโทษผกู ระทําหนักขึน้ ”

ͧ¤» ÃСͺ¤ÇÒÁ¼´Ô
๑. ผใู ดเจตนาท่ีจะกระทาํ ตอบุคคลหน่งึ
๒. แตผ ลของการกระทาํ ไปเกิดแกอ กี บคุ คลหน่งึ โดยพลาดไป
๓. ใหถ ือวา ผนู ัน้ กระทาํ โดยเจตนาแกบ คุ คล ซึง่ ไดรับผลรายจากการกระทําน้นั
¼àÙŒ ¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñº¡ÒáÃÐทาํ â´Â¾ÅÒ´
๑. ฝายผูก ระทาํ
๒. ฝา ยท่ผี กู ระทาํ เจตนาจะกระทําตอ แตพลาดไป
๓. ฝา ยทไี่ ดรบั ผลรา ยจากการกระทํานั้น

๕๗

สาํ หรับมาตรา ๖๐ นี้ ผกู ระทาํ โดยพลาดมีเจตนารายอยูแลว แตผลของการกระทําพลาด
ไปกอ ใหเ กดิ ผลรา ยทีไ่ มไดประสงคม ใิ ชผ ลธรรมดาทยี่ อ มเล็งเหน็ ผลได ตามมาตรา ๕๙ โดยปกตไิ มใ ช
เจตนา แตเ ม่อื มาตรา ๖๐ บัญญตั ิไว ใหถ ือวาผูนนั้ กระทาํ โดยเจตนาก็เปนความผดิ ฐานเจตนา

μÇÑ ÍÂÒ‹ § นายแดงตง้ั ใจยิงนายดํา แตย ิงพลาดไป ลูกปน ไปถกู ของแขง็ ท่อี ยูขา งตวั นายดําเขา
ทําใหลูกปนกระดอนไปถูกนายเหลืองตาย ซึ่งปกติลูกปนไมควรจะไปถูกนายเหลืองได นายแดงยังมี
ความผิดฐานฆา นายเหลืองตายโดยเจตนา โดยผลของมาตรา ๖๐

μÑÇÍ‹ҧ ก. ตองการวางยาพิษ ข. จึงเอายาพิษใสในอาหารเพ่ือให ข. รับประทาน
ค. ไมทราบมารับประทานเสียกอ น ค. ตาย ก. ผดิ ฐานฆา คนตายโดยเจตนา

การกระทาํ พลาดไปในกรณีท่ีผลของการกระทําเกดิ แกบ คุ คลทั้ง ๒ ฝาย
μÑÇÍ‹ҧ ก. เจตนาฆา ข. จึงยิงปนไปยัง ข. กระสุนปนถูก ข. ตาย และกระสุนปน
ยงั ทะลไุ ปถกู ค. บาดเจบ็ สาหสั เชน นี้ ก. มคี วามผดิ ฐานฆา ข. ตายโดยเจตนาและพยายามฆา ค. อกี บทหนงึ่
แตเปนการกระทํากรรมเดียวผดิ กฎหมายหลายบท ใหลงโทษบทหนกั คือ ฆา ข. ตายโดยเจตนา
- ในกรณีตองการฆาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แตพลาดไปถูกสัตวหรือส่ิงของ ไมถือเปน
ความผิดฐานกระทาํ โดยพลาด (เจตนา) ตามมาตรา ๖๐ นี้ เพราะไมเขาหลักเกณฑของตัวบท
มาตรา ๖๐ เนอ่ื งจากเปน การกระทาํ ตอชวี ติ แลวพลาดไปถกู ทรพั ย จึงนํามาตรา ๖๐ มาใชไ มได
- กรณีเจตนาทําลายส่ิงของหรือสัตวแตพลาดไปถูกบุคคลเขา ก็ไมถือวามีความผิด
ตามมาตรา ๖๐ นี้ (ทงั้ ๒ กรณี เปนสิง่ ที่นํามาเทยี บเปน ความผดิ เดยี วกนั ไมไ ด)
ฉะนั้น จะตองเปนการกระทาํ โดยเจตนาตอบุคคลแลวพลาดไปถูกบุคคลดวยกัน
หรือกระทําตอสิ่งของและสัตวพลาดไปถูกสิ่งของและสัตวดวยกัน จึงจะนาํ มาตรา ๖๐ มาปรับใชได
เพราะการกระทาํ ตอ สง่ิ ของและสตั วแ ลว พลาดไปถกู สงิ่ ของและสตั วด ว ยกนั ใชม าตรา ๖๐ ไดเ พราะเปน
การกระทาํ ตอทรัพยของบุคคลหนึ่งแลวพลาดไปถูกทรัพยของอีกบุคคลหน่ึงถือวานาํ มาตรา ๖๐
มาปรับใชได เชน เดียวกับชวี ติ บคุ คลแลว พลาดไปถกู ชวี ิตของบคุ คล
ความตอนทายของมาตรา ๖๐ กําหนดเปนขอยกเวนไววา แมถือเปนความผิด
ตามเจตนาเดิม แตก็มิใหนาํ บทท่ีลงโทษหนักข้ึน เพราะฐานะของบุคคลหรือความสัมพันธระหวาง
ผกู ระทาํ กับบคุ คลทไ่ี ดร ับผลรายมาใช ในกรณีท่จี ะไมเ อาบทหนักมาใช ไดแ ก
ñ. ¶ŒÒ໚¹º·Å§â·É˹ѡ¢¹Öé à¾ÃÒаҹТͧºØ¤¤Å

μÇÑ ÍÂÒ‹ § ก. ตงั้ ใจจะฆา ข. ซง่ึ เปน เจา พนกั งานผกู ระทําการตามหนา ที่ แตพ ลาดไปถกู
ค. ซึง่ เปน บคุ คลธรรมดาตาย ก. มีความผดิ ฐานฆา ค. ในฐานะคนธรรมดาตายเทา นัน้

μÇÑ ÍÂÒ‹ § ก. ตอ งการฆา ข. ซึ่งเปน บิดาแตพ ลาดไปถกู ค. ซ่ึงเปน คนธรรมดาตาย
เชน น้ี ก. มคี วามผดิ ฐานฆา ค. ในฐานะบคุ คลธรรมดาตายเทา น้ัน

μÑÇÍÂÒ‹ § ก. ตองการฆา ข. ซงึ่ เปนคนธรรมดา แตพลาดไปถูกบิดาของตนเองตาย
ก. รับผิดฐานฆาบิดาในฐานะบุคคลธรรมดาเทา นัน้

๕๘

μÇÑ ÍÂÒ‹ § ก. ตง้ั ใจจะฆา ข. ซง่ึ เปน เจา พนกั งานผกู ระทาํ การตามหนา ท่ี แตพ ลาดไปถกู
ค. ซึ่งเปนบิดาตาย ก. มีความผิดฐานฆา ค. ในฐานะคนธรรมดาตายเทานั้น เพราะเจาพนักงานฯ
จะตอ งรบั โทษหนกั ขน้ึ เพราะฐานะ แตบ ดิ าจะตอ งรบั โทษหนกั ขนึ้ เพราะความสมั พนั ธ จงึ เปน คนละเรอ่ื ง
นาํ มาใชเ พือ่ ให ก. รับโทษหนกั ขึน้ ไมได

ò. ¶ŒÒ໚¹º·Å§â·É˹ѡ¢¹éÖ à¾ÃÒФÇÒÁÊÁÑ ¾¹Ñ ¸Ã ÐËÇ‹Ò§¼Ù¡Œ ÃÐทาํ ¡Ñº¼ÙäŒ ´ŒÃѺ¼ÅÃÒŒ Â
μÇÑ ÍÂÒ‹ § ก. ตง้ั ใจจะฆา ข. ซง่ึ เปน คนธรรมดา แตพ ลาดไปถกู ค. ซึ่งเปน บิดาตาย

ก. มีความผดิ ฐานฆา ค. ในฐานะบคุ คลธรรมดาตายเทานนั้
μÒÁ¢ÍŒ ¡àÇŒ¹´Ñ§¡ÅÒ‹ ÇäÁ‹¤Ãͺ¤ÅØÁ¶Ö§¡Ã³Õ´§Ñ μ‹Í仹éÕ
๑. กรณีเจตนาเดิมกับผลรายที่เกิดแกบุคคลที่สามเปนเจตนาเดียวกัน ไมหนักขึ้นกวา

เจตนาเดิม เชน แดงต้ังใจฆาดาํ ซึ่งเปนบิดา แตพลาดไปถูกขาวซึ่งเปนมารดาตายยังคงมีความผิด
ฐานฆาบุพการีตายในเหตุฉกรรจ

๒. กรณีเปน บทลงโทษหนักข้นึ เพราะเหตุประกอบการกระทํา เชน ก. โกรธ ข. ตอ งการ
ฆา ข. จงึ เดนิ ตามหลัง ข. ไป พอไดโอกาสจึงยิง ข. กระสุนพลาดไปถกู ค. ตาย ก. มีความผดิ ฐาน
ฆา ค. ตายโดยไตรตรองไวก อ น ตามเจตนาเดิม เพราะไมเขา ขอยกเวนท้งั ความสัมพนั ธหรอื ฐานะ

การกระทาํ โดยพลาดตองเปนการกระทําโดยเจตนาไมใ ชอ บุ ตั ิเหตุ
®¡Õ Ò·Õè öõñ/òõñó จาํ เลยชักปนสั้นออกมางางนกขึ้นจองจะยิง ส. ซ. พวกของ
จาํ เลยรีบเขาปดใหเฉไปเสีย กระสุนปนท่ีล่ันออกมาจึงไปถูก จ. พวกของจําเลยถึงแกความตาย
กรณดี งั นีไ้ มใชอบุ ตั ิเหตุ จําเลยตอ งรับผิดชอบฐานฆาคนโดยเจตนา
®Õ¡Ò·Õè ø÷ð/òõòö ผูเสียหายกับจําเลยทะเลาะกัน ในท่ีสุดชักปนเล็งไปที่หนาอก
ผูเสียหาย และขึ้นนกปนจะยิงในระยะหางประมาณ ๑ เมตรเศษ สามีจาํ เลยเขาจับมือกดตา่ํ ลง
ปนลนั่ กระสุนถกู ผูอ่นื ท่เี ทา ดังน้ี จาํ เลยมคี วามผิดฐานพยายามฆา

¤ÇÒÁสํา¤ÞÑ ¼Ô´ã¹μÑǺ¤Ø ¤Å

ÁÒμÃÒ öñ “ผใู ดเจตนาจะกระทาํ ตอ บคุ คลหนงึ่ แตไ ดก ระทําตอ อกี บคุ คลหนง่ึ โดยสําคญั ผดิ
ผูนนั้ จะยกเอาความสาํ คัญผิดเปน ขอแกตัววามไิ ดก ระทาํ โดยเจตนาหาไดไ ม”

¤Òí ͸ԺÒÂ
๑. มาตรา ๖๑ แตกตางกบั มาตรา ๖๐ โดยมาตรา ๖๑ เปนเรอื่ งสําคัญผิดในตัวบุคคล
แตมาตรา ๖๐ เปนการมีเจตนาตอบุคคลหนึ่ง แตพลาดไปถูกอีกบุคคลหน่ึงโดยมิไดมีการสาํ คัญผิด
แตท ง้ั ๒ มาตรานี้ ผกู ระทาํ จะยกเอาเหตทุ ก่ี ระทาํ ผดิ พลาดหรอื การสาํ คญั ผดิ ตวั มาเปน ขอ แกต วั วา มไิ ด
กระทาํ เจตนาไมไดดวยกนั การกระทาํ ยังคงถือวา มเี จตนาอยเู ชนน้ันตามเดิม
๒. การสําคญั ผดิ ในตวั บคุ คลน้ี หมายถงึ การกระทําโดยผนู นั้ เขา ใจผดิ กระทาํ ตอ บคุ คล
เปน คนละคนกนั ทเี ดียว เชน ก. ตอ งการฆา ข. จงึ เอาปนไปดักยิงท่ี ข. เคยเดนิ ผา นมา พอ ก. เห็น

๕๙

ค. เดินมาเขาใจวา เปน ข. จงึ ใชป น ยิงไปถกู ค. ถึงแกความตาย ดังนี้ ก. ยอมมีความผดิ ฐานฆา ค.
โดยเจตนาตามมาตรา ๒๘๘ จะยกเอาความสาํ คัญผดิ มาอา งวา มไิ ดเ จตนาฆา ค. ไมไ ดเพราะเจตนา
ฆามาแตแรกและผลก็คือ ความตายไดเกิดขึ้นตามเจตนาแลว สวนการฆาโดยสําคัญผิดตัวหรือไม
เปนเพียงเหตุประกอบของการฆาเทาน้ัน ไมใชเรื่องสาํ คัญผิดในขอเท็จจริงอันเปนองคประกอบแหง
ความผิดตามมาตรา ๕๙ (ฎีกาที่ ๘๓๗/๒๕๐๓ และที่ ๘๗๒/๒๕๑๐) ฉ. กับพวกคอยดักซุมยิง ล.
อยรู ะหวา งทางโดยคาดคดิ วา ล. จะตอ งขร่ี ถจกั รยานยนตผ า นไปทางน้ี เมอ่ื อ. ผตู ายขรี่ ถจกั รยานยนต
ผา นไป ฉ. กบั พวกสาํ คัญผดิ วา เปน ล. จึงรวมกันใชปนยงิ อ. ตายเชน น้ี ฉ. จะยกเอาขอสาํ คญั ผิดข้นึ
แกตัววามิไดกระทาํ โดยเจตนาฆามิได ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๖๑ คงมีความผิดตาม
มาตรา ๒๘๙ (๔) ฐานฆา คนโดยไตรต รองไวกอน (ฎกี าที่ ๑๔๓๒/๒๕๑๕)

๓. ในกรณีที่สําคัญผิดเกี่ยวกับฐานะของบุคคล หรือความสัมพันธระหวางผูกระทาํ
กับผูทไี่ ดรบั ผลรา ยตามท่ีกลา วมาแลว ในมาตรา ๖๐ เมื่อผูน้ันกระทําโดยสําคัญผิดในตัวบุคคล จะตอง
รับโทษหนักข้ึนตามฐานะของบุคคลท่ีถูกกระทํารายหรือไม เรื่องน้ีเห็นวาจะตองลงโทษหนักขึ้นไมได
เพราะบุคคลน้ันไมไดร ูขอเทจ็ จริงน้นั ตามมาตรา ๖๒ วรรคสาม

๔. การสาํ คญั ผดิ ในตวั บคุ คลน้ี หากเปน การกระทาํ เพราะมเี หตฉุ กรรจอ ยา งอนื่ ไมเ กย่ี วกบั
ฐานะบุคคลหรือความสัมพันธดังกลาว ถากระทําลงไปโดยสําคัญผิดจะตองรับผิดในเหตุฉกรรจ
นนั้ หรอื ไม เชน ก. มคี วามโกรธเคอื ง ข. และหาทางฆา ข. ตลอดมา วนั หนึ่งเดนิ ไปพบ ค. สําคัญผดิ
คิดวาเปน ข. จึงเอาปนยิง ค. ถึงแกความตายซึ่งเปนการไตรตรองไวกอน ดังน้ีจะลงโทษตาม
มาตรา ๒๘๘ หรือมาตรา ๒๘๙ หรอื มาตรา ๒๘๙ (๔) เรื่องนีเ้ ห็นวาลงโทษตามมาตรา ๒๘๙ (๔) ได
เพราะเปนเรื่องสาํ คัญผิดในตัวบุคคล ไมใชเรื่องกระทาํ โดยพลาดตามมาตรา ๖๐ และการลงโทษ
ดังกลาวเปน ไปตามเจตนาเดิมของ ก. อยูแลว

®Õ¡Ò·èÕ ùð/òõóñ จาํ เลยใหพ วกมารอ งเรยี ก พ. ใหอ อกจากบา นโดยจาํ เลยแอบซมุ อยู
แมบังเอิญผูตายลุกข้ึนมาเปดประตูบาน ลงบันได เพ่ือจะถายปสสาวะขางลาง แมถูกจาํ เลย
ใชอ าวธุ ปน ยิงโดยสาํ คัญผิดวา เปน พ. กต็ าม การกระทําของจาํ เลย กเ็ ปนการฆาผูตายโดยไตรตรอง
ไวก อน

®¡Õ Ò·èÕ ñùðö/òõòø จําเลยโกรธแคนพวกท่ีรุมทาํ ราย จาํ เลยต้ังใจจะไปฆา
เพอื่ เปน การลา งแคน เมอื่ พบผตู าย จาํ เลยเขา ใจวา ผตู ายเปน พวกทร่ี มุ ทาํ รา ย ตนจงึ ใชอ าวธุ ปน ยงิ ผตู าย
ทนั ที ดงั นีเ้ ปนการฆาผตู ายโดยไตรต รองไวก อ น

®¡Õ Ò·Õè ñöø÷/òõòñ จําเลยกับพวกเตรียมการมีอาวุธมา เพ่ือจะฆาทหารกลุมที่
ทาํ รายพวกของตนเทาน้ัน บังเอิญมาพบทหารอื่นเขา จาํ เลยกับพวกเกิดความคิดท่ีจะฆาทหาร
กลุมท่ีพบในปจจุบันทันที ดังนั้น การที่จําเลยฆา และพยายามฆาทหารในกลุมที่พบนี้จึงเปนเร่ืองที่
จําเลยมิไดเตรียมการมากอน จําเลยกับพวกหาไดมีเจตนาฆาโดยไตรตรองไวกอนไม จึงไมมีความผิด
ตามมาตรา ๒๘๙ (๔)

๖๐

ÊÃ»Ø ¢ŒÍáμ¡μ‹Ò§ÃÐËÇÒ‹ §
¡ÒáÃÐทาํ â´Â¾ÅÒ´ (ÁÒμÃÒ öð) ¡Ñº¡ÒÃสํา¤ÞÑ ¼´Ô ã¹μÇÑ ºØ¤¤Å (ÁÒμÃÒ öñ)

ÁÒμÃÒ öð ¡ÒáÃÐทาํ â´Â¾ÅÒ´ ÁÒμÃÒ öñ ¡ÒÃสํา¤ÑÞ¼Ô´ã¹μÇÑ ºØ¤¤Å

๑) มีบคุ คลอยู ๓ ฝา ย ๑) มบี คุ คลอยู ๒ ฝาย
๒) ตองรับผิดฐานพยายามตอบุคคลแรกท่ีมุงหมาย ๒) ไมตองรับผิดฐานพยายามตอบุคคลแรกท่ี
กระทาํ ตอ ยกเวน ผลเกิดขึ้นกับบคุ คลแรกดว ย มงุ หมายกระทาํ ตอ
ผูกระทําก็ตอ งรับผิดในผลของการกระทําน้นั
๓) ฐานะหรือความสัมพนั ธหามโอน โดยอา ง ๓) ฐานะหรือความสัมพันธหามโอน โดยอาง
มาตรา ๖๐ ตอนทาย มาตรา ๖๒ วรรคทา ย
๔) ผลของการกระทําพลาดไป ถาความผิดสําเร็จ ๔) การกระทําผิดตัว ถาความผิดสําเร็จผูกระทําตอง
ผูกระทําตองรับผิดในผลของการกระทําน้ัน รับผิดในผลของการกระทําน้ัน แตถาไมสําเร็จ
แตถาไมสําเร็จผูกระทําตองรับผิดฐานพยายาม ผูกระทําก็ตองรับผิดฐานพยายามสําหรับ
สาํ หรบั การกระทาํ ตอบคุ คลที่ ๒ การกระทําตอบคุ คลที่ถูกกระทํา

¤ÇÒÁสาํ ¤ÑÞ¼´Ô 㹢͌ à·¨ç ¨Ã§Ô

ÁÒμÃÒ öò “ขอเท็จจริงใด ถามีอยูจริงจะทําใหการกระทําไมเปนความผิด หรือทําให
ผูกระทําไมตองไดรบั โทษ หรือไดร บั โทษนอยลง แมขอ เท็จจรงิ นน้ั จะไมมีอยูจรงิ แตผูกระทาํ สาํ คัญผิด
วา มอี ยูจรงิ ผูกระทาํ ยอมไมม ีความผิด หรือไดรับยกเวนโทษ หรอื ไดรับโทษนอยลงแลว แตก รณี

ถาความไมรูขอเท็จจริงตามในวรรคสามแหงมาตรา ๕๙ หรือความสําคัญผิดวามีอยู
จริงตามความในวรรคแรก ไดเกิดข้ึนดวยความประมาทของผูกระทําความผิด ใหผูกระทํารับผิด
ฐานกระทําโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไวโดยเฉพาะวาการกระทําน้ันผูกระทําจะตองรับโทษ
แมกระทําโดยประมาท

บคุ คลจะตอ งรบั โทษหนกั ขน้ึ โดยอาศยั ขอ เทจ็ จรงิ ใด บคุ คลนนั้ จะตอ งไดร ขู อ เทจ็ จรงิ นนั้ ”
¤Òí ͸ԺÒÂ
๑. การสําคัญผิดในขอเท็จจริงตามมาตรา ๖๒ น้ี เปนบทบัญญัติใหเปนคุณแก
ผูกระทําผิดโดยถือตามหลักเจตนาในการกระทําของบุคคลตามความเขาใจของผูกระทําในขณะ
กระทําผิดน้ัน แมขอเท็จจริงจะไมมีอยูจริง และการกระทําน้ันครบองคประกอบความผิดแลว
แตผูกระทาํ ไดกระทาํ เชนน้ันโดยเขาใจขอเท็จจริงเปนอีกอยางหน่ึง ดังนี้ ตามมาตรา ๖๒ ใหวินิจฉัย
ความผดิ หรอื ความรบั ผดิ ตามความเขา ใจในขอ เทจ็ จรงิ ของผกู ระทาํ อยา งทเ่ี ขา ใจ ซง่ึ ขอ เทจ็ จรงิ ดงั กลา วนี้
จะไดมาจากพยานหลักฐานท่ีคูความนําสืบ ถาตามขอเท็จจริงที่ไดความนั้นเปนดังที่ผูกระทําเขาใจ
การกระทาํ นั้นจะมีความผิดเพียงใดหรือไม ถาเห็นวาการกระทาํ นั้นไมเปนความผิดไมตองรับโทษ
หรอื รบั โทษนอยลงกต็ องวนิ ิจฉัยไปตามนนั้

๖๑

๒. การสําคัญผิดในขอเท็จจริงซึ่งผูกระทําไมมีความผิด เชน การกระทําโดยปองกัน
พอสมควรแกเหตตุ ามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘

๓. การสําคัญผิดในขอเท็จจริงมาตรา ๖๒ กรณีผูกระทําไมตองรับโทษ เชน
สามีตองการลักทรัพยภริยาตนแตกลับไปเอาทรัพยของผูอื่นที่ฝากภริยาตนไวดังนี้ เปนเรื่องสําคัญผิด
ในขอเท็จจริง ซ่ึงถามีอยูจริงทําใหผูถูกกระทําไมตองรับโทษแมขอเท็จจริงจะไมมีอยูจริง ผูกระทําผิด
ไดรับการยกเวน โทษตามมาตรา ๗๑

