The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ครูอาร์ม, 2022-09-26 16:05:56

รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา

Full Text

41

ผู้เรียนให้ไปในทิศทางที่ผู้สอนได้วางแผนไว้ให้มากที่สุด เนื่องจากอาจจะมีข้อจำกัดบางประการ เช่น
โปรแกรมคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันบางตัวอาจจำกัดเวลาในการใช้งาน เป็นต้น ดังนั้นการให้
นกั ศกึ ษาได้ลงมอื ปฏบิ ตั ิและเรียนรู้ด้วยตนเอง แลว้ มาสรุปประเด็นปญั หา แนวทางแกไ้ ข หรอื นำเสนอ
ผลงานผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ย่อมทำให้ผู้เรียนมีอิสรภาพในการเรียน โดยผู้สอนทำหน้าที่
เหมือนพีเ่ ลยี้ งนกั มวยถึงแมน้ กั มวยจะสำคัญท่ีสุดบนเวที แตอ่ ยา่ งไรก็ตามนักมวยจะขาดพี่เลีย้ งไมไ่ ด้

การเตรียมความพร้อมของผู้สอนมีความสำคัญ เนื่องจากการจัดการชั้น
เรียนออนไลน์ด้านจิตใจหรือด้านจิตวิทยา เป็นการจัดการเกี่ยวกับความรู้สึก เจตคติ และพฤติกรรม
ของผู้เรียน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในชั้นเรียน การมุ่งหวังให้เป็นการเรียนรูอ้ อนไลนท์ ่ี
ผู้เรียนสำคัญที่สุด ควรเริ่มต้นจากสิ่งใกล้ตัวผู้เรียนรู้มากที่สุด คือความรู้สึกภายใน ทั้งนี้จะต้องไม่มี
บรรยากาศของความกลัว ความหวาดระแวง ความดูหมิ่นเหยยี ดหยาม ติเตียน บรรยากาศการเรยี นรู้
ที่เน้นตัวผู้เรียนเป็นสำคัญจะต้องให้อิสรภาพแก่ผู้เรียนได้แสดงอิสรภาพทางความคิดและความรู้
บรรยากาศทางจติ วิทยาทช่ี ว่ ยสนับสนนุ การเรียนรู้ของผู้เรยี นสามารถดำเนนิ การได้ ดังน้ี

1. การสร้างบรรยากาศที่ท้าทายกระตุ้นและสนับสนุนให้ผู้เรียนมีความ
อยากรู้อยากเห็น อยากแก้ปัญหา อยากแสวงหาคำตอบ ซึ่งบรรยากาศดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้
ผู้เรียนมีความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถที่จะแก้ปัญหาหรือทำกิจกรรมนั้น ๆ ได้ และให้กำลังใจ
เมอ่ื ผเู้ รยี นได้ลงมอื ทำหรอื ตอบสนอง รวมทั้งการยกตัวอยา่ งความสำเร็จหรอื สง่ิ ที่ผูเ้ รียนเคยทำมาก่อน
ทำให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในความสามารถ และเกิดความภูมิใจทำให้ไม่มีความกลัวที่จะทำกิจกรรม
อ่ืน ๆ ตอ่ ไป

2. การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ปลอดภัย มีความเป็นมิตร ปราศจากความ
หวาดกลัวที่จะแสดงออก ซึ่งบรรยากาศดังกล่าวจะทำให้ผู้เรียนเป็นคนกล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้า
ท่ีจะคิดลองทำส่งิ ต่าง ๆ ไม่วา่ ผลทไ่ี ดน้ น้ั จะเปน็ ไปตามทค่ี ิดหรือไม่กต็ าม การสร้างบรรยากาศดังกล่าว
สามารถทำได้โดยผู้สอนทำหน้าที่ในการช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดความราบรื่นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
โดยอาจเข้าไปช่วยเป็นผู้ร่วมคิดในการทำปัญหาที่ยากให้ง่ายหรือลดความซับซ้อนลง แต่ยังคงให้
ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถของเขาในการเรียนรู้ โดยมีการสนับสนุนเสริมแรง และให้คำปรึกษาจาก
ผู้สอน

3. บรรยากาศที่เป็นอิสระในการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง บรรยากาศ
ดังกล่าวนี้จะทำให้เด็กพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง ลดการพึ่งพิงผู้อื่น กล้าคิด กล้าแสดงออก
มีความมั่นใจในตนเอง กล้าริเริ่ม มีความคิดสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำ และกล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
บรรยากาศที่เป็นอิสระนี้ทำได้โดยผู้สอนให้โอกาส และสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง
ผู้สอนเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษา ให้การช่วยเหลือเมื่อผู้เรียนตอ้ งการเท่านั้น ขณะเดียวกันต้องให้โอกาส
แก่ผู้เรียนแต่ละคนในการที่จะเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตน และให้เวลาอย่างพอเพียงตาม

42

ความสนใจของผู้เรียน เนือ่ งจากผูเ้ รียนแต่ละคนมวี ิธีการเรยี นรู้และใช้เวลาในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
แต่แม้ว่าผู้เรียนจะได้รับอิสระดังกล่าว ผู้สอนก็ต้องสอนให้ผู้เรียนคำนึงถึงการอยู่ร่วมกัน ความเป็น
อิสระของแต่ละคนจะต้องไม่รบกวนหรือทำให้ผู้อื่นมีความสะดวกน้อยลงการจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์ แม้ผูเ้ รยี นจะอยู่คนละท่ีละทางกันแตผ่ ู้สอนสามารถให้ผู้เรียนศกึ ษาเรยี นรู้และทำงานกลุ่มได้
ไมจ่ ำเป็นตอ้ งทำงานเดยี่ วเพยี งอย่างเดยี ว

4. บรรยากาศทีใ่ ห้ไดร้ บั ความสำเร็จและเรียนรู้ผลทเี่ กิดจากการทำส่งิ ตา่ ง ๆ
บรรยากาศดังกล่าวจะทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีกำลังใจเข้มแข็ง มีความมั่นใจในการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมี
เหตุผล มีการกำหนดจุดมุ่งหมายของการทำสิ่งต่าง ๆ และยอมรับผลจากการกระทำทั้งความสำเร็จ
และผลที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ผู้สอนสามารถสร้างบรรยากาศดังกล่าวได้โดยการให้ผู้เรียน
กำหนดจดุ มุง่ หมายและวางแผนทีจ่ ะทำกิจกรรมตา่ ง ๆ และลงมอื ปฏิบัติตามทว่ี างแผนไวใ้ ห้เวลาอย่าง
เพียงพอที่จะทำตามแผนงาน ผู้สอนคอยสนับสนุนให้กำลังใจ คอยแก้ปัญหาเมื่อผู้เรียนต้องการ
ใหไ้ ด้รับข้อมลู ย้อนกลับหลงั การปฏิบัติ ให้การเสริมแรงชน่ื ชมยินดตี อ่ ผลสำเรจ็ แตถ่ า้ หากผลไม่เป็นไป
ตามที่คาดหวังไว้ ก็อธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการหาความรู้จากความล้มเหลว ให้กำลังใจและให้
ทดลองแกป้ ญั หาด้วยวิธีท่ตี า่ งออกไป

5. บรรยากาศแห่งการยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน โดยการเริ่มจากการ
ที่ผู้สอนยอมรับผู้เรยี น ให้ความสำคัญต่อการคิดและการกระทำของผู้เรียน รับฟังและให้มีส่วนร่วมใน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มให้ได้รับความสำเร็จจากการทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เกิดการยอมรับ
ระหว่างผู้เรียนกับเพื่อน และเกิดความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับจากผู้สอนเห็นความสำคัญของกลุ่ม
บรรยากาศดังกล่าวทำให้เกิดการพัฒนาวุฒิภาวะ ได้รับประสบการณ์ทางบวกในการพัฒนาตนเอง
เกิดการนับถือระหว่างกัน ทำให้เกิดความเป็นอิสระ ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น สามารถที่จะคิด เลือก
และตดั สินใจเข้าใจถึงความสามารถของตนเอง ยอมรับผลการกระทำทัง้ ทีส่ ำเรจ็ และทำความเข้าใจได้
เมื่อทำผิดหรอื ล้มเหลว รู้จักนำอุปสรรคหรอื ความลม้ เหลวมาเป็นประสบการณ์การเรียนร้แู ละแนวทาง
แก้ปัญหา เนื่องจากเชื่อว่าตนมีความสามารถที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้หลากหลายวิธีเพื่อให้ได้ผลตามท่ี
ต้องการ

6. บรรยากาศแห่งความใกล้ชิด สนิทสนมและมีความรักใคร่กลมเกลียวกนั
เนอื่ งจากผเู้ รียนทุกคนตอ้ งการความรสู้ ึกมน่ั คง ปลอดภัยทางจิตใจ ต้องการการเอาใจใส่ และความรัก
ใคร่ การจัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยขจัดหรือลดความขัดแย้งลงให้มากที่สุด หรือไม่ให้
เกดิ ข้ึนเลย การสอนใหร้ จู้ ักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รูจ้ ักการให้อภัยและชว่ ยเหลือกนั ทำใหเ้ กดิ ความรู้สึก
รักใคร่ กลมเกลียวกัน นอกจากนี้ผู้สอนต้องแสดงความรู้สึกที่ดีต่อผู้เรียน แสดงให้ผู้เรียนรับรู้ว่าตน
เป็นที่ยอมรับของผู้สอน อาทิ การแสดงท่าทีที่แสดงถึงการเอาใจใส่ทางบวกต่อผู้เรียนอย่างจริงใจ

43

ที่สอดคล้องกับการแสดงออกทางบวกของผู้เรียน เช่น การมอง การสบตา การใช้คำพูด การแสดง
สีหน้าท่าทาง การได้รับการเอาใจใส่ดังกล่าว ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสำคัญ เป็นคนหนึ่งที่มี
ความหมาย ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และต่อผู้อื่น บรรยากาศการอยู่ร่วมกันอย่างรักใคร่
ทำใหเ้ กดิ ความสุขในการทำสงิ่ ต่าง ๆ และเกดิ การเรียนรโู้ ดยง่าย

7. บรรยากาศแห่งการควบคุม หมายถึงการฝึกให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัย
แต่มิใช่การควบคุมหรือการไม่ให้อิสระ ผู้สอนต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนออนไลน์และฝึก
ผู้เรียนให้รู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต ไม่เบียดบังสิทธิหน้าที่ของผู้อื่น และผู้สอนควร
ให้ความสำคัญกบั ผู้เรียนอย่างเทา่ เทยี มกัน เช่น การให้ผูเ้ รียนถามตอบ แสดงความคดิ เห็นในประเดน็
ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ผู้เรียนบางคนปลีกตัวออกไปจากห้องเรียนออนไลน์ หรือไป
สนใจอย่างอ่ืนแทนได้โดยที่ผสู้ อนไม่ทันสงั เกต ดังนั้นการใหผ้ ู้เรยี นมสี ่วนร่วมในการเรียนโดยผู้สอนทำ
หน้าที่ควบคุมดูแลจึงจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ข้อดีของการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์คือมีระบบบริหารจัดการ การเรียนการสอนออนไลน์ช่วยทำหน้าท่ี
ในการควบคุมดูแลผู้เรียนอีกแรงหนึ่ง เช่น ควบคุมการส่งงาน ส่งการบ้าน ทำข้อสอบ ทำแบบฝึกหัด
หรอื ทำกิจกรรมการเรยี นการสอนตามทผ่ี สู้ อนวางแผนและกำหนดไว้ โดยผูส้ อนไม่ต้องคอยมาติดตาม
ให้นักศึกษา เนื่องจากระบบบริหารจัดการ การเรียนการสอนออนไลน์มีร่องรอยของการเข้ามาทำ
กิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เป็นการรฝึกให้ผู้เรียนมีระเบียบและวินัยในการเรียนได้อีกทาง
หนึ่ง และที่สำคัญผู้สอนต้องควบคุมการใช้เครื่องมือเพื่อการบรรยาย-ถามตอบสดจากผู้เรียน
ให้เป็นระเบียบเรยี บร้อย และให้มั่นใจวา่ ผ้เู รียนอยกู่ บั ผู้สอนตลอดเวลาท่ีทำกิจกรรมการเรยี นการสอน
เนื่องจากผู้เรียนบางคนอาจจะเปิด-ปิดกล้องและไมโครโฟนไว้แต่อาจจะไม่อยู่ในห้องเรียนในตอนนั้น
หรือรบกวนผู้เรยี นคนอ่ืน ซงึ่ ผสู้ อนตอ้ งใชป้ ระสบการณ์ และเทคนิคการสอนและการจัดการห้องเรียน
ออนไลน์เพ่ือควบคมุ สิ่งเหล่านี้ใหเ้ ป็นระเบยี บเรยี บรอ้ ยพอสมควร ดังภาพที่ 2-8

44

ภาพท่ี 2-8 บรรยากาศการจดั การเรียนการสอนออนไลน์ด้วย Microsoft Teams
3. การจดั การชนั้ เรยี นออนไลนด์ ้านการศึกษา
เป็นการจัดการชั้นเรียนออนไลน์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการจัด

การเรียนการสอนทั้งหมดตั้งแต่ก่อนสอน ระหว่างสอน และหลังสอน เหมือนกับการจัดการเรียนการ
สอนในชั้นเรียนปกติ เพียงแต่ต้องปรับและเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของการจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์ ซึง่ ทั้งหมดระบอุ ยใู่ นแผนการสอนของแต่ละครงั้ อยู่แลว้ ประกอบด้วย

3.1 การเตรียมการสอน อาจเป็นการจัดลำดับเนื้อหาสาระความรู้
ให้เหมาะสมกับผู้เรียน การจัดเตรียมกิจกรรมการเรียนการสอน การเตรียมความพร้อมของวัสดุ
อุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ หากเป็นไปได้จะให้ผู้เรียนมีโอกาสร่วมวางแผนการเรียน
การสอนรว่ มกบั ผู้สอนด้วยก็ได้ เนื่องจากผู้เรียนอาจช่วยแนะนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือแอปพลิเค
ชนั ทีส่ ามารถใช้ในการจัดกิจกรรมการเรยี นการสอนได้

3.2 ระหว่างการสอน เป็นการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ตามกิจกรรม
การเรียนการสอนที่ผู้สอนได้เตรียมไว้ อาจประกอบด้วย การกำหนดกฎระเบียบ และกติกา
ในการเรียน เช่น การเปิด-ปิดไมโครโฟน ช่องทางการติดตอ่ สื่อสาร เน้อื หาทส่ี อน กจิ กรรม แบบฝึกหดั
ใบงาน การบา้ น โครงงานงานเด่ยี ว งานกล่มุ การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน เป็นต้น เพอื่ ให้
ผู้เรียนทั้งหมดรับทราบร่วมกัน การจัดการเรียนการสอนออนไลน์จำเป็นต้องใช้เครอื ข่ายอินเทอร์เน็ต
ดังนั้นผู้สอนอาจไม่จำเป็นต้องให้ผู้เรียนเปิดกล้องวิดีโอตลอดระยะเวลาการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของนักศึกษา แต่ทั้งนี้ผู้สอนก็ต้องมีเทคนิควิธีการที่ทำให้ทราบ
ได้ว่าผู้เรียนทกุ คนยงั คงอยู่ในห้องเรียนออนไลน์ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ไม่จำเป็นต้องสอน

45

สดตลอดเวลาและทุกครั้งไป ผู้สอนสามารถบันทึกการสอนเนื้อหาวิชาและอัพโหลดไปเก็บไว้
ในช่องทางสำหรับเผยแพร่ต่าง ๆ เช่น Youtube หรือระบบบริหารจัดการการเรียนการสอน
เชน่ Moodle แลว้ กำหนดให้ผู้เรียนเข้าไปเรยี นรูแ้ ละทำกจิ กรรมการเรียนไดใ้ นชว่ งท่ผี ูเ้ รียนมีเวลาและ
สะดวก หากเป็นการสอนสดและมีการบันทึกการสอนผู้สอนต้องแจ้งนักศึกษาทุกครั้งเพื่อไม่ให้เกิด
สิ่งที่ไม่เหมาะสมระหว่างการจัดการเรียนการสอน และไม่ลืมการบริหารจัดการเวลาในการสอน
เพราะบางครั้งกว่านักศึกษาจะเข้าห้องเรียนได้ครบทุกคนอาจจะมีปัญหาที่ผู้สอนและผู้เรียนอาจต้ อง
ร่วมกันแก้ไข เช่น ผู้เรียนเขา้ ชน้ั เรียนออนไลน์ไม่ได้ ผู้เรยี นไมเ่ หน็ หน้าและไม่ได้ยนิ เสยี งผสู้ อน เป็นต้น
เนื่องจากอาจทำให้ต้องเสียเวลาในการจัดการปัญหาที่อาจจะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมการเรียน
การสอน

3.3 หลังการสอน ผู้สอนอาจเตรียมการสอนและกิจกรรมการสอนสำหรับ
เนื้อหาของครั้งต่อไป เรียนรู้เนื้อหาและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เพิ่มเติม ตรวจงาน
นักศึกษา ตอบคำถามนักศึกษาผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามเวลาที่กำหนดร่วมกันไว้ รวมถึงบำรุงรักษา
วัสดอุ ุปกรณป์ ระกอบการเรียนการสอนใหส้ ามารถใชง้ านไดอ้ ย่างมีประสิทธภิ าพ

4. จติ วิทยาการสอนออนไลน์
จิตวทิ ยาการสอนออนไลนใ์ นที่นี้เป็นการนำหลักการทางจติ วิทยาการศึกษา

มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน
เกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตใจของผู้เรียน และผู้สอนสามารถวางแผนและบริหาร
จัดการชน้ั เรยี นออนไลนไ์ ด้อยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ ในประเด็นเกยี่ วกับความสำคัญของจิตวิทยาต่อผู้สอน
พฤติกรรมของผู้เรียนออนไลน์ และแรงจูงใจของผู้เรียนที่มีผลต่อการจัดการชั้นเรียนออนไลน์
มีรายละเอยี ด ดงั นี้

4.1 ความสำคัญของจิตวิทยาต่อผู้สอน การเป็นผู้สอนออนไลน์ที่ประสบ
ความสำเร็จจะต้องมีจิตวิทยา มีความเข้าใจหลักการสอนกระบวนการสอนตามหลักวิชาการ
ยงั ไม่เพียงพอ ผ้สู อนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกย่ี วกับจิตวิทยา โดยเฉพาะความเข้าใจในธรรมชาติ
ของผู้เรียน ว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน แต่ละคนมีความต้องการอะไร จะช่วยให้ผู้สอน
สามารถจดั การช้ันเรียนออนไลน์ได้อย่างเข้าใจและมีความสขุ มากยงิ่ ข้ึน ดงั น้ี

1. ช่วยให้ผู้สอนรู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียนที่ผู้สอนต้องสอนโดย
ทราบหลกั พฒั นาการทงั้ ทางรา่ งกาย สติปัญญา อารมณ์ สงั คม และบุคลกิ ภาพเป็นสว่ นรวม

2. ช่วยให้ผู้สอนมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบาง
ประการของผู้เรียน ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และเรียนรู้ถึงบทบาทของผู้สอนในการที่จะช่วยผู้เรียนให้มี
อตั มโนทัศนท์ ดี่ แี ละถูกตอ้ งไดอ้ ย่างไร

46

3. ช่วยให้ผู้สอนมีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
เพ่อื จะไดช้ ว่ ยผเู้ รยี นเป็นรายบคุ คลใหพ้ ัฒนาตามศักยภาพของแตล่ ะบคุ คล

4. ช่วยให้ผู้สอนรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสม
แกว่ ยั และขน้ั พัฒนาการของผเู้ รียนเพ่อื จูงใจให้ผู้เรียนมีความสนใจและอยากจะเรยี นรู้

5. ช่วยให้ผู้สอนทราบถึงตัวแปรต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
ของผ้เู รยี น เช่น แรงจงู ใจ อตั มโนทศั น์ และการตั้งความคาดหวงั ของผู้สอนที่มตี อ่ ผู้เรยี น

6. ช่วยผู้สอนในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน เพื่อทำให้
การสอนมีประสิทธิภาพสามารถชว่ ยให้ผูเ้ รยี นทกุ คนเรยี นรู้ตามศกั ยภาพของแตล่ ะบุคคล

7. ช่วยให้ผู้สอนทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้
ท่นี ักจิตวิทยาไดพ้ ิสจู นแ์ ลว้ ว่าไดผ้ ลดี เชน่ การเรียนรจู้ ากการสงั เกตหรอื การเลียนแบบ

8. ช่วยผูส้ อนใหท้ ราบถึงหลกั การสอนและวิธีสอนท่มี ปี ระสิทธิภาพ
รวมทั้งพฤติกรรมของผูส้ อนที่มีการสอนอย่างมีประสิทธิภาพว่ามีอะไรบ้าง เช่น การใช้คำถาม การให้
แรงเสรมิ และการทำตนเป็นต้นแบบ

9. ช่วยผู้สอนให้ทราบว่าผู้เรียนที่มีผลการเรียนดีไม่ได้เป็นเพราะ
ระดับเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว แต่มีองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น แรงจูงใจ ทัศนคติหรืออัตมโนทัศน์
ของผู้เรยี น และความคาดหวังของผสู้ อนที่มตี อ่ ตัวผ้เู รียน

10. ช่วยผู้สอนในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของ
ห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้และเสริมสร้างบุคลิกภาพของผู้เรียน ผู้สอนและผู้เรียนมีความรัก และ
ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ผู้เรียนต่างก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้ห้องเรียนเป็นสถานที่ที่ทุกคนมี
ความสุข และผู้เรียนรักโรงเรยี น อยากมาโรงเรียน

4.2 พฤติกรรมของผู้เรียนออนไลน์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส์ (2564) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำเสนอผลการสำรวจพฤตกิ รรมผู้ใช้
อนิ เทอร์เนต็ ในประเทศไทยปี 2564 พบวา่ คนไทยใช้อินเทอร์เนต็ เพิ่มขึน้ อยา่ งก้าวกระโดดกวา่ 150%
ส่งผลให้ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 47.5 ล้านคน หรือราว 70% ของจำนวนประชาชน
ทั้งหมด คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 10 ชั่วโมง 22 นาที โดยผู้ที่มีอายุระหว่าง 19-38 ปี มี
ชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตสูงที่สุดอยู่ที่ 10 ชั่วโมง 36 นาที รองลงมาเป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี อยู่ที่
10 ชั่วโมง 35 นาที ผู้ที่มีอายุระหว่าง 55-73 ปี อยู่ที่ 10 ชั่วโมง และผู้ที่มีอายุระหว่าง 39-54ปี อยู่ท่ี
9 ชัว่ โมง 49 นาที ผเู้ รยี น/นักศกึ ษาเป็นผู้ที่ใช้อินเทอร์เนต็ สูงสุดอยู่ที่ 10 ช่วั โมง 50 นาที ส่วนใหญ่ใช้
อนิ เทอรเ์ น็ตหมดไปกับการตดิ ต่อสอื่ สารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์อยา่ งเช่น Facebook, Line และ
Instagram รองลงมาคือ ดหู นัง ฟังเพลง ค้นหาขอ้ มลู ออนไลน์ รบั -ส่งอเี มล

47

สะท้อนให้เห็นว่านักศึกษาไม่มีปัญหาในการเข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ต
และเครือข่ายสังคมออนไลน์ และสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี รวมถึงสามารถใช้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันทั้งหลาย ผู้สอนสามารถคลายความกังวลในการเข้าถึง
อินเทอร์เน็ตและการใช้งานของผูเ้ รยี นไปได้ การใช้งานอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวม
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันอาจจะเป็นปัญหาจากผสู้ อนแทน

ภาพที่ 2-9 ปรมิ าณการใช้อนิ เทอร์เน็ตต่อวันของคนไทย
ท่ีมา: สำนักงานพฒั นาธรุ กรรมทางอเิ ล็กทรอนกิ ส์ (2564)

4.3 แรงจูงใจของผู้เรียนที่มีผลต่อการจัดการชั้นเรียนออนไลน์ แรงจูงใจ
เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอนและต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทั้งใน
ชั้นเรียนปกติและชั้นเรียนออนไลน์ โดยเฉพาะชั้นเรียนออนไลน์ที่ผู้สอนไม่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียน
เกิดแรงจูงใจได้ตลอดเวลา เนื่องจากผู้สอนกับผู้เรียนอยู่ห่างไกลและคนละพื้นที่กัน จะพบหน้ากัน
เฉพาะในการเรียนการสอนออนไลน์เท่านั้น หรืออาจจะพบกันผ่านทางช่องทางเครือข่ายสังคม
ออนไลนต์ ่าง ๆ บ้าง แตอ่ ย่างไรกต็ ามผูส้ อนตอ้ งมเี ทคนิคและวิธีการสร้างแรงจงู ใจให้กับผูเ้ รยี น เพอ่ื ให้
สามารถจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ สถาบันการ
เรียนรู้แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (2563) ได้นำเสนอไว้ว่า จิตวิทยาการศึกษา
จำแนกแรงจูงใจออกเป็น 2 ประเภท คือ แรงจูงใจภายใน ซึ่งเป็นสิ่งผลกั ดนั จากภายในตัวบุคคล และ
มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวร ได้แก่ Interest : ความสนใจ Perceptions : การรับรู้สิ่งเร้า
Desire : ความต้องการ Self-confidence : ความมั่นใจในตัวเอง Self-esteem : การเห็นคุณค่า

48

ในตัวเองซึ่งส่งผลต่อความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต Patience : ความอดทน และ Persistence :
ความพากเพียร และแรงจูงใจภายนอกซึ่งเป็นสิ่งผลักดันจากสิ่งเร้าภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้
เกิดพฤติกรรมไม่ถาวร แต่หากเกิดการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องจะสามารถเปลี่ยนแรงจูงใจภายนอกเป็น
แรงจูงใจภายในได้ ซ่ึงส่งผลให้พฤตกิ รรมเปล่ียนคอ่ นข้างถาวร โดยสรปุ ได้จากภาพที่ 2-10

ภาพท่ี 2-10 แรงจูงใจทมี่ ผี ลต่อการจดั การเรยี นการสอนออนไลน์
ทีม่ า: สถาบันการเรียนรแู้ ห่งมหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบรุ ี (2563)

สถาบันการเรียนรู้แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (2563)
ยังได้ระบุถึงวิธีการกระตุน้ ให้ผู้เรียนเกดิ การสร้างแรงจูงใจจากภายนอกเพื่อกระตุ้นการสร้างแรงจูงใจ
ภายในของผู้เรยี นทจ่ี ะทำให้ผเู้ รียนเกิดการมีส่วนร่วมในการทำงานและเรยี นรู้ออนไลน์ มดี ังน้ี

1. ให้รางวัลแก่ผู้เรียนที่ทำสำเร็จ อาทิ การให้คะแนนพิเศษหรือสิทธิพิเศษ
บางอย่าง นอกเหนือจากคะแนนปกติ เมื่อทำงานได้รับมอบหมายหรือโครงการอย่างสม่ำเสมอตลอด
การเรียน จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากมีส่วนร่วมมากขึ้น เป็นการเสริมแรงจูงใจภายใน ในประเด็น
ความสนใจ การรับรู้สิ่งเร้า ความต้องการ ความมั่นใจในตัวเอง การเห็นคุณค่าในตัวเอง ความอดทน
และความพากเพยี รของผู้เรียน

2. ใหผ้ เู้ รียนสามารถตดิ ตามความก้าวหน้าของตนเอง เคร่ืองมือประเมินผล
ที่ใช้ในการติดตามความคืบหน้าของผู้เรียน และยังสามารถช่วยในการกระตุ้นให้ผู้เรียนไปถึง
จุดมุ่งหมายที่ผู้สอนกำหนดไว้ได้ การสรุปเนื้อหาหรือกิจกรรมแล้ว post ใน forum จะทำให้ผู้เรียน
สามารถทบทวนบทเรียนได้ ซึ่งผู้สอนสามารถตอบข้อซักถามได้ด้วย เป็นการเสริมแรงจูงใจภายใน
ในประเด็น ความสนใจ การรับรู้สิ่งเร้า ความต้องการ ความมั่นใจในตัวเอง และความพากเพียรของ
ผ้เู รยี น

49

3. สร้างสภาพแวดล้อมท่ีเหมาะกับการเขา้ ถงึ ของผเู้ รียน อาทิ เปดิ โอกาสให้
ผเู้ รยี นได้สอื่ สารกบั ผู้สอนผา่ นชอ่ งทางเครือขา่ ยสังคมออนไลน์ท่ีเปน็ ทน่ี ยิ มในปัจจบุ นั ซ่งึ ช่วยใหผ้ ู้เรยี น
เข้าถึงผู้สอนได้ง่ายขึ้น เราสามารถสร้างคำถามและการตอบกลับรายบุคคลหรือรายกลุ่มได้ เป็นการ
เสริมแรงจงู ใจภายในในประเดน็ ความสนใจ การรับรู้สงิ่ เรา้

4. กำหนดเป้าหมายที่ผู้เรียนทำได้ ผู้เรียนควรได้รับการสนับสนุนให้เรียนรู้
ด้วยตนเอง ผู้สอนมีหน้าที่ในการให้การสนับสนุน แนะนำ โดยการกำหนดเป้าหมายย่อย ๆ และ
มอบหมายงานที่มุ่งไปสู่เป้าหมายนั้น ด้วยการบ้าน แบบฝึกหัด หรือกิจกรรมการเรียนการสอนนอก
และในเวลาเรียนที่ไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป มีการให้ผลสะท้อนกลับระหว่างการทำงานเพื่อสร้าง
ความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เรียน เป็นการเสริมแรงจูงใจภายใน ในประเด็น ความสนใจ การรับรูส้ ่ิงเร้า ความ
ม่ันใจในตวั เอง การเหน็ คุณคา่ ในตัวเอง และความพากเพียร ของผู้เรียน

5. ใหผ้ เู้ รยี นมสี ่วนร่วมในการวางแผนการเรียนร่วมกบั ผสู้ อน อาทิ สอบถาม
ความเหน็ ของผูเ้ รียน ท่ีผา่ นการเรียนรายวิชาหรอื หลกั สตู รน้ีมาแลว้ และผเู้ รยี นทีก่ ำลังเรียนหลักสตู รน้ี
อยู่ ถึงขอ้ ที่ดแี ละข้อทคี่ วรปรับเพ่ิม เพ่อื ใช้ในการปรบั รายวิชาหรอื หลกั สูตรให้นา่ สนใจข้ึน ซ่ึงการปรับ
จะตอ้ งไม่ออกนอกวตั ถปุ ระสงค์การเรยี นรู้ท่ีตั้งไว้

6. กิจกรรมการเรียนการสอน เทคนิคและวิธีการสอนที่ผู้สอนวางแผนและ
เตรียมการไว้เป็นอย่างดีนอกเหนือจากการบรรยายประกอบการถามตอบ จะช่วยสร้างความ
สนกุ สนาน และความรู้สกึ อยากมสี ่วนรว่ มในการเรียนรู้ และช่วยกระตุน้ แรงจงู ใจใหก้ ับผู้เรียนได้ อาทิ
การใชแ้ นวคิดของเกมมฟิ เิ คชัน (Gamification) มาใช้ในการจดั การเรียนการสอนออนไลน์ เปน็ ตน้

5. กฎระเบียบ และกติกาในชั้นเรียนออนไลน์ กฎระเบียบ และกติกามีไว้เพือ่ ให้การ
จัดการห้องเรียนออนไลน์เป็นไปอย่างเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพรวมทั้งผู้เรียนมีระเบียบวินัย และ
เข้าใจในประเด็นต่าง ๆ ตรงกัน กฎระเบียบ และกติกาในชั้นเรียนออนไลน์อาจไม่แตกต่างจากการ
จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ เพียงแต่บางอย่างอาจจำเป็นต้องปรับให้เข้ากับบริบท
ของการเรียนการสอน ซึ่งกฎระเบียบ และกติกาเหล่านี้ผู้สอนต้องช้ีแจงกับผู้เรียนให้ชัดเจนและเข้าใจ
ตรงกันทั้งหมด อาจจะมีเป็นเอกสารให้นักศึกษาได้ดาวน์โหลดหรือสามารถเรียกดูได้ทุกคร้ัง
ที่จำเป็นต้องใช้ กฎระเบียบ และกติกาในการจัดการเรียนการสอน (สำนักงานคณะกรรมการการ
อาชวี ศึกษา, 2563) อาจประกอบดว้ ย

1. กำหนดเวลาเข้าออกชั้นเรียน และเวลาพักระหว่างเรียนให้ชัดเจน
โดยเฉพาะเข้าชั้นเรียนออนไลน์ควรให้นักศึกษาเข้ามารายงานตัวและเตรียมความพร้อมในห้องเรียน
ออนไลน์ก่อนเรียน 10-20 นาที เนื่องจากบางคนอาจจะมีปัญหาเรื่องการเข้าชั้นเรียนออนไลน์ จะได้
ชว่ ยกนั แกไ้ ขก่อนถงึ เวลาเรียน

50

2. การแต่งกายเข้าชั้นเรียนออนไลน์ โดยปกติการจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์ผู้เรียนสามารถเข้าชั้นเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้นการแต่งกายสามารถแต่งกายได้ตามความ
เหมาะสมของสถานที่ แต่ไม่ถงึ กบั แต่งชดุ นอนเขา้ ช้นั เรียนเม่อื เรียนอยู่ทบี่ ้าน

3. เมื่อเข้าชั้นเรียนแล้วขอให้ผู้เรียนทุกคนปิดไมโครโฟนไว้ ถึงแม้โปรแกรม
ท่ีใชจ้ ัดการเรยี นการสอนออนไลน์ผสู้ อนจะสามารถควบคมุ ไมโครโฟนของผู้เรยี นได้ทง้ั หมด แต่ควรจะ
ให้นกั ศึกษาเปิดไมโครโฟนเฉพาะทีต่ อบคำถามและถามคำถามผ้สู อนเท่านั้น เนอ่ื งจากเสยี ง
จากไมโครโฟนของนกั ศึกษาอาจรบกวนการจัดการเรียนการสอน

4. สำหรับการเปิดกล้องวิดีโอ การเปิดกล้องให้ผู้สอนพิจารณาตามความ
เหมาะสมการเปิดกล้องและได้เห็นหน้าผู้เรียนตลอดเวลาเป็นสิ่งที่ดี ผู้สอนจะได้เห็นสีหน้าแววตา
ของผู้เรียนวา่ เขา้ ใจเน้ือหาท่ีผู้สอนสอนหรือไม่ แตส่ ามารถให้ผูเ้ รียนเลอื กเปิดเฉพาะตอนที่จำเป็น เช่น
ตอนถามตอบกับผู้สอน ตอนนำเสนองาน เป็นต้น เนื่องจากสิ้นเปลืองทรัพยากรอินเทอร์เน็ตของ
ผเู้ รียนพอสมควร อาจเปน็ ภาระคา่ ใช้จา่ ยแกผ่ เู้ รยี นได้

