The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เล่มวิจัย-ชวัลลักษณ์-ปรางทิพย์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by amshying, 2022-03-24 05:23:41

เล่มวิจัย-ชวัลลักษณ์-ปรางทิพย์

เล่มวิจัย-ชวัลลักษณ์-ปรางทิพย์

ผลของการจดั กิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์
ผสมผสานการสอนแบบท่องจาคาศพั ทท์ ่ีมีต่อทกั ษะการอ่าน
ออกเสียงภาษาองั กฤษ ของนักเรยี นระดบั ชนั้ ประถมศึกษาปี ท่ี 3

ชวลั ลกั ษณ์ พิทกั ษ์
ปรางทิพย์ สขุ สะอาด

รายงานการวิจยั ฉบบั นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลกั สตู รประกาศนียบตั รบณั ฑิต สาขาวิชาชีพครู

คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลยั ตาปี ปี การศึกษา 2564

ผลของการจัดกจิ กรรมการเรียนการสอนแบบโฟนกิ ส์ ผสมผสานการ
สอนแบบท่องจำคำศัพท์ทมี่ ีต่อทักษะการอ่านออกเสียงภาษาองั กฤษ

ของนกั เรียนระดบั ช้ันประถมศกึ ษาปที ่ี 3

ชวลั ลักษณ์ พิทกั ษ์
ปรางทพิ ย์ สุขสะอาด

รายงานการวิจัยฉบบั นี้เปน็ ส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลกั สตู รประกาศนียบัตรบณั ฑิต สาขาวชิ าชพี ครู

คณะศลิ ปศาสตร์
มหาวทิ ยาลยั ตาปี ปีการศึกษา 2564

The Effects of Phonics Learning with Rote Memorization
on Grade 3 Students’ English Pronunciation Skills

Chawanlak Pitak
Prangtip Suksaard

A Research Submitted in Partial Fulfilment of the Requirements
for the Graduate Diploma Program in Teaching Profession
Faculty of Liberal Arts
TAPEE University (2021)

ใบรบั รองรายงานการวจิ ยั
หลักสูตรประกาศนยี บัตรบัณฑติ สาขาวชิ าชีพครู

ชอ่ื รายงานการวจิ ัย ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์
ผสมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์ที่มีต่อทักษะการ
เสนอโดย อ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ของนักเรียนระดับชั้น
ชอื่ ปริญญา ประถมศึกษาปีท่ี 3
อาจารย์ทปี่ รึกษารายงานการวิจัย
นางสาวชวัลลักษณ์ พทิ ักษ์
นางสาวปรางทพิ ย์ สุขสะอาด

ประกาศนยี บตั รบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล เดน่ สนุ ทร

อนุมัติใหร้ ายงานการวิจัยฉบับน้เี ปน็ สว่ นหน่งึ ของการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตร
บณั ฑิต สาขาวิชาชีพครู ประจำปีการศึกษา 2564

................................................................................อาจารย์ท่ปี รึกษา
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวมิ ล เด่นสนุ ทร)

................................................................................คณบดคี ณะศิลปศาสตร์
(นางสาวสมฤดี มัธยันต์)



กิตติกรรมประกาศ

งานวิจัยเรื่อง ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ ผสมผสานการสอนแบบ
ท่องจำคำศัพท์ที่มีต่อทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
เล่มนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาและความอนุเคราะห์ของ ผศ.ดร.สุวิมล เด่นสุนทร อาจารย์
ที่ปรึกษางานวิจัย ที่ได้ให้ความรู้ คำแนะนำและแบบอย่างที่ดีในการทำงาน อีกทั้งช่วยตรวจสอบ
ปรับปรุงแก้ไขขอ้ บกพร่องตา่ ง ๆ และเสนอแนวทางในการศึกษาค้นคว้าในการทำวจิ ยั ดว้ ยดีตลอดมา

ขอขอบพระคุณ รศ.ดร.ณรัณ ศรีวิหะ อาจารย์ประจำหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยตาปี นางสาวกะรัตเพชร คงรอด นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ และ
นางปณติ า นลิ ทพั ครู วทิ ยฐานะชำนาญการพเิ ศษ ที่กรณุ าเปน็ ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเครื่องมือ
ในการวิจยั ครงั้ นี้ ซึ่งคอยแนะนำวธิ ีแกป้ ัญหา ใหค้ ำแนะนำตรวจแกไ้ ขขอ้ บกพร่อง และให้ข้อเสนอแนะ
ต่าง ๆ จนได้เครื่องมือท่ีมีคุณภาพ ตลอดจนขอขอบคุณนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ท่ีให้
ความร่วมมือในการเก็บข้อมูลเป็นอย่างดี ขอขอบคุณคณาจารย์ประจำหลักสูตรประกาศนียบัตร
บัณฑติ สาขาวชิ าชีพครู มหาวทิ ยาลยั ตาปี ทีไ่ ด้ใหค้ วามรตู้ ัง้ แตข่ ั้นพื้นฐานไปจนถงึ ความรู้ข้นั สูง

และสุดท้ายนี้ ผู้วิจัยขอกราบระลึกถึงพระคุณบิดา มารดาและครอบครัวผู้อยู่เบื้องหลัง
ความสำเร็จ คอยให้กำลังใจ ให้ความรกั ความห่วงใย และดูแลช่วยเหลือในทุกเรื่อง ขอขอบคุณเพ่ือน
ท่คี อยสนับสนนุ และอยู่เคียงข้างเสมอ คุณค่าและประโยชน์ของงานวิจยั ฉบับนี้ขอมอบแด่พระคุณบิดา
มารดา ครูบาอาจารย์ทุกทา่ นทปี่ ระสทิ ธิป์ ระสาทความรู้ใหแ้ กผ่ ้วู ิจัยตง้ั แต่อดีตจนถงึ ปจั จุบัน

คณะผ้จู ดั ทำวิจยั

ชอื่ รายงานการวจิ ยั จ

ชื่อผเู้ ขยี น ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์
ชอ่ื ปริญญา ผสมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์ที่มีต่อทักษะ
อาจารย์ทปี่ รึกษารายงานการวจิ ัย การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ของนักเรียนระดับชั้น
ประถมศึกษาปีท่ี 3
นางสาวชวัลลักษณ์ พทิ ักษ์
นางสาวปรางทพิ ย์ สขุ สะอาด
ประกาศนยี บัตรบณั ฑติ สาขาวิชาชีพครู
ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.สวุ ิมล เด่นสุนทร

บทคัดยอ่

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ผสมผสาน
การสอนแบบท่องจำคำศัพท์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
(E1/E2) เท่ากับ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงก่อนและหลังการเรียนดว้ ยกิจกรรม
การเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ผสมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์ ในรายวิชาภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนทีม่ ีตอ่ การฝึกทักษะการอ่าน
ออกเสียงคำศพั ทภ์ าษาอังกฤษด้วยส่ือโฟนกิ สผ์ สมผสานการสอนแบบทอ่ งจำคำศัพท์ กลุ่มตวั อยา่ งที่ใช้
ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดละไม อำเภอเกาะสมุย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564 จำนวนนักเรียน 38 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple
Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โฟนิกส์
ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) แบบวัดทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษซึ่งได้
ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญ (IOC= 0.82) มีค่าความเชื่อมั่น 0.91
3) แบบประเมนิ ความพงึ พอใจในการจัดกิจกรรม การเรยี นการสอนแบบโฟนกิ ส์ผสมผสานแบบท่องจำ
คำศพั ท์ สถติ ิท่ใี ชใ้ นการวเิ คราะห์ขอ้ มลู ไดแ้ ก่ คา่ เฉล่ยี ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน และคา่ t-test

ผลการวจิ ยั พบวา่
1. ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ผสมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์

ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี 3 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดละไม มีประสิทธิภาพ (E1/E2)
เท่ากับ 82.46 /86.32



2. ทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการ
เรียนการสอนแบบโฟนิกส์ผสมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ท่ีระดบั .01 โดยคะแนนเฉลีย่ หลังเรยี นสูงกวา่ ก่อนเรยี น

3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ด้วยสื่อโฟนิกส์ผสมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.53,
SD = 0.62)

คำสำคญั : โฟนกิ ส์, การอ่านออกเสียง

Research Title ช

Author The Effects of Phonics Learning with Rote Memorization
Degree on Grade 3 Students’ English Pronunciation Skills
Research Advisor Miss Chawanlak Pitak and Miss Prangtip Suksaard
Graduate Diploma Program in Teaching Profession
Asst.Prof.Dr. Suwimol Densoontorn

ABSTRACT

The objectives of this study were to: 1) create the phonics learning
lesson with rote memorization on grade 3 students in order to meet the
efficiency criterion of 80/80; 2) compare the students’ English pronunciation
skills before and after learning phonics with rote memorization for grade 3
students; and 3) study the students’ satisfaction towards improving English
pronunciation skills by phonics learning with rote memorization. The subjects
which were randomly selected were thirty-eight of grade 3 students in
Watlamai Municipal School 1, Samui District, Surat Thani Province.
The instruments used for collecting data consisted of 1) six phonics lesson
plans, for grade 3 students, which required 12 hours of implementing, 2 ) an
English pronunciation skill test, with the reliability of 0.91, was qualified by
experts (IOC = 0.82), and 3) questionnaires on students’ satisfaction towards
the phonics learning with rote memorization. The collected data were
analyzed by mean, standard deviation, and t-test.

The results were as follows:
1) The efficiency of phonics learning lesson with rote

memorization for grade 3 students (E1/E2) was at 82.46/86.32 which was
relevant to the criterion set at 80/80.

2) There were significant differences between the average of
English pronunciation scores before and after using the phonics learning
lesson with rote memorization at the significant level of .01. The average



scores of pronunciation skills after learning phonics with rote memorization
were higher than those before using this technique.

3) The students’ satisfaction towards improving pronunciation
skills by phonics learning with rote memorization was at high level. (x̅ = 4.53,

SD = 0.62)

Keywords: Phonics, Pronunciation



สารบัญ

กติ ตกิ รรมประกาศ ………………………………………………………………………………..……………….. หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย …………………………………………………………………........………………………. ง
บทคดั ย่อภาษาองั กฤษ ………………………………………………………………………………...........….. จ
สารบญั ................................................................................................................................ ช
สารบญั ตาราง ...................................................................................................................... ฌ
สารบญั รูป ...................................................................................................................... ...... ฎ
บทท่ี 1 บทนำ ..................................................................................................................... ฏ
1
1.1 ท่ีมาและความสำคัญ ....................................................................................... 1
1.2 วตั ถปุ ระสงค์ของการวิจยั ................................................................................ 5
1.3 สมมตฐิ านของการวิจยั .................................................................................... 5
1.4 ขอบเขตการศกึ ษา ........................................................................................... 6
1.5 กรอบแนวคิดของการวจิ ัย ............................................................................... 7
1.6 นิยามศัพทเ์ ฉพาะ ............................................................................................ 7
1.7 ประโยชน์ท่คี าดว่าจะได้รับ .............................................................................. 8

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจยั ทเี่ ก่ียวข้อง ........................................................................... 10
2.1 หลักสตู รการศึกษาขัน้ พื้นฐาน พทุ ธศักราช 2551 ........................................... 10
2.2 ทักษะการรู้หนงั สือ .......................................................................................... 17
2.3 โฟนกิ ส์ ............................................................................................................ 19
2.4 แนวคดิ และทฤษฎีเก่ียวกับการหาประสทิ ธิภาพตามเกณฑ์ E1 /E2 ................ 24
2.5 งานวิจยั ทเ่ี กีย่ วข้อง ......................................................................................... 26

บทท่ี 3 วิธดี ำเนนิ การวิจัย .................................................................................................. 29
3.1 แบบแผนการวจิ ยั ............................................................................................ 29
3.2 ประชากรและกล่มุ ตวั อย่าง ............................................................................. 29
3.3 เครอ่ื งมือท่ีใชใ้ นการวิจยั ................................................................................. 30
3.4 ขัน้ ตอนการสร้างเคร่ืองมือ .............................................................................. 30
3.5 การเกบ็ รวบรวมข้อมลู .................................................................................... 33
3.6 การวิเคราะห์ขอ้ มลู ......................................................................................... 33
3.7 สถติ ิทใี่ ช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ........................................................................ 34



สารบัญ (ตอ่ )

บทท่ี 4 ผลการวเิ คราะหข์ อ้ มูล ..................................................................................... หนา้
4.1 สัญลักษณ์ท่ีใชใ้ นการศึกษาค้นควา้ ................................................................. 38
4.2 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ................................................................. 38
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล .................................................................................... 38
39

บทท่ี 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ.................................................................. 42
5.1 วตั ถุประสงค์การวิจัย ...................................................................................... 42
5.2 ประชากรและกลมุ่ ตวั อย่าง ............................................................................. 42
5.3 เคร่อื งมือท่ีใช้ในการวิจัย ................................................................................. 43
5.4 การเก็บรวบรวมข้อมลู .................................................................................... 43
5.5 สรุปผลการวจิ ยั ............................................................................................... 44
5.6 การอภปิ รายผล ............................................................................................... 44
5.7 ข้อเสนอแนะ ................................................................................................... 47

บรรณานุกรม

ภาคผนวก
ภาคผนวก ก ประวตั ิผู้วจิ ยั
ภาคผนวก ข รายชอ่ื ผู้เชีย่ วชาญตรวจเครือ่ งมือวจิ ัย
ภาคผนวก ค เครอ่ื งมอื ทีใ่ ช้ในการวจิ ยั
ภาคผนวก ง แบบประเมนิ เครื่องมือทใี่ ชใ้ นการวิจยั



สารบญั ตาราง

ตารางที่ หน้า

4.3.1 ประสิทธภิ าพชดุ กิจกรรมการเรยี นการสอนแบบโฟนิกสผ์ สมผสานการสอนแบบ

ท่องจำคำศัพท์ ของนักเรยี นระดับช้นั ประถมศึกษาปีท่ี 3 ใหม้ ีประสิทธภิ าพตามเกณฑ์

80/80 .................................................................................................................................... 39

4.3.2 เปรียบเทียบคะแนนเฉลย่ี ทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษกอ่ นเรยี นและหลงั เรยี น

โดยใชใ้ ชช้ ดุ กิจกรรมการเรยี นการสอนแบบโฟนกิ สผ์ สมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์

ของนักเรียนช้นั ป.3 ............................................................................................................... 39

4.3.3 คะแนนเฉลย่ี ความพึงพอใจของนกั เรยี นที่มีต่อการฝึกทักษะการอา่ นออกเสียงคำศัพท์

ภาษาอังกฤษด้วยส่ือโฟนกิ สผ์ สมผสานการสอนแบบทอ่ งจำคำศัพท์ ...................................... 40



สารบญั รูป

รูปท่ี หน้า
1.5.1 กรอบแนวคิดของการวิจยั .......................................................................................... 7

บทท่ี 1

บทนำ

1.1 ทมี่ าและความสำคัญ

ทักษะการอ่านและการรู้หนังสือ (Reading and Literacy) ถือเป็นทักษะพื้นฐานซึ่งเป็นกุญแจ
สำคัญทีช่ ว่ ยในการเรยี นรู้ และช่วยให้บคุ คลสามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างอสิ ระ การรหู้ นังสือจำเป็น
ที่จะต้องพัฒนาขึ้นในแต่ละช่วงชีวิตของบุคคล ให้สามารถอ่าน เขียน และพัฒนาความคิด เพื่อ
ความสำเร็จทางด้านวิชาการและการทำงานในอนาคต (American Institute for Research 2021,
para. 1) ดังจะเห็นได้จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้
ผู้เรียนมีสมรรถนะที่สำคัญหลายประการ การมีความสามารถในการสื่อสารและการรู้หนังสือถือเป็น
หนึ่งในสมรรถนะที่สำคัญโดยหลักสูตรได้ระบุไว้ว่า ความสามารถในการสื่อสารเป็นความสามารถใน
การรบั และสง่ สาร (กระทรวงศกึ ษาธิการ 2551, 6) และยังไดก้ ำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ใน
กลุม่ สาระภาษาตา่ งประเทศเอาไว้ว่าผ้เู รยี นต้องสามารถเข้าใจรวมท้ังตีความเร่ืองท่ีฟังและอ่านจากส่ือ
ประเภทต่าง ๆ อีกทั้งสามารถแสดงความคิดเหน็ อยา่ งมีเหตผุ ล (กระทรวงศึกษาธิการ 2551, 19) ใน
การที่จะสื่อสารได้นั้นจำเป็นที่จะต้องรับสารก่อน ซึ่งก็คือทักษะการอ่านและการฟัง จึงจะสามารถ
ถา่ ยทอดหรือส่งสารออกไปได้ จะเหน็ ได้ว่าความสามารถในการอ่าน การรูห้ นังสอื และการสือ่ สารเป็น
สิ่งที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน และครูต้องพัฒนาควบคู่กันไป เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร การศึกษา
แสวงหาความรู้ การประกอบอาชพี และการสรา้ งความเขา้ ใจต่อวสิ ัยทัศนข์ องชมุ ชนโลกตอ่ ไป

จากการศึกษางานวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการอ่านออกเสียงและเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษ เช่น
ณัฐพล สรุ ิยมณฑล นธิ ดิ า อดภิ ทั รนันท์ และนันทิยา แสงสิน (2561, 117) ศกึ ษาการสอนแบบโฟนิกส์
เพ่ือสง่ เสรมิ การออกเสียงและความรู้คำศัพทภ์ าษาองั กฤษของนกั เรยี นชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรียน
บ้านแม่ละนา อำเภอบางปะม้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน จำนวน 12 คน
ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครอื่ งมือที่ใชใ้ นการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนภาษาอังกฤษท่ีใช้
วิธีการสอนแบบโฟนิกส์ จำนวน 7 แผน แบบประเมินการออกเสียงภาษาอังกฤษและแบบทดสอบ
ความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนออกเสียงภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
ในระดับดีเยี่ยมหลังได้รับการสอนด้วยวิธีสอนแบบโฟนิกส์ และนักเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่าน
เกณฑ์ร้อยละ 60 ในระดับดีเยี่ยมหลังได้รับการสอนด้วยวิธีสอนแบบโฟนิกส์ วาสนา เหลาเป (2563,
96) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษและการเขียนตัวอักษรพิมพใหญ่ และ
พิมพ์เล็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนสงวนสิบเกาโปร่งวิทยา
อำเภอศรบี ุญเรือง จังหวดั หนองบวั ลำภู จำนวน 10 คน เครือ่ งมือท่ใี ชใ้ นการวจิ ัยประกอบด้วยแบบ

2

ฝึกการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ และแบบฝึกเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่-พิมพ์เล็ก
ผลการวิจัยพบว่า หลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ นักเรียนมีทักษะ
การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยรวมสูงขึ้น และหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกเขียนตัวอักษร
ภาษาอังกฤษพิมพ์ใหญ่-พิมพ์เล็ก นักเรียนมีทักษะการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษพมิ พใหญ่และพิมพ
เล็กโดยรวมสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนกอนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียน
ของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่ี ระดับ .01 มาลินี พุ่มมาลัย (2558, 77) ทำ
การวิจัยพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยวิธีโฟนิกส์ (Phonics)
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เล็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรง
เรียนสหวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 22 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
เครอ่ื งมือท่ใี ช้ในการวิจยั คอื หนงั สืออิเลก็ ทรอนกิ ส์ เรื่องการสะกดคำศัพท์ภาษาองั กฤษดว้ ยวธิ ีโฟนิกส์
จำนวน 6 หน่วยการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการสะกดคำภาษอังกฤษด้วยวิธีโฟนิกส์
และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีผลต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ผลการวจิ ยั พบวา่ ความสามารถในการสะกดคำศัพทภ์ าษาอังกฤษหลังเรยี นสูงกว่าก่อนเรยี น นักเรียน
มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องการสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วย
วิธีโฟนิกส์อยู่ในระดับมากที่สดุ และสื่อที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ท่ีวางไว้ นอกจากนี้
ยังพบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษของผู้เรียนคือความ
แตกต่างระหว่างระบบเสียงภาษาอังกฤษกับระบบเสียงภาษาไทย ดังนั้นการที่จะให้นักเรียนสามารถ
ออกเสียงได้ถูกต้องใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา และป้องกันมิให้นักเรียนออกเสียงผิดจึงควรสร้าง
พื้นฐานและปลูกฝังลักษณะนิสัยในการออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจนตั้งแต่เด็กใน ระดับอนุบาลและ
ประถมศกึ ษา (จรี นันท์ เมฆวงษ์ 2547, 2) ปัญหาดา้ นพนื้ ฐานการอ่านออกเสยี งและเขียนสะกดคําของ
ผู้เรียนที่เกิดจากการใช้ระบบการสอนอ่านเป็นคำหรือการสอนภาษาแบบองค์รวม ( Whole
language) เพียงอย่างเดียวในโรงเรียนไทย ซึ่งเน้นการจำคำศัพท์เป็นคำ ๆ กฎไวยากรณ์ และการ
ทายความหมายของคำศัพท์ในบทที่อ่าน โดยผเู้ รยี นไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษเพราะขาดความเชื่อมั่นใน
ตนเอง แม้ผู้เรียนจะเริม่ เรียนภาษาอังกฤษตั้งแตร่ ะดับช้ันอนบุ าลจนถึงระดับมหาวิทยาลัยก็จริง แต่มี
ผู้เรียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้งานได้ โดยบางส่วนสะท้อนว่ามีทัศนคติที่ไม่
ชอบเรียนภาษาอังกฤษ เพราะเรียนค่อนข้างยากและไม่สนุก ต้องท่องจำคำศัพท์ที่ไม่เคยได้นำไปใช้
จริง (รุจาพร สุนทรปาน อุษา คงทอง และอรวรรณ ภัสสรสิริ 2557, 96) ผู้เรียนไม่มีพื้นฐานการอ่าน
ออกเสียงภาษาอังกฤษมาก่อน หรือผู้เรียนไม่มีความกระตือรือร้นและรกั การอ่าน จึงทำให้ผลสัมฤทธ์ิ
ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์การประเมินของสถานศึกษา ปรากฏการณ์เหล่านี้สะท้อนให้
เห็นถึงการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบริบทของสังคมไทยยังไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่
วางไว้ และไมไ่ ด้ตอบสนองต่อความต้องการของผูเ้ รียนอยา่ งแทจ้ รงิ โดยอาจประเมินเปน็ ดา้ นๆ ดงั น้ี

3

1.1.1 ดา้ นครูผสู้ อน
เครือ่ งมอื หลักในการเรยี นรู้ของผู้เรียนคือครูผู้สอน ซงึ่ ในปจั จบุ นั พบว่าครผู ู้สอนภาษาอังกฤษ
ในระดับช้ันประถมศกึ ษามีจำนวนไมน่ ้อยที่ไม่ได้สำเรจ็ การศึกษาในสาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษโดยตรง
ส่งผลให้เมื่อสอนจริงในห้องเรียน ครูผู้สอนจะไม่ได้เน้นการออกเสียงภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตรงตาม
หลักภาษา โดยอาจมุ่งเน้นเพียงการเรียนรู้หลักไวยากรณ์ การท่องจำคำศัพท์ หรือเนื้อหาสาระวิชาที่
ตอ้ งสอนให้ครบตามตวั ช้วี ัดท่หี ลกั สูตรกำหนด ซ่ึงสง่ ผลกระทบตอ่ ทัศนคตขิ องผู้เรียนต่อไป

1.1.2 ดา้ นการจัดการเรยี นการสอน
การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เช่น ครูผู้สอนขาดทักษะ
การสอนการอ่านสะกดคำหรือการออกเสียงอย่างถูกวิธี ขาดเทคนิคที่จูงใจให้ผู้เรียนคล้อยตาม และ
จากประสบการณ์สอนจากผูว้ จิ ัยเอง พบว่ามีครูจำนวนไม่น้อยขาดการเตรียมการสอน หรือเตรียมสอื่
การสอนล่วงหน้า ซึ่งสื่อการสอนที่หลากหลายสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนให้มีส่วนร่วมกับ
การเรียน หรือมีสมาธจิ ดจ่อกบั สง่ิ ทเ่ี รยี นได้นานย่งิ ข้ึน

1.1.3 ดา้ นผู้เรยี น
ผู้เรียนขาดการเรียนรู้การออกเสียงที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งในระดับอนุบาลและ
ประถมศึกษา และเมื่อเวลาผ่านไป เนื้อหาสาระที่จะต้องเรียนยิ่งมีมากขึ้นตามระดับช่วงชั้น ทำให้
ผู้เรียนรู้สึกมีภาระ ในการที่จะต้องจำเนื้อหา แต่ในขณะเดียวกันยังไม่สามารถอ่านออกเขียนได้คล่อง
ด้วยเหตดุ งั กลา่ วทำให้ผูเ้ รียนสว่ นใหญไ่ มช่ อบและมีทัศนคตทิ ีไ่ มด่ ีตอ่ การเรียนภาษาอังกฤษ
หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พทุ ธศักราช 2561 ได้กำหนดให้มีการเรียนการสอน
ภาษาต่างประเทศตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยเหตุที่ภาษาต่างประเทศหรือในที่นี้คือ
ภาษาองั กฤษถือเป็นภาษาทสี่ อง (Second language) ซึง่ ไม่ใช่ภาษาแม่ การเรยี นรู้สิ่งเหล่านี้จำเป็นที่
จะตอ้ งเริ่มตง้ั แต่อายยุ ังนอ้ ยเนื่องจากการรับรู้และการจดจำในวยั เด็กจะเกิดขน้ึ ได้ดีกว่าและคงทนกว่า
เช่นเดียวกับที่สถาบันเออร์ธีโอ (Ertheo Educational Agency) ซ่ึงเป็นสถาบันหนึ่งที่สนับสนุนด้าน
การศกึ ษาและกจิ กรรมด้านกีฬาได้สะท้อนว่า

ด้วยโครงสร้างทางสมองของเด็กเอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาที่สอง โดยจะมีลักษณะ
คล้ายฟองน้ำที่สามารถดูดซับข้อมูลใหม่โดยไม่รู้ตัว เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่เรียนรู้เนื้อ
เพลง จังหวะ และทำนองเพลงโดยไม่รตู้ ัว ดร. พอล ทอมปส์ นั (2021) ศาสตราจารย์
ด้านประสาทวิทยาที่ UCLA และทีมของเขาพบว่าระบบสมองที่เชี่ยวชาญในการ
เรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ เติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่อายุประมาณหกขวบจนถึงวัยแรกรุ่น
จากนั้นระบบเหล่านี้โดยทั่วไปจะหยุดเติบโตตั้งแต่อายุ 11 ถึง 15 ในช่วงวัยแรกรุ่น
ด้วยเหตุนี้การเรียนรู้ภาษาตั้งแต่วัยเด็กจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้วิจัยเลือกที่จะ
ศึกษาและพัฒนาทักษะการอ่านและการรู้หนังสือในเด็กระดับชั้นประถมศึกษา
(Ertheo Educational Agency, 2018)

4

นอกจากปัจจัยด้านอายุที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะการอ่านและการรู้หนังสือของผู้เรียนแล้ว
วิธีการที่ครูผู้สอนใช้เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องด้วยในปัจจุบันการเรียนการสอนที่ให้
ผู้เรียนสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสอนสะกดคำแบบปกติ คือการเขียนคำ
อ่านภาษาไทยกำกับใต้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเสมอเพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านและเทียบเสียง หรือการ
สอนเทียบเสยี งพยญั ชนะกับภาษาไทยกบั ภาษาอังกฤษ เชน่ คำว่า r-a-t โดยผ้เู รยี นจะจำวา่ r คอื ร, a
คอื สระแอ, และ t คือ ท จงึ อา่ นคำดังกล่าววา่ /แรท/ แทนทจ่ี ะจำเสียงของตวั อักษรเช่น r-a-t /เรอะ-
แอะ-เทอะ/ ออกเสียงวา่ /แรท/ เป็นต้น ทั้งนี้ทำให้ผูเ้ รียนไม่สามารถเข้าใจเสียงท่ีแท้จริงของตัวอักษร
และเกิดความสับสนและไม่เข้าใจว่า r-a-t หรือ อาร์-เอ-ที ออกเสียงว่า /แรท/ ได้อย่างไร ดังน้ัน
ครผู ู้สอนจำเป็นทจ่ี ะต้องสอนให้ผู้เรียนรู้จักเสียงและความสัมพันธ์ของเสียงกบั ตัวอักษร เพ่ือให้ผู้เรียน
เกิดความเข้าใจและความเคยชินสามารถอ่านและสะกดคำต่างๆ ได้ และด้วยหลักการดังกล่าว
สอดคล้องกับกิจกรรมการสอนแบบโฟนิกส์ซึ่งเป็นการอ่านเขียนและออกเสียงภาษาอั งกฤษโดยการ
ถอดรหสั เสียงและการผสมเสียงตัวอักษร A-Z ท้งั 26 ตวั โดยท่ีผ้เู รยี นจะต้องเข้าใจเสียงของตัวอักษร
ตา่ ง ๆ และออกเสยี งเหลา่ นนั้ ใหถ้ ูกต้องจงึ จะสามารถผสมเสียงออกมาเป็นคำได้ (ดวงใจ ต้ังสงา่ , 2556
อ้างถึงใน วาสนา เหลาเป 2563, 86) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการท่ีผู้วิจัยมีความสนใจที่จะนำมา
แก้ปัญหาและพัฒนาทักษะการอ่านและการสะกดคำของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็ นเครื่องมือในการ
เรยี นรู้ตอ่ ไป

รายงานวิจัยของคณะกรรมการการอ่านของสหรัฐอเมริกา (National Reading Panel

Report) ได้ทบทวน ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยและองค์กรการศึกษาต่างๆ มากกว่าแสนเรื่องที่ได้

ทำมาในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมา ในสหรัฐอเมริกาที่เกี่ยวกับวิธีการสอนเด็กและเยาวชนอเมริกันอ่าน

ภาษาอังกฤษให้ได้ผล (effective reading instruction) และไม่ได้ผล ได้พบหลักฐานมากมายท่ี

สรุปว่า การที่เด็กอเมริกันจำนวนมากอ่านไม่เป็นหรือ อ่านไม่ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ตามระดับชั้น

เรียน (reading grade level) มาจากความบกพร่องของสมองในการประมวลหน่วยเสียงของ

ภาษาอังกฤษ (phonological deficits) มากกว่าปัจจัยอื่น ส่งผลให้ไม่สามารถเชื่อมโยงตัวอักษรกับ

หน่วยเสียงของภาษาพูด (speech sounds) นำไปสู่การเกิดปัญหาในการถอดรหัสตัวอักษรให้ เป็น

เสียง (decoding) จึงอ่านออกเสียงช้าหรืออ่านแบบตะกุกตะกักและผิดมาก สมองไม่สามารถรับรู้คำ

และความหมายของสิ่งที่อ่านได้ง่าย รายงานสรุปว่า ถ้าจะแก้ปัญหานี้ ผู้มีปัญหาต้องได้รับการสอน

อา่ นอยา่ งถกู วิธี (อนิ ทริ า ศรปี ระสิทธิ์ 2552, 2)

การใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์เป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับจากงานวิจัยต่าง

ๆมากมาย พบว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาการอ่านออกเสียงและการสะกดคำของผู้เรียนได้จริง แต่

อย่างไรก็ดกี ลบั พบวา่ การสอนด้วยวิธกี ารโฟนกิ สเ์ พยี งอย่างเดียวน้ันผลยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจนัก เนื่อง

ด้วยข้อจำกัดบางประการของการอ่านออกเสียงคำศพั ท์ (คนึงรัตน์ งามเกียรติขจร 2560, 98) เช่นคำ

5

ว่า one ซึ่ง ออกเสียงว่า /วัน/ โดยใช้เสียงสระ /อะ/ ในขณะที่ bone หรือ tone กลับออกเสียง /
โบน/ และ /โทน/ ตามลำดับ ซ่ึงใช้เสียงสระ /โอ/ ในการออกเสยี ง จากการทผี่ ู้วจิ ยั ได้จดั การเรียนการ
สอนวิชาภาษาอังกฤษพบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดละไม ประสบ
ปัญหาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านเวลา และจำนวนนักเรียนในห้อง
ที่มีมากกว่า 20 คนต่อหนึ่งห้อง ทำให้การดูแลช่วยเหลือของครูผู้สอนทำได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับ
นักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถผสมคำออกมาเป็นเสียงได้ถูกต้อง เนื่องจากไม่สามารถจำเสียงของ

ตัวอักษรบางตัวได้โดยเฉพาะเสียงพยัญชนะแบบทวิอักษร (Consonant digraph) เช่น ch /ʧ/
th/ð/ และเสียงทีเ่ หมือนกันแต่เขียนรูปสระต่างกนั เช่น เสียงเออร์ /ɜː/ มีรูปสระที่ออกเสยี งนี้ได้ 3

