The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by NRCT, 2023-07-24 03:20:51

สยามรัถยา

สยามรัถยา

Keywords: Siam

ในทางตรงกันข้าม หลักฐานประเภทคำให้การ และพงศาวดารพม่าสะท้อนใหเห็ ้นว่า ปัญหาสำคัญของ ผู้ปกครองอยุธยาขณะนั้นคือ ปัญหาของผู้ขาดความ ชำนาญในการทำสงครามขนาดใหญ่ที่มากไปด้วยกำลัง คน อาวุธ และพื้นที่ปฏิบัติการโดยเฉพาะกับคู่สงคราม ที่เข้มแข็งก้ำกึ่งกัน ในทางการทหารแล้ว สงครามกับ พม่าแตกต่างจากสงครามปราบกบฏในเขตหัวเมืองและ สงครามกลางเมืองแย่งชิงอำนาจกันเองในหมู่เจ้านาย ด้วยกัน กระนั้นก็ดี ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้นำอยุธยาจะ ไม่รู้ซึ้งในข้อจำกัดทางทหารของตน การพยายามอย่าง สุดความสามารถในการใช้ข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งเป็น ฐานรับศึกเพื่อประวิงเวลาและรอโอกาสกระหนาบซ้ำ เมือฝ่าย่ตรงขามม้ อัี นต้องถอยหนีตามสภาพฤดกาลูนับ เป็นทางออกที่ชาญฉลาดบนพื้นฐานของศักยภาพทาง ทหารที่มขีณะนั้น และหากจะพิจารณากันแต่เฉพาะดา้น การเตรียมการของผู้นำอยุธยาบนเงื่อนไขของสงคราม ที่ประสบการณ์สอนให้รู้ว่าคู่สงครามต้องทำงานแข่งกับ เวลา ผู้นำอยุธยาสามารถปฏิบัติการได้ตามเป้าหมายที่ วางไว้คือ สามารถรักษากรุงได้จนถึงฤดูน้ำหลาก โดยที่ ตัวพระนครไม่ตกอยู่ในสภาพบอบช้ำและราษฎรที่หลบ ภัยสงครามไม่ต้องเผชิญกับความฝืดเคืองด้านเสบียง อาหาร แต่สิ่งที่นักการทหารไทยคาดไม่ถึงและไม่มีทาง จะคาดถึงคือ พม่าได้ปรับยุทธศาสตร์การตีพระนครเสีย ใหม่ โดยไม่ยอมให้สภาพทางธรรมชาติมาเป็นอุปสรรค ต่อปฏิบัติการทางทหารเช่นที่เคยเป็นมา 149 บทที่ ๓่� ถนนสายวััฒนธรรม : การแลกเปลี่ยนทางวััฒนธรรม ่� ของเมืืองต่่าง ๆ ในดิินแดนไทย (ยุุคจารีีต)


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ 150


กรุงศรีอยุธยาที่เป็นทั้งเมืองหลวงและเมืองท่า ทั้งทางบกและทางทะเล มายาวนาน กว่า ๔๐๐ ปี เสื่อมโทรมลงอันเนื่องมาจากความเจริญทางเศรษฐกิจ ที่ทำให้ไพร่บางส่วนมี โอกาสสะสมความมังคั่ง ่ ร่ำรวย เกดมิชีนชั้นใหม่ ๆ เกดขึ ิ ้น และต้องการหลบหนีออกจากระบบ ไพร่ที่ต้องเกณฑ์แรงงานรับใช้หลวง ต้องการทำกิจกรรมทางการค้าเพื่อตนเอง ความเจริญทาง เศรษฐกจกลับ ิ นำมาสู่ความไร้ประสิทธภาิพในการควบคุมกำลังคน จนทำใหเมื ้อเก่ดิสงครามกับ พม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาจึงล่มสลายไปในที่สุด หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. ๒๓๑๐ จึงเกิดศูนย์กลางแห่งใหม่บริเวณลุ่มแม่น้ำ เจา้พระยาคือที่กรุงธนบุรี หลังจากนั้น ๑๕ ปี จึงไดเก้ดกาิรยายเมืองหลวงอ ้กคีรงและถือเ ั้ปน็การ ปิดฉากกรุงศรีอยุธยาลงอย่างสมบูรณ์และเปิดฉากกรุงรตนั โกสินทรที่ส์ ืบทอดรูปแบบความเปน็ อยุธยา วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 151 ๔


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ วิถีคนกล้า ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส วิกฤตการณ์เสียกรุง ศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ นำมาซึ่งโอกาสของทหารกล้า ผู้หนึ่งคือพระยาตากที่นำเหล่าทหารภายใต้การบังคับ บัญชาตีฝ่าวงลอม้พม่าหนีออกไปจากกรุงศรีอยุธยา และ ในที่สุดได้ปราบดาภเษกขึ ิ ้นเปน็ กษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี มี พระนามตามที่รู้จักกันว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจา้ตากสินมหาราช ส่วนในหลักฐานร่วมสมัย อาทิพระราชสาส์นล้านช้าง พ.ศ. ๒๓๑๔ ระบุพระนาม ว่า “สมเด็จพระมหาเอกาทุศรุทอิศวรบรมนารถบรม บพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว” ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกราวสองเดือน เมื่อเวลา เที่ยง วันเสาร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนย ี่ ปีจอ ศักราช ๑๑๒๘ พทุธศักราช ๒๓๐๙ ตรงกับวันที่ ๓ มกราคม ๒๓๐๙ (ยัง เป็นปีเดิมและจะเปล ี่ ยนเป็น ๒๓๑๐ ในเดือนเมษายน) พระยาตากที่คาดการณ์แล้วว่ากรุงศรีอยุธยาคงจะเสีย แก่พม่าไม่ช้าก็เร็ว หากยังคงต่อสู้เช่นนี้ อย่างไรก็ไม่มี ทางชนะและอาจนำทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวน มาก พาพรรคพวกทหารไทย-จีน ออกจากค่ายวัดพิชัย มุ่งหน้าทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา ผ่านบ้าน หันตราและกำลังจะมุ่งหน้าสู่บ้านข้าวเม่า บ้านธนู ซึ่ง ห่างจากกรุงศรีอยุธยาราว ๓ กิโลเมตร กองกำลังพม่า ที่รู้ข่าวยกทัพตามมาตี แต่ก็ต้องล่าทัพกลับไปเพราะสู้ พระยาตากและพรรคพวกไม่ได้ จากนั้นจึงเดินทางต่อ ไปยังบา้นสามบัณฑิต ซงึ่ตงอยัู้่กลางทุ่งพระอุทัยในเวลา สองยามเศษ เมื่อมองกลับไปยังพระนครเห็นแสงเพลิง โชติช่วงอย่างชัดเจน พระยาตากจึงให้พรรคพวกหยุดพัก ในเวลารุ่งเช้าจึงเดินทางต่อไปยังบ้านโพสังหารหรือ โพสาวหาญ ซงอยึู่่ห่างจากกรุงศรีอยุธยาไปทางทิศตะวัน ออกราว ๒๐ กิโลเมตร ที่นี่พม่าส่งกองทัพมาตามตีอีก และได้ต่อสู้กันจนกองทัพพม่าแตกพ่ายไป จากนั้นเดิน ทางต่อไปยังบา้นพรานนก แลวจึงหยุด ้พักแรม ให้ทหาร ออกไปลาดตระเวนพบว่ามีทพพั ม่ายกมาจากทางบางคาง หรือเมืองปราจีนเก่า ยกเขามาถึง ้ ที่พระยาตากตงค่ายอย ัู้่ ได้สู้รบกันอย่างสามารถ กองทัพพม่าที่มีกำลังคนและ ทหารม้ามากกว่ากองกำลังพระยาตากกลับสู้ไม่ได้แตก พ่ายไป การรบครั้งนี้ทำให้ผู้คนที่ติดตามมาเห็นความ สามารถ วันรุ่งขึ้น ขุนชำนาญไพรสณฑ์และพวกเข้ามา สวามภักด ิ ิ์และนำชางมาถวาย ๖ ช้าง แล้ว้นำเสด็จไปถึง บา้นบางดง แตน่ายบา้นไม่ยอมเขาเ้ ปนพรร็คพวกแต่โดย ด ใีนวันอังคาร ขึ้น ๗ ค่ำ เดือนย จึง ี่ นำทหารจำนวนหนงึ่ ยกเขา้ตีบา้นบางดง ได้รับชัยชนะไดช้างและข้าวของเง้ ิน ทองเสบียงอาหารเป็นอันมาก จากนครนายก กองทหารเดินทางสู่ลำน้ำ ปราจีนบุรีผ่านด่านกบแจะและชายดงศรีมหาโพธิ ทราบว่ามีกองทัพพม่าตั้งค่ายอยู่ที่ปากน้ำโจ้โล้ บริเวณ บางคล้า รบกันบริเวณทุ่งใกล้กับลำน้ำท่ากระดาน กอง ทหารของพระยาตากจำนวน ๑๐๐ คนออกหน้าล่อพม่า และให้ทหารอีกจำนวนหนึ่งซุ่มระดมยิงพม่าที่ตั้งทัพอยู่ กองทพพั ม่าลม้ตายเปน็ อันมากและแตกพ่ายไป กองทพั พระยาตากเดินทางต่อมาทางบ้านทองหลาง ตะพาน ทอง บางปลาสร้อย จนถึงนาเกลือได้พบนายกล่ำที่คุมไพร่ ๑๐๐ คนยอมเข้าสวามิภักดิ์ด้วยในที่สุด และนำ กองทัพของพระองค์ไปยังพัทยา หยุดประทับแรม หนึ่งคืน จากนั้นเดินทางและหยุดประทับตามรายทาง 152


แห่งละ ๑ คืนที่นาจอมเที ย น ไก่เตี้ย ส ตั หบ ชายี ทะเล หินโด่ง น้ำเก่า เมื่อถึงเมือง ระยอง ผู้รั้งและก รมกา รเมืองมอบ เ ส บียงอาหา ร พระยา ตากมอบปืนคาบศิลา ๑ ก ระบอก จาก นั้น เ สด็จมาปร ะ ทับแ ร มที่วัดลุ่ม ๒ วัน ที่นี่ทรงได้พ บ กับ นายบุญ รอดแข นอ่อ น นายบุญมาน้องเมี ยพระยา จันท บูรที่เขาถวาย้ ตัวขอมาเ ปนพ็วกดวย และแจ้ งข่าวว่า ้ ขุนรามหมื่นส้อง นาย ทองอยู่ นกเล็ก ขุ นจ่าเมืองด้วง ขุนพลแสนหาญ ก รมกา รเมือง ระยองคิดไม่ ซื่อ จะยก พวก ทหารประมา ณ ๑,๕๐๐ ค นเศษเข้ามาโจมตีกอง ทัพ พระยา ตาก จึงให้ เรียกผู้รั้งเมือง ระยองมาถามแม้ยังไม่ ยอม รับแ ต่มีพิรุธ พระยา ตากจึงให้ทหา รจับ ตัวไว้และ สงให ั่ เ ้ตรียมกำลังค นและอาวุธไวให้ ้พร้อม ต่อสู้ เมือกอง่ กำลังของก รมกา รเมือง ระยองยกเขามาใ ้ นเวลาค่ำ จึงเก ด ิ การสู้รบกันอย่างห นัก ฝ่ายของพระยา ตากได้รับชัยช นะ ได้ทรัพย์สินและเ ส บียงอาหา ร เ ป็ นอันมาก จาก นั้นจึง หยุด ทัพอยู่ที่เมือง ระยอง ต่ออีก ๗-๘ วัน จาก นั้น พระยา ตากจึงวางแผนจะเขาไ้ ปยังเมือง จันท บูร ห รือจันทบุรี โดยจะ ส่งค นไ ปเจ รจาก่อ น เพราะ คาดว่าที่เมืองจันท บูรก็คงเหมือ นกับที่เมือง ระยอง คือ จะมกาีรต่อต้า น เมือกลุ่มค่ นของพระยา ตากเขาไ้ ปเจ รจา กับเจ้าเมืองจันท บูรนั้น แ ร กทีเดียวเจ้าเมืองต้ อนรับ ด้วยความยิน ดีและ นัดหมายว่าอีก ๑๐ วันจะออกไปรับ กอง ท พัของพระยา ตากเขามายังเมืองจั ้นท บูร แ ต่เมือถึง่ วันนัดหมาย เจาเมืองจั ้นท บูรไม่ไดมา้ ตาม นัด กลับ ส่งเ รือ บรรทุกข้าวเ ปลือก ๔ เกวี ย นมาถวายเ ท่า นั้น บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 153


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ ต่อมา นายบุญเมืองมหาดเล็ก ผู้รั้งเมือง บางละมุง และเคยรู้จักกับพระยาตากมาก่อน ถือหนังสือ จากพม่าเขามายังค่ายของ ้พระยาตาก แจงว่า ้พม่าใหถือ้ หนังสือไปแจ้งพระยาจันทบูรให้นำดอกไม้เงินทองไม้ ทองเขาไ้ ปยังค่ายโพธสิ์ามต้น พรรคพวกของพระยาตาก ไม่เชื่อในตัวนายบุญเมือง เกรงจะเป็นอุบายของพม่า เสนอให้นำตัวนายบุญเมืองไปฆ่าเสีย แต่พระยาตาก ทรงหามไว ้ และจะให ้ ้นายบุญเมืองถือหนังสือเขาไ้ ปมอบ แก่พระยาจันทบูร เนองจากื่พระยาตากต้องการทดสอบ ว่าพระยาจันทบูรจะรับกองทพัของพระยาตากเขาเมือง ้ เพอื่ต่อต้านพม่าตามที่เคยสัญญาไวห้รือไม่ อกีทางหนงึ่ พระยาตากให้ส่งหนังสือไปยังพระยาราชาเศรษฐี เจาเมือง ้พทุไธมาศ ที่กรุงศรีอยุธยาเคยขอใหยกกองเ้รือเขา้ มาช่วยโจมตีพม่า แต่เนื่องจากกองทัพพม่าต้านทานไว้ ได้และเสบียงอาหารหมดลงพระยาราชเศรษฐีจึงยกทัพ กลับไป ครั้งนี้พระยาตากจะขอให้พระยาราชาเศรษฐี เข้ามาช่วยกันโจมตีพม่าที่เมืองธนบุรีซึ่งในที่สุดการ เจรจาครั้งนี้เป็นผลสำเร็จ พระยาราชาเศรษฐีตกลงจะ ยกกองทพัเรือเขามาช่วย ้พระยาตากในเดือน ๘ ถึงเดือน ๑๐ เมื่อลมมรสุมส่งให้เรือเข้าไปยังปากน้ำอ่าวไทยได้ ระหว่างนั้น พรรคพวกของขุนรามหมื่นส้องที่ เมืองระยองลอบเขามาขโมยโค ก ้ระบือ ชาง ม้ า จากค่าย ้ ของพระยาตากอยู่หลายครง ั้พระยาตากจึงยกกองกำลัง ไปยังเมืองระยองเพื่อปราบปรามพวกขุนรามหมื่นส้อง ปรากฏว่าจับได้แต่พวกทหาร ส่วนขุนรามหมื่นส้องหนี เข้าไปพึ่งพระยาจันทบูร ในเวลาเดยวกั ีน ยังมีปัญหาจากกลุ่มของนายทอง อยนู่ กเล็ก เมืองชลบุรีที่คอยข่มเหงราษฎรและขัดขวาง ไม่ใหกลุ่ม ้ราษฎรที่ต้องการมาพงึ่พาพระยาตากเดินทาง มาจนถึงที่ตั้งค่าย ในวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ จึงยก กองทัพไปยังบ้านหนองมน และให้นายบุญรอดแขน อ่อน และนายชื่นบ้านค่าย ซึ่งเคยเป็นสหายกับนาย ทองอยู่นกเล็ก เข้าไปเกล ี้ยกล่อมเสียก่อน ซึ่งนายทอง อยนู่ กเล็กยินยอมแต่โดยด จึง ี นำตัวมาพบพระยาตากที่ วัดหลวง จากนั้นจึงเข้าเมืองชลบุรี และแต่งตั้งนายทอง อยู่เป็นพระยาอนุราชบุรีศรีมหาสมุทร เจ้าเมืองชลบุรี และตั้งกรมการเมืองตามฐานานุศักดิ์เจ้าเมืองชลบุรี พร้อมทงมอบกั้ระบบัี่ งเง้ิน เสอเขื้มขาบดอกใหญ่ก ้ระดุม ทองเก้าเม็ด เข็มขัดทองประดับพลอย พระราชพงศาวดารไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า พระยาตากสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อใด และ ในการบันทึกพระราชพงศาวดาร ซึ่งเกิดขึ้นในรัชกาล ของพระองค์หรือในภายหลังใชค้ำราชาศัพท์เมือกล่าวถึง่ พระยาตากมาตั้งแต่ต้น เนื่องจากทราบว่าทรงเป็นพระ มหากษัตริย์ แต่จากเหตุการณ์ที่ทรงตั้งนายทองอยู่นก เล็กเป็นเจ้าเมืองชลบุรีสะท้อนว่าพระองค์น่าจะตั้งตน เป็นกษัตริย์มาก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินกลับมายังเมือง ระยอง พระยาจันทบูรมิได้มาเฝ้าตามสัญญา เนื่องจาก เชื่อในถ้อยคำยุยงของขุนรามหมื่นส้อง จึงเตรียมรี้พล ตกแต่งค่ายคูประตูหอรบให้พร้อมสรรพ และออกอุบาย นิมนตพร์ะสงฆ์ ๔ รูปมาเชญเิสด็จสมเด็จพระเจา้ตากสิน 154


เขาเมืองจั ้นทบูร แตพร่ ะองค์ไม่ทรงวางใจ และทรงระแวง ว่าน่าจะเป็นกลอุบาย จึงตรัสปรึกษากับบรรดานายทัพ นายกอง ซึ่งก็เห็นไปในทางเดียวกัน แต่ก็เห็นพ้องกันว่า ควรเสด็จเข้าเมืองจันทบูร เผื่อว่าพระยาจันทบูรคิดร้าย ก็จะได้จัดการปราบปรามเสีย แต่ถ้าไม่ใช่ก็เป็นโอกาส สร้างสัมพันธ์ ในวันรุ่งขึ้นตรงกับวันพฤหัสบดีสมเด็จ พระเจ้าตากสินพร้อมกับกองทัพและพระสงฆ์ ๔ รูปนั้น จึงเสด็จเข้าเมืองจันทบูร เมื่อเดินทางมาได้ ๕ วันถึงบ้านพลอยแหวน พระยาจันทบูรให้หลวงปลัดกับพวกออกมารอรับทำที ว่าจะเชญให ิเข้ าเมือง แ ้ต่แทนที่จะใหเข้ าเมือง กลับ ้ นำให้ กองทัพเล ี้ยวลงไปทางใต้เมือง ข้ามน้ำไปอยู่ฟากตะวัน ออก และจะรอทำร้ายเมื่อกองทหารข้ามน้ำนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงอ่านกลอุบายนี้ออก จึงให้นายบุญมี มหาดเล็กขึ้นม้าควบไปห้ามทหารกอง หน้าไม่ให้ไปตามทางที่หลวงปลัดนำทาง แต่ให้กลับมา ตามทางขวางตรงเขา้ประตูท่าชาง เ้สด็จประทับที่วัดแกว ้ ริมเมืองจันทบุรี และใหกอง้ทหารลอมว้หาิรวัดนั้นเอาไว้ พระยาจันทบูรจึงใหค้นออกมาทูลเชญเิสด็จเขาเมือง แ ้ต่ พระองค์ไม่เสด็จ เพราะทรงมั่นพระทัยในกลอุบายของ พระยาจันทบูร จึงมีพระดำรัสว่าการที่ผู้น้อยไม่ออกมา และให้ผู้ใหญ่เข้าไปพบเป็นการมิบังควร ทรงให้พระยา จันทบูรออกมาก่อน หรือหากไม่ออกมาแต่ส่งขุนราม หมื่นส้อง ซึ่งเป็นศัตรูของพระองค์ออกมาถวาย ก็จะ ถือว่าพระยาจันทบูรมีจิตบริสุทธิ์ซื่อตรงและสวามิภักดิ์ ด้วยใจจริง อย่างไรก็ดีพระยาจันทบูรไม่ยอมออกมาเฝ้า และไม่ส่งขุนรามหมื่นส้องออกมา ทงยังออกอุบายจะให ั้ ้ สมเด็จพระเจา้ตากสินเสด็จเขาเมืองไ ้ ปใหจงได ้ ้พระองค์ จึงทรงดำริว่าจะต้องตีเมืองจันทบูรให้ได้ และเป็นที่มา ของเรื่องราวที่ทรงให้ทหารในกองทัพหุงหาอาหารกิน กันให้อ ิ่ ม หากกินเหลือให้เททิ้ง แล้วทุบหม้อข้าวหม้อ แกงเสียให้หมด คืนนี้พระองค์จะนำกองทัพเข้าตีเมือง จันทบูรและนัดกันเข้าไปหาข้าวเช้ากินกันในเมือง หาก ตีเมืองไม่ได้ก็ให้ตายเสียด้วยกัน เวลาฤกษ์ ๓ นาฬิกา สมเด็จพระเจ้าตากสินขึ้น ชาง้พังคีรีกุญชร นำทหารบุกเขาโจม ้ ตีทำลายประตูเมือง จันทบูร ฝ่าห่ากระสุนนำทัพเข้าเมือง ทหารรักษาประตู เมืองแตกหนีกระเจิง ตัวเจ้าเมืองลอบลงเรือหนีไปเมือง พุทไธมาศ เมื่อเสร็จศึก ทรงยึดทรัพย์สิน อาวุธ เสบียง อาหาร ได้เป็นจำนวนมาก และให้จัดทัพลงไปทางเมือง ตราด จัดการกับสำเภาจีนที่ยังไม่ยอมอ่อนน้อม ได้ ทรัพย์สิ่งของทองเงินและผ้าแพรเป็นอันมาก ก่อนจะ ยอ้นกลับมาตงหลักอย ั้ ทีู่่ เมืองจันทบูร เพอื่ต่อเรือรบเป้า หมายคือไปตีเมืองธนบุรี บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 155


