4. ผู้แสดงวงใน ย่ำเท้าซ้าย เท้าขวา ตามจังหวะ มือทั้งสองถือรวงขา้ วระดับสะเอวด้านข้าง
ศีรษะตรง ผู้แสดงวงนอก ย่ำเท้าซ้าย เท้าขวา ตามจังหวะ มือทั้งสองโกยมือขึ้นเป็นจีบหงายระดับหน้า
หนา้ ตรง ผู้แสดงปฏบิ ตั ทิ ่ารำในภาพท่ี 5.137 (1-4) ตอ่ เนอื่ งกนั 4 ชุด ครง้ั สดุ ทา้ ย ผู้แสดงวงนอก
รบั รวงขา้ วจากผู้แสดงวงใน
12
ภาพท่ี 5.138 รูปแบบการแปรแถวที่ 12 (ท่าท่ี 25 ท่าอสี านบ้านเฮา)
ทีม่ า : ทศั นีย์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.
ผูแ้ สดงแปรแถวเปน็ รปู แบบการแปรแถวท่ี 13 ปฏบิ ตั ิกระบวนท่าอีสานบา้ นเฮา ในภาพที่ 5.138
(1-2)
1. ผู้แสดงเดินมาเป็นแถวหนา้ กระดาน 2 แถว หันหน้าไปดา้ นซ้ายของเวที ย่ำเท้าซ้าย เทา้ ขวา
ตามจังหวะ (นับจังหวะ 1 2 3 4 5 6 7 8) มือซ้ายถือรวงข้าวระดับสะเอว มือขวาจีบคว่ำที่ไหล่ขวา
กระดกขอ้ มอื ซา้ ยตามจงั หวะ ศรี ษะตรง
2. ผู้แสดงหันกลับมาด้านหน้า พร้อมกับเปลี่ยนมือ ย่ำเท้าซ้าย เท้าขวา ตามจังหวะ
(นับจังหวะ 1 2 3 4 5 6 7 8) มือขวาถือรวงข้าวระดับสะเอว มือซ้ายจีบคว่ำที่ไหล่ซ้าย กระดกข้อมือขวา
ตามจังหวะ ศรี ษะตรง
180
12
34
ภาพที่ 5.139 รปู แบบการแปรแถวที่ 2 (ทา่ ท่ี 26.1-26.2 ท่าอสี านบา้ นเฮา)
ที่มา : ทัศนยี ์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.
ผู้แสดงยังคงแปรแถวเป็นรูปแบบการแปรแถวที่ 2 ปฏิบัติกระบวนท่าอีสานบ้านเฮา
ในภาพที่ 5.139 (1-4)
1.-2. ผู้แสดงหันหน้าไปด้านขวาของเวที ย่ำเท้าซ้าย เท้าขวา ตามจังหวะ (นับจังหวะ 1 2 3 4)
มือขวาถือรวงข้าวระดับสะเอว มือซ้ายจีบหงายแล้วม้วนมือเป็นตั้งวงบน ศีรษะเอียงขวา
ในขณะทย่ี ่ำเทา้ ค่อย ๆ หมนุ ตัวไปทางด้านซ้าย
3.-4. ผู้แสดงหันหนา้ ไปด้านซ้ายของเวที ยำ่ เทา้ ซา้ ย เทา้ ขวา ตามจังหวะ มอื ขวาถือรวงข้าว
ระดับสะเอว มือซ้ายจบี หงายแลว้ ม้วนมอื เปน็ ตั้งวงลา่ งข้างสะเอวด้านซ้าย ศรี ษะเอียงซ้าย
181
12
3
ภาพที่ 5.140 รูปแบบการแปรแถวที่ 13 (ท่าที่ 27.1-27.5 ท่าอสี านบ้านเฮา)
ทมี่ า : ทัศนยี ์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.
ผู้แสดงแปรแถวเป็นรูปแบบการแปรแถวที่ 13 ปฏิบัติกระบวนท่าอีสานบ้านเฮา ในภาพที่ 5.140
(1-3)
ผแู้ สดงแถวข้างหลงั ซอ้ นแถวขนึ้ มาเป็นแถวหน้ากระดานแถวเดยี ว โดยคอ่ ย ๆ หมุนตัว
มาเป็นหน้าตรง ยำ่ เทา้ ซ้าย เท้าขวา ตามจังหวะเพลง มือขวาถือรวงข้าวระดับอก มือซ้ายต้ังวง
ระดับชายพกแล้ววาดมือออกไปดา้ นขา้ งจบี คว่ำ คลายมอื ออกเปน็ มอื แบหงาย ศีรษะตรง
182
ภาพที่ 5.141 รูปแบบการแปรแถวท่ี 14 (ท่าท่ี 28.1-28.5 ท่าอีสานบ้านเฮา)
ท่ีมา : ทัศนีย์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.
ผู้แสดงแปรแถวเป็นรูปแบบการแปรแถวที่ 14 ผู้แสดงแถวหน้านั่งคุกเข่า 3 คน แถวกลาง
นง่ั ต้ังเข่าขวา 3 คน แถวหลังเท้าขวาก้าวหน้า เท้าซ้ายวางหลัง ย่อเข่าไล่ระดับ 2 คน ยืนท้ัง 2 ฝั่ง
เปน็ แถวปากพนัง 2 คน (เทา้ ขวาก้าวหนา้ เทา้ ซา้ ยวางหลัง) โดยผ้แู สดงยำ่ เท้าซ้าย เทา้ ขวา แล้วก้าวเท้าขวา
ไปข้างหนา้ นัง่ คกุ เขา่ มือทั้งสองต้ังวงระดับสะเอว มอื ซา้ ยถอื รวงข้าว มอื ขวาตัง้ วงกลาง ศรี ษะตรง
183
12
3
ภาพที่ 5.142 รูปแบบการแปรแถวท่ี 13-14 (ท่าที่ 29.1-29.2 ทา่ เข้า)
ทม่ี า : ทศั นีย์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.
ผู้แสดงแปรแถวเปน็ รูปแบบการแปรแถวท่ี 13-14 โดยผแู้ สดง นั่งต้ังเข่าขวา แล้วลุกข้ึนยืน
ย่ำเท้าซ้าย เท้าขวา ตามจังหวะเพลง มือทั้งสองตั้งวงระดับวงกลาง มือซ้ายถือรวงข้าว มือขวาตั้งวงกลาง
ศีรษะตรง เมือ่ ยำ่ เทา้ ซ้าย เท้าขวา จงึ เปล่ียนเปน็ ศรี ษะเอียงขวา เขา้ เวที
184
5.10 รูปแบบการแปรแถว
การสรา้ งสรรค์รูปแบบการแปรแถวฟ้อนสขู่ วญั ข้าวคูณลานที่ใช้ประกอบการแสดงมี 3ลกั ษณะคือ
1. การใช้ทิศทางของผู้แสดงทั้ง 12 คน มีการใช้ทิศทางที่เป็นไปในทางเดียวกันทั้งหมด
และการใช้ทศิ ทางที่แตกต่างในชว่ งเวลาเดยี วกนั
2. การเคลื่อนไหวของผู้แสดงบนเวที มีการใช้ลักษณะเส้นต่าง ๆ ในการเคลื่อนไหว ได้แก่
การเคลอื่ นไหวในลกั ษณะเสน้ ตรงแนวเฉยี งเส้นโค้งวงกลมเสน้ โคง้ วงกว้างเส้นตรงแนวต้งั และเส้นตรงแนวนอน
3. รูปแบบแถวมลี ักษณะการแปรแถวแบบพนื้ ฐานทางนาฏศิลป์ไทย มที ้งั หมด 14 แบบ ดงั น้ี
3.1 การแปรแถวแบบแถวเฉียง
3.2 การแปรแถวแบบหน้ากระดานสองสบั หว่าง
3.3 การแปรแถวแบบแถวตอนสองแถว
3.4 การแปรแถวแบบแถวตอนสองแถวเดนิ สวนกัน
3.5 การแปรแถวแบบแถวตอนสีแ่ ถว
3.6 การแปรแถวแบบแถวเฉียงผสมแถวหนา้ กระดาน
3.7 การแปรแถวแบบแถวหน้ากระดานหลายแถว
3.8 การแปรแถวแบบหนา้ กระดานผสมแถวเฉยี ง
3.9 การแปรแถวแบบสามเหล่ียมหลายรปู เดนิ สวนกนั
3.10 การแปรแถวแบบสามเหล่ยี มหลายรปู ส่จี ุด
3.11 การแปรแถวแบบสามเหลี่ยมสองจดุ และแบบวงรี
3.12 การแปรแถวแบบห้าเหลย่ี ม
3.13 การแปรแถวแบบหนา้ กระดานแถวเดยี ว
3.14 การแปรแถวแบบตง้ั ซุ้มแถวหนา้ กระดาน
185
รูปแบบลักษณะการแปรแถวฟ้อนสู่ขวญั คณู ลาน สามารถทำเป็นแผนผงั ได้ดงั น้ี
ตารางท่ี 3 การแปรแถวฟ้อนสู่ขวญั ข้าวคูณลาน
รปู แบบแถวที่ 1 รปู แบบแถวท่ี 2
รปู แบบแถวที่ 3 รปู แบบแถวท่ี 4
รูปแบบแถวที่ 5 รูปแบบแถวท่ี 6
รูปแบบแถวท่ี 7 รูปแบบแถวท่ี 8
รูปแบบแถวที่ 9 รูปแบบแถวที่ 10
186
รปู แบบแถวที่ 11 รปู แบบแถวท่ี 12
รปู แบบแถวท่ี 13 รปู แบบแถวที่ 14
187
สรุป
ชดุ ฟอ้ นสูข่ วัญข้าวคูณลานของวิทยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสินธ์ุสร้างสรรค์ขนึ้ เพ่ือใช้เป็นชุดการแสดง
ในพิธีเปิดงานประเพณีบุญคูณลานปราสาทรวงข้าว และนำเสนอในงานศิลปวัฒนธรรมของสถานศึกษา
การแสดงชดุ นสี้ ามารถนำออกแสดงในงานรน่ื เรงิ หรอื โอกาสตา่ ง ๆ ไดต้ ามความเหมาะสม ผูแ้ สดงเป็น
ผู้หญิงล้วนจำนวน 12 คน สามารถลดหรือเพ่ิมจำนวนคนได้ มีรปู แบบการแปรแถวท้ังหมด 14 แบบ
ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานเหนือประกอบการแสดง มีการประพันธ์ทำนองขึ้นใหม่ชื่อว่า
ลายสู่ขวัญข้าวคูณลาน ท่วงทำนองช้า ปานกลาง และเร็ว ลักษณะการแต่งกายใส่เสื้อผ้าลูกไม้