รูป คอื er ir และ ur สงิ่ เหล่าน้ที ำใหน้ ักเรียนขาดความม่นั ใจในการอ่านสง่ ผลกระทบต่อการเรียนรู้ใน
ระดับชั้นที่สูง เพราะหนังสือประกอบการเรียนการสอนนั้นยากขึ้นตามลำดับ และส่งผลให้ทักษะการ
ออกเสียงทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษต่ำลง จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญที่ควรได้รับการพัฒนา
ทักษะการอ่านข้ึน จากความสำคัญและความจำเป็นดงั กล่าวผ้วู ิจัยจึงมีความสนใจจะนำวิธีการสอนท้ัง
สองวิธีคือการสอนโดยใช้กิจกรรมโฟนิกส์และการสอนแบบท่องจำควบคู่กันไปเพื่อแก้ปัญหา จุดอ่อน
ของกันและกัน เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการอ่านออกเสียงและการสะกดคำที่ดีขึ้น และมีผลสัมฤทธ์ิ
ทางการเรยี นท่สี งู ขึ้นตอ่ ไป

1.2 วัตถปุ ระสงค์การวจิ ัย

1.2.1 เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ผสมผสานการสอนแบบท่องจำ
คำศพั ท์ ของนกั เรยี นระดับช้นั ประถมศกึ ษาปที ่ี 3 ใหม้ ปี ระสทิ ธิภาพตาม เกณฑ์ 80/80

1.2.2 เพอื่ เปรียบเทียบทักษะการอา่ นออกเสียงกอ่ นและหลงั การเรยี นด้วยกจิ กรรมการเรียน
การสอน แบบโฟนกิ สผ์ สมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์ ในรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น
ประถมศกึ ษาปที ี่ 3

1.2.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์
ภาษาองั กฤษดว้ ยสือ่ โฟนิกสผ์ สมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์

1.3 สมมติฐานของการวจิ ัย

1.3.1 ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ผสมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์มี
คณุ ภาพผ่านเกณฑ์ 80/80

1.3.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถติ ทิ รี่ ะดับ .05

6

1.3.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ผสมผสาน
แบบท่องจำศพั ทเ์ ฉพาะ โดยรวมอยู่ในระดับมากทส่ี ดุ

1.4 ขอบเขตการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ผสมผสานการสอนแบบ
ทอ่ งจำคำศัพท์ โดยมีขอบเขตการวิจยั ดงั นี้

1.4.1 ประชากรและกล่มุ ตัวอยา่ ง
ประชากร
ประชากรในงานวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดละไม
อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์
ธานี กระทรวงมหาดไทยภาคเรียนที่ 1 ปีการศกึ ษา 2564 จำนวน 2 ห้องเรยี น นกั เรยี นท้ังสน้ิ 78 คน

กลุ่มตัวอยา่ ง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1 โรงเรียน
เทศบาล ๑ วดั ละไม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสรุ าษฎร์ธานี ภาคเรียนท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2564 จำนวน 1
ห้องเรียน นกั เรียนทัง้ สน้ิ 38 คน ซง่ึ ได้มาโดยวิธกี ารสุ่มอยา่ งงา่ ย (Simple Random Sampling) โดย
ใชห้ อ้ งเรียนเปน็ หน่วยสุ่ม

1.4.2 ตัวแปรท่ศี กึ ษา
ตวั แปรตน้ : กจิ กรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกสผ์ สมผสานการสอนแบบทอ่ งจำคำศัพท์
ตวั แปรตาม: ทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ

1.4.3 ขอบเขตของเนอื้ หา
เนอ้ื หาวชิ าภาษาอังกฤษพ้นื ฐาน ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๑ วดั ละไม กลุ่ม
สาระการเรียนร้ภู าษาตา่ งประเทศ (ภาษาองั กฤษ) ช้นั ประถมศกึ ษาปที ี่ 3 ตวั ชวี้ ัดช้ันปที ี่ 3 มาตรฐาน
ต. 1.1 ป.3/2 อ่านออกเสียงคำ สะกดคำ อ่านกลุ่มคำ ประโยค และบทพูดเข้าจังหวะ (chant) ง่ายๆ
ถูกตอ้ งตามหลักการอา่ น มาตรฐาน ต. 1.1 ป.3/2 เลอื ก ระบภุ าพ หรือสญั ลกั ษณ์ ตรงตามความหมาย
ของกลุ่มคำและประโยคที่ฟัง และมาตรฐาน ต. 2.2 ป.3/1 บอกความแตกต่างของเสียง ตัวอักษร คำ
กลมุ่ คำ และประโยคง่ายๆ ของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย บูรณาการกับการสอนโฟนิกส์ในการ
ออกเสยี งภาษาอังกฤษ ท้งั การออกเสยี งพยญั ชนะ สระ ท่เี ปน็ ไปตามกฎและนอกเหนอื กฎเกณฑ์

7

1.4.4 ระยะเวลา
ระยะเวลาในการดำเนินการวิจยั คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ตั้งแต่เดือน มิถุนายน
พ.ศ.2564 ถงึ เดอื นกันยายน พ.ศ. 2564 โดยทำการสอน 2 คาบตอ่ สปั ดาห์ จำนวน 12 คาบ คาบละ
60 นาที

1.5 กรอบแนวคดิ ของการวจิ ยั

การวิจัย ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ ผสมผสานการสอนแบบ
ท่องจำคำศัพท์ที่มีต่อทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีท่ี 3
โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดละไม ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี จากเอกสาร และงานวิจัยท่ี
เก่ียวขอ้ ง ดงั ภาพที่ 1กรอบแนวคดิ ของการวิจัย

ตวั แปรอสิ ระ ตวั แปรตาม

การจดั กิจกรรมการเรียนการ - ทักษะการออกเสยี งภาษาองั กฤษ
สอนแบบโฟนิกส์ ผสมผสานการ - ความพึงพอใจของนักเรยี นต่อกจิ กรรมการเรียนการสอน
แบบโฟนิกส์
สอนแบบท่องจำคำศัพท์

ภาพท่ี 1.5.1 กรอบแนวคดิ ของการวจิ ัย

1.6 นยิ ามศัพทเ์ ฉพาะ

เพอ่ื ใหเ้ กดิ ความรู้ความเขา้ ใจตรงกนั ดงั น้นั ผวู้ จิ ยั จงึ ได้กำหนดนยิ ามศัพท์เฉพาะไวด้ งั น้ี

1.6.1 โฟนิกส์ หมายถึง การฝึกอ่านออกเสียงที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
เสยี ง และรปู ร่างของตวั อกั ขระนัน้ ๆ และสามารถท่จี ะรวมเสยี งตา่ งๆ ออกมาเปน็ คำไดโ้ ดยใชก้ ฎเกณฑ์
ทางการออกเสียงเปน็ ตัวกำหนด

1.6.2 กิจกรรมการเรียนการสอนโฟนิกส์ หมายถึง บทเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการศึกษา
และอ้างอิงแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโฟนิกส์ และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาภาษาอังกฤษ โดย
เนอื้ หาภายในประกอบดว้ ย

บทเรียนโฟนิกส์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบ่งเป็น 6 หน่วยการสอน คือ 1. การเรียนรู้เสียงและการ
เขียนตัวอักษร (Learning the Letter Sounds and Formation) 2.การผสมเสียงและการระบุเสียง
ในคำศัพท์ (Identifying and Blending Sounds in Words) 3.การเรียนรู้เสียงสระและพยัญชนะ
สองตัวที่อยูต่ ดิ กนั (Vowel digraphs & Consonant digraphs) 4.การเรียนรูเ้ สียงพยัญชนะควบคล้ำ
(Consonant Clusters) 5.การเรียนรู้ตัวสะกด (Final Consonants) และ 6.การเรียนรู้การอ่าน
คำศพั ทท์ ่ไี ม่เป็นไปตามกฏการอา่ นแบบโฟนิกส์หรอื คำศัพทแ์ สนกล (Learning Tricky Words)

8

1.6.3 ทักษะการอ่านและการรู้หนังสือ (Reading and Literacy) คือ ความสามารถในการ
ฟัง พดู อ่าน และเขยี น

1.6.4 ผู้เรียน หมายถึง กลุ่มเป้าหมายที่ผู้วิจัยทำการศึกษาทดลองใช้บทเรียนโฟนิกส์ นั่นคือ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ที่เรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564 ของ
โรงเรยี นเทศบาล ๑ วัดละไม อำเภอเกาะสมุย จังหวดั สุราษฎรธ์ านี จำนวน 38 คน
1.6.5 คำศัพท์ หมายถึง คำศัพท์ภาษาอังกฤษต่างๆ ที่ไม่เป็นไปตามกฏเกณฑ์การอ่านออกเสียงหรือ
การสะกดโดยใช้หลักการของโฟนิกส์ เช่น ตัวอักษร o ตามหลักการของโฟนิกส์นั้นจะออกเสียงว่า
/เอาะ/ เช่น octopus /ออค-ทะ-พัส/ แต่ในคำว่า one /วัน/ ตัว 0 จะเป็นเสียง /อะ/ หรือในคำว่า
bone /โบนดฺ/ ตัว 0 ในที่นี้จะออกเสียง /โอ/ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตัว 0 จากทั้งสามคำนี้ออกเสียง
แตกต่างกันอย่างสนิ้ เชิง ซง่ึ จำเป็นท่ีจะต้องท่องจำคำศัพทเ์ หล่าน้ีควบคู่ไปกับการเรยี นด้วยบทเรียนโฟ
นิกส์

1.6.6 ทวิอักษร (Consonant digraphs) หมายถึง พยัญชนะ (ตัวอักษรที่ไม่ใช่ a,e,i,o,u)
ต้ังแต่ 2 ตวั ขน้ึ ไปทอ่ี ยู่ติดกันแลว้ เกิดเป็นเสียงใหม่ โดยไมไ่ ดเ้ กดิ จากเสียงดั้งเดิมของแต่ละตัวอักษรมา
รวมกัน เช่น ch ออกเสียง เฉอะ ck ออกเสียง เคอะ (เหมือนเสียงของตัว c และ k เดี่ยวๆ) sh ออก
เสียง เชอะ th ออกเสียง ธ (เกิดจากเป่าลมขณะที่ลิ้นอยู่ระหว่างฟันบนและฟันล่าง) wh ออกเสียง
เฮวอะ(/hw/) และ wr ออกเสยี ง เหรอะ

1.6.7 ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ผสมผสานการสอนแบบ
ท่องจำคำศัพท์ หมายถึง ชุดฝึกทักษะการออกเสียงคำภาษาอังกฤษที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อช่วย ให้
นกั เรยี นชน้ั ประถมศึกษาปีท่ี 3 เกดิ การเรยี นรู้ตามเกณฑท์ ี่ผวู้ จิ ยั ต้งั ไว้ คือ 80/80 โดยมีความหมายคือ

80 ตวั แรก เป็นคะแนนท่ีได้จากการทำแบบฝึกหัด หรือแบบทดสอบย่อยระหว่างเรียน โดยมี
ค่าเฉล่ียรอ้ ยละ 80 ขึ้นไป

80 ตัวหลัง เป็นคะแนนที่ได้จากการวัดทักษะในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ หลังจาก
เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ผสมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์ โดยมี
คา่ เฉล่ียรอ้ ยละ 80 ขึ้นไป

1.7 ประโยชน์ท่คี าดว่าจะได้รับ

1.7.1 ประโยชน์ต่อผู้เรียน คือ ผู้เรียนสามารถอ่านออกเสียงและเขียนสะกดคำศัพท์
ภาษาอังกฤษไดอ้ ย่างถกู ต้องซ่ึงเปน็ เคร่อื งมอื สำคญั ที่ใชใ้ นการเรยี นรู้ต่อไป

9

1.7.2 ประโยชน์ต่อครูผู้สอน คือ ครูผู้สอนสามารถนำเทคนิควิธีการสอนไปประยุกต์ใช้ให้
สอดคล้องกับบริบทในชั้นเรียนของตนเอง อีกทั้งยังสามารถช่วยแก้ปัญหาการอ่านสะกดคำและการรู้
หนังสือของผู้เรยี นได้

บทท่ี 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกย่ี วข้อง

เพื่อให้การศึกษาค้นควา้ บรรลุตามวตั ถปุ ระสงค์ ผ้วู ิจยั ไดท้ ำการศกึ ษาคน้ คว้าเอกสาร ขอ้ มูล
และงานวิจยั ทเี่ กี่ยวขอ้ งในหวั ข้อต่างๆ และได้แบ่งเปน็ ประเด็นต่างๆ ดงั น้ี

2.1 หลกั สตู รการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน พุทธศกั ราช 2551
2.1.1 สาระสำคญั ของการเรียนภาษาต่างประเทศ
2.1.2 สาระและมาตรฐานการเรยี นรู้
2.1.3 คุณภาพผู้เรียน
2.1.4 ตัวช้วี ัดและสาระการเรียนร้แู กนกลาง

2.2 ทักษะการรู้หนังสอื
2.2.1 ทักษะการรหู้ นงั สือ
2.2.2 การพฒั นาเพอ่ื ให้ได้มาซ่ึงทักษะการรูห้ นังสือ

2.3 โฟนกิ ส์
2.3.1 ความหมายของโฟนิกส์
2.3.2 การสอนโดยใชโ้ ฟนิกส์
2.3.3 วิธกี ารสอนแบบโฟนิกส์
2.3.4 ประเภทของวธิ กี ารสอนแบบโฟนกิ ส์
2.3.5 ขั้นตอนของวิธกี ารสอนแบบโฟนิกส์
2.3.6 จอลลี โฟนิกส์ (Jolly Phonics)
2.3.7 ข้อดีของวธิ ีการสอนแบบโฟนิกส์
2.3.8 ขอ้ เสยี ของวธิ ีการสอนแบบโฟนิกส์

2.4 แนวคดิ และทฤษฎเี กี่ยวกับการหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2
2.5 งานวจิ ัยที่เกี่ยวขอ้ ง

2.5.1 ตัวอย่างงานวจิ ัยทพ่ี ัฒนาการอา่ นออกเสยี งภาษาองั กฤษด้วยบทเรียนโฟนิกส์

2.1 หลกั สูตรการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน พุทธศักราช 2551

2.1.1 สาระสำคญั ของการเรียนภาษาต่างประเทศ (กระทรวงศกึ ษาธิการ 2551, 220-229)

11

ทำไมตอ้ งเรียนภาษาตา่ งประเทศ
ในสังคมโลกปัจจุบัน การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งใน
ชวี ติ ประจำวัน เนอ่ื งจากเปน็ เครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การ
ประกอบอาชีพ การสร้างความเขา้ ใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึง
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก นำมาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับ
ประเทศตา่ งๆ ชว่ ยพฒั นาผู้เรยี นให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อนื่ ดีขนึ้ เรยี นรแู้ ละเข้าใจความแตกต่าง
ของภาษา และวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การคิด สงั คม เศรษฐกจิ การเมือง การปกครอง
มีเจตคตทิ ่ดี ตี อ่ การใชภ้ าษาต่างประเทศ และใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการส่ือสารได้ รวมท้งั เข้าถึงองค์
ความร้ตู า่ งๆ ไดง้ า่ ยและกวา้ งข้นึ และมวี ิสัยทศั นใ์ นการดำเนนิ ชวี ติ
ภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ซึ่งกำหนดให้เรียนตลอดหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน คือ ภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น เช่น ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น
อาหรับ บาลี และภาษากลมุ่ ประเทศเพอื่ นบา้ น หรือภาษาอื่นๆ ให้อยใู่ นดลุ ยพนิ จิ ของสถานศึกษาที่จะ
จดั ทำรายวชิ าและจัดการเรยี นรู้ตามความเหมาะสม

เรียนรอู้ ะไรในภาษาตา่ งประเทศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ
สามารถใช้ภาษาตา่ งประเทศ สอื่ สารในสถานการณต์ ่าง ๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพ และศึกษา
ต่อ ในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของ
ประชาคมโลก และสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์
ประกอบดว้ ยสาระสำคัญ ดังนี้
ภาษาเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน แลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเหน็ ตีความ นำเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอดและความคดิ เหน็
ในเรือ่ งต่าง ๆ และสร้างความสัมพันธร์ ะหว่างบุคคลอยา่ งเหมาะสม
ภาษาและวัฒนธรรม การใช้ภาษาต่างประเทศตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
ความสัมพันธ์ ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ภาษา
และวฒั นธรรมของเจา้ ของภาษากับวฒั นธรรมไทย และนำไปใช้อยา่ งเหมาะสม
ภาษากับความสัมพนั ธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อ่ืน การใช้ภาษาตา่ งประเทศในการเช่ือมโยง
ความร้กู บั กลมุ่ สาระการเรยี นรอู้ ่นื เปน็ พนื้ ฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปดิ โลกทัศนข์ องตน
ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก การใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้ง
ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ชุมชน และสังคมโลก เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ ประกอบ
อาชพี และแลกเปล่ียนเรยี นร้กู ับสงั คมโลก

