The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา สร้างคนดีสู่สังคม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา สร้างคนดีสู่สังคม

การส่งเสริมคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา สร้างคนดีสู่สังคม

วนิ ัย

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 49

วนิ ยั หมายถงึ การยดึ มน่ั และรบั ผดิ ชอบในหนา้ ทขี่ องตน ทง้ั วนิ ยั

ตอ่ ตนเองในการผลกั ดนั ชวี ติ ใหก้ า้ วหนา้ วนิ ยั ตอ่ องคก์ ร สงั คม ปฏบิ ตั ติ าม
จรยิ ธรรม จรรยาบรรณและเคารพต่อกฎหมาย

50 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

จากความหมายของคุณธรรม “วินัย” ข้างต้นจะเห็นลักษณะของวินัย
ดงั น้ี

มีระเบียบและจริยธรรม ปฏบิ ตั ติ นตามกตกิ า
ปฏบิ ตั ิตนตามหนา้ ที่ ขององค์กรและ
สงั คมทกี่ �ำหนด
ของพลเมืองดี

วินัย

ปฏิบัติตามกฎกตกิ า เคารพตอ่ กฎหมาย
จรรยาบรรณของวิชาชีพ

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 51

เขา้ ใจ “วนิ ยั ” ผา่ นหลักธรรมของศาสนา

คุณธรรม “วนิ ัย” มปี รากฏในค�ำสอนของศาสนาตา่ งๆ ดังน้ี
ในพุทธศาสนา วินัยเป็นอุบายส�ำหรับสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ในสังคม โดยค�ำว่า ‘วินัย’ หมายถึง อุบายส�ำหรับฝึกหัดกายวาจาควบคุม
ให้บุคคลปฏิบัติตามกติกาทางสังคมเพ่ือการอยู่ร่วมกันด้วยความเป็น
ระเบียบเรียบร้อย กติกาทางสังคมน้ีหมายรวมถึงกฎ ระเบียบข้อบังคับ
ค�ำส่ัง กฎหมาย และขอ้ ตกลงทางสงั คมอื่นๆ ทส่ี รา้ งความเปน็ ระเบียบเรียบรอ้ ย
และความสามัคคใี นหมคู่ ณะ

วนิ ยั มี 2 อยา่ ง คือ วินยั สำ� หรบั บรรพชติ หรอื พระสงฆ์ (อนาคาริยวินยั )
และ วนิ ัยส�ำหรับชาวบ้าน (อาคารยิ วินยั ) ไดแ้ ก่ กุศลกรรมบถ 10 ซง่ึ รวมศลี 5
ไว้ดว้ ย และ “ศลี ” คือ อบุ ายส�ำหรบั ฝกึ หัดกายวาจาใหเ้ รยี บรอ้ ยในระดับบุคคล
ถ้าเปน็ อุบายฝกึ หดั กายวาจาให้เรียบรอ้ ยสำ� หรับหมู่คณะโดยรวมเรียกวา่ วนิ ัย น่ัน
คือการรักษาศีลอาศัยวิรัติหรือวินัยในตนเองเป็นเคร่ืองก�ำกับ ส่วนการรักษาวินัย
ของหมูค่ ณะอาศยั มาตรการลงโทษเป็นเครอ่ื งกำ� กบั

ดงั นนั้ วนิ ยั จงึ ชว่ ยสรา้ งความเปน็ ระเบยี บเรยี บรอ้ ยในสงั คม ซง่ึ เปรยี บเหมอื น
เส้นด้ายที่เรียงร้อยดอกไม้นานาชนิดเข้าด้วยกันจนกลายเป็นพวงมาลัย
ท่ีเป็นระเบียบงดงาม เม่ือสมาชิกของหมู่คณะรักษาวินัยคือปฏิบัติตามกฎ
ระเบยี บ ข้อบังคบั คำ� สง่ั กฎหมาย และข้อตกลงทางสังคมอื่นๆ อย่างเทา่ เทียมกนั
เรียกว่าสีลสามัญญตาหรือการมีศีลเท่าเทียมกันซ่ึงเป็นข้อปฏิบัติส�ำคัญส�ำหรับ
สร้างความสามัคคีในสังคม

52 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

เชน่ เดยี วกับ วินยั ในศาสนาอสิ ลาม ทส่ี อนวา่ งานตา่ งๆ ทจี่ ะท�ำนั้น จะ
ต้องมีความเหมาะสมกับตนเองและสังคม ขณะเดียวกันต้องออกห่างจากการ
งานที่ไม่ดีท่ีสร้างความเส่ือมเสียอย่างส้ินเชิง ส่วนการประกอบคุณงามความดี
อน่ื ๆ เชน่ การถือศีลอด การละหมาด และสง่ิ ท่ีคลา้ ยคลึงกับส่ิงเหล่าน้ี เป็นการ
แสดงให้เห็นถึงการเป็นบ่าวท่ีจงรักภักดี และปฏิบัติตามบัญชาของพระองค์
ขณะที่กฎเกณฑแ์ ละค�ำสอนของศาสนานั้น ทำ� หนา้ ท่ีคอยควบคุมความประพฤติ
ของมนุษย์ ทั้งท่ีเปน็ หลกั ศรัทธา หลกั ปฏบิ ตั ิ และจริยธรรม

ในศาสนาอิสลามมีหลักท่ีอิสลามิกชนทุกคนต้องปฏิบัติตามอยู่ 2 หลัก
ใหญๆ่ คือ ฟัรดูอัยนีย์ หลักการพ้ืนฐานอันจ�ำเป็นส�ำหรับอิสลามิกชนทุกคนจะ
ต้องรู้ ต้องประพฤติ และ ฟัรดกู ิฟายะฮ์ คือ หน้าทีต่ า่ งๆ ทางสงั คม นบั ตงั้ แต่
สังคมหนว่ ยเล็ก คือ ครอบครวั ไปจนถงึ สงั คมหน่วยใหญ่ ก็คอื ประเทศชาติ

นอกจากนี้ ยังมีหลักปฏิบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า ‘ศาสนวินัย นิติศาสตร์
และการพิพากษา’ ซ่ึงรวบรวมหลักปฏิบัติภาคบังคับ กฎบัญญัติห้ามที่ต้อง
ละเว้น ไปจนถงึ กฎบัญญตั ทิ ไ่ี มไ่ ดเ้ จาะจง จะท�ำหรือละเวน้ ก็ไมถ่ ือเปน็ การฝ่าฝนื
ศาสนวินัย ทั้งหมดน้ีล้วนหล่อหลอมให้อิสลามิกชนทุกคนรู้และเข้าใจแก่นแท้
ของอสิ ลาม ซง่ึ เป็นรากฐานแห่งสันติภาพ

วินัยในศาสนาคริสต์ เป็นบทบัญญัติท�ำให้ชีวิตเป็นปกติสุข กล่าวคือ
ศาสนาคริสต์เน้นย้�ำให้ชาวคริสต์หมั่นท�ำความดีทุกวันตลอดชีวิต ประพฤติ
ปฏบิ ตั ิตนตามบทบัญญัติของพระเจา้ เม่ือทำ� เชน่ นั้น การจะท�ำกจิ การใดๆ ก็จะ
ประสบความส�ำเร็จ ทั้งน้ีบทบัญญัติท่ีเน้นย�้ำให้ชาวคริสต์ปฏิบัติตามห้ามละเลย
ได้แก่ “ความยุติธรรม” “ความเมตตากรุณา” และ “ความซ่ือสตั ย”์ ทรงตรัสวา่
บทบัญญตั ิเหล่าน้ันจ�ำเป็นต้องปฏบิ ัตโิ ดยไม่ละเวน้ บทบัญญตั อิ ื่นๆ (มธ 23:23)

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 53

เรียนรู้ “วินัย” จากคำ�สอนพอ่

ทสี่ ดุ ของตน้ แบบแหง่ ความมวี นิ ยั ของคนไทยทกุ คนกค็ อื พระบาทสมเดจ็
พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช บรมนาถบพติ ร แมพ้ ระองคจ์ ะเปน็ พระมหากษตั รยิ ์
แต่ทรงใหค้ วามสำ� คญั กบั การปฏิบตั ติ ามกฎระเบยี บมาโดยตลอดพระชนม์ชพี

ดร.สุเมธ ตนั ตเิ วชกลุ ข้าราชบริพารทีร่ ับใช้เบือ้ งพระยคุ ลบาทเคยเล่าวา่
มีอยู่คร้ังหนึ่ง พระองค์ทรงขับรถยนต์พระท่ีน่ังด้วยพระองค์เองตามล�ำพัง เม่ือ
มาถึงสี่แยกไฟแดงแห่งหน่ึง ขณะท่ีก�ำลังรอสัญญาณไฟอยู่นั้นก็มีรถต�ำรวจซึ่ง
นำ� ขบวนรถรฐั มนตรแี ลน่ มาจอ่ ทา้ ยและบบี แตรไลใ่ หห้ ลบ โดยหารไู้ มว่ า่ รถคนั นน้ั
เป็นรถพระทน่ี ง่ั ของพระองค์

ต�ำรวจเดินตรงมาที่รถพระที่น่ัง เป็นจังหวะที่พระองค์ก็เสด็จลงจากรถ
พอต�ำรวจเห็นเท่าน้ัน ก็ทรุดน่ังลงกับพ้ืนทันทีก่อนท่ีรัฐมนตรีจะเดินตามมาและ
ก้มลงกราบพระองคด์ ว้ ยอาการตวั สน่ั เทา

พระองคต์ รัสถามรฐั มนตรีและตำ� รวจติดตามวา่
“พวกท่านจะรีบไปไหนหรือ? ถึงกับจะต้องฝ่าไฟแดง ข้าพเจ้ายังรอ
ตดิ ไฟแดงไดเ้ ลย”

