The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถาบันการอาชีวศึกษา 2563

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถาบันการอาชีวศึกษา 2563

คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถาบันการอาชีวศึกษา 2563

Keywords: คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถาบันการอาชีวศึกษา 2563

คำนำ

ตามพระราชบัญญตั กิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพม่ิ เตมิ (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ.2545 หมวด 6
มาตรา 48 กาหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา
ท่ีต้องดาเนินการอย่างต่อเน่ือง โดยมีการจัดทารายงานประจาปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงาน
ท่เี ก่ียวขอ้ ง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนาไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพ่ือ
รองรับการประกันคณุ ภาพภายนอกต่อไป

สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สานักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ มีหน้าท่ี
ในการกาหนดนโยบาย หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่าง ๆ เพ่ือส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาการดาเนินงาน
เก่ียวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษาและสถาบันการ
อาชีวศึกษาเกษตร จัดการศึกษาในระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการได้เห็นถึง
ความสาคัญในด้านคุณภาพการจัดการศึกษาเพ่ือให้เป็นไปตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ภายในระดับอุดมศึกษา ได้ดาเนินการศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษา
ภายใน ระดับอุดมศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูต รระดับ
ปริญญาตรี พ.ศ.2558 จึงจัดทาเป็นคู่มือซึ่งประกอบด้วย คาอธิบายตัวบ่งชี้ การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล เกณฑ์การประเมิน และเคร่ืองมือประกอบการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนาไปใช้เป็น
แนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สาหรับนาไปสู่การปฏิบัติของสถาบันการอาชีวศึกษา
และสถาบนั การอาชีวศกึ ษาเกษตร

คู่มือฉบับน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการอาชีวศึกษา และสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร
ใชเ้ ปน็ แนวทางในการกากับและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามบริบทของแต่ละสถาบัน เน้ือหาจะ
ประกอบด้วยการประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตรและระดับสถาบัน แนวทางการวิเคราะห์และ
สรุปผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตลอดจนกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน และหวัง
เป็นอย่างย่ิงว่าคู่มือฉบับนี้จะส่งเสริมให้สถาบันการอาชีวศึกษา และสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร
สามารถดาเนนิ การประกันคณุ ภาพภายในได้อย่างมีประสิทธิผลและนาไปสู่การพัฒนาระบบการประกัน
คุณภาพภายในที่เข้มแข็งอันจะนาไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในระดับ
ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการของสถาบันการอาชีวศึกษาและสถาบันการอาชีวศึกษา
เกษตรใหต้ ่อเนอ่ื งและยง่ั ยนื สบื ไป

คณะผู้จัดทา





สารบญั หนา

บทที่ ก

คำนำ 1
สารบญั 1
บทที่ 1 การประกันคณุ ภาพการศกึ ษาระดบั อุดมศกึ ษา 2
6
1. ความเปนมาของสถาบันการอาชวี ศึกษา 8
2. การประกันคณุ ภาพการศึกษา 9
3. ความเช่อื มโยงระหวางมาตรฐานการศึกษากบั การประกันคณุ ภาพการศึกษา 9
4. ความเช่อื มโยงระหวา งการประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพ 9
บทท่ี 2 การประกันคณุ ภาพการศกึ ษาภายใน 11
1. กระบวนการประกนั คุณภาพการศึกษาภายใน 19
2. วธิ กี ารประกนั คณุ ภาพการศึกษาภายใน 19
บทที่ 3 นยิ ามศัพท 20
บทที่ 4 ระบบการประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดบั หลักสตู ร 23
1. ระบบการประกันคณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดบั หลกั สตู ร 27
2. กรอบการประกนั คณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดบั หลักสตู ร 35
43
2.1 องคป ระกอบที่ 1 การกำกบั มาตรฐาน 53
2.2 องคป ระกอบท่ี 2 บณั ฑิต 63
2.3 องคป ระกอบที่ 3 นกั ศึกษา 67
2.4 องคป ระกอบท่ี 4 อาจารย 67
2.5 องคป ระกอบท่ี 5 หลักสตู ร การเรียนการสอน การประเมินผเู รยี น 67
2.6 องคประกอบที่ 6 สงิ่ สนับสนุนการเรยี นรู 69
บทท่ี 5 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดบั สถาบัน 81
1. ระบบการประกันคุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดับสถาบนั 89
2. กรอบการประกนั คุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบนั 93
2.1 มาตรฐานท่ี 1 ดานผลลัพธผูเรยี น 97
2.2 มาตรฐานท่ี 2 ดานการวิจัยและนวัตกรรม 103
2.3 มาตรฐานที่ 3 ดา นการบริการวชิ าการ 104
2.4 มาตรฐานท่ี 4 ดานศลิ ปวัฒนธรรมและความเปน ไทย 107
2.5 มาตรฐานที่ 5 ดานการบรหิ ารจดั การ
บทท่ี 6 แนวทางการวเิ คราะหและสรุปผลการประกนั คุณภาพการศึกษาภายใน
1. การสรุปผลการประกนั คุณภาพการศึกษาภายใน ระดบั หลักสูตร
2. การสรปุ ผลการประกนั คุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบนั



สารบญั (ตอ )

ภาคผนวก 109
ภาคผนวก ก กฎกระทรวงการประกนั คุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 113
ภาคผนวก ข ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง มาตรฐานการอดุ มศกึ ษา พ.ศ.2561
ภาคผนวก ค ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑมาตรฐานคุณวุฒิ 117
อาชวี ศึกษา ระดบั ปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยหี รือสายปฏิบัติการ พ.ศ.2562
ภาคผนวก ง ประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เร่ือง เกณฑม าตรฐานหลักสตู ร 125
ระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 137
ภาคผนวก จ เครอ่ื งมือทใ่ี ชใ นการเก็บรวบรวมขอมลู ระดับหลักสตู ร 167
ภาคผนวก ฉ เคร่อื งมอื ทใ่ี ชในการเกบ็ รวบรวมขอมูล ระดับสถาบัน
ภาคผนวก ช คำสั่งสำนกั งานคณะกรรมการอาชวี ศึกษา ที่ 711/2563 179
ลงวันท่ี 9 มิถนุ ายน 2563
ภาคผนวก ซ คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศกึ ษา ที่ 891/2563 183
ลงวันท่ี 15 กรกฎาคม 2563 187
ภาคผนวก ฌ ความเช่ือมโยงระหวางมาตรฐานการศึกษาของชาติและการประกนั คุณภาพการศึกษา



บทที่ 1
การประกันคณุ ภาพการศกึ ษาระดบั อดุ มศึกษา

1. ความเป็นมาของสถาบันการอาชวี ศึกษา

พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 โดยมาตรา 13 วรรคสอง บัญญัติให้การรวมสถานศึกษา
อาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาให้กระทาได้โดยคาแนะนาของคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษาและคานึงถึงการประสานความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ต่อมา
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ประกาศเร่ือง กาหนดหลักเกณฑ์การรวมและการแยกสถานศึกษาเพ่ือ
จัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ.2554 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2554 (สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1,
2555) ตามมาตรา 13 โดยมหี ลกั การสาคัญ 5 ประการ ดังนี้ (1) ความเปน็ เลศิ ในการจดั การอาชีวศึกษาและ
การฝึกอบรมวิชาชีพ โดยมีกระบวนการผลิตและพัฒนากาลังคน เพื่อเพิ่มผลผลิตและส่งเสริมการพัฒนา
เศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศให้ได้ระดับมาตรฐานสากล (2) การกระจายอานาจไปสู่ระดับปฏิบัติ
เพ่ือให้การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในทุกระดับมีคุณภาพและประสิทธิภาพเกิดผลสาเร็จ
แก่ประชาชน โดยเฉพาะนกั เรยี นและนักศึกษา (3) ตอบสนองความต้องการการผลิตและการพัฒนากาลังคน
ด้านวิชาชีพ ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค ระดับเทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถ่ิน รวมทั้งเป็นการยกระดับ
การศึกษาวิชาชีพให้สูงข้ึน เพ่อื ใหส้ อดคลอ้ งกบั ความต้องการของตลาดแรงงาน (4) การประสานความร่วมมือ
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีชั้นสูง จากภาคส่วนต่าง ๆ ท้ังภาครัฐ ภาคเอกชน
และชุมชน ในการพัฒนาศักยภาพของการจัดการอาชีวศึกษา และ (5) การประกันคุณภาพและการกากับ
มาตรฐาน ตามมาตรฐานวิชาชีพในระดับสากล จากประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษาดังกล่าว
คณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงได้จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา 19 สถาบัน เกิดจากการรวมสถานศึกษา
อาชีวศึกษา 161 แห่ง และสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร 4 สถาบัน เกิดจากการรวมตัวของสถานศึกษา
เกษตรแต่ละภาค ท้งั น้ีเป็นไปตามทกี่ าหนดในกฎกระทรวง วา่ ด้วย การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพ่ือจัดตั้ง
สถาบนั การอาชีวศึกษา พ.ศ.2555 (ราชกจิ จานุเบกษา, 2555) และการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดต้ัง
สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร พ.ศ.2556 (ราชกิจจานุเบกษา, 2556) ดังน้ันสถาบันการอาชีวศึกษา มีสถานะ
ตามมาตรา 15 และ 16 ดังน้ี มาตรา 15 ให้สถาบันการอาชีวศึกษา เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ
ในสังกัดสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และมาตรา 16 ให้สถาบันการอาชีวศึกษาเป็น
สถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพช้ันสูง
ท่ีชานาญการปฏิบัติ การสอน การวิจัย การถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยี ทานุบารุงศาสนา ศิลปะและ
วัฒนธรรม และอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อม รวมท้ังให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม เมื่อจัดต้ังเป็นสถาบัน

คู่มือการประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรอื สายปฏิบัตกิ าร พ.ศ.2563 1

การอาชีวศกึ ษาแลว้ จะสามารถจัดการอาชีวศึกษาได้จนถึงระดบั ปรญิ ญาตรีท่ีเรียกว่า 3-2-2 คือ ปวช.- ปวส.-
ปริญญาตรี (ต่อเนอ่ื ง) (สภุ าพร, 2556)

สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เริ่มจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยี
หรือสายปฏิบัติการ มาต้ังแต่ปีการศึกษา 2556 และมีประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เร่ือง เกณฑ์
มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ.2562 ได้กาหนดให้
มีการประกันคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน โดยให้สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
และสถาบันการอาชีวศึกษากาหนดระบบการประกันคุณภาพของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
ในสาขาวิชาท่ีเปิดสอนโดยมีองค์ประกอบในการประกันคุณภาพอย่างน้อย 4 ด้าน คือ (1) คุณภาพของ
ผู้สาเร็จการศึกษา (2) การบริหารหลักสูตร (3) ทรัพยากรการจัดการอาชีวศึกษา และ (4) ความต้องการ
กาลังคนของตลาดแรงงาน ประกอบกับประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เรอ่ื ง กรอบคณุ วุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2562 กาหนดใหค้ ณุ ภาพของผู้สาเรจ็ การศึกษาทุกระดับคณุ วุฒิอาชีวศึกษา ประเภทวิชา และสาขาวิชา
ต้องครอบคลุมอยา่ งนอ้ ย 4 ด้าน คือ (1) คณุ ธรรม จริยธรรม และคณุ ลักษณะท่ีพึงประสงค์ (2) ความรู้ (3)
ทกั ษะ (4) ความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ ให้สถาบันการอาชีวศึกษาและสถาบันการ
อาชีวศึกษาเกษตรใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการ
ประกันคณุ ภาพการจัดการศึกษา เพ่ือประโยชนต์ ่อการรบั รองมาตรฐานคณุ วุฒิผสู้ าเรจ็ การศึกษา ซึ่งเป็นการ
ประกันคุณภาพบัณฑิตที่ได้รับคุณวุฒิแต่ละคุณวุฒิ และสื่อสารให้สังคม ชุมชน รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษา
ท้งั ในและต่างประเทศเข้าใจได้ตรงกันและเช่ือม่ันถึงผลลัพธ์การเรียนรูที่บัณฑิตได้รับการพัฒนาว่ามีคุณภาพ
และมาตรฐาน

2. การประกันคณุ ภาพการศึกษา

สานักงานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา ได้ตระหนกั ดถี งึ ความสาคญั ของการประกันคุณภาพการศึกษา
เพือ่ เปน็ แนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาตามหลักการสาคัญ 3 ประการ
คือ การให้เสรีภาพทางวิชาการ (Academic freedom) ความมีอิสระในการดาเนินการของสถาบัน
(Institutional autonomy) และความพร้อมของสถาบันท่ีจะรับการตรวจสอบคุณภาพจากภายนอกตาม
หลักการของความรับผิดชอบท่ีตรวจสอบได้ (Accountability) ต่อมาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 แกไ้ ขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 ได้ระบุให้หน่วยงานต้นสังกัดและ
สถานศึกษาจัดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กาหนดให้สานักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษามีหน้าท่ีพิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอาชีวศึกษา
ท่ีสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติสนับสนุนทรัพยากร
ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษาโดยคานึงถึงความเป็นอิสระและ

2 คู่มอื การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดบั ปริญญาตรสี ายเทคโนโลยีหรือสายปฏบิ ัตกิ าร พ.ศ.2563

ความเป็นเลิศทางปฏิบัติการของสถาบันการอาชวี ศึกษาระดับปริญญา ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดต้ังสถาบัน
การอาชีวศึกษาแต่ละแห่งและกฎหมายท่ีเกี่ยวข้อง สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงมีหน้าท่ี
ร่วมกับสถาบันการอาชีวศึกษาในการจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยมีรายละเอียด
ดังนี้

2.1 แนวทางการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศกึ ษาภายใน
2.1.1 ระบบการประกนั คุณภาพการศึกษา
ด้วยกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ว่าด้วยการประเมินคุณภาพ

การศึกษา ข้อ 3 ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
โดยการกาหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและ
ประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกาหนด พร้อมท้ังจัดทาแผนพัฒนา
การจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและดา เนินการตามแผนที่กาหนดไว้
จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดาเนินการ
เพ่ือพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง ให้แก่
หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานท่ีกากับดูแลสถานศึกษาเป็นประจาทุกปี เพ่ือให้การดาเนินการประกัน
คุณภาพการศึกษาตามวรรคหน่ึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานท่ีกากับ
ดูแลสถานศึกษามีหน้าที่ในการให้คาปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะนาสถานศึกษา เพื่อให้การประกันคุณภาพ
การศึกษาของสถานศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ให้ม่ันใจว่าสถาบันการอาชีวศึกษาสามารถสร้างผลผลิต
ทางการศึกษาท่ีมีคุณภาพหลักการที่สาคัญในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ และตัวบ่งชี้การประกัน
คุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรและระดับสถาบันโดยมีหลักการสาคัญในการพัฒนาระบบประกัน
คุณภาพการศึกษามีดังตอ่ ไปน้ี

