รูปแบบและกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง PATTERNS AND DANCE TECHNIQUES IN THE RELIGIOUS CEREMONY, NGAN BUN BUAT KHWAI LUANG, หนึ่งฤทัย วงษาหาราช วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2566 ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
รูปแบบและกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง หนึ่งฤทัย วงษาหาราช วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2566 ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
PATTERNS AND DANCE TECHNIQUES IN THE RELIGIOUS CEREMONY, NGAN BUN BUAT KHWAI LUANG NUENGRUETHAI UONGSAHARAT A THESIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF MASTER OF FINE ARTS PROGRAM IN THAI PERFORMING ARTS GRADUATE SCHOOL BUNDITPATANASILPA INSTITUTE OF FINE ARTS YEAR 2023 COPYRIGHT OF BUNDITPATANASILPA INSTITUTE OF FINE ARTS
ชื่อวิทยานิพนธ์ รูปแบบและกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง 4006611012 นางสาวหนึ่งฤทัย วงษาหาราช ปริญญา ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชา นาฏศิลป์ไทย พ.ศ. 2566 อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุขสันติ แวงวรรณ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม รองศาสตราจารย์ ดร. จินตนา สายทองค า บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาที่มารูปแบบและองค์ประกอบในงานบุญบวช ควายหลวง2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง บ้านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ดผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร ต ารา งานวิจัย และการสัมภาษณ์ศิลปินท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า 1) ที่มาของการฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวงมาจากความเชื่อเรื่องการบูชาเจ้าพ่อ โฮงแดงผู้เป็นผีบรรพบุรุษจะท าให้ชุมชนเกิดความร่มเย็นเป็นสุข งานบุญบวชควายหลวงนี้เกิดขึ้นควบคู่กับงาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวบ้านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีการสืบทอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยรูปแบบของงานบุญบวชควายหลวงมี2 รูปแบบ คือ (1) ปีพุทธศักราช 2369 - ปีพุทธศักราช 2539 การจัดท า พิธีบวชควายหลวง โดยใช้ผู้เข้าพิธีบวชเป็นควายหลวงเพียงคนเดียว (2) ปีพุทธศักราช 2540 – ปีพุทธศักราช 2565 ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบมีผู้บวช เป็นควายหลวงจ านวน 2 คน เรียกว่า ควายหลวงใหญ่และควายหลวงน้อย ส าหรับเป็นสื่อกลางในการติดต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ควายหลวงน้อยจะท าหน้าที่ออกฟ้อนหาปัจจัย ก่อนถึงวันจัดงาน ตลอด 3 วัน ส่วนควายหลวงใหญ่ท าหน้าที่ออกฟ้อนน าหน้าขบวนแห่ในวันจัดงานไปยังศาลเจ้าพ่อโฮงแดง ส าหรับองค์ประกอบของงานบุญบวชควายหลวงแบ่งได้ 5 ด้าน ดังนี้ ด้านพิธีกรรม ด้านการแต่งกาย ด้านอุปกรณ์ ด้านดนตรี ด้านสถานที่ 2) รูปแบบกระบวนฟ้อนของควายหลวงพบว่ามี2 รูปแบบ คือรูปแบบกระบวนการฟ้อน “หากินหญ้า” ของควายหลวงน้อยและควายหลวงใหญ่ มีกระบวนฟ้อนจ านวน 26 ท่าแบ่งเป็นท่าฟ้อนของควาย หลวงน้อยจ านวน 10 ท่า ท่าฟ้อนของควายหลวงใหญ่จ านวน 16 ท่า ลักษณะเป็นการฟ้อนเลียนแบบอากัปกิริยา ของควายในขณะที่ก าลังกินหญ้า ท่าฟ้อนดังกล่าวมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน ค าส าคัญ: บุญบวชควาย, ควายหลวง, เจ้าพ่อโฮงแดง,กระบวนฟ้อน 166 หน้า
Thesis Title Patterns and Dance Techniques in the Religious Ceremony, Ngan Bun Buat Khwai Luang 4006611012 Miss Nuengruethai Wonghasarat Degree Master of Fine Arts Program in Thai Performing Arts Year 2023 Adviser Asst. Prof. Dr. Suksanti Wangwan Co-advisor Assoc. Prof. Dr. Jintana Saitongkum ABSTRACT The aims of this thesis were as follows: 1) to study the history and elements of thereligious ceremony,ngan bun buat khwai luang and 2) to analyze the dance techniques used inngan bun buat khwai luang in Ban Mat sub-district, Chiang Khwan district, Roi-et province, Thailand. The researcher used a qualitative research method by studying documents, textbooks, research papers, and expert interviews. The research showed that 1)ngan bun buat khwai luangis a local religious ritual that has been carried on for generations and is held annually in the sixth month to offer Cho-pho Hong Daeng (guardian spirit). It is believed that the ritual could bring peacefulness and happiness to the community, and it has been transmitted through many generations. The format of the ritual could be divided into two types based on the period: (1) during 1826 – 1996, in which there was only one man in the ritual and (2) during 1997 –2022, in which there were two men to be ordained, called Khwai Luang divided intoKhwai Luang Yai (big buffalo) and Khwai Luang Noi (small buffalo).Khwai Luang Noi will be dancing (known as soeng) to ask for a financial contribution from locals all three days prior to the event. In contrast, KhwaiLuang Yai performed dancing to lead the procession to Chao-pho Hong Daeng's shrine on the event day. There were five aspects regarding the ritual elements, including the ritual itself, costume, related props, music, and location. 2) There were two types of dance techniques called "Ha Kin Ya" (grassgrazing) with 26 dance postures ofKhwai Luang, divided into ten dance postures ofKhwai Luang Noiand 16 dance postures ofKhwai Luang Yai. The choreography imitated the posture of a buffalo-eating grass, which has been passed down from generation to generation until now. Keywords: bun buat khwai, khwai luang, Cho-pho Hong Daeng, dance techniques 166 pages
(จ) กิตติกรรมประกาศ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จลงได้ด้วยความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งจากบุคคลหลายท่าน ในการให้ค าปรึกษาแนะน าความรู้ทางวิชาการ ตลอดจนสละเวลาอันมีค่าเพื่อให้วิทยานิพนธ์ เรื่องรูปแบบและกระบวนท่าฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวงเสร็จสมบูรณ์ กราบขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สุขสันติ แวงวรรณ อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ดร.จินตนา สายทองค า อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ที่กรุณาให้ค าปรึกษาชี้แนะแนวทาง ในการท าวิทยานิพนธ์ฉบับนี้และสละเวลาตรวจทานแก้ไขเพิ่มเติมด้านเนื้อหาการวิจัยให้มี ความสมบูรณ์ ด้วยความเมตตาเอาใจใส่ ติดตามงานอย่างสม่ าเสมอ ตลอดจนคอยให้ก าลังใจ และส่งเสริมแรงใจให้ผู้วิจัยมีแนวคิดในการจัดท าวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จนส าเร็จลุล่วงด้วยดี กราบขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ธีรภัทร์ ทองนิ่ม ประธานการสอบวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย ภิรมย์รักษ์และอาจารย์ดร.เอกรัตน์ รุ่งสว่าง กรรมการสอบ วิทยานิพนธ์ที่ กรุณาให้ค าแนะน าในการท าวิทยานิพนธ์ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้ง ในความกรุณาของท่านคณาจารย์ทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง และขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ไว้ณ โอกาสนี้ กราบขอบพระคุณ นางสาวจารุวรรณ ส่งเสริม อาจารย์ประจ าสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และคุณครู อาจารย์ที่เป็นส่วนหนึ่งในการให้ค าปรึกษา ช่วยแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ และเป็นก าลังใจตลอดมารวมทั้งกัลยาณมิตรจากเพื่อนร่วมงานและเพื่อน นักศึกษาทุกคนที่ท าให้การจัดท าวิทยานิพนธ์ส าเร็จลุล่วงด้วยดี สุดท้ายนี้ขอน้อมร าลึกถึงพระคุณของบิดา มารดา ตลอดจนขอขอบคุณครอบครัว วงษาหาราชที่ให้การสนับสนุน คอยช่วยเหลือ และเป็นก าลังใจส าคัญในการท าวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ตลอดมา ที่ท าให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี คุณค่าใด ๆ ที่บังเกิดขึ้นจากงานวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบไว้และระลึกถึงพระคุณบิดา มารดา ครู อาจารย์ ตลอดจนผู้มีอุปการคุณทุกท่านที่ให้ความเมตตาตลอดไป หนึ่งฤทัย วงษาหาราช
(ฉ) สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย................................................................................................................................ (ค) .. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ............................................................................................................................ (ง) กิตติกรรมประกาศ................................................................................................................................ (จ) ... สารบัญ.................................................................................................................................................... (ฉ) สารบัญภาพ............................................................................................................................................. (ซ) สารบัญตาราง.......................................................................................................................................... (ฎ) บทที่ 1 บทน า.......................................................................................................................................... 1 1. ความเป็นมาและความส าคัญของการวิจัย................................................................................... 1 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย............................................................................................................ 4 3. ขอบเขตของการวิจัย................................................................................................................... 4 4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ.......................................................................................................... 5 5. นิยามศัพท์เฉพาะ........................................................................................................................ 6 บทที่2 การทบทวนวรรณกรรม.............................................................................................................. 7 1. ประวัติความเป็นมาของจังหวัดร้อยเอ็ด...................................................................................... 8 2. กลุ่มชาติพันธุ์.............................................................................................................................. 13 3. ประเพณีบุญบั้งไฟ....................................................................................................................... 32 4. ความหมายและความส าคัญของประเพณีบวชควายหลวง........................................................... 42 5. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง................................................................................................53...... 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง..................................................................................................................... 56 7. กรอบแนวคิดในการวิจัย............................................................................................................. 59 บทที่3 วิธีด าเนินการวิจัย....................................................................................................................... 60 1. การเก็บรวบรวมข้อมูลและการจัดกระท าข้อมูล.......................................................................... 60 2. กลุ่มเป้าหมายและการเลือกกลุ่มเป้าหมาย.................................................................................. 61 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย............................................................................................................. 62 4. การตรวจสอบข้อมูล.................................................................................................................... 64 5. การวิเคราะห์ข้อมูล..................................................................................................................... 64 6. การน าเสนอข้อมูล...................................................................................................................... 64
(ช) สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ 4รูปแบบกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง................................................................................. 65 1. ประวัติความเป็นมาของบุญบวชควายหลวง................................................................................. 65 2. รูปแบบและองค์ประกอบงานบุญบวชควายหลวง ........................................................................ 67 2.1 รูปแบบของงานบุญบวชควายหลวง...................................................................................... 67 2.2 องค์ประกอบของงานบุญบวชควายหลวง............................................................................. 68 2.2.1 ด้านพิธีกรรม................................................................................................... 68 2.2.2 ด้านการแต่งกาย……………………………………………………………………………….… 78 2.2.3 ด้านวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานบุญบวชควายหลวง…………………………………….… 83 2.2.4 ด้านดนตรีที่ใช้ประกอบในงานบุญบวชควายหลวง………………………………...… 85 2.2.5 ด้านสถานที่ในการจัดงานบุญบวชควายหลวง……………………………………….… 86 2.2.6 รูปแบบการจัดขบวนในงานบุญบวชควายหลวง…………………………………….… 87 3. รูปแบบกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง บ้านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด............. 88 3.1 ลักษณะทิศทางในการฟ้อนของควายหลวง........................................................................... 89 3.2 การวิเคราะห์กระบวนการฟ้อนที่ปรากฏในงานบุญบวชควายหลวง............................................ 92 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ........................................................................................ 148 1. สรุปผล................................................................................................................................ ....... 148 2. อภิปรายผล................................................................................................................................ 155. 3. ข้อเสนอแนะ............................................................................................................................... 158 บรรณานุกรม........................................................................................................................................... 159 บุคลานุกรม.............................................................................................................................................. 162 ภาคผนวก............................................................................................................................................... 163 ประวัติผู้วิจัย............................................................................................................................................ 166
