The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พรรณไม้ไทย-ลาว สองฝั่งโขง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

พรรณไม้ไทย-ลาว สองฝั่งโขง

พรรณไม้ไทย-ลาว สองฝั่งโขง

149 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


150 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง กระโดน ชื่อพื้นเมืองไทย : กกโดน ปุย ຊື່ລາວ : ກະໂດນ ກະໂດນໂຄກ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Careya arborea Roxb. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : LECYTHIDACEAE Common name : Wild Guava, Ceylon Oak. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. ผลัดใบ เปลือกเรียบ-แตกเป็นสะเก็ดบาง สีน�้ำตาลอ่อน เปลือก ชั้นในมีเส้นใยเหนียวนุ่ม ตามยอด ใบ ก้านใบ และช่อดอกไม่มีขน ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ ยาว 15-25 ซม. ปลายใบกลม ขอบใบจักฟันเลื่อยถี่ โคนใบสอบ เส้นแขนงใบมีข้างละ 15-25 เส้น ก้านใบบวมหนา สีเขียว ยาว 1-4 ซม. ใบแก่ก่อนร่วงสีส้ม-สีแดง ช่อดอกเชิงลด (ไม่มีก้านดอกย่อย) ตั้งขึ้น ยาว 7-15 ซม. ออกที่ปลาย กิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว 4 กลีบ ยาว 1-2 ซม. กลีบดอกสีขาวแต้มสีแดง 4 กลีบ รูปใบหอก กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 2.5- 3.5 ซม. บานม้วนกลับ มีกลิ่นหอมเอียน เกสรเพศผู้สีขาว โคนก้านเกสรสีแดง มีจ�ำนวนมาก ยาว 4-5 ซม. ผลทรงกลม กว้าง 5-6 ซม. ผิวเรียบ มีขนสั้น ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดทน นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง ชายป่า หรือป่าที่ก�ำลังทดแทนของป่าผลัดใบหรือป่าดิบ ในเขตพื้นที่ราบที่มีการระบาย น�้ำดี หรือพื้นที่ลาดชัน ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,000 ม. ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลแก่เดือนเมษายน-มิถุนายน การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยและลาวพบทุกภาค ภูมิภาคเอเชียใต้ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประโยชน์ : ยอดอ่อนและช่อดอกอ่อนรสมันอมฝาดเล็กน้อย กินเป็นผักสด จิ้มน�้ำพริก ป่น ลาบ ก้อย หรือปิ้งปลา, เปลือกทุบแช่น�้ำแล้วแช่เท้ารักษาโรคเท้าเปื่อย น�้ำกัดเท้า หรือน�ำมาเคี้ยวแล้วกินแก้ท้องเสีย ทุบแล้วเอาไปกวนใน น�้ำใช้เบื่อปลา หรือใช้ย้อมแห หรือลอกออกมาเป็นแผ่นขนาดใหญ่แล้วทุบให้นิ่มท�ำเป็นแผ่นรองนั่งติดบนหลังสัตว์ พาหนะ, เนื้อไม้แปรรูปท�ำไม้กระดานหรือฝา ใช้ในงานก่อสร้างชั่วคราวเนื่องจากผุง่ายไม่ทนทาน หรือท�ำเครื่องเรือน (การใช้ประโยชน์เหมือนต้นจิกนา Barringtonia acutangula)


151 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


152 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ตะแบกเกรียบ ชื่อพื้นเมืองไทย : ตะแบกเปลือกบาง เปื๋อยเปลือกบาง เปื๋อยกะแอ่ง ຊື່ລາວ : ເປືອຍ ເປືອຍແດງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Lagerstroemia cochinchinensis Pierre. ชื่อพ้อง : Lagerstroemia balansae Koehne, L. collinsae Craib ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE Common name : Indochinese Crape Myrtle. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม-ไม้ต้น สูง 4-30 ม. โคนต้นเป็นพูพอนขนาดเล็กจ�ำนวนมาก เปลือกสีขาวน�้ำตาลอ่อน หลุดร่อนเป็นแผ่นบางขนาดเล็ก ตามกิ่งอ่อน ก้านใบ ช่อดอกและผลมีขนปุยสั้นหนานุ่มสีน�้ำตาลอมส้ม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปใบหอก หรือรูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน เส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นหนาแน่น-ประปราย ก้านใบยาว 4-10 มม. ช่อดอก แยกแขนง ตั้งขึ้น ยาว 6-20 ซม. ออกตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย สูง 8 มม. ผิวเรียบมีขนหนาแน่น ปลายแยก 6 แฉกรูปสามเหลี่ยม ยาว 5 มม. บานกลับเล็กน้อย กลีบดอกสีม่วงอมชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อใกล้โรย รูปไข่กลับ ยาว 1.2-2 ซม. แผ่นกลีบยับย่น ขอบกลีบหยิกงอ ผลทรงกลม-รี ยาว 1.5-1.7 ซม. ถ้วยรองผลหุ้มที่โคนประมาณ ครึ่งผล ผิวเรียบ (ไม่มีครีบ) เมื่อแก่จะแตกอ้า 5-6 ซีก เมล็ดแบนและมีปีกบาง ยาว 1 ซม. นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่ราบที่ดินมีการระบายน�้ำได้ดี หรือตามที่ลาดชัน ในป่าเบญจพรรณ หรือป่าดิบแล้ง ที่ความ สูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,000 ม. ออกดอกเดือนมิถุนายน-กันยายน เป็นผลเดือนกันยายน-ธันวาคม การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ประเทศลาวพบทุกภาค ประเทศเมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน และเกาะไห่หนาน ประเทศจีน ประโยชน์ : เนื้อไม้เหนียวและแข็งแรงคล้ายไม้ตะแบก (Lagerstroemia spp.) ใช้ท�ำเครื่องมือทางการเกษตร ด้ามเครื่องมือ ไม้พาย หรืองานก่อสร้างในที่ร่ม เกร็ดความรู้ : ค�ำระบุชนิด cochinchinensis มาจากค�ำว่า Cochinchina เป็นชื่อเรียกเขตอาณานิคมของฝรั่งเศส บริเวณประเทศเวียดนามตอนใต้ ซึ่งนาย J. B. Louis Pierre นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เก็บตัวอย่างต้นแบบ (lectotype) ได้เมื่อปี ค.ศ. 1871 (พ.ศ. 2414) บริเวณเมืองเตนินห์ และตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1886 (พ.ศ. 2429)


153 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


154 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ตะแบกเตี้ย ชื่อพื้นเมืองไทย : ตะแบกนายเนย เปื๋อยน้อย ຊື່ລາວ : ເປືອຍເຕ້ ຍ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Lagerstroemia noei Craib ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE Common name : Dwarf Crape Myrtle. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-3 ม. แตกกิ่งต�่ำ เปลือกสีน�้ำตาลอ่อน-น�้ำตาลแดง หลุดร่อนเป็นแผ่น บาง ตามกิ่งอ่อน ก้านใบ ช่อดอกและผลมีขนปุยสั้นหนานุ่มสีน�้ำตาลอมส้ม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปรี หรือรูปไข่ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 3-6 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแหลม-มน เส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นหนาแน่น-ประปราย ก้านใบยาว 3-5 มม. ช่อดอกกระจะ ออกตามปลายกิ่ง ยาว 5-15 ซม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วย สูง 5-7 มม. ผิวเรียบมีขนหนาแน่น ปลายแยก 6 แฉก รูปสามเหลี่ยม ยาว 5 มม. บานกลับ กลีบดอก สีม่วงอมชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อใกล้โรย รูปกลม ยาว 0.8-1.2 ซม. แผ่นกลีบยับย่น ขอบกลีบหยิกงอ ผลทรง ค่อนข้างกลม ยาว 1 ซม. ถ้วยรองผลหุ้มที่โคนประมาณครึ่งผล ผิวเรียบ (ไม่มีครีบ) เมื่อแก่จะแตกอ้า 5-6 ซีก เมล็ดแบนและมีปีกบาง ยาว 0.7 ซม. นิเวศวิทยา : ขึ้นในที่โล่ง ตามซอกหินในพลาญหินทราย หรือพื้นที่ดินปนทรายหรือดินลูกรัง ในป่าละเมาะ หรือ ชายป่าเต็งรัง ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 50-500 ม. ออกดอกเดือนพฤษภาคม-กันยายน เป็นผลเดือนสิงหาคมธันวาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะบริเวณภูมิภาคอินโดจีนตอนกลาง และตอนใต้ ในประเทศไทยพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ประเทศลาวพบในตอนกลางและ ตอนใต้ และประเทศกัมพูชาพบตามพื้นที่ภูเขาหินทรายใกล้ประเทศไทยและลาว ประโยชน์ : เหมาะสมต่อการปลูกประดับ เนื่องจากมีทรงต้นและดอกสวยงาม


