ฟ้อนสู่ขวญั ข้าวคูณลาน : พัฒนาการจากบุญคณู ลานปราสาทรวงข้าว
ผ้แู ต่ง : ทศั นยี ์ ศวิ บวรวัฒนา
พสิ จู น์อักษร : ดร.กติ ตศิ ักดิ์ สนิ ธุโคตร
ศิลปกรรม : นายวีรศกั ดิ์ ครองสนิ
ออกแบบปก : นายวรี ศักด์ิ ครองสนิ
พมิ พ์ครัง้ ที่ 1 เดือนพฤศจกิ ายน 2563
จำนวนพมิ พ์ 100 เล่ม
ราคา 300 บาท
ข้อมลู ทางบรรณานุกรมของหอสมุดแหง่ ชาติ
ทศั นีย์ ศวิ บวรวัฒนา
ฟอ้ นส่ขู วัญขา้ วคูณลาน : พฒั นาการจากบุญคูณลานปราสาทรวงขา้ ว
กรงุ เทพฯ : โรงพิมพด์ ีเจริญดีย.ู วี.เซนเตอร์ , 2563
231 หนา้
ISBN : ISBN 978-616-572-992-5
สงวนลขิ สทิ ธิ์ พุทธศกั ราช 2563
จดั ทำโดย นางทศั นีย์ ศิวบวรวฒั นา
พมิ พ์ทีโ่ รงพมิ พ์ดีเจรญิ ดยี .ู ว.ี เซนเตอร์ 98 ถนนรามเดโช
แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรงุ เทพฯ 10250 โทร. 098-386-4303
DCharoenD.U.V. Center 98 Nong Bon Prawet District Bangkok 10250 Tel 098-386-4303
คำนำ
หนังสือ “ฟ้อนสู่ขวัญข้าวคูนลาน : พัฒนาการจากบุญคูนลานปราสาทรวงข้าว” เล่มน้ี
เป็นหนังสือที่สืบเนื่องมาจากงานวจิ ัยเร่ืองบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว ศกั ยภาพในการอนุรักษ์
และการประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธ์ุ
ผู้เขียนได้รวบรวมองค์ความรู้จากการลงพื้นที่ ณ ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อสัมภาษณ์
คนในชุมชนเกี่ยวกับการทำปราสาทรวงข้าว ที่มีความสวยงามที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นภูมิปัญญา
ของชาวบา้ นในท้องถ่นิ ทีส่ ืบทอดจากบรรพบรุ ุษ โดยมีการประยุกต์และเปล่ียนแปลงไปตามยคุ สมยั
หนังสือเล่มนี้จึงเป็นความตั้งใจของผู้เขียน ที่ต้องการเผยแพร่เรื่องราวอันทรงคุณค่า
และเปี่ยมเสน่ห์ของประเพณีพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวอีสานผ่านแง่มุมต่าง ๆ
นอกจากความรู้และความเข้าใจในประเพณีบุญคูนลานปราสาทรวงข้าวแล้ว ยังมีศิลปะการแสดง
ชุดฟ้อนสู่ขวญั ขา้ วคูณลานที่คณะบุคลากรของวิทยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสินธ์ุได้ช่วยกนั สร้างสรรค์
ออกมาอยา่ งสวยงาม และได้รบั คำช่ืนชมเปน็ อยา่ งมาก
ผู้เขียนขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ และชาวบ้านทุกท่านของเทศบาลตำบลเหนือ อำเภอเมือง
จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่กรุณาให้สัมภาษณ์และให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการเขียนหนังสือเล่มนี้
ขอขอบคุณผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ผู้บริหาร คณะครูอาจารย์ และนักเรียน
นักศึกษาทุกคน ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในการจัดทำหนังสือเล่มนี้
ให้เสร็จสมบูรณ์ ขอขอบคุณผู้เขียนบทความ เอกสาร งานวิจัยตลอดทั้งรูปภาพต่าง ๆ ที่ได้นำมาใช้อ้างอิง
ในหนงั สอื เล่มน้ี และสุดท้ายนีข้ อขอบพระคณุ บุคคลทม่ี ีสว่ นเกี่ยวข้องทุกท่านท่ีให้ความชว่ ยเหลือแก่ผู้เขียน
เสมอมา
ผู้เขียนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจอันดีเพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม
ในการอนุรักษ์สืบสานประเพณีบุญคูนลาน ให้เป็นประเพณีที่งดงาม นำมาซึ่งความภาคภูมิใจ
ให้กับชาวอีสานสบื ไป
ทัศนีย์ ศิวบวรวฒั นา
คำนิยม
ผมขอชื่นชม คุณครูทัศนีย์ ศิวบวรวัฒนา ครูเชี่ยวชาญสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย และ
ข้าราชการพลเรือนดเี ด่น สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ผมได้เห็นความมุง่ มั่น
อดทน ต่อสู้ เอาชนะอุปสรรค และด้วยความตั้งใจที่จะถ่ายทอดรวบรวมองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
“ฟ้อนสู่ขวญั ข้าวคูณลาน : พัฒนาการจากบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว” ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวขอ้ ง
กับประเพณแี ละความเชือ่ ที่นำมารังสรรค์เป็นผลงานการแสดงอันทรงคุณค่า ทจ่ี ะเป็นมรดกอันล้ำค่า
ของวงการนาฏศิลปพ์ ืน้ บ้านอีสานให้เปน็ รูปธรรมและควรคา่ ที่ผสู้ นใจจะนำไปศึกษาต่อไป
ขอช่นื ชมในกระบวนการคิด การทำงานท่ีได้ถ่ายทอดผ่านตัวอักษรมายังผู้อ่าน เม่ือผมอ่าน
เนื้อหาภายใน ผมเกิดจินตภาพของความรู้สึกซาบซึ้ง สวยงาม และเห็นมิติทางวัฒนธรรม มนต์ขลัง
ที่แฝงอยู่ภายในพิธีกรรม และความเช่ือของชาวอีสาน การสะท้อนวฒั นธรรมของชาวอีสานทผ่ี ่านมา
ในหนังสือเล่มน้ีทำให้ผมรู้สึกประทบั ใจเปน็ อย่างมาก
หวังเป็นอยา่ งยิ่งวา่ หนงั สือ“ฟอ้ นสู่ขวญั ข้าวคูณลาน :พัฒนาการจากบญุ คูณลานปราสาทรวงขา้ ว”
จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางการศึกษาค้นคว้า สำหรับผู้สนใจนักวิชาการวัฒนธรรมและนักวิชาการ
นาฏศิลป์ต่อไป และขออำนวยพรให้เจริญรงุ่ เรอื งในเส้นทางนกั วิชาการสบื ไป
(นายจำเรญิ แกว้ เพ็งกรอ)
ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสนิ ธ์ุ
คำนิยม
“ฟอ้ นสขู่ วัญขา้ วคณู ลาน : พัฒนาการจากบญุ คณู ลานปราสาทรวงข้าว” ผลงานความลงตัว
ของนาฏดุริยางคศลิ ป์ การผสมผสานระหวา่ งนาฏยศาสตรแ์ ละดรุ ยิ างคศาสตร์ จากการสร้างสรรค์
ผลงานท่ีวทิ ยาลยั นาฏศิลปกาฬสินธุ์ไดจ้ ารึกไวใ้ นแผ่นดนิ อีสาน
ผมชื่นชอบการเรียบเรียงทำนองเพลงและเครื่องดนตรีในผลงานสร้างสรรค์ชุดนี้มา
แต่เดิมเม่ือได้อ่าน “ฟ้อนสู่ขวัญข้าวคูณลาน : พัฒนาการจากบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว”
ของ ครูทศั นีย์ ศวิ บวรวฒั นา ทถ่ี ่ายทอดความรู้ท้ังเร่ืองของบทเพลงท่ีมีคุณค่าทางดุริยางคศาสตร์
ประกอบกับท่ารำทางนาฏศิลป์ผ่านภาพปราสาทรวงข้าว ทำให้ผมยิ่งสะท้อนภาพความงดงาม
ของงานประเพณีบญุ คณู ลานได้ชดั เจนหนกั แน่นยิ่งขึ้น
การเล่าเรื่องวัฒนธรรมอีสาน ผ่านประเพณีบุญคูณลานสู่ปราสาทรวงข้าว สู่นาฏยประดิษฐ์
ฟ้อนสู่ขวัญข้าวคูณลาน เป็นการเรียบเรียงเรื่องราวที่น่าสนใจ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นคลังความรู้
ทผี่ า่ นการคดั กรอง คัดสรร และประดิษฐค์ ดิ ถ้อยคำใหผ้ ้อู ่านเข้าใจไดง้ ่าย และควรคา่ แก่การศึกษา
ผมหวังว่าผู้อ่านและนักวิชาการทุกท่านจะสนใจเก็บหนังสือเล่มนี้ไว้เป็นคลังความรู้
ทม่ี คี ณุ ค่าต่อทา่ นและผสู้ นใจต่อไป
(ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.เจรญิ ชยั ชนไพโรจน์)
Ph.D. in Musicology and Ethnomusicology
ผ้เู ชย่ี วชาญวิทยาลยั ดุริยางคศลิ ป์ มหาวทิ ยาลัยมหาสารคาม
คำนิยม
หนังสือ “ฟ้อนสู่ขวัญข้าวคูณลาน : พัฒนาการจากบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว”
ของ ครูทัศนีย์ ศิวบวรวัฒนา ได้นำเสนอวิถีถิ่นอีสานให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น โดยเฉพาะ
ประเพณบี ุญคูนลานท่เี ป็นส่วนหนึ่งของประเพณีสบิ สองเดือนของชาวอสี าน
ดิฉันชื่นชมในการเรียบเรียงผลงานศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสานให้เป็นรูปธรรม จับต้องได้
และมหี ลักฐานยืนยันอา้ งอิงได้ ดงั ที่ภาษาโบราณท่านวา่ ไว้ ทำอะไรใหม้ หี ลังอิงตน้ โพธิไ์ ว้เสมอ น่ีคือ
การเก็บผลงานมิให้สูญหายไปจากวงการศิลปะการแสดงบ้านเรา บุคคลที่ไม่รู้จักหมอลำ ไม่รู้จัก
ศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน ควรอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างยิ่ง จะเข้าใจ จะซาบซึ้ง จะรู้วิถีชีวิตพิธีกรรม
ของชาวนา
หนังสือ “ฟ้อนสู่ขวัญข้าวคูณลาน : พัฒนาการจากบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว” จะเป็น
แหลง่ ความรู้ อนั ทรงคณุ คา่ ทจี่ ะเพ่มิ พูนความร้แู ก่ทกุ ท่านได้เปน็ อย่างดี
(ดร.ฉวีวรรณ ดำเนิน)
ศิลปินแหง่ ชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอลำ)
สารบัญ หน้า
คำนำ (ก)
คำนยิ ม (ข)
สารบัญ (จ)
สารบัญตาราง (ช)
สารบญั ภาพ (ซ)
บทที่ 1 ความรเู้ บือ้ งตน้ เก่ยี วกบั ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวดั กาฬสินธ์ุ 1
1.1 ลกั ษณะทางภูมิศาสตร์ 2
1.2 ลักษณะท่วั ไปทางสงั คม 6
1.3 ประเพณีท้องถ่ิน 7
1.4 ข้อมลู เบื้องตน้ ของจังหวัดกาฬสินธ์ุ 14
บทท่ี 2 ศลิ ปะการแสดงพืน้ เมอื งอีสาน 25
2.1 ความร้เู กยี่ วกบั นาฏศลิ ป์พน้ื เมืองอีสาน 26
2.2 เขตพื้นทวี่ ฒั นธรรมนาฏศิลป์พื้นเมอื งอสี าน 29
2.3 การแสดงและพิธกี รรมในฮตี สิบสองของจังหวดั กาฬสนิ ธุ์ 31
บทที่ 3 สบื สานประเพณีบุญคณู ลานปราสาทรวงข้าว 39
3.1 ตำนานและพิธกี รรมเก่ยี วกับขา้ ว 40
3.2 ความเชอื่ เร่อื งขวัญประเพณีบญุ คณู ลานปราสาทรวงข้าว 43
บทที่ 4 การบรหิ ารจดั การประเพณีบญุ คณู ลานปราสาทรวงข้าว 57
4.1 องค์ประกอบของประเพณีบญุ คูณลานปราสาทรวงข้าว 58
4.2 ข้ันตอนของประเพณีบญุ คูณลานปราสาทรวงข้าว 63
สารบญั (ตอ่ ) หน้า
4.3 การสร้างปราสาทรวงขา้ ว 63
4.4 การจดั การประเพณบี ุญคูณลานปราสาทรวงข้าว 71
4.5 รายละเอียดพธิ ีเปดิ งานประเพณีบญุ คูณลานปราสาทรวงข้าว 76
บทท่ี 5 ฟ้อนสู่ขวญั ขา้ วคูณลาน 88
5.1 แนวคิด 89