54 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

แต่ไม่มีค�ำตอบใดๆ ในวันน้ัน ก่อนจะแยกย้าย ต�ำรวจท่ีน�ำขบวนรถ
รัฐมนตรี ก็ได้ทูลถามพระองค์ว่า “ให้ข้าพระพุทธเจ้าขับรถน�ำรถพระที่นั่งของ
พระองค์ไปไหมพระพทุ ธเจา้ ข้า”

“เราไมต่ ้องให้ท่านมานำ� ขบวนรถเราหรอก เราขับไปเองคนเดยี วได้
ท่านไปน�ำรถของท่านรฐั มนตรีเถอะ”

น่นั เปน็ กระแสรับสงั่ เพยี งสน้ั ๆ ก่อนทีพ่ ระองคจ์ ะทรงขับรถออกไป...
เร่ืองน้ีแสดงให้เห็นแบบอย่างท่ีดี แม้ทรงเป็นถึงพระมหากษัตริย์ แต่
ก็ทรงเคารพระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัดจนเป็นท่ีประจักษ์ และพระองค์ยังทรง
พระราชทานพระบรมราโชวาทและพระราชด�ำรัสในโอกาสต่างๆ ไว้ให้พสกนิกร
ไดต้ ระหนกั และเหน็ ความสำ� คัญของการมีวนิ ยั อกี มากมาย อาทิ

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 55

“วินัยน้ีเป็นส่ิงที่จ�ำเป็นอย่างย่ิง ท้ังในส่วนบุคคลและใน
ส่วนรวม กล่าวคือ ในส่วนบุคคล วินัยจะท�ำให้บุคคลสามารถใช้
ความรู้ความสามารถและประพฤติตนปฏิบัติงานได้ถูกต้องและ
เปน็ ประโยชนใ์ นสว่ นรวม

วินัยนี้น้ันจะท�ำให้หนว่ ยงาน สงั คม ตลอดจนชาตบิ ้านเมือง
มีความแข็งแกร่งสามารถปฏิบัติการต่างๆ ร่วมกันได้อย่างเป็น
เอกภาพ วินัยจึงเป็นปัจจัยหรือพลังอย่างส�ำคัญ ในการสร้างสรรค์
ความเป็นปกติเรียบร้อยและความเจริญมั่นคงให้แก่บุคคลและส่วน
รวม”

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานกระบี่โรงเรียนนายรอ้ ยพระจลุ จอมเกล้า
โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ
ณ สวนอัมพร วนั ที่ 7 มถิ ุนายน 2543

56 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

“วนิ ยั แทจ้ รงิ มอี ยสู่ องอยา่ ง อยา่ งหนงึ่ คอื วนิ ยั ตามทที่ ราบกนั
และถือกัน อันไดแ้ ก่ขอ้ ปฏิบตั ทิ ่บี ัญญตั ไิ ว้เปน็ กฎหมายหรือระเบยี บ
ข้อบังคับต่างๆ ให้ถือปฏิบัติ อีกอย่างหนึ่งคือ วินัยในตนเอง ท่ี
แต่ละคนจะต้องบัญญัติข้ึนส�ำหรับควบคุมบังคับให้มีความจริงใจ
และให้ประพฤติปฏิบัติตามความจริงใจนั้นอย่างมั่นคง มีลักษณะ
เป็นสัจจาธิษฐานหรือการต้ังสัตย์สัญญาให้แก่ตัว วินัยอย่างนี้
จัดเป็นตัววินัยแท้ เพราะให้ผลจริงและแน่นอนยิ่งกว่าวินัยท่ีเป็น
บทบัญญัติทั้งเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะเก้ือกูลให้การถือการใช้วินัยท่ี
เปน็ บทบัญญตั ินนั้ ไดผ้ ลเทยี่ งตรง ถกู ตอ้ ง สมบรู ณ์ เตม็ เปี่ยมตาม
เจตนารมณ”์

พระบรมราโชวาทในพิธพี ระราชทานกระบ่ี และปริญญาบัตร
โรงเรียนนายรอ้ ยพระจุลจอมเกล้า โรงเรยี นนายเรือ
และโรงเรียนนายเรืออากาศ
วนั ท่ี 25 มีนาคม 2524

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 57

“เด็กต้องเรียนความรู้ อบรมความดี ฝึกหัดวินัย ให้มี
ความพร้อมแต่เยาว์วัย จึงจะมีความสุขความเจริญได้ท้ังในวันนี้
และวนั ข้างหนา้ ”

พระบรมราโชวาทส�ำหรบั พระราชทานลงพมิ พใ์ นหนังสอื วันเดก็ ประจ�ำปี 2523
ณ พระต�ำหนักจติ รลดารโหฐาน วนั ท่ี 18 ธนั วาคม 2522

58 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

“วินัยน้ีในปัจจุบัน มีคนบางส่วนมองเห็นไปว่าไม่สู้จะมี
ความหมาย นึกว่าเป็นสิ่งที่สมมติต้ังขึ้น โดยปราศจากเหตุผลที่
อิสรชนจะยอมรับได้เต็มที่ แท้จริงไม่ว่าวินัยทหารหรือวินัยโดย
ท่ัวไปเป็นของจ�ำเป็นอย่างยิ่งยวด เพราะเป็นต้นเหตุส�ำคัญท่ีท�ำให้
ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ท่ีมีอยู่สำ� หรับความเรียบร้อยเป็นปกติของ
การงานของสังคมและบ้านเมอื ง ไมเ่ ปน็ หมนั นับวา่ เปน็ ปัจจัยและ
พลังส่วนหนึ่งซึ่งท�ำให้การทุกอย่างด�ำเนินไปได้โดยดี โดยสะดวก
และบรรลุผลอย่างถูกต้อง”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานกระบ่ี และปริญญาบตั ร
โรงเรียนนายร้อยพระจลุ จอมเกล้า

ณ หอประชุมกติ ตขิ จร วันท่ี 24 เมษายน 2517

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 59

วินัยตน วนิ ยั ชาติ : สองวนิ ัยเป้าหมายเดียวกนั

จากหลกั ของศาสนาและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มีความสอดคลอ้ งกนั คอื วนิ ัย แบ่งออก
เป็น 2 กลมุ่ คอื

• วนิ ยั ในตนเอง คอื วนิ ยั ทเี่ ปน็ เครอ่ื งชว่ ยเหนยี่ วรง้ั ไมใ่ หบ้ คุ คลประพฤติ

ปฏิบัติในส่ิงท่ีไม่ดี และช่วยส่งเสริมผลักดันให้เกิดความส�ำเร็จใน
ชีวติ ไดแ้ ก่ อดทน ขยันหมนั่ เพยี ร ตรงเวลา ไมผ่ ลัดวนั ประกันพรงุ่
รับผดิ ชอบตอ่ หน้าท่ี พึง่ ตนเอง ประหยดั อดออม ฯ

• วนิ ยั เพอื่ สว่ นรวม คอื วนิ ยั ทเี่ กดิ จากการกระทำ� ของบคุ คลแลว้ จะชว่ ย

ให้การอยู่ร่วมกนั ในสงั คมมีระเบียบ มคี วามสุข และพฒั นาก้าวหนา้
ได้ดี ได้แก่ การเคารพระเบียบกฎหมาย วินัยจราจร การเข้าคิว
เคารพสทิ ธิผอู้ ่นื รักษาทรัพยส์ ินและประโยชน์สว่ นรวม ซงึ่ หากขาด
วนิ ัยกลุ่มนี้ สังคมจะเกดิ ปัญหามากมาย และพัฒนาไปไดช้ า้
ความจริงวินัยในตนเองและวินัยเพื่อส่วนรวมไม่ได้แยกออกจากกัน
ชัดเจน แต่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน คือ ถ้าบุคคลในสังคมมีวินัยส่วนตน
หลายๆ ด้าน และทำ� จนเปน็ นิสัยก็จะกลายเปน็ วนิ ัยของสังคมเอง และส่งผลต่อ
การพัฒนาสังคมน้ัน อีกด้านหน่ึง หากสังคมมีวินัยหรือกติกาท่ีชัดเจน และคน
ส่วนใหญ่ยึดถือปฏิบัติก็จะท�ำให้บุคคลต้องปฏิบัติและกลายเป็นวินัยในตนเองใน
ท่สี ุด

60 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

คนโดยท่ัวไปมักเข้าใจและมีทัศนคติต่อวินัยในเชิงลบ คือ คิดว่าวินัย
เป็นเร่ืองของการบังคับ เป็นเรื่องของกฎหมาย ใช้บังคับให้คนต้องปฏิบัติตาม
แต่ความจริงแล้ววินัยมีท้ังความหมายเชิงบวกด้วย ดังท่ี สมเด็จพระพุทธ
โฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโฺ ต) ให้ความหมายของวินัยเชิงบวกวา่

“วินัย เป็นการจัดสรรโอกาส ท�ำให้ชีวิตและสังคมมีระบบ
ระเบียบและมโี อกาสเกิดขน้ึ ท�ำให้ทำ� อะไรๆ ไดค้ ลอ่ ง ดำ� เนนิ ชวี ิต
ไดส้ ะดวก ด�ำเนนิ กิจการได้สะดวก ถ้าชวี ิตและสังคมไมม่ รี ะเบียบ
ไม่เป็นระบบ ก็จะสูญเสียโอกาสในการท่ีจะด�ำเนินชีวิต และ
ท�ำกิจการของสังคมให้เป็นไปด้วยดีตลอดจนท�ำให้การพัฒนา
ไดผ้ ลดี”