2.1.1.1 ส่งเสริมพันธกิจหลักและพันธกิจสนับสนุนของการอุดมศึกษาภายใต้ความ
สอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 และประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์
มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ.2562 ในด้านการ
ประกันคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ให้สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ
สถาบันการอาชีวศึกษากาหนดระบบการประกันคุณภาพของหลักสูตรและ การจัดการเรียนการสอนใน
สาขาวชิ าทเ่ี ปดิ สอน โดยมีองค์ประกอบในการประกนั คุณภาพอยา่ งน้อย 4 ด้าน คือ (ก) หลักสูตรท่ียึดโยงกับ
มาตรฐานอาชีพ (ข) อาจารย์ ทรัพยากรและการสนับสนุน (ค) วิธีการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
(ง) ผู้สาเรจ็ การศกึ ษา

2.1.1.2 เป็นระบบประกนั คุณภาพการศึกษาภายในท่ีครอบคลุมปัจจัยนาเข้า และกระบวน
การซงึ่ สามารถส่งเสริมและนาไปสผู่ ลลพั ธข์ องการดาเนินการอย่างมีประสทิ ธิภาพ

2.1.1.3 ระบบการประกนั คุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษารอบใหมป่ ระกอบดว้ ย
การประกันคุณภาพระดบั หลกั สูตร และระดบั สถาบัน โดยจะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2563 เปน็ ตน้ ไป

คู่มอื การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยหี รอื สายปฏิบัตกิ าร พ.ศ.2563 3

1) ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร มีการดาเนินการต้ังแต่
การควบคุมคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาตัวบ่งช้ีและเกณฑ์
การประเมินฯจะมุ่งไปท่ีระบบการประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าการประเมินคุณภาพ เพื่อให้สามารถ
ส่งเสริมสนับสนุน กากับติดตาม การดาเนินงานให้เป็นไปตามที่กาหนดสะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมี
คุณภาพ

2) ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบัน เป็นการดาเนินการ
ประกนั คณุ ภาพการศึกษาภายในใหเ้ ปน็ ไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษา โดยยึดหลักเสรีภาพทางวิชาการและ
ความมีอิสระในการดาเนินการของสถานศึกษา ซ่ึงจะประเมินตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สถาบันท่ีต้องการให้หลักสูตรและสถาบันพัฒนาตามศักยภาพ สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนระดับ
ปรญิ ญาตรสี ายเทคโนโลยีหรือสายปฏบิ ัติการ ซึ่งเป็นการประเมนิ ความเขม้ แข็งทางวชิ าการ

2.1.1.4 ให้อิสระกับสถาบันการอาชีวศึกษาในการออกแบบระบบประกันคุณภาพ
การศกึ ษาภายใน

2.1.1.5 เชื่อมโยงกับนโยบายของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) และประกาศ
คณะกรรมการการอาชวี ศึกษา เร่ือง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือ
สายปฏิบัติการ พ.ศ.2562 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ
และรองรบั การประเมินคณุ ภาพภายนอกจากหนว่ ยงานการประเมินทสี่ ถาบันเลอื กใช้

2.1.2 มาตรฐาน ตัวบง่ ช้ีและเกณฑป์ ระเมนิ คุณภาพ
มาตรฐานทเ่ี ปน็ กรอบสาคญั ในการดาเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา คือ มาตรฐานการอุดม

ศึกษาในขณะเดียวกันสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ต้องดาเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์อื่น ๆ
ท่ีเกี่ยวข้องอีกมาก เช่น เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
แห่งชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษา และเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยี
หรือสายปฏบิ ัตกิ าร พ.ศ.2562 ทก่ี าหนดไว้ 4 ดา้ น คือ (ก) หลกั สตู รท่ยี ดึ โยงกบั มาตรฐานอาชพี (ข) อาจารย์
ทรัพยากรและการสนับสนุน (ค) วิธีการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล (ง) ผู้สาเร็จการศึกษา
โดยกาหนดตัวบง่ ชีเ้ ปน็ 2 ประเภท คอื ตวั บ่งช้เี ชิงปรมิ าณและตวั บ่งชเี้ ชงิ คุณภาพ ดงั นี้

2.1.2.1 ตัวบ่งช้ีเชิงคุณภาพจะระบุเกณฑ์มาตรฐานเป็นข้อ ๆ กาหนดเกณฑ์การประเมิน
ตัวบ่งช้ีเป็น 5 ระดับคะแนนต้ังแต่ 1 ถึง 5 การประเมินเชิงคุณภาพน้ีจะมีท้ังการนับจานวนข้อและระบุว่า
ผลการดาเนนิ งานได้ก่ขี ้อไดค้ ะแนนเทา่ ใด กรณที ่ีไม่ดาเนินการใด ๆ หรือดาเนินการไม่ครบท่ีจะได้ 1 คะแนน
ให้ถือวา่ ได้ 0 คะแนน และการประเมนิ โดยกาหนดการให้คะแนนตามที่หลักสูตรหรือสถาบันดาเนินการ และ
กรรมการประเมิน (Peer review) จะพิจารณาผลการดาเนินการนั้น ๆ ร่วมกันก่อนท่ีจะบันทึกคะแนน
โดยมรี ะดบั คะแนนอยรู่ ะหว่าง 0-5

2.1.2.2 ตัวบ่งชี้เชิงปริมาณอยู่ในรูปของร้อยละหรือค่าเฉลี่ย กาหนดเกณฑ์การประเมิน
เป็นคะแนนระหว่าง 1 ถึง 5 โดยเป็นค่าต่อเน่ือง (มีจุดทศนิยม) สาหรับการแปลงผลการดาเนินงานตาม

4 คู่มอื การประกันคณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยหี รือสายปฏบิ ตั ิการ พ.ศ.2563

ตัวบ่งชี้ (ซ่ึงอยู่ในรูปร้อยละหรือค่าเฉลี่ย) เป็นคะแนน ทาโดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ โดยท่ีแต่ละตัวบ่งชี้
จะกาหนดค่าร้อยละหรือค่าเฉล่ียท่ีคิดเป็นคะแนนเต็ม 5 ไว้ คณะกรรมการพัฒนาแนวทางการประกัน
คุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีสายปฏิบัติการ พ.ศ.2562
ได้กาหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรและสถาบัน เพื่อให้สถาบันการอาชีวศึกษา
ต่าง ๆ นาไปใช้เป็นแนวทาง (Guideline) ในการจัดทาระบบการประกันคุณภาพภายในของแต่ละสถาบัน
ตามความสมัครใจภายใต้การกากับ ดูแลของสภาสถาบันการอาชีวศึกษา โดยจะสอดรับตามประกาศ
กระทรวงศึกษาธิการเร่ือง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 5 ด้าน ได้แก่ (1) มาตรฐานด้านผลลัพธ์
ผู้เรียน (2) มาตรฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรม (3) มาตรฐานด้านบริการวิชาการ (4) มาตรฐานด้าน
ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (5) มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ สาหรับการประกันคุณภาพระดับ
หลักสูตรจะเน้นพันธกิจในด้านการผลิตบัณฑิตเป็นสาคัญ เพ่ือให้สอดคล้องกับ ประกาศคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
พ.ศ. 2562 ทีก่ าหนดระบบการประกันคุณภาพของหลักสตู รและการจัดการเรียนการสอน ในสาขาวิชาที่เปิด
สอน โดยมีองค์ประกอบในการประกันคุณภาพอย่างน้อย 4 ด้านดังนี้ (ก) หลักสูตรที่ยึดโยงกับมาตรฐาน
อาชีพ (ข) อาจารย์ ทรัพยากรและการสนบั สนุน (ค) วธิ กี ารจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล (ง) ผู้สาเร็จ
การศึกษา ส่วนพันธกิจด้านอื่น ๆ จะเป็นการบูรณาการเข้าไว้ด้วยกัน หากเป็นตัวบ่งช้ีในระดับสถาบัน
จะครอบคลุมพันธกิจหลักของการอุดมศึกษารวมทั้งการบริหารจัดการได้ทั้งหมดซ่ึงสามารถชี้วัดคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานและหลักเกณฑ์อ่ืน ๆ ท่ีเก่ียวข้องกับพันธกิจเหล่านั้น
ได้ทั้งหมด ในบทที่ 4 ถึงบทท่ี 5 ของคู่มือฉบับน้ี จึงได้พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
เพื่อให้สถาบันการอาชีวศึกษา นาไปเป็นกรอบในการดาเนินการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในตั้งแต่
ระดับหลักสูตร และระดับสถาบัน การพัฒนาตัวบ่งช้ีและเกณฑ์การประเมินจะมุ่งไปที่ระบบการประกัน
คณุ ภาพการศึกษามากกวา่ การประเมินคุณภาพเพอื่ ให้สามารถส่งเสริมสนับสนุนกากับติดตามการดาเนินงาน
ให้เป็นไปตามที่กาหนด สะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
เน้นท่ีปัจจัยนาเข้า และกระบวนการ ซึ่งภายใต้ตัวบ่งช้ีท่ีเป็นกระบวนการให้สามารถสะท้อนผลลัพธ์ของการ
ดาเนินการตามกระบวนการดงั กลา่ วด้วย

2.1.3 กลไกการประกันคุณภาพ
ในดา้ นของกลไกการประกันคณุ ภาพผ้ทู มี่ คี วามสาคัญส่งผลให้การดาเนินงานประสบความ

สาเร็จและนาไปสู่การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องคือคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของ
สถาบันทีจ่ ะต้องให้ความสาคัญและกาหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาที่ชัดเจนและเข้าใจร่วมกัน
ทุกระดับโดยมอบหมายให้หน่วยงานหรือคณะกรรมการรับผิดชอบในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน และ
กระตนุ้ ใหเ้ กดิ การพฒั นาคณุ ภาพอย่างต่อเน่อื ง หน้าทสี่ าคญั ประการหนง่ึ ของคณะกรรมการ หรือหน่วยงานนี้
คือ การจัดระบบประกันคุณภาพพร้อมท้ังกาหนดตัวบ่งช้ีและเกณฑ์การประเมินคุณภาพที่เหมาะสมและ
สถาบันมรี ะบบคุณภาพทใี่ ช้โดยสามารถเช่ือมโยงให้เกิดคุณภาพของการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับ

คู่มอื การประกันคุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดับปริญญาตรสี ายเทคโนโลยีหรอื สายปฏบิ ัติการ พ.ศ.2563 5

หลักสูตร ไปจนถึงระดับสถาบัน โดยอาจจาเป็นต้องจัดทาคู่มือคุณภาพในแต่ละระดับเพื่อกากับการ
ดาเนินงาน แต่ท่ีสาคัญคณะกรรมการหรือหน่วยงานนี้ ต้องประสานงานและผลักดันให้เกิดระบบฐานข้อมูล
และสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพซ่ึงสามารถใชง้ านร่วมกันได้ในทกุ ระดบั

2.1.4 ระบบฐานข้อมลู และระบบสารสนเทศ
การวัดและวิเคราะหผ์ ลการดาเนนิ งานเปน็ ส่ิงจาเป็นในกระบวนการประกันคุณภาพ การวัด

และวิเคราะห์ผลการดาเนินงานจะไม่สามารถทาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพหากปราศจากฐานข้อมูล
และระบบสารสนเทศท่ีเป็นจริง ถูกต้องตรงกันทุกระดับต้ังแต่ระดับบุคคล ระดับหลักสูตร และสถาบัน
ตลอดจนเป็นข้อมูลที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว ดังน้ัน ระบบสารสนเทศท่ีดี มีประสิทธิภาพจึงเป็น
ปัจจัยสาคัญย่ิงท่ีจะส่งผลต่อความสาเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษา และส่งผลต่อคุณภาพ
ในทุกข้ันตอนการดาเนินงานต้ังแต่การวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบประเมิน ตลอดจนถึงการ
ปรับปรงุ และพัฒนา

3. ความเชอื่ มโยงระหว่างมาตรฐานการศกึ ษากบั การประกนั คุณภาพการศกึ ษา

คณะรัฐมนตรี มีมติให้ความเห็นชอบ มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561 โดยมีมติ “ให้ส่วน
ราชการและหน่วยงานของรัฐท่ีเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานามาตรฐานการศึกษาของชาติไปเป็นกรอบ
ในการกาหนดมาตรฐานการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา รวมท้ังการ
ส่งเสริมกากับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพการศึกษา” การจัดการศึกษา
ระดับอดุ มศึกษาได้ดาเนินการตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561 ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา
ของชาติ พ.ศ.2561 ประกอบกับคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษาได้กาหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา
ระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ.2562 หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเก่ียวกับการ
พิจารณาประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาเพ่ือส่งเสริมให้สถาบันการอาชีวศึกษา
ได้พฒั นาดา้ นวิชาการและวชิ าชีพ รวมท้ังการพฒั นาคุณภาพและยกระดับมาตรฐานในการจัดการศึกษาระดับ
ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ให้มีความทัดเทียมกันและพัฒนาสู่สากลซึ่งทาให้สถาบันการ
อาชีวศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างยืดหยุ่นคล่องตัวและต่อเน่ืองในทุกระดับการศึกษา ทั้งนี้ความ
เชื่อมโยงระหว่างมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561 หลักเกณฑ์ที่เก่ียวข้อง และการประกันคุณภาพ
การศกึ ษาสามารถแสดงในแผนภาพท่ี 1

6 คู่มือการประกนั คณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดับปรญิ ญาตรสี ายเทคโนโลยหี รอื สายปฏิบัติการ พ.ศ.2563

มาตรฐานการศกึ ษาของชาติ

มาตรฐานท่ี 1 มาตรฐานที่ 2 มาตรฐานที่ 3

ผเู้ รยี นรู้ (Learner Person) ผรู้ ว่ มสรา้ งสรรค์นวัตกรรม (Innovative Co-creator) พลเมอื งทเ่ี ข้มแขง็ (Active Citizen)
เพือ่ สร้างงานและคุณภาพชวี ิตทดี่ ี เพอ่ื สังคมท่ีมนั่ คงม่ังคั่ง และย่ังยนื เพื่อสันตสิ ุข

มาตรฐานการอดุ มศึกษา

มาตรฐานดา้ น มาตรฐานดา้ นการ มาตรฐานดา้ น มาตรฐานดา้ นศลิ ปวัฒนธรรม มาตรฐานดา้ นการ
ผลลัพธผ์ ูเ้ รียน วจิ ัยและนวตั กรรม บรกิ ารวิชาการ และความเป็นไทย บริหารจัดการ

หลกั เกณฑ์กากบั มาตรฐาน การประกันคณุ ภาพภายในภายใตต้ ัวบ่งชี้
รวมถึงเกณฑม์ าตรฐาน ตามพนั ธกิจของการอุดมศึกษาและการบรหิ ารจดั การ
หลกั สตู ร กรอบมาตรฐาน
คณุ วุฒริ ะดบั อดุ มศกึ ษา ผลผลติ ทางการศกึ ษาท่ีไดค้ ุณภาพ
แห่งชาติและเกณฑ์
มาตรฐานคุณวุฒอิ าชวี
ศึกษาระดับปรญิ ญาตรี
สายเทคโนโลยหี รือสาย
ปฏิบตั ิการ พ.ศ. 2562

แผนภาพที่ 1 ความเชือ่ มโยงระหวา่ งมาตรฐานการศึกษาและการประกนั คุณภาพการศกึ ษา

คู่มือการประกันคณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดับปรญิ ญาตรสี ายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบตั ิการ พ.ศ.2563 7

