The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by peaw.2749, 2022-07-07 09:18:55

11_TC22601_การจราจร

11_TC22601_การจราจร

วิชา จร. (TC) ๒๒๖๐๑

การจราจร

ตาํ ÃÒàÃÂÕ ¹

หลกั สตู ร นกั เรียนนายสบิ ตํารวจ

วิชา จร. (TC) òòöðñ การจราจร

เอกสารน้ี “໚¹¤ÇÒÁÅѺ¢Í§·Ò§ÃÒª¡ÒÔ หามมิใหผูหน่ึงผูใดเผยแพร คัดลอก ถอดความ
หรอื แปลสว นหนงึ่ สว นใด หรอื ทงั้ หมดของเอกสารนเี้ พอ่ื การอยา งอน่ื นอกจาก “à¾Íè× ¡ÒÃÈ¡Ö ÉÒͺÃÁ”
ของขาราชการตํารวจเทาน้ัน การเปดเผยขอความแกบุคคลอ่ืนท่ีไมมีอํานาจหนาท่ีจะมีความผิดตาม
ประมวลกฎหมายอาญา

กองบญั ชาการศึกษา สาํ นกั งานตํารวจแหง ชาติ

พ.ศ.๒๕๖๔

คํานํา

หลักสูตรนักเรียนนายสิบตํารวจ (นสต.) เปนหลักสูตรการศึกษาอบรมท่ีมีเปาหมาย
เพื่อเสริมสรางใหบุคคลภายนอกผูมีวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) หรือ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเทา ที่เขารับการฝกอบรมมีความรู ความสามารถ และ
ทักษะวิชาชีพตาํ รวจ รวมถึงพัฒนาบุคลิกภาพรางกายใหเหมาะสมสําหรับการปฏิบัติงานตํารวจ
ในกลุมสายงานปองกันปราบปราม ตลอดจนเตรียมความพรอมทางดานจิตใจและวุฒิภาวะใหมี
จติ สํานกึ ในการใหบ ริการเพอ่ื บําบัดทกุ ขบ ํารุงสขุ ของประชาชนเปน สาํ คญั

กองบัญชาการศึกษา ไดรวมกับ ครู อาจารย และครูฝก ในสังกัดกองบังคับการ
ฝกอบรมตาํ รวจกลาง และกลมุ งานอาจารย กองบัญชาการศึกษา ศูนยฝกอบรมตํารวจภูธรภาค ๑ - ๙
และกองบัญชาการตาํ รวจตระเวนชายแดน ตลอดจนผูทรงคุณวุฒิจากภายนอก จัดทําตาํ ราเรียน
หลกั สตู รนกั เรยี นนายสบิ ตาํ รวจชดุ นี้ ซงึ่ ประกอบดว ยองคค วามรตู า งๆ ทจ่ี ําเปน ตอ การพฒั นาศกั ยภาพ
ของนกั เรยี นนายสบิ ตํารวจใหเ ปน ขา ราชการตาํ รวจทพี่ งึ ประสงคข องประชาชน เพอ่ื ใชส ําหรบั ประกอบ
การเรียนการสอนนักเรียนนายสิบตํารวจใหมีความพรอมทั้งดานความรู ความสามารถ กําลังกาย
และจติ ใจ จนสามารถเปน ขา ราชการตาํ รวจทป่ี ฏบิ ตั งิ านใหบ รกิ ารสงั คมและประชาชนไดอ ยา งตรงตาม
ความตอ งการอยางแทจ รงิ และมคี วามพรอมในการเขาสปู ระชาคมอาเซยี น

ขอขอบคุณครู อาจารย ครูฝก และผูทรงคุณวุฒิทุกทาน ที่ไดรวมกันระดมความคิด
ใหคาํ ปรึกษา คาํ แนะนาํ ประสบการณที่เปนประโยชน รวมถึงการถายทอดองคความรู
ที่เปนประโยชน จนทาํ ใหการจัดทําตาํ ราเรียนหลักสูตรนักเรียนนายสิบตาํ รวจสําเร็จลุลวงไดดวยดี
ซ่ึงกองบัญชาการศึกษาหวังเปนอยางย่ิงวาตําราเรียนชุดน้ีคงเปนประโยชนตอการจัดการเรียน
การสอนและการจัดการฝกอบรมของครู อาจารย และครูฝก รวมตลอดถึงใชเปนคูมือการปฏิบัติงาน
ของขาราชการตํารวจ อันจะสงผลทาํ ใหสํานักงานตํารวจแหงชาติสามารถสรางความเชื่อมั่น ศรัทธา
และความผาสุกใหแ กประชาชนไดอ ยา งแทจ ริง

พลตํารวจโท
( อภิรตั นยิ มการ )
ผูบ ัญชาการศกึ ษา

ÊÒúÞÑ

ÇÔªÒ ¡ÒèÃҨà ˹ŒÒ

º··Õè ñ º··ÇèÑ ä» ñ
๑.๑ ประวัตคิ วามเปน มาของการจราจร ๑
๑.๒ การสรา งจติ สาํ นึกการเปนตาํ รวจจราจร ๖
๑.๓ บทบาทและอาํ นาจหนาท่ขี องเจา หนา ที่ตํารวจจราจร ๒๒
๑.๔ องคป ระกอบของการจราจร ๔๖

º··èÕ ò ËÅ¡Ñ áÅÐÇ¸Ô Õ»¯ÔºÑμãÔ ¹¡ÒèѴ¡ÒÃáÅСÒäǺ¤ØÁ¡ÒèÃҨà õ÷
๒.๑ การจัดการและการควบคุมการจราจรในสถานการณต าง ๆ ๕๗
๒.๒ การจัดการและควบคุมจราจรโดยใชส ญั ญาณไฟจราจร ๘๗
๒.๓ การจดั การและควบคมุ จราจรโดยเทคโนโลยจี ราจร ๙๙
๒.๔ สญั ญาณจราจรและเคร่อื งหมายจราจร ๑๐๖

º··Õè ó ËÅÑ¡áÅÐÇÔ¸»Õ ¯ÔºμÑ Ô¡Ã³Õà¡Ô´ÍغμÑ àÔ ËμØ¡ÒèÃҨà ññù
๓.๑ สภาวการณและสภาพปญ หาอุบัตเิ หตทุ างถนน ๑๑๙
๓.๒ การแกไ ขและปอ งกนั อุบตั เิ หตุทางถนน ๑๒๓
๓.๓ การปฏบิ ัติหนาทขี่ องเจา หนา ที่ตํารวจจราจรเม่ือเกิดอบุ ตั ิเหตทุ างถนน ๑๓๑

º··èÕ ô ¡ÒÃμ§éÑ ¨Ø´μÃǨ¨ÃÒ¨ÃãËŒà¡´Ô »ÃÐÊÔ·¸ÔÀÒ¾áÅФÇÒÁ»ÅÍ´ÀÑ ñôó
๔.๑ มาตรการการปฏบิ ตั ิเก่ยี วกับการต้ังดา น จุดตรวจ จดุ สกดั ๑๔๓
๔.๒ วัตถปุ ระสงคของการตงั้ จุดตรวจจราจร ๑๔๙
๔.๓ การแสดงตวั ในการตรวจจับและการตรวจคน รถ ๑๕๐
๔.๔ หลกั ในการตงั้ จุดตรวจจราจร ๑๕๒

º··èÕ õ ¡Òú§Ñ ¤ºÑ 㪡Œ ®ËÁÒÂãËŒÁ»Õ ÃÐÊ·Ô ¸ÔÀÒ¾ ˹ŒÒ
๕.๑ จิตวิทยาในการบังคบั ใชก ฎหมาย ñøñ
๕.๒ ทักษะในการบงั คับใชก ฎหมาย ๑๘๑
๕.๓ ยุทธวิธีในการจับกมุ ผูก ระทําผิดกฎจราจรในลกั ษณะตางๆ ๑๙๐
๕.๔ แนวทางการบงั คบั ใชก ฎหมายกับรถตางประเทศ ๑๙๓
๑๙๘
ÀÒ¤¼¹Ç¡ òòñ
òõñ
ºÃóҹ¡Ø ÃÁ



º··Õè ñ

º··ÑÇè ä»

ñ.ñ »ÃÐÇÑμ¤Ô ÇÒÁ໚¹ÁҢͧ¡ÒèÃÒ¨Ãñ

การจราจร ถูกจัดใหเปนปญหาสังคมโดยเฉพาะในเมืองใหญ ไมวาจะเปนประเทศไทย
หรือตางประเทศ ตางก็ประสบปญหาดวยกันทั้งน้ันจึงกลาวไดวาปญหาการจราจรเปนผลอันเน่ือง
มาจากความเจริญกาวหนาทางวตั ถุ และวทิ ยาการสมัยใหม

ผลจากความเจริญกาวหนาทางวัตถุ เร่ิมตนต้ังแตประมาณป ค.ศ.๑๗๖๙ หรือป
พ.ศ.๒๓๑๒ แมท พั ชาวฝร่งั เศสชือ่ นโิ คลัส กูโน (Nicolas Gugnot) ไดค ดิ คนประดษิ ฐเคร่ืองจักรไอน้าํ
ซ่ึงเปนส่ิงประดิษฐตนแบบเคร่ืองจักรท่ีทันสมัย ตอมาในป ค.ศ.๑๘๖๔ นักประดิษฐไดคิดคนรถยนต
โดยอาศัยถานหินเปนเช้ือเพลิงแทนรถจักรไอนํ้า ตอมาป ค.ศ.๑๘๖๗ ไดพัฒนารถมาเปนรูปแบบ
เครอื่ งจกั รขบั เคลอื่ นแบบสล่ี อ และในป ค.ศ.๑๘๘๕ กไ็ ดป รบั ปรงุ เปน เครอ่ื งจกั รแบบอาศยั นา้ํ มนั เชอื้ เพลงิ

ในป ค.ศ.๑๘๙๓ Duryia ไดป ระสบความสําเร็จในการใชแกสโซลนี ในการขับเคลือ่ นรถ
จนกระท่งั มบี ริษทั รถยนตข องเยอรมันเกิดข้ึน เชน บริษทั เบนซ (Benz)

ในป ค.ศ.๑๙๐๐ มอี งคการบางองคการทเ่ี กิดความสับสนเก่ียวกบั การใหความปลอดภยั
โดยอาศัยวตั ถุตางๆ เพ่ือควบคุมการจราจรในเมืองคอนเนตทิคัต (Connecticut) มีการออกกฎในการ
ขับขี่และจดทะเบียนรถ (Registration) นอกจากนี้เมืองมินนิโซตา (Minnesota) ก็ไดมีการออกกฎ
ในการขับขี่และจดทะเบียนรถเชนกนั และมีการปรับ ๑๐ ดอลลาร กับผกู ระทาํ ผดิ

ในป ค.ศ.๑๙๐๕ มรี ถยนตม ากกวา ๗๘,๐๐๐ คนั วิ่งระหวา งนวิ ยอรกถงึ ซานฟรานซิสโก
โดยใชเ วลา ๕๒ วัน ในปค.ศ.๑๙๐๘ เฮนรี่ ฟอรด (Henry Ford) ไดประดษิ ฐรถยนตฟอรดแบบ T
จนกระท่ังป ค.ศ.๑๙๒๗ ฟอรดไดผลิตรถยนตแบบนี้ถึง ๑๕,๐๐๗,๐๐๓ คัน การผลิตแบบรถยนต
และรถยนตจ ึงปรากฏขึ้นมากมาย ผูขับข่ีก็เพิ่มมากขึ้น จาํ นวนอบุ ตั ิเหตุกเ็ พ่มิ มากขน้ึ เชนกัน

ในป ค.ศ.๑๙๒๔ อัตราการตายท่ีเกิดจากการจราจรเพ่ิมมากขึ้น จึงมีการตรากฎหมาย
จราจรข้ึน (Federal Road Aid Act) โดยประธานาธิบดี วูดโร วิลสัน (Woodrow Wilson) ใน
วนั ท่ี ๑๑ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๑๖ เพอื่ ใชใ นการควบคมุ การสญั จรของคนอเมรกิ นั ในทอ งถนน ตอ มาในป
ค.ศ.๑๙๕๔ ประธานาธิบดีดไวท ไอเซนฮาวร (Dwight D. Eisenhower) ไดตรากฎหมายเพื่อรักษา
ความปลอดภัยบนทางหลวงข้ึน

สําหรับประเทศไทยรถรุนแรกที่มีบทบาทคือ รถลาก (Rickshaw) หรือท่ีเรียกกันวา
รถเจกเพราะพาหนะประเภทน้ีมีแตคนจีนเปนผูมีอาชีพรับจางลาก ดั้งเดิมเปนของญี่ปุน แตแรกเม่ือ

๑ ๑. พล.ต.ต.สมานชัย หงษทอง, ๒๕๓๕. ปญหาการจราจร. เอกสารเผยแพรทางวิชาการของกองบงั คับการตาํ รวจจราจร.
๒.เรื่องเลา ชาวเมืองสยาม เขาถึงไดจาก http://storyofsiam.blogspot.com (๑๗ มถิ นุ ายน ๒๕๕๙)
๓.รถลาก รถยนต เขา ถึงไดจาก https://th.wikipedia.org (๑๗ มถิ นุ ายน ๒๕๕๙)



ในรัชกาลท่ี ๔ น้ันพวกพอคาสําเภานํามานอมเกลาฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาฯ ตอมา
พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา ฯจงึ โปรดเกลา ฯ ใหซ อ้ื เขา มาพระราชทานเจา นาย และขนุ นางผใู หญบ า ง
สงั่ ซอื้ กนั เองบา ง ใชเ ปน พาหนะสว นพระองคแ ละสว นตวั แตท ส่ี งั่ มาใชว ง่ิ รบั สง คนโดยสารและบรรทกุ ของ
นน้ั ผสู ง่ั เขามา เมอ่ื พ.ศ.๒๔๑๗ ตนรชั กาลท่ี ๕ เมื่อผูค นนยิ มกันมากขนึ้ พระยาโชฎกึ ราชเศรษฐี (พุก)
จึงตั้งโรงงานทํารถลากขึ้นในเมืองไทยเสียเองโดยส่ังชางมาจากเมืองจีน รถลากรับจางเริ่มมีบนถนน
มากข้ึนจนกระท่ังจาํ เปนตอ งควบคุม พระบาทสมเด็จพระพทุ ธเจา หลวง จงึ โปรดเกลาฯใหต ราพระราช
บญั ญตั ิรถลาก ร.ศ.๑๒๐ (พ.ศ.๒๔๔๔) ข้นึ โดยมพี ระราชปรารภวา

“กรุงเทพพระมหานครในทุกวันน้ี มีรถคนลากสําหรับรับจางคนโดยสารและรับบรรทุก
ของเดินในถนนหนทางทวียิ่งข้ึนเปนอันมาก แตรถที่ใชน้ันไมแข็งแรงม่ันคงแลไมมีสิ่งที่สําหรับปองกัน
อนั ตรายของผูโ ดยสาร กับทง้ั ไมสะอาดเรยี บรอยตลอดไปจนคนลากรถดวยยอ มเปนทรี่ งั เกียจราํ คาญ
แกผูท ีจ่ ะใชร ถ หรือผูเดินทางในทอ งถนนรวมกนั อีกประการหนึง่ คนทล่ี ากรถน้นั บางทีรบั คนโดยสาร
หรือรับบรรทุกส่ิงของที่มากหรือหนักเกินกําลังรถท่ีจะพาไปไดจนเปนเหตุเกิดอันตรายแกคนโดยสาร
แลคนเดินทางกบั ทั้งรถแลไมเ ปนความเรยี บรอยในทองถนนอีกดวย”

พระราชบญั ญตั นิ ้ี บงั คบั ใหต อ งจดทะเบยี นรถแลตอ งนาํ รถมาตรวจสภาพตอ เจา พนกั งาน
จดทะเบียน หลังจดทะเบียนแลว เจาหนาที่จะใหเลขหมายติดรถและใหเครื่องหมายท่ีมีเลขตรงกัน
กับทะเบียนรถใหคนลากติดหนาอกไวใหตรงกัน บังคับใหจุดโคมไฟเวลากลางคืน และยังมีขอบังคับ
ปลีกยอยอีกหลายขอ เชน หามบรรทุกศพคน ใหจอดพักรถตามท่ีพนักงานกําหนดไวเทานั้น ฯลฯ
รถลากหรอื รถเจก น้ี วงิ่ ในถนนตงั้ แต พ.ศ.๒๔๑๗ เลกิ ใชต ามกฎหมาย เมอ่ื พ.ศ.๒๔๗๘ หลงั เปลยี่ นแปลง
การปกครอง

ÀÒ¾·Õè ñ öÅÒ¡ËÃÍ× Ã¶à¨¡ ã¹ÊÁÂÑ ÃѪ¡ÒÅ·èÕ õ
ทีม่ า : เร่ืองเลาชาวเมืองสยาม http://storyofsiam.blogspot.com



หลังจากรถลากแลว รถสามลอ จึงเกิดข้ึนแทนที่ เรื่องของรถสามลอไทยน้ันเปน
วิวัฒนาการมาจาก รถจักรยานสองลอ น่ันเอง แรกทีเดียวมีรถสองลอเขามาในกรุงเทพฯ ประมาณ
ป พ.ศ.๒๔๒๗ – ๒๔๓๐ โดยรถจกั รยานสองลอ ที่แรกมใี นบางกอกน้ันเปน รถจกั รยานสองลอ ประเภท
ที่ลอหนาสูง และลอหลังเล็ก แบบรถจักรยานท่ีพวกละครสัตวใชกัน ครั้นตอมารถจักรยานสองลอ
จงึ ไดเปลย่ี นรปู มาเปน มสี องลอเทานน้ั เหมือนจักรยานสองลอ ในปจ จุบัน

เมอื่ รถสองลอ แพรห ลายไปทวั่ กรงุ เทพฯ และหวั เมอื งตา ง ๆ แลว ตอ มากม็ ผี คู ดิ ประดษิ ฐ
ดัดแปลงรถจกั รยานสองลอ เปน รถจกั รยานสามลอ เพอ่ื ประโยชนในการใชสอยไดมากขนึ้ ทง้ั ทางดา น
การโดยสารและบรรทกุ สง่ิ ของ ผเู ปน ตน คดิ ประดษิ ฐส ามลอ ไทยขน้ึ กค็ อื นายเลอ่ื น พงษโ สภณประดษิ ฐ
สามลอไทยคนั แรกข้ึนสําเรจ็ เมอ่ื ป พ.ศ.๒๔๗๖

ÀÒ¾ öÊÒÁÅÍŒ ã¹Â¤Ø ááàÁ×ͧä·Â
ที่มา : เร่ืองเลา ชาวเมืองสยาม http://storyofsiam.blogspot.com
สามลอ ไทยคนั แรกเมอื่ ป พ.ศ.๒๔๗๖ นบั วา เปน ของใหมเ อยี่ มของกรงุ เทพฯ ตามปรกตนิ นั้
เม่ือทําขึ้นมาแลว กอนท่ีจะออกว่ิงรับสงผูโดยสารหรือขนสงสิ่งของก็ยอมจะตองนําไปขอจดทะเบียน
กับตํารวจเสียกอน แตก็ปรากฏวา รถสามลอเปนของใหมไมเคยมีมากอนจึงยังไมมีพระราชบัญญัติ
เกย่ี วกบั รถสามลอ จนในทสี่ ดุ เจา หนา ทอ่ี นโุ ลมใหใ ชพ ระราชบญั ญตั ลิ อ เลอ่ื น ป พ.ศ.๒๔๖๐ จงึ สามารถ
จดทะเบยี นรถสามลอ ไทยได ครนั้ ตอ มาเมอ่ื รถสามลอ ไดร บั ความนยิ มแพรห ลายนนั้ กป็ รากฏวา ทางราชการ
ตอ งออกกฎกระทรวงเกย่ี วกบั สามลอ เมอ่ื วนั ท่ี ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙ ซงึ่ ออกตามความในมาตรา ๕
แหงพระราชบัญญตั ิลอเล่อื น ป พ.ศ.๒๔๗๘
รถยนตคันแรกท่ีเขามากรุงสยามน้ัน ไมปรากฏหลักฐานท่ีแนชัดวาเปนรถย่ีหอใด
ใครเปนเจา ของ แตเ ชื่อกันวาชาวตางชาตเิ ปนผูนาํ เขามาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซงึ่ หนังสือ“สาสน สมเด็จ”
กลา ววา สมเดจ็ พระเจา บรมวงศเ ธอ เจา ฟา กรมพระยานรศิ รานวุ ดั ตวิ งศท รงมลี ายพระหตั ถไ ปกราบทลู
สมเดจ็ พระเจาบรมวงศเ ธอ กรมพระยาดาํ รงราชานุภาพ วา
“รถคนั แรกในเมอื งไทย รปู รา งคลา ยรถบดถนน ลอ ยางตนั หลงั คาเปน ปะราํ มที น่ี งั่ สองแถว
ใชน า้ํ มันปโ ตรเลียม ไฟหนา ลักษณะคลายเตาฟ”ู



ในลายพระหัตถกลาวอีกวา รถคันน้ีมีกําลังวิ่งไดแคพ้ืนราบแตสะพานขามคลองในสมัย
นั้นสูงมากขึ้นไมไหว เลยขายใหเจาพระยาสุรศักด์ิมนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ซึ่งมีนองชาย คือ พระยา
อานทุ ตู วาที (เขม็ แสง-ชโู ต) ซง่ึ เปน คนไทยคนแรกทไ่ี ปรบั จา งทาํ งานในองั กฤษรเู รอ่ื งเครอื่ งยนตก ลไกดี
เลยเปน คนแรกทข่ี บั รถในกรงุ สยามดว ยในป พ.ศ.๒๔๗๑ สมเดจ็ ฯ กรมพระยาดาํ รงราชานภุ าพ ทรงจดั ตง้ั
“พิพิธภัณฑสถานสําหรับพระนคร” ข้ึน จึงขอรถคันน้ีไปเขาพิพิธภัณฑ และไดขอใหพระเจาลูกยาเธอ
กรมหลวงราชบรุ ดี เิ รกฤทธทิ์ รงนาํ ไปซอ มทก่ี องลหโุ ทษ แตพ ระองคไ ดส น้ิ พระชนมก อ นทรี่ ถจะซอ มเสรจ็
และเม่อื สมเดจ็ ฯ กรมพระยาดํารงฯ ทรงตามไปที่กองลหุโทษกพ็ บแตเศษเหล็กช้ินสวนรถคันแรกของ
กรุงสยามถูกชาํ แหละไปเรียบรอ ย

สว นรถยนตค นั แรกทคี่ นไทยนาํ เขา มา ปรากฏหลกั ฐานอกี วา ในป พ.ศ.๒๔๔๔ กรมหลวง
ราชบุรีดิเรกฤทธ์ิทรงประชวร เสด็จไปรักษาพระองคที่กรุงปารีส และไดสั่งซ้ือรถเดมเลอร รุนป
ค.ศ.๑๙๐๑ จากตัวแทนจําหนายที่ฝรั่งเศสและนําเขามากรุงเทพฯ ในปลายปน้ันนําข้ึนทูลเกลาฯ
ถวายพระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา ฯ โปรดรถพระทน่ี ่งั คันนมี้ าก เพราะสะดวกสบาย
และเดนิ ทางไดเ รว็ กวา รถมา นบั เปน รถยนตพ ระทนี่ ง่ั คนั แรกในประวตั ศิ าสตร ตอ มาจงึ โปรดเกลา ฯ ใหก รมหลวง
ราชบรุ ฯี สง่ั เขา มาอกี คนั หนง่ึ จากผผู ลติ ในเยอรมนั โดยตรง รถพระทน่ี งั่ คนั ใหมย หี่ อ เดมิ แตไ ดเ ปลยี่ นชอ่ื
เปน “เมอรเซเดสเบนช” รนุ ป ค.ศ.๑๙๐๕ สีแดง เคร่อื งยนต ๗๒ แรงมา ๔ สูบ เดินหนา ๔ เกียร
ถอยหลัง ๑ เกียร ความเรว็ ๔๖ ไมลตอชั่วโมง แตข ณะเทนํ้ามันจากปบ เติมรถไดเ กิดไฟไหมเ สียหายไป
แถบหนง่ึ หลงั จากซอ มแลว จงึ เขา ประจาํ การเปน รถพระทน่ี ง่ั คนั ท่ี ๒ พระราชทานนามวา “แกว จกั รพรรด”ิ

ÃҪö “á¡ŒÇ ¨¡Ñ þÃô”Ô
ท่มี า : เรอื่ งเลาชาวเมืองสยาม http://storyofsiam.blogspot.com
ตอ มารชั กาลท่ี ๕ ไดโ ปรดเกลา ฯ ใหก รมหมนื่ ราชบรุ ดี เิ รกฤทธสิ์ งั่ รถเขา มาเพอ่ื พระราชทาน
แกเจานายและในรชั กาลที่ ๕ นเี้ อง ไดม ีการริเร่ิมรถเมล หรือรถประจําทางขึ้น เจา ของรถเมลค นั แรก



คือ นายเลิศสมันเตา ซึ่งตอมาภายหลังไดรับพระราชทานนามสกุลวา เศรษฐบุตร ในรัชกาลท่ี ๖
และมยี ศถาบรรดาศกั ดเิ์ ปน พระยาภกั ดนี รเศรษฐ เปน อนั วา ชาวสยามไดม ที งั้ รถไฟ รถเมล รถราง รถยนต
รถมา รถลาก และรถจกั รยานตงั้ แตใ นรชั กาลที่ ๕ เปน ตน มา ตอ มารถยนตเ รมิ่ เปน ทนี่ ยิ มในหมพู ระบรม
วงศานวุ งศต ลอดจนคหบดีจงึ ทรงพระดาํ รใิ หจัดงานชมุ นุมขน้ึ ในวันที่ ๗ ตลุ าคม พ.ศ.๒๔๔๘ ซงึ่ เปน
วนั ชมุ นมุ รถยนตค รง้ั แรกในกรงุ รตั นโกสนิ ทร ปรากฏวา มรี ถยนตไ ปรว มชมุ นมุ ในบรเิ วณพระบรมมหาราชวงั
เปนจํานวนถึง ๓๐ คัน ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับเจาของรถทุกคัน เมื่อถึงเวลาประมาณบายสี่โมง
จึงไดเคลื่อนขบวนรถไปตามถนนสามเสน เมื่อรถยนตไดรับความนิยมมากขึ้นจึงมีการตัดถนนใหม
เพอ่ื รองรบั ผลทตี่ ามมา คอื มคี ดเี กย่ี วกบั รถเกดิ ขนึ้ ในศาล ทงั้ ชนกนั ขโมย และฉอ โกงรถจงึ มกี ารตรวจตรา
พระราชบัญญัติรถยนตฉบับแรกขึ้นในป พ.ศ.๒๔๕๒ มีผลบังคับในปตอมากําหนดใหเจาของรถ
ตองจดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทย โดยเสียคา ธรรมเนยี มคันละ ๑๐ บาท