155 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


156 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง เปื๋อยน�้ำ ชื่อพื้นเมืองไทย : เปือยน�้ำ เปื๋อยน�้ำสงคราม ຊື່ລາວ : ລ້ ານເສົ້າ ອິນທະນິນ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Lagerstroemia spireana Gagnep. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE Common name : Water Crape Myrtle. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 3-5 ม. ผลัดใบ แตกกิ่งต�่ำ เปลือกสีน�้ำตาลอ่อน-ขาวครีม หลุดร่อนเป็นแผ่น บาง ตามกิ่งอ่อน ก้านใบ ช่อดอกและผลมีขนปุยสั้นหนานุ่มสีน�้ำตาลอ่อน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปรี กว้าง 4-5 ซม. ยาว 6-13 ซม. ปลายใบเรียวแหลม-มน โคนใบแหลม-มน เส้นแขนงใบข้าง ละ 5-8 เส้น ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นประปราย-เกลี้ยง ก้านใบยาว 2-4 มม. ช่อดอกแยกแขนง ตั้งขึ้น ยาว 20-30 ซม. ออกตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย สูง 5-7 มม. ผิวมีครีบตามแนวยาว 12 ครีบ ครีบสูง 2-3 มม. ปลายถ้วยกลีบเลี้ยง แยก 6 แฉก รูปสามเหลี่ยม ยาว 4 มม. บานกลับ กลีบดอกสีม่วงอมชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อใกล้โรย รูปกลม ยาว 1-1.5 ซม. แผ่นกลีบยับย่น ขอบกลีบหยิกงอ ผลทรงรีแกมทรงกระบอก ยาว 1.2-1.4 ซม. ถ้วยรองผลหุ้มที่โคน ประมาณครึ่งผล ผิวมีครีบ 12 ครีบ เมื่อแก่จะแตกอ้า 6 ซีก เมล็ดแบนและมีปีกบาง ยาว 1 ซม. นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง ริมน�้ำ หรือคูน�้ำข้างทาง ทุ่งนา ป่าเสื่อมโทรม ชายป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง หรือ ป่าบุ่งป่าทาม ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 150-200 ม. ผลัดใบช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ แล้วแตกใบใหม่จนโต เต็มที่จึงออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน ผลแก่เดือนตุลาคม-มีนาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับเมืองหรือรัฐ (Province endemic) มีการกระจายพันธุ์ไม่กว้าง แต่พบได้ง่าย ในแอ่งสกลนครเขตลุ่มน�้ำโมง ลุ่มน�้ำสงคราม และลุ่มน�้ำก�่ำ (จังหวัดหนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม) และ ในแขวงค�ำม่วน ประเทศลาว ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็งแรงและเหนียว ใช้ในงานก่อสร้าง ท�ำเครื่องเรือน ไม้พาย ด้ามเครื่องมือต่างๆ, เปลือกสดด้าน ในขูดผสมลงในต�ำแตงหรือสับปะรด ช่วยท�ำให้ยางแตงหรือน�้ำสับปะรดไม่กัดปาก (คล้ายการใช้เปลือกต้นอะราง/ สะฝาง Peltophorum dasyrrhachis), เปลือกใช้ย้อมเส้นไหม ให้สีม่วงคล�้ำ, เหมาะสมต่อการปลูกประดับในเขต เมืองตามทางเท้า เนื่องจากมีดอกสวยงามและขนาดต้นไม่ใหญ่ เกร็ดความรู้ : ลักษณะทั่วไปคล้ายกับต้นตะแบกนา/เปื๋อยนา (Lagerstroemia floribunda) มาก (คนในท้องถิ่น เข้าใจว่าเป็นชนิดเดียวกัน) มีจุดแตกต่างชัดเจนของต้นเปื๋อยน�้ำให้สังเกตจากสันนูนที่ถ้วยกลีบเลี้ยง ในระยะดอกหรือ ผลจะมีสันนูนสูงมากคล้ายปีก สูง 2-4 มม. แต่ต้นตะแบกนาสันนูนจะสูงเพียง 1-2 มม. เท่านั้น


157 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


158 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง งิ้วแดง ชื่อพื้นเมืองไทย : งิ้ว งิ้วบ้าน ຊື່ລາວ : ງິ້ວໃຫຍ່ ງິ້ວດອກແດງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Bombax ceiba Pierre ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : MALVACEAE Common name : Cotton Tree, Kapok Tree ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงถึง 40 ม. ผลัดใบ เปลือกสีเทาอมขาว มีหนามแข็งกระจายทั่วล�ำต้นและกิ่ง ต้นแก่ผิวเรียบเกลี้ยง ใบประกอบแบบผ่ามือ เรียงเวียน มี 5-7 ใบย่อย ใบกลางมีขนาดใหญ่กว่าใบด้านข้าง ใบย่อย รูปรี กว้าง 3-5.5 ซม. ยาว 8-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแหลม-มน แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เรียบเกลี้ยง ก้านใบร่วมยาว 12-18 ซม. ก้านใบย่อย ยาว 1-2.5 ซม. มักมีสีแดง ดอกเดี่ยว ออกดอกขณะผลัดใบทั้งต้น ก้านดอกยาว 5-10 มม. อวบหนาและเกลี้ยง วงกลีบเลี้ยงรูปถ้วย ส่วนปลายแยกเป็นแฉกขนาดไม่เท่ากัน ด้านในมีขน กลีบดอกสีแดง สีส้มอมแดง หรือสีเหลือง ขนาด 2.5-3 x 5-8 ซม. มีขนนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน กลีบดอกเมื่อบาน จะโค้งกลับ เกสรเพศผู้ มากกว่า 50 เกสร ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก เปลือกแข็ง ผิวเกลี้ยง ขนาด 4-5 x 8-10 ซม. เมื่อแก่เปลือกแห้งสีด�ำแตกออก 5 เสี่ยง ตามแนวยาว ภายในมีขนยาวเป็นปุยนุ่ม สีขาว มีเมล็ดสีด�ำ จ�ำนวนมาก นิเวศวิทยา : ขึ้นในที่โล่งแจ้ง ชอบขึ้นตามพื้นที่ริมล�ำธาร หรือทุ่งนา ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,400 ม. ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม ผลแก่เดือนเมษายน-มิถุนายน การกระจายพันธุ์ : พบทุกภาคของประเทศไทยและลาว ประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ บังกลาเทศ เนปาล ภูฏาน ศรีลังกา และทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประโยชน์ : ฝักแห้งภายในมีขนปุยนุ่มสีขาว น�ำมายัดฟูกและหมอนแทนนุ่น, ดอกแห้งใช้ประกอบอาหาร เช่น ขนมจีนน�้ำเงี้ยว แกงแค, ฝักอ่อนน�้ำมาต้มเป็นผักจิ้มน�้ำพริกหรือซุบ, เปลือกต้นต้มน�้ำดื่มบ�ำรุงโลหิต แก้บิด แก้ท้องเสีย และโรคกระเพาะอาหาร


159 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


160 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง พันตะวัน ชื่อพื้นเมืองไทย : งาช้าง จงเพียร ຊື່ລາວ : ປໍຕອມ ປໍຫົວເສືອ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Hibiscus grewiifolius Hassk. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : MALVACEAE Common name : Tree Hibiscus. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 5-20 ม. ไม่ผลัดใบ เปลือกเรียบ สีน�้ำตาลอมเทา ตามกิ่ง อ่อน หูใบ ก้านใบ ช่อดอกและผลมีขนรูปดาวสีขาว หูใบรูปไข่หรือรูปใบหอก ยาว 4-12 มม. ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก กว้าง 3-7 ซม. ยาว 7-20 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมน-เว้าตื้น ขอบใบ เรียบ แผ่นใบทั้งสองด้านมีขนกระจายเล็กน้อย เส้นแขนงใบข้างละ 5-12 เส้น ก้านใบยาว 0.3-2.5 ซม. ดอกเดี่ยว ตั้งขึ้น ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งหรือปลายกิ่ง มีริ้วประดับ 6-10 กลีบ รูปแถบ ยาว 6-15 มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน เป็นรูปถ้วย ยาว 1-1.5 ซม. ปลายแยก 4-5 แฉก ยาว 1-2 ซม. ปลายเรียวแหลม บานกลับเล็กน้อย กลีบดอกแยกกัน เป็นอิสระ 5 กลีบ สีเหลืองสด เมื่อใกล้ร่วงเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมแดง โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน�้ำตาลเข้ม รูปไข่กลับ ยาว 6-8.5 ซม. ดอกรูปทรงระฆัง เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 ซม. ผลแบบแห้งแตก มีเปลือกแข็ง รูปรีหรือเกือบ กลม เมื่อแก่แห้งสีน�้ำตาลด�ำ แตกอ้า 5 ซีก ที่ด้านหลังเมล็ดมีเส้นใยสีเหลืองอมน�้ำตาลหนาแน่น นิเวศวิทยา : ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น หรือป่าเต็งรัง ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 2,000 ม. ออกดอกเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ผลแก่เดือนสิงหาคม-ตุลาคม การกระจายพันธุ์ : พบทั่วทุกภาคของประเทศไทยและลาว แต่ค่อนข้างหายาก และพบในประเทศจีนตอนใต้ เวียดนาม เมียนมาร์ และเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ประโยชน์ : ดอกมีขนาดใหญ่ สวยงาม เหมาะต่อการปลูกเป็นไม้ประดับ


161 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


162 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง รวงผึ้ง ชื่อพื้นเมืองไทย : ลวงผึ้ง น�้ำผึ้ง กะสิน ຊື່ລາວ : - ชื่อพฤกษศาสตร์ : Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm. ชื่อพ้อง : Schoutenia peregrina Craib ชื่อวงศ์ : MALVACEAE Common name : Yellow Star. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงถึง 15 ม. ไม่ผลัดใบ ล�ำต้นมักคดงอและแตกกิ่งต�่ำ เปลือกเรียบ สีน�้ำตาลอ่อน ตามกิ่งอ่อน ช่อดอก และก้านใบมีขนกระจุกสั้นสีสนิมหนาแน่น หูใบรูปใบหอก ยาว 3.5-8 มม. หลุดร่วงง่าย ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-4 ซม. ยาว 5-11 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบรูปลิ่มหรือมน หรืออาจจะเบี้ยวเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนมันเงา เรียบเกลี้ยง ด้านล่างมีสะเก็ดสีเงินแนบผิว หนาแน่นและมีขนกระจุกสั้นสีสนิมกระจายทั่ว เส้นแขนงใบข้างละ 2-5 เส้น และมี 1 คู่ที่ออกจากโคนใบ ก้านใบบวม หนา ยาว 2-7 มม. ช่อดอกแบบกระจุก ยาว 2-3 ซม. ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงสีเหลือง สด เชื่อมติดกันช่วงโคนปลายแยก 5 แฉก แฉกลึก 1/2 ของความยาวกลีบ ดอกบานกว้าง 1.3-1.8 ซม. ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้มีจ�ำนวนมาก ผลทรงไข่กลับหรือทรงกลม กว้าง 1 ซม. มีขนสากคายปกคลุมหนาแน่น กลีบเลี้ยงแห้งติด คงทน ผลแก่ไม่แตก นิเวศวิทยา : ขึ้นตามริมน�้ำ หรือป่าบุ่งป่าทาม ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 200 ม. ออกดอกเดือน กรกฎาคม-ตุลาคม ช่วงดอกบานระยะสั้น (บานจนหมดทั้งต้นภายในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์) ผลแก่เดือนตุลาคมกุมภาพันธ์ การกระจายพันธุ์ : พืชหายาก (rare species) และพืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะ ในภูมิภาคอินโดจีนตอนกลางและตอนล่าง, ประเทศไทยในธรรมชาติหายากมาก หลงเหลืออยู่ที่ลุ่มน�้ำยมและน่าน ตอนล่างและลุ่มน�้ำเจ้าพระยา (พิจิตรและนครสวรรค์) ลุ่มน�้ำสงคราม (สกลนคร) และลุ่มน�้ำมูล (อุบลราชธานี) ปัจจุบันนิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วประเทศไทย เนื่องจากถูกยกย่องให้เป็นต้นไม้ประจ�ำรัชกาลที่ 10, ในประเทศ กัมพูชา มีประวัติการพบบริเวณลุ่มน�้ำโตนเลสาบ คาดว่าน่าจะพบในบริเวณป่าบุ่งป่าทามหรือพื้นที่ชายน�้ำในเขต ประเทศลาวตอนกลางและตอนล่างด้วย ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากดอกมีกลิ่นหอม, ดอกมีน�้ำหวานใช้เลี้ยงผึ้ง ได้น�้ำผึ้งรสชาติดี


