49 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
50 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง นมแมว ชื่อพื้นเมืองไทย : กะหวัน เครือกล้วยน้อย หมากกล้วยเห็น ຊື່ລາວ : ລໍາດວນເຄືອ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Uvaria siamensis (Scheff.) L.L. Zhou, Y.C.F. Su & R.M.K. Saunders ชื่อพ้อง : Melodorum siamense (Scheff.) Bân, Rauwenhoffia siamensis Scheff. ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE Common name : - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มรอเลื้อย ยาวได้ถึง 7 ม. ตามกิ่งอ่อน ใบ ก้านใบ ดอก และช่อดอกมีขนกระจุก รูปดาวสีน�้ำตาลแดง ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปรี หรือรูปขอบขนาน ยาว 8-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้า เล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างหนาและเรียบ ผิวใบด้านล่างมีขนกระจุกประปราย เส้นแขนงใบข้างละ 9-11 เส้น ปลายเส้น โค้งจรดกัน ก้านใบยาว 3-5 มม. ดอกเดี่ยวหรือแบบช่อกระจุก ออกตรงข้ามใบ มี 1-3 ดอก/ช่อ ก้านดอกยาว 5-8 มม. กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียวอ่อน กลีบดอก 6 กลีบ สีเหลืองนวล รูปไข่กว้าง ยาว 1 ซม. ปลายแหลม ดอกบานกว้าง 2 ซม. มีกลิ่นหอมเย็น ผลทรงกลมหรือแกมรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. ปลายมีติ่งสั้น มีขนสั้นหนาแน่น ก้านผล ยาว 5-8 มม. ติดเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2-10 ผล ก้านช่อผลยาว 1-2 ซม. ผลสุกสีเหลือง มี 2-4 เมล็ด/ผล นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง หรือชายป่า ป่าดิบแล้งและป่าบุ่งป่าทาม ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 300 ม. ออกดอกเดือนเมษายน-สิงหาคม ผลแก่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม การกระจายพันธุ์ : พบทุกภาคของประเทศไทยและลาว ประเทศเมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม และคาบสมุทร มาเลเซีย ประโยชน์ : ผลอ่อนมีรสฝาด ผลสุกสีเหลืองรสหวานหอมกินได้, แก่น ตากแห้งต้มน�้ำดื่มเป็นยาบ�ำรุงหัวใจ แก้ปวด เมื่อย รักษาโรคกระเพาะ, ราก ต้มน�้ำดื่มบ�ำรุงน�้ำนมในแม่ลูกอ่อนหรืออยู่ไฟ, เถา เนื้อเหนียวใช้ท�ำขอบตะกร้า กระบุง สวิง กงลอบ กงไซ, ดอกมีกลิ่นหอมเย็น น�ำมาบูชาพระ หรือปลูกประดับ
51 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
52 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง นาวน�้ำ ชื่อพื้นเมืองไทย : หัวชุม เต๊าะกระไบย ຊື່ລາວ : - ชื่อพฤกษศาสตร์ : Artabotrys spinosus Craib ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE Common name : Water Ylang-Ylang Vine. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มรอเลื้อย ยาวถึง 10 ม. กิ่งแก่และโคนล�ำต้นมีหนามยาว 2-3 ซม. ตามกิ่ง อ่อน ก้านใบและดอกมีขนสั้น ใกล้ปลายกิ่งมีตะขอ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับแกมขอบขนาน ยาว 5-12 ซม. ปลายใบกลม มน หรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบมนหรือสอบ ผิวใบเรียบเกลี้ยง มีเส้นแขนงใบข้างละ 7-10 เส้น ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ดอกเดี่ยวออกตามตะขอ ก้านดอกยาว 2-3 ซม. กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 3 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม และกระดกกลับ กลีบดอก 6 กลีบ สีเขียว เมื่อใกล้ร่วงเปลี่ยนเป็นสีเหลือง รูปขอบขนาน ยาว 1.5-2 ซม. ดอกบานกว้าง 2.5-3 ซม. โคนกลีบคล้ายช้อนโอบรอบเกสร มีกลิ่นหอมเย็นช่วงหัวค�่ำ ผลรูปรี ยาว 2.5-3 ซม. ปลายแหลม โคนสอบ ไม่มีก้าน ติดเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5-10 ผล ผลอ่อนสีเขียว ผิวเกลี้ยงมันเงา มีจุดสีขาวจ�ำนวนมาก เมื่อสุกเป็นสีเหลือง นิเวศวิทยา : ขึ้นตามชายป่าของป่าบุ่งป่าทาม ตามเกาะแก่งหรือตลิ่งริมแม่น�้ำ ล�ำคลอง ทนทานต่อกระแสน�้ำ ที่ไหลเชี่ยวและน�้ำท่วมได้นาน ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 200 ม. ออกดอกเดือนมกราคม-สิงหาคม ผลแก่เดือนมิถุนายน-ธันวาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะในภูมิภาคอินโดจีนแถบตอนกลาง และใต้ ประเทศไทยพบทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศลาวตอนกลางและตอนใต้ กัมพูชาและเวียดนาม ตอนใต้ ประโยชน์ : ยอดอ่อนรสฝาดมัน กินเป็นผักสดแกล้มน�้ำพริก ลาบ หรือก้อย, ผลสุกรสหวานกินได้, ปลูกประดับ หรือ ปลูกท�ำรั้ว ดอกส่งกลิ่นหอมเย็นช่วงหัวค�่ำคล้ายดอกการเวก เก็บมาบูชาพระ
53 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
54 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง พีพวนน้อย ชื่อพื้นเมืองไทย : ผีพ่วน ตีนตั่ง ຊື່ລາວ : ພິພວນ ເຄືອພິພວນ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Uvaria rufa Blume ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE Common name : - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย เนื้อแข็งเหนียว ยาวถึง 15 ม. เถาแก่มีร่องตื้นตามยาวแกมร่างแห ตามกิ่ง อ่อน แผ่นใบ ก้านใบ ช่อดอกและผลมีขนกระจุกสั้นรูปดาวสีสนิม-สีขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปหอกกลับแกมขอบ ขนาน ยาว 6-15 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ เส้นแขนงใบข้างละ 8-12 เส้น ก้านใบบวม ยาว 5 มม. ดอกเดี่ยวหรือแบบช่อกระจุก 1-4 ดอก/ช่อ ออกตรงข้ามใบ ก้านดอกยาว 0.6-1 ซม. กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียวอ่อน กลีบดอก 6 กลีบ มีขนาดใกล้เคียงกัน สีแดงเข้มหรือสีแดงอมม่วง รูปขอบขนาน ยาว 0.8-1.2 ซม. ปลายมน มีขน สั้น ปลายกลีบบานกลับเล็กน้อย-มาก ดอกบานกว้าง 1.5 ซม. ผลทรงรีหรือขอบขนาน กว้าง 2 ซม. ยาว 2-3 ซม. ผิวไม่มีรอยหยักคอด ก้านผลยาว 1-3 ซม. ติดเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5-20 ผล ก้านช่อผลยาว 1 ซม. ผลสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสีส้ม-สีแดง ตามล�ำดับ มีเมล็ดสีด�ำจํานวนมากเรียง 2 แถว นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง หรือชายป่า ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าบุ่งป่าทาม ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำ ทะเลจนถึงประมาณ 1,500 ม. ออกดอกเดือนมีนาคม-กันยายน ผลแก่เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน การกระจายพันธุ์ : พบได้ง่ายทั่วทุกภาคของประเทศไทยและลาว ประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ และทั่วเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ ประโยชน์ : ผลสุกสีส้มถึงสีแดงเข้ม เนื้อในสีขาวมีรสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอมคล้ายผลลิ้นจี่สุก กินได้ หรือปอก เปลือกออกแล้วน�ำมาคลุกกับน�้ำปลาหวาน ผลอ่อน-ห่าม รสเปรี้ยวอมฝาดใช้ต�ำส้ม, แก่น ต้มน�้ำดื่มบ�ำรุงน�้ำนมแม่ลูก อ่อน, เถา มีเนื้อเหนียวใช้ท�ำขอบสวิง กระด้ง เปล กระโซ่วิดน�้ำ กงลอบ กงไซ