สาํ หรบั รถแทก็ ซ่ี หรอื รถเกง รบั จา ง พระยาเทพหสั ดนิ ณ อยธุ ยาไดใ หล กู หลานเอารถออก
ว่งิ รบั จา งคนเปนครง้ั แรก เมอ่ื พ.ศ.๒๔๖๗ สมัยน้นั เรียกวา “รถไมล”เพราะคิดราคาเปนไมล ตกไมลล ะ
๑๕ สตางค ถา เชา เปน ชวั่ โมง คดิ ชว่ั โมงละ ๑ บาท สว นคาํ วา “แทก็ ซ”่ี เพงิ่ จะมาเรยี กตามฝรง่ั ในภายหลงั
จํานวนรถยนตท้ังในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ มีอยูไมเกิน ๑,๐๐๐ คัน และมีถนนอยู
ไมก ี่สายที่เดนิ รถไดสะดวก ถนนระหวางจังหวัดในขณะนั้นยังไมมีแมในจังหวดั ธนบรุ ที ีต่ ิดกับกรุงเทพฯ
กย็ งั ไมม ที างรถและไมม รี ถ แมก ระนนั้ การกดี ขวางทางและอบุ ตั เิ หตใุ นการจราจรกม็ อี ยู กฎหมายไดใ ห
อาํ นาจตาํ รวจในการปฏบิ ตั งิ านมเี พยี งอาํ นาจตามพระราชบญั ญตั ริ ถยนต พ.ศ.๒๔๖๓ กบั กฎกระทรวง
ทีอ่ อกเน่อื งจากพระราชบัญญตั นิ ั้น ประกอบกบั บางมาตราในกฎหมายลกั ษณะอาญา ร.ศ.๑๒๑ และ
เวลานนั้ กไ็ มม ตี าํ รวจจราจรโดยเฉพาะ ยงั ไมม พี ระราชบญั ญตั จิ ราจรสาํ หรบั ใชบ งั คบั คดดี งั เชน ในปจ จบุ นั น้ี
แมแตคําวา “จราจร” ก็ยังไมเกิดข้ึน ดังน้ันอํานาจหนาท่ีตามพระราชบัญญัติรถยนตฉบับดังกลาว
จงึ ตกเปน ของนายทะเบยี น และเจา หนา ทก่ี องทะเบยี นสงั กดั อยกู บั กองพเิ ศษตาํ รวจนครบาลมสี าํ นกั งาน
อยใู นกรมตาํ รวจกระทรวงมหาดไทย สาํ หรบั การกดี ขวางทางในเวลานนั้ รถลากและรถมา บรรทกุ หญา
ของแขกเล้ียงวัว กับลอเล่ือนลากเข็นดวยแรงคน (รถสาลี่) กอการกีดขวางการจราจรเปนอยางมาก
เพราะผูลากรถมาถาไมมีผูใดโดยสารก็มักจะลากรถเดินเอื่อยๆ ไปจากถนนตกจนถึงหลักเมืองบาง
จากวงั บรู พาไปถงึ เชยี งกงบา ง และมากทส่ี ดุ ในถนนเจรญิ กรงุ และถนนเยาวราชซงึ่ กอ ใหเ กดิ การกดี ขวาง
การจราจรมากทสี่ ดุ

ตอ มา พ.ศ.๒๔๗๕ จาํ นวนรถชนดิ ตา งๆ ไดเ พมิ่ มากขนึ้ ประกอบกบั สะพานพระพทุ ธยอดฟา
กไ็ ดส รา งเสรจ็ เปด ใชง านแลว ทางสาํ หรบั การจราจรจงึ เพมิ่ มากขนึ้ พรอ มกบั จาํ นวนรถยนต ป พ.ศ.๒๔๗๗
กรมตํารวจไดจัดตั้ง “กองจัดยวดยาน” เปนหนวยขึ้นตรงตอกรมตํารวจออกตรวจตราและควบคุม
การจราจรโดยเฉพาะในถนนเจริญกรุงและเยาวราชมีความยุงยากในการจราจรมากท่ีสุด เพราะเปน
ถนนธรุ กจิ และมโี รงมหรสพมากมายทง้ั กลางวนั และกลางคนื ยานพาหนะของตาํ รวจกม็ เี พยี งจกั รยาน
สองลอตระเวนไปตามจดุ ตางๆ ที่กําหนดเทา นั้น



ป พ.ศ.๒๔๗๗ เปนปท่ีเกดิ คาํ วา “จราจร” (Traffic) ขนึ้ ในประเทศไทยโดยกรมตาํ รวจ
ไดเสนอรางพระราชบัญญัติจราจรทางบก ตอกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอใหออกเปนกฎหมายราง
พระราชบัญญัติฉบับนี้ พันตํารวจเอก ซี.บี.ฟอลเล็ต เปนผูรางข้ึนเปนภาษาอังกฤษโดยอาศัยหลัก
กฎหมายจราจรของประเทศอังกฤษมาดัดแปลง และไดออกกฎหมายเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ เปนพระราช
บัญญตั ิจราจรทางบก พ.ศ.๒๔๗๗ จากนนั้ คาํ วา “จราจร” ก็แพรก ระจายไปถงึ ประชาชนโดยทั่วไปดว ย
ความเจรญิ ของสงั คมทาํ ใหก ารใชร ถใชถ นนมคี วามสาํ คญั และจาํ เปน ตอ ชวี ติ ประจาํ วนั ของมนษุ ยม ากขนึ้
ประกอบกบั ความเจรญิ ทางเทคโนโลยี ทาํ ใหม กี ารพฒั นารปู แบบและเครอ่ื งยนตก ลไกของยานพาหนะ
ท่นี ํามาใชบนถนน กฎหมายเหลานจ้ี งึ ไดมกี ารปรับปรงุ แกไขใหมีความทนั สมัย รองรับสภาพการใชร ถ
ใชถนนใหด ียิง่ ขึ้นมาเปนลําดับ

การแกไขกฎหมายเก่ียวกับการจราจรท่ีนับไดวาเปนครั้งใหญที่สุดเทาท่ีเคยมีมา ก็คือ
ในป พ.ศ.๒๕๒๒ โดยไดมีการประกาศใชพ ระราชบญั ญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ พระราชบญั ญตั ิ
รถยนต พ.ศ.๒๕๒๒ ข้ึนใชบ งั คับแทนกฎหมายทีเ่ ก่ียวกบั การจราจรทีใ่ ชบงั คับแตเดมิ เพ่อื ใหสามารถ
ควบคุม บงั คบั ผูขบั ข่ี ผูประกอบการ และตวั รถ ใหเ กดิ ความปลอดภัยและสะดวกในการสญั จรยิง่ ขึน้
การทกี่ ารจราจรและขนสง ไดม กี ารขยายตวั ไปในสว นภมู ภิ าค ทาํ ใหม กี ารสญั จรบนทางหลวงเพมิ่ มากขนึ้
ในป พ.ศ.๒๕๓๕ จงึ ไดม ตี ราพระราชบญั ญตั ทิ างหลวง พ.ศ.๒๕๓๕ ขนึ้ เพอื่ ใชแ ทนประกาศคณะปฏวิ ตั ิ
ฉบบั ที่ ๒๙๕ ลงวนั ที่ ๒๘ พฤศจกิ ายน พ.ศ.๒๕๑๕ ซง่ึ เปน กฎหมายวา ดว ยทางหลวงทใี่ ชบ งั คบั ในขณะนน้ั
ใหสอดคลองกับความเจริญและการพัฒนาของประเทศ กฎหมายจราจรเหลานี้ไดมีการแกไขเพ่ิมเติม
ใหมีความทันสมัยเหมาะสมกับสภาพของการสญั จรมาโดยตลอดจนถึงปจจบุ ัน

ñ.ò ¡ÒÃÊÌҧ¨Ôμสาํ ¹¡Ö ¡ÒÃ໹š ตาํ ÃǨ¨ÃÒ¨Ã

ขา ราชการตาํ รวจผปู ฏบิ ตั หิ นา ทดี่ า นการจราจร มหี นา ทอ่ี าํ นวยความสะดวกดา นการจราจร
และรกั ษาความปลอดภยั ในชวี ติ และทรพั ยส นิ ของประชาชนทอี่ าจเกดิ ขนึ้ จากอบุ ตั เิ หตจุ ราจร นอกจากนี้
ยงั มหี นา ทปี่ อ งกนั ปราบปรามอาชญากรรมทเ่ี กดิ ขนึ้ บนทอ งถนนจงึ เปน กลมุ ขา ราชการตาํ รวจทต่ี อ งปฏบิ ตั ิ
หนาที่ใกลชิดประชาชนมากท่ีสุด การปฏิบัติตนของตํารวจจราจรที่ปรากฏตอสายตาของประชาชน
จึงเปนภาพลักษณของสํานักงานตํารวจแหงชาติ ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ
พ.ศ.๒๕๕๓ จงึ เปน กรอบในการประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ นของขา ราชการตาํ รวจในการปฏบิ ตั หิ นา ทจ่ี ากการที่
ตาํ รวจจราจรเปน กลมุ ขา ราชการตาํ รวจทตี่ อ งปฏบิ ตั หิ นา ทใ่ี กลช ดิ ประชาชนมากทสี่ ดุ อกี ทงั้ ลกั ษณะงาน
บางประเภททป่ี ฏบิ ตั อิ าจกระทบเสรภี าพและผลประโยชนข องประชาชนมกั จะไปขดั ขวางการกระทาํ ตา งๆ
ท่ีละเมิดกฎหมายและระเบียบหลักเกณฑของสังคมท่ีดีจึงมักไดรับการวิพากษวิจารณทั้งในดานวินัย
ความประพฤติและการปฏิบัติงานจากประชาชนอยูเสมอๆ ทําใหภาพพจนของตํารวจจราจรอยูใน
ระดับไมนาพึงพอใจแมวาสํานักงานตํารวจแหงชาติไดพยายามดําเนินการเนนรูปแบบการอํานวย
ความสะดวกและใหบ รกิ ารดา นการจราจร การสรา งความรคู วามเขา ใจกบั ประชาชนใหม ากขน้ึ การทจี่ ะ



ใหง านดา นการจราจรทง้ั การอาํ นวยความสะดวกดา นการจราจรและการใหค วามปลอดภยั เกดิ ขนึ้ บรรลุ
ผลสําเร็จจะตองใหบุคคลท่ีมีคุณสมบัติเฉพาะเปนกรณีพิเศษนอกเหนือจากมีความรู มีความสามารถ
มีความทรหดอดทนแลว จะตองเปนผูมี ¤Ø³¸ÃÃÁ¨ÃÔ¸ÃÃÁáÅШÃÃÂÒºÃóã¹ÇÔªÒªÕ¾ เปนกรอบ
ในการนาํ ทางไปสเู ปา หมายของการเปน ตาํ รวจจราจรมอื อาชพี ดง่ั วสิ ยั ทศั นข องสาํ นกั งานตาํ รวจแหง ชาติ
“໹š ตาํ ÃǨÁÍ× ÍÒª¾Õ à¾×Íè ¤ÇÒÁ¼ÒÊ¡Ø ¢Í§»ÃЪҪ¹”

“¨ÃÔ¸ÃÃÁ” คือ หลกั การทม่ี นษุ ยในสังคมยึดถอื ปฏิบัติ เพ่อื การอยรู วมกันอยางเปนสขุ
ในสังคมและเมื่อนําไปใชกับการประกอบวิชาชีพ หรือการทํางานซึ่งเปนกิจกรรมท่ีมีความสําคัญ
ที่สุดอยางหน่ึงของมนุษย ก็ยอมหมายความวามนุษยยอมจะตองมีจริยธรรมในการทํางาน หรือการ
ประกอบวิชาชีพ เพราะในการทํางานมนุษยยอมตองมีสังคมซ่ึงประกอบดวยคนหลายคน เนื่องจาก
ในวงการของการทํางานนั้นการทํางานคนเดียวยอมเปนไปไดยาก ดังนั้นจึงสมควรมีการวางกรอบให
มนษุ ยป ระพฤตปิ ฏบิ ตั เิ พอื่ การทาํ งานรว มกนั อยา งสงบสขุ คาํ วา จรยิ ธรรม มกั จะใชค กู บั คาํ วา คณุ ธรรม
เปน คณุ ธรรม จรยิ ธรรม

“¤Ø³¸ÃÃÁ” หมายถึงคุณงามความดีท่ีสั่งสมอยูในจิตใจมนุษยโดยผานประสบการณ
จากการไดสัมผสั ซงึ่ จะแสดงออกมาโดยการกระทําทางกาย วาจาและจิตใจของแตล ะบุคคลเปนสง่ิ ที่มี
ประโยชนตอตนเอง ผูอื่นและสังคม คุณธรรมจึงเปนคุณสมบัติภายในใจใดๆ ก็ตามท่ีเปนคุณสมบัติ
ไมเ ปน โทษ สว นจรยิ ธรรม หมายถงึ สง่ิ ควรประพฤตอิ นั ไดแ ก พฤตกิ รรมเปน การกระทาํ ทางกาย วาจา
ใจ อันดงี ามที่ควรปฏิบตั ิ

ความแตกตางระหวางจรยิ ธรรมกบั คุณธรรม “จริยธรรม” หมายถงึ ความประพฤติปฏบิ ัติ
ทมี่ ธี รรมะเปน ตวั กาํ กบั จรยิ ธรรม กค็ อื ธรรมทเี่ ปน ไป ธรรมทเี่ ปน ขอ ประพฤตปิ ฏบิ ตั ศิ ลี ธรรม กฎศลี ธรรม
“คณุ ธรรม” คอื นามธรรมอยา งหนง่ึ ซงึ่ เกย่ี วขอ งกบั จติ สาํ นกึ ของมนษุ ยท ตี่ ระหนกั ถงึ ความผดิ ชอบชว่ั ดี
(พระเทวินทร เทวินโท, ๒๕๔๔)

“¨ÃÃÂÒºÃó” เปนหลักความประพฤติในการประกอบอาชีพท่ีกลุมบุคคลแตละสาขา
อาชพี ประมวลจดั ทาํ ขนึ้ ไวเ ปน หลกั เพอ่ื ใหส มาชกิ ในสาขาวชิ าชพี นนั้ ๆ ยดึ ถอื ปฏบิ ตั ิ เพอื่ รกั ษาชอ่ื เสยี ง
ภาพพจนท ด่ี ขี ององคก ร และสง เสรมิ เกยี รตคิ ณุ ของวชิ าชพี ของตน จงึ ถอื เปน หวั ใจสาํ คญั อยา งหนงึ่ ของ
องคกรในปจจุบันเพราะถาบุคลากรในองคกรใดขาดในเร่ืองน้ีแลว โอกาสที่องคกรจะกาวหนาก็จะลด
แนนอน โอกาสลมเหลวก็จะมีมากข้ึน จรรยาบรรณจึงเปรียบเสมือนภูมิคุมกันการทุจริตใหกับองคกร
จรรยาบรรณ เปนประมวลความประพฤติท่ีผูประกอบอาชีพการงานแตละอาชีพกําหนดขึ้นเพื่อรักษา
และสง เสรมิ เกยี รตคิ ณุ ชอื่ เสยี งและฐานะของสมาชกิ อาจเขยี นเปน ลายลกั ษณอ กั ษรหรอื ไมก ไ็ ด สาํ หรบั
จรยิ ธรรมเปน หลักประพฤติ มารยาท ทท่ี ุกคนเชือ่ วาเปนส่ิงทถี่ กู ตอ งดีงามที่ผูร ว มอาชีพควรจะรว มกนั
รักษาไวเพือ่ ธํารงเกยี รติและศรทั ธาจากประชาชน ซงึ่ ละเมยี ดละไมกวา กฎ ระเบียบลกึ ซ้งึ กวา วินยั

งานตาํ รวจถอื ไดว า เปน วชิ าชพี (Profession) อยา งหนงึ่ กลา วคอื มคี วามชาํ นาญเฉพาะทาง
ในการใหบริการเก่ียวกับความมั่นคงในการดํารงชีวิตแกประชาชน มีการเรียนรูความชํานาญ



เฉพาะทางนน้ั กอ นเขา สวู ชิ าชพี และตอ งเรยี นรอู ยา งตอ เนอื่ งเปน องคก รทางกฎหมายทมี่ คี วามเปน อสิ ระ
ในการกาํ หนดกตกิ าและควบคมุ การปฏบิ ตั วิ ชิ าชพี ตาํ รวจใหอ ยใู นกรอบจรยิ ธรรมวชิ าชพี ตาํ รวจ เหตผุ ล
ทท่ี าํ ใหต าํ รวจตอ งมจี รยิ ธรรมวชิ าชพี เนอ่ื งจากตาํ รวจมอี าํ นาจใชด ลุ พนิ จิ ตามกฎหมายอยา งกวา งขวาง
กระทบตอความมั่นคง สิทธิ และเสรีภาพ จึงตองการมาตรฐานเชิงจริยธรรมขั้นสูง และสาธารณชน
ตองการใหตํารวจมีกรอบการปฏิบัติหนาท่ีและใชดุลพินิจ มีการลงโทษ ถาประพฤติปฏิบัตินอกกรอบ
(สาํ นกั งานจเรตํารวจ, ๒๕๕๕) เพอื่ เปนกรอบจรยิ ธรรมอาชพี ตํารวจสําหรบั สํานกั งานตาํ รวจแหง ชาติ
ไดอ อก กฎ ก.ตร.วาดวยประมวลจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจสาํ หรบั เปน กรอบการประพฤติ
ปฏิบตั ติ นของขาราชการตํารวจข้ึนคร้ังแรก ในป พ.ศ.๒๕๕๑ ตอ มาไดม กี ารแกไขปรบั ปรุง กฎ ก.ตร.
ดังกลาวใหเหมาะสมกับสถานการณและกาลเวลา จึงไดออก กฎ ก.ตร.วาดวยประมวลจริยธรรม
และจรรยาบรรณของตาํ รวจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๓ ขึ้นมาและมีผลบงั คับใชต งั้ แตว นั ที่ ๑๒ มนี าคม
พ.ศ.๒๕๕๓ เปนตนไป โดยใหกองบัญชาการศึกษาทําหนาที่เปนศูนยสงเสริมจริยธรรมและพัฒนา
คุณธรรมของขาราชการตํารวจมีจเรตํารวจเปนหนวยงานหลักที่มีหนาที่สอดสอง ดูแล รักษา
ใหข า ราชการตาํ รวจประพฤติปฏบิ ัตติ นใหเ ปนไปตามประมวลจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตาํ รวจ

ñ.ò.ñ ¡Ãͺ¢Í§¡ÒûÃоÄμÔ»¯ÔºÑμԢͧ¢ŒÒÃÒª¡ÒÃตําÃǨμÒÁ»ÃÐÁÇŨÃÔ¸ÃÃÁ
áÅШÃÃÂÒºÃó¢Í§ตาํ ÃǨ

ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๕๓ ตาม
กฎ ก.ตร.วาดว ยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ.๒๕๕๓ ไดว างกรอบ
แหง การประพฤตปิ ฏบิ ตั ขิ องขา ราชการตาํ รวจ ซง่ึ ประกอบดว ย ๒ สว น (สาํ นกั งานจเรตาํ รวจ, ๒๕๕๕) คอื

ʋǹ·Õè ñ ÁÒμðҹ¤³Ø ¸ÃÃÁ áÅÐÍ´Ø Á¤μ¢Ô ͧตําÃǨ เปน เครื่องเหนยี่ วรั้งให
ขาราชการตาํ รวจอยใู นกรอบของศีลธรรมและคณุ ธรรม ขณะเดยี วกนั ก็เปน แนวทางชนี้ ําใหขา ราชการ
ตํารวจบรรลถุ งึ ปณิธานของการเปนผูพ ิทกั ษส นั ตริ าษฎร

กําหนดกรอบการประพฤติปฏิบตั ิไวใ น ๓ ดา น คือ
ñ. ÁÒμðҹ¤Ø³¸ÃÃÁ ตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ
ขอ ๔ กําหนดวา “ขาราชการตํารวจพึงยึดถือคุณธรรมสี่ประการตามพระบรมราโชวาทเปนเครื่อง
เหน่ยี วร้ังในการประพฤตติ นและปฏิบตั หิ นา ที”่ ดังน้ี

๑.๑ การรักษาความสัจ ความจริงใจตอตัวเองท่ีจะประพฤติปฏิบัติ
แตส่งิ ที่เปน ประโยชน และเปน ธรรม

๑.๒ การรูจักขมใจตนเอง ฝกตนเองใหประพฤติปฏิบัติอยูในความสัจ
ความดเี ทานน้ั

๑.๓ การอดทน อดกลั้น และอดออม ทจี่ ะไมประพฤตลิ วงความสัจสุจริต
ไมวา ดว ยเหตปุ ระการใด

๑.๔ การรจู กั ละวางความชวั่ ความทจุ รติ และรจู กั สละประโยชนส ว นนอ ย
ของตน เพอ่ื ประโยชนสว นใหญของบา นเมอื ง



ò. ÍØ´Á¤μԢͧตําÃǨ ตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ
ขอ ๕ กําหนดวา “ขาราชการตํารวจพึงยึดถืออุดมคติของตํารวจ ๙ ประการเปนแนวทางช้ีนํา
การประพฤตติ นและปฏบิ ัตหิ นา ท่ีเพ่ือบรรลุถึงปณธิ านของการเปนผูพ ิทกั ษสนั ติราษฎร” ดังนี้

๒.๑ เคารพเอ้อื เฟอตอหนา ท่ี
๒.๒ กรุณาปราณีตอ ประชาชน
๒.๓ อดทนตอ ความเจ็บใจ
๒.๔ ไมหวัน่ ไหวตอ ความยากลําบาก
๒.๕ ไมมกั มากในลาภผล
๒.๖ มงุ บําเพญ็ ตนใหเปน ประโยชนแ กประชาชน
๒.๗ ดาํ รงตนในยุตธิ รรม
๒.๘ กระทําการดว ยปญ ญา
๒.๙ รักษาความไมประมาทเสมอชวี ติ
ó. ¡ÒÃËÁè¹Ñ ÈÖ¡ÉÒËÒ¤ÇÒÁÃÙŒ (Continuous Study)
ประมวลจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตาํ รวจฯ ขอ ๖ กาํ หนดวา “ขา ราชการ
ตํารวจพึงหมั่นศึกษาหาความรูอยูตลอดเวลา เพ่ือพัฒนาตนเองใหทันโลกทันเหตุการณและมีความ
ชํานาญการในงานท่ีอยูในความรับผิดชอบ รวมทั้งตองศึกษาหาความรูเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ
ธรรมเนยี มการปฏบิ ตั ขิ องสว นราชการในกระบวนการยตุ ธิ รรมอน่ื ทเี่ กย่ี วขอ งกบั หนา ทแี่ ละความรบั ผดิ ชอบ
ของตน เพื่อสามารถประสานงานไดอยางกลมกลืนแนบเนียนและเปนประโยชนตอราชการของ
สํานักงานตํารวจแหงชาติ เชน ในการประสานงานกับกระบวนการยุติธรรม ไดแก ฝายอัยการ
ศาล ราชทัณฑ และกระทรวง ทบวง กรม ตาง ๆ
สวนที่ ๒ มาตรฐานทางจริยธรรม และจรรยาบรรณของตํารวจ ประกอบดวย
๒ ดา น คอื มาตรฐานทางจริยธรรมตํารวจ และมาตรฐานทางจรรยาบรรณตํารวจ ดังน้ี
ñ. ÁÒμðҹ·Ò§¨ÃÔ¸ÃÃÁตําÃǨ คือ คุณความดีท่ีเปนขอประพฤติตน
และปฏบิ ตั หิ นา ที่ของขา ราชการตํารวจเพือ่ ใหป ระชาชนศรทั ธา เช่ือมัน่ และยอมรับ
กาํ หนดกรอบการประพฤติปฏบิ ัติ ไวใ น ๙ ดา น คอื
๑.๑ การเคารพยึดม่ันในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริยทรงเปนประมุข (RESPECT) ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจฯ
ขอ ๗ กําหนดวา “ขาราชการตาํ รวจตอ งเคารพ ศรทั ธาและยึดมัน่ การปกครองระบอบประชาธปิ ไตย
อันมพี ระมหากษัตริยท รงเปน ประมุข” ซึ่งตอ งประพฤตปิ ฏบิ ัติ ดงั น้ี

๑) จงรักภักดีและเทิดทูนพระมหากษัตริย พระราชินี และ
พระรชั ทายาท และไมย อมใหผูใ ดลวงละเมิด

๒) สนับสนุนการเมืองประชาธิปไตยดวยศรัทธา มีความเปนกลาง
ทางการเมือง ไมเปนผูบริหารหรือกรรมการพรรคการเมือง และไมกระทําการใดๆ อันเปนคุณ
หรือเปน โทษแกพ รรคการเมือง หรอื ผสู มัครรับเลือกต้งั ท้ังในระดบั ชาติและทองถิน่

๑๐

๑.๒ การเคารพสทิ ธเิ สรภี าพของประชาชน (HUMAN RIGHT) ประมวล
จรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตาํ รวจฯ ขอ ๘ กาํ หนดวา “ขา ราชการตาํ รวจตอ งเคารพสทิ ธแิ ละเสรภี าพ
ของประชาชนตามบทบัญญตั ิแหง รัฐธรรมนญู และตามกฎหมายอ่ืนโดยเครงครัด โดยไมเ ลือกปฏิบตั ”ิ

๑.๓ การปฏบิ ตั หิ นา ทอ่ี ยา งมปี ระสทิ ธภิ าพและประสทิ ธผิ ล (Efficiency &
Effectiveness) ประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจฯ ขอ ๙ กําหนดวา “ขาราชการตํารวจ
ตองปฏบิ ตั หิ นา ท่ีอยางมปี ระสทิ ธิภาพ ประสทิ ธผิ ล และเกิดประโยชนสงู สุดโดยคํานึงถงึ ประโยชนของ
ทางราชการ ประชาชน ชมุ ชน และประเทศชาติเปน สาํ คัญ” ซ่ึงตอ งประพฤติปฏบิ ตั ิ ดังน้ี

๑) ปฏิบัติหนาท่ีดว ยความรวดเรว็ กระตอื รือรน รอบคอบ โปรงใส
ตรวจสอบได และเปนธรรม

๒) ปฏบิ ัตหิ นาทดี่ ว ยความวริ ิยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร เสียสละ
ใชป ฏิภาณ ไหวพริบ กลา หาญและอดทน

๓) ปฏบิ ตั หิ นา ทีด่ ว ยความรับผดิ ชอบ ความเตม็ ใจ ไมละทงิ้ หนา ท่ี
ไมหลีกเล่ียง หรือปด ความรบั ผดิ ชอบ

๔) ดูแลรักษา และใชทรัพยสินของทางราชการอยางประหยัด
คุมคาโดยระมดั ระวังมิใหเสียหายหรือสิ้นเปลอื งเยี่ยงวญิ ชู นจะพงึ ปฏิบัตติ อ ทรัพยสินของตนเอง

๕) รักษาความลับของทางราชการ และความลับท่ีไดมาจากการ
ปฏบิ ตั หิ นา ทห่ี รอื จากประชาชนผมู าตดิ ตอ ราชการ เวน แตเ ปน การเปด เผยเพอ่ื ประโยชนใ นกระบวนการ
ยตุ ธิ รรมหรือการตรวจสอบตามที่กฎหมาย กฎ ขอ บังคบั กําหนด

๑.๔ จิตสํานึกความเปนผูพิทักษสันติราษฎร (Trust) ประมวลจริยธรรม
และจรรยาบรรณของตํารวจฯ ขอ ๑๐ กําหนดวา “ขาราชการตํารวจตองมีจิตสํานึกของความเปน
ผูพทิ ักษสันติราษฎรเ พอื่ ใหป ระชาชนศรทั ธาและเช่อื มั่น” ซ่ึงตองประพฤตปิ ฏิบตั ิ ดังนี้

๑) มที า ทเี ปน มติ ร มมี นษุ ยสมั พนั ธอ นั ดี และมคี วามสภุ าพออ นโยน
ตอประชาชนผูร บั บริการรวมทงั้ ใหบ ริการประชาชนดวยความเตม็ ใจ รวดเรว็ และไมเ ลือกปฏิบตั ิ

๒) ปฏิบัติตนใหเปนที่เชื่อถือไววางใจของประชาชน ไมเบียดเบียน
ไมแ สดงกิริยาหรอื ทาทางไมสภุ าพหรือไมใ หเกยี รติ รวมทงั้ ไมใ ชถอยคาํ กริ ิยาหรอื ทาทาง ทมี่ ลี ักษณะ
หยาบคายดูหมนิ่ หรอื เหยียดหยามประชาชน