163 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


164 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ส�ำรอง ชื่อพื้นเมืองไทย : จอง หมากจอง พุงทะลาย ຊື່ລາວ : ຈອງບານ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Scaphium affine (Mast.) Pierre ชื่อพ้อง : Scaphium lychnophorum (Hance) Pierre ชื่อวงศ์ : MALVACEAE Common name : Malva Nut Tree, Taiwan Sweet Gum Tree. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงถึง 40 ม. ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดตามแนวยาว ต้นอายุ มากมีพูพอนแผ่กว้างขนาดใหญ่ หูใบมีขนสีสนิมหนาแน่น ตามกิ่งอ่อนและช่อดอกมีขนนุ่มสีสนิมประปราย ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปร่างใบแปรผันตามอายุของต้น ต้นอ่อนใบมี 3-5 แฉก ต้นแก่จ�ำนวนแฉกลดลงเป็นรูปไข่หรือรูป ขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 9-12 ซม. ยาว 15-25 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบตัด-เว้าเล็กน้อย เส้นแขนงใบข้างละ 7-9 เส้น และมี 1 คู่ที่ออกจากโคนใบ แผ่นใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยงและเส้นใบนูนชัดทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 5-12 ซม. ปลายก้านบวมพอง ช่อดอกแบบแยกแขนง ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน รูประฆัง ยาว 5-8 มม. ปลายแยก 5 แฉก รูปไข่แกมรูปใบหอก บานกลับเล็กน้อย ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 10-15 เกสร เป็นกระจุกอยู่บนก้านชูร่วมกัน ผลทรงรี ยาว 1-1.5 ซม. ปลายมน ผิวเกลี้ยงมันเงา มีปีกบางทรงคล้ายเรือ กว้าง 3-5 ซม. ยาว 14-20 ซม. ผลอ่อนปีกสีชมพูแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อน ผลแก่ปีกแห้งสีน�้ำตาล เนื้อหุ้มเมล็ด เมื่อถูกน�้ำจะพองตัวเป็นวุ้นใสสีน�้ำตาล นิเวศวิทยา : ขึ้นในป่าดิบแล้งใกล้ล�ำธาร หรือป่าดิบชื้น ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 700 ม. ออกดอก เดือนมกราคม-มีนาคม ผลแก่เดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบในภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประเทศลาว พบทางตอนใต้ ประเทศกัมพูชา เวียดนามตอนล่าง บังกลาเทศ คาบสมุทรมาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว ประโยชน์ : เนื้อหุ้มเมล็ดน�ำมาแช่น�้ำให้เกิดวุ้น แล้วแยกส่วนเปลือกออก น�ำไปต้มกับน�้ำเติมน�้ำตาลเล็กน้อยเป็น เครื่องดื่มแก้ร้อนใน กระหายน�้ำ แก้อาการท้องเสีย และโรคหอบหืด, เนื้อไม้ท�ำเครื่องเรือนใช้งานในร่ม


165 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


166 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง หว้าน�้ำ ชื่อพื้นเมืองไทย : - ຊື່ລາວ : ຫວານໍ້າ ້ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Syzygium thorelii (Gagnep.) Merr. & L.M. Perry ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE Common name : River Eugenia. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 0.5-2 ม. ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งต�่ำ เปลือกเรียบสีน�้ำตาลอ่อน ตามส่วนต่าง ๆ ไม่มีขน ที่กิ่งอ่อน ก้านใบ และก้านช่อดอกสีแดงอมม่วง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม ตั้งขึ้น รูปใบหอก รูปขอบขนานแกมรี หรือรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-2.8 ซม. ยาว 5-7 ซม ปลายใบแหลม-มน ขอบใบเรียบ-หยักเล็กน้อย โคนใบรูปลิ่มหรือสอบเรียว เส้นแขนงใบข้างละ 8-14 เส้น ปลายเส้นจรดกันและขนานกับขอบใบ แผ่นใบค่อนข้างแข็ง หนา เส้นกลางใบนูนชัดทั้งสองด้าน ด้านล่างสีนวล ก้านใบยาว 0.4-1 ซม. ช่อดอกแยกแขนง ตั้งขึ้น ออกที่ปลายกิ่ง ยาวถึง 6 ซม. ดอกสีขาว มีก้านดอกเทียม ยาว 1-1.5 มม. ฐานรองดอกรูปถ้วย สูง 3.5-4 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เป็นเยื่อบางรูปสามเหลี่ยม ยาว 0.5 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปวงกลม ยาว 2-3 มม. มีต่อม 2-3 ต่อมในแต่ละกลีบ เกสรเพศผู้มีจ�ำนวนมาก ยาว 5.5-6 มม. ผลทรงรีหรือแกมเบี้ยว กว้าง 5 มม. ยาว 9 มม. ปลายผลมีวงของฐานรอง ดอกติดคงทน นิเวศวิทยา : ขึ้นกลางแจ้ง ตามแม่น�้ำโขงและสาขา ช่วงที่ท้องน�้ำหรือตลิ่งเป็นหินหรือมีเกาะแก่งหินในแม่น�้ำเท่านั้น โดยต้นหว้าน�้ำชอบขึ้นตามซอกหิน เพื่อชอนไชรากยึดเกาะหิน สามารถต้านทานกระแสน�้ำได้ดีและจมอยู่ใต้น�้ำได้นาน ตลอดฤดูน�้ำหลาก ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 10-500 ม. ออกดอกเดือนธันวาคม-เมษายน ผลแก่เดือนเมษายนกรกฎาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) ของภูมิภาคอินโดจีน มีเขตการกระจายพันธุ์ เฉพาะกับระบบนิเวศในแม่น�้ำโขงและสาขาเท่านั้น พบตั้งแต่ประเทศจีนในมณฑลยูนนานตอนใต้ เมียนมาร์ ลาว ไทย และกัมพูชา ประโยชน์ : ผลสุกรสหวาน กินได้, เหมาะสมต่อการปลูกประดับ เนื่องจากมีทรงต้นเตี้ยและใบขนาดเล็ก


167 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


168 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง บัวหลวง ชื่อพื้นเมืองไทย : บัวหลวง สัตตบงกช สัตตบุษย์ ຊື່ລາວ : ບົວ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Nelumbo nucifera Gaertn. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : NELUMBONACEAE Common name : Indian Lotus, Sacred Lotus. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้น�้ำล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน (รากบัว) ซึ่งจะเกิดในช่วงฤดู แล้ง และมีไหลทอดขนานอยู่ใต้ผิวดิน (ไหลบัว) ใบเดี่ยว รูปกลม กว้าง 25-90 ซม. ลอยอยู่ที่ผิวน�้ำหรือเหนือผิวน�้ำ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน สีเขียวอมน�้ำเงิน ผิวใบด้านบนมีไขเคลือบ (ไม่ซับน�้ำ) ก้านใบกลม ยาว 1-2 ม. ผิวก้านใบ มีตุ่มหนามเล็ก ๆ ภายในมีท่ออากาศจ�ำนวนมาก เมื่อหักก้านจะพบยางสีขาวขุ่นและใยบัวเหนียวสีขาว ปลายก้านใบ ติดกับแผ่นใบที่จุดกึ่งกลาง ดอกเดี่ยว ทรงไข่ ปลายเรียวแหลม ดอกตูมกว้าง 5-8 ซม. ดอกบานกว้าง 17-30 ซม. บานอยู่เหนือผิวน�้ำ ดอกบานช่วงกลางวันและหุบตอนเย็น บานประมาณ 3 วัน มีกลิ่นหอมอ่อน กลีบดอกสีขาวจนถึง สีชมพู รูปไข่กว้างปลายแหลม มี 14-30 กลีบ เรียงซ้อนกันหลายชั้น เกสรเพศผู้ (เกสรบัว) สีเหลืองอมส้ม มีจ�ำนวน มาก รังไข่ฝังอยู่ในฐานรองรูปกรวยหงาย ผล (ฝักบัว) มีผลย่อย (เมล็ดบัว) 10-30 ผล ฝักและเมล็ดบัวเมื่อแก่จะแห้ง สีด�ำและแข็ง นิเวศวิทยา : ขึ้นในที่โล่งแจ้ง ตามขอบบึงหรือแหล่งน�้ำไหลค่อนข้างช้า ที่ระดับน�้ำลึกไม่เกิน 1 ม. และนิยมปลูก เป็นไม้ประดับ หรือพืชเศรษฐกิจเพื่อขายดอก ใบ ฝัก เมล็ด รากบัว หรือไหลบัว ในธรรมชาติขึ้นที่ความสูงใกล้ระดับ น�้ำทะเลจนถึงประมาณ 500 ม. ออกดอกและติดผลตลอดปี แต่จะออกดอกน้อยในช่วงฤดูหนาว การกระจายพันธุ์ : พบทั่วทุกภาคของประเทศไทยและลาว และในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของภูมิภาคเอเชียตะวันออก ภูมิภาคเอเชียใต้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงทวีปออสเตรเลียตอนบน ประโยชน์ : รากบัว ไหลบัว และเมล็ดบัวมีรสมันและกรอบ มีกลิ่นหอม ใช้ประกอบอาหารหวานหรือคาว, ใบแก่ใช้ ห่ออาหาร คั้นน�้ำจากใบดื่มแก้บิด แก้ท้องเสีย ขับพยาธิ, ใบ กลีบดอกและเกสรบัว ตากแห้ง มวนสูบระงับอาการหวัด คัดจมูก ลดเสมหะ และแก้ริดสีดวงจมูก, เกสรบัวเข้าพิกัดยาเกสรทั้งห้าหรือใช้เข้ายาลมยาหอม ช่วยบ�ำรุงหัวใจ ท�ำให้ สดชื่น แก้วิงเวียนศีรษะ เป็นยาสงบประสาทให้ผ่อนคลาย แก้ไข้ตัวร้อน ช่วยลดเสมหะ