55 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
56 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ชะลูด ชื่อพื้นเมืองไทย : ลูด นูด ຊື່ລາວ : ເຄືອເຂົາງົວສັ້ນ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Alyxia reinwardtii Blume ชื่อพ้อง : Alyxia lucida Wall. ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE Common name : Vanilla Woody Climber. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย ยาวถึง 4 ม. ทุกส่วนที่มีชีวิตมีน�้ำยางสีขาวขุ่น และมีกลิ่นหอมคล้ายวานิลลา เถาสีเทาด�ำมีตุ่มจ�ำนวนมาก ตามปลายกิ่งและใบเกลี้ยง ยอดมีชันเหนียวสีส้มแดง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเรียงรอบข้อ 3 ใบ รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 8-11 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบแหลม-มน แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง มีเส้นแขนงใบประมาณ 20 คู่ เรียงขนานกัน ขอบใบงุ้มลงเล็กน้อย ก้านใบยาวถึง 5 มม. ช่อดอกแบบกระจุก ยาว 3-5 ซม. ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีขนสั้น ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1 ซม. ดอกเป็นหลอดสีขาว ยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยก 5 แฉก รูปไข่ ยาว 5 มม. ไส้กลางดอกสีแดงส้ม ผลแบบผนังชั้น ในแข็ง ทรงกลม-รี ยาว 1-1.5 ซม. นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่ง หรือชายป่า ป่าผลัดใบ ป่าดิบ แต่มักพบตามป่าละเมาะหรือทุ่งหญ้าตามพลาญหินทราย ที่ดินเป็นกรด ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,700 ม. ออกดอกเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ผลแก่เดือน สิงหาคม-ธันวาคม การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยและลาวพบทั่วทุกภาค ประเทศจีนทางตอนใต้ของมณฑลยูนนาน เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ประโยชน์ : เถาแก่ที่มีสีด�ำ น�ำมาทุบแล้วลอกเปลือกสีด�ำออก ลอกเอาแต่เนื้อสีขาวที่หุ้มแกน ผึ่งลมให้แห้งจะมี กลิ่นหอมมากคล้ายกลิ่นวานิลลา ใช้ผสมในต�ำรับยาสมุนไพรโบราณกลุ่มยาลม ยาหอม ช่วยขับผายลม แก้ปวดท้อง บ�ำรุงก�ำลัง บ�ำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ใช้อบผ้า อบกลิ่นห้อง หรือบดผสมในแป้งหอมประทินผิว แป้งหอมแต่งกลิ่นขนมไทย
57 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
58 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง พุดแหลม ชื่อพื้นเมืองไทย : - ຊື່ລາວ : ພຸດແຫຼມ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Kopsia angustipetala Kerr ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE Common name : Wild Kopsia. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 5 ม. ทุกส่วนที่มีชีวิตมีน�้ำยางสีขาวขุ่น ตามปลายกิ่ง ก้านใบ ช่อดอก และผลมีขนสั้นนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-3.3 ซม. ยาว 5-15 ซม. ปลายใบเรียว แหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวเกลี้ยง มีเส้นแขนงใบข้างละ 20-25 เส้น ปลายเส้นจรดกันใกล้ ขอบใบ ที่ผิวใบด้านบนมีรอยกดตามแนวเส้นแขนงใบ ก้านใบยาว 2-7 มม. ช่อดอกแบบกระจุก ติดกระจุกอยู่ช่วง ปลายก้านช่อดอก ยาว 2.5-12 ซม. ออกตามปลายกิ่ง มีขนสั้น กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอก สีขาว หลอดกลีบดอกยาว 4-15 มม. ปลายแยก 5 แฉก รูปใบหอก ยาว 7.5-9 มม. ปลายแฉกเรียวแหลมและบิดคล้าย กังหัน ผลแบบผนังชั้นในแข็ง ออกเป็นฝักคู่ รูปกรวยแหลม ยาว 1.2-2 ซม. ปลายฝักเรียวแหลมคล้ายตะขอ นิเวศวิทยา : ขึ้นริมล�ำธาร หรือที่ราบใกล้ล�ำธารในป่าดิบแล้ง ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 100-300 ม. ออกดอก เดือนมกราคม-พฤษภาคม ผลแก่เดือนมีนาคม-สิงหาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะในภูมิภาคอินโดจีนในส่วนของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และภาคกลางจนถึงภาคใต้ของประเทศลาว ประโยชน์ : มีศักยภาพเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีทรงพุ่ม ใบ และดอกที่สวยงาม
59 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
60 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ลั่นทม ชื่อพื้นเมืองไทย : จ�ำปา จ�ำปาลาว จ�ำปาขอม ลั่นทมใบแหลม ลีลาวดี ຊື່ລາວ : ຈໍາປາ ຈໍາປາແດງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Plumeria rubra L. ชื่อพ้อง : Plumeria acuminata W.T. Aiton, P. acutifolia Poir. ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE Common name : Frangipani, Temple Tree, Graveyard Flower. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 8 ม. ผลัดหรือไม่ผลัดใบ แตกกิ่งต�่ำแผ่คล้ายรูปร่ม ทุกส่วนมีน�้ำยาง สีขาวขุ่น เปลือกเรียบหรือขรุขระ สีน�้ำตาลอมเทา ล�ำต้นและกิ่งอวบหนา ใบเดี่ยว เรียงเวียนใกล้ปลายกิ่ง รูปใบหอกกลับ กว้าง 6-8 ซม. ยาว 15-30 ซม. ปลายใบแหลม (จุดเด่นของชนิดนี้) โคนใบสอบเรียว แผ่นใบหนานุ่ม ผิวเกลี้ยง ทั้ง 2 ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 30-40 เส้น เรียงตัวขนานกัน ปลายเส้นจรดกันและขนานกับขอบใบ ก้านใบยาว 5-7 ซม. ช่อดอกแยกแขนง คล้ายรูปร่ม ช่อย่อยแบบช่อกระจุก ออกตามปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 10-40 ซม. มีขนสั้น นุ่ม ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอก 5 กลีบ หลากสีสัน เช่น สีขาว สีเหลือง สีชมพู สีแดงอมม่วง ไส้กลางดอกมักมีสีเหลือง กลีบดอกรูปไข่กลับ ยาว 3-5 ซม. ปลายมน-กลม เรียงบิดเวียนคล้ายกังหัน โคนเชื่อมติดกัน ดอกบานกว้าง 4-6 ซม. กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กคล้ายติ่งสั้น 5 ติ่ง ผลเป็นฝักคู่ เมื่อแก่แตกแนวเดียว รูปทรงกระบอก ยาว 11-25 ซม. เมล็ดมี จ�ำนวนมาก รูปรีแบน มีพู่ขนสีขาวที่ปลายด้านเดียว นิเวศวิทยา : เป็นพืชทนแล้งและดินเค็มได้ดี ชอบขึ้นบนดินที่มีการระบายน�้ำได้ดี หรือตามซอกหินที่มีดินน้อย และ แสงแดดจัด ขึ้นที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 600 ม. ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยการปักช�ำกิ่ง ตอนกิ่ง หรือ เสียบยอด ปัจจุบันมีการผสมพันธุ์แล้วเพาะเมล็ดให้เกิดสีสัน รูปทรงดอก และใบ ที่หลากหลาย การกระจายพันธุ์ : เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเม็กซิโก ภูมิภาคอเมริกากลาง ลงมาถึงเวเนซุเอลาและโคลัมเบีย นิยมปลูกประดับตามสถานที่ต่าง ๆ ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยและลาว ออกดอกและ ติดผลตลอดทั้งปี แต่จะออกมากช่วงฤดูแล้ง ประโยชน์ : เปลือกต้นเป็นยาแก้ไข้ ยาถ่าย ช่วยขับระดู แก้ปวดฟัน, แก่นต้นเป็นยาคุมก�ำเนิด รักษาโรคผิวหนัง, ฝักน�ำมาฝนทาแก้ริดสีดวงทวาร, มีทรงต้น ดอกที่สวยงามและมีกลิ่นหอม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน โรงแรม สถานที่ราชการและวัด เกร็ดความรู้ : ประเทศลาวยกให้ต้นจ�ำปา (ลั่นทมในภาษาไทย) เป็นต้นไม้และดอกไม้ประจ�ำชาติลาว เนื่องจาก เป็นต้นไม้เก่าแก่ปรากฏอยู่ตามโบราณสถานส�ำคัญของประเทศ และนิยมปลูกกันทั่วไป นอกจากนี้ดอกจ�ำปายังเคย ใช้เป็นสัญลักษณ์ต่อสู้เรียกร้องเอกราชจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสมาแล้ว จากการน�ำมาแต่งเป็น เพลงจ�ำปาเมืองลาว ที่ไพเราะจับใจจนมีการร้องติดปาก