๓) เอ้ือเฟอ สงเคราะหและชวยเหลือประชาชนเมื่ออยูในฐานะ
ทจ่ี าํ เปน ตอ งไดร บั ความชว ยเหลอื หรอื ประสบเคราะหจ ากอบุ ตั เิ หตุ การละเมดิ กฎหมาย หรอื ภยั อนื่ ๆ
ไมวา บคุ คลนั้นจะเปน ผตู อ งสงสยั หรือผูกระทาํ ผดิ กฎหมายหรือไม

๔) ปฏบิ ตั ติ ามกฎหมาย และระเบยี บ วา ดว ยขอ มลู ขา วสารของทาง
ราชการอยางเครงครัด การใหขอมูลขาวสารแกประชาชนที่รองขอ ตองดําเนินการดวยความรวดเร็ว
ไมถ ว งเวลาใหเ นิน่ ชา และไมใหข อ มูลขา วสารอนั เปนเทจ็ แกป ระชาชน”

๑๑

๑.๕ ซื่อสัตยสุจริต ยึดมั่นในศีลธรรม (Integrity) ประมวลจริยธรรม
และจรรยาบรรณของตํารวจฯ ขอ ๑๑ กําหนดวา “ขาราชการตํารวจตองมีความซื่อสัตยสุจริต
และยดึ ม่ันในศลี ธรรมโดยยดึ ประโยชนส ว นรวมเหนอื ประโยชนสว นตน” ซึง่ ตองประพฤติปฏิบตั ิ ดังน้ี

๑) ไมใชตําแหนง อํานาจหนาท่ี หรือไมยอมใหผูอ่ืนใชตําแหนง
อาํ นาจ หรอื หนา ทีข่ องตนแสวงหาประโยชนส ําหรบั ตนเอง หรอื ผอู ่ืน

๒) ไมใ ชต าํ แหนง อาํ นาจ หรอื หนา ที่ หรอื ไมย อมใหผ อู นื่ ใชต าํ แหนง
อํานาจหรือหนาทีข่ องตน ไปในทางจงู ใจ หรอื มีอิทธพิ ลตอการตดั สนิ ใจ การใชด ุลพนิ จิ หรือการกระทาํ
ของขาราชการตํารวจ หรือเจาหนาท่ีของรัฐอื่น อันเปนผลใหการตัดสินใจ การใชดุลพินิจหรือการ
กระทาํ ของผูน ้นั สูญเสียความเท่ยี งธรรม และยุติธรรม

๓) ไมร บั ของขวญั นอกเหนอื จากโอกาส และกาลตามประเพณนี ยิ ม
และของขวัญน้ันตองมีมูลคาตามที่คณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติประกาศ
กําหนด

๔) ไมใ ชเ วลาราชการ หรอื ทรพั ยข องราชการเพอ่ื ธรุ กจิ หรอื ประโยชน
สวนตน

๕) ไมประกอบอาชีพเสริมซึ่งมีลักษณะเปนผลประโยชนทับซอน
หรือเปนการขดั กนั ระหวา งประโยชนส วนตนกับประโยชนส ว นรวม

๖) ดํารงชีวิตสวนตัวไมใหเกิดมลทินมัวหมองตอตําแหนงหนาที่
ไมทําผิดกฎหมายแมเห็นวาเปนเรื่องเล็กนอย ไมหมกมุนในอบายมุขท้ังหลาย ไมฟุงเฟอหรูหรา
และใชจายประหยดั ตามฐานะแหง ตน

๑.๖. กลา ยนื หยัดกระทําในสงิ่ ท่ีถูกตอ ง (Ethical Rightfulness) ประมวล
จรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจฯ ขอ ๑๒ กาํ หนดวา “ขาราชการตาํ รวจตอ งภาคภมู ใิ จในวิชาชพี
กลายืนหยัดกระทําในส่ิงท่ีถูกตองดีงามเพ่ือเกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรีของความเปนตํารวจ” ซ่ึงตอง
ประพฤติปฏบิ ตั ิ ดังน้ี

๑) ปฏิบัติหนาท่ีอยางตรงไปตรงมาตามครรลองของการปกครอง
ระบอบประชาธปิ ไตยอนั มพี ระมหากษตั รยิ ท รงเปน ประมขุ ตามรฐั ธรรมนญู และกฎหมายอยา งเครง ครดั

๒) ไมส งั่ ใหผ ใู ตบ ังคับบญั ชาปฏบิ ัติการในสง่ิ ท่ีไมช อบดว ยกฎหมาย
หรอื ขดั ตอ คุณธรรมและศลี ธรรม

๓) ไมปฏิบัติตามคําสั่งที่ตนรู หรือควรจะรูวาไมชอบดวยกฎหมาย
ในการน้ใี หทักทว งเปนลายลักษณอกั ษรตอ ผูบังคบั บญั ชาผูส่ัง

๔) ไมเลี่ยงกฎหมายใชหรือแนะนําใหใชชองโหวของกฎหมาย
เพื่อประโยชนส ําหรบั ตนเองหรอื ผอู ่นื หรือทาํ ใหส ูญเสยี ความเปนธรรมในกระบวนการยตุ ิธรรม

๑๒

๑.๗ หลักปฏบิ ัตใิ นฐานะผบู งั คบั บัญชา (Good Practice – Leadership)
ประมวลจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตาํ รวจฯ ขอ ๑๓ กาํ หนดวา “ในฐานะเปน ผบู งั คบั บญั ชาขา ราชการ
ตํารวจตองประพฤตปิ ฏิบัต”ิ ดงั นี้

๑) ประพฤติปฏิบัติตนเปนผูนําและเปนแบบอยางที่ดี รวมทั้งเปน
ท่ีปรกึ ษาและท่ีพึ่งของผูใตบงั คบั บญั ชา

๒) หมน่ั อบรมใหผ ใู ตบ งั คบั บญั ชายดึ ถอื ปฏบิ ตั ติ ามประมวลจรยิ ธรรม
และจรรยาบรรณวากลาวตักเตือนดวยจิตเมตตา และใหค วามรูเก่ียวกับงานในหนา ที่

๓) ปกครองบงั คบั บญั ชาดว ยหลกั การและเหตผุ ลทถี่ กู ตอ งตามทาํ นอง
คลองธรรม ยอมรบั ฟงความคิดเห็น และไมผ ลกั ความรบั ผดิ ชอบใหผูใ ตบ งั คบั บัญชา

๔) ใชห ลกั คณุ ธรรมในการบรหิ ารงานบคุ คลทอี่ ยใู นความรบั ผดิ ชอบ
ของตนอยา งเครง ครดั และปราศจากความลําเอียง

๑.๘ หลกั ปฏบิ ตั ใิ นฐานะผใู ตบ งั คบั บญั ชา เพอื่ นรว มงาน (Good Practice
–Follower) ประมวลจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณของตาํ รวจฯ ขอ ๑๔ กาํ หนดวา “ในฐานะผใู ตบ งั คบั บญั ชา
และเพ่ือนรวมงาน ขา ราชการตํารวจตอ งประพฤติปฏิบตั ิ” ดังนี้

๑) เคารพเชื่อฟง และปฏิบัติตามคําสั่งผูบังคับบัญชาท่ีชอบดวย
กฎหมาย

๒) รกั ษาวินยั และความสามคั คใี นหมูคณะ
๓) ปฏิบัติตอผูบังคับบัญชาและเพื่อนรวมงานดวยความสุภาพ
มีนํา้ ใจ รักใคร สมานฉนั ทแ ละมมี นุษยสัมพนั ธ รวมท้งั รับฟง ความคิดเห็นของเพื่อนรวมงาน
๔) อทุ ศิ ตนเอง ไมห ลกี เลย่ี งหรอื เกย่ี งงาน รว มมอื รว มใจปฏบิ ตั หิ นา ท่ี
โดยยดึ ความสําเรจ็ ของงานและชอ่ื เสยี งของหนวยเปนทีต่ งั้
๑.๙ คานิยมหลัก ๙ ประการ ตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ของตาํ รวจฯ ขอ ๑๕ กาํ หนดวา “ขา ราชการตาํ รวจตอ งปฏบิ ตั ติ ามคา นยิ มหลกั ของมาตรฐานจรยิ ธรรม
สําหรับเจา หนา ทีข่ องรฐั ตามที่ผูตรวจการแผนดนิ กําหนด” ดังนี้
๑) การยึดม่ันในคณุ ธรรมและจรยิ ธรรม
๒) การมจี ิตสาํ นกึ ท่ดี ี ซอ่ื สตั ย สุจรติ และรับผดิ ชอบ
๓) ยึดถือประโยชนของประเทศชาติเหนือกวาประโยชนสวนตน
และไมม ีผลประโยชนทับซอ น
๔) ยนื หยัดทาํ ในส่งิ ที่ถูกตอง เปนธรรม และถกู กฎหมาย
๕) ใหบริการประชาชนดวยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไมเลือก
ปฏบิ ตั ิ
๖) ใหข อ มลู ขาวสารแกประชาชนครบถว นถูกตอง และไมบ ดิ เบอื น
ขอเทจ็ จรงิ

๑๓

๗) มุงผลสมั ฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปรงใส และ
ตรวจสอบได

๘) ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปน
ประมขุ

๙) ยดึ ม่นั ในหลักจรรยาวชิ าชีพขององคก าร
๑.๒.๒ ¨ÃÃÂÒºÃó¢Í§ตําÃǨ คือ ประมวลความประพฤติในการปฏิบัติหนาที่ของ
วิชาชีพตํารวจท่ีขาราชการตํารวจตองยึดถือปฏิบัติเพ่ือธํารงไวซึ่งศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของขาราชการ
ตํารวจและวชิ าชีพตาํ รวจ
กาํ หนดกรอบการประพฤติปฏิบัติไวใน ๖ ดานดวยกนั คือ
๑. สํานึกในการอํานวยความยุติธรรมและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน
ของประชาชน (Service – Minded) ตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจฯ ขอ ๑๖
กําหนดวา “ขาราชการตํารวจจะตองสํานึกในการใหบริการประชาชนดานอํานวยความยุติธรรม
และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน ใหสอดคลองกับรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน
เพื่อใหประชาชนมคี วามเลอ่ื มใส เชอื่ ม่ัน และศรทั ธา ซึ่งตองประพฤตปิ ฏิบัต”ิ ดังนี้

๑) อํานวยความสะดวกแกประชาชนในการรองทุกข กลาวโทษ ขออนุญาต
ขอขอ มูลขา วสารหรือติดตอ ราชการอนื่ ดวยความเต็มใจ เปน มิตร ไมเ ลอื กปฏบิ ัติและรวดเรว็ เพอ่ื ไมใ ห
ประชาชนเสยี สิทธหิ รอื เสรภี าพตามกฎหมาย

๒) สุภาพ ออนนอม และใหเกียรติประชาชน เพ่ือใหเกิดความนาเคารพยําเกรง
ไมใ ชถ อ ยคาํ กิริยา หรอื ทาทางท่มี ีลกั ษณะหยาบคาย ดูหมนิ่ หรือเหยยี ดหยามประชาชน

๓) ในขณะปฏิบัติหนาที่ตองดํารงตนใหอยูในสภาพท่ีพรอมและเหมาะสมแกการ
ปฏบิ ัติหนา ทดี่ ว ยความนาเชอ่ื ถือและนาไววางใจ

๔) พกพาอาวธุ ตามระเบยี บแบบแผน ไมจ บั หรอื ถอื อาวธุ หรอื เลง็ อาวธุ ไปยงั บคุ คล
โดยปราศจากเหตอุ ันสมควร

๕) พกพาเอกสารหรือตราประจําตัว และแสดงเอกสารหรือตราประจําตัวเม่ือมี
บุคคลรอ งขอ

๒. ¡ÒÃÃЧѺàËμØ ¨Ñº¡ØÁ¼ÙŒ¡ÃÐทํา¼Ô´ (Order & Arrest) ประมวลจริยธรรม
และจรรยาบรรณของตํารวจฯ จรรยาบรรณของตํารวจ ขอ ๑๗ กําหนดวา “เมือ่ เขา จับกมุ หรอื ระงับ
การกระทําผิดขาราชการตํารวจตองยึดถือและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอยางเครงครัด”
ซงึ่ ตอ งประพฤติปฏิบัติดังน้ี

๑) แสดงถึงการอุทิศตนและจิตใจใหแกการปฏิบัติหนาที่อยางกลาหาญและมี
สตปิ ญญา

๑๔

๒) ยืนหยัดเจตนารมณในการรักษากฎหมายใหถึงท่ีสุด ไมประนีประนอม
ผอนปรนหรือละเลยการดําเนินการตามกฎหมายตอผูกระทําความผิด ทั้งน้ีใหระลึกเสมอวา
การใชกฎหมายจะตองคํานึงถึงหลกั มนษุ ยธรรมดว ย

๓) ไมใชมาตรการรุนแรง เวนแตการใชมาตรการปกติแลวไมเพียงพอท่ีจะ
หยุดยง้ั ผูกระทาํ ความผิดหรอื ผูต อ งสงสัยได

๓. ¡ÒÃ㪌กําÅѧÍÒÇظáÅÐกําÅѧ (Force & Firearm) ประมวลจริยธรรม
และจรรยาบรรณของตํารวจฯ ขอ ๑๘ กาํ หนดวา “ขา ราชการตาํ รวจตองตระหนักวาการใชอาวุธ กําลงั
หรือความรุนแรงเปนมาตรการท่ีรุนแรงท่ีสุด ขาราชการตํารวจอาจใชอาวุธ กําลังหรือความรุนแรงได
ตอเม่ือมีความจําเปนภายใตกรอบของกฎหมายและระเบียบแบบแผนหรือเม่ือผูกระทําความผิด
หรอื ผตู องสงสยั ใชอาวธุ ตอ สขู ัดขวางการจับกมุ หรือเพ่อื ชวยบคุ คลอ่นื ทอี่ ยูในอันตรายตอชีวิต

เม่อื มกี ารใชอาวธุ กาํ ลงั หรอื ความรุนแรง ไมว า จะมีผูบาดเจ็บหรือเสยี ชวี ติ หรือไม
ขา ราชการตาํ รวจตองรายงานเปน หนังสอื ตอ ผบู งั คบั บัญชาตามระเบียบแบบแผนทนั ที”

๔. ¡ÒÃÊ׺ÊǹÊͺÊǹ (Evidence & Investigation) ประมวลจริยธรรม
และจรรยาบรรณของตํารวจฯ ขอ ๑๙ กาํ หนดวา “ในการรวบรวมพยานหลักฐานการสบื สวนสอบสวน
การสอบปากคํา หรือการซักถามผูกระทําความผิด ผูตองหาผูท่ีอยูในความควบคุมตามกฎหมาย
ผูเสียหาย ผูรูเห็นเหตุการณ หรือบุคคลอ่ืน ขาราชการตํารวจตองแสดงความเปนมืออาชีพโดยใช
ความรคู วามสามารถทางวชิ าการตาํ รวจรวมทงั้ ใชป ฏภิ าณไหวพรบิ และสตปิ ญ ญา เพอื่ ใหไ ดข อ เทจ็ จรงิ
และธํารงไวซ่ึงความยตุ ิธรรม” ซง่ึ ตอ งประพฤติปฏิบตั ิ ดงั น้ี

๑) ไมท าํ การทารณุ หรอื ทารณุ กรรมตอ บคุ คลหรอื ตอ บคุ คลอนื่ ทเี่ กยี่ วขอ งสมั พนั ธ
กบั บุคคลน้นั

๒) ไมใช จาง วาน หรือยุยงสงเสริมหรือปลอยปละละเลยใหมีการทารุณ
หรือทารุณกรรมตอบคุ คลหรอื ตอบุคคลอืน่ ทเี่ กย่ี วขอ งสัมพนั ธก บั บคุ คลน้ัน

๓) ไมก ระทาํ การขม ขหู รอื รงั ควาน หรอื ไมใ ชอ าํ นาจทมี่ ชิ อบหรอื แนะนาํ เสยี้ มสอน
บคุ คลใหถอยคําอนั เปนเท็จหรือปรักปรําผูอน่ื

๔) ไมกักขังหรือหนวงเหนี่ยวบุคคลที่ยังไมไดถูกจับกุมตามกฎหมาย เพื่อการ
สอบปากคํา

๕) ไมใ ชอาํ นาจท่ีมชิ อบเพ่ือใหไดม าซง่ึ พยานหลกั ฐาน
๕. ¡ÒôÙáżٌμŒÍ§ËÒ㹤ÇÒÁ¤Çº¤ØÁ (In-custody) ประมวลจริยธรรม
และจรรยาบรรณของตาํ รวจฯ ขอ ๒๐ กาํ หนดวา “ขา ราชการตาํ รวจตอ งควบคมุ ดแู ลบคุ คลทอ่ี ยใู นการ
ควบคุมของตนอยางเครงครัดตามกฎหมายและมีมนษุ ยธรรม” ซงึ่ ตอ งประพฤตปิ ฏิบัติ ดงั น้ี

๑) ไมผอนปรนใหบุคคลน้ันมีสิทธิหรือไดประโยชนโดยไมชอบดวยกฎหมาย
และระเบยี บแบบแผน

๒) ไมร บกวนการตดิ ตอ สอ่ื สารระหวา งบคุ คลกบั ทนายความตามสทิ ธแิ หง กฎหมาย

๑๕

๓) จัดใหบุคคลไดรับการรักษาพยาบาลหรือการดูแลทางการแพทยตามสมควร
แกก รณีเมอื่ บุคคลนัน้ มีอาการเจ็บปวยหรือรองขอ

๔) ไมควบคุมเด็กและเยาวชนรวมกับผูกระทําความผิดท่ีเปนผูใหญหรือไมคุมขัง
ผูหญงิ รวมกับผูชาย เวน แตเปนกรณีท่ีมีกฎหมายและระเบยี บแบบแผนอนญุ าต

๖. ¡ÒÃÃ¡Ñ ÉÒ¤ÇÒÁÅºÑ ·äèÕ ´¨Œ Ò¡¡Òû¯ºÔ μÑ ÃÔ Òª¡Òà (Confidentiality) ประมวลจรยิ ธรรม
และจรรยาบรรณของตํารวจฯ ขอ ๒๑ กําหนดวา “ขอมูลขาวสารที่ขาราชการตํารวจไดมาจากการ
ปฏบิ ตั หิ นา ทต่ี ามขอ ๑๙ หรอื จากการปฏบิ ตั หิ นา ทอ่ี นื่ ขา ราชการตาํ รวจจะตอ งรกั ษาขอ มลู ขา วสารนน้ั
เปนความลับอยางเครงครัดเพราะอาจเปนอันตรายตอผลประโยชนหรือช่ือเสียงของบุคคล
หรืออาจเปนคุณหรือเปน โทษทงั้ ตอผเู สยี หายหรอื ผกู ระทาํ ความผดิ

ขาราชการตํารวจจะเปดเผยขอมูลนั้นไดตอเมื่อมีความจําเปนตอการปฏิบัติหนาที่
หรือเพ่ือประโยชนในราชการตํารวจที่ชอบดวยกฎหมาย หรือเพื่อการดําเนินการตามกระบวนการ
ยุติธรรมเทานนั้ ”

»ÃÐ⪹¢Í§¢ÒŒ ÃÒª¡ÒÃตําÃǨ·ÕèÁÕ¤³Ø ¸ÃÃÁáÅШÃÂÔ ¸ÃÃÁ
ขา ราชการตาํ รวจผปู ฏบิ ตั หิ นา ทส่ี ายงานจราจรถอื เปน ผทู อ่ี ยใู กลช ดิ และสมั ผสั กบั ประชาชน
มากทสี่ ดุ ดงั นนั้ ตาํ รวจจราจรจงึ ตอ งทาํ ตวั ใหเ ปน ตาํ รวจทดี่ ี เปน ทไี่ วว างใจของประชาชนซง่ึ การปฏบิ ตั ติ น
ใหเ ปน ขา ราชการตาํ รวจทดี่ ี ทาํ ใหม คี ณุ คา และเปน ประโยชนต อ ตนเองและสงั คม (กองบญั ชาการศกึ ษา,
๒๕๕๑) ดังน้ี
๑. เปนประโยชนตอ ตวั ตาํ รวจเองและครอบครวั เชน ถาหากตาํ รวจเลิกละอบายมขุ ได
ไมด ม่ื สรุ า ไมส บู บหุ รี่ ไมเ ลน การพนนั ไมเ ทย่ี วกลางคนื ไมค บมติ รชวั่ อนั จะพาใหต วั พลอยประพฤตชิ ว่ั
ไปดว ยแลวเงินรายไดก็จะมีเพียงพอยงั ชพี ไมเ ดอื ดรอน ครอบครวั ก็จะมีความสขุ
๒. เปนประโยชนตอสํานักงานตํารวจแหงชาติในการที่ทําใหภาพพจนหรือภาพลักษณ
ของตาํ รวจดขี นึ้ เปน ที่พอใจของประชาชน และเปน แบบอยางท่ีดี
๓. เปนประโยชนตอการปฏิบัติหนาท่ีการงานของตํารวจเพราะนอกจากเปนการทําให
ตนเองไมมีปญหาอันอาจเปนอุปสรรคในการปฏิบัติหนาที่การงานแลวผูมีคุณธรรมยอมเปนผูที่มี
ความขยันขันแข็ง เสียสละและสามัคคีอันเกิดจากความไมเห็นแกตัว อันจะทําใหการปฏิบัติงาน
มีประสิทธภิ าพมากขน้ึ อีกดว ย
๔. ไดรับความรวมมือรวมใจจากประชาชน เพราะเมื่อตํารวจทําตนเปนคนดี มีความ
ซื่อสัตยยอมเปนที่รักใครนับถือของประชาชน ประชาชนยอมมีความศรัทธาเลื่อมใส มีความเชื่อม่ัน
ในการทํางานของตํารวจ ประชาชนก็จะใหความรวมมือในการทํางานของตํารวจ ไมฝาฝนกฎหมาย
ใหข าวสารและยินดเี ปนพยานใหต าํ รวจ เปนตน การกระทาํ ผดิ กฎหมายจะลดนอ ยลง
จริยธรรมตํารวจน้ันนอกจากจะเปนเคร่ืองวัดหรือทดสอบวาบุคคลใดจะเปนขาราชการ
ตํารวจที่นายกยองแลว ยังเปนเหตุใหบุคคลผูเปนขาราชการตํารวจนั้นเองไดรับความเจริญงอกงาม
ในตําแหนงหนา ที่ของตนดวย

๑๖

ñ.๒.๓ ÊÀØ Ò¾ºØÃØɨÃÒ¨Ã
ตํารวจจราจร เปนตํารวจท่ีใกลชิดประชาชนมากท่ีสุด ภาพการปฏิบัติหนาท่ี

ของตาํ รวจจราจรทปี่ รากฏตอ ประชาชนจงึ เปน ภาพลกั ษณอ งคก รทป่ี ระชาชนรบั รผู า นตวั บคุ คลและอาจ
สงผลตอภาพลักษณขององคกรสํานักงานตํารวจแหงชาติ ในท่ีสุดภาพการปฏิบัติหนาท่ีของตํารวจ
จราจรทถี่ กู สะทอ นในมมุ มองของประชาชนจงึ ทาํ ใหเ หน็ ถงึ มมุ หนง่ึ ในการแกป ญ หาในองคก ร ประมวล
จริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจสําหรับเปนกรอบการประพฤติปฏิบัติตนของขาราชการตํารวจ
จงึ อาจไมเ พยี งพอในการแกป ญ หา “Ç¡Ô ÄμÈÃ·Ñ ¸Ò” จากประชาชน โจทยท ต่ี าํ รวจทกุ คนรวมถงึ ผบู รหิ าร
องคกรสํานักงานตํารวจแหงชาติตองชวยกันแก คือ “ทําอยางไรสํานักงานตํารวจแหงชาติจะสามารถ
สื่อสารใหประชาชนรับรูไดวาตํารวจจราจรปฏิบัติหนาที่อยางเขมแข็ง ตองฝาฟนปญหาอุปสรรค
มากมายเพอ่ื ใหป ระชาชนคนไทยใชร ถใชถ นนอยา งปลอดภยั และสะดวก” (ปนดั ดา ชาํ นาญสขุ , ๒๕๕๖)
สภุ าพบรุ ษุ จราจร จงึ เปน ภาพลกั ษณใ หมข องตาํ รวจจราจรทพ่ี ลตาํ รวจเอก อดลุ ย แสงสงิ แกว ผบู ญั ชาการ
ตํารวจแหงชาติกําหนดขึ้นเพื่อใหตํารวจจราจรทําหนาที่เปรียบเสมือนทูตขององคกรหรือส่ือบุคคล
ท่จี ะเสรมิ ความนาเชือ่ ถอื และไววางใจจากประชาชน โดยมงุ เนน ให “สุภาพบุรุษจราจร เปน ตํารวจทดี่ ี
หรือตํารวจท่ีมีความรับผิดชอบและตองอยูบนพื้นฐานแหงความดีและความถูกตองตามกฎหมาย
ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามศีลธรรมและจริยธรรม มีความกลาคิด กลาพูด กลาทํา กลาตัดสินใจ
และกลา เสยี สละ” (กองบญั ชาการตาํ รวจนครบาล, ๒๕๔๒) คาํ วา สภุ าพบรุ ษุ จราจรเปน คาํ กลา วทปี่ รากฏ
คร้ังแรก ในหนังสือคูมอื การปฏบิ ัตงิ านตาํ รวจจราจรของ กองบงั คบั การตาํ รวจจราจร กองบญั ชาการ
ตํารวจนครบาล ในสมัยที่ พลตํารวจเอก อดุลย แสงสิงแกว ผูบัญชาการตํารวจแหงชาติขณะดํารง
ตําแหนง ผูบงั คบั การกองบังคบั การตํารวจจราจร ใน พ.ศ.๒๕๔๒ และในเวลาตอ มา คาํ วาสภุ าพบรุ ุษ
จราจร ก็ไดนํามาเปนขอกําหนดในนโยบายการบริหารราชการดานงานจราจรของสํานักงานตํารวจ
แหง ชาติ ตงั้ แตปง บประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ เปน ตน มา

¤³Ø ÅѡɳТͧÊÀØ Ò¾ºÃØ ÉØ ¨ÃÒ¨Ã
จากนโยบายการบรหิ ารราชการของพลตาํ รวจเอก อดลุ ย แสงสงิ แกว ผบู ญั ชาการ
ตํารวจแหงชาติประจําปงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ ขอ ๓.๑.๘ การปฏิบัติงานดานการจราจรเนนให
ตํารวจจราจรปฏิบัติหนาที่ดวยความโปรงใส มีความซ่ือสัตยสุจริตและบริการประชาชนอยางสุภาพ
เทา เทยี มโดยยดึ ประชาชนเปน ศนู ยกลางและเปนท่ีพึ่งของประชาชนไดอ ยา งแทจริง รวมทั้งใหพ ฒั นา
ระบบการบริการจราจรใหมีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมุงเนนการเปน “สุภาพบุรุษ
จราจร” อันเปนการรักษาและสรางภาพลักษณที่ดีของสํานักงานตํารวจแหงชาติ (สํานักงานตํารวจ
แหงชาติ, ๒๕๕๗) โดยสุภาพบุรุษจราจรถูกกลาวถึงในหนังสือคูมือการปฏิบัติงานตํารวจจราจร
ของกองบงั คบั การตาํ รวจจราจร กองบัญชาการตํารวจนครบาล กําหนดวาตอ งคณุ ลกั ษณะดงั ตอไปนี้
(กองบญั ชาการตาํ รวจนครบาล, ๒๕๔๒)

