The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว E-book

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by paperhouse.copycenter, 2022-05-05 04:21:50

หนังสือบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว E-book

หนังสือบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว E-book

2.2.2.1 กลมุ่ วัฒนธรรมเขมร-สว่ ย
ชนกลุ่มที่ไดร้ บั สืบทอดวัฒนธรรมจากเขมร-สว่ ย จะพูดภาษาเขมรและส่วย

ได้แก่ ชนส่วนใหญ่ในจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ศิลปะการแสดงมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
ทั้งลลี าท่าทาง การแตง่ กาย และการเลน่ ดนตรีประกอบการฟ้อนรำ มภี าษาเฉพาะที่ไว้ใช้เรียกการแสดง
ของตัวเองว่า กันตรึม (การแสดงดนตรีพื้นบ้าน) การขับร้อง (เจรียง) เรือม (การฟ้อนรำ) เช่น
เรือมอันเร เรือมซันตรูจน์ เรอื มจบั กรับ เรอื มกันตรึม (ชัชวาล วงษป์ ระเสริฐ, 2532 : 2)

ภาพที่ 2.2 การแสดงเรอื มอนั เร
ทีม่ า : วชิ ุดา หอมอน้ , 2562.

2.2.2.2 กลุ่มวัฒนธรรมโคราช
เป็นชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา และบางส่วนในจังหวัด

บุรรี มั ย์ ซง่ึ พูดภาษาโคราช มศี ลิ ปะประจำถ่ิน คือ การรอ้ งเพลงโคราช เป็นการร้องเพลงพ้ืนบ้าน
โต้ตอบระหวา่ งชายและหญิง ซึ่งต้องอาศัยความสามารถเฉพาะตวั ของหมอเพลงหรือผู้รอ้ งเป็น
อย่างสูง มีเนื้อร้องและท่วงทำนองที่เป็นเอกลักษณ์ แสดงถึงวัฒนธรรมของชาวไทยโคราช
(พชร สวุ รรณภาชน,์ 2543 : 122)

ภาพท่ี 2.3 การแสดงเพลงโคราช
ทม่ี า : วิชดุ า หอมอ้น, 2562.

30

2.3 การแสดงและพธิ กี รรมในฮตี สบิ สองของจังหวดั กาฬสนิ ธ์ุ

ฮีตสิบสองเป็นประเพณีทําบุญประจําเดือนของชาวอีสานซึ่งมีมานานแล้ว โดยเชื่อว่า
สิ่งที่เร้นลับต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย รวมถึงความอุดมสมบูรณ์ ความแห้งแล้ง
ความแปรปรวนของฤดูกาลต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละเดือนของฮีตสิบสองจะมีพิธีกรรม การละเล่น และ
นาฏศิลป์พื้นเมืองอยู่ด้วยเสมอ การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ นอกจากสร้างขวัญและกำลังใจ
ใหก้ บั ชมุ ชนแลว้ ยังแฝงไปดว้ ยศิลปะที่ศิลปินอีสานได้หล่อหลอมและดัดแปลงให้เป็นความงาม
ทางด้านนาฏศิลป์อีกด้วย โดยในทีน่ ี้จะขอกล่าวถึงประเพณีฮตี สิบสองของจังหวดั กาฬสนิ ธ์ุ ดงั น้ี

2.3.1 เดอื น 1 ประเพณีบวงสรวงเจ้าปู่กุงศรรี วมของดีถ่ินดงมลู
ศาลเจา้ ปูก่ งุ ศรเี ป็นสถานทศี่ ักด์สิ ิทธ์ทิ ่ีประชาชนชาวอำเภอหนองกงุ ศรใี ห้ความเคารพ

เลื่อมใสศรัทธามาหลายชั่วอายุ ภายในงานจะประดับประดาสถานที่ด้วยธุงหรือธงกว่า 1,000 ต้น
พัดโบกปลิวไสวอย่างสวยงาม มีนางรำแต่งกายชุดพื้นเมืองจำนวนราว 1,500 คน ตั้งขบวนรำบวงสรวง
แสดงความเคารพตอ่ เจ้าปู่หนองกุงศรี นับว่าเปน็ ประเพณีปฏิบัติที่สบื ทอดมาชา้ นาน พร้อมทั้ง
ยังมีมหรสพสมโภชอีกด้วย ทั้งนี้ยังเป็นงานรวมของดีหนองกุงศรี เช่น ผลิตผลทางการเกษตร
สินคา้ OTOP และผลติ ภณั ฑช์ มุ ชนต่าง ๆ เพอื่ กระตนุ้ เศรษฐกจิ ชุมชน อกี ทง้ั ยงั แสดงพลังความสามัคคี
และการมีส่วนรว่ มของสว่ นราชการและภาคเอกชน โดยกำหนดจัดงานในเดือนมกราคมของทุกปี

ภาพที่ 2.4 ประเพณบี วงสรวงเจ้าป่กู งุ ศรรี วมของดถี น่ิ ดงมลู
ทีม่ า : ทศั นีย์ ศิวบวรวัฒนา, 2562.

2.3.2 เดือน 2 ประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงขา้ ว
ปราสาทรวงข้าวที่ชาวบ้านตำบลเหนือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจกัน

สร้างข้ึนต้ังแต่เดือนพฤศจิกายน เพือ่ ให้ทันงานประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าวของวัดเศวตวันวนาราม
ในเดือนกุมภาพันธ์ นับเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีความโดดเด่นแตกต่างจาก
ประเพณีบุญคูณลานทั่วไป แสดงให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคี และการรักษาวัฒนธรรมประเพณี

31

สืบสานตำนานพระแม่โพสพของชาวอีสานอย่างเข้มข้น โดยจะจัดต่อเนื่องกันเป็นประจำ
ในชว่ งระหว่างวนั ท่ี 9-12 กุมภาพันธข์ องทุกปี

ภาพท่ี 2.5 ประเพณีบญุ คณู ลานปราสาทรวงขา้ ว
ทีม่ า : ทศั นีย์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.

2.3.3 เดือน 3 ประเพณีบุญข้าวจ่ี
ขา้ วจ่ี คือข้าวเหนยี วนึ่งใหส้ ุก แล้วนำมาปั้นเปน็ ก้อนประมาณเท่าไข่เป็ดขนาดใหญ่หรือ

ผลมะตูมขนาดกลาง แล้วทาเกลือให้ทว่ั จากนั้นเสียบไม้ย่างไฟหรือจะย่างบนตะแกรงเหล็กก็ได้ พลิกไปมา
ให้สุกเหลืองพอดีจนทั่วจึงเอาออกมาทาด้วยไข่แล้วเอาไปย่างไฟให้สุกอีก เหตุที่ทำข้าวจี่ในช่วงนี้
เพราะเป็นช่วงที่เก็บเก่ียวผลผลิตเสร็จใหม่ๆ ที่ชาวอีสานเรียกว่า “ข้าวใหม่ปลามัน” จะทำให้
ขา้ วหอม เหนียวดี ประกอบกบั อากาศที่หนาว จึงเปน็ โอกาสเหมาะท่ีจะผิงไฟไปด้วยและจ่ีข้าวไป
ด้วย เหตุผลที่ข้าวจี่มีความเกี่ยวข้องกับพระ เป็นเพราะเมื่อมีอาหารดี ชาวบ้านก็มักจะคิดถึงพระ ข้าวจ่ี
เป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ชาวอีสานชอบ และเห็นว่าพระทำเองไม่ได้ จึงได้นำข้าวจี่ไปถวายพระ
และกระทำกันจนปัจจุบัน โดยประเพณีน้ีมุ่งเน้นให้เกิดความปรองดองและความสมัครสมาน
สามคั คีในชุมชน สะท้อนคตคิ วามเชือ่ ผา่ นกรรมวิธีการทำข้าวจ่ี แลว้ นำไปถวายพระ

ภาพที่ 2.6 ประเพณบี ญุ ข้าวจ่ี
ทม่ี า : ทัศนยี ์ ศิวบวรวัฒนา, 2562.

32

2.3.4 เดือน 4 ประเพณีมหาทานบารมบี ุญเผวส
งานจัดขึ้นระหว่างเดือน 3 และเดือน 4 โดยมีวันรวมซึ่งจะมีผู้คนมารวมตัวกันมาก ๆ

ภาษาอีสานเรียกว่า “วันโฮมบุญ” พุทธศาสนิกชนจะช่วยกันตกแต่งศาลาการเปรียญหรือ
สถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอกอย่างละ 1,000 ก้อน
ตั้งธงใหญ่ไว้ 8 ทิศ และมีศาลเล็ก ๆ เป็นที่เก็บข้าว เครื่องคาวหวานสำหรับผี เปรต และมาร
บริเวณรอบ ๆ แขวนผ้าเผวสเปน็ เร่อื งราวของพระเวสสนั ดร ต้ังแตก่ ัณฑท์ ่ี 1 ถึงกัณฑส์ ดุ ทา้ ย

ภาพท่ี 2.7 ประเพณีมหาทานบารมบี ญุ เผวส
ทีม่ า : ทัศนยี ์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.

2.3.5 เดอื น 5 ประเพณบี ุญสงกรานต์
เมื่อถึงวันสงกรานต์ ประชาชนจะตื่นแต่เช้ามืดเพื่อทำอาหารนำไปทำบุญที่วัด

ทุกคนแต่งกายด้วยเส้ือผ้าชุดใหม่สีสันสดใส เมื่อทำบุญตักบาตรแล้ว มีพิธีบังสุกุลอัฐิเพื่ออุทศิ สว่ นกุศล
ไปให้บรรพบุรุษและผู้ล่วงลับนอกจากนั้นยังมีกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ก่อพระเจดีย์ทราย ซึ่งเป็นการขนทราย
เข้าวัดสำหรับใช้ในงานก่อสร้างโบสถ์วิหาร การปล่อยนกปล่อยปลา และที่ขาดไม่ได้ก็คือการสรงน้ำพระ
การรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ รวมไปจนถึงการเล่นสาดน้ำกันด้วยความสนุกสนาน เป็นการ
อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณอี ันดีงามของไทยให้คงอย่ตู ลอดไป

ภาพท่ี 2.8 ประเพณีบญุ สงกรานต์
ที่มา : ทศั นยี ์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.

33

2.3.6 เดอื น 6 ประเพณบี ญุ บ้งั ไฟตะไลล้าน
งานประเพณีบั้งไฟตะไลลา้ นนับเป็นความภาคภูมใิ จของอำเภอกุฉินารายณ์ เป็นภูมปิ ัญญา

ชาวภูไทที่สืบทอดมานาน จัดขึ้นที่อำเภอกุฉินารายณ์ ก่อนฤดูทำนา หรือในเดือนพฤษภาคมของทุกปี
เป็นงานฉลองสนุกสนาน โดยการจุดบั้งไฟเพื่อไปบอกพญาแถน ด้วยเชื่อว่าจะทำให้ฝนตกถูกต้อง
ตามฤดูกาล อีกทั้งยังมีการตกแต่งบ้ังไฟใหส้ วยงามเพื่อนำมาประกวดแห่แข่งขันกันในวันร่งุ ขนึ้
ประเพณีบุญบั้งไฟตะไลล้านของจังหวัดกาฬสนิ ธ์ุ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งในส่วนกระบอกของบัง้ ไฟ
ซึ่งบรรจุดินเชือ้ เพลิงยาวต้ังแต่ 3-6 เมตร และไม้ไผ่สานล้อมรอบตวั กระบอกบั้งไฟ การจุดบั้งไฟก็ตา่ งกบั
บั้งไฟหางทั่วไปที่จุดกันตรงส่วนท้าย เพื่อให้บั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้า เพราะบั้งไฟตะไลล้านของกาฬสินธุ์
จุดทก่ี ลางกระบอก โดยเจาะรเู ชอ้ื เพลิงใหอ้ อกด้านขา้ ง ทำใหบ้ ัง้ ไฟหมุนขนึ้ ทอ้ งฟ้าอย่างรวดเรว็

ภาพที่ 2.9 ประเพณีบุญบงั้ ไฟตะไลลา้ น
ท่มี า : ทศั นีย์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.

2.3.7 เดือน 7 ประเพณีสรงน้ำพระธาตยุ าคู
จัดในชว่ งเดอื น 6 ท่ีอำเภอกมลาไสย พระธาตยุ าคเู ปน็ หน่งึ ในโบราณสถาน ทพ่ี บในเขต

เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ ซงึ่ ชาวบ้านเชอ่ื กันว่า มีพระธาตุท่ีบรรจุอฐั ิของพระเถระชั้นผู้ใหญ่
ทช่ี าวเมอื งเคารพนับถือ จงึ เรยี กกันว่า พระธาตุยาคู (ยาคู ภาษาอีสาน หมายถงึ พระสงฆ์ผู้ใหญ่)
กิจกรรมในงาน มนี ิทรรศการเฮือนอีสานของอำเภอตา่ ง ๆ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและสินค้าพ้ืนเมือง
การแสดงแสง สี เสียง มีขบวนนางรำจากหมู่บ้านต่าง ๆ 1,000 คน สวมเสื้อสีเหลือง ห่มสไบแพรวา
ผา้ น่งุ ตีนแดง ทดั ดอกไมส้ ีเหลืองรำ บูชาพระธาตุยาคู ท่ามกลางทะเลธุงกว่า 1,000 ต้น หลากสีสัน
หลายรปู แบบ สวยงามตระการตา

34

ภาพท่ี 2.10 ประเพณีสรงน้ำพระธาตยุ าคู
ทีม่ า : วไิ ลวรรณ บตุ รพรม, 2562.

