The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

พรรณไม้ไทย-ลาว สองฝั่งโขง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

พรรณไม้ไทย-ลาว สองฝั่งโขง

พรรณไม้ไทย-ลาว สองฝั่งโขง

99 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


100 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ตะเคียนทอง ชื่อพื้นเมืองไทย : ตะเคียน จะเคียน แคน ຊື່ລາວ : ແຄນເຮືອ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Hopea odorata Roxb. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE Common name : River Iron wood, Merawan. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 40 ม. ไม่ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึก-สะเก็ดตาม แนวยาว ตามปลายกิ่งอ่อน ช่อดอกและผลมีขนสั้นนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่แกมใบหอก และมักจะโค้ง เล็กน้อย กว้าง 4-6.5 ซม. ยาว 7-14 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนแหลม-มนและเบี้ยวเล็กน้อย เส้นแขนงใบข้างละ 8-12 เส้น แผ่นใบบาง ผิวใบเกลี้ยง มีต่อมใบที่ซอกระหว่างเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบช่วงโคนใบ ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. ช่อดอกแยกแขนง ห้อยลง ยาว 3-10 ซม. ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อย่อยแบบกระจะ มีดอกย่อยเรียง ด้านเดียว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอ่อน รูปไข่ ยาว 2-3 มม. กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว-สีครีม รูปขอบขนาน ยาว 3-5 มม. ปลายบิดเวียนคล้ายรูปกังหัน มีกลิ่นหอม ผลเปลือกแข็ง ทรงไข่กว้าง กว้าง 6-8 มม. มีปีกยาว 2 ปีก รูปช้อนแกม รูปแถบ ยาว 3-6 ซม. มีเส้นปีก 7-9 เส้น กลีบเลี้ยง 3 กลีบไม่พัฒนาเป็นปีก รูปไข่ ยาว 4-7 มม. โคนปีกทั้ง 5 โอบหุ้ม ผลเกือบมิด ผลอ่อนปีกสีเหลืองอมเขียว ผลแก่ปีกจะแห้งสีน�้ำตาล นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่ดินตะกอน ริมล�ำธาร หรือแม่น�้ำ ในเขตที่ราบลุ่มหรือตามหุบเขา หรือตามเนินทราย ชายทะเล ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 900 ม. ออกดอกเดือนธันวาคม-มีนาคม เป็นผลเดือนเมษายนกรกฎาคม การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยและลาวพบทุกภาค ประเทศบังกลาเทศ เมียนมาร์ หมู่เกาะอันดามัน กัมพูชา เวียดนาม และคาบสมุทรมาเลเซียตอนบน ประโยชน์ : ไม้เนื้อแข็ง เหนียวและทนทาน นิยมใช้ขุดหรือต่อเรือ ต่อรถ ท�ำสะพาน ท่าเรือ ไม้หมอนรางรถไฟ เครื่องเรือน หรือใช้งานก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่ต้องการความแข็งแรงทนทานสูง เช่น เสา คาน รอด ตง, ชัน บดเป็นผง ใส่แผลสดเพื่อฆ่าเชื้อและห้ามเลือด ผสมน�้ำมันยางหรือสนใช้ยาแนวเรือหรือเคลือบเงาไม้, เปลือกอมแก้ปวดฟัน หรือ ใช้เคี้ยวกับหมาก


101 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


102 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง เกล็ดเข้ ชื่อพื้นเมืองไทย : แคนหิน ຊື່ລາວ : - ชื่อพฤกษศาสตร์ : Parashorea densiflora Slooten & Symington subsp. kerrii (Tardieu) R. Pooma ชื่อพ้อง : Parashorea kerrii Tardieu ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE Common name : White seraya, Yellow Left Meranti. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 40 ม. ไม่ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาลเข้ม แตกเป็นสะเก็ด-ร่องตื้นตามแนว ยาว ตามกิ่งอ่อน ก้านใบและช่อดอกมีขนสั้นประปราย-เกลี้ยง กิ่งมีช่องอากาศจ�ำนวนมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบ ขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4-7 ซม. ยาว 7-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนแหลม-มน เส้นแขนงใบข้างละ 10-12 เส้น แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงและมีรอยพับจีบเล็กน้อย ด้านล่างมีสะเก็ดสีน�้ำตาลอ่อนค่อนข้างหนาแน่น ก้านใบยาว 0.7-1.5 ซม. ช่อดอกแยกแขนง โน้มลง ยาว 8-30 ซม. ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อย่อยแบบกระจะ มีดอกย่อยเรียงด้าน เดียว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว รูปสามเหลี่ยม ยาว 5-7 มม. กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวปลายกลีบแต้มสีชมพู รูปไข่กลับ ยาว 6-7 มม. ปลายบานกลับเล็กน้อย มีกลิ่นหอม ผลเปลือกแข็ง ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3 ซม. ผิวมีช่อง อากาศขรุขระสีน�้ำตาลจ�ำนวนมาก กลีบเลี้ยงไม่พัฒนาเป็นปีก ติดคงทนที่ขั้วผล นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่ราบเชิงเขาและใกล้ล�ำธาร ในป่าดิบแล้ง ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเลประมาณ 200 ม. ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน เป็นผลเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม การกระจายพันธุ์ : เกล็ดเข้ ในชนิดย่อย kerrii เป็นพืชหายาก (rare species) และ พืชถิ่นเดียวระดับเมืองหรือ รัฐ (Province endemic) พบเฉพาะบริเวณภูเขาควาย แขวงเวียงจันทน์และบอลิค�ำไซ ของประเทศลาว และ ในประเทศไทย ที่ภูวัว จังหวัดบึงกาฬ โดยเกล็ดเข้ที่พบบริเวณนี้เป็นประชากรที่ถูกโดดเดี่ยว คาดว่าเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นในช่วงยุคน�้ำแข็ง Pleistocene ประมาณ 1.65 - 0.01 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งบริเวณอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ มีระดับน�้ำทะเลลดลงจนแผ่นดินเชื่อมต่อกันสลับกับช่วงน�้ำท่วมสูงในรอบทุก ๆ ประมาณ 1 แสนปี โดยในช่วงที่แผ่น ดินเชื่อมต่อกันนั้น ตามแนวเทือกเขาอันนัมประเทศเวียดนาม มีสภาพภูมิอากาศที่ชุ่มชื้นเกิดป่าดิบชื้นไปทั่ว ท�ำให้ต้น เกล็ดเข้และพรรณไม้เขตร้อนชื้นหลายชนิดจากคาบสมุทรมาเลเซียและเกาะบอร์เนียวที่อยู่ใกล้เคียงที่สุดกระจายขึ้น มาถึง ต่อมาเมื่อประมาณ 1 หมื่นที่แล้วสภาพภูมิอากาศโลกที่ค่อย ๆ ร้อนขึ้น ท�ำให้ระดับน�้ำทะเลสูงขึ้นมาจนถึง ปัจจุบัน ตามแนวเทือกเขาอันนัมและภูมิภาคอินโดจีนส่วนใหญ่มีความแห้งแล้งมากขึ้น พรรณไม้ที่ปรับตัวไม่ได้จึง สูญพันธุ์ไป แต่บางชนิดสามารถปรับตัวอยู่รอดต่อมาได้ บางชนิดเกิดการกลายพันธุ์ไปเป็นชนิดย่อย (subspecies) จากชนิดเดิม เช่น ต้นเกล็ดเข้ ประโยชน์ : เนื้อไม้ค่อนข้างแข็งแรงคล้ายกลุ่มไม้เต็ง ไม้รัง ใช้ในการก่อสร้าง


103 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


104 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง รัง ชื่อพื้นเมืองไทย : ฮัง เปา ຊື່ລາວ : ຮັງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Pentacme siamensis (Miq.) Kurz ชื่อพ้อง : Shorea siamensis Miq. ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE Common name : Siamese Sal, Dark Red Meranti, Light Red Meranti, Red Lauan. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 25 ม. ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาล แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว ตามกิ่งอ่อน แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบและช่อดอกมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น-ประปราย ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง หรือ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 7-20 ซม. ยาว 10-25 ซม. ปลายใบมนถึงแหลม โคนใบเว้า เส้นแขนงใบข้างละ 12-20 เส้น ก้านใบยาว 2-5 ซม. ใบแก่ก่อนร่วงสีส้ม-สีแดง ช่อดอกแยกแขนง ห้อยลง ยาว 3-10 ซม. ออกตามซอกใบใกล้ ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอมเหลือง รูปไข่ ยาว 5 มม. กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอ่อน รูปรีกว้าง ยาว 1.5- 2 ซม. ปลายกลีบม้วนกลับ โคนดอกป่องออก มีกลิ่นหอม ผลเปลือกแข็ง ทรงไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. มีปีกยาว 3 ปีก รูปช้อนแกมรูปแถบ ยาว 5-12 ซม. เส้นปีก 7-10 เส้น มีปีกสั้น 2 ปีก ยาว 2-6 ซม. โคนปีกทั้ง 5 โอบหุ้มผล ไม่มิด ผลอ่อนปีกสีเหลืองอมเขียวหรือสีชมพูเรื่อ ๆ ผลแก่ปีกจะแห้งสีน�้ำตาลแดง นิเวศวิทยา : ขึ้นในพื้นที่ดินปนทราย ดินลูกรัง ซอกหิน หรือพื้นที่ที่มีการระบายน�้ำดี ในป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ ทุ่งหญ้า ป่าดิบแล้งบนเขาหินปูนหรือบนหน้าผาใกล้ชายทะเล ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,300 ม. ออกดอก เดือนธันวาคม-มีนาคม เป็นผลเดือนมีนาคม-พฤษภาคม การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยและลาวพบทั่วทุกภาค ประเทศเมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ และลงไปถึง รัฐปะลิสและเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ประโยชน์ : เนื้อไม้ค่อนข้างแข็งแรง ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ท�ำไม้หมอนรางรถไฟ และเครื่องมือทางการเกษตร, ใบสด ทางภาคเหนือของไทยใช้ห่ออาหาร, ชันใช้ผสมน�้ำมันยางหรือสนทารักษาไม้และยาแนวเรือ ท�ำไต้หรือกระบอง จุดไฟ, เปลือกต้มน�้ำดื่มแก้โรคท้องร่วง เกร็ดความรู้ : ค�ำระบุชนิด siamensis มาจากค�ำว่า Siam โดยการตั้งชื่อพืชชนิดนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศ สยาม จากการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1864 (พ.ศ. 2407) ใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ขณะนั้น Shorea siamensis Miq. โดยนาย Friedrich Anton Wilhelm Miquel จากตัวอย่างพรรณไมตนแบบของนาย Johannes Elias Teijsmann ที่เก็บ จากจังหวัดกาญจนบุรี (ทั้งคู่เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช) ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อสกุล Pentacme