5. หากมีความสงสัยหรือต้องการถามคำถามผู้สอนสามารถให้ผู้เรียนยกมือ
ผ่านกล้อง หรือใช้เครื่องมือที่เป็นสัญลักษณ์ยกมือที่มาพร้อมกับโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการเรียน
การสอนเท่านั้น ห้ามถามแทรกเข้ามาในขณะสอน เครื่องมือเหล่านี้ เช่น ยกมือ ปิดเปิดกล้องและ
ไมโครโฟน ช่องทางพูดคยุ ออนไลน์ หรือเครือ่ งมืออืน่ ๆ ที่จำเป็นในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้สอนควร
สาธติ ให้ผู้เรียนดูและเขา้ ใจตรงกนั จะได้ใช้งานอยา่ งถูกตอ้ งเหมาะสม

6. การใช้คำพูด และกริยาท่าทางในชั้นเรียนออนไลน์ต้องสุภาพ เนื่องจาก
อาจมีการบนั ทกึ วิดโี อการจดั การเรียนการสอนไว้ดูย้อนหลัง

7. ผู้เรียนต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรอบข้างทราบทุกครั้งที่เรียนออนไลน์
เพอื่ ไม่ใหร้ บกวนการเรียนของผูเ้ รียน และจะไดไ้ มแ่ สดงพฤติกรรมท่ไี ม่เหมาะสมตอ่ หนา้ กล้องวิดีโอ
และการเรียนของผเู้ รียนเองก็ต้องไม่รบกวนกิจกรรมของผู้อนื่ เช่นกนั

8. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ มือถือและอุปกรณ์
เคลื่อนที่ ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น การระมัดระวังเรื่องรหัสผ่านเข้าชั้นเรียนไม่ควรเปิดเผยผู้อื่น
เก็บรกั ษาวสั ดุอปุ กรณป์ ระกอบการเรียนให้เรียบรอ้ ยและปลอดภัย

9. แจ้งหมายเลขโทรศัพท์หรือช่องทางในการติดต่อกับบุคลากรทางการ
ศึกษาที่เกี่ยวข้องกับระบบการเรียนการสอนออนไลน์แก่ผู้เรียน เพื่อจะได้ขอความช่วยเหลือกรณีเกิด
ปญั หาการจดั การเรยี นการสอน

10. แจ้งนักศึกษาเกี่ยวกับหนังสือ ตำรา หรือเอกสารประกอบการเรียน
การสอน แหลง่ เรยี นรู้ กิจกรรมการจัดการเรียนการสอน งานเด่ียว งานกล่มุ การเกบ็ คะแนน การสอบ
รวมถงึ การวดั และประเมินผลการเรยี นแกผ้ ู้เรียนทราบ จะไดเ้ ตรียมตัวและวางแผนการเรยี น

51

11. แจ้งช่องทางสำหรับการส่งงานออนไลน์ให้ชัดเจน เช่น ส่งทางเมล ทาง
ไลน์ทางระบบบริหารจดั การการเรียนการสอน

12. นอกเหนือจากเวลาสอนออนไลน์แล้ว ผู้สอนควรกำหนดเวลาให้
คำปรึกษาการเรียนแก่ผู้เรียนอย่างชัดเจน เช่น 14.00 – 17.00 น. ของวันอังคารกับวันพุธ ผู้เรียน
บางส่วนมักจะกังวลและเกรงใจผู้สอนไม่กล้าติดต่อมาเพื่อปรึกษา เนื่องจากจะเป็นการรบกวนเวลา
ของผู้สอน การกำหนดเวลาอย่างชัดเจนผู้เรียนจะรู้สึกอิสระที่จะติดต่อเข้ามา และไม่รบกวนเวลา
ส่วนตัวของผู้สอนจนเกนิ ไป

13. สุดท้ายการแจ้งกฎระเบียบและกติกาการจัดสอบปลายภาคเรียน
ท่ีอาจจะมีความซับซ้อน ผสู้ อนอาจแจ้งผ้เู รยี นอีกครั้งหลังจากระบบเร่มิ น่ิงและใชง้ านได้ดีแล้ว หรือรอ
ฟังวิธีการจัดสอบจากสถานศึกษาแล้วค่อยแจ้งผู้เรียนต่อไป อาจจะให้น้ำหนักกับสอบปลายภาค
ไมม่ ากนกั และไปเพม่ิ คะแนนส่วนของกจิ กรรมการจัดการเรยี นการสอนแทน

6. Synchronous Online Learning การพัฒนาการศึกษาในรูปแบบการสอน
ออนไลน์ทางไกลได้เดินทางมาถึงจุดสูงสุดในยุคที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อลดการแพร่การ
ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงทำให้ประเทศส่วนใหญ่ในโลกนี้ปิดโรงเรียน
ชั่วคราว อย่างไรก็ตามการศึกษาไม่สามารถหยุดไปด้วยได้ สถาบันการศึกษาทั้งโรงเรียนและ
มหาวิทยาลัยในโลกจำนวนมากใช้หลักสูตรและวิธีการศึกษาสมัยใหม่ด้วยการจัดการเรียนการสอน
ผ่านระบบออนไลน์ทางไกล ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
Synchronous Learning เป็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้สอนและผู้เรียนจะต้อง
สอนและเรียนในเวลาเดียวกัน ผ่านเทคโนโลยีและการสื่อสารการเรียนการสอนแบบประชุมวิดีโอ
ทางไกล (VDO Conference) เพื่อเป็นการจำลองห้องเรียนเสมือนขึ้นมา เน้นการประเมินผลทันทีใน
ห้องเรียนเสมือน และ Asynchronous Learning เป็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้น
ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนอาจจะผลิตสื่อไว้ก่อน ในการเลือกวิธีการเรียนนั้นอาจจะต้อง
พิจารณาถึงลักษณะเนื้อหาในแต่ละบทแต่ละตอน ว่ามีความเหมาะสมที่จะเรียนด้วยวิธีการใด
ในเคร่อื งมือออนไลนส์ ามารถทจี่ ะผสมผสานวิธกี ารเรยี นทง้ั แบบเผชญิ หนา้ และแบบเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง
ผสมผสานกันในชั้นเรียนแต่ละสัปดาห์ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์
ของผู้สอน ซึ่งถือเป็นการพัฒนาและเปลี่ยนผ่านวิวัฒนาการของวิธีการศึกษาแบบใหม่ การเรียน
ออนไลน์ทางไกลเรยี กได้ว่าเป็นท้ังเครอื่ งมือและความทา้ ทายในการปรับปรุงและส่งเสรมิ กระบวนการ
เรียนรู้ของผู้เรียน และเป็นพื้นฐานสำหรับวิธีการจัดการความรู้ที่ใหม่กว่าและดีกว่า การนำระบบ
ออนไลน์ทางไกลมาใช้สำหรับการฝึกอบรมในกระบวนการทางการศึกษา อย่างจริงจังได้กลายเป็นส่ิง
สำคัญของสถาบันอุดมศึกษาสมัยใหม่ การเรียนการสอนออนไลน์เป็นเรื่องจำเป็นขึ้นมาตั้งแต่
การระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัย

52

ในการจัดเก็บข้อมูลและจัดการข้อมูลในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน และเพื่ออำนวยความสะดวก
ในการสื่อสารระหว่างครูกับผู้เรียน ตลอดจนผู้เรียนสามารถเข้าถึงหลักสูตรการเรียนรู้ได้จากทางไกล
และครูสามารถประเมิน การเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม แนวคิดในการจัดการศึกษา
ในหลักสูตรออนไลน์ทางไกลของมหาวิทยาลัยจะต่างจากการเรียนในหลักสูตรออนไลนด์ ว้ ยตนเองคือ
ผู้เรียนจะได้รับคำแนะนำผ่านกระบวนการเรียนรู้จากอาจารย์ โดยเป็นการเรียนแบบเรียลไทม์ที่ครู
สามารถโต้ตอบกับผู้เรียนและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์จากระยะไกล ซึ่งมีหลาย
แพลตฟอร์มที่ให้บริการ เช่น Zoom, Google Meet, Microsoft Teams, Cisco WebEx หรือ
Skype โดยทั้งหมดมีคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกันไป แต่ที่เหมือนกันคือสามารถให้ครูและผู้เรียน
นำเสนอเน้ือหาสาระการเรยี นรูต้ ่าง ๆ ผู้รว่ มกิจกรรมในแพลตฟอรม์ สามารถดูงานนำเสนอและโต้ตอบ
ผ่านไมโครโฟนและข้อความแชท โดยแพลตฟอร์มการให้บริการของ Microsoft Office 365 for
Education และ Google G Suite for Education ช่วยให้ผู้ใช้งานลงชื่อเข้าใช้ในบัญชีเดียวแต่
สามารถเข้าใช้บริการตา่ ง ๆ ทีอ่ ำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนออนไลน์ส่วน Zoom เป็นหน่ึง
ในเครื่องมือการประชุมทางวิดีโอที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้ที่ถูกนำมาใช้สำหรับการสอน
ออนไลน์ทางไกล เหตุผลหลักสำหรับความนิยมคือคุณสมบัติที่ใช้งานง่ายสำหรับการเข้าร่วมห้อง
ประชุมออนไลน์ โดยผู้เข้าร่วมไม่จำเป็นต้องยุ่งยากในการลงทะเบียน สามารถใช้เฉพาะ ID การ
ประชมุ จากผดู้ ำเนนิ การจัดประชมุ ก็เพียงพอแลว้ แต่สงิ่ นีอ้ าจจะนำไปสปู่ ัญหาดา้ นความปลอดภัยและ
ความเป็นส่วนตวั หลายประการ เช่นปัญหาการตรวจสอบสิทธิเ์ นือ่ งจากทุกคนท่ีมี Zoom ID สามารถ
เข้าร่วมการประชุมได้โดยไม่ได้รับการตรวจสอบรายละเอียดตัวตน กลไกการตรวจสอบสิทธิ์ที่ยังไม่ดี
พอจะทำใหบ้ ุคคลท่ีไม่ไดร้ บั อนญุ าตสามารถเข้าร่วมการประชุมและอาจสรา้ งความวุ่นวายได้

การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์มีหลักการพื้นฐานประกอบด้วย สนับสนุน
ให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาของบทเรียนได้ทุกเวลา โดยผู้เรียนและผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่เห็น
หน้าในห้องเรียนเดียวกัน และในเวลาเดียวกันเสมอไป แตกต่างจากการจัดการเรียนการสอนใน
ห้องเรียนปกติ ผู้เรียนทุกคนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกัน และสามารถเข้าถึงบทเรียนออนไลน์
ได้ตลอดเวลาด้วยความสะดวก การจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือที่จะช่วยพัฒนาความคิด ความ
เข้าใจของผู้เรียนได้ดีกว่าการทำงานคนเดียว ทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ความเป็นทีม การแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นระหว่างกันเพื่อหาหนทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึง
ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง หลีกเลี่ยงการกำกับ
ผู้เรียน ผสู้ อนควรเป็นผู้ปอ้ นข้อมลู หรอื คำถาม ผเู้ รียนควรเปน็ ผู้ขวนขวายใฝ่หาองค์ความรหู้ รือคำตอบ
โดยการแนะนำของผู้สอน ให้ผลย้อนกลับแก่ผู้เรียนโดยทันทีทันใด ช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบถึง
ความสามารถของตน อกี ทั้งยังช่วยให้ผเู้ รยี นสามารถปรบั แนวทาง วธิ ีการ หรือพฤติกรรมให้ถูกต้องได้
การเรียนการสอนออนไลน์เป็นการขยายโอกาสให้ทุกคนที่สนใจศึกษาเรียนรู้ เนื่องจากผู้เรียนไม่

53

จำเป็นจะต้องเดินทางไปเรียน ณ ที่ใดที่หนึ่ง ผู้ที่สนใจสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามการ
จัดการเรียนการสอนออนไลน์ ผู้สอนควรเน้นที่ผลลัพธ์ที่จะได้ หรือที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นหลัก
มากกวา่ การเนน้ การนำเทคโนโลยมี าใช้ในการจดั การเรียนการสอนเพียงอยา่ งเดียว การพิจารณาเลอื ก
เทคโนโลยีและการสื่อสารที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์จึงควรพิจารณาผลการ
เรียนรู้ที่คาดหวังของหน่วยการเรียน หรือเป้าหมายของการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดกับตัวนักเรียน
โดยในส่วนนี้ผู้สอนอาจพิจารณาว่าผลการเรียนรู้ที่คาดหวังใดสามารถนำมาออกแบบให้เป็นการเรียน
การสอนออนไลน์ได้ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เลือก
เครื่องมือออนไลน์ที่จะรองรับวิธีการเรียนที่ได้พิจารณาไว้ โดยอาจพิจารณาจากสิ่งแวดล้อม
ที่สถานศึกษามีอยู่ เนื่องจากเครื่องมือออนไลน์ส่วนใหญ่ที่มีความสามารถสูงนั้นมักจะต้องมีค่าใช้จ่าย
ในการขอใช้งาน ดังนั้นหากสถานศึกษามีการสมัครใช้บริการเพือ่ การศึกษาฟรีใด ๆ ที่มีอยู่แล้วผู้สอน
ควรเลือกพิจารณาใช้เครื่องมือที่มีอยู่นั้นก่อน เลือกเครื่องมือที่มีส่วนเสริมที่สามารถใช้งานร่วมกันได้
และบรรลุเปา้ หมายของการเรยี นการสอนได้อยา่ งดที ่ีสุด เลือกเครื่องมอื ท่จี ะทำใหส้ ามารถย้ายเน้ือหา
ไปบนเครื่องมือตัวอื่นได้ง่าย และเลือกเครื่องมือที่มีวิธีการใช้งานง่ายต่อผู้สอน และง่ายต่อผู้เรียน
ในการเข้าถึง หลังจากนั้นผู้สอนต้องฝึกฝนการใช้เครื่องมือออนไลน์ให้คล่องแคล่วและให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด และประเมินผลการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เพื่อเป็นการตรวจสอบตัวเอง
ด้านทักษะการนำไปใช้ วิธีการนำไปใช้ เทคนิควิธีการนำเครื่องมือมาใช้ อาจใช้การตรวจสอบจาก
ผลย้อนกลบั จากผเู้ รียน หรือสงั เกตพฤติกรรมการเรยี นรขู้ องผเู้ รียนว่าเปลย่ี นแปลงไปในทางที่ดหี รือไม่
ผลประเมนิ เหล่านจ้ี ะนำไปสู่การพฒั นาตนเองของผ้สู อนในการจัดการเรยี นการสอนออนไลนต์ ่อไป

การจัดการเรียนการสอนออนไลน์เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน
ทั้งหมด ตั้งแต่ก่อนสอน ระหว่างสอน และหลังสอน เหมือนกับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน
ปกติ เพยี งแต่ตอ้ งปรบั และเปล่ียนให้เขา้ กับบริบทของการจดั การเรียนการสอนออนไลน์ (จริ ะ, 2563)
ประกอบด้วย

1. การเตรยี มการสอน เป็นการจัดลำดบั เนอ้ื หาสาระความรู้ใหเ้ หมาะสมกับ
ผู้เรียนการจัดเตรียมกิจกรรมการเรียนการสอน การเตรียมความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์สำหรับ
การเรียนการสอนออนไลน์ หากเป็นไปได้จะให้ผู้เรียนมีโอกาสร่วมวางแผนการเรียนการสอนร่วมกับ
ผู้สอนด้วยก็ได้ เนื่องจากผู้เรียนอาจช่วยแนะนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือแอปพลิเคชันที่สามารถใช้
ในการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนได้

2. ระหวา่ งการสอน เปน็ การจดั การเรยี นการสอนออนไลนต์ ามกิจกรรมการ
เรียนการสอนที่ผู้สอนได้เตรียมไว้ อาจประกอบด้วย การกำหนดกฎระเบียบ และกติกาในการเรียน
เช่น การเปิด-ปิดไมโครโฟน ช่องทางการติดต่อสื่อสาร เนื้อหาที่สอน กิจกรรม แบบฝึกหัด ใบงาน
การบ้าน โครงงานงานเดี่ยว งานกลุ่ม การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียน

54

ทั้งหมดรับทราบร่วมกัน การจัดการเรียนการสอนออนไลน์จำเป็นต้องใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังน้ัน
ผู้สอนอาจไม่จำเป็นต้องให้ผู้เรียนเปิดกล้องวิดีโอตลอดระยะเวลาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของนักศึกษา แต่ทั้งนี้ผู้สอนก็ต้องมีเทคนิควิธีการที่ทำให้ทราบได้ว่าผู้เรียนทุก
คนยงั คงอยใู่ นหอ้ งเรียนออนไลน์ หากมกี ารบันทึกการสอนระหวา่ งผ้สู อนตอ้ งแจ้งนกั ศกึ ษาทุกคร้ังเพื่อ
ไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่เหมาะสมระหว่างการจัดการเรียนการสอน และไม่ลืมการบริหารจัดการเวลาในการ
สอน เพราะบางครั้งกว่าผู้เรียนจะเข้าห้องเรียนได้ครบทุกคนอาจจะมีปัญหาที่ผู้สอนและผู้เรียนอาจ
ต้องร่วมกันแก้ไข เช่น ผู้เรียนเข้าชั้นเรียนออนไลน์ไม่ได้ ผู้เรียนไม่เห็นหน้าและไม่ได้ยินเสียงผู้สอน
เป็นต้น เน่อื งจากอาจทำใหต้ อ้ งเสียเวลาในการจัดการปญั หาท่อี าจจะไม่เก่ยี วเนือ่ งกบั กจิ กรมการเรียน
การสอน

3. หลังการสอน ผู้สอนอาจเตรียมการสอนและกิจกรรมการสอนสำหรับ
เนื้อหาครั้งต่อไป เรียนรู้เนื้อหาและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เพิ่มเติม ตรวจงาน
นักศึกษา ตอบคำถามนักศึกษาผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามเวลาที่กำหนดร่วมกันไว้ รวมถึงบำรุงรักษา
วัสดอุ ปุ กรณ์ประกอบการเรยี นการสอนให้สามารถใชง้ านไดอ้ ย่างมปี ระสทิ ธิภาพ