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 61

“วินัย” ชว่ ยสรา้ งคนดี สังคมดี อยา่ งไร

จะเห็นได้ว่า “วนิ ัย” เป็นคุณธรรมทีม่ หี น้าทีก่ �ำกับและส่งเสรมิ ให้บุคคล
สงั คมอย่รู ว่ มกนั อยา่ งสนั ตสิ ุข และช่วยพัฒนาสังคมใหเ้ จรญิ กา้ วหน้าอย่างย่งั ยืน
วนิ ยั เป็นคณุ ธรรมหลกั ทมี่ คี วามเชือ่ มโยงกับคณุ ธรรมอื่น ได้แก่ ความ
ซ่ือตรง คนที่มีวินัยเป็นคุณธรรม จะท�ำด้วยความวิริยะอุตสาหะจนกลาย
เป็นความเคยชินและเป็นชีวิตประจ�ำวัน ไม่ว่าจะมีคนเห็นหรือไม่ก็ตาม
เป็นพฤติกรรมท่ีอยู่บนความส�ำนึก “รับผิดชอบ” ผู้มีวินัยจะเป็นผู้รู้ผิดชอบช่ัวดี
รู้ว่าสิ่งใดควรท�ำ ส่ิงใดไม่ควรท�ำ และมีจิตส�ำนึกเพ่ือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า
ประโยชน์ส่วนตน

62 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

ความซ่ือตรง จติ ส�ำนึก
เพือ่ ส่วนรวม

วนิ ัย ความ
รบั ผดิ ชอบ
ความเพียร
พยายาม

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 63

สังคมไทยตอ้ งการวินัยอยา่ งย่ิง

“ทำ� อะไรตามใจคือไทยแท้” เป็นคำ� พงั เพยทีส่ ะท้อนให้เหน็ นิสยั และการ
ประพฤติของคนไทยที่ชอบความสะดวกสบาย ไม่ชอบกฎกติกา ระเบียบ หรือ
กฎหมาย คนไทยจำ� นวนไมน่ อ้ ย จงึ ใชช้ วี ติ แบบไมม่ เี ปา้ หมาย ขาดแรงผลกั ดนั จาก
ภายในท่ีจะพฒั นาตนเองไปสู่คนทีม่ ีคุณภาพ ละเลยไม่เคารพหรือปฏบิ ตั ิตามกฎ
กติกาของสังคม การขาดวินัยดังกล่าว นอกจากจะท�ำให้ขาดความเป็นระเบียบ
เรยี บร้อยในการอยู่ร่วมกันแล้ว ยังก่อใหเ้ กดิ ความเสียหายอย่างมากทั้งต่อตนเอง

ครอบคร•ัว แลวะินสัยังจครมาจเรช่นคนไทยขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันอย่างมาก

ในเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ มักเกิดอุบัติเหตุท่ีท�ำให้คนบาด
เจ็บและเสียชีวิตเป็นจ�ำนวนมาก สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและ
ทรัพย์สิน ล่าสดุ จากการประเมนิ ปี 2558 พบว่า ประเทศไทยมีสถิติ
การเกดิ อบุ ตั เิ หตุจากการจราจรสูงเปน็ อนั ดับ 2 ของโลก ในแตล่ ะปี
จะมีคนตายกว่าหมื่นคน มากกว่าการตายในสงครามของหลาย
ประเทศเสียอีก ท้ังน้ี พฤติกรรมการขาดวินัยจราจรที่มากและ
เป็นอันตรายได้แก่ การไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
ขับรถสวนทาง ไม่หยุดให้คนข้ามถนน เมาแล้วขับ ขับรถเร็วเกิน
กว่าทกี่ �ำหนด ฯ

• วนิ ยั เรอ่ื งขยะ นบั เปน็ ปญั หาทส่ี ง่ ผลกระทบอยา่ งมาก ประเทศไทยมี

ขยะลน้ เมอื งมากมายและไมส่ ามารถแกไ้ ขได้กระทงั่ ตอ้ งมยี ทุ ธศาสตร์
การก�ำจัดขยะระดับชาติ นอกจากนี้ “ขยะ” ยังเป็นหน่ึงในสาเหตุ
ส�ำคัญของปัญหาอื่นๆ เช่น น�้ำท่วมกรุงเทพฯ เน่ืองจากประชาชน
ทิ้งขยะไม่เป็นท่ี เม่ือฝนตกน้�ำก็พัดพาขยะไหลลงไปรวมในท่อ
ระบายน�้ำเมื่อสะสมมากเข้าก็ไปขัดขวางการระบายน้�ำ นอกจากนี้
ในงานวิจัยของนิตยสาร Science ท�ำการส�ำรวจ 192 ประเทศ

64 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

ตดิ ชายฝัง่ ทะเล เมื่อปี 2553 พบวา่ ประเทศไทยตดิ อันดับ 6 ของโลก
ทท่ี ้งิ ขยะลงทะเลมากท่ีสดุ
ทั้งสองสถิติดังกล่าว ได้สะท้อนพฤติกรรมท่ีขาดวินัยของคนในชาติได้
เป็นอย่างดีและท�ำให้เห็นถึงผลกระทบจากการขาดวินัย รวมถึงภาพลักษณ์ของ
ประเทศ

จะสรา้ งวนิ ัยคนไทยไดอ้ ยา่ งไร

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เขียนไว้ใน “วินัย เรื่องใหญ่
กวา่ ทคี่ ิด” อธิบายวิธกี ารเสรมิ สรา้ งวนิ ยั ไว้ ดงั น้ี

• สร้างวนิ ัยด้วยการทำ� ใหเ้ ป็นพฤตกิ รรมเคยชิน โดยเรม่ิ จากการเขา้ สู่
สงั คมหรือชวี ิตใหม่
• ใชว้ นิ ยั ทล่ี งตัวแล้ว คอื “วัฒนธรรม” มาชว่ ย เพราะวฒั นธรรมเป็น
ปัจจยั หนงึ่ ของการสรา้ งวนิ ัย แผน ความเคยชิน พฤตกิ รรม
• สร้างวินัยให้ได้ผลด้วยระบบความสัมพันธ์ขององค์รวม ด้าน
พฤตกิ รรม ด้านจติ ใจ และดา้ นปัญญา

• สร้างวนิ ยั โดยการใช้ปัจจยั อนื่ ช่วยเสริม เชน่ ความเปน็ กลั ยาณมิตร
ทีเ่ ป็นต้นแบบท่ีดี มีความรกั และเหตผุ ล

• สรา้ งวนิ ยั ด้วยแรงหนุนของสภาพจติ ใจ คือ การเอาปจั จยั ดา้ นจิตใจ
มาตัง้ เปน็ อดุ มคติ ทเี่ ขา้ ใจ มีความมงุ่ ม่ัน

• สรา้ งวนิ ยั โดยใชก้ ฎเกณฑบ์ งั คบั หมายถงึ การใชก้ ฎหมาย กฎเกณฑ์
มาควบคุม บงั คบั ลงโทษ

• เห็นความดแี ละประโยชน์ของการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 65

คนแบบไหนมวี ินยั ในตนเอง

• มีความอดทน อดกลัน้
• มุ่งม่ันตง้ั ใจ
• มคี วามรับผิดชอบ
• ไม่ยอ่ ทอ้ ตอ่ อุปสรรค
• ขยันหมั่นเพยี ร
• ใฝ่หาความรู้ มีเหตุผล
• รกั ษาคำ� พดู ตรงต่อเวลา
•• รู้จักวางแผนและแบง่ เวลาเปน็
เปดิ ใจรบั ทกุ คำ� แนะนำ� หรอื คำ� ตชิ ม และนำ� ความผดิ พลาดมาปรบั ปรงุ
แกไ้ ข

เมื่อมีวินัยในตนเองแล้วต้องมีวินัยเพ่ือส่วนรวมด้วย โดยวินัยเพ่ือส่วน
รวมที่สำ� คญั ไดแ้ ก่

• เคารพและปฏิบตั ติ ามกฎหมาย
• เคารพและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ หรือข้อตกลงขององค์กร

สังคม

• รับผดิ ชอบต่อหนา้ ทที่ ่ีมีตอ่ สังคม
• ยดึ ประโยชนส์ ่วนรวมของสงั คมมากกว่าประโยชนต์ น
• เคารพสทิ ธผิ อู้ ่นื และไมย่ อมใหใ้ ครละเมดิ สิทธิของตน

66 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

สจุ ริต

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 67

สุจริต หมายถึง ความซื่อตรง ความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่น

ยืนหยัดในการรักษาความจริง ความถูกต้อง ความเป็นธรรมท้ังปวง
กลา้ ปฏิเสธการกระท�ำท่ีไมซ่ อ่ื ตรง ไมซ่ ่อื สตั ยข์ องบุคคลอืน่ ที่จะก่อใหเ้ กดิ
ความเสยี หายต่อส่วนรวม

68 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

จากความหมายของคุณธรรม “สุจริต” ขา้ งต้นจะเห็นลักษณะของสุจรติ
ดงั น้ี

ซอ่ื ตรง ซอ่ื สตั ย์ ยดึ มน่ั ใน ไม่สนับสนนุ ไม่รว่ มมอื
การรกั ษาความจรงิ ความ ไมย่ ินยอมและ
ถกู ตอ้ ง ความเป็นธรรม ต่อตา้ นการทุจรติ

ดว้ ยความกลา้ หาญ

สุจรติ

ใชด้ ลุ ยพนิ ิจทีถ่ ูกตอ้ ง ในการ ขบั เคล่อื นสังคม สคู่ วาม
ปฏิบตั ติ อ่ บคุ คลอน่ื อยา่ ง ดีงาม และมธี รรมาภบิ าล
เทีย่ งธรรม ไมเ่ ลือกปฏิบัติ ดว้ ยการพดู การกระทำ�

และการปฏบิ ตั หิ นา้ ที่

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 69

ค�ำว่า ‘สุจริต’ มีผู้ให้ค�ำนิยามไว้มากมาย ยกตัวอย่าง ในพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ค�ำนิยามไว้ว่า สุจริต คือ ความ
ประพฤติชอบ
ขณะทโ่ี ครงการ ‘โตไปไม่โกง’ ได้ให้ค�ำนิยาม สุจรติ ว่า การยึดม่นั ใน
ความสัตย์จริงและในสิ่งท่ีถูกต้องดีงาม มีความซื่อตรง และมีเจตนาที่บริสุทธ์ิ
ปฏิบตั ิตอ่ ตนเองและผ้อู ืน่ โดยชอบ ไม่คดโกง

เชน่ เดยี วกับ การประชมุ คณะกรรมการสง่ เสรมิ คุณธรรมแห่งชาติ คร้ังท่ี
2/2559 ซงึ่ ไดน้ ิยามไปในทิศทางเดียวกนั คอื ความซอ่ื ตรงตอ่ หน้าทแี่ ละบคุ คล
กล่าวโดยสรุป สุจรติ กค็ ือ การประพฤตดิ ตี อ่ บคุ คล ต่อหนา้ ท่ี ประพฤติ
ถูกต้องตามทำ� นองคลองธรรมทั้งทางกาย วาจา ใจ น่นั เอง
นอกจากนี้ คำ� วา่ ‘สจุ ริต’ ยงั มคี วามหมายเกยี่ วเนอ่ื งเชือ่ มโยงกบั คำ� ว่า
‘ซื่อตรง’ และ ‘ซ่ือสัตย์’ ซ่ึงจัดอยู่ในคุณธรรมพื้นฐานชุดเดียวกัน โดย
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติไว้ว่า ‘ซ่ือตรง’
หมายถึง ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่คดโกง ขณะที่ ‘ซื่อสัตย์’ หมายถึง
ประพฤติตรงและจริงใจ ไมค่ ดิ ทรยศ ไมค่ ดโกง และไม่หลอกลวง

70 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

ซื่อตรง ••• ประพฤตติ รง
ไม่เอนเอยี ง
ไม่คดโกง

ซ่ือสตั ย์ ••• ประพฤติตรงและจริงใจ
ไม่คดิ คดทรยศ
ไม่คดโกงและไมห่ ลอกลวง

สจุ ริต ••• ประพฤตชิ อบ ใจ
ซอื่ ตรง เจตนาบริสทุ ธิ์ ไมค่ ดโกง
ประพฤติถกู ต้องทัง้ ทางกาย วาจา

จะเห็นได้ว่าความแตกต่างระหว่างซ่ือตรงกับซ่ือสัตย์ ก็คือ ‘ซื่อสัตย์’
จะเปน็ คำ� ทรี่ วมองคป์ ระกอบของ ‘จติ ใจ’ ซงึ่ เปน็ สง่ิ สำ� คัญที่สุดไว้ดว้ ย กล่าวคือ
นอกจากความประพฤติแล้ว ยังต้องพัฒนาท่ีจิตใจด้วย เช่นเดียวกับ ‘สุจริต’
ต้องประพฤติถกู ต้องตามทำ� นองคลองธรรมทัง้ ทางกาย วาจา และใจดว้ ย เพราะ
ใจทด่ี ที ีบ่ ริสุทธิ์ยอ่ มน�ำไปสกู่ ารพูดดี คิดดี ทำ� ดี

ทั้งสองค�ำน้ี จึงส�ำคัญท่ี ‘จิตใจ’ จึงมักถูกใช้ควบคู่กันเป็น ‘ซื่อสัตย์
สุจรติ ’ มคี วามหมายวา่ การประพฤตดิ ีและจริงใจ ไมค่ ดโกง ไม่หลอกลวง ซงึ่ ถอื
เปน็ คณุ ธรรมพน้ื ฐานของความดที ั้งปวงทคี่ วรมีอยใู่ นตัวของสจุ ริต

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 71

เข้าใจ “สุจริต” ผ่านหลกั ธรรมของศาสนา

ในพทุ ธศาสนา สจุ รติ หมายถงึ การดำ� เนนิ ชวี ิตทีด่ งี ามใน 3 ระดบั คอื
เรม่ิ ตน้ ดว้ ยการคดิ ดี (มโนสจุ รติ ) แลว้ แสดงออกเปน็ การพดู ดี (วจสี จุ รติ ) และทำ� ดี
(กายสจุ ร•ติ ) มโนสจุ รติ คอื การคดิ ดดี ว้ ยจติ ใจทไี่ มต่ กอยใู่ ตอ้ ำ� นาจของความโลภ
ความโกรธ ความหลง มกั คดิ แตจ่ ะใหท้ านดว้ ยความรกั และความฉลาด
รอบรู้
• วจีสุจริต คือ การพูดดี คือ พูดค�ำสัตย์ ค�ำประสานสามัคคี
คำ� สภุ าพและคำ� ท่มี สี าระ โดยละเว้นการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พดู คำ�
หยาบคาย และพูดเหลวไหลเพอ้ เจอ้
• กายสุจริต คือ การท�ำดีด้วยการช่วยเหลือเก้ือกูล การแบ่งปัน
และการดูแลครอบครัว โดยละเว้นการฆ่า การเบียดเบียนผู้อ่ืน
การลักทรัพย์ การฉ้อโกง และการประพฤตินอกใจ รวมท้ังการ
ล่วงละเมิดทางเพศ

ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน คนเราต้องท�ำด้วยความสุจริตทั้งในทางใจ
ทางวาจาและทางกาย ดังพทุ ธภาษิตท่วี ่า “ธมั มัญจะเร สจุ ริตัง” แปลว่า “บคุ คล
ควรปฏิบัตหิ นา้ ที่ใหส้ ุจรติ ” นั่นคือ เขาตอ้ งไม่บกพร่องตอ่ หน้าที่ ไมล่ ะท้งิ หน้าที่
และไม่ทุจริตต่อหน้าท่ี ด้วยเหตุนี้ ความสุจริตจึงเป็นหนทางสู่ความโปร่งใส
ทสี่ รา้ งสงั คมใสสะอาด

72 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

ขณะทศี่ าสนาอสิ ลามกลา่ ววา่ สุจรติ เปน็ คุณลกั ษณะอันพงึ ประสงค์ของ
อิสลามกิ ชนทุกคน ตรงกับ ‘อัลอามานะห’์ คุณธรรมข้อหนงึ่ ในบรรดาคณุ ธรรม
ทง้ั หลายของศาสนาอิสลาม ซึ่งถือเป็นคณุ ธรรมระดบั สูงที่ผกู พันกบั ความศรัทธา
ดังค�ำกลา่ วของทา่ นศาสนทูตมุฮัมมัด (ซ.ล.) ท่ีว่า

“ไม่ถือวา่ มีศรทั ธา (ที่สมบรู ณ์) ส�ำหรับผู้ทไี่ มม่ คี วามซอ่ื สตั ย์
และไมถ่ อื วา่ มศี าสนา (ที่สมบรู ณ์) สำ� หรับผู้ทไ่ี ม่รกั ษาสัญญา”4
การมีความซ่ือสัตย์ต่ออัลลอฮ์และศาสนทูต ถือเป็นความซื่อสัตย์
เป็นหลักที่อิสลามิกชนทุกคนต้องมี ต้องศรัทธา และต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
หากไม่ปฏบิ ัติเช่นนั้นแล้ว จะกลายเป็นผ้ทู ุจริตต่ออลั ลอฮ์และศาสนทตู
รวมถึงอิสลามิกชนยังต้องมี ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ท้ังร่างกายและ
จิตใจ กิจการงานใดท่ีจะมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายต้องละเว้นโดยเด็ดขาด
เช่น การท�ำงานจนเสียสุขภาพ ไม่เสพส่ิงอันตรายต่อร่างกายและปัญญา
หรืออาหารท่ีเป็นพิษต่อร่างกาย กล่าวคือ ต้องเลือกรับประทานอาหารท่ีดี
มีประโยชน์ ได้แก่ อาหารท่ศี าสนาอนุมัติ (ฮาลาล) เท่าน้ัน
นอกจากนี้ ยังต้อง ซ่ือสัตย์ต่อวิชาการ ด้วยการปฏิบัติตามความรู้
ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นอย่างครบถ้วนไม่ปิดบังอ�ำพราง ฯลฯ และสุดท้าย คือ
ซื่อสัตย์ต่อค�ำพูด ต้องพูดเฉพาะที่เป็นความจริง สร้างสรรค์ ไม่พูดปด ไม่พูด
นินทาให้ร้าย ไม่พูดเอาดีใส่ตัว ทั้งหมดนี้ คือ หลักแห่งความซ่ือสัตย์สุจริตที่
อสิ ลามกิ ชนทกุ คนตอ้ งปฏบิ ตั ติ ามอยา่ งเคร่งครัด

4 บนั ทึกโดยอะห์มดั

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 73

เช่นเดียวกับศาสนาคริสต์ ท่ีกล่าวว่า ความซ่ือสัตย์ให้คุณมากมาย
แก่ตนเองและผู้อ่ืน ความซื่อสัตย์จะน�ำมาสู่การได้รับความไว้วางใจจากผู้ใหญ่
เพราะผทู้ ซี่ อื่ สตั ยแ์ มใ้ นเรอื่ งเลก็ นอ้ ยกจ็ ะซอ่ื สตั ยใ์ นเรอ่ื งใหญๆ่ ดว้ ย ครสิ ตศาสนา
ไดใ้ หค้ วามสำ� คัญกับความสุจรติ ไว้วา่