169 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


170 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง น�้ำเต้าพระฤๅษี ชื่อพื้นเมืองไทย : น�้ำเต้าฤๅษี หม้อข้าวหม้อแกงลิง ຊື່ລາວ : - ชื่อพฤกษศาสตร์ : Nepenthes smilesii Hemsl. ชื่อพ้อง : Nepenthes anamensis Macfarl. ชื่อวงศ์ : NEPENTHACEAE Common name : Hermit’s Bottle Pitcher Plant. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาล้มลุก ยาวได้ถึง 4 ม. มีเหง้าใต้ดิน เถากลม มีครีบเชื่อมกับโคนใบ ตามเถา อ่อน แผ่นใบ หม้อดักแมลง และช่อดอกมีขนสั้นหนานุ่มสีน�้ำตาลแดง ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปแถบหรือรูปแถบแกมรูป ใบหอกกลับ กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 18-40 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว แผ่นใบหนานุ่ม มีต่อมสีน�้ำตาล แดงกระจาย เส้นใบเรียงขนานตามแนวยาวข้างละ 2-3 เส้น ไม่มีก้านใบ ปลายใบมีหม้อดักแมลง แบ่งเป็นหม้อล่าง (หม้อที่เกิดจากต้นอายุน้อยหรือเถาส่วนโคนต้น) รูปคนโท ยาว 6-15 ซม. (โคนป่อง) ด้านนอกสีแดงมีลายสีเข้ม ด้าน ในมักมีลายจุดสีแดงอมม่วง ที่ิด้านนอกหม้อมีครีบตามแนวยาว 2 ครีบ กว้างได้ถึง 1.2 ซม. ใต้ฝาหม้อมีต่อมจ�ำนวน มาก สายหม้อ (tendril) ยาว 10-27 ซม. หม้อบนรูปทรงกระบอง ยาว 12-24 ซม. (ปลายป่อง) สีเขียวอ่อน ครีบลด รูปหายไป ช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น เป็นช่อกระจะ ตั้งขึ้น ยาว 70-120 ซม. ออกตามปลายเถา ก้านช่อดอกยาว 60-100 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 3-8 มม. กลีบรวม 4 กลีบ รูปไข่ ยาว 2.5-4 มม. สีเหลืองอมเขียว-สีแดงเข้ม ผลทรง กระสวย ยาว 1.3–2 ซม. เมื่อแก่แห้งแตกอ้า 4 ซีก เมล็ดรูปรีแคบ ยาว 2–5 มม. มี 70-100 เมล็ด/ฝัก นิเวศวิทยา : ขึ้นบนดินปนทรายและเป็นกรด ตามที่โล่งแจ้งในทุ่งหญ้า ป่าทุ่งสน ป่าเต็งรัง หรือป่าละเมาะตาม พลาญหินทราย มักพบบริเวณใกล้ริมน�้ำหรือมีน�้ำใต้ดินซึมผ่าน ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 200-1,200 ม. ออกดอก และเป็นผลตลอดทั้งปี หากถูกไฟป่าเผาส�ำหรับต้นที่มีเหง้าใต้ดินจะงอกเถาใหม่ขึ้นมาในฤดูฝนต่อไป การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะบริเวณภูมิภาคอินโดจีนตอน กลางและตอนใต้ ในประเทศไทยพบเฉพาะบนภูหินทรายทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทุ่งแสลงหลวง จังหวัด พิษณุโลก และภูหินทรายในประเทศลาวตอนกลางและตอนใต้ ประเทศกัมพูชา และเวียดนามตอนกลางและตอนใต้ ประโยชน์ : เถาน�ำมาท�ำเป็นเชือก มีความเหนียวและทนทาน คนสมัยโบราณท�ำเป็นเชือกผูกวัว ควาย, หม้อดัก แมลงระยะอ่อนกินเป็นผักจิ้มน�้ำพริก หรือหม้อระยะกลาง คนไทยภาคใต้ใช้ท�ำขนม โดยใส่ข้าวเหนียวผสมกะทิลงไป ในหม้อดักแมลงที่ล้างให้สะอาด แล้วน�ำไปนึ่ง, ปลูกเป็นไม้ประดับ


171 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


172 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง บัวเผื่อน ชื่อพื้นเมืองไทย : บัวผัน บัวขาบ บัวนา ป้านสังกอน นิโรบล ຊື່ລາວ : ບົວເຝື່ອນ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Nymphaea nouchali Burm.f. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : NYMPHAEACEAE Common name : Blue Water Lily. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้น�้ำล้มลุก อายุหลายปี มีล�ำต้นเป็นเหง้าสั้นอยู่ใต้ดินท้องน�้ำ ใบเดี่ยว ออกเป็น กระจุก ชูใบขึ้นมาลอยที่ผิวน�้ำ ใบรูปกลมแกมรูปไข่ กว้าง 8-18 ซม. ยาว 10-25 ซม. ปลายใบกลม โคนใบหยักเว้า ลึก ขอบใบหยักมน-เกือบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ก้านใบกลม หนา 0.5 ซม. ยาว 0.5-1 ม. เกลี้ยง ปลายก้านใบ ติดกับแผ่นใบที่โคนใบ ดอกเดี่ยว อยู่เหนือผิวน�้ำ ดอกตูมทรงกรวยแหลม ยาว 4-8 ซม. กลีบดอกสีขาว-สีขาวอมชมพู (เรียกบัวเผื่อน) หรือสีม่วงคราม (เรียกบัวผัน/บัวขาบ) รูปใบหอก มี 10-30 กลีบ ดอกบานกว้าง 5-12 ซม. บานช่วง เช้าแล้วหุบช่วงบ่าย บานประมาณ 3 วัน มีกลิ่นหอมอ่อน เกสรเพศผู้มีจ�ำนวนมาก อับเรณูสีขาว-สีม่วง ก้านชูอับเรณู สีเหลืองเข้ม รังไข่มี 10-20 ช่อง ฝั่งอยู่ในฐานดอกรูปถ้วย ผล (โตนดบัว) ค่อนข้างกลม กว้าง 1.5-4.5 ซม. จมอยู่ใต้น�้ำ หลังผสมเกสรแล้ว เมล็ดมีจ�ำนวนมาก ทรงกลม กว้าง 1 มม. นิเวศวิทยา : ขึ้นในที่โล่งแจ้ง ในแหล่งน�้ำนิ่ง-ไหลเอื่อยและมีระดับความลึกของน�้ำไม่เกิน 1 ม. เช่น ขอบบึง ทุ่งนา คู น�้ำข้างทาง ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 500 ม. ออกดอกและติดผลเกือบตลอดปี แต่มักจะพบมากใน ช่วงกลางฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว เนื่องจากมีทุ่งน�้ำท่วมปรากฏอยู่ทั่วไป การกระจายพันธุ์ : พบทั่วทุกภาคของประเทศไทยและลาว และพบในเขตร้อนของประเทศจีนตอนใต้ ภูมิภาค เอเชียใต้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงทวีปออสเตรเลียตอนบน ประโยชน์ : เมล็ดคั่วทานเป็นยาบ�ำรุงธาตุในร่างกาย บ�ำรุงหัวใจ, ดอกต้มดื่มเป็นชา ช่วยบ�ำรุงก�ำลัง บ�ำรุงหัวใจ แก้ไข้ตัวร้อน บ�ำรุงครรภ์ ช่วยขับเสมหะ แก้อาการร้อนใน กระหายน�้ำ, ดอกอ่อนและก้านดอกสดทานเป็นผักจิ้ม น�้ำพริก, ปลูกเป็นไม้ประดับ เกร็ดความรู้ : บัวเผื่อน เป็นบัวพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทย คล้ายกับบัวปลูกประดับอีกชนิดหนึ่งที่มีดอกสีม่วง มีต้นก�ำเนิดมาจากทวีปแอฟริกาตอนใต้ ชื่อว่า “สุธาสิโนบล” (N. capensis Thunb. var. zanzibariensis Casp.) มีแนวโน้มเป็นพืชต่างถิ่นรุกรานเข้าสู่แหล่งน�้ำตามธรรมชาติของไทย อาจจะพบขึ้นปะปน ท�ำให้หลายคนสับสน ระหว่าง 2 ชนิดนี้ แต่สามารถแยกได้จากขนาดดอกและใบของสุธาสิโนบลที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยมีก้านใบหนา 1 ซม. ใบหนาและกว้าง 20-30 ซม. ดอกเมื่อบานกว้าง 14-22 ซม. และมีสีม่วงที่ค่อนข้างเข้มกว่ากลีบดอกของบัวเผื่อน/บัวผัน บัวผันดอกสีม่วง บัวเผื่อนดอกสีขาว


