พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั ่งโขง ພັນໄມ້ ໄທ-ລາວ ສອງຝັ່ງຂອງ Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ส�านักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้
พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ພັນໄມ້ ໄທ-ລາວ ສອງຝັ່ງຂອງ Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ ส�ำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2566
สารจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามที่ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ลงนามในบันทึกการประชุม ทวิภาคีระดับรัฐมนตรี เรื่อง ความร่วมมือด้านการจัดการทรัพยากรน�้ำและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 โดยมีขอบเขต ความร่วมมือด้านทรัพยากรน�้ำและสิ่งแวดล้อม การนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงมอบหมายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ด�ำเนินการจัดสร้างสวนรุกขชาติเนื่องใน โอกาส 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว ณ บริเวณหนองกอมเกาะ อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2557 และสวนรุกขชาติมิตรภาพเพื่อฉลองครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ ทางการทูต ราชอาณาจักรไทย–สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ บริเวณบ้านนาซอน เมืองปากงึม แขวงนครหลวงเวียงจันทน์ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมอนุรักษ์พรรณไม้ โดยเฉพาะพรรณไม้ที่มีค่า หายาก ใกล้สูญพันธุ์ อันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่สองฝั่งแม่น�้ำโขง ตลอดจนให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อเป็นการระลึกเนื่องในโอกาส 60 ปี และ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย–ลาว หนังสือ “พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง” ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดท�ำขึ้น ตามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว ใน สปป. ลาว จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและผู้สนใจทุกสาขาอาชีพ ได้ศึกษาพรรณไม้และระบบนิเวศป่าไม้ อันเป็น เอกลักษณ์ของพื้นที่สองฝั่งโขง น�ำไปสู่ความตระหนักต่อคุณค่า ความรัก ความหวงแหน และมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนสืบไป (พลต�ำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สารจากปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในโอกาสแห่งการระลึกถึงความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว และเพื่อกระชับมิตรภาพและ ความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ให้ด�ำเนินการจัดสร้าง สวนรุกขชาติ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว ณ หนองกอมเกาะ อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และสวนรุกขชาติเพื่อฉลองครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ราชอาณาจักรไทย–สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ บ้านนาซอน เมืองปากงึม แขวงนครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อเป็นแหล่ง พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชนทั้งสองประเทศ และเป็นแหล่งรวบรวมและอนุรักษ์พรรณไม้ โดยเฉพาะ พรรณไม้ที่มีค่า หายาก ใกล้สูญพันธุ์ อันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่สองฝั่งแม่น�้ำโขง โดยสวนรุกขชาติ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว จัดสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2557 และสวนรุกขชาติมิตรภาพเพื่อฉลอง ครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ราชอาณาจักรไทย–สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ก�ำลังจะถูกเปิดอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี พ.ศ. 2566 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเห็นโอกาสอันเหมาะสมที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะได้จัดท�ำหนังสือ “พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง” เพื่อรวบรวมและเป็นสื่อกลาง ในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ ระบบนิเวศป่าไม้ และพรรณไม้ส�ำคัญ อันเป็นเอกลักษณ์ ของพื้นที่สองฝั่งแม่น�้ำโขง ให้ประชาชนทั้งสองประเทศได้รู้จัก เห็นคุณค่า ตลอดจนเป็นแรงบันดาลใจ ให้แก่เยาวชนในการศึกษาพรรณไม้มุ่งหวังให้เกิดความรัก หวงแหน และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสืบไป (นายจตุพร บุรุษพัฒน์) ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ค�ำน�ำ การจัดสร้างสวนรุกขชาติมิตรภาพเพื่อฉลองครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตราชอาณาจักร ไทย–สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ณ บริเวณบ้านนาซอน เมืองปากงึม แขวง นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งจะเปิดอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี พ.ศ. 2566 ถือเป็นโอกาสอันดีในความ ร่วมมือและความช่วยเหลือทางวิชาการด้านพฤกษศาสตร์ป่าไม้ระหว่างราชอาณาจักรไทย และ สปป. ลาว กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงได้จัดท�ำหนังสือ “พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง” ขึ้นมา ซึ่งเนื้อหาของหนังสือมีการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศอันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่สองฝั่งโขง ได้แก่ สภาพภูมิประเทศ ธรณีประวัติ สภาพภูมิอากาศ ที่เป็นปัจจัยส�ำคัญต่อวิวัฒนาการของพรรณไม้ จนเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาคบริเวณนี้ โดยพรรณไม้ที่ถูกเลือกมาแสดง คณะผู้จัดท�ำพิจารณาจากพืช ท้องถิ่นที่มีความส�ำคัญและปรากฏอยู่ทั้งสองประเทศ ประกอบด้วย พรรณไม้ประจ�ำชาติ พรรณไม้ เอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรม พรรณไม้ที่มีชื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พื้นที่ พรรณไม้ถิ่นเดียว และพรรณไม้หายาก ใกล้สูญพันธุ์ รวมทั้งสิ้น 90 ชนิด โดยแต่ละชนิดมีการบรรยายข้อมูลด้านพฤกษศาสตร์ นิเวศวิทยา การกระจายพันธุ์ (เรียกชื่อภาคและภูมิภาคตามหลักภูมิศาสตร์และการปกครอง) การใช้ประโยชน์ และ เกร็ดความรู้ พร้อมภาพสีประกอบ ส�ำหรับชื่อลาวได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์สุลิวัน หล้าหน่อสะหวัน รองหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว และจากหนังสือ A checklist of Plants in Lao PDR (You Mi, 2016) พรรณไม้แต่ละชนิดมีการจัดเรียงหน้าตามกลุ่มวงศ์ (family) ชื่อพฤกษศาสตร์ (botanical name) และชื่อทางการไทย ตามล�ำดับ ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ ด้านพฤกษศาสตร์ ส่วนการค้นคว้าชื่อพื้นเมืองไทย ชื่อลาว และชื่อพฤกษศาสตร์ สามารถ ค้นหาได้จากดัชนีที่อยู่ท้ายเล่ม ซึ่งเป็นการอ�ำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั่วไปด้วย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ ผู้สนใจและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนในการศึกษาพรรณไม้ ตลอดจนช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของทั้งสองประเทศให้ยั่งยืนสืบไป (นายอรรถพล เจริญชันษา) อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาการอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
สารบัญ หน้า ความเป็นมาในการจัดสร้างสวนรุกขชาติฯ 6 ราชพฤกษ์ ต้นไม้และดอกไม้ประจ�ำชาติไทย 13 จ�ำปา ต้นไม้และดอกไม้ประจ�ำชาติลาว 15 ภูมิทัศน์ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง 16 ภูมิศาสตร์และธรณีวิทยา 20 พรรณพฤกษชาติสองฝั่งโขง 28 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง 39 บรรณานุกรม 220 ดัชนีชื่อพฤกษศาสตร์และชื่อวงศ์ 224 (Index to botanical names & families) ดัชนีชื่อไทย 227 ดัชนีชื่อลาว (ດັດຊະນີຊື່ລາວ) 230 คณะผู้จัดท�ำ 232 ข้อมูลทางบรรณานุกรม 232
6 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ความเป็นมาในการจัดสร้างสวนรุกขชาติ 60 ปีและ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป. ลาว) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ซึ่ง ในโอกาสเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ ทางการทูตครบ 60 ปีของทั้งสองประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดท�ำโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว ภายใต้กรอบความร่วมมือด้านการจัดการทรัพยากรน�้ำ และสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 (Summary Record of the First Ministerial Meeting on Cooperation in Water Resources and Environment Management) ที่ได้มีการ ลงนามร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ ไทย กับรัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายกรัฐมนตรี หัวหน้าการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำและ สิ่งแวดล้อม สปป. ลาว ในปี พ.ศ. 2553 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีการแต่งตั้งคณะท�ำงาน โครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว โดยมีการหารือร่วม กับ สปป. ลาว ในการจัดสร้างสวนรุกขชาติในฝั่ง สปป. ลาว ต่อมา สปป. ลาว แจ้งว่าได้เลือก บริเวณบ้านดงส้างหิน เมืองไซทานี แขวงนครหลวงเวียงจันทน์ เป็นที่จัดสร้างสวนรุกขชาติ แต่ยังไม่สามารถด�ำเนินการได้เนื่องจากความไม่เหมาะสมของพื้นที่ ต่อมาปี พ.ศ. 2555 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ อ�ำนวยการและคณะท�ำงานโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติ เนื่องในโอกาส 60 ปี ความสัมพันธ์ ทางการทูตไทย-ลาว (ชุดใหม่) เพื่อเร่งรัดการออกแบบสิ่งก่อสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์ของ โครงการทั้งฝั่งไทย และสปป. ลาว ทั้งนี้ ได้ก�ำหนดให้สิ่งก่อสร้างของสวนรุกขชาติทั้งสองแห่งใช้ แบบเดียวกัน และ ประยุกต์มาจากสถาปัตยกรรมล้านช้าง โดยได้รับความช่วยเหลือด้านการ ออกแบบจาก กรมโยธาธิการและผังเมือง หลังจากนั้นในปีเดียวกันจึงได้เริ่มด�ำเนินการจัดสร้าง