12

2.1.2 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสอ่ื สาร

มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความ

คิดเหน็ อย่างมีเหตผุ ล

มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดง

ความรู้สึก และความคดิ เห็นอยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ

มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ

โดยการพูดและการเขียน

สาระท่ี 2 ภาษาและวฒั นธรรม

มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และ

นำไปใช้ ไดอ้ ยา่ งเหมาะสมกับกาลเทศะ

มาตรฐาน ต 2.2 เขา้ ใจความเหมือนและความแตกต่างระหวา่ งภาษาและวฒั นธรรมของเจ้าของ

ภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อยา่ งถูกตอ้ งและเหมาะสม

สาระท่ี 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรยี นรอู้ นื่

มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชอื่ มโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรยี นรู้อื่น และ

เปน็ พ้ืนฐานในการพฒั นา แสวงหาความรู้ และเปดิ โลกทัศน์ของตน

สาระท่ี 4 ภาษากบั ความสมั พนั ธ์กับชมุ ชนและโลก

มาตรฐาน ต 4.1 ภาษาตา่ งประเทศในสถานการณ์ตา่ งๆ ทง้ั ในสถานศกึ ษา ชมุ ชน และสงั คม

มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบ

อาชพี และการแลกเปลี่ยนเรียนร้กู ับสังคมโลก

2.1.3 คณุ ภาพผ้เู รียน
จบช้ันประถมศกึ ษาปีท่ี 3

1. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้องที่ฟัง อ่านออกเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ ประโยคง่ายๆ และ
บทพูดเข้าจังหวะง่ายๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน บอกความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟังตรงตาม
ความหมาย ตอบคำถามจากการฟงั หรอื อ่านประโยค บทสนทนาหรือนิทานงา่ ยๆ

2. พูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆ ง่ายๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง ใช้คำสั่ง และคำ
ขอรอ้ งงา่ ยๆ บอกความตอ้ งการง่ายๆ ของตนเอง พดู ขอและให้ข้อมลู เกยี่ วกับตนเอง และเพื่อน บอก
ความรู้สกึ ของตนเองเกยี่ วกับสิง่ ตา่ งๆ ใกล้ตวั หรือกจิ กรรมตา่ งๆ ตามแบบทฟี่ งั

3. พูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว จัดหมวดหมู่คำตามประเภทของบุคคล สัตว์
และส่ิงของตามทฟ่ี งั หรอื อ่าน

13

4. พูดและทำท่าประกอบ ตามมารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา บอกชื่อและ
คำศพั ทง์ ่ายๆ เกีย่ วกบั เทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลอง และชีวิตความเป็นอยู่ของเจา้ ของภาษา เข้าร่วม
กจิ กรรมทางภาษาและวฒั นธรรมที่เหมาะกบั วยั

5. บอกความแตกต่างของเสยี งตัวอกั ษร คำ กลุ่มคำ และประโยคงา่ ยๆ ของภาษาต่างประเทศ
และภาษาไทย

6. บอกคำศัพทท์ ี่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรยี นรอู้ ืน่
7. ฟัง/พดู ในสถานการณ์ง่ายๆ ทีเ่ กิดขน้ึ ในห้องเรยี น
8. ใชภ้ าษาต่างประเทศ เพอ่ื รวบรวมคำศัพทท์ ่ีเกี่ยวข้องใกล้ตัว
9. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด) สื่อสารตามหัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง
ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว อาหาร เครื่องดื่ม และเวลาว่างและนันทนาการ ภายใน
วงคำศพั ท์ประมาณ ๓๐๐-๔๕๐ คำ (คำศัพท์ท่เี ปน็ รูปธรรม)
10. ใชป้ ระโยคคำเดยี ว (One Word Sentence) ประโยคเดีย่ ว (Simple Sentence) ในการ
สนทนาโต้ตอบตามสถานการณ์ในชวี ิตประจำวนั

2.1.4 ตัวช้ีวัดและสาระการเรยี นรูแ้ กนกลาง
สาระท่ี 1 ภาษาเพ่ือการสอ่ื สาร
มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรอื่ งท่ีฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความ

คดิ เหน็ อย่างมเี หตผุ ล

ชัน้ ตวั ช้วี ดั สาระการเรยี นรูแ้ กนกลาง

1. ปฏิบัติตามคำสั่ง คำสงั่ และคำขอรอ้ งที่ใช้ในหอ้ งเรยี น

และคำขอร้องที่ฟัง - คำสงั่ เชน่ Give me a/an.../Draw and color the picture./ Put

หรอื อา่ น a/an…in/on/under a/an…/ Don’t eat in class. etc.

- คำขอร้อง เช่น Please take a queue./ Take a queue, please./

Don’t make a loud noise, please./ Please don’t make a loud

noise./ Can you help me, please? etc.
ป.3

2. อ่านออกเสียงคำ คำ กลุ่มคำ ประโยคเดี่ยว และบทพดู เข้าจังหวะ และการสะกดคำ

สะกดคำ อ่านกลุ่มคำ การใชพ้ จนานกุ รม

ประโยค และบทพูด หลักการอา่ นออกเสยี ง เช่น

เข้าจังหวะ (chant) - การออกเสียงพยญั ชนะตน้ คำและพยญั ชนะทา้ ยคำ

ง่ายๆ ถูกต้องตาม - การออกเสยี งเนน้ หนกั -เบา ในคำและกลมุ่ คำ

หลกั การอ่าน - การออกเสยี งตามระดบั เสยี งสงู -ต่ำ ในประโยค

14

ช้ัน ตัวชวี้ ดั สาระการเรยี นรแู้ กนกลาง

3. เลือก/ ระบุภาพ กลมุ่ คำ ประโยคเดี่ยว สญั ลักษณ์ และความหมายเกีย่ วกับตนเอง
หรือสัญลักษณ์ตรง ครอบครวั โรงเรียน สง่ิ แวดล้อมใกล้ตวั อาหาร เครอ่ื งดืม่ และ
ตามความหมายของ นันทนาการ เปน็ วงคำศพั ท์สะสมประมาณ ๓๕๐-๔๕๐ คำ (คำศัพท์
กลุ่มคำและประโยคที่ ที่เป็นรูปธรรรม)
ฟัง

4. ตอบคำถามจาก ประโยค บทสนทนา หรือนทิ านที่มภี าพประกอบ

ก า ร ฟ ั ง ห ร ื อ อ ่ า น ประโยคคำถามและคำตอบ

ประโยค บทสนทนา - Yes/No Question เช่น

หรือนิทานง่ายๆ Is/Are/Can…? Yes,…is/are/can./

No,…isn’t/aren’t/can’t. etc.

- Wh-Question เชน่

What is this/that/it? This/that/It is a/an…

How many…? There is/are…

Where is/are…? It is in/on/under…

They are … etc.

สาระที่ 1 ภาษาเพ่ือการสือ่ สาร
มาตรฐาน ต 1.2 มที ักษะการส่ือสารทางภาษาในการแลกเปลย่ี นข้อมลู ข่าวสาร แสดง
ความร้สู กึ และความคิดเห็นอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ

ชน้ั ตวั ชีว้ ดั สาระการเรียนรแู้ กนกลาง

1. พูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆ ง่ายๆ ใน บทสนทนาที่ใช้ในการทักทาย กล่าวลา ขอบคุณ

การสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบท่ี ขอโทษ และประโยค/ข้อความที่ใช้แนะนำตนเอง

ฟงั เ ช ่ น Hi/ Hello/ Good morning / Good

afternoon / Good evening/ I am sorry. / How

ป.3 are you? I’m fine.Thank you. And you? / Nice
to see you. / Nice to see you too. / Goodbye.

/Bye. / See you soon/ later. / Thanks. / Thank

you. / Thank you very much. / You’re

welcome. etc.

2. ใช้คำสั่งและคำขอร้องง่ายๆ ตาม คำสั่งและคำขอรอ้ งทใี่ ช้ในหอ้ งเรยี น

แบบทฟี่ ัง

15

ช้ัน ตัวช้ีวดั สาระการเรียนร้แู กนกลาง

3. บอกความต้องการง่ายๆ ของ คำศัพท์ สำนวน และประโยคที่ใช้บอกความต้องการ

ตนเองตามแบบท่ีฟงั เช ่ น Please,…/ May I go out?/ May I come in?

etc.

4. พูดขอและให้ข้อมูลง่ายๆ เกี่ยวกับ คำศัพท์ สำนวน และประโยคทใี่ ช้ขอและให้ข้อมลู

ตนเอง และเพอ่ื นตามแบบที่ฟัง เกี่ยวกับตนเอง และเพอ่ื น เช่น

What’s your name? My name is…

How are you? I am fine.

What time is it? It is one o’clock.

What is this? It is a/an…

How many…are there? There is a/an…/There

are…

Who is…? He/She is…

etc.

5. บอกความรู้สึกของตนเองเก่ียวกบั คำและประโยคที่ใชแ้ สดงความรู้สึก เช่น ดีใจ เสียใจ

สิ่งต่างๆ ใกล้ตัว หรือกิจกรรมต่างๆ ชอบไม่ชอบ เช่น Yeah!/ Great! / Cool! / I’m

ตามแบบท่ฟี งั happy. / I like cats. / I don’t like snakes. etc.

สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสอ่ื สาร
มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลขา่ วสาร ความคดิ รวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องตา่ งๆ โดยการ
พูด และการเขียน

ชั้น ตวั ชีว้ ัด สาระการเรยี นรู้แกนกลาง

1. พูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและ คำและประโยคที่ใช้ในการพูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับ

เรอื่ งใกล้ตัว ตนเอง บุคคลใกล้ตัว และเรื่องใกล้ตัว เช่น บอก

ชื่อ อายุ รูปร่าง ส่วนสูง เรียกสิ่งต่างๆ จำนวน

1-50 สี ขนาด สถานที่อยูข่ องสงิ่ ของ

ป.3 2. จัดหมวดหมู่คำตามประเภทของ ค ำ ก ล ุ ่ ม ค ำ ท ี ่ ม ี ค ว า ม ห ม า ย เ ก ี ่ ย ว กั บ

บุคคล สตั ว์ และสิ่งของ ตามทีฟ่ งั หรอื บุคคล สัตว์ และสิ่งของ เชน่ การระบ/ุ เช่ือมโยง
อ่าน ความสัมพันธ์ของภาพกับคำ หรือกลุ่มคำ โดยใช้

ภาพ แผนภูมิ แผนภาพ แผนผัง

16

สาระที่ 2 ภาษาและวฒั นธรรม
มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสมั พันธ์ระหว่างภาษากบั วัฒนธรรมของเจา้ ของภาษา และนำไปใช้ได้
อยา่ ง เหมาะสมกบั กาลเทศะ

ชั้น ตวั ชี้วัด สาระการเรยี นร้แู กนกลาง

1. พูดและทำท่าประกอบ ตาม มารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เช่น
มารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของ การขอบคุณ ขอโทษ การใช้สีหน้าท่าทาง
ภาษา ประกอบการพูดขณะแนะนำตนเอง การสมั ผสั มือ

การโบกมือ การแสดงอาการตอบรับหรือปฏิเสธ

ป.3 2. บอกชื่อและคำศัพท์ง่ายๆ เกี่ยวกับ คำศัพท์เกี่ยวกับเทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลอง
เทศกาล/วันสำคัญ/งานฉลอง และ และชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เช่น วัน
ชีวติ ความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา คริสต์มาส วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์ เครื่อง
แตง่ กาย อาหาร เคร่ืองด่มื

3. เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและ กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม เช่น การเล่น

วัฒนธรรมทเ่ี หมาะกบั วัย เกม การร้องเพลง การเล่านิทานประกอบท่าทาง

วันครสิ ตม์ าส วนั ขน้ึ ปใี หม่ วันวาเลนไทน์

สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมอื นและความแตกต่างระหวา่ งภาษาและวฒั นธรรมของเจ้าของ
ภาษากับภาษาและวฒั นธรรมไทย และนำมาใช้อยา่ งถูกตอ้ งและเหมาะสม

ชนั้ ตวั ชวี้ ัด สาระการเรยี นรแู้ กนกลาง

1. บอกความแตกต่างของเสียง ความแตกตา่ งของเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำ และ

ป.3 ตัวอักษร คำ กลุ่มคำ และประโยค ประโยคของภาษาตา่ งประเทศและภาษาไทย
ง่ายๆ ของภาษาต่างประเทศและ

ภาษาไทย

17

สาระที่ 3 ภาษากับความสมั พันธ์กบั กล่มุ สาระการเรียนร้อู ่นื
มาตรฐาน ต 3.1 ใชภ้ าษาตา่ งประเทศในการเชอ่ื มโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรยี นรู้อ่ืน และเปน็
พนื้ ฐานในการพฒั นา แสวงหาความรู้ และเปดิ โลกทัศน์ของตน

ชั้น ตวั ชี้วดั สาระการเรียนรแู้ กนกลาง

ป.3 1. บอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม คำศัพท์ท่ีเก่ยี วข้องกับกล่มุ สาระการเรยี นรูอ้ ืน่
สาระการเรยี นรอู้ ืน่

สาระท่ี 4 ภาษากบั ความสัมพนั ธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต 4.1 ใชภ้ าษาตา่ งประเทศในสถานการณต์ ่างๆ ทัง้ ในสถานศกึ ษา ชมุ ชน และสังคม

ชัน้ ตัวช้วี ัด สาระการเรียนรแู้ กนกลาง

ป.3 1. ฟัง/พูดในสถานการณ์ง่ายๆ ที่เกิดขึ้น การใช้ภาษาในการฟงั /พูดในสถานการณ์ง่ายๆ

ในห้องเรยี น ทเี่ กิดขนึ้ ในหอ้ งเรียน

สาระที่ 4 ภาษากับความสมั พนั ธก์ ับชมุ ชนและโลก
มาต3รฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเปน็ เคร่ืองมือพ้นื ฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ
และการแลกเปลย่ี นเรียนรู้กับสังคมโลก

ช้นั ตัวชว้ี ัด สาระการเรียนรูแ้ กนกลาง

ป.3 1. ใช้ภาษาต่างประเทศ เพื่อรวบรวม การใช้ภาษาต่างประเทศในการรวบรวม
คำศัพทท์ เ่ี กีย่ วข้องใกลต้ ัว คำศพั ท์ทเ่ี กีย่ วขอ้ งใกล้ตวั จากส่อื ต่างๆ

2.2 ทกั ษะการรูห้ นังสอื

2.2.1 ทักษะการร้หู นงั สือ
ทกั ษะการรู้หนงั สือ (Literacy) หมายถึง ความสามารถในการฟัง พูด อา่ น และเขยี น โดยจะ
เนน้ หนกั ไปที่การอ่านและการเขยี น ทกั ษะการรหู้ นงั สอื ที่ดีนน้ั ควรเกดิ ขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นไป
ตามลำดบั กลา่ วคือการเรียนร้ขู องผูเ้ รียนควรเร่มิ จากทักษะการฟงั โดยผูเ้ รยี นควรจะต้องฟงั เสยี งของ
ภาษาท่จี ะเรยี นรู้ให้มากทีส่ ุด จากนัน้ จะเริ่มเรยี นรูเ้ สียงของสง่ิ ท่ีฟงั และสามารถแยกแยะได้วา่ เสยี งแต่

18

ละเสยี งเปน็ อยา่ งไร เป็นเสียงที่มใี นภาษานั้นๆหรอื ไม่ และท้ายท่สี ดุ ผ้เู รยี นจะสามารถเลียนแบบเสียง
และถ่ายทอดเสียงทีไ่ ด้ยนิ จนเกิดเปน็ การสื่อสารข้ึน (แสงวิไล จารวุ าที, 2554 อา้ งถึงใน คนึงรัตน์ งาม
เกยี รติขจร 2560, 21)

2.2.2 การพัฒนาเพ่อื ใหไ้ ด้มาซึ่งทักษะการรหู้ นังสือ
ทักษะการอ่าน

2.2.2.1 แนวคิดและทฤษฎเี กี่ยวกับการอ่าน
การอ่านถอื เปน็ ทกั ษะที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิง่ ในระบบการศึกษา ซึ่งถอื เปน็ หัวใจสำคัญใน
การแสวงหาความรู้ การคิดสิ่งใหม่ๆ การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา และยิ่งไปกว่านั้น การอ่านยัง
ช่วยส่งเสริมความคิดทางด้านวชิ าการให้กับผู้เรียนทัง้ ภายในและภายนอกห้องเรียนได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
(ทศั นยี ์ เศรษฐพงษ,์ 2017)

