The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ไม้วงศ์ยาง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ไม้วงศ์ยาง

การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ไม้วงศ์ยาง

การอนรุ ักษและ
ใชประโยชนไมว งศย าง

Conservation and Utilization
of Dipterocarpaceae

สาํ นักวจิ ยั การอนรุ ักษป าไมและพนั ธพุ ืช
กรมอทุ ยานแหง ชาติ สัตวปา และพันธพุ ืช
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ ม

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 1

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

พิมพค รงั้ ที่ 1 : พุทธศกั ราช 2556 อธบิ ดีกรมอุทยานแหง ชาติ สตั วปา และพันธพุ ชื
จํานวนพิมพ : 1,000 เลม รองอธิบดีกรมอทุ ยานแหง ชาติ สัตวปา และพันธุพืช
ทีป่ รกึ ษา ผูอํานวยการสํานักวิจัยการอนุรักษป า ไมและพนั ธุพชื

นายมโนพัศ หวั เมืองเเกว
นายธรี ภทั ร ประยูรสทิ ธิ
นายณรงค มหรรณพ

ภาพประกอบ จนิ ตนา บุพบรรพต มานพ ผพู ฒั น
สมภพ รัตนประชา พงษศกั ดิ์ พลเสนา

จัดพมิ พโดย สาํ นักวิจัยการอนรุ ักษป าไมแ ละพนั ธุพชื
กรมอุทยานแหง ชาติ สตั วปา และพันธุพ ืช

พิมพท่ี โรงพิมพช มุ นมุ สหกรณก ารเกษตรแหงประเทศไทย

ขอขอบคุณ อดตี อธิบดกี รมอทุ ยานแหง ชาติ สัตวป า และพนั ธุพืช
นายดํารงค พเิ ดช นักวชิ าการปาไมชํานาญการพเิ ศษ
นายเสรี โพธิ์พนิ จิ สํานักวิจัยการอนรุ ักษป า ไมและพนั ธุพชื

ขอมูลทางบรรณานกุ รม
จินตนา บุพบรรพต, สมภพ รัตนประชา, มานพ ผูพ ัฒน, จณิ นา เผอื กนาง และอภสิ ทิ ธิ์ ดา นชูธรรม

การอนุรกั ษและใชประโยชนไมว งศย าง. – สาํ นกั วิจัยการอนรุ กั ษป าไมและพันธพุ ืช
กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพนั ธุพชื . 2556. 234 หนา .
ISBN: 978-616-316-104-8

2 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

“ไมยางนาในประเทศไทยไดถูกตัดฟนไปใชสอยและ
ทําเปนสินคากันเปนจํานวนมากขึ้นทุกป

เปนที่นาวิตกวาหากมิไดทําการบํารุงสงเสริมและดําเนินการปลูกไมยางนาข้ึนแลว
ปริมาณไมยางนาอาจจะลดนอยลงไปทุกที จึงควรท่ีจะไดมีการดําเนินการวิจัย
เก่ียวกับการปลูกไมยางนา เพื่อจะไดนําความรูไปใชในทางปฏิบัติ”

พระราชปรารภพระบาทสมเด็จพระเจาอยหู วั ฯ พุทธศกั ราช 2504

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 3

ดวยสายพระเนตรอันยาวไกล ในการเสด็จพระราชดําเนินทางรถยนตไปแปรพระราชฐาน
ณ พระที่น่ังไกลกังวล อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ ผานปายางนาสูงใหญสองขางทางของ
ถนนเพชรเกษม ชวงหลักกิโลเมตรที่ 176 - 179 ทองที่อําเภอทายาง จังหวัดเพชรบุรี จึงทรงพระ
กรุณาโปรดเกลาฯ ใหเจาหนาท่ี สํานักพระราชวังไปเก็บเมล็ดยางนาเมื่อเดือนเมษายน 2504 ใหเจา
หนาท่ีนําไปเพาะเล้ียงกลาไวใตรมตนแคบาน ในบริเวณพระตําหนักจิตรลดารโหฐานสวนหนึ่งและได
ทรงเพาะเมล็ดไมยางนาโดยพระองคเองไวบนดาดฟาพระตําหนักเปยมสุข ในพระราชวังไกลกังวล
อําเภอหัวหิน อีกสวนหนึ่ง

จากนั้นไดทรงปลูกกลาไมยางนาอายุ 4 เดือน ในบริเวณสวนจิตรลดารวมกับสมเด็จพระนาง
เจาสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ ขาราชบริพาร คณาจารย และนิสิต มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร เม่ือวันท่ี 28 กรกฎาคม 2504 ซึ่งเปนวันคลายวันประสูติของสมเด็จพระเจาลูกยาเธอ
เจาฟาวชิราลงกรณจํานวน 1,096 ตน โดยมีระยะปลูก 2.50 x 2.50 เมตร เนื้อท่ีประมาณ 4 ไร 1
งาน ซ่ึงถือเปนสวนปายางนาที่มีอายุเกาแกที่สุดในประเทศไทย พรอมกับทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ
ใหคณะวนศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร และโครงการสวนพระองคสวนจิตรลดา ทําการศึกษา
วิจัยเกี่ยวกับการปลูกไมยางนาในบริเวณสวนจิตรลดา โดยมีศาสตราจารยเทียม คมกฤส คณบดีคณะ
วนศาสตร ในขณะนั้นเปนหัวหนาโครงการ ดวยพระราชดําริน้ีทําใหหนวยงานของรัฐไดดําเนินการ
ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับไมยางนาและไมวงศ ยางอ่ืนๆ อยางตอเนื่องจนถึงปจจุบัน พรอมท้ังสงเสริมการ
ปลูกไมวงศยางในวาระตางๆ

4 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

คํานํา

ไมวงศยาง (Dipterocarpaceae) เปนไมยืนตนท่ีพบในประเทศไทย ประมาณ 8 สกุล
79 ชนิด แยกเปน สกุลไมกระบาก 4 ชนิด สกุลไมยาง 16 ชนิด สกุลไมเค่ียม 1 ชนิด สกุลไขเขียว
2 ชนิด สกุลไมตะเคียน 18 ชนิด สกุลไมตะเคียนชันตาแมว 1 ชนิด สกุลไมเต็ง - สยา 24 ชนิด และ
สกุลไมพันจํา 13 ชนิด พบในทุกภาคของประเทศ ท้ังปาผลัดใบและปาไมผลัดใบ โดยในปาผลัดใบ
พบในปาเต็งรัง และปาเบญจพรรณ โดยไมในวงศยางเปนพรรณไมหลักของปาเต็งรัง (Deciduous
dipterocarp forest) ซึ่งพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย คือ มีมากถึงรอยละ
80 ของพ้ืนที่ปาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สวนในปาไมผลัดใบ พบมากในปาดิบแลง ปาพรุ และ
ปาดิบชื้น เปนหลัก

ไมในวงศยางมีความผูกพันกับชาวไทยมาชานาน ซึ่งปรากฎรองรอยจากหลักฐานทาง
ประวัติศาสตรและภูมิปญญาทองถิ่นท่ียังพบเห็นไดในปจจุบัน ชาวไทยไดนําพรรณไมวงศยางมา
ใชประโยชนทั้งทางตรง และทางออม โดยประโยชนทางตรง เชน เปนวัตถุดิบในการตอเรือ สราง
ฝาบาน ไมอัด ไมบาง ไมประกับ ดามคราด ไถ เสียม พลั่ว สาก ครก รอด คาน ชันยาเรือ นํ้ามันยาง
สวนในทางออม เชน เอ้ืออํานวยตอการรักษาสภาพแวดลอม สรางรมเงาใหแกไมพ้ืนลาง เปนตน

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯ ทรงสนพระราชหฤทัยในไมยางมานานแลว โดยมีพระ
ราชปรารภใหวิจัยไมยางนาและรวมปลูกกลายางนา ภายในพระตําหนักจิตรลดารโหฐาน เม่ือวัน
ที่ 28 กรกฎาคม 2504 เพื่อรณรงคใหชาวไทยไดตระหนักถึงคุณคาของไมยาง และชวยกันบํารุงสง
เสริมใหมีการอนุรักษและปลูกไมยางนาใหมากขึ้น กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช ไดนอม
รับพระราชดํารัสของพระองคทานมายึดถือและปฏิบัติเรื่อยมา โดยใหความสําคัญกับงานดานการ
อนุรักษและศึกษาวิจัยเก่ียวกับไมในวงศยางอยางตอเน่ืองเพื่อใหไดองคความรูเก่ียวกับวงศไมยาง
เพ่ือประโยชนในการอนุรักษและฟนฟูพรรณไมในวงศยางในธรรมชาติใหคงอยู และเอ้ือประโยชน
ตอมนุษยชาติ ตลอดไป

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 5

หนังสือเลมนี้ ไดกลาวถึง ความสําคัญของปาเขตรอนที่เปนถ่ินกําเนิดของพรรณไมวงศยาง
พรรณไมวงศยางในประเทศไทย ท่ีพบชนิดใหมและแกไขการจําแนกชนิด วัฒนธรรมกับความหลาก
หลายของไมวงศยาง ภูมิปญญาไทยกับการใชประโยชนไมวงศยาง การอนุรักษไมวงศยาง งานวิจัย
เพื่ออนุรักษไมวงศยาง ไดแก การวิจัยทางดานชีพลักษณ แมลง พันธุกรรม และการปลูกไมวงศยาง
เปนตน นอกจากนี้ยังไดกลาวถึงบทบาทของไมวงศยางในอนาคต และทายสุดไดกลาวถึงแนวทาง
การใชประโยชนและการอนุรักษไมวงศยางเพื่อใหยังประโยชนอยางย่ังยืน

กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช หวังเปนอยางยิ่งวาหนังสือเลมนี้จะเปนประโยชน
ตอผูสนใจไมวงศยางใหไดทราบความเปนมา ความสําคัญของไมวงศยาง และตอการพัฒนางานวิจัย
ของนักศึกษา นักวิชาการ และสําหรับผูปฏิบัติงานท่ีเกี่ยวของกับไมวงศยางจะไดนําไปสูการปฏิบัติ
เพ่ืออนุรักษและฟนฟูไมวงศยางใหคงประโยชนตอมนุษยอยางย่ังยืนสืบไป

(นายมโนพัศ หัวเมืองแกว)
อธิบดีกรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และพันธุพืช

6 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

สารบัญ

คาํ นํา หนา
สารบัญ 5
บทนํา 7
ปา เขตรอ นถ่ินกําเนดิ ของพรรณไมวงศยาง 9
13
1. ววิ ัฒนาการและการจําแนกปาของโลก 14
2. ปา เขตรอ นคณุ คา แหง ความหลากหลาย 16
3. ปาเขตรอนในประเทศไทย 20
4. พรรณไมว งศยางกับปาเขตรอน 26

พรรณไมวงศยางในประเทศไทย 29
1. ความเปน มาของการศกึ ษาไมวงศยาง 30
2. ลกั ษณะของพรรณไมว งศยาง 30
3. การจําแนกชนิดพรรณไมวงศยางในประเทศไทย 32

วัฒนธรรมกบั ความหลากหลายของไมว งศยาง 89
1. คณุ คาทางวฒั นธรรมในปา เขตรอน 90
2. ตน ไมใ นวถิ ชี วี ติ ของคนไทย 91
3. ไมว งศย างกับคุณคา ทางวฒั นธรรมในสงั คมไทย 92

ภมู ิปญ ญากับการใชประโยชนไมวงศยาง 103
1. ผลผลิตที่ไดจากไมวงศย าง 104
2. ผลผลิตท่ไี ดจากปาไมว งศย าง 116

การอนรุ กั ษไ มว งศย าง 123
1. แนวคดิ ในการอนุรักษท รพั ยากรธรรมชาติ 125
2. แนวทางการอนุรกั ษท รพั ยากรพันธกุ รรมไมป า 126

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 7

สารบัญ(ตอ)

3. การอนรุ กั ษไมวงศย างโดยการควบคุมดวยกฎหมาย 129
4. การอนุรกั ษไ มวงศยางโดยการคุม ครองพน้ื ที่ 134
5. การสงเสรมิ การปลกู ไมว งศย าง 136
6. วัฒนธรรมชมุ ชนกบั การอนุรักษไ มวงศย าง 150

งานวจิ ัยเพื่ออนุรักษไ มวงศยาง 159
1. ชีพลกั ษณข องไมว งศย าง 160
2. เมล็ดไมว งศยาง 164
3. โรคและแมลงของไมวงศยาง 166
4. ไมคอรไ รซาในไมวงศยาง 176
5. พนั ธกุ รรมไมว งศย าง 185
6. การปลูกไมวงศย าง 189

บทบาทของไมวงศยางในอนาคต 197
1. ไมว งศย างกับแนวคิดเรอ่ื งการลดการปลดปลอ ยกา ซเรอื นกระจก
จากการทําลายปา และความเส่ือมโทรมของปาในประเทศกาํ ลงั พัฒนา 198
2. ไมวงศย างกับความหลากหลายทางชีวภาพ 204
3. ไมว งศยางกับการรอ้ื ฟน วัฒนธรรม 210

แนวทางการใชประโยชนแ ละอนุรกั ษไมวงศย างอยา งยงั่ ยนื 213
1. แผนการบริหารจัดการการอนุรักษและฟน ฟูไมวงศยาง 215
2. แผนบรหิ ารจดั การดานการวิจยั ไมวงศยาง 220

เอกสารอา งองิ 223

8 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

บทนํา

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 9

บทนํา

การสูญเสียพ้ืนท่ีปาในอดีตจนถึงปจจุบันรูปแบบตางๆ ทําใหพันธุพืช สัตว และจุลินทรีย
ลดลง การลักลอบตัดฟนเพื่อนําไมออกจากปารวมทั้งการทําลายปาเพื่อเปล่ียนพื้นท่ีไปใชประโยชน
ในดานอ่ืนๆ ยอมมีการแผวถางปา กิจกรรมนี้สงผลใหความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)
ของพันธุพืชและสัตวลดลง ซึ่งบางชนิดอาจเสี่ยงตอการสูญพันธุ เมื่อมองยอนอดีตไปตั้งแตป พ.ศ.
2504 จนถึงปจจุบัน จํานวนพ้ืนที่ปาของประเทศไทยลดลงจากรอยละ 53.3 ของพื้นที่ประเทศ คง
เหลือประมาณรอยละ 30 ของพ้ืนที่ประเทศ หรือนอยกวา 100 ลานไร ในป พ.ศ. 2552 ดังน้ัน
การอนุรักษและปองกันรักษาปาที่เหลืออยูจึงนับวาเปนส่ิงสําคัญและจําเปน เพ่ือประโยชนในการ
รักษาสิ่งแวดลอมและเปนที่อยูอาศัยของสัตวปาในอนาคต ในขณะเดียวกันการลดลงของผืนปา
ยังเปนปจจัยสําคัญปจจัยหนึ่งท่ีสงผลตอการเกิดภัยพิบัติ เชน การเกิดอุทกภัย หรือความแหงแลง
เนื่องจากขาดตนไมท่ีอุมน้ําและดูดซับนํ้า ดังน้ันมนุษยจึงไดเริ่มตระหนักถึงภัยอันตรายที่เกิดจาก
ธรรมชาติและส่ิงแวดลอมมากขึ้น จึงตองหันมาชวยกันอนุรักษผืนปาธรรมชาติ และฟนฟูปาดวยวิธี
การที่หลากหลายวิธี เชน การสรางปาโดยการปองกันพ้ืนท่ีไมใหถูกรบกวนเพื่อใหปาฟนฟูดวยตัวเอง
หรือการปลูกปา ในการปลูกปานั้นมีหลาย ขึ้นอยูกับวัตถุประสงค เชน การปลูกปาในพ้ืนท่ีตนน้ํา ซึ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯ ทรงมีพระราชดํารัส แนวทางการปลูกปาในพ้ืนที่ตนน้ํา เมื่อวันที่ 24
กุมภาพันธ 2555 มีสาระสําคัญวา การปลูกปาควรปลูกไมเนื้อออน ข้ึนเร็ว ใชงานและขายได สวน
หนึ่งปกปองไมเน้ือแข็งโตชา การปลูกไมผสมผสานดวยกันหลายชนิดเพื่อปองกันการทําลายและ
ปองกันการตัดไมชนิดท่ีมีราคาแพง (สํานักงานหอพรรณไม, 2555) ตลอดจนการสงเสริมการปลูก
ปาสามอยางเพ่ือประโยชนส่ีอยาง จําเปนตองใชผลการศึกษาวิจัยท่ีผานมาพิจารณาถึงชนิดพรรณ
ไมท่ีปลูก ระบบนเิ วศดง้ั เดมิ ของชนดิ ไม ตลอดจนการเกบ็ เมลด็ การเลย้ี งกลา ไมใ หไ ดข นาดทเ่ี หมาะสม
ซึ่งเปนแนวทางการดําเนินการ