61 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
62 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ลั่นทมขาว ชื่อพื้นเมืองไทย : จ�ำปา จ�ำปาขาว ลั่นทมขาวพวง ลั่นทมใบมน ลีลาวดี ຊື່ລາວ : ຈໍາປາຂາວ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Plumeria obtusa L. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE Common name : Great White Frangipani, Frangipani, Temple Tree, Graveyard Flower. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 10 ม. ผลัดหรือไม่ผลัดใบ แตกกิ่งต�่ำแผ่คล้ายรูปร่ม ทุกส่วนมีน�้ำยาง สีขาวขุ่น เปลือกบางสีน�้ำตาลอมเทา ต้นอายุมากเปลือกจะเป็นปุ่มปมและหนาคล้ายไม้ก็อก ใบเดี่ยว เรียงเวียนถี่ใกล้ ปลายกิ่ง รูปใบหอกกลับ กว้าง 6-10 ซม. ยาว 15-30 ซม. ปลายใบมน-กลม (จุดเด่นของชนิดนี้) โคนใบสอบเรียว แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง มีขนสั้นนุ่มตามเส้นแขนงใบและก้านใบ เส้นแขนงใบข้างละ 20-25 เส้น เรียงตัวขนานกัน ปลายเส้นจรดกันและขนานกับขอบใบ ก้านใบยาว 4-7 ซม. ช่อดอกแยกแขนง คล้ายรูปร่ม ช่อย่อยแบบช่อกระจุก ออกตามปลายกิ่ง มักห้อยลง ก้านช่อดอกยาว 20-30 ซม. ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ไส้กลางดอก สีเหลือง รูปไข่กลับ ยาว 4-5 ซม. ปลายมน-กลม เรียงบิดเวียนคล้ายกังหัน โคนเชื่อมติดกัน ดอกบานกว้าง 5-7 ซม. มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กคล้ายติ่งสั้น 5 ติ่ง ผลเป็นฝักคู่ เมื่อแก่แตกแนวเดียว รูปทรงกระบอก กว้าง 1.5-1.8 ซม. ยาว 12-17 ซม. มีเมล็ดจ�ำนวนมาก รูปรีแบน มีพู่ขนสีขาวที่ปลายด้านเดียว นิเวศวิทยา : เป็นพืชทนแล้งและดินเค็มได้ดี ชอบขึ้นบนดินที่มีการระบายน�้ำได้ดี หรือขึ้นตามซอกหินที่มีดินน้อย และ แสงแดดจัด แต่จะชอบดินที่มีความชื้นมากกว่าลั่นทมใบแหลม (Plumeria rubra) ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยการปักช�ำกิ่ง ตอนกิ่ง หรือเสียบยอด ลั่นทมขาวสายพันธุ์แท้มีดอกสีขาวไส้เหลืองเท่านั้น ไม่มีความผันแปรเป็นสีอื่น การผสมข้าม พันธุ์ยังท�ำได้น้อยกว่าลั่นทมใบแหลม การกระจายพันธุ์ : เป็นพืชพื้นเมืองในหมู่เกาะแคริบเบียน บริเวณภูมิภาคอเมริกากลาง นิยมน�ำมาปลูกประดับ ตามสถานที่ต่าง ๆ ในเขตร้อนทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยและลาว มักปลูกปะปนกับลั่นทมใบแหลม ออกดอกและ ติดผลตลอดทั้งปี แต่จะออกมากช่วงฤดูแล้ง ประโยชน์ : เปลือกรากใช้เป็นยาระบาย ขับน�้ำเหลืองเสีย รักษาโรคงูสวัด, น�้ำยางใช้ทาแก้โรคหิด หรือตาปลา, ฝักฝนกับน�้ำใช้ทาแก้ริดสีดวงทวาร, ดอกมีความสวยงามและส่งกลิ่นหอมตลอดวัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือน โรงแรม สถานที่ราชการและวัด
63 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
64 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง อุตพิดเล็ก ชื่อพื้นเมืองไทย : อุตพิดลาว ຊື່ລາວ : ຕາພິດນອຍ້ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Typhonium laoticum Gagnep. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : ARACEAE Common name : Laos Arum. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชล้มลุก มีล�ำต้นหรือหัวใต้ดินทรงกลม กว้างได้ถึง 1 ซม. ก้านใบยาว 3-12 ซม. โคนก้านใบเป็นกาบประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวก้าน ใบเดี่ยว เรียงเวียนกระจุกชิดผิวดิน รูปไข่ รูปรี หรือรูป ใบหอก กว้าง 1-5 ซม. ยาว 4-9 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบรูปหัวใจ เส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น ปลายเส้นจรดกันใกล้ขอบใบ ผิวใบเกลี้ยง ก้านช่อดอกยาว 1.7-3 ซม. กาบรองช่อดอกสีขาวแต้มสีน�้ำตาล รูปแถบยาว และม้วนเป็นหลอด กว้าง 4-8 มม. ยาว 6.5-7.5 ซม. ตั้งขึ้น โคนหลอดป่องรูปทรงไข่ ยาว 1 ซม. แกนช่อดอก เป็นเส้นยาว 7 ซม. ดอกย่อยเพศเมียติดรอบโคนแกน สีชมพู ถัดขึ้นมาเป็นดอกที่เป็นหมัน สีเหลืองอ่อน รูปขอบขนาน ยาว 2-3 มม. ส่วนบนขึ้นมาเป็นกลุ่มของดอกย่อยเพศผู้ สีชมพู ยาว 7 มม. ที่ปลายแกนช่อดอกเป็นเส้นสีขาว เรียว ยาว 5 ซม. เกลี้ยง นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่งแจ้งในทุ่งนา หรือตามลานดินทราย ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 100-550 ม. ออกดอก และติดผลเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) บริเวณแอ่งสกลนคร ในประเทศไทยพบที่ จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร และพบในประเทศลาวเขตติดต่อกับประเทศไทยด้วย เกร็ดความรู้ : ค�ำระบุชนิด laoticum เป็นภาษาลาติน มาจากภาษาอังกฤษค�ำว่า Laotian โดยเป็นการตั้งชื่อพืช ชนิดนี้เพื่อให้เกียรติแก่ชาวลาว ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่พบ
65 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
66 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ลานป่า ชื่อพื้นเมืองไทย : ลาน ຊື່ລາວ : ລານ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Corypha lecomtei Becc. ex Lecomte ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : ARECACEAE Common name : Corypha, Thai Talipot Palm. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ปาล์มล�ำต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 15 ม. โคนต้นเส้นผ่านศูนย์กลางไม่รวมกาบ 50-80 ซม. มักมีกาบหรือโคนก้านใบติดคงทนรอบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกระจุกที่ปลายยอด มี 15-25 ใบ ก้านใบยาว 2.5-5 ม. ตั้งขึ้น ขอบก้านมีแถบสีด�ำและมีหนามแบบฟันเลื่อยถี่ ยาว 0.7-1 ซม. แผ่นใบรูปฝ่ามือ กว้าง 3-4 ม. ยาวประมาณ 4-5 ม. แผ่นใบโค้งคล้ายเคียวตามแนวเส้นกลางใบ เนื้อใบแข็งหนา สีเขียวอมเทา ด้านล่างมีนวลแป้ง มีใบย่อยประมาณ 120-150 ใบ กว้างประมาณ 8 ซม. ยาวประมาณ 2 ม. พับจีบเป็นรางน�้ำ ปลายใบแยกเป็นแฉกลึก เข้ามา 1/3 ถึง 1/2 ของความยาว ออกดอกครั้งเดียวก่อนตาย เมื่ออายุ 50-80 ปี ช่อดอกแบบแยกแขนงรูปกรวยแหลม สูง 10-12 ม. กว้าง 8-11 ม. ออกที่ยอด ตั้งขึ้นตรง ก้านช่อดอกยาว 1.5-2 ม. ดอกย่อยขนาดเล็กมีจ�ำนวนมากถึง หลักล้านดอก สีขาวอมเหลือง ผลแบบเมล็ดเดี่ยวแข็ง ทรงกลมแกมรี กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-5 ซม. สีเขียวอมเทา มีจ�ำนวนมากถึงหลักหมื่นผลต่อต้น นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่งแจ้งหรือชายป่า ตามทุ่งนาในเขตที่ดอนหรือที่ราบลูกคลื่น บริเวณที่มีชั้นดินลึกมากกว่า 1 