2.2.2.2 การอา่ นออกเสียง
ภมู ิ หรุ าพนั ธ์ (อา้ งถึงใน สาริณี สวุ รรณพนั ธุ์ 2553, 31) ได้ใหค้ วามหมายถงึ ของการอ่าน
ออกเสียง (Pronunciation) ไวว้ า่ เปน็ การผสมเสียงเปน็ คำ และการผสมคำเปน็ ประโยค โดยมหี ลัก
สำคญั อยู่ 4 ประการ คือ

(1) การทำเสียงต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษใหถ้ ูกต้อง
(2) การผสมเสียงนนั้ ๆ เข้าเปน็ คำ
(3) การลงเสียงหนักให้ตรงพยางค์ในคำทม่ี ีมากกวา่ หน่งึ พยางค์
(4) การใชจ้ งั หวะหนกั เบาและเสยี งสงู ต่ำในวลแี ละประโยคไดอ้ ยา่ ง

เหมาะเจาะ
นอกจากน้ยี ังมีสิ่งอน่ื ๆ ท่ีต้องเรียนรู้ในการออกเสยี งภาษาอังกฤษ เช่น การกลายเสียงของคำ
(changes in pronunciation) การออกเสียงตามที่สะกด (spelling pronunciation) การออกเสียง
ที่เป็นมาตรฐาน (standard pronunciation) และหลกั สทั ศาสตร์ (phonetics principles)
ศาสตรา สหัสทัศน์ (2560, 69) ได้กล่าวถึง การออกเสียง (pronunciation) เอาไว้ว่า เป็น
ผลติ ผลของเสียง (production of sounds) ท่คี นเราสร้างขนึ้ เพือ่ ส่ือความหมาย รวมถงึ ลักษณะต่างๆ
ของคำที่นอกเหนือจากเสียงพยัญชนะและเสียงสระ (segments) ซึ่งเป็นสิ่งที่นักภาษาศาสตร์มองว่า
ไม่สามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจน (suprasegmental aspects) เช่น น้ำเสียง (intonation) การใช้
ถอ้ ยคำ (phrasing) การเนน้ เสยี งหนักเบา (stress) เวลา (timing) และจังหวะ (rhythm)
จากหลักการข้างต้นสรุปได้ว่า การอ่านออกเสียงนั้นเกิดขึ้นจากการผสมของหน่วยเสียงจน
เกิดเป็นคำ จากคำเป็นประโยค โดยได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อสื่อความหมาย นอกเหนือจากการออกเสียง
พยัญชนะ และเสียงสระแล้วยังรวมไปถึงการสื่อความในรูปแบบของน้ำเสียง การเน้นเสียงหนักเบา

19

จงั หวะในการออกเสียง การออกเสียงให้ถกู ต้องตามหลักสัทศาสตร์ นำไปสู่การสื่อสารท่ีจะทำให้ท้ังผู้
สง่ สารและผู้รบั สารเข้าใจตรงกนั

2.3 โฟนกิ ส์

2.3.1 ความหมายของโฟนิกส์
Heilman (อ้างถึงใน มาริสา พันเปรม 2561, 21-22) ได้กล่าวถึงวิธีการสอนโฟนิกส์ว่าเป็น
แนวทางหลกั ในการสอนการอา่ น ทจ่ี ะทำให้ผู้เรียนไดเ้ ข้าใจถงึ ตวั อกั ษรในคำท่ีแสดงถึงเสยี งเมื่อได้ออก
เสยี งคำนั้น ๆ รวมไปถึงเป็นการสอนเสียงทม่ี ีการเช่อื มโยงกับตัวอักษร หรอื การรวมกนั ของตวั อักษร
Tomlinson (อา้ งถงึ ใน อาจารี ศริ ริ ตั นศักด์ิ 2552, 11) กลา่ ววา่ โฟนิกส์ คอื การฝึกอ่านออก
เสียงที่ผู้เรยี นจะตอ้ งศึกษาถึงความสัมพันธร์ ะหวา่ งเสียง และรูปร่างของตวั อักขระนั้นๆ และสามารถที่
จะรวมเสียงต่างๆ เปน็ คำได้โดยใช้กฎเกณฑท์ างการออกเสยี งเปน็ ตัวกำหนด นอกจากนโี้ ฟนิกส์ ยังเป็น
วิธีการสำคัญในการสอนอา่ นเบ้อื งต้นอีกด้วย
Brahmanand (อ้างถึงใน อาจารี ศิริรัตนศักด์ิ 2552, 12) อธิบายว่า โฟนิกส์ คือ การเข้าใจ
เสียงที่ใช้ในแต่ละภาษา และถ่ายโยงเสียงสู่ตัวอักษร เพื่อให้สามารถอ่านได้อย่างคล่องแคล่วผู้เรียน
ต้องฝึกฝนการถา่ ยโยงจากตวั อักษรสเู่ สยี งและเสยี งสตู่ ัวอกั ษรจนใช้ได้อยา่ งอัตโนมตั ิ
กล่าวโดยสรุป คือ การออกเสียงตามหลักโฟนิกส์เป็นหลักการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ
โดยการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและตัวอักษร แล้วผู้เรียนสามารถนำเสียงมาเชื่อมโยงกันจน
เกิดเป็นคำ ซึ่งเป็นวิธีการสำคัญในการสอนอ่าน เป็นสิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านใน
ระดบั ต่อไป

2.3.2 การสอนโดยใช้โฟนกิ ส์
แนวทางการสอนโฟนิกส์มีความสำคัญต่อผู้เรียนในวัยเด็กเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งท่ี
สง่ เสรมิ พัฒนาทกั ษะการอ่านต้ังแต่เร่ิมต้นได้เปน็ อย่างดี หากผเู้ รยี นไดร้ ับการฝึกฝนการอ่านออกเสียง
ที่ถูกต้องตามหลักการอ่านโดยใชว้ ิธีโฟนกิ ส์ จะทำให้ผูเ้ รยี นเขา้ ใจความสมั พันธ์ของเสียงและตัวอักษร
จนกระทั่งสามารถถอดรหสั เสียง และออกเสยี งเปน็ คำได้ (มาริสา พนั เปรม 2561, 21)
Grant (อ้างถึงใน สพลเชษฐ์ ประชุมชยั และหทัยชนก อา่ งหิรัญ 2563, 277) กล่าวว่าการสอน
แบบโฟนกิ สท์ า้ ให้นกั เรยี นมีผลสมั ฤทธ์ใิ นการอ่านสูงกว่านักเรียนท่ีเรยี นด้วยวิธกี ารเรยี นการสอน
แบบเดิม (Whole language) ท้าให้ผเู้ รียนมคี วามรเู้ ก่ยี วกบั ตวั อักษร รูปแบบการสะกดคำและการ
เรยี นรคู้ ำศัพท์และมีพฒั นาการที่ดีขน้ึ ในด้านการอ่านออกเสียง สามารถออกเสียงภาษาองั กฤษได้อย่าง
ถกู ต้อง

20

2.3.3 วิธีการสอนแบบโฟนิกส์
วิธีการสอนแบบโฟนิกส์ (Phonics Method) คือ วิธีการสอนออกเสียงที่แสดงความสัมพันธ์
ระหว่างเสียงและตัวอักษรโดยใช้การออกเสียงเป็นตวั กำหนดโดยให้ความสำคัญกบั เสียงของตัวอักษร
และการสะกดคำ ซ่งึ เป็นจุดเรมิ่ ต้นในกระบวนการสอนอา่ นเบ้อื งต้น
เว็บสเตอร์ (อ้างถึงใน รุ่งอรุณ โรจน์รัตนาดำรง ไชยศรี 2560, 48) ได้นำวิธีการสอนแบบ
โฟนิกส์มาใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1783 โดยการสอนสะกดคำเป็นครั้งแรก เพื่อนำมาใช้
เป็นขั้นตอนในการสอนอ่านเริ่มต้น และในช่วง ค.ศ. 1890 รีเบกกา โปลลาด (Rebecca Pollard)
ได้นำวิธีการสอนแบบโฟนิกส์มาอธิบายเพิ่มเติมจนเป็นที่ยอมรับและทำให้วิธีนี้ได้รับความนิยม สูงสุด
ต้งั แตน่ ัน้ เปน็ ตน้ มา
การสอนเรื่องเสียง (Phonics) และสัทลักษณ์ทางเสียง (Phonetics) ถูกนำมาใช้ร่วมกัน
การสอนอ่านออกเสียงแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ทางเสียงและทำให้นักวิชาการวิจารณ์ว่าเป็นวิธีการ
สอนอ่านเบื้องต้นวิธีหนึ่งที่จะช่วยปรับปรุงการสอนอ่านได้ วิธีการสอนแบบโฟนิกส์จึงเป็นการสอนที่
เริ่มจากเสยี งของตวั อักษรและเปน็ การอธบิ ายการออกเสียงตามหลักภาษาศาสตร์

2.3.4 ประเภทของวิธกี ารสอนแบบโฟนกิ ส์
Harrisand Hodges (อา้ งถึงใน รุ่งอรุณ โรจนร์ ัตนาดำรง ไชยศรี 2560, 48-49) ได้แบง่ วธิ ีการ
สอนแบบโฟนิกสอ์ อกเป็น 11 ประเภท ได้แก่

2.3.4.1 การออกเสียงตามอักษร (Letters phonics) เป็นการสอนโดยเน้นออก
เสยี งของอกั ษรแตล่ ะตัว เปน็ หลกั

2.3.4.2 การสอนออกเสียงเป็นคำ (Whole-word phonics) เป็นการสอนอ่านเป็น
คำ โดยไม่แยกเสียงของตัวอกั ษรในคำ

2.3.4.3 การออกเสียงควบกล้ำ (Cluster phonics) เป็นการสอนเสียงที่เน้นเสียง
ควบกล้ำของตวั อกั ษร

2.3.4.4 การวิเคราะห์การออกเสียง (Analytic phonics) เป็นการสอนวิเคราะห์
เสยี งของตวั อักษรแต่ละตัว ซึ่งเป็นการอ่านออกเสยี งส่วนประกอบของ คำ

2.3.4.5 การสังเคราะห์การออกเสียง (Synthetic phonics) เป็นการสอนอ่านท่ฝี กึ
ให้นักเรยี นเรยี นรู้ เสียงของตวั อกั ษร การผสมตวั อักษรหรอื เรียกวา่ การ สะกดคำ

2.3.4.6 การออกเสียงแบบอุปนัย (Inductive phonics) เป็นการสอนโดยเริ่มจาก
การยกตัวอย่าง จากส่วนย่อย ๆ เป็นสิ่งแรก หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรยี น สรุปออกมาเป็นกฎ ซึ่งเป็นการ
เรียนจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม โดยเริ่มจากการสอนอ่านสะกดคำก่อน แล้วจึงมาสอนอ่านคำใน
ภายหลงั

21

2.3.4.7 การออกเสียงแบบนิรนัย (Deductive phonics) เป็นการสอนกฎหรือ
ข้อมูลเกี่ยวกับภาษา ให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งแรก หลังจากนั้นจึงยกตัวอย่างเสียงจากคำ นั้น ๆ เป็นการ
เรยี นจากสว่ นรวมไปหา ส่วนยอ่ ย โดยเรมิ่ สอนจากคำก่อนแลว้ จงึ มาสอนสะกดคำในภายหลัง

2.3.4.8 การออกเสียงโดยนยั (Implicit phonics) เปน็ การสอนคำเพิ่มเตมิ จากคำท่ี
กล่าวออกมาแล้ว โดยใชก้ ารตคี วามหมายจากถ้อยคำ

2.3.4.9 การออกเสียงที่ชัดเจน (Explicit phonics) เป็นการสอนกระบวนการออก
เสียงทีฝ่ ึกให้ผเู้ รียน ออกเสียงได้ชดั เจนและถกู ต้อง

2.3.4.10 การออกเสียงที่แท้จริง (Intrinsic phonics) เป็นวิธีการฝึกออกเสียงจาก
หนว่ ยเสยี งอยา่ งเป็นระบบ

2.3.4.11 การออกเสียงเพิม่ เติม (Extrinsic phonics) โดยใช้การสอนออกเสยี งเปน็
เครื่องมือช่วยในการ เรียนรู้เพิ่มเติมมากกว่าการเป็นส่วนหนึ่งในการสอน อ่าน มีการแยกแบบฝึกหัด
มาใชใ้ นการสอนซง่ึ เป็น ชว่ งเวลาเพมิ่ เติม

2.3.5 ขั้นตอนของวธิ ีการสอนแบบโฟนิกส์
แวคคา และคนอืน่ ๆ (Vacca et al., 2003 อ้างถึงใน รงุ่ อรุณ โรจนร์ ัตนาและดำรง ไชยศรี
2560, 49) ไดแ้ บ่งรปู แบบการสอนการออกเสยี งแบบโฟนิกส์ไว้ดังน้ี

2.3.5.1 การวิเคราะห์การออกเสยี ง (Analytic phonics) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จกั
เรียนร้แู ละวเิ คราะหเ์ สยี งของตวั อักษรแต่ละตวั นำไปสู่การ วิเคราะหเ์ สยี งของตัวอกั ษรในคำ แตล่ ะคำ
อย่างมี ระบบ เช่น ตัวอักษร b ในคำ ว่า bat อ่านออกเสียง /b/ เป็นการสอนที่เน้นการฝึกจาก
แบบฝึกหัดใน หนังสอื แบบเรียน

2.3.5.2 การเทียบเคยี งในการออกเสยี ง (Analogic phonics instruction) เป็นการ
สอนที่ต่อยอดมา จากการสอนวิเคราะห์การออกเสียง โดยผู้เรียนจะวิเคราะห์ส่วนประกอบของคำ
และเทียบเคียงการ ออกเสียงกับคำ ที่รู้แล้ว เช่น cat, rat, hat มี/a/ และ /t/ เป็นหน่วยเสียงท่ี
เหมือนกนั วธิ ีการน้มี กั ใช้ในการอ่านคำ ใหม่ท่ีไม่รู้จักและเป็นวิธีช่วยในการสะกดคำ

2.3.5.3 การสังเคราะห์การออกเสียง (Synthetic phonics) เป็นการสอนโดยเร่ิม
จากการสอนเสียงของ ตัวอักษรแต่ละตัว หลังจากนั้นจึงสอนการผสมเสียงกับตัวอักษร เพื่อให้ผู้อ่าน
สามารถอา่ นออกเสยี งได้ จดุ มงุ่ หมายของการสอนแบบนี้ คอื ทำใหผ้ ูเ้ รยี น เขา้ ใจเสียงของตัวอักษรแต่
ละตัวและผสมเสยี งจน สามารถท่จี ะออกเสียงคำนัน้ ๆ ได้ด้วยตนเอง

2.3.5.4 การอ่านแบบร่วมสมัย (Contemporary phonics) เป็นการสอนอ่านโดย
การนำเอาวิธีการ วิเคราะห์การออกเสียงและวิธีการสังเคราะห์การออกเสียงมาร วมกันและฝึกให้
นักเรียนประยุกต์ใช้ตามระดับความสามารถของตน เน้นให้นักเรียนได้อ่านเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น
บทกลอน เรอ่ื งเล่า เปน็ ต้น ท้ังนก้ี ารสอนอา่ นออกเสียงจะใช้เวลาไมเ่ กนิ รอ้ ยละ25ของเวลาในการสอน

22

ทั้งหมด เพื่อให้นกั เรยี นได้มโี อกาสในการฝึกฝนประสบการณ์อา่ นจรงิ กับบทอ่านที่มีความหลากหลาย
ทำใหน้ ักเรยี นมคี วามสขุ ในการอ่านมากย่งิ ขนึ้