105 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


106 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง เต็ง ชื่อพื้นเมืองไทย : จิก แงะ ຊື່ລາວ : ຈິກ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Shorea obtusa Wall. ex Blume ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE Common name : Burmese Sal. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาล แตกเป็นร่องลึก-สะเก็ดตามแนวยาว ตามกิ่งอ่อน ก้านใบและช่อดอกมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น-ประปราย ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกม ขอบขนาน กว้าง 5-12 ซม. ยาว 9-20 ซม. ปลายใบมน-แหลม โคนใบแหลม-มน เส้นแขนงใบข้างละ 12-22 เส้น ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยงและมันวาว ด้านล่างมีต่อมใบที่ซอกระหว่างเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบ ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. ช่อดอกแยกแขนง ห้อยลง ยาว 5-17 ซม. ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอมเหลือง รูปไข่ ยาว 1.5-2 มม. กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวครีม รูปแถบ ยาว 1-1.2 ซม. ปลายกลีบม้วนตามแนวยาวคล้ายหลอด โคนดอกป่องเล็กน้อย มีกลิ่นหอม ผลเปลือกแข็ง ทรงไข่ กว้าง 0.8 ซม. มีปีกยาว 3 ปีก รูปช้อนแกมรูปแถบ ยาว 4-5 ซม. เส้นปีก 7-10 เส้น มีปีกสั้น 2 ปีก ยาว 2-3.5 ซม. โคนปีกทั้ง 5 โอบหุ้มผลมิด ผลอ่อนปีกสีเหลืองอมเขียว ผลแก่ ปีกจะแห้งสีน�้ำตาล นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่ดินปนทราย ดินลูกรัง ตามพื้นที่ราบที่มีการระบายน�้ำได้ดี หรือที่ลาดชัน ในป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ หรือทุ่งหญ้า ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,300 ม. ออกดอกเดือนมกราคม-เมษายน เป็นผลเดือนเมษายน-มิถุนายน การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบเกือบทุกภาค ลงไปถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศลาวพบทุกภาค ประเทศ เมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนามตอนใต้ ประโยชน์ : เนื้อไม้ค่อนข้างแข็งแรง ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ท�ำไม้หมอนรางรถไฟ เครื่องมือทางการเกษตร, ชันผสม กับน�้ำมันยางหรือสนทารักษาไม้และยาแนวเรือ ท�ำไต้หรือกระบองคบไฟ, เปลือกฝนกับน�้ำปูนใสทาเป็นยาฝาดสมาน แก้แผลน�้ำเหลืองเสียและช่วยห้ามเลือด


107 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


108 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง เปล้าภูวัว ชื่อพื้นเมืองไทย : เปล้าทอง ຊື່ລາວ : ເປົ້າພູງົວ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Croton poomae Esser ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE Common name : Golden Croton. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 10 ม. ไม่ผลัดใบ เปลือกเรียบสีน�้ำตาลอมเทา ตามกิ่งอ่อน แผ่นใบ ด้านล่าง ก้านใบ ช่อดอกและผลมีขนรูปดาวสีน�้ำตาลแดงและสะเก็ดสีเงินหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่ กว้าง 5-8.5 ซม. ยาว 13-25 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแหลม-มน เส้นแขนงใบข้างละ 13-16 เส้น ผิวใบด้านบนเรียบ และมันเงา ด้านล่างมีต่อมใบ 1 คู่ที่โคนแผ่นใบ ก้านใบยาว 8-17 ซม. ช่อดอกกระจะ ยาว 3-13 ซม. ออกตามปลาย กิ่ง ตั้งขึ้น ดอกแยกเพศอยู่บนช่อดอกเดียวกัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว รูปไข่ ยาว 3-5 มม. ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศ เมียมีรังไข่ รูปไข่ ยาว 3 มม. ก้านชูเกสรแยก 3 แฉก ยอดเกสรแยก 2 แฉก ผลแบบแห้งแตก ทรงกลม กว้าง 2-3 ซม. มีร่องตื้นตามแนวยาว 6 ร่อง กลีบเลี้ยงติดทน ก้านผลยาว 5-7 มม. นิเวศวิทยา : ขึ้นในป่าที่ก�ำลังทดแทน หรือชายป่าของป่าดิบแล้ง ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 200-400 ม. ออกดอกเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม เป็นผลเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม การกระจายพันธุ์ : เป็นพืชถิ่นเดียวระดับเมืองหรือรัฐ (Province endemic) พบเฉพาะบริเวณภูวัว จังหวัดบึงกาฬ และภูลังกา จังหวัดนครพนม ประเทศไทย และคาดว่าน่าจะพบบริเวณแขวงบอลิค�ำไซและค�ำม่วน ประเทศลาว ด้วย ประโยชน์ : ใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรคล้ายเปล้าใหญ่ (Croton persimilis) ใบ มีรสร้อน เป็นยาบ�ำรุงธาตุ รักษา แผลในกระเพาะอาหารและล�ำไส้ หรือต้มน�้ำอาบ แก้ผดผื่นคัน แก้อาการคันตามตัว, ใบ เปลือก ราก หรือเนื้อไม้ ต้มน�้ำดื่มช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม ขับโลหิต เลือดไหลเวียนดีขึ้น แก้ช�้ำใน แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย หรือสับผสมใน ลูกประคบ


109 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


110 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง มะค่าโมง ชื่อพื้นเมืองไทย : มะค่า ຊື່ລາວ : ແຕ້ ຂ່ າ ແຕ້ ຄ່ າ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : FABACEAE Common name : Black Rosewood, Pod Mahogany. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. ผลัดใบ ล�ำต้นมักคดงอและแตกกิ่งต�่ำ เปลือกสีน�้ำตาลอ่อน อมเทา แตกเป็นสะเก็ดและหลุดล่อนเป็นหลุมตื้น ตามกิ่งอ่อนและช่อดอกมีขนสั้นนุ่ม ใบประกอบแบบขนนกปลาย คู่ ยาว 16-23 ซม. เรียงสลับ แกนใบยาว 15-20 ซม. ก้านใบยาว 2-5 ซม. ใบย่อยเรียงตรงข้าม มี 3-4 คู่ รูปรีหรือ แกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-9 ซม. ปลายใบมน-แหลม โคนใบมน ผิวใบเกลี้ยง ช่อดอกแยก แขนง ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ตั้งขึ้น ยาว 5-15 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวอ่อน รูปไข่กลับ ยาว 1-1.2 ซม. กลีบดอก 1 กลีบ สีแดง รูปช้อน ยาว 2-3 ซม. ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 15-20 ซม. หนา 2.5-4 ซม. เปลือกฝักแข็งและหนา มีช่องอากาศจ�ำนวนมาก เมื่อแก่แตกอ้า 2 ซีก เมล็ดสีด�ำเป็นมัน นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่เนินเขา-ลาดชัน ที่มีการระบายน�้ำดี ในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ ที่ความสูง ใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,000 ม. ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน เป็นผลเดือนมิถุนายน-สิงหาคม การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ประเทศลาวพบทุกภาค ประเทศเมียนมาร์ กัมพูชา และ เวียดนาม ประโยชน์ : เนื้อไม้สีน�้ำตาลแดง แข็งและเหนียว ทนทาน ปลวก-มอดไม่กิน ใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการความ แข็งแรงสูง เช่น เสา คาน กระดาน ต่อรถ ต่อเรือ ท�ำเครื่องเรือน และเครื่องมือทางการเกษตร, เปลือกท�ำน�้ำฝาด ส�ำหรับฟอกหนังหรือย้อมผ้า, เนื้อในเมล็ดอ่อนรสมันกินได้, เมล็ดแก่เผาไฟแล้วกินเนื้อในได้ (คล้ายเมล็ดมะขามคั่ว)