พรรณไมในวงศยาง ถือไดวาเปนพรรณไมหลักของปาเขตรอน (Tropical rain forest)
อันเปนระบบนิเวศที่มีความสลับซับซอนและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงของโลก พรรณไมใน
วงศยางมีลักษณะลําตนเปลาตรง สูงเดนกวาไมอ่ืนๆ ในผืนปาจนไดรับฉายาวาเปน “ราชาแหงไพร
พฤกษ” (King of the forest of Asia) (สมศักด์ิ, 2542) โดยเฉพาะในปาของเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต มีพรรณไมวงศยางมากถึง 470 ชนิด ใน 13 สกุล มีเรือนยอดปกคลุม 40 – 100 % ของเรือน
ยอดตนไมในปา (Lyal et al., 2004) สําหรับในประเทศไทย มีไมวงศยางกระจายทั่วประเทศตาม
ระบบนิเวศของพ้ืนท่ี ดวยเหตุผลท่ีมีความหลากหลายทางชนิดพันธุและมีการกระจายกวางขวาง
จึงมีการนําไมวงศยางมาใชประโยชนที่แตกตางกันตามภูมิภาคเปนระยะเวลายาวนานจนกลาย

10 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

เปนวัฒนธรรม ทําใหพรรณไมในวงศไมยางมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาชานานจากอดีต
สูปจจุบัน โดยสามารถจําแนกวัฒนธรรมท่ีพึ่งพิงผลผลิตจากไมวงศยางดานตางๆ ดังนี้

ตนไม ท่ีใชในการกอสรางบานเรือน เชน เสา ขื่อ วงกบ การขุดเรือจากไมตะเคียน ได
แสดงออกถึงวัฒนธรรมไทยที่เปนเอกลักษณของชนชาติ เชน เรือยาวลุมเจาพระยา เรือกอและ และ
เรือในกระบวนพยุหยาตรา รวมท้ังการนําไมยางไปสรางบุษบกประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตน
ปฏิมากร และพระบรมมหาราชวัง

ยางไมหรือชัน นํามาใชประโยชนดานแสงสวางในยามค่ําคืนของชุมชนในถิ่นทุรกันดาร
นํ้ามันยางใชทาเรือประมงกันน้ําเขาเรือและรักษาเน้ือไมซ่ึงเปนสารธรรมชาติ ซ่ึงชันท่ีเหมาะแกการนํา
มาใชทาเรือเปนชันท่ีไดจากไมกระบาก นอกจากน้ีชันที่ไดจากไมยางบางชนิดจัดเปนสมุนไพร

ใบ ใบไมยางพลวงหรือเรียกวาใบตองตึง สามารถนํามาเย็บเปนกระทงใสผัก ผลไม ใช
ปกคลุมความช้ืนในแปลงปลูกผัก และนํามามุงหลังคาบานเรือนในชนบท ในปจจุบันยังคงมีการใช
ประโยชนจากใบยางพลวงอยู พบมากในภาคเหนือ นอกจากนี้ยังนําใบยางพลวงมาเผาเพ่ือเอาเถา
มาเปนสวนประกอบผลิตภัณฑศิลาดล (ณัฐพร และคณะ, 2554)

อาหาร เห็ดท่ีเกิดจากเชื้อราไมคอรไรซา (Mycorrhiza fungi) ที่อาศัยอยูรวมกับรากของ
ไมวงศยาง เมื่อความช้ืนและอุณหภูมิเหมาะสมเช้ือราจะสรางดอกเห็ดข้ึนเหนือพื้นดิน เห็ดท่ีพบใน
ปาไมวงศยาง ไดแก เห็ดระโงกขาว เห็ดระโงกเหลือง เห็ดระโงกแดง เห็ดน้ําหมาก และเห็ดเผาะ ซ่ึง
เปนอาหารของสัตวหลายชนิดท่ีอาศัยอยูในปารวมทั้งมนุษย ในแตละปเกษตรกรสามารถทํารายได
จํานวนมากจากการเก็บเห็ดที่ขึ้นในปาเต็งรังมาขาย (จินตนา และศิริภา, 2545)

ศิลปะ วรรณคดี และดนตรี มีพรรณไมวงศยางเขาไปเสริมความไพเราะในบทกลอนตางๆ
เชน การชมความงามของปา และกล่ินหอมดอกไมของไมวงศยางถูกชื่นชม ดังบทเพลงดอกจันทน
กะพอ นอกจากน้ีดอกของพรรณไมในวงศยางอ่ืนๆ ที่มีกล่ินหอม เชน พะยอม รัง และตะเคียน
เปนที่นิยมแพรหลายนํามาปลูกเปนไมประดับ แตอยางไรก็ตามพรรณไมวงศยางเริ่มออกดอกและ
ใหเมล็ดครั้งแรกเม่ืออายุ 20 ถึง 30 ป ซ่ึงเปนระยะที่ยาวนานมาก ดังบทจารึกบันทึกไวดวยพระ
ราชหัตถเลขาของพระพุทธเจาหลวง พระปรมาภิไธยสยามมินทร ท่ีไดพระราชทานแกพระวรพงษ
พิพัฒน ความตอนหนึ่งวา “จะบอกขาวการยินดีอยางหน่ึงตนพะยอมท่ีเอาไปปลูกที่เรือนนางดารา
ออกดอกแลวนึกวาแผนดินพระจุลจอมเกลาจะไมไดเห็นดอกพะยอมก็ไดเห็นเชนกันจะวากระไร”
(ทัศนีย และลีลา, 2542)

ดวยลักษณะเดนในการใชประโยชนของไมวงศยางมีหลายประการ ดังน้ันตลอดระยะเวลาที่
ผานมา ไดนําไมชนิดนี้มาใชประโยชนอยางกวางขวาง รวมทั้งมีการบุกรุกพื้นที่ปา สงผลทําใหจํานวน

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 11

ไมในวงศยางธรรมชาติลดลงไปเปนจํานวนมากจนบางชนิดเส่ียงตอการสูญพันธุ ประกอบกับความ
สัมพันธระหวางคนไทยกับพรรณไมในวงศยางไดเบาบางลง จนหลายภาคสวนไดตระหนักถึงคุณคา
ความสําคัญของพรรณไมในวงศยาง จึงนําไปสูการอนุรักษในรูปแบบตางๆ ทั้งการรักษาปา ตนไม
และภูมิปญญาทองถิ่น และการสงเสริมการปลูก จึงไดมีการผสานหนวยงานตางๆ ทั้งภาครัฐและ
เอกชนชวยกันปลูก เพื่อการอนุรักษ และฟนฟูไมวงศยางใหมีความอุดมสมบูรณกลับคืนมา รวมท้ังมี
ศึกษาวิจัยไมวงศยางในดานตางๆ เพื่อรวบรวมองคความรูมาบูรณาการใหไมวงศยางคงอยูในระบบ
นิเวศ

การอนุรักษและใชประโยชนของไมวงศยาง เปนสวนหน่ึงของโครงการจัดการความหลาก
หลายทางชีวภาพ ในพ้ืนท่ีกลุมปาภูเขียว – นํ้าหนาว ท่ีมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว
ปาสูงแหงหนึ่งของประเทศไทย กลุมปาแหงนี้เปนผืนปาขนาดใหญของภาคอิสานตะวันตก โดยพื้นที่
บางสวนอยูในเทือกเขาเพชรบูรณและเทือกเขาดงพญาเย็น มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 4,432,233 ไร ประกอบ
ดวยเขตอุทยานแหงชาติ และครอบคลุมพ้ืนท่ีเขตรักษาพันธุสัตวปา พ้ืนที่เหลาน้ีมีชนิดพรรณไมวงศ
ยางข้ึนตามระบบนิเวศที่แตกตางไปตามพื้นที่ เชน ปาเต็งรังในเขตรักษาพันธุสัตวปาภูเขียว มีไมรัง
ขึ้นเปนไมเดน พบไมยางเหียงข้ึนรวมกับไมสนบนท่ีสูง นอกจากนี้พบยางแดง ตะเคียนหิน เปนตน
และปาเต็งรังในอุทยานแหงชาติปาหินงาม มีตนกระเจียวเปนไมพ้ืนลางของปาเต็งรัง จนเปนแหลง
ทองเท่ียวที่สวยงาม ดังน้ันหนังสือเลมน้ี จึงเปนแนวทางท่ีใชประกอบศึกษาพรรณไมวงศยาง ท้ัง
ดานอนุกรมวิธาน นการจําแนกชนิดไมวงศยาง การกระจายพันธุ ระบบนิเวศถ่ินอาศัย สถานภาพ
ของประชากรไมวงศยาง การอนุรักษ รวมท้ังงานวิจัยของไมวงศยาง และบทบาทการใชประโยชน
ของไมวงศยางในอนาคต เพ่ือมุงสูการพัฒนาองคความรูของไมวงศยางใหครอบคลุมทุกบริบท และ
อนุรักษพรรณไมวงศยางใหย่ังยืนตอไป

12 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

ปาเขตรอนถิ่นกําเนิดของ
พรรณไมวงศยาง

อาณาเขตพื้นที่ปาของโลก (ที่มา : FAO,2006)
การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 13

ปาเขตรอนถิ่นกําเนิดของพรรณไมวงศยาง

ปาเขตรอนจัดวาเปนสังคมพืชท่ีมีความสําคัญท้ังในดานวิวัฒนาการ ความหลากหลายทาง
ชีวภาพ และการรักษาสมดุลสภาพแวดลอมของโลก โดยเฉพาะอยางยิ่งเปนพ้ืนท่ีตนกําเนิดของ
พรรณไมวงศยางและพบไดมากท่ีสุดในปาเขตรอน การเขาใจสภาพแวดลอมของถ่ินกําเนิดไม
วงศยาง ชวยใหมองเห็นถึงความสัมพันธและความเปนมาของพรรณไมวงศยาง

1. วิวัฒนาการและการจําแนกปาของโลก

เม่ือประมาณสองพันลานปลวงมาแลว ไดมีพืชชนิดแรกเกิดขึ้นบนโลก พืชชนิดน้ีเช่ือกันวา
เปนอินทรียสารท่ีมีขนาดเล็กมาก และมีชีวิตอยูในทองทะเลเทาน้ัน ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน พืช
ดังกลาวไดวิวัฒนาการมาเปนพืชที่มีรูปรางตางๆ กัน แตพืชบกยังมิไดถือกําเนิดข้ึนแตประการใด
เปนระยะเวลานานถึง 1,400 ลานป ตอมาสาหรายทะเลสีน้ําเงินแกมเขียว (Blue green algae)
สามารถตั้งตัวขึ้นไดทั้งในนํ้าและบนบก จากนั้นพืชบกจึงไดถือกําเนิดและวิวัฒนาการตอมา ตลอด
ระยะเวลาของการวิวัฒนาการมีพืชหลายชนิดไดสาบสูญไป พืชท่ีคงอยูไดขยายจํานวนและมีรูป
รางสลับซับซอนย่ิงข้ึน ปจจุบันประมาณวามีพืชท่ีมีชีวิตอยูในโลกประมาณ 400,000 ชนิด สําหรับ
รายละเอียดวาพืชชนิดใดกําเนิดข้ึนในยุคใดนั้น ตามหลักฐานทางธรณีวิทยาปรากฏวาในยุคพรีแคม
เบรียน (Pre - cambrian) เมื่อประมาณ 1,200 - 2,000 ลานปลวงมาแลว มีพืชทะเลดึกดําบรรพใน
รูปของแอลจี (Algae) อันเปนจุลินทรียท่ีมีเซลลเดียว และเปนตนตระกูลของสาหรายทะเล สําหรับ
พรรณไมสมัยปจจุบันไดวิวัฒนาการข้ึนมากภายหลังในยุคไพลโอซีน (Pliocene) เม่ือประมาณ 12
ลานปมาแลว

ปาในปจจุบันประกอบดวยพรรณไมนานาชนิด ที่ไดวิวัฒนาการเร่ือยมาเปนระยะเวลา
ยาวนาน มีหลายชนิดไดเกิดข้ึนและเจริญเติบโตข้ึนแลวเสื่อมไป จากนั้นไดสูญพันธุไป มีพรรณไม
ชนิดใหมเกิดข้ึนแทน และเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพดินฟาอากาศ ปจจุบันพรรณไมที่มีความสําคัญ
ในทางเศรษฐกิจของโลกไดจําแนกออกเปน 2 กลุม กลุมหน่ึงคือ ไมใบแคบเรียวแหลม มีลักษณะ
เหมือนเข็ม ไดแก ตนไมจําพวกสนเขา และอีกกลุมหนึ่งมีใบกวาง เชน ไมสัก ไมประดู ไมแดง เปนตน
ไมทั้งสองจําพวกนี้ไดเจริญสืบเนื่องตอมาจนตราบเทาทุกวันนี้ (โครงการสารานุกรมไทยสําหรับ
เยาวชนโดยพระราชประสงคในพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯ, 2549)

การจําแนกปาในสวนตางๆ ของโลกสามารถจําแนกออกไดตามความแตกตางขององค
ประกอบตางๆ และประวัติความเปนมาแตดั้งเดิมโดยแบงออกออกเปนประเภทใหญๆ รวม 6

14 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

ประเภท ซึ่งแตละประเภทข้ึนอยูในหลายทองที่ และมีลักษณะชนิดของพรรณไมท่ีขึ้นอยูแตกตาง
กันไป สรุปไดดังน้ี

1) ปาไมสนในเขตหนาว (Cool coniferous forests) ขึ้นอยูทางซีกโลกเหนือในพื้นท่ีท่ีมี
อากาศหนาวเทานั้น มีลักษณะการกระจายของปาเปนแถบกวางแผกระจายอยูทางตอนเหนือของ
ทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย ต้ังแตอลาสกา แคนาดา แถบกลุมประเทศในสแกนดิเนเวีย
ไปจนถึงไซบีเรีย เน้ือที่ปาสวนใหญอยูในไซบีเรีย ปาชนิดน้ีมีไมเน้ือออน (Soft wood) หรือไมใน
ตระกูลสนเขา (Conifer) ข้ึนอยูอยางหนาแนน ในแตละพ้ืนที่มีโครงสรางปาเปนพรรณไมเพียงไม
ก่ีชนิด มีลักษณะเปนตนไมท่ีมีขนาดปานกลางและมีความเติบโตไลเล่ียกัน

2) ปาไมผสมโซนอบอุน (Temperate mixed forests) ข้ึนอยูทางตอนกลางของซีกโลก
เหนือเกือบท้ังหมด คือ ในยุโรปตอนกลาง อเมริกาเหนือ และเอเชีย พรรณไมในปาชนิดนี้มีมากกวา
ปาสนในเขตหนาว มีทั้งปาไมเน้ือออน ซึ่งเปนไมในตระกูลไมสนเขา และปาไมเนื้อแข็ง

3) ปาชื้นในโซนอบอุน (Warm temperate moist forests) ข้ึนอยูทั่วไปในแถบโซน
อบอุนท้ังทางซีกโลกเหนือและใต ในอเมริกาเหนือมีอยูทางฝงมหาสมุทรแปซิฟก ทางทิศตะวันตก
เฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใตของอเมริกาใต นิวซีแลนด ชายฝงตะวันออกเฉียงใตของ
ออสเตรเลียทางตอนใตของญ่ีปุน และเกาหลี และตอนกลางของแผนดินใหญจีน พรรณไมที่สําคัญ
ไดแก ไมสนชนิดตางๆ ไมโอก และไมยูคาลิปตัสในออสเตรเลีย

4) ปาดงดิบแถบศูนยสูตร (Equatorial rain forests) ข้ึนอยูทั่วไปในแถบโซนรอนที่
มีฝนตกชุกเกือบตลอดป เปนปาไมเน้ือแข็งท่ีมีพรรณไมข้ึนปะปนกันอยูมากมายหลายชนิด ปามี
โครงสรางหลายช้ันเรือนยอด ประกอบดวยตนไมมีลักษณะและขนาดตางๆ กัน ปาชนิดนี้พบอยู
ในยานลาตินอเมริกา แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต

5) ปาผสมช้ืนแถบโซนรอน (Tropical moist deciduous forests) ข้ึนอยูในแถบโซนรอน
ท่ีมีฤดูแลงเปนระยะเวลาคอนขางนาน เชน ในตอนใตของอเมริกาเหนือ แอฟริกา ลาตินอเมริกา
และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต

6) ปาแลง (Dry forests) ขึ้นอยูในทุกภาคของโลกที่มีความแหงจัด แตสวนมากแลวข้ึนอยู
ทางแถบโซนรอน พรรณไมที่ข้ึนอยูเปนไมขนาดเล็ก เต้ีย แคระแกร็น ปะปนกันมากมายหลายชนิด
แตมีปริมาตรเน้ือไมตอหนวยพื้นท่ีนอยมาก พบปาแลงสวนใหญอยูในแอฟริกาและออสเตรเลีย