นุ่งผ้าถุงลายมดั หมี่ ห่มสไบสีทอง และเครือ่ งประดบั แบง่ การแสดงออกเปน็ 3 ช่วงคอื
ชว่ งที่ 1 สอ่ื ให้เหน็ ความเชื่อเร่ืองการขอฟ้าขอฝนกับพญาแถนหรือสิ่งศักด์ิสิทธ์ิ ใหฝ้ นตก
ตอ้ งตามฤดกู าล
ช่วงท่ี 2 ส่ือให้เห็นการทำนา ในวิถีชวี ติ ของชาวอีสาน
ช่วงที่ 3 สื่อให้เห็นการนำรวงข้าวมาบูชาและประดบั ตกแต่งให้เป็นปราสาทรวงข้าวท่ีสวยงาม
จากนั้นได้สร้างสรรค์กระบวนท่ารำและการแปรแถว โดยมีแนวคิดการออกแบบท่ารำ 4 ลักษณะ
ได้แก่ การใช้เอกลกั ษณ์ของทา่ ฟอ้ นพน้ื บ้านอีสาน การใชท้ ่าฟ้อนแม่บทอีสาน การนำทา่ แม่บทอสี าน
มาประยกุ ตใ์ ช้ และการนำแนวคิดจากการฟอ้ นเดนิ ขบวนในงานประเพณีอสี านมาใช้เช่ือมท่ารำ
นอกจากนี้ได้นำทฤษฎีทัศนศิลป์มาออกแบบแถวพื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย การแปรแถวแบบตั้งซุ้ม
และการแปรแถวหลายรูปแบบในแถวเดียวกัน โดยใช้การเคลื่อนไหวในลักษณะเส้นตรงแนวเฉียง
เสน้ โคง้ วงกลม เส้นโคง้ วงกว้าง เสน้ ตรงแนวต้งั และเส้นตรงแนวนอน เพื่อใหเ้ กดิ ความสวยงาม
มีการจดั วพิ ากยโ์ ดยผทู้ รงคณุ วฒุ เิ พือ่ ประเมนิ คุณภาพผลงาน
188
189
บทที่ 6 บทบาทในการสรา้ งสรรค์ผลงาน
นาฏศลิ ป์พน้ื บา้ นของวิทยาลยั นาฏศลิ ปกาฬสนิ ธ์ุ
วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ สงั กดั สถาบันบัณฑิตพฒั นศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม เป็นสถาบัน
ที่มีหน้าที่สำคัญในการผลิตบุคลากรทางด้านนาฏศิลป์ ดนตรี รวมทั้งอนุรักษ์ เผยแพร่ สร้างสรรค์
ดนตรี นาฏศลิ ปไ์ ทย และนาฏศลิ ป์พ้ืนบ้าน เพื่อเปน็ เกียรติเป็นศักดิศ์ รีแก่บ้านเมืองและธำรงไว้
ซึ่งศลิ ปะแขนงดังกล่าวให้อยูค่ ปู่ ระเทศชาตสิ บื ไป
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นนามที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแก่สถาบัน ซึ่งหมายถึง สถาบันผลิตบัณฑิต
ทางศิลปะแห่งความเจริญ เป็นการยกระดับการศึกษาด้านดุริยางคศิลป์และช่างศิลป์ เพื่อนำศิลปะ
มาพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติ โปรดเกล้าฯพระราชทาน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2540
นับเป็นสิริมงคลสูงสุดแก่กระทรวงวัฒนธรรม สถาบัน บุคลากร และนักศึกษา ที่ทำหน้าที่อนุรักษ์
และสืบทอดศลิ ปวฒั นธรรมอนั เปน็ มรดกและเอกลักษณท์ ่ีสำคัญของชาติ ซง่ึ ในบทน้ีจะกล่าวถึง
ประวัติวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ การจัดการศึกษาในวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธ์ุ จุดมุ่งหมาย
ในการจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนและนักศึกษา
คุณลักษณะของครูผู้สอนวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์
พื้นบ้านของวทิ ยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์พืน้ บ้านของวิทยาลัย
นาฏศลิ ปกาฬสินธ์ุ ผลงานการสร้างสรรคน์ าฏศิลป์พืน้ บ้านของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์
6.1 ประวัติวิทยาลยั นาฏศลิ ปกาฬสินธุ์
กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม
พ.ศ. 2524 โดยใหส้ งั กัดกองศิลปศึกษา (ปจั จุบันคือ สงั กดั สถาบันบัณฑิตพัฒนศลิ ป์ กระทรวงวัฒนธรรม)
เปดิ ทำการสอนนักเรยี นตั้งแต่ระดับนาฏศลิ ป์ชั้นต้น จนถงึ ระดบั นาฏศลิ ปช์ นั้ สูง ท้ังน้ีเพ่ือให้สอดคล้อง
กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ 4-5 ที่จะต้องพัฒนาและขยายการศึกษา
ดา้ นนาฏศิลปแ์ ละดรุ ิยางคไ์ ทยไปส่สู ่วนภูมภิ าคให้เพียงพอ
โดยนายเกษม ศิริสัมพันธ์ ซ่ึงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการขณะนั้น มีมติให้
เปิดดำเนนิ การได้ในปีการศึกษา 2525 กรมศิลปากรอนุมตั ิเงิน 6,000,000 บาท ก่อสรา้ งอาคารเรียน 4 ช้ัน
18 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง ในเนื้อที่ของราชพัสดุแปลงที่ 14633 บริเวณสนามบินเก่ากองทัพบก
190
ตำบลกาฬสนิ ธุ์ อำเภอเมือง จังหวดั กาฬสนิ ธ์ุ จำนวน 50 ไร่ หา่ งจากตวั จังหวัดกาฬสินธุ์ ไปตามเส้นทาง
กาฬสินธุ์-ร้อยเอด็ (กโิ ลเมตรที่ 1 + 600 ซา้ ยทาง) ถนนสนามบนิ อำเภอเมอื ง จงั หวดั กาฬสินธ์ุ
รหัสไปรษณีย์ 46000 โดยให้วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธ์ุ รับผิดชอบแนะแนวการศึกษาในเขตพื้นที่
อีสานเหนือ ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร หนองคาย บึงกาฬ
อดุ รธานี ขอนแก่น เลย และหนองบัวลำภู ต่อมาวิทยาลัยฯ ได้รบั การสนบั สนุนงบประมาณจาก
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์เพื่อก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ให้เพียงพอพร้อมรองรับการขยายตัว
ทางการศึกษาและจำนวนนกั เรยี นทสี่ นใจมาเรียนเพม่ิ มากขนึ้
วทิ ยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสนิ ธ์ุ ได้ทำหนา้ ที่เป็นแหลง่ อบรม ส่งั สอน ใหค้ วามรดู้ า้ นดนตรี
นาฏศิลปภ์ ูมิปัญญาท้องถ่ิน และศิลปวฒั นธรรมสำคัญของชาติ แกก่ ุลบุตรกุลธดิ าของประชาชน
ในจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะภาคอีสานตอนบน เน้นการเรียนการสอน
เพ่อื อนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวฒั นธรรมพื้นบ้านอสี าน ให้เป็นท่ีรูจ้ กั แก่สาธารณะชนท่ัวไป จนอาจเรียกได้ว่า
เป็นตัวแทนและเป็นศักดิ์ศรีของจังหวัดกาฬสินธ์ุ เห็นได้จากเมื่อมีบุคคลสำคัญมาเยือนจังหวัดกาฬสินธุ์
ทางราชการจะมอบหมายให้วทิ ยาลัยนาฏศลิ ปะกาฬสนิ ธ์ุ จดั การแสดงนาฏศลิ ปพ์ ื้นบ้านเพ่ือต้อนรับ
แขกบ้านแขกเมืองสร้างความประทับใจให้แขกผู้มาเยือนอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังได้เป็นตัวแทน
ของจังหวัดกาฬสินธุ์ และประเทศไทยไปแสดงในหลายประเทศเช่น จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ มาเลเซียแคนาดา
ไตห้ วนั ฮ่องกง ญป่ี นุ่ อนิ เดีย อนิ โดนีเซีย ลาว เกาหลี เนปาล เวยี ดนาม เยอรมัน และสหรฐั อเมริกา
ภาพที่ 6.1 ภมู ิทศั นว์ ทิ ยาลยั นาฏศลิ ปกาฬสนิ ธุ์
ท่ีมา : วฒั นิกา บุญยวง, 2562.
