The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จังหวัดสมุทรสงครามได้ดำเนินการจัดทำหนังสือ “ภาพเล่าเรื่องเมืองแม่กลอง” The tale of Mae Klong city : illustrate with images โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลภาพเก่าและมรดกทางวัฒนธรรม ศิลปวัตถุ สถาปัตยกรรม หัตถกรรม ศาสนา ฯลฯ ซึ่งเป็นมรดก ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ำค่าของจังหวัดสมุทรสงคราม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by yutsamutsong, 2023-08-16 05:12:04

ภาพเล่าเรื่องเมืองแม่กลอง

จังหวัดสมุทรสงครามได้ดำเนินการจัดทำหนังสือ “ภาพเล่าเรื่องเมืองแม่กลอง” The tale of Mae Klong city : illustrate with images โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลภาพเก่าและมรดกทางวัฒนธรรม ศิลปวัตถุ สถาปัตยกรรม หัตถกรรม ศาสนา ฯลฯ ซึ่งเป็นมรดก ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ำค่าของจังหวัดสมุทรสงคราม

นอกจากพระพุทธศาสนาแล ้ว ในจังหวัดสมุทรสงครามยังมีชุมชนชาวคริสต ์อีกด ้วย โดยปรากฏมีโบสถ ์คริสต ์ คือ อาสนวิหารแม ่พระบังเกิด ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นศูนย ์รวมจิตใจของคริสต ์ชน นิกายโรมันคาธอลิก ที่มีชุมชนอยู ่รายรอบโบสถ ์แห ่งนี้ ภาพถ่าย เมื่อราว พ.ศ. ๒๕๒๐ (ที่มาภาพ : หนังสือ เมืองแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม) 99


อาสนวิหารแม่พระบังเกิด สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ โดยบาทหลวง เปาโล ซัลมอน มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส 100


อาสนวิหารแม่พระบังเกิด จัดเป็นศิลปะแบบนีโอโกธิค 101


ภายในจังหวัดสมุทรสงคราม ยังมีศาลเจ ้าลัทธิเต ๋าในวัฒนธรรมจีน ดังปรากฏมีศาลเจ ้าอยู ่หลายแห ่ง ศาลเจ ้าเหล ่านี้ เป็นผลมาจากเครือข ่ายทางการค ้าของชาวจีน และกลุ ่มชาวจีนที่อพยพเข ้าอยู ่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ตัวอย ่างสำคัญ คือ “ศาลเจ้าอาม้า” ศาลเจ้าแม่ฟ้า อายุกว ่า ๒๐๐ ป ี ตั้งอยู ่ที่บ ้านแหลมลมทวน ตำบลบ้านปรก อำเภอเมืองสมุทรสงคราม 102


ศาลเจ ้าอาม ้ามีเจ ้าแม ่ฟ ้าเป็นองค ์ประธานอยู ่ภายในศาลเจ ้า 103


ด้านหน้า ศาลเจ้าอาม้า มีแท ่นบูชาที่ประดับตกแต ่งด ้วยภาพเขียนจิตรกรรมจีนอย ่างงดงาม 104


ภาพเขียนทวารบาลแบบจีน ประดับอยู ่ที่บานประตูทางเข ้าของศาลเจ ้าอาม ้า 105


๓. รากฐานสังคมวัฒนธรรม จังหวัดสมุทรสงคราม Social and Cultural Foundation of Samut Songkhram Province