(ซ) สารบัญรูปภาพ ภาพที่ หน้า 1 แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด…………………………………………………………………………………… 8 2 กลุ่มประชากรอีสาน................................................................................................. 18 3 ศาลเจ้าพ่อเถ้าเจ้าโฮงแดง ณ บ้านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด…………… 24 4 การแห่บั้งไฟที่ตกแต่งสวยงามของบ้านหนองหมื่นถ่าน จังหวัดร้อยเอ็ด………………. 33 5 ขบวนฟ้อนในงานประเพณีบุญบั้งไฟของบ้านหนองหมื่นถ่าน จังหวัดร้อยเอ็ด……… 35 6 สัญลักษณ์อวัยวะเพศชายที่จ าลองเป็นการไถ่นา……………………………………………… 39 7 หาบอวัยวะเพศชายและหญิงซึ่งสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์………………………………….. 40 8 การท าพิธีบวชควายหลวงหรือการบวชนาค…………………………………………………….. 43 9 ลักษณะการฟ้อนของควายหลวงที่ก าลังคารวะเจ้าปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง……………………. 51 10 ควายหลวงร่ายร าและชาวบ้านน าเงินมาใส่ปากเปรียบเสมือนเอาหญ้าให้ควายหลวง กินซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่ากระบวนฟ้อนหากินหญ้า…………………………………………… 53 11 กรอบแนวคิดในการวิจัย.......................................................................................... 59 12 อุปัชฌาย์ท าพิธีขานนาคให้กับควายหลวงและคณะควายหลวง ในพิธีกรรมบวช ควายหลวง ณ ศาลเจ้าพ่อโฮงแดง…………….…………………………………………………… 69 13 การแต่งกายควายหลวงใหญ่....……………....………………………………………………........ 79 14 การแต่งกายควายหลวงน้อย.....……………....……………………………………………………. 79 15 การแต่งกายตุลาการบ้าน………………………....………………………………………………….. 79 16 การแต่งกายอุปัชฌาย์ผู้บวชควายหลวง………………….……………………………….......… 80 17 การแต่งกายหัวหน้าควายหลวง…………………………………………...……………………….. 81 18 การแต่งกายแม่นางหว่า……………………….………………………...……………………………. 81 19 การแต่งกายผู้ชกมวย………….……………………………………………………………………….. 82 20 การแต่งกายผู้แบกเสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดง………………………………………………. 82 21 เครื่องบูชาขันธ์5………………..……………………………………………………………………….. 84 22 ศาสตราวุธ…………………………………………………………………………………………………. 84 23 เสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดง………………………………………………………………………… 84 24 เครื่องเสี่ยงทายฐานจุดบั้งไฟ.................................................................................... 85 25 กลองร ามะนา……………………………………………………………………………………………… 85 26 ฉาบ……………………………………………………………………………………………………………. 86 27 ศาลเจ้าพ่อเถ้าเจ้าโฮงแดง........................................................................................ 87 28 รูปแบบการจัดขบวนในงานบุญบวชควายหลวง....................................................... 88 29 กระบวนฟ้อนลักษณะการดีดเท้าของควายหลวงน้อย.............................................. 93
(ฌ) สารบัญรูปภาพ (ต่อ) ภาพที่ หน้า 30 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการดีดเท้าของควายหลวงน้อย............................. 93 31 กระบวนฟ้อนลักษณะการวิ่งของควายหลวงน้อย.................................................... 95 32 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการวิ่งของควายหลวงน้อย.................................... 95 33 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือซ้าย................................................................... 97 34 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะท่าโบกมือซ้าย....................................................... 97 35 กระบวนฟ้อนลักษณะท่าโบกมือขวา........................................................................ 99 36 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะท่าโบกมือขวา....................................................... 99 37 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าม้วนมือทั้งสองข้างต่างระดับ......................................... 101 38 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะท่าม้วนมือทั้งสองข้างต่างระดับ............................ 101 39 กระบวนฟ้อนในลักษณะการท าท่ากางมือ............................................................... 103 40 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการท าท่ากางมือ................................................... 103 41 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือขวาซ้ายต่างระดับ.............................................. 105 42 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะท่าโบกมือขวาซ้ายต่างระดับ................................. 105 43 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าก ามือและโบกมือซ้าย................................................... 107 44 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะท่าก ามือและโบกมือซ้าย.................................. 107 45 กระบวนฟ้อนในลักษณะการก ามือแล้วแบมือข้างขวา.............................................. 109 46 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการก ามือแล้วแบมือข้างขวา................................. 109 47 กระบวนฟ้อนในลักษณะการถูหลัง........................................................................... 111 48 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการถูหลัง………………............................................ 111 49 ลักษณะต าแหน่งของการประกอบพิธีกรรมอุปัชฌาย์ควายหลวงใหญ่..................... 113 50 กระบวนการฟ้อนลักษณะการดีดเท้าของควายหลวงใหญ่....................................... 114 51 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการดีดเท้าของควายหลวงใหญ่............................. 114 52 กระบวนฟ้อนลักษณะการไหว้ของควายหลวงใหญ่.................................................. 116 53 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการไหว้ของควายหลวงใหญ่................................. 116 54 กระบวนฟ้อนลักษณะการวิ่งของควายหลวงใหญ่.................................................... 118 55 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการวิ่งของควายหลวงใหญ่.................................... 118 56 กระบวนฟ้อนลักษณะการม้วนมือขอพร.................................................................. 120 57 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการม้วนมือขอพร.................................................. 120 58 กระบวนฟ้อนลักษณะการม้วนมือสลับกัน................................................................ 122 59 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการม้วนมือสลับกัน............................................... 122 60 กระบวนฟ้อนลักษณะศีรษะเอียงซ้ายขวาสลับกัน.................................................... 124 61 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะศีรษะเอียงซ้ายขวาสลับกัน................................... 124
(ญ) สารบัญรูปภาพ (ต่อ) ภาพที่ หน้า 62 กระบวนฟ้อนลักษณะศีรษะเอียงขวา....................................................................... 126 63 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะศีรษะเอียงขวา...................................................... 126 64 กระบวนฟ้อนในลักษณะการท าท่ากางมือ................................................................ 128 65 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการท าท่ากางมือ................................................... 128 66 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าม้วนมือและโบกมือขวา................................................. 130 67 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะท่าม้วนมือและโบกมือขวา.................................... 130 68 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือซ้าย................................................................... 132 69 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะท่าโบกมือซ้าย....................................................... 132 70 กระบวนฟ้อนลักษณะท่าโบกมือขวา........................................................................ 134 71 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะท่าโบกมือขวา....................................................... 134 72 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าม้วนมือทั้งสองข้างต่างระดับ........................................ 136 73 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะท่าม้วนมือทั้งสองข้างต่างระดับ............................ 136 74 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือทั้งสองข้าง......................................................... 138 75 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะท่าโบกมือทั้งสองข้าง............................................ 138 76 กระบวนฟ้อนในลักษณะของการเตรียมตัววิ่ง.......................................................... 140 77 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะของการเตรียมตัววิ่ง.............................................. 140 78 กระบวนฟ้อนในลักษณะการก ามือแล้วแบมือทั้งสองข้าง......................................... 142 79 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการก ามือแล้วแบมือทั้งสองข้าง............................ 142 80 กระบวนฟ้อนในลักษณะการถูหลัง.......................................................................... 144 81 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการก ามือแล้วแบมือ............................................. 144 82 สัมภาษณ์กระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง นายสุนตัน บ ารุงเอื้อ................. 163 83 สัมภาษณ์ประวัติความเป็นมาของพิธีกรรมบวชควายหลวง นายสุนตัน บ ารุงเอื้อ... 163 84 สัมภาษณ์ประวัติความเป็นมาและผูกข้อมือกับนายหนูดีขาวศรี............................. 164 85 เสร็จจากการลาสิกขา นายสุนตัน บ ารุงเอื้อ.................................................................... 164 86 การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์…………………………………………………………………………..… 165 87 บรรยากาศห้องสอบป้องกันวิทยานิพนธ์.................................................................. 165
(ฎ) สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1 ประเพณีฮีตสิบสอง.................................................................................................. 30 2 ขั้นตอนที่ 3 วันออกหาเซิ้งหาปัจจัยในการจัดงานบุญบวชควายหลวง..................... 72 3 ขั้นตอนที่ 4 วันรวมพิธีกรรมบุญบวชควายหลวง…................................................... 73 4 ขั้นตอนที่ 5 วันจุดบั้งไฟ…................................…................................….................. 77 5 ต าแหน่งและสัญลักษณ์ของขบวนในงานบุญบวชควายหลวง…................................ 88 6 ทิศทางในการฟ้อนของควายหลวงน้อย.................................................................... 89 7 ทิศทางในการฟ้อนของควายหลวงใหญ่.................................................................... 90 8 กระบวนฟ้อนลักษณะการดีดเท้าของควายหลวงน้อย.............................................. 94 9 กระบวนฟ้อนลักษณะการวิ่งของควายหลวงน้อย.................................................... 96 10 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือซ้าย................................................................... 98 11 กระบวนฟ้อนลักษณะท่าโบกมือขวา........................................................................ 100 12 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าม้วนมือทั้งสองข้างต่างระดับ......................................... 102 13 กระบวนฟ้อนในลักษณะการท าท่ากางมือ................................................................ 104 14 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือขวาซ้ายต่างระดับ............................................. 106 15 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าก ามือและโบกมือซ้าย................................................... 108 16 กระบวนฟ้อนในลักษณะการก ามือแล้วแบมือข้างขวา.............................................. 110 17 กระบวนฟ้อนในลักษณะการถูหลัง........................................................................... 112 18 กระบวนฟ้อนลักษณะการดีดเท้าของควายหลวงใหญ่............................................. 115 19 กระบวนฟ้อนลักษณะการไหว้ของควายหลวงใหญ่.................................................. 117 20 กระบวนฟ้อนลักษณะการวิ่งของควายหลวงใหญ่.................................................... 119 21 กระบวนฟ้อนลักษณะการม้วนมือขอพร.................................................................. 121 22 กระบวนฟ้อนลักษณะการม้วนมือสลับกัน................................................................ 123 23 กระบวนฟ้อนลักษณะศีรษะเอียงซ้าย...................................................................... 125 24 กระบวนฟ้อนลักษณะศีรษะเอียงขวา....................................................................... 127 25 กระบวนฟ้อนในลักษณะการท าท่ากางมือ................................................................ 129 26 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าม้วนมือและโบกมือขวา................................................. 131 27 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือซ้าย................................................................... 133 28 กระบวนฟ้อนลักษณะท่าโบกมือขวา........................................................................ 135 29 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าม้วนมือทั้งสองข้างต่างระดับ......................................... 137 30 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือทั้งสองข้าง......................................................... 139 31 กระบวนฟ้อนในลักษณะของการเตรียมตัววิ่ง.......................................................... 141
(ฌ) สารบัญตาราง (ต่อ) ตารางที่ หน้า 32 กระบวนฟ้อนในลักษณะการก ามือแล้วแบมือทั้งสองข้าง......................................... 143 33 กระบวนฟ้อนในลักษณะการถูหลัง........................................................................... 145 34 ลักษณะกระบวนฟ้อนที่เหมือนและแตกต่างกัน....................................................... 146