๔. การสําคัญผิดในขอเท็จจริงซ่ึงผูกระทําไดรับโทษนอยลง เชน การปองกัน
โดยสําคัญผิด แตการกระทําน้ันเปนการเกินสมควรแกเหตุตามมาตรา ๖๙ ผูกระทํายอมไดรับโทษ
นอ ยลง

๕. ตามมาตรา ๖๒ วรรคสอง ที่บัญญัติวา ถาความไมรูขอเท็จจริงตามมาตรา ๕๙
วรรคสาม หรือความสําคัญผิดวามีอยูจริงตามความในวรรคแรก ไดเกิดขึ้นดวยความประมาทของ
ผกู ระทาํ ความผิด ใหผ ูก ระทํารบั ผิดฐานกระทําโดยประมาท เหตทุ ี่บัญญตั ิไวเ ชน นก้ี เ็ พราะการวนิ จิ ฉยั
ตอ งถอื ตามพฤตกิ ารณท ผ่ี กู ระทาํ เขา ใจในขอ เทจ็ จรงิ สงิ่ ใดทอี่ ยนู อกเหนอื จากความรคู วามเขา ใจของเขา
จะถือวาเขากระทําโดยเจตนายอมไมได แตถาความไมรูไมเขาใจนั้น เกิดจากความประมาท
ถาใชความระมัดระวังขึ้นบางเหตุการณเชนนั้นจะไมเกิด กรณีเชนน้ี ยอมนับวาเปนการประมาท
ผูน้ันจึงตองรับผิดในการประมาทของตน แตทั้งน้ี การกระทําโดยประมาทน้ันจะมีความผิดตอเมื่อ
มีกฎหมายบัญญัติไวโดยเฉพาะวา การกระทําน้ันผูกระทําจะตองรับโทษแมกระทําโดยประมาท เชน
กระทําโดยประมาทเปนเหตใุ หค นตายตามมาตรา ๒๙๑ ไดรบั อันตรายสาหสั ตามมาตรา ๓๐๐

μÇÑ ÍÂÒ‹ § ก. กบั พวกไปยิงสตั วป าดว ยกัน ก. มองไปทางหนาเหน็ ตน ไมและพมุ ไมไหวๆ
มองดคู ลายกวาง จึงใชปนยงิ ไป แตก ลบั ถูก ข. ตายหรือ ก. แทง ข. ในทีม่ ืดโดยเขา ใจผดิ วา สงิ่ ท่ีตน
แทงน้ันเปนสุนัข ข. ตาย ดังน้ี ก. ไมมีความผิดฐานฆาผูอ่ืนโดยเจตนาหรือทํารายผูอ่ืน แตผลทําให
ถึงแกความตาย เพราะขณะทํารายไมรูวาเปนคน จึงเปนการไมรูขอเท็จจริงอันเปนองคประกอบ
ความผิด แตการกระทําของ ก. ขาดความระมัดระวังไมพิจารณาใหดีเสียกอนจึงยิงหรือแทงไป ก.
จงึ มคี วามผดิ ฐานกระทาํ โดยประมาทเปน เหตใุ หคนตายตามมาตรา ๒๙๑

ในกรณีเจาของบานทราบวาจะมีคนรายมาปลนจึงใหจําเลยนอนใตถุนเรือน เวลา
๐๕.๐๐ น. ยังมืดอยู ผูตายกับพวกพากระบือไปบานนั้น สุนัขเหามีคนรองวาขโมย จําเลยจึงยิงปน
ไปท่ีผูตายโดยเขาใจวาจะเปนคนรายมาปลนดังนี้ การท่ีจําเลยยิงผูตายโดยสําคัญผิดวาเปนคนราย
ยอ มเปน การปอ งกันพอสมควรแกเ หตุ

๖. มาตรา ๖๒ วรรคสาม บญั ญตั วิ า บคุ คลจะตอ งรบั โทษหนกั ขน้ึ โดยอาศยั ขอ เทจ็ จรงิ ใด
บุคคลนั้นจะตองไดรูขอเท็จจริงนั้น ในวรรคน้ีจํากัดไวเฉพาะในกรณีที่จะตองรับโทษหนักข้ึนเทานั้น
ซึ่งก็เปนการถูกตอง เพราะเม่ือจะลงโทษเขาใหหนักข้ึนก็ควรท่ีจะใหเขารูขอเท็จจริงอันนั้น และ
ขอเท็จจริงดังกลาวน้ีจะตองรูจริงๆ ไมใชอาจรู หรือควรจะรู เพราะขอเท็จจริงดังกลาวน้ีเปนเร่ืองใน

๖๒

พฤติการณประกอบความผดิ ไมเ กี่ยวกบั ผลของการกระทํา ฉะนนั้ เมอื่ บุคคลผกู ระทําไมรขู อ เท็จจรงิ
จึงไมตองรับโทษหนักข้ึน เชน การฆาบิดามารดาซ่ึงเปนบุพการีของตน บุคคลนั้นจะตองรูวาบุคคล
ที่ตนฆาน้ันเปนบิดาหรือมารดากอน หรือขณะกระทํา ถามารูทีหลังเมื่อการฆาสําเร็จแลวก็เปนเร่ือง
สําคัญผิดในขอเท็จจริง จะลงโทษตามมาตรา ๒๘๙ (๑) คงลงโทษไดตามมาตรา ๒๘๘ เทาน้ัน
เพราะเขาไมร ูข อ เท็จจริงวาผูถูกฆา เปนบุพการีของตน

®Õ¡Ò·èÕ ø÷ò/òõñð (ประชุมใหญ) ความสําคัญผิดวามีภยันตรายอันตองปองกันนั้น
เปนความสําคัญผิดตามมาตรา ๖๒ ไมใชมาตรา ๖๑ เพราะความสําคัญผิดตามมาตรา ๖๑
เปนเร่ืองสําคัญผิดในตัวบุคคล ซ่ึงแมกระทําตอบุคคลใดก็เปนผิดทั้งนั้น สวนความสําคัญผิดตาม
มาตรา ๖๒ นั้น เปนความสําคัญผิดซึ่งทําใหการกระทําไมเปนความผิดหรือทําใหผูกระทําไมตอง
รบั โทษ หรอื ไดรับโทษนอยลง

จําเลยใชปนยิงเด็กซ่ึงสองไฟหากบท่ีริมร้ัวบานของจําเลยถึงแกความตาย โดยจําเลย
สาํ คัญผิดวาเปนคนรา ยจะฆา พจ่ี ําเลย เปนการปองกันเกินกวากรณแี หงการจาํ ตอ งกระทาํ เพื่อปองกนั
มคี วามผดิ ตามมาตรา ๒๘๘, ๖๙ ประกอบดวยมาตรา ๖๒

®Õ¡Ò·èÕ ôóð/òõóò จําเลยกับผูเสียหายแตงงานกันตามลัทธิศาสนาอิสลาม มีบุตร
ดว ยกนั ๑ คน ตอ มาจําเลยกับผูเ สียหายแยกกนั อยู แตมไิ ดหยาขาดจากการเปน สามีภริยากนั ดังนน้ั
การที่จําเลยพาผเู สยี หายไปกักขงั เพอื่ กระทําอนาจารและขม ขืนกระทาํ ชาํ เรา จงึ อาจเปนกรณีทจ่ี ําเลย
กระทําไปโดยเขาใจวาจําเลยมีสิทธิกระทําไดกับภริยา ซึ่งมีบุตรดวยกัน และบุตรก็ยังอยูกับจําเลย
อันเสมือนกับทําโดยวิสาสะ ยอมไมเขาลักษณะกระทําโดยมีเจตนาราย ไมเปนความผิดฐานพาหญิง
ไปเพ่อื การอนาจาร หนว งเหนี่ยวกกั ขังและขมขนื กระทาํ ชําเราผูเ สยี หาย

¼Å¸ÃÃÁ´Ò·ÂèÕ Í‹ Áà¡´Ô ¢¹éÖ ä´Œ

ÁÒμÃÒ öó ถาผลของการกระทําความผิดใดทําใหผูกระทําตองรับโทษหนักข้ึนผลของ
การกระทาํ ความผดิ นัน้ ตอ งเปนผลทต่ี ามธรรมดายอมเกดิ ขึน้ ได

คํา͸ºÔ ÒÂ
ñ) àÃèÍ× §¹éÕμÍŒ §ทาํ ¤ÇÒÁࢌÒã¨ãËŒ´Õà¾ÃÒÐ໹š àÃèÍ× §¾ÄμÔ¡Òó

ตวั อยา งทเ่ี หน็ ไดช ดั ตามมาตรา ๖๓ นี้ กค็ อื เจตนาทาํ รา ย แตผ ลถงึ ตาย ตอ งรบั ผดิ
ตามมาตรา ๒๙๐ ฐานทํารายผูอื่นเปนเหตุใหถึงแกความตาย เพราะเปนผลที่ธรรมดายอมเกิดขึ้นได
จะนํามาตรา ๖๓ ไปใชใ นกรณีท่วี าเจตนาตอ ผลอยางหนึ่ง แตผลไดเกิดขึ้นนอกเหนือเจตนาไป

®Õ¡Ò·Õè øùõ/òõðù จําเลยใชกอนหินขวางผูเสียหาย ผูเสียหายหลบกอนหินก็ไมถูก
ผูเสียหาย แตวาตอนท่ีผูเสียหายหลบมือไปฟาดกับขางเรือมีบาดแผลบวมยาว ๔ เซนติเมตร
กวา ง ๒ เซนตเิ มตร ถอื วา เปน ผลโดยตรงจากการกระทาํ ของจาํ เลย เพราะฉะนนั้ จาํ เลยกม็ คี วามผดิ ฐาน
ทํารา ยรางกายผเู สยี หายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕

๖๓

®Õ¡Ò·èÕ öõ÷/òõóò ผูตายเปนโรคตับแข็ง โรคนี้เปนอยูแลวต้ังแตกอนที่จําเลย
จะทํารายผูตาย ถือวาโรคตับแข็งท่ีเปนอยูแลวกอนการทํารายไมใชเหตุแทรกแซง ขอเท็จจริงมี
ดงั ตอ ไปน้ี กอนผูตายจะถกู จําเลยทาํ ราย ผูต ายมอี าการปกตดิ ีอยู ไมไ ดสอวาจะถึงแกค วามตายดว ย
โรคตบั แขง็ ซง่ึ ผตู ายเปน อยใู นเรว็ วนั การทผ่ี ตู ายถงึ แกค วามตายหลงั จากถกู จาํ เลยทาํ รา ยเพยี งประมาณ
๑๗ ชั่วโมง สภาพศพภายในสมองบวมนํ้า กระดูกซ่ีโครงซ่ีที่สองและที่ส่ีขางขวาชํ้ามีรอยแตกราว
สวนสภาพศพภายนอกมีรอยช้ําที่ใบหนาดานขวาตั้งแตคิ้วถึงคางและขอบตาซาย แมแพทยผูชันสูตร
พลิกศพจะเบิกความวาผูตายถึงแกความตายดวยโรคตับแข็ง ไมไดตายเพราะบาดแผลที่ถูกจําเลย
ทํารายแตก็ไมไดยืนยันวา การท่ีจําเลยทํารายผูตายไมเปนเหตุทําใหผูตายถึงแกความตายเร็วข้ึน
ถอื ไดว า การกระทาํ ของจาํ เลยทาํ ใหผ ตู ายถงึ แกค วามตายเรว็ ขน้ึ กวา ทคี่ วร จาํ เลยมคี วามผดิ ฐานฆา ผตู าย
โดยไมเ จตนาตามมาตรา ๒๙๐ วรรคแรก

การเปนโรคตับแข็งรางกายมีภูมิตานทานนอย ถูกทํารายตายไดงาย การที่ผูตายมี
โรคตับแข็งอยูไมถือเปนเหตุแทรกแซง จึงไมตองไปพิจารณาวาวิญูชนคาดหมายไดหรือไม
พจิ ารณาเพยี งวา ความตายเปน ผลโดยตรงจากการทาํ รา ยหรอื ไม ถา ไมท าํ รา ยกไ็ มต าย เชน นต้ี อ งถอื วา
ความตายเปน ผลโดยตรงจากการทาํ ราย (โปรดเทยี บกบั คําพพิ ากษาฎกี าที่ ๙๖๘/๒๔๗๔)

ò. ¶ŒÒÁãÔ ª¼‹ Åâ´Âμç¡çäÁμ‹ ÍŒ §ÃѺ¼´Ô
μÑÇÍ‹ҧ ขาวขับรถที่หามลอชํารุดไปตามถนน ตุวิ่งตัดหนารถโดยกระชั้นชิด

ขาวไมส ามารถลดความเรว็ ของรถลงได รถจงึ ชนตตุ าย ขาวนาํ ผเู ชยี่ วชาญมาเบกิ ความตอ ศาลวา การทต่ี ุ
วิ่งตัดหนารถกระชั้นชิดเชน น้ี ขาวไมส ามารถท่จี ะหลกี เลี่ยงอบุ ตั เิ หตุไดเลย แมว า หา มลอจะใชก ารไดดี
เพียงใดก็ตาม เชนน้ีขาวไมตองรับผิดในการที่รถชนตุ จริงอยูขาวประมาทตามมาตรา ๕๙ วรรคสี่
เพราะขับรถหามลอชํารุดไปตามถนน และผลก็เกิดคือการท่ีรถชนตุ ตุตายแตเน่ืองจากวาความตาย
ของตุไมใชผลโดยตรงจากการกระทําโดยประมาทของขาว ขาวจึงไมตองรับผิดในความตายของตุ
ตามมาตรา ๒๙๑ แตตอ งรบั ผดิ ตามพระราชบัญญตั จิ ราจรทางบก

®Õ¡Ò·Õè ùðù/òô÷ô จาํ เลยขบั รถขน้ึ เนนิ รถเครือ่ งไมด ีทาํ ใหเ ครอ่ื งดบั ทําใหร ถถอยหลงั
ลงมาใกลเหว ผูตายซึ่งโดยสารรถมาในรถ กระโดดลงจากรถ ทําใหเสียหลักลมลงถูกทับตาย
ทําใหรถหยุดได ในท่ีสุดรถจึงไมตกเหว คนอื่นท่ีเหลือในรถไมมีใครเปนอันตราย ศาลวินิจฉัยวา
ผูตายไดตัดสินใจไปเองโดยไมมีเหตุอันสมควร จึงไมใชผลจากการกระทําของจําเลย จําเลยจึงไมมี
ความผดิ ฐานกระทาํ โดยประมาทเปนเหตใุ หผูอ่ืนถงึ แกค วามตาย ตามมาตรา ๒๙๑

®¡Õ Ò·èÕ ùöø/òô÷ô จาํ เลยใชข วานฟน ผตู าย ผตู ายรกั ษาตวั อยจู นแผลหายไปมากแลว
ผูตายเปนลมตายเพราะโรคประจําตัว จําเลยไมตองรับผิดถึงผลแหงการตาย เพราะไมใชผลโดยตรง
จากการทีจ่ ําเลยทําราย และแมจ ะไมม กี ารทาํ รายผูตายกจ็ ะตายอยนู ัน่ เองดวยโรคประจาํ ตวั

®¡Õ Ò·èÕ ñõó/òõðö (ประชมุ ใหญ) รถยนตท ีจ่ ําเลยขับเปน รถประเภทสาธารณะรับจา ง
บรรทุกคนโดยสารและของ จําเลยบรรทุกคนโดยสารเกินจํานวนซึ่งนายทะเบียนกําหนด ถึงกับเกาะ
ขา งรถและทา ยรถและขนึ้ ไปอยบู นหลงั คารถ เพราะคนในรถเบยี ดเสยี ดกนั แนน กบั ยงั มนี าํ้ แขง็ กอ นใหญ

๖๔

บรรทุกมาดวย ๑๐ กวากอน ปรากฏวา จําเลยขับรถยนตดังกลาวไปโดยปลอดภัยเปนระยะทางถึง
๓๐ กิโลเมตร แตเนื่องจากจําเลยขับรถเร็วเกินอัตราท่ีกฎหมายกําหนดไวมากจึงเปนเหตุใหรถคว่ํา
คนตาย ศาลฎีกาตัดสินวาลงโทษตามมาตรา ๒๓๘ ไมได แตวาลงโทษตามมาตรา ๒๙๑
ไดขอเท็จจริงท่ีวาขับรถไปไดโดยปลอดภัยเปนระยะทางถึง ๓๐ กิโลเมตร แสดงวาผลที่เกิดข้ึนไมใช
ผลโดยตรงจากการบรรทุกเกิน เพราะถาเปนผลโดยตรงจากการบรรทุกเกินแลวคงจะไมสามารถขับ
โดยปลอดภัยไดถึง ๓๐ กิโลเมตร คงจะคว่ํากอนหนานั้นแลว เม่ือการที่รถคว่ําคนตายไมใชผล
โดยตรงจากการบรรทุกเกินจําเลยจึงไมมีความผิดมาตรา ๒๓๘ เพราะแมไมบรรทุกเกินรถก็ควํ่า
คนก็ตายอยูน่ันเอง เนื่องจากขับรถเร็วมาก การท่ีรถคว่ําคนตายเปนผลโดยตรงจากการขับเร็ว ไมใช
ผลโดยตรงจากการบรรทุกเกิน แตจําเลยผิดมาตรา ๒๙๑ ก็เพราะจําเลยประมาทขับรถเร็วมาก
ท่ีรถคว่ําคนตายจึงเปน ผลโดยตรงจากการขับรถเร็วอนั เปนการกระทําโดยประมาท ใชหลกั ผลโดยตรง
แตเ พยี งอยา งเดยี ว ไมม หี ลักผลธรรมดา

®Õ¡Ò·Õè ñôóö/òõññ จําเลยขับรถดวยความประมาทชนเสาไมที่ปกริมทางแฉลบ
จะไปชนเสาไฟฟาอยางแรงอันเปนการหวาดเสียวและใกลอันตราย ผูตายกระโดดลงจากรถ
ในระยะกระช้ันชิดกับท่ีรถยนตจะชนเสาไฟฟาเพ่ือหลีกเล่ียงอันตรายอันเกิดข้ึนเฉพาะหนา
และถึงแกค วามตาย จาํ เลยมีความผิดฐานทาํ ใหคนตายโดยประมาท

ó. คําNjҼŸÃÃÁ´Ò หมายความวา ผลท่ีวิญูชนคาดเห็นความเปนไปไดของผลนั้น
คําวา “คาดเห็น” นั้นไมตองถึงข้ันเล็งเห็นผล เชน ปวเผาบานหมู ซึ่งปดประตูหนาตางบานไว โดยปว
ไมรูวามีปานอยูในบานหมู ปานถูกไฟไหมตาย ดังน้ี ปวไมมีความผิดฐานฆาผูอ่ืนโดยเจตนายอมเล็ง
เห็นผลตามมาตรา ๒๘๘ แตปวมีความผิดฐานวางเพลิงเปนเหตุใหผูอ่ืนถึงแกความตาย ตามมาตรา
๒๒๔ ประกอบดวยมาตรา ๒๑๘(๑) และมาตรา ๖๓ โดยปวมิไดเล็งเห็นผลในความตายของปาน
แตปวยอมคาดเห็นความเปนไปไดวาในบานแมจะปดล็อกกุญแจก็อาจมีคนอยูขางในบานได
แตถ าเปลยี่ นขอ เท็จจริงวา ปว รูวาคนอยใู นบา นแลว ยงั เผาบา นนัน้ อกี เชน นี้ ปวมีความผดิ ฐานฆาผอู ่นื
โดยเจตนายอมเล็งเห็นผลเลยหรือถาเปล่ียนขอเท็จจริงใหมอีกวา ปวเผาบานรางที่พังแลวของหมู
แตบังเอิญขอทานเขาไปนอนอยูขางใน ถูกไฟไหมถึงแกความตาย กรณีเชนนี้เกินความคาดหมาย
ของปวท่ีจะคาดเห็นไดวาอาจมีคนอยูขางใน ดังนี้ปวจึงไมตองรับโทษหนักขึ้นในผลของความตาย
ของขอทาน ตามมาตรา ๒๒๔

ô. ¡Ã³ÕÁÕàËμØá·Ã¡á«§à¡Ô´¢éÖ¹àÃÒμŒÍ§ÃѺ¼Ô´¶Ö§¼Å·Õèà¡Ô´¨Ò¡àËμØá·Ã¡á«§¹Ñé¹´ŒÇÂ
ËÃ×ÍäÁ‹

àËμØá·Ã¡á«§ คือ เหตุการณทเ่ี กิดขึ้นตอจากการกระทาํ ในครัง้ แรกและกอ ใหเ กิด
ผลขึ้นในบั้นปลาย จะรับผิดหรือไมนั้นขึ้นอยูกับวา วิญูชนคาดหมายไดหรือไม? ถาวิญูชน
คาดหมายไดก ็ตองรับผดิ ถา วญิ ชู นคาดหมายไมไ ดกไ็ มต องรับผิด

®Õ¡Ò·Õè ñóùõ/òõñø จําเลยตี ถ. มีแผลเลก็ นอ ย แต ถ. สลบ จําเลยเขา ใจวา ถ. ตาย
จงึ เอาผา ขาวมา ของ ถ. ผกู คอ ถ. แขวนกบั ตน ไมเ ปนเหตุให ถ. ตาย

๖๕

พเิ คราะหแ ลว เห็นวา การกระทําของจาํ เลย ฟงไมไดวาจําเลยมเี จตนาฆา ถ. จําเลยจึง
คงมคี วามผิดเพยี งฐานฆาผูอ น่ื โดยไมเ จตนา

®¡Õ Ò·èÕ ñô÷ø/òõòø ผูตายถูกยิงไดรับบาดเจ็บ ผูตายตายภายหลังจากถูกยิงแลว
๙ เดอื นเศษ เนอ่ื งจากผตู ายรกั ษาบาดแผลไมด ี เพราะแผลตดิ เชอ้ื ดงั นี้ จาํ เลยมคี วามผดิ ฐานฆา คนตาย
โดยเจตนาตามมาตรา ๒๘๘ มิใชพยายามฆาตามมาตรา ๒๘๘ ประกอบกับมาตรา ๘๐ เพราะ
แผลตดิ เช้ือทาํ ใหผ ูตายตาย ไมใชส ง่ิ ผดิ ปกตธิ รรมดา ผกู ระทาํ จึงตอ งรบั ผิดตามมาตรา ๒๘๘