2.3.8 เดอื น 8 ประเพณีแห่เทียนพรรษา
เรมิ่ ที่ชาวบ้านร่วมบริจาคเทียนเอามาหลอม เพอ่ื หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน

เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคกี ลมเกลียว ช่างพื้นถ่ินที่มีฝมี ือและความชำนาญจะแกะสลกั
ลวดลายลงบนต้นเทียน ประดับด้วยผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดอกไม้สด ขบวนแห่จะแสดงถึงอัตลักษณ์
ของท้องถิ่น เช่น เครื่องแต่งกายขบวนฟ้อนจะใช้ผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก การฟ้อนรำจะใช้ท่ารำท่ี
ดัดแปลงมาจากวิถีชีวิต หรือการทำมาหากินของชาวบ้าน เช่น เซิ้งกระลอ เซิ้งกระติบ เซิ้งสวงิ
เซ้ิงแหย่ไขม่ ดแดง ใชเ้ ครอ่ื งดนตรปี ระจำถิน่ ผสมกบั การขบั ร้องทสี่ นุกสนาน ประเพณีนีย้ งั จดั ขึ้น
เพื่ออนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนยี มประเพณีของไทย ส่งเสรมิ ให้พุทธศาสนิกชนมโี อกาสได้ร่วม
ทำบุญตักบาตรรักษาศีล สวดมนต์ ฟังธรรม เจริญภาวนา ตั้งจิตอธิษฐาน ทำความดีด้วยการ
ลด ละ เลิกอบายมขุ ท้ังปวง รณรงคใ์ หป้ ระชาชนงดเหล้าครบพรรษา

ภาพท่ี 2.11 ประเพณแี หเ่ ทยี นพรรษา
ทีม่ า : ทศั นยี ์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.

35

2.3.9 เดือน 9 ประเพณีบุญขา้ วประดบั ดนิ
ชาวบ้านจะนำอาหารคาวหวาน ผลไม้ หมากพลู บุหรี่ ใส่ใบตองเป็นห่อเล็ก ๆ

นำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือพื้นดินบริเวณรอบๆ โบสถ์และเจดีย์ เพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศล
ให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยเชื่อว่าจะได้ไม่อดอยากเมื่ออยู่ในภพภูมิอื่น รวมถึงอุทิศส่วนกุศล
ให้กับสัตว์นรกหรือเปรต ให้ทานแก่ผู้ยากไร้ รวมทั้งสัตว์ที่หิวโหย เพราะการตั้งอาหารไว้ตามพืน้ ดิน
ทำให้สตั วเ์ หลา่ นนั้ สามารถกินอาหารได้

ภาพท่ี 2.12 ประเพณีบุญข้าวประดบั ดิน
ที่มา : ทศั นยี ์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.

2.3.10 เดือน 10 ประเพณบี ญุ ข้าวสาก
จดั ตรงกับวนั พระขึ้น 15 คำ่ เดือน 10 ประจำทกุ ปี เพื่อเปน็ การทำบญุ อุทิศส่วนกุศล

ให้ผู้ที่ลว่ งลบั ไปแล้ว โดยชาวบ้านจะนำอาหารคาวหวาน ผลไม้ ข้าวต้มมัด ขนมเทียน ห่อใส่ใบตอง
แล้วนำใส่ตะกร้า จดุ ธปู เทียนกลา่ วถวายข้าวสาก จากนนั้ นำสำรบั อาหารและห่อขา้ วน้อยไปวางหน้า
สถานที่เก็บอัฐิ จุดธูปเทียนเชิญดวงวิญญาณ อุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่ญาติสนิทมิตรสหายและ
บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้ยังนำผลไม้ เช่น ส้มโอ ส้ม ขนมเทียน ข้าวต้มมัด ใส่ตะกร้า
แลกกับเพื่อนบ้าน ซึ่งนอกจากจะเป็นการทำบุญให้กับญาติแล้ว ยังเป็นการสร้างความรักความสามัคคี
และความสมั พนั ธ์ของคนในชุมชนอกี ดว้ ย

ภาพท่ี 2.13 ประเพณบี ญุ ข้าวสาก
ที่มา : ทศั นยี ์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.

36

2.3.11 เดอื น 11 ประเพณีทำบุญตกั บาตรเทโวโรหณะ
จดั ขนึ้ ในเทศกาลออกพรรษา ทอ่ี ำเภอสหสั ขันธ์ โดยทุกภาคส่วนลว้ นมีส่วนร่วมในการ

สนบั สนนุ ส่งเสริมพระพทุ ธศาสนา นอกจากจะเป็นโอกาสที่พระภกิ ษุสงฆจ์ ะแสดงอาบตั ิ และวา่ กลา่ ว
ตักเตอื นกนั แล้ว ชาวบา้ นยังมกี ิจกรรมกนั อกี มากมาย ท้ังประเพณตี กั บาตรเทโว การจุดประทีปโคมไฟ
ประดับประดาตามตน้ ไม้ บางแหง่ นาํ ต้นออ้ ย หรือไมไ้ ผม่ ามดั เปน็ เรือ จดุ โคมแลว้ นําไปลอยในแม่น้ำ
ที่เรียกว่า การไหลเรือไฟ เป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างเศรษฐกิจชุมชน
และสร้างความสามัคคี

ภาพที่ 2.14 ประเพณีทำบญุ ตกั บาตรเทโวโรหณะ
ท่ีมา : ทศั นยี ์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.

2.3.12 เดือน 12 ประเพณบี ุญกฐิน
ทำไดเ้ ฉพาะชว่ งวันแรม 1 คำ่ เดอื น 11 ถึง 15 คำ่ เดือน 12 ของทกุ ปี ชาวอีสานเชื่อว่า

ถ้าได้ทาํ บญุ กฐนิ แล้วจะไมต่ กนรก และจะไดร้ ับผลบุญทท่ี ำไปจนถงึ ชาตหิ น้า การทอดกฐนิ คือ การนำ
ผ้ากฐินไปวางไว้ตอ่ หน้าพระสงฆ์อย่างต่ำ 5 รูป แล้วให้พระสงฆร์ ปู ใดรูปหน่ึงท่ีได้รบั มอบหมาย
จากคณะสงฆ์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น ถือว่าเป็นการสร้างบุญใหญ่ที่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้
ชาวบ้านยังนำปัจจัยทั้งเงินสด ข้าวสาร อาหารแห้ง มาถวาย เพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาและ
เพือ่ ใหว้ ัดดำรงเปน็ ศนู ยร์ วมจิตใจ เปน็ สถานทป่ี ระกอบกจิ กรรมของชุมชนในโอกาสต่าง ๆ

ภาพที่ 2.15 ประเพณีบุญกฐิน
ทม่ี า : ทัศนยี ์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.

37

สรปุ

นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสานเกิดขึ้นจากการนำศิลปะการแสดงดั้งเดิมของชาวอีสานเช่น พิธีกรรม
ความเชื่อ การละเล่นต่าง ๆ วรรณกรรมพื้นบ้าน ตลอดจนสิ่งแวดล้อม มาประดิษฐ์เป็นชุดการแสดง
โดยการแสดงพื้นเมืองอีสานสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ เพลงพื้นบ้านอีสาน ละครพื้นบ้าน
และฟอ้ นพ้นื บ้าน

ทุก ๆ ปีจังหวัดกาฬสินธุ์มีการจัดการแสดงในประเพณีฮีตสิบสอง เพื่อให้เกิดสิริมงคล
ในการดำรงชีวติ สอดคล้องกบั ความเชื่อวา่ ส่งิ ทเี่ รน้ ลับตา่ ง ๆ มอี ทิ ธพิ ลต่อวิถชี วี ติ ต้ังแต่เกิดจนตาย
รวมไปถึงความอุดมสมบูรณ์ ความแห้งแล้ง ความแปรปรวนของฤดูกาลต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละพิธีกรรม
ของประเพณีฮีตสิบสองมักจะมีการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองอยู่ด้วยเสมอดังนั้น การประกอบพิธีกรรมต่างๆ
นอกจากสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชุมชนแล้ว ยังแฝงไปด้วยศิลปะ ที่ศิลปินอีสานได้หล่อหลอม
และดัดแปลงให้เปน็ ความงามทางดา้ นนาฏศิลป์อกี ด้วย

38

39

บทที่ 3 สืบสานประเพณบี ุญคณู ลานสูป่ ราสาทรวงขา้ ว

ประเพณีฮีตสิบสองของชาวอีสานสืบทอดกันมายาวนาน โดยเฉพาะประเพณีและพิธีกรรม
ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าวซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของชาวอีสาน ในการทำนานั้นไม่เพียงแต่ต้องพึ่งความรู้ของ
ชาวนา แต่ยังต้องพึ่งพาธรรมชาติให้เป็นใจ ดังนั้นจึงเกิดพิธีกรรมต่าง ๆ ขึ้นมา ทำให้เกิดการผสมผสาน
อย่างกลมกลืนระหว่างความเชอ่ื ทางศาสนา สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสภาพทางสังคม
คตนิ ิยมทอ้ งถนิ่ ทีป่ ฏิบัติในชีวติ ประจำวนั โดยชาวนาจะเคารพสกั การะพระแม่โพสพ โดยเชื่อว่า
พระแม่โพสพมีพลังอำนาจในการบันดาลความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูก ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงตำนาน
และพิธีกรรมเกย่ี วกบั ขา้ ว ความเช่อื เร่ืองขวญั ประเพณีบุญคณู ลาน และปราสาทรวงขา้ ว

3.1 ตำนานและพิธกี รรมเกี่ยวกับขา้ ว

ตำนานเกี่ยวกับข้าวในประเทศไทยมีจุดร่วมคือ “พระแม่โพสพ” ซึ่งเป็นเทพธิดาที่ประจำ
อยู่ในต้นข้าว มีหน้าคอยดูแลต้นข้าวให้เจริญงอกงาม ชาวนาเชื่อว่าหากผู้ใดที่ได้บูชากราบไหว้
พระแม่โพสพแล้วจะทำให้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ ซึ่งตำนานเกี่ยวกับพระแม่โพสพนั้นจะมีความ
แตกต่างกนั ไปในแต่ละภมู ภิ าค ในหนังสอื เล่มน้ี ผเู้ ขียนจะกล่าวถึงตำนานอย่างย่อของพระแม่โพสพ
ในภาคอีสาน (ทองแถม นาถจำนง, 2559 : 42-44)

แม่โพสพ หรือ แม่โคศก มาจากเทวดาผูห้ ญิงชื่อ นางโคสก เป็นมเหสีของท้าวสักกะเทวราช
นางโคศกกำลังจะหมดบุญในสวรรค์และต้องเกิดมาเป็นมนุษย์ แต่การเป็นมนุษย์นั้นมีความเป็นอยู่ลำบาก
อาหารต่าง ๆขาดแคลน นางจึงขอพรต่อท้าวสักกะเทวราชผู้เป็นสามวี า่ ขอใหน้ างไดเ้ กดิ เป็นอาหารของมนุษย์
เนอื่ งจากนางอยากอทุ ศิ เนอ้ื หนังมังสาของนางเพอ่ื เปน็ อาหารให้มนุษย์ไดบ้ ริโภค

หากพิจารณาจากความเป็นมาแต่ดั้งเดิมของพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวและการทำนาในปัจจุบัน
อาจกล่าวได้ว่าพิธีกรรมเหล่านี้ถือเป็นแบบแผนหรือแบบอย่างการกระทำประการหนึ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับ
การทำนา ซง่ึ จะมีวตั ถปุ ระสงค์และรายละเอยี ดข้นั ตอนอย่างชัดเจน เช่น พิธจี รดพระนังคัลแรกนาขวัญ
เมื่อเร่มิ การทำนา ชาวนาจะยึดวันท่จี ดั พธิ ีจรดพระนงั คลั แรกนาขวัญเปน็ เกณฑบ์ อกชว่ งเวลาท่ีเหมาะสม
แกก่ ารเร่ิมปลูกข้าว และรอผลของการเสีย่ งทายในพธิ เี พอื่ พยากรณว์ ่าความอดุ มสมบรู ณข์ องพชื พันธุ์
ธัญญาหารของประเทศไทยในปนี ัน้ ๆ เป็นอย่างไร

พระราชพธิ จี รดพระนังคัลแรกนาขวญั เปน็ พธิ ีทางพราหมณ์ จดั ขน้ึ ในเดอื นพฤษภาคม
ของทุกปี โดยประกอบพิธีบริเวณมณฑลพิธีสนามหลวง ซึ่งผู้ทำหน้าที่หลักในการประกอบพิธี

40

คือ พระยาแรกนา โดยมีผู้ทำหน้าที่คือปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนเทพีคู่หาบเงิน
และหาบทองเป็นขา้ ราชการหญงิ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหนา้ ทห่ี าบเมล็ดพนั ธ์ข้าว
ให้พระยาแรกนาหว่านในแปลงนา การแรกนาเริ่มด้วยกระบวนพระยาแรกนาในชุดเครื่องสูงจะทำพิธีเสี่ยงผ้า
ถ้าจบั ไดผ้ า้ กว้างมีคำทำนายว่าน้ำจะมาก ถา้ จบั ไดผ้ ้าผนื กลางทำนายว่าน้ำพอดี ถ้าจบั ได้ผ้าผืนแคบ
ทำนายว่าน้ำจะน้อยจากนั้นพราหมณ์จะมอบไถเทียมพระโคคู่ ให้พระยาแรกนาลงมือไถโดยเริ่มไถรอบๆ3รอบ
ไถแปร 3 รอบ และไถดะ 3 รอบ ในระหว่างนั้นพระยาแรกนาจะหยิบเมล็ดพันธ์ข้าวพระราชทานในหาบ
ของเทพคี ู่หาบเงนิ และหาบทองหว่านแล้วไถกลบอีก 1รอบจากนั้นพราหมณจ์ ะใหพ้ ระโคเสี่ยงทายดว้ ยของกิน
7 อยา่ ง มีขา้ วเปลอื ก ข้าวโพด ถ่ัว งา เหล้า นำ้ และหญ้า

พธิ ีกรรมเกยี่ วกบั ขา้ วและการทำนาเปน็ การแสดงให้เห็นถึงวธิ ีการแก้ปญั หาเรือ่ งความอุดมสมบูรณ์
ของสภาพแวดล้อมเพื่อให้เอื้ออำนวยตอ่ การทำนาของชาวอีสานโดยมีอ้างอิงความเชื่อในเรื่องผี สิ่งศักดิ์สิทธ์ิ
และศาสนาอนั ผกู พนั กบั วถิ ีชีวติ ของชาวนา โดยมีชว่ งเวลาและวัตถุประสงค์ดงั นี้

3.1.1 พธิ ีกรรมกอ่ นการเพาะปลูก
มีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือบรรพบุรุษให้ช่วยคุ้มครอง

ป้องกันภยันตรายของท้องนา ขอพรให้น้ำและดินมีความอุดมสมบูรณ์โดยพิธีกรรมจะจัดข้ึน
ก่อนการเพาะปลูก เช่น การเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษและผีประจำหมู่บ้านก่อนการทำนา นอกจาก
ขอให้ดูแลคุ้มครองลูกหลานและคนในหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขปราศจากโรคภัยแล้ว ยังเป็น
การบอกกล่าวให้ทำนาได้ผลดี ซึ่งเป็นพิธีกรรมของครอบครัวหรือระหว่างเครือญาติ หรือ
พธิ ีกรรมที่จดั ทำรว่ มกันของสมาชิกในหมบู่ ้าน เช่น พิธีบุญซำฮะ พิธขี อฝน พธิ แี ห่นางแมว พธิ บี ุญบ้งั ไฟ

ภาพที่ 3.1 พิธบี ุญบ้งั ไฟ
ทม่ี า : อภิญญา พิศวงศ์, 2562.