ประมาณวาจํานวนพื้นที่ปาเกือบคร่ึงหนึ่งที่ปรากฏอยูในยุคปจจุบัน คือหลังยุคโฮโลซีน
(Holocene Epoch) หรือยุคหลังไพลสโตซีน (Post – Pleistocene Epoch) ท่ีมีอายุราว 10,000
ปลงมา ไดขึ้นอยูภายใตอิทธิพลของสภาพภูมิอากาศท่ีเกิดขึ้น จากผลกระทบในการเปล่ียนแปลง

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 15

กิจกรรมครั้งใหญของมนุษย และอิทธิพลของมนุษยไดแพรกระจายไปในวงกวาง จึงสงผลทําให
พื้นที่ปาลดลงเรื่อยมาจนถึงปจจุบัน

การแพรกระจายของกิจกรรมการเพาะปลูก การเล้ียงสัตว การตัดไมจากปาเพ่ือการใช
ไมและเช้ือเพลิง รวมถึงการขยายพ้ืนที่เน่ืองจากการเพ่ิมขึ้นของจํานวนประชากร ลวนสงผลทําให
ตองแลกกับการสูญเสียพื้นท่ีปา สวนสาเหตุและชวงเวลาการลดลงของพื้นท่ีปา มีความแตกตาง
กันในแตละภูมิภาคและชนิดของปา ซึ่งปรากฏออกมาเปนสภาพอาณาเขตพื้นที่ปาในปจจุบัน
(UNEP - WCMC, 1998) ดังแสดงในภาพท่ี 2.1 ไดแสดงการเปรียบเทียบระหวางอาณาเขตพื้นที่
ปาไมเขตรอนและเขตอบอุนในยุคปาด้ังเดิมและยุคปจจุบันท่ีไดรับผลกระทบจากมนุษย

ภาพท่ี 2.1 อาณาเขตพ้ืนท่ีปาไมเขตรอนและเขตอบอุนในยุคปาด้ังเดิมและยุคปจจุบัน
ท่ีไดรับผลกระทบจากมนุษย (ท่ีมา: UNEP - WCMC, 1998)

2. ปาเขตรอนคุณคาแหงความหลากหลาย

ปาเขตรอน (Tropical forest) เปนปาที่เกิดข้ึนบริเวณเสนศูนยสูตรของโลก มีปาหลาย
ประเภทประกอบกันขึ้น เชน ปาดงดิบช้ืน ปาดงดิบเขา ปาดงดิบแลง ปาสนเขา ปาชายเลน ปาพรุ
ปาเต็งรัง และปาเบญจพรรณ เปนตน ปาแตละประเภทตางมีเอกลักษณพิเศษเฉพาะตัว รวมทั้ง
16 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

มีปจจัยกําหนดการเกิด และการดํารงอยูแตกตางกันหลายประการ ทําใหสามารถแบงปาเขตรอน
ไดเปน 2 กลุมใหญๆ คือ ปาไมผลัดใบ (Evergreen forest) และปาผลัดใบ (Deciduous forest)
กลาวคือ บริเวณใดมีฝนตกชุกตลอดป ไมมีเดือนที่แหงแลงชัดเจนหรือยาวนาน มีปริมาณน้ําฝนนอย
กวา 1,500 มิลลิเมตรตอป ปาเขตรอนที่เกิดข้ึน มีลักษณะเปน ปาดิบ หรือ ปาไมผลัดใบ อันมีสภาพ
รกทึบ เขียวคร้ึมตลอดป นับเปนปาที่มีพืชพันธุและสัตวปาหลากหลายท่ีสุด เพราะลักษณะอากาศ
และอุณหภูมิท่ีคอนขางคงที่ ส่ิงมีชีวิตจึงไมตองพยายามปรับตัวมาก สวนปาเขตรอนบริเวณใดที่มี
ลักษณะอากาศแบบมรสุม มีฤดูแบงแยกชัดเจนมีฤดูแลงยาวนาน ตนพืชตองพักตัวหรือผลัดใบท้ิง
เพื่อลดปริมาณการคายน้ําในฤดูแลง จึงเกิดเปนปาผลัดใบ

หากใชปจจัยทางดานความสูงจากระดับนํ้าทะเลเปนตัวกําหนดลักษณะของปาเขตรอน
พบวา บริเวณยอดเขาท่ีสูงกวา 1,000 เมตร เหนือจากระดับนํ้าทะเลข้ึนไป เปนปาดิบเขา และปา
สน ตํ่าลงมาไมเกิน 1,000 เมตร เปนปาเต็งรัง และความสูงไมเกิน 700 เมตร เปนปาเบญจพรรณ
สําหรับความสูงไมเกิน 400 เมตร เปนปาดิบช้ืนและปาดิบแลง สวนบริเวณนํ้ากรอยติดชายฝงทะเล
เปนปาชายเลน ตามลําดับ

ปาเขตรอนท้ังหมดมีเน้ือที่รวมกันเพียงรอยละ 7 ของพ้ืนดินท้ังหมดบนโลก ปาเขตรอนจึง
ไดรับการยอมรับวาเปนสังคมของสิ่งมีชีวิตท่ีมีความสลับซับซอนมากที่สุด และมีความหลากหลาย
ทางชีวภาพสูงท่ีสุดในโลก ในพื้นที่ปาเขตรอนเพียง 1 ตารางกิโลเมตร สามารถสํารวจพบพรรณไม
นับรอยชนิด สัตวเลี้ยงลูกดวยนมหลายสิบชนิด นกอีกหลายรอยชนิด แมลงและผีเสื้อนับพันชนิด
คาดวายังมีส่ิงมีชีวิตอีกไมต่ํากวา 2 ลานชนิดในปาเขตรอนท่ียังไมไดรับการตั้งช่ือและไมเคยมีมนุษย
คนใดรูจักมากอน

ประเทศไทยเปนประเทศหนึ่งท่ีต้ังอยูในบริเวณเสนศูนยสูตร ซึ่งมีอากาศรอนช้ืนฝนตกชุก
จึงอุดมไปดวยปาเขตรอนอยูท่ัวทุกภาค ทั้งปาเขตรอนท่ีไมผลัดใบ อาทิเชน ปาดิบช้ืน ปาดิบเขา
ปาดิบแลง ปาสนเขา ปาชายเลน และปาเขตรอนท่ีผลัดใบ อาทิเชน ปาเต็งรัง ปาเบญจพรรณ และ
ทุงหญา เปนตน เมื่อพิจารณาจากสภาพภูมิประเทศและท่ีต้ัง พบวาประเทศไทยมีความหลากหลาย
ของระบบนิเวศปาและชนิดพันธุสัตวสูงมาก เน่ืองจากประเทศไทยตั้งอยูบนคาบสมุทรที่เปนรอยตอ
ของเขตวนภูมิศาสตรถึง 3 เขต คือ เขตอินโด-พมา (Indo-Burmese) เขตอินโดจีน (Indo-Chinese)
และเขตมาเลเซียน (Malesian) โดยในแตละภาคมีลักษณะเดนดังน้ี

ภาคเหนือของประเทศไทย มีสภาพภูมิประเทศเปนเทือกเขาสูงท่ีติดตอกับเทือกเขาหิมาลัย
มีแนวเทือกเขาและหุบเขากวางๆ ทอดตัวลงมาทางใต เชน เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาตะนาวศรี
กั้นเขตชายแดนไทยพมา สภาพโดยท่ัวไปมีลักษณะเปนภูเขาที่มีระดับความสูงมากกวา 1,000 เมตร

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 17

เหนือระดับนํ้าทะเล มีสภาพอากาศเย็นเหมาะสมแกการเจริญเติบโตของพรรณไมปาดิบเขาและปา
สนเขา ในบริเวณท่ีมีความลาดชันนอยจะมีสถาพเปนปาเบญจพรรณ และปาเต็งรัง ในบริเวณที่ราบ
หุบเขาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีลักษณะเปนท่ีราบสูงเรียกวา ท่ีราบสูงโคราช
มีอาณาเขตระหวางเทือกเขาเพชรบูรณ เทือกเขาดงพญาเย็น และเทือกเขาพนมดงรัก ปจจุบันแมวา
พ้ืนท่ีปาถูกทําลายลงไปมาก แตยังคงมีปาดิบชื้นและปาดิบแลงเหลือปรากฏใหเห็นในบริเวณนี้ สวน
ภาคกลางของประเทศไทยเปนที่ราบลุมแมนํ้าเจาพระยา มีลักษณะดั้งเดิม เปนบึงน้ําจืดและปามรสุม
ซ่ึงถูกเปลี่ยนสภาพกลายเปนนาขาวอยางกวางขวาง สามารถพบเห็นปาเปนหยอมๆ กระจายท่ัวไป

ภาคตะวันตกของประเทศไทย มีแนวเทือกเขาตะนาวศรีเปนแนวเขาสําคัญท่ีกั้นระหวาง
ชายแดนไทยกับพมา มีความสูงจากระดับน้ําทะเลปานกลางประมาณ 1,000 เมตร เทือกเขานี้อยู
ภายใตเขตเงาฝนและเทือกเขาเดียวกันที่สูงกวาในประเทศพมา จึงพบปาก่ึงดิบชื้นเกิดข้ึนบนพ้ืนท่ี
สูง และมีปาเต็งรังและปาเบญจพรรณขึ้นสลับกันบนท่ีลาดชัน รวมท้ังปาไผและทุงหญาเขตรอน
กระจายอยูท่ัวไป

ภาคใตของประเทศไทย เปนคาบสมุทรแคบๆ ย่ืนลงไปในทะเล มีเสนแบงขอบเขตของ
ลักษณะพืชพรรณตางจากภาคอื่นๆ พ้ืนที่บริเวณคอคอดกระ จังหวัดระนองไดรับอิทธิพลจาก ลม
มรสุมตะวันตกเฉียงใตและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ สงผลใหเกิดฝนตกชุกติดตอกันเกือบ
ตลอดป มีฤดูแลงเพียงชวงส้ันๆ ไมชัดเจน ภาคใตของไทยจึงปกคลุมไปดวยปาดิบช้ืนอันรกทึบ พบ
ปาชายหาดและปาดงดิบท่ีราบต่ําในบางพ้ืนท่ี มีปาชายเลนอุดมสมบูรณทั้งฝงทะเลอันดามันและ
อาวไทย นอกจากนั้นยังมีปาพรุแหงสุดทายของไทยเหลืออยูท่ีจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเปนพ้ืนที่ปาพรุ
บริสุทธ์ิประมาณ 50,000 ไร

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีสังคมพืชแบบจําเพาะอีกหลายลักษณะ เชน ปาเขาหินปูนบน
ดอยเชียงดาว ปาบนลานหินท่ีภูหลวงหรือแถบแนวผาริมลํานํ้าโขง สังคมพืชกึ่งอัลไพนบนยอดเขาสูง
ทางภาคเหนือ และปาบุงปาทามบริเวณชายฝงแมนํ้าสายใหญในภาคอีสาน เชน แมนํ้ามูล แมนํ้าชี
เปนตน แตพื้นท่ีปาเขตรอนของประเทศไทยไดลดจํานวนลงอยางรวดเร็ว จากท่ีเคยมีพื้นท่ีปาไมกวา
รอยละ 50 ของพื้นท่ีประเทศ ในป พ.ศ. 2504 เพียง 49 ปใหหลัง พ้ืนท่ีปาไมของชาติกลับเหลือ
คิดเปนรอยละ 33.56 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ในป พ.ศ. 2553 หรือมีจํานวน 172,184.29 ตาราง
กิโลเมตร (กลุมงานวางแผนและสถิติ, 2553)

โครงสรางของปาเขตรอนมีลักษณะเรือนยอดหลายชั้น ต้ังแตเรือนยอดของไมระดับบนสุด
ไมระดับกลาง ไมพุม และไมคลุมดินนานาชนิด ทําหนาที่เปนฟองน้ําขนาดยักษคอยดูดซับนํ้าไว แลว
ปลอยออกมาสรางความชุมฉ่ําแกส่ิงมีชีวิตตางๆ ผลผลิตของปาคือ อาหารของสัตวปา อาจกลาวได

18 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

วา ทุกตารางน้ิวของปาเขตรอนมีส่ิงมีชีวิตอาศัยอยูท้ังที่มีขนาดใหญ เชน ชางปา และขนาดเล็กท่ีมอง
ดวยตาเปลาไมเห็น เชน เชื้อราหรือจุลินทรียในดิน เพราะไมเพียงสิ่งมีชีวิตขนาดใหญเทานั้นชีวิตเล็กๆ
ไดมีสวนสําคัญในการตอเติมระบบนิเวศใหม่ังค่ัง นอกจากตนไมขนาดใหญแลวยังมีเถาวัลยข้ึนหนา
แนน ตามคาคบไมหรือรอยแตกของเปลือกไมที่มีความชุมช้ืนสูงเพียงพอและไดสะสมอินทรียสาร
ไว มักมีกลวยไมปาหรือเฟรนตางๆ เปนพืชอิงอาศัย ที่เติบโตขึ้นโดยเก็บดักความช้ืนและไนโตรเจน
จากอากาศมาสรางเปนอาหารไดเองอยางนามหัศจรรย บนเปลือกไมหรือแผนหินท่ีชุมชื้น ยังมีพืช
เล็กๆ จําพวกมอสและไลเคนข้ึนปกคลุมอยูคลายผืนพรมสีเขียวออนนุม เม่ือมองไปบนพ้ืนดิน พบ
ใบไมและขอนไมท่ียอยสลายผุพังเปนวัฎจักรแหงการหมุนเวียนธาตุอาหาร มีเห็ดรา เช้ือจุลินทรีย
และแมลงตางๆ ทําหนาที่ยอยเศษซากตามธรรมชาติใหสลายตัวลงอยางรวดเร็ว

นักพฤกษศาสตรประเมินวา ประเทศไทยมีพืชช้ันสูงประมาณ 15,000 ชนิด คิดเปน
รอยละ 8 ของพืชพรรณทั้งโลกแตปจจุบันเราเพ่ิงสามารถจําแนกพืชเหลานั้นไดเพียงรอยละ 35 ถึง
40 เทาน้ัน หากมีการสํารวจและศึกษาวิจัยพืชในปาเขตรอนกันอยางจริงจัง จะมีโอกาสพบพืชอาหาร
และพืชสมุนไพรชนิดใหมๆ เพ่ิมขึ้น นอกจากนี้ประมาณวา 1 ใน 4 ของยาท่ีใชในขณะน้ี สกัดมาจาก
พืชในปาเขตรอน ย่ิงกวาน้ัน 3 ใน 4 ของประชากรโลก โดยเฉพาะประเทศท่ีกําลังพัฒนาใชประโยชน
จากพืชในปาเขตรอน เปนท้ังอาหารและยารักษาโรค พันธุพืชและพันธุสัตวท่ีมีอยูตามธรรมชาติใน
ปาเขตรอนยังสามารถนํามาปรับปรุงพันธุพืชเกษตรและพันธุสัตวเล้ียงไดในอนาคต ดังนั้นการรักษา
ปาเขตรอนอันอุดมสมบูรณของประเทศไว จึงเทากับวาเรามีท้ังแหลงน้ํา แหลงอาหาร แหลงผลิตยา
รักษาโรค ธนาคารพันธุกรรม และหองเรียนธรรมชาติขนาดใหญ ซ่ึงสามารถนํามาใชประโยชนได
อยางไมหมดส้ิน

อยางไรก็ตาม ปาเขตรอนในประเทศไทยยังถูกทําลายลงอยางรวดเร็วและตอเนื่องทุกป มี
ปาไมถูกทําลายไมตํ่ากวาปละ 4,500 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,812,500 ไร ปาเขตรอนที่เคยอุดม
สมบูรณตอเนื่องเปนแผนดินใหญ จึงแยกออกเปนผืนเล็กๆ กระจายอยูท่ัวไป ไมสามารถใชเปนที่
อยูอาศัยของสิ่งมีชีวิต ท่ีตองการอาณาเขตหากินกวางขวางไดอีก เชน ชางปาและเสือโครง หรือ
เรียกวาปาไมมีชีวิต ทําใหเกิดความสูญเสียชนิดของพันธุพืชและสัตวท่ีไมมีวันเรียกกลับคืนมาได

ปาเขตรอนเปนระบบนิเวศท่ีฟนตัวยาก เม่ือถูกทําลายตองใชเวลานับสิบหรือรอยกวาป
กวาจะกลับมาฟนตัวดังเดิม ปาเขตรอนมักถูกโคนทําลายเพื่อหวังการใชประโยชนจากผืนดิน แตผล
กระทบตามมาคือ การชะลางพังทลายของหนาดินอยางรวดเร็ว เน่ืองจากขาดพืชคลุมดิน ความอุดม
สมบูรณของปาเขตรอน เกิดข้ึนเพราะพืชและสัตวในระบบนิเวศน้ันมีการหมุนเวียนธาตุอาหารอยาง
รวดเร็ว เม่ือมีการตายจะมีกระบวนการเกิดใหมทดแทน และมีการสูญเสียธาตุอาหารออกจากระบบ

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 19

เพียงเล็กนอยเทานั้น หรือเรียกวา นิเวศระบบปด การใชประโยชนอยางยั่งยืนจากปาเขตรอนจึงมิใช
การแผวถางทําลาย แตควรเปนการใชผลผลิตท่ีเกิดข้ึนตามธรรมชาติในปริมาณท่ีเหมาะสม (มูลนิธิ
ปาเขตรอน, 2547) ดังนั้น ปาเขตรอนจึงเปนปาที่มีความซับซอน และมีความหลากหลายของชนิด
พันธุไมมากกวาปาชนิดอื่นๆ ในปจจุบันความรูเก่ียวกับปาเขตรอนยังมีคอนขางจํากัด โดยเฉพาะ
อยางย่ิงความรูเก่ียวกับกลไกลท่ีทําใหปาเขตรอนสามารถคงความหลากหลายของชนิด
พันธุไม พื้นที่ปาเขตรอนของโลกลดลงทุกป แตมีความตองการใชประโยชนจากปาเขตรอนทั้ง
ทางตรงและทางออมยังคงมีปริมาณสูงอยางตอเนื่อง (สรายุทธ, มปป.)