2.4 เทคโนโลยดี ิจิทัลสำหรบั การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์
เทคโนโลยี คือ การพัฒนาหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ
เทคโนโลยีการศกึ ษา และเป็นเทคโนโลยที ี่ได้รับการพฒั นา สรา้ งสรรค์ หรือประยกุ ต์ใช้เพื่อตอบสนอง
ความต้องการทางด้านการศึกษาในรูปของอุปกรณ์ (Hardware) วัสดุ (Software) และเทคนิควิธีการ
(Techniques)

การสื่อสาร คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน อาทิ การสื่อสารระหว่างคนสองคน
ด้วยรูปแบบการสื่อสารที่ไม่ซับซ้อน เช่น การใช้ภาพ สัญลักษณ์ อักขระ ร่างกาย และคำพูด ตามแต่
ความพร้อม ความสะดวก และวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร หรือการสื่อสารที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การ
สื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ หรือการสื่อสารระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์
การสื่อสารมีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้ส่ง (Sender) ข้อมูล (Data) ช่องทาง
ในการส่งขอ้ มูล (Transmission Medium) และผู้รบั (Destination)

เทคโนโลยีและการสื่อสาร คือ การสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันโดยอาศัย
เทคโนโลยี การเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติหรือเรียนออนไลน์
ก็ย่อมต้องมีการสื่อสารกันเพื่อความเข้าใจในเนือ้ หาและกิจกรรมการเรียนการสอน ระหว่างผู้สอนกบั
ผู้เรียนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน ในกรณีที่เป็นการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติมักจะใช้
เทคโนโลยีและการส่ือสารท่ีไม่ซับซอ้ นหรืออาจจะไม่ได้ใชเ้ ทคโนโลยีใด ๆ เลย เช่น ทักทายและสวสั ดี
ยามเช้ากันระหว่างผู้สอนและผู้เรียนหน้าชั้นเรียน การบรรยายและถามตอบผ่านคำพูดกันและกัน

55

แตกต่างจากการเรียนการสอนออนไลน์ที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารที่ซับซ้อนขึ้นและมี
เทคโนโลยีเข้ามาเก่ียวข้อง เพื่อให้การสื่อสาร การสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมี
ประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ อาทิ การส่งข้อความ “สวัสดียามเช้า” จากไลน์ผ่านมือถือของ
ผู้สอนไปหากลมุ่ ไลนข์ องผู้เรียนเพือ่ บ่งบอกผ้เู รียนเป็นนัยวา่ เช้านี้มีเรยี นกับผู้สอนนะ ผู้สอนก็คือผู้ส่งท่ี
พิมพ์ข้อความลงไปในแอปพลิเคชนั ไลน์ มือถือของผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่ง (Sender) โดยจะแปลง
ข้อความ “สวัสดียามเช้า” ให้กลายเป็นรหัสเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 สลับกันไปตามพยัญชนะ เพ่ือ
สง่ ต่อไปยงั การด์ เครอื ข่าย (Land Card) ที่ถูกติดตัง้ ไว้แล้วในมอื ถอื จากโรงงาน การด์ เครือขา่ ย (Land
Card) จะทำหน้าที่แปลงรหัสเลขฐานสองให้กลายเป็นสัญญาณอนาลอก (Analog) หรือดิจิทัล
(Digital) ผ่านไปทางช่องทางในการส่งข้อมูล ไปยังการ์ดเครือข่าย (Land Card) ปลายทางซึ่งก็คือ
กลุ่มไลน์ของผู้เรียน การ์ดเครือข่าย (Land Card) ของผู้เรียนทุกคนก็จะแปลงสัญญาณ
ให้กลับไปเป็นเลขฐานสอง 0 และ 1 และแสดงเป็นข้อความผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของผู้เรียน
ว่า “สวัสดียามเชา้ ” ผ่านทางหน้าจอมือถือ หากผู้เรียนประสงค์จะส่งดอกไม้ยามเชา้ กลับไปหาผู้สอน
กระบวนการสื่อสารก็จะเป็นเหมือนที่ผู้สอนส่งข้อความให้ผู้เรียน สลับไปมากันแบบนี้
ซึ่งพบว่าซับซ้อนพอสมควร เพื่อขจัดความซับซ้อนของเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการเรียนการ
สอนระหว่างผสู้ อนและผเู้ รียน ผวู้ จิ ัยจึงได้รวบรวมเอกสารเพ่อื นำเสนอความรู้ ความเข้าใจ และการใช้
เทคโนโลยีและการสื่อสารสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และแบ่งออกเป็น
3 กลุม่ ได้แก่ เทคโนโลยีและการสอ่ื สารเพ่อื การเรยี นการสอนออนไลน์ เทคโนโลยีและการส่ือสารเพ่ือ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ และเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการวัดและประเมินผล
การเรียนรู้

2.4.1 เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนออนไลน์
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทำให้การจัดการเรียนการสอน

แบบออนไลน์เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย มีเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียน
มีช่องทางในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในอาคารและ
สถานที่เดียวกัน แต่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ต่างจากการจัดการเรียน
การสอนในชั้นเรียนปกติ เทคโนโลยีและการสื่อสารสำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
ที่จะเป็นตัวกลางและสนับสนุนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ประกอบด้วย การเรี ยน
แบบประสานเวลา (Synchronous) และการเรียนแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous) สมคิด
แซ่หลี และศิวพร ลนิ ทะลึก (2563) ใหร้ ายละเอยี ดไวด้ งั ต่อไปนี้

1. การเรยี นแบบประสานเวลา (Synchronous)
การเรียนแบบประสานเวลา หรือ การเรียนแบบ Synchronous หรือแบบ
Realtime หมายถึง การนำเสนอองค์ความรู้ รวมถงึ ปฏิสมั พนั ธ์ที่เกดิ ข้ึนระหวา่ งผู้เรียนกับผู้สอน หรือ

56
ผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน เกิดขึ้น ณ เวลาพร้อมกัน ลักษณะการนำเสนอของการจัดการเรียน
การสอนออนไลนท์ อ่ี ยู่ในรูปแบบนี้ได้แก่ การใชร้ ะบบ Video Conference หรอื ระบบ Online Chat
ไมว่ า่ จะเป็นชนิดเสยี งหรือตัวอกั ษร การปฏสิ มั พนั ธจ์ ะเกิดข้นึ ณ เวลาเดยี วกนั

เครื่องมือดิจิทัลที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Synchronous ที่เป็นที่นิยม
นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ ได้แก่ Google Meet, Microsoft Teams, Zoom,
WebeX, True VROOM, Line, Facebook เป็นต้น

ภาพท่ี 2-11 เครื่องมือทใี่ ช้ในการจดั การเรยี นการสอนแบบ Synchronous
ที่มา: สมคดิ แซ่หลี และศวิ พร ลนิ ทะลึก (2563)

เครื่องมือสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบ Synchronous เหล่านี้มีคุณสมบัติ
ที่โดดเด่นแตกต่างกัน มีทั้งเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้สอนสามารถเลือกใช้งานได้ตามความ
เหมาะสม ตามคุณสมบตั ิ หรอื เป็นไปตามความสามารถของแตล่ ะแอปพลเิ คชัน ดงั แสดงภาพท่ี 2-12

57

ภาพที่ 2-12 ความสามารถของแตล่ ะแอปพลิเคชัน
ท่ีมา: สมคดิ แซ่หลี และศวิ พร ลินทะลึก (2563)
จากภาพที่ 2-12 แสดงรายละเอียดความสามารถของแต่ละแอปพลิเคชนั สำหรับการจดั การ
เรยี นการสอนออนไลน์ โดยมีรายละเอียดดังน้ี
1. Google Meet เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้สำหรับการประชุมทางไกลผ่าน
วิดีโอที่ใช้ง่ายไม่มีสะดุดจาก Google ได้รับความนิยมนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบ
ออนไลน์แบบ Synchronous หรือแบบ Realtime ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารและทำ
กิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันได้จากทุกที่บนโลก คุณสมบัติที่สำคัญได้แก่ การประชุมทางไกล
ผ่านวิดีโอที่มีความละเอียดสูง รองรับผู้เข้าร่วมได้สูงสุด 250 คน เข้าถึงได้ง่าย เพียงแค่แชร์ลิงก์
ให้ทุกคนก็สามารถเข้าร่วมได้ด้วยคลิกเดียว รองรับการใช้งานที่หลากหลายบน Desktop, IOS และ
Android สามารถแชร์หน้าจอ รูปภาพ ไฟล์ ข้อความได้ และผู้สอนยังสามารถควบคุมไมโครโฟนของ
ผู้เรียนแต่ละคนได้อีกด้วย ที่สำคัญมีเครื่องมือดิจิทัลในตระกูล Google และเครื่องมือดิจิทัลอื่น ๆ ท่ี
สนับสนุนและใช้งานร่วมกับ Google Meet มากมายที่ผู้สอนและผู้เรียนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ทำให้
ลดระยะเวลาในการเรียนรู้การใช้เครื่องมือดิจิทัลต่าง ๆ ลงไป ส่งผลให้ผู้สอนและผู้เรียน
มีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกัน
หากการจัดการเรียนการสอนการบรรยายหรือการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สอน
และผู้เรียนที่แสดงเพียงภาพจากกล้องของผู้เรียนและผู้สอนเท่านั้น สามารถลดความละเอียด
ของการแสดงผลวิดีโอได้เพอื่ ประหยัดอนิ เทอร์เน็ต

58

ภาพที่ 2-13 Google Meet เคร่ืองมือท่ีใช้ในการจดั การเรยี นการสอนแบบ Synchronous
2. Microsoft Teams เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางใน

การทำงานรว่ มกนั เชน่ การตดิ ตอ่ ส่ือสาร การนดั หมาย การประชมุ การประกาศ การติดตามขา่ วสาร
การติดตามงานต่าง ๆ และสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบ
ออนไลน์ได้อีกด้วย ความพิเศษของ Microsoft Teams คือ มีความสามารถในการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนได้ทั้งแบบประสานเวลา ( Synchronous) และแบบไม่ประสานเวลา
(Asynchronous) ในแอปลิเคชันตัวเดียวกัน กล่าวคือสามารถสอนสดแบบเห็นหน้าในเวลาเดียวกัน
ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน และผู้สอนยังสามารถออกแบบ พัฒนา และเตรียมทรัพยากรการเรียนรู้
ไว้ในหอ้ งเรียนออนไลน์ และกำหนดให้ผเู้ รยี นเขา้ มาเรยี นเสริมดว้ ยตนเองไดต้ ลอดเวลาในช่วงท่ีผู้เรียน
สะดวกด้วยระบบบันทึกการเรียนการสอนไว้ดูย้อนหลัง ระบบส่งการบ้าน การสร้างแบบทดสอบ
การแบ่งปันหน้าจอ และการควบคุมหน้าจอ เป็นต้น และสามารถใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชันตระกลู
Microsoft Office 365 ซึ่งเป็นแหล่งรวมแอปพลิเคชันที่ผู้สอนและผู้เรียนคุ้นเคยและสามารถใช้งาน
ได้ในทันที นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันเสริมสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
อย่างเช่น SharePoint, OneNote, Form และแอปพลิเคชันอื่น ๆ ได้อีกเป็นจำนวนมาก สำหรับ
ข้อจำกัดของ Microsoft Teams ณ ปัจจุบันอาจจะเป็นเรื่องลิขสิทธิ์การใช้งาน หมายถึง ผู้สอนหรือ
สถานศึกษาต้องมคี า่ ใชจ้ ่ายในการรับอนุญาตใช้งานทถ่ี ูกต้อง

59

ภาพที่ 2-14 Microsoft Teams เคร่อื งมอื ท่ีใชใ้ นการจดั การเรียนการสอนแบบ Synchronous
3. Zoom เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันที่ใช้ในการประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ

ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากรองรับการใช้งานได้หลากหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น
Android, iOS หรือ Windows ที่สำคัญสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งได้ในคอมพิวเตอร์หรือ
โทรศัพทม์ ือถอื ได้โดยไม่เสยี คาใชจ้ ่าย และสามารถใชค้ วามสามารถของระบบไดค้ รบทกุ อย่าง เพยี งแต่
จะจำกัดที่สามารถใช้งานได้แค่ 40 นาที ต่อครั้งเท่านั้น หากต้องการใช้งานใหม่ก็เชื่อมต่อกับระบบ
และเข้าสู่ Zoom ใหม่ และสามารถใช้งานได้ 40 นาที แบบนี้เรื่อยไป แต่ในสถานการณ์การแพร่การ
ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) Zoom เปิดให้ใช้ได้ในระยะเวลาที่ยาวนานข้นึ
ภายใต้การรองรับผู้เข้าร่วมที่ 100 คน Zoom เหมาะกับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์แบบ
ประสานเวลา (Synchronous) เท่านั้น หากจะให้สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอน
แบบออนไลน์ให้ได้เหมือน Google Meet และ Microsoft Teams จำเป็นต้องหาแอปพลิเคชันเสรมิ
ตา่ ง ๆ มาใชง้ าน เน่อื งจาก Zoom ถกู ออกแบบมาให้ใช้ในการติดต่อสือ่ สาร การประชุมการสอน และ
การบรรยายสดเท่านั้น แต่ด้วยความสามารถของ Zoom ที่มีความหลากหลายทำให้ได้รับความสนใจ
นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสนอแบบออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย เช่น สามารถแชร์แบ่งปัน หรือ
นำเสนอข้อมูลผ่านหน้าจอของผู้นำเสนอหรือผู้สอนได้ สร้างฉากหลัง ควบคุมไมโครโฟนของผู้เรียนได้
เป็นตน้

60

ภาพที่ 2-15 Zoom เคร่อื งมอื ท่ีใชใ้ นการจัดการเรียนการสอนแบบ Synchronous
2. การเรียนแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous)

การเรียนแบบไม่ประสานเวลา หรือ การเรียนแบบ Asynchronous หรือแบบ
Unrealtime หมายถึง การเรยี นรูท้ ไ่ี มเ่ กิดขึ้นในสถานที่เดยี วกันหรือในเวลาเดยี วกัน หรือการเรียนรู้ท่ี
เกิดขึ้นคนละเวลา คนละสถานที่กันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ไม่ใช่การสอนหรือบรรยายสดที่จะ
สามารถถามตอบและเห็นหน้ากันได้ในทันทีทันใด ผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ทรัพยากรที่
อำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลและการเตรียมการออกแบบและพัฒนาห้องเรียนหรือ
บทเรยี นออนไลน์ ที่ผ้สู อนได้เตรียมไว้

เครื่องมือดิจิทัลที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การสร้างห้องเรียน หรือสร้าง
บทเรียนออนไลน์แบบ Asynchronous มีหลากหลายแบบ หลากหลายตระกูลให้เลือกใช้
แต่แอปพลิเคชันที่เป็นที่นิยมนำมาจัดการเรียนการสอนในลักษณะนี้และในสถานการ ณ์การแพร่
ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่นนี้ ได้แก่ Google Classroom, Google
Site, Microsoft Teams, Moodle, Edmodo เปน็ ตน้

1. Google Classroom เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถสร้างห้องเรียน
แบบออนไลน์ เพื่อเตรียมไว้เป็นกิจกรรมสำหรับการเรียนของผู้เรียน ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้
จากกิจกรรมการเรียนนั้นด้วยตนเอง (Self-Paced) Google Classroom เป็นบริการของ Google
Workspace for Education ที่สามารถใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงเข้าระบบด้วยรหัส
และรหัสผ่านของ Google โดยผสานความสามารถของ Google Drive, Google Docs, Google
Sheets, Google Slides, Google Froms, Gmail และอีกหลากหลายแอปพลิเคชันของตระกูล

61

Google เข้าด้วยกัน ทำให้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์เป็นไปได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้นทั้ง
ผู้สอนและผู้เรียน เนื่องจากใช้งานได้ง่าย ประหยัดเวลา การจัดเก็บงานเป็นระเบียบ มีระบบการ
สื่อสาร ประหยัดค่าใช้จ่าย และมีความปลอดภัย ผู้สอนและผู้เรียนสามารถตรวจสอบ
ความเคล่ือนไหวของหอ้ งเรยี นออนไลนน์ ้ไี ดท้ กุ ทท่ี ุกเวลา ในทุกอุปกรณ์ท่สี ามารถเช่อื มต่ออนิ เทอร์เน็ต
ได้ และที่สำคัญผู้สอนสามารถสร้างหอ้ งเรยี นไดห้ ลายหอ้ งเรียน

ภาพที่ 2-16 Google Classroom เครือ่ งมอื จดั การเรียนการสอนแบบ Asynchronous
2. Google Site เป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้สำหรับเป็นแหล่งรวบรวมและนำเสนอ

ทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาไว้ในที่เดียวกันในรูปของเว็บไซต์ ที่ทำให้การสร้างเว็บไซต์
ของผู้สอนและผู้เรียนง่ายขึ้นเหมือนกับการแก้ไขเอกสารธรรมดา ๆ Google Sites สามารถรวบรวม
ความหลากหลายของข้อมูลในที่เดียว เช่น รวมวิดีโอ ปฏิทินการนำเสนอ เอกสารหรือสิ่งที่แนบ และ
ข้อความ อำนวยความสะดวกให้คณุ ร่วมกนั ดู หรอื แกไ้ ขหนา้ เวบ็ จะเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรอื ทั้งองคก์ รของ
คุณ หรือจะทั้งโลกเลยก็ได้ สิ่งท่ี Google Site ทำได้ ประกอบด้วย การกำหนดรูปลักษณ์ของเว็บไซต์
การสรา้ งเพจยอ่ ยเพือ่ ให้เน้อื หานา่ สนใจ การเลือกประเภทเพจ เว็บเพจประกาศ ตเู้ ก็บเอกสาร การให้
เวบ็ ไซตเ์ ป็นส่วนตัวหรอื สาธารณะตามต้องการ

