The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ครูอาร์ม, 2022-09-26 16:05:56

รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา

Full Text

รูปแบบการพัฒนาทกั ษะดจิ ทิ ลั เพ่ือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
สำหรับครูอาชวี ศึกษา

ธนสาร รุจิรา
ตำแหนง่ ศึกษานิเทศก์
วิทยฐานะ ศึกษานเิ ทศก์ชำนาญการ

หน่วยศกึ ษานิเทศก์
สำนกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา

กระทรวงศึกษาธกิ าร



ชื่อผลงานวจิ ยั รูปแบบการพฒั นาทกั ษะดิจทิ ลั เพือ่ การจดั การเรียนการสอน
ออนไลนส์ ำหรบั ครูอาชวี ศึกษา
ชือ่ ผ้วู ิจัย ธนสาร รจุ ิรา
ปีพุทธศกั ราช 2565

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู
อาชีวศึกษา ครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์
การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์ทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับ
ครูอาชีวศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
สำหรับครูอาชีวศึกษา 3) เพื่อพัฒนาครูอาชีวศึกษาให้มีทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์ สำหรบั ครูอาชีวศึกษา และ4) เพ่อื ประเมนิ ความพงึ พอใจของครอู าชีวศึกษาทม่ี ตี อ่ การพัฒนา
ทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ
ครูอาชีวศึกษาของสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ที่สมัครและผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้ารับการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัด
การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา จำนวน 100 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบกำหนด
โควต้า (Quota Selection) (สมชาย, 2553) โดยพิจารณาจากผู้สมัครเข้ารับการอบรมตามภาค
5 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ 20 คน ภาคกลาง 20 คน ภาคใต้ 20 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 คน
และภาคตะวันออกและกรงุ เทพมหานคร 20 คน เครื่องมอื ทใี่ ช้ในการเก็บข้อมลู ได้แก่ 1) แบบประเมิน
ความเหมาะสมของกรอบทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา
2) รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธก์ิ ารพฒั นาทักษะดิจิทัลเพือ่ การจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครู
อาชวี ศึกษา 4) แบบประเมนิ ทักษะดจิ ิทัลเพอ่ื การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครอู าชวี ศึกษา
และ5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการพัฒนาทักษะดิจิทัล
เพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t แบบ t - test dependent ที่ระดับ
นยั สำคญั ทางสถิติท่ี 0.05



ผลการวิจยั พบวา่
1. ทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา ประกอบด้วย
ทักษะ 5 ด้าน ได้แก่ ทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อการศึกษา ทักษะการสร้างห้องเรียนออนไลน์ ทักษะการสร้างสื่อดิจิทัล และทักษะการวัดและ
ประเมนิ ผลออนไลน์
2. รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู
อาชีวศกึ ษามีความเหมาะสมอย่ใู นระดบั มากท่ีสุด (Mean = 4.92, S.D. = 0.24)
3. ผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการอบรมที่เข้ารับการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ทรี่ ะดับ .05
4. ผลการประเมินทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา
ของผู้เข้ารบั การอบรมผ่านการประเมนิ รอ้ ยละ 88
5. ผลการประเมนิ ความพงึ พอใจของผู้เข้ารับการอบรมทม่ี ีตอ่ การพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการ
จัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.51,
S.D. = 0.67)
คำสำคัญ : ทักษะดจิ ทิ ลั การจัดการเรยี นการสอนออนไลน์



กติ ติกรรมประกาศ
งานวิจัยฉบับนี้ สำเร็จลุล่วงอย่างสมบูรณ์ได้เนื่องด้วยความกรุณาและความช่วยเหลืออย่างดี
จากคณะผู้บริหารของสถานศึกษาอาชีวศึกษา คณะศึกษานิเทศก์ จากสำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา ได้กรุณาให้คำปรึกษา แนวคิด ข้อชี้แนะ ตลอดจนข้อคิดเห็นต่างๆ อันเป็นประโยชน์
อย่างย่ิงแก่งานวิจัย ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึง้ ในความเมตตาและขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ดว้ ยความ
เคารพอย่างสูง
ขอขอบพระคุณ ดร.จรูญ เตชะเจรญิ กจิ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ทำหน้าที่หัวหน้าหน่วย
ศึกษานเิ ทศก์ ตลอดจน ศึกษานเิ ทศกจ์ ากหน่วยศึกษานิเทศก์ และศูนย์สง่ เสรมิ และพฒั นาอาชีวศึกษา
ภาค ท่กี รุณาให้คำปรกึ ษาแนะนำในดา้ นการวิจยั อนั เป็นประโยชน์อยา่ งยิง่ ตอ่ การดำเนนิ งานครั้งนี้
ขอกราบขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญดังรายนามในภาคผนวก ทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์
ในการประเมินเครือ่ งมืองานวิจัย ให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะทีเ่ ป็นประโยชน์ซึง่ ทำใหง้ านวจิ ยั ครง้ั
นี้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น รวมทั้งผู้บริหารระดับสูง ครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษา ที่ให้การสนับสนนุ ในการดำเนินงานวิจัย และอำนวยความสะดวกให้กับขา้ พเจ้าในการทำ
วทิ ยานิพนธ์ครัง้ น้ี
ท้ายนี้ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดา ภรรยา ลูกสาว ครู อาจารย์ ญาติ พี่ น้อง
เพื่อน ๆ และผู้ที่ไม่ได้กล่าวนามทุกท่านที่คอยช่วยเหลือ และคอยส่งกำลังใจ ความห่วงใย จนเป็น
แรงผลักดันให้ผู้วิจัยประสบความสำเรจ็ ในคร้ังนี้

ธนสาร รุจิรา



สารบญั หน้า

บทคดั ย่อ ค
กติ ตกิ รรมประกาศ ฉ
สารบญั ตาราง ซ
สารบญั ภาพ 1
บทที่ 1 บทนำ 1
4
1.1 ทมี่ าและความสำคญั 5
1.2 วตั ถปุ ระสงค์ของการวจิ ัย 5
1.3 สมมติฐานของการวิจยั 6
1.4 ขอบเขตของการวิจยั 7
1.5 นยิ ามศัพท์เฉพาะ 8
1.6 ประโยชน์ท่ีคาดวา่ จะได้รบั 9
1.7 กรอบแนวคิดการวจิ ัย 9
บทที่ 2 เอกสารและงานวจิ ัยที่เก่ยี วข้อง 24
2.1 นโยบายและแผนการพัฒนาทกั ษะดจิ ทิ ลั ครู 25
2.2 การจดั การอาชีวศกึ ษา 54
2.3 การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ 73
2.4 เทคโนโลยดี ิจิทลั สำหรบั การจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ 76
2.5 การอาชวี ศึกษาและการอบรม 79
2.6 งานวิจัยที่เก่ียวข้อง 82
บทท่ี 3 วิธีดำเนนิ การวจิ ยั
3.1 ระยะท่ี 1 การสงั เคราะหท์ กั ษะดิจิทลั เพอื่ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 87

สำหรบั ครูอาชวี ศกึ ษา 98
3.2 ระยะที่ 2 การพัฒนารปู แบบการพัฒนาทกั ษะดจิ ิทลั เพ่อื การจัดการเรยี น
102
การสอนออนไลน์ สำหรบั ครอู าชีวศกึ ษา
3.3 ระยะที่ 3 พฒั นาครอู าชวี ศึกษาใหม้ ีทักษะดิจทิ ลั เพอื่ การจดั การเรียนการสอน

ออนไลน์
3.4 ระยะที่ 4 ประเมินความพึงพอใจของครอู าชีวศึกษาท่ีมตี อ่ การพัฒนาทกั ษะ

ดิจิทัลเพ่ือการจดั การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา



สารบัญ (ต่อ) หนา้
106
บทท่ี 4 ผลการวจิ ยั 106
4.1 ผลการสังเคราะห์ทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับ
ครูอาชีวศกึ ษา 109
4.2 ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์ สำหรบั ครอู าชีวศึกษา 117
4.3 ผลการพัฒนาครูอาชีวศึกษาให้มีทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์ สำหรบั ครอู าชวี ศกึ ษา 120
4.4 ผลการประเมนิ ความพงึ พอใจของครูอาชีวศกึ ษาท่ีมีตอ่ การพัฒนาทกั ษะดิจิทัล
เพื่อการจดั การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชีวศกึ ษา 198

บทที่ 5 รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู 125
อาชวี ศึกษา 127
5.1 ปัจจยั นำเขา้ (Input) 132
5.2 กระบวนการ (Process) 134
5.3 ผลลัพธ์ (Output) 134
137
บทที่ 6 สรุปผลการวจิ ัย อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ 141
6.1 สรปุ ผลการวิจยั 143
6.2 อภิปรายผล 149
6.3 ขอ้ เสนอแนะ 160
183
บรรณานุกรม 192
ภาคผนวก ก การวจิ ัยระยะที่ 1
ภาคผนวก ข การวิจัยระยะที่ 2 201
ภาคผนวก ค การวจิ ัยระยะท่ี 3 203
ภาคผนวก ง การวิจัยระยะท่ี 4 212
ภาคผนวก จ ภาพการพัฒนาทักษะดิจทิ ัลเพ่อื การจัดการเรยี นการสอนออนไลน์

สำหรบั ครอู าชวี ศกึ ษา
ภาคผนวก ฉ การเผยแพร่งานวจิ ัย
ประวตั ิผูว้ จิ ยั



สารบัญตาราง

ตารางที่ หนา้
3-1 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 80
3-2 ขั้นตอนการสังเคราะห์ทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 83
สำหรบั ครูอาชวี ศึกษา 87
3-3 ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอน 98
ออนไลน์ สำหรบั ครูอาชีวศกึ ษา 102
3-4 ขั้นตอนพัฒนาครูอาชีวศึกษาให้มีทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอน 107
ออนไลน์ สำหรบั ครอู าชวี ศกึ ษา 108
3-5 ขั้นตอนการประเมินความพึงพอใจของครูอาชีวศึกษาที่มีต่อการพัฒนาทักษะ 110
ดิจิทัลเพ่อื การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชีวศึกษา 111
4-1 ผลการสังเคราะหท์ กั ษะดจิ ิทลั เพ่ือการจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับ
ครูอาชีวศกึ ษา 112
4-2 ผลการประเมินความเหมาะสมของผลการสังเคราะหท์ ักษะดิจิทัลเพื่อการจดั
การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครอู าชวี ศกึ ษา 113
4-3 ผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการพัฒนาทักษะดจิ ิทลั เพอ่ื การจดั 115
การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครอู าชวี ศกึ ษา ภาพรวม 117
4-4 ผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการ
เรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศกึ ษา องค์ประกอบปจั จยั นำเข้า (Input)
4-5 ผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัด
การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา องค์ประกอบด้าน
กระบวนการ (Process)
4-6 ผลการประเมนิ ความเหมาะสมรปู แบบการพัฒนาทักษะดจิ ิทลั เพอ่ื การจดั
การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา องค์ประกอบด้านผลลัพธ์
(Output)
4-7 ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสตู รการพัฒนาทักษะดิจทิ ัล
เพอื่ การจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครอู าชีวศึกษา
4-8 ผลการประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการ
เรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครอู าชีวศกึ ษา



สารบญั ตาราง (ต่อ)

ตารางที่ หนา้
4-9 ผลสัมฤทธ์ทิ างการเรียนของครอู าชีวศกึ ษาทเ่ี ข้ารบั การพัฒนาทกั ษะดิจทิ ลั 117
เพือ่ การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครอู าชีวศึกษา 118
4-10 ผลการประเมินทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู 119
อาชีวศกึ ษา ภาพรวม 120
4-11 ผลการประเมินทักษะดิจทิ ัลเพ่ือการจัดการเรยี นการสอนออนไลน์
สำหรับครูอาชวี ศกึ ษา รายประเดน็
4-12 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูอาชีวศึกษาที่มีต่อการพัฒนาทักษะดิจิทัล
เพื่อการจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชวี ศึกษา



สารบัญภาพ

ภาพที่ หนา้
1-1 กรอบแนวคิดการวิจัย 8
2-1 ภูมิทัศน์ดิจิทัลของไทยในระยะเวลา 20 ปี 22
2-2 การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์แบบ Synchronous ด้วย Google Meet 27
2-3 รปู แบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ 33
2-4 รปู แบบการจัดการเรยี นการสอนออนไลนอ์ าชวี ศกึ ษายุควิกฤติโควิด 19 34
2-5 รูปแบบแบบจำลองการเรยี นการสอน AL MIAP 36
2-6 การจัดการช้นั เรียนแบบออนไลน์ 38
2.7 วัสดุและอปุ กรณส์ ำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 40
2-8 บรรยากาศการจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ดว้ ย Microsoft Teams 44
2-9 ปรมิ าณการใชอ้ ินเทอรเ์ นต็ ต่อวันของคนไทย 47
2-10 แรงจูงใจท่ีมีผลตอ่ การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ 48
2-11 เครอื่ งมอื ท่ีใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Synchronous 56
2-12 ความสามารถของแต่ละแอปพลเิ คชัน 57
2-13 Google Meet เครอ่ื งมือทีใ่ ชใ้ นการจัดการเรยี นการสอนแบบ Synchronous 58
2-14 Microsoft Teams เครื่องมอื ทีใ่ ชใ้ นการจดั การเรยี นการสอนแบบ Synchronous 59
2-15 Zoom เครือ่ งมือทใี่ ชใ้ นการจดั การเรยี นการสอนแบบ Synchronous 60
2-16 Google Classroom เครือ่ งมอื จดั การเรยี นการสอนแบบ Asynchronous 61
2-17 Google Site เครื่องมือท่ใี ช้ในการจัดการเรยี นการสอนแบบ Asynchronous 62
2-18 Edmodo เคร่ืองมอื ท่ีใช้ในการจดั การเรยี นการสอนแบบ Asynchronous 63
2-19 Moodle เคร่อื งมอื ทใี่ ชใ้ นการจดั การเรียนการสอนแบบ Asynchronous 63
2-20 หน้าลงชอ่ื เขา้ ใช้งาน Moodle 64
2-21 MOOCS เคร่อื งมอื ที่ใช้ในการจดั การเรียนการสอนแบบ Asynchronous 65
2-22 เทคโนโลยีและการสอ่ื สารเพื่อการจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ 66
2-23 แอปพลิเคชันตระกูล Google และ Microsoft 67
2-24 เคร่ืองมอื ดจิ ิทลั Classdojo 67
2-25 เคร่อื งมือดจิ ทิ ัล Wheel of names 68
2-26 เคร่ืองมือดจิ ิทลั Mentimeter 69
2-27 เครอ่ื งมือดจิ ิทลั AutoDraw 69



สารบัญภาพ (ต่อ)

ภาพที่ หน้า
2-28 เครื่องมอื ดจิ ิทลั QuickDraw 70
2-29 เครอ่ื งมือดจิ ทิ ลั Loom 71
2-30 เครือ่ งมอื ดิจทิ ลั Kahoot 72
2-31 เครือ่ งมอื ดจิ ทิ ลั Quizizz 72
2-32 เครอ่ื งมอื ดจิ ทิ ัล Google Form 73
3-1 ขน้ั ตอนการดำเนนิ การวิจยั รปู แบบการพัฒนาทักษะดิจทิ ัล
เพอ่ื การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชวี ศกึ ษา 82
3-2 ขน้ั ตอนการดำเนินการวจิ ัยระยะที่ 1 สังเคราะหท์ กั ษะดิจิทลั
เพือ่ การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชวี ศกึ ษา 83
3-3 ขน้ั ตอนการดำเนนิ การวิจัยระยะท่ี 2 การพฒั นารูปแบบการพฒั นาทักษะดจิ ทิ ลั
เพอื่ การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชีวศกึ ษา 88
3-4 ขั้นตอนการดำเนนิ การวจิ ัยระยะท่ี 3 การพัฒนาครูอาชวี ศึกษาใหม้ ีทกั ษะดจิ ทิ ลั
เพ่อื การจดั การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศกึ ษา 99
3-5 ขน้ั ตอนการดำเนนิ การวจิ ยั ระยะที่ 4 การประเมนิ ความพงึ พอใจของครู
อาชวี ศกึ ษาท่ีมีตอ่ การพฒั นาทกั ษะดิจทิ ัลเพ่ือการจดั การเรียนการสอนออนไลน์ 102
สำหรบั ครอู าชวี ศึกษา 107
4-1 ทกั ษะดิจิทลั เพือ่ การจดั การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรบั ครอู าชีวศึกษา
5-1 รปู แบบการพฒั นาทกั ษะดิจทิ ลั เพื่อการจดั การเรียนการสอนออนไลน์ 123
สำหรับครอู าชวี ศึกษา 125
5-2 ปัจจยั นำเข้า (Input) 127
5-3 กระบวนการ (Process) 129
5-4 ระยะกอ่ นการอบรม 130
5-5 ระยะระหว่างการอบรม 132
5-6 ระยะหลงั การอบรม 133
5-7 ผลลัพธ์ (Output)