41

3.1.2 พธิ กี รรมขณะการเพาะปลูก
มีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยดูแลข้าวที่ปลูกให้ปลอดภัยจากนก หนู

และศัตรูพืชต่าง ๆ และขอขมาควายที่ได้เฆี่ยนตีตอนไถนา อีกทั้งยังขอพรให้ข้าวที่ปลูกเจริญงอกงาม
โดยพธิ กี รรมขณะการเพาะปลกู สามารถลำดับขั้นตอนได้ดังต่อไปน้ี

เมื่อปลอ่ ยน้ำเข้านาก็มีพธิ แี ฮกนา (แรกนา) มกี ารเซน่ ไหวเ้ จ้าที่ เสร็จแล้วก็เริ่มไถ
หลงั จากน้นั กม็ ีพธิ ีแรกหว่าน และเมอ่ื ต้นข้าวโตเป็นต้นกล้าก็มีพิธีแรกดำนา กล่าวขอขมาพระแม่โพสพ
และเชิญพระแม่โพสพไปอยู่ประจำ ณ ที่ปักดำ อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาคุ้มครองต้นข้าว ช่วงเพาะปลูก
เป็นช่วงที่ต้องดูแลรักษาให้ต้นข้าวงอกงามเจริญเติบโต จึงต้องขอให้การเพาะปลูกดำเนินไปด้วยดี
ทั้งคน ข้าว และสัตว์ รวมทั้งเปน็ การแสดงความอ่อนนอ้ มตอ่ ข้าวหรือพระแม่โพสพ เช่น พิธีแรกไถนา
พิธเี ลีย้ งตาแฮก พธิ ีบชู าภูมนิ า พธิ ตี กกลา้ พธิ แี รกดำนา พธิ แี รกหว่านข้าว พิธีเชิญทำขวญั พระแมโ่ พสพ

ภาพที่ 3.2 พธิ เี ชญิ ทำขวญั แมโ่ พสพ
ทม่ี า : http://www2.tsu.ac.th.

3.1.3 พิธีกรรมเพื่อการเก็บเกี่ยวและฉลองผลผลติ
พธิ ีกรรมในชว่ งนีเ้ ริม่ ตั้งแต่ได้เวลาเก็บเกย่ี ว จนกระท่ังนวดเสรจ็ แลว้ นำข้าวข้ึนยุ้ง

และนำไปปรุงเป็นอาหาร เมื่อข้าวสุกได้เวลาเก็บเกี่ยวก็จะมีพิธีแรกเกี่ยว เป็นการบวงสรวงและขอขมา
พระแม่โพสพก่อนเกยี่ วข้าว เมื่อเกย่ี วข้าวเสร็จแล้วมีพธิ กี ารก่อนการนวดขา้ วคอื พิธแี รกนวดต่อมาเป็นพิธีเชิญ
พระแม่โพสพจากทอ้ งนาให้เขา้ สูล่ านคือ พิธคี นู ลานเมื่อนวดเสร็จกอ่ นนำขา้ วเขา้ เกบ็ ในยุ้งฉางก็มีพธิ ีทำขวัญข้าว
อีกครงั้ หน่ึง เพอื่ ขอขมาที่นวดข้าวด้วยการฟาดข้าว มีการกล่าวอัญเชิญพระแม่โพสพให้มารับเครื่องสังเวย
และมาอยู่ที่ยุ้งฉาง หลังจากมีพิธีปิดยุ้งก็ขอพระแม่โพสพบันดาลให้ข้าวมีมากมายกินไม่รู้จักหมด
เมอื่ จะนำข้าวออกขายก็มีพิธีเปิดยุ้งเพื่อขอขมาพระแม่โพสพ เช่น พิธีคณู ลาน พิธีสู่ขวัญข้าว พิธีบุญข้าวจ่ี
พธิ บี ญุ เผวส (ทองแถม นาถจำนง, 2559 : 127-129)

42

พิธีกรรมทีเ่ กิดขึน้ ตลอดชว่ งการปลูกขา้ วแสดงใหเ้ ห็นแนวความคิดความเชื่อที่สืบทอด
มาแต่โบราณ ได้แก่ ความเชื่อเรื่องผีและขวัญ คนไทยมีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ผีประจำหมู่บ้าน
และยงั เช่อื วา่ ทุกสิง่ ท่ีเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะเปน็ น้ำ ดิน ทนี่ า ภเู ขา ต้นไม้ ล้วนมผี ีประจำอยู่ ผเี หล่านี้
ถือเป็นผีดีหรือเรียกว่าเทพ ชาวนาจึงมีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อธรรมชาติ มีการเซ่นไหว้ขอขมา
และกตัญญูกตเวทีต่อข้าว ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นอาจมีรายละเอียดพิธีแตกต่างกันออกไป แต่มีประเด็นหลัก
เหมือนกันคอื ขอให้ผลผลติ อุดมสมบรู ณ์ และขอขมาต่อส่ิงทไี่ ด้ล่วงเกนิ เทพท่ีรักษาขา้ วไป โดยในหัวข้อถัดไป
ผู้เขียนจะกล่าวถึงความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” และประเพณีบุญคูณลาน ซึ่งไม่เพียงแต่มีความสำคัญกับชาวนา
หากแต่ปัจจุบันจังหวัดกาฬสินธ์ุและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยยังได้ประชาสัมพันธ์ประเพณี
บญุ คณู ลานปราสาทรวงข้าวเปน็ งานทอ่ งเทย่ี วเชิงวฒั นธรรมอกี ด้วย

3.2 ความเช่ือเร่ืองขวญั ประเพณบี ุญคูณลานปราสาทรวงขา้ ว

3.2.1 ความเชอื่ เรอ่ื งขวัญ
ขวัญเป็นความเชื่อของคนไทยโบราณที่ว่า มนุษย์มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน

ได้แก่ ส่วนที่มีตัวตน คือ ร่างกาย และส่วนที่ไม่มีตัวตน คือ ขวัญ แต่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย
(วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์, 2529 : 38-42) ขวัญสามารถหลบหนีไปได้ ดังที่เคยได้ยินบ่อย ๆ ว่า ขวัญหนี
และขวัญหาย ซึ่งสามารถเรียกขวัญกลบั คืนมาไดเ้ ช่นกัน เช่ือกันอีกว่า ถ้าขวญั อยู่คู่กับรา่ งกาย เจ้าของขวัญ
ก็จะมีความสุขสบาย ถา้ ขวัญออกจากร่างกายไป เจ้าของขวญั ก็จะไม่เป็นปกติ อาจเจบ็ ไข้หรือถึงแก่ชีวิตได้
เม่ือเจา้ ของขวญั เจ็บปว่ ยมาก ย่อมแสดงวา่ ขวัญไม่ได้อยู่กบั ตวั ผ้ใู หญ่ในครอบครัวจำเป็นท่ีจะต้อง
จัดใหม้ กี ารเรยี กขวญั กลบั เข้าส่ตู วั เพื่อความอยู่ดีกินดี และเป็นสิรมิ งคลแก่เจ้าของขวญั

ข้าวก็มีขวัญ มีจิตวิญญาณ เหมือนกับมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ต้องมีขวัญ ซึ่งขวัญน้ัน
เปราะบางและกระทบกระเทือนได้ง่าย ขวัญข้าวก็เช่นเดียวกนั เมื่อถึงฤดูเกบ็ เกี่ยว ซึ่งหมายถึง
การเปลี่ยนแปลงของข้าว จากที่อยู่บนต้นจับกันเป็นรวงข้าว ก็ต้องถูกนวดออกมาเหลือเพียง
เมล็ดข้าวเปลือก โดยเชื่อว่าการเปลีย่ นแปลงเช่นน้ีทำให้ขวัญข้าวตกใจ และตกหล่นอยู่ตามทุ่งนา
ชาวนาจึงตอ้ งจดั พธิ ีทำขวัญขา้ วหลงั จากท่ีไดท้ ำการเก็บเกยี่ วแล้ว โดยมคี วามเชือ่ วา่ ในตอนแรก
เมล็ดข้าวอยู่ในเพิงหรือยุ้งฉาง ซึ่งมีพระแม่โพสพอยู่ด้วย เมื่อเริ่มฤดูเพาะปลูก ชาวบ้านเอาเมล็ดข้าว
ออกไปหว่านในทุ่งนา พระแม่โพสพก็จะออกไปอยู่ในทุ่งนาด้วย ดังนั้นเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็ต้องทำพิธีเรียก
พระแม่โพสพกลับมาพรอ้ มกับข้าว โดยเชือ่ ว่าพิธีกรรมดงั กลา่ วจะทำใหข้ า้ วทีป่ ลูกอุดมสมบรู ณ์ตลอดไป
ชาวนาส่วนใหญ่ยึดถือวันในการเก็บเก่ียวหรือลงนาอย่างเคร่งครดั โดยพจิ ารณาเวลาจากดวงจันทร์ข้างขึ้น-
ขา้ งแรมเปน็ หลัก มกั ใช้วนั ขน้ึ 3 ค่ำ เป็นวันประกอบพิธีกรรมทำขวัญข้าวเพื่อบูชาพระแม่โพสพ
(อนชุ าติ ทองเกล้ยี ง,2553:31)อกี หนง่ึ กุศโลบายของพิธที ำขวญั ข้าวคือ ชว่ ยบรรเทาความเครยี ดให้กบั ชาวนา

43

เนื่องจากการทำนาในแต่ละครั้ง ชาวนาต้องลงทุนลงแรงจำนวนมาก จึงรู้สึกไม่มั่นคงทางจิตใจว่าการทำนา
ในครั้งนั้น ๆ จะประสบความสำเร็จหรือไม่ จึงต้องอาศัยการทำขวัญข้าวเพื่อสร้างขวัญและกําลังใจ
ใหก้ บั ตนเองเชน่ กัน โดยผ้ดู ำเนนิ การในพธิ ีเรียกว่า “หมอทำขวัญข้าว” ซ่งึ ผู้ทำหน้าท่ีนี้ส่วนใหญ่
จะเป็นผู้อาวุโสที่ได้รับการยอมรับนับถือและเป็นแบบอย่างที่ดีของชุมชน โดยทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง
ระหว่างมนุษย์กับเทวดาสามารถพูดคุยเรียกเชิญพระแม่โพสพให้มาอยู่กับข้าวได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าท่ี
ถ่ายทอดความรู้และพธิ ีกรรมแก่คนรุ่นหลงั เพอ่ื อนุรกั ษ์พิธีกรรมให้คงอยู่กับท้องถ่นิ ตอ่ ไป

ภาพท่ี 3.3 เครือ่ งบชู าพธิ ที ำขวัญขา้ ว
ท่ีมา : www.isangate.com.

วิภาวี ปังธิกุล (2557 : 72) กล่าวว่า เครื่องบูชาในพิธีทำขวัญข้าวล้วนมี
องคป์ ระกอบท่ีเป็นสญั ลกั ษณ์ส่อื ความหมาย ดงั นี้

อาหารคาวหวานที่เป็นเครื่องเซ่น เช่น ปลามีหัวมีหาง แทนความอุดมสมบูรณ์
ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว เหลา้ เปน็ เครอ่ื งบูชาครู กล้วย ออ้ ย เปน็ สงิ่ ทีค่ นโบราณกนิ เพ่ือดำรงชีพ

ดอกไม้ แสดงถึงความเคารพ เป็นเครื่องบูชาทแี่ สดงถงึ ความอ่อนน้อม ออ่ นโยน
ธูป 3 ดอก เป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทียน เป็น สัญลักษณ์
ทางศาสนา แสงเทยี นทเ่ี ปน็ ประกายแสดงถึงจติ อนั สวา่ งไสว และสมาธิ
หมาก พลู เป็นสง่ิ ที่คนโบราณนิยมกนิ
สิ่งของมีค่าที่ใส่มากับข้าว แสดงถึงการถวายสิ่งมีค่าของตนเองเพื่อตอบแทน
และทำให้ผู้มีพระคณุ พงึ พอใจ

44

3.2.2 ประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว
บุญคูณลานเป็นหนึ่งในพิธีทำขวัญข้าว เป็นประเพณีของชาวนาในภาคอีสานโดยเฉพาะ

จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยจัดขึ้นในเดือนยี่ตามปฏิทินอีสานของทุกปี จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่างาน “บุญเดือนย่ี”
ซ่ึงการทำบุญคูณลานในแตล่ ะพืน้ ที่จะทำไม่พร้อมกัน ขึ้นอยวู่ ่าการเกบ็ เกย่ี วข้าวจะเสร็จเม่ือใด

คำวา่ “คณู ”หมายถึงเพิม่ หรอื ทำใหม้ ากขึ้นส่วนคำว่า“ลาน”คอื สถานทสี่ ำหรบั นวดขา้ ว
ซึ่งการนำข้าวที่นวดแล้วกองขึ้นให้สูงเรียกว่า “คูณลาน” ชาวอีสานเชื่อว่า การทำบุญคูณลาน
จะได้บุญกุศลมาก เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ชาวนาจะหาบฟ่อนข้าวมารวมกันไว้ที่ลานเพ่ือรอนวดข้าว
เรยี กว่า “ลอมขา้ ว” ถา้ ลอมข้าวของใครสูงใหญ่ก็แสดงว่านาแปลงน้ันเป็นนาดี ผู้เปน็ เจ้าของก็ดีใจ
พลอยหายเหนด็ เหนื่อยทำให้เกิดจิตใจเบิกบานอยากทำบุญทำทานเป็นกุศลส่งให้ในปีต่อไปจะได้ผลผลิตขา้ ว
เพิ่มขนึ้ อกี เรยี กว่า “คูณให้ใหญ่ให้สูงข้ึน”