®Õ¡Ò·èÕ öõù/òõóò จําเลยทํารายผูตายโดยมีเจตนาฆาหลังจากท่ีผูตายถูกจําเลย
ทําราย มีการนาํ ผูตายไปรักษาทโ่ี รงพยาบาล แพทยร กั ษาผตู ายเบือ้ งตน โดยการใหนํ้าเกลือใสท อ ชวย
หายใจ ผา ตดั ใสท อ ระบายลมในโพรงปอดขา งซา ย เพราะมลี มรวั่ ออกมาจากทางเดนิ หายใจแลว ใสเ ครอื่ ง
ชวยหายใจใหผูตายดวย แพทยผูรักษามีความเห็นวา ถาใหผูตายรักษาตัวที่โรงพยาบาลตอไปแลว
โอกาสทผี่ ตู ายจะมชี วี ติ รอดมมี ากกวา ผตู ายจะถงึ แกค วามตาย แตว า ญาตขิ องผตู ายสงสารผตู ายทต่ี อ ง
อยูในสภาพเชนน้ันจึงทําใหการรักษาพยาบาลสิ้นสุดลงโดยการดึงเครื่องชวยหายใจและทอชวยหายใจออก
แลว พาผตู ายกลบั บา น ในคนื นน้ั เองผตู ายถงึ แกค วามตาย ศาลฎกี าตดั สนิ วา จาํ เลยรบั ผดิ เพยี งพยายาม
ฆา ตามมาตรา ๒๘๘ ประกอบดวยมาตรา ๘๐ เพราะวา ผลเกิดจากเหตุแทรกแซงดงั กลาว วญิ ูชน
คาดหมายไมไ ดต อ งรับผิดเทา ท่ไี ดก ระทําลงไปเทานั้น

¤ÇÒÁäÁË ¡ŒÙ ®ËÁÒÂ

ÁÒμÃÒ öô “บคุ คลจะแกต วั วา ไมร กู ฎหมายเพอื่ ใหพ น จากความรบั ผดิ ชอบในทางอาญา
ไมได แตถาศาลเหน็ วา ตามสภาพและพฤตกิ ารณ ผูก ระทําความผดิ อาจจะไมรวู า กฎหมายบัญญัติวา
การกระทําน้ันเปนความผิด ศาลอาจอนุญาตใหแสดงพยานหลักฐานตอศาลและถาศาลเชื่อวา
ผกู ระทาํ ไมร วู า กฎหมายบญั ญตั ไิ วเ ชน นนั้ ศาลจะลงโทษนอ ยกวา ทกี่ ฎหมายกาํ หนดไวส าํ หรบั ความผดิ
นน้ั เพยี งใดก็ได”

มาตรา ๖๔ ไมยอมใหยกเอาความไมรูกฎหมายขึ้นเปนขอแกตัว เพราะกฎหมาย
ประสงคใหประชาชนไดศึกษาและเรียนรูลวงหนาวาการกระทําหรือไมกระทําของตนมีกฎหมาย
บัญญัติเปนความผิดหรือไม เหตุผลที่กฎหมายอาญาตองบัญญัติความผิดไวอยางชัดเจน แนนอน
ปราศจากการคลุมเครือ (มาตรา ๒) ก็เพราะตองการใหประชาชนไดรูลวงหนา และเมื่อถือวา
ประชาชนตองรูลว งหนา จึงไมย อมใหปฏิเสธวา ไมรกู ฎหมายตามทบ่ี ัญญัตไิ วในมาตรา ๖๔ นัน่ เอง

อยางไรก็ตาม มีบางกรณีท่ีหากไมยอมรับฟงความไมรูกฎหมายแลว ก็อาจจะเปน
การไมย ตุ ธิ รรมจนเกนิ ไป มาตรา ๖๔ จงึ ยอมใหม กี ารแกต วั ไดบ า ง เมอ่ื พจิ ารณาถงึ สภาพแหง ความผดิ
หมายความวากรณีที่เปนความผิดเพราะกฎหมายหาม (mala prohibita) มิใชความผิดในตัวเอง
(mala in se) พฤตกิ ารณ หมายถงึ กรณีเฉพาะตัวผูก ระทาํ ผิด เชน คนตางดา วเพง่ิ เดนิ ทางเขา มา
ในประเทศ หรอื ผทู อ่ี ยหู า งไกลมากไมส ามารถทราบถงึ กฎหมายทป่ี ระกาศใชใ หม เมอื่ พจิ ารณาถงึ สภาพ

๖๖

ความผดิ และพฤตกิ ารณแ ลว ศาลอาจอนญุ าตใหแ สดงพยานหลกั ฐาน (ซง่ึ หมายความวา แมจ ะพจิ ารณา
จากสภาพความผดิ และพฤตกิ ารณแ ลว ศาลอาจไมอ นญุ าตกไ็ ด) และเมอ่ื มกี ารแสดงพยานหลกั ฐานแลว
ถาศาลเช่ือความไมรูกฎหมาย ศาลอาจลดโทษใหแกผูกระทาํ ความผิดก็ได หรือไมลดโทษก็ได
แตศาลจะไมล งโทษเลยไมได

¢ŒÍÊѧà¡μ
ความไมรูกฎหมายตามมาตรา ๖๔ หมายถึง ไมรูวามีกฎหมายอาญาบัญญัติวา
การกระทาํ นั้นเปนความผิด หากเปนความไมรูกฎหมายอื่นๆ เชน กฎหมายแพง เชนน้ีไมเก่ียวกับ
มาตรา ๖๔
ËÁÒÂàËμØ
การจะอางมาตรา ๖๔ เพื่อใหศาลลดโทษน้ัน การกระทําของผูกระทําจะตอง
“ไดกระทําความผิดตามองคแหงความผิดทุกประการแลว” หากการกระทําไมเปนความผิด เชน
ขาดเจตนากระทาํ ผิด กถ็ ือวาขาดองคประกอบภายในเสยี แลว ก็ไมมีกรณีทจ่ี ะตอ งยกมาตรา ๖๔ ขึ้น
เพ่ือใหศาลลดโทษ เพราะการกระทาํ ไมเ ปนความผดิ มาเสยี ตงั้ แตตนแลว (ฎกี าท่ี ๔๕๗/๒๔๘๙)
คํา¾¾Ô Ò¡ÉÒ®¡Õ Ò·Õè õóóó/òõóø
การมีเพโลมีนไวเพ่ือขายมิใชเปนความผิดในตัวเอง จําเลยเคยไดรับอนุญาตใหขายได
ตอมามีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกําหนดใหเปนวัตถุออกฤทธ์ิประเภท ๒ ซึ่งการมีไว
ในครอบครองเพ่ือขาย เปนความผิดตามสภาพและพฤติการณจาํ เลยไมอาจรู ศาลยอมอนุญาตให
จาํ เลยนาํ พยานหลักฐานมาพสิ จู นไ ด และศาลจะลงโทษนอยกวา ทีก่ ฎหมายกาํ หนดไวได
ÁÒμÃÒ öõ º¤Ø ¤ÅÇԡŨÃμÔ
การกระทาํ ของคนทเ่ี ปน จติ บกพรอ ง โรคจติ หรอื จติ ฟน เฟอ น มาตรา ๖๕ ผใู ดกระทําความผดิ
ในขณะไมส ามารถรผู ดิ ชอบหรอื ไมส ามารถบงั คบั ตนเองไดเ พราะมจี ติ บกพรอ ง โรคจติ หรอื จติ ฟน เฟอ น
ผูน น้ั ไมตอ งรบั โทษสําหรับความผิดนัน้
แตถาผูกระทาํ ความผิดยังสามารถรูผิดชอบอยูบางหรือยังสามารถบังคับตนเองไดบาง
ผูนั้นตองรับโทษสําหรับความผิดน้ัน แตศาลจะลงโทษนอยกวาท่ีกฎหมายกาํ หนดไวสาํ หรับความผิด
นัน้ เพียงใดกไ็ ดม ีหลกั เกณฑ ดงั นี้
๑. ตองมกี ารกระทาํ
๒. ไดก ระทาํ การอันกฎหมายบัญญตั ิเปนความผดิ
๓. ในขณะ

ก. ไมส ามารถรูผิดชอบ หรอื
ข. ไมส ามารถบังคบั ตนเองได

๖๗

๔. เพราะมี
ก. จิตบกพรอ ง
ข. โรคจติ หรอื
ค. จติ ฟนเฟอน

®¡Õ Ò·Õè óóñ/òõñó คลอดบุตรแลวคุมดีคุมรายถือวาเปนโรคจิตหรือจิตฟนเฟอน
บางขณะ ยงั สามารถรูผิดชอบบางหรอื สามารถบังคับตนเองไดบ าง ตอ งรับผิด มาตรา ๖๕ วรรค ๒

®¡Õ Ò·Õè óðòõ/òõòõ กอนเกิดเหตุจําเลยหวาดกลัววาจะถูกเพ่ือนยิง จึงขังตัวเอง
ในหองมา ๔ วัน โดยอดอาหารและไมห ลับไมน อนตลอด ๔ วนั ขณะเกิดเหตจุ ําเลยเหน็ ภาพหลอน
มีปากกระบอกปนมาจองตามชองไมแตก มีเสียงดังแช็กๆ จําเลยจึงจุดไฟเผาส่ิงของในหองใหเกิด
ควันและกระโดดหนีออกทางหนาตาง เม่ือพบตํารวจก็บอกวาจาํ เลยเปนผูวางเพลิง ดังนี้ แมจะไม
เปนการชัดแจงวาจาํ เลยกระทําผิดในขณะไมสามารถรูผิดชอบหรือไมสามารถบังคับตนเองได อันจะ
ทาํ ใหไมตองรับโทษตาม ป.อ. มาตรา ๖๕ วรรคแรก แตก็แสดงวาจาํ เลยมีอาการผิดปกติทางจิตใจ
หรือจิตใจบกพรองอยูบาง ซ่ึงศาลจะลงโทษนอยกวากฎหมายกําหนดไวสาํ หรับความผิดน้ันเพียงใด
ก็ไดต าม ป.อ.มาตรา ๖๕ วรรคสอง

®¡Õ Ò·èÕ ó÷õõ/òõõõ จาํ เลยเปน โรคจติ เภท ขบั รถยนตข องผตู ายหลบหนีออกไปเปน
ระยะทางไกลพอสมควรหลังจากจาํ เลยใชอาวุธปนยิงผูตายแลว และเมื่อถูกเจาพนักงานตํารวจจับกุม
จาํ เลยกร็ บั วา รสู กึ ตวั และสามารถตอบคําถามได ยอ มแสดงวา จําเลยยงั สามารถรผู ดิ ชอบหรอื บงั คบั ตนเอง
ไดบาง จําเลยจงึ ตอ งรับโทษสาํ หรบั ความผดิ น้ัน แตศ าลจะลงโทษจําเลยนอยกวาที่กฎหมายกาํ หนดไว
สําหรับความผดิ นั้นเพียงใดก็ได ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๕ วรรคสอง

¤ÇÒÁÁÖ¹àÁÒ

ÁÒμÃÒ öö “ความมึนเมาเพราะเสพสุราหรือสิ่งเมาอยางอื่นจะยกขึ้นเปนขอแกตัว
ตามมาตรา ๖๕ ไมไ ด เวน แตค วามมนึ เมานน้ั จะไดเ กดิ โดยผเู สพไมร วู า สง่ิ นนั้ จะทาํ ใหม นึ เมาหรอื ไดเ สพ
โดยถูกขืนใจใหเสพและไดกระทาํ ความผิดในขณะไมสามารถรูผิดชอบ หรือไมสามารถบังคับตนเองได
ผูกระทําความผิดจึงจะไดรับยกเวนโทษสาํ หรับความผิดน้ัน แตถาผูนั้นยังสามารถรูผิดชอบอยูบาง
หรือยังสามารถบังคับตนเองไดบาง ศาลจะลงโทษนอยกวาที่กฎหมายกาํ หนดไวสําหรับความผิดน้ัน
เพยี งใดก็ได”

คาํ ͸ԺÒÂ
ไมวาจะเปนเพราะเสพสุรา-เสพสิ่งเมาอยางอ่ืน (ยาเสพติดหรือยาบางอยาง หรือ
ยาระงับประสาทมึนเมา) แกตัวไมได ถาเสพถึงขนาดเปนโรคจิตก็อางเปนขอยกเวนตามมาตรา ๖๕
ขึน้ ตอสูคดไี ดเวนแตในกรณีดงั นี้ จึงจะไดรบั ยกเวน โทษ คอื

๖๘

ñ. ¤ÇÒÁÁ¹Ö àÁÒà¡´Ô â´Â¼àŒÙ ʾ
๑.๑ ไมรูว าสงิ่ นน้ั ทําใหมึนเมา เชน ถูกปลอมปนอาหาร หรือเคร่อื งดมื่
๑.๒ ถกู ขนื ใจใหเ สพ (ไมใ ชโดยสมัครใจ)

ò. áÅÐä´Œ¡ÃÐทาํ ¤ÇÒÁ¼Ô´ã¹¢³ÐÁÖ¹àÁÒ โดยไมสามารถรูผิดชอบหรือไมสามารถ
บังคบั ตนเองได (ท้ังนี้มิไดเ สพเพอื่ ใหกลา ทําผิดจะอา งเปนขอ แกต ัวไมไ ด)

๒.๑ หากผูกระทําตาม ขอ ๑, ๒ ไดกระทาํ ขณะยังสามารถรูผิดชอบอยูบาง
หรือยังสามารถบังคับตนเองไดบาง ศาลจะลงโทษนอยกวาที่กฎหมายกําหนดไวสําหรับความผิดน้ัน
เพียงใดกไ็ ด

๒.๒ กรณีมึนเมาแลวเกิดบันดาลโทสะจากเหตุมึนเมาก็อาจอางเพ่ือลดโทษให
นอยลงได แมโ ทษเกิดเพราะความมนึ เมา

®¡Õ Ò·èÕ ñøñø/òõñô เมาสุรายิงปนเขาไปในฝูงชน ถือวาจาํ เลยยอมเล็งเห็นผลท่ีจะ
เกิดจากการกระทําของตน อางความมนึ เมาเปนเหตยุ กเวนโทษหรอื รับโทษนอ ยลงไมได

¡ÒáÃÐทํา¤ÇÒÁ¼Ô´´ŒÇ¤ÇÒÁจํา໚¹

ÁÒμÃÒ ö÷ “ผูใดกระทําความผดิ ดวยความจาํ เปน”
๑. เพราะอยูในที่บงั คบั หรือภายใตอํานาจซง่ึ ไมส ามารถหลกี เล่ียงหรือขัดขืนได หรอื
๒. เพราะเพื่อใหตนเองหรือผูอื่น พนจากภยันตรายที่ใกลจะถึงและไมสามารถ
หลกี เลย่ี งใหพ น โดยวิธอี ืน่ ใดไดเ ม่อื ภยนั ตรายน้นั ตนมิไดกอ ใหเกดิ ข้ึนเพราะความผดิ ของตน
ถาการกระทําน้ัน ไมเ ปน การเกนิ สมควรแกเ หตแุ ลวผูน ้นั ไมต อ งรับโทษ
จากบทบัญญัติของกฎหมายจะเห็นไดวาการกระทาํ ความผิดดวยความจาํ เปนนั้น
มาตรา ๖๗ ไดบัญญตั ิ แยกไวเปน ๒ กรณี คือ
๑. กระทาํ ความผิดดวยความจาํ เปนเพราะอยูในที่บังคับ หรือภายใตอํานาจ
ซึง่ ไมสามารถหลกี เลย่ี งหรือขดั ขนื ได (มาตรา ๖๗ (๑))
๒. กระทําความผิดดวยความจําเปนเพ่ือใหตนเองหรือผูอ่ืนพนจากภยันตราย
ท่ีใกลจะถึงและไมสามารถหลีกเล่ียงใหพนโดยวิธีอื่นใดได เมื่อภยันตรายนั้นตนมิไดกอใหเกิดข้ึน
เพราะความผดิ ของตน (มาตรา ๖๗ (๒))
¡ÃÐทํา¤ÇÒÁ¼´Ô ´ÇŒ ¤ÇÒÁจํา໹š à¾ÃÒÐÍÂãÙ‹ ¹·ºèÕ §Ñ ¤ºÑ ËÃÍ× ÀÒÂãμÍŒ Òí ¹Ò¨«§èÖ äÁÊ‹ ÒÁÒö
ËÅÕ¡àÅÂÕè §ËÃÍ× ¢Ñ´¢¹× ä´Œ (ËÃÍ× ÍÒ¨àÃÂÕ ¡§Ò‹ Âæ Ç‹Ò จํา໹š à¾ÃÒСÒö١ºÑ§¤ºÑ )
จากบทบัญญัติดังกลาวน้ีหมายความวา ผูกระทาํ ไดกระทําดวยความจาํ เปน
มิใชตองการกระทาํ แตไดกระทาํ ไปเพราะถูกบางสิ่งบางอยางบังคับใหกระทําโดยผูกระทาํ ไมสามารถ
หลกี เลย่ี งหรอื ขดั ขนื ได จะเหน็ ไดว า การบงั คบั หรอื การบงการใหก ระทาํ นน้ั มาจากภายนอกโดยทผี่ ถู กู บงั คบั
มิไดค ดิ รเิ รมิ่ กระทาํ การน้ันข้นึ ดว ยใจตนเอง

๖๙

ËÅѡࡳ±¤ ÇÒÁจาํ ໚¹à¾ÃÒж١ºÑ§¤ÑºμÒÁÁÒμÃÒ ö÷ (ñ)
๑. อยูในบงั คบั หรือภายใตอาํ นาจ
๒. ไมสามารถหลีกเลี่ยงหรอื ขัดขืนได
๓. ผูกระทาํ จะตอ งมิใชผ กู อ เหตุ
๔. กระทําไปไมเกนิ ขอบเขตหรือไมเ กินสมควรแกเ หตุ
Í‹Ù㹺ѧ¤ÑºËÃ×ÍÀÒÂãμอŒ ํา¹Ò¨
หมายความวา มอี ทิ ธิพลจากภายนอกบังคับ, บงการใหจ ําตอ งกระทาํ หรือไมกระทาํ การ
อยางใดอยางหน่ึง ซึ่งการกระทําหรือไมกระทํานั้นเปนความผิด และตองเปนการบังคับ
การกระทาํ มิใชบังคับความรูสึกทางจิตใจเทานั้น การบังคับหรือการบงการนี้ อาจเกิดจากเหตุการณ
ธรรมชาตหิ รอื การกระทําของบุคคลกไ็ ด เชน
๑. ก. ใชป น ขู ข. ให ข. ใชไ มต ีหัว ค.
๒. น้าํ ทวม ทาํ ใหน าจมน้าํ ขาวเสียหายมาก ชาวนาจึงตองพงั คันนาผูอ่นื เพือ่ รกั ษาขาว
ของตนไว
äÁ‹ÊÒÁÒöËÅ¡Õ àÅÕè§䴌 ËÃ×ÍäÁÊ‹ ÒÁÒö¢Ñ´¢¹× ä´Œ
หมายความวา ผกู ระทาํ ไมสามารถหลกี เลยี่ งหรอื ขดั ขนื ได จึงจาํ เปน ตองกระทาํ ความผดิ
ลงไป แตถ าเปนกรณที ี่การบังคบั , บงการนนั้ อาจท่ีจะหลกี เลยี่ งได, ขดั ขืนได แตไ มยอมหลกี เลี่ยงขัดขนื
ผูก ระทาํ ยงั คงกระทําตอ ไปเชน น้ี จะอางความจําเปนไมได
¼Ù¡Œ ÃÐทาํ ¨ÐμŒÍ§ÁãÔ ª¼‹ ŒÙ¡Í‹ àËμØ
หมายความวา ถา ผกู ระทาํ เปน ผกู อ เหตกุ ารณข นึ้ โดยความผดิ ของตนเองแลว กจ็ ะอา งวา
เปนการจาํ เปน เพราะถูกบงั คบั ไมได
เชน นาย ก. ทะเลาะกบั นาย ข. นาย ข. ควา ไมจะมาตนี าย ก. นาย ก. จงึ หนั ไปจบั ตัว ค.
บตุ รชายของนาย ข. เชนน้ี นาย ก. จะมาอางวาทต่ี นจบั ไปนั้น เพราะความจาํ เปน เนือ่ งจาก นาย ข.
จะตีตนไมได เพราะกรณีดังกลา ว นาย ก. เปนผูกอเหตกุ ารณทะเลาะววิ าทกอน
¡ÃÐทาํ ä»äÁ‹à¡¹Ô ¢Íºà¢μËÃÍ× äÁà‹ ¡Ô¹ÊÁ¤ÇÃá¡à‹ ËμØ
กรณีท่ีดูวาการที่กระทําลงไปน้ันเกินขอบเขตหรือไม จะตองพิจารณาการกระทําที่
ทําลงไปน้ันเปรียบเทียบจากความรายแรงของภยันตรายท่ีกอใหเกิดการกระทาํ ดวยความจาํ เปน
ซง่ึ ผกู ระทําความผดิ ไดร บั ถา ภยนั ตรายนนั้ นอ ยกวา การทกี่ ระทาํ ความผดิ ออกไปกเ็ ปน การเกนิ ขอบเขต
การกระทาํ ความผดิ ดว ยความจําเปน เพอ่ื ใหต นเองหรอื ผอู นื่ พน จากภยนั ตรายทใ่ี กลจ ะถงึ
และไมสามารถหลีกเล่ียงใหพนโดยวิธีอื่นใด เมื่อภยันตรายนั้น ตนมิไดกอใหเกิดข้ึนเพราะความผิด
ของตน (หรืออาจจะเรียกงา ยๆ วา จาํ เปนเพ่ือใหพ นภยนั ตราย)
จากบทบญั ญตั ิดังกลาว หมายความวา ผูกระทําไดกระทําดวยความจาํ เปน เพราะภยนั ตราย
ท่ีเกิดข้นึ ซ่ึงอาจจะเกิดขนึ้ แกตนเองหรือผอู นื่ ก็ได แตภยันตรายน้ันตองเปนภยนั ตรายท่ใี กลจะถงึ