1 บทที่1 บทน ำ 1. ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของกำรวิจัย ในทุกภูมิภาคของประเทศไทยได้มีเรื่องของความเชื่อประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยความเชื่อที่ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานของมนุษย์ทุกสังคมให้อยู่ร่วมกันได้ซึ่งความเชื่อนั้นได้แสดงออกมา ในรูปแบบขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมและพิธีกรรม ดังนั้นประเพณีส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น จึงมีที่มาจากวิถีในการด ารงชีวิตและพัฒนามาเป็นองค์ความรู้และความเชื่อที่สลับซับซ้อน โดยมีจุดประสงค์อยู่ 2 อย่าง คือ 1) เพื่อให้สมาชิกได้รับสิ่งที่เป็นมงคลมีความสุขกายสบายใจ 2) เพื่อให้เกิดความสอดคล้องในวิถีชีวิต เช่น การสร้างความอุดมสมบูรณ์แก่พืชผลในไร่นาของสมาชิก ในสังคม เป็นต้น (สายทิพย์ นุกูลกิจ, 2533, น. 39) ดังปรากฏในกลุ่มชาวอีสานที่ได้ยึดถือปฏิบัติ ในการด ารงชีวิตตามฮีตสิบสองอย่างเคร่งครัดมาแต่โบราณกาล เพราะถือว่าเป็นประเพณีอันดีงาม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้สมาชิกในสังคมมีสวัสดิภาพในการด าเนินชีวิตอย่างเป็นสุข (อ าคา แสงงาม, 2537, น. 247) ความเชื่อของมนุษย์และพฤติกรรมที่มนุษย์ปฏิบัติต่อความเชื่อทางศาสนา และความศรัทธา ของตนเองในแต่ละศาสนา จึงได้เกิดเป็นพิธีกรรมซึ่งพิธีกรรมและประเพณีมีบทบาทส าคัญต่อการอยู่ ร่วมกันทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พิธีกรรมและประเพณี ได้ให้หลายสิ่งหลายอย่างและหล่อหลอมจิตใจของคนในชุมชนร่วมกันท าบุญ ก่อให้เกิดเป็นประเพณี ซึ่งประเพณีที่ชาวอีสานจะต้องปฏิบัติสืบทอดกันมาในโอกาสของงานต่าง ๆ ทั้งสิบสองเดือนของไทย คือ “ ฮีตสิบสองเดือน” (กรมวิชาการ, 2539, น. 11) โดยพิธีกรรมได้คล้ายกับแนวคิดทฤษฎีโครงสร้าง ทางวัฒนธรรมของ ชาวฝรั่งเศส เรื่อง “วัฒนธรรม” และประเพณีปัจจุบันจารีตแบบที่เรียกว่า “ฮีตปี คองเดือน” ที่ยังคงทรงความเป็นอิทธิพลอยู่ คือ ฮีตเดือนหก หรือประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งคน สมัยก่อนเชื่อกันว่าจัดขึ้นเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นประเพณีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องขอฝนที่ชาวบ้าน มีความเชื่อกันว่าจะท าให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลและไร่นาอุดมสมบูรณ์
2 ในประเพณีบุญเดือนหกจึงมีการจัดงานบุญบั้งไฟเกิดขึ้นของทุก ๆ ปี ซึ่งประเพณีบุญบั้งไฟนี้ เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่อของชาวบ้านเรื่องพญาแถน พระองค์เป็นปรากฏการณ์อยู่เหนือ กฎเกณฑ์ธรรมชาติ เป็นผู้อยู่เหนือกาลเวลา ผู้มีอ านาจสูงสุด ซึ่งการก าหนดกฎเกณฑ์และพฤติกรรม ในสังคมชาวอีสานที่ความสามัคคีให้แก่คนในสังคม เดือนหกชาวอีสานก็จะประกอบพิธีประเพณีบุญบั้งไฟ เพื่อขอฝนและความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธ์ธัญญาหาร (บัญชา อุตสาหรัมย์, 2553, น. 120) นอกเหนือจากประเพณีบุญบั้งไฟที่มีความหมายถึงการบูชาพญาแถนเพื่อขอฝนนั้น ยังมีพิธีกรรมอีก อย่างหนึ่งที่เรียกว่าพิธีกรรมบวชควายหลวงที่มีความหมายใกล้เคียงกัน กับงานประเพณีบุญบั้งไฟโดย งานพิธีกรรมบวชควายหลวงนี้เป็นพิธีกรรมที่แสดงออกถึงความอุดมสมบูรณ์ให้ฝนฟ้าตกต้องตาม ฤดูกาลหรือสร้างความสุขใจให้กับคนในชุมชนเพื่อช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าจะไม่เกิดสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิด เช่น ฝนแล้ง น้ าท่วม คนเจ็บ ป่วย เป็นต้น (สุริยา สมุทคุปติ์และคณะ, 2533, น. 9) ควาย หลวง หมายถึง ควายที่เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าผู้น าในที่นี้คือควายที่ต้องเข้าท าพิธีคารวะ บอกกล่าวต่อผีปู่ตา หรือควายของเจ้าพ่อโฮงแดง (ปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง) ผู้ที่เคยเป็นผู้สร้างเมืองขึ้น เป็นบ้านแมด จังหวัดร้อยเอ็ด หรือผีบรรพชนที่คอยคุ้มครองชุมชน ที่ชาวบ้านนับถือเสมือนเป็น "หลักบ้าน" ที่ชาวบ้านให้ความเลื่อมใสและศรัทธา (สมชาย นิลอาธิ และคณะ, 2559, น. 1) ซึ่ง ช า ว บ้ านมีค ว ามเ ชื่ อ ว่ า ก า รท าพิ ธี ก ร รมบ ว ช ค ว า ยห ล วงนั้น จ ะท าให้ ฝน ต ก ต้องตามฤดูกาล โดยจะมีผู้ที่ท าพิธีสื่อสารกับเจ้าพ่อโฮงแดงที่เรียกว่า “ควายหลวง” ผู้ที่ได้รับบทบาท เป็นควายหลวงคือชาวบ้านที่เป็นผู้ชายซึ่งได้รับการคัดเลือกให้มาท าพิธีโดยมีคุณสมบัติได้รับ การถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นในครอบครัว จะมีการแต่งกายที่เลียนแบบลักษณะของควายไทยในส่วนศีรษะ มีการสวมหมวกที่เหมือนเขาควายจ านวน 4 เขา ในส่วนของใบหน้าและร่างกายมีการน าดินหม้อทา ให้เกิดเป็นสีด าในส่วนของรอบดวงตาทาด้วยลิปสติกสีแดงสดและสวมกางเกงพร้อมกับม้วนขากางเกง ขึ้นให้สั้นและเปลือยกายท่อนบน พิธีกรรมบวชควายหลวงปกตินี้จะจัดควบคู่กับงานประเพณีบุญบั้งไฟ อีสาน โดยทั้งในหมู่บ้านแถบชานเมืองและชนบทห่างไกลมักจะให้ความสนใจกับพิธีกรรมนี้ เพราะเป็นพิธีกรรมที่มีที่เดียว คือ จังหวัดร้อยเอ็ด พิธีกรรมนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ประกอบไปด้วย วันออกเซิ้งหาปัจจัย วันรวม และวันจุดบั้งไฟ ส่วนวันรวมชาวบ้าน จัดพิธีบวชควายหลวง ซึ่งมีการ ท าพิธีบวชในตอนเช้าคณะควายหลวงประกอบด้วย อุปัชฌาย์เป็นผู้ท าหน้าที่ในการบวชให้ควายหลวง หัวหน้าควายหลวงท าหน้าที่ดูแลควายหลวงขณะประกอบพิธี, ตุลาการบ้านมีหน้าที่ในการจัดท า ขันธ์ 5 ผู้ถือเครื่องศาสตราวุธ ผู้ที่ท าหน้าที่ถืออุปกรณ์กลุ่มนักดนตรีมีหน้าที่บรรเลงดนตรีแม่นางหว่า มีหน้าที่แต่งกายให้ควายหลวงและผู้แบกเสลี่ยง โดยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้จะนั่งล้อมวงและท าพิธี บวชโดยการขานนาค จากนั้นคณะควายหลวงได้บรรเลงดนตรี พร้อมกับร่ายร าเข้ากับจังหวะกลอง มีการฟ้อนร่วมกัน อย่างสนุกสนาน ประกอบกับดนตรีพื้นบ้านบรรเลงพร้อมกับตั้งขบวนแห่รอบศาลเจ้าพ่อโฮงแดง
3 (ปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง) 3 รอบ และลักษณะของควายหลวงจะมีความคึกคะนอง มีความแข็งแรงกระโดด โลดเต้น ซึ่งเกิดเป็นนาฏกรรมในพิธีกรรมที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบท่าเลียนแบบ ของสัตว์ (ควายไทย) เช่น ท่ากินหญ้า มีลักษณะเหมือนตอนที่ควายก าลังกินหญ้า เป็นต้น โดยปกติ นาฏกรรมนั้นจะหมายถึง การเคลื่อนไหวของมนุษย์อย่างมีเจตนารมณ์และเป็นประดิษฐ์กรรมที่สร้าง ขึ้นโดยความตั้งใจ จัดวางสรีระร่างกาย ผสมจินตนาการ แรงบันดาลใจ อารมณ์ปรุงจริต ตามวิสัย เกิดเป็นกระบวนฟ้อนทั้งที่ มีความหมายหรือไม่มีความหมายทั้งที่เป็นเรื่องราวและไม่เป็น เรื่องราวก็ได้แต่นาฏกรรมในพิธีกรรมนั้นหมายถึง การร่ายร า การเต้น การละเล่น การร้องเพลง ประกอบดนตรีที่บรรเลงในพิธีกรรม โดยมีผู้ร่ายร า เต้น เล่น ร้อง จะเป็นผู้ที่อยู่ในพิธีกรรม เช่น ร่างทรง หรือผู้เข้าร่วมพิธีกรรม เป็นต้น ซึ่งนาฏกรรมในพิธีกรรมนี้ไม่ได้ท าเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน แต่เป็นการกระท าในโอกาสเมื่อชีวิตประสบภาวะวิกฤตที่พวกเขาไม่รู้สาเหตุและไม่เข้าใจธรรมชาติ ได้ดีพอ เช่น เกิดภัยพิบัติธรรมชาติ การป่วยไข้หรือความตาย เป็นต้น (พิมวลี ดีสม, 2562, น. 3) ปัจจุบันการจัดงานประเพณีบวชควายหลวงยังมีเกิดขึ้นอยู่ทุกปี และมีการสืบทอด ในเรื่องของการจัดพิธีกรรมการบวชควายหลวง โดยจากการศึกษาและการสัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญในด้านประเพณีพิธีกรรมบวชควายหลวงของจังหวัดร้อยเอ็ด ท าให้พบปัญหาว่าพิธีกรรม บวชควายหลวงคือ ไม่มีการรวบรวมองค์ความรู้และการจัดเก็บข้อมูล การศึกษาที่มาและรูปแบบ องค์ประกอบหรือการวิเคราะห์รูปแบบกระบวนการและขั้นตอนการฟ้อนที่เกิดขึ้นในงานบุญบวชควาย หลวงอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการศึกษาสนใจและค้นคว้าหาความรู้ในพิธีกรรมบวชควายหลวง ซึ่งพิธีกรรมนี้ปัจจุบันแทบจะไม่มีให้เห็นในจังหวัดอื่น ๆ และพิธีกรรมบวชควายหลวงนี้ยังคงเห็น เพียงแห่งเดียวในแถบลุ่มน้ าชี ที่วัฒนธรรมบวชควายหลวงเหลือเพียงเรื่องราวบอกเล่าบางอย่าง ในพิธีกรรมนั้นหายไปหลายชุมชนเหลือเพียงเครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรีและกระบวนฟ้อนในพิธีกรรม และผู้ปฏิบัติหน้าที่ควายหลวง ซึ่งเป็นผู้น าในการคารวะเจ้าพ่อโฮงแดง (ปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง) ที่ยังคง มีชีวิตอยู่และสืบทอดมายาวนานจากบรรพบุรุษ เมื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ จึงควร ที่จะมีการศึกษารวบรวมองค์ความรู้เรื่องการบวชควายหลวงนี้ไว้ เพื่อสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจ ในการจัดพิธีกรรมบวชควายหลวง ที่มีความหมายต่อคนในพื้นที่นั้น หากไม่มีการศึกษาและรวบรวม องค์ประกอบต่าง ๆ ไว้ อาจจะสูญหายและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ผู้วิจัยจึงมีความสนใจและเล็งเห็นถึงความส าคัญของประเพณีพิธีกรรมการบวชควายหลวง ในวันแห่บั้งไฟ ที่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องผีปู่ตาที่ศาลปู่ตา ซึ่งชาวอีสานเชื่อกันว่าเป็น ผีประจ าหมู่บ้าน ชาวบ้านอีสานเชื่อว่าจะคอยปกป้องคุ้มครองคนและสัตว์เลี้ยงในหมู่บ้าน และช่วย เสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์ของชุมชนบ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อแสดงให้เห็นถึงที่มาและรูปแบบและองค์ประกอบงานบุญบวชควายหลวงโดยการน ามาวิเคราะห์ รูปแบบกระบวนการและขั้นตอนการฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวงที่มีการสืบทอด รักษารากเหง้า
4 อัตลักษณ์ดั้งเดิมประเพณีพิธีกรรมท้องถิ่นจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นประโยชน์ทางด้าน การศึกษาวิชาการทั้งในปัจจุบันและอนาคต 2. วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย 2.1 เพื่อศึกษาที่มารูปแบบและองค์ประกอบงานบุญบวชควายหลวง 2 . 2 เพื่อ วิเค ร าะห์ รูปแบบก ร ะบ วนฟ้อนในง านบุญบ วชค ว ายหล วง บ้ านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด 3. ขอบเขตของกำรวิจัย ผู้วิจัยศึกษากระบวนฟ้อนที่อยู่ในพิธีกรรมบวชควายหลวง โดยก าหนดขอบเขตของการวิจัย เป็น 4 ด้านคือ ด้านเนื้อหา ด้านพื้นที่ ด้านระยะเวลา บุคคลผู้ให้ข้อมูล 3.1 ด้ำนเนื้อหำ แบ่งออกเป็นสองส่วนตามกรอบวัตถุประสงค์ คือ ด้านประวัติ ข้อมูล และด้านวิเคราะห์ รูปแบบและโครงสร้างกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง 3.2 ด้ำนพื้นที่ ได้ก าหนดพื้นที่จากการศึกษาข้อมูลที่ บ้านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด 3.3 ด้ำนระยะเวลำ ได้ก าหนดระยะเวลาการวิจัยเรื่องรูปแบบและกระบวนท่าฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง พ.ศ. 2562 – เดือนธันวาคม พ.ศ.2565 3.4 บุคคลผู้ให้ข้อมูลส ำคัญ จ าแนกบุคคลผู้ให้ข้อมูลส าคัญออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้รับหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ ในพิธีกรรมบวชควายหลวง ผู้ที่เป็นปราชญ์ท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านฟ้อนอีสาน ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี อีสาน ดังนี้ 3.4.1 ผู้ปฏิบัติหน้ำที่ในพิธีกรรมบวชควำยหลวง ได้แก่ ผู้ท าพิธีในพิธีกรรมบวช ควายหลวง 3.4.1.1 นายสุนตัน บ ารุงเอื้อ บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด เป็นผู้ท าหน้าที่ควายหลวง 3.4.1.2 นายหนูดี ขาวศรีบ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด เป็นผู้ท าหน้าที่อุปัชฌาย์ 3.4.1.3 นางหนูจันทร์ แก้วปัญญา บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้ท าหน้าที่แม่บัวระบัด
5 3.4.1.4 นายประจักษ์ ทานีวรรณ บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้ท าหน้าที่ตุลาการ 3.4.1.5 นางมี วงศ์สุเพ็ง บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้ท าหน้าที่แม่นางวัว 3.4.1.6 นายบุญตา พุทธแสวง บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้ท าหน้าที่ผู้ชกมวย 3.4.2. ผู้ที่เป็นปรำชญ์ท้องถิ่น ได้แก่ 3.4.2.1 พระครูวิมล บุญโกศล บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้มีส่วนร่วมในประเพณีพิธีกรรม 3.4.2.2 พระอาจารย์จรุณ ขาวศรี บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านแมด 3.4.2.3 นางสมบัติ บ ารุงเอื้อ บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้ร่วมพิธีกรรม 3.4.2.4 นางหนูทิพย์ บ ารุงเอื้อ บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ที่เคยได้รับหน้าที่เป็นแม่นางหว่า 3.4.2.5 นางยศ จันทรช านิ บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ที่เคยได้รับหน้าที่เป็นแม่นางหว่า 3.4.3. ผู้เชี่ยวชำญด้ำนฟ้อนอีสำน ได้แก่ 3.4.3.1 อาจารย์ ดร.ฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอล า) ประจ าปีพุทธศักราช 2536 3.4.3.2 อาจารย์ ดร.ชัยณรงค์ ต้นสุข ครูวิทยฐานะ ช านาญการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการ แสดงพื้นบ้านอีสาน วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม 3.4.4. ผู้เชี่ยวชำญด้ำนดนตรีอีสำน ได้แก่ 3.4 .4.1 นายทรงศักดิ์ ป ระทุมสินธุ์ ศิลปินแห่งชาติ ส าข าศิลปะก ารแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน) ประจ าปีพุทธศักราช 2562 3.4.4.2 นายจีรพล เพชรสม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ต าแหน่งนักวิชาการละครและดนตรี วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม 4. ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ 4.1 ได้องค์ความรู้ที่มา รูปแบบและองค์ประกอบงานบุญบวชควายหลวงเพื่อเผยแพร่ และอนุรักษ์สืบสานประเพณีพิธีกรรมบวชควายหลวง ของบ้านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ยังคงสืบทอดเป็นมรดกอีสานต่อไป
6 4.2 ได้องค์ความรู้การวิเคราะห์รูปแบบกระบวนการและขั้นตอนการฟ้อนในงานบุญบวช ควายหลวงอันจะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดทางกระบวนฟ้อนในประเพณีการบวชควายหลวง ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ส าคัญของจังหวัดร้อยเอ็ด 5. นิยำมศัพท์เฉพำะ งานบุญบวชควายหลวง หมายถึง พิธีกรรมที่เกิดขึ้นในบุญเดือนหก หรือประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งจัดท าขึ้นเพื่อสื่อให้เห็นถึงความศรัทธาและการคารวะผีบรรพบุรุษที่ชาวบ้านนับถือ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล และความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารตามความเชื่อ ของชาวบ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ควายหลวง หมายถึง ควายหลวงน้อยจะต้องมีคุณสมบัติเป็นเพศชายเท่านั้นและต้องเป็น ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากเครือญาติที่เป็นควายหลวงใหญ่เท่านั้น และเป็นผู้ที่ได้รับบทบาทเป็นผู้น าคณะ ควายหลวงออกเซิ้งหาปัจจัยตามหมู่บ้านใกล้เคียง ควายหลวงใหญ่ คือ ผู้ที่เป็นควายหลวงนั้นจะต้องมีคุณสมบัติเป็นเพศชายที่สืบเชื้อสาย มาจากเครือญาติผู้เป็นควายหลวงมาก่อนเท่านั้น มีหน้าที่เข้าบวชเพื่อคารวะต่อเจ้าพ่อโฮงแดง ผู้ที่เป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านแมดนับถือ อุปัชฌาย์ หมายถึง ผู้ท าหน้าที่คอยดูแลควายหลวงพร้อมให้ค าแนะน าในการบวช โดยอุปัชฌาย์เป็นผู้ที่ท าการบวชให้กับควายหลวงใหญ่และเป็นผู้สวมเขาชนิด ๔ เขา สวมกระพวน ให้กับผู้ที่เป็นควายหลวงใหญ่ ในวันบวชควายหลวงนั้น ชาวบ้านเรียกว่า วันรวม ผู้ที่เป็นอุปัชฌาย์นั้น จะต้องมีคุณสมบัติเป็นเพศชายสืบเชื้อสายมาจากเครือญาติเท่านั้น เฒ่าจ้ า หมายถึง ผู้ที่ท าหน้าที่น าประกอบพิธีกรรม ในงานบุญบวชควายหลวง ผู้เป็นเฒ่า จ้ าจะต้องมีคุณสมบัติเป็นเพศชายที่มีอายุวัยกลางคนและเป็นผู้มีศีลธรรมชาวบ้านให้การยอมรับนับถือ สืบเชื้อสายมาจากเครือญาติ มีความรอบรู้ในการประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาลเจ้าเถ้าโฮงแดง ศาลผีปู่ตาและมีหน้าที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารระหว่างชาวบ้านกับผีเครือญาติ กระบวนท่าฟ้อน หมายถึง กระบวนการแสดงท่วงท่าการร่ายร าของผู้ที่ได้รับบทบาทควาย หลวงมีการแสดงท่าฟ้อนแห่รอบศาลหรือดอนปู่ตา ประกอบจังหวะท่วงท านองเพลงซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ฟ้อนในพิธีกรรมบุญควายหลวงตามแบบฉบับของชาวบ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ดเท่านั้น บุญบั้งไฟ หมายถึง ประเพณีบุญเดือนหกกลุ่มชาติพันธุ์ลาวบ้านแมด ก าหนดจัดงานใน ระหว่างวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายนของทุกปี ขั้นตอนการจัดงานประกอบ พิธีกรรมบวชควายหลวงใหญ่เพื่อคารวะผีเครือญาติ วันอาทิตย์ วันจุดบั้งไฟวันลาสิกขาของควายหลวง
บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเพื่อเป็นการน ามา ซึ่งข้อมูลพื้นฐานของรูปแบบและองค์ประกอบ กระบวนการฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง คือ กลุ่มชาติพันธุ์ นาฏกรรมและความเชื่อในพิธีกรรม และกรอบแนวคิดของการวิจัย โดยมีรายละเอียด ของเนื้อหา ดังนี้ 1. ประวัติความเป็นมาของจังหวัดร้อยเอ็ด 1.1 ตั้งและอาณาเขต 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ 1.3 การเมืองการปกครองและประชากร 2. กลุ่มชาติพันธุ์ 2.1 ความเป็นมาของดินแดนและกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสาน 2.2 ความเชื่อและพิธีกรรมที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวอีสาน 2.3 กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด 2.4 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 2.5 ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ 2.6 ประเพณีบุญเดือนหก 3. ประเพณีบุญบั้งไฟ 3.1 จุดมุ่งหมายของประเพณีบุญบั้งไฟ 3.2 จุดมุ่งหมายของการเซิ้งบั้งไฟ 3.3 ความหมายสัญลักษณ์ในงานบุญบั้งไฟ 4. ความหมายและความส าคัญของประเพณีบวชควายหลวง 5. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 7. กรอบแนวคิดในการวิจัย