7 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region สวนรุกขชาติในฝั่งไทย โดยส�ำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เสนอให้จัดสร้างที่บริเวณหนองกอมเกาะ ต�ำบลหนองกอมเกาะ อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นหนองน�้ำสาธารณะตามหนังสือส�ำคัญส�ำหรับที่หลวงเลขที่ นค. 2369 และอยู่ใกล้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2557 วงเงินงบประมาณ จ�ำนวน 10,460,500 บาท โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “สวนรุกขชาติเนื่องในโอกาส 60 ปี ความสัมพันธุ์ทางการทูตไทย-ลาว” ขณะที่การจัดสร้างสวนรุกขชาติฯ ฝั่งลาวยังไม่สามารถ ด�ำเนินการได้ เนื่องจากมีการขอให้พิจารณาปรับแก้ไขแบบแปลนอาคารให้มีความเหมาะสม ในปี พ.ศ. 2560 ทั้งสองประเทศเห็นชอบกรอบความร่วมมือไทย-ลาว 4 ปี (2561-2564) โดยหนึ่งในนั้นมีแผนการก่อสร้างสวนรุกขชาติฯ ใน สปป. ลาว รวมอยู่ด้วย โดยกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังมุ่งมั่นที่จะสานความร่วมมือในการก่อสร้างสวนรุกขชาติฯ ให้ส�ำเร็จ จึงเดินทางไปร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับการจัดท�ำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการ จัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสปป. ลาว โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาปรับ แก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ และทั้งสองฝ่ายได้มีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว แล้วให้จัดท�ำเป็นบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐต่อรัฐ เพื่อน�ำเสนอคณะรัฐมนตรีขอความเห็นชอบ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 รัฐบาลไทยเห็นชอบกับโครงการดังกล่าว ซึ่งทั้งสองประเทศมีการ หารือทวิภาคีโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติ และหารือในเรื่องที่คั่งค้าง โดยเฉพาะการก�ำหนด พื้นที่ด�ำเนินการก่อสร้าง ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2553 เคยมีแผนจะจัดสร้างที่บ้านดงส้างหิน เมืองไซทานี แขวงนครหลวงเวียงจันทน์ ต่อมาถูกเปลี่ยนสถานที่มาเป็นบ้านดงหมากคาย เมืองไซทานี แขวง นครหลวงเวียงจันทน์ บริเวณป่าสงวนห้วยยาง ที่สปป. ลาวจะใช้เป็นสถานที่ตั้งของกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งใหม่ ผลการหารือ สรุปให้ใช้พื้นที่ก่อสร้างที่โรงเรียน มัธยมสมบูนนาซอน บ้านนาซอน เมืองปากงึม แขวงนครหลวงเวียงจันทน์ ในเนื้อที่ 16 ไร่ ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปทางตะวันออกตามถนนหมายเลข 13 ระยะทาง 47 กิโลเมตร แบบอาคารอเนกประสงค์ของสวนรุกขชาติฯ ประยุกต์มาจากสถาปัตยกรรมล้านช้าง
8 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561 อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (นายธัญญา เนติธรรมกุล) และอธิบดีกรมสิ่งแวดล้อม (นายโลนค�ำ อาดสะนาวง) ได้ร่วมกันลงนาม ในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาล สปป. ลาว ว่าด้วย โครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว ซึ่งทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไว้ส�ำหรับด�ำเนินการในเรื่องนี้ จ�ำนวน 10.95 ล้านบาท แต่ไม่สามารถด�ำเนินการก่อสร้างและเบิกจ่ายงบประมาณให้แล้วเสร็จ ได้ทันตามก�ำหนดเวลา เนื่องจากเกิดโรคระบาดโควิด 19 ท�ำให้เกิดความล่าช้าและไม่สะดวก ในการเข้าพื้นที่ก่อสร้างของบริษัทผู้รับจ้าง จึงท�ำให้งบประมาณส�ำหรับการก่อสร้างตกพับไป รวมทั้งบันทึกความเข้าใจฉบับเดิมได้สิ้นสุดลงแล้ว เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 กระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานทูตไทยประจ�ำนครหลวงเวียงจันทน์ และกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้ร่วมกันประสานงานและผลักดันการปรับแก้ไขบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยโครงการก่อสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว กับ สปป. ลาว จนสามารถลงนามในบันทึก ความเข้าใจฯ ฉบับใหม่ได้ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย มาเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการก่อสร้าง สวนรุกขชาติไทย-ลาว ณ สปป. ลาว ระหว่างอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา) กับ อธิบดีกรมสิ่งแวดล้อม สปป. ลาว (นายอุ่นเฮือน ไซยะจัก) เป็นผลสืบเนื่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ที่มีมติเห็นชอบ วันที่ 1 มิถุนายน 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการ ก่อสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว ณ สปป. ลาว
9 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region ต่อการจัดท�ำบันทึกความเข้าใจดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะกระชับมิตรภาพและความ สัมพันธ์อันดีของทั้งสองฝ่าย และเพื่อเป็นไปตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แห่ง ราชอาณาจักรไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แห่ง สปป. ลาว ความพยายามร่วมกันของสองฝ่ายในการผลักดันการก่อสร้างสวนรุกขชาติฯ มีความคืบหน้า ที่ส�ำคัญเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทยลาว ใน สปป. ลาว โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ราชอาณาจักรไทย และนางบุนค�ำ วอละจิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป. ลาว พร้อมทั้งนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของทั้งสองฝ่าย เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธี วันที่ 21 ธันวาคม 2565 พิธีวางศิลาฤกษ์โครงการ จัดสร้างสวนรุกขชาติฯ ใน สปป. ลาว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายไทย ได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายปี พ.ศ. 2565-68 ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์จัดระบบอนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันการท�ำลายทรัพยากร กิจกรรมโครงการสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว วงเงิน 15,239,020 บาท โดยแบ่งเป็นงบประมาณ ส�ำหรับด�ำเนินการก่อสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว ใน สปป. ลาว วงเงิน 10,953,300 บาท ประกอบ ด้วยอาคารอเนกประสงค์ ศาลาแปดเหลี่ยมขนาดใหญ่ ศาลาแปดเหลี่ยมขนาดเล็ก อาคารห้องน�้ำ และงานผังบริเวณ ซึ่งมีก�ำหนดการแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 นอกจากนี้ยังมี กิจกรรมฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของ สปป. ลาว ด้านการจัดการสวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติ และการส�ำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ในพื้นที่สองฝั่งแม่น�้ำโขงร่วมกันของนักพฤกษศาสตร์ไทย และลาว พร้อมทั้งการจัดท�ำหนังสือด้านพฤกษศาสตร์ชื่อว่า “พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง”
10 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง วันที่ 29 ตุลาคม 2566 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรม ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาการ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช พร้อมด้วยนายวิละพน นวนแสงสี รองอธิบดีกรมสิ่งแวดล้อม สปป. ลาว ร่วมกัน ส่งมอบ-รับมอบสวนรุกขชาติฯ ที่ สปป. ลาว วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีแห่ง ราชอาณาจักรไทย และ นายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรีแห่ง สปป. ลาว ได้ท�ำพิธีส่งมอบ-รับมอบสวนรุกขชาติฯ ในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล ที่ สปป. ลาว
11 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566 อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรักษาการอธิบดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (นายอรรถพล เจริญชันษา) ได้เดินทางไปสวนรุกขชาติ ไทย-ลาว ณ สปป. ลาว เพื่อตรวจความเรียบร้อยการก่อสร้าง และส่งมอบสวนรุกขชาติฯ รวมถึง การเจรจาเรื่องแนวทางการจัดการดูแลสวนรุกขชาติฯ พร้อมกับกิจกรรมที่ฝ่ายไทยจะสนับสนุน ตามบันทึกความเข้าใจที่ได้ลงนามไว้ก่อนหน้านี้ ต่อไป โดยมีรองอธิบดีกรมสิ่งแวดล้อม สปป. ลาว (นายวิละพน นวนแสงสี) มารับมอบและร่วมการเจรจา เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย (นายเศรษฐา ทวีสิน) และนายกรัฐมนตรีแห่ง สปป. ลาว (นายสอนไซ สีพันดอน) ได้ท�ำพิธีส่งมอบ-รับมอบสวนรุกขชาติฯ ในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล ที่ สปป. ลาว โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาไทยว่า “สวนรุกขชาติ มิตรภาพเพื่อฉลองครบรอบ ๗๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ราชอาณาจักรไทย-สปป. ลาว” และใช้ชื่อภาษาลาว “ສວນພຶກສາສາດມິດຕະພາບ ເພື່ອສະເຫຼິມສະຫຼອງຄົບຮອບ 70 ປີ ແຫ່ ງການສ້ າງຕັ້ງສາຍພົວພັນທາງການທູດ ລະຫວາງ ສປປ ລາວ–ຣາຊະອານາຈັກໄທ ່ ” กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หวังว่าสวนรุกขชาติทั้ง 2 แห่งนี้จะเป็นแหล่ง รวบรวมและอนุรักษ์พรรณไม้ โดยเฉพาะพรรณไม้มีค่า หายาก ใกล้สูญพันธุ์ อันเป็นเอกลักษณ์ ของพื้นที่สองฝั่งแม่น�้ำโขงระหว่างสองประเทศ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางพฤกษศาสตร์ หรือแหล่ง พักผ่อนหย่อนใจ และที่ส�ำคัญสวนรุกขชาติทั้งสองแห่งนี้จะเป็นที่ระลึกแห่งความสัมพันธ์อันดีที่มี มาอย่างยาวนานระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศสืบไป สวนรุกขชาติมิตรภาพเพื่อฉลองครบรอบ ๗๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ราชอาณาจักรไทย-สปป. ลาว ตั้งอยู่ในบริเวณ โรงเรียนมัธยมสมบูนนาซอน บ้านนาซอน เมืองปากงึม แขวงนครหลวงเวียงจันทน์