4. ความเชือ่ มโยงระหวา่ งการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการประเมนิ คุณภาพ

การประกนั คุณภาพการศึกษาภายในเป็นส่วนหน่ึงของกระบวนการบริหารการศึกษาปกติท่ีต้องเนินการ
อยา่ งตอ่ เนอ่ื ง โดยมีการควบคุมดูแลปัจจัยท่ีเกี่ยวข้องกับคุณภาพมีการตรวจสอบติดตามและประเมินผลการ
ดาเนินงานเพื่อนาไปสู่การพัฒนาปรับปรุงคุณภาพอย่างสม่าเสมอ ด้วยเหตุน้ีระบบประกันคุณภาพภายใน
จึงต้องดูแลท้ังปัจจัยนาเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Output/Outcome)
ซง่ึ ตา่ งจากการประเมนิ คณุ ภาพภายนอกทเ่ี นน้ การประเมนิ ผลการจัดการศึกษา ดังน้ันความเชื่อมโยงระหว่าง
การประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอกจึงเป็นส่ิงจาเป็น โดยได้เชื่อมโยงให้เห็นจาก
แผนภาพที่ 2

การประเมินคณุ ภาพภายใน การประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมนิ
ตนเองของ รายงาน การ รายงานผล การ
สถาบัน ประจาปี ตรวจเยย่ี ม การประเมนิ ตดิ ตามผล

ขอ้ มลู ป้อนกลบั รายงานต่อ
ต้นสังกัดเมื่อ

สิน้ ปี
การศึกษา

ขอ้ มูลป้อนกลบั

แผนภาพที่ 2 ความสัมพันธร์ ะหวา่ งการประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายในการประเมินคณุ ภาพภายนอก

จากแผนภาพที่ 2 จะเห็นว่า เมื่อสถาบันการอาชีวศึกษามีการดาเนินการประกันคุณภาพภายใน
แลว้ จาเปน็ ตอ้ งจดั ทารายงานประจาปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน ตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน
เอกสารอ้างอิงการประเมินตนเอง การประเมินของคณะกรรมการประเมินคุณภาพเพ่ือนาเสนอสภาสถาบัน/
หน่วยงานตน้ สงั กัด/หน่วยงานท่ีเกี่ยวขอ้ งและเปดิ เผยต่อสาธารณชน ซ่ึงข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูลเช่ือมโยง
ระหวา่ งการประกนั คุณภาพภายในของสถาบัน และรายงานต่อตน้ สังกัดเม่ือสิ้นปกี ารศกึ ษา ดังน้ันสถาบันการ
อาชีวศึกษาจาเป็นต้องจัดทารายงานการประเมินตนเองที่มีความลุ่มลึก สะท้อนภาพที่แท้จริงของสถาบัน
ในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับหลักสูตร และระดับสถาบัน เพ่ือการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไปรับใช้
สังคม

8 คู่มือการประกนั คณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยหี รอื สายปฏิบัติการ พ.ศ.2563

9

บทท่ี 2
การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

1. กระบวนการประกนั คณุ ภาพการศึกษาภายใน

เพ่ือให้การประกนั คณุ ภาพการศึกษาเกิดประโยชน์จึงควรมีแนวทางการจัดกระบวนการประกันคุณภาพ
การศึกษาภายในตามวงจรคณุ ภาพ ประกอบด้วย 4 ขน้ั ตอน คอื การวางแผน (Plan) การดาเนินงานและเก็บ
ข้อมูล (Do) การประเมินคุณภาพ (Check/Study) และการเสนอแนวทางการปรับปรุง (Act) โดยมี
รายละเอียด ดังนี้

P = เริ่มกระบวนการวางแผนการประเมนิ ตงั้ แต่ตน้ ปกี ารศึกษา โดยนาผลการประเมินปีก่อนหน้านี้
มาใชเ้ ปน็ ขอ้ มลู ในการวางแผนโดยตอ้ งเกบ็ ขอ้ มูลต้ังแตเ่ ดอื นพฤษภาคม ในแต่ละปกี ารศกึ ษา

D = ดาเนินงานและเก็บข้อมลู บันทกึ ผลการดาเนินงานตงั้ แตต่ น้ ปกี ารศึกษา คอื เดือนที่ 1-เดอื นที่
12 ของปกี ารศึกษา (เดอื นพฤษภาคม-เมษายนปีถัดไป)

C/S = ดาเนนิ การประเมินคณุ ภาพในระดับหลกั สูตร และระดับสถาบนั ระหวา่ งเดอื นพฤษภาคม-
สิงหาคมของปีการศกึ ษาถัดไป

A = วางแผนปรับปรุงและดาเนินการปรับปรุงตามผลการประเมิน โดยคณะกรรมการบริหารระดับ
หลักสูตร และระดับสถาบัน โดยนาข้อเสนอแนะและผลการประเมินของคณะกรรมการประเมินคุณภาพ
ภายในมาวางแผนปรับปรุงการดาเนินงาน (รวมท้ังข้อเสนอแนะของสภาสถาบัน) มาจัดทาแผนปฏิบัติการ
ประจาปีและเสนอต้ังงบประมาณปีถัดไป หรือจัดทาโครงการพัฒนาและเสนอใช้ งบประมาณกลางปีหรือ
งบประมาณพิเศษกไ็ ด้

2. วิธีการประกันคณุ ภาพการศกึ ษาภายใน

วธิ กี ารประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายใน กาหนดไวด้ งั น้ี
2.1 สถาบันการอาชวี ศึกษาวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในประจาปีการศกึ ษาใหม่
2.2 สถาบันการอาชวี ศกึ ษาเก็บขอ้ มลู ระยะ 12 เดือนตามตวั บ่งช้ีทีไ่ ด้ประกาศใช้ และใหม้ กี ารประเมนิ
คณุ ภาพการศกึ ษาภายในเป็นประจาทุกปที ้ังระดับหลักสตู ร และระดบั สถาบัน
2.3 หลักสูตรเตรยี มการประเมนิ ตนเองระดบั หลักสูตรและจัดทารายงานการประเมนิ ตนเองระดบั
หลกั สตู ร
2.4 สถาบนั การอาชีวศึกษานาผลการประเมนิ ระดับหลักสูตร มาสรุปผลการประเมินและจดั ทารายงาน
การประเมนิ ตนเองระดบั สถาบนั

คู่มอื การประกนั คณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดับปริญญาตรสี ายเทคโนโลยีหรือสายปฏบิ ัติการ พ.ศ.2563 9

2.5 สถาบันการอาชีวศึกษายืนยันผลการประเมินตนเองระดับหลักสูตร และระดับสถาบัน พร้อมนา
ผลการประเมินเสนอสภาสถาบนั เพื่อพจิ ารณาวางแผนพัฒนาสถาบนั ในปกี ารศึกษาถัดไป

2.6 ผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษานาผลการประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมิน
คุณภาพภายในท่ีสถาบันแต่งตั้ง (รวมท้ังข้อเสนอแนะของสภาสถาบัน) มาวางแผนปรับปรุงการดาเนินงาน
แผนปฏิบตั กิ ารประจาปี และแผนกลยุทธ์

2.7 สง่ รายงานประจาปที ี่เปน็ รายงานการประเมนิ คุณภาพภายในต่อต้นสังกัดภายใน 120 วนั นับจาก
สน้ิ ปกี ารศึกษา

สถาบนั การอาชวี ศกึ ษาตอ้ งมกี ารประเมินตนเองตามตัวบ่งช้ีและเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา
ภายในทุกปีการศึกษา ทั้งระดับหลักสูตร และระดับสถาบันตามลาดับ โดยสถาบันการอาชีวศึกษาเป็น
ผู้แต่งต้ังคณะกรรมการประเมิน และส่งผลการประเมินให้ต้นสังกัดทราบ ท้ังนี้คณะกรรมการประเมิน
คุณภาพภายในระดับหลักสูตร 1 ชุด อาจประเมินได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตรหากเป็นหลักสูตรในสาขาวิชา
เดยี วกัน

สาหรับแนวทางการดาเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรและระดับสถาบัน
ทีส่ ถาบนั การอาชวี ศกึ ษาต้องดาเนินการเป็นประจาทุกปี คือ หลักสูตรและสถาบันแต่งตั้งผู้ประเมินคุณภาพ
การศกึ ษาภายในท่ผี า่ นการอบรมจากสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และผู้ประเมินคุณภาพภายใน
ระดบั หลกั สูตรควรเป็นผู้กา้ วทนั ความทนั สมัยของหลกั สูตรมาประเมินหลกั สตู ร

10 คู่มอื การประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดบั ปริญญาตรสี ายเทคโนโลยหี รอื สายปฏิบัตกิ าร พ.ศ.2563

บทท่ี 3
นยิ ามศพั ท์

การตีพิมพ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หมายถึง การตีพิมพ์ผลงานวิชาการฉบับสมบูรณ์ในลักษณะของ
รายงานสบื เน่อื งจากการประชุมวิชาการ วารสารวิชาการ หรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการในระดับสถาบัน และต้อง
เปน็ ผลงานท่ผี า่ นการกลน่ั กรอง (Peer review) โดยมบี คุ คลภายนอกสถาบันรว่ มเปน็ กรรมการพจิ ารณาด้วย

การเผยแพร่งานสร้างสรรค์ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ หมายถึง โครงการร่วมมือระหว่าง
ประเทศไทยกบั ประเทศอน่ื

การเผยแพร่งานสร้างสรรคใ์ นระดบั นานาชาติ หมายถงึ การเผยแพรทเ่ี ปิดกว้างสาหรับทกุ ประเทศ (อย่าง
นอ้ ย 5 ประเทศ ทีไ่ มไ่ ดอ้ ยใู่ นกล่มุ อาเซยี น)

การเผยแพร่งานสร้างสรรค์ในระดับภูมิภาคอาเซียน หมายถึง การเผยแพร่เฉพาะในกลุ่มอาเซียน
10 ประเทศ (อย่างน้อย 5 ประเทศนับรวมประเทศไทยด้วย) และการให้คะแนนตามแหล่งเผยแพร่
ไมจ่ าเป็นตอ้ งไปแสดงในตา่ งประเทศ

อาเซียน หมายถึง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian
Nations) มี 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กมั พชู า อนิ โดนเี ซีย ลาว มาเลเซยี เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย
และเวียดนาม

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในท่ีประชุมวิชาการระดับชาติ หมายถึง การนาเสนอบทความวิจัยในท่ีประชุม
วิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม
(Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทารายงานการประชมุ หรอื คณะกรรมการจัดประชุมประกอบด้วย
ศาสตราจารย์ หรอื ผ้ทู รงคณุ วุฒิระดับปริญญาเอก หรอื ผูท้ รงคณุ วุฒทิ ีม่ ีผลงานเป็นท่ียอมรับในสาขาวิชาน้ันๆ
จากนอกสถาบันเจา้ ภาพ อย่างนอ้ ยร้อยละ 25 โดยต้องมีผปู้ ระเมนิ บทความทเ่ี ปน็ ผ้เู ชยี่ วชาญในสาขานั้นด้วย
และมีบทความที่มาจากหน่วยงานภายนอกสถาบันอย่างน้อย 3 หน่วยงาน และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า
รอ้ ยละ 25

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในท่ีประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนาเสนอบทความวิจัยใน
ที่ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการ
ประชุม (Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทารายงานฯ หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วย

คู่มอื การประกันคุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดบั ปริญญาตรสี ายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัตกิ าร พ.ศ.2563 11

ศาสตราจารยห์ รือผู้ทรงคณุ วุฒิระดบั ปรญิ ญาเอก หรอื ผ้ทู รงคณุ วฒุ ทิ ี่มผี ลงานเป็นที่ยอมรับ ในสาขาวิชานั้นๆ
จากต่างประเทศอย่างน้อยร้อยละ 25 และมีผู้ประเมินบทความท่ีเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น และบทความ
ทมี่ าจากต่างประเทศ อย่างน้อย 3 ประเทศ และรวมกนั แล้วไม่นอ้ ยกวา่ รอ้ ยละ 25

**บทความในการประชุมวิชาการท้ังระดับชาติและนานาชาติ ท่ีนาเสนอให้กองบรรณาธิการหรือ
คณะกรรมการจัดประชุมพิจารณาคัดเลือก ต้องเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) และได้รับการตีพิมพ์
ซึง่ สามารถอย่ใู นรปู แบบเอกสารหรอื สอื่ อิเลก็ ทรอนกิ ส์ได้

งานวจิ ัย หมายถึง กระบวนการท่มี ีระเบียบแบบแผนในการค้นหาคาตอบของปญั หา หรือการเสาะแสวงหา
ความรู้ใหม่ ตลอดจนถึงการประดิษฐ์คิดค้นที่ผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้าหรือทดลอง วิเคราะห์และ
ตคี วามขอ้ มูลตลอดจนสรุปผลอย่างเปน็ ระบบ

งานสรา้ งสรรค์ หมายถึง ผลงานศลิ ปะและส่ิงประดิษฐ์ทางศลิ ปะประเภทต่างๆ ท่มี คี วามเป็นนวัตกรรมโดย
มีการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบที่เหมาะสมตามประเภทของงานศิลปะซ่ึงมีแนวทางการทดลองหรือการ
พฒั นาจากแนวคิดสร้างสรรคเ์ ดิมเพอ่ื เป็นตน้ แบบหรอื ความสามารถในการบกุ เบิกศาสตร์ อันก่อให้เกิดคุณค่า
ทางสุนทรยี ์และคุณประโยชนท์ เ่ี ป็นทีย่ อมรบั ในวงวิชาชีพตามการจัดกลุ่มศิลปะ ของอาเซียนงานสร้างสรรค์
ทางศิลปะ ได้แก่ (1) ทัศนศิลป์ (Visual Art) ประกอบด้วย ผลงานด้านจิตรกรรม ประติมากรรมภาพพิมพ์
ภาพถ่าย ภาพยนตร์ ส่ือประสม สถาปัตยกรรมและงานออกแบบประเภทอื่นๆ (2) ศิลปะการแสดง
(Performance Arts) ประกอบด้วย ดุริยางคศิลป์ นาฏยศิลป์ รวมท้ังการแสดงรูปแบบต่างๆ และ (3)
วรรณศิลป์ (Literature) ซึ่งประกอบดว้ ยบทประพันธแ์ ละกวีนพิ นธร์ ปู แบบตา่ งๆ

ผลงานวิชาการเพื่ออุตสาหกรรม หมายถึง ผลงานวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่
คุณค่า (Value Chain) ส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศ เป็นผลให้เกิดการเปล่ียนแปลงในทางที่ดีข้ึน
เพือ่ ตอบสนองต่อการพฒั นาหรอื การแก้ปญั หาของอุตสาหกรรม

ผลงานสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมายถึง ผลงานวิชาการที่เป็นการประดิษฐ์คิดค้น
เครอ่ื งมอื เครอ่ื งท่นุ แรง ผลงานการ สร้างสรรค์พชื หรือสตั วพ์ ันธ์ใุ หม่ หรือจลุ นิ ทรยี ท์ ีม่ ีคณุ สมบัตพิ ิเศษสาหรับ
การใชป้ ระโยชน์ เฉพาะดา้ น วัคซนี ผลติ ภัณฑ์หรอื ส่งิ ประดิษฐอ์ น่ื ๆ ทเี่ ป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคม
ซ่ึงพัฒนาข้ึนจากการประยกุ ต์ใชอ้ งคค์ วามรู้ทางดา้ นวทิ ยาศาสตรแ์ ละ เทคโนโลยี โดยวิธีวิทยาท่ีเป็นท่ียอมรับ
ในสาขาวิชานั้น ๆ