ม. และมีการระบายน�้ำได้ดี หายากที่จะขึ้นตามเนินเขาลาดชัน ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 30-600 ม. เริ่มแทง ช่อดอกช่วงปลายฤดูร้อน-ต้นฤดูฝน ดอกบานและเริ่มติดผลอ่อนช่วงกลางฤดูฝน แล้วใช้เวลาอีกประมาณ 10 เดือน ผลจึงสุกและเริ่มร่วงหล่น การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะในภูมิภาคอินโดจีนแถบตอนกลาง และใต้ ประเทศไทยค่อนข้างหายาก มักพบขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวัน ออก ประเทศลาวพบตอนกลางและตอนใต้ กัมพูชา และเวียดนามตอนกลางและตอนใต้ ประโยชน์ : ใบลานอ่อน ในสมัยโบราณนิยมใช้จารึกหรือจารข้อความที่ต้องการเก็บไว้ได้อย่างยาวนานหลายร้อยปี เช่น พระธรรมในพระไตรปิฎก พงศาวดาร ต�ำราสมุนไพร ต�ำราวิชาการ หรือใช้จักสาน เช่น หมวก งอบ พัด กระเป๋า เสื่อ ภาชนะในครัวเรือน ปลาตะเพียนสาน, ก้านใบหรือทางใบ ส่วนกระดูก (เนื้อไม้ใกล้ขอบหนาม) มีเนื้อเหนียวแข็ง แรงมาก ใช้ท�ำก้านร่ม ก้านกลด ขอบเครื่องจักสาน ตะเกียบ, ผลอ่อน เนื้อในสีขาวค่อนข้างใส เลือกตัดระยะที่ยังมี เนื้ออ่อนนุ่ม รสชาติหอมหวานคล้ายลูกจาก/ลูกชิด หรือน�ำมาต้มกับน�้ำเชื่อม (ลอยแก้ว)
67 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
68 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง สัง ชื่อพื้นเมืองไทย : สาน จั๋งภูพาน ຊື່ລາວ : ສານ ເທົ້າສານ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Rhapis laosensis Becc. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : ARECACEAE Common name : Bamboo Palm, Lady Palm, Miniature Fan Palm. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ปาล์มกอ สูง 0.5-2.5 ม. แตกกอห่าง ๆ มีล�ำต้นทอดเลื้อยอยู่ใต้ดิน ล�ำต้นเหนือดิน ตั้งตรง มีกาบใบและรกติดคงทน เส้นผ่านศูนย์กลางรวมกาบใบ 1-1.5 ซม. ใบประกอบแบบฝ่ามือ รูปครึ่งวงกลม ใบย่อยมี 2-5 ใบ เชื่อมติดกันเล็กน้อยที่โคน รูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 1.8-5 ซม. ยาว 15-25 ซม. มีจุดเด่นตรง แผ่นใบโค้งคว�่ำลงชัดเจน ก้านใบยาว 15-30 ซม. ที่ขอบกาบใบมีรกเป็นร่างแหตาถี่สีน�้ำตาลเข้ม หุ้มรอบกาบใบ และล�ำต้นหนาแน่น ช่อดอกแบบแยกแขนง ตั้งขึ้น ออกตามซอกกาบใบใกล้ยอด มี 3 ช่อต่อต้น ยาวถึง 35 ซม. ก้านช่อดอกยาวถึง 25 ซม. ผลแบบเมล็ดเดี่ยวแข็ง รูปไข่แกมรูปทรงรี กว้าง 0.8-1.2 ซม. นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่มีแสงร�ำไรและใกล้ล�ำห้วย ในป่าดิบแล้ง บนพื้นที่ภูเขาหินทรายหรือหินปูน ที่ความสูงจาก ระดับน�้ำทะเล 200-600 ม. ออกดอกเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ติดผลเดือนตุลาคม-ธันวาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) บริเวณตอนกลางของภูมิภาคอินโดจีน ประเทศไทยพบตามเทือกเขาภูพาน ภูวัว และภูลังกา ในประเทศลาวพบตั้งแต่แขวงไซยะบุรี เวียงจันทน์ เชียงขวาง บอลิค�ำไซ ค�ำม่วน และสะหวันนะเขต และพบในประเทศเวียดนามตอนกลางเขตติดต่อกับลาวอีกด้วย ประโยชน์ : ยอดอ่อนเนื้อในสีขาวมีรสมันปนขมฝาด กินได้คล้ายยอดหวาย, ล�ำต้นมีเนื้อไม้ที่เหนียวและแข็งแรง สามารถใช้ท�ำตะเกียบ หูหิ้วตะกร้า และไม้เท้าได้, ปลูกเป็นไม้ใบประดับได้เช่นเดียวกับต้นจั๋งญี่ปุ่น เกร็ดความรู้ : ค�ำระบุชนิด laosensis เป็นภาษาลาติน มาจากภาษาอังกฤษค�ำว่า Laos โดยการตั้งชื่อพืชชนิดนี้เพื่อ เป็นเกียรติแก่ประเทศลาวที่พบตัวอย่างพืชชนิดนี้เป็นครั้งแรก
69 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
70 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง แคขาว ชื่อพื้นเมืองไทย : แคนา แคป่า แคทราย แคฝอย ຊື່ລາວ : ແຄດອກຍາວ ແຄປ່ າດອກຂາວ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Dolichandrone serrulata (Wall. ex DC.) Seem. ชื่อพ้อง : Stereospermum serrulatum DC. ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE Common name : White Trumpet Tree. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 7-20 ม. ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาลอ่อน เรียบหรือหลุดล่อนเป็นสะเก็ด เล็กน้อย ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบย่อย 5-9 ใบ รูปรี รูปรีกว้าง หรือรูปรีแกมรูป ไข่กลับ กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบหรือจักฟันเลื่อยห่าง ๆ โคนใบมน-แหลม แผ่น ใบบางคล้ายกระดาษ ผิวเกลี้ยง ด้านล่างมีต่อมสีขาวกระจาย ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามกิ่งและปลายกิ่ง ดอกสี ขาว กลีบเลี้ยงสีเขียว มีลักษณะคล้ายกาบรูปรี ยาว 3-5 ซม. กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันรูปคล้ายแตร ยาว 6-10 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปกลม ยาว 3-5 ซม. แผ่นกลีบบางฉีกขาดง่าย ขอบกลีบหยิกและเป็นคลื่น ผลเป็นฝักแห้ง แตก รูปแถบเรียวยาว กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 50-80 ซม. บิดเป็นเกลียวเล็กน้อยคล้ายสปริง เมล็ดแบนรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้า ยาว 2-3 ซม. มีปีกบางรอบสีขาว นิเวศวิทยา : พบตามที่โล่ง ทุ่งนา หรือชายป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าบุ่งป่าทาม หรือป่าดิบแล้ง ที่ความสูงใกล้ ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 400 ม. ออกดอกเดือนมกราคม-สิงหาคม เป็นผลเดือนมีนาคม-ตุลาคม การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ประเทศลาวพบตอนกลางและตอนล่าง และพบ ในประเทศบังกลาเทศ เมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนามตอนใต้ ประโยชน์ : ดอกรสมันปนขมเล็กน้อย น�ำมาต้มกินเป็นผักจิ้มหรือแกงส้ม, ในไทยนิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามข้างถนน
71 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
72 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง กาสะลองค�ำ ชื่อพื้นเมืองไทย : ปีบทอง แคะเป๊าะ ຊື່ລາວ : ດອກປີບ ດອກລີບ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Mayodendron igneum (Kurz) Kurz ชื่อพ้อง : Radermachera ignea (Kurz) Steenis ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE Common name : Orange Horn Tree. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-15 ม. ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องตื้นตามยาว ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ยาว 18-35 ซม. เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ช่อใบย่อย 3-4 คู่ ใบย่อยรูปรี รูปใบหอก กลับ หรือรูปไข่ กว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ โคนใบมน-แหลม ผิวเกลี้ยง ด้านบน สีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีต่อมสีขาวกระจายเล็กน้อย ช่อดอกแบบกระจะ ยาว 1.5-2 ซม. มีขนสั้น ออกตามล�ำต้น และกิ่ง กลีบเลี้ยงสีม่วงอมน�้ำตาล เชื่อมติดกันมีลักษณะคล้ายกาบ กลีบดอกสีส้ม เป็นหลอดป่องตรงกลาง ยาว 5-7 ซม. ปลายแยก 5 แฉกตื้น ๆ และม้วนกลับ ผลเป็นฝักแห้งแตก รูปเส้นยาว 30-50 ซม. กว้าง 4-6 มม. ฝักบิดเกลียว แต่เหยียดตรง-บิดเล็กน้อย เมล็ดแบนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 1.3-1.5 ซม. มีปีกบางรอบ สีขาว นิเวศวิทยา : พบตามชายป่า ป่าที่ก�ำลังทดแทน หรือช่องเปิดในป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณชื้น ที่ความสูงจาก ระดับน�้ำทะเล 200-1,000 ม. ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน เป็นผลเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทยพบภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศลาว ตอนบนและตอนกลาง ประเทศจีนพบในมณฑลยูนนาน ประเทศเมียนมาร์ และเวียดนามตอนเหนือและตอนกลาง ประโยชน์ : เปลือกต้น ต้มน�้ำดื่มเป็นยาลดไข้ แก้ท้องเสีย อมแก้อาการเมายา ในประเทศลาวนิยมเก็บดอกมาตาก แห้งเพื่อใช้ท�ำยาสมุนไพรและท�ำชาดื่มบ�ำรุงร่างกาย, ดอกมีความสวยงามและมีเรือนยอดทรงกระบอก ไม่แผ่ระเกะระกะ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนหรือข้างถนน
