The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา สร้างคนดีสู่สังคม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา สร้างคนดีสู่สังคม

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา สร้างคนดีสู่สังคม

การสง่ เสรมิ คณุ ธรรม พอเพยี ง วนิ ยั สจุ รติ จติ อาสา สรา้ งคนดสี สู่ งั คม

คณะกรรมการสง่ เสรมิ คณุ ธรรมแหง่ ชาติ



การสง่ เสริมคณุ ธรรม

พอเพยี ง
วนิ ยั

สุจริต

จติ อาสา

สร้างคนดีส่สู ังคม

การส่งเสรมิ คุณธรรม “พอเพียง วนิ ยั สจุ รติ จติ อาสา” สร้างคนดสี ูส่ งั คม
เลขมาตรฐานสากลประจ�ำ หนงั สือ : ISBN 978-616-7988-08-5
พมิ พค์ ร้งั ที่ 1 : กุมภาพนั ธ์ 2561
จ�ำ นวนพิมพ์ : 2,000 เล่ม
ผูจ้ ดั พิมพ์เผยแพร่ : ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
เลขที่ 69 อาคารวทิ ยาลัยการจัดการ
มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล (CMMU) ช้นั 16-17
ถนนวภิ าวดรี งั สติ แขวงสามเสนใน
เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทรศพั ท์ 0-2644-9900 โทรสาร 0-2644-4901
Website : www.moralcenter.or.th
ทีป่ รึกษา กรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ ใิ นคณะกรรมการสง่ เสรมิ คณุ ธรรมแหง่ ชาติ
• พระพรหมบัณฑิต (ประยรู ธมมฺ จิตฺโต)
• มุขนายกชศู กั ด์ิ สิรสิ ุทธิ์
• นายปานชยั สิงห์สจั เทพ
• ดร.ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร
• พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์
เรยี บเรียง นายสนิ สอ่ื สวน ผอู้ �ำ นวยการศนู ยค์ ณุ ธรรม (องคก์ ารมหาชน)
คณะผู้จัดทำ� เจา้ หน้าท่ีศูนยค์ ณุ ธรรม (องคก์ ารมหาชน)
• นายประมวล บญุ มา
• นางสาวจรี ะวรรณ์ บรรเทาทกุ ข์
• นางสาวภทั ทริ า วริ ยิ ะสกลุ ธรณ ์
• นางสาวอสมา ปทั มะสงั ข ์
ศิลปกรรม/ภาพประกอบ บรษิ ัท แก่นสาระ จำ�กดั
พิมพท์ ี่ บริษัท พมิ พ์ดี จ�ำ กดั
ลขิ สิทธิ์ หนังสือเล่มนี้เป็นลิขสิทธ์ิของศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
อนุญาตให้พิมพ์เพ่ือเผยแพร่เท่าน้ัน โดยแจ้งความประสงค์และ
สามารถดาวโหลดไดท้ ่ี http://dl.moralcenter.or.th/4moral.pdf

สารบัญ

บทท่ี 1 คุณธรรมคอื หัวใจการสร้างคนดสี สู่ ังคม 9

บทที่ 2 พอเพยี ง วนิ ยั สุจรติ จติ อาสา : 23
สรา้ งคนดีสู่สงั คม

บทที่ 3 ร่วมสรา้ งคนดีสูส่ ังคม 113

ภาคผนวก 134

คำ�นิยม

รฐั บาลมีความตง้ั ใจแนว่ แน่ที่จะสรา้ งสังคมไทยให้เป็นสงั คมทม่ี ีคณุ ภาพและ
คณุ ธรรม เปน็ สงั คมทน่ี า่ อยู่ โดยนอ้ มน�ำ ศาสตรพ์ ระราชาในพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทร
มหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช บรมนาถบพติ ร เปน็ เปา้ หมายการพฒั นา โดยเฉพาะปรชั ญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และได้ประกาศใช้แผนแม่บทส่งเสริม
คุณธรรมแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 1 (พ.ศ. 2559 - 2564) ที่มีวิสัยทัศน์ใหส้ ังคมไทยมีคณุ ธรรม
เป็นรากฐานสำ�คัญในการดำ�รงชีวิต สืบสานความเป็นไทย อยู่ร่วมกันด้วยความสงบ
และมีสันติสุข และมุ่งส่งเสริมคุณธรรมท่ีพึงประสงค์ของสังคมไทย 4 ประการ คือ
พอเพยี ง วนิ ยั สจุ รติ จติ อาสา ซง่ึ เปน็ คณุ ธรรมทจ่ี ะท�ำ ใหบ้ คุ คลมคี วามดี ความกา้ วหนา้
ในชวี ิต และจะทำ�ให้สังคมมแี ต่สันติสขุ อย่างแท้จริง
ในการจะสร้างสังคมที่ดี จะอาศัยแต่การมีนโยบายหรือแผนงานต่างๆ
ของรัฐบาลอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ แต่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนทุกคน โดยการสร้าง
เครือข่ายความร่วมมือขององค์กรส่งเสริมคุณธรรม สร้างคนดีสู่สังคม เพ่อื ส่งเสริม
สนับสนุนคนรอบข้างให้เป็นคนดี ท้ังในองค์กร ชุมชน และสังคม เพ่ือเป็นพลังร่วม
สรา้ งสงั คมคณุ ธรรม ในการขบั เคลอ่ื นประเทศไทยไปสู่ความม่นั คง มัง่ คง่ั ยงั่ ยนื
ขอขอบคุณคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ที่ได้จัดทำ�หนังสือ
“การส่งเสริมคุณธรรม ‘พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา’ สร้างคนดีสู่สังคม” ขึ้น
เพ่ือเป็นคู่มือสำ�หรับนำ�ไปใช้สู่การปฏิบัติ ให้บรรลุเป้าหมายการสร้างสังคมไทย
สังคมคุณธรรมตอ่ ไป

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรฐั มนตรี

ค�ำ นยิ ม

คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ มีพันธกิจสำ�คัญในการส่งเสริม
คณุ ธรรมของสงั คมไทย ตามนโยบายของรฐั บาล โดยการขบั เคลอ่ื นแผนแมบ่ ทสง่ เสรมิ
คุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559-2564) ให้เป็นกลไกและเคร่ืองมือสำ�คัญ
ในการขบั เคลอ่ื นสง่ เสรมิ คณุ ธรรมในประเทศไทย ใหท้ กุ ภาคสว่ นของสงั คม ทง้ั ภาครฐั
ภาคธุรกิจเอกชน ภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน ภาคประชาสังคม และประชาชน
มาร่วมกันดำ�เนินการอย่างบูรณาการตามแนวทาง “ประชารัฐ” โดยมุ่งเน้นการ
รณรงค์ส่งเสริมคุณธรรมอันพึงประสงค์ 4 ประการ คือ พอเพียง วินัย สุจริต และ
จิตอาสา รวมท้ังเร่งขยายเครือข่ายชุมชนคุณธรรม องค์กรคุณธรรม และหน่วยงาน
คณุ ธรรมใหค้ รอบคลมุ ในทกุ พน้ื ท่ี ทกุ เครอื ขา่ ย เพอ่ื ใหก้ ารสง่ เสรมิ คณุ ธรรมสงั คมไทย
เป็นไปในแนวทางเดียวกนั
เพ่ือให้การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา เป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล พลเอก ธนะศักด์ิ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี
ในฐานะประธานกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ในขณะน้ัน ได้มีนโยบาย
ให้จัดทำ�หนังสือ “การส่งเสริมคุณธรรม ‘พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา’ สร้าง
คนดีสู่สังคม” เพื่อเป็นเครื่องมือสำ�หรับหน่วยงาน องค์กรทุกภาคส่วน และ
ประชาชนท่ัวไป ในการสร้างความตระหนักในคุณธรรมแก่ตนเอง และส่งเสริม
ให้ครอบครัว ชุมชน องค์กร ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล ให้คนมีคุณธรรม สังคม
มีคุณธรรม น�ำ ไปสปู่ ระเทศทีม่ ีความมน่ั คง มง่ั ค่ัง และยง่ั ยืน
ทง้ั น้ี ในฐานะทไ่ี ดร้ บั มอบหมายใหเ้ ปน็ ประธานกรรมการสง่ เสรมิ คณุ ธรรมแหง่ ชาติ
และไดเ้ ลง็ เหน็ ความส�ำ คญั ของการขบั เคลอ่ื นคณุ ธรรม พอเพยี ง วนิ ยั สจุ รติ จติ อาสา
จึงได้สานต่อแนวคิดและร่วมขับเคล่ือนให้เกิดสังคมคุณภาพและสังคมคุณธรรม
สืบตอ่ ไป