๗๐

หลักเกณฑของความจาํ เปน เพือ่ ใหพ นภยนั ตราย ตามมาตรา ๖๗ (๒)
๑. กระทําความผดิ ไป เพอ่ื ใหต นเองหรอื ผอู ่ืนพน จากภยนั ตราย
๒. ภยันตรายนัน้ เปน ภยนั ตรายท่ีใกลจะถงึ
๓. ภยนั ตรายน้นั ไมส ามารถหลีกเลี่ยงใหพ นโดยวิธีอ่นื ใดได
๔. ภยันตรายนนั้ ตนมไิ ดก อ ใหเกดิ ขึ้นเพราะความผดิ ของตนเอง
๕. กระทาํ ไปไมเกินขอบเขต หรือไมเกินสมควรแกเหตุ
¡ÃÐทาํ ¤ÇÒÁ¼´Ô ä»à¾Í×è ãËŒμ¹àͧËÃÍ× ¼ÙŒÍ¹è× ¾Œ¹¨Ò¡ÀÂѹμÃÒÂ
หมายความวา ภยันตรายที่จะเกิดตอตัวผูกระทําเองหรือตอผูอื่นก็ได และผูกระทําได
กระทําความผิดออกไปเพ่ือใหต นเองหรือผูอ ่นื นั้นพน จากภยันตราย
ภยันตรายที่เกิดข้ึน จะเปนภยันตรายตอชีวิตรางกาย ทรัพยสิน หรือสิทธิอื่นใดก็ได
เพราะกฎหมายมิไดบ งั คับไว
เชน สุนัขบาวิ่งไลกัดนาย ก. นาย ก. จึงวิ่งหนีเขาบาน นาย ข. เชนน้ี แมวารั้วบาน
นาย ข. จะเสียหายไปบาง ก็ถือวานาย ก. กระทาํ ไปเพราะความจําเปน เนื่องจากตองการหนี
ภยันตรายทีเ่ กดิ ขึ้นคือ หนีสนุ ัขบา
ÀÂ¹Ñ μÃÒ¹Ñé¹à»š¹ÀÂ¹Ñ μÃÒ·Õãè ¡Å¨Œ ж§Ö
หมายความวา ภยนั ตรายนนั้ ใกลจ ะถงึ ตวั ผกู ระทาํ แลว ผกู ระทําถงึ ไดล งมอื กระทาํ ออกไป
ถาเปนภยันตรายท่ีอยูหางไกลออกไป หรือเปนภยันตรายในอนาคต หรือภยันตรายท่ีเกิดข้ึนในอดีต
ผูกระทาํ จะอา งความจําเปน ไมไ ด
เพราะฉะนั้น ภยันตรายที่จะอางการกระทําดวยความจําเปน จะตองเปนภยันตราย
ท่กี ําลังปรากฏอยเู ฉพาะหนา หรือเกิดขึน้ แลว และกาํ ลังจะเกิดตอไปอกี
เชน เอาจอบไปขุดคันนาเพื่อนบาน เพราะกลัววาน้ําจะทวมแลวนาของตนจะเสียหาย
ทั้งๆ ท่ียังไมมีฝนตก เพียงแตมีประกาศของทางกรมอุตุนิยมวิทยาแจงวาจะมีฝนตกหนักเทาน้ัน
เชน น้ีถือวายงั ไมเ ปน ภยันตรายท่ีใกลจ ะถึง
ÀÂ¹Ñ μÃÒ¹Ñé¹äÁÊ‹ ÒÁÒöËÅÕ¡àÅÂèÕ §ãËŒ¾¹Œ â´ÂÇ¸Ô ÕÍ×¹è ã´ä´Œ
หมายความวา ผูกระทําจะตองหลีกเลี่ยงเสียกอน ถาสามารถหลีกเลี่ยงได แมจะไดรับ
ความลําบากบา ง
ÀÂ¹Ñ μÃÒ¹é¹Ñ μ¹ÁäÔ ´¡Œ ‹ÍãËŒà¡Ô´¢Öé¹
หมายความวา ถาผูกระทําเปนผูกอใหเกิดภยันตรายข้ึนเองแลว ผูกระทําจะอาง
เอาความจาํ เปนมาใชไมได
μÇÑ Í‹ҧ
®¡Õ Ò·Õè ñ÷õð/òõñô จําเลยถกู คนรา ยซง่ึ มสี มคั รพรรคพวกมาก และมอี าวธุ ปน ครบมอื
ขูบังคับใหเอาเรือรับคนรายขามฟากไปทาํ การปลนทรัพย ถือวา จาํ เลยกระทําดวยความจําเปน
ไมส ามารถหลีกเล่ียงหรือขัดขืนได จงึ ไมตอ งรับโทษ

๗๑

®¡Õ Ò·Õè óð÷/òôøù จําเลยไปชวยงานแตงงานแลวมีคนไลทาํ รายจําเลย จาํ เลย
วิ่งหนีจะเขาไปทางหองท่ีพวกเจาบาวเจาสาวอยู มีคนกั้นไมใหจาํ เลยเขาไป จาํ เลยใชมีดแทงเขาตาย
ศาลฎีกาตัดสินวาเปนเร่ืองจําเปนตามมาตรา ๖๗ (๒) แตเกินสมควรแกเหตุ เพราะภัยประการแรก
คือถูกทําราย ภัยประการหลังก็คือทาํ รายเขาดวยการใชมีดแทง ภัยทั้งสองเทากัน ถาเทากันถือวา
เกินสัดสวน เพราะจําเปนนั้นเปนการกระทําตอบุคคลที่สาม ถาใชมีดแทงคนที่วิ่งไลทาํ ราย
เปน การกระทําโดยปองกนั ปอ งกนั เปน การกระทาํ ตอผกู อ ภัย ทาํ รายตอ ทํารายไดสัดสวนกนั ไมเ กนิ

®¡Õ Ò·Õè ñùöñ/òõòø หมูใชปนจี้ขาวขับรถหลบหนีตาํ รวจดวยความเร็วสูงในเวลา
กลางคืน โดยบังคับไมใหเปดไฟ ขาวกลัวตายจึงทาํ ตามที่หมูส่ัง รถของขาวชนตุย ตุยตาย ขาวไมมี
ความผิด เพราะบุคคลในภาวะวิสัยและพฤติการณเชนเดียวกับขาวโดยทั่วไปไมอาจใช
ความระมดั ระวังไดดกี วาขาว ฉะนั้นจงึ ตองถอื วา ขาวไมป ระมาท (ไมต อ งอางจาํ เปนตามมาตรา ๖๗
เพราะขาวขาดเจตนาพิเศษไมมีเจตนาจะฆาใคร) ขาวไมมีความผิดฐานประมาทเปนเหตุใหผูอ่ืน
ถึงแกความตาย ตามมาตรา ๒๙๑ แตหมูประมาทตองรับผิดในความตายของตุย ตามมาตรา ๒๙๑
ในฐานะที่เปนผกู ระทาํ ความผดิ เอง (และเทยี บคาํ พิพากษาฎีกาที่ ๑๐๔/๒๔๙๔)

¡Òû͇ §¡¹Ñ â´ÂªÍº´ÇŒ ¡®ËÁÒÂ

ÁÒμÃÒ öø ผูใดจาํ ตองกระทาํ การใดเพ่ือปองกันสิทธิของตนหรือของผูอื่น
ใหพนภยันตราย ซ่ึงเกิดจากการประทุษรายอันละเมิดตอกฎหมาย และเปนภยันตรายท่ีใกลจะถึง
ถา ไดกระทาํ พอสมควรแกเ หตุ การกระทาํ นัน้ เปนการปองกันโดยชอบดวยกฎหมาย ผนู ั้นไมมีความผดิ

คํา͸ԺÒÂ
๑. การกระทําเพอ่ื ปอ งกันสิทธนิ ใ้ี กลก นั กบั การกระทาํ โดยจาํ เปนในขอ ทว่ี า เพอื่ ตนเอง
หรอื ผูอ่นื ใหพ น ภยันตรายทใ่ี กลจะถึงและกระทาํ พอสมควรแกเหตุ แตมีขอ แตกตางกัน ดังน้ี

๑.๑ ภยันตรายในการปองกันจะตองเกิดภยันตรายอันละเมิดตอกฎหมาย
จากการกระทําของบุคคลโดยตรง สวนภยันตรายในความจาํ เปน เปนภยันตรายท่ีเกิดจากธรรมชาติ
สัตวหรือบคุ คลและจะเปนภยันตรายท่ีละเมิดกฎหมายหรอื ไมก็ได

๑.๒ การปองกัน ตองกระทําเพ่ือปองกันสิทธิของตนเองหรือของผูอื่น
สวนความจาํ เปน ไมจ าํ เปน ตองเปน สทิ ธิ เปนการกระทาํ โดยความจําเปนอยา งอ่นื ก็ได

๑.๓ การปองกัน กฎหมายไมไดมีบทบัญญัติไววาจะตองไมสามารถขัดขืน
หรือหลกี เล่ยี งได สวนความจําเปนผูก ระทําจะตองไมส ามารถหลีกเลย่ี งหรือขัดขนื ได

๑.๔ การปองกัน ตองเปนการกระทาํ ตอผูกอภยันตรายอันละเมิดตอกฎหมาย
สวนความจําเปนตอ งกระทาํ ตอ บุคคลอ่ืน หรอื บุคคลทีส่ ามไมใ ชผกู อ ภยนั ตราย

๑.๕ การปองกนั ถือวากระทาํ โดยชอบดว ยกฎหมายไมม คี วามผดิ สวนความจาํ เปน
เปนความผิดแตกฎหมายไมเอาโทษ

๗๒

๑.๖ การปองกัน กฎหมายไมไดบัญญัติวา ภยันตรายนั้นตนมิไดกอใหเกิดขึ้น
โดยความผดิ ของตนหรอื ไม สวนความจาํ เปน จะตองไมเปน ผูก อใหเกิดเพราะความผิดของตน

๒. คําวา “สิทธิ” หมายความถึงประโยชนอันชอบธรรมที่บุคคลมีอยูโดยกฎหมาย
ใหความรับรองและคุมครองให ฉะนั้น จึงอาจเปนสิทธิเก่ียวกับชีวิต รางกาย เสรีภาพ เกียรติยศ
ชื่อเสียงหรือทรัพยสิน หรือสิทธิอื่นๆ ท่ีกฎหมายรับรองและคุมครองให ไมวาสิทธิน้ันจะเปนของ
ตนเองหรือผูอ่ืน เม่ือมีผูกอใหเกิดภยันตรายอันละเมิดกฎหมายขึ้น และเปนภยันตรายท่ีใกลจะถึง
ผูน้ันก็เกิดสิทธิปองกันโดยชอบดวยกฎหมาย ฉะนั้น สาระสําคัญของการปองกันจึงอยูท่ีภยันตราย
อันใกลจะถึง ถายังไมใกลหรือไมมีจะอางสิทธิปองกันไมได แตถาภยันตรายที่ละเมิดตอกฎหมายน้ัน
ถงึ หรอื ใกลจ ะถึง ยอ มมอี ํานาจท่ีจะใชส ทิ ธปิ องกันพอสมควรแกเหตใุ หพ น จากภยนั ตรายได กฎหมาย
ไมไดบงั คับใหผ กู ระทาํ การปอ งกันตองหลบหนี สทิ ธปิ องกันตวั เกิดขนึ้ และมอี ยูตลอดเวลาท่มี ีภยั อยู

๓. หลักของการอางวาปองกันสิทธิน้ัน มีขอท่ีจะตองพิจารณาโดยเอาตัวผูอางสิทธิปองกัน
มาเปรียบเทียบเสมือนวา ถาผูอางวาการปองกันสิทธิอยูในท่ีเกิดเหตุ ผูอางสิทธิปองกันจะกระทาํ
ตอผนู ้นั เพือ่ ปองกนั สทิ ธขิ องตนไดห รือไม คือ มีภยันตรายท่ใี กลจะถึงท่ีเกดิ สทิ ธิปองกนั ไดห รอื ไม

®¡Õ Ò·èÕ ùóõ/òõðñ ขอเท็จจริงปรากฏวา นายตรวจสรรพสามิตกับพลตาํ รวจไป
ตรวจจับเหลาเถ่ือนในบานของจาํ เลยโดยไมมีหมายคน เพราะฉะนั้นเราจะเห็นไดวาบานของจาํ เลย
เปนท่ีรโหฐาน เมื่อจะเขาไปคนก็ตองมีหมายคนเพราะไมใชเปนการกระทําความผิดซ่ึงหนา ซึ่งจะ
ทําใหเจาพนักงานมีอาํ นาจจับกุมได ปรากฏวาเขาไปจับในบานในเวลากลางคืนโดยไมมีอาํ นาจ
เพราะฉะน้ันผูที่ถูกจับก็มีสิทธิในการท่ีจะปองกันสิทธิของตัวเองไดโดยชอบดวยกฎหมายเพราะถือวา
เจา พนักงานกระทาํ โดยไมมีอํานาจ

®¡Õ Ò·Õè óò/òõñð ผูตายเรียนหนังสืออยูวัดละหาร ซ่ึงจาํ เลยเปนครูอยู ทั้งเปน
เดก็ หญิงและเปนหลานของจาํ เลย มบี านอยูตดิ บา นจาํ เลย จําเลยไดข ึงลวดเสน เดยี ว และเหล็กไวใน
บริเวณบานจาํ เลย และปลอยกระแสไฟฟาใหแลนไปตามลวดนั้น ตามปกติเปนอันตรายนอยเวนแต
คนที่ถูกสายนั้นเปยกน้ํา เมื่อจวนสวางผูตายเขาไปในเขตรั้วบานจาํ เลย แลวถูกสายไฟฟาของ
จาํ เลยถึงแกความตาย ดังนี้ จําเลยยอมมีความผิดฐานฆาคนตายโดยไมเจตนา ท่ีจําเลยอางวาเปน
การปองกันสิทธินั้น ศาลจะตองพิจารณาเสมือนวา ถาจําเลยอยูในที่เกิดเหตุขณะเกิดเหตุจําเลยจะมี
สิทธิทาํ รา ยเพอื่ ปองกนั สิทธิของตนหรือไม ขอเท็จจริงในคดนี ้จี าํ เลยยอมไมม ีสิทธิทาํ รา ยผตู าย จงึ ถือ
ไมไดว าการกระทําของจาํ เลยเปน การปอ งกันสิทธิของตนโดยชอบดว ยกฎหมาย

®¡Õ Ò·èÕ óó/òõñð จําเลยรตู ัววาผตู ายจะเขา มาหาจําเลย จาํ เลยหามและเตรยี มปน ไว
เพื่อยิงผูตาย ผูตายมาเคาะประตูหองนอนเรียกใหเปดประตูจาํ เลยเปดประตู พอผูตายยางเขาไป
จาํ เลยพูดวาไมตองเขามาและยิงทันที ผูตายกับจําเลยเคยไดเสียกันมากอน แมตางแตงงานไปแลว
ก็มาเสมอดั่งน้ี เห็นไดวาผูตายไปหาจาํ เลยตามที่เคยกระทาํ มา แมจาํ เลยจะหามก็ไมทาํ ใหผูตาย
เขาใจวาเปนจริงจังเมื่อผูตายไปหาจาํ เลยก็เคาะประตูเรียกหาใชใชกําลังดึงดันจะเขาไปใหไดไม จะวา

๗๓

เปนการประทุษรายอันผิดกฎหมายหาไดไม หากจาํ เลยไมคิดฆาผูตายแลวเพียงแตไมเปดประตู และ
แสดงความไมยินยอมใหเห็นอยางจริงจัง ผูตายก็คงยังเขาไปทําอันตรายแกจาํ เลยไมได แตจําเลย
กลับเปดประตูหอง ซ่ึงเปนธรรมดาที่ผูตายจะเขาไป พอผูตายเขาไปจําเลยก็ยิงทันที การกระทําของ
จาํ เลยจึงไมเปน การปอ งกัน

ในกรณที ภ่ี ยนั ตรายอนั ละเมดิ กฎหมายนนั้ เปน การกระทาํ ของผอู า งวา กระทาํ การปอ งกนั
โดยถูกบุคคลอื่นกระทําตอผูกอภยันตรายน้ันแลวตนกระทําตอไปเชนน้ีจะอางวาเปนการปองกันสิทธิ
ไดห รือไมแ ยกพจิ ารณาได

๓.๑ การตอ สขู ดั ขวางเจา พนกั งานหรอื ราษฎรผกู ระทาํ การโดยชอบดว ยกฎหมาย
เชน เจาพนักงานหรือราษฎรทําการจับกุมผูกระทําผิดอันละเมิดกฎหมายนั้นโดยชอบดวยกฎหมาย
ผถู กู จบั กมุ จะตอ สขู ดั ขวางอา งวา กระทาํ โดยปอ งกนั ไมไ ด เพราะไมม สี ทิ ธทิ จ่ี ะทาํ การปอ งกนั โดยตนเปน
ผูกอภัยขึ้นเจาพนักงานหรือราษฎรท่ีทําการจับกุมโดยชอบตางหาก เปนผูมีสิทธิท่ีจะใชความปองกัน
ทั้งหลายเทาท่ีเหมาะแกพฤติการณแหงเรื่องในการจับผูนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญามาตรา ๘๓ ฉะน้ัน ในกรณีที่เจาพนักงานหรือราษฎรจับกุมผูกระทําผิดโดยชอบดวย
กฎหมายแลว แมจะถูกกระทําจากเจาพนักงานหรือราษฎรผูจับกุมทํารายเอาเพ่ือการจับกุม ในกรณี
ที่ผูถูกจับขัดขวางหรือจะขวางการจับ หรือจะหลบหนีก็จะทํารายตอบอางวาปองกันไมได แตถาเปน
กรณีท่ีเจาพนักงานหรือราษฎรกระทําการจับกุมโดยไมชอบดวยกฎหมาย ผูจะถูกจับมีสิทธิปองกันได
เพราะถอื เปน การละเมิดกฎหมาย

®Õ¡Ò·èÕ öøù/òõñö (ประชุมใหญ) ขอเท็จจริงปรากฏวาผูเสียหายกับพวกเปน
เจาหนาที่ตํารวจเขาไปจับกุมจําเลยกับพวกซ่ึงเลนการพนันอยูบนบานซึ่งเปนความผิดซ่ึงหนา
จําเลยกับพวกก็แตกฮือออกมาหลบหนีคนละทิศคนละทาง จําเลยก็มาเผชิญหนากับผูเสียหาย
ผูเสียหายเขาไปจับจําเลย จําเลยก็สะบัดหลุด ผูเสียหายใชปนสั้นตีศีรษะแตกเลือดไหล นอกจากน้ัน
ก็มีเจาหนาท่ีตํารวจอื่นก็กรูเขามาเพราะเห็นมีการลงไมลงมืออยางนั้น จําเลยกลัวจะถูกทํารายอีก
กเ็ ลยใชม ดี ปลายแหลมขนาดเลก็ แทงผเู สยี หายซง่ึ เปน เจา หนา ทต่ี ํารวจคนทใี่ ชอ าวธุ ปน ตศี รี ษะจาํ เลยแตก
แทงไป ๒ ที ผูเสียหายไดรับบาดเจ็บ จาํ เลยถูกดําเนินคดีขอหาตอสูขัดขวางการจับกุมของ
เจาพนักงานโดยใชอาวธุ ศาลฎกี าวนิ ิจฉยั วา ในขณะทผ่ี ูเ สยี หายกบั พวกเขาไปจับกุมจาํ เลยกับพวกน้นั
แมวาผูเสียหายจะมีอํานาจจับได แตก็ตองใชวิธีการจับตามท่ีบัญญัติไวในประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๓ วรรคสอง คือ ถาบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวาง
การจบั กุมหรือหลบหนี หรอื พยายามจะหลบหนี ผูทาํ การจบั มีอาํ นาจใชวิธหี รอื ความปองกนั ทง้ั หลาย
เทาท่ีเหมาะแกพฤติการณแหงเรื่องในการจับกุมนั้น หมายความวาถาหากผูถูกจับขัดขวางหรือ
จะขัดขวางการจับหรอื หลบหนี หรือพยายามจะหลบหนี ผูทีท่ ําการจับน้นั ก็มอี ํานาจในการท่ีจะใชว ิธี
หรอื ความปองกนั ทงั้ หลายเทา ท่ีเหมาะแกพ ฤติการณ ฉะนนั้ ในกรณนี ศ้ี าลฎีกาวินจิ ฉยั วา แมผเู สยี หาย
จะมอี าํ นาจ แตก ารใชว ธิ จี บั กมุ ดงั กลา วนน้ั เปน การใชว ธิ กี ารจบั ทรี่ นุ แรงเกนิ ความเหมาะสมแกพ ฤตกิ ารณ

๗๔

การจบั จาํ เลยกบั พวกของผเู สยี หายจงึ ถอื วา ไมช อบดว ยกฎหมายเพราะใชว ธิ รี นุ แรงเกนิ กวา ทก่ี ฎหมาย
ใหอํานาจไว ฉะนั้นจําเลยชอบท่ีจะปองกันสิทธิของจําเลยใหพนจากภยันตรายอันเกิดจากการจับ
โดยใชวิธีการประทุษรายอันละเมิดตอกฎหมายน้ีได การท่ีจําเลยใชมีดปลายแหลมขนาดเล็ก
แทงไปเพยี ง ๒ ครง้ั กถ็ ือวา พอสมควรแกเ หตุ เปนการปอ งกนั โดยชอบดว ยกฎหมาย

๓.๒ ถาผูนั้นไดกระทําความผิดจนเปนเหตุใหผูอ่ืนกอภัยข้ึนแลว แมภัยน้ัน
จะเปนการละเมดิ กฎหมาย ผูกระทําความผดิ ท่ีเปน เหตใุ หผ ูอน่ื กอ ภยั ข้ึน จะอา งวา กระทําการปอ งกัน
ไมได

ในกรณีท่ีผูกอภัยข้ึนกอน กับผูกระทําตอบที่ผูกอภัยจะอางปองกันไมได
ถาภัยนั้นเพียงเล็กนอย การกระทําตอบเปนการเกินสมควรท่ีไมคาดคิดวาจะกระทําถึงเพียงนั้นแลว
ผูทก่ี อภัยครัง้ แรกอาจปอ งกนั ได เชน ก. เอาอิฐขวา งปาเรอื น ข. แลว วิง่ หนไี ป ข. ถอื หอกวง่ิ ไลทาํ ราย
ก. แต ก. ตี ข. ตาย ดงั น้ี วินจิ ฉัยวา ก. ไดวง่ิ หนจี ากหนาเรือน ข. ไปแลว ข. ไมม ีเหตุอันใดทสี่ มควร
จะถอื หอกว่ิงทําราย ก. ตอไป การกระทํา ก. จึงเปน การปอ งกันโดยชอบดว ยกฎหมาย

๓.๓ ในกรณีตางฝายตางสมัครใจวิวาทตอสูกัน แมภัยที่แตละฝายสมัครเขาตอสู
กันน้ันจะเปนการละเมดิ กฎหมาย ฝา ยใดจะอางวากระทาํ เพือ่ ปองกนั ตนไมไ ด เพราะไมม ีกฎหมาย
ใหอํานาจกระทําได จึงไมมีสิทธิปองกันภัยการวิวาทตอสูกันน้ัน หมายความวาทั้งสองฝายสมัครใจ
เขาตอสูกันโดยที่การทา และรับคําทาแลวเขาตอสูกัน ในกรณีเชนนี้ใครจะเปนฝายลงมือกอนกัน
หรอื ไม ไมสาํ คัญตางกป็ อ งกนั ไมได

แตในกรณีท่ีอีกฝายหน่ึงทาอีกฝายหน่ึงตอบวา เอาก็เอา แตไมไดทํา
อะไรหรือในตอนตน วิวาทตอสูกันแลวแยกกันไป ตอมาจึงมีการกระทํากันขึ้นอีก เชนน้ีอาจอาง
การปอ งกันสิทธไิ ด

หลักที่วาผูกระทําการปองกันไมจําเปนตองหลบหนี เฉพาะที่หลบหนี
ไมทนั หรอื แมจ ะหลบหนที ันกไ็ มพนอันตรายนัน้ จึงไมตอ งหลบหนี และใชสทิ ธปิ อ งกันไดตามสมควร
แกเ หตุ แตถ า หลบหนไี ดท นั หรอื พอจะหลบหนใี หพ น ภยั ได แตไ มห ลบหนกี ลบั กระทาํ ตอ ผนู นั้ เชน นกี้ รณี
อาจถอื วาภยั ยงั ไมใ กลจ ะถึงไมก อ ใหเ กดิ สิทธปิ อ งกนั อีกอยางอาจถือเปนการสมคั รใจตอ สวู ิวาทกัน
อางสิทธิปองกันไมไ ด