• ผู้ท่ีด�ำเนินชีวิตด้วยความสุจริตแม้จะยากจนก็ดีกว่าคนที่พูด

ตลบตะแลง

• ผู้ที่ด�ำเนินชีวิตด้วยความสุจริตแม้จะยากจนก็ดีกว่าผู้ร่�ำรวยแต่มี

ความประพฤตคิ ดโกง

• ใครมีเพือ่ นที่ซอ่ื สตั ยเ์ หมอื นกบั ได้สมบตั ิ
• เพอื่ นซอื่ สัตยน์ ั้นประเมนิ ค่าไมไ่ ด้
• เพอ่ื นซือ่ สตั ยเ์ ป็นเสมอื นยาอายวุ ฒั นะ

ส�ำหรับ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีปรากฏในพระคัมภีร์และต�ำรับ
ต�ำราของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีบัญญัติเกี่ยวกับความสุจริตไว้หลายประการ
ยกตัวอย่าง มานวธรรม ซ่ึงเป็นหลักปฏิบัติของมนุษย์ต่อมนุษย์ โดยมีคติว่า
หากเกิดเป็นมนษุ ย์ จงปฏบิ ัติแต่ทางกุศล อาทิ

• คิดแต่ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น คิดแต่ท�ำเสียประโยชน์ของผู้อื่น

ไม่ยอมนบั ถือผูใ้ หญ่ เปน็ โทษทางจติ ใจจงอย่าท�ำ

• บุคคลใดไม่ซ่ือตรงต่อมิตร ไม่รู้จักบุญคุณ หักหลังผู้อื่น ต้องไป

ตกนรก ฯลฯ
จะเห็นได้ว่า ชาวฮินดูถือความสุจริตเป็นทางแห่งกุศลที่จะช่วยให้ชีวิต
มนุษยท์ ้ังหลายได้พบเจอแตค่ วามสุขและความสันติ

74 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

รวมถึงศาสนาซิกข์มักเน้นย้�ำอยู่เสมอว่า คุณค่าของการมีชีวิตทางโลก
ผ่านการแสดงออกด้วยการให้คุณค่ากับการท�ำงานหนักและความซ่ือสัตย์ในการ
ท�ำงาน โดยมีคำ� สอนว่า

ข้านอ้ ย คอื ขา้ รบั ใชข้ ององคพ์ ระผ้เู ป็นเจา้
ความสำ� เร็จของข้านอ้ ย คือ ชัยชนะของพระองค์
นอกจากนี้ ชาวซิกข์ยังถกู สอนว่า เงนิ ทองท่ีหามาไดด้ ว้ ยแรงงานบริสทุ ธิ์
เทา่ น้ันเปน็ สงิ่ ทถี่ กู ตอ้ งในศาสนา แตค่ วามอยากได้เงินทองทเี่ กนิ พอดี คือส่ิงต้อง
ห้ามในศาสนา
ดังน้ัน ชาวซิกข์ท่ีเคร่งในหลักธรรมค�ำสอนจึงมีความขยันหม่ันเพียร
ซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่และอาชีพของตน ขณะเดียวกันก็อ่อนน้อมถ่อมตน รู้จัก
ให้อภัย มีความเมตตากรุณา และไม่อยากได้อยากมี หรือกระหายในผลก�ำไร
ลาภ ยศ สรรเสรญิ ตา่ งๆ
หากสังเกตให้ดี ชาวซิกข์ส่วนใหญ่น้ันจะแต่งกายเรียบง่าย ไม่มีเคร่ือง
ประดับประดา หรอื ส่ิงฟงุ้ เฟอ้ ใดๆ เพราะเขาเช่อื ว่าแก้วแหวนเงนิ ทองนน้ั เป็นแค่
ขยะ ขา้ งในของคนเราตา่ งหากท่สี ำ� คัญและมีคุณค่า

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 75

คำ�พอ่ สอนให้ “สุจรติ ” เพ่ือชวี ิตสันติสขุ

เป็นที่ทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร ทรงให้ความส�ำคัญกับการด�ำรงชีวิตด้วยความสุจริต พระองค์
ทรงด�ำรงตนดว้ ยความสจุ ริต ตลอดพระชนม์ชพี

ดังเช่นครั้งหน่ึงพระองค์ทรงลงแข่งในกีฬาเรือใบ ขณะท่ีทรงเรือใบออก
ไปจากฝ่ังไดไ้ ม่นาน ก็ทรงแล่นกลับเข้าฝั่ง และตรสั กบั ผู้ทค่ี อยมาเฝ้าฯ ว่า

“เรือแล่นไปโดนทุน่ เขา้ ”
ตามกติกาน้ันถือว่าฟาล์ว ซ่ึงพระองค์ทรงเคร่งครัดในกติกาการแข่ง
เรือใบอย่างมาก แม้จะไม่มีใครเห็นการฟาล์วในครั้งนั้น แต่พระองค์ก็ไม่ยอม
ละเลยหรือปลอ่ ยผา่ นไป ซงึ่ สะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ ความสจุ รติ และการเปน็ แบบอยา่ งทด่ี ี
แกป่ วงชนชาวไทย
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเผยแพร่คุณธรรมดังกล่าวมาสู่พสกนิกรของ
พระองค์ผ่านพระราชด�ำรัสในโอกาสต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทรงเน้นย�้ำเสมอว่า
ความซอื่ สตั ย์สจุ ริตเป็นพน้ื ฐานของความดที กุ อยา่ ง หากฝึกฝนให้เกิดในตนเองก็
ยอ่ มส่งผลดีตอ่ การพฒั นาคน สงั คม รวมถึงประเทศชาตติ ามลำ� ดบั อาทิ

76 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

“ข้าพเจ้าใคร่ขอให้ท่านทั้งหลายจงม่ันอยู่ในความซ่ือสัตย์
สุจริต ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นท่ีต้ัง เพราะคุณธรรมอันนี้
เป็นมูลฐานอันส�ำคัญที่จะยังความเจริญและความเป็นปึกแผ่นแก่
สังคม เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีกลมเกลียว ความซ่ือสัตย์
สุจริตที่ว่านี้ หมายถึง ความสุจริตซ่ือตรงต่อหน้าที่การงาน
ต่อตนเอง และต่อผู้อื่นที่เกี่ยวข้องมีเจตนาบริสุทธิ์ไม่เอารัดเอา
เปรยี บ”

พระราชดำ� รสั ในพธิ พี ระราชทานปรญิ ญาบตั ร
แกน่ ักศกึ ษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วนั ท่ี 23 พฤษภาคม 2496

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 77

“ในการพูดจาในการกระทำ� ในการคิดเราทำ� ในสิ่งทเ่ี รยี กว่า
สจุ ริต หมายความว่า ท�ำในสง่ิ ทไี่ มท่ ำ� ใหเ้ กิดความเดือดรอ้ นตอ่ ผอู้ นื่
ตรงข้าม บรรเทาความเดือนร้อนต่อผู้อ่ืน อันน้ีก็เป็นการท�ำบุญอีก
ขั้นหนง่ึ ซ่ึงสงู ยิ่งขึน้ ไปอกี ...”

พระราชดำ� รสั ในโอกาสทคี่ ณะชาวห้วยขวาง พญาไท เข้าเฝา้ ฯ
ทลู เกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกศุ ล
วนั ท่ี 5 ธนั วาคม 2521

78 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

“ผู้ท่ีมีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็
ย่อมท�ำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้มีความรู้มาก แต่ไม่มี
ความสจุ ริต ไมม่ คี วามบริสทุ ธิ์ใจ”

พระราชด�ำรสั ในโอกาสที่คณะผูอ้ ำ� นวยการและอาจารยใ์ หญ่
จากโรงเรียนต่างๆ ในเขตอ�ำเภอดสุ ิต “กลุม่ จติ รลดา” เข้าเฝา้ ฯ
ทลู เกล้าฯ ถวายเงินโดยเสดจ็ พระราชกศุ ลตามพระราชอัธยาศยั

ณ พระตำ� หนักจิตรลดารโหฐาน วนั ที่ 18 มนี าคม 2523

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 79

“คนไม่มีความสุจริต คนไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย
ไม่มีวันจะสรา้ งสรรคป์ ระโยชนส์ ว่ นรวมทส่ี ำ� คญั อนั ใดได้ ผทู้ มี่ คี วาม
สจุ รติ และความมงุ่ มน่ั เท่าน้ัน จึงจะท�ำงานส�ำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณ
เปน็ ประโยชน์แทจ้ รงิ ไดส้ �ำเรจ็ ”

พระบรมราโชวาทในพิธพี ระราชทานปรญิ ญาบัตรแก่นักศึกษา
จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั วนั ท่ี 12 กรกฎาคม 2522

80 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

“ความซื่อสตั ย์สุจริตนั้น ขอวเิ คราะหศ์ ัพทว์ ่า ความตรงไป
ตรงมาต่อสิ่งท้ังหมดน้อยใหญ่ ส่วนงานของราชการ ส่วนงานของ
ตนเองเป็นส่วนตัว ทั้งหมด คือ ความซื่อสัตย์สุจริต และค�ำว่า
สุจริตน้ี ก็มาจากการท่องเท่ียวของจิตในทางท่ีดี หรือคิดให้ดี
คิดให้สุจริต ท้ังฉลาดด้วย ท้ังไม่เบียดเบียนผู้อื่นหรือการงาน
ของตวั ท้งั ไม่เบยี ดเบียนส่วนรวมดว้ ยจึงจะเป็นผู้สจุ ริต”

พระราชด�ำรัส พระราชทานแกผ่ ้บู งั คบั บญั ชา อาจารยแ์ ละนายทหารนักเรยี น
โรงเรยี นเสนาธกิ ารทหารบก ชดุ ที่ 57 ซง่ึ เดนิ ทางมาศกึ ษาภมู ปิ ระเทศทวั่ ๆ ไป ทางภาคใต้

ในโอกาสเข้าเฝ้าทลู ละอองธุลพี ระบาท ณ ศาลาบหุ ลัน ทักษิณราชนิเวศน์
วันองั คารที่ 28 สงิ หาคม 2522