แนวปฏิบัติทดี่ ี หมายถึง วธิ ีปฏิบตั หิ รอื ขัน้ ตอนการปฏบิ ตั ิทีท่ าให้สถาบนั ประสบความสาเรจ็ หรือสู่ความเป็น
เลิศตามเป้าหมาย เป็นท่ียอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพน้ันๆ มีหลักฐานของความสาเร็จปรากฏชัดเจน
โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือข้ันตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร
เผยแพรใ่ ห้หนว่ ยงานภายในหรอื ภายนอกสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้
12 คู่มือการประกันคุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดบั ปริญญาตรสี ายเทคโนโลยหี รอื สายปฏิบัติการ พ.ศ.2563

ผลงานทไี่ ด้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ หมายถึง บทความจากผลงานวิจัยหรือบทความ
วิชาการท่ีได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Journal) ท่ีมีช่ือปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล Thai-Journal
Citation Index Centre (TCI) หรอื วารสารวชิ าการระดบั ชาตติ ามประกาศของคณะกรรมการการอุดมศกึ ษา

ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง บทความจากผลงานวิจัย หรือ
บทความวิชาการท่ีได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Journal) ที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ได้แก่
ฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank : www.scimagojr.com) หรือฐานข้อมูล
ISI Web of Science (Science Citation Index Expand, Social Sciences Citation Index, Art and
Humanities Citation Index) หรือฐานข้อมูล Scopus หรือวารสารวิชาการระดับนานาชาติตามประกาศ
ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา

แผนกลยุทธ์ หมายถึง แผนระยะยาวของสถาบันโดยทั่วไปมักใช้เวลา 5 ปี เป็นแผนที่กาหนดทิศทางการ
พัฒนาของสถาบัน แผนกลยุทธ์ประกอบไปด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ ผลการ
วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคาม กลยุทธ์ต่างๆ ของสถาบันควรครอบคลุมทุกภารกิจของ
สถาบัน ซึ่งต้องมีการกาหนดตัวบ่งชี้ความสาเร็จของแต่ละกลยุทธ์และค่าเป้าหมายของตัวบ่งช้ีเพื่อวัดระดับ
ความสาเร็จของการดาเนินงานตามกลยุทธ์ โดยสถาบันนา แผนกลยุทธ์มาจัดทา แผนดาเนินงาน หรือ
แผนปฏบิ ัติการประจาปี

แผนกลยุทธท์ างการเงิน หมายถงึ แผนระยะยาวท่รี ะบุทีม่ าและใชไ้ ปของทรพั ยากรทางการเงินของสถาบัน
ที่สามารถผลกั ดันแผนกลยทุ ธ์ของสถาบันให้สามารถดาเนินการได้ แผนกลยุทธ์ทางการเงิน จะสอดรับไปกับ
แผนกลยทุ ธข์ องสถาบัน สถาบนั ควรประเมนิ ความต้องการทรัพยากรท่ีต้องจัดหาสาหรับการดาเนินงานตาม
กลยทุ ธแ์ ต่ละกลยุทธแ์ ละประเมนิ มูลค่าของทรัพยากรออกมาเปน็ เงนิ ทุนทีต่ ้องการใช้ซึ่งจะเป็นความต้องการ
เงนิ ทนุ ในระยะยาวเทา่ กับเวลาทส่ี ถาบันใชใ้ นการดาเนินการให้กลยุทธ์น้ันบังเกิดผล จากน้ันจึงจะกาหนดให้
เห็นอย่างชัดเจนถึงท่ีมาของเงินทุนที่ต้องการใช้ว่าสามารถจัดหาได้จากแหล่งเงินทุนใด เช่น รายได้
ค่าธรรมเนียมการศึกษา งบประมาณแผ่นดินหรือเงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินทุนสะสมของหน่วยงานเงิน
บริจาคจากหนว่ ยงานภายนอกหรือศิษย์เก่า หรือสถาบันจะต้องมีการ ระดมทุนด้วยวิธีการอ่ืนๆ อีกเพิ่มเติม
เช่น การแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นมูลค่า รวมทั้งมีการวิเคราะห์ต้นทุนของการดาเนินงานด้วย เช่น
ต้นทุนต่อหน่วยในการผลิตบัณฑิตในแต่ละหลักสูตรโดยท่ีระยะเวลาของแผนกลยุทธ์ทางการเงินจะเท่ากับ
ระยะเวลาของแผนกลยุทธ์ของสถาบนั

แผนปฏิบัติการประจาปี หมายถึง แผนระยะส้ันที่มีระยะเวลาในการดาเนินงานภายใน 1 ปี เป็นแผน
ที่ถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ลงสู่ภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการดาเนินงานจริงตามกลยุทธ์ ประกอบด้วย โครงการ
หรือกจิ กรรมตา่ ง ๆ ที่จะต้องดาเนนิ การในปีนั้น ๆ เพอ่ื ให้บรรลเุ ป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ตัวบ่งชี้ความสาเร็จ

คู่มือการประกนั คณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดับปริญญาตรสี ายเทคโนโลยีหรอื สายปฏบิ ัตกิ าร พ.ศ.2563 13

ของโครงการหรือกิจกรรม ค่าเป้าหมายของตัวบ่งชี้เหล่านั้น รวมทั้งมีการระบุผู้รับผิดชอบหลักหรือหัวหน้า
โครงการงบประมาณในการดาเนินการ รายละเอยี ดและทรพั ยากรทีต่ อ้ งใชใ้ นการดาเนนิ โครงการทีช่ ดั เจน

พหุวทิ ยาการ หรือ สหวิทยาการ หลกั สูตรพหวุ ทิ ยาการ
พหุวิทยาการ (Multidisciplinary) หรือ สหวิทยาการ (Interdisciplinary) หมายถึง การใช้

องค์ความรู้หลายสาขาวิชา หลายศาสตร์หรือหลายอนุศาสตร์ มาผสมผสานใช้ในการวิเคราะห์ วิจัยและ
สังเคราะหข์ ึ้นเป็นองคค์ วามรู้ใหม่และพัฒนาเปน็ ศาสตรใ์ หมข่ ึ้น

หลักสูตรพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) หมายถึง หลักสูตรท่ีนาเอาความรู้หลายศาสตร์หรือ
หลายอนศุ าสตรเ์ ข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เพ่ือประโยชน์ในการวิเคราะห์ วิจัย จนกระท่ังผู้เรียนสามารถ
พฒั นาความรู้ องคค์ วามรเู้ ปน็ ศาสตรใ์ หม่ขนึ้ หรอื เกิดอนศุ าสตรใ์ หม่ขึน้

ตัวอยา่ งหลกั สตู รทีเ่ ป็น พหุวิทยาการ เช่น วิศวกรรมชีวการแพทย์ (วิศวกรรมศาสตร์+แพทย์ศาสตร์)
ภูมิศาสตรส์ ารสนเทศ (ภูมิศาสตร์ + เทคโนโลยีสารสนเทศ) วิศวกรรมนาโน (วศิ วกรรมศาสตร์+วิทยาศาสตร์-
เคมี)ตัวอย่างหลักสูตรท่ีไม่ใช่พหุวิทยาการ เช่น คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การศึกษาเพื่อการพัฒนา (ท่ีมา :
คณะอนุกรรมการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งท่ี 7/2549
เมอื่ วนั ท่ี 18 ตลุ าคม 2549)

พิชญพิจารณ์ (Peer review) หมายถึง การตรวจเยี่ยมโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ และ
ประสบการณ์ ซึ่งสามารถให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเชิงพัฒนาแก่สถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนา
กระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพและสอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานท่ีกาหนดโดยมี
วัตถปุ ระสงค์ เพอ่ื ให้ขอ้ เสนอแนะในเชงิ พฒั นาแกส่ ถาบันอุดมศกึ ษา

ระบบและกลไก
ระบบ หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกาหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทาอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผล

ออกมาตามท่ีต้องการ ขัน้ ตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฏให้ทราบโดยท่ัวกันไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสาร
หรอื สอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ สห์ รือโดยวธิ ีการอน่ื ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนาเข้า กระบวนการ
ผลผลติ และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพนั ธเ์ ชื่อมโยงกัน

กลไก หมายถงึ สงิ่ ทที่ าให้ระบบมีการขับเคลอ่ื นหรือดาเนนิ อยไู่ ด้ โดยมกี ารจัดสรรทรัพยากร มกี ารจัด
องคก์ าร หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลเปน็ ผดู้ าเนินงาน

สาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หมายถึง สาขาวิชาตามคุณวุฒิหรือตาแหน่งทางวิชาการท่ีสัมพันธ์กับศาสตร์
ที่เปิดสอนมิใช่สัมพันธ์กับรายวิชาท่ีเปิดสอนในหลักสูตร เช่น เป็นศาสตร์ในกลุ่มสาขาวิชา (Field of
Education) เดียวกันตาม ISCED 2013 (คณะกรรมการการอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่ 12/2554 เม่ือ
17 พฤศจกิ ายน 2554หนังสอื เวียนท่ี ศธ 0506(2)/ว506 ลงวนั ท่ี 22 ธันวาคม 2554)

14 คู่มอื การประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาภายใน ระดบั ปรญิ ญาตรสี ายเทคโนโลยหี รอื สายปฏบิ ตั ิการ พ.ศ.2563

หน่วยงานหรือองค์การระดับชาติ หมายถงึ หนว่ ยงานภายนอกสถาบันระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป (เช่น
ระดบั จังหวัด) หรือรัฐวสิ าหกิจ หรอื องคก์ ารมหาชน หรือบรษิ ทั มหาชนท่ีจดทะเบยี นในตลาดหลักทรัพย์ หรือ
องคก์ ารกลางระดับชาตทิ ้งั ภาครัฐและเอกชน (เช่น สภาอตุ สาหกรรม สภาหอการค้า สภาวิชาชพี )

หลักธรรมาภิบาล หมายถึง การปกครอง การบรหิ าร การจดั การ การควบคุม ดูแลกิจการต่าง ๆ ให้เป็นไป
ในครรลองธรรม นอกจากน้ี ยังหมายถึงการบริหารจัดการท่ีดี ซ่ึงสามารถนาไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน
ธรรมทใ่ี ช้ในการบรหิ ารงานนี้มีความหมายอย่างกว้างขวาง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทาง
ศาสนาเทา่ น้นั แต่รวมถงึ ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและความถกู ต้อง ชอบธรรมท้งั ปวงซง่ึ วิญญชู นพงึ มแี ละ
พึงประพฤตปิ ฏบิ ัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์การภายนอกเป็นต้น

หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) ท่ีเหมาะสมจะนามาปรับ
ใช้ในภาครัฐมี 10 องค์ประกอบ ดังน้ี

1) หลกั ประสทิ ธิผล (Effectiveness) คอื ผลการปฏิบตั ิราชการท่บี รรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ของแผนการปฏิบตั ิราชการตามทไ่ี ด้รับงบประมาณมาดาเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการ
หรือหน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับช้ันนาของประเทศ เพื่อให้เกิด
ประโยชน์สุขต่อประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน
มกี ระบวนการปฏิบตั งิ านและระบบงานทเ่ี ป็นมาตรฐาน รวมถงึ มกี ารตดิ ตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุง
อยา่ งตอ่ เน่ืองและเป็นระบบ

2) หลกั ประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกากับดูแลท่ีดีท่ีมีการ
ออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเคร่ืองมือการบริหารจัดการท่ีเหมาะสมให้องค์การ
สามารถใช้ทรัพยากรทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนา
ขีดความสามารถในการปฏบิ ัติราชการตามภารกิจเพ่ือตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้
สว่ นเสียทกุ กลมุ่

3) หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดาเนินการได้ภายใน
ระยะเวลาท่กี าหนด และสร้างความเชือ่ มนั่ ความไว้วางใจ รวมถงึ ตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการ
ของประชาชนผู้รบั บรกิ าร และผมู้ สี ว่ นได้ส่วนเสียท่ีมคี วามหลากหลายและมคี วามแตกตา่ ง

4) หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ และ
ผลงานต่อเป้าหมายที่กาหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับท่ีสนองต่อความคาดหวังของ
สาธารณะรวมทงั้ การแสดงถงึ ความสานกึ ในการรบั ผิดชอบตอ่ ปญั หาสาธารณะ

5) หลกั ความโปรง่ ใส (Transparency) คอื กระบวนการเปดิ เผยอย่างตรงไปตรงมา ช้ีแจงได้เม่ือมี
ข้อสงสัยและสามารถเข้าถงึ ขอ้ มลู ขา่ วสารอนั ไมต่ อ้ งห้ามตามกฎหมายไดอ้ ยา่ งเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุก
ขน้ั ตอนในการดาเนินกจิ กรรมหรอื กระบวนการตา่ งๆ และสามารถตรวจสอบได้

คู่มอื การประกันคณุ ภาพการศกึ ษาภายใน ระดบั ปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยีหรอื สายปฏิบตั กิ าร พ.ศ.2563 15

6) หลกั การมสี ่วนรว่ ม (Participation) คือ กระบวนการท่ีข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วน
เสียทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทาความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา หรือ
ประเด็นท่ีสาคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วม
กระบวนการพัฒนาในฐานะหนุ้ สว่ นการพัฒนา

7) หลักการกระจายอานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอานาจการตัดสินใจ ทรัพยากร
และภารกิจจากสว่ นราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอ่ืนๆ (ราชการบริหารส่วนท้องถ่ิน) และภาค
ประชาชนดาเนนิ การแทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถงึ การมอบอานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ
และการดาเนินการให้แก่บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและ
ผู้มีส่วนไดส้ ว่ นเสีย การปรบั ปรุงกระบวนการ และเพิ่มผลติ ภาพเพอื่ ผลการดาเนินงานทีด่ ขี องสว่ นราชการ

8) หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อานาจของกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับในการ
บรหิ ารราชการด้วยความเปน็ ธรรม ไม่เลือกปฏบิ ตั ิ และคานงึ ถงึ สิทธิเสรีภาพของผ้มู สี ่วนได้สว่ นเสีย

9) หลักความเสมอภาค (Equity) คอื การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดย
ไมก่ ารแบง่ แยกด้านชายหรือหญิง ถิ่นกาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ ฐานะทางเศรษฐกิจและ
สงั คม สภาพทางกายหรอื สุขภาพ สถานะของบคุ คล ความเช่อื ทางศาสนา การศึกษา การฝกึ อบรม และอื่นๆ

10) หลกั มุ่งเนน้ ฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่มผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียท่ีเกี่ยวข้อง ซ่ึงเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพ่ือหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับ
ประโยชน์และเสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซ่ึงต้องไม่มีข้อคัดค้านท่ียุติไม่ได้ใน
ประเดน็ ทีส่ าคญั โดยฉนั ทามติไม่จาเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้องโดยเอกฉันท์อาจารย์ หมายถึง
คณาจารย์ ซง่ึ จะมตี าแหน่งทางวชิ าการทป่ี ระกอบด้วย อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และ
ศาสตราจารย์