173 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


174 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง บัวสาย ชื่อพื้นเมืองไทย : บัวสาย บัวแดง ป้านแดง สัตตบรรณ ຊື່ລາວ : ບົວຂົນ ບົວແດງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Nymphaea rubra Roxb. ex Andr. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : NYMPHAEACEAE Common name : Red Water Lily, Pink Water Lily, Fuchsia Water Lily. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้น�้ำล้มลุก อายุหลายปี มีล�ำต้นเป็นเหง้าสั้นอยู่ใต้ดินท้องน�้ำ ลักษณะทั่วไปคล้าย บัวเผื่อน (N. nouchali Burm.f.) แต่บัวสายจะมีส่วนต่าง ๆ ขนาดใหญ่กว่าและมีจุดแตกต่างอื่น ๆ ดังนี้ ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 20-45 ซม. ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นหนาแน่น ก้านใบกลม สีม่วงอมชมพูคล�้ำ มีขนสั้น กว้าง 1-1.3 ซม. ยาว 1-3 ม. สามารถยืดยาวตามระดับน�้ำขึ้นได้ดี ดอกตูมรูปขอบขนานแกมรี ยาว 8-10 ซม. ก้านดอก (สายบัว) คล้ายกับก้านใบ กลีบดอกสีชมพูอมม่วงเข้ม มี 15-30 กลีบ ดอกบานกว้าง 15-20 ซม. ดอกบานช่วงกลางคืนตอนสาย มีกลิ่นหอมหวาน เกสรเพศผู้สีแดงอมชมพูเข้ม ผล (โตนดบัว) ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-6 ซม. สีม่วงด�ำจมอยู่ใต้น�้ำหลังผสมเกสร เมล็ดมีจ�ำนวนมาก ทรงกลม กว้าง 1-1.5 มม. นิเวศวิทยา : ขึ้นในที่โล่งแจ้ง ในแหล่งน�้ำนิ่ง-ไหลเอื่อยและมีระดับความลึกของน�้ำ 1-4 ม. (ขึ้นในระดับน�้ำลึกมากกว่า บัวเผื่อนและบัวหลวง) ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 500 ม. ออกดอกและติดผลเกือบตลอดปี การกระจายพันธุ์ : พบทั่วทุกภาคของประเทศไทยและลาว และพบในเขตร้อนของภูมิภาคเอเชียใต้ ภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีนในมณฑลยูนนานตอนใต้ จนถึงทวีปออสเตรเลียตอนบน ประโยชน์ : ก้านดอก (สายบัว) ท�ำสีย้อมผ้าฝ้ายหรือไหม ให้สีเทา กินเป็นผักสด โดยลอกเปลือกออกก่อน หรือใช้ ประกอบอาหารประเภทผัดหรือแกง, ดอกแห้งเข้ายากับตัวยาอื่น ต้มน�้ำดื่มบ�ำรุงก�ำลัง, เกสรบัวเป็นส่วนผสมของ เครื่องส�ำอาง ช่วยบ�ำรุงผิวพรรณ


175 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


176 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง เสียว ชื่อพื้นเมืองไทย : เซว ตะเซว เสว เสียวใหญ่ ຊື່ລາວ : - ชื่อพฤกษศาสตร์ : Phyllanthus angkorensis Beille ชื่อพ้อง : Phyllanthus polyphyllus Willd. var. siamensis Airy Shaw ชื่อวงศ์ : PHYLLANTHACEAE Common name : Indochinese Brush. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 2-5 ม. ผลัดใบช่วงสั้น เปลือกเรียบสีน�้ำตาล แตกกิ่งต�่ำจ�ำนวนมาก ตาม กิ่งอ่อนและก้านใบมีขนสั้น ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว คล้ายใบมะขามป้อม (P. emblica L.) รูปขอบขนานหรือ รูปรี ยาว 5-11 มม. ปลายใบมน-แหลม ขอบใบงุ้มลง โคนใบมน-แหลม ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบค่อนข้างหนา ก้านใบยาว ไม่เกิน 0.7 มม. ดอกแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ห้อยลง ดอกเพศผู้มีก้านดอกยาว 10 มม. ดอกเพศเมียมีก้านดอกยาว 1-2 มม. กลีบเลี้ยง 5-6 กลีบ ไม่มีกลีบดอก ดอกขนาดเล็กมาก สีขาว เมื่อบานกว้าง 2-3 มม. ผลทรงกลม กว้าง 5 มม. ผิวเรียบเกลี้ยง สีเขียวอ่อน มีกลีบเลี้ยงติดที่ขั้วคงทน ผลแก่แห้งแตก 3 ซีก มีเมล็ด แข็ง รูปสามเหลี่ยม ยาว 2 มม. นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง ทุ่งนา หรือชายป่าบุ่งป่าทาม ในเขตที่ราบน�้ำท่วมถึงหรือริมแม่น�้ำและล�ำคลอง ชอบขึ้นบนดินร่วนปนทราย หรือดินทราย ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 300 ม. ออกดอกเดือน มิถุนายน-กุมภาพันธ์ ผลแก่เดือนตุลาคม-พฤษภาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะบริเวณภูมิภาคอินโดจีนตอนกลาง และตอนใต้ ในประเทศไทยพบทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ยกเว้นเขตลุ่มน�้ำโมง จังหวัดหนองคาย) และภาคตะวัน ออกในเขตลุ่มน�้ำบางปะกง ประเทศลาวพบในพื้นที่ติดต่อกับประเทศไทย ประเทศกัมพูชาพบตามที่ราบลุ่มแม่น�้ำโขง และโตนเลสาบ ประโยชน์ : รากและล�ำต้นเข้ายาอื่น ๆ ต้มน�้ำดื่มรักษาโรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ, เนื้อไม้แข็งแรงและเหนียวใช้ท�ำ ด้ามเครื่องมือ, ถ่านไม้เสียวใช้ท�ำดินประสิวคุณภาพดี น�ำไปท�ำบั้งไฟ, ปลูกตามคันนาหรือเป็นแนวรั้วประดับบ้านหรือ สวน รากจะช่วยยึดดินป้องกันการพังทลายและพุ่มใบช่วยป้องกันลมได้ดี เกร็ดความรู้ : ค�ำระบุชนิด angkorensis เป็นการตั้งชื่อให้แก่พืชชนิดนี้ที่ถูกเก็บตัวอย่างครั้งแรกบริเวณนครวัด (Angkor Wat) เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา จากการส�ำรวจพรรณไม้ในภูมิภาคอินโดจีนมาตามแม่น�้ำโขงโดย นาย Clovis Thorel นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในช่วงปี ค.ศ. 1866-68 (พ.ศ. 2409-11)


177 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


178 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ไคร้หางนาค ชื่อพื้นเมืองไทย : เสียวน�้ำ เสียวน้อย ຊື່ລາວ : ຄອນໝາ ກ້ າງປາສ້ ອຍນາໍ້ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Phyllanthus taxodiifolius Beille ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : PHYLLANTHACEAE Common name : Indochinese Gooseberry. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มรอเลื้อย ยาวถึง 2 ม. กิ่งอ่อนและปลายกิ่งเป็นเหลี่ยม สีน�้ำตาลแดง เกลี้ยง มีหูใบรูปใบหอก ยาว 1 มม. ติดคงทน ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว คล้ายใบของต้นเสียว (P. angkorensis Beille) แต่มีขนาดเล็กกว่า รูปขอบขนาน กว้าง 0.5-1 มม. ยาว 3-5 มม. ปลายใบแหลม โคนใบมนและเบี้ยว ผิวใบเกลี้ยง ไม่มีก้านใบ ดอกแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกออกเดี่ยว ตามซอกใบ ห้อยลง มีขนาดเล็กมาก เมื่อบานกว้าง 1 มม. สีชมพู-สีแดง ไม่มีกลีบดอก ก้านดอกยาว 2 มม. ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ ผลทรงกลมหรือรี กว้าง 4-7 มม. ปลายกลมและมีรอยบุ๋มที่ปลายเล็กน้อย ผิวเรียบเกลี้ยง สีเขียวอ่อน มีเส้นแบ่งช่อง ผลตามแนวยาว 6 เส้น กลีบเลี้ยงติดคงทนที่ขั้ว ผลใกล้แก่สีแดงอมชมพู มีเมล็ดรูปสามเหลี่ยม นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่งแจ้งในเขตพื้นที่บุ่งทาม (พื้นที่น�้ำท่วมซ�้ำซาก) ริมน�้ำ หรือชายป่าบุ่งป่าทาม ที่ความสูงใกล้ ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 700 ม. ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ผลแก่เดือนเมษายน-ตุลาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะบริเวณภูมิภาคอินโดจีนตอนกลาง และตอนใต้ ประเทศไทยพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางในเขตลุ่มน�้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และภาคตะวัน ออกในลุ่มน�้ำบางปะกง ประเทศลาว กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ และประเทศจีนในมณฑลยูนนานและกวางสีตอนใต้ ประโยชน์ : เถาและรากต้มน�้ำดื่มแก้ท้องร่วง โรคกระเพาะ โรคเหน็บชา, ใบแห้งสูบแก้โรคริดสีดวงจมูก, เถาใช้ท�ำ เชือก กงลอบ/ไซ หรือไม้กวาด, ใบขยี้กับน�้ำให้เกิดฟอง ใช้ซักผ้า