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 81

“สุจริต” ช่วยสรา้ งคนดี สังคมดีอยา่ งไร

สจุ ริต เปน็ คุณธรรมสำ�คัญ บคุ คล องค์กร ประเทศใดยดึ ถือความสุจริต
ย่อมทำ�ให้เกิดการพัฒนาไปสู่ความม่นั คงย่ังยืน เป็นท่ีเช่ือถือและยอมรบั แตห่ าก
ปราศจากความสุจริตก็จะนำ�ไปสู่การทุจริต ขาดธรรมาภิบาล เอาเปรียบ สร้าง
ความเหลื่อมลำ้ � แตกแยก นำ�ไปสู่การล่มสลายทั้งบุคคล องค์กร และประเทศ
คนที่ยึดม่ันในความสุจริตจะต้องมีคุณธรรมพ้ืนฐานคือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ละอายชั่วกลัวบาป และความรับผิดชอบ การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและ
ความพอเพียง และเมื่อความสุจริตเกิดขึ้น จะนำ�ไปสู่ความรู้รักสามัคคี ทำ�ให้
สงั คมอยรู่ ่วมกันอย่างไวว้ างใจ เกดิ สนั ติสขุ ได้

82 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

สุจริต เป็นคุณธรรมท่ีเช่อื มโยงสคู่ ุณธรรมอน่ื ๆ เช่น

รู้รักสามคั คี

(ต่อกแตผญั น่ ญดูนิ ) ความ
ไว้วางใจ

สุจริตปเรหะ็นโยแชกน่ ์ ได้รบั การ
ยกยอ่ ง
ส่วนรวม

รบั ผิดชอบ สำ� นกึ
ผิดชอบชว่ั ดี

พอเพียง

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 83

สจุ ริตกวู้ ิกฤตสงั คมไทย

สถานการณ์คุณธรรมด้านการทุจริตในสังคมไทยนับเป็นปัญหาวิกฤต
ต่อเนื่องมายาวนาน ทั้งเร่ืองการไม่ยึดมั่นในความซื่อตรงซื่อสัตย์ ไม่ยืนหยัดใน
ความถกู ตอ้ งเปน็ ธรรม การทุจริตในองค์กรและสถาบนั ตา่ งๆ ทัง้ ภาครัฐ เอกชน
การเมือง แม้แต่สถาบันส่งเสริมคุณธรรม ท�ำให้เกิดความเสียหายต่อการพัฒนา
ทั้งดา้ นเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และภาพลักษณข์ องประเทศ โดยเฉพาะคา่
นยิ มที่ยอมรบั การทจุ ริตเพราะไดร้ บั ผลประโยชน์ มจี �ำนวนมากข้นึ ในทุกกลุ่มชว่ ง
วัย รวมถึงเด็กและเยาวชน การแก้ปัญหาการทุจริตด้วยมาตรการทางกฎหมาย
และการลงโทษทรี่ ุนแรงเห็นผลนอ้ ยและไมย่ ่ังยืน
การแก้ปัญหาการทุจริตให้ได้ผลจะต้องปลูกฝังให้คนในสังคมเห็นคุณค่า
ของความสุจริต ซื่อตรง ซื่อสัตย์ มีระบบและกระบวนการหล่อหลอมขัดเกลา
ทางสงั คมตั้งแตเ่ ดก็ ครอบครัว ชมุ ชน องค์กร และสังคม ไมเ่ พยี งแตใ่ หต้ นเอง
มีความสุจริตเท่าน้ัน จะต้องสร้างค่านิยมใหม่ให้กล้าปฏิเสธหรือไม่ยอมต่อการ
ทจุ รติ ทกุ รูปแบบ การที่คนไมโ่ กงแตไ่ มป่ ฏเิ สธการโกง จะไมท่ ำ� ให้การทุจริตหมด
ไป ถ้าทุกสถาบนั หลกั ของสังคมร่วมมอื กนั ปรับเปลี่ยนใหค้ นไทยมีความ “สุจรติ ”
เปน็ ฐานในการดำ� เนินชวี ติ และปฏิบตั ิกนั ได้ วิกฤตสังคมไทยกจ็ ะหมดไป

สรา้ งสังคมสจุ รติ ตอ้ งเร่ิมที่เด็ก

การปลูกฝัง ‘ความสุจริต’ ซ่ึงเป็นคุณธรรมพ้ืนฐานส�ำคัญในการอยู่ร่วมกัน
ของคนในสังคม ควรเร่ิมต้ังแต่เด็กเพื่อสร้างนิสัยฝังลึก ฉะนั้น ครอบครัว จึงเป็น
เหมือนปราการด่านแรกในการปลูกฝังเมล็ดพันธุ์แห่งความสุจริตให้แก่ลูกๆ หลานๆ
ก่อนจะส่งต่อมาให้สถาบันการศึกษา และสังคมดูแล เพ่ือรักษาเมล็ดพันธุ์ให้
เจรญิ งอกงามในจิตใจ จนกลายเป็นนิสยั ติดตวั

84 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

3 กลยุทธป์ ลูกฝังเดก็ ไทย ห่างไกลคอร์รปั ชนั

1 สจุ ริตเรม่ิ ตน้ ที่ ‘ครอบครัว’

พอ่ แม่ ผูป้ กครอง นบั เป็นต้นแบบคณุ ธรรมท่ีดที ่ีสดุ ส�ำหรบั เดก็ นับต้งั แต่
ยังเป็นทารก เด็กจะซึมซับพฤติกรรมทุกๆ อย่างของพ่อแม่ ผ่านการมองเห็น
การพูด การจ�ำ และตอบสนองผ่านพฤติกรรมที่แสดงออกมา ฉะน้ัน พ่อแม่
ผู้ปกครอง ควรเริ่มต้นเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน ที่ส�ำคัญคือ คอยสังเกตว่าลูกๆ
ของตนนน้ั มพี ฤติกรรมเลียนแบบออกมาในทิศทางใด

2 เมลด็ พนั ธุ์เติบใหญ่เพราะได้ ‘ครู’ ดี

ถัดจากครอบครัวก็คือ ครู ผู้มีบทบาทส�ำคัญมากในการสร้างนิสัย
เร่ืองความซื่อสัตย์สุจริตให้แก่เด็ก ผ่านการเป็นแบบอย่างท่ีดี โดยกระทรวง
ศกึ ษาธิการได้ระบใุ หค้ วามซ่อื สตั ยส์ ุจริตเป็น 1 ใน 8 คุณลกั ษณะอันพงึ ประสงค์
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยประกอบ
ดว้ ยตัวชว้ี ดั 2 ข้อ ไดแ้ ก่

• ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเอง ท้ังทางกาย วาจา ใจ

โดยมพี ฤติกรรมบง่ ช้ี เชน่ ให้ข้อมลู ทถี่ กู ต้องและเป็นจรงิ ปราศจาก
ความล�ำเอียง และปฏบิ ัตติ นโดยคำ� นึงถงึ ความถูกต้อง

• ประพฤตติ รงตามความเป็นจรงิ ตอ่ ผอู้ ่ืน ทัง้ ทางกาย วาจา ใจ โดย

มีพฤติกรรมบ่งชี้ เช่น ไม่ถือเอาสิ่งของหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็น
ของตนเอง ปฏิบตั ติ อ่ ผอู้ ืน่ ด้วยความซอื่ ตรง

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 85

นอกจากนี้ ครูยังต้องท�ำให้เด็กๆ เกิดศรัทธา เชื่อว่าความสุจริตเป็น
ส่ิงที่ดีที่ทุกคนพึงประพฤติปฏิบัติ และต้องให้นักเรียนปฏิบัติเป็นกิจนิสัยควบคู่
กับการได้เห็นตัวอย่างของจริงท่ีถูกต้องด้วย เพียงเท่านี้ สุจริตก็จะเกิดในหัวใจ
เด็กไดไ้ มย่ าก

3 ต้นแบบดี สร้างเด็กดี

เพราะเด็กๆ มักมีพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่ หรือบุคคลท่ีนับถือ
โดยขาดความย้ังคิดว่าพฤติกรรมน้ันดีหรือไม่ สังคมรอบข้างจึงส�ำคัญต่อการ
ปลกู ฝงั เด็กๆ อยา่ งมาก หากผใู้ หญ่ในสงั คมเป็นแบบอย่างที่ไมด่ ี เดก็ กจ็ ะซึมซับ
ส่ิงเหลา่ นนั้ มาไว้ในตวั
ดังน้ัน สถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัด องค์กรทางศาสนา สถาบัน
ส่ือมวลชน ฯลฯ ต่างก็ต้องมีหน้าท่ีร่วมรับผิดชอบในการปลูกฝังเร่ืองความ
ซือ่ สัตย์สจุ ริตใหแ้ ก่เด็กๆ เพ่ืออนาคตของชาตจิ ะปลอดจากปัญหาทุจริต

86 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

จติ อาสา

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 87

จิตอาสา หมายถึง การเป็นผู้ที่ใส่ใจต่อสังคมสาธารณะและ

อาสาลงมือท�ำอย่างใดอย่างหนึ่ง อันมิใช่หน้าที่ของตน ด้วยความรัก
ความสามคั คี เพอ่ื ประโยชนข์ องผอู้ นื่ ของสงั คม และของประเทศชาติ โดย
มิได้หวังผลตอบแทน ท�ำความดีเพื่อความดี เอื้ออาทรต่อคนร่วมสังคม
ทำ� อยา่ งสมำ่� เสมอจนเปน็ นสิ ัย

88 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

จากความหมายของคุณธรรม “จิตอาสา” ข้างต้นจะเห็นลักษณะของ
จติ อาสา ดงั น้ี

ให้และเสียสละประโยชน์ ท�ำความดเี พ่อื ความดี
ส่วนตนเพื่อส่วนรวม เออื้ อาทรต่อคน/สังคม
ลงมอื ท�ำดว้ ยความรกั โดยมิไดห้ วงั ผลตอบแทน
ความสามคั คี