รากฐานของสังคมวัฒนธรรมชาวสมุทรสงคราม ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย ทั้งชาวสวน ชาวประมง พ่อค้า ชาวนาเกลือ คนทั่วไปรู ้จักจังหวัดสมุทรสงคราม ในอีกชื่อหนึ่งว่า “บางช้าง” โดยมีคำสร้อยต่อท้ายชื่อพื้นที่ว่า “สวนนอก” รวมความเป็น “บางช้าง สวนนอก” ซึ่งก็หมายถึง พื้นที่ทำสวนนั่นเอง คำว่า “บางช้าง” หมายถึง พื้นที่หนึ่งในเขตอำเภอ อัมพวา ปัจจุบันมีสถานะเป็นตำบล โดยคำว่า บางช้าง ประกอบขึ้นจากคำว่า “บาง” และคำว่า “ช้าง” “บาง”เป็นคำพื้นเมืองของชนชาวอุษาคเนย์ หมายถึง ย่าน หรือบริเวณชุมชนที่ตั้งอยู่ปากคลอง หรือลำน้ำสายเล็ก ๆ สั้น ๆ บางแห่งเป็นลำน้ำตัน แต่บางแห่งเชื่อมลำน้ำสายอื่นก็ได้ ส่วนคำว่า “ช้าง” มีผู้อธิบายไว้หลายทาง แต่คำอธิบาย ที่น่าสนใจมาจากหนังสือ “เที่ยววัดไทย ในจังหวัดสมุทรสงคราม” โดย ร.ศ. ไกรนุช ศิริพูล ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยอ้างถึงบันทึกคำบอกเล่าเรื่องวัดช้างเผือกว่า แต่ก่อนพื้นที่ บริเวณนี้เป็นป่าทึบ และมีโขลงช้างป่าจำนวนมากมาหาอาหารกิน ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า “ตำบลบางช้าง” โดยเฉพาะตรงบริเวณที่ตั้งของวัดช้างเผือก เล่ากันว่า เป็นที่หลบซ ่อนอาศัยของช ้างเผือก (อันเป็นที่มาของชื่อวัด) และช้างธรรมดาในยุคที่สงครามยังต้องอาศัยช้างเป็นยุทโธปกรณ์ ที่มีชีวิตอยู่ โดยมีหลักฐานปรากฏว่า มีเสาตะลุงสำหรับผูกช้าง ตั้งอยู่ที่หน้าพระอุโบสถหลังเก่า น่าเสียดายที่ในปัจจุบันเสาตะลุง ต้นดังกล่าว ได้สูญหายไปพร้อมกับการพัฒนาวัด โดยเหลือไว้เพียง แค่ความทรงจำของผู้คนในท้องที่เท่านั้น ด ้านหน ้าอุโบสถ ยังเคยมีลำคลองสั้น ๆ เรียกว ่า “คลองช้าง” โดยเชื่อกันว ่าคลองดังกล ่าวเป็นลำน้ำที่ช ้าง ใช้อาบนำ ้ และดื่มกินนำ้อีกด้วย ตัวคลองมีความยาวประมาณ ๖๐๐ เมตร เริ่มตั้งแต ่ที่หน ้าพระอุโบสถต ่อเนื่องไปจนจรด คลองบางพรหม แต ่ปัจจุบันได ้ถูกถมกลายเป็นบ ้านเรือน และถนนไปหมดจนเหลือไว ้เพียงแต ่ชื่อ คลองช้าง นั่นเอง และอันที่จริงแล ้ว วลีที่ว ่า “บางช้างสวนนอก” ยังมีประโยคห้อยท้ายด้วย ว่า “บางกอกสวนใน” วลี “บางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน” เป็นคำเก่า ที่ใช ้เรียกชื่อย ่านสวนสำคัญ ในบริเวณที่ราบลุ ่มภาคกลาง ตอนล ่างของประเทศไทยปัจจุบัน ๒ แห่ง คือ “บางช้าง” และ “บางกอก” ซึ่งเป็นย ่านริมปากคลองบางกอกใหญ ่ ใกล ้วัดอรุณราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ทั้งบางช้างและบางกอกตั้งอยู่ตรงบริเวณที่โคลนตม ทับถมทางปากน้ำแม่กลองและปากน้ำเจ้าพระยาตามลำดับ จึงมีดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารของพืชส่งผลให้เหมาะสำหรับ ปลูกเรือกสวนไม้ดอกไม้ผล ดังนั้นจึงทำให้มีผู้คนโยกย้ายเข้ามา ตั้งหลักแหล่งทำกิน โดยเฉพาะคนจีนที่อาศัยอยู่ใต้แม่นำ้ฉางเจียน (ไทยเรียก แยงซีเกียง) บริเวณมณฑลกวางตุ ้ง - กวางสี ที่ได้นำเอาเทคโนโลยีการทำ “สวนยกร่อง”เข้ามาพัฒนาดัดแปลง พื้นที่ทั้งปากนำ้แม่กลองและปากนำ้เจ้าพระยาทำให้กลายเป็นพื้นที่ เรือกสวนกว้างขวางทั้งสองแห่ง 108