๔. ตามทไี่ ดก ลา วมาในขอ ๒ เมอื่ มผี กู อ ภยนั ตรายทลี่ ะเมดิ ตอ กฎหมายและภยนั ตราย
นั้นใกลจะถึงผูตองประสบกับภัยนั้นยอมมีสิทธิปองกันไดตลอดไปที่ภัยน้ันยังมีอยูจนกวาภัยน้ัน
จะสนิ้ สดุ แตท กี่ ลา วมาเปน ภยั เกยี่ วกบั ชวี ติ และรา งกาย ตอ ไปจะไดพ จิ ารณาภยั ทเี่ กดิ เกย่ี วกบั ทรพั ยส นิ
เกียรติยศและช่ือเสียง เชน ในกรณีลักทรัพย แมการลักทรัพยจะสําเร็จต้ังแตทรัพยเคล่ือนที่แตภัยใน
การลกั ทรพั ยห าสนิ้ สดุ ไม ภยั ยงั มอี ยตู ลอดทที่ รพั ยน น้ั ยงั อยใู นมอื คนรา ย เจา ทรพั ยย อ มมสี ทิ ธปิ อ งกนั
ไดตามสมควรแกเหตุ ตลอดเวลาทีค่ นรา ยกําลงั พาทรัพยห นีไป

ตามหลกั ที่กลา วในขอ ๔ เหน็ ไดวา การท่จี ะเกิดสิทธิปองกันได ภยั นนั้ ยังไมส ิน้ สุด
ถากระทําในขณะภัยส้ินสุดสิทธิปองกันก็ยอมส้ินสุดดวย เชน ในการลักทรัพยผูรายไดทิ้งทรัพย

๗๕

และวิ่งหนีเจาทรัพยหรือพวกของเจาทรัพยท่ีติดตามก็ไมมีเหตุอันใดที่จะปองกันทรัพยนั้นอีกได
หากไปทํารายหรือฆาผูรายตาย จะอางปองกันทรัพยไมได เกี่ยวกับการปองกันชีวิตและรางกาย
ก็เชน เดียวกันตองปรากฏวา ภัยน้ันยังไมสน้ิ สดุ ถาภยั สิน้ สุดลง การปอ งกันกไ็ มมี เชน การทาํ รา ยกนั
เมื่ออีกฝายหน่ึงแยงอาวุธไปจากอีกฝายหนึ่งหรืออาวุธหลุดมือไป ไมมีอาการท่ีจะกลับมาทํารายได
อีกฝา ยหนงึ่ จงึ ทาํ รา ยเอาในโอกาสน้ี จะอา งปองกันไมได แตถาเปนกรณที ่อี าวุธหลดุ มือจากผทู ํารา ยแลว
แตม โี อกาสทจ่ี ะหยบิ เอามาได หรอื แยง อาวธุ มาได ถา มโี อกาสทจี่ ะแยง เอามาทาํ รา ยไดห รอื แสดงกริ ยิ า
อาการจะทาํ รา ยอยู ในกรณีเชน นถ้ี ือวาภัยยังไมสิน้ สดุ ใชสิทธปิ อ งกนั ได

๕. การกระทาํ เพอ่ื ปอ งกันสิทธิของตนจะไมม ีความผิด ตอ งเปน การกระทาํ พอสมควร
แกเ หตุ แตถ า เกนิ กวา เหตอุ าจไดร บั โทษตามมาตรา ๖๙ การกระทาํ พอสมควรแกเ หตนุ ี้ เปน ขอ เทจ็ จรงิ
เปนอํานาจหนาที่ของศาล วินิจฉัยจากพฤติการณและพยานหลักฐาน คือ เอาภัยที่ใกลจะถึงน้ัน
มาเปรียบเทียบกับผลท่ีผูจะไดรับภัยน้ันกระทําลงไปวาเหมาะสมกันหรือไม เชน ปนกับปนหรือปน
กับมีด หรือดาบที่รายแรง ผูที่จะไดรับภัยอาจใชปนยิง แมจะถึงตายก็ถือวาปองกันพอสมควรแกเหตุ
มดี ตอมีดหรอื ไมก็ถอื วาเปนการปอ งกันพอสมควรแกเ หตุ

การปองกันพอสมควรแกเหตุนี้ นอกจากจะไมมีความผิดทางอาญาแลว ในทางแพง
ก็ไดรับผลโดยไมตองชดใชคาเสียหายดวย เพราะไดรับนิรโทษกรรมตามประมวลกฎหมายแพงและ
พาณิชย มาตรา ๔๔๙-๔๕๐

®¡Õ Ò·Õè ÷ñóõ/òõô÷ (») เหตุคดีน้ีเกิดเพราะจาํ เลยเปนผูกอเหตุข้ึนกอน และ
เปน การสมคั รใจทะเลาะววิ าททาํ รา ยรา งกายซงึ่ กนั และกนั มใิ ชเ ปน ภยนั ตรายซงึ่ เกดิ จากการประทษุ รา ย
อันละเมดิ ตอ กฎหมาย จําเลยจะอา งวา การกระทําเปนการปอ งกันโดยชอบดวยกฎหมายไมไ ด

®¡Õ Ò·Õè ñòõö/òõóó ผเู สยี หายไปพบจาํ เลยและพดู ตอ วา เรอื่ งโคของจาํ เลยกนิ ตน ยาง
ของผูเสียหายใหจําเลยใชเงิน จําเลยไมให เกิดโตเถียงกัน ผูเสียหายวาไมใหจะเอาตายและชักมีด
ปลายแหลมเดินเขาหาจําเลยในระยะประมาณ ๓ วา เพื่อจะแทงจําเลย จําเลยพิการขาขวาดวน
น่ังอยูบนแครจะขยับตัวหนียอมไมทัน ในภาวะเชนน้ีนับวาเปนภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษราย
อนั ละเมดิ ตอ กฎหมายและเปน ภยนั ตรายทใี่ กลจ ะถงึ จาํ เลยยงิ ผเู สยี หาย ๑ นดั กระสนุ ปน ถกู ผเู สยี หาย
บริเวณไหลซ าย ดังนีจ้ าํ เลยกระทําพอสมควรแกเหตจุ งึ เปนการปอ งกันโดยชอบดวยกฎหมาย

®Õ¡Ò·Õè óùõõ/òõô÷ การที่จําเลยใชอาวุธปนยิงผูตายเนื่องจากผูตายกับ น. ภริยา
จําเลยอยูดวยกันภายในหองนอนตามลําพังสองตอสอง และจําเลยพบเห็นเหตุการณโดยไมคาดคิด
มากอ น จาํ เลยเกดิ ความโมโหหรอื มอี ารมณโ กรธ จงึ ยงิ ไปในขณะนนั้ ทนั ทที พี่ บเหน็ การกระทาํ ของจาํ เลย
จึงไมเปนการปองกันโดยชอบดวยกฎหมายตาม ป.อ.มาตรา ๖๘ แตเปนการกระทําโดยเหตุบันดาล
โทสะตาม ป.อ.มาตรา ๗๒

®¡Õ Ò·èÕ öôùð/òõôø แมขณะเกิดเหตุผูตายจะเขาไปในบริเวณบอปลากัดของจําเลย
เพ่ือลักปลากัด ซ่ึงถาจําเลยพบเห็นเขาจําเลยยอมมีสิทธิทํารายผูตายท่ีพอสมควรแกเหตุเพ่ือปองกัน

๗๖

ทรัพยสินของจําเลยได แตกระแสไฟฟาท่ีจําเลยปลอยผานเสนลวดที่ลอมรอบบอปลากัดยอมเปน
อันตรายรายแรงโดยสภาพซ่ึงสามารถทําใหผูอื่นถึงแกความตายได สวนทรัพยสินของจําเลย
เปนเพียงปลากัดมูลคาไมมาก การปลอยกระแสไฟฟาเขาเสนลวดกับการปองกันทรัพยสินของจําเลย
ยอมไมเปนสัดสวนกัน การกระทําของจําเลยจึงเปนการปองกันสิทธิของตนที่เกินสมควรกวาเหตุตาม
ป.อ.มาตรา ๖๙ จําเลยจึงมีความผิดฐานมิไดมีเจตนาฆาแตทํารายผูตายจนเปนเหตุใหผูตายถึงแก
ความตายตาม ป.อ. มาตรา ๒๙๐ วรรคแรก ประกอบมาตรา ๖๙

®¡Õ Ò·Õè ôôð/òõõõ โจทกรวมและจําเลยตางสมัครใจวิวาทตอสูกันแมฝายใดจะใช
อาวุธปนยิงกอนก็ไมใชเรื่องสําคัญ เพราะเมื่อสมัครใจวิวาทกันแลวอีกฝายจะอางวาตนใชอาวุธปนยิง
อีกฝายหน่ึงเพ่ือปองกันสิทธิไมได จําเลยจึงไมอาจอางไดวาการกระทําของจําเลยเปนการปองกัน
โดยชอบดวยกฎหมาย

®Õ¡Ò·Õè òõóù/òõõõ จาํ เลยมิไดอยูในกลุมวัยรุนท่ีมีเรื่องบาดหมางกับกลุมผูตาย
การทจี่ าํ เลยเมาสรุ าสง เสยี งเอะอะโวยวายเปน เหตใุ หผ ตู ายไมพ อใจ จงึ มใิ ชเ รอ่ื งทจ่ี าํ เลยเปน ฝา ยกอ เหตุ
ขน้ึ กอ นหรอื จาํ เลยมเี จตนาทจ่ี ะหาเรอ่ื งทะเลาะววิ าทกบั กลมุ ของผตู าย ถอื ไมไ ดว า จาํ เลยสมคั รใจทะเลาะ
ววิ าทกบั ผตู าย การทผ่ี ตู ายเดนิ ไปตบหนา จาํ เลย และพวกของผตู ายอกี ๕ คน บางคนมอี าวธุ ตดิ ตวั ไปดว ย
ไดแก ไมสนุกเกอร ไมกวาด ไมหนาสาม และมีดอีโตเขาไปรุมทาํ รายจาํ เลย จําเลยจึงใชเหล็ก
คลายมีดแทงผูตายและผูเสียหาย จึงเปนการกระทําเพ่ือปองกันสิทธิของตนที่เกิดจากการประทุษราย
อันละเมิดตอกฎหมาย เปนภยันตรายท่ีใกลจะถึง และเมื่อเปรียบเทียบอาวุธที่ใชแลวถือวาพอสมควร
แกเหตุ การกระทาํ ของจําเลยจึงเปนการปองกันโดยชอบดวยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๖๘ จําเลยจึงไมม ีความผดิ ฐานฆา ผูต ายและทํารา ยผเู สยี หายเปนเหตใุ หไดรับอนั ตรายแกกาย

®¡Õ Ò·Õè ùò÷ö/òõõõ ผตู ายเปน ผกู อ เหตแุ ละวงิ่ ไลท าํ รา ย ร. จากโรงลเิ กจนไปถงึ ทเี่ กดิ เหตุ
แลวใชมีดฟนแขน ร. ไดรับบาดเจ็บและเตะ ถีบ ร. จนลมลงแลวใชอาวุธปนจอ ร. พรอมจะยิงและ
พูดวามึงตาย อันเปนการหมายเอาชีวิต ร. นับเปนภยันตรายซ่ึงเกิดจากการประทุษรายอันละเมิด
ตอกฎหมายและเปนภยันตรายใกลจะถึง จําเลยไดหามปรามแลวแตผูตายไมเช่ือฟง การท่ีจําเลยใช
อาวุธปนยิงผูตายในทันทีทันใดจึงเปนการยับย้ังการกระทําของผูตาย และปองกันชีวิต ร. ท้ังจําเลย
ยิงปนเพียงนดั เดียว ถือไดวาจําเลยกระทําพอสมควรแกเ หตุ การกระทําของจาํ เลยจงึ เปน การปอ งกนั
โดยชอบดว ยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘ จาํ เลยจงึ ไมม คี วามผิดฐานฆาผูอนื่

®¡Õ Ò·Õè ñ÷õøô/òõõõ กอ นเกดิ เหตจุ าํ เลยเปน ฝา ยเรมิ่ ตน ดา วา ผตู ายกอ น ทงั้ ขณะนน้ั
จ. และผูตายกําลังขุดดินเพ่ือวางทอประปาไมอยูในวิสัยของผูท่ีคิดจะหาเร่ืองทํารายจําเลยมากอน
จึงไมมีเหตุผลท่ีผูตายจะเขาไปล็อกคอจําเลยและลากเขาไปทํารายในเขตที่ดินของ จ. เมื่อเหตุเกิด
ในบริเวณเขตทีด่ นิ ของ จ. แสดงถึงพฤตกิ ารณข องจําเลยที่มงุ ประสงคจะเขา ไปทะเลาะวิวาทกับผูตาย
แมก อ นเกดิ เหตจุ าํ เลยและผตู ายทะเลาะววิ าททาํ รา ยรา งกายกนั โดยจาํ เลยอา งวา จ. รว มทะเลาะววิ าท
ดว ย กห็ าไดท าํ ใหพ ฤตกิ ารณส มคั รใจทะเลาะววิ าทของจาํ เลยเปลย่ี นแปลงไปเปน ผถู กู ทาํ รา ยฝา ยเดยี วไม

๗๗

ผูตายรูปรางใหญก วา จําเลยและอายุนอยกวา จาํ เลย หากผูต ายแยง อาวธุ ปน มาจากจําเลยไดยอ มยาก
ทจ่ี าํ เลยจะแยง กลบั ไปได เมอื่ โจทกร ว มที่ ๑ เขา ไปหา มและดงึ ผตู ายออกมาหา งตวั จาํ เลย จงึ เปน โอกาส
ใหจาํ เลยชักอาวธุ ปน ออกมายงิ ผูตาย ๒ นดั ในขณะที่จาํ เลยถอยหลังไปประมาณ ๒ เมตร แลวหนั
มายงิ โจทกร ว มท่ี ๑ อกี ๑ นัด ซงึ่ หากยังอยูในเหตุการณกอดปลํ้าทาํ รายกนั ระหวา งจาํ เลยกับผูต าย
ยอ มไมม โี อกาสทจ่ี าํ เลยจะยงิ ไดถ นดั เชน น้ี แสดงใหเ หน็ วา ไมม ภี ยนั ตรายใดทใ่ี กลจ ะถงึ อนั จะทาํ ใหจ าํ เลย
อา งเหตปุ องกนั ได การกระทาํ ของจาํ เลยจงึ ไมใชเ ปน การปองกันโดยชอบดวยกฎหมาย

ÊÃ»Ø ¢ÍŒ áμ¡μÒ‹ §ÃÐËÇÒ‹ §¡Òû͇ §¡¹Ñ â´ÂªÍº´ÇŒ ¡®ËÁÒ (ÁÒμÃÒ öø) ¡ºÑ ¤ÇÒÁจํา໹š
(ÁÒμÃÒ ö÷)

การปองกัน ¤ÇÒÁจาํ ໹š

๑. ปกติประกอบดวยบุคคล ๒ ฝาย คือผูกอใหเกิด ๑. ปกติประกอบดวยบุคคล ๓ ฝาย คือผูกอใหเกิด
ภยนั ตราย กบั ฝายทก่ี ระทําการปอ งกนั ภยันตราย, ฝายท่ีกระทําโดยความจําเปน
และฝา ยที่ไดร ับผลรายจากการกระทํา
๒. ภยันตรายที่เกิดข้ึน ตองเปนภยันตรายซึ่งเกิดจาก ๒. ภยนั ตรายนน้ั อาจเกิดจากภยั ธรรมชาต,ิ สัตว
การประทุษราย อันละเมิดตอกฎหมาย และบุคคล หรือบุคคลก็ได ภยันตรายนั้นไมจําตองเกิด
เปนผกู อ ใหเกิดขน้ึ ไมวาโดยเจตนา หรือประมาท จากการประทุษรายอันละเมดิ ตอกฎหมาย
๓. ผูกระทําไมจําตองหลีกเล่ียงภยันตรายท่ีเกิดขึ้น ๓. กฎหมายใหกระทําโดยความจําเปนเฉพาะกรณี
ผกู ระทําอาจตอ สเู พอื่ ปอ งกนั ตัวได ที่ไมส ามารถหลีกเลีย่ งหรือขดั ขนื ได
๔. ผูกระทําโดยการปองกัน กฎหมายบญั ญัติวา “ไมมี ๔. ผูกระทําโดยความจําเปน กฎหมายบัญญัติวา
ความผดิ ” “ไมตองรับโทษ” ซ่ึงหมายความวาผกู ระทาํ ยงั มี
ความผดิ อยู แตไ มต องรบั โทษ”

¡ÒáÃÐทาํ ¤ÇÒÁ¼Ô´´ŒÇ¤ÇÒÁจาํ ໚¹ ËÃÍ× ¡Òû͇ §¡¹Ñ à¡Ô¹ÊÁ¤ÇÃá¡‹àËμØ

ÁÒμÃÒ öù ในกรณีที่บัญญัติไวในมาตรา ๖๗ และมาตรา ๖๘ น้ัน ถาผูกระทําได
กระทําไปเกินสมควรแกเหตุ หรือเกินกวากรณีแหงความจําเปน หรือเกินกวากรณีแหงการจําตอง
กระทําเพ่ือปองกัน ศาลจะลงโทษนอยกวาที่กฎหมายกําหนดไวสําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได
แตถ า การกระทํานน้ั เกิดข้นึ จากความต่ืนเตน ความตกใจ หรือความกลวั ศาลจะไมล งโทษผูก ระทาํ กไ็ ด

คาํ ͸ԺÒÂ
ÊÃØ»ËÅѡࡳ±ส าํ ¤ÑÞ
ñ. ¡Ã³àÕ ¡¹Ô ÊÁ¤ÇÃá¡à‹ Ëμ¹Ø éÕ ÁàÕ ©¾ÒÐจาํ ໹š (ÁÒμÃÒ ö÷) ¡ºÑ »Í‡ §¡¹Ñ (ÁÒμÃÒ öø)
à·Ò‹ ¹é¹Ñ äÁÁ‹ ºÕ ѹ´ÒÅâ·ÊÐà¡Ô¹ÊÁ¤ÇÃá¡‹àËμØ (ÁÒμÃÒ ÷ò)
ò. ¡Ã³¨Õ Ð໚¹à¡¹Ô ÊÁ¤ÇÃá¡‹àËμعÕé จะตองเขา หลกั เกณฑจําเปน (มาตรา ๖๗) หรือ
ปองกัน (มาตรา ๖๘) เสียกอน ถาไมเขาหลักจาํ เปนหรือปองกันแลวจะเปนเกินสมควรแกเหตุมิได
(โปรดระวงั ใหม าก)

๗๘

เชน มานพจะยิงวิทยากอน วิทยาจึงยิงมานพลมลงไมสามารถจะยิงวิทยาตอไป
ไดอีก ถือวาวิทยายับย้ังภยันตรายไดแลว แตวิทยากลับยิงมานพซํ้าอีก ถือไดวาเกินสมควรแกเหตุ
(คาํ พพิ ากษาฎีกาที่ ๑๐๘๒/๒๕๑๑)

แตถาเปล่ียนขอเท็จจริงใหม มานพยิงวิทยาลมลงแลว มานพคิดวา วิทยาตาย
จงึ ว่ิงหนแี ตวิทยายงั ไมต ายลกุ ขึน้ มายิงมานพในขณะทม่ี านพวงิ่ หนไี ป ถกู มานพถงึ แกค วามตาย เชน นี้
วทิ ยาอา งปอ งกนั ไมไ ด เพราะภยนั ตรายผา นพน ไปแลว เมอื่ อา งปอ งกนั ไมไ ดแ ลว ไมจ ําตอ งพจิ ารณาวา
เกินสมควรแกเหตุหรือไม เพราะอางไมไดอยูแลว แตอยางไรก็ตามกรณีนี้ถือไดวาวิทยาถูกมานพ
ขมเหงอยางรายแรงดวยเหตอุ ันไมเปนธรรม ดงั นีว้ ิทยาอา งบันดาลโทสะตามมาตรา ๗๒ ได

ó. คํา͸ºÔ ÒÂàºéÍ× §μ¹Œ
ó.ñ ¶ŒÒÁ×Íà»Å‹Ò¡ÑºÍÒÇظÌÒÂáç ถือวาเกินสมควรแกเหตุไวกอน (ฎีกา

ท่ี ๒๑๘๐/๒๕๓๒) แตถาขอเท็จจริงฟงไดวา ชายรางใหญ ๓ คน จะเขามาขมขืนกระทาํ ชําเราหญิง
ตัวเลก็ ๆ คนเดียว เชน นห้ี ญงิ ยงิ ได อา งปอ งกัน (ดพู ฤติการณอ ื่นๆ ประกอบ)

ó.ò ªÕÇÔμ¡Ñº·ÃѾ ถือวาเกินสมควรแกเหตุ เชน มีคนมาลักทรัพยเล็กนอย
เรายิงเขาตายเชนนเี้ กินสมควรแกเ หตุ แตถา ขอ เท็จจริงเปลยี่ นไปวา พวกโจรจะมาปลน ทรพั ย เราเลยยงิ
โจรตาย เชน นพ้ี อสมควรแกเ หตุ เพราะมใิ ชล กั ทรพั ยธ รรมดา แตม กี ารใชก าํ ลงั ประทษุ รา ย หรอื ขเู ขญ็ วา ใน
ทันใดนั้นจะใชกาํ ลงั ประทษุ รา ยดวย (คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๖๑/๒๕๑๑)

ó.ó ¡Ã³ÂÕ §Ô ËÅÒ¹´Ñ ถอื วา เกนิ สมควรแกเ หตุ แตถ า ยงั ไมส ามารถยบั ยงั้ ภยนั ตราย
ไดกย็ งิ ตอไปอีกไดจ นกวา จะยบั ยง้ั ภยันตรายได เชน

ยงิ ๔ นดั ลม ลงแลว แตม อื ยงั ไมป ลอ ยดาบ จงึ ยงิ ซํา้ อกี ๑ นดั ถอื วา พอสมควร
แกเ หตุ (ถูกยิง ๔ นดั แลว มอื ยังไมปลอยดาบอกี ก็...สมควรตาย)