3. ปาเขตรอนในประเทศไทย

ประเทศไทยต้ังอยูในภูมิอากาศรอน มีระยะหางจากเสนรุงและเสนแวงไมมากนัก
ประกอบกับ มีเทือกเขาสูงอยูตามภูมิภาคตางๆ ที่กอใหเกิดความแตกตางของดินฟาอากาศเฉพาะ
แหลง (Microclimate) นอกจากน้ียังมีความแตกตางของสภาพดิน หิน และภูมิประเทศ สงผลใหมี
ความหลากหลายทางชีวภาพสูงท้ังระบบนิเวศ ชนิด และสายพันธุของส่ิงมีชีวิต

ปจจุบันเน้ือที่ปาไมของประเทศไทยมีจํานวน 172,184.29 ตารางกิโลเมตร คิดเปนรอย
ละ 33.56 ของพ้ืนที่ทั้งประเทศ (กลุมงานวางแผนและสถิติ, 2553) พื้นท่ีปาสวนใหญกระจายอยู
ตามเทือกเขาแนวชายแดนไทย-พมา ในเขตจังหวัดเชียงใหม เชียงราย แมฮองสอน ตาก กาญจนบุรี
และเพชรบรุ ี สว นทางภาคใตพ บในเขตจงั หวดั ระนอง พงั งา สรุ าษฎรธ านี และนครศรธี รรมราช จรดไปถงึ
ประเทศมาเลเซีย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพ้ืนที่ปาไมนอยท่ีสุดกระจายอยูในเขตจังหวัดเลย
ชัยภูมิ สกลนคร อุดรธานี อุบลราชธานี และนครราชสีมา นอกจากนี้ยังมีปารอยตอ 5 จังหวัด ไดแก
จังหวัดระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และสระแกว

การจําแนกประเภทปาและสังคมพืชเขตรอนในประเทศไทย เปนสภาพปาหรือสังคมพืช
ด้ังเดิมตามธรรมชาติท่ีไดพัฒนาขึ้นมาในชวงเวลาอันยาวนาน จนกลายมาเปนปาสุดยอด (Climax
forest) โดยเนนขอมูลดานองคประกอบของพรรณพฤกษชาติ (Floristic composition) สามารถ
จําแนกไดเปน 2 ประเภทใหญๆ คือ ปาไมผลัดใบ และปาผลัดใบ (ธวัชชัย, 2550)

ปาไมผลัดใบ (Evergreen forest)

เปนปาที่มีเรือนยอดเขียวชอุมตลอดป เน่ืองจากตนไมท่ีขึ้นแทบทั้งหมดเปนประเภทไมผลัด
ใบ เชน ปาดิบช้ืน แตสามารถพบไมยืนตนผลัดใบข้ึนแทรกในช้ันเรือนยอดท่ีเขียวชอุมอยูบาง ขึ้นอยู

20 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

กับดินฟาอากาศและความชุมชื้นในดิน พ้ืนท่ีใดที่มีความชุมช้ืนไมสมํ่าเสมอตลอดปหรือมีชวงฤดูแลง
นาน มักพบไมยืนตนผลัดใบข้ึนปะปนอยูในชั้นเรือนยอดมากข้ึน เชน ปาดิบแลง แตโดยรวมแลวเรือน
ยอดของปาดิบแลงยังคงปรากฏเปนสีเขียวตลอดท้ังป สามารถแบงปาไมผลัดใบออกเปน

(1) ปาดิบชื้น (Tropical evergreen rain forest หรือ Tropical rain forest) พบใน
พ้ืนท่ีฝนตกชุกเกือบตลอดป มีปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยรายปสูง มีความชุมช้ืนในดินคอนขางสูงสม่ําเสมอ
และมีลักษณะเปนปารกทึบ ประกอบดวยพันธุไมหลายรอยชนิด ไมเดนสวนใหญเปนไมวงศยาง
เชน ยางมันหมู ยางยูง ยางกวาด ยางกลอง ยางเกล้ียง กระบาก ตะเคียนชันตาแมว เค่ียม ไขเขียว
ตะเคียนทอง ตะเคียนขาว ตะเคียนแกว ตะเคียนราก แอก สยา กาลอ ตะเคียนสามพอน กระบาก
หิน สยาแดง มารันตี สยาขาว ชันหอย สยาเหลือง มารันตี-เสงวาง พันจําดง พันจํา สวนพรรณไม
ในวงศอ่ืนท่ีสําคัญ เชน หลุมพอ หยี ทองบึ้ง สะตอ เหรียง แซะ เนียง สําหรับปาดิบช้ืนในเขตจังหวัด
จันทบุรีตอนลางและตราด พบไมยืนตนท่ีสําคัญ เชน พระเจาหาพระองค มะหาด ตะเคียนราก
ชันภู ชันดํา พนอง และยางกลอง

(2) ปาดิบแลง (Seasonal rain forest หรือ Semi-evergreen forest หรือ Dry
evergreen Forest) พบกระจายตามท่ีราบเชิงเขา ไหลเขา และหุบเขาท่ีชุมชื้น จนถึงพื้นท่ีระดับ
ความสูงเหนือระดับนํ้าทะเลไมเกิน 950 เมตร ทางภาคกลาง (ตั้งแตจังหวัดชุมพรข้ึนมา) ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใตถึงจังหวัดจันทบุรี ในปาผลัดใบที่มีความชุม
ช้ืนตลอดป มักมีไมยืนตนข้ึนเปนกลุมๆ เพียงไมกี่ชนิด เชน ยางนา ยางแดง ตะเคียนทอง และ
ทองหลางปา ปาดิบแลงมีลักษณะคลายกับปาดิบช้ืน กลาวคือ เรือนยอดของปาดิบช้ืนมีสีเขียวชอุม
มากหรือนอยตลอดป สวนในปาดิบแลงมักมีไมยืนตนผลัดใบข้ึนแทรกกระจายมากหรือนอยข้ึนอยูกับ
สภาพภูมิอากาศและความชุมช้ืนในดิน ถาเปนปาดิบแลงท่ีมีความชุมช้ืนสูงมักมีไมผลัดใบปะปนอยู
ไมมากนัก ไมตนผลัดใบของปาดิบแลงที่สําคัญ เชน ยมหิน ยมปา ตะแบกใหญ ตะเคียนหิน ตะเคียน
ทอง เค่ียมคะนอง พะยอม ยางแดง ยางนา ยางปาย และยางหนู เปนตน

(3) ปาดิบเขาต่ํา (Lower montane rain forest) พบบนภูเขาท่ีสูงกวาระดับนํ้าทะเล
ปานกลาง 1,000 - 1,900 เมตร สภาพปามีเรือนยอดแนนทึบ มีไมพื้นลางหนาแนนตองการอากาศ
หนาวเย็นตลอดป สวนใหญเปนไมกอและหมากปาลม ความสูงของเรือนยอดชั้นบนของปาดิบเขา
ตํ่าประมาณ 20 - 30 เมตร ในปจจุบันปาดิบเขาต่ําดั้งเดิมท่ีสมบูรณเหลืออยูนอย มักพบเหลืออยู
เปนหยอมๆ ไมยืนตนท่ีพบท่ัวไปในปาดิบเขาต่ํา เชน ไมกอชนิดตางๆ จําปหลวง แกวมาวัน จําปปา
มณฑาดอย ตองแข็ง กวมขาว ยมหอม มะขามปอมดง พญาไม ขุนไม ปาลมที่พบข้ึนกระจัดกระจาย
ไดแก เตารางยักษ คอ บริเวณพ้ืนท่ีชุมแฉะในปาดิบเขาต่ําจะพบมะเก๋ียงปา กูดตน หรือ เฟนตน
และมะพราวเตา

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 21

(4) ปาไมกอ (Lower montane oak forest) พบทั่วไปบนภูเขาทางทิศเหนือและพบ
เปนกลุมๆ บนภูเขาหินทรายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแตระดับความสูง 900 เมตรข้ึนไป
ความสูงของเรือนยอดช้ันบนแตกตางกันระหวาง 10 - 20 เมตร ลักษณะเรือนยอดทั่วไปคอนขาง
โปรง ลมพัดผานเรือนยอดช้ันบนไดสะดวก ตามก่ิงของตนไมชั้นบนมีไลเคนจําพวกฝอยลม ปาไม
กอมีลักษณะโครงสรางท่ีแตกตางกันมากในแตละพ้ืนท่ี แตองคประกอบของไมยืนตนในปาไมกอมัก
คลายกัน สวนใหญประกอบดวยไมวงศกอ ชาหรือเมี่ยง และอบเชย บางครั้งเรียกปาชนิดน้ีวา ปา
กอ-เมี่ยง-อบเชย (Oak-tea-laureal forest) ไมยืนตนที่พบทั่วไป เชน กอเดือย กอหยม กอหรั่ง
กอนํ้า กอแปน กอหนาม กอตาหมู สารภีดอย ไกแดง ทะโล หนวยนกงุม อินทวา สทิบ เหมือดคน
กระพ้ีเขาควาย มะขามปอม กุหลาบขาว ฯลฯ พ้ืนลางของปาไมกอมักมีพืชจําพวกหญา และมีพืช
ลมลุกของเขตอบอุนขึ้นกระจัดกระจาย

(5) ปาไมกอ - ไมสน (Lower montane oak-pine forest) ปาชนิดน้ีเกิดจากปาไมท่ีถูก
มนุษยรบกวนบอยๆ มีปจจัยท่ีสําคัญไดแก ไฟปาในฤดูแลง ทําใหเกิดชองวาง ในปาชนิดนี้มักพบปา
กลุมสนสองใบและสนสามใบ ข้ึนเกือบเปนกลุมเดียวลวนๆ แทรกดวยไมใบกวางยืนตนเพียงไมก่ีตน
พื้นที่ปาเปดโลงมีพืชพื้นลางจําพวกหญาหรือกกข้ึนหนาแนน ลักษณะสภาพภูมิประเทศดูคลายปาไม
สน (Pine savana) ของเขตอบอุน ปาไมกอ - ไมสน แตกตางจากปาเต็งรัง-สนเขา (Pine-deciduous
forest) อยางชัดเจน ในภาคใตและภาคตะออกเฉียงใตท่ีมีฝนชุก จะไมพบปาไมกอ - ไมสน หรือปา
สนเขาตามธรรมชาติ นอกจากน้ีไมพบไมสนบนภูเขาหินปูนท่ัวไปถึงแมวาอยูในชวงระดับความสูงที่
ไมสนสามารถขึ้นได เน่ืองจากไมสนชอบสภาพดินที่เปนกรด (Calcifuge) พรรณไมที่พบมากในปา
ไมกอ-ไมสน ไดแก สนสามใบ สนสองใบ ไมใบกวางที่พบท่ัวไป เชน กอเดือย กอหยุม กอหนาม
กอใบเลื่อม กอแปน สารภีดอย ปลายสาน ทะโล หวา กระพี้เขาควาย เหมือดหอม มะขามปอมดง
ปรงเขา เปงดอย

(6) ปาสนเขา (Lower montane coniferous forest) เปนปาท่ีมีกลุมไมเน้ือออนจําพวก
conifer หรือไมสนเขาขึ้นบนที่ราบสูงของภูเขาหินทรายยอดตัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต
ระดับความสูงประมาณ 1,100 - 1,300 เมตร เชน ภูหลวง ภูกระดึง พื้นดินเปนดินทรายประมาณ
รอยละ 65 – 90 โครสรางของปาด้ังเดิมตามธรรมชาติมีไมสนเขาขนาดใหญ ไดแก แปกลม ขึ้นเปน
ไมเดนของเรือนยอดชั้นบน มีความสูงต้ังแต 25 - 33 เมตร แปกลมบางตนมีความสูงถึง 48 เมตร
ขนาดเสนผาศูนยกลาง 70 - 95 เซนติเมตร แตสามารถพบแปกลมในปาสนเขาบนภูหลวงเทานั้น
ไมสนเขาชนิดอ่ืนในปาสนเขา ไดแก พญาไม สนใบพาย และสนสามพันป ไมสนเขา ที่มีขนาดรอง
ลงมาไดแก ซางจีน และขุนไม สําหรับพืชไมดอกท่ีเปนองคประกอบของไมปาสนเขา ไดแก กอตลับ
กอพวง เข็มปา และมะหา พื้นที่ตามสันเขาบางแหงที่เปนดินทรายทางภาคใตตอนลาง มักพบกลุม

22 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

สามพันป ข้ึนถึงระดับความสูงประมาณ 1,500 เมตร เหนือระดับนํ้าทะเลปานกลาง

(7) ปาละเมาะเขาต่ํา (Lower montane scrub) พบเปนหยอมเล็กๆ ตามลานหินบน
ภูเขาหินทรายยอดตัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชน ภูหลวง และภูกระดึง จังหวัดเลย ท่ีระดับ
ความสูงระหวาง 1,000 - 1,500 เมตร เหนือระดับน้ําทะเลปานกลาง พื้นที่ลาดเล็กนอย สวนใหญ
เปนช้ันดินทรายตื้นๆ มีหินทรายกอนใหญนอยโผลระเกะระกะท่ัวไป สภาพปาโลง มีไฟปารบกวน
เปนครั้งคราว ไมยืนตนมีความสูงจํากัด ตนไมมีลักษณะแคระแกร็น สูงระหวาง 2 - 8 เมตร สลับ
กับพรรณไมพุมเต้ียท่ีมีความสูงระหวาง 0.30 - 3 เมตร พรรณไมท่ีพบทั่วไป เชน กอเต้ีย กอพวง
กุหลาบขาว กุหลาบแดง ชอไขมุก สมป ประทัดดอย สารภีดอย ไกแดง กุหลาบหิน กูดเก๊ียะ อินทวา
ปาละเมาะเขาต่ําพบบางตามพ้ืนท่ีเปนหินปูนในระดับความสูงระหวาง 1,000 - 1,700 เมตร เหนือ
ระดับนํ้าทะเลปานกลาง มักพบเปนหยอมเล็กๆ ตามภูเขาหินปูนท่ีไมปรากฏชั้นดินชัดเจน มีโขดหิน
ระเกะระกะ พรรณไมสามารถข้ึนอยูไดตามซอกหรือแองหินปูนท่ีมีการทับถมของซากอินทรียวัตถุ
พรรณไมสวนใหญมีใบหนา อุมน้ํา หรือลําตนและกิ่งกานมีหนามแหลม เชน สลัดไดปา จันทนผา
หรือจันทนแดง

(8) ปาดิบเขาสูงหรือปาเมฆ (Upper montane rain forest หรือ Cloud forest) ข้ึน
ปกคลุมตามสันเขาและยอดเขาที่สูงกวา 1,900 เมตร เหนือระดับนํ้าทะเลปานกลางขึ้นไป สวนใหญ
มีเมฆหรือหมอกปกคลุมเปนประจํา เรือนยอดของไมช้ันบนจรดกันตอเน่ืองสม่ําเสมอเปนช้ันเดียว
พ้ืนลางของปา รมคร้ึมตลอดวัน ไมชั้นรองลงมามีขนาดเล็กมากและขึ้นหางๆ อยูตามบริเวณที่มี
แสงสวาง เนื่องจากปาเมฆมีอากาศหนาวเย็นและความชุมชื้นสูงมาก ดังน้ันตามลําตนและก่ิงของไม
ยืนตนจึงปกคลุมดวยพืชอิงอาศัยจําพวกมอสและไลเคน พรรณไมท่ีพบ เชน ยางนอง ไทร มะเด่ือ
มะกอกเลื่อม โพบาย สมอ คางคาว ยมหอม ขนาน กอตลับ กอจุก กอดาน ทะโล กวมขาว กวมแดง
เข็มดอย เหมือดดอย มะกอม และตาง ตามชายปาดิบเขาสูงท่ีเปนทุงโลงบนไหลเขาที่ลาดชันมักพบ
กลุมไมขนาดเล็ก ไดแก กุหลาบพันป