2.3.6 จอลลี โฟนกิ ส์ (Jolly Phonics)
คริส จอลลี (Chris Jolly, 2021) กรรมการผู้จัดการและเป็นเจ้าของบริษัท Jolly Learning
เขาก่อตั้งบริษัทขึ้น ในปี ค.ศ. 1987 เขาได้พบกับซูลอยด์ (Sue Lloyd ผู้ก่อตั้ง Jolly Phonics) ใน
การประชมุ เลก็ ๆ ในปี ค.ศ.1989 ซงึ่ ซลู อยด์ได้ค้นพบวธิ ีการท่ดี ีในการสอนการอ่าน แต่ไม่มีใครรับฟัง
สองปีต่อมาคริสได้สนใจความคิดของซู ลอยด์ และได้พัฒนาหนังสือคู่มือโฟนิกส์ คริสตั้งเป้าหมายไว้
ว่าหนังสือคู่มือของเขานิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ซึ่งตอนนี้ก็เป็นเช่นนั้น มีหลายประเทศ
นำไปใช้ในโรงเรยี นของรัฐ เช่น แกมเบีย ไนจีเรีย เซเชลส์ โอมาน ฟิจิ ตรินแิ ดดและโตเบโก เซนต์ลูเซีย
และแอนติกา นอกจากนี้ยังใช้ในโรงเรียนส่วนใหญ่ในสาธารณรัฐไอร์แลนด์และโรงเรียนเอกชนส่วน
ใหญ่ในเมืองต่างๆเช่นอักกรา ลากอส ไคโร มุมไบ สิงคโปร์กัวลาลัมเปอร์ และฮ่องกง และอีกกว่า 80
ประเทศท่วั โลก
คริสเห็นความสำคัญของการประเมินผลภายหลังการสอนด้วยวิธีของโฟนิกส์และควรมีการ
เผยแพร่อย่างแพร่หลาย ปจั จบุ นั มีผนู้ ำวิธกี ารสอนโดยใช้ Jolly Phonics ไปทำวจิ ัยในระดับปริญญา
เอก 5 เล่มจากสป่ี ระเทศ รวมท้ังวิทยานพิ นธร์ ะดับปริญญาโทและการศึกษาอน่ื ๆ พบวา่ การสอนโดย
วธิ นี ี้ช่วยใหเ้ ด็ก ๆ เรยี นรทู้ ่ีจะอ่านได้เรว็ ขึ้นเป็นสองเทา่ และยังชว่ ยให้เด็กทุกคนมีความสามารถในการ
อ่านออกเขียนได้ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะพบเด็กที่มีอายุการอ่านต่ำกว่าอายุจริง นอกจากนี้เขาเห็นว่าใน
การสอนการอา่ นออกเขียนได้น้ัน อันดบั แรกเดก็ ๆ จำเปน็ ต้องเรยี นรู้การสะกดคำที่ถกู ตอ้ งเพื่อพัฒนา
คำศัพท์ ทักษะการใช้พจนานุกรม เครื่องหมายวรรคตอน และไวยากรณ์ ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ใน
ระดบั ทสี่ งู ขึน้
Sue Lloyd (ซู ลอยด)์ ได้คิดค้นวธิ ีการสอนท่ีเน้นการสอนอ่านควบคู่ไปกับการสอนเขียนและ
การสะกดคำ โดยใชค้ วามรูท้ างดา้ นสทั ศาสตร์ในการออกเสียงคำเปน็ พนื้ ฐานในการสอน ซึ่งเรยี กวา่ ชุด
การสอนจอลลี โฟนกิ ส์ ซู ลอยด์คน้ พบว่าการสอนแบบเดิมท่ีเน้นให้ผเู้ รียนใช้ความรู้และทักษะต่าง ๆ
ควบค่กู นั เพอื่ ท่จี ะชว่ ยทำความเขา้ ใจในการอ่าน เช่น ความรูด้ า้ นไวยกรณ์ บรบิ ทของสถานการณ์ หรือ
ประสบการณเดิมของผู้อ่านนั้นไม่สามารถที่จะช่วยให้นักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการการอ่านแล ะการ
เขยี นท่ีดีได้ ดงั นัน้ ซู ลอยด์จึงได้ทำการวจิ ัยโดยประยุกตใ์ ชก้ ารสอนการออกเสยี งทางสัทศาสตร์เข้ามา
ชว่ ยในการสอนอ่าน โดยท่ีนักเรียนจะได้เรียนรู้การออกเสียงและการผสมเสียงตัวอักษรในการอ่านคำ
รวมถงึ การเรียนรกู้ ารวิเคราะห์เสียง เพ่อื เชือ่ มโยงไปถึงตัวอกั ษรของเสียงท่ีอยู่ในคำได้ หลังจากการทำ
วจิ ัยในชั้นเรยี นมาเปน็ เวลาหลายปี ซู ลอยด์ จงึ ได้รวมรวมวธิ กี ารสอนดงั กลา่ วเพื่อตีพิมพ์เป็นคู่มือการ
สอน จอลลี่ โฟนิคส์ (The Phonics Handbook) เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2010 ซง่ึ ในปัจจุบันการสอน
แบบจอลลี่ โฟนิกส์ นี้ ได้รับความนิยมทั้งในประเทศอังกฤษ และในประเทศอื่นๆ อีกมากมาย เช่น
แคนนาดา นวิ ซีแลนด์ ออสเตรเลีย และเกาหลใี ต้ เป็นตน้ (อาจารี ศิริรัตนศักด์ิ 2552, 14)

23

สื่อการสอนจอลลี่โฟนิกส์นี้ สอนให้ผู้เรียนใช้เสียงของตัวอักษรในการอ่านและเขียนคำศัพท์
ประกอบไปด้วยขั้นตอนหลัก 5 ขั้นตอน คือ ขั้นการเรียนรู้เสียงตัวอักษร (Learning the Letter
Sounds) ขั้นการเรียนรู้วิธีการเขียนตัวอักษร (Learning Letter Formation) ขั้นการผสมเสียง
(Blending) ขั้นการระบุเสียงในคำศัพท์ (Identifying Sounds in Words) และขั้นในการสะกด
คำศัพท์ (Spelling Tricky Words)

เสียงของตัวอักษรทั้ง 26 ตัว รวมไปจนถึงเสียงพยัญชนะผสมและเสียงสระผสม จอลลี โฟ
นิคส์ แบ่งเสียงทั้งหมดออกเป็น 42 เสียง โดยไม่ได้เรียงลำดับตามตัวอักษร แล้วจัดหมวดหมู่
เรียงลำดับตามความยากง่ายในการสอน ในช่วงแรกของการจัดการเรียนการสอนนั้นแต่ละหมวดหมู่
จะประกอบไปด้วยทั้งพยญั ชนะและสระ ทง้ั นี้กเ็ พ่อื ใหผ้ ้เู รียนไดใ้ ชเ้ สียงของพยัญชนะและสระเหล่าน้ัน
ผสมเพือ่ ใหเ้ กิดคำศัพท์ได้ ตวั อกั ษรทีก่ ่อให้เกดิ ความสับสนได้งา่ ยจะถูกแยกหมวดหมู่ออกจากกัน เช่น
“b” เช่น “d” ตัวอักษรที่มีเสียงไม่ชัดเจนจะนำไปสอนในช่วงหลัง และสอนพยัญชนะเสียงเดี่ยวก่อน
พยญั ชนะเสยี งผสม โดยเร่มิ ต้นผสมคำดว้ ยการสอนเสียงพยัญชนะต้นกอ่ น

การแบง่ การออกเสียงจะแบง่ เปน็ เปน็ 7 กลุ่ม กลมุ่ ละ 6 เสยี งตามลำดบั ดงั นี้
1. s, a, t, i, p, n
2. ck, e, h, r, m, d
3. g, o, u, l, f, b
4. ai, j, oa, ie, ee, or
5. z, w, ng, v, little oo, long oo
6. y, x, ch, sh, voiced th, unvoiced th
7. qu, ou, oi, ue, er, ar

2.3.7 ข้อดีของวิธกี ารสอนแบบโฟนิกส์
วิธกี ารสอนแบบวธิ โี ฟนิกส์มีข้อดีคือ การใช้เสยี งของตวั อกั ษรเป็นเคร่ืองชว่ ยให้ร้จู ักคำ (Gray,
1965: 268 อ้างถึงใน รงุ่ อรณุ โรจนร์ ตั นาดำรง ไชยศรี 2560, 50) ซึง่ เป็นที่ยอมรบั โดยทว่ั ไปว่าเป็นวิธี
ที่ช่วยให้ออกเสียงคำต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ยังเป็นวิธีตามหลักตรรกวิทยาในการสอนอ่านคำ ที่ออก
เสียงเหมือนกัน ถ้าเปลี่ยนเป็นพยัญชนะอื่นมาประสมก็จะออกเสียงเดียวกัน เป็นวิธีสอนที่จัดลำดับ
ความยากง่ายและมีความสมบูรณ์ในตัวโดยคำนึงถึงส่วนเบื้องต้นของเสียงและการนำไปใช้ (Huey,
1912: 241-266) ซึ่งวิธีนี้ได้พัฒนาความสามารถในการอ่านตัวอักษรของคำใหม่ ๆ และออกเสียงโดย
ผสมเสียงต่าง ๆ เหล่านั้น ดังนั้นถ้าผู้เรียนออกเสียงของตัวอักษรได้ถูกต้องจะสามารถประสมคำได้
และสามารถอ่านคำได้ (Anderson and Dearborn1952, 205-208 อ้างถึงใน รุ่งอรุณ โรจน์รัตนา
ดำรง ไชยศรี 2560, 50)

24

2.3.8 ข้อเสียของวิธกี ารสอนแบบโฟนกิ ส์
การสอนด้วยวิธีโฟนิกส์ (Schonell 1946, 47 อ้างถึงใน รุ่งอรุณ โรจน์รัตนาดำรง ไชยศรี
2560, 50) มีข้อเสียคือ การอ่านออกเสียงพยัญชนะจะออกเสียง ได้ถูกต้องแม่นยำ เมื่อผสมกับสระ
หากพยัญชนะในคำอ่านเป็นอกี แบบหนึ่งอาจทำให้ผู้เรียนสบั สนได้ และผู้เรยี นจะไมเ่ ขา้ ใจความหมาย
ของคำ เพราะเน้นความสนใจไปที่เสียงมากกว่าการที่ผูเ้ รยี นจะต้องอ่านคำท่ีไม่มคี วามหมายซ้ำ ๆ อาจ
ทำ ให้เกิดความเบื่อหน่ายในการอ่านหนังสือได้ จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้มีการเสนอแนวทางการ
แก้ไข เพ่อื ให้วธิ กี ารสอนแบบโฟนิกส์น่าสนใจและสนุกย่ิงข้ึน โดยนำเกมเขา้ มาใช้ในระหวา่ งบทเรยี น สี
ของตวั อักษรและภาพประกอบชว่ ยในการจดจำ นำเขา้ มาสอดแทรกในกระบวนการเรียนการสอนโดย
ให้ตัวอักษรอยู่ในรูปภาพที่ต้องการแสดง วิธีนี้ผู้เรียนจะคุ้นเคยกับเสียงของพยัญชนะซึ่งปรากฏอยู่ใน
คำหลาย ๆ คำ ตวั อักษรทเี่ รียนจะปรากฏใหเ้ หน็ ในสว่ นตา่ ง ๆ ของคำท่แี ตกต่างกัน ความสนใจจะมุ่ง
ไปที่คำที่แตกต่างกันทั้งโครงสร้าง และเสียงจะเชื่อมโยงกัน โครงสร้างของพยัญชนะจะดึงดูดความ
สนใจมากขึ้นเนื่องจากมีสีเข้ามาใช้ในการสอน จะช่วยให้การสอนอ่านด้วยวิธีสอนแบบโฟนิกส์มี
ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยขยายทักษะทางภาษาได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย วิธีการสอนแบบโฟนิกส์จึง
เป็นวิธีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการสอนอ่านสำหรับเด็กเริ่มเรียนรู้ภาษา (Linnea C. and
Simone R, 2011 อ้างถึงใน รงุ่ อรณุ โรจนร์ ัตนาดำรง ไชยศรี 2560, 50)
สรุปได้ว่า การอ่านโฟนิกส์เป็นวิธีการอ่านโดยอาศัยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเสียง
และตัวอักษรหรือกลุ่มตวั อักษรเพ่ือออกเสยี ง โดยใชห้ ลกั ของการผสมเสียงให้เกิดคำ เม่ือเด็กอ่านคำที่
ไม่คุ้นเคยจะสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ดังกล่าว และสามารถอ่านคำน้ัน ๆ ได้ด้วยตนเอง
วัตถุประสงค์ในการสอนโฟนิกส์ คือ เพื่อให้เด็กมีความสามารถในการถอดรหัสคำ เป็นการพัฒนา
ความสามารถในการอ่านของผู้เรียน การสะกดคำ และถอดรหัสเสียงของคำได้อย่างเป็นระบบ
เชื่อมโยงตัวอักษรกับเสียงของตัวอักษรได้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการเดา
คำศัพทค์ ำทีไ่ มค่ ุน้ เคยโดยการผสมเสยี งเขา้ ด้วยกันตามลำดับของตวั อกั ษรท่ปี รากฏในคำ

2.4 แนวคดิ และทฤษฎีเกีย่ วกับการหาประสทิ ธภิ าพตามเกณฑ์ E1/E2

ชัยยงค์ พรหมวงษ์ (2556, 7-13) กล่าวว่า เมื่อได้ผลิตสื่อหรือชุดการสอนแล้ว ก่อนนำไปใช้
จริงจะต้องนำสื่อหรือชุดการสอนที่ผลิตขึ้นไปทดสอบประสิทธิภาพ เพื่อดูว่าสื่อหรือชุดการสอนทำให้
ผู้เรียนมคี วามรู้เพิ่มขึน้ หรือไม่ มีประสิทธภิ าพในการชว่ ยให้กระบวนการเรยี นการสอนดำเนินไปอย่าง
มีประสิทธิภาพเพยี งใด มีความสัมพันธ์กับผลลพั ธ์หรอื ไม่ และผู้เรยี นมีความพึงพอใจตอ่ การเรียนจาก
สื่อหรือชุดการสอนในระดบั ใด ดังน้นั ผู้ผลิตส่ือการสอนจำเปน็ ต้องนำส่อื หรอื ชุดการสอนไปหาคุณภาพ
เรียกวา่ การทดสอบประสทิ ธภิ าพ (Developmental Testing)

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้เสนอแนวคิดการทดสอบประสิทธิภาพนวัตกรรมตามเกณฑ์
ประสิทธิภาพที่กำหนด เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอน และสื่อการสอนประเภทต่างๆ ยกเว้น
บทเรียนโปรแกรม ซ่งึ มคี วามเชื่อวา่ “การเรียนรเู้ ปน็ ระบบและเปน็ กระบวนการต่อเนื่อง” การกำหนด

25

เกณฑ์ประสิทธิภาพจึงต้องกำหนดจากผลการประเมินพฤติกรรมต่อเนื่อง (Transitional Behavior)
ซ่งึ ถอื ว่าเป็นกระบวนการ (Process) ที่เกดิ จากการประกอบกจิ กรรมกลมุ่ ได้แก่ การทำโครงการ หรือ
ทำรายงานเป็นกลุ่ม และรายงานบุคคล ได้แก่งานที่มอบหมาย และกิจกรรมอื่นใดที่ผู้สอนกำหนดไว้
และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (Products) ซึ่งถือว่าเป็นผลลัพธ์ (Output) ที่เกิดขึ้นจากการเรียนของ
ผเู้ รยี นโดยพจิ ารณาจากการสอบหลังเรยี น และการสอบปลายภาค

เกณฑ์ประสิทธิภาพ หมายถึง ระดับประสิทธิภาพของสือ่ หรือชุดการสอน ที่จะช่วยให้ผู้เรยี น
เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ผู้ผลิตสื่อหรือชุดการสอนจะพึงพอใจว่าหากสื่อหรือชุดการสอนมี
ประสิทธภิ าพถงึ ระดับน้นั แล้ว สอ่ื หรอื ชดุ การสอนนน้ั ก็มีคุณค่าที่จะนำไปสอนนักเรียน และคุ้มแก่การ
ลงทุนที่จะผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพกระทำได้โดยการประเมินผล
พฤติกรรมของผู้เรียน 2 ประเภท คือ พฤติกรรมต่อเนื่อง (กระบวนการ) จะกำหนดค่าประสิทธิภาพ
เป็น E1 = Efficiency of Process (ประสิทธิภาพของกระบวนการ) และพฤติกรรมสุดท้าย (ผลลัพธ์)
จะกำหนดค่าประสิทธิภาพเป็น E2 = Efficiency of Product (ประสิทธิภาพของผลลัพธ์) นั่นคือ
E1/E2 = ประสิทธิภาพของกระบวนการ/ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ตัวอย่าง 80/80 หมายความว่า
เมื่อเราเรียนจากสื่อหรือชุดการสอนแล้ว ผู้เรียนจะสามารถทำแบบฝึกปฏิบัติ หรืองานได้ผลเฉลี่ย
80% และประเมินหลังเรียนและงานสุดท้ายได้ผลเฉลี่ย 80% การที่จะกำหนดเกณฑ์ E1/E2 ให้มีค่า
เท่าใดนั้น ผู้สอนจะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม โดยพิจารณาพิสัยการเรียนที่จำแนกเป็นพุทธิ
พิสัย (Cognitive Domain) จติ พสิ ัย(Affective Domain) และทกั ษะพิสัย (Psychomotor Domain)
ในขอบข่ายพุทธิพิสัยเนื้อหาที่เป็นความรู้ความจำมักจะตั้งไว้สูงสุดแล้วลดต่ำลงมาคือ 90/90 85/85
80/80