โดยเมื่อวันท่ี 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 สมเดจ็ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเป็นประธานในพิธีเปดิ งานศลิ ปวัฒนธรรม
ของสถานศึกษาในสังกัดกรมศิลปากร ณ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ในโอกาสนี้ พระองค์ทรงร่วมบรรเลง
191
ดนตรีโปงลาง “ลายเต้นโขง” และ “ลายลมพัดพร้าว” ที่พลิ้วหวานจับใจ ยังความปลาบปล้ืม
ในพระกรุณาธิคุณแก่พสกนิกรชาวกาฬสินธุ์อย่างหาที่สุดมิได้ ต่อมาทางจังหวัดจึงกำหนดให้
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันเริ่มงานเทศกาลมหกรรมโปงลางแพรวา และงานกาชาด
ประจำปีของจงั หวัดกาฬสนิ ธ์นุ ับแต่นน้ั เป็นต้นมา
ภาพท่ี 6.2 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจา้ กรมสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี
ทรงดนตรพี ืน้ บ้านโปงลาง
ทีม่ า : พิศดู กลุ ชาต,ิ 2562.
6.2 การจัดการศกึ ษาในวิทยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสินธุ์
วิทยาลยั นาฏศิลปกาฬสินธุ์ในระยะเริ่มแรกได้ทำการสอนโดยแบง่ หลักสูตรออกเป็น 3 ระดบั คอื
1) ระดับนาฏศิลป์ชั้นต้นปีที่ 1 ถึงระดับนาฏศิลป์ชั้นต้นปีที่ 3 (เท่ากับระดับ
มัธยมศกึ ษาตอนต้น 1-3)
2) ระดับนาฏศิลป์ชั้นกลาง ปีที่ 1 ถึงระดับนาฏศิลป์ชั้นกลางปีที่ 3 (เท่าระดับ
มัธยมศกึ ษาตอนปลายปีที่ 4-6)
3) ระดับนาฏศิลป์ชั้นสูง ปีที่ 1-2 (เทียบเท่าระดับอนุปริญญาตรี) โดยรับผู้จบ
การศกึ ษาระดับนาฏศิลป์ช้ันกลางปีที่ 3 เปดิ สอนในสาขาวิชานาฏศิลปไ์ ทย วิชาเอกละครพระ ละครนาง
โขนพระ โขนลิง โขนยักษ์ และสาขาวิชาดุริยางค์ไทย วิชาเอกปี่พาทย์ เครื่องสาย และคีตศิลป์ไทย
ในทกุ ระดับชัน้
ปัจจบุ นั วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ปรับปรงุ โครงสร้างการบริหารงานใหม่ตามนโยบายรัฐบาล
ให้อยู่ในกำกับของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และตามประกาศกรมศิลปากร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการหน่วยงาน
192
และสถานศึกษาของกรมศิลปากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้เปิดทำการสอนตั้งแต่
ระดับขั้นพื้นฐานคือ หลักสูตรพื้นฐานวิชาชีพ (ม. 1-ม.3) หลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับ
ประกาศนียบตั รวิชาชีพ (ปวช -ปวช.3) และระดับอดุ มศกึ ษา มี 2 คณะ คอื
1) คณะศลิ ปศึกษา แบ่งออกเปน็ 2 หลกั สตู ร คอื
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต 5 ปี มี 2 สาขา ได้แก่ สาขานาฏศิลป์ไทยศึกษา และ
สาขาดนตรคี ีตศลิ ป์ไทยศกึ ษา
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต 4 ปี มี 2 สาขา คือ สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา และ
สาขาวชิ าดนตรีศึกษา
2) คณะศลิ ปนาฏดรุ ยิ างค์ หลกั สตู รศลิ ปดนตรีและการแสดงพ้นื บา้ น สาขาวชิ าดนตรี
พื้นบ้านอีสาน
ภาพท่ี 6.3 อาคารเรยี นวทิ ยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสินธุ์
ทม่ี า : วัฒนกิ า บุญยวง, 2562.
6.3 จุดม่งุ หมายในการจดั ต้ังวิทยาลยั นาฏศลิ ปกาฬสนิ ธุ์
เป็นการจดั ตั้งเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความรูค้ วามสามารถของผู้เรียนใหพ้ ร้อมที่จะ
ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมตามบทบาทและหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองดี ทันต่อการ
เปล่ยี นแปลง มสี ุขภาพสมบรู ณท์ งั้ ร่างกายและจิตใจ รับผดิ ชอบต่อหน้าทีท่ ้งั ต่อตนเองและผูอ้ นื่ ดังน้ี
1) เพือ่ ผลติ ศิลปิน บุคลากรทางศิลปะ และครูศลิ ปะ ใหเ้ พียงพอ
2) เพื่อกระจายการศึกษาศิลปวัฒนธรรมทางด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และคีตศิลป์
ให้ครอบคลมุ ทกุ ภาคของประเทศไทย
3) เพือ่ สง่ ธำรงไว้ซึ่งดนตรีนาฏศิลปพ์ ืน้ บ้านอันมีคุณคา่
193
4) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์
คีตศลิ ป์ ตลอดจนดนตรนี าฏศลิ ปพ์ นื้ บา้ น เพือ่ ให้เกดิ ความรกั และหวงแหนในศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
5) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการอนุรักษ์ สร้างสรรค์ และให้บริการทั้งทางด้านวิชาการ
และดา้ นศลิ ปวัฒนธรรม
6) เพื่อให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ดำเนินกิจกรรม
ทางศิลปวฒั นธรรม ทง้ั ภายในประเทศและต่างประเทศ
7) เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อการสืบค้น
ขอ้ มลู สำหรบั ผสู้ นใจ
6.4 คุณลักษณะที่พงึ ประสงค์ของนักเรยี นและนักศกึ ษา
หลักสูตรของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ มุ่งให้นักเรียนและนักศึกษามีคุณลักษณะ
อันพงึ ประสงคเ์ พ่ือให้สามารถอยูร่ ว่ มกับผูอ้ น่ื ในสังคมอย่างมีความสุขในฐานะพลเมืองไทย ดงั นี้
1) มีจิตสํานึก ตระหนักถึงการอนุรักษ์ภาษาและศิลปวัฒนธรรมไทย ด้านนาฏศิลป์
ดนตรี ประเพณี รวมทั้งภูมิปัญญาทอ้ งถ่ิน
2) มีมารยาทงามตามแบบไทย บคุ ลกิ ภาพดี มมี นุษยสัมพันธ์ดี มีนํา้ ใจ เอื้อเฟ้ือเผ่ือแผ่
มีความเมตตากรุณา
3) มคี วามรับผิดชอบ ซือ่ สัตย์ ประหยัดอดออม เสียสละ เหน็ แกป่ ระโยชน์ส่วนรวม ชุมชน
และประเทศชาติ
4) มคี วามคิดสร้างสรรค์ ใฝร่ ู้ ใฝ่เรียน ขยนั อดทน รกั การอ่าน รกั การเรยี น รักการคน้ ควา้
มงุ่ แสวงหาความรู้ รกั และศรทั ธาในวชิ าชีพของตนเอง
5) มสี ขุ ภาพดี รกั การออกกาํ ลังกาย ไมพ่ ึง่ พาส่ิงเสพติด
6) รักสถาบันการศึกษา รักท้องถิ่น และประเทศชาติ มุ่งสร้างสิ่งที่ดีงามให้สังคม
ปฏบิ ัติตนตามระเบยี บวินัยของสถานศึกษา ไม่กระทาํ ความผิดต่อศลี ธรรม ระเบียบ และกฎหมาย
7) มีความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ
มีทักษะและศักยภาพในการจัดการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีคิด วิธีการทํางานได้เหมาะสม
สอดคล้องกับสถานการณ์
8) มีจิตสำนึกในการบําเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ภูมิใจในการปฏิบัติตนใน
ฐานะสมาชิกทด่ี ขี องชมุ ชนและสังคม
194
ภาพท่ี 6.4 พธิ ีไหวค้ รขู องวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์
ท่มี า : วัฒนิกา บญุ ยวง, 2563.