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินตีเมืองจันทบูรนั้น กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าไปแล้วถึง ๒ เดือน คือเสียไป ตงแั้ต่เมือวั่นอังคารขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ จุลศักราช ๑๑๒๘ หรือตรงกับวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ พระยาจันทบูร จึงอาจคิดตั้งตนเป็นใหญ่เสียเอง หรืออาจจะกำลัง เลือกข้างว่าจะเข้ากับพม่าก็ได้ เพราะศูนย์กลางคือ เมืองหลวงที่กรุงศรีอยุธยาแตกแล้ว ไม่มีระบบใด ๆ มา ควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ อกีต่อไป ที่จริงไดเก้ดิสุญญากาศ ทางการปกครองขึ้นมาตั้งแต่ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา แล้ว เนื่องจากเมืองหลวงไร้อำนาจควบคุมหัวเมือง ก่อ ให้เกิดการตั้งตนเป็นใหญ่ เกิดเป็นก๊ก เป็นเหล่า เป็น ซ่องโจร เป็นชุมนุมต่าง ๆ ดังที่จะเห็นตามรายทางจาก กรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่ทรงปราบ ปรามผู้ตั้งตนเป็นใหญ่ขึ้นหลายครั้ง และแม้แต่ชุมนุม ของสมเด็จพระเจ้าตากสินเองก็เช่นเดียวกัน คือแต่แรก คงตงขึ ั้ ้นเนองจากื่ต้องการป้องกันกลุ่มของตนเองให้พ้น จากกองทหารพม่าและต่อมาต้องป้องกันตนเองจาก กลุ่มอื่น และในที่สุดจึงขยายวัตถุประสงค์ของกลุ่มออก ไปเป็นการกู้กรุงศรีอยุธยาและขับไล่พม่า พระราชวัังเดิิม กรุุงธนบุรีุี 156


วิถีบ้านเมืองใหม่ หลังจากตีค่ายโพธิ์สามต้นได้แล้ว ทรงมิให้ ทหารทำร้ายไพร่ฟ้าทั้งปวง ในค่ายยังมีเสนาบดีที่ถูก จับอยู่หลายคน จึงพระราชทานทรัพย์และเสื้อผ้าแก่ เหล่าเสนาบดีเป็นอันมาก และเมื่อทรงทราบว่าสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์สวรรคตแล้ว และสุกี้พระนาย กองฝังพระบรมศพเอาไว้ จึงทรงให้ขุดพระบรมศพขึ้น มาอัญเชิญลงพระโกศ ทำพิธีตามพระราชประเพณีเท่า ที่จะทำได้ในเวลานั้น และเมื่อทรงทราบว่ายังมีเจ้านาย ผู้หญิง รวมทั้งขุนนางกรุงเก่าอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในค่าย โพธิ์สามต้น คือบรรดาพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้า บรมโกศ ๔ พระองค์คือเจ้าฟ้าสุริยา เจ้าฟ้าพินทวดี เจา้ฟ้าจันทวด และเจีา้ฟักทอง และยังมเจีา้นายชั้นหลาน เธออีกคือหม่อมเจ้ามิตร พระธิดาของกรมพระราชวัง บวรมหาเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) หม่อมเจ้ากระจาด พระธดากิรมหมื่นจิตรสนทรุ หม่อมเจาม้ ณีพระธดากิรม หมื่นเสพภักดี หม่อมเจ้าฉิม พระธิดาเจ้าฟ้าจีด เจ้านาย เหล่านี้ เมื่อพม่าจับได้นั้นยังประชวรอยู่ จึงยังไม่ได้ส่ง ไปเมืองอังวะ ก็โปรดให้รับกลับมาอย่างสมพระเกียรติ แม้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะยังคงยกย่อง เจา้นายในพระราชวงศ์เดมเหล่า ิ นี้ แต่ก็ทรงแสดงพระองค์ ว่าจะมาเป็นผู้ปกครององค์ใหม่ จึงทรงรับเจ้านาย ผู้หญิงมาเป็นพระสนมถึง ๔ พระองค์ พระธิดาในกรม หมื่นเทพพิพิธก็เป็นพระสนมองค์หนึ่งด้วย แต่หลัง จากที่ทรงรับเป็นพระสนมไม่ถึงสองปี หม่อมเจ้าอุบล พระธิดากรมหมื่นเทพพิพิธ และหม่อมเจ้าฉิม พระธิดา เจ้าฟ้าจีด กับนางละครอีก ๔ คนเป็นชู้กับมหาดเล็กฝรั่ง ๒ คน ไต่สวนแล้วพบว่าเป็นความจริง จึงสั่งให้ทนาย เลือกทำประจานให้ดู อย่าให้เป็นเย ี่ยงอย่างต่อไป แล้ว ให้ตัดแขน ตัดศีรษะ และผ่าอกเสียทั้งหญิงชาย การกระทำเหล่านี้นัยหนึ่งเป็นการประกาศให้ คนทั่วไปได้รับรู้ว่าทรงเป็นเจ้าชีวิตพระองค์ใหม่ หลัง จากทรงไปตั้งมั่นที่เมืองธนบุรีแล้วก็ทรงให้ดำเนินการ ก่อสร้างกำแพงเมืองเพื่อป้องกันข้าศึก โดยโปรดเกล้าฯ ให้ทำค่ายด้วยไม้ทองหลางทั้งต้นล้อมพระนครไว้ ชั่วคราวทั้งสองฟากแม่น้ำ จนถึง พ.ศ. ๒๓๑๖ จึงให้รื้อ อฐกิ ำแพงเมืองพระประแดงและกำแพงค่ายโพธสิ์ามต้น มาก่อกำแพงแทนไม้ทองหลาง การตั้งบ้านเมืองที่กรุงธนบุรีแทนที่จะได้กู้กรุง ศรีอยุธยานั้นเนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินยังไม่ทรง มีกำลังคนมากพอที่จะฟื้นฟูกรุงศรีอยุธยาที่เป็นเมือง ขนาดใหญ่ได้ จึงทรงตั้งเมืองธนบุรีขึ้นมาเป็นเมือง ศูนย์กลางแทน ที่ตั้งของกรุงธนบุรีนั้นใกล้เคียงกับกรุง ศรีอยุธยาคืออยู่ไม่ไกลจากปากอ่าวไทยนัก สามารถ ติดต่อทางทะเลกับภายนอกได้สะดวก และสามารถใช้ ทางน้ำติดต่อเข้าสู่ดินแดนตอนในได้เช่นเดียวกับกรุง ศรีอยุธยา การมาตั้งมั่นที่กรุงธนบุรีก็ยังคงสภาพการ เป็นประตูสู่ดินแดนตอนในอันกว้างใหญ่ได้เช่นเดียวกับ สมัยอยุธยา และถือเป็นการส่งต่อความเป็นเมืองท่า การค้าจากกรุงศรีอยุธยาสู่กรุงธนบุรีและกรุงเทพฯ ใน เวลาต่อมา เมืองธนบุรีเป็นเมืองที่ตั้งขึ้นมาในสมัยอยุธยา ตอนต้น อยู่ไม่ไกลจากทะเล มีสถานภาพเป็นเมืองหน้า ด่านทางทะเลสามารถควบคุมเส้นทางการเดินเรือเข้า ออกได้สะดวก จึงถูกใช้เป็นเมืองด่านขนอน ด้วยทำเล บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 157


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ ที่ตั้งที่เหมาะสมทำให้เมืองธนบุรีเหมาะแก่การติดต่อ ทำการค้า ประกอบกับการเป็นชุมชนเก่าแก่มาตั้งแต่ สมัยอยุธยาที่มีป้อมปราการวัดวาอารามอยู่แลว เหมาะ้ แก่สถานการณ์ของการฟื้นฟูศูนย์กลางอำนาจของราช อาณาจักรซึ่งกำลังเผชิญกับการขาดแคลนทุนทรัพย์ และกำลังคน การเลือกมาตั้งมั่นที่เมืองธนบุรีทำให้ไม่ ต้องเสียเวลาและทุนทรัพย์สร้างเมืองขึ้นมาใหม่มากนัก เมืองธนบุรีตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำลำคลองน้อยใหญ่หลายสาย ในฤดูน้ำหลาก น้ำ จะพัดพาตะกอนและโคลนตมมาทับถมในที่ราบลุ่ม และ ท่วมเข้าไปในเรือกสวนไร่นา เป็นเหตุให้ผืนดินมีความ อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก กล่าวได้ว่าสภาพ ของเมืองธนบุรีแทบไม่ต่างจากกรุงศรีอยุธยามากนัก ผิดกันแต่ขนาดที่เล็กกว่า ซึ่งเหมาะสมกับจำนวนกอง ทหารของสมเด็จพระเจ้าตากสินในช่วงแรก การที่เมือง ตงอยัู้่ไม่ไกลจากปากน้ำ หากเพลยง ี่ พล้ำต่อขาศึกก็อาจ ้ จะออกทะเลไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรีก่อนได้ ในขณะ เดยวกั ีน การที่เมืองตงอยัู้่ใกลบ้ริเวณที่มีน้ำลึกใกล้ทะเล หากขาศึกไม่ม ้กองีทพัเรือที่เขมแข็งย่อมยาก ้ ที่จะตีเมือง ธนบุรีได้ บริเวณที่ทรงเลือกตั้งเมืองคือทิศตะวันตกซึ่ง เป็นที่ดอน มีดินลักจืดลักเค็มเหมาะแก่การเกษตร และ พระมหากษัตริย์ก็ไม่ทรงละทิ้งการค้า วิถีการเมืองแบบชุมนุม เมื่ อสิ ้ นกรุงศรีอยุธยา เมือ่ราชอาณาจักรอยุธยาล่มสลาย บา้นเมืองตก อยู่ในสภาพไร้ศูนย์อำนาจในการปกครองและควบคุม การแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่า หรือเป็นชุมนุมที่เกิดขึ้น มาก่อนแล้วตั้งแต่ก่อนเสียกรุงย ิ่ งทวีจำนวนมากขึ้น มี ทั้งพวกที่รวมกลุ่มเพื่อปล้นสะดม พวกที่คาดหวังตั้งตัว เป็นกษัตริย์ พวกที่หวังเป็นใหญ่เฉพาะเขตพื้นที่ของตน แต่ในบรรดากลุ่มก๊กที่ตั้งขึ้นมานั้น ไม่มีกลุ่มใดเลยที่ หวังกลับไปฟื้นฟูกรุงศรีอยุธยา ยกเว้นกลุ่มของสมเด็จ พระเจ้าตากสิน การเมืองแบบชุมนุมมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก กับการเมืองแบบแว่นแคว้นที่เกิดขึ้นมาในอดีต ตั้งแต่ ก่อนการเกิดกรุงศรีอยุธยา ด้วยวิธีการปกครองบ้าน เมืองที่มีระบบแบบแผนพอสมควร ทำให้ปกครองตนเอง ได้ใกล้เคียงกับการเมืองแบบชุมนุมที่เกิดขึ้นในต้นพุทธ ศตวรรษที่ ๒๔ 158


บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 159


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ ลักษณะเด่นของการเมืองแบบชุมนุมคือเพื่อ มุ่งป้องกันตนเอง มีการรบรุกรานผู้อื่นเพื่อประทังชีวิต ชุมนุมจึงมีลักษณะเหมือนกองทัพ ซึ่งจะเหมือนมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับความจำเปน็ ในการรุกรบหรือป้องกัน ตนเอง ผู้นำชุมนุมต้องมีลักษณะพิเศษบางอย่างที่ สามารถเป็นศูนย์รวมของกลุ่ม ทำให้คนในกลุ่มเชื่อฟัง และได้รับความนับถือจากไพร่พลในกลุ่มได้ เช่น นาย ทองสุกที่ได้รับแต่งตั้งจากพม่าให้เป็นสุก ี้ (เทียบได้กับ ตำแหน่งนายอำเภอ) พระปลัดเมืองนครศรีธรรมราช เจา้พระยาพิษณุโลก พระพิมาย หรือมฉะินั้นก็แสดงออก มาในดา้นความสามารถในการรบ เช่น พระยาตาก หรือ แสดงออกมาในรูปความศักดิ์สิทธิ์ เช่น เจ้าพระฝาง คุณลักษณะความเป็นผู้นำอาจเกิดขึ้นมาก่อน หรือเกิดขึ้นหลังเสียกรุงศรีอยุธยาก็ได้ ในกรณีที่เกิดมา ก่อนเช่นเจ้าเมืองที่แยกตัวออกเป็นชุมนุม ดังตัวอย่าง ชุมนุมเจา้พระยาพิษณุโลก ผู้นำในลักษณะนี้อาจพัฒนา ตนเองขึ้นไปเป็นสถาบัน สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ได้ ไม่ยากนัก ดังจะเห็นจากการตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์ของ เจา้พระยาพิษณุโลก โดยอาศัยขนบประเพณีที่ได้รับการ ถ่ายทอดมาจากกรุงศรีอยุธยาเป็นตัวอย่าง ส่วนผู้นำที่ ยังไม่สามารถพัฒนาตนเองเป็นสถาบัน ก็อาจหาสิ่งอื่น มาเปน็ศูนย์รวมใจคนในกลุ่มของตนได เช่ ้น เจา้พระฝาง ที่อาศัยความศักดสิทิ์ธิ์ การนุ่งห่มที่ผิดจากสามัญชน แต่ ลักษณะเช่นนี้ยังไม่ใช่สถาบัน เพราะความศักดสิทิ์ธิ์ยังคง อยู่แต่กับเจา้พระฝางเท่านั้น พระยาตากสินเมือ่สถาปนา ขึ้นเปน็ กษัตริย์ก็เช่นเดยวกั ีน การที่ทรงอางว่าม ้อภี ินิหาร นับในเนอหื้น่อพทุธางกูรเจา และม้ ีพระปรีชาสามารถใน การรบ เป็นลักษณะเด่นที่ไม่สามารถถ่ายทอดให้ผู้ใดได้ เป็นลักษณะเฉพาะของพระองค์ ชุมนุมที่ตั้งขึ้นมาเหล่านี้ มีทั้งกลุ่มขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ที่มีขนาดใหญ่ระดับเมือง ต้องการ รื้อฟื้นความย ิ่งใหญ่ของกรุงศรีอยุธยา หรือต้องการตั้ง ตัวเป็นกษัตริย์ต้องอาศัยกลไกด้านการปกครองเข้าร่วม ด้วย จึงต้องอาศัยลูกน้องใกล้ชิดเป็นเครื่องมือในการ ปกครองมากกว่าการเมืองแบบราชอาณาจักรที่สถาปนา การปกครองได้มั่นคงแล้ว จึงอาจจะต้องใช้ความเป็น ญาติ ความเป็นลูกน้องเก่า หรือเป็นผู้ที่สามารถเสริม คุณสมบัติพิเศษของผู้นำได้ดี ส่วนในชุมนุมที่ต้องการเพียงรักษาความ ปลอดภัยของชุมนุม ก็จะเน้นไปที่ความภักดีต่อผู้นำ และความสัมพนัธ์กับผู้นำ มากกว่าความชำนาญในดา้น การปกครอง และเมื่อไม่เน้นที่จะรื้อฟื้นการเมืองแบบ ราชอาณาจักรขึ้นมาใหม่ คนเหล่านี้บางกลุ่มก็แสดงออก ในรูปการหักล้างจารีตประเพณีของการปกครองในราช อาณาจักรอยุธยา ชุมนุมใหญ่น้อยที่ตั้งขึ้นมาคงมีเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินต้องทรงปราบปรามชุมนุมเล็ก ๆ เหล่านั้นเพื่อให้ยอมรับอำนาจของพระองค์ ยังคงเหลือ ก็เพียงชุมนุมใหญ่ ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพิษณุโลก ชุมนุม เจา้พิมาย ชุมนุมเจา้นครศรีธรรมราช และชุมนุมเจา้พระ ฝาง ที่ต้องทรงใช้เวลาในการปราบปราม หลังจากที่ทรง ปราบชุมนุมที่เมืองธนบุรีและค่ายโพธิ์สามต้นลงได้แล้ว การปราบชุมนุมขนาดใหญ่ต่าง ๆ เรียงตาม ลำดับคือ 160


๑. ชุมนุมเมืองธนบุรีและค่ายโพธิ์สามต้น หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินตีเมืองตราดได้ แลวก็เข ้าฤด้ ฝูน จำเปนต้ ็ องหยุดยังกา้รรบพุ่ง ในระหว่าง นั้น ทรงให้ไพร่พลต่อเรือ รวบรวมเครื่องศาสตราวุธ และยุทธภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อจะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยา คืนจากพม่าในฤดูแล้ง ในช่วงเวลานี้เองที่พระองค์ทรง ได้สมัครพรรคพวกเป็นขุนนางเก่าจากกรุงศรีอยุธยา ที่หลบหนีพม่ามาได้ เข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญ อาทิ หลวงศักดนิ์ายเวรมหาดเล็ก นายสุดจินดา หุ้มแพร มหาดเล็ก ที่ต่อมาคือกรมพระราชวังบวรมหา สุรสิงหนาท ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก ครั้นถึงเดือน ๑๑ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ สิ้นฤดู มรสุม สมเด็จพระเจ้าตากสินต่อเรือรบได้ ๑๐๐ ลำ และ รวบรวมกำลังพลได้ราว ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ คน จึงทรงยก กำลังจากเมืองจันทบุรีมาถึงเมืองชลบุรีพวกราษฎรพา กันกล่าวโทษนายทองอยู่นกเล็ก ซึ่งพระองค์ตั้งให้เป็น พระยาอนุราชบุรีศรีมหาสมุทร ผู้รักษาเมืองชลบุรีว่า ประพฤติตนเป็นโจร เมื่อชำระได้ความเป็นสัตย์ จึงให้ ประหารชีวิตเสีย เมื่อทรงจัดการทางเมืองชลบุรีแล้ว เสร็จ ก็ยกกองทัพเรือมาเข้าปากน้ำเจ้าพระยา ในวัน ข้างขึ้น เดือน ๑๒ เมื่อมาถึงเมืองธนบุรีที่มีนายทองอินตั้งตัวเป็น ใหญ่อยู่ในขณะนั้น ทรงตีเมืองธนบุรีแตกและได้ผู้คน อีกจำนวนมาก เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินตีเมืองธนบุรี แตก พวกกรมการบางคนหนีไปแจ้งยังค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งมีหัวหน้าค่ายโพธิ์สามต้นชื่อนายทองสุก ซึ่งอาจเป็น คนเดียวกับสุกี้พระนายกอง สมเด็จพระเจ้าตากสินจึง ทรงยกกองทัพเรือขึ้นไปถึงกรุงศรีอยุธยาเข้าโจมตีค่าย โพธิ์สามต้น ขับไล่ทหารพม่าออกไปได้สำเร็จ และถือว่า ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากการยึดครองได้เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. ใช้เวลาเพียง ๗ เดือนหลังจากเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น ๒. ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก แม้เจ้าพระยาพิษณุโลกเป็นเจ้าเมืองชั้นเอก แต่ ในช่วงอยุธยาตอนปลาย การได้เป็นเจ้าเมืองชั้นเอก มิได้หมายความว่าได้ควบคุมหัวเมืองโท ตรี ด้วยอย่าง ในสมัยก่อน เพราะหัวเมืองแต่ละระดับเป็นอิสระ ไม่ ขึ้นแก่กัน แต่ขึ้นตรงต่อเมืองหลวง เจ้าเมืองเอกจะมี เมืองบริวารก็คือเมืองจัตวา ดังนั้น การที่เจ้าพระยา พิษณุโลกจะเพิ่มอำนาจของตนเองขึ้นมาไดก็จะ ้ ต้องอาง้ ตนเป็นกษัตริย์ เพื่อให้เจ้าเมืองใหญ่น้อยที่อยู่รายรอบ เช่น สุโขทัย กำแพงเพชร สวรรคโลก และตาก ยอมรับ อำนาจของตน และต้องปราบปรามชุมนุมที่อยรู่ายรอบ ให้หมดด้วย ดังนั้น ชุมนุมใหญ่ที่เจ้าพระยาพิษณุโลกจำเป็น ต้องปราบปรามคือ ชุมนุมเจ้าพระฝาง ซึ่งยกไปสู้รบกัน ถึง ๓ ครงแั้ต่ไม่แพ้ชนะกัน หลังจากสถาปนาตนเองเปน็ กษัตริย์อยู่เพียง ๖ เดือน เจ้าพระยาพิษณุโลกก็ถึงแก่ อนิจกรรม ระยะเวลา ๖ เดือนดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า เจา้พระยาพิษณุโลกปราบดาภเษกิตนเองขึ้นเปน็ กษัตริย์ มานานแล้ว บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 161