วัดช้างเผือก ปัจจุบันได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม จนมีสิ่งปลูกสร้างใหม่ขึ้นมามากมาย รวมถึงพระวิหารหลังใหม่ ดังปรากฏอยู่ในภาพ ทั้งคลองช้างและเสาตะลุง เหลืออยู่เพียงคำบอกเล่าจากผู้คนเก่าแก่ที่อาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียงกับวัด และพระภิกษุสงฆ์ ที่จำพรรษาในวัดแห่งนี้มาอย่างยาวนานเท่านั้น (ที่มาภาพ : หนังสือ เมืองแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม) 109


ภาพมุมสูงจะเห็นการขุดยกร่องสวนที่นิยมในจังหวัดสมุทรสงคราม (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 110


ภาพชาวสวนจะใช้เรือรดนำ้พ่นฝอยตามร่องสวน (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 111


สวนในจังหวัดสมุทรสงคราม ใช้การทำสวนยกร่อง ที่ต ้องตัดลำน้ำขนาดเล็กลำประโดงขึ้นภายในสวน อันเป็นเทคนิคที่รับมาจากจีนอย ่างยาวนานแล ้ว (ที่มาภาพ: การท ่องเที่ยวแห ่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 112


มะพร้าว เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ชาวสวนจังหวัดสมุทรสงครามนิยมปลูก โดยมักจะนำไปผลิตเป็นน้ำตาลมะพร้าว ถือกันว ่าเป็นของดีประจำจังหวัดอย ่างหนึ่งเลยทีเดียว 113


(ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 114


(ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 115


สวนมะพร้าวที่บ้านบางพลับ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 116


(ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 117


ภาพถ่ายเก่า การทำน้ำตาลมะพร้าว ไม่ทราบปีที่ถ่าย และที่มาของรูป (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 118


การทำน้ำตาลมะพร้าว (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 119


การทำน้ำตาลมะพร้าว (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) การทำน้ำตาลมะพร้าว (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 120


การทำน้ำตาลมะพร้าว (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) การทำน้ำตาลมะพร้าว (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 121


มะพร้าวบางส่วนถูกรับซื้อไปขายเป็นผลไม้ (ผลสด) หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มะพร้าว ไม่ได้ถูกนำไปผลิตเป็น น้ำตาละมพร้าวเสียทั้งหมด (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) สวนมะพร้าว (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 122


ผลไม้ต่าง ๆ ในสวนถูกนำไปขายในตลาด (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) ร้านขายมะพร้าว ในตลาดอัมพวา ภาพถ่าย เมื่อราว พ.ศ. ๒๕๒๐ (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 123


หลักฐานทางประวัติศาสตร ์และโบราณคดีช ่วยให ้ทราบว ่าทั้ง “บางช้าง” และ “บางกอก” พัฒนาขึ้นเป็น “สวนนอก” และ “สวนใน” ในช ่วงเวลาเดียวกัน หรืออย ่างน ้อยก็ใกล ้เคียงกันมาก อีกทั้งผู ้คนในชุมชนทั้งสองแห ่งนี้จึงได ้ เกี่ยวดองเป็นญาติกัน จนได้เกิดชื่อเรียกคล้องจองกันว่า “บางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน” พื้นที่ “บางช้าง” เป็นถิ่นฐานดั้งเดิมในสายตระกูลของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (นาก) ผู้เป็นพระบรมราชชนนี (พระมารดา) ของพระองค์ และที่สำคัญยังเป็นสถานที่พระราชสมภพของ “พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” อีกด้วย (๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๑๐) ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล ้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย ์ที่บางกอก บรรดาพระญาติของ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี จึงมีฐานะเป็น “ราชินิกุล” (คือเป็นพระญาติกับพระเจ้าแผ่นดิน โดยนับจากฝั่งพระบรมราชชนนี ถ้าหากเป็นพระญาติโดยนับจากฝั่งสมเด็จพระบรมชนกนาถ จะเรียกว่า “ราชนิกุล”) สาย “ณ บางช้าง” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อนุสาวรีย ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล ้านภาลัย ประดิษฐานอยู ่ทางด ้านหน ้าของพระปรางค ์ 124