นายสวุ พันธ์ุ ตันยุวรรธนะ
รฐั มนตรีประจ�ำ ส�ำ นกั นายกรฐั มนตรี
ประธานกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแหง่ ชาติ

คำ�นำ�

นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบประกาศใช้แผนแม่บทส่งเสริม
คณุ ธรรมแหง่ ชาติ ฉบับท่ี 1 (พ.ศ. 2559-2564) เมอื่ วันที่ 12 กรกฎาคม 2559 ใหเ้ ป็น
แผนงานระดับชาติ ด้านการส่งเสรมิ คณุ ธรรม เพื่อเปดิ โอกาสใหท้ กุ ภาคสว่ นได้มสี ่วน
ร่วมปลูกฝังคุณธรรม สร้างค่านิยม และจิตสำ�นึกท่ีดี ให้แก่ประชาชน อันเป็นการขับ
เคลื่อนตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกลไกประชารัฐ โดยเน้น
การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน และใช้คุณธรรมนำ�การพัฒนาที่จะสร้างคนไทย
ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ รวมทั้งสร้างสังคมคุณธรรมท่ีเกื้อกูลและแบ่งปัน มุ่งเน้นการ
เสริมสร้างคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต และจิตอาสา ตลอดจนเร่งขยายเครือข่าย
ชุมชนคุณธรรม องค์กรคุณธรรม และหน่วยงานคุณธรรมในทุกพ้ืนท่ี คณะกรรมการ
ส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติจึงมีนโยบายให้จัดทำ�หนังสือ “การส่งเสริมคุณธรรม
‘พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา’ สร้างคนดีสู่สังคม” เพื่อแปลงหลักแนวคิดคุณธรรม
4 ประการสู่การปฏิบัติ เผยแพร่ให้แก่ผู้บริหารหน่วยงาน องค์กรทุกภาคส่วน รวมถึง
ประชาชนท่ัวไปสามารถนำ�ไปใชป้ ระโยชนไ์ ดจ้ รงิ
คณะกรรมการส่งสริมคณุ ธรรมแห่งชาติ ไดต้ อบสนองนโยบายของรัฐบาล จงึ
มอบหมายใหก้ ระทรวงวฒั นธรรม โดยกรมการศาสนาและศนู ยค์ ณุ ธรรม (องคก์ ารมหาชน)
ในฐานะฝ่ายเลขานุการ รวบรวมข้อมูล หลักการ แนวคิด สาระสำ�คัญ ตามหลัก
ค�ำ สอนทางศาสนา งานวจิ ัย บทความ และองคค์ วามรจู้ ากผ้ทู รงคุณวุฒิ องคค์ วามรู้
จากการปฏิบัติของหน่วยงานต่างๆ นำ�มาประมวลเรียบเรียงเป็นเน้ือหาในหนังสือน้ี
โดยมคี ณะอนกุ รรมการดา้ นวชิ าการเปน็ ทป่ี รกึ ษา การจดั ท�ำ หนงั สอื เลม่ นม้ี เี จตนารมณ์
เพ่ือประโยชน์ส่วนรวมของสังคม หากท่านมีข้อเสนอแนะเพ่ือการพัฒนาเนื้อหา
ในหนังสือน้ีให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในฉบับต่อไป สามารถติดต่อผู้จัดทำ�และ
ดาวนโ์ หลดเอกสารฉบับนไ้ี ด้ทางเวบ็ ไซต์ www.moralcenter.or.th

กระทรวงวัฒนธรรมหวังว่า หนังสือ “การส่งเสริมคุณธรรม ‘พอเพียง วินัย
สุจริต จติ อาสา’ สรา้ งคนดีสู่สังคม” จะทำ�ใหผ้ ูอ้ า่ นเกิดความตระหนกั ร้ใู นความสำ�คัญ
ของคุณธรรม และนำ�องค์ความร้ไู ปปรับประยกุ ต์ใช้ในการด�ำ เนินชวี ิต เพอ่ื เสริมสรา้ ง
คุณธรรมของสงั คมไทยใหเ้ ป็นสังคมคณุ ธรรมอยา่ งยง่ั ยืนสืบไป

นายวรี ะ โรจนพ์ จนรตั น์
รฐั มนตรวี ่าการกระทรวงวัฒนธรรม



บทท่ี 1

คุณธรรมคอื หวั ใจการสรา้ งคนดสี ู่สงั คม

““เราจะครองแผน่ ดนิ โดยธรรม เพอ่ื ประโยชนส์ ขุ แหง่ มหาชนชาวสยาม””

พระปฐมบรมราชโองการพระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช บรมนาถบพติ ร
เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันท่ี 5 พฤษภาคม 2493

10 > บทที่ 1 คุณธรรมคือหัวใจการสร้างคนดีสู่สังคม

จากปฐมบรมราชโองการ“เราจะครองแผน่ ดนิ โดยธรรมเพอื่ ประโยชนส์ ขุ
แห่งมหาชนชาวสยาม” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพติ ร ในหลวงรชั กาลท่ี 9 และตลอดระยะเวลา 70 ปี แหง่ การครองราชย์
พระองค์ท่านมีพระจริยวัตรท่ีงดงาม ยึดมั่นในทศพิธราชธรรมมาโดยตลอด
เป็นแบบอย่างของธรรมราชา และยังคงมุ่งมั่นส่งเสริมให้พสกนิกรชาวไทย
เป็นคนดีมีคุณธรรมผ่านพระบรมราโชวาทและพระราชดำ�รัสในโอกาสต่างๆ
อีกทั้งยังทรงงานหนักตรากตรำ�พระวรกายไปในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ
เพ่ือดูแลทุกข์สุขของประชาชนจนเป็นท่ีประจักษ์ไปทั่วโลก พระองค์ท่านได้
พระราชทาน “ศาสตร์พระราชา” เพ่ือพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พสกนิกรได้
กินดีอยู่ดีมีความสามัคคีปรองดอง ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หลักการทรงงาน และโครงการในพระราชดำ�ริมากมาย พระองค์ท่านจึงทรง
เป็นทั้งต้นแบบแห่งคุณธรรม ศูนย์รวมความศรัทธา และแรงบันดาลใจของ
การสร้างคนดสี ู่สังคม

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 11

การให้

ความเทีย่ งธรรม ความเพยี ร
กิริยาสภุ าพ อ่อนโยน ประพฤติดีงาม
สขุ ุม จิตใจมั่นคง
ความอดทน
ความซอ่ื ตรง เสยี สละ
ความไมเ่ บยี ดเบยี น

ทศพธิ ราชธรรม

12 > บทที่ 1 คุณธรรมคือหัวใจการสร้างคนดีสู่สังคม



เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ในหลวงรัชกาลที่ 10 เสด็จข้ึนครองราชย์ พระองค์ทรงมีพระราชปณิธานแน่วแน่
ทจ่ี ะสบื ทอดพระราชปณธิ านของพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช
บรมนาถบพติ ร ในหลวงรัชกาลท่ี 9 ดังพระราชดำ�รัสท่ีพระราชทานแก่ประชาชน
ชาวไทย ในโอกาสข้ึนปีใหม่ 2560 ณ พระที่น่ังอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
เมอื่ วนั ที่ 31 ธันวาคม 2559 ความว่า
“ในปีใหม่น้ี ขอให้ชาวไทยทุกคนตั้งใจให้แน่วแน่ท่ีจะรักษาคุณสมบัติน้ี
ให้เหนียวแน่น และทำ�ความคิดจิตใจให้แจ่มใสด้วยปัญญาที่กระจ่าง พิจารณา
ทกุ สง่ิ ทเ่ี กดิ ขน้ึ ใหต้ ามความเปน็ จรงิ โดยปราศจากอคติ ใหม้ คี วามมงุ่ มน่ั มกี �ำ ลงั ใจ
ในอันท่ีจะร่วมกันปฏิบัติสรรพกำ�ลังน้อยใหญ่ในภาระหน้าท่ีตามแนวพระบรม
ราโชบายท่ีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ไดพ้ ระราชทานไว้ ใหง้ านทกุ อยา่ งส�ำ เรจ็ ผล เปน็ ความดี ความเจรญิ ทง้ั แกต่ นเอง
แกส่ ว่ นรวม และประเทศชาติ เป็นการร�ำ ลึกถึงพระมหากรณุ าธคิ ุณ
ในการน้ี ข้าพเจ้าขอปฏิบัติหน้าท่ีร่วมกับประชาชนชาวไทยโดยเต็ม
กำ�ลังความสามารถเพ่อื สืบสานพระราชปณธิ านรว่ มกนั ”

การสืบสานพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 10 คือ ได้
พระราชทาน “โครงการจิตอาสา เราท�ำ ดีดว้ ยหัวใจ” โดยทรงสรา้ งแรงบนั ดาลใจ
ให้คนไทยร่วมเป็นจิตอาสาทำ�ความดีแก่สังคมและประเทศชาติ นำ�ความรัก
สมัครสมานสามคั คมี าสู่ประชาชน

14 > บทที่ 1 คุณธรรมคือหัวใจการสร้างคนดีสู่สังคม

คณุ ธรรมน�ำ การพฒั นา

คนทุกคนต่างปรารถนาท่ีจะมีชีวิตท่ีดี ครอบครัวอบอุ่น อยู่ร่วมกันใน
สังคมและธรรมชาติอยา่ ง “อยูเ่ ย็นเป็นสุข” ด้วยความดี ความถูกตอ้ ง ความเป็น
ธรรม เป็นคนดใี นสังคมดี
การสรา้ งคนดี สังคมดี เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมน่ั คง มั่งค่ัง ยั่งยนื
ยังประโยชน์แก่คนทั้งชาติได้น้ัน ต้องใช้ “คุณธรรมนำ�การพัฒนา” คือ ให้ความ
สำ�คัญกับการพฒั นาคน โดยเฉพาะการพฒั นาด้านจิตใจ ทกุ สถาบนั ในสงั คมต้อง
ร่วมมอื กนั บ่มเพาะ ปลกู ฝัง ส่งเสรมิ ใหค้ นทกุ ช่วงวยั ทุกกลุ่ม ทกุ พื้นท่ี เปน็ คนดี
คิดดี พูดดี ทำ�ดี มีคุณธรรมเป็นรากฐานสำ�คัญในการดำ�เนินชีวิต เพื่อต่อ
ยอดการเป็นสังคมดี สังคมคุณธรรม ที่คนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขบนพ้ืนฐาน
ของความรักและการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คนจึงเป็นหัวใจของการพัฒนา และ
คุณธรรมเป็นหวั ใจของการพัฒนาคน
ถ้าเราจะเข้าใจแนวทางการปลูกฝัง ส่งเสริม คุณธรรมในใจคนและ
สงั คมไดน้ ั้น กอ่ นอ่นื เราต้องท�ำ ความเข้าใจความหมายของ “คุณธรรม”

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 15

คุณธรรมคืออะไร

“ถ้าคนเราคิดดี คิดถูกต้องตามหลักวิชาการและ
คุณธรรม คำ�พูดและการกระทำ�ก็จะเป็นไปในทางท่ีดีท่ีเจริญ
แต่ถ้าคิดไม่ดีไม่ถูกต้อง คำ�พูดและการกระทำ�ก็อาจก่อให้เกิด
ความเสียหายท้งั แก่ตนเองและส่วนรวมได้
ด้วยเหตุนี้ ก่อนท่ีบุคคลจะพูด จะทำ�สิ่งใด จำ�เป็นต้อง
หยุดคิดเสียก่อนว่า กิจท่ีจะทำ� คำ�ท่ีจะพูดน้ัน ผิดหรือถูก เป็น
คุณประโยชน์หรือเป็นโทษเสียหาย เป็นส่ิงที่ควรพูดควรกระทำ�
หรือควรงดเว้น เมื่อคิดพิจารณาได้ดังน้ี ก็จะสามารถยับยั้ง
คำ�พูดที่ไม่สมควร หยุดย้ังการกระทำ�ที่ไม่ถูกต้อง พูดและทำ�
ส่งิ ทจี่ ะสัมฤทธิผ์ ล เป็นประโยชน์และความเจริญ”

พระบรมราโชวาทใน
พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

ในพิธพี ระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย
วนั ท่ี 9 กรกฎาคม 2540

16 > บทที่ 1 คุณธรรมคือหัวใจการสร้างคนดีสู่สังคม

“…สังคมดำ�รงอยู่ได้ด้วยการกระทำ�ประโยชน์เก้ือกูลกัน
และทุกคนท่ีอยู่ร่วมกันย่อมเป็นท้ังผู้รับและผู้ให้ประโยชน์
บัณฑิตในฐานะท่เี ป็นส่วนหน่งึ ของสังคม และเป็นบุคคลท่สี ังคม
ยอมรับในความรู้ความสามารถ จึงควรประพฤติปฏิบัติตนให้
เปน็ ประโยชนแ์ กส่ ังคมทุกเมอ่ื ...”

พระบรมราโชวาทในสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั มหาวชริ าลงกรณ บดนิ ทรเทพยวรางกรู
เมื่อครัง้ ยงั ทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ในพธิ พี ระราชทานปรญิ ญาบตั รแกผ่ สู้ �ำ เรจ็ การศกึ ษาจากสถาบนั ราชภฏั
ณ อาคารใหม่ สวนอมั พร วนั จันทรท์ ่ี 11 มนี าคม 2550 (ภาคเชา้ )

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 17

คุณธรรมตรงกับคำ�ในภาษาองั กฤษวา่ VIRTUE ซ่ึง Longman Dictionary
of Contemporary English (1995) ให้นิยามไว้ 2 นัย คือ 1 หมายถึง
ความดีงามของลักษณะนิสัย หรือพฤติกรรมที่เกิดจากการกระทำ�จนเคยชิน
และ 2 หมายถึง คุณธรรมท่ีบุคคลได้กระทำ�ตามความคิดและมาตรฐานของ
สังคมเก่ยี วกบั ความประพฤติและศลี ธรรม
นอกจากน้ี คำ�ว่า คุณธรรม ตามความหมายของพจนานุกรม ฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ยงั หมายถึง สภาพคณุ งามความดี ขณะทร่ี ะเบยี บ
สำ�นักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2550 บัญญัติ
ว่าคุณธรรม หมายถึง สิ่งท่ีมีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นความดีงาม เป็นมโนธรรม
เป็นเคร่ืองประคับประคองใจให้เกลียดความชั่ว กลัวบาป เป็นเครื่องกระตุ้น
ผลักดันให้เกิดความรู้สึกรับผิดชอบ เกิดจิตสำ�นึกท่ีมีความสงบเย็นภายใน และ
เป็นส่ิงที่ต้องปลูกฝังโดยเฉพาะเพ่ือให้เกิดข้ึนและเหมาะสมกับความต้องการของ
สงั คมไทย
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กล่าวถึง
คุณธรรมในโอกาสบรรยายพิเศษ เน่ืองในโอกาสสัมมนาทางวิชาการ ครบรอบ
12 ปี ผตู้ รวจการแผ่นดนิ เมือ่ วันท่ี 3 เมษายน 2555 วา่

“....คุณธรรม เป็นความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นเอง หรือเกิดจาก
การอบรมส่งั สอน ท่เี ม่ือยึดมั่นเป็นคณุ ธรรมฝงั ในจิตใจ คนดมี คี ณุ ธรรม
จะต้องซ่ือสตั ย์ สุจริต คดิ ดี ทำ�ดี พดู ดี คดิ ตรง ท�ำ ตรง พูดตรง มเี มตตา
ชว่ ยเหลอื ผตู้ กทกุ ขไ์ ดย้ าก ไมเ่ บยี ดเบยี นผอู้ น่ื ไมค่ ดโกงแมว้ า่ ไมม่ ผี รู้ เู้ หน็
จะไม่เอารัดเอาเปรียบ ข่มเหงผู้ที่อ่อนแอกว่า ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง
ไมท่ ุจริต...”