8 1. ประวัติความเป็นมาของจังหวัดร้อยเอ็ด ภาพที่ 1 แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มา: แผนที่ไทยดอทคอม (2564, ออนไลน์) ร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดในบริเวณลุ่มแม่น้ าชีในภาคอีสานของไทย ที่อดีตเคยเป็นเมืองที่มี ความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยปรากฏชื่อในต านานอุรังคธาตุว่า สาเกตนคร หรือ เมืองร้อยเอ็ดประตู อันเนื่องมาจากเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองขนาดที่มีเมืองขึ้นมากถึง สิบเอ็ดเมือง แต่จ านวนสิบเอ็ดในสมัยโบราณนั้นจะประกอบด้วยเลขสิบและเลขหนึ่ง (101) ชื่อเมือง จึงถูกเรียกว่า เมืองร้อยเอ็ดจนทุกวันนี้ ประเด็นเรื่อง 11 หัวเมือง หรือ 10 + 1 น่าจะเป็นสมมุติฐานที่คลาดเคลื่อน เพราะจาก การตรวจสอบข้อความตัวอักษรธรรมในต้นฉบับใบลานเรื่องอุรังคธาตุปรากฏว่า ไม่ได้มีจุดไหนที่เขียน ชื่อเมืองร้อยเอ็ด เป็นตัวเลขแม้แต่จุดเดียว และพบว่ามีการเขียนถึงร้อยเอ็ดเป็นตัวอักษรทุกจุด (มีทั้งหมด 59 จุด) ดังนั้นจึงคาดว่า ชื่อเมืองร้อยเอ็ดน่าจะเป็นความหมายเชิงอุปมาอุปไมยมากกว่า โดยสื่อความหมายว่าเป็นเมืองยิ่งใหญ่มีเมืองบริวารมากจนนับไม่ถ้วน
9 ความเป็นมาก่อนประวัติศาสตร์ มีการพบหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ กระจายอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ขุด พบแหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัว ซึ่งสันนิษฐานว่าชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ค้นพบมีอายุ ประมาณ 1,800-2,500 ปีมาแล้ว และมักมีถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มน้ ากับใกล้แหล่งเกลือสินเธาว์ อิทธิพล ของพุทธศาสนาภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีได้เข้ามาเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 12-15 มีหลักฐานสมัย ทวารวดีที่ส าคัญ เช่น คูเมืองร้อยเอ็ด เจดีย์เมืองหงส์ในเขตอ าเภอจตุรพักตรพิมาน กลุ่มใบเสมา บริเวณหนองศิลาเลขในเขตอ าเภอพนมไพร และพระพิมพ์ดินเผาปางนาคปรกที่ เมืองไพรในเขต อ าเภอเสลภูมิ วัฒนธรรมจากอาณาจักรขอมได้แพร่เข้ามาในพุทธศตวรรษที่ 16 ปรากฏหลักฐานอยู่มาก เช่น สถาปัตยกรรมในรูปแบบของปราสาทหิน เช่น กู่กาสิงห์ ในเขตอ าเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ในเขต อ าเภอธวัชบุรี กู่พระโกนาในเขตอ าเภอสุวรรณภูมิ และประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพทางศาสนา ที่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจ าวันที่ท าจากหินทรายและโลหะเป็นจ านวนมาก สมัยทวารวดี การตั้งถิ่นฐานของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ได้ต่อเนื่องมาถึงสมัยทวารวดีซึ่งเป็น วัฒนธรรมในพระพุทธศาสนา เมืองที่สร้างขึ้นมีรูปร่างและที่ตั้งไม่แน่นอน แต่มีลักษณะที่ส าคัญ คือ มีคูน้ าและคันดินล้อมรอบชุมชน ร่องรอยที่ยังเห็นอยู่ของคูเมืองและคันดินได้แก่บริเวณด้าน ตะวันออกของวัดบูรพาภิรามด้านใต้ของเมืองบริเวณโรงเรียนสตรีศึกษา นอกจากนี้ยังพบอยู่ในอ าเภอ ต่าง ๆ ของจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ บ้านเมืองไพร (เขตอ าเภอเสลภูมิ) บ้านเมืองหงส์ (เขตอ าเภอจตุรพักตรพิมาน) บ้านสีแก้ว (เขตอ าเภอเมืองร้อยเอ็ด) หนองศิลาเลข บ้านชะโด (เขตอ าเภอพนมไพร) และบ้านดงสิงห์ (เขตอ าเภอจังหาร) สมัยลพบุรี ได้พบโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยลพบุรีหรือละโว้ที่เป็นที่รู้จักดี ได้แก่ ปราสาทหิน กู่กาสิงห์ในเขตอ าเภอเกษตรวิสัย กู่พระโกนาในเขตอ าเภอสุวรรณภูมิ ปรางค์กู่ในเขตอ าเภอธวัชบุรี กู่โพนระฆัง กู่โพนวิท กู่บ้านเมืองบัวในเขตอ าเภอเกษตรวิสัย กู่คันทนามในเขตอ าเภอโพนทราย ส าหรับโบราณวัตถุ ได้แก่ รูปเคารพและเครื่องมือเครื่องใช้ในศาสนา เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิวลึงค์ ภาชนะดินเผา คันฉ่องส าริด ก าไลส าริด เป็นต้น สมัยอาณาจักรล้านช้าง ได้ปรากฏชื่อเมืองร้อยเอ็ดในเอกสารของลาวว่า พระเจ้าฟ้างุ้มเมื่อด ารงต าแหน่งเป็น บุตรเขยเมืองขอม ได้น าไพร่พลมารวมก าลังกันอยู่ที่เมืองร้อยเอ็ด ก่อนยกก าลังไปยึดเมืองเชียงทอง (หลวงพระบาง) ได้ส าเร็จแล้วจึงได้สถาปนาอาณาจักรล้านช้าง หลักฐานเกี่ยวกับเมืองร้อยเอ็ดขาด หายไปประมาณ 400 ปี จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2231 เมืองเวียงจันทน์เกิดความไม่สงบ พระครู โพนสะเม็ดพร้อมผู้คน ประมาณ 3,000 คน ได้เชิญเจ้าหน่อกษัตริย์อพยพลงมาตามแม่น้ าโขง
10 แล้วมาตั้งมั่นอยู่ที่บริเวณเมืองจ าปาศักดิ์ ผู้ปกครองเมืองจ าปาศักดิ์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระครู โพนสะเม็ด จึงได้นิมนต์ให้ท านุบ ารุงพระพุทธศาสนาและปกครองเมืองจ าปาศักดิ์ ต่อมาเจ้าหน่อ กษัตริย์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์พระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ได้ขยายอิทธิพล ไปในดินแดนต่าง ๆ เหนือสองฝั่งแม่น้ าโขง ได้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นหลายแห่งและส่งบริวารไปปกครอง เช่น เมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร เมืองรัตนบุรี เมืองค าทอง เมืองสาละวัน และเมืองอัตตะปือ เป็นต้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2256 เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรได้มอบหมายให้อาจารย์แก้วควบคุมไพร่พล ประมาณ 3,000 คน มาสร้างเมืองขึ้นใหม่ในดินแดนอีสานตอนล่าง เรียกว่า เมืองท่ง ปัจจุบันอยู่ใน เขตอ าเภอสุวรรณภูมิมีเจ้าเมืองต่อมาคือ ท้าวมืด ท้าวทน ท้าวเชียง และท้าวสูน สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ปีพุทธศักราช 2277 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยากรมท่า และพระยาพรหม เดินทางมาดูแลหัวเมืองในภาคอีสาน ท้าวทนจึงได้เข้ามาขออ่อนน้อม พระยา ทั้งสองจึงมีใบบอกไปยังกรุงธนบุรีขอตั้งท้าวทนเป็นเจ้าเมือง โดยยกบ้านกุ่มฮ้างขึ้นเป็นเมืองร้อยเอ็ด ตามนามเดิม ท้าวทนได้รับแต่งตั้งเป็นพระขัติยะวงษา นับว่าเป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก ส่วนเมืองท่ง นั้น บรรดากรมการเมืองเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่ไม่เหมาะสม จึงได้ย้ายไปตั้งบริเวณดงท้าวสาร และให้ ชื่อว่า เมืองสุวรรณภูมิ นับแต่นั้นมาทั้งเมืองร้อยเอ็ดและเมืองสุวรรณภูมิต่างมีฐานะขึ้นตรงต่อ กรุงธนบุรีเช่นเดียวกัน ปีพุทธศักราช 2310 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งใหม่ ท าให้เมืองร้อยเอ็ดและบรรดาหัวเมืองอีสานล้วนต้องขึ้นตรง ต่อกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนเมืองร้อยเอ็ดก็ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนมีฐานะทางการเมือง และความส าคัญเหนือเมืองสุวรรณภูมิในเวลาต่อมา ปีพุทธศักราช 2326 พระขัติยะวงษา (ทน) ถึงแก่กรรม ท้าวสีลังบุตรคนโตได้รับโปรด เกล้าฯ ให้เป็นพระขัติยะวงษา เจ้าเมืองร้อยเอ็ดสืบแทน ต่อมาในปี พ.ศ. 2365 เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อกองทัพกบฏถูกตีแตกถอยร่นกลับมา ก าลังทหารจากเมืองร้อยเอ็ดได้เข้าโจมตีซ้ าเติมจนพวกกบฏ แตกพ่าย พระขัติยะวงษา (สีลัง) มีความดีความชอบได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาขัติยะวงษา ปีพุทธศักราช 2418 เกิดสงครามปราบฮ่อที่เวียงจันทน์และหนองคาย เจ้าเมืองอุบล ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้ายกก าลังไปปราบ โดยเกณฑ์ก าลังพลจากหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือ ไปช่วยปราบกบฏ เมื่อกองทัพยกมาถึงเมืองร้อยเอ็ด พระขัติยะวงษา (สาร) และราชวงศ์ (เสือ) ได้สมทบก าลังไปปราบฮ่อด้วย เมื่อเสร็จศึก ราชวงศ์ (เสือ) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระขัติยะวงษา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองในระบบมณฑล เทศาภิบาล จึงให้รวมหัวเมืองอีสานเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งออกเป็น 4 กองใหญ่ แต่ละกองมีข้าหลวง ก ากับการปกครองกองละ 1 คน และมีข้าหลวงใหญ่ก ากับราชการอีกชั้นหนึ่งอยู่ที่เมืองจ าปาศักดิ์ กองใหญ่ทั้ง 4 กอง ได้แก่ หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ
11 หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ และหัวเมืองลาวฝ่ายกลาง เมืองร้อยเอ็ดเป็นหัวเมืองเอกในจ านวน 12 เมือง ของหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีศูนย์การบริหารหัวเมืองอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี ในปีพ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราระบบการปกครอง เทศาภิบาลขึ้นใช้ปกครองส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ หัวเมืองลาวกาวจึงเปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลลาวกาว ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ และมณฑลอีสานตามล าดับ ปีพุทธศักราช 2450 เมืองร้อยเอ็ดได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมณฑลร้อยเอ็ด โดยแบ่งเขต การปกครองออกเป็น 5 เมือง คือเมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองมหาสารคาม เมืองกมลาไสย และเมืองกาฬสินธุ์ ปีพุทธศักราช สมเด็จฯ กรมพระยาด ารงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอของเทศาภิบาลข้ าหลวงมณฑลอีสานว่า ควรแยกมณฑลอีสาน ออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานีและมณฑลร้อยเอ็ด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นไปตามที่เสนอ มณฑลร้อยเอ็ดจึงมีเขตปกครอง 3 จังหวัด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์ ปีพุทธศักราช 2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้รวม มณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล และมณฑลอุดร เป็นภาคเรียกว่า ภาคอีสาน มีอุปราชประจ าภาคอยู่ที่ เมืองอุดรธานี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2468 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกภาคอีสาน แล้วปรับเปลี่ยนเป็น การปกครองระบบมณฑลตามเดิม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2469 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยุบมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล และมณฑลอุดร แล้วให้เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัด ขึ้นต่อมณฑลนครราชสีมา ระหว่างปีพุทธศักราช 2445-2455 ได้เกิดกบฏผีบุญขึ้นในจังหวัดร้อยเอ็ด อันมีสาเหตุ มาจากการยกเลิกการปกครองแบบดั้งเดิม โดยยกเลิกต าแหน่งเจ้าเมือง แล้วแต่งตั้งข้าราชการ จากส่วนกลางไปปกครอง ท าให้เกิดการต่อต้านจากกลุ่มเจ้าเมืองเดิมและทายาท กบฏผีบุญเกิดขึ้น จากการมีผู้อ้างตัวเป็นผู้วิเศษตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในภาคอีสาน ในที่สุดก็ถูกทางราชการปราบ ได้ราบคาบ ปีพุทธศักราช 2469 อ ามาตย์เอกพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวง จังหวัดร้อยเอ็ดเห็นว่า บึงพลาญชัย (เดิมใช้ว่าบึงพระลานชัย) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดตื้นเขิน ถ้าปล่อยทิ้งไว้บึงก็จะหมดสภาพไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านจากทุกอ าเภอมาขุดลอกบึง เพื่อให้มีน้ าขัง อยู่ได้ตลอดปี ได้ด าเนินการขุดลอกบึงทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมขุดลอกบึง ถึง 40,000 คน นับว่าเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของไทยที่ควรจารึกไว้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกหลาน ไทยต่อไปชั่วกาลนาน ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจนเป็นมรดกที่ส าคัญ ของจังหวัดร้อยเอ็ดมาตราบเท่าทุกวันนี้
12 1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต จังหวัดร้อยเอ็ดตั้งอยู่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างละติจูดที่ 15 องศา 24 ลิปดาเหนือ ถึง 16 องศา 19 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 103 องศา 16 ลิปดาตะวันออก ถึง 104 องศา 21 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 512 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 8,299.46 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,187,156 ไร่ มีเขตแดนติดต่อกับจังหวัด อื่น ๆ หลายจังหวัด ดังนี้ ทิศเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจังหวัดมุกดาหาร ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดยโสธร ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับจังหวัดศรีสะเกษ ทิศใต้ ติดกับจังหวัดสุรินทร์ ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดมหาสารคาม 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ลักษณะ ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงจากระดับน้ าทะเลปานกลางประมาณ 120-160 เมตร มีภูเขา ทางตอนเหนือซึ่งติดต่อจากเทือกเขาภูพาน บริเวณตอนกลางของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่น บริเวณตอนล่างมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ ามูลและสาขา ได้แก่ล าน้ าชี ล าน้ าพลับพลา ล าน้ าเตา เป็นต้น บริเวณที่ราบต่ าอันกว้างขวาง เรียกว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มีพื้นที่ประมาณ 80,000 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบแอ่งกระทะ 1.3 การเมืองการปกครองและประชากร การปกครองแบ่งออกเป็น 20 อ าเภอ 193 ต าบล 2412 หมู่บ้าน มีองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น 3 รูปแบบ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 17 แห่ง (เทศบาลเมือง 1 แห่ง และเทศบาลต าบล 16 แห่ง) และองค์การบริหารส่วนต าบล 186 แห่ง จังหวัดร้อยเอ็ดมีทั้งหมด 20 อ าเภอ ได้แก่ 1) อ าเภอเมืองร้อยเอ็ด 2) อ าเภอเกษตรวิสัย 3) อ าเภอหนองพอก 4) อ าเภอเสลภูมิ 5) อ าเภอปทุมรัตต์ 6) อ าเภอจตุรพักตรพิมาน 7) อ าเภอธวัชบุรี 8) อ าเภอพนมไพร 9) อ าเภอโพนทอง 10) อ าเภอโพธิ์ชัย 11) อ าเภอสุวรรณภูมิ 12) อ าเภอเมืองสรวง 13) อ าเภอโพนทราย 14) อ าเภออาจสามารถ 15) อ าเภอเมยวดี 16) อ าเภอศรีสมเด็จ
13 17) อ าเภอจังหาร 18) อ าเภอเชียงขวัญ 19) อ าเภอหนองฮี 20) อ าเภอทุ่งเขาหลวง มีจ านวนประชากรทั้งสิ้น 1,310,259 คน แยกเป็นชาย 654,508 คน หญิง 655,751 คน โดยมีอ าเภอที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ อ าเภอเมืองร้อยเอ็ด 118,789 คน รองลงมา ได้แก่ อ าเภอเสลภูมิ มีจ านวน 108,063 คน และอ าเภอสุวรรณภูมิ มีจ านวน 106,451 คน ส าหรับอ าเภอ ที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด คือ อ าเภอจังหาร โดยมีอัตราความหนาแน่น 295 คน ต่อตารางกิโลเมตร รองลงมา ได้แก่ อ าเภอเมืองร้อยเอ็ด มีอัตราความหนาแน่น 240 คน ต่อตาราง กิโลเมตร และอ าเภอเชียงขวัญ มีอัตราความหนาแน่น 215 คน ต่อตารางกิโลเมตร โดยอัตราความ หนาแน่นโดยเฉลี่ยของจังหวัดอยู่ในระดับ 158 คน ต่อตารางกิโลเมตร ภาคอีสานหรือภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วย 20 จังหวัดนั้น เป็นภูมิภาค ที่มีเนื้อที่มากที่สุดในประเทศไทย เป็นอู่อารยธรรมที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตอันยาวนานบนที่ราบสูงซึ่งมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยม จตุรัส (ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ, 2532, น. 1) จากประวัติความเป็นมาของจังหวัดร้อยเอ็ดนั้นอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ าโขง ชี มูล ทางภาคอีสาน หรือตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอดีตที่ผ่านมาเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง ปรากฏชื่อ ในต านานอุรังคธาตุ ว่าสาเกตนคร หรือเมืองสิบเอ็ดประตู ที่ตั้งและอาณาเขตของจังหวัดร้อยเอ็ดที่ อยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ทิศเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับจังหวัด กาฬสินธุ์ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจังหวัดมุกดาหาร ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดยโสธร ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับจังหวัดศรีสะเกษ ทิศใต้ ติดกับจังหวัดสุรินทร์ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัด มหาสารคาม มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง มีภูเขาทางตอนเหนือซึ่งติดต่อจากเทือกเขาภูพาน บริเวณที่ราบต่ าอันกว้างขวาง เรียกว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มีลักษณะเป็นที่ราบแอ่งกระทะ 2. กลุ่มชาติพันธ ุ์ ภาคอีสาน เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลาย ทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างกัน ไปในแต่ละท้องถิ่น แต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนา และรูปแบบการด าเนินชีวิต ตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ภาคอีสาน มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจาก การเป็นศูนย์รวม ของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ การอพยพย้ายถิ่นฐาน การกวาดต้อนไพร่พล หรือจากการหนีภัย สงครามเมื่อครั้งอดีต และมีการติดต่อสังสรรค์กับประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิด การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น ยศ สันติสมบัติ (2544, น. 122-123) กล่าวไว้ว่า ในทางมนุษย์วิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” (ethnic group) หรือความเป็นชาติพันธุ์ (ethnicity) เป็นมโนทัศน์ที่มักใช้กันอย่างคลุมเครือ และมีวินัยที่แตกต่างกันออกไปหลายประการด้วยกัน กลุ่มชาติพันธุ์หมายถึงกลุ่มคนที่พูดภาษา