62

ภาพท่ี 2-17 Google Site เครื่องมือท่ใี ชใ้ นการจดั การเรียนการสอนแบบ Asynchronous
3. Edmodo เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับ

Face book ทีส่ ามารถใชใ้ นการติดตอ่ สือ่ สาร ทำงานรว่ มกัน แบ่งปันเนื้อหาและแจง้ ขา่ วสารเฉพาะใน
กลุ่มที่จัดตั้งขึ้น แต่เป้าหมายสำคัญของ Edmodo นั้นจะแตกต่างจาก Facebook คือ Edmodo
ถูกสร้างเพื่อช่วยในการจัดการเรียนการสอนของผู้เรียนและผู้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้สอน
สามารถออกแบบและพัฒนาห้องเรียนออนไลน์เอาไว้ให้ผู้เรียนเข้าไปเรียนรู้และทำกิจกรรม
ต่าง ๆ ด้วยตนเอง Edmodo ตอบโจทย์ในขอ้ จำกัดของเวลาในชัน้ เรยี น และสามารถพัฒนาศกั ยภาพ
ของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ตาม ความสนใจ ครูและผู้เรียนมปี ฏิสมั พันธ์กันมากขึ้น การใช้ Edmodo
ในการเรียนการสอนนั้นสนับสนุนทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หรือ Constructionism
เป็นการศึกษาเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเก็บความรู้ที่ได้รับไปสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและสามารถ
เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่มาเป็นองค์ความรู้ของตนเอง นอกจากนี้ Edmodo ยังสนับสนุน
การเรียนรู้เมื่อพร้อม การฝึกฝน และพึงพอใจจะเรียนรู้ เพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้เมือ่ ผู้เรียนพร้อม
และไดฝ้ ึกและเรียนรู้จนพอใจ

ข้อดีในการใช้ Edmodo มาช่วยในการเรียนการสอนนั้นได้แก่ความสะดวกสบาย
ในการปฏสิ มั พนั ธ์กันระหว่างผูส้ อนและผูเ้ รียน เพราะไม่จำเป็นตอ้ งอยูใ่ นชว่ งเวลาเรียนเท่านั้น ผู้สอน
และผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสาร ทำงานร่วมกัน แบ่งปันเนื้อหา ซักถาม นำเสนอผลงานของผู้เรียน
ผ่านทางออนไลน์ของ Edmodo ผู้เรียนไม่รู้สึกถูกบังคับในการเรียนรู้เพราะสามารถเรียนรู้ได้
ตลอดเวลาที่พร้อม ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนของผู้สอนได้ง่าย เพราะมีข้อปฏิบัติในการ
ใช้งานจะคล้ายกับการใชง้ าน Facebook ท่ีผเู้ รยี นคุ้นเคย

63

ภาพที่ 2-18 Edmodo เครื่องมอื ท่ใี ชใ้ นการจดั การเรยี นการสอนแบบ Asynchronous
4. Moodle เป็นเครื่องมือดิจิทัลลำดับต้น ๆ ที่เป็นที่รู้จักและนิยมนำมาใช้สำหรับ

การบริหารจัดการทรัพยากรการเรียนรู้และการสร้างบทเรียนออนไลน์ หรือ E-learning
ให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษา เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามที่ผู้กำหนดและวางแผนเอาไว้ โดยผู้สอน
ต้องจัดเตรียมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนเอาไว้ให้พร้อม อาทิ เอกสาร
ประกอบการเรียน แบบฝึกหัด การบ้าน แบบทดสอบ ข้อมูลภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว อย่างเช่น
Youtube เป็นต้น Moodle ถูกพัฒนาและต่อยอดให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผู้สอน องค์กรการศึกษา หรือ
องค์กรธุรกิจสามารถนำไปใช้งาน และสามารถนำไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้รองรับกับการใช้งาน
ของแต่ละองคก์ รได้

ภาพที่ 2-19 Moodle เครื่องมอื ท่ใี ชใ้ นการจดั การเรยี นการสอนแบบ Asynchronous

64

การนำ Moodle ไปใช้งานสำหรับอาจารย์ผู้สอนที่ไม่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี
อาจจะมีความซับซ้อนอยู่พอสมควร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีทีมงานที่มีความรู้ความสามารถ
ในการให้บรกิ ารช่วยเหลอื ผู้สอนในการสร้างหอ้ งเรียนออนไลน์ด้วยระบบนี้ แต่เม่อื ใชง้ านไประยะหนึ่ง
กจ็ ะเกดิ ความคุน้ เคยและสามารถใชง้ านไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพต่อไป ปจั จบุ ันมี Moodlecloud ให้ใช้
งานได้ โดยองคก์ รหรือหน่วยงานไม่จำเป็นต้องทำการติดตัง้ และบริหารจดั การโดยองค์กรเอง สามารถ
เข้าถึงและใช้งานได้จาก https://moodlecloud.com ผู้สอนสามารถลงทะเบียนและเข้าไปสร้าง
ห้องเรียนและบริหารจดั การการเรียนการสอนได้ด้วยตนเอง เหมาะกับองคก์ รหรือหน่วยงานที่อาจจะ
ไม่มีหน่วยช่วยเหลือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะทุกอย่างทำงานอยู่บนระบบ Cloud ที่มีทีม
ของ Moodlecloud ทำหน้าที่การบริหารจัดการระบบให้ทั้งหมดทั้ง Hardware และ Software
หน้าที่ของผู้สอนเพียงลงทะเบียนและเปิดห้องเรียนและจัดการการเรียนการสอนในห้องเรียนของ
ตนเองผา่ น Moodlecloud ใหม้ ีประสทิ ธภิ าพและตรงตามวตั ถปุ ระสงค์ของการเรียนรู้

ภาพที่ 2-20 หน้าลงชื่อเขา้ ใช้งาน Moodle

5. MOOCs หรือ Massive Open Online Courses ภาษาไทยเรียกว่าระบบเปิด
สำหรับมหาชน เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรการเรียนรู้และการสร้างบทเรียนออนไลน์ หรือ
E-Learning เช่นเดียวกันกับ Moodle แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่ามาก รองรับการเรียนรู้ออนไลน์
ในระดับมหาชน นั่นคือสามารถเข้าเรียนรู้พร้อมกันได้โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน เป็นระบบเปิดที่ทุก
คนที่อยากเรียนจะต้องได้เรียน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเรียน และใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร
ออนไลน์เป็นเครื่องมือ ยกเว้นบางกรณีทีม่ ีค่าใช้จ่ายหากผู้เรียนอยากได้ใบประกาศหรือปริญญาไปใช้
เพอื่ การทำงาน หากกลา่ วกันโดยทัว่ ไปแล้ว MOOCs กค็ ือ E-learning รูปแบบหนึง่ ทจี่ ดั การเรียนการ
สอนขึ้นมาเพื่อคนจำนวนมากที่สนใจจากทั่วโลกให้สามารถเข้าเรียนออนไลน์ในเนื้อหาหรือวิชา
เดียวกันได้พร้อม ๆ กัน หรือสามารถเรียนคนละเวลากันก็ได้ แต่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาตราบ
เท่าที่ผู้เรียนมีความพร้อม ส่วนคำว่า E-learning เป็นคำที่เกิดขึ้นมาก่อน MOOCs ซึ่งหมายถึง
บทเรียนออนไลน์ ซึ่งเดิมเกิดขึ้นมาเพื่อจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนในชั้นเรียนของผู้สอนเพียง
ไม่กคี่ น เพ่ือตอบสนองการจัดการเรยี นการสอนรูปแบบใหมต่ ามความก้าวหนา้ ของเทคโนโลยีและการ

65

ส่ือสาร โดยผสู้ อนกับผู้เรยี นจะมาพบหนา้ กนั บา้ งบางคร้งั ในช้นั เรยี นปกติหรืออาจจะไม่พบหน้ากันเลย
ในช้ันเรยี นปกตกิ ไ็ ด้ แตใ่ ช้ความสามารถของเทคโนโลยแี ละการสื่อสารช่วยในการพบหน้ากันแทน เช่น
ใช้ Google Meet, Microsoft Teams ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง MOOCs และ
E-learning ก็มีความเหมือนกันในหลาย ๆ ส่วน มีระยะเวลาเปิด-ปิด เหมือนห้องเรียนปกติ มีการ
กำหนดหวั ข้อยอ่ ยในรายวชิ าไว้แลว้ มีการวดั และประเมนิ ผล มีการบ้าน มีกจิ กรรมใหผ้ ู้เรียนได้ทำงาน
เดี่ยวและงานกลุ่มกลุ่ม ขึ้นอยู่กับการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งนี้เนื่องจาก MOOCs
ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อคนจำนวนมากหากสามารถเข้าใจภาษาของบทเรียนนั้น ๆ บทเรียนออนไลน์
ลักษณะนี้ผู้รับผิดชอบดูแลและบำรุงรักษามักเป็นองค์กร สถาบันหรือสถานศึกษา จำเป็นต้องมี
ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น Human, Hardware และ Software เข้ามารองรับมากกว่า E-learning และ
MOOCs ผู้สอนเป็นแค่ส่วนหนึ่งของผูผ้ ลติ เนื้อหาของบทเรียนเท่านั้น MOOCs ที่เป็นที่รู้จักและไดร้ ับ
ความนยิ ม เชน่ edX, Coursera, Udacity และ Khan Academy

ภาพที่ 2-21 MOOCS เคร่ืองมอื ที่ใชใ้ นการจดั การเรยี นการสอนแบบ Asynchronous
สรุปเทคโนโลยีและการสื่อสารสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online
Learning) แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มการเรียนแบบประสานเวลา(Synchronous)
และกล่มุ การเรยี นแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous) รายละเอียดดังต่อไปน้ี

1. กลุ่มการเรียนแบบประสานเวลา (Synchronous) ได้แก่ Microsoft Teams,
Google Meet และ Zoom เทคโนโลยีและการสื่อสารกลุ่มนี้ผู้สอนมักใช้ในการประชุมหรือบรรยาย
ออนไลน์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนทุกคน เพียงแต่ Microsoft Teams มีความสามารถในการสร้าง
ห้องเรียน หรือบทเรียนออนไลน์ (E-Learning) ได้ในตัวมันเอง ในขณะที่ Google Meet ต้องอาศัย
Google Classroom มาเป็นตวั ชว่ ยในการสรา้ งหอ้ งเรยี นหรือบทเรียนออนไลน์ ส่วน Zoom ไมม่ ีเนน้
การประชมุ หรอื บรรยายสดออนไลน์มากกวา่

66

2. กลุ่มการเรียนแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous) กลุ่มนี้เป็นเทคโนโลยีและ
การสื่อสารที่เป็นเครื่องมือของผู้สอนอีกรูปแบบหนึ่ง คือ ผู้สอนสามารถใช้สำหรับการสร้างห้องเรียน
หรือบทเรียนออนไลน์ที่ผู้สอนได้วางแผน ออกแบบ และพัฒนาขึ้นมา โดยภายในห้องเรียนหรือ
บทเรียนออนไลน์ผู้สอนสามารถจัดเตรียมทรัพยากรแสะสิง่ อำนวยความสะดวกเพือ่ ให้ผู้เรียนสามารถ
เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่ผู้เรียนพร้อม มีเวลา และพึงพอใจที่จะเรียนรู้ โดยไม่ต้องเข้ากลุ่ม
การเรียนแบบประสานเวลา (Synchronous) เทคโนโลยีและการสอ่ื สารกลุ่มการเรยี นแบบไม่ประสาน
เวลา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ 1) ห้องเรียนหรือบทเรียนออนไลน์แบบจำกัดผู้เรียน
อาทิ Moodle, Google Classroom และ Edmodo เนื่องจากหอ้ งเรียนและบทเรียนออนไลน์เหล่าน้ี
ผู้สอนสร้างขึ้นมาเพื่อผู้เรียนบางกลุ่ม หรือบางห้องเรียนที่ผู้สอนเป็นผู้รับผิดชอบเท่านั้น อาจจะมาก
หรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เรียนที่ลงทะเบียนในรายวิชาของผู้สอนนั้น ๆ และ 2) ห้องเรียน
หรือบทเรียนออนไลน์แบบไม่จำกดั ผูเ้ รียน (มหาชน) หรือเรียกกันติดปากกว่า MOOCs รองรับผูเ้ รยี น
ออนไลน์ไดไ้ มจ่ ำกัดจำนวนจากทว่ั ทกุ มมุ โลก เชน่ edX, Coursera, Udacity และ Khan Academy

ภาพท่ี 2-22 เทคโนโลยแี ละการสื่อสารเพือ่ การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์
ท่มี า: จริ ะ จิตสภุ า (2562)

2.3.2 เทคโนโลยแี ละการสอื่ สารเพอื่ การจดั กจิ กรรมการเรยี นการสอนออนไลน์
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ นอกจากผู้สอนจะทำหน้าที่บรรยายเนื้อหาวิชา

ผ่านเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมหลัก
ของการเรียนการสอน อย่างไรกต็ ามผู้เรียนควรมีโอกาสได้ทำกิจกรรมการเรียนรูค้ วบคู่ไปดว้ ย เพื่อให้
เกิดการเรียนรู้ตามหลักการของการเรียนรู้แบบ Active Learning เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการ
จดั กิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ ท่นี ำมาเสนอในท่นี ้ี ประกอบด้วย

67
1. แอปพลิเคชันตระกูล Google และ Microsoft แอปพลิเคชันตระกูล Google
และ Microsoft เป็นแอปพลิเคชันที่คุ้นเคยและใช้งานกันอยู่บ่อยครั้ง เมื่อนำมาประยุกต์ใช้สำหรับ
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ พบว่า เป็นเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ครอบคลุมการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ ในประเด็นเพื่อจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ออนไลน์ และเพอ่ื การวัดและประเมนิ ผลการเรียนรู้

ภาพท่ี 2-23 แอปพลิเคชนั ตระกลู Google และ Microsoft
2. ClassDojo ช่วยบริหารจัดการชัน้ เรยี นใหม้ ีความสนุกสนาน ผู้เรียนจะตื่นตัวและ
พร้อมจะเรียนรู้และช่วยให้ผู้สอนควบคุมชั้นเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น ช่วยเสริมแรงด้วยการให้คะแนน
ในกรณีต่าง ๆ เช่น ตอบคำถามถูกต้อง มีจิตอาสา และสามารถหักคะแนนตามที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน
หน้าแล้ว เช่น ชวนเพื่อนคุย เป็นต้น การเริ่มใช้งานและมีการเพิ่มผู้เรียนเข้ามาในชั้นเรียน ทุกคน
จะได้รับ monster ประจำตัวของตนเอง โดย monster สามารถปรับแต่งรูปแบบให้เป็นไปตามใจ
ได้ มีระบบ Reward และแต้มคะแนน ช่วยสร้างความทา้ ทายแกผ่ ู้เรียน

ภาพที่ 2-24 เคร่ืองมือดจิ ทิ ัล Classdojo

68

3. Wheelofnames ปกติเวลาที่ผู้สอนต้องการจะให้ผู้เรียนตอบคำถาม หรือทำ
กิจกรรม ผูส้ อนมกั ใชก้ ารเรยี กชอื่ หรอื ให้ผู้เรียนยกมือเพอ่ื แสดงความประสงค์ แตม่ กั พบว่าด้วยวิธีการ
ดงั กลา่ วผเู้ รียนไม่คอ่ ยใหค้ วามร่วมมือ และไมเ่ ต็มใจมากนกั ที่จะรว่ มกิจกรรมท่ีผู้สอนกำหนดไว้ การใช้
Wheelofnames หรือวงล้อสุม่ รายชื่อชว่ ยให้กิจกรรมที่ไม่นา่ สนใจนี้มีความสนกุ สนานข้ึนมาได้ เพียง
เข้าเว็บ Wheelofnames.com ก็จะได้เครื่องมือดิจิทัลที่ช่วยในการสุ่มรายชื่อผู้เรียนที่ผู้สอนไม่ต้อง
สร้างด้วยตนเอง และสามารถนำมาใช้ได้ทุกครั้งเท่าที่ผู้สอนอยากจะใช้ นอกจากสุ่มรายชื่อแล้ว ยัง
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเล่มเกมเพื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้อีกมากมายขึ้นอยู่กับการออกแบบ
การเรียนการสอนของผู้สอน

ภาพท่ี 2-25 เครือ่ งมอื ดจิ ทิ ัล Wheel of names
4. Mentimeter เครื่องมือดิจิทัลที่ตัวช่วยกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เช่น
การตอบคำถาม การระดมความคิดเห็น สำรวจมากสดุ น้อยสุด การ Vote การจดั ลำดับท่ปี ระเด็นตา่ ง
ๆ และสามารถแสดงผลได้หลายรปู แบบ มีรูปแบบการนำเสนอข้อมูลท่หี ลากหลาย มี Template และ
Theme ให้เลือก ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแสดง Test Data ได้ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจ
มากขึ้น เช่น ให้ผู้เรียนตอบคำถามผ่านมือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในประเด็นต่าง ๆ ดังภาพที่
2-26

69

ภาพท่ี 2-26 เคร่อื งมอื ดจิ ทิ ัล Mentimeter
5. AutoDraw เครื่องมือดิจิทัลออนไลน์ที่เป็นตัวช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถ
วาดรูปอะไรลงก็ได้ หลังจากนั้นระบบของแอปพลิเคชันจะใช้หลักการของ AI เพื่อจะนำเสนอว่ารูป
ที่วาดขึ้นมานั้นคือรูปอะไรแบบอัตโนมัติ ผู้วาดสามารถเลือกรูปที่ต้องการหรือรูปที่ชอบได้
ข้อดีของเครื่องมือดิจิทัลนี้คือ ผู้วาดไม่จำเป็นต้องวาดให้เหมือนหรือใกล้เคียงกับภาพจริงที่ผู้วาด
ต้องการ แต่สามารถวาดรูปอะไรขึ้นมาแบบง่าย ๆ ก็ได้ เช่น วาดรูปสามเหลี่ยมขึ้นมาหนึ่งรูป ระบบ
ก็จะสุ่มภาพวาดจำนวนมากขึ้นมาให้เลือกได้ตามความต้องการ แต่หากต้องการวาดเอง
ไม่ตอ้ งการใหร้ ะบบชว่ ยสมุ่ ภาพใด ๆ ข้ึนมาก็ได้ ดว้ ยการปดิ การทำงานของระบบวาดอัตโนมตั ไิ ป