111 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


112 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ประดงเกล็ด ชื่อพื้นเมืองไทย : เกล็ดเข้ ຊື່ລາວ : ປະດົງເກັດ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Albizia attopeuensis (Pierre) I.C. Nielsen ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : FABACEAE Common name : Crocodile Scale Silk Tree. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 15 ม. ไม่ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาลแดง แตกเป็นแผ่นบางหลุดลอกเป็น ชั้น ๆ และเป็นลายร่างแห ตามกิ่งอ่อน แกนใบ ก้านใบ ช่อดอกและฝักมีขนสั้นนุ่มประปราย ต่อมาเกลี้ยง ใบประกอบ แบบขนนกปลายคู่ 2 ชั้น เรียงสลับ ก้านใบยาว 2-4 ซม. แกนช่อใบย่อยแตก 1 คู่ (คล้ายง่ามหนังสติก) ที่ง่ามมีต่อม นูน 1 ต่อม แกนช่อใบย่อยยาว 1.5-8 ซม. มีใบย่อยเรียงตรงข้าม 1-3 คู่ รูปรีหรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. ปลายใบแหลม-เรียวแหลม โคนใบมน-กลม ผิวใบเกลี้ยง มันเงา เห็นเส้นใบแบบร่างแหชัดเจน ช่อดอกแบบ กระจุกแน่น ทรงกลม ตั้งขึ้น ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 5-8 ซม. มีดอกย่อยประมาณ 25 ดอก กลีบดอกเป็นหลอด สีขาว ยาว 7-10 มม. ปลายแยก 5 แฉก เกสรเพศผู้สีขาวเป็นเส้นยาวตั้งขึ้น มีจ�ำนวนมาก ยาว 3-5 ซม. ผลเป็นฝักแบน รูปแถบโค้ง กว้าง 4 ซม. ยาว 10-16 ซม. หนา 0.5 ซม. เปลือกฝักคล้ายแผ่นหนัง บิดเล็ก น้อย เมื่อแก่แห้งไม่แตกอ้า เมล็ดแบนรูปรี กว้าง 1-1.6 ซม. นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่เนินเขา-ลาดชัน ที่มีการระบายน�้ำดี ตามป่าที่ก�ำลังทดแทนหรือชายป่าของป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือทุ่งหญ้า ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 200-1,200 ม. ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์- เมษายน เป็นผลเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศลาวพบตอนกลางและตอนใต้ ประเทศ กัมพูชา เวียดนาม และเกาะไห่หนาน ประเทศจีน เกร็ดความรู้ : ค�ำระบุชนิด attopeuensis มาจากการตั้งชื่อพืชชนิดนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองอัตตะปือ แขวง อัตตะปือ ประเทศลาว บริเวณที่พบตัวอย่างพืชชนิดนี้เป็นครั้งแรก


113 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


114 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ทองกวาว ชื่อพื้นเมืองไทย : จาน ทอง กวาวต้น ຊື່ລາວ : ຈານ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.) Taub. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : FABACEAE Common name : Bastard Teak, Flame of The Forest. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงถึง 20 ม. ผลัดใบ ล�ำต้นคดงอ แตกกิ่งค่อนข้างต�่ำ เปลือกชั้นในมียางสีแดง เข้ม เปลือกสีน�้ำตาล แตกเป็นสะเก็ด ตามกิ่งอ่อน ผิวใบด้านล่าง ก้านใบ และช่อดอกมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ใบประกอบ มี 3 ใบย่อย เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กว้าง หรือรูปเกือบกลม กว้าง 8-12 ซม. ยาว 11- 16 ซม. ปลายใบมน กลม หรือ เว้าตื้น โคนใบรูปลิ่ม-มนแกมเบี้ยว ใบย่อยที่ปลายแกนใบมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยคู่ข้าง เนื้อใบหนา ก้านใบย่อยยาว 0.8 ซม. ก้านใบยาว 10-15 ซม. ช่อดอกกระจะ ยาว 20-40 ซม. ดอกติดด้านบนด้านเดียวของแกนช่อดอก กลีบเลี้ยง สีเขียว รูปคนโท ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกสีส้มสด มี 4 กลีบ ยาว 5 ซม. กลีบดอกล่างรูปเรือ (คล้ายดอกแคบ้าน) ผลแบบฝักแบน รูปขอบขนานโค้งเล็กน้อย กว้าง 4 ซม. ยาว 10-15 ซม. ผิวมีขนสีเงินหนานุ่ม ตัวฝักบางและเป็นคลื่น ขอบมีเส้นหนา เมื่อแก่แห้งไม่แตกอ้า สีน�้ำตาล มี 1 เมล็ด รูปรี ติดที่ปลายฝักด้านล่าง นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่ง ทุ่งนา ป่าบุ่งป่าทาม และตามชายป่าของป่าเบญจพรรณหรือป่าดิบแล้งในเขตที่ราบ น�้ำท่วมถึง หรือตามริมน�้ำในเขตพื้นที่ภูเขา ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 400 ม. ผลัดใบช่วงเดือน ธันวาคม-มกราคม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลแก่เมษายน-มิถุนายน การกระจายพันธุ์ : พบได้ง่ายตามทุ่งนา และป่าบุ่งป่าทามทั่วประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ ประเทศลาวพบทุกภาค ภูมิภาคเอเชียใต้ เมียนมาร์ จีนตอนใต้ กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย ประโยชน์ : ใยเปลือกใช้ท�ำกระดาษ, ดอกสดมีน�้ำหวานให้นกดูดกิน, ดอกตากแห้ง ต้มน�้ำดื่มรักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ช่วยขับปัสสาวะ และใช้ย้อมผ้าหรือผสมอาหารให้สีเหลืองส้ม, เมล็ดใช้ขับพยาธิภายใน, ใบใช้ห่อ อาหาร, ปลูกเป็นไม้ประดับเพราะมีดอกสวยงาม


115 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


116 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ราชพฤกษ์ ชื่อพื้นเมืองไทย : คูน ลมแล้ง ຊື່ລາວ : ຕົ້ນຄູນ ຄູນ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Cassia fistula L. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : FABACEAE Common name : Golden Shower, Purging Cassia, Pudding-pipe Tree. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. ผลัดใบ ล�ำต้นคดงอเล็กน้อย แตกกิ่งค่อนข้างต�่ำ เปลือกเรียบ สีขาว ต้นอายุมากแตกสะเก็ดหนาสีน�้ำตาล ตามกิ่งอ่อน ใบ ช่อดอกและฝักเกลี้ยง ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ยาว 23-40 ซม. เรียงสลับ แกนใบยาว 15-25 ซม. ก้านใบยาว 7-10 ซม. ใบย่อยเรียงตรงข้าม มี 3-7 คู่ รูปไข่แกม รูปขอบขนาน กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-12 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ช่อดอกแยกแขนง ออกตามซอกใบ ห้อยลง ยาว 20-40 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 1.5-3.5 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอมเหลือง รูปไข่ ยาว 0.7-1 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองสด รูปไข่กลับ ยาว 3-3.5 ซม. ดอกบานกว้าง 5-7 ซม. ผลเป็นฝักทรงกระบอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 20-60 ซม. ฝักเมื่อแก่เปลือกแข็งสีด�ำ มีเนื้อในเหนียวสีด�ำ เมล็ดกลมแบนสีครีม นิเวศวิทยา : ในธรรมชาติขึ้นตามพื้นที่ที่มีการระบายน�้ำดี ในป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง ที่ความสูงจากระดับ น�้ำทะเล 20-1,300 ม. ผลัดใบทั้งต้นช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน เป็นผลเดือน เมษายน-มิถุนายน การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ประเทศลาวพบทุกภาค ภูมิภาคเอเชียใต้ และ ภูมิภาคอินโดจีน ปัจจุบันถูกน�ำไปปลูกเป็นไม้ประดับในเขตร้อนทั่วโลก ประโยชน์ : เนื้อในฝักสีด�ำ กินเป็นยาระบาย ช่วยแก้อาการท้องผูก, แก่นกินกับหมาก ใช้ย้อมผ้า, เนื้อไม้แข็งแรง และเหนียว ใช้ท�ำเครื่องมือทางการเกษตร เครื่องเรือน หรือใช้ในพิธีลงเสาหลักเมือง ตั้งเสาเอกอาคารบ้านเรือน และ งานมงคลอื่น ๆ, ปลูกเป็นไม้ประดับ หรือให้ร่มเงาตามข้างทางและบ้านเรือนเพราะมีดอกสวยงาม เกร็ดความรู้ : ราชพฤกษ์หรือคูน ถูกยกย่องให้เป็นต้นไม้และดอกไม้ประจ�ำชาติไทย เนื่องจากเป็นพรรณไม้ พื้นเมืองของประเทศไทย เนื้อไม้ถูกใช้ในพิธีมงคลต่าง ๆ และออกดอกสีเหลืองสดใส สะพรั่งทั้งต้นดูสวยงามสะดุดตา จึงท�ำให้นิยมปลูกไปทั่วประเทศ


