การเรยี นร้เู กดิ ขึน้ อยา่ งไร
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
ISBN 978-616-91381-3-6
เจา้ ของ มูลนธิ ิสยามกัมมาจล
ผเู้ ขยี น ศ.นพ.วิจารณ์ พานชิ
ท่ีปรึกษา คณุ ปยิ าภรณ์ มณั ฑะจิตร
บรรณาธกิ าร คุณรัตนา กิตกิ ร
ออกแบบรปู เล่ม บรษิ ทั แฮพเพนนง่ิ จำ�กดั
พมิ พโ์ ดย มูลนธิ สิ ยามกมั มาจล
๑๙ ถนนรชั ดาภิเษก แขวงจตจุ กั ร
เขตจตจุ กั ร กรงุ เทพฯ ๑๐๙๐๐
โทรศัพท ์ : ๐ ๒๙๓๗ ๙๙๐๑-๗
โทรสาร : ๐ ๒๙๓๗ ๙๙๐๐
เวบ็ ไซต:์ www.scbfoundation.com
พมิ พค์ ร้งั ท1่ี ตุลาคม ๒๕๕๖
จำ�นวน ๕,๐๐๐ เล่ม
พมิ พ์ที ่ บริษัท เอส.อาร.์ พรนิ้ ตงิ้
แมสโปรดักส์ จ�ำ กัด
ราคา ๖๕ บาท
3
สารบัญ
ค�ำ นิยม สมุ น อมรววิ ัฒน ์ ๐๖
คำ�นำ�มลู นิธิฯ ๑๐
คำ�น�ำ ผ้เู ขียน ๑๒
บทท่ี ๑. ความจรงิ ๗ ประการ ๑๔
บทที่ ๒. ความรู้เดิมส่งผลตอ่ การเรยี นร ู้ ๒๔
ของนักศกึ ษาอย่างไร
บทท่ี ๓. วิธีจัดการความรเู้ ดมิ ๓๖
บทที่ ๔. การจัดระเบียบความร้ ู ๔๔
บทที่ ๕. ครูช่วยศิษยจ์ ดั ระเบียบโครงสร้างความรู ้ ๕๔
ให้ถูกต้องและมั่นคง
บทท่ี ๖. สิ่งท่ีจูงใจนักเรยี นใหอ้ ยากเรยี น ๖๔
บทที่ ๗. ยทุ ธศาสตร์สร้างแรงจงู ใจ ๗๖
บทท่ี ๘. นกั เรยี นพัฒนาการเรียนให้รู้จริง ๘๔
(Mastery Learning) ได้อยา่ งไร
บทท่ี ๙. เทคนคิ ช่วยศษิ ยใ์ หร้ จู้ ริง ๙๔
บทท่ี ๑๐. การทำ�หน้าที่ “ครฝู กึ ” ๑๐๔
บทท่ี ๑๑. ค�ำ แนะน�ำ ปอ้ นกลับ (Feedback) ๑๑๖
บทที่ ๑๒. พัฒนาการของนักศกึ ษาและบรรยากาศ ๑๒๖
ในชน้ั เรียน : ทฤษฎี
บทท่ี ๑๓. พัฒนาการของนักศึกษาและบรรยากาศ ๑๔๐
ในชัน้ เรียน : ภาคปฏบิ ัต ิ
บทที่ ๑๔. ผกู้ ำ�กบั การเรียนรู้ของตนเอง : ทฤษฎ ี ๑๕๐
บทที่ ๑๕. ผกู้ �ำ กับการเรียนรูข้ องตนเอง : ภาคปฏบิ ตั ิ ๑๖๐
บทที่ ๑๖. ประยกุ ต์หลกั ๗ ประการ ๑๗๖
ต่อการเรยี นรู้ของตนเอง (จบ)
5
ค�ำ นิยม
หลงั จากการอา่ นเรอ่ื ง “การสรา้ งการเรยี นรสู้ ศู่ ตวรรษที่ ๒๑” แลว้ อา่ น
ต่อเล่มนี้ท่ีช่ือว่า “การเรียนรู้เกิดข้ึนอย่างไร” ดิฉันได้อรรถรสจากการอ่าน
หนงั สอื ท้ัง ๒ เลม่ ตอ่ เนื่องกัน เหมอื นกับไดด้ ูภาพป่าทั้งปา่ แล้วมีโอกาสได้
พจิ ารณารายละเอยี ดของตน้ ไมแ้ ตล่ ะตน้ สาระของเรอื่ งนเี้ ปน็ การเกบ็ ความ
จากหนงั สอื How Learning Works : Seven Research-Based Principles
for Smart Teaching โดย Susan A. Ambrose และคณะ นอกจากผเู้ ขียน
(ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช) ได้เก็บเลือกสรรสาระสำ�คัญและใช้วิธีอธิบายแบบ
บันทึกสั้นแล้ว ผู้เขียนยังได้เช่ือมโยงเข้าสู่บรรยากาศของการสอนและ
กระบวนการเรยี นรขู้ องสถานศกึ ษาไทยในบางประเดน็ บางตอนกไ็ ดว้ พิ ากษ์
และแสดงความคิดเพ่ิมเติมอีกด้วย ดังนั้นผู้อ่านจึงน่าจะได้รับประโยชน์
มากกว่าการอา่ นหนงั สอื แปลเพราะได้รู้วิธเี รยี นรู้ของผเู้ ขยี นดว้ ย
คำ�ว่า “เรียนรู้” นั้นได้รับอิทธิพลมาจากการแปลคำ�ศัพท์ “learning”
แตเ่ ดิมเรามักจะพบคำ�วา่ การเรยี น และค�ำ ว่า ความรู้ ค�ำ ๒ คำ�นถ้ี กู ขยาย
ความออกไปเป็นคำ�ต่างๆ มากมายในวงการศกึ ษา การตีความก็มมี มุ มอง
และฐานคดิ แตกตา่ งกนั แลว้ แตว่ ตั ถปุ ระสงคข์ องการน�ำ ไปใช้ ปจั จบุ นั ต�ำ รา
บทความ และการบรรยายทางวชิ าการในวงการศกึ ษาองิ หลกั สากลมากขน้ึ
“การเรียนรู้” จึงเป็นศัพท์ที่ใช้กันแพร่หลาย มีการตีความหลายแบบ แต่
หลักการพื้นฐานคอ่ นขา้ งเป็นแนวเดยี วกัน
องคป์ ระกอบของการสอนดที กี่ อ่ ใหเ้ กดิ กระบวนการเรยี นรเู้ พอื่ พฒั นา
ชีวิตเนน้ ด้านทกั ษะในศตวรรษที่ ๒๑ น้นั ผู้เขียนน�ำ เสนอไว้ ๗ ประการ หรือ
๗ หลกั ซง่ึ ทกุ หลกั ตอ้ งน�ำ ไปใชอ้ ยา่ งมเี ปา้ หมายสมั พนั ธก์ นั แกนส�ำ คญั ของ
หลกั การสอนดที ง้ั ๗ หลกั คอื ผเู้ รยี น ครไู ดช้ ว่ ยใหศ้ ษิ ยเ์ ผชญิ คดิ ท�ำ ทบทวน
6 การเรียนรูเ้ กิดขึ้นอยา่ งไร
ประเมิน ปรบั ปรงุ ตนจนรู้จริง น�ำ ไปใช้ได้จริงในชีวติ
หลักการสอนดีในหนังสือเล่มนี้ มีหลายข้อที่นิสิต นักศึกษา ครูเคย
ไดร้ บั การเนน้ ย�ำ้ เชน่ การสร้างแรงจงู ใจใฝ่สมั ฤทธิ์ การทบทวนและเขา้ ใจ
ความรู้เดิม การฝึกทักษะสัมพันธ์ การฝึกปฏิบัติอย่างมีเป้าหมายและ
การทบทวนประเมิน การสร้างบรรยากาศเพ่ือการเรียนรู้และการประเมิน
ตนเอง แตน่ สิ ติ นกั ศกึ ษา ไมค่ อ่ ยมโี อกาสตโี จทย์ ตอบโจทยด์ ว้ ยการทดลอง
ปฏบิ ตั กิ ารสอนจรงิ มากนกั จงึ ขาดทกั ษะทจ่ี ะสรา้ งกระบวนการเรยี นรอู้ ยา่ ง
มคี ุณภาพ สว่ นท่เี ปน็ แนวคดิ ใหมท่ ผี่ เู้ ขยี นเสนอเปน็ ขอ้ ที่ ๒ ของหลักท้ังเจด็
คือ วิธีการที่นักเรียนจัดระเบียบโครงสร้างความรู้ของตนมีอิทธิพลต่อ
การเรียนรู้และการประยุกต์ความรู้ที่มีอยู่เดิม แม้ว่าผู้เขียนจะได้อธิบาย
วิธีการจัดระเบียบไว้ชัดเจนในเร่ืองการทำ� Concept Mapping จัดระบบ
ความคดิ ความเขา้ ใจ อย่างมแี บบแผน เชอื่ มโยงก็ตาม ทกั ษะการเรยี นรู้ท่ี
ต้องฝึกฝนให้ช�ำ นาญในด้านนีค้ งต้องฝกึ กนั ต่อไป
ทักษะการเรียนรู้ที่ต้องได้รับการส่งเสริมและฝึกฝนอย่างจริงจังคือ
การผสมผสานทักษะยอ่ ยๆ ในการเรียนรู้ซ่ึงมอี ยู่มาก นำ�ไปใชใ้ หเ้ หมาะกบั
เหตกุ ารณ์ โจทยป์ ญั หา ความตอ้ งการของชวี ติ เปน็ ทกั ษะทที่ �ำ ใหร้ จู้ รงิ ไมใ่ ช่
รู้จำ�เท่าน้ัน การรู้จริงน้ันอธิบายง่ายๆ คือ รู้ เข้าใจ คิดวิธีได้ นำ�ไปใช้จริง
อยา่ งชำ�่ ชอง นกั ศกึ ษาจะโชคดีมากถา้ มคี รูทีฝ่ ึกใหไ้ ด้รู้จกั ประเมิน ทบทวน
การกระท�ำ ของตนเอง
ทักษะที่ครูสอนดีต้องทำ�ได้จริงและสำ�คัญมากคือการช่วยผู้เรียนให้
เกิดกระบวนการเรียนรู้ จนรู้จริงและพัฒนาตนเองได้อย่างเป็นองค์รวม
ทักษะกระบวนการเรียนรทู้ ี่เป็น Mastery Learning น้ีเองท่ชี ว่ ยใหค้ นฉลาด
มที นุ ชีวติ ทีจ่ ะแก้ปัญหา อปุ สรรคและด�ำ เนนิ ชีวติ ไดอ้ ย่างราบรน่ื ในสงั คมที่
เปลย่ี นแปลงอย่างรวดเร็ว
ทกุ วนั นก้ี ารด�ำ เนนิ ชวี ติ ของคนไทยไมเ่ หมอื นเดมิ อกี ตอ่ ไป เราตอ้ งอยู่
ในสังคมข่าวสารท้ังท่ีเป็นข่าวจริง ข่าวลวง คนไทยวัยเรียนและวัยทำ�งาน
มีพฤติกรรมแน่นิ่งอยู่กับตนเองคือก้มหน้ากดส่ือเทคโนโลยี จนกลายเป็น
สมาชิกของ “สังคมเสมือน” ทกุ อย่างดเู หมอื นจรงิ แต่ไมจ่ รงิ ความสมั พันธ์
กับผู้คนรอบข้างหรือห่างไกลน้ันดูคล้ายจะใกล้ชิดแต่ก็ไม่ใช่ ธรรมชาติ
ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ 7
ส่ิงแวดล้อมเปล่ียนแปลงไปอย่างไรก็เห็นจากในจอภาพแคบๆ ภัยพิบัติ
จะมาถึงตัวแล้วก็ยังไม่รู้ เมื่อเราขาดการฝึกทักษะเรียนรู้เท่าทันสื่อ เราก็
กลายเป็นคนท่ดี เู หมือนฉลาดแต่ไม่ฉลาดนัน่ เอง
เช่นกันในสังคมบริโภคและสังคมการแข่งขันได้ทำ�ให้การดำ�เนินชีวิต
“อยยู่ าก” มากขนึ้ ปจั จยั เรอ่ื งความรวดเรว็ ถกู ท่ี และถกู วธิ ี มบี ทบาทเขา้ มา
เกี่ยวข้องในทุกเวลา ทุกย่างก้าว ถ้าเราไม่ได้รับการฝึกให้มีพลังที่เข้มแข็ง
ทั้งทางรา่ งกาย จิตใจ ความคดิ ความสามารถ ความดี ใหเ้ หมาะสมกับวยั
เรากจ็ ะลา้ หลงั ใชแ้ ตก่ �ำ ลงั ซง่ึ ไรพ้ ลงั กลายเปน็ คนออ่ นแอทแ่ี มม้ ปี รญิ ญาบตั ร
ท่วมหัวก็เอาตัวไม่รอด การแข่งขันที่ต้องเปรียบเทียบกับคนอ่ืน สังคมอ่ืน
ประเทศอน่ื เ มอ่ื พา่ ยแพ้ กอ็ บั อาย และยง่ิ รสู้ กึ อปั ยศยง่ิ กวา่ เมอ่ื พบวา่ ตวั เรา
เองก็แพ้ใจตนเอง
ทเ่ี ขยี นมายดื ยาวขา้ งตน้ เพยี งอยากอธบิ ายวา่ เพยี งตวั อยา่ งเดยี วของ