จติ อาสา

กตัญญรู ูค้ ณุ ต่อแผน่ ดนิ ไม่นง่ิ ดดู ายตอ่ การช่วย
ที่เกดิ และผมู้ ีพระคุณ เหลือเก้อื กลู สงั คมและ

ผคู้ นจนเปน็ นิสยั

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 89

จิตอาสา : รวมตวั รวมหวั ใจ เพื่อทำ�ดี

‘จติ อาสา’ (Volunteer Spirit) เปน็ ค�ำศัพทใ์ หม่ที่เกดิ ข้นึ มาไม่นาน เปน็
คำ� ทแ่ี ยกมาจากคำ� วา่ ‘อาสาสมคั ร’ โดยเลือกผสมคำ� วา่ ‘จิต’ กับ ‘อาสา’ เข้า
ด้วยกัน เพราะงานอาสาสมัครเป็นหนึ่งในปัจจัยส�ำคัญท่ีจะพัฒนาไปสู่การมีจิต
วิวัฒน์ (New Consciousness ) หรือจติ สำ� นกึ ใหม่ ดงั น้ัน ‘จติ อาสา’ และ ‘อาสา
สมัคร’ จงึ ถกู ใชใ้ นลกั ษณะทเ่ี สมือนหน่งึ เปน็ คำ� เดียวกันดงั ท่ปี รากฏในปจั จุบนั

จติ + อาสา (สมัคร)

นอกจากน้ี ยังมีคำ� วา่ ‘จิตสาธารณะ’ (Public Mind) ซง่ึ มคี วามหมาย
ไปในทางทคี่ ล้ายกับสองค�ำขา้ งตน้ แตย่ กระดบั ความรูส้ ึกถึงการเป็นเจา้ ของและ
ใส่ใจดูแลรักษาในส่ิงของที่เป็นสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณสมบัติ รวมถึง
สง่ิ แวดลอ้ ม เชน่ ไม่ทิ้งขยะลงแมน่ ำ้� การประหยัดน้�ำประปา ไฟฟา้ ฯลฯ

อาสาสมัคร จิตอาสา จิตสาธารณะ

ทั้งสามค�ำที่กล่าวล้วนขับเคลื่อนด้วย ‘จิตแห่งการให้’ อันเป็นหนทาง
สำ� คญั ในการทำ� ให้ผู้คนในสงั คมสามารถอยรู่ ่วมกนั ได้อยา่ งสนั ติสขุ

90 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

พระไพศาล วิสาโล เคยใหน้ ยิ าม จิตอาสา ไวว้ ่า
“คือจิตที่พร้อมจะสละเวลา แรงกาย และสติปัญญา
เพื่อสาธารณประโยชน์ เปน็ จิตที่ไมน่ ่งิ ดูดาย เมือ่ พบเหน็
ปัญหาหรือความทุกข์ยากเกิดข้ึนกับผู้คน เป็นจิตที่มี
ความสุขเม่ือได้ท�ำความดีและเห็นหน้าตาเปล่ียนเป็น
รอยยม้ิ เปน็ จิตท่เี ป่ยี มดว้ ย ‘บญุ ’ คือความสงบเยน็ และ
พลังแห่งความดี”

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 91

จะเห็นได้ว่า หวั ใจของจติ อาสาน้ัน มุ่งเน้น ‘การให’้ มากกว่า ‘การรบั ’
คนท่ีเปน็ จิตอาสามกั จะพบความสุขทเ่ี กดิ จากการให้มากกวา่ การได้รบั

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ นักเขียนสารคดี นักวิจารณ์สังคม การเมือง
และสิง่ แวดล้อมชอ่ื ดงั เคยกลา่ วว่า “สังคมใดทีผ่ คู้ นมีจติ อาสาจ�ำนวนมาก ชว่ ย
กันคนละไม้คนละมือ ท�ำงานเสียสละให้แก่ส่วนรวม สังคมนั้นก็ย่อมเปี่ยมด้วย
รอยย้ิม มีความเจริญงอกงาม ท้งั ดา้ นวัตถแุ ละจติ ใจ เป็นอานสิ งสอ์ ันงดงาม”
จิตอาสาจึงมีความส�ำคัญมากต่อสังคมไทย ย่ิงมีมากเท่าไร สังคมน้ัน
ก็จะน่าอยู่ กลายเป็นสังคมแห่งคุณภาพที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่าง
สันตสิ ุข ทา่ มกลางการแบ่งปนั ช่วยเหลือเกอื้ กลู กนั แบบไร้เงอ่ื นไข

เขา้ ใจ “จติ อาสา” ผา่ นหลักธรรมของศาสนา

จิตอาสาในพุทธศาสนา คอื กศุ โลบายสร้างความสามคั คี โดย ​จิตอาสา
เร่มิ จากจติ ใจที่มีพรหมวิหารธรรม 4 ประการคือ

1. เมตตา ความรกั ความปรารถนาให้ผ้อู นื่ มีความสุข
2. กรณุ า ความสงสาร ความปรารถนาชว่ ยให้คนอน่ื พน้ ทกุ ข์
3. มุทติ า ความพลอยยนิ ดีที่เห็นคนอน่ื ได้ดมี คี วามสุขความเจริญ
4. อเุ บกขา ความเปน็ กลางในอารมณค์ ือไมย่ ินดยี นิ รา้ ย ไมล่ ำ� เอียง

92 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

ความเมตตาและความกรุณาเป็นคุณธรรมพ้ืนฐานของจิตอาสา
เพราะคอยกระตุ้นเตือนให้คิดช่วยเหลือและให้บริการแก่คนอื่น ต่อมา
เม่ือเห็นคนอ่ืนได้ดีมีสุขเพราะการช่วยเหลือนั้นก็เกิดมุทิตา คือพลอย
ยินดีกับเขา และในการช่วยเหลือคนอ่ืนนั้น ให้ทำ� ด้วยใจอุเบกขา คือมี
ความยุตธิ รรมเพราะไมล่ ำ� เอยี ง
เมื่อมีจิตอาสาด้วยพรหมวิหารธรรมดังกล่าวแล้วนั้น คนเราจะท�ำ
กิจกรรมท่ีแสดงออกถึงความมีจิตอาสาด้วยวิธีการที่เรียกว่า สังคหวัตถุ หรือวิธี
สงเคราะหค์ นอน่ื 4 ประการ อยา่ งใดอยา่ งหน่ึงหรอื หลายอยา่ งรวมกัน ดงั นี้

1. ทาน คอื การใหห้ รอื การแบง่ ปนั สงิ่ ของ ความรู้ และประสบการณ์
อ่ืนใด

2. ปยิ วาจา คอื การพดู จาสภุ าพออ่ นหวานเพอื่ ใหก้ ำ� ลงั ใจ คำ� แนะนำ�
ค�ำตกั เตือน เป็นต้น

3. อัตถจริยา คือ การบ�ำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อ่ืนด้วยก�ำลังกายและ
กำ� ลังปญั ญาเปน็ ส�ำคัญ

4. สมานตั ตตา คอื การวางตนเสมอตน้ เสมอปลาย ดงั คำ� กลา่ วทว่ี า่
มสี ุขร่วมเสพ มีทกุ ข์รว่ มตา้ น

วธิ ีการแสดงออกซึ่งจติ อาสาทั้ง 4 ประการน้ี เปรียบเสมือนลิม่ สลกั หรอื
กาวใจ ท่เี ชอ่ื มประสานสมาชิกในสังคมใหผ้ กู รกั สมคั รสมานสามคั คีกัน

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 93

ขณะเดียวกนั ในศาสนาอิสลาม มี “ซะกาต” คือ ทานประจ�ำปี หมายถึง
ทรัพย์สินส่วนเกินจ�ำนวนหนึ่ง ซึ่งอิสลามิกชนต้องจ่ายให้แก่ผู้ท่ีมีสิทธิได้รับ
เมื่อครบรอบปี อีกนัยหน่ึงยังหมายถึง การซักฟอก การท�ำให้สะอาดบริสุทธิ์
และการเจริญเติบโต กล่าวคือ ซักฟอกทรัพย์สินและจิตใจของผู้จ่ายให้มีความ
สะอาดบริสทุ ธ์ิ หมดจากความโลภ ตระหนีถ่ เ่ี หนยี ว ซง่ึ ถอื เป็นสิง่ สกปรกทางใจ

การจ่ายซะกาตนี้ นับเป็นหน้าท่ีท่ีส�ำคัญท่ีสุดที่อิสลามิกชนทุกคนต้อง
ปฏิบตั ิควบคกู่ บั การละหมาด ในคมั ภรี อ์ ัลกุรอานไดบ้ ญั ญัตไิ วว้ ่า

“หวั ใจของการบริจาคทาน คือ การเสียสละเพือ่ คนขัดสนและยากจน
คล้ายกบั การเสียสละเผยแผค่ �ำสอนอันศกั ด์ิสิทธิข์ องกรุ อาน” 5
นั่นเป็นที่มาที่ท�ำให้อิสลามิกชนถือว่าการท�ำละหมาดเป็นหลักปฏิบัติ

เพื่อพระเจ้า ส่วนซะกาตเป็นหลักปฏิบัติเพ่ือมนุษย์ และถ้าอิสลามิกชนคนใด
มีทรัพย์สิน เงินทองที่เหลือในรอบปีแล้วไม่ท�ำการบริจาค จะถือว่าผู้นั้นท�ำผิด
บัญญตั ิของอสิ ลาม และในบางประเทศท่นี ับถอื ศาสนาอิสลามเปน็ ศาสนาประจ�ำ
ชาติ ยงั ถอื เปน็ การผิดกฎหมายอีกด้วย