“กุฎีทอง” ปัจจุบันตั้งอยู ่ที่วัดภุมรินทร ์กุฏีทอง ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา มีประวัติว ่าเดิมตั้งอยู ่ที่ วัดบางนางลี่น ้อย แต่ต่อมาน้ำจากแม่น้ำแม ่กลองได ้กัดเซาะตลิ่งวัด จนพังลง จึงได ้มีการย ้ายกุฎีหลังนี้มาไว ้ที่วัดภุมรินทร ์ คนทั่วไปจึงเรียกชื่อวัดแห ่งนี้ใหม ่ว ่า “วัดภุมรินทร ์กุฎีทอง” กุฏีทองหลังนี้ มีประวัติว ่า หลวงพ ่อพระปลัดทิมได ้เคยดูดวงให ้กับท ่านนาก ธิดาของเศรษฐีทอง แห่งบางช้าง แล้วทำนายว่า ท ่านนากเป็นผู ้มีบุญ ต ่อไปจะได ้เป็นนางพญาของพระมหากษัตริย ์ เศรษฐีทองได ้ยินดังนั้นก็ให ้คำมั่นว ่า ถ ้าเป็นดังนั้นจริงจะสร ้างกุฎีทองถวาย ท ่านนากผู ้นี้ก็คือ “สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี” ผู ้เป็นพระชายาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ ้า จุฬาโลกมหาราช ดังนั้น กุฎีทองหลังนี้จึงมีความสัมพันธ ์กับราชินิกุล ณ บางช้าง เป็นอย ่างยิ่ง ปัจจุบันกุฎีทองแห ่งนี้ ได ้ถูกจัดให ้เป็นพิพิธภัณฑ ์ของวัดภุมรินทร ์กุฎีทอง กุฎีทอง 125


ที่เรียกว่า “กุฎีทอง” นั้น เป็นเพราะมีการปิดทองประดับเกือบทั้งหลัง ไม่ว่าจะเป็นส่วนเพดาน เสา ผนัง หรือบานประตู หน้าต่าง นอกจากนี้ผนังบางส่วนยังมีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเอาไว้ด้วย 126


บานประตูปิดทองประดับเป็นลวดลายอย่างงดงาม 127


(ซ้าย) บานประตูปิดทองเขียนรูปเทวดาเป็นทวารบาล 128


รายละเอียดของหน้าทวารบาล 129


มีประวัติเล่าไว้ในเอกสารโบราณบางชิ้นว่า ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ทรงรับราชการเป็นมหาดเล็กในวังของพระเจ ้าเอกทัศ เดิมพระองค ์มีชื่อว ่า “ทองด้วง” จึงถูกเรียกว ่า “นายทองด ้วงมหาดเล็ก” ต่อมา เมื่อนายทองด้วงมหาดเล็กได้สมรสกับท่านนาก ก็ได้รับเลื่อนยศเป็น หลวงอร่ามเรืองฤทธิ์ เป็นหลวงยกกระบัตร (ใกล้เคียงกับตำแหน่งอัยการในปัจจุบัน) เมืองราชบุรี และเมืองสมุทรสงคราม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ทรงมี พระราชสมภพเมื่อครั้งที่พระราชบิดาของพระองค์ยังทรงเป็นหลวงยกกระบัตร อยู่ที่บางช้างสวนนอก ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงมีความผูกพันกับบางช ้าง (บางช้างสวนนอก) เพราะเคยเป็นนิวาสสถานมาก ่อนที่จะเข ้าไปรับราชการที่กรุงธนบุรี (บางกอกสวนใน) ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช ได้เกิดสงครามขึ้นที่ค่ายบางกุ้ง ปัจจุบันอยู่ในตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ค่ายบางกุ้ง เป็นค่ายที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๘ เนื่องจากพระเจ้าเอกทัศได้รับสั่งให้หัวเมืองปากใต้ ยกกองทัพเรือ มาตั้งค่ายสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้ง แล้วเรียกว่า “ค่ายบางกุ้ง” เพื่อป้องกันกรุงศรีอยุธยาถูกโจมตีจากทัพของพระเจ้ามังระ แห่งราชวงศ์คองบอง แต่ในครั้งนั้นกองทัพที่ค่ายบางกุ้งไม่สามารถต้านทานได้ ค่ายจึงแตกและร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราช สถาปนากรุงธนบุรีขึ้น ก็โปรดให้ชาวจีนรวบรวมสมัครพรรคพวกตั้งเป็นกองทหาร รักษาค ่ายเก ่าที่บางกุ ้งจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว ่า “ค ่ายจีนบางกุ ้ง” กระทั่งในป ี พ.ศ. ๒๓๑๑ นับเป็นเวลาเพียง ๘ เดือน หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกพ่าย ทัพของราชวงศ์คองบองนำโดยเจ้าเมืองทวาย ก็ได้บุกเข้ามาล้อมค่ายบางกุ้งเอาไว้ กองทหาร ชาวจีนที่ค่ายบางกุ้งมีจำนวนน้อยกว่า จึงเกือบพ่ายแพ้เสียค่าย เคราะห์ดีที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงทราบเรื่องจึงยกทัพ มาช่วยปราบทัพราชวงศ์คองบองแตกพ่ายหนีไป ในช ่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ ้าจุฬาโลกมหาราช ยังทรงประทับอยู ่ที่บางช ้าง ก ่อนที่จะ ถวายตัวเข ้ารับราชการในราชสำนักกรุงธนบุรีในป ีถัดมาคือ พ.ศ. ๒๓๑๒ หลังจากที่สมเด็จพระเจ ้าตากสินมหาราช ตีเมืองนครศรีธรรมราชสำเร็จแล้ว ค่ายบางกุ้ง 130