6.5 คณุ ลักษณะของครผู ู้สอนวิทยาลยั นาฏศลิ ปกาฬสนิ ธ์ุ
วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ มีเป้าหมายในการผลิตครูด้านศิลปะและศิลปินด้านนาฏศิลป์
ดุริยางค์ และคีตศิลป์ ทั้งไทย สากลและพื้นบ้าน เพื่อให้เป็นผู้อนุรักษ์ สร้างสรรค์ พัฒนา ถ่ายทอด
และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ดังนั้น บัณฑิตจะต้องมีคุณลักษณะของความเป็นครูและความเป็นศิลปินที่ดี
ดงั ท่ีอาภรณ์ มนตรีศาสตร์ และจาตุรงค์ มนตรีศาสตร์ (2525 : 323) ไดก้ ลา่ วถงึ ลักษณะของครูผู้สอน
วชิ านาฏศิลป์ไทยวา่ ควรเป็นครทู ม่ี ีทัง้ ความรู้ภาควชิ าการ ได้แก่ วิชาการศกึ ษาและทฤษฎีศิลป์
ความชำนาญ และภาคปฏิบตั ิดา้ นศิลปะ ซึง่ จะทำใหเ้ ป็น “นาฏศลิ ป์ชั้นครู” ทมี่ คี วามสามารถทางสมอง
มีความสมบูรณ์ของร่างกาย และมีพรสวรรค์เป็นความสามารถเฉพาะตนประกอบกันขึ้นเป็น
อาจารย์นาฏศิลป์ทดี่ ี สรา้ งสรรค์งานให้กบั ศิลปะและการศกึ ษาของไทยให้เจริญย่ิงขนึ้
ครูนาฏศิลป์ที่ดีย่อมบริบูรณ์ด้วยการศึกษา และมีคุณลักษณะที่เหมาะสมแก่การเป็นครู
4 ประการ คอื
1) ครตู อ้ งอยากสอน
2) ครูตอ้ งอยากเรียน
3) ครตู อ้ งมคี วามรู้ในวชิ าท่ีสอน
4) ครูตอ้ งสอนเป็น
พาณี สสี วย (2529 : 14) กลา่ วว่า ลกั ษณะเฉพาะของครูนาฏศลิ ป์ที่ดีควรมดี งั น้ี
1) มีความเห็นอกเหน็ ใจผู้อน่ื
2) มคี วามอดทน
3) รู้จักเราความสนใจผู้เรยี น
4) มีความสามารถในการท่ีจะดงึ ความสนใจของผู้เรยี นให้อยู่ในสภาพแวดล้อมของบทเรยี น
195
5) มคี วามสขุ ุมรอบคอบ
6) มีความสามารถที่ทําให้ผู้เรียนรู้สึกสบายใจในขณะที่เรียนและรู้สึกว่าครูเป็นผู้ที่จะ
ช่วยเหลือตนได้
7) ยอมรบั ความสามารถของบุคคลอน่ื ที่ดีในอนาคต
8) มคี วามสามารถในการสรา้ งสรรค์นาฏศลิ ป์พ้ืนบ้านข้ึนมาใหม่
6.6 ปจั จยั ในการสร้างสรรคผ์ ลงานนาฏศลิ ป์พื้นบา้ นของวทิ ยาลยั นาฏศิลปกาฬสินธ์ุ
การสร้างสรรค์เปน็ เรื่องของการใช้ความรู้ ความคดิ และทักษะการปฏบิ ัติจึงมีการเปลย่ี นแปลง
ให้เกิดการพัฒนา ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์พื้นบ้านของวิทยาลัย
นาฏศิลปกาฬสินธ์ุ มดี งั น้ี
6.6.1 นโยบายของหน่วยงาน
เนื่องจากกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีภารกิจหลักที่สำคัญ คือการอนุรักษ์
เผยแพรม่ รดกวัฒนธรรมแขนงต่าง ๆ รวมท้งั การให้การศึกษาทางด้านศลิ ปวัฒนธรรม ด้านดนตรี นาฏศิลป์
และศิลปกรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2515-2535 บทบาทหน้าที่ของวิทยาลัยนาฏศิลป เรียกว่าเป็นยุค
“ขยายการศึกษา สืบสานศิลปะและบริการสังคม” กล่าวคือ มีเป้าหมายเพื่อผลิตครู ศิลปิน
และบุคลากรที่ทำหน้าที่อนุรักษ์ พัฒนา ส่งเสริม เผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม ด้านนาฏศิลป์และดนตรี
รวมทั้งศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์ พัฒนาศิลปวัฒนธรรมท้องถ่ิน
และพน้ื บา้ น ด้านนาฏศลิ ป์ และดนตรี อกี ทงั้ ใหบ้ ริการทางวิชาการในด้านน้แี ก่ชมุ ชนและสังคม
ตลอดจนเพ่ือให้วิทยาลยั นาฏศลิ ปเปน็ หนว่ ยจัดการแสดงเผยแพร่ศลิ ปวฒั นธรรมด้านนาฏศิลป์
และดนตรีของกรมศิลปากร ท้งั ส่วนกลางและสว่ นภมู ภิ าค (สริ ชิ ยั ชาญ ฟักจำรญู , 2535 : 286)
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานที่แยกออกมาจาก
กรมศิลปากรเมื่อ พ.ศ. 2550 และมีหน้าที่จดั การศึกษา อนุรักษ์ สร้างสรรค์ เผยแพรศ่ ิลปวัฒนธรรม
และมอบหมายวิทยาลัยนาฏศิลปะแต่ละแห่ง ได้สร้างสรรค์ชุดการแสดง เพื่อนำเสนอผลงาน
ทางวชิ าการโดยจดั แสดงในงานศิลปวฒั นธรรมของสถานศึกษาท่จี ะจดั ขน้ึ ทุก ๆ ปี ท้งั ในแนวอนุรักษ์
และแนวสร้างสรรค์
6.6.2 นโยบายของผู้บริหารสถานศกึ ษา
ผู้บริหารสถานศึกษามีหลายบทบาท ขึ้นอยู่กับภารกิจและกิจกรรมการบริหาร
การบริหารงานการศึกษาในยุคปัจจุบัน ต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
โดยเฉพาะสังคมแห่งการเรียนรู้ในยุคของเทคโนโลยี ซง่ึ เชือ่ มโยงข้อมูลต่าง ๆ ในทุกภูมิภาคของโลก
196
เข้าด้วยกัน ผู้บริหารจะต้องแสดงบทบาทอย่างเต็มที่และใช้กลยุทธ์และเทคนิคการบริหาร
ระดับสงู จงึ จะสามารถนำพาองคก์ รสู่ความสำเร็จ (วิจารณ์ พานชิ , 2555 : 45)
ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีทักษะในการปฏิบัติงานและมีความสามารถ
ในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ถ้าผู้บริหารสถานศึกษาขาดทักษะภาวะผู้นำก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหา
ของสถานศึกษาได้ซ่ึงทักษะภาวะผนู้ ำต้องอยู่บนพื้นฐานของความเขา้ ใจ ในภาระงานและหน้าท่ีรับผิดชอบ
ของบคุ ลากรในสถานศึกษา ดังนัน้ ผู้บริหารจงึ ต้องได้รบั การสนับสนนุ ให้ได้รับการพฒั นาทักษะ
ความรู้ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการส่งเสริมให้สถานศึกษา
จัดการเรียนการสอนให้มปี ระสิทธิภาพตอ่ ไป
ด้านสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏศิลป์พื้นบ้าน ผู้บริหารมีนโยบายให้ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม
ร่วมกับคณะครู-อาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์ และคณะครู-อาจารย์ภาคดุรยิ างคศิลป์ ร่วมกันพิจารณาการแสดง
ชุดใหม่ข้ึนมาทั้งนี้เพื่อพัฒนานาฏศิลป์พ้ืนบ้านให้ก้าวหน้าต่อไป การสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์พื้นบ้าน
จดั เปน็ หนึง่ ในการพัฒนาความสามารถของคณะครู-อาจารย์ ในดา้ นสนุ ทรียศาสตร์ ความคิดริเร่ิม
ในส่ิงใหมจ่ ากประสบการณ์ การส่งั สมความรู้ การสะท้อนสังคม การประยุกต์ปรบั เปลีย่ นให้ทัน
กบั สงั คมวฒั นธรรมในโลกปจั จุบัน กระบวนการสร้างสรรคน์ าฏศลิ ป์พ้นื บ้าน เปน็ องคป์ ระกอบสำคัญ
ที่ช่วยพัฒนาความงดงามทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย ให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผู้สร้างสรรค์
ผลงานนาฏศิลป์พื้นบ้านจึงเป็นกลไกสำคัญในการผลิตผลงานด้านศิลปวฒั นธรรมของชาติ ทั้งนี้ผู้สร้างสรรค์
ผลงานจึงมีความจำเป็นต้องเข้าใจ กระบวนการออกแบบผลงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในการประมวล
องค์ความรู้ด้านนาฏศิลปพื้นบ้าน โดยให้กำหนดรูปแบบอย่างเป็นระบบจากการสั่งสมประสบการณ์