(9) ปาละเมาะเขาสูง (Upper montane scrub) พบเฉพาะบนที่โลงตามสันเขาและยอด
เขาของภูเขาหินปูนดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม ที่ระดับความสูงประมาณ 1,900 - 2,200 เมตร
สวนใหญประกอบดวยไมพุมเต้ียและพืชลมลุกข้ึนตามซอกหรือแองหินปูนที่มีการสะสมของ
อินทรียวัตถุ พ้ืนท่ีทั้งหมดประกอบดวยกอนหินปูนท่ีแหลมคมขนาดตางๆ ไมปรากฏชั้นดิน สภาพปา
ตามธรรมชาติดูคลายสวนหินท่ีประดิษฐขึ้น ไมมีไมยืนตนท่ีเดนชัด นอกจากคอเชียงดาว สูงประมาณ
3 - 10 เมตร ข้ึนกระจายหางๆ องคประกอบพรรณไมสวนใหญเปนไมเขตอบอุน หลายชนิดเปน
พืชถิ่นเดียวของประเทศไทย เชน กุหลาบปา พิมพใจ เข็มเชียงดาว ขม้ินดอย กุหลาบเชียงดาว
ครามเชียงดาว ฮอมดอย ไมพุมเกาะอาศัยตามซอกหินและกิ่งไม ไดแก โพอาศัยและสะเภาลม

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 23

(10) แองพรุภูเขา (Montane peat bog หรือ Sphagnum bog) มีลักษณะเปนแองหรือ
ท่ีลุมบนยอดเขาหรือบนท่ีราบสูงกวาระดับนํ้าทะเลปานกลางประมาณ 1,200 เมตรขึ้นไป เชน แอง
พรุบนดอยอินทนนท จังหวัดเชียงใหม สภาพอากาศหนาวเย็นและชุมช้ืนสูงตลอดป มีการทับถมของ
ซากอินทรียวัตถุท่ีไมผุสลาย ดินช้ันอินทรียปกคลุมดวยขาวตอกฤาษี (Sphagnum mosses) คลาย
ผืนพรมคลุมผิวดินตอเนื่อง บนพ้ืนท่ีเปนทุงโลงพบไมยืนตนขนาดเล็กข้ึนอยูประปราย สวนใหญเปน
พรรณไมของวงศกุหลาบดอย เชน กุหลาบขาว กุหลาบแดง สมแปะ ชอไขมุก ชามะยมดอย

(11) ปาชายเลนหรือปาโกงกาง (Mangrove forest) มีไมโกงกางเปนไมเดน ขึ้นตาม
ชายฝงทะเลท่ีเปนดินเลน พบมากตามปากแมนํ้าลําคลองใหญท่ีไหลออกสูทะเลและรองน้ําริมทะเล
ทั้งฝงอาวไทยและทะเลอันดามัน ตามเกาะตางๆ พรรณไมปาชายเลนข้ึนไดตามฝงแมน้ําลําคลองที่มี
นํ้าเค็มจนถึงนํ้ากรอยทวมถึง ปาชายเลนฝงอันดามันมีไมขนาดใหญและอุดมสมบูรณกวาฝงอาวไทย
พรรณไมที่พบ เชน ลําพู ประสัก แสมทะเล แสมขาว ปาดหรือลําแพนหิน โกงกางใบใหญ โกงกาง
ใบเล็ก ประสัก รุย ถั่วขาวหรือถั่วดํา และโปรง ตะบูนขาว ตะบูนดํา หงอนไกทะเล หลุมพอทะเล
ฝาด ลําพู ลําแพนหิน ตาตุมทะเล แคทะเล บริเวณพ้ืนลางปาชายเลนดานในพบเฟน หรือปรงทะเล
เหงือกปลาหมอ จาก เปงทะเล ขึ้นท่ัวไป

12) ปาพรุ (Peat swamp forest หรือ Coastal peat swamp forest) เกิดในภูมิประเทศ
ใกลฝงทะเลท่ีมีฝนชุกและเปนที่ลุมตํ่าหรือเปนที่ดอนสูง เหนือระดับนํ้าทะเลประมาณ 30 เมตร
หรือมีสภาพเปนแองน้ําจืดขังติดตอกัน พืชสวนใหญมีโครงสรางพิเศษ เชน โคนตนมีพูพอน ระบบ
รากแกวสั้น แตมีรากแขนงแผกวางแข็งแรง มีระบบรากพิเศษหรือระบบรากเสริม เชน ตังหน ยากา
ตนไมหลายชนิดมีรากหายใจ (Pneumatophore) เชน หลุมพี ชางไห ชันรูจี ข้ีหนอนพรุ สะเตียว
เลือดควายใบใหญ จันทนปา ตันหยงปา ชมพูเสม็ด ชมพูปา หวาชนิดตางๆ ไมยืนตนชั้นรองลงมา
เชน จันทนมวง ปาหนันแดง ปแซ ทุเรียนนก ยากา ละไมปา ซางจิง เข็มปา สังเครียด พืชลมลุกและ
ปาลมที่พบท่ัวไป เชน รัศมีเงิน ลิ้นกระทิง บอน ผักหนาม หมากแดง หลุมพี กะพอแดง หมากลิง
เอาะ หวายสะเดานํ้า บริเวณชายปาพรุหรือปาพรุท่ีถูกรบกวนใหมๆ มักพบพรรณไมเบิกนํา ไดแก
มะฮังใหญข้ึนเปนกลุมๆ บริเวณพ้ืนท่ีโลงมีไมขนาดเล็ก ไดแก เที้ยะ

(13) ปาบึงนํ้าจืดหรือปาบุง - ปาทาม (Freshwater swamp forest) ปาชนิดนี้แตกตาง
จากปาพรุ คือปาพรุเกิดบนพื้นที่เปนแองรูปกระทะท่ีมีการสะสมอยางถาวรของซากพืชหรืออินทรีย
วัตถุที่ไมผุสลาย แชอยูในน้ําจืดท่ีมาจากนํ้าฝนเปนสวนใหญ สําหรับปาบึงนํ้าจืดเกิดตามบริเวณท่ีราบ
สองฝงแมนํ้าและลํานํ้าสายใหญทางภาคใต เชน แมนํ้าตาป ภาคกลาง เชน แมน้ําเจาพระยา แมน้ํา
สะแกกรัง ปาบึงน้ําจืดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชน แมนํ้ามูล แมนํ้าชี เรียกวาปาบุง - ปาทาม

24 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

พื้นที่เปนแองมีน้ําขังเรียกวา บุง พื้นท่ีดอนมีตนไมเรียกวา ทาม ไมตนที่พบ เชน สักน้ํา สะแก กัน
เกรา ตะขบนํ้า จิกสวน ชุมแสง กระทุม อินทนิลน้ํา เฉียงพรานางแอ ตังหนใบเล็ก นาวน้ํา สานน้ํา

(14) สังคมพืชชายหาดหรือปาชายฝงทะเล (Strand vegetation) พบตามชายฝงทะเล
ที่เปนหาดทรายหรือโขดหิน พรรณพืชขึ้นเปนแนวแคบหรือเปนหยอม สังคมพืชมีต้ังแต ทุงโลง
ปกคลุมดวยหญาฝอยลม และผักบุงทะเล ไมตนขนาดใหญมีลักษณะสูงตรง เชน เมา สนทะเล กระทิง
โพทะเล ปอทะเล หูกวาง ตีนเปดทะเล จิกทะเล หมันทะเล หยีทะเล โกงกางหูชาง งาไซ ไมพุมและ
ไมเถาท่ีพบท่ัวไป เชน รักทะเล สํามะ ชาเลือด คนทิ สอทะเล หนามพุงดอ หนามพรม เตยทะเล ผัก
บุงทะเล ถ่ัวคลา จั่นดิน ดองดึง งา

ปาผลัดใบ (Deciduous forest)

เปนปาที่ผลัดใบตามฤดูกาล พบทุกภาคท่ีมีชวงฤดูแลงยาวนานชัดเจนระหวาง 4 - 7 เดือน
ยกเวนภาคใตและภาคตะวันออกเฉียงใต เม่ือถึงฤดูแลงตนไมในปาจะผลัดใบรวงลงสูพื้นดินและ
เตรียมผลิใบออนขึ้นมาใหมเม่ือปามีความชื้นมากขึ้น พืชพรรณสวนใหญเปนไมผลัดใบ ปาผลัดใบใน
ฤดูฝนมีเรือนยอดเขียวชอุมเชนเดียวกับปาไมผลัดใบ ในฤดูแลง (มกราคม - มีนาคม) ใบไมแหงรวง
ทับถมบนพื้นปาทําใหเกิดไฟปาลุกลามไดงายแทบทุกป ปาผลัดใบขึ้นทั่วไปบนท่ีราบเชิงเขาและบน
ภูเขาสูงไมเกินระดับ 1,000 เมตร เหนือระดับน้ําทะเลปานกลาง ยกเวนปาเต็งรัง - ไมสน

(1) ปาเบญจพรรณหรือปาผสมผลัดใบ (Mixed deciduous forest) พบมากทางภาค
เหนือ ภาคกลาง และข้ึนกระจัดกระจายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สําหรับภาคใตไมพบปาชนิด
นี้ ปาเบญจพรรณมีลักษณะเปนปาโปรง มีพรรณไมวงศ Leguminosae, Combretaceae และ
Verbenaceae แตไมปรากฏพรรณไมวงศยางกลุมเต็ง รัง ที่ผลัดใบ บางแหงพบไผชนิดตางๆ พื้น
ดินมักเปนดินรวนปนทรายมีความชุมช้ืนปานกลาง ตนไมสวนใหญผลัดใบใน ฤดูแลงทําใหเรือนยอด
ของปาดูโปรง เม่ือเขาฤดูฝนตนไมจึงผลิใบกลับเขียวชอุมเชนเดิม ตนไมที่พบเชน พะยอม สัก
เสลา แดง ขี้อาย ตะเคียนหนู พฤกษ คาง ปนแถ ถอน มะคาโมง กระพี้เขาควาย ซอ เก็ดแดง ยอปา
ประดปู า ปรู ตะแบกเลือด สะเดา เลี่ยน มะมวงปา ปป อินทนิลบก ง้ิว ผาเสี้ยน

(2) ปาเต็งรัง ปาแพะ ปาแดง หรือปาโคก (Deciduous dipterocarp forest หรือ Dry
dipterocarp forest) พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณรอยละ 80 ของปาชนิด
ตางๆ ที่มีอยูในภาคน้ีท้ังหมด ยังพบทั่วไปในภาคเหนือและภาคกลางในที่ราบและเนินเขา ท่ีต่ํากวา
1,000 เมตร เหนือระดับน้ําทะเลปานกลางลงมา พรรณไมข้ึนไดในดินตื้นคอนขางแหงแลง ดินเปน
ดินทรายหรือลูกรัง มีลักษณะเปนปาโปรงประกอบดวยตนไมขึ้นหางๆ กระจายท่ัวปา พื้นปามีหญา

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 25

และไผแคระจําพวกไผเพ็ก ไผโจด ข้ึนท่ัวไปมีไฟปาเปนประจํา มีพรรณไม เชน ยางกราด เหียง พลวง
รัง เต็ง แดง คํามอกหลวง คาง มะพอก รกฟา ต้ิว ตะครอ หวา มะขามปอม พลองใบเล็ก ถานไฟผี
โมกใหญ กวาว ไมพุมเดนท่ีพบท่ัวไป เชน พุดผา โคลงเคลง จุกนารี ตางมอง ขางคันนา ชอยนางรํา
เกล็ดปลาชอน

(3) ปาเต็งรัง - ไมสน (Pine-deciduous dipterocarp forest) เปนปาเต็งรังท่ีอยูบน
ภูเขาสูงจากระดับนํ้าทะเลปานกลางต้ังแต 700 - 1,350 เมตร พบสนสองใบและสนสามใบข้ึนปะปน
และสูงเดนกวาเรือนยอดช้ันบนของปาเต็งรังทั่วไป อีกท้ังยังมีพรรณไมของปาดิบเขาขึ้นแทรกอยูดวย
พบมากในปาเต็งรังบนภูเขาทางภาคเหนือ ซ่ึงมีไฟปารบกวนอยูเสมอ พรรณไมเดน เชน สนสองใบ
สนสามใบ เหียง พลวง เต็ง รัง สารภีดอย ทะโล ปลายสาน ไก หนวยนกงุม ทัง มะยมภู สมป กาว
หวา มะขามปอม เหมือดขน แคทราย แขงกวาง คาหด เหมือดหอม เสี้ยวดอกขาว กอแปน กอแงะ
กอนก กอแพะ กํายาน เหมือดคนตัวผู เปนตน

4. พรรณไมวงศยางกับปาเขตรอน

ไมวงศยางเปนพืชวงศใหญของภูมิภาคเอเชียใตและแอฟริกา ประกอบดวย 17 สกุล 680
ชนิด บางสกุลเจริญเติบโตในเขตแดนระหวางประเทศทางตะวันออกในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะจีนและ
ญ่ีปุน หรือ ในชวงวาลเลซไลน (Wallace’s Line) และแถบออสเตรเลีย ซ่ึงนักธรรมชาติวิทยาชาว
อังกฤษ Alfred Russel Wallace ไดนําเสนอไวตั้งแตศตวรรษที่ 19 ในพ้ืนที่ปาลุมต่ําของฝงตะวัน
ตกในประเทศมาเลเซีย มักพบพรรณไมในวงศยางขึ้นเปนไมเดน โดยทั่วไปเปนปาที่แหงกวาปาใน
แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต สําหรับไมยางในสกุล Pakaraimaea และสกุล Pseudomonotes
เปนสกุลที่มีขอบเขตเฉพาะในพ้ืนที่บางสวนของแมน้ําอะเมซอนซ่ึงอยูทางอเมริกาใต

ลักษณะพืชสวนใหญในวงศไมยางมีลําตนสูงสีนํ้าตาลออน ยางไมมีกลิ่นหอม สามารถจัด
เปนกลุมไดแก ดอกหอม เชน ไมสกุลจันทนกะพอ มีกลีบดอกคลายหนัง บิดเปนเกลียว ในสกุลยาง
(Dipterocarpus) ใหผลิตผลท่ีหลากหลายรวมท้ังใหเน้ือไมท่ีดี เชน Dipterocarpus glandulosa
ใหผลผลิตน้ํามันยางที่มีนํ้ามันหอม สําหรับใชในทางการแพทย มีหลายชนิดในสกุล Shorea เชน ตน
สาละเปนไมตนท่ีมีคุณคาและผลิตยางไมที่มีประโยชน ยางของ Dryobalanops aromatic ใชผลิต
พิมเสนที่มีลักษณะเปนเกล็ดขาวขุนมีกลิ่นฉุนชื่อทางเคมีวา บอรนีออล ไดมีการใชทางการแพทยใน
แถบเอเชียตะวันออก โดยใชเปนสารเคลือบเงา และดองศพ และสารจากตนทมิฬ (Vateria indica)
ใหยางไมที่ประกอบดวยยางและเรซิ่น รูจักกันดีในช่ือ Indian copal ซึ่งเหมือนเรซิ่นที่มาจาก V.

