“ภาพเล่าเรื่อง เมืองแม่กลอง” The Tale of Mae Klong City : illustrate with images
ถ้อยแถลง ภาพเล่าเรื่องเมืองแม่กลอง เป็นหนังสือรวบรวมภาพถ่ายสภาพภูมิศาสตร์ วิถีชีวิต บุคคลสําคัญ และเหตุการณ์ซึ่งเป็น ความทรงจําของเมือง รวมไปถึงหลักฐานทางด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของจังหวัดสมุทรสงคราม เมืองแม่กลอง คือ ศูนย์กลางดั้งเดิมของพื้นที่บริเวณปากน้ำแม่กลอง อันจะพัฒนาต่อมาเป็นจังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มดินดอนตะกอนทับถมชายทะเลอ่าวไทย ด้วยดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสําหรับทํานาเกลือ ปลูกผลไม้ ทั้งลิ้นจี่ ส้มโอ และสวนมะพร้าวเพื่อทําน้ำตาล จึงดึงดูดการหลั่งไหลของผู้คนมาตั้งบ้านเรือนจนขยายตัวเป็นชุมชน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เมืองแม่กลองมีป้อมขนาดเล็กไว้ป้องกันสงครามและจุดสังเกตสําคัญในการเดินทาง และขนถ่ายสินค้าไปยังกรุงศรีอยุธยา คราวเมื่อเหตุการณ์ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ พระเจ้าเอกทัศโปรดให้ยกทัพเรือ ไปตั้งค่ายรับพม่าที่ตําบลบางกุ้ง เมืองสมุทรสงคราม ในห้วงเวลาก่อนศึกพม่าโรมรันพันตู นายทองด้วง (ต่อมาเสวยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ ้าจุฬาโลก) ยกกระบัตรเมืองราชบุรี ได ้สมรสกับ นาก ธิดาคหบดีมอญ ย ่านอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม และได ้ให ้กําเนิดบุตรชายคนหนึ่งชื่อ ฉิม เวลาผ่านไปกว่าหลายทศวรรษ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยฯ (ฉิม) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒ แห ่งราชวงศ ์จักรี บรรดาญาติทางพระราชชนนี จึงรับการยกย ่องเป็นราชินิกุล ณ บางช้าง ตามนิวาสถานเดิมของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีฯ (นาก) และเป็นสถานที่สําคัญของราชวงศ์จักรีสืบมา การเข้ามาของความศิวิไลซ์และนโยบายการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมตะวันตก นํามาสู่การเผยแผ่ศาสนาของมิชชันนารี ชาวฝรั่งเศส พร้อมการสร้างอาสนวิหารแม่พระบังเกิดอันงดงาม ที่ตําบลบางนกแขวก อําเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การสร้างเส้นทางรถไฟสายแม่กลองจึงเกิดขึ้น เพื่อเชื่อมการคมนาคม ระหว่างสองเมืองคือท่าจีนหรือสมุทรสาครเข้าด้วยกัน ท่ามกลางสวนนอกเมืองบางช้าง ลุ่มน้ำแม่กลองเป็นที่ชุมนุมของวงปี่พาทย์ ตลอดคุ้งน้ำเต็มไปด้วยเสียงดนตรี ซึ่งเคยมี ผู้กล่าวว่ามีกันไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ วง และเป็นบ้านเกิดของศิลปินนักดนตรี ทั้งหลวงประดิษฐ์ไพเราะ และครูดนตรีไทยผู้มีชื่อเสียง เอื้อ สุนทรสนาน ผู้ก่อตั้งของวงสุนทราภรณ์ด้วย วิถีชีวิตความเป็นอยู ่ในปัจจุบันจะเห็นได ้ว ่าคนสมุทรสงครามยังคงมีความสัมพันธ ์ที่แน ่นแฟ ้นกับทะเลแม่น้ำลําคลอง ภาพของพ ่อค ้าแม ่ค ้าที่ตลาดน้ำ การทําสวนยกร ่อง และการทํานาเกลือ ที่มีเพียงไม ่กี่แห ่งในประเทศไทย คณะผู้จัดทําหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชาวจังหวัดสมุทรสงครามและเป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าต่อไป
“ภาพเล่าเรื่อง เมืองแม่กลอง”
สารบัญ ๓ ๗ -๓๑ ๘ ๑๓ ๓๓ - ๑๐๕ ๘๑-๙๓ ๑๐๗ - ๑๘๖ ๑๒๕ ๑๓๐ ๑๓๖ ๑๓๙ ๑๕๔ ๑๖๐ ๑๖๔ ๑๖๖ ๑๖๘ ๑๗๑ ๑๗๖ ๑๗๙ ๑๘๐ ๑๘๗ - ๒๓๗ ๑๘๘ ๑๙๐ ๑๙๔ ๑๙๖ ๒๐๓ ๒๑๓ ๒๑๘ ๒๒๑ ๒๒๕ ๒๓๔ ๒๓๘ - ๒๓๙ ๒๔๐ ถ้อยแถลง เนื้อหาประวัติและความเป็นมา บทที่ ๑ ลักษณะทางกายภาพของจังหวัดสมุทรสงคราม (Physical Characteristics of Samut Songkhram Province) จังหวัดสมุทรสงคราม ชื่อบ้านนามเมือง บทที่ ๒ ศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดสมุทรสงคราม (Religions and the Holy Treasures Inestimable, Samut Songkhram Province) ชุดภาพโบราณวัตถุพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร บทที่ ๓ รากฐานสังคมวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม (Social and Cultural Foundation of Samut Songkhram Province) กุฎีทอง ค่ายบางกุ้ง วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร ภาพถ่ายเก่าวัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร หลวงประดิษฐไพเราะ เอื้อ สุนทรสนาน เพลง “สาธุการ” คลองอัมพวา ตลาดน้ำอัมพวาในปัจจุบัน ตลาดน้ำท่าคาในปัจจุบัน ป่าชายเลนคลองโคน ดอนหอยหลอด สถานีรถไฟแม่กลอง บทที่ ๔ ภาพถ่ายเก่าเล่าเรื่องเมืองสมุทรสงคราม (The Tale of Samut Songkhram City : illustrate with goldie oldie images) ภาพชุด ชุมชนดอนมะโนรา เขินงานอุปสมบททางเรือ ภาพชุด การป้องเคยที่คลองโคน ภาพชุด พิธีเปิดพิพิธภัณฑ์สงฆ์ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๗ ภาพชุด ภาพถ่ายเก่าในพิพิธภัณฑ์สงฆ์ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร ภาพชุด งานอุปสมบทในอดีต พ.ศ. ๒๕๐๐ ภาพชุด เรือดูดทราย ในแม่น้ำแม่กลองสมัยอดีต ภาพชุด งานทอดกฐิน ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ภาพชุด งานวันเกษตรลิ้นจี่ พ.ศ. ๒๕๑๗ ภาพชุด งานวันเกษตรลิ้นจี่ พ.ศ. ๒๕๑๙ ภาพชุด “หน้างอ - คอหัก”โรงงานผลิตปลาทูนึ่งในเมืองแม่กลอง ภาพถ่าย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๐ –๒๕๒๕ บรรณานุกรม คณะท�ำงาน