1

บทท่ี 1
บทนำ

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้ประเทศทั่วโลกต้องเผชิญ

กับระบบเศรษฐกิจโลกที่มีการแข่งขันอย่างเสรีและไร้พรมแดนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เรียกว่า การ
ปฏิวัติดิจิทัล รูปแบบการทำธุรกรรมมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปสู่การกระทำผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
ที่ผู้รับบริการและผู้ให้บริการไม่จำเป็นต้องพบกัน รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการ
ของประชาชนเปลี่ยนไป ประกอบกับโครงสร้างของประชากรทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปส่สู ังคมผสู้ ูงอายุมากข้ึน
ในขณะที่สังคมเด็กและวัยรุ่นมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ทุกประเทศทั่วโลกกำหนดทิศทางการผลิต
และพัฒนากำลังคนของประเทศตนให้มีทักษะและสมรรถนะระดับสูงมีความสามารถเฉพาะทางมากขึ้น
ส่วนความต้องการกำลังแรงงานที่ไร้ฝีมือและมีทักษะต่ำจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และเทคโนโลยีมากขนึ้
ดว้ ยเชน่ กัน

ก า ร จ ั ด ก า ร ศ ึ ก ษ า ใ น ป ั จ จ ุ บ ั น จ ึ ง ต ้ อ ง ป ร ั บ เ ป ล ี ่ ย น ใ ห ้ ต อ บ ส น อ ง ก ั บ ท ิ ศ ท า ง ก า ร ผ ลิ ต
และการพัฒนากำลังคนดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะ
ในศตวรรษที่ 21 อาทิ ทักษะ 3Rs + 8Cs เพื่อให้ได้ทั้งความรู้และทักษะที่จำเป็นต้องใช้
ในการดำรงชีวติ การประกอบอาชพี และการพฒั นาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศท่ามกลางกระแส
แห่งการเปล่ียนแปลง โดยเฉพาะทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ ทักษะด้าน
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแผน
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560) ที่กำหนดไว้ว่า “คน
ไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้อง
กบั หลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปล่ยี นแปลงของโลกศตวรรษที่ 21”

ผู้สอนที่จะส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลง
ไปอย่างรวดเร็ว จะต้องได้รับการอบรมเพื่อให้มีทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งเสริมและสนับสนุน
ผู้เรียน การสร้างเครือข่ายผู้สอนทางเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาผู้สอน
สู่ยุคดิจิทัล การจะพัฒนาผู้สอนด้วยการอบรมเพื่อให้มีทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลครบทุกคน
เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ง่ายนัก แต่การพัฒนาผู้สอนให้มีทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเป็นกำลังสำคัญ
ทางเทคโนโลยีดิจิทัล และถ่ายทอดสู่เพื่อนครูและผู้เรียนจึงเป็นทางเลือกสำคัญ และจำเป็นจะต้อง
ได้รับการพฒั นาใหส้ อดคลอ้ งกบั สภาพปัจจบุ ัน

ผู้เรียนอาชีวศึกษาเป็นเยาวชนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งของภาคการศึกษาที่จำเป็นต้องพัฒนา
ให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อันเป็นแนวทางในการพัฒนาคนที่สอดคล้องกับแนวคิด

2

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยนำพลังสมองมาคิดในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ โดยเฉพาะในผู้เรียนด้าน
อาชีวศึกษาที่มีสาขาเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้งด้านอุตสาหกรรม พณิชยกรรม คหกรรม
ศิลปหัตถกรรมการท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฯลฯ เป็นกลุ่มที่มีความพร้อมที่จะ
พฒั นาและไดร้ ับการส่งเสรมิ เพ่ือนำไปสู่การตอ่ ยอดความคดิ สร้างสรรคใ์ ห้บงั เกิดผลสำเร็จ จำเป็นต้อง
ได้รับการส่งเสริมเพือ่ นำไปสู่แนวทางท่ีถูกต้อง

การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ถูก
นำมาใช้เพื่อการศึกษาและออกแบบการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
ทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย อาทิ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบ Massive Open Online
Course หรือ MOOCs ที่เป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์แบบเปิดเสรีสำหรับทุกคนในโลกสามารถ
สมัครเข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดจำนวน มีหลักสูตรและผู้เรียนเพิ่มขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็ว
เป็นลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อที่ถูก
จดั เตรียมไว้ เรยี กว่าการจัดการเรยี นการสอนแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous) และการจัดการ
เรียนการสอนออนไลน์ที่มีกิจกรรมโต้ตอบระหว่างผู้สอนและผู้เรียนแบบสด เสมือนเรียนรู้ร่วมกัน
อยู่ในห้องเรียนจริง เรียกว่าการจัดการเรียนการสอนแบบประสานเวลา (Synchronous) ผ่านแอป
พลิเคชัน ที่มีให้เลือกใช้อยู่มากมาย อาทิ Zoom, Microsoft Teams, Google Meet เป็นต้น
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ทั้งสองแบบถูกพัฒนาและออกแบบให้สามารถส่งเสริม
การเรียนรู้แบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่นโยบายและภารกิจสำคัญที่สถาบันการศึกษา
จะต้องนำมาใชส้ ำหรับการจัดการเรียนการสอนผ่านอินเทอรเ์ น็ตหรือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
(European Commission, 2562) อินเทอร์เน็ตนอกจากช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนเชื่อมต่อและสื่อสาร
ถึงกันแล้วผ่านแอปพลิเคชันที่มีให้เลือกใช้มากมาย ยังช่วยให้ผู้ปกครองสามารถเข้าถึงความก้าวหน้า
ของผู้เรียนหรือบุตรหลานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นช่องทางที่จะได้ช่วยกันส่งเสริมและ
สอดส่องผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้มากที่สุด ไอซีทีจึง กลายเป็นส่วนสำคัญ
ในชีวิตประจำวันและการเรียนรู้ การสอนออนไลน์ยังสามารถบันทึกเป็นวิดีโอและนำมาทบทวน
การเรียนรู้ของผู้เรียนหรือปรับปรุงการสอนของผู้สอนได้ตลอดเวลา ลดข้อจำกัดเรื่องของเวลา พื้นที่
ในการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนการสอน สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาทุกสถานที่ที่พร้อมทำ ให้ได้รับ
ความสนใจจากผู้สอนและผู้เรียนอย่างกว้างขวาง และที่สำคัญสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันที่จำเป็น
ตอ้ งเว้นระยะหา่ งทางสงั คมจากการระบาดของโรคตดิ ต่อไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19)

การระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
ไปทั่ว ประชากรโลกหยุดหรือชะลอการเดินทางและเน้นการอยู่บ้านเป็นหลักรวมถึงประเทศไทย
ทำให้ภาครัฐและเอกชนต้องงดหรือยุติกิจกรรมที่มีคนมากกว่าหนึ่งคนมาอยู่รวมกัน รวมทั้งยกเลิก
การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน (Physical Classroom) ของสถานศึกษาทุกระดับ

3

กระทรวงศกึ ษาธกิ ารเลอ่ื นการเปิดภาคเรยี นที่ 1 ในปกี ารศกึ ษา 2563 จากวันที่ 16 พฤษภาคม 2563
ไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ท่ามกลางความไม่มั่นใจว่าการระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19)จะลดลงจนเข้าสู่สภาวะปกติ หรือมีวัคซีนที่ช่วยป้องกันโรคทันเปิดภาคเรียนหรือไม่
ทุกหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากการพัฒนาผู้เรียนเป็นสิ่งที่ไม่
สามารถหยุดได้ โดยเฉพาะการเตรยี มความพร้อมอยา่ งเร่งด่วนให้กับผสู้ อนและบคุ ลากรทางการศกึ ษา
เน่ืองจากกระทรวงศกึ ษาธิการวิตกกังวลในการที่ผู้เรยี นมาเรยี นรว่ มกนั แล้วจะทำให้เกิดการตดิ เชือ้ โรค
และแพร่กระจายออกไปทำให้ควบคุมได้ยาก ความตื่นตระหนกสะท้อนไปถึงการขาดแคลนวัสดุ
ป้องกันเชื้อ ตลอดจนความวิตกกังวลของผู้เรียนและผู้ปกครองที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของสถานศึกษา
กิจกรรมการเรยี นการสอนทุกอย่างจึงจำเป็นต้องจัดออนไลน์ โดยผู้สอน บุคลากรทางการศกึ ษา ผู้เรียน
และผู้ปกครอง ไม่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน แต่ยังสามารถทำกิจกรรมการเรียนการสอนและ
สามารถส่อื สารกนั ไดท้ ุกทที่ ุกเวลาแมจ้ ะอยู่หา่ งไกลกัน

สำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา หน่วยงานภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าท่กี ำกับ
ดูแลสถานศึกษาอาชีวศึกษาและเทคนิคศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน กำหนดแผนการพัฒนาผู้เรียน
ให้พร้อมกับการจัดการเรียนการสอนในภาวะวิกฤตินี้ โดยกำหนดให้จัดการเรียนการสอนออนไลน์
ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทุกแห่ง จึงจำเป็นต้องพัฒนาครู
และบคุ ลากรทางการศึกษาอาชวี ศึกษา ใหม้ สี มรรถนะในการจดั การเรยี นรู้ผา่ นสอื่ ดิจทิ ลั ในระดับท่พี รอ้ ม
จัดการเรียนรู้ออนไลน์และพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการอาชีพแบบออนไลน์ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือ
ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ประสานร่วมกันในการดำเนินงานนี้ โดยใช้เวลาในช่วงก่อน
การเปิดภาคเรียนทำการพัฒนาผู้สอนอาชีวศึกษาให้พร้อมในสถานการณ์วิกฤติ และกิจกรรม
การพัฒนาผู้สอนอาชีวศึกษาจะต้องไม่จัดกิจกรรมร่วมกันในเวลาเดียวกันและในลักษณะที่เห็นหน้า
หรอื อยรู่ ่วมกันเพือ่ หลกี เลีย่ งการแพร่ระบาดของโรคตดิ ต่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสร้าง
เสริมประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนออนไลน์และสมรรถนะดิจิทัลให้กับครูอาชีวศึกษา
ไปพรอ้ มกันดว้ ย

การพัฒนาครูอาชีวศึกษาและสื่อดิจิทัลเพื่อการอาชีพ ภายใต้โครงการอบรมและพัฒนาทักษะ
ครูอาชีวศึกษาด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาครูอาชีวศึกษาและสื่อการเรียนการสอน ในขณะที่ครูอาชีวศึกษา
ไม่ได้เตรียมความพร้อมที่จะต้องจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ จึงมีความแตกต่างระหว่าง
ครูอาชีวศึกษาที่พร้อมจะพัฒนาและจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และครูอาชีวศึกษาที่ขาดทักษะ
ดิจิทัลในการที่จะเข้าสู่โลกที่เป็นการเรียนการสอนออนไลน์ ตลอดจนการอบรมครูอาชีวศึกษา
ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ก็ต้องจัดการอบรม

4

ในแบบออนไลน์เชน่ เดียวกัน เพื่อใหม้ ที ักษะดิจทิ ลั ทสี่ ามารถจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ โดยเฉพาะ
ต้องเน้นให้ผูเ้ รียนมีสมรรถนะวิชาชีพและส่งเสริมทักษะวิชาชพี กับผู้เรียนทางด้านอาชีวศึกษา อันเป็น
กำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยสืบไป และลดการระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) ไปดว้ ย

ด้วยจำนวนครูอาชีวศึกษาทั่วประเทศที่มีจำนวนมาก การพัฒนาครูอาชีวศึกษา และส่ือดิจิทัล
เพื่อการอาชีพ ภายใต้โครงการอบรมและพัฒนาทักษะครูอาชีวศึกษาด้านการจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในคร้ังน้ี จึงเป็นการพัฒนาทกั ษะครูอาชีวศกึ ษา
ที่สนใจสมัครและผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมการอบรมก่อน เพื่อให้ครูอาชีวศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ
และมีทักษะดิจิทัล ในประเด็นที่เกี่ยวกับ การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
ทักษะการพัฒนาสื่อดิจิทัล และทักษะการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ประกอบด้วย การพัฒนา
หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับครูอาชีวศึกษา การพัฒนาครูอาชีวศึกษา
ให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การพัฒนา
สื่อดิจิทัลเพื่อการอาชีพโดยครูอาชีวศึกษา การประเมินความพึงพอใจของครูอาชีวศึกษาที่มีต่อการ
พัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษาและการประเมิน
คุณภาพและมาตรฐานการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครูอาชีวศึกษา ผลลัพธ์ที่ได้จากการ
พัฒนาทักษะครูอาชีวศึกษาด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของสำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วย หลักสูตรสำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับ
ครูอาชีวศึกษา ครูอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมอบรมมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
มีความสามารถในการใช้ทักษะดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนจะมีสื่อดิจิทัล
เพื่อการอาชีพที่มีประสิทธิภาพและส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ เหมาะสมกับรายวิชาตามหลักสูตร
ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และครูอาชีวศึกษายังสามารถขยายผล
องค์ความรู้และทกั ษะไปสคู่ รูอาชีวศึกษาในสถานศกึ ษาสงั กัดสำนกั งานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ไดอ้ ย่างตอ่ เนื่อง

1.2 วตั ถปุ ระสงค์ของการวิจยั
1.2.1 เพือ่ สงั เคราะห์ทกั ษะดจิ ทิ ลั เพ่ือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชวี ศกึ ษา
1.2.2 เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับ

ครูอาชวี ศึกษา
1.2.3 เพื่อพัฒนาครูอาชีวศึกษาให้มีทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับ

ครอู าชวี ศกึ ษา
1.2.4 เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูอาชีวศึกษาที่มีต่อการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัด

การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครอู าชวี ศกึ ษา

5

1.3 สมมติฐานของการวจิ ัย
1.3.1 ทกั ษะดจิ ิทลั เพ่ือการจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครอู าชีวศึกษา มีความเหมาะสม

อย่ใู นระดบั มาก
1.3.2 รปู แบบการพฒั นาทักษะดจิ ทิ ลั เพื่อการจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศกึ ษา

มคี วามเหมาะสม อย่ใู นระดับมาก
1.3.3 ครอู าชวี ศึกษาผา่ นการประเมินทกั ษะดิจิทลั ไม่นอ้ ยกวา่ รอ้ ยละ 80
1.3.4 ความพงึ พอใจของของครูอาชีวศกึ ษาทมี่ ตี อ่ การพัฒนาทักษะดจิ ทิ ลั เพอื่ การจดั การเรียน

การสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชีวศกึ ษา อยใู่ นระดบั มาก

1.4 ขอบเขตของการวิจัย
1.4.1 ประชากรและกลมุ่ ตวั อย่าง
ประชากรทใ่ี ช้ในการพัฒนาทักษะดจิ ิทัลเพื่อการจดั การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู

อาชีวศึกษา คือ ครูอาชีวศึกษาของสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่สมัครเข้ารับการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการ
สอนออนไลน์ สำหรบั ครอู าชีวศึกษา จำนวน 400 คน

กลุม่ ตวั อย่างทีใ่ ช้ในการพฒั นาทกั ษะดิจทิ ลั เพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับ
ครูอาชีวศึกษา คือ ครูอาชีวศึกษาของสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การอาชวี ศึกษา กระทรวงศกึ ษาธิการ ทส่ี มคั รและผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้ารับการพัฒนาทักษะดิจิทัล
เพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา จำนวน 100 คน โดยวิธีการคัดเลือก
แบบกำหนดโควต้า (Quota Selection) (สมชาย, 2553) โดยพิจารณาจากผู้สมัครเข้ารับการอบรม
ตามภาค 5 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ 20 คน ภาคกลาง 20 คน ภาคใต้ 20 คน ภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ
20 คน และภาคตะวันออกและกรงุ เทพมหานคร 20 คน

1.4.2 ขอบเขตดา้ นเน้ือหา
การพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา

ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 5 ด้าน
10 บทเรียนย่อย ได้แก่ 1) การวิเคราะห์เนื้อหารายวิชา 2) การใช้งานระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ 3)
การบริหารจัดการห้องเรียนออนไลน์ 4) การจัดการห้องเรียนออนไลน์ 5) การจัดการห้องเรียน
ออนไลน์ 6) การจัดแหล่งเรียนรู้ในชั้นเรียนออนไลน์ 7) การสร้างสื่อการเรียนรู้ 8) การสร้างวิดีโอ
การเรียนรู้ 9) การสรา้ งแบบทดสอบ และ10) การวดั และประเมินผลออนไลน์

1.4.3 ตวั แปรท่ีศกึ ษา
1.4.3.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การพฒั นาทักษะดจิ ทิ ัลเพ่ือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์

สำหรบั ครอู าชีวศกึ ษา

6

1.4.3.2 ตวั แปรตาม ได้แก่
1.4.3.2.1 ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอน

ออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศกึ ษา
1.4.3.2.2 ทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู

อาชวี ศึกษา
1.4.3.2.3 ความพึงพอใจของครูอาชีวศกึ ษาทีเ่ ข้ารับการพัฒนาทกั ษะดิจทิ ลั เพอื่

การจดั การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชวี ศกึ ษา

1.5 นิยามศพั ท์เฉพาะ
1.5.1 ทักษะดิจิทัลสำหรับการจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ หมายถึง ทักษะที่ใช้ในการจัดการ

จัดการเรียนการสอนออนไลน์ ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 1) ทักษะการออกแบบแผนการจัดการ
เรยี นรู้ 2) ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทลั เพอ่ื การศกึ ษา 3) ทกั ษะการสรา้ งหอ้ งเรียนออนไลน์ 4) ทกั ษะ
การสรา้ งส่ือดิจิทลั และ5) ทกั ษะการวดั และประเมนิ ผลออนไลน์

1.5.2 ครูอาชีวศึกษา หมายถึง ครูและบุคลากรทางการศึกษาอาชีวศึกษาที่ทำหน้าที่สอน
ในสถานศกึ ษาของรัฐและเอกชน สงั กดั สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
และผ่านการคัดเลือกให้เข้ารับการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับ
ครูอาชีวศึกษา จำนวน 100 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบกำหนดโควต้า (Quota Selection)
โดยพจิ ารณาจากผู้สมัครเขา้ รับการอบรมตามภาค 5 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ 20 คน ภาคกลาง 20 คน
ภาคใต้ 20 คน ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ 20 คน และภาคตะวันออกและกรงุ เทพมหานคร 20 คน

1.5.3 รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู
อาชีวศึกษา หมายถึง วิธีการจัดอบรมพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
สำหรบั ครูอาชีวศึกษา ประกอบด้วย

1) วิธีการดำเนินการจัดการอบรมตั้งแต่ก่อนการอบรมจนสิ้นสุดการอบรม ซึ่งเป็นการ
อบรมแบบ Hybrid Training ที่ใช้วิธีการอบรมแบบ Synchronous Learning และ Asynchronous
Learning

2) หลักสูตรที่ใช้ในการอบรมพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
สำหรับครอู าชีวศึกษา

1.5.4 การพัฒนาครูอาชีวศึกษา หมายถึง การอบรมครูอาชีวศึกษามีทักษะดิจิทัลเพื่อการจัด
การเรียนการสอนออนไลน์ ภายใต้โครงการนิเทศออนไลน์พัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียน
การสอนอาชวี ศกึ ษา ของหนว่ ยศกึ ษานิเทศก์ สังกดั สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

7

1.5.5 ความพึงพอใจของครูอาชีวศึกษาที่เข้ารับการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา หมายถึง ความรู้สึกพึงพอใจ หรือความคิดเห็นของครู
อาชีวศึกษาที่มีต่อการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ตั้งแต่มีความ
พึงพอใจมากทสี่ ุดจนถึงมีความพงึ พอใจนอ้ ยทสี่ ุด

1.5.6 วิธีการอบรมแบบประสานเวลา (Synchronous Learning) หมายถึง การอบรมแบบมี
ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรม ณ เวลาเดียวกัน ด้วยการใช้ระบบ Video
Conference หรือระบบ Online Chat ไม่ว่าจะเป็นชนิดเสียงหรือตัวอักษร ผ่านทางโปรแกรม
คอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชัน เช่น Google Meet และรวมไปถึงการเข้าร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทางวิชาชีพ

1.5.7 วิธีการอบรมแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous Learning) หมายถึง การอบรมด้วย
ตนเองของผู้เข้ารับการอบรม ผ่านทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชัน เช่น Google
Classroom ที่วิทยากรได้ออกแบบและกำหนดเนอื้ หาเอาไว้

1.6 ประโยชนท์ ่ีคาดว่าจะได้รับ
1.6.1 ได้หลักสูตรการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู

อาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธกิ าร
1.6.2 ครูอาชีวศึกษามีทักษะทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู

อาชีวศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และ
สามารถขยายผลไปส่คู รูอาชวี ศกึ ษาสงั กัดสำนกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษาได้อย่างต่อเน่ือง

1.6.3 เป็นแนวทางสำหรบั ผทู้ ่สี นใจพฒั นาทักษะของครใู นดา้ นอ่นื ๆ

8

1.7 กรอบแนวคดิ การวจิ ยั

การพฒั นา การจดั การ เทคโนโลยี ทักษะดจิ ทิ ัล การจดั การ
หลักสูตร อาชีวศึกษา ดิจทิ ลั เรยี นการสอน

ออนไลน์

รปู แบบการพัฒนาทักษะดิจทิ ลั เพื่อการจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชวี ศึกษา

การพัฒนาทักษะดจิ ทิ ัล
เพอ่ื การจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครอู าชีวศึกษา

ทกั ษะดจิ ิทัลสำหรบั พึงพอใจท่มี ตี ่อการพัฒนาทกั ษะดจิ ทิ ัลสำหรับ
การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ การจดั การเรียนการสอนออนไลน์

ภาพที่ 1.1 กรอบแนวคดิ การวิจยั

9

บทท่ี 2
เอกสารและงานวิจยั ที่เก่ียวขอ้ ง

การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับ
ครอู าชวี ศกึ ษา ผู้วจิ ัยได้ศกึ ษาเอกสารและงานวิจัยท่ีเก่ยี วขอ้ ง โดยมีรายละเอยี ดดงั น้ี

2.1 นโยบายและแผนการพัฒนาทกั ษะดจิ ทิ ัลของครู
2.2 การจดั การศกึ ษาอาชีวศกึ ษา
2.3 การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์
2.4 เทคโนโลยดี จิ ทิ ัลสำหรับการจดั การเรียนการสอนออนไลน์
2.5 การอาชีวศกึ ษาและการอบรม
2.6 งานวิจัยท่ีเกยี่ วข้อง

2.1 นโยบายและแผนการพฒั นาทักษะดจิ ทิ ลั ของครู
2.1.1 ยทุ ธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 -2580) ที่คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์

ชาติได้ดำเนินการยกร่างตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีกำหนด เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนา
ในระยะ20 ปีต่อจากนี้ประกอบด้วย วิสัยทัศน์และเป้าหมายของชาติที่คนไทยทุกคนต้องการบรรลุ
ร่วมกันรวมทั้งนโยบายแห่งชาติ และมาตรการเฉพาะซึ่งเป็นแนวทาง ทิศทาง และวิธีการที่ทุกองค์กร
และคนไทยทุกคนต้องมุ่งดำเนินการไปพร้อมกันอย่างประสานสอดคล้อง เพื่อให้บรรลุซึ่งสิ่งที่คนไทย
ทกุ คนต้องการ คือ ประเทศไทยมัน่ คง มงั่ คัง่ และย่งั ยนื ในทกุ สาขาของกำลังอำนาจแห่งชาติ อนั ไดแ้ ก่
การเมืองภายในประเทศ การเมืองต่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การทหาร วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี การพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี การพลังงาน
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนดวิสัยทัศน์
คือประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนา ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดความมั่นคง คือ การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและ
การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน
ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล และมีความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติทางการทหาร เศรษฐกิจ สังคม
สิ่งแวดล้อม และการเมือง เช่น ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีการปกครองระบบ
ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
มีความเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน มีระบบการเมืองที่มั่นคงเป็น
กลไกทน่ี ำไปสกู่ ารบริหารประเทศท่ีตอ่ เนื่องและโปร่งใสตามหลกั ธรรมาภิบาล สงั คมมีความปรองดอง

10

และ ความสามัคคี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัว
มีความอบอุ่นประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดำรงชีวิต
ความม่ันคงของอาหารพลังงาน และน้ำ มีที่อยู่อาศัยและความปลอดภัย ในชีวิตทรัพย์สิน มีการออม
สำหรับวัยเกษียณความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ มีที่อยู่อาศัยและความปลอดภัยในชีวิต
ทรพั ย์สนิ

ความมั่งคั่ง คือ ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความ
ยั่งยืนจนเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรมีความอยู่ดีมีสขุ
ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น และมีการพัฒนาอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วน
(Inclusive Growth) มีคุณภาพชีวิตตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ ไม่มีประชาชนที่อยู่ใต้
เสน้ ความยากจน เศรษฐกจิ ในประเทศมีความเขม้ แขง็ ขณะเดยี วกนั ตอ้ งมีความสามารถในการแขง่ ขัน
กับประเทศต่าง ๆ ทั้งในตลาดโลกและตลาดภายในประเทศเพื่อให้สามารถสรา้ งรายได้ทั้งจากภายใน
และภายนอกประเทศ ตลอดจนมีการสร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคตเพื่อให้สอดรับ
กับบริบทการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไป และประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีโลก และ
มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย เป็นจุดสำคัญ
ของการเชื่อมโยงในภูมิภาคทั้งการคมนาคมขนส่งการผลิต การค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ
เพื่อให้เป็นพลังในการพัฒนา นอกจากนั้นยังมีความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนา
ต่อเนื่องไปได้ ได้แก่ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร
ทนุ ทางสังคม และทุนทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม

ความยั่งยืน คือ การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวติ ของ
ประชาชนให้เพ่ิมขึ้นอยา่ งตอ่ เนื่อง ซง่ึ เป็นการเจรญิ เติบโตของเศรษฐกจิ ทอ่ี ยู่บนหลกั การใช้ การรักษา
และการฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดี ไม่สร้าง
มลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับ และเยียวยาของระบบนิเวศน์ การผลิต
และการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ
สหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ทรัพยากรธรรมชาติ มีความอุดม
สมบูรณ์มากขึ้น และสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร
เสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาลมีนโยบายที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืน และ
ใหค้ วามสำคญั กบั การมีสว่ นรว่ มของประชาชน และทกุ ภาคส่วนในสงั คมยึดถอื และปฏิบัติตามปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาในระดับอย่างสมดุล มีเสถียรภาพ และยั่งยืน ยุทธศาสตร์
ที่สำคัญ 6 ด้าน ดงั น้ี

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง เพื่อบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศ
ให้มีความมั่นคง ปลอดภัย และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน ไป

11

จนถึงระดับความมั่นคงของมนุษย์ และทุกมิติ ทั้งมิติทางด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคม
จิตวิทยาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาหาร น้ำ ไปจนถึงมิติทาง
พลังงาน โดยมุง่ เน้นการพัฒนาคน เครอื่ งมอื (ทรัพยากร) เทคโนโลยี และ ระบบฐานข้อมูลกลาง ( Big
Data) ให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคาม และภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบ และทุกระดับความ
รุนแรงควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงที่มอี ยู่ในปัจจุบัน และที่อาจจะเกดิ ขึน้
ในอนาคต โดยใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ ทั้งกับส่วนราชการภาคเอกชนประชาสังคม
และองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศทั่วโลกบนพื้นฐานของหลัก
ธรรมาภบิ าลเพ่ือมงุ่ ทจี่ ะเออ้ื อำนวยประโยชนต์ ่อการดำเนนิ การของยุทธศาสตรช์ าตดิ ้านอื่นๆ ตลอดถงึ
การบริหารประเทศของรัฐบาล ให้สามารถขับเคลื่อนไปได้ตามทิศทางและเป้าหมายที่กำหนด
โดยเหตุการณ์สำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค
และระดับภายในประเทศ โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) การรักษาความสงบภายในประเทศ
2) การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง 3) การพัฒนาศักยภาพของประเทศ
ให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ 4 การบูรณาการความร่วมมือด้าน
ความมั่นคงกับอาเซียนและนานาชาติ รวมถึงองค์กรภาครัฐและที่มิใช่ภาครัฐ 5) การพัฒนากลไก
การบรหิ ารจดั การความมงั่ คงแบบบูรณาการ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มุ่งเน้นการยกระดับ
ศักยภาพในหลากหลายมติ ิ ตั้งแต่การสร้างพื้นฐานท่ีมั่นคงของประเทศ การพัฒนาทีส่ มดุลในประเทศ
ไมว่ ่าจะเปน็ การขยายตัวของเศรษฐกิจ การกินดอี ยดู่ แี ละรายได้ท่ีเพิ่มขน้ึ ของประชาชน ควบคู่กับการ
ขยายโอกาสของประเทศไทยในเวทีโลก ตลอดจนการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของ
ประเทศที่เพิ่มขึ้นในเวทีสากล โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1 มหาอำนาจทางการเกษตร (เกษตร
ปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรอัจฉริยะ เกษตรแปรรูป) 2) อุตสาหกรรม
และบริการแห่งอนาคต (อุตสาหกรรมชวี ภาพ อุตสาหกรรมและบริการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรม
และบริการดิจิทัล ข้อมูล และ ปัญญาประดิษฐ์ อุตสาหกรรมและบริการขนส่ง และโลจิสติกส์
อุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ) 3) แม่เหล็กการท่องเที่ยวระดับโลก (ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
และ วัฒนธรรมท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงาม และแพทย์
แผนไทย ท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ ท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค) 4) โครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยง เชื่อม
โลก (เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมไร้รอยต่อ เพิ่มพื้นที่และเมืองเศรษฐกิจ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เทคโนโลยีสมัยใหม่รักษาและเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค สร้างพลวัตทางกฎหมาย)
5) สร้างนักรบเศรษฐกิจยุคใหม่ (สร้างผู้ประกอบการอัจฉริยะ สร้างโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงิน
สรา้ งโอกาสเขา้ ถึงตลาด สร้างโอกาสเขา้ ถึงข้อมลู ปรบั บทบาทและกลไกภาครฐั )

12

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เพื่อคนไทยใน
อนาคต มีความพร้อมทั้งกายใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย
มีจิตสาธารณะ รบั ผิดชอบตอ่ สงั คมและผูอ้ ื่น มธั ยัสถ์ อดออม โอบออ้ มอารี มวี นิ ยั รักษาศลี ธรรม และ
เป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสาร
ภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่นๆ โดยมี
สัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง คนไทยในอนาคตต้องเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความพร้อมทั้งกาย
ใจ สติปัญญาสามารถเรียนรู้ ได้ตลอดชีวิต มีทักษะในศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นคนไทย ที่มีทักษะสูง
เป็นนวัตกรรมนักคิด และผู้ประกอบการบนฐานของการรู้คุณค่าความเป็นไทย มีคุณธรรมจริยธรรม
มีวินัยความรบั ผิดชอบ ต่อสงั คม และมสี ขุ ภาวะท่ดี ี โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ ดังน้ี 1) การปรับเปลี่ยน
ค่านิยมและวัฒนธรรม (Transformation of Culture) 2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
3) การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม 4) การตระหนักถึงพหุปัญญา (Multiple Intelligence)
5) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ครอบคลุมทั้งด้าน กาย ใจ สติปัญญา และสังคม
6) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
7) การเสริมสร้างศกั ยภาพการกฬี าในการสรา้ งคณุ คา่ ทางสังคมและพฒั นาประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสและความสมอภาคทางสังคม เพื่อลดความ
เหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคมตั้งอยู่บนหลักการและพื้นฐานสำคัญคือการสร้างสังคม
คุณภาพสังคมในทุกๆด้านไปพร้อมกัน โดยไม่ทอดทิ้งใครไว้เบื้องหลัง ประกอบด้วย การสร้างความ
มั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม (Socio-economic Security) โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ ดังน้ี
1) การลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ 2) การกระจายศูนย์กลางความเจริญ
ทางเศรษฐกิจและ สังคม 3) การเสริมสร้างพลังทางสังคม 4) การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน
ทอ้ งถ่นิ ในการพัฒนาการพงึ่ ตนเองและการจัดการตนเอง