๑๗

๑. ¡ÒÃá싧¡ÒÂ´Õ เคร่ืองแตงกายเปนเครื่องที่สามารถบอกไดวาคนที่สวมใส
เปน บคุ คลเชน ไร มคี วามเอาใจใสต อ ตนเองและหนา ทก่ี ารงานมากนอ ยเพยี งใด คนทม่ี องจะมองศรี ษะ
จนถงึ ปลายเทา โดยเฉพาะตาํ รวจจราจรทย่ี นื อาํ นวยการจราจรตามจดุ ตา งๆ วา มคี วามพรอ มทจี่ ะออก
ไปปฏบิ ตั หิ นา ทเี่ พอื่ เกดิ ความผาสกุ และความปลอดภยั แกผ ใู ชร ถใชถ นนมากนอ ยเพยี งใด “ตาํ รวจจราจร”
มเี อกลกั ษณท แ่ี ตกตา งจากตาํ รวจทว่ั ไปคอื ขณะปฏบิ ตั หิ นา ทจี่ ะตอ งตดิ ปลอกแขนสขี าวทดี่ า นขวาตง้ั แต
ระดับ จ.ส.ต. ข้ึนไป และคาดเข็มขัดสายโยงสีขาว ต้ังแต ส.ต.อ. ลงมาตองสวมถุงมือสีขาวทุกคร้ัง
ในขณะท่คี วบคมุ การจราจรมีความสะอาดเรยี บรอย

ดงั น้นั การแตง กายทีด่ คี วรมลี ักษณะดังตอไปน้ี คอื
๑.๑ หมวกตอ งใหมและสะอาด
๑.๒ หนา หมวกเครือ่ งหมายที่เปนโลหะตองขัดใหใหมและเงา
๑.๓ ปลอกแขนหรือเข็มขัดสายโยงสขี าว ตองสีขาว สะอาด
๑.๔ ถงุ มอื ตองสีขาว สะอาด
๑.๕ สายนกหวดี สะอาดและใหม พรอมนกหวีด
๑.๖ รองเทา ตอ งขดั ใหส ะอาดและเปนเงา
๑.๗ ตัดผมรองทรง โกนหนวดและเคราใหแ ลดูเรยี บรอ ย
๑.๘ ไมส วมสรอยขอมอื (นอกจากนาฬกา)
๑.๙ ไมค วรสวมสรอ ยทอง สวมแหวนเพชร ทเ่ี หน็ จากภายนอกวา มรี าคาแพง

เปนการแสดงถึงมฐี านะราํ่ รวย
๑.๑๐ นอกจากวิทยุส่ือสารกับอาวุธปนแลวไมควรพกวิทยุติดตามตัว

หรอื โทรศพั ทมอื ถอื หรือซองแวนตาไวโ ดยรอบเขม็ ขดั
๑.๑๑ ดูแลยานพาหนะ จะเปนรถยนตหรือรถจักรยานยนตใหสะอาด

ตลอดเวลาที่นํารถออกไปปฏิบัตหิ นาที่
๒. ºØ¤ÅÔ¡´Õ จากคาํ ทีว่ า กิริยาสอสกุล เปนคาํ พังเพยใหเห็นวา เปนคนอยา งไร

นอกจากจะเครื่องแตงกายดีแลว บุคลิกกเ็ ปน เคร่ืองประกอบกนั เปนการเสรมิ ใหแ ลดูงดงามมากยง่ิ ขนึ้
โดยเฉพาะตํารวจจราจรท่ีตองออกปฏิบัติหนาท่ีหรือควบคุมการจราจร ตํารวจจราจรจะตองสวม
เครื่องแบบที่สงางามแลวยังตองมีบุคลิกภาพเปนท่ีนาอบอุนและเปนท่ีเกรงขามควบคูกันไปดวย
นอกจากนนั้ การหาตาํ แหนงจดุ ยืนจะตอ งใหผ ขู บั ขม่ี องเห็นอยา งชดั เจนแสดงใหเ หน็ ถึงการปอ งปราม
ผูกระทําผิดดวย สวนตัวตํารวจจราจรเองจะตองยืนอยูในบริเวณท่ีสามารถมองเห็นรถและควบคุม
การจราจรทุกดานไดและประเด็นสําคัญจุดยืนของตํารวจจราจร จะตองใหเกิดความปลอดภัยท้ังตัว
เจาหนาท่ีตํารวจเองและผูใชรถใชถนนดวย ดังนั้นการจะยืน การจะนั่งหรือการเคล่ือนไหวใหเปน
ไปตามธรรมชาติ รวมท้ังการอํานวยความสะดวกดานการจราจรจะตองโบกรถดวยทาสัญญาณตาม
ท่ีกฎหมายกําหนดและหมั่นฝกฝนใหเ กิดความชํานาญตลอดเวลา

๑๘

ดงั น้ัน เจา หนาที่ตํารวจที่มบี ุคลกิ ดคี วรมลี ักษณะดังตอ ไปนี้ คือ
๒.๑ การยืนควรยืนตัวตรงกึ่งตามระเบียบพักพรอมท่ีจะเคลื่อนไหว
และสงั เกตการณสภาพปญ หารอบดา น
๒.๒ หาจุดยืนท่ีเหมาะสม ที่เห็นเดนชัด สามารถมองเห็นรถทุกดาน
และผูขับข่ีรถมองเห็นไมเ ปนจดุ อับสายตา
๒.๓ ไมค วรยืนสูบบหุ รี่ขณะปฏิบัตหิ นาท่ี
๒.๔ ไมถ กหรอื พบั แขนเสือ้
๒.๕ ไมควรสวมแวน กันแดด เปนการแสดงใหเ หน็ ถึงการซอ นเรน แววตา
๒.๖ สวมถุงมอื และหมวกทกุ ครงั้ เม่อื ปฏิบัตหิ นา ที่
๒.๗ ไมควรอานหนังสือพิมพหรืออานหนังสืออานเลน หรือฟงวิทยุ
หรือดโู ทรทัศนร ะหวา งปฏบิ ตั หิ นาท่ี
๒.๘ มีความต่นื ตวั ในการปฏิบัติหนา ท่ตี ลอดเวลา
๒.๙ ระมดั ระวังบุคลิกภาพในการแสดงออกตอ สายตาประชาชน
๒.๑๐ การเขา หาระหวางท่จี ะทาํ การจบั กมุ ใหเ ขาหาทางดา นผถู ูกจับกมุ นง่ั
แสดงการทักทายดว ยทา วันทยหัตถ พรอมกับใชว าจาสภุ าพวา “ÊÇÑÊ´¤Õ ÃºÑ ”
๒.๑๑ หา มยดึ กญุ แจรถ โดยไมม เี หตสุ มควรและหา มใชม อื หรอื วสั ดทุ ถ่ี อื อยู
เชน วิทยุส่อื สารหรอื เสาอากาศเคาะรถของผถู กู จับกุมโดยเดด็ ขาด
๓. ÇÒ¨Ò´Õ การพูด สามารถทําเรื่องเล็กกลายเปนเรื่องใหญ และทําเรื่องใหญ
กลายเปน เรอ่ื งเลก็ ได การใชค าํ พดู จะตอ งรกู าลเทศะ สถานการณใ นขณะนน้ั ๆ ตอ งยอมรบั วา เจา หนา ท่ี
ตาํ รวจจราจรเหนด็ เหนอื่ ยตอ การตรากตราํ ตอ การทาํ งาน เกดิ ความเครยี ดในขณะปฏบิ ตั หิ นา ที่ การใชค าํ พดู
อาจกอใหเกดิ จากเร่อื งเลก็ กลายเปน เรื่องใหญได ดงั นนั้ ตํารวจจราจรขณะปฏบิ ัตหิ นาทีค่ วรระมดั ระวงั
คาํ พดู อาจทาํ ใหเ กดิ ความไมเ ขา ใจกนั ระหวา งเจา หนา ทต่ี าํ รวจจราจรกบั ผขู บั ขรี่ ถได จะเหน็ วา ความรสู กึ
ของประชาชนทั้งๆ ที่ตนเองทําผิด เมื่อตํารวจจับกุม หาวาตํารวจแกลงจับ ดังน้ันการเรียกรถหยุด
ตองแสดงกิริยาสุภาพและคําพูดที่สุภาพออนโยน ตองใชคําพูด “ÊÇÑÊ´Õ¤ÃѺ” หรือ “¢Íº¤Ø³¤ÃѺ”
ใหเปน และพยายามหลีกเล่ียงการโตแ ยง คือ
๓.๑ ตองใชค าํ วา ÊÇÊÑ ´¤Õ ÃºÑ และ ¢Íº¤³Ø ใหเปน และใชท ุกครั้งเมอ่ื เรยี ก
รถหยุด
๓.๒ เม่ือรถหยุดเพ่อื สอบถาม ตองรีบใหการตอนรับและใชคาํ วา “ÁÕÍÐäÃ
ãËÃŒ Ѻ㪌¤ÃѺ”
๓.๓ การใชค าํ พดู และนาํ้ เสยี ง ฟง แลว ตอ งสภุ าพออ นโยน ไมต ะคอก หรอื พดู จา
แบบหวนๆ
๓.๔ ไมใชแ ววตาแบบยียวนหรือมองดว ยความดูถูกเหยียดหยาม

๑๙

หยดุ พกั ผอ นชว่ั ขณะ ๓.๕ ไมใ ชค าํ พูดวกวน แกลง ต้ังขอ หา หรอื แกลง จบั ผดิ
๓.๖ เมอื่ เรยี กใหร ถหยดุ ตอ งต้งั ขอ หาอยางชดั เจน
๓.๗ หามใชค าํ พูด “ลือ้ อว๊ั มึง กู หรอื ถอ ยคาํ ท่ีไมสุภาพ” อยา งเด็ดขาด
๓.๘ หากรูวาตัวเองมีอารมณเครียด ควรใหผูอื่นปฏิบัติหนาท่ีแทน และ
๓.๙ หา มโตแ ยง หากมปี ญ หาแจง ใหน ายตาํ รวจผคู วบคมุ หรอื หวั หนา ชดุ ทราบ

๔. ¡ÒÃã˺Œ Ã¡Ô ÒÃ´Õ ปรชั ญาของการบรกิ าร ใหค วามหมายของคาํ วา การบรกิ าร
คอื การพฒั นาตนเองแบบหนงึ่ การบรกิ ารคอื คา เชา ทเี่ ราตอ งจา ยในการทจ่ี ะอยใู นโลกนอี้ ยา งมคี วามสขุ
การบรกิ ารคือ จติ ท่คี ดิ จะใหย อ มสุขใจกวาจิตทีค่ อยแตจะรบั การบริการคือทําประโยชนใ หประชาชน
เกินกวาที่ประชาชนคาดหวัง การบริการจึงเปนการสรางจุดยืนแหงชีวิตเกี่ยวกับทัศนคติที่มีตอตนเอง
และสังคมเปนการพัฒนาจิตใจตนเอง เมื่อใหบริการแลวจะเกิดความสุขและมีความปติเกิดข้ึนภายใน
จติ ใจโดยไมร ตู วั สาํ หรบั ตาํ รวจจราจรหากพรอ มทจี่ ะใหบ รกิ ารแลว สามารถสรา งความประทบั ใจใหก บั
ประชาชนได คือ

๔.๑ ตอ งมีความเตม็ ใจ และรสู ํานกึ ในหนา ที่
๔.๒ ตอ งชว ยเหลอื ดว ยความบรสิ ทุ ธใ์ิ จ และไมห วงั ผลประโยชนต อบแทน
๔.๓ ตอ งมคี วามรับผิดชอบตอหนาที่ ทั้งในและนอกหนา ที่ราชการ
๔.๔ ใหคําแนะนําตอประชาชนที่มาติดตอ และสามารถตอบคําถาม
ขอปญหาไดอ ยางถกู ตอ ง
๔.๕ ตองมคี วามชดั เจน สะดวก รวดเรว็
๔.๖ ตอ งมีความเปน กนั เอง และย้มิ แยมแจมใส
๔.๗ เตรยี มความพรอ มเพ่ือชว ยเหลือ เมือ่ ไดร บั การรอ งขอ
๕. Á¤Õ ÇÒÁÂμØ ¸Ô ÃÃÁ ประชาชนมองตาํ รวจจราจร วา เลอื กปฏบิ ตั ิ ไมใ หค วามยตุ ธิ รรม
คอยจอ งจบั ผดิ รถจกั รยานยนต รถยนตส ามลอ รบั จา ง รถแทก็ ซแ่ี ละรถบรรทกุ ฯลฯ ไมค วรเลอื กปฏบิ ตั ิ
หากทาํ การจบั กมุ ในขอ หาเดยี วกนั หลายๆ คนั การปฏบิ ตั หิ นา ทคี่ วรตอ งยดึ ความยตุ ธิ รรมเปน หลกั คอื
๕.๑ ไมเลอื กปฏิบัติ
๕.๒ ปฏบิ ตั หิ นา ทีอ่ ยางตรงไปตรงมา
๕.๓ พยายามหลกี เลี่ยงปญหาขอขัดแยง
๕.๔ แสดงตวั อยา งเปด เผยใหป ระชาชนเหน็ เดน ชดั หา มดกั จบั โดยอาํ พราง
หรือซมุ ดกั จบั โดยเดด็ ขาด
๕.๕ ไมควรเดนิ รอบรถเพอื่ คน หาความผิด
๕.๖ การวา กลา วตักเตือน ตองใชก ิริยาวาจาท่สี ุภาพ หา มใชค าํ ในลักษณะ
ตอ รอง เชน จะเอาอยางไร จะเสียคา ปรับทโ่ี รงพักหรือที่น่ี อนั เปน การแสดงเจตนาท่ไี มบรสิ ุทธิ์

๒๐

๖. μÍŒ §ÁนÕ ํ้า㨠ตาํ รวจจราจรจะตอ งราํ ลกึ ไวเ สมอวา การใหย อ มสขุ กวา การรบั
การชวยเหลือบุคคลอ่ืนยอมสุขใจเกิดความปล้ืมปติ นอกจากน้ันตองเขาใจวาความผิดเก่ียวกับการ
จราจร ไมใชเปนความผิดเก่ียวกับอาชญากรรม ตํารวจจราจรสามารถใชวิจารณญาณในขณะน้ัน
ดว ยการผอนปรน บางกรณีดวยการวากลา วตกั เตือนและบางโอกาสใหความชวยเหลอื ตามควร คอื

๖.๑ เมอ่ื พบผเู จบ็ ปว ยหรือมอี บุ ตั ิเหตุ ชวยรีบนําสงโรงพยาบาล
๖.๒ ชวยพาหรอื จงู คนตาบอด คนชรา เด็กขา มถนน
๖.๓ ใหคาํ แนะนําและช้ีแนะเมอ่ื ประชาชนสอบถาม
๖.๔ ใหคําแนะนําและชี้เสนทางจราจรไดอ ยางถูกตอ ง
๖.๕ พบรถจอดเสยี ใหค วามชว ยเหลอื แนะนาํ วธิ กี ารเคลอื่ นยา ยและประสานงาน
กับอูซอ มรถ
๖.๖ พบอุบัติเหตุ ใหการชวยเหลือ ประสานงานหนวยงานท่ีเกี่ยวของ
และนาํ ผูบ าดเจบ็ สง โรงพยาบาล และติดตอญาติทนั ที
๖.๗ พบคนชราหรือเด็กพลัดหลงประสานงานหนวยงานท่ีเกี่ยวของ
หรอื หาวิธสี งกลับบานหรอื พยายามติดตอญาติ
๖.๘ ลากหรอื เขน็ และดแู ลใหการชว ยเหลือ รถยางแตกหรือนาํ้ มนั หมด
๖.๙ ลากหรือเข็น และดแู ลชว ยเหลือรถเสยี บรเิ วณน้าํ ทว ม
๗. ໚¹μÑÇÍ‹ҧ·Õè´Õ ตํารวจจราจรตองไมทําผิดเสียเอง อยาใหประชาชน
มองตํารวจจราจรวา เปนผรู ักษากฎหมายแลวจะทําอยางไรกไ็ ดจ ะทาํ ใหเ ปนขอ อางหรอื ทําตามได เชน
๗.๑ การขบั ข่ีรถจกั รยานยนตหรอื ซอ นทายโดยไมส วมหมวกนริ ภัย
๗.๒ การขับรถยอ นทาง
๗.๓ การขบั รถยนตไมค าดเขม็ ขดั นิรภัย
๗.๔ การหยดุ หรอื จอดบรเิ วณเครอื่ งหมายหา ม หรอื เครอื่ งหมายขาว แดง
๗.๕ การนาํ รถไปจอดบนทางเทา
๗.๖ การขับข่รี ถขึน้ ไปบนทางเทา
๗.๗ การขบั ข่รี ถฝา สญั ญาณไฟแดง
๗.๘ การจอดรถหรอื หยดุ รถกีดขวางการจราจร
๗.๙ การจอดรถในเขตปา ยรถประจําทาง
๗.๑๐ การหยุดรถทบั บริเวณทางขาม และบรเิ วณเสน ทแยงเหลือง
๗.๑๑ การเลีย้ วกลับรถบริเวณท่มี ีเครอ่ื งหมายหาม
๗.๑๒ ใชรถยนตหรือรถจักรยานยนตไมต ิดแผนปายทะเบยี น
๗.๑๓ ใชรถยนตหรอื รถจักรยานยนตตราโล ไมแตงเครือ่ งแบบ
๗.๑๔ ทงิ้ กนบหุ รี่หรือเศษกระดาษบนทอ งถนน
๗.๑๕ ไมขา มถนนบรเิ วณทางขา ม

๒๑

นอกจากนส้ี ง่ิ สาํ คญั ทป่ี ระชาชนตอ งการจากอาชพี ตาํ รวจคอื สงิ่ ทลี่ งทา ยดว ยคาํ วา “ธรรม”
เชน ศีลธรรม คณุ ธรรม ยตุ ิธรรม มนุษยธรรม และเมตตาธรรม ซึ่งก็คือจรยิ ธรรมหรอื จรรยาบรรณของ
วชิ าชพี ท่ีผปู ฏิบัตงิ านสายจราจรควรยดึ ถอื เปนหลักจรยิ ธรรมและจรรยาบรรณพนื้ ฐานในการประพฤติ
ปฏิบตั ติ นนัน่ เอง

๓.๒ หลักเกณฑการปฏิบัติตนของตํารวจจราจรที่จะนําไปสูภาพลักษณของความเปน
สภุ าพบุรุษจราจร

เพอ่ื ใหเ ปน ไปตามนโยบายสาํ นกั งานตาํ รวจแหง ชาติ และเปน การเสรมิ สรา งภาพพจน
ความสัมพันธ และความเขาใจอันดี ระหวางขาราชการตํารวจกับประชาชน กองบังคับการตํารวจ
จราจร โดยพลตาํ รวจตรี ปย ะ ตะ วชิ ยั ขณะดาํ รงตาํ แหนง ผูบังคับการตํารวจจราจร ไดจ ัดทาํ โครงการ
“จราจร ๕ S สุภาพบุรุษจราจรในดวงใจ อุนใจปลอดภัย บนทองถนน” เพื่อใหขาราชการตํารวจ
ฝายจราจรของกองบังคับการตํารวจจราจรเปนตัวแทนสวนหน่ึงในการขับเคล่ือนตามนโยบาย
ผูบัญชาการตํารวจแหงชาติไปสูเปาหมายท่ีเปนรูปธรรมอยางแทจริง ซึ่งมีกระบวนการ (Process)
ในการดําเนนิ การ ดังน้ี

๑) SMILE คือ การปฏบิ ัตหิ นา ท่ีดว ยความยิ้มแยม แจมใส
๒) SMART คือ การปฏิบัติหนาที่ดวยความมีบุคลิกภาพ ทั้งดานรางกาย
และการแตง กาย
๓) SALUTE คอื การปฏิบตั ิหนา ท่พี รอ มท้งั ทาํ ความเคารพดว ยทา ทางทถ่ี กู ตอ ง
และเขม แข็งอยา งสมํ่าเสมอ
๔) SERVICE MIND คือ การปฏิบัติหนาที่ดวยจิตวิญญาณการใหบริการของ
ตาํ รวจทีด่ ี
๕) STANDARD คือ การสรางมาตรฐานการปฏิบัติงานและการดําเนินการ
ตามมาตรฐานทกี่ าํ หนดไว ตาํ รวจจราจรทกุ นายมจี ติ วญิ ญาณในการใหบ รกิ ารทด่ี แี ก ประชาชน ยมิ้ แยม
แจมใส โดยตํารวจจราจรทุกนายจะตองปฏิบัติตอประชาชนผูสัญจรไปมาหรือประชาชนท่ีมาติดตอ
ราชการดวยจิตใจในการใหบริการ (Service Mind) โดยใหระลึกไวเสมอวา ใหดูแลประชาชน
เหมือนดงั เชน ดูแลญาติของตนเอง ดังวิสยั ทศั นข องกองบังคับการตํารวจจราจร ทวี่ า “บริการดุจญาติ
พิทักษราษฎร ดจุ ครอบครวั ”
การใหบริการดวยความเต็มใจและมีอัธยาศัยไมตรีดวยใบหนาที่ยิ้มแยมแจมใส
ไมว า จะเปน การใหก ารชว ยเหลอื ประชาชนเมอื่ รถยนตเ ครอ่ื งยนตข ดั ขอ ง หรอื กรณที รี่ ถยนตเ ฉย่ี วชนกนั
หรือเกดิ อบุ ตั เิ หตุ เปน ตน ยังมีการใหบรกิ ารอื่นๆ ในหนาที่จราจร เชน การชว ยเหลือผสู ูงอายใุ นการ
ขา มถนน เปน ตน

๒๒

เพอื่ ใหต าํ รวจจราจรทกุ นายเขา ใจถงึ บทบาทหนา ที่ วธิ ปี ฏบิ ตั ิ และการบรกิ ารประชาชน
ท่ีเปน แนวทางของกองบังคับการตํารวจจราจร สะทอ นถึงวิสยั ทัศนขององคก รรวมทัง้ พฤตกิ รรมท่คี วร
ปฏิบัตติ อประชาชน เปนมาตรฐานเดียวกนั (Standard of Work) การศกึ ษาขัน้ ตอน และวธิ กี ารปฏบิ ตั ิ
ทเี่ ปน ทยี่ อมรบั ของประชาชนตามหลกั สากลอนั จะนาํ ไปสกู ารบรรลเุ ปา หมายสงู สดุ ของการบรหิ ารจดั การ
จราจร ตามสโลแกน (Slogan) ที่วา “ยิ้มแยมแจมใส (Smile) แตง กายถูกตอ ง (Smart) แคลวคลอ ง
ทาํ ความเคารพ (Salute) เจนจบใหบรกิ าร (Service mind) มีมาตรฐานการทาํ งานทด่ี ี (Standard)”

การอํานวยความดานการจราจร ใหประชาชนเดินทางไปยังท่ีหมายดวยความ
สะดวก รวดเรว็ และปลอดภยั การใหบ รกิ ารทดี่ โี ดยการสรา งความสมั พนั ธท ด่ี กี บั ประชาชนและกบั สงั คม
ตํารวจจราจรจึงเปรียบเหมือนกระบอกเสียงท่ีสําคัญในการกระจายช่ือเสียงและภาพลักษณของ
สํานักงานตํารวจแหงชาติ แตในทางตรงกันขาม ถาขาดการสื่อสารท่ีดีกับประชาชน ขาดความ
เขาใจที่ตรงกัน การส่ือสารภาพลักษณโดยผานตํารวจจราจรก็จะกลับกลายเปนภาพลบและภาพลบ
จากการปฏบิ ตั งิ านของตาํ รวจจราจรหากถกู เผยแพรก ม็ กั จะเปน สง่ิ ทที่ กุ คนเชอื่ มากทส่ี ดุ อยา งไรกต็ าม
ภาพลักษณเปนส่ิงท่ีเกิดขึ้นได และเปลี่ยนแปลงไดเสมอซ่ึงอาจเปล่ียนจากภาพลักษณที่ดี
เปน ภาพลกั ษณท ไ่ี มด ี หรอื เปลย่ี นจากไมด กี ลายเปน ดกี ไ็ ด การสรา งภาพลกั ษณจ าํ เปน ตอ งอาศยั ระยะเวลา
การสรา งภาพลกั ษณท ด่ี จี งึ ไมส ามารถทาํ ไดใ นระยะเวลาอนั รวดเรว็ หรอื ใชเ วลาเพยี งชว งสน้ั ๆ เนอ่ื งจาก
ภาพลักษณเปนสิ่งท่ีเกิดข้ึนทีละนอย และสะสมเพิ่มพูนมากขึ้นจนสามารถฝงรากฐานม่ันคงแนนหนา
อยใู นจติ ใจและทศั นคตหิ รอื ความรสู กึ นกึ คดิ ของประชาชนซง่ึ ผลทไี่ ดร บั ตามมากค็ อื ชอ่ื เสยี ง เกยี รตคิ ณุ
ความนยิ มชมชอบ ความเชอื่ ถือ ศรัทธา ดังนน้ั ภาพลกั ษณจ ึงเปน ส่ิงที่สามารถสรางขน้ึ ได หากตํารวจ
จราจรทุกคนรูจักบทบาทหนาที่ของตนเองและออกปฏิบัติหนาที่อยางเต็มกําลัง ก็จะประชาสัมพันธ
ตนเองได การใหบริการ การแสดงกิริยามารยาทการใชคําพูด การมีนํ้าใจ กับการท่ีตํารวจจราจร
ปรากฏตอ สายตาประชาชนดว ยความเหนด็ เหนอ่ื ย อดทนทง้ั ตอ สง่ิ แวดลอ มบนถนน สภาพอากาศรอ น
ฝุนละออง กลายเปนส่ิงที่สรางความประทับใจใหกับประชาชนจากท่ีมองวาตํารวจจราจรแกลงจับ
เพื่อผลประโยชนเปนตํารวจทําตามหนาที่เพราะมีการฝาฝนกฎหมายจราจร ไดดังนี้ตํารวจจราจร
กจ็ ะเปนตาํ รวจจราจรท่ดี ีเปน ตํารวจของประชาชน สมกับคําวา “ÊØÀÒ¾ºØÃØɨÃҨÔ

ñ.ó º·ºÒ·áÅÐอาํ ¹Ò¨Ë¹ÒŒ ·¢Õè ͧà¨ÒŒ ˹ŒÒ·ตÕè ําÃǨ¨ÃÒ¨Ãò

คาํ วา “การจราจร” ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔(๑) หมายความวา
การใชท างของผขู บั ข่ี คนเดนิ เทา หรอื คนทจ่ี งู ข่ี หรอื ไลต อ นสตั ว จากความหมายจงึ เหน็ ไดว า การจราจร
สง ผลกระทบตอ การดาํ เนนิ ชวี ติ ประจาํ วนั ของบคุ คลทจี่ าํ เปน ตอ งเดนิ ทางเพอื่ ประกอบภารกจิ ประจาํ วนั
และมโี อกาสทจ่ี ะเผชญิ หนา กบั ตาํ รวจจราจรทที่ าํ หนา ทปี่ ฏบิ ตั งิ านการควบคมุ หรอื อาํ นวยความสะดวก
ในดานการจราจรบนทอ งถนน ดวยภาวะการตงึ เครียดจากการจราจรติดขดั และการเรง รบี ในแตล ะวนั

๒ ๑. พ.ต.อ.หญงิ จนิ ดา กลบั กลาย. ๒๕๕๖. อํานาจหนาทเี่ จา พนักงานจราจร. กรุงเทพฯ : สํานกั พิมพโอเอ.
๒. พ.ต.อ.วีระวิทย วัจนะพกุ กะ. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสตู ร ผกก. หลักสูตร สว. ประจาํ ป พ.ศ.๒๕๕๙