การประกอบพิธีทำบุญคูณลาน ผู้เป็นเจ้าภาพต้องจัดสถานที่ทำบุญลานนวดข้าวของตน
โดยนิมนต์พระสงฆม์ าเจริญพทุ ธมนต์และวงดา้ ยสายสิญจน์รอบลอมขา้ ว จากนัน้ ถวายภัตตาหารเพล
แก่พระสงฆ์ แล้วจึงนำข้าวปลาอาหารมาเล้ียงผู้มาร่วมทำบุญเมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จกจ็ ะประพรมน้ำพุทธมนต์
ให้ลอมข้าวและทุกคนที่มาร่วมทำบุญ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว เจ้าภาพจะนำน้ำพระพุทธมนต์ที่เหลือ
ไปประพรมใหค้ วายหรอื ววั ตลอดจนเครอ่ื งมือในการทำนาเพอื่ ความเป็นสิรมิ งคล

ในปัจจุบันนี้ “บุญคูณลาน” ค่อย ๆ เลือนหายไป เพราะไม่ค่อยมีผู้สนใจ ประกอบกับ
ทุกวันนี้เมื่อเกี่ยวเสร็จและมัดข้าวเป็นฟ่อน ๆ แล้วจะขนมารวมกันไว้ ณ จุดใดจุดหนึง่ ของที่นา
โดยไม่ต้องมีลานนวดข้าว จากนั้นก็ใช้เครื่องสีข้าวสีเมล็ดข้าวเปลือกออกจากฟางลงบรรจุใส่ในกระสอบป่าน
ยิ่งต่อมามีการใช้รถเกี่ยวข้าวลุยลงไปเกี่ยวข้าวในท้องนา จากนั้นรถก็จะปั่นฟางข้าวออกไปและ
แยกเมลด็ ขา้ วเปลือกบรรจุใส่กระสอบให้เสรจ็ สรรพ ลานนวดข้าวจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป

ประเพณบี ุญคูณลานปราสาทรวงขา้ ว เปน็ การทำบญุ ขวญั ข้าวที่นวดเสร็จและกองไว้
แลว้ ในลานข้าว ทม่ี าทีไ่ ปของการทำเช่นน้ี เนอื่ งจากผใู้ ดทำนาไดม้ าก ๆ กอ่ นจะหาบหรือขนมาใส่ยุ้งฉาง
กจ็ ะทำบุญกศุ ลเพ่ือเป็นการเพม่ิ ความมั่งมีศรีสุขสืบไป โดยถอื เอาเรือ่ งเล่าในพระธรรมบทเป็นมูลเหตุว่า
ในสมัยของพระกัสสปะพทุ ธเจา้ มีพ่นี อ้ งทำนาในท่ีเดยี วกันเวลาข้าวออกรวง นอ้ งชายไดช้ วนพ่ีชายทำข้าว
มธุปยาสถวายแด่พระสงฆ์ แต่ผู้เป็นพี่ปฏิเสธจึงตกลงกันว่าจะแบ่งที่นากันคนละส่วนครั้นน้องชายได้เป็น
เจ้าของที่นาในส่วนที่แบ่งแล้วจึงถวายทานตามความพอใจนับได้ 9ครั้ง แล้วตั้งปณิธานความปรารถนาว่า
ขอให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในอนาคต ครั้นถึงสมัยของพระโคตมพุทธเจ้า น้องชายได้เกิดมาเป็น
บุตรพราหมณ์มหาศาล มีนามว่า อัญญาโกณฑัญญะ ซึ่งออกบวชแล้วสำเร็จพระอรหันต์ก่อนสาวกทั้งหลาย
และเป็นปฐมสาวกองค์แรก ส่วนพี่ชายถวายเพียงคร้ังเดียว คือในเวลาทำนาเสร็จ ได้ตั้งปณิธานความปรารถนา
ขอให้สำเรจ็ เป็นพระอริยบุคคลในอนาคต จงึ ได้เกดิ มาเปน็ สุภทั ทปรพิ าชก เป็นอรยิ บคุ คลองค์สุดท้าย

45

ในพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เพราะอานิสงส์แห่งการให้ข้าวน้อยกว่าน้องชาย ชาวอีสานเมื่อได้ทราบอานิสงส์
ของการทำบุญเช่นน้ี จึงนิยมทำบุญให้ทานข้าวในนา และยึดถอื เป็นประเพณีของชาวอสี านสบื มา

ประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าวของจังหวัดกาฬสนิ ธ์ุ จดั ขน้ึ ทว่ี ดั เศวตวันวนาราม
อันเป็นศนู ย์กลางจัดงานประเพณีหรือกิจกรรมสำคัญของท้องถิ่น โดยเฉพาะประเพณีบุญคูณลาน
ปราสาทรวงข้าว ซึ่งเป็นประเพณียิ่งใหญ่ของชาวตำบลเหนือ โดยวัดแห่งน้ีตั้งอยู่ที่บ้านต้อน
ตำบลเหนือ อำเภอเมือง จงั หวัดกาฬสินธุ์ เดิมเป็นท่วี ัดร้าง มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่
ทางราชการจึงสร้างอาคารเรียนใน พ.ศ. 2470 ต่อมาชาวบา้ นบริจาคที่ดินจำนวน 27 ไร่ เพื่อยา้ ยอาคารเรียน
มาสร้างใหม่ แลว้ ประกาศยกวัดร้างนั้นขึ้นเปน็ วัดที่มีพระสงฆ์ใน พ.ศ. 2524 ปัจจบุ นั พระครูวิมลพัชรญาณ
เจา้ คณะตำบลเหนอื ดำรงตำแหนง่ เปน็ เจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ถงึ ปจั จบุ นั

นอกจากเป็นสถานทีจ่ ัดงานประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าวแลว้ วัดเศวตวนั วนาราม
ยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาอบรมคุณธรรมจริยธรรม เป็นศูนย์การเรียนธรรมศึกษาสำหรับนักเรียน
และประชาชนทั่วไป และในอนาคตจะเป็นศูนย์รวมวิทยาการต่าง ๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ
ของตำบลเหนือ และของจังหวดั กาฬสินธท์ุ ี่สำคัญอีกแห่งหน่งึ ปจั จบุ ัน วัดมพี น้ื ท่ีกว้างขวางกว่า
80 ไร่ ภายในพน้ื ทมี่ กี ุฏิทพ่ี ักสงฆ์จำนวน 5 หลัง ศาลาชวั่ คราว 3 หลงั ทพ่ี กั แม่ชี 3 หลงั ฌาปนสถาน
1 หลัง และในปี พ.ศ. 2559 ชาวตำบลเหนือได้ร่วมกันสร้างศาลาอเนกประสงค์หลังใหม่ข้ึน
นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างวิหารครอบองค์หลวงพ่อใหญ่อันเป็นพระพุทธรูปสำคัญให้
เปน็ ศาสนสมบัตขิ องจงั หวดั สบื ไป

ภาพท่ี 3.4 ศาลาการเปรียญและพระใหญป่ ระจำวดั เศวตวนั วนาราม
ท่มี า : ทัศนีย์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.

46

3.2.3 ความเปน็ มาและพฒั นาการของปราสาทรวงข้าวในจังหวดั กาฬสนิ ธุ์
ปราสาทรวงข้าวในประเพณบี ุญคูณลานของจังหวัดกาฬสินธ์ุ มีจุดเริ่มตน้ ใน พ.ศ. 2537

คือเม่อื ถึงช่วงเวลาประกอบพิธีบุญคูณลาน ชาวบา้ นส่วนใหญย่ ังนวดข้าวไม่เสรจ็ จึงนำมัดข้าวท่ียังไม่แยก
เมล็ดออกจากฟางมาถวายวัด นายสมนึก บัวแพ ตำแหน่งพัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ในขณะนั้น
ได้แนะนำชาวบ้านให้นำมาสร้างเป็นปราสาทรวงข้าว ต่อมาได้พัฒนารูปแบบจนมีขนาดใหญ่
และสวยงาม

ภาพที่ 3.5 ภาพจำลองพระแมโ่ พสพในประเพณีบญุ คณู ลานปราสาทรวงข้าว
ท่ีมา : ทัศนีย์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.

ชาวบ้านได้พัฒนาและปรับปรุงการทำปราสาทรวงข้าวอย่างต่อเนื่องมาแล้วเป็นเวลา
ประมาณ 25 ปี ซ่ึงลกั ษณะและรปู แบบของปราสาทรวงขา้ วมีอยู่ 3 รปู แบบ ดงั นี้

3.2.3.1 ปราสาทรวงขา้ วแบบทรงพระธาตุพนม พ.ศ. 2534–2535
ระยะแรกเริ่ม ชาวบ้านและบุคลากรของเทศบาลตำบลเหนือได้ร่วมกันจัดทำ

ปราสาทรวงข้าวเป็นรูปแบบพระธาตุพนม ซึ่งได้แนวคิดมาจากรูปแบบของพระธาตุพนม พระธาตุหลวง
(เวียงจันทน)์ ท่ีโดดเดน่ ตรงรปู ทรงท่ีเป็นส่ีเหลย่ี มจตั ุรสั ย่อมุม มอี งคป์ ราสาทเป็นรูปทรงบัวเหลย่ี ม

47

ภาพที่ 3.6 ปราสาทรวงขา้ วแบบทรงพระธาตุพนม
ท่มี า : พสั กร มูลศรี, 2562.

3.2.3.2 ปราสาทรวงขา้ วแบบทรงระฆงั ควำ่ พ.ศ. 2536-2540
ต่อมาใน พ.ศ. 2356-2540ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบในการจัดทำปราสาทรวงข้าว

เป็นแบบทรงระฆังคว่ำ มีลักษณะเด่นคือ ทำตอนบนให้คอดลง และทำตอนล่างพองออก ในส่วนที่เป็น
ปากระฆงั มีแทน่ ฐานรองรับอยู่สว่ นล่าง เหนือองค์ระฆังเป็นส่วนยอด มีต่อขึ้นไปเป็นทรงกรวย
โดยรปู แบบนี้ประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 3 สว่ น คือ สว่ นฐาน ส่วนองคร์ ะฆงั และส่วนยอด ซง่ึ ใช้รวงข้าว
ในการจัดตกแต่งให้ได้รูปแบบปราสาทรวงข้าวที่เกาะขึ้นกับโครงไม้เป็นปราสาทรวงข้าวขนาดใหญ่
ตอ้ งใช้เวลาสรา้ ง และความละเอยี ดพิถีพิถัน ต้องคัดเลือกเอารวงขา้ วที่มีความสวยงาม เม็ดข้าวสมบูรณ์
มาใช้ประดับปราสาทรวงขา้ ว

ภาพท่ี 3.7 ลกั ษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงระฆังควำ่
ทมี่ า : พัสกร มลู ศรี, 2562.

48

3.2.3.3 ปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตุรมุข พ.ศ. 2541-2562
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541-2562 ได้ปรับเปลี่ยนปราสาทรวงข้าวเป็นแบบทรงจตรุ มขุ

มีจว่ั 4 ด้าน มซี ุม้ กำแพงเข้าท้ัง 4 ด้าน ความกวา้ ง 20 เมตร ยาว 20 เมตร ความสูงจากฐานถงึ ปลายปราสาท
25 เมตร ปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตุรมุขมหี ลังคาลดชน้ั ประดบั ยอดฉัตร เป็นปราสาทรวงข้าว
ที่ได้รับการพัฒนาเปลี่ยนแปลงต่อมาในภายหลัง และมีการสืบทอดรูปแบบดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบันน้ี
โดยมสี ่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ฐาน หลังคา และยอดฉัตร การทำโครงปราสาทรวงข้าวเริ่มจาก
ส่วนที่อยู่ข้างบนสุด คือยอดฉัตร ส่วนฐานนำไม้ฉ่ำฉาและไม้ไผ่ทำให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตรงกลางฐาน
โดยใช้เสาท้ังหมด 12 ต้น รองรับน้ำหนักของตัวปราสาท แล้วทำหลังคาชั้นเดียวแบบจตุรทิศ
คือเป็นหน้าจั่ว 4 ด้าน หันจั่วหรือหนา้ บันออกไป 4 ทิศ แล้วใช้ตะปูตอกและใช้เส้นลวดมัดเพื่อตรึงยดึ
ส่วนรอยต่อที่ต่าง ๆ จากนั้นจึงนำฟางข้าวมาปิดทับโครงปราสาท โดยใช้ตอกเป็นตัวยึด ด้านล่างคือ
ภาพอันวิจิตรงดงามของปราสาทรวงขา้ ว ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากชาวบ้านตำบลเหนือ อำเภอเมือง
จังหวัดกาฬสินธุ์ มาแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของปราสาทรวงข้าว ที่เกิดจากแรงงาน และความศรัทธา
แสดงออกถึงความสมัครสมานสามัคคี ต้องการรักษาวฒั นธรรมประเพณีบุญคณู ลานปราสาทรวงข้าว
ท่ีชาวบ้านร่วมกันสรา้ งและพัฒนารูปแบบ จนเป็นปราสาทรวงขา้ วขนาดใหญ่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิน่
มีความโดดเด่นแตกต่างจากประเพณีบุญคูณลานทั่วไป ซึ่งทางททท.ได้บรรจุประเพณีบุญคูณลาน
ปราสาทรวงข้าวลงในปฏิทินการท่องเที่ยวประจำปี โดยได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลา 25 ปีแล้ว
เพอื่ เป็นการประชาสัมพันธ์นกั ทอ่ งเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาเท่ยี วจังหวัดกาฬสนิ ธุ์ให้มากที่สดุ

ภาพที่ 3.8 ลกั ษณะของปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตรุ มุข พ.ศ. 2541
ที่มา : พสั กร มลู ศรี, 2562.