ผ่านนกั แสดงที่ถ่ายทอดเรื่องราว อาจเปน็ ผลงานเดย่ี วหรอื กลุ่มก็ได้ โดยอาศยั องคป์ ระกอบในงานศิลปะ
สร้างสรรคง์ าน ให้ตรงตามเจตนาของผู้สร้างสรรค์
6.7 กระบวนการสร้างสรรคผ์ ลงานนาฏศิลป์พืน้ บา้ นของวทิ ยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสนิ ธุ์
วิภาพร ฝ่ายเพีย (2556 : 124) กล่าวว่า กระบวนการสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้าน
ของวิทยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสนิ ธุ์ มีท้ังหมด 8 ขน้ั ได้แก่
6.7.1 แนวคิด
แนวคิดหรอื ความคิดรวบยอดเปน็ การวางโครงเรื่องหลักของการสร้างสรรค์ผลงาน
เป็นอนั ดับแรก ซง่ึ อาจเกดิ ขึน้ จากผู้สรา้ งสรรค์งานมีแรงผลกั ดันในการอยากทำ และต้องมีจุดมุ่งหมาย
ทีแ่ นว่ แน่ มองภาพการแสดงท่ีอยากให้เกดิ ขนึ้ ได้ตั้งแต่ต้นจนจบส่งผลให้ผลงานออกมาสมบูรณ์
เป็นไปตามความมุ่งหมายเป็นแนวทางในการระบุความสำคญั ของเนื้อหาที่สามารถตอบประเด็นหรือเป้าหมาย
ซงึ่ แนวคดิ ในการสร้างสรรค์นาฏศิลป์พนื้ บา้ นอีสานของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธ์ุ ไดแ้ ก่ แนวคิดการฟ้อน
197
ที่สืบเนื่องจากประเพณีและพิธีกรรม แนวคิดการฟ้อนประกอบทำนองลำ แนวคิดการฟ้อนที่สืบเนื่อง
จากศิลปาชีพและวิถชี ีวิต แนวคิดการฟ้อนเลียนแบบท่าทางของสัตว์ แนวคิดการฟ้อนชุดโบราณคดี
แนวคิดการฟอ้ นสบื เน่อื งจากกล่มุ ชาตพิ นั ธุ์ และแนวคดิ การฟอ้ นเพือ่ ความสนุกสนานร่ืนเริง
6.7.2 รปู แบบฟ้อน
วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ได้แบ่งชุดการแสดงต่าง ๆ ออกเป็น ชุดการแสดง
ที่สร้างสรรค์มาตั้งแต่อดีต และที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหมซ่ ึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบัน จัดกลุ่มชุดการแสดง
แบ่งตามประเภท คือ การฟ้อนที่สืบเนื่องจากประเพณีและพิธีกรรม การฟ้อนประกอบทำนองลำ
การฟ้อนที่สืบเนื่องจากศิลปาชีพและวิถีชีวิต การฟ้อนเลียนแบบท่าทางของสัตว์ การฟ้อนชุด
โบราณคดี การฟอ้ นสบื เน่อื งจากกล่มุ ชาติพนั ธ์ุ และการฟอ้ นเพอ่ื ความสนุกสนานรืน่ เริง
6.7.3 การแต่งทำนองเพลง
วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ได้แต่งทำนองเพลงให้สอดคล้องกับเนื้อหาของชุดการแสดง
ซึ่งทำนองดนตรีมาจากความคิดสร้างสรรค์ ใช้ประกอบการแสดงเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
และถ่ายทอดตามอารมณข์ องการแสดงนั้น ๆ ตามความเหมาะสม การเลอื กสรรเพลงต้องใหเ้ หมาะสม
กับชุดการแสดง อาจบรรจุเพลงที่ประพันธ์ข้ึนใหม่ หรือนำมาประยุกต์ผสมผสานขึ้นใหม่
นอกจากนีย้ งั ใหค้ วามสำคัญกบั อารมณแ์ ละความต่อเน่ืองของเพลงด้วย
6.7.4 การออกแบบเครอื่ งแต่งกายและอุปกรณป์ ระกอบการแสดง
การสร้างสรรค์นาฏศลิ ป์พน้ื บา้ นไดม้ ีการศกึ ษาเร่ืององคป์ ระกอบศลิ ป์ เพอ่ื เป็นประโยชน์
ต่อการนำไปใช้ เชน่ ขนาดและสดั สว่ นของผู้แสดง ความกลมกลนื ในการใช้สีของเครอื่ งแต่งกาย
การออกแบบเครื่องแต่งกายให้มีความสัมพันธ์กัน จำเป็นต้องเลือกผ้าให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถ่นิ
จงึ ควรพจิ ารณาเลือกผ้าที่ใช้ในท้องถ่นิ อีสานอย่างแท้จริง สว่ นอุปกรณ์ท่ีนำมาใช้ประกอบการแสดง
ก็เลือกที่เหมาะสมและใกล้เคียงกับความเป็นจริง รวมถึงให้สอดคล้องกับชุดการแสดง เพิ่มเอกลักษณ์
ของชดุ ให้ดูสวยงาม
6.7.5 การประดษิ ฐท์ ่ารำ
การจะสร้างสรรค์ท่ารำของชุดการแสดงแต่ละชุด ให้ออกมาเป็นท่าฟ้อนแตล่ ะท่า
คณะครู-อาจารย์ด้านนาฏศิลป์ของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ต้องร่วมกันประชุมและเสนอท่ารำ
เพื่อพิจารณาให้เหมาะสมกับจังหวะทำนองเพลงและ ให้เข้ากับเนื้อหาชุดการแสดง เมื่อคณะครูทุกคน
เห็นตรงกันว่าเหมาะสม จึงจะนำท่าฟ้อนมาร้อยเรียงตั้งแต่ท่าแรกจนถึงท่าสุดท้าย พร้อมร่วมกันสรุป
และคิดรูปแบบการแปรแถวไปด้วย
6.7.6 การคดั เลอื กผูแ้ สดง
การคัดเลือกผู้แสดงของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธ์ุ จะแบ่งผู้แสดงออกเป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มเล็กกลุ่มกลางและกลุ่มใหญ่ ผู้แสดงในกลุ่มเล็กจะมีส่วนสูงน้อยรูปร่างเล็กเหมาะสำหรบั ชุดการแสดง
198
ระหว่างผู้ชายและผู้หญิง ผู้แสดงในกลุ่มกลางจะมีส่วนสูงกำลังพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป
เหมาะกับการแสดงชุดผู้หญิงล้วน หรือชุดการแสดงระหว่างผู้ชายและผู้หญิง แต่ก็จะน้อยกว่า
กลุ่มเล็ก ส่วนผแู้ สดงในกลุ่มใหญจ่ ะมรี ูปร่างสูงโปรง่ เหมาะกบั การแสดงชุดผู้หญิงล้วน
6.7.7 การตรวจสอบทา่ รำ
ในการสร้างสรรคท์ ่ารำชุดการแสดงจะมีการประชุมและใหน้ ักเรียนท่ีไดร้ ับการคัดเลือก
ในการแสดงชุดนั้น ๆ แสดงให้คณะครูดู ซึ่งต้องฟ้อนรำตั้งแต่ท่าแรกจนถึงท่าสุดท้าย จากนั้นร่วมกันสรปุ
และแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ทั้งท่าฟ้อนรำ เครื่องแต่งกาย และจังหวะทำนองเพลง ให้มีความสอดคล้อง
เหมาะสมก่อนที่จะนำออกแสดงเผยแพร่
6.7.8 การวิพากย์
ก่อนที่จะได้นำออกแสดง ต้องมีการวิพากย์ชุดการแสดง ทั้งท่ารำ การแต่งกาย
จังหวะทำนองเพลง รวมถึงการสื่ออารมณ์ในชุดการแสดงนั้นให้ออกมาดีที่สุด โดยได้เชิญ
ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในด้านนาฏศิลป์และดนตรีมาให้คำแนะนำ หรือ
ขอ้ คิดเห็นทเี่ ปน็ ประโยชน์ เพ่ือปรับปรงุ ให้การแสดงและการบรรเลงมคี วามสมบูรณ์สวยงามมากที่สุด
6.8 ผลงานการสรา้ งสรรคน์ าฏศิลป์พืน้ บ้านของวิทยาลัยนาฏศลิ ปกาฬสนิ ธุ์
ผลงานการสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้านของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ สามารถแยกเป็น
ประเภทได้ดงั นี้
6.8.1 การฟ้อนสบื เน่อื งจากประเพณีและพธิ กี รรม
เป็นการฟ้อนที่เกิดจากความเชื่อในประเพณีฮีตสิบสองของชาวอีสาน ได้แก่
ฟ้อนเหยาฟอ้ นมาลัยขา้ วตอกฟ้อนสขู่ วญั ขา้ วคูณลานฟอ้ นบายศรสี ู่ขวญั ฟ้อนเอ้นิ ขวญั และฟอ้ นหางนกยูง
ภาพท่ี 6.5 ฟ้อนสู่ขวัญขา้ วคณู ลาน
ท่ีมา : ทศั นีย์ ศวิ บวรวฒั นา, 2562.
199
6.8.2 การฟ้อนประกอบทำนองลำ
เป็นการฟ้อนตามทำนองของหมอลำ ได้แก่ ฟ้อนสาวกาฬสินธุ์ลำเพลิน
ฟ้อนเต้ยหวั โนนตาล ฟอ้ นตังหวาย ฟอ้ นเตย้ เก้ยี ว และฟ้อนโปงลาง
ภาพท่ี 6.6 ฟ้อนสาวกาฬสนิ ธล์ุ ำเพลนิ
ที่มา : ทัศนยี ์ ศวิ บวรวัฒนา, 2562.
