The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จังหวัดสมุทรสงครามได้ดำเนินการจัดทำหนังสือ “ภาพเล่าเรื่องเมืองแม่กลอง” The tale of Mae Klong city : illustrate with images โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลภาพเก่าและมรดกทางวัฒนธรรม ศิลปวัตถุ สถาปัตยกรรม หัตถกรรม ศาสนา ฯลฯ ซึ่งเป็นมรดก ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ำค่าของจังหวัดสมุทรสงคราม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by yutsamutsong, 2023-08-16 05:12:04

ภาพเล่าเรื่องเมืองแม่กลอง

จังหวัดสมุทรสงครามได้ดำเนินการจัดทำหนังสือ “ภาพเล่าเรื่องเมืองแม่กลอง” The tale of Mae Klong city : illustrate with images โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลภาพเก่าและมรดกทางวัฒนธรรม ศิลปวัตถุ สถาปัตยกรรม หัตถกรรม ศาสนา ฯลฯ ซึ่งเป็นมรดก ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ำค่าของจังหวัดสมุทรสงคราม

ฉากสงครามทางเรือ 49


ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดบางแคใหญ ่ ตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ไม ่ได ้มีอยู ่เฉพาะ ฝาปะจัน กุฏิอดีตเจ ้าอาวาสเท ่านั้น ยังสามารถพบภาพเขียนประดับอยู ่ภายในหอไตร โดยเป็นฝ ีมือช ่างในช ่วงรัชกาลที่ ๓ แห ่งกรุงรัตนโกสินทร ์ อนึ่งภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นตามอาคารในศาสนสถานต ่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กุฏิ หอไตร หรือในพระอุโบสถ หรือพระวิหาร วัดบางแคใหญ ่ ตามที่พบเห็นกันนั้น ต ่างก็เป็นสิ่งที่สร ้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ด ้วยศรัทธาใน พระพุทธศาสนาด ้วยกันทั้งสิ้น 50


ภาพจิตรกรรมการบูชารอยพระพุทธบาท วัดบางแคใหญ่ 51


ภาพจิตกรรมพระอินทร ์ ฟังเทศน ์พระมาลัย บนสวรรค ์ชั้นดาวดึงส ์ วัดบางแคใหญ ่ 52


ภาพจิตรกรรมพระพุทธเจ ้าโปรดพุทธมารดาบนสวรรค ์ชั้นดาวดึงส ์ วัดบางแคใหญ ่ 53


ภาพจิตรกรรมการบูชารอยพระพุทธบาท วัดบางแคใหญ่ 54


ภาพจิตรกรรมเรื่องพระพุทธเจ ้าปางทรมานท ้าวชมพูบดี ที่หอไตร วัดบางแคใหญ ่ เล ่าถึงท ้าวมหาชมพู ผู ้ครองมหานครใหญ ่ชื่อ “นครปัญจาละ” ที่พรั่งพร ้อมไปด ้วยอิสริยยศและบริวารยศ หาผู ้ใดในชมพูทวีปเสมอเหมือน จึงสำคัญพระองค์ผิดว่าไม่มีใครสามารถสู้รบกับพระองค์ อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นกรุงราชคฤห์เจริญรุ่งเรือง ยิ่งก็หมายจะสำแดงอิทธิฤทธิ์บังคับให ้พระเจ ้าพิมพิสารตกอยู ่ใต ้อำนาจของพระองค ์แต ่ก็ไม ่สำเร็จด ้วยพุทธานุภาพ ของพระพุทธเจ้าคุ้มครองไว้ พระพุทธเจ้าทรงเห็นเหตุดังนั้น ก็หมายจะสั่งสอนท้าวชมพูบดีให้สิ้นฤทธิ์ จึงเนรมิตพระองค์เป็น “พระจักรพรรดิราช” คือ ราชาเหนือราชาทั้งปวง เนรมิตวัดเวฬุวันวิหารให ้เป็นพระนครหลวง ให ้พระอินทร ์จำแลงกายเป็นราชฑูตไปทูลเชิญ ท้าวชมพูบดีมาเข้าเฝ้า เมื่อท้าวชมพูบดีได้ทอดพระเนตรเห็นนครของพระจักรพรรดิราช มั่งคั่งสมบูรณ์กว่าเมืองของพระองค์ จึงได้เข้าเฝ้าและทรงสดับพระราชบริหารต่าง ๆ ก็ละมิจฉาทิฐิยอมแพ้แก่ฤทธิ์ของพระจักรพรรดิราช พระพุทธองค์จึงคลายฤทธิ์ ให้ท้าวชมพูบดีเห็นพระสรีระที่แท้จริง และแสดงธรรมเทศนา จนท้าวชมพูบดีบรรลุเป็นพระอรหันต์ (ที่มา : นายศิริพจน ์ เหล ่ามานะเจริญ) 55