14 เดียวกัน เป็นหน่วยทางสังคมการเมืองและระบบเครือญาติเดียวกันผ่านประสบการณ์ ทางประวัติศาสตร์ชุดเดียวกัน และมีแบบแผนทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ด้วยเหตุนี้เอง หากเรา บรรยายประวัติศาสตร์ความเป็นมาของภาษาก็ย่อมหมายความว่าเราก าลังบรรยายประวัติศาสตร์ของ คนกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่มซึ่งพูดภาษานั้น ค าว่า “ชนเผ่า”“ชนชาติ” หรือ “กลุ่มชาติพันธุ์” จึงหมายถึงกลุ่มคนที่พูดภาษาเดียวกันนั้นเอง และในบางแง่มุม งานวิชาการด้านมนุษย์วิทยาตลอด หลายทศวรรษที่ผ่านมาก็มักน าเอาภาษากับชนชาติหรือกลุ่มชาติพันธุ์ไปโยงกันอย่างแยกไม่ออก เอ็ดมันด์ลีชเป็นหนึ่งในนักวิชาการรุ่นแรก ๆ ที่ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการน าเอาภาษา กับ กลุ่มชาติพันธุ์ ไปเปรียบเทียบกัน หรือการน าเอาข้อมูลทางด้านภาษาศาสตร์ไปใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษา ประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ลีชตั้งข้อสังเกตว่า ในแถบเทือกเขากะฉิ่นที่ท าการวิจัย ภาคสนาม การแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องธรรมดา ลีชได้เตือนว่าเราจ าต้องแยกแยะ อย่างระมัดระวังระหว่าง “ภาษา” กับ “กลุ่มชาติพันธุ์” เพราะกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งอาจพูดได้ หลายภาษา ดังนั้น กลุ่มคนสองกลุ่มที่พูดภาษาเดียวกันจึงมิได้หมายความว่าสองกลุ่มนี้เป็นกลุ่มชาติ พันธุ์เดียวกันเสมอไป ในปัจจุบัน นักภาษาศาสตร์หลายท่านเริ่มยอมรับแนวคิดที่ว่า การศึกษาประวัติ ภาษาไม่อาจช่วยให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวของกลุ่มชนที่พูดภาษานั้น ได้มากนัก ในทางมนุษย์ แนวคิดใหม่ ซึ่งเริ่มเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นเสมอว่า กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงภาษาที่ตนใช้อยู่ตลอดเวลา และในทางตรงกันข้าม ภาษาที่กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มหนึ่งใช้อาจมีความคงทนถาวรข้ามกาลเวลาอันยาวนานก็เป็นได้เช่นเดียวกัน 2.1 ความเป็นมาของดินแดนและกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสาน ภาคอีสาน เป็นดินแดนที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ซึ่งดินแดนแห่งนี้มีประวัติความ เป็นมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยอ้างอิงจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบบริเวณแอ่งสกลนคร (บริเวณลุ่มน้ าสงคราม จังหวัดอุดรธานีและสกลนคร) และแอ่งโคราช (จากเทือกเขาภูกระดึงเทือกเขา ภูพานลงมาจนถึงบริเวณลุ่มน้ ามูลและลุ่มน้ าชี) พบว่ามีชุมชนโบราณในภาคอีสานเมื่อราว 5,000 ปี มาแล้ว บริเวณแอ่งสกลนครมีหลักฐานว่าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ก่อนแหล่งอื่น มีความเจริญทางด้าน เทคโนโลยีในการท าเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจ าวัน เช่น ภาชนะดินเผา เครื่องมือส าริด เครื่องประดับลูกปัด เป็นต้น ที่เรียกกันว่า “วัฒนธรรมบ้านเชียง” ส่วนบริเวณแอ่งโคราชก็ปรากฏ ชุมชนโบราณเช่นเดียวกัน ปรากฏหลักฐาน เช่น ภาพเขียนสีแดงที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น (ธวัช ปุณโณทก. 2544, น. 1 – 5) ต่อมาในยุคประวัติศาสตร์ (ใช้ตัวอักษรที่ใช้ในสังคมนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัย) พบว่ามีการใช้ตัวอักษรหลายรูปแบบ คือ ในยุคแรก ๆ มีการใช้อักษร ปัลลวะ (อักษรคฤนท์หรืออักษรอินเดียใต้) เขียนภาษาสันสกฤตและภาษาขอม ส่วนในยุคสุดท้าย ใช้อักษรตัวธรรมและอักษรไทยน้อย บันทึกภาษาไทยอีสาน (ภาษาไทย – ลาว) เนื่องจากมีการพบ ตัวอักษรปัลลวะ อักษรตัวธรรม และอักษรไทยน้อย ในยุคเดียวกันจึงท าให้นักประวัติศาสตร์และ นักโบราณคดี ไม่อาจชี้ชัดได้ว่าหลักศิลาจารึกอักษรปัลลวะ อักษรขอมโบราณในยุคต้น ๆ นั้น จารึก
15 โดยกลุ่มชนอินเดีย กลุ่มชนขอม หรือกลุ่มชนชาติไทยที่สืบเผ่าพันธุ์และวัฒนธรรมที่ต่อเนื่องมาเป็น กลุ่มไทยลาวในปัจจุบันหรือไม่ แต่เมื่อพิจารณาตามหลักฐานต่าง ๆ ที่พบ อาจแบ่งได้เป็น 3 ยุค ดังนี้ ยุคร่วมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 – 16) จากหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการค้นพบโบราณสถาน โบราณวัตถุ พระพุทธรูป และจารึกภาษาสันสกฤตท าให้สามารถยืนยันว่าอาณาจักร "ทวารวดี" ก่อก าเนิดขึ้นเพราะได้รับ อารยธรรมจากอินเดียโดยผู้คนที่เดินทางมาทางเรือจากดินแดนในประเทศอินเดียสอดคล้อง กับหลักฐานที่พบตัวอักษรปัลลวะซึ่งเป็นตัวอักษรของชาวอินเดียในดินแดนแห่งนี้ชาวอินเดียเข้ามา ตั้งถิ่นฐานยังดินแดนสุวรรณภูมิเดิมในสมัยพุทธศตวรรษที่ 12 (พ.ศ. 1100 – 1199) และแผ่อิทธิพล ขึ้นมายังแคว้นอีศานปุระ ในเวลาต่อมามีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองฟ้าแดดสงยาง ปัจจุบันคือ อ าเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จากนั้นก็มาที่แอ่งสกลนคร จากการศึกษาศิลาจารึกที่พบในภาค อีสานในยุคนี้เป็นการจารึกเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องทางพุทธศาสนา ส่วนใหญ่จารึกด้วยอักษรปัลลวะ เป็นภาษาสันสกฤต เชื่อว่าได้อิทธิพลจากอินเดีย เช่น ใบเสมาหินทรายแดงที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ และวัดกุดโง้ง จังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น ยุคอิทธิพลขอมสมัยพระนคร (พุทธศตวรรษที่ 16 – 18) อาณาจักรขอมสมัยพระนครได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดและสามารถแผ่อิทธิพล อย่างกว้างขวางนั้น น่าจะเริ่มสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1543 – 1593) ได้เข้าครอบครอง ภาคอีสาน รวมทั้งภาคกลางลุ่มแม่น้ าเจ้าพระยาด้วย จนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 – 1762) ขอมได้สร้างอาณาจักรอย่างยิ่งใหญ่ ได้สร้างปราสาทหินไว้ในดินแดนแห่งนี้ไว้หลายแห่ง เช่น เขาพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย เป็นต้น รูปแบบอักษรที่บนหลักศิลาจารึกในสมัยนี้พบว่าเป็น อักษรขอมโบราณ โดยมีพัฒนาการมาจากอักษรปัลลวะ และวิวัฒนาการต่อมาเป็นอักษรขอมบรรจง และขอมหวัด ยุควัฒนธรรมไทยลาว (พุทธศตวรรษที่ 19 – ปัจจุบัน) หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ขอมเสื่อมอ านาจลง ชุมชนในภาคอีสานจึงน่าจะเป็น กลุ่มเล็ก ๆ และไม่สืบทอดต่อวัฒนธรรมขอมอีก เป็นการสิ้นสุดวัฒนธรรมขอมโบราณโดยสิ้นเชิง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่พบการก่อสร้างหรือจารึกใด ๆ ในช่วง 200 – 300 ปี จากนั้นมาขณะเดียวกันได้พบร่องรอยของกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมแบบใหม่เข้ามาแทนที่ นั่นคือจารึก วัดแดนเมือง จังหวัดหนองคาย (พ.ศ. 2073) จารึกเป็นตัวอักษรไทยน้อย จึงสันนิษฐานว่าเป็น วัฒนธรรมไทยลาว ซึ่งรวมตัวเป็นปึกแผ่นในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. 1896) เป็นต้นมา วัฒนธรรมไทยลาว เริ่มก่อตัวมั่นคงอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ าโขง เช่น เมืองปากห้วยหลวง (อ าเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย) เมืองโคตรบูรณ์ (อ าเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม) รวมทั้งเมืองหนองหาน (จังหวัดสกลนคร) แล้วค่อยกระจายมาสู่ที่ราบสูงตอนกลาง การรวมกลุ่มชนกันจนกลายเป็นนครรัฐบริเวณลุ่มน้ าโขงตอน เหนือ และลุ่มแม่น้ าอู (เมืองแถนและเมืองเชียงคงเชียงทอง) มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากจนเป็น
16 ที่รู้จักของสุโขทัย เพราะปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามค าแหงมหาราช ที่กล่าวว่า “ทั้งมาลาวกาวและไทยเมืองใต้หล้าฟ้าไทชาวของชาวอูมาออก” หรือ “เท่าฝั่งของเถิงเวียง จันเวียงค าเป็นที่แล้ว” หรือ “พ้นฝั่งของเมืองชวาเป็นที่แล้ว” (กรมศิลปากร. 2526, น. 52 – 59) ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคอีสาน พบว่าในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงการปกครองดินแดนจากการ แบ่งแยกอาณาจักร เป็นประเทศที่มีเส้นแบ่งดินแดนอย่างชัดเจน ซึ่งภาคอีสานพื้นที่ส่วนหนึ่ง อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีจ านวนประชากรมากที่สุดคือ มีจ านวน 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่ง วรัทยา ด้วงปลี (2556, น. 8 – 9) ได้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยในภาคอีสาน 1) กลุ่มไทยลาว หรือไทยอีสาน แยกเป็นกลุ่มย่อยได้ 1.1) ลาวเวียง หมายถึง กลุ่มประชากรที่อพยพมาจากเวียงจันทร์สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานในเขตภาคอีสานแถบจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด หนองบัวล าภู หนองคาย อุดรธานี เลย ชัยภูมิ ยโสธร อ านาจเจริญ และอุบลราชธานี ภาษาที่ใช้มีภาษาคล้ายคลึงกับภาษาลาวเวียงจันทร์ ถือเป็นกลุ่มประชากร ที่มีจ านวนมากที่สุด 1.2) ลาวกาว เป็นกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายตามพื้นที่บางส่วน ของจังหวัดอุดรธานี ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ในอดีตเคยเป็นหัวเมืองชื่อว่า “หัวเมืองลาวกาว” 1.3) ลาวพวน หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นอาศัยเดิมอยู่ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ก่อนจะอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย ปัจจุบันชาวลาวพวนตั้งหลักแหล่งอยู่ในท้องที่ ตามจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีกลุ่มลาวพวนอาศัยอยู่ ได้แก่ จังหวัดเลย จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม เป็นต้น 2) กลุ่มเขมร ส่วย และมอญ แยกเป็นกลุ่มย่อย ดังนี้ 2.1) กลุ่มเขมร หมายถึง กลุ่มที่ถูกกวาดต้อนมาจากประเทศกัมพูชามาแต่อดีต และในปัจจุบันก็กลมกลืนไปกับชาวไทย ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น 2.2) ส่วยหรือกูย มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณตอนเหนือของเมืองก าปงธม ประเทศ กัมพูชา ต่อมาจึงได้อพยพเข้าสู่เมืองจ าปาสักและเมืองสาละวัน ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว และอพยพข้ามแม่น้ าโขงเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่ม คือ 2.2.1) ลาวส่วย อาศัยอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี 2.2.2) เขมรส่วย อาศัยอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ 2.3) ข่าขมุหรือผู้ทึง เป็นกลุ่มชนที่มักอาศัยอยู่ในแหล่งชุมชนที่เรียกว่าลาวเทิง หรือลาวบนที่สูง บางแห่งเรียกว่า “ข่า” ปัจจุบันมีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดนครพนมและอุบลราชธานี
17 2.4) โส้หรือกะโซ่ เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่แถบเทือกเขาภูพาน บริเวณหนองหาน ในเทือกเขาสกลนครและนครพนม 2.5) แสก เป็นชนชาติหนึ่งในตระกูล มอญ เขมร แต่เดิมอาศัยอยู่ที่เมืองแสก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานในเขตจังหวัดสกลนครและนครพนม 2.6) กะลอง เป็นกลุ่มที่อพยพมาจากฝั่งตะวันออกของแม่น้ าโขงเมื่อประมาณร้อยปี มาแล้ว ปัจจุบันอาศัยอยู่ในแถบจังหวัดสกลนคร นครพนม 2.7) ข่าพร้าว แต่เดิมมีถิ่นอาศัยอยู่ในแขวงสุวรรณเขต แขวงสาละวัน และแขวง อัตปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และมุกดาหาร คนส่วนใหญ่เรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ข่าตอง” 3) กลุ่มผู้ไท เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจ านวนประชากรรองลงมาจากกลุ่มไทยลาว ประกอบด้วยกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้ 3.1) ผู้ไท อพยพมาจากฝั่งตะวันออกของแม่น้ าโขง เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณเทือกเขา ภูพานในเขตจังหวัดสกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร 3.2) ย้อ ถิ่นเดิมอยู่ที่เมืองค าเกิด และเมืองหงสา แขวงไชยบุรี สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยแถว ๆ เขตจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร 3.3) โย้ย ปัจจุบันอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดสกลนครและนครพนม 4) กลุ่มไทยโคราช เป็นกลุ่มที่มีส าเนียงภาษาพูดผสมระหว่างภาษาไทย และภาษาลาวชาวอีสานกลุ่มอื่น ๆ นิยมเรียกไทยโคราชว่า “ไทยเบิ้ง” เนื่องจากชอบออกเสียงค าว่า “บ้าง” เป็น“เบิ้ง”เช่น“เบิ้งปะไร” ซึ่งก็คือค าว่า“บ้างปะไร”นั่นเอง ถิ่นที่อยู่อาศัยของกลุ่มไทยโคราช คือ จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และชัยภูมิ (วรัทยา ด้วงปลี, 2556, น. 8 – 9) กลุ่มชนต่าง ๆ ในภาคอีสานจ านวน 4 กลุ่ม และกลุ่มย่อยต่าง ๆ แสดงการแบ่งกลุ่มได้ดังต่อไปนี้
18 ภาพที่ 2 กลุ่มประชากรอีสาน ที่มา: ผู้วิจัย 2.2 ความเชื่อและพิธีกรรมที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวอีสาน พิธีกรรมที่เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของชาวอีสาน พิธีกรรมเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ หรือพิธีกรรมเกี่ยวข้องกับการท ามาหากินในสังคม คติธรรมหรือเกษตรกรรมนั้น การท ามาหากินอันเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติเป็นสิ่งส าคัญที่สุด เพราะมนุษย์ต้องพึ่งพาผลผลิตของธรรมชาติ และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอันเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ ในสังคมแบบนี้ เมื่อวิถีชีวิตที่ส าคัญของมนุษย์เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ มนุษย์ก็จะต้องประกอบพิธีกรรมขึ้นมาตามคติความเชื่อที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันออกไป ตัวอย่าง คติความเชื่อหนึ่งของมนุษย์ก็คือ “ถ้าเราจ าลองเลียนแบบธรรมชาติขึ้นแล้วก็จะบันดาลหรือบังคับ ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้จริงดังใจปรารถนา” (ปรียา หิรัญประดิษฐ์, 2533, น. 58) พิธีกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการท ามาหากินดูจะเป็นเรื่องที่ส าคัญมากและจะมีอยู่เกือบตลอดทั้งปีแต่ช่วงของความส าคัญ จะอยู่ระหว่างหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตและก่อนจะเริ่มฤดูการผลิตใหม่ซึ่งเป็นการก าหนดช่วงเวลา อย่างกว้าง ๆ ตามลักษณะสังคมชาวนาที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติดังปรากฏในพิธี “ตาแรก” หรือ “ตาแฮก” ซึ่งเริ่มจากพิธีกรรมของชาวกสิกรรมของสังคมมนุษย์เมื่อยังรวมกันแบบชนเผ่า เมื่อพิจารณาตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความอุดม สมบูรณ์หรือการท ามาหากินในเชิงกสิกรรม สามารถจัดแบ่งเป็นประเภทได้ 5 ประเภท (เอี่ยม ทองดี, 2536, น. 9 – 10) ดังนี้