5.2 เคร่อื งแต่งกายและอุปกรณ์ 92
5.3 เครื่องดนตรี 96
5.4 ลายหรือทำนองดนตรี 102
5.5 ผูแ้ สดง 103
5.6 โอกาสท่ใี ชใ้ นการแสดง 103
5.7 รปู แบบการแสดง 113
5.8 ความหมายของท่ารำ 114
5.9 กระบวนท่าฟอ้ น 115
5.10 รูปแบบการแปรแถว 185
บทท่ี 6 บทบาทในการสรา้ งสรรคผ์ ลงานนาฏศิลปพ์ ้นื บ้านของ 189
วิทยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสินธุ์
190
6.1 ประวตั วิ ิทยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสนิ ธุ์ 192
6.2 การจัดการศึกษาในวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสนิ ธุ์ 193
6.3 จดุ มุ่งหมายในการจัดตั้งวิทยาลยั นาฏศลิ ปกาฬสนิ ธ์ุ 194
6.4 คุณลกั ษณะท่ีพึงประสงค์ของนักเรยี นและนักศึกษา 195
6.5 คณุ ลักษณะของครผู ู้สอนวทิ ยาลยั นาฏศิลปกาฬสินธุ์ 196
6.6 ปจั จัยในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศลิ ปพ์ ้ืนบา้ นของ
197
วิทยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสินธ์ุ
6.7 กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศลิ ป์พ้นื บ้านของ
วิทยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสนิ ธ์ุ
สารบัญ (ตอ่ ) หนา้
6.8 ผลงานการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศลิ ป์พื้นบ้านของ 199
วิทยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสนิ ธุ์
205
บรรณานกุ รม 210
ประวตั ิผู้เขียน
สารบัญตาราง
ตารางท่ี 1 การเผยแพร่ฟ้อนสู่ขวญั ข้าวคูณลานในโอกาสต่าง ๆ หนา้
ตารางที่ 2 การเผยแพร่ฟอ้ นสู่ขวัญข้าวคูณลานใหก้ บั บุคลากรทางการศกึ ษา
และคณะครู 104
ตารางที่ 3 การแปรแถวฟ้อนสู่ขวัญข้าวคูณลาน 108
186
สารบัญภาพ
ภาพท่ี 1.1 แผนทภี่ าคตะวนั ออกเฉียงเหนอื หนา้
ภาพที่ 1.2 แสดงพิธีกรรมบุญเขา้ กรรม
ภาพท่ี 1.3 แสดงพธิ กี รรมบุญคณู ลาน 3
ภาพที่ 1.4 แสดงพธิ กี รรมบุญขา้ วจ่ี 8
ภาพที่ 1.5 แสดงพธิ ีกรรมบุญเผวส 8
ภาพท่ี 1.6 แสดงพิธีกรรมบุญสงกรานต์ 9
ภาพท่ี 1.7 แสดงพธิ กี รรมบุญบ้ังไฟ 9
ภาพท่ี 1.8 แสดงพิธีกรรมบุญซำฮะ 10
ภาพที่ 1.9 แสดงพธิ กี รรมบุญเข้าพรรษา 10
ภาพที่ 1.10 แสดงพิธีกรรมบุญข้าวประดบั ดิน 11
ภาพท่ี 1.11 แสดงพธิ ีกรรมบุญข้าวสาก 11
ภาพท่ี 1.12 แสดงพิธีกรรมบุญออกพรรษา 12
ภาพที่ 1.13 แสดงพธิ ีกรรมบุญกฐนิ 12
ภาพที่ 1.14 อนุสาวรีย์พระยาชัยสนุ ทร (เจ้าโสมพะมิตร) 13
ภาพที่ 1.15 แผนทจ่ี ังหวดั กาฬสนิ ธ์ุ 13
ภาพท่ี 1.16 เข่อื นลำปาว 14
ภาพท่ี 1.17 หาดดอกเกด 15
ภาพที่ 1.18 น้ำตกแก้งกะอาม 17
ภาพที่ 1.19 ผาเสวย 17
ภาพท่ี 1.20 สวนสะออน 18
ภาพท่ี 1.21 สะพานเทพสุดา 18
ภาพที่ 1.22 เมอื งฟ้าแดดสงยาง 19
ภาพที่ 1.23 พระธาตุยาคู 19
ภาพท่ี 1.24 ถำ้ ฝ่ามอื แดง 20
ภาพท่ี 1.25 วดั สกั กะวนั และอทุ ยานโลกไดโนเสาร์ภกู ุ้มข้าว 20
ภาพที่ 1.26 พุทธสถานภูปอ 21
ภาพที่ 1.27 พุทธสถานภสู ิงห์ 21
ภาพที่ 1.28 วัดป่ามชั ฌมิ าวาส 22
ภาพท่ี 1.29 ศนู ย์ศิลปวัฒนธรรมภูไท 22
23
23
ภาพท่ี 2.1 สารบญั ภาพ (ตอ่ ) หน้า
ภาพที่ 2.2 29
ภาพท่ี 2.3 การแสดงแสกเตน้ สากของกลุ่มชาตพิ ันธ์แสก 30
ภาพที่ 2.4 การแสดงเรอื มอนั เร 30
ภาพท่ี 2.5 การแสดงเพลงโคราช 31
ภาพท่ี 2.6 ประเพณีบวงสรวงเจ้าปกู่ งุ ศรีรวมของดถี ิ่นดงมูล 32
ภาพท่ี 2.7 ประเพณีบุญคณู ลานปราสาทรวงข้าว 32
ภาพท่ี 2.8 ประเพณีบญุ ขา้ วจี่ 33
ภาพท่ี 2.9 ประเพณมี หาทานบารมบี ุญเผวส 33
ภาพที่ 2.10 ประเพณบี ุญสงกรานต์ 34
ภาพท่ี 2.11 ประเพณบี ุญบง้ั ไฟตะไลลา้ น 35
ภาพท่ี 2.12 ประเพณสี รงน้ำพระธาตยุ าคู 35
ภาพท่ี 2.13 ประเพณแี ห่เทยี นพรรษา 36
ภาพท่ี 2.14 ประเพณีบญุ ขา้ วประดับดิน 36
ภาพที่ 2.15 ประเพณบี ุญข้าวสาก 37
ภาพที่ 3.1 ประเพณีทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ 37
ภาพท่ี 3.2 ประเพณีบุญกฐนิ 41
ภาพท่ี 3.3 พธิ บี ญุ บัง้ ไฟ 42
ภาพที่ 3.4 พธิ ีเชิญทำขวัญแม่โพสพ 44
ภาพที่ 3.5 เคร่ืองบูชาพิธีทำขวัญข้าว 46
ภาพที่ 3.6 ศาลาการเปรียญและพระใหญ่ประจำวัดเศวตวนั วนาราม 47
ภาพท่ี 3.7 ภาพจำลองพระแมโ่ พสพในประเพณีบุญคณู ลานปราสาทรวงขา้ ว 48
ภาพที่ 3.8 ปราสาทรวงข้าวแบบทรงพระธาตพุ นม 48
ภาพท่ี 3.9 ปราสาทรวงขา้ วแบบทรงระฆังคว่ำ 49
ภาพท่ี 3.10 ปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตรุ มุข พ.ศ. 2541 50
ภาพที่ 3.11 ปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตรุ มขุ พ.ศ. 2542 50
ภาพท่ี 3.12 ปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตรุ มขุ พ.ศ. 2544 50
ภาพที่ 3.13 ปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตรุ มขุ พ.ศ. 2548 51
ภาพท่ี 3.14 ปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตุรมขุ พ.ศ. 2549 51
ปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตรุ มขุ พ.ศ. 2550 51
ปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตรุ มขุ พ.ศ. 2551
สารบญั ภาพ (ตอ่ )
หนา้
ภาพที่ 3.15 ปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตรุ มุข พ.ศ. 2552 52
ภาพที่ 3.16
ภาพที่ 3.17 ปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตุรมุข พ.ศ. 2553 52
ภาพที่ 3.18
ภาพที่ 3.19 ปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตุรมขุ พ.ศ. 2554 52
ภาพที่ 3.20
ภาพที่ 3.21 ปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตุรมขุ พ.ศ. 2555 53
ภาพที่ 3.22
ภาพที่ 3.23 ปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตุรมุข พ.ศ. 2556 53
ภาพที่ 3.24
ภาพท่ี 3.25 ปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตรุ มขุ พ.ศ. 2557 53
ภาพท่ี 4.1
ภาพที่ 4.2 ปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตุรมุข พ.ศ. 2558 54
ภาพที่ 4.3
ปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตรุ มขุ พ.ศ. 2559 54
ภาพที่ 4.4
ภาพที่ 4.5 ปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตุรมุข พ.ศ. 2560 54
ภาพที่ 4.6
ภาพที่ 4.7 ปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตรุ มุข พ.ศ. 2561 55
ภาพท่ี 4.8
ภาพท่ี 4.9 ปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตรุ มขุ พ.ศ. 2562 55
ภาพท่ี 4.10
ภาพที่ 4.11 ปราสาทรวงขา้ วในเวลากลางวันและเวลากลางคืน 58
ภาพท่ี 4.12
ภาพที่ 4.13 หมอสูตรทำพธิ ีกล่าวคำบูชาแม่โพสพ 59
ภาพท่ี 4.14
ภาพท่ี 4.15 ชาวบา้ นช่วยกนั จดั เตรยี มสิ่งของกอ่ นการจดั งานบุญคณู ลาน 60
ภาพท่ี 4.16
ภาพท่ี 4.17 ปราสาทรวงข้าว
ชาวบา้ นมาร่วมทำพิธีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว 61
วสั ดทุ ่ีชาวบ้านจัดเตรยี มมาร่วมพธิ บี ญุ คูณลานปราสาทรวงข้าว 63
ลักษณะของขา้ วเหนียวพันธ์ กข 64
ไมไ้ ผ่ท่นี ำมาใช้ในการจดั ทำรว้ั และนง่ั ร้านปราสาทรวงขา้ ว 64
ลักษณะของเชอื กปอท่ีนำมาใช้ในการจดั ทำปราสาทรวงข้าว 65
ชาวบ้านช่วยกันเก็บเกีย่ วรวงขา้ วในนาที่ทางวัดไดป้ ลูกไว้ 65
ชาวบ้านบริจาครวงขา้ วโดยทางวัดนำรถไปรับรวงขา้ วถงึ ทีน่ า 66
ชาวบา้ นและนกั ศกึ ษาวิทยาลยั นาฏศลิ ปกาฬสนิ ธช์ุ ว่ ยกนั มัดรวงข้าว 66
ลักษณะของรวงข้าวท่ีผา่ นการมัดพร้อมนำขึ้นประดับบนปราสาทรวงขา้ ว 67
ลักษณะของพนื้ ที่ปรบั เปน็ ลานปูนป้องกันการกัดเซาะของหน้าดินเม่ือฝนตก 67
ชาวบา้ นช่วยกันตัดไม้ไผม่ าทำนง่ั รา้ นเเละรวั้ ปราสาทรวงขา้ ว 68
ลกั ษณะการกอ่ สร้างโครงสรา้ งของปราสาทรวงข้าว 69
พระสงฆแ์ ละชาวบา้ นช่วยมดั ฟางข้าวใสร่ ้วั รอบโครงสร้างปราสาท 69
ลักษณะของการตกแต่งปราสาทรวงข้าว 70
สารบญั ภาพ (ตอ่ )
หนา้
ภาพที่ 4.18 ลักษณะของการเดนิ สายไฟเพ่ือความสว่างและไฟประดับแสงสี 70
ภาพท่ี 4.19
ผนู้ ำชุมชน สถานศกึ ษาและคณะกรรมการหมู่บา้ นประชุม 71
ภาพที่ 4.20
ภาพท่ี 4.21 เพ่ือเตรียมความพร้อมในการจดั งานประเพณบี ญุ คนู ลาน
ภาพท่ี 4.22
ภาพท่ี 4.23 ณ วดั เศวตวันวนาราม ต.เหนอื อ.เมอื ง จ.กาฬสนิ ธุ์
ภาพที่ 4.24
ภาพที่ 4.25 ชา่ งอาวุโสคอยชว่ ยเหลอื และให้ปรกึ ษาแก่ชา่ งรุ่นใหม่ 72
ภาพที่ 4.26
ลกั ษณะของการรักษาและดูแลวัสดุอปุ กรณ์เดมิ และสามารถนำมาใชไ้ ด้ 72
ภาพท่ี 4.27
ภาพที่ 4.28 ขบวนแหป่ ราสาทรวงขา้ วของแตล่ ะหมู่บา้ น 73
ภาพท่ี 4.29
ภาพท่ี 4.30 การประชาสมั พันธ์การจัดงานประเพณบี ญุ คณู ลานปราสาทรวงข้าว 74
ภาพที่ 4.31
ภาพที่ 4.32 กิจกรรมทจี่ ดั ในงานประเพณบี ญุ คณู ลานปราสาทรวงขา้ ว 75
ภาพที่ 4.33 จดั สภาพสง่ิ แวดลอ้ มให้มคี วามสะอาด ความรม่ รนื่ สวยงาม 75
ภาพที่ 4.34
ภาพท่ี 4.35 ชาวบา้ นร่วมสมทบทนุ บริจาคสงิ่ ของในการจดั ทำปราสาทรวงขา้ ว 76
ภาพที่ 4.36
ภาพท่ี 4.37 ให้กบั ทางวัดเศวตวันวนาราม
ภาพที่ 4.38
ชาวบา้ นนำขา้ วเปลอื กมาเทกองรวมกนั ทปี่ ราสาทรวงขา้ ว 77
ภาพท่ี 4.39
พานบายศรีที่จัดวางตามมุมปราสาท 4 มมุ 77
ภาพท่ี 4.40
พานบายศรแี ละผลไม้ท่จี ดั วางสำหรับบูชาแมโ่ พสพ 78 78
การตกั บาตรแก่พระภิกษุของชาวบา้ นทบี่ รเิ วณปราสาทรวงข้าว 78
ชาวบา้ นท่มี ารว่ มงานรับพรจากพระภกิ ษุ 79
