36 เป็นความเชื่อต่อมาภายหลังเพราะในสมัยพระยาขอมพระยาขอม ก็มิได้ขอฝนโดยตรง แต่เมื่อท ากัน ในต้นฤดูฝน ผู้คนทั้งหลายก็เลยตีความว่าท าบุญบั้งไฟขึ้นมาเพื่อขอฝน (ชัยนาทร์ มาเพ็ชร , 2559, น. 8 ) บทสรุปสาเหตุที่มาของประเพณีบุญบั้งไฟ สรุปได้ 2 ประการ ดังนี้ ประการที่ 1 ในแง่ของศาสนาพราหมณ์ มีข้อสันนิษฐานจากเอกสารหลายเล่ม มีความเชื่อว่า ประเพณีการจุดบั้งไฟขึ้นไปถวายแถน สันนิฐานว่าได้น าแบบอย่างมาจากการบูชายันต์และการบูชาไฟ ของชาวอินเดียโบราณ โดยชาวอินเดียโบราณนับถือเทพเจ้าองค์หนึ่ง คือพระอัคนี (เทพเจ้าแห่งไฟ) เป็นเทพที่มีฤทธิ์มาก เป็นสื่อระหว่างมนุษย์กับผู้เป็นเจ้า มนุษย์ถ้าต้องการบวงสรวงพระเป็นเจ้า บนสรวงสวรรค์ก็ท าพิธีบวงสรวงโดยโยงเครื่องแซ่น (เซ่น) สังเวยเข้ากองไฟ เพื่อให้ไฟคือเทพอัคนี น าไปถวายพระเจ้าบนสวรรค์ มีลักษณะคล้ายกันกับประเพณีบูชายันต์ไฟที่ใช้บั้งไฟเป็นสื่อระหว่าง มนุษย์กับพระยาแถน เนื่องจากศาสนาพราหมณ์เคยมีอิทธิพลในแถบนี้ จึงมีความเชื่อว่าประเพณีจุด บั้งไฟขึ้นไปถวายแถนน่าจะมาจากลัทธิบูชาไฟของพราหมณ์ ประการที่ 2 ในแง่ของศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธเองก็มีอายุมานานทีเดียว ในเดือนหกก็เป็น เดือนที่ส าคัญทางศาสนาพุทธ คือเป็นเดือนวิสาขบูชา คือวันเพ็ญเดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพาน และวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าคือวันแรม 8 ค่ า เดือน 6 ประเพณีบุญบั้งไฟ สันนิษฐานว่าเป็นประเพณีที่พุทธบริษัทจัดถวายเนื่องในโอกาสวันส าคัญดังกล่าวโดยเฉพาะการจุดบั้ง ไฟ ก็หมายกับการถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า และความเชื่อนี้ก็สืบทอดมาว่าการจุด บั้งไฟ ท าขึ้นเพื่อเป็นการบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีมบนสวรรค์ ข้อสันนิษฐานนี้ก็มีทางที่จะเป็น ไปได้มากที่สุด เพราะในประเพณีบุญบั้งไฟนั้น นอกจากจะเป็นการจัดขึ้นในเดือน 6 แล้วในงาน บุญบั้งไฟยังมีพิธีพุทธเป็นการท าบุญให้ทาน เลี้ยงพระ อาจจะมีการบวชนาค มีการฟังเทศน์ ถือศีล ใน เมื่อศาสนาพุทธก็มีอายุเกือบ 3000 ปี ก็น่าจะมีประเพณีเป็นของตนเองเพราะประเพณีจุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัยของเราก็มีอยู่แล้วอาจจะมีการคิดประยุกต์เพิ่มเติม เอาสิ่งในท้องถิ่นที่มีอยู่เป็นการ ถวายสักการบูชาก็น่าจะเป็นไปได้ เพราะเมื่อคนเมืองรู้จักน าดินปืนมาใช้ได้แล้วก็ย่อมจะน าเอาดินปืน ไปลองใช้ในเรื่องต่างๆ จนเกิดความคิดที่การจุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของตนเองได้ (ชัยนาทร์ มาเพ็ชร, 2559, น. 8) จากการศึกษาพบว่าจัดประเพณีบุญบั้งไฟรวบรวมจากเอกสารต่าง