12 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง
13 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region ราชพฤกษ์ ต้นไม้และดอกไม้ประจ�ำชาติไทย ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ คูน หรือ ลมแล้ง (Cassia fistula L.) วงศ์ถั่ว (Fabaceae) อนุวงศ์ราชพฤกษ์ (Caesalpinioideae) เป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูงได้ถึง 20 เมตร ขึ้นในป่าเต็งรังหรือป่าเบญจพรรณ พบเกือบ ทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ ในต่างประเทศพบในภูมิภาคอินเดีย และภูมิภาคอินโดจีน ราชพฤกษ์ได้รับการเสนอให้เป็นต้นไม้ประจ�ำชาติมานานแล้ว เริ่มจากกรมป่าไม้ได้จัดประชุมเรื่อง การก�ำหนดต้นไม้และสัตว์ประจ�ำชาติ ครั้งที่ 2/2506 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2506 และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ ก�ำหนดต้นราชพฤกษ์หรือคูน เป็นต้นไม้ประจ�ำชาติ ด้วยเหตุผลว่า ราชพฤกษ์ เป็นไม้พื้นเมืองที่รู้จักกันแพร่หลาย สามารถขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย มีอายุยืนนาน ทนทาน มีทรวดทรงและพุ่มงาม ออกดอกเหลืองอร่ามเต็มต้น ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น ฝักเป็น สมุนไพรที่มีค่ายิ่งในต�ำรับแพทย์แผนโบราณ และแก่นแข็งใช้ท�ำเสาเรือนได้ดี ราชพฤกษ์ยังมีความเกี่ยวข้อง กับประเพณีของชาวไทย เพราะเป็นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม แก่นใช้ในพิธีส�ำคัญๆ เช่น พิธีวางศิลาฤกษ์ พิธีตั้งเสาหลักเมือง ยกเสาเอกบ้านเรือน ท�ำคทาจอมพล และยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ราชพฤกษ์ได้เป็นต้นไม้ประจ�ำชาติและดอกไม้ประจ�ำชาติอย่างเป็นทางการ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ประชุม เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2507 ลงมติรับทราบให้ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจ�ำชาติ ตามที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์เสนอ และมีมติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2544 เห็นชอบให้ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจ�ำชาติ ตามที่ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ ก่อนที่ดอกราชพฤกษ์จะได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นดอกไม้ประจ�ำชาติ คณะกรรมการ เอกลักษณ์ของชาติ ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวง ศึกษาธิการ ได้ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 เพื่อคัดเลือกดอกไม้ประจ�ำชาติ และมีมติเลือก ดอกราชพฤกษ์ให้เป็นดอกไม้ประจ�ำชาติด้วยเหตุผลหลักตามที่ประชุมของกรมป่าไม้ และต่อมาส�ำนักนายก รัฐมนตรีได้ออกประกาศ ลงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เรื่อง การก�ำหนดสัญลักษณ์ประจ�ำชาติไทย 3 สิ่ง ซึ่งในประกาศนี้ได้ก�ำหนดให้ ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจ�ำชาติ ช้างไทยเป็นสัตว์ประจ�ำชาติ และศาลาไทย เป็นสถาปัตยกรรมประจ�ำชาติ ต้นราชพฤกษ์มีความเหมาะสมในการปลูกตามข้างถนน สวนสาธารณะ สถานที่ราชการ วัด หรือที่อยู่ อาศัย เมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนเมษายนของทุกปีต้นคูนจะออกดอกเหลืองอร่ามไปทั่วทั้งต้น เป็นสัญลักษณ์แห่ง การเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ ประเพณีที่ส�ำคัญของชาวไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
14 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง
15 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region จ�ำปา ต้นไม้และดอกไม้ประจ�ำชาติลาว เพ็ดลาสี สุละเดด อาจารย์ประจ�ำภาควิชาจัดสรรคุ้มครองป่าไม้ คณะวิทยาศาสตร์ป่าไม้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว จ�ำปา จ�ำปาลาว จ�ำปาขอม จ�ำปาย ในภาษาลาว หรือที่ชาวไทยเรียกว่า “ลั่นทม” มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Plumeria rubra L. อยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) เป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 8 เมตร ผลัดหรือไม่ผลัดใบ แตกกิ่งต�่ำเป็นพุ่มคล้ายร่ม ล�ำต้นและกิ่งอวบน�้ำ มียางสีขาวขุ่น ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรี ปลายใบและโคนใบ แหลม แผ่นใบมีขนสั้นเล็กน้อยหรือเกลี้ยง ขนาดใบกว้าง 6-8 เซนติเมตร ยาว 15-30 เซนติเมตร ช่อดอกแบบ ช่อกระจุกแยกแขนง คล้ายรูปร่ม ออกที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว สีเหลือง สีม่วง สีชมพู หรือสีแดง มีกลิ่นหอม ตลอดทั้งวัน ออกดอกตลอดปี ผลติดเป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอก เมื่อแก่จะแห้งและแตกแนวเดียว จ�ำปาเป็นไม้มงคลที่ใช้ในพิธีส�ำคัญต่างๆ ของคนลาวมาช้านาน นิยมปลูกตามวัด และสถานที่ที่ส�ำคัญ ต่างๆ ใช้ดอกผสมในน�้ำมนต์ใช้ในพิธีทางศาสนา เช่น พิธีสรงน�้ำพระพุทธรูปในวันสงกรานต์ ใช้บูชาพระและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จ�ำปาอยู่คู่แผ่นดินและวัฒนธรรมลาวมาหลายศตวรรษแล้ว วัดเก่าแก่หลายแห่งโดยเฉพาะที่ปราสาท วัดพู แขวงจ�ำปาสัก และหลวงพระบาง ก็มีต้นจ�ำปาอายุหลายร้อยปีขึ้นอยู่ ตราสัญลักษณ์ในงานส�ำคัญ เช่น ในโอกาสที่นครหลวงเวียงจันทน์ครบรอบ 450 ปี การประชุมสุดยอดผู้น�ำอาเซียนครั้งที่ 10 การประชุม ผู้น�ำเอเชีย-ยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 9 การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอาเซียนครั้งที่ 16 และในโอกาส 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว ก็มีดอกจ�ำปาเป็นส่วนส�ำคัญในสัญลักษณ์เหล่านั้น รวมทั้งสายการบินลาว ก็ใช้ดอกจ�ำปาเป็นสัญลักษณ์เช่นกัน เพลงจ�ำปาเมืองลาว ที่แต่งโดยท่านอุตะมะ จุลามะนี ในปี ค.ศ. 1942 นับเป็นเพลงที่ร้อยดวงใจชาวลาว ให้มีความผูกพันกับดอกจ�ำปามากยิ่งขึ้น นอกจากจ�ำปาจะมีดอกดก มีกลิ่นหอม และสวยงามแล้ว จ�ำปายังเป็นพืชสมุนไพรอีกด้วย รากใช้เป็น ยาถ่าย รักษาโรคหนองใน เปลือกแก้ไข้ ขับระดู แก้ปวดฟัน แก่นช่วยขับเสมหะและโลหิต แก้โรคผิวหนัง น�้ำยางแก้ไขข้ออักเสบหรือเป็นยาถ่าย ใบรักษาโรคหืดและบาดทะยัก จ�ำปาขยายพันธุ์ได้ง่าย โดยการปักช�ำกิ่งหรือเพาะเมล็ด เป็นพืชทนแล้ง ออกดอกตลอดปี จึงเหมาะที่จะ ปลูกเป็นไม้ประดับริมถนน วัด สวนสาธารณะ สถานที่ราชการ และบ้านเรือน
16 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ภูมิทัศน์ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง
17 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region แม่น�้ำโขง หรือแม่น�้ำของ แม่น�้ำนานาชาติที่มีต้นก�ำเนิด มาจากที่ราบสูงทิเบต ไหลผ่านประเทศจีน เมียนมาร์ ลาว ไทย กัมพูชา แล้วลงสู่ทะเลจีนใต้ที่เวียดนาม ด้วยระยะทางกว่า 4,900 กิโลเมตร หากพิจารณาเฉพาะส่วนที่ไหลผ่านประเทศไทยและลาว สามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน แม่น�้ำโขงตอนบน เริ่มต้นที่สามเหลี่ยมทองค�ำ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ฝั่งประเทศลาวที่แขวง บ่อแก้ว อุดมไชย หลวงพระบาง ไซยะบุรี เวียงจันทน์ ไปสิ้นสุดที่ภูพะนัง บ้านอ่าง แขวงนครหลวง เวียงจันทน์ ตรงข้ามกับภูผาตั้ง หรือบริเวณวัดผาตากเสื้อ อ�ำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย (ภาพ 1) รวมระยะทางประมาณ 880 กิโลเมตร (ไหลผ่านชายแดนไทยประมาณ 290 กิโลเมตร) สองฝั่งน�้ำมีสภาพ ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชัน แม่น�้ำถูกบีบให้ไหลผ่านหุบเขาที่แคบ แทบจะไม่พบที่ราบริมน�้ำ กระแสน�้ำ ไหลเชี่ยว ตลอดล�ำน�้ำมีเกาะแก่งหินโผล่เป็นจ�ำนวนมาก ล�ำน�้ำมีความกว้างไม่เกิน 1,000 เมตร แม่น�้ำโขงตอนล่าง เริ่มจากบริเวณภูพะนัง แขวงนครหลวงเวียงจันทน์ ไหลผ่านแขวงบอลิค�ำไซ ค�ำม่วน สะหวันนะเขต สาละวัน และไปสิ้นสุดที่สี่พันดอน แขวงจ�ำปาสัก รวมระยะทางประมาณ 800 กิโลเมตร ส่วนฝั่งประเทศไทยเริ่มที่ภูผาตั้ง อ�ำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ไหลผ่านจังหวัดบึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อ�ำนาจเจริญ ไปสิ้นสุดที่ปากแม่น�้ำมูล อ�ำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แม่น�้ำโขงช่วงนี้ ใช้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทย-ลาว ก่อนจะไหลเข้าสู่เมืองปากเซ แขวงจ�ำปาสัก ภาพ 1 ภูพะนัง และภูผาตั้ง จุดแบ่งแม่น�้ำโขงตอนบนและตอนล่าง ตรงระหว่างสองภูเป็นช่องเขาน�้ำตัด (water gap) เกิดจากแม่น�้ำโขงกัดเซาะผ่านขณะที่แผ่นเปลือกโลกก�ำลังยกตัวสูงขึ้นเป็นเทือกเขา, ที่มาภาพจาก google earth, 2023.