18 > บทที่ 1 คุณธรรมคือหัวใจการสร้างคนดีสู่สังคม

จากความหมายขา้ งตน้ พอสรปุ ไดว้ า่ คณุ ธรรม หมายถึง “สภาพความดี
ที่เกิดข้ึนในจิตใจของคน และแสดงออกเป็นการประพฤติปฏิบัติที่ดีจนเคยชิน
ก่อใหเ้ กดิ ประโยชนส์ ุขในสงั คม”

แสดงออกเป็นการ
ประพฤติปฎบิ ตั ิ

เกิดในจิตใจคน เกดิ ประโยชน์สขุ
แกส่ งั คม

สภาพคุณงาม
ความดี

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 19

ระดับของคุณธรรม

จากความหมายของคุณธรรม เราจะพบว่า คนท่ีมีคุณธรรมจะต้องมีทั้ง
ปัญญาและศรัทธา ปัญญา คือ รู้ว่าอะไรควรทำ�และอะไรไม่ควรทำ� ศรัทธา คือ
มุ่งมั่นท่ีจะทำ�ในส่ิงท่ีรู้ ซึ่งคุณธรรมมีท้ังในระดับบุคคลและคุณธรรมของการ
อยู่ร่วมกนั ในสังคม
คุณธรรมระดับบุคคล เพื่อมุ่งสู่ความสำ�เร็จของส่วนรวม ตามแนวพระ
ราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร1
แบง่ ได้ 4 กล่มุ ดังนี้

กลมุ่ ท่ี 1 คุณธรรมท่ีเปน็ ปัจจยั ผลักดนั

ทำ�หน้าที่เป็นแรงผลักดันภายใน ทำ�ให้คนเกิดความเพียร
พยายามทำ�ในสิ่งที่มุ่งหมายไว้ให้สำ�เร็จประกอบด้วย วินัย อดทน ขยัน
เป็นคุณธรรมทส่ี ร้างฐานรากท่แี ขง็ แกร่งให้คนในสงั คม

กลุม่ ที่ 2 คณุ ธรรมที่เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยง

ทำ�หน้าท่ีเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงสร้างแรงผลักดันให้เกิดคุณธรรม
ชดุ แรก ประกอบดว้ ย ซ่ือสตั ย์ ซอื่ ตรง รบั ผิดชอบ เปน็ คุณธรรมรากฐาน
ของจิตใจทซี่ ่ือตรง

1 จากการวิเคราะหข์ องไกรยุทธ ธีรตยาคนี ันท์ อ้างถึง นงลกั ษณ์ วริ ัชชยั , ศจีมาจ ณ วเิ ชยี ร และพิศสมัย
อรทยั . (2551). การส�ำรวจและสงั เคราะห์ตัวบง่ ชี้คุณธรรม จรยิ ธรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนยส์ ่งเสรมิ และ
พฒั นาพลงั แผน่ ดนิ เชงิ คณุ ธรรม (ศนู ยค์ ณุ ธรรม) ส�ำนกั งานบรหิ ารและพฒั นาองคค์ วามรู้ (องคก์ ารมหาชน).

20 > บทที่ 1 คุณธรรมคือหัวใจการสร้างคนดีสู่สังคม

กลุ่มที่ 3 คณุ ธรรมที่เป็นปัจจัยเหนยี่ วรง้ั

ทำ�หน้าท่ีเหน่ียวร้ังไม่ให้คนทำ�ในส่ิงท่ีไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม
ผิดหลักคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วย มีสติ พอเพียง เป็นคุณธรรม
ทีส่ รา้ งฐานความสจุ ริต ไม่โลภ ต้านทานความอยากได้ตามกระแสนยิ ม

กลุม่ ที่ 4 คุณธรรมท่เี ป็นปัจจัยสนับสนุน

ทำ�หน้าท่สี นับสนุนให้บุคคลได้เข้าไปมีส่วนร่วมทำ�กิจกรรมต่างๆ
โดยมงุ่ หวงั ผลเพอ่ื ประโยชนส์ ว่ นรวมเกดิ การเคารพและใหค้ วามส�ำ คญั ตอ่ ชวี ติ
และส่ิงแวดล้อม ผ่านหลักของความเมตตา กรุณา เอ้ือเฟ้ือเผ่ือแผ่
ประกอบด้วย เมตตากรุณา กตัญญู เสียสละ การปลูกฝังคุณธรรม
กลุ่มนี้จะช่วยให้เกิดจิตอาสา และเปล่ียนสังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรม
อยา่ งแทจ้ ริง
คุณธรรมของการอยู่ร่วมกัน ในสังคมน้ัน ยกระดับจากคุณธรรม
ระดับบุคคลสู่การอยู่ร่วมกัน ซ่ึงมีหลักการสำ�คัญ 2 ข้อ คือ ข้อห้ามกับข้อ
พึงปฏบิ ตั ิ
• ขอ้ หา้ ม คอื หา้ มท�ำ ให้ผ้อู ื่นและสว่ นรวมมคี วามทกุ ข์
• ขอ้ พงึ ปฏบิ ตั ิ คอื ให้ท�ำ ใหผ้ อู้ ืน่ และสว่ นรวมมคี วามสขุ
หลักการสำ�คัญของคุณธรรมการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม คือ ต้องทำ�
เพอื่ ประโยชน์สว่ นรวมท่ใี หญก่ ว่าเสมอ

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 21



บทที่ 2

พอเพียง วนิ ยั สจุ ริต จิตอาสา :
สรา้ งคนดีสสู่ ังคม

ท�ำ ไมตอ้ งพอเพยี ง วินัย สุจริต จติ อาสา

การสร้างคนดีสู่สังคม คือ การสร้างคนดีมีคุณภาพเพื่อไปช่วยสร้าง
สังคมที่ดีงาม เป็นสังคมคุณธรรม แม้ในความจริง สังคมย่อมมีท้ังคนดีและคน
ไม่ดีปะปนกนั ไป ดัง่ บัว 4 เหลา่ แตเ่ ราก็เชอ่ื วา่ โดยธรรมชาตแิ ล้วคนทุกคนอยาก
เป็นคนดี อย่างไรกต็ าม ค�ำว่า “คนดี” กม็ กี ารตคี วามทแี่ ตกต่างกนั ไป ดังนั้น จงึ
ต้องก�ำหนดลักษณะคุณธรรมของคนดีท่ีสังคมไทยต้องการเพ่ือเป็นแนวทางและ
เปา้ หมายการสง่ เสริมคณุ ธรรมร่วมกนั

คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ได้ร่วมกันพิจารณาคัดเลือก
คุณธรรมเป้าหมายที่จะรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดกับคนไทยในช่วงต้นของ
แผนแม่บทส่งเสริมคณุ ธรรมแห่งชาติ โดยพจิ ารณาจากสถานการณด์ า้ นคณุ ธรรม
ของประเทศ ท้ังท่ีมาจากงานศึกษาวิจัย ส�ำรวจความคิดเห็นของประชาชน
รวมถึงการวิเคราะห์พระราชด�ำรัส และพระบรมราโชวาทของพระบาท
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ท่ีศูนย์คุณธรรม
(องคก์ ารมหาชน) ไดจ้ ดั ทำ� ขน้ึ พบว่ามีคณุ ธรรมส�ำคญั 5 ดา้ น คือ “ซอ่ื ตรง วนิ ยั
รับผิดชอบ พอเพียง และจิตอาสา” ซึ่งเป็นคุณธรรมรากฐานส�ำคัญท่ีสามารถ
เชอื่ มโยงไปสคู่ ณุ ธรรมอื่นๆ ได้ครบถว้ น

อยา่ งไรกต็ าม คณะกรรมการสง่ เสรมิ คณุ ธรรมแหง่ ชาตไิ ดพ้ จิ ารณาเหน็ วา่
วินัยกบั ความรับผดิ ชอบเป็นเร่ืองเดยี วกัน จงึ เลือกคณุ ธรรม “วินัย” มาใชใ้ นการ
สื่อสาร คำ� วา่ “ซ่อื ตรง” แมจ้ ะมีความหมายที่ดี แตอ่ าจส่ือความหมายกับคนทัว่ ไป
ไดย้ ากกวา่ ค�ำวา่ “สจุ รติ ” ซง่ึ เป็นคำ� ที่สงั คมไทยคนุ้ เคย ดงั น้ัน จงึ เลอื กส่งเสรมิ
ดว้ ยคำ� วา่ “สจุ รติ ” และคณุ ธรรม “จติ อาสา” ใหห้ มายรวมถงึ การมจี ติ สาธารณะดว้ ย
เพอ่ื ใหก้ ารรณรงคเ์ ขา้ ใจและจดจำ� งา่ ย จึงก�ำหนดคณุ ธรรม “พอเพียง วินยั สจุ ริต
จิตอาสา” เป็นคุณธรรมเป้าหมายท่ีจะปลูกฝังส่งเสริมให้คนไทยตระหนักและ
ประพฤตปิ ฏิบัตใิ นการด�ำเนินชีวิตดว้ ยเหตผุ ล ดงั นี้