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การบริโภคที่ยั่งยืนและการผลิตที่ยั่งยืน การดำเนินการที่สำคัญ
คือต้องเร่งวางระบบการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ บริหาร
จัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพโดยการวางระบบบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการให้มีประสิทธิภาพ
ใน 25 ลุ่มน้ำ ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน เน้นการปรับระบบการบริหารจัดการอุทกภัยอย่าง
บูรณาการ รวมทั้งยกระดับความสามารถในการป้องกันผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติและปรับตัวไปสู่รูปแบบของการผลิตและการบริโภค
ที่ปล่อยคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยพัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาพและ
พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชงิ นิเวศและเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการจัดการขยะสารพิษ และ

13

ของเสียอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) สร้างการเติบโต
อย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว 2) สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล
3) สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ 4) พัฒนาพื้นที่เมือง
ชนบท เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 5) พัฒนาความมั่นคงทางน้ำ พลังงาน และเกษตรท่ี
เปน็ มติ รตอ่ ส่ิงแวดล้อม 6) ยกระดับกระบวนทศั นเ์ พ่อื กำหนดอนาคตประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
เพื่อการปรับเปลี่ยนภาครัฐ ยึดหลัก "ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม"
โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ และแยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐ
ที่ทำหน้าที่กำกับ หรือให้บริการในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน มีขีดสมรรถนะสูง ยึดหลัก
ธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัย
และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง
การนำนวัตกรรมเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ และระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้
อย่างค้มุ คา่ และปฏบิ ตั งิ านเทยี บได้กับมาตรฐานสากล โดยมีประเด็นยทุ ธศาสตร์ ดงั น้ี 1) ภาครัฐท่ียึด
ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความต้องการ และให้บริการอย่างสะดวกรวดเร็ว โปร่งใส
2) ภาครัฐบริหารงานแบบบูรณาการโดยมียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายและเชื่อมโยงการพัฒนา
ในทุกระดับ ทุกประเด็นทุกภารกิจ และทุกพื้นที่ 3) ภาครัฐมีขนาดเล็กลง เหมาะสมกับภารกิจ
เปิดกว้าง ส่งเสริมให้ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ 4) ภาครัฐมีความ
ทันสมัย ทันการเปลี่ยนแปลง และมีขีดสมรรถะสูง 5) บุคลากรภาครัฐเป็นคนดีและเก่ง ยึดหลัก
คุณธรรม มีจิตสำนึก มีความสามารถสูงมุ่งมั่น และเป็นมืออาชีพในการพัฒนาประเทศ 6) ภาครัฐมี
ความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทุกภาคส่วนร่วมต่อต้านการทุจริต 7) ภาครัฐดูแล
ให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด 8) ระบวนการยุติธรรมเคารพสิทธิมนุษยชน
และปฏบิ ัตติ ่อประชาชนโดยเสมอภาคมีความเป็นกลาง นา่ เชื่อถือ โปรง่ ใส ตรวจสอบได้

กล่าวโดยสรุป ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) คือยุทธศาสตร์
ที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการครูด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เน้นย้ำให้มีทักษะที่จำเป็น
ในศตวรรษที่ 21 ประเด็นที่สำคัญคือ 1) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตเมื่อมเี ทคโนโลยีดิจิทัล
ก็สามารถศึกษาหาความรู้ได้ตลอดเวลา 2) การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉมเป็นการเปลี่ยนระบบ
การจัดการเรยี นนรูโ้ ดยใชเ้ ทคโนโลยีดิจิทัลเขา้ มาอำนวยความสะดวกให้กับกิจกรรมการเรียนการสอน
เพื่อประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น และ 3) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้าง
ศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
ภาครัฐให้มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา

14

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำนวัตกรรมเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ และระบบการทำงานที่เป็น
เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่าเพื่อให้ภาครัฐมีความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ในสงั คมปจั จุบนั และมขี ดี สมรรถนะสูง

2.1.2 แผนการศึกษาแหง่ ชาติ (พ.ศ. 2560-2579)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)

พ.ศ. 2545 พระราชบญั ญัตริ ะเบยี บบริหารราชการกระทรวงศกึ ษาธิการ พ.ศ. 2546 และกฎกระทรวง
แบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ได้กำหนด
ให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษามีหน้าที่ในการพิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ
ที่บูรณาการศาสนาศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ ดังนั้นสำนักงานเลขาธิการสภา
การศกึ ษาไดจ้ ดั ทำแผนการศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ซงึ่ เปน็ แผนระยะยาว 20 ปี เพ่อื เปน็ แผน
แมบ่ ทสำหรับหนว่ ยงานทเ่ี กยี่ วขอ้ งนำไปใชเ้ ป็นกรอบแนวทางในการพฒั นาการศึกษาในช่วงระยะเวลา
ดังกล่าวแนวคิดการจัดการศึกษา ( Conceptual Design) ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ
ยึดหลักสำคัญในการจัดการศึกษา ประกอบด้วยหลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for
All) หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและ ทั่วถึง (Inclusive Education) หลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม
(All for Education)อีกทัง้ ยึดตามเป้าหมายการพฒั นาท่ยี ง่ั ยืน (Sustainable Development Goals
: SDGs 2030) ประเด็นภายในประเทศ (Local Issues) อาทิ คุณภาพของคนทุกช่วงวัย
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศ ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ และวิกฤต
ด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำยุทธศาสตร์ชาติ (National Strategy) มาเป็นกรอบความคิดสำคัญ
ในการจดั ทำแผนการศึกษาแหง่ ชาติ

โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา 4 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบ
และกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 2 เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี
มีคุณลักษณะทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ 3 เพื่อพัฒนสังคมไทยให้เป็นสังคม
แห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศ
อย่างย่ังยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดัก
ประเทศที่มีรายได้ปานกลางและความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และ
จุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น แผนการศึกษาแห่งชาติได้วางเป้าหมายไว้ 2 ด้าน
คือเป้าหมายด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและ
ทกั ษะการเรยี นรู้ในศตวรรษท่ี 21 (3Rs 8Cs) ประกอบด้วย ทักษะและคณุ ลักษณะต่อไปนี้ 3Rs ได้แก่
การอ่านออก (Reading) การเขียนได้ (Writing) และการคิดเลขเป็น (Arithmetic) ส่วน 8Cs ได้แก่

15

ทกั ษะดา้ นการคิดอย่างมวี จิ ารณญาณ และทักษะในการแกป้ ญั หา (Critical Thinking and Problem
Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความ
เข้าใจตา่ งวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross - cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ
การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้าน
การสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information and Media
Literacy) ทักษะด้านคอมพวิ เตอร์ และ เทคโนโลยสี ารสนเทศและการส่ือสาร (Computing and ICT
Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) และความมีเมตตา
กรุณา มีวินยั คุณธรรม จรยิ ธรรม (Compassion)

เป้าหมายของการจัดการศึกษา (Aspirations) 5 ประการ ประกอบด้วย
1) ประชากรทุกคน เข้าถึงการศึกษาทีม่ ีคุณภาพและมมี าตรฐานอย่างท่ัวถึง (Access) 2) ผู้เรยี นทกุ คน
ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างเท่าเทียม (Equity) 3) ระบบ
การศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถเต็มตามศักยภาพ (Quality)
4) ระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการลงทุนทางการศึกษาที่คุ้มคำและบรรลุ
เป้าหมาย (Efficiency) 5) ระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
ที่เป็นพลวัตและบริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy) แผนการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดยุทธศาสตร์
ในการพัฒนาการศึกษาภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์หลักที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ดังน้ี
(สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา, 2560)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
มีเป้าหมาย ดังนี้ 1) คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2) คนทุกช่วงวัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
จังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่พิเศษได้รับการศึกษาและเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 3) คนทุกช่วงวัย
ได้รับการศึกษาการดูแลและป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่ โดยได้กำหนดแนวทางการ
พัฒนา คือ พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยกระดับคุณภาพและ
ส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นท่ี
พิเศษ ทั้งที่เป็นพืน้ ที่สูง พื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดนและพ้ืนที่เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล ทั้งกล่มุ ชนต่าง
เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบและแรงงานต่างด้าว พัฒนาการจัดการศึกษา
เพื่อการจัดระบบการดูแลและป้องกันภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรมและความรุนแรง
ในรปู แบบตา่ ง ๆ ยาเสพติด ภัยพบิ ตั ิจากธรรมชาตภิ ยั จากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรรม เพื่อสร้าง
ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีเป้าหมาย ดังนี้ 1) กำลังคนมีทักษะที่สำคัญจำเป็น

16

และมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
2) สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่จัดการศึกษาผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะ
ด้าน 3) การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพ่ิม
ทางเศรษฐกิจ โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนา คือ ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในสาขา
ที่ตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ส่งเสริมการ
ผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
เพ่อื สรา้ งองค์ความรู้ และนวตั กรรมที่สร้างผลผลิตและมลู คา่ เพ่ิมทางเศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการ
เรียนรู้มีเป้าหมาย ดังนี้ 1) ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย และคุณลักษณะ
ทีจ่ ำเปน็ ในศตวรรษท่ี 21 2) คนทุกช่วงวัยมีทกั ษะ ความรู้ความสามารถ และสมรรถนะตามมาตรฐาน
การศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ 3) สถานศึกษาทุกระดับ
การศึกษาสามารถจัดกิจกรรม กระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน
4) แหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรม และสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและมาตรฐาน และประชาชน
สามารถเข้าถงึ ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานท่ี 5) ระบบและกลไกการวัด การติดตาม และประเมินผล
มีประสิทธิภาพ 6) ระบบการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้มาตรฐานระดับสากล
7) ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐาน โดยได้กำหนด
แนวทางการพัฒนา คือ ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียนและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ
ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานท่ี
สร้างเสริมและปรับเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยให้มีวินัย จิตสาธารณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์
และพัฒนาระบบและกลไกการติดตาม การวัด และประเมินผลผ้เู รียนให้มีประสิทธภิ าพ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา
มีเป้าหมาย ดังนี้ 1) ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
2) การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย 3) ระบบ
ข้อมูลรายบุคคลและสารสนเทศทางการศึกษาที่ครอบคลุม ถูกต้องเป็นปัจจุบัน เพื่อการวางแผนการ
บริหารจัดการศึกษา การติดตามประเมิน และรายงานผล โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนา คือ
เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อการศึกษาสำหรบั คนทุกช่วงวัย พัฒนาฐานข้อมูลด้านการศึกษาที่มีมาตรฐาน เชื่อมโยงและเข้าถงึ
ได้

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อมมีเป้าหมาย ดังนี้ 1) คนทุกช่วงวัย มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม
และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี งสู่การปฏิบัติ 2) หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และส่ือ

17

การเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรม และการนำแนวคิด
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ 3) การวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม
ดา้ นการสรา้ งเสริมคุณภาพชวี ิตท่เี ปน็ มิตรกับสิ่งแวดลอ้ ม

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบรหิ ารจัดการศึกษา มีเป้าหมาย
ดังนี้ 1) โครงสร้าง บทบาท และระบบการบริหารจัดกา รการศึกษามีความคล่องตัวชัดเจน และ
สามารถตรวจสอบได้ 2) ระบบการบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลส่งผล
ต่อคุณภาพและมาตรฐาน 3) ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความ
ต้องการของประชาชนและพื้นที่ 4) กฎหมายและรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษา
รองรับลักษณะที่แตกต่างกันของผู้เรียน สถานศึกษา และความต้องการกำลังแรงงานของประเทศ
5) ระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีความเป็นธรรม สร้างขวัญ
กำลงั ใจและส่งเสรมิ ใหป้ ฏิบัติงานได้อยา่ งเต็มตามศกั ยภาพ

กล่าวโดยสรุป แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579) ตั้งเป้าหมาย
ในด้านผู้เรียน โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรยี นรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs
8Cs) มีทักษะดา้ นความรว่ มมือการทำงานเป็นทีม และภาวะผูน้ ำ (Collaboration, Teamwork and
Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ ( Communications,
Information and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการส่ือสาร (Computing and ICT Literacy) และเป้าหมายด้านการจดั การศกึ ษา (Aspirations)
เกี่ยวกับระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตและบริ บท
ที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy) ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทักษะดิจิทัลสำหรับข้าราชการครู
คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 3
การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ต้องการให้ผู้เรียนมีทักษะและ
คุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย และทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 พัฒนา
ระบบการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้มาตรฐานระดับสากล และครู อาจารย์
บุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส
ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาต้องการ การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา
ผ่านเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั เพ่ือการศกึ ษาสำหรบั คนทกุ ชว่ งวยั

2.1.3 แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบบั ท่ี 12 (พ.ศ. 2560-2564)
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 -2564) โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เป็น
กรอบในการดำเนินงาน เพื่อสร้างผลผลิต ผลลัพธ์ให้เกิดกับผู้เรียน ได้อย่างมีความสอดคล้องกับทิศ

18

ทางการพัฒนาประเทศในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-
2564) (กระทรวงศกึ ษาธิการ, 2560) โดยสาระสำคัญ ดงั นี้

เป้าหมายหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-
2564) (Extreme Goals) 1) คุณภาพการศึกษาของไทยดีขึ้น คนไทยมีคุณธรรมจรยิ ธรรม มีภูมิคุ้มกัน
ต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศในอนาคต 2) กำลังคนได้รับการผลิตและพัฒนา
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ 3) มีองค์ความรู้ เทคโนโลยีนวัตกรรม สนับสนุน
การพัฒนาประเทศอย่างยัง่ ยืน 4) คนไทยได้รับโอกาสในการเรียนรูอ้ ย่างต่อเนือ่ งตลอดชีวิต 5) ระบบ
บริหารจัดการการศึกษามีประสิทธภิ าพตามหลักธรรมาภิบาล โดยการมีสว่ นร่วมจากทุกภาคส่วน

แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 ได้กำหนดยุทธศาสตร์
ในการพัฒนาการศกึ ษา 6 ยุทธศาสตร์ ท่สี อดคลอ้ งกบั แผนการศกึ ษาแหง่ ชาติ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวัดและ
ประเมินผล

ยุทธศาสตร์ท่ี 2 ผลติ พัฒนาครู คณาจารย์และบคุ ลากรทางการศกึ ษา
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้อง
กบั ความต้องการของการพฒั นาประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษา และการ
เรียนรู้อย่างต่อเนอ่ื งตลอดชวี ติ
ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 5 ส่งเสรมิ และพัฒนาระบบเทคโนโลยดี ิจิทัลเพ่ือการศกึ ษา
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน
มีส่วนรว่ มในการจดั การศกึ ษา
กล่าวโดยสรุป แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.
2560-2564) มีทยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาข้าราชการครูให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี
ดจิ ทิ ลั คอื ยทุ ธศาสตร์ที่ 2 ผลิต พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และยทุ ธศาสตร์ท่ี 5
ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูและบุคลากร
ทางการศกึ ษาตอ้ งมีทกั ษะการใชเ้ ทคโนโลยดี จิ ทิ ัลในการปฏิบัตงิ าน
1.2.4 กรอบนโยบายเทคโนโลยสี ารสนเทศและการส่ือสาร (พ.ศ. 2554-2563)
กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะปี พ.ศ. 2554-2563
ของประเทศไทย(ICT 2020) ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีสาระสำคัญ
เพื่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาไอซีที ของประเทศไทยในระยะ 10 ปี โดยเป้าหมายที่กำหนดไว้
ในปี พ.ศ. 2563ประเทศไทยจะมีการพัฒนาอย่างชาญฉลาด เพื่อก้าวสู่สังคมอุดมปัญญาทั้งในมิติ
ด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้แก่ประชาชนมีส่วนร่วม