26 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

acuminate นอกจากนี้ในสกุลอื่นๆ ท่ีมีประโยชนใหไมทอน ไดแก สกุลตะเคียนทอง และสองสกุล
ในทวีปแอฟริกา ไดแก Marquesia และ Monotes Ashton (1980, 1982) ไดทําการจําแนกไม
วงศยางในเขตรอนออกเปน 3 กลุม ไดแก

1) วงศไมยาง (Family Dipterocarpaceae) ซ่ึงเปนไมวงศด้ังเดิมท่ีมีขอจํากัดซึ่งพบใน
สกุลไมยาง (Blume, 1825) ที่พบเฉพาะในพื้นท่ีแถบเอเชียและเซเซลล ซึ่งเปนประเทศในหมูเกาะใน
มหาสมุทรอินเดีย สกุลไมยางที่พบในเอเชียมี 470 ชนิด และมีเรือนยอดเดน ปรากฏอยูตามบริเวณ
ปาที่ราบลุมตํ่าเขตศูนยสูตร

2) อนุวงศ (Subfamily) Monotoideae (Gilg, 1925) มี 30 ชนิด ใน 3 สกุล หนึ่งในนั้น
คือ สกุล Monotes ซ่ึงเปนสกุลไมยุคแรกอันมีวิวัฒนาการใกลเคียงกับไมวงศปอ (Tiliaceae) (Heim,
1892) และจากการที่ไดมีการคนพบพืชในอนุวงศน้ี คือ Pseudomonotes tropinbosii ซ่ึงมีถ่ิน
กําเนิดในโคลัมเบีย (Londono et al., 1995; Morton, 1995) ทําใหพืชอนุวงศ Monotoideae
มีการแพรกระจายครอบคลุมจากทวีปแอฟริกาและมาดากัสกาไปจนถึงปาเขตรอนของทวีปอเมริกา

3) อนุวงศ Pakaraimoideae มีเพียงสกุลเดียว คือ Pakaraimaea dipterocarpacea
Maguire and Ashton (1977) ไดการบรรยายลักษณะทางรูปพรรณสัณฐานจากท่ีพบในบริเวณ
พ้ืนที่สูงของเกียนา (Guyana Highlands) ในทวีปอเมริกาใต

พืชท้ังสามกลุมถูกจัดรวมเปนวงศเดียวคือ วงศไมยางที่มีมากกวา 500 ชนิด โดยไมวงศยาง
ในทวีปเอเชีย (อนุวงศไมยาง) แบงออกไดเปนสองเผา (Tribe) ไดแก เผา Dipterocarpeae และ เผา
Shoreae (Brandis, 1895) โดยมีจํานวนชุดโครโมโซมเทากับ 11 และ 7 ตามลําดับ เผา Shoreae
มีจํานวนชนิดมากกวาเผา Dipterocarpeae เน่ืองจากความมากมายของชนิดไมในสกุลไมเต็ง - สยา
(Shorea) มีจํานวนเกือบถึง 200 ชนิด ในเขตภูมิศาสตรการแพรกระจาย ขณะท่ีสกุลไมตะเคียน
(Hopea) มีมากกวา 100 ชนิด (Ashton, 1982) ดังตารางท่ี 2.1

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 27

ตารางที่ 2.1 จํานวนชนิดของพืชในสกุลไมยางและการแพรกระจายตามภูมิศาสตรของโลก

ท่ีมา: Ashton, 1980, 1982
ที่มา : Ashton, 1980, 1982

28 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

พรรณไมวงศยางในประเทศไทย

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 29

พรรณไมวงศยางในประเทศไทย

1. ความเปนมาของการศึกษาไมวงศยาง

การศึกษาดานพฤกษศาสตรของไมยางนา เปนสวนหน่ึงของการศึกษาพรรณไมวงศยาง
(Dipterocarpaceae) ทั้งวงศในประเทศไทย ขอมูลดานนี้กอน พ.ศ. 2497 มีนอยมาก ซ่ึงเปนการ
บรรยายลักษณะรูปพรรณโดยทั่วไปของไมยางนาเทานั้น งานคนควาดานพฤกษอนุกรมวิธานของไม
วงศยางเร่ิมขึ้นอยางจริงจังเม่ือ ศ. พิเศษ ดร. เต็ม สมิตินันทน ไดริเริ่มใหจัดทําวารสารพฤกษศาสตร
ปาไมในระดับสากล ข้ึนเปนครั้งแรก (Thai Forest Bulletin (Botany) No. 1, March 1958) โดย
ตีพิมพเร่ือง Identification Keys to Genera and Species of The Dipterocarpaceae of
Thailand ประกอบดวยพรรณไม 9 สกุล 56 ชนิด 11 พันธุ และ 2 ลูกผสม (Hybrid) ตอจากน้ัน
จนถึงปจจุบันมีผลงานตีพิมพดานพฤกษศาสตรของไมวงศยางออกมาเปนระยะๆ ทั้งภาษาอังกฤษ
และภาษาไทย ลาสุด Pooma and Newman (2001) ทําการตรวจสอบรายช่ือพรรณไมวงศยาง
ในประเทศไทย ซ่ึงบางสกุลหรือบางชนิดถูกยุบเปนชื่อพอง และมีการพบชนิดใหมของประเทศไทย
เพ่ิมเติม รวม 8 สกุล 63 ชนิด ตอมา มานพ และดวงใจ (2550) ศึกษาไมวงศยางในปาฮาลา – บาลา
จังหวัดยะลา และนราธิวาส พบไมวงศยางชนิดใหมของประเทศไทยเพ่ิมเติม 16 ชนิด 1 ชนิดยอย
ในปจจุบันการศึกษาไมวงศยางมีขอมูลเพิ่มมากข้ึนท้ังจากประเทศเพื่อนบาน และการเก็บตัวอยาง
พรรณไมที่กระจายไปทั่วประเทศไทยมากกวาแตกอน ซึ่งปจจุบันในประเทศไทยมีไมวงศยาง 8 สกุล
79 ชนิด 1 ชนิดยอย เอกสารดังกลาวน้ีจะเปนประโยชนตอการจําแนกชนิดไมวงศยาง ชวยใหทราบ
ถึงขอมูลดานอื่นๆ เชน การกระจายพันธุ ระบบนิเวศถ่ินอาศัย ชวงฤดูกาลที่ติดดอกออกผล ความ
สัมพันธทางพันธุกรรม และสถานภาพของประชากร เปนตน หลายชนิดลวนเปนที่รูจักและมีการ
ใชประโยชน ซึ่งสามารถนําไปสูจัดการอนุรักษและการใชประโยชนอยางยั่งยืนไดอยางถูกตองตอไป

2. ลักษณะของพรรณไมวงศยาง

พรรณไมวงศยางเปนไมยืนตนตั้งแตขนาดเล็กถึงขนาดใหญ บางชนิดสูงถึง 60 เมตร
ผลัดใบ หรือไมผลัดใบ เน้ือไมมียางใสเหนียวหรือชัน (Resin) ที่มีกล่ินหอมฉุนเฉพาะตัว ลําตน สวน
มากเปลาตรง โคนมีหรือไมมีพูพอน อาจพบรากคํ้ายัน เปลือก เรียบ เรียบและมีรอยวงแหวน แตก
แบบสะเก็ดตามยาว หลุดลอนเปนแผนขนาดเล็กหรือใหญ หรือแตกเปนรองลึกตามยาว (ภาพท่ี 3.1)

30 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

เปลือกช้ันในมีสีและลวดลายเฉพาะตัว หรือผันแปรเล็กนอย มีชันสีขาว สีเหลือง สีเหลืองอําพันใส
สีเหลืองปนสีนํ้าตาล หรือสีน้ําตาลปนสีมวงเขม ใสหรือขุน ไหลออกจากแผลหรือรอยปริแตกของ
เปลือก เรือนยอด เปนพุมทรงกลม รูปรม รูปกรวยแหลม หรือรูปทรงกระบอก ตาและปลายยอด
ออน มักมีหูใบขนาดใหญคลุม เมื่อหูใบรวงจะเห็นรอยแผลหูใบชัดเจน

ใบ เปนใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ รูปไข รูปไขกวาง รูปรี รูปรีกวาง รูปหอก รูปขอบขนาน รูป
ขอบขนานแกมรูปหอก รูปหอกกลับ หรือรูปไขกลับ ปลายใบแหลม เรียวแหลม หยักเปนติ่งสั้นถึง
คลายหางยาว มน หรือกลม โคนใบรูปลิ่ม แหลม มน กลมถึงรูปหัวใจ หรือเบ้ียว ขอบใบ สวนมาก
เรียบ บางครั้งหยักเวาเปนคลื่น หยักมน หรือมวนลง แผนใบสวนมากเหนียวคลายแผนหนัง หนามาก
หรือบาง แผนใบมักเรียบ และเกล้ียงเปนมันเงา ยกเวนในบางสกุล เชน สกุลยาง (Dipterocarpus)
และสกุลไขเขียว (Parashorea) ซึ่งแผนใบมักจีบเปนสันระหวางเสนแขนงใบ และมีขอบใบเปน
คลื่น ลักษณะของเสนแขนงใบและเสนใบ มีทั้งหมด 6 แบบหลักๆ (ภาพที่ 3.2) คือ 1) เสนใบ
แบบโคงจรดกันใกลขอบใบ (anastomosing) พบในสกุลเคี่ยม (Cotylelobium) และบางชนิด
ของสกุลกระบาก (Anisoptera) 2) เสนใบแบบขั้นบันได (scalariform) พบสวนใหญในสกุลยาง
สยา และพบบางชนิดในสกุลตะเคียน 3) แบบข้ันบันไดหาง พบในสกุลสยา กลุมกาลอ (Section
Richetioides) และตะเคียนชันตาแมว (Neobalanocarpus heimii) 4) เสนใบแบบรางแห
(reticulate) พบสวนมากในสกุลพันจํา (Vatica) หรือบางชนิดในสกุลกระบาก (Anisoptera) 5)
เสนใบแบบเสนใบแซม (ระหวางเสนแขนงใบ) (dryobalanoid) หรือ 6) แบบเสนใบแซมก่ึงขั้น
บันได (subdryobalanoid) พบในสกุลตะเคียน กลุมตะเคียนราก (Section Dryobalanoides)
บางครั้งพบเสนใบแบบผสม ไดแก แบบขั้นบันไดกึ่งโคงจรดกันใกลขอบใบที่พบบางชนิดในสกุล
ยาง หรือแบบรางแหก่ึงขั้นบันได พบในบางชนิดของสกุลพันจํา และบางชนิดในสกุลกระบาก ตุม
ใบ (domatia) บางชนิดในสกุลตะเคียน (Hopea) และสกุลสยา (Shorea) อาจพบตุมใบท่ีงามเสน
แขนงใบ ซ่ึงตุมใบมีท้ังหมด 3 แบบ (ภาพท่ี 3.2) ไดแก แบบกระจุกขนส้ันหนาแนน (pubescent)
แบบหลุมตื้นหรือลึก (pore like) ภายในเกล้ียงหรือมีขนส้ันภายใน และแบบแผนเน้ือเย่ือปกคลุม
ภายในเปนโพรง (cavity) ดานในมีขนสั้นเล็กนอยหรือไมมีกานใบ สวนมากคดงอมากหรือนอย และ
มักจะปูดโปนชวงปลาย

ดอก ของไมวงศยางเปนแบบสมบูรณเพศ (bisexual) สมมาตรตามรัศมี (actinomorphic)
ดอกออกเปนชอ ชอดอก แบบชอแยกแขนง (panicle) หรือชอกระจะ (racemose) แตละดอก
มีกลีบเล้ียงและกลีบดอกอยางละ 5 กลีบ กลีบเล้ียง มีทั้งแบบซอนกัน (imbricate) และขอบกลีบ
เรียงจรดกัน (valvate) กลีบดอก เรียงซอนกันปลายกลีบบิดเวียนคลายกังหันลม รวงหลนงาย มี

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 31

กล่ินหอม เกสรเพศผู มีต้ังแต 5 อันขึ้นไป ปลายอับเรณูมีรยางค เกสรเพศเมีย มี 1 อัน รังไขติด
อยูเหนือวงกลีบ (superior ovary) หรือก่ึงใตวงกลีบ (semi-inferior ovary) กานเกสรเพศเมียมัก
บวมพองตรงโคนเรียกวา stylopodium รังไขมี 3 ชอง แตละชองมีไข 2 เมล็ด หรือ 4 เมล็ด ติด
อยูรอบแกนรวม (axile placenta)

ผล ของไมวงศยางแบบเปลือกแข็ง (nut) สวนมากมีเมล็ดเดียว เมื่อแหงไมแตก และมักมี
ปกจํานวน 2, 3 หรือ 5 ปก เกิดจากกลีบเลี้ยงท่ีเจริญขยายตัวในระยะท่ีเปนผล โคนปกแข็งหนาหอ
หุมผลมิดหรือไมมิด ลักษณะปกแตกตางในแตละสกุลดังน้ี สกุลยาง สกุลกระบาก สกุลพันจํา บาง
ชนิด และสกุลตะเคียนเกือบท้ังหมด มีปกยาว 2 ปกๆ สั้น 3 ปก สกุลไขเขียวมีปกยาวใกลเคียงกัน
ทั้ง 5 ปก สกุลตะเคียนชันตาแมว ไมมีปก เปนกลีบเลี้ยงแข็งขอบเรียงซอนกันหุมท่ีโคนมีขนาดเกือบ
เทากัน และสกุลพันจํา บางชนิดไมมีปกหรือมีปกส้ันแข็งพัฒนาเพียงเล็กนอย ขอบกลีบเล้ียงเรียง
จรดกัน สกุลสยาเกือบท้ังหมดมีปกยาว 3 ปกๆ สั้น 2 ปก ภาพท่ี 3.3 (มานพ และดวงใจ, 2550;
Ashton, 1982)

3. การจําแนกชนิดพรรณไมวงศยางในประเทศไทย

ทั่วโลกพบไมวงศยาง 17 สกุล ประมาณ 680 ชนิด จํานวนชนิดกวา 2 ใน 3 พบไดบน
เกาะบอรเนียว และคาบสมุทรมาเลเซีย ซึ่งถือวาเปนภูมิภาคที่มีพรรณไมวงศยางหลากชนิดท่ีสุด
ในประเทศไทยมีความหลากชนิดของพรรณไมวงศนี้ 8 สกุล 79 ชนิด และ 1 ชนิดยอย ในจํานวน
น้ีประมาณ 70 ชนิดพบไดในภาคใตของประเทศ ซ่ึงมีพ้ืนท่ีติดตอกับคาบสมุทรมาเลเซีย

การจําแนกไมวงศยางออกจากพรรณไมวงศอื่นๆ ทําไดไมยาก โดยใหสังเกตจากเปลือก
หรือกิ่งวามีรองรอยของยางและชันที่เหนียวหรือแหงแข็งติดคางอยู ชันจะมีกลิ่นหอมฉุน อาจทําการ
สับเปลือกแลวรอประมาณ 5 นาทีเพ่ือใหยางใสๆ คอยซึมออกมา แลวสัมผัสยางมาทดสอบความ
เหนียวและกล่ิน จะรูทันทีวาน้ีเปนกลิ่นเฉพาะตัวของไมวงศยาง นอกจากน้ีลักษณะของกิ่งท่ีมีหูใบ
และแผลหูใบท่ีชัดเจน ยังชวยใหม่ันใจมากข้ึนหลังจากการตรวจสอบกล่ินของยาง หากเดินเขาไป
ในปาชวงฤดูที่ไมวงศยางกําลังติดผล ผลไมยางมีปก 5 ปก ซ่ึงบางชนิดมีปกสั้นยาวไมเทากัน โคน
ปกหอหุมเมล็ดท่ีแข็งคลายหยดน้ํา อาจเปนถุงกลม เหล่ียม ครีบ หรือเปนกลีบแข็งเรียงซอนกัน ซึ่ง
ตามผิวของผลมักมีคราบยางหรือชันติดอยูใหลองตรวจสอบกล่ิน นั่นเปนลักษณะของไมวงศยางที่
สังเกตไดอยางงายๆ

32 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

ภาพที่ 3.1 ภาพแสดงลักษณะโคนตน และเปลือกของไมวงศยาง

A. โคนตนไมมีพูพอน B. โคนตนมีพูพอน C. โคนตนมีรากค้ํายัน D. เปลือกเรียบ

E. เปลือกเรียบและมีรอยวงแหวน F. เปลือกหลุดลอนเปนแผนขนาดเล็ก

G. เปลือกหลุดลอนเปนแผนขนาดใหญ H. เปลือกแตกเปนสะเก็ดตามยาว

I. เปลือกแตกเปนรองลึกตามยาว

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 33

ภาพท่ี 3.2 ภาพแสดงการเรียงตัวของเสนใบ และตุมใบของไมวงศยาง
A. แบบโคงจรดกันใกลขอบใบ B. แบบขั้นบันได C. แบบข้ันบันไดหาง
D. แบบรางแห E. แบบรางแหกึ่งขั้นบันได F. และ G. แบบเสนใบแซม
H. และ I. แบบเสนใบแซมก่ึงข้ันบันได J. ตุมใบแบบกระจุกขนส้ันหนาแนน
K. ตุมใบแบบแผนเนื้อเย่ือปกคลุมภายในเปนโพรง

34 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

ภาพที่ 3.3 ภาพแสดงลักษณะผลรูปแบบตางๆ ของไมวงศยาง
A. แบบมีสองปกยาว สามปกสั้น ของสกุลยาง
B. แบบมีสองปกยาว สามปกสั้น ของสกุลกระบาก
C. แบบมีสองปกยาว สามปกสั้น ของสกุลพันจํา (กลุมผลมีปก)
D. แบบไมมีปก ของสกุลพันจํา (กลุมผลไมมีปก)
E. แบบไมมีปก ของสกุลตะเคียนชันตาแมว
F. แบบมีหาปกยาวใกลเคียงกัน ของสกุลไขเขียว
G. แบบไมมีปก ของสกลุตะเคียน H. แบบมีสองปกยาว สามปกสั้น ของสกุลตะเคียน
I. แบบมีสามปกยาว สองปกส้ัน ของสกุลเต็ง - สยา