ความจำเป็นที่จะต้องหาประสิทธิภาพ สำหรับผู้ใช้สื่อหรือชุดการสอน สื่อหรือชุดการสอนท่ี
ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพ จะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยสอนได้ดีในการสร้างสภาพการเรียนให้
ผู้เรียนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่มุ่งหวัง บางครั้งชุดการสอนต้องช่วยครูสอน บางครั้งต้องสอน
แทนครู เช่นในโรงเรียนที่มีครูคนเดียว ดังนั้น ก่อนนำสื่อหรือชุดการสอนไปใช้ ครูจึงควรมั่นใจว่าชุด
การสอนนั้นมีประสิทธิภาพในการช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนจริง การทดสอบประสิทธิภาพ
ตามลำดับขั้นจะช่วยให้เราได้สื่อหรือชุดการสอนที่มีค่าตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สำหรับผู้ผลิตสื่อหรือ
ชุดการสอน การทดสอบประสิทธิภาพจะทำให้ผู้ผลิตมั่นใจได้ว่า เนื้อหาสาระที่บรรจุลงในสื่อหรือชุด
การสอนมีความเหมาะสม ง่ายต่อการเข้าใจ อันจะช่วยให้ผู้ผลิต มีความชำนาญสูงขึ้น เป็นการ
ประหยัดแรงสมอง แรงงาน เวลาและเงินทองในการเตรียมตน้ แบบ

การทำวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design ที่ผู้วิจัยจัดทำในครั้งนี้เป็น
การศึกษาทดลองโดยใชก้ ล่มุ ตัวอย่างกลมุ่ เดยี ว มกี ารวัดผลตวั แปรตามก่อนและหลังใหส้ งิ่ ทดลองทำให้
ผ้วู ิจัยสามารถเปรียบเทียบการเปล่ยี นแปลงของตวั แปรตามก่อนและหลังการทดลองได้ การใช้เกณฑ์
มาตรฐาน E1/E2 เป็นเกณฑท์ ี่ใช้ในการเปรียบเทียบคะแนนท่ีไดจ้ ากการประเมินในกระบวนการเรียน
การสอน กับคะแนนที่ได้จากการสอบครั้งสุดท้าย (Final) หลังจากที่เรยี นจบเรื่องหรือผลการเรยี นร้ทู ี่

26

คาดหวังแต่ละข้อ ถ้าเป็นนักเรียนกลุม่ ที่เรยี นเก่งควรตั้งเกณฑ์ท่ี 90/90 ส่วน นักเรียนที่ค่อนข้างอ่อน
ควรใชเ้ กณฑ์ 70/70 หรือ 80/80 ขน้ึ อยูก่ บั ความยากงา่ ยของเน้อื หาสาระ

2.5 งานวจิ ยั ทเี่ กยี่ วข้อง

มีนักวิจัยหลายท่านเล็งเห็นถึงความสำคัญของหลักการสอนแบบโฟนิกส์ซึ่งเปน็ วธิ ีการสอนที่
สามารถช่วยให้ผู้เรียนอ่านคำในภาษาอังกฤษได้โดยอาศัยหลักการ และความสัมพันธ์ของเสียง
ตัวอักษร และได้ทำการศกึ ษาเกี่ยวกับการพฒั นาการอ่านด้วยการสอนแบบโฟนิกสไ์ ว้มากมาย ดังนี้

สุชาดา อินมี (2556, 141-148) ได้ศึกษาการพัฒนาการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วย
สื่อโฟนิกส์โปสเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดธงชัยธรรมจักร จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาส่ือการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษแบบโฟนกิ ส์
โปสเตอร์สำหรับฝึกทักษะการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มี
ประสทิ ธิภาพตามเกณฑ์ เพื่อเปรียบเทยี บความสามารถในการอา่ นออกเสียงคำศัพทภ์ าษาอังกฤษของ
นักเรียนก่อนและหลังได้รับการฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยสื่อโฟนิกส์
โปสเตอร์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการฝึกอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ด้วยสื่อโฟนิกส์โปสเตอร์ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 38 คน ผลการวิจัยพบว่าสื่อโฟนิกส์โปสเตอร์มี
ประสิทธิภาพ 78.17/76.752 ความสามารถในการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนและหลัง
ได้รับการฝึกทักษะการอ่านออกเสียงด้วยสื่อโฟนิกส์โปสเตอร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่ี
ระดับ .01 โดยหลังได้รับการฝึกทักษะด้วยสื่อโฟนิกส์โปสเตอร์ นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน
ออกเสียงสูงกว่าก่อนได้รับการฝึก และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการฝึกอ่านออกเสียงคำศัพท์
ภาษาอังกฤษด้วยสื่อโฟนิกส์โปสเตอร์อยู่ในระดับมากโดยเฉพาะในด้านภาพประกอบมีสีสันสวยงาม
น่าสนใจ และมจี ำนวนคำศพั ท์แต่ละชุดเหมาะสม

จรีวรรณ ชัยอารีย์เลิศ (2559, 11) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำภาษาอังกฤษ
โดยการฝกึ ประสมคำด้วยเสียงของพยญั ชนะ (Phonics) ของนักเรียนชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 2 โรงเรียน
สาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ผลการวิจัยพบว่าการ
พัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำภาษาอังกฤษ โดยการฝึกประสมคำด้วยเสียงของพยัญชนะ (Phonics)
ของนกั เรียนชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 2 ซงึ่ มนี กั เรยี นเขา้ รว่ มจำนวน 2 คน ในข้นั ต้นก่อน นกั เรียนจะได้รับ
การฝึกประสมคำด้วยเสียงของพยัญชนะ (Phonics) พบว่า นักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 มี
คะแนนก่อนเรียน ร้อยละ 35.83 และนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 มีคะแนนก่อนเรียน
43.33 ซึ่งอยู่ในระดับไม่ผา่ นเกณฑ์ แตเ่ ม่ือนกั เรยี นท้ังสองคนไดเ้ ข้ารว่ มการฝึกประสมคำดว้ ยเสียงของ
พยัญชนะ (Phonics) พบว่า นักเรียนชายชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2/4 มีคะแนนก่อนเรียน ร้อยละ 75
ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก และนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 มีคะแนนก่อนเรียน 80.33 ซึ่งอยู่ใน
เกณฑ์ยอดเยี่ยมตามตารางเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักเรียนทั้งมีทักษะการอ่านสะกดคำ
ภาษาอังกฤษดขี ้ึน

27

พิมพ์พร พวงชื่น และ วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ (2562, 26-28) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะการอ่าน
ออกเสียงและสะกดคำภาษาอังกฤษด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปัญหาคือ นักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขนั้ พน้ื ฐาน จำนวน 1 ใน 3 อา่ นหนังสอื ไมอ่ อก ผู้วิจยั จงึ ต้องการพฒั นาทักษะ
การอ่านออกเสียงและสะกดคำภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559
โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่งสงบ ตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ผลการวิจัยพบว่า
1) ค่าดัชนีประสิทธิผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์
เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคำภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนระดับช้ันประถมศึกษา
ปที ่ี 1 มคี า่ เท่ากบั 0.6771 แสดงวา่ นักเรียนมีคะแนนเพ่ิมขน้ึ จากคะแนนทดสอบก่อนเรยี นคิดเป็นร้อย
ละ 67.71 2) ผลการเปรยี บเทยี บทักษะการอา่ นออกเสยี งและสะกดคำของนกั เรยี นชน้ั ประถมศึกษาปี
ที่ 1 กับเกณฑ์ร้อยละ 75.00 พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75.00
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 3) ผลการวิเคราะห์ความพึง
พอใจของนักเรยี นท่ีมตี ่อการเรียนร้โู ดยใชช้ ดุ กจิ กรรมการเรยี นการสอนแบบโฟนิกส์เพ่ือส่งเสริมทักษะ
การอา่ นออกเสียงและสะกดคำ สำหรบั นกั เรยี นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยูใ่ นระดับพึงพอใจมาก โดยมี
ค่าเฉล่ยี เท่ากบั 4.53 และสวนเบ่ยี งเบนมาตรฐานเทา่ กบั 0.5

ประสิทธ์ิ เผยกลิ่น (2563, 159-161) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกด
คำพื้นฐานโดยใช้แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) กรณีศึกษา
นักเรียนระดบั ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 โรงเรยี นวดั มงคลรัตน์ ปัญหาคือ นกั เรยี นชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5
โรงเรียน วัดมงคลรัตน์ ไม่สามารถอ่านและเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษได้ ส่งผลให้นักเรียนมี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน
สะกดคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี
ประสิทธิภาพเท่ากับ 88.60/86.83 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน
สะกดคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี
ผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นหลงั เรียนสงู กว่ากอ่ นเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติทร่ี ะดับ .01

จากการรวบรวมและทบทวนวรรณกรรมทเ่ี กี่ยวข้องทำให้เห็นถึงสภาพของปัญหาท่ีคล้ายคลึง
กัน คือผู้เรียนไม่สามารถอ่านและเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษได้ จึงทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนภาษาอังกฤษต่ำ ซึ่งจะพบได้กับนกั เรียน/นกั ศึกษาในระดับช้ันตา่ งๆ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึง
ระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้งานวิจัยต่างๆ ที่ผู้วิจัยได้ศึกษามีการใช้วิธีการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวไว้
หลายวิธีเช่น การใช้กิจกรรมการสอนแบบโฟนิกส์ การสอนตามคู่มือครู การสอนโดยใช้ชุดฝึกการ
สะกดคำจากหนังสือ Standard English Grammar ของสำราญ คำยิ่ง หรือการสอนภาษาแบบ
องค์รวม และการสอนแบบการทอ่ งจำ เปน็ ตน้

บทท่ี 3

วธิ ดี ำเนินการวิจัย

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ผสมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์ ผู้วิจัยมี
วธิ ดี ำเนินการดงั ตอ่ ไปนี้

3.1 แบบแผนการวจิ ัย
3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.3 เครือ่ งมือท่ใี ชใ้ นการวิจยั
3.4 ข้นั ตอนการสรา้ งเครื่องมือ
3.5 การเกบ็ รวบรวมข้อมูล
3.6 การวเิ คราะห์ข้อมลู
3.7 สถติ ทิ ใ่ี ช้ในการวเิ คราะห์ขอ้ มูล

3.1 แบบแผนการวิจัย

แบบแผนการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบ Pre-Experimental Designs แบบ One Group Pretest-
Posttest Design

O1 X O2

สญั ลกั ษณที่ใช้ในรูปแบบการวจิ ัย
O1 หมายถงึ การทดสอบกอ่ นการจัดการเรยี นรู้ (Pretest)
X หมายถึง การจดั กจิ กรรมการเรยี นรูโ้ ดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนโฟนิกส์
O2 หมายถงึ การทดสอบหลังการจดั การเรยี นรู้ (Posttest)

3.2 ประชากรและกลมุ่ ตวั อย่าง

3.2.1 ประชากร
ประชากรในการวจิ ัยคร้งั น้ี คอื นกั เรียนชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 3 โรงเรยี นเทศบาล ๑ วดั ละไม อำเภอ
เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กระทรวงมหาดไทย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 ห้องเรียน นักเรียนทงั้ ส้นิ 78 คน
3.2.2 กลมุ่ ตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1 โรงเรียน
เทศบาล ๑ วดั ละไม อำเภอเกาะสมุย จงั หวัดสรุ าษฎร์ธานี ภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน

30

1 ห้องเรียน นักเรียนทั้งสิ้น 38 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)
โดยใช้ห้องเรยี นเป็นหนว่ ยสุ่ม

3.3 เครือ่ งมอื ทใ่ี ช้ในการวิจยั

3.3.1 แผนการจัดการเรียนรู้ เร่อื ง โฟนิกส์ ของนักเรยี นชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 แผน
ใชเ้ วลา 12 ช่วั โมง

3.3.2 แบบวัดทักษะการออกเสยี งภาษาองั กฤษของนักเรยี นชนั้ ประถมศึกษาปที ่ี 3 จำนวน 1
ฉบบั เป็นแบบปรนยั ชนิดเลอื กตอบ 3 ตวั เลอื ก จำนวน 30 ขอ้

3.3.3 แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์
ผสมผสานแบบทอ่ งจำคำศัพท์

3.4 ขนั้ ตอนการสรา้ งเคร่ืองมือ

การสรา้ งเคร่ืองมือในการวิจยั ผ้วู จิ ัยได้ดำเนินการดังต่อไปน้ี คอื
3.4.1 แผนการจดั การเรียนรู้
การสร้างและหาคุณภาพของแผนการจัดการเรยี นรู้ ผวู้ จิ ยั ได้ดำเนินการตามขัน้ ตอนตอ่ ไปน้ี
3.4.1.1 ศึกษาหลกั สตู รหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพนื้ ฐาน พทุ ธศักราช 2551

และหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล๑ วัดละไม คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระ
ภาษาต่างประเทศตามหลกั สูตรการศกึ ษาข้นั พืน้ ฐาน พุทธศกั ราช 2551 ชั้นประถมศกึ ษาปที ่ี 3

3.4.1.2 วเิ คราะหห์ ลกั สตู ร มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรยี นรู้ คำอธิบายรายวิชา
ตัวช้ีวัด และสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน เวลา 10 ช่วั โมง

3.4.1.3 ศึกษาแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อโฟนิกส์ จาก
เอกสารของนกั วิชาการหลาย ๆ ทา่ น รวมไปถึงงานวิจยั ที่เก่ยี วข้องทัง้ ในและตา่ งประเทศ

3.4.1.4 นําแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างข้ึนให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจแก้ไข
ความถูกต้อง ความครอบคลุม ความเหมาะสม และให้ข้อเสนอแนะ แล้วนําแผนการจัดการเรียนรู้มา
ปรับปรงุ แก้ไข

3.4.1.5 ส่งแผนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ประเมินความ
สอดคล้องของแผนการจัดการเรยี นรู้ ซึ่งในการศึกษาครั้งน้ีได้ค่าความสอดคล้องของแผน อยู่ระหว่าง
0.82 ถอื ไดว้ า่ แผนการจัดการเรยี นรู้ มคี วามสอดคลอ้ งในการนำไปใช้ ซ่งึ ผเู้ ช่ียวชาญมดี งั น้ี

(1) รองศาสตราจารย์ ดร. ณรัณ ศรีวิหะ อาจารย์ประจำหลักสูตร
ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวทิ ยาลัยตาปี ผู้เชยี่ วชาญคนที่ 1

(2) นางสาวกะรัตเพชร คงรอด ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา องคก์ ารบริหาร
ส่วนตำบลทา่ โรงช้าง ผูเ้ ช่ยี วชาญคนท่ี 2

31

(3) นางปณิตา นลิ ทัพ ตำแหนง่ ครู วทิ ยฐานะชำนาญการพเิ ศษ โรงเรียน
เทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎรธ์ านี ผูเ้ ชี่ยวชาญคนที่ 3

3.4.1.6 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญไป
ทดลองใช้กับนกั เรยี นชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 3 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน หากพบข้อบกพร่อง
จะตอ้ งนำไปแก้ไช

3.4.1.7 นำแผนการจัดการเรียนรูท้ ี่ปรับปรุงแก้ไขแลว้ จัดพิมพ์ฉบับสมบูรณ์ นำไป
ทดลองใชก้ บั กลุ่มตวั อย่างตอ่ ไป

3.4.2 แบบวดั ทักษะในการออกเสียงภาษาอังกฤษ
การสร้างและหาคุณภาพของแบบวัดทักษะในการออกเสียงภาษาอังกฤษ ของนักเรียนช้ัน
ประถมศกึ ษาปีที่ 3 ผวู้ ิจัยไดด้ ำเนนิ การตามข้ันตอน ดังน้ี

3.4.2.1 ศึกษาทฤษฎี หลักการสร้างแบบทดสอบวัดทักษะในการออกเสียง
ภาษาองั กฤษ (สมนึก ภทั ทิยธนี 2547, 44-54)

3.4.2.2 วิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อสร้าง
ข้อสอบใหต้ รงกับสงิ่ ท่ตี ้องการวดั

3.4.2.3 สร้างแบบวัดทักษะในการออกเสียงภาษาอังกฤษ เรื่อง โฟนิกส์ ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ให้
ครอบคลุมเนื้อหาและจุดประสงค์ที่กำหนด นำไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจแก้ไขความถูกต้อง ความ
ครอบคลมุ ความเหมาะสม และใหข้ ้อเสนอแนะ แล้วนาํ แผนการจัดการเรียนรมู้ าปรบั ปรงุ แก้ไข

3.4.2.4 นำไปให้ผู้เชยี่ วชาญประเมนิ วา่ มีความสอดคล้องกับตวั ชีว้ ดั หรอื ไม่ ซงึ่ มี
เกณฑ์ ดังน้ี