24 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

“พอเพียง” เป็นศาสตร์พระราชาและเปน็ คุณธรรมฐานรากทีจ่ ะนำ� ไปสู่
คณุ ธรรมอน่ื ๆ
“วินยั ” เพอ่ื เสรมิ สรา้ งการประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ นของคนไทยใหม้ คี วาม
เข้มแขง็ เคารพกตกิ าการอยูร่ ว่ มกนั
“สจุ ริต” เพอ่ื แกว้ ิกฤตกิ ารทุจริตทีต่ น้ ทาง
“จิตอาสา” เพื่อใหค้ นไทยใสใ่ จสังคมและอยูร่ ว่ มกันอย่างปรองดอง

อย่างไรก็ตาม การเน้นคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา ไม่
ได้หมายความว่าจะละเลยคุณธรรมด้านอ่ืนๆ แต่ยังสนับสนุนให้มีการส่งเสริม
คุณธรรมท่ีเหมาะกับบริบทของแต่ละองคก์ รและพ้ืนทีท่ ่ีแตกต่างกันดว้ ย

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 25

คนคณุ ธรรม สังคมธรรม

พอเพยี ง

จิตอาสา คณุ ธรรม วินยั

สุจริต

26 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

พอเพียง

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 27

พอเพียง หมายถึง ความพอเพียงในการด�ำเนินชีวิตแบบทาง

สายกลาง มีเหตุมีผล ใช้ความรู้ในการตัดสินใจอย่างรอบคอบ มีความ
พอประมาณ พอดี ไมเ่ บยี ดเบยี นตนเอง สงั คมและสงิ่ แวดลอ้ ม ไมป่ ระมาท
สรา้ งภูมคิ ุม้ กันท่ีดี รู้เทา่ ทันการเปลีย่ นแปลง

28 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

จากความหมายของคุณธรรม “พอเพียง” ข้างต้น จะเห็นคุณลักษณะ
ของความพอเพยี ง ดงั น้ี

มีความพอประมาณ ไมโ่ ลภ
พอควร พอดี พออยู่ พอกนิ ไมเ่ บยี ดเบยี นผูอ้ น่ื
สังคม และส่งิ แวดล้อม
มคี วามสงบ

พอเพยี ง

มเี หตมุ ีผล ใช้ความร้อู ยา่ ง มีภูมิคุ้มกนั ทดี่ ี
รอบคอบ รอบด้าน คำ� นงึ รู้เท่าทนั
ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดข้ึน
การเปล่ยี นแปลง

คุณธรรม “พอเพียง” เป็นคุณธรรมท่ีมคี วามส�ำคัญ ถือเป็นปรชั ญาในการ
ด�ำเนินชีวิตที่ถูกต้องของคนไทยและสังคมไทย ซ่ึงเราจะเห็นได้จากหลักธรรม
ค�ำสอนของศาสนา และผลเชิงประจักษ์จากการปฏิบัติตามพระบรมราโชวาท
ของพระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เกย่ี วกับ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 29

เขา้ ใจ “พอเพยี ง” ผา่ นหลกั ธรรมของศาสนา

พทุ ธศาสนา อธิบายว่า ความพอเพียงประกอบด้วย
1. ความพอดี (มัชฌิมาปฏปิ ทา) คือ ทางสายกลางในการด�ำเนนิ ชวี ิต
ที่แสวงหาท้ังความสุขทางกายและความสุขทางจิตใจไปพร้อมกัน
โดยไม่ยึดติดกับวัตถุนิยมมากเกินไป จนละท้ิงคุณค่าทางจิตใจ
ไม่หลงยึดติดกับคุณค่าทางจิตใจมากเกินไป จนละทิ้งการพัฒนา
เศรษฐกจิ สงั คมและสิ่งแวดล้อม เกิดความพอดรี ะหวา่ งการพฒั นา
ด้านกายภาพและการพฒั นาด้านจิตใจ
2. ความพอเหมาะ (มัตตัญญุตา) คือ ความรูจ้ ักประมาณในการบริโภค
เพื่อสนองความต้องการตามความเหมาะสมและความจ�ำเป็น
โดยให้ความส�ำคัญแก่คุณค่าแท้มากกว่าคุณค่าเทียม เช่น
การเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาเหมาะสมกับฐานะเพ่ือประโยชน์
ในการใช้สอย แทนท่ีจะเลือกซ้ือสินค้าราคาแพงเพียงเพ่ือแสดง
ความมหี น้ามีตาในสงั คม
3. ความพอใจ (สุข) คือ ร้จู กั พอใจอมิ่ ใจกบั ทรพั ยท์ ่ีหามาได้ดว้ ยนำ้� พัก
น�้ำแรง (อัตถิสุข) พอใจในการใช้จ่ายทรัพย์น้ันเล้ียงตนและแบ่งปัน
(โภคสุข) พอใจทีเ่ ปน็ ไทเพราะไมม่ หี น้สี นิ ล้นพน้ ตัว (อนณสุข) และ
พอใจในการประกอบอาชพี ด้วยความซ่อื สตั ย์สจุ ริต (อนวชั ชสขุ )

30 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

เพราะฉะนน้ั “พอเพยี ง” ตามหลักพุทธศาสนา คอื ทางสายกลางในการ
ด�ำเนินชีวิตท่ีมีความพอดีระหว่างการพัฒนาทางวัตถุและการพัฒนาทางจิตใจ
โดยมีการบริโภคตามความเหมาะสมและความจ�ำเป็น มีเป้าหมายอยู่ที่ความ
พอใจหรือความสขุ 4 ประการ คือ สขุ จากการมีทรพั ย์ สุขจากการจ่ายทรพั ย์นนั้
สขุ จากการไม่มหี นีส้ ินลน้ พน้ ตัว และสุขจากการงานท่ีสุจริต

สอดคล้องกับความพอเพียงตามหลัก ศาสนาคริสต์ คือ การด�ำเนินชวี ติ
ใหเ้ หมาะสมกบั ฐานะของตนเอง ไมล่ ะโมบโลภมาก อยากไดใ้ นส่งิ ทีไ่ ม่ใชข่ องตน
ดังค�ำกล่าวของพระเยซูเจ้าที่ทรงตรัสว่า “จงระวังและรักษาตัวไว้ให้พ้นจาก
ความโลภทุกชนิด ชีวิตคนเราไม่ได้ข้ึนกับทรัพย์สมบัติของเขา แม้ว่าเขาจะ
ม่ังมีมากเพยี งใดกต็ าม” (ลก 12:15) นอกจากน้ียังสอนให้ทำ� ความดี แบง่ ปนั ซ่งึ
กันและกัน สะสมความดีเป็นทรัพย์สมบัติที่จะติดตัวไปแม้เสียชีวิตก็ไม่มีใคร
สามารถขโมยไปได้ ดังค�ำกล่าวในพระธรรมใหม่ท่ีว่า “แต่อย่าลืมที่จะกระท�ำ
กิจการดี และที่จะแบ่งปันเก้ือกูลกัน เพราะเคร่ืองบูชาอย่างนั้นเป็นที่พอพระทัย
พระเจา้ ” (ฮบ 13:16)

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 31

ในสว่ นของ ศาสนาอิสลาม “พอเพียง” หมายถึง ได้เทา่ ท่ตี ้องการ หรอื
ได้เท่าท่กี ะไว้ หรอื เหมาะควรในระดับปานกลาง ซ่ึงตรงกับหลักการของศาสนา
อิสลามที่ยึดทางสายกลางเป็นหลกั ดังหลกั ค�ำสอนระบุว่า

“ที่ดที ส่ี ุดของกิจการทงั้ หลาย คือ ตรงกลางของมนั 2”