18 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง
19 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region ภาพ 2 แนวแม่น�้ำโขงตอนบน (เงาสีส้ม) และตอนล่าง (เงาสีน�้ำตาล), เมืองที่ส�ำคัญบริเวณ สองฝั่งโขง ไทย-ลาว และที่ตั้งสวนรุกขชาติฯ, ดัดแปลงมาจาก : Google Earth, 2023. แม่น�้ำโขงตอนล่างนี้ไหลผ่านพื้นที่ราบและที่ราบลอนคลื่น (เนินสูงต�่ำ) มีภูยอด ตัดขนาดเล็ก ไม่สูงชันมากนัก กระจายอยู่เป็นระยะ กระแสน�้ำในช่วงนี้ไหลค่อนข้างช้า ท้องน�้ำส่วนใหญ่เป็นดินและสันดอนทรายที่จะโผล่ให้เห็นในช่วงฤดูแล้ง ล�ำน�้ำ มีความกว้าง 1,000-2,000 เมตร บางช่วงที่ไหลตัดผ่านภูเขาเตี้ย ๆ มักพบแก่งหิน โผล่บ้าง สองฝั่งแม่น�้ำโขงช่วงนี้มีพื้นที่ราบเป็นจ�ำนวนมาก พื้นที่ริมฝั่งน�้ำบางตอน มีดินตะกอนอันอุดมสมบูรณ์จากแม่น�้ำโขงและแม่น�้ำสาขาที่เอ่อล้นตลิ่งเข้าสู่ที่ราบ กุด หนอง บุ่ง หรือทาม เหมาะสมต่อการเพาะปลูกและท�ำประมง จึงเป็นที่ตั้งของ เมืองส�ำคัญต่าง ๆ ทั้งฝั่งไทยและลาว พลเมืองบริเวณนี้ทั้งสองฝั่งรวมกันไม่ต�่ำกว่า 7 ล้านคน (ภาพ 2) การจัดตั้งสวนรุกขชาติเนื่องในโอกาส 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - ลาว ณ บริเวณหนองกอมเกาะ อ�ำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และ สวนรุกขชาติมิตรภาพ เพื่อฉลองครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ราชอาณาจักรไทย-สปป. ลาว ณ บริเวณบ้านนาซอน เมืองปากงึม แขวงนครหลวงเวียงจันทน์ ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ใน บริเวณพื้นที่แม่น�้ำโขงตอนล่างนี้ด้วย ซึ่งคณะผู้จัดท�ำหนังสือ “พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง” ใช้เป็นขอบเขตของการคัดเลือกชนิดไม้ มีการพิจารณาจากพืชท้องถิ่นที่ ปรากฏอยู่ทั้งสองประเทศและเป็นพืชที่ส�ำคัญ โดยเป็น พรรณไม้ประจ�ำชาติ พรรณไม้ เอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรม พรรณไม้ที่มีชื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พื้นที่ พรรณไม้ ถิ่นเดียว และพรรณไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งในอนาคตจะเป็นข้อมูลที่ส�ำคัญ ต่อสวนรุกขชาติทั้ง 2 แห่ง ใช้ถ่ายทอดความรู้ หรือเก็บรวบรวมมาปลูกอนุรักษ์ไว้ให้ เยาวชนรุ่นต่อไปได้เรียนรู้ ตลอดจนไว้เป็นอนุสรณ์แห่งความสัมพันธ์อันดีทางด้าน วิชาการระหว่างสองแผ่นดินสืบไป
20 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ภูมิศาสตร์และธรณีวิทยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ด้านตะวันออกของภาคกลาง กับภาคตะวันออกของ ไทย ต่อเนื่องไปถึงประเทศลาว (ยกเว้นพื้นที่เหนือแขวงหลวงพระบางขึ้นไป) ประเทศกัมพูชา และเวียดนาม (ยกเว้นพื้นที่เหนือแม่น�้ำแดงขึ้นไป) พื้นที่เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นทวีป อินโดจีน (Indochina plate) ซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ราบกว้างใหญ่มาก่อน ต่อมาช่วงปลายยุค เพอร์เมียนถึงต้นยุคไทรแอสซิก (ประมาณ 245 ล้านปีมาแล้ว) ได้ถูกแผ่นทวีปฉาน-ไทย (Shan-Thai plate) ที่อยู่ด้านตะวันตกเลื่อนเข้ามาบีบอัดเกิดกระบวนการก�ำเนิดภูเขา เรียก กระบวนการในช่วงนี้ว่า “Indosinian Orogeny” ขอบแผ่นทวีปอินโดจีนด้านตะวันตกถูก บีบและยกตัวขึ้นเป็นแนวเทือกเขาหลวงพระบาง ในประเทศลาว-ไทย ต่อเนื่องลงมาถึงเทือก เขาเพชรบูรณ์ ในประเทศไทย และเทือกเขาพนมกระวาน ในประเทศไทย-กัมพูชา ส่วนบริเวณตอนกลางแผ่นทวีปเริ่มมีการยุบตัวลงอย่างช้าๆ กลายเป็นแอ่งที่ราบต�่ำกว้าง ใหญ่ไปทั่วภาคอีสานของไทย ต่อเนื่องไปถึงเขตที่ราบของประเทศลาวและกัมพูชาในปัจจุบัน ภายในแอ่งเกิดการสะสมตะกอนน�้ำพัดพามาอย่างยาวนานตลอดมหายุคมีโซโซอิก (ช่วง 245- 65 ล้านปีมาแล้ว) เรียกที่ราบนี้ว่า “ที่ราบโคราช” (Khorat plain) ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ของ แหล่งน�้ำ ทุ่งหญ้า และพืชพรรณที่เป็นอาหารแก่ไดโนเสาร์ และสัตว์ดึกด�ำบรรพ์เป็นจ�ำนวน มาก การสะสมตัวของตะกอนดิน ทราย กรวด และซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ ต่อมาได้กลายเป็นชั้น หินทรายในชุดหินโคราช (Khorat group) ที่มีซากฟอสซิลของสัตว์และพรรณพืชที่มีชีวิตอยู่ ณ เวลานั้น ปรากฏอยู่ทั่วไปบนที่ราบสูงโคราชในปัจจุบัน ส่วนพื้นที่ด้านตะวันออกและด้าน ใต้ของที่ราบในเวลานั้น มีความสูงจากระดับน�้ำทะเลไม่มากนัก แต่มีพืชพรรณอยู่มากเพียงพอ ต่อการเกิดเป็นแหล่งถ่านหินทางตะวันออกและทางใต้ของประเทศลาวในปัจจุบัน (Bunopas, 1981; Copper et al., 1989)
21 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region ต่อมาในช่วงตอนปลายยุคครีเทเชียส (ประมาณ 100 ล้านปีมาแล้ว) เกิดการชนกันครั้งที่ 2 โดย แผ่นทวีปพม่าตะวันตก (Western Burma plate) กับแผ่นฉาน-ไทย ส่งผลกระทบต่อ การบีบอัดให้ที่ราบโคราชและชุดหินโคราชโค้งงอเป็นเนินและภูเขาต่างๆ สูงขึ้นกว่าเดิม และ มีภูเขาเกิดขึ้นมาใหม่ ได้แก่ เทือกเขาภูพาน และ เทือกเขาพนมดงรัก ขณะที่ที่ราบตรงกลาง มีการยุบตัวลงไปอีกเกิดเป็นแอ่งใหญ่ที่ส�ำคัญ 3 แอ่ง ได้แก่ แอ่งโคราช แอ่งสกลนคร และ แอ่งสะหวันนะเขต โดยบริเวณก้นแอ่งกระทะได้ค่อยๆ ยุบตัวลงจนต�่ำกว่าระดับน�้ำทะเล มีน�้ำทะเล ไหลเข้ามาในแอ่งช่วงเวลานั้น ส่วนบริเวณโตนเลสาบในประเทศกัมพูชาเวลานั้นเป็นที่ลุ่มต�่ำกว่า ระดับน�้ำทะเลมีลักษณะเป็นอ่าว การชนกันครั้งที่ 3 เกิดในช่วงต้นยุคเทอร์เชียรี (ประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว) โดยการเลื่อน ตัวเข้ามาชนอย่างรุนแรงของ แผ่นทวีปอินเดีย (Indian plate) จากด้านตะวันตก แรงกระแทก ท�ำให้เกิดกระบวนการก�ำเนิดเทือกเขาที่ส�ำคัญในทวีปเอเชียตอนกลาง เอเชียตะวันออก รวมถึง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า “Himalayan Orogeny” เทือกเขาที่มีอยู่เดิมในภูมิภาค อินโดจีนถูกยกตัวสูงขึ้นไปอีก และยังคงยกตัวสูงขึ้นอย่างช้า ๆ จนถึงทุกวันนี้ เทือกเขาที่เด่นชัด ปรากฏอยู่ตามขอบที่ราบสูง ที่มีความสูง 1,000-2,000 เมตรจากระดับน�้ำทะเล ในประเทศไทย เช่น เทือกเขาเพชรบูรณ์ ส่วนในประเทศลาวเกิดเทือกเขายาวต่อเนื่องกันในแนวตะวันตกเฉียงเหนือตะวันออกเฉียงใต้เป็นจ�ำนวนมาก เช่น ภูเขาควาย (แขวงเวียงจันทน์-บอลิค�ำไซ) ภูผาแปก (แขวง บอลิค�ำไซ) ที่ราบสูงนากาย (แขวงค�ำม่วน) ที่ราบสูงบอลาเวน (แขวงจ�ำปาสัก) และภูเขาสูงอีก มากมายที่กระจายตัวในแขวงสะหวันนะเขต สาละวัน เซกอง และอัตตะบือ รวมถึง เทือกเขา อันนัม ที่เป็นแนวกั้นระหว่างประเทศลาว-เวียดนาม ด้วย
22 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ภาพ 3 ภูมิประเทศบริเวณประเทศไทยลาว-เวียดนาม-กัมพูชา และที่ราบสูงโคราช, ดัดแปลงมาจาก : Google Earth, 2023. การบีบอัดและการโค้งงอของเปลือกโลกบริเวณ ขอบที่ราบโคราชอย่างรุนแรง ท�ำให้ชั้นหินปูนในยุคเพอร์ เมียนที่อยู่ชั้นล่างชุดหินโคราชและเกิดมาก่อน (ในช่วง 290-245 ล้านปีมาแล้ว) ถูกยกตัวขึ้นสูงอย่างมาก เมื่อเกิด การกัดกร่อนชั้นหินโคราชออกไปอย่างยาวนานท�ำให้เผย ชั้นหินปูนเหล่านี้ปรากฏเป็นภูเขาหินปูนกระจายอยู่ทั่วไป ตามขอบที่ราบสูงในปัจจุบัน เช่น บริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ แขวงบอลิค�ำไซ และค�ำม่วน ขณะเดียวกันแอ่ง ที่ราบโคราชที่ก่อนหน้านี้ได้ยุบตัวลงต�่ำกว่าระดับน�้ำทะเล มีการยกตัวขึ้นด้วยเช่นกันร่วมกับการทับถมของตะกอนน�้ำ พัดพาจนสูงกว่าระดับน�้ำทะเล ต่อมากลายเป็น “ที่ราบสูง โคราช” (Khorat plateau) ในปัจจุบัน ช่วงเวลานั้นน�้ำ ทะเลที่ระบายออกไม่ทันจากการยกตัวของแผ่นดินและ จากการถูกปิดล้อมด้วยเทือกเขาตามขอบของที่ราบสูง จึงถูกกักไว้ตามก้นแอ่งกระทะ แล้วกลายเป็น แหล่งแร่ เกลือสินเธาว์ จนถึงปัจจุบัน (ทรงกลด, 2554; Japakasert, 1977; Hite and Japakasert, 1979; Kobayashi, 1980; Sattayarak & Polachan, 1990) (ภาพ 3)
23 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