รูปปั้นหุ ่นทหารในวัดบางกุ ้งที่จำลองแสดงท ่าการต ่อสู ้ต ่าง ๆ ด ้วยมือเปล ่า (แม่ไม้มวยไทย) ที่ใช ้ต ่อกรกับผู ้มารุกราน จากทหารพม่า ครั้งเมื่อสมัยที่ค่ายบางกุ้งนั้นโดนโจมตีอย่างหนักและได้ทหารกล้าทั้งชาวไทยและชาวจีน ใช้ชีวิตแลกมาเพื่อการ ธำรงอยู่ของประวัติศาตร์ชาติไทย 131


โบสถ ์วัดบางกุ ้ง ศูนย ์กลางของค ่ายบางกุ ้ง เป็นสถาปัตยกรรมแบบกรุงศรีอยุธยายุคปลาย กำหนดอายุราว พ.ศ. ๒๒๕๐ - ๒๓๑๐ ปัจจุบันถูกรากของต ้นโพธิ์ต้นกร่าง และต้นไทร ปกคลุมแทบทั้งหลัง 132


ภายในตัวอาคารมี “หลวงพ ่อนิลมณี” พระพุทธรูปปางมารวิชัย ฝ ีมือช ่างยุคปลายกรุงศรีอยุธยา กำหนดอายุราว พ.ศ. ๒๒๕๐ - ๒๓๑๐ ประดิษฐานอยู ่เป็นประธานภายในโบสถ ์ ผนังด ้านแป (ด้านยาว) ทั้งสองข ้าง มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพอดีตพุทธเจ ้า ฝ ีมือช ่างแบบกรุงศรีอยุธยาตอนปลายประดับอยู ่ 133


หลวงพ ่อนิลมณี มองจากประตูทางเข ้าในตัวโบสถ ์ (ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 134