๑. ลักษณะทางกายภาพของ จังหวัดสมุทรสงคราม Physical Characteristics of Samut Songkhram Province
มุทรสงคราม เป็นจังหวัดภาคกลางของประเทศไทย มีขนาดพื้นที่จังหวัดเล็กที่สุดของประเทศ คือ ประมาณ ๔๑๖.๗ ตารางกิโลเมตรแต่ก็เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เพราะเป็น ดินดอนปากแม ่น้ำ มีชายฝั ่งทะเลติดอ ่าวไทยยาวประมาณ ๒๓ กิโลเมตร มีเนินเขา ๑ ลูก คือ เขายี่สาร ไม่มีเกาะ พื้นที่ ส่วนใหญ่ของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยพื้นที่ฝั่งตะวันตก จะสูงกว่าฝั่งตะวันออกเล็กน้อย จังหวัดสมุทรสงครามมีพื้นที่ติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ จรดอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อำเภอบ้านแพ้วและอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ทิศตะวันออก จรดอ ่าวไทยชั้นใน (พื้นที่เขต จังหวัดสมุทรสงครามทางทะเลติดต ่อจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดเพชรบุรี) จังหวัดสมุทรสงคราม ทิศใต้ จรดอำเภอเขาย้อย และอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันตก จรดอำเภอปากท่อ อำเภอวัดเพลง และ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม แบ่งการปกครองออกเป็น ๓ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม อำเภออัมพวา และอำเภอบางคนที มีหน ่วยงานแยกย ่อยออกเป็น ๓๖ ตำบล ๒๘๔ หมู่บ้าน ๑ เทศบาลเมือง ๖ เทศบาลตำบล ๒๘ องค์การ บริหารส่วนตำบล และ ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประชากรส ่วนใหญ ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและ การประมง โดยการประมงเป็นสาขาการผลิตในภาคเกษตร ที่ทำรายได ้สูงสุดของจังหวัด รองลงมาก็คือกสิกรรมและ การแปรรูปสินค ้าเกษตร ส ่วนภาคอุตสาหกรรมส ่วนใหญ ่ เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยมีอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตน้ำปลา อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรม แปรรูปสัตว์นำ ้และอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ส 8
ภาพถ ่ายทางอากาศเห็นตัวเมืองแม ่กลอง มีคลองแควอ ้อมอยู ่ทางด ้านซ ้าย และคลองบางน ้อยอยู ่ด ้านบน จนเกิดเป็นเครือข ่ายทางน้ำขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังเห็นได ้ว ่ามีการจัดรูปที่ดินเป็นขนัดสวนยกร ่อง โดยมีลำประโดง (ลำน้ำขนาดเล็กภายในสวนยกร ่อง) ล ้อมเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวนมาก อันเป็นเทคโนโลยีการเพาะปลูกจาก ทางตอนใต ้ของจีน บริเวณมณฑลกวางตุ ้ง - กวางสี ซึ่งควรจะเข ้ามาก ่อน พ.ศ. ๒๐๐๐ เล็กน ้อย แล ้วใช ้สืบเนื่องโดยมี พัฒนาการอย ่างต ่อเนื่องลงมาจนถึงปัจจุบัน (ที่มาภาพ : หนังสือ แม่กลอง ประวัติศาสตร์สายน้ำมีชีวิต) 9
แผนที่ลุ ่มน้ำเจ้าพระยา เขียนโดย จอห์น แอร ์โรว ์สมิธช ่างแผนที่ชาวอังกฤษ เมื่อป ี พ.ศ. ๒๓๙๙ แสดงรายละเอียดของหมู ่บ ้านสำคัญในแม ่น้ำแม่กลอง บริเวณทางด ้านล ่างของภาพ (ที่มาภาพ : หนังสือ แม่กลอง ประวัติศาสตร์สายน้ำมีชีวิต) 10
แผนที่เก่าแสดงภาพลำนำ้แม่กลอง และมณฑลราชบุรี สมัยรัชกาลที่ ๕ - ๖ (ที่มาภาพ : หนังสือ แม่กลอง ประวัติศาสตร์สายน้ำมีชีวิต) 11
แผนที่เก่าแสดงขอบเขตของจังหวัดสมุทรสงคราม จากหนังสือที่ตีพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (ที่มาภาพ : หนังสือ แม่กลอง ประวัติศาสตร์สายน้ำมีชีวิต) 12
ชื่อบ้านนามเมือง “แม่กลอง” มาจากคำเรียกเส ้นทางสัญจร “สมุทรสงคราม” มาจากชื่อตำแหน่งเจ้าเมือง “แม่กลอง” เป็นลุ ่มน้ำที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐาน ของผู้คนต่าง ๆ เก่าแก่ที่สุด ในบริเวณพื้นที่ภาคกลางของ ประเทศไทยปัจจุบัน เกิดจากแม่นำ้ แควใหญ่และแม่นำ้แควน้อย ไหลมารวมกันที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ไหลผ ่านจังหวัดราชบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม ก่อนไหล ลงสู ่อ ่าวไทย ที่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม มีความยาว ประมาณ ๑๓๒ กิโลเมตร พื้นที่รับน้ำที่ปากแม่น้ำแม่กลอง ๓๐,๑๐๖ ตารางกิโลเมตร ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดราชบุรี ได้อีก ชื่อหนึ่งว่า “แม่น้ำราชบุรี” แม่นำ้ แม่กลองมีพื้นที่ลุ่มนำ้ประมาณ ๓๐,๘๓๗ ตาราง กิโลเมตร หรือ ๑๙.