ทวารบาลศิลปะช่างจีน ที่หอไตร วัดบางแคใหญ่ 56


ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภายในอุโบสถ วัดบางจาก ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ฝีมือช่างพื้นถิ่น สมัยรัชกาลที่ ๕ นอกเหนือจากที่วัดบางแคใหญ ่แล ้ว ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ยังพบการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่อื่น อยู ่อีกด ้วย เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดเกษมสรณาราม หรือที่เรียกอีกอย ่างว ่า วัดบางจาก เป็นต้น 57


ภาพจิตรกรรมภายในพระอุโบสถ วัดบางจาก ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นเรื่องพุทธประวัติ ตอนต่าง ๆ 58


พระวิหาร ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเป็นประธาน วัดบางกะพ ้อม การบำเพ็ญบุญกุศลด ้วยการสร ้างงานศิลปะถวายเป็นพุทธบูชา ไม่ได้จำกัดอยู ่เฉพาะแค ่การเขียนภาพจิตรกรรม ฝาผนังเท ่านั้น เพราะยังปรากฏการสร ้างงานประดับอื่น ๆ งานปูนปั้นที่เป็นงานตกแต ่งสถาปัตยกรรมประดับอยู ่ภายนอก อาคาร แต ่ที่วัดบางกะพ ้อม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กลับมีการสร ้างงานปูนปั้นประดับอยู ่ ภายในพระวิหาร งานปูนปั้นเหล่านี้ เป็นฝีมือช่างยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๐ เป็นศิลปะการปั้นที่เล่าเรื่องพุทธประวัติ และการบูชารอยพระพุทธบาทสำคัญในสถานที่ต ่าง ๆ ที่ประสมประสานกับประธานภายในพระวิหาร 59


ลายปูนปั้นประดับซุ้มประตูพระวิหาร วัดบางกะพ้อม ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะจีน ส่วนทวารบาลเป็นทหารถือปืน แต ่งกายและแสดงอากัปกิริยายืนตรงอย ่างทหารในโลกตะวันตกสมัยใหม ่แตกต ่างไปจากธรรมเนียมเดิมที่มักสร ้างรูปทวารบาล เป็นยักษ ์ เทวดา หรือใช ้ตุ ๊กตาอับเฉาอย ่างจีน 60


ภายในวิหารวัดบางกะพ ้อม ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเป็นประธาน มีซุ ้มพระพุทธรูปประดับอยู ่รอบผนังชั้นล ่าง ระดับเดียวกับหน ้าต ่าง ส ่วนที่เหนือขึ้นไปประดับด ้วยลวดลายปูนปั้น เล ่าเรื่องปกรณัมในพระพุทธศาสนา 61