117 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


118 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ส้มเสี้ยวเถา ชื่อพื้นเมืองไทย : - ຊື່ລາວ : ສ້ ຽວເຄືອ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Cheniella lakhonensis (Gagnep.) R. Clark & Mackinder ชื่อพ้อง : Bauhinia lakhonensis Gagnep., Phanera lakhonensis (Gagnep.) A. Schmitz ชื่อวงศ์ : FABACEAE Common name : White Vine Bauhinia. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย ยาวได้ถึง 20 ม. เถาแก่แบนพับกลับไปมา ปลายกิ่งมีมือพัน ม้วนคล้ายสปริง ตามกิ่งอ่อน ใบอ่อน ผิวใบด้านล่างและช่อดอกมีขนสั้นนุ่มสีสนิม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปกลมหรือรูปไต กว้าง 5–6 ซม. ยาว 4–5 ซม. ปลายใบแยกสองแฉกตื้น-ลึกถึงครึ่งหนึ่งของความยาวใบ ปลายแฉกกลม โคนใบเว้า เส้นแขนงใบ 9 เส้นออกจากโคนใบ ก้านใบยาว 1.5–2 ซม. ช่อดอกกระจะ ตั้งขึ้น ยาวประมาณ 5 ซม. ออกตามปลายกิ่งและซอก ใบ ดอกมีกลิ่นหอม ก้านดอกย่อยยาว 1-1.5 ซม. ฐานรองดอกยาวคล้ายก้านดอก ยาว 2-2.5 ซม. สีเขียวแต้มสีแดง กลีบเลี้ยงสีแดงอมสีน�้ำตาล 5 กลีบ รูปไข่ ยาว 5-7 มม. บานกลับ กลีบดอกสีขาว โคนกลีบสีแดงหรือสีชมพู มี 5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1 ซม. เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียสีชมพูเข้ม ผลแบบฝักแบน รูปแถบ กว้าง 1.5–2 ซม. ยาว 10-12 ซม. ผิวเกลี้ยง เมื่อแก่แห้งสีน�้ำตาลด�ำ แตกอ้า 2 ซีก มีเมล็ดสีด�ำ 8–10 เมล็ด นิเวศวิทยา : ขึ้นตามข้างทาง ชายป่า หรือป่าที่ก�ำลังทดแทนของป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าเต็งรัง ที่ความสูง จากระดับน�้ำทะเล 150–600 ม. ออกดอกเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน เป็นผลเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ การกระจายพันธุ์ : เป็นพืชถิ่นเดียวระดับเมืองหรือรัฐ (Province endemic) พบเฉพาะบริเวณแอ่งสกลนคร และแอ่งสะหวันนะเขต ตั้งแต่แขวงเวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ บอลิค�ำไซ ค�ำม่วน สะหวันนะเขต ในประเทศ ลาว ส่วนฝั่งประเทศไทยพบบริเวณเทือกเขาภูพานฝั่งด้านทิศเหนือขึ้นไป ได้แก่ จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนครและมุกดาหาร และพบบริเวณเมืองลาวบาว ชายแดนประเทศเวียดนามตอนกลางกับลาว ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้เลื้อยประดับ เพราะมีดอกสวยงาม มีกลิ่นหอม และออกดอกยาวนานหลายเดือน เกร็ดความรู้ : ค�ำระบุชนิด lakhonensis มาจากค�ำว่า Lakhon ชื่อเรียกเมืองนครพนมของคนท้องถิ่น ในอดีต ซึ่งเป็นสถานที่เก็บตัวอย่างพืชชนิดนี้ได้ครั้งแรกจากการส�ำรวจพรรณไม้ตามแม่น�้ำโขงโดยนาย Clovis Thorel นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในช่วงปี ค.ศ. 1866-68 (พ.ศ. 2409-11)


119 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


120 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง สะตือ ชื่อพื้นเมืองไทย : แห่ แห้ ประดู่ขาว ดู่ขาว ຊື່ລາວ : ຂີ້ໝູອາຍ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Crudia chrysantha (Pierre) K. Schum. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : FABACEAE Common name : Water Padauk, White Padauk. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 8-25 ม. ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งค่อนข้างต�่ำ เปลือกสีน�้ำตาลอ่อน เรียบ-แตกเป็น สะเก็ดเล็ก ตามกิ่งอ่อนและช่อดอกมีขนสั้นสีขาวประปราย ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ แกนใบยาว 4-8 ซม. เกลี้ยง มีใบย่อยเรียงสลับ 4-6 ใบ รูปไข่ ยาว 3-7 ซม. ปลายใบหยักเป็นติ่งแหลม-ทู่ โคนใบมน-กลม ผิวใบด้านล่างมี ขนประปราย-เกลี้ยง สีเขียวนวล (คล้ายใบต้นพะยูง แตกต่างที่เส้นแขนงใบของต้นสะตือมีปลายโค้งจรดกับเส้นถัดไป ส่วนพะยูงปลายเส้นจะโค้งเรียวเกือบขนานกับขอบใบ ไม่จรดกับเส้นถัดไป) ช่อดอกคล้ายหางกระรอก ยาว 5-15 ซม. สีขาวอมเขียว กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ ยาว 3-4 มม. ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8-10 เกสร เป็นเส้นยาว 1 ซม. ผลเป็น ฝักแบน รูปรีเบี้ยวหรือรูปไต กว้าง 3-4 ซม. ยาว 5-6 ซม. เปลือกฝักบางแต่แข็ง ผิวเรียบด้าน มีขนสั้น-เกลี้ยง สีน�้ำตาล อมเหลือง ผลแก่แห้งแตก 2 ซีก เปลือกม้วน มี 1-2 เมล็ด รูปไต กว้าง 2-3 ซม. สีน�้ำตาล นิเวศวิทยา : ขึ้นตามริมแม่น�้ำ ล�ำคลอง ในเขตที่ราบน�้ำท่วมถึง และในป่าบุ่งป่าทาม ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเล จนถึงประมาณ 200 ม. ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลแก่ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) บริเวณตอนกลางและตอนใต้ของภูมิภาค อินโดจีน ในไทยเป็นพืชหายาก (rare species) พบในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศลาวพบตั้งแต่แขวงนครหลวงเวียงจันทน์ลงไป และพบในประเทศกัมพูชา เวียดนามตอนใต้บริเวณที่ราบลุ่ม ปากแม่น�้ำโขง ประโยชน์ : เปลือกแช่หรือต้มน�้ำอาบ รักษาโรคซาง หรือแก้ผิดกะบูน (กินผิดส�ำแดง/ของแสลง), เนื้อไม้แข็งแรง ทนทาน มีน�้ำหนักมาก ปลวกและมอดไม่กิน ใช้ท�ำครกหรือสากต�ำข้าว ใช้ก่อสร้างท�ำเป็นไม้กระดาน คาน ตง หรือเสา


121 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


122 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง แหะ ชื่อพื้นเมืองไทย : แห่ แห่น้อย แหะ ຊື່ລາວ : ແຫະ ແຫ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Cynometra craibii Gagnep. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : FABACEAE Common name : River Sepetir. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 6-20 ม. ไม่ผลัดใบ มักแตกกิ่งต�่ำ เปลือกเรียบสีน�้ำตาลอมเทา มีช่องอากาศ จ�ำนวนมาก ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นประปราย-เกลี้ยง ใบอ่อนสีขาวอมชมพู ใบประกอบมี 2 ใบย่อย ก้านใบยาว 5-7 มม. บวมหนา เกลี้ยง ใบย่อยรูปไข่โค้ง ไม่สมมาตร กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4.5-7 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแหลมและ เบี้ยว ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบค่อนข้างหนา ช่อดอกกระจะสั้น ยาว 1 ซม. ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก มาก เมื่อบานกว้าง 5 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีขาว รูปใบหอก ไม่มีกลีบดอก ยาว 2-3 มม. เกสรเพศผู้ 10 เกสร ก้าน ดอกย่อยยาว 5-8 มม. ผลเป็นฝักแบน รูปรีเบี้ยวหรือค่อนข้างกลม กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-5 ซม. ปลายฝักกลมและ มีจงอยแหลม ขอบฝักมีสันนูน ผิวฝักเรียบเกลี้ยง เปลือกค่อนข้างบาง ผลแก่ไม่แตก มี 1 เมล็ด นิเวศวิทยา : ขึ้นตามริมแม่น�้ำ ล�ำคลอง ในเขตที่ราบน�้ำท่วมถึง และในป่าบุ่งป่าทาม ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 90-200 ม. ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลแก่ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับเมืองหรือรัฐ (Province endemic) พบเฉพาะในเขตลุ่มน�้ำสงคราม จังหวัด นครพนม และบริเวณปากแม่น�้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี และในประเทศลาว ที่แขวงอัตตะปือ เป็นพืชที่หายาก (rare species) และใกล้สูญพันธุ์ ทั้งฝั่งประเทศไทยและลาว คาดว่าน่าจะพบตามแม่น�้ำโขงลงไปถึงประเทศกัมพูชา ด้วย ประโยชน์ : ยอดมีรสเปรี้ยว กินเป็นผักสดจิ้มน�้ำพริก


123 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


124 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง พะยูง ชื่อพื้นเมืองไทย : ขะยุง ประดู่ลาย ประดู่เสน ຊື່ລາວ : ຂະຍຸງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Dalbergia cochinchinensis Pierre ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : FABACEAE Common name : Siamese rosewood, Tracwood. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 15-30 ม. ไม่ผลัดใบ เปลือกเรียบ-แตกสะเก็ดบางตามแนวยาว สีน�้ำตาล ตามกิ่งอ่อนและช่อดอกมีขนสั้นประปราย-เกลี้ยง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ แกนใบยาว 6.5-15 ซม. เรียงสลับ ใบย่อยมี 7-9 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3.5-10 ซม. ปลายใบแหลม-เรียวแหลม โคนใบมน-กลม ผิวใบด้านล่างเกลี้ยง มีนวลขาว เส้นแขนงใบข้างละ 7-9 เส้น ปลายเส้นโค้งเรียวเกือบขนานกับ ขอบใบ ก้านใบย่อยยาว 2-5 มม. ช่อดอกแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งและซอกใบใกล้ยอด โน้มลง ยาว 10-20 ซม. กลีบเลี้ยงเป็นหลอด ปลายแยกเป็นซี่ฟัน 5 ซี่ กลีบดอกสีขาว รูปดอกถั่วขนาดเล็กมาก ยาว 4-5 มม. มีกลิ่นหอม ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน-รูปแถบ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 4.5-8 ซม. ปลายแหลม เปลือกบางเกลี้ยง นูนตรง ต�ำแหน่งเมล็ด มี 1-4 เมล็ด/ฝัก เมล็ดแบน รูปไต กว้าง 5 มม. สีน�้ำตาลแดง นิเวศวิทยา : ขึ้นตามป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณ ในพื้นที่ที่มีการระบายน�้ำได้ดี ชอบดินร่วนปนทรายบนพื้นที่ หินทราย ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 800 ม. ออกดอกเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม เป็นผลเดือน สิงหาคม- ธันวาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ ของภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางด้านตะวันออก ในประเทศลาวพบตอนกลางและตอนใต้ในพื้นที่หินทราย ประเทศกัมพูชา และเวียดนามตอนใต้ ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็งแรง ทนทาน ปลวกและมอดไม่กิน เนื้อละเอียดมีลายสีแดงเข้ม-ม่วงด�ำ สวยงาม นิยมท�ำเป็น เครื่องเรือน ด้ามเครื่องมือ ด้ามมีด หรืองานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงสูง เป็นไม้ที่มีมูลค่าสูง เหมาะสมต่อการ ปลูกป่าเชิงเศรษฐกิจ เกร็ดความรู้ : ค�ำระบุชนิด cochinchinensis มาจากค�ำว่า Cochinchina เป็นชื่อเรียกเขตอาณานิคมของฝรั่งเศส บริเวณประเทศเวียดนามตอนใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่นาย J. B. Louis Pierre นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เก็บตัวอย่าง ต้นแบบ (Holotype) ได้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1866 (พ.ศ. 2409) บริเวณเมืองไซ่ง่อน (เมืองโฮจิมินห์)