49

ภาพท่ี 3.9 ลักษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตุรมุข พ.ศ. 2542
ทม่ี า : บุญพรอ้ ม กง่ิ เมือง, 2562.

ภาพท่ี 3.10 ลกั ษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตรุ มขุ พ.ศ. 2544
ทม่ี า : พสั กร มลู ศรี, 2562.

ภาพท่ี 3.11 ลกั ษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตรุ มขุ พ.ศ. 2548
ทม่ี า : ละมัย โพธ์ิไสว, 2562.

50

ภาพท่ี 3.12 ลกั ษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตรุ มขุ พ.ศ. 2549
ทีม่ า : รุ่งตะวนั จันทรส์ ตู ร, 2562.

ภาพท่ี 3.13 ลักษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตุรมขุ พ.ศ. 2550
ที่มา : ทองสุข สุรกิ ัลป์, 2562.

ภาพที่ 3.14 ลกั ษณะของปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตุรมุข พ.ศ. 2551
ทมี่ า : พัสกร มูลศรี, 2562.

51

ภาพท่ี 3.15 ลกั ษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตุรมุข พ.ศ. 2552
ท่ีมา : ละมัย โพธิ์ไสว, 2562.

ภาพท่ี 3.16 ลกั ษณะของปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตุรมุข พ.ศ. 2553
ทม่ี า : พัสกร มูลศรี, 2562.

ภาพท่ี 3.17 ลักษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตุรมขุ พ.ศ. 2554
ทม่ี า : อาทติ ยา สอนแก้ว, 2562.

52

ภาพท่ี 3.18 ลักษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตรุ มุข พ.ศ. 2555
ทีม่ า : รงุ่ ตะวนั จนั ทรส์ ตู ร, 2562.

ภาพที่ 3.19 ลกั ษณะของปราสาทรวงข้าวแบบทรงจตรุ มขุ พ.ศ. 2556
ที่มา : ทองสุข สุรกิ ัลป์, 2562.

ภาพที่ 3.20 ลักษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตรุ มขุ พ.ศ. 2557
ทีม่ า : ทองสุข สุริกลั ป์, 2562.

53

ภาพที่ 3.21 ลักษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตรุ มุข พ.ศ. 2558
ทีม่ า : อาทติ ยา สอนแก้ว, 2562.

ภาพท่ี 3.22 ลกั ษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตรุ มุข พ.ศ. 2559
ทม่ี า : ละมยั โพธไ์ิ สว, 2562.

ภาพที่ 3.23 ลักษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตุรมุข พ.ศ. 2560
ทีม่ า : รงุ่ ตะวนั จันทร์สตู ร, 2562.

54

ภาพท่ี 3.24 ลกั ษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตุรมุข พ.ศ. 2561
ท่ีมา : อาทติ ยา สอนแกว้ , 2562.

ภาพที่ 3.25 ลกั ษณะของปราสาทรวงขา้ วแบบทรงจตุรมขุ พ.ศ. 2562
ที่มา : ทัศนยี ์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.

55

สรุป

การปลูกข้าวถือเป็นอาชีพหลักที่สำคัญของชาวอีสาน ซึ่งมีพระแม่โพสพ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ท่ีชาวนาเคารพสักการะ โดยเชื่อว่าพระแม่โพสพมีพลังอำนาจในการบันดาลความอุดมสมบูรณ์ในการทำนา
ดังนั้นชาวอีสานจึงได้มีการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวและการทำนาเพื่อบูชาพรแม่โพสพ
โดยแบง่ ตามระยะการเพาะปลูก ดังน้ี

1. พิธกี รรมก่อนการเพาะปลูก
2. พธิ กี รรมขณะการเพาะปลูก
3. พิธกี รรมเพือ่ การเก็บเก่ยี วและฉลองผลผลิต
พิธีกรรมที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นแนวความคิดความเชื่อที่สืบทอดมาแต่โบราณ ได้แก่
ความเชื่อเรื่องผีและขวัญ ชาวอีสานมคี วามเชื่อว่าทุกสิ่งท่ีเป็นธรรมชาติ ไมว่ า่ จะเป็น น้ำ ดิน ท่ีนา
ภูเขา ต้นไม้ ล้วนมีผีประจำอยู่ ผีเหล่านี้ถือเป็นเทพ เพราะชาวนาจำเป็นต้องพึ่งธรรมชาติ
ชาวนาจึงตอ้ งประกอบพธิ กี รรมทำขวญั ข้าว เพือ่ สรา้ งขวัญและกาํ ลังใจให้กบั ตนเอง เนอ่ื งจากชาวนา
ตอ้ งลงทุนในการทำนาจำนวนมาก จึงตอ้ งการสร้างความรู้สึกทางจิตใจว่าการทำนาในแต่ละครั้ง
จะประสบความสำเร็จ
ประเพณบี ญุ คูณลานปราสาทรวงข้าวของจังหวดั กาฬสินธ์ุ เป็นประเพณที ย่ี ่งิ ใหญม่ ีเอกลักษณ์
เฉพาะถน่ิ และมีความโดดเด่นแตกต่างจากประเพณบี ุญคูณลานทั่วไป โดยเฉพาะปราสาทรวงข้าว
ทส่ี รา้ งจากความศรัทธาในพระแมโ่ พสพของชาวบ้านตำบลเหนือ จงั หวดั กาฬสนิ ธ์ุ ไดส้ ะทอ้ นให้เห็นถึง
ความสมคั รสมานสามคั คี รักษาวัฒนธรรมประเพณีอสี าน ทเี่ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น และมีพัฒนาการ
รูปแบบของปราสาทรวงข้าวท่ีต้องใช้รวงข้าวกวา่ 1 ล้านรวง จนกระทั่งได้ขนาดและรูปแบบปราสาทรวงข้าว
ทรงจตุรมุขท่ีมีความสูงถึง 20 เมตร ภายในวัดเศวตวันวนาราม ตำบลเหนือ อำเภอเมือง
จังหวดั กาฬสินธุ์

56

57

บทท่ี 4 การบริหารจัดการประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงขา้ ว

ประเพณีบุญคูณลานเป็นพิธีกรรมทางศาสนาพุทธที่แสดงออกถึงความเชื่อว่า
ถา้ ทำบุญนแี้ ล้ว การทำนาในฤดกู าลตอ่ ไปจะได้ขา้ วมาก มีเมล็ดสวย และมนี ำ้ หนกั ปจั จบุ ันบางพื้นที่
ยังสืบทอดประเพณีนี้กันอยู่ เช่น งานบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว ตำบลเหนือ อำเภอเมือง
จังหวัดกาฬสินธุ์ มักจัดระหว่างวันที่ 9-13 กุมภาพันธ์ของทุกปี ภายในงานมีกิจกรรม
หลากหลาย ทั้งขบวนแห่ปราสาทรวงข้าว การแสดงหมอลำ ประกวดกลองยาว การประกวด
ร้องเพลงลูกทุ่ง การทำขวัญข้าวพร้อมมหรสพ และการแสดงสินค้าชุมชนตลอดการจัดงาน
ซ่งึ ในบทนีจ้ ะกลา่ วถึงองคป์ ระกอบของประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว ขัน้ ตอนของประเพณี
บุญคูณลานปราสาทรวงข้าว การสร้างปราสาทรวงข้าว และการจัดการประเพณีบุญคูณลาน
ปราสาทรวงขา้ ว

ภาพท่ี 4.1 ปราสาทรวงข้าว ในเวลากลางวันและกลางคืน
ท่มี า : ทศั นีย์ ศิวบวรวัฒนา, 2562.

4.1 องคป์ ระกอบของประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว

ประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าวมีองค์ประกอบหลายอย่าง ได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เวลา
สถานที่ และสิง่ ของท่ีใช้

4.1.1 บคุ คลท่ีเกี่ยวขอ้ ง
บคุ คลท่ีเก่ียวข้องกบั ประเพณีบุญคณู ลานปราสาทรวงข้าวมีหลายกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่ม

มีบทบาทหน้าทีแ่ ตกตา่ งกันตามความสามารถและความเหมาะสมคนคนเดยี วอาจทำหลายหนา้ ที่ ขณะเดยี วกัน
ในหนึ่งหน้าทีก่ ็อาจต้องใชห้ ลายคนช่วยกันจึงจะสำเร็จ ซ่งึ แบ่งออกเป็นกลุ่มไดท้ ้ังหมด 5 กลมุ่ ดงั นี้

58

4.1.1.1 ผ้ปู ระกอบพิธกี รรมก่อนวันงาน
ในช่วงเย็นก่อนวันงาน 3 วัน จะมีการเจริญพระพุทธมนต์ ซึ่งผู้ประกอบพิธี

คอื พระสงฆ์จำนวน 18 รูป จากวัดเศวตวันวนาราม วดั สว่างโพธิช์ ัย วัดสวา่ งอรุณ และมีผรู้ ่วมพิธีคือ
ชาวบ้านตำบลเหนอื

4.1.1.2 ผู้ประกอบพธิ ีกรรมในวันงาน
พิธีกรรมนี้มีการสวดบูชาข้าวเปลือก หรือการสู่ขวัญข้าว จึงต้องมีผู้กระทำ

พิธกี รรมโดยตรง คือ เป็นผกู้ ล่าวคำบชู าพระแม่โพสพ ซงึ่ เปน็ หนา้ ท่ขี องหมอสูตรประจำหมู่บ้าน
ที่ชาวบ้านเรียกว่า“พราหมณ์”อันเป็นบุคคลทีช่ าวบ้านยอมรับว่าสามารถถา่ ยทอดความรูส้ ึกสู่พระแม่โพสพได้
หมอสูตรหรือพราหมณ์ที่กระทำพิธีกรรมนี้มีเพียงคนเดียวเท่านั้น เชื่อกันว่าถ้าทําพิธีกราบไหว้บูชา
พระแม่โพสพตามประเพณีแล้วจะอุดมสมบูรณ์ หลังจากชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว นําข้าวมานวด มาฝัด
และนำข้ึนยงุ้ ฉาง เมอื่ ถงึ เดอื น 3 ขน้ึ 3 คำ่ ก็จะเปดิ ยุ้งฉางนำข้าวเปลือกมากองเพ่ือประกอบพิธีสู่ขวัญข้าว

ภาพที่ 4.2 หมอสตู รทำพธิ ีกลา่ วคำบูชาแมโ่ พสพ
ที่มา : ทศั นีย์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.

4.1.1.3 ผูเ้ ตรียมพธิ ีกรรมกอ่ นวันงาน
มีหน้าที่เตรียมสิ่งของต่าง ๆ ก่อนวันงานเพื่อให้หมอสูตรประกอบ

พิธีกรรม โดยผเู้ ตรียมส่งิ ต่าง ๆ เหลา่ นี้ ไดแ้ ก่ ผอู้ าวุโส เป็นผดู้ แู ลความเรียบร้อยตา่ ง ๆ พ่อบ้าน
เตรียมธูป เทียน ขันสำหรับใส่น้ำมนต์ สายสิญจน์ แม่บ้านทำหน้าที่เย็บบายศรีสำหรับใส่ขันบูชา
จัดเตรียมผลไม้ในการบวงสรวง หนุ่มสาวเกบ็ กวาดศาลาวัด เตรียมสถานท่ี

59

ภาพที่ 4.3 ชาวบา้ นช่วยกนั จดั เตรยี มสงิ่ ของก่อนการจดั งานบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว
ที่มา : บญุ ศรี เพชรสังหาร, 2562.

4.1.1.4 ผ้เู ตรียมพธิ ีกรรมในวันงาน
ผู้อาวุโสและคนหนุ่มสาวในหมู่บ้าน มีหน้าที่ช่วยเตรียมส่ิงของต่าง ๆ

ร่วมกับหมอสตู ร นอกจากน้ียังมีหนา้ ท่โี ยงสายสิญจน์ทใ่ี ช้ประกอบพธิ ีกรรมของหมอสูตรจากฉางข้าวหมู่บ้าน
มายังกองขา้ วหรอื บญุ คูณลาน แล้วโยงตอ่ ยงั ขันบูชาและตะกร้าขา้ วเปลอื ก

4.1.1.5 ผรู้ ว่ มประเพณีบญุ คณู ลานปราสาทรวงขา้ ว
ผู้ร่วมประเพณี ได้แก่ ผู้ร่วมประเพณีก่อนวันงาน คือ ผู้ที่ไปร่วมพิธี

เจรญิ พระพุทธมนต์ก่อนวันงาน 3 วัน และผู้รว่ มในวันงาน คอื ไมไ่ ดเ้ ปน็ ผู้ประกอบพิธี แต่เป็นผู้นำสิ่งของ
ไปร่วมพธิ ี

ผู้อาวุโส เป็นผู้ร่วมพิธีทั้งก่อนวันงานและในวันงาน โดยก่อนวันงาน
จะออกไปฟังพระเจริญพระพทุ ธมนต์เยน็ และผู้อาวโุ สบางคนทำหน้าที่เปน็ มัคนายกดำเนินการ
ร่วมกบั พระภิกษุ

พ่อบ้านและแม่บ้าน นอกจากจะออกไปฟังพระเจริญพุทธมนต์แล้ว บางคน
ยงั มหี น้าท่เี ตรยี มวัสดสุ ่งิ ของสำหรบั การประกอบพิธีในวนั งานอีกดว้ ย

หนุ่มสาว ส่วนมากจะเป็นผู้ไปร่วมพิธีในวันงานมักไม่ได้ไปฟังพระเจริญ
พระพุทธมนต์เย็น รวมถึงเด็ก ๆ ก็ไปรว่ มพธิ ใี นวันบญุ บางคนกช็ ่วยถือวัสดุสิ่งของไปรว่ มพิธี

60

ภาพท่ี 4.4 ชาวบา้ นมาร่วมทำพิธบี ุญคูณลานปราสาทรวงข้าว
ทม่ี า : ทัศนีย์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.