179 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


180 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง สนสามใบ ชื่อพื้นเมืองไทย : เกี๊ยะ เกี๊ยะแดง เกี๊ยะเปลือกบาง แปก สนเขา ຊື່ລາວ : ແປກສາມໃບ ແປກສາມຍອຍ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Pinus kesiya Royle ex Gordon ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : PINACEAE Common name : Three-needled Pine, Khasi Pine, Luzon Pine. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงถึง 40 ม. ไม่ผลัดใบ ล�ำต้นกลมและเปลาตรง เปลือกสีน�้ำตาลเข้ม แตกเป็น แผ่นบางรูปสี่เหลี่ยมหรือค่อนข้างมน ใบประกอบแบบมีใบย่อยคล้ายเข็ม 3 ใบ เรียงเวียนเป็นกระจุกแน่นช่วงปลาย กิ่ง ใบย่อยรูปเส้นด้าย หนา 0.7-1 มม. ยาว 10-25 ซม. ออกจากกระจุกเดียวกัน โคนกระจุกมีกาบเป็นเยื่อบางสีขาว หุ้มสูง 1-2 ซม. ผิวใบเกลี้ยง มันเงา โคนเพศผู้ * ออกเป็นช่อแบบหางกระรอก ตั้งขึ้น ออกใกล้ปลายกิ่ง สีครีม ยาว 2.5-4 ซม. โคนเพศเมีย* ออกตามกิ่ง 1-2 โคน/กลุ่ม มีเกล็ดสีเขียวแข็งหนาคล้ายเนื้อไม้ซ้อนกันแน่นเป็นก้อนแข็ง รูปไข่กว้าง กว้าง 5-6 ซม. ยาว 5.5-7.5 ซม. ปลายมน-แหลม โคนเมื่อแก่เกล็ดจะแห้งเป็นสีน�้ำตาลเข้ม แล้วเริ่มแยก ตัวมีช่องว่างระหว่างกัน ปลายเกล็ดรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 1 ซม. ส่วนฐานของเกล็ดติดรอบแกนกลางผล ก้านโคนยาว 5 มม. เมล็ดรูปรี ยาว 5-6 มม. มีปีกเป็นแผ่นบางสีน�้ำตาล รูปคล้ายครีบปลา ยาว 1.5-2 ซม. นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่ลาดชัน สันเขา หรือที่ราบบนยอดภูหินทราย ในพื้นที่ที่ดินมีการระบายน�้ำได้ดี และดิน ที่เป็นกรดสูง ในป่าทุ่งสน หรือป่าดิบเขา ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 1,000-2,700 ม. ออกโคนเพศผู้และเพศเมีย ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน โดยโคนเพศเมียจะใช้เวลานานประมาณ 1 ปีหลังผสมกับสปอร์แล้ว จึงจะแก่แล้ว ปล่อยเมล็ดปลิวออกมาในช่วงฤดูหนาว-ฤดูร้อนของปีถัดไป การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบในภาคเหนือและตอนบนของภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ประเทศลาวพบทุกภาค ประเทศอินเดียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ บังกลาเทศ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน ฟิลิปปินส์ และประเทศจีนตอนใต้ ตอนกลาง และทิเบต ประโยชน์ : ยางสน สกัดเป็นน�้ำมันสนและชันสน ใช้ในอุตสาหกรรมสีและน�้ำมันชักเงา, น�้ำมันสนผสมยาทาถู นวดแก้ปวดเมื่อย ฟกช�้ำบวมอักเสบ, เนื้อไม้มีลายสวยงาม ค่อนข้างแข็ง แต่ไม่ทนทาน ใช้งานก่อสร้างภายในที่ร่ม ท�ำเครื่องเรือน ไม้อัด เยื่อกระดาษ หรือใช้เป็นไม้เชื้อไฟในการก่อเตาถ่าน, แก่นรสเผ็ดร้อน เป็นยาสมุนไพรช่วย กระจายลม แก้เสมหะ ช่วยระงับประสาท-ฟุ้งซ่าน แก้ท้องร่วง หอบหืด เกร็ดความรู้ : * โคน (cone) เป็นส่วนสืบพันธุ์ของกลุ่มพืชเมล็ดเปลือย (Gymnosperm) ท�ำหน้าที่คล้ายช่อดอก แบ่งเป็นโคนเพศผู้ (male cone) ท�ำหน้าที่ผลิตสปอร์ และโคนเพศเมีย (female cone) ที่ผลิตไข่อ่อน เมื่อไข่อ่อน ผสมกับสปอร์แล้วจะเริ่มผลิตเมล็ด โดยโคนเพศเมียท�ำหน้าที่คล้ายผล (fruit)


181 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


182 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง สนสองใบ ชื่อพื้นเมืองไทย : เกี๊ยะเปลือกหนา แปก สะรอล ຊື່ລາວ : ແປກສອງໃບ ແປກສອງຍອຍ ແປກຍາງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Pinus latteri Mason ชื่อพ้อง : Pinus merkusii Jungh. & de Vriese ชื่อวงศ์ : PINACEAE Common name : Two-needled Pine, Tenasserim Pine. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงถึง 40 ม. ไม่ผลัดใบ ล�ำต้นกลมและเปลาตรง เปลือกหนาสีน�้ำตาล-อมแดง แตกเป็นรองลึกตามแนวยาวหรือช่องรูปสี่เหลี่ยม ใบประกอบแบบมีใบย่อยคล้ายเข็ม 2 ใบ เรียงเวียนเป็นกระจุกแน่น ช่วงปลายกิ่ง ใบย่อยรูปเส้นด้าย หนา 1-1.5 มม. ยาว 15-25 ซม. ออกจากกระจุกเดียวกัน โคนกระจุกมีกาบเป็นเยื่อ บางสีขาวหุ้ม สูง 1-2 ซม. ผิวใบเกลี้ยง มันเงา โคนเพศผู้ * ออกเป็นช่อแบบหางกระรอก ตั้งขึ้น ออกใกล้ปลายกิ่ง สีครีม ยาว 2.5-3.5 ซม. โคนเพศเมีย * ออกตามกิ่ง 1-2 โคน/กลุ่ม มีเกล็ดสีเขียวแข็งหนาคล้ายเนื้อไม้ซ้อนกันแน่น เป็นก้อนแข็ง รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 6-13 ซม. ปลายแหลม โคนเมื่อแก่เกล็ดจะแห้งเป็น สีน�้ำตาลแดง แล้วเริ่มแยกตัวมีช่องว่างระหว่างกัน ปลายเกล็ดรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 1 ซม. ส่วนฐานของ เกล็ดติดรอบแกนกลางผล ก้านโคนยาว 1 ซม. เมล็ดรูปรี ยาว 5-8 มม. มีปีกเป็นแผ่นบางสีน�้ำตาล รูปคล้ายครีบปลา ยาว 1.5-2 ซม. นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่เนินเขา ที่ลาดชัน สันเขา หรือที่ราบบนยอดภูหินทราย ในพื้นที่ที่ดินมีการระบายน�้ำได้ดี และดินที่เป็นกรดสูง ในป่าทุ่งสน ป่าดิบเขา หรือป่าเต็งรัง ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 30-1,300 ม. ออกโคนเพศผู้ และเพศเมียในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน โดยโคนเพศเมียจะใช้เวลานานประมาณ 1-1.5 ปีหลังผสมกับสปอร์แล้ว จึงจะแก่แล้วปล่อยเมล็ดปลิวออกมาในปีถัดไป การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศลาวพบ ทุกภาค ประเทศเมียนมาร์ด้านตะวันออก ภูมิภาคอินโดจีน และประเทศจีนในเกาะไห่หนาน มณฑลกวางสี และ กวางตุ้งตอนใต้ ประโยชน์ : การใช้ประโยชน์เหมือนกับสนสามใบ (Pinus kesiya) เกร็ดความรู้ : * โคน (cone) ดูค�ำอธิบายที่สนสามใบ หน้า 180


183 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


184 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง สามพันปี ชื่อพื้นเมืองไทย : สนสร้อย สนหางหมา จวงผา พญามะขามป้อม ຊື່ລາວ : ໄມ້ ໂລງເລງຂາວ ຫິ້ງຫອມແດງ ຮິ້ງຫອມ ຮິ້ງນາໍ້ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Dacrydium elatum (Roxb.) Wall. ex Hook. ชื่อพ้อง : Dacrydium pierrei Hickel ชื่อวงศ์ : PODOCARPACEAE Common name : Indochinese Juniper. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงถึง 40 ม. ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง ล�ำต้นมักจะบิด มีชันใส มีกลิ่นหอม เปลือกนอกสีน�้ำตาลแดงหรือสีน�้ำตาลเทา แตกเป็นแผ่นบางตามแนวยาวแล้วเปิดขึ้นจากด้านล่าง ต้นอายุมากเปลือก จะหลุดล่อนเป็นแผ่นบาง-เรียบ ใบเดี่ยว รูปเข็ม เรียงเวียนรอบกิ่งเป็นระเบียบหนาแน่น ปลายใบแหลม โค้งเข้าใน และชี้ขึ้น เนื้อใบแข็ง ใบของต้นอายุน้อย (juvenile stage) ยาว 10-15 มม. หนา 0.4-0.6 มม. มีสัน 4 สันตามแนว ยาว ใบของต้นโตเต็มวัย (adult stage) ยาว 1-3 มม. หนา 1-2 มม. ตัดตามขวางรูปสามเหลี่ยม เรียงซ้อนกันคล้าย เกล็ด โคนเพศผู้* และโคนเพศเมีย* เกิดที่ปลายกิ่ง โคนเพศผู้ กว้าง 1-1.2 มม. ยาว 4-8 มม. ไร้ก้าน โคนเพศเมีย ออกเดี่ยว ยาว 1.5-2 มม. มีกาบประดับสีน�้ำตาลแดง รูปถ้วย หุ้มเมล็ดไม่เกินกึ่งหนึ่ง เมล็ดรูปไข่ กว้าง 3-3.5 มม. ยาว 4-5 มม. มีกาบประดับรองรับ กาบละ 1 เมล็ด เมล็ดแก่สีน�้ำตาลด�ำ นิเวศวิทยา : ขึ้นในที่โล่งแจ้ง ชายป่า หรือป่าที่ก�ำลังทดแทน ตามพื้นที่เขาหินทราย สันเขา ริมล�ำธาร ขอบหน้าผา และเป็นดินที่มีความเป็นกรด การระบายน�้ำดีและมีปริมาณน�้ำฝนมากกว่า 1,800 มม./ปี ปกติพบบ่อยในป่าดิบเขา แต่ หายากในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 200-1,500 ม. ออกดอกเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ผลแก่เดือนสิงหาคม-กันยายน การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบบนภูเขาหินทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก จังหวัดพิษณุโลก และภาคใต้พบบนที่ราบสูงฮาลา-บาลา จังหวัดยะลาและนราธิวาส ประเทศลาวทางตอนกลางและตอนใต้ ประเทศ กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ และคาบสมุทรมาเลเซีย ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็งแรงและเหนียว มีเสี้ยนเล็กและบิด ใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องรองรับน�้ำหนักมาก ต่อเรือ ต่อรถ ด้ามเครื่องมือต่าง ๆ ท�ำเครื่องเรือน, ชันสกัดเป็นน�้ำมันหอมระเหย ใช้รักษาแผลในกระเพาะ ใช้เป็นส่วนผสมของ ธูปหอม, ปลูกเป็นไม้ประดับ เกร็ดความรู้ : * โคน (cone) ดูค�ำอธิบายที่สนสามใบ หน้า 180