125 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


126 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ไชหิน ชื่อพื้นเมืองไทย : ไซหิน ตองหมอง ต่างหมอง ຊື່ລາວ : ຕົ້ນກາບາ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Akschindlium godefroyanum (Kuntze) H.Ohashi ชื่อพ้อง : Droogmansia godefroyana (Kuntze) Schindl., Meibomia godefroyana Kuntze ชื่อวงศ์ : FABACEAE Common name : - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 2-3 ม. เปลือกเรียบ-ขรุขระ สีน�้ำตาล ปลายกิ่งมีหูใบรูปใบหอก หลุดร่วง ง่าย ตามกิ่งอ่อน ใบอ่อน ก้านใบ ช่อดอก และฝักอ่อนมีขนคล้ายไหมสีขาวหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรี กว้าง 4-9 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบกลม มน หรือแหลม โคนใบแหลม มน หรือเว้า เส้นแขนงใบข้างละ 14-19 เส้น ใบค่อนข้างหนา ผิวใบด้านล่างมีขนไหมสีขาวแนบผิวหนาแน่น ก้านใบยาว 2-4 ซม. ปลายก้านใบมีข้อบวมและงอ ช่อดอกกระจะ ออกตามปลายกิ่ง ตั้งขึ้น ยาว 0.4-1 ม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกันรูปถ้วย สีแดงอมน�้ำตาล ยาว 2-3 มม. ปลายแยก 4 แฉก กลีบดอกรูปดอกถั่ว มี 4 กลีบ สีม่วงแดงเข้ม ยาว 5-7 มม. ก้านดอกย่อยยาว 5 มม. ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน กว้าง 0.3-0.5 ซม. ยาว 2-5 ซม. ปลายมีติ่งแหลม มีรอยแบ่งเป็นปล้องแนวขวางตามต�ำแหน่งเมล็ด 2-6 เมล็ด/ฝัก ฝักอ่อนสีแดงอมน�้ำตาล นิเวศวิทยา : ขึ้นในที่โล่งแจ้ง บนพื้นที่ดินทราย หรือซอกหินตามพลาญหินทราย ตามป่าละเมาะ ทุ่งหญ้า หรือ ป่าเต็งรัง ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 600 ม. ออกดอกเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน เป็นผลเดือน สิงหาคม-มกราคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของ ภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ในประเทศลาวพบตอนกลาง และตอนใต้ในพื้นที่หินทราย ประเทศกัมพูชา และเวียดนามตอนใต้ ประโยชน์ : ยอดอ่อนรสฝาด กินเป็นผักสดหรือใช้ใบอ่อนห่อเมี่ยงปลา, ทั้งต้นใช้เป็นอาหารให้แก่ปศุสัตว์, รากต้ม น�้ำดื่มแก้อาเจียน แก้เลือดออกทั้งทางปากและทวารหนัก หรือเข้ายาต้มแก้ไข้ตัวร้อน, รากและยอดต้มน�้ำอมหรือ บ้วนปาก แก้ปวดฟัน


127 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


128 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง อะราง ชื่อพื้นเมืองไทย : สะฝาง นนทรีป่า ຊື່ລາວ : ສະຄາມ ສະຟາງ ສະຝາງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Peltophorum dasyrrhachis (Miq.) Kurz ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : FABACEAE Common name : Wild Peltophorum. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 15-30 ม. ผลัดใบ เปลือกเรียบ สีน�้ำตาลอมเทา มีช่องอากาศจ�ำนวน มาก ตามกิ่งอ่อน ก้านใบ แกนใบ แผ่นใบด้านล่าง และช่อดอกมีขนสั้นสีน�้ำตาลแดง ปลายกิ่งมีหูใบแตกแขนงเป็น เส้นคล้ายเขากวาง ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ยาว 15-40 ซม. ช่อใบย่อย 5-9 คู่ เรียงตรงข้าม ใบย่อย 6-16 คู่ รูปขอบขนาน กว้าง 5-8 มม. ยาว 10-22 มม. ปลายใบเว้าบุ๋ม โคนใบมนและเบี้ยว ไม่มีก้านใบย่อย ช่อดอกกระจะ ห้อยลง ยาว 15-20 ซม. ออกตามปลายกิ่งและซอกใบใกล้ยอด ดอกมีกลิ่นหอม ก้านดอกย่อยยาว 2-4 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอมเหลือง รูปไข่ ยาว 1 ซม. กลีบดอกสีเหลือง รูปช้อน ยาว 1.5-2.5 ซม. แผ่นกลีบยับย่น ผลเป็นฝักแบน รูปรี กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 6-10 ซม. บิดเล็กน้อย ปลายเรียวแหลม เปลือกบาง มี 4-8 เมล็ด/ฝัก ฝักอ่อนสีเขียวอ่อน เมื่อแก่แห้งไม่แตก นิเวศวิทยา : เป็นไม้เบิกน�ำ โตเร็ว ขึ้นตามที่โล่ง ข้างถนน ชายป่า หรือป่าที่ก�ำลังทดแทน ในพื้นที่ดินปนทราย ดินลูกรัง หรือมีการระบายน�้ำดี ตามป่าผลัดใบ หรือป่าดิบ ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,300 ม. ออกดอกเดือนมกราคม-เมษายน เป็นผลเดือนเมษายน-มิถุนายน การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทยและลาวพบทุกภาค ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซียด้านตะวันตก ประโยชน์ : เปลือกมีสารแทนนิน ให้รสฝาด น�ำมาต้มน�้ำดื่มแก้อาการบิด ท้องเสีย หรือใช้เป็นสีย้อมผ้า ใช้ดอง ปลาหมึก/แมงกะพรุน ใช้เปลือกสดด้านในขูดใส่ต�ำแตงจะช่วยป้องกันยางของแตงกัดลิ้น (หากยางแตงกัดลิ้นแล้ว ลิ้นจะรับรสไม่ดี เวลาดื่มน�้ำจะรู้สึกได้ชัดเจน), เนื้อไม้แข็งแรงไม่มาก ใช้ในงานชั่วคราว, เป็นต้นไม้ที่นิยมปลูกฟื้นฟูป่า เสื่อมโทรมได้ดี เนื่องจากเจริญเติบโตเร็วในดินหลายประเภทและทนแล้งได้ดี


129 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


130 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง สิรินธรวัลลี ชื่อพื้นเมืองไทย : สามสิบสองประดง ຊື່ລາວ : - ชื่อพฤกษศาสตร์ : Phanera sirindhorniae (K. Larsen & S.S. Larsen) Mackinder & R. Clark ชื่อพ้อง : Bauhinia sirindhorniae K. Larsen & S. Larsen ชื่อวงศ์ : FABACEAE Common name : Copper Flower Bauhinia. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย ยาวถึง 20 ม. เถาแก่แบนพับกลับไปมา ตามกิ่งอ่อน ช่อดอกและฝักมีขน สั้นหนาแน่นสีทองแดง เป็นเงาประกาย ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 4-17 ซม. ยาว 5-18 ซม. ปลายใบแยกสอง แฉกตื้นหรือลึกเกือบถึงโคนใบ ปลายใบแหลม โคนใบเว้า มีเส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 9-11 เส้น แผ่นใบหนาเหนียว ใบแก่ผิวใบเกลี้ยง ด้านบนเป็นมันเงา ด้านล่างมีขนตามเส้นแขนงใบ ก้านใบยาว 2-6.5 ซม. ช่อดอกกระจะคล้ายรูปร่ม ตั้งขึ้น ยาว 5-15 ซม. ออกตามปลายกิ่งและซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเป็นกระเปาะรูปกระสวย ยาว 1 ซม. ปลายแตก ออกแนวเดียว กลีบดอกสีเหลืองอ่อน-สีส้ม มี 5 กลีบ รูปใบหอก ยาวใกล้เคียงกับกลีบเลี้ยง ผิวด้านนอกมีขนหนาแน่น เกสรเพศผู้และเพศเมียสีแดง ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 15-18 ซม. เปลือกเรียบเนื้อหนา มีเมล็ดกลมแบน สีด�ำ 5-7 เมล็ด นิเวศวิทยา : ขึ้นตามชายป่าของป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าที่ก�ำลังทดแทน ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 150-300 ม. ออกดอกเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม เป็นผลเดือนสิงหาคม-ธันวาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับเมืองหรือรัฐ (Province endemic) พบเฉพาะบริเวณแอ่งสกลนคร หรือ เทือกเขาภูพานด้านทิศเหนือขึ้นไปในเขตจังหวัดบึงกาฬ นครพนม สกลนคร และมุกดาหาร คาดว่าน่าจะพบใน ประเทศลาว บริเวณแขวงบอลิค�ำไซ และค�ำม่วน ด้วย ประโยชน์ : เนื้อไม้เป็นยาสมุนไพร ต้มน�้ำดื่มรักษาโรคประดงทั้งสามสิบสองประการ ได้แก่ เป็นผื่นคัน ปวดแสบ ปวดร้อน แก้น�้ำเหลืองเสีย แก้ลมพิษ หรือภูมิแพ้ต่างๆ, ปลูกเป็นไม้ดอกประดับ เนื่องจากมีช่อดอกขนาดใหญ่เป็น สีทองแดงสวยงามและช่อดอกอยู่ทนยาวนานตลอดฤดูฝน เกร็ดความรู้ : ค�ำระบุชนิด sirindhorniae มาจากค�ำว่า Sirindhorn พระนามของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้าในราชวงศ์ไทยที่ทรงมีความสนพระทัยและมีส่วน ส�ำคัญยิ่งต่อการพัฒนาวงการพฤกษศาสตร์ไทยในปัจจุบัน