19 1) พิธีเพื่อการเพาะปลูก หมายถึง พิธีกรรมที่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อ การเพาะปลูกข้าวโดยเฉพาะ ซึ่งกระท าในช่วงการเพาะปลูกเป็นการขอโอกาสบวงสรวง บนบานบอก กล่าวฝากฝังสิ่งที่เกี่ยวกับข้าวและการเพาะปลูกแก่เทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอให้การเพาะปลูกข้าว ในปีนั้น ๆ ด าเนินไปด้วยดีทั้งคน ข้าว สัตว์ ประสบแต่ความเป็นมงคลปราศจากอันตรายต่าง ๆ และเพื่อแสดงความอ่อนน้อมต่อข้าวและสิ่งที่เกี่ยวข้องพิธีกรรมประเภทนี้ ได้แก่ พิธีแรกไถนา พิธีตาแฮก พิธีบูชาภูมินา พิธีแรกไถตกกล้า พิธีปักข้าวตาแฮก เป็นต้น 2) พิธีกรรมเพื่อการบ ารุงรักษา หมายถึง พิธีกรรมที่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ เพื่อการบ ารุงรักษาข้าวกล้าให้เจริญงอกงามปลอดภัยจากสัตว์ต่าง ๆ หนอนต่าง ๆ เพลี้ยต่าง ๆ พิธีกรรมประเภทนี้จัดขึ้นช่วงระหว่างการเพาะปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว พิธีกรรมชนิดต่าง ๆ เช่น พิธีไล่น้ า พิธีปักตาเหลว พิธีไหว้เจ้าที่ พิธีไล่หนู ไล่นก ไล่เพลี้ย ไล่หนอน และอื่น ๆ โดยน้ ามนต์ โดยผ้ายันต์ โดยภาวนา โดยหว่านทราย โดยเครื่องราง เป็นต้น 3) พิธีกรรมเพื่อการเก็บเกี่ยว หมายถึง พิธีกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อการเก็บเกี่ยวและนวด ข้าว ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลผลิตมาก เพื่อให้คน สัตว์ปลอดภัยในการเก็บเกี่ยว และเพื่อความอ่อนน้อมต่อ ข้าวตลอดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องพิธีกรรมประเภทนี้จัดขึ้นในฤดูกาลเก็บเกี่ยว ซึ่งมีพิธีกรรมต่าง ๆ ได้แก่ พิธีแรกเกี่ยวข้าว พิธีรวบข้าว พิธีเชิญข้าวขวัญ พิธีท าลาน พิธีปลงข้าว พิธีตั้งลอมข้าว พิธีเปิดยุ้ง พิธีปิดยุ้ง เป็นต้น 4) พิธีกรรมเพื่อการเฉลิมฉลอง หมายถึง พิธีกรรมที่มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เพื่อ การเฉลิมฉลองผลผลิตถือโอกาสเลี้ยงอาหารเพื่อนบ้านและแก้บนหรือเซ่นสังเวยเทพารักษ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่ได้ให้ความคุ้มครองปกปักรักษาคน สัตว์ พืชพันธุ์ธัญญาหาร ให้ได้ผลดีอยู่เย็น เป็นสุขตลอดฤดูกาลที่ผ่านมา เมื่อได้เก็บเกี่ยวแล้วจึงต้องตอบแทนความเมตตากรุณาเหล่านั้น และหากมีการล่วงเกินทั้งกาย วาจา และใจ จะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ก็ขออโหสิกรรมนั้น ๆ ในโอกาสเดียวกัน ชาวนายังได้นิมนต์พระสงฆ์มาบ าเพ็ญบุญหรือไม่ก็ไปร่วมท าบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วน กุศลให้แก่เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ รวมถึงแม่โพสพ พระฤๅษีผีปู่ตา ผีตาแสก เจ้าที่ สรรพสัตว์ ฯลฯ ให้รับส่วนกุศลเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณแก่ท่านเหล่านั้น พิธีกรรมประเภทนี้จัด ขึ้นหลังการเก็บเกี่ยวมีพิธีกรรมชนิดต่าง ๆ กัน พิธีท าบุญคูนลาน พิธีเผาข้าว พิธีกุ้มข้าวใหญ่ พิธีบุญ ข้าวจี่ พิธีกวนข้าวยาคู พิธีกวนข้าวทิพย์ พิธีสู่ขวัญเกวียน พิธีบุญพระเวส พิธีกองข้าว พิธีสู่ขวัญควาย เป็นต้น 5) พิธีกรรมเพื่อบวงสรวงอ้อนวอนและเสี่ยงทายหมายถึง พิธีกรรมที่จัดขึ้น เพื่อเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการอ้อนวอนบูชา บวงสรวงเทพเจ้าต่าง ๆ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ หรือบรรพบุรุษให้คุ้มครองป้องกันภยันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินให้มีความสวัสดิมงคลให้มีความอุดม สมบูรณ์ในทุก ๆ ด้าน และขอพร ขอโอกาส และขอความเชื่อมั่นในการด ารงชีพในรอบปีนั้น ๆ พิธีกรรมประเภทนี้ส่วนใหญ่จัดขึ้นก่อนการเพาะปลูกหรือช่วงการเพาะปลูกมีพิธีกรรมชนิดต่าง ๆ
20 เช่น พิธีสืบชะตาเมือง พิธีขึ้นเท้าทั้งสี่ พิธีเลี้ยงผีขุนน้ า พิธีฟ้อนผีมดผีเม็ง พิธีขอฝน อันได้แก่ แห่นางแมว บุญบั้งไฟ เต้านางด้ง เทศน์พญาคันคาก สวดคาถาปลาค่อ พิธีปั้นเมฆ พิธีบูชาแถน พิธีบุญ ซ าฮะ เป็นต้น ความเชื่อที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวอีสาน 1) ความเชื่อในเรื่องฤกษ์ยาม ความเชื่อในเรื่องฤกษ์ยามในการประกอบพิธีกรรม หรือกิจกรรมต่าง ๆ พบเห็นได้ โดยทั่วไปในสังคมไทย คนอีสานก็มีความเชื่อในเรื่องนี้โดยเชื่อว่าการกระท าตามฤกษ์ยามที่ดี จะก่อให้เกิดความส าเร็จ ความร่มเย็นเป็นสุข ความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง เช่น การปลูกบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยก็จะพากันไปหาผู้รู้ทางโหราศาสตร์เพื่อขอวัน เวลา ที่เป็นมงคลในการยกเสาเอก เสาโท ฤกษ์ในการท าพิธีเซ่นสังเวยเจ้าที่เจ้าทาง เมื่อปลูกบ้านเสร็จก็หาฤกษ์ยามในการขึ้นบ้านใหม่เพื่อความ อยู่เย็นเป็นสุขของคนในครอบครัว หรืองานมงคลสมรสก็จะพากันไปหาหมอโหราศาสตร์หรือพระ เพื่อให้ตรวจดูวันเดือนปีเกิดดวงชะตาของฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ว่ามีความสมพงษ์กันหรือไม่อยู่ ด้วยกัน จะมีความสุข ความเจริญรุ่งเรืองกันหรือไม่ หากดวงสมพงษ์เกื้อหนุนกันก็จะหาฤกษ์ยามหมั้น และแต่งงานกันต่อไป ความเชื่อเรื่องฤกษ์ยามยังมีอีกมาก ทั้งนี้เพื่อความสบายใจของมนุษย์ ตามความเชื่อที่หยั่งรากลึกอยู่ในจิตใจ แม้เรื่องเล็กน้อยอย่างการเดินทาง การย้ายที่อยู่ไปจนถึง เรื่องส าคัญอย่างการประกอบประเพณี พิธีกรรมใด ๆ ในแต่ละขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตามฤกษ์ยาม เพื่อให้เกิดความราบรื่นส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี ตลอดจนเกิดความศักดิ์สิทธิ์ของประเพณีและพิธีกรรม ต่าง ๆ 2) ความเชื่อในเรื่องเทวดา ผีสาง นางไม้ เมื่อเกิดภัยอันตรายอันน่าสะพรึงกลัว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจึงเกิดความเชื่อ ในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น เช่น เทวดา ผีสาง นางไม้ เจ้าป่า เจ้าภูมิ เจ้าไพร ซึ่งเชื่อว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ เมื่อบูชากราบไหว้จะดลบันดาลให้อยู่รอดปลอดภัย ปกป้องคุ้มครอง ในทางพุทธศาสนา เมื่อจะท าพิธีมงคลอันใด จะมีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพุทธมนต์ก่อนท าพิธีจะมีการสวดบท ชุมนุมเทวดา ป่าวประกาศให้เทวดามาร่วมฟังพระปริตรมงคลด้วย (พระอริยานุวัตร เขมจารีเถร, 2536, น. 5) แห่งวัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม ได้กล่าวว่าในเจ็ดต านานและสิบสองต านาน ล้วนกล่าวถึง รุกขเทวดา เทวดาสิงสถิตต้นไม้ใหญ่ ภูมิเทวดา เทวดาอยู่ตามพื้นดิน อากาศเทวดา เทวดาอยู่บนอากาศ คติความเชื่อต่าง ๆ เกิดจากแรงขับภายในจึงเกิดเป็นความเชื่อ ความนับถือ และความ เลื่อมใส ศรัทธาขึ้น ดังนี้ เพื่อความอยู่รอดแห่งชีวิต จึงเกิดคติความเชื่อ
21 เพื่อพ้นภัยอันตราย จึงเกิดความนับถือ เพื่อความเป็นอยู่สบาย จึงเกิดคติความเลื่อมใส ความเชื่อเรื่อง เจ้าไพร เจ้าป่า เทวดา ผีสาง นางไม้ เป็นความเชื่อปรัมปราหรือยังตกลงปลง ใจเชื่ออยู่ในเทวนิกาย ถือว่ามีกายอันเป็นทิพย์ประเภท “อทิสมานะกาย” ซึ่งไม่มีตัวตนประจักษ์ แก่ตาเนื้อ (พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ, 2536, น. 6) เป็นคติความเชื่อของชาวอีสานมาแต่โบราณ ซึ่งชาวไทยอีสานเมื่ออพยพครอบครัวไปตั้งหมู่บ้านประกอบการท ามาหากินอยู่แห่งใดมักเลือกชัยภูมิ ป่าเห็นเหมาะสมท าพิธีตั้งพระภูมิบ้าน เรียกว่า “ปู่ตา” หรือ “ดอนปู่ตา” ให้เป็นพระภูมิเทพาอารักษ์ ของหมู่บ้าน เพื่อคุ้มครองดูแลรักษาหมู่บ้านรักษาผู้คนและสัตว์ช่วยป้องกันอันตรายและภัย ที่อาจจะเกิดขึ้นในหมู่บ้านชาวบ้านจะสร้าง “ศาลปู่ตาหรือศาลเจ้าปู่ตา” บริเวณที่เป็นโคกป่า ต้นไม้ใหญ่ห่างจากไร่นาของชาวบ้านและจะท าพิธีเซ่นสรวงบูชาประจ าทุกปี ชาวบ้านเรียกพิธีนี้ว่า “เลี้ยงปู่ตา” 3) ความเชื่อในเรื่องพระภูมิเมือง การสร้างเมืองของชาวอีสาน มีคตินิยมความเชื่อในการตั้งเมืองในสถานที่แห่งใดผู้มี ความรู้ความเชี่ยวชาญจะเลือกชัยภูมิที่บริเวณนั้นถูกต้องตามคชนาม สิงหนาม มหาสิทธิโชค โภคสมบัติ บริวาร เดช ศรี มนตรี เศรษฐี มหาเศรษฐี เป็นต้น นักปราชญ์ทางโหราศาสตร์ มีความรู้ ชัยภูมิ วางแผนที่จะตั้งหลักเมืองในหนังสือท้าววรกิตติซึ่งเป็นหนังสือวรรณคดีไทยน้อยโบราณ กล่าวถึงการตั้งมเหศักดิ์หลักเมือง เพื่อความเป็นมงคลของเมือง ซึ่งผู้ครองเมืองจะได้รับความร่มเย็น เป็นสุข และจะได้รับความเจริญรุ่งเรืองของความเมืองนิยมตั้งภูมิเมืองในทิศทั้ง 4 ซึ่งเรียกว่า “มเหศักดิ์เมือง” ชะรอยจะให้เป็นที่สถิตของท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 คือ ท้าวธตรฐะ ทางทิศบูรพา คือทิศตะวันออก ท้าววิรูปักขะ ทางทิศทักษิณ คือทิศใต้ ท้าววิรุฬหะ ทางทิศปัจฉิม คือทิศตะวันตก ท้าวกุเวรุราช ทางทิศอุดร คือทิศเหนือ เมื่อพิจารณาแล้วเป็นธรรมเนียมของชาวอินเดียในสมัยโบราณซึ่งอยู่ในคัมภีร์มหาสมัย สูตรในสิบสองต านานพระภูมิเมืองเรียกว่า “มเหศักดิ์เมือง” ซึ่งมาจากพระภูมิบ้านเรียกว่า “ปู่ตา” แต่ยกขึ้นให้สูงเรียกว่ามเหศักดิ์เมือง คือ ปลูกศาลขึ้นท าให้มั่นคงเป็นแน่นหนา เรียกว่า “ศาลเจ้า มเหศักดิ์” ยกย่องให้เป็นเจ้าเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ (พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ, 2536, น. 13) คติความเชื่อของชาวอีสานดังที่กล่าวมาข้างต้นล้วนมีความส าคัญที่เกี่ยวข้องกับประเพณี และพิธีกรรมของชาวอีสาน โดยเฉพาะพิธีขอฝนที่มีความส าคัญต่ออาชีพเกษตรกรรมของชาวอีสาน ที่มีพัฒนาการจากการปลูกข้าวเป็นพื้นฐานในการด ารงชีวิต ซึ่งผลผลิตจะดีหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพ ลมฟ้าอากาศทางธรรมชาติ ถ้าฝนตกต้องตามฤดูกาลไม่แล้งหรือน้ าไม่ท่วมก็ได้ผลดี โดยเหตุนี้พิธีกรรม
22 ความเชื่อจึงมีพื้นฐานมาจากความเชื่อในอ านาจเหนือธรรมชาติที่เป็นภูตผีวิญญาณอันเป็นที่พึ่งทางใจ ของผู้คน พิธีกรรมส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ ขณะเดียวกัน การจะด ารงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุขก็ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่จะอยู่ร่วมกับอ านาจเหนือ ธรรมชาติ หรือพยายามสร้างความกลมกลืนกับจักรวาลเพื่อการด ารงอยู่ของตนเองและชุมชน จากการศึกษาพบว่าพิธีกรรมเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์หรือพิธีกรรมเกี่ยวข้อง กับการท ามา หากินในสังคมคติธรรมหรือเกษตรกรรมนั้นดูจะเป็นเรื่องที่ส าคัญมากและจะมีอยู่เกือบตลอดทั้งปี ซึ่งสามารถจัดแบ่งเป็นประเภทได้ 5 ประเภท 1) พิธีเพื่อการเพาะปลูก 2) พิธีกรรมเพื่อการบ ารุงรักษา 3) พิธีกรรมเพื่อการเก็บเกี่ยว 4) พิธีกรรมเพื่อการเฉลิมฉลอง และ 5) พิธีกรรมเพื่อบวงสรวง ชาวอีสานยังมีความเชื่อที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวอีสานความเชื่อในเรื่องฤกษ์ยามในการประกอบ พิธีกรรม ความเชื่อในเรื่องเทวดา ผีสาง นางไม้เมื่อเกิดภัยอันตรายอันน่าสะพรึงกลัว เพื่อให้เกิด ความปลอดภัยจึงเกิดความเชื่อใน เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น เช่น เทวดา ผีสาง นางไม้ เจ้าป่า เจ้าภูมิ เจ้าไพร ซึ่งเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เมื่อบูชากราบไหว้จะดลบันดาลให้อยู่รอดปลอดภัยความเชื่อ ในเรื่องพระภูมิเมือง การสร้างเมืองของชาวอีสาน มีคตินิยมความเชื่อในการตั้งเมืองในสถานที่แห่งใด ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญจะเลือกชัยภูมิที่บริเวณนั้นถูกต้องตามคชนาม สิงหนาม มหาสิทธิโชค โภคสมบัติ บริวาร เดช ศรี มนตรี เศรษฐี มหาเศรษฐี เป็นต้น 2.3 กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด ชาติพันธุ์ในจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดหนึ่งที่ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคนหลายกลุ่มหลาย เชื้อชาติอาศัยอยู่เช่น คนไทย คนจีน คนลาว คนเวียดนาม ฯลฯ เนื่องจากจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัด ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากร มีความเป็นศูนย์กลางติดต่อได้หลายจังหวัด ท าให้ผู้คนอพยพ เข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น จนสามารถแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ชาวจังหวัดร้อยเอ็ดได้ 7 ชาติพันธุ์ คือ ลาว ไทย้อ เขมร กูย (ส่วย) กุลา ไทโคราช และชาวจีน กลุ่มไทลาว เป็นกลุ่มชาวพื้นเมืองที่อาศัยกระจายตัวในจังหวัดแต่ดั้งเดิม และกลุ่มที่มี รูปแบบวัฒนธรรมมาจากเวียงจันทร์และจ าปาศักดิ์ ชาวไท-ลาวอาศัยทั่วไปในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มไทย้อ (ญ้อ) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบรรพบุรุษที่มีเชื้อสายชาวไทย้อจากแขวงค าม่วน สปป.ลาว อาศัยในแถบอ าเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มกุลา (ตองสู้-ไทใหญ่) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบรรพบุรุษที่มีเชื้อสายมาจาก เมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่า เป็นกลุ่มที่เข้ามาอาศัยในร้อยเอ็ดอย่างกระจัดกระจาย โดยเป็นพ่อค้า ที่ร่อนเร่ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ามาเรื่อย ๆ และมีครอบครัวกับคนในพื้นที่ ส่วนหลักฐานที่ตั้งถิ่นฐาน กันเป็นกลุ่มใหญ่ อยู่ที่บ้านนาแซง หมู่ 11 ต าบลหนองนาแซง อ าเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ชาวกุลา ส่วนหนึ่งอยู่ที่บ้านฝาง ต าบลบ้านฝาง อ าเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มเขมร (เขมรถิ่นไทย) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบรรพบุรุษที่มีเชื้อสายเขมร อาศัยในแถบ อ าเภอสุวรรณภูมิ และเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
23 กลุ่มกูย (ส่วย) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในแถบอ าเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีพื้นที่ติดกับจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มไทเบิ้ง ไทเดิ้งหรือไทโคราช ที่บ้านม่วงไทหรือบ้านม่วงลาด อ าเภอจังหาร และบ้านเทอดไทย อ าเภอทุ่งเขาหลวง เป็นเชื้อสายเดียวกับคนบ้านหม้อ จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มจีนเข้ามาอยู่ในร้อยเอ็ดแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 คนจีนเข้ามาสู่จังหวัดร้อยเอ็ด เพราะเกิดโรคระบาดในเมืองนครราชสีมาเนื่องจากมีผู้คนอยู่เป็นจ านวนมาก เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น ท าให้คนจีนอพยพออกจากนครราชสีมาและไปอยู่ตามเมืองต่าง ๆ เช่นร้อยเอ็ด มหาสารคาม นอกจากนี้ก็ยังมีชาติพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาตั้งรกรากกระจายตัวตามแหล่งชุมชนใหญ่ ๆ หรือตัวเมือง ได้แก่ ชาวญวน (เวียดนาม) และชาวแขกอินเดีย ชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนแต้จิ๋ว การอพยพเข้ามาความสัมพันธ์ระหว่างชาวจีนกับคนไทยในท้องถิ่นจังหวัด ร้อยเอ็ดด้านเศรษฐกิจ การอพยพเข้ามาส่วนมาใหญ่เป็นไปในลักษณะเพื่อการติดต่อค้าขาย บริเวณที่ ชาวจีนเลือกตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยในแหล่งชุมชนใหญ่ ในตัวเมือง เพื่อท าการค้าขาย โดยเริ่มต้นท าธุรกิจ แลกเปลี่ยนและขายสินค้าต่าง ๆ แล้วค่อยเคลื่อนย้ายจากจังหวัดไปอยู่ตามอ าเภอใหญ่ เพื่อการ ปรับตัวทางเศรษฐกิจ เป็นการขยายกิจการทางการค้า เช่นอ าเภอเสลภูมิ อ าเภอโพนทอง จังหวัด ร้อยเอ็ด อ าเภอสมเด็จ อ าเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์และในตัวอ าเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี จึงท าให้มีชาวจีนอพยพเข้ามาในยุคแรก ๆ นั้นจะมากันเป็นกลุ่มเครือญาติ เพื่อน และเป็นครอบครัว เป็นส่วนมาก การตั้งถิ่นฐานครอบครัวจะท าหรืออยู่กันเป็นกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพ และประกอบ ประเพณีวัฒนธรรมของตนเองเป็นส่วนใหญ่ มีการสร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ในการประกอบ พิธีกรรม กิจกรรมตามความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีแต่เดิม (วีระ วุฒิจ านงค์, 2564, 1 ธันวาคม, สัมภาษณ์) จากการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์การแบ่งเชื้อชาติของมนุษย์ ก าเนิดของเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ ระหว่างเชื้อชาติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของเชื้อชาติต่าง ๆ ซึ่งภาคอีสานมีการอพยพของผู้คน หลากหลายเชื้อชาติเข้ามา และจังหวัดร้อยเอ็ดมีหลายเชื้อชาติได้เข้ามาอาศัยอยู่ฯลฯ เนื่องจากจังหวัด ร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากร มีความเป็นศูนย์กลางติดต่อได้หลายจังหวัด ท าให้ผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น จนสามารถแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ชาวจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ 7 ชาติพันธุ์ คือ ลาว ผู้ไท เขมร กูย (ส่วย) กุลา ไทโคราช และชาวจีน 2.4 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ต านาน “ปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง” ส านวนหลักของอ าเภอเชียงขวัญ เป็นต านานหลักของท้องถิ่นที่ผู้คนในบ้านแมด ต าบลเชียงขวัญกล่าวถึงโดยเล่ามาหลายชั่ว อายุคนโดยมีความสอดคล้องกับสถานที่ต่าง ๆ ในท้องถิ่นตลอดจนบุคคลโบราณสถาน โบราณวัตถุ และประเพณีพิธีกรรมบวชควายหลวง เป็นองค์ประกอบครั้นในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้ท าการกอบกู้เอกราชขึ้น