อาจารย์ประจา หมายถึง บุคคลที่ดารงตาแหน่ง อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และ
ศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรน้ัน ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามพันธกิจของการ
อดุ มศกึ ษาและปฏิบัติหน้าทเี่ ตม็ เวลา

อาจารย์ประจาหลักสูตร หมายถึง อาจารย์ประจาที่มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตร
ที่เปิดสอน ซ่ึงมีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาดังกล่าว ท้ังนี้สามารถเป็นอาจารย์ประจาหลักสูตร
หลายหลักสตู รไดใ้ นเวลาเดียวกัน แต่ต้องเป็นหลักสูตรท่ีอาจารย์ผู้น้ันมีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
ของหลกั สตู ร

อาจารย์ผรู้ ับผดิ ชอบหลักสูตร หมายถึง อาจารย์ประจาหลักสูตรท่ีมีภาระหน้าท่ีในการบริหารและพัฒนา
หลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผล และการ
พัฒนาหลกั สตู ร อาจารย์ผูร้ ับผดิ ชอบหลกั สตู รต้องอยปู่ ระจาหลักสูตรนั้นตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาโดย

16 คู่มือการประกันคณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดับปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยหี รอื สายปฏบิ ตั ิการ พ.ศ.2563

จะเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเกินกว่า 1 หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้ ยกเว้น พหุวิทยาการหรือ
สหวิทยาการใหเ้ ป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้อีกหน่ึงหลักสูตร และเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
สามารถซา้ ได้เกนิ 2 คน
อาจารย์พิเศษ หมายถึง ผ้สู อนทีไ่ ม่ใช่อาจารย์ประจา
ประสบการณ์ดา้ นปฏิบตั กิ าร หมายถงึ การทางานร่วมกับสถานประกอบการโดยมีหลักฐานรับรองผลการ
ปฏิบัติงานที่เกิดประโยชน์กับสถานประกอบการ หรือมีผลงานทางวิชาการประเภทการพัฒนาเทคโนโลยี
หรอื ผลงานสร้างสรรค์ด้านวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยที ่ีเกีย่ วข้องกบั ภาคอุตสาหกรรมเผยแพรม่ าแล้ว

ประสบการณด์ ้านการทาวจิ ยั หมายถึง มีประสบการณ์ด้านการทาวจิ ัยเป็นผลสาเร็จมาแล้วโดยมีหลักฐาน
เป็นผลงานที่นาเสนอในที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) ที่มีกรรมการภายนอก
มาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) หรือตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอก
มารว่ มกล่ันกรอง (Peer Review) หรอื เป็นผลงานที่เปน็ รปู เลม่ ซึง่ นาเสนอแหลง่ ทนุ วิจยั หรือ นาเสนอผู้ว่าจ้าง
ในการทาวิจัยนั้น ๆ และเป็นผลงานท่ีแหล่งทุนวิจัยหรือผู้ว่าจ้างวิจัยได้ตรวจรับงานเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็น
ผลงานวิจัยท่ีไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพ่ือรับปริญญาของอาจารย์ประจาหลักสูตร โดยให้รายงาน
ผลงานวิจัยของอาจารย์ประจาหลกั สูตรทุกคนไวใ้ นเอกสารหลกั สูตร ทง้ั น้ี การรายงานผลงานวิจัยท่ีตีพิมพ์ให้
รายงานในลักษณะของการเขียนบรรณานุกรม หรือการเขียนเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ กล่าวคือ ระบุชื่อ
เจ้าของผลงาน ช่อื ผลงาน ปที ่ีพมิ พแ์ ละแหล่งตพี มิ พ์เผยแพร่ผลงาน
สถาบันการอาชวี ศึกษา หมายถงึ สถาบนั การอาชวี ศกึ ษาและสถาบันการอาชวี ศกึ ษาเกษตร สังกัด
สานกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา

คู่มอื การประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรอื สายปฏบิ ัติการ พ.ศ.2563 17

18 คู่มอื การประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดบั ปรญิ ญาตรสี ายเทคโนโลยหี รอื สายปฏบิ ัตกิ าร พ.ศ.2563

บทที่ 4
ระบบการประกนั คุณภาพการศึกษาภายใน ระดบั หลักสตู ร

1. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลกั สตู ร

ในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะพึงประสงค์และเป็นบัณฑิตท่ีมีคุณภาพนั้น การดาเนินงานและการ
บริหารงานระดับหลักสูตรถือว่าสาคัญที่สุด ดังนั้นการมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับ
หลักสูตรควรมีหลักการดงั ต่อไปน้ี

1) การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร เป็นการประกันคุณภาพการจัดการศึกษา
ว่าหลักสูตรได้ดาเนินการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานอื่น ๆ
ท่ีเกี่ยวข้องโดยให้พิจารณาองค์ประกอบท่ีสาคัญ ได้แก่ การกากับมาตรฐาน บัณฑิต นักศึกษา อาจารย์
หลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน และส่ิงสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถผลิตบัณฑิตให้มี
คุณภาพ

2) ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ให้เชื่อมโยงกับตัวบ่งช้ีการดาเนินการตาม
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่หลักสูตรท่ีมี
คุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กาหนดแนวทางการเผยแพร่หลักสูตรไว้ในประกาศ
คณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2552

3) ตัวบ่งช้ีการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร เป็นข้อมูลพื้นฐานในส่วนท่ีเกี่ยวข้อง
กับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี
สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ.2562 ตัวบ่งช้ีเชิงปริมาณในส่วนที่เก่ียวข้องกับผลลัพธ์ผู้เรียนได้แก่
มาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานภาษาอังกฤษ มาตรฐานด้านดิจิทัล คุณวุฒิ ตาแหน่งทางวิชาการ และผลงาน
ทางวิชาการของอาจารย์ สาหรับตัวบ่งช้ีเชิงคุณภาพที่เน้นกระบวนการ จะประเมินในลักษณะของ
พิชญพจิ ารณ์ (Peer review) ซ่ึงจะมีรายละเอยี ดของคาถามท่ีจะเป็นแนวทางให้แก่ผู้ประเมินเพื่อให้สามารถ
นาไปพิจารณาตามบริบทของสถาบันได้ และได้กาหนดแนวทางในการให้คะแนนในแต่ละระดับสาหรับ
ผปู้ ระเมินและผ้รู ับการประเมินได้ใช้ในการพิจารณา

4) สถาบันการอาชีวศึกษาสามารถจัดทาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร
โดยมีการดาเนินงานได้ตามมาตรฐานเทียบเคียงกับมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการ
อดุ มศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจยั และนวตั กรรมได้ ทั้งนี้ทกุ ระบบต้องไดร้ บั การเห็นชอบจากสภาสถาบันและเสนอ
คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในพิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้มีการจัดส่งผลการประเมินพร้อม
ขอ้ มูลพืน้ ฐานใหก้ ับต้นสงั กดั เพือ่ เผยแพรต่ ่อสาธารณชน ตัวอย่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับ

คู่มือการประกันคณุ ภาพการศกึ ษาภายใน ระดับปริญญาตรสี ายเทคโนโลยีหรอื สายปฏบิ ัติการ พ.ศ.2563 19

หลกั สตู รท่ีเทยี บเคยี งได้ เช่น ผลการประเมนิ หลักสตู รของ AUN QA ผลการประเมนิ หลักสูตรวิชาชีพที่ได้รับ
การรับรองจากองค์การวิชาชีพระดับนานาชาติ เช่น AACSB (สาหรับหลักสูตรทางด้าน บริหารธุรกิจ) ABET
(สาหรับหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์) และหลักสูตรท่ีได้รับการตรวจประเมินเป็นประจาและผ่านการ
รับรองโดยสภาวิชาชพี

2. กรอบการประกนั คุณภาพการศึกษาภายใน ระดบั หลกั สตู ร

องคป์ ระกอบในการ

ประกันคณุ ภาพ ตวั บง่ ชี้ ประเด็นการพิจารณา

หลกั สตู ร

1. การกากบั 1.1 การบริหารจดั การหลักสตู รตาม 1.1.1 จานวนอาจารยผ์ ้รู ับผดิ ชอบหลักสูตร

มาตรฐาน ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ืองเกณฑ์ 1.1.2 คณุ สมบัตอิ าจารย์ผรู้ ับผดิ ชอบหลักสตู ร

มาตรฐานหลักสูตร ระดับปรญิ ญาตรี พ.ศ. 1.1.3 คุณสมบตั ิอาจารย์ประจาหลกั สตู ร

2558 1.1.4 คุณสมบตั อิ าจารยผ์ สู้ อน

1.1.5 การปรับปรุงหลกั สตู รตามรอบระยะเวลาทีก่ าหนด

2. บัณฑติ 2.1 คุณภาพบัณฑติ ตามกรอบมาตรฐาน 2.1.1 ประเมนิ โดยผู้ใช้บัณฑติ ตามมาตรฐานคณุ วุฒิ

คุณวฒุ ริ ะดับอดุ มศึกษาแหง่ ชาติ ระดบั อดุ มศึกษาแหง่ ชาติ (TQF)

2.2 รอ้ ยละของนักศกึ ษาท่สี อบมาตรฐาน 2.2.1 สอบผ่านมาตรฐานวชิ าชีพตามเกณฑ์ท่กี าหนด

วชิ าชพี ผ่านในครงั้ แรก

2.3 ร้อยละของนกั ศกึ ษาท่สี อบผา่ น 2.3.1 สอบผ่านการวดั สมทิ ธิภาพทางภาษาอังกฤษ ระดบั

สมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษ ระดบั B2 B2 หรือเทียบเทา่

หรือเทยี บเท่า

2.4 ร้อยละของนักศกึ ษาทส่ี อบผ่าน 2.4.1 สอบผา่ นการวัดมาตรฐานด้านเทคโนโลยดี ิจทิ ัล

มาตรฐานด้านเทคโนโลยีดจิ ิทลั

2.5 รอ้ ยละของบัณฑติ ปรญิ ญาตรที ีไ่ ด้งาน 2.5.1 เกบ็ ข้อมลู จากบณั ฑติ ไมน่ อ้ ยกวา่ ร้อยละ 70 ของ

ทาหรอื ประกอบอาชพี อสิ ระภายใน 1 ปี บณั ฑิตท่ีสาเร็จการศึกษา ท่ีได้งานทา ประกอบ

อาชีพส่วนตวั และผู้ท่ีเปลยี่ นงานใหม่หรือได้รบั

การเลอ่ื นตาแหน่ง ภายใน 1 ปี

20 คู่มอื การประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดับปรญิ ญาตรสี ายเทคโนโลยหี รอื สายปฏิบัตกิ าร พ.ศ.2563

องค์ประกอบในการ ตัวบ่งช้ี ประเดน็ การพจิ ารณา
ประกันคณุ ภาพ 3.1 การรับนักศึกษา
หลกั สูตร 3.2 การส่งเสรมิ และพฒั นานักศกึ ษา 3.1.1 การรบั นกั ศกึ ษา สดั ส่วนการรบั และกระบวนการรบั
3.1.2 การเตรียมความพร้อมกอ่ นเข้าศกึ ษา
3. นกั ศกึ ษา 3.3 ผลทเี่ กดิ กับนกั ศึกษา 3.2.1 การควบคมุ การดแู ลการใหค้ าปรกึ ษาวชิ าการ และ

4. อาจารย์ 4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ แนะแนวแก่นกั ศึกษาปรญิ ญาตรี
3.2.2 การพฒั นาศักยภาพนักศึกษาและการเสรมิ สรา้ ง
5. หลกั สตู ร 4.2 คุณภาพอาจารย์
การเรยี นการสอน 4.2.1 รอ้ ยละของอาจารย์ ทักษะการเรยี นรูใ้ นศตวรรษท่ี 21
การประเมินผเู้ รยี น 3.2.3 การควบคมุ ดูแลในการจดั ทาโครงงานพัฒนา
ผ้รู บั ผดิ ชอบหลกั สตู รท่มี ีประสบการณ์
ดา้ นปฏิบตั ิการในสถานประกอบการ สมรรถนะวชิ าชีพ (สัดส่วนในการควบคุมอาจารยต์ ่อ
นักศึกษาไมค่ วร เกนิ 1 : 15)
4.2.2 ร้อยละผลงานทางวชิ าการของ 3.3.1 การคงอยู่ (ยกเว้นเสยี ชวี ติ และย้ายท่ที างาน)
อาจารยผ์ ู้รับผิดชอบหลักสูตร 3.3.2 การสาเร็จการศึกษา *ใชข้ ้อมลู 3 รนุ่ ตอ่ เนอื่ ง
4.3 ผลทีเ่ กดิ กับอาจารย์ 3.3.3 ความพึงพอใจ และผลการจัดการข้อร้องเรียนของ
5.1 สาระของรายวชิ าในหลกั สตู ร นักศึกษา
4.1.1 ระบบการรบั และแตงตง้ั อาจารยผ ูรับผดิ ชอบหลกั สตู ร
4.1.2 ระบบการบริหารอาจารย์
4.1.3 ระบบการส่งเสรมิ และพัฒนาอาจารย์

4.2.1.1 ประสบการณด์ ้านปฏบิ ตั กิ ารในสถานประกอบการ
ของอาจารย์ผรู้ ับผิดชอบหลักสตู ร

4.2.2.1 ผลงานทางวิชาการของอาจารยผ์ รู้ ับผดิ ชอบ
หลกั สตู ร

4.3.1 การคงอยขู่ องอาจารย์
4.3.2 ความพงึ พอใจและความไมพ่ ึงพอใจของอาจารย์
5.1.1 การออกแบบหลกั สูตรและสาระรายวชิ าในหลักสตู ร
5.1.2 การปรบั ปรงุ หลกั สูตรให้ทนั สมัยตามความกา้ วหน้า

ในศาสตรส์ าขานนั้ ๆ

คู่มอื การประกันคณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยหี รือสายปฏบิ ัติการ พ.ศ.2563 21

องค์ประกอบในการ

ประกันคุณภาพ ตวั บ่งชี้ ประเด็นการพจิ ารณา

หลักสูตร

5.2 การวางระบบผสู้ อน และกระบวนการ 5.2.1 การกาหนดผู้สอน

จดั การเรยี นการสอน 5.2.2 การกากบั ติดตาม และตรวจสอบการจดั ทาแผนการ

เรียนรู้ แผนการฝกึ และการจดั การเรยี นการสอนท้งั

ในสถานศกึ ษา และสถานประกอบการ

5.2.3 การจัดการเรยี นการสอนในระดับปรญิ ญาตรที ส่ี าย

เทคโนโลยหี รือสายปฏิบตั กิ ารต้องดาเนนิ การ 5

ประเด็น

5.2.4 การควบคมุ หวั ขอ้ โครงงานพัฒนาสมรรถนะวชิ าชพี

และการแต่งตงั้ อาจารยท์ ี่ปรกึ ษาให้สอดคล้องกบั

โครงงานของผเู้ รยี น

5.3 การประเมินผู้เรียน 5.3.1 การประเมินผลการเรยี นรตู้ ามกรอบมาตรฐานคณุ วฒุ ิ

ระดับอุดมศกึ ษาแหง่ ชาติและทักษะปฏบิ ตั ิงาน การ

ประเมินมาตรฐานวชิ าชพี และการประเมินสมทิ ธิภาพ

ทางภาษาองั กฤษ

5.3.2 การตรวจสอบการประเมนิ ผลการเรยี นรูข้ องนกั ศึกษา

5.3.3 การกากบั การประเมินการจัดการเรียนการสอนและ

ประเมินหลักสูตร

5.4 ผลการดาเนนิ งานหลักสูตรตามกรอบ 5.4.1 ผลการดาเนินงานตามตวั บง่ ช้ีการดาเนินงานตาม