ผถู้ อื ปา้ ยและผูท้ ำหนา้ ท่หี าบเงินหาบทองงานประเพณบี ุญคณู ลาน 79
ปราสาทรวงขา้ ว
สาวงามประจำหมู่บา้ นทำหน้าทเ่ี ป็นตัวแทนของแมโ่ พสพ 80
นางรำฟอ้ นนำขบวนพานบายศรีเครื่องบูชาแมโ่ สพ 80
ขบวนแห่ปราสาทรวงขา้ วจำลองของแต่ละหม่บู า้ น 81
ขบวนแหก่ ลองยาวและขบวนวถิ ีชีวิตชาวนา 81
นายพสั กร มูลศรี นายกเทศบาลตำบลเหนือกล่าวรายงานการจัดงาน 82
เลขานกุ ารรัฐมนตรวี า่ การกระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา 82
เปน็ ประธานในพธิ ี
เลขานกุ ารรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬา เปดิ กรวยดอกไม้ 83
ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวมหาวชิราลงกรณบดนิ เทพยวรางกูรฯ
พิธบี ายศรสี ู่ขวญั ขา้ วคูณลาน 83
สารบญั ภาพ (ตอ่ )
ภาพที่ 4.41 ประธานในพิธตี ัดรบิ บิ้นรวงข้าวเปน็ สญั ญาณในพิธเี ปดิ งาน หนา้
ภาพท่ี 4.42 ประธานในพิธีเทข้าวจากกระบุงรวมกบั ขา้ วของชาวบา้ นท่ีอยู่ภายใน 84
ปราสาทรวงขา้ ว 84
ภาพท่ี 4.43 การแสดงฟ้อนสู่ขวัญขา้ วคณู ลานวิทยาลยั นาฏศลิ ปกาฬสินธุ์
ภาพที่ 4.44 การแสดงวงกลองยาวของชาวบา้ น 85
ภาพที่ 4.45 ประธานในพธิ ีกับนกั แสดงของวทิ ยาลยั นาฏศลิ ปกาฬสนิ ธุ์ 86
ภาพท่ี 5.1 การแต่งกายฟ้อนสขู่ วญั ข้าวคณู ลาน 86
ภาพที่ 5.2 สรอ้ ยคอเงนิ 92
ภาพที่ 5.3 เสอื้ แขนกระบอกลูกไม้สนี ้ำตาล 93
ภาพท่ี 5.4 สไบสเี หลอื ง (ผา้ ไหม) 93
ภาพที่ 5.5 กำไลเงนิ 93
ภาพที่ 5.6 ผ้าถุงไหม 94
ภาพที่ 5.7 ดอกไม้ประดับผม 94
ภาพที่ 5.8 ตา่ งหเู งนิ 94
ภาพที่ 5.9 ดอกไมต้ ิดอก 95
ภาพที่ 5.10 สรอ้ ยตวั 95
ภาพที่ 5.11 เข็มขัดเงนิ 95
ภาพที่ 5.12 รวงขา้ ว 96
ภาพที่ 5.13 วงโปงลางวทิ ยาลัยนาฏศิลปกาฬสนิ ธ์ุ 96
ภาพท่ี 5.14 พณิ ไฟฟ้า 97
ภาพที่ 5.15 เบส 97
ภาพท่ี 5.16 โปงลาง 98
ภาพท่ี 5.17 กลองหาง 98
ภาพท่ี 5.18 กลองตมุ้ 99
ภาพท่ี 5.19 ฉาบใหญ่ 99
ภาพท่ี 5.20 ฉาบเลก็ 100
ภาพที่ 5.21 แคน 100
ภาพท่ี 5.22 โหวด 101
101
สารบัญภาพ (ตอ่ )
ภาพท่ี 5.23 ฟ้อนสู่ขวัญขา้ วคูณลานงานใตร้ ่มพระบารมี 235 ปี กรุงรตั นโกสินทร์ หนา้
ณ โรงละครแหง่ ชาติ กรุงเทพฯ 107
ภาพที่ 5.24 ฟอ้ นส่ขู วญั ข้าวคณู ลานงานเทศกาลเท่ียวเมืองไทย สวนลุมพินี
กรุงเทพฯ ประจำปี 2561 107
ภาพท่ี 5.25 ฟอ้ นสู่ขวญั ขา้ วคูณลานงานเทศกาลเทยี่ วเมอื งไทย สวนลุมพินี
กรุงเทพฯ ประจำปี 2562 107
ภาพท่ี 5.26 ฟ้อนสู่ขวัญข้าวคูณลานในโครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น
ประจำปี 2563 113
ภาพที่ 5.27 ท่าที่ 1.1 ทา่ ออก
ภาพที่ 5.28 ท่าที่ 1.2 ทา่ ออก 116
ภาพที่ 5.29 ทา่ ที่ 2.1 ทา่ ออก 116
ภาพที่ 5.30 ทา่ ท่ี 2.2 ทา่ ออก 117
ภาพที่ 5.31 ทา่ ท่ี 3.1 ทา่ ขอขมาบชู าสิ่งศกั ด์สิ ิทธิ์ 117
ภาพที่ 5.32 ทา่ ที่ 3.2 ท่าขอขมาบชู าสิง่ ศกั ดิ์สิทธิ์ 118
ภาพที่ 5.33 ทา่ ที่ 3.3 ทา่ ขอขมาบูชาส่งิ ศักดิ์สิทธิ์ 118
ภาพที่ 5.34 ทา่ ท่ี 3.4 ท่าขอขมาบชู าสงิ่ ศักดิ์สิทธิ์ 119
ภาพที่ 5.35 ท่าที่ 4.1 ทา่ ขอขมาบูชาสง่ิ ศักดิ์สทิ ธิ์ 119
ภาพที่ 5.36 ทา่ ท่ี 4.2 ท่าขอขมาบชู าสง่ิ ศักดิ์สทิ ธิ์ 120
ภาพท่ี 5.37 ทา่ ที่ 4.3 ทา่ ขอขมาบชู าสง่ิ ศักดส์ิ ิทธิ์ 120
ภาพท่ี 5.38 ทา่ ที่ 4.4 ทา่ ขอขมาบูชาสิ่งศกั ดส์ิ ิทธิ์ 121
ภาพท่ี 5.39 ท่าที่ 4.5 ท่าขอขมาบชู าสงิ่ ศักด์สิ ทิ ธ์ิ 121
ภาพท่ี 5.40 ท่าที่ 5.1 ทา่ ขอฟา้ ขอฝน 122
ภาพท่ี 5.41 ทา่ ท่ี 5.2 ทา่ ขอฟ้าขอฝน 122
ภาพที่ 5.42 ทา่ ที่ 6.1 ทา่ ขอฟา้ ขอฝน 123
ภาพที่ 5.43 ท่าท่ี 6.2 ท่าขอฟ้าขอฝน 123
ภาพที่ 5.44 ทา่ ท่ี 6.3 ท่าขอฟา้ ขอฝน 124
ภาพท่ี 5.45 ท่าท่ี 6.4 ทา่ ขอฟ้าขอฝน 124
ภาพท่ี 5.46 ท่าท่ี 7.1 ทา่ ขอฟา้ ขอฝน 125
ภาพที่ 5.47 ทา่ ที่ 7.2 ท่าขอฟา้ ขอฝน 125
126
สารบญั ภาพ (ตอ่ )
ภาพท่ี 5.48 ทา่ ที่ 8.1 ท่าขอฟา้ ขอฝน หน้า
ภาพที่ 5.49 ท่าที่ 8.2 ทา่ ขอฟ้าขอฝน 126
ภาพท่ี 5.50 ทา่ ท่ี 8.3 ทา่ ขอฟา้ ขอฝน 127
ภาพที่ 5.51 ทา่ ที่ 8.4 ท่าขอฟ้าขอฝน 127
ภาพที่ 5.52 ท่าที่ 8.5 ทา่ ขอฟา้ ขอฝน 128
ภาพท่ี 5.53 ทา่ ที่ 8.6 ท่าขอฟ้าขอฝน 128
ภาพท่ี 5.54 ท่าที่ 9.1 ทา่ ขอฟา้ ขอฝน 129
ภาพท่ี 5.55 ทา่ ท่ี 9.2 ท่าขอฟา้ ขอฝน 129
ภาพท่ี 5.56 ทา่ ท่ี 9.3 ท่าขอฟา้ ขอฝน 130
ภาพท่ี 5.57 ท่าที่ 9.4 ท่าขอฟ้าขอฝน 130
ภาพท่ี 5.58 ทา่ ที่ 9.5 ท่าขอฟา้ ขอฝน 131
ภาพท่ี 5.59 ทา่ ที่ 10.1 ทา่ ขอฟ้าขอฝน 131
ภาพที่ 5.60 ทา่ ที่ 10.2 ทา่ ขอฟา้ ขอฝน 132
ภาพที่ 5.61 ทา่ ท่ี 10.3 ท่าขอฟ้าขอฝน 132
ภาพที่ 5.62 ท่าท่ี 11.1 ทา่ ขอฟา้ ขอฝน 133
ภาพที่ 5.63 ท่าที่ 11.2 ทา่ ขอฟา้ ขอฝน 133
ภาพท่ี 5.64 ทา่ ที่ 12.1 ทา่ หว่านกล้า 134
ภาพท่ี 5.65 ท่าที่ 12.2 ทา่ หวา่ นกลา้ 134
ภาพที่ 5.66 ท่าท่ี 12.3 ท่าหว่านกลา้ 135
ภาพที่ 5.67 ท่าที่ 12.4 ท่าหวา่ นกล้า 135
ภาพท่ี 5.68 ทา่ ที่ 13.1 ทา่ หว่านกลา้ 136
ภาพที่ 5.69 ทา่ ที่ 13.2 ท่าหวา่ นกล้า 136
ภาพท่ี 5.70 ทา่ ท่ี 14 ท่าดงึ กล้า 137
ภาพท่ี 5.71 ท่าที่ 15.1 ท่าดงึ กล้า 137
ภาพท่ี 5.72 ท่าท่ี 15.2 ทา่ ดงึ กล้า 138
ภาพที่ 5.73 ทา่ ท่ี 16.1 ท่าดำนา 138
ภาพที่ 5.74 ทา่ ที่ 16.2 ทา่ ดำนา 139
ภาพท่ี 5.75 ท่าที่ 17.1 ทา่ เชื่อม 139
ภาพท่ี 5.76 ท่าที่ 17.2 ท่าเชื่อม 140
140
สารบญั ภาพ (ตอ่ )
ภาพที่ 5.77 ท่าท่ี 18.1 ท่าเกี่ยวข้าว หนา้
ภาพท่ี 5.78 ทา่ ท่ี 18.2 ทา่ เกย่ี วขา้ ว 141
ภาพที่ 5.79 ทา่ ที่ 19 ท่าบชู าขา้ ว 141
ภาพที่ 5.80 ทา่ ท่ี 20.1 ท่าบชู าขา้ ว 142
ภาพที่ 5.81 ท่าที่ 20.2 ท่าบชู าขา้ ว 142
ภาพท่ี 5.82 ทา่ ที่ 21 ท่าบูชาขา้ ว 143
ภาพท่ี 5.83 ท่าที่ 22.1 ทา่ คูณขา้ ว 143
ภาพที่ 5.84 ทา่ ท่ี 22.2 ทา่ คณู ขา้ ว 144
ภาพท่ี 5.85 ทา่ ท่ี 22.3 ทา่ คณู ขา้ ว 144
ภาพที่ 5.86 ท่าที่ 22.4 ท่าคณู ข้าว 145
ภาพที่ 5.87 ท่าที่ 22.5 ทา่ คูณข้าว 145
ภาพท่ี 5.88 ทา่ ท่ี 22.6 ทา่ คูณขา้ ว 146
ภาพท่ี 5.89 ท่าที่ 23.1 ท่าคณู ลาน 146
ภาพท่ี 5.90 ท่าที่ 23.2 ท่าคณู ลาน 147
ภาพที่ 5.91 ทา่ ท่ี 23.3 ท่าคูณลาน 147
ภาพท่ี 5.92 ท่าที่ 24.1 ทา่ คูณลาน 148
ภาพที่ 5.93 ทา่ ท่ี 24.2 ทา่ คูณลาน 148
ภาพท่ี 5.94 ทา่ ที่ 24.3 ทา่ คณู ลาน 149
ภาพที่ 5.95 ท่าที่ 24.4 ทา่ คณู ลาน 149
ภาพที่ 5.96 ทา่ ท่ี 24.5 ทา่ คณู ลาน 150
ภาพที่ 5.97 ทา่ ที่ 24.6 ทา่ คณู ลาน 150
ภาพท่ี 5.98 ทา่ ท่ี 24.7 ทา่ คณู ลาน 151
ภาพที่ 5.99 ทา่ ที่ 25 ทา่ อีสานบา้ นเฮา 151
ภาพที่ 5.100 ทา่ ที่ 26.1 ทา่ อสี านบา้ นเฮา 152
ภาพท่ี 5.101 ท่าที่ 26.2 ทา่ อสี านบา้ นเฮา 152
ภาพที่ 5.102 ท่าที่ 27.1 ทา่ อีสานบ้านเฮา 153
ภาพท่ี 5.103 ทา่ ท่ี 27.2 ท่าอีสานบา้ นเฮา 153
ภาพท่ี 5.104 ทา่ ที่ 27.3 ท่าอสี านบา้ นเฮา 154
ภาพที่ 5.105 ท่าที่ 27.4 ท่าอสี านบา้ นเฮา 154
155
ภาพท่ี 5.106 สารบัญภาพ (ตอ่ ) หน้า
ภาพท่ี 5.107 155
ภาพท่ี 5.108 ท่าที่ 27.5 ทา่ อีสานบ้านเฮา 156
ภาพที่ 5.109 ท่าท่ี 28.1 ท่าอสี านบา้ นเฮา 156
ภาพท่ี 5.110 ท่าที่ 28.2 ทา่ อสี านบา้ นเฮา 157
ภาพท่ี 5.111 ทา่ ท่ี 28.3 ทา่ อสี านบ้านเฮา 157
ภาพที่ 5.112 ท่าที่ 28.4 ท่าอีสานบ้านเฮา 158
ภาพท่ี 5.113 ท่าที่ 28.5 ทา่ อสี านบ้านเฮา 158
ภาพที่ 5.114 ท่าท่ี 29.1 ท่าอสี านบ้านเฮา 159
ภาพท่ี 5.115 ทา่ ที่ 29.1 ทา่ อสี านบ้านเฮา 159
ภาพท่ี 5.116 รปู แบบการแปรแถวท่ี 1 (ทา่ ท่ี 1.1-1.2 ท่าออก) 160
ภาพท่ี 5.117 รปู แบบการแปรแถวที่ 1 (ท่าท่ี 2.1-2.2 ท่าออก ) 161
ภาพที่ 5.118 รูปแบบการแปรแถวที่ 1 (ท่าที่ 3.1-3.2 ท่าขอขมาบูชาสิง่ ศักดิส์ ิทธิ์) 162
ภาพที่ 5.119 รปู แบบการแปรแถวที่ 2-ท่ี 3 (ทา่ ที่ 4.1-4.5ทา่ ขอขมาบูชาสง่ิ ศกั ดิ์สิทธ์ิ ) 163
ภาพท่ี 5.120 รูปแบบการแปรแถวท่ี 3 (ทา่ ท่ี 5.1-5.2 ทา่ ขอฟ้าขอฝน ) 164
ภาพท่ี 5.121 รปู แบบการแปรแถวท่ี 3 (ทา่ ท่ี 6.1-6.4 ทา่ ขอฟา้ ขอฝน ) 165
ภาพที่ 5.122 รูปแบบการแปรแถวท่ี 3 (ทา่ ท่ี 7.1-7.2 ท่าขอฟา้ ขอฝน) 165
ภาพท่ี 5.123 รปู แบบการแปรแถวท่ี 3 (ท่าที่ 8.1-8.6 ทา่ ขอฟา้ ขอฝน) 166
ภาพท่ี 5.124 รปู แบบการแปรแถวที่ 3 (ทา่ ท่ี 9.1-9.5 ทา่ ขอฟา้ ขอฝน) 167
ภาพที่ 5.125 รปู แบบการแปรแถวที่ 4 (ทา่ ท่ี 10.1-10.3 ทา่ ขอฟา้ ขอฝน) 168
ภาพที่ 5.126 รปู แบบการแปรแถวท่ี 5 (ท่าท่ี 11.1-11.2 ทา่ ขอฟา้ ขอฝน) 169
ภาพท่ี 5.127 รปู แบบการแปรแถวที่ 6 (ทา่ ที่ 12.1-12.4 ท่าขอฟา้ ขอฝน) 170
ภาพท่ี 5.128 รูปแบบการแปรแถวที่ 7 (ทา่ ที่ 13.1-13.2 ทา่ ขอฟ้าขอฝน) 171
ภาพที่ 5.129 รปู แบบการแปรแถวที่ 7 (ท่าท่ี 14 ทา่ ดึงกลา้ ) 172
ภาพท่ี 5.130 รูปแบบการแปรแถวท่ี 8 (ทา่ ท่ี 15.1-15.2 ทา่ ดึงกล้า) 173
ภาพที่ 5.131 รูปแบบการแปรแถวที่ 8 (ทา่ ที่ 16.1-16.2 ท่าดำนา) 173
ภาพท่ี 5.132 รูปแบบการแปรแถวท่ี 9 (ท่าที่ 17.1-17.2 ทา่ เช่อื ม) 174
ภาพที่ 5.133 รูปแบบการแปรแถวที่ 10 (ท่าท่ี 18.1-18.2 ท่าเกีย่ วขา้ ว) 175
ภาพที่ 5.134 รปู แบบการแปรแถวที่ 10 (ท่าที่ 19 ท่าบชู าข้าว) 175