73 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
74 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ปีบ ชื่อพื้นเมืองไทย : กาสะลอง กางของ ก้านของ ຊື່ລາວ : ກາງຂອງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Millingtonia hortensis L. f. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE Common name : Tree Jasmine, Indian Cork Tree. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 25 ม. ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องลึก ตามยาวและหนานุ่มแบบไม้ก็อก ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ยาว 0.3-1 ม. เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ช่อใบย่อย 3-5 คู่ ใบย่อยรูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 1.5-3.3 ซม. ยาว 2-7 ซม. ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยัก มน-เรียบ โคนใบมน-แหลม ตามก้านใบและผิวใบด้านล่างมีขนสั้น ช่อดอกแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง มีขนสั้น กลีบ เลี้ยงเป็นวงแหวนขนาดเล็กที่โคนดอก กลีบดอกเป็นหลอดแคบ ยาว 5.5-8 ซม. กว้าง 2-3 มม. ปลายแยก 5 แฉก รูป ไข่ปลายแหลม ดอกบานกว้าง 3-5 ซม. มีกลิ่นหอมแรงตลอดวัน ผลเป็นฝักแบนแห้งแตก รูปแถบยาว ไม่บิดเกลียว กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 25-35 ซม. เมล็ดแบนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 1.5-3.5 ซม. มีปีกบางรอบ สีขาว นิเวศวิทยา : พบตามชายป่า หรือป่าที่ก�ำลังทดแทนของป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเล จนถึง 600 ม. ออกดอกและเป็นผลตลอดทั้งปี แต่จะออกมากช่วงฤดูฝน การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ พบทั่วประเทศลาว ประเทศเมียนมาร์ตอนล่าง กัมพูชา และเวียดนาม ประโยชน์ : เนื้อไม้มีสีเหลืองอ่อน ใช้ท�ำเครื่องเรือน, ดอกมีสาร hispidulin ที่ระเหยได้และมีฤทธิ์ในการขยาย หลอดลม ตากแห้งน�ำมาสูบแก้ริดสีดวงจมูก หรือรักษาโรคหืดหอบ, ผลอ่อนลวกจิ้มน�้ำพริก, นอกจากนี้ยังนิยมปลูก เป็นไม้ประดับทั่วไปตามบ้านเรือน หรือข้างถนน เพราะเป็นไม้ดอกหอม เรือนยอดทรงกระบอกไม่แผ่ระเกะระกะ ตัดแต่งกิ่งง่าย
75 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
76 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง กุ่มน�้ำ ชื่อพื้นเมืองไทย : กุ่ม ผักกุ่ม กุ่มก่าง ຊື່ລາວ : ກຸ່ ມນໍ້າ ກຸ່ ມ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Crateva magna (Lour.) DC ชื่อพ้อง : Capparis magna Lour. ชื่อวงศ์ : CAPPARACEAE Common name : Sacred Barma. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-15 ม. เปลือกสีเทาอมสีน�้ำตาลอ่อน ผิวเรียบ กิ่งมีช่องอากาศ จ�ำนวนมาก ใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อย เรียงเวียน ใบย่อยรูปใบหอก กว้าง 1.5-6.5 ซม. ยาว 4.5-18 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแหลม ผิวใบด้านบนมันเงา ด้านล่างไม่มีขน แต่มีนวลขาว เส้นแขนงใบข้างละ 9-20 เส้น ก้านใบยาว 5-10 ซม. ช่อดอกแบบกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง ตั้งขึ้น ก้านดอกย่อยยาว 4-5 ซม. กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน รูปรีกว้าง ยาว 2-3 ซม. โคนกลีบหยักคอดคล้ายก้าน ยาว 0.5-1 ซม. เกสรเพศผู้สีม่วง มีจ�ำนวนมาก ยาว 3.5-6.5 ซม. ผลทรงรี ยาว 4-6 ซม. ปลายมน-กลม ผิวเป็นสะเก็ด ขรุขระสีขาว มีเมล็ดจ�ำนวนมาก เมื่อสุกมีเนื้อนุ่ม นิเวศวิทยา : ขึ้นตามตลิ่งริมน�้ำหรือที่ราบลุ่มชื้นแฉะ ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 700 ม. ออกดอก เดือนธันวาคม-เมษายน ผลแก่เดือนเมษายน-กันยายน การกระจายพันธุ์ : พบทั่วประเทศไทยและลาว ประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะ แปซิฟิก ประโยชน์ : ยอดอ่อนและดอกอ่อนใช้ท�ำส้มผักดอง, แก่นเข้ายาสมุนไพรอื่น ๆ แก้ปวดเมื่อย
77 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
78 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ชะมวง ชื่อพื้นเมืองไทย : หมากโมง ส้มโมง ส้มมวง ຊື່ລາວ : ຂີ້ໜອນ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Garcinia cowa Roxb. ex Choisy ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE Common name : Cowa Mangosteen. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 8-15 ม. ไม่ผลัดใบ มีน�้ำยางสีเหลืองขุ่น เปลือกสีน�้ำตาลอมด�ำ แตกเป็น ร่องตื้น-สะเก็ดตามยาว แตกกิ่งตั้งฉากกับล�ำต้น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรี กว้าง 2-5 ซม. ยาว 6-14 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบงุ้มเล็กน้อย เส้นแขนงใบข้างละ 12-18 เส้น เห็นไม่ชัด แผ่นใบ ค่อนข้างหนา ผิวเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกแบบกระจุก ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ สีเหลืองหรืออมสีเขียว กลีบดอกรูปไข่ปลายมน-กลม ยาวประมาณ 1 ซม. เนื้อหนา ผลทรงกลมแป้น-กลมรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-6 ซม. ผิวเรียบหรือมีร่องตื้นตามแนวยาว 4-8 ร่อง ปลายผลมีจุกสีด�ำ เล็กน้อย ผลสุกสีเหลือง-สีส้ม เนื้อในฉ�่ำน�้ำ มี 4-8 เมล็ด นิเวศวิทยา : ขึ้นตามป่าดิบและป่าเต็งรัง ดินปนทราย หรือดินลูกรังที่มักจะเป็นกรด ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเล จนถึงประมาณ 1,100 ม. ออกดอกเดือนธันวาคม-เมษายน เป็นผลเดือนกุมภาพันธ์-ตุลาคม การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยและลาวพบทั่วทุกภาค ประเทศจีนในมณฑลยูนนานตอนใต้ บังกลาเทศ เมียนมาร์ เวียดนาม กัมพูชา และภูมิภาคมาเลเซีย ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง, รากเป็นยาสมุนไพรแก้ไข้ แก้บิด, ต้นให้ยางสีเหลืองใช้ย้อมผ้า, ใบเป็นยา กัดฟอกเสมหะและโลหิต แก้ไอ, ใบอ่อนรสเปรี้ยว กินได้ ใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหาร เช่น ต้มกับเนื้อสัตว์ต่าง ๆ, ผลดิบ หั่นบาง ๆ ตากแห้งต้มน�้ำดื่มเป็นยาแก้บิด, ผลสุกมีเนื้อหุ้มเมล็ดรสหวานกินได้