(ที่มาภาพ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสมุทรสงคราม) 135


มีเรื่องเล ่าต ่อกันมาว ่าบริเวณที่เป็นนิวาสสถานเดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อครั้ง ยังดำรงพระอิสริยยศเป็นหลวงยกกระบัตรอยู ่ที่บางช ้างนั้น คือบริเวณด ้านหลังของ “วัดอัมพวันเจติยาราม” หรือที่เรียก กันว ่า “วัดอัมพวัน” วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม สร้างขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ ้าจุฬาโลก เสด็จขึ้นครองราชย ์แล ้ว ผู ้สร ้างคือสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี โดยสร ้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแก ่ สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย ์มหานาควารี ผู ้เป็นพระมารดาของพระองค ์ ซึ่งมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู ่ที่บางช ้างสวนนอก และยังมี เรื่องเล่าต่อกันมาด้วยว่า บริเวณอันเป็นพระปรางค์ของวัดนั้นคือ พื้นที่พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อีกด้วย วัดแห ่งนี้จึงเป็นวัดที่สำคัญอย ่างยิ่ง โดยน ่าเชื่อว ่าชื่อเมือง “อัมพวา” ก็มีที่มาจากชื่อ “วัดอัมพวัน” เพราะเมื่อแรก สร ้างวัดแห ่งนี้มีชื่อว ่า “วัดอัมพวา” จนกระทั่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล ้าเจ ้าอยู ่หัว ได ้ปฏิสังขรณ ์พระอุโบสถ จึงทรงพระราชทานนามให ้ใหม ่เป็น วัดอัมพวันเจติยาราม ดังที่ใช ้กันมาจนทุกวันนี้ อนึ่ง น ่าสังเกตด ้วยว ่า ชื่อ “อัมพวา” แปลตรงตัวว ่า “มะม่วง” ซึ่งมีความหมายเกี่ยวโยงกับพุทธประวัติ ตอนที่แสดงยมกปาฏิหาริย ์บนต ้นมะม ่วงเพื่อปราบพวกเดียรถีย ์ ก ่อนที่จะเสด็จขึ้นไปโปรด “พระพุทธมารดา” บนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส ์ อันถือเป็นศูนย ์กลางของจักรวาล ตามปรัมปราคติในพุทธศาสนา เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว ่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล ้านภาลัยนั้นทรงเป็นผู ้เจนจบในดนตรีการ โดยเฉพาะ ซอสามสายที่ทรงโปรดเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงทรงตรากฎหมาย “ตราภูมิคุ ้มกัน” ยกเว ้นภาษีสวนมะพร ้าว สำหรับสวนที่มี กะโหลกมะพร้าว ๓ ตา ที่ใช ้ทำกะโหลกซอสามสายได้เป็นการเฉพาะ และยังมีเรื่องเล ่าต ่อ ๆ กันมาอีกด ้วยว ่า ซอสามสายคู ่พระหัตถ ์ของพระองค ์ ที่ชื่อว ่า “ซอสายฟ้าฟาด” นั้น ก็ใช ้กะโหลกมะพร ้าวสามตาจากสวนที่อัมพวา วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร 136


พระปรางค ์วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร สร ้างขึ้นบริเวณที่เชื่อว ่า เป็นสถานที่พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล ้านภาลัย และยังเป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของพระองค ์ไว ้ภายในพระปรางค ์อีกด ้วย วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร สร ้างขึ้นบนนิวาสสถานเดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ ้าจุฬาโลกมหาราช กับสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นหลวงยกกระบัตร และท่านนาก 137


ภาพถ่ายเก่าของศาลาการเปรียญ วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร ภาพถ่าย เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (ที่มาภาพ : หนังสือ เมืองแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม) 138


ภาพถ่ายเก่าวัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร จากรายงานกิจการประจำปี ของวัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร จังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ. ๒๕๐๒ 139


ภาพถ่ายเก่าของวัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร ภาพถ่าย เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๕๐๒ (ที่มาภาพ : รายงานกิจการประจำปี ของวัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๒) 140


พระอุโบสถ วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร ต ่อมาเมื่อป ี พ.ศ. ๒๕๓๘ หลังจากที่กรมศิลปากรได ้ทำการบูรณะพระอุโบสถ วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล ้านภาลัย ภายในพระอุโบสถแล ้วเสร็จ เมื่อราวป ี พ.ศ. ๒๕๔๐ ภาพจิตรกรรมดังกล ่าว นอกจากจะเล ่าถึงพระประวัติส ่วนสำคัญของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล ้านภาลัย แล้วยังเขียนถึงพระราชนิพนธ์ที่โดดเด่นของพระองค์ อาทิ สังข์ทอง ไกรทอง อิเหนา และหลวิชัย - คาวี อีกด้วย 141


ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปประธานอยู ่บนฐานชุกชี และลดหลั่น ลงมาเป็นรูปพระอัครสาวกอยู ่สองฟากข ้าง ทางด ้านล ่างสุดมีพระพุทธรูปขนาดเล็กประดิษฐานอยู ่อีกองค ์หนึ่ง ฝาผนังหุ ้มกลอง หรือฝาผนังด ้านสกัด (คือด ้านกว ้าง) เขียนภาพจิตรกรรมเล ่าเรื่องพระราชประวัติของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล ้านภาลัย ไว ้ที่ผนังส ่วนเหนือขอบประตูขึ้นไป ขณะที่ผนังด ้านแป (คือด ้านยาว) เขียนภาพ เล่าเรื่องพระราชประวัติของพระองค ์ที่ผนังระหว ่างบานหน ้าต ่างส ่วนที่อยู ่เหนือขอบหน ้าต ่างขึ้นไปเขียนเป็นลวดลายประดับ เพื่อความสวยงามเท ่านั้น 142