ทักษะการเรียนรู้ ยังมีผลต่อความสุขและความทุกข์ในชีวิต หนังสือเล่มน้ี
จงึ ตอบค�ำ ถามวา่ การเรยี นรจู้ รงิ นน้ั คอื อะไร ท�ำ อยา่ งไร แมจ้ ะตอบไดไ้ มห่ มด
เพราะคำ�ตอบเร่ืองชีวิตไม่มีวันหมด แต่อย่างน้อยถ้าผู้อ่านอ่านอย่าง
วเิ คราะหก์ จ็ ะเลอื กเกบ็ สาระทส่ี รา้ งแรงบนั ดาลใจในการฝกึ ตนเองและชว่ ยให้
ผอู้ ื่นฝกึ ตนจนรู้จริงตอ่ ไป
จากหนงั สอื ๒ เลม่ ทดี่ ฉิ นั เขยี นค�ำ นยิ มใหน้ ี้ หากผอู้ า่ นอา่ นจบั ใจความ
แลว้ เกบ็ ไวเ้ ฉยๆหรอื เพอ่ื บอกตอ่ กเ็ กดิ ผลนอ้ ย หากอา่ นแลว้ คดิ คดิ ทดลองท�ำ
ขณะทที่ �ำ กม็ กี ารทบทวนประเมนิ โดยตนเองและกลั ยาณมติ ร ทดลองปฏบิ ตั ิ
หลายทาง หลายวธิ ี รวบรวมบรบิ ทปจั จยั ของความส�ำ เรจ็ และความลม้ เหลว
นำ�ผลจากประสบการณ์ในแต่ละเรื่องไปใช้ในชีวิต หนังสือเล่มน้ีก็จะเกิด
ประโยชน์อยา่ งยิง่
หลักการสอนดี แนวคิดและประสบการณ์ตัวอย่างที่ยกมาในเร่ืองน้ี
แม้ผู้อ่านจะสามารถเลือกนำ�ไปปรับใช้ได้ในการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ
และในสถานศึกษาทุกระดับ ที่เหมาะท่ีสุดคือการนำ�ไปใช้ในระดับ
อุดมศึกษา ซึ่งมีประเด็นวิพากษเ์ ร่ืองกระบวนการเรียนรู้อยา่ งน่าวติ ก
ทกุ ครงั้ ทมี่ เี หตกุ ารณน์ า่ เศรา้ ขน้ึ ในสงั คมซงึ่ แสดงถงึ ความดอ้ ยคณุ ภาพ
ของคนไทย ทุกคนก็หันมาวิจารณ์ความล้มเหลวของการศึกษาโดยเฉพาะ
8 การเรียนรู้เกิดขน้ึ อย่างไร
การจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน แท้จริงแล้วมนุษย์เรียนรู้จากการเผชิญ
กับบคุ คล สง่ิ แวดลอ้ ม ธรรมชาติ ส่อื เทคโนโลยี และเหตุการณต์ า่ งๆ ตลอด
เวลา การเรียนรู้ในสังคมน้ันมีหลากหลาย น่าต่ืนตาตื่นใจและมีพลังแรง
อาจน�ำ พาใหค้ นเรามีพฤตกิ รรมท้งั ในทางเจริญและทางเสอื่ ม
ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช แม้จะเป็นหมอรักษาคน
ทา่ นกไ็ ดอ้ ทุ ศิ ตนท�ำ งานดา้ นการศกึ ษามาอยา่ งตอ่ เนอื่ ง ผลจากการคน้ ควา้
สรปุ ประเดน็ และเผยแพรแ่ นวทางจดั การความรู้ จดั กระบวนการเรยี นรแู้ ละ
การแลกเปล่ียนเรียนรู้ผ่านบล็อกและรวมพิมพ์เป็นเล่ม นับเป็นเทียน
อกี เล่มหนึง่ ทชี่ ว่ ยส่องทางสลวั ของการศกึ ษาให้สวา่ งขน้ึ บ้าง
โลกและชีวิตเปล่ียนแปลงเร็วเหลือเกิน มนุษย์จึงต้องฝึกตนและ
ปรบั ตวั ใหร้ เู้ ทา่ ทนั อยเู่ สมอ นค่ี อื เหตผุ ลส�ำ คญั ของการศกึ ษา เพอื่ อะไร เพอื่
ชวี ติ จะได้ไมเ่ ติบโตไปตามยถากรรม
สมุ น อมรววิ ัฒน์
๑๕ กนั ยายน ๒๕๕๖
ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 9
คำ�น�ำ มลู นธิ ิสยามกมั มาจล
โลกวันนี้ตา่ งไปจากเดมิ และวธิ กี าร กระบวนการ “จัดการเรยี นร”ู้ เพื่อ
พฒั นาคนกต็ อ้ ง “เปลย่ี น” อกี ทง้ั เชอ่ื วา่ การเรยี นรทู้ ด่ี คี อื การเรยี นรทู้ เ่ี กดิ จาก
การลงมือทำ� ซ่ึงศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ประธานมูลนิธิ
สยามกัมมาจล ไดเ้ น้นย�ำ้ อยู่เสมอว่า การเรียนรจู้ ากการลงมอื ทำ�นัน้ จะมี
“คุณภาพ” มากน้อยเพียงใด ข้ึนอยู่กับคุณภาพของการ “จัดกระบวนการ
เรยี นรู้” ของผ้อู อกแบบและผจู้ ัดการเรียนร ู้
“ครู” จึงเป็นผู้มีบทบาทสำ�คัญย่ิงต่อการสร้างการเรียนรู้เพ่ือพัฒนา
ศกั ยภาพเยาวชนคนรนุ่ ใหม่ใหม้ คี ุณลกั ษณะที่พงึ ประสงค์ นนั่ คือ เป็นคนดี
คนเก่ง และมจี ิตอาสาเพื่อสังคม มลู นิธสิ ยามกมั มาจล จงึ ใหค้ วามส�ำ คัญ
กบั การสง่ เสรมิ สนบั สนนุ การเรยี นรเู้ พอ่ื พฒั นาศกั ยภาพของครอู ยา่ งตอ่ เนอื่ ง
ทง้ั ในรปู แบบโครงการ การสรา้ งเครอื ขา่ ยการเรยี นรขู้ องครนู กั ปฏบิ ตั ิ รวมทง้ั
การผลิตหนังสือท่ีมีองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการจัดการเรียนรู้ให้กับเยาวชน
ให้มีความพร้อมรับมือกับโลกในศตวรรษท่ี ๒๑ ให้ครูได้ศึกษาและนำ�ไป
ใชป้ ระโยชนใ์ นการสรา้ งการเรยี นรใู้ หก้ บั ศษิ ยไ์ ดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ เพราะ
ใช่แต่ “ลกู ศษิ ย”์ เท่าน้ันที่ต้องเรยี นรู้ “คร”ู ก็ต้องเรยี นรู้ เชน่ กัน
หนังสือ “การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร” โดยศาสตราจารย์นายแพทย์
วจิ ารณ์ พานชิ เล่มน้ี เป็นการรวบรวมบนั ทกึ (Blog) ของทา่ นที่เขียนไว้ใน
เวบ็ ไซต์ http://www.gotoknow.org จากการอา่ นหนงั สอื How Learning
Works : 7 Research-Based Principles for Smart Teaching เขียนโดย
Susan A. Ambrose, Michael W. Bridges, Michele DiPietro, Marsha
C. Lovett, Marie K. Norman ด้วยงานเขียนในลักษณะการตีความจาก
ความคดิ และประสบการณข์ องทา่ น ท�ำ ใหแ้ นวคดิ ทฤษฎที ย่ี ากแกค่ วามเขา้ ใจ
10 การเรียนร้เู กดิ ขน้ึ อยา่ งไร
ถูกถ่ายทอดในภาษาท่ีเข้าใจง่าย ลงในบล็อกสัปดาห์ละ ๑ ตอน รวม
๑๖ ตอน ตง้ั แต่วันที่ ๒๗ ธนั วาคม ๒๕๕๕ ถึงวันท่ี ๑๑ เมษายน ๒๕๕๖
หนังสือเล่มน้ีชี้ให้เห็นถึงกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ว่าเกิดขึ้น
ได้อย่างไร และการกระตุ้นการเรียนรู้ทำ�ได้อย่างไร จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่ง
ส�ำ หรบั “คร”ู ผมู้ หี วั ใจ “เพอ่ื ศษิ ย”์ ครผู มู้ ใี จใฝเ่ รยี นรแู้ ละพฒั นาตวั เองอยา่ ง
สม�ำ่ เสมอ ครูที่กำ�ลงั แสวงหา “วิธกี ารใหมๆ่ ” เพื่อรบั มอื กับโลกท่ีเปลยี่ นไป
เพอ่ื เตรยี มความพรอ้ มใหล้ กู ศษิ ยเ์ ตบิ โตขน้ึ อยา่ งมสี มรรถนะ สามารถรบั มอื
กับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และส่งต่อ “วิธีการเรียนรู้ท่ีดี”
ให้กบั คนรุ่นตอ่ ๆ ไปไดอ้ ยา่ งต่อเน่อื ง
โดยเนอื้ หาของหนังสือ How Learning Works : 7 Research-Based
Principles for Smart Teaching นั้นก็มีความพิเศษในตัวเองด้วยเช่นกัน
กลา่ วคอื มไิ ดเ้ ปน็ หนงั สอื ทน่ี �ำ เสนอเพยี งแนวคดิ หากแตเ่ ปน็ เสมอื น “คมู่ อื ”
เปน็ “เคลด็ ลบั ” ในการจดั การเรยี นรใู้ หก้ บั เดก็ และเยาวชนในศตวรรษที่ ๒๑
ท่ีครูอ่านแล้วจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า การเรียนรู้เกิดข้ึนได้อย่างไร และ
การจัดการเรียนรู้ที่ดีน้ันต้องทำ�อย่างไร ครูสามารถนำ�ไปทดลองปฏิบัติ
ไดเ้ ลย อนั ทจ่ี รงิ แลว้ หนงั สอื ดงั กลา่ วไมเ่ พยี งแตจ่ ะมปี ระโยชนก์ บั ครเู ทา่ นนั้
แต่ผู้ปกครอง คนทำ�งานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือแม้แต่
เยาวชนเอง อ่านแล้วกจ็ ะไดป้ ระโยชนใ์ นการพัฒนาตน เข้าใจกระบวนการ
รับรู้ หาตนเองไดด้ ีข้นึ ซ่งึ มูลนธิ สิ ยามกมั มาจล ได้สนับสนุนใหส้ ำ�นักพิมพ์
openworlds แปลต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเพื่อเผยแพร่ใน
เร็ว ๆ น ี้ เพอ่ื ให้ผทู้ ี่สนใจไดอ้ ่านค่ไู ปกบั หนงั สือเล่มน้ี
มลู นธิ สิ ยามกมั มาจล จงึ หวงั เปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ เนอ้ื หา และแงม่ มุ ความคดิ
ของศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ท่ีได้ตีความหนังสือ How
Learning Works ท่ีได้นำ�มารวบรวมในชื่อ “การเรียนรู้เกิดข้ึนอย่างไร”
เล่มน้ีจะช่วยจุดประกายให้กับครูเพ่ือศิษย์ทุกท่าน ได้นำ�ไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์กับบริบทของตัวเอง และก่อให้เกิดผลกับศิษย์ที่รักของท่าน
ในลำ�ดบั ตอ่ ไป
มลู นธิ ิสยามกัมมาจล
ศ.นพ.วิจารณ์ พานชิ 11
ค�ำ น�ำ ผเู้ ขียน
หนังสือ การเรียนรู้เกิดข้ึนอย่างไร เป็นการรวบรวมบันทึกในบล็อก
www.gotoknow.org/council ชดุ การเรยี นรเู้ กดิ ขนึ้ อยา่ งไร ทผ่ี มตคี วามจาก
การอ่านหนงั สือ How Learning Works : 7 Research-Based Principles
for Smart Teaching เขยี นโดย Susan A. Ambrose, Michael W. Bridg-
es, Michele DiPietro, Marsha C. Lovett, Marie K. Norman ลงในบล็อก
สัปดาหล์ ะ ๑ ตอน รวม ๑๖ ตอน ตง้ั แต่วนั ที่ ๒๗ ธนั วาคม ๒๕๕๕ ถึงวนั ที่
๑๑ เมษายน ๒๕๕๖
เม่ือคุณปิยาภรณ์ มณั ฑะจิตร ผจู้ ัดการมลู นธิ ิสยามกัมมาจล แจง้ วา่
มูลนิธิสยามกัมมาจล มีความประสงค์จะรวบรวมบันทึกชุดนี้พิมพ์เป็นเล่ม
ออกเผยแพร่ผมกม็ คี วามยนิ ดี เพราะผมคดิ วา่ สาระในหนงั สอื เลม่ นี้ มคี ณุ คา่
สงู มาก เปน็ การเปดิ โลกทศั นใ์ หมๆ่ เกยี่ วกบั กลไกการเรยี นรู้ ทไ่ี มเ่ ปน็ ทเ่ี ขา้ ใจ
กนั แพรห่ ลาย โดยทห่ี นงั สอื เลม่ นไ้ี ดจ้ ากการสงั เคราะหค์ วามรจู้ ากผลการวจิ ยั
กวา่ ๑,๐๐๐ เรอ่ื ง น�ำ มาเสนอเปน็ หลักการส�ำ คัญทชี่ ัดเจนมาก ๗ ประการ
ดงั ปรากฏในหนังสอื เล่มน้ี
อย่างไรก็ตาม บันทึกที่ผมเขียนน้ัน เขียนแบบตีความจากการอ่าน
หนังสือ มีหลายสว่ นผมใสค่ วามเหน็ ของตนเองเขา้ ไปด้วย และไมไ่ ดแ้ ปล
สาระในหนังสือทั้งหมด การอ่านหนังสือ การเรียนรู้เกิดข้ึนอย่างไร เล่มน้ี
จงึ ไมท่ ดแทนการอา่ นหนงั สอื How Learning Works : 7 Research-Based
Principles for Smart Teaching โดยตรง และทราบว่า สำ�นักพิมพ์
openworlds กำ�ลังดำ�เนินการแปลหนงั สอื เล่มนอ้ี ยู่ในขณะน้ี
หลกั การส�ำ คญั ของการเรยี นรู้ คอื ตอ้ งเรยี นใหร้ จู้ รงิ (Mastery) รวมทง้ั
เห็นคุณค่าของการเรียนรู้นั้น ซ่ึงจะเป็นพ้ืนฐานให้การเรียนรู้ในขั้นตอน
12 การเรียนรูเ้ กดิ ขน้ึ อย่างไร
ตอ่ ๆ ไปเปน็ เรอ่ื งสนกุ และรสู้ กึ ปตี จิ ากการไดเ้ รยี นรเู้ พม่ิ ขน้ึ ในทางตรงกนั ขา้ ม
หากเรียนแล้วรู้แบบผิวเผิน ไม่รู้จริง การเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไปจะยาก
ไม่สนุก แต่เป็นความทุกข์ทรมาน ทำ�ให้นักเรียนทอดทิ้งการเรียนไปทำ�
อย่างอนื่ ที่สนุกกวา่ และในท่ีสดุ ก็ออกจากการเรียน โดยยังเรยี นไม่จบ
เป้าหมายท่ีสำ�คัญของการเรียนรู้ ที่สำ�คัญยิ่งกว่าการมีความรู้ คือ
การบรรลุภาวะที่กำ�กับการเรียนรู้ของตนได้ (Self-Directed Learner) ซ่ึง
หมายความว่า ผู้นั้นเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของตน และสามารถปรับปรุง
เปลย่ี นแปลงหรอื พฒั นาวธิ กี ารเรยี นรขู้ องตนใหเ้ หมาะสมหรอื ดยี ง่ิ กวา่ เดมิ ได้
รายละเอยี ดมอี ยใู่ นหนังสือเลม่ นี้แลว้
หนังสือท่ีมาจากการรวบรวมบันทึกในบล็อกท่ีเขียนเป็นตอนๆ มี
ขอ้ จ�ำ กดั ทค่ี วามตอ่ เนอ่ื ง และเนอื่ งจากเปน็ การเขยี นแบบตคี วาม โดยผเู้ ขยี น
ท่ีไม่มีความรู้พื้นฐานด้านการศึกษา ท่านผู้อ่านจึงพึงอ่านหนังสือเล่มนี้
อยา่ งมวี ิจารณญาณ
วิจารณ์ พานิช
๑ กันยายน ๒๕๕๖
ศ.นพ.วิจารณ์ พานชิ 13
14 การเรียนร้เู กดิ ข้นึ อยา่ งไร
๑.การเรยี นรูเ้ กดิ ขึ้นอยา่ งไร
ความจรงิ ๗ ประการ
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 15
การเรียนรู้เป็นผลจากการทำ�หรือ
การคดิ ของนกั เรียน การท�ำ และการคดิ ของ
นกั เรยี นเทา่ นัน้ ทมี่ ีผลตอ่ การเรยี นรขู้ องเขา
ครูสามารถช่วยให้ศิษย์เรียนได้โดยเข้าไป
กระต้นุ สง่ิ ท่นี ักเรยี นทำ�เพอ่ื การเรยี นรขู้ อง
ตนเองเทา่ นนั้
16 การเรียนร้เู กิดข้นึ อย่างไร
บันทึก ๑๖ ตอนต่อไปน้ี มาจากการตีความหนังสือ How Learning
Works: 7 Research-Based Principles for Smart Teaching ซงึ่ ผมเชื่อ
ว่า ครู/อาจารย์ จะได้ประโยชน์มาก หากเข้าใจหลักการตามท่ีเสนอใน
หนงั สอื เลม่ น ี้ ตวั ผมเองยงั สนใจเพอื่ เอามาใชป้ รบั ปรงุ การเรยี นรขู้ องตนเอง
ด้วย
หนังสือเล่มน้ีมี ๗ บท บรรยายหลักการ ๗ ประการ ที่เก่ียวข้องกับ
การเรียนรู้ ที่ไดจ้ ากการวิจัย ไดแ้ ก่
๑. พนื้ ความรเู้ ดมิ ของนกั เรยี น มผี ลตอ่ การเรยี นรขู้ องนกั เรยี นอยา่ งไร
๒. วธิ ที น่ี กั เรยี นจดั ระเบยี บโครงสรา้ งความรขู้ องตน มผี ลตอ่ การเรยี นรู้
ของนกั เรียนอยา่ งไร
๓. มปี จั จัยอะไรบ้าง ที่จงู ใจนกั เรยี นใหเ้ รียน
๔. นักเรยี นพฒั นาการเรยี นรู้รอบดา้ น (Mastery Learning) ของตน
อย่างไร
๕. การลงมอื ท�ำ และการป้อนกลบั (Feedback) แบบไหน ท่ีสง่ เสรมิ
การเรียนรู้
๖. ทำ�ไมการพัฒนานักเรียนและบรรยากาศในช้ันเรียนมีผลต่อการ
เรียนรขู้ องนกั เรียน
๗. นกั เรยี นพฒั นาขนึ้ เปน็ ผรู้ บั ผดิ ชอบการเรยี นรขู้ องตนเองไดอ้ ยา่ งไร
ศ.นพ.วิจารณ์ พานชิ 17
ผู้เขียนคำ�นำ�ของหนังสือ คือ ศาสตราจารย์ Richard E. Mayer1
ผูม้ ี ชอ่ื เสยี งดา้ น Educational Psychology แห่งมหาวิทยาลยั UCSB ทา่ น
บอกวา่ หนงั สอื เลม่ นวี้ า่ ดว้ ยการน�ำ เอาความรจู้ ากการวจิ ยั ทางวทิ ยาศาสตร์
ด้านการเรียนรู้ (The Science of Learning) ไปใช้ในการสอนใน
มหาวิทยาลัย คือหนังสือเล่มนี้เขียนข้ึนจากข้อมูลหลักฐานจากการวิจัย
ลว้ นๆ หรอื เปน็ หนงั สอื ทชี่ ว่ ยยอ่ ยความรจู้ ากการวจิ ยั ออกสกู่ ารปฏบิ ตั ิ ท�ำ ให้
ความรู้ที่เข้าใจยาก นำ�เอาไปใช้ได้ง่าย จึงเขียนแบบตั้งค�ำ ถามท่ีใช้ในการ
สอนหรอื เรยี นตามปกตแิ ลว้ น�ำ เอาหลกั ฐานจากการวจิ ยั มาตอบ ดงั จะเหน็ ได้
จากช่อื บทในหนังสือทง้ั ๗ บท ขา้ งบน
“การเรยี นรเู้ ปน็ ผลจากการท�ำ หรอื การคดิ ของนกั เรยี น การท�ำ
และการคิดของนักเรียนเท่าน้ัน ท่ีมีผลต่อการเรียนรู้ของเขา ครู
สามารถช่วยให้ศษิ ยเ์ รยี นได้โดยเข้าไปกระตุ้นสงิ่ ทน่ี ักเรยี นท�ำ เพ่อื
การเรยี นรูข้ องตนเองเทา่ น้ัน”
นี่คือคำ�แปลจากถ้อยคำ�ของ ศาสตราจารย์ Herbert A. Simon2
นกั วทิ ยาศาสตรร์ างวลั โนเบลผลู้ ว่ งลบั และเปน็ ผรู้ ว่ มกอ่ ตง้ั สาขา Cognitive
Science ท่ีหนังสอื เลม่ นน้ี ำ�มาเป็นประโยคเริม่ ต้นของบทน�ำ
ผมตีความวา่ สิง่ ที่ “ครูเพ่อื ศษิ ย”์ ท�ำ ให้แกศ่ ษิ ยห์ ลายอย่าง เปน็ สงิ่ ท่ี
สญู เปลา่ ไมเ่ กดิ ประโยชนต์ อ่ การเรยี นรขู้ องศษิ ย ์เปน็ การท�ำ งานทไ่ี รป้ ระโยชน์
ด้วยความหวังดีเต็มเป่ียม แต่ไร้ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของศิษย์ หรือ
บางเรือ่ งอาจก่อผลร้ายด้วยซ้�ำ หนงั สอื เล่มน้ีจะชว่ ยลดความผดิ พลาดจาก
ความไมร่ ู้หรอื ความเข้าใจผิดๆ ได้
การเรียนรคู้ ืออะไร
เมือ่ เอ่ยถงึ คำ�วา่ การเรียนรู้ (Learning) ในหนังสอื เลม่ น้ี ผ้เู ขยี นให้
ความหมายว่า คือกระบวนการท่ีนำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดขึ้นจาก
18 การเรียนรู้เกดิ ข้นึ อย่างไร
ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 01
RICHARD E. MAYER
ศาสตราจารย์ Richard
E. Mayer ผู้มชี ื่อเสยี งด้าน
Educational Psychology
แห่งมหาวิทยาลยั UCSB
02
HERBERT A. SIMON
ศาสตราจารย์ Herbert
A. Simon นกั วทิ ยาศาสตร์
รางวัลโนเบลผู้ล่วงลับ
และเปน็ ผูร้ ่วมก่อตัง้ สาขา
Cognitive Science
19
ประสบการณ์ การเรยี นรทู้ �ำ ใหม้ กี ารเพม่ิ สมรรถนะ (Performance) และเพม่ิ
ความสามารถของการเรียนร้ใู นอนาคต
องคป์ ระกอบส�ำ คัญ ๓ ประการของนยิ ามนค้ี ือ
๑. การเรยี นรเู้ ปน็ กระบวนการไมใ่ ชผ่ ล (เปน็ Process ไมใ่ ช่ Product)
แตต่ รวจสอบวา่ เกดิ การเรยี นร้ไู ด้โดยดูท่ีผลหรือสมรรถนะ
๒. การเรยี นรเู้ กย่ี วขอ้ งกบั การเปลย่ี นแปลงความรู้ ความเชอ่ื พฤตกิ รรม
หรอื เจตคต ิ และมีผลระยะยาวต่อการคดิ และพฤติกรรมของนกั เรยี น
๓. การเรียนรู้ไม่ใช้ส่ิงท่ีให้แก่นักเรียน แต่เป็นส่ิงท่ีนักเรียนลงมือ
ท�ำ ให้แกต่ นเอง เปน็ ผลโดยตรงจากสง่ิ ทีน่ กั เรยี นตคี วาม และตอบสนองตอ่
ประสบการณข์ องตน ทัง้ ทีร่ ูต้ ัวและไม่ร้ตู วั ท้ังในอดีตและในปัจจุบนั
หลกั การของการเรียนรู้
ก. การเรยี นรเู้ ปน็ กระบวนการพฒั นาการ ทสี่ มั พนั ธก์ บั พฒั นาการดา้ น
อน่ื ๆ ในชวี ิตของนกั เรยี น
ข. ทนุ ทน่ี กั เรยี นถอื เขา้ มาในชน้ั เรยี น ไมไ่ ดม้ เี ฉพาะทกั ษะ ความรู้ และ
ความสามารถ เทา่ นนั้ ยงั มปี จั จยั ดา้ นประสบการณท์ างสงั คม และอารมณ ์
ทม่ี ีผลต่อทัศนคติ คา่ นิยม ของนกั เรียนต่อตนเอง และต่อผู้อ่นื อนั จะส่งผล
ต่อความสนใจหรอื ไม่สนใจเรยี น
พงึ ตระหนักว่า หลัก ๗ ประการในหนังสอื เลม่ น้ี ไมไ่ ดม้ ผี ลแยกกนั ต่อ
การเรียนรู้ของนักเรยี น แต่กอ่ ผลในเวลาเดียวกนั หรือปนๆ กนั ไป
ตอ่ ไปนี้เปน็ หลัก ๗ ประการโดยย่อ
ความรเู้ ดมิ ของนักเรยี น อาจสง่ เสรมิ หรือขดั ขวางการเรียนรู้ก็ได้
นกั เรยี นไมไ่ ดม้ าเขา้ เรยี นในชนั้ แบบมา ตวั /หวั เปลา่ แตม่ ที นุ เดมิ ดา้ น
ความรู้ ความเชื่อ และเจตคติ ตดิ มาด้วย จากวิชาท่ีเคยเรยี น และจากชีวิต
ประจำ�วัน ทุนเดิมเหล่าน้ีมีผลอย่างมากต่อการเรียนรู้ หรือพฤติกรรมใน
ชนั้ เรยี นของนกั เรยี น ถา้ นกั เรยี นมพี น้ื ความรเู้ ดมิ ทแี่ นน่ และแมน่ ย�ำ ถกู ตอ้ ง
20 การเรียนรูเ้ กิดข้ึนอย่างไร
และไดร้ บั การกระตุ้นความรเู้ ดิมอยา่ งเหมาะสม ความร้เู ดมิ นี้กจ็ ะเปน็ ฐาน
ของการสร้างความรู้ใหม่ข้ึนในตัวนักเรียน แต่ถ้าความรู้เดิมคลุมเครือ
ไม่แม่นยำ� และได้รับการกระตุ้นในเวลาหรือด้วยวิธีการท่ีไม่เหมาะสม
ความรเู้ ดิมจะกลายเป็นส่งิ ขดั ขวางการเรียนรู้
วิธีที่นักเรียนจัดระเบียบโครงสร้างความรู้ของตน มีอิทธิพลต่อการ
เรยี นรู้ และการประยุกตใ์ ช้ความรู้ทม่ี ีอยู่เดมิ
ตามปกตินักเรียนจะปะติดปะต่อช้ินความรู้ หากการปะติดปะต่อน้ี
เป็นไปอย่างถูกต้อง เกิดเป็นโครงสร้างความรู้ท่ีดี มีความแม่นยำ�และมี
ความหมาย นักเรียนก็จะสามารถเรียกเอาความรู้เดิมที่มีอยู่ออกมาใช้ได้
อย่างแคล่วคล่องว่องไว ในทางตรงกันข้าม หากการจัดระเบียบความรู้
ในสมองนักเรียนเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม หรือเกิดอย่างไร้ระบบ นักเรียน
กจ็ ะดึงความรู้เดิมออกมาใช้ไดย้ าก
แรงจูงใจของนักเรียน มีผลต่อพฤติกรรมตั้งใจเรียน และมานะ
พยายามของนักเรียน
เรอื่ งนี้มคี วามสำ�คญั ต่อนกั ศกึ ษาระดับอุดมศึกษา เพราะนักศกึ ษา
เปลยี่ นสภาพจากนกั เรยี นทม่ี คี รคู อยดแู ล มาสสู่ ภาพก�ำ กบั หรอื บงั คบั ตวั เอง
มอี สิ ระวา่ จะเรยี นหรอื ไมเ่ รยี นอะไร อยา่ งไร เมอ่ื ไร แรงจงู ใจจงึ เปน็ ตวั ก�ำ หนด
ทิศทาง ความเอาใจใส่ ความมุ่งมั่นพยายาม และคุณภาพของพฤติกรรม
การเรยี นรขู้ องตนเอง หากนกั ศกึ ษามองเหน็ คณุ คา่ ของเปา้ หมายการเรยี นรู้
กจิ กรรมการเรยี นรู้ และเหน็ ลทู่ างความส�ำ เรจ็ และไดร้ บั การหนนุ เสรมิ จาก
สภาพแวดล้อม นกั ศกึ ษากจ็ ะมแี รงจงู ใจต่อการเรยี น
เพอ่ื ใหเ้ กดิ ความช�ำ นาญ (Relate) ในการเรยี น นกั ศกึ ษาตอ้ ง “ฝกึ ทกั ษะ
องคป์ ระกอบ” ฝกึ น�ำ องคป์ ระกอบมาบรู ณาการเขา้ ดว้ ยกนั เพอื่ ใชง้ าน
ในบริบทที่หลากหลาย เกิดความชำ�นาญในการบูรณาการต่างแบบ
ในต่างบรบิ ทของการใช้งาน
ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ 21
นกั ศกึ ษาตอ้ งไมใ่ ชแ่ คเ่ รยี น “ความร”ู้ และ “ทกั ษะ” เปน็ ทอ่ นๆ แตต่ อ้ ง
ฝกึ น�ำ มาใชง้ านทซี่ บั ซอ้ นและหลากหลาย นกั ศกึ ษาตอ้ งไดฝ้ กึ น�ำ แตล่ ะทอ่ น
เหลา่ นัน้ มาประกอบกันเข้าเป็นชุด ส�ำ หรับใชง้ านแต่ละประเภท ทจ่ี ำ�เพาะ
ตอ่ แต่ละสถานการณ์ นกั ศกึ ษาตอ้ งได้ฝึกเช่นน้ีจนคล่องแคล่ว ในด้านการ
น�ำ ความรู้มาใช้ในหลากหลายสถานการณ ์
ครูต้องทำ�ความเข้าใจขั้นตอนของการพัฒนาความชำ�นาญนี้ ในตัว
นักศึกษาเพื่อให้ครูทำ�หน้าท่ีโค้ช ฝึกความชำ�นาญแก่นักศึกษาอย่างเป็น
ขั้นตอน
การฝกึ ปฏบิ ตั อิ ยา่ งมเี ปา้ หมาย ผสานกบั การไดร้ บั ค�ำ แนะน�ำ ปอ้ นกลบั
(Feedback) อยา่ งชดั เจน ช่วยให้นกั ศึกษาเรียนรู้ได้อยา่ งมคี ณุ ภาพ
การเรยี นรอู้ ยา่ งมเี ปา้ หมายและเขา้ ใจเปา้ หมายในมติ ทิ ลี่ กึ และชดั เจน
(มีเกณฑ์ของการบรรลุผลสำ�เร็จ) กำ�หนดเป้าหมายที่ท้าทายในระดับ
ที่เหมาะสม ปริมาณความรู้เหมาะสม และทำ�ซ้ำ�บ่อยๆ อย่างเหมาะสม
จะนำ�ไปสู่ความชำ�นาญ นอกจากนั้น นักศึกษายังต้องการคำ�แนะนำ�
ใหก้ �ำ ลงั ใจและสะทอ้ นกลบั วา่ นกั ศกึ ษาบรรลผุ ลส�ำ เรจ็ ในสว่ นใดเปน็ อยา่ งดี
แลว้ ยังท�ำ ไมไ่ ด้ดใี นส่วนใด ควรตอ้ งปรับปรุงอยา่ งไร โดยให้คำ�แนะนำ�นี้
ในโอกาสเหมาะสม ดว้ ยวธิ กี ารทเ่ี หมาะสม ในความถท่ี เ่ี หมาะสม จะชว่ ยให้
การเรียนมคี วามกา้ วหน้า และบรรลผุ ลในระดบั เช่ยี วชาญได้
ระดับพัฒนาการในปัจจุบันของนักศึกษามีปฏิสัมพันธ์กับสภาพ
บรรยากาศในชน้ั เรยี น ทางด้านสงั คม อารมณ์ และปญั ญา สง่ ผลตอ่
การเรยี นรู้
การเรียนรู้ที่มีความสำ�คัญต่อนักศึกษาไม่ได้มีเฉพาะด้านสติปัญญา
เท่านั้น ยังมีเร่ืองทางสังคมและอารมณ์ควบคู่ไปด้วยพร้อมๆ กัน ครูพึง
ตระหนักว่า นักศึกษายังไม่มีวุฒิภาวะสูงสุดในด้านสังคมและอารมณ์
ยงั อยรู่ ะหวา่ งการเรยี นรพู้ ฒั นาไปพรอ้ มๆ กบั พฒั นาการของรา่ งกาย ในสว่ น
พฒั นาการทางรา่ งกายนั้น กระบวนการเรียนร้ไู ม่สามารถเขา้ ไปยงุ่ เก่ยี วได้
แต่เข้าไปส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ได้ ผ่านการจัด
22 การเรยี นรู้เกิดข้นึ อย่างไร
บรรยากาศในหอ้ งเรยี น
บรรยากาศเชงิ ลบ มผี ลขดั ขวางการเรียนรู้ บรรยากาศเชงิ บวก ชว่ ย
ส่งเสริมการเรียนรู้เพ่ือบรรลุการเป็นผู้กำ�กับดูแลการเรียนรู้ของ
ตนเองได ้ นกั ศกึ ษาตอ้ งฝกึ ทกั ษะการตรวจสอบประเมนิ และปรบั ปรงุ
กระบวนการการเรียนรขู้ องตนเอง
นกั ศกึ ษาตอ้ งไดเ้ รยี นรแู้ ละฝกึ ฝนกระบวนการท�ำ ความเขา้ ใจการเรยี นรู้
(Metacognitive Process) คอื เรยี นรกู้ ารเรยี นรู้ เพอ่ื ใหเ้ ขา้ ใจการเรยี นรขู้ อง
ตนเอง และสามารถปรบั ปรงุ พฒั นาการเรยี นรขู้ องตนเองได ้ ไดแ้ ก่ รจู้ ดุ ออ่ น
จุดแข็งของตนเอง รู้ความยากง่ายของบทเรียน รู้วิธีเรียนวิธีต่างๆ รู้วิธี
ประเมนิ ตรวจสอบว่าวธิ เี รยี นนนั้ ๆ ให้ผลดีแคไ่ หน
นักศึกษาโดยท่ัวไปไม่สามารถพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้ด้วยตนเอง
ครูต้องจัดกระบวนการการเรียนรู้เพ่ือให้ศิษย์พัฒนาทักษะเหล่านี้ นี่คือ
ทกั ษะดา้ นการเรียนรู้ (Learning Skills)
วิจารณ์ พานชิ
๖ ธ.ค. ๕๕
ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 23
24 การเรียนร้เู กดิ ข้นึ อยา่ งไร
๒.การเรยี นร้เู กดิ ขึน้ อยา่ งไร
ความรูเ้ ดมิ
สง่ ผลต่อการเรียนรู้
ของนักศกึ ษาอย่างไร
ตอนท่ี ๒ นี้ มาจากบทท่ี ๑
How Does Students’ Prior Knowledge Affect Their Learning?
ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 25
คณุ ค่าที่ส�ำ คญั ยิ่ง ของครูในศตวรรษ
ที่ ๒๑ คอื การทำ�หนา้ ที่ตรวจสอบความ
เขา้ ใจผดิ ๆ ของนกั ศกึ ษาแลว้ หาทางแกไ้ ขเสยี
สำ�หรับเป็นพื้นความรู้ที่ถูกต้องแม่นยำ�ให้
ศิษย์น�ำ ไปใช้จบั ความรใู้ หม่ เพอื่ การเรยี นรู้
ทถ่ี ูกตอ้ งในอนาคต
26 การเรียนรเู้ กดิ ข้นึ อย่างไร
ช่ือของบทน้ีทำ�ให้ผมนึกถึงคำ�ว่าความรู้สะสม “Met Before” ที่ครู
โรงเรยี นเพลนิ พฒั นาใชเ้ ปน็ ขน้ั ตอนหนงึ่ ในการส�ำ รวจพน้ื ความรขู้ องนกั เรยี น
ส�ำ หรับนำ�มาใช้ออกแบบการเรยี นรูใ้ ห้ตอ่ ยอดจากพนื้ ความรเู้ ดิม
หลกั การของการเรยี นรู้คอื การเอาความรเู้ ดมิ มาใชจ้ บั ความรใู้ หม ่ แลว้
ต่อยอดความรู้ของตนข้ึนไป นักศึกษาที่มีความรู้เดิมแบบไม่รู้ชัด หรือรู้มา
ผิดๆ ก็จะจับความรู้ใหม่ไม่ได้ หรือจับผิดๆ ต่อยอดผิดๆ การเรียนรู้แบบ
เชย่ี วชาญหรอื ช�ำ นาญ (Relate) กจ็ ะไมเ่ กดิ และทส่ี �ำ คญั จะท�ำ ใหน้ กั ศกึ ษา
ตกอยใู่ นสภาพ “เรยี นไมร่ เู้ รอ่ื ง” สง่ ผลตอ่ เนอ่ื งใหเ้ บอ่ื การเรยี น และการเรยี น
ล้มเหลวกลางคัน
ตรงกันข้าม นักศึกษาที่ความรู้เดิมแน่นแม่นย�ำ ถูกต้อง ก็จะสามารถ
เอาความรเู้ ดมิ มาจบั ความรใู้ หม่ และตอ่ ยอดความรขู้ องตนไดอ้ ยา่ งรวดเรว็
และมคี วามสขุ สนกุ สนาน เกิดปตี ิสุขในการเรยี น
บนั ทึกตอนท่ี ๒ และ ๓ จงึ จะอธบิ ายวิธีการทบทวนความรเู้ ดมิ และ
นำ�มาใช้ในการล่อและจับความรู้ใหม่ สำ�หรับต่อยอดความรู้ขึ้นไป โดย
บันทึกตอนที่ ๒ จะมี ๓ หัวข้อใหญ่ คือ (๑) การปลุกความรู้เดิม (๒) วิธี
ตรวจสอบความรู้เดิมของนักศึกษา (๓) วธิ ีกระตนุ้ ความรทู้ ี่แม่นยำ�
ปลุกความรู้เดมิ
ความรมู้ หี ลายประเภท ประเภทหนง่ึ เรยี กวา่ “ความรทู้ แ่ี สดงใหเ้ หน็ ได”้
(Declarative Knowledge) หรือ “Know What” อีกประเภทหนึ่งเรียกว่า
“ความรเู้ ชิงกระบวนการ” (Procedural Knowledge) หรอื “Know How”
และ “know When” ซึ่งในคำ�ไทยน่าจะหมายถึง รู้จักกาลเทศะ หรือการ
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 27
ประยกุ ตใ์ ชค้ วามรู้และผมคดิ วา่ DK นา่ จะใกลเ้ คยี งกบั Explicit Knowledge
และ PK นา่ จะใกลเ้ คียงกับ Tacit Knowledge
ผมตีความตามความรู้เดิมเร่ืองการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของ
ตนเอง วา่ DK คอื ตวั สาระความร ู้ หรอื ความรเู้ ชงิ ทฤษฎ ี ไมเ่ พยี งพอส�ำ หรบั
การเรยี นรใู้ นศตวรรษท่ี ๒๑ ตอ้ งเรยี นรู้ PK หรอื ความรปู้ ฏบิ ตั ิ ซงึ่ กค็ อื ทกั ษะ
ในการประยุกต์ใช้ความรูไ้ ปในเวลาเดียวกนั ดว้ ย
ย้ำ�ว่า ต้องมีทั้งสองแบบของความรู้ และรู้จักใช้ให้เสริมกันอย่าง
เหมาะสม จึงจะเป็นประโยชน์จริง
บอกสาระความรู้ได้ แต่เอาไปใช้ไม่เป็น ยังไม่ใช่การเรียนรู้ท่ีดี และ
ตรงกนั ขา้ มเอาความรไู้ ปใชท้ �ำ งานได้ แตอ่ ธบิ ายไมไ่ ดว้ า่ ท�ำ ไมจงึ ไดผ้ ล กย็ งั
ไม่ใช่การเรียนรทู้ ่ดี ี ตอ้ งทงั้ ทำ�ได้ และอธบิ ายได้ คือตอ้ งมที ั้ง DK และ PK
จึงจะเปน็ การเรียนรู้ท่คี รบถ้วน
ผลการวจิ ยั บอกวา่ การมคี วามรเู้ ดมิ เอามารบั ความรใู้ หม่มคี วามส�ำ คญั
มากต่อการเรียนรู้และจดจำ�ความรู้ใหม่ และแม้นักศึกษาจะมีความรู้เดิม
ในเรอ่ื งนน้ั แตอ่ าจนกึ ไมอ่ อก การทค่ี รมู วี ธิ ชี ว่ ยใหน้ กั ศกึ ษานกึ ความรเู้ ดมิ ออก
จะช่วยการเรียนรู้ได้มาก นี่คือเคล็ดลับสำ�คัญในการทำ�หน้าที่ครูแห่ง
ศตวรรษที่ ๒๑ ในการสง่ เสรมิ การเรยี นรจู้ ากการลงมอื ปฏบิ ตั ดิ ว้ ยตนเองของ
นักศกึ ษา
ผลการวิจัยบอกว่า วิธีกระตุ้นทำ�โดยต้ังคำ�ถาม Why? จะช่วยให้
นักศกึ ษานกึ ออก
ถงึ ตอนนผี้ มกน็ กึ ออกวา่ ในบรบิ ทไทย นค่ี อื โจทยว์ จิ ยั ส�ำ หรบั นกั ศกึ ษา
ปริญญาเอก ดังตัวอย่าง “วิธีปลุกความรู้เดิม ข้ึนมารับความรู้ใหม่
ในนักเรยี นไทยระดับ ป.๕”
กรณีทคี่ วามร้เู ดิมถกู ต้อง แตไ่ มเ่ พยี งพอ
นักศึกษาอาจมีความรู้ชนิด DK อย่างถูกต้องครบถ้วน ตอบคำ�ถาม
แบบ Recall ไดอ้ ย่างดี แตเ่ มื่อเผชิญสถานการณ์จรงิ นักศึกษาไม่สามารถ
ประยุกต์ใชค้ วามร้นู ้ันได้ (เพราะขาด PK) สมยั ผมเป็นนักศกึ ษาแพทย์โดน
อาจารยด์ า่ ในเรอ่ื งนเี้ ปน็ ประจ�ำ สมยั ผมเปน็ อาจารยอ์ าจารยห์ มอทา่ นหนง่ึ
28 การเรยี นรเู้ กิดขึน้ อยา่ งไร
บ่นให้ฟังบ่อยๆ ว่าพานักศึกษาแพทย์ไปราวนด์คนไข้ เมื่อมีคนนำ�เสนอ
ประวัตกิ ารตรวจร่างกายและผลการตรวจทางห้องปฏบิ ตั ิการ แลว้ อาจารย์
ถามนักศึกษาแพทย์ว่า หากนักศึกษาแพทย์เป็นเจ้าของคนไข้ จะปฏิบัติ
รักษาอย่างไร นักศึกษาแพทย์มักตอบว่า “ถ้า .... ก็ ....” คือตอบ
ดว้ ย DK ไมส่ ามารถน�ำ เอา PK มาประกอบค�ำ ตอบได ้ สมยั นน้ั (กวา่ ๓๐ ปี
มาแล้ว) นักศึกษาถูกกล่าวหาว่าบกพร่องในการเรียน (เราเรียกว่าโดน
อาจารย์ดา่ )
แต่สมยั น้ี หากถือตามหนงั สอื How Learning Works เลม่ นี้ อาจารย์
หมอทา่ นหนง่ึ คอื ครไู มไ่ ดช้ ว่ ยใหน้ กั ศกึ ษาเชอ่ื มโยง PK กบั DK คอื จรงิ ๆ แลว้
นักศึกษากำ�ลังอยู่ในกระบวนการเช่ือมโยงความรู้สองชนิดเข้าด้วยกัน
การเรยี นโดย Ward Round ของนักศกึ ษาแพทย์เปน็ การเรยี นเพอ่ื เชอื่ มโยง
ความรสู้ องชนดิ น ี้ และอาจารยค์ วรเขา้ ใจกลไกการเรยี นรนู้ ้ี และรวู้ ธิ กี ระตนุ้
หรือปลุกความร้เู ดมิ ขึ้นมาประยกุ ตใ์ ชต้ ามสถานการณ์
รายวิชาใด ยังไม่มีขั้นตอนการเรียนรู้โดยการฝึกประยุกต์ใช้ความรู้
(แบบ Ward Round ของนกั ศกึ ษาแพพย)์ กค็ วรจดั ใหม้ ี และนค่ี อื โจทยว์ จิ ยั
และพฒั นาสำ�หรับ Scholarship of Instruction ในวิชาของทา่ น
ผลการวจิ ยั บอกวา่ อาจารยส์ ามารถชว่ ยปลกุ ความรเู้ ดมิ ของนกั ศกึ ษา
โดยการตง้ั ค�ำ ถามทเ่ี หมาะสม ซง่ึ ผมเรยี กวา่ “ค�ำ ถามน�ำ ” และหนงั สอื เลม่ น้ี
เรยี กวา่ Elaborative Interrogation และหนงั สือเล่มน้ีย�้ำ ว่าเปน็ หนา้ ทขี่ อง
อาจารย์ ท่ีจะต้องช่วยปลุกความรู้เดิมของนักศึกษาข้ึนมารับความรู้ใหม่
หรอื ขึ้นมาท�ำ ให้การเรียนรคู้ รบถ้วนข้นึ
วธิ ปี ลกุ ความรเู้ ดมิ ของนกั ศกึ ษาวธิ หี นง่ึ ท�ำ โดยใหน้ กั ศกึ ษารวู้ า่ ความรู้
ในวชิ านัน้ ๆ เชอื่ มโยงหรอื เกีย่ วข้องกบั ชีวติ จรงิ ของตนอยา่ งไร
ท่ีจริงหนังสือ How Learning Works เล่มนี้ กล่าวถึงผลงานวิจัย
มากมาย แตผ่ มไมไ่ ดเ้ อามาเลา่ ตอ่ เอามาเฉพาะการใชป้ ระโยชนจ์ ากผลงาน
วิจัยเหลา่ นั้น
กรณีท่คี วามรูเ้ ดิมไมเ่ หมาะสม
นักศึกษามีทั้งความรู้เชิงเทคนิค หรือความรู้เชิงวิชาการ และความรู้
ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 29
จากชีวิตประจำ�วัน และนักศึกษาอาจสับสนระหว่างความรู้ ๒ ประเภทนี้
ความสับสน นำ�เอาความรู้ในชีวิตประจำ�วันมาต่อยอดความรู้ทางวิชาการ
อาจท�ำ ใหค้ วามรูบ้ ิดเบ้ียว
หนังสือสรปุ ว่า ผลงานวิจัยบอกครู ๔ ประการคือ
(๑) ครตู ้องอธิบายการนำ�ความร้ไู ปใช้ในต่างบริบทอยา่ งชดั เจน
(๒) สอนทฤษฎีหรือหลักการท่ีเป็นนามธรรม พร้อมกับยกตัวอย่างที่
เปน็ รปู ธรรม หลากหลายรปู แบบ หลากหลายบรบิ ท
(๓) เม่อื ยกตวั อยา่ งปรียบเทยี บยกทง้ั ที่เหมอื นและทีแ่ ตกต่าง
(๔) พยายามกระตนุ้ ความรเู้ ดมิ เพอื่ สรา้ งความเชอ่ื มโยงกบั ความรใู้ หม ่
กรณที ค่ี วามรเู้ ดมิ ไมถ่ กู ตอ้ ง
ข้อความในส่วนนี้ของหนังสือ บอกเราว่า นักศึกษามีความรู้เดิมที่
ผดิ พลาดมากกวา่ ทเ่ี ราคดิ และความรทู้ ผ่ี ดิ พลาดบางสว่ นเปน็ “ความฝงั ใจ”
แกไ้ ขหรอื เปลย่ี นแปลงยากมาก แต่ครกู ต็ อ้ งท�ำ หนา้ ทช่ี ่วยแกไ้ ขความร้เู ดมิ
ทไี่ มถ่ ูกตอ้ งเหลา่ น ี้
ครตู ้อง
(๑) ประเมนิ ความรเู้ ดิมของนักศึกษา ตรวจหาความร้เู ดมิ ทผ่ี ดิ พลาด
ในส่วนท่เี กีย่ วข้องกับรายวิชาท่นี กั ศึกษาก�ำ ลงั เรยี น
(๒) กระตุ้นความรู้เดิมที่ถูกต้องของนกั ศึกษา
(๓) ตรวจสอบความรู้เดิมทย่ี งั บกพรอ่ ง
(๔) ชว่ ยนกั ศกึ ษาหลกี เลย่ี งการประยกุ ตค์ วามรเู้ ดมิ ผดิ ๆ คอื ไมเ่ หมาะสม
ต่อบริบท
(๕) ชว่ ยให้นักศกึ ษาแกไ้ ขความรู้ผดิ ๆ ของตน
30 การเรยี นรเู้ กดิ ข้นึ อย่างไร
วธิ ตี รวจสอบความรเู้ ดมิ ของนกั ศกึ ษาทง้ั ดา้ นความเพยี งพอ และดา้ น
ความถูกต้อง ทำ�ได้ดงั น้ี:-
คยุ กบั เพื่อนครู
วิธีท่ีง่ายที่สุดคือ ถามเพ่ือนครูท่ีเคยสอนนักศึกษากลุ่มน้ีมาก่อนว่า
นักศึกษามีผลการเรียนเป็นอย่างไร ส่วนไหนท่ีนักศึกษาเรียนรู้ได้ง่าย
สว่ นไหนท่ีนกั ศึกษามักจะเขา้ ใจผิด หรอื มีความยากลำ�บากในการเรียนร้ ู
จดั การทดสอบเพื่อประเมิน
อาจจัดทำ�ได้ง่ายๆ โดยทดสอบในช่วงต้นของภาคการศึกษา อาจ
จดั การทดสอบอย่างง่ายๆ แบบใดแบบหน่ึง ดังน ี้ (๑) Quiz (๒) สอบแบบ
ใหเ้ ขียนเรยี งความ (๓) ทดสอบ Concept Inventory โดยอาจคน้ ขอ้ สอบ
ของวิชาน้นั ๆ ไดจ้ ากอนิ เทอร์เน็ต เอามาปรบั ใช้
ให้นกั ศกึ ษาประเมินตนเอง
ทำ�โดย ครูจัดทำ�แบบสอบถามมีคำ�ถามตามพ้ืนความรู้หรือทักษะท่ี
นกั ศกึ ษาตอ้ งมมี ากอ่ นเรยี นวชิ านน้ั และทเ่ี ปน็ เปา้ หมายของการเรยี นวชิ านน้ั
จดั ท�ำ เปน็ แบบสอบถามแบบใหเ้ ลอื กค�ำ ตอบทตี่ รงกบั ตวั นกั ศกึ ษามากทสี่ ดุ
ค�ำ ตอบได้แก่
• ฉันเคยได้ยนิ /เห็น มาก่อน (คนุ้ เคย)
• ฉนั สามารถบอกความหมาย/นยิ าม ได้ (ความรู้ระดับ Factual)
• ฉันอธิบายให้คนอ่ืนเข้าใจได้ (Conceptual)
• ฉันสามารถใชแ้ กป้ ัญหาได้ (Application)
ใช้การระดมสมอง
การระดมสมองในชน้ั เรยี น ตอบค�ำ ถามทค่ี รตู ง้ั อาจชว่ ยใหค้ รปู ระเมนิ
พื้นความรู้ของนักศึกษาได้ แม้จะเป็นการประเมินที่ไม่เป็นระบบและอาจ
ไมแ่ มน่ ย�ำ นกั โดยประเภทค�ำ ถามของครจู ะชว่ ยใหค้ รปู ระเมนิ พนื้ ความรวู้ า่
อยใู่ นระดบั ใดได ้ เชน่ “นกั ศกึ ษานกึ ถงึ อะไร เมอื่ ไดย้ นิ ค�ำ วา่ ...” (ตรวจสอบ
ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 31
ความเช่อื ความเชอ่ื มโยง) “องคป์ ระกอบส�ำ คัญของ … มีอะไรบา้ ง” (ถาม
ความร-ู้ Factual) “หากจะด�ำ เนนิ การเรอื่ ง ... นกั ศกึ ษาจะเรมิ่ อยา่ งไร” (ถาม
ProceduralKnowledge)“หากจะด�ำ เนนิ การเรอ่ื งขา้ งตน้ ในชาวเขาภาคเหนอื
มีประเด็นที่ต้องดำ�เนินการต่างจากในภาคอื่นอย่างไร”(ถาม Contextual
Knowledge)
ให้ทำ�กิจกรรม Concept Map (ผังเชื่อมโยงหรือแผนผังความ
สัมพันธ์)
Concept Map เป็นได้ท้ังเคร่ืองมือเรียนรู้ และเคร่ืองมือประเมิน
พ้นื ความรู้ หากครตู ้องการประเมนิ ทง้ั ความรเู้ ก่ยี วกับ Concept และความ
เชื่อมโยงระหวา่ ง Concept กอ็ าจให้นกั ศึกษาเขียนเองทัง้ Concept และ
Link ระหวา่ ง Concept หากต้องการรู้ความคดิ เช่อื มโยงเท่านัน้ ครอู าจให้
ค�ำ ทเ่ี ปน็ Concept จ�ำ นวนหนง่ึ ในวชิ านน้ั ๆ ใหน้ กั ศกึ ษาเขยี น Link เชอ่ื มโยง
สังเกตรูปแบบ (Pattern) ของความเขา้ ใจผิดของนักศึกษา
ความเข้าใจผิดของนักศึกษาท่ีเข้าใจผิดเหมือนๆ กันทั้งช้ัน หรือ
หลายคนในชนั้ สงั เกตเหน็ งา่ ยจากค�ำ ตอบขอ้ สอบ ค�ำ ตอบ Quiz หรอื ในการ
อภิปรายในชั้น หรือครูอาจต้ังคำ�ถามต่อนักศึกษาท้ังชั้น ให้เลือกตัวเลือก
ดว้ ย Clicker จะได้ Histogram ผลคำ�ตอบทแ่ี สดงความเข้าใจผดิ สำ�หรบั
ให้ครอู ธบิ ายความเข้าใจทถี่ กู ตอ้ งแกน่ ักศึกษาเพอื่ แก้ความเข้าใจผดิ
ผลการวิจัยบอกว่า ความเข้าใจผิดบางเรื่องแก้ยากมาก มันฝังใจ
นกั ศกึ ษาครตู อ้ งหมน่ั ชแี้ จงท�ำ ความเขา้ ใจทถ่ี กู ตอ้ ง จากตวั อยา่ งหรอื บรบิ ท
ท่แี ตกตา่ งหลากหลาย
วิธีกระต้นุ ความรู้เดมิ ท่ีแม่นย�ำ
ใชแ้ บบฝกึ หดั
เป็นแบบฝึกหัดเพ่ือช่วยให้นักศึกษาฟ้ืนความจำ�เก่ียวกับความรู้ที่ได้
เรียนมาแล้ว สำ�หรับนำ�มาเช่ือมต่อกับความรู้ใหม่ในบทเรียน ซ่ึงจะช่วย
32 การเรยี นรูเ้ กิดข้นึ อยา่ งไร
ใหก้ ารเรยี นมปี ระสทิ ธผิ ลเพม่ิ ขนึ้ มาก ท�ำ ไดห้ ลากหลายวธิ ี เชน่ ใหน้ กั ศกึ ษา
ระดมความคิดวา่ ความรใู้ หม่ท่ีเพ่งิ ได้เรียน เชื่อมโยงกับความรเู้ ดมิ อย่างไร
หรือให้ทำ� Concept Map
ครูตอ้ งตระหนกั วา่ กิจกรรมนี้อาจทำ�ใหเ้ กดิ การเรยี นความรูท้ ่ีถกู ต้อง
กไ็ ด้ เกดิ การเรยี นความรทู้ ผี่ ดิ กไ็ ด้ ครตู อ้ งคอยระวงั ไมใ่ หน้ กั ศกึ ษาหลงจดจ�ำ
ความรผู้ ดิ ๆ
เชอื่ มโยงวชิ าใหม่กับความรู้ในวชิ าท่เี รียนมาแลว้
นักศึกษามักเรยี นแบบแยกสว่ น (Compartmentalize) ความรู้ แยก
ความรจู้ ากตา่ งวชิ า ตา่ งภาควชิ า ตา่ งคณะ ตา่ งอาจารย์ ซง่ึ ในความเปน็ จรงิ
แล้ว ความรู้เชอื่ มโยงกันหมด ครูจงึ ต้องอธบิ ายความเชอื่ มโยงใหช้ ดั เจน
เชื่อมโยงวชิ าใหม่กบั ความรูใ้ นวชิ าทีค่ รเู คยสอน
การทีค่ รเู อย่ ถึงวิชาท่นี กั ศึกษาเคยเรียนไปแลว้ (เพียง ๒ - ๓ ประโยค)
เอามาเช่ือมโยงกับวิชาที่นักศึกษากำ�ลังจะเรียน จะช่วยการเรียนรู้ของ
นักศึกษาอย่างมากมาย
อาจให้นักศึกษาทำ�แบบฝึกหัดเชื่อมโยงความรู้เรื่อง ก ที่เรียนไปเมื่อ
๒ สัปดาห์ที่แล้ว กับเรอื่ ง ข ทเ่ี พง่ิ เรียนในวนั นี ้ หรอื ใหก้ ารบ้าน ใหน้ กั ศกึ ษา
ไปทำ� Reflection เขียนเชื่อมโยงความรู้ในรายวิชาที่เรียนไปตอนต้นเทอม
เข้ากบั ความร้ทู ่ีไดเ้ รียนในสปั ดาหน์ ้ี เป็นตน้
ใช้การเปรียบเทียบเช่ือมโยงเข้ากบั ชวี ิตประจำ�วัน
การอธิบายความรู้เชื่อมโยงเข้ากับประสบการณ์ของตัวนักศึกษาเอง
หรอื เขา้ กบั ชวี ติ ประจ�ำ วนั ใกลต้ วั นกั ศกึ ษาจะชว่ ยใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจชดั เจนขน้ึ
เช่น เมอ่ื สอนเรอ่ื งพฒั นาการเด็ก ครูอาจเอย่ เตอื นความทรงจำ�ให้นกั ศกึ ษา
คดิ ถึงตนเองตอนเป็นเด็ก หรือคิดถงึ นอ้ งของตน เม่ือเรียนวชิ าเคมี อาจเอ่ย
ถึงตอนปรงุ อาหาร
ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ 33
ให้นกั ศกึ ษาใหเ้ หตุผลตามความรเู้ ดิมของตน
เม่ือจะเรียนความรู้ใหม่ ครูอาจกระตุ้นความรู้เดิมโดยให้แบบฝึกหัด
ตั้งคำ�ถามท่ีกระตุ้นให้นักศึกษาทบทวนดึงเอาความรู้ที่มีอยู่แล้ว เอามา
อธิบายหรอื ตอบโจทยท์ ี่ครตู ้งั
ข้อสังเกตของผม
โปรดสังเกตวา่ ในบันทึกน้ี (และบนั ทกึ ต่อๆ ไป) ครทู �ำ หนา้ ที่ Smart
Teaching โดยตั้งโจทย์หรือคำ�ถามที่เหมาะสมให้นักศึกษาตอบ เพ่ือการ
เรยี นรู้ของนกั ศึกษา ไมใ่ ชค่ รูทำ�หนา้ ท่บี อกสาระความร ู้
คุณค่าท่ีสำ�คัญยิ่งของครูในศตวรรษที่ ๒๑ คือ การทำ�หน้าท่ี
ตรวจสอบความเขา้ ใจผดิ ๆ ของนกั ศกึ ษาแลว้ หาทางแกไ้ ขเสยี ส�ำ หรบั
เป็นพ้ืนความรู้ท่ีถูกต้องแม่นยำ�ให้ศิษย์นำ�ไปใช้จับความรู้ใหม่ เพ่ือ
การเรยี นรทู้ ่ถี กู ตอ้ งในอนาคต
วิจารณ์ พานิช
๘ ธ.ค. ๕๕
34 การเรยี นรเู้ กดิ ขน้ึ อยา่ งไร
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 35
36 การเรียนร้เู กดิ ข้นึ อยา่ งไร
๓.การเรียนรเู้ กดิ ขึ้นอย่างไร
วธิ จี ัดการความร้เู ดมิ
ตอนท่ี ๓ น้ี มาจากบทท่ี ๑
How Does Students’ Prior Knowledge Affect Their Learning?
ศ.นพ.วิจารณ์ พานชิ 37
ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ นี้ คุณค่าของครู
อยตู่ รงชว่ ยใหน้ กั ศกึ ษาเรยี นรตู้ รงทางนแ่ี หละ
คอื นกั ศกึ ษามปี ญั หาเรยี นรมู้ าผดิ ๆ มากกวา่
ทเ่ี ราคดิ พน้ื ความรทู้ บ่ี ดิ เบย้ี วน้ี ท�ำ ใหเ้ อามา
ต่อความร้ใู หมไ่ มต่ ิด หรอื ตอ่ ติดก็ย่งิ ขยาย
ความเข้าใจผิดๆ ย่ิงข้นึ ไปอีก
38 การเรียนรเู้ กิดข้ึนอยา่ งไร
เม่ือ “ความรู้เดมิ ” เป็นปัจจัยส�ำ คัญในการเรยี นรขู้ องนักศกึ ษา ครูจะ
มีบทบาทกระตนุ้ การเรยี นร้ขู องนักศกึ ษาจากความร้เู ดิมไดอ้ ย่างไร
ตอนท่ี ๓ น้ี มาจากบทท่ี ๑ How Does Students’ Prior Knowledge
Affect Their Learning?
ในบนั ทกึ ตอนท่ี๓จะเพม่ิ เตมิ อกี ๓หวั ขอ้ ใหญ่คอื (๑)วธิ ที �ำ ความเขา้ ใจ
ความร้เู ดมิ ท่ไี ม่เพยี งพอ (๒) วธิ ชี ่วยใหน้ กั ศึกษาตระหนกั ว่าความรเู้ ดมิ ของ
ตนยงั ไมเ่ หมาะสม (๓) วิธีแกค้ วามรูผ้ ิดๆ
วิธที ำ�ความเขา้ ใจความรเู้ ดมิ ทไ่ี มเ่ พียงพอ
ระบคุ วามร้เู ดมิ ทค่ี รคู าดหวังวา่ นักศึกษาตอ้ งมี
ครูต้องทำ�ความชัดเจนกับตนเอง ว่าพื้นความรู้ท่ีนักศึกษาต้องมีคือ
อะไรบ้าง จงึ จะเรยี นวิชาท่ีตนก�ำ ลงั สอนไดด้ ี โดยตอ้ งไม่ลืมว่า ตอ้ งก�ำ หนด
ทง้ั DK และ PK
จัดการเรียนร้เู สรมิ
หากเห็นชัดว่านักศึกษามีพื้นความรู้เดิมไม่เพียงพอ โดยครูอาจ
แกป้ ัญหาได้หลายอย่าง ตง้ั แตแ่ นะนำ�นักศึกษาทข่ี าดพน้ื ความรอู้ ยา่ งแรง
ใหถ้ อนวชิ าไปกอ่ น ใหไ้ ปเรยี นวชิ าทจี่ �ำ เปน็ ตอ้ งรลู้ ว่ งหนา้ เสยี กอ่ น ไปจนถงึ
ให้นักศึกษาบางคนที่ขาดความรู้บางด้านหาความรู้เพิ่มเติมให้ตนเอง
โดยเอารายการคำ�ศัพท์เฉพาะวิชาไปค้นคว้าท�ำ ความเขา้ ใจเอง
ในกรณีที่มีนักศึกษาจำ�นวนมากขาดความรู้สำ�คัญส่วนหนึ่ง ครูอาจ
ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 39
ตอ้ งใชเ้ วลา ๑ - ๒ คาบ ทบทวนความรู้เหล่านนั้ หรอื อาจนดั มาสอนนอก
เวลา
ถา้ พืน้ ความรู้ของนักศึกษาไม่ตรงกบั ท่กี ำ�หนดไวใ้ นรายวชิ าอยา่ งแรง
อาจตอ้ งแกไ้ ขขอ้ ก�ำ หนดเงอ่ื นไขการลงเรยี นรายวชิ านนั้ รวมทง้ั แกไ้ ขสาระ
ความรทู้ ่ีเรยี นในรายวชิ าน้ัน ซ่งึ เป็นเรื่องใหญ่ เพราะอาจไปกระทบวชิ าอน่ื
ตอ้ งมกี ารปรกึ ษาหารอื กนั ในภาควิชา หรอื ในคณะ
วิธีช่วยใหน้ กั ศึกษาตระหนักวา่ ความรู้เดมิ ของตนไม่เหมาะสม
ยกประเดน็ เร่ืองการนำ�ความรูม้ าใช้งาน
ครูของวิชาน้ันๆ สามารถตั้งคำ�ถามด้านการนำ�ความรู้มาใช้งาน
เพ่ือให้นักศึกษาได้ตระหนักว่าพื้นความรู้ของตนในเรื่องน้ันๆ ยังไม่แน่น
ยงั ไมร่ จู้ รงิ เชน่ ในวชิ าสถติ ิ ครอู าจตง้ั ค�ำ ถามวา่ จะใช้ Regression Analysis
มาคำ�นวณความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามท่ีครูยกมา (เป็นตัวแปรเชิง
คณุ ภาพ - Qualitative) ไดอ้ ยา่ งไร แลว้ ครจู งึ อธบิ ายวา่ Regression Analysis
ใช้ได้กับตัวแปรทีเ่ ปน็ ตัวเลข (Quantitative) เทา่ นั้น
มตี วั ช่วยให้นักศึกษาหลกี เลี่ยงการใช้งานผดิ ๆ
เช่น ครูมีคำ�ถามมอบให้นักศึกษาเอาไว้เตือนสติตนเอง เพ่ือไม่ให้
หลงทาง ครทู มี่ ปี ระสบการณจ์ ะรวู้ า่ สว่ นไหนในวชิ านน้ั ทน่ี กั ศกึ ษาหลงทาง
บ่อยๆ
ระบุวธิ กี ารทีจ่ ำ�เพาะต่อสาขาวชิ านั้นๆ อยา่ งชดั เจน
ตามปกติ นักศึกษาต้องเรียนหลายวิชาในเวลาเดียวกัน และอาจ
สบั สนถอ้ ยค�ำ หรอื วธิ กี ารทใี่ ชต้ า่ งกนั ในตา่ งสาขาวชิ า เชน่ นกั ศกึ ษาอาจฝกึ
การเขียนด้วยสไตลท์ แ่ี ตกตา่ งกันในวิชาวทิ ยาศาสตร์ (เขยี น Lab Report)
วชิ าประวตั ศิ าสตร์ (เขยี นเรยี งความเชงิ วเิ คราะห)์ และวชิ าภาษา (เรยี งความ
เชิงบรรยาย) เมื่อมาเรียนวิชานโยบายสาธารณะ นักศึกษาอาจสับสนว่า
ควรใชส้ ไตลก์ ารเขยี นรายงานแบบไหนครจู งึ ควรมคี �ำ แนะน�ำ ใหอ้ ยา่ งชดั เจน
40 การเรยี นรเู้ กดิ ข้ึนอยา่ งไร
ชใี้ ห้เห็นวา่ การเปรียบเทียบบางกรณใี ช้ไมไ่ ด้
การเปรยี บเทยี บ หรอื อปุ มาอปุ มยั เปน็ วธิ กี ารเรยี นรเู้ รอ่ื งทซ่ี บั ซอ้ น และ
เป็นนามธรรม แต่ก็มีข้อจำ�กัดที่นักศึกษาต้องเข้าใจ เช่น เมื่อเปรียบเทียบ
ลำ�ไส้ว่าเหมือนท่อนำ้�ประปา ครูต้องบอกว่า แต่ลำ�ไส้มีความซับซ้อนกว่า
ท่อน้ำ�ประปามาก ผนังลำ�ไส้ไม่เหมือนผนังท่อนำ้�ประปาที่แข็งท่ือ และ
ทำ�หน้าที่ไม่ให้นำ้�รั่วเท่าน้ัน แต่ผนังลำ�ไส้นอกจากเคล่ือนไหวบีบรัดเป็น
จงั หวะแลว้ ยงั ดดู ซมึ สารบางอยา่ งออกไปจากล�ำ ไส ้ และปลอ่ ยสารบางอยา่ ง
ออกมาด้วย
วธิ ีแกค้ วามรผู้ ดิ ๆ
ใหน้ ักศกึ ษาท�ำ นายแลว้ ทดสอบ
วิธีหน่ึงที่อาจช่วยแก้ “ความเช่ือฝังใจ” ของนักศึกษาในเร่ืองใด
เรื่องหนึ่ง ท่ีเป็นความเชื่อผิดๆ แต่แก้ยาก คือให้เห็นด้วยตาของตน หรือ
พิสูจน์ด้วยการทดลองจริงๆ โดยให้นักศึกษาทำ�นายว่าผลของการทดลอง
จะออกมาอยา่ งไร ดว้ ยเหตผุ ลอะไร เมอ่ื ผลออกมาแลว้ กอ็ ภปิ รายกนั ในชน้ั
วา่ ทำ�ไมจงึ ได้ผลเชน่ นน้ั
ผลการวจิ ยั ตามท่อี ้างในหนงั สอื เลม่ น้ี บอกว่า แม้ทำ�อยา่ งนี้แลว้ กจ็ ะ
ยงั มีนักศกึ ษาบางคนท่ยี ังเชอ่ื อย่างเดิม
ใหน้ ักศกึ ษาอธิบายเหตุผลของตน
เมื่อให้นักศึกษาอธิบายเหตุผลของตนนักศึกษาอาจสะดุดเหตุผลท่ี
ขดั แย้งกันเอง (Internal Inconsistency) แลว้ เปลี่ยนความเชอ่ื เอง หรอื ครู
และเพื่อนนักศึกษาอาจช่วยชี้ให้เห็น แต่พึงตระหนักว่า หากเป็นเรื่อง
ความเชื่อ เช่นทางศาสนา แม้จะเห็นเหตุผลท่ีขัดแย้งกันเอง คนเราก็
ไมเ่ ปลย่ี นความเชือ่
ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 41
ให้โอกาสนกั ศกึ ษาใชค้ วามร้ทู ี่แมน่ ย�ำ หลายๆ คร้งั
การเปล่ียน “ความเชื่อฝังใจ” เป็นเรื่องยาก ครูต้องอดทน ให้โอกาส
นกั ศกึ ษาประยกุ ตใ์ ชค้ วามรชู้ ดุ นน้ั หลายๆ ครง้ั จนในทสี่ ดุ กเ็ ปลย่ี นความเชอื่
ไปเอง
ใหเ้ วลา
ครคู วรใหเ้ วลานกั ศกึ ษาไตรต่ รองเรอ่ื งนน้ั ๆ เพอ่ื ใหน้ กั ศกึ ษาใชค้ วามรู้
ตรวจสอบด้วยตนเองว่ามีข้อผิดพลาดอยู่ตรงส่วนไหนของความคิด
กระบวนการน้ีจะช่วยเพ่ิมทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical
Thinking) แกน่ ักศกึ ษาด้วย
สรปุ
ผมสรปุ เชงิ ถอดบทเรยี นกบั ตนเองวา่ ในยคุ ศตวรรษท่ี ๒๑ นี้ คณุ คา่
ของครูอยู่ตรงช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้ตรงทางน่ีแหละ คือนักศึกษา
มปี ญั หาเรยี นรมู้ าผดิ ๆ มากกวา่ ทเี่ ราคดิ พน้ื ความรทู้ บี่ ดิ เบย้ี วนี้ ท�ำ ให้
เอามาต่อความรู้ใหม่ไม่ติด หรือต่อติดก็ย่ิงขยายความเข้าใจผิดๆ
ยงิ่ ข้นึ ไปอกี
คณุ คา่ ของครทู แี่ ทจ้ รงิ อยตู่ รงน ้ี ทกี่ ารชว่ ยใหก้ ารเรยี นรขู้ องศษิ ย์
ตรงทาง ถูกต้อง และช่วยแกไ้ ขสว่ นทผี่ ดิ
วจิ ารณ์ พานชิ
๘ ธ.ค. ๕๕
42 การเรยี นรเู้ กิดขน้ึ อยา่ งไร
43
ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช
44 การเรียนร้เู กดิ ข้นึ อยา่ งไร
๔.การเรียนรู้เกิดขนึ้ อยา่ งไร
การจัดระเบียบความรู้
บนั ทึกตอนที่ ๔ อธบิ ายหลกั การเรอ่ื งการจดั ระเบยี บความรู้
มาจากบทที่ ๒ How Does the Way Students Organize
Knowledge Affect Their Learning?
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 45
...การเรียนรู้นั้นเอง ที่เป็นการจัด
ระเบยี บความรู้ เราเรยี นก็เพื่อจัดระเบียบ
ความรใู้ นระบบประสาทของเราใหม้ โี ครงสรา้ ง
ดียิ่งขนึ้ คลอ่ งแคล่วต่อการดึงเอามาใช้งาน
ยง่ิ ขน้ึ คอื การจดั ระเบยี บความรู้ เปน็ ทง้ั เหตุ
และเปน็ ทง้ั ผล อยใู่ นตัวของมันเอง ...
… ขอ้ แนะน�ำ ส�ำ หรบั ครเู พอ่ื ศษิ ย์ คอื
ครตู อ้ งตระหนกั ในความเปน็ “มอื ใหม”่ ของ
ศษิ ย์ ครูในศตวรรษท่ี ๒๑ ไมต่ ้องเนน้ บอก
สาระความรู้ (เพราะศิษยค์ ้นหาเองไดง้ า่ ย)
แต่ครูมคี ุณค่ามาก ในการแนะนำ�วธิ เี รยี นรู้
วธิ จี ัดระเบียบโครงสรา้ งความรูแ้ ก่ศษิ ย์
46 การเรยี นร้เู กดิ ข้นึ อยา่ งไร
วิธีการจัดระเบียบความรู้ มีผลต่อการเรียนรู้
การจดั ระเบยี บความรู้ (Knowledge Organization) เปน็ สว่ นหนงึ่ ของ
การเรียนรู้ สมองของนักศึกษาหรือมือใหม่ด้านความรู้ จะมีความรู้
กระจัดกระจาย ไม่หนาแน่น ยังไม่ค่อยมีการจัดระบบ และการเชื่อมต่อ
ระหวา่ งความรแู้ ตล่ ะชน้ิ กย็ งั ไมด่ ไี มค่ ลอ่ งแคลว่ ตา่ งจากสมองของผเู้ ชย่ี วชาญ
ที่มีความรู้หนาแน่น จัดเป็นระบบที่มีความหมาย (Meaningful) และการ
เชอ่ื มตอ่ ระหวา่ งชน้ิ ความรกู้ ส็ ะดวก ท�ำ ใหผ้ เู้ ชย่ี วชาญสามารถดงึ เอาความรู้
ทีเ่ หมาะสมมาใชง้ านไดอ้ ยา่ งถูกต้องรวดเร็ว
หนงั สอื บอกวา่ การจดั ระเบยี บความรู้ มผี ลตอ่ การเรยี นร ู้ แตผ่ มตคี วาม
ไปไกลกวา่ น้ัน วา่ การเรยี นรู้นนั้ เอง ทีเ่ ป็นการจดั ระเบยี บความรู้ เรา
เรยี นกเ็ พอื่ จดั ระเบยี บความรใู้ นระบบประสาทของเราใหม้ โี ครงสรา้ ง
ดยี ง่ิ ขนึ้ คลอ่ งแคลว่ ตอ่ การดงึ เอามาใชง้ านยงิ่ ขนึ้ คอื การจดั ระเบยี บ
ความรู้ เปน็ ทง้ั เหตุ และเป็นทงั้ ผล อยู่ในตวั ของมันเอง
โครงสรา้ งรับใช้หนา้ ท่ี
มนษุ ยเ์ รยี นรคู้ วามสมั พนั ธต์ า่ งๆจากประสบการณข์ องตนหลากหลาย
แบบของความสมั พนั ธ์ เชน่ ในเรือ่ งดา้ นกายภาพ เราเรยี นรคู้ วามสมั พนั ธ์
ระหว่างสวิตช์ไฟกับแสงสว่าง โดยรู้ว่าเม่ือกดสวิตช์ไฟจะสว่าง ในด้าน
หลักการ เราเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมกับเท่าเทียมกัน
เม่ือสมองของเราเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างส่ิงต่างๆ เพิ่มขึ้น ความรู้จะ
กอ่ ตวั เป็นโครงสร้างทีซ่ ับซอ้ น
รูปแบบของการจัดระเบียบโครงสร้างความรู้ข้ึนกับประสบการณ์
ของคน และสมองจะจดั ระเบยี บความรู้ตามเปา้ หมายการใช้งานเปน็ หลัก
ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ 47
เชน่ นกั ศกึ ษาในวิชากายวิภาคศาสตร์และสรรี วทิ ยา มีการเรยี นเป็นทอ่ นๆ
ตามอวยั วะ และระบบการท�ำ งานของอวยั วะ ไดแ้ ก่ ระบบยอ่ ยอาหาร ระบบ
หายใจ ระบบไหลเวยี นเลอื ด ระบบประสาท เปน็ ตน้ นกั ศกึ ษากจ็ ะจดั ระเบยี บ
โครงสรา้ งความรตู้ ามระบบการท�ำ งานของอวยั วะ เมอ่ื อาจารยต์ ง้ั ค�ำ ถามวา่
ให้ระบุและอธิบายอวัยวะต่างๆ ที่มีผลต่อความดันโลหิต นักศึกษาตอบ
ไมไ่ ด้ เพราะค�ำ ถามนถ้ี ามความรทู้ จ่ี ดั ระเบยี บโครงสรา้ งแตกตา่ งจากทส่ี มอง
ของนกั ศกึ ษาจดั โครงสร้างไว้
ทำ�ให้ผมหวนนึกถึงสมัยตนยังเป็นนักศึกษาแพทย์ อาจารย์สอน
พวกเราเป็นรายโรค ว่าโรคน้ันมีสาเหตุจากอะไร มีอาการความเจ็บป่วย
อย่างไร ตรวจร่างกายพบความผิดปกติอย่างไรบ้าง ตรวจพิเศษพบอะไร
ผิดปกติบ้าง ฯลฯ พอไปดูคนไข้จริงๆ พวกเรางง ไม่รู้จะเร่ิมต้นอย่างไร
เมอ่ื คนไขเ้ ลา่ อาการ เรากค็ ดิ ไมอ่ อกวา่ จะตอ้ งรเี่ ขา้ ไปตรวจรา่ งกายตรงไหน
ผมเพิ่งมาเข้าใจตอนนี้ว่า ท่ีเป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าสมองของพวกเรา
จดั ระเบยี บความร้เู ปน็ รายโรค ไม่ได้จัดโครงสรา้ งความร้สู �ำ หรบั การปฏิบัติ
รักษาผู้ป่วย แต่เมื่อเราฝึกปฏิบัติรักษาผู้ป่วยไม่นาน เราก็คล่อง เข้าใจว่า
เพราะสมองของเราไดจ้ ดั โครงสรา้ งความรอู้ กี แบบหนงึ่ ไวใ้ ชง้ านจรงิ สภาพ
เชน่ นยี้ งั เปน็ จรงิ ส�ำ หรบั นกั ศกึ ษาแพทยใ์ นปจั จบุ นั และนา่ จะมสี ว่ นอธบิ าย
คำ�บ่นของคนบางคนว่าบณั ฑติ ทจี่ บออกมายงั ท�ำ งานไม่เป็น
การจัดระบบความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ ต่างจากของผู้เร่ิมต้น: ความ
หนาแน่นของการเชื่อมต่อของเซลลส์ มอง
ผู้เริ่มต้น (นักเรียน/นักศึกษา) มีความรู้ในสมองกระจัดกระจาย
ไม่หนาแน่น และมีการเชื่อมต่อน้อย ไม่ซับซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างช้ิน
ความรมู้ กั เปน็ หนง่ึ ตอ่ หนง่ึ คอื ผเู้ รม่ิ ตน้ ยงั ไมม่ คี วามสามารถรบั รคู้ วามสมั พนั ธ์
ระหว่างความร้ชู ิ้นต่างๆ ไดม้ ากนกั
48 การเรียนรู้เกดิ ข้นึ อยา่ งไร
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 49
50 การเรียนร้เู กดิ ข้นึ อยา่ งไร