มาตรฐานคุณวฒุ ริ ะดับอดุ มศกึ ษาแห่งชาติ กรอบมาตรฐานคณุ วุฒิระดบั อดุ มศกึ ษาทป่ี รากฏใน

เอกสาร หลักสตู รฉบับที่จดั การเรียนการสอนใน

ขณะนน้ั (คอศ.1) หมวดท่ี 7

6. สง่ิ สนับสนนุ การ 6.1 ส่ิงสนบั สนุนการเรียนรู้ 6.1.1 ระบบการดาเนินงานของหลักสตู รกับสถาน

เรียนรู้ ประกอบการโดย มสี ว่ นรว่ มของอาจารยผ์ รู้ ับผดิ ชอบ

หลกั สูตรเพ่อื ให้มีสิ่ง สนับสนนุ การเรยี นรู้

6.1.2 จานวนส่ิงสนบั สนุนการเรียนรู้ทเี่ พียงพอและ

เหมาะสมต่อการจดั การเรยี นการสอน

6.1.3 สถานประกอบการ

6.1.4 กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมิน

ความพึงพอใจของนักศกึ ษาและอาจารยต์ ่อ

ส่ิงสนบั สนนุ การเรียนรู้

รวม 17 ตัวบง่ ชี้

22 คู่มอื การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับปริญญาตรสี ายเทคโนโลยหี รือสายปฏบิ ตั กิ าร พ.ศ.2563

องคป์ ระกอบท่ี 1
การกากบั มาตรฐาน

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดบั ปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยีหรอื สายปฏบิ ตั ิการ พ.ศ.2563 23

2.1 องค์ประกอบท่ี 1 การกากับมาตรฐาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษามีหน้าที่หลักสาคัญประการหนึ่งคือการพิจารณาเสนอนโยบาย

แผนพฒั นาและมาตรฐานการอุดมศึกษาทส่ี อดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการ
ศึกษาแห่งชาติ โดยคานึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
โดยได้จัดทามาตรฐานการอุดมศกึ ษาและเกณฑม์ าตรฐานต่างๆ ท่ีเกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษา
ได้พัฒนาด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมท้ังการพัฒนาคุณภาพและยกระดับมาตรฐานในการจัดการศึกษา
ระดับอุดมศึกษาให้มีความทัดเทียมกันและได้ประกาศใช้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับต่างๆ มาอย่าง
ต่อเน่ือง ซ่ึงปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ือง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับต่างๆ พ.ศ.2558
เพ่ือประโยชน์ในการรักษามาตรฐานวิชาการและวิชาชีพเป็นส่วนหน่ึงของเกณฑ์การรับรองวิทยฐานะและ
มาตรฐานการศึกษา โดยสถาบันการศึกษาท่ีจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาท่ีจะเปิดดาเนินการ
หลักสูตรใหม่หรือหลักสูตรปรับปรุงต้องใช้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ฉบับปัจจุบันเป็นหลักในการพัฒนา
หลักสูตรและดาเนินการใหเ้ ป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสตู รดังกล่าว

ในการควบคุมกากบั มาตรฐานจะพิจารณาจากการบริหารจัดการหลกั สตู รทุกหลักสูตรใหเ้ ปน็ ไปตาม
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี ฉบับที่ประกาศใช้ในขณะน้ัน
รวมท้ังกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ตลอดระยะเวลาที่มีการจัดการเรียนการ
สอนในหลักสูตรดังกล่าว โดยหลักสูตรท่ีเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรท่ีได้ประกาศใช้ในขณะน้ัน
ในระดับปรญิ ญาตรจี ะพิจารณาตามเกณฑ์ 5 ข้อ โดยมีรายละเอยี ด ดงั นี้

ตัวบง่ ชี้ท่ี 1.1 การบริหารจดั การหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐาน
หลกั สูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558

- จานวนอาจารยผ์ ู้รับผิดชอบหลกั สตู ร
- คณุ สมบัตอิ าจารย์ผู้รับผดิ ชอบหลักสูตร
- คุณสมบัติอาจารย์ประจาหลกั สูตร
- คุณสมบตั ิอาจารยผ์ ู้สอน
- การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาท่ีกาหนด

24 คู่มือการประกันคณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดับปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยหี รอื สายปฏิบัติการ พ.ศ.2563

ตวั บง่ ช้ที ่ี 1.1 การบรหิ ารจัดการหลักสตู รตามประกาศกระทรวงศกึ ษาธิการ เร่อื งเกณฑ์มาตรฐาน
หลักสูตรระดับปรญิ ญาตรี พ.ศ.2558

เกณฑก์ ารประเมนิ คุณลักษณะ
1. จานวนอาจารยผ์ ูร้ บั ผดิ ชอบ - ไมน่ อ้ ยกว่า 5 คน
หลกั สตู ร - เป็นอาจารยผ์ ้รู ับผดิ ชอบหลกั สตู รเพยี ง 1 หลักสตู รเท่าน้ัน
2. คุณสมบตั ิอาจารยผ์ ู้รับผิดชอบ - ประจาหลกั สูตรตลอดระยะเวลาที่จดั การศึกษาตามหลักสูตรน้ัน
หลกั สตู ร - คุณวฒุ ิปริญญาโทหรอื เทยี บเท่า หรือดารงตาแหนง่ ทางวชิ าการไม่นอ้ ย
กวา่ ตาแหนง่ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพนั ธ์กบั สาขาวิชาที่
3. คุณสมบตั ิอาจารย์ประจา เปิดสอน
หลกั สูตร - มผี ลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง
- อาจารย์ผูร้ บั ผดิ ชอบหลกั สูตร จานวน 2 ใน 5 คน ตอ้ งมีประสบการณ์ใน
4. คณุ สมบัติอาจารยผ์ สู้ อน ด้านปฏบิ ตั ิการ
- คุณวฒุ ปิ รญิ ญาโทหรือเทียบเทา่ หรือดารงตาแหนง่ ทางวิชาการไมน่ อ้ ย
5. การปรับปรงุ หลักสูตรตามรอบ กว่าตาแหนง่ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ในสาขาทต่ี รงหรือสมั พนั ธ์กับสาขาวชิ าท่ี
ระยะเวลาท่ีกาหนด เปิดสอน
- มผี ลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปยี ้อนหลงั
- ไมจ่ ากัดจานวนและประจาได้มากกวา่ 1 หลกั สตู ร
- อาจารย์ประจา จะต้องมคี ณุ วุฒิระดบั ปรญิ ญาโทหรือเทยี บเท่า หรือดารง
ตาแหน่งทางวชิ าการไม่น้อยกว่าตาแหนง่ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารยใ์ นสาขาวชิ า
นน้ั หรอื สาขาวิชาท่สี ัมพนั ธก์ ัน หรอื สาขาวชิ าของรายวชิ าทส่ี อน
- อาจารยพ์ เิ ศษ
มคี ุณวฒุ ริ ะดบั ปริญญาโทหรอื เทยี บเท่า หรอื คุณวุฒิปริญญาตรีหรอื
เทียบเทา่ และมีประสบการณ์ในการทางานท่ีเกี่ยวข้องกับวชิ าชพี ทเ่ี ปดิ สอน
ไมน่ อ้ ยกวา่ 6 ปี และมชี ่ัวโมงสอนไมเ่ กินรอ้ ยละ 50 ของรายวิชา โดยมี
อาจารยป์ ระจาเปน็ ผรู้ ับผดิ ชอบรายวิชาน้นั
- ตามรอบระยะเวลาของหลกั สูตรหรืออยา่ งน้อยทุก ๆ 5 ปี

เกณฑก์ ารประเมิน
ผลการประเมินตวั บ่งช้ี 1.1 กาหนดไวเ้ ปน็ “ผา่ น” และ “ไมผ่ า่ น” หากไมผ่ า่ นเกณฑ์ข้อใดข้อหน่งึ

ถือวา่ หลกั สตู รไมไ่ ด้มาตรฐานและผลเป็น “ไม่ผ่าน” (คะแนนเปน็ ศูนย)์

คู่มือการประกันคณุ ภาพการศกึ ษาภายใน ระดบั ปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏบิ ัติการ พ.ศ.2563 25

26 คู่มอื การประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดบั ปรญิ ญาตรสี ายเทคโนโลยหี รอื สายปฏบิ ัตกิ าร พ.ศ.2563

องค์ประกอบที่ 2
บัณฑติ

คู่มอื การประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดบั ปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยหี รือสายปฏบิ ัตกิ าร พ.ศ.2563 27

2.2 องค์ประกอบที่ 2 บัณฑติ
พันธกิจที่สาคัญที่สุดของสถาบันอุดมศึกษา คือ การผลิตบัณฑิต หรือการจัดกิจกรรมการเรียน

การสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาการและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กาหนด บัณฑิตระดับ
อดุ มศกึ ษาจะต้องเปน็ ผ้มู ีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองสามารถ
ประยุกต์ใช้ความรู้เพ่ือการดารงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขท้ังทางร่างกายและจิตใจ มีความสานึก และ
ความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองและพลโลก มีคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ของสถาบันการอาชีวศึกษา
สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในฐานะท่ีเป็นหน่วยงานในการกากับและส่งเสริมการดาเนินงานของ
สถาบันการอาชีวศกึ ษาไดจ้ ัดทามาตรฐานตา่ ง ๆ ท่ีเกยี่ วขอ้ งกบั การผลิตบณั ฑติ เช่น กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.2562 เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
พ.ศ.2562 เพื่อมุ่งเน้นเป้าหมาย การจัดการศึกษาท่ีผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา ซึ่งเป็นการประกัน
คุณภาพบัณฑิตที่ได้รับคุณวุฒิแต่ละคุณวุฒิ และสื่อสารให้สังคม ชุมชน รวมท้ังสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและ
ต่างประเทศเข้าใจได้ตรงกันและเช่ือมั่นถึงผลลัพธ์การเรียนรู ที่บัณฑิตได้รับการพัฒนาว่า มีคุณภาพและ
มาตรฐาน คุณภาพของบัณฑิตในแต่ละหลักสูตรจะสะท้อนไปที่คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติโดยพิจารณาจากผลลัพธ์การเรียนรู้
การมีงานทา มาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานภาษาอังกฤษ และมาตรฐานเทคโนโลยีดิจิทัล ซ่ึงคุณภาพของ
บัณฑติ พิจารณาไดจ้ ากตัวบง่ ชดี้ งั ตอ่ ไปน้ี

ตวั บ่งชีท้ ี่ 2.1 คณุ ภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒริ ะดับอดุ มศกึ ษาแห่งชาติ
ตัวบง่ ชที้ ี่ 2.2 รอ้ ยละของนักศึกษาท่สี อบมาตรฐานวชิ าชีพผ่านในคร้ังแรก
ตวั บง่ ชที้ ี่ 2.3 รอ้ ยละของนักศึกษาที่สอบผ่านสมิทธภิ าพทางภาษาองั กฤษ ระดับ B2หรือเทียบเทา่
ตัวบง่ ชที้ ี่ 2.4 ร้อยละของนกั ศึกษาทีส่ อบผา่ นมาตรฐานดา้ นเทคโนโลยดี จิ ิทัล
ตัวบ่งชท้ี ี่ 2.5 ร้อยละของบณั ฑิตปริญญาตรีทไี่ ด้งานทาหรอื ประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

28 คู่มอื การประกันคณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดบั ปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยหี รอื สายปฏิบตั กิ าร พ.ศ.2563

ตัวบ่งชท้ี ี่ 2.1 คณุ ภาพบณั ฑิตตามกรอบมาตรฐานคณุ วุฒริ ะดบั อดุ มศึกษาแห่งชาติ

ชนดิ ของตัวบ่งช้ี ผลลพั ธ์

คาอธิบายตัวบ่งช้ี
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher

Education : TQF) ได้มีการกาหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกาหนดไว้ในรูปเล่ม
รายละเอียดของหลักสูตร (คอศ.1) ซ่ึงครอบคลุมผลการเรียนรู้อย่างน้อย 5 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรม
จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความ
รับผิดชอบ และ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การส่ือสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ
ด้านที่ 6) ดา้ นทักษะการปฏบิ ัติงาน ซึ่งเป็นทักษะที่ได้เพิม่ ขนึ้ เนื่องจากเป็นหลักสูตรปฏิบัติการสาหรับตัวบ่งช้ี
น้จี ะเป็นการประเมินคณุ ภาพบณั ฑติ ในมุมมองของผ้ใู ชบ้ ัณฑิต

เกณฑ์การประเมนิ
ใช้คา่ เฉลยี่ ของคะแนนประเมินบัณฑติ (คะแนนเต็ม 5)

สูตรการคานวณ

คะแนนทไี่ ด้ = ผลรวมของค่าคะแนนที่ไดจ้ ากการประเมนิ บัณฑิต
จานวนบัณฑติ ท่ีได้รบั การประเมินทง้ั หมด

ข้อมูลประกอบ
จานวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของจานวนบัณฑิต

ทส่ี าเร็จการศึกษา

คู่มือการประกันคุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดับปรญิ ญาตรสี ายเทคโนโลยีหรอื สายปฏบิ ตั กิ าร พ.ศ.2563 29

ตวั บ่งช้ีที่ 2.2 รอ้ ยละของนักศึกษาทส่ี อบมาตรฐานวชิ าชีพผา่ นในครั้งแรก

ชนิดของตัวบ่งช้ี ผลลพั ธ์

คาอธิบายตัวบ่งชี้
การวัดคุณภาพของผทู้ จ่ี ะสาเร็จการศึกษาในด้านวิชาชีพจากหลักสูตรระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยี

หรือสายปฏิบัติการ นักศึกษาต้องเข้ารับการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติ
ท่ีผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพน้ัน ๆ มีระดับความสามารถในการประกอบอาชีพทั้งด้าน
ความรู้ ทักษะ และเจตคติในวิชาชีพน้ัน ๆ ประกอบด้วยการสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในภาค
การศึกษาสุดท้ายก่อนสาเร็จการศึกษา ซ่ึงนักศึกษาจะต้องสอบทั้งสองภาครวมกันได้ไม่ต่ากว่าประกาศ
ทีก่ าหนดใช้ในขณะนั้นจึงจะถอื ว่าสอบผา่ นมาตรฐานวิชาชีพน้ัน ๆ

เกณฑก์ ารประเมิน
โดยการแปลงค่าร้อยละของนักศึกษาที่สอบมาตรฐานวิชาชีพผ่านครั้งแรก เป็นคะแนนระหว่าง 0-5

กาหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100

สตู รการคานวณ
1. คานวณค่ารอ้ ยละของนักศึกษาทสี่ อบมาตรฐานวชิ าชพี ผา่ นคร้ังแรก

= จานวนนกั ศึกษาที่สอบมาตรฐานวิชาชีพผ่านครง้ั แรก
จานวนนักศกึ ษาทั้งหมด

2. แปลงคา่ ร้อยละทีค่ านวณได้ในขอ้ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5
= ค่าร้อยละของนกั ศึกษาทีส่ อบมาตรฐานวชิ าชีพผา่ นคร้ังแรก

30 คู่มอื การประกนั คุณภาพการศึกษาภายใน ระดบั ปริญญาตรสี ายเทคโนโลยีหรอื สายปฏิบตั ิการ พ.ศ.2563

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 รอ้ ยละของนักศึกษาทส่ี อบผ่านสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษ ระดบั B2 หรือเทียบเทา่

ชนดิ ของตัวบ่งช้ี ผลลัพธ์

คาอธิบายตวั บ่งช้ี
การสอบสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษ ได้กาหนดไว้ในประกาศของคณะกรรมการการอุดมศึกษา เร่ือง

นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา เม่ือวันท่ี 12 เมษายน 2559 ที่กาหนดให้
สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาจัดให้นักศึกษาทุกคน ทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ ตามแบบทดสอบมาตรฐาน
ระดับอุดมศึกษาที่สถาบันสร้างข้ึน หรือท่ีเห็นสมควรจะนามาใช้วัดสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษ (English
Proficiency) โดยสามารถเทียบเคียงผลกับ Common European Framework of Reference for
Languages (CEFR) หรือมาตรฐานอื่นท่ีเทียบเท่า เช่น EF SET คะแนนระหว่าง 51–60 IELTS คะแนน
ระหว่าง 5.5-6.0 TOEIC (R&L) Total คะแนนระหว่าง 785–940 Cambridge English Scale คะแนน
ระหว่าง 160–179 TOEFL iBT คะแนนระหว่าง 72-94 Global Scale of English (Pearson) คะแนน
ระหว่าง 59–75 เพ่ือให้ทราบระดับความสามารถของนักศึกษาแต่ละคน และให้สถาบันพิจารณานาผลการ
ทดสอบความรู้ทางภาษาอังกฤษบนั ทึกในใบรับรองผลการศึกษาหรือจัดทาเปน็ ประกาศนยี บตั ร

เกณฑก์ ารประเมนิ
โดยการแปลงค่าร้อยละของนักศึกษาท่ีสอบสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ ระดับ B2 หรือ

เทยี บเทา่ เปน็ คะแนนระหว่าง 0-5 กาหนดให้เปน็ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40

สูตรการคานวณ
1. คานวณค่าร้อยละของนกั ศกึ ษาท่สี อบสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษผา่ นเกณฑ์ ระดับ B2 หรือเทียบเท่า

= จานวนนักศึกษาท่ีสอบสมิทธภิ าพทางภาษาองั กฤษผา่ นเกณฑ์ ระดับ หรือเทยี บเท่า
จานวนนักศึกษาท้ังหมด

2. แปลงคา่ ร้อยละที่คานวณไดใ้ นข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5
= คา่ ร้อยละของนกั ศึกษาทสี่ อบสมิทธภิ าพทางภาษาองั กฤษผา่ นเกณฑ์ ระดบั หรอื เทียบเท่า

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏบิ ตั ิการ พ.ศ.2563 31

ตัวบง่ ชีท้ ่ี 2.4 ร้อยละของนักศึกษาทสี่ อบผา่ นมาตรฐานด้านเทคโนโลยดี ิจทิ ัล

ชนิดของตัวบ่งชี้ ผลลพั ธ์

คาอธบิ ายตวั บ่งชี้
การสอบมาตรฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ได้กาหนดไว้ในการพัฒนากาลังคนทางด้านอาชีวะท่ีจะต้องมี

ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซ่ึงเป็นทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ทักษะสารสนเทศ ส่ือและ
เทคโนโลยี (Information, media and technology skills) ประกอบด้วยการรู้สารสนเทศ (Information
literacy) การรสู้ ือ่ (Media literacy) และการรู้ ICT (ICT literacy) เป็นทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยี
ดิจิทัล หรือ Digital Literacy ซ่ึงเป็นทักษะในการนาเคร่ืองมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลท่ีมีอยู่
ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทางานร่วมกัน หรือพัฒนากระบวนการทางานหรือ
ระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทักษะดังกล่าวครอบคลุมความสามารถ 4 มิติการ
ใช้ (Use) เข้าใจ (Understand) การสร้าง (Create) เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ การวัดคุณภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจะวัดในภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนสาเร็จการศึกษา
ซง่ึ นกั ศึกษาจะต้องสอบได้ไม่ต่ากวา่ ร้อยละ 70 จึงจะถอื วา่ สอบผา่ นมาตรฐานดา้ นเทคโนโลยดี ิจทิ ลั นั้น ๆ

เกณฑก์ ารประเมนิ
โดยการแปลงค่าร้อยละของนักศึกษาท่ีสอบมาตรฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลผ่านเกณฑ์ เป็นคะแนน

ระหวา่ ง 0-5 กาหนดให้เปน็ คะแนนเตม็ 5 = ร้อยละ 100

สูตรการคานวณ
1. คานวณค่าร้อยละของนักศึกษาที่ผา่ นเกณฑ์มาตรฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

= จานวนนักศึกษาที่สอบผ่านเกณฑม์ าตรฐานดา้ นเทคโนโลยีดจิ ิทลั
จานวนนักศึกษาทงั้ หมด

2. แปลงค่าร้อยละทค่ี านวณได้ในข้อ 1 เทยี บกับคะแนนเต็ม 5
= ค่าร้อยละของนักศกึ ษาที่สอบผา่ นเกณฑ์มาตรฐานด้านเทคโนโลยีดจิ ิทลั

32 คู่มอื การประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดบั ปริญญาตรสี ายเทคโนโลยหี รอื สายปฏบิ ัตกิ าร พ.ศ.2563

ตัวบ่งชท้ี ่ี 2.5 ร้อยละของบัณฑติ ปรญิ ญาตรีที่ไดง้ านทาหรอื ประกอบอาชพี อสิ ระภายใน 1 ปี

ชนิดของตัวบ่งช้ี ผลลพั ธ์

คาอธบิ ายตวั บ่งชี้
บัณฑิตปริญญาตรีท่ีสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตรในสาขานั้น ๆ ท่ีได้งานทาหรือมีกิจการของตนเอง

ที่มีรายได้ประจาภายในระยะเวลา 1 ปีนับจากวันท่ีสาเร็จการศึกษาเมื่อเทียบกับบัณฑิตท่ีสาเร็จการศึกษา
ในปีการศึกษาน้ัน การนับการมีงานทานับกรณีการทางานสุจริตทุกประเภทที่สามารถสร้างรายได้เข้ามาเป็น
ประจาเพ่ือเล้ียงชีพตนเองได้ การคานวณร้อยละของผู้มีงานทาของผู้สาเร็จการศึกษาทั้งหมด ให้คานวณ
ทงั้ ผูท้ ไี่ ด้งานทาใหม่และผู้เปล่ียนตาแหน่งงานหลังสาเร็จการศกึ ษา

เกณฑก์ ารประเมนิ
โดยการแปลงค่าร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีท่ีได้งานทาหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี

เปน็ คะแนนระหว่าง 0-5 กาหนดใหเ้ ป็นคะแนนเตม็ 5 = รอ้ ยละ 100

สตู รการคานวณ
1. คานวณค่ารอ้ ยละของบัณฑิตปรญิ ญาตรีที่ได้งานทาหรือประกอบอาชีพอสิ ระภายใน 1 ปี

= จานวนบัณฑติ ปริญญาตรที ไี่ ด้งานทาหรอื ประกอบอาชพี อิสระภายใน 1 ปี
จานวนบณั ฑิตที่ตอบแบบสารวจท้ังหมด

การคานวณคา่ ร้อยละนีไ้ ม่นาบัณฑติ ที่ศกึ ษาต่อ เกณฑ์ทหาร อปุ สมบท และบัณฑิตท่ีมีงานทาแล้วแต่
ไมไ่ ด้เปลี่ยนงานมาพจิ ารณา

2. แปลงคา่ ร้อยละทค่ี านวณไดใ้ นข้อ 1 เทียบกบั คะแนนเต็ม 5

= คา่ ร้อยละของบณั ฑติ ปริญญาตรีท่ีได้งานทาหรือประกอบอาชพี อสิ ระภายใน 1 ปี

หมายเหตุ : หลักสูตรใหมท่ ี่ยังไมม่ บี ัณฑติ สาเรจ็ การศึกษาไม่ต้องประเมินองค์ประกอบน้ี
: จานวนบณั ฑติ ทตี่ อบแบบสารวจจะต้องไมน่ ้อยกว่ารอ้ ยละ 70 ของจานวนบัณฑติ ทส่ี าเรจ็
การศกึ ษา

คู่มือการประกนั คุณภาพการศึกษาภายใน ระดับปริญญาตรสี ายเทคโนโลยีหรอื สายปฏบิ ัติการ พ.ศ.2563 33

34 คู่มอื การประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดบั ปรญิ ญาตรสี ายเทคโนโลยหี รอื สายปฏบิ ัตกิ าร พ.ศ.2563

องคป์ ระกอบที่ 3
นักศกึ ษา

คู่มอื การประกนั คุณภาพการศึกษาภายใน ระดับปริญญาตรสี ายเทคโนโลยหี รือสายปฏบิ ัตกิ าร พ.ศ.2563 35

2.3 องค์ประกอบที่ 3 นกั ศึกษา
ความสาเร็จของการจัดการศึกษาข้ึนอยู่กับปัจจัยสาคัญปัจจัยหนึ่ง คือ นักศึกษา ระบบประกัน

คุณภาพการศึกษา ต้องให้ความสาคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตร ซ่ึงต้องเป็น
ระบบท่ีสามารถคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติและความพร้อมในการเรียนในหลักสูตรจนสา เร็จการศึกษา
และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมทางการเรียน และมีกิจกรรมการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ
เพอื่ ใหน้ กั ศกึ ษามีความรคู้ วามสามารถตามหลกั สูตร มีทักษะการเรียนร้ใู นศตวรรษท่ี 21

ทักษะทจี่ าเป็นสาหรบั การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบดว้ ย 4 กล่มุ หลัก ได้แก่ (1) กลุ่มวิชาหลัก
(Core subjects) (2) กลุ่มทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career skills) (3) กลุ่มทักษะการเรียนรู้และ
นวัตกรรม (Learning and Innovation skills) และ (4) กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี
(Information, Media and Technology skills)

ทกั ษะสาคัญที่คนสว่ นใหญใ่ ห้ความสาคัญมาก คอื
1. กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ได้แก่ (1) การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา (Critical
thinking and Problem solving) (2) นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ (Innovation and Creativity) (3)
การสอ่ื สารและความร่วมมอื กัน (Communication and Collaboration)
2. กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี (Information, Media and technology skills)
ประกอบด้วยการรู้สารสนเทศ (Information literacy) การรู้สื่อ (Media literacy) และการรู้ ICT (ICT
literacy)
3. กล่มุ ทกั ษะชวี ติ และอาชีพ (Life and career skills) ประกอบด้วยความสามารถในการปรับตัว
และยืดหยุ่น (Adaptability and flexibility) ความคิดริเริ่มและการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Initiative and
self-direction) ปฏิสมั พนั ธท์ างสงั คมและข้ามวัฒนธรรม (Social and cross-cultural interaction) ความ
รับผิดชอบและความสามารถในการผลิตผลงาน (Accountability and productivity) ความเป็นผู้นาและ
ความรบั ผดิ ชอบต่อสงั คม (Leadership and social responsibility)
การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรในองค์ประกอบด้านนักศึกษา เร่ิมดาเนินการตั้งแต่
ระบบการรับนักศึกษา การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาภายใต้กา ร
ดาเนนิ การดงั กลา่ วใหพ้ ิจารณาจากตวั บง่ ช้ดี ังต่อไปน้ี
ตวั บ่งชที้ ่ี 3.1 การรับนกั ศึกษา
ตวั บ่งชท้ี ี่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
ตวั บง่ ชที้ ี่ 3.3 ผลทีเ่ กิดกับนกั ศึกษา

36 คู่มอื การประกันคณุ ภาพการศกึ ษาภายใน ระดับปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยีหรอื สายปฏิบัติการ พ.ศ.2563

ตวั บง่ ชี้ท่ี 3.1 การรับนักศกึ ษา
ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ
คาอธบิ ายตวั บ่งชี้

คุณสมบัติของนักศึกษาท่ีรับเข้าศึกษาในหลักสูตรเป็นปัจจัยพ้ืนฐานของความสาเร็จ แต่ละหลักสูตร
จะมแี นวคิดปรัชญาในการออกแบบหลักสูตร ซึ่งจาเป็นต้องมีการกาหนดคุณสมบัติของนักศึกษาที่สอดคล้อง
กับลักษณะธรรมชาติของหลักสูตร การกาหนดเกณฑ์ท่ีใช้ในการคัดเลือกต้องมีความโปร่งใส ชัดเจน และ
สอดคล้องกับคุณสมบัติของนักศึกษาท่ีกาหนดในหลักสูตร มีเครื่องมือที่ใช้ในการคัดเลือกข้อมูล หรือวิธีการ
คัดนักศึกษาให้ได้นักศึกษาที่มีความพร้อมทางปัญญา สุขภาพกายและจิต ความมุ่งม่ันที่จะเรียน และมีเวลา
เรยี นเพยี งพอ เพอ่ื ใหส้ ามารถสาเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาทีห่ ลักสตู รกาหนด

ในการรายงานการดาเนินการตามตัวบง่ ชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดาเนินงานอย่าง
นอ้ ยใหค้ รอบคลุมประเดน็ ต่อไปน้ี

- การรบั นกั ศึกษา สดั ส่วนการรับ และกระบวนการรับ
- การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศกึ ษา
ในการประเมนิ เพื่อทราบว่าอย่ใู นระดบั คะแนนใด ให้พจิ ารณาในภาพรวมของผลการดาเนินงาน
ท้ังหมดที่ทาใหน้ กั ศึกษามีความพรอ้ มท่ีจะเรยี นในหลกั สูตร

คู่มือการประกันคณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดับปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยหี รือสายปฏิบตั กิ าร พ.ศ.2563 37

เกณฑก์ ารประเมิน

01 2 3 4 5

- ไม่มรี ะบบ - มรี ะบบ กลไก - มีระบบ กลไก - มรี ะบบ กลไก - มีระบบ กลไก - มีระบบ กลไก

- ไม่มีกลไก - ไมม่ ีการนา - มกี ารนาระบบ - มกี ารนาระบบ - มกี ารนาระบบ - มีการนาระบบ

ระบบกลไกไปสู่ กลไกไปสู่การ กลไกไปส่กู าร กลไกไปสู่การ กลไกไปส่กู าร

การปฏบิ ตั /ิ ปฏบิ ตั ิ/ดาเนนิ งาน ปฏิบตั /ิ ดาเนินงาน ปฏิบัต/ิ ปฏิบตั ิ/ดาเนินงาน

ดาเนินงาน ดาเนนิ งาน

- ไมม่ ีแนวคดิ - มีการประเมนิ - มกี ารประเมิน - มีการประเมนิ - มกี ารประเมนิ

ในการกากบั กระบวนการ กระบวนการ กระบวนการ กระบวนการ

ติดตามและ

ปรับปรุง

- ไม่มขี ้อมลู - ไม่มกี ารรบั ปรุง/ - มีการปรบั ปรุง/ - มีการปรับปรุง/ - มกี ารปรับปรงุ /