รปู แบบการแปรแถวท่ี 11 (ทา่ ท่ี 20.1-20.2 ท่าบชู าขา้ ว) 176
รปู แบบการแปรแถวท่ี 11 (ท่าท่ี 21 ท่าบูชาข้าว)
สารบัญภาพ (ตอ่ )
ภาพท่ี 5.135 รูปแบบการแปรแถวท่ี 11 (ท่าที่ 22.1-22.6 ทา่ คูณข้าว) หนา้
ภาพที่ 5.136 รปู แบบการแปรแถวท่ี 12 (ทา่ ที่ 23.1-23.3 ท่าคณู ลาน) 177
ภาพท่ี 5.137 รูปแบบการแปรแถวท่ี 12 (ทา่ ท่ี 24.1-24.7 ท่าคณู ลาน) 178
ภาพที่ 5.138 รปู แบบการแปรแถวที่ 2 (ทา่ ท่ี 25 ท่าอีสานบ้านเฮา) 179
ภาพที่ 5.139 รูปแบบการแปรแถวท่ี 2 (ท่าท่ี 26.1-26.2 ท่าอีสานบา้ นเฮา) 180
ภาพที่ 5.140 รูปแบบการแปรแถวที่ 13 (ทา่ ท่ี 27.1-27.5 ทา่ อสี านบา้ นเฮา) 181
ภาพที่ 5.141 รูปแบบการแปรแถวที่ 14 (ทา่ ที่ 28.1-28.5 ท่าอีสานบ้านเฮา) 182
ภาพที่ 5.142 รปู แบบการแปรแถวท่ี 13 (ท่าที่ 29.1-29.2 ท่าอสี านบ้านเฮา) 183
ภาพท่ี 6.1 ภูมทิ ัศน์วทิ ยาลยั นาฏศิลปกาฬสนิ ธุ์ 184
ภาพที่ 6.2 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 191
สยามบรมราชกุมารีทรงดนตรพี น้ื บ้านโปงลาง 192
ภาพที่ 6.3 อาคารเรียนวทิ ยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสนิ ธุ์
ภาพที่ 6.4 พิธไี หวค้ รูของวทิ ยาลัยนาฏศิลปกาฬสนิ ธุ์ 193
ภาพที่ 6.5 ฟอ้ นสขู่ วญั ข้าวคูณลาน 195
ภาพท่ี 6.6 ฟอ้ นสาวกาฬสนิ ธุล์ ำเพลนิ 199
ภาพที่ 6.7 ฟอ้ นแพรวากาฬสินธ์ุ 200
ภาพท่ี 6.8 การแสดงชุดไดโนเสารอ์ อนซอนภกู มุ้ ข้าว 200
ภาพที่ 6.9 ฟอ้ นภไู ทกาฬสินธ์ุ 201
ภาพที่ 6.10 ฟอ้ นนาฏลีลาฟ้าหยาด 202
ภาพท่ี 6.11 ฟอ้ นนารศี รีอีสาน 202
ภาพที่ 6.12 ผลงานการสร้างสรรค์นาฏศลิ ปพ์ ้ืนบ้านของวิทยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสินธ์ุ 203
203
1
บทที่ 1 ความร้เู บอื้ งตน้ เก่ียวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนอื และจังหวัดกาฬสนิ ธ์ุ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน เป็นภูมิภาคท่ีมีพื้นท่ีขนาดใหญ่ ภูมิประเทศ
ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูงเกิดจากการยกตัวของแผ่นดิน 2 ด้าน คือ ด้านตะวันตก
และด้านใต้ของภาค ทำใหม้ ีความลาดเอียงไปทางตะวันออก มลี กั ษณะคลา้ ยแอง่ กระทะ ดินส่วนใหญ่
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนอื เป็นดินทราย ทำให้น้ำซมึ ผ่านได้เร็ว จึงมีปัญหาขาดแคลนน้ำ และ
ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้พื้นที่บางแห่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้อย่างเต็มที่
ซึ่งจากสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้งนีเ้ อง ทำให้เกิดความเชื่อและประเพณีท่ีเกี่ยวกับการขอฝน
เช่น งานบุญบั้งไฟ งานแห่นางแมว นอกจากนี้ การอพยพเข้ามายังบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ของชนเผ่าตา่ ง ๆ ยังทำให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรมของกลุ่มระหว่างประชากรหลากหลาย
เชอ้ื ชาตขิ น้ึ คนในภาคอสี านมีวถิ คี วามเป็นอยู่ทเ่ี รยี บงา่ ย แมส้ ภาพแวดล้อมความเปน็ อยู่จะแร้นแค้น
แต่ยังคงมีน้ำใจขยัน อดทน และยังคงสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ตามบรรพบุรุษอย่างเคร่งครัด
ท้ังในเร่อื งของภาษาถนิ่ ทใี่ ชใ้ นการสื่อสาร ความเชอ่ื เร่ืองผีบรรพบุรษุ ผนี า ผไี ร่ โดยจะต้องมพี ธิ ีเซ่นไหว้
อยู่เป็นประจำเพราะเชือ่ ว่าผีมอี ิทธิฤทธิ์สามารถให้คณุ ให้โทษได้ (กรมส่งเสริมวฒั นธรรม, 2559 : 22)
ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทั่วไปทางสงั คม ประเพณีท้องถิ่น ข้อมูลเบื้องตน้
ของจงั หวดั กาฬสินธุ์
1.1 ลักษณะทางภูมศิ าสตร์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 20 จังหวัด
ไดแ้ ก่ เลย หนองคาย นครพนม อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร ขอนแก่น กาฬสนิ ธุ์ มกุ ดาหาร
ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ
อบุ ลราชธานี บงึ กาฬ (ประเสรฐิ วทิ ยารัฐ, 2559 : 5)
2
ภาพที่ 1.1 แผนที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทม่ี า : ประเสริฐ วิทยารัฐ, 2559.
คำว่า “อีสาน” มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต สะกดว่า "อีศาน” หมายถึง นามของพระศิวะ
ผูเ้ ป็นเทพประจําทิศตะวนั ออกเฉียงเหนอื ส่วนภาษาบาลสี ะกดว่า“อีสาน”ส่วนคำว่า“ตะวันออกเฉียงเหนอื ”
เริ่มใชเ้ ป็นทางการในสมัยรชั กาลที่ 5ราว พ.ศ. 2442ว่า“มณฑลตะวนั ออกเฉยี งเหนือ” ดังนน้ั คำวา่ “อีสาน”
จึงเป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการแทน “ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ดินแดนที่อยู่ด้านทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือของ “กรุงเทพฯ” และประการสำคัญทางประวัติศาสตร์แล้ว ผู้ปกครองรัฐชาติสยาม
ในอดีตได้ใช้คำน้ีเพื่อใช้แทนช่ือมณฑลลาวกาวและมณฑลลาวพวน ซึ่งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และเรียกหวั เมืองในเขตภูมภิ าคน้ีที่มีความสมั พันธ์กับ “ลาว” วา่ หัวเมอื งลาวฝ่ายตะวันออก หวั เมืองลาว
ฝ่ายตะวันออกเฉยี งเหนือ หัวเมืองลาวฝ่ายเหนอื และหัวเมอื งลาวฝ่ายกลาง เพอื่ ป้องกนั ไม่ใหฝ้ รั่งเศส
ใชเ้ ป็นเงื่อนไขในการเข้ามาแยกพนื้ ทส่ี ว่ นนี้ไปเป็นสว่ นหนึง่ ของสมาพันธอ์ ินโดจีน ดังนนั้ “อสี าน” หรือ
“ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ” จึงมีความหมายทางการเมืองระหว่างประเทศดว้ ย (สจุ ิตต์ วงษเ์ ทศ, 2553 : 20)
จากสภาพทางภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถแบ่งกลุ่มเป็นอีสานตอนบน
และอีสานตอนลา่ ง ตามสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศ โดยแบ่งตามทต่ี ้ัง ภาคอีสานตอนบน
ตั้งอยู่บนแอ่งสกลนคร ส่วนภาคอีสานตอนล่างตั้งอยู่บนแอ่งโคราช โดยภาคอีสานตอนบนมีด้วยกนั
12 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด สกลนคร หนองคาย
หนองบวั ลำภู อดุ รธานี เลย บงึ กาฬ และภาคอสี านตอนล่างมดี ้วยกัน 8 จังหวดั คอื ชัยภมู ิ นครราชสมี า
บรุ ีรมั ย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สรุ นิ ทร์ อำนาจเจริญ อบุ ลราชธานี (สวาท เสนาณรงค์, 2521 : 29)
3
1.1.1 ทีต่ ั้งและขอบเขต
ทิศเหนือ ติดกบั ประเทศลาว ดินแดนที่อยเู่ หนือสดุ คือ จังหวัดบึงกาฬ และจังหวัด
หนองคาย มีแมน่ ำ้ โขงเปน็ พรมแดนธรรมชาติ
ทิศตะวันออก ติดกับภาคกลาง ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดคือ อำเภอโขงเจียม
จงั หวดั อบุ ลราชธานี มแี มน่ ้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
ทศิ ตะวนั ตก ตดิ กับภาคกลาง ดินแดนท่ีอยูต่ ะวนั ตกสดุ คอื อำเภอนาแห้ว จงั หวัดเลย
มเี ทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเยน็ เป็นพรมแดนกั้นเขตแดน
1.1.2 ภมู ปิ ระเทศ
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง เกิดจากการยกตัวของแผ่นดินด้านตะวันตก
และด้านใต้ ส่วนภายในของภาคนั้นจากขอบทั้ง 2 ด้านจะค่อย ๆ ลาดลงไปในทางตะวันออกของภาค
ทำใหล้ าดเอยี งไปทางตะวันออก มลี ักษณะคล้ายกระทะ ในหวั ข้อน้จี ะกลา่ วถงึ บริเวณแอง่ ท่รี าบ เทือกเขา
และแม่นำ้ สำคญั อกี หลายสาย ดงั นี้
1.1.2.1 บริเวณแอง่ ที่ราบ
1) แอ่งสกลนคร อยู่ทางตอนเหนือในเขตจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย
สกลนคร และนครพนม ซึ่งทางตอนเหนือและตะวันออกของแอ่ง มีแม่น้ำโขงเป็นขอบ ส่วนทาง
ตอนใต้และตะวันตกมีเทือกเขาภูพานตัดผ่านแบ่งกั้นแอ่งสกลนครออกจากแอ่งโคราช ภายใน
บริเวณแอ่งมีลำน้ำสำคัญ ได้แก่ ลำน้ำโมง ลำน้ำห้วยหลวง ลำน้ำสงคราม ลำน้ำก่ำ และลำน้ำ
พุง ตัง้ แตแ่ นวเขาภูพานไปจนถึงแมน่ ้ำโขงมีแมน่ ำ้ สงครามและห้วยน้ำก่ำไหลผ่าน
2) แอ่งโคราช เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ลักษณะ
เป็นแอ่งกระทะ น้ำท่วมถึงบริเวณตอนกลาง ซึ่งทอดเป็นแนวยาวจากตะวันตกเฉียงใต้ ตามแม่น้ำมูล
ไปตะวันออกเฉียงเหนือจนออกแม่น้ำโขงในเขตจังหวัดอุบลราชธานี แอ่งโคราชมีแม่น้ำสำคัญ
คือ แม่นำ้ มูล ซึง่ ไหลผ่านหลายจังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา บรุ ีรัมย์ สรุ นิ ทร์ ศรีสะเกษ ไปออกแม่น้ำโขง
ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และแม่น้ำชี ซึ่งไหลจากจังหวัดชัยภูมิไปรวมกับลำน้ำพองในเขตจังหวัด
ขอนแก่นและลำน้ำปาวในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วไหลผ่านจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด
ยโสธร แลว้ ไปบรรจบกับแมน่ ำ้ มลู ท่จี ังหวัดอุบลราชธานี (วรรณี พุทธาวุฒิไกร, 2554 : 65)
อย่างไรก็ตาม แม้ท้งั 2 แอง่ จะมคี วามลาดเอียงจนทำให้สายน้ำจากลำห้วย
ต่าง ๆ พดั พาไปสู่ปลายทางท่ีแม่น้ำโขง และทำให้ทั้ง 2 ฝง่ั แม่น้ำระหว่างประเทศเกิดพื้นท่ีน้ำท่วม
ถึงเป็นตอน ๆ จนกลายเป็นทะเลสาบ แต่ทะเลสาบเหล่านี้ก็ไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้ตลอดทั้งปี
เพราะพื้นดนิ สว่ นใหญ่เป็นดินทรายเมอ่ื ถงึ ฤดแู ล้งน้ำจงึ เหือดแห้งไปหมดดังทรี่ ้จู กั กนั ดคี ือ“ทุ่งกุลารอ้ งไห”้