นอกจากนี้ อิสลามิกชนยังศึกษาความพอเพียง ผ่านค�ำสอนและการ
ปฏิบัติตนของ นบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) องค์ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ ซ่ึงมีชีวิตที่มีความสุข
เยีย่ งจอมราชนั แต่กลับทิ้งทรพั ย์สมบตั ิ และพอใจที่จะนอนบนเสอื่ หยาบๆ ยอม
หิวไม่ต่างไปจากคนจนหิว ยอมอดเพื่อให้คนท่ีหิวมากกว่าได้อิ่ม ท่านสมถะ ไม่
ฟุ้งเฟ้อ และได้รับความเคารพนับถือจากผู้คนนับแสน ยกให้เป็นต้นแบบแห่ง
ความพอเพียง ซึ่งต่อมากลายเป็นหลักปฏิบัติให้อิสลามิกชนทุกคนต้องเรียนรู้
และปฏิบตั ิตาม โดยหลักนนั้ หมายถึง ความสันโดษและปล่อยวาง ไมย่ ดึ ตดิ กับ
สภาวะรอบขา้ ง รจู้ ักเสียสละ สมถะ พอเพียง ซ่ึงสอดคลอ้ งกบั หลักปรชั ญาของ
เศรษฐกิจพอเพยี ง
ความพอเพียงใน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีเป้าหมายสูงสุด คือ การ
หลุดพ้นจากกองกิเลส และกองทุกข์ แต่ไม่สนับสนุนให้มนุษย์ดิ้นรนหาทางเพ่ือ
การหลุดพ้นเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะแสวงหาทรัพย์สมบัติ โดยมีหลักธรรม
เป็นเครื่องก�ำกับช่ังในการอุปโภคบริโภค โดยในพระธรรมศาสตร์ได้บัญญัติไว้ว่า
หลกั ธรรมหรือธรรมะนั้นย่อมมีลักษณะ 10 ประการ คือ

2 รายงานโดยอบิ นุ อสั สัมอานยี ์-ฎ่ออฟี
32 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

1. ความยนิ ดี พอใจในสง่ิ ท่มี ี
2. อดกลนั้ อดทน พากเพียร เมตตา
3. ข่มจติ มสี ติ ไม่หวั่นไหวตามอารมณ์
4. ไม่ลกั ขโมย
5. บริสทุ ธทิ์ ัง้ กายและใจ
6. ระงับอินทรีย์ทงั้ 103
7. สติ ปัญญา ความคิด
8. รูล้ กึ ซ้ึง
9. ความเห็นสุจรติ ซอ่ื สัตย์ เป็นทไี่ ว้ใจเช่อื ใจ
10. ไมโ่ กรธ สงบ
สว่ นความพอเพยี งใน ศาสนาซกิ ข์ สอนใหม้ นษุ ยด์ ำ� รงอยอู่ ยา่ งเรยี บงา่ ย
พอเพียง และเผ่ือแผ่ โดยชาวซิกข์มีความเช่ือว่า ชาวซิกข์ทุกคนถูกปลูกฝัง
คุณธรรมเขา้ ไปในชีวติ และจิตวญิ ญาณตั้งแต่แรกเกดิ ดว้ ยเหตุทบ่ี ดิ ามารดา และ
บรรพบุรุษ ด�ำรงชีวิตอันเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม และความดีงามสอดคล้อง
ต่อหลักธรรมชาติ และเน้นความเรียบง่ายตลอดมา ดังค�ำกล่าวที่ว่า “Simple
living, High thinking” คือ การด�ำรงอยู่ด้วยความเรียบง่ายแต่เต็มเปี่ยม
ทางความคิด วิจารณญาณ อาหาร และอาชีพอันสุจริตโดยพึ่งตัวเอง รวมถึง
ยึดมั่นในคุณงามความดี ไม่เบียดเบียนทุกสรรพชีวิต และมีความสันโดษ คือ
ร้จู กั ในการประมาณตน มีความพอดใี นการดำ� รงชวี ิตของตนโดยการ

3 อนิ ทรีย์ทงั้ 10 ไดแ้ ก่ (ทางความรู้) ตา หู จมูก ลิน้ ผิวหนงั (ทางการกระท�ำ) มอื เท้า ทวารหนัก ทวารเบา
ล�ำคอ เพิม่ เติม (ความรู้สึกภายใจ) จติ ใจ สมอง และอหังการ บรหิ ารให้ไปในทางถกู ตอ้ งดีงาม
พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 33

o ยอมรับทรัพย์สมบัติตามทห่ี ามาด้วยความขยันหมนั่ เพยี รของตน
o ยอมรับฐานะและต�ำแหน่งการงานที่ได้รับตามความเหมาะสม

ปญั ญาของตน
o ยอมรับทุกส่ิงตามที่หามาด้วยความชอบธรรมและพระเมตตาของ

พระศาสดา
o ยอมรับในความเป็นอยู่ที่ไม่ฟุ้งเฟ้อตามสมัยนิยม มีความเป็นอยู่

อย่างพอเพียง อ่อนน้อมถอ่ มตัวเสมอ
o ยอมรับในความรักฉนั มิตรพ่นี ้อง ไมด่ ถู ูกดูแคลนต่อกัน
o อดออมอยา่ งพอประมาณ บริจาคทานอยา่ งมสี ติ
o ซ่ือสัตย์สุจริต และเคร่งครัดในธรรมวินัย ยึดม่ันในสถาบันของชาติ

อนั ไดแ้ ก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตรยิ ์
สิ่งเหล่าน้ีเป็นเคร่ืองหล่อหลอมให้ชาวซิกข์ทุกคนมีแนวทางท่ีเรียบง่าย
ในการด�ำรงชีพ พอเพียง และเผ่ือแผ่ผู้อื่นเสมอ และส่ิงเหล่านี้ค่อยๆ ซึมซับ
เขา้ ไปในชีวิตประจำ� วนั จนกลายเปน็ ความเคยชินในการด�ำรงชวี ติ อนั ดงี ามอยา่ ง
ไม่รู้สกึ วา่ เปน็ เรื่องท่ียาก

เห็นได้ว่าทุกศาสนาสอนเหมือนกัน คือ ให้มนุษย์ยึดถือ
ความพอเพียงเป็นคุณธรรม หรือแนวทางในการด�ำเนินชีวิตเพื่อ
ประโยชนข์ องตนเองและสงั คม

34 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง : แปลงคณุ ธรรมสู่การปฏบิ ัติ

เม่ือสืบค้นพระราชด�ำรัสและพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เราจะพบว่าพระองค์ทรง
มพี ระราชดำ� รสั ผ่านคำ� ว่า “พอมพี อกนิ ” แก่ประชาชน มาตง้ั แต่ปี พ.ศ. 2516-
2517 ซึ่งอาจจะถอื เป็นจุดเริม่ ต้นของแนวพระราชดำ� ริ “ความพอเพียง” เชน่

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 35

“การพัฒนาประเทศจำ� เปน็ ต้องท�ำตามล�ำดบั ข้นั ตอ้ งสร้าง
พ้ืนฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่
เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ท่ีประหยัด แต่ถูก
ต้องตามหลักวิชา เม่ือได้พ้ืนฐานที่ม่ันคงพอควรและปฏิบัติได้แล้ว
จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นท่ีสูงขึ้นโดย
ล�ำดบั ตอ่ ไป

การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพ
และตั้งตัวให้มีความพอมี พอกิน พอใช้ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานน้ัน
เป็นส่ิงส�ำคัญอย่างย่ิงยวด เพราะผู้ท่ีมีอาชีพและฐานะเพียงพอที่
จะพึ่งตนเอง ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงข้ึน
ต่อไปไดโ้ ดยแนน่ อน...”