24 และได้ยกกองทัพไปตีหัวเมืองต่าง ๆ ในแถบภาคอีสานจนถึงเมืองนครราชสีมา (โคราช) แต่เพี้ยราม พิชัยแพ้กลยุทธ์ของคุณหญิงโม จนต้องล่าทัพกลับไปยังนครเวียงจันทร์ การปราบกบฏของกองทัพจาก กรุงเทพฯ ได้ทุ่มก าลังรี้พลเป็นจ านวนมากเพื่อตีเมืองเวียงจันทน์ แต่ได้รับการต้านทานอย่างหนักจาก กองทัพเวียงจันทน์ท าให้สูญเสียรี้พลจ านวนมากทั้งสองฝ่ายกองทัพหลวงล้อมเมืองเวียงจันทน์มานาน ยังไม่สามารถตีเมืองได้ ท่านแม่ทัพเกรงว่าถ้าหน้าฝนมาถึงน้ าหลากกองก าลังอาจเสียทีแก่ข้าศึกได้ จึงได้ประชุมแม่ทัพนายกองทุกหมู่เหล่าเพื่อหาทางพิชิตเมืองเวียงจันทน์ให้ได้ ที่ประชุมได้มีมติ ประกาศหาผู้มีฝีมือและรู้จักลู่ทางเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ร่วมกองทัพจะได้ประกาศไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วภาคอีสาน ข่าวประกาศได้แพร่ออกไปอย่างรวดเร็วและมีสมัครเข้าปราบกบฏเป็นจ านวนมาก ภาพที่3 ศาลเจ้าพ่อเถ้าเจ้าโฮงแดง ณ บ้านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มา: ผู้วิจัย “ปู่เถ้า” นามเดิมชื่อ“เถ้า” สมัยนั้นยังไม่มีนามสกุล เมื่อยังเป็นหนุ่มท่านชอบท่องเที่ยวไปหา ประสบการณ์จากต่างแดนอยู่เนือง ๆ ชาติภูมิของท่านเกิดที่บ้านพระเจ้า นามบิดามารดาไม่ปรากฏ ปู่เถ้ามีอาชีพท าการเกษตรกรรมท่านชอบไปท าสวนปลูกผักที่บริเวณสวนหงษ์ ปัจจุบัน คือ บ้านแก่งข่า ต าบลพระธาตุ ริมฝั่งแม่น้ าชีเป็นประจ า เมื่อถึงหน้าแล้งท่านนิยมท่องเที่ยวไปทาง ตอนเหนือภาคอีสาน คือ บริเวณที่เป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองคาย และเลยไปถึง เมืองเวียงจันทน์ภูเขาควายในอาณาจักรล้านช้าง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จุดประสงค์การเดินทางคือไปค้าขายเรียนคาถาอาคม และหาเครื่องรางส าหรับป้องกันตนเองทุกแห่ง ที่ท่านไปมีเพื่อนสนิทแห่งละ 2-3 คนขึ้นไป ที่เมืองเวียงจันทน์ท่านมีเพื่อนรักชื่อ “อุปฮาดจัน” ท่านอุปฮาดจันมีอาชีพท าฟืมและทอผ้าให้แก่ราชวงศ์เวียงจันทน์ มีญาติสาวของท่านอุปฮาดคนหนึ่ง ขณะทอผ้าอยู่นั้น ปู่เถ้าได้ถือโอกาสเกี้ยวพาราสีอยู่พักหนึ่งญาติสาวของอุปฮาดจันชอบพอกับปู่เถ้า
25 และได้มอบเครื่องรางสองอย่างให้ไว้ป้องกันตัว ปู่เถ้าได้ทดลองเครื่องรางนั้นปรากฏว่าป้องกัน ศาสตราวุธต่าง ๆ ได้ตลอดทั้งไฟและไข้ป่าเป็นอย่างดีจึงใช้เครื่องรางนั้นประจ าตัวตลอดมา ปู่เถ้า ทราบประกาศของทางการจึงชักชวนเพื่อนฝูงตามรายทางได้ประมาณ 50 คนเศษ เข้าร่วมสมทบกับ กองทัพไทยท่านทราบเส้นทางเข้าเมืองเวียงจันทน์อย่างดีจึงน าหน้ากองทัพไทยเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ ได้โดยง่ายและขอร้องท่านแม่ทัพจากกรุงเทพฯ ไม่ให้จับทานอุปฮาดจันเพื่อนของท่านเป็นเชลย ท่านค้นหาหญิงสาวที่ให้เครื่องรางแก่ท่านหลายวันแต่ไม่พบ และได้ทราบภายหลังว่าหญิงสาวที่เป็น ญาติของทานอุปฮาดจันเสียชีวิตแล้ว ด้วยความซื่อสัตย์ในความรักท่านจึงไม่คิดแต่งงานกับหญิง คนใดอีก เมื่อนครเวียงจันทน์แตก ท่านแม่ทัพหลวงจึงถวายฎีกาไปยังพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว ให้ปูนบ าเหน็จความชอบแก่บรรดาแม่ทัพนายกองและทหารหาญทั่วไป ปู่เถ้าได้รับปูน บ าเหน็จเป็นเจ้าเมืองใดเมืองหนึ่งตามความสมัครใจ โดยทางการได้มอบข้าทาสบริวารให้อย่างละ 500 คน ท่านได้น าข้าทาสบริวารจากเมืองเวียงจันทน์มาตั้งเมืองใหม่ มีความประสงค์จะตั้งที่บ้านเกิด ของท่าน ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการสร้างเมืองใหม่มีท่านอุปฮาดจัน และบริวารที่ติดตามท่านมาราว 10 คน ปู่เถ้าได้อนุญาตให้ผู้ติดตามมาทั้งหมดเลือกชัยภูมิสร้างหมู่บ้านของตนได้ตามความประสงค์ ของอุปฮาดจันเลือกบริเวณบ้านเขือง ตั้งหมู่บ้านขึ้นราว 15 ครอบครัว ต่อมาเรียกชื่อว่า “บ้านเขือง” ท่านใช้ชื่อว่า “ศรีจัน” ซึ่งเป็นนามเต็มของท่านต่อท้ายสิ่งปลูกสร้างในบ้านเขือง คือ บ้านเขืองศรี จันทร์โรงเรียนบ้านเขืองได้ชื่อว่า โรงเรียนบ้านเขืองศรีจันทร์ ท่านเป็นต้นตระกูล “จันทะคัด” จนถึง ปัจจุบัน ราษฎรอีกส่วนหนึ่งอพยพขึ้นไปตั้งหมู่บ้านห่างราว 3 กิโลเมตร ปัจจุบันคือ บ้านหมูม้น คณะ อพยพนี้ไม่มีเจ้านายไปด้วยมีแต่พลเมืองธรรมดา จึงเป็นต้นตระกูล “พลเวียงธรรม”และตระกูล “เวียงพล”ค าว่า“เวียง” มาจากเวียงจันทน์ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวท่านปู่เถ้า ได้น าคณะออกส ารวจบริเวณจะสร้างเมืองใหม่โดยมุ่งหมายจะให้ใกล้บริเวณหนองน้ า เพื่อความอุดม สมบูรณ์ของข้าวปลาอาหาร ท่านมุ่งไปทางหนองน้ าแห่งหนึ่งมีนกและนกวางไข่เป็นจ านวนมาก ราษฎรที่ติดตามไปจึงเรียกหนองน้ านั้นว่า “บุ่งไข่นก” บริเวณ บุ่งไข่นกหน้าฝนมีน้ าหลากน้ ามักท่วม ไม่สามารถสร้างเมืองได้ท่านจึงอพยพมาทางหนองน้ าแห่งใหม่ที่มีพื้นที่สูงขึ้นโดยตั้งทัพที่บริเวณ หนองน้ า ชาวบ้านเรียกติดปากว่า “ศาลาดิน” หรือ “ท่าจ าหนัก” ต่อมาเพี้ยนเป็น “ท่าต าหนัก” (บริเวณสะพานบุ่งเชียงขวัญ) และได้เดินส ารวจบริเวณหลายแห่งพักบริเวณเนินมีต้นทองกวาว (ภาษา ถิ่นเรียกต้นจาน) เป็นจ านวนมาก ชาวบ้านเรียกว่า “คุยจาน” (“คุย” ในภาษาถิ่น หมายถึงเนินดิน) พักบริเวณป่าแฝก เรียกว่า “คุยแฝก” ข้างหนองน้ าใหญ่มีต้นผือ และหนามเต็มไปหมดคนเรียกว่า “กุดผือ” แต่เห็นว่าชัยภูมิไม่เหมาะจึงกลับมาตรงศาลาดินตามเดิม ท่านใช้เวลาส ารวจที่สร้างเมืองอยู่ หลายวันยังหาที่เหมาะในการสร้างเมืองไม่ได้เพราะหน้าน้ าแม่น้ าชีเอ่อท่วมหลาก ท่านจึงใช้ขวาน ประจ ากายท าพิธีเสี่ยงทายว่าถ้าท่านมีบุญวาสนาจะสร้างเมืองขอให้ขวานเหล็กนี้ลอยน้ าได้ อย่าจมน้ าเลย เหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นขวานเหล็กลอยน้ าขึ้นมาได้ท่านอธิษฐานต่อไปว่าเมือง ที่ท่านจะสร้างขึ้นนั้นควรสร้างบริเวณใดขอให้ขวานขี้บอกทิศทาง ขวานหันด้านคมลอยไปตามล าคลอง
26 มุ่งไปทางทิศตะวันออก ท่านได้น าขบวนรี้พลเคลื่อนตามขวานไปราว 1.5 กิโลเมตร ถึงบริเวณหลังวัด บ้านแมด (วัดโพธิ์กลาง) อ านาจอธิษฐานหมดขวานจมน้ าลงท่านจึงให้บริวารส ารวจป่าบริเวณนั้น มีแต่ต้นแมดขึ้นเป็นจ านวนมาก ท่านจึงตั้งใจเอาบริเวณป่าแมดเป็นที่ตั้งเมืองโดยให้ตั้งชื่อว่า “เมืองค าแมด” ให้เหมือนเมือง “ค าแมด” ในประเทศลาวและท่านมีความประสงค์ให้เป็นเมืองคู่แฝด กับเมืองร้อยเอ็ด ก าหนดเวลาวางเสาหลักเมืองไว้ (บริเวณดอนตาปู่บ้านแมดปัจจุบัน) และเกณฑ์รี้พล มาขุดคูเมืองตลอดทั้งวันทั้งคืนด้านอาหารส าหรับรี้พลมอบให้อุปฮาดจัน เป็นผู้ด าเนินการโดย ใช้บริเวณ ทุ่งนาหลวงตะวันออกบ้านแมดไปจนถึงบ้านพระเจ้า เป็นแหล่งปลูกธัญญาหารเลี้ยงรี้พล งานด าเนินการสร้างจึงเป็นไปด้วยดีสร้างคูและก าแพงเมืองเสร็จประมาณ 1 ใน 6 ของทั้งหมด ปู่เถ้าได้ล้มเจ็บลงและถึงแก่อนิจกรรมในเวลาต่อมา ท่านไม่มีบุตรจึงไม่มีผู้สืบทอดเจตนารมณ์ การก่อสร้างดังกล่าว เมืองค าแมดจึงกลายเป็นบ้านแมดในปัจจุบัน ส่วนบุ่งที่ท่านเสี่ยงทายขวานสมัยนั้นเรียกว่า “บุ่งเสี่ยงขวาน” และได้เพี้ยนมาเป็น “บุ่งเชียงขวัญ” (ค าว่า “บุ่ง”เป็นภาษาถิ่น หมายถึง หนองน้ า) ซึ่งเป็นแหล่งน้ าส าคัญของอ าเภอเชียงขวัญ ท่านอุปฮาดจันเมื่อเห็นว่าการสร้างเมืองค าแมดหยุดชะงัก ท่านจึงหันมาประกอบอาชีพติดตัวมาตามอย่างบรรพบุรุษคือการท าฟืมทอผ้า ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น มรดกภูมิปัญญาของบ้านเขืองในปัจจุบัน ต านานปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงจึงเป็นต านานหลักของท้องถิ่น ที่มีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิศาสตร์และการอพยพเคลื่อนย้ายมาตั้งถิ่นฐานของผู้คนในท้องถิ่น นอกจากนั้นทั้งชุมชนบ้านเขืองและชุมชนบ้านแมดต่างมีภูมิหลังความเป็นของชุมชนร่วมกัน โดยผู้คน ในท้องถิ่นมักเรียกสองหมู่บ้านนี้ควบคู่กันว่า “บ้านแมดบ้านเขือง” ต านานเจ้าเมืองเชียงขวาน ส านวนนายเฉลิม ปราบมนตรี เป็นส านวนที่มีเนื้อหาต่างไปจากส านวนหลักของท้องถิ่น โดยกล่าวถึงเมืองเชียงขวางซึ่งเป็น เมืองหนึ่งในจ านวน 11 เมืองที่ขึ้นกับเมืองสาเกตนคร หรือเมืองร้อยเอ็ดเมืองเชียงขวัญตั้งอยู่บริเวณ บ้านจาน อ าเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน ซึ่งมีอาณาบริเวณถึงบ้านโพธิ์กลาง (บ้านแมด) บ้าน ดอนยาง และบ้านเขือง ในบริเวณบ้านเหล่านี้มีบึง (หรือ “บุ่ง” ในภาษาถิ่น) กว้างใหญ่มีสัตว์น้ าอุดม สมบูรณ์มาก เลื่องลือไปถึงเจ้าเมืองเชียงขวาง เจ้าเมืองเชียงขวางคิดอยากกินปลาจึงพาไพร่พล มากินปลาที่บุ่งแห่งนี้เป็นประจ าทุกปีจนถึงวัยชรากระทั่งถึงแก่อนิจกรรม ณ บุ่งแห่งนี้ชาวบ้านใน บริเวณดังกล่าวจึงตั้งชื่อบุ่งว่า “บุ่งเชียงขวาง” เอานามเมืองเชียงขวางของเจ้าเมืองที่ถึงแก่อนิจกรรม มาตั้งและเรียกขานจนเพี้ยนมาเป็น“บุ่งเชียงขวัญ” ในปัจจุบัน บ ริเวณที่สร้างต าหนัก ของเจ้าเมืองเชียงขวางขณะที่มากินปลาอยู่ที่บ้านโพธิ์กลาง (บ้านแมด) ชาวบ้านได้จัดสร้าง ศาลพระภูมิขึ้นเพื่อสักการะชาวบ้านเรียกว่า “ศาลหลวงเฒ่า” หรือ “ดอนหอ” ในสมัยโบราณเข็ดขวง มาก (เข็ดขวง หมายถึง ท าอันตรายหรือมีอันเป็นไปต่าง ๆ นานาในทางให้โทษ) จนชาวบ้าน ไม่สามารถแตะต้องสิ่งของอยู่บริเวณศาลพระภูมิได้และผีหลวงเฒ่าเข้าทรงชาวบ้านแมดและบ้านเขือง ว่าในเดือนหกและเดือนเจ็ดให้ทั้งสองหมู่บ้านหมุนเวียนกันจัดประเพณีบุญบั้งไฟ ด้วยความเกรงกลัว
27 ต่อผีหลวงเฒ่า ชาวบ้านเกรงกลัวการล้มตายจึงมีการจัดประเพณีบุญบั้งไฟขึ้นทุกปีจนถึงปัจจุบันต่อมา ทางราชการได้แบ่งพื้นที่อ าเภอธวัชบุรีจัดตั้งกิ่งอ าเภอเชียงขวัญ โดยจัดหาที่ตั้งชั่วคราวบริเวณ บ้านโพธิ์กลาง (บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด แต่ไม่สามารถจัดตั้ง เป็นกิ่งอ าเภอได้จึงย้ายมาอยู่ที่บ้านดอนยาง โดยเสนอชื่อว่า “กิ่งอ าเภอเชียงขวาง” แต่เห็นว่าชื่อ ไม่เหมาะสมจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “กิ่งอ าเภอเชียงขวัญ” ต านานส านวนนี้นับได้ว่ามีความเป็นจริงอยู่บ้าง ซึ่งสอดคล้องกับการบอกเล่าของชาวบ้านในแถบอ าเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ที่กล่าวถึงเจ้านาย พื้นเมืองร้อยเอ็ดเดินทางออกมาตรวจราชการ และเพื่อมาพักผ่อน ในบริเวณพื้นที่แห่งความอุดม สมบูรณ์มีปลาชุกชุม ทุก ๆ ปีเมื่อเจ้านายพื้นเมืองถึงแก่อนิจกรรม ชาวบ้านถิ่นนั้นมักตั้งศาล (ภาษา ถิ่นเรียก “หอโฮง”) เพื่อเป็นที่สถิต มีการเซ่นไหว้ก่อนและหลังการ ท านา เช่น ที่บ้านบึงโดน อ าเภอ จังหาร จังหวัดร้อยเอ็ดมีศาล ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ศาลปู่หลวง” หรือ“ญาพ่อหลวง” ที่มักแสดง ความศักดิ์สิทธิ์ให้ปรากฏอยู่เสมอ ต านานปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง ส านวนเอกชัย น้อยก้อม ส านวนนี้กล่าวอ้างหลักฐานเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองร้อยเอ็ด และประวัติศาสตร์กระแสหลัก โดยมีเนื้อหาความว่า ในปีพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเมือง เวียงจันทน์ ได้ท าการกอบกู้เอกราชด้วยการกวาดต้อนผู้คนในภาคอีสานกลับคืนยังเมืองเวียงจันทน์จึง ส่งผลให้เกิดสงครามระหว่างสยามกับอาณาจักรล้านช้าง กองทัพเมืองเวียงจันทน์ยกมาถึงเมือง ร้อยเอ็ด พระยาขัติยะวงษา (สีลัง)เจ้าเมืองเห็นลู่ทางต้านทางกองทัพเมืองเวียงจันทน์ไม่ได้ และหนีไม่ทัน จึงปรึกษากับกรมการเมืองด้วยการยกบุตรสาว คือ นางหมานุย นางตุ่ย และนางแก้ว ให้กับอุปฮาด(ติสสะ) ผลคือ เมืองร้อยเอ็ดรอดพ้นจากการถูกโจมตีจากกองทัพเมืองเวียงจันทน์ เหตุการณ์ดังกล่าวมาเกี่ยวข้องกับอ าเภอเชียงขวัญ ดังนี้ เมื่อราชส านักกรุงเทพฯ ทราบข่าวเจ้าอนุวงศ์แข็งเมืองยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมา จัดกองทัพโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ รีบยกกองทัพขึ้นไปเมืองนครราชสีมา เหตุการณ์รบพุ่งบริเวณทุ่งสัมฤทธิ์ กองทัพเมืองเวียงจันทน์แตกพ่ายต้องถอยกลับ ในระหว่างนั้น ส านักกรุงเทพฯ ได้ประกาศหาก าลังสมทบโดยคัดเลือกชายหนุ่มอาสาเข้าร่วมรบหนึ่งในจ านวนนั้น มี “หลวงเถ้า” หรือ “ปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง” ซึ่งเป็นน้องชายของหลวงศักดานุราช ซึ่งรับราชการเป็น กรมการเมืองในช่วงนั้นเข้าร่วมรบด้วยภายหลังสงครามกองทัพเวียงจันทน์แตกพ่ายสามารถ จับเจ้าอนุวงศ์และเชื้อพระวงศ์ลงไปยังกรุงเทพฯ พระยาขัติยะวงษา (สีลัง) มีใบบอกไปยังราชส านักกรุงเทพฯ ขอพระราชานุญาตแต่งตั้ง ไพร่พลปูนบ าเหน็จความดีความชอบแก่ผู้เข้าร่วมในสงคราม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกไพร่พลอย่างละ 500 ซึ่งกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์ ให้หลวงเถ้าเป็นเจ้าเมืองปกครองระบบอาญาสี่โดย หลวงเถ้า เป็นเจ้าเมือง ต้นสกุล ค าแมด แมดค า แมดเจริญ
28 ท้าวจัน เป็นอุปฮาด ต้นสกุล จันทะคัต ขุนพระธานีเป็นราชวงศ์ ต้นสกุล ธานีวรรณ ท้าวแก้ว เป็นราชบุตร ต้นสกุล ชรารัตน์ ผู้ช่วยราชการเมืองอีก 2 ต าแหน่ง คือ เพี้ยแสนเมือง ต้นสกุล แสนมนตรี เพี้ยศรีเมือง ต้นสกุล ศรีสองเมือง* ท าเลที่ตั้งเมืองยังไม่แน่นอน คณะของหลวงเถ้าได้เดินทางมาถึงหนองน้ าขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเมืองร้อยเอ็ดหนองน้ าแห่งนี้รับน้ าจากบึงพลาญชัยในช่วงฤดูฝนได้ตั้ง ค่ายขึ้นบริเวณท่าน้ า (ปัจจุบันเรียก “ท่าต าหนัก” บริเวณเชิงสะพานบุ่งเชียงขวัญ) เป็นบริเวณ ที่ตั้งเมือง ต่อมาเกิดน้ าท่วมใหญ่ไหลมาจากตัวเมืองร้อยเอ็ด เป็นเหตุให้นาข้าวบ้านเรือนเสียหายหลวง เถ้าจึงท าพิธีเสี่ยงทายหาท าเลที่ตั้งเมืองใหม่โดยใช้ขวานวางลงบนแพกล่าวว่า “ถ้าเกิดมีบุญบารมีจริง ที่จะตั้งเมืองขอให้ขวานเล่มนี้ลอยไปตามน้ าถ้าเกิดขวานเล่มนี้จมลงที่ใดถือเอาที่ตรงนั้นเป็นเมือง” เสี่ยงทายลอยตามน้ ามาจนถึงบริเวณ “ป่าค าแมด” ขวานได้จมลงหลวงเถ้าจึงถือเอาบริเวณป่านั้น ตั้งบ้านแปงเมืองและเรียกหนองน้ าที่เคยตั้งค่ายพักว่า “บุ่งเสี่ยงขวาน” เพี้ยนเป็น “บุ่งเชียงขวัญ” ในปัจจุบัน หลวงเถ้าได้ตั้งชื่อเมืองตรงที่ขวานจมน้ าว่า “เมืองค าแมด” ตามชื่อต้นไม้ซึ่งมีจ านวนมาก โดยเกณฑ์ไพร่พลขุดดินเพื่อท าชัยภูมิที่ตั้งบ้านเมืองให้เหมาะสมตามต าราโบราณ การตั้งเมือง ที่เรียกว่า “จักตั้งบ้านเมืองที่ใดก็ได้แผ่นดินที่ใดสูงหนต่ าหนเหนือที่นั้นชื่อว่าไชยยะเดชะดีแล” ขุดดินให้สูงท าโนนเมืองมีลักษณะสูงด้านทิศใต้และลาดเอียงไปทางเหนือตรงตามต าราอีสานโบราณ ปัจจุบันเรียกบริเวณที่ขุดดินว่า“หนองหลุบ”เนื่องจากมีสภาพเป็นที่ต่ าคล้ายหนองน้ าที่มีสภาพตื้นเขิน ด้านทิศตะวันออกที่ท าการองค์การบริหารส่วนต าบลเชียงขวัญส่วนบริเวณที่เป็นโนนอยู่ด้านหลัง ขององค์การบริหารส่วนต าบลเชียงขวัญจัดเป็นแหล่งโบราณคดีหนึ่งใน 271 แห่ง พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ยังไม่ขึ้นทะเบียน นอกจากนั้นยังให้ไพร่พลส่วนหนึ่งไปท านาปลูกข้าวเพื่อเป็นเสบียงอาหารและส่งเป็นส่วย ประมาณ 500 ไร่ ห่างออกจากเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 1 กิโลเมตร เรียกว่าหนองนาหลวง” ส่วนตัวเรือนของเจ้าเมือง (ภาษาถิ่นเรียกว่า “หอโฮง” หรือ “โฮง”) สร้างด้านทิศเหนือของโนนเมือง ด้วยไม้แดงและทาสีให้แดงเมื่อปี พ.ศ.2492 ยังเห็นเสาไม้แดงซึ่งเป็นเสาโฮงของหลวงเถ้าโผล่ขึ้นจาก ดิน 50 เซนติเมตร แต่ปัจจุบันไม่พบเห็นแล้ว ห่างจากโฮงแดงของหลวงเถ้าไปทางทิศตะวันตกไม่ไกล ได้จัดสร้างบ้าน (เฮือน) ขึ้น 3 หลัง ประกอบด้วย หลังที่ 1 บ้านพักของนายจ่า เลี้ยงช้าง ม้า นุ่งผ้าลาย หลังที่ 2 บ้านพักของนายจ่า เลี้ยงวัว ควาย นุ่งผ้าพ้อย หลังที่ 3 บ้านพักคนท าไร่ท านา นุ่งผ้าด าย้อมหม้อนิลหรือคราม
29 คราม คือ ไม้ล้มลุกน าใบมาหมักได้สีครามหรือสีด านิยมใช้ย้อมผ้าฝ้าย หม้อนิล คือ หม้อท า ด้วยดินส าหรับแช่หรือใส่น้ าครามในการย้อมผ้า ส่วนนิล หมายถึง สีน้ าเงินหรือสีคราม และบริเวณบุ่ง เสี่ยงขวานซึ่งเคยเป็นที่ตั้งค่ายพัก ให้สร้างโฮงช้าง ม้า และโฮงเก็บเสบียง ภาษาถิ่นเรียกโรงอาคาร ว่า “หอโฮง” จากการบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวถึงประเพณีพิธีกรรมบวชควายหลวง การสร้างบ้าน แปงเมืองไม่แล้วเสร็จเนื่องจากหลวงเถ้าเจ้าเมืองค าแมดถึงแก่อนิจกรรม และอีกประการหนึ่งไพร่พล ที่ถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์นั้นยังคิดถึงบ้านของตนเห็นได้จาก “หลวงเถ้า” ได้ให้คนเหล่านั้น ดื่มกินและเล่นให้สนุกสนานเพื่อคลายความคิดถึงบ้าน จึงเป็นต้นเค้าของการละเล่นควายหลวง ภายหลัง การอนิจกรรมของ “หลวงเถ้า” เพียงข้ามคืนเดียวปรากฏว่าไพร่พลที่ร่วมสร้างเมืองอพยพ หนีหายไปเป็นจ านวนมาก โดยส่วนใหญ่อพยพหนีกลับถิ่นเดิมและบางส่วนอพยพไปทางอุบลราชธานี ยโสธร เป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่มผู้อพยพไปตั้งหลักแหล่งใหม่มักอ้างตนเองว่าเป็นอุปฮาดเพื่อป้องกัน ตนเอง จากการถูกรังแกจากเจ้าของถิ่นเดิม การปกครองในระบบอาญาสี่จึงไม่มีการสืบทอด อุปฮาด จันจึงพาไพร่พลส่วนหนึ่งอพยพไปสร้างบ้านแปงเมืองใหม่ บริเวณที่เป็นบ้านเขืองและได้น าวิชาความรู้ ในการท าฟืมทอผ้าจากเวียงจันทน์มากถ่ายทอดแก่ลูกหลาน การท าฟืมทอผ้าจึงเป็นมรดกภูมิปัญญา ของชาวบ้านเขืองในปัจจุบัน (ชัยนาทร์ มาเพ็ชร, 2559, น. 15-21) จากการศึกษาพบว่าอ าเภอเชียงขวัญ ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในจ านวน 11 เมืองที่ขึ้นกับเมือง สาเกตนคร หรือเมืองร้อยเอ็ด เมืองเชียงขวัญตั้งอยู่บริเวณบ้านจาน อ าเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ดใน ปัจจุบัน ซึ่งมีอาณาบริเวณถึงบ้านโพธิ์กลาง (บ้านแมด) บ้านดอนยาง และบ้านเขือง ซึ่งปรากฏไว้ 3 ต านาน คือต านาน ปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงส านวนหลักของอ าเภอเชียงขวัญ ต านานเจ้าเมืองเชียงขวาน ส านวนนายเฉลิม ปราบมนตรีต านานปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงส านวนนายเอกชัย น้อยก้อม 2.5 ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ เป็นหลักความเชื่อที่เป็นรากฐานขนบธรรมเนียมประเพณี ของชาวไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกลุ่มชาติพันธ์ลาว ที่อยู่ในบริเวณลุ่มน้ าโขงหลักความเชื่อ นี้ยังคงยึดถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการอนุรักษ์ประเพณีของท้องถิ่นต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฮีตสิบสอง สามารถแยกเป็นสองค า คือ “ฮีต” หมายถึง “จารีต” ครอบคลุมความไปถึง ความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดี อีกค าหนึ่ง คือ “สิบสอง” หมายถึง เดือน ทั้งสิบสองเดือนตามรอบปฏิทิน คองสิบสี่ หมายถึง ข้อปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง ค าว่า “คอง” หมายถึง “แนวทาง” หรือ “ครรลอง” มีความหมายครอบคลุมถึงแนวทางในการปฏิบัติตามหลักขนบธรรมเนียมประเพณี ส าหรับค าว่า “สิบสี่” หมายถึง การปฏิบัติที่ส าคัญสิบสี่ข้อ ซึ่งแนวทางคองสิบสี่นี้ได้เป็นกรอบในการ