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ การที่ชุมนุมเจา้พระยาพิษณุโลกต้องขึ้นไปปราบ ชุมนุมเจ้าพระฝางถึง ๓ ครั้งแสดงให้เห็นว่า ชุมนุมเจ้า พระฝางจะต้องทำความยุ่งยากใหอย่างมาก จึง ้พยายาม จะปราบปรามให้ได้ ในขณะเดียวกัน การที่เจ้าพระยา พิษณุโลกพยายามปราบปรามชุมนุมอื่น แต่ไม่เคยมี แผนการณ์ลงไปยังกรุงศรีอยุธยา แสดงว่าไม่เคยคิดที่ จะกอบกู้อิสรภาพให้แก่กรุงศรีอยุธยา คงคิดแต่จะเป็น ใหญ่ส่วนตัวเท่านั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกกองทัพมาปราบ ปรามชุมนุมนี้ครงแั้รกใน พ.ศ. ๒๓๑๑ แต่ไม่สำเร็จ เพราะ ทรงถูกยิงที่พระชงฆ์จึงต้องยกทัพกลับไปก่อน ๓. ชุมนุมเจ้าพิมาย สมเด็จพระเจาก้รุงธนบุรีทรงยกกองทพั ไปปราบ ชุมนุมนี้ใน พ.ศ. ๒๓๑๒ โดยมกีรมหมื่นเทพพิพิธ ซงึ่ทรง ได้รับความนิยมจากผู้คนมาตงแั้ต่ครงกั้รุงยังไม่แตก และ เปน็เจา้นายที่เหลือรอดจากสงครามและมีสิทธใินการขึ้น ครองราชย์ เป็นหัวหน้าชุมนุม พงศาวดารระบุว่ากรมหมื่นเทพพิพิธคิดกบฏใน รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์ จึงทรงถูกเนรเทศ ไปลังกา แต่ทรงได้รับความนิยมยกย่องมากจนกระทั่ง พระเจ้าแผ่นดินลังกาหวั่นเกรง จึงหาเหตุเนรเทศออก จากเกาะ เมื่อกลับมาถึงเมืองมะริดก็ยังความตระหนก แก่ราชสำนักอยุธยามากพอสมควร และเกือบทำการ ได้สำเร็จ เพราะมีขุนนางในกรุงหนีไปเข้าด้วยจำนวนไม่ น้อย แต่ก็ถูกทัพพม่าและทัพในกรุงตีกระจัดกระจายไป กรมหมื่นเทพพิพิธจึงหลบหนีขึ้นเขาไปอยู่ที่โคราช เจ้า เมืองคิดจะจับตัวกลับมา แต่ทรงเกล ี้ยกล่อมผู้คนจนตี เอาเมืองนครราชสีมาได้ แต่ก็ไม่สามารถรักษาเมืองได้ โชคดีที่เจ้าเมืองพิมายกำลังคิดเป็นใหญ่จึงอัญเชิญขึ้น เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เพราะเห็นผลประโยชน์ทางการ เมืองจากกรมหมื่นเทพพิพิธ แต่กรมหมื่นเทพพิพิธไม่มี อำนาจของตนเอง เป็นเพียงแต่หุ่นเชิดของเจ้าเมือง พิมายที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ การที่สมเด็จพระเจาก้รุงธนบุรีต้องปราบชุมนุมนี้ เพราะเหตผุลสำคัญคือ ต้องการกำจัดกรมหมื่นเทพพิพิธ เพื่อไม่ให้มาเป็นคู่แข่งทางการเมืองของพระองค์ และ ชุมนุมนี้เขามากวาด้ ต้อนผู้คนบางส่วนจากภาคกลางขึ้น ไปสมทบกำลังที่เมืองพิมาย ชุมนุมนี้ไม่ได้ต้องการฟื้นฟู พระราชอำนาจของกรุงศรีอยุธยา แตต้่องการตงั้ตัวเปน็ ใหญ่ขึ้นในชายขอบราชอาณาจักรอยุธยาเดิมเท่านั้น กองกำลังของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเข้ายึด เมืองนครราชสีมาและพิมายได้ไม่ยาก เจ้าเมืองพิมาย เดิมถูกจับประหารชีวิต กรมหมื่นเทพพิพิธถูกจับได้และ ส่งตัวมายังเมืองธนบุรี ในที่สุดจึงถูกประหารชีวิต หลังจากปราบชุมนุมกรมหมื่นเทพพิพิธได้สำเร็จ ก็ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ตามโบราณราช ประเพณีตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ ๔. ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช สมเด็จพระเจาก้รุงธนบุรีทรงยกกองทพั ไปโจมตี เมืองนครศรีธรรมราชจนยอมจำนนต่อพระราชอำนาจ ใน พ.ศ. ๒๓๑๒ และจัดราชการได้เรียบร้อย ก็เสด็จฯ กลับ โปรดให้ผู้ที่ทรงไว้วางพระทัยขึ้นเป็นเจ้าเมือง นครศรี ธรรมราช พัทลุง และสงขลา ส่วนเจ้านครและ พวกก็ให้นำตัวขึ้นมาธนบุรี แต่ไม่ได้ลงโทษอย่างไร เจ้า นครยังเข้ามารับราชการในส่วนกลางอีกด้วย ในครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้อัญเชิญพระไตรปิฎก จากเมืองนครฯ เข้ามาจำลองไว้ยังเมืองธนบุรี ซึ่ง เท่ากับเป็นการให้เกียรติเมืองนครศรีธรรมราชในฐานะ ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาด้วย 162


๕. ชุมนุมเจ้าพระฝาง เจา้พระฝากเคยมีสมณศักดิ์เปนพร็ะครูของเมือง สวางคบุรีตำแหน่งนี้ตั้งโดยกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระฝาง น่าจะมีพื้นเพอยู่ในภาคเหนือตั้งแต่แรก จึงได้รับความ นิยมเลื่อมใสจากคนในท้องถิ่นมาก พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชาธิบายว่า เจ้าพระฝางเดิมชื่อ “บุกุลตะระ” แต่หลักฐานไทยสมัย หลังมักออกนามว่าเรือน เจ้าพระฝางอาศัยช่วงเวลาที่ เมืองเหนือว่างเจ้าเมือง เพราะกรุงศรีอยุธยาเกิดศึกเจ้า เมืองต้องลงมารับศึกในกรุง ตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่ แต่งตั้ง ญาติโยม สานุศิษย์ให้เป็นเจ้าเมืองและตุลาการตลอด ทั่วเมืองเหนือ และยังจัดทัพไว้ป้องกันพม่าด้วย เจา้พระฝางเปนผู้นำ ็ กบฏไพร่ จึงไม่คดจะยิายเข้า้ มาอยู่ในเมืองที่เป็นสัญลักษณ์ของราชอาณาจักร เช่น กรุงศรีอยุธยา แม้เมื่อตีพิษณุโลกได้ ก็ไม่คิดจะย้ายมา อยที่พิู่ษณุโลก เจา้พระฝางอางอ้ ำนาจศักดสิทิ์ธิ์ของพระ ธาตทีุ่เมืองฝางและอิทธิปาฏหาิ ริย์ของตนเอง ชุมนุมของ เจา้พระฝางเปน็ชุมนุมใหญ่เพราะคงมชุมีนุมหรือซ่องโจร ใหญ่น้อยอื่น ๆ ที่เป็นกบฏไพร่เช่นเดียวกันเข้าร่วมด้วย เป็นอันมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงปราบปรามชุมนุมนี้ สำเร็จใน พ.ศ. ๒๓๑๓ การปราบปรามชุมนุมใหญ่น้อยได้สำเร็จลง ทำให้พระราชอำนาจของสมเด็จพระเจ้าตากสินขยาย ออกไปได้กว้างขวางมากย ิ่งขึ้น และทรงให้เวลากับการ ทำนุบำรุงบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 163


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ 164


วิถีแห่งการฟื ้ นฟูบ้านเมือง บา้นเมืองหลังสงครามเปน็ภาวะที่ผู้นำจะต้องใช้ ความสามารถอย่างสูงในการนำพาผู้คนและบ้านเมือง ที่บอบช้ำจากการสงคราม โรคระบาด ความอดอยาก หิวโหย ให้ผ่านวิกฤตการณ์เหล่านั้นไปให้ได้ตลอดรอด ฝั่ง ทั้งยังต้องฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ ต้องหารายได้ มาสร้างบา้นแปลงเมือง ค้ำชูพระพทุธศาสนาเพอให ื่เ้ปน็ ศูนย์รวมจิตใจของไพร่บ้านพลเมือง ด้านเศรษฐกิจ ใน พ.ศ. ๒๓๑๑ ทั้งอองรี ตรุแปงผู้เขยีนหนังสือเรอง Historie civile et naturelle du ื่ royaume de Siam ซงถือเ ึ่ปน็งานร่วมสมัยกับรัชกาลของ พระองค์ และในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพัน จันทนุมาศ กล่าวไว้ตรงกันถึงเรื่องความอดอยาก ความ แห้งแล้ง ทุพภิกขภัย และโรคระบาด ซึ่งทำให้มีผู้คนล้ม ตายจำนวนมาก ในปีนั้น ตุรแปงรายงานว่า “ทุกเช้าใน แม่น้ำจะต้องมีศพหลายศพ” ส่วนพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศก็กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ทอดพระเนตร เห็นอัฏฐิกเรวฬะคนทั้งปวงอันถึงพิบัติชีพตายด้วย ทุพภิกขะ โจระ โรคะ สุมกองอยู่ดุจหนึ่งภูเขา และเห็น ประชาชนซงลึ่ ำบากอดอยากอาหาร มีรูปร่างประดุจหนงึ่ เปรตปีศาจพึงเกลียด...” ในสถานการณ์เช่นนี้ อาณาจักรต้องการผู้นำ ที่เข้มแข็งเด็ดเดี่ ยวมีความสามารถในการตัดสินใจแก้ ปัญหา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตัดสินพระทัยซื้อ ข้าวที่นำเข้ามาจากต่างเมือง เช่น เมืองพุทไธมาศ ทรง ใช้พระราชทรัพย์ไปในการนี้เป็นจำนวนมาก พระราช พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศบันทึกว่า “ด้วยขัตติย วงสา สมณาจารย์เสนาบดีอาณาประชาราษฎร ยาจก วณิพกคนโซอนาถาทั่วทุกเสมามณฑล เกลื่อนกล่นกัน มารับพระราชทานมากกว่า ๑๐,๐๐๐ ฝ่ายข้าราชการ ทหารพลเรือนไทยจีนนั้นรับพระราชทานข้าวสารเสมอ คนละถัง กินคนละ ๒๐ วัน” ในอีกด้านหนึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรง จัดการแก้ปัญหาด้วยการสั่งให้ขุนนางทุกระดับคุมไพร่ ของตนมาทำนาปรัง (นานอกฤดู) เนื่องจากพื้นที่ของ เมืองธนบุรีเหมาะสำหรับการเพาะปลก ใูน พ.ศ. ๒๓๑๙ พระราชพงศาวดารรายงานว่าเจา้พระยาจักรี เจา้พระยา สุรสีห์ พระยาธรรมาคุมไพร่พลทั้งปวงทำนาฟากตะวัน ออกของกรุงธนบุรี ยังมีพระยายมราช พระยาราชสุภาวดี ตั้งกองทำนาที่กระทุ่มแบน หนองบัว แขวงเมือง นครชัยศรี ในขณะเดียวกันก็ทรงซื้อข้าวจากสำเภาที่นำ เข้ามาขาย ข่าวการค้าข้าวได้ราคาที่เมืองธนบุรีรู้กันไป ทั่ว ทำให้มีผู้คนนำข้าว และสินค้าอาหารต่าง ๆ มาขาย เป็นอันมาก ทำให้บ้านเมืองกลับมาบริบูรณ์ไปด้วยข้าว ปลาอาหารอีกครั้งหนึ่ง และเชื่อว่าคงจะทำให้ราคาข้าว ถูกลงไปได้เอง นอกจากนั้น ทรงเพิ่มพูนรายไดของแ้ผน่ดินดวย้ วิธีการต่าง ๆ ทั้งการส่งสำเภาออกไปค้าขาย การเชิญ ชวนให้ต่างชาติทั้งชาวตะวันตกและชาวจีนกลับเข้ามา ค้าขายดังแต่ก่อน ทรงสนับสนุนให้ชาวจีน โดยเฉพาะ พวกแต้จิ๋วเดินทางเขามาใ ้นสยาม ดวยกา้รให้สิทธิพิเศษ ต่าง ๆ พร้อมกับทรงให้ปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ เพอให ื่ ้ ได้ไพร่มาเป็นแรงงาน บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 165


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ พระองค์ทรงนำวิธีเปิดประมูลค่าภาคหลวง ขุดทรพั ย์ที่มีผู้ฝังไวก่อ้นเสียกรุงศรีอยุธยามาใช และ้ทรง หารายไดจากภาษ้อากีร ส่วย และเครองบ่ืรรณาการจาก หัวเมืองที่อย่ใูต้พระราชอำนาจเพอเ่ื ปนท็นุในการติดต่อ คาขายกับ ้ต่างประเทศ ซง่ึทรุดโทรมลงมากในช่วงสงคราม การคากับ ้ต่างประเทศที่ทรงเน้นมากคือ การคา้ กับจีนในระบบบรรณาการหรือระบบจมก ิ้ อง กา้ รที่สมเด็จ พระเจาก้รุงธนบุรีทรงต้องการติดต่อกับจีนมาจากเหตผุล ทง้ัทางการเมืองและเศรษฐกจ ิสมเด็จพระเจาก้รุงธนบุรี ทรงปรารถนาจะได้รับการรับรองและการสนับสนนุความ เป็นกษัตริย์จากจีน เพราะจะย ิ่ งทำให้ฐานะความเป็น กษัตริย์ของพระองค์ชัดเจนมากยงขึ ิ่ ้น การติดต่อกับจีน ในครงแ้ัรก ๆ ไม่ประสบความสำเร็จ โดยราชสำนักอาง้ เหตุผลว่า ต้องการให้พระองค์เชิดชูรัชทายาทที่ถูกต้อง ของพระมหากษัตริย์อยุธยาขึ้นมาเป็นกษัตริย์ และไม่ ยอมรับหากคิดเป็นกษัตริย์เสียเอง โดยอ้างว่าเป็นการ ผิดทำนองคลองธรรมและชาติชั้นวรรณะ จนกระทง่ัราว พ.ศ. ๒๓๑๓-๒๓๑๔ หลังจากที่พระองค์ทรงปราบชุมนุม เจา้พระฝางลงได้ราชสำนักชงเิ ริ่มเปลย ี่ นท่าที และเมือ่ สมเด็จพระเจาก้รุงธนบุรีนำเชลยพม่าที่แตกพ่ายจากการ ทำสงครามกับจีนส่งใหแก่ ้ทางการจีน การกระทำนี้ทำให้ ทางการจีนพอใจเปน็ อันมาก และเรียกพระองค์ว่ากษัตริย์ เจง แ ิ้ ทนที่จะเรียกว่าหัวหน้าเผ่าชนอาณาจักรสยามหรือ พระยาสินอย่างแต่ก่อน จนกระทง ่ัพ.ศ. ๒๓๒๐ สมเด็จพระเจาก้รุงธนบุรี จึงจัดส่งคณะทูตนำพระราชสาสน์ ไปถึงราชสำนักจีน แจง้ ความประสงค์จะสถาปนาความสัมพนัธ์กับจีนอย่างเปน็ ทางการ และราชสำนักจีนอนุญาตใหด้ำเนินการได้ ใน พ.ศ. ๒๓๒๔ ทรงจัดส่งคณะทูตไปพร้อม เครอง่ืราชบรรณาการเปน็คณะใหญ่ ประกอบดวยเ้รือ ๑๑ ลำ เพอ่ืซอวั้ืสดุอุปกรณ์มาใช้สร้างพระนคร แตปร่ ากฏว่า เมื่อคณะทูตเดินทางกลับถึงเมืองธนบุรีสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรีทรงถกูสำเร็จโทษแลว วั ้สดุและอุปกรณต์ ่าง ๆ ที่ทรงให้จัดซ้อมาจึง ื นำมาใช้ในการสร้างพระราชวังแห่ง ใหม่แทน อย่างไรก็ดี แม้จะยังไม่ได้รับการยอมรับจาก จักรพรรดิแต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงทำการค้า กับพ่อคาเอกช้นชาวจีนไปได อ้กีทงเ้ัสนาบดีพระคลังใน รัชกาลของพระองค์มีท้งัที่เป็นชาวจีน และที่มีเชื้อสาย มุสลม แิสดงใหเห็ ้นว่าทรงใหความ้ สำคัญกับการคา้ต่าง ประเทศเปน็ อันมาก สินค้าที่ส่งไปในรัชกาลนี้น่าจะยังเป็นสินค้าของ ป่าเหมือนในสมัยอยุธยา ในพระราชสาสนที่ส ์ ่งไปถวาย จักรพรรดจิีนใน พ.ศ. ๒๓๒๔ ระบุว่าขอถวายไมฝางและ ้ ขอขายไม้ฝางที่ประเทศจีน แม้จะส่งสินค้าของป่าออก ขายได แ้ต่จำนวนที่ส่งออกคงไม่มากนักเมือเ่ทียบกับสมัย ก่อน ทง้ันี้เนองจากยังม่ื ีปัญหาเรองกา่ืรควบคุมไพร่ ทำให้ การเกณฑ์แรงงานออกไปจัดหาและจัดเก็บของป่าทำไดไม่ ้ เต็มที่ อกีทงกา้ั รที่รัชสมัยของพระองค์ยังต้องทำสงคราม อย่ไม่ว่างเวู้น โอกาสที่จะเกณฑ์ราษฎรมาปลกขูาวเ้พอ่ืส่ง ออกไปขาย จึงไม่เกดขึ ิ ้น การส่งออกขาวยัง ้ ทำไม่ได ย้ งไิ่ ป กว่าน้นั ยังประสบปัญหาขาวยากหมากแ้พงอย่เูปนร็ะยะ นอกจากขาดแคลนข้าวแล้ว ยังขาดแคลนเงิน เหรียญสำหรับการแลกเปลย ี่ นสินคา้ที่ต้องการอกดี วย ใ ้น พ.ศ. ๒๓๑๙ หนังสือของเจา้พระยาพระคลังถึงเจาเมือง ้ ตรังกาบาร์ของเดนมาร์กแสดงความประสงค์จะขอซอ้ืปืน 166


๑๐,๐๐๐ กระบอก โดยมอบหมายใหกั้ปตนั เหล็ก หรือ ฟรานซิส ไลท์ (Francis Light) เปนผู้ ็ จัดหา แต่ไม่มเงี ินสด ซอขาย จึงจะขอแลก ้ื ปืนกับสินคาของ้ ป่า คือ ดบุก งาชีาง ้ และเนอไม ้ื แ้ทน ดังน้นั ในด้านเศรษฐกิจ แม้สมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรีจะทรงพยายามฟื้นฟูเพ่ือให้ราษฎรมีกินแต่ก็ เปน็ ไปไดโดยล ้ ำบาก เนองจากอย่ื ่ใูนภาวะขาวยากหมาก้ แพง และภาวะสงคราม การควบคุมไพร่ก็ยังทำไดไม่ ้รัดกุม แมจะ้ ปราบปรามก๊กหรือชุมนุมต่าง ๆ ได้ผู้คนเขามาอย้ ู่ ภายใต้อำนาจ แต่ก็มไดิม้อีำนาจเด็ดขาดเหมือนที่เคยเกดิ ขึ้นในสมัยอยุธยา ความขาดแคลนท้ังอาหารและเงินทองทำให้ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีต้องทรงพยายามอย่างหนักใน การสงครามและการปกครองเพ่ือให้ได้มาซ่ึงส่วยและ ภาษอากีร แมจะม้ ีพ่อคา โดยเฉ ้พาะชาวจีน เขามา้ ติดต่อ คาขายด้วยแ้ต่ก็ยังขาดการคา้สำคัญ น่นั คือการคาใ้นระบบ บรรณาการ ซงกว่าจะได ่ึ ้ทำก็ปลายรัชกาล และกล่าวไดว่า ้ ไม่ทรงไดเห็ ้นผลของการคาบ้รรณาการก็สวรรคตไปก่อน ดา้นการเมืองการปกครองเห็นไดว่า กา ้ รที่สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเคยเป็นขุนนางท้องถิ่น และเป็น หัวหน้าชุมนุมมาก่อน ทำให้ทรงคุ้นเคยกับการแต่งต้ัง คนใกล้ชิดหรือผู้ที่ทรงเชื่อพระทัยขึ้นเป็นขุนนาง อาทิ ขุนชำนาญไพรสณฑ์ที่ได้เข้าสวามิภักด์เมื ิ่อเสด็จออก จากพระนครไดเ้พียง ๒ วัน โดยนำนายกองชางเข้ามา้ สวามิภักด์ดิ้วย ก็ได้เลื่อนยศขุนชำนาญฯ ให้เป็นหลวง พระเชียงเงินที่มาพบกับพระองค์ในภายหลังจากที่ทรง ออกจากพระนครศรีอยุธยา ก็ได้เลื่อนเป็นพระท้ายน้ำ รงเมือง้ัสุโขทัย เปนต้น ็ การที่จะฟื้นฟูบา้นเมืองขึ้นใหม่น้นั จะต้องรวบรวม ประชาชนใหได้จ้ำนวนมากเพียงพอเพอใช่ื ใ้นการป้องกัน ตนเอง และเพอกา่ื รทำมาหาเลยงช ี้ วีิต เมือเก่ดิสงครามน้นั ผู้คนลม้ตายและกระจัดกระจายหลบหนีไปซ่อนอยตู่ามป่า เขากันเปน็ อันมาก บางก็เข ้า้ร่วมเปน็ กลุ่มเปน็ชุมนุมเพอ่ื ป้องกันตนเองและเพอ่ืปล้นสะดมกลุ่มอื่นๆ การจัดการ ควบคุมกำลังคนจึงมใช่เ ิรองง่าย่ื ในระยะแรก สมเด็จพระเจาก้รุงธนบุรีทรงใชกา้ร เกลยกล่อมชุม ี้ นุมต่าง ๆ ใหยอมอ่อ ้ นน้อม โดยตกลงกัน ว่านายชุมนุมยังสามารถควบคุมดแลู ผู้คนของตนได แ้ต่ถา้ ทางราชการต้องการกำลังคน นายชุมนุมต้องเกณฑ์มาให้ ได้นายชุมนุมที่ยินยอมตามนี้ก็จะได้รับพระราชทานยศ หรือตำแหน่ง อย่างไรก็ด ดีวย้ระบบเช่นนี้ ทำใหม้ลูนาย มกีำลังคนมากกว่าพระมหากษัตริย์ หรือไพรส่มมจีำนวน มากกว่าไพร่หลวง ซงหากเ่ึ ปนส็ มัยอยุธยาย่อมเปน็เรอง่ื ที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่ในช่วงเวลานี้ความจำเป็น ทางการเมืองที่บบบังคับ ี ทำให้ทรงต้องยินยอมเพอให่ืเก้ดิ ความสงบเรียบร้อยในพระราชอาณาจักรโดยเร็ว และทรง ต้องการส่วยจากบรรดาขุนนางที่ทรงแต่งตงขึ ้ั ้นมาเหล่านี้ ให้ส่งมาใหเมืองหลวงด ้วย้ การที่รัฐไม่ไดเข้ าไ้ ปจัดตงไั้พร่ในหัวเมืองโดยตรง ทำให้รัฐไม่รู้จำนวนไพร่ของแต่ละหัวเมืองอย่างแท้จริง ทำให้ในที่สุด เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๖ ทรงจัดให้สักเลกสังกัด สมพันหมายหมู่ท้องมือขึ้น ซึ่งถือเป็นการสักเลกไพร่ ทงหมดเั้ปน็ครงแั้รกทวั่พระราชอาณาจักร การให้สักเลก นี้ทำอยู่ราว ๒ ปี เป็นการช่วยมูลนายเพราะรับรองสิทธิ การเปน็เจาของไ ้พร่ไดอย่างแ ้ ท้จริง และช่วยใหกา้รววาิท เพื่อแย่งไพร่ลดลงไปด้วย บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 167