๔๕ ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ๘ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม บางส่วนของจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลุ ่มน้ำแม ่กลองแบ ่งออกเป็นลุ ่มน้ำย่อย ๑๔ ลุ ่มน้ำ ได้แก่ แม่นำ้ แควใหญ่ ห้วยแม่ละมุง ห้วยแม่จัน แม่นำ้ แควใหญ่ ตอนกลาง แม่น้ำแควใหญ่ตอนล่าง ห้วยขาแข้ง ห้วยตะเพียน แม่น้ำแควน้อยตอนบน ห ้วยเขย็ง ห้วยแม่น้ำน้อย ห ้วยบ ้องตี้ แม่นำ้แควน้อยตอนกลาง แม่นำ้ภาชี และทุ่งราบแม่นำ้แม่กลอง อันเป็นบริเวณที่ตั้งของจังหวัดสมุทรสงคราม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เคยทรงอธิบายถึงความหมายของคำว่า “แม่กลอง” อันเป็น ชื่อของแม่น้ำ และชื่อเก่าของเมืองสมุทรสงครามเอาไว้ว่า “...ฉันได้รับคำถามว่า เพราะเหตุใดลำแม่น้ำที่ผ่าน สมุทรสงคราม เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี จึงเรียกชื่อ ว่าแม ่น้ำแม ่กลอง...เขาบอกว ่าแต ่เดิมมีกลองขนาดใหญ ่โต ผิดกลองสามัญอยู่วัด ๑ ในแถวนั้น (ดูเหมือนเขาบอกชื่อวัด ให้ด้วย แต่ฉันลืมไปเสียแล้ว) พวกชาวเมืองจึงเอากลองใหญ่นั้น เป็นนิมิตมาเรียกลำแม่น้ำนั้นว่า แม่กลอง แล้วเลยเรียกเมือง สมุทรสงครามว ่า เมืองแม ่กลอง ด ้วยนี่เป็นอธิบายอย ่าง ๑ ซึ่งเคยได้ยินมา...” (อักขรวิธีตามต้นฉบับ คัดจากบทความเรื่อง ชื่อลำน้ำแม่กลอง วินิจฉัยนาม ในหนังสือ ลุ ่มน้ำแม่กลอง ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ “เครือญาติ” มอญ) อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพนั้น ก็ดูจะทรงไม ่แน ่พระทัยกับคำอธิบาย ที่พระองค์เคยได้ยินมานัก จึงได้อธิบายต่อไปด้วยว่า “...อธิบายมีอีกอย่าง ๑ ว่า มีเมืองขึ้นของเมืองอุทัยธานี ชื่อว่า เมืองแม่กะลอง ตั้งอยู่ยอดแม่นำ้เมืองสมุทรสงครามอาจจะ เอาชื่อเมืองแม่กะลอง อันอยู่ต้นน้ำเรียกลำน้ำลงมาจนปากน้ำ แต่เรียกเพี้ยนไปเป็น แม่กลอง...” (อักขรวิธีตามต้นฉบับ) แต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ยังคงไม่แน่พระทัยในคำอธิบายดังกล่าวอีกเช่นเคย ดังนั้นจึงได้ ทรงกล่าวต่อไปด้วยว่า “...ฉันเคยได ้ยินอธิบายแต ่ ๒ อย่าง เช่นว่ามา แต่จะรับรองว่าอย่างไหนจะเป็นความจริงนั้นรับไม่ได้ ถ้าจะตอบ โดยย ่อก็ตอบได ้ว ่า ไม ่รู ้ว ่าเพราะเหตุใดจึงเรียกลำน้ำนั้นว ่า แม่กลอง...” (อักขรวิธีตามต้นฉบับ) 13
สรุปได้ว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพเองก็ไม ่ทราบว ่าทำไมแม่น้ำสายดังกล ่าว จึงมีชื่อว ่า “แม่กลอง” แม ้จะเคยมีผู ้รู ้อธิบายให ้พระองค ์ ฟังมาแล ้วถึงสองคำอธิบาย แต ่ก็ยังทรงไม ่เชื่อในคำอธิบาย ทั้งสองอย่างนั่นเอง ถึงแม ้ว ่าบุคคลระดับพระบิดาแห ่งประวัติศาสตร ์ไทย จะออกพระองค ์ว ่าไม ่ทราบที่มาของชื่อแม ่น้ำแม่กลอง แต่ก็อาจจะสังเกตได้ว่า ชื่อ “แม่กลอง” ประสมขึ้นจากสองคำ คือคำว่า “แม่” และคำว่า “กลอง” “แม่” เป็นคำศัพท ์ร ่วมของประชากรหลากหลาย เชื้อชาติในอุษาคเนย์ ภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ มีใช้หลายเผ่าพันธุ์ แต่ออกเสียงต่างกันในแต่ละสำเนียงของแต่ละพื้นที่วัฒนธรรม เช่น เขมรออกเสียง “เม” เป็นต้น แต ่ไม ่ว ่าจะออกเสียงแตกต ่างกันไปเช ่นไรก็ตาม คำว่า“แม่”ในความหมายแต่ดั้งเดิมนั้น นอกจากที่จะหมายถึง เพศหญิง แล ้วก็ยังมีความหมายอย ่างอื่นที่เหมือนกันไปหมด ในทุกวัฒนธรรม คือ ผู้เป็นใหญ่ หัวหน้า ประธาน หรือคำอื่น ๆ ที่มีความหมายทำนองเดียวกันนี้ กลุ ่มคนที่ใช ้ภาษาตระกูลไทย - ลาว จึงยกย ่อง ลำนำ้ ใหญ่เป็น “แม่” เช่น ภาคกลางและภาคใต้ของไทยเรียก “แม่นำ้” เช่น แม่นำ้เจ้าพระยา ส่วนภาคเหนือ กับภาคอีสานเรียก “น้ำแม่” เช่น นำ้แม่ปิง น้ำแม่อิง น้ำแม่โขง เป็นต้น ดังนั้น จึงน่าสงสัยว่าชื่อแม่นำ ้“แม่กลอง” อย่างที่เรียกกัน ในปัจจุบันนี้ จะเรียกตามประเพณีลาวโดยเรียกว่า“นำ้แม่กลอง” มาก่อนแล้วค่อยปรับมาเรียก “แม่นำ้แม่กลอง” ตามประเพณี นิยมอย่างกรุงเทพมหานครในภายหลัง ส่วนคำว่า “กลอง” เพี้ยนมาจากคำว่า “คลอง” ที่มีราก อยู่ในภาษามอญว่า “โคฺลง” หรือ “คฺลง” ซึ่งในพจนานุกรม มอญ-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ บอกว่าอ่านว่า “โคล้ง” เหมือนกันทั้ง ๒ คำ และให้ความหมายว่า “ทาง” คำว่า “สมุทรสงคราม” นั้น ผูกขึ้นจากคำสองคำ คือ คำว่า “สมุทร” และคำว่า “สงคราม” โดยคำว่า “สมุทร” นั้นมาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า “ทะเล” (ตรงกับคำบาลีว ่า “สมุทฺท”) ดังนั้น ชื่อตำแหน ่งนี้จึงมีความหมายเกี่ยวข ้องกับ การสงครามทางทะเล ซึ่งควรจะหมายถึงการเป็นผู ้ปกป ้อง เมืองท ่าสำคัญแห ่งหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา มีหลักฐานว่า ในช่วงปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) นั้น เมืองแม่กลองมีป้อมปราการตั้งอยู่ในเมือง ดังปรากฏในบันทึก ของ มองซิเออร์ เซเบเรต์ ซึ่งอยู่ในคณะทูตที่พระเจ้าหลุยส์ที่๑๔ แห่งฝรั่งเศส ส่งมาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา โดยมี มองซิเออร์ ซิมง เดอ ลาลูแบร์ เป็นหัวหน้าคณะเมื่อระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๓๐ - ๒๒๓๑ “พระสมุทรสาคร เมืองท่าจีน พระสมุทรสงคราม เมืองแม่กลอง พระสมุทรปราการ เมืองปากน�้ำ พระชนบุรีย์ เมืองชน ขึ้นพระประแดงอิน ปัญญาซ้าย” คำมอญว่า “โคฺลง” กับ “คฺลง” แผลงมาเป็นคำไทย ว่า “คลอง” บางที่ก็แปลงเป็นคำว่า “โขง” “ของ” หรือ “คง” ตามแต่ถนัดลิ้นในแต่ละท้องถิ่น นานเข้าก็กลายเป็นชื่อเฉพาะ ของแม่น้ำสายนั้น อย่างที่ไทยเรียก แม่น้ำโขง ส่วนลาวเรียก นำ้ของ หรือแม่นำ้คง (คือ แม่นำ้สาละวิน) ในประเทศเมียนมาร์ ชื่อของแม ่น้ำ “แม่กลอง” จึงควรจะแผลงมาจาก คำมอญว่า “โคฺลง” หรือ “คฺลง” คือ “คลอง” หมายถึง เส้นทาง คมนาคมทางน้ำ เช่นเดียวกัน ดังนั้น คำว่า “แม่กลอง” จึงเป็นชื่อของแม่น้ำมาก่อน แต่ต่อมาได้กำเนิด “เมืองแม่กลอง” ขึ้น ดังปรากฏหลักฐาน ในกฎหมายตราสามดวง ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑) ทรงตราขึ้น ไว้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๘ ในพระอัยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง ได้กำหนดไว้ว่า 14
มองซิเออร์ เซเบเรต์ นั้นได้แยกตัวกลับก่อนคณะทูต ทั้งหมดโดยได้เดินทางไปลงเรือกำปั่นฝรั่งเศสที่เมืองตะนาวศรี ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองค้าขายทางทะเลที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยา ระหว่างทางมองซิเออร์ เซเบเรต์ได้ผ่าน เมืองแม่กลอง และ ได้บรรยายลักษณะของเมืองลงในบันทึกของท่านว่า “...ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๒๓๐ ข้าพเจ้า ได้ออกจาก (เมือง) ท่าจีน เพื่อไป (เมือง) แม่กลอง ตามทาง ระหว่างท่าจีนกับแม่กลองนี้ มีบางแห่งน้ำตื้น ต้องใช้กระบือ ลากเรือเหมือนวันก่อน แต่ตอนที่ตื้นวันนี้ยาวกว่าวานนี้ และ ลำบากกว่าวานนี้มาก เวลาเย็นข ้าพเจ ้าได ้ไปถึงเมืองแม ่กลอง ซึ่งไกลจาก (เมือง) ท่าจีน ระยะทางประมาณ ๑๐ ไมล์ครึ่ง เมืองแม ่กลองนี้เป็นเมืองที่ใหญ ่กว ่าเมืองท ่าจีนและ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ซึ่งเรียกกันว่าแม่น้ำแม่กลอง และอยู่ห่างทะเล ประมาณ ๑ ไมล์ น้ำรับประทานในเมืองนี้เป็นน้ำที่ดี เมืองแม่กลองนี้หามีกำแพงเมืองไม่ แต่มีป้อมเล็ก ๆ สี่เหลี่ยมอยู่ ๑ ป้อม มุมป้อมนั้นมีหอรบอยู่ ๔ แห่ง แต่เป็นหอ รบเล็กมาก ก่อด้วยอิฐ คูก็หามีไม่ แต่นำ้ท่วมอยู่รอบป้อมกำแพง หรือรั้วใน ระหว่างหอรบนั้นทำด้วยเสาใหญ่ ๆ ปักลงในดิน และมีเคร่าขวางถึงกันเป็นระยะ ๆ ...” (อักขรวิธีตามต้นฉบับ) หลังจากนั้นเมืองแม่กลองก็ทวีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุจากการขยายตัวเรื่องการค้านานาชาติของกรุงศรีอยุธยา จึงมีการขุดคลองลัดหลายแห่งเพื่อให้การคมนาคมสะดวกยิ่งขึ้น เช่น ในแผ ่นดินสมเด็จพระเจ ้าเสือ (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๔๕ - ๒๒๕๑) สืบเนื่องทุกรัชกาลจนถึงแผ ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑) เมืองแม่กลองก็เปลี่ยนชื่อ เป็น “เมืองสมุทรสงคราม” ตามชื่อตำแหน ่งเจ ้าเมือง แต ่ก็เป็นชื่อที่ใช ้ในเอกสารทางการ เสียมากกว่า ผู้คนทั่วไปยังเรียก ชื่อเมืองแม่กลองสลับกันไปมาอยู่ อนึ่ง เมื่อป ี พ.ศ. ๒๔๖๐ นั้น ได ้มีการเปลี่ยนชื่อ เมืองสมุทรสงคราม ซึ่งในขณะนั้นมีฐานะเป็น “อำเภอ” เพราะ การปฏิรูประบบการปกครองส ่วนภูมิภาค จากระบบ หัวเมือง ตามแบบรัฐจารีตโบราณของสยาม มาเป็นระบบ มณฑลเทศาภิบาล ที่เริ่มต ้นเมื่อป ี พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยเปลี่ยน ชื่อเป็น “อำเภอบ้านปรก” ดังมีหลักฐานปรากฏอยู ่ใน ราชกิจจานุเบกษาเรื่อง “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ” ลงวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ แต ่ต ่อมาเมื่อได ้มีการสร ้างที่ว ่าการอำเภอขึ้นที่ ริมแม่นำ้แม่กลอง จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น อำเภอแม่กลอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ทางราชการ มีนโยบายให ้เปลี่ยนชื่อที่ว ่าการอำเภอที่ตั้งอยู ่ในเมือง ให ้เป็นชื่อเดียวกับจังหวัด จึงได ้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นอำเภอ เมืองสมุทรสงคราม ในปีพุทธศักราชดังกล่าว และใช้มาจน กระทั่งถึงปัจจุบันนี้ 15
แผนที่ราชอาณาจักรสยาม เขียนเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๓๔ โดยมองซิเออร์ ซิมงเดอ ลาลูแบร์ ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ที่มาภาพ : หนังสือ แม่กลอง ประวัติศาสตร์สายน้ำมีชีวิต) 16
โฉนดที่ดิน จังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ. ๒๔๖๔ เห็นผังที่ดินที่เคยเป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัด และศาลากลางจังหวัด หลังเดิม ซึ่งตั้งอยู ่ริมแม ่น้ำแม่กลอง ใกล ้กับวัดใหญ ่ สันนิษฐานว ่าน ่าจะเป็นบริเวณจุดที่ประทับในการเสด็จประพาสต ้น ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล ้าเจ ้าอยู ่หัว เมื่อป ี พ.ศ. ๒๔๔๗ (ที่มาภาพ : หนังสือ แม่กลอง ประวัติศาสตร์สายน้ำมีชีวิต) อนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล ้าเจ ้าอยู ่หัว ทรงเคยเสด็จประพาสเมืองสมุทรสงคราม ทั้งสิ้น ๔ ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ ๑ เสด็จเมื่อเรือน พ.