24 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง แม่น�้ำโขงตอนบนที่ระบายน�้ำจากที่ราบสูงทิเบตไหลเชื่อมลงมาสู่แผ่นทวีปอินโดจีน ทั้งแม่น�้ำโขง แม่น�้ำสาขาต่างๆ และน�้ำฝนท�ำหน้าที่กัดเซาะแผ่นดินและภูเขาให้เตี้ยลง ต่อสู้กับ การยกตัวของแผ่นเปลือกโลกขึ้นมาขวางกั้นทางน�้ำ เกิดเป็นที่ราบกลางหุบเขา ช่องเขาน�้ำตัด (water gap) และ หลุมกุมภลักษณ์ (Pothole) ส่วนในแอ่งที่ลุ่มต�่ำมีการสะสมตะกอนทับถม สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน กระบวนการต่าง ๆ ด�ำเนินมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานกว่า 60 ล้านปี (หลังจากการชนกันครั้งที่ 3) ท�ำให้พื้นที่สองฝั่งแม่น�้ำโขงตอนล่างเกิดภูมิประเทศในแบบ ที่เรียกว่า “ที่ราบสูงหินทราย” (Sandstone plateau) ซึ่งมีสภาพภูมิประเทศอันสวยงามเป็น เอกลักษณ์ เช่น ที่ราบสูง (Plateau) ภูเขารูปหอคอยยอดตัด (Monadnock) ภูเขารูปมีดอีโต้ (Cuesta mountain) (ภาพ 4-9) ภาพ 4 ที่ราบสูงโคราช บริเวณขอบด้านตะวันตกในเขต อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ส่วนด้านล่างซ้ายมือเป็นเขตที่ราบลุ่มเจ้าพระยา อ.ล�ำสนธิ จ.ลพบุรี, ที่มาภาพจาก google earth, 2023. ภาพ 5 ภูมิประเทศแบบที่ราบสูงหินทรายบริเวณภูเขียว จ.ชัยภูมิ มองเห็นภูผาจิต (หอคอยยอดตัด, Monadnock) อยู่ด้านหลังซ้ายมือ
25 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
26 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ภาพ 6 ภูบาเจียง มุมมองจากด้านหลังเมืองปากเซ มีลักษณะเป็นภูเขารูปมีดอีโต้ (Cuesta mountain) ภาพ 7 บริเวณที่แม่น�้ำโขงไหลตัดผ่านเนินเขาหินทราย สามารถพบหลุมกุมภลักษณ์ (Pothole) เป็นจ�ำนวนมาก เช่น “สามพันโบก” อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี และฝั่งประเทศลาวในบริเวณ เดียวกันเรียกว่า “สี่พันขุม” เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน, ที่มาภาพ google earth, 2023.
27 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region ภาพ 8 สามพันโบก สถานที่ท่องเที่ยวส�ำคัญ ของ จ.อุบลราชธานี เกิดจากหลุมกุมภลักษณ์ ทั้งขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่จ�ำนวนมาก ซึ่งเกิด บนชั้นหินทรายที่ก�ำลังยกตัวขึ้นเป็นภูเขาแต่ขณะ เดียวกันก็ถูกแม่น�้ำโขงทะลวงผ่านไปได้ แสดงให้ เห็นความรุนแรงของกระแสน�้ำในแม่น�้ำโขงช่วง ฤดูน�้ำหลาก โดยบางหลุมสามารถกว้างได้ถึง 10 เมตร หรือบางหลุมได้ถูกทะลวงจนเป็นช่องหิน ตัดทะลุถึงกัน ภาพ 9 หลุมกุมภลักษณ์ (Pothole) เกิดขึ้น จากกระแสน�้ำวนในล�ำธารที่พัดกวนเศษกรวด และทรายให้ค่อยๆ กัดกร่อนชั้นหินทราย จนเป็น หลุมกลมกว้างขึ้นและลึกลงไปเรื่อยๆ ในภาพจะ เห็นการพัฒนาของหลุมกุมภลักษณ์ ตั้งแต่ขนาด เล็กไปจนถึงใหญ่
28 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง พื้นที่สองฝั่งแม่น�้ำโขงตอนล่างมีความโดดเด่นทางด้านธรณีวิทยาแบบที่ราบสูง หินทราย ส่งผลให้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินปนทรายและดินลูกรังที่มีความอุดมสมบูรณ์ ค่อนข้างน้อย การระบายน�้ำดีมากจนเกิดสภาพแห้งแล้งได้ง่าย มีสภาพค่อนข้างเป็นกรด และเกิดพื้นที่ดินเค็มกระจายอยู่ทั่วไป การตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน (Tropical savannah climate) ท�ำให้มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยมีปริมาณน�้ำฝนมากกว่าร้อยละ 80 ตกในช่วงฤดูฝน ประมาณ 5 เดือน (กลางเดือน พฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม) ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุก 1,500 – 2,500 มิลลิเมตร ต่อปี เนื่องจากมีเทือกเขาสูงในฝั่งประเทศลาวขวางกั้นความชื้นจากลมมรสุมตะวัน ตกเฉียงใต้ไว้ ท�ำให้เกิดฝนตกได้ง่ายบริเวณที่ราบตลอดแนวแม่น�้ำโขง และบนภูเขาสูง นอกจากนี้ยังได้รับปริมาณน�้ำฝนเพิ่มเติมจากพายุหมุนเขตร้อนที่พัดมาจากทะเลจีนใต้ ในช่วงฤดูหนาว (กลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนกุมภาพันธ์) ได้รับลมมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือที่มาจากไซบีเรียพัดผ่านประเทศจีนลงมา ส่งผลให้มีสภาพอากาศที่หนาว เย็นและแห้งต่อเนื่องยาวนานมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย อุณหภูมิต�่ำสุด เฉลี่ยในเขตที่ราบช่วงนี้ต�่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส ส่วนบนภูเขาที่สูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน�้ำทะเลขึ้นไป อุณหภูมิต�่ำสุดเฉลี่ยต�่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส และอาจ เกิดน�้ำค้างแข็งได้ในบางวันเลยทีเดียว ขณะที่ในฤดูร้อน (กลางเดือนกุมภาพันธ์-กลาง เดือนพฤษภาคม) สภาพอากาศบริเวณนี้จะร้อนจัดและแห้งแล้ง เนื่องจากแทบจะไม่มี ฝนตกลงมาเลย ลมมรสุมและลมท้องถิ่นพัดอ่อนลง และไม่มีพื้นที่ติดทะเล อุณหภูมิ สูงสุดในเขตที่ราบแต่ละวันสูงมากกว่า 35 องศาเซลเซียส บางวันอาจจะสูงมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ยกเว้นในเขตภูเขาสูงมากกว่า 1,000 เมตร อุณหภูมิจะไม่สูงไปกว่า 30 องศาเซลเซียส พรรณพฤกษชาติสองฝั่งโขง
29 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region ด้วยสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสภาพดินที่เป็นปัจจัยแวดล้อมหลักในการ ก�ำหนดลักษณะสังคมพืช ท�ำให้ในพื้นที่ที่เป็นดินทรายจัดหรือดินลูกรัง มักถูกปกคลุมด้วย “ป่าเต็งรัง” (Deciduous Dipterocarp forest) แต่ถ้าเป็นดินที่สามารถอุ้มน�้ำได้ดีมากขึ้นมักพบ “ป่าเบญจพรรณ” (Mixed deciduous forest) แทนที่ หรือในพื้นที่ที่มีชั้นดินค่อนข้างลึกและ เก็บความชื้นได้ดีจะปรากฏเป็น “ป่าดิบแล้ง” (Dry evergreen forest) ส�ำหรับตามหุบเขาในเขต ที่มีฝนตกชุก หรือพื้นที่ใกล้ล�ำธารสามารถพบ “ป่าดิบชื้น” (Moist evergreen forest) ได้เช่น กัน (ภาพที่ 10) ด้วยสภาพภูมิประเทศที่มีการยกตัวของแผ่นทวีปอินโดจีน (Indochina plate) มาอย่างยาวนาน ก่อตัวเป็นที่ราบสูง ภูเขายอดตัด หรือภูเขารูปมีดอีโต้ ตั้งแต่ระดับต�่ำจนสูงได้ ถึง 1,000 – 2,000 เมตรจากระดับน�้ำทะเล ยอดภูเขาเหล่านั้นถูกปกคลุมไปด้วย “ป่าดิบเขา” (Montane forest) ในบริเวณนี้หากมีดินที่เป็นกรดสูงและมีความอุดมสมบูรณ์น้อยร่วมกับการเกิด ไฟป่าอยู่เสมอ สังคมพืชมักจะเป็น “ป่าทุ่งสน” (Pine Savannah forest) มีต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นต้น สนสองใบ (Pinus latteri Mason) และสนสามใบ (P. kesiya Royle ex Gordon) ภาพ 10 ที่ความสูงต�่ำกว่า 1,000 เมตรจากระดับน�้ำทะเลลงมา สังคมพืชที่เข้าปกคลุมบนภูเขาหินทราย จะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความชื้นและความอุดมสมบูรณ์ของดินจากน้อย-มาก ดังนี้ ทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น (ช่วงฤดูฝนในอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี และฝั่งตรงข้ามเป็นอุทยานแห่งชาติภูเชียงทอง แขวงจ�ำปาสัก)
30 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ส�ำหรับตามยอดหรือสันภูที่มีการกัดเซาะด้วยน�้ำและลมอย่างรุนแรง จนกระทั่งมีชั้นดินน้อยมากหรือมีหินโผล่ อยู่เป็นส่วนใหญ่ เกิดภูมิประเทศอันเป็นเอกลักษณ์ เช่น พลาญหิน (sandstone pavement barrens) ลานหินแตกลานหินปุ่ม (polygonal crack/tessellated pavement) สวนหิน (lapies) เสาเฉลียงหรือเสาหิน (rock pillar) สังคมพืชบริเวณนี้ถูกปกคลุมด้วย “ป่าละเมาะ” (Scrub forest) ที่ปรากฏพืชอิงอาศัย ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุกเป็น ส่วนใหญ่ แทรกตัวอยู่ตามซอกหินแตกหรือแอ่งดิน ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น “ป่าละเมาะระดับต�่ำ” (Lower scrub forest) อยู่ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเลน้อยกว่า 1,000 เมตร และ “ป่าละเมาะระดับสูง” (Upper scrub forest) อยู่ที่ความสูง จากระดับน�้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ส�ำหรับในพื้นที่ที่มีชั้นดินหรือทรายปกคลุมอยู่ตามลานหินเป็นชั้นบางๆ มักจะพบ “ทุ่งหญ้า” (Grassland) ที่เต็มไปด้วยพรรณไม้ล้มลุกกลุ่มหญ้าและกก ผสมกับพืชกินแมลง หรือพืชอาศัยรา (ภาพ 11-15) ภาพ 11 ป่าทุ่งสน (Pine Savannah forest) ขึ้นปกคลุม บนยอดภูเขาสูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน�้ำทะเล ตาม พื้นที่ดินปนทราย หรือดินลูกรัง และเป็นกรดสูง รวมทั้งมักจะ เกิดไฟป่าอยู่เป็นประจ�ำด้วย (อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย) ภาพ 12 ป่าละเมาะระดับต�่ำ (Lower scrub forest) มีพรรณไม้ อิงอาศัย ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุกขึ้นปกคลุมอยู่ตามซอกหินหรือแอ่งหิน ที่สามารถพบซากพืชและดินสะสมอยู่บ้าง (สวนหินธรรมชาติ ณ ลานหินงาม อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จ.ชัยภูมิ ที่ความสูงจากระดับ น�้ำทะเลประมาณ 800 เมตร