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ แต่อย่างไรก็ดี การสักเลกในคราวนั้น รัฐไม่ได้มี จุดมุ่งหมายที่จะแย่งกรรมสิทธิ์การมีไพร่คืนมาแต่อย่าง ใด แต่ถือได้ว่าเป็นการช่วยมูลนายที่มีไพร่เสียมากกว่า เพราะในการสักเลกนั้นจะต้องสักนาม เมือง และชื่อ มลูนายลงไวบ้นขอมือ ้ ซ้ายไพร่และทหารทงั้ปวง คือต้อง สักชื่อตนเอง เมืองที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ และสักชื่อมูลนาย ที่ตนสังกัดอยู่ ส่วนรัฐเองก็จะทราบจำนวนประชากรใน หัวเมืองด้วย จะเห็นไดว่าใ ้นสมัยธนบุรีนั้น ขุนนางเมืองหลวง ที่ทรงแต่งตงขึ ั้ ้นมานั้นกลับไดควบคุมไ ้พรน้ ่ อยกว่าบรรดา หัวหน้าชุมนุมหรือหัวหน้าท้องถิ่นเดิมที่ยอมอ่อนน้อม ทงั้นี้เพราะคนเหล่านี้ไดควบคุม้ ผู้คนของตนไวอย่างเด ้ม ิ และทำให้เมืองหลวงมีไพร่หลวงไม่พอแจกจ่ายไปตาม กรมกองต่าง ๆ และขุนนางเมืองหลวงยังไดคุมไ ้พรน้ ่อย กว่าขุนนางที่เปนที่ ็ ไววาง้พระทัยที่เปนพรร็คพวกเก่าของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรื้อฟื้นตำแหน่ง ขุนนางครั้งกรุงเก่าขึ้นมา ตำแหน่งขุนนางสำคัญทั้งอัคร มหาเสนาบดีสมุหนายก สมุหพระกลาโหม จตุสดมภ์ ทั้ง ๔ คือเวียง วัง คลัง นา ส่วนใหญ่โปรดให้ขุนนางเก่า หรือผู้มีความรู้ในขนบธรรมเนียมประเพณีทั้งที่ไม่ใช่ คนสนิทของพระองค์ไดด้ำรงตำแหน่ง ขุนนางส่วนกลาง เหล่านี้ มียศศักดิ์สูง แต่กลับมีไพร่หลวงน้อย ทั้งไพร่สม ก็มีน้อยกว่าบรรดาลูกน้องคนสนิทของพระองค์ เพราะ ไม่มีโอกาสออกไปเกล ี้ยกล่อมหัวหน้าชุมนุมต่าง ๆ ให้ เข้ามาเป็นพวกได้เหมือนเจ้าเมือง โอกาสที่จะได้เข้าไป เก ี่ ยวข้องกับการค้าต่างประเทศก็ไม่มีเหมือนในสมัย อยุธยา เพราะการค้าอยู่ในมือของชาวจีนมากกว่าพวก อื่น ทำให้ไม่มีโภคทรัพย์มากพอที่จะสมสมกำลังของ ตนเองได้มากนัก หลัง พ.ศ. ๒๓๑๓-๒๓๑๔ โปรดให้ลูกน้องคน สนิทไปคุมหัวเมืองขึ้นมหาดไทย เพื่อสามารถคุมกำลัง ผู้คนในสังกัดแทนรัฐบาลกลาง อกีทงยัง ั้ทรงแยกหัวเมือง ทางใต้ให้ออกไปจากการควบคุมของระบบราชการ ส่วนกลาง โดยยกใหอยู้่ภายใต้การควบคุมของพระญาติ หรือบุคคลที่ทรงไว้วางพระทัย ลูกน้องและคนที่ไว้วาง พระทัยจึงกลายเปนต็ ัวกลางระหว่างรัฐบาลของพระองค์ และหัวหน้าชุมนุมซงมึ่อีำนาจเหนือผู้คนในท้องถิ่นทวไั่ป ไม่ใช่รัฐบาลกลางมีอำนาจเหนือหัวหน้าชุมนุมโดยตรง ส่วนในด้านการตรากฎหมายนั้น ทรงโปรดให้มี การรวบรวมและชำระกฎหมายที่สูญหายไปให้เหมาะ สมแก่กาลเทศะหรือไม่ก็ตราขึ้นใหม่ เพื่อให้ราษฎรได้ ผลประโยชน์มากขึ้น เช่น แกไขกฎหมายว่าด ้วยกา้รพนนั โดยใหศาลเ้ ปนผู้ ็มอีำนาจตัดสินลงโทษ แทนที่แต่เดมให ิ ้ นายตรานายบ่อนเป็นผู้ตัดสินเอง และยังห้ามนายตรา นายบ่อนให้ผู้เล่นยืมเงิน ด้านสังคม ทรงเกล ี้ยกล่อมไพร่กลับเข้ามาใน เมืองและทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนา เพื่อให้ประชาชน ไดม้ศีูนย์รวมจิตใจ พระองค์ทรงใหคัดเลือก ้พระสังฆราช ขึ้น ทรงให้จัดระเบียบสังฆมณฑลเสียใหม่ ทรงแต่ง ตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์ขึ้นตามเดิม พ.ศ. ๒๓๑๖ ทรง ออกพระราชกำหนดว่าด้วยศีลสิกขา เพื่อวางกรอบให้ พระสงฆ์ปฏิบัติตามพระวินัยที่ดี 168


นอกจากนี้ ยังโปรดให้มีการสังคายนาและ รวบรวมพระไตรปิฎกตามหัวเมืองต่าง ๆ ที่รอดพ้นจาก การถูกทำลายมารวบรวมไว้เพื่อสร้างพระไตรปิฎกฉบับ หลวงขึ้น ทรงต้องการสั่งสอนประชาชนในสังคมให้อยู่ ในศีลธรรมอันดี จึงทรงให้สร้างสมุดภาพไตรภูมิขึ้น ใน พ.ศ. ๒๓๑๙ ทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม สำคัญ ทั้งในกรุงธนบุรีและหัวเมือง เช่น วัดมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช วัดบางยี่ เรือเหนือ (วัดราชคฤห์) วัดบางยี่ เรือใต้ (วัดอินทาราม) วัดบางว้าใหญ่ วัดหงส์ รัตนาราม วัดแจ้ง วัดท้ายตลาด เป็นต้น การสงคราม การฟื้นฟูในดา้นการเมือง เศรษฐกจ ิ สังคมของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นต้องกระทำไป ควบคู่กับการสงครามเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ราช อาณาจักร ทั้งสงครามเพื่อปราบปรามชุมนุมหรือก๊ก เหล่าต่างๆ ที่ตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่อยู่ทั่วไป ทำสงครามกับ กัมพูชาและลา้นชาง และ้ ทำสงครามกับพม่าที่ยกเขามา้ ตลอด ๑๕ ปีถึง ๑๐ ครั้ง ศึกครั้งสำคัญ ๆ เช่น ศึกที่ค่าย บางกุ้ง ค่ายบางแก้ว เมืองเชียงใหม่ และศึกอะแซหวุ่นก ี้ ศึกครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๑๐) ศึกที่ค่ายโพธิ์สามต้น และยึดกรุงศรีอยุธยาคืน นับเป็นการกอบกู้อิสรภาพได้ สำเร็จ ศึกครงั้ที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๑๐) หลังตีค่ายโพธสิ์ามต้น ได้ทัพพม่าทั้งทางบก ทางเรือ ได้เข้าล้อมค่ายจีนที่บาง กุ้งแขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะที่ค่ายเกือบจะเสียที สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ยกทัพเรือขึ้นไปตีพม่าแตก พ่าย เปน็การสร้างขวัญกำลังใจแก่ชาวไทย ทำใหค้นไทย เลิกกลัวพม่าหลังจากเสียกรุง ศึกครั้งนี้ยังทำให้ชุมนุม ต่างๆ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ยอมรับในพระราชอำนาจและ เข้าสวามิภักดิ์ ศึกครั้งที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๑๓) กองทัพพม่าจาก เชียงใหม่ยกมาตีเมืองสวรรคโลก เจ้าพระยาสุรสีห์ เจ้าเมืองพิษณุโลก พระยาสีหราชเดโช เจ้าเมืองพิชัย และพระยาท้ายน้ำ เจ้าเมืองสุโขทัยช่วยกันไล่พม่าได้ สำเร็จ ศึกครั้งที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๑๓) สมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรียกทัพไปตีพม่าที่เมืองเชียงใหม่ แต่ไม่ประสบ ความสำเร็จ เพราะไพร่พลน้อย ศึกครั้งที่ ๕ (พ.ศ. ๒๓๑๕) พม่ายกทัพมาตีเมือง พิชัยครั้งแรก เจ้าพระยาสุรสีห์และพระยาสีหราชเดโช ช่วยกันขับไล่พม่าได้สำเร็จ ศึกครั้งที่ ๖ (พ.ศ. ๒๓๑๖) พม่ายกทัพมาตี เมืองพิชัยซ้ำอีก ทัพไทยช่วยกันขับไล่พม่าจนแตกพ่าย สงครามครั้งนี้เกิดวีรกรรมของพระยาพิชัยดาบหัก ศึกครั้งที่ ๗ (พ.ศ. ๒๓๑๗) สมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรียกทัพไปตีพม่าที่เมืองเชียงใหม่ครั้งที่ ๒ ได้ หัวเมืองล้านนามาอยู่ใต้อำนาจ ยกเว้นเมืองเชียงแสน โดยมีพระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละเป็นกำลังสำคัญ ศึกครั้งที่ ๘ (พ.ศ. ๒๓๑๘) พม่ายกทัพใหญ่มา ทางเมืองกาญจนบุรีตั้งค่ายที่บางแก้ว ราชบุรีสมเด็จ พระเจาก้รุงธนบุรีทรงยกทพัจากหัวเมืองเหนือมารับทพั พม่า เข้าล้อมพม่าจับเป็นเชลยได้กว่า ๑,๐๐๐ คน ศึกครั้งที่ ๙ (พ.ศ. ๒๓๑๘) อะแซหวุ่นก ี้ เป็น แม่ทัพพม่า ยกทัพใหญ่มุ่งโจมตีหัวเมืองเหนือ กองทัพ บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 169


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ ๓๐,๐๐๐ เข้าล้อมพิษณุโลก กองทัพ ๕,๐๐๐ ล้อมเมือง สุโขทัย เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพ รับศึกพม่าที่พิษณุโลก สมเด็จพระเจาก้รุงธนบุรีเสด็จยก ทัพหลวงไปช่วย ปะทะกันเป็นศึกใหญ่ ทัพไทยต้านไม่ ไหวจึงสละเมือง พอดีกับเกิดเหตุการณ์ผลัดแผ่นดินใน พม่า อะแซหวุ่นก ี้จึงยกทัพกลับไป ศึกครั้งที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๓๑๙) กองทัพพม่าจาก เชยงแีสนยกมาตีเมืองเชยงใหม่ ีสมเด็จพระเจาก้รุงธนบุรี โปรดให้เจ้าพระยาสุรสีห์ยกขึ้นไปช่วยทัพเชียงใหม่ สู้ศึก ได้รับชัยชนะ แต่จำเป็นต้องทิ้งเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากไม่มีกำลังพลพอที่จะป้องกันเมืองขนาดใหญ่ อย่างเชียงใหม่ได้ เชียงใหม่จึงเป็นเมืองร้างกว่า ๑๕ ปี จนรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช จะเห็นไดว่า กา ้ รฟื้นฟูบา้นเมืองในรัชกาลสมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นเรื่องที่กระทำได้ยาก นอกจากจะ ต้องเผชญกับเห ิตุการณต์ ่างๆ เหล่านี้แลว ศึกภายใ ้นคือ วิธีการบริหารจัดการของพระองค์เองก็นำมาซึ่งปัญหา และการไม่ได้รับผลประโยชน์โดยทวกั ั่นในหมู่ขุนนาง ซงึ่ จะนำมาซึ่งการเปล ี่ ยนแปลงครั้งสำคัญในปลายรัชกาล ในที่สุด การสิ ้ นอำ นาจของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชพงศาวดารและเอกสารของไทยที่เขียน ขึ้นหลังเหตุการณ์รัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ กล่าวถึงสาเหตุของการสิ้นรัชกาลมากนัก อาจจะเป็น เพราะไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้แน่ชัด เหตุผล หนึ่งที่กล่าวถึงอยู่เสมอคือ ทรงมีพระสติวิปลาสคลาด เคลื่อนไป แต่หากพิจารณาจากการปกครองของ พระองค์จะพบว่าแท้จริงวิธีการบริหารจัดการที่ทรงใช้ นั้นก่อให้เกิดปัญหาแก่พระองค์เอง การบริหารจัดการของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นการบริหารในลักษณะเจ้านายกับลูกน้องมากกว่า ในฐานะพระมหากษัตริย์กับขุนนาง ทั้งนี้ในช่วงอยุธยา ตอนปลายนั้น ความเป็นกษัตริย์ได้พัฒนามาจนเป็น ลักษณะของสถาบันได้แล้ว ในขณะที่ขุนนางก็พยายาม สร้างฐานอำนาจของตนเอง เห็นได้จากมีการแต่งงาน กันในหมู่ตระกูลขุนนาง เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น ให้แก่กลุ่มขุนนางและเพิ่มอำนาจต่อรองกับพระมหา กษัตริย์ได้มากขึ้น ทำให้ตระกูลขุนนางที่โยงใยกันได้นี้ ครอบงำส่วนบนของระบบราชการเอาไวได้ กา้รเสียกรุง ศรีอยุธยาเท่ากับทำลายโครงสร้างอำนาจของตระกูล ขุนนางที่ยึดโยงกันเอาไว้ก่อนหน้านี้ลงไป ส่วนการขึ้น สู่อำนาจของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่เน้นการจัดการ เมืองแบบชุมนุมมากกว่าการจัดการแบบราชอาณาจักร ดังที่เคยเป็นมาแต่ก่อน มีผลให้อำนาจของขุนนางเดิม ที่กลับมาเข้ากับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่อาจเพิ่มสูง ขึ้นดังเดิมได้ 170


ขุนนางผู้ดีครั้งกรุงเก่าที่เข้ากับสมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรีมักได้รับแต่งตั้งให้เป็นขุนนางอยู่ในส่วนกลาง โอกาสในการสะสมอำนาจบารมีจากการได้ควบคุมไพร่ ก็มีน้อยกว่า ทรัพย์สินที่พระราชทานให้รวมทั้งโอกาส ในการเข้าทำการค้าก็น้อยกว่าบรรดาลูกน้องที่สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงไว้วางพระทัย แม้ขุนนางเดิมจะ ได้ยศถาบรรดาศักดิ์ใหญ่โต แต่ในทางปฏิบัติแล้วกลับ ไม่มีกำลังคนและทรัพย์สินเท่าใดนัก ผิดกับขุนนางตาม หัวเมืองที่เป็นลูกน้องคนสนิทของพระมหากษัตริย์ ที่ ได้ควบคุมไพร่ของตนเองจำนวนมาก และอยู่ในแหล่ง สินค้าของป่าและแร่ธาตุ แม้แต่ตำแหน่งขุนนางส่วนกลางที่ได้ทำการค้า เก ี่ ยวข้องกับทรัพย์สินจำนวนมากคือตำแหน่งพระคลัง สมเด็จพระเจาก้รุงธนบุรีก็ทรงสงวนไวให้ล้กูน้องคนสนิท การบริหารจัดการเช่นนี้จึงนำมาซึ่งการขัดผลประโยชน์ กับเหล่าขุนนางส่วนกลางที่เป็นกลุ่มผู้ดีจากครั้งกรุงเก่า ทั้งนี้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงอาศัยความใกล้ชิด และความไว้วางใจในการส่งญาติหรือลูกน้องคนสนิท ไปเป็นขุนนางปกครองหัวเมือง ตามแบบการปกครอง แบบชุมนุม ไม่ทรงใช้วิธีการปกครองแบบที่เคยใช้ใน สมัยอยุธยาที่ให้สมุหนายกและสมุหพระกลาโหมหรือ เสนาบดีพระคลังเป็นผู้ควบคุมดูแลหัวเมือง วธิกาีรบริหารดังกล่าวนำมาซงึ่ผลประโยชนสู์ส่ม เด็จพระเจาก้รุงธนบุรีเนองจากลื่กูน้องคนสนิทเปนผู้ ็คุม กำลัง จึงเชือใจเ่รองความจงื่รักภักดไดี ใ้นระดับหนง ึ่ทรง อาศัยความจงรักภักดีของลูกน้องขยายพระราชอำนาจ ออกไปได้กว้างขวาง เห็นได้จากการปราบกัมพูชา พุทไธมาศ เชียงใหม่ ฯลฯ ได้ด้วยกำลังจากลูกน้องเหล่า นี้ แต่การบริหารแบบนี้ก็นำผลเสียมาให้ เมื่อขุนนาง อยุธยาและเชื้อสายถูกลิดรอนผลประโยชน์ไปมากขึ้น และไม่มีทีท่าว่าพระองค์จะสามารถรอื้ ฟื้นราชอาณาจักร อยุธยาขึ้นมาใหม่ได้ตามเป้าหมายเมื่อครั้งที่คนเหล่านี้ เข้ามาร่วมด้วย จุดเปล ี่ ยนของเหตุการณ์อยู่ที่ศึกอะแซหวุ่นก ี้ ที่นำมาซงกา่ึ รทำลายหัวเมืองเหนือจนเกือบเปน็ เมืองร้าง พม่ากวาดต้อนผู้คนไดจ้ำนวนหนงเมื ึ่ออะแ่ซหวุ่นกถอ ี้ น ทัพกลับ ผลจากศึกครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึง ทรงกวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองเหนือมายังกรุงธนบุรี เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่หัวเมืองชั้นในและเมือง ธนบุรี หัวเมืองเหนือบางเมืองที่เจาเมือง ้พอคุมกำลังกัน ไวได้ ก็ให ้เ้ปน็ฐานสำหรับการเกลยกล่อม ี้ ผู้คนพลเมืองที่ หลบหนี เช่น เมืองพิชัย และเมืองพิษณุโลก แต่เนองจากื่ เกรงว่าพม่าจะยกทัพกลับมาอีก จึงแบ่งพลเมืองไว้ใน เมืองเหนือน้อย และผ่อนนำกลับมายังเมืองธนบุรีและ ท้องที่ภาคกลางมากกว่า การกระทำเช่นนี้แม้จะเท่ากับเพิ่มไพร่หลวงให้ แก่พระมหากษัตริย์ แต่ก็เพิ่มกำลังคนให้แก่ขุนนางส่วน กลาง โดยเฉพาะเจ้าพระยาจักรีซึ่งไม่ใช่ขุนนางคนสนิท ของพระองค์ไปด้วย และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึง ทรงไม่มกีำลังคนเพียงพอที่จะไปฟื้นฟูหัวเมืองเหนืออก ี ทำให้ลูกน้องซึ่งครองหัวเมืองเหนือต้องสูญเสียไพร่พล ส่วนหนงไึ่ป และไม่ไดคุมอ้ ำนาจทางการเมืองมากอย่าง ที่เคยเปน็ อกีทงขุั้นนางคนสนิทหลายคนถึงแก่อนิจกรรม ไปบาง ช้ราลงไปบาง ้ ทำใหความเข้ มแข็งของกลุ่มอ ้ ำนาจ บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 171


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ ของพระองค์ลดน้อยถอยลง ต่อมาพระยาพระคลังที่ทรง ไว้วางพระทัยก็ถึงแก่อนิจกรรม พระองค์จึงต้องรักษา ความมั่นคงทางเศรษฐกจเอาไว ิเอง ้ทรงใชความเด็ดขาด ้ ในการควบคุมเรื่องเงินทอง ทรงใช้มาตรการด้านภาษี อย่างเขมงวด ้ ปราบปรามผู้ลักลอบนำขาวและเกลือออก ้ นอกประเทศอย่างเด็ดขาด ซงไึ่ปกระทบกับพ่อคาชาวจ้ ีน และเปนพ็นัธมิตรทางการเมืองของพระองค์ จึงก่อใหเก้ดิ ปัญหาดา้นความจงรักภักดขึี้นมาในหมู่ชาวจีนจนหันไป หาที่พึ่งใหม่ จึงเห็นได้ว่าอำนาจทางการเมืองของกลุ่ม สมเด็จพระเจ้าตากสินค่อนข้างคลอนแคลน พระองค์ จึงต้องสร้างบารมีด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อแสดงออกถึง ความเป็นผู้นำของพระองค์ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ในช่วงปลายรัชกาล สมเด็จพระเจาก้รุงธนบุรีทรง หันมาเน้นการสร้างอาณาบารมีส่วนพระองค์ เพอคื่ ้ำจุน สถานภาพการเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงนำพระพุทธ ศาสนามาใช้เพื่อแสดงบุญญาบารมีผ่านอิทธิปาฏิหาริย์ ที่เกิดจากความสำเร็จในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน หลักฐานฝรั่งเศสและเดนมาร์กกล่าวถึงการดำริจะเป็น พระพุทธเจ้าและการเหาะเหินเดินอากาศ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามมากใน ด้านการศาสนา ทรงเน้นการบรรลุธรรมขั้นสูง เน้น อิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งมีรากฐานในพระพุทธศาสนารับรอง และเป็นเรื่องที่คนไทยทั่วไปในสมัยนั้นเชื่อถือ ได้เสด็จ ไปเจริญพระกรรมฐานที่วัดบางยี่ เรือใต้อยู่เป็นนิจ ทรง พยายามให้ราษฎรรับรู้ในความเลื่อมใสทางศาสนาของ พระองค์ว่าทรงมีสภาวะจิตสูงกว่าคนธรรมดา และทรง มีความรู้ทางพระพุทธศาสนาสูงกว่าพระสงฆ์จึงทรง พระราชนิพนธ์ลักษณะบุญหรือพระไตรปิฎกธรรมเป็น ตำราใช้สอนพระภิกษุสงฆ์ แสดงให้เห็นว่าทรงเป็นครู ของสงฆ์ไดและ้ทรงมบาีรมเหีนือคนทงหลาย ั้ สิ่งที่พิสูจน์ พระบารมีอีกประการหนึ่งคือการได้พระแก้วมรกตมา จากเวยงจั ีนทน์ ซงถือเ ึ่ปนพร็ะพทุธรูปคู่บา้นคู่เมืองต้อง มีการฉลองอย่างใหญ่โต ในสมัยธนบุรีเกดิปัญหาดา้นพทุธจักรขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๒๓ ดังปรากฏในจดหมายเหตุโหรว่าโปรดให้สึกพระ ราชาคณะและพระอธิการ สะท้อนให้เห็นความไม่สงบ เรียบร้อยในองค์กรปกครองคณะสงฆ์ ความแตกแยก ของสงฆ์เห็นได้จากการฟ้องร้องกันเอง ระหว่างพระ ราชาคณะต่างกลุ่ม และไม่สงบลงจนถึงรัชกาลที่ ๑ การวิวาทกันของสงฆ์ใน พ.ศ. ๒๓๒๓ ว่าด้วยเรื่องไหว้ คฤหัสถ์ผู้นั่งสมาบัติ ข้างหนึ่งว่าไหว้ได้ ข้างหนึ่งว่าไหว้ ไม่ได้ เป็นโทษ การกระทำนี้พระราชพงศาวดารนำมา อธิบายว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระสัญญาวิปลาส สำคัญผิดว่าทรงบรรลุโสดาบัน จึงมีพระราชปุจฉาแก่ พระราชาคณะว่าภกษุจะไหว ิ คฤหั ้สถ์ที่บรรลุภมูธิรรมเช่น นั้นได้หรือไม่ เมื่อพระราชาคณะทูลว่าไม่ได้ก็พิโรธ และ ลงโทษพระสงฆ์ อย่างไรก็ดี ช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นี้ในพระ ราชพงศาวดารไม่ตรงกับที่บันทึกไว้ในจดหมายเหตุโหร ที่กล่าวอย่างชัดเจนว่าเกิดขึ้นก่อนหน้าเจ้าพระยามหา กษัตริย์ศึกไปทัพกัมพูชาถึงกว่าปี และเรื่องที่เกิดขึ้นก็ ไม่ได้กล่าวถึงการไหว้พระโสดาบัน แต่เป็นเรื่องของการ ไหว้คฤหัสถ์ที่นั่งสมาบัติ ฉะนั้น ข้อความที่กล่าวว่าทรง มีสัญญาวิปลาสสำคัญพระองค์ผิดว่าได้ทรงบรรลุโสดา 172