๒๓

อาจสงผลใหประชาชนผูใชรถใชถนนมีปญหากระทบกระท่ังกับตํารวจจราจร ดังปรากฏเปนขาว
ตามสอื่ ตา งๆ อยเู นอื งๆ ดงั นน้ั หากตาํ รวจจราจรไดป ฏบิ ตั หิ นา ทภี่ ายในกรอบระเบยี บตามทกี่ ฎหมายกาํ หนดไว
ยอมเปน เกราะกําบังตวั ผูปฏบิ ตั งิ านไดเปนอยา งดี แตห ากปฏิบัติหนา ทโี่ ดยไมย ึดถือระเบียบแบบแผน
ทก่ี าํ หนดไวแ ลว อาจถกู ประชาชนรอ งเรยี นหรอื ถกู สงั คมตาํ หนิ ทาํ ใหส ง ผลกระทบตอ ภาพพจนต อ องคก ร
ตาํ รวจ รวมทงั้ อาจถกู ดาํ เนนิ คดที างวนิ ยั จากหนว ยงานอกี ดว ย การไดศ กึ ษาหาความรตู ามอาํ นาจหนา ที่
ของตนเองและฝกฝนปฏิบัติตนตามยุทธวิธีตํารวจใหมีความชํานาญจึงเปนแนวทางในการปฏิบัติงาน
และสรางความม่นั ใจใหแ กผูป ฏิบตั ิงานในอนั ท่ีจะปฏิบัตหิ นา ที่ใหบรรลุประสงคอยา งมปี ระสิทธิภาพ

บทบาทและอาํ นาจหนาที่ของเจาหนาที่ตํารวจจราจร มีความเกี่ยวของกับงานดาน
การจราจร ทั้งในดานการจัดการจราจร การบังคับใชกฎหมาย การรักษาความปลอดภัยทางถนน
และงานดานอืน่ ๆ ท่ีเกย่ี วของ ดังนี้

ñ.ó.ñ º·ºÒ·Ë¹ÒŒ ·Õ¢è ͧตําÃǨ㹡ÒèѴ¡ÒèÃÒ¨Ã
การจดั การจราจร หมายถงึ การดาํ เนินการใดๆ ทเี่ ปน การควบคุม กาํ กบั ดูแล

และการอํานวยความสะดวก เพ่ือใหการใชรถใชถนนท่ีมีอยูเกิดประสิทธิภาพและประโยชนสูงสุดแลว
นอกจากนั้นยังเปนการปองกันและลดอุบัติเหตุท่ีเกิดจากการจราจรอีกดวย รวมทั้งลดปญหาเกี่ยวกับ
ภาวะสง่ิ แวดลอ ม ทง้ั ดา นอากาศและเสยี ง ซง่ึ การจดั การจราจรอาจทาํ ไดท งั้ ในสว นกวา ง และสว นเฉพาะ
จดุ ใดจุดหน่งึ หรือถนนสายใดสายหน่งึ

¢ÍŒ ¤Çû¯ºÔ ÑμãÔ ¹¡ÒúÃËÔ Òè´Ñ ¡ÒèÃҨ÷´Õè Õ
๑) กอ นการบริหารจดั การจราจร

๑. ศึกษารวบรวมขอมูลพื้นฐานดานการจราจรในเขตพื้นท่ีท่ีรับผิดชอบ
เชน จํานวนพื้นที่ ถนน จํานวน ความยาวของถนน ทางดวน รถไฟฟา ประชากร ยานพาหนะ
สถานที่สาํ คญั โรงเรียน หา งสรรพสนิ คา พ้ืนทีใ่ กลเคยี งตอเนอื่ ง จาํ นวนตํารวจจราจร เปน ตน

๒. ศกึ ษาสถานการณห รอื การจดั งานกจิ กรรมพเิ ศษในเขตพน้ื ทท่ี ร่ี บั ผดิ ชอบ
- ศกึ ษาวา มเี หตกุ ารณพ เิ ศษหรอื ไม อยา งไรทอี่ าจกระทบตอ การเลอื่ นไหล

ของกระแสการจราจร หรือจํานวนปริมาณรถที่มากกวาปกติ เชน อุบัติเหตุขนาดใหญ นํ้าทวมขัง
สงิ่ กีดขวางชองการจราจร

- มกี ารจดั งานพธิ หี รอื กจิ กรรมพเิ ศษตา งๆ หรอื ไม อยา งไรทอ่ี าจจะกระทบ
ตอ การเลอื่ นไหลของกระแสการจราจร หรอื ปรมิ าณรถทม่ี ากกวา ปกติ เชน พธิ พี ระราชทานปรญิ ญาบตั ร,
การจดั งานแตง งานขนาดใหญ การจัดคอนเสริ ต การจดั งานแสดงสินคา การสอบคดั เลอื กเขาสถาบัน
ตาง ๆ ฯลฯ

- การชุมนุมเรียกรองตาง ๆ ที่อาจกระทบตอการเลื่อนไหลกระแส
การจราจรหรือชอ งการจราจร

- จํานวนคนท่ีจะมารวมกิจกรรมและจํานวนยานพาหนะทุกประเภท
ท่จี ะมาบริเวณการจดั งาน รวมท้งั สถานทรี่ องรับการจอดรถ

๒๔

๒) ขณะบรหิ ารจัดการจราจร
๑. ตอ งพจิ ารณาจดั กาํ ลงั ใหเ หมาะสมสบั เปลยี่ นหมนุ เวยี นเปน ผลดั โดยควร

มีระยะเวลาในการปฏิบัติในแตละครัง้ ไมควรเกนิ ๘-๑๐ ช่ัวโมง และมกี ารมอบหมายผูควบคุมกําลงั
ระดบั สญั ญาบตั รไวอยา งชัดเจน

๒. มกี ารกาํ หนดแผนการปฏบิ ตั ไิ วล ว งหนา ตามทไ่ี ดม กี ารประเมนิ สถานการณ
ดานการจราจรไวและประสานการรวมปฏิบัติกับหนวยงานอ่ืน ๆ ที่เก่ียวของอยางเหมาะสม เชน
ทองท่ีใกลเ คยี ง เจา หนาที่จงั หวดั อําเภอ เขต อาสาจราจร ฯลฯ

๓. ประชาสมั พนั ธด า นการจราจรผา นสอ่ื ตา ง ๆ ทกุ แขนง เชน วทิ ยุ โทรทศั น
การส่ือสารออนไลน หนังสือพิมพ ฯลฯ ในการบรหิ ารจัดการจราจรอยา งมปี ระสทิ ธิภาพ

๓) หลังการบริหารจัดการจราจร
๑. รวบรวมผลการปฏบิ ตั ภิ ารกจิ แตล ะครง้ั สรปุ รายงานผลการปฏบิ ตั ิ ปญ หา

อุปสรรค ขอขัดของ ขอเสนอแนะ พรอมภาพถายการปฏิบัติในกรณีเหตุ/สถานการณพิเศษรายงาน
ผูบ ังคบั บัญชาตามลาํ ดับชน้ั โดยเรว็

๒. เก็บรวบรวมบทเรียนกรณีศึกษาเหตุการณ/สถานการณพิเศษ
ทีน่ าสนใจไวเปนแนวทางการปรบั ปรุงการบริหารจัดการในครัง้ ตอไป

๓. รวบรวมหลักฐานการเบิกงบประมาณ (กรณีมีงบประมาณจัดสรรให)
รวมทัง้ เปนขอ มลู ในการจัดทาํ คําของบประมาณในการปฏิบตั ิครั้งตอ ไป

ñ.ó.ò º·ºÒ·Ë¹ÒŒ ·èբͧตําÃǨ㹡Òúѧ¤Ñºãª¡Œ ®ËÁÒÂ
๑) หนาท่ีในฐานะที่เปนเจาพนักงานตํารวจถือวาเปนผูที่มีอํานาจหนาท่ี

โดยตรงในการบังคับใชกฎหมายอาญาดําเนินคดีกับผูฝาฝนกระทําผิดกฎหมายในทางอาญา ไดแก
ความผดิ ตามประมวลกฎหมายอาญาหรอื กฎหมายอนื่ ทม่ี โี ทษทางอาญา เชน พระราชบญั ญตั ทิ มี่ โี ทษ
ทางอาญาตา งๆ อาทิ พระราชบญั ญตั ยิ าเสพตดิ ใหโ ทษ พระราชบญั ญตั แิ รงงานตา งดา ว พระราชบญั ญตั ิ
อาวุธปนฯ พระราชบัญญัติขนสงทางบก พระราชบัญญัติรถยนต เปนตน ดังน้ันเมื่อตํารวจจราจร
พบการกระทาํ ความผดิ ใดทเ่ี ปน การฝา ฝน บทบญั ญตั ติ ามกฎหมายทางอาญา ตาํ รวจจราจรยอ มมอี าํ นาจ
จบั กุม ตรวจคน ในฐานะทเ่ี ปน เจาพนักงานตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธพี ิจารณาความอาญาได

๒) หนาท่ีในฐานะของตํารวจจราจร ซึ่งถูกกําหนดอยูในกฎหมายและระเบียบ
คาํ สัง่ ตางๆ อาทิ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ระเบยี บการตาํ รวจไมเ กีย่ วกบั คดี คาํ สัง่ สาํ นักงาน
ตํารวจแหงชาติซึ่งกําหนดบทบาทอํานาจหนาที่ของตํารวจจราจรตามเนื้อหาของบทกฎหมาย หรือ
ระเบยี บน้นั ๆ สามารถแยกประเดน็ เรือ่ งอาํ นาจหนาท่ี ไดแก อํานาจหนา ทต่ี ามกฎหมาย และอาํ นาจ
หนาทตี่ ามระเบยี บของสาํ นักงานตาํ รวจแหง ชาติ

๒๕

อํา¹Ò¨Ë¹ÒŒ ·ÕèμÒÁ¡®ËÁÒÂ
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ถือเปนกฎหมายหลักในการ
ปฏิบัติงานในหนาท่ีของตํารวจจราจรโดยไดบัญญัติบทบาทและอํานาจหนาท่ีของตํารวจจราจร
ไวเฉพาะในลักษณะ ๑๘ มาตรา ๑๓๕-๑๔๕ และไดนิยามศัพทผูปฏิบัติหนาท่ีดานการจราจรไวเปน
๒ ประเภท คอื หวั หนาเจาพนกั งานจราจร และเจา พนกั งานจราจร ในมาตรา ๔ ดงั นี้
เจาพนักงานตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ซ่ึงแกไขเพ่ิมเติม
โดยพระราชบัญญตั จิ ราจรทางบก (ฉบบั ท่ี ๑๒) พ.ศ.๒๕๖๒
ñ. ËÇÑ Ë¹ŒÒ਌Ҿ¹¡Ñ §Ò¹¨ÃҨà มดี งั ตอไปนี้
๑. ผบู ญั ชาการตาํ รวจแหง ชาติ เปน หวั หนา เจา พนกั งานจราจรทวั่ ราชอาณาจกั ร
๒. ผบู ญั ชาการตาํ รวจนครบาล ผบู งั คบั การตาํ รวจจราจร เปน หวั หนา เจา พนกั งาน
จราจรในเขตกรุงเทพมหานคร
๓. ผบู ญั ชาการตาํ รวจสอบสวนกลาง ผบู งั คบั การตาํ รวจทางหลวง เปน หวั หนา
เจาพนักงานจราจรในเขตพื้นทท่ี างหลวงท่รี บั ผิดชอบทว่ั ราชอาณาจกั ร
๔. ผูบัญชาการตํารวจภูธรภาค เปนหัวหนาเจาพนักงานจราจรในเขตอํานาจ
การรบั ผิดชอบและเขตพื้นท่กี ารปกครองของแตล ะตาํ รวจภธู รภาค
๕. ผบู ังคับการตาํ รวจภูธรจังหวัด เปนหวั หนา เจาพนกั งานจราจรในเขตอาํ นาจ
การรบั ผิดชอบและเขตพ้ืนทีก่ ารปกครองของแตล ะตํารวจภธู รจังหวดั
๖. ผบู งั คบั การตาํ รวจรถไฟ เปน หวั หนา เจา พนกั งานจราจรในเขตพนื้ ทร่ี บั ผดิ ชอบ
๗. ผกู าํ กบั การในกองบงั คบั การตาํ รวจทางหลวง เปน หวั หนา เจา พนกั งานจราจร
ในเขตพน้ื ทท่ี างหลวงทไ่ี ดรับมอบหมายใหร ับผดิ ชอบ
๘. หวั หนา สถานตี าํ รวจซงึ่ ดาํ รงตาํ แหนง ไมต า่ํ กวา รองผกู าํ กบั การหรอื เทยี บเทา
ผกู าํ กบั การ ๑ ถงึ ผกู าํ กบั การ ๕ กองบงั คบั การตาํ รวจรถไฟ ผกู าํ กบั การ ๑ ผกู าํ กบั การ ๒ กองบงั คบั การ
ตํารวจจราจร ผูกํากับการกลุมงานจราจร ตํารวจภูธรจังหวัดเชียงใหม และสารวัตรใหญสถานีตํารวจ
รถไฟนพวงศ กองกาํ กบั การ ๑ กองบงั คบั การตาํ รวจรถไฟ เปน หวั หนา เจา พนกั งานจราจรในเขตอาํ นาจ
การรับผดิ ชอบและเขตพืน้ ทก่ี ารปกครอง ยกเวนอาํ นาจตามมาตรา ๑๓๙ แหง พระราชบัญญตั ิจราจร
ทางบก พ.ศ.๒๕๒๒
๙. ผูกาํ กบั การ ๕ กองบังคบั การตาํ รวจจราจร เปนหวั หนา เจาพนกั งานจราจร
เฉพาะตามความในมาตรา ๑๔๒ มาตรา ๑๔๓ มาตรา ๑๔๓ ทวิ และมาตรา ๑๔๔ แหง พระราชบญั ญตั ิ
จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ในเขตอาํ นาจการรบั ผิดชอบ
๑๐. ผูกํากับการ ๖ กองบังคับการตํารวจจราจร เปนหัวหนาเจาพนักงาน
จราจรเฉพาะตามความในมาตรา ๑๔๒ แหงพระราชบัญญตั ิจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ในเขตอํานาจ
การรับผดิ ชอบ

๒๖

๑๑. ผูกํากับการฝายอํานวยการ กองบังคับการตํารวจจราจร เปนหัวหนา
เจา พนกั งานจราจรเฉพาะตามความในมาตรา ๑๙ มาตรา ๑๑๔ และมาตรา ๑๓๓ แหง พระราชบญั ญตั ิ
จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒

๑๒. รองผกู าํ กบั การงานศูนยควบคมุ จราจร ดว น ๑ รองผกู าํ กบั การงานศูนย
ควบคุมจราจร ดวน ๒ และรองผกู ํากับการงานศนู ยค วบคมุ จราจร วิภาวดี/ทางพเิ ศษ กองกาํ กบั การ ๒
กองบงั คบั การตาํ รวจจราจร เปน หวั หนา เจา พนกั งานจราจรเฉพาะตามความในมาตรา ๑๙ มาตรา ๑๑๔
มาตรา ๑๓๓ มาตรา ๑๔๒ มาตรา ๑๔๓ มาตรา ๑๔๓ ทวิ และมาตรา ๑๔๔ แหงพระราชบญั ญัติ
จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ในเขตอาํ นาจการรับผิดชอบ

ท้งั นี้ ใหหมายความรวมถงึ ผรู ักษาราชการแทน ในตาํ แหนง ดังกลา วดวย
อาํ ¹Ò¨¢Í§à¨ÒŒ ¾¹¡Ñ §Ò¹¨ÃÒ¨Ã
๑. อาํ นาจในการกาํ หนด “ทาง” ตามความหมายของพระราชบญั ญตั จิ ราจรทางบก
พ.ศ.๒๕๒๒ (มาตรา ๑๓๕)
ตามพระราชบญั ญตั จิ ราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ไดใ หค าํ จาํ กดั ความ คาํ วา “ทาง”
หมายความวา ทางเดินรถ ชองเดินรถ ชองเดินรถประจําทาง ไหลทาง ทางเทา ทางขาม ทางรวม
ทางแยก ทางลาด ทางโคง สะพาน และลานที่ประชาชนใชในการจราจร และใหหมายความรวมถึง
ทางสว นบคุ คลทเี่ จา ของยนิ ยอมใหป ระชาชนใชใ นการจราจรหรอื ทห่ี วั หนา เจา พนกั งานจราจรไดป ระกาศ
ใหเ ปน ทางตามพระราชบญั ญตั นิ ด้ี ว ย แตไ มร วมถงึ ทางรถไฟ “ทาง” ถอื วา มคี วามสาํ คญั อยา งยง่ิ เพราะสถานที่
เกดิ เหตใุ นคดจี ราจรจะตอ งเกดิ ขนึ้ ในทางเสยี กอ นเมอื่ คดเี กดิ ขน้ึ ในทางแลว จงึ จะนาํ เอาพระราชบญั ญตั ิ
จราจรทางบกฯ ไปพิจารณามีความเห็นทางคดีได แตถาเม่ือใดสถานท่ีเกิดเหตุไมใชทางตามพระราช
บัญญตั ิจราจรทางบกฯ แลว พนกั งานสอบสวนกไ็ มสามารถจะนําเอาพระราชบัญญตั ิจราจรทางบกฯ
เขา ไปปรบั เพอื่ มคี วามเหน็ ทางคดไี ดเ มอื่ พจิ ารณาตามคาํ จาํ กดั ความของคาํ วา “ทาง” ตามมาตรา ๔(๒)
แลว สามารถอธิบายไดเปน ๒ ประการ คือ

๑) “·Ò§” ตามความหมายที่ ๑ หมายถึง ถนนหนทางตางๆ ตรอก ซอย
โดยสภาพมองเห็นชัดเจนและอยูในความดูแลของทางราชการหรือของแผนดินในการพิจารณาใชเปน
สถานท่ีเกิดเหตุของพนักงานสอบสวนในทางปฏิบัติน้ันไมมีปญหาเพราะสามารถพิจารณาดูได เชน
ถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนเพชรเกษม ฯลฯ ซอยตางๆ ท่ีแยกออกจากถนนเชนวาน้ี
และตามถนนเหลา นกี้ จ็ ะมเี ครอ่ื งหมายการจราจรกาํ หนดไว

๒) “·Ò§” ตามความหมายที่ ๒ หมายถงึ ทางสว นบคุ คลไมว าจะเปน ของ
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได แตจะตองไมใชของทางราชการหรือแผนดิน แตเปน “ทาง” เพราะ
พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ กําหนดใหเปนทาง ทางท่ีเปนของสวนบุคคลท่ีจะจัดวาเปนทาง
ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ นนั้ หมายถงึ ทางทสี่ ว นบคุ คลนน้ั เจา ของยนิ ยอมใหป ระชาชนใชใ นการจราจร

๒๗

สําหรับ “ทาง” ในความหมายที่ ๒ น้ี มกั เปนปญหาตอพนักงานสอบสวน
คอ นขา งมากเพราะบางสถานทไ่ี มส ามารถจะพจิ ารณาไดช ดั เจนวา เจา ของทางนนั้ “ยนิ ยอม” ใหป ระชาชน
ใชใ นการจราจรหรอื ไม และคาํ วายินยอมนั้นมีความหมายเพียงใดถงึ จะถอื วา ยนิ ยอม

กรณนี จี้ งึ เปน อาํ นาจของหวั หนา เจา พนกั งานจราจรเทา นน้ั ในการทจ่ี ะกาํ หนดให
บริเวณหรือพื้นที่ใด ท่ีเจาของที่ดินไดเปดหรือยินยอมใหประชาชนใชในการจราจรเปนทาง เชน
ถนนสวนบุคคลภายในหมูบานตางๆ หากเจาของไมไดเปดหรือยินยอมใหใชเปนทางตามความหมาย
ของพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ ก็ไมสามารถนํามาตรการทางกฎหมายไปใชบังคับได ดังนั้น
หากเจาของยินยอมใหประชาชนใชและใหหัวหนาเจาพนักงานจราจรไดประกาศใชเปน “ทาง” ตาม
ความหมายของพระราชบัญญตั จิ ราจรทางบกฯ แลว กย็ อ มอยูภายใตก ารบงั คับใชข องพระราชบญั ญัติ
จราจรทางบกฯ ตวั อยา งเชน บรษิ ทั ทา อากาศยานไทย จาํ กดั (มหาชน) ไดม อบพนื้ ทถ่ี นนเสน ทางหลกั
ภายในทาอากาศยานสุวรรณภูมิใหเจาหนาท่ีตํารวจจัดการจราจร หัวหนาเจาพนักงานจราจรจึงไดมี
ประกาศเปนทาง ตามประกาศของหวั หนา เจา พนักงานจราจรจังหวดั สมทุ รปราการ เปน ตน

๒. อาํ นาจผบู ญั ชาการตาํ รวจแหง ชาตใิ นการแตง ตงั้ อาสาจราจร ( มาตรา ๑๓๖ )
“มาตรา ๑๓๗ ในการปฏิบัติหนาท่ีที่ไดรับมอบหมายของอาสาจราจร
ตามพระราชบญั ญัตินี้ใหอาสาจราจรเปนเจาพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา”
อาํ นาจในการแตง ตง้ั อาสาจราจรเพอ่ื ทาํ หนา ทช่ี ว ยเหลอื การปฏบิ ตั งิ านของเจา พนกั งาน
จราจรเปน อาํ นาจของผบู ญั ชาการตาํ รวจแหง ชาตหิ รอื บคุ คลทไี่ ดร บั มอบหมายจากผบู ญั ชาการตาํ รวจ
แหง ชาตโิ ดยการแตง ตงั้ จะตอ งแตง ตง้ั จากบคุ คลทผี่ า นการอบรมตามหลกั สตู รอาสาจราจรในการปฏบิ ตั หิ นา ที่
ท่ีไดรับมอบหมายของอาสาจราจรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ โดยกําหนดให
อาสาจราจรเปนเจาพนักงานตามกฎหมายอาญา ตามขอกําหนดสํานักงานตํารวจแหงชาติ เร่ือง
อาสาจราจร กําหนดใหผ ูทผ่ี า นการศกึ ษาอบรมและทดสอบหลักสตู รอาสาจราจรครบถว นแลว เม่ือได
รับการพิจารณาแตงต้ังเปนอาสาจราจรใหหนวยงานท่ีรับผิดชอบดําเนินการจัดทําทะเบียนประวัติ
กําหนดหมายเลขประจําตัว และจัดใหทําหนาท่ีชวยเหลือการปฏิบัติหนาที่ของพนักงานเจาหนาที่
ตามพระราชบญั ญัตจิ ราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ดังตอ ไปน้ี

(๑) ตรวจ ควบคุม และจัดการจราจร บริเวณท่ีมีการจราจรติดขัดคับค่ัง
หรือในกรณีท่ีมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น เม่ือพนักงานเจาหนาท่ีรองขอ เวนแตกรณีไมมีพนักงานเจาหนาท่ี
อยูในท่นี ้ันจึงปฏบิ ัตหิ นาทีโ่ ดยลําพังได

(๒) ดูแล การหยุดรถ จอดรถ การขามทาง เพื่อใหการจราจรสะดวก
และปลอดภัยในบรเิ วณทมี่ ีการฝา ฝนกฎหมาย จนการจราจรไมสะดวก

(๓) ชแ้ี จง ตกั เตือน แนะนาํ ตลอดจนการโฆษณาประชาสัมพันธใหผูใชทาง
ทราบระเบียบ วธิ กี ารที่ถูกตอ งและปฏิบัตติ าม

๒๘

(๔) รายงานการกระทําความผิดของผูขับรถ การชํารุดเสียหาย ขอขัดของ
ของเครื่องหมายและสญั ญาณจราจร ใหเจา หนาทตี่ ํารวจทราบเพื่อดาํ เนนิ การตอไป

(๕) แจงอุบัติเหตุจราจรใหพนักงานเจาหนาท่ีทราบเพื่อดําเนินการโดยไม
ชักชา

จากขอกําหนดดังกลาว อาสาจราจรจึงมีหนาท่ีเปนเพียงผูชวยเหลือ
การปฏิบัติงานของเจาพนักงานจราจรตามแตเจาหนาท่ีจะมอบหมายโดยมีหนาที่เพียง ๕ ประการ
ตามที่กาํ หนด แตอาสาจราจรกไ็ มม ีอาํ นาจในการจับกุมผกู ระทําผดิ ตามพระราชบญั ญัตจิ ราจรทางบก
พ.ศ.๒๕๒๒ แตอ ยา งใด ถงึ แมม าตรา ๑๓๗ จะไดก าํ หนดใหอ าสาจราจรเปน เจา พนกั งานตามกฎหมาย
อาญากต็ าม

๓. อํานาจของหัวหนาเจาพนักงานจราจรในการออกประกาศ ขอบังคับ
หรือระเบยี บเกย่ี วกับการจราจร (มาตรา ๑๓๙)

มาตรา ๑๓๙ เปนบทบัญญัติที่ใหอํานาจแกหัวหนาเจาพนักงานจราจรในการ
อาํ นวยความสะดวกและความปลอดภยั ในการจราจรในทางสายใดหรอื เฉพาะทางตอนใดกไ็ ด หวั หนา
เจา พนกั งานจราจรจงึ ไดอ าศยั อาํ นาจตามมาตรานอี้ อกประกาศขอ บงั คบั หรอื ระเบยี บเกย่ี วกบั การจดั การ
จราจรไวหลายเร่อื ง

“มาตรา ๑๓๙ ในทางสายใดหรอื เฉพาะทางตอนใดทห่ี วั หนา เจา พนกั งานจราจร
เหน็ วา ถา ไดอ อกประกาศขอ บงั คบั หรอื ระเบยี บเกย่ี วกบั การจราจรแลว จะเปน การปลอดภยั และสะดวก
ในการจราจรใหห ัวหนาเจา พนักงานจราจรมอี าํ นาจออกประกาศ ขอ บังคับ หรือระเบยี บดงั ตอไปนี้

(๑) หา มรถทุกชนิดหรอื บางชนิดเดิน
(๒) หา มหยดุ หรอื จอด
(๓) หา มเล้ยี วรถ กลบั รถ หรอื ถอยหลงั รถ
(๔) กาํ หนดใหร ถเดินไดทางเดียว
(๕) กาํ หนดระยะเวลาจอดรถในทางแคบหรอื ที่คับขัน
(๖) กาํ หนดอตั ราความเรว็ ของรถในทางภายในอตั ราท่ีกาํ หนดในกฎกระทรวง
(๗) กาํ หนดชอ งหรอื แนวทางเดินรถขึน้ และลอง
(๘) กาํ หนดทางเดินรถทางเอกและทางเดนิ รถทางโท
(๙) กําหนดการจอดรถหรอื ที่จอดพักรถ
(๑๐) กาํ หนดระเบียบการใชท างหรือชอ งเดินรถสาํ หรับรถบางประเภท
(๑๑) กําหนดระเบยี บเก่ยี วกับการใชรถโรงเรียน
(๑๒) กําหนดระเบียบเก่ียวกบั การบรรทุกคนโดยสารสาํ หรบั รถจักรยาน
(๑๓) ควบคุมขบวนแหห รือการชมุ นมุ สาธารณะ
(๑๔) ควบคมุ หรือหามเล้ยี วรถในทางรว มทางแยก

๒๙

(๑๕) ขีดเสนหรือทําเครื่องหมายจราจรบนผิวทางหรือติดต้ังสัญญาณจราจร
หรอื เครือ่ งหมายจราจร

(๑๖) กําหนดระยะทางตอนใดใหขับรถล้ําเขาไปในเสนก่ึงกลางของทาง
ทเ่ี จาพนกั งานจราจรกาํ หนดไวได