ภาพท่ี 2-27 เครอื่ งมือดจิ ทิ ัล AutoDraw

70

6. QuickDraw เครื่องมือดิจิทัลออนไลน์อีกตัวหนึ่งที่มีการทำงานคล้ายคลึง
กบั AutoDraw และใช้หลักการของ AI เชน่ เดยี วกัน แต่เพม่ิ ความเป็นเกมเพอ่ื ทา้ ทายความสามารถใน
การวาดภาพของผู้เรียนตามที่ระบบกำหนดขึ้นมา คือต้องวาดรูปตามโจทย์ที่ได้รับมาให้เสร็จภายใน
20 วินาที ต่อ 1 รูป และในการเล่น 1 รอบจะได้รับโจทย์ปัญหามาทั้งหมด 6 โจทย์ด้วยกัน
ซึ่งไม่จำเป็นต้องวาดสวยงาม แต่ต้องวาดให้ระบบรู้เรื่อง สิ่งที่สำคัญที่สุดของการเล่มเกมน้ี
นอกเหนือจากความสนุกสนาน และเพลิดเพลนิ แล้ว แต่ทำให้ผู้เรยี นได้ใกลช้ ดิ กบั ปัญญาประดิษฐ์ หรือ
AI ของระบบด้วยการสอนให้ระบบให้มีความฉลาดมากขึ้น จากการที่ได้เรียนรู้รูปร่างต่าง ๆ ที่ผู้เล่น
ได้วาดไว้

ภาพท่ี 2-28 เครื่องมือดจิ ิทัล QuickDraw
7. Loom เครื่องมอื ดิจิทัลออนไลนท์ ่เี ปน็ สว่ นเสริมของ Google Chrome ใช้สำหรบั
การบันทึกวดิ ีโอการสอน จับภาพหน้าจอ และแบ่งปันวิดีโอ โดยผู้สอนหรือผู้เรียนสามารถลงทะเบยี น
เข้าใช้งานด้วยบัญชี Email มีฟังก์ชันการใช้งานที่สามารถเรียนรู้ได้ไม่ยาก สามารถบันทึกหน้าจอ
ของผู้ใช้พร้อมเปิดกล้อง Webcam ประยุกต์ใช้ในการสอบออนไลน์ได้ สามารถยืนยันตัวตนของ
นักศึกษาได้ เพราะมีทั้งหน้าจอและภาพเคลื่อนไหว สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมนำเสนอ
เพื่อการสอนอยา่ ง PowerPoint ไดเ้ ปน็ อย่างดี

71

ภาพท่ี 2-29 เครอื่ งมือดจิ ทิ ลั Loom
2.3.3 เทคโนโลยีและการสอื่ สารเพ่อื การวดั และประเมินผลการเรยี นรู้
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ นอกจากผู้สอนจะทำหน้าที่บรรยายเนื้อหาวิชา
ผ่านเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมหลัก
ของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แล้ว การประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนก็เป็นสิ่งจำเป็น
ซึ่งการประเมนิ ผู้เรยี นสามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน เครื่องมือเทคโนโลยี
และการสื่อสารที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ในการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนผ่านการวัดและ
ประเมนิ ผลการเรียนรู้ มดี งั ตอ่ ไปนี้
1. Kahoot เป็นเครื่องมือดิจิทัลที่ช่วยผู้สอนในการสร้างแบบฝึกหัด สร้างข้อสอบ
แบบออนไลน์ มีข้อคำถามให้เลือกหลายชนิด เช่น คำถามปรนัย คำถามอัตนัย การสำรวจ
เป็นต้น โดยผู้เรียนจะต้องทำแบบทดสอบ หรือตอบคำถามพร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกันผ่านทาง
อุปกรณ์ดิจิทัลของตนเอง ผู้เรียนจะรู้สึกตื่นเต้น และสนุกสนานเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก Kahoot
นำกลไกและหลกั การออกแบบเกมมาใช้ ทำใหเ้ กดิ การแข่งขันกับตนเองและผูอ้ ื่นแบบทันทที ันใด เช่น
การจับเวลาในการทำข้อสอบ ผลคะแนน และ Leaderboard ที่แสดงผลแบบทันทีทันใด รวมถึงการ
ใหแ้ ต้มหรือคะแนนต่าง ๆ เพ่ิมขึน้ ตามความสามารถท่ผี ูเ้ รยี นทำได้

72

ภาพที่ 2-30 เครือ่ งมอื ดจิ ิทลั Kahoot
2. Quizizz เป็นเครื่องมือดจิ ิทัลที่มีลักษณะเหมือนการทำข้อสอบออนไลน์ แต่ต่างคนต่างทำ
ข้อสอบบนอุปกรณ์ของตนเอง เริ่มทำตอนไหนก็ได้ ไม่ต้องทำพร้อม ๆ กันเหมือนเครื่องมือดิจิทัล
Kahoot โดยจะมีเวลาเป็นตัวกำหนดการเสร็จสิ้นการทำข้อสอบ ผู้สอนสามารถออกข้อสอบ พร้อม
เฉลยไว้ในเครื่องมือนี้ รอเพียงผู้เรียนลงทะเบียนและเข้าเรียนในรายวิชาที่ผู้สอนสร้างไว้ Quizizz จะ
บริหารจัดการรายชื่อ คะแนน เวลา ผลการสอบ รวมถึงการสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้ผู้เรียนทำ
ขอ้ สอบดว้ ยการนำกลไกและหลกั การออกแบบเกม หรือเกมมฟิ ิเคชนั มาใช้

ภาพท่ี 2-31 เครื่องมอื ดจิ ิทัล Quizizz

73

3. Google Form เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์จากตระกูล Google ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี
ใช้สร้างแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลที่ต้องการจากผู้ตอบ อาทิ ฟอร์มแบบสอบถาม แบบประเมิน ใบ
สมัครงาน ใบสมัครเข้ารับการฝึกอบรม เหมาะสมอยา่ งย่ิงสำหรับวัดและประเมินผลการเรยี นออนไลน์
อาทิ แบบทดสอบออนไลน์ แบบฝึกหัดออนไลน์ โดยข้อมูลทั้งแบบสอบถามและคำตอบจะถูกบันทึก
เก็บไว้ใน Google Drive โดยอัตโนมัติ ทำให้มั่นใจว่าจะสามารถเรียกใช้งานได้ตลอดเวลา สามารถ
แทรกรูปภาพ วิดีโอ ข้อความส่วนหัวและข้อความส่วนชี้แจง และที่สำคัญสามารถนำข้อมูลออกมาใช้
งานในรปู แบบ Excel ได้

ภาพที่ 2-32 เคร่ืองมือดจิ ทิ ัล Google Form
2.5 การอาชวี ศกึ ษาและการอบรม

การอาชีวศึกษาและการอบรม (Vocational Education and Training: VET) เป็นกิจกรรม
ที่เกี่ยวกบั การจัดการเรียนการสอนและการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาผู้เรียนและผู้เข้ารับการฝึกอบรมใหม้ ี
ความรู้ความสามารถในการประกอบสัมมาชีพ เป็นการศึกษาที่สำคัญของประเทศชาติ
อาจมีการสอบคัดเลือกผู้เข้าเรียนตามความถนัดแต่ละวิชาชีพ หลักสูตรอุปกรณ์การเรียน
โรงฝกึ งานตอ้ งมีคณุ ภาพ สถานประกอบการต้องอนุเคราะหใ์ หเ้ ป็นแหล่งฝกึ งานของผู้เรียนอาชีวศึกษา
การอาชีวศึกษาจึงจะประสบความสำเร็จ การอาชีวศึกษาเป็นการเรียนต่อในระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพ หรือ ปวช. ในหลักสูตรที่ไม่ได้เน้นการเรียนวิชาพื้นฐานเหมือนกับสายสามัญ มีระยะเวลาในการ
เรยี น 3 ปี โดยหากเรยี นจบแลว้ จะมที างเลือกในการเรียนตอ่ 2 ทางเลือกใหญ่ ๆ คอื การเรยี นต่อในระดบั
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือ (ปวส.) ใช้เวลาเรียน 2 ปี หลังจากจบแล้วสามารถเรียนต่อปริญญาตรี
อีก 2 ปี และการเรียนต่อในระดับปริญญาตรีใช้เวลาเรียน 4 – 5 ปี แล้วแต่คณะวิชาที่เลือก จุดเด่น
สำคัญที่ทำให้หลาย ๆ คนเลือกเรียนต่อสายอาชีพนั้น เพราะจะได้มีโอกาสเรียนในสายวิชาที่เน้นการ

74

ทำงานจริงเป็นหลัก ได้พุ่งเป้าไปที่การเรียนในด้านนั้น ๆ อย่างเต็มที่ เพียงเรียนจบระดับ ปวช.
ก็สามารถทำงานได้ และทำให้นักเรียนได้เข้าใจถึงการเรียนตามหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อ
การประกอบอาชีพในอนาคต ทำให้ผู้เรียนได้ความรู้ ได้ประสบการณ์ มีรายได้ระหว่างเรียน มีทักษะ
วิชาชีพติดตัว สามารถเลือกเรียนได้หลากหลาย ได้รับความนิยมจากตลาดแรงงาน และโอกาสเรียน
ต่อระดับอดุ มศึกษา ทำให้มีผูเ้ รียนสนใจเข้าเรียนและรับการฝึกอาชพี มากถึงรอ้ ยละ 47.8 ของผู้เรียน
ในระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น สำหรับในประเทศไทยการจัดการเรียนการสอนสำหรับการ
อาชีวศึกษามี 3 รูปแบบให้ผู้เรียนเลือกเรียน ประกอบด้วย การเรียนอาชีวศึกษาแบบปกติ การเรียน
อาชีวศึกษาแบบทวิภาคี และการเรียนอาชีวศึกษาแบบทวิศึกษา ซึ่ง UNESCO ได้กำนดกลยุทธ
สำหรับ Vocational Education and Training ไว้ 3 ประเด็นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติ
ประกอบด้วย 1) Fostering Youth Employment and Entrepreneurship; 2) Promoting Equity
and Gender Equality; 3) Facilitating the Transition to Green Economies and Sustainable
Societies อย่างไรกต็ ามด้วยการระบาดของโรค COVID-19 สง่ ผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอน
ของ Vocational Education and Training อยู่ไม่น้อย เนื่องจากการจัดการเรียนการสอน
Vocational Education and Training จำเป็นต้องจัดการเรียนการสอนทฤษฎีในชั้นเรียนและฝึก
ปฏิบัติจริงในสถานศึกษาหรือสถานประกอบการ สำหรับการจัดการเรียนการสอนทฤษฎสามารถจดั การ
เรียนการสอนออนไลน์ได้ แต่การจัดการเรียนการสอนด้วยการลงมือปฏิบัตินั้นการเรียนการสอน
ออนไลน์อาจทำได้ไม่มีประสิทธิภาพมากนักเนื่องจากจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักร และ
เครื่องมือจริงในการเรียนรู้ ทำให้สถานศึกษาหลายแห่งต้องหยุดการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ
ลงชั่วคราว และลดค่าลงทะเบียนหรือไม่คิดค่าใช้จ่ายในการเรียน ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทางออก
ที่มีประสิทธิภาพเนื่องจากการเรียนรู้ไม่สามารถหยุดหรือชะลอได้ แต่ด้วยข้อจำกัดของการเว้น
ระยะหา่ งทางสังคมการกระทำดงั กล่าวกเ็ ป็นการตดั สนิ ใจทเ่ี หมาะสมในชว่ งเวลานี้

2.5.1 สำนกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา
แนวคิดการจัดการศึกษาอาชีพได้มีมาตั้งแต่ยุคสมัยที่ประเทศไทยเริ่มมีอาชีพ

หัตถกรรมมากขึ้นนอกเหนือไปจากอาชีพกสิกรรม การอาชีวศึกษาเริ่มอย่างเป็นระบบ เมื่อได้รับการ
บรรจุในระบบการปี พ.ศ. 2441 เป็นการศึกษาพิเศษ ซึ่งหมายถึง การเรียนวิชาเฉพาะ เพื่อให้เกิด
ความชำนาญ โดยในปี พ.ศ. 2452 การจัดการศึกษาได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โรงเรียนสามัญ
ศึกษา สอนวิชาสามัญ และโรงเรียนวิสามัญศึกษา สอนวิชาเพื่อออกไปประกอบอาชีพ เช่น แพทย์
ผดุงครรภ์ ภาษาอังกฤษ พาณิชยการ ครู เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2453 ได้จัดตั้ง โรงเรียนอาชีวศึกษา
แหง่ แรก คือ โรงเรยี นพาณิชยการทว่ี ดั มหาพฤฒาราม และวัดราชบูรณะ ปี พ.ศ. 2456 จัดตั้งโรงเรียน
เพาะช่าง และปี พ.ศ. 2460 จัดต้งั โรงเรยี นฝกึ หดั ครูประถมกสิกรรม แผนการศกึ ษาแห่งชาติได้มีผลต่อ
การกำหนดการศึกษาอาชีพให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2475 ได้กำหนดว่า

75

วิสามญั ศึกษา ได้แก่ การศึกษาวิชาชีพซึง่ จัดให้เหมาะสมกับภูมิประเทศ เช่น กสิกรรม หัตถกรรม และ
พาณิชยการ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้สำหรับประกอบการเกษตรกรรมและ อุตสาหกรรมต่าง ๆ และ
ในแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2479 ได้ ปรากฏคำว่า "อาชีวศึกษา" เป็นครั้งแรกในระบบการศึกษา
ของประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ อาชีวศึกษา ชั้นต้น กลาง และสูง รับนักเรียนจากโรงเรยี น
สามญั ศึกษาของทกุ ระดับประโยค (สำนกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา, 2562) จวบจนปจั จบุ ัน

2.5.2 ทกั ษะดจิ ทิ ลั ของครอู าชวี ศึกษา
ค ว า ม ท ้ า ท า ย ท ี ่ อ า จ า ร ย ์ ใ น ส ถ า บ ั น ก า ร ศ ึ ก ษ า ต ้ อ ง เ ผ ช ิ ญ ใ น ย ุ ค ด ิ จ ิ ท ั ล ไ ม ่ ไ ด ้ อ ย ู ่ ท่ี
ความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนอีกต่อไป การรับรู้ การตัดสินใจว่าจะนำ
เทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาเมื่อใดและอย่างไรเป็นสิ่งสำคัญมากกว่า อาจารย์
ในสถาบันการศึกษาจึงควรเตรียมพร้อมที่จะบูรณาการ ICT เข้ากับการจัดการเรียนเรียน
การสอนและมีทักษะการใช้ ICT ตามกรอบ TPACK (Technological Pedagogical Content
Knowledge) (Ge, Han, & Shen, 2018) สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
ของครมู คี วามสำคญั อย่างย่ิงในกระบวนการเรียนการสอน เพราะนอกเหนือจากการเปน็ ผ้เู ช่ียวชาญใน
เนื้อหา ก า รสอนแล้วครูใ นยุคปัจ จุบันจ ะต ้อ งเช ี่ยวช าญก ารใ ช้เทค โนโ ลยีควบคู่
ไปด้วย และการสอนแบบบูรณาการในการใช้งาน ICT มีความสัมพันธ์โดยตรงตามกรอบ TPACK
(Y. Zhang & Wang, 2019) นโยบายทางการศึกษาจำนวนมากให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยี
ดิจิทัลเพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคต ครูมืออาชีพแห่งอนาคตเป็นบุคคลสำคัญในการนำ
เทคโนโลยดี ิจิทัลมาใชใ้ นการจัดการเรียนรใู้ ห้ประสบความสำเร็จ ความคาดหวงั มากมายจึงถูกวางไว้ที่
ครูมืออาชีพเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน (Engen,
2019) จากมุมมองของการใช้ ICT กบั นโยบายทางการศึกษาทีก่ ำหนดวสิ ัยทศั นแ์ ละออกแบบหลักสตู ร
ด้วยการใช้ ICT ครูจึงต้องเสริมสร้างการเรียนรู้และปรับปรุงความเข้าใจในนโยบายการศึกษา เพิ่ม
ทักษะการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง และฝึกทักษะในการใช้งานให้เท่าทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้เทคโนโลยดี ิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนได้
อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ (Xiao, Chu, Wu, & Zhang, 2020) ข้อความสำคญั จากกลยทุ ธ์การพัฒนายุโรป
2020 คือ “คนรุ่นใหม่ต้องมีความยืดหยุ่น มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นและมีความเป็น
ผู้ประกอบการ” คนรุ่นใหม่ที่จะมีความพร้อมสำหรับความท้าทายต่อสภาพแวดล้อมการทำงานที่
เปลี่ยนไป คือ การใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับการคิดเชิงตรรกะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ทักษะการแก้ปัญหา ความเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบและการเอาใจใส่ต่อบุคคลรอบข้างจะเป็นท่ี
ต้องการมากขึ้น ไม่ใช่ให้ความสำคัญแค่เพียงเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น ดังน้ัน
สถาบันการศึกษาจึงจำเป็นต้องระบุ “ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และ
ทักษะสำหรับอนาคต” ควบคู่ไปกับทกั ษะดา้ นเทคโนโลยีดิจิทลั (Révészová, 2020) การเปลี่ยนแปลง