รอยพระพุทธบาทภายในพระวิหาร เป็นพระพุทธบาทขนาดใหญ ่น ้อยซ ้อนกันอยู ่ ๔ รอย เป็นไปตามคติความเชื่อ ในพระพุทธศาสนาว ่า อดีตพุทธเจ ้าแต ่ละพระองค ์นั้น จะประทับรอยพระพุทธบาทซ ้อนทับในสถานที่เดียวกันทุกพระองค ์ ตามปรัมปราคติในศาสนาพุทธแล ้ว ในปัจจุบันนี้คือ ภัทรกัป หมายถึง “กัปป ์” คือ ช ่วงยุคสมัยที่มีพระพุทธเจ ้า มาประกาศพระศาสนา ๕ พระองค์ โดยในขณะนี้ได ้ประกาศไปแล ้ว ๔ พระองค์ เหลือเพียงพระอนาคตพุทธเจ ้า คือ พระศรีอาริยเมตไตรย เท ่านั้นที่ยังไม ่ได ้ลงมาประสูติแล ้วประกาศพระศาสนา และประทับรอยพระพุทธบาททับที่เดิมเป็น รอยที่ ๕ ส ่วนรอยพระพุทธบาททั้ง ๔ รอยนี้ เป็นของพระกกุสันโธ, พระโกนาคม, พระกัสสปะ และพระศากยมุนี โดยรอยพระพุทธบาทที่ใหญ ่ที่สุดเป็นของพระกกุสันโธ แล ้วเล็กลงตามลำดับ เพราะปรัมปราคติในพุทธศาสนาเชื่อว ่า พระพุทธเจ ้ากกุสันโธ มนุษย ์โลกมีขนาดร ่างกายใหญ ่ที่สุด แล ้วจึงเล็กลงมาตามลำดับในแต ่ละยุคสมัยของพระพุทธเจ ้า แต่ละพระองค์ ดังนั้นรอยพระพุทธบาททั้ง ๔ รอย จึงมีขนาดไม ่เท ่ากันนั่นเอง 62


ลายปูนปั้นแสดงภาพรอยพระพุทธบาทที่อยู่ใต้นำ้นัมมทามหานที (ซ้าย) และบนเขาสุมณกูฏ บนเกาะศรีลังกา (ขวา) 63


ลายปูนปั้นรูปรอยพระพุทธบาท ประดิษฐานอยู่ในมณฑปที่จังหวัดสระบุรี 64


นอกจากจะมีรูปรอยพระพุทธบาทแล้ว ยังมีรูปพระพุทธฉาย ที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่กันในจังหวัดสระบุรีอีกด้วย 65


ลายปูนปั้นเล่าเรื่องพระพุทธประวัติตอนถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า 66


วัดบางกะพ้อม เคยเป็นที่จำพรรษาของ หลวงพ่อคง พระเกจิชื่อดังของไทย (มีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๐๗ - ๒๔๘๖) ในภาพเป็นกุฏิเก่าของหลวงพ่อเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ภาพถ่ายเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๒๐ (ที่มาภาพ : หนังสือ เมืองแม่กลอง - จังหวัดสมุทรสงคราม) 67


หลวงพ่อคง วัดบางกะพ ้อม พระเกจิชื่อดังแห ่งอัมพวา 68


เหรียญหลวงพ่อคง รุ่นแรก ปลุกเสกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ 69