185 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


186 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ไผ่แคน ชื่อพื้นเมืองไทย : ไม้กู่แคน ไม้ลูกแคน ไม้เฮี่ย ไผ่กะแสน ຊື່ລາວ : - ชื่อพฤกษศาสตร์ : Schizostachyum sp. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : POACEAE Common name : Khaen Bamboo. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มจ�ำพวกไผ่ สูง 4-6 ม. ผลัดใบ แตกกอค่อนข้างแน่นได้มากถึง 100 ล�ำ/กอ ล�ำ (culm) เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7-1.5 ซม. ปล้องยาว 25-60 ซม. ไส้กลางกลวง เนื้อล�ำบาง หนา 1-2 มม. ล�ำสีเขียวเข้ม เกลี้ยงและมันเงา ไม่มีขนสากคาย ข้อมีนวลขาว ตามข้อช่วงโคนต้นไม่มีหนามและกิ่งแขนง กาบหุ้มล�ำ (culm sheath) สีเหลืองอมน�้ำตาล ยาว 12-15 ซม. ผิวเกลี้ยง ใบยอดกาบ (sheath blade) รูปแถบ กว้าง 0.5 ซม. ยาว 2-3 ซม. หูกาบ (auricle) เป็นเยื่อบาง สูงประมาณ 1.5 มม. ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปแถบ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 15-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือตัด ผิวใบเกลี้ยง ขอบใบมีขนสั้น มีเส้นแขนงใบตามแนวยาว ข้างละ 6-8 เส้น ก้านใบยาว 2 มม. นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง ชายป่า ป่าที่ก�ำลังทดแทน หรือใกล้ล�ำธาร ในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น หรือ ป่าเบญจพรรณ ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 150-700 ม. การกระจายพันธุ์ : ไผ่แคน ยังไม่มีข้อมูลด้านพฤกษศาสตร์เพียงพอ จึงยังไม่สามารถระบุชนิดได้ แต่จากลักษณะ สัณฐานเบื้องต้นคาดว่าน่าจะอยู่ในสกุล Schizostachyum (สกุลไผ่หลอด) * จากการค้นคว้าข้อมูลการใช้ประโยชน์ พื้นบ้านของชาวไทอีสานพบว่าน�ำมาจากป่าตามธรรมชาติในแถบเทือกเขาภูพาน ภูวัว และภูลังกา (สกลนคร นครพนม บึงกาฬ และมุกดาหาร) และบริเวณแขวงค�ำม่วนและสะหวันนะเขต ประเทศลาว คาดว่าน่าจะเป็นพืช ถิ่นเดียวระดับเมืองหรือรัฐ (Province endemic) ประโยชน์ : ไผ่แคนถือว่าเป็น “พืชแห่งจิตวิญญาณของคนไทลาว” ถูกใช้ประโยชน์หลักในการท�ำแคนและโหวด เครื่องดนตรีอันเป็นเอกลักษณ์ของคนบนที่ราบสูงโคราชที่นิยมเล่นกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากมีล�ำเป็น หลอดขนาดเล็กมาก เนื้อไม้บางเบา และมีปล้องที่ยาว นอกจากนี้ยังสามารถน�ำมาใช้ท�ำหลอดดูดเครื่องดื่ม ลดการใช้ หลอดพลาสติก หรือใช้ถักม่าน/มู่ลี่บังแสง หรือใช้ตกแต่งภายในบ้านเรือนได้ด้วย ที่มา : * ได้รับความอนุเคราะห์ในการจ�ำแนกสกุลเบื้องต้นโดย รศ. ดร. สราวุธ สังข์แก้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรม วิธานพืชกลุ่มไผ่ของประเทศไทย อาจารย์ประจ�ำคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาพจากเพจเฟซบุ๊ค : เพจบ้านถ่านไม้ไผ่ไทยอากาศดี, เพจเก๊าไม้เก๊าตอก, และเพจร้านขอนแก่นมรดกอีสาน


187 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


188 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ชุมแสง ชื่อพื้นเมืองไทย : แสง ຊື່ລາວ : ແສງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Xanthophyllum lanceatum J.J. Sm. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : POLYGALACEAE Common name : - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 5-15 ม. แตกกิ่งต�่ำ ไม่ผลัดใบ เปลือกเรียบสีเทาอมน�้ำตาล ตามกิ่งอ่อนและช่อดอกมีขนสั้นแนบผิวกิ่ง สีเหลืองอมน�้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูป ใบหอก กว้าง 1-4.5 ซม. ยาว 4-13 ซม. ปลายใบแหลม-เรียวแหลม โคนใบแหลม-มน ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ค่อนข้างหนา ด้านบนมันเงา ด้านล่างมีนวล มีเส้นแขนงใบข้างละ 8-13 เส้น ก้านใบยาว 3-7 มม. ช่อดอกกระจะ ยาว 5-13 ซม. ตั้งขึ้น ออกปลายกิ่งหรือซอกใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีส้มคล�้ำ รูปไข่ ยาว 2-3.5 มม. มีขน กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรือสีม่วงเรื่อ ๆ รูปใบหอกกลับ ยาว 7.5-10 มม. กลีบดอก 2 กลีบด้านบนมีรอยแต้มสีเหลืองที่โคน ก้านดอก ย่อยยาว 1-2 มม. ผลทรงกลม กว้าง 1.7-3.5 ซม. ผิวเกลี้ยงสีเขียว มีนวลขาว มี 1-2 เมล็ด นิเวศวิทยา : ชอบขึ้นในที่โล่งแจ้งในพื้นที่บุ่งทาม (น�้ำท่วมซ�้ำซาก) ริมแม่น�้ำ ล�ำคลอง บึง ในป่าบุ่งป่าทาม หรือ ป่าดิบ ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 400 ม. ออกดอกช่วงเดือนมีนายน-เมษายน ผลแก่เดือนมิถุนายนสิงหาคม การกระจายพันธุ์ : พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย ประเทศลาวพบทางตอนกลางและตอนใต้ ประเทศบังกลาเทศ เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ เกาะสุมาตรา และคาบสมุทรมาเลเซีย ประโยชน์ : ยอดอ่อนรสหวานมัน ทานเป็นผักสดหรือลวกจิ้มน�้ำพริก ใช้ประกอบอาหารประเภทแกง ลาบ ก้อย, เปลือกและแก่นตากแห้งต้มกับน�้ำให้งวด ผสมอาหารเป็นยาเบื่อ, เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างหรือท�ำเครื่องเรือนที่ใช้งานในที่ร่ม , ปลูกเป็นไม้ประดับสวน เนื่องจากมีทรงพุ่มสวยงามและให้ร่มเงาดี, ผลสุกเป็นอาหารสัตว์


189 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


190 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง หนามไก่ให้ ชื่อพื้นเมืองไทย : คนทาน�้ำ กุหลาบน�้ำ ຊື່ລາວ : ກຸຫຼາບນໍ້າ ໝາມຂີ້ແຮດ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Rosa clinophylla Redouté & Thory ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : ROSACEAE Common name : White Wild Rose. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มเลื้อย ยาว 3-6 ม. บนเถาและที่ซอกใบมีหนามแหลมและค่อนข้างเหยียดตรง ยาว 3-7 มม. ตามกิ่งอ่อน แกนใบ ก้านใบ เส้นกลางใบด้านล่าง ดอกและผลมีขนอุยสีขาวหนาแน่น ใบประกอบแบบ ขนนกปลายคี่ ยาว 6-12 ซม. เรียงเวียน มีใบย่อย 7-11 ใบ เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 1.5-4 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือสอบเรียว ขอบจักฟันเลื่อยถี่ ก้านใบย่อยยาว 1-2 มม. ก้านใบยาว 2 ซม. โคนแผ่เป็นกาบและเชื่อมติดกับหูใบรูปเส้นด้ายหรือจักซี่หวี ยาว 3-7 มม. ช่อดอกกระจุกหรือดอกเดี่ยว 1-3 ดอก/ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมอ่อน กลีบเลี้ยงรูปใบหอก ยาว 2 ซม. ปลายเรียวยาว มีขนหนาแน่น กลีบดอก สีขาว 5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 2 ซม. ปลายกลีบเว้าบุ๋ม-เว้ารูปหัวใจ เส้นผ่านศูนย์กลางดอกบาน 4-5 ซม. ก้านดอกยาว 3-10 มม. ผลทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม. เมื่อสุกสีแดง นิเวศวิทยา : ขึ้นในที่โล่งแจ้ง ตามริมน�้ำ หรือตลิ่งแม่น�้ำ ในเขตที่ราบน�้ำท่วมถึง ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 100- 400 ม. ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลแก่เดือนเมษายน-มิถุนายน การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทย เป็นพืชหายาก พบตามริมแม่น�้ำอิง จังหวัดพะเยาและเชียงราย และตาม ริมแม่น�้ำโขงในจังหวัดนครพนมและอุบลราชธานี ประเทศลาวพบตามแม่น�้ำโขงที่แขวงหลวงพระบาง และบอลิค�ำไซ และประเทศอินเดียพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนปาล บังกลาเทศ และเมียนมาร์ ประโยชน์ : หนามไก่ไห้ เป็นกุหลาบชนิดพื้นเมืองของประเทศไทยและลาว เติบโตได้ดีในเขตที่ราบลุ่ม ทนน�้ำท่วม และอากาศร้อนได้ดี ดอกมีขนาดใหญ่และกลิ่นหอม เหมาะสมต่อการปลูกประดับ หรือใช้เป็นต้นตอในการเสียบยอด กับกุหลาบสายพันธุ์ลูกผสมต่าง ๆ