ศ. ๒๔๑๖ ตรงกับป ีที่ทรงทำพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ เมื่อพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา ได ้เสด็จโดยเรือยนต ์มาทางทะเล แวะเข ้าอ ่าวแม ่กลองก ่อนผ ่านไปยังเมืองกาญจนบุรี ครั้งนั้นได ้พระราชนิพนธ ์ “โคลงนิราศ ท ้าวสุภัตติการภักดี (นาก)” เอาไว้ด้วย ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๓๙ เสด็จประพาสเมืองสมุทรสงคราม โดยเสด็จมาทางประตูน้ำบางยาง บ้านแพ้ว สมุทรสาคร ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นการเสด็จประพาสต้น คือปลอมพระองค์กลมกลืนไปกับข้าราชบริพาร ที่ตามเสด็จฯ ทำให้มี พระราชปฏิสันถารใกล ้ชิดกับพสกนิกรชาวบ ้านอย ่างเป็นธรรมชาติ โดยเสด็จมาจากเมืองราชบุรี ทางแม่น้ำอ ้อมถึงปากคลอง วัดประดู่ เมืองสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ แล้วเสด็จประพาสไปตามที่ต่าง ๆ และประทับแรมอยู่จนถึง วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ จึงเสด็จประพาสออกทางปากอ่าวแม่กลองไปยังเมืองเพชรบุรี ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๕๒ เสด็จประพาสเมืองสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ ๙ - ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๒ 17
“แม่น้ำแม่กลอง” เป็นแม่น้ำที่มีความคดเคี้ยวชาวจีนในสมัยโบราณเรียกชุมชนที่ตั้งอยู ่ในบริเวณพื้นที่ลุ ่มน้ำ แม่กลองอย่างรวม ๆ ว่า “เล ่งเกียฉู ่” (สำเนียงจีนแต ้จิ๋ว) แปลว่า “ที่พำนักของมังกร” โดยมังกรที่ว ่านั้นหมายถึงแม ่น้ำ แม ่กลองที่ไหลคดเคี้ยวเหมือนกับ “มังกร” นั่นเอง 18
ชุดภาพถ่ายทางอากาศ แม่นำ้แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ โดย วิลเลียม ฮันท์ (ที่มาภาพ : หนังสือ แม่กลอง ประวัติศาสตร์สายน้ำมีชีวิต) ชุดภาพถ่ายทางอากาศ แม่นำ้แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ โดย วิลเลียม ฮันท์ (ที่มาภาพ : หนังสือ แม่กลอง ประวัติศาสตร์สายน้ำมีชีวิต) 19
ชุดภาพถ่ายทางอากาศ แม่นำ้แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ โดย วิลเลียม ฮันท์ (ที่มาภาพ : หนังสือ แม่กลอง ประวัติศาสตร์สายน้ำมีชีวิต) 20
ปากคลองแม่กลอง มีวัดใหญ่ แม่กลอง ตั้งอยู่ที่หัวมุมปลายแหลม (ที่มาภาพ : หนังสือ แม่กลอง ประวัติศาสตร์สายน้ำมีชีวิต) 21
ปากคลองแม่กลองในปัจจุบัน ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ปากคลองแม่กลองในปัจจุบัน ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๖ 22
แม่นำ้แม่กลอง ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๒ (ที่มาภาพ : หนังสือ แม่กลอง ประวัติศาสตร์สายน้ำมีชีวิต) สภาพบ้านเรือนริมแม่นำ้ แม่กลองในปัจจุบัน ถ่ายจากหน้าวัดเพชรสมุทรวรวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๖ 23
แม่นำ้แม่กลอง บริเวณหน้าวัดเพชรสมุทรวรวิหาร ถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๕๑๐ (ที่มาภาพ : หนังสือ แม่กลอง ประวัติศาสตร์สายน้ำมีชีวิต) แม่นำ้ แม่กลองที่ไหลผ่านเมืองอัมพวา (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 24
บ้านเรือนริมนำ ้และเรือต่าง ๆ ในแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ในอดีต (ไม่ทราบปีที่ถ่าย) (ที่มาภาพ : หนังสือ แม่กลอง ประวัติศาสตร์สายน้ำมีชีวิต) บริเวณปากคลองแควอ้อม หรือปากนำ้อ้อม (ที่มาภาพ : โฆษิต เครือวรรณ์ ถ่ายเมื่อราวระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๕ - ๒๕๐๐) 25
สภาพโดยทั่วไปของชุมชนประมงปากอ่าวแม่กลอง ช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ (ที่มาภาพ : โฆษิต เครือวรรณ์ ถ่ายเมื่อราวระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๕ - ๒๕๐๐ บรรยากาศแม่นำ้แม่กลอง หน้าที่ว่าการอำเภอบางคนที เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ (ที่มาภาพ : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม) 26
บรรยากาศแม่นำ้แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐ (ที่มาภาพ : เฟซบุ๊ค รัตนพล สุขประเสริฐ) ชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนชาวเมืองแม่กลอง ช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (ที่มาภาพ : หนังสือ เมืองแม่กลอง - จังหวัดสมุทรสงคราม 27
ชุมชนริมนำ้แม่กลอง ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) วิถีชีวิตริมแม่นำ้แม่กลอง ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 28
เป็นเนินเขาแห ่งเดียวในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีผู ้อธิบายถึงความหมายของคำว่า ยี่สาร แตกต่างกันออกไปหลายความคิดเห็น บ้างก็ว่ากลายมาจากคำว่า “ปสาน” ที่แปลว่า “ตลาด” โดยเพี้ยนมาจากคำว่า “บาซาร์” ในภาษาเปอร ์เซีย ที่หมายความว ่าตลาดเช ่นกัน และพื้นที่บริเวณเขายี่สารยังพบหลักฐานทางโบราณคดี ที่แสดงให ้เห็นถึงการเป็นชุมทางทางการค ้าในบริเวณนี้อย ่างมากมาย ตั้งแต ่ยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นอย ่างน ้อย แต ่บางท ่านก็ว ่า คำว่า “ยี่สาร” ควรจะกลายมาจากคำว่า “อี้ซาน” ในภาษาจีน โดยหมายถึง เขาลูกโดด มากกว่า เพราะยี่สารนั้นเป็นเขาแห ่งเดียวในพื้นที่บริเวณนี้ จึงเป็นจุดหมายตาสำคัญของคนเรือในสมัยก ่อน ที่จะเข ้ามาทำการค้า ในบริเวณดังกล ่าวนั่นเอง (ที่มาภาพ : หนังสือ ฅนแม่กลอง) “ยี่สาร” 29