พระบรมราโชวาทในพธิ พี ระราชทานปริญญาบตั รของ
มหาวิทยาลยั ขอนแกน่
วันที่ 20 ธนั วาคม 2516

36 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

พระองค์ทรงเนน้ ย�ำ้ หลักคิดและหลักปฏบิ ตั ิเกยี่ วกบั เร่อื งนี้ มาอยา่ งต่อเนอ่ื ง อาทิ

“คนเราทฟ่ี งุ้ เฟอ้ ไมม่ ที างทจ่ี ะหาทรพั ยม์ าปอ้ นความฟงุ้ เฟอ้ ได้
ความฟุ้งเฟ้อน้ีเป็นปากหรือเป็นสัตว์ท่ีหิวไม่หยุด ความฟุ้งเฟ้อนี้
อ้าปากตลอดเวลา จะป้อนไปเท่าไรๆ ก็ไม่พอ เม่ือป้อนเท่าไรๆ
ไม่พอแล้ว ก็หาเท่าไรๆ ก็ไม่พอ ความไม่พอนี่ไม่สามารถที่จะหา
อะไรมาปอ้ นความฟุ้งเฟ้อน้ีได้

ฉะน้ัน ถ้าจะต่อต้านความเดือดร้อน ไม่ใช่ว่าจะต้อง
ประหยดั มัธยัสถ์ จะตอ้ งปอ้ งกนั ความฟุ้งเฟ้อ และป้องกนั วิธกี ารท่ี
มกั ใช้เพ่อื ที่จะมาป้อนความฟงุ้ เฟ้อนี้ คอื ความทุจรติ ฉะนั้น การท่ี
จะณรงค์ที่จะต่อสู้เพื่อให้คนมัธยัสถ์และประหยัดนั้น ก็อยู่ที่ตัวเอง
ไม่ใชอ่ ยทู่ ค่ี นอื่น

เมื่ออยู่ที่ตนเอง ไม่อยู่ท่ีคนอื่น การณรงค์โดยมากมักออก
ไปขา้ งนอก จะไปชักชวนคนโนน้ ชักชวนคนนใ้ี หท้ ำ� โน่นทำ� นี่ ที่จริง
ตัวเองตอ้ งท�ำเอง ถ้าจะใช้ค�ำวา่ ณรงค์ กต็ ้องณรงค์กับตวั เอง ตอ้ ง
ฝึกตัวให้รู้จกั ความพอดี พอเหมาะ ถ้าไม่พอดี ไมพ่ อเหมาะ มนั จะ
เกิดทุจริตในใจได้”

พระราชดำ� รสั พระราชทานแก่คณะลกู เสอื ชาวบ้าน
ในโอกาสเสด็จฯ กลบั จากแปรพระราชฐานจากจังหวดั สกลนคร

ณ สนามบินดอนเมือง วนั ที่ 2 ธนั วาคม 2527

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 37

ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 แล้ว พระองค์ทรงเน้นย�้ำเก่ียวกับ
“เศรษฐกจิ พอเพยี ง” มาอีกหลายปี เพอ่ื ใหพ้ สกนกิ รของพระองค์เขา้ ใจมากข้ึน

“...ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียง ความหมายคือ ท�ำอะไรให้
เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือ ท�ำจากรายได้ 200-300 บาท
ข้ึนไปเป็นสองหม่ืน สามหม่ืนบาท คนชอบเอาค�ำพูดของฉัน
เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือ ท�ำ
เปน็ Self-Sufficiency มันไมใ่ ชค่ วามหมาย ไมใ่ ชแ่ บบท่ฉี นั คิด

ท่ีฉันคิด คือ เปน็ Self-Sufficiency of Economy เชน่ ถ้า
เขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจ�ำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู
เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ท่ีฉันไป เขา
มีทวี ดี ูแตใ่ ช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟา้ แต่ถ้า Sufficiency น้ัน มีทวี ี
เขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่
เนคไทเวอร์ซาเช่ อนั นก้ี ็เกนิ ไป...”

พระราชดำ� รัส ณ วงั ไกลกังวล หัวหนิ
จังหวัดประจวบคีรีขนั ธ์ วันที่ 17 มกราคม 2544

38 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช บรมนาถบพติ ร ทรง
น�ำหลักธรรมของศาสนามาก�ำหนดเป็นปรัชญา หลักคิด และหลักปฏิบัติ เป็น
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนตระหนักถึงคุณธรรมความพอเพียง
มาตลอดหลายสบิ ปี

ความพอเพียง เป็นคุณธรรมที่ต้องพัฒนาและปฏิบัติตามทาง
สายกลาง ซึ่งน�ำไปประยุกต์ใช้ได้ต้ังแต่วิธีการด�ำเนินชีวิต หลักการเกษตร
แนวใหม่ เคล็ดลับการท�ำธุรกิจ การลงทุน ไปจนถึงนโยบายขับเคลื่อนประเทศ
ไปสู่ความก้าวหน้าอย่างสมดุล มั่นคง และย่ังยืน ท่ีเรียกว่า “หลัก 3 ห่วง 2
เงอ่ื นไข”

ห่วงที่ 1 ‘ความพอประมาณ’ คอื ความพอดีที่ไมน่ อ้ ยเกนิ ไปและไมม่ าก
เกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคท่ีอยู่ใน
ระดบั พอประมาณ

ห่วงท่ี 2 ‘ความมเี หตผุ ล’ คอื การตัดสนิ ใจเก่ียวกบั ระดบั ความพอเพียง
จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยท่ีเก่ียวข้อง ตลอดจน
คำ� นงึ ถงึ ผลทีค่ าดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระท�ำน้ันๆ อยา่ งรอบคอบ

ห่วงท่ี 3 ‘มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี’ คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับผล
กระทบและการเปลยี่ นแปลงดา้ นต่างๆ ทจ่ี ะเกดิ ข้ึน โดยคำ� นงึ ถงึ ความเปน็ ไปได้
ของสถานการณต์ ่างๆ ทค่ี าดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 39

ทง้ั 3 หว่ งนี้ ผปู้ ฏบิ ตั จิ ะประสบผลไดย้ งั ตอ้ งคำ� นงึ ถงึ 2 เงอ่ื นไขประกอบ
กนั คือ

‘เงื่อนไขความร้’ู คอื ความรอบรู้เก่ยี วกบั วิชาการต่างๆ ทเี่ กีย่ วข้องอยา่ ง
รอบด้าน เพื่อให้มีความรอบคอบในการน�ำความรู้เหล่าน้ันมาพิจารณาให้
เชือ่ มโยง และประกอบการวางแผนอยา่ งระมดั ระวังในการปฏิบตั ิ

‘เงือ่ นไขคณุ ธรรม’ ท่จี ะต้องเสรมิ สรา้ งคือ มีความตระหนกั ในคณุ ธรรม
มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการ
ดำ� เนนิ ชวี ติ

หากถอดนิยามของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จะพบว่าหัวใจส�ำคัญ
ของแนวคิดคือ การพ่ึงพาตนเอง ไม่ท�ำอะไรเกินตัว ซึ่งเป็นแนวทาง
การดำ� เนนิ ชีวติ ไปในทางสายกลางทน่ี �ำไปสู่ “ความยั่งยืน”

40 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

หลกั ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง

พอประมาณ

ทางสายกลาง

มีเหตุผล มภี ูมคิ ุ้มกนั
ในตัวท่ีดี

เง่อื นไขความรู้ เงอื่ นไขคณุ ธรรม
(รอบรู้ รอบคอบ ระมดั ระวงั ) (ซอ่ื สัตย์ สจุ รติ ขยนั อดทน แบ่งปนั )

>

ชีวติ เศรษฐกจิ สังคม
สมดุล มนั่ คง ยั่งยนื

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 41

เป็นท่ีปรากฏชัดเจนแล้วว่า ผู้ที่น้อมน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาเป็นคุณธรรมในการด�ำเนินชีวิต จะช่วยให้ชีวิตมีความร่มเย็นเป็นสุข
ซง่ึ ไมเ่ พยี งแต่ประเทศไทยเท่าน้ัน ประเทศต่างๆ และสงั คมโลกไดย้ กยอ่ งใหเ้ ป็น
เปา้ หมายการพัฒนาที่ย่ังยนื

“พอเพยี ง” ช่วยสรา้ งคนดี สงั คมดี อย่างไร

จากความหมายและองค์ประกอบของคุณธรรมพอเพียง เราจะเห็นได้ว่า
พอเพียงจะเช่ือมโยงกับคุณธรรมอื่นๆ อีก เช่น ก่อนจะมีความพอเพียงจะต้อง
มี สติ มคี วามยง้ั คิด และต้องยึดหลกั การพงึ่ ตนเอง ในการท�ำงาน การด�ำเนนิ ชวี ิต
ด้วยความขยันหม่ันเพียรและอดทนต่อสิ่งเร้าต่างๆ มีวินัยที่จะไม่ประพฤติปฏิบัติ
ตามความอยาก ความเป็นผู้พอเพียงจึงเป็นต้นทางของความสุจริต ซ่ือสัตย์
ไมอ่ ยากได้ ไมท่ ุจรติ และเมื่อมีเหลอื ก็จะท�ำใหม้ ีจติ ใจท่ีเอ้ือเฟ้อื เผ่อื แผ่ใหค้ นอืน่ ดว้ ย
ความเมตตากรณุ า