19

ในกระบวนการพัฒนานำไปสู่การเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน (Smart Thailand 2020) โดยมีการ
กำหนดวิสัยทัศน์ คือ ไอซีทีเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการนำพา คนไทย สู่ความรู้และปัญญา
เศรษฐกิจไทย สู่การเติบโตอย่างยั่งยืนสังคมไทย สู่ความเสมอภาค เป้าหมาย คือ 1) มีโครงสร้าง
พื้นฐานไอซีทีความเร็วสูง (Broadband) ที่กระจายอย่างทั่วถึง ประชาชนสามารถเข้าถึง
ได้อย่างเท่าเทียมกัน เสมือนการเข้าถึงบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทั่วไป 2) มีทุนมนุษย์
ที่มีคุณภาพ ในปริมาณที่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจฐานบริการและ
ฐานเศรษฐกิจสรา้ งสรรค์ไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพกล่าวคอื ประชาชนมีความรอบร้เู ข้าถงึ สามารถพัฒนา
และใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้อย่างรู้เท่าทัน เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ การทำงาน และ
การดำรงชีวิตประจำวัน และบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความรู้
ความสามารถและทักษะในระดับสากล 3) เพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (โดยเฉพาะในกลุ่มอตุ สาหกรรมสร้างสรรค์) ต่อระบบเศรษฐกจิ
ของประเทศ 4) ยกระดับความพร้อมด้านด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยรวมของ
ประเทศไทย ในการประเมินวดั ระดับระหว่างประเทศ 5) เพิ่มโอกาสในการสรา้ งรายไดแ้ ละมคี ณุ ภาพ
ชีวิตท่ีดีขึ้น (โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม) 6) ทุกภาคส่วนในสังคมมีความตระหนักถึง
ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา โดยมียุทธศาสตร์ในการพัฒนา 7
ยทุ ธศาสตร์ ดงั นี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ที่เป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือการสื่อสารรูปแบบอื่นให้มีความทันสมัย มีการกระจายอย่างทั่วถงึ
และมีความมั่นคงปลอดภยั สามารถ รองรับความต้องการของภาคสว่ นต่าง ๆ ได้ ภายในปี พ.ศ. 2563
บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยจะเป็นสาธารณูปโภค
ขั้นพื้นฐาน ที่ประชากรทั่วไป สามารถเข้าถึงได้อย่างมีคุณภาพ และความมั่นคงปลอดภัยเทียบเท่า
มาตรฐานสากล

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาทุนมนุษย์ที่มีความสามารถในการพัฒนาและใช้สารสนเทศ
อย่างมีประสิทธิภาพ มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน รวมถึงพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร ที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญระดับมาตรฐานสากล มีกำลังคน
ที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการพัฒนาและใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
อย่างมีประสทิ ธิภาพในปริมาณเพียงพอท่ีจะรองรบั การพฒั นาประเทศ ในยคุ เศรษฐกิจฐานบริการและ
ฐานความคิดสรา้ งสรรค์ ท้งั บคุ ลากรไอซที ีและบุคลากรในทกุ สาขาอาชีพ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและนำรายได้เข้าประเทศ

20

โดยใช้โอกาสจากการร่วมกลุ่มเศรษฐกิจ การเปิดการค้าเสรีและประชาคมอาเซียน อุตสาหกรรม
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ไทยเข้มแข็งและเติบโตอย่างต่อเนื่อง สามารถก้าวสู่
ความเป็นหนึ่งในผู้นำในภูมิภาคอาเซียน และเป็นอุตสาหกรรมอันดับต้น ๆ ที่สร้างมูลค่าทางเศรษกิจ
และนำรายได้เข้าประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสร้างนวัตกรรม
การบริการของภาครัฐที่สามารถให้บริการประชาชนและธุรกิจทุกภาคส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีความมั่นคงปลอดภัย และมีธรรมาภิบาล มุ่งสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ฉลาดรอบรู้ (Intelligence)
มกี ารเชื่อมโยงกัน (Integration) และเปดิ โอกาสใหท้ ุกภาคสว่ นเขา้ มามบี ทบาทในการกำหนดนโยบาย
สาธารณะที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดรูปแบบบริการของภาครัฐ เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมรับประโยชน์
จากการบริการอย่างเท่าเทียมกัน (Inclusion) ภาคใต้ระบบบริหารที่มีธรรมาภิบาล (Good
governance)

ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิตให้สามารถพึ่งตนเองและแข่งขันได้ในระดับโลก โดยเฉพาะ
ภาคการเกษตร ภาคบริการและภาคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มสัดส่วนภาคบริการในโครงสร้าง
เศรษฐกิจโดยรวม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้าง
องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมในสินค้าและบริการที่ไทยมีศักยภาพ แปลงสภาพ
เศรษฐกจิ จากฐานการผลิต สเู่ ศรษฐกจิ บรกิ ารและฐานความคิดสร้างสรรค์

ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาและประยุกต์ไอซีทีเพื่อความลดเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและ
สังคมโดยสร้างความเสมอภาคของโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการสาธารณะสำหรับ
ประชาชนทุกกลุ่มโดยเฉพาะบริการพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขภาวะที่ดี ได้แก่
บริการด้านการศึกษาและบริการสาธารณสุข ประชาชนได้รับการประกันสิทธิในการเข้าถึงและ
ใชป้ ระโยชนจ์ ากการบริการส่ือสารโทรคมนาคมและขอ้ มลู ขา่ วสาร เพอ่ื เสรมิ สรา้ งโอกาสทางเศรษฐกิจ
สังคม และวฒั นธรรมอย่างท่วั ถึง

กล่าวโดยสรุป กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2554-
2563 มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือการสื่อสาร
รูปแบบอื่นให้มีความทันสมัย ภายในปี พ.ศ. 2563 บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและ
การสื่อสารของประเทศไทยจะเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่ประชากรทั่วไป สามารถเข้าถึงได้
มีคุณภาพ และความมั่นคงปลอดภัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาทุนมนุษย์
ที่มีความสามารถในการพัฒนาและใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสร้างนวัตกรรมการบริการของภาครัฐ

21

ท่สี ามารถให้บรกิ ารประชาชนและธุรกจิ ทุกภาคสว่ นไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธิภาพ มุ่งสรู่ ฐั บาลอิเลก็ ทรอนิกส์
ที่ฉลาดรอบรู้ (Intelligence) มีการเชื่อมโยงกัน (Integration) และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามา
มีบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะท่ีเก่ียวขอ้ ง

2.1.5 แผนพัฒนาดจิ ทิ ัลเพื่อเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ
ดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) หมายถึง ประเทศไทยที่สามารถสร้างสรรค์

และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม
ข้อมูลทุนมนุษย์ และทรัพยากรอื่นใด เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนโดยแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะมีเป้าหมาย
ในภาพรวม 4 ประการดังต่อไปนี้ 1) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ
ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นเครื่องมือหลักในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิต
การบริการ 2) สรา้ งโอกาสทางสงั คมอยา่ งเท่าเทยี มด้วยข้อมูลข่าวสารและบริการตา่ ง ๆ ผ่านส่อื ดิจทิ ลั
เพื่อยกระดบั คุณภาพชวี ิตของประชาชน 3) เตรียมความพร้อมให้บุคลากรทกุ กลุ่มมคี วามรู้และทักษะ
ที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในยุคดิจิทัล 4) ปฏิรูปกระบวนทัศน์การทำงาน
และการให้บริการของภาครัฐ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการใช้ระโยชน์จากข้อมูล เพื่อให้การ
ปฏิบัติงานเกดิ ความโปร่งใส มีประสิทธภิ าพ และประสิทธิผล (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนทศและการ
สื่อสาร, 2559)

การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย มุ่งเน้นการพัฒนาระยะ
ยาวอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีแต่เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัล
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับนี้ จึงกำหนด
ภูมิทัศน์ดิจิทัล เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและเป้าหมายใน 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 Digital
Foundation ประเทศไทยลงทุนและสร้างฐานรากในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมดิจทิ ลั ระยะท่ี 2
Digital Thailand I:Inclusion ทุกภาคส่วนของประเทศไทยมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
ตามแนวทางประชารัฐ ระยะที่ 3 Digital Thailand II: Full Transformation ประเทศไทยก้าวสู่
ดิจิทัลไทยแลนด์ ที่ขับเคลื่อนและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ ระยะที่ 4
Global Digital Leadership ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว สามารถใช้เทคโนโลยี
ดจิ ิทัล สร้างมลู คา่ ทางเศษฐกิจ และคุณค่าทางสงั คมอย่างยงั่ ยนื ดังภาพท่ี 2-1

22

ภาพท่ี 2-1 ภูมทิ ัศน์ดจิ ทิ ลั ของไทยในระยะเวลา 20 ปี (กระทรวงเทคโนโลยสี ารสนเทศ
และการสอ่ื สาร, 2559)

กล่าวโดยสรุป แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีเป้าหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล คือการเตรียมความพร้อมให้บุคลากรทุกกลุ่มมีความรู้และ
ทักษะที่หมาะสมต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในยุคดิจิทัล และปฏิรูปกระบวนทัศน์
การทำงานและการใหบ้ รกิ ารของภาครัฐ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการใช้ประโยชน์จากข้อมลู เพ่ือให้
การปฏิบัติงานเกิดความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัล
ของประเทศไทยตามวิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาตามภูมิทัศน์ดิจิทัล 4 ระยะ แผนพัฒนาดิจิทัล
เพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ ยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมซี่งกันและกัน
มีการกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้สามารถติดตามและ ประเมินความก้าวหน้าได้อย่างชัดเจน
และแผนงานเพ่ือดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ดังน้ี

ยุทธศาสตร์ท่ี 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุม
ทั่วประเทศโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ เพื่อรองรับ
การเป็นดิจิทัลไทยแลนด์เป็นการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญ ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
โทรคมนาคม และการแพร่ภาพกระจายเสียงที่มีความทันสมัย มีคุณภาพ ขนาดเพียงพอ ครอบคลุม
ทุกพื้นที่ และสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการติดต่อสื่อสาร การเชื่อมต่อ การ
แลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ การค้าและพาณิชย์ การบริการภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการใช้งาน
รูปแบบต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางสังคม
ของประเทศ รวมทง้ั เพอ่ื รองรับการเป็นศูนย์กลางดา้ นดิจิทลั ในอนาคต

23

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล หมายถึง การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อใหภ้ าคธรุ กจิ สามารถลดตนั ทนุ การผลิตสนิ คา้ และบรกิ าร พรอ้ มกับเพม่ิ ประสทิ ธิภาพในการดำเนนิ
ธุรกิจตลอดจนวางรากฐานการแข่งขันเชงิ ธรุ กิจรูปแบบใหม่ในระยะยาว ภายใต้การส่งเสริมเศรษฐกจิ
ดิจิทัลจึงจำเป็นต้องเร่งสร้างระบบนิเวศสำหรับธุรกิจดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการยกระดับและพัฒนา
ขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ ที่จะส่งผลต่อการขยายฐานเศรษฐกิจและอัตรา
การจา้ งงานของไทยอย่างยงั่ ยืนในอนาคต

ยทุ ธศาสตร์ที่ 3 สร้างสังคมคุณภาพทีท่ ว่ั ถึงเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีดจิ ิทัล การสร้าง
สังคมคุณภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล หมายถึง การพัฒนาประเทศไทยที่ประชาชนทุกกลุ่มโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งกลุ่มเกษตรกร ผู้ที่อยู่ในชุมชนห่างไกล ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และคนพิการ สามารถเข้าถึง
และใช้ประโยชน์จากบริการต่างๆ ของรัฐผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล มีการรวบรวมและแปลงข้อมูล
องค์ความรูข้ องประเทศท้งั ระดับประเทศและระดับทอ้ งถน่ิ ให้อยใู่ นรูปแบบดิจิทลั ที่ประชาชนสามารถ
เข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยง่ายและสะดวก โดยประชาชนมีความรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร
และมที ักษะในการใชป้ ระโยชน์จากเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั อย่างมีความรับผิดชอบต่อสงั คม

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรฐั บาลดิจทิ ัล ปรับเปลี่ยนภาครัฐส่กู าร
เป็นรัฐบาลดิจิทัล หมายถึง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหาร
จัดการของหน่วยงานรัฐทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบจนพัฒนาสู่การ
เป็นรัฐบาลดิจิทัลโดยสมบูรณ์ โดยลักษณะของบริการภาครัฐหรือบริการสาธารณะจะอยู่ในรูปแบบ
ดิจิทัลที่ขับเคลื่อนโดยความต้องการของประชาชนหรือผู้ใช้บริการ ซึ่งประชาชนทุกคนสามารถเข้าถงึ
บรกิ ารไดโ้ ดยไม่มีข้อจำกดั ทางกายภาพ พื้นท่ี และภาษา และในระยะต่อไป รฐั บาลสามารถหลอมรวม
การทำงานของภาครัฐเสมือนเป็นองค์กรเดียว ภาครัฐจะแปรเปลี่ยนไปเป็นผู้อำนวยความสะดวก
ในการสร้างบริการสาธารณะโดยเอกชนและประชาชน เรียกว่า บริการระหว่างกัน (Peer to Peer)
ตามหลักการออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design) ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแนว
ทางการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจการปกครอง/บริหารบ้านเมือง และเสนอความคิดเห็น
ต่อการดำเนินงานของภาครฐั ไดอ้ ยา่ งสมบูรณ์

ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
การพัฒนากำลังคนดิจิทัล หมายถึง การสร้างและพัฒนาบุคลากรผู้ทำงานให้มีความสามารถ
ในการสร้างสรรค์และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาดในการประกอบอาชีพ รวมถึงการพัฒนา
ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในบุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งที่ประกอบอาชีพในสาขาเทคโนโลยี
ดิจิทัลโดยตรงและทุกสาขาอาชีพ ให้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญตามระดับ

24

มาตรฐานสากล เพื่อสร้างให้เกิดการจ้างงานที่มีคุณค่าสูงรองรับการพัฒนาประเทศในยุคเศรษฐกิจ
และสังคมที่ใชเ้ ทคโนโลยดี ิจทิ ัลเปน็ ปจั จัยหลกั ในการขบั เคล่ือน

ยุทธศาสตร์ที่ 6 สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การสร้างความเช่ือม่นั
ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หมายถึง มาตรฐาน กฎหมาย กฎ ระเบียบ และกติกาที่มีประสิทธิภาพ
ทันสมัยและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์สากลที่มาเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
ของประเทศตลอดจนการสร้างความม่นั คงปลอดภัยการสร้างความเชือ่ ม่ัน และการค้มุ ครองสทิ ธใิ หแ้ ก่
ผู้ใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในทุกภาคส่วน เพื่อก่อให้เกิดการอำนวยความสะดวก ลดอุปสรรค
เพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ พร้อมกับสร้างแนวทางขับเคลื่อนอย่าง
บรู ณาการเพ่ือรองรบั การเติบโตของเทคโนโลยีดจิ ิทลั ในอนาคต

กล่าวโดยสรปุ ยทุ ธศาสตรก์ ารพัฒนาดจิ ทิ ัลเพอื่ เศรษฐกจิ และสังคม ทกุ ยุทธศาสตร์
เกยี่ วขอ้ ง กบั การนำเทคโนโลยีดิจทิ ัลมาใชก้ บั การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2.2 การจดั การศกึ ษาอาชีวศกึ ษา
2.2.1 จดุ มงุ่ หมายของการอาชีวศกึ ษา
ตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 หมวดที่ 1 มาตรา 6 ระบุไว้ว่า

การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพต้องเป็นการจัดการศึกษาในด้านวิชาชีพที่สอดคล้อง
กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคน
ในด้านวิชาชีพระดับฝีมือ ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี รวมท้ังเป็นการยกระดับการศึกษา
วิชาชีพให้สูงขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยนำความรู้ในทางทฤษฎี
อันเป็นสากลและภูมิปัญญาไทยมาพัฒนาผู้รับการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในทางปฏิบัติ
และมีสมรรถนะจนสามารถนำไปประกอบอาชีพในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือประกอบอาชีพได้อยา่ งอิสระ
ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวดที่ 1 มาตราที่ 6
ที่ระบุว่า การจัดการศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกาย
จิตใจ สติ ปัญญา ความรู้ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี
ความสขุ (เก่ง ดี มสี ขุ ) (พระราชบญั ญตั ิการอาชีวศกึ ษา พ.ศ. 2551, 2551)

2.2.2 หลักการจดั การศกึ ษาดา้ นการอาชวี ศกึ ษา
ในการจัดการศึกษาด้านการอาชีวศึกษาให้มีประสิทธิภาพนั้น จะมุ่งเน้นไปที่