76

ทางดิจิทัลมีผลต่อสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก กระบวนการเรียนการสอนจึงควรได้รับ
การพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี ความท้าทาย
ที่ทุกสถาบันการศึกษาต้องเผชิญซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและการกำหนด
กลยุทธก์ ารพัฒนาการศกึ ษาเกีย่ วกบั การนำเทคโนโลยีดจิ ิทลั มาใช้ ดงั น้นั ครูและบุคลากรทางการศกึ ษา
จึงต้องพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล (Kamsker, Janschitz, & Monitzer,
2020)

2.6 งานวจิ ัยทเ่ี กี่ยวขอ้ ง
2.6.1 งานวจิ ัยเกยี่ วกับการจดั การเรียนการสอนออนไลน์
ชนินทร์ ตั้งพานทอง (2560) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์

เพื่อเสริมการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
พบว่า คุณภาพของระบบ คุณภาพสารสนเทศ คุณภาพการบริการ การใช้งาน ความพึงพอใจ
ของผู้ใช้งาน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความสัมพันธ์กัน และพบว่า คุณภาพของระบบ คุณภาพ
สารสนเทศ และคุณภาพการบริการ มีอิทธิพลต่อการใช้งานและความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ในขณะ
ที่มเี พียงความพงึ พอใจของผูใ้ ช้งานเท่าน้ันท่มี ีอทิ ธิพลต่อผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี น

ธนัชชา บินดุเหล็ม (2562) ได้ศึกษาผลของการสอนแบบออนไลน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอน
แบบปกติ ก่อนและหลังการทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นักเรียน
ท่ีได้รบั การสอนแบบออนไลน์ ก่อนและหลังเรียน มผี ลสัมฤทธิท์ างการเรียนแตกต่างกนั อย่างมีนยั สำคญั
และนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติกับ นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบออนไลน์มีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรยี นแตกตา่ งกนั อย่างมนี ยั สำคัญ

รังสรรค์ ทบวอ สนิท ตีเมืองซ้าย และ พงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์ (2562) ได้ศึกษาการ
พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์ ที่มีการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคความผูกพัน
ของผู้เรียน สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษา พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาข้ึน
มี 4 องค์ประกอบ (1) กลยุทธ์สร้างความผูกพันของผู้เรียน (2) สร้างประสบการณ์เรียนรู้
ด้วยโครงงาน (3) แหล่งทรัพยากรมัลติมีเดีย และ (4) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบออนไลน์ โดยมี
ขั้นตอนของรูปแบบการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ (1) การจัดเตรียม (2) การวางแผน
(3) การดำเนินงาน (4) การรวบรวมข้อมูล (5) การนำเสนอผลสรุป และ(6) ประเมินผล
ผลจากการประเมินความเหมาะสม พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม
ท้ัง 4 ดา้ นอย่ใู นระดับมาก กลา่ วได้ว่ารปู แบบการเรยี นรทู้ พ่ี ัฒนาข้ึนมีความเหมาะสมในการสง่ เสริมการ
เรียนรู้สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษา สามารถนำไป เป็นต้นแบบในการพัฒนาเครื่องมือ
ในการจัดการเรยี นรไู้ ด้

77

2.6.2 งานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์

จุฑามาศ ใจสบาย (2562) ได้พัฒนาบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google Classroom
รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต พบว่า บทเรียนออนไลน์มีประสิทธิภาพ 80.25 / 84.88
นักเรียนมีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ และมีความพึงพอใจ
อยูใ่ นระดับมากท่ีสดุ

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ (2562) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิชา
อาเซียนศึกษา สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน โดยการเรียนรู้ผ่านเกม Kahoot พบว่า กลุ่มที่เรียนรู้
ผ่านเกม Kahoot มีค่าเฉลี่ยผลการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่เรียนรู้แบบปกติ และมีค่าเฉลี่ยผลการเรียน
สูงกวา่ เกณฑร์ อ้ ยละ 75

รุจาภา เพชรเจริญ และ วรสิทธิ์ เจริญศิลป์ (2561) ได้ประเมินการใช้โปรแกรม
Kahoot ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายการสอนทางไกล Telemedicine แก่นักศึกษา
แพทย์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 44 คน จากศูนย์แพทย์ 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราช โรงพยาบาลพิจิตร และโรงพยาบาลแพร่ พบว่า การประเมินการใช้ Kahoot Program
ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายการสอนทางไกล Telemedicine โดยรวมอยู่ในระดับมาก
ทีส่ ุด ประกอบดว้ ย ดา้ นเน้อื หาของโปแกรม Kahoot ด้านการออกแบบระบบการเรียนการสอน ด้านการ
แสดงผลโปรแกรม Kahoot ด้านการประเมินการใช้ Kahoot และด้านภาษา ความคิดเห็นของนักศึกษา
แพทย์ที่มีต่อการใช้ Kahoot ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายการสอนทางไกล
Telemedicine โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย ด้านประโยชน์ด้านรูปแบบ และด้าน
ความพงึ พอใจ

วัลภา คงพัวะ (2562) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ Kahoot ในการจัดการ
เรยี นรูข้ องนักศึกษาระดบั ปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการ มหาวทิ ยาลัยนอร์ทกรงุ เทพ ศนู ยก์ ารศึกษา
นนทบุรี พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจท่ีมีต่อการใช้ Kahoot ในการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ใน
ระดับมากที่สุด ประกอบดว้ ย ดา้ นประโยชนท์ ไ่ี ด้รับ รองลงมา คอื ด้านความสนุกสนาน และด้านการ
ใช้งานระบบ ตามลำดับ และ นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยแตกต่างกัน มีความพึงพอใจ
ที่มีต่อการใช้ Kahoot ในการจัดการเรียนรู้แตกต่างกัน โดยนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 2.50
มีความพึงพอใจต่อการใช้ Kahoot ในการจัดการเรียนรู้น้อยกว่านักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย
2.50-3.50 และนักศกึ ษาท่ีมีเกรดเฉลี่ยมากกว่า 3.50

2.6.3 งานวจิ ัยเก่ียวกบั การพฒั นาหลักสตู รการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
กาญจนา ดงสงคราม และวรปภา อารีราษฎร์ (2561) ที่ได้พฒั นาหลักสูตรฝึกอบรม

สำหรับการฝึกอบรมออนไลน์ ของศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

78

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรมออนไลน์
ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของหลักสูตร กระบวนการ
ฝึกอบรม กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการอบรม
ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ
มากที่สุด ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรมออนไลน์ พบว่า ผู้เข้าอบรม
มีผลคะแนนการฝึกปฏิบัติโดยรวมร้อยละ 79.67 มีคะแนนสอบหลังอบรมของผู้เข้าอบรมสูงกว่าก่อน
อบรมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจของผู้เขา้ อบรมผ่านระบบ
การฝกึ อบรมออนไลน์ โดยรวมอย่ใู นระดับมากที่สุด

จีรศักดิ์ หมุนขํา และคณะ (2563) ที่ได้ศึกษาการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐาน
สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ ไปใช้กับครูผู้ช่วยในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม พบว่า เอกสารประกอบการฝึกอบรม
ฐานสมรรถนะดา้ นการจดั การเรยี นรู้สำหรับครูผู้ช่วยในสถานศกึ ษาสังกัดสำนกั งานคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษาโดยวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.59/82.45 ผลสัมฤทธ์ิ
ทางการเรียนของผู้เข้าอบรมหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.01 ดัชนีประสทิ ธิผลมีค่า 0.64 และผ้เู ขา้ อบรมมคี วามพงึ พอใจตอ่ การอบรมโดยรวมอยู่ในระดบั มาก

79

บทท่ี 3
วิธดี ำเนนิ การวิจัย

การวิจยั เรื่อง รูปแบบการพฒั นาทักษะดจิ ทิ ลั เพ่อื การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครู
อาชีวศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมี
วัตถุประสงคก์ ารวิจยั ดงั นี้ 1) เพื่อสังเคราะห์ทักษะดจิ ิทลั เพ่ือการจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับ
ครูอาชีวศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
สำหรับครูอาชีวศึกษา 3) เพื่อพัฒนาครูอาชีวศึกษาให้มีทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ และ(4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูอาชีวศึกษาที่มีต่อการพัฒนาทักษะดิจิทัล
เพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา ซึ่งแบ่งวิธีการดำเนินการวิจัยออกเป็น
4 ระยะตามวตั ถุประสงค์การวิจยั ดงั น้ี

ระยะท่ี 1 สังเคราะห์ทักษะดจิ ทิ ัลเพอ่ื การจดั การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชวี ศึกษา
ระยะที่ 2 พัฒนารปู แบบการพฒั นาทกั ษะดจิ ทิ ลั เพ่อื การจดั การเรียนการสอนออนไลน์
สำหรบั ครอู าชวี ศกึ ษา
ระยะที่ 3 พัฒนาครูอาชวี ศกึ ษาใหม้ ีทักษะดิจทิ ัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
ระยะที่ 4 ประเมินความพงึ พอใจของครูอาชีวศึกษาท่ีมีต่อการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพ่ือการจัด
การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชวี ศกึ ษา
ผวู้ ิจยั ขอนำเสนอขนั้ ตอนการวิจยั ดงั แสดงในตารางที่ 3-1 และสรุปในแต่ละขัน้ ตอนตามหัวข้อ
ตอ่ ไปน้ี

80

ตารางท่ี 3-1 ข้ันตอนการดำเนนิ การวิจยั

ระยะที่ 1 สังเคราะห์ทักษะดจิ ทิ ลั เพอ่ื การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา

วัตถุประสงค์การวจิ ัย ขน้ั ตอน/กระบวนการ ผลลัพธ์

1. เพอ่ื สงั เคราะห์ทักษะ 1. ศกึ ษาเอกสารและงานวิจยั ทเี่ ก่ียวขอ้ ง ทกั ษะดิจทิ ลั เพอื่

ดิจทิ ลั เพ่อื การจดั กับทักษะทกั ษะดจิ ทิ ัลเพอ่ื การจัด การจดั การเรยี นการสอน

การเรียนการสอน การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับ ออนไลน์ สำหรบั

ออนไลน์ สำหรบั ครอู าชวี ศึกษา ครอู าชวี ศึกษา

ครูอาชวี ศึกษา 2. วเิ คราะหแ์ ละสังเคราะห์ทกั ษะดจิ ิทัล

เพอื่ การจดั การเรียนการสอนออนไลน์

สำหรับครอู าชวี ศกึ ษา

3. ประเมนิ ความเหมาะสมของทักษะ

ดจิ ทิ ลั ครูอาชวี ศกึ ษาเพ่อื การจัด

การเรยี นการสอนออนไลน์

ระยะท่ี 2 การพัฒนารูปแบบการพฒั นาทกั ษะดจิ ทิ ลั เพอื่ การจัดการเรยี นการสอนออนไลน์

สำหรบั ครูอาชีวศึกษา

วัตถุประสงคก์ ารวิจัย ขนั้ ตอน/กระบวนการ ผลลัพธ์

2. เพื่อพฒั นารปู แบบ 1. ศึกษาจากเอกสาร ทฤษฎี และงานวิจยั รปู แบบการพัฒนาทกั ษะ

การพฒั นาทักษะ ทเ่ี ก่ียวข้อง เกยี่ วกบั พัฒนารปู แบบ ดจิ ทิ ัลเพ่อื การจดั การ

ดจิ ทิ ัลเพอื่ การจดั การพฒั นาทักษะดจิ ิทลั เพอื่ การจัด เรียนการสอนออนไลน์

การเรียนการสอน การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั สำหรับครอู าชวี ศึกษา

ออนไลน์ สำหรับ ครูอาชวี ศกึ ษา

ครูอาชวี ศึกษา 2. พฒั นารูปแบบการพฒั นาทักษะดิจิทลั

เพื่อการจดั การเรียนการสอนออนไลน์

สำหรบั ครอู าชวี ศกึ ษา

3. พฒั นาหลักสตู รการพฒั นาทกั ษะ

ดจิ ทิ ลั เพ่อื การจดั การเรยี นการสอน

ออนไลน์ สำหรบั ครอู าชีวศกึ ษา

81

ตารางที่ 3-1 ข้ันตอนการดำเนินการวิจัย (ต่อ)

ระยะท่ี 3 พฒั นาครอู าชีวศกึ ษาใหม้ ีทักษะดจิ ทิ ัลเพ่อื การจดั การเรียนการสอนออนไลน์

วตั ถปุ ระสงคก์ ารวจิ ัย ขนั้ ตอน/กระบวนการ ผลลพั ธ์

3. เพ่อื พฒั นาครู 1. อบรมพัฒนาทกั ษะดจิ ิทลั เพื่อ 1. ผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับ

อาชวี ศึกษาใหม้ ี การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ การอบรมที่เข้ารับการ

ทักษะดจิ ิทัลเพ่ือ สำหรบั ครูอาชวี ศึกษา พัฒนาทักษะดิจิทัลเพ่ือ

การจดั การเรยี น 2. ประเมนิ ผลสมั ฤทธ์ิการพัฒนาทกั ษะ การจัดการเรียนการสอน

การสอนออนไลน์ ดิจทิ ัลเพ่อื การจดั การเรยี นการสอน อ อ นไลน์ สำ หร ับค รู

สำหรับครู ออนไลน์ สำหรบั ครูอาชวี ศกึ ษา อาชวี ศกึ ษา

อาชีวศกึ ษา 3. ประเมนิ ทักษะดจิ ิทลั เพ่ือการจดั 2. ผลการประเมนิ ทักษะ
การเรียนการสอนออนไลน์ ของผเู้ ข้ารับการอบรมท่ี
สำหรับครูอาชีวศกึ ษา เข้ารับการพัฒนาทกั ษะ
ดิจทิ ัลเพ่ือการจดั การ
4. นำผลการประเมินวิเคราะหข์ อ้ มลู เรียนการสอนออนไลน์
สรปุ ผล

สำหรับครอู าชวี ศึกษา

ระยะท่ี 4 ประเมนิ ความพึงพอใจของครอู าชีวศึกษาท่ีมีตอ่ การพัฒนาทกั ษะดิจทิ ลั

เพ่ือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรบั ครอู าชวี ศกึ ษา

วตั ถุประสงค์การวจิ ัย ขัน้ ตอน/กระบวนการ ผลลัพธ์

4. เพือ่ ประเมิน 1. สรา้ งแบบประเมินความพงึ พอใจ ฯ ผลการประเมินความพึง

ความพงึ พอใจของครู ฉบบั ร่าง พอใจของครอู าชวี ศึกษา

อาชวี ศกึ ษาที่มตี ่อ 2. นำแบบประเมินความพงึ พอใจ ฯ ทมี่ ีตอ่ การพฒั นาทกั ษะ

การพฒั นาทกั ษะ ฉบับร่าง ใหผ้ ู้เช่ยี วชาญดา้ นเนือ้ หา ดจิ ิทัลเพือ่ การจดั

ดจิ ิทลั เพ่ือการจดั ตรวจสอบความสอดคล้องของเน้อื หา การเรียนการสอน

การเรยี นการสอน กับประเดน็ คำถามเพือ่ หาค่า IOC ออนไลน์ สำหรบั

ออนไลน์ สำหรับ 3. ประเมินความพงึ พอใจ ฯ ครูอาชวี ศึกษา

ครอู าชวี ศกึ ษา 4. นำผลการประเมินวเิ คราะหข์ อ้ มูล

82
ระยะท่ี 1 สังเคราะห์ทักษะดิจทิ ัลเพื่อการจดั การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรบั ครอู าชวี ศึกษา

ระยะที่ 2 การพฒั นารปู แบบการพัฒนาทักษะดิจทิ ลั เพ่อื การจัดการเรยี นการสอนออนไลน์
สำหรับครูอาชวี ศกึ ษา

ระยะที่ 3 พฒั นาครูอาชวี ศึกษาให้มที กั ษะดจิ ทิ ัลเพอื่ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์

ระยะที่ 4 ประเมนิ ความพงึ พอใจของครอู าชวี ศึกษาทม่ี ีต่อการพฒั นาทักษะดิจิทลั
เพือ่ การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครอู าชีวศกึ ษา

ภาพที่ 3-1 ขน้ั ตอนการดำเนินการวจิ ยั รปู แบบการพฒั นาทักษะดิจทิ ัล
เพอื่ การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครอู าชวี ศกึ ษา

3.1 การวจิ ยั ระยะท่ี 1 สงั เคราะหท์ ักษะดิจิทลั เพ่ือการจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครู
อาชีวศกึ ษา

การสังเคราะห์ทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา
มีขน้ั ตอนการดำเนนิ การดงั นี้

ตารางที่ 3-2 ขั้นตอนการสังเคราะห์ทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู

อาชวี ศึกษา

ขัน้ ตอน/กระบวนการ ผลลัพธ์

1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูล เอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัย ทกั ษะดจิ ิทลั เพ่ือการจัดการเรียน

ที่เกี่ยวข้องกับทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการ การสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชวี ศกึ ษา

สอนออนไลน์ สำหรบั ครอู าชีวศึกษา

2. สังเคราะห์ แนวคิด วิธีการ จากเอกสาร ทฤษฎี และ

ง า น ว ิ จ ั ย ท ี ่ เ ก ี ่ ย ว ข ้ อ ง เ ก ี ่ ย ว ก ั บ ท ั ก ษ ะ ด ิ จ ิ ท ั ล เ พ่ื อ

การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู

อาชีวศึกษา

83

ตารางที่ 3-2 ขั้นตอนการสังเคราะห์ทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู
อาชีวศกึ ษา (ตอ่ )

