The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mthawat, 2015-11-24 02:14:50

HowcomeLearning

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ดูตัวอยา่ งของการจัดระเบยี บความรู้ของผูเ้ ชยี่ วชาญไดท้ ่นี ่ี
(http://www.w3.org/2009/Talks/1111Peking-KB/figures/
lod.png) ตรงกันข้าม การจดั ระเบยี บความรู้ของผู้เรมิ่ ตน้
จะมี Node น้อย และการเช่อื มต่อระหวา่ ง Node กน็ อ้ ย 
แต่ละ Node เช่ือมโยงกับ Node อ่ืนไมเ่ กิน ๒ Node

51

การจดั ระบบความรขู้ องผเู้ ชยี่ วชาญ ตา่ งจากของผเู้ รม่ิ ตน้ : ธรรมชาติ
ของการเช่ือมตอ่
          ความรขู้ องผเู้ ร่มิ ตน้ นอกจากจะมเี ซลลส์ มองไมห่ นาแน่น แล้วยงั มี
การเช่ือมตอ่ แบบผวิ เผิน  ไมเ่ ช่อื มต่อตามความสมั พนั ธเ์ พอ่ื การแกป้ ญั หา 
          ผูเ้ ช่ยี วชาญ จดั ระบบความรเู้ ปน็ โครงสร้างความสมั พนั ธ์หลากหลาย
แบบแผน (Pattern) แต่ละแบบแผนมีความหมายจำ�เพาะ ไว้ในสมอง 
เมอื่ มปี ญั หาทตี่ อ้ งการแก้ สมองกว็ เิ คราะหโ์ ครงสรา้ งของปญั หา และน�ำ ไป
เปรียบเทียบกับโครงสร้างความรู้ที่มีอยู่ทันที เรียกว่า Pattern Matching 
เมื่อพบ “โครงสร้างความรู้” ที่ตรงกับ “โครงสร้างปัญหา” ก็นำ�มาใช้
แกป้ ญั หาไดอ้ ย่างรวดเร็ว ในทำ�นอง “ไมต่ อ้ งคิด”
นอกจากผู้เชี่ยวชาญจะจัดระเบียบโครงสร้างความรู้เป็นแบบแผน
จ�ำ เพาะแลว้  ยงั จดั กลมุ่ แบบแผนเปน็ กลมุ่ ๆ หรอื เปน็ แผนผงั เพอ่ื ใหส้ ามารถ
ใชค้ วามรไู้ ดอ้ ยา่ งยดื หยนุ่ ยกตวั อยา่ ง เรามแี บบแผนภาพของไดโนเสารอ์ ยู่
ในสมอง เราไม่จำ�เป็นต้องมีแบบแผนของไดโนเสาร์แต่ละชนิดแยกๆ กัน 
แต่สามารถจัดโครงสร้างระเบียบภาพไดโนเสาร์ในสมอง เป็นแผนผังแยก
เปน็ ตา่ งชนดิ  ท�ำ ใหช้ ว่ ยประหยดั พนื้ ทขี่ องสมอง และสมองของผเู้ ชย่ี วชาญ
ด้านโบราณคดีเก่ียวกับไดโนเสาร์ ก็จะเช่ือมโยงโครงสร้างความรู้เกี่ยวกับ
ภาพไดโนเสาร์ เข้ากบั โครงสร้างความรเู้ กี่ยวกับยุคทางธรณวี ทิ ยา ถิ่นท่อี ยู ่
อาหาร ความสัมพันธก์ บั สัตว์เลอ้ื ยคลานยคุ ปจั จบุ ัน เปน็ ตน้
ผู้เช่ียวชาญ จะมีความยืดหยุ่นในการใช้ความรู้จากหลายโครงสร้าง
ไดอ้ ยา่ งเหมาะสมตอ่ สถานการณ ์ดงั กรณตี วั อยา่ ง อาจารยแ์ พทยผ์ เู้ ชย่ี วชาญ
สามารถใช้ความร้ใู หเ้ หมาะต่อสถานการณ ์ คือเมอ่ื สอนนกั ศกึ ษาแพทย์ท่ี
ตอ้ งเรม่ิ ตน้ ดว้ ยความรรู้ ะบบอวยั วะ กท็ �ำ ได ้ เมอ่ื ไปปฏบิ ตั ดิ แู ลผปู้ ว่ ยทตี่ อ้ งใช้
ความรใู้ นระดบั ทส่ี งู กวา่ คอื บรู ณาการความรหู้ ลายระบบอวยั วะเขา้ ดว้ ยกนั
ก็ท�ำ ได ้
ท�ำ ใหผ้ มยอ้ นกลบั ไประลกึ ถงึ การเรยี นของผมสมยั เปน็ นกั ศกึ ษาแพทย ์
ผมทราบวา่ อาจารยบ์ างทา่ นทเี่ รายกยอ่ งกนั วา่ สอนเกง่ ชว่ ยใหเ้ ราเขา้ ใจงา่ ย 
ตอนท่านเป็นนักศึกษาแพทย์ ท่านสอบตกแล้วตกอีก ต้องเรียนซำ้�ชั้น แต่
เวลาสอน ทา่ นสอนวิธจี ำ�ให้พวกเรา สอนความเชือ่ มโยงระหว่างความรใู้ ห ้

52 การเรียนรู้เกดิ ขึน้ อยา่ งไร

ทำ�ใหเ้ รารู้วิธที �ำ ความเขา้ ใจ ง่ายตอ่ การเรียนร ู้
ต่างจากอาจารย์บางคน เรยี นเก่งได้เหรยี ญทอง แตส่ อนไมร่ เู้ ร่อื ง คอื
ทา่ นเนน้ ทเ่ี นอ้ื หาสาระทซ่ี บั ซอ้ น โดยไมค่ �ำ นงึ วา่ นกั ศกึ ษาแพทยจ์ ะตามทนั
หรือไม่ ความท่ีท่านหัวดีและเช่ียวชาญ ท่านจึงสอนสาระท่ีซับซ้อนมาก
(ดีมาก) แต่พวกเรารับไม่ได้ เพราะเรายังเป็นมือใหม่  น่าเสียดายที่ท่าน
ไม่ได้สอนวิธีจำ�หรือวิธีทำ�ความเข้าใจ หรือวิธีเช่ือมโยงความรู้แก่นักศึกษา
แพทย์ ผมเดาวา่ เพราะทา่ นหัวสมองดีมาก ทา่ นจงึ เขา้ ใจและจดจำ�ได้โดย
ไมร่ ู้ตวั ว่าสมองของทา่ นจดั ระเบียบโครงสรา้ งความรู้อย่างไร 
ขอ้ แนะน�ำ ส�ำ หรบั ครเู พอื่ ศษิ ย์ คอื  ครตู อ้ งตระหนกั ในความเปน็
“มอื ใหม”่ ของศษิ ย ์ ครใู นศตวรรษท่ี ๒๑ ไมต่ อ้ งเนน้ บอกสาระความรู้
(เพราะศิษย์ค้นหาเองได้ง่าย) แต่ครูมีคุณค่ามาก ในการแนะนำ�วิธี
เรียนรู้ วิธีจัดระเบียบโครงสร้างความรู้แก่ศิษย์ซ่ึงจะกล่าวถึงใน
บันทกึ ที่ ๕

วิจารณ์ พานิช
๑๐  ธ.ค. ๕๕

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 53

54 การเรียนร้เู กดิ ข้นึ อยา่ งไร

๕.การเรียนรูเ้ กิดขึน้ อยา่ งไร

ครูชว่ ยศิษยจ์ ัดระเบยี บโครงสร้างความรู้
ให้ถูกตอ้ งและมัน่ คง

บันทึกตอนท่ี ๕ อธิบายว่าครจู ะช่วยศิษยใ์ หจ้ ดั ระเบยี บความรเู้ กง่
ไดอ้ ยา่ งไร มาจากบทท่ี ๒ How Does the Way Students
Organize Knowledge Affect Their Learning?

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ 55

นกั ศกึ ษาควรไดร้ บั การฝกึ ฝนใหไ้ มเ่ ชอ่ื
หรอื ฝังใจในหลกั การหรอื แนวคิดเดยี ว ต้อง
ฝกึ ใหเ้ ปิดใจไว้รบั สิ่งท่ีแตกต่างได ้ …
...การเรยี นรมู้ ี ๒ สว่ น คอื (๑) รสู้ าระ 
และ (๒) รคู้ วามหมายและความเช่ือมโยง
หรอื การจดั ระเบยี บโครงสรา้ งของความรนู้ น้ั  
สว่ นทส่ี �ำ คญั กวา่ และชว่ ยใหเ้ รยี นลกึ ซง้ึ กวา่
คือสว่ นท่ี ๒.... 
...ครเู พอ่ื ศษิ ยต์ อ้ งมงุ่ จดั การใหน้ กั ศกึ ษา
เรียนรู้อย่างลึกซึ้งและแตกฉาน ซึ่งทำ�ได้
โดยทำ�ความเข้าใจวิธีจัดระบบโครงสร้าง
ความรเู้ รอ่ื งนน้ั ๆ ของนกั ศกึ ษารวมทง้ั ชว่ ยให้
นกั ศกึ ษาเขา้ ใจการจดั ระบบโครงสรา้ งความรู้
ดา้ นนน้ั ๆ ของตนเอง ส�ำ หรบั น�ำ มาใชพ้ ฒั นา
วิธีเรยี นของตนเอง 

56 การเรยี นรูเ้ กดิ ขน้ึ อยา่ งไร

สร้าง Concept Map เพือ่ วิเคราะห์การจดั ระเบียบความรขู้ องครู
ครถู อื เปน็ “ผเู้ ชย่ี วชาญ” ความรใู้ นเรอ่ื งทตี่ นสอน จงึ มกี ารจดั ระเบยี บ
ความรใู้ นสมองของตนแบบซบั ซอ้ น แตไ่ มร่ ตู้ วั  และยากแกก่ ารอธบิ าย หรอื
ท�ำ ความเขา้ ใจ เพอ่ื ใหค้ รมู คี วามสามารถชว่ ยเหลอื ศษิ ยใ์ หจ้ ดั ระเบยี บความรู้
ได้ถูกต้อง ครูต้องเข้าใจวิธีจัดระเบียบความรู้ของตนเองในวิชาที่ตนสอน 
และวธิ ที �ำ ความเขา้ ใจท�ำ ไดโ้ ดยการท�ำ Concept Mapในหนงั สอื มคี �ำ อธบิ าย
วิธีทำ�อยู่ใน Appendix B ซ่ึงผมจะไม่อธิบาย  ท่านที่สนใจ อ่านได้ ท่ีนี่
(http://library.usu.edu/instruct/tutorials/cm/CMinstruction2.htm)

Diabetes example of Stroke
Kids Low work Low self-
productivity esteem
includes
causes

Who? Poor physical example of

Women includes health type of Effects type of Poor mental
health

example of irnacteressing Balanced
for?
how

Mother Obesity Prevent how Diet Smaller
portions
causes of Sedentary how
Lifestyle
Genetic includes Causes More how Physical fitness
causes of exercise causes in school

example of includes Less physical change
exercise
obese Diet Dependence Bike
parent causes of on technology lanes
includes
More
Higher TV influences obpettitoenr
caloric intake

Bigger causes of Transportation
portion system

large example of More fast sMwoereet Few causes
fries pedestrians

food

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 57

เม่ือท�ำ Concept Map  ของตนเองแลว้ ครสู ามารถน�ำ เอามาไล่วธิ ีคิด
กับนักศึกษาได้ เพ่ือเน้นประเด็นหลักๆ หรือที่เป็นหัวใจสำ�คัญของวิชานั้น
กับนกั ศึกษา
วเิ คราะห์ภารกจิ เพื่อหาการจัดระเบยี บความรูท้ ่ีเหมาะสมทีส่ ุด 
ภารกิจที่ต่างกัน ต้องการการจัดระเบียบความรู้ท่ีแตกต่างกัน   
ในการเรยี นแตล่ ะวชิ า หรอื ในการเรยี นโดยท�ำ โครงการ ครคู วรชวนนกั ศกึ ษา
วเิ คราะหแ์ ตล่ ะภารกจิ วา่ ตอ้ งการการจดั ระเบยี บความรอู้ ยา่ งไร  จงึ จะชว่ ย
ให้การเรียนร้ดู ำ�เนินไปไดด้ ี
ครสู ามารถชว่ ยเหลอื นกั ศกึ ษาใหฝ้ กึ วเิ คราะหภ์ ารกจิ โดยมรี า่ งโครงให้
ครา่ วๆ  ใหน้ กั ศึกษาลงมือท�ำ เป็นทีมเล็กๆ  ตัวอย่างของเค้าโครงคอื ตาราง
ท่ีมหี ัวข้อของแนวต้งั หรอื Column ให้นกั ศึกษาในทมี ปรึกษากันและกรอก
ภารกิจสำ�คญั ลงในตาราง 
ผมขอเพ่ิมเติมเองว่า ครูควรส่งเสริมให้นักศึกษาคิดต่างจากครู คือ
คิดตารางท่ีต่างออกไป  แล้วนำ�มาอภิปรายกันว่าตารางแบบไหนวิเคราะห์
ภารกิจได้ชดั เจนเขา้ ใจง่ายกว่า ช่วยการเรียนรู้ได้ดีกวา่
บอกโครงสร้างการจดั ระเบียบรายวิชาแกน่ ักศึกษา
การทคี่ รบู อกโครงสรา้ งการจดั ระเบยี บรายวชิ าแกน่ กั ศกึ ษาจะชว่ ย
การเรยี นรขู้ องนกั ศกึ ษาในฐานะ “มอื ใหม”่ อยา่ งมาก เพราะชว่ ยใหน้ กั ศกึ ษา
มองเห็น “ภาพใหญ่”  และโครงสร้างภายในของ “ภาพ” น้ัน ช่วยให้
การเรียนวิชานั้นมีความหมาย หรือกล่าวว่า ช่วยให้วิชาหรือกิจกรรมนั้นมี
ความหมายทีล่ ึกซึง้ และเชอ่ื มโยงแก่นักศึกษา
ผมตีความว่า การท่ีครูบอกโครงสร้างการจัดระเบียบรายวิชาแก่
นกั ศกึ ษาเปน็ สญั ญาณบอกวา่ ความเขา้ ใจภาพใหญ่ส�ำ คญั กวา่ รายละเอยี ด
ปลีกยอ่ ย และนคี่ ือส่วนส�ำ คัญของ “ทักษะการเรยี นร้”ู (Learning Skills) ท่ี
นักศึกษาจะไดส้ งั่ สมขึ้นโดยไม่รตู้ วั  
การบอกโครงสรา้ งรายวชิ านี้ ควรท�ำ เป็นไดอะแกรม หรอื Flow Chart
ชว่ ยการอธบิ าย เปน็ ภาพกระตนุ้ การเรยี นรผู้ า่ นจกั ษปุ ระสาท ไปพรอ้ มๆ กบั

58 การเรยี นรูเ้ กิดข้นึ อยา่ งไร

การอธบิ ายด้วยถอ้ ยค�ำ
ผมเถียงผู้เขียนหนังสือเล่มน้ีว่า หากผมเป็นครูผู้สอน ผมจะไม่บอก
โครงสร้างการจัดระเบียบรายวิชาแก่นักศึกษา แตจ่ ะให้นักศึกษาแต่ละคน
ไปเขียนมาเปน็ การบ้านจากการอ่าน Course Description ของวชิ าส่งครู
เปน็ ผลงานสว่ นบคุ คล แลว้ ใหจ้ บั กลมุ่ ๔ คนปรกึ ษากนั และหาขอ้ สรปุ เขยี น
สง่ ครเู ปน็ ผลงานกลมุ่ แลว้ ใหจ้ บั ฉลากน�ำ เสนอตอ่ ชน้ั ๓ - ๔ กลมุ่ แลว้ จงึ ให้
อภปิ รายกนั ในชน้ั  นกั ศกึ ษากจ็ ะไดฝ้ กึ ท�ำ Concept Map ไปในตวั พรอ้ มกบั
เข้าใจภาพใหญ่ของรายวชิ าไปในตวั
ท่สี �ำ คญั เนือ่ งจากนกั ศึกษายงั ไมไ่ ดเ้ รียนวิชาน้ัน  จึงยังไมร่ ู้ ไม่เขา้ ใจ
เนื้อหารายละเอียด ความสงสัยนี้จะติดตัวติดใจนักศึกษากลายเป็นตัว
กระตุ้นการเรียนรู้ และครูก็จะได้ใช้ Key Word ที่อภิปรายกัน นำ�มาช้ีให้
นักศึกษาเห็นและเข้าใจในระหว่างเรียนตอนต่อๆ ไป ว่ากำ�ลังเรียนถึง
สว่ นยอ่ ยไหนของภาพใหญ่  ใหเ้ หน็ ความตอ่ เนอ่ื ง และความสมั พนั ธก์ นั ของ
การเรียนแต่ละตอน
ระบุการจัดระเบียบโครงสร้างของแต่ละการบรรยาย, Lab หรือการ
อภิปราย 
ครูต้องบอกโครงสร้างของแต่ละกิจกรรมแก่นักศึกษาเพ่ือช่วยให้
นกั ศกึ ษาเชอ่ื มโยงความรทู้ เี่ รยี นใหมเ่ ขา้ กบั ความรเู้ ดมิ โดยอตั โนมตั  ิ โดยครู
ต้องมีวิธีบอกท่ีเข้าไปในสาระหลักของส่ิงท่ีเรียน  ที่จะช่วยความเข้าใจและ
ความจ�ำ ไมใ่ ชแ่ คบ่ อกกระบวนการหรือขนั้ ตอนการเรียนในช้ันเรียน
ตวั อยา่ งของการบอกโครงสรา้ งทไ่ี มด่ ี “การเรยี นรวู้ นั นจ้ี ะประกอบดว้ ย
บทนำ� การบรรยาย การอภิปราย และสรุป”  เพราะเป็นโครงสร้างท่ีไม่มี
เนอ้ื สาระเลย ตวั อยา่ งทด่ี ี เชน่ “หลกั ๓ ประการ ส�ำ หรบั ... เหตผุ ลของแตล่ ะ
หลักการ และข้อจ�ำ กัดของแต่ละหลกั การ” 
ใชต้ วั อยา่ งทแ่ี ตกตา่ งกนั อยา่ งสดุ ขว้ั เพอ่ื บอกลกั ษณะของการจดั ระเบยี บ
ตวั อยา่ งทเ่ี ปน็ รปู ธรรม สมั ผสั ได้ ชว่ ยใหท้ �ำ ความเขา้ ใจการจดั ระเบยี บ
โครงสรา้ งความรงู้ า่ ยขนึ้  ยงิ่ มตี วั อยา่ งทแี่ ตกตา่ งกนั มาก ยง่ิ ชว่ ยความเขา้ ใจ 

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 59

เชน่ ในการเรยี นเรอ่ื งสตั วเ์ ลยี้ งลกู ดว้ ยนม ครอู าจยกตวั อยา่ ง (ปลา)โลมา กบั
ปลาฉลาม ทใ่ี นการจ�ำ แนกกลมุ่ สตั ว์ อยใู่ นกลมุ่ ทต่ี า่ งกนั มาก คอื (ปลา)โลมา
เป็นสัตว์เล้ียงลูกด้วยนม ในขณะท่ีปลาฉลามเป็นปลา แต่ดูลักษณะ
ภายนอกคลา้ ยคลงึ กันหลายอย่าง 
แสดงลกั ษณะเชงิ ลกึ อยา่ งชัดเจน
ทำ�ได้โดยยกตัวอย่าง ๒ ตัวอย่าง ที่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึง
หากพจิ ารณาอยา่ งละเอียด  แตด่ ผู วิ เผนิ แตกต่างกนั   หรือทเ่ี ม่ือมองอยา่ ง
ผวิ เผนิ เหมอื นหรอื คลา้ ยกนั แตเ่ มอ่ื พจิ ารณาใหล้ ะเอยี ดจะพบวา่ แตกตา่ งกนั  
การทำ�เช่นนี้ จะช่วยฝึกนกั ศกึ ษาใหเ้ รียนร้อู ย่างลึก ไมใ่ ช่เรยี นรูแ้ บบผิวเผิน 
ทำ�ใหค้ วามเชอื่ มโยงระหว่าง Concept มคี วามชัดเจน
ครตู อ้ งชว่ ยเตอื นความจ�ำ ของศษิ ย์ วา่ สง่ิ ทก่ี �ำ ลงั เรยี นรใู้ หมน่ น้ั เชอ่ื มโยง
กับส่ิงที่เคยเรียนมาแล้วอย่างไร และจะยิ่งดี หากครูต้ังคำ�ถามเพื่อให้
นักศึกษาทบทวนความจำ�และเชื่อมโยงความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เก่า
ดว้ ยตนเอง เชน่ “เราเรยี นเรอื่ ง ก ในสปั ดาหท์ แี่ ลว้ นกั ศกึ ษาลองบอกไดไ้ หม
ว่าเรือ่ งที่เราก�ำ ลังเรียนอยู่นี้ เกยี่ วข้องกับเรือ่ ง ก อยา่ งไร” 
ส่งเสริมให้นักศึกษาฝึกพัฒนาหลายโครงสร้างของการจัดระเบียบ
ความรู้
นกั ศกึ ษาควรไดร้ บั การฝกึ ฝนใหไ้ มเ่ ชอื่ หรอื ฝงั ใจในหลกั การหรอื
แนวคิดเดียว ต้องฝึกให้เปิดใจไว้รับส่ิงที่แตกต่างได้  วิธีหนึ่งสำ�หรับ
ฝึกวิธีคิดดังกล่าว ทำ�โดยให้นักศึกษาฝึกจัดโครงสร้างระเบียบความรู้
หลายแบบ เช่นในการจัดกลุ่มพืช ครูบอกให้จัดกลุ่มตามวิวัฒนาการก่อน 
หลงั จากนน้ั จงึ แนะใหจ้ ดั กลมุ่ ตามสถานทอ่ี ยตู่ ามธรรมชาต ิ นกั ศกึ ษาจะได้
เข้าใจว่า การจัดโครงสร้างความรู้แตกต่างกันได้ตามวัตถุประสงค์ในการ
ใช้งาน 

60 การเรียนรเู้ กดิ ขึ้นอยา่ งไร

ใหน้ ักศึกษาเขียน Concept Map เพ่ือทำ�ความเขา้ ใจการจดั ระเบียบ
ความรูข้ องตนเอง
การใหน้ ักศึกษาเขยี น Concept Map มีประโยชน์ ๒ อยา่ ง คือช่วยให้
ครทู ราบพ้นื ความรู้ของศิษย์ และยังช่วยให้ครู (และตวั ศษิ ย์เอง) รู้วา่ ศษิ ย์
จดั ระเบยี บโครงสรา้ งความรเู้ รอ่ื งนน้ั อยา่ งไร ซงึ่ จะชว่ ยใหค้ รรู วู้ า่ ศษิ ยค์ นใด
มปี ญั หาเร่ืองพน้ื ความรู้
ใช้ Sorting Task เพอ่ื ใหน้ กั ศกึ ษาท�ำ ความเขา้ ใจการจดั ระเบยี บความรู้
ของตนเอง
การให้นักศกึ ษาแยกแยะปญั หา หลกั การ หรอื สถานการณ์ ออกเปน็
ชนดิ ตา่ งๆ จะชว่ ยใหค้ รเู ขา้ ใจวธิ จี ดั ระเบยี บโครงสรา้ งความรขู้ องศษิ ย ์ โดยท่ี
ศษิ ยไ์ มต่ อ้ งทำ�ชน้ิ งานจัดระเบียบความรโู้ ดยตรง 
วิธีหน่ึงสำ�หรับตรวจสอบว่านักศึกษามีวิธีคิดแบบผิวเผินหรือแบบลึก 
ทำ�โดยให้นักศึกษาจับคู่คำ�หรือส่ิงของที่มีความคล้ายคลึงกัน โดยที่ความ
คล้ายคลึงกันนั้น มีทั้งแบบท่ีใช้ลักษณะที่มองเห็นอย่างผิวเผิน กับแบบท่ี
ใชเ้ กณฑ์ความคลา้ ยคลงึ ที่ใชค้ วามรูท้ ่ีลกึ ซึง้  
นักศึกษาคนใดยังจัดระเบียบความรู้แบบผิวเผิน ครูจะได้หาทาง
ช่วยเหลอื ให้เรยี นรคู้ วามร้ทู ล่ี กึ ซง้ึ เชือ่ มโยงต่อไป 
ติดตามตรวจสอบการทำ�งานของนักศึกษาเพ่ือทราบข้อบกพร่อง
ในการจดั ระเบยี บความรู้
การตดิ ตามตรวจสอบผลงานของนกั ศกึ ษาแตล่ ะคน หากพบวา่ มกี าร
ทำ�ผิดซำ้�ๆ ในเร่ืองใดเรื่องหน่ึง ก็อาจสะท้อนความบกพร่องในการจัด
โครงสรา้ งระเบียบความรูเ้ รอื่ งนน้ั  โดยอาจตีความทฤษฎี หรือสตู ร ผิด หรอื
อาจเชื่อมโยงทฤษฎีเข้ากับบริบทแบบผิดๆ หากไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะ
กอ่ ปญั หาการเรยี นรขู้ องนกั ศึกษา

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 61

สรปุ
การเรยี นรู้มี ๒ ส่วน คอื (๑) รู้สาระ และ (๒) ร้คู วามหมายและ
ความเชอื่ มโยง หรือการจดั ระเบียบโครงสร้างของความรนู้ นั้  สว่ นที่
สำ�คัญกวา่ และชว่ ยให้เรยี นลกึ ซ้งึ กว่า คือสว่ นที่ ๒ การเรยี นรูเ้ ฉพาะ
ส่วนที่ ๑ เรียกว่า เรียนร้แู บบผิวเผนิ (ได้ Superficial Knowledge) ครู
เพ่ือศิษย์ต้องมุ่งจัดการให้นักศึกษาเรียนรู้อย่างลึกซ้ึงและแตกฉาน 
ซึ่งทำ�ได้โดยทำ�ความเข้าใจวิธีจัดระบบโครงสร้างความรู้เร่ืองน้ันๆ
ของนักศึกษารวมท้ังช่วยให้นักศึกษาเข้าใจการจัดระบบโครงสร้าง
ความรู้ด้านน้ันๆ ของตนเอง สำ�หรับนำ�มาใช้พัฒนาวิธีเรียนของ
ตนเอง 

วิจารณ์ พานชิ
๒๖ ธ.ค. ๕๕

62 การเรยี นรเู้ กิดขึ้นอย่างไร

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 63

64 การเรียนร้เู กดิ ข้นึ อยา่ งไร

๖.การเรียนรู้เกิดขน้ึ อย่างไร
สง่ิ ทจี่ งู ใจนักเรยี น
ให้อยากเรียน

บนั ทึกตอนที่ ๖ อธิบายหลกั การเรอื่ งทฤษฎวี ่าดว้ ยแรงจูงใจ
ในการเรยี น และยุทธศาสตรใ์ นการก�ำ หนดคณุ คา่ วา่ ด้วยเรือ่ ง
ยุทธศาสตร์ทำ�ให้นกั ศกึ ษามคี วามคาดหวังเชงิ บวก มาจากบทท่ี ๓ 

What Factors Motivate Students to Learn? 

ศ.นพ.วิจารณ์ พานชิ 65

แรงจูงใจต่อการเรียน เกิดจากปฏิ-
สัมพันธ์ระหว่าง ๓ ปัจจัยของนักศึกษา
คือ ๑) เป้าหมาย ๒) ความเชื่อมั่นว่า
เรียนวิชานั้น ได้สำ�เร็จ และ ๓) มุมมอง
ต่อสภาพแวดล้อมว่าเอื้อให้ตนเรียนได้
สำ�เร็จ…
... การแสดงอยา่ งจรงิ ใจ และแจง้ ชดั วา่
ครมู คี วามกระตือรือร้น มีพลงั ของความรัก
เหน็ คณุ คา่ ของวชิ าน้ันสงู ยงิ่  จะเป็นคล้ายๆ
โรคตดิ ตอ่ ให้นกั ศกึ ษารู้สึกพศิ วงตอ่ วชิ าน้ัน 
เกิดความสนใจ และเห็นคณุ คา่ ของวิชานนั้
ตามไปด้วย...”

66 การเรียนรู้เกดิ ข้ึนอยา่ งไร

บทท่ี ๓ ของหนังสอื เรม่ิ ดว้ ยค�ำ บน่ และครำ่�ครวญของศาสตราจารย์
๒ คน ทส่ี อนวชิ าปรชั ญา และวชิ า Thermodynamics วา่ นกั ศกึ ษาไมส่ นใจ
เรยี น ขเ้ี กยี จ ขาดเรยี น แมค้ รใู นวชิ า Thermodynamics จะไดเ้ ตอื นนกั ศกึ ษา
ตง้ั แตต่ น้ เทอมแลว้ วา่ วชิ านย้ี าก นกั ศกึ ษาตอ้ งตง้ั ใจเรยี นจรงิ ๆ จงึ จะสอบผา่ น 
น่ีคือความผิดพลาดที่พบบ่อยท่ีสุดของครู/อาจารย์ในยุคปัจจุบัน 
ท่ีต้ังความคาดหวังผิดๆ ว่า นักเรียน/นักศึกษาในปัจจุบันจะตั้งใจเรียน
เหมือนนกั เรียน/นกั ศึกษาในสมัยท่ีอาจารย์เปน็ นกั เรยี น/นักศกึ ษา
หนังสือบอกว่า เมื่อศึกษาวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียดของการจัด
การเรียนการสอนในท้ัง ๒ กรณี  จะพบว่าต้นเหตุหลักท่ีทำ�ให้นักศึกษา
ไมส่ นใจเรยี น อย่ทู ต่ี ัวอาจารย์เอง ไม่ได้อยูท่ ่นี ักศึกษา
ศาสตราจารย์วิชาปรัชญามีความกระตือรือร้นและรักวิชาน้ีมาก 
จึงหลงคิดว่านักศึกษาจะให้คุณค่าต่อวิชานี้เหมือนท่ีตนเห็นคุณค่า 
ศาตราจารยท์ ่านนไี้ ม่ไดพ้ ยายามมองวชิ า บทเรยี น และบรรยากาศในการ
เรียนจากมุมมองของนักศึกษา (ไม่ได้เอาใจเขามาใส่ใจเรา) บทเรียนจึง
ไม่ได้จัดตามมุมมองหรือมุมกระตุ้นความสนใจของนักศึกษา แต่จัดตาม
ความสนใจของครู 
ศาสตราจารย์ ก ทส่ี อนวชิ า Thermodynamics ใชแ้ ทก็ ตกิ เดยี วกนั กบั
อาจารยท์ เี่ คยสอนวชิ านแ้ี กต่ น คอื เตอื นนกั ศกึ ษาวา่ วชิ านย้ี ากใหต้ งั้ ใจเรยี น 
คำ�เตือนแบบน้ีกระตุ้นความสนใจแก่นักศึกษาท่ีต้ังใจเรียนอย่าง
ศาสตราจารย์ ก แตไ่ มก่ ระต้นุ ความสนใจ เอาใจสู้ แก่นักศกึ ษาสมยั น้ี และ
กลับกอ่ ผลในทางตรงกนั ขา้ ม คอื ท�ำ ให้ทอ้ ถอย 

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 67

แรงจูงใจคืออะไร
หนังสือเล่มน้ีให้นิยามแรงจูงใจ (Motivation) ว่าหมายถึงการลงทุน
สว่ นตัวของบคุ คล เพอ่ื การบรรลเุ ป้าหมายใดเปา้ หมายหนงึ่
เปน็ การใหน้ ยิ ามแรงจงู ใจเพอ่ื ใหเ้ ปน็ รปู ธรรม เปน็ พฤตกิ รรม สามารถ
วัดได้  ผมคิดต่อว่า หากให้นิยามแนวน้ี ส่วนที่อยู่ภายในจิตใจของเรา
เป็นนามธรรม วัดยากหรือวัดไม่ได้ คือ แรงบันดาลใจ (Inspiration) หรือ
แรงปรารถนา (Passion)
การลงทุนส่วนตัวนี้ อยู่ในรูปของใจจดจ่อ การให้เวลา ความอดทน
พากเพียรพยายาม ทำ�ซำ้�ๆ ไม่ย่อท้อต่อความยากลำ�บาก ไม่ถอดใจเมื่อ
ล้มเหลว  ผมนึกถึงการใช้ทุนทรัพย์เพื่อซ้ือสิ่งของและบริการเพ่ือบรรลุ
เป้าหมาย และตัดสินว่า ไม่ใช่แรงจูงใจ เพราะเป็นการลงทุนนอกกาย
(และใจ)
ทฤษฎวี า่ ด้วยแรงจูงใจในการเรยี น
แรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษาเป็นตัวเริ่มต้น กำ�กับทิศทาง และ
สรา้ งความต่อเนือ่ งในการเรียนของนกั ศกึ ษา
ในแต่ละช่วงชีวิตของคนเรา (โดยเฉพาะนักศึกษา) เรามีเป้าหมาย
หลายอย่างแข่งขันกันอยู่ แข่งกันแย่ง “ทรัพยากรส่วนตัว” คือความสนใจ
เวลา ความพยายามของแตล่ ะคน
น่ีคือธรรมชาติที่ครูพึงเข้าใจและตระหนักอยู่ตลอดเวลา ว่านักศึกษา
เขามีเป้าหมายอ่ืนอยู่ในขณะน้ันด้วย และแม้แต่เป้าหมายด้านการเรียน
เขากย็ ังต้องเรยี นวิชาอนื่ ด้วย 

68 การเรียนรู้เกิดขึน้ อย่างไร

มัน่ ใจ
วา่ ท�ำ ได้

นำ�สู่ สนบั สนนุ
แรงจงู ใจ
พฤตกิ รรม การเรยี น
มงุ่ เป้า และผล

ใหค้ ุณคา่ อทิ ธพิ ลของความม่ันใจ
และการให้คณุ คา่ ตอ่ การเรียน
และผลสมั ฤทธ์ิ

เปา้ หมาย
คำ�พูดว่าใครสักคนมีแรงจูงใจ ไม่มีความหมาย หากไม่ใช่แรงจูงใจ
สู่การลงมือทำ� ทำ�เพ่ือบรรลุผลตามความมุ่งหมายหรือความคาดหวัง 
เปา้ หมายเป็นเสมือนเข็มทิศ หรอื ภาษาไทยเรามักใช้คำ�ว่า “ปักธง” 
         สิ่งท่คี รพู ึงตระหนกั ในเรอ่ื งเป้าหมายของนักศึกษากค็ อื  (๑) นักศึกษา
แต่ละคนมีหลายเป้าหมายในเวลาเดียวกัน  ทั้งเป้าหมายทางการเรียน 
เปา้ หมายทางสงั คม ในการหาเพ่อื น หาแฟน สรา้ งการยอมรบั นับถือในหมู่
เพอื่ นๆ เปน็ ตน้  หรอื บางคนอาจตอ้ งหาเงนิ เลยี้ งชพี ดว้ ย (๒) เปา้ หมายของ
นกั ศกึ ษากบั ของครมู กั ไมต่ รงกนั  ครพู งึ เอาเปา้ หมายของนกั ศกึ ษาเปน็ หลกั
ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา ไม่ใช่เอาเป้าหมายของครู
เป็นหลัก (๓) เปา้ หมายเก่ียวกับการเรยี นมที ัง้ เปา้ หมายทีด่ ี/เหมาะสม และ
เป้าหมายที่ไม่ดี/ไม่เหมาะสม เป้าหมายเกี่ยวกับการเรียนท่ีไม่เหมาะสม
ไมน่ �ำ ไปสู่ผลการเรยี นทล่ี ึกซ้งึ แตกฉาน 

ศ.นพ.วิจารณ์ พานชิ 69

        ซง่ึ หมายความว่า ครตู ้องมีวิธีตรวจสอบทำ�ความเข้าใจเปา้ หมายของ
นักศึกษาในชน้ั ทงั้ ในภาพรวม และเขา้ ใจนักศกึ ษาเปน็ รายคน 
ในทางจติ วทิ ยาการเรยี นรู้ เปา้ หมายของนกั ศกึ ษามคี วามซบั ซอ้ น และ
อาจมเี ปา้ หมายทไ่ี มน่ �ำ ไปสกู่ ารเรยี นรทู้ ด่ี ี เรยี กวา่ เปา้ หมายโชวค์ วามสามารถ
หรอื เปา้ หมายโชวส์ มรรถนะ (Performance Goal) ซง่ึ แตกตา่ งจากเปา้ หมาย
การเรยี นรู้ (Learning Goal) 
          เปา้ หมายโชวส์ มรรถนะอาจกลา่ วไดว้ า่ เปน็ หลมุ พรางของเป้าหมาย
ที่แทจ้ ริง หรือเปน็ เป้าหมายปลอม ที่ทำ�ให้เกิดการเรยี นรูเ้ พยี งระดบั ผิวเผิน 
คือเพียงแค่เอาไวโ้ ชว ์
ทำ�ให้ผมหวนระลึกถึงข้อสงสัยท่ีติดใจมากว่า ๕๐ ปี และคิดว่าได้
ค�ำ ตอบเมอ่ื อา่ นหนังสือ How Learning Works มาถึงตอนน ี้
ตอนตน้ ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ผมอายุ ๑๖ ปี เรยี นอยชู่ นั้ ม. ๖ (ในสมัยนนั้
เรยี นชนั้ ประถม ๔ ป ี มธั ยม ๖ ป ี เตรยี มอดุ ม ๒ ป ี แลว้ จงึ เขา้ มหาวทิ ยาลยั ) 
เตรียมตัวสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซ่ึงเป็นความใฝ่ฝัน
ของนักเรียนทุกคนท่ีเรียนดี และต้องการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย 
การเตรยี มตวั อยา่ งหนง่ึ ท�ำ โดยไปกวดวชิ า โรงเรยี นกวดวชิ าทมี่ ชี อ่ื เสยี งทสี่ ดุ
คอื “โรงเรยี นทดั สงิ ห”์ (ทดั สงิ หเสน)ี  อยบู่ นถนนพระราม ๑ ใกลส้ แ่ี ยกแมน้ ศรี 
ผมไปเรียนแบบเด็กเรียนเก่งแต่ไม่ม่ันใจตัวเอง มุมานะขยันเรียนสุดฤทธ์ิ 
และหมั่นสังเกตนักเรียนคนอื่นๆ ว่าเขามีวิธีเรียนกันอย่างไร มีเด็กผู้ชาย
(ที่จรงิ เปน็ วยั ร่นุ ) คนหน่งึ เป็นคนชา่ งพูดและเสยี งดงั   ระหว่างทเี่ ราไปนั่งรอ
ให้ถึงเวลาเรียน จะได้ยินเขาพูดจาอธิบายความรู้ด้านต่างๆ รวมท้ังวิธี
ท�ำ โจทยข์ ้อสอบ ผมสังเกตว่าบางขอ้ เขาพูดผิด แต่ไม่ไดพ้ ูดจาโต้แย้ง (ผม
ไม่เคยพูดกับเขาเลย) แต่ส่วนใหญ่ผมรู้สึกพิศวงว่าเขามีความรู้มากมาย
กว้างขวางเชน่ น้นั ไดอ้ ยา่ งไร รวมท้ังผมสงสัยวา่ เขารู้จรงิ หรอื ไม่ ค�ำ ตอบอยู่
ท่ีผลสอบเข้าโรงเรียนเตรียมฯ ผมไม่เห็นตัวเขาที่โรงเรียนเตรียมฯ เลย
จงึ เดาวา่ เขาสอบไมไ่ ด ้ แตผ่ มสงสยั เรอ่ื ยมาวา่ ท�ำ ไมเขามพี ฤตกิ รรมเชน่ นน้ั  
มาไดค้ �ำ ตอบเชงิ วชิ าการเอา ๕๔ ปใี หห้ ลงั  วา่ เปน็ เพราะเขาหลงเรยี นเพอ่ื โชว ์
ไมใ่ ชเ่ รยี นเพื่อรู้ (จริง)


70 การเรยี นรเู้ กดิ ข้ึนอยา่ งไร

เป้าหมายท่ไี ม่ดอี กี อยา่ งหนึง่ คือเปา้ หมายหลบเลี่ยงการทำ�งานหนัก
(Work-Avoidant Goals) ซง่ึ น�ำ ไปสกู่ ารท�ำ งานลวกๆ ขอไปท ี นกั ศกึ ษาอาจ
มเี ปา้ หมายเรยี นเพอื่ รจู้ รงิ ตอ่ วชิ า ก แตม่ เี ปา้ หมายหลบเลย่ี งการท�ำ งานหนกั
ของวชิ า ข ก็ได้ 
การที่นักศึกษามีหลายเป้าหมายในเวลาเดียวกัน ไม่จำ�เป็นจะต้อง
ท�ำ ใหเ้ ป้าหมายการเรยี นย่อหย่อน หากครมู ีวิธชี ว่ ยเอ้ืออำ�นวยให้เปา้ หมาย
หลายอยา่ งชว่ ยเสรมิ (Synergy) ซงึ่ กนั และกนั  ตวั อยา่ งเชน่ ท�ำ ใหเ้ ปา้ หมาย
การเรียนรู้ เป้าหมายด้านความชอบ (Affective Goal)  และเป้าหมาย
ทางสังคม (Social Goal) คือได้รับความยอมรับนับถือจากเพ่ือน เสริม
ซงึ่ กนั และกนั  ท�ำ ใหเ้ ปา้ หมายการเรยี นรมู้ พี ลงั เขม้ แขง็ ขนึ้  นคี่ อื ขอ้ สรปุ จาก
ผลการวจิ ัย
ทำ�ให้ผมหวนระลึกถึงสมัยท่ีตนเองกำ�ลังเป็นนักศึกษา เป็นวัยรุ่น
ท่ีผู้ใหญ่เตือนว่าอย่าเพิ่งริมีแฟน จะทำ�ให้เสียการเรียน ลุงคนหนึ่งถึงกับ
สอนใหท้ อ่ ง “สตรคี อื ศตั ร”ู ซงึ่ ผมกเ็ ชอื่ ครงึ่ ไมเ่ ชอ่ื ครง่ึ  และสมยั ผมเรยี นแพทย์
ผมมีเพื่อนท่ีเรียนอ่อน แต่เมื่อมีแฟนการเรียนดีข้ึนมาก เข้าใจว่าต้อง
ขยันเรียน เอาไปตวิ แฟน  ซง่ึ เขา้ ต�ำ ราเร่อื ง Learning Pyramid ว่าการสอน
ผ้อู ืน่ เปน็ วิธีเรียนทีด่ ีทส่ี ุด 
จะเห็นว่า เรื่องเป้าหมายชีวิตในขณะนั้น กับผลการเรียนรู้ เป็นเร่ือง
ซับซ้อน มีประเด็นให้เอาใจใส่ทดลอง หรือทำ�วิจัยได้ไม่ส้ินสุด  โดยอาจ
นำ�เอาเรื่องตัวเบ่ียงเป้าหมาย หรืออุปสรรคขัดขวางเป้าหมายเข้ามาเป็น
ส่วนหนึง่ ของการต้ังโจทยก์ ็ได้ 
การใหค้ ุณคา่
เม่อื นักศกึ ษามีหลายเป้าหมายในเวลาเดยี วกัน มเี รือ่ งทีจ่ ะตอ้ งท�ำ ให้
เลือกหลายตัวเลือกในเวลาเดียวกัน นักศึกษาย่อมเลือกทำ�สิ่งที่ตนคิดว่า
มีคุณคา่ สงู สุดต่อตนเอง 
มีผู้ให้ความเห็นไว้ว่านักศึกษาที่ต้ังใจเรียน เกิดจากการให้คุณค่า
เชิงนามธรรม (Subjective Value) ต่อการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งหรือ
หลายแบบใน ๓ แบบ ต่อไปนี้

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ 71

๑. Attainment Value เปน็ คณุ คา่ จากความพงึ พอใจทเี่ กดิ จากการได้
เรียนรู ้ หรือจากความสำ�เร็จ
๒. Intrinsic Value เป็นความพึงพอใจจากการทำ�สิ่งน้ันๆ เอง
ไมส่ นใจผล
๓. Instrumental Value เป็นคุณค่าที่นำ�ไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่กว่า
การเรียนรู้ เช่น ความมีชื่อเสียง การมีรายได้สูง ท่ีเป็นผลได้ภายนอก
(Extrinsic Reward) ในกรณีนี้ นักศึกษาตั้งใจเรียน เพราะมีความหวังว่า
เม่อื สำ�เร็จ ตนจะมชี วี ติ ท่ีดี
ประเดน็ ส�ำ คญั ตอ่ ครกู ค็ อื  ครพู งึ ชใี้ หน้ กั ศกึ ษาเหน็ คณุ คา่ ของการเรยี น
วชิ านน้ั ๆ ใหน้ กั ศกึ ษาเหน็ หรอื เขา้ ใจชดั เจน และหากกระบวนการเรยี นรขู้ อง
นักศึกษาคนนั้นลื่นไหลได้ผลดี จากคุณค่าเร่ิมต้นแบบท่ี ๓ ต่อไปจะเกิด
คณุ คา่ แบบที่ ๒ และ ๑ ขึน้ ได้เอง 
ความเชอ่ื มน่ั ว่าบรรลไุ ด ้
จากผลการวิจัย ชี้วา่ แมน้ ักศกึ ษาจะเห็นคณุ คา่ ของการเรียนวชิ านน้ั  
แตห่ ากใจไมส่ ู้ ไมเ่ ชอื่ วา่ ตนจะเรยี นวชิ านนั้ ได ้ กไ็ มเ่ กดิ แรงจงู ใจตอ่ การเรยี น
วชิ านนั้  
ในภาษาวิชาการ ความเชื่อมั่นต่อการบรรลุผล เรียกว่า Outcome
Expectancies ซง่ึ มที ง้ั ตวั บวกและตวั ลบ ตวั บวกเรยี กวา่ Positive Outcome
Expectancies ส่วนตัวลบ เรียกว่า Negative Outcome Expectancies
จะเหน็ วา่ ตวั หลังทำ�ใหใ้ จไม่ส ู้ และตัวแรกท�ำ ใหใ้ จสู้มมุ านะ
การใหก้ �ำ ลงั ใจแกน่ กั ศกึ ษาทค่ี รใู หเ้ ปน็ รายบคุ คลมถี อ้ ยค�ำ แสดงความ
เชื่อม่ันว่าทำ�ได้ ที่เหมาะสมตามบริบทของนักศึกษาคนน้ันๆ พร้อมกับ
คำ�แนะนำ�ให้เอาใจใส่บางจุด ปรับปรุงบางเรื่อง จะเป็นเสมือนนำ้�ทิพย์
ชโลมใจนักศกึ ษา
เปา้ หมายของนกั ศกึ ษาบางคนคอื “เหรยี ญทอง” ครทู เ่ี ขา้ ใจจติ ใจของ
นักศึกษาจะสามารถใช้เทคนิคนี้ช่วยสร้างกำ�ลังใจ/แรงจูงใจ ให้นักศึกษา
มีความมานะพยายาม และบรรลุเป้าหมายได้ 

72 การเรียนรูเ้ กิดข้นึ อยา่ งไร

ความเชื่อมั่นต่อการบรรลุผลเชิงบวก มีตัวช่วยตัวหนึ่ง ช่ือ Efficacy
Expectancies ซึ่งหมายถึงความม่ันใจว่าตนมีทักษะต่างๆ เพียงพอท่ีจะ
ช่วยให้ตนบรรลผุ ลตามเป้าหมายได้
หากครูชว่ ยช้ีใหน้ กั ศกึ ษาใช้ Efficacy Expectancies หรือ Learning
Skills ท่ีเหมาะสมต่อการเรียนวิชานั้น ก็จะเป็นกำ�ลังใจให้เกิดความ
“ฮดึ ส”ู้ ได้
มุมมองต่อสภาพแวดล้อมมีผลต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างการให้คุณค่า
และความเช่อื มั่นวา่ บรรลไุ ด้
สรุปอย่างง่ายท่ีสุด แรงจูงใจต่อการเรียน เกิดจากปฏิสัมพันธ์
ระหว่าง ๓ ปัจจัยของนกั ศกึ ษาคือ (๑) เป้าหมาย (๒) ความเช่ือมน่ั วา่
เรยี นวชิ านน้ั ไดส้ �ำ เรจ็ และ (๓) มมุ มองตอ่ สภาพแวดลอ้ มวา่ เออ้ื ใหต้ น
เรยี นได้ส�ำ เร็จ
ย้ำ�นะครับว่า เรื่องสภาพแวดล้อมน้ัน จุดสำ�คัญอยู่ท่ีว่านักศึกษามี
มุมมองต่อสภาพแวดล้อมอย่างไร ไม่ใช่ตัวสิ่งแวดล้อมโดยตรง นักศึกษา
ในช้ันสว่ นใหญอ่ าจมองวา่ สง่ิ แวดลอ้ มทำ�ใหช้ ้นั เรยี นดมี าก ชว่ ยสนบั สนนุ
การเรยี นของตนอยา่ งดเี ยยี่ ม แตน่ กั ศกึ ษาบางคนอาจมมี มุ มองเปน็ ลบ เชน่
คิดว่าตนน่าจะสอบไม่ผ่าน เพราะครูคนนี้ไม่ชอบ นักศึกษาผู้ชายท่ีตัวดำ�
หรอื คดิ วา่ ในชนั้ เรยี นมแี ตค่ นเรยี นเกง่ ทง้ั นน้ั เวลาครตู ดั เกรดเรากจ็ ะเปน็ คน
คะแนนโหล่ สอบตกแน่ๆ เป็นต้น 
ยทุ ธศาสตรใ์ นการก�ำ หนดคณุ ค่า 
ตอ่ ไปนเี้ ปน็ เทคนคิ ทค่ี รสู ามารถใชส้ ง่ เสรมิ ใหศ้ ษิ ยม์ องเหน็ คณุ คา่ ของ
วิชาท่ตี นสอน
เช่ือมโยงสาระเข้ากับความสนใจของนกั ศกึ ษา
จะเห็นว่า ครูท่ีดีต้องเอานักศึกษาเป็นตัวตั้ง ต้องเข้าใจความสนใจ
ของนักศึกษาแต่ละคน และคอยช้ีให้เห็นว่าการเรียนวิชานั้น ในตอนน้ันๆ
เชอื่ มโยงกบั ความสนใจของนักศึกษาอย่างไร

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 73

มอบงานท่ีสอดคล้องกบั โลกแห่งชวี ติ จรงิ
ครตู อ้ งหาทางตา่ งๆ ทจ่ี ะชว่ ยใหน้ กั ศกึ ษาเหน็ วา่ วชิ าทคี่ รสู อน มคี วาม
เชอ่ื มโยงกบั ชวี ติ จรงิ อยา่ งไร วธิ หี นง่ึ ท�ำ ไดโ้ ดยใหท้ �ำ โครงงาน (Project) หรือ
กรณศี กึ ษา (Case Studies) ทเ่ี ปน็ เรอ่ื งจรงิ หรอื ใหไ้ ปฝกึ งานหรอื สหกจิ ศกึ ษา
ณ สถานท่ีทำ�งานจริง
แสดงความสอดคลอ้ งกบั วิชาการในปจั จุบันของนักศกึ ษา
นกั ศกึ ษามกั ตง้ั ขอ้ สงสยั วา่ เรยี นวชิ านน้ั ไปท�ำ ไม ในเมอ่ื มนั ไมเ่ กย่ี วกบั
วชิ าชพี ทต่ี นตอ้ งการเรยี น เชน่ นกั ศกึ ษาเตรยี มแพทยอ์ าจตงั้ ค�ำ ถามวา่ ท�ำ ไม
ตนตอ้ งเรยี นวชิ าสถติ ดิ ว้ ย ไมเ่ หน็ จะเกยี่ วขอ้ งกบั วชิ าแพทยเ์ ลย อาจารยจ์ งึ
ควรอธิบายคุณค่าของวิชาสถิติ ต่อคนท่ีจะเรียนแพทย์ว่า มันเป็นพื้นฐาน
ส�ำ หรบั การเรียนวชิ าเวชสถติ  ิ ซงึ่ แพทย์จะตอ้ งใชต้ ลอดชีวติ  
แสดงใหเ้ หน็ วา่ ทกั ษะระดบั สงู มคี วามหมายตอ่ วชิ าชพี ในอนาคต
ของนกั ศึกษาอยา่ งไรบ้าง
ทจ่ี รงิ ตวั อยา่ งในตอนทแี่ ลว้ ชว่ ยอธบิ ายความหมายของตอนนไี้ ดด้ ว้ ย
ตรวจหา และให้รางวัลแกผ่ ลงานที่ครใู หค้ ุณค่า
ครูต้องหมั่นตรวจหาพฤติกรรมและผลงานที่ครูให้คุณค่า แล้วให้
คะแนนและใหค้ �ำ ชมอยา่ งชดั เจน ตวั อยา่ งเชน่ หากครตู อ้ งการใหน้ กั ศกึ ษา
ฝึกการทำ�งานเป็นทีม เมื่อครูสังเกตเห็นนักศึกษากลุ่มใดทำ�งานเป็นทีมที่
เขม้ แขง็ ครตู อ้ งใหค้ �ำ ชม โดยชมในชน้ั เรยี น และใหค้ �ำ อธบิ ายตอ่ ชนั้ เรยี นวา่
ครูสังเกตเห็นลักษณะการทำ�งานเป็นทีมท่ีดีอย่างไรในนักศึกษากลุ่มน้ัน 
และครคู ดิ วา่ นักศึกษาทม่ี ที กั ษะเชน่ น้ี จะมีผลดีต่อชีวิตในอนาคตอย่างไร

74 การเรยี นรู้เกิดข้ึนอยา่ งไร

แสดงความกระตอื รอื รน้ และการเหน็ คณุ คา่ ของครู ตอ่ วชิ านน้ั ๆ
การแสดงอย่างจริงใจ และแจ้งชัด ว่าครูมีความกระตือรือร้น 
มีพลังของความรัก เห็นคุณค่าของวิชานั้นสูงย่ิงจะเป็นคล้ายๆ
โรคติดต่อ ให้นักศึกษารู้สึกพิศวงต่อวิชาน้ัน เกิดความสนใจ และ
เหน็ คณุ ค่าของวิชานั้นตามไปด้วย

วิจารณ์ พานชิ
๒๙ ธ.ค. ๕๕

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 75

76 การเรียนร้เู กดิ ข้นึ อยา่ งไร

๗.การเรียนรู้เกิดขนึ้ อย่างไร

ยุทธศาสตรส์ รา้ งแรงจงู ใจ

ตอนที่ ๗ นี้ มาจากบทท่ี ๓  77
What Factors Motivate Students to Learn? 

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช

ครูพึงบอกนักศึกษาอย่างชัดเจน
วา่ การเรยี นวชิ านัน้ ให้ผา่ น นักศกึ ษาต้อง
ทำ�อะไรได้บ้าง ขั้นตอนการเรียนรู้เป็น
อยา่ งไรบา้ ง ปญั หาหรอื อปุ สรรคทน่ี กั ศกึ ษา​
อาจเผชญิ คืออะไรบา้ ง…
...โดยเป้าหมายคือช่วยใหน้ ักศกึ ษามี
Positive Outcome Expectancy คอื เชอ่ื มน่ั
วา่ ตนสไู้ ด้ บรรลผุ ลส�ำ เรจ็ ในการเรยี นวชิ านไ้ี ด้

78 การเรยี นรเู้ กิดขน้ึ อย่างไร

บนั ทกึ ตอนทแ่ี ลว้ ไดอ้ ธบิ ายหลกั การเรอื่ งทฤษฎวี า่ ดว้ ยแรงจงู ใจในการ
เรียน และยุทธศาสตร์ในการกำ�หนดคุณค่า และตอนที่ ๗ ว่าด้วยเรื่อง
ยทุ ธศาสตรท์ �ำ ใหน้ กั ศกึ ษามคี วามมนั่ ใจวา่ จะเรยี นไดส้ �ำ เรจ็ และยทุ ธศาสตร์
ในการจดั การปฏสิ ัมพันธร์ ะหว่างคณุ คา่ และความม่นั ใจ

ยทุ ธศาสตร์ทชี่ ว่ ยให้นักศึกษามีความม่นั ใจว่าจะเรยี นได้ส�ำ เรจ็

ท�ำ ใหว้ ตั ถปุ ระสงค์ การประเมนิ และกระบวนการเรยี นรสู้ อดคลอ้ ง
ไปในทางเดยี วกนั
เม่ือนักศึกษาเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเรียนและเกณฑ์ในการ
ประเมิน อย่างถ่องแท้ และในการเรียน นักศึกษาก็ได้ทำ�แบบฝึกหัดและ
การป้อนกลับ (Feedback) อย่างสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียน
และเกณฑก์ ารประเมนิ  นกั ศกึ ษากจ็ ะเกดิ ความมนั่ ใจในการเรยี น และเกดิ
แรงจงู ใจตอ่ การเรยี น

มอบหมายงานทม่ี รี ะดบั ความทา้ ทายเหมาะสม
งานท่ีมีระดับความท้าทายเหมาะสมไม่เหมือนกันสำ�หรับนักศึกษา
แตล่ ะคน ขน้ึ กบั พน้ื ความรเู้ ดมิ และขน้ึ กบั เปา้ หมายทน่ี กั ศกึ ษาแตล่ ะคนตง้ั ไว ้
ครูต้องหาทางทำ�ความรู้จักพื้นความรู้และเป้าหมายของนักศึกษาทั้งชั้น
และของนักศกึ ษาเปน็ รายคน  ส�ำ หรบั นำ�มาใช้ในการมอบหมายงาน ให้ได้
ระดับท่เี หมาะสม
การทำ�ความรู้จักพ้ืนความรู้และเป้าหมายของนักศึกษาทำ�ได้ด้วย
กิจกรรมต่อไปน้ี (๑) การทดสอบและกรอกแบบสอบถามตอนต้นเทอม (๒)​

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 79

ตรวจสอบ Course Syllabus ของวชิ าและผลการเรียน ที่เรียนในเทอมก่อน
(๓) อาจขอแผนการสอนของอาจารย์ท่ีสอนในเทอมก่อนมาดู (๔) คุยกับ
อาจารย์ที่สอนในเทอมก่อน สอบถามเป้าหมาย ความคาดหวัง และผล
การเรียนของนักศึกษา (๕) อาจขอไปน่ังสังเกตการณ์ในห้องเรียนของ
นักศกึ ษาทีใ่ นเทอมหนา้ จะมาเรียนกับตน 
จัดให้มคี วามส�ำ เรจ็ ในเบ้ืองตน้
ยุทธศาสตร์ “จัดให้มีความส�ำ เร็จในเบ้ืองต้น”  ส�ำ คญั มากส�ำ หรับวิชา
ที่นักศึกษาเล่าลือกันว่าเรียนยาก  และเป็นวิชาบังคับที่ต้องเรียนให้ผ่าน 
การมอบหมายงานทคี่ อ่ นขา้ งงา่ ยในเบอ้ื งตน้ เพอื่ เรยี กก�ำ ลงั ใจของนกั ศกึ ษา
และเพือ่ เป็นเครอ่ื งซกั ซ้อมวธิ เี รียน มีความสำ�คญั อยา่ งย่งิ  
ตัวอย่างเช่น เร่ิมต้นโดยมอบโครงงานเล็กๆ ท่ีใช้เวลาส้ันๆ ทำ�ก่อน
โดยแบง่ คะแนนมาใหไ้ มม่ ากนกั เมอื่ นกั ศกึ ษาไดเ้ กรดดี และเกดิ ความมนั่ ใจ
ในการเรยี น จงึ มอบโครงงานขนาดใหญ่ตามปกต ิ

ระบุความคาดหมายของครูอย่างชดั เจน
ครูพึงบอกนักศึกษาอย่างชัดเจน ว่าการเรียนวิชานั้นให้ผ่าน
นักศึกษาต้องทำ�อะไรได้บ้าง ขั้นตอนการเรียนรู้เป็นอย่างไรบ้าง 
ปัญหาหรืออุปสรรคที่นักศึกษา​อาจเผชิญคืออะไรบ้าง โดยครูพร้อม
เสมอท่ีจะช่วยเหลือให้ นักศึกษาฟันฝ่าอุปสรรคไปสู่ความสำ�เร็จให้ได้ 
บอกวิธีติดต่อขอความช่วยเหลือ โดยเป้าหมายคือช่วยให้นักศึกษามี
Positive Outcome Expectancy คอื เชื่อมั่นวา่ ตนสไู้ ด้ บรรลผุ ลส�ำ เรจ็
ในการเรยี นวิชานีไ้ ด้ 

แจ้ง Rubrics การประเมนิ
น่ีคือหลัก “ข้อสอบไม่เป็นความลับ” สำ�หรับการเรียนรู้ในศตวรรษ
ท่ี ๒๑ เม่ือนักศึกษาได้รับรู้ว่าแนวทางสอบจะเป็นอย่างไร นักศึกษาก็
ชัดเจนว่าตนต้องเรียนให้รู้อะไร ทำ�อะไรได้ ในระดับความซับซ้อนแค่ไหน
ความเชอื่ มัน่ วา่ ตนจะเรยี นไดส้ ำ�เรจ็ กจ็ ะเกิดตามมา

80 การเรยี นรู้เกดิ ข้นึ อย่างไร

ใหก้ ารปอ้ นกลับอยา่ งมีเปา้ หมาย
การป้อนกลับ (Feedback) เป็นการให้ข้อมูลเก่ียวกับความก้าวหน้า
สเู่ ปา้ หมาย และจะมผี ลตอ่ แรงจงู ใจในการเรยี นไดเ้ ปน็ อยา่ งดี การปอ้ นกลบั
ท่ีสร้างสรรค์ ช่วยบอกจุดแข็ง จุดอ่อน และแนะวิธีเพิ่มจุดแข็งในอนาคต 
จะมรี ายละเอียดในหนงั สอื บทท่ี ๕

ยุติธรรม
ครตู อ้ งแสดงความยตุ ธิ รรมตอ่ นกั ศกึ ษาอยา่ งเทา่ เทยี มกนั  โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง เมื่อการให้คะแนนทำ�โดยคนหลายคน หากนักศึกษารู้สึกว่า
เกณฑ์ในการให้คะแนนแก่ตนแตกต่างจากเกณฑ์ท่ีใช้กับคนอ่ืน นักศึกษา
อาจถอดใจ
ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับความสำ�เร็จและความ
ลม้ เหลว
ความเข้าใจผิด ของนักศึกษาเก่ียวกับปัจจัยที่นำ�ไปสู่ความสำ�เร็จ
และความล้มเหลวในการเรียน มีส่วนลดทอนความเช่ือม่ันในตนเองด้าน
การเรียน ครูพึงช่วยแก้ความเข้าใจผิดน้ัน เช่น เข้าใจว่าตนจะเรียนผ่าน
วิชาน้ันได้ยาก เพราะตนไม่เก่งเรื่องตัวเลข ไม่เก่งด้านรายละเอียด หรือ
หัวไมด่ ี เป็นต้น
ครพู ึงชว่ ยให้นกั ศึกษาเขา้ ใจถูกตอ้ งวา่ ปจั จัยของความส�ำ เร็จ ขึ้นกับ
การมีวธิ เี รยี นที่ถูกตอ้ ง ความขยัน และรู้จักจัดการเวลา 
ระบยุ ุทธศาสตรก์ ารเรยี นทไ่ี ดผ้ ล
ในกรณขี องนกั ศกึ ษาทผ่ี ลการเรยี นลม้ เหลว ครตู อ้ งพดู คยุ เรอ่ื งวธิ เี รยี น
หรือพฤติกรรมการเรียน เพื่อชี้ให้เห็นว่าวิธีเรียนท่ีตรงกันข้ามกับวิธีเรียน
ท่ีไม่ดี ที่ทำ�ให้การเรียนล้มเหลว เป็นอย่างไร เพื่อชี้ให้เห็น และมั่นใจว่า
นกั ศกึ ษาสามารถบรรลผุ ลส�ำ เรจ็ ในการเรยี นวชิ านน้ั ได้ หากเปลยี่ นวธิ เี รยี น

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 81

ยทุ ธศาสตรก์ ารจัดการคณุ ค่าและความมัน่ ใจ

ให้ความยืดหย่นุ และการควบคุม
การเปิดโอกาสหรือความยืดหยุ่น ให้นักศึกษามีโอกาสเลือกกิจกรรม
เลอื กเรยี นบางสว่ นของเนอื้ หาในรายวชิ า เลอื กเรอ่ื งส�ำ หรบั ท�ำ โครงงาน ฯลฯ 
ผ่านการหารือกับครู จะช่วยเพ่ิมความเข้าใจ “คุณค่า” ของแต่ละขั้นตอน
การเรยี น และเพม่ิ ความมน่ั ใจวา่ จะเรยี นไดส้ �ำ เรจ็ ความยดื หยนุ่ อยา่ งถกู ตอ้ ง
จึงเป็นการควบคุมตัวพฤติกรรมการเรียน และส่งผลต่อความสำ�เร็จใน
การเรียนในท่สี ุด

ใหโ้ อกาสนกั ศึกษาสะทอ้ นความคิด
การสะทอ้ นความคดิ (Reflection)ชว่ ยใหเ้ กดิ การเรยี นรอู้ ยา่ งมคี วามหมาย
โดยครูช่วยตั้งคำ�ถาม “นักศึกษาได้เรียนรู้อะไรบ้าง จากการทำ�งานชิ้นน้ี”
จะทำ�ใหน้ กั ศึกษามองเห็นคุณค่าของบทเรียน
ค�ำ ถามอน่ื ๆ ทช่ี ว่ ยนกั ศกึ ษาไดแ้ ก่ “สว่ นทม่ี คี ณุ คา่ ทส่ี ดุ ของโครงงานน้ี
คอื อะไร” “นกั ศกึ ษาเตรยี มตวั อยา่ งไรบา้ ง เพอื่ การท�ำ โครงงานน/ี้ การสอบ” 
“นักศึกษาคิดว่าตนต้องการเรียนรู้ทักษะอะไรเพ่ิมเติม เพ่ือให้การเรียน
กา้ วหนา้ ไปดว้ ยด”ี  “ในโอกาสขา้ งหนา้ นกั ศึกษาจะเปลย่ี นแปลงวธิ ที ำ�งาน
ท่ไี ด้รบั มอบหมายอยา่ งไรบา้ ง”
จะเห็นว่า หน้าท่ีสำ�คัญของครูในกรณีนี้คือ ทำ�หน้าที่ตั้งคำ�ถามแบบ
Appreciative Inquiry เพ่ือกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นคุณค่าของวิชาที่เรียน
และมน่ั ใจวา่ หากใชค้ วามพยายาม จะเรยี นผ่านได้
สรปุ
ในบันทึกตอนท่ี ๖ และ ๗ ได้กล่าวถึงความสำ�คัญของแรงจูงใจ
(Motivation) ต่อการเรียนรู้ และได้นำ�เสนอวิธีมองแรงจูงใจ ผ่านแว่น
หลักการเป้าหมาย (Goals) จุดสำ�คัญที่สุดคือ นักศึกษามีเป้าหมายใน
ขณะน้ันไมต่ รงกบั ของคร ู


82 การเรยี นร้เู กดิ ขึ้นอยา่ งไร

การใหค้ ณุ คา่ ตอ่ เปา้ หมาย และความเชอื่ มน่ั วา่ จะเรยี นไดส้ �ำ เรจ็
มผี ลตอ่ แรงจูงใจในการเรียน
การให้คุณค่าต่อเป้าหมาย  ความเชื่อมั่นว่าจะเรียนได้สำ�เร็จ และ
ความเช่ือมัน่ ต่อระบบช่วยเหลอื ของสถาบนั มปี ฏสิ ัมพนั ธก์ นั และสง่ ผลต่อ
พฤตกิ รรมการเรยี นของนักศึกษา
ความเขา้ ใจชดุ นข้ี องคร ู จะชว่ ยใหค้ รจู ดั รปู แบบการเรยี นรทู้ ตี่ นจดั ให้
แกน่ ักศึกษาได้ดีขึ้น

วิจารณ์ พานิช
๒๙  ธ.ค. ๕๕

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ 83

84 การเรียนร้เู กดิ ข้นึ อยา่ งไร

๘.การเรียนรู้เกดิ ข้ึนอย่างไร

นักเรียนพัฒนาการเรยี นให้รจู้ รงิ
(Mastery Learning) ได้อย่างไร

บนั ทึกตอนท่ี ๘ มาจากบทท่ี ๔ How Do Students Develop
Mastery? อธบิ ายหลักการเรื่องหลักการของการเรยี นใหร้ ู้จริง
(Mastery) และตอนที่ ๙ ว่าดว้ ยเรือ่ งเทคนคิ ทีค่ รูช่วยเออ้ื อ�ำ นวย

ใหน้ กั ศกึ ษาเกดิ การเรยี นรู้ในระดับรจู้ รงิ

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 85

ครูต้อง “สอนการประยุกต์” (แบบ
ไม่สอน!) โดยต้องช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้
โครงสรา้ งความรอู้ ยา่ งลกึ ซง้ึ เรยี นรหู้ ลกั การ
ทอี่ ยู่เบ้ืองหลงั เรยี นรใู้ นบริบทการประยกุ ต์
ใชท้ ่แี ตกตา่ งหลากหลาย ช่วยให้นกั ศกึ ษา
เชอื่ มโยงความรแู้ ละทกั ษะท่ีตนมี เขา้ กบั
บริบทใหม่ท่จี ะใช้ความรู้และทักษะน้ันได้…
… ครใู นศตวรรษท่ี ๒๑ ต้องท�ำ หนา้ ท่ี
โคช้ ของการเรยี นรู้ของศิษยจ์ ริงๆ

86 การเรยี นรู้เกิดข้นึ อย่างไร

สาระส�ำ คัญในหนงั สอื บทที่ ๔  และในบนั ทกึ ตอนท่ี ๘ และ ๙ ตรงกับ
หลักการ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ว่าการเรยี นรตู้ ้องไมห่ ยดุ อยู่แคท่ ราบ
เนอ้ื หาหรอื ทฤษฎ ี ตอ้ งสามารถน�ำ เอาทฤษฎไี ปประยกุ ตใ์ ชไ้ ด ้ การประยกุ ต์
ใชเ้ ปน็ ในระดบั ช�ำ่ ชอง คือไม่ต้องคิด เรียกว่าบรรลุผลการเรียนรู้ระดับรู้จริง
(Mastery)
นำ�ไปสู่หลักการว่า การศึกษาสมัยใหม่ ต้องเน้นการฝึกประยุกต์ใช้
ความรู้ ... จนช�ำ่ ชอง  บนั ทกึ ๒ ตอนน้ี เปน็ เร่อื งการฝึกใชค้ วามรู้  ตอนที่ ๘
เนน้ ทฤษฎขี องการฝกึ ใชค้ วามรู้ เพอ่ื ใหเ้ กดิ การเรยี นรรู้ ะดบั รจู้ รงิ (Mastery) 
และตอนท่ี ๙ เน้นเทคนคิ
การเรยี นร้สู ่รู ะดบั ร้จู ริงคอื อะไร 
หนังสือบทนี้เริ่มด้วยเรื่องราวความผิดหวังของศาสตราจารย์ ๒ คน
ในตา่ งเร่อื ง ตา่ งวชิ า  แตส่ ะทอ้ นความเขลาหรอื ไมเ่ ขา้ ใจขัน้ ตอนการเรียนรู้
ของนกั ศกึ ษาวา่ นกั ศกึ ษาตอ้ งการการฝกึ ฝนหลากหลายขน้ั ตอนหลากหลาย
องค์ประกอบ เพ่ือเปล่ียนสภาพจากรู้เพียงทฤษฎี ไปสู่สภาพการเรียนรู้
ในระดับรู้จริง (Mastery)
ผมมีความลำ�บากใจต่อการใช้คำ�ภาษาไทย ท่ีถ่ายทอดความหมาย
ของค�ำ Mastery เดิมคิดจะใช้ “เรยี นร้รู ะดับเชยี่ วชาญ” “เรียนให้ช�ำ นาญ” 
“เรียนให้รู้อย่างลึกซ้ึง” แต่ในท่ีสุดก็ตัดสินใจใช้คำ�ว่า “เรียนให้รู้จริง” ซ่ึง
ตคี วามด้วยหลักการเรยี นรูใ้ นศตวรรษที่ ๒๑ ไดว้ า่ เป็นการเรียนรู้ในระดับ
ประยุกตใ์ ชค้ วามรไู้ ด้ คอื มผี ลลพั ธท์ ี่ทักษะ ไมใ่ ชแ่ ต่บอกสาระได ้

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 87

องค์ประกอบของการเรยี นรู้ระดับรจู้ รงิ
การเรียนรู้ระดับรู้จริงมีองค์ประกอบ ๓ ส่วน คือ (๑) เรียนรู้ทักษะ
องคป์ ระกอบยอ่ ยของเรอ่ื งนน้ั  (๒)เรยี นรวู้ ธิ บี รู ณาการทกั ษะองคป์ ระกอบยอ่ ย
เขา้ ดว้ ยกนั  (๓) เรยี นรกู้ ารบรู ณาการใหไ้ ดร้ ปู แบบทเี่ หมาะสมตอ่ กาลเทศะ 
ดังแสดงในรูป 

ฝึกบูรณาการ องคป์ ระกอบของ
ใหเ้ ข้ากบั กาลเทศะ การเรียนร้ใู หจ้ รงิ

ฝกึ บูรณาการ จากหนงั สือ How Learning Works:
          ทกั ษะยอ่ ย 7 Research-Based Principles for
Smart Teaching เขียนโดย Susan
เรยี นรู้ A. Ambrose และคณะ
ทักษะยอ่ ย

คนเป็นครู/อาจารย์ มักทึกทักเอาเองด้วยความเข้าใจผิดว่าเมื่อ
นกั ศกึ ษาไดเ้ รยี นสาระและฝกึ ทกั ษะทเี่ กย่ี วขอ้ งครบแลว้ นกั ศกึ ษาจะปฏบิ ตั ิ
หรอื ด�ำ เนนิ การเรอ่ื งนั้นๆ ได้  ย้ำ�ว่า น่คี ือความเขา้ ใจผิด  เพราะนกั ศกึ ษา
ยังเพง่ิ ได้เรียนรู้หรือฝกึ ทกั ษะในข้นั ตอนท่ี ๑ ใน ๓ ข้ันตอนของการเรียนให้
รู้จริง ดงั รูปขา้ งบน
ครูยังต้องช่วยจัดมอบหมายงานให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการเรียนรู้ใน
ขัน้ ตอนที่ ๒ และ ๓ ต่อไป เพ่ือให้นกั ศึกษาไดบ้ รรลสุ ่กู ารรจู้ รงิ (Mastery) 

ทกั ษะความเชยี่ วชาญ (Expertise)
ทกั ษะความเชย่ี วชาญในเรอ่ื งนนั้ ๆ ของครู ไมจ่ �ำ เปน็ จะกอ่ ผลดตี อ่ การ
ทำ�หน้าท่ีครูเสมอไป เพราะมันมักจะทำ�ให้เกิด “จุดบอดของผู้เช่ียวชาญ”

88 การเรียนรู้เกดิ ขึ้นอย่างไร

(Expert Blind Spot) คอื ท�ำ ใหค้ รมู องขา้ มความเปน็ ผฝู้ กึ ใหมข่ องนกั ศกึ ษา
ทจ่ี ะตอ้ งฝกึ ฝนทกั ษะตา่ งๆ อยา่ งเปน็ ขน้ั ตอน ยงั ท�ำ งานขา้ มขน้ั ตอนอยา่ งครู
ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้นไม่ได ้
ขน้ั ตอนสคู่ วามเชย่ี วชาญ หรอื ทกั ษะรจู้ รงิ แสดงในภาพขา้ งลา่ ง ซง่ึ เปน็
ภาพความสมั พนั ธ์ระหวา่ ง ๒ ปัจจยั คอื ความร้ตู ัว-ไมร่ ้ตู ัว  กบั สมรรถนะ
ท�ำ ไม่ได-้ ทำ�ได้ 
ข   ั้นตอนการพัฒนาให้รู้จริง

อธิบายว่า ขั้นตอนพัฒนาจาก “ผู้ไม่รู้” ไปสู่ “ผู้รู้จริง” มี ๔ ข้ันตอน 
เรม่ิ จาก “ไมร่ ู้ว่าไมร่ ู้” สู่ “รู/้ ตระหนกั วา่ ไมร่ ู้” ไปสู่ “ทำ�ได้ โดยตอ้ งต้งั ใจทำ�” 
และขนั้ สงู สดุ ทีเ่ รียกวา่ รู้จรงิ คอื “ท�ำ ได้ อย่างอตั โนมตั ิ” คือโดยไม่ตอ้ งตง้ั ใจ
ทำ�หรือไม่รู้ตัว เหมือนอย่างคนขับรถยนต์เป็น ขับรถโดยไม่ต้องกำ�หนด
ข้ันตอนในใจ 
ข้อเรยี นรู้สำ�หรบั ครคู ือ การพฒั นาของนกั ศึกษาจากข้ันตอนท่ี ๑ ไปสู่
ขน้ั ตอนที่ ๔ ไมว่ า่ ในเรอ่ื งใด ตอ้ งการการฝกึ ฝนและตอ้ งการเวลา เพราะเปน็
ทักษะเชิงซ้อนที่ประกอบด้วยทักษะย่อยจำ�นวนมากมาย ต้องใช้เวลาฝึก
๓ ขั้นตอนตามภาพแรกขา้ งบน 
แต่ครูซ่ึงรู้จริง ในระดับผู้ชำ�นาญ จะคิดข้ามขั้นตอนอย่างรวดเร็ว 
ไมต่ อ้ งบรู ณาการความรใู้ นขณะนนั้ เพราะมี “ชดุ ความร”ู้ เปน็ ชดุ ๆ ส�ำ เรจ็ รปู
อยแู่ ลว้ ในสมอง ใหเ้ ลอื กเอามาใชใ้ หเ้ หมาะสมตามกาลเทศะ ซง่ึ ครกู ช็ �ำ่ ชอง
เชน่ เดยี วกนั  
ในสภาพความเป็นผู้ชำ�นาญ ท่ีทำ�กิจกรรมข้ามข้ันตอนอย่างรวดเร็ว

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 89

โดยไม่รู้ตัว (อย่างเป็นอัตโนมัติ) ครูหลายคนจึงลืมไปว่า นักศึกษาอยู่ใน
ต่างข้ันตอนกับตนเอง  นักศึกษายังเป็นผู้ฝึกใหม่ ยังต้องคิดและทำ�ตาม
ขั้นตอนในรูปแรกข้างบน และครูก็ไม่สามารถบอกขั้นตอนการคิดและทำ�
ของตนได้ เพราะมนั เกดิ ข้นึ อย่างเปน็ อัตโนมัติ ไมต่ ้องคิด
ครูท่ดี ีจึงต้องเอาชนะ “จดุ บอดของผู้เชย่ี วชาญ” และศึกษาทำ�ความ-
เข้าใจข้ันตอนการเรียนรู้ ๓ ขั้นตอนตามในภาพแรกข้างบน สำ�หรับนำ�มา
เออ้ื อำ�นวยการเรยี นรู้ของศิษย์ ใหไ้ ด้ฝึกฝนทกั ษะท้ัง ๓ ข้างบน
ทักษะองคป์ ระกอบย่อย (Component Skills)
นกั ศกึ ษาตอ้ งมที กั ษะองคป์ ระกอบยอ่ ยครบถว้ น จงึ จะสามารถท�ำ งาน
หรือกิจกรรมที่ซับซ้อนและต้องการทักษะเหล่าน้ันได้  ครูจึงต้องมีทักษะ
ในการแตกหรือวิเคราะห์ช้ินงาน ว่าต้องการทักษะย่อยอะไรบ้าง และต้อง
ทดสอบทักษะของนักศึกษาว่ามีพร้อมเพียงพอแล้วหรือไม่ ก่อนจะ
มอบหมายงาน หากตรวจพบว่านักศึกษายังขาดทักษะองค์ประกอบ
บางอยา่ ง กค็ วรให้เรยี นเสรมิ เสียกอ่ น  เชน่ ในตวั อยา่ งแรกของบทท่ี ๔ ของ
หนงั สอื เมอ่ื มอบหมายโครงงานใหน้ กั ศกึ ษาท�ำ คนเดยี ว ไดผ้ ลดมี าก แตเ่ มอ่ื
ให้ทำ�เปน็ ทีมกลบั ไดผ้ ลงานท่ไี มด่ ี แสดงวา่ นกั ศกึ ษาขาดทกั ษะการท�ำ งาน
เป็นทมี  
ผมอา่ นรายละเอยี ดในหนงั สอื แลว้ บอกตวั เองวา่ ศาสตรว์ า่ ดว้ ยทกั ษะ
องค์ประกอบย่อย (Component Skills) ของแต่ละทักษะที่ซับซ้อน เป็น
เรอื่ งที่น่าจบั ท�ำ วจิ ยั ในบรบิ ทไทยมาก เปน็ โจทยว์ จิ ยั ทจ่ี ะชว่ ยใหน้ กั ศกึ ษาม ี
ผลการเรยี นสงู ขึ้น และในขณะเดียวกัน ความรวู้ ่าด้วยการจัดการเรยี นรู้ใน
บรบิ ทไทยก็จะเพิ่มพูนข้นึ ดว้ ย
ดงั ตวั อยา่ งโจทย์ การฝกึ ทกั ษะยอ่ ย ควรฝกึ แยกหรอื ฝกึ รวมกบั การฝกึ
ทักษะอน่ื ท้ังชดุ ซง่ึ ไมม่ คี ำ�ตอบตายตวั ขน้ึ กบั แตล่ ะวชิ า แต่ละทักษะ และ
ขน้ึ กบั พน้ื ความเชย่ี วชาญทน่ี กั ศกึ ษามอี ยแู่ ลว้ ผลงานวจิ ยั บอกวา่ ในบางกรณี
ท่ีนักศึกษามีทักษะองค์ประกอบย่อยค่อนข้างสูงอยู่แล้ว การฝึกแยกกลับ
ใหผ้ ลลบ คอื ทักษะกลบั ลดลง

90 การเรียนรเู้ กิดขน้ึ อยา่ งไร

การบูรณาการทักษะองคป์ ระกอบย่อย
การบรู ณาการทกั ษะองคป์ ระกอบยอ่ ย ท�ำ โดยฝกึ พรอ้ มกนั หรอื ท�ำ เปน็
เรอื่ งเดยี วกนั   ไมใ่ ชฝ่ กึ แยกกันแลว้ คิดเอาวา่ เมื่อใช้พร้อมกนั จะท�ำ อย่างไร
ซงึ่ จะไมม่ วี นั บรู ณาการทกั ษะได ้ การฝกึ พรอ้ มกนั นไี้ มง่ า่ ย เพราะมนั กนิ แรง
สมองมาก ภาษาวิชาการเรยี กวา่ Cognitive Load
ในขณะท่ีผู้ท่ีได้ฝึกฝนจนเรียนรู้จริง (Mastery) แล้ว การทำ�ทักษะ
หลายๆ อย่างท้ังชุดในเวลาเดียวกันหรืออย่างคล้องจองกัน เป็นเร่ืองปกติ
ธรรมดา ไม่ยาก เพราะคนท่ีฝึกจนรู้จริงแล้ว จะทำ�ทักษะเหล่านั้นได้อย่าง
อตั โนมตั ิ ไม่กินแรงสมอง
ดงั นนั้ ความส�ำ คญั จงึ อยทู่ กี่ ารฝกึ ซอ้ ม หรอื การท�ำ แบบฝกึ หดั และครู
ท่ีเก่งจะเข้าใจความยากลำ�บากของมือใหม่อย่างศิษย์  และนี่แหละที่เป็น
คณุ คา่ ระดบั สงู สดุ ของครใู นศตวรรษที่ ๒๑ ... เปน็ ครฝู กึ ใหแ้ กศ่ ษิ ย ์ ใหศ้ ษิ ย์
ฟนั ฝา่ Cognitive Load ผา่ นชว่ งมอื ใหม่ ไปสกู่ ารมคี วามช�ำ นาญหรอื รจู้ รงิ ได้ 
แต่ผลการวิจัยชี้ว่า ยังมีการทำ�แบบฝึกหัด ท่ีทำ�โจทย์ได้ถูกต้อง แต่
ไม่ได้เรียน เพราะนักเรียนมีแรงสมองน้อย เอาไปทำ�โจทย์ก็หมดแรงแล้ว 
ไม่มีแรงสมอง (Cognitive Resources) เหลือสำ�หรับการเรียนท่ีแท้จริง 
แก้ได้โดยเครื่องมือท่ีเรียกว่า Worked-Examples (ตัวอย่างเฉลยข้อสอบ)
จัดแทรกไว้เป็นระยะๆ ในหมู่ข้อสอบแบบฝึกหัด เขาบอกว่า จะช่วยให้
นักศึกษาศกึ ษาวธิ ีการ และเป็นการ “ชารจ์ แบต” แรงสมอง ปรากฏการณ์
เช่นนีเ้ รยี กวา่ Worked-Example Effect จะเหน็ ว่า ครทู เ่ี อาใจใส่ศึกษาและ
ทดลองใช้เครื่องมือช่วยการเรียนของศิษย์ มีเร่ืองสนุกให้ทำ�ได้มาก และ
ยงั น�ำ มาเปน็ โจทยว์ จิ ยั เพอ่ื เพม่ิ ความเขา้ ใจของตน และเพมิ่ ผลงานวชิ าการ
ดา้ นการเรียนรไู้ ดอ้ กี ดว้ ย 
เขาบอกวา่ เครอ่ื งมอื ลดการกนิ แรงสมอง (จนไมม่ แี รงเรยี นรวู้ ธิ เี รยี นร)ู้
อีกชนดิ หนงึ่ คือ Scaffolding ซงึ่ จะกล่าวถงึ โดยละเอยี ดในหนงั สือบทท่ี ๗
ทน่ี า่ สนใจยง่ิ คอื หากไมร่ ะวงั นกั ศกึ ษาจะหมดแรงสมองไปกบั การเรยี นรู้
ส่วนสาระ ไม่มีเหลือไว้เรียนรู้ส่วนที่สำ�คัญกว่า คือส่วนการจัดโครงสร้าง
ความร/ู้ ทกั ษะ และส่วนเรยี น “วธิ เี รยี นร้”ู  
และน่าสนใจย่ิงขึ้นไปอีก ท่ีมีผลงานวิจัยบอกว่า การลดการกินแรง

ศ.นพ.วิจารณ์ พานชิ 91

สมอง (Cognitive Load) ไมใ่ ชจ่ ะมผี ลใหเ้ กดิ การเรยี นร้ทู ีด่ ี ทรี่ ู้จริงเสมอไป 
ผมสรุปงา่ ยๆ วา่ จะได้ผลดตี อ่ การเรยี น หากนักศกึ ษาลดการกินแรงสมอง
โดยลดความเอาใจใส่เรื่องท่ไี มเ่ กย่ี วกับเปา้ หมายการเรียน (เร่อื งไรส้ าระ?) 
ประหยดั สมองเอาไว้เรียนเรือ่ งสำ�คญั (อย่างทผ่ี มฝกึ มาตลอดชวี ติ )
การประยกุ ตใ์ ชท้ กั ษะและความรู้
ศพั ทเ์ ทคนคิ ทางการศกึ ษา ส�ำ หรบั การประยกุ ตใ์ ชท้ กั ษะ (และความรู้
ยุทธศาสตร์ วิธีดำ�เนินการ และนิสัย) คือ Transfer และยังมีคำ�ว่า Near
Transfer ซงึ่ หมายถงึ บรบิ ทของการเรยี นกบั บรบิ ทของการประยกุ ตใ์ กลเ้ คยี ง
หรือคล้ายคลงึ กัน และ Far Transfer สำ�หรบั กรณีที่บริบทแตกต่างกันมาก
ระหว่างตอนเรยี น กับตอนประยุกต์ 
ทักษะ Transfer ที่ต้องการจริงๆ คือ Far Transfer  คือเปลี่ยน
บรรยากาศจากหอ้ งเรยี นสสู่ ถานทท่ี �ำ งานจรงิ ผลการวจิ ยั บอกวา่ เราไมเ่ ขา้ ใจ
ความยากลำ�บากของการประยุกตใ์ ช้ทักษะในต่างสถานการณเ์ ช่นน้ ี และ
มปี ัจจัยเออื้ และปัจจยั ลม้ เหลว ของการประยุกต์ 
ปัจจัยลม้ เหลวของนกั ศกึ ษาได้แก่
๑. เรยี นรเู้ ชอ่ื มโยงกบั บรบิ ทในหอ้ งเรยี นอยา่ งเหนยี วแนน่  คอื เรยี นตาม
ต�ำ รา  ถา้ ถามข้อความในตำ�ราตอบได้  แต่ให้เอามาใช้ในสถานการณจ์ รงิ
ทำ�ไมไ่ ด้
๒. เรยี นรแู้ บบผวิ เผนิ  ไมล่ กึ ซง้ึ และเชอ่ื มโยงอยา่ งแทจ้ รงิ  คอื นกั ศกึ ษา
หยุดอยูท่ ่ี Know What ไมเ่ รียนรู้ Know Why หรือเหตผุ ลท่ตี ้องทำ�อยา่ งนน้ั
หรือเหตุผลที่ส่ิงนั้นเป็นเช่นนั้น นั่นคือ การเรียนรู้ทฤษฎีหรือความรู้เชิง
นามธรรมเก่ยี วกับกจิ กรรมท่ีกำ�ลงั ทำ� จะชว่ ยให้ท�ำ ได้ดีข้ึน 
ปัจจัยชว่ ยการประยุกต์ของนักศึกษาได้แก่
๑. นกั ศกึ ษาเรยี นรทู้ ฤษฎหี รอื หลกั การทเ่ี ปน็ จรงิ ในทกุ บรบิ ท การประยกุ ต์
ใชค้ วามรใู้ นตา่ งบรบิ ทกจ็ ะท�ำ ไดไ้ มย่ าก เขายกตวั อยา่ งผลงานวจิ ยั คลาสสคิ
ท่ีทำ�กว่า ๑๐๐ ปีมาแล้ว (Judd 1908) โดยให้นักศึกษาปาลูกศรให้ถูก

92 การเรียนร้เู กดิ ขน้ึ อย่างไร

เปา้ ใตน้ ้ำ�ทอี่ ย่ลู กึ ๑ ฟุต หลงั จากทดลองสกั ครู่ ก็แยกนกั ศึกษาเปน็ ๒ กลุ่ม 
กลุ่มแรกไปเข้าฟังทฤษฎีการหักเหของแสง อีกกลุ่มหน่ึงไม่ได้ฟัง แล้วให้
ปาเปา้ ซ้ำ� ผลของกลุ่มแรกดีกว่าอยา่ งชดั เจน
๒. การเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ นี่ก็มาจากผลงานวิจัย การให้
นักศึกษาศึกษากรณีศึกษา ๒ กรณี โดยศึกษาเปรียบเทียบกันระหว่าง
(๑) ศกึ ษาทลี ะกรณ ี (๒) เปรียบเทยี บกนั ระหว่าง ๒ กรณี โดยครมู ีเกณฑ ์
ให้เปรียบเทียบ  ผลคอื การศกึ ษาวธิ ีท่ี ๒ ได้ผลการเรยี นรู้ทีล่ ึกและเชื่อมโยง
กว่ามาก 
๓. ให้บอกความเหมือนหรอื ความตา่ งของสง่ิ หรือเรอ่ื งต่างๆ
๔. ค�ำ ชแ้ี นะ หรอื ค�ำ ใบ้ ของครู อาจชว่ ยใหน้ กั ศกึ ษาเชอ่ื มโยงเรอื่ งราว
ตา่ งเรอ่ื ง/ต่างบรบิ ท แตใ่ ช้หลักการเดียวกนั ได ้
สรุป
ครูต้อง “สอนการประยุกต์” (แบบไม่สอน!) โดยต้องช่วยให้
นักศึกษาเรียนรู้โครงสร้างความรู้อย่างลึกซ้ึง เรียนรู้หลักการที่อยู่
เบ้ืองหลัง เรียนรู้ในบริบทการประยุกต์ใช้ท่ีแตกต่างหลากหลาย
ช่วยให้นักศึกษาเชื่อมโยงความรู้และทักษะท่ีตนมี เข้ากับบริบทใหม่
ทจี่ ะใชค้ วามรูแ้ ละทกั ษะนั้นได้ 
ขอ้ สรุปสำ�หรบั ผมก็คือ เมื่ออา่ นหนงั สอื บทที่ ๔ น้ ี ผมก็กระจ่างแจ้งว่า
ครูในศตวรรษท่ี ๒๑ ต้องทำ�หนา้ ทโ่ี ค้ชของการเรียนรขู้ องศิษย์จริงๆ 
เหมือนโคช้ ฟุตบอล และหนงั สือบทที่ ๔ นี้ คอื สว่ นหนึ่งของศาสตรส์ �ำ หรบั
โคช้ การเรียนร้แู หง่ ศตวรรษท่ี ๒๑ และทำ�ให้ผมเช่ือมากข้ึนวา่ ครู/อาจารย์
ทกุ คน มโี อกาสมากมายในการรว่ มขยายขอบฟา้ ของศาสตร์น้ี 

วิจารณ์ พานชิ
๓๐ ธ.ค. ๕๕

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ 93

94 การเรียนร้เู กดิ ข้นึ อยา่ งไร

๙.การเรียนรู้เกดิ ขึ้นอย่างไร

เทคนคิ ชว่ ยศษิ ยใ์ ห้รูจ้ ริง

ตอนท่ี ๙ มาจากบทท่ี ๔  How Do Students Develop Mastery? 
ว่าดว้ ยเรอ่ื งเทคนิคทค่ี รชู ว่ ยเอ้ืออ�ำ นวยใหน้ ักศึกษาเกดิ การเรียนรู้

ในระดบั รูจ้ ริง

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ 95

เพอ่ื ใหเ้ กดิ การเรยี นแบบรจู้ รงิ ในเรอ่ื งใด
เรอื่ งหนงึ่ นกั ศึกษาตอ้ งเรยี นรู้ทกั ษะย่อยๆ
ของเรื่องนั้น จนทำ�ได้อย่างเป็นอัตโนมัติ 
เรียนรู้วิธีประกอบทักษะย่อยเข้าเป็นชุด
ที่เหมาะสมต่อการใช้งานในแต่ละบริบท 
เพ่ือประยกุ ตใ์ ช้ให้เหมาะสมกบั กาละเทศะ
หรอื สถานการณ์นน้ั ๆ

96 การเรยี นรู้เกิดขนึ้ อยา่ งไร

ยทุ ธศาสตร์ทำ�ทกั ษะองค์ประกอบใหแ้ จม่ แจง้
หลักการสำ�คญั ๓ ประการ ส�ำ หรบั ครู คือ  (๑) ต้องแจกแจงแยกแยะ
งานท่ีซับซ้อน ออกเป็นทักษะย่อยอย่างเป็นระบบ สำ�หรับใช้วินิจฉัยว่า
นักศึกษารู้หรือไม่รู้ส่วนใดบ้าง และสำ�หรับใช้ออกแบบการเรียนรู้ให้
นักศึกษาได้ฝึกทักษะย่อยเหล่านี้อย่างเป็นระบบ (๒) จัดให้นักศึกษาฝึก
บรู ณาการทกั ษะองคป์ ระกอบจนคลอ่ งแคลว่  ท�ำ ไดเ้ ปน็ อตั โนมตั ิ ไมต่ อ้ งใช้
ความพยายาม (๓) ใหน้ กั ศกึ ษาไดเ้ รยี นรกู้ าลเทศะในการประยกุ ตใ์ ชท้ กั ษะ
เหล่าน้นั

กา้ วขา้ มจดุ บอดของผเู้ ช่ยี วชาญของครู
ครูพึงตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่านักศึกษาอยู่ในข้ันตอนการฝึก ไม่ใช่
ผชู้ �ำ นาญอยา่ งคร ู ครตู อ้ งตรกึ ตรองอยเู่ สมอวา่ งานหรอื กจิ กรรมทนี่ กั ศกึ ษา
ไดร้ บั มอบหมาย ตอ้ งการองคป์ ระกอบทกั ษะยอ่ ยๆ อะไรบา้ ง คอยตรวจตรา
วา่ ครลู ะเลยทกั ษะเล็กๆ บางทกั ษะไปหรือไม่  และหม่ันตรวจสอบว่าทกั ษะ
ส�ำ คัญท่ีจ�ำ เป็นต่อการทำ�งานนัน้ ให้ส�ำ เร็จมีอะไรบา้ ง 

หานักศกึ ษาผชู้ ่วยสอนมาชว่ ยแยกแยะขั้นตอนของงาน
สภาพทคี่ รูเปน็ ผ้ชู ำ�นาญในเรอื่ งนั้น และคดิ อยู่ในสภาพ “ท�ำ ได้ โดย
ไมร่ ูต้ ัว” (Unconscious Competence)  ทำ�ให้เปน็ การยากสำ�หรับครู ท่จี ะ
แยกแยะช้ินงานออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ที่ท�ำ หน้าทีช่ ่วยสอน ยังเป็นผู้รูใ้ นระดบั “ท�ำ ได้ โดยตอ้ งต้งั สติ” (Conscious
Competence)  จึงน่าจะเก่งกว่าครู ในการแยกแยะขั้นตอนย่อยๆ ของ
กจิ กรรมที่ซับซอ้ น

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 97

ปรกึ ษาหารอื กบั เพ่ือนครู
วิธี “ก้าวข้ามจุดบอดของผู้เช่ียวชาญ” อีกวิธีหนึ่งทำ�โดยปรึกษา
เพอื่ นคร ู วา่ เขาแยกแยะทกั ษะยอ่ ยของชนิ้ งานอยา่ งไร ตวั อยา่ งชน้ิ งานอาจ
เป็น รายงานผลการวิจัย  การนำ�เสนอด้วยวาจา  หรือโครงการออกแบบ 
แมว้ า่ เพอ่ื นครกู อ็ าจมี “จดุ บอดของผเู้ ชยี่ วชาญ” แบบของเขา แตก่ ย็ งั สมควร
ท่ี จะแลกเปลี่ยนการแยกแยะทักษะย่อยของงานต่อกันและกัน โดยอาจ
แลกเปลี่ยน ข้อกำ�หนดรายละเอียดของวิชา ช้ินงานสำ�หรับนักศึกษาและ
Rubrics สำ�หรับทดสอบผลการเรยี น เปน็ ตน้
ในข้อนี้ ผมมีความเห็นว่า หากครูรวมตัวกันเป็น “ชุมชนการเรียนรู้”
(COP - Community of Practice) ของครู หรอื PLC (Professional Learning
Community) กจ็ ะชว่ ยกนั ปดิ จุดบอดซ่ึงกันและกนั ได้ 
แสวงหาความช่วยเหลอื จากคนนอกสาขาวชิ าการของตน
คนนอกสาขาวิชา น่าจะมี “จุดบอดของผู้เช่ียวชาญ” คนละจุดหรือ
คนละแบบ  ดังน้ัน หากมีการแลกเปล่ียนและศึกษาเอกสาร ข้อกำ�หนด
รายละเอยี ดของวชิ า ชนิ้ งานส�ำ หรบั นกั ศกึ ษา และ Rubrics ส�ำ หรบั ทดสอบ
ผลการเรยี นของกันและกนั  ก็อาจชว่ ยใหเ้ ห็นประเดน็ ทต่ี นละเลยไป
หาวัสดุด้านการศึกษา
ทักษะองค์ประกอบหลายประการ ที่เป็นส่วนหน่ึงของการเรียนสาขา
วชิ าอน่ื ๆ ดว้ ย จงึ มเี อกสารหรอื วารสารทเ่ี สนอวธิ แี ยกแยะทกั ษะองคป์ ระกอบ 
ที่ครูน�ำ มาใชศ้ กึ ษาอา้ งอิงได ้
ผมขอเพมิ่ เตมิ วา่ หากคน้ ดว้ ย Google ดว้ ยค�ำ วา่ “Component Skills” 
จะพบตวั อยา่ งของการแยกแยะทกั ษะองคป์ ระกอบของกจิ กรรมทห่ี ลากหลาย 
ให้นกั ศกึ ษาเอาใจใส่งานทม่ี คี วามสำ�คญั
ความเปน็ จรงิ ของชวี ติ ของนกั ศึกษากค็ ือ มงี านหรอื กิจกรรมมากมาย
ใหท้ �ำ ครจู งึ ตอ้ งชว่ ยแนะน�ำ ใหน้ กั ศกึ ษารจู้ กั เลอื กท�ำ สงิ่ ทส่ี �ำ คญั  ปลอ่ ยเรอื่ ง
ไมส่ �ำ คญั ไปเสยี บา้ ง ในวชิ าทคี่ รสู อนกเ็ ชน่ เดยี วกนั เมอื่ ครมู อบงาน การรจู้ กั

98 การเรียนรเู้ กิดข้ึนอยา่ งไร

ลำ�ดับความสำ�คัญในการทำ�งาน และเลือกทำ�งานที่มีประโยชน์มากกว่า
ตอ่ การเรยี นรใู้ นอนาคตมคี วามส�ำ คญั ยง่ิ และครจู ะชว่ ยแนะน�ำ ได้ค�ำ แนะน�ำ
ทางออ้ มคือ Rubrics ของการประเมนิ ผลงานชน้ิ นน้ั  

วินจิ ฉยั ทกั ษะองคป์ ระกอบท่ยี ังขาด
ทำ�โดยจัดการทดสอบในช่วงต้นเทอม ถ้ามีนักศึกษาจำ�นวนน้อย
ขาดทักษะบางอย่าง ครูควรแนะนำ�วิธีซ่อม/พัฒนาทักษะโดยใช้กลไก
ช่วยอำ�นวยความสะดวกของมหาวิทยาลัย แต่ถ้านักศึกษาจำ�นวนมาก
(กว่าครง่ึ ช้นั ) ขาดทกั ษะนน้ั ๆ ครูควรจดั การเรียนรู้ให้  โดยอาจใช้เวลาเรยี น
ปกติ หรอื ใชเ้ วลานอก 
ในระหว่างเทอม ผลการสอบหรือทดสอบ จะช่วยบ่งช้ีว่านักศึกษา
อ่อนทักษะใดที่ถือว่าสำ�คัญมาก ครูจะได้ช่วยหาทางพัฒนาให้  รวมทั้ง
สามารถนำ�ไปใชป้ รับปรงุ การสอนในเทอมตอ่ ๆ ไปไดด้ ้วย 

ใหฝ้ กึ ทกั ษะทย่ี งั ขาด
เมอ่ื ครพู บวา่ นกั ศกึ ษาคนใดคนหนง่ึ ขาดทกั ษะทส่ี �ำ คญั  ครตู อ้ งหาทาง
ใหศ้ ษิ ยไ์ ดฝ้ กึ ทกั ษะนนั้ เชน่ มอบหมายงาน/การบา้ นทน่ี กั ศกึ ษาไดม้ โี อกาส
ฝึกฝนตนเองให้มีทักษะนั้นๆ ในระดับท่ีดีหรือยอมรับได้ ตัวอย่างเช่น ครู
สังเกตว่านักศึกษาขาดทักษะการเขียน เม่ือเขียนถึงตอนสรุป นักศึกษา
คนนน้ั กย็ กเอาประโยคเดมิ ในเนอ้ื หาของบทความมาลงซ�ำ้ ครคู วรใหน้ กั ศกึ ษา
(๑) อา่ นบทสรุปของบทความท่ีดี ๒ - ๓ บทความ และอภิปรายว่าทำ�ไมจงึ
เป็นบทสรุปท่ดี ี (๒) ให้ฝกึ เขียนบทสรปุ สำ�หรับบทความตัวอยา่ ง (๓) ครูกบั
นกั ศึกษารว่ มกนั วจิ ารณ์บทสรุปของนกั ศึกษา
ยุทธศาสตรส์ รา้ งความช่ำ�ชอง และฝึกบูรณาการ

ใหน้ กั ศึกษาฝึก เพ่อื เพ่มิ ความคลอ่ งแคลว่
หากผลการทดสอบทักษะบ่งชี้ว่านักศึกษามีทักษะองค์ประกอบย่อย
ทสี่ �ำ คญั แลว้ แตย่ งั ไมค่ ลอ่ ง ยงั ท�ำ ไมไ่ ดอ้ ยา่ งเปน็ อตั โนมตั  ิ ครพู งึ ใหน้ กั ศกึ ษา

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 99

ฝึกหัดจนคล่อง  ซ่ึงผมมีความเห็นว่าการออกแบบฝึกเป็นการเล่นเกมจะดี
ท่สี ดุ

ให้โจทยท์ งี่ ่ายในชว่ งแรก
เป็นทีร่ กู้ ันวา่ ความส�ำ เรจ็ เป็นตัวสรา้ งกำ�ลงั ใจในการทำ�สิง่ นั้น  ดังนั้น
หากงานชนิ้ นน้ั ยาก ครคู วรใชห้ ลกั การฝกึ “เดนิ ทลี ะกา้ ว กนิ ขา้ วทลี ะค�ำ ” คอื
ตัดตอนมาเพียงบางส่วนให้ฝึกจนทำ�เป็น แล้วจึงฝึกส่วนอ่ืนต่อจนครบ 
ตวั อยา่ ง การฝึกตรวจร่างกายแกน่ กั ศกึ ษาแพทย์  ซึ่งมี ๔ ทักษะ คอื ดู คลำ�
เคาะ ฟัง ครูจะสอนและใหน้ ักศกึ ษาฝกึ วิธี “ด”ู ก่อน จน “ด”ู เป็น จึงเคลอ่ื น
ไปเรียนและฝึก “คลำ�” ต่อไป จนครบ ๔ ทักษะ แล้วจึงฝึกตรวจร่างกาย
ผู้ปว่ ยจรงิ  ซ่งึ เปน็ การฝกึ บูรณาการทักษะทงั้ ๔ ใหท้ �ำ ไดอ้ ยา่ งเปน็ อตั โนมัต ิ
เช่นเมื่อมองผู้ป่วยแวบเดียวก็ฟังเสียงเต้นของหัวใจเลย หรือจับชีพจรเลย
เป็นต้น 

ระบุทกั ษะบรู ณาการทักษะ ในเกณฑป์ ระเมินสมรรถนะ
เน่ืองจากการบูรณาการทกั ษะ เป็นทักษะในตัวของมันเองดว้ ย  ครจู งึ
ต้องระบุใน Performance Rubrics วดั ทักษะการบูรณาการทกั ษะไว้ด้วย
เช่นในการประเมินทักษะการนำ�เสนอผลงานแบบ Team Presentation 
ต้องระบุการประเมินความต่อเนื่องคล้องจองระหว่างการนำ�เสนอของ
สมาชิกแตล่ ะคน ดว้ ย 

ยทุ ธศาสตรเ์ ออื้ ให้เกดิ การประยุกต์

อภิปรายเงอื่ นไขของการประยุกตใ์ ช้
          ครูตอ้ งไมส่ อน หรือให้นกั ศึกษาเรยี นเฉพาะตัวทฤษฎีเท่าน้นั  ตอ้ ง
ให้อภิปรายกันด้วยว่า ทฤษฎีน้ันใช้อย่างไร ในกรณีไหนใช้ทฤษฎีนั้นได้
ในกรณไี หนใชท้ ฤษฎนี นั้ ไม่ได้  หรือถ้าจะใชต้ อ้ งดัดแปลงอย่างไร


100 การเรยี นรู้เกิดขึ้นอยา่ งไร


Click to View FlipBook Version