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 35

การจําแนกสกุลท้ัง 8 สกุล เปนลักษณะที่ยากขึ้นมาอีกระดับหน่ึง ตองมีตัวอยางพรรณไม
หรือรูปถายท่ีชัดเจน ลักษณะสันฐานท่ีจําเปนเบ้ืองตน คือ เสนแขนงใบ และผล หากการจําแนกท่ี
ลึกลงไปในระดับชนิด โดยเฉพาะชนิดที่มีความซับซอนใกลเคียงกันมากในปาดิบ การจําแนกชนิด
จําเปนอยางยิ่งตองมีตัวอยางพรรณไมที่สมบูรณ ครบถวนท้ัง ใบ ดอก และผล ซึ่งบางครั้งรวมไป
ถึงลักษณะการแตกของเปลือกนอก สีของเปลือกใน ชัน และรากคํ้ายัน

การศึกษาดานพฤกษศาสตรนิยมใชรูปวิธาน (key) เปนเครื่องมือในการจําแนกช้ันอนุกรม
วิธาน ทั้งระดับวงศ (family) สกุล (genus) และชนิด (species) เพื่อใหเกิดความเขาใจใน
สันฐานวิทยา สามารถจัดหมวดหมูความคลายคลึงกันของกลุมพืช และจดจําลักษณะเดนๆ ท่ีใชในการ
วินิจฉัยช่ือไดงาย การอธิบายความแตกตางของพรรณพืชแตละสกุล หรือชนิดดวยรูปวิธานเปนการ
สรุปจุดเดนของพืชท่ีมีความคลายคลึงใหสามารถแยกความแตกตางออกจากกันไดเปนอยางดี ไม
จําเปนตองบรรยายลักษณะสัณฐานวิทยาทั้งหมดที่มีอยูเปนจํานวนมาก ซ่ึงยากแกบุคคลทั่วไปเขาใจ
รูปวิธานของไมวงศยางในปจจุบันอยูระหวางการจัดทําหนังสือพรรณพฤกษชาติแหงประเทศไทย
ในบทนี้ไดรวบรวมผลงานศึกษาพรรณไมวงศยางของประเทศไทยในอดีต และการรายงานการคน
พบไมวงศยางชนิดใหมในเวลาตอมาจนถึงปจจุบัน มาจัดทํารูปวิธานรวมกับการศึกษาในอดีต ไดแก
ผลการศึกษาของ Pooma and Newman (2001) Pooma (2002, 2003) Poopath et al. (2013)
และคําปรึกษาจาก ดร. ราชันย ภูมา ผูเช่ียวชาญพรรณไมวงศยาง กรมอุทยานแหงชาติ สัตวปา และ
พันธุพืช จัดทําเปนรูปวิธาน และคําบรรยายสถานภาพการปรากฏทั่วประเทศ การแพรกระจายพันธุ
นิเวศวิทยา และชวงฤดูกาลออกดอกจนกระท่ังผลแก พรอมทั้งแสดงภาพถายของพรรณไมวงศยาง
บางชนิด มีรายละเอียดดังน้ี

รูปวิธานจําแนกสกุลไมวงศยางในประเทศไทย

1. กลีบเล้ียงที่โคนผลเรียงจรดกัน รังไขอยูกึ่งใตวงกลีบ 1/4 - 1/2 สวนของรังไข, ปกติผลมี 2 ปก

ยาว 3 ปกส้ัน หรือไมมีปก (เผายาง : Tribe Dipterocarpeae)

2. ชอดอกแบบกระจะ (racemose) หรือชอแยกแขนงผสมชอกระจะ (raceme-panicle), ผล

มีปกยาวมากกวา 10 ซม. มีเสนปก 3 เสน

3. เปลือกช้ันในเรียงเปนช้ันสีสมสลับท่ีขาว, แผนใบเรียบ, กลีบดอกสีขาวหรือสีเหลืองอมขาว

ยาวไมเกิน 1 ซม., กลีบเล้ียงแยกถึงโคน, เมล็ดฝงอยูในฐานรองดอกหรือเชื่อมติดเปน

เนื้อเดียวกัน เสนปกยอยของผลแบบข้ันบันได 1. สกุลกระบาก (Anisoptera)

36 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

3. เปลือกชั้นในเปนสีสม, แผนใบมักพับจีบตามแนวเสนแขนงใบ, กลีบดอกสีขาวมีแถบ

ตามยาวสีชมพูเขมหรือสีสมคาดกลาง ยาวเกินกวา 2.5 ซม. กลีบเลี้ยงเชื่อมเปนหลอด,

เมล็ดมีหลอดกลีบเล้ียงโอบรอบ เฉพาะที่โคนฝงติดเปนเน้ือเดียวกัน เสนปกยอยของ

ผลแบบรางแห 2. สกุลยาง (Dipterocarpus)

2. ชอดอกแบบชอแยกแขนงที่มีชอดอกยอยไมแนนอนระหวางชอกระจะ-ชอกระจุก (thyrst),

ผลมีปกยาวนอยกวา 10 ซม. มีเสนปก 5-7 เสน หรือปกไมพัฒนา

4. เปลือกแตกสะเก็ดตามยาว, เสนแขนงใบปลายเรียวจรดกัน มีเสนใบแซมระหวางเสนแขนง

ใบชัดเจน ใบดานลางมีขนกระจุกหนาแนนสีน้ําตาลออน

3. สกุลเค่ียม (Cotelelobium)

4. เปลือกเรียบ และมีรอยวงแหวนรอบตน, เสนแขนงใบปลายเรียวไมจรดกัน ไมมีเสนใบแซม

หรือมีไมชัดเจน ใบดานลางเกลี้ยงหรือมีขนกระจุกสีนํ้าตาลแดง

4. สกุลพันจํา (Vatica)

1. กลีบเลี้ยงที่โคนผลเรียงซอนเหล่ือมกันมาก – นอย, รังไขอยูเหนือวงกลีบ, ปกติผลมี 3 ปกยาว

2 ปกส้ัน หรือยาวใกลเคียงกัน 5 ปก หรือไมมีปก (ยกเวนสกุลตะเคียน มี 2 ปกยาว 3 ปกส้ัน)

(เผาเต็ง-สยา : Tribe Shoreae)

5. ดอกหรือผลมีกลีบเล้ียงซอนเหลื่อมกันเล็กนอย, ผิวของผลมีชองอากาศจํานวนมาก, ปก

ผลยาวใกลเคียงกัน 5 ปก 5. สกุลไขเขียว (Parashorea)

5. ดอกหรือผลมีกลีบเล้ียงซอนกันมาก, ผิวของผลเรียบ, ปกผลยาวแตกตางกันชัดเจน หรือ

ไมมีปก

6. ผลรูปไข หรือรูปทรงกระบอก ไมมีปก แตเปนกลีบแข็งหุมท่ีโคนผล, อับเรณูรูปขอบ

ขนานแกมรูปแถบ ยาวประมาณ 2 มม. พบเฉพาะจังหวัดนราธิวาส

6. สกุลตะเคียนชันตาแมว (Neobalanocarpus)

6. ผลมีปกยาวกวาผล หายากท่ีไมมีปก โคนกลีบเล้ียงจะหุมผลมิด, อับเรณูรูปคอนขาง

กลม หายากท่ีเปนรูปขอบขนาน ยาว 0.3-0.5 (1) มม.

7. ผลมี 2 ปกยาว และ 3 ปกสั้น ถาไมมีปก จะเปนเพียงกลีบเล้ียงแข็งหนาหุมผลมิด

7. สกุลตะเคียน (Hopea)

7. ผลมี 3 ปกยาว และ 2 ปกส้ัน 8. สกุลสยา (Shorea)

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 37

เผายาง (Tribe Dipterocarpeae)

1. สกุลกระบาก (Anisoptera Korth.)

ไมยืนตนขนาดใหญ เปลือก ขรุขระ แตกแบบสะเก็ดตามยาวหรือแตกแบบรองลึกตามยาว
เปลือกช้ันในเปนชั้นสีสมสลับสีขาว มีชันสีขาวใส ใบ รูปขอบขนาน รูปรี หรือรูปหอกกลับ ปลายใบ
แหลม เรียวแหลม หยักเปนติ่งส้ันถึงแหลม โคนใบรูปมน หรือกลม ขอบใบเรียบหรือมวนลง ไมพบ
ตุมใบท่ีงามเสนแขนงใบ เสนแขนงใบ โคงเรียวปลายเสนจรดกันไมชัดเจน หรือชัดเจน เสนใบแบบ
ข้ันบันไดแกมรางแห หรือแบบรางแห ชอดอก แบบชอแยกแขนง กลีบเลี้ยง เรียงจรดกัน แยกถึง
โคน แบงเปนกลีบใหญ 2 กลีบ กลีบเล็ก 3 กลีบ กลีบดอก สีขาว ปลายบิดเปนเกลียวเล็กนอยหรือ
ไมบิด ยาว 4 - 8 มิลลิเมตร (มม.) เกสรเพศผู มี 15 - 25 อัน เรียง 2 วง อับเรณูรูปรีแกมรูปขอบ
ขนาน ปลายอับเรณูมีรยางคเปนติ่งสั้นหรือเรียวยาวถึง 3 เทาของความยาวอับเรณู เกสรเพศเมีย
รังไขอยูก่ึงใตวงกลีบ 1/2 สวน รังไขมีโคนกานเกสรเพศเมีย (stylopodium) รูปทรงกระบอกและ
มีรอยคอดระหวางโคนกานเกสรเพศเมียกับรังไข หรือรูปมงกุฎ ยอดเกสรเพศเมียหยัก 3 พู หรือแยก
3 แฉก ผล รูปกลม เมล็ดฝงอยูในฐานรองดอกทั้งหมด มีปกยาว 2 ปกๆ สั้น 3 ปก ปกยาวรูปแถบ
แกมรูปหอกกลับ ปกส้ันรูปเรียวแหลมหรือรูปขอบขนาน มีเสนปกนูนชัดเจน 3 เสน เสนปกยอยเรียง
แบบข้ันบันได ผลออนสีเขียวออน ปกสีเขียวเหลือง

ในประเทศไทยพบไมสกุลกระบาก 4 ชนิด ไดแก กระบาก (Anisoptera costata Korth.)
กระบากทอง (A. curtisii Dyer ex King) กระบากแดง (A. laevis Ridl.) และชามวง (A. scaphula
(Roxb.) Kurz)

รูปวิธานจําแนกชนิดไมสกุลกระบากในประเทศไทย

1. ใบดานลางมีขนส้ันหรือสะเก็ดหนาแนนมีเหลืองออนหรือเหลืองทอง ปลายเสนแขนงใบโคง

จรดกันชัดเจนท่ีใกลขอบใบ, เกสรเพศผู 25 – 40 อัน, โคนกานเกสรเพศเมียรูปทรงกระบอก

2. ใบดานลางมีสะเก็ดสีน้ําตาลออน เสนแขนงใบเรียงขนานกัน, ดอกตูมรูปไข, เกสรเพศผูมี

25 - 40 อัน 1.1 กระบาก (A. costata)

2. ใบดานลางมีสะเก็ดสีน้ําตาลทอง เสนแขนงใบคอนขางไมขนานกัน สวนดานบนแผนใบมี

รอยกดชัดเจน, ดอกตูมรูปเรียวยาว, เกสรเพศผูมี 25 อัน

1.2 กระบากทอง (A. curtisii)

1. ใบดานลางเกล้ียง หรือมีสะเก็ดสีน้ําตาลแดงประปราย ปลายเสนแขนงใบไมโคงจรดกัน, เกสร

เพศผู 15 อัน, โคนกานเกสรเพศเมียรูปมงกุฏ

38 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

3. เสนแขนงใบมี 10 - 12 (14) คู, เสนแขนงใบแบบรางแห, ใบดานลางมีสะเก็ด

สีนํ้าตาลแดง 1.3. กระบากแดง (A. laevis)

3. เสนแขนงใบมี (12) 15 - 20 คู, เสนแขนงใบแบบขั้นบันได, ใบดานลางเกลี้ยง

1.4. ชามวง (A. scaphula)

1.1 กระบาก (Anisoptera costata
Korth.) (ภาพท่ี 3.4) พบขึ้นกระจายทั่วประเทศ
ในปาดิบแลง และปาเบญจพรรณช้ืน ชอบข้ึน
ตามพื้นท่ีดินลึก และมีการระบายน้ําดี ที่ระดับ
ความสูงไมเกิน 1,000 เมตรเหนือระดับนํ้าทะเล
ปานกลาง (มรทก.) ชวงระยะเวลาการออกดอก
จนพัฒนาเปนผลแกในเดือนธันวาคม - เมษายน

ภาพที่ 3.4 กระบาก
(Anisoptera costata Korth.)

1.2 กระบากทอง (Anisoptera ภาพท่ี 3.5 กระบากทอง (Anisoptera
curtisii Dyer ex King) (ภาพที่ 3.5) curtisii Dyer ex King)
เปนพืชหายาก พบขึ้นเฉพาะในภาคใต
ตอนลาง ตั้งแตจังหวัดสตูล ยะลา และ
นราธิวาส ลงไป ในปาดิบช้ืน ชอบข้ึนตาม
สันเขา ท่ีระดับความสูงไมเกิน 850 มรทก.
ชวงระยะเวลาการออกดอกจนพัฒนาเปน
ผลแกในเดือนกุมภาพันธ – กรกฎาคม

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 39

1.3 กระบากแดง
(Anisoptera laevis Rild.) (ภาพ
ท่ี 3.6) เปนพืชหายาก พบเฉพาะใน
จังหวัดนราธิวาส ลงไปในประเทศ
มาเลเซีย ในปาดิบช้ืน ข้ึนตามที่ลาด
ชัน หรือสันเขา ที่ระดับความสูงไม
เกิน 900 มรทก. ชวงระยะเวลาการ
ออกดอกจนพัฒนาเปนผลแกในเดือน
พฤษภาคม – ตุลาคม

ภาพที่ 3.6 กระบากแดง
(Anisoptera laevis Rild.)

1.4 ชามวง ภาพที่ 3.7 ชา มวง
(Anisoptera scaphula (Anisoptera scaphula (Roxb.) Kurz)
(Roxb.) Kurz) (ภาพที่ 3.7)
เปนพืชหายาก พบขึ้นตาม
แนวเทือกเขาดานตะวันตก
ของประเทศตั้งแตจังหวัดตาก
ลงไปถึงภาคใต ในปาดิบแลง
และปาดิบช้ืน ขึ้นไดทั้งตามที่
ลาดชัน สันเขา หรือใกลริมนํ้า
ท่ีระดับความสูงไมเกิน 900
มรทก. ชวงระยะเวลาการ
ออกดอกจนพัฒนาเปนผลแก
ในเดือนมกราคม – กรกฎาคม

40 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

2. สกุลยาง (Dipterocarpus C.F. Gaertn.)