(๑๗) กาํ หนดระเบียบเกยี่ วกับการจอดรถที่ชาํ รดุ หักพงั ตลอดจนรถทซ่ี อ มแซม
ในทาง

(๑๘) กําหนดระเบยี บการขา มทางของคนเดนิ เทาบนทางท่ไี มมที างขาม
(๑๙) กาํ หนดการใชโ คมไฟ
(๒๐) กําหนดการใชเสียงสญั ญาณ
(๒๑) กาํ หนดระเบยี บการอนญุ าตและการใชร ถทม่ี ลี อ หรอื สว นทสี่ มั ผสั กบั ผวิ ทาง
ไมใ ชยาง”
๔. อํานาจของหัวหนาเจาพนักงานจราจรจะรื้อถอนหรือเคล่ือนยายส่ิงใดๆ
ทีเ่ ปนการกดี ขวางการจราจร (มาตรา ๑๑๔)
อํานาจของหัวหนาเจาพนักงานจราจรท่ีจะร้ือถอนหรือเคลื่อนยายสิ่งหน่ึงส่ิงใด
ท่ีมีผูวาง ตั้งย่ืนหรือแขวน หรือกระทําดวยประการใดๆ ในลักษณะที่เปนการกีดขวางการจราจร
โดยไมไ ดร ับอนญุ าต
“มาตรา ๑๑๔ หา มมใิ หผูใดวาง ตง้ั ย่นื หรอื แขวนส่ิงใดสิ่งหน่งึ หรือกระทําดวย
ประการใดๆ ในลักษณะที่เปนการกีดขวางการจราจร เวนแตไดรับอนุญาตเปนหนังสือจากหัวหนา
เจาพนักงานจราจรแตหัวหนาเจาพนักงานจราจรจะอนุญาตไดตอเม่ือมีเหตุอันจําเปนและ
เปนการชัว่ คราวเทานั้น
ผูฝาฝนบทบัญญัติในวรรคหน่ึง นอกจากจะมีความผิดตามมาตรา ๑๔๘ แลว
หวั หนา เจา พนกั งานจราจรมอี าํ นาจสง่ั ใหผ ฝู า ฝน รอื้ ถอนหรอื เคลอื่ นยา ยสง่ิ กดี ขวางดงั กลา วได ถา ไมย อม
ร้ือถอนหรือเคล่ือนยา ย ใหห วั หนา เจาพนกั งานจราจรมอี าํ นาจรือ้ ถอนหรอื เคลอ่ื นยา ยได”
โทษ ผูใดฝา ฝนหรอื ไมปฏบิ ัตติ ามมาตรา ๑๑๔ วรรคหนงึ่ ตอ งระวางโทษไมเกนิ
หา รอยบาท (มาตรา ๑๔๘)
กรณนี เี้ ปน บทบญั ญตั เิ พอ่ื มใิ หส ง่ิ ใดสงิ่ หนงึ่ หรอื กระทาํ ดว ยประการใดๆ ในลกั ษณะ
ทเ่ี ปน การกดี ขวางการจราจร เชน รา นคา ทวี่ างของลว งลา้ํ เขา มาในทาง รา นซอ มรถยนตห รอื จกั รยานยนต
เอารถทนี่ าํ มาซอ มจอดไวร มิ ทางเดนิ รถ ทาํ ใหร ถอน่ื แลน ผา นไปมาไมส ะดวก หวั หนา เจา พนกั งานจราจร
มอี าํ นาจสงั่ ใหผ ฝู า ฝน ทาํ การรอ้ื ถอนสว นทลี่ ว งลา้ํ เขา มาในทาง หรอื เคลอ่ื นยา ยรถยนตห รอื รถจกั รยานยนต
ออกไปนอกทางเดินรถกอน โดยกําหนดเวลาใหกระทําภายในเวลาอันสมควร ถาผูฝาฝนยังไมยอม
รอ้ื ถอนหรอื เคลอ่ื นยา ย หวั หนา เจา พนกั งานจราจรมอี าํ นาจทจี่ ะทาํ การรอื้ ถอนหรอื เคลอ่ื นยา ยเสยี เองได
แมผ ูฝาฝน จะยนิ ยอมหรอื ไมกต็ าม เวน แตจ ะไดรบั อนุญาตเปนหนังสือจากหวั หนา เจาพนักงานจราจร
ซ่งึ จะอนุญาตตอเม่อื มเี หตุอันจาํ เปนและเปน การชั่วคราวเทานน้ั

๓๐

การจอดในที่มีเคร่ืองหมายจราจรหามจอด เชน ริมทางที่มีสีเหลืองแดง
ถือเปนการกระทําดวยประการใดๆ ในลักษณะที่เปนการกีดขวางการจราจร หัวหนาเจาพนักงาน
จราจรจะส่ังใหเคลื่อนยายรถคันน้ันออกไปเสียกอน ถาเจาของหรือผูขับขี่ไมยอมเคลื่อนยายไปเอง
หวั หนาเจาพนักงานจราจรมอี าํ นาจใชรถยกมาลาก หรอื ยกรถคันน้นั ออกไปใหพ น ทางเดินรถได

อํา¹Ò¨¢Í§ËÇÑ Ë¹ÒŒ à¨ÒŒ ¾¹¡Ñ §Ò¹¨ÃÒ¨ÃáÅÐ਌Ҿ¹¡Ñ §Ò¹¨ÃÒ¨Ã
“à¨ÒŒ ¾¹¡Ñ §Ò¹¨ÃҨÔ หมายความวา หวั หนา เจา พนกั งานจราจร และขา ราชการ
ตํารวจ ซึ่งดํารงตําแหนง รองผูกํากับการจราจร, สารวัตรจราจร, รองสารวัตรจราจร, ผูบังคับหมู
งานจราจร, รองผูบังคับหมูงานจราจร รวมถึงขาราชการตําแหนงอื่นซึ่งหัวหนาเจาพนักงานจราจร
แตง ตง้ั ใหป ฏบิ ตั หิ นา ทคี่ วบคมุ การจราจร ตามพระราชบญั ญตั จิ ราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ แกไ ขเพม่ิ เตมิ
โดยพระราชบัญญตั จิ ราจรทางบก (ฉบับท่ี ๑๒) พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๑ (๓๗) หรือท่ีเรียกกนั วา “ตํารวจ
จราจร” นัน่ เอง
อาํ นาจของหวั หนา เจา พนกั งานจราจรและเจา พนกั งานจราจร นอกจากทบี่ ญั ญตั ิ
ในลกั ษณะ ๑๘ ดังทไี่ ดก ลาวมาแลว ยงั มกี รณีท่ีกฎหมายใหอ าํ นาจไวตามมาตราอ่ืนๆ อีก ดงั ตอ ไปนี้
ñ) ¡ÒÃãËŒÊÑÞÞÒ³¨ÃҨà ดวยสัญญาณมือ และสัญญาณนกหวีด ตาม
พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๒๔ และ ๒๕
“มาตรา ๒๔ ผูขับข่ีตองปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่เจาพนักงานจราจรแสดง
ใหปรากฏขางหนา ในกรณตี อ ไปนี้

(๑) เมื่อเจาพนักงานจราจรยืนและเหยียดแขนซายออกไปเสมอระดับไหล
ผขู บั ขซี่ ง่ึ ขบั รถมาทางดา นหลงั ของพนกั งานเจา หนา ทตี่ อ งหยดุ รถ แตถ า พนกั งานเจา หนา ทลี่ ดแขนขา ง
ท่ีเหยียดออกไปนน้ั ลงและโบกมอื ไปขา งหนา ใหผ ขู บั ขซี่ ึ่งหยุดรถอยทู างดา นหลงั ขบั รถผานไปได

(๒) เม่ือเจาพนักงานจราจรยืนและเหยียดแขนขางใดขางหนึ่งออกไปเสมอ
ระดับไหลและตั้งฝามือขึ้น ผูขับขี่ซ่ึงขับรถมาทางดานที่เหยียดแขนขางนั้นของพนักงานเจาหนาท่ี
ตอ งหยดุ รถ แตถ า พนกั งานเจา หนา ทพี่ ลกิ ฝา มอื ทต่ี ง้ั อยนู นั้ แลว โบกผา นศรี ษะไปทางดา นหลงั ใหผ ขู บั ข่ี
ซ่ึงหยดุ รถอยูนัน้ ขับรถผา นไปได

(๓) เมื่อเจาพนักงานจราจรยืนและเหยียดแขนทั้งสองขางออกไปเสมอ
ระดับไหลและต้ังฝามือข้ึน ผูขับขี่ซึ่งขับรถมาทางดานท่ีเหยียดแขนทั้งสองขางของเจาพนักงานจราจร
ตองหยดุ รถ

(๔) เม่ือเจาพนักงานจราจรยืนและยกแขนขวาทอนลางตั้งฉากกับแขน
ทอนบนและตั้งฝามือขึ้น ผูขับขี่ซ่ึงขับรถมาทางดานหนาของเจาพนักงานจราจรตองหยุดรถ
แตถาเจาพนักงานจราจรพลิกฝามือที่ตั้งอยูน้ันโบกไปดานหลัง ใหผูขับข่ีซึ่งหยุดรถอยูทางดานหนา
ของเจาพนกั งานจราจรขับรถผา นไปได

๓๑

(๕) เม่ือเจาพนักงานจราจรยืนและยกแขนขวาทอนลางตั้งฉากกับแขน
ทอนบนและต้ังฝามือขึ้น สวนแขนซายเหยียดออกไปเสมอระดับไหล ผูขับขี่ซึ่งขับรถมาทางดานหนา
และดา นหลงั ของเจาพนักงานจราจรตองหยดุ รถ

การหยดุ รถตามมาตรานี้ ใหห ยุดหลงั เสนใหรถหยดุ ในกรณีทท่ี างเดนิ รถใด
ไมม ีเสนใหร ถหยดุ ใหผ ขู บั ขห่ี ยุดรถหางจากเจาพนักงานจราจรในระยะไมน อยกวา สามเมตร”

“มาตรา ๒๕ ผูขับข่ีตองปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่เจาพนักงานจราจร
ไดแ สดงดวยเสียงสญั ญาณนกหวดี ในกรณีตอไปนี้

(๑) เม่ือเจาพนักงานจราจรใชเสียงสัญญาณนกหวีดยาวหนึ่งครั้ง ใหผูขับขี่
หยุดรถทันที

(๒) เม่ือเจาพนักงานจราจรใชเสียงสัญญาณนกหวีดส้ันสองครั้งติดตอกัน
ใหผ ขู บั ขข่ี บั รถผา นไปได โทษ ผใู ดฝา ฝน หรอื ไมป ฏบิ ตั ติ าม มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕ ตอ งระวางโทษปรบั
ไมเกนิ หนึ่งพนั บาท (มาตรา ๑๕๒)

ò) áÊ´§ÊÞÑ ÞÒ³ËÃÍ× à¤ÃÍ×è §ËÁÒ¨ÃҨà ตามพ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา ๒๑
มาตรา ๒๘ กําหนดใหเจา พนกั งานจราจรหรอื หัวหนาเจา พนกั งานจราจรมอี ํานาจหนา ทใ่ี นการตดิ ต้งั
หรอื ทาํ ใหป รากฏซง่ึ สญั ญาณจราจรหรอื เครอื่ งหมายจราจรในทาง และมอี าํ นาจในการรอ้ื ถอน ทาํ ลาย
หรือทาํ ใหสน้ิ ไปซง่ึ สัญญาณจราจรหรือเครอ่ื งหมายจราจรนน้ั ได ตามมาตรา ๓๐

“มาตรา ๒๑ ผูขบั ขต่ี อ งปฏิบัติใหถ กู ตองตามสญั ญาณจราจรและเครือ่ งหมาย
จราจรท่ีไดต ดิ ตง้ั ไวห รือทําใหป รากฏในทางหรอื ที่เจา พนกั งานจราจรแสดงใหทราบ

สัญญาณจราจร เคร่ืองหมายจราจรและความหมายของสัญญาณจราจร
และเครื่องหมายจราจรใหผูบัญชาการตํารวจแหงชาติกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและ
ใหม ีรูปตวั อยางแสดงไวใ นประกาศดว ย”

“มาตรา ๒๘ หา มมใิ หผ ใู ดนอกจากเจา พนกั งานจราจรหรอื เจา พนกั งาน ทาํ ตดิ ตงั้
หรือทําใหปรากฏซึ่งสัญญาณจราจร หรือเคร่ืองหมายจราจร ในทางที่ผูบัญชาการตํารวจแหงชาติ
กาํ หนดตามมาตรา ๒๑”

“มาตรา ๒๙ หามมิใหผูใดทําใหเสียหาย ทําลาย ซอนเรน เปลี่ยนแปลง
เคล่ือนยาย ขีดเขียนหรือทําใหไรประโยชนซ่ึงสัญญาณจราจรหรือเคร่ืองหมายจราจรที่เจาพนักงาน
จราจรหรอื เจา พนกั งานตดิ ต้งั ไวห รือทําใหปรากฏในทาง”

“มาตรา ๓๐ สญั ญาณจราจรหรอื เครอื่ งหมายจราจรทที่ าํ ตดิ ตงั้ หรอื ทาํ ใหป รากฏ
ในทางโดยฝา ฝน มาตรา ๒๘ หรอื มาตรา ๒๙ หวั หนา เจา พนกั งานจราจรมอี าํ นาจยดึ รอ้ื ถอน ทาํ ลาย
หรือทําใหส น้ิ ไปซง่ึ สญั ญาณจราจรหรอื เครอ่ื งหมายจราจรน้ันได”

โทษ ผูใดฝาฝนหรือไมปฏิบัติตาม มาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๙
ตอ งระวางโทษปรับไมเ กินหนึง่ พันบาท (มาตรา ๑๕๒)

๓๒

ó) อาํ ¹Ò¨¢Í§ËÇÑ Ë¹ÒŒ à¨ÒŒ ¾¹¡Ñ §Ò¹¨ÃÒ¨ÃËÃÍ× à¨ÒŒ ¾¹¡Ñ §Ò¹¨ÃÒ¨Ã㹡ÒÃดาํ à¹¹Ô ¡ÒÃ
à¡èÕÂǡѺ¡ÒèÃÒ¨Ã㹺ÃÔàdz㴺ÃÔàdz˹Öè§à»š¹¡ÒêèÑǤÃÒÇ ã¹¡Ã³Õ©Ø¡à©Ô¹ËÃ×ÍÁÕÍغÑμÔàËμØ
(ÁÒμÃÒ ñóø)

“มาตรา ๑๓๘ ในกรณีท่ีมีเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุเกิดข้ึนทําใหไมปลอดภัย
หรือไมสะดวกในการจราจรในอาณาบริเวณใด หัวหนาเจาพนักงานจราจรหรือเจาพนักงานจราจร
มีอํานาจดําเนินการไดตามท่ีเห็นสมควรและจําเปนเก่ียวกับการจัดการจราจรในอาณาบริเวณน้ัน
เพือ่ ใหเ กดิ ความปลอดภยั หรอื ความสะดวกในการจราจรดงั ตอไปนี้

(๑) หา มรถทกุ ชนดิ หรอื บางชนดิ หรอื คนเดนิ เทา เดนิ ในทางสายใด หรอื เฉพาะทาง
ตอนใด

(๒) หา มหยุดหรอื จอดรถในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใด
(๓) หา มเล้ยี วรถ กลบั รถ หรอื ถอยหลังรถ ในทางสายใดหรือทางตอนใด
(๔) กําหนดทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใดใหร ถเดนิ ไดทางเดียว
ท้ังน้ี ช่ัวระยะเวลาเทา ทจี่ ําเปน
โทษ ผูใดฝาฝนคําสั่งหัวหนาเจาพนักงานจราจรหรือเจาพนักงานจราจร ตาม
มาตรา ๑๓๘ วรรคหน่ึง
..ถาไมเปนความผิดที่ไดกําหนดโทษไวแลวในพระราชบัญญัตินี้ ตองระวางโทษ
ปรบั ไมเกนิ หนง่ึ พันบาท (มาตรา ๑๕๔)
การใชอ าํ นาจตามมาตรา ๑๓๘ นจ้ี ะเปน ในกรณที ม่ี เี หตฉุ กุ เฉนิ หรอื มอี บุ ตั เิ หตเุ กดิ ขนึ้
ทําใหไมปลอดภัยหรือไมสะดวกในการจราจรในบริเวณนั้นๆ ดังน้ันเพ่ือใหเกิดความปลอดภัย
หรอื ความสะดวกในการจราจร หวั หนา เจา พนกั งานจราจรหรอื เจา พนกั งานจราจร กลา วคอื ตาํ รวจจราจร
ทกุ ชน้ั ยศมอี าํ นาจในการดาํ เนนิ การเกยี่ วกบั การจราจรในเขตอาณาบรเิ วณใดอาณาบรเิ วณหนงึ่ ตามทกี่ ฎหมาย
บัญญัติไวในมาตรา ๑๓๘ โดยเปนการดําเนินการในชวงเวลาใดชวงเวลาหน่ึงเทาที่จําเปนเทาน้ัน
ถาผูใดฝาฝนคําส่ังน้ีจะมีความผิดฐานฝาฝนคําสั่งหัวหนาเจาพนักงานจราจรหรือเจาพนักงานจราจร
เกี่ยวกับการหามรถหรือคนเดินเทาเดินบนถนนทางสายใด หามหยุดหรือจอดในทางใด หามเลี้ยวรถ
กลับรถหรือถอยหลังรถในทางสายใดหรือทางตอนใดหรือเก่ียวกับกําหนดใหทางสายใดหรือเฉพาะ
ตอนใดท่ใี หเดนิ รถไดทางเดยี ว
ô) อาํ ¹Ò¨¢Í§ËÇÑ Ë¹ÒŒ à¨ÒŒ ¾¹¡Ñ §Ò¹¨ÃÒ¨ÃËÃÍ× à¨ÒŒ ¾¹¡Ñ §Ò¹¨ÃҨà 㹡ÒÃÇÒ‹ ¡ÅÒ‹ Ç
μÑ¡àμ×͹ËÃÍ× ÍÍ¡ãºÊèѧãËŒ¼ŒÙ¢ºÑ ¢Õè (ÁÒμÃÒ ñôð)
“มาตรา ๑๔๐ เม่ือปรากฏแกเจาพนักงานจราจร ไมวาพบดวยตนเอง หรือ
โดยการใชเครื่องอุปกรณหรือโดยวิธีการอ่ืนใดวา ผูขับข่ีผูใดฝาฝนหรือไมปฏิบัติตามบทบัญญัติแหง
พระราชบัญญัติน้ีหรือตามกฎหมายอ่ืนอันเกี่ยวกับรถหรือการใชทาง ที่เปนความผิดท่ีมีโทษปรับ
สถานเดียว หรือมีโทษจําคุกไมเกินหนึ่งเดือนและมีโทษปรับ เจาพนักงานจราจรจะวากลาวตักเตือน
หรอื ออกใบสัง่ ใหผขู ับข่ีผนู ้นั ชําระคาปรับตามทเี่ ปรยี บเทียบก็ได

๓๓

ในกรณเี จา พนกั งานจราจรทอ่ี อกใบสง่ั ไมพ บตวั ผขู บั ข่ี ใหต ดิ ผกู หรอื แสดงใบสงั่
ไวท่ีรถที่ผูขับข่ีสามารถเห็นไดงาย หากไมสามารถติด ผูก หรือแสดงใบส่ังไวท่ีรถไดไมวาดวยเหตุใด
ใหส ง ใบสงั่ พรอ มดว ยพยานหลกั ฐานโดยทางไปรษณยี ล งทะเบยี นตอบรบั ไปยงั ภมู ลิ าํ เนาของเจา ของรถ
หรือผูครอบครองรถ เพื่อใหชําระคาปรับภายในระยะเวลาท่ีกําหนดในใบสั่งนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบ
ท่ผี ูบ ัญชาการตาํ รวจแหง ชาติกําหนด

ใหนําความในวรรคสองมาใชบังคับกับกรณีท่ีเจาพนักงานจราจรพบการกระทํา
ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเก่ียวกับรถหรือการใชทาง แตไมอาจทราบ
ตวั ผขู บั ข่ีดว ย โดยอนโุ ลม

เกณฑการกําหนดจํานวนคาปรับตามท่ีเปรียบเทียบและแบบของใบสั่งตาม
วรรคหนง่ึ ใหเปนไปตามทผี่ บู ัญชาการตํารวจแหงชาตปิ ระกาศกาํ หนด”

มาตรา ๑๑ ใหเ พม่ิ ความตอ ไปนเ้ี ปน มาตรา ๑๔๐/๑ มาตรา ๑๔๐/๒ และมาตรา
๑๔๐/๓ แหง พระราชบญั ญตั ิจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒

“มาตรา ๑๔๐/๑ เม่ือเจาพนักงานจราจรไดติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไวท่ีรถหรือ
สง ใบสง่ั ไปรษณยี ต ามมาตรา ๑๔๐ วรรคสองและวรรคสาม แลว ใหถ อื วา เจา ของรถหรอื ผคู รอบครองรถ
ไดรับใบสั่งเม่ือพนกําหนดสิบหาวันนับแตวันท่ีไดติด ผูก หรือแสดงใบสั่งไวท่ีรถหรือสงใบส่ังทาง
ไปรษณียดังกลาว เวนแตจะมีการพิสูจนไดวาไมมีการไดรับหรือไดรับหลังจากวันน้ัน เมื่อเจาของรถ
หรือผูครอบครองรถไดรับใบส่ังดังกลาวแลว ใหสันนิษฐานวาเจาของรถหรือผูครอบครองรถน้ันเปน
ผกู ระทาํ ความผดิ ตามทร่ี ะบใุ นใบสง่ั เวน แตเ จา ของรถหรอื ผคู รอบครองรถจะไดแ จง ตอ พนกั งานสอบสวน
ภายในสามสบิ วนั นบั แตว นั ทไ่ี ดร บั ใบสง่ั วา ผอู น่ื เปน ผขู บั ขแี่ ละผนู น้ั ยอมรบั วา ตนเปน ผขู บั ข่ี หรอื ในกรณี
ท่ีไมมีผูใดยอมรับวาเปนผูขับข่ี เจาของรถหรือผูครอบครองรถซึ่งไมใชนิติบุคคลจะตองแสดงหลักฐาน
ใหพนกั งานสอบสวนเชื่อไดว า ตนเองมไิ ดเ ปน ผูขับข่ีนัน้

มาตรา ๑๔๐/๒ ในกรณที ีเ่ จาพนักงานจราจรไดวากลา วตักเตอื นหรือออกใบสง่ั
ใหผูขับข่ีผูใดตามมาตรา ๑๔๐ แลว หากเจาพนักงานจราจรเห็นวาผูขับขี่ผูนั้นอยูในสภาพที่หากให
ขบั รถตอ ไปอาจเปน อนั ตรายตอ ชวี ติ รา งกาย หรอื ทรพั ยส นิ ของตนเองหรอื ผอู น่ื ใหเ จา พนกั งานจราจร
มีอํานาจยึดใบอนญุ าตขบั ขี่ของผขู ับขี่ดงั กลาว หรอื บนั ทึกการยึดใบอนญุ าตขบั ขีด่ วยวธิ ีการทางขอมูล
อิเล็กทรอนิกสหรือระงับการใชรถเปนการช่ัวคราวเพ่ือมิใหผูนั้นขับรถ และใหเจาพนักงานจราจรคืน
ใบอนุญาตขับขี่หรือยกเลิกการบันทึกการยึดใบอนุญาตขับข่ีดวยวิธีการทางขอมูลอิเล็กทรอนิกส
หรอื ยอมใหผ ขู บั ขขี่ บั รถได เมอื่ ผขู บั ขน่ี นั้ อยใู นสภาพทส่ี ามารถขบั รถตอ ไปไดห รอื เมอ่ื เจา พนกั งานจราจร
แนใ จวา ผขู บั ขจ่ี ะไมข บั รถในขณะทอี่ ยใู นสภาพดงั กลา ว ทง้ั น้ี ตามระเบยี บทผ่ี บู ญั ชาการตาํ รวจแหง ชาติ
และอธบิ ดกี รมการขนสง ทางบกรว มกนั กาํ หนด

มาตรา ๑๔๐/๓ ในกรณที เ่ี จา พนกั งานจราจรพบวา ผขู บั ขผี่ ใู ดเปน ผขู าดคณุ สมบตั ิ
หรือมีลักษณะตองหามในการไดรับใบอนุญาตขับขี่ ใหเจาพนักงานจราจรมีอํานาจยึดใบอนุญาตขับข่ี

๓๔

หรือบันทึกการยึดใบอนุญาตขับข่ีดวยวิธีการทางขอมูลอิเล็กทรอนิกสของผูขับข่ีผูน้ัน โดยแจงการสั่ง
ยึดใบอนุญาตขบั ขี่พรอ มดว ยเหตผุ ลในการส่ังยึดใบอนญุ าตขบั ขใ่ี หผ ูข ับขีด่ ังกลาวทราบ พรอ มท้ังมอบ
หลกั ฐานการส่งั ยดึ ใบอนญุ าตขับขน่ี นั้ ใหแ กผขู ับข่ไี วเปน หลกั ฐาน

ในกรณีที่เจาพนักงานจราจรยึดใบอนุญาตขับขี่ตามวรรคหนึ่ง ใหจัดทําบันทึก
การยึดใบอนุญาตขับข่ี และใหสงบันทึกนั้นพรอมดวยใบอนุญาตขับข่ีของบุคคลดังกลาว ไปยัง
นายทะเบียนตามกฎหมายวาดวยรถยนตหรือกฎหมายวาดวยการขนสงทางบก เพื่อใหนายทะเบียน
ดาํ เนินการตามกฎหมายตอไป”

ตามบทบัญญัติในมาตรา ๑๔๐ นี้ กําหนดใหหัวหนาเจาพนักงานจราจรหรือ
เจาพนักงานจราจรปฏิบัติเม่ือพบวา ผูขับขี่ผูใดฝาฝนหรือไมปฏิบัติตามบทแหงพระราชบัญญัติน้ี
หรือกฎหมายอันเก่ียวกับรถนั้นๆ (หมายถึงกฎหมายอื่นๆ ท่ีบัญญัติถึงรถที่จะนํามาใชในทาง เชน
พระราชบญั ญตั ริ ถยนต พระราชบญั ญตั ขิ นสง ทางบก พระราชบญั ญตั ทิ างหลวง พระราชบญั ญตั คิ มุ ครอง
ผปู ระสบภยั จากรถ เปน ตน ) โดยใหอ าํ นาจหวั หนา เจา พนกั งานจราจรหรอื เจา พนกั งานจราจรใชด ลุ พนิ จิ
ในการท่ีจะดาํ เนินการบงั คบั ใชก ฎหมาย

๕) อํา¹Ò¨¢Í§ËÑÇ˹ŒÒ਌Ҿ¹Ñ¡§Ò¹¨ÃÒ¨ÃËÃ×Í਌Ҿ¹Ñ¡§Ò¹¨ÃҨà 㹡ÒÃÊÑè§
ã˼Œ Ù¢Œ Ѻ¢ËÕè 嫯 ̦áÅÐทํา¡Ò÷´Êͺ¼¢ÙŒ Ѻ¢àÕè ¾×è;Ôʨ٠¹ÇÒ‹ Ë‹͹¤ÇÒÁÊÒÁÒö (ÁÒμÃÒ ñôò)

อํานาจของหัวหนาเจาพนักงานจราจรหรือเจาพนักงานจราจรในการส่ัง
ใหผ ูข ับข่หี ยดุ รถท่ีมสี ภาพไมถ กู ตอ งหรอื รถท่ผี ูมผี ขู บั ขฝี่ าฝน ไมปฏบิ ตั ิตามกฎจราจร มาตรา ๑๔๒

“มาตรา ๑๔๒ หัวหนา เจาพนกั งานจราจรหรอื เจาพนกั งานจราจรมอี าํ นาจ
สง่ั ใหผูข บั ขห่ี ยุดรถในเม่อื