เขายี่สารเมื่อมองจากปากคลองดอนจั่น อันเป็นคลองที่ขุดขึ้นเพื่อเชื่อมกับคลองยี่สาร อันเป็นเส้นทางที่ ก.ศ.ร. กุหลาบ มีชีวิต (ระหว ่างป ี พ.ศ. ๒๓๗๗ - ๒๔๖๔) ใช ้เมื่อครั้งเดินทางมายังยี่สาร แล้วแต่ง “นิราศยี่สาร” ขึ้น (ที่มาภาพ : หนังสือ ฅนแม่กลอง) ภาพถ่ายเก่าชุมชนโดยรอบเขายี่สาร ไม่ทราบปีที่ถ่าย (ที่มาภาพ : หนังสือ ฅนแม่กลอง) 30
ภาพมุมสูง ชุมชนยี่สาร บริเวณชุมทางน้ำที่มีชื่อเรียกใน “นิราศยี่สาร” ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ว่า “อ ่าวยี่สาร” ทางด ้านขวาล ่างของภาพคือ คลองดอนจั่นที่ขุดเชื่อมกับคลองยี่สาร (ที่มาภาพ : หนังสือ แม่กลอง ประวัติศาสตร์สายน้ำมีชีวิต) 31
๒. ศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดสมุทรสงคราม Religions and the Holy Treasures Inestimable, Samut Songkhram Province
ภาพถ่ายเก่าของหลวงพ่อบ้านแหลม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ไม่ทราบปีที่ถ่าย (ที่มาภาพ : สุธา คาเฟ่ อนุเคราะห์ภาพถ่าย) 34
“หลวงพ่อบ้านแหลม” สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู ่บ ้านคู ่เมือง ของจังหวัดสมุทรสงคราม ดังปรากฏอยู่ในคำขวัญประจำจังหวัด ว่า “เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร. ๒ แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม” “หลวงพ่อบ้านแหลม”เป็นพระพุทธรูปประธานภายใน พระอุโบสถวัดเพชรสมุทรวรวิหาร ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง สมุทรสงคราม องค์พระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลืองประทับยืน ปางอุ้มบาตร สูงประมาณ ๑๖๗ เซนติเมตร แสดงให้เห็นว่า เป็นฝีมือช่างรุ่นหลังกรุงศรีอยุธยาลงมาแล้ว เพราะความนิยม ในการสร้างพระพุทธรูปลอยตัวปางต่าง ๆ ที่มักเรียกรวมกันว่า พระพุทธรูป ๘๐ ปางนั้น เป็นคตินิยมที่เริ่มปรากฏหลักฐาน หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกลง เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ตำนานที่สำคัญของหลวงพ่อบ้านแหลมมีอยู่ ๒ ตำนาน ได้แก่ ตำนานแรกเกี่ยวข้องกับชื่อวัดบ้านแหลม และประวัติ ของพื้นที่ โดยมีเรื่องเล ่าสืบต ่อกันมาว ่า ในช ่วงปลายรัชสมัย ของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือที่มักจะคุ้นเคยกัน ในชื่อของพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ได ้มีภัยจากโจรผู ้ร ้ายชาวพม ่าเข ้าปล ้นสะดมชาวบ ้านแหลม ในเมืองเพชรบุรี(ปัจจุบันคือพื้นที่ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี) อยู่เนือง ๆชาวบ้านแหลมกลุ่มหนึ่งจึงได้หนีภัย เข้ามาอยู่ที่เมืองสมุทรสงคราม โดยตั้งรกรากอยู่แถบปากคลอง แม่กลองฝั่งใต้ ใกล ้กับวัดศรีจำปา ผู ้คนจึงพากันเรียกชุมชน ที่ย้ายมาอยู่ใหม่นี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อหลักแหล่งดั้งเดิม ของผู้คนเหล่านี้ ว ่ากันว ่า ชาวบ ้านแหลมที่ย ้ายมาใหม ่ส ่วนใหญ ่ ล้วนเป็นชาวประมง นิยมออกทะเลหาปลาและสัตว์น้ำ วันหนึ่ง ได้ไปล้อมอวนจับปลาที่ปากอ่าวแม่กลองแต่กลับได้พระพุทธรูป ติดอวนขึ้นมา ๒ องค์ องค ์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปประทับยืน ปางอุ ้มบาตร แต ่บาตรได ้สูญหายไปในทะเลแล ้ว ภายหลังสมเด็จเจ ้าฟ ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ ์วรเดช ผู ้มีศักดิ์เป็นพระโสทรานุชา (น ้องชายร ่วมพระราชมารดาเดียวกัน) กับพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประทานบาตรใหม่เป็นบาตรแก้ว สีน้ำเงิน ส่วนพระพุทธรูปอีกองค์นั้น เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง ปางมารวิชัย ชาวบ้านได้มอบให้ญาติ ซึ่งอาศัยอยู่ที่บางตะบูน (ปัจจุบันคือ ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี) ไปประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเครา ซึ่งก็คือ “หลวงพ่อวัดเขาตะเครา” เดิมทีชาวบ้านแหลมที่แม่กลอง ไม่อยากจะอัญเชิญ พระพุทธรูปปางอุ ้มบาตรที่ได ้มา ไปประดิษฐานที่วัดศรีจำปา ในพื้นที่ชุมชนของตนเอง เพราะเป็นวัดร ้าง มีทั้งป ่าจาก ต ้นโกงกางขึ้นอยู ่มาก และมีหญ ้ารกรุงรัง จึงตั้งใจจะนำไป ประดิษฐานที่วัดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่เหนือปากคลองแม่น้ำแม่กลอง แต ่ในขณะที่นำพระพุทธรูปขึ้นไปประดิษฐานนั้น ได ้เกิดพายุ ลูกใหญ ่ จนนำขึ้นไปประดิษฐานที่วัดใหญ ่ไม ่ได ้ จึงต ้องนำ กลับมาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีจำปา ชาวบ ้านแหลมจึงได ้ช ่วยกันบูรณะวัดศรีจำปาให ้ดีขึ้น แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วัดบ้านแหลม” ดังนั้น จึงพากันเรียก พระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อบ้านแหลม” ไม ่ว ่าหลวงพ ่อบ ้านแหลมจะติดอวนของชาวประมง ขึ้นมาจริงหรือไม ่ก็ตาม แต่ตำนานเรื่องนี้ก็แสดงให ้เห็นถึง ร ่องรอยของการโยกย ้ายถิ่นฐานของผู ้คนจากพื้นที่บ ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ขึ้นมาอยู ่ที่เมืองสมุทรสงคราม โดยตำนาน ยังแสดงให้เห็นด้วยว่า การเคลื่อนย้ายเข้ามานี้ ยังมีการติดต่อ กับกลุ่มคนที่อยู่ในถิ่นฐานเดิม ดังจะเห็นว่า มีการนำพระพุทธรูป อีกองค์ คือ หลวงพ่อวัดเขาตะเครา ไปมอบให้กับญาติที่ บางตะบูน อันเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ติดกับบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี หลักฐานในยุคธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีเส้นทาง การค ้าที่เชื่อมโยงถึงกันระหว ่างบ ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี - แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม - คลองบางหลวง เมืองบางกอก หรือเมืองธนบุรี ดังปรากฏมีหลักฐานการจำลอง “หลวงพ่อ บ้านแหลม” ที่วิหารน ้อย วัดกำแพงบางจาก ซึ่งตั้งอยู ่ที่ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน คลองบางหลวง คือ คลองบางกอกใหญ่ และบริเวณ ปากคลองบางกอกใหญ่ เป็นที่ตั้ง “พระราชวัง” ของสมเด็จ พระเจ ้าตากสินมหาราช ในยุคกรุงธนบุรี การมีหลวงพ ่อ บ้านแหลมจำลองประดิษฐานอยู ่ในพื้นที่บริเวณนี้ จึงแสดง ให้เห็นถึงความสำคัญของหลวงพ่อบ้านแหลม 35
ข้อมูลจากหนังสือ “สยามประเภท” และ “มหามุข มาตยานุกุลวงศ ์” ที่เขียนโดย ก.ศ.ร. กุหลาบ (มีชีวิตอยู ่ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๗ - ๒๔๖๔) สามารถประมวล ความสำคัญของ “บ้านแหลม” ในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา - ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้ว่า ในสมัยช่วงก่อนกรุงศรีอยุธยาแตก มีจีนบ ้านแหลมคนหนึ่งชื่อ เจ ๊สัวหลิน (เจ ้าสัวหลิน) เป็นคนบ้านเดียวกันและยังมีแซ่เดียวกันคือแซ่โหงว (หรือแซ่โง้ว) กับพระราชชนนีของสมเด็จพระเจ้าตากสิน คือ พระเทพามาตย์ (นกเอี้ยง) โดยมีความสนิทสนมคุ ้นเคยกันมาตั้งแต ่สมัยก ่อน กรุงศรีอยุธยาแตก สมเด็จพระเจ ้าตากสินทรงไว ้พระทัยมาก จนแต่งตั้งเป็น “พระพิไชยวารี” มีหน้าที่แต่งสำเภาหลวงให้กับ พระองค์ จัดเบิกสินค้าของหลวงบรรทุกลงสำเภาหลวงไปค้ากับ จีนเป็นประจำทุกปี ต ่อมาเมื่อผลัดแผ ่นดิน เจ ๊สัวหลินผู ้นี้ ได้ย้ายเข้า มาอยู ่ในสังกัดของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) โดยสายตระกูลของท ่านได ้ทำการค ้าสืบเนื่องมาโดยตลอด และถือเป็นต้นตระกูลของสกุล “พิศาลบุตร” อันเป็นสายตระกูล ที่อุปัฏฐากวัดกำแพงบางจาก ที่มีหลวงพ ่อบ ้านแหลมจำลอง ประดิษฐานอยู่ มาหลายชั่วอายุคน หลวงพ่อบ้านแหลม จึงเป็นทั้งสัญลักษณ ์และ สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญของกลุ่มคนที่ทำการค้าขายในบ้านแหลม - แม่กลอง - บางกอก ผู้คนที่ย้ายถิ่นฐานจากบ้านแหลม เข้าสู่เมืองสมุทรสงคราม เกิดเป็นชุมชนบ้านแหลมในแม่กลอง โดยเคลื่อนย้ายเข้าไปด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ มากกว่าจะเป็น การหนีภัยจากพม่า โดยตำนานส่วนที่อ้างถึงพม่านั้น น่าจะเป็น การแต่งเติมขึ้นใหม ่ด ้วยความเข ้าใจสมัยหลัง เพราะช่วงเวลา ในท้องเรื่องของตำนานนั้น คาบเกี่ยวกันกับช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง กับการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ ส่วนตำนาน “หลวงพ่อบ้านแหลม” อีกตำนานหนึ่ง เล่าว่า มีพระพุทธรูป ๕ องค์ ลอยน้ำมาจากเมืองเหนือ เมื่อมาถึงภาคกลาง ก็ลอยแยกย ้ายไปแต ่ละจังหวัด แตกต่าง กันไป ได้แก่ องค์ที่ ๑ลอยมาตามแม่นำ้บางปะกงและได้ถูกอัญเชิญ ไปประดิษฐานไว้ที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา จึงได้ชื่อว่า “หลวงพ่อโสธร” องค์ที่ ๒ ลอยมาตามแม่น้ำนครชัยศรี และได้ถูก อัญเชิญไปประดิษฐานไว ้ที่วัดไร ่ขิง เมืองนครชัยศรี (อำเภอ สามพราน) จังหวัดนครปฐม จึงได ้ชื่อว ่า “หลวงพ ่อวัดไร ่ขิง” องค์ที่ ๓ ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา และได ้ถูก อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ในหรือวัดพลับพลาชัย ชนะสงคราม อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ชาวบ้าน เรียกว่า “หลวงพ่อโต” องค์ที่ ๔ ลอยมาตามแม่น้ำแม่กลอง และได ้ถูก อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เมืองแม ่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม คือ “หลวงพ่อบ้านแหลม” และองค์สุดท้าย ลอยมาตามแม่นำ้เพชรบุรีและได้ถูก อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี จึงได ้ ชื่อว่า “หลวงพ่อเขาตะเครา” อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปทั้ง ๕ องค์นี้ มีลักษณะ ฝีมือช่างที่แตกต่างกันออกไป อาจไม่ได้สร้างขึ้นในสถานที่และ ช ่วงสมัยเดียวกัน จนเป็นตำนานตามที่กล ่าวข ้างต ้น แต่หาก พิจารณาประกอบกับหลักฐานแวดล้อมอื่น