การเตรียมกำลังคนระดับต้นและระดับกลางด้านเทคนิคในสาขาต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการ
ของสถานประกอบการและตลาดแรงงาน เพื่อให้สอดคล้องต่ออุดมการณ์และหลักการในการจัดการ
อาชีวศึกษาที่กล่าวโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาคือ การพัฒนากำลังคนระดับฝีมือ
ระดับเทคนิคและระดับเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดคุณภาพตามสมรรถนะอาชีพที่กำหนดไว้ โดยจัด
ในสถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาของเอกชน สถานประกอบการ หรือโดยความร่วมมือระหว่าง

25

สถานศึกษากับสถานประกอบการอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้
จะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาชาติ ปรัชญาการ
อาชีวศึกษา ที่ดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนทรัพยากรตามหลักเศรษฐกจิ พอเพียงเพื่อผลิตกำลังคน
ที่มีคุณภาพให้มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศ โดยเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา
ด้านการอาชีวศึกษาที่สำคัญที่สุดนั้นจะอยู่ที่การมุ่งพัฒนาคนให้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่โดยคำนึงถึง
สภาพแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน การให้การศึกษาตลอดชีวิต มีคุณวุฒิวิชาชีพโดยจัดการเรียนรู้
แบบเปิดและยืดหยุ่น มีการรับรองและเทียบโอนประสบการณ์ ให้ความสำคัญกับการอาชีวศึกษา
ในระดับสูงโดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ มกี ารปฏริ ปู การลงทุนให้สอดคลอ้ งกับแผนพัฒนาการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) มีเกณฑ์มาตรฐานและตัวชี้วัดต่าง ๆ ในการ
จัดการเพื่อคุณภาพ มีการเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาที่หลากหลายเข้ากับการทำงานจริงโดยการใช้
หลักสูตรฐานสมรรถนะ การใช้ทักษะหลักและทักษะที่จำเป็นเพื่อการดำเนินชีวิต อีกทั้งบุคลากร
ด้านการอาชีวศึกษาต้องมีคุณวุฒิ คุณภาพและคุณสมบัติที่เหมาะสม มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพอ่ื ให้ผู้สำเรจ็ การศกึ ษาและผปู้ ฏบิ ัตงิ านสายวชิ าชีพเทยี บได้กับสาขาวชิ าชีพอืน่

2.2.3 หลักการจัดการศกึ ษาด้านวชิ าชพี
การฝึกอบรมด้านวิชาชีพเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรสำหรับอาชีพ

โดยมีการกำหนดระดับทักษะที่ผู้เรียนควรจะได้รับ หรือต้องมีวิชาที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
และแต่ละพันธกิจ มีการกำหนดความรู้ ความสามารถทั้งความรู้ที่เป็นหลักวิชา ความรู้ที่สัมพันธ์กับ
ทักษะ กำหนดคุณลักษณะ (Trait) เจตคติ (Attitude) จริยธรรม (Ethics) และจรรยาบรรณ (Code
of Conduct) ที่พึงมีของผู้เรียนเมื่อจบการศึกษา เพื่อสร้างอัตลักษณ์ทางวิชาชีพ ส่งเสริม
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย คณะ ภาควิชา หน่วยงาน และสมาชิกภายในทีมให้มีประสิทธิภาพ
สร้างองค์ความรู้และความเชีย่ วชาญ ก่อให้เกิดความเข้าใจต่อบทบาทของการทำงานและตระหนักถงึ
คณุ ค่าวชิ าชีพในสายงานนนั้ ๆ

2.3 การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (Online Learning) หรือ การจัดการเรียนการสอนแบบ

เสมือนจริง (Virtual Classroom) เป็นนวัตกรรมสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่ได้รับการพัฒนา
อย่างต่อเนือ่ ง สามารถใช้เปน็ สื่อเสริมและสื่อหลัก ร่วมกับการจดั การเรียนการสอนแบบห้องเรยี นปกติ
หรือการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended learning) ที่ผู้สอนสามารถออกแบบและจัดการเรียน
การสอนในห้องเรียนปกติควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้ ทำให้การจัดการเรียนการ
สอนในห้องเรียนปกติ (Onsite Learning) และการจัดการเรียนการสอนออนไลน์มคี วามสมบูรณแ์ ละ
มปี ระสทิ ธิภาพมากยงิ่ ขน้ึ การจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ถกู พัฒนาและเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตาม
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มักมีองค์ประกอบหลัก ๆ ประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหาวิชา

26

ระบบบริหารจัดการรายวิชา เทคโนโลยีและการสื่อสาร แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แบบฝึกหัด
แบบฝึกปฏิบัติ และแบบทดสอบ การจัดเรียนการสอนออนไลน์มีหลายรูปแบบและมีชื่อเรียก
ที่แตกต่างกันไปหลายลักษณะ อาทิ การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction)
การจดั การเรียนการสอนรายวิชาผ่านเว็บ (Web-Base Course) เวบ็ การเรียนการสอน (Web-Based
Learning) เวิลด์ไวด์เว็บช่วยสอน (WWW-Based Instruction) การเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
(Online Instruction) การสอนโดยใช้อนิ เทอรเ์ น็ตเปน็ ฐาน (Internet-Based Instruction) การเรียน
การสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) (อนิรุทธ์ สติมั่น, 2550) สอดคล้องกับ Khan (2004)
นักเทคโนโลยกี ารศึกษา นักเขียน และทป่ี รกึ ษาการจดั การเรียนการสอนออนไลนร์ ะดบั โลก ท่ีกลา่ วไว้
ว่าการเรียนการสอนออนไลน์ยังมีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาชน
(Massive Open Online Course) หรือ MOOC บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Web Based
Instruction)) การเรียนการสอนแบบการกระจายศูนย์ (Distributed Learning) การเรียนการสอน
แบบการกระจายศูนย์ข้นั สูง (Advance Distributed Learning) การจดั การศกึ ษาทางไกล (Distance
Learning) การเรียนการสอนออนไลน์ (Online Learning) และการเรียนการสอนแบบไร้สาย
(Mobile Learning) อีกดว้ ย

การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ถึงแม้จะอยู่คนละสถานที่กันก็สามารถเรียนและสอน
ในเวลาเดียวกนั ระหวา่ งผูเ้ รียนและผู้สอนเหมอื นในหอ้ งเรียนปกติ เรียกว่าการเรยี นแบบประสานเวลา
(Synchronous) เป็นการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบเรียลไทม์ (Realtime) หรือสอนสด
(Live) ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อาทิ Google Meet, Microsoft Teams และ
Zoom เป็นต้น และยังสามารถเรียนและสอนคนละเวลากันระหว่างผู้เรียนและผู้สอนได้เช่นเดียวกัน
เรียกว่าการเรียนแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous) เป็นการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
แบบไม่เรียลไทม์ (Unrealtime) เช่น การสร้างห้องเรียนหรือบทเรียนออนไลน์ (E-Learning)
เอาไว้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าไปเรียนตอนไหนก็ได้ ที่ผู้เรียนพร้อมจะเรียนรู้และอยากเรียนรู้ผ่าน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยผู้สอนจัดเตรียมเนื้อหาวิชา ระบบบริหารจัดการรายวิชา
เทคโนโลยีและการสื่อสาร แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แบบฝึกหัด แบบฝึกปฏิบัติ และแบบทดสอบ
ไว้ล่วงหน้า แล้วกำหนดวันและเวลาให้ผู้เรียนเข้าไปทำกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้สำหรับการเรียนแบบไม่ประสานเวลา อาทิ Google Classroom,
Microsoft Teams, Edmodo และ Moodle เป็นต้น

27

ภาพท่ี 2-2 การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์แบบ Synchronous ดว้ ย Google Meet
สรุปได้ว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้การจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ เป็นการจัดการเรียนที่สามารถใช้กับการจัดการเรียนการสอนแบบประสานเวลา
(Synchronous) และการเรียนแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous) สามารถใช้การจัดการเรียน
การสอนออนไลน์เป็นสื่อหลักสำหรบั การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (Online Learning) และเป็น
สอื่ เสรมิ สำหรับการจัดการเรยี นการสอนในห้องเรยี นปกติ (Onsite Learning)
2.3.1 นิยามของการจดั การเรียนการสอนออนไลน์

นักวิชาการทั้งชาวไทยและตา่ งประเทศหลายทา่ นให้ความหมายของการจดั การเรยี น
การสอนออนไลน์ไว้ ดงั นี้

Khan (2004) ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมที่เข้าถึงได้โดยสะดวกสำหรับผู้เรียน
มีการออกแบบที่ดี ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการออกแบบให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
และมีสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เอื้อให้กับผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะเรียนได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
โดยใช้ทรัพยากรที่อยู่ในรูปของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เอื้อและเปิดกว้าง
สำหรับผู้เรียน

Anderson (2008) ให้ความหมายไว้ว่า การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงสื่อและวัสดุ
สำหรบั การเรยี นรู้ ด้วยการมีปฏิสมั พันธก์ ับเนื้อหา ผสู้ อน ผูเ้ รยี นคนอ่นื ๆ และสนับสนุนกระบวนการ
เรียนรู้เพื่อท่ีจะได้รับความรู้ เพื่อสร้างนิยามส่วนบุคคลและความเจริญงอกงามไปตามประสบการณ์
การเรยี นรู้

28

ปรัชญนันท์ นิลสุข (2542) ให้ความหมายไว้ว่า การใช้เว็บเป็นสื่อในการนำเสนอ
ข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย เสนอความคิดเห็น โดยใช้เครื่องมือผ่านเวิลด์ไวด์เว็บที่ได้รับ
การออกแบบและจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอน มีกระบวนการเหมือนกับการเรียน
การสอนในห้องเรียนปกติ แต่เป็นการเชื่อมโยงระหว่างผู้เรียนกับผู้จัดการเรียนการสอนโดยระบบ
อินเทอรเ์ น็ต

จินตวีร์ คล้ายสังข์ (2560) ให้ความหมายไว้ว่า เป็นการเรียนการสอนที่รวมถึงการ
ถ่ายทอดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนการวัดและประเมินผล ผ่านตัวอักษร
ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วิดีทัศน์ และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บในการ
ถ่ายทอด

สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ คือ นวัตกรรมสำหรับการพัฒนา
ศักยภาพของผู้เรียนแบบประสานเวลาและไมป่ ระสานเวลา ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ
และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยอาศัยความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำเสนอเนื้อหา
กิจกรรมการเรียนการสอน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การวัดและการประเมินผล
และการติดต่อและติดตามผู้เรียน โดยผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนต้องเทียบเท่าการจัดการเรียน
การสอนในชัน้ เรียนปกติ

2.3.2 หลกั การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์
นอกจากผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เทียบเท่าการจัดการเรียนการสอน

ในห้องเรียนปกติแล้ว การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการนำวัสดุ
(Software) อุปกรณ์ (Hardware) เทคนิคและวิธีการ (Technique) และเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital
Technology) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โปรแกรมคอมพิวเตอร์
และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน
ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน เรียกว่า Digital Literacy ที่ผู้เรียน
จะมีความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และการทำงาน
ให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2563) ได้ระบุว่า
การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์มีหลักการพืน้ ฐาน ประกอบดว้ ย

1. การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหา
ของบทเรียนได้ทกุ เวลา โดยผเู้ รยี นและผสู้ อนไม่จำเป็นจะต้องอยูเ่ หน็ หน้าในห้องเรียนเดยี วกัน และใน
เวลาเดยี วกนั เสมอไป แตกตา่ งจากการจัดการเรียนการสอนในหอ้ งเรียนปกติ

2. ผู้เรียนทุกคนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกัน และสามารถเข้าถึงบทเรียน
ออนไลน์ได้ตลอดเวลาด้วยความสะดวก ไม่ได้หมายความว่าผู้สอนต้องรับโทรศัพท์หรือตอบคำถาม
ออนไลน์กับผู้เรียนตลอดเวลา แต่สามารถใช้รูปแบบของการสื่อสาร อาจทำได้ในลักษณะการรับส่ง

29

ข้อความธรรมดา การสื่อสารกนั ด้วยเสยี ง หรือรับส่งสัญญาณภาพวิดีทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต ขึ้นอยู่กบั
ความพร้อมของผู้เรียน ผู้สอน และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของ
คอมพวิ เตอร์

3. จัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ เนื่องจากจะช่วยพัฒนาความคิด ความเข้าใจ
ของผู้เรียนได้ดีกว่าการทำงานคนเดียว ทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ความเป็นทีม การแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นระหว่างกัน ผู้เรียนจะต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อหาหนทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา
ผา่ นเครอื ขา่ ยอินเทอรเ์ นต็ รวมถึงฮาร์ดแวร์และซอฟตแ์ วร์ของคอมพวิ เตอร์

4. ให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง หลีกเลี่ยงการกำกับ ผู้สอนเป็น
ผู้ป้อนข้อมูลหรือคำถาม ผู้เรียนควรเป็นผู้ขวนขวายใฝ่หาองค์ความรู้หรือคำตอบโดยการแนะนำของ
ผู้สอน

5. ใหผ้ ลยอ้ นกลับแก่ผ้เู รยี นโดยทันทีทันใด ช่วยให้ผ้เู รยี นได้ทราบถงึ ความสามารถ
ของตน อีกทัง้ ยังชว่ ยให้ผู้เรียนสามารถปรบั แนวทาง วธิ กี าร หรือพฤติกรรมให้ถูกต้องได้ ผูเ้ รยี นท่เี รียน
ออนไลน์สามารถไดร้ บั ผลยอ้ นกลบั จากท้งั ผ้สู อนและจากผู้เรยี นคนอื่นได้ทันทที ันใด แม้วา่ แต่ละคนจะ
ไม่ไดน้ งั่ เรียนในหอ้ งเรียนแบบเผชญิ หน้ากันกต็ าม

6. จัดการเรียนการสอนได้ไม่มีขีดจำกัด สำหรับบุคคลที่ใฝ่หาความรู้ การเรียน
การสอนออนไลน์เป็นการขยายโอกาสให้ทุกคนที่สนใจศึกษาเรียนรู้ เนื่องจากผู้เรียนไม่จำเป็นต้อง
เดนิ ทางไปเรยี น ณ ทใี่ ดท่หี นึ่ง ผ้ทู ี่สนใจสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง

การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เป็นเครื่องมือที่ทำให้การเรียนการสอนสามารถ
ขยายผลหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนได้ในหลายมิติ อาทิ มิติของการขยายระยะทาง
ผู้เรยี นและผูส้ อนไมจ่ ำเปน็ จะตอ้ งอยใู่ กลก้ ัน มติ ิของเวลา ผู้เรยี นและผสู้ อนไมจ่ ำเปน็ จะตอ้ งอยู่ในเวลา
เดียวกัน และมิติของจำนวน ผู้สอนหนึ่งคนสามารถสอนผู้เรียนได้ครั้งละมาก ๆ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับ
พัฒนาการของเทคโนโลยีและการสื่อสาร ที่เข้ามาปฏิรูปสื่อการเรียนการสอนให้เป็นรูปแบบดิจิตอล
การสื่อสารความเร็วสงู ผนวกกับเทคโนโลยีดา้ นคอมพิวเตอรท์ มี่ ีการเขยี นโปรแกรมให้สามารถควบคุม
กิจกรรมการเรียนการสอนให้ทดแทนเสมือนกับการเรียนในห้องได้ ถึงแม้ในปัจจุบันจะไม่สามารถ
ทดแทนครผู สู้ อนได้ท้ังหมดกต็ าม

ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ผู้สอนควรเน้นที่ผลลัพธ์ทีจ่ ะได้หรือที่จะ
เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นหลัก มากกว่าการเน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพียง
อย่างเดียวการพิจารณาเทคโนโลยีและการสื่อสารที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
สมคดิ แซ่หลี และศวิ พร ลินทะลึก (2563) ได้นำเสนอหลกั ในการพิจารณา ดงั นี้

1. พิจารณาผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหน่วยการเรียนหรือเป้าหมายของการ
เรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดกับตัวนักเรียน โดยในส่วนนี้ผู้สอนอาจพิจารณาว่าผลการเรียนรู้ที่คาดหวังใด

30

สามารถนำมาออกแบบให้เป็นการเรียนการสอนออนไลน์ได้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังใด
ไม่สามารถประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนออนไลน์ โดยเฉพาะทักษะปฏิบัติที่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ
เฉพาะที่มีเฉพาะในสถานศึกษาเท่านั้น ดังนั้นหากหัวข้อใดที่ไม่สามารถใช้การเรียนการสอนออนไลน์
ได้ ผู้สอนควรที่จะออกแบบวิธีการสอนโดยช่องทางอื่น หรือใช้ช่องทางการเรียนการสอน
ในรูปแบบเดิมที่มีจุดแข็งอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะมีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีระยะห่างทางสังคม
ระหว่างทล่ี งมอื ปฏิบัติ

2. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง หลังจาก
เลือกผลการเรียนรู้ที่สามารถออกแบบกิจกรรมเป็นออนไลน์ได้แล้ว ก็จะต้องออกแบบกิจกรรม
ท่ีสามารถปฏิบัติได้จริงผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ โดยผู้สอนจะต้องมีความรู้ในเครื่องมือออนไลน์
เพื่อที่จะได้ทราบว่าเครื่องมือเหล่านั้นมีข้อจำกัด และมีความสามารถในด้านใดบ้าง
เพื่อจะได้นำมาเป็นปัจจัยในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ให้สอดรับกับผลการเรียนรู้
ที่เป็นเป้าหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์
ควรยึดหลักความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสื่อดิจิทัล และความเท่าเทียมกันในการสื่อสาร เนื่องจาก
การเรียนการสอนแบบออนไลน์นัน้ การสื่อสารถือวา่ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำพาเนือ้ หาและวิธีการ
เรียนการสอนไปยังผเู้ รยี น

3. พจิ ารณาเลือกวธิ กี ารเรียนออนไลนท์ เ่ี หมาะสมกับกจิ กรรมท่ีออกแบบ โดยอาจจะ
เลอื กกจิ กรรมการจดั การเรยี นการสอนเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คอื

3.1 Synchronous Learning เป็นการออกแบบกจิ กรรมการเรียนการสอน
ให้ผู้สอนและผู้เรียนจะต้องสอนและเรียนในเวลาเดียวกัน ผ่านเทคโนโลยีและการสื่อสารการเรียน
การสอนแบบประชุมวิดีโอทางไกล (VDO Conference) เพื่อเป็นการจำลองห้องเรียนเสมือนขึ้นมา
เนน้ การประเมินผลทันทีในห้องเรยี นเสมอื น

3.2 Asynchronous Learning เป็นการออกแบบกิจกรรมการเรียน
การสอนทเ่ี นน้ ให้ผเู้ รียนเรยี นรู้ด้วยตนเอง โดยผสู้ อนอาจจะผลิตสื่อไวก้ อ่ น ในการเลอื กวธิ กี ารเรียนนั้น
อาจจะตอ้ งพิจารณาถงึ ลกั ษณะเน้ือหาในแตล่ ะบทแต่ละตอน ว่ามคี วามเหมาะสมท่ีจะเรียนด้วยวธิ กี าร
ใด ซึ่งในเคร่อื งมือออนไลน์สามารถทจ่ี ะผสมผสานวธิ ีการเรียนท้ังแบบเผชิญหนา้ และแบบเรียนรู้ด้วย
ตนเอง ผสมผสานกันในช้ันเรยี นแต่ละสัปดาห์ได้ ท้ังนี้ข้นึ อยู่กบั การออกแบบกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์
ของผสู้ อน

4. เลอื กเครื่องมือออนไลน์ที่จะรองรับวธิ กี ารเรยี นทไ่ี ดพ้ ิจารณาไว้แลว้ ในการเลือก
เครื่องมือที่รองรับวธิ ีการเรยี นการสอน มหี ลกั พิจารณาดังนี้

4.1 ให้พิจารณาจากสิ่งแวดล้อมที่สถานศึกษามีอยู่ เนื่องจากเครื่องมือ
ออนไลน์ส่วนใหญ่ที่มีความสามารถสูงนั้น มักจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการขอใช้งาน ดั งนั้นหาก

31

สถานศึกษามีการสมัครใช้บริการเพื่อการศึกษาฟรีใด ๆ ที่มีอยู่แล้ว ผู้สอนควรเลือกพิจารณา
ใชเ้ ครอ่ื งมือทมี่ อี ยู่นั้นก่อน

4.2 เครื่องมือออนไลน์ส่วนใหญ่มีให้ทดลองใช้ฟรี แต่มักจะต้องเสีย
ค่าบริการใช้งานภายหลัง ในช่วงที่ใช้ฟรีนั้นมักจะเป็นการใช้ฟรีอย่างจำกัด เช่น สามารถใช้ได้กับ
นักศึกษาไม่เกิน 30 คน หรือได้เพียง 2 ห้อง หรือใชไ้ ด้นานระยะสั้นไม่เกนิ 90 วัน เป็นต้น เมื่อใชง้ าน
ไปแล้วจำเป็นจะต้องขยายระยะเวลาหรือเพิ่มความสามารถ ทำให้จะต้องวางแผนในการเลือกใช้
เครอื่ งมือท่สี ามารถทดลองใช้ได้ฟรีจนครบภาคการศึกษา หรอื ใช้ไดฟ้ รีในระยะยาว

4.3 เลือกเครื่องมือที่มีส่วนเสริมที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ และบรรลุ
เป้าหมายของการเรียนการสอนได้อย่างดีที่สุด บ่อยครั้งที่เครื่องมือออนไลน์มักจะมีข้อจำกัดในการ
เชื่อมข้อมูลต่อระหว่างโปรแกรม เช่น เวลาใช้งานจะต้องไปสมัคร User บัญชีใหม่เพื่อใช้งานอีก
ฟังก์ชันหน่ึง และกไ็ มส่ ง่ ขอ้ มูลเช่ือมต่อซง่ึ กันและกนั ทำใหต้ ้องมบี ญั ชยี ่อยหลายบญั ชี เป็นต้น

4.4 เลือกเครื่องมือที่จะทำให้สามารถย้ายเนื้อหาไปบนเครื่องมือตัวอื่น
ไดง้ ่าย บอ่ ยคร้ังทเ่ี ครอ่ื งมอื ออนไลน์มักจะจงู ใจให้เขา้ ไปสร้างเนือ้ หา และเมื่อใช้งานจนถงึ ขอ้ จำกัดแลว้
เนื้อหาเหล่านั้นก็ไม่สามารถย้ายไปใช้กับระบบอื่นได้ ทำให้จะต้องไปสร้างเนื้อหาใหม่เมื่อเปลี่ยน
เครอ่ื งมอื

4.5 เลือกเคร่ืองมือท่ีมีวธิ ีการใช้งานง่าย ทำง่ายตอ่ ผูส้ อนในการใชง้ าน และ
งา่ ยตอ่ ผเู้ รียนในการเข้าถึง

5. ฝึกฝนการใช้เครื่องมือออนไลน์ให้คล่องแคล่ว และให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เครื่องมือออนไลน์ผู้สอนควรจะมีทักษะในการใช้งานที่คล่องแคล่ว เพื่อที่จะได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือ
กับห้องเรียนได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด อาจจะมีการทดลองฝกึ ใช้กับผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้
เกิดทักษะการนำไปใช้ และรู้ถึงจุดจำกัดของเครื่องมือแต่ละตัว เพื่อที่จะได้เป็นการป้องกันและการ
แกป้ ญั หาในระหว่างการเรยี นการสอนออนไลน์ได้

6. การประเมินผลการออกแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เมื่อผู้สอน
ได้นำเครื่องมือออนไลน์มาใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์แล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอน
จะต้องประเมินผล เพื่อเป็นการตรวจสอบตัวเอง ทั้งในดา้ นทักษะการนำไปใช้ วิธีการนำไปใช้ เทคนิค
วิธีการนำเครื่องมือมาใช้ โดยตรวจสอบจากผลย้อนกลับ (Feedback) จากผู้เรียน หรือการสังเกต
พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีหรือไม่ พฤติกรรม
เหล่านั้นตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังมากน้อยเพียงใด สามารถที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย
ของการเรยี นรไู้ ด้หรอื ไม่ ผลการประเมินเหล่านีจ้ ะนำไปสู่การพัฒนาตนเองของผู้สอนในการออกแบบ
วธิ ีการเรยี นรูอ้ อนไลนใ์ นรอบถดั ไป

32

สรุปได้ว่า ผู้สอนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพิจารณาเลือกวิธีการและเทคโนโลยี
และการสื่อสารที่จะดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยจะต้องพิจารณาเป้าหมายการ
เรียนรู้ ตัดสินใจเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม ฝึกฝนใช้อย่างคล่องแคล่ว นำไปใช้อย่างเข้าใจ และ
ประเมินทิศทางของผลลัพธ์ที่ได้จากการนำไปใช้ว่าสามารถบรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ได้มากน้อย
เพียงใด เพื่อใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาตนเองในการออกแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ
ออนไลนใ์ นรอบต่อ ๆ ไปให้ดียงิ่ ขน้ึ

2.3.3 รปู แบบการจดั การเรยี นการสอนแบบออนไลน์
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (Online Learning Model) หมายถึง

แนวคิดของกระบวนการหรือลำดับขั้นตอนที่ได้รับการศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา
และประเมินผลมาเป็นอย่างดีว่าสามารถใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้ เพื่อให้ผู้สอน
หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์นำไปใช้เป็นแนวทาง
ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีคุณภาพ
และมีประสิทธิภาพผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีการเตรียมการ วางแผน ออกแบบ และพัฒนา
เป็นอย่างดี ไมต่ า่ งจากการจดั การเรียนการสอนในชัน้ เรยี นปกติ เพ่อื ใหผ้ เู้ รียนมผี ลลัพธท์ างการเรียน
ที่ดีที่สุด รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่นิยมใช้กันมีมากมายหลายรูปแบบ อย่างไร
ก็ตามแม้ว่าแต่ละแบบจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน แต่มักมีพื้นฐานหรือที่มาของรูปแบบ
ที่มีขั้นตอนคล้ายคลึงกัน คือมักจะประกอบด้วยขั้นตอนการวางแผน (Planning) การวิเคราะห์
(Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implementation)
และการประเมินผล (Evaluation) หรือ PADDIE สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์
ในที่นจ้ี ะได้นำเสนอรปู แบบการจดั การเรียนการสอนแบบออนไลน์ 3 รูปแบบ ประกอบดว้ ย

1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ Khan’s E-Learning P3 Model
การจัดการเรยี นการสอนออนไลน์มีรปู แบบให้เลือกมากมายหลายแบบ อาทิ รูปแบบการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมอย่าง Khan’s E-Learning P3 Model ของ Khan
(2004) เป็นรูปแบบสำหรับการวางแผน ออกแบบ และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
ทั้งระบบและมีทรัพยากรเข้ามาเกีย่ วขอ้ งจำนวนมาก สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเตมิ ไดจ้ ากหนงั สอื
การออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง รายการตรวจสอบ ฉบับภาษาไทยแปลโดยสถานวิจัย
น ว ั ต ก ร ร ม ท า ง ก า ร ศ ึ ก ษ า แ ล ะ ก า ร เ ร ี ย น ก า ร ส อ น ท ี ่ เ ป ็ น เ ล ิ ศ ค ณ ะ ศ ึ ก ษ า ศ า ส ต ร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ณ www.badrulkhan.com มีองค์ประกอบได้แก่ People ที่เน้นการ
เรียนรู้ด้วยตนเอง Process ที่เน้นการจัดเตรียมเนื้อหาความรู้ให้กับผู้เรียนตามกระบวนการ การ
วเิ คราะหแ์ ละวางแผน การออกแบบ การพัฒนา และการประเมนิ ผล และเน้นการนำส่งเนือ้ หาความรู้
ที่จัดเตรียมไว้อยา่ งดีแล้วไปถึงผู้เรียนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล และ Product ซึ่งเป็นผลลัพธ์หรือผลผลิต

33
ที่ได้จากกระบวนการ Process ดังรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของ Khan’s
E-Learning P3 Model ภาพท่ี 2-3

ภาพที่ 2-3 รปู แบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลนข์ อง
Khan’s E-Learning P3 Model ที่มา: Khan (2004)

2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์อาชีวศึกษายุควิกฤติโควิด 19
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์อาชีวศึกษายุควิกฤติโควิด 19 (อภิชาติ อนุกูลเวช, 2563)
มีขั้นตอนในการดำเนินการที่เกี่ยวขอ้ งกับผู้เรียน และผู้สอน จำนวน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นการ
เตรยี มความพร้อม ขัน้ การจดั การเรยี นการสอน และขัน้ ประเมินผลมรี ายละเอยี ดแต่ละข้นั ดงั นี้

34

ภาพที่ 2-4 รูปแบบการจดั การเรยี นการสอนออนไลนอ์ าชวี ศึกษายคุ วกิ ฤติโควิด 19
ท่ีมา: อภิชาติ อนกุ ูลเวช (2563)

2.1 ขั้นการเตรยี มความพรอ้ ม
2.1.1 ผู้เรยี น มีหน้าที่ต้องเตรยี มความพรอ้ มดงั ต่อไปน้ี
- เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน เช่น โทรศัพท์มือถือ

แทบ็ เลต็ โนต้ บคุ๊ หรอื คอมพวิ เตอร์ ฯลฯ
- เตรียมติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ในการสนทนา เช่น Zoom, Google

Meet หรือ Microsoft Teams
- ตรวจสอบตารางเรียนออนไลน์ รหัสผู้ใช้งานเครือข่ายและ

รหัสผา่ น
- ตรวจสอบความเรว็ ของอนิ เทอร์เนต็

2.1.2 ผสู้ อน มหี น้าทีต่ ้องเตรียมความพรอ้ มดังตอ่ ไปนี้
- เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน เช่น โทรศัพท์มือถือ

แท็บเลต็ โนต้ บุ๊คหรือคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
- เตรียมติดตั้งโปรแกรมที่ใช้ในการสนทนา เช่น Zoom, Google

Meet หรือ Microsoft Teams
- เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอน เช่น มือถือ แท็บเล็ต

โน้ตบุ๊คหรอื คอมพิวเตอร์ ไมโครโฟน และกล้องเว็บแคม เป็นตน้

35

- สำรวจความพร้อมของผเู้ รียนเปน็ รายบคุ คล
- ศึกษาการใช้โปรแกรมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เช่น
Zoom Cloud Meeting, Google Meet หรือ Microsoft Teams
- เตรียมบทเรียนออนไลน์ตามตารางสอน เตรียมรหัสผู้ใช้งาน
เครอื ขา่ ยและรหัสผ่าน
- ตรวจสอบความพรอ้ มของอินเทอรเ์ น็ตความเร็วสูง
2.2 ข้นั การจัดการเรียนการสอน
2.2.1 ผูเ้ รยี น มหี น้าทที่ ่ตี อ้ งทำดงั ตอ่ ไปน้ี
- ศึกษาตารางเรียน อ่านประกาศและข้อกำหนดต่าง ๆ ในการเรียน
- เข้ากลมุ่ Line, Facebook หรอื ชอ่ งทางอน่ื ๆ ตามท่ผี สู้ อนกำหนด
- เข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ เช่น Google Classroom หรือ
Moodle LMS และรว่ มแลกเปลย่ี นกบั ผ้สู อนประจำวชิ า
- สรุปองคค์ วามรู้จากบทเรียนออนไลน์ ส่งผลงานในรปู แบบตา่ ง ๆ
ผ่านระบบออนไลน์
2.2.2 ผู้สอน มหี น้าทีท่ ่ีตอ้ งทำดังตอ่ ไปนี้
- ตดิ ต่อกบั ผ้เู รียนทางกล่มุ Line, Facebook หรอื ช่องทางอ่นื ๆ
- นำเข้าสู่บทเรียนและให้คำแนะนำวิธีการเรียนกับบทเรียน
ออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom, Google Meet หรอื Microsoft Teams
- จัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ด้วย Google
Classroom หรอื Moodle LMS
- ให้คำปรึกษากับผเู้ รยี นตลอดการเรยี นการสอนออนไลน์ผ่านกลุ่ม
Line, Facebook หรอื ชอ่ งทางอน่ื ๆ
2.3 ขัน้ ประเมนิ ผล
2.3.1 ผู้เรียน มีหน้าทท่ี ่ีตอ้ งทำดังต่อไปนี้
- ส่งการบา้ น และแบบฝกึ หัด ผ่านระบบออนไลน์
- สง่ ชน้ิ งานและผลงาน ผา่ นระบบออนไลน์
- ทำการสอบในบทเรยี นออนไลน์
2.3.2 ผู้สอน มหี นา้ ท่ที ตี่ ้องทำดงั ตอ่ ไปน้ี
- ประเมนิ ผลงานของผูเ้ รียนท่ีสง่ ในบทเรียนออนไลน์ เชน่ การบ้าน
แบบฝึกหดั ชิน้ งานและไฟล์ผลงานตา่ ง ๆ