ๆ น ามาสรุปได้ดังนี้ 1) เพื่อขอฝนจากพญาแถน เพราะเชื่อกันว่าพญาแถน เป็นเทวดาผู้มีหน้าที่ควบคุมให้ฝนตก ให้ถูกต้องตามฤดูกาล เนื่องจากดินแดนภาคอีสานของไทยแห้งแล้ง ฝนไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล ประเพณีบุญ บั้งไฟจึงเปรียบเสมือนก าลังใจอย่างหนึ่งแก่ประชาชนเป็นเปรียบเสมือนที่พึ่งทางใจ จึงเป็นประเพณีมีอิทธิพลต่อชาวอีสาน 2) เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจ าเมือง เช่นพระธาตุและพระพุทธรูปองค์ส าคัญของท้องถิ่น โดยพวกเขาหวังว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นจะบันดาลให้พวกเขาอยู่เป็นสุขปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
37 3) เป็นงานรื่นเริงประจ าปีของท้องถิ่นก่อนที่จะลงมือท านาที่เป็นอาชีพหลักของชาวอีสาน เป็นงานรื่นเริงครั้งสุดท้ายก่อนที่พวกเขาจะเผชิญงานหนักเกือบทั้งปี 4) เป็นการทดสอบความพร้อมความสามัคคีประกอบการปรองดองของคนในท้องถิ่นนั้น เพราะประเพณีบุญบั้งไฟเปรียบเสมือนงานบุญใหญ่ประจ าปี จะจัดให้มีขึ้นได้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือ จากประชาชนในท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ถ้าท้องถิ่นไหนสามารถจัดงานบุญบั้งไฟได้และจัดได้ทุก ๆปี ก็ แสดงถึงว่าประชาชนในท้องถิ่นนั้นมีความสามัคคีมาก หากท้องถิ่นใดขาดความสามัคคีปรองดองหรือ ขาดความพร้อมทางด้านในด้านหนึ่งก็จะจัดไม่ได้ หรือถ้าจัดได้ก็ท าได้ไม่ดีเท่าที่ควรเหมือนท้องถิ่นอื่น 5) เป็นการเตรียมอาวุธเพื่อป้องกันสังคมตน เพราะสิ่งที่ใช้ท าบั้งไฟก็คือดินปืน คนสมัย โบราณมักจะมีจุดหมายที่แฝงเร้นบางอย่างอยู่ของความสนุกสนานรื่นเริง โดยได้ประโยชน์หรือผล พลอยได้โดยผู้กระท าไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยนัก และมีความเต็มใจที่จะกระท าในสิ่งที่ตนพอใจ ในการท า บั้งไฟต้องใช้ดินปืนแต่ดินปืนที่ใช้ท าบั้งไฟต้องเลือกที่ดีที่สุด เพื่อจะให้บั้งไฟขึ้นสูงและไม่แตกก่อนการ ท าดินปืนจึงท ามาก ๆ และมาเลือกส่วนที่มีคุณภาพพอใช้ได้ก็สามารถเก็บเอาไว้ใช้กับอาวุธปืนได้ 3.2 จุดมุ่งหมายของการเซิ้งบั้งไฟ ในเทศกาลบุญบั้งไฟ หรือบุญเดือนหก ชาวอีสานมีการจับกลุ่มที่นิยมแพร่หลายอยู่หลาย อย่างเช่น การแห่บั้งไฟ การเซิ้งบั้งไฟ การเส็งกลอง และการแข่งหัวล้านชนกัน เป็นต้น การละเล่น เหล่านี้บางอย่างก็สูญไปแล้วคือ การแข่งขันหัวล้านชนกันบางอย่างหาดูได้ยากคือ การเส็งกลอง ส่วนการเล่นที่ยังเหลืออยู่ทุกวันนี้ได้แก่ การเซิ้งบั้งไฟและการแห่บั้งไฟ ค าว่าบั้งไฟ หมายถึง กระบอกไม้ไผ่ที่บรรจุดินปืนและน าไปประดิษฐ์เป็นรูปลักษณะต่าง ๆ กันเมื่อน