79 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
80 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง รกฟ้า ชื่อพื้นเมืองไทย : ฮกฟ้า เชือก เซือก ຊື່ລາວ : ເຊືອກກ້ ຽງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Terminalia elliptica Willd. ชื่อพ้อง : Terminalia alata B. Heyne ex Roth, T. tomentosa Wight & Arn. ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE Common name : Asna, Indian Laurel, Silver grey wood. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 15-30 ม. ผลัดใบ ล�ำต้นเปลาตรง เปลือกสีน�้ำตาลเข้ม-อมเทา แตกเป็น ร่องลึกตามแนวยาว ต้นอายุมากจะแตกเป็นร่องลึกหรือสะเก็ดรูปสี่เหลี่ยม ตามกิ่งอ่อน แผ่นใบ ก้านใบ และช่อดอก มีขนสั้นประปราย-เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 7-15 ซม. ยาว 15-27 ซม. ปลายใบและโคนใบมน-แหลม ขอบใบเรียบหรือหยักมนเล็กน้อย เส้นแขนงใบข้างละ 10-18 เส้น มีต่อมนูน 1 คู่ที่เส้นกลางใบช่วงโคน แผ่นใบหนา ก้านใบยาว 1-2 ซม. ช่อดอกแบบแยกแขนง ยาว 15-30 ซม. ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ช่อย่อยแบบกระจะ ก้านดอกย่อยยาว 1-2 มม. กลีบเลี้ยงคล้ายถ้วย สูงประมาณ 1-2 มม. ปลายแยก 5 แฉกตื้น ไม่มีกลีบดอก ดอกบานกว้าง 3-4 มม. สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลมีเนื้อแข็ง รูปขอบขนานหรือรูปรี ยาว 4-6 ซม. มีครีบตามแนวยาว 5 ครีบ ครีบกว้าง 1-2 ซม. ขอบครีบอาจบิดเป็นคลื่น ผลอ่อนสีเขียวอ่อน หรือแต้มแดงเรื่อ ๆ นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่ราบ ทุ่งนา หรือบนภูเขาลาดชัน ดินปนทรายหรือดินลูกรังที่มีการระบายน�้ำดี ในป่า เบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 50-1,000 ม. ออกดอกเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ติดผลเดือน สิงหาคม-พฤศจิกายน การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ประเทศลาวพบทั่วประเทศ ประเทศอินเดีย ศรีลังกา เนปาล บังกลาเทศ เมียนมาร์ และทั่วภูมิภาคอินโดจีน ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็งแรง ชักเงาได้ดี ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ท�ำไม้เสา คาน กระดาน ต่อเรือ ท�ำเครื่องเรือน เครื่องมือการเกษตร, เปลือกมีรสฝาดสมาน ต้มน�้ำดื่มแก้ท้องร่วง ท้องเสีย ใช้ล้างแผล ช่วยห้ามเลือด, เปลือกต้นและ ผลใช้ในการย้อมผ้าและฟอกหนัง ให้สีน�้ำตาลเข้ม-ด�ำ
81 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
82 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง เปื๋อยเลือด ชื่อพื้นเมืองไทย : เปื๋อยหิน ຊື່ລາວ : - ชื่อพฤกษศาสตร์ : Terminalia pedicellata Nanakorn ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE Common name : Guava Terminalia. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 ม. ผลัดใบ ล�ำต้นคดงอ เปลือกสีน�้ำตาลอมเขียวถึงเหลือง หลุดล่อนเป็นแผ่นบาง (คล้ายเปลือกต้นตะแบก) ตามกิ่ง ก้านใบ แผ่นใบ ช่อดอกและผลมีขนสั้นนุ่มหนาแน่นสีน�้ำตาล แดง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปขอบขนานแกมรี หรือรูปไข่กว้าง กว้าง 7-10 ซม. ยาว 10-15 ซม. ปลายใบและโคนใบมน-กลม เส้นแขนงใบข้างละ 10-17 เส้น แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. มีต่อมคล้ายหูดนูน 1 คู่ที่ปลายก้านใบติดโคนใบ ช่อดอกแบบกระจะ ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 10-15 ซม. ห้อยลง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงรูปถ้วยปลายแยก 5 แฉกตื้น ดอกบานกว้าง 5 มม. ก้านดอกย่อยยาว 1-2 ซม. ผลรูปไข่กลับ ยาว 1-1.5 ซม. มีครีบตามแนวยาว 3 ครีบ ปลายผลเว้าบุ๋ม นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่ดินปนทราย หรือมีชั้นดินตื้นตามพลาญหินทราย ในป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ หรือทุ่งหญ้า ที่ความสูงจากระดับน�้ำ 200-700 ม. ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน เป็นผลเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) บริเวณตอนกลางของภูมิภาคอินโดจีน ประเทศไทยพบในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศลาวตอนกลางและตอนใต้ และประเทศ กัมพูชาตอนบนและด้านตะวันตก ประโยชน์ : -
83 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
84 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง คร่อเทียน ชื่อพื้นเมืองไทย : ตะเคียนหนูน�้ำ ຊື່ລາວ : ໄຄ້ ທຽນ ເຊືອກທຽນ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Terminalia rivularis (Gagnep.) Gere & Boatwr. ชื่อพ้อง : Anogeissus rivularis (Gagnep.) O. Lecompte ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE Common name : Willow Terminalia. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก-กลาง สูงถึง 15 ม. ผลัดใบ ล�ำต้นคดงอ เปลือกสีน�้ำตาลแดง หลุดล่อนเป็นสะเก็ดบางขนาดเล็ก กิ่งอ่อนห้อยย้อยลง ตามกิ่งอ่อน ก้านใบ ช่อดอก และผลมีขนสั้นหนานุ่ม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม รูปรีหรือรูปใบหอก กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมน-แหลม เส้นแขนงใบข้างละ 3-6 เส้น มักพบต่อมนูน 1 คู่ที่เส้นแขนงใบคู่ล่าง แผ่นใบมีขนคล้ายเส้นไหมหนาแน่น ก้านใบยาว 2-4 มม. ช่อดอกแบบกระจุกแน่น ทรงกลม กว้าง 5-7 มม. สีขาว ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 1-3 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 3-4 มม. กลีบเลี้ยงคล้ายถ้วย สูงประมาณ 1 มม. ปลายแยก 5 แฉกตื้น ผลติดเป็นกลุ่มทรงกลม กว้างประมาณ 1 ซม. ผลย่อยเนื้อแข็ง รูปครึ่งวงกลม มีพูตามยาว 3 พู ปลายเรียวแหลมและ โค้งขึ้น นิเวศวิทยา : มีการปรับตัวเฉพาะกับระบบนิเวศในแม่น�้ำโขงตอนล่าง โดยชอบขึ้นตามริมตลิ่งหรือเกาะแก่งที่เป็นหิน ในแม่น�้ำ สามารถต้านทานกระแสน�้ำที่ไหลเชี่ยวและจมอยู่ใต้น�้ำในช่วงฤดูน�้ำหลากได้ดี ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเล จนถึงประมาณ 100 ม. ออกดอกเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ติดผลเดือนมีนาคม-พฤษภาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) บริเวณตอนกลางและตอนใต้ของภูมิภาค อินโดจีน พบเฉพาะในแม่น�้ำโขง และล�ำน�้ำสาขา ประเทศไทยพบในแม่น�้ำโขงเขตจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศลาว พบในแขวงจ�ำปาสักและอัตตะปือ และตามแม่น�้ำโขงในช่วงที่มีเกาะแก่งหินในประเทศกัมพูชา ประโยชน์ : มีทรงพุ่มและกิ่งก้านห้อยย้อยสวยงาม (คล้ายต้นหลิว) เหมาะสมต่อการปลูกประดับ ต้นอย่างต้นแบบ Holotype หมายเลขผู้เก็บ Harmand F.J. 3317, ที่มาภาพ : Muséum National D’ Histoire Naturelle, http://mediaphoto.mnhn.fr/media/1446861816198c9KlKI24dGS4yvJ5, กันยายน 2566.