131 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


132 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ประดู่ป่า ชื่อพื้นเมืองไทย : ประดู่ ดู่ ຊື່ລາວ : ໄມ້ ດູ່ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Pterocarpus macrocarpus Kurz ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : FABACEAE Common name : Burmese rosewood, Burma Padauk. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดตามแนวยาว เปลือก ชั้นในมีน�้ำยางสีแดงเข้ม ตามกิ่งอ่อน ก้านใบ แผ่นใบด้านล่าง ช่อดอกและฝักมีขนสั้นหนาแน่นปานกลาง-ประปราย ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาว 13-30 ซม. เรียงสลับ ใบย่อยมี 5-13 ใบ เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-11 ซม. ปลายใบแหลม-เรียวแหลม โคนใบแหลม-กลม ก้านใบย่อยยาว 3-5 มม. ช่อดอกแยก แขนง ยาว 5-15 ซม. ออกตามซอกใบ มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกันรูประฆัง ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกสีเหลือง มี 5 กลีบ รูปกลมหรือรูปช้อน ยาว 6-9 มม. แผ่นกลีบบางและยับย่น ผลเป็นฝักแบน รูปกลม มีปีก บางและเป็นคลื่นรอบ กว้าง 6-10 ซม. ตรงกลางนูน มี 1-4 เมล็ด รูปไต ยาว 7-9 มม. นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่ที่มีการระบายน�้ำได้ดี ในป่าผลัดใบหรือป่าดิบแล้ง ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึง ประมาณ 1,000 ม. ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน เป็นผลเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ประเทศลาวพบทุกภาค ประเทศเมียนมาร์ กัมพูชา และ เวียดนาม ประโยชน์ : เนื้อไม้สีแดงอมส้ม แข็งแรงทนทาน ปลวกและมอดไม่กิน นิยมใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่น เสา คาน รอด ตง กระดาน ท�ำเครื่องเรือน หรือเครื่องมือทางการเกษตร, เปลือกและแก่นไม้ให้สีย้อมผ้า สีน�้ำตาลแดง, เปลือกต้มน�้ำดื่มช่วยรักษาอาการติดเชื้อในปาก โรคปากเปื่อย แก้ท้องเสีย ล้างแผลช่วยฆ่าเชื้อและ สมานแผล, แก่นต้มน�้ำดื่มแก้ไข้ตัวร้อน บ�ำรุงโลหิต บ�ำรุงธาตุ


133 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


134 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง มะค่าแต้ ชื่อพื้นเมืองไทย : แต้ แต้หนาม แต้โหลน มะค่าหนาม มะค่าหยุม ຊື່ລາວ : ແຕ້ ໜາມ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Sindora siamensis Teijsm. ex Miq. ชื่อพ้อง : Sindora cochinchinensis Baill. ชื่อวงศ์ : FABACEAE Common name : Sindora, Sepetir. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. ผลัดใบ เปลือกเรียบหรือแตกสะเก็ด สีน�้ำตาล ตามกิ่งอ่อน ก้านใบ แผ่นใบด้านล่าง ช่อดอกและกลีบเลี้ยงมีขนหนานุ่มคล้ายก�ำมะหยี่ สีน�้ำตาล-สีน�้ำตาลแดง ใบประกอบแบบขน นกปลายคู่ ยาว 15-30 ซม. เรียงสลับ ใบย่อยมี 6-8 ใบ เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ หรือรูปรี กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-15 ซม. ปลายใบมน-กลม-เว้าบุ๋ม โคนใบแหลม-กลม มีเส้นแขนงใบข้างละ 14-18 เส้น และมีเส้นขอบใบแข็งนูนสีเหลือง ก้านใบย่อยยาว 3-5 มม. ช่อดอกแยกแขนง ตั้งขึ้น ยาว 10-25 ซม. ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 8-15 มม. เนื้อหนา ปลายกลีบมักจะมีหนาม กลีบดอกสีส้ม มี 1 กลีบ รูปใบหอก ยาว 7 มม. ผลเป็นฝักแบน ค่อนข้างกลม กว้าง 4.5-8 ซม. หนา 0.7-1.5 ซม. เปลือกฝักเรียบ (จะเรียกว่าแต้โหลน) ถึงมีหนามแหลมยาวได้ถึง 7 มม. ปลายหนามมีชันเหนียวสีขาว มีกลิ่นหอม มี 1-3 เมล็ด รูปรีแบน กว้าง 1.5-2 ซม. นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่ดินปนทราย ดินลูกรัง หรือตามซอกหิน หรือในพื้นที่ที่มีการระบายน�้ำได้ดี ในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ป่าละเมาะ หรือป่าชายหาด ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,000 ม. ออกดอกเดือน กุมภาพันธ์-กันยายน เป็นผลเดือนพฤษภาคม-มกราคม การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทยและลาวพบทุกภาค ประเทศบังกลาเทศ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน และ คาบสมุทรมาเลเซีย ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็งแรงทนทาน ใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องรองรับน�้ำหนักมาก เช่น เสา คาน รอด ตง กระดาน ท�ำเครื่องเรือน เครื่องมือทางการเกษตร ต่อเรือ, เมล็ดแก่เผาไฟแล้วกินเนื้อในได้, ฝักและเปลือกต้นมีสารแทนนินมาก ใช้ฟอกหนัง หรือใช้เปลือกย้อมแหหรือเส้นไหมให้สีแดงอมน�้ำตาล เกร็ดความรู้ : ค�ำระบุชนิด siamensis มาจากค�ำว่า Siam โดยการตั้งชื่อพืชชนิดนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศ สยาม จากการตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1867 (พ.ศ. 2410) โดยนาย Johannes Elias Teijsmann และนาย Friedrich Anton Wilhelm Miquel นักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช จากตัวอย่างพรรณไมตนแบบที่เก็บจากจังหวัดราชบุรีในป ค.ศ. 1862 (พ.ศ. 2405)


135 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


136 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง แดง ชื่อพื้นเมืองไทย : ตะกร้อม สะกรอม ຊື່ລາວ : ແດງ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Xylia xylocarpa (Roxb.) W. Theob. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : FABACEAE Common name : Ironwood. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 25 ม. ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาลอ่อน-สีน�้ำตาลแดง แตกเป็นแผ่นบาง หลุดลอกตามแนวยาว ตามกิ่งอ่อน แผ่นใบด้านล่าง ก้านใบ ช่อดอก และฝักมีขนสั้นหนานุ่ม-ประปราย ใบประกอบ แบบขนนกปลายคู่ 2 ชั้น เรียงเวียน ก้านใบยาว 3-6 ซม. ช่อใบย่อยแตก 1 คู่ (คล้ายง่ามหนังสติ๊ก) ที่ง่ามมีต่อมนูน 1 ต่อม แกนช่อใบย่อยยาว 8-16 ซม. ใบย่อยเรียงตรงข้าม มี 3-6 คู่ รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 4-14 ซม. ปลายใบมน-หยักติ่งแหลม โคนใบแหลม-มน เส้นแขนงใบข้างละ 8-12 เส้น ก้านใบย่อยยาว 2-3 มม. ช่อดอกกระจุก แน่นทรงกลม (คล้ายดอกกระถิน) ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 3-9 ซม. ตั้งขึ้น มีดอกย่อยประมาณ 90 ดอก กลีบดอกเป็นหลอดสีขาว เกสรเพศผู้สีขาว ยาว 5-12 มม. ยาวเลยกลีบดอก ผลเป็นฝักแบน รูปครึ่งวงกลม แกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 12-17 ซม. หนา 1 ซม. เปลือกฝักเป็นเนื้อไม้แข็ง เมื่อแก่แห้งแตกอ้า 2 ซีก มี 7-10 เมล็ด เมล็ดแบน รูปรี นิเวศวิทยา : ขึ้นตามพื้นที่เนินเขา ที่ลาดชัน หรือตามที่ราบที่ดินมีการระบายน�้ำดี ในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือ ป่าดิบแล้ง ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,000 ม. ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน เป็นผลเดือน เมษายน-กรกฎาคม การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบทุกภาค ลงไปถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศลาวพบทุกภาค ประเทศเมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนาม ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็งแรง เหนียว และทนทาน ปลวกและมอดไม่กิน แต่มีน�้ำหนักมาก นิยมใช้ในงานก่อสร้าง ที่ต้องรองรับน�้ำหนักมาก เช่น เสา คาน รอด ตง ท�ำสะพาน ต่อรถ ต่อเรือ ท�ำเครื่องเรือน เครื่องมือทางการเกษตร, ยอดอ่อนลวกกินเป็นผักจิ้มน�้ำพริก