ปัตติผลจึงไม่สอดคล้องกับในจดหมายเหตุโหรซึ่งเป็น หลักฐานร่วมสมัย อกีทงหลังจาก ั้นั้นอก ๑๑ เดือ ีนต่อมา ก็ยังทรงเสด็จออกว่าราชการตามปกติ จดหมายเหตุโหร ไม่ไดแ้สดงหรือบอกเปนน็ ัยว่าทรงวกลจิ ริตไปแต่อย่างใด หลักฐานหลักที่กล่าวถึงอาการวิกลจริตของ พระองค์คือ พระราชพงศาวดารถูกเขียนขึ้นหลังจาก สวรรคตไปแล้ว อย่างเร็วที่สุดคือ ๑ ปีหลังจากสวรรคต แต่ข่าวคราวเรื่องการเสียจริตของพระองค์กลับเป็น เรื่องที่เชื่อกันเกือบจะในทันทีที่สิ้นรัชกาล ดังเช่นกรณี ของบาทหลวงฝรั่งเศสที่ถูกเนรเทศออกจากเมืองธนบุรี ไปก็ได้เขียนถึงอาการเสียสติของพระองค์ ในขณะที่ เอกสารร่วมสมัยที่เชื่อถือได้อย่างเช่นจดหมายเหตุโหร ไม่เคยกล่าวถึงอาการวิกลจริตของพระองค์ไว้ที่ใดเลย ข้อความในจดหมายเหตุโหรช ี้ให้เห็นว่าทรงเป็นปกติดี ทุกประการ ไม่มีแม้แต่ข้อความแสดงความทุกข์เข็ญใน พระศาสนาและในหมปรู่ะชาชนดังที่กล่าวถึงในพระราช พงศาวดาร แต่ดวยกา้รกระทำของสมเด็จพระเจา้ตากสิน เปน็การกระทำที่แตกต่างจากที่พระมหากษัตริย์องค์ก่อน ๆ เคยทรงกระทำมา เนื่องจากทรงปกครองโดยวิธีการ แบบชุมนุม ที่เน้นอยู่ที่ตัวของพระองค์มากกว่าสถาบัน กษัตริย์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ปกติเหมือนที่เคยเกิดขึ้น ในสมัยอยุธยา ข่าวลือเรื่องการเสียพระสติที่แพร่ออกไปเป็น วงกว้าง อาจเป็นไปได้ว่าถูกกระจายไปโดยกลุ่มคนที่ ต้องการโค่นล้มพระราชอำนาจ การเสียพระสตินั้น จะเกิดจากมาตรฐานของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นขุนนางกรุง เก่า สำหรับพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว ทรงไม่ได้ยอมรับ สถานภาพทางสังคมจากสมัยอยุธยาทงหมดอยัู้่แลว ดัง ้ นั้นพระราชกรณียกิจหลายอย่างที่ทรงปฏิบัติ จึงทรงทำ ไปโดยอาศัยมาตรฐานของพระองค์เอง ไม่ใช่มาตรฐาน แบบราชประเพณีสมัยอยุธยา แต่การกระทำแบบนี้กลับ ทำให้ผู้ที่คุ้นเคยอยู่กับพระราชประเพณีไม่เห็นพ้องดวย ้ และเมือ่รวมกับการเสียอำนาจทางเศรษฐกจของขุินนาง พ่อค้า ประชาชนอย่างที่เคยได้รับจากสมัยอยุธยาตอน ปลาย และการที่ยังไม่มีทีท่าว่าพระองค์จะทรงแก้ไข ปัญหาทางเศรษฐกิจให้กลับมาเฟื่องฟูได้ดังเดิม ทำให้ กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์หันไปร่วมกับกลุ่มอำนาจใหม่ที่ มีทีท่าว่าจะจัดการให้พวกตนได้ผลประโยชน์ตามความ ต้องการได้ จนนำมาซึ่งเหตุการณ์วุ่นวายในช่วงปลาย รัชกาลและการสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อ วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 173


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ วิถีแห่งความเปลี่ ยนแปลง : สังคม เศรษฐกิจ การเมือง สู่รัตนโกสินทร์ตอนต้น พระนิพนธ์เรื่องไทยรบพม่าของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวถึงการตั้งกรุง รัตนโกสินทร์ว่าเกิดขึ้นภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงระงับ ดับทุกข์เข็ญในกรุงธนบุรีได้ราบคาบแล้ว และโปรดให้มีสารตราหากองทัพกลับมาจากกรุงกัมพูชา แลวก็ให ้เ้ริ่มการยาย้พระนครขาม้ ฟากจากเมืองธนบุรีมาสร้างกรุงเทพมหานครอมรรตนั โกสินทร์ฯ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีใหม่ 174


พระราชพงศาวดารกล่าวว่ามูลเหตุที่ให้มา สร้างเมืองทางฝั่งตะวันออกเนื่องจากทรงเห็นว่าพื้นที่ พระราชวังเดิมอยู่ติดกับวัดแจ้งและวัดท้ายตลาดทั้ง สองด้าน จึงทรงให้ย้ายที่ใหม่ เหตุผลดังกล่าวอาจมิใช่ เพื่อการสร้างวังแต่เพียงอย่างเดียว แต่เนื่องจากมี พระราชดำริว่าพม่าอาจมาตีสยามอีก และเหตุที่ กรุงธนบุรีสร้างป้อมปราการทั้ง ๒ ฝั่ง มีแม่น้ำผ่ากลาง เมือง หรือที่เรียกว่าเมืองอกแตก จึงทรงเกรงว่าจะรักษา เมืองลำบากหากขาศึกมา ้ ประชดถึงห ิ น้าเมือง หากสร้าง เมืองฝั่งเดียวก็จะได้แม่น้ำเป็นคูเมืองด้านตะวันตกและ ด้านใต้ และต้องขุดคลองเพิ่มเพียงด้านเหนือและตะวัน ออกเท่านั้น หากขาศึกมาถึงเมืองก็ยัง ้พอสู้ได ด้วยเห้ตนีุ้ จึงโปรดให้ย้ายเมืองมาอยู่ฝั่งตะวันออกฝั่งเดียว หลังจากตัดสินใจแล้วว่าไม่ย้ายเมืองหลวงกลับ ไปที่กรุงศรีอยุธยาดังเดม ิพระบาทสมเด็จพระพทุธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดฯ ให้ขึ้นไปรื้อกำแพงกรุง เก่า เอาอิฐลงมาสร้างป้อมปราการที่กรุงเทพฯ และอีก เหตุผลหนึ่งคือไม่ต้องการให้กรุงเก่าเป็นที่อาศัยของ ขาศึกได ้ ้สร้างพระนครอยู่ ๓ ปีจึงสำเร็จใน พ.ศ. ๒๓๒๘ และให้มีการสมโภชพระนคร กรุงรัตนโกสินทร์ที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้ยังมีปัญหาใน เรองเื่สถยีรภาพทางการเมืองอย่างมาก พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงต้องทรงวางรากฐานเพื่อ ให้ศูนย์กลางแห่งใหม่นี้ยืนหยัดอยู่ได้ยาวนานต่อไป วิธี การหนึ่งที่ทรงนำมาใช้ก็คือการสืบทอดรูปแบบจากกรุง ศรีอยุธยา วิถีแห่งการสร้างความชอบธรรม แก่ระบบการเมืองและผู้ปกครองกลุ่มใหม่ มักกล่าวกันว่ากรุงรตนั โกสินทรส์ืบทอดความคดิ และโลกทัศน์มาจากสมัยอยุธยา แต่ในความสืบทอดนั้น ได้เกิดความแตกต่างขึ้นมาด้วย เพราะรัฐที่สร้างขึ้นมา เปน็ศูนย์กลางแห่งใหม่เปนร็ ัฐที่มลักษ ีณะเฉพาะตัว การ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยาก็เป็น ในดา้นรูปแบบมากกว่า ชนชั้นนำที่ขึ้นมาเปนผู้ป ็กครอง ไม่ใช่สายโลหิตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่การที่ ผู้ปกครองกลุ่มใหม่ขึ้นมาโดยสำเร็จโทษผู้ปกครองคน เก่านั้น จำเป็นจะต้องอธิบายเหตุผลให้ราษฎรรับทราบ ชนชั้นนำจึงต้องอธิบายการสลายตัวของรัฐและการสูญ เสียสิทธิธรรมของผู้ปกครองเดิมพร้อม ๆ กันไปกับการ สร้างความชอบธรรมแก่รัฐและผู้ปกครองใหม่ แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่ากรุงรัตนโกสินทร์ตั้งขึ้น โดยมีรากฐานอยู่บนศูนย์กลางอำนาจที่สมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรีเป็นผู้นำในการสถาปนาขึ้น แต่ผู้นำของกรุง รัตนโกสินทร์อยู่ในฐานะที่จะปรับปรุงเปล ี่ ยนแปลงองค์ ประกอบต่าง ๆ ของศูนย์กลางแห่งอำนาจได้กว้าง ขวางกว่าและลึกซึ้งกว่า เพราะการแตกสลายของกรุง ศรีอยุธยาเกดขึ ิ ้นนานพอสมควรแลว และกลุ่มกา ้รเมือง ที่อาจเป็นอันตรายต่อรัฐใหม่ก็ถูกปราบปรามไปแล้ว ในสมัยก่อนหน้า ดังนั้น ความคิดใหม่ในการย้ายเมือง หลวงจากกรุงศรีอยุธยามาอยู่ที่ใหม่จึงเกิดขึ้นที่กรุง รัตนโกสินทร์นี้ มิได้เกิดมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพราะ ในสมัยนั้น ยังเรียกธนบุรีว่าเมืองธนบุรีและเรียกกรุง ศรีอยุธยาว่าเมืองหลวงอยู่นั่นเอง บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 175


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพทุธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราชทรงสถาปนาอำนาจเหนือหัวเมืองที่อยู่ ภายใต้อำนาจของราชอาณาจักรอยุธยามาแต่เดิมให้ แน่นแฟ้นย ิ่งขึ้น เกิดการรวมเอาล้านนา ล้านช้าง และ กัมพูชา รวมทั้งหัวเมืองมอญคือ ทวาย มะริด ตะนาว ศรี เขามาอยู้่ภายใต้อำนาจอย่างมั่นคง ผลก็คือก่อใหเก้ดิ การเมืองแบบจักรวรรดิขึ้น และเนื่องจากคนส่วนใหญ่ ในจักรวรรดินับถือพระพุทธศาสนา ราชสำนักจึงอาศัย พระพุทธศาสนามาสร้างมาตรฐานทางสังคมให้เกิดขึ้น ดวยกา้รพยายามสร้างใหก้รุงรตนั โกสินทร์เปน็ศูนย์กลาง ของพระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ ดีตามคติพระพุทธศาสนา ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในเมือง หลวง หัวเมือง และในประเทศราช ปัญหาใหญ่ประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยนี้ก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์กับราชอาณาจักร ซึ่งมี ผลต่อเสถยีรภาพทางการเมือง เพราะพระสงฆ์มบีทบาท ทางการเมืองสูงมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว และในบาง กรณีราชอาณาจักรไม่สามารถกาวล่วงฝ่ายศา ้สนจักรได้ เมื่อขึ้นครองราชย์นั้น ราชสำนักต้องปรับ ระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างพุทธจักรกับอาณาจักร เพื่อให้ราชอาณาจักรควบคุมพุทธจักรไว้ได้ จึงเกิดการ ปรับปรุงระบบการปกครองคณะสงฆ์ และตรากฎหมาย ขึ้นบังคับใช้แก่พระสงฆ์ ในการปกครองสงฆ์แต่เดม จะมิเจีาค้ณะ ๓ ฝ่าย ที่เป็นอิสระต่อกัน แม้จะมีตำแหน่งพระสังฆราชแต่ก็ ไม่สามารถบังคับบัญชาพระสงฆ์ทั่วพระราชอาณาจักร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรง เห็นปัญหาดังกล่าวซึ่งมีมาตลอดแม้ในสมัยกรุงธนบุรี จึงทรงมีพระราชบัญชาให้พระสงฆ์ทั้งปวงทำตาม ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ที่มีสมเด็จพระสังฆราช เปนผู้ ็ บังคับบัญชาโดยเคร่งครัด โดยที่พระสงฆ์ทุกระดับ จะต้องเชื่อฟังพระสังฆราชแต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาพระสังฆราช เพียงองค์เดียวขึ้นเป็นผู้ปกครองสงฆ์ เพื่อให้คณะสงฆ์ เกดเอกภาิพภายใต้การดแลของูพระมหากษัตริย์ ในสมัย ธนบุรีก็อาจจะเกิดความตั้งพระทัยในลักษณะเดียวกัน นี้ แต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงใช้พระองค์เองเป็นผู้ ปกครอง ผิดกับสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่พระองค์ทรงแต่งตั้ง พระสังฆราชขึ้น พระองค์มีพระราชอำนาจเหนือคณะ สงฆ์ พระบาทสมเด็จพระพทุธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยัง ทรงให้ตรากฎพระสงฆ์ซ่ึงรวมอย่ใูนกฎหมายตราสาม ดวง เปน็กฎหมายควบคุมคณะสงฆ์ฉบับแรก ยังผลให้ ฝ่ายราชอาณาจักรปกครองพุทธจักรได้โดยตรง ซึ่งการณ์นี้ส่งผลต่อการกำหนดความคิดทางการเมือง เพื่อเป็นอุดมการณ์ของรัฐ ทำให้มีการเน้นความคิดว่า พระมหากษัตริย์ทรงเปนพร็ ะโพธิสตัว์ซงเึ่ปนพร็ะธรรมกิ ราชาธิราช ทำหน้าที่ผู้นำสูงสุดในการรักษาพระพุทธ ศาสนา นอกจากปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างราช สำนักกับพระสงฆ์แลว ยังม ้ ีปัญหาในระบบไพรที่ส่ ืบทอด มาแต่ครั้งอยุธยา-ธนบุรีที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรง พยายามจัดระบบไพร่ให้มีการสักเลกไพร่เป็นครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรง 176


พยายามแก้ปัญหาระบบไพร่โดยลดเวลาในการเกณฑ์ แรงงานไพร่จาก ๔ เดือนมาเป็น ๓ เดือนต่อปี ทรง ตรากฎหมายหลายฉบับเพื่อเตือนมูลนายให้คุ้มครอง ไพร่ เช่น ให้โอบอ้อมอารีต่อไพร่ เลี้ยงไพร่ไว้อย่าให้เสีย น้ำใจ ฯลฯ แต่การควบคุมไพร่ก็ยังไม่อาจทำได้อย่าง มีประสิทธิภาพ เพราะยังต้องพระราชทานพระบรมรา ชานุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้น้อยเกล ี้ยกล่อมเลกที่ยังไม่ได้สังกัดมูลนายมาสักเป็น ไพร่สม ซึ่งเป็นไพร่ของมูลนาย เมื่อมีราชการก็ให้เฉล ี่ ย เกณฑ์ตามสมควร ปัญหาใหญ่ของระบบไพร่คือ มูลนายเบียดบัง เอาไพร่ไปใชงา้นส่วนตัว ซงเห็ ึ่นไดจากกา้รออกกฎหมาย ซ้ำหลายครงเั้พอมื่ใหิม้ลูนายละเมดกฎเกิณฑ์ของระบบ ไพร่ มกฎหมายออกมาใ ีน พ.ศ. ๒๓๒๙, ๒๓๓๐, ๒๓๓๕ ไพร่หลบหนีไปแอบแฝงอยู่กับกรมการเมืองต่างหัวเมือง หลบหนีขึ้นล่องคาขายบ้าง อ้างเ้ ปนท็าสของขุนนางบาง ้ เพราะไม่ต้องการสังกัดมูลนาย ปัญหาทั้งจากระบบไพร่และความขัดแย้งของ มูลนายรุ่นใหม่ทำให้รัชกาลที่ ๑ ต้องทรงหาทางแก้ไข โดยนำพระพทุธศาสนาเขามาเ้ ปน็มาตรการเพอให ื่ค้นใน สังคมมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การรับนับถือ พระพทุธศาสนาหมายถึงการยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคม ชนชั้นนำในสมัยรัชกาลที่ ๑ จึงพยายามสถาปนาความ คิดทางพุทธศาสนาที่มีระบบและเป็นเอกภาพ เพื่อให้ มูลนายรุ่นใหม่และไพร่ได้ยึดถือร่วมกัน การนำคำสอน ทางพระพุทธศาสนามาใช้เพื่อหวังไม่ให้คนละเมิดกฎ เกณฑ์ของสังคม สาระสำคัญของการนำพระพุทธศาสนามาใช้ คือ การเน้นความคิดว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระ โพธิสัตว์ซึ่งคนทั้งหลายอัญเชิญให้ขึ้นครองราชย์ ทรง ทำหน้าที่เปนปร ็ะธานในการจรรโลงธรรมในฐานะที่เปน็ พระธรรมกิราช หรือราชาผู้ทรงธรรม และดวยคุ้ณสมบัติ ของพระโพธิสัตว์โดยเฉพาะพระปัญญาคุณและ พระกรณุาธคุิณยังผลให้พระองค์ปฏบัิ ติภารกจิทงใั้นการ ฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรได้สมบูรณ์ หน้าที่ของพระองค์ในฝ่ายพทุธจักรคือการทำนุ บำรุงพระพุทธศาสนา โปรดฯ ให้รวบรวมพระพุทธรูป และพระบรมธาตสำุ คัญซงเึ่ปนที่ ็เคารพบชาจากหัวเมืองู และประเทศราชมารักษาไว้ที่กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมี พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สังคายนาพระไตรปิฎกให้ บริสุทธิ์ และทรงสั่งสอนดูแลพระสงฆ์ฝ่ายจักรวรรดิให้ ตั้งมั่นอยู่ในไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิปัญญา ส่วนฝ่ายอาณาจักร ทรงสั่งสอนเจ้าประเทศราช พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง และอาณาประชาราษฎร์ ทั่วไปให้เข้าใจในพุทธธรรม ให้ละเว้นอกุศลกรรม ประกอบกุศลกรรม หากมกาีรกระทำอันมชอบ ิพระองค์ จะเป็นผู้ตัดสินคดีลงโทษผู้กระทำผิด เพื่อมิให้คนพาล คงอยู่ในราชอาณาจักร และเพอื่ป้องกันไม่ใหค้นกระทำ ความชั่วเลวอันจะยังผลให้ตกนรกลงไปสู่อบายภูมิ เมื่อทรงดูแลทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ รุ่งเรืองช่วยให้พุทธธรรมบริสุทธิ์แล้ว พระสงฆ์และ ฆราวาสทั่วไปก็มีโอกาสได้เรียนรู้และเข้าใจพุทธธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ถูกต้อง มีการกระทำที่ ชอบธรรม แม้แต่การทำสงครามก็เป็นไปเพื่อจรรโลง บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 177


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ ธรรม เพราะทำสงครามกับพม่าซึ่งเป็นฝ่ายอธรรม ซึ่ง ทำลายพระพุทธศาสนา ถือเป็นการช่วยไพร่พลพม่าให้ พ้นจากชีวิตแบบอกุศลกรรม และป้องกันราษฎรจาก การเบียดเบียนของพม่าข้าศึก ราษฎรตั้งบ้านเรือนได้ เป็นสุข ได้สร้างกุศล บ้านเมืองก็เป็นสุข พุทธศาสนา รุ่งเรือง การที่ทรงแผ่พระราชอาณาเขตออกไปก็อาศัย เหตุผลเดียวกันนี้อธิบายคือ แผ่ความปกติสุขไปสู่บ้าน เมืองอื่นด้วย เพื่อสั่งสอนดูแลราษฎรในประเทศนั้นให้ ประพฤติธรรม ทรงดูแลการทำมาหากินของราษฎรให้ ปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายภัยธรรมชาติ และภัยสงคราม เพื่อจะได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย สามารถทำบุญ ทำทานต่อพระศาสนา พระสงฆ์ก็จะมไดิ ้รับความลำบาก และสามารถปฏิบัติธรรม บำเพ็ญศีล สมาธิ เพื่อให้เกิด ปัญญาขึ้นมาได้ การมีประสบการณ์จากการค้ามาก่อน ทำให้ ทรงเลือกเน้นคติพระธรรมิกราชาธิราชมากกว่าคติ จักรพรรดิราช เพราะคติพระธรรมิกราชเป็นวิถีที่ ทรงปฏิบัติได้จริง ต่างจากพระจักรพรรดิราชที่ไม่อาจ ทำได้จริง ทรงพิสูจน์สิทธิธรรมของพระองค์โดยผ่าน พระราชภารกิจที่ทรงมีต่อราษฎร มิได้เพียงแต่การอ้าง ความเป็นพระโพธิสัตว์เท่านั้น การอ้างสิทธิธรรมแบบ พระธรรมิกราชทำให้ทรงเป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาชน เจ้านาย และหัวเมืองประเทศราชว่าทรงมีสิทธิธรรม ในการปกครอง เป็นใหญ่เหนือผู้ปกครองหัวเมืองและ ประเทศราช เหนือกว่าพระมหากษัตริย์แห่งอังวะ ความคิดที่ว่าพระธรรมิกราชทรงเป็นผู้นำสูงสุด ของพุทธจักรและอาณาจักรทำให้พระองค์ทรงมีอำนาจ ปกครองดูแลพระสงฆ์ได้มากขึ้น การเน้นให้คนทั้งปวง บำเพ็ญทาน ศีล ปฏิบัติตามกุศลกรรมบถด้วยความ เขาใจ ย่อมม ้ ีส่วนให้สังคมเปนร็ะเบยบ ช่วยควบคุม ีสังคม ในระหว่างที่กลไกระบบไพร่ยังอ่อนแอมีปัญหาเกยวกับ ี่ มูลนายรุ่นใหม่และปัญหาการเข้ามาของไพร่ต่างชาติ 178