หลกั ฐาน พัฒนาระบวนการ พัฒนากระบวน พัฒนากระบวน พัฒนากระบวนการ

การจากผลการ การจากผลการ จากผลการประเมนิ

ประเมิน ประเมนิ

- มผี ลจากการ - มีผลจากการ

ปรบั ปรงุ เห็น ปรับปรุงเห็นชัดเจน

ชดั เจนเป็น เปน็ รปู ธรรม

รูปธรรม - มแี นวทางปฏบิ ตั ิที่

ดโี ดยหลักฐานเชิง

ประจักษ์ยนื ยันและ

กรรมการผ้ตู รวจ

ประเมินสามารถให้

เหตผุ ลอธบิ ายการ

เปน็ แนวปฏบิ ตั ิทดี่ ี

ได้ชัดเจน

38 คู่มือการประกนั คณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดบั ปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยีหรอื สายปฏบิ ตั ิการ พ.ศ.2563

ตวั บง่ ชีท้ ่ี 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา

ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ

คาอธิบายตวั บ่งชี้
ในชว่ งปแี รกของการศกึ ษา ต้องมกี ลไกในการพัฒนาความรู้พ้ืนฐานหรือการเตรียมความพร้อมทางการ

เรียนแกน่ ักศกึ ษา เพ่ือให้มีความสามารถในการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีความสุข สาเร็จการศึกษาได้
ตามแผนท่ีกาหนด อัตราการลาออกกลางคันน้อย ในระหว่างการศึกษามีการจัดกิจกรรมการพัฒนาความรู้
ความสามารถในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีกิจกรรมเสริมสร้างความเป็น
พลเมืองดีที่มีจิตสานึกสาธารณะ มีการวางระบบการดูแลให้คาปรึกษาจากอาจารย์ท่ีปรึกษาวิชาการ มีการ
วางระบบควบคุมดูแลการจัดทาโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ ระบบการป้องกันหรือการบริหารจัดการ
ความเส่ียงของนักศึกษา เพ่ือให้สามารถสาเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่หลักสูตรกาหนด รวมท้ังการ
ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการของนักศึกษา การสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ
นักศึกษาและทักษะการเรียนรใู้ นศตวรรษท่ี 21 ให้ไดม้ าตรฐานสากล

ในการรายงานตามตัวบง่ ช้นี ใ้ี ห้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดาเนนิ งานอย่างน้อยให้ครอบคลุม
ประเด็นตอ่ ไปนี้

- การควบคุมการดูแลการให้คาปรึกษาวชิ าการ และแนะแนวแก่นักศกึ ษาปรญิ ญาตรี
- การพฒั นาศักยภาพนักศกึ ษาและการเสริมสรา้ งทกั ษะการเรยี นรูใ้ นศตวรรษที่ 21
- การควบคุมดูแลในการจัดทาโครงงานพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ (สัดส่วนในการควบคุมอาจารย์
ตอ่ นักศึกษาไม่ควรเกนิ 1 : 15)

ในการประเมินเพ่ือทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดาเนินงาน
ท้ังหมดท่ีทาให้นักศึกษาเรียนอย่างมีความสุขและมีทักษะท่ีจาเป็นต่อการประกอบอาชีพในอนาคต

คู่มือการประกันคณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดับปริญญาตรสี ายเทคโนโลยีหรอื สายปฏบิ ตั ิการ พ.ศ.2563 39

เกณฑก์ ารประเมิน

01 2 3 4 5

- ไม่มรี ะบบ - มรี ะบบ กลไก - มีระบบ กลไก - มรี ะบบ กลไก - มีระบบ กลไก - มีระบบ กลไก

- ไม่มีกลไก - ไมม่ ีการนา - มกี ารนาระบบ - มกี ารนาระบบ - มกี ารนาระบบ - มีการนาระบบ

ระบบกลไกไปสู่ กลไกไปสู่การ กลไกไปส่กู าร กลไกไปสู่การ กลไกไปส่กู าร

การปฏบิ ตั /ิ ปฏบิ ตั ิ/ดาเนนิ งาน ปฏิบตั /ิ ดาเนินงาน ปฏิบัต/ิ ปฏิบตั ิ/ดาเนินงาน

ดาเนินงาน ดาเนนิ งาน

- ไมม่ ีแนวคดิ - มีการประเมนิ - มกี ารประเมิน - มีการประเมนิ - มกี ารประเมนิ

ในการกากบั กระบวนการ กระบวนการ กระบวนการ กระบวนการ

ติดตามและ

ปรับปรุง

- ไม่มขี ้อมลู - ไม่มกี ารรบั ปรุง/ - มีการปรบั ปรุง/ - มีการปรับปรุง/ - มกี ารปรับปรงุ /

หลกั ฐาน พัฒนาระบวนการ พัฒนากระบวน พัฒนากระบวน พัฒนากระบวนการ

การจากผลการ การจากผลการ จากผลการประเมิน

ประเมิน ประเมนิ

- มผี ลจากการ - มีผลจากการ

ปรบั ปรงุ เห็น ปรับปรุงเห็นชัดเจน

ชดั เจนเป็น เปน็ รปู ธรรม

รูปธรรม - มแี นวทางปฏิบตั ิที่

ดโี ดยหลักฐานเชงิ

ประจักษ์ยนื ยันและ

กรรมการผ้ตู รวจ

ประเมินสามารถให้

เหตผุ ลอธบิ ายการ

เปน็ แนวปฏบิ ัตทิ ี่ดี

ได้ชัดเจน

40 คู่มือการประกนั คณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดบั ปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยีหรอื สายปฏบิ ตั ิการ พ.ศ.2563

ตัวบง่ ชท้ี ี่ 3.3 ผลที่เกิดกบั นักศึกษา

ชนดิ ของตัวบ่งชี้ ผลลพั ธ์

คาอธบิ ายตวั บ่งชี้
ผลการประกันคุณภาพควรทาให้นักศึกษามีความพร้อมทางการเรียนมีอัตราการคงอยู่ของนักศึกษา

ในหลักสูตรสูง อัตราการสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตรสูง นักศึกษามีความพึงพอใจต่อหลักสูตร และผลการ
จดั การข้อร้องเรยี นของนกั ศกึ ษา

ในการรายงานการดาเนินงานตามตัวบ่งช้ีน้ี ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดาเนินงาน
ในประเด็นต่อไปนี้

- การคงอยู่
- การสาเรจ็ การศึกษา
- ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อรอ้ งเรยี นของนกั ศึกษา

หมายเหตุ
: การประเมินความพงึ พอใจของนักศึกษาเป็นการประเมินความพึงพอใจและไม่พงึ พอใจของ

นกั ศกึ ษาต่อกระบวนการ ทดี่ าเนินการให้กับนักศึกษาตามกิจกรรมในตัวบ่งช้ที ่ี 3.1 และ 3.2
: อตั ราการคงอยขู่ องนักศึกษาคดิ จากจานวนนักศกึ ษาทเี่ ข้าในแตล่ ะรนุ่ ลบด้วยจานวนนกั ศกึ ษา

ท่ีออกทุกกรณนี บั ถึงสน้ิ ปีการศกึ ษาทป่ี ระเมิน ยกเวน้ การเสยี ชวี ติ การยา้ ยสถานทที่ างานของนักศึกษา
: การสาเร็จการศึกษาใช้ข้อมูล 3 รุ่นตอ่ เนอ่ื ง
: การคิดรอ้ ยละของนักศึกษาทยี่ ังคงอยขู่ องแตล่ ะรุน่ และอัตราการสาเร็จการศึกษา ใช้สตู ร

การคงอยู่ = จานวนนักศึกษารบั เขา้ ศึกษา-จานวนผ้ลู าออกและคัดช่ือออก

จานวนนักศกึ ษาทร่ี บั เขา้ ศึกษาทง้ั หมด

การสาเรจ็ การศึกษา = จานวนนกั ศกึ ษาทีส่ าเร็จการศกึ ษา
จานวนนกั ศึกษาที่รับเขา้ ศึกษาท้ังหมด

คู่มอื การประกันคณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดบั ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรอื สายปฏิบัตกิ าร พ.ศ.2563 41

เกณฑก์ ารประเมนิ

01 2 3 4 5
- ไมม่ กี าร - มีการรายงาน - มกี ารรายงาน - มกี ารรายงาน - มีการรายงาน - มกี ารรายงานผล
รายงานผลการ ผลการดาเนนิ ผลการดาเนิน ผลการดาเนนิ ผลการดาเนนิ การดาเนินการครบ
ดาเนนิ การ การเปน็ บางเรื่อง การครบทุกเร่อื ง การครบทุก การครบทุก ทุกเรือ่ งตาม
ตามคาอธบิ ายใน เรอ่ื งตาม เร่ืองตาม คาอธิบายในตวั บ่งช้ี
ตัวบ่งชี้ คาอธบิ ายใน คาอธิบายใน
ตัวบง่ ช้ี ตวั บ่งชี้ - มแี นวโน้มผลการ
- มีแนวโน้มผล - มีแนวโนม้ ผล ดาเนนิ งานท่ดี ีขึ้นใน
การดาเนินงาน การดาเนินงาน ทุกเรื่อง
ท่ีดขี ึ้นในบาง ทีด่ ขี น้ึ ในทุก - มีผลการดาเนนิ
เรือ่ ง เร่ือง งานทโ่ี ดดเด่นเทยี บ
เคียงกบั หลักสตู รนน้ั
ในสถาบันกลมุ่ เดยี ว
กนั โดยมหี ลักฐาน
เชิงประจกั ษย์ นื ยนั
และกรรมการ
ผ้ตู รวจประเมิน
สามารถใหเ้ หตผุ ล
อธิบายวา่ เป็นผล
การดาเนนิ งานที่
โดดเดน่ อยา่ งแทจ้ รงิ

42 คู่มอื การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับปรญิ ญาตรสี ายเทคโนโลยหี รอื สายปฏิบตั กิ าร พ.ศ.2563

องคป์ ระกอบที่ 4
อาจารย์

คู่มอื การประกันคุณภาพการศกึ ษาภายใน ระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยหี รือสายปฏบิ ตั ิการ พ.ศ.2563 43

2.4 องคป์ ระกอบท่ี 4 อาจารย์
อาจารย์เปน็ ปัจจัยป้อนท่สี าคญั ของการผลิตบัณฑิต สถาบันการอาชีวศึกษาต้องมีการออกแบบระบบ

การบรหิ ารและพฒั นาอาจารย์ เพื่อใหไ้ ด้อาจารย์ท่ีมีคุณภาพเหมาะสม มีคุณสมบัติสอดคล้องกับสภาพบริบท
ปรัชญา วิสัยทัศน์ของสถาบันและของหลักสูตร ส่งเสริมให้อาจารย์มีความรักในองค์กรและการปฏิบัติงาน
ตามวิชาชีพ โดยกาหนดนโยบาย แผนระยะยาว กิจกรรม และการดาเนินงานตลอดจนการกากับดูแล
การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ การวางระบบบริหารและพัฒนาอาจารย์เป็นการดาเนินงานเพื่อให้ได้อาจารย์
ที่มีคุณสมบัติท้ังเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีพัฒนาการเพ่ิมยิ่งขึ้น มีการวางแผน การลงทุนงบประมาณ
และทรัพยากรเพ่อื ใหอ้ ัตรากาลงั อาจารย์มจี านวนเหมาะสมกับจานวนนักศึกษาท่ีรับเข้าในหลักสูตร มีจานวน
อาจารย์ที่มีความรู้ ความเช่ียวชาญทางสาขาวิชาของหลักสูตร และมีประสบการณ์ท่ีเหมาะสมกับการผลิต
บณั ฑิต อนั สะท้อนจากวฒุ ิการศกึ ษา ตาแหน่งทางวิชาการ และความก้าวหน้าในการผลิตผลงานทางวิชาการ
อยา่ งตอ่ เนือ่ งองค์ประกอบด้านอาจารย์ เริม่ ดาเนินการต้ังแต่การบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์
และผลลพั ธ์ทเ่ี กิดกับอาจารย์ ใหพ้ ิจารณาจากตัวบ่งช้ี ดังตอ่ ไปนี้

องคป์ ระกอบดา้ นอาจารย์เร่มิ ดาเนนิ การต้ังแต่การบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์ และ
ผลลพั ธ์ทีเ่ กิดกับอาจารย์ให้พิจารณาจากตวั บง่ ช้ีต่อไปน้ี

ตวั บง่ ชี้ท่ี 4.1 การบรหิ ารและพัฒนาอาจารย์
ตัวบง่ ชท้ี ่ี 4.2 คุณภาพอาจารย์
ตวั บง่ ชท้ี ี่ 4.3 ผลทเ่ี กิดกับอาจารย์

44 คู่มอื การประกันคณุ ภาพการศึกษาภายใน ระดับปรญิ ญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏบิ ตั กิ าร พ.ศ.2563

ตัวบ่งชที้ ี่ 4.1 การบรหิ ารและพัฒนาอาจารย์

ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ

คาอธบิ ายตัวบ่งชี้
การบริหารและพัฒนาอาจารย์ เร่ิมต้นต้ังแต่ระบบการรับอาจารย์ใหม่ ต้องกาหนดเกณฑ์คุณสมบัติ

อาจารย์ท่ีสอดคล้องกับสภาพบริบท ปรัชญา วิสัยทัศน์ของสถาบัน และของหลักสูตร มีกลไกการคัดเลือก
อาจารย์ท่ีเหมาะสม โปร่งใส นอกจากน้ีต้องมีระบบการบริหารอาจารย์ โดยการกาหนดนโยบาย แผนระยะ
ยาวเพื่อให้ได้อาจารย์ท่ีมีคุณสมบัติท้ังเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่
กาหนดโดยสานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และระบบการส่งเสริม
และพัฒนาอาจารย์ มีการวางแผนและการลงทุนงบประมาณและทรัพยากรและกิจกรรมการดาเนินงาน
ตลอดจนการกากับดูแล และการพฒั นาคณุ ภาพอาจารย์

ในการรายงานการดาเนนิ งานตามตัวบง่ ชีน้ ้ี ใหอ้ ธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดาเนินงานอย่าง
น้อยใหค้ รอบคลมุ ประเด็นต่อไปนี้

- ระบบการรบั และแต่งตงั้ อาจารยผรู ับผดิ ชอบหลกั สูตร
- ระบบการบรหิ ารอาจารย์
- ระบบการสง่ เสรมิ และพัฒนาอาจารย์

ในการประเมินเพ่ือให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดาเนินงาน
ทั้งหมด ที่ทาให้หลักสูตรมีอาจารย์ท่ีมีคุณสมบัติเหมาะสมท้ังในด้านวุฒิการศึกษาและตาแหน่งทางวิชาการ
เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง และมีการส่งเสริมให้มีการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ
ของอาจารย์เพื่อสร้างความเขม้ แข็งทางวิชาการของหลักสตู ร

คู่มอื การประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาภายใน ระดับปริญญาตรสี ายเทคโนโลยหี รือสายปฏิบตั ิการ พ.ศ.2563 45


Click to View FlipBook Version