าไปจุดจะมีไฟพ่นออกมาจากกระบอกหรือชาวอีสานเรียกกันว่าบั้ง เราเรียกบั้งไม้ไผ่ ที่บรรจุดินปืนว่า “บั้งไฟและชาวอีสานเรียกดินปืนว่า “หมื่อ” บั้งไฟแบ่งออกไปหลายชนิด เช่น บั้งไฟหาง บั้งไฟพุ บั้งไฟพะเนียง และบั้งไฟตะไล เป็นต้น บั้งไฟแต่ละชนิดจะมีรูปร่าง วิธีการสร้าง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ตลอดจนความมุ่งหมาย และประโยชน์ใช้สอยบั้งไฟหาง มักจะแบ่งตามขนาดน้ าหนักดินปืนซึ่งมีขนาด 3 ขนาด คือ บั้งไฟน้อย บั้งไฟหมื่นและบั้งไฟแสน (ค าว่าหมื่น หมายถึง 12 กิโลกรัม) บั้งไฟมีค าว่า “เซิ้ง” หมายถึง การขับร้องเป็นท านองเสนาะอย่างหนึ่งของชาวอีสาน โดยใช้บทกลอน ภาคอีสานที่เรียกว่า “กาพย์เซิ้ง” เป็นบทส าหรับขับร้อง พร้อมกันนี้ผู้ขับร้อง และคณะจะฟ้อนร าออกท่าออกทางไปด้วยเรียกการขับร้องและฟ้อนร าในลักษณะที่ว่า “การเซิ้ง” เท่ากับการเซิ้งนี้เป็นรายการละเล่นในเทศกาลบุญบั้งไฟเท่านั้นจึงเรียกการเซิ้งนี้ว่า “การเซิ้งบั้งไฟ” เข้าใจว่าเดิมที การเซิ้งบั้งไฟเป็นการอ้อนวอนบวงสรวงแด่พญาแถน (ผีหรือผู้เป็นใหญ่ในเมืองฟ้า) เพื่อขอให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาลเพื่อไพร่พลเมืองจะได้ท าไร่ท านา ซึ่งสุรพล วิรุฬห์รักษ์ (2547, น. 18) ได้กล่าวในเรื่องของการฟ้อนร าในพิธีกรรมว่า ในสังคมหนึ่งย่อมมีพิธีการต่าง ๆ แต่ละพิธีการ ก็มีความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันไป เช่น พิธีการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่ส าคัญ พิธีแห่งเทวรูป
38 ที่เคารพประจ าปีเพื่อเป็นศิริมงคล พิธีฉลองงานส าคัญ ๆ เช่น งานวันเกิด งานวันครบรอบ เป็นต้น พิธีที่กล่าวมานี้นิยมจัดให้มีการฟ้อนร าขึ้นในสองลักษณะใหญ่ ๆ คือ การฟ้อนร าเป็นขบวนแห่ไป ตามทางและการฟ้อนร าบนเวที ขบวนฟ้อนร าจะปรากฏในพิธีการ เช่น การฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ โดยเจ้านายฝ่ายเหนือทั้งชายและหญิงเพื่อรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การฟ้อนร าในพิธีเซิ้ง บั้งไฟขอฝนของลาว เป็นต้น ส่วนการฟ้อนร าบนเวที ได้แก่ ร าอวยพรวันเกิด การร าเบิกโรงก่อน การแสดงละคร และการฟ้อนร าในพิธีเปิดเทศกาลต่าง ๆ เป็นต้น ในการเซิ้งบั้งไฟนี้เป็นลักษณะ ที่เกิดขึ้นในการฟ้อนในพิธีกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟ้อนแห่ถวายแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่นั้น ๆ เคารพ เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลและมีการสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต่อมา การเซิ้งบั้งไฟ เป็นการกล่าวพรรณนาความงามของบั้งไฟ ที่ตกแต่งประดับประดาอย่าง สวยงามตลอดจน