วิถีทางเศรษฐกิจการค้าในช่วงเปลี่ ยนผ่าน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ความสืบเนื่องทางการค้าจากสมัยธนบุรีมาปรากฏผลให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ในสมัยนี้ มูลนายในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเข้าใจหลักการประกอบการค้ามากขึ้นเพราะอาศัยการค้าเป็นแหล่ง ที่มาของทรัพย์สิน มูลนายจึงผูกพันอยู่กับความจริงตามประสบการณ์มากขึ้น แม้ชีวิตจะยังคงผูกพันอยู่กับศาสนา และพิธีกรรม แต่ความเชื่อเหล่านี้กำลังเปล ี่ ยนแปลงไป กลายเป็นลักษณะเหตุผลนิยมและสัจจะนิยมเพิ่มมากขึ้น เห็นได้ชัดตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้นไป ปัญหาด้านต่าง ๆ ที่สืบเนื่องมาจากสมัยธนบุรีนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรง บริหารจัดการและแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดีทำให้สังคมมีเสถียรภาพมากขึ้น เพราะความทุกข์ยากจากการสงคราม ภาวะขาวยากหมากแ้พง บา้นแตกสาแหรกขาด ได้ผ่านพ้นไปนานนับสิบปีแลว ้สภาพเศรษฐกจิฟื้นฟูขึ้นมากกว่าเมือ่ ครงั้ผ่านสงครามใหม่ ๆ การผลิตและการแลกเปลย ี่ นเริ่มเขา้สู่ภาวะปกติพัฒนาการทางเศรษฐกจิที่หยุดชะงักไปก็เริ่ม กลับคืนมา อกีทงใั้นปลายสมัยธนบุรีสมเด็จพระเจาก้รุงธนบุรีทรงประสบความสำเร็จในการคาแบบบ้รรณาการกับ จีนและการค้ากับเอกชนจีน เมื่อเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้รับประโยชน์จากการคาบ้รรณาการกับจีนในทนที ัและเปน็ อย่างมากตงแั้ต่เมือเ่ ริ่มตงกั้รุงเทพฯ ไดไม่ ้นานนัก บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 179


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงใชกา้รคากับ ้ต่างประเทศ เปน็แหล่งรายได้สำคัญสำหรับเมืองที่สร้างใหม่ เพราะใน ช่วงนั้นการเก็บภาษอากีรยังไม่ได้รับผลดมากีนัก ทรงใช้ เงินตรา จ้างแรงงานอพยพชาวจีน แทนการเรียกเกณฑ์ แรงงานอย่างเดิม ทรงซื้อสินค้าจากราษฎรมาลงสำเภา อีกทางหนึ่ง เพื่อเพิ่มวิธีในการลงทุนทำการค้า จากเดิม ที่อาศัยเพียงการเกณฑ์แรงงานไพร่เก็บส่วย ส่วนการ จัดเก็บภาษีอากรยังคงมีลักษณะเหมือนกับสมัยอยุธยา ชนชั้นสูงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นต่างเข้า ร่วมทำการค้ากันอย่างคึกคัก เกิดการเพิ่มปริมาณการ ขนส่งทางเรือ การเปิดประตูการค้าของจีนทำให้มีผู้ค้า สำเภาค้าขายกับจีนมากขึ้น เกิดการผลิตสินค้าที่ซับ ซ้อนกว่าการเก็บของป่า จึงทำให้ในที่สุดสินค้าของป่า ลดความสำคัญลง การคา้สำเภาหลวงเปน็ แหล่งรายไดหลักใ ้นสมัย รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ พระมหากษัตริย์ทรงใช้เงิน ที่ได้มาในการแจกเบ ี้ยหวัด หากปีใดการค้าสำเภาได้ กำไรน้อยไม่พอแจก จะทรงนำผ้าลายมาตีราคาแทน เบ ี้ยหวัด บางปีก็ให้ทองคำบางตะพานหรือทองคำจีน แก่ขุนนางแทน แม้ว่าราชสำนักยังคงต้องการค้าขายในระบบ บรรณาการกับจีน แต่จีนเข้มงวดกับการค้าบรรณาการ มากขึ้น เพื่อป้องกันมิให้ชาวต่างชาติอาศัยระบบ บรรณาการทำการค้าหากำไรมากเกินไป ราชสำนักจึง ต้องปรับตัว ส่งผลให้เกิดการพัฒนาการค้านอกระบบ บรรณาการขึ้น การค้าเอกชนกลายเป็นธุรกิจ เพราะ เอกชนไม่สามารถอ้างเอกสิทธิ์ หรือสร้างอภิสิทธิ์ใน ระบบมูลนายเพื่อหลีกเล ี่ ยงภาษีหรือเพื่อประกันความ มั่นคงของธุรกิจการค้าได้อย่างเต็มที่ ชนชั้นนำกลุ่มนี้จึง มีโลกทรรศน์อย่างพ่อค้ามากย ิ่งขึ้น เพราะต้องพัฒนา ธุรกิจของตนเอง วางแผนการดำเนินการธุรกิจอย่าง รัดกุมมกาีรลงทนุและการเก็งกำไรอย่างมเหีตผุลเพอให ื่ ้ ได้กำไรมากที่สุด พระคลังสินค้าในสมัยรัชกาลที่ ๒ ไม่สามารถ ควบคุมการค้าไว้ในมือของราชสำนักได้ทั้งหมด และ จำเป็นต้องอนุญาตให้ขุนนางค้าขายเอง มีหลักฐาน ว่าเรือสินค้าที่กลับจากต่างประเทศจำนวน ๗๐ ลำ มี เรือของขุนนางถึง ๒๐ ลำ ขุนนางจึงเป็นผู้ลงทุนและ ผู้ประกอบการ บรรยากาศของการคา้ทำใหขุ้นนางระดับ สูงต้องการเข้าร่วมค้าขายด้วยจนได้ชื่อว่าเป็นเศรษฐีค้า สำเภา เช่น เจ้าพระยาพระคลัง (กุน) พระยาโชฎึกราช เศรษฐีพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ยังมีเจ้านายระดับ สูง คือกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ที่ต่อมาคือพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ก็ทรงค้า สำเภา ภายหลังยังทรงสนับสนนุการสร้างเรือกำปน ั่ เพิ่ม เติม ทำให้ทรงมกองเีรือพาณิชย์ ประกอบดวยเ้รือกำปน ั่ หลวงที่สร้างแบบยุโรป ๑๑ - ๑๓ ลำ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรด เกลาฯให ้ ขุ้นนางและเจา้นายบางพระองค์ แต่งสำเภาไป ค้ายังเมืองจีน มาเก๊า และที่อื่น ๆ สำเภาเหล่านี้บรรทุก สินค้าของหลวงและสินค้าส่วนตัวนำไปขายยังจุดหมาย เดียวกัน ส่วนผู้ที่ไม่มีสำเภาของตนเองก็อาจเช่าระวาง เรือผู้อื่น เช่น เรือชาวจีน เพื่อฝากสินค้าไปขายได้รวม ทั้งซื้อสินค้าที่ต้องการกลับมาใช้และขาย บรรดาขุนนาง 180


ระดับสูงรวมถึงพระราชวงศ์ ต่างนิยมวิธีการหารายได้ ด้วยการค้าสำเภา เจ้านายบางพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ แปลงเรือกำปั่ นพระที่นั่งเป็นเรือสินค้าบรรทุกของออก ไปจำหน่ายยังต่างประเทศอีกด้วย เมื่อการค้าภายในขยายตัวมากขึ้น ไพร่มีโอกาส ผลิตเพื่อขาย มีโอกาสประกอบการเป็นพ่อค้า และมี โอกาสบริโภคสินค้าต่าง ๆ มากขึ้น การค้าทำให้เกิด การสะสมทรัพย์สิน เกิดความมั่งคั่ง การผลิตของไพร่ บางส่วนตอบสนองความต้องการสินคาเ้พอื่ส่งออกต่าง ประเทศ ไพร่จึงมโอกา ีสฝากสินคาไ้ ปขายกับสำเภา และ ได้เข้าสู่ระบบการค้าอย่างจริงจัง ผู้คนสามารถซื้อหรือ แลกเปล ี่ ยนสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และแม้แต่ หาซอื้สินคา้ฟุ่มเฟือยไดด้วยเง้ ินทองหรือสินคา้ที่ตนผลิต ขึ้นมาได้ การลดเวลาเข้าเวร เปิดโอกาสให้ไพร่ส่วนหนึ่ง ได้มีโอกาสในชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม แม้แต่ทาสเชลยก็ได้ รับโอกาสให้ไถ่ตัวออกไปทำมาหากิน นอกจากการค้าภายในแล้ว ราชสำนักสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้นยังทำการค้ากับต่างประเทศอีก ด้วย ทำให้มีรายได้จากการเก็บภาษีปากเรือ ค่าขนอน กำไรจากการผูกขาด การค้าขายกับต่างประเทศของ สยาม เริ่มขยายตัวขึ้นในช่วงปลายรัชกาลที่ ๒ เพราะ พ่อค้าชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายมากขึ้น ในระยะนี้ สยามมเีรือพ่อคา้ต่างชาติผ่านไปมาคาขายมากถึง ๒๔๑ ้ ลำ ในปลาย พ.ศ. ๒๓๖๘ สมัยรัชกาลที่ ๓ อังกฤษส่ง ร้อยเอกเฮนรี เบอร์นีย์ (Henry Burney) เข้ามาติดต่อ ทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้ากับสยาม ได้เป็นผลสำเร็จ ในเวลานั้นสยามยังใช้ระบบพระคลังสินค้า อย่างเข้มงวด เป็นเหตุให้พ่อค้าชาวอังกฤษทำการค้าใน สยามได้อย่างยากลำบาก ทูตอังกฤษบันทึกว่า ไม่ควร ให้การค้าต่างประเทศขึ้นกับเจ้าพระยาพระคลังเพียงผู้ เดียว เพราะไม่เคยอนุญาตให้พ่อค้าไทยคนใดขายให้ หรือซื้อสินค้าจากพ่อค้าอังกฤษ กรมพระคลังสินค้าโก่ง ราคาสินค้ามาก พ่อค้าต่างชาติไม่สามารถขายสินค้าแก่ เอกชนได้ต้องรอขา้ราชการกรมท่าเลือกซอ แื้ต่ก็เปน็ ไป ด้วยความยากลำบาก การใช้ระบบพระคลังสินค้าในสมัยนี้จึงเป็นการ ผูกขาดเพื่อให้มั่นใจว่า สำเภาหรือกำปั่ นของพระมหา กษัตริย์จะมีสินค้าผูกขาดส่งออกไปขายได้เพียงพอกับ ความต้องการสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น แนวโน้มที่เกิดขึ้นใน ช่วงเวลานี้ช ี้ให้เห็นว่า ราชสำนักในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้นมุ่งไปสู่การเก็บภาษีจากการผลิตสินค้ามากขึ้น เช่นในสมัยรัชกาลที่ ๒ ราชสำนักสามารถเก็บภาษีเป็น ตัวเงินจากค่าอากร ผูกปี้ ภาษีอื่น ๆ ได้ถึงสองล้านกว่า บาท นับเป็น ๒ ใน ๕ ของรายได้ทั้งหมด ยังไม่นับภาษี ที่ราชสำนักเก็บเป็นสิ่งของจากการผลิตโดยตรง เช่น ดีบุก ข้าว ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ราชสำนักไม่อนุญาตให้ค้า ข้าวได้โดยเสรี แม้ว่าจะอนุญาตให้ค้าข้าวและมีการส่ง ออกขาวเ้ ปน็จำนวนมาก เฮนรี เบอรนี์ ย์รายงานถึงสินคา้ ออกของสยามว่า ข้าวมีจำนวนมากที่สุด มีขายอยู่สอง ชนิดคือข้าวนาสวน ราคาเกวียนละ ๒๔-๓๒ บาท และ ข้าวนาเมือง ราคาเกวียนละ ๑๕-๒๐ บาท แต่เก็บภาษี ในอัตราที่สูงมากถึงเกวียนละ ๘ บาท บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 181


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ ก าร ค้า สำเภา ที่ขยาย ตัวมา ตั้ง แ ต่ ช่ ว ง รัตนโกสินทร์ตอนต้น มาถึงจุดสูงสุดประมาณช่วงต้น รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และ หลังจากนั้นก็เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการ ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจที่มีความ เปลย ี่ นแปลงในทะเลทางตะวันออกในเวลานั้น เมือกา่ร ค้าและเรือของตะวันตกท้าทายการค้าสำเภาโดยตรง สยามเริ่มยอมรับเรือกระโดงคู่แบบตะวันตกมาแทนที่ สำเภาแบบจีนในต้นทศวรรษ ๑๘๓๐ ทงั้นี้เพราะเรือแบบ ตะวันตกคล่องแคล่วกว่าสำเภาใหญ่ที่ต้องใช้แรงงาน คนเป็นจำนวนมาก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงออกกฎหมายว่าจะไม่มีการใช้สำเภาอีก ต่อไปและจะต่อเฉพาะเรือแบบตะวันตกเท่าน้นัซงแ่ึสดงว่า ทรงประเมินโอกาสทางการคาด้วย้ สำเภาว่าจะแข่งขันกับ เรือแบบตะวันตกไม่ได้ เมื่อพิจารณาสาระสำคัญของสนธิสัญญา เบอรนี์ ย์ที่ลงนามในสมัยรัชกาลที่ ๓ แลว้พบว่า ฝ่ายสยาม ยังคงได้เปรียบด้านการค้าและยังคงใช้ระบบพระคลัง สินค้าต่อไป ในสัญญามีข้อความระบุว่าพ่อค้าต้องเสีย ภาษีการค้า ตามประเพณีของสถานที่ แล้วจึงจะได้รับ อนุญาตให้ซื้อและขายโดยไม่ได้รับการแทรกแซงจาก ผู้อื่น พ่อค้าต้องปฏิบัติตามกฎหมายสยาม ห้ามนำข้าว เปลือกข้าวสารออกนอกราชอาณาจักร ปืนและกระสุน ที่นำเข้ามาจะต้องขายให้ราชสำนัก ถ้าราชสำนักไม่ ต้องการ พ่อค้าจะต้องนำกลับออกไป ส่วนสินค้าอื่น ๆ อนุญาตให้ซอขายได ื้ ้สนธิสัญญาดังกล่าวยังมีผลใหก้รม พระคลังสินคาม้หีน้าที่เปน็เจาภาษ้เีพิ่มขึ้นอกหี น้าที่หนงึ่ ผลที่ตามมาประการหนึ่งหลังจากการลงนามใน สนธิสัญญาเบอร์นีย์ คือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจาอยู้่หัวทรงใหเ้พิ่มชนิดภาษถึง ๓๘ ช ี นิด การเพิ่มชนิด ภาษีเนื่องมาจากรายได้จากการค้าทางทะเลลดลง และ ในรัชกาลนี้ต้องทำสงครามหลายครั้ง การเรียกเก็บภาษี เพิ่มย่อมแสดงให้เห็นการขยายตัวทางการค้าเพิ่มขึ้น มากกว่าที่การค้าจะลดลง และต้องมีจำนวนประชากร เพิ่มมากขึ้นด้วย รายได้ของราชสำนักที่เก็บอากรจากพืชผลเพิ่ม ขึ้นอย่างรวดเร็ว ราชสำนักมวีธิใีนการหารายไดใหม่ โดย ้ นำวิธีการเก็บภาษีในลักษณะที่มีผู้เสนอรับทำภาษีผู้ที่ สามารถประมูลภาษี หรือนัยหนึ่งคือผู้ที่สัญญาจะให้ ผลประโยชน์ตอบแทนต่อราชสำนักในอัตราสูง จะเป็น ผู้ได้รับสิทธิผูกขาดจัดเก็บภาษีสิ่งของนั้น ๆ ผู้ประมูลได้ เรียกว่าเจาภาษ้ ีนายอากรราชสำนักจะมอบอำนาจสิทธิ์ ขาดในการจัดเก็บอากรใหไ้ปดำเนินการ เมือถึงเวลา่ต้อง นำเงินภาษีอากรที่ได้มาส่งให้ครบตามที่ประมูลไป กรม พระคลังสินคาม้หีน้าที่เปน็เจาจ้ ำนวนภาษอีกหี น้าที่หนง ึ่ การจัดใหม้กาี รประมลภาษูีนี้เองที่ทำใหความ้ สำคัญของ ระบบพระคลังสินค้าในด้านการผูกขาดสินค้าลดน้อย ลงไป แต่พระคลังสินค้ายังมีหน้าที่จัดเก็บรายได้ให้แก่ ราชสำนักได้ดังเดิม ด้วยวิธีการแบบนี้ ขุนนางที่เป็น ผู้อุปถัมภ์ผู้ประมูลภาษีหรือเจ้าภาษีนายอากรก็ได้ผล ประโยชน์ไปด้วย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็น ประโยชน์ของระบบเจ้าภาษีนายอากรว่าจะสามารถ สร้างรายได้สูงให้แก่ราชสำนัก เพราะรายได้จากวิธี 182


การแบบนี้แน่นอนกว่า และราชสำนักสามารถกำหนด จำนวนของรายได้ที่ต้องการในแต่ละปีได้ราชสำนัก สามารถกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำในการประมลเก็บภาษูี และผู้ที่ให้ราคาประมลู สูงกว่าที่กำหนดอัตราขั้นต่ำไวจะ้ เป็นผู้ได้รับประมูล ซึ่งต่อมาทรงมอบหมายให้กรมพระ คลังสินค้าเป็นหน่วยงานบริหารจัดการระบบเจ้าภาษี นายอากร วิธีการสร้างระบบเจ้าภาษีนายอากรของราช สำนักขึ้นมานี้ก็คือการผูกขาดการค้าต่างประเทศและ กดกั ีนชาวต่างชาติโดยเฉพาะพ่อคาชาว้ตะวันตกใหออก้ ไปจากระบบการค้าที่ให้สัญญาไว้ว่าจะเปิดโอกาสให้ ทำการค้าอย่างเสรี จากการลงนามในสนธิสัญญา เบอร์นีย์นั่นเอง กล่าวได้ว่าการลงนามในสนธิสัญญาเบอร์นีย์ ทำใหเก้ดกาิรเปลย ี่ นวธิกาีรหารายไดของ้ราชสำนัก จาก การคา้สำเภาแบบเดมมาเิ ปน็การหารายไดจาก้ระบบเจา้ ภาษีนายอากร ราชสำนักได้รายได้ที่แนน่อนมากขึ้นและ ด้วยระบบเจ้าภาษีนายอากรราชสำนักจึงยังคงผูกขาด การค้ากับชาวตะวันตกไว้ได้เหมือนเดิม ระบบเจ้าภาษี นายอากรจึงเป็นระบบที่ราชสำนักสมัยรัชกาลที่ ๓ นำ มาใช้เพื่อชดเชยความสูญเสียอันอาจจะเกิดขึ้นจากการ ถูกกดดันให้มีการค้าเสรีแบบตะวันตก ความจำเป็นใน การหารายไดจากว้ธิีประมลภาษูหีรือระบบเจาภาษ้ ีนาย อากรทำให้เกิดกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นชาวจีนเพิ่มขึ้น ในสังคม การลงทุนในการประมูลภาษีเป็นการลงทุนที่ ให้ผลดีต่อผู้ประมูลและผู้อุปถัมภ์ที่อยู่เบื้องหลัง ทำให้ ระบบเจ้าภาษีนายอากรเข้ามาแทนที่การค้าสำเภาได้ ไม่ยาก นอกจากจะใหความ้ สำคัญกับการคา้สำเภาน้อย ลงแล้วพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงให้ ความสำคัญกับการค้าในระบบบรรณาการกับจีนน้อย ลงด้วย การคา้ที่ค่อย ๆ เพิ่มและพัฒนาขึ้นทำใหเก้ดกาิร เปล ี่ ยนแปลงในด้านนโยบายการค้า การหารายได้ การ ขยายตัวของผลิตผลเพื่อการค้า การขยายตัวของความ ต้องการแรงงาน การขยายตัวของกิจการค้า จากการค้า ภายในสู่การค้าเพื่อการส่งออกในปริมาณมากขึ้น จาก การที่การคาม้ความีสัมพนัธ์ต่อรายไดของ้ราชสำนักและ แม้แต่ต่อกลุ่มขุนนางที่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จากการค้านำไปสู่การยอมรับอิทธิพลจากภายนอกที่ เข้ามาเปล ี่ ยนระบบการค้าที่เคยดำเนินมายาวนานซึ่ง เห็นไดจากกา้รลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริงนำมาสู่การ สิ้นสุดระบบพระคลังสินค้าที่ดำเนินการมาตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยา บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 183