ó.ô ¾ÍÊÁ¤ÇÃá¡à‹ ËμØ หมายถึง ทาํ เทาท่จี ะยบั ยั้งภยันตรายได
ó.õ ¶ŒÒÊѴʋǹ෋ҡѹ จะถือวาพอสมควรแกเหตุสําหรับปองกัน แตจะเปน
เกนิ สมควรแกเ หตสุ ําหรับจาํ เปน เพราะจาํ เปน น้กี ระทาํ ตอผูเ สยี หายซงึ่ ไมมีสว นละเมิดดวยเลย
®Õ¡Ò·Õè òöñ/òõññ เจาของบานทราบวาจะมีคนรายมาปลน จึงใหจาํ เลยนอนเฝา
ใตถ ุนเรอื นเวลา ๕ นากิ ายังมืดอยู ผูตายกับพวกพากระบือไปที่บานนั้น สุนัขเหา มีคนรองวา ขโมย
จําเลยจงึ ยงิ ปน ไปทผ่ี ตู ายโดยสาํ คญั ผดิ วา เปน คนรา ยจะมาปลน ดงั น้ี การทจี่ าํ เลยยงิ ผตู ายโดยสําคญั ผดิ
วาเปนคนราย เปนการปองกันพอสมควรแกเหตุ (หมายเหตุทรัพยตอชีวิตปกติเกินสมควรแกเหตุ
แตกรณนี ้เี ปนเรอื่ งปลน !)
®Õ¡Ò·èÕ óô÷õ/òõóò จําเลยกับบุตรนั่งรับประทานอาหารเชาอยูในครัวผูเสียหาย
ซ่ึงอยูในภาวะของโรคจิตมีอาการคลุมคล่ังจะทํารายผูอื่นไดบุกรุกเขาไปในบริเวณบานของจําเลย
เรียกบุตรของจําเลยออกมาพูดและกลาวหาวาบุตรของจําเลยลักนํ้ามันของผูเสียหายไปซ่ึงบุตรของ
จําเลยปฏิเสธ ผูเสียหายก็ควักปนส้ันออกมายิงขึ้น ๑ นัด และยังถือปนและมีดบุกรุกข้ึนไปบนบาน

๗๙

ของจําเลยดวยกิริยาอาการขูเข็ญคุกคามจะยิงจําเลยและบุตรของจําเลย ซึ่งในภาวะเชนน้ันจําเลย
ยอมเขาใจวาผูเสียหาย ซึ่งเปนคนวิกลจริตอาจยิงทํารายจําเลย ภริยาและบุตรของจําเลยได
การท่ีจําเลยใชปนยิงผูเสยี หายไป ๖ นดั โดยไมปรากฏวา ผูเ สยี หายลม ลงหรอื หยดุ การคกุ คามเมื่อใด
และผูเสียหายยังสามารถหลบหนีออกไปจากบานของจําเลยไดเชนน้ี ถือไดวาจําเลยไดกระทําไป
เพอ่ื ปองกันตนและเปนการกระทาํ ทพ่ี อสมควรแกเหตุ จําเลยจึงไมผิด
คาํ ¾Ô¾Ò¡ÉÒ®¡Õ Ò·Õè ñùññ/òõô÷

จาํ เลยยิงผูตายเพราะผูตายจะใชมีดแทง จาํ เลยยอมมีสิทธิปองกันตัว แตแมจําเลย
จะไมม หี นา ทต่ี อ งหนกี ารทจี่ ําเลยมอี าวธุ ปน ทรี่ า ยแรงกวา จาํ เลยอาจเลอื กยงิ รา งกายสว นทสี่ ําคญั นอ ย
หรอื เปน อนั ตรายนอ ยเพยี งเพอ่ื ยบั ยง้ั ผตู าย แตจ าํ เลยกลบั ใชอ าวธุ ปน เลง็ ยงิ ไปทใ่ี บหนา จงึ เปน การปอ งกนั
เกินกวา กรณีท่ีจาํ ตอ งกระทําเพอื่ ปองกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๙

¡ÃÐทาํ μÒÁคาํ ÊÑ觢ͧà¨ÒŒ ¾¹Ñ¡§Ò¹

ÁÒμÃÒ ÷ð ผใู ดกระทาํ ตามคาํ สัง่ ของเจาพนกั งาน แมค ําสง่ั นน้ั จะมชิ อบดว ยกฎหมาย
ถาผูกระทํามีหนาที่หรือเช่ือโดยสุจริตวามีหนาที่ตองปฏิบัติตาม ผูน้ันไมตองรับโทษ เวนแตจะรูวา
คาํ สัง่ นั้นเปน คาํ สงั่ ซง่ึ มชิ อบดวยกฎหมาย

ͧ¤» ÃСͺ
๑. กระทาํ ความผิดตามคาํ สง่ั ของเจาพนกั งาน
๒. คาํ สัง่ นั้นมชิ อบดว ยกฎหมาย
๓. ผกู ระทําไมร ูวา คาํ สัง่ น้ันมชิ อบดว ยกฎหมาย
๔. ผูกระทาํ มีหนาท่ีตองปฏิบัติตามหรือไมมีหนาที่ตองปฏิบัติตาม แตเช่ือโดยสุจริตวา
มหี นา ทต่ี อ งปฏิบตั ิตาม
คาํ ͸ºÔ ÒÂ
ñ. ¡ÃÐทํา¤ÇÒÁ¼Ô´μÒÁคาํ Êè§Ñ ¢Í§à¨ÒŒ ¾¹Ñ¡§Ò¹

๑. กฎหมายยกเวนโทษเฉพาะกรณีที่เปนคําสั่งของเจาพนักงาน มิไดยกเวน
ตลอดไปถึงคาํ สงั่ ของผอู ื่น เชน สามี บดิ า มารดา ผปู กครอง หรือนายจาง

๒. คําสงั่ คอื คาํ บงการใหก ระทําหรอื ไมก ระทําอยา งใดอยา งหนง่ึ ซงึ่ ถา ไมก ระทําตาม
ยอมไดชื่อวาขัดขืน มิใชเพียงแตคาํ แนะนําหรือแสดงความเห็นซึ่งจะกระทําตามหรือไมแลวแต
ความพอใจของผกู ระทําไมถ อื เปน การขดั ขนื อยา งไรกต็ ามคําสง่ั นน้ั ไมจ าํ เปน ทเ่ี จา พนกั งานจะตอ งกลา ว
ออกมา โดยใชถ อยคาํ วา “คําส่งั ” ตรงไปตรงมา ตัวอยางเชน หมายจับกถ็ อื วาเปน คาํ สง่ั ใหจ ับนั่นเอง

®Õ¡Ò·Õè öóôô/òõóñ นายอาํ เภอไดขอความรวมมือจากประชาชนใหรวมกัน
พัฒนาบริเวณที่เกิดเหตุ จําเลยที่ ๒ ไดฟนตัดไมของโจทกในบริเวณนั้น โดยรูอยูแลววาเปน

๘๐

ของโจทก ทัง้ จาํ เลยที่ ๒ เคยตัดฟน ไมของโจทกมากอ นจนถูกฟองมาแลว ครง้ั หนง่ึ แสดงวา จาํ เลยท่ี ๒
มีเจตนาทาํ ใหทรัพยของโจทกเสียหาย การที่นายอาํ เภอขอความรวมมือดังกลาว เปนแตเพียง
คําแนะนาํ จาํ เลยท่ี ๒ จะกระทาํ หรอื ไมกระทําตามกไ็ ด มิไดม ีลกั ษณะเปน คาํ สง่ั ตามความหมายของ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๐ อันจะทําใหจ ําเลยที่ ๒ ไมต องรบั โทษ การกระทําของจาํ เลยท่ี ๒
จึงเปนความผดิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๘

ò. คําÊÑ觹ѹé ÁԪͺ´ŒÇ¡®ËÁÒÂ
หากคาํ สัง่ นั้นชอบดว ยกฎหมายแลว กไ็ มใชก รณตี ามมาตรา ๗๐ เชน เจาพนกั งาน

ผมู อี าํ นาจออกหมายจบั ใหแ ดงไปจบั ดํา แมว า ดําจะเปน คนบรสิ ทุ ธไ์ิ มไ ดก ระทาํ ความผดิ ใดๆ เลยกต็ าม
หากการออกหมายน้ันทาํ โดยชอบดวยกฎหมาย การที่แดงไปจับดําก็เปนการกระทําตามคาํ ส่ังที่ชอบ
ดวยกฎหมาย การกระทาํ ของแดงไมเปนความผิดใดๆ กรณีไมเขาตามมาตรา ๗๐ แมวาแดงจะรูวา
ดาํ มิใชผ ูกระทําความผดิ เลยกต็ าม

กรณีตามมาตรา ๗๐ จะตองเปนเรื่องการออกหมายจับที่ไมชอบดวยกฎหมาย
ซงึ่ ทําใหหมายจับน้ันเปน คําสั่งทไี่ มช อบดว ยกฎหมาย หากแดงไปจับดาํ ตามหมายจับ แดงตองอาง
มาตรา ๗๐ เพ่ือยกเวน โทษ

ó. ¼Œ¡Ù ÃÐทําäÁ‹ÃÇÙŒ Ò‹ คําÊÑ§è ¹¹éÑ ÁªÔ ͺ´ŒÇ¡®ËÁÒÂ
หากผูกระทํารูอยูแลววาคาํ สั่งน้ันมิชอบดวยกฎหมายแตยังขืนปฏิบัติตามก็จะอาง

มาตรา ๗๐ เพ่อื ยกเวน โทษมิได
ô. ¼ÙŒ¡ÃÐทาํ ÁËÕ ¹ŒÒ·μÕè ŒÍ§»¯ºÔ ÑμÔμÒÁ
กลาวคอื มหี นา ท่ีตองปฏบิ ตั ติ ามคําส่งั ซงึ่ ถาตนไมปฏบิ ตั ติ ามแลวยอมมคี วามผดิ
¼¡ÙŒ ÃÐทําäÁ‹ÁÕ˹ŒÒ·Õ»è ¯ÔºÑμμÔ ÒÁáμà‹ ªÍ×è â´Â欯 ÃÔμÇÒ‹ ÁËÕ ¹ÒŒ ·μÕè ÍŒ §»¯ºÔ μÑ μÔ ÒÁ
μÇÑ ÍÂÒ‹ §
(ñ) ®¡Õ Ò·Õè ññóõ/òõðø ผบู งั คบั กองตํารวจสงั่ ใหจ ําเลยซงึ่ เปน ตํารวจใตบ งั คบั บญั ชา

ไปจบั กมุ ผูตอ งหาโดยไมไดอ อกหมายจับ จําเลยไปจบั ผูตองหาโดยเขาใจวาคําสั่งนนั้ เปนคําสงั่ ท่ีชอบ
ดวยกฎหมาย เพราะไดถอื เปนหลกั ปฏบิ ัติกนั ตลอดมาวาไปจับได แมการกระทาํ ของจําเลยจะเปน การ
มชิ อบ จาํ เลยทั้งสองก็ไมต องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๐

(ò) ®Õ¡Ò·èÕ ñöðñ/òõðù จาํ เลยเขาใจวาคาํ สั่งของรอยตํารวจเอก ส. ผูทาํ การ
แทนผูกาํ กับที่สั่งใหจําเลยไปจับกุมโจทกนั้นเปนคําสั่งที่ชอบดวยกฎหมาย แมวิทยุส่ังจับมิได
มีขอความแสดงวาไดออกหมายจับแลว กรณีก็ตองดวยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๐ จําเลย
ไมต องรบั โทษ

¡ÒáÃÐทาํ ¤ÇÒÁ¼´Ô ã¹°Ò¹Ð໹š ÞÒμÔËÃ×ÍÊÒÁÕÀÃÃÂÒ
ÁÒμÃÒ ÷ñ ความผิดตามท่ีบัญญัติไวในมาตรา ๓๓๔ ถึงมาตรา ๓๓๖ วรรคแรก
และมาตรา ๓๔๑ ถงึ มาตรา ๓๖๔ นน้ั ถา เปน การกระทําทส่ี ามกี ระทาํ ตอ ภรยิ า หรอื ภรยิ ากระทําตอ สามี
ผกู ระทําไมตอ งรบั โทษ

๘๑

ความผิดดังระบุมาน้ี ถาเปนการกระทําท่ีผูบุพการีกระทําตอผูสืบสันดาน ผูสืบสันดาน
กระทาํ ตอผูบุพการี หรือพ่ีหรือนองรวมบิดามารดาเดียวกันกระทําตอกัน แมกฎหมายมิไดบัญญัติให
เปน ความผดิ อนั ยอมความได กใ็ หเปน ความผดิ อันยอมความได และนอกจากศาลจะลงโทษนอ ยกวา
ทีก่ ฎหมายกาํ หนดไวสาํ หรบั ความผิดนน้ั เพยี งใดกไ็ ด

¤ÇÒÁ໹š ÞÒμáÔ ÅÐÊÒÁÕÀÃÃÂÒ

ÁÒμÃÒ ÷ñ ÇÃäáá ความผิดตามที่บัญญัติไวในมาตรา ๓๓๔ ถึงมาตรา ๓๓๖
วรรคแรก และมาตรา ๓๔๑ ถึงมาตรา ๓๖๔ นนั้ ถาเปนการกระทําที่สามกี ระทาํ ตอ ภริยา หรอื ภริยา
กระทําตอสามี ผกู ระทําไมตองรับโทษ

คํา͸ԺÒÂ
ประเภทของความผดิ ท่สี ามีภรยิ ากระทําตอกันแลว ไมตองรบั โทษ ไดแก
๑. ความผดิ ตามทีบ่ ัญญตั ไิ วใ นมาตรา ๓๓๔-๓๓๖ วรรคแรก

๑.๑ มาตรา ๓๓๔ ลกั ทรัพย
๑.๒ มาตรา ๓๓๕ ลักทรพั ยใ นเหตุอกุ ฉกรรจ
๑.๓ มาตรา ๓๓๖ วรรคแรกว่งิ ราวทรัพย
๒. ความผดิ ตามที่บญั ญตั ิไวในมาตรา ๓๔๑-๓๖๔
๒.๑ มาตรา ๓๔๑-๓๔๘ ฉอ โกง
๒.๒ มาตรา ๓๔๙-๓๕๑ โกงเจาหนี้
๒.๓ มาตรา ๓๕๒-๓๕๖ ยกั ยอก
๒.๔ มาตรา ๓๕๗ รับของโจร
๒.๕ มาตรา ๓๕๘-๓๖๑ ทาํ ใหเสียทรัพย
๒.๖ มาตรา ๓๖๒-๓๖๔ บกุ รุกท่ีมใิ ชเหตฉุ กรรจ
ËÁÒÂàËμØ ไมรวมถึงบุกรุกตามมาตรา ๓๖๕ คือ บุกรุกโดยใชกาํ ลังประทุษรายหรือ
ขูเข็ญวาจะใชกําลังประทุษราย โดยมีอาวุธหรือรวมกระทําผิด ต้ังแตสองคนขึ้นไป หรือไดกระทํา
ในเวลากลางคนื เหลา นแ้ี ลว สามีภรรยาทก่ี ระทาํ ตอ กนั ได ไมไดรับการยกเวน โทษ
กรณีไมตองรับโทษตามมาตรา ๗๑ วรรคแรกนี้ จะตองครบองคประกอบเปนความผิด
โดยสมบรู ณแ ลว การกระทําจะตอ งประกอบ ตอ งมีเจตนาหรอื เจตนาทุจริต ถาขาดเจตนาหรอื เจตนา
ทจุ รติ หรอื กระทาํ โดยสาํ คญั ผดิ วา ตนมอี าํ นาจกระทาํ ได การกระทาํ นน้ั กไ็ มเ ปน ความผดิ ไมต อ งพจิ ารณา
เรอ่ื งการไมต องรบั โทษตามมาตรา ๗๑
คําวา “สามีภริยา” ตามมาตรา ๗๑ นี้ ตองเปนสามีภริยาโดยชอบดวยกฎหมาย
ซ่ึงสามีภริยาโดยชอบดวยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยบรรพ ๕ จะตอง
จดทะเบียนสมรสกันโดยถูกตองตามกฎหมาย จึงจะเปนสามีภริยาท่ีถูกตอง ถาไมจดทะเบียนถือวา
เปนสามภี ริยาตามความเปนจริงแตไ มช อบดว ยกฎหมาย

๘๒

ถาเปนสามีภริยาท่ีชอบดวยกฎหมายกระทําตอกันในความผิดท่ีระบุในมาตรา ๗๑
ไดรับผลโดยไมตองรับโทษในความผิดน้ัน แตถือวาการกระทํานั้นเปนความผิดอยู และไดรับการ
ยกเวนโดยไมตองรับโทษนี้เปนเร่ืองเหตุสวนตัวของสามีภริยา ฉะน้ัน ในกรณีท่ีมีบุคคลอื่นรวมในการ
กระทาํ ผูนั้นจึงอาจมคี วามผดิ ฐานเปนตัวการหรือผสู นบั สนุน หรือรบั ของโจรตามทผ่ี อู ่ืนกระทําลงไป

ÁÒμÃÒ ÷ñ น้ี จะตอ งเปนความผิดเฉพาะทีส่ ามภี รยิ ากระทาํ ตอ กัน คือ ฝายหน่งึ เปน
ผูกระทําอีกฝายหน่ึงเปนผูเสียหาย ถาเปนการกระทําตอผูอ่ืนซึ่งเปนผูเสียหายแลว ยอมไมไดรับ
ยกเวนโทษตามมาตรา ๗๑ เชน ภริยาลักทรัพยของผูอื่นไปใหสามี สามีรับเอาทรัพยน้ันไวโดยรูวา
เปนทรัพยท่ีภริยาลักมา ดังน้ี ภริยายอมมีความผิดฐานลักทรัพย สามีก็มีความผิดฐานรับของโจร
เพราะไมใชสามีภริยากระทําตอกัน แตคนอื่นคือเจาของทรัพยที่ถูกลักเปนผูเสียหาย แตถาเปนกรณี
คนอน่ื ลกั ทรพั ยข องสามหี รอื ภรยิ ามาแลว สามหี รอื ภรยิ ารบั ทรพั ยน นั้ ไวโ ดยรวู า เปน ทรพั ยท ลี่ กั มาดงั น้ี
สามีหรือภริยาน้นั ไมตอ งรบั โทษเพราะถือวาเปน การกระทาํ ตอ กนั ระหวา งสามีภริยาตามมาตรา ๗๑

แตถ า เปน สามภี รยิ าทไี่ มช อบดว ยกฎหมาย ไมไ ดร บั การยกเวน ตามมาตรา ๗๑ แตก ารกระทาํ
อาจไมตองรบั โทษ คือ การกระทาํ อาจไมเ ปนความผดิ เชน ขาดเจตนา เปน ตน

ÁÒμÃÒ ÷ñ ÇÃäÊͧ ความผิดดังระบุมานี้ ถาเปนการกระทําที่ผูบุพการีกระทําตอ
ผูสืบสันดาน ผูสืบสันดานกระทําตอผูบุพการี หรือพ่ีหรือนองรวมบิดามารดาเดียวกันกระทําตอกัน
แมก ฎหมายมไิ ดบ ญั ญตั ใิ หเ ปน ความผดิ อนั ยอมความได กใ็ หเ ปน ความผดิ อนั ยอมความได และนอกจากนน้ั
ศาลจะลงโทษนอยกวาทกี่ ฎหมายกําหนดไว สาํ หรบั ความผดิ นั้นเพียงใดก็ได

คํา͸ԺÒÂ
๑. คาํ วา “¤ÇÒÁ¼Ô´´Ñ§ÃкØÁÒ¹Õé” หมายถึง ความผิดตามมาตราตางๆ ที่ระบุไวใน
มาตรา ๗๑ วรรคแรก แตการกระทาํ ตามวรรคสอง เปนการกระทําระหวางบุคคลอ่ืนไมใชสามีภริยา
กระทาํ ตอ กนั แยกพจิ ารณาได

๑.๑ บุพการี กระทําตอผสู ืบสันดาน ผูสบื สนั ดานกระทําตอบพุ การี คําวา บุพการี
หมายถึงผูสืบสายโลหิตนับโดยตรงข้ึนไป คือ พอ แม ปู ยา ตา ยาย ทวด ¼ÙŒÊ׺Êѹ´Ò¹ หมายถึง
ผสู ืบสายโลหิตโดยตรงลงมา คือ ลูก หลาน เหลน ลอ้ื

คําวา บพุ การี หรอื ผสู บื สนั ดาน นี้ จะชอบดว ยกฎหมายหรอื ไมน ้ี ศาลฎกี าไดเ คย
วนิ จิ ฉยั วา หมายความถงึ ผสู บื สนั ดานตามความเปน จรงิ แมบ ดิ ามารดาของตนจะมไิ ดจ ดทะเบยี นสมรส
กันก็ตาม ºØμùÑ鹡ç¶×ÍÇ‹Ò໚¹¼ŒÙÊ׺Êѹ´Ò¹ (ฎีกาที่ ๓๐๓/๒๔๙๗, ๑๕๒๖/๒๔๙๗) โดยใหเหตุผลวา
คาํ วาผูสืบสันดานตามกฎหมายมิไดบัญญัติจาํ กัดไวประการใด ซ่ึงในมาตรา ๗๑ วรรคสองนี้ ก็มิได
จาํ กดั ไวป ระการใดเชน กนั ฉะนนั้ คําวา บพุ การหี รอื ผสู บื สนั ดานตามมาตรา ๗๑ วรรคสองน้ี บญั ญตั ไิ ว
เปนคุณแกผ ูกระทําความผิด จงึ นา จะถอื วาบุพการหี รอื ผูสืบสนั ดานตามความเปน จรงิ เพ่ือเปนคณุ แก
ผกู ระทําความผดิ

๘๓

สวนบุตรบุญธรรมไมใชผูสืบเชื้อสายโดยตรง ดังนี้ศาลฎีกาโดยมติท่ี
ประชุมใหญว นิ ิจฉัยวา ºμØ ÃºØÞ¸ÃÃÁäÁã‹ ª¼‹ ŒÙÊº× Êѹ´Ò¹ ตามมาตรา ๗๑ จงึ ไมไดร บั ผลตามมาตรา ๗๑
วรรคสอง ฉะนนั้ จงึ ยอมความกนั ไมไ ด

๑.๒ พ่ีหรือนองรวมบิดามารดาเดียวกันกระทาํ ตอกัน ขอนี้จํากัดเฉพาะรวมบิดา
มารดาเดียวกันเทาน้ัน ซ่ึงถือวาเปนบุตรที่ชอบดวยกฎหมายของมารดาก็ตาม ก็ยังถือวาเปนพ่ีนอง
รวมบิดามารดาเดียวกัน และแมบิดาจะไปจดทะเบียนรับรองบุตรบางคนใหเปนบุตรท่ีชอบดวย
กฎหมายข้ึนมา บุตรอ่นื ทไ่ี มไ ดร ับรองก็ถอื วารว มบดิ ามารดาเดยี วกนั

μÑÇÍ‹ҧ ก. ลักทรัพยของมารดาไปจากผูท่ียืมทรัพยนั้นไปจากมารดา
ของตน ดงั น้ี ศาลฎกี าวนิ จิ ฉยั วา “จะเหน็ ไดม าตรา ๗๑ มงุ ถงึ ตวั ทรพั ยว า เปน ของใคร ก. จําเลยจะรวู า ทรพั ย
ที่ลักน้ันเปนของมารดาของตนหรือไมไมสาํ คัญ เม่ือความจริงทรัพยน้ันเปนของมารดาจําเลย จาํ เลย
ก็ยอมไดรับประโยชนตามมาตรา ๗๑ เพราะกฎหมายบัญญัติเร่ืองน้ีเปนเหตุบรรเทาโทษเปนผลดีแก
จําเลยจะไปเอาเร่อื งเปน เหตใุ หรบั โทษหนกั ขึ้น อนั เปน ผลรายแกจ ําเลยมาวินจิ ฉยั ไมได