ขั้นตอน/กระบวนการ ผลลัพธ์

3. สร้างแบบประเมินความเหมาะสมของทักษะดิจิทัล ทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียน

เพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับ การสอนออนไลน์ สำหรับครอู าชวี ศกึ ษา

ครอู าชวี ศึกษา

4. นำทักษะดจิ ทิ ลั เพื่อการจดั การเรยี นการสอนออนไลน์

สำหรับครูอาชีวศึกษา ให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ประเมิน

ความเหมาะสม

5. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินความ

เหมาะสมของทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการ

สอนออนไลน์ สำหรับครอู าชีวศกึ ษา

เริ่มตน้ ตำรา/เอกสาร
บทความ
ศึกษาทฤษฎี เอกสาร งานวจิ ัย
ทฤษฎี และงานวิจัยท่เี ก่ียวขอ้ ง อนิ เทอรเ์ นต็

สังเคราะหเ์ อกสาร

ประเมนิ ประเมนิ ความเหมาะสม
ของทักษะดิจทิ ลั ฯ

ส้นิ สดุ

ภาพท่ี 3-2 ขั้นตอนการดำเนินการวิจยั ระยะที่ 1 สงั เคราะห์ทักษะดจิ ิทัล
เพอื่ การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครอู าชวี ศกึ ษา

84

จากภาพที่ 3-2 การดำเนินงานขั้นตอนการวิจัยในระยะที่ 1 เป็นการสังเคราะห์ทักษะดิจิทัล
เพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา จากนั้นได้นำข้อมูลจากการสังเคราะห์
ประเมินความเหมาะสมของทักษะดิจิทัลครูอาชีวศึกษาเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
โดยมรี ายละเอียด ดงั ต่อไปนี้

3.1.1 แหลง่ ข้อมูลการวิจัย ระยะท่ี 1
แหล่งข้อมูลการวิจัยระยะที่ 1 คือ ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการประเมินความเหมาะสม

ของทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา จำนวน 5 คน ซึ่งเป็น
ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล หรือผู้มีประสบการณ์ด้านการ
พัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก
ทางเทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา หรือสาขา
ท่ีเกย่ี วขอ้ ง ที่มีประสบการณไ์ มน่ อ้ ยกว่า 5 ปี ได้มาด้วยวิธกี ารคดั เลือกแบบเจาะจง

3.1.2 ตวั แปรทใี่ ชใ้ นการวจิ ยั ระยะท่ี 1
3.1.2.1 ตวั แปรตน้
รา่ งทักษะดจิ ิทัลเพอื่ การจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชีวศกึ ษา
3.1.2.2 ตวั แปรตาม
ผลการประเมินความเหมาะสมของทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอน

ออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา
3.1.3 เคร่ืองมือท่ใี ชใ้ นการวจิ ยั ระยะที่ 1
3.1.3.1 ร่างทกั ษะดจิ ิทลั เพือ่ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชีวศกึ ษา
3.1.3.2 แบบประเมินความเหมาะสมของร่างทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอน

ออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของ
ลิเคิร์ท (Likert Scale) โดยให้เกณฑ์ใน 5 ระดับคะแนนคือ (นคร เสรีรักษ์ และภรณี ดีราษฎร์วิเศษ,
2555)

5 คะแนน หมายถึง มคี วามเหมาะสมอยใู่ นระดับมากท่ีสุด
4 คะแนน หมายถึง มคี วามเหมาะสมอยูใ่ นระดบั มาก
3 คะแนน หมายถึง มีความเหมาะสมอยู่ในระดบั ปานกลาง
2 คะแนน หมายถงึ มีความเหมาะสมอยูใ่ นระดบั น้อย
1 คะแนน หมายถงึ มคี วามเหมาะสมอยู่ในระดบั นอ้ ยทีส่ ุด

85

มีกำหนดเกณฑ์การแปลความหมายเพอ่ื จัดระดับช่วงคะแนนเฉล่ียค่าความเหมาะสม
กำหนดเป็นช่วงดังตอ่ ไปน้ี

คา่ คะแนนเฉลี่ย 4.50-5.00 หมายถึง มคี วามเหมาะสมอยูใ่ นระดับมากทสี่ ดุ
คา่ คะแนนเฉลยี่ 3.50-4.50 หมายถงึ มคี วามเหมาะสมอยู่ในระดบั มาก
ค่าคะแนนเฉลีย่ 2.50-3.49 หมายถงึ มคี วามเหมาะสมอยใู่ นระดับปานกลาง
คา่ คะแนนเฉลย่ี 1.50-2.49 หมายถงึ มคี วามเหมาะสมอย่ใู นระดบั น้อย
คา่ คะแนนเฉลย่ี 1.00-1.49 หมายถงึ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อยท่ีสุด
3.1.4 ขั้นตอนวิธีดำเนินการวิจัย ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สังเคราะห์
ร่างทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา และ 2) ประเมินความ
เหมาะสมของร่างทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา
มีรายละเอียดดังน้ี
3.1.4.1 สรา้ งร่างทกั ษะดิจทิ ลั เพื่อการจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศกึ ษา
3.1.4.1.1 ศกึ ษาค้นควา้ ขอ้ มูล เอกสาร ทฤษฎี และงานวิจยั ท่เี ก่ียวขอ้ งท้งั ในประเทศ
และต่างประเทศ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ สรุปเป็นกรอบแนวคิดของทักษะดิจิทัล
เพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา และใช้ผลการสังเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว
เป็นแนวทางในการพฒั นาทักษะดจิ ทิ ลั เพอ่ื การจดั การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรบั ครอู าชวี ศึกษา
3.1.4.1.2 วิเคราะห์ และสังเคราะห์ แนวคิด วิธีการ จากเอกสาร ทฤษฎี และ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ โดยนำหลักการและแนวคิดที่สอดคล้องมากำหนดเป็นร่างทักษะดิจิทัล
เพ่อื การจดั การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศกึ ษา
3.1.4.1.3 สรา้ งร่างทักษะทักษะดิจทิ ลั เพอื่ การจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับ
ครูอาชวี ศกึ ษา
3.1.4.2 ประเมินความเหมาะสมของร่างทกั ษะดจิ ิทัลเพ่ือการจัดการเรยี นการสอนออนไลน์
สำหรบั ครูอาชีวศึกษา
3.1.4.2.1 การสร้างแบบประเมินความเหมาะสมของร่างทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการ
เรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา ฉบับร่าง แบบมาตรฐานส่วนประมาณค่า (Rating
Scale) 5 ระดบั ตามวิธขี องลเิ คร์ท (Likert's Scale)
3.1.4.2.2 นำแบบประเมินความเหมาะสมของร่างทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา ฉบับร่าง ให้ผู้ที่เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประเมินความ
สอดคล้องของเนื้อหาและวัตถุประสงค์ และหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Consistency: IOC)
กำหนดระดบั การแสดงความคิดเหน็ 3 ระดับ คือ +1, 0 และ -1 โดยแต่ละระดบั มีความหมายดงั น้ี

86

+1 หมายถึง เนอ้ื หาสอดคลอ้ งกับวตั ถปุ ระสงค์
0 หมายถึง ไมแ่ น่ใจวา่ เนือ้ หาสอดคลอ้ งกับวัตถปุ ระสงค์
-1 หมายถึง เนื้อหาไม่สอดคลอ้ งกบั วตั ถปุ ระสงค์
3.1.4.2.3 จัดทำแบบประเมินร่างทกั ษะดิจิทัลเพือ่ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์
สำหรับครูอาชีวศึกษา ฉบับสมบูรณ์ ตามขอ้ เสนอแนะของผเู้ ช่ยี วชาญ
3.1.4.2.4 นำแบบประเมินความเหมาะสมของร่างทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการ
ออกแบบการเรยี นร้ดู ว้ ยเทคโนโลยีดิจทิ ัล หรอื ผ้มู ปี ระสบการณด์ า้ นการพฒั นาทักษะดจิ ิทลั สำหรบั การ
จัดการเรียนการสอนออนไลน์ และมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกทางเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
ทีม่ ีประสบการณ์ไมน่ ้อยกว่า 5 ปี ประเมนิ ความเหมาะสม
3.1.4.2.5 ปรบั ปรงุ แก้ไขสมรรถนะครูดจิ ิทลั ตามขอ้ เสนอแนะของผูเ้ ชย่ี วชาญ
3.1.4.2.6 วเิ คราะหผ์ ลโดยใชส้ ถิติเชงิ พรรณนา ไดแ้ ก่ คา่ เฉลย่ี (Mean) และส่วน
เบยี่ งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
3.1.5 สถติ ิท่ีใชใ้ นการวจิ ัย ระยะที่ 1
3.1.5.1 คา่ ดัชนคี วามสอดคล้อง (IOC) (มนตช์ ัย, 2548)

IOC = ∑



เม่ือ IOC หมายถึง ดัชนคี วามสอดคลอ้ ง
∑ หมายถึง ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เช่ียวชาญ
N หมายถึง จำนวนผู้เช่ยี วชาญ

3.1.5.2 คา่ เฉล่ียเลขคณิต (มนตช์ ัย, 2548)

Mean = ∑



เมอ่ื Mean หมายถงึ คา่ เฉล่ีย
∑ หมายถงึ ผลรวมขอ้ มลู ทั้งหมด
N หมายถึง จำนวนขอ้ มูล

87

3.1.5.3 ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน (S.D.) (มนตช์ ัย, 2548)

S.D. = √∑( − ̅ )2



เมื่อ S.D. หมายถึง สว่ นเบ่ียงเบนมาตรฐานประชากร
หมายถงึ ขอ้ มูลแตล่ ะตัวในเซต็
̅ หมายถึง ค่าเฉลี่ยประชากร
N หมายถงึ จำนวนขอ้ มลู

3.2 การวิจัยระยะท่ี 2 การพัฒนารูปแบบการพฒั นาทกั ษะดิจทิ ัลเพื่อการจัดการเรยี นการสอน
ออนไลน์ สำหรับครอู าชีวศึกษา

การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู
อาชวี ศกึ ษา มขี ้ันตอนการดำเนนิ การดงั ตารางท่ี 3-3

ตารางท่ี 3-3 ขั้นตอนการพัฒนารปู แบบการพัฒนาทกั ษะดจิ ิทัลเพื่อการจดั การเรยี นการสอนออนไลน์

สำหรับครูอาชีวศึกษา

ข้นั ตอน/กระบวนการ ผลลัพธ์

1. นำผลจากการดำเนินการในระยะที่ 1 มาข้อมูล รปู แบบการพัฒนารปู แบบการพัฒนา

สำหรับการพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัล ทักษะดจิ ทิ ลั เพื่อการจัดการเรยี น

เพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับ การสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชวี ศกึ ษา

ครอู าชีวศกึ ษา

2. ร่างรูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการ

เรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครอู าชวี ศึกษา

3. ประเมินความเหมาะสมร่างรูปแบบการพัฒนาทักษะ

ดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับ

ครอู าชีวศึกษา

4. พัฒนาหลักสูตรการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการ

จดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชวี ศกึ ษา

88

เรมิ่ ตน้

รา่ งรปู แบบการพัฒนาทกั ษะดจิ ิทลั ฯ

ประเมนิ ความเหมาะสมของรูปแบบ
การพฒั นาทักษะดิจทิ ัล ฯ

พฒั นาหลกั สตู ร
การพฒั นาทักษะดิจทิ ัล ฯ

ส้นิ สุด

ภาพที่ 3-3 ขน้ั ตอนการดำเนนิ การวิจยั ระยะที่ 2 การพฒั นารปู แบบการพฒั นาทกั ษะดจิ ิทัล
เพอื่ การจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรับครอู าชีวศกึ ษา

จากภาพที่ 3-3 การดำเนินงานขั้นตอนการวิจัยในระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการพัฒนา
ทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา จากนั้นนำไปประเมิน
ประสิทธิภาพรูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู
อาชวี ศกึ ษา โดยมีรายละเอียด ดังตอ่ ไปนี้

3.2.1 แหลง่ ขอ้ มลู การวจิ ัย ระยะที่ 2
3.2.1.1 ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบและร่างหลักสูตรการ

พัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา จำนวน 9 คน
ประกอบด้วย

3.2.1.1.1 ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 3 คน และมีวุฒิการศึกษา
ระดับปริญญาเอกทางเทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา คอมพิวเตอร์เพ่ือ
การศกึ ษา หรอื สาขาท่ีเก่ียวข้อง จำนวน 3 คน ได้มาด้วยวิธีการคัดเลอื กแบบเจาะจง

3.2.1.1.2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการวัดและประเมินผล จำนวน 3 คน และมีวุฒิ
การศึกษาระดับปริญญาเอกทางเทคโนโลยีการศกึ ษา เทคโนโลยสี ารสนเทศเพื่อการศกึ ษา คอมพวิ เตอร์
เพื่อการศึกษา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 5 ปี ได้มาด้วยวิธีการคัดเลือกแบบ
เจาะจง

89

3.2.1.1.3 ผู้เชี่ยวชาญดา้ นการจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ จำนวน 3 คน และมีวุฒิ
การศึกษาระดบั ปรญิ ญาเอกทางเทคโนโลยีการศกึ ษา เทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือการศึกษา คอมพวิ เตอร์
เพื่อการศึกษา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 5 ปี ได้มาด้วยวิธีการคัดเลือกแบบ
เจาะจง

3.2.1.2 การประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ สำหรับครอู าชวี ศึกษา ประกอบดว้ ย

3.2.1.2.1 ประชากร คือ ครูอาชีวศึกษาของสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

3.2.1.2.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูอาชีวศึกษาของสถานศึกษาภาครัฐและเอกชน สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และไม่ใช่ครู
อาชีวศึกษาที่เข้ารับการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู
อาชีวศกึ ษา

3.2.2 ตัวแปรท่ีใชใ้ นการวิจยั ระยะที่ 2
3.2.2.1 ตัวแปรต้น
รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู

อาชีวศึกษา
3.2.2.2 ตัวแปรตาม
ประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอน

ออนไลน์ สำหรับครอู าชีวศึกษา
3.2.3 เครื่องมือทใี่ ช้ในการวิจัย ระยะท่ี 2
3.2.3.1 แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียน

การสอนออนไลน์ สำหรบั ครอู าชวี ศึกษา
3.2.3.2 รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครู

อาชวี ศึกษา
3.2.4 ขั้นตอนวิธีดำเนินการวิจัย ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการ

จัดการเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชีวศกึ ษา ผู้วิจัยไดก้ ำหนดขึน้ ตอนดังนี้
3.2.4.1 สรา้ งรูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพือ่ การจดั การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับ

ครอู าชีวศึกษา มขี นั้ ตอนการดำเนนิ การดังตอ่ ไปน้ี
3.2.4.1.1 ศึกษา ค้นคว้า ทฤษฎี หลักการ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

กบั รูปแบบการพัฒนาทกั ษะดิจทิ ัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชวี ศึกษา

90

3.2.4.1.2 วิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตรการอบรมการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัด
การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา โดยการนำผลการสังเคราะห์ทักษะดิจิทัลเพ่ือ
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา จากขั้นตอนการวิจัยในระยะท่ี 1 มา
เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการยกร่างเนื้อหาที่ใช้ในการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ สำหรับครอู าชีวศกึ ษา

3.2.4.1.3 กำหนดหลักสูตรการอบรมการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา ประกอบด้วย วัตถุประสงค์การอบรม คุณลักษณะ
ครู คณุ ลักษณะวทิ ยากร แผนการอบรมและการประเมินผล สภาพแวดลอ้ มการอบรมเสมือน

3.2.4.1.4 กำหนดแผนการอบรมการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชวี ศกึ ษา มีขัน้ ตอนการดำเนินการดังตอ่ ไปนี้

1) กำหนดตารางการอบรมฯ สำหรับทดลองใช้หลักสูตรการอบรม
การพัฒนาทักษะดิจทิ ลั เพอ่ื การจดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครูอาชวี ศึกษา

2) กำหนดกิจกรรมหลักของการอบรมการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการ
จดั การเรยี นการสอนออนไลน์ สำหรบั ครอู าชวี ศึกษา ตั้งแตเ่ รมิ่ การอบรม จนจบการอบรม

3.2.4.1.5 กำหนดสภาพแวดล้อมการอบรมการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัด
การเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา มีขั้นตอนการดำเนินการด้วยการเลือกใช้เครื่องมือ
ที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับหลักการการอบรมการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา เพื่อนำมาปรับแต่งรายละเอียดของระบบให้เหมาะสมกับการทดลอง
ใช้ พัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับครูอาชีวศึกษา โดยพิจารณา
เลือกโปรแกรมการสื่อสารออนไลน์ที่เหมาะสมกับกิจกรรมการอบรมฯ ได้แก่ Google Workspace
for Education ซึ่งเป็นชุดโปรแกรมที่ใช้งานได้ทั้งบนโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)
และแอพพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพา เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โน้ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต
เป็นตน้

3.2.4.1.6 นำรูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
สำหรับครูอาชีวศึกษา ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์และแอปพลิเคชันสำหรับ
การจัดการเรยี นการสอนออนไลน์ จำนวน 3 คน ประเมินความสอดคล้องของเนื้อหาและวัตถุประสงค์
และหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Consistency: IOC) และปรับปรุงตามผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
โดยกำหนดระดับการแสดงความคดิ เหน็ 3 ระดบั คอื +1, 0 และ -1 โดยแตล่ ะระดับมคี วามหมายดงั น้ี

+1 หมายถึง เนือ้ หาสอดคลอ้ งกับวตั ถุประสงค์
0 หมายถึง ไมแ่ นใ่ จวา่ เนอื้ หาสอดคล้องกบั วตั ถปุ ระสงค์
-1 หมายถึง เน้ือหาไม่สอดคล้องกับวตั ถุประสงค์


Click to View FlipBook Version