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ วิถีแห่งการเข้ามาของตะวันตก การเข้ามาของชาวตะวันตกในช่วงเวลานี้นำมา ซึ่งความเปล ี่ ยนแปลงแก่ประเทศสยามหลายด้าน โดย เฉพาะอย่างยิ่ งการรับวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับใช้ เพื่อให้ประเทศพัฒนาขึ้น กลุ่มคนที่เข้ามาในประเทศ นี้นอกจากพ่อค้าและนักเดินทางแล้วก็คือนักการทูต และมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนา และนำความ รู้ทางการแพทย์และนำภาษาอังกฤษและภาษาต่าง ประเทศอื่น ๆ เข้ามาถ่ายทอดให้แก่ชนชั้นนำของไทย อีกทั้งในที่สุดจะนำมาสู่การตั้งโรงเรียนสอนวิชาความรู้ ต่าง ๆ และสอนภาษาต่างประเทศให้แก่ชาวไทย แม้จะเคยมีการติดต่อกับชาวตะวันตกมา ก่อนแล้วในสมัยธนบุรีและในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แต่การติดต่ออย่างเป็น ทางการถึงขั้นการเปิดใหม้กาีรตงั้สถานกงสุลต่างประเทศ ที่จะพัฒนาขึ้นไปสู่การสถาปนาความสัมพนัธ์ทางการทูต ขั้นการตั้งสถานเอกอัครราชทูตเกิดขึ้นในสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อทรงเปิดประเทศ ติดต่อกับชาวตะวันตกเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ทรงอนุญาตให้โปรตุเกสเข้ามาตั้งสถานกงสุลและทำ สัญญาค้าขายได้เป็นชาติแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๑ ผู้สำเร็จราชการจากเมืองมาเก๊าของโปรตุเกส มอบหมายให้ คาร์โลส เดอ ซิลเวรา (Carlos de Silveira) เป็นทูตคุมเครื่องบรรณาการเข้ามาถวาย และอีก ๒ ปี ต่อมาเขาก็เดินทางเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอทำสัญญา ทางการค้ากับสยาม คาร์โลส เดอ ซิลเวราได้รับแต่ง ตั้งให้เป็นกงสุลโปรตุเกสประจำสยาม และต่อมาได้รับ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอภัยพานิช การมอบยศแก่ชาวตะวันตกยังเกดขึ ิ ้นอกเช่ ีน ใน พ.ศ. ๒๓๖๔ พ่อคาชาวอเม้ ริกันคนหนงเข่ึ ามายังก ้รุงเทพฯ และถวายปืนคาบศลา ๕๐๐ กิระบอก ซง่ึสยามต้องการ มากแด่พระบาทสมเด็จพระพทุธเลศหลิา้นภาลัย เขาได้รับ พระราชทานสิ่งของตอบแทนจนคุม้ราคาปืน ได้รับยกเว้น ภาษีส่วนหนง และได ่ึบ้รรดาศักด์เิปน็ขุนภักดีราช ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนงเกล่ัา้ เจาอย้ ่หัว อังกฤษเข ูามาเจ้รจาขอทำสัญญาทำนองเดยวี กับโปรตุเกส เพ่อืฟื้นฟูการค้ากับสยามเหมือนกับที่เคย เปน็ มาในสมัยอยุธยา แต่มีปัญหากับวธิกาีรซอขาย และ้ื การเก็บภาษีอากรของไทย เช่น การผูกขาดสินค้าของ พระคลัง การเสียภาษีซ้ำซ้อน เปนต้น ็ มาร์ควิส เฮสติงส์ (Marquis Hastings) ผู้สำเร็จ ราชการอินเดยของอังกฤษได ี ้ส่งจอห์น ครอว์เฟริ์ด (John Crawfurd) มาเจรจากับสยามใน พ.ศ. ๒๓๖๔ แต่การเจรจา ครง้ันี้ไม่เปนผ็ลสำเร็จ ดวยเห้ตุขัดของหลาย้ ประการ ฝ่าย สยามไม่ยอมเปลย ี่ นวธิกาีรคาขาย้ตามความต้องการของ อังกฤษ นอกจากนี้ ความไม่เขาใจภาษา ้ระหว่างกัน ทำให้ เกดความยุ่งยากใ ินการเจรจา ในรัชกาลเดยวกั ี นนี้ ใน พ.ศ. ๒๓๖๙ ร้อยเอก เฮนรี่ เบอร์นีย์ เป็นทูตอังกฤษเข้ามาติดต่อทำหนังสือ สัญญาฉบับแรกกับอังกฤษ ต่อมาเมือ ่พ.ศ. ๒๓๗๖ สหรัฐอเมริกาไดแ้ต่งตง้ั นายเอ็ดมันด์ โรเบิรตส์ ์ (Edmund Roberts) เปนทูต็เขา้ มาและได้ทำสัญญาทำนองเดยวกับ ีสัญญาเบอรนี์ ย์ และ พ.ศ. ๒๓๙๓ รัฐบาลอเมริกันส่งนายโจเซฟ บัลเลสเตียร์ (Joseph Ballestier) เขามาขอแก้ ้สัญญา แต่ไม่เปนผ็ลสำเร็จ 184


พ.ศ. ๒๓๙๓ เซอร์ เจมส์ บรูค (Sir James Brooke) ผู้แทนรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษเป็นทูต เข้ามาอีกครั้ง เสนอร่างสนธิสัญญาให้เจ้าหน้าที่ไทย พิจารณา ๙ ข้อด้วยกัน ไทยตอบปฏิเสธ ๘ ข้อ ยอมรับ เพียงข้อเดียว คือ ให้มีไมตรีระหว่างประเทศทั้งสอง ที่ เป็นดังนี้เพราะนโยบายของไทยเวลานั้นไม่นิยมการ เปล ี่ ยนแปลง และเกรงว่าฝรั่งจะเอาเปรียบไทยมากเกิน ไป อย่างไรก็ดี ไทยก็มิได้ปฏิเสธตะวันตกไปเสียทุกด้าน เพราะตระหนักดีถึงแสนยานุภาพของตะวันตกที่ได้รับ ทราบจากสงครามกับพม่าและจีน การรับวัฒนธรรมตะวันตกสำหรับชนชั้นนำชาว ไทยในเวลานี้เป็นการเลือกรับเทคโนโลยีและวิชาการ สมัยใหม่ที่ไม่เกี่ ยวข้องกับศาสนาหรือการเมืองการ ปกครอง อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมในด้านศาสนาและ การเมืองการปกครองจะต้องผ่านการกลั่นกรองอย่าง ระมัดระวังก่อนที่จะรับ ผู้นำไทยตระหนักถึงอิทธิพลทาง ความคดของิตะวันตกที่จะมีต่อไปในอนาคตจึงไดจัดให ้ม้ี การเตรียมตัวสำหรับการเผชญกาิรเปลย ี่ นแปลงไดอย่าง ้ มั่นคง นั่นก็คือการปฏิรูปพระพุทธศาสนา ในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมา ชาว ไทยเริ่มหันมาให้ความสนใจวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ในเวลาอันรวดเร็ว เนองจากื่ราชสำนักทราบข่าวชัยชนะ ของอังกฤษในสงครามระหว่างอังกฤษกับพม่า ใน พ.ศ. ๒๓๖๘ ชัยชนะเหนือจีนในสงครามฝิ่น พ.ศ. ๒๓๘๓ และการแพร่กระจายของเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ จาก ตะวันตกในสยาม เมื่ออังกฤษทำสงครามกับพม่าใน พ.ศ. ๒๓๖๗ สยามเริ่มให้ความสนใจกับอังกฤษจึงพยายามหาข้อมูล เก ี่ยวกับกำลังทหารของอังกฤษ พระคลังของสยาม สอบถามร้อยเอกเฮนรี่ เบอรนี์ ย์เกยวกับกษั ี่ ตริย์ รัฐสภา และบริษัทอินเดยีตะวันออกของอังกฤษ รวมไปถึงความ สนใจเรื่องบ้านเรือนของชาวตะวันตกด้วย เมื่ออังกฤษชนะจีนในสงครามฝิ่น ก็ยิ่ งทำให้ ผู้นำไทยต้องยอมรับว่าอังกฤษมีแสนยานุภาพเหนือจีน ซึ่งกระทบต่อการจัดลำดับความสำคัญของสยามและ ความเชื่อมั่นในความย ิ่งใหญ่ของสยามด้วย ผู้นำสยาม เริ่มตระหนักว่าหากอังกฤษชนะจีนไดก็ ้สามารถยึดสยาม ได้ด้วย ความรู้สึกของผู้นำไทยในเวลานั้นจึงมีทั้งความ หวาดระแวงต่อการรุกรานของชาวตะวันตก แต่ก็ ต้องการเรียนรู้เก ี่ยวกับเทคโนโลยีและวิชาการสมัย ใหม่จากตะวันตกเพื่อนำมาปรับปรุงสมรรถนะของไทย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหาทางโอน อ่อนผ่อนตาม อนุญาตใหฝ้รงั่ ที่เปน็หมอสอนศาสนา เขา้ มาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย ที่มีทงั้พวกโรมันคาทอลกิ และโปรเตสแตนท์ มิชชันนารีอเมริกันมีส่วนช่วยสยาม มากในด้านการศึกษาและการแพทย์ เช่น ได้เข้ามา สอนภาษาอังกฤษ และวิชาการใหม่ ๆ ให้กับคนไทย นำวิธีรักษาโรคแผนใหม่เข้ามาใช้ เช่น ปลูกฝี ฉีดวัคซีน เพราะมิชชันนารีส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาดี ได้รับการ ฝึกฝนอบรมมาในด้านต่าง ๆ เช่นวิชาการแพทย์และ วิทยาศาสตร์ ส่วนพวกบาทหลวงคาทอลิกที่ได้รับการ ฝึกอบรมในด้านศาสนาเสียมากกว่าทางโลก มีคนไทย บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 185


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ หัวสมัยใหม่ได้ประโยชน์จากฝรั่งเหล่านี้หลายท่าน เช่น เจ้าฟ้ามงกุฎ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เจ้าฟ้าจุฑามณี (พระบาทสมเด็จพระปิ่ นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กรมหมื่นวงษาธิราชสนิท และจมื่นไวยวรนาถ (ต่อมา เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) ในบรรดามิชชันนารีรุ่นบุกเบิกที่นำการแพทย์ สมัยใหม่เข้ามา คือ หมอบรัดเลย์ซึ่งเดินทางมาถึง กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ เปิดสำนักงานรักษาคน เจ็บและแจกยารักษาโรคอยทีู่่ วัดเกาะ ต่อมายายไ ้ ปอยทีู่่ เรือนเช่าของเจา้พระยาพระคลังใกลวัด้ ประยุรวงศาวาส หมอบรัดเลย์นำเอาวิธีปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษเข้ามาใช้ ในสยาม ทดลองเพาะหนองเชื้อขึ้นเองในกรุงเทพฯ จน สำเร็จเมือ ่พ.ศ. ๒๓๘๓ พระบาทสมเด็จพระนงเกลั่าเจ้า้ อยู่หัว ทรงยอมรับความสำเร็จด้านนี้ และโปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงทั้งหมดมาหัดปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และ ได้พระราชทานรางวัลใหหมอบ้รัดเลย์ถึง ๕ ชัง ภายหลัง่ ยังโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์แผนไทยชาวสยามมาเรียนรู้วิธี การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษจากหมอบรัดเลย์ด้วย นอกจากนี้ มิชชันนารียังนำการทำคลอดแบบ ตะวันตกเข้ามาใช้ เพราะในเวลานั้น อัตราการเสียชีวิต ของแม่และทารกจากการคลอดมใีนระดับสูง มชชั ินนารี เป็นผู้แนะนำให้คนไทยรู้จักสรีรวิทยาแผนใหม่และรู้จัก ระบบการหมุนเวียนโลหิต มิชชันนารียังนำความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ดา้นต่าง ๆ มาเผยแพร่ดวย บางค้รงก็ม ั้กาีร ทดลองทางวิทยาศาสตร์ใหเห็ ้นเปน็ หลักฐานหรือพิสูจน์ ได้อย่างจริงจัง เช่น การทำระเบิดไฮโดรเจนจากน้ำผสม กับออกซิเจน การทำปฏิกิริยาทางเคมีเช่นนี้ทำให้ชาว ไทยสนใจและตื่นเต้นกันมาก เพราะโดยนิสัยแล้ว คน ไทยมีความสนใจและมีความสามารถอย่างสูงในเรื่อง สิ่งประดิษฐ์ที่เก ี่ ยวข้องกับทางเคมี โดยที่ยังไม่มีความรู้ กระจ่างถึงที่มาของปฏิกิริยาของธาตุทั้งหลาย นอกจากนี้ยังนำเครื่องปั่ นไฟฟ้า เครื่องจักร ต่างๆ แม่เหล็กไฟฟ้า บาโรมิเตอร์ ท่อเป่าออกซิเจนไฮโดรเจน ตลอดจนกล้องถ่ายรูปมาแสดงให้คนชม บาง ครงก็จัดบ ั้รรยายเกยวกับดา ี่ ราศาสตร์และภมูศาิสตร์ เช่น เรื่องของโลกและจักรวาล การเกิดฝน น้ำขึ้นน้ำลง การ เกิดฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง สุริยคราส จันทคราส เป็นต้น คำอธบายของมิ ชชั ินนารีแตกต่างจากคำอธบายของินัก ปราชญ์สยามสมัยโบราณ ชาวสยามนั้นให้ความสนใจ กับเรื่องโหราศาสตร์และดวงดาวอยู่แล้ว จึงสนใจวิชา ดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์แผนใหม่ของตะวันตกเป็น อย่างมาก มิชชันนารียังเป็นผู้มีบทบาทในเรื่องการพิมพ์ เป็นอย่างมาก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๑ ศาสนาจารย์ ๒ คน จากสมาคมมิชชันนารีลอนดอนและสมาคมมิชชันนารี เนเธอร์แลนด์ นำคำสอนภาษาจีนมาแจกจ่ายให้บรรดา คนจีนในกรุงเทพ ฯ พร้อมทั้งแจกยารักษาโรค ในระยะ แรกนั้น ทางราชการของไทยเกรงว่าจะเกดกาิรยุยงปลุก ปั่ นคนจีนในพระราชอาณาจักรไทยซึ่งมีอยู่เป็นจำนวน มาก จึงสั่งห้ามแจกหนังสือแก่คนไทย อย่างไรก็ด เมื ีอ่พระบาทสมเด็จพระพทุธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราชปราบดาภเษกแลิ ว โ ้ ปรดเกลาฯ ให ้ค้ณะ บาทหลวงฝรั่งเศสที่ถูกเนรเทศออกไปจากกรุงธนบุรี ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกลับเข้ามาเผยแผ่ 186


ศาสนาอีกครั้งหนึ่ง ใน พ.ศ. ๒๓๓๙ บาทหลวงการ์โนต์ (Garnault) และคณะจึงกลับเขามาใ ้นกรุงเทพฯ และมาอยที่ ู่ ชุมชนกุฎีจีนเหมือนสมัยกรุงธนบุรี เมื่อกลับเข้ามาใน ครั้งนี้ได้นำเครื่องพิมพ์เข้ามาด้วย และจัดตั้งโรงพิมพ์ เพอื่พิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซางตาครู้ส เมืองธนบุรี หนังสือ ที่พิมพ์ขึ้นเก่าแก่ที่สุดในไทยที่ยังเหลือให้เห็นอยู่คือ หนังสือคำสอนคริสตัง ภาคต้น พิมพ์ พ.ศ.๒๓๓๙ ใช้ตัวพิมพ์อักษรโรมันเรียงพิมพ์เป็นภาษาไทย แม่แบบ ตัวพิมพ์ปั้นด้วยดินเหนียว หลอมตะกั่วหยอดหล่อที ละตัว แท่นพิมพ์ทำด้วยไม้ต่อมามีการดัดแปลงตัว อักษรไทยเป็นตัวพิมพ์ ผู้ริเริ่มคือนางแอนน์ ฮาเซลไตน์ จัตสนั (Mrs. Ann Hazeltine Judson) มชชั ินนารีอเมริกัน ที่ไปเผยแผ่คริสต์ศาสนาในพม่า ณ หมู่บ้านคนไทยที่ ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยของพม่าที่เมืองร่างกุ้งตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ นางแอนน์ จัตสัน สามารถแปลพระคัมภีร์บาง บทออกเป็นภาษาไทย และด้วยความช่วยเหลือของ มิชชันนารีอเมริกันอีกผู้หนึ่งที่มีความรู้ด้านช่างพิมพ์ คือนายจอร์จ เอช. ฮัฟ (George H. Hough) จึงได้หล่อ ตัวพิมพ์ภาษาไทยชุดแรกเพอื่พิมพ์คำสอนเปน็ ภาษาไทย ตีพิมพ์ได้สำเร็จที่เมืองร่างกุ้งใน พ.ศ. ๒๓๖๐ และพิมพ์ หนังสือขึ้นด้วยตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นครั้งแรกในปีนั้น แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นหนังสืออะไร ต่อมา พ.ศ. ๒๓๖๒ แท่นพิมพ์และตัวพิมพ์ ชุดนี้ได้ตกมาอย่ใูนความครอบครองของสมาคมมชชั ินนารี ลอนดอนที่สิงคโปร์ จึงได้มีการนำพระคัมภีร์ภาษาไทย ไปพิมพ์ที่สิงคโปร์ และหมอบรัดเลย์เป็นผู้นำแท่นพิมพ์ อักษรไทยจากสิงคโปร์เข้ามาสู่สยามใน พ.ศ. ๒๓๗๘ และเริ่มพิมพ์หนังสือสอนศาสนาภาษาไทยเป็นครั้งแรก ในเดือนมิถุนายนปีถัดมา นอกจากนี้ยังพิมพ์หนังสือ เพื่อเผยแพร่ความรู้สาขาต่าง เช่น ตำราเก ี่ยวกับการ คลอดบุตร การปลกฝี ูประวัติศาสตรปร์ะเทศต่าง ๆ เมือ่ ชนชั้นนำไทยสนใจการพิมพ์มากขึ้น มชชั ินนารีจึงรับจาง้ พิมพ์เอกสารทางราชการ และหนังสือที่ชนชั้นนำสนใจ เช่น วรรณคดีต่าง ๆ ต่อมาได้พิมพ์แบบเรียนภาษาไทย พจนานุกรม และหนังสือพิมพ์ เทคโนโลยีของชาวตะวันตกอีกประการหนึ่ง ที่ชาวไทยสนใจมากก็คือการต่อเรือและเดินเรือทะเล เพราะเกยวข ี่ องกับเศ ้รษฐกจของไ ิทย อกีทงเกั้ยวข ี่ องกับ ้ ความปลอดภัยในชวีิตและทรพั ย์สินของชนชั้นผู้นำ ชาว ไทยยอมรับว่าตนเองมีความรู้เก ี่ยวกับด้านนี้ด้อยกว่า ชาวเอเชียอื่นๆ เช่น อาหรับ จีน หรือแม้แต่เวียดนาม เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๓๘๗ เรือกลไฟ Express ของฝรั่งเศสจอดที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก ชาวไทยตื่น เต้นและแห่ไปชมกันเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น ผู้นำ ไทยหลายคนก็หันมาศึกษาเกยวกับกา ี่ รต่อเรือกลไฟ จน ประสบความสำเร็จ บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 187


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ 188


เจ า้ ฟ้าก รมขุ น อศเิ ร ศ รังสรรค์ ( ต่อมาคือพระบา ท สมเด็จพร ะ ปิ่ นเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระอ นุชาของเจ้า ฟ้า มงกุฎ ทรงเ ป็ นเจ้ า นาย สยามพระองค์ห นึ่ งที่ทร งสน พร ะ ทัยด้า น วิทยาการตะวันตก สามา ร ถ รับ สั่งภาษา อังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว เ สวยพระก ระยาหา รแบบ ตะวันตก โปรดให้ มีกา รฝึก ทหา รแบบยุโรป ให้ทหา ร แ ต่งเค รองแบบอย่างฝ ื่ รง ั่ทรงเชญหมอบิ รัดเลย์ไ ปถวาย การรักษาพร ะ ราชมา รดา พระโอรส ธิดา และพร ะสนม ทรงให้พระธิดา ป ลูกฝี ป้องกันไข้ทรพิษ ทรงแ สดงความ ไม่เห็ น ด้วยกับการที่หญิงไ ท ยต้องอยู่ไ ฟหลังคลอด และ ทรงเ ป น ็เจาของ้ ส า ร า นุก รมบริต านิกา ตงแั้ ต่ พ.ศ. ๒๓๘๒ และวิทยาการตะวันต กที่ทร งสนพร ะ ทัยที่สุดคือกา ร ต่อเ รือ ใ นช่วง พ.ศ. ๒๓๗๖ พระองค์และ จมื่นไวยวรนาถ (ช่วง บุนนาค) พยายาม ต่อเ รือกำปั่ น แบบฝ รงจั่ น เ ปนผ็ ลสำ เ ร็จ ทรงได ข้อม้ลกาูรต่อเ รือมาจาก พวกลกเู รือที่ หนีมาจากเ รือใหญ่ ภายหลังจากที่ เ รือกลไ ฟ ของฝ รงมาั่ปรากฏ ตัวใ น ก รุงเทพฯ เ ป น ็ ค รงแั้ รก เพียง ๓ ปี ใ นวันที่ ๓ ก รกฎาคม พ.ศ. ๒๓๙๑ พระองค์ทร ง ต่อเ รือกลไ ฟแบบ ตะวันตก ข นาดยาว ๒๐ ฟุ ต ขึ้นได้ สำ เ ร็จ และทรงขับเ รือ นั้นแล่นท วนน้ำใ นแม่น้ำเจ า้พระยา อวด พวกฝ รั่งอย่างคล่องแคล่ว วิถี แ ห่งความเปลี่ ยน ผ่านจา กสยามเ ก่าไป สู่สยามที่ มีความศิวิไล ซ์ กำ ลังเ ริ่มขึ้นในไม่ช้า บทที่ ๔ วิถีแห่งความเปลี่ยนผ่าน 189


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ 190


การปฏิรูปบ้านเมืองสู่ความเป็นสมัยใหม่เริ่มขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เกิดพัฒนาการด้านเศรษฐกิจจนกระทั่งทำให้เกิด ความพร้อมในการเปล ี่ ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ภายหลังการ ลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนที่จะเกดกาิ รปฏิรูปอย่างขนานใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยู่หัวที่ทรงวางรากฐานการปฏิรูปประเทศในทุกด้าน สาเหตุและเหตุการณสำ์ คัญต่าง ๆ ที่จะนำมาสู่การปฏิรูปสู่ความเปนส็ มัย ใหม่ ซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาให้เกิดความเจริญดังทุกวันนี้ มีดังนี้ มหารัถยาแห่งความศิวิไลซ์ : การปฏิรูปสู่ความเป็นสม ัยใหม่ 191 บทที่ ๕ มหารัถยาแห่งความศิวิไลซ์ : การปฏิรูปสู่ความเป็นสมัยใหม่ ๕


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบาว์ริงเปนสน็ธิสัญญาว่าดวย “กา ้ร ค้าเสรี” ซึ่งเข้ามาสู่สยามในยุคลัทธิจักรวรรดินิยม และ การล่าอาณานิคมของตะวันตก ประเทศสยามลงนาม ในสนธิสัญญาเบาว์ริงกับประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๘ สนธิสัญญานี้มความี สำคัญอย่าง ย ิ่งและใช้บังคับอยู่เป็นเวลาถึง ๗๐ กว่าปี จนกระทั่งมี การแก้ไข จนยกเลิกไปภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ สิ้นสุดลง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ พร้อมดวยกา้รตงั้พระทัย อย่างมุ่งมั่นว่าหากสยามจะดำรงความเปน็เอกราชอยู่ได้ และพระองค์จะทรงมีฐานะเป็นเอกกษัตราธิราชสยาม ได้ ก็จะต้องทั้งเรียนรู้และลอกเลียนรูปแบบจากชาติ ตะวันตก ต้องรู้จักประนีประนอมประสานแบ่งปันผล ประโยชน์กับตะวันตก ทั้งนี้เพราะกว่า ๑๐ ปีก่อนที่ พระองค์จะขึ้นครองราชย์นั้น สยามได้ผ่านประสบการณ์ และรับรู้ในแสนยานุภาพของอังกฤษที่ได้ชัยชนะเหนือ พม่าและจีน ซึ่งสยามถือว่าจีนเป็นมหาอำนาจอันดับ หนึ่ง เป็นอาณาจักรศูนย์กลางของโลกเอเชีย การที่จีนยังถูกบังคับด้วยแสนยานุภาพให้เปิด ประเทศคาขายกับ ้ตะวันตกเนองจากความื่พ่ายแพ้อย่าง ย่อยยับในสงครามฝิ่น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๓-๒๓๘๕ นำ มาสู่การยกเลิกระบบบรรณาการ และยังต้องเปิดการ ค้าเสรีกับเมืองท่าชายทะเลให้อังกฤษ รวมทั้งอนุญาต ให้ตะวันตกค้าขายฝิ่นได้โดยเสรีสนธิสัญญายังระบุให้ จีนต้องยอมเสียเกาะฮ่องกงไปอีกด้วย เชื่อได้ว่าความ พ่ายแพ้ของจีนต่อ “ฝรั่งอั้งม๊อ” ย่อมส่งผลกระทบต่อ พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็น อย่างมาก ที่เห็นได้ชัดคือการยุติการส่งบรรณาการ เพื่อถวายแด่จักรพรรดิจีน ที่เคยดำเนินการมาอย่างต่อ เนื่องยาวนานเป็นเวลากว่าครึ่งสหัสวรรษ จึงกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระ มหากษัตริย์ไทยองค์สุดท้ายที่ทรงส่งบรรณาการไปกรุง ปักกิ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖ เป็นครั้งสุดท้าย จึงกล่าวได้ว่า ในรัชสมัยของพระองค์นี้เองที่ประเทศสยามยุติวงจรแห่ง อำนาจของจีน และกาวเข้า้สู่วงจรแห่งอำนาจของอังกฤษ ด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกมิตรกับมหาอำนาจตะวันตกนั้นแม้ส่วนหนงอาจึ่ จะเกิดจากการตระหนักถึงแสนยานุภาพของประเทศ ตะวันตก แต่อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการที่พระองค์ทรง ตระหนักว่าความสัมพันธ์จะนำพาให้สยามใหม่ของ พระองค์ได้รับประโยชน์และจะนำให้ประเทศมีรายได้ จากการค้าขายกับตะวันตกเพิ่มขึ้น การลงนามในสนธิ สัญญาเบาว์ริงจะเปนสน็ธิสัญญาซงึ่นำการเปลย ี่ นแปลง ในเรื่องของรายได้และภาษีอากรภายในมาสู่สยาม ประเทศ 192


193 บทที่ ๕ มหารัถยาแห่งความศิวิไลซ์ : การปฏิรูปสู่ความเป็นสมัยใหม่


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ ก่อนหน้าการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง สยามเคยทำสนธิสัญญาเบอร์นีย์กับอังกฤษมาก่อนใน พ.ศ. ๒๓๖๙ และเซอร์จอห์น เบาว์ริงก็ได้ใช้สนธิสัญญา เบอรนี์ ย์เปน็จุดเริ่มต้นของการเจรจา โดยพยายามรักษา ข้อสัญญาเดิมที่ยังใช้ได้เอาไว้ บางข้อที่ยังไม่ได้นำมาใช้ ให้เกิดผลก็นำมาใช้บังคับ มีบางข้อที่แก้ไขใหม่ อย่างไร ก็ดีสิ่งที่เซอร์จอห์น เบาว์ริงต้องการแกไขอย่างมากจาก ้ สนธิสัญญาเบอร์นีย์ คือ ๑. ข้อความที่ให้คนในบังคับอังกฤษในสยาม ต้องขึ้นกับกระบวนการของกฎหมายสยาม ๒. ข้อความที่ให้อำนาจข้าราชสำนักสยามห้าม พ่อคาอังกฤษไม่ให ้ ้ปลกูสร้างหรือว่าจางห้รือซอบื้า้นพัก อาศัย ตลอดจนร้านค้าได้ในแผ่นดินสยาม ๓. ข้อความที่ให้อำนาจเจ้าเมืองในหัวเมืองไม่ อนุญาตให้พ่อค้าอังกฤษค้าขายในท้องที่ของตน ๔. ข้อความที่กำหนดให้ฝิ่นเป็นสินค้าต้องห้าม ๕. ข้อความที่กำหนดว่าเรือของอังกฤษที่เข้า มายังเมืองท่าบางกอกจะต้องเสียค่าธรรมเนียมปากเรือ สูง และในมาตราเดียวกันของข้อความนี้ ยังมีการห้าม ส่งออกข้าวสารและข้าวเปลือกรวมทั้งปลาและเกลือ อีกด้วย เซอร์จอห์น เบาว์ริงต้องการเจรจาสนธิสัญญา ใหม่เพื่อขจัดข้อจำกัดเรื่องการค้าทั้งหมดและก็ประสบ ความสำเร็จ อย่างไรก็ดีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเล็งเห็นประโยชน์ของการทำสนธิ สัญญานี้มาตั้งแต่ต้นก็ทรงประสบความสำเร็จเช่น เดียวกัน โดยเฉพาะในเรื่องรายได้ของราชสำนัก แม้ว่า บางเรื่องจะมาเกิดปัญหาอย่างหนักหน่วง และต้อง เจรจาแก้ไขภายหลัง เช่น เรื่องคนในบังคับของต่างชาติ หรือสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ฯลฯ พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจ้าอยู้่หัวทรงแต่ง ตงั้ผู้สำเร็จราชการฝ่ายสยาม ๕ ท่าน ดวยกุศโลบาย ้ทาง รัฐประศาสนศาสตร์ของพระองค์ เพื่อให้ทั้ง ๕ ท่านนี้ เป็นผู้เจรจากับเซอร์จอห์น เบาว์ริง ผู้ที่จะมีเวลาอยู่ใน กรุงสยาม ๑ เดือน และใชเวลา้ ประมาณ ๑ สปั ดาห์เจรจา กัน ผู้สำเร็จราชการทั้ง ๕ ท่านนี้คือ ๑. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ผู้มีอาญาสิทธิ์ บังคับบัญชาได้สิทธิขาดทั่วทั้งพระราชอาณาจักร ๒. พระเจา้น้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ๓. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ผู้มีอำนาจ บังคับบัญชาทั่วทั้งพระนคร ๔. เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุห พระกลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลปากใต้ฝ่าย ตะวันตก ๕. เจา้พระยารววงศ์ ( ิต่อมาเปลย ี่ นเปน็ “ทิพากร วงศ์” หรือ ขำ บุนนาค) พระคลังและผู้สำเร็จราชการ กรมท่า บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายตะวันออก 194


การเจรจาในลักษณะนี้ ประเพณีโบราณมัก ใช้บุคคลสำคัญเพียง ๓ ท่าน ซึ่งต่างตระหนักดีว่า ประเทศสยามกำลังจะต้องเปล ี่ ยนแปลงอย่างใหญ่ หลวง ในบรรดา ๕ ท่านนี้บุคคลที่มีอำนาจอย่างมาก คือสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่และสมเด็จเจ้าพระยา องค์น้อย ผู้ซึ่งมีผลประโยชน์อยู่กับระบอบเดิมตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ ๓ และมักถูกตั้งข้อสงสัยว่าขัดขวางการ เจรจากับตัวแทนของอังกฤษและอเมริกามาก่อนหน้าที่ เบาว์ริงจะเข้ามา การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสามารถแต่งตั้งให้บุคคลทั้งคู่เข้าร่วมเป็นตัวแทน สยามในการเจรจาและต้องตกลงกับเบาว์ริงใหได้ หมาย้ ถึงการที่ทรงมีพระปรีชาและทรงมองการณ์ไกล เชื่อ ว่าในด้านหนึ่งจากความชราและโรคภัยที่เบียดเบียน ทำให้สมเด็จเจา้พระยาองค์ใหญ่ ผู้ซงเึ่ปน็ หัวหน้าตระกลู บุนนาค ต้องคล้อยตามไปกับการเจรจาสนธิสัญญาครั้ง นี้ ท่านถึงแก่พิราลัยในวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๓๙๘ หรือเพียง ๗ วันหลังจากประทับตราในสนธิสัญญาร่วม กับเบาว์ริงแล้ว ข้อตกลงในสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ลงนามกันใน พ.ศ. ๒๓๙๘ เฉพาะสาระสำคัญ มีดังนี้ ๑. คนในบังคับอังกฤษ จะขึ้นกับอำนาจของศาล กงสุลอังกฤษ เกดิสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ขึ้นเป็นครั้งแรกในสยาม และจะกลายเป็นปัญหาหนัก ของสยามในสมัยต่อมา ๒. คนในบังคับอังกฤษ มีสิทธิที่จะทำการค้า โดยเสรีตามเมืองท่าของสยาม (หัวเมืองชายทะเล) ทั้งหมด และสามารถพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ได้ เป็นการถาวร คนในบังคับอังกฤษสามารถซื้อหาหรือ เช่าอสังหาริมทรัพย์ในปริมณฑลของกรุงเทพฯ คือ ใน บริเวณ ๔ ไมล์ หรือ ๒๐๐ เส้นจากกำแพงพระนคร หรือ “ตั้งแต่กำแพงเมืองออกไป เดินด้วยกำลังเรือแจว เรือ พายทาง ๒๔ ชั่วโมง” ได้ อนึ่ง คนในบังคับอังกฤษได้ รับอนุญาตให้เดินทางภายในประเทศได้อย่างเสรี โดย ให้ถือใบผ่านแดนที่ได้รับจากกงสุลของตน 195 บทที่ ๕ มหารัถยาแห่งความศิวิไลซ์ : การปฏิรูปสู่ความเป็นสมัยใหม่


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ ๓. มาตรการต่างๆ ทางภาษีอากรเดิมให้ยกเลิก และกำหนดภาษีขาเข้าและขาออก ดังนี้ (ก) ภาษีขาเข้ากำหนดแน่นอนไว้ที่ร้อยละ ๓ สำหรับสินค้าทุกประเภท ส่วนฝิ่นกำหนดให้ปลอดภาษี แต่จะต้องขายให้แก่เจ้าภาษีฝิ่นเท่านั้น ส่วนเงินแท่งก็ จะปลอดภาษีเช่นกัน (ข) สินคาขาออกจะถ้ กเก็บภาษูเีพียงครงเดั้ ยวไม่ ี ว่าจะเป็นภาษีภายในหรือผ่านแดน หรือส่งออกก็ตาม ๔. พ่อค้าอังกฤษได้รับอนุญาตให้ซื้อและขาย โดยตรงกับคนสยาม โดยไม่มีการแทรกแซงจากบุคคล ที่สามแต่อย่างใด ๕. รัฐบาลสยามสงวนสิทธิ์ที่จะห้ามการส่งออก ข้าว เกลือ และปลา หากเห็นว่าสินค้าดังกล่าว อาจจะ ขาดแคลนได้ ๖. กำหนดให้มีมาตราที่ว่าด้วย a most-favored nation ซึ่งหมายถึง “ถ้าฝ่ายไทยยอมให้สิ่งใดๆ แก่ชาติ อื่นๆ นอกจากหนังสือสัญญานี้ ก็จะต้องยอมใหอังกฤษ ้ แลคนในบังคับอังกฤษ เหมือนกัน” สาระสำคัญของสนธิสัญญาเบาว์ริงที่กล่าวได้ ว่าสยามเสียเปรียบ คือ สยามต้องยอมเสียอำนาจ อธิปไตยบางประการ ซึ่งไม่เพียงแต่เรื่องของการมี สิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนในบังคับอังกฤษเท่านั้น แต่มีการกำหนดภาษีขาเข้าร้อยละ ๓ การกำหนดภาษี ขาออกที่ราชสำนักสยามต้องยอมปล่อยใหภาษ้ศุลกากีร หลุดมือไป มีสินค้า ๖๔ รายการ ทั้งที่สำคัญและไม่ สำคัญ ถกกูำหนดไวอย่างแ ้นน่อนและละเอยดยี บใ ินสนธิ สัญญานี้ ในจำนวนนี้มีถึง ๕๑ รายการที่จะไม่ต้องเสีย ภาษีภายในประเทศเลย ส่วนอีก ๑๓ รายการก็ไม่ต้อง เสียภาษขาออกดี วยเช่ ้นกัน และสยามต้องยกเลกิระบบ พระคลังสินค้าไปโดยปริยาย สรุปได้ว่าสนธิสัญญาเบาว์ริง มีสาระสำคัญอยู่ ที่การกำหนดให้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้มีการค้า เสรี และให้มีภาษีขาเข้าและขาออกในอัตราที่แน่นอน คือร้อยละ ๓ ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือการที่ข้อกำหนด ต่างๆ ได้รับการเคารพและปฏิบัติตามโดยรัฐบาลสยาม เป็นอย่างดี มิได้เป็นเพียงแต่ตัวหนังสือในตัวบทกฎข้อ สัญญาเท่านั้น กล่าวได้ว่า เนื่องจากความตั้งพระทัย แน่วแน่ของรัชกาลที่ ๔ และขุนนางรนุ่ ใหม่ที่มเจีา้พระยา ศรีสริุ ยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในฐานะกลาโหมเปนผู้นำ ็เพอื่ ให้สนธิสัญญาเปนผ็ ลอย่างแท้จริง เกดเิ ปนผ็ลประโยชน์ ร่วมกันของราชสำนักและขุนนาง และอาจจะมีเพียง มาตราที่เก ี่ยวกับเรื่องการส่งออกข้าวเท่านั้น เองที่ดูจะ คลุมเครือและขึ้นอยู่กับการตีความของราชสำนักเป็น สำคัญ แต่อังกฤษก็ไม่ได้เสียผลประโยชน์ ผลสำคัญอกีประการหนงจากกาึ่รลงนามในสนธิ สัญญานี้คือการยุติระบบพระคลังสินค้าและยุติบทบาท ของหน่วยงานพระคลังสินคา้ที่มหี น้าที่ในดา้นการผู้ขาด การคาให ้ แก่ ้ราชสำนัก ซงึ่ส่งผลให้รายได้สำคัญของพระ มหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนางสูญเสียไปเป็นจำนวน มาก ทำให้ต้องหารายได้จากภาษี ฝิ่น ภาษีการพนัน ตลอดจนภาษีอบายมุขด้านอื่น ๆ มาทดแทน และ ต่อมาจึงสามารถชดเชยได้ด้วยการผลิตข้าว เพื่อการ ส่งออกขนานใหญ่ ที่จะมาเห็นผลชัดเจนในกลางสมัย รัชกาลที่ ๕ 196


สนธิสัญญาเบาว์ริงกลายเปน็แม่แบบของการทำ สนธิสัญญาแบบเดยวกั ีนกับประเทศตะวันตกอื่น ๆ ตาม ลำดับคือ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เดนมาร์ค แฮนซิแอติกริปับลิก โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ ปรัสเซีย (เยอรมนี) สวีเดน นอรเวย์ เบลเยี่ ยม อิตาลี และ ออสเตรีย-ฮังการี การเปลี่ ยนแปลงประเทศในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริงมี หลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยี และ วิทยาการต่างๆ ของตะวันตก ดังที่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถึง ประมุขประเทศทางตะวันตกว่า ประเทศสยามเปรียบ เหมือนเมืองป่าเมืองดอย ประชาชนก็อยู่ในสภาพดีกึ่ง ร้ายกึ่ง ยังไม่มีความเจริญเสมือนประเทศในตะวันตก ส่วนยุโรปนั้นเป็นเสมือนเมืองสวรรค์ ในเมื่อผู้นำไทยหวั่นวิตกว่าตะวันตกจะเข้ายึด ครองสยาม นโยบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว จึงเน้นไปที่การรักษาเอกราชของประเทศเป็น สำคัญ ผู้นำเห็นว่าสยามจะต้องเกิดการเปล ี่ ยนแปลง อย่างทันท่วงที จึงจะสามารถพาตัวรอดไปในกระแส ของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองตะวันตกได้ การเปล ี่ ยนแปลงในช่วงนี้จึงเป็นการเริ่มต้นที่จะทำให้ ประเทศสยามพัฒนาไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ ซึ่งจำแนก ออกได้เป็น ๒ แนวทาง คือ การยอมรับเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมของตะวันตกเข้ามาในเศรษฐกิจของไทย และ การพัฒนาระบบการปกครองของไทยบางส่วน โดยใช้ เทคโนโลยีและแนวความคิดแบบตะวันตก เพื่อให้การ ปกครองของไทยมีประสิทธิภาพสูงขึ้น การพัฒนานี้ จะเป็นพื้นฐานสำหรับการปรับปรุงประเทศให้เป็นการ ปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางได้สำเร็จ และ จะกระทำควบคู่กันไป โดยผสมผสานระบบเศรษฐกิจ และการปกครองของตะวันตกเขากับ ้ทัศนคติและสถาบัน เดิมของไทย การผสมผสานเช่นนส่งี้ ผลให้วัฒนธรรมตะวัน ตกในประเทศสยามแตกต่างไปจากเพื่อนบ้านอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่หลายประการ คือ ขณะที่การเปลี่ยนแปลงในประเทศท ี่เป็นอาณานิคม ตะวันตกกระทำ ในลักษณะท ี่นำ ของใหม่มาแทนที่ ของเก่าอย่างฉับพลันทันที ซึ่งเรียกได้ว่าการ สับเปลี่ยน (Replacement) แต่ของประเทศสยาม กลับเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยที่ระบบ เดิมยังคงมีบทบาทอยู่ ซงเึ่รียกว่าเป็นการแปรเปลยน ี่ (transformation) ผู้นำสยามในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพิจารณาเลือกรับวัฒนธรรม ตะวันตกอย่างสงวนทีท่า มีการนำนวัตกรรมทันสมัย มาใช้และปรับปรุงแก้ไขวัฒนธรรมเดิมในแบบจารีต ของตน ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับในสมัยก่อนหน้านี้ แต่ ยินยอมให้มีการเปล ี่ ยนแปลงในสถาบันหลัก ทั้งในด้าน การปกครองและเศรษฐกิจบ้าง ไม่ได้เปล ี่ ยนแปลงแบบ พลกหิ น้ามือเปน็ หลังมือ เพียงยินยอมใหเ้ปลย ี่ นเฉพาะที่ จำเปน็เพอื่รักษาตัวรอดจากลัทธจักิรวรรดินิยมและการ ล่าอาณานิคมเท่านั้น จึงยังไม่ใช่การเปลย ี่ นแปลงที่ทำให้ โครงสร้างส่วนใหญ่ของระบบต้องเปล ี่ ยนไปแต่อย่างใด 197 บทที่ ๕ มหารัถยาแห่งความศิวิไลซ์ : การปฏิรูปสู่ความเป็นสมัยใหม่


เส้้นทางความเจริิญของสุุวรรณภููมิิและสยามประเทศ ตั้้�งแต่่ก่่อนประวััติิศาสตร์์ถึึงพุุทธศัักราช ๒๔๗๕ การยินยอมลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริงเท่ากับ เป็นการยอมเผชิญหน้ากับระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินนโยบายรักษาตัวรอด ใน สมัยใหม่นี้ประเทศมหาอำนาจตะวันตกเป็นผู้กำหนด บทบาทให้แก่สยามในด้านการผลิต การขาย และ การซื้อ โดยที่สยามไม่อาจเลือกแนวทางการพัฒนา ของตนเองได้สยามถูกกำหนดให้เป็นผู้ส่งออกสินค้า เกษตรกรรมและแร่ธาตุที่ยุโรปต้องการ และเป็นผู้ซื้อ สินค้าอุตสาหกรรมของยุโรป การนี้ผู้นำไทยต้องคอย อำนวยความสะดวกให้แก่ชาวตะวันตกที่เข้ามาค้าขาย และลงทุนทำอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศ และต้อง พยายามดึงผลประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจใหม่มาสู่ สยามให้ได้มากที่สุดด้วย ในด้านการอำนวยความสะดวกแก่พ่อค้าต่าง ชาติราชสำนักต้องทำใหข้อบังคับใ ้นสนธิสัญญาเบาว์ริง มีผลบังคับใช้ได้จริง ต้องปรับปรุงการบริหารเศรษฐกิจ การค้าเสียใหม่ โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีอากร ต้อง สร้างการพัฒนาขั้นพื้นฐานสำหรับธุรกจแบบใหม่ขึ ิ ้นดวย ้ การค้าเสรีที่เกิดขึ้นมานี้ เป็นโอกาสให้แสวงหา ความมังคั่งและ่นำโอกาสใหม่ ๆ เขามายัง ้สยามประเทศ พระมหากษัตริย์ เจ้านาย และขุนนางต่างก็ตระหนักได้ ในเวลาอันรวดเร็วว่า โอกาสดังกล่าวมีพลังที่จะเปล ี่ ยน ฐานะของบุคคลผู้รู้จักใช้โอกาสนั้น ดังจะเห็นได้จาก หมอบรัดเลย์ ที่เปล ี่ ยนแปลงฐานะอย่างรวดเร็ว หมอ บรัดเลย์เข้าสู่ธุรกิจการพิมพ์ รับจ้างพิมพ์เอกสารต่างๆ ที่จำเป็นในการค้าแบบใหม่ เช่น ตั๋วภาษีรายการภาษี และกฎหมายท่าเรือ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้น ราชสำนักสยามต้องจัดการวางเป้าหมายแบบใหม่และต้อง มหลักกา ีรเพอดื่ ำเนินงานไปสู่เป้าหมายนั้นใหได้ ้ซงเึ่ปน็ ที่ทราบกันดใีนหมผู้นำส ู่ ยามว่า ความรู้แบบดังเด้มิที่เคย ใชกั้นมา ไม่อาจใชกับกา ้รเปลย ี่ นแปลงนี้ได้ราชสำนักจึง ต้องนำวิชาการและเทคโนโลยีตะวันตกเข้ามาปรับปรุง 198


Click to View FlipBook Version