85 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
86 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ส้านใหญ่ ชื่อพื้นเมืองไทย : ส้าน ส้านต้อง ຊື່ລາວ : ສ້ ານໃບໄຂ່ ປີ້ນ ແພງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Dillenia obovata (Blume) Hoogland ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : DILLENIACEAE Common name : Granadilla Tree. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 35 ม. ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาล ขรุขระ ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่กลับ กว้าง 12-20 ซม. ยาว 20-40 ซม. ปลายใบกลม-เว้าบุ๋ม ขอบใบจักฟันเลื่อย โคนใบมนหรือรูปลิ่ม แผ่นใบหนาคล้าย แผ่นหนัง ผิวด้านล่างมีนวลสีขาวและมีขนสั้นประปราย ก้านใบยาว 1.5-4 ซม. มีขนสั้นนุ่ม มีครีบเล็กน้อยแผ่กางออก ทั้งสองด้าน ดอกเดี่ยว ขนาดใหญ่ เมื่อบานกว้าง 15 ซม. ออกที่ปลายกิ่งหรือกิ่งเก่า มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 5 กลีบ รูปไข่กลับ กลีบดอกสีเหลืองสด มี 5 กลีบ รูปช้อน ยาว 6.5-8 ซม. ปลายกลม หลุดร่วงง่าย เกสรเพศผู้สีเหลือง สด มีจ�ำนวนมาก รังไข่มี 9-14 คาร์เพล ผลมีเนื้อฉ�่ำน�้ำ รูปค่อนข้างทรงกลม กว้าง 3.5-4 ซม. มีกลีบเลี้ยงหุ้มผลและ ซ้อนกันหลายชั้น เมื่อสุกมีกลิ่นหอมคล้ายผลเสาวรส สีเหลืองหรือสีส้ม นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่ง ชายป่า หรือตามที่รกร้าง บนดินปนทรายหรือดินลูกรัง ทั้งในป่าดิบและป่าผลัดใบ ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,000 ม. ออกดอกเดือนธันวาคม-เมษายน เป็นผลเดือนมีนาคมกรกฎาคม การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ประเทศลาวพบตอนกลางและตอนใต้ ประเทศเมียนมาร์ตอนล่าง ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซียด้านตะวันตก ประโยชน์ : เนื้อไม้ ใช้ก่อสร้าง, เปลือกใน น�ำมาคั้นรวมกับใบโหระพา ช่วยรักษาโรคเชื้อราในช่องปากและโรคเลือด ออกตามไรฟัน, ผลสุก ส่วนกลีบเลี้ยงหุ้มผลมีเนื้อฉ�่ำน�้ำรสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม รับประทานได้
87 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
88 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง กระบาก ชื่อพื้นเมืองไทย : บาก ຊື່ລາວ : ບາກ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Anisoptera costata Korth. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE Common name : Mersawa. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 50 ม. ผลัดใบช่วงสั้น ล�ำต้นเปลาตรง เปลือกสีน�้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่อง ตื้น-ลึกตามแนวยาว ตามกิ่งอ่อน ก้านใบ และช่อดอกมีขนสั้นหนานุ่ม ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปขอบขนานแกมรี กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-19 ซม. ปลายใบเรียวแหลมหรือกลม โคนใบกลม เส้นแขนงใบข้างละ 12-25 เส้น ปลายเส้นโค้ง จรดกันใกล้ขอบใบ แผ่นใบหนา ผิวด้านล่างมีขนรูปดาวหนานุ่มสีขาวอมเหลือง ช่อดอกแยกแขนง ยาว 10-18 ซม. ห้อยลง ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมแรง กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ รูปไข่ปลาย แหลม ยาว 7-10 มม. ผลเปลือกแข็งรูปทรงกลม กว้าง 1-1.5 ซม. มีขนสั้น ผลมีปีกยาว 2 ปีก รูปแถบยาว กว้าง 1-2 ซม. ยาว 5-15 ซม. ปลายปีกมน มีเส้นปีกตามยาว 3 เส้น และเส้นย่อยแนวขวางคล้ายขั้นขันได และมีปีกสั้น 3 ปีก ยาวไม่เกิน 2.5 ซม. ผลอ่อนปีกสีเขียวอ่อน เมื่อแก่ปีกจะแห้งสีน�้ำตาล นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่ดินปนทราย ดินลูกรัง หรือดินเป็นกรดที่ระบายน�้ำได้ดี ทั้งในเขตที่ราบหรือที่ลาดชัน ในป่าดิบหรือป่าผลัดใบ ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,000 ม. ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม เป็นผลเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยและลาวพบทั่วทุกภาค ประเทศเมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ และภูมิภาค มาเลเซีย ประโยชน์ : เนื้อไม้ค่อนข้างแข็งแรง ใช้ต่อเรือ ไม้ก่อสร้าง ท�ำไม้กระดาน ไม้แบบ ลังใส่ของ, ชันใช้ผสมกับน�้ำมันสน หรือน�้ำมันยางทารักษาไม้ น�้ำมันชักเงา น�้ำมันยาแนวไม้และเรือ
89 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
90 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง พะยอม ชื่อพื้นเมืองไทย : ขะยอม ຊື່ລາວ : ແຄນຂະຍອມ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Anthoshorea roxburghii (G.Don) P.S. Ashton & J.Heck. ชื่อพ้อง : Shorea roxburghii G. Don ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE Common name : White Meranti. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. ผลัดใบ ล�ำต้นเปลาตรง เปลือกสีน�้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึก ตามแนวยาว ตามกิ่งอ่อน ก้านใบ ช่อดอกมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น-เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปขอบขนานหรือรูปรีแกม รูปขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-15 ซม. ปลายใบมน-แหลม โคนใบแหลม-เว้าเล็กน้อย เส้นแขนงใบข้างละ 14-20 เส้น แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวด้านล่างมีขนนุ่ม-เกลี้ยง ก้านใบยาว 2-5 ซม. ช่อดอกแยกแขนง ออกตามกิ่งและซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ห้อยลง ยาว 5-12 ซม. กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว-สีครีม 5 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 1-1.3 ซม. ปลายกลีบบิดเวียนคล้ายรูปกังหัน มีกลิ่นหอม ผลเปลือกแข็ง รูปทรงไข่ ยาว 1 ซม. มีปีกยาว 3 ปีก รูปช้อนแกมรูปแถบ ยาว 4-10 ซม. มีเส้นปีก 6-8 เส้น และมีปีกสั้น 2 ปีก ยาว 2.5-6 ซม. โคนปีกทั้ง 5 แผ่หุ้มผลมิด โคนผลเรียวแหลม ผลอ่อนปีกสีเหลืองอมเขียว ผลแก่ปีกแห้งสีน�้ำตาล นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่ดินปนทราย ดินลูกรัง หรือดินเป็นกรดที่ระบายน�้ำได้ดี ทั้งในเขตที่ราบหรือที่ลาดชัน ในป่าดิบหรือป่าผลัดใบ ป่าชายหาด ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,500 ม. ออกดอกเดือนธันวาคมเมษายน เป็นผลเดือนเมษายน-มิถุนายน การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยและลาวพบได้ทุกภาค ประเทศอินเดีย เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน และคาบสมุทร มาเลเซียตอนบน ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็งแรง ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ไม้หมอนรางรถไฟ, เปลือกมีรสฝาด ใส่ในกระบอกน�้ำตาลสดจาก ต้นตาลโตนดหรือมะพร้าวเพื่อป้องกันการบูดเน่า ต้มน�้ำดื่มเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดินและล�ำไส้อักเสบ หรือใช้ เคี้ยวกับหมาก, ดอกอ่อนน�ำมาผัดกับไข่หรือกินกับน�้ำพริก ตากแห้งเข้ายาหอมยาลม ช่วยบ�ำรุงหัวใจ ลดไข้, ชัน ใช้ ผสมน�้ำมันยางหรือน�้ำมันสนทารักษาไม้หรือยาแนวเรือ, ปลูกเป็นไม้ประดับดอกหอม
91 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
92 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ยางนา ชื่อพื้นเมืองไทย : ยาง ยางหยวก ຊື່ລາວ : ຍາງນາ ຍາງຂາວ ໄມ້ ຍາງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE Common name : Yang Na, River Yang. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 50 ม. ผลัดใบช่วงสั้น เปลือกสีน�้ำตาลอ่อนอมเทา แตกลอกเป็นแผ่น บางขนาดใหญ่หรือแบบสะเก็ด กิ่งอ่อนมีรอยแผลหูใบเป็นวงแหวนรอบกิ่ง ตามกิ่งอ่อน ช่อดอก แผ่นใบด้านล่าง และ ก้านใบ มีขนสั้นหนานุ่ม ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 7-14 ซม. ยาว 10-24 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน-เว้าเล็กน้อย แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบข้างละ 12-20 เส้น ก้านใบยาว 2-6 ซม. ช่อดอกกระจะ ห้อยลง ยาว 5-12 ซม. ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีครีบตามแนวยาว 5 ครีบ ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวมีแถบสีชมพูกลางกลีบ รูปขอบขนาน ยาว 3 ซม. ปลายบิดเวียนคล้าย รูปกังหัน มีกลิ่นหอม ผลเปลือกแข็ง ทรงค่อนข้างกลม กว้าง 2.5-3 ซม. มีครีบตามแนวยาว 5 ครีบ ครีบกว้าง 0.5-1 ซม. มีปีกยาว 2 ปีก รูปแถบ กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 7-13 ซม. มีเส้นปีก 3 เส้น มีปีกสั้น 3 ปีก คล้ายหูหนู ยาว 1-1.5 ซม. ผลอ่อนปีกสีแดงอมชมพู ผลแก่ปีกจะแห้งสีน�้ำตาล นิเวศวิทยา : ขึ้นใกล้ล�ำธาร ในเขตที่ราบ หรือตามหุบเขา ที่มีชั้นดินลึกมากกว่า 1 ม. ในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าชายหาด ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 500 ม. ออกดอกเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เป็นผล เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบได้ทุกภาค ลงไปถึงจังหวัดสงขลา ประเทศลาวพบตอนกลางและตอนใต้ ในเขต ที่ราบใกล้แม่น�้ำโขง ประเทศอินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ หมู่เกาะอันดามัน เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ และ เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็งแรงปานกลาง ใช้ก่อสร้างบ้านเรือนในส่วนที่อยู่ในร่ม เช่น ไม้ฝา โครงคร่าว ไม้แปร, น�้ำมัน ยางนาผสมกับชันทารักษาไม้ ยาแนวเรือ ท�ำไต้ ท�ำน�้ำมันทารักษาแผลอักเสบมีหนอง โรคหนองใน โรคเรื้อน, เมล็ด และใบมีรสฝาดร้อน น�ำมาต้มใส่เกลือ ใช้อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน
93 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
94 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ยางกราด ชื่อพื้นเมืองไทย : กราด เหียงกราด สะแบง ຊື່ລາວ : ຍາງສາແບງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Dipterocarpus intricatus Dyer ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE Common name : Yang Krat. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว กิ่งอ่อนมีรอยแผลหูใบเป็นวงแหวนรอบกิ่ง ตามกิ่งอ่อน ช่อดอก แผ่นใบด้านล่าง และก้านใบ มีขนกระจุกสั้น-ยาว หนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่ กว้าง 10-18 ซม. ยาว 13-28 ซม. ปลายใบมน โคนใบเว้า เส้นแขนงใบข้างละ 10-15 เส้น แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวด้านบนเป็นคลื่นตามแนวเส้นแขนงใบเล็กน้อย ก้านใบยาว 2-5 ซม. ช่อดอกแยกแขนง ห้อยลง ยาว 10-20 ซม. ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกันเป็นรูป ถ้วย มีครีบตามแนวยาว 5 ครีบและบิดไปมา ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว มีแถบสีชมพูกลางกลีบ รูปขอบขนาน ยาว 2-4 ซม. ปลายบิดเวียนคล้ายรูปกังหัน มีกลิ่นหอม ผลเปลือกแข็ง ทรงค่อนข้างกลม กว้าง 1-1.5 ซม. มีครีบตามแนวยาว 5 ครีบและบิดพับไปมา 5-7 ชั้น ครีบกว้าง 3-5 มม. มีปีกยาว 2 ปีก รูปแถบ กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 5-9 ซม. มีเส้นปีก 3 เส้น มีปีกสั้น 3 ปีก คล้ายหูหนู ยาว 0.7-1 ซม. ผลอ่อนปีกสีแดงสด ผลแก่ปีกจะแห้ง สีน�้ำตาล นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่ดินปนทราย หรือดินลูกรัง ที่ระบายน�้ำดี ในเขตที่ราบหรือเนินเขา ตามป่าเต็งรัง ทุ่งหญ้า หรือป่าชายหาด ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 800 ม. ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม เป็นผลเดือน เมษายน-พฤษภาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) บริเวณตอนกลางและตอนใต้ของภูมิภาค อินโดจีน ในไทยพบเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคเหนือและภาคใต้ ประเทศลาวพบตอนกลางและตอนใต้ กัมพูชา และ เวียดนามตอนใต้ ประโยชน์ : เนื้อไม้ค่อนข้างแข็งแรง ใช้ก่อสร้างบ้านเรือนในส่วนที่อยู่ในร่ม ท�ำเครื่องมือทางการเกษตร, น�้ำมันยาง กราดใช้ทารักษาแผลอักเสบมีหนอง หรือผสมกับชันทารักษาไม้และยาแนวเรือ, เปลือกต้มกับน�้ำแล้วใช้ถูนวดขณะ ร้อน ๆ ตามข้อ ช่วยบรรเทาอาการปวด, ดอกอ่อนรับประทานเป็นผักสด จิ้มน�้ำพริกหรือลาบ
95 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
96 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง เหียง ชื่อพื้นเมืองไทย : ยางเหียง ซาด ตาด สะแบง ຊື່ລາວ : ຊາດ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE Common name : Yang Hiang. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว กิ่งอ่อนมีรอยแผลหูใบเป็นวงแหวนรอบกิ่ง ตามกิ่งอ่อน ช่อดอก ผิวใบด้านล่างและก้านใบมีขนกระจุกสั้น-ยาวหนา แน่น หายากที่เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่ รูปรี หรือแกมรูปขอบขนาน กว้าง 10-18 ซม. ยาว 13-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม-เว้า เส้นแขนงใบข้างละ 12-20 เส้น แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวด้านบนพับจีบ ตามแนวเส้นแขนงใบคล้ายรางน�้ำชัดเจน ก้านใบยาว 2.5-6.5 ซม. ช่อดอกกระจะ ห้อยลง ยาว 4-10 ซม. ออกตาม ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวและ มีสีชมพูเป็นแถบกลางกลีบหรือแต้มช่วงปลาย รูปขอบขนาน ยาว 4-6 ซม. ปลายบิดเวียนคล้ายรูปกังหัน มีกลิ่นหอม ผลเปลือกแข็ง ทรงค่อนข้างกลม กว้าง 1.5-2.5 ซม. มีปีกยาว 2 ปีก รูปแถบ กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 7-17 ซม. มีเส้นปีก 3 เส้น มีปีกสั้น 3 ปีก คล้ายหูหนู ยาว 1-2 ซม. ผลอ่อนปีกสีแดงอมชมพู ผลแก่ปีกจะแห้งสีน�้ำตาล นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่ดินปนทราย หรือดินลูกรัง ที่ระบายน�้ำดีหรือเป็นกรด ในเขตที่ราบหรือที่ลาดชัน ตาม ป่าเต็งรัง ป่าชายหาด ป่าทุ่งสน ป่าละเมาะ หรือทุ่งหญ้า ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,300 ม. ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม เป็นผลเดือนมกราคม-มิถุนายน การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทยและลาวพบทุกภาค ประเทศเมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ และคาบสมุทร มาเลเซียตอนบน ประโยชน์ : เนื้อไม้ค่อนข้างแข็งแรง ใช้งานก่อสร้างในร่มและเครื่องมือทางการเกษตร, ใบต้มน�้ำผสมเกลือ น�ำมา อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน ในชนบททางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและลาวใช้เย็บเป็นตับ มุงหลังคาหรือฝาบ้าน, น�้ำมันใช้ทารักษาแผลอักเสบมีหนอง, เปลือกต้นต้มน�้ำดื่มแก้ท้องเสีย
97 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region
98 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง พลวง ชื่อพื้นเมืองไทย : ยางพลวง กุง ตึง ຊື່ລາວ : ກຸງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Dipterocarpus tuberculatus Roxb. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE Common name : Yang Phluang. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 40 ม. ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาล แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว กิ่งอ่อน อวบหนาและมีรอยแผลหูใบเป็นวงแหวนรอบกิ่ง ตามกิ่งอ่อน ช่อดอก และก้านใบมีขนกระจุกสั้นหนาแน่น-เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่ รูปรีกว้าง กว้าง 15-50 ซม. ยาว 15-70 ซม. ปลายใบมน-แหลม โคนใบเว้า เส้นแขนง ใบข้างละ 12-15 เส้น แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวด้านบนเป็นคลื่นเล็กน้อย ด้านล่างเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-12 ซม. ช่อดอกกระจะ ห้อยลง ยาว 5-25 ซม. ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อม ติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวและมีสีชมพูเป็นแถบกลางกลีบ รูปขอบขนาน ยาว 2.5-3 ซม. ปลายบิดเวียนคล้ายรูปกังหัน มีกลิ่นหอม ผลเปลือกแข็ง ทรงค่อนข้างกลม กว้าง 2-2.5 ซม. ปลายผลมีติ่ง 5 ติ่ง ยาว 5 มม. มีปีกยาว 2 ปีก รูปแถบ กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 9-15 ซม. เส้นปีก 3 เส้น มีปีกสั้น 3 ปีก คล้ายหูหนู ยาว 1-2 ซม. ผลอ่อนปีกสีแดงอมชมพู ผลแก่ปีกจะแห้งสีน�้ำตาล นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่ดินปนทราย หรือดินลูกรัง ที่ระบายน�้ำดี ในเขตที่ราบหรือที่ลาดชัน ตามป่าเต็งรัง หรือ ป่าทุ่งหญ้า (savanna) ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,300 ม. ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม เป็นผลเดือนมีนาคม-พฤษภาคม การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบเกือบทุกภาค (ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา) ประเทศลาวพบทุกภาค ประเทศ บังกลาเทศ เมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนามตอนใต้ ประโยชน์ : เนื้อไม้ค่อนข้างแข็งแรง ใช้งานก่อสร้างในร่มและเครื่องมือทางการเกษตร, น�้ำมันและชัน ใช้ทารักษาไม้ ยาแนวเรือ ท�ำไต้, ใบแห้ง ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและลาวใช้เย็บเป็นตับมุงหลังคาหรือ ฝาบ้าน ใช้คลุมดินในแปลงปลูกสตรอเบอร์รี่เพื่อรักษาความชื้น กันวัชพืชและป้องกันผลเน่าเสีย, ใบสดใช้ห่ออาหาร