6.8.3 การฟอ้ นสบื เน่ืองจากศิลปาชพี และวิถีชีวิต
เป็นการแสดงท่าทางประกอบอาชีพต่าง ๆ ตลอดจนวิถีชีวิตการทำมาหากิน
ของชาวอีสาน ได้แก่ ฟ้อนครกมอง ฟอ้ นไทภูเขา ฟอ้ นปน้ั หม้อ ฟ้อนแพรวากาฬสนิ ธ์ุ เซ้งิ ทำนา
ฟอ้ นพัดอีสาน และเซ้งิ แหย่ไขม่ ดแดง
ภาพที่ 6.7 ฟอ้ นแพรวากาฬสนิ ธุ์
ทีม่ า : ทัศนยี ์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.
200
6.8.4 การฟ้อนเลียนแบบทา่ ทางของสัตว์ตา่ ง ๆ
เป็นการแสดงท่าทางประกอบอากัปกิริยาของสัตว์ต่าง ๆ แล้วนำมาประดิษฐ์
เป็นชุดการแสดงเพื่อความสนุกสนานร่ืนเริง ได้แก่ การแสดงชุดไดโนเสาร์ออนซอนภูกุ้มข้าว
และรำแมงตบั เตา่
ภาพท่ี 6.8 การแสดงชุดไดโนเสาร์ออนซอนภกู ุ้มข้าว
ท่มี า : สันติ ยศสมบัต,ิ 2562.
6.8.5 การฟ้อนสบื เนือ่ งจากกลมุ่ ชาติพันธุ์
เป็นการแสดงที่เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธ์ได้แก่ ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ ฟ้อนไทพวน
และฟอ้ นละครภไู ท
201
ภาพที่ 6.9 ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์
ที่มา : ทัศนยี ์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.
6.8.6 การฟอ้ นชดุ โบราณคดี
เป็นการแสดงที่เกิดข้นึ จากภาพจำหลักจากโบราณสถานและอาณาจักรที่รุ่งเรือง
ในอดีต ไดแ้ ก่ ชุดรำพนมรงุ้ และฟ้อนนาฏลลี าฟา้ หยาด
ภาพท่ี 6.10 ฟอ้ นนาฏลลี าฟ้าหยาด
ทีม่ า : ธนพร สุขแกว้ , 2562.
6.8.7 การฟ้อนเพ่ือความสนกุ สนานรื่นเรงิ
เป็นการแสดงที่เกิดขึ้นจากความสนุกสนานรื่นเริง ได้แก่ ฟ้อนเอ้ดอกคูน
ฟอ้ นนารศี รีอีสาน และเซ้งิ กะโป๋
202
ภาพที่ 6.11 ฟอ้ นนารศี รีอีสาน
ทีม่ า : ทัศนีย์ ศิวบวรวฒั นา, 2562.
ผลงานการสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานที่วิทยาลัยนาฎศิลปกาฬสินธุ์ได้ดำเนินการ
สร้างสรรค์ จะต้องผ่านการนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
ซึ่งประกอบด้วย ศิลปินแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญทางนาฏศิลป์และดนตรี ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น และบุคลากร
ทางสถาบันต่างๆ ที่มีความรู้ทางด้านนาฏศิลป์และดนตรีเพื่อรับคำแนะนำและข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์
ก่อนจะนำออกเผยแพรส่ ู่สาธารณชนตอ่ ไป
ภาพที่ 6.12 ผลงานการสรา้ งสรรคน์ าฏศิลป์พื้นบา้ นของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสนิ ธุ์
ทีม่ า : สันติ ยศสมบตั ิ, 2562.
203
สรุป
ได้มีประกาศจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2524 สังกัด
กองศิลปศึกษา กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการจัดตัง้ วิทยาลยั นาฏศิลป
กาฬสินธุ์ให้การศึกษาอบรมทั้งวิชาสามัญและศิลปะเพื่อผลิตครูและศิลปินทางด้านนาฏศิลป์
และดุรยิ างคศ์ ิลป์ ดำเนินการศกึ ษาคน้ ควา้ วจิ ยั เพ่อื การอนุรกั ษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ศลิ ปวฒั นธรรม
ไทยด้านนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์แก่ชุมชน หน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชน เปิดทำการสอน
นักเรียนตั้งแต่ระดับนาฏศิลปชั้นต้นจนถึงระดับนาฏศิลปชั้นสูงทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ
แผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ ในดา้ นการศึกษาทีจ่ ะต้องพัฒนาและขยายการศึกษา
ด้านนาฏศิลป์และดุริยางค์ไทยไปสู่ภูมิภาคให้เพียงพอ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ได้ปรับปรุง
โครงสร้างการบริหารใหม่ตามนโยบายของรัฐบาลให้อยู่ในการกำกับดูแลของสถาบันบัณฑิต
พัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พ.ศ. 2545
และตามประกาศกรมศิลปากร ปัจจุบันวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์เปิดทำการเรียนการสอนใน
ดา้ นนาฏศิลปแ์ ละดรุ ยิ างคศลิ ป์ ตง้ั แต่ระดบั ชั้นมัธยมศกึ ษาปีที่ 1-6 และระดบั อดุ มศกึ ษา
ส่วนผลงานสร้างสรรค์ของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ได้นำกระบวนการสร้างสรรค์
ผลงานให้สอดคล้องกับสังคมและความเป็นอยู่ของชาวอีสาน อาชีพ และวัฒนธรรมของชาว
อีสาน แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ แนวคิดการฟ้อนสืบเนื่องจากประเพณีและพิธีกรรม
แนวคิดการฟ้อนประกอบทำนองลำ แนวคิดการฟ้อนที่สืบเนื่องจากศิลปาชีพและวิถีชีวิต
แนวคิดการฟ้อนเลียนแบบท่าทางของสัตว์ แนวคิดการฟ้อนชุดโบราณคดี แนวคิดการฟ้อน
สืบเน่ืองจากกลมุ่ ชาติพันธุ์ และแนวคดิ การฟอ้ นเพ่ือความสนกุ สนานรื่นเริง
งานด้านการสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้าน จึงนับเป็นภาระงานอันสำคัญยิ่งของ
วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ที่สมควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นงานที่ผู้ปฏิบัติ
ตอ้ งมีความเข้าใจอยา่ งลกึ ซึ้ง มีความขยันหม่นั เพียรในการฝึกฝน และอทุ ศิ เวลาใหแ้ ก่งานอย่างเต็มท่ี
เพื่อให้ได้ผลงานที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ เป็นท่ียอมรับจากบุคคลทั่วไป ทั้งน้ีมีหน่วยงานต่าง ๆ
ที่นำผลงานการสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์อีกด้วย เช่น สถานศึกษาของรัฐ และเอกชน สังกัด
กระทรวงศึกษาธิการ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐ และเอกชน และ
ประชาชนผสู้ นใจ
204
บรรณานกุ รม
กนกวรรณ หวงั รว่ มกลาง, อนุตรา แกว้ บดุ ดา, ศริ ินภา แท่นทอง, อมรรตั น์ เลาหวงศเ์ พียรพุฒิ,
พบพู ิชญ์ ประพันธ์วิทยา, นวรตั น์ รัตนศรีวอ,นิภากรณ์ สุวรรณกฎู ,
ฟอ้ นกลองตมุ้ มรดกทางวัฒนธรรมพน้ื บ้านอีสาน. ศลิ ปนพิ นธศ์ กึ ษาศาสตรบณั ฑติ .
คณะศิลปศึกษา. กรงุ เทพฯ : สถาบันบณั ฑิตพฒั นศิลป์, 2543.
กรมวิชาการเกษตร. ขา้ วกบั คนไทย. กรุงเทพฯ : สถาบนั วจิ ัยขา้ วกรมวิชาการเกษตร, 2541.
กรมสง่ เสรมิ วฒั นธรรม, กระทรวงวัฒนธรรม. วฒั นธรรมวถิ ชี ีวติ และภมู ปิ ัญญา.
กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพมิ พ์, 2559.
คำลา่ มุสกิ า. แนวความคดิ การสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์อีสานในวงโปงลาง.
วิทยานิพนธศ์ ลิ ปศาสตรดษุ ฎบี ัณฑิต. กรงุ เทพฯ : จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย, 2558.
เครือจติ ศรีบุนนาค. นาฏกรรมพ้ืนบ้านอสี าน. โครงการจดั ทำตำราและงานวิจัย
เฉลิมพระเกยี รติ 84 พรรษา พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั มหาวิทยาลัย
ราชภัฎกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนอื , 2554.
ชนิตา สุม่ มาตย.์ การพัฒนารูปแบบการจัดการดแู ลสุขภาพผสู้ ูงอายุโดยองคก์ ร
ชมุ ชนในภาคอสี าน. วทิ ยานพิ นธ์วัฒนธรรมศาสตรดษุ ฏีบณั ฑิต.
มหาสารคาม : มหาวิทยาลยั มหาสารคาม, 2551.
ชชั วาล วงษ์ประเสริฐ. ศิลปะการฟ้อนภาคอีสาน. มหาสารคาม : มหาวทิ ยาลยั
ศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ, 2532.
ชยั ณรงค์ ต้นสขุ . นาฏยประดษิ ฐก์ ารแสดงพน้ื บา้ นของวิทยาลัยนาฏศลิ ปร้อยเอ็ด
วทิ ยานิพนธศ์ ลิ ปกรรมศาสตรมหาบณั ฑติ . กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย, 2549.