นอกจากที่วัดบางกะพ ้อม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ยังมีประเพณีการบูชา รอยพระพุทธบาทที่สำคัญคือ วัดเขายี่สาร ที่ตั้งอยู่บนเขายี่สาร ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อันเป็นชุมทาง การค้าสำคัญในสมัยโบราณ วิหารที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทนั้นตั้งอยู ่บนเขา ตามคติความเชื่อเกี่ยวกับการประทับ รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ ้าในพระพุทธศาสนาก็ดูจะเกี่ยวข ้องกับภูเขา อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู ่หลายแห ่ง เช่น รอยพระพุทธบาทบนเขาสุมณกูฏ ที่เกาะศรีลังกา รอยพระพุทธบาทบนเขาสุวัณณมาลิก (อภัยคีรี ในศรีลังกา) สำหรับวิหารพระพุทธบาท ที่วัดเขายี่สาร นอกจากจะตั้งอยู่บนส่วนยอดของเนินเขาแล้ว ยังตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย จึงชวนให ้นึกถึงตำนานเรื่องพระพุทธเจ ้าประทับรอยพระพุทธบาทบนเขาสัจจพันธ ์คีรี ดังมีปกรณัมเล ่าไว ้ในคัมภีร ์ทาง ศาสนาพุทธที่ชื่อ ปปัญจสูทนี ในปุณโณวาทสูตรว ่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ ้าพร ้อมพระสงฆ ์ผู ้เป็นสาวกจำนวน ๔๙๙ รูป ได้เสด็จไปเยือนวัดไม้จันทน์หอม ด้วยบุษบกลอยฟ้า ระหว่างทางพระพุทธองค์และคณะได้หยุดพักที่เขาสัจจพันธ์ อันเป็นที่อยู่ ของฤาษีตนหนึ่งที่ชื่อว ่า สัจจพันธ ์ดาบส อันเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อของภูเขา พระพุทธเจ ้าได ้เทศนาสั่งสอนธรรมให ้แก ่ฤาษีสัจจพันธ ์จนยอมรับนับถือในพระพุทธศาสนา และยอมให ้ติดตาม พระองค์ไปยังวัดไม้จันทน์หอมพร้อมกับพวกของพระองค์ด้วย โดยในขากลับ พระองค์ได้แวะโปรดเหล่าพญานาคที่แม่น้ำนัมมทา และได้ประทับรอยพระบาทไว้บนก้อนหินริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อให้เหล่านาคได้ใช้สักการะ ก่อนที่จะเสด็จขึ้นไปบนยอดเขาสัจจพันธ์คีรี แล้วประทับรอยพระบาทไว้บนก้อนหิน เพื่อไว้ให้สัจจพันธ์ดาบสใช้สำหรับเคารพบูชา ก่อนที่จะเสด็จกลับ ชนชาวกรุงศรีอยุธยาเชื่อกันว ่า รอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งตามประวัติว ่าพบในสมัยพระเจ ้าทรงธรรม (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๕๓ หรือ ๒๑๕๔ - ๒๑๗๑) คือรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ ้าประทับไว ้บนเขาสัจจพันธ ์คีรี และควรเป็นคติเดียวกันกับการสร้างรอยพระพุทธบาทที่วัดเขายี่สารโดยสร้างขึ้นเพื่อจำลองรอยพระพุทธบาทบนเขาสัจจพันธ์คีรี ดังปรากฏว่าสร้างขึ้นบนเขาที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งเปรียบได้กับแม่น้ำนัมมทา ที่ตั้งอยู่ใกล้กับเขาสัจจพันธ์คีรีนั่นเอง (ที่มา : นายศิริพจน ์ เหล ่ามานะเจริญ) 70


สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองสมุทรสงครามให ้ความเคารพนับถือ คือ ท ้าวเวสสุวรรณ โดยรูปเคารพของ ท้าวเวสสุวรรณที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดสมุทรสงคราม อยู่ที่วัดนางตะเคียน ตำบลคลองเขิน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 71


ท ้าวเวสสุวรรณ วัดนางตะเคียน ตำบลคลองเขิน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม มีอายุเก ่าแก ่นับร ้อยป ี 72


ยักษ ์แม ่ใหญ ่ วัดนางตะเคียน ตำบลคลองเขิน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม มีอายุเก ่าแก ่นับร ้อยป ี 73


ในปัจจุบันได ้มีการสร ้างองค ์ท ้าวเวสสุวรรณขึ้น ที่วัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยขึ้นชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์มาก และมีผู ้คนจากทั่วประเทศมากราบไว ้ขอพร 74


ประวัติการสร ้างท ้าวเวสสุวรรณของวัดจุฬามณีเกิดจากเมื่อป ีพ.ศ.๒๕๓๒พระครูโสภิตวิริยาภรณ ์ (หลวงพ่ออิฏฐ์) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้นิมิตฝันว่า ท้าวเวสสุวรรณได้พาท่านไปชมสถานที่ต่าง ๆ ที่ท้าวเวสสุวรรณ ปกครอง ได ้พบกับคนเฒ ่าคนแก ่และผู ้เสียชีวิตจำนวนมาก จึงอธิษฐานขอกลับมายังโลกมนุษย ์แล ้วจะสร ้าง องค์ท้าวเวสสุวรรณขึ้นภายในวัดจุฬามณี ท้าวเวสสุวรรณจึงตอบว่า ถ้าจะปั้นรูปของท่านต้องใช้ช่าง “ทองร่วง” ที่จังหวัดเพชรบุรีเท่านั้น เมื่อตื่นขึ้นมาแล ้ว หลวงพ ่ออิฎฐ ์จึงได ้ให ้ นายทองร่วง เอมโอษฐ์ ศิลป ินแห ่งชาติ สาขาศิลปะปูนปั้น มาปั้นท ้าวเวสสุวรรณองค ์แรกของวัด โดยมีลักษณะเป็นปูนปั้นมือสีขาว แล้วขนานนาม “ท ้าวเวสสุวรรณ พรหมาสูติเทพ” 75


วิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาทบนยอดเขายี่สาร มีโครงสร้างที่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยของฝีมือช่างกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย สะท้อนให้เห็นถึงความเก่าแก่ของวัดแห่งนี้ บานประตูแกะสลักไม้ ที่พระวิหาร วัดเขายี่สาร ฝีมือช่างชั้นครูสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย 76


หลวงพ่อปากแดง พระพุทธรูปประธานภายในพระวิหาร วัดเขายี่สาร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ฝ ีมือช ่างท ้องถิ่น มีเรื่องเล่าที่บันทึกอยู่ใน “นิราศยี่สาร” ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ว่า พระพุทธรูปองค์นี้จับเด็กกิน ถึงแม้ว่าจะจับแบบคาหนังคาเขาไม่ได้ แต ่มีเด็กมาวิ่งเล ่นบนเขายี่สารแล ้วหายตัวไป ตามพบแต ่ผ ้านุ ่งตกอยู ่ที่หน ้าพระพุทธรูป และมีคราบโลหิตติดอยู ่ที่พระโอษฐ ์ ของพระพุทธรูป (อันเป็นที่มาของชื่อ หลวงพ่อปากแดง) ดังนั้นจึงได้มีการเอาตะปูมาตรึงไว้ที่พระโอษฐ์ (ที่มา : นายศิริพจน ์ เหล ่ามานะเจริญ) 77


พระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหาร วัดเขายี่สาร เป็นพระพุทธบาท ๔ รอย ซ้อนทับกันตามคติความเชื่อที่ว่า พระพุทธเจ ้าแต ่ละพระองค ์จะประทับรอยพระพุทธบาทในสถานที่เดียวกัน 78


พระพุทธรูปปางไสยาสน ์ ฝ ีมือช ่างรุ ่นต ้นกรุงรัตนโกสินทร ์ระหว ่าง พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๒๔๐๐ ลักษณะพิเศษ คือ มีนิ้วพระบาทเพียง ๙ นิ้ว นอกจากรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานในพระวิหารบนยอดเขาแล้ว ที่วัดเขายี่สารยังมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ประดิษฐาน อยู่ในเชิงเขา และยังมีศาลาเก่าปลูกด้วยไม้ ที่ถูกใช้สำหรับประกอบพิธีในพุทธศาสนาอีกด้วย 79


ศาลา (ร้าง) ที่เชิงเขายี่สาร ที่แผงคอสองภายในศาลา มีร ่องรอยการเขียนภาพจิตรกรรมเรื่องนรก - สวรรค์ 80


ภายในวัดเขายี่สาร ยังมีพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร ซึ่งได้เก็บรวบรวมทั้งโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นโดยนักโบราณคดี และที่พบกระจายตัวอยู่ในชุมชนบ้านยี่สาร รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้านอีกด้วย ชุดภาพโบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ ์บ ้านเขายี่สาร 81


“โพล่” คือตุ่มขนาดใหญ่ ผลิตจากแหล่งเตาบ้านบางปูน จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อระหว่างปี พ.ศ. ๑๘๐๐ - ๑๙๐๐ พบภายในชุมชนบ้านเขายี่สาร 82


ผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน และสมุดข่อย ฝีมือช่างยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ราวปี พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๒๔๕๐ พบที่หอไตร วัดเขายี่สาร 83


ไม้ประกับคัมภีร์ใบลาน ใช้ประกอบทับใบลานทั้งสองข้าง ฝีมือช่างยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ราวปี พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๒๔๕๐ พบที่หอไตร วัดเขายี่สาร 84


สลาก ทำจากไม้ และงาช้าง ใช้จดชื่อคัมภีร์ ที่เอาผ้าห่อไว้ ฝีมือช่างยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ราวปี พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๒๔๕๐ พบที่หอไตร วัดเขายี่สาร 85


สมุดข ่อย เขียนเรื่องพระปริตร, ไวยกรณ์ และพระอภิธรรม ๗ คัมภีร ์ ด ้วยอักษรขอม มีลวดลายจิตรกรรมประกอบ พบที่หอไตร วัดเขายี่สาร 86