137 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


138 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง กันเกรา ชื่อพื้นเมืองไทย : ตะเกรา มันปลา ต�ำเสา ท�ำเสา ຊື່ລາວ : ມັນປາ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Fagraea fragrans Roxb. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : GENTIANACEAE Common name : Tembesu. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 ม. ไม่ผลัดใบ เปลือกแตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว สีน�้ำตาล เข้ม เรือนยอดรูปกรวยแหลม ตามกิ่งอ่อน ใบ ก้านใบ และช่อดอกไม่มีขน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี ยาว 7-11 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือสอบเรียว ผิวใบด้านบนมันเงา เนื้อใบหนานุ่ม เส้นแขนงใบข้าง ละ 5-10 เส้น ก้านใบยาว 0.7-2 ซม. โคนก้านใบเป็นเบ้าโอบกิ่งเล็กน้อย ใบแก่ก่อนร่วงสีเหลือง ช่อดอกแยกแขนง คล้ายรูปร่ม ตั้งขึ้น ยาว 4-12 ซม. ออกตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว รูประฆัง ยาว 2-3 มม. ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีส้มอ่อน รูปคล้ายแตร ยาว 1.2-2 ซม. ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกบานกลับ มีกลิ่นหอม ผลรูปเกือบกลม กว้าง 5-8 มม. ปลายมีติ่งแหลม ผลอ่อนสีเขียว ผิวมันเงา เมื่อสุกสีส้ม-สีแดง มีเมล็ด ขนาดเล็กจ�ำนวนมาก นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่ง ทุ่งนา ชายป่าของป่าดิบ ป่าผลัดใบ หรือป่าบุ่งป่าทาม หรือตามพื้นที่ดินปนทราย ใกล้ชายทะเล ชอบขึ้นในเขตที่ราบ ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 300 ม. และมีปริมาณน�้ำฝนมากกว่า 1,500 มม./ปี ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลแก่เดือนมิถุนายน-กันยายน การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทยพบค่อนข้างง่ายในภาคใต้และภาคตะวันออก หายากในภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือใกล้แนวแม่น�้ำโขง ประเทศลาวพบตามที่ราบใกล้แนวแม่น�้ำโขง ประเทศอินเดียตอนบน เมียนมาร์ตอนใต้ เวียดนาม กัมพูชา และภูมิภาคมาเลเซีย ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็งแรงมาก เนื้อเหนียว แก่นสีเหลืองอ่อนมีลายสวย ทนทานต่อปลวกและมอด แปรรูปใช้ในงาน ก่อสร้างที่ต้องรองรับน�้ำหนักมาก เช่น เสา คาน ตง กระดาน ท�ำโครงเรือ-รถ ท�ำเครื่องเรือน หรือด้ามเครื่องมือ, แก่น เข้ายาบ�ำรุงธาตุ หรือยาระบาย, ปลูกประดับตามบ้านเรือนหรือข้างทาง เพราะมีทรงพุ่มสวย ให้ร่มเงาดี มีดอกสวย และมีกลิ่นหอม


139 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


140 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ติ้วขาว ชื่อพื้นเมืองไทย : ติ้วส้ม ผักติ้ว แต้ว ຊື່ລາວ : ຕິ້ວສົ້ມ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Cratoxylum formosum (Jacq.) Benth. & Hook. f. ex Dyer subsp. formosum ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : HYPERICACEAE Common name : White Mampat. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. ผลัดใบ เปลือกสีน�้ำตาลเข้ม แตกร่องตื้นจนถึงแตกเป็น สะเก็ดขนาดเล็ก ต้นอายุน้อยโคนต้นมีหนาม เปลือกชั้นในมียางเหนียวใสสีเหลืองอมน�้ำตาล ตามส่วนต่าง ๆ ไม่มีขน ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน-แกมรูปรี กว้าง 1.3-4 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายใบและโคนใบมน-แหลม แผ่นใบบาง ผิวด้านบนมันเงา เส้นแขนงใบข้างละ 7-12 เส้น เส้นใบแบบร่างแหเห็นชัดเจน ก้านใบสีแดง ยาว 0.5-1 ซม. ใบอ่อน สีแดงอมชมพู ดอกออกกระจุก 1-6 ดอก ตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมอ่อน กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนแต้มสีม่วง แดง มี 5 กลีบ รูปรี ยาว 5-7 มม. กลีบดอกสีขาวหรืออมชมพู มี 5 กลีบ รูปใบหอกกลับ ยาว 1.5 ซม. ขอบกลีบ มีขนครุย เกสรเพศผู้มีจ�ำนวนมาก ผลแบบแห้งแตก ทรงกระสวยแกมทรงกระบอก ยาว 1.5-2 ซม. กลีบเลี้ยงติดแนบ โคนผล เมื่อแก่แห้งแตกอ้า 3 ซีก มี 6-8 เมล็ด/ซีก เมล็ดมีปีกบางสีน�้ำตาล นิเวศวิทยา : เป็นไม้เบิกน�ำ พบตามที่โล่ง ป่าก�ำลังทดแทน หรือชายป่าของป่าดิบ ป่าผลัดใบ และป่าชายหาด ในพื้นที่ที่มีการระบายน�้ำได้ดี หรือเป็นดินปนทรายหรือดินลูกรัง ที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,200 ม. ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน เป็นผลเดือนเมษายน-พฤศจิกายน การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยและลาวพบได้ทุกภาค ประเทศเมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย และ เกาะไห่หนาน ประเทศจีน ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็งและเหนียว แต่ไม่ทนทาน ควรใช้งานในร่ม ท�ำเครื่องเรือน ด้ามเครื่องมือทางการเกษตร, เปลือกและใบต�ำผสมกับน�้ำมันมะพร้าว ทาแก้โรคผิวหนัง, เปลือกต้มน�้ำดื่มแก้อาการจุกเสียด, น�้ำยางจากต้นใช้รักษา อาการคัน ทาแก้น�้ำกัดเท้า สันเท้าแตก หรือรักษาแผล ช่วยสมานแผล, ใบอ่อนรสเปรี้ยวปนฝาด ชาวอีสานนิยมกิน เป็นผักสดหรือปรุงอาหารประเภทต้ม


141 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


142 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง ซ้อหิน ชื่อพื้นเมืองไทย : - ຊື່ລາວ : ຊໍ່ຫີນ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Gmelina racemosa (Lour.) Merr. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE Common name : White Teak. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 25 ม. ผลัดใบ เปลือกเรียบ สีน�้ำตาลอ่อน ตามกิ่งอ่อน ก้านใบ ช่อดอก และผลมีขนสั้นละเอียด ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 4-10 ซม. ยาว 5-16 ซม. ปลายใบ แหลมถึงเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม-กลม-เว้า และมีกลุ่มของต่อมขนาดเล็กที่โคนใบ เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น เส้นคู่ ล่างสุดออกจากโคนใบ ผิวใบด้านล่างมีนวลขาว และมีขนสั้นตามเส้นแขนงใบ ก้านใบยาว 2-7 ซม. ช่อดอกแยกแขนง ยาว 5-8 ซม. ออกตามปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงสีเขียว รูประฆัง ปลายมี 5 ติ่ง กลีบดอกรูปปากแตร ยาว 3-5 ซม. ป่องช่วงปลาย ปลายแยก 5 กลีบ ด้านนอกสีขาว ด้านในสีม่วงอมน�้ำตาล กลีบปากสีเหลือง ผลแบบผนังชั้นในแข็ง รูปไข่กลับ ยาว 2-3 ซม ปลายกลม-ตัด เมื่อสุกสีเหลือง มีถ้วยกลีบเลี้ยงติดทน นิเวศวิทยา : ขึ้นตามชายป่า หรือป่าที่ก�ำลังทดแทน ในพื้นที่ที่มีการระบายน�้ำดีในป่าดิบแล้ง ที่ความสูงจากระดับ น�้ำทะเล 150-500 ม. ออกดอกเดือนเมษายน-กรกฎาคม เป็นผลเดือนพฤษภาคม-กันยายน การกระจายพันธุ์ : พบบริเวณภูมิภาคอินโดจีนตอนบน ได้แก่ ประเทศเวียดนามตอนบน-ตอนกลาง ประเทศลาว ตอนบน-ตอนกลาง ประเทศจีนพบที่เกาะไห่หนาน มณฑลกวางสีและกวางตุ้ง ประเทศไทยพบเฉพาะที่เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ ประโยชน์ : เนื้อไม้ละเอียด น�้ำหนักเบา ใสกบตกแต่งง่ายคล้ายไม้ซ้อ (Gmelina arborea) ทนทานต่อการท�ำลาย ของเชื้อรา ใช้ในงานก่อสร้างที่รับน�้ำหนักไม่มาก เช่น โครงคร่าว ฝา ท�ำเครื่องเรือน ท�ำเรือ ท�ำกลอง ประตู หน้าต่าง งานแกะสลักหรือกลึง