31 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region ภาพ 13 ยอดภูเขาที่สูงมากกว่า 1,000 เมตรขึ้นไป สังคมพืชที่ ปกคลุมบนภูเขาหินทรายจะ เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ไ ป ต า ม ร ะ ดั บ ความชื้นและความอุดมสมบูรณ์ ของดินจากน้อย-มาก ดังนี้ ป่าละเมาะระดับสูง ป่าทุ่งสน และ ป่าดิบเขา (ยอดภูหลวง จ.เลย ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 1,300-1,500 เมตร) ภาพ 14 ป่าละเมาะระดับสูง (Upper scrub forest) ปกคลุมตามพลาญหิน ที่มีอากาศชุ่มชื้นและเย็น สลับกับป่าดิบเขา (Montane forest) ที่อยู่เบื้องหลัง ในภาพ (โคกนกกระบา ยอดภูหลวง จ.เลย ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 1,400- 1,500 เมตร)
32 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ในพื้นที่แอ่งกระทะ (basin) จากการยุบตัวของแผ่นดินตามก้นแอ่งสะหวันนะเขต แอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร หรือที่ลุ่มริมน�้ำที่ดินตะกอนจากแม่น�้ำทับถมปิดกั้นทางระบายน�้ำให้แคบลง ท�ำให้การระบายน�้ำลงสู่แม่น�้ำโขงเป็นไป ได้ยาก เกิดสภาพพื้นที่ชุ่มน�้ำมีน�้ำท่วมขังยาวนานเกือบตลอดปี เรียกพื้นที่แบบนี้ได้หลากหลายตามแต่ละท้องถิ่น เช่น บุ่ง บึง หนอง มาบ เลิง (marsh/swamp) หรือ กุด (oxbow lake) ปรากฏอยู่ทั่วไปตามแม่น�้ำสาขาก่อนไหลลงสู่ แม่น�้ำโขง มีสภาพเป็น สังคมพืชในหนองน�้ำ (pond vegetation) หรือในพื้นที่ที่มีการทับถมของดินตะกอนสูงขึ้น มาอีก แต่ยังคงมีช่วงเวลาน�้ำท่วมขังยาวนานปกติ 1-4 เดือน จะพบสังคมพืชปกคลุมที่เรียกว่า “ป่าบุ่งป่าทาม หรือ ป่าบึงน�้ำจืด” (Freshwater swamp forest) (ภาพ 16) ภาพ 15 ทุ่งหญ้า (Grassland) บนพลาญหินที่มีชั้นดินบางๆ และ เปียกแฉะในช่วงปลายฤดูฝน-ต้น ฤดูหนาว มักเต็มไปด้วยหญ้า กก และพืชกินแมลงขนาดเล็ก (อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัด อุบลราชธานี และฝั่งตรงข้ามเป็น อุทยานแห่งชาติภูเชียงทอง แขวง จ�ำปาสัก), ภาพล่าง หญ้าน�้ำค้าง (Drosera indica) พืชกินแมลง
33 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region นอกจากนี้ ตามพื้นที่ริมตลิ่งแม่น�้ำรวมถึงตามเกาะแก่งหินที่พบอยู่ทั่วไปในแม่น�้ำโขง และแม่น�้ำสาขาต่าง ๆ จะ พบพรรณไม้ที่ปรับตัวให้มีวงจรชีวิตสัมพันธ์กับการขึ้นลงของน�้ำหลากตามฤดูกาล สามารถทนต่อการจมอยู่ใต้น�้ำและ ความแรงของกระแสน�้ำได้ยาวนาน มีรากยึดเกาะหินและตลิ่งได้ดี เรียกระบบนิเวศบริเวณนี้ว่า “สังคมพืชชายน�้ำและ เกาะแก่ง” (Riverine vegetation) สังคมพืชที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนั้น ถือว่าเป็นสังคมพืชหลักที่สามารถพบได้ใน พื้นที่สองฝั่งโขงไทย-ลาว รวมไปถึงในเขตประเทศกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้ อีกด้วย (ภาพ 17) ภาพ 17 สังคมพืชชายน�้ำและเกาะแก่ง (Riverine vegetation) ในแม่น�้ำโขง บริเวณสี่พันดอน แขวงจ�ำปาสัก, ภาพซ้าย คร่อเทียน (Terminalia rivularis) ภาพ 16 ป่าบุ่งป่าทาม (Freshwater swamp forest) บริเวณริมฝั่งแม่น�้ำสงคราม จ.นครพนม
34 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง
35 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region ด้วยภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมาร์ และจีนตอนใต้ ที่ในปัจจุบัน ตั้งอยู่บนแผ่นดินผืนเดียวกันมาอย่างยาวนานแล้ว โดยเกิดมาจากแผ่นอนุทวีปหลายแผ่นเคลื่อน ตัวเข้ามาเชื่อมติดกันตั้งแต่ช่วง 245-100 ล้านปีมาแล้ว และตั้งอยู่ในเขตสภาพภูมิอากาศแบบ เขตร้อน (Tropical climate) เหมือนกัน ดังนั้น จึงท�ำให้พรรณไม้ส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกันและ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวร่วมกัน นักชีวภูมิศาสตร์จัดให้ภูมิภาคบริเวณนี้เป็น “เขตพรรณพฤกษชาติ แบบอินโดจีน” (Indochinese floristic region) ตามระบบการจ�ำแนกเขตพรรณพฤกษชาติ ของ Taktajan (1986) โดยเขตพรรณพฤกษชาตินี้ยังสามารถแบ่งเขตพรรณพฤกษชาติย่อย (province) ออกเป็น 7 เขตย่อย (ภาพ 18) เนื่องจากมีระบบนิเวศและพรรณพืชบางชนิดปรากฏ แตกต่างกันไปตามสภาพภูมิอากาศและธรณีวิทยาของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งพื้นที่ประเทศไทยและลาว บริเวณสองฝั่งโขงเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ใน “เขตพรรณพฤกษชาติย่อยแบบไทย” (Thailandian province) พรรณไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ของเขตนี้ เช่น รวงผึ้ง (Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm.) ยางกราด (Dipterocarpus intricatus Dyer) พะยูง (Dalbergia cochinchinensis Pierre) ลานป่า (Corypha lecomtei Becc. ex Lecomte) ธนนไชย (Buchanania siamensis Miq.) และ สะตือ (Crudia chrysantha (Pierre) K. Schum.) เป็นต้น พื้นสองฝั่งโขงยังมีเขตติดต่อกับเขตพรรณพฤกษชาติย่อยอื่น ๆ โดยมีแนวเทือกเขาอันนัมเป็น แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ (ecological corridor) ที่ทอดตัวยาวจากประเทศเวียดนามด้านเหนือ จรดด้านใต้ อีกทั้งพื้นที่บริเวณนี้ยังมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นต่อเนื่องยาวนานในช่วงฤดูหนาว และฝนตกชุกในช่วงฤดูฝน ท�ำให้ตามพื้นที่เชิงเขา หุบเขา ร่องห้วย และร่องหินแตก สามารถเก็บ รักษาความชุ่มชื้นและความเย็นไว้ได้นาน เปิดโอกาสให้พรรณไม้จากเขตพรรณพฤกษชาติหลักและ ย่อยอื่นๆ ถึง 5 เขต สามารถกระจายพันธุ์เข้ามาตั้งตัวได้ ดังนี้ ภาพ 18 ระบบการจ�ำแนกเขตพรรณพฤกษชาติย่อย (province) ของ Taktajan (1986) ภายในเขตพรรณพฤกษชาติแบบอินโดจีน (Indochinese floristic region) , Thailandian province เส้นสีแดง, Annamese province เส้นสีน�้ำเงิน, North Indochinese province เส้นสีเหลือง, South Chinese province เส้นสีเขียวอ่อน,South Indochinese province เส้นสีส้ม,South Burmese Province เส้นสีเขียวเข้ม, และ Malesian floristic region เส้นสีด�ำ