(๑) รถนนั้ มีสภาพไมถ กู ตอ งตามทีบ่ ญั ญัติไวใ นมาตรา ๖
(๒) เหน็ วา ผขู บั ขหี่ รอื บคุ คลใดในรถนนั้ ไดฝ า ฝน หรอื ไมป ฏบิ ตั ติ ามบทบญั ญตั ิ
แหงพระราชบัญญัตินหี้ รอื กฎหมายอันเก่ยี วกบั รถน้นั ๆ
ในกรณีท่ีมีพฤติการณอันควรเชื่อวาผูขับขี่ฝาฝนมาตรา ๔๓ (๑) หรือ (๒)
ใหหัวหนาเจาพนักงานจราจร พนักงานสอบสวนหรือเจาพนักงานจราจรส่ังใหมีการทดสอบผูขับข่ี
ดงั กลา ววา หยอ นความสามารถในอันทจ่ี ะขับหรอื เมาสรุ าหรอื ของเมาอยางอ่ืนหรอื ไม
ในกรณที ผี่ ขู บั ขตี่ ามวรรคสองไมย อมใหท ดสอบ ใหห วั หนา เจา พนกั งานจราจร
พนกั งานสอบสวน หรอื เจา พนกั งานจราจรมอี าํ นาจกกั ตวั ผนู นั้ ไวด าํ เนนิ การทดสอบไดภ ายในระยะเวลา
เทา ทจี่ าํ เปน แหง กรณเี พอื่ ใหก ารทดสอบเสรจ็ สนิ้ ไปโดยเรว็ หากผนู น้ั ยอมใหท ดสอบและผลการทดสอบ
ปรากฏวาไมไ ดฝาฝน มาตรา ๔๓ (๑) หรอื (๒) กใ็ หปลอยตัวไปทนั ที
ในกรณที ม่ี พี ฤตกิ ารณอ นั ควรเชอ่ื วา ผขู บั ขข่ี บั รถในขณะเมาสรุ าหรอื ของเมา
อยางอ่ืน หากผูน้ันยังไมยอมใหทดสอบตามวรรคสามโดยไมมีเหตุอันสมควร ใหสันนิษฐานไวกอน
วา ผูนัน้ ฝา ฝนมาตรา ๔๓ (๒)

๓๕

การทดสอบตามมาตราน้ีใหเปนไปตามหลักเกณฑและวิธีการท่ีกําหนดใน
กฎกระทรวง”๖

“มาตรา ๑๔๒/๑ เพ่ือประโยชนในการควบคุมความประพฤติของ
ผูไดรับใบอนุญาตขับข่ีใหเกิดความปลอดภัยในการจราจร ในกรณีที่ผูขับขี่ผูใดกระทําความผิดตาม
พระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นอันเก่ียวกับรถหรือการใชทาง ใหสํานักงานตํารวจแหงชาติ
จดั ใหม รี ะบบการบนั ทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถของผูไดร บั ใบอนุญาตขบั ข่ี

ระบบการบนั ทกึ คะแนนความประพฤตใิ นการขบั รถตามวรรคหนงึ่ อยา งนอ ย
ตองประกอบดวยการกําหนดคะแนน การตัดคะแนน และการคืนคะแนน โดยวิธีดําเนินการดังกลาว
ใหเ ปน ไปตามหลกั เกณฑ วธิ กี าร และเงอ่ื นไขทผี่ บู ญั ชาการตาํ รวจแหง ชาตแิ ละอธบิ ดกี รมการขนสง ทางบก
รวมกันกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ท้ังนี้ ในการกําหนดคะแนนความประพฤติในการ
ขับรถใหคาํ นึงถึงประเภทของใบอนุญาตขับข่ี และเหตแุ หง การกระทําความผดิ ดวย

ในกรณที ผ่ี ไู ดร บั ใบอนญุ าตขบั ขผ่ี ใู ดถกู ตดั คะแนนความประพฤตใิ นการขบั รถ
จนหมดคะแนนตามทก่ี าํ หนดไว ใหผ บู ญั ชาการตาํ รวจแหง ชาตหิ รอื ผซู งึ่ ไดร บั มอบหมายจากผบู ญั ชาการ
ตาํ รวจแหง ชาตใิ นแตล ะทอ งทสี่ งั่ พกั ใชใ บอนญุ าตขบั ขขี่ องผไู ดร บั ใบอนญุ าตขบั ขผี่ นู นั้ คราวละเกา สบิ วนั
ทงั้ น้ี ตามระเบยี บท่ีผบู ัญชาการตาํ รวจแหงชาตกิ ําหนด

มาตรา ๑๔๒/๒ คาํ ส่ังพักใชใบอนญุ าตขับขตี่ ามมาตรา ๑๔๒/๑ วรรคสาม
ใหท าํ เปน หนงั สอื และใหแ จง คาํ สง่ั พกั ใชใ บอนญุ าตขบั ขแี่ กผ ไู ดร บั ใบอนญุ าตขบั ขท่ี ราบ ตามหลกั เกณฑ
และวธิ ีการท่ผี บู ัญชาการตํารวจแหง ชาตปิ ระกาศกําหนดในราชกจิ จานุเบกษา

เมอื่ ไดแ จง คาํ สง่ั พกั ใชใ บอนญุ าตขบั ขตี่ ามวรรคหนง่ึ แลว ใหแ จง นายทะเบยี น
ตามกฎหมายวาดวยรถยนตหรอื กฎหมายวา ดวยการขนสง ทางบกทราบโดยเร็ว พรอมทงั้ บันทกึ ขอ มลู
ตามระเบียบท่ีกาํ หนดไวใ นมาตรา ๔/๑

มาตรา ๑๔๒/๓ ผูไดรับใบอนุญาตขับขี่ซ่ึงถูกตัดคะแนนความประพฤติ
ในการขับรถหรือถูกสั่งพักใชใบอนุญาตขับขี่ตามมาตรา ๑๔๒/๑ วรรคสาม อาจเขารับการอบรม
ความรูเกยี่ วกับการขบั รถและวนิ ยั จราจรตามท่กี รมการขนสง ทางบกกาํ หนดได

ใหก รมการขนสง ทางบกจดั การอบรมความรเู กยี่ วกบั การขบั รถและวนิ ยั จราจร
ตามหลักสตู รท่ีผูบญั ชาการตํารวจแหง ชาตแิ ละอธบิ ดกี รมการขนสง ทางบกรวมกนั กาํ หนด

การจดั ใหม กี ารอบรมความรเู กย่ี วกบั การขบั รถและวนิ ยั จราจรตามวรรคสอง
กรมการขนสงทางบก อาจมอบหมายใหโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนสงทางบกรับรองดําเนินการ
กไ็ ด

๖ กฎกระทรวง ฉบับท่ี ๑๖ (พ.ศ.๒๕๓๗) การทดสอบผูขับขเี่ มาสรุ าหรอื ของเมาอยางอ่นื

๓๖

ในการอบรมตามวรรคหน่ึง ใหผูเขารับการอบรมเสียคาใชจายตามท่ีอธิบดี
กรมการขนสง ทางบกประกาศกําหนด

มาตรา ๑๔๒/๔ ใหผูไดรับใบอนุญาตขับข่ีซึ่งผานการอบรมตามมาตรา
๑๔๒/๓ มสี ทิ ธไิ ดร บั คนื คะแนนความประพฤตใิ นการขบั รถทถ่ี กู ตดั ไปอนั เนอื่ งมาจากการกระทาํ ความผดิ
ตามพระราชบญั ญัตนิ ้ี โดยยน่ื คําขอตอหวั หนา เจา พนกั งานจราจร ทัง้ นี้ ตามหลกั เกณฑ วธิ ีการ และ
เงอื่ นไขทปี่ ระกาศกาํ หนดตามมาตรา ๑๔๒/๑ วรรคสอง

มาตรา ๑๔๒/๕ ในกรณีทผี่ ไู ดร ับใบอนญุ าตขบั ขีผ่ ใู ดกระทําความผดิ ตาม
พระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอ่ืนอันเก่ียวกับรถหรือการใชทาง หากการกระทําความผิด
ดังกลาวมีเหตุหรือกอใหเกิดหรือนาจะกอใหเกิดอันตรายอยางรายแรงตอสาธารณะ หรือมีลักษณะ
เปน ภยั แกป ระชาชนอยา งรา ยแรง หรอื มพี ฤตกิ ารณห ลบหนเี มอื่ ตนเองกอ ใหเ กดิ ความเสยี หายแกบ คุ คล
หรือทรัพยสินของผูอ่ืน ใหผูบัญชาการตํารวจแหงชาติหรือผูซึ่งดํารงตําแหนงไมตํ่ากวาผูบัญชาการ
หรือเทียบเทาที่ไดรับมอบหมายจากผูบัญชาการตํารวจแหงชาติมีอํานาจส่ังพักใชใบอนุญาตขับข่ี
ของผูไดรับใบอนุญาตขับขผ่ี ูนน้ั ไดไมเกนิ เกาสบิ วัน

คําส่ังพักใชใบอนุญาตขับขี่ตามวรรคหนึ่ง ใหทําเปนหนังสือ และใหแจง
คําส่ังพักใชใบอนุญาตขับขี่แกผูไดรับใบอนุญาตขับข่ีทราบ พรอมท้ังขอหาในการกระทําความผิด
กําหนดเวลาเริ่มตนและสิ้นสุดการพักใชใบอนุญาตขับข่ี โดยแนบพยานหลักฐานท่ีเกี่ยวของไปดวย
ตามหลักเกณฑและวิธีการที่ผูบัญชาการตํารวจแหงชาติประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา
พรอมท้ังบนั ทึกขอ มูลตามระเบยี บทก่ี าํ หนดไวใ นมาตรา ๔/๑

มาตรา ๑๔๒/๖ ในกรณที ผ่ี ไู ดร บั ใบอนญุ าตขบั ขผี่ ใู ดถกู สง่ั พกั ใชใ บอนญุ าตขบั ข่ี
ตามพระราชบญั ญตั นิ เ้ี กนิ สองครงั้ ภายในระยะเวลาสามปน บั แตว นั ทถี่ กู สงั่ พกั ใชใ บอนญุ าตขบั ขคี่ รง้ั แรก
หากผูบัญชาการตํารวจแหงชาติหรือผูซึ่งดํารงตําแหนงไมต่ํากวาผูบัญชาการหรือเทียบเทาท่ีไดรับ
มอบหมายจากผบู ญั ชาการตาํ รวจแหง ชาตเิ หน็ วา ผไู ดร บั ใบอนญุ าตขบั ขผี่ นู น้ั สมควรถกู พกั ใชใ บอนญุ าต
ขับขี่เกินเกาสิบวัน ใหแจงนายทะเบียนตามกฎหมายวาดวยรถยนตหรือกฎหมายวาดวยการขนสง
ทางบก พรอมดวยขอหาในการกระทําความผิดและพยานหลักฐานที่เกี่ยวของ เพ่ือใหนายทะเบียน
ดําเนินการพิจารณาส่ังยึดหรือพักใชใบอนุญาตขับข่ีตามกฎหมายวาดวยรถยนตหรือกฎหมายวาดวย
การขนสง ทางบก แลวแตกรณี พรอมท้งั ทําการบนั ทกึ ขอ มูลตามระเบียบท่ีกาํ หนดไวในมาตรา ๔/๑

มาตรา ๑๔๒/๗ ในกรณีท่ีผูไดรับใบอนุญาตขับข่ีผูใดเคยถูกส่ังยึดหรือ
พักใชใบอนุญาตขับขี่ตามกฎหมายวาดวยรถยนตหรือกฎหมายวาดวยการขนสงทางบกตาม
มาตรา ๑๔๒/๖ มาแลว และไดกระทําความผิดและถูกพักใชใบอนุญาตขับข่ีตามพระราชบัญญัติน้ี
อีกภายในระยะเวลาหน่ึงปนับแตวันที่พนกําหนดระยะเวลาท่ีถูกส่ังยึดหรือพักใชใบอนุญาตขับข่ีตาม
มาตรา ๑๔๒/๖ หากผบู ญั ชาการตาํ รวจแหง ชาตหิ รอื ผซู ง่ึ ดาํ รงตาํ แหนง ไมต า่ํ กวา ผบู ญั ชาการหรอื เทยี บเทา
ทไี่ ดร บั มอบหมายจากผบู ญั ชาการตาํ รวจแหง ชาตเิ หน็ วา ผไู ดร บั ใบอนญุ าตขบั ขผี่ นู น้ั สมควรถกู เพกิ ถอน

๓๗

ใบอนญุ าตขบั ขี่ ใหแ จง นายทะเบยี นตามกฎหมายวา ดว ยรถยนตห รอื กฎหมายวา ดว ยการขนสง ทางบก
พรอมดว ยขอหาในการกระทําความผิดและพยานหลักฐานที่เกีย่ วของ เพอื่ ใหน ายทะเบยี นดาํ เนินการ
พจิ ารณาสง่ั เพกิ ถอนใบอนญุ าตขบั ขตี่ ามกฎหมายวา ดว ยรถยนตห รอื กฎหมายวา ดว ยการขนสง ทางบก
แลว แตก รณี พรอ มทัง้ ทําการบันทึกขอ มูลตามระเบียบที่กําหนดไวในมาตรา ๔/๑

มาตรา ๑๔๒/๘ ผูไดรับคําส่ังพักใชใบอนุญาตขับข่ีตามมาตรา ๑๔๒/๑
หรอื มาตรา ๑๔๒/๕ ใหมสี ิทธิอุทธรณภ ายในสิบหา วันนับแตวนั ทไ่ี ดรับแจง คาํ ส่ังตามมาตรา ๑๔๒/๒
วรรคหนง่ึ หรอื มาตรา ๑๔๒/๕ วรรคสอง แลวแตกรณี ดงั ตอไปน้ี

(๑) ในกรณีผูซ่ึงดํารงตําแหนงผูบัญชาการตํารวจแหงชาติเปนผูออกคําส่ัง
ใหอุทธรณต อ รฐั มนตรี

(๒) ในกรณผี ซู งึ่ ดาํ รงตาํ แหนง ไมต า่ํ กวา ผบู ญั ชาการหรอื เทยี บเทา เปน ผอู อก
คําสง่ั ใหอุทธรณตอ ผบู ัญชาการตาํ รวจแหง ชาติ

(๓) ในกรณีผูซึ่งดาํ รงตาํ แหนงอ่ืนนอกจาก (๑) และ (๒) เปนผูออกคาํ ส่ัง
ใหอ ุทธรณต อ ผบู ังคบั บัญชาเหนือขน้ึ ไปชั้นหนึง่

ใหผมู อี ํานาจพิจารณาอุทธรณตามวรรคหน่ึง พจิ ารณาอุทธรณใหแลว เสร็จ
ภายในสามสิบวันนบั แตวันทีไ่ ดร บั อทุ ธรณ คําวนิ จิ ฉยั ของผมู อี ํานาจพจิ ารณาอุทธรณใ หเ ปนทส่ี ุด

หลกั เกณฑแ ละวธิ กี ารในการแจง สทิ ธอิ ทุ ธรณ การยน่ื อทุ ธรณ และวธิ พี จิ ารณา
อุทธรณ ใหเปนไปตามระเบยี บท่ีผบู ัญชาการตํารวจแหง ชาติกาํ หนด”

ö) อํา¹Ò¨¢Í§ËÑÇ˹ŒÒ਌Ҿ¹Ñ¡§Ò¹¨ÃҨà ËÃ×Í਌Ҿ¹Ñ¡§Ò¹¨ÃÒ¨Ã㹡ÒÃÊèѧ
ãˌ਌ҢͧöËÃ×ͼŒ¢Ù ºÑ ¢èÕ«Í‹ ÁËÃ×Íá¡äŒ ¢Ã¶ãËŒ¶¡Ù μŒÍ§ (ÁÒμÃÒ ñôó)

อํานาจของหัวหนาเจาพนักงานจราจรหรือเจาพนักงานจราจรในการสั่ง
เปนหนงั สือใหเ จาของรถหรือผูขับขซ่ี อมหรือแกไ ขรถใหถูกตอง

“มาตรา ๑๔๓ ถาปรากฏวาผูขับข่ีนํารถที่มีสภาพไมถูกตองตาม
มาตรา ๖ ไปใชใ นทางนอกจากจะตอ งรบั โทษตามบทบญั ญตั นิ น้ั ๆ แลว หวั หนา เจา พนกั งานจราจรหรอื
เจาพนกั งานจราจรมีอํานาจสั่งเปนหนงั สือใหเ จาของรถหรอื ผูขับขซ่ี อ มหรอื แกไขรถใหถ ูกตอ ง”

“มาตรา ๑๔๓ ทวิ หัวหนาเจาพนักงานจราจร เจาพนักงานจราจร
หรือผูตรวจการมีอํานาจสั่งใหผูขับขี่หยุดรถเพื่อทําการตรวจสอบในเมื่อรถน้ันมีสภาพไมถูกตอง
ตามท่ีบัญญัติไวในมาตรา ๑๐ ทวิ และมีอํานาจสั่งเปนหนังสือใหระงับการใชรถน้ันเปนการช่ัวคราว
และใหเ จา ของรถหรอื ผูขับข่ซี อ มหรอื แกไ ขรถใหถกู ตอง”

“มาตรา ๑๔๔ เม่ือเจาของรถหรือผูขับข่ีไดซอมหรือแกไขรถถูกตองตาม
คําสั่งหัวหนาเจาพนักงานจราจร เจาพนักงานจราจรหรือผูตรวจการ ซ่ึงส่ังตามมาตรา ๑๔๓ หรือ
มาตรา ๑๔๓ ทวิ แลวใหนาํ รถไปใหหวั หนาเจา พนกั งานจราจรหรือผบู ัญชาการตาํ รวจแหง ชาตแิ ตง ต้งั
ใหม อี าํ นาจตรวจรถตรวจรบั รองเจา ของรถหรอื ผขู บั ขจ่ี ะนาํ รถออกใชใ นทางไดเ มอ่ื ไดร บั ใบตรวจรบั รอง

๓๘

การตรวจรับรองรถตามวรรคหน่ึง ใหเปนไปตามวิธีการท่ีกําหนดใน
กฎกระทรวง”

โทษ ผใู ดนาํ รถทหี่ วั หนา เจา พนกั งานจราจร เจา พนกั งานจราจรหรอื ผตู รวจการ
ไดส่งั ใหเจาของรถหรือผูขับขซ่ี อ มหรอื แกไข มาตรา ๑๔๓ หรอื มาตรา ๑๔๓ ทวิ ไปใชใ นทางโดยยงั
มไิ ดร บั ใบตรวจรบั รอง ตามมาตรา ๑๔๔ ตอ งระวางโทษปรบั ไมเ กนิ หนงึ่ พนั บาทและปรบั รายวนั อกี วนั ละ
หา รอ ยบาทจนกวาจะปฏบิ ัติใหถกู ตอ งตามมาตรา ๑๕๖

อบุ ตั เิ หตจุ ราจรเกยี่ วกบั รถทเี่ กดิ ขนึ้ ในทางนน้ั สาเหตหุ นง่ึ เกดิ จากผขู บั ขน่ี าํ รถ
ทมี่ สี ภาพไมม นั่ คง ไมแ ขง็ แรง เครอ่ื งยนตเ สอื่ มสภาพ อปุ กรณช าํ รดุ อนั เปน การฝา ฝน พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ
มาตรา ๖ ที่บญั ญัตไิ ววา

“มาตรา ๖ หามมิใหผูใดนํารถท่ีมีสภาพไมม่ันคงแข็งแรง หรืออาจเกิด
อนั ตรายหรอื อาจทาํ ใหเสือ่ มเสยี สขุ ภาพอนามยั แกผใู ช คนโดยสารหรือประชาชนมาใชใ นทางเดนิ รถ

รถทใี่ ชในทางเดนิ รถ ผูขบั ขต่ี อ งจัดใหม ีเครื่องยนต เครื่องอุปกรณและหรอื
สวนควบที่ครบถวนตามกฎหมายวาดวยรถยนต กฎหมายวาดวยการขนสง กฎหมายวาดวยลอเล่ือน
กฎหมายวาดวยรถลาก หรอื กฎหมายวา ดว ยรถจา ง และใชก ารไดด ี

สภาพของรถที่อาจทําใหเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยตามวรรคหนึ่งและวิธีการ
ทดสอบใหเ ปนไปตามหลกั เกณฑและวธิ ีการทีก่ าํ หนดในกฎกระทรวง”

มาตรา ๑๔๓ และมาตรา ๑๔๔ จึงไดบัญญัติใหหัวหนาเจาพนักงานหรือ
เจา พนกั งานจราจรมอี าํ นาจสง่ั ใหผ ขู บั ขหี่ ยดุ รถไดต ามมาตรา ๑๔๒(๑) ถา ไมห ยดุ รถตามคาํ สงั่ มโี ทษตาม
มาตรา ๑๕๔ ปรบั ครง้ั ละไมเ กนิ หนงึ่ พนั บาทและมอี าํ นาจสง ผขู บั ขพี่ รอ มดว ยรถไปใหพ นกั งานสอบสวน
ดาํ เนินคดีในความผิด ตามมาตรา ๖ ซง่ึ มโี ทษปรบั ไมเ กินหารอยบาทตามมาตรา ๑๔๘

ËÅѡࡳ±áÅÐÇÔ¸Õ¡Ò÷´ÊͺÊÀÒ¾¢Í§Ã¶·èÕÍÒ¨ทําãËŒàÊè×ÍÁàÊÕÂÊØ¢ÀÒ¾
͹ÒÁÂÑ à»š¹ä»μÒÁ¡®¡ÃзÃǧ àÃÍè× § ¡ÒÃกํา˹´ËÅѡࡳ±áÅÐÇÔ¸Õ¡Ò÷´ÊͺÊÀÒ¾¢Í§Ã¶·èÍÕ Ò¨
ทําãËŒàÊ×èÍÁàÊÂÕ Ê¢Ø ÀҾ͹ÒÁÑ ¾.È.òõôö ´Ñ§μ‹Í仹Õé

ขอ ๑ สภาพของรถทอ่ี าจทาํ ใหเ สอื่ มเสยี สขุ ภาพอนามยั แกผ ใู ช คนโดยสาร
หรือประชาชน ไดแก รถที่กอใหเกิดมลพิษเกินกวาคามาตรฐานการควบคุมมลพิษจากยานพาหนะ
ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมเกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมมลพิษจาก
ยานพาหนะซ่งึ ออกตามกฎหมายวา ดวยการสงเสริมและรกั ษาคณุ ภาพสิง่ แวดลอ มแหง ชาต๘ิ

ขอ ๒ วิธีการทดสอบสภาพของรถตามขอ ๑ ใหเปนไปตามประกาศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอมเกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมมลพิษจากยานพาหนะ
ซงึ่ ออกตามกฎหมายวา ดว ยการสงเสรมิ และรักษาคณุ ภาพสิง่ แวดลอมแหงชาติ

๘ ประกาศกระทรวงทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ มเกยี่ วกบั มาตรฐานการควบคมุ มลพษิ จากยานพาหนะซงึ่ ออกตามกฎหมาย
วาดวยการสงเสรมิ และรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหง ชาติ

๓๙

หัวหนาเจาพนักงานจราจรหรือเจาพนักงานจราจรมีอํานาจสั่งเปนหนังสือ
ใหเ จา ของรถหรอื ผขู บั ขจี่ ดั การซอ มหรอื แกไ ขรถใหถ กู ตอ ง อยใู นสภาพทใ่ี ชก ารไดด ี หากยงั ไมจ ดั การซอ ม
หรือแกไขรถใหถูกตองตามคําสั่งจะนํารถมาใชในทางเดินรถไมได หากนํามาใชก็จะมีความผิด
และอาจถูกดาํ เนนิ คดที กุ ครง้ั ทนี่ าํ มาใช

เมื่อเจาของรถหรือผูขับข่ีไดซอมหรือแกไขรถถูกตองตามคําสั่งหัวหนา
เจาพนักงานจราจร เจาพนักงานจราจร ซ่ึงส่ังตามมาตรา ๑๔๓ หรือมาตรา ๑๔๓ ทวิ แลวใหนํา
รถไปใหหัวหนาเจาพนักงานจราจรหรือผูบัญชาการตํารวจแหงชาติแตงตั้งใหมีอํานาจตรวจรับรอง
เม่ือทําการตรวจสอบถูกตองตามกฎกระทรวงแลวเมื่อไดรับใบตรวจรับรองเจาของรถหรือผูขับขี่
จงึ จะนาํ รถออกใชใ นทางได

¡ÒÃμÃÇ¨ÃºÑ Ãͧö ãËàŒ »¹š ä»μÒÁÇ¸Ô ¡Õ Ò÷กèÕ าํ ˹´ã¹¡®¡ÃзÃǧù ©ººÑ ·Õè ø
(¾.È.òõòò) á¡Œä¢à¾ÁÔè àμÁÔ ¡®¡ÃзÃǧ ©ºÑº·èÕ ñø (¾.È.òõôö) ´Ñ§¹éÕ

ขอ ๑ เมอ่ื ผขู บั ขไ่ี ดร บั หนงั สอื สงั่ ตามมาตรา ๑๔๓ แหง พ.ร.บ.จราจรทางบก
พ.ศ.๒๕๒๒ ใหเจาของรถหรือผูขับขี่ซอมหรือแกไขรถใหอยูในสภาพตามท่ีส่ังแลวนํารถพรอมหนังสือ
สั่งใหหัวหนา เจาพนักงานจราจรในเขตทัง้ ท่ซี ่งึ ไดออกหนังสือสั่งน้ันตรวจรบั รอง

ขอ ๒ เมื่อเจาพนักงานจราจร ตามขอ ๑ ไดรับรถพรอมหนังสือสั่งแลว
ใหป ฏบิ ัตดิ ังตอไปนี้

(๑) ในกรณีเปนการตรวจรับรองที่ไมตองใชเคร่ืองมือทดสอบ
ใหดําเนินการตรวจทนั ที เม่ือตรวจแลว เหน็ วา ถกู ตอ งตามหนังสือสั่ง ใหรบั รองโดยสลกั หลงั หนงั สือสัง่
นนั้ วา “ตรวจแลวเรยี บรอย” พรอ มกบั ลงลายมอื ชอื่ และวันเดือนปท่ตี รวจ

(๒) ในกรณีเปนการตรวจรับรองท่ีตองใชเครื่องมือทดสอบ
ใหเจาพนักงานจราจรรีบสงรถพรอมหนังสือสั่งใหผูซ่ึงผูบัญชาการตํารวจแหงชาติแตงตั้งตรวจรับรอง
เม่ือผูตรวจรับรองรถไดตรวจแลว เห็นวาถูกตองตามหนังสือใหปฏิบัติตามขอ ๑ กลาวคือใหรับรอง
โดยสลกั หลังหนงั สือนนั้ วา “ตรวจแลวเรียบรอย” พรอมกับลงลายมอื ชอื่ และวันเดอื นปท่ีตรวจ

วิธีการตรวจรับรองรถ ตามขอ ๒ ใหเปนไปตามประกาศกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอมเก่ียวกับมาตรฐานการควบคุมมลพิษจากยานพาหนะซึ่งออกตาม
กฎหมายวา ดวยการสงเสริมและรักษาคณุ ภาพสิง่ แวดลอมแหง ชาติ