36

- ประเมินผลระหว่างเรียนของผู้เรียนผ่านระบบออนไลน์ทุก
สปั ดาห์ เช่น การสอบหลงั เรยี นในแต่ละหน่วย การประเมนิ ตามสภาพจริงของผเู้ รียน ฯลฯ

- ประเมนิ ผลหลงั เรียนจบทง้ั วิชาของผู้เรียนผ่านระบบออนไลน์
3. รปู แบบการจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ AL MIAP รปู แบบการจดั การเรียนการ
สอนออนไลน์อาชีวศึกษายุควิกฤติโควิด 19 มีขั้นตอนในการดำเนินการจำนวน 3 ขั้นตอน
ประกอบด้วย ขั้นการเตรียมความพร้อม ขั้นการจัดการเรียนการสอน และขั้นประเมินผล ดังที่ได้
กล่าวถงึ รายละเอียดแต่ละขั้นแล้ว แต่ละขน้ั ตอนลว้ นมีความสำคญั โดยเฉพาะข้ันการจัดการเรียนการ
สอนที่ผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อาทิ การบรรยาย-ถามตอบ การสาธิต การทดลอง
เป็นตน้ เพอ่ื ให้ผ้เู รียนได้มสี ว่ นร่วมในการลงมือกระทำและได้ใชก้ ระบวนการคดิ เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนได้
กระทำลงไป (Active Learning) ผู้สอนสามารถใช้แบบจำลองการเรียนการสอน AL MIAP
เปน็ กลยทุ ธใ์ นการจดั กิจกรรมการเรียนการสอนไดด้ ังภาพที่ 2-5

ภาพที่ 2-5 รปู แบบแบบจำลองการเรยี นการสอน AL MIAP
แบบจำลองการเรยี นการสอน AL MIAP เป็นกลยุทธ์ทีผ่ ู้สอนสามารถนำไปใช้ในการ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ ผู้เรียนจะได้มีส่วนร่วมในการลงมือกระทำและได้ใช้
กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนได้กระทำลงไป แบบจำลองการเรียนการสอน AL MIAP
ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน 4 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นสนใจ
ปญั หา ข้ันสนใจข้อมลู ขนั้ ลงมอื ปฏิบัติ และขน้ั ติดตามความกา้ วหน้า แต่ละขนั้ มรี ายละเอยี ด ดังน้ี

37

ขั้นที่ 1 Motivation ขั้นสนใจปัญหา/การจูงใจผู้เรียน คือ การนำสู่หัวข้อเรื่องและ
วัตถุประสงค์ได้ชัดเจน ใช้การรวมสื่อประกอบกับเทคนิคการถามเพื่อช่วยดึงความสนใจให้มากที่สุด
ใช้เวลาให้กะทัดรัด พยายามให้ผู้เรียนทั้งชั้นได้มีส่วนร่วม และการสรุปเพื่อจูงใจต้องให้ทำอย่าง
เหมาะสมตรงประเดน็ ทีจ่ ะนำผ้เู รียนศึกษาในเนอ้ื หาสาระต่อไป

ขั้นที่ 2 Information ขั้นสนใจข้อมูล คือ ขั้นที่ให้ผู้เรียนอ่านจากตำรา เรียนรู้ด้วย
ตนเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ควรจะได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ใช้อุปกรณ์ช่วยสอนและวางขั้นตอน
ในการใหเ้ นอื้ หาจากน้อยไปมาก จากงา่ ยไปยาก และตรงตามวัตถปุ ระสงคต์ ามหลักสตู ร

ข้ันที่ 3 Application ขั้นลงมือปฏิบัติ คือ การให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทดสอบ
ความสามารถภายหลังจากผ่านการรับเนื้อหาสาระว่า ผู้เรียนมีการรับและเข้าใจเนื้อหาได้มากน้อย
เพียงใด ใช้เป็นการทบทวนความจำเพื่อป้องกันการเลือนหาย ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ให้ผู้เรียนฝึกการ
ใช้สตปิ ญั ญาและการแก้ปัญหา เสรมิ สร้างการส่งถ่ายการเรียนรู้

ขัน้ ที่ 4 Progress ขัน้ ตดิ ตามความกา้ วหน้า คอื ขน้ั ตอนในการตรวจผลสำเร็จ หรอื
ขั้นในการตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลถึงทักษะ พฤติกรรม ความรู้
และเจตคติ

ในการนำแบบจำลองการเรียนการสอน AL MIAP มาใช้เป็นกลยุทธ์ในการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ นอกจากจะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นและส่วนร่วมในการ
เรยี นแลว้ ยงั ส่งเสริมทกั ษะความฉลาดทางดิจทิ ัลของผู้เรียนในประเดน็ ดงั ต่อไปนี้

1. การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ (Digital Low) อัตลักษณ์หรือทรัพย์สินหรืองานของผู้อ่ืน
ที่เผยแพรใ่ นรปู แบบดจิ ิทัล

2. ร้จู กั ป้องกันขอ้ มลู ส่วนตัว (Digital Protect) จากผไู้ ม่หวงั ดีในโลกไซเบอร์
3. เช็คก่อนแชร์ (Digital Check) แชร์ข้อมูลส่วนตัวในสื่อโซเชียลมีเดียอย่าง
ระมดั ระวงั
4. รทู้ ันภัยคุกคาม (Digital Threat) ท่เี กดิ ขน้ึ บนอินเทอร์เน็ต
5. ใช้อย่างปลอดภัย (Digital Security) รู้จักรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและ
อุปกรณด์ ิจิทลั
2.3.4 การจัดการชน้ั เรยี นแบบออนไลน์
การจัดการชั้นเรียน สุรางค์ โค้วตระกูล (2556) ให้ความหมายไว้ว่า การสร้างและ
การรักษาสิง่ แวดลอ้ มของห้องเรยี นเพื่อเอื้อตอ่ การเรียนรู้ของผู้เรียน หรือหมายถึงกิจกรรมทกุ อย่างท่ี
ผู้สอนทำเพื่อจะช่วยให้การสอนมีประสทิ ธิภาพและผู้เรียนมีผลสัมฤทธ์ิในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
ที่ตั้งไว้สำหรับบทเรียนหนึ่ง ๆ นอกจากนี้การจัดการห้องเรียนยังรวมถึงการที่ผู้สอนสามารถที่จะใช้
เวลาที่กำหนดไว้ในตารางสอนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ผู้สอนจะใช้

38

ในการสอนให้อยู่ในสภาพที่จะช่วยผู้สอนได้ในเวลาสอน สอดคล้องกับศศิธร ขันติธวรางกูร (2551)
ที่กล่าวว่าการจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน การจัดการกับ
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้เรียน การสร้างวินัยในชั้นเรียน ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนของผู้สอน และพัฒนาทักษะการสอนของผู้สอนให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจ
ในการเรยี น เพ่ือใหผ้ ู้เรยี นสามารถเรียนรูไ้ ดอ้ ยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ เนือ่ งจากการจดั การชั้นเรียนที่ดีมีผล
ต่อผู้เรียน อาทิ ผู้เรียนเกิดความอบอุ่นในขณะอยู่ในชั้นเรียน และมีความสุขในขณะที่มีการเรียน
การสอน ส่งเสริมสนบั สนุนบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในเวลาเรียนปกติและ
นอกเวลาเรียน ผู้เรียนและผู้สอนได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันตามธรรมชาติของรายวิชานั้น ๆ ส่งเสริม
ให้ผู้เรียนได้ตระหนักในเรื่องของวินัยในชั้นเรียน และช่วยป้องกันสิ่งรบกวนที่เป็นสภาพแวดล้อม
ภายนอกทม่ี ตี ่อการเรียนการสอนและการทำกิจกรรมตา่ ง ๆ ของผเู้ รียน

ภาพท่ี 2-6 การจัดการชนั้ เรียนแบบออนไลน์
การจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการจัดการชั้นเรียนออนไลน์ ทำให้
ผู้สอนและผู้เรียนมีความรู้สึกสบายกาย สบายใจ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมี
ประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่ผู้สอนและผู้เรียนยังไม่คุ้นเคยกับ
การเรียนการสอนรูปแบบนี้ ดังนั้นจึงแบ่งการจัดการชั้นเรียนออนไลน์ออกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย
การจัดการชั้นเรียนออนไลน์ด้านกายภาพ การจัดการชั้นเรียนออนไลน์ด้านจิตวิทยา (จิตใจ) และการ
จัดการชั้นเรียนออนไลน์ด้านการศึกษา เพื่อให้การจัดการชั้นเรียนออนไลน์มีประสิทธิภาพควร
ประกอบด้วยการจัดการชั้นเรียนออนไลน์ช่วงก่อนเริ่มเรียน ช่วงระหว่างเรียน และช่วงหลังเรียน มี
รายละเอียดดงั นี้

39

1. การจดั การชน้ั เรยี นออนไลนด์ า้ นกายภาพ
หากเป็นชั้นเรียนปกติการจัดการชั้นเรียนด้านกายภาพ อาจเป็นการจัด

อาคารสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ สื่อวัสดุอุปกรณ์ และแหล่งความรู้ที่เกื้อกูลต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติ
กิจกรรมของผู้เรียน แต่สำหรบั การจดั การชั้นเรยี นออนไลนเ์ นอื่ งจากผู้สอนและผู้เรียนอยคู่ นละอาคาร
คนละสถานทก่ี ัน การจัดการชนั้ เรียนดา้ นกายภาพอาจประกอบดว้ ย

1.1 การจัดสถานที่สำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เนื่องจาก
ผู้สอนและผู้เรียนอยู่คนละสถานที่กันและไม่ได้ใช้พื้นที่ของสถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอน
ดังนั้นสถานที่ที่จะใช้ในการเรียนออนไลน์เป็นสถานที่ใดก็ได้ เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องนอน สวนหย่อม
หน้าบ้าน ร้านกาแฟ หรือสถานที่อื่นใดทั้งในบ้านและนอกบ้านที่สงบ ร่มรื่น ร่มเย็น ไม่มีสิ่งรบกวน
ทางเสียงและทางสายตา เน้นสะดวกกายและสบายใจ ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเคลื่อนไหวได้อย่าง
อิสระ ไม่รบกวนบุคคลอื่น และที่สำคัญต้องไม่ห่างจากสัญญาณอินเทอร์เน็ต และทุกครั้งที่จัดการ
ชั้นเรียนออนไลน์ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องแจ้งแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องในบ้านให้รับทราบว่ากำลังจัด
กิจกรรมชั้นเรียนออนไลน์ เพื่อไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากการเรียนออนไลน์จำเป็นต้องใช้
กลอ้ งวิดีโอและไมโครโฟนในการนำเสนอภาพและเสียง

1.2 การจัดวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ วัสดุ
และอุปกรณ์เป็นสื่อที่ผู้สอนและผู้เรียนใช้เป็นตัวกลางในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ วัสดุและ
อุปกรณ์ในที่นี้ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต และอุปกรณ์เคลื่อนที่อื่น ๆ ที่สามารถ
มองเห็นภาพและได้ยินเสียง กล้อง ลำโพงหรือหูฟัง ไมโครโฟน โดยปกติกล้อง ลำโพงหรือหูฟัง และ
ไมโครโฟน ถูกติดตั้งมาพร้อมแล้วกบั คอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต และอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ผู้สอนและ
ผู้เรียนมี แหล่งจ่ายไฟ แหล่งจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ อาทิ Google Drive แหล่งจัดเก็บข้อมูลออฟไลน์
อาทิ ฮาร์ดดิสก์ และที่ขาดไม่ได้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันที่ผู้สอนและผู้เรียนตกลง
ร่วมกันที่จะใช้หรือสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดมาให้ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เช่น Google Meet
และ Microsoft Teams เป็นต้น รวมถึงสมุด ปากกา ดินสอ ยางลบ ซึ่งอาจจะไม่ได้ใช้ก็ได้เนื่องจาก
ส่ิงเหลา่ น้สี ามารถใชโ้ ปรแกรมคอมพวิ เตอรแ์ ละแอปพลิเคชันทดแทนไดท้ งั้ หมด
สรุปแล้วแค่ผู้สอนหรือผู้เรียนมีคอมพิวเตอร์ มือถือและอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ติดตั้งโปรแกรมตามท่ตี กลง
กันไวก้ ็สามารถจัดการเรยี นการสอนออนไลนไ์ ดแ้ ล้ว

1.3 การจัดแหล่งความรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์ เป็นหน้าที่ของผู้สอนที่จะต้องวางแผน ออกแบบ และเตรียมแหล่งความรู้ที่สอดคล้องกับ
กิจกรรมการจัดการเรียนการสอน แหล่งความรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์ผู้สอนสามารถพ้ฒนาขึ้นมาด้วยตัวผู้สอนเอง หรือผู้สอนสืบค้นมาจากแหล่งต่าง ๆ
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และสถานศึกษาจัดเตรียมไว้ให้ แหล่งความรู้ที่เหมาะสมที่จะใช้สำหรับ

40

จดั การเรียนการสอนออนไลน์กค็ วรจะเปน็ แหลง่ ความร้อู อนไลน์เช่นเดยี วกัน เนือ่ งจากให้ความสะดวก
แก่ผ้สู อนและผู้เรยี นในการเข้าถงึ ซึ่งผสู้ อนแต่ละสาขาน่าจะทราบอยู่แลว้ วา่ สามารถเข้าถึงแหลง่ ขอ้ มลู
ในสาขาของตนเองได้จากแหล่งใดบ้าง หากไม่มีก็สามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ตและสอบถาม
จากเพื่อนผู้สอนดว้ ยกันได้ เพื่อเป็นการแลกเปล่ียนเรียนรู้การจดั ช้ันเรียนออนไลน์ไปด้วยกัน ซึ่งแสดง
ให้เหน็ ความพรอ้ มของวัสดุและอุปกรณ์ ดังภาพที่ 2-7

ภาพท่ี 2-7 วัสดแุ ละอุปกรณส์ ำหรบั การจดั การเรียนการสอนออนไลน์
2. การจดั การช้นั เรียนออนไลน์ดา้ นจติ วทิ ยา

การจัดการชั้นเรียนออนไลน์เป็นความท้าทายใหม่ของผู้สอนและผู้เรียน
ที่อาจจะสร้างความกดดัน ความวิตกกังวลให้กับผู้สอนและผู้เรียนได้ อาทิ จะใช้โปรแกรมสำหรับ
การสอนอยา่ งไร เอกสารทหี่ น้าจอคอมพิวเตอร์หายไปไหน จะแชร์ข้อมูลให้ผู้เรยี นเห็นพร้อม ๆ กันได้
อย่างไร ไมโครโฟนเสียงไม่ดังจะทำอย่างไร ผู้สอนจะมั่นใจได้อย่างไรว่าผู้เรียนกำลังฟังการบรรยาย
และให้ความร่วมมือในกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่กำลังดำเนินอยู่ เป็นต้น แต่ก็ไม่เสมอไป
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์อาจจะเป็นสิ่งเร้าใหม่ที่ช่วยกระตุ้นให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนตื่นตัว
และเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น เช่น ผู้เรียนกล้าถามคำถามกับผู้สอนมาก
ขึ้นกว่าการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ เนื่องจากไม่ต้องอายเพื่อน เป็นต้น และจาก
ประสบการณ์ตรงของผู้วิจัยที่สอนผู้เรียนสาขาคอมพิวเตอร์และผู้เรียนสาขาอื่นที่ไม่ใช่สาขา
คอมพิวเตอร์ พบว่าผู้เรียนมีความพร้อม มีความสุขดี มีอิสระในการเรียน และกล้าถามผู้สอนมากข้ึน
ผ่านทางไมโครโฟรและผ่านทางแชท ผลการเรียนก็ไม่ต่างจากการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน
ปกติ เพียงแต่ผู้สอนอาจตอ้ งเปล่ียนการจดั การเรยี นการสอนจากการบรรยายและถามตอบไปเป็นการ
จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้มากขึ้น นั่นคือให้ผู้เรียนมีโอกาสและอิสระในการคิด
และลงมือปฏิบัติตามที่ผู้สอนได้วางแผนและออกแบบการจัดการเรียนการสอนไว้ ผู้สอนเองก็เปลี่ยน
มาเป็นพ่เี ลี้ยง (Coach) ทที่ ำหน้าทีว่ างแผน ออกแบบ พัฒนาการจัดการเรยี นการสอน และกำกับดแู ล


Click to View FlipBook Version