36 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง เขตพรรณพฤกษชาติย่อยแบบจีนตอนใต้ (South Chinese province) ได้แก่ พุดน�้ำตังเกี๋ย (Gardenia stenophylla Merr.) เขตพรรณพฤกษชาติย่อยแบบอินโดจีนตอนบน (North Indochinese province) ได้แก่ ซ้อหิน (Gmelina racemosa (Lour.) Merr.) ก่อบังบาตร (Lithocarpus corneus (Lour.) Rehder) และกฤษณาน้อย (Gyrinops vidalii P.H. Hô) เป็นต้น เขตพรรณพฤกษชาติย่อยแบบอันนัม (Annamese province) เช่น มะพลับธารทอง (Diospyros bangoiensis Lecomte) มะเฟืองป่า (Pyrenaria jonquieriana Pierre ex Laness.) และประดงเกล็ด (Albizia attopeuensis (Pierre) I. C. Nielsen) เป็นต้น เขตพรรณพฤกษชาติย่อยแบบอินโดจีนตอนใต้ (South Indochinese province) เช่น ตะเคียนราก (Hopea pierrei Hance) และเอื้องเงินวิลาศ (Dendrobium kontumense Gagnep.) เป็นต้น เขตพรรณพฤกษชาติแบบมาเลเซีย (Malesian floristic region) เป็นเขตพรรณพฤกษชาติหลักเขตหนึ่ง ที่มีเอกลักษณ์เทียบเท่าเขตพรรณพฤกษชาติแบบอินโดจีน ครอบคลุมประเทศในเขตหมู่เกาะใกล้เส้นศูนย์สูตร ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีสภาพภูมิอากาศชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี แต่มีพรรณพืชบางชนิดสามารถ กระจายขึ้นมาถึงภูมิภาคอินโดจีน เช่น ยางยูง (Dipterocarpus grandiflorus (Blanco) Blanco) และเกล็ดเข้ (Parashorea densiflora Slooten & Symington) ที่กระจายพันธุ์ขึ้นมาถึงแขวงเวียงจันทน์ บอลิค�ำไซ และค�ำม่วน ประเทศลาว จังหวัดบึงกาฬ และนครพนม ประเทศไทย โดยตามพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของภูมิภาคอินโดจีน ชนิดเหล่านี้ ได้สูญพันธุ์ไปเกือบหมดแล้ว เนื่องจากภูมิอากาศที่แห้งแล้งมากขึ้นในปัจจุบัน แต่พรรณไม้เหล่านี้ยังคงสืบเผ่าพันธุ์ ต่อมาได้ ด้วยการปรับตัวและขึ้นเป็นกลุ่มขนาดเล็กตามหุบเขาหรือตามร่องน�้ำที่ชุ่มชื้น เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็น ร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภูมิศาสตร์ของภูมิภาคอินโดจีนที่มีมาอย่างยาวนาน ว่าสภาพ ภูมิอากาศบางช่วงเวลาเคยมีความชุ่มชื้นสูง และแผ่นดินเคยเชื่อมต่อกันมาก่อน (อ่านรายละเอียดที่หน้า 102) ด้วยสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศในพื้นที่เฉพาะ (Microhabitats) ที่หลากหลายระหว่าง พื้นที่สองฝั่งโขง ท�ำให้พรรณพืชบางชนิดมีการปรับตัว และเริ่มวิวัฒนาการตัวเอง หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม จนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวกลายเป็น “พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค” (Regional endemic) * ที่พบเฉพาะบริเวณที่ราบสูง โคราชและพื้นที่สองฝั่งแม่น�้ำโขงตอนล่างเป็นหลัก ระหว่างประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนามตอนล่าง เช่น สิรินธรวัลลี (Phanera sirindhorniae (K. Larsen & S. S. Larsen) Mackinder & R. Clark) ส้มเสี้ยวเถา (Cheniella lakhonensis (Gagnep.) R. Clark & Mackinder) แห่น้อย (Cynometra craibii Gagnep.) อินถวาน้อย (Kailarsenia lineata (Craib) Tirveng.) นาวน�้ำ (Artabotrys spinosus Craib) อุตพิดเล็ก (Typhonium laoticum Gagnep.) เปื๋อยเลือด (Terminalia pedicellata Nanakorn) คร่อเทียน (Terminalia rivularis (Gagnep.) Gere & Boatwr.) หว้าน�้ำ (Syzygium thorelii (Gagnep.) Merr. & L.M. Perry) พุดแหลม (Kopsia angustipetala Kerr) กฤษณาน้อย (Gyrinops vidalii P.H. Hô) หาดเครือ (Sphenodesma mekongensis Dop) เป็นต้น *** สามารถค้นหาค�ำบรรยายและภาพพรรณไม้เหล่านี้ได้ในส่วนต่อไป ***
37 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region * พืชถิ่นเดียว (Endemic species) พืชชนิดที่แพร่พันธุ์ตามธรรมชาติในขอบเขตที่จ�ำกัดเฉพาะใน บริเวณใดบริเวณหนึ่ง อาจเป็นเขตประเทศ หรือเขตทางภูมิศาสตร์หนึ่งของโลก มักจะพบพืชถิ่นเดียวบนพื้นที่ที่มีลักษณะ จ�ำกัดทางระบบนิเวศ การแบ่งพืชถิ่นเดียวมีได้หลายระดับ ขึ้นอยู่กับขนาดและขอบเขตของพื้นที่ที่พืชชนิดนั้นกระจาย พันธุ์อยู่ตามธรรมชาติ และมีการปรับตัวให้เข้ากับระบบนิเวศที่เฉพาะเจาะจงอย่างไร ได้แก่ พืชถิ่นเดียวระดับท้องถิ่น (Local endemic) พบจ�ำกัดเฉพาะในพื้นที่ขนาดเล็กแห่งหนึ่ง เช่น เกาะ หมู่เกาะขนาดเล็ก ยอดเขา หุบเขาหรือพื้นที่ ลุ่มน�้ำขนาดเล็ก แหล่งน�้ำขนาดเล็ก ล�ำน�้ำสายหนึ่งช่วงสั้นๆ), พืชถิ่นเดียวระดับเมืองหรือรัฐ (Province endemic) พบจ�ำกัดเฉพาะในขอบเขตของเมือง รัฐ หรือมณฑลหนึ่ง, พืชถิ่นเดียวระดับประเทศ (National endemic) พบจ�ำกัด เฉพาะในขอบเขตของประเทศหนึ่ง, พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบจ�ำกัดเฉพาะในขอบเขต ภูมิภาคหรือเขตภูมิศาสตร์หนึ่ง หรือตามล�ำน�้ำเป็นช่วงระยะยาวผ่านหลายประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน และ พืชถิ่นเดียวระดับทวีป (Continental endemic) พบจ�ำกัดเฉพาะในทวีปหนึ่ง (Coelho, Goncalves & Romano; 2020) มะพลับธารทอง เอื้องเงินวิลาศ ก่อบังบาตร ตะเคียนราก ยางยูง
38 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง
39 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region ขี้อ้น (Urena rigida) พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั ่งโขง
40 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง กระเบาใหญ่ ชื่อพื้นเมืองไทย : กระเบา กระเบาน�้ำ กระเบาค่าง ຊື່ລາວ : ກະເບົາ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Hydnocarpus castanea Hook.f. & Thomson ชื่อพ้อง : Hydnocarpus anthelminthicus Pierre ex Laness. ชื่อวงศ์ : ACHARIACEAE Common name : Chaulmoogra. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูงถึง 30 ม. เปลือกเรียบ สีน�้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนมีขนสีน�้ำตาล แดง กิ่งแก่เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 4-8 ซม. ยาว 10-30 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบ มนและเบี้ยว แผ่นใบหนาและเรียบแบน ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 5-10 เส้น ก้านใบยาว 1-2 ซม. ใบอ่อนสีแดงหรืออมชมพู ดอกออกเป็นกระจุก มี 1-2 ดอก ตามซอกใบหรือกิ่งเก่า กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลืองครีม มีอย่างละ 5 กลีบ มีกลิ่นหอม กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรี ยาว 1.2 ซม. ขอบกลีบม้วนเข้าด้านในตามแนวยาว และ กลีบมักจะบานพับกลับ เกสรเพศผู้ 4 เกสร รังไข่รูปไข่ มีขนละเอียดหนาแน่น ผลรูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-12 ซม. ผิวเรียบ เปลือกแข็ง มีขนสีน�้ำตาลแดงหนาแน่น เมล็ดรูปทรงหลายเหลี่ยม มีจ�ำนวนมาก เนื้อหุ้มเมล็ด สีขาว-เหลืองอ่อน ก้านผลยาว 2-3 ซม. นิเวศวิทยา : ขึ้นในที่ราบน�้ำท่วมถึง หรือป่าบุ่งป่าทาม โดยเฉพาะตามริมแม่น�้ำล�ำคลอง ที่ความสูงจากระดับน�้ำ ทะเลไม่เกิน 500 ม. ออกดอกเดือนธันวาคม-เมษายน ผลแก่เดือนเมษายน-สิงหาคม การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบทั่วไป ประเทศลาวพบ ตอนกลางและตอนใต้ เมียนมาร์ตอนใต้ เวียดนาม กัมพูชา คาบสมุทรมาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว ประโยชน์ : เนื้อรอบเมล็ดของผลสุกที่ร่วงแล้วกินได้รสมัน คล้ายเผือกต้ม (ผลดิบท�ำให้เมา), ยอดอ่อนรสเปรี้ยว เป็นผัก สดกินแกล้มลาบ ก้อย ปิ้งปลา หรือน�้ำพริก, แก่นกระเบา ใหญ่+กระพี้+กรวยป่า+ทันน�้ำ/ช้องแมว+สะมัง/เฉียงพร้า นางแอ เข้ายาร่วมกันต้มน�้ำดื่มบ�ำรุงแม่ลูกอ่อนหรืออยู่ไฟ, เมล็ด กระเบาใหญ่ต�ำกับขี้ซี (ชันของต้นเต็ง Shorea obtusa) ผสม กระเทียม ใช้ทารักษาโรคกลาก-เกลื้อน, เมล็ดบดเข้ายาอื่นๆ รักษาโรคเรื้อน หรือท�ำยาถ่ายพยาธิตัวจี๊ด, เนื้อในผลดิบและ เมล็ดใช้เบื่อปลาหรือท�ำยาฆ่าแมลง
41 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
42 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ต�ำยาน ชื่อพื้นเมืองไทย : สบ ปรก กระตุก ຊື່ລາວ : ສົບ ສະຝ້ າຍ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Altingia excelsa Noronha ชื่อพ้อง : Altingia siamensis Craib, Liquidambar excelsa (Noronha) Oken ชื่อวงศ์ : ALTINGIACEAE Common name : Rasamala, Indochinese Sweetgum. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ผลัดใบช่วงสั้น สูง 20-40 ม. เปลือกสีน�้ำตาลเทา แตกสะเก็ดบางตามแนวยาว เปลือกในและใบสดมีกลิ่นหอม กิ่งเกลี้ยง ตามยอดมีใบเกล็ดซ้อนหลายชั้นรูปหยดน�้ำ ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่หรือ รูปรี กว้าง 2-5 ซม. ยาว 6-12 ซม. ปลายใบแหลม-เรียวแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อยตื้นและมีจุดเล็กสีด�ำ แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวเรียบเกลี้ยงและมันเงา ก้านใบยาว 2-3 ซม. ช่อดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ออกตามปลายกิ่ง ช่อดอกเพศผู้แบบช่อเชิงลด สีเหลืองอ่อน ช่อดอกเพศเมียแบบช่อกระจุกแน่น ค่อนข้างกลม กว้าง 1 ซม. มีดอกย่อย ติดบนฐานเดี่ยวกัน 4-18 ดอก สีเขียว ก้านช่อดอกยาว 2-3 ซม. ผลติดเป็นกลุ่ม ทรงกรวย กว้างประมาณ 2 ซม. เนื้อแข็งคล้ายไม้สีน�้ำตาล ผลย่อย 4-18 ผล มีปลายแหลม 2 แฉก นิเวศวิทยา : ขึ้นในป่าดิบ ใกล้ล�ำธาร ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 200-1,000 ม. ออกดอกเดือนธันวาคมกุมภาพันธ์ ผลแก่เดือนเมษายน-สิงหาคม การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศลาวพบทั่วไป มลฑล ยูนนานและทิเบตของจีน รัฐอัสสัมของอินเดีย บังกลาเทศ เมียนมาร์ เวียดนาม กัมพูชา คาบสมุทรมาเลเซีย สุมาตรา และชวา ประโยชน์ : ยอดอ่อนทานเป็นผักสด, ใบและเปลือกล�ำต้นมีกลิ่นหอมจากน�้ำมันหอมระเหย ใช้ผสมเครื่องส�ำอาง, เนื้อไม้ใช้ท�ำเครื่องเรือน