ไมยืนตนขนาดใหญ เปลือก ชนิดพันธุท่ีไมผลัดใบและข้ึนในปาดิบจะมีเปลือกเรียบ หรือหลุด
ลอนเปนแผนขนาดเล็กถึงใหญ แตชนิดพันธุท่ีผลัดใบและขึ้นในปาเต็งรังจะมีเปลือกแตกเปนรองลึก
ตามยาว มีชันสีขาวใส ปลายกิ่งมีหูใบขนาดใหญกวาสกุลอื่นๆ ยาวตั้งแต 1.5 - 13 เซนติเมตร (ซม.)
และมีรอยแผลหูใบเปนวงรอบก่ิงชัดเจน ใบ รูปรี หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม มน โคนใบรูป
มน รูปล่ิม หรือหยักรูปหัวใจ ขอบใบหยักมนและเปนคล่ืนชวงปลายใบหรือเรียบ แผนใบมักพับจีบ
เปนรางนํ้า ไมพบตุมใบที่งามเสนแขนงใบ เสนแขนงใบ เหยียดตรงขนานกัน แลวหักโคงใกลขอบ
ใบจรดกันชัดเจนเฉพาะชวงปลายใบ และไมชัดเจนชวงโคนใบ เสนใบแบบขั้นบันได ชอดอก แบบ
กระจะ หายากที่เปนแบบแยกแขนง กลีบเลี้ยง โคนเช่ือมติดกันเปนรูปกรวย ผิวดานนอกเรียบ เปน
เหล่ียมหรือมีครีบตามยาว ปลายแยก 5 แฉก เรียงจรดกัน แบงเปนกลีบใหญ 2 กลีบ กลีบเล็ก 3
กลีบ กลีบดอก สีขาวมีแถบคาดกลางสีชมพู สีชมพูเขม หรือสีสมออน ปลายบิดเปนเกลียว รูปขอบ
ขนาน ยาว 2.5 - 6.5 ซม. มีขนาดใหญกวาสกุลอื่นๆ เกสรเพศผู มี 15 - 30 อัน เรียง 3 วงรอบ
รังไข อับเรณูรูปแถบยาว หรือรูปขอบขนาน ปลายอับเรณูมีรยางคเรียวแหลม ยาว 1/3 - 1 เทาของ
ความยาวอับเรณู เกสรเพศเมีย รังไขอยูก่ึงใตวงกลีบ 1/3 - 1/4 สวน และอยูในหลอดกลีบเล้ียง โคน
กานเกสรเพศเมียหยักเปนพูมากหรือนอย หรือรูปมงกุฎ ยอดเกสรเพศเมียสวนใหญหยักซี่ฟนถ่ี ผล
รูปรี รูปไขกวาง หรือรูปกลมแบน โคนเมล็ดฝงอยูในฐานรองดอกและอยูในหลอดกลีบเล้ียง ผิวของ
หลอดกลีบเลี้ยงดานนอกมีหลายแบบ เชน ผิวเรียบกลม เปนสัน หรือเปนครีบ 5 ครีบ ตามแนวยาว
ปลายหลอดคอดรัดเมล็ด มีปกยาว 2 ปกๆ ส้ัน 3 ปก ปกยาวรูปขอบขนานแกมรูปแถบ มีเสนปก
นูนชัดเจน 3 เสน เสนปกยอยแบบรางแห ปกส้ันรูปคอนขางกลม มักหยิกงอคลายหูหนู ยาวไมเกิน
2 เซนติเมตร ผลออนสีเขียวออน ปกสีแดง

ในประเทศไทยพบไมในสกุลยาง 16 ชนิด ไดแก ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.)
ยางบูเกะ (D. acutangulus Vesque) ยางขน (D. baudii Korth.) ยางวาด (D. chartaceus
Symington) ยางปาย (D. costatus C.F. Gaertn.) ยางกลอง (D. dyeri Pierre) ยางเสียน (D.
gracilis Blume) ยางยูง (D. grandiflorus (Blanco) Blanco) ยางใต (D. hasseltii Blume) ยาง
กราด (D. intricatus Dyer) ยางมันหมู (D. kerrii King) ยางเหียง (D. obtusifolius Teijsm. ex
Miq.) ยางแดง (D. turbinatus C.F. Gaertn.) ยางพลวง (D. tuberculatus Roxb.) และยางแข็ง
(D. retusus Blume) และยางคาย (D. crinitus Dyer)

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 41

รูปวิธานจําแนกชนิดไมสกุลยางในประเทศไทย

1. ผลมีผิวเรียบ หรือมีตุม 5 ตุม อยูดานบนของกลีบ 2.15 ยางพลวง (D. tuberculatus)
2. ผลมีตุม 5 ตุม อยูดานบนของกลีบ
2. ผลมีผิวเรียบ
3. ใบดานลางมีขนหนาแนน
4. กิ่งออนมีขนยาวมากกวา 3 - 4 มม.
5. ใบยาว 15 - 35 ซม., ผลคอนขางกลม และมีขนประปราย
2.3 ยางขน (D. baudii)
5. ใบยาว 6 - 15 ซม., ผลรี และเกล้ียง 2.6 ยางคาย (D. crinitus)
4. ก่ิงออนมีขนสั้นนอยกวา 2 มม.
6. เปลือกเรียบ หรือแตกเปนแผนขนาดใหญ, ใบดานลางมีขนสั้นหนาหนุม,
กลีบเลี้ยงท่ีปลายผลยาวประมาณ 1/2 ของความยาวผล, ขึ้นในปาดิบช้ืน
2.8 ยางเสียน (D. gracilis)
6. เปลือกแตกเปนสะเก็ดแกมรองลึกตามยาว, ใบดานลางมีขนยาวหนาหนุม,
กลีบเล้ียงท่ี ปลายผลยาวนอยกวา 1/2 ของความยาวผล, ขึ้นในปาผลัดใบ
2.13 ยางเหียง (D. obtusifolius)
3. ใบดานลางเกลี้ยง หรือมีขนประราย
7. ใบเกลี้ยงทั้งสองดาน
8. ผลรูปกลมแบน, หูใบเกล้ียง, ใบแหงดานบนสีน้ําตาลเขม
2.12 ยางมันหมู (D. kerrii)
8. ผลรูปไขหรือรูปรี, หูใบมีขนหนาแนน, ใบแหงดานบนมันวาว สีทองแดง
2.16 ยางแดง (D. turbinatus)
7. ใบดานลางมีขนประปราย และมีขนหนาแนนเฉพาะตามแนวเสนกลางใบ
9. เสนแขนงใบมี 15 - 21 คู, ข้ึนท่ีระดับความสูงมากกวา 700 ม. ข้ึนไป
2.14 ยางแข็ง (D. retusus)
9. เสนแขนงใบมี 9 - 15 คู, ขึ้นที่ระดับความสูงไมเกิน 600 ม.
10. ใบแหงดานบนมันวาว สีทองแดง, ปลายก่ิงและหูใบมีขนหนานุม
2.4 ยางวาด (D. chartaceus)
10. ใบแหงดานบนสีน้ําตาลออน, ปลายก่ิงและหูใบเกลี้ยง
2.10 ยางใต (D. hasseltii)
1. ผลเปนเหล่ียม หรือมีครีบตามยาว 5 มุม
11. ผลมีครีบหยิกงอพับไปมา, ใบมีขนท้ังสองดาน, ชอดอกแบบแยกแขนง

42 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

2.11 ยางกราด (D. intricatus)
11. ผลมีครีบหรือเหล่ียมเปนแนวตรงตามยาว, ใบเกล้ียง หรือมีขนท่ีแผนใบดานลาง,

ชอดอกแบบกระจะ
12. ผลมีครีบหรือเหลี่ยม สูงนอยกวา 0.5 ซม.

13. ผลคอนขางกลม มีขนส้ันหนาแนน, ใบดานลางมีขนส้ันหนาแนน
2.5 ยางปาย (D. costatus)

13. ผลรูปรี ผิวเกลี้ยง, ใบดานลางเกลี้ยงหรือมีขนประปราย
14. ผลยาว 4 - 5 ซม., ใบยาว 13 - 45 ซม. เสนแขนงใบมี 20-30 คู
2.7 ยางกลอง (D. dyeri)
14. ผลยาว 2 - 3 ซม., ใบยาว 7.5 - 14 ซม. เสนแขนงใบมี 10 - 13 คู
2.1 ยางบูเกะ (D. acutangulus)

12. ผลมีครีบหรือเหลี่ยม สูงมากกวา 0.5 ซม.
15. ผลยาว 3 - 4 ซม. มีครีบสูง 0.5 - 1 ซม. ปลายก่ิงและใบดานลางมีขนส้ันนุม
2.2 ยางนา (D. alatus)
15. ผลยาว 4 - 7 ซม. มีครีบสูง 1 - 1.5 ซม. ปลายกิ่งและใบดานลางเกล้ียง
2.9 ยางยูง (D. grandiflorus)

2.1 ยางบูเกะ (Dipterocarpus
acutangulus Vesque) (ภาพท่ี 3.8) เปน
พืชหายาก พบเฉพาะในจังหวัดยะลา
และคาบสมุทรมาเลเซีย ข้ึนในปาดิบชื้น
ตามส้ันเขา หรือยอดเขา ท่ีระดับความ
สูง 600 – 1,000 มรทก. ชวงระยะเวลา
การออกดอกจนพัฒนาเปนผลแกในเดือน
เมษายน – สิงหาคม

ภาพที่ 3.8 ยางบูเกะ (Dipterocarpus acutangulus Vesque)

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 43

2.2 ยางนา (Dipterocarpus alatus
Roxb. ex G. Don) (ภาพที่ 3.9) พบไดงาย
กระจายพันธุตามธรรมชาติไดท่ัวทุกภาค ยกเวน
ในเขตจังหวัดเชียงราย และแมฮองสอน เน่ืองจาก
มีอากาศที่หนาวเกินไป และไมพบในจังหวัด
ปตตานี ยะลา และนราธิวาส เนื่องจากมีอากาศ
ที่ช้ืนมากเกินไป ยางนาชอบขึ้นตามท่ีราบริมน้ํา
ในพ้ืนที่ท่ีเปนดินตะกอนนํ้าพัดพา อาจขึ้นไดตาม
ที่เนินเขาเตี้ยที่มีช้ันดินลึกมากกวา 1 เมตร ท่ี
ระดับความสูงไมเกิน 500 มรทก. ชวงระยะเวลา
การออกดอกจนพัฒนาเปนผลแกในเดือนมกราคม
– มิถุนายน

ภาพที่ 3.9 ยางนา (Dipterocarpus
alatus Roxb. ex G. Don)

2.3 ยางขน (Dipterocarpus
baudii Korth.) (ภาพท่ี 3.10) พบได
ทั่วไปแตไมบอยมากนัก พบในภาคตะวัน
ตกตั้งแตจังหวัดกาญจนบุรี ลงไปถึงภาคใต
และภาคตะวันออกเฉียงใต ขึ้นในปาดิบแลง
และปาดิบช้ืน ตามที่ลาดเทเล็กนอย มีการ
ระบายน้ําดี ที่ระดับความสูงไมเกิน 500
มรทก. ชว งระยะเวลาการออกดอกจนพฒั นา
เปนผลแกในเดือนธันวาคม – มิถุนายน

ภาพท่ี 3.10 ยางขน (Dipterocarpus
baudii Korth.)

44 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

2.4 ยางวาด (Dipterocarpus
chartaceus Symington) (ภาพที่ 3.11)
พบไดงาย ในภาคใต มักขึ้นในปาดิบแลง
หรือปาดิบชื้นใกลชายฝงทะเล ที่ระดับ
ความสูงไมเกิน 100 มรทก. ชวงระยะเวลา
การออกดอกจนพัฒนาเปนผลแกในเดือน
ธันวาคม – มิถุนายน

ภาพที่ 3.11 ยางวาด
(Dipterocarpus chartaceus Symington)

2.5 ยางปาย (Dipterocarpus
costatus C.F. Gaertn.) (ภาพที่ 3.12) พบได
งาย พบท่ัวประเทศ ปกติข้ึนในปาดิบแลง มักพบ
บนภูเขาใกลชายฝงทะเล หรือถาพบในปาดิบช้ืน
หรือปาดิบแลงกึ่งปาดิบเขามักขึ้นอยูตามสันเขา
หรือที่ลาดชัน ท่ีระดับความสูงไมเกิน 1,300
มรทก. ชวงระยะเวลาการออกดอกจนพัฒนา
เปนผลแกในเดือนธันวาคม – กรกฎาคม

ภาพท่ี 3.12 ยางปาย
(Dipterocarpus costatus C.F. Gaertn.)

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 45

2.6 ยางคาย ภาพท่ี 3.13 ยางคาย (Dipterocarpus
(Dipterocarpus crinitus Dyer) crinitus Dyer)
(ภาพท่ี 3.13) เปนไมหายาก พบ
ไดเฉพาะในจังหวัดนราธิวาสใกล
ชายแดนประเทศมาเลเซีย ใน
ประเทศมาเลเซียพบไดท่ัวไป ขึ้นใน
ปาดิบชื้น ตามท่ีลาดเท หรือเนินเขา
เต้ีย ท่ีระดับความสูงไมเกิน 500
มรทก. ชวงระยะเวลาการออกดอก
จนพัฒนาเปนผลแกในเดือนมกราคม
– สิงหาคม

2.7 ยางกลอง (Dipterocarpus
dyeri Pierre) (ภาพที่ 3.14) พบไดทั่วไป
แตไมบอยนัก เชนเดียวกับยางขน พบในภาค
ตะวันตกตั้งแตจังหวัดราชบุรี ลงไปถึงภาคใต
และภาคตะวันออกเฉียงใต ข้ึนในปาดิบช้ืน
ตามท่ีลาดเทเล็กนอย มีการระบายนํ้าดี ท่ี
ระดับความสูงไมเกิน 400 มรทก. ชวงระยะ
เวลาการออกดอกจนพัฒนาเปนผลแกในเดือน
พฤศจิกายน – สิงหาคม

ภาพที่ 3.14 ยางกลอง (Dipterocarpus dyeri Pierre)

46 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

2.8 ยางเสียน (Dipterocarpus gracilis
Blume) (ภาพที่ 3.15) พบคอนขางยากในภาค
ตะวันตก (จังหวัดกาญจนบุรี) แตจะพบไดงายใน
ภาคใต ภาคตะวันออก (เขาใหญ) และภาคตะวัน
ออกเฉียงใต ขึ้นในปาดิบช้ืน ตามเนินเขาเตี้ย หรือ
ตามที่ลาดชัน ท่ีระดับความสูงไมเกิน 900 มรทก.
ชวงระยะเวลาการออกดอกจนพัฒนาเปนผลแกใน
เดือนมกราคม – สิงหาคม

ภาพที่ 3.15 ยางเสียน
(Dipterocarpus gracilis Blume)

2.9 ยางยูง (Dipterocarpus
grandiflorus (Blanco) Blanco) (ภาพท่ี
3.16) พบมากในภาคใต แตมีการพบท่ีจังหวัด
บึงกาฬ และจังหวัดนครพนมดวย (ภูวัว และ
ภูลังกา) ขึ้นในปาดิบช้ืน หรือปาดิบแลง ตาม
ที่ลาดเทเล็กนอย จนถึงสันเขา ท่ีระดับความ
สูงไมเกิน 600 มรทก. ชวงระยะเวลาการ
ออกดอกจนพัฒนาเปนผลแกในเดือนมกราคม
– พฤศจิกายน

ภาพท่ี 3.16 ยางยูง
(Dipterocarpus grandiflorus (Blanco) Blanco)

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 47

2.10 ยางใต (Dipterocarpus
hasseltii Blume) (ภาพท่ี 3.17) พบไดยาก
พบในภาคตะวันตกต้ังแตจังหวัดกาญจนบุรี
ลงไป แตจะพบไดมากข้ึนในภาคใต ข้ึนใน
ปาดิบช้ืน ตามเนินเขาเตี้ย หรือตามหุบเขา
ใกลลําหวย ท่ีระดับความสูงไมเกิน 600 มร
ทก. ชวงระยะเวลาการออกดอกจนพัฒนา
เปนผลแกในเดือนพฤศจิกายน – สิงหาคม

ภาพที่ 3.17 ยางใต (Dipterocarpus
hasseltii Blume)

2.11 ยางกราด (Dipterocarpus ภาพที่ 3.18 ยางกราด
intricatus Dyer) (ภาพที่ 3.18) พบไดงาย (Dipterocarpus intricatus Dyer)
พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ
ตอนลาง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวัน
ออกเฉียงใต และภาคตะวันตกเฉียงใต ขึ้นใน
ปาเต็งรัง หรือแทรกอยูตามปาดิบแลงที่มีการ
รบกวนมากอน บางครั้งพบในปาชายหาด
ที่ดินเปนทรายจัด ท่ีระดับความสูงไมเกิน 800
มรทก. ชวงระยะเวลาการออกดอกจนพัฒนา
เปนผลแกในเดือนมกราคม – พฤศจิกายน

48 การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง

2 . 1 2 ย า ง มั น ห มู
(Dipterocarpus kerrii
King) (ภาพที่ 3.19) พบได
งาย พบเฉพาะในภาคใต ข้ึนใน
ปาดิบชื้น ตามเนินเขาเต้ีย หรือ
ตามหุบเขาใกลลําหวย ที่ระดับ
ความสูงไมเกิน 700 มรทก.
ชวงระยะเวลาการออกดอก
จนพัฒนาเปนผลแกในเดือน

ธันวาคม – สิงหาคม

ภาพท่ี 3.19 ยางมันหมู
(Dipterocarpus kerrii King)

2.13 ยางเหยี ง (Dipterocarpus
obtusifolius Teijsm. ex Miq.) (ภาพ
ท่ี 3.20) พบไดงาย พบทั่วประเทศ มักข้ึน
ในปาเต็งรัง หรือแทรกอยูตามปาดิบแลง
ท่ีมีการรบกวนมากอน หรือปาโคกที่ดิน
ไมดีเปนลูกรังผสมกรวด หรือเปนดินทราย
และเปนกรดจัด บางครั้งพบในปาชายหาด
ที่ดินเปนทรายจัด ที่ระดับความสูงไมเกิน
1,300 มรทก. ชวงระยะเวลาการออกดอก
จนพัฒนาเปนผลแกในเดือนพฤศจิกายน –
มิถุนายน

ภาพที่ 3.20 ยางเหียง (Dipterocarpus
obtusifolius Teijsm. ex Miq.)

การอนุรักษและใชประโยชนไมวงศยาง 49


Click to View FlipBook Version