42 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

เสยี สละ มีวนิ ัย
กตัญญู อคดวทามน

พอเพียง ขยัน
ซือ่ สัตย์

เมตตา รับผิดชอบ
มสี ติ

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 43

คุณธรรมความพอเพียงเรื่องเดียวจะชว่ ยแกป้ ัญหาคุณธรรมในสังคมไทย
ปจั จบุ ันไดด้ ี โดยเฉพาะปัญหาทีม่ าจากความโลภ และลัทธิบรโิ ภคนยิ ม ทที่ ำ� ให้
คนไทยอยากได้อยากมีเกนิ ความจำ� เปน็ ไมส่ นิ้ สดุ ทำ� ใหเ้ กดิ ปญั หาการเบยี ดเบยี น
เอารัดเอาเปรียบทจุ ริตแตกแยกขัดแยง้ ความเหลอ่ื มล้ำ� ในสงั คมและการทำ� ลาย
ธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม รวมถงึ ปญั หาสงั คมตา่ งๆ เชน่ อาชญากรรม ยาเสพตดิ ฯ
ถา้ เรามีคุณธรรม “พอเพียง” กจ็ ะช่วยแก้ปญั หาไดบ้ า้ งในระดับบุคคล ครอบครัว
องค์กร ชมุ ชน และสังคม

ความข้างต้น อาจท�ำให้เข้าใจว่าความพอเพียงจะมีความหมายเชิงลบ
แต่แท้จริงแล้ว ความพอเพียง เป็นความหมายเชิงบวก คือ แสดงถึงความสุข
ความยนิ ดี และความสันโดษ

44 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

เราจะนำ�หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิต
ประจ�ำ วันอยา่ งไร

1. พอประมาณ

ความพอประมาณน้ัน มีสองนัย นัยหนึ่งคือ การพ่ึงตนเอง อีกนัยหน่ึง
คือ ความพอดีไม่สุดโต่ง ไม่ว่าจะเป็นการกระท�ำ การบริโภค การใช้จ่าย การ
ผลติ การลงทุน หรอื แมแ้ ตก่ ารออมก็ตอ้ งอยใู่ นระดบั ทตี่ นเองไมเ่ ดอื ดร้อน

เทคนคิ พอเพียง : ท�ำรายจ่ายให้สมดลุ กับรายรับ
จำ� ไว้วา่ ! การควบคุมรายจ่ายงา่ ยกว่าการเพมิ่ รายรับ
รายจ่ายใดลดได้ ไม่เดือดรอ้ นตัวเองและผู้อน่ื ลดซะ!

2. มีเหตผุ ล

ไม่ว่าจะตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับระดับความพอประมาณจะต้องเป็นไป
อย่างมีเหตุผล มีการพิจารณาเหตุ ปัจจัย และข้อมูลท่ีเก่ียวข้อง ต้องมองผล
ในระยะส้ันและระยะยาว รวมถึงค�ำนึงถึงความเสี่ยง และผลกระทบท่ีจะเกิด
จากการตัดสินใจน้ันๆ นี่คือหลักที่จะท�ำให้เรามีความรอบคอบ ใช้จ่ายพอดีกับ
อัตภาพ เกิดประโยชน์ หรือแม้แต่ ‘เวลา’ อย่างคุ้มค่า ไม่เป็นผู้บริโภคนิยม
น่นั เอง

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 45

3. มีภูมคิ มุ้ กนั

การกระท�ำใดๆ ก็ตามจะต้องค�ำนึงถึงความเป็นไปได้ท่ีจะเกิดขึ้น
ไม่เฉพาะแต่ในปัจจุบัน แต่จ�ำเป็นต้องมองการณ์ไกลถึงอนาคต ค�ำนึงถึง
ความเสี่ยง และสามารถสร้างภูมิกันพร้อมรับผลกระทบ หรือการเปลี่ยนแปลง
ตา่ งๆ อาทิ การงาน การเงิน หรือแม้แตส่ ขุ ภาพของตวั เอง ฯลฯ

เทคนคิ พอเพียง : นอกจาก ‘เงินออม’ แล้ว ความมีจติ
เอือ้ เฟ้อื เผอ่ื แผแ่ กผ่ ูค้ นรอบข้าง ยงั เป็นตวั ชว่ ยของเรา
ในยามยากได้

4. มีความรู้คู่คณุ ธรรม

มีความใฝ่รู้เกี่ยวกับวิชาการและเร่ืองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับส่ิงท่ีจะท�ำ
อย่างรอบด้าน เมื่อมีความรู้ย่อมส่งผลให้มีการตัดสินใจท่ีถูกต้อง และสามารถ
ปรับใชใ้ ห้เหมาะกับสถานการณ์ นอกจากน้ีตอ้ งมีความรอบคอบ และระมัดระวัง
รู้จักวางแผนอย่างมีสติ ภายใต้คุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต ไม่โลภ ไม่หลง
ดำ� เนนิ ชวี ติ ไปในทางสายกลาง

เทคนิคพอเพยี ง : ตระหนกั อยูเ่ สมอว่า การเปลย่ี นแปลง
เกดิ ขน้ึ ได้ตลอดเวลา ความ (ใฝ่) รแู้ ละความเพยี ร
จะช่วยให้เราเอาชนะความไม่แนน่ อนได้ไมย่ าก

46 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

น่ีคือ 4 หลักง่ายๆ หากใครท�ำได้ท้ังหมด น่ันแสดงว่าปฏิบัติคุณธรรม
ความพอเพยี งไดด้ ี ชวี ติ กจ็ ะดำ� เนนิ ไปอยา่ งเปน็ สขุ สมดลุ และกา้ วหนา้ อยา่ งยงั่ ยนื
ในทสี่ ุด

“คุณลกั ษณะคนหวั ใจพอเพียง”

1. ไมเ่ ปน็ ผบู้ รโิ ภคนยิ ม
• ใช้จา่ ยอย่างพอประมาณ ไมเ่ กนิ พอดี มเี หตมุ ีผล
•• บรโิ ภคอปุ โภคอย่างคุ้มคา่
พิจารณาเลอื กผลติ ภณั ฑ์อย่างรอบคอบ ไมเ่ บียดบังสง่ิ แวดล้อม
ขณะเดยี วกนั กช็ ่วยอุดหนนุ ชุมชน

2.• มคี มวคี าวมาใมฝร่รู้ แู้ ตไ่ ม่ยึดตดิ ต�ำรา
• พร้อมปรบั เปล่ยี น และทดลองสง่ิ ใหมๆ่ ท่จี ะเปน็ ประโยชนแ์ ก่

ตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม

3. รักษาค�ำพูดและซื่อสตั ย์

• พูดจรงิ ท�ำจรงิ
• นา่ เชอื่ ถือ และไวเ้ นอื้ เชอ่ื ใจได้

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 47

4. ฝกึ ฝน แก้ไข ปรับปรงุ ตนเสมอ

• ยอมรับและแก้ไขสิ่งบกพร่องของตน
• บงั คบั ควบคมุ ตนเองใหร้ ู้จกั ปรบั ตวั
• ฝึกฝน ทดลองให้เกิดการปรบั ปรงุ ใหถ้ กู ต้อง
• พฒั นาตนเองให้ดขี ้ึนอยา่ งตอ่ เนอื่ ง

5.• ขยขนั ยันอดอดททนนตแอ่ลกะามรีคทว�ำางามนเพคยี วรามเจบ็ ใจ ทนตรากตรำ�
และขม่ อารมณ์ตนได้
• อดทนตอ่ ความหนาว ร้อน หวิ กระหาย
• ทนต่อความย่ัวยวนต่างๆ รวมถงึ อำ� นาจฝ่ายต�ำ่
• มีความเพยี ร ไมย่ ่อท้อตอ่ อุปสรรค

6. เสยี สละและเออ้ื อาทรต่อผ้อู น่ื เสมอ

• เสยี สละ เออื้ เฟอื้ เกือ้ กูล
• ชว่ ยเหลอื บำ� เพ็ญประโยชน์
• ค�ำนงึ ถึงความยัง่ ยนื หรือผลกระทบตอ่ ผู้อืน่

ชุมชน สังคม ส่งิ แวดลอ้ ม และวัฒนธรรมเป็นหลกั

• ละเว้นความโกรธ ความเห็นแกต่ วั
• ใจกวา้ งที่จะร่วมงานกบั ผูอ้ ่ืน
• ไมย่ ึดติดตัวตนของตนเปน็ ศนู ย์กลาง

48 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม


Click to View FlipBook Version