43 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
44 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง น�้ำเกลี้ยง ชื่อพื้นเมืองไทย : รัก ຊື່ລາວ : ນໍ້າກ້ ຽງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Gluta laccifera (Pierre) Ding Hou ชื่อพ้อง : Melanorrhoea laccifera Pierre ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE Common name : Laos Lacquer Tree, Cambodian Lacquer Tree. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 10-30 ม. เปลือกสีน�้ำตาลเทา เรียบหรือแตกสะเก็ดบาง รูปหลาย เหลี่ยมและล่อนออก ส่วนที่มีชีวิตมีน�้ำยางใสเหนียว เปลี่ยนเป็นสีด�ำเมื่อถูกอากาศ กิ่งเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงเวียน กระจุกที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 5-11 ซม. ยาว 10-24 ซม. ปลายใบกลม-มน โคนใบรูปลิ่ม หรือมน แผ่นใบหนา ผิวเรียบเกลี้ยงและมันเงา มีเส้นแขนงใบข้างละ 18-24 เส้น ก้านใบยาว 2-4 ซม. ช่อดอกแบบแยกแขนง ออกปลาย กิ่งหรือใกล้ปลายกิ่ง ยาว 12-18 ซม. กลีบเลี้ยงเป็นปลอกหุ้มดอกตูม สีชมพู กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปขอบขนาน ยาว 8 มม. มีขนสั้นด้านนอก เมื่อติดผลจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มและขยายตัวกลายเป็นปีก 5 ปีก รูปขอบขนาน ยาว 2-3.5 ซม. ตรงกลางติดผลทรงกลม กว้าง 2-3 ซม. ผิวเกลี้ยง มีก้านชูผลยาว 1-1.5 ซม. นิเวศวิทยา : ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง หรือตามพลาญหิน ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 50-500 ม. ออกดอกเดือน ตุลาคม-ธันวาคม ผลแก่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะในภูมิภาคอินโดจีนแถบตอนกลาง และล่าง ประเทศไทยพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดจันทบุรี และตราด ประเทศลาวพบตอนกลางและ ตอนใต้ เวียดนามตอนใต้ และกัมพูชา ประโยชน์ : น�้ำยางมีพิษ (บางคนที่แพ้จะมีอาการคัน มีผื่นลมพิษ) น�้ำยางใสเหนียวเมื่อถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็น สีด�ำเข้ม น�ำมาท�ำยางรักใช้ในงานศิลปะโบราณ เช่น ลงรักปิดทอง เครื่องเขิน รักกระแหนะ หรือทารักษาเนื้อไม้และ วัสดุต่าง ๆ (ยางรักที่ได้จากต้นน�้ำเกลี้ยงนิยมใช้ในประเทศลาว กัมพูชา และไทย), เนื้อไม้คล้ายไม้มะฮอกกานี ใช้ท�ำ เครื่องเรือน
45 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
46 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ข้าวหลามดง ชื่อพื้นเมืองไทย : ปอขี้แฮด ຊື່ລາວ : ເຂົ້າຫຼາມດົງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Goniothalamus laoticus (Finet & Gagnep.) Bân ชื่อพ้อง : Mitrephora laotica Finet & Gagnep. ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE Common name : Laos Goniothalamus. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-12 ม. ไม่ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาลเข้ม เรียบ มีกลิ่นฉุน ยอดอ่อนมีขนสั้นปกคลุม กิ่งอ่อนมีขนเล็กน้อย-เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 3.5-6 ซม. ยาว 13–25 ซม. เส้นแขนงใบมีข้างละ 12-20 เส้น เห็นไม่ชัดเจน แผ่นใบค่อนข้างบางและเรียบ มีขนประปราย-เกลี้ยง ที่ด้านล่าง ก้านใบยาว 6-11 มม. ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามล�ำต้นหรือกิ่งใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียวอ่อน กลีบดอกมี 6 กลีบ สีเหลืองอ่อนแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้มเมื่อใกล้โรย เนื้อหนา เรียง 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ ชั้นนอกมีขนาดใหญ่กว่าชั้นใน รูปไข่ปลายแหลม ยาว 3–7 ซม. กลีบดอกบานออกเล็กน้อย ก้านดอกยาว 6-11 มม. ผลรูปทรงกระบอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 3–5.6 ซม. ผิวค่อนข้างเรียบและมีสันนูนตามแนวยาวชัดเจน 1 สัน ติดเป็นกลุ่ม 8–18 ผล/กลุ่ม นิเวศวิทยา : พบตามป่าดิบแล้ง บริเวณชายป่า หรือป่าที่ก�ำลังทดแทน ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 200-1,100 ม. ออกดอกเดือนมีนาคม-กรกฎาคม ผลแก่เดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะในภูมิภาคอินโดจีน ประเทศไทย พบเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศลาวพบในพื้นที่ติดต่อกับประเทศไทย ประโยชน์ : เนื้อไม้และราก ต้มน�้ำดื่มบ�ำรุงก�ำลัง, ปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนหรือทางเดินข้างถนนในเขตเมือง
47 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
48 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ล�ำดวน ชื่อพื้นเมืองไทย : ล�ำดวนดง หอมนวล ຊື່ລາວ : ລໍາດວນ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Sphaerocoryne lefevrei (Baill.) D.M. Johnson & N.A. Murray ชื่อพ้อง : Sphaerocoryne clavipes (Hance) Craib, S. siamensis (Boerl.) Scheff. ex Ridl., ส�ำหรับชื่อ Melodorum fruticosum Lour. ที่เคยนิยมใช้กันมานานในประเทศไทย เป็นคนละชนิด ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE Common name : White Cheesewood. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 5-15 ม. ไม่ผลัดใบ เปลือกเรียบ สีน�้ำตาลเข้ม มีกลิ่นฉุน ตามส่วนต่าง ๆ เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปขอบขนาน-แกมรูปรี กว้าง 3-3.5 ซม. ยาว 7-12 ซม. แผ่นใบด้านบนมันเงา ด้านล่างสีเขียวนวล เส้นแขนงใบมีข้างละ 10-14 เส้น เห็นไม่ชัด เส้นกลางใบด้านล่างนูนชัด สีเหลือง ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ดอกออกเดี่ยว ตามซอกใบ ห้อยลง ก้านดอกยาว 1.5–3.5 ซม. กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียว กลีบดอกสีเหลืองครีม มี 6 กลีบ เรียง 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ เนื้อหนา รูปไข่กว้าง ยาว 1-1.5 ซม. ปลายแหลม กลีบดอกชั้นนอกบานแผ่กว้างและมีขนาดใหญ่กว่าชั้นในเล็กน้อย มีกลิ่นหอมแรงช่วงบ่าย-พลบค�่ำ ผลรูปกลม-รี ยาว 1–1.5 ซม. ติดเป็นกลุ่ม ถึง 28 ผล/กลุ่ม สุกสีด�ำ มี 1–2 เมล็ด นิเวศวิทยา : พบตามป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณ ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 500 ม. ออกดอก เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลแก่เดือนเมษายน-กรกฎาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะในภูมิภาคอินโดจีนแถบตอนกลาง และล่าง ประเทศไทยพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางด้านตะวันออก ประเทศลาว พบบริเวณตอนกลางและตอนใต้ กัมพูชา และเวียดนามตอนใต้ ประโยชน์ : เนื้อผลรสหวานอมเปรี้ยวทานได้, ดอกสดมีกลิ่นหอมเย็น น�ำมาบูชาพระ หรือให้กลิ่นหอมแก่ที่อยู่อาศัย หรือปรุงน�้ำสรงพระ น�้ำด�ำหัวในเทศกาลสงกรานต์ ดอกแห้งเป็นส่วนประกอบในพิกัดยาเกสรทั้ง 9 ช่วยบ�ำรุงหัวใจ บ�ำรุงโลหิต แก้ลมวิงเวียน, เนื้อไม้เหนียว ใช้ท�ำอุปกรณ์ทางการเกษตร-ประมง ของเล่นส�ำหรับเด็ก, เหมาะสมต่อการ ปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนหรือทางเดินข้างถนนในเขตเมือง