หีบหนังสือสวด หรือที่เรียกอีกอย่างว่าหีบพระมาลัย ทำจากไม้ ลงรักปิดทอง ใช้ในงานสวดศพ 87


หีบหนังสือสวด หรือที่เรียกอีกอย ่างว ่าหีบพระมาลัย ทำจากไม ้แกะสลักเป็นลวดลาย ประดับกระจกสี ใช้ในงานสวดศพ 88


ธรรมาสน์ จัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร 89


ธรรมาสน ์ทรงบุษบก จัดแสดงอยู ่ภายในพิพิธภัณฑ ์บ ้านเขายี่สาร 90


ใบเสมา พบที่วัดเขายี่สาร เป็นลักษณะพิเศษแบบที่เรียกว ่า “ใบเสมาแบบอัมพวา” กล ่าวคือ เป็นใบเสมาที่ทำจาก หินทรายแดง ขนาดเล็ก ซึ่งพบอยู ่เฉพาะในแถบเมืองอัมพวา 91


แผ่นไม้เขียนภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ 92


ภาพจิตรกรรมเรื่อง พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ภาพจิตรกรรมเรื่อง “สูกรมัทวะ” พระพุทธเจ ้าเสวยอาหารมื้อสุดท ้าย 93


พระสงฆ์พายเรือออกบิณฑบาตในแม่นำ้แม่กลอง ภาพถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (ที่มาภาพ : หนังสือ เมืองแม่กลอง - จังหวัดสมุทรสงคราม) จากข ้อมูลทั้งหมดที่กล ่าวมาทั้งหมดข ้างต ้นนั้น จะเห็นได ้ว ่า จังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากจะมีหลวงพ ่อบ ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปคู ่บ ้านคู ่เมืองแล ้ว ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ ในพระพุทธศาสนา ไม ่ว ่าจะเป็นพระพุทธรูปหรือพระพุทธบาท ที่ทั้งศักดิ์สิทธิ์และมีคุณค ่าอยู ่อีกมากมาย ชี้ให ้เห็นว ่าผู ้คนในเมืองสมุทรสงครามใกล ้ชิดอยู ่กับวัดมาโดยตลอด เมื่ออดีตเส้นทางคมนาคมสายหลักคือ แม่นำ้ลำคลอง จึงเป็นเรื่องปกติที่ผู้คนกับพระสงฆ์จะพบปะกันทางแม่น้ำลำคลอง สมัยก่อนการทำบุญตักบาตรในยามเช้าของผู้คนในจังหวัดสมุทรสงคราม จะพบเห็นได้ตามท่าน้ำซึ่งก็คือบริเวณหน้าบ้านที่หัน เข้าสู่ทางคมนาคมสายหลักนั่นเอง พระสงฆ์จะพายเรือออกบิณฑบาตในทุก ๆ เช้าตรู่ จึงทำให้เกิดภาพอันงดงามของวัฒนธรรมที่มีสายน้ำแม่กลองเป็น แกนกลางอย่างน่าอัศจรรย์ 94


ลูกศิษย์วัดพายเรือพาหลวงตาออกบิณฑบาตในยามเช้า ภาพถ่ายราวปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (ที่มาภาพ : หนังสือ เมืองแม่กลอง - จังหวัดสมุทรสงคราม) 95


การพายเรือออกบิณฑบาตยังเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในจังหวัดสมุทรสงคราม ภาพถ่าย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 96


ภาพการทำบุญใส่บาตรตามลำคลอง ซึ่งในภาพ คือ พระครูไพศาลกิจจาภรณ์ เจ้าคณะตำบลบางช้าง วัดจุฬามณี อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ได ้พายเรือออกบิณฑบาต โดยมี นายสุทธิพงษ ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม (ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๒) พร้อมทั้งชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ร่วมทำบุญตักบาตร จึงเป็นภาพที่พบเห็นได้ทั่วไปในจังหวัดสมุทรสงคราม จนถึงทุกวันนี้ (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 97


พระสงฆ์พายเรือออกบิณฑบาตที่ตลาดนำ้อัมพวา เป็นสิ่งที่เห็นจนชินตา ภาพถ่าย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 98


Click to View FlipBook Version