ให้คะแนน + 1 เมื่อแน่ใจวา่ ข้อสอบนัน้ วดั ไดต้ รงตามตวั ชวี้ ดั
ใหค้ ะแนน 0 เม่ือไมแ่ นใ่ จว่า ขอ้ สอบน้นั วัดได้ตรงตามตัวชว้ี ดั
ใหค้ ะแนน - 1 เม่ือแน่ใจวา่ ข้อสอบนนั้ วัดไม่ตรงตามตัวชี้วัด

3.4.2.5 นำผลการพิจารณาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญไปหาค่าดัชนีความ
สอดคลอ้ ง และปรับปรงุ แกไ้ ข ซึ่งควรมคี ่าดัชนีความสอดคล้องมากกวา่ หรอื เท่ากับ .50

3.4.2.6 นำแบบวัดทักษะในการออกเสียงภาษาอังกฤษท่ีปรับปรงุ แลว้ ไปทดลองกับ
นักเรยี นท่ีไม่ใช่กลมุ่ ตัวอย่างท่ใี ช้ทดลองจริง จำนวน 30 คน

3.4.2.7 นาํ แบบวดั ทกั ษะในการออกเสยี งภาษาอังกฤษ มาวิเคราะหห์ าคา่ ความยาก
ง่าย ค่าอำนาจ จําแนก แล้วคัดเฉพาะข้อสอบที่มีความยากง่ายอยู่ระหว่าง .20 - .80 และค่าอำนาจ
จาํ แนกต้ังแต่ .20 ข้ึนไป

32

3.4.2.8 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทักษะในการออกเสียงภาษาอังกฤษโดย
นำมาคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่า
ความเช่ือมนั่ เทา่ กบั 0.91

3.4.2.9 นาํ แบบวัดทกั ษะในการออกเสียงภาษาองั กฤษท่ีผ่านการตรวจสอบคุณภาพ
แล้วไปจัดพิมพ์เป็น ฉบับสมบูรณ์ และนําไปใช้วัดทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษกับกลุ่มตัวอย่าง
ตอ่ ไป

3.4.3 แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์
ผสมผสานแบบทอ่ งจำศัพท์

การสร้างแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์
ผสมผสานแบบทอ่ งจำศพั ทข์ องนกั เรียนชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี 3 ผู้วิจยั ไดด้ ำเนินการตามขนั้ ตอน ดังนี้

3.4.3.1 ศึกษาทฤษฎที เี่ ก่ยี วกับแบบวดั ความพงึ พอใจ และแบบประเมนิ แบบมาตรา
สว่ นประมาณคา่ (Rating Scale) ตามวธิ ีของลิเคิร์ท (Likert) โดยมเี กณฑ์ 5 ระดบั

3.4.3.2 สร้างแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
แบบโฟนิกส์ผสมผสานแบบท่องจำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้มาตราส่วน
ประมาณค่า (Rating Scale) ของลิเคิร์ท จำนวน 20 ข้อ เป็นข้อความเชิงบวกให้นักเรียนเลือกตอบ
ที่ตรงกบั ระดับความพงึ พอใจของตนเองมากที่สุด โดยมีระดับความพงึ พอใจ 5 ระดับ คือ

ระดับความพึงพอใจ 5 หมายถงึ มากที่สุด
ระดับความพงึ พอใจ 4 หมายถึง มาก
ระดับความพงึ พอใจ 3 หมายถึง ปานกลาง
ระดบั ความพงึ พอใจ 2 หมายถงึ นอ้ ย
ระดับความพึงพอใจ 1 หมายถงึ น้อยทสี่ ุด

3.4.3.3 นำแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ
โฟนิกส์ผสมผสานแบบท่องจำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้อาจารย์ที่ปรึกษาในการ
ทำวิจยั ตรวจสอบ แลว้ นำมาแก้ไข

3.4.3.4 นำแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ
โฟนิกส์ผสมผสานแบบท่องจำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่แก้ไขแล้วไปให้ผูเ้ ชี่ยวชาญ 3
ท่านตรวจหาค่าดชั นีความสอดคล้องของข้อคำถาม โดยมเี กณฑ์ ดงั น้ี

+1 = แน่ใจวา่ รายการข้อนน้ั มีความเหมาะสม
0 = ไม่แน่ใจว่ารายการข้อนัน้ มีความเหมาะสม
-1 = แน่ใจว่ารายการข้อน้นั ไมม่ ีความเหมาะสม

3.4.3.5 นำแบบประเมนิ ความพึงพอใจมาหาค่าความเทย่ี งตรงทางเนื้อหา
(Content Validity) ไดค้ ่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.95 ซ่งึ อยู่ในระดบั ท่สี ามารถนำไปใช้
ได้

33

3.4.3.6 นำแบบประเมินความพึงพอใจมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยวิธี
ของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชอื่ มนั่ 0.81 แสดงวา่ มคี วามน่าเชือ่ ถือ
สามารถนำไปใชก้ บั กล่มุ เป้าหมายได้

3.4.3.7 นำแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟ
นิกส์ผสมผสานแบบท่องจำศัพท์ฉบับสมบูรณ์มาใช้กับกลุ่มตัวอย่างหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการจัด
กจิ กรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์

3.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการเก็บรวบรวมขอ้ มลู ผู้วิจัยไดด้ ำเนินการดงั น้ี
3.5.1 ขั้นกอ่ นการทดลอง
3.5.1.1 ผู้วจิ ัยอธิบาย บทบาทหน้าท่ีของนกั เรยี น บทบาทของผู้วิจยั และวิธีการ

จดั การเรยี นรโู้ ดยใช้บทเรียนโฟนิกส์ เพ่ือให้นักเรียนเตรียมตัวรับการทดสอบกอ่ นเรียน

3.5.2 ขั้นดำเนินการทดลอง
3.5.2.1 ดำเนินการทดสอบก่อนเรียน (Pre - test) โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะใน

การอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ เรื่องโฟนิกส์ วิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรยี นรภู้ าษาต่างประเทศ
ชัน้ ประถมศึกษาปที ี่ 3

3.5.2.2 ผู้วิจัยดำเนินกาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่
ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น โดยมีแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียง และสะกดคำเป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ เพอื่ ทดสอบองคค์ วามรู้ที่นักเรยี นไดร้ บั

3.5.2.3 เมื่อสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้วิจัยดำเนินการทดสอบหลัง
เรยี น (Post-test) ดว้ ยแบบทดสอบวดั ทกั ษะในการอา่ นออกเสียงภาษาองั กฤษเร่ือง โฟนิกส์ ฉบบั เดิม

3.5.3 ขน้ั หลงั การทดลอง
3.5.3.1 ผู้วจิ ยั นำผลทไ่ี ด้จากการทดสอบวัดทกั ษะในการอา่ นออกเสยี งภาษาอังกฤษ

ก่อนและหลงั การจดั กจิ กรรมการเรยี นการสอนมาวเิ คราะห์ข้อมูลด้วยวธิ กี ารทางสถติ ิ
3.5.3.2 ผู้วิจัยวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีตอ่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

แบบโฟนิกส์ผสมผสานแบบท่องจำศพั ท์ และแปลผล

3.6 การวเิ คราะห์ขอ้ มูล

การวิเคราะห์ขอ้ มลู ผวู้ จิ ัยดำเนินการ ดังน้ี
3.6.1 หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องโฟนิกส์ ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีท่ี 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

34

3.6.2 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการวัดทักษะในการออกเสียงภาษาอังกฤษ ก่อนและหลัง
เรยี น เรื่องเร่ือง โฟนิกส์ ของนกั เรยี นชั้นประถมศึกษาปที ี่ 3 โดยการหาคา่ ที (t-test)

3.6.3 แปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนแบบโฟนกิ สผ์ สมผสานแบบทอ่ งจำศัพทด์ ว้ ยค่าเฉลีย่

การแปลความหมายตามเกณฑ์ของแบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ผสมผสานแบบท่องจำศัพท์ คิดเป็นคะแนนตามเกณฑ์ ใช้คะแนนเฉล่ีย
แบบ Likert Scale (Likert,1987 อา้ งถงึ ใน บุญชม ศรีสะอาด 2554, 121-1222) ดงั น้ี

คะแนนเฉล่ีย 4.21 – 5.00 คือ ความพึงพอใจมากท่ีสุด
คะแนนเฉลีย่ 3.41 – 4.20 คือ ความพึงพอใจมาก
คะแนนเฉลยี่ 2.01 – 3.40 คือ ความพึงพอใจปานกลาง
คะแนนเฉลีย่ 1.81 – 2.00 คอื ความพงึ พอใจน้อย
คะแนนเฉลย่ี 1.00 – 1.80 คือ ความพงึ พอใจน้อยท่สี ุด

3.7 สถิตทิ ่ใี ชใ้ นการวเิ คราะหข์ ้อมลู
3.7.1 วิเคราะห์ผลการวัดทักษะในการออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่

การหาค่าคะแนนสูงสุด (Max) การหาค่าคะแนนต่ำสุด (Min) ค่าคะแนนเฉลี่ย x̅ และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนท่ไี ด้จากการวัดทกั ษะในการออกเสยี งภาษาอังกฤษ

3.7.2 วิเคราะห์เปรียบเทยี บค่าเฉลีย่ ผลการวัดทกั ษะในการออกเสียงภาษาอังกฤษก่อนและ
หลังการจดั กจิ กรรมการเรียนการสอนแบบโฟนกิ ส์ผสมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์ โดยใชค้ ่า t-
test แบบ dependent samples

3.7.3 วิเคราะห์ความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟ
นิกส์ผสมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์ โดยใช้ค่าเฉลี่ย x̅ และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(S.D.) แบบสอบถามความพึงพอใจที่ใช้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) กำหนด
ระดับคะแนนของความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ คือ 1, 2, 3, 4 และ 5 โดยกำหนดเกณฑ์ในการแปล
ความหมายดังน้ี

4.51 – 5.00 หมายถึง มคี วามพึงพอใจอยใู่ นระดบั มากท่ีสดุ
3.51 – 4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
2.51 – 3.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอย่ใู นระดับปานกลาง
1.51 – 2.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดบั น้อย
1.00 – 1.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยูใ่ นระดับน้อยท่ีสุด

35

สถติ ทิ ่ีใช้ในการหาคณุ ภาพเครื่องมือ
ความตรง (Validity)
การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบในด้านความตรงเชิงเนื้อหาและหาค่าดัชนีความ
สอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence: IOC) ของกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟ
นิกส์ผสมผสานการสอนแบบท่องจำคำศัพท์ รวมไปถึงแบบทดสอบโฟนิกส์ที่พัฒนาขึ้น นำเสนอต่อ
ผู้เชี่ยวชาญทางการสอนภาษาอังกฤษจำนวน 3 ท่าน เพื่อทำการตรวจสอบคุณภาพ โดยใช้สูตรและ
การให้ค่าพิจารณาดังนี้

IOC = ∑R
N

เม่ือ IOC คือ ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์ของเครื่องมือแต่ละชิ้นใน ตาราง
ขอบขา่ ยกบั เน้อื หาและองค์ประกอบของภาษาในเครื่องมือนน้ั ๆ

∑R คือ ผลรวมของคะแนนความคดิ เห็นของผู้เชี่ยวชาญ
N คือ จำนวนผ้เู ช่ยี วชาญในท่นี ค้ี ือ 3 ทา่ น

เกณฑ์การพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ
-1 หากจดุ ประสงคข์ องเครื่องมือแตล่ ะชนิ้ ในตารางขอบขา่ ย ไม่สอดคล้องกบั เน้ือหา

และองคป์ ระกอบของภาษาในเคร่อื งมอื นั้นๆ
0 หากไม่แนใ่ จว่าจดุ ประสงค์ของเครือ่ งมือแตล่ ะชนิ้ ในตารางขอบขา่ ยสอดคล้อง

หรือไม่กับเน้ือหาและองคป์ ระกอบของภาษาในเคร่ืองมือน้ันๆ
+1 หากจุดประสงค์ของเครื่องมือแต่ละชิ้นในตารางขอบข่าย สอดคล้องกับเนื้อหาและ
องคป์ ระกอบของภาษาในเคร่ืองมือน้ันๆ
เกณฑ์การประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีดังนี้ หากค่า IOC มีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

หมายถงึ มีคณุ ภาพเพียงพอท่ีจะนำไปใชเ้ ป็นเครื่องมือในงานวจิ ัยสำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 ต่อไป หากค่า IOC มีค่าต่ำกว่า 0.50 หมายถึง ไม่มีคุณภาพเพียงพอพอที่จะนำไปใช้เป็น
เครื่องมือในงานวิจัยสำหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้งนี้จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขซ้ำ
และนำเสนอให้กับผู้เชี่ยวชาญทางการสอนภาษาอังกฤษอีกครั้ง หรือจนกว่าค่า IOC จะสูงกว่า 0.50
ข้นึ ไป

36

ความเทีย่ ง (Reliability)
หาค่าความเชือ่ ม่ันของแบบทดสอบโดยการคำนวณค่าสถิติของคะแนนรวมทั้งฉบบั โดยใช้สูตร
คำนวณสัมประสิทธ์แิ อลฟา่ ของครอนบาด (Cronbach’s Alpha Coefficient)

α = n 1- ∑ Si2 ]
n-1 St2
[

α คือ ค่าความสอดคลอ้ งภายใน

n คือ จำนวนข้อคำถามในแบบทอดสอบ

∑ Si2 คอื ผลรวมของความแปรปรวนของคะแนนรายข้อ
St2 คือ ความแปรปรวนของคะแนนรวมทัง้ ฉบับ
ซง่ึ α ต้องมีคา่ 0.7 ขึน้ ไป

อำนาจจำแนก (Discrimination)

D = RU−RL
N

RU คอื จำนวนกลุ่มตวั อยา่ งทตี่ อบถกู ในกล่มุ เก่ง
RL คือ จำนวนกล่มุ ตัวอยา่ งที่ตอบถูกในกลมุ่ อ่อน
N คอื จำนวนคนในกลุ่มเก่ง หรอื กลมุ่ ออ่ น

ค่าท่เี หมาะสมอย่รู ะหวา่ ง -1.00 ถงึ +1.00 มีความหมายดังนี้
D > .80 : ดีมาก
D > .60 - .80 : ดี
D > .20 - .60 : พอใชไ้ ด้
D < .20 : ตอ้ งปรบั ปรุง
D ตดิ ลบ : ใชไ้ ม่ได้ ตอ้ งตดั ทิง้

37

ความยาก (Difficulty)

P = R
N

P คือ ความยาก
R คือ จำนวนผู้เรยี นที่ตอบคำถามขอ้ น้ันถกู
N คือ จำนวนผเู้ รยี นทงั้ หมด
การแปลความหมายคา่ p ใชเ้ กณฑ์ ต่อไปน้ี

P = .00 - .19 หมายถึง ข้อสอบยากเกนิ ไป
P = .20 - .39 หมายถึง ข้อสอบคอ่ นขา้ งยาก
P = .40 - .59 หมายถงึ ข้อสอบยากงา่ ยพอเหมาะ
P = .60 - .80 หมายถงึ ข้อสอบคอ่ นข้างงา่ ย
P = .81 - 1.00 หมายถึง ข้อสอบงา่ ยเกินไป

เกณฑม์ าตรฐาน E1/E2
การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิกส์ผสมผสานการสอนแบบ
ท่องจำคำศัพท์
E1 เป็นร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของคะแนนทั้งหมดในห้องที่เก็บจากกิจกรรม เช่นใบงาน
แบบฝึกหัด แบบทดสอบย่อยในระหว่างเรียนเรื่องนัน้ ๆ หรือผลการเรียนรู้ทีค่ าดหวัง หรือจุดประสงค์
นัน้ ๆ

E1 = x̅1 ×100
N1

E1 คือ ประสิทธิภาพของ กระบวนการเรียนการสอน
x̅1 คือ คะแนนเฉลี่ยคะแนนระหว่างเรียนของนักเรียนทัง้ หมด
N1 คือ คะแนนเต็มท่เี ก็บระหวา่ งเรยี น

E2 เปน็ ร้อยละของคะแนนเฉล่ยี จากการสอบหลังเรยี น หรือสอบคร้ังสุดทา้ ยของผลการ
เรยี นรูท้ คี่ าดหวงั หรือจดุ ประสงค์น้นั ๆ

E2 = x̅2 ×100
N2

38

E2 คือ ประสิทธิภาพของการเรียนการสอนหลงั จากเรยี นจบ
x̅2 คือ คะแนนเฉลีย่ สอบครงั้ สุดทา้ ยของนกั เรยี นทง้ั หมด
N2 คอื คะแนนเต็มของการสอบครัง้ สุดทา้ ย


Click to View FlipBook Version