ผนังสกัด (ด้านกว้าง) หลังพระประธาน เขียนรูปของเมืองรัตนโกสินทร ์ คือกรุงเทพมหานคร แตกต่างไปจาก จิตรกรรมไทยแบบประเพณีดั้งเดิม ที่มักเขียนเป็นรูปเขาพระสุเมรุและภูเขาวงแหวนล ้อมรอบทั้ง ๗ ที่เรียกว ่า เขาสัตตภัณฑ ์ อันเป็นสัญลักษณ ์ของศูนย ์กลางจักรวาล การเขียนรูปเมืองรัตนโกสินทร ์ไว ้แทนรูปเขาจักรวาลท ่ามกลางรูปพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล ้านภาลัยนี้ ชวนให ้เปรียบเทียบว ่า เมืองกรุงเทพฯ เป็นศูนย ์กลางจักรวาลของการปกครองของพระองค ์ ที่มีเมืองอัมพวาเป็นส ่วนหนึ่งในนั้น 143


ภาพจิตรกรรมพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล ้านภาลัย ภายในพระอุโบสถ วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร ภาพนี้ แบ่งออกเป็น ๓ ฉาก ฉากล ่างสุด เล ่าเรื่องเหตุการณ ์พระราชสมภพที่บ ้านอัมพวา ฉากตรงกลางของภาพ แสดงเหตุการณ์เมื่อครั้งทรงศึกษาอักษรสมัย ที่วัดระฆังโฆสิตาราม เมืองบางกอก ฉากบนสุด เล ่าเรื่องพระราชพิธีโสกันต ์ (โกนจุก) ของพระองค์ ที่บ ้านหลวง เมืองบางกอก 144


ภาพจิตรกรรมนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ฉาก ฉากตอนบนของภาพ เล ่าเรื่องพระราชพิธีสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระเจ ้าลูกยาเธอเป็นเจ ้าฟ ้า กรมหลวงอิศรสุนทร เจ้าฟ้าต่างกรม เริ่มด้วยพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏทางด้านซ้าย และพิธีรับพระสุพรรณบัฏ ในพระบรมมหาราชวังทางด้านขวา ฉากตอนล่างของภาพ เขียนเรื่องพระราชพิธีทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จมาจำพรรษาที่วัดสมอราย (ปัจจุบันคือ วัดราชาธิวาส) 145


ภาพนี้แสดงเหตุการณ ์พระราชพิธีอุปราชาภิเษก สมเด็จพระเจ ้าลูกยาเธอเจ ้าฟ ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อป ี พ.ศ. ๒๓๔๙ โดยตอนบนของภาพเขียนรูปพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล ้วอัญเชิญไปตั้งไว ้ที่พระแท ่นมณฑลในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ส่วนตอนล่างของภาพ เขียนรูปพระราชพิธีมุรธาภิเษก ณ มณฑปที่สรงสนาน แล ้วเสด็จประทับ ณ พระที่นั่ง จักรพรรดิพิมาน ทรงรับพระสุพรรณบัฏเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แล ้วจึงเสด็จโดยเรือพระที่นั่งข ้ามไปประทับ ณ พระราชวังเดิมกรุงธนบุรี ดังปรากฏอยู ่ทางด ้านบนขวาของภาพ 146


ภาพนี้เขียนรูปพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ ้าจุฬาโลกมหาราช ภาพเริ่มต ้นจากทางตอนล ่างของภาพที่เขียนเป็นรูปกระบวนอัญเชิญพระบรมศพบนพระมหาพิชัยราชรถ จากพระบรมมหาราชวังออกสู ่พระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง ซึ่งวาดอยู ่ทางด ้านบนของภาพ 147


ภาพนี้แบ ่งออกเป็น ๓ ฉากเหตุการณ ์ ได้แก่ ตอนบนของภาพ เขียนเรื่องพระราชพิธีรับและสมโภชพระยาเศวตกุญชร ช ้างเผือกที่ได ้มาในรัชกาล เชิญมาโดยแพ ตามลำน้ำ แล้วนำมาขึ้นระวางทำพิธีสมโภชในโรงช ้างเผือก ตอนกลางของภาพ เขียนเรื่องการสมโภชพระบุษยรัตน ์ แล ้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ หอสุราลัยพิมาน และตอนล่างของภาพ เขียนรูปพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ แพลงสรงท่าราชวรดิษฐ์ 148


Click to View FlipBook Version