ทองแถม นาถจำนง. วฒั นธรรมขา้ วไท. กรงุ เทพฯ : ชนนยิ ม, 2559.
ทองสขุ ไชยวงจันทร์. ประวตั ศิ าสตร์การขยายเมืองกาฬสินธใุ์ นระหว่างปีพ.ศ.
2480–2540. วทิ ยานิพนธศ์ ิลปศาสตร์มหาบัณฑติ . มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2545.
นงเยาว์ อำรงุ พงษว์ ฒั นา. รายงานวจิ ัยเรือ่ งการฟอ้ นผู้ไทยจงั หวดั นครพนม.
กรุงเทพฯ : สถาบันราชภฎั สวนสุนนั ทา, 2541.
นัดรบ มลุ าลี. นาฏกรรมอสี าน. กาฬสนิ ธ์ุ : ประสานการพิมพ,์ 2539.
บุญเกิด พิมพว์ รเมธากุล. ประเพณีอสี านและเกรด็ โบราณคดีไทอีสาน. ขอนแกน่ :
คลงั นานาธรรม, 2544.
205
บุปผาชาติ อุปถัมภ์นรากร. นาฏศลิ ปพ์ ้ืนเมือง. กรงุ เทพฯ : โครงการตำราวิชาการ
ราชภัฎเฉลมิ พระเกยี รติ, 2542.
ประสิทธิ์ พรรณพิสุทธ์ิ. พระราชวงศ์จกั รีกับ 200 ปกี าฬสนิ ธ์ุ. ยโสธร : โรงพิมพ์
จือฮะการพมิ พ์, 2536.
ประเสริฐ วทิ ยารฐั . ภมู ศิ าสตรก์ ายภาพประเทศไทย. กรุงเทพฯ : พฒั นาคณุ ภาพ
วิชาการ, 2559.
พจมาลย์ สมรรคบตุ ร. แนวการคิดประดษิ ฐท์ า่ รำเซงิ้ . อดุ รธานี : สถาบนั ราชภฎั อดุ รธานี,
2538.
พชร สุวรรณภาชน์. เพลงโคราช : การศกึ ษาทางมานุษยวิทยาการดนตรี.
วทิ ยานพิ นธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑติ . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลยั มหดิ ล, 2543.
พาณี สีสวย. สนุ ทรยี ะของนาฏศลิ ปไ์ ทย. กรุงเทพฯ : ธนะการพิมพ์, 2526.
ไพโรจน์ เพชรสังหาร. ตำนานเมืองฟา้ แดดสงยาง (ฉบับพระอริยานุวัตร) กาฬสินธ์ุ :
สำนกั งานศึกษาธิการจงั หวดั กาฬสนิ ธุ์, 2525.
ภารดี มหาขันธ์. พื้นฐานอารยธรรมไทย. กรงุ เทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2532.
ยุทธศลิ ป์ จุฑาวิจติ ร. การฟ้อนอสี าน. วทิ ยานิพนธศ์ ิลปศาสตรมหาบัณฑติ .
กรุงเทพฯ : จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย, 2539.
รัตนา ศิรพิ ลู . โครงการถ่นิ ฐานบ้านเรา “ร้อยเอด็ ”. นนทบุรี : บรษิ ัท เอส พี
เอฟ พรน้ิ ต้งิ กรุป๊ จํากดั , 2543.
ราชบณั ฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภมู ศิ าสตรไ์ ทย ฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน เลม่ 1.
กรงุ เทพมหานคร : ท่าพระจันทร,์ 2526.
ราชบณั ฑติ ยสถาน. พจนานุกรมศพั ทภ์ มู ศิ าสตร์ ฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน. พิมพค์ ร้ังที่ 4.
กรงุ เทพมหานคร : ราชบณั ฑิตยสถาน, 2544.
เรณู โกศนิ านนท์. การแสดงพื้นบ้านในประเทศไทย. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวฒั นาพานชิ ,
2539.
วรรณี พุทธาวุฒิไกร. ภูมิศาสตร์ประเทศไทย. กรงุ เทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2554.
วิทย์ ธีรศาสวัต. ประวัติศาสตร์อสี าน 2322-2488 เล่ม 1. ขอนแก่น : โรงพิมพ์
คลงั นานาวิทยา, 2557.
วิจารณ์ พานิช. องคก์ รแหง่ การเรียนร้แู ละการจัดการความร.ู้ พิมพ์ครัง้ ท่ี 2.
กรงุ เทพฯ : ตถาตาพับลเิ คชั่น, 2555.
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. วิวฒั นาการพธิ ที ำขวญั ของคนไท. กรงุ เทพฯ :
มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์, 2529.
206
วภิ าพร ฝ่ายเพีย. การสร้างสรรค์ฟ้อนพืน้ บา้ นอสี าน : กรณีศกึ ษาวิทยาลัยนาฏศิลป
กาฬสินธ์.ุ วิทยานพิ นธศ์ ิลปศาสตรมหาบณั ฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลยั
ราชภัฎสวนสนุ นั ทา, 2556.
วภิ าวี ปังธกิ ลุ . พิธกี รรมคู่ผืนนาดอนประดู่. สงขลา : มหาวิทยาลัยทกั ษิณ, 2557.
วีณา วสี เพญ็ . ดนตรีพืน้ เมอื งอีสาน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลยั ศรีนครนิ ทรวโิ รฒ, 2523.
สมปอง นกน้อย. คุณลักษณะของครผู ู้สอนนาฏศลิ ป์ไทยตามทัศนะของผเู้ ชี่ยวชาญ
ผ้บู ริหาร ครผู ู้สอน และนักศึกษาในสถาบันบัณฑิตพฒั นศิลป.์ วทิ ยานิพนธ์
การศกึ ษามหาบัณฑิต. กรงุ เทพฯ : มหาวทิ ยาลยั ศรีนครนิ ทรวโิ รฒ, 2550.
สมศักดิ์ ศรีสนั ตสิ ุข. โสวัฒนธรรมอีสาน. เชียงใหม่ : พิมพ์ที่ บลมู มิง่ ครีเอชั่น, 2558.
สวาท เสนาณรงค์. ภูมศิ าสตร์ประเทศไทย. กรงุ เทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, 2521.
สำลี รักสทุ ธี. ฮตี สิบสองคองสิบส่.ี กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา, 2552.
สิริชัยชาญ ฟกั จำรูญ. ความพงึ พอใจในการปฏิบัติงานของอาจารยใ์ นวทิ ยาลัย
นาฏศลิ ป สังกดั กองศิลปศึกษา. วิทยานิพนธ์ครศุ าสตร์มหาบัณฑติ .
กรงุ เทพฯ : จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย, 2535.
สจุ ติ ต์ วงษ์เทศ. รอ้ งรำทำเพลง : ดนตรีและนาฏศลิ ปข์ องชาวสยาม. “ศลิ ปวัฒนธรรม
ฉบับพเิ ศษ.” หนา้ 109-112, กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พ์พฆิ เณศ, 2532.
สุภาพ บญุ ไชย. ภมู ิศาสตร์ประเทศไทย. กรงุ เทพมหานคร : โอเดยี นสโตร์, 2548.
สุมนมาลย์ น่มิ เนติพันธ์ และสุมนรตี นิ่มเนติพันธ.์ หนงั สือเรยี นสาระการเรียนรู้ข้ัน
พ้ืนฐาน กลุ่มสาระเรียนรู้ศลิ ปะนาฏศิลป์ ม.4-ม.6. กรุงเทพฯ : อักษรเจรญิ ทัศน์,
2547.
สุมติ ร เทพวงษ์. สารานุกรม ระบำ รำ ฟ้อน. กรงุ เทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2547.
สุรพล วริ ุฬห์รกั ษ์. นาฏยศิลปร์ ัชกาลท่ี 9. กรงุ เทพฯ : สำนกั พมิ พแ์ ห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั , 2549.
สุรัตน์ จงดา. ฟ้อนผฟี ้านางเทยี ม : การฟอ้ นรำในพธิ กี รรมและความเช่อื ของ
ชาวอีสาน. วทิ ยานิพนธ์ศลิ ปศาตรมหาบณั ฑิต. กรงุ เทพฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั , 2541.
สุรยิ า บรรพลา. แนวคดิ ทฤษฎี : การพฒั นาศิลปะการแสดงพ้นื บา้ นจงั หวดั เลย.
โปรแกรมวิชานาฏศิลป์ คณะมนษุ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2555.
อนชุ าติ ทองเกลี้ยง. การสบื สานประเพณกี ารทำขวญั ขา้ วขององค์การบรหิ าร
สว่ นตำบลท่าเรอื อำเภอโคกโพธ์ จงั หวดั ปตั ตานี. วิทยานพิ นธ์
รฐั ประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553.
207
อมรา พงศาพชิ ญ. สังคมและวฒั นธรรม. พิมพค์ รัง้ ท่ี 4. กรงุ เทพฯ : จฬุ าลงกรณ์
มหาวทิ ยาลยั , 2537.
อาภรณ์ มนตรีศาสตร์ และจาตรุ งค์ มนตรศี าสตร์. นาฏศลิ ป์เพือ่ การศกึ ษาเบ้ืองต้น.