30 ด าเนินชีวิตไม่เพียงเฉพาะชาวบ้านทั่วไป แต่รวมถึงบุคคลที่อยู่ในสถานภาพต่าง ๆ ด้วยเช่น พระภิกษุสงฆ์ผู้ปกครองบ้านเมือง ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ฮีตเจ้าคองขุน ฮีตท้าวคองเพีย ฮีตไพร่ คองนาย ฮีตบ้านคองเมือง ฮีตปู่คองย่า ฮีตตาคองยาย ฮีตพ่อคองแม่ ฮีตใภ้คองเขย ฮีตป้าคองลุง ฮีตลูกคองหลาน ฮีตเถ้าคองแก่ ฮีตปีคองเดือน (ฮีตสิบสอง) ฮีตไฮ่คองนา ฮีตวัดคองสงฆ์ ตารางที่ 1 ประเพณีฮีตสิบสอง ฮีตสิบสอง บุญประจ าเดือน ประเพณี/พิธีกรรม เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม พิธีเข้าบริวาสกรรมของพระสงฆ์ เดือนยี่ บุญคูนลาน ประเพณีสู่ขวัญข้าว เดือนสาม บุญข้าวจี่ ประเพณีบุญถวายข้าวจี่ เดือนสี่ บุญพระเวส ประเพณีบุญพระเวส เดือนห้า บุญสงกรานต์ ประเพณีตรุษสงกรานต์ เดือนหก บุญบั้งไฟ ประเพณีบุญบั้งไฟ เดือนเจ็ด บุญซ าฮะ ประเพณีบุญเบิกฟ้า เดือนแปด บุญเข้าพรรษา ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน ประเพณีบุญข้าวประดับดิน เดือนสิบ บุญข้าวสาก ประเพณีบุญข้าวสากหรือสลาก เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา ประเพณีออกพรรษาไหลเรือไฟ ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง เดือนสิบสอง บุญกฐิน ประเพณีทอดกฐิน ที่มา: ผู้วิจัย ยุทธศิลป์ จุฑาวิจิตร (2539, น. 3-4) ซึ่งได้ยกตัวอย่างกิจกรรม ประเพณี ที่เกี่ยวข้องกับ “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” ดังนี้ 1) เดือนอ้าย จะมีพิธีเข้าบริวาสกรรมหรือการกักบริเวณตัวเองของพระสงฆ์ที่ได้ ล่วงละเมิดศีลปฏิบัติและการที่พระสงฆ์มาอยู่ในสถานที่ที่ก าหนด เช่น วัด ชายป่า เป็นต้น 2) เดือนยี่ เป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าวน าขึ้นเล้าหรือยุ้งข้าว ในขณะข้าวอยู่ที่ลานนวดข้าว ชาวอีสานจะท าบุญเลี้ยงพระ และมีการละเล่นต่าง ๆ เช่น ฟ้อนกลองยาวและการแสดงหมอล า 3) เดือนสาม จะมีการท าบุญข้าวจี่ เพื่อน าไปถวายพระสงฆ์ และในขบวนแห่ ปั้นข้าวจี่ ชาวบ้านจะร้องเพลงและฟ้อนร ากันอย่างสนุกสนาน 4) เดือนสี่ มีประเพณีการท าบุญพระเวส มีการเทศน์มหาชาติเรื่อง พระเวสสันดรชาดก ชาวบ้านแต่ละกลุ่ม แต่ละหมู่บ้านจัดขบวนร้องเพลงและฟ้อนร า เพื่อขอบริจาคเงินจากหมู่บ้านอื่น ร่วมท าบุญถวายพระสงฆ์ในการเทศน์มหาชาติ และบางกลุ่มมีการละเล่นของชาวบ้านร่วมด้วย เช่น การเล่นหมากกั๊บแก๊บ ฟ้อนกลองยาว เป็นต้น
31 5) เดือนห้า เป็นประเพณีเทศกาลสงกรานต์ มีการสรงน้ าพระ รดน้ าด าหัวผู้ใหญ่เพื่อแสดง ความเคารพและกตัญญูกตเวทิตา มีการสาดน้ ากันอย่างสนุกสนาน หนุ่มสาวก็จะร้องเพลงและฟ้อน เป็นการรื่นเริงกัน มีละเล่นของชาวบ้าน เช่น การเล่นหมากกั๊บแก๊บและการแสดงหมอล า 6) เดือนหก เป็นประเพณีบุญบั้งไฟ มีพิธีกรรมเซิ้งบั้งไฟเพื่อขอฝน ในพิธีกรรมดังกล่าว มีการร้องกาพย์เซิ้งและมีการฟ้อนด้วย 7) เดือนเจ็ด มีการท าบุญเลี้ยงผีปู่ตาคือผีอารักษ์ประจ าหมู่บ้าน ผีตาแฮก คือผีอารักษ์ประจ า ไร่นา เพื่อความเป็นสวัสดิมงคลและเพื่อให้พืชผลไร่นาได้ผลดี 8) เดือนแปด มีการท าบุญเข้าพรรษาถวายเทียนประจ าวัดแด่พระสงฆ์ มีการแห่เทียนพรรษา ชาวบ้านจะร้องเพลงและฟ้อนในขบวนแห่ 9) เดือนเก้า มีการท าบุญข้าวประดับดิน คือ ท าอาหารใส่กระทงแล้วไปวางตามโคนต้นไม้ เพื่อให้อาหารแก่เปรตหรือผีไร้ญาติตามความเชื่อ มีการเลี้ยงพระ มีการฟ้อนบวงสรวงหลักเมืองโดย ชาวบ้านเพื่อความผาสุกตามความเชื่อ 10) เดือนสิบ มีการท าบุญข้าวสากหรือสลากภัต เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ 11) เดือนสิบเอ็ด มีการท าบุญออกพรรษา ชาวบ้านจะจุดประทีปโคมไฟ มีการแสดงหมอล า ในงานบุญ 12) เดือนสิบสอง มีการท าบุญกฐิน มีการเล่นหมากกั๊บแก๊บ และการฟ้อนกลองยาวของ ชาวบ้านในการแห่กฐิน มีการแสดงหมอล าสมโภชในงานบุญ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสังคม ได้เปลี่ยนแปลงไป มีการรับเทคโนโลยีแผนใหม่เข้ามาใช้ ในหมู่บ้านมากขึ้น ท าให้ประเพณีบางอย่าง เริ่มไม่เคร่งครัดเช่นในอดีต จากกา รศึกษ าพบว่ าฮีตสิบสอง คองสิบสี่ เป็นหลักความเชื่อที่เป็นร ากฐาน ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชาวไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหลักความเชื่อนี้ยังคงยึดถือ ปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน “ฮีต” มีความหมายว่า “จารีต” เพื่อครอบคลุมความไปถึงความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดีของชาวอีสาน สิบสอง มีความหมายว่า เดือน และคอง มีความหมายว่า แนวทางครอบคลุมถึงแนวทางในการปฏิบัติ และค าว่า “สิบสี่” หมายถึง การปฏิบัติที่ ส าคัญสิบสี่ข้อ 2.6 ประเพณีบุญเดือนหก ประเพณีบุญเดือนหก นิยมจัดประเพณีวัฒนธรรมผีขนน้ า (แมวหน้างาม) ค าว่าผีขนน้ า หมายถึงการละเล่นเป็นวัวที่มีผู้เล่นแต่งกายคล้ายวัว ควายมีขนตามล าตัว ผีขนน้ าอาจมีที่มาจาก 2 นัย ยะ นัยยะที่ 1 ความเชื่อที่เกี่ยวกับวิญญาณของสัตว์จ าพวกวัวควายที่ตายไปแล้วแต่วิญญาณ ยังล่องลอยอยู่ ตามสถานที่ที่เคยอยู่อาศัย เช่น ตามล าห้วย หนอง แม่น้ าเมื่อชาวบ้านไปตักน้ า หรืออาบน้ าก็จะตามคนเข้ามาอยู่ในหมู่บ้าน ส่วนนัยยะที่ 2 นั้นจะมาจากการเล่นผีขนน้ าเป็นประจ า
32 ทุกเดือน 6 แล้วให้ฝนตกทุกครั้ง จึงเรียกว่าผีขนน้ า การละเล่นผีขนน้ าเกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่จะเล่นกันในวันเทศกาลบุญเดือนหก แรม 1 ค่ า ถึง 3 ค่ าของทุกปีโดยจะมีการละเล่นทุกเขต ของอ าเภอเชียงคาน จังหวัดเลยก่อนเนื่องจาก มีความเชื่อว่า ต้องให้เชื้อผู้พี่เจ้าคกค า เนื่องจากเจ้าคก ค า(วิญญาณเจ้าปู่เขตสุขาภิบาล วัดมหาธาตุ) เป็นผู้พี่เจ้าจิรมานพซึ่งอยู่บ้านนาซ่าวและมีศักดิ์เป็นน้อง และการละเล่นก็จะส่งท้ายที่บ้านนาซ่าว จึงส่งผลให้เกิดความสนุกสนานทุกปี การละเล่นผีขนน้ า สันนิษฐานว่ามีมาพร้อมกับการจัดพิธีกรรมเซ่นไหว้บรรพบุรุษหรือเจ้าโคตรของหมู่บ้านนาซ่าว เพราะ ถ้ามีการจัดพิธีกรรมเลี้ยงผีประจ าหมู่บ้านก็เพื่อการละเล่นบุญเดือนหกแรม 1 ค่ า ถึง 3 ค่ า เดือนหก จะมีผีขนน้ ามาเล่นเป็นจ านวนมาก ถ้าหากปีใดผีขนน้ าออกมาเล่นน้อยปู่จิรมานจะไม่พอใจ อาจดลบันดาลให้ฝนตกน้อยกว่าปกติ ซึ่งจะมีผลต่อการท าเกษตรกรรมของชาวบ้าน ส าหรับ เจ้าปู่ผ่าน พิภพนั้นก็จะโปรดปรานตัวแมวหน้างามหรือผีขนน้ าเป็นอย่างมาก วิญญาณบรรพบุรุษจะแจ้งความ ประสงค์ผ่านร่างทรง หรือคนทรง ที่รับการถ่ายทอดพิธีกรรมเลี้ยงผีปู่ตา (ไทยโรจน์พวงมณี, 2554, น. 158-159) 3. ประเพณีบุญบั้งไฟ 3.1 จุดมุ่งหมายของประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือบุญเดือนหก เป็นหนึ่งในฮีตสิบสองของชาวอีสานสาเหตุที่ท าให้ เกิดประเพณีเล่าสืบต่อกันมาหลายอย่าง ส่วนมากก็คล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด ปลีกย่อย “การเล่นบั้งไฟเป็นการท าพิธีขอฝน ตามคติของไทยภาคอีสานแต่โบราณซึ่งเชื่อกันว่า ต้นตระกูลของพรรพบุรุษของเรานั้น คือ ฟ้า เรียกวันว่า “แถน” เป็นเทพที่มีความสัมพันธ์กับดิน หรือโลกอย่างใกล้ชิด (ในคัมภีร์ฤคเวท ของพราหมณ์ เรียกว่า “เทยาสะ” แปลว่า ฟ้า ซึ่งเป็นสามี ของ “ปฤถวี” หรือแผ่นดินโลก” เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล มนุษย์ก็ต้อง ขอความอนุเคราะห์จากฟ้า ฉะนั้นจึงเกิดการท าบั้งไฟส่งขึ้นไปให้ถึงฟ้าเป็นการเตือนให้รู้ว่า แผ่นดิน โลกขาดฝน ขอให้ฝนลงมาด้วย บ้องไฟจึงมีลักษะเป็นดุจผู้สื่อข่าวระหว่างแผ่นดินกับฟ้า หรือแถนนั้น และบางความเชื่อก็เชื่อกันว่า การจัดบั้งไฟประจ าปีขึ้นไปบนท้องฟ้านั้น ถือเป็นการคารวะ หรือบวงสรวงฟ้าตามธรรมดานั่นเอง
33 ภาพที่ 4 การแห่บั้งไฟที่ตกแต่งสวยงามของบ้านหนองหมื่นถ่าน จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มา: ผู้วิจัย “มูลเหตุแห่งการท าบุญบั้งไฟนั้น มาจากความเชื่อถือของชาวอีสานว่า เทพเจ้าสามารถ ที่จะบันดาลให้พืชผลตลอดจนข้าวปลาอาหารในท้องนาของตนให้อุดมสมบูรณ์ได้ เทพเจ้าองค์นั้น คือ พญาแถน ตามความเชื่อของชาวอีสานนั้นถือว่า พญาแถน เป็นเทพก็จะอนุเคราะห์ให้การท านา ในปีนั้นได้ผลบริบูรณ์ หากท าการเซ่นบวงสรวงบูชาให้พญาแถนพอใจ เพราะพญาแถนมีหน้าที่ควบคุม ฝนฟ้าให้ตกต้องตามฤดูกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหมู่บ้านใด ท าบุญบั้งไฟติดต่อกันสามปี ข้าวปลาอาหารในหมู่บ้านนั้นจะอุดมสมบูรณ์มิได้ขาดบางท้องถิ่นมีความเชื่อว่า การท าบุญบั้งไฟ เป็นการส่งสัญญาณให้พญาแถนได้ทราบว่าถึงฤดูการท านาแล้วอย่าลืมส่งฟ้าส่งฝนมา ให้ตกต้อง ตามฤดูกาล เมื่อพิจารณาให้ถ่องแท้จะเห็นได้ว่าการท าบุญบั้งไฟ เป็นการส่งสัญญาณนั่นเอง ก็คือ การรื่นเริงครั้งยิ่งใหญ่ของชาวอีสาน ก่อนที่จะลงมือท านาเป็นข้อมูลเหตุข้อหนึ่ง ส่วนมูลเหตุ ในการท าบุญบั้งไฟ ข้อที่สอง คือการสร้างพลังใจในการท านา ท างานให้ชาวนาชาวอีสานมั่นใจว่า การท านานี้จะได้ผลดี ไม่ต้องท้อถอย นอกจากมูลเหตุสองประการนั้น (จารุบุตร เรืองสุวรรณ, 2520, น. 10) กล่าวถึงมูลเหตุแห่งการท าบุญไว้ว่า การท าบุญบั้งไฟ เป็นการทดสอบความพร้อมความสามัคคี หรือไม่และเป็นการตระเตรียมอาวุธไว้ป้องกันภัยสังคมของตน เพราะสิ่งที่ก าหนดท าดอกไม้ไฟนั้นคือ “ดินปืน” “ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นงานอย่างหนึ่งของฮีตสิบสองของชาวอีสาน งานประเพณีนี้ชาวอีสาน เข้าจัดกันในเดือน 6 ในสมัยโบราณถือว่า เป็นพิธีขอฝน เชื่อกันว่าท าพิธีท าจุดบั้งไฟแล้ว แถน (ผีฟ้า หรือเทพยดา) จะบันดาลฝนให้ตกลงมา แม้ปัจจุบัน ความเจริญในทางด้านวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้เข้า มายังประเทศและท าฝนเทียมได้แล้วก็ตาม ชาวอีสานรุ่นใหม่ก็ยังเชื่อถือประเพณีเดิมกันอยู่โดยจัดงาน กันขึ้นเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจ าท้องถิ่น เช่น บูชาพระธาตุ บูชาพระพุทธรูปส าคัญของจังหวัด
34 ประเพณีบุญบั้งไฟนี้สืบเนื่องมาจากการขอฝนจากแถน ที่หมายถึงแถนที่เป็นเทวดาบนสรวงสวรรค์ ที่ชาวบ้านเชื่อกันว่า สามารถบันดาลฝนให้ได้ ความเชื่อถือในสิ่งนี้ พอกพูนขึ้นเป็นประจ าทุก ๆ ปี ที่ไหนเมื่อถึงฤดูกาลแล้ว หากฝนยังไม่ตกลงมาให้ความชุ่มฉ่ าหรือเป็นปีที่แห้งแล้งก็ตามที ประเพณีก็ หาได้มีอันสูญหายไปกับการเปลี่ยนแปลงเสียเลย ก็เหมือนกันแต่ก็เป็นเพียงส่วนเกินที่เพิ่งจะมามี เพิ่มขึ้นภายหลัง กล่าวคือนอกจากประเพณีในการจุดบั้งไฟขึ้นไปเพื่อเตือนแถนเพียงอย่างเดียวแล้ว ยังมีการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจ าเมือง รวมทั้งเป็นงานรื่นเริงประจ าปีของชาวบ้านทางภาคอีสานไปด้วย ประเพณีบุญบั้งไฟถือมาตั้งแต่ศาสนาพราหมณ์ยุคต้นเป็นประเพณีสืบต่อกันมา ศาสนาพราหมณ์มี หลายลัทธิหลายศาสนา ที่เผยแพร่มาในสุวรรณภูมิยุคนั้น แสดงให้เห็นว่ามีหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่ส าคัญ ในสมัยอาณาจักรน่านเจ้าลัทธิใดที่ถูกใจชาวไทยก็น ามาปฏิบัติเป็นประเพณี ของตน ตามต านานได้กล่าวไว้ว่า พญาแถนเป็นเจ้าของฝนเป็นเทวดาผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมฝนให้ตกต้อง ตามฤดูกาล หากท าการเซ่นบวงสรวงบูชาให้พญาแถนพอใจ ท่านก็จะอนุเคราะห์ให้ฝนตก จากเรื่อง เล่ากล่าวว่า เมืองพญาคันคาก (คางคก) เกิดแห้งแล้งจึงท าการเลว (สู้รบกัน) กันพวกน่านเจ้าปรากฏ ว่าสู้พญาแถนไม่ได้จึงตกลงว่าท าสัญญากับพวกน่านเจ้าจะท าบุญบั้งไฟไปให้ถวายแถน (ถวายแถน) ทุกปีถ้าไม่ท าหรือไม่ถูกใจก็จะท าให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล สัญญาหรือสัตยบรรณที่พญาคันคาก ให้ไว้แก่พญาแถน คือถึงเดือนห้าฟ้าใหม่ ให้ท าบุญ และเพื่อให้ท าพิธีละเล่นต่าง ๆ ถวายแถน “งานบุญบั้งไฟกล่าวกันว่า เป็นประเพณีสืบเนื่องมาจากการบูชาไฟของลัทธิพราหมณ์อัน ประการหนึ่งว่า กล่าวว่าการจุดฮีตไฟ สืบเนื่องมาจากการขอฝน ซึ่งไม่ถูกต้องตามฤดูกาล จะกระท า กันในเดือนหก ชาวบ้านเมืองเชื่อกันว่าเพราะพญาแถน (เทวดา) ท าให้เป็นไป การจุดบั้งไฟขึ้นไป จึงคล้ายกับจะเป็นการเตือนสติให้พญาแถนทราบว่า ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ฉะนั้นงานบุญบั้งไฟ จะมีประเพณีสืบต่อกันมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้แม้จะไม่ใช่เหตุเพราะฝนแล้งก็ตามแต่ชาวอีสานยังคง รักษาเพื่อเป็นเพณีสืบต่อกันมา (จารุวรรณ ธรรมวัตร, 2524, น. 10) บุญบั้งไฟหรือบุญเดือนหกนั้น ท าขึ้นเพื่อเป็นการบูชาเทพยดาอารักษ์ หลักบ้านหลักเมือง เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เพื่อให้ได้ ท าไร่ ท านา ให้ได้อุดมสมบูรณ์อีกนัยยะหนึ่ง บุญบั้งไฟหรือบุญเดือนหก ซึ่งเป็นวันเดียวกับเดือนที่เป็น วันวิสาขบูชา ที่ถือว่าเป็นวันส าคัญทางพุทธศาสนา ที่เป็นวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพานของ พระพุทธเจ้าและเป็นวันถวายพระเพลิงของพระพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันแรม 8 ค่ า เดือน 6 เมื่อถึงเช่นนี้ พวกพุทธบริษัทต่างๆ พากันสักการบูชาถวายตามความเคารพบูชาต่อพระพุทธเจ้า โดยพร้อมเพียงกัน เหมือนดังที่พระองค์ประสูติซึ่งมีพระบิดา-มารดา พระประยูรญาติและมหาชนเทพบุตร เทพยดา มหาชน พระอินทร์ พระพรหม ต่างก็ยินดีในธรรม เมื่อวันพระองค์ปรินิพาน พุทธบริษัท มีความ โศกเศร้ามากจึงพากันมาเคารพพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า
35 ภาพที่ 5 ขบวนฟ้อนในงานประเพณีบุญบั้งไฟของบ้านหนองหมื่นถ่าน จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มา: ผู้วิจัย มูลเหตุงานเซิ้งบั้งไฟสันนิษฐานได้2 ข้อ 1) ในแง่ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพราหมณ์มีการเคารพบูชาเทพเจ้าหลายองค์ เทพเจ้า องค์หนึ่งมีความส าคัญมากในสมัยพระเวทก็พระอัคนี (เทพแห่งไฟ) พระองค์พระอัคนีได้รับ ความนับถือว่าเป็นผู้มีฤทธิ์เดชและมีพิธีอ้อนวอนแทบทุกพิธีกรรม โดยถือว่าพระอัคนีเป็นเทพเจ้า ผู้เป็นสิ่งน าเครื่องสังเวยจากมนุษย์ไปสู่พระเจ้าด้วย เช่นเครื่องสังเวยต่าง ๆ ต้องโยนเข้ากองไฟ เพื่อให้น าไปถวาย เทพเจ้าบนสวรรค์ การบูชายันต์หรือการจุดไฟในสมัยโบราณของอินเดียก็สืบมาจาก การนับถือพระอัคนี ครั้นศาสนานี้แพร่เข้าสู่ดินแดนนี้ในครั้งโบราณ การบูชาพระอัคนีก็คงมีมาด้วยการ จุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาพญาแถนหรือถวายแถน เช่นตามเรื่องนั้นก็คงจะสืบมาจากประเพณี 2) ในแง่ศาสนาพุทธ มีหลายท่านสันนิษฐานว่า บุญบั้งไฟเป็นบุญวิสาขบูชา ประชาชน ในท้องถิ่นนิยมเรียกว่า บุญเดือนหกด้วยตามเรื่องผาแดง-นางไอ่นั้น พระเณรที่จุดบั้งไฟบูชา และเมื่อพญาขอมฉลองบั้งไฟนั้น ได้มีการท าบุญให้ทานขนาดใหญ่เลี้ยงสมณะชีพราหมณ์ และพสกนิกร โดยไม่เลือกหน้าทั้งยังได้อาราธนาพระเถระมาแสดงพระธรรมเทศนา พวกอานิสงส์แห่ง การบูชาด้วยขณะเดียวกันบางคนก็ถือศีล บางคนก็ปั้นพระพุทธรูปบางคนก็ให้หลานบวชรักษาศีล ซึ่งแสดงถึงบุญมหากุศลประจ าปีทีเดียวจึงน่าจะเป็นบุญวิสาขบูชา อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงไปอีก 2 ประการ พวกหนึ่งเป็นการบูชา พระธาตุเกศาแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ และพวกหนึ่งว่าเป็นการขอฝนจากเทวดา วัตถุประสงค์ข้อหนึ่งนี้ ปัจจุบันถือกันมาก และทั่วไปแทบทุกจังหวัดคือว่าปีใดไม่ท าบุญบั้งไฟจะจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านเลยว่าต้องท าทุกปี ถ้าปีใดไม่สะดวกก็ให้จัดท าบั้งไฟ 2-3 บั้ง ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้ท านา เรื่องนี้