191 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


192 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ไชยวาน ชื่อพื้นเมืองไทย : ตะไคร้น�้ำ ຊື່ລາວ : ຊາຍວານ ສະວານ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Cephalanthus tetrandra (Roxb.) Ridsdale & Bakh.f. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE Common name : Swamp Button Brush. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 2-5 ม. ไม่ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาลอ่อน แตกเป็นแผ่นบางขนาดเล็ก ตามกิ่งอ่อน ก้านใบ แผ่นใบด้านล่างและช่อดอกมีขนสั้นหนานุ่ม-เกลี้ยง กิ่งมักเป็น 4 เหลี่ยม มีหูใบ 1 คู่ รูปสามเหลี่ยม ยาวได้ถึง 5 มม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก หรือเรียงรอบข้อ 3-5 ใบ/ข้อ ใบรูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกมรูป รี ยาว 6.5-15 ซม. ปลายใบแหลม-เรียวแหลม โคนใบมน-เว้า ผิวใบด้านบนมักจะเป็นคลื่นตามแนวเส้นแขนงใบเล็ก น้อย และมักจะพบกระจุกขนที่ง่ามระหว่างเส้นกลางใบกับเส้นแขนงใบหรือต่อมใบ (domatia) เส้นแขนงใบข้างละ 8-12 เส้น ก้านใบยาว 1-3 ซม. มักมีสีแดง ช่อดอกกระจุกทรงกลม ช่อเดี่ยวหรือช่อแยกแขนง ก้านช่อดอกยาว 2.5-6 ซม. ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ยอด ช่อดอกสีขาว ทรงกลม กว้าง 2-2.5 ซม. คล้ายดอกกระทุ่มนา (Mitragyna diversifolia) มีกลิ่นหอม ผลย่อยรูปไข่กลับ ยาว 4-6 มม. นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง ในพื้นที่ชุ่มน�้ำ หรือตามหนอง บึง ที่มีน�้ำท่วมขังเกือบตลอดปี บริเวณระดับน�้ำลึก ปกติไม่เกิน 2 ม. ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 700 ม. ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน ผลแก่ เดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน การกระจายพันธุ์ : ไชยวาน เป็นพืชหายากของประเทศไทย ปัจจุบันพบเฉพาะตามพื้นที่ชุ่มน�้ำในภาคเหนือบริเวณ ลุ่มน�้ำกกและอิง และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดอุดรธานี นครพนม และอุบลราชธานี ประเทศลาว พบตามพื้นที่ชุ่มน�้ำในเขตที่ราบใกล้แม่น�้ำโขง และพบในประเทศอินเดียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ บังกลาเทศ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน จีนตอนใต้ และไต้หวัน


193 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


194 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ปัดหิน ชื่อพื้นเมืองไทย : ข่อยหิน พุดผา ຊື່ລາວ : ພຸດດານ ອິນທະຫວາດົງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Gardenia saxatilis Geddes ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE Common name : Rocky Gardenia. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 2 ม. ผลัดใบ แตกกิ่งต�่ำและคดงอ ตามล�ำต้นและกิ่งมีหนามที่เกิดจาก กิ่งเก่า เปลือกเรียบ สีขาว ตามปลายกิ่ง ใบ ดอกและผลมีขนสั้นนุ่มประปราย ต่อมาเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับ ตั้งฉาก เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือกลม กว้าง 2-4 ซม. ยาว 2-5 ซม. ปลายกลม-ตัด โคนรูปลิ่ม-เว้า ขอบใบ งุ้ม เส้นแขนงใบข้างละ 7-11 เส้น แผ่นใบหนา ผิวใบด้านบนมันเงา ก้านใบยาวไม่เกิน 2 มม. ดอกเดี่ยว ออกที่ปลาย กิ่ง มีกลิ่นหอม ไม่มีก้านดอก กลีบเลี้ยงสีเขียว รูปแตร ยาว 1-1.5 ซม. ปลายแยก 6 แฉก กลีบดอกสีขาว รูปแตร โคนกลีบเป็นหลอดยาว 2-3 ซม. ปลายแยก 6 แฉก รูปไข่กลับ ยาว 1.5-3 ซม. ปลายกลม ผลทรงกลม กว้าง 1-1.5 ซม. ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดคงทน ผลสุกสีส้ม มักมีเมล็ดเดียว นิเวศวิทยา : ขึ้นในที่โล่งแจ้ง ตามซอกหินทรายในพลาญหิน ตามป่าละเมาะ ทุ่งหญ้า หรือป่าเต็งรัง ที่ความสูงจาก ระดับน�้ำทะเล 50-600 ม. ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน เป็นผลเดือนเมษายน-ตุลาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะบริเวณภูมิภาคอินโดจีนตอนกลาง ในประเทศไทยพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศลาวและกัมพูชาพบในเขตติดต่อกับประเทศไทยที่เป็นพื้นที่ เขาหินทราย ประโยชน์ : เนื้อไม้หรือรากต้มน�้ำดื่มแก้เบื่อเมา ถอนพิษเห็ดเมา, เหมาะสมต่อการปลูกเป็นไม้ประดับท�ำแนวรั้ว เนื่องจากมีทรงพุ่มที่สวยงาม มีหนาม ดอกมีขนาดใหญ่และมีกลิ่นหอม


195 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


196 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ค�ำมอกหลวง ชื่อพื้นเมืองไทย : ไข่เน่า ผ่าด้าม แสลงหอมไก๋ ຊື່ລາວ : ໄຂ່ ເນົ່າ ສີດາໂຄກ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Gardenia sootepensis Hutch. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE Common name : Golden Gardenia. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 ม. ผลัดใบ เปลือกเรียบ สีน�้ำตาลเทา ตามกิ่งอ่อน แผ่นใบ ด้านล่าง ก้านใบ ดอกและผลมีขนสั้นหนานุ่ม-ประปราย ยอดมียางเหนียว (ชัน) สีเหลือง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับ ตั้งฉาก รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 6-15 ซม. ยาว 12-30 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ เรียว-มน มีเส้นแขนงใบข้างละ 15-25 เส้น ผิวใบด้านบนมันเงา ด้านล่างมีขนสั้นหนานุ่มและมีต่อมใบ (domatia) ก้านใบยาว 0.6-1.5 ซม. ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมแรง ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. กลีบเลี้ยง สีเขียว โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบ ยาว 1.3-1.5 ซม. ปลายแยก 1 แฉกตื้น กลีบดอกสีเหลืองอ่อนแล้วเปลี่ยนเป็น สีเหลืองอมส้มเมื่อใกล้โรย เป็นหลอดแคบ กว้าง 5 มม. ยาว 6-9 ซม. ปลายแยก 5-6 แฉก รูปไข่กลับ ยาว 4-5 ซม. ปลายมน-กลม เนื้อหนานุ่ม ผลทรงรี ยาว 3-5 ซม. มีเหลี่ยมเล็กน้อยตามแนวยาว 5-6 เหลี่ยม ปลายผลหยักคอด เล็กน้อยแล้วเป็นรอยตัดที่ปลาย (ไม่มีกลีบเลี้ยงติดคงทน) ผลสุกสีเหลืองอมเขียว มีเมล็ดขนาดเล็กจ�ำนวนมาก นิเวศวิทยา : พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ ป่าทุ่งสน และชายป่าดิบแล้ง ในพื้นที่ที่มีการระบายน�้ำดี ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 100-1,500 เมตร ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน เป็นผลเดือนเมษายน-มิถุนายน การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ประเทศลาวพบทุกภาค ประเทศเมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน และประเทศจีนพบในมณฑลยูนนานตอนใต้ ประโยชน์ : ยางเหนียวหรือชันสีเหลืองที่ยอด น�ำมาเคี้ยวแก้อาการกระหายน�้ำและดับกลิ่นปาก, ผลสุกกินได้, ปลูก เป็นไม้ประดับในเขตเมืองและบ้านเรือนได้ดี เนื่องจากมีขนาดต้นไม่ใหญ่มาก ดอกมีขนาดใหญ่และมีกลิ่นหอม


197 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


198 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง พุดน�้ำตังเกี๋ย ชื่อพื้นเมืองไทย : พุดน�้ำภูวัว ຊື່ລາວ : - ชื่อพฤกษศาสตร์ : Gardenia stenophylla Merr. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE Common name : Water Gardenia. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 0.5-3 ม. ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งต�่ำ ตามกิ่งอ่อน แผ่นใบ ก้านใบ ดอกและผล มีขนสั้นประปราย-เกลี้ยง และมีผิวมันเงา (มีไขเคลือบ) ปลายกิ่งมีหูใบรูปใบหอกหุ้ม 1 คู่ ยาว 1.5 ซม. หลุดร่วงง่าย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปใบหอกกลับ กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 7-13 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบ สอบเรียว เส้นแขนงใบข้างละ 9-13 เส้น แผ่นใบเนื้อหนา ผิวใบด้านล่างไม่มีต่อมใบ (domatia) ก้านใบยาวถึง 5 มม. ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม ก้านดอกยาว 0.5-1 ซม. กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 2-2.5 ซม. (รวมฐานดอก) มีสันตามแนวยาว 5-6 สัน ปลายแยก 5-6 แฉก รูปใบหอก ยาว 1.5-2 ซม. กลีบดอก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีครีมเมื่อใกล้โรย โคนเป็นหลอดแคบ กว้าง 3-5 มม. ยาว 4-6.5 ซม. ปลายแยก 5-6 แฉก รูปใบหอกกลับ ยาว 2.5-3.5 ซม. ปลายมน-แหลม เนื้อหนานุ่ม ผลทรงกระบอง ยาว 2-3 ซม. มีเหลี่ยมเล็กน้อย ตามแนวยาว 5-6 เหลี่ยม ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดคงทน มีเมล็ดขนาดเล็กจ�ำนวนมาก นิเวศวิทยา : ขึ้นในที่โล่งแจ้งหรือมีแสงร�ำไร ตามตลิ่งหรือเกาะแก่งหินทรายในล�ำธารที่อยู่ในเขตต้นน�้ำ ที่ความสูงจาก ระดับน�้ำทะเล 100-800 ม. ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม เป็นผลเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะบริเวณภูมิภาคจีนตอนใต้ ภูมิภาค อินโดจีนตอนเหนือและตอนกลาง ประเทศไทยเป็นพืชหายาก พบได้ตามพื้นที่ต้นน�้ำที่เป็นภูเขาหินทรายในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ (ตามเทือกเขาพนมดงรัก ภูวัว ภูลังกา) ประเทศลาวตอนกลางและตอนใต้ ประเทศเวียดนามตอนเหนือ และ ประเทศจีนตอนใต้ในมณฑลกวางตุ้ง กวางสี และเกาะไห่หนาน ประโยชน์ : เหมาะสมต่อการปลูกเป็นไม้ประดับ ตกแต่งน�้ำตก บ่อปลา หรือท�ำไม้กระถาง เนื่องจากมีต้นขนาดเล็ก ดอกมีขนาดใหญ่และมีกลิ่นหอม ที่มา : ได้รับความอนุเคราะห์ในการจ�ำแนกชนิดโดย Dr. Yee Wen Low ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธานพืชสกุล ค�ำมอกหลวง (Gardenia) นักพฤกษศาสตร์ประจ�ำพิพิธภัณฑ์พืช สวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์


Click to View FlipBook Version