กรุงเทพฯ : องคก์ ารคา้ ของคุรสุ ภา, 2525.
อศิ ราภรณ์ ประเสรฐิ ศรี. การศึกษาประเพณีฮตี สบิ สอง เพอื่ ออกแบบภาพประกอบ
กรณีศึกษาบญุ เดือนห้า (ประเพณสี งกรานต์). ศลิ ปะนิพนธ์ศิลปะประยกุ ตแ์ ละ
สถาปัตยกรรมศาสตร.์ อบุ ลราชธานี : มหาวิทยาลยั อุบลราชธานี, 2560.
เอี่ยม ทองดี. วัฒนธรรมขา้ ว : พิธกี รรมเก่ยี วกับขา้ วและการทำนา. พมิ พ์ครงั้ ที่ 2.
กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก, 2538.
เวปไซต์
แผนทจ่ี ังหวัดกาฬสินธุ์ เขา้ ถึงไดจ้ าก : http://www.kalasin.go.th/
สบื ค้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2562.
พธิ ีกรรมรับขวญั แม่โพสพ เข้าถึงได้จาก : http://www2.tsu.ac.th/.
สืบคน้ เม่อื วันท่ี 22 มถิ นุ ายน 2562.
เครือ่ งบูชาพธิ ีทำขวัญขา้ วเข้าถงึ ได้จาก : www.isangate.com/
สืบค้นเมื่อวนั ท่ี 12 สิงหาคม 2562.
พธิ กี รรมบุญเขา้ กรรม เขา้ ถงึ ไดจ้ าก : https://www.norkaew.net/
สบื คน้ เมอื่ วนั ที่ 2 ธนั วาคม 2562.
พิธีกรรมบญุ คณู ลาน เข้าถึงได้จาก : https://www.norkaew.net/
สืบค้นเมอ่ื วันที่ 2 ธันวาคม 2562.
พิธีกรรมบญุ ขา้ วจ่ี เข้าถงึ ไดจ้ าก : https://www.norkaew.net/
สบื ค้นเมื่อวนั ท่ี 2 ธันวาคม 2562.
พิธกี รรมบญุ เผวส เขา้ ถงึ ได้จาก : https://www.norkaew.net/
สบื คน้ เม่อื วนั ที่ 2 ธันวาคม 2562.
พธิ กี รรมบญุ สงกรานต์ เขา้ ถงึ ไดจ้ าก : https://www.norkaew.net/
สบื ค้นเมอ่ื วันที่ 2 ธันวาคม 2562.
พธิ ีกรรมบุญบ้ังไฟ เขา้ ถึงได้จาก : https://www.norkaew.net/
สบื ค้นเมอ่ื วันที่ 2 ธนั วาคม 2562.
พิธกี รรมบุญซำฮะ เขา้ ถงึ ได้จาก : https://www.norkaew.net/
สืบค้นเม่ือวนั ท่ี 2 ธนั วาคม 2562.
208
พิธกี รรมบุญเข้าพรรษา เขา้ ถึงไดจ้ าก : https://www.norkaew.net/
สืบคน้ เมอื่ วนั ที่ 2 ธนั วาคม 2562.
พิธกี รรมบุญขา้ วประดับดนิ เขา้ ถึงได้จาก : https://www.norkaew.net/
สบื คน้ เม่อื วันที่ 2 ธนั วาคม 2562.
พิธกี รรมบุญข้าวสาก เขา้ ถึงได้จาก : https://www.norkaew.net/
สืบคน้ เมอ่ื วันท่ี 2 ธันวาคม 2562.
พิธกี รรมบุญออกพรรษา เขา้ ถึงไดจ้ าก : https://www.norkaew.net/
สบื คน้ เมื่อวนั ที่ 2 ธนั วาคม 2562.
พิธกี รรมบุญกฐนิ เขา้ ถงึ ได้จาก : https://www.norkaew.net/
สืบคน้ เมื่อวันที่ 2 ธนั วาคม 2562.
209
ประวัตผิ เู้ ขยี น
ชอ่ื – สกลุ นางทัศนยี ์ ศวิ บวรวฒั นา
ประวัติการศึกษา
ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวชิ าไทยคดศี ึกษา)
พ.ศ. 2545 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ศึกษาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชานาฏศลิ ป์ไทย)
พ.ศ. 2528 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กรงุ เทพฯ
ประกาศนยี บตั รนาฏศิลปชนั้ สูง (สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย)
พ.ศ. 2525 วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
ครู คศ. 4 (ครูเช่ียวชาญ)
ตำแหนง่ ปัจจบุ ัน
สถานที่ทำงาน วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสนิ ธุ์ จงั หวัดกาฬสินธุ์
ผลงานทางวิชาการ
1. การศึกษาความต้องการเครื่องมือวัดภาคปฏิบัติของ
ครูผู้สอนรายวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
กระทรวงวฒั นธรรม
2. การสร้างเครื่องมือวัดภาคปฏิบัติวิชานาฏศิลป์ไทย
ระดับมัธยมศึกษาปที ี่ 5
3. บุญคูณลานปราสาทรวงข้าว :ศักยภาพในการอนุรักษ์
และการประชาสัมพันธ์ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ของชุมชน ตำบลเหนอื อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสนิ ธ์ุ
4. งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา
พฤติกรรมการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
นักศึกษาที่มีต่อการเรียน รายวิชาทักษะนาฏศิลป์ 1 โดย
การสอนแบบมสี ว่ นรว่ ม (Active Learning)
210
5. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การจัดการเรียนรู้
แบบโครงงานในการประดิษฐศ์ ิราภรณ์โดยสำหรับนักศึกษา
ระดับปริญญาตรี คณะศิลปศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป
กาฬสินธ์ุ
6. งานวจิ ัยสร้างสรรค์ เร่ือง เริงระบำบุปผาราชินพี ันปหี ลวง
ผลงานดีเด่น • ข้าราชการพลเรือนดีเด่นของกระทรวงวัฒนธรรม
พ.ศ. 2562 • ครูผู้สอนดีเด่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (นาฏศิลป์)
พ.ศ. 2561 สำนกั งานคณะกรรมการคุรสุ ภา จงั หวดั กาฬสินธ์ุ
พ.ศ. 2557 • รางวัลพระพฤหัสบดีสำหรับครูผู้สอนของสำนักงานการ
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2552 ส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการ
ศกึ ษา
พ.ศ. 2548 • เปน็ ผู้ประเมนิ ภายนอกของสำนกั งานรบั รองมาตราฐาน
พ.ศ. 2545 และประเมนิ คุณภาพการศกึ ษา (สมศ) ระดับการศกึ ษา
ขัน้ พ้ืนฐาน วัตถปุ ระสงค์พเิ ศษ
• ครผู สู้ อนดีเด่นด้านนาฏศิลป์ สถาบันบณั ฑติ พฒั นศิลป์
• รางวัลหนึ่งแสนครูดี ของสำนักงานเลขาธกิ ารคุรุสภา
• บคุ ลากรทส่ี อนในระดับปรญิ ญาตรีดเี ดน่ ทสี่ ามารถ
ปฏิบัติงานได้ตรงตามจรรยาบรรณวชิ าชีพอาจารย์
สถาบนั บัณฑติ พฒั นศลิ ป์
• ครูผสู้ อนดเี ด่นระดับเขตพืน้ ทกี่ ารศกึ ษากลุ่มสาระ
การเรยี นรูศ้ ลิ ปะ (นาฏศิลป์) สำนักงานคณะกรรมการครุ สุ ภา
อำเภอเมอื ง จังหวัดกาฬสินธ์ุ
• ครูผปู้ ฏิบตั ิการสอนดเี ด่น ในสังกดั กรมศิลปากร
• ครูผู้ผลิตสื่อการเรียนการสอนดีเด่นระดับอุดมศึกษา
สำนกั งานคณะกรรมการครุ สุ ภา อำเภอเมือง
จังหวัดกาฬสนิ ธ์ุ
211
พ.ศ. 2543 • ครูผปู้ ระพฤตปิ ฏิบตั ิคุณธรรม ตามพระราชดำรสั
พ.ศ. 2542 โครงการเสมาพฒั นาคณุ ธรรมตามพระราชดำรสั
พ.ศ. 2536 • ครูผู้ปฏิบตั ิหน้าท่ีงานแผนงานดเี ดน่ กลุ่มโรงเรียน
มธั ยมศกึ ษาจงั หวัดกาฬสนิ ธุ์
• รางวลั ครุ ุสดุดี ของสำนักงานเลขาธกิ ารครุ ุสภา
• ครูผปู้ ฏบิ ตั ิหน้าทง่ี านแผนงานดีเด่น รองชนะเลศิ อนั ดบั 1
ระดบั จังหวดั กาฬสินธุ์
• ครูปฏิบัตกิ ารสอนดเี ดน่ ระดบั อดุ มศกึ ษา สำนักงาน
คณะกรรมการคุรุสภาอำเภอเมอื ง จังหวัดกาฬสินธุ์
• ครผู ้ปู ฏบิ ัตกิ ารสอนดีเด่น สำนกั งานคณะกรรมการคุรุสภา
อำเภอเมือง จงั หวดั กาฬสนิ ธ์ุ
212