143 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


144 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง หาดเครือ ชื่อพื้นเมืองไทย : ฮัดเครือ จงอางเครือ ฮ่อสะพายควาย ຊື່ລາວ : ຈົງອາງຫວງໄຂ່ ໂຈງອາງຫວງໄຂ່ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Sphenodesme mekongensis Dop ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE Common name : Star Vine. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย ยาวได้ถึง 40 ม. กิ่งเป็นสี่เหลี่ยม ตามกิ่งอ่อน ก้านใบ และช่อดอกมีขนสั้นนุ่ม ประปรายต่อมาเกลี้ยง เปลือกเถาสีน�้ำตาลอ่อน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกหรือรูปรี กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 6-11 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงใบ 3 เส้น ออกจากโคนใบ เนื้อใบบาง ผิวใบเกลี้ยงและ มันเงา ก้านใบยาว 5-8 มม. ช่อดอกกระจุก ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง หรือช่อแยกแขนงออกปลายกิ่ง ยาว 8-20 ซม. ใบประดับรองรับช่อดอกมี 6 กลีบ สีเขียวอมเหลือง รูปใบหอกกลับหรือรูปช้อน กว้าง 0.5-0.8 ซม. ยาว 1.5-3 ซม. ปลายมน มีเส้นกลางใบประดับชัดเจนและขนสั้นประปราย-เกลี้ยง ก้านช่อดอกยาว 1.5-3 ซม. แต่ละช่อมีดอก ย่อย 3 ดอก ไม่มีก้าน กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ยาว 4-5 มม. ปลายแยก 5 แฉกสั้น และมีติ่งหนามโค้งกลับ 5 อัน ยาว 2 มม. กลีบดอกสีม่วงอมแดง รูปแตร ยาว 8-10 มม. ปลายแยก 5 แฉก กลางดอกมีขนยาวหนาแน่นและเกสรเพศผู้สีม่วง อมน�้ำเงิน ผลแก่แห้ง มีใบประดับติดคงทนเป็นปีก คล้ายรูปดาว เมล็ดขนาดเล็ก นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่ง หรือชายป่าดิบ หรือป่าผลัดใบ ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 150-1,400 ม. ออกดอก เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม เป็นผลเดือนเมษายน-พฤษภาคม การกระจายพันธุ์ : พืชถิ่นเดียวระดับภูมิภาค (Regional endemic) พบเฉพาะบริเวณภูมิภาคอินโดจีนตอนกลาง ในพื้นที่ในแอ่งสกลนครและภาคเหนือของประเทศไทย ประเทศลาวพบในแขวงเวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ บอลิค�ำไซ จนถึงที่ราบสูงนากาย แขวงค�ำม่วน เกร็ดความรู้ : ค�ำระบุชนิด mekongensis มาจากค�ำว่า Mekong (แม่โขง) โดยพืชชนิดนี้ถูกเก็บตัวอย่างครั้งแรกที่ เมืองหนองคาย จากการส�ำรวจพรรณไม้ตามแม่น�้ำโขงโดยนาย Clovis Thorel นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ในช่วง ปี ค.ศ. 1866-68 (พ.ศ. 2409-11)


145 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


146 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง สุรามะริด ชื่อพื้นเมืองไทย : กฤษณา สิงไคต้น มหาปราบ อบเชย ຊື່ລາວ : ເຄ ແຄ ຈວງດົງ ກົກເປືອກ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Cinnamomum subavenium Miq. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : LAURACEAE Common name : Bark Cassia, Root Cinnamon. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงถึง 30 ม. ไม่ผลัดใบ เปลือกเรียบสีน�้ำตาล ส่วนเปลือกล�ำต้น เนื้อไม้และ ใบมีกลิ่นหอมคล้ายเครื่องเทศ แต่ส่วนรากจะมีกลิ่นหอมมากกว่า ตามกิ่งอ่อน ช่อดอก และดอกมีขนสั้นละเอียด ตาส่วนยอดมีขนสั้นหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปไข่ รูปรีหรือใบหอก กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-13 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม-กลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบค่อนข้างแข็งและหนา ผิวเกลี้ยงทั้ง สองด้าน ด้านบนมันเงา ด้านล่างสีนวล มีเส้นแขนงใบ 3 เส้น ออกที่โคนใบหรือสูงจากโคนใบขึ้นมาได้ถึง 1 ซม. ก้านใบ ยาว 1-1.5 ซม. เกลี้ยงหรือมีขนสั้น ช่อดอกแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 15 ซม. ดอกย่อยยาว 3-4 มม. วงกลีบรวม 6 กลีบ สีเหลืองอมเขียว รูปไข่ ยาว 3 มม. ผลเมล็ดเดี่ยว รูปทรงกลม-รี ยาว 1-1.5 ซม. ปลายกลม ผิวผล สีเขียวมันเงา มีจุดเล็กสีขาว เมื่อสุกสีด�ำ มีเนื้อนุ่ม โคนผลมีถ้วยวงกลีบรวมรองรับ สูง 5-8 มม. ก้านผลยาว 5-12 มม. นิเวศวิทยา : ขึ้นตามป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น หรือพื้นที่ใกล้ล�ำธารในป่าดิบแล้ง ที่ความสูงจากระดับน�้ำทะเล 200- 2,500 ม. การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยและลาวพบทุกภาค ประเทศอินเดียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ บังกลาเทศ เมียนมาร์ ภูมิภาคอินโดจีน ประเทศจีนตั้งแต่ตอนล่างของแม่น�้ำแยงซีเกียงลงมา ไต้หวัน และภูมิภาคมาเลเซีย ยกเว้นหมู่เกาะ ฟิลิปปินส์ ชวา และเกาะนิวกินี ประโยชน์ : เนื้อไม้ค่อนข้างละเอียด ค่อนข้างอ่อน แต่มีกลิ่นหอม ใช้ก่อสร้างบ้านหรือท�ำเครื่องเรือนที่ใช้ในร่ม, ใบ เปลือก เนื้อไม้ โดยเฉพาะส่วนรากจะมีกลิ่นหอมมากที่สุด ใช้กลั่นน�้ำมันหอมระเหย เพื่อน�ำมาปรุงยาสมุนไพร มีสรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องเสีย ลดระดับน�้ำตาลในเลือด ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม หรือน�ำมาบดเป็นผงท�ำเครื่องเทศเช่นเดียวกับต้นอบเชย (Cinnamomum spp.)


147 Plants of Thailand and Lao PDR in Mekong Region


148 พรรณไม้ ไทย-ลาว สองฝั่งโขง จิกนา ชื่อพื้นเมืองไทย : จิก จิกน�้ำ กระโดนน�้ำ กระโดนทุ่ง กระโดนสร้อย ตอง ปุยสาย ຊື່ລາວ : ກະໂດນນໍ້າ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Barringtonia acutangula (L.) Gaertn. ชื่อพ้อง : - ชื่อวงศ์ : LECYTHIDACEAE Common name : Indian Oak, Itchy Tree. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูง 5-15 ม. ผลัดใบช่วงสั้น เปลือกเรียบ-แตกเป็นร่องตื้นตามยาว สีน�้ำตาลอ่อน เปลือกชั้นในมีเส้นใยเหนียวนุ่ม ตามยอด ใบ ช่อดอกและผลไม่มีขน ใบเดี่ยว เรียงเวียนเป็นกระจุกที่ ปลายกิ่ง รูปใบหอกกลับ-ไข่กลับ ยาว 9-20 ซม. ปลายใบมน-แหลม ขอบใบจักฟันเลื่อยถี่ โคนใบสอบ เส้นแขนงใบ มีข้างละ 7-10 เส้น ก้านใบบวมหนา สีแดงอมม่วง ยาว 0.5-1 ซม. ใบแก่ก่อนร่วงสีส้ม-สีแดง ช่อดอกกระจะ ห้อยลง ยาว 20-60 ซม. ออกที่ปลายกิ่ง ก้านดอกย่อยยาว 1 ซม. กลีบเลี้ยงสีเขียว 4 กลีบ ยาว 2-4 มม. กลีบดอกสีแดงหรือ สีชมพู 4 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 1 ซม. บานม้วนกลับ มีกลิ่นหอมเอียน เกสรเพศผู้สีแดง มีจ�ำนวนมาก ยาว 1.5-2.5 ซม. ผลทรงรีแกมทรงกระบอก ยาว 3-5 ซม. มีสันคมตามแนวยาว 4 สัน ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดคงทน มีเมล็ดแข็ง 1 เมล็ด นิเวศวิทยา : ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง ริมน�้ำ ชายป่า หรือตามทุ่งนาในเขตที่ราบน�้ำท่วมถึง พบมากในป่าบุ่งป่าทาม เป็น ไม้เบิกน�ำที่ส�ำคัญของป่าทุ่งป่าทามเมื่อป่าถูกท�ำลาย ขึ้นที่ความสูงใกล้ระดับน�้ำทะเลจนถึงประมาณ 500 ม. ออกดอก เดือนพฤศจิกายน-กรกฎาคม ผลแก่เดือนกุมภาพันธ์-ตุลาคม การกระจายพันธุ์ : พบได้ง่ายทั่วประเทศไทยและลาว ภูมิภาคเอเชียใต้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึง ตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ประโยชน์ : ยอดอ่อนและช่อดอกอ่อนรสมันอมฝาดเล็กน้อย กินเป็นผักสด จิ้มน�้ำพริก ป่น ลาบ ก้อย หรือปิ้งปลา, เปลือกทุบแช่น�้ำแล้วแช่เท้ารักษาโรคเท้าเปื่อย น�้ำกัดเท้า หรือน�ำมาเคี้ยวแล้วกินแก้ท้องเสีย ทุบแล้วเอาไปกวนใน น�้ำใช้เบื่อปลา หรือใช้ย้อมแห หรือลอกออกมาเป็นแผ่นขนาดใหญ่แล้วทุบให้นิ่มท�ำเป็นแผ่นรองนั่งติดบนหลังสัตว์ พาหนะ, เนื้อไม้แปรรูปท�ำไม้กระดานหรือฝา ใช้ในงานก่อสร้างชั่วคราวเนื่องจากผุง่ายไม่ทนทาน หรือท�ำเครื่องเรือน


Click to View FlipBook Version