ดังนนั้ พืน้ ท่ขี องภาคตะวันออกเฉียงเหนือจงึ เป็นพน้ื ทที่ ี่แห้งแล้งมากท่สี ดุ
4
1.1.2.2 บรเิ วณเขตภูเขา
1) ภูเขาทางด้านตะวันตกของภาควางตัวแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ภูเขา
เพชรบรู ณ์ และภเู ขาดงพญาเยน็
2) ภูเขาท่แี บ่งระหว่างแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร ได้แก่ ภูเขาภพู าน
1.1.2.3 แม่น้ำสำคัญ
1) แม่น้ำมูล มีความยาวประมาณ 641 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายสำคัญ
ของอีสานตอนล่าง ตน้ น้ำอยทู่ ท่ี วิ เขาสันกำแพง อำเภอปักธงชยั ไหลผ่านจงั หวัดรอ้ ยเอด็ แล้วไหลลงสู่
แม่นำ้ โขงท่จี ังหวดั อุบลราชธานี
2) แมน่ ำ้ ชี มคี วามยาวประมาณ 765 กโิ ลเมตร เปน็ แม่น้ำสายสำคัญท่ียาว
ที่สุดในประเทศไทย มีต้นกำเนิดที่ทิวเขาเพชรบูรณ์ ไหลผ่านจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น
มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และยโสธร แล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำมูลท่ีอำเภอวารินชำราบ
จังหวัดอบุ ลราชธานี
3) แม่น้ำโขง มีความยาว 4,580 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำระหว่างประเทศ
กำเนิดจากที่ราบสูงทิเบต ไหลผ่านทิเบต จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม แล้วไหล
ออกทะเลจีนใต้ทไี่ ซ่ง่อน
4) แม่น้ำสงคราม มีความยาวประมาณ 420 กิโลเมตร ต้นน้ำเกิดจาก
ภเู ขาเล็ก ๆ ในทวิ เขาภพู าน อำเภอบา้ นหัน จังหวัดสกลนคร ไหลผ่านอุดรธานไี ปรวมกับแมน่ ้ำโขง
ที่อำเภอทา่ อุเทน จงั หวดั นครพนม (สวาท เสนาณรงค์, 2521 : 21)
1.1.3 ภมู อิ ากาศ
มลี ักษณะภมู ิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา คือมีอากาศรอ้ นช้ืนสลบั แหง้ และมีปริมาณน้ำฝน
ปานกลาง ฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นเนื่องจากได้รับอิทธิพลจาก
มรสุมตะวันออกเฉยี งเหนือ จังหวดั ท่มี อี ุณหภมู ิต่ำสดุ ได้แก่ จงั หวดั เลย ฤดูรอ้ น ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-
พฤษภาคม อากาศจะร้อนและแห้งแล้งมาก เพราะอยู่ไกลจากทะเล จังหวัดที่มีอุณหภูมิสูงสุด คือ
จังหวัดอุดรธานี ฤดูฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชนั
จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุด คือ จังหวัดนครพนม และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุด คือ
จงั หวัดนครราชสีมา (สภุ าพ บุญไชย, 2548 : 235)
1.1.4 ทรัพยากรธรรมชาติ
1.1.4.1 ทรัพยากรดิน
ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทราย ซึ่งขาดแร่ธาตุและ
สารอาหาร ใต้ดินมีเกลือหินทำให้ดินเค็มและแห้ง ไม่เหมาะกับการเพาะปลูกพืชและทำนา
5
1.1.4.2 ทรัพยากรนำ้
เน่ืองจากดนิ ทรายไมส่ ามารถอมุ้ น้ำได้ ทำให้เกิดปญั หาขาดแคลนน้ำ
ต้องอาศัยการชลประทานเข้ามาช่วย จึงมีการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเก็บกักน้ำ
ในภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื มเี ข่อื นสำคัญ ได้แก่
1. เขื่อนสิรนิ ธร อย่ใู นจงั หวดั อบุ ลราชธานี
2. เขื่อนจฬุ าภรณ์ อยใู่ นจังหวัดชยั ภูมิ
3. เข่ือนอบุ ลรัตน์ อยใู่ นจังหวดั ขอนแก่น
4. เขื่อนลำปาว อย่ใู นจังหวดั กาฬสนิ ธุ์
5. เขื่อนลำตะคอง อยู่ในจงั หวดั นครราชสมี า
6. เขอ่ื นลำพระเพลงิ อยใู่ นจังหวดั นครราชสีมา
1.2 ลักษณะท่วั ไปทางสงั คม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางด้านศิลปวัฒนธรรม
ประเพณี และวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม
ศาสนา และรูปแบบการดำเนินชีวิตตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี
สาเหตทุ ีภ่ าคอสี านมีความหลากหลายทางศลิ ปวัฒนธรรมประเพณี ส่วนหนงึ่ อาจจะมาจากการ
เป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ และมีการติดต่อสังสรรค์กับประชาชนใน
ประเทศใกล้เคียงจนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น ประเพณีและการละเล่น
พื้นบ้านของภาคอีสานก็โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น ประเพณีแห่ผีตาโขน ประเพณีบุญ
บั้งไฟ ไหลเรือไฟ การแสดงหมอลำ ดีดพิณ เป่าแคน ล้วนแสดงออกถึงความสนุกสนานและมี
ชีวิตชีวา เพื่อทดแทนกับสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้ง แสดงความเป็นตัวของตัวเองอย่างเด่นชัด
(ชนติ า สุ่มมาตย์, 2551 : 13-18)
การดำเนินชีวิตทั่วไปของชาวอีสานขึ้นอยู่กับความเชื่อและระเบียบแบบแผน
ขนบธรรมเนียมประเพณีอันมีมาแต่โบราณเช่นการมีจารีตหรือ“ฮีต” ดังที่เรียกว่า“ฮีตสิบสองคองสิบส”ี่
เป็นประเพณีที่ประชาชนในภาคอีสานปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบันทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี
เป็นการผสมผสานพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผีและพิธีกรรมทางพุทธศาสนาและเป็นวัฒนธรรม
แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและของชาติ งานฮีตจึงเป็นการทำงาน
ร่วมกนั ทัง้ แรงกายแรงใจเพือ่ สงั คมสว่ นรวม โดยมกั ม่งุ ไปทางบุญทางกศุ ลเสยี เปน็ สว่ นใหญ่
ประชากรของภาคอีสานประกอบด้วยกลุ่มชนหลายเผ่า เช่น ชาวไทย อีสาน ลาว
เวียดนาม (ญวน) เขมร ส่วย (กุย) แสก ย้อ ภูไท กะโส้ (โซ่) รวมทั้งไทยโคราช ซึ่งแต่ละเผ่ามี
6
ความแตกต่างกันทั้งทางด้านภาษา ศลิ ปวัฒนธรรม ประเพณี วถิ ีชีวติ ความเป็นอยู่ ความยึดมั่น
ในจารีตประเพณี ซึ่งล้วนแล้วแต่สอนให้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ให้หมั่นร่วมกิจกรรม
สงั คมและงานบญุ กุศลเป็นประจำ ทำใหก้ ลุ่มชนต่าง ๆ อยรู่ ่วมกันอย่างเปน็ สุขตราบจนปัจจุบัน
ประชากรส่วนใหญ่มีความขยันขันแข็ง มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ จิตใจผ่องใส
อ่อนโยน เวลาที่ว่างจากการทำนามักคิดค้นสร้างสรรค์งานศิลป์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ผ้าไหม
ลาย ผา้ ฝา้ ยทอมือ ข้าวของเคร่อื งใช้ เคร่อื งจักสาน และเครอ่ื งปน้ั ดนิ เผา เพอื่ ใช้เองในครวั เรือน
และแลกเปลี่ยนระหว่างกันในชุมชน เมื่อผลิตได้เป็นจำนวนมากก็ออกจำหน่ายสร้างรายได้แก่
ครอบครัวอีกทางหนง่ึ
จากสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่มีวัฒนธรรมการรวมกลุ่มประกอบอาชีพนี้เอง ทำให้
ลักษณะการฟ้อนรำของชาวอสี านมีความสนกุ สนาน ประกอบกับจงั หวะเพลงท่เี ร้าใจเพ่ือให้เกิด
การตื่นตัวในการทำงาน และเร่งให้รีบทำภารกิจให้เสร็จแข่งกับอากาศที่ร้อนอบอ้าว อีกทั้งยัง
แสดงให้เห็นถงึ ความสามัคคีและการรว่ มแรงร่วมใจในการจัดงานบุญประเพณีที่มีมาโดยตลอด
อีกด้วย
1.3 ประเพณีท้องถนิ่
ภาคอีสานมีประเพณีท้องถิ่นเป็นลักษณะพิธีกรรมตามปฏิทิน คือ ในแต่ละเดือนจะมี
ประเพณีหรือพิธีกรรมเรียงลำดับติดต่อกันไปทุกเดือนจนครบทั้ง 12 เดือน เรียกว่า “ฮีตสิบสอง”
คำว่า“ฮีต” เป็นภาษาลาว ซึ่งลาวเอามาจากคำศัพท์ของภาษาบาลีว่า “จาริตต” อ่านว่า จา-ริด-ตะ
แล้วชนชาวลาวและไทอีสานก็นำมาใช้ในภาษาของตนว่า “จาฮีต” ต่อมากร่อนคำ โดยตัดคำหน้า
คือ “จา” ออก เหลอื “ฮตี ” คำเดียวโดด ๆ ซึ่งพจนานกุ รมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525
ได้ให้ความหมายไว้ว่า “จารีต” เป็นคำนาม แปลว่า ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน ส่วน
“จารีตประเพณี” มีความหมายว่า “ระเบียบประเพณีที่นิยม และประพฤติกันสืบมา ถ้าฝ่าฝืน
ถือวา่ เป็นความผดิ เป็นชัว่ ” (บญุ เกิด พิมพ์วรเมธากุล, 2544 : 1)
ฮตี สิบสองทีช่ าวอีสานถอื ปฏิบตั แิ ละสบื ทอดมาถงึ ปัจจุบัน ประกอบด้วย
7
เดือนท่ี 1 (เดอื นอา้ ย) บญุ ขา้ วกรรม เปน็ พิธสี ำหรบั ภิกษุสงฆ์ เพื่อการปฏิบัติตนให้พ้น
จากอาบตั กิ ิเลสตา่ ง ๆ มกี ารให้ทานรกั ษาศีลภาวนาและแผ่เมตตา
ภาพท่ี 1.2 แสดงพธิ กี รรมบญุ เขา้ กรรม
ทีม่ า : https://www.norkaew.net.
เดือนที่ 2 (เดือนยี่) บุญคูนลาน เมื่อนวดข้าวในลานเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะทำบุญให้ทาน
เพ่ือความเปน็ สิรมิ งคลแกต่ นเอง ครอบครวั และหม่บู า้ น ก่อนนำขา้ วเปลอื กมาเก็บไวใ้ นยุ้งฉาง
ภาพท่ี 1.3 แสดงพธิ กี รรมบญุ คณู ลาน
ทีม่ า : https://www.norkaew.net.
8
เดือนท่ี 3 บญุ ขา้ วจ่ี กำหนดพธิ ีกนั ในกลางเดือน โดยการนำข้าวมา “อัง” หรอื “จี่ไฟ”
ให้สุก ชาวบ้านจะรวมตัวกันทำที่หมู่บา้ นหรอื ตามบ้าน หรือไปรวมกันทำทีว่ ัด เมื่อทำเสร็จแลว้
จึงนำถวายใหพ้ ระภิกษุหรอื สามเณรไดฉ้ นั พรอ้ มกับอาหารคาวหวานอื่น ๆ
ภาพท่ี 1.4 แสดงพธิ ีกรรมบญุ ขา้ วจี่
ท่ีมา : https://www.norkaew.net.
เดอื นท่ี 4 บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ มกี ารฟงั เทศนเ์ ร่อื งพระเวสสนั ดรชาดกถอื ว่าเป็น
การทำบญุ มหากศุ ลท่ยี ่ิงใหญ่ พทุ ธศาสนิกชนไปร่วมทำบญุ กนั ทีว่ ัดกนั อย่างมากมาย
ภาพท่ี 1.5 แสดงพิธกี รรมบญุ เผวส
ที่มา : https://www.norkaew.net.
9
เดือนที่ 5 บุญสงกรานต์ ตักน้ำที่สะอาดเจือด้วยน้ำหอมนำไปสรงพระพุทธรูป
พระภิกษสุ งฆ์ สามเณร และผหู้ ลักผ้ใู หญท่ เี่ คารพนับถือ เริม่ ตง้ั แต่ขึ้น 15 ค่ำ เดอื น 5 ไปถึง 15 คำ่
เดอื น 6 เพ่ือความเปน็ สริ ิมงคลแก่ตนเอง มกี ารก่อเจดยี ์ทราย การปลอ่ ยนกปล่อยปลาหรือสิ่งท่ีมีชีวิต
มีพธิ ที ำบุญเลี้ยงพระเพล เสร็จแล้วมีการเล่นฟอ้ นรำขับรอ้ งและสาดน้ำกันเป็นที่สนุกสนาน
ภาพท่ี 1.6 แสดงพธิ กี รรมบญุ สงกรานต์
ทม่ี า : https://www.norkaew.net.
เดือนที่ 6 บุญบั้งไฟ หลังจากทำบุญกุศลที่วัดเสร็จแล้ว ตอนบ่ายจะมีพิธีจุดบั้งไฟเพ่ือ
บวงสรวงพระยาแถนเทวดาบนทอ้ งฟ้าบนั ดาลให้ฝนตก เพื่อชาวนาจะได้ทำนาในฤดตู อ่ ไป
ภาพที่ 1.7 แสดงพธิ กี รรมบญุ บ้ังไฟ
ทม่ี า : https://www.norkaew.net.
10
เดือนที่ 7 บุญซำฮะ คำวา่ “ซำฮะ” ก็คือ “ชำระ” หมายถึง การชำระส่งิ ท่ีรกรุงรังให้หมดมลทิน
ทำโดยชำระเครอ่ื งเศรา้ หมองตา่ ง ๆ โดยเฉพาะผา้ น่งุ ผา้ ห่ม เครอ่ื งใชท้ ส่ี กปรกต่าง ๆ ใหส้ ะอาด
และยงั ตอ้ งทำบญุ ทำทาน รา่ งกายและจติ ใจจะได้ผ่องใสอยู่เยน็ เป็นสุข
ภาพท่ี 1.8 แสดงพิธีกรรมบญุ ซำฮะ
ท่มี า : https://www.norkaew.net.
เดอื นที่ 8 บญุ เข้าพรรษา พทุ ธศาสนิกชนจะไปรว่ มทำบุญที่วดั มีเครอ่ื งถวายสักการะทส่ี ำคัญ
คือ เทียนพรรษา โดยจะหลอ่ เทยี นและแกะสลักเทยี นเปน็ ลวดลายตกแตง่ ประดบั ประดาอย่างสวยงาม
เพื่อประกวดประชันกัน แต่ละพื้นที่จะจัดขบวนแห่ไปยังวัดกำหนดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
หรือวนั แรม 1 คำ่ เดือน 8
ภาพที่ 1.9 แสดงพิธกี รรมบญุ เขา้ พรรษา
ทม่ี า : https://www.norkaew.net.
11
เดือนที่ 9 บุญขา้ วประดบั ดิน กำหนดพธิ ใี นวนั แรม 14 คำ่ เดอื น 9 ที่เรยี กกนั ว่า“ข้าวประดับดิน”
โดยการนำข้าวห่อ ขนมหวาน หมากพลู บุหรี่ ไปวางไว้บนพื้นดินตามที่ต่าง ๆ เป็นการทำบุญอุทิศให้แก่
ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว เมื่อทำบุญเรียบร้อยก็เลี้ยงอาหารกันในครอบครัวและแจกจ่ายไปให้
ญาติมิตรทีเ่ คารพนบั ถอื โดยในวันนี้ชาวบ้านจะพากันเขา้ วดั รักษาศลี ฟงั ธรรมเทศนาดว้ ย
ภาพที่ 1.10 แสดงพธิ ีกรรมบญุ ขา้ วประดบั ดิน
ทม่ี า : https://www.norkaew.net.
เดอื นท่ี 10 บุญขา้ วสาก คำวา่ “ข้าวสาก” ก็คือ “ขา้ วสลาก” พธิ นี ท้ี ำกนั ในวนั ขน้ึ 15 คำ่ เดอื น 10
ชาวบ้านจะทำข้าวต้มเล้ียงดแู ลแจกจ่ายกัน และนำสำรับกบั ข้าวและเครื่องไทยทานไปถวายพระภกิ ษุ
ในตอนเพล เขียนสลากบอกชื่อเจ้าของสำรับกับข้าวแล้วใส่ในบาตร พร้อมกับนิมนต์ให้พระภิกษุ
ตลอดจนสามเณรเป็นผูจ้ ับสลากพระภกิ ษรุ ปู ใดได้สลากของใครก็จะได้รับกับขา้ วและเคร่อื งไทยทานของผู้นน้ั
ภาพที่ 1.11 แสดงพธิ ีกรรมบญุ ขา้ วสาก
ท่มี า : https://www.norkaew.net.
12
เดือนที่ 11 บุญออกพรรษา ตรงกับ 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นโอกาสของพุทธศาสนิกชน
จะไดแ้ สดงความเลอ่ื มใสในพระพทุ ธศาสนาครง้ั ใหญ่ ชาวบ้าน พระสงฆ์ และสามเณรจะชว่ ยกัน
ทำไต้ประทีปขึน้ ตรงหน้าพระอุโบสถ แล้วนำประทีปธปู เทยี นมาจุดบชู าพระรัตนตรัยเป็นเวลา 3 วนั 3 คนื
ภาพที่ 1.12 แสดงพธิ กี รรมบญุ ออกพรรษา
ทม่ี า : https://www.norkaew.net.
เดอื นท่ี 12 บุญกฐิน ชาวบ้านจะพากนั ทำบุญกฐนิ หลงั ออกจากพรรษา ซง่ึ ถือตามคตินิยม
ในทางพุทธศาสนา นอกจากบุญกฐินแลว้ ก็ยังมีบุญทอดผา้ ป่า โดยบญุ ทอดผา้ ป่านี้ไมไ่ ด้กำหนด
ตามเวลา คือ เจ้าของหรือเจ้าภาพกำหนดทำพิธีเม่ือไรกไ็ ด้ (เครอื จิต ศรีบนุ นาค, 2554 : 66-67)
ภาพที่ 1.13 แสดงพิธีกรรมบญุ กฐนิ
ที่มา : https://www.norkaew.net.
13
1.4 ข้อมูลเบื้องต้นของจังหวัดกาฬสินธุ์
กาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสานของประเทศไทย
ดังคำขวัญที่ว่า “หลวงพ่อองค์ดำลือเลื่อง เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย
ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสารส์ ตั วโ์ ลกลา้ นป”ี
ภาพที่ 1.14 อนสุ าวรียพ์ ระยาชยั สนุ ทร (เจ้าโสมพะมิตร)
ทม่ี า : ทัศนยี ์ ศิวบวรวัฒนา, 2562.
1.4.1 ประวตั ิ
ตามหลักฐานทางประวตั ศิ าสตร์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1600 บริเวณจังหวัดกาฬสินธ์ุ
ในปัจจุบัน เดิมเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวละว้า ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2320 ได้มีการอพยพ
ผู้คนจากดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ข้ามมาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำก่ำ แถบบ้าน
ผ้าขาวพันนาหนองหาร พระธาตุเชิงชุม เมืองพรรณนานิคม ครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัด
กาฬสินธ์ใุ นปัจจบุ นั
การอพยพดังกล่าวเกิดจากพระเจ้าวรวงศ์เวียนนา แห่งแขวงนครเวียงจันทน์ได้สิ้นพระชนม์ลง
โอรสเจา้ เพีย้ แหง่ เมืองแสน ถือโอกาสเขา้ ยึดแขวงนครเวยี งจันทน์ สถาปนาตนเองข้นึ เป็น“พระเจ้าศริ ิบุญสาร”
แต่เมื่อขึ้นครองราชย์สมบัติ ก็ทรงกดขี่ข่มเหงเบียดเบียนอาณาประชาราษฎร์จนเป็นที่เดือดร้อนแสนสาหัส
ทัว่ ไป เจ้าโสมพะมิตรและอุปฮาด (อุปราช) แห่งเมอื งแสนฆ้องโปงและเมืองแสนหน้าง้ำ ได้เกิดขัดใจ
กบั พระเจ้าศริ ิบุญสาร จงึ ไดร้ วบรวมผคู้ นเปน็ สมัครพรรคพวก อพยพข้ามลำน้ำโขงมาทางบริเวณ
ของจังหวัดกาฬสินธุ์ พระเจ้าศิริบุญสารได้ยกกองทัพติดตามมา เพื่อกวาดต้อนผู้คนให้กลับคืนสู่
แขวงนครเวียงจนั ทน์ ทำให้เจ้าโสมพะมิตรและพรรคพวกอพยพหนตี ่อ และแยกออกเป็น 2 พวก
14
พวกแรกอพยพเข้าสู่แขวงจำปาศักดิ์ และอพยพต่อไปสู่บริเวณเกาะกลางแมน่ ้ำมลู
ช่อื ว่า “ดอนมดแดง” ในท้องท่จี งั หวดั อุบลราชธานีปัจจุบนั
พวกที่สอง เจ้าโสมพะมิตรได้นำผู้คนข้ามเทือกเขาภูพานลงมาทางทิศใต้จนถึง
บรเิ วณลำน้ำปาว แลว้ จึงพบวา่ บริเวณแก่งสำโรงและดงสงเปือยมีนำ้ และดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะต่อการ
สรา้ งแปลงเมือง จึงอพยพผู้คนมาตง้ั บ้านเรือนโดยสรา้ งศาลหลักเมอื งขนึ้ ณ ทต่ี ั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
กาฬสนิ ธป์ุ ัจจบุ ัน และตั้งตวั เปน็ อิสระไม่ข้ึนต่อใครอยู่มาไดป้ ระมาณ 10 ปี
ตอ่ มา พ.ศ. 2336 เจ้าโสมพะมิตรได้นำเครื่องบรรณาการ คอื กาน้ำสัมฤทธ์ิ เข้าถวาย
สวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี
และกราบทูลขอตั้งบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง ได้รับพระราชทานนามว่า “กาฬสินธุ์” และได้
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เจ้าโสมพะมิตรเป็น “พระยาชัยสุนทร” ครองเมือง
กาฬสนิ ธุ์เป็นคนแรก (ไพโรจน์ เพชรสังหาร, 2525 : 58-68)
ภาพท่ี 1.15 แผนทจี่ ังหวัดกาฬสินธ์ุ
ทมี่ า : http://www.kalasin.go.th.
15
1.4.2 ที่ตงั้ และอาณาเขต
จังหวัดกาฬสินธต์ุ ั้งอย่บู ริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ
ราว 520 กโิ ลเมตร มพี ื้นท่ีท้ังหมด 7,652 ตารางกโิ ลเมตร มีอาณาเขตตดิ ตอ่ กบั จงั หวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกบั จังหวดั อุดรธานีและสกลนคร
ทศิ ใต้ ติดตอ่ กับจงั หวัดรอ้ ยเอ็ดและมหาสารคาม
ทิศตะวนั ออก ติดตอ่ กบั จังหวัดสกลนครและมุกดาหาร
ทิศตะวันตก ตดิ ตอ่ กับจังหวัดขอนแก่น และมหาสารคาม
1.4.3 ลักษณะภูมศิ าสตร์
สว่ นมากประกอบด้วยป่าไม้ เทอื กเขาและเนินเขา พื้นทร่ี าบสำหรับการเกษตรกรรมมีน้อย
โดยจังหวัดกาฬสินธุ์สามารถแบ่งพ้ืนที่ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ดังนี้
1.4.3.1 พืน้ ท่ตี อนบน
ประกอบดว้ ย 4 อำเภอ ไดแ้ ก่ อำเภอทา่ คันโท อำเภอเขาวง อำเภอคำม่วง และ
อำเภอสามชัย ซึ่งพืน้ ท่ีเหลา่ นเ้ี ปน็ บริเวณของเทอื กเขาภูพาน มภี เู ขาสลบั ซับซ้อน และมีที่ราบระหว่าง
หบุ เขาสลับกับปา่ ทบึ คือ ปา่ ดงมลู และปา่ ดงแฝก พื้นทบ่ี รเิ วณน้นี ับวา่ เปน็ แหล่งต้นน้ำลำธารสำคัญ
ท่หี ลอ่ เล้ยี งจังหวัดกาฬสนิ ธุ์ ไดแ้ ก่ ลำน้ำปาว ลำนำ้ พาน นอกจากน้ยี งั มเี ข่อื นลำปาวซ่ึงเป็นเขื่อนดิน
ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยไว้สำหรับเก็บน้ำเพอื่ การเกษตรกรรมท้ังในและนอกฤดูกาลอีกดว้ ย
1.4.3.2 พนื้ ที่ตอนกลาง
ประกอบด้วย 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองกุงศรี อำเภอนาคู อำเภอสมเด็จ
อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอห้วยเม็ก อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอนามน มีพื้นท่ี
เปน็ เนนิ เขาสลับปา่ โปรง่ และทุ่งราบ
1.4.3.3 พื้นท่ตี อนลา่ ง
ประกอบด้วย 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอยางตลาด อำเภอกมลาไสย อำเภอร่องคำ
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอดอนจาน และอำเภอฆ้องชัย มีพื้นที่เป็นที่ราบต่ำ มีบึงและหนองน้ำ
เป็นแหล่งเพาะปลูกสำคญั ของจังหวดั โดยได้รับนำ้ จากโครงการชลประทานเข่ือนลำปาว และลำนำ้ ชี
1.4.4 ประชากร
จังหวัดกาฬสนิ ธุ์นับว่าเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งของภาคอีสาน
ซง่ึ มคี ำขวัญกล่าวไว้วา่ “กาฬสินธุ์ดินดำน้ำซุ่ม ปลากมุ่ บ้อนคอื แขแ่ ก่งหาง ปลานางบ้อนคือขางฟ้าล่ัน
จักจั่นฮ้องคือฟ้าล่วงบนแตกจ้นจ้น คนปีบโฮแซว มีซูอันซูแนวแอ่นระบำรำฟ้อน” สภาพทางสังคม
ส่วนใหญ่ยังคงความเป็นชนบทเอาไว้ การประกอบอาชีพยังคงรักษาจารีตประเพณีดั้งเดิม
ประชากรสว่ นใหญเ่ ปน็ ชาวอสี าน นบั ถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด และยึดถอื “ฮีตสิบสอง คองสบิ สี่”
เปน็ หลักในการประกอบประเพณที เี่ กี่ยวกับจริยธรรมตลอดปี
16
1.4.5 สถานที่สำคัญ
1.4.5.1 สถานที่เกย่ี วกบั ธรรมชาติ
1) เขื่อนลำปาว เป็นเขื่อนดินที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีธรรมชาติท่ี
งดงาม อยู่ในเขตอำเภอเมืองยางตลาด ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 30 กโิ ลเมตร
ภาพที่ 1.16 เขือ่ นลำปาว
ที่มา : ทศั นยี ์ ศิวบวรวัฒนา, 2562.
2) หาดดอกเกด อยู่บริเวณเขื่อนลำปาว เป็นหาดทรายกว้างยาว มสี วนไม้ดอกไม้
ประดับ เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เพราะมีความสวยงามตามธรรมชาติ
นอกจากน้ียงั มศี ูนยเ์ พาะพนั ธุป์ ลาและพิพธิ ภณั ฑ์สัตว์น้ำอีกดว้ ย
ภาพท่ี 1.17 หาดดอกเกด
ที่มา : ทศั นีย์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.
17
3) นำ้ ตกแก้งกะอาม อยู่ในเขตตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ เปน็ นำ้ ตกท่ีมีหิน
เรยี งเป็นแนวยาวดูแปลกตา และมลี านหนิ กวา้ ง บริเวณรอบ ๆ มีถ้ำเล็ก ๆ อย่หู ลายแห่ง โดยสถานท่ีนี้
ใกล้เสน้ ทางคมนาคมทำให้สามารถเดินทางมาท่องเทีย่ วได้อย่างสะดวกสบายตลอดทัง้ ปี
ภาพที่ 1.18 น้ำตกแกง้ กะอาม
ทีม่ า : ธนิดา ขันโอฬาร, 2562.
4) ผาเสวย อยบู่ นเทือกเขาภูพาน อำเภอสมเด็จ เดิมชาวบ้านเรียกว่า “ผารังแร้ง”
จนเมื่อ พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
(รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เสด็จผ่านและเสวยพระกระยาหารกลางวัน จึงเรียกที่ประทับแห่งนั้นว่า “ผาเสวย” มีลักษณะ
หน้าผาสูงชนั ต้งั อยู่บนเหวลกึ บนผาเสวยสามารถชมทศั นียภาพและเปน็ ที่พกั ผ่อนหย่อนใจได้
ภาพท่ี 1.19 ผาเสวย
ทม่ี า : ทัศนีย์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.
18
5) สวนสะออน เป็นสวนป่าธรรมชาติอย่ทู างทิศเหนือของเขื่อนลำปาว มีการ
ปรบั ปรงุ บรเิ วณโดยรอบและปลูกตน้ ไมเ้ พ่ิมเติมเพื่อความสะอาดร่มรื่น ภายในสวนสะออนแบ่งออกเป็น
ส่วน ๆ โดยสร้างรั้วตาข่ายล้อมรอบ มีสัตว์ป่าในเมืองไทยไว้ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมและศึกษา
โดยมีสัตว์ทสี่ ำคัญคือ ววั แดง ซงึ่ เปน็ สตั ว์ที่ใกลจ้ ะสูญพนั ธุ์
ภาพที่ 1.20 สวนสะออน
ทม่ี า : ทัศนยี ์ ศิวบวรวัฒนา, 2562.
6) สะพานเทพสุดา ได้รับพระราชทานช่ือจากสมเด็จพระกนิษฐาธริ าชเจ้า
กรมสมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวนั ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 และ
ทรงรับเชิญเสด็จฯ เปิดสะพานอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
โดยสะพานแห่งนี้เริ่มก่อสร้างเม่ือ พ.ศ. 2549 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีครึ่ง ตั้งอยู่บริเวณ
แหลมโนนวเิ ศษ ตำบลโนนบรุ ี เชอื่ มการเดินทางระหว่างอำเภอสหสั ขนั ธ์กบั อำเภอหนองกรุงศรี
นบั วา่ เป็นสะพานข้ามอ่างเกบ็ น้ำจดื ท่ยี าวที่สุดในประเทศไทย
ภาพที่ 1.21 สะพานเทพสดุ า
ท่ีมา : ทศั นีย์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.
19
1.4.5.2 สถานท่ที างประวตั ศิ าสตร์
1) เมืองฟ้าแดดสูงยาง อยู่ในอำเภอกมลาไสย เป็นเมืองโบราณที่มีซากอิฐ
ปนดินขอบคูเมืองมี 2 ชั้น ผังเมืองเป็นรูปไข่แบบทวาราวดี ขุดพบโบราณวัตถุมากมาย เช่น
พระพมิ พ์ดนิ เผา ใบเสมาทง้ั ที่จมดินและปักเปน็ แนว
ภาพท่ี 1.22 เมอื งฟา้ แดดสงยาง
ท่มี า : ทัศนยี ์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.
2) พระธาตยุ าคู หรอื พระธาตุใหญ่ อยู่ในอำเภอกมลาไสย สันนษิ ฐานวา่
สร้างในสมยั ทวาราวดี เปน็ เจดยี แ์ ปดเหลี่ยม มีเจดยี ์เลก็ โดยรอบจำนวน 15 องค์
ภาพที่ 1.23 พระธาตุยาคู
ทม่ี า : ทัศนยี ์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.
20
3) ถำ้ ฝา่ มือแดง อยใู่ นบริเวณของภผู าผ้ึง บา้ นกุดหวา้ อำเภอกุฉินารายณ์ ภูผาผ้ึง
เป็นหนา้ ผาสงู ในอดตี มผี ้ึงมาทำรังเกาะกันเต็มหน้าผา แต่ปจั จบุ นั ไมป่ รากฏใหเ้ ห็นแลว้ บริเวณ
ใกล้กนั มถี ้ำฝา่ มือแดง เปน็ ลักษณะของรอยมือของมนุษย์โบราณประทบั เอาไว้
ภาพท่ี 1.24 ถ้ำฝ่ามือแดง
ท่ีมา : เบญยาภรณ์ บญุ เพ็ง, 2562.
4) วัดปา่ สกั กะวันและภูกุ้มข้าว เป็นแหล่งที่ขุดพบกระดูกไดโนเสาร์มากที่สุด
และอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรัฐบาลได้ให้งบประมาณสนับสนุนจัดต้ัง
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ขึ้น ซึ่งทางจังหวัดได้ขอพระราชทานนามจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารีว่า “พิพธิ ภัณฑ์สิรนิ ทร” อยู่ที่อำเภอสหัสขนั ธ์
ภาพท่ี 1.25 วดั สกั กะวนั และอทุ ยานโลกไดโนเสารภ์ กู ้มุ ข้าว
ท่ีมา : ทัศนยี ์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.
21
1.4.5.3 สถานทที่ างวฒั นธรรม
1) พุทธสถานภูปอ อยู่ในอำเภอสหัสขันธ์ เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์
ภูค่าว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์นอนตะแคงดา้ นซ้าย แขนซ้ายรองพระเศียรแกะสลักตดิ
อยู่กับแผ่นหินบริเวณเงื้อมผา เชื่อว่าเป็นฝีมือของชาวขอมโบราณในสมัยทวาราวดี โดยรอบมี
ทัศนียภาพท่ีงดงามและรม่ ร่นื เหมาะแกก่ ารพักผอ่ นหยอ่ นใจ
ภาพท่ี 1.26 พทุ ธสถานภูปอ
ที่มา : ทศั นีย์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.
2) พทุ ธสถานภสู ิงห์ อยบู่ นยอดเขาภสู ิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ
ร่มรื่น สามารถมองเป็นทิวทัศน์ได้รอบด้าน มีบันไดเดินเท้าขึ้นไปจำนวน 417 ขั้น เป็นสถานที่ประดิษฐาน
พระพรหมภมู ปิ าโล เปน็ พระพทุ ธรูปปางมารวชิ ัยใหญท่ ี่สดุ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มพี ทุ ธลักษณะ
สง่างาม ในทุกปีจะมีงานประเพณีทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ ซึ่งเป็นงานประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
มพี ุทธศาสนกิ ชนทงั้ ในจังหวดั และตา่ งจงั หวัดท่ัวทกุ สารทิศเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก
ภาพท่ี 1.27 พุทธสถานภูสิงห์
ท่ีมา : รุ่งตะวัน จันทรส์ ตู ร, 2562.
22
3) วัดป่ามัชฌมิ าวาส อยู่ที่บ้านดงเมือง อำเภอเมือง เป็นวัดท่ีเงียบสงบ
เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม มีพระพุทธรูปที่สร้างด้วยวัตถุหายากหลายประเภท เช่น หินอ่อน
ขนาดใหญ่ หนิ หยกขนาดใหญ่ และหนิ ทรายขนาดใหญ่
ภาพที่ 1.28 วัดป่ามัชฌิมาวาส
ทีม่ า : ทัศนีย์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.
4) ศูนยศ์ ิลปวฒั นธรรมภูไท อยูท่ อ่ี ำเภอคำม่วง เป็นแหล่งผลิตผ้าไหมแพรวา
ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวภูไทที่ยังคงมีวิถีชวี ิตแบบเดมิ และยังคงรกั ษา
สืบทอดศิลปวัฒนธรรมจากบรรพบรุ ุษจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการทอผ้าไหมแพรวา อันเป็นผ้าไหม
ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดกาฬสินธ์ุ นอกจากจะสามารถเข้าไปศึกษา เยี่ยมชม และเลือกซ้ือ
สินค้าแลว้ ยังมบี ้านเรือนแบบต่าง ๆ ของชาวภไู ทให้เท่ยี วชมหรอื เขา้ พกั ดว้ ย
ภาพท่ี 1.29 ศูนย์ศิลปวฒั นธรรมภูไท
ทมี่ า : ทศั นีย์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.
23
สรุป
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคออีสานเป็นภูมิภาคที่มีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย
จากอาณาเขตที่กว้างขวางจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ภาคอีสานเปน็ ศูนย์รวมของประชากรหลายเชื้อชาติ
มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมประเพณี ซง่ึ ชาวอีสานได้ยดึ จารีตประเพณี “ฮีตสิบสอง”
ไว้เปน็ แบบแผนการดำรงชวี ิตทส่ี ำคัญของชุมชน ด้วยมีความเช่ือวา่ การกระทำนี้จะส่งผลให้เกิด
ความค้มุ ครองจากภยันอนั ตราย เป็นการแสดงออกถงึ ความกตญั ญูต่อธรรมชาตริ วมท้ังบรรพบรุ ษุ
จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 510 กิโลเมตร
จากหลกั ฐานทางประวตั ิศาสตร์ เร่มิ ต้งั เป็นเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ เมอื่ ปี พ.ศ. 2336 โดยเจ้าโสมพะมิตร
ได้อพยพหลบภัยมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงพร้อมไพร่พล และมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำปาว
เรียกว่า "บ้านแก่งสำโรง" แล้วได้นำเครื่องบรรณาการ เข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะบ้านแก่งสำโรง
ขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า "เมืองกาฬสินธุ์" ในจังหวัดมีสถานที่สำคัญต่าง ๆ เช่น
สถานที่เกี่ยวกับธรรมชาติ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ ประชากรส่วนใหญ่นับถอื ศาสนาพุทธ และยึดถอื
“ฮีตสิบสอง” เป็นหลักในการประกอบประเพณีทั้งสิบสองเดือนของทุกปี เช่นเดียวกับประชากรส่วนใหญ่
ในภาคอีสานที่ปฏบิ ัตติ ามจารีตประเพณีในโอกาสตา่ ง ๆ ทัง้ สบิ สองเดือนของแต่ละปี ซ่ึงล้วนแล้วขอให้
ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ร่วมกิจกรรมทางสังคมและงานบุญ ทำให้กลุ่มชนต่าง ๆ อยู่ร่วมกัน
อยา่ งมคี วามสขุ ตราบกระทั่งถงึ ปจั จุบนั
24
25
บทที่ 2 ศิลปะการแสดงพ้นื เมืองอีสาน
ศิลปะการแสดงจัดเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่มคี ุณค่าต่อจิตใจของมนุษย์
ไม่ว่าจะเป็นการแสดงดนตรี การรำ หรือการแสดงละครเป็นเรื่องราว ล้วนเป็นการแสดงถึงวัฒนธรรมที่มี
คุณคา่ อนั แฝงไว้ซ่ึงความงดงามของภูมิปัญญาชาวไทย แตล่ ะการแสดงมีจดุ มุ่งหมายเพื่อความงาม
และความบันเทิง โดยอาจก่อให้เกิดการคิดวิพากษ์ที่นำไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคมได้
ในขณะเดียวกันยังเป็นการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก และวิถชี ีวิตของคนแต่ละท้องถน่ิ ด้วยเชน่ กัน
โดยศลิ ปะการแสดงต่าง ๆ ที่พบในประเทศไทยมีความหลากหลายตามสภาพแวดล้อม
ของแตล่ ะท้องถ่นิ ทีแ่ สดงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อนั สมั พนั ธก์ ับวิถีชีวิตพื้นบ้านที่แสดงออก
ด้วยลีลาท่าทางการฟ้อนที่ชาวบ้านได้คิดประดิษฐ์ขึ้น ทำให้เกิดเป็นชื่อเรียกศิลปะการแสดงประเภทนี้ว่า
“นาฏศิลป์พื้นเมือง” นาฏศิลป์พื้นเมืองแต่ละท้องถิ่นของไทยเป็นรากเหง้าแห่งประวัติศาสตร์
ของมนุษยชาติ บ่งบอกถึงความเป็นอารยธรรมของชนเผ่าได้อย่างชัดเจน (กนกวรรณ หวังร่วมกลาง
และคณะ, 2543 : 1) ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับนาฏศิลป์พื้นเมืองอีสาน เขตพื้นที่
วฒั นธรรมนาฏศลิ ปพ์ ืน้ เมอื งอสี าน การแสดงและพิธีกรรมในฮีตสบิ สองของจงั หวดั กาฬสินธุ์
2.1 ความรเู้ กย่ี วกบั นาฏศิลปพ์ ืน้ เมืองอีสาน
นาฏศิลป์พื้นเมืองอีสานเกิดจากการศึกษาสภาพชวี ิต ความเป็นอยู่ พิธีกรรม ความเช่ือ
การละเล่นต่าง ๆ วรรณกรรมพื้นบ้าน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิต
หรือส่ิงไม่มีชีวิต ก็ล้วนสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นชุดการแสดงได้ ซึ่งการแสดงในแต่ละท้องถิ่น
กม็ คี วามแตกตา่ งกนั ขึ้นอยกู่ ับปัจจัยทางสังคมทไ่ี ดย้ ดึ ถือและปฏิบตั กิ นั
โดยการแสดงพื้นเมืองอีสานได้สะท้อนวัฒนธรรมของกลุ่มชนในอีสานเหนือและ
อีสานใต้ ทำให้มีสีสันและความหลากหลาย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ เพลงพื้นบ้านอีสาน
ได้แก่ เพลงเซิ้งบั้งไฟ เพลงเซิง้ นางแมว และเพลงโคราช ละครพื้นบ้าน ได้แก่ หมอลำ หนังประโมทยั
และลิเกเขมร ประเภทสดุ ท้ายคือฟอ้ นพนื้ บ้าน ซ่ึงเป็นการแสดงท่ีมจี ำนวนมากที่สดุ
การแสดงแบบต่าง ๆ ของอีสานมีเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น ซึ่งจะทราบได้จาก
รายละเอียดต่าง ๆ เช่น จากการบรรเลงลายเพลงของเคร่ืองดนตรพี ื้นบ้านอีสาน อันประกอบไปดว้ ย
แคน โปงลาง พิณ โหวด กลอง ไหซอง สะไน กบ๊ั แก้บ ซอพ้ืนเมอื ง หนื และป่กี ู่แคน จากการแต่งกาย
ของผู้แสดงหญิง คือ สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลม ผ่าหน้า ติดกระดุม จะนุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ครึ่งน่อง
26
หรือยาวกรอมเท้า ห่มผ้าสไบแพรวา ผมเกล้ามวย ทัดดอกไม้ ส่วนการแต่งกายของผู้ชาย คือ
สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งโสร่ง ผ้าลายตาหมากรุก หรือนุ่งกางเกงขาก๊วย สำเนียงภาษาที่ใช้
ประกอบการขับร้องเป็นภาษาอีสาน นอกจากนี้ ลักษณะลีลาและท่ารำยังมีความเป็นอิสระสูงมาก
คือไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์อย่างชัดเจนเหมือนการร่ายรำทางภาคกลาง ซึ่งยึดถือกลอนตำราเป็นหลัก
แต่ปัจจุบันนี้ ฉวีวรรณ ดำเนิน ได้หยิบยกกลอนแม่บทอีสาน 32 ท่า (ปัจจุบันมี 48 ท่า) มาเป็นพื้นฐาน
ในการฟ้อนรำเพื่อเป็นแนวทางแล้ว (พจมาลย์ สมรรคบุตร, 2538 : 41)
ยุทธศิลป์ จุฑาวิจิตร (2539 : 87-89) กล่าวว่า นาฏศิลป์พื้นเมืองอีสานสามารถแบ่งตาม
วัตถปุ ระสงคไ์ ด้ ดังน้ี
2.1.1 นาฏศลิ ป์กับประเพณพี ธิ กี รรมความเชอื่
ในสมัยโบราณไม่มีสถาบันที่จะให้สังคมยึดถือเป็นบรรทัดฐาน มีเพียงความเชอ่ื
ประเพณี พิธีกรรม ที่ผู้นำในสังคมกำหนดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างกำลังใจให้กับ
ชุมชนเวลาที่เกิดความหวาดกลัวจากผลกระทบของธรรมชาติ เช่น ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ความแห้งแล้ง ซึ่งเชื่อว่า
เป็นการกระทำของเทพเจ้าหรือแถน จากสิ่งเหล่านี้เอง ศิลปินอีสานจึงได้คิดประดิษฐ์เป็น
นาฏยศิลปต์ ่าง ๆ เช่น ฟอ้ นเซียงข้อง ดึงครกดึงสาก นางดง้
2.1.2 นาฏศลิ ปก์ บั วรรณกรรม
วรรณกรรม เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษที่ได้เรียบเรียงขึ้นจากจินตนาการ
หรอื จากชาดกทางพุทธศาสนา โดยมวี ัตถุประสงค์เพื่อสร้างความบันเทิง พรอ้ มกับสอดแทรกคำสอน
ด้านตา่ ง ๆ ให้เปน็ แนวทางในการปฏิบัติตนในสังคม วรรณกรรมของชาวอีสานนอกจากจะถ่ายทอดสู่ชุมชน
โดยการอ่านและการเล่าขานต่อ ๆ กันแล้ว ศิลปินชาวอีสานยังมีวิธีการถ่ายทอด โดยอาศัยวิธีการ
ของนาฏศิลป์เข้าไปช่วยเพื่อให้มองเห็นรูปธรรมได้ชัดเจน เช่น การฟ้อนมโนราห์เลน่ น้ำ จากวรรณกรรม
เรื่องสีทนมโนราห์ การฟ้อนสังข์สินไชย (ฟ้อนกกขาขาว) จากวรรณกรรมเรื่องท้าวสินไชย การเซิ้งบั้งไฟ
ที่นอกเหนือจากการที่มีมาจากประเพณีพิธีกรรม แล้วยังมีพื้นฐานและความเป็นมาจากวรรณคดีอีสาน
เรื่องผาแดงนางไอด่ ้วย
2.1.3 นาฏศิลป์กบั การประกอบอาชีพ
นาฏศิลป์ที่มาจากพืน้ ฐานการประกอบอาชีพของชุมชนลว้ นแต่เป็นนาฏศิลป์ที่เกิดข้นึ ใหม่
เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าของวัฒนธรรม นักวิชาการ ศิลปินในสาขาต่าง ๆ ศิลปินอิสระ และ
สถาบันการศึกษาต่าง ๆ จึงได้ประดิษฐ์คิดค้นท่าฟ้อนจากลักษณะในการประกอบอาชีพของชุมชน
อีกทั้งได้มีการเพิ่มเติมแต่งให้มีลีลาท่าทางที่สวยงาม ทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความซาบซึ้งประทับใจ
สามารถมองเห็นสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนในอดีตได้ เช่น การฟ้อนทำนา การฟ้อนเก็บขิด
การฟอ้ นสาวหลอก การฟอ้ นเก็บฝา้ ย การฟอ้ นไทภเู ขา และการฟอ้ นครกมอง
27
2.1.4 นาฏศิลป์กับการละเล่น
การละเล่นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่บรรพบุรุษของชุมชนได้สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อเป็น
กิจกรรมในการพัฒนาสังคม โดยจะแฝงไปด้วยจิตวิทยาและปรัชญาในการดำรงชีวิต เพื่อเป็น
การฝกึ ฝนให้ชมุ ชนมปี ระสบการณ์และรู้จักแกป้ ัญหาต่าง ๆ การละเล่นแบง่ ออกเป็น 3 ระดบั คือ
2.1.4.1 การละเล่นสำหรับเดก็
เป็นการเล่นง่าย ๆ ไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อน เพื่อฝึกให้เด็กมีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ มีความหวงแหนในสิ่งที่ตนมีอยู่ เช่น การเล่นเฮือนน้อย การเล่นขายของ การเล่นหมากเก็บ
การเลน่ งกู นิ หาง และการเล่นหมากเก็บ
2.1.4.2 การละเลน่ สำหรับหนุม่ สาว
พัฒนามาจากการละเลน่ สำหรับเดก็ แต่เพมิ่ กระบวนการใหซ้ ับซ้อน
มากขึ้น เพื่อแสดงถึงความสามารถของตนเอง การละเล่นของหนุ่มสาวส่วนใหญ่จะออกไป
ทางการเกี้ยวพาราสี การแข่งขัน การชิงดีชิงเด่น เช่น การเล่นหมากตี่ การเล่นหมากลี่ (ซ่อนหา)
การลงขว่ งผญา (โตต้ อบผญา แสดงปฏภิ าณและไหวพริบเพื่อเกี้ยวสาว) และการฟ้อน
2.1.4.3 การละเล่นสำหรับผูใ้ หญแ่ ละผู้สูงอายุ
ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ผ่านโลกมามาก มีประสบการณ์ในการ
ดำรงชีวิตสูง แต่กำลังวังชาเริ่มถดถอยลงไป ดังนั้นการละเล่นจึงออกมาในรูปแบบของการเตือนสติ
และสอนใจแกอ่ นุชนรนุ่ หลัง เช่น การแข่งขันตอบปัญหาธรรม แขง่ จ่ายผญา และการเล่านิทานกอ้ ม
2.1.5 นาฏศิลปก์ บั การเลียนแบบธรรมชาติ
จากการที่ชุมชนมีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ ทำให้รู้จักสังเกตอากัปกิริยาหรือ
พฤติกรรมของส่งิ ต่าง ๆ ในธรรมชาติ แลว้ นำมาปรับปรุงเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เชน่ การเลียนแบบวธิ ี
ที่เสือแอบซุ่มตะปบเหยื่อเพือ่ ใช้ในการดักจบั สัตว์มาเป็นอาหาร การเลียนแบบเสยี งนกเสยี งกา
เมื่อเริ่มมีการเลียนแบบอิริยาบถหรือลักษณะจากธรรมชาติแล้ว แต่ละชุมชนก็ได้นำการ
เลียนแบบธรรมชาติมาปรับปรุงเป็นลายหรือทำนองของการบรรเลงดนตรีหรืออิริยาบถในทาง
นาฏศิลป์อีกมากมาย เช่น มวยโบราณจากจังหวัดนครพนม เรือมกระโน้บติงตอง (รำตั๊กแตน
ของชาวอีสานใต้) ท่าฟ้อนรำของชาวผู้ไทยจังหวัดนครพนม โดยเฉพาะท่าฟ้อนรำซึ่งจะ
เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน มี 16 ท่า แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ ท่าที่พัฒนามาจากวิถีชีวิต
ของชาวผู้ไทย ท่าที่เลียนแบบกิริยาอาการของสัตว์ และท่าที่เลียนแบบจากต้นไม้ใบหญ้า
(นงเยาว์ อำรุงพงษ์วัฒนา, 2541 : บทคัดย่อ) ทางด้านดนตรีก็เกิดลายดนตรีที่เลียนแบบ
ธรรมชาติ เชน่ ลายนกไซบินขา้ มทุ่ง ลายลมพัดพรา้ ว ลายลมพัดไผ่ และลายสดุ สะแนน
28
2.2 เขตพื้นทีว่ ัฒนธรรมนาฏศิลป์พน้ื เมืองอสี าน
2.2.1 กลุม่ อีสานเหนือ หรอื กลมุ่ วัฒนธรรมลุม่ นำ้ โขง
เริ่มจากบริเวณที่สูงทางด้านใต้และทางตะวันตก ไปจรดแม่น้ำโขงตอนเหนือ
และทางตะวนั ออก เรียกวา่ “แอง่ สกลนคร” ได้แก่ บรเิ วณจงั หวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม
ชัยภูมิ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย มุกดาหาร
ยโสธร บึงกาฬ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ ประชากรส่วนมากใช้ภาษาไทยอีสานหรือภาษาลาว
เพราะสืบทอดวัฒนธรรมจากลุ่มแม่น้ำโขงข้ามมาตั้งภูมิลำเนาในภาคอีสานสมัยรัตนโกสินทร์
เรยี กโดยทั่วไปวา่ กลมุ่ ไทลาว และยงั มีชนกลมุ่ นอ้ ยบางส่วนอาศัยอยู่ คอื ผู้ไท แสก ย้อ โส้ โย้ย ฯลฯ
กลุ่มอีสานเหนอื มีศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรี นาฏศิลป์ และการละครที่เลน่ เป็น
เร่ืองราวเรียกวา่ “หมอลำ” ซง่ึ เปน็ กลุ่มวฒั นธรรมท่ีใหญ่ทส่ี ดุ ในภาคน้ี นอกจากนี้ยังมีการฟ้อน
อ่ืน ๆ เช่น ฟอ้ นตังหวาย ฟ้อนศรโี คตรบรู ณ์ ฟอ้ นสาละวนั และมีการฟ้อนรำของชนกลุ่มน้อยท่ี
อาศัยอยู่ เชน่ ฟ้อนภูไท แสกเตน้ สาก และฟอ้ นไทญอ้ (ชชั วาล วงษ์ประเสริฐ, 2532 : 4-5)
ภาพที่ 2.1 การแสดงแสกเตน้ สาก ของกลมุ่ ชาติพันธ์ุแสก
ที่มา : วชิ ดุ า หอมอ้น, 2562.
2.2.2 กล่มุ อีสานใต้
บริเวณที่ราบตอนใต้ที่เรียกว่า “แอ่งโคราช” ซึ่งได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา
บุรรี ัมย์ สุรนิ ทร์ และศรสี ะเกษ การสืบทอดวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
29