ๆ จะพบว่ามีร่องรอย ความเกี่ยวข ้องกันระหว ่างกลุ ่มคนโบราณที่นับถือพระพุทธรูป เหล ่านี้เป็นสัญลักษณ ์ และพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำกลุ ่ม ของตน เช่น ของเรื่องกลุ ่มคนที่พบหลวงพ ่อบ ้านแหลม เป็นผู้พบพระพุทธรูปอีกองค์และมอบให้เครือญาติไปจนกลาย เป็นหลวงพ่อเขาตะเครา เป็นต้น ร ่องรอยที่น ่าสนใจอีกหนึ่งในตำนานพระพุทธรูป ที่ลอยน้ำมาจากเมืองเหนือทั้ง ๕ องค์ คือการปรากฏ พระพุทธรูปเก่าที่มีทั้งพระพักตร์และพระพุทธลักษณะต่าง ๆ ใกล้เคียงกับหลวงพ่อโสธรเป็นอย่างมาก คือพระพุทธรูปศิลา ที่ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารน้อย วัดบางพลับ ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม พระพุทธรูปศิลาองค์นี้และหลวงพ่อโสธรจัดเป็นฝีมือช่าง แบบอู่ทอง กำหนดอายุได้อยู่ในช่วงราวปีพ.ศ.๑๙๐๐-๒๐๐๐ ตรงกับช่วงต้นของยุคกรุงศรีอยุธยา แสดงให้เห็นถึงเครือข่าย ความสัมพันธ ์ทางการค ้าในช ่วงเวลาดังกล ่าว ระหว ่างลุ ่มน้ำ บางปะกง และลุ่มน้ำแม่กลอง เช่นเดียวกับเรื่องของหลวงพ่อ บ้านแหลม และหลวงพ่อเขาตะเครา 36
ภาพถ่ายเก่าหลวงพ่อบ้านแหลม จากหนังสือที่ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (ที่มาภาพ : หนังสือ เมืองแม่กลอง - จังหวัดสมุทรสงคราม) จังหวัดสมุทรสงครามยังมี พระพุทธรูปศิลา ฝีมือช่างแบบอู่ทองอยู่อีกหลายองค์ ปรากฏอยู่ในระเบียงคด วัดบางแคใหญ่ ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา แสดงให้เห็นถึงขนาดและความสำคัญของเมืองแม่กลองเดิมว่า เป็นเมืองใหญ่ที่มีความสำคัญ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งบางช้าง (เมืองอัมพวา) และบางคนที ในช่วงยุคต้นกรุงศรีอยุธยาและสืบเนื่องต่อมายังยุคหลัง ในขณะที่ ตำนานเรื่องความสัมพันธ ์ของหลวงพ ่อบ ้านแหลมกับหลวงพ ่อเขาตะเครา แสดงให ้เห็นถึงเครือข ่ายความสัมพันธ ์ทางการค ้า ในยุคปลายอยุธยา ต่อเนื่องถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หลวงพ่อบ้านแหลม นอกจากจะเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู ่บ ้านคู ่เมือง รวมทั้งเป็นศูนย ์รวมจิตใจของชาวจังหวัด สมุทรสงครามแล้ว ยังเป็นประจักษณ์พยานสำคัญของความรุ่งเรืองของเมืองสมุทรสงครามในอดีตที่ผ่านมาอีกด้วย 37
ประชาชนมาสักการะหลวงพ่อบ้านแหลม ไม่ทราบปีที่ถ่าย (ที่มาภาพ : พิพิธภัณฑ์สงฆ์ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร) 38
หลวงพ่อบ้านแหลมในปัจจุบัน 39
ภาพถ่ายเก่าวัดเพชรสมุทรวรวิหาร ถ่ายในช่วงราวปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (ที่มาภาพ : หนังสือ เมืองแม่กลอง - จังหวัดสมุทรสงคราม) 40
วัดเพชรสมุทรวรวิหาร ในช่วงราว พ.ศ. ๒๕๒๐ เปรียบเทียบกับปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๖๖) ภาพถ่ายเก่าวัดเพชรสมุทรวรวิหาร ถ่ายในช่วงราวปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (ที่มาภาพ : หนังสือ เมืองแม่กลอง - จังหวัดสมุทรสงคราม) 41
พระพุทธรูป ภายในวิหารน้อย วัดบางพลับ เป็นพระพุทธรูปศิลา ประทับนั่งแสดงปางสมาธิ จัดเป็นฝ ีมือช ่างแบบอู ่ทอง กำหนดอายุอยู ่ในช ่วงระหว ่างป ี พ.ศ. ๑๙๐๐ - ๒๐๐๐ พระพักตร ์ ของพระพุทธรูปองค ์นี้สามารถเปรียบเทียบได ้กับ “หลวงพ่อโสธร” จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งมีตำนาน เกี่ยวโยงกับหลวงพ ่อบ ้านแหลมอย ่างน ่าสนใจ วิหารน ้อย (อาคารทางด ้านหน ้าในรูป) เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ฝ ีมือช ่างอู ่ทอง วิหารหลังนี้เป็นเพียงอาคาร บริวารภายในวัด ไม ่ใช ่อาคารหลัก ประกอบกับเป็นงานสถาปัตยกรรมยุคกรุงรัตนโกสินทร ์ตอนต ้น โดยสร ้างขึ้นราวหลังป ี พ.ศ. ๒๓๗๐ 42
พระพุทธรูปที่ตั้งเรียงรายอยู ่ในระเบียงคด วัดบางแคใหญ ่ ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บางองค ์เป็นพระพุทธรูปศิลา ฝ ีมือช ่างแบบอู ่ทอง อยู ่ในช ่วงระหว ่างป ี พ.ศ. ๑๙๐๐ - ๒๐๐๐ ตรงกับช ่วงต ้นของ ยุคกรุงศรีอยุธยา แสดงให ้เห็นถึงความสำคัญของวัดแห ่งนี้ที่มีมาอย ่างยาวนาน 43
พระพุทธรูปที่อยู่ในระเบียงคด วัดบางแคใหญ่ ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 44
ภายในวัดบางแคใหญ ่ ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝ ีมือช ่าง สมัยรัชกาลที่ ๒ แห ่งกรุงรัตนโกสินทร ์ เขียนด ้วยสีฝุ ่นผสมกาว ไม ่มีรองพื้น อยู ่ที่ฝาปะจัน ของกุฏิอดีตเจ ้าอาวาส โดยเขียน เป็นเรื่องไทยรบพม ่า ชีวิตกลางป ่า และภาพวิถีชีวิตต ่าง ๆ 45
หมู่บ้านมอญ หรือหมู่บ้านชาวทวาย สังเกตได้จากรูปหญิงไว้ผมมวยที่ท้ายทอย เปลือยอก แต่นุ่งผ้ากรอมเท้าแหวก ให้เห็นต้นขา ปรากฎแทรกอยู่ในภาพจิตรกรรมที่ฝาปะจัน วัดบางแคใหญ่ ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 46
ฉากสงครามในบริเวณเจดีย ์ ๓ องค์ (อาจหมายถึง ด ่านพระเจดีย ์ ๓ องค์ ตำบลหนองลูอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี) 47
ฉากการสู ้รบสงคราม (อยู ่ด ้านซ ้ายมือของภาพ) 48