ความสวยงามของขบวนแห่ด้วยบทร้อยกรองที่ไพเราะสละสลวยในปัจจุบันชาว อีสานนิยมเซิ้งบั้งไฟ เพื่อขอเหล้าหรือเงินทองเป็นส าคัญ ในเทศกาลบุญบั้งไฟ ประโยชน์ด้านความ สนุกสนานเพลิดเพลิน ทั้งผู้เซิ้งและผู้ฟังแต่ก็มีเหมือนกันที่การเซิ้งก่อให้เกิดความส าคัญและความไม่ เข้าใจต่อกันได้เช่น กรณีผู้เซิ้งขอเงิน หรือแล้วแต่เหล้าจ านวนมาก โดยที่เจ้าของบ้านไม่มีจะให้หรือไม่ อาจจะให้อย่างนี้ เป็นต้น (ชัยนาทร์ มาเพ็ชร , 2559, น. 9 ) ประเพณีบุญบั้งไฟ มีการเซิ้งบั้งไฟในพิธีกรรมดังกล่าว เพื่อบูชาอารักษ์ หลักเมืองเป็น ประเพณีขอฝน เพื่อที่จะให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและอุดมสมบูรณ์ พืชพันธุ์ธัญญาหาร และ ชาวบ้านสนุกสนานคลายทุกข์และจะอยู่เย็นเป็นสุข (สาร สาระทัศนานันท์, 2534, น. 1-15) จากการศึกษาพบว่าประเพณีบุญเดือนหก มีทั้งประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีผีขนน้ า ซึ่งประเพณีที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่าเป็นการคารวะสิ่งเหนือธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นเพื่อบูชาพญาแถน หรือหลักเมืองเป็นซึ่งเป็นประเพณีขอฝน เพื่อที่จะให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและอุดมสมบูรณ์ พืชพันธุ์ธัญญาหาร และอีกนัยยะ 1 คือ การคารวะหรือเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษให้คุ้มครองปกปักรักษา ชาวบ้านปลอดภัยจากอันตราย และดลบรรดาลฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล 3.3 ความหมายสัญลักษณ์ในงานบุญบั้งไฟ สัญลักษณ์ส าคัญในบุญบั้งไฟกล่าวได้ว่า สามารถแบ่งออกเป็นสองขั้ว คือ ขั้วอุดมคติ ซึ่งหมายถึงองค์ประกอบทางจริยธรรมและระเบียบทางสังคมที่เป็นหลักส าคัญในการจัดองค์กร ทางสังคมและการรวมกลุ่มรวมถึงบรรทัดฐาน ค่านิยม ที่ยึดถือกันเป็นหลักส าคัญในการจัดองค์กร ทางสังคมนั้น และขั้วความรู้สึกหมายถึง รูปแบบที่เห็นได้ชัดเจนที่สัญลักษณ์นั้นสื่อออกมาโดยตรง ซึ่งความหมายก็มักจะเป็นไปตามปรากฏการณ์และกระบวนการตามธรรมชาติ ในทางที่เป็นเหตุผล และในทางจิตวิทยา และเมื่อทดลองตีความหมายจากสัญลักษณ์ส าคัญ เช่น บักแบ้นหรือลิงเด้าไม้ แม้กระทั้งพฤติกรรมการแสดงออกและค าพูดของคนที่ปรากฏในบริบทของบุญบั้งไฟว่า 1. เป็นพิธีกรรมที่แสดงออกถึงความอุดมสมบูรณ์ 2. สามารถเป็นใบอนุญาต ให้สมาชิกในสังคมได้
39 คลายเครียดกับสิ่งที่เกิดจากกฎระเบียบของสังคม (สุริยา สมุทคุปติ์และคณะ, 2533, น. 9) บุญบั้งไฟเป็นพิธีกรรมแห่งความอุดมสมบูรณ์ พิธีกรรมนี้จะเริ่มท าในตอนต้นฤดูฝน องค์ประกอบ ส าคัญที่ปรากฏในขบวนแห่คือ การน าเอาอวัยวะเพศจ าลองของชาย-หญิง (Phallic Symbol) ออก แห่แหนกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งถ้ายอมรับว่าพิธีนี้เพื่อความเจริญงอกงาม ก็คงต้องมีวิธีการคิดที่ เกี่ยวกับความเจริญงอกงามของสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวกับเพศสัมพันธ์ ที่เป็นสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิตที่ มีขึ้นเพื่อก่อให้เกิดการสืบต่อความเจริญงอกงาม ให้กับธรรมชาติและท าพิธีติดต่อที่ว่า ต้องการอย่างไร ก็ท าให้เทพเจ้าเห็นอย่างนั้น (สุริยา สมุทคุปติ์และคณะ, 2533, น. 11) เพศสัมพันธ์เป็นสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิตที่มีขึ้น เพื่อก่อให้เกิดการสืบต่อและความเจริญงอก งามในขณะเดียวกันก็สร้างบุคลาธิษฐานให้ธรรมชาติเช่น ให้ฟ้า (แถน) เป็นเพศชายดิน (แม่ธรณี) เป็นเพศหญิง โดยถือว่า เพศหญิงหรือดินมีหน้าเดียวกันคือ เป็นศูนย์กลางการก่อก าเนิด และความ เจริญงอกงามของธรรมชาติ แต่ก็จะท าได้โดยสมบูรณ์เมื่อมีการประสานสัมพันธ์กับท้องฟ้าให้ฟ้า หลั่งน้ าลงสู่พื้นดินจนเปียกดินจึงค่อย ๆ ก่อก าเนิดสรรพสิ่งอันเป็นธรรมชาติทั้งมวลได้ ดังนั้น การแสดงออก ค าพูด รวมทั้งสัญลักษณ์ เช่น “บักแบ้น” หรือ “ลิงเด้าไม้” เป็นการแสดง ให้เห็นถึงความปรารถนาที่จะให้ชุมชนหรือสังคมของตนเองอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารในฤดู การผลิตที่ก าลังจะเริ่มขึ้นในแต่ละรอบปี(สุริยา สมุทคุปติ์และคณะ, 2533, น. 9) ภาพที่ 6 สัญลักษณ์อวัยวะเพศชายที่จ าลองเป็นการไถนา ที่มา: สมุทคุปติ์ พร้อมคณะ (2533, น. 11) นอกจากนี้ลักษณะพฤติกรรมต่าง ๆ การเล่นสนุกสนานตลกโปกฮา การร้องล าท าเพลง ฟ้อนร าอย่างสนุกสนานประกอบกับเสียงกลอง แคน หรือ ฆ้อง การดื่มสุรา อย่างหนัก การล้อเล่น อย่างรุนแรงโดยไม่ถือโกรธกัน การแต่งกายและการแสดงออกที่ผิดกับเพศและวัย พฤติกรรม ที่สวนทางกับบรรทัดทางสังคมนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องยืนยันถึงพฤติกรรมที่ได้รับอนุญาตในบริบท ของพิธีกรรมเท่านั้นและการแสดงออกดังกล่าวในทางสังคมศาสตร์อธิบายว่าอาจจะเป็นไปได้ ที่ผู้คนในสังคมได้รับความตึงเครียดกดดันจากกฎระเบียบ จากแบบแผนในชีวิตประจ าวัน เช่น การเคารพและเชื่อฟังผู้อาวุโส การปกปิดหรือข้อห้ามต่าง ๆ เกี่ยวกับการแสดงออกทางเพศ
40 ซึ่งบรรทัดฐานของสังคมอีสานบางส่วน เราสามารถพิจารณาได้จาก ผะหยา หรือ ผญา หรือสุภาษิต ที่ใช้ในการอบรมสั่งสอนที่คนอีสานสืบทอดกันมา เช่น เป็นญิงนี่ธรรมเนียมให้มันคล่อง ตีนผมให้หล่ าเกี้ยงตีนสิ่นในหล่ าเพียง (เป็นสตรีนั้นกริยามารยาทควรเรียบร้อย) เป็นสาวนี้ธรรมเนียมให้คือไก่ เมี้ยนไข่ไว้ดีแล้วจั่งค่อยไป (เป็นหญิงควรเอาอย่างไก่ ดูแลรักษาความเป็นