The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mthawat, 2015-11-24 02:14:50

HowcomeLearning

๑๔.การเรียนรู้เกิดข้นึ อยา่ งไร

ผู้กำ�กบั การเรยี นรขู้ องตนเอง : ทฤษฎีิ

ตอนท่ี ๑๔ และ ๑๕ มาจากบทท่ี ๗ How Do Students Become
Self-Directed Learners?ซึ่งผมตีความวา่ เปน็ การทำ�ความเขา้ ใจ
และฝกึ วธิ เี รยี นรู้ อย่างรู้ขั้นตอนของการเรียนรู้  ช่วยใหน้ กั ศึกษาไม่ใช้
วธิ ีเรยี นร้แู บบผดิ ๆ  ทท่ี ำ�ให้ทัง้ เปลืองแรง แล้วผลการเรียนยังไม่บรรลุ

เปา้ หมาย “รูจ้ ริง” อกี ดว้ ย

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 151

แม้จะไดค้ ิดวางแผนยทุ ธศาสตร์
การทำ�งานอยา่ งดแี ล้ว เม่ือลงมือทำ�ตาม
แนวทางทว่ี างไวก้ ต็ อ้ งระวงั ระไวตลอดเวลา
ว่าจะได้ผลดีจริงหรือไม่ ความสามารถใน
การวางยุทธศาสตร์ทีถ่ กู ต้อง มีความสำ�คญั
พอๆ กันกบั ความสามารถในการตรวจพบ
ขอ้ บกพร่องและแก้ไขเสีย

152 การเรียนรเู้ กิดขน้ึ อย่างไร

ตอนที่ ๑๔ วา่ ดว้ ยทฤษฎ ี ตอนท่ี ๑๕ วา่ ดว้ ยภาคปฏบิ ตั ิ หรอื ยทุ ธศาสตร ์
หนังสือบทน้ีเร่ิมท�ำ นองเดยี วกับบทกอ่ นๆ คือเร่มิ ดว้ ยเรื่องเล่า ๒ เรอ่ื ง
ของศาสตราจารย์ ๒ คน  ทค่ี นหนึง่ เล่าเร่อื งนกั ศึกษาทีท่ �ำ การบา้ นแบบทำ�
วันนี้ส่งพรุ่งน้ี และอ้างว่าตนเป็นนักเรียนเรียนเก่งวิชานั้นมาจากชั้นมัธยม 
ไม่พอใจกับเกรดที่ได้ตำ่�กว่าท่ีคาด ศาสตราจารย์อีกคนหนึ่งเล่าเรื่อง
นักศึกษาที่ขยันสุดขีด แต่ผลสอบแย่ หนังสือบอกว่า นักศึกษา ๒ คนน้ีมี
ปญั หาเดยี วกนั คอื เรยี นไมเ่ ปน็  หรอื ไมม่ ที กั ษะการเรยี นรู้ ไมเ่ ขา้ ใจวธิ กี าร
และขนั้ ตอนการเรยี นรู้ท่ีถกู ตอ้ ง ไมเ่ ข้าใจข้ันตอนการเรียนร้ขู องตนเอง

คณุ สมบตั ขิ องผสู้ ามารถก�ำ กบั การเรยี นรขู้ องตนเองได้ (Self-Directed
Learner)
ผ้ทู ่สี ามารถกำ�กับการเรียนร้ขู องตนเองได้ (Self-Directed Learner)
ตอ้ งรขู้ น้ั ตอนของการเรยี นรทู้ ถ่ี กู ตอ้ ง และมที กั ษะในการตรวจสอบขน้ั ตอน
การเรยี นรขู้ องตนเอง โดยข้นั ตอนของการเรียนร้มู ี ๕ ข้ันตอน คือ
๑. มีทกั ษะในการประเมินตัวงานทจ่ี ะต้องท�ำ
๒. มีทักษะในการประเมินความรู้และทักษะของตนเองสำ�หรับ
ท�ำ งานนนั้
๓. มีทกั ษะในการวางแผนการท�ำ งาน
๔. มีทักษะในการตดิ ตามประเมินความกา้ วหนา้ ของตนเอง
๕. มีทักษะในการปรับปรุงยทุ ธศาสตร์การทำ�งานของตน
ทักษะชุดน้ีเรียกว่า Metacognition Skills แปลว่าทักษะในการ
ท�ำ ความเขา้ ใจขนั้ ตอนการเรยี นรู้ โปรดสงั เกตวา่ หนงั สอื เลม่ นม้ี องการเรยี น
กับการท�ำ งาน หรือการปฏิบตั ิ เปน็ สงิ่ เดียวกนั มีขั้นตอนแบบเดียวกนั

ศ.นพ.วิจารณ์ พานชิ 153

วงจรของการเรยี นรู้แบบกำ�กบั ตนเอง

154 การเรียนรเู้ กดิ ขึ้นอย่างไร

เพื่อให้สามารถเรียนรู้แบบกำ�กับตนเองได้  นักศึกษาต้องฝึกแต่ละ
ข้ันตอนใน ๕ ข้ันตอนอย่างเข้าใจหลักการหรือทฤษฎีของแต่ละขั้นตอน
มสี ตอิ ยกู่ ับทักษะแต่ละตวั และฝึกฝนจนชำ�นาญ และท�ำ ไดอ้ ยา่ งอัตโนมัติ
ในท่สี ุด
ประเมนิ งานทอี่ ยตู่ รงหน้า
เป็นเรื่องแปลกมาก ท่ีผลงานวิจัยช้ินหนึ่งบอกว่า เม่ือครูมอบช้ินงาน
ใหน้ กั ศกึ ษาท�ำ  ครงึ่ หนง่ึ ของนกั ศกึ ษาไมไ่ ดอ้ า่ นโจทยใ์ หช้ ดั เจน  และท�ำ งาน
ตามโจทย์ที่ตนคุ้นเคยสมัยเรียนชั้นมัธยม ผลงานวิจัยช้ินน้ีบอกเราว่า
ข้ันตอนที่ ๑ ของ Metacognition คือการท่ีนักศึกษาจำ�นวนหน่ึงประเมิน
ชิ้นงานทีไ่ ด้รบั มอบหมาย ไมใ่ ช่ส่ิงท่เี กดิ ขนึ้ งา่ ยๆ ตอ้ งมกี ารฝึกฝน 
และเร่อื งเลา่ เร่อื งแรกของบทท่ี ๗ น้ี กส็ ะท้อนว่า นักศึกษาที่เคยเป็น
นักเรียนเกรดเอในชน้ั มัธยม กต็ กหลุมขนั้ ตอนท่ี ๑ ของ Metacognition คือ
ส่งผลงานที่ไม่เข้าเกณฑ์ท่ีครูกำ�หนดไว้ในใบงาน เน่ืองจากคุ้นเคยกับ
การบ้านหรือข้อสอบแบบถามความจำ� เม่ือเห็นคำ�บางคำ�ก็กระโจนใส่ว่า
หวานหมูเรื่องน้ีเรารู้แล้ว ไม่ได้อ่านให้รอบคอบและไตร่ตรองว่าโจทย์คือ
อะไร
ครตู อ้ งชว่ ยแก้จุดอ่อนนข้ี องนักศกึ ษา ช่วยฝกึ ฝนให้นักศึกษามที ักษะ
และนิสัยในข้ันตอนน้ี - ประเมินช้ินงาน ทำ�ความเข้าใจว่าผลงานที่ถือว่า
คณุ ภาพดเี ปน็ อยา่ งไร ตอ้ งการความรแู้ ละทกั ษะอะไรบา้ งในการท�ำ งานนนั้
ใหบ้ รรลผุ ล และตง้ั ใจท�ำ งานเพอ่ื สง่ ผลงานทมี่ คี ณุ ภาพสงู สดุ เทา่ ทจ่ี ะท�ำ ได้
ทกั ษะนฝี้ กึ โดย หลงั จากครมู อบหมายชนิ้ งาน กใ็ หน้ กั ศกึ ษาแตล่ ะคน
อ่านและกำ�หนดในใจว่า โจทย์ท่ีได้รับคืออะไร ผลงานท่ีถือว่ามีคุณภาพดี
เปน็ อยา่ งไร  ตอ้ งการทกั ษะอะไรบา้ งในการท�ำ งานนน้ั   แลว้ ใหน้ กั ศกึ ษาจบั คู่
แลกเปล่ียนความเห็นกัน ตามด้วยการอภิปรายในชั้น โดยจับฉลากให้
คนู่ กั ศกึ ษาจ�ำ นวนหนงึ่ เสนอความเหน็ ของคตู่ น ตามดว้ ยการอภปิ รายทง้ั ชน้ั  

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 155

ประเมินจดุ แข็งและจดุ ออ่ นของตนเองในการทำ�งานน้นั
ผลงานวิจยั บอกว่า นักศกึ ษามักจะประเมินความสามารถของตนเอง
สูงกว่าความเป็นจริง และนักศึกษาที่เรียนอ่อนมักมีความสามารถในการ
ประเมินตนเองต่ำ�ด้วย ซึ่งหมายความว่า นักศึกษาท่ีเรียนอ่อนมักประเมิน
ความสามารถของตนเองสงู กว่าความเป็นจรงิ ในขณะท่ีนักศึกษาเรียนเกง่
มกั ประเมินตรงความเป็นจรงิ ทัง้ ก่อนสอบและหลังสอบ 
ทักษะในการประเมินตนเอง จึงเป็นสิ่งที่ครูต้องฝึกให้แก่นักศึกษา
ยง่ิ นกั ศกึ ษาทเ่ี รยี นออ่ นครยู ง่ิ ตอ้ งเอาใจใสฝ่ กึ ใหเ้ ปน็ พเิ ศษเพราะความสามารถ
ในการประเมินตนเองเป็นปัจจัยสำ�คัญต่อการเรียนรู้ (และการทำ�งาน)
ในเรอ่ื งเลา่ ตอนตน้ บทท่ี๗ ของหนงั สอื นกั ศกึ ษาทม่ี ปี ญั หาทง้ั ๒ คน ออ่ นดอ้ ย
ดา้ นการประเมนิ ตนเอง และประเมนิ ตนเองสงู เกินจริงมากทัง้ ๒ คน 
ผมมคี วามเหน็ วา่ นกั ศกึ ษาคนที่ ๒ ในหนงั สอื  ประเมนิ ตนเองผดิ ท ี่ คอื
ไปหลงประเมนิ ทหี่ นงั สอื วา่ ตนเองอา่ นหนงั สอื อยา่ งดี แตม้ สที จี่ ดุ ส�ำ คญั ใน
หนังสือจนเปรอะไปหมด และอ่านหลายเท่ียว แถมยังท่องจำ�ส่วนสำ�คัญ
เป็นอย่างดี นักศึกษาคนน้ีไม่ได้ประเมินความเข้าใจของตนเอง หรือไม่มี
ทักษะประเมินความเข้าใจของตนเอง
วางแผนวิธที �ำ งานทเ่ี หมาะสม
ผลการวจิ ยั บอกวา่ นกั ศกึ ษาและ “มอื ใหม”่ ทงั้ หลาย ใชเ้ วลาวางแผน
งานชิน้ ใดชน้ิ หนึ่งนอ้ ยกว่า “มอื เก่า” หรือผู้ชำ�นาญ ทำ�ใหน้ ักศกึ ษาทำ�งาน
แบบผิดเป้าหมายได้ง่าย/บ่อย เหตุที่เป็นเช่นน้ันก็เพราะนักศึกษาไม่เห็น
คุณคา่ ของการวางแผนวิธที ำ�งาน หรือมฉิ ะนนั้ กท็ ำ�ไมเ่ ปน็  
เปรียบเทียบง่ายๆ กับการต่อยมวย นักศึกษาและมือใหม่ ไม่ศึกษา
ทำ�ความรู้จักคู่ต่อสู้ ไม่วางแผน “เข้ามวย” ให้เหมาะต่อคู่ต่อสู้ และต่อ
ความถนดั หรอื จดุ แขง็ ของตน เมอื่ ระฆงั เรม่ิ กต็ ะลยุ ชกเลย โอกาสชนะกย็ อ่ ม
มไี ด้ยาก 
นกั ศกึ ษาตอ้ งไดร้ บั การฝกึ ศลิ ปะการท�ำ สงครามของซนุ ว ู คอื รเู้ ขา รเู้ รา
เอามาวางยทุ ธศาสตรก์ ารทำ�สงคราม 

156 การเรียนร้เู กิดข้นึ อยา่ งไร

ลงมือท�ำ งาน และตดิ ตามผล
แมจ้ ะไดค้ ดิ วางแผนยทุ ธศาสตรก์ ารท�ำ งานอยา่ งดแี ลว้ เมอ่ื ลงมอื
ทำ�ตามแนวทางท่ีวางไว้ก็ต้องระวังระไวตลอดเวลาว่าจะได้ผลดีจริง
หรือไม่ ความสามารถในการวางยทุ ธศาสตรท์ ถ่ี กู ต้อง มีความส�ำ คัญ
พอๆ กันกับความสามารถในการตรวจพบขอ้ บกพรอ่ งและแกไ้ ขเสยี  
นั่นคือ นักศึกษาต้องฝึกทักษะ ติดตามผลงานของตนเอง (Self-
Monitoring) ผลงานวิจัยบอกว่า นักศึกษากลุ่มท่ีเรียนเรื่องใดเร่ืองหนึ่ง
ไดผ้ ลด ี จะหยดุ ตรวจสอบวา่ ตนเขา้ ใจเรอ่ื งนน้ั ดหี รอื ไมเ่ ปน็ ระยะๆ ในขณะที่
นักศึกษาทเี่ รียนออ่ นจะเรียนแบบตะลุยดะ 
ผลการวิจัยบอกอีกว่า หากครูจัดกระบวนการการเรียนรู้ โดยมีช่วง
ใหน้ กั ศกึ ษาท�ำ กจิ กรรมเพอื่ ประเมนิ ตนเองเปน็ ระยะๆ นกั ศกึ ษาจะเรยี นรไู้ ด้
ดีกว่า
ไตร่ตรองสะทอ้ นความคดิ และปรบั ปรุงวธิ ที ำ�งาน
ผลการวิจัยบอกว่า แม้นักศึกษาจะประเมินติดตามผลการเรียนรู้ของ
ตนเอง และตรวจพบขอ้ บกพรอ่ ง กไ็ มใ่ ชว่ า่ นกั ศกึ ษาจะเปลย่ี นยทุ ธศาสตร์
หรอื วิธกี ารเรยี น/ทำ�งาน นกั ศกึ ษามักจะยึดมั่นอยกู่ บั ความคิดเดิมๆ วธิ กี าร
เดิมๆ ด้วยเหตุผลที่หลากหลาย เหตุผลหน่ึง อาจเพราะนักศึกษายังไม่มี
ความสามารถสรา้ งยุทธศาสตร์แบบอนื่ ได ้
ผลการวิจัยบอกว่า นักศึกษาที่เรียน/ทำ�งานเก่ง จะมีความสามารถ
เปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการทำ�งานของตนได้  หากตรวจสอบพบว่าผลงาน
ยังไม่ค่อยดี แต่การเปล่ียนแปลงแนวทางนี้ต้องลงทุน นักศึกษาอาจมอง
ไมอ่ อกวา่ ผลทไ่ี ดจ้ ากการเปลย่ี นยทุ ธศาสตร/์ วธิ กี ารจะคมุ้ ความยากล�ำ บาก
ท่เี พ่มิ ขึ้นหรอื ไม่ 
ผลการวจิ ยั บอกวา่ คนเรามกั จะพอใจทจ่ี ะท�ำ ตามวธิ ที ต่ี นคนุ้ เคย และ
ได้ผลดีพอสมควร (ปานกลาง) ไม่ค่อยลงทุนทดลองทำ�ตามแนวทางใหม่
ท่ยี งั ไมแ่ น่ใจว่าจะได้ผลดีกว่าเดิมอย่างมากมายตามทคี่ าดคดิ หรอื ไม่ 

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 157

ความเชอ่ื เร่อื งความฉลาดกบั การเรยี นรู้
มมุ มอง หรอื ความเช่ือ ของนกั ศึกษามีผล (โดยไมร่ ู้ตัว) ต่อพฤติกรรม
การเรยี นรู้ ของนกั ศกึ ษา ความเชอ่ื นรี้ วมถงึ ความเชอ่ื เรอ่ื งธรรมชาตขิ องการ
เรียนรู้  ว่าการเรียนรู้เป็นส่ิงท่ีทำ�ได้เร็ว เกิดผลเร็ว หรือเช่ือว่าการเรียนรู้
เกิดขึน้ ชา้ ๆ และตอ้ งเผชญิ ความยากลำ�บาก 
ความแตกต่างในความเช่ือเร่ืองธรรมชาติของการเรียนรู้อีกคู่หนึ่ง
คือ เช่ือว่าสติปัญญา (Intelligence) เป็นส่ิงคงท่ี หรือเป็นสิ่งท่ีปรับปรุง
เพ่ิมพนู ได้
อกี เรอ่ื งหนง่ึ คอื ความเชอื่ เกยี่ วกบั ความสามารถ และความถนดั พเิ ศษ
ของตนเอง 
ผลการวิจัยบอกว่า ความเชื่อ/มุมมองของนักศึกษาในเร่ืองเหล่าน้ี
มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้  ผลลัพธ์ของการศึกษา รวมท้ังคะแนนสอบ 
คือนักศกึ ษาทม่ี ีความคดิ เชิงบวก จะเรยี นได้ดีกวา่  
ผมตีความว่านักศึกษาที่มีมุมมองเชิงบวกใน ๓ เร่ืองข้างต้นจะมี
ก�ำ ลังใจใหม้ มุ านะพยายาม ใหห้ ม่ันฝกึ ฝนปรบั ปรุงตนเอง 
เรอ่ื งนบี้ อกครวู า่ ครตู อ้ งหาวธิ กี ารสง่ เสรมิ ใหน้ กั ศกึ ษาเปลยี่ นความเชอ่ื
เชิงลบในเรื่องความฉลาดหรือความถนัดในการเรียนรู้  มาเป็นความเชื่อ
เชิงบวก คอยชี้ให้เห็นหลักฐานเชิงประจักษ์จากตัวนักศึกษาเอง หรือ
จากเพ่ือน ใหเ้ หน็ ว่าความต้ังใจฝึกฝนใหผ้ ลดีจริงๆ รวมท้ังชี้ให้เหน็ จากมุม
ของทฤษฎีด้วยว่า ทฤษฎีการศึกษาสมัยใหม่ ท่ีมาจากการวิจัยด้าน
Neuro-Science บอกว่า สมองเรียนรู้และพัฒนาจากการฝึกฝนหรือ
การปฏิบตั เิ ปน็ หลัก 

158 การเรยี นรู้เกิดขนึ้ อยา่ งไร

สรปุ
ประเด็นต่างๆ ที่เป็นเรื่องของความเช่ือและความเคยชินเป็นส่ิงท่ี
เปล่ียนแปลงยาก แต่ครูก็ต้องเอาใจใส่ดำ�เนินการให้นักศึกษาได้เรียนรู้
ปรบั ปรงุ ทกั ษะ ๕ ขนั้ ตอน ทนี่ �ำ ไปสกู่ ารเปน็ ผกู้ �ำ กบั การเรยี นรขู้ องตนเองได ้
เพราะทกั ษะนจ้ี ะตดิ ตวั ศษิ ยไ์ ปตลอดชวี ติ  ใชป้ ระโยชนไ์ ดเ้ รอื่ ยไป ตา่ งจาก
สาระวชิ า ซึง่ ใชไ้ ดเ้ พยี งชั่วคราว 


วิจารณ์ พานิช
๖ ม.ค. ๕๖

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ 159

160 การเรยี นรู้เกดิ ข้นึ อยา่ งไร

๑๕.การเรยี นรเู้ กิดขึน้ อย่างไร

ผูก้ ำ�กบั การเรยี นรูข้ องตนเอง : ภาคปฏบิ ัติ

 ตอนที่ ๑๕  มาจากบทที่ ๗ How Do Students Become
Self-Directed Learners? วา่ ดว้ ยภาคปฏิบัติ หรอื ยุทธศาสตร์ 

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ 161

ทกั ษะในการตง้ั ค�ำ ถาม หรอื ตง้ั ขอ้ สงสยั
เป็นทักษะสำ�คัญยิ่ง ต่อการเรียนรู้ ไม่ว่า
ในเรอื่ งใด วชิ าใด และค�ำ ถามที่ตง้ั ตอ่ ตนเอง
มคี า่ ยง่ิ ตอ่ การเรยี นร้เู พ่ือปรบั ปรงุ ตนเอง

162 การเรยี นรเู้ กิดขน้ึ อย่างไร

ยทุ ธศาสตรส์ ง่ เสรมิ ใหน้ กั ศกึ ษาบรรลทุ กั ษะก�ำ กบั ดแู ลการเรยี นรขู้ อง
ตนเอง
ประเมนิ งานทีจ่ ะทำ�
สร้างความชดั เจนให้มากกวา่ ที่คิด
ในการมอบหมายงานใหน้ กั ศกึ ษา ครตู อ้ งสอ่ื สารใหช้ ดั เจนวา่ ตอ้ งการ
ใหน้ กั ศกึ ษาฝกึ ฝนอะไร เพอ่ื ประโยชนอ์ ะไรตอ่ นกั ศกึ ษา ผลงานในระดบั ไหน
ทส่ี ะท้อนวา่ นกั ศกึ ษาได้เรียนร้อู ย่างมคี ณุ ภาพสงู ต้องตระหนกั อยู่เสมอว่า
นักศึกษาอาจมีมุมมองต่อชิ้นงานต่างจากที่ครูคิด ครูต้องหาทางป้องกัน
ความเข้าใจผิดๆ ตอ่ ช้ินงานของนักศกึ ษา
ความเข้าใจผิดท่ดี าษดน่ื (โดยเฉพาะอย่างยง่ิ ในสังคมไทย) คอื คดิ วา่
เป้าหมายของช้ินงานนั้นคือ นักศึกษาต้องนำ�เสนอผลงานท่ีเป็น “ผลงาน
สดุ ทา้ ย” ทดี่ ี เปน็ ใชไ้ ด ้ นกั ศกึ ษาจงึ หลงไปคดั ลอกตดั ปะ หยบิ ยมื หรอื ขโมย
ผลงานของผู้อ่ืน หรือท่ีร้ายกว่าน้ัน คือไปจ้างเขาทำ�ให้ นี่คือความหลงผิด
ที่ทำ�ร้ายตนเอง ที่ทำ�ให้ตนเองไม่ได้มีโอกาสเรียนรู้จากการฝึกหัด คิดเอง
ท�ำ เอง เผชิญความยากล�ำ บาก/ความล้มเหลวเพ่ือการเรยี นรูฝ้ ึกฝนตนเอง 
การเรยี นรอู้ ยทู่ ตี่ วั นกั ศกึ ษาไมไ่ ดอ้ ยทู่ ชี่ น้ิ ผลงานตวั ชน้ิ ผลงานเปน็ เพยี ง
กระจกสะท้อนการเรียนรู้ของนักศึกษา หากนักศึกษาไม่ทำ�ผลงานเอง
ไปหยบิ ยมื หรือซ้อื ผลงานมาส่งคร ู เท่ากับนกั ศกึ ษาเอา “กระจก” ชิน้ อ่ืนมา
ตบตาครู ครูที่โดนหลอก ก็ช่วยฝึกนักศึกษาผิดทาง ผลเสียก็ตกอยู่แก่ตัว
นักศึกษาเอง
จรงิ ๆ แล้ว คนท่ีโดนหลอกมากท่ีสุด คือตวั นักศกึ ษาเอง

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 163

ผมจงึ สรปุ กบั ตวั เองวา่ การเรยี นรทู้ ด่ี ตี อ้ ง “เรยี น ๓ ชนั้ ” ไปในเวลา
เดยี วกนั คอื (๑) เรยี นเนอ้ื หาหรอื สาระวชิ า หรอื เรยี นทฤษฎ ี (๒) เรยี น
ทกั ษะ โดยการลงมอื ท�ำ และ (๓) เรยี นวิธีเรยี น เขา้ ใจและมีทกั ษะใน
แต่ละขน้ั ตอนของการเรียนรู้
การ “เรียน ๓ ชั้น” น้ี อาจมองเป็นอีกแบบหนึ่งก็ได้ คือ (๑)
เรยี นฝกึ (๒) เรยี นกระบวนการการฝกึ (๓) เรยี นท�ำ ความเขา้ ใจขนั้ ตอน
การฝกึ
จะเป็นคนท่ีกำ�กับการเรียนรู้ของตนเองได้ (Self-Directed Learner) 
หรอื เรยี นรดู้ ว้ ยตนเองอยา่ งอสิ ระ (Independent Learner) ได ้ ตอ้ งมที กั ษะ
ในการเรียน ๓ ชัน้ ใหก้ ารเรยี นแต่ละชน้ั มพี ลังเสริมส่ง (Synergy) ซึ่งกนั
และกัน นักศึกษาต้องมีสติระลึกถึงการเรียนท้ัง ๓ ชั้นนี้จนเป็นนิสัย และ
ฝึกฝนตนเองให้พัฒนาปรับปรุงตนเองในทักษะทั้ง ๕ ขั้นตอนในรูปของ
บันทกึ ทแ่ี ลว้ ตลอดชีวติ จงึ จะเปน็ “คนทก่ี �ำ กับการเรยี นรขู้ องตนเองได้”
ค�ำ แนะน�ำ ตอ่ นกั ศกึ ษาให้ “เรยี นรู้ ๓ ชน้ั ” ไดโ้ ดยงา่ ยคอื ใหท้ �ำ “บนั ทกึ
ขั้นตอนการเรียน/ทำ�งาน” คู่ไปกับการทำ�ชิ้นงานที่ครูมอบหมาย เป็น
บนั ทกึ คลา้ ยๆ เขยี นไดอาร ่ี วา่ ชนิ้ งานนนั้ มเี ปา้ หมายสดุ ทา้ ยเปน็ ผลงานอะไร 
บอกได้อย่างไรวา่ ผลงานมีคุณภาพดีเดน่ ดมี าก ดี พอใช้ ใช้ไมไ่ ด ้ ตนกะจะ
เสนอผลงานที่มีคุณภาพระดบั ไหน เพราะอะไร การฝึกท�ำ ชน้ิ งานนี้ ตนท�ำ
เพอ่ื เรยี นร/ู้ ฝกึ อะไรบา้ ง ตนแจกแจงขน้ั ตอนของงานเปน็ กขี่ นั้ ตอน สว่ นไหน
ทงี่ า่ ยสำ�หรบั ตน ส่วนไหนยาก ตนมีแผนเอาชนะความยากอยา่ งไร ลงมือ
ทำ�อย่างไร ระหว่างทำ�พบอะไรบ้าง ได้เรียนรู้อะไร ต้องแก้ไขอุปสรรค
อะไรบ้าง อย่างไร สุดท้ายแล้วผลงานของตนมีคุณภาพระดับไหน ตนได้
ความรู้/ทกั ษะอะไรบา้ ง  สว่ นไหนท่ีอยากได้ แตย่ ังไดน้ อ้ ย เพราะอะไร หาก
ไดร้ ับมอบหมายงานอีก จะปรบั ปรุงการท�ำ งาน/ฝึกฝน/เรียนรู้ อยา่ งไร ฯลฯ 
บอกนกั ศึกษาวา่ ครไู ม่ต้องการอะไร
สิ่งที่ครูจะต้องเอาใจใส่ และขจัดออกไป คือความเข้าใจผิดของ
นักศึกษาในการมอบหมายงาน หรือในการส่ือสารใดๆ ครูควรส่ือสารว่า
“ครูไม่ได้หมายความว่าอย่างน้ี ...” ด้วย โดยยกเอาความเข้าใจผิดของ

164 การเรียนรเู้ กิดขึ้นอย่างไร

นักศกึ ษารุน่ กอ่ นๆ มาเปน็ ตัวอย่าง 
นอกจากทำ�ความชัดเจนด้วยวาจาหรือข้อเขียนแล้ว ครูควรทำ�ความ
เขา้ ใจดว้ ยตวั อยา่ งเชงิ ประจกั ษ์ พรอ้ มค�ำ อธบิ ายดว้ ย เชน่ เอาตวั อยา่ งผลงาน
ของนักศึกษารุ่นก่อนๆ มาให้ดู และช้ีให้เห็นว่าผลงานนั้นมีจุดดีตรงไหน 
ท�ำ ไมครจู งึ วา่ ด ี มขี อ้ บกพรอ่ งตรงไหน ท�ำ ไมครจู งึ วา่ ยงั ไมด่  ี ทด่ี กี วา่ นนั้ เปน็
อย่างไร 
เขียนมาถึงตรงนี้ ทำ�ให้ผมนึกถึงหลักการปฏิรูปการสอบประเมินผล
แห่งศตวรรษท่ี ๒๑ สามประการ โดยประการหนึ่งคือ ข้อสอบไม่เป็น
ความลบั  ทีก่ ล่าวมาข้างตน้ นนั้ คอื ตวั อย่างของ “ขอ้ สอบไมเ่ ป็นความลบั ” 
เพราะเปน็ การสอบที่เน้นประเมินทักษะ ไม่ใช่เนน้ ความจำ�
ตรวจสอบความเข้าใจของนกั ศึกษาต่องานทีม่ อบหมาย
ทำ�ได้โดยให้นักศึกษาบอกว่าตนคิดว่าตนต้องทำ�อะไรบ้างเพ่ือให้
งานสำ�เร็จ แล้วครูให้คำ�แนะนำ�ป้อนกลับ รวมท้ังแนะนำ�ยุทธศาสตร์อื่น
หากครเู หน็ ว่าวธิ ีการของนักศึกษาไมน่ ่าจะถกู ตอ้ ง 
ในกรณที ช่ี นิ้ งานมคี วามซบั ซอ้ น ควรใหน้ กั ศกึ ษาเขยี นใบงานใหมต่ าม
ความเข้าใจของตน (คือใช้เทคนิค Paraphrasing)
มอบเกณฑ์ประเมินผลงานพร้อมกับการมอบหมายงาน
การบอกเกณฑ์ประเมินผลงาน เป็นการกำ�หนดโครงสร้างการคิด
ทำ�ความเข้าใจชิ้นงานของนักศึกษา ครูอาจบอกด้วยวาจา หรือมอบเป็น
เอกสาร Checklist เช่น เนื้อหา โครงสร้าง และรายละเอียดของรูปแบบ
รายงาน โดยครคู วรแนะน�ำ ใหน้ กั ศึกษากลบั มาตรวจสอบ Checklist เป็น
ระยะๆ ระหวา่ งท�ำ งาน และก�ำ หนดให้นักศกึ ษาส่ง Checklist ที่ตนลงนาม
กำ�กับ พร้อมกับส่งผลงานเทคนิคมอบ Checklist นี้ ควรจะค่อยๆ เลิกใช้
เมอ่ื ครูสังเกตว่านักศึกษาประเมินขั้นตอนการทำ�งานด้วยตนเองไดแ้ ล้ว
ครอู าจสอ่ื สารเกณฑป์ ระเมนิ ผลงานดว้ ย Rubric แสดงระดบั คณุ ภาพ
ของผลงานหลายมิติ พร้อมกับเกณฑ์ของระดับคุณภาพแต่ละระดับ
ในแต่ละมิติ เกณฑ์นี้จะช่วยให้นักศึกษาพัฒนาทักษะและนิสัยด้าน

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 165

ตรวจสอบขั้นตอนของการทำ�งาน (Metacognition) ต่อไปเม่ือนักศึกษา
มที ักษะและนิสยั นแ้ี ลว้ การมอบหมาย Rubric ก็ไม่จ�ำ เป็น
ประเมินจุดแขง็ และจุดอ่อนของตนเอง

ประเมนิ ผลงานตามสมรรถนะหลงั เรมิ่ งานไมน่ าน
เปน็ การใชว้ งจรปฏบิ ตั ิ ค่กู บั การให้คำ�แนะน�ำ ป้อนกลบั (Feedback)
เป็นระยะๆ ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาขีดความสามารถหรือจุดแข็งจุดอ่อน
ของตนเอง ครคู วรใชก้ ารประเมนิ และการปอ้ นกลบั ตง้ั แตเ่ รมิ่ งานไมน่ านนกั  
เพอื่ ให้นักศกึ ษาไดม้ เี วลาเรยี นรูจ้ ากค�ำ แนะนำ�ปอ้ นกลบั ของคร ู
การประเมินนี้ เน้นให้เป็น “การประเมินเพ่ือพัฒนา” (Formative
Assessment) ดังน้ัน วิธีออกข้อสอบต้องจัดเพ่ือช่วยให้นักศึกษาประเมิน
ระดับการเรียนรู้ของตน และใช้ความพยายามพุ่งไปท่ีการแก้ไขจุดท่ีตน
บกพรอ่ ง ตวั อยา่ งการออกขอ้ สอบเชน่ “ขอ้ สอบ ๕ ขอ้ แรกเปน็ ค�ำ ถามเกย่ี วกบั
นิยามศัพท์ และความเข้าใจทฤษฎี ส่วน ๕ ข้อหลังเป็นคำ�ถามท่ีต้องการ
การสงั เคราะห์ทฤษฎสี ูก่ ารปฏิบัติ ซงึ่ เปน็ งานทีซ่ ับซ้อน”
ใหป้ ระเมินตนเอง
เป็นการใหน้ ักศกึ ษาท�ำ แบบฝึกหัดจ�ำ นวนหนึ่ง ทีม่ ีคำ�ตอบแยกอย่ใู น
อีกที่หน่ึง ให้นักศึกษาทำ�แบบฝึกหัดแล้วตรวจผลเอง โดยมีวัตถุประสงค์
ท่ีการเรียนรู้จากการทำ�แบบฝึกหัด โดยครูต้องย้ำ�กับนักศึกษาว่าอย่าอ่าน
ค�ำ เฉลยกอ่ น เพราะจะไมไ่ ดป้ ระโยชนจ์ ากการทำ�แบบฝึกหัด 
และตอ้ งเนน้ วา่ การอา่ นโจทย์ แลว้ อา่ นค�ำ เฉลย จะยง่ิ ไมไ่ ดป้ ระโยชน์
อะไรเลย เพราะประโยชน์ที่แท้จริงคือการใช้โจทย์เป็นเคร่ืองมือฝึกฝน
ความคดิ (หรอื สมอง) ของตน 

166 การเรียนรเู้ กดิ ขึ้นอย่างไร

วางแผนวิธที ำ�งานที่ดี

ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติตามแผนที่ครมู อบให้
          ครูมอบงานที่ซับซ้อนแกน่ กั ศกึ ษาพร้อมกบั มอบ “เปา้ หมายรายทาง”
ท่ีนักศึกษาต้องส่งผลงานเป็นระยะๆ เท่ากับเป็นการสอน หรือให้ตัวอย่าง
การวางแผนการท�ำ งานแกน่ กั ศกึ ษา

ให้นักศกึ ษากำ�หนดแผนเอง
เมอ่ื ครเู หน็ วา่ นกั ศกึ ษาเรมิ่ มที กั ษะในการวางแผนปฏิบัติงานบ้างแล้ว 
ก็เร่มิ ให้นักศึกษาฝึกกำ�หนดแผนเอง  โดยเมื่อมอบหมายชิ้นงาน กำ�หนด
ให้ผลงานชน้ิ แรกทต่ี อ้ งส่งครู คือแผนการปฏิบัติงาน คล้ายๆ เป็นการเสนอ
Project Proposal แลว้ นำ�มาอภิปรายแลกเปลย่ี นเรยี นรูก้ นั ในชั้นเรียน
ก�ำ หนดให้การทำ�แผนเปน็ เป้าหมายหลักของชิ้นงาน
ในกรณีที่ครูต้องการให้นักศึกษาได้ฝึกทำ�แผนให้คล่องแคล่ว อาจ
มอบโจทยช์ นิ้ งานและก�ำ หนดใหท้ �ำ เฉพาะสว่ นแผนการท�ำ งาน ใหน้ กั ศกึ ษา
ได้ฝึกกับโจทย์หลากหลายแบบ เรียนรู้จากคำ�แนะนำ�ป้อนกลับจากเพ่ือน
และจากครู
ลงมอื ปฏบิ ัติตามยทุ ธศาสตร์ และติดตามผล
สังเกตสัญญาณเตือนเพ่ือช่วยให้นักศึกษาปรับปรุงแก้ไขด้วย
ตนเอง
ครูควรช่วยให้นักศึกษารู้จักสังเกตสัญญาณเตือนให้ตรวจสอบงาน
ทบทวนของตน และแกไ้ ขขอ้ บกพร่องเสียแต่เนินๆ ก่อนที่งานจะดำ�เนินไป
มากจนยากท่ีจะกลบั มาแก้ไขขอ้ บกพร่อง 
เช่น ครูแนะนำ�วิธีต้ังคำ�ถามแก่ตัวเอง “คำ�ตอบน้ีสมเหตุสมผลไหม
มองจากมุมของคำ�ถาม” คำ�ถามอาจต้องตั้งให้สอดคล้องกับวิชาท่ีเรียน 

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ 167

โดยยกเอาหลักการหรือวิธีการของวิชามาเป็นตัวต้ังคำ�ถาม เช่น “ใน
การทำ�งานน้ีฉันตั้งสมมติฐานอย่างไร เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องกับวิชา
... ไหม” 
จะเหน็ วา่ ทกั ษะในการตงั้ ค�ำ ถามหรอื ตงั้ ขอ้ สงสยั เปน็ ทกั ษะส�ำ คญั ยง่ิ
ต่อการเรียนรู้ ไม่ว่าในเร่ืองใด วิชาใด และคำ�ถามท่ีต้ังต่อตนเอง มีค่ายิ่ง
ต่อการเรียนรู้เพอ่ื ปรบั ปรุงตนเอง

ใหน้ ักศึกษาประเมนิ ตนเองภายใต้ขอ้ แนะน�ำ
ใหน้ กั ศกึ ษาประเมนิ ผลงานของตนเองตามเกณฑท์ ค่ี รกู �ำ หนด โดยอาจ
ฝึกทักษะนี้ด้วยตัวอย่างคำ�ตอบและอภิปรายร่วมกับครูและเพื่อนร่วมช้ัน
เสียก่อน 
เมอ่ื นกั ศกึ ษาประเมนิ ผลงานของตนเองแลว้ กน็ �ำ มาอภปิ รายแลกเปลย่ี น
กบั เพ่ือนและคร ู เพอ่ื ฝึกทักษะการประเมนิ ติดตามผลงานของตนเอง
ใหน้ ักศึกษาไตรต่ รองสะท้อนความคดิ และจดบันทกึ
ในการมอบชิ้นงาน นอกจากทำ�ชิ้นงานแล้วกำ�หนดให้นักศึกษา
จดบนั ทึกขนั้ ตอนการทำ�งานของตน ระบุวา่ ทำ�อะไรบา้ ง และใหค้ ำ�อธิบาย
ว่าทำ�ไมจึงทำ�ส่ิงน้ัน นักศึกษาได้เผชิญปัญหาหรืออุปสรรคอะไรบ้าง และ
แก้ปัญหาให้ลุล่วงไปอย่างไร เป็นต้น บันทึกการทำ�งานอาจมีโครงสร้าง
แตกต่างไปตามลกั ษณะงาน หรอื ลกั ษณะของสาขาวชิ า
แต่ลักษณะสำ�คัญคือ ต้องการให้นักศึกษาได้ไตร่ตรองสะท้อน
ความคิดตามขั้นตอนการทำ�งาน เพื่อเรียนรู้กระบวนการการทำ�งาน และ
กระบวนการทางความคดิ ในขณะน้ัน 
ใชก้ ารประเมินโดยเพอ่ื นนกั ศึกษา
การให้นักศึกษาแลกเปล่ียนกันทำ�หน้าที่ประเมินผลงาน และให้
คำ�แนะนำ�ป้อนกลับ เป็นวิธีฝึกหัดทักษะ (และนิสัย) การประเมินผลงาน
ของตนเอง 
โดยครูต้องช่วยกำ�หนดเกณฑ์การประเมินให้ชัดเจนและเหมาะสม 

168 การเรยี นรู้เกิดขน้ึ อย่างไร

ไม่ปล่อยให้นักศึกษาประเมินกันเองแบบเปะปะ โดยอาจใช้ Rubric หรือ
ใหใ้ ช้ค�ำ ถามชุดหนึง่  
ไตรต่ รองสะทอ้ นความคดิ และปรับยทุ ธศาสตร์

กำ�หนดกิจกรรมให้นักศึกษาสะท้อนความคิดเรื่องระดับความ
สำ�เรจ็ ของผลงาน
เมื่อมอบหมายโครงการให้นกั ศกึ ษาทำ� ตอ้ งมอบให้นกั ศึกษาสะท้อน
ความคิด และประเมินระดับความสำ�เร็จของผลงานของตนเองส่งครูด้วย
โดยก�ำ หนดใหต้ อบค�ำ ถามชดุ หนงึ่ ทคี่ รกู �ำ หนด เชน่ “นกั ศกึ ษาไดเ้ รยี นรอู้ ะไร
จากการทำ�โครงงานนี้” “นักศึกษาต้องการทักษะอะไรบ้างในการทำ�งาน
ช้ินนี้” “นักศึกษาจะเตรียมงานต่างจากที่ได้ทำ�ไปแล้วอย่างไรบ้าง เมื่อ
พิจารณาจากคำ�แนะนำ�ป้อนกลับที่ได้รับระหว่างภาคการศึกษา” “ทักษะ
ของนักศึกษามีการเปล่ียนแปลงอย่างไรบ้างในช่วงท่ีได้รับชิ้นงาน ๓ ช้ิน
หลังมาฝกึ หดั ” เป็นตน้  
ทั้งหมดนเี้ พอ่ื ฝกึ Metacognitive Skills

ให้นกั ศึกษาวเิ คราะหป์ ระสิทธิผลของทักษะการเรยี นรูข้ องตน
วิธีหน่ึงทำ�โดยใช้ “ใบงานหลังสอบ” (Exam Wrapper) ที่ครูแจกให้
นกั ศึกษาพรอ้ มกับคำ�ตอบขอ้ สอบท่ีครูให้คะแนนแล้ว 
ในใบงานหลังสอบ กำ�หนดให้นักศึกษาประเมินสมรรถนะการเรียน
ของตน และเชื่อมโยงกับวธิ เี รียนและวิธีเตรียมสอบของตน
ตวั อยา่ งค�ำ ถามใน “ใบงานหลงั สอบ” (๑) ความผดิ พลาดของนกั ศกึ ษา
เป็นความผิดพลาดชนิดไหน (เช่น คำ�นวณผิด หรือเข้าใจหลักการผิด)
(๒) นักศกึ ษาเรยี นอย่างไร (เช่น ทบทวนบทเรยี นคืนกอ่ นสอบ หรอื ทำ�โจทย์
จ�ำ นวนหนง่ึ ในชว่ ง ๑ สปั ดาหก์ อ่ นสอบ (๓) ตอ่ ไป นกั ศกึ ษาจะเตรยี มตวั สอบ
แตกต่างไปจากคราวนี้อย่างไร (เช่น ท�ำ โจทยเ์ อง ไม่ใช่อ่านโจทยแ์ ล้วอา่ น
ค�ำ ตอบ) 

ศ.นพ.วิจารณ์ พานชิ 169

ครอู าจคนื ใบคำ�ตอบของ “ใบงานหลังสอบ” ของการสอบคราวท่ีแลว้  
ก่อนการสอบคร้ังต่อไป สำ�หรับใช้เป็นเคร่ืองเตือนสติ พัฒนาวิธีเรียนของ
นกั ศกึ ษา
น�ำ เสนอยทุ ธศาสตรห์ ลายแบบ
หาทางให้นักศึกษาได้ประจักษ์ว่า งานหรือปัญหาหน่ึงๆ สามารถใช้
มมุ มอง หรอื จบั ประเดน็ หรอื แกป้ ญั หา ไดห้ ลายแบบ เชน่ ในกรณขี องศลิ ปะ
อาจใชเ้ ทคนคิ “การวพิ ากษส์ าธารณะ” (Public Critique) โดยกลมุ่ นกั ศกึ ษา
ในชั้นเรียนเอง เพ่ือให้นักศึกษาได้เห็นความหลากหลายของการตีความ
โจทย ์ และความหลากหลายของวิธีการหาค�ำ ตอบ 
หรือกำ�หนดให้นกั ศึกษาแตล่ ะคนตอบโจทย์ด้วยวธิ กี ารหลายวิธี 
แนวทางน้ี จะช่วยให้นักศึกษาพัฒนาการตรวจสอบอย่างมี
วิจารณญาณด้วย
มอบหมายช้ินงาน ให้ทำ�งานกำ�หนดยุทธศาสตร์ มากกว่าให้
ลงมอื ปฏิบตั ิ
แทนทจี่ ะมอบหมายชนิ้ งานใหท้ �ำ ทง้ั ชนิ้  มอบใหท้ �ำ เฉพาะสว่ นก�ำ หนด
ยุทธศาสตร์การทำ�งานหลากหลายแบบ และทำ�นายว่ายุทธศาสตร์แต่ละ
แบบจะนำ�ไปสู่ผลงานแบบไหน แต่ละยุทธศาสตร์จะมีจุดแข็งจุดอ่อน
อยา่ งไร เพอื่ ฝึกคิดยุทธศาสตร์หลายๆ แบบ
ความเชือ่ เร่ืองความฉลาดกบั การเรยี นรู้
ท�ำ ความเข้าใจความเช่ือเกี่ยวกับการเรยี นร้ขู องนักศกึ ษา
แม้ว่าเร่ืองนี้ไม่เก่ียวกับสาระวิชา แต่ความเช่ือของตัวนักศึกษาต่อ
ความสามารถในการเรียนรู้ของตน มีผลต่อการเรียนรู้ คือมีผลต่อกำ�ลังใจ
และตอ่ ความมานะพยายามตอ่ การเรียน 
ครูจึงควรหาทางพูดทางอ้อมในโอกาสที่เหมาะสม ว่าการท่ีนักศึกษา
บางคนคดิ วา่ ตนวาดรปู ไมไ่ ด ้ ไมเ่ กง่ คณติ ศาสตร์ จงึ หลกี เลย่ี งการเรยี นวชิ า

170 การเรยี นรู้เกดิ ขน้ึ อย่างไร

ดังกลา่ วน้นั  ไม่เป็นคณุ ตอ่ ตนเอง เพราะสมองคนฝึกได้ เมอ่ื ฝึกบอ่ ยๆ และ
ฝกึ อยา่ งถกู วธิ ี กจ็ ะท�ำ ได ้ คอื สมองกค็ ลา้ ยกลา้ มเนอ้ื เมอ่ื ฝกึ อยา่ งสม�่ำ เสมอ
ก็จะแข็งแรงขนึ้
ธรรมชาติของการเรียนรู้ ได้จากการฝึก เม่ือฝึกอย่างถูกต้องและ
สม�่ำ เสมอ สมองจะพฒั นาขนึ้ เอง ครตู อ้ งหาวธิ ใี หน้ กั ศกึ ษาเขา้ ใจเรอ่ื งสมอง
ขยายความเขา้ ใจของนักศกึ ษาเรอ่ื งการเรยี นรู้
นักศึกษามักเข้าใจผิดเรื่องความรู้ หรือการเรียนรู้ ว่ามี ๒ อย่าง คือ
รู้ กับ ไม่รู้ ท่ีจริงแล้ว “ความรู้” มีหลายระดับ ตาม Bloom’s Cognitive
Taxonomy ได้แก่ (๑) รู้ในระดับจำ�ข้อเท็จจริง หลักการ หรือทฤษฎี ได้
(Recall หรือ Declarative Knowledge) (๒) รู้วิธีปฏบิ ตั ิ หรอื ประยุกตใ์ ช้
ความรู้ (Procedural Knowledge) (๓) รู้กาลเทศะของการประยุกต์ใช้
ความรชู้ ดุ นน้ั (Contextual Knowledge) (๔) รคู้ �ำ อธบิ ายวา่ ท�ำ ไมใชค้ วามรู้
น้นั ในสถานการณ์นนั้ จงึ ไดผ้ ล หรือไมไ่ ดผ้ ล (Conceptual Knowledge) 
ผมขอเพมิ่ เตมิ ความรตู้ วั ที่ (๕) คอื รคู้ ณุ คา่ ของความรแู้ ละการประยกุ ต์
ใช้ความรู้ชุดนั้น  หรือคุณค่าของผลที่เกิดขึ้นจากการลงมือทำ� (Spiritual
Knowledge) หรอื Value Dimension ของความรทู้ ีห่ นังสือไม่ได้เอย่ ถึง
เพอื่ ใหน้ กั ศกึ ษาเขา้ ใจความรคู้ วามเขา้ ใจตา่ งระดบั  ครอู าจยกตวั อยา่ ง
สภาพของการมีความรู้ระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถใช้ความรู้น้ันทำ�งานได้
เพราะยงั ขาดความรใู้ นระดบั ปฏบิ ตั  ิ หรอื อาจรทู้ ฤษฎี รวู้ ธิ ใี ช้ แตพ่ อน�ำ ไปใช้
ในสถานการณ์จริงอาจได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง เพราะยังขาด Contextual
Knowledge เป็นตน้  
ครูสามารถยกตัวอย่างเร่ืองจริงท่ีสอดคล้องกับบริบทของนักศึกษา
อกี มากมาย เพอ่ื ใหน้ ักศกึ ษาเขา้ ใจกระบวนการเรยี นรู้ และวิธีการเรียนรู้ท่ี
เหมาะสมกบั แตล่ ะสถานการณ ์ และความส�ำ คญั ของทกั ษะในการประเมนิ
และพฒั นากระบวนการเรยี นร้ขู องตน
ช่วยใหน้ กั ศกึ ษาก�ำ หนดเป้าหมายที่สมเหตุสมผล
เป้าหมายสำ�คัญคือเร่ืองเวลาท่ีต้องการในการฝึกฝนจนบรรลุทักษะ

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 171

ตามเป้าหมายท่ีกำ�หนด นักศึกษามักไม่เข้าใจว่าคนฝึกใหม่อย่างตนเอง
ตอ้ งการเวลาส�ำ หรบั ฝึกฝนเพือ่ ให้ “ร้จู รงิ ” (Mastery) นักศกึ ษาจึงมักจะใช้
เวลาเพียงเล็กน้อย เมื่อยังไม่บรรลุผล ก็คิดว่าตนไม่ถนัดเรื่องน้ัน และ
ละความพยายาม
คำ�แนะนำ�ของครูให้นักศึกษาเข้าใจระดับของความพยายามและ
ความอดทนทนี่ กั ศกึ ษาตอ้ งใช้ เพอ่ื บรรลเุ ปา้ หมายทยี่ ากแตล่ ะเปา้ และคอย
ชใี้ หเ้ หน็ ความคบื หนา้ ทลี ะเลก็ ทลี ะนอ้ ย และเปน็ ก�ำ ลงั ใจใหพ้ ยายามตอ่ ไป 
เพื่อบรรลกุ าร “ร้จู รงิ ” จงึ ส�ำ คัญยิ่ง
ยุทธศาสตรท์ วั่ ไปเพ่อื สง่ เสริมความเข้าใจขนั้ ตอนการเรยี นรู้
ยุทธศาสตร์สำ�คัญสำ�หรับพัฒนาทักษะการทำ�ความเข้าใจรูปแบบ
การเรียนรู้ของตนเอง คือการทำ�โมเดล (Modeling) และการทำ�โครงแล้ว
ถอดโครงออก (Scaffolding)

สรา้ งโมเดลของกระบวนการเรยี นรู้ของครู
เพือ่ ใหน้ กั ศึกษาเรียนรขู้ ั้นตอนวธิ คี ดิ ครูเอาโจทย์หรือใบงานตัวอยา่ ง 
มาจัดทำ�โมเดลของกระบวนการเรียนรู้ของตัวครูเอง แล้วนำ�มาทำ�ความ
เขา้ ใจแตล่ ะขน้ั ตอนรว่ มกบั นกั ศกึ ษา เทา่ กบั ครคู ดิ ออกมาดงั ๆ ใหน้ กั ศกึ ษา
ฟังเป็นตัวอย่าง เร่ิมตั้งแต่ “รู้เขา” คือทำ�ความเข้าใจโจทย์ และวิเคราะห์
ตนเอง คือ “รู้เรา” ในมิติของการทำ�โจทย์ที่ได้รับ ว่าตนมีจุดแข็งจุดอ่อน
อยา่ งไร แล้ววางแผนยุทธศาสตร์ของการทำ�งาน และด�ำ เนินการลงมือท�ำ  
รวมทั้งวิธีการติดตามตรวจสอบผลของงาน และนำ�ผลมาแก้ไขปรับปรุง
วิธที �ำ งาน 
เคร่ืองมือชนิดหนึ่งของการตรวจสอบประเมินผลคือคำ�ถาม เช่น
“ฉนั จะมวี ธิ ที �ำ งานทไ่ี ดผ้ ลดกี วา่ นไี้ หม” และเมอ่ื ท�ำ งานเสรจ็ กต็ ง้ั ค�ำ ถามกบั
ตวั เองว่า “ฉันจะเอาผลงานน้ี ไปใหใ้ ครช่วยประเมนิ คณุ ภาพ”
ทจี่ รงิ เทคนคิ การตงั้ ค�ำ ถามนี้ สามารถน�ำ มาใชเ้ พอ่ื ใหน้ กั ศกึ ษาไดเ้ รยี น
ขั้นตอนวิธคี ดิ /วธิ เี รียนร้ไู ดต้ ัง้ แต่ต้นจนจบ 

172 การเรียนร้เู กดิ ขน้ึ อย่างไร

ฝกึ ใหน้ กั ศกึ ษาเรยี นรขู้ น้ั ตอนการเรยี นรู้ โดยครสู รา้ งนง่ั รา้ น/โครง
ความคิด (Scaffolding)
Scaffolding เปน็ เสมือนนงั่ รา้ นหรอื โครงของข้นั ตอนการเรยี นร ู้ ท่ใี น
ตอนต้นครูช่วยคิดให้ แล้วค่อยๆ ลดการช่วยเหลือลงจนนักศึกษาทำ�ด้วย
ตนเองได้ 
ทั้งโมเดลและน่ังร้าน เป็น “ตัวช่วย” ของครู ต่อนักศึกษาท่ีเป็น
“ผฝู้ กึ ใหม่” ใหฝ้ ึกคิดขัน้ ตอนการทำ�งาน/การเรยี นรไู้ ด้โดยไม่ยากเกินกำ�ลงั
เทคนิคนงั่ ร้านอาจท�ำ โดย ครชู ว่ ยท�ำ ตัวอยา่ งการคิดและท�ำ ในแตล่ ะ
ขั้นตอนของวงจรการเรียนรู้แบบกำ�กับตนเอง ในรูปของบันทึกท่ีแล้ว เริ่ม
จากการประเมนิ ชนิ้ งาน (Task Analysis) หากนกั ศกึ ษาแสดงใหร้ วู้ า่ เขา้ ใจ
วิธีการและทำ�ข้ันตอนต่อไปได้เองแล้ว ก็ปล่อยให้ทำ�ขั้นตอนต่อไปด้วย
ตนเอง หรือถ้านักศึกษายังไม่ม่ันใจ ก็ช่วยแนะขั้นตอนประเมินตนเอง
ด้านจดุ แข็งจุดออ่ นในการทำ�งานน้นั และข้ันตอนตอ่ ๆ ไป 
ถ้านักศึกษาต้องการการโค้ชให้ครบทั้ง ๕ องค์ประกอบ ของวงจร
การเรียนรู้แบบกำ�กับตนเอง ครูก็ช่วย แล้วปล่อยให้นักศึกษาบูรณาการ
ทัง้ ๕ สว่ นในการลงมอื ท�ำ จรงิ เอาเอง นค่ี ือรปู แบบหน่ึงของเทคนคิ นัง่ รา้ น ...
ให้บูรณาการเอง 
“นั่งร้าน” หรือ “ตัวช่วย” แบบที่ ๒ ทำ�โดย ครูทำ�โครงข้ันตอนการคิด
ใหน้ ักศึกษากรอกเน้ือการคดิ เอง เพ่อื ฝกึ ฝนแบบมตี วั ชว่ ยในเบอื้ งตน้
ครูสามารถคิด “ตัวช่วย” ในเบื้องต้นได้หลากหลาย ไม่จำ�กัดรูปแบบ
 เพอ่ื ใหน้ ักศกึ ษาได้ฝึกแบบไมย่ ากเกนิ ไป 

สรปุ
ครูเป็นผู้ที่มีทักษะกำ�หนดข้ันตอนการเรียนรู้เป็นอย่างดี ในลักษณะของ
“ผชู้ �ำ นาญ” จงึ อาจไมต่ ระหนกั หรอื รตู้ วั ในขนั้ ตอนเหลา่ นน้ั  ครตู อ้ งฝกึ ท�ำ “Slow
Motion” ความคิดของตน หรือหมั่นฝึกทบทวนไตร่ตรองสะท้อนความคิด
(Reflection/AAR) ขั้นตอนความคิด และการลงมือทำ�กิจกรรม/การเรียนรู้

ศ.นพ.วิจารณ์ พานชิ 173

ของตนจะชว่ ยใหค้ รสู ามารถเปน็ “คณุ อ�ำ นวย”การฝกึ ฝนทกั ษะเรยี นรขู้ น้ั ตอน
ของวงจรการเรียนรู้แบบกำ�กบั ตนเอง ซงึ่ จะช่วยใหศ้ ิษย์พัฒนาเป็นผู้เรยี นรู้
แบบกำ�กบั การเรียนรู้ของตนเองได้

วิจารณ์ พานชิ
๑๑ ม.ค. ๕๖

174 การเรยี นรเู้ กดิ ข้ึนอยา่ งไร

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานิช 175

176 การเรยี นรู้เกดิ ข้นึ อยา่ งไร

๑๖.การเรียนรู้เกดิ ข้ึนอยา่ งไร

ประยุกตห์ ลกั ๗ ประการ
ต่อการเรียนร้ขู องตนเอง (จบ)

ตอนที่ ๑๖ เป็นตอนสรุป และทบทวนว่า หลัก ๗ ประการสู่การเป็น
“ครเู พือ่ ศษิ ย์” ชั้นยอดเปน็ อยา่ งไร เอามาใช้กับตวั เราเองไดอ้ ยา่ งไร 

 เปน็ ตอนสดุ ทา้ ยของบันทึกชดุ “การเรยี นรูเ้ กิดข้ึนอยา่ งไร”

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 177

นักเรียนทกุ คนบรรลกุ าร “ร้จู รงิ ”
(Mastery) ได้ หากเราปฏิรปู การเรียนรู้
ของไทยเสยี ใหม ่ ให้เปน็ การเรยี นรูท้ ี่เน้นให้
ผเู้ รยี นปฏบิ ตั ิ (Practice) คอื ตอ้ งเปน็ การ
เรยี นรดู้ ว้ ยการปฏบิ ัติ (Practice-Based
Learning หรือ Action Learning) ตาม
ดว้ ยการไตรต่ รองสะทอ้ นกลบั (Reflection)
หรือ AAR ด้วยตนเอง...”
... โดยครูทำ�หน้าทีค่ รูฝึก (Coach) 
คอยให้คำ�แนะนำ�สะท้อนกลบั (Feedback)
...ฝึกให้นกั ศกึ ษารจู้ กั ใหค้ �ำ แนะน�ำ สะท้อน
กลับแกต่ นเอง (Self-Feedback)เพ่ือปทู าง
ไปสู่ความสามารถเป็นผู้กำ�กับการเรียนรู้
ของตนเอง (Self-Directed Learner) ได้

178 การเรยี นรเู้ กดิ ขึ้นอยา่ งไร

ผมอา่ นหนงั สือเลม่ น้ดี ้วยความสนกุ และประเทืองปญั ญา และนำ�มา
ถอดความเขียนแบบตีความและเติมความ ไม่ได้เขียนตามข้อความใน
หนังสือเสมอไป  อา่ นแลว้ บอกตวั เองว่า ความร้ดู า้ นการศึกษาของโลกก้าว
ไปไกลมาก วงการศกึ ษาไทยไมไ่ ดต้ ดิ ตาม และยงั ท�ำ หลายๆ อยา่ งแบบผดิ ๆ
กันอย ู่
          ดงั เม่ือผมน�ำ บางสว่ นไปพูดท่ีมหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยพี ระจอมเกลา้ -
ธนบุรี (มจธ.) อาจารย์ด้านศึกษาศาสตร์ท่านหนึ่งลุกขึ้นบอกว่า  มีส่วนที่
วงการศึกษาศาสตรไ์ ทยยงั ไม่รู้  
ขอเรียนว่า การอ่านบันทึกตีความและเติมความ ๑๖ ตอนในชุด
การเรยี นรเู้ กดิ ขน้ึ อยา่ งไร ไมท่ ดแทนการอา่ นหนงั สอื ดว้ ยตนเอง เพราะสาระ
ในหนังสอื มมี ากกวา่ นบั เป็นสิบเทา่ ผมจึงอยากใหม้ ผี แู้ ปลออกเผยแพร่ตอ่
สงั คมไทย จงึ ไดแ้ นะน�ำ ตอ่ ดร.ปกปอ้ ง จนั วทิ ย์ แหง่ ส�ำ นกั พมิ พ์ openworlds
และทราบว่าคุณวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ผู้แปลหนังสือขายดี ทักษะแห่ง
อนาคตใหม่ กำ�ลังแปลอยู่ และผมสญั ญาวา่ จะเขียนคำ�นยิ มให้
ผมไมเ่ ชอื่ วา่ ผมอา่ นหนงั สอื เลม่ นแ้ี ตกฉานจรงิ  เพราะผมไมไ่ ดท้ ดลอง
น�ำ ไปปฏบิ ตั  ิ จงึ คดิ วา่ บนั ทกึ ๑๖ ตอนของบนั ทกึ ชดุ การเรยี นรเู้ กดิ ขน้ึ อยา่ งไร
นน้ี ่าจะมขี อ้ บกพร่องอยไู่ มน่ ้อย 
สาระในหนังสือที่ผมติดใจที่สุดคือเรื่องเรียนให้รู้จริง (Mastery
Learning) ซง่ึ จะตอ้ งเปน็ เปา้ หมายส�ำ หรบั ผเู้ รยี นทกุ คน แตเ่ วลานผ้ี มเดาวา่
นกั เรียนไทยไม่ถึงรอ้ ยละ ๑๐ บรรลุการเรียนรขู้ ัน้ น ้ี
คำ�แนะนำ�ในหนังสือ บอกเราว่า นักเรียนทุกคนบรรลุการ “รู้จริง”
(Mastery) ได้ หากเราปฏริ ปู การเรยี นรู้ของไทยเสยี ใหม่ ให้เป็นการ

ศ.นพ.วจิ ารณ์ พานชิ 179

เรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติ (Practice) คือต้องเป็นการเรียนรู้ด้วย
การปฏบิ ตั ิ (Practice-Based Learning หรอื Action Learning) ตามดว้ ย
การไตร่ตรองสะทอ้ นกลับ (Reflection) หรือ AAR ด้วยตนเอง  
          โดยครทู ำ�หนา้ ทคี่ รฝู กึ (Coach) คอยใหค้ ำ�แนะนำ�สะท้อนกลับ
(Feedback) เป็นกำ�ลังใจ และแนะนำ�การปรับปรุงเพ่ือยกระดับทักษะ
บางส่วนท่ียังด้อย พร้อมๆ กันน้ัน ก็ฝึกให้นักศึกษารู้จักให้คำ�แนะนำ�
สะท้อนกลับแกต่ นเอง (Self-Feedback) เพ่ือปทู างไปส่คู วามสามารถ
เป็นผกู้ ำ�กบั การเรียนรขู้ องตนเอง (Self-Directed Learner) ได ้
ผมบอกตวั เองวา่ ตวั ผมเองกต็ อ้ งหมนั่ ฝกึ ฝนตามค�ำ แนะน�ำ ในหนงั สอื
เล่มน ี้ เพอื่ ยกระดบั การเรียนแบบรู้จรงิ ของผมให้ย่ิงขน้ึ ไปอีก ท่ีทำ�การบา้ น
เขียนบนั ทกึ ลงบล็อกอยู่นก่ี ็เปน็ ส่วนหนง่ึ ของการฝกึ หดั
เพราะนักเรียนยังเป็นผู้ฝึกใหม่ การฝึกท่ีดีจึงต้องทำ�เป็นข้ันตอน
เริ่มจากฝึกทีละทักษะย่อย แล้วจึงฝึกทำ�หลายทักษะพร้อมกัน แล้วจึงฝึก
ปฏบิ ตั ิจริง ความส�ำ คญั ของ “ครฝู กึ ” อยู่ตรงน ้ี
ผมไดต้ ระหนกั วา่ หนงั สอื เลม่ นเี้ ขยี นขน้ึ เพอ่ื ครฝู กึ เพอื่ ชว่ ยใหค้ รู
เปลี่ยนบทบาทจาก “ครูสอน” สู่ “ครูฝึก” ได้อย่างมีหลักวิชา และมี
ประเด็นใหต้ ัง้ โจทย์ เกบ็ ขอ้ มลู เอามาท�ำ วิจัย สรา้ งผลงานวิชาการดา้ นการ
จัดการเรียนการสอน (Scholarship of Instruction) ไดผ้ ลงานวิชาการแท้
สำ�หรบั ความกา้ วหน้าของครไู ดอ้ ย่างสมภาคภูมิ
สาระที่สำ�คัญอีกอย่างหนึ่งคือ เป้าหมายของการเรียนรู้  ไม่ได้มี
เฉพาะเป้าหมายเชิงปัญญา (Intellectual Development) เท่าน้ัน ยังมี
เป้าหมายท่ีพัฒนาการอีก ๔ อย่าง คือ กาย (Physical Development), 
อารมณ์ (Emotional Development), สงั คม (Social Development) และ
จติ วญิ ญาณ (Spiritual Develoment) โดยสว่ นพฒั นาการดา้ นจติ วญิ ญาณน้ี
ไม่มีระบใุ นหนงั สือ  ผมเตมิ เขา้ ไปเอง เพื่อใหค้ รบตามคติตะวนั ออกของเรา 
          ครเู พื่อศษิ ย์พึงตระหนกั ในเปา้ หมายพฒั นาการท้ัง ๕ ด้านนอี้ ยตู่ ลอด
เวลา และหาทางทำ�ให้การฝึกปฏิบัติในกิจกรรมทุกกิจกรรม นำ�ไปสู่
พัฒนาการหลายดา้ นในเวลาเดียวกนั

180 การเรยี นรู้เกิดขึน้ อย่างไร

ส่ิงที่ผิดคือ เมื่อต้องการพัฒนาเป้าหมายใด ก็จัดวิชาสำ�หรับเรียน 
นนั่ คือวธิ ีคดิ แบบแยกส่วน ซึง่ ผิด
ผมได้ตระหนักว่า การเป็นผู้มีทักษะในการกำ�กับการเรียนรู้ของ
ตนเองได้ เป็นสุดยอดของทักษะว่าด้วยการเรียนรู้ และทักษะนี้เช่ือมโยง
กบั ทกั ษะการมีวินยั ในตนเอง (Sefl-Discipline) ในคาถาองค์ ๔ ทีผ่ มถอื
เป็นหัวใจของทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ คือ คาถา ๓ร ๑ว ได้แก่ ทักษะ
สรา้ งแรงบนั ดาลใจแกต่ นเอง (ร แรงบนั ดาลใจ) ทกั ษะในการเรยี นรู้ (ร เรยี นร)ู้  
ทักษะความร่วมมือ (ร ร่วมมือ) และทักษะความมีวินัยในตนเอง บังคับ
ตวั เองได้ (ว วินัย)  
ผมไดเ้ รยี นรขู้ น้ั ตอนการปฏบิ ตั ิ ๗ ประเดน็ หลกั เพอ่ื การเรยี นแบบรจู้ รงิ  
แลว้ บอกตวั เองว่าผมจะไม่มีวันรจู้ ริงในประเด็นทง้ั ๗ ในหนงั สอื เพราะผม
ไมไ่ ดล้ งมอื ปฏบิ ตั ใิ นฐานะทเี่ ปน็ ครฝู กึ  หนงั สอื เลม่ นเี้ ขยี นใหค้ รฝู กึ อา่ นแลว้
เอาไปปฏิบตั ิ เพือ่ จะได้เขา้ ใจลกึ ขน้ึ และปฏิบตั ิไดด้ ียิง่ ข้นึ  
ผมจงึ น�ำ บนั ทกึ ทงั้ ๑๖ ตอนนี้ มาฝากครเู พอื่ ศษิ ยท์ ง้ั หลาย เพอ่ื ใหท้ า่ น
มีอาวุธสำ�หรับการทำ�หน้าท่ีครูฝึกเพื่อศิษย์ได้ผลดียิ่งข้ึน และสนุกสนาน
ย่ิงข้ึน ครูเพ่ือศิษย์นอกจากมีใจให้แก่ศิษย์แล้ว ยังต้องมีทักษะของครูฝึก 
ทสี่ อดคล้องเหมาะสมตอ่ สภาพของศิษยอ์ ีกดว้ ย 

วจิ ารณ์ พานิช
๑๓ ม.ค. ๕๖

ศ.นพ.วิจารณ์ พานชิ 181


Click to View FlipBook Version