กรณตี ามมาตรา ๑๔๓ ทวิ ใหห วั หนา เจา พนกั งานจราจร เจา พนกั งานจราจรหรอื
ผตู รวจการมอี าํ นาจสงั่ ใหผ ขู บั ขหี่ ยดุ รถเพอ่ื ทาํ การตรวจสอบในเมอ่ื รถนน้ั มสี ภาพไมถ กู ตอ งตามทบี่ ญั ญตั ิ
ไวใ นมาตรา ๑๐ ทวิ ทหี่ า มมใิ หผ ใู ดนาํ รถทเี่ ครอ่ื งยนตก อ ใหเ กดิ กา ซ ฝนุ ควนั ละออง เคมี หรอื เสยี งเกนิ เกณฑ
ที่ผูบัญชาการตํารวจแหงชาติกําหนด๑๐ มาใชในทางเดินรถ ถาผูขับข่ีไมยอมหยุดรถจะมีความผิด

๙ กฎกระทรวงฉบับท่ี ๘ (พ.ศ.๒๕๒๒) และดแู กไขเพิม่ เตมิ ในกฎกระทรวง ฉบบั ท่ี ๑๘ (พ.ศ.๒๕๔๖)
๑๐ ขอกําหนดกรมตํารวจ เรื่อง กําหนดมาตรฐานคาควันดํากาซและระดับเสียงของรถซึ่งอยูในเกณฑที่ยินยอมใหนํามาใชใน

ทางเดนิ รถได และประกาศกระทรวงวทิ ยาศาสตรเทคโนโลยีและสิ่งแวดลอม

๔๐

และมีโทษตามมาตรา ๑๕๔(๔) ปรับครงั้ ละไมเ กินหนงึ่ พันบาทและมอี าํ นาจ “สั่งเปน หนงั สือ” ใหร ะงบั
การใชรถน้ันเปนการชั่วคราวและใหเจาของรถหรือผูขับข่ีซอมหรือแกไขรถใหอยูในสภาพดีไมมีควัน
หรือเสียงดังเกินเกณฑท่ีผูบัญชาการตํารวจแหงชาติกําหนดระหวางท่ีถูกใบสั่งดังกลาวจะนํารถออก
มาใชในทางไมได และเม่ือเจาของรถหรือผูขับข่ีไดซอมหรือแกไขใหควันดําหรือเสียงหายไปแลวใหนํา
รถไปใหเจาพนักงานจราจรหรือผูท่ีอธิบดีแตงตั้งใหมีอํานาจตรวจรับรองเมื่อทําการตรวจสอบถูกตอง
ตามกฎกระทรวงแลว เม่ือไดร บั ใบตรวจรบั รองเจา ของรถหรือผขู บั ขี่จึงจะนํารถออกใชใ นทางได

÷) อาํ ¹Ò¨Â´Ö ö¤¹Ñ ·¼èÕ ¢ŒÙ ºÑ ¢ËÕè ź˹ËÕ ÃÍ× äÁá‹ Ê´§μ¹ÇÒ‹ ໹š ¼¢ŒÙ ºÑ ¢Õè ¾.Ã.º.¨ÃÒ¨Ã
·Ò§º¡Ï (ÁÒμÃÒ ÷ø)

“มาตรา ๗๘ ผูใดขับรถหรือข่ีหรือควบคุมสัตวในทางซ่ึงกอใหเกิดความ
เสียหายแกบุคคลหรือทรัพยสินของผูอื่นไมวาจะเปนความผิดของผูขับข่ีหรือผูข่ีหรือควบคุมสัตว
หรอื ไมก ต็ าม ตอ งหยดุ รถหรอื สตั วแ ละใหค วามชว ยเหลอื ตามสมควร และพรอ มทงั้ แสดงตวั และแจง เหตุ
ตอตํารวจที่ใกลเคียงทันทีกับตองแจงชื่อตัว ช่ือสกุล และที่อยูของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก
ผูไดรับความเสยี หายดว ย

ในกรณีท่ีผูขับขี่หรือผูข่ีหรือควบคุมสัตวหลบหนีไปหรือไมแสดงตัวตอ
ตํารวจ ณ สถานท่ีเกิดเหตุใหสันนิษฐานวาเปนผูกระทําความผิดและใหตํารวจมีอํานาจยึดรถ
คันที่ผูขับข่ีหลบหนีหรือไมแสดงตนวาเปนผูขับข่ี จนกวาคดีถึงที่สุดหรือไดตัวผูขับข่ีถาเจาของ
หรือผูครอบครองไมแสดงตัวตอตํารวจภายในหกเดือนนับแตวันเกิดเหตุใหถือวารถนั้นเปนทรัพยสิน
ซ่ึงไดใชใ นการกระทําความผิดหรอื เกี่ยวกับการกระทาํ ความผดิ และใหตกเปน ของรฐั ”

โทษ ผูใดฝาฝนหรือไมปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ ตองระวางโทษจําคุกไมเกิน
สามเดือนหรือปรับตัง้ แตส องพนั บาทถงึ หนง่ึ หม่ืนบาท หรอื ท้ังจําทั้งปรับ

ถาไมป ฏบิ ตั ติ ามมาตรา ๗๘ เปน เหตใุ หบ ุคคลอื่นไดร ับอนั ตรายสาหัส หรือ
ตาย ผูไมปฏิบัติตามตองระวางโทษจําคุกไมเกินหกเดือน หรือปรับต้ังแตหาพันบาทถึงสองหมื่นบาท
หรอื ท้งั จาํ ทัง้ ปรับ (มาตรา ๑๖๐ วรรคสอง)

บทบญั ญตั มิ าตรา ๗๘ เปน กรณที ผี่ ขู บั ขรี่ ถเกดิ อบุ ตั เิ หตกุ อ ใหเ กดิ ความเสยี หาย
แกบ คุ คลหรอื ทรพั ยส นิ ของผอู น่ื แลว หลบหนกี ฎหมายใหต าํ รวจจราจรหรอื พนกั งานสอบสวนมอี าํ นาจ
ยดึ รถคันทผ่ี ขู บั ข่ีหลบหนีไวจนกวาคดถี ึงทส่ี ดุ หรือไดต วั ผูขบั ขี่ ถาเจา ของรถหรือผคู รอบครองรถคนั นั้น
ไมแ สดงตวั ตอ ตาํ รวจภายในหกเดอื นนบั แตว นั เกดิ เหตใุ หร ถคนั นน้ั ตกเปน ของรฐั เปน บทบญั ญตั บิ งั คบั
ใหผูขับขี่รถตองปฏิบัติหนาที่ทางศีลธรรมท่ีจะตองชวยเหลือผูท่ีไดรับอุบัติเหตุจราจรในทางจากการ
กอ ใหเ กดิ ความเสยี หายของตนเอง โดยตองหยดุ รถ และตอ งใหความชว ยเหลอื ตามสมควร กลาวคือ
นําผูบาดเจ็บสงโรงพยาบาลชวยพยาบาลเบ้ืองตน ชวยติดตอญาติ เปนตน และตองแสดงตนและ
แจง เหตตุ อ ตาํ รวจทใี่ กลเ คยี งทนั ที หมายถงึ ทนั ทที พ่ี อจะแจง ไดแ ละตาํ รวจทนี่ ้ี นา จะหมายถงึ เจา หนา ที่
ตํารวจโดยท่วั ไป

๔๑

กรณีท่ีผูขับขี่หลบหนีไปหรือไมแสดงตัวตอตํารวจ ณ สถานท่ีเกิดเหตุมีผล
ตามกฎหมาย คือ

(๑) สนั นษิ ฐานวา เปน ผกู ระทาํ ผดิ กรณที ผ่ี ขู บั ขหี่ ลบหนไี ปหรอื ไมแ สดงตวั ตอ
ตํารวจ ณ สถานท่ีเกิดเหตุ กฎหมายใหสันนิษฐานวาเปนผูกระทําผิด ดังนั้นหากผูขับขี่มาแสดงตัว
ภายหลังและสูคดี ภาระการพิสูจนในการที่จะนําสืบพยานมาหักลางขอสันนิษฐานก็สามารถกระทํา
ไดวา ตนไมไ ดเ ปนฝา ยกระทําผดิ

(๒) ตาํ รวจมอี าํ นาจยดึ รถคนั ทผี่ ขู บั ขห่ี ลบหนหี รอื ไมแ สดงตวั สาํ หรบั ประเดน็ นี้
แมผูขับข่ีไมหลบหนี แตไ มย อมแสดงตนวา เปน ผขู บั ขีต่ อตาํ รวจ ณ สถานทเ่ี กดิ เหตุ กท็ าํ ใหร ถอาจถูก
ยดึ ไดเ ชน เดยี วกนั สาํ หรบั ตาํ รวจทน่ี หี้ มายถงึ เจา หนา ทต่ี าํ รวจโดยทว่ั ไปและผทู ใี่ ชอ าํ นาจยดึ รถในสว นนี้
มกั จะเปน พนกั งานสอบสวน โดยการยึดรถตามมาตรา ๗๘ น้ี กฎหมายใหค าํ วา ใหต าํ รวจมอี าํ นาจ
ยึดรถคันทีผ่ ูขับขีห่ ลบหนหี รอื ไมแสดงตนวา เปนผขู บั ขี่ ซงึ่ เปนอาํ นาจดุลพินิจ ดงั นั้นพนักงานสอบสวน
จะยึดรถหรอื ไมก ไ็ ด

(๓) การส้ินสุดอาํ นาจยดึ รถของตาํ รวจ มี ๒ กรณี คอื กรณีคดถี ึงทีส่ ุดหรอื
ไดตัวผูขับข่ี ในกรณีที่ไดตัวผูกระทําผิด ไมวาจะเปนเพราะผูขับขี่มามอบตัวเองหรือถูกจับไดก็ตาม
อํานาจในการยึดรถของตํารวจจะสิ้นสุดลงทันที แตหากยังไมไดตัวผูขับขี่อํานาจในการยึดรถก็ยังคงมี
ตอ ไปจนกวาคดีจะถงึ ทส่ี ดุ ซ่ึงหมายถงึ จนกวา คดขี าดอายคุ วามทางอาญาหรือมีคาํ ส่ังเด็ดขาดไมฟอง
โดยพิจารณาวาผูตองหาที่หลบหนีน้ันไมมีความผิดทางอาญาใดๆ นอกจากน้ี เนื่องจากการยึดรถ
ในกรณีน้ีเปนอํานาจในการใชดุลยพินิจของตํารวจ ดังนั้น ตํารวจจะคืนรถใหแกเจาของหรือ
ผูครอบครองรถเมื่อใดโดยมีเงื่อนไขอยางไรก็ได กลาวคือจะคืนรถทั้งๆ ที่ยังไมไดตัวผูขับข่ี และคดี
ยังไมถ งึ ทีส่ ดุ กไ็ ด เพราะการยึดรถในกรณีนี้ เปน อํานาจดุลพนิ จิ

อาํ ¹Ò¨Ë¹ŒÒ·èÕμÒÁ·èÃÕ ÐàºÂÕ ºสาํ ¹¡Ñ §Ò¹ตาํ ÃǨáË‹§ªÒμกÔ ํา˹´
ในการปฏบิ ตั หิ นา ทข่ี องเจา พนกั งานจราจร หรอื พนกั งานเจา หนา ทใ่ี นการบงั คบั ใช
กฎหมายตางๆ ที่เกี่ยวของกับการจราจร เพื่อใหเกิดประโยชนสูงสุดในการอํานวยความสะดวก
ดา นการจราจรและการรกั ษาความปลอดภยั ทางถนน สาํ นกั งานตาํ รวจแหง ชาติ ไดม คี าํ สงั่ ท่ี ๕๓๗/๒๕๕๕
เร่อื ง การกาํ หนดอํานาจหนาท่ีของตําแหนงในสถานีตํารวจ ลงวนั ที่ ๑ ตลุ าคม ๒๕๕๕ ในสวนของ
สายงานจราจร ระบไุ วในคาํ ส่ังขอ ๕.๖ - ๕.๗ มีใจความดังนี้
ËÑÇ˹ŒÒ§Ò¹¨ÃҨà มีหนา ท่ีดงั นี้
เปน หวั หนา ผปู ฏบิ ตั งิ านจราจร รบั ผดิ ชอบเกยี่ วกบั การปฏบิ ตั งิ านดา นการจราจร
วางแผนอาํ นวยการสง่ั การ ควบคมุ ดแู ล ตรวจสอบ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลงานดา นการควบคมุ จราจร
จัดการและบังคับใชกฎหมายเกี่ยวกับการจราจร รวมทั้งงานจราจรตามโครงการพระราชดําริและงาน

๔๒

ที่มีลักษณะเก่ียวของหรือเปนสวนประกอบของงานนี้ เพ่ือปองกันไมใหเกิดปญหาดานการจราจร
ตลอดจนพ้ืนทีท่ ี่มกี ารจราจรตอ เน่อื งกัน โดยจาํ แนกออกเปนงานตางๆ ดงั นี้

๑. งานควบคมุ ดแู ล ใหค าํ ปรกึ ษา แนะนาํ ตลอดจนการปรบั ปรงุ แกไ ขการปฏบิ ตั งิ าน
ของผูใ ตบังคบั บญั ชาในงานจราจร

๒. งานวางแผนจดั การและควบคมุ การจราจร ตลอดจนจดั ทาํ แผนทจ่ี ราจรของ
พ้นื ทร่ี บั ผิดชอบและของพนื้ ท่ที มี่ กี ารจราจรตอ เนอื่ งกนั

๓. งานศกึ ษาเกบ็ รวบรวมสถติ ขิ อ มลู เกย่ี วกบั การจราจร แนะนาํ วทิ ยากรตา งๆ
มาใชใ นงานจราจร

๔. งานใหค วามรแู ละการศึกษาอบรมผปู ฏบิ ตั หิ นา ท่ีจราจร
๕. งานสอดสอง ตรวจตรา แนะนํา ใหประชาชนผูใชรถใชถนนปฏิบัติตาม
กฎหมาย ระเบยี บ คาํ สัง่ ขอบงั คับเกี่ยวกับการจราจร
๖. งานเก็บรวบรวมขอมูล ขาวสาร หรือขอเท็จจริงท่ีเปนประโยชนตอการ
จัดการควบคมุ การจราจร
๗. งานการสงขอมูลขาวสาร หรือขอเท็จจริงที่เปนประโยชนตอการปองกัน
ปราบปรามและสง ใหง านปองกนั ปราบปราม
๘. เม่ือไดรับคําสั่งไมวาจะเปนคําส่ังโดยฉับพลันทันทีหรือตามแผน
ท่ีผูบังคับบัญชากําหนดใหปฏิบัติอยางหนึ่งอยางใดในการเขาระงับ ปราบปราม จับกุม สกัดจับ
ก็ใหป ฏบิ ัติตามคาํ ส่งั
๙. กรณีมีการกระทําความผิดใหพิจารณาสั่งการใหผูปฏิบัติงานจราจร
ดําเนนิ การจับกุมหรือดาํ เนินการจับกุมดว ยตนเอง
๑๐. ปฏิบัติหนาท่ีถวายความปลอดภัยแดองคพระมหากษัตริย พระราชินี
และพระบรมวงศานุวงศทเ่ี สด็จพระราชดําเนินเขา มาในพ้ืนท่ขี องสถานตี าํ รวจ
๑๑. ปฏบิ ตั งิ านรว มกบั งานปอ งกนั ปราบปรามในการควบคมุ ความสงบเรยี บรอ ย
กรณมี ีเหตุพิเศษตางๆ เชน การจดั งานตามประเพณี และอน่ื ๆ
๑๒. ปฏบิ ัติงานรว มกบั งานปอ งกันปราบปราม เพ่อื ทาํ การตรวจคน จบั กุม
๑๓. งานควบคมุ ตรวจสอบการปฏบิ ตั งิ านของขา ราชการตาํ รวจ ทง้ั ในดา นการ
ปฏิบัตงิ านความประพฤตแิ ละระเบียบวินยั
๑๔. การปฏิบัติหนาที่หากมีเหตุจําเปนเรงดวนใหมีอํานาจมอบหมายให
ผใู ตบ งั คบั บญั ชาปฏบิ ตั หิ นา ทอี่ นื่ ไดต ามความเหมาะสม แตท ง้ั นตี้ อ งไมเ สยี หายตอ หนา ทก่ี ารงานประจาํ
๑๕. ปฏิบตั งิ านอน่ื ๆ ทเี่ กี่ยวของกบั งานจราจร
๑๖. ปฏิบัตงิ านอ่นื ๆ ตามทผี่ บู ังคับบัญชามอบหมาย

๔๓

ÊÒÃÇμÑ Ã¨ÃҨà มีหนาท่ดี งั นี้
๑. ควบคมุ ตรวจสอบ ใหค าํ ปรกึ ษา แนะนาํ ตลอดจนปรบั ปรงุ แกไ ขการปฏบิ ตั งิ านของ
ผใู ตบงั คบั บัญชาในงานจราจร
๒. จดั และควบคุมการจราจร
๓. ศึกษาเก็บรวบรวมสถิติขอมูลเกี่ยวกับการจราจร และนําวิทยาการตางๆ
มาใชใ นงานจราจร
๔. ใหค วามรูและการศกึ ษาอบรมแกข าราชการตํารวจ
๕. สอดสอ ง ตรวจตรา แนะนาํ ใหป ระชาชนผใู ชร ถใชถ นนปฏบิ ตั ติ ามกฎหมาย
ระเบยี บ คําสงั่ ขอ บงั คับเกยี่ วกับการจราจร
๖. วากลาวตักเตือนกอนออกใบสั่งเจาพนักงานจราจร หรือออกใบส่ัง
เจา พนักงานจราจรหรอื จบั กมุ ผลู ะเมดิ กฎหมาย ระเบียบ คําสัง่ ขอ บงั คบั เกยี่ วกบั การจราจร
๗. จัดการเบ้ืองตนเมอื่ เกิดอบุ ตั ิเหตุจราจร
๘. เก็บรวบรวมขอมลู ขา วสาร หรอื ขอเทจ็ จริงท่ีเปนประโยชนตอ การปองกัน
ปราบปรามและสง ใหฝ ายปองกนั ปราบปราม
๙. ปฏิบตั หิ นา ทีถ่ วายความปลอดภยั แดองคพ ระมหากษัตรยิ  พระราชนิ ี และ
พระบรมวงศานุวงศทเี่ สด็จพระราชดําเนินเขามาในพน้ื ทีข่ องสถานตี าํ รวจ
๑๐. ปฏบิ ตั งิ านรว มกบั งานปอ งกนั ปราบปรามในการควบคมุ ความสงบเรยี บรอ ย
กรณีมเี หตุพเิ ศษตา งๆ เชน การจดั งานตามประเพณี การชมุ นมุ ประทว งและอื่นๆ
๑๑. ปฏิบัติงานรวมกบั งานปองกนั ปราบปราม เพอื่ ทาํ การตรวจคน จับกมุ
๑๒. เมื่อไดรับคําส่ังไมวาจะเปนคําส่ังโดยฉับพลันทันทีหรือตามแผนท่ี
ผูบังคับบัญชากําหนดใหปฏิบัติอยางหน่ึงอยางใดในการเขาระงับ ปราบปราม จับกุม สกัดจับ
กใ็ หป ฏิบัตติ ามคาํ ส่งั
๑๓. การปฏิบัติหนาที่หากมีเหตุจําเปนเรงดวนใหมีอํานาจมอบหมายให
ผูใตบังคับบัญชาปฏิบัติหนาท่ีอื่นไดตามความเหมาะสม แตทั้งนี้ตองไมเสียหายตอหนาที่
การงานประจําและตอ งรีบรายงานใหห วั หนางานจราจรทราบทันที
๑๔. งานควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของขาราชการตํารวจทั้งในดาน
การปฏิบัติงาน ความประพฤติและระเบียบวินยั
๑๕. ปฏิบตั ิงานอื่นๆ ทเี่ กย่ี วขอ งกับงานจราจร
๑๖. ปฏบิ ตั งิ านอ่นื ๆ ตามทผี่ ูบงั คับบญั ชามอบหมาย

๔๔

ÃͧÊÒÃÇμÑ Ã¨ÃҨà มหี นา ทด่ี ังน้ี
๑. ปฏิบัตงิ านตามหนา ท่ีของสารวตั รจราจร ขอ ๑ – ๑๒
๒. การปฏิบัติหนาท่ีหากมีเหตุจําเปนเรงดวนใหมีอํานาจมอบหมายให
ผใู ตบ งั คบั บญั ชาปฏบิ ตั หิ นา ทอ่ี นื่ ไดต ามความเหมาะสม แตท งั้ นตี้ อ งไมเ สยี หายตอ หนา ทก่ี ารงานประจาํ
และตองรบี รายงานใหหัวหนา งานจราจรหรอื สารวตั รจราจรทราบในทนั ที
๓. ปฏบิ ัตงิ านอ่ืนๆ ที่เกี่ยวขอ งกบั งานจราจร
๔. ปฏบิ ัตงิ านอ่นื ๆ ตามที่ผูบังคับบญั ชามอบหมาย
ÃͧÊÒÃÇÑμà (ตาํ á˹§‹ ¤Çº¼ÙºŒ ѧ¤ºÑ ËÁÙ‹ ¶§Ö ÃͧÊÒÃÇÑμÃ) §Ò¹¨ÃҨà มีหนา ท่ี
ดังน้ี
๑. ปฏิบัติงานในหนาท่ีและความรับผิดชอบของตําแหนงระดับผูบังคับหมู
ท่ีปฏบิ ตั ิอยเู ดิมโดยปฏบิ ตั หิ นาที่ในสายงานจราจร ภายใตการกาํ กับตรวจสอบโดยทว่ั ไปและอาจไดร บั
มอบหมายใหค วบคมุ ตรวจสอบการปฏบิ ัตงิ านของขาราชการตํารวจจาํ นวนหนง่ึ
๒. ตัดสินใจ วินิจฉัยส่ังการ แกไขปญหาในงานท่ีรับผิดชอบใหเสร็จส้ิน
ณ จุดเดยี ว
๓. ปฏิบัตหิ นาท่ีหวั หนา จราจร
๔. ปฏบิ ตั งิ านดว ยตนเองในลกั ษณะของผมู ปี ระสบการณใ นงานดา นจราจรของ
หนว ยงานนน้ั ๆ
๕. ชวยเหลืองานของขาราชการตํารวจระดับตําแหนงสารวตั รหรอื เทยี บเทา
๖. ปฏิบัตหิ นา ทอี่ ื่นท่ีเกี่ยวขอ งหรอื ตามทไ่ี ดร ับมอบหมายจากผบู ังคบั บัญชา
¼ŒºÙ ѧ¤ºÑ ËÁ¨‹Ù ÃÒ¨Ã
ก. ผบู งั คบั หมู ทําหนาท่ีธุรการ มหี นา ที่ดังนี้

๑) งานธรุ การทัว่ ไปของงานจราจร
๒) ปฏิบัติหนาท่ีถวายความปลอดภัยแดองคพระมหากษัตริย พระราชินี
และพระบรมวงศานวุ งศ ทเ่ี สด็จพระราชดําเนินเขา มาในพื้นทขี่ องสถานีตํารวจ
๓) ปฏิบัติงานรวมกับงานปองกันปราบปรามในการควบคุมความสงบ
เรยี บรอยกรณมี เี หตุพิเศษตา ง ๆ เชน การจัดงานตามประเพณี การชมุ นุมประทวง และอน่ื ๆ
๔) ปฏบิ ตั งิ านรว มกบั งานปอ งกนั ปราบปราม เพ่ือทําการตรวจคน จับกุม
๕) ปฏบิ ตั ิงานอื่นๆ ท่เี ก่ียวขอ งกบั งานจราจร
๖) ปฏบิ ตั งิ านอนื่ ๆ ตามท่ีผบู ังคับบัญชามอบหมาย

๔๕

ข. ผูบ งั คบั หมู ทําหนา ที่จราจร มหี นา ที่ดังน้ี
๑) เก็บรวบรวมสถิติขอมูลเกีย่ วกับการจราจร ตลอดจนนําวิทยาการตางๆ

มาใชในงานจราจร
๒) จัดและควบคมุ การจราจรตามที่รองสารวตั รจราจร หรอื สารวตั รจราจร

หรือหัวหนา งานจราจรมอบหมายสั่งการ
๓) จัดและควบคุมการจราจร โดยจัดและควบคุมการจราจรตามที่

รองสารวตั รจราจรหรอื สารวัตรจราจร หรือหวั หนางานจราจร
๔) สอดสอง ตรวจตรา แนะนํา ใหประชาชนผูใชรถใชถนนปฏิบัติตาม

กฎหมาย ระเบียบคําส่งั ขอ บังคบั เก่ยี วกบั การจราจร
๕) วากลาวตักเตือนกอนออกใบส่ังเจาพนักงานจราจร หรือออกใบส่ัง

เจา พนักงานจราจร
๖) การจัดการเบือ้ งตนเมอ่ื เกิดอุบตั เิ หตจุ ราจร
๗) เก็บรวบรวมขอมูล ขาวสารหรือขอเท็จจริงที่เปนประโยชนตอการ

ปองกันปราบปราม โดยรายงานขอ มูลขาวสาร หรือขอเท็จจรงิ ท่เี กบ็ รวบรวมไดต อรองสารวัตรจราจร
หรอื สารวัตรจราจร หัวหนา งานจราจร หรือกรณีเรงดวนใหแจง โดยตรงตอ ผมู หี นา ทรี่ ับผิดชอบในเรอ่ื ง
น้ัน ๆ กอนแลวรายงานรองสารวัตรจราจรหรือสารวัตรจราจร หรือหัวหนางานจราจร ทั้งนี้ตาม
หลักเกณฑและวธิ ีการทห่ี วั หนาสถานีตาํ รวจกําหนด

๘) ปฏิบัติหนาที่ถวายความปลอดภัยแดองคพระมหากษัตริย พระราชินี
และพระบรมวงศานวุ งศ ท่เี สดจ็ พระราชดําเนนิ เขา มาในพืน้ ทีข่ องสถานตี ํารวจ

๙) ปฏิบัติงานรวมกับงานปองกันปราบปราม ในการควบคุมความสงบ
เรยี บรอ ยกรณีมเี หตุพิเศษตางๆ เชน การจัดงานตามประเพณี การชุมนมุ ประทวง และอ่นื ๆ

๑๐) ปฏบิ ัติงานรว มกบั งานปองกนั ปราบปราม เพือ่ ทําการตรวจคน จับกุม
๑๑) เม่ือไดรับคําส่ังไมวาจะเปนคําส่ังโดยฉับพลันทันทีหรือตามแผนที่
ผบู งั คบั บญั ชากาํ หนดใหป ฏบิ ตั อิ ยา งหนง่ึ อยา งใดในการเขา ระงบั ปราบปรามจบั กมุ สกดั จบั กใ็ หป ฏบิ ตั ิ
ตามคาํ ส่ัง
๑๒) ปฏิบัติงานอน่ื ๆ ท่เี กีย่ วของกับงานจราจร
๑๓) ปฏิบัติงานอ่ืนๆ ตามท่ีผูบังคับบัญชามอบหมายการกําหนดอํานาจ
หนา ท่ขี องตําแหนงตางๆ ในสถานตี าํ รวจเปนการกาํ หนดเพือ่ ใหการปฏบิ ตั ิงานในสถานตี ํารวจเปนไป
ดว ยความเรยี บรอ ยบรรลวุ ตั ถปุ ระสงคข องทางราชการ สอดคลอ งกบั โครงสรา งและลกั ษณะงานทปี่ ฏบิ ตั ิ
ดงั นน้ั การปฏบิ ตั งิ านของเจา หนา ทตี่ าํ รวจทง้ั ในดา นการบงั คบั ใชก ฎหมายและการจดั การจราจรจาํ เปน
ท่ีตองทราบถึงอํานาจหนาที่ตามกฎหมาย คําส่ังและกฎระเบียบตางๆ ท่ีเก่ียวของเพื่อใหสามารถ
นาํ ไปปฏบิ ตั ใิ นการบงั คบั ใชและอาํ นวยความสะดวกดา นการจราจรไดอ ยางมปี ระสทิ ธิภาพ


Click to View FlipBook Version