๒. ผลท่ีไดรับตามมาตรา ๗๑ วรรคสอง นี้ แยกพจิ ารณาได
๒.๑ ใหเปนความผิดอันยอมความได แมกฎหมายจะมิไดบัญญัติใหยอมความได

เชน ความผิดตามมาตรา ๓๓๔ ถึง มาตรา ๓๓๖ ซ่ึงยอมความไมได แตมาตรา ๗๑ วรรคสอง
ใหยอมความได ถาความผิดดังกลาวผูเสียหายไมรองทุกข พนักงานสอบสวนไมมีอาํ นาจสอบสวน
หรือรองทุกขแลวสอบสวนหรือสงฟองตอศาล หรือศาลพิพากษาลงโทษได แตมีอุทธรณฎีกาตอไป
คดียังไมถึงท่ีสุด ผูเสียหายยอมยอมความหรือถอนคํารองทุกขไดเสมอ เม่ือยอมความหรือถอน
คํารอ งทกุ ขถ กู ตอ งตามกฎหมายแลว คดนี น้ั ระงบั ทนั ที แมจ ําเลยจะถกู ศาลพพิ ากษาลงโทษแลว โทษนนั้
กร็ ะงบั ลง ศาลจะออกหมายปลอ ยตัวไป

๒.๒ ในกรณีท่ีไมยอมความกันหรือถอนคาํ รองทุกข ใหอาํ นาจศาลใชดุลพินิจใน
การลงโทษจาํ เลยนอยกวาท่ีกฎหมายกําหนดไวสําหรับความผิดน้ันเพียงใดก็ได ท้ังนี้ไมตองคาํ นึงถึง
โทษของความผิดน้ันจะมีข้ันตํ่าหรือไม แตไมลงโทษเลยไมได เม่ือศาลลงโทษแลวถาเปนการสมควร
จะรอการลงโทษตามมาตรา ๕๖ ยอ มทําได

อนึ่ง การกระทาํ ท่ีบุพการีกระทําตอผูสืบสันดาน ผูสืบสันดานกระทําตอ
บุพการีหรือพ่ีนองรวมบิดามารดาเดียวกันกระทาํ ตอกัน มาตรา ๗๑ วรรคสอง ท่ีบัญญัติใหเปน
ความผิดอันยอมความไดเม่ือผูเสียหาย เชน พี่นองรวมบิดามารดาลักทรัพยกัน คดีมาสูศาล
โดยพนักงานอัยการไดฟองตอศาลแลว แมจําเลยในคดีน้ันใหการรับสารภาพตามฟอง แตกอน
ศาลพพิ ากษาพหี่ รอื นอ งซงึ่ เปน ผเู สยี หายนน้ั ไดย น่ื คาํ รอ งตอ ศาลขอถอนคํารอ งทกุ ขไ มต ดิ ใจเอาความแก
จาํ เลยตอ ไปแลว กรณีเชนน้แี มคดีนัน้ จะเปนความผดิ ฐานลักทรพั ยยอมความกันไมได แตมาตรา ๗๑
วรรคสอง นี้ใหเปนความผิดอันยอมความได เม่ือผูเสียหายถอนคาํ รองทุกขโดยชอบแลว สิทธินาํ คดี
นั้นมาฟองยอมระงับลงทันทีตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๒)

๘๔

ศาลจะลงโทษจําเลยเพราะรับสารภาพนั้นไมได แมโจทกจะไมถอนฟองหรือขอใหศาลลงโทษจาํ เลย
กล็ งโทษไมไ ดเพราะคดรี ะงับไป ศาลตอ งยกฟองหรือจาํ หนายคดี

สวนขอความท่ีวา “และนอกจากน้ันศาลจะลงโทษนอยกวาท่ีกฎหมาย
กําหนดไวสําหรับความผิดน้ันเพียงใดก็ได” มีความหมายวา เม่ือไมมีการยอมความกันศาลจะลงโทษ
ผูกระทําความผิดซึ่งมีความสัมพันธในทางครอบครัวที่สนิทสนมใหนอยกวาคนธรรมดาได หาใช
ทําใหยอมความกันกลับกลายเปนความผิดท่ียอมความกันไมไดแตอยางใดไม แตยังคงถือเปน
ความผิดท่ียอมความกันไดอยูอยางเดิม เมื่อมีการถอนคาํ รองทุกขก็ทําใหคดีระงับไปดังกลาวมาแลว
อยนู น่ั เอง

®Õ¡Ò·Õè ùõö/òõðù (ประชุมใหญ) คาํ วา ผูส ืบสนั ดาน ตามพจนานกุ รม หมายความวา
สืบเช้ือสายมาโดยตรงและตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๘๖, ๑๕๘๗, ๑๖๒๗ แสดงวาบุตรบุญธรรม
ยอมมีฐานะแตกตางกับบุตรชอบดวยกฎหมายของผูรับบุตรบุญธรรม และผูรับบุตรบุญธรรมก็มี
ฐานะตางกับบุตรชอบดวยกฎหมายของผูรับบุตรบุญธรรมอยูหลายประการ มาตรา ๑๕๘๖, ๑๖๒๗
เปนบทบัญญัติพิเศษบางประการในทางแพงเก่ียวกับความสัมพันธในครอบครัวและมรดกของผูรับ
บุตรบุญธรรมเทาน้ัน ตองใชโดยเครงครัดเฉพาะการตีความถอยคําใน ป.อ. ก็ตองตีความ
โดยเครงครัดจึงหาชอบท่ีจะนําบทบัญญัติแหง ป.พ.พ. มาตีความคําวา ผูสืบสันดาน ตาม ป.อ.
มาตรา ๗๑ วรรคสองไม บุตรบุญธรรมจึงไมใชผูสืบสันดานกระทําตอบุพการี ตามมาตรา ๗๑
จงึ ยอมความไมไ ด

®Õ¡Ò·Õè òòñ/òõòø การท่ีภริยาหรือสามีกระทําความผิดแลวจะไมตองรับโทษ
หรือไดรับยกเวน โทษ ตาม ป.อ. มาตรา ๗๑ วรรคแรก บญั ญตั ไิ วว า ตองเปน เรื่องกระทาํ ตอ ทรัพย
อันเปน ความผิดตามมาตรา ๓๓๔ ถึง ๓๓๖ วรรคแรกและมาตรา ๓๔๑ ถงึ ๓๖๔ เทา น้ัน ไมมขี อจาํ กดั
วา ภริยาหรอื สามีนั้น จะตอ งกระทําความผิดลาํ พังคนเดียวแตอ ยา งใด เมือ่ จําเลยเปน ภรยิ าผูเสียหาย
มีหลักฐานภาพถายใบสําคัญการสมรสมาแสดง และจําเลยกระทําความผิดฐานรับของโจร ซึ่งจะ
เปนการกระทําความผิดตามลําพังคนเดียว หรือมีบุคคลอื่นรวมกระทําดวย ก็ตองถือวามีเหตุสวนตัว
ใหจาํ เลยไมต อ งรับโทษ หรือไดร ับการยกเวน โดยตามมาตรา ๗๑ วรรคแรก

®Õ¡Ò·Õè òñøõ/òõóò ทรัพยท่ีโจทกฟองวาจําเลยลักไปเปนทรัพยที่พ่ีสาวจําเลย
และสามีของพ่ีสาวจําเลยเปนเจาของรวมกันมิใชทรัพยของพี่จําเลยเพียงผูเดียว หากจําเลยลักทรัพย
ดังกลาวไปจริงตามฟอง จําเลยก็มิไดกระทําตอพ่ีสาวจําเลยแตเพียงผูเดียว แตกระทําตอสามีของ
พี่สาวจําเลย ซึ่งมิใชพ่ีหรือนองรวมบิดามารดาเดียวกับจําเลยดวย การกระทําของจําเลยจึงมิใช
ความผิดอันยอมความไดตาม ป.อาญา มาตรา ๗๑ วรรคสอง

๘๕

ºÑ¹´ÒÅâ·ÊÐ

ÁÒμÃÒ ÷ò “ผูใดบันดาลโทสะโดยถูกขมเหงอยางรายแรงดวยเหตุอันไมเปนธรรม
จึงกระทําความผิดตอผูขมเหงในขณะน้ัน ศาลจะลงโทษผูนั้นนอยกวาท่ีกฎหมายกําหนดไวสําหรับ
ความผดิ น้นั เพยี งใดก็ได”

หลกั เกณฑเ หตลุ ดโทษเพราะบันดาลโทสะ
๑. ถูกขมเหงอยางรา ยแรง
๒. ดว ยเหตุอันไมเปนธรรม
๓. บนั ดาลโทสะ
๔. ไดกระทาํ ความผิดตอ ผูขม เหงในขณะนั้น
ñ. ¶¡Ù ¢‹Áà˧Í‹ҧÌÒÂáç
การขมเหงอยางรายแรงน้ี จะตองเปนการกระทําของบุคคลโดยไมจําเปนตองคํานึง
วา การกระทาํ นน้ั จะละเมดิ ตอ กฎหมายแลว หรอื ไม และการขม เหงนน้ั จะตอ งเปน การขม เหงอยา งรา ยแรง
สวนกรณีใดท่ีจะถือเปนเหตุรายแรงนั้น จะตองวินิจฉัยเปนเร่ืองๆ ไป โดยเปรียบเทียบกับความรูสึก
ของคนธรรมดาท่ัวไป ซ่ึงสมมุติข้ึนในฐานะอยางเดียวกับผูกระทําความผิด จะวินิจฉัยโดยถือ
ความรสู กึ ของผกู ระทําความผิดเองไมได
การขมเหงนั้น อาจขมเหงตอผูบันดาลโทสะเอง หรือขมเหงผูอ่ืนซ่ึงมีความสัมพันธ
ใกลชิดกับผูบันดาลโทสะ เชนน้ีพอท่ีจะถือไดวาเปนการขมเหงถึงตัวผูบันดาลโทสะดวย เชน บิดา
มารดาถกู ทาํ รา ยถอื วาเปน การขมเหงบตุ ร บุตรถูกทํารา ย ถือเปน เหตุขม เหงบดิ าได
®Õ¡Ò·Õè ôóõ/òõðð จําเลยพบผูเสียหายกําลังกอดภรรยาของจําเลยอยูและไดเกิด
ตอสูกัน จําเลยใชปนไลยิงผูเสียหาย ๔ นัด เปนการกระทําโดยบันดาลโทสะเนื่องจากถูกขมเหง
อยางรายแรงดว ยเหตุอนั ไมเ ปน ธรรม ศาลลดโทษใหต ามมาตรา ๗๒
®Õ¡Ò·Õè ñùùò/òõóò ผูตายใชอาวุธปนตบหนาบุตรจําเลยเปนบาดแผลมีโลหิตไหล
ที่ใบหนา เม่ือบุตรจําเลยวิ่งหนีขึ้นบนบาน ผูตายซึ่งมีอาวุธปนยิงติดตามเขาไปในบานอีก แลวเกิด
โตเ ถยี งกบั จาํ เลย จาํ เลยจงึ ใชอ าวธุ ปน ยงิ ผตู ายในขณะนน้ั ดงั นี้ การกระทาํ ของจาํ เลยไมเ ปน การปอ งกนั
โดยชอบดวยกฎหมาย แตเปนการกระทําโดยบันดาลโทสะเพราะถูกขมเหงอยางรายแรงดวยเหตุ
อันไมเ ปน ธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๗๒
ò. ´ŒÇÂàËμØÍ¹Ñ äÁ‹à»¹š ¸ÃÃÁ
การขมเหงน้ันไดกระทาํ ดวยเหตุอันไมเปนธรรมหรือไม จะตองดูวา ผูกระทาํ ซ่ึงถือวา
เปนการขมเหงนั้นไดกระทําโดยชอบธรรมหรือไม หรือไดกระทาํ ตามอาํ นาจท่ีเขามีอยูหรือไม ถาการ
ที่เขากระทําออกไปน้ันเปนการกระทําที่ชอบ หรือกระทําโดยมีอํานาจแลวเชนนี้ จะอางวาตนถูก
ขมเหงดว ยเหตุอนั ไมเ ปนธรรมไมไ ด
เชน ตาํ รวจสงสัยวา ก. ไดกระทาํ ความผิดอาญา จึงใชก าํ ลงั เขาจับกมุ ก. เชนน้ีเห็นไดวา
การกระทําของตํารวจเปนการปฏิบัติงานตามหนาท่ี แมวาความจริง ก. ไมใชผูกระทําความผิด
และ ก. ไดบันดาลโทสะเนื่องจากถกู จบั จึงไดตอ ยตาํ รวจไปเชนนี้ ก. จะอางวา ตนบนั ดาลโทสะไมได

๘๖

ó. ºÑ¹´ÒÅâ·ÊÐ
หมายความถงึ ผกู ระทาํ ถกู ยวั่ ยจุ นเกดิ ความโกรธขน้ึ ความโกรธทเ่ี กดิ ขนึ้ นนั้ จะตอ งวนิ จิ ฉยั
โดยถือเอาความรสู กึ ของคนธรรมดาทั่วไปทอี่ ยใู นฐานะเดยี วกนั กับผูก ระทําความผดิ
ô. ä´¡Œ ÃÐทํา¤ÇÒÁ¼Ô´μ‹Í¼Œ¢Ù ‹Áà˧㹢³Ð¹Ñ¹é
การกระทาํ ความผิดโดยบันดาลโทสะ ผูกระทาํ ความผิดจะตองกระทําตอผูขมเหง
ในขณะน้ัน ตามความหมายของกฎหมายก็คือ ในระหวางน้ัน คือ ถาผูบันดาลโทสะไดกระทําใน
ระยะเวลาตอเน่ืองอยางกระช้ันชิดในขณะมีโทสะรุนแรงอยู ก็ถือไดวาเปนการกระทาํ ในขณะน้ันแลว
ไมจ าํ เปน วา การบันดาลโทสะจะตองกระทําการโตตอบไปในทันทีทถี่ ูกขมเหง
การกระทาํ โดยบันดาลโทสะเพราะถูกขมเหงน้ี จะตองกระทาํ ตอผูขมเหงเอง จะกระทํา
ตอบุคคลอน่ื ไมได
เชน ก. ขมเหง ข. ข. ยอมตองกระทําตอ ก. โดยตรง จะไปกระทาํ ตอ ค. ซ่ึงเปน บิดาของ
ก. มไิ ด
¼Å¢Í§¡ÒáÃÐทําâ´Âº¹Ñ ´ÒÅâ·ÊÐ
กฎหมายใหศาลใชดุลพินิจวาจะลงโทษผูบันดาลโทสะนั้นมากนอยเพียงใดก็ได โดยไม
จาํ ตอ งคาํ นงึ ถึงโทษขนั้ ตํา่ ทก่ี ฎหมายกาํ หนดไวส าํ หรับความผดิ นนั้
แตศาลจะไมลงโทษเลยไมไ ด
ในกรณีของการสมัครใจวิวาทตอสูกัน จะยกขอตอสูวาไดกระทําไปโดยบันดาลโทสะ
ไมได เพราะการทส่ี มัครใจวิวาทกนั นั้น มิเปน การขม เหงอยางรา ยแรงดว ยเหตอุ ันไมเ ปนธรรม
®¡Õ Ò·Õè öóðù/òõóó วันเกิดเหตุตอนใกลเท่ียงวัน จาํ เลยทราบเร่ืองจากภริยาวา
ผูตายขมขืนกระทาํ ชาํ เราภริยา แลวจาํ เลยออกจากบานไปหาปลา การที่จําเลยพบผูตายในตอนเย็น
ระหวางนําปลาท่ีจับไดไปใหบิดา แลวจําเลยใชอาวุธปนยิงผูตายทันที ดังน้ีจําเลยหาไดกระทําตอ
ผูตายในขณะท่ีมีโทสะ หรือระยะเวลาที่ตอเนื่องกระชั้นชิด กับท่ีมีโทสะไม เมื่อไมปรากฏวาผูตาย
กระทําการขมเหงจาํ เลยอยางใดอกี จึงถือไมไดว าจําเลยยิงผตู ายเพราะเหตุบันดาลโทสะ
®Õ¡Ò·Õè óòóò/òõóñ กอ นเกดิ เหตุ ก. และบตุ ร กบั จาํ เลยทงั้ สองทะเลาะววิ าทกนั และ
ชกตอ ยทาํ รา ยรางกายกนั อันเปนการสมัครใจววิ าท แลวกใ็ ชปนไลย ิงจาํ เลยที่ ๑ แตไมถ กู ซึ่งเปน เหตุ
ทเี่ กดิ ขึ้นตอเนอื่ งกัน จําเลยท้งั สองกลบั บา นเอาปนยงิ เขา ไปในรานของ ก. ถกู ว. ไดรบั บาดเจบ็ จาํ เลย
ทัง้ สองจะอา งวา ถกู ขม เหงอยา งรา ยแรงดวยเหตุอันไมเปนธรรมจึงกระทาํ ไปโดยบันดาลโทสะหาไดไม
®¡Õ Ò·Õè õùñö/òõóó จําเลยเปนฝายกอเหตุข้ึนกอน โดยถามผูซึ่งขับรถ
จักรยานยนตผานมาวา จะยิงพวกจําเลยใหหมดใชไหม อันเปนการชวนทะเลาะวิวาท การท่ีผูตาย
พูดโตทาํ นองเยาะเยย วา จะฆาพวกจาํ เลยใหห มด แมพอ จาํ เลยกจ็ ะยิงไมใ หเหลือ เชน น้ียังถอื ไมไดว า
จาํ เลยถูกผูต ายขม เหงอยา งรายแรงดวยเหตุอนั ไมเปนธรรม อันเปนเหตใุ หบ ันดาลโทสะ

๘๗

®¡Õ Ò·Õè óöñ÷/òõô÷ ในชั้นสอบคําใหการจาํ เลย จาํ เลยใหการตอสูโดยอางเหตุ
บันดาลโทสะสาํ หรับความผิดฐานฆาผูตายที่ ๒ เทาน้ัน มิไดตอสูวาเปนการกระทําโดยปองกัน
โดยสาํ คัญผิด สวนในช้ันสืบพยาน จาํ เลยนําสืบตอสูไมชัดแจงวาจําเลยประสงคจะตอสูวาจําเลยยิง
ผตู ายที่ ๒ เพอ่ื ปอ งกันตวั โดยสําคญั ผดิ วา ผูตายที่ ๒ จะเขา มาทํารา ยจาํ เลย และในชน้ั อทุ ธรณจ ําเลย
อทุ ธรณโดยมิไดอา งเหตุสาํ คญั ผดิ ในขอเท็จจรงิ ดงั น้นั ฎกี าของจาํ เลยทอ่ี างวา การทจ่ี าํ เลยใชอาวุธปน
ยิงผูตายท่ี ๒ เปนการกระทาํ โดยปองกันเกินสมควรแกเหตุ โดยสําคัญผิดวาผูตายท่ี ๒ ไดนํา
เครื่องมือทํางานท่ีเปนเหล็กแหลมและคอนติดตัวมาดวย จาํ เลยจึงใชอาวุธปนยิงสกัดมิใหผูตาย
กับพวกเขามาทํารายจําเลยซึ่งมีขาพิการน้ัน เปนฎีกาในปญหาขอเท็จจริงที่มิไดยกข้ึนวากันมาแลว
โดยชอบในศาลลาง

®Õ¡Ò·èÕ òðö/òõõõ กอ นเกดิ เหตผุ ตู ายเปน คนชอบดมื่ สรุ าจนเมามายและรดี ไถเงนิ จาก
จําเลยท่ี ๑ เปนประจาํ หากไมไ ดเงินคร้งั ใดก็จะตบตจี าํ เลยท่ี ๑ วนั เกดิ เหตขุ ณะผูต ายไปหาจําเลยที่ ๑
ผูตายก็เมาสุราและดาวาจําเลยท่ี ๑ ดวยถอยคําหยาบคายวา มึงมาเอาชูมึงรึ อีกะหร่ี อีสัตว อีเหี้ย
กูจะนอน มึงไมใหกูนอนดวย มึงจะมาใหชูมึงเอาหรือไง โคตรพอโคตรแมมึง อีกะหร่ี อันถือไดวา
เปน การขมเหงจาํ เลยท่ี ๑ อยางรายแรงดว ยเหตุอันไมเ ปน ธรรม การท่จี ําเลยที่ ๑ ใชข วดแตกเปนรปู
ปากฉลามแทงผตู ายจนถงึ แกค วามตายโดยเจตนาฆา จงึ เปน การกระทาํ โดยบนั ดาลโทสะ ศาลจะลงโทษ
จาํ เลยท่ี ๑ นอยกวา ที่กฎหมายกําหนดไวเพยี งใดก็ได

®¡Õ Ò·èÕ ñòùô/òõõõ ขณะเกิดเหตุจําเลยมอี ายุ ๓๔ ปเ ศษจึงไมเปน ผูเยาวแ ละไมอยู
ใตอาํ นาจปกครองของผูเสียหายซึ่งเปนบิดา การรับจางเก็บคานาํ้ ประปาภายในหมูบานเปนงานอาชีพ
หนง่ึ ของจําเลย หากจาํ เลยบกพรองในการทํางาน ผูวาจา งยอ มจะวากลา วแกจ ําเลยเอง แมโ ดยความ
ผูผูกพันฉันบิดากับบุตร ผูเสียหายอาจตักเตือนจาํ เลยไดบาง แตอายุขนาดจําเลยถือวาเติบโตเปน
ผูใหญมากแลว การท่ีผูเสียหายดุดาจําเลยดวยถอยคาํ หยาบคายเปนเวลาตอเน่ืองกัน ท้ังยังตบกกหู
จาํ เลยอยางแรงจนจาํ เลยทรุดตัวลง ถือไดวาเปนการขม เหงจาํ เลยอยางรายแรงดว ยเหตุอันไมเปน ธรรม
เมื่อจาํ เลยกระทาํ ความผิดดาผูขมเหงในขณะนั้น ยอมเปนการกระทาํ ความผิดโดยบันดาลโทสะตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๒

®Õ¡Ò·Õè óõøó/òõõõ จ. เปนภรรยาโดยชอบดวยกฎหมายของจําเลยซึ่งจาํ เลยมีสิทธิ
ตามกฎหมายที่จะกระทําการปองกันเกียรติยศช่ือเสียงของตน โดยมิใหชายอ่ืนมามีความสัมพันธฉัน
ชูส าวกบั ภรรยาของตนได แตขณะเกดิ เหตุจาํ เลยพบเหน็ จ. นอนหนนุ ตกั ผตู ายและกอดจบู กันโดยยงั
ไมมีการรว มประเวณีกัน และผตู ายกระทําตอ จ. ก็เปน ไปโดย จ. สมคั รใจยินยอม พฤตกิ ารณยงั ถือ
ไมไดวา มีภยนั ตรายซ่งึ เกิดการประทษุ อันละเมดิ ตอ กฎหมาย และเปนภยันตรายที่ใกลจ ะถึง ซ่ึงจาํ เลย
จําตอ งกระทาํ การปอ งสทิ ธิ แตก ารทผ่ี ตู ายกบั จ. กอดจบู กนั นบั เปน การกระทาํ ทขี่ ม เหงจติ ใจของจําเลย
อยางรายแรงดวยเหตุอันไมเปนธรรม เม่ือจาํ เลยเห็นเหตุการณยอมเหลือวิสัยของจําเลยท่ีจะอดกล้ัน
โทสะไวได การท่ีจําเลยเขาไปชกตอยผูตายแลวใชมีดปอกผลไมท่ีวางอยูใกลตัวแทงผูตายเปนเหตุ
ใหผ ตู ายถงึ แกค วามตายในเวลาตอ มา จงึ เปน การกระทําโดยบนั ดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา

๘๘

¼¡ÙŒ ÃÐทํา¼´Ô ·Õèä´ŒÃºÑ ¼Å´àÕ ¹è×ͧ¨Ò¡à¡³±Í ÒÂØ

*ÁÒμÃÒ ÷ó เด็กอายุยังไมเกินสิบป กระทําการอันกฎหมายบัญญัติเปนความผิด
เด็กน้ันไมตองรบั โทษ

ใหพนักงานสอบสวนสงตัวเด็กตามวรรคหน่ึงใหพนักงานเจาหนาท่ีตามกฎหมายวาดวย
การคมุ ครองเด็ก เพอ่ื ดําเนนิ การคุมครองสวัสดิภาพตามกฎหมายวา ดว ยการนัน้

**ÁÒμÃÒ ÷ô เด็กอายุกวาสิบปแตยังไมเกินสิบหาป กระทําการอันกฎหมายบัญญัติ
เปนความผิด เด็กน้นั ไมตอ งรบั โทษ แตใหศ าลมีอาํ นาจทีจ่ ะดาํ เนินการดังตอไปนี้

(๑) วา กลา วตกั เตอื นเดก็ นนั้ แลว ปลอ ยตวั ไป และถา ศาลเหน็ สมควรจะเรยี กบดิ า มารดา
ผูปกครอง หรือบุคคลทีเ่ ดก็ น้ันอาศยั อยูมาตกั เตอื นดวยกไ็ ด

(๒) ถาศาลเห็นวาบิดา มารดา หรือผูปกครองสามารถดูแลเด็กน้ันได ศาลจะมีคําส่ัง
ใหม อบตวั เดก็ นนั้ ใหแ กบ ดิ า มารดา หรอื ผปู กครองไป โดยวางขอ กาํ หนดใหบ ดิ า มารดา หรอื ผปู กครอง
ระวังเด็กน้ันไมใหกอเหตุรายตลอดเวลาที่ศาลกําหนดซ่ึงตองไมเกินสามป และกําหนดจํานวนเงิน
ตามท่ีเห็นสมควรซ่ึงบิดา มารดา หรือผูปกครองจะตองชําระตอศาลไมเกินคร้ังละหนึ่งหมื่นบาท
ในเม่อื เดก็ นน้ั กอเหตุรา ยขึ้น

ถาเด็กนั้นอาศัยอยูกับบุคคลอ่ืนนอกจากบิดา มารดา หรือผูปกครองและศาลเห็นวา
ไมส มควรจะเรียกบดิ า มารดา หรอื ผปู กครองมาวางขอ กาํ หนดดงั กลาวขา งตน ศาลจะเรียกตัวบุคคล
ที่เด็กนั้นอาศัยอยูมาสอบถามวา จะยอมรับขอกําหนดทํานองที่บัญญัติไวสําหรับบิดา มารดาหรือ
ผูปกครอง ดังกลาวมาขางตนหรือไมก็ได ถาบุคคลท่ีเด็กน้ันอาศัยอยูยอมรับขอกําหนดเชนวาน้ัน
ก็ใหศาลมีคาํ สัง่ มอบตัวเด็กใหแกบุคคลนัน้ ไปโดยวางขอ กาํ หนดดังกลาว

(๓) ในกรณีที่ศาลมอบตัวเด็กใหแกบิดา มารดา ผูปกครอง หรือบุคคลที่เด็กน้ัน
อาศัยอยูตาม (๒) ศาลจะกําหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้นเชนเดียวกับท่ีบัญญัติไวใน
มาตรา ๕๖ ดวยก็ได ในกรณีเชนวาน้ี ใหศาลแตงต้ังพนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานอ่ืนใด
เพื่อคุมความประพฤติเด็กน้นั

(๔) ถาเด็กน้ันไมมีบิดา มารดา หรือผูปกครอง หรือมีแตศาลเห็นวาไมสามารถดูแล
เด็กนั้นได หรือถาเด็กอาศัยอยูกับบุคคลอื่นนอกจากบิดา มารดา หรือผูปกครอง และบุคคลน้ัน
ไมย อมรบั ขอ กาํ หนดดงั กลา วใน (๒) ศาลจะมคี าํ สงั่ ใหม อบตวั เดก็ นนั้ ใหอ ยกู บั บคุ คลหรอื องคก ารทศ่ี าล
เห็นสมควรเพ่ือดูแล อบรม และสั่งสอนตามระยะเวลาท่ีศาลกําหนดก็ไดในเมื่อบุคคลหรือองคการนั้น
ยนิ ยอม ในกรณเี ชน วา น้ี ใหบคุ คลหรือองคก ารนน้ั มอี าํ นาจเชนผปู กครองเฉพาะเพ่อื ดแู ล อบรม และ
สงั่ สอน รวมตลอดถงึ การกาํ หนดทอี่ ยแู ละการจดั ใหเ ดก็ มงี านทาํ ตามสมควร หรอื ใหด าํ เนนิ การคมุ ครอง
สวสั ดภิ าพเดก็ ตามกฎหมายวา ดว ยการนัน้ กไ็ ด หรอื

(๕) สงตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียน หรือสถานฝกและอบรม หรือสถานที่ซ่ึงจัดตั้งขึ้น
เพอื่ ฝก และอบรมเดก็ ตลอดระยะเวลาทศี่ าลกาํ หนด แตอ ยา ใหเ กนิ กวา ทเ่ี ดก็ นนั้ จะมอี ายคุ รบสบิ แปดป

๘๙

คําส่ังของศาลดังกลาวใน (๒) (๓) (๔) และ (๕) น้ัน ถาในขณะใดภายในระยะเวลา
ทศ่ี าลกาํ หนดไว ความปรากฏแกศ าลโดยศาลรเู อง หรอื ตามคาํ เสนอของผมู สี ว นไดเ สยี พนกั งานอยั การ
หรือบุคคลหรือองคการท่ีศาลมอบตัวเด็กเพ่ือดูแลอบรมและสั่งสอน หรือเจาพนักงานวา พฤติการณ
เก่ียวกับคําสั่งนั้นไดเปลี่ยนแปลงไป ก็ใหศาลมีอํานาจเปล่ียนแปลงแกไขคําสั่งน้ัน หรือมีคําส่ังใหม
ตามอํานาจในมาตรานี้

ÁÒμÃÒ ÷õ ผูใดอายุกวาสิบหาปแตตํ่ากวาสิบแปดป กระทําการอันกฎหมายบัญญัติ
เปนความผิด ใหศาลพิจารณาถึงความรูผิดชอบและส่ิงอ่ืนท้ังปวงเกี่ยวกับผูน้ัน ในอันที่จะควร
วินิจฉัยวาสมควรพิพากษาลงโทษผูนั้นหรือไม ถาศาลเห็นวาไมสมควรพิพากษาลงโทษ ก็ใหจัดการ
ตามมาตรา ๗๔ หรือถา ศาลเหน็ วาสมควรพิพากษาลงโทษ ก็ใหลดมาตราสวนโทษทกี่ ําหนดไวส ําหรับ
ความผดิ ลงกึง่ หนึง่

ÁÒμÃÒ ÷ö ผใู ดอายตุ งั้ แตส บิ แปดปแ ตย งั ไมเ กนิ ยสี่ บิ ป กระทาํ การอนั กฎหมายบญั ญตั ิ
เปนความผิด ถาศาลเห็นสมควรจะลดมาตราสวนโทษที่กําหนดไวสําหรับความผิดนั้นลงหน่ึงในสาม
หรือก่ึงหน่ึงก็ได

μÒÃÒ§ÊÃØ»·ÒŒ º·àÃÂÕ ¹ ๙๐

ÅíҴѺ àÃè×ͧ ¤Òí ͸ԺÒ ÁÒμÃÒ·àÕè ¡ÂèÕ Ç¢ÍŒ § ËÁÒÂàËμØ
บทท่ี ๑ บทนยิ าม
บทท่ี ๒ การใชก ฎหมาย ม.๑ อนุ ๑-๑๗

- บคุ คลจะตอ งรบั โทษทางอาญา ตอ งมกี ฎหมายบญั ญตั ไิ ว ม.๒, ม.๓
ขณะนนั้

- กฎหมายไมม ีผลยอ นหลงั

บทที่ ๓ ความรับผิดในทางอาญา ไดแก ผกู ระทาํ รูส ํานึกในการกระทํา + ประสงคต อ ผล ม.๕๙ วรรคสอง - ประสงคต อ ผล
- การกระทําโดยเจตนา - ผูกระทํารูสํานกึ ในการกระทาํ + ยอมเล็งเหน็ ผล ฎีกา ๕๖๖๔/๒๕๕๙
/ยอมเลง็ เหน็ ผล
- การกระทาํ โดยประมาท ไดแก กระทําโดยมิใชเ จตนา ม.๕๙ วรรคสี่ ฎกี า ๓๓๒๒/๒๕๓๑
- การกระทาํ โดยเจตนา ผูกระทํา ขาดความระมัดระวัง ตามวิสัย ตามพฤติกรรม ฎีกา ๔๙๒๕/๒๕๔๗
จงึ ใชความระมดั ระวงั ได แตหาใชใ หเพยี งพอ ดูฎีกา ๒๘๐/๒๕๑๘
ฎกี า ๑๕๖๓/๒๕๓๑
ไดแก เจตนากระทําตอบุคคลหน่ึง แตผลของการกระทํา ม.๔๐ ฎีกา ๑๕๔๒/๒๕๓๔
เกดิ แกอ กี บคุ คลหนง่ึ โดยพลาดไปใหถ อื วา ผนู นั้ กระทาํ โดย ดูฎกี า ๖๕๑/๒๕๓๑
เจตนาแกบ คุ คลซง่ึ ไดร บั ผลรา ยจากการกระทาํ นนั้ แตใ นกรณี
ทก่ี ฎหมายบญั ญตั ใิ หล งโทษหนกั นน้ั เพราะฐานะของบคุ คล ดูฎกี า ๙๐/๒๕๓๑
หรอื เพราะความสมั พนั ธร ะหวา งผกู ระทาํ กบั ผไู ดร บั ผลรา ย ฎกี า ๑๙๐๖/๒๕๒๘
มใิ หน าํ กฎหมายนน้ั มาใชบ งั คบั เพอื่ ลงโทษผกู ระทาํ หนกั ขน้ึ

- ความสําคัญผิดในตวั บุคคล ผูใดเจตนากระทําตอบุคคลหน่ึง แตไดกระทําตออีกบุคคล ม.๖๑
หนึ่ง โดยสําคัญผิด ผูน้ันจะยกเอาความสําคัญผิดเปนขอ
แกต วั วามิไดกระทําโดยเจตนาหาไดไ ม

ÊÃ»Ø ¢ÍŒ áμ¡μÒ‹ §ÃÐËÇ‹Ò§¡ÃзÒí â´Â¾ÅÒ´ (ÁÒμÃÒ öð) ¡Ñº¡ÒÃÊÒí ¤ÞÑ ¼´Ô ã¹μÑǺ¤Ø ¤Å (ÁÒμÃÒ öñ)

ÁÒμÃÒ öð ¡ÒáÃзÒí â´Â¾ÅÒ´ ÁÒμÃÒ öñ ¡ÒÃÊÒí ¤ÑÞ¼Ô´ã¹μÇÑ º¤Ø ¤Å

๑) มบี ุคคลอยู ๓ ฝา ย ๑) มีบุคคลอยู ๒ ฝาย
๒) ตองรับผิดฐานพยายามตอบุคคลแรกที่มุงหมายกระทําตอ ๒) ไมต องรับผดิ ฐานพยายามตอ บคุ คลแรกทมี่ ุงหมายกระทําตอ
ยกเวน ผลเกดิ ขน้ึ กบั บคุ คลแรกดว ยผกู ระทาํ กต็ อ งรบั ผดิ ในผล
ของการกระทาํ นั้น
๓) ฐานะหรือความสัมพันธหามโอน โดยอางมาตรา ๖๐ ๓) ฐานะหรือความสัมพนั ธห า มโอน โดยอา งมาตรา ๖๒ วรรคทาย
ตอนทา ย
๔) ผลของการกระทาํ พลาดไป ถา ความผดิ สาํ เรจ็ ผกู ระทาํ ตอ งรบั ผดิ ๔) การกระทําผิดตัว ถาความผิดสําเร็จผูกระทําตองรับผิดในผลของการกระทําน้ัน
ในผลของการกระทาํ นนั้ แตถ า ไมส าํ เรจ็ ผกู ระทาํ ตอ งรบั ผดิ ฐาน แตถาไมสําเร็จ ผูกระทําก็ตองรับผิดฐานพยายามสําหรับการกระทําตอบุคคล
พยายามสาํ หรบั การกระทาํ ตอ บุคคลที่ ๒ ที่ถกู กระทํา

บทที่ ๓ การกระทาํ ผดิ ดวยความจาํ เปน ผูใดกระทําผดิ ดวยความจําเปน ม.๖๗ ฎีกา ๑๗๕๐/๒๕๑๔
๑. เพราะอยูในท่ีบังคับหรือภายใตอํานาจซ่ึงไมสามารถ ฎกี า ๓๐๗/๒๔๘๙
หลีกเลี่ยงได ฎกี า ๑๙๖๑/๒๕๒๔
๒. เพราะเพอ่ื ใหต นเอง หรอื ผอู น่ื พน จากภยนั ตรายทใี่ กล ฎกี า ๓๑๓๔/๒๕๒๙
จะถึงและไมสามารถหลีกเล่ียงใหพนโดยวิธีอื่นใดได
เมอ่ื ภยันตรายน้ันตองไดก อ ใหเกดิ ขนึ้ เพราะความผดิ
ของตน

การปองกันโดยชอบดวยกฎหมาย ผใู ดจาํ ตองกระทําการใด เพอ่ื ปอ งกันสิทธิของตนหรอื ของ ม.๖๘ ฎกี า ๙๓๕/๒๕๐๑
ผอู น่ื ใหพ น ภยนั ตราย ซงึ่ เกดิ จากการประทษุ รา ยอนั ละเมดิ ฎีกา ๓๒/๒๕๑๐
ตอกฎหมายและเปนภยันตรายใกลจะถึงตัวได กระทําพอ ฎกี า ๓๓/๒๕๑๐
สมควรแกเ หตุ การกระทาํ นน้ั เปน การปอ งกนั โดยชอบดว ย
กฎหมายผนู ้นั ไมมีความผิด

๙๑

ÊÃ»Ø ¢ŒÍáμ¡μÒ‹ §ÃÐËÇ‹Ò§¡Òû‡Í§¡¹Ñ â´ÂªÍº´ÇŒ ¡®ËÁÒ (ÁÒμÃÒ öø) ¡ºÑ ¤ÇÒÁ¨Òí ໹š (ÁÒμÃÒ ö÷) ๙๒

¡Òû͇ §¡¹Ñ ¤ÇÒÁ¨Òí ໹š

๑. ปกตปิ ระกอบดว ยบคุ คล ๒ ฝาย คือ ผกู อ ใหเกิดภยันตราย ๑. ปกติประกอบดวยบุคคล ๓ ฝาย คือ ผูกอใหเกิดภยันตราย, ฝายที่กระทําโดย
กับฝายทกี่ ระทําการปองกัน ความจําเปน และ ฝายทีไ่ ดร บั ผลรายจากการกระทาํ
๒. ภยนั ตรายทเี่ กดิ ขนึ้ ตอ งเปน ภยนั ตรายซงึ่ เกดิ จากการประทษุ รา ย ๒. ภยนั ตรายนนั้ อาจเกดิ จากภยั ธรรมชาต,ิ สตั วห รอื บคุ คลกไ็ ด ภยนั ตรายนน้ั ไมจ าํ ตอ ง
อันละเมิดตอกฎหมาย และบุคคลเปนผูกอใหเกิดขึ้น ไมวา เกิดจากการประทษุ รายอันละเมดิ ตอ กฎหมาย
โดยเจตนา หรอื ประมาท ๓. กฎหมายใหกระทําโดยความจําเปนเฉพาะกรณีท่ีไมสามารถหลกี เลยี่ งหรอื ขดั ขนื ได
๓. ผูกระทําไมจําตองหลีกเล่ียงภยันตรายที่เกิดข้ึน ผูกระทํา ๔. ผูกระทําโดยความจําเปน กฎหมายบัญญัติวา “ไมตองรับโทษ” ซึ่งหมายความวา
อาจตอสูเ พอื่ ปองกันตวั ได ผูกระทํายังมีความผิดอยู แตไ มต องรับโทษ”
๔. ผกู ระทําโดยการปอ งกนั กฎหมายบัญญตั ิวา “ไมม ีความผิด”

บทท่ี ๓ การกระทําตามคําส่ังของเจาพนักงาน - การกระทําผิดตามคาํ สงั่ ของเจา พนักงาน ม.๗๐ ฎีกา ๑๑๓๕/๒๕๐๘
- คาํ สง่ั น้นั ไมช อบดวยกฎหมาย ฎีกา ๑๖๐๑/๒๕๐๙
- ผูกระทําไมรูวาคําส่ังนั้นไมชอบดวยกฎหมาย แตเช่ือ
โดยสุจรติ วา มีหนาทตี่ อ งปฏบิ ตั ติ าม
- ผนู ้ันไมต องรับโทษ

การกระทาํ ความผิดในฐานะญาตหิ รือสามภี รรยา - ความผดิ ทสี่ ามภี รยิ า กระทาํ ตอ แลว ไมต อ งรบั โทษ ไดแ ก ม.๗๑ ฎกี า ๓๓๑/๒๕๕๘
ม.๓๓๔ ลักทรพั ย ม.๓๓๔ ฎกี า ๒๑๘๕/๒๕๓๒
ม.๓๕๕ ลักทรัพยใ นเหตุฉกรรจ ม.๓๓๖
ม.๓๕๖ ชิงทรัพย ม.๓๓๖
ม.๓๔๑-๓๔๘ ฉอ โกง ม.๓๔๑-๓๔๘
ม.๓๔๙-๓๕๑ โกงทรพั ย ม.๓๔๙-๓๕๑
ม.๓๕๒-๓๕๖ ยกั ยอก ม.๓๕๒-๓๕๖
ม.๓๕๗ รับของโจร ม.๓๕๗
ม.๓๕๘-๓๖๑ ทาํ ใหเสยี ทรัพย ม.๓๕๘-๓๖๑
ม.๓๖๒-๓๖๔ บกุ รกุ ทมี่ ิใชเ หตุฉกรรจ ม.๓๖๒-๓๖๔

๙๓

๔. คําถามทายบทเรยี น

๑. นายหยองเปนโรคลมชัก เกิดอาการชักขณะท่ีขับรถยนตไปตามถนน เทาจึงเหยียบ
คนั เรง พุงไปชนนายแมนไดร ับอันตรายสาหสั โดยท่ีนายหยองไมทราบมากอนวา เปนโรคน้ี

หลงั จากน้ันสามเดอื น นายหยองขบั รถไปตางจงั หวดั และเกิดอาการชักอีก รถพงุ ไป
ชนรถทส่ี วนมา มคี นตายและบาดเจบ็ จาํ นวนมากเชน นี้ นายหยองตอ งรบั ผดิ ในทางอาญาหรอื ไมอ ยา งไร

๒. นายเอโกรธแคนนายบีตองการฆานายบี วันหน่ึงนายบีมาวายนํ้าท่ีสระนํ้าและเกิด
เปน ตะครวิ กําลงั จะจมน้าํ นายบีรอ งตะโกนใหค นชวย นายเอซง่ึ เปน ลกู จางประจาํ สระวา ยนา้ํ ในการ
ดูแลความปลอดภัยของผูใชบริการเห็นเหตุการณโดยตลอดแตก็ไมชวยเพราะตองการใหนายบีตาย
อยแู ลว ในท่ีสดุ นายบกี จ็ มน้ําตาย ขอเทจ็ จรงิ ปรากฏวาหากนายเอชว ยนายบี นายบกี จ็ ะไมจ มนา้ํ ตาย
ดังน้ี นายเอจะตองรบั ผิดในความตายของนายบีหรือไม

๓. นาย ก. ใชป น ยงิ นาย ข. ในระยะหา งเพยี ง ๒ เมตร นาย ก. เลือกยิงท่บี ริเวณเทา
ของนาย ข. แตกระสุนปนไมถูกเทาของนาย ข. แตไปถูกพ้ืนคอนกรีตแลวกระเด็นไปถูกนาย ค.
ถงึ แกค วามตาย ดังนใ้ี หว ินิจฉัยการกระทําของนาย ก. วา มีความผิดอยา งไร เพราะเหตุใด

๔. นายมีเจตนาฆานายมาก จึงไปดักยิงนายมากที่หนาบานนายมาก เห็นนายม่ัน
พอ ของตนเดนิ ออกมาจากบา นของนายมากคดิ วา เปน นายมากจงึ ใชป น ยงิ นายมน่ั ตาย ดงั น้ี ใหว นิ จิ ฉยั
วา นายมีจะตอ งรับผดิ อยางไรเม่ือผูตายเปนบิดาของตนเอง

๙๔

เอกสารอางองิ

เกยี รตขิ จร วจั นสวสั ด.ิ์ (๒๕๕๑).คาํ อธบิ ายกฎหมายอาญา ภาค ๑ กรงุ เทพฯ:พลสยามพรน้ิ ตง้ิ .
จติ ติ ติงศภัทยิ .(๒๕๕๕).กฎหมายอาญา ภาค ๑. กรุงเทพฯ : สํานกั อบรมศึกษากฎหมาย
แหง เนติบณั ฑติ ยสภา.
ทวเี กยี รติ มนี ะกนษิ ฐ.(๒๕๕๓).คาํ อธบิ ายกฎหมายอาญา ภาคทว่ั ไป. กรงุ เทพฯ:วญิ ชู น.
ทวเี กยี รติ มนี ะกนษิ ฐ.(๒๕๕๑).ประมวลกฎหมายอาญา ฉบบั อา งองิ . กรงุ เทพฯ:วญิ ชู น.
สหรัฐ กิติศุภการ.(๒๕๕๗).หลักและคําอธิบายกฎหมายอาญา.กรุงเทพฯ:อมรินทร
พร้ินต้งิ แอนดพับลชิ ชงิ่
สมศกั ดิ์ เอย่ี มพลับใหญ.(๒๕๕๗).เกร็ดกฎหมายอาญา. กรงุ เทพฯ : สาํ นกั พมิ พบ ัณฑติ
อักษร.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชานิติศาสตร.(๒๕๔๐).เอกสารการสอนชุดวิชา
กฎหมายอาญา ๑ ภาคบทบัญญัตทิ ั่วไป.นนทบรุ ี : โรงพิมพม หาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธริ าช.


Click to View FlipBook Version