5 กรุ อา่ น 9:60 (ซูเราะห์ท่ี 9 อายะหท์ ี่ 60)
94 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

เช่นเดียวกับในศาสนาคริสต์ ที่สอนให้เป็นผู้ที่มีจิตใจกว้างขวาง
ชว่ ยเหลือผทู้ ม่ี คี วามลำ� บาก ยากจน เดอื ดรอ้ น รวมถงึ ใหแ้ บ่งสมบัติส่วนหนง่ึ ไว้
ท�ำทานตามสัดส่วนท่ีมี มีมากให้มาก มีน้อยให้น้อย ซ่ึงไม่เพียงแต่หมายถึงเงิน
เทา่ นัน้ หากแต่ยังรวมถึงอาหาร เสอื้ ผา้ ส่งิ ของเหลือใช้

พี่น้องท้ังหลาย จะมีประโยชน์ใดหากผู้หนึ่งอ้างว่ามีความเชื่อแต่ไม่มี
การกระทำ� ความเช่อื เชน่ น้จี ะชว่ ยใหเ้ ขารอดพน้ ไดห้ รอื ถ้าพี่นอ้ งชายหญงิ คนใด
ขัดสนเคร่ืองนุ่งห่ม และไม่มีอาหารประจ�ำวัน แล้วท่านคนหน่ึงพูดกับเขาว่า
“จงไปเป็นสุขเถิดขอให้อบอุ่นและอิ่มเถิด” แต่มิได้ให้สิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับร่างกาย
แก่เขา จะมีประโยชน์ใดเล่า ความเช่ือก็เช่นเดียวกันหากไม่มีการกระท�ำ ก็เป็น
ความเช่อื ทีต่ ายแลว้ (ยก 2:14-17)
ถ้าผู้ใดมีทรัพย์สมบัติของโลกนี้ และเห็นพี่น้องของตนขาดแคลน แต่
ยังมีใจแคบต่อเขา ความรักของพระเจ้าจะด�ำรงอยู่ในผู้น้ันได้อย่างไร ลูกที่รัก
ท้งั หลาย เราอย่ารกั กันแตป่ าก เพียงด้วยค�ำพดู เทา่ น้นั (1ยน 3:17-18)
จงยื่นมือช่วยคนยากจน เพ่อื ทา่ นจะได้รับพระพรอย่างเต็มเปยี่ ม
จงมีใจกวา้ งต่อมนุษย์ทกุ คน อย่ามีใจแคบแมต้ ่อผู้ตาย
อยา่ เบอื นหนา้ หนคี นรอ้ งไห้ จงรว่ มทกุ ขก์ บั ผทู้ โ่ี ศกเศรา้

(บสร 7:32-34)

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 95

รวมถึงศาสนาพรามณ์-ฮินดู ที่มี ‘ทาน’ หรือการให้โดยไม่หวังส่ิง
ตอบแทนเป็นหนึ่งใน ‘นิยมะ’ หรือข้อควรปฏิบัติของศาสนาฮินดู 10 ประการ
โดยใหถ้ อื วา่ เงิน 1 ใน 10 ส่วนของรายไดท้ ั้งหมด เปน็ เงนิ ของพระเป็นเจ้า ชาว
ฮินดูควรบริจาคเงินส่วนนี้ให้แก่วัด อาศรม หรือองค์กรต่างๆ เพื่อพัฒนาจิตใจ
ใหส้ งู ข้ึน
ศาสนาพราหมณ-์ ฮินดู ยงั มคี วามเช่ือวา่ มารดาท่หี นง่ึ น้ัน คอื มารดา
ผูใ้ หก้ �ำเนดิ มารดาทีน่ บั ถือยิง่ ขน้ึ ไปอีก คือ มาตภุ ูมิ ซ่ึงเปน็ ที่รวมของมนษุ ยท์ ั้ง
ชาติ ฉะนั้น ไมว่ า่ อยูป่ ระเทศใด ชาวฮนิ ดูมีหน้าท่ตี ้องรกั ชนในชาติ ท�ำทุกอย่าง
เพ่อื ความสุข และสนั ติของคนท้งั ชาติ เปน็ หนา้ ทีข่ องมนุษยผ์ ูม้ มี นุษยธรรม หาก
เราคิดเห็นแก่ตัวเองเท่าน้ัน ไม่เห็นแก่ส่วนรวมหรือประเทศชาติ เราก็จะเป็น
มนษุ ยไ์ ม่ได้
นอกจากนั้น หากบุคคลใดที่ท�ำลายทรัพย์สมบัติของประเทศชาติ
บุคคลที่โลภจนกระทั่งขายได้แม้กระทั่งชาติ ถือว่าบุคคลนั้นเป็นคนที่ไร้ศาสนา
ไร้มนุษยธรรม นเ่ี องท่ที ำ� ให้เชือ่ ว่าหน้าท่ีส�ำคัญของชาวฮนิ ดูน้นั กค็ อื การเสยี สละ
ท กุ สิ่งทุกอยา่ ง แม้กระทัง่ ชีวิตและประเทศชาติ ดงั ค�ำสอนท่วี า่

บุคคลใดทเ่ี สียสละชวี ิต เพื่อประเทศชาติ เพ่ือธรรม
บุคคลนัน้ จะไปสูค่ ตสิ งู สดุ โดยผา่ นสรุ ิยจักรวาลไป

96 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม

อีกท้งั ในศาสนาซิกข์ยังมี “การแบ่งปนั รายได้ 10 เปอร์เซน็ ตห์ ลังจนุ เจือ
ครอบครัวแล้ว ในการบริจาคและใช้สอยเพื่อประโยชน์ของสังคม” เป็นหน่ึงใน
ศาสนบัญญัติที่ชาวซิกข์ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เรียกการแบ่งปันน้ีว่า ดัสวันต์
หรือ รอ้ ยชกั สบิ และไม่เพียงเงนิ เท่านน้ั ในคำ� สอนยังกล่าวถงึ ‘การสละเวลา 10
เปอร์เซ็นตท์ ่มี ีอยู่ เพ่ือบ�ำเพ็ญประโยชน์แกส่ งั คม’ อีกดว้ ย

• สง่ เสรมิ สงั คมโดยไม่เลือกชั้น วรรณะ ทั้งในด้านความรู้ ในศีลธรรม

การศกึ ษา และเพอ่ื สุขภาพร่างกาย อย่างมรี ะเบียบท่ีดี

• มีความซ่ือสัตย์สุจริต ไม่คดโกงเงินท่ีเป็นส่วนได้ของผู้อื่น ซ่ึงถือ

เปน็ บาปมหนั ต์ในศาสนา และรักษาคณุ ภาพชวี ติ ของตนให้เป็นทไี่ ว้
วางใจต่อสังคม

• รักษาคุณภาพชีวิตให้ดูงามด้วยการพูดที่ตรงไปตรงมา พูดหวาน

ทัง้ ในครอบครวั ของตนและต่อสงั คมท่วั ไป

• ตั้งม่ันในศาสนาอย่างจริงใจ ด้วยใจรักและศรัทธาท่ีแท้จริง

จะท�ำให้บรรลุและสำ� เร็จผลในทกุ ดา้ นที่ปรารถนา
ในพระมหาคัมภีร์ได้กล่าวเก่ียวกับการมีจิตอาสาไว้ว่า ผู้ท่ีจะมีเกียรติ
มีศักดิ์ศรีน้ัน หาใช่ผู้ที่มีทรัพย์สมบัติหรือเงินทอง แต่คือผู้ที่จะปวารณาตนท่ี
จะรบั ใช้ผูอ้ ืน่ ตา่ งหาก

พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา < 97

จึงไม่น่าแปลกที่เราจะเห็นวัดซิกข์ต่างๆ คลาคล�่ำไปด้วยชาวซิกข์ที่แวะ
เวียนกันมาเปน็ ‘จิตอาสา’ ตลอดเวลา โดยเฉพาะวนั ส�ำคัญ หรือเทศกาลตา่ งๆ
ท่ีทางวัดซิกข์มีการจัดงานข้ึน อาทิ วันสละชีพเพ่ือพิทักษ์ธรรม ซึ่งชาวซิกข์จะ
ร่วมกันแจกจ่ายเครื่องดื่มให้แก่บุคคลทั่วไปท่ีเข้ามาที่วัด หรือบริเวณใกล้เคียง
หรือ ‘โรงครัวพระศาสดา’ ท่ีรวบรวมชาวซิกข์จิตอาสามาร่วมกันท�ำอาหารแจก
จา่ ยใหค้ นท่วั ไปไดร้ บั ประทานอาหารร่วมกันก่อนจะเข้าฟังธรรมในทุกๆ เชา้

นอกจากนี้ ชาวซิกข์ยังช่วยกันน�ำอาหารหรือแม้แต่เงินทองมาบริจาค
เพื่อจัดซ้ืออาหารต่างๆ ให้มีอยู่ในโรงครัวน้ีเสมอมิได้ขาด โดยปราศจากนาม
ผู้บริจาค ทั้งนี้เพราะชาวซิกข์เช่ือว่าเราไม่ควรยึดติดกับความดีที่ตนเองท�ำ แม้
กระทงั่ การบริจาคทตี่ วั เองไดท้ �ำไป

จะเหน็ ได้วา่ ทานหรือการใหด้ ้วยความบริสุทธใ์ิ จ นอกจากเป็นกศุ โลบาย
ในการคลายความเห็นแก่ตัว ความโลภในทางศาสนาแล้ว ยังเป็นรากฐานสู่การ
เป็นจิตอาสาที่ดใี นทางโลกอีกด้วย

98 > บทที่ 2 พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา : สร้างคนดีสู่สังคม


Click to View FlipBook Version