4.1.2 เวลา
แบ่งเวลาในการประกอบพธิ อี อกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
4.1.2.1 กอ่ นวนั งาน
นอกจากจะใชเ้ วลาในการนัดหมายแล้ว ยังมเี วลาสำหรับการเจริญพระพุทธมนต์

ก่อนวนั งาน 3 วนั เริม่ เวลาประมาณ 19.00 น.ของทุกวัน ซง่ึ แตล่ ะวนั ใช้เวลาประมาณ 20 นาที
และในวนั ท่ี 3 ชาวบ้านจึงจะเตรยี มของทีใ่ ช้สำหรบั พิธกี รรมในวนั รุง่ ขนึ้

4.1.2.2 ในวันงาน
การประกอบพิธีในวันนี้เปน็ พิธีกรรมทางพราหมณ์ แบ่งเวลาออกเป็นอีก3 ระยะ

ดงั นี้
1) กอ่ นพิธีกรรม คือ ผรู้ ่วมพธิ นี ำส่งิ ของทใ่ี ช้มารวมกนั ยังสถานท่ีทำพิธี

ก่อนเรมิ่ พิธี 1 ช่ัวโมง
2) ระหวา่ งพิธีกรรม คอื เรม่ิ ตัง้ แต่หมอสูตรหรือพราหมณ์เข้านั่งประจำ

สถานที่จัดไว้ แล้วยกขันห้าอันได้แก่ ธูป 5 ดอก ดอกไม้ขาว5 คู่ เทียนขาว5 คู่ เงิน 5 บาท ตั้งนะโม3 จบ
เกริ่นด้วยคำว่า “สัคเคกาเม” วางขันห้า กล่าวคำสู่ขวัญข้าว ซึ่งจะใช้เวลานานที่สุด ประมาณ 45 นาที
เป็นชว่ งเวลาสำคญั ทส่ี ดุ ในการทำพธิ ี

3) หลงั พิธกี รรม คือ หลังจากท่หี มอสูตรทำพิธีกรรมเสรจ็ แลว้ ชาวบา้ นจะนำ
ข้าวเปลือกในคูณลานกลับบ้านประมาณคนละ 1 กำมือเพื่อไปหว่านใส่เล้าข้าวของตนเอง
เป็นอันเสร็จส้ินพิธกี รรม

61

4.1.3 สถานท่ี
กอ่ นวันงาน ซึง่ เปน็ พิธเี จรญิ พระพทุ ธมนต์เย็น ทำพิธที ศ่ี าลาวัดเศวตวันวนาราม

ส่วนในวันงานจะใช้สถานที่ทั้งศาลาวัดและลานวัด โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือ
สำหรับผู้ประกอบพิธีสู่ขวัญขา้ ว เป็นสถานที่เดียวกับที่พระภิกษุนั่ง ส่วนที่สองสำหรับผูร้ ่วมพิธี
นั่งระหว่างทำพิธี และส่วนที่สามสำหรบั ร่วมบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว ซึ่งเป็นสว่ นปะรำ พิธีสำคญั
ของหมู่บ้าน หลังพิธีกรรมมสี ถานที่คือ ฉางข้าวรวมของหมู่บา้ นสำหรับเก็บรวบรวมข้าวเปลือก
หลังจากเสรจ็ พิธีกรรมแล้ว

4.1.4 สงิ่ ของทใ่ี ช้
แบ่งเป็น2 ประเภทคือ สิ่งของสำหรบั ผู้ประกอบพิธีกรรมและสิ่งของที่ผู้เข้ารว่ มประเพณี

เตรียมมา
4.1.4.1 ส่ิงของสำหรับผู้ประกอบพธิ กี รรม
1) ขนั บชู าพระแมโ่ พสพ ประกอบด้วย ขนั บายศรี ดอกไม้ ธูป และเทยี น
2) พานสำหรับใส่ดอกไม้ ธปู เทียน และสายสญิ จน์
3) ขันหา้
4) ขนั นำ้ มนต์
5) ข้าวเปลือก 3-4 ตะกร้า
6) สายสญิ จน์ 1 มว้ น
7) ใบคูณ ใบยอ ยอดกล้วย ยอดอ้อย
4.1.4.2 สง่ิ ของทผ่ี ู้เข้ารว่ มประเพณเี ตรียมมา
1) ขา้ วเปลอื กครวั เรอื นละ 1 ตะกรา้ หรือตามกำลงั ศรัทธา
2) ดอกไม้ 1 คู่
3) ธูป 1 คู่
4) เทยี น 1 คู่

62

ภาพท่ี 4.5 วัสดุทชี่ าวบา้ นจัดเตรียมมารว่ มพธิ ีบญุ คณู ลานปราสาทรวงขา้ ว
ทมี่ า : พสั กร บุญศร,ี 2562.

4.2 ข้ันตอนของประเพณบี ุญคณู ลานปราสาทรวงข้าว

ในขนั้ ตอนนี้ สามารถแบ่งไดเ้ ป็น 2 ระยะ ดงั นี้
4.2.1 ข้ันตอนก่อนวันงาน

ผู้นำชุมชนประชุมเพื่อชี้แจงให้ชาวบ้านทราบว่าวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของปีนี้
ตรงกับวนั ท่ีเท่าไร ก่อนวันงาน 3 วัน หลงั พิธเี จรญิ พระพุทธมนต์แล้ว ชาวบ้านจะปรึกษาหารือ
และแบ่งหนา้ ทก่ี นั เพอื่ เตรยี มการทำงานวนั รุง่ ข้นึ

4.2.2 ข้ันตอนในวันงาน
ผู้ร่วมเตรียมพิธีกรรมเริ่มโยงสายสิญจน์จากปราสาทรวงข้าวมายังศาลาประกอบพิธี

โดยผูกกับธูปที่ปักไว้ แล้วโยงต่อไปยังสถานที่ที่หมอสูตรประกอบพิธีกรรมบูชาพระแม่โพสพ
เมื่อโยงสายสิญจน์ผ่านกองข้าวมา ก็โยงเข้ากับตะกรา้ ข้าวเปลือก ต่อมายังขัน และสุดท้ายหมอสูตร
ถือสายสิญจน์ไว้ในมือจากนั้นก็เริ่มพิธีกล่าวคำบูชาสู่ขวัญข้าว ซึ่งมีขั้นตอนคือ ยกขันห้า ตั้งนะโม 3 จบ
กล่าวสัคเคกาเม วางขันหา้ สูข่ วญั ข้าว

4.3 การสร้างปราสาทรวงขา้ ว

การสร้างปราสาทรวงขา้ ว มรี ายละเอยี ด ดังน้ี
4.3.1 วสั ดุอปุ กรณท์ ตี่ ้องใช้

1) ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 เพราะจัดว่าเป็นข้าวต้นสูง โดยสูงประมาณ 150 เซนติเมตร
มีลำตน้ เขียว เปน็ ขา้ วเหนยี วคณุ ภาพดี หุงแลว้ มีกลนิ่ หอม เหนยี วนุ่ม ชาวบ้านจะนำมามดั เปน็ รวงข้าว

63

ด้วยตอกประมาณ 50 รวงต่อ 1 กำ ซ่งึ ใช้รวงข้าวกว่า 10,000,000 รวง ในการจัดทำปราสาทรวง
ข้าวแต่ละครั้ง

ภาพท่ี 4.6 ลักษณะของข้าวเหนยี วพันธ์ กข 6
ทมี่ า : ทัศนยี ์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.

2) ไม้ไผ่ ตั้งแต่อดีตจนถึง พ.ศ. 2558 ใช้ไม้ไผ่ประมาณ 400 ลำ มาทำเป็นนั่งร้าน
และทำโครงสร้างของปราสาทรวงข้าว แต่เมื่อ พ.ศ. 2559-2561 ได้ปรับเปลี่ยนจากไม้ไผ่เป็นเหล็ก
ซึ่งง่ายต่อการเก็บรักษา สามารถจัดถอดเก็บได้เป็นชิ้น ๆ และง่ายต่อการประกอบเป็นโครงสร้าง
แต่สำหรับบริเวณรอบ ๆ ตัวปราสาทก็ยังคงใชไ้ ม้ไผ่ ทำให้ลดปริมาณการใชไ้ ม้ไผ่ลง นอกจากน้ี
ไมไ้ ผ่ยงั นำมาทำเป็นตอกไม้ไผ่ โดยเหลาใหเ้ ป็นเส้นขนาดของตอกยาวประมาณ 2 ฟุต บางประมาณ
0.05 มิลลิเมตร เป็นสิ่งสำคัญที่ใช้มัดรวงข้าวให้เป็นกำ และตอกไม้ไผ่ยังเป็นตัวมัดรวงข้าวกับโครงสร้าง
ของปราสาทได้อย่างแนน่ หนาและสวยงาม

ภาพท่ี 4.7 ไม้ไผ่ทีน่ ำมาใช้ในการจดั ทำร้ัวและนัง่ รา้ นปราสาทรวงข้าว
ท่มี า : ทศั นยี ์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.

64

3) เชือกปอ เชือกปอมีความเหนียว ทนทานต่อแสงแดดและความชื้น ใช้มัด
โครงสรา้ งและมดั ร้ัวไมไ้ ผร่ อบ ๆ บรเิ วณปราสาทรวงขา้ ว ตลอดจนประตูทางเข้าดว้ ย

ภาพท่ี 4.8 ลักษณะของเชอื กปอทนี่ ำมาใชใ้ นการจัดทำปราสาทรวงข้าว
ที่มา : ทัศนยี ์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.

4.3.2 ขนั้ ตอนการสร้าง
1) ข้ันตอนการเกี่ยวข้าวและการขอรับบรจิ าครวงข้าว ชาวบา้ นตำบลเหนือ

เกีย่ วขา้ วโดยถือเคยี วดว้ ยมือขา้ งที่ถนัด แล้วใชเ้ คยี วเกย่ี วตวัดกอต้นข้าว ส่วนอกี มือหนง่ึ รวบรวมข้าวไว้
โดยทั่วไปจะเกี่ยวให้มีความยาวของต้นข้าวห่างจากรวงข้าวในระยะพอเหมาะที่จะนำไปจัดตกแต่ง
ปราสาทรวงข้าวไดอ้ ย่างสวยงาม ตอ่ มานำรวงขา้ วทเี่ กี่ยวแล้วผ่ึงแดดไว้ใหแ้ ห้งประมาณ 4-7 วัน
แลว้ จึงมัดขา้ วเป็นกำ เรียกว่า “มดั รวงขา้ ว”

ภาพที่ 4.9 ชาวบ้านทชี่ ่วยกนั เก็บเกยี่ วรวงข้าวในนาทีท่ างวดั ได้ปลกู ไว้
ทีม่ า : ทัศนีย์ ศิวบวรวัฒนา, 2562.

หลงั เก็บเกย่ี วเสร็จชาวบ้านจะนำมัดรวงข้าวมารวมกนั ท่ีวัดเศวตวันวนาราม
ซึ่งทางวัดเองก็ได้มีพื้นที่นาบริเวณหลังวัดจากที่ชาวบ้านบริจาคให้เพื่อปลูกข้าวสำหรับรองรับ
การทำปราสาทรวงข้าวมาใชใ้ นพธิ นี ด้ี ้วย นอกจากน้แี ล้วยงั มีการขอรบั บรจิ าคจากชาวบ้านเพ่ิมเติมอีกทาง

65

ถา้ หากชาวบา้ นไมม่ ยี านพาหนะ ทำใหน้ ำรวงขา้ วมาถวายวดั ไม่ไดก้ ส็ ามารถ
แจ้งความต้องการมาที่วัด คณะกรรมการของวัดก็จะให้การบริการโดยนำรถไปรับรวงขา้ วที่ท่งุ นาให้
ซึ่งชาวบ้านต่างมีจิตศรัทธาให้การบริจาครวงข้าวเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ทางวัดมีรวงข้าวที่เพียงพอ
สามารถจัดทำปราสาทรวงข้าวได้ ในข้ันตอนนจ้ี ะมที ้ังชาวบ้านทุกเพศทกุ วยั และพระสงฆ์ร่วมช่วยกัน
เป็นเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ตง้ั แตเ่ ช้ามดื จนถึงเวลาเย็น

ภาพท่ี 4.10 ชาวบา้ นบรจิ าครวงข้าว โดยทางวดั นำรถไปรบั รวงขา้ วถึงท่ีนา
ทม่ี า : สมัย แจม่ ศกั ดิ์, 2562.

2) ข้ันตอนมดั รวงข้าว เป็นข้ันตอนที่ตอ้ งใชเ้ วลานานประมาณ 3 เดือน
ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ซึ่งต้องทำด้วยความระมัดระวัง ใช้ความอดทน และ
ความละเอียดประณีตในการเอาใบข้าวที่ตายแล้วออกจากรวงข้าว และให้เหลือแต่รวงข้าวที่มีความสมบูรณ์
ที่สุด โดยจะเลือกรวงข้าวที่มีเมล็ดงาม น้ำหนักดี จับเป็นกำแล้วมัดด้วยตอกไม้ไผ่ ใช้รวงข้าว
ประมาณ 50 รวงต่อ 1 กำ เพราะถ้าหากใช้มากหรือน้อยกว่านี้ เมื่อนำขึ้นไปจัดตกแต่งบน
ปราสาทรวงข้าวแลว้ จะไม่สวยงาม

ภาพที่ 4.11 ชาวบ้านและนกั ศกึ ษาวิทยาลยั นาฏศลิ ปกาฬสนิ ธช์ุ ่วยกนั มดั รวงข้าว
ทีม่ า : ทัศนีย์ ศิวบวรวัฒนา, 2562.

66

ผู้ที่มาช่วยกันในขั้นตอนนี้ส่วนมากเป็นผู้หญิงและเด็ก ๆ ที่มาช่วยกัน
หลงั ว่างเวน้ จากงานทบ่ี า้ น ซ่งึ จะทำการมัดรวงข้าวด้วยความตั้งใจตงั้ แต่ตอนเช้าไปจนถึงพลบค่ำชองทุกวนั

ภาพที่ 4.12 ลกั ษณะของรวงข้าวทีผ่ ่านการมดั พร้อมนำขึ้นประดบั บนปราสาท
ทม่ี า : ดำรง มณีศรี, 2562.

3) ขั้นตอนปรับพื้นที่ดินที่จะสร้างปราสาทรวงข้าวและทำลานข้าว
ขั้นตอนนี้เมื่อก่อนต้องอาศัยกำลังของผู้ชาย เพราะจะต้องนำดินมาปรับพื้นที่ สถานที่ก่อสร้าง
จำเป็นจะต้องทำให้พื้นดินราบเรียบเพราะจะต้องทำลานข้าวด้วย ในปี พ.ศ. 2560 ชาวบ้านได้เทปูนถาวร
เพื่อป้องกันการกัดเซาะของหน้าดินตอนฝนตก และจะได้ไม่ต้องปรับพื้นที่ทุกปี ดังนั้นจึง ได้
พน้ื ทจ่ี ดั ทำปราสาทรวงขา้ วแบบถาวร มอี ายุการใช้งานได้นานหลายปี

ภาพที่ 4.13 ลักษณะของพ้ืนทป่ี รับเปน็ ลานปูนป้องกนั การกดั เซาะของหน้าดินเมือ่ ฝนตก
ที่มา : ทศั นีย์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.

67

4) ขนั้ ตอนการขอรับบรจิ าคไม้ไผ่เพือ่ นำมาทำน่ังรา้ นเเละรว้ั ปราสาทรวงขา้ ว
ทางวัดเศวตวันวนารามจะประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้ทราบถึงกำหนดการก่อสร้างปราสาทรวงข้าว
และกำหนดวันออกขอรับบริจาคไม้ไผ่จากชาวบ้าน โดยใช้รถประชาสัมพันธ์สำรวจเส้นทางล่วงหน้า
ก่อนไปรับบริจาคประมาณ 1 สปั ดาห์ เพอื่ ใหช้ าวบ้านได้รับทราบและตัดไม้ไผ่มาเก็บไว้ ซึ่งหากไม่เพียงพอ
ผู้นำชุมชนและชาวบ้าน จะร่วมกันไปตัดไม้ไผ่เพื่อมาทำนั่งร้านเเละรั้วปราสาทข้าว ไม้ไผ่ที่มี
คณุ ภาพต้องมีอายุประมาณ 4 ปี แข็งแรงทนทาน มอดกินได้ยาก เส้นผา่ ศูนยก์ ลาง 2 นิ้วขึ้นไป
ความยาวตง้ั แต่ 2 เมตรขน้ึ ไป ลำต้นตรง ไมง่ อ

ภาพที่ 4.14 ชาวบ้านช่วยกนั ตดั ไม้ไผม่ าทำน่งั รา้ นเเละรั้วปราสาทรวงข้าว
ท่มี า : องุ่นศลิ ป์ จลุ ย์บรุ มย์, 2562.

5) ข้นั ตอนทำโครงสร้างของปราสาทรวงขา้ วชาวบา้ นทเี่ ปน็ ชา่ งจะเขียนแบบแปลน
โครงสร้างของปราสาทรวงข้าวซึ่งจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์หาพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมดได้
และยงั สามารถกำหนดวา่ ต้องใช้รวงข้าวจำนวนมากหรือน้อยเทา่ ไรได้อกี ด้วย ตอ่ มาในช่วงปี พ.ศ. 2559-2561
ชาวบ้านได้ประชุมและวางแผนการสร้างปราสาทรวงข้าวทรงจตุรมุขและใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ
เพราะมีขอ้ ดคี ือ แขง็ แรง รบั น้ำหนกั ไดม้ าก กอ่ สร้างไดเ้ รว็ เพยี งแตค่ ่าใช้จ่ายในการก่อสรา้ งคร้ังแรกจะสูงข้ึน
แต่ก็สามารถใชง้ านไดน้ านหลายปถี า้ เก็บรักษาดี

โครงสร้างของปราสาทรวงขา้ วมีส่วนประกอบ 3 สว่ น คือ ฐาน หลังคา
และยอดฉัตร วิธีการสร้างคือ นำเสาปูนจำนวน 12 ต้นสร้างส่วนฐานให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
เพ่อื สร้างความแข็งแรงและมน่ั คง จากนัน้ ทาสขี าวรองพนื้ แล้วทาทับด้วยสีขาวอีกครั้ง ต่อมาใช้
เหลก็ ทำโครงหลงั คาและหน้าบัน ใชส้ ขี าวทาสว่ นหลังคาแลว้ จึงทาทับดว้ ยสีเหลือง หลังจากนั้น
จึงทำส่วนยอดซึ่งนิยมทำเป็นยอดทรงฉัตรมีรูปร่างคล้ายร่มที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยทำแยกเป็น2ส่วนคอื
ส่วนลา่ งทำเป็นช้ันแบบชฎา และต่อดว้ ยสว่ นหัว โดยนำไม้ไผ่หนา 15 มิลลิเมตร มาทำส่วนฐานเป็นชั้น ๆ
ซ้อนลดหลั่นกัน 7 ชั้น ส่วนชั้นบนสุดทำเป็นช่องกลมไว้สำหรับปักปลียอดที่ใช้รวงข้าวประดับลง
ในแกนไมก้ ลมท่ีมีไมเ้ นอ้ื แข็งเป็นแกนกลางดูคลา้ ยกระเปาะเรียงต่อกนั

68

ภาพที่ 4.15 ลักษณะการก่อสรา้ งโครงสร้างของปราสาทรวงขา้ ว
ทีม่ า : ทัศนีย์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.

6) ขนั้ ตอนมดั ฟางใสโ่ ครงสร้างและตกแตง่ ปราสาทรวงข้าว ปราสาทรวงข้าว
มีความสูงถึง 20 เมตร การจะตกแต่งจึงต้องทำนั่งร้านไม้ไผ่ขึ้นไป ผู้ชายและพระสงฆ์จะขึ้นไป
ประดับรวงข้าวในเวลาตอนเช้าและตอนเย็นเท่านั้น เพราะอากาศไม่ร้อน เมล็ดข้าวจะไม่ร่วงออกจากรวงข้าว
รวงขา้ วจะมีความแข็งแรงทนทาน โดยเริ่มตกแต่งจากยอดฉตั รซ่งึ อยู่ข้างบนสุดลงมาถึงฐานชน้ั ลา่ ง

ภาพท่ี 4.16 พระสงฆ์และชาวบา้ นช่วยมัดฟางขา้ วใส่ร้วั รอบโครงสรา้ งปราสาท
ทีม่ า : ทัศนยี ์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.

วิธีการประดับคือ ให้รวงข้าวทิ้งตัวลงมาด้านล่าง จากนั้นใช้ตอกไม้ไผ่มัดก้าน
ของรวงข้าวกับโครงของไม้ไผ่ให้แน่น จัดแยกรวงข้าวออกให้ได้ระยะห่างที่เหมาะสม วางรูปแบบ
ใหเ้ ปน็ ตารางช่อง ๆ เหมือนไมร้ ะแนงท่ีสวยงาม ดังนั้นจึงต้องมัดรวงข้าวให้ไดร้ ูปทรงของปราสาท
ทีท่ ำโครงสร้างไว้ เม่ือตกแต่งเสร็จแล้วจะตอ้ งใหม้ ีแสงสวา่ งลอดลงมาถึงพ้ืนขา้ งล่างได้ด้วย

69

ภาพที่ 4.17 ลกั ษณะของการตกแตง่ ปราสาทรวงขา้ ว
ทม่ี า : ทัศนยี ์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.

7) ขั้นตอนเดินสายไฟเพื่อความสวยงามในยามค่ำคืน และเพิ่มความสว่าง
ให้กับพื้นที่จัดงาน จำเป็นต้องอาศยั เจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการ โดยเทศบาลตำบลเหนือได้ส่งเจ้าหนา้ ที่
เข้ามาร่วมกับพระสงฆ์ และชาวบ้านช่วยกันตกแต่งหลอดไฟประดบั รอบปราสาทรวงข้าวส่องแสงทะลุรวงข้าว
อยา่ งสวยงาม ใหป้ ราสาทขา้ วเปน็ สีทอง

ภาพที่ 4.18 ลักษณะของการเดินสายไฟเพือ่ ความสวา่ งและไฟประดบั แสงสี
ทม่ี า : สาลนิ ี จนั ทร์ขจร. 2562.

70

4.4 การจดั การประเพณบี ญุ คูณลานปราสาทรวงข้าว

ในที่นี้ จะกล่าวถึงด้านอนุรักษ์ ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และด้านการ
มสี ่วนร่วมของชุมชน ดงั นี้

4.4.1 ดา้ นการอนรุ กั ษ์
1) มีการจัดประชุมของคณะกรรมการชุมชน ชาวบ้าน และช่างทำปราสาทรวงข้าว

เพื่อสร้างความตระหนักถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ทำสืบต่อกันมา ให้โอกาสแก่กรรมการชุมชน
ชาวบา้ น ผู้อาวุโส ชา่ งรนุ่ อาวุโสและช่างรุ่นใหมไ่ ด้พบปะแลกเปลย่ี นความคดิ เห็นทักษะทางช่าง
รวมถึงจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกันของช่างก่อนที่จะทำปราสาทรวงข้าว เพื่อตกลงเรื่องลักษณะ
และรูปแบบของปราสาทรวงข้าวให้ตรงกัน เช่น ขนาดของปราสาทรวงข้าว การอนุรักษ์ลักษณะ
และรูปแบบของปราสาทรวงข้าวดังที่เคยทำกันมา ตลอดจนงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
และการจัดหางบประมาณเพ่ิมเติม มีหนว่ ยงานท่ีติดตามและประเมินท่ีชัดเจน และนำผลการประเมินมาใช้
ในการปรับปรงุ และพฒั นาประเพณีแหบ่ ญุ คูณลานปราสาทรวงขา้ วในปีต่อ ๆ ไป

ภาพที่ 4.19 ผูน้ ำชุมชน สถานศึกษาและคณะกรรมการหม่บู า้ น ประชมุ เพอ่ื เตรยี มความพรอ้ มในการจัดงาน
ประเพณีบุญคูนลานสืบตำนานพระแม่โพสพ ณ วัดเศวตวันวนาราม ต.เหนอื อ.เมอื ง จ.กาฬสินธ์ุ
ที่มา : กงิ่ ดาว ลุนพิจิตร, 2562.

2) มีช่างอาวุโสคอยช่วยเหลือและให้ปรึกษาแก่ช่างรุ่นใหม่ โดยให้ช่างอาวุโส
เป็นหัวหน้าทีมช่าง เพื่อฝึกฝนบ่มเพาะช่างรุ่นใหม่ให้พัฒนาทักษะฝีมือเชิงช่างไปพร้อมกับการเรียนรู้
จากการปฏิบัติจริง อีกทั้งยังสนับสนุนการพัฒนาฝีมือของช่างทำปราสาทรวงข้าว ทั้งจากการ
หมั่นศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากหนังสือหรือเอกสารที่เกี่ยวกับศิลปะด้านจิตรกรรม
ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมของไทย เพื่อศึกษาลักษณะและรูปแบบงานศิลปะของไทย
จนสามารถนำองค์ความรตู้ ่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการทำปราสาทรวงข้าวของตนได้ อีกท้ังยังให้ช่าง

71

ได้มีโอกาสศึกษาดูงานศิลปะไทยในทุกภาคของประเทศ ซึ่งงานศิลป์ในภาคกลาง เช่น
พระราชวัง โบสถ์ วิหาร มีคติความเชื่อทั้งท่ีอาจแตกต่างหรือคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างย่ิง
งานด้านสถาปัตยกรรม และประติมากรรมของคนไทยภาคกลาง จะทำให้ช่างท้องถิ่นมีโอกาส
แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานศิลปะของช่างพื้นบ้านของภาคอื่นในประเทศ ทำให้ช่างได้ตระหนัก
หรอื มคี วามตืน่ ตัวทพี่ ัฒนาฝีมอื เชงิ ชา่ งของตนตอ่ ไป

ภาพท่ี 4.20 ช่างอาวุโสคอยชว่ ยเหลือและใหป้ รกึ ษาแกช่ ่างรุ่นใหม่
ทม่ี า : ทศั นีย์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.

3) มีการเก็บรักษาและดูแลวัสดุอปุ กรณเ์ ดิมไว้ และใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถจัดหาได้งา่ ย
ในท้องถิ่นของตนเช่น เหล็ก นำมาแทนไม้บางส่วน เมื่อเสร็จงานแล้วสามารถเก็บรักษาไว้ใช้ได้นาน 3-5ปี
นอกจากนี้การใช้โครงปราสาทรวงข้าวอันเก่ายังประหยัดต้นทุน โดยจะเน้นการเปลี่ยนแปลงลักษณะ
หรือเทคนิคการประดบั รวงข้าวใหม่แทน ซึ่งเปน็ งานทท่ี า้ ทายฝีมือเชงิ ช่างของช่างเป็นอย่างมาก
ดังนั้นจึงเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการพิจารณาร่วมกัน ขณะเดียวกันก็สนับสนุน
การใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ทันสมัยซึ่งทำให้ใช้เวลาในการทำปราสาทรวงข้าวน้อยลง เช่น ใช้เครื่องยิง
แบบอัดลมยงิ ลวดเย็บแทนตะปู

ภาพที่ 4.21 ลักษณะของการรักษาและดูแลวสั ดอุ ุปกรณ์เดมิ และสามารถนำมาใชไ้ ด้
ท่ีมา : ทัศนีย์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.

4) มีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนและทำปราสาทรวงข้าวเช่น เป็นที่ตั้งของปราสาทรวงข้าว
เป็นที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นที่มัดรวงข้าวและรับบริจาคสิ่งของจากชาวบ้าน เป็นที่จัดประชมุ

72

คณะกรรมการของชุมชน เป็นที่ฝึกซ้อมขบวนประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว เป็นศูนย์กลาง
ในการประชาสัมพันธข์ องชมุ ชน และให้ชุมชนมสี ่วนรว่ มในการกำหนดสถานทีต่ ั้งขบวนแห่ การจัดลำดับ
ขบวนแห่ กิจกรรมภายในขบวนแห่ โดยประสานงานกบั หนว่ ยงานที่รบั ผิดชอบเช่นขบวนดนตรีพื้นเมอื ง
ขบวนฟ้อนรำขบวนแหป่ ราสาทรวงข้าว ขบวนแห่วิถีชีวิต การแต่งกายของของผู้เข้าร่วม การกำหนด
จดุ ทรี่ วมปราสาทรวงข้าวของแตล่ ะหมบู่ ้านเพ่ือจัดแสดงให้นกั ท่องเที่ยวชม

5) จัดตั้งศูนย์เรียนรูป้ ราสาทรวงข้าวกาฬสินธ์ุ ตงั้ อยู่ท่ีวดั เศวตวนั วนาราม ตำบลเหนือ
อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสนิ ธุ์ มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ ให้ความรู้เร่ืองการอนุรักษป์ ระเพณีบุญคณู ลาน
ปราสาทรวงข้าว ให้ความรู้ด้านการทำปราสาทรวงข้าว เพื่อให้ช่างรุ่นอาวุโสและช่างรุ่นใหม่
ตลอดจนผู้ทส่ี นใจทว่ั ไปมโี อกาสแลกเปลีย่ นเรียนรภู้ มู ิปญั ญาเก่ียวกบั การทำปราสาทรวงขา้ ว

4.4.2 ด้านการสง่ เสริมการทอ่ งเท่ียวเชงิ วัฒนธรรม
1) มีขบวนแห่ประเพณีปราสาทรวงข้าว ซึ่งสะท้อนภูมิปัญญาของท้องถิ่น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งขบวนแห่วิถีชีวิตของแต่ละหมู่บ้านในตำบลเหนือ การละเล่นของชุมชน การเล่นดนตรี
พื้นเมืองของชุมชนประกอบขบวนฟอ้ นรำ การแต่งกายของขบวนฟ้อนรำ กำหนดเสน้ ทางการเคล่อื น
ของขบวนโดยใช้ถนนเส้นที่มีความกว้างเพียงพอ และไมห่ ่างจากวัดเศวตวันวนารามมาก โดยเวลา 14.00 น.
เริ่มเคลื่อนขบวนพานบายศรี ปราสาทรวงข้าวจำลองทั้ง 12 หมู่บ้าน และเครื่องบูชาแม่โพสพ
จากบา้ นตอ้ นหม่ทู ่ี 6 สู่วดั เศวตวันวนาราม ตำบลเหนือ อำเภอเมอื ง จงั หวดั กาฬสินธุ์

ภาพท่ี 4.22 ขบวนแห่ปราสาทรวงขา้ วของแตล่ ะหมูบ่ า้ น
ท่มี า : ทัศนยี ์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.

2) มกี ารประชาสัมพันธง์ านประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าวอย่างท่วั ถึง โดยเร่ิมจาก
การประชุมร่วมกันของเทศบาลตำบลเหนือและจังหวัดกาฬสินธ์ุ มีผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์มอบหมาย
ให้เป็นหน้าท่ีของประชาสัมพันธ์จังหวัดพิจารณาข้อมูลและปัญหาการประชาสัมพันธ์ในปีท่ีผ่านมา
เพอ่ื ปรบั ปรุงแก้ไขครั้งน้ีใหด้ ียิ่งขึ้น หลังจากน้ันแบ่งหน้าที่ความรบั ผิดชอบงานใหแ้ ตล่ ะฝ่าย การวางแผน
และกำหนดแผนงานปฏิบตั ิการประชาสมั พนั ธ์เร่ิมจากกำหนดระยะเวลาในการจดั งานเป็นเวลา 4 วนั
พร้อมทั้งเสนอความคิดเห็นในการกำหนดสื่อ โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการเผยแพร่

73

รายละเอียดการจัดงานประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าวประจำปี โดยพิจารณาเลือกส่ือ
ตามความเหมาะสม

ภาพที่ 4.23 การประชาสมั พันธก์ ารจัดงานประเพณบี ุญคณู ลานปราสาทรวงขา้ ว
ท่มี า : ประสงค์ พทุ ธภูม,ิ 2562.

3) มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว
เช่น การประกวดปราสาทรวงข้าว การแข่งขันนวดข้าว การแข่งขันโยนข้าว การประกวด
ภาพถ่ายปราสาทรวงขา้ ว การแขง่ ขนั การวาดภาพปราสาทรวงขา้ วของนักเรยี น นสิ ิต นกั ศึกษา
เพื่อปลูกฝังความรักและความภาคภูมิใจในศิลปะและวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นตนเอง
มกี ารต้งั ซุม้ กลุม่ อาชพี นำสินคา้ ของดจี งั หวัดกาฬสนิ ธุ์ อาทิ ผา้ ไหมแพรวา หรือผลติ ภัณฑ์ทางการเกษตร
รวมทงั้ อาหารพน้ื ถ่นิ มาจำหน่ายให้แก่นกั ท่องเท่ียวท่เี ข้ามาชมงาน

74

ภาพที่ 4.24 กิจกรรมทีจ่ ดั ในงานประเพณบี ญุ คณู ลานปราสาทรวงข้าว
ท่ีมา : ทศั นีย์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.

4) มกี ารจดั ระบบรกั ษาความปลอดภัยทัง้ ชวี ิตและทรัพย์สนิ ของผู้ชมและนักท่องเทีย่ ว เชน่
จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจ สารวัตรทหาร หรืออาสาสมัครป้องกันภัยพลเรือน (อพปร) เพื่อดูแลความปลอดภัย
ตลอดงาน รวมถึงจัดระบบอำนวยความสะดวกด้านการจราจรภายในจังหวัดและระหว่างจังหวัดรวมถงึ
จัดความสะดวกสบายดา้ นสุขาภบิ าล เชน่ จัดให้มีหอ้ งสขุ าสาธารณะหรือสุขาเคลื่อนที่อย่างเพียงพอ
มีการดูแลด้านสภาพสิ่งแวดล้อมให้มีความสะอาด ความร่มรื่น สวยงาม โดยจะมอบหมายหน้าที่ให้กับ
กองงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลเหนือ จัดเจ้าหน้าทีจ่ ัดเก็บขยะ ทำความสะอาดถนน
หรือเส้นทางที่ใช้ในการจัดขบวนประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าวในทันที ทำให้ถนนมีความสะอาด
เรียบร้อย ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอก็ยังมีจิตอาสามาช่วยทำงานร่วมกับกองงานสาธารณสุขอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีรถหน่วยแพทย์พยาบาลเคลื่อนที่จากโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และสำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดกาฬสินธุ์ เตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือได้อยา่ งรวดเร็วในกรณที ี่มีเหตุการณ์ร้าย การเจ็บป่วย
หรอื อุบตั ิเหตเุ กดิ ขึ้น

ภาพที่ 4.25 จดั สภาพสง่ิ แวดลอ้ มใหม้ คี วามสะอาด ความร่มร่นื สวยงาม
ที่มา : ทศั นยี ์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.

75

4.4.3 ด้านการมีสว่ นร่วมของชมุ ชน
1) มีการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการชุมชน เพื่อร่วมกันคิด ศึกษา ค้นหาจุดเดน่

หรือสิ่งดีงามด้านศิลปวัฒนธรรมของชุมชนมานำเสนอผ่านการทำปราสาทรวงข้าว และขบวนประเพณี
บุญคูณลานปราสาทรวงขา้ ว

2) มีการให้ความร่วมมือโดยเสียสละเวลาและแรงกายช่วยกิจกรรมต่าง ๆ เชน่
เขา้ ร่วมขบวนแห่ สนบั สนุนใหบ้ ุตรหลานเข้ารว่ มมัดรวงข้าว เขา้ ร่วมพิธบี ุญคูณลาน นอกจากนี้ยังเข้าร่วม
โดยการบริจาคสิ่งของและทรัพย์สิน เช่น รวงข้าว ไม้ไผ่ ดอกไม้ และเงิน หรือร่วมเป็นกำลังใจ
และเป็นเบอ้ื งหลัง เชน่ ผรู้ ู้ ปราชญท์ อ้ งถิน่ ผอู้ าวุโส ครู อาจารย์

ภาพที่ 4.26 ชาวบา้ นรว่ มสมทบทนุ บรจิ าคสิ่งของในการจัดทำปราสาทรวงข้าวให้กับทางวัดเศวตวนั วนาราม
ทีม่ า : มณีพันธ์ ประทมุ , 2562.

3) มกี ารรว่ มมือกนั ระหวา่ งวดั เศวตวันวนาราม และเทศบาลตำบลเหนอื ซึง่ เปน็
หน่วยงานหลักที่รับผดิ ชอบในการจัดงานประเพณีประเพณบี ุญคูณลานปราสาทรวงข้าวของจังหวดั รวมถึง
ให้ความรว่ มมือกนั เป็นเจ้าภาพท่ีดี มีความเปน็ มิตร ความเอ้อื เฟื้อเผ่ือแผ่ต่อทุกคนท่มี าเทยี่ วงานประเพณี

4.5 รายละเอยี ดพธิ ีเปดิ งานประเพณีบญุ คูณลานปราสาทรวงขา้ ว

ในที่นี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอรายละเอียดในพิธีเปิดงานประเพณีบุญคูณลานปราสาท
รวงขา้ ว ประจำปี 2561 โดยเทศบาลตำบลเหนือไดเ้ ชญิ บคุ คลสำคัญระดบั ประเทศเปน็ ประธาน
ในพิธี ตามกำหนดการและข้ันตอน ต่าง ๆ ดงั น้ี

1) เวลาประมาณ 05.00 น.ประชาชนนำข้าวเปลือกมาเทรวมกันเพื่อทำพิธีคูณลานที่
ปราสาทรวงข้าว อันเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมีน้ำใจและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
เพราะหากกองขา้ วท่ลี านรวมกันกองใหญ่ หมายถงึ ความศรทั ธาและมีน้ำจติ น้ำใจของผู้คนในหมู่บ้านนั้นมีมาก
ทั้งยังหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตในปีนั้น ๆ เพราะกองข้าวบ่งบอกว่าฝนฟ้าในปีนั้นตกต้องตาม
ฤดูกาล นำ้ ทา่ อดุ มสมบูรณ์ดี จึงเกบ็ เกย่ี วผลผลิตได้มากพอท่จี ะให้ชาวบ้านแบง่ ปนั มาทำบุญ

76

ภาพที่ 4.27 ชาวบา้ นนำข้าวเปลอื กมาเทกองรวมกันทีป่ ราสาทรวงขา้ ว
ที่มา : จนั ทร์เพญ็ พนั ธ์โสภา, 2562.

2) ชาวบ้านจะทำพานบายศรีขนาดกลางจำนวน 4 พาน วางไว้ที่มุมของปราสาทรวงข้าว
ทง้ั 4 มมุ บนลานข้าวทชี่ าวบ้านนำมาเทรวมกนั

ภาพท่ี 4.28 พานบายศรที ่ีจัดวางตามมมุ ปราสาท 4 มมุ
ทม่ี า : ทศั นยี ์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.

3) จดั เตรยี มเครื่องไหว้ทีห่ น้ารปู พระแม่โพสพ ประกอบดว้ ย พานบายศรขี นาดใหญ่ 1 พาน
พานบายศรีขนาดเล็ก 11 พาน พานผลไม้ 9 ชนิด ได้แก่ มะละกอ ส้ม สับปะรด ขนุน มะพร้าวอ่อน
กล้วย แตงโม มะม่วง แอปเปิล

77

ภาพที่ 4.29 พานบายศรีและผลไมท้ ่จี ดั วางสำหรับบชู าแม่โพสพ
ที่มา : ทัศนยี ์ ศิวบวรวัฒนา, 2562

4) ตามธรรมเนยี มปฏิบัติ ระหวา่ งวันงาน 4 วัน พระสงฆ์จะไม่ออกเดินบิณฑบาต แต่จะรอรับ
ภัตตาหารทช่ี าวบ้านตักบาตรใหเ้ ท่านั้น ดงั น้ันเวลาประมาณ 7.30 น. ชาวบา้ นจะมาทำบุญตักบาตร
ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์และสามเณรที่นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ ในเทศบาลตำบลเหนือ
บริเวณหนา้ ปราสาทรวงข้าว

ภาพที่ 4.30 การตักบาตรแกพ่ ระภิกษขุ องชาวบ้านทบี่ รเิ วณปราสาทรวงขา้ ว
ทม่ี า : ทัศนีย์ ศิวบวรวัฒนา, 2562.

5) เวลาประมาณ 9.00-11.00 น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ชาวบ้านมารับพร
เพ่ือความเป็นสิริมงคลและถวายภตั ตาหารเพล

78

ภาพที่ 4.31 ชาวบา้ นทม่ี ารว่ มงานรบั พรจากพระภิกษุ
ทม่ี า : พชั รี ใจเยน็ , 2562.

6) เวลาประมาณ 13.00 น. ตั้งขบวนแห่ปราสาทรวงข้าวจำลองทั้งหมด 12 หมู่บ้าน
มาสู่บริเวณงานที่วัดเศวตวันวนาราม ปราสาทรวงข้าวจำลองทั้งหมดจะเรียงรายรอบปราสาทรวงข้าว
หลังใหญ่เพื่อรอให้คณะกรรมการพิจารณาตัดสิน ซึ่งในตอนเย็นจะประกาศผลการตัดสินการประกวด
ขบวนแหป่ ราสาทรวงขา้ วจำลอง โดยขบวนแหป่ ราสาทรวงขา้ วมที งั้ หมด 4 ขบวน ไดแ้ ก่

ขบวนท่ี 1 ขบวนพระแม่โพสพ ประกอบด้วย
- ผู้ถือป้ายงานประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าวซึ่งเป็นหญิงสาวในหมู่บ้าน

จำนวน 2 คน แตง่ ตวั ดว้ ยผา้ ถงุ ไหมและห่มผา้ ไหมแพรวาซึ่งเปน็ เอกลกั ษณ์ของผ้าไหมจังหวัดกาฬสนิ ธุ์

ภาพท่ี 4.32 ผู้ถือปา้ ยและผู้ทำหนา้ ทหี่ าบเงนิ หาบทองงานประเพณบี ุญคูณลานปราสาทรวงข้าว
ท่ีมา : ทศั นีย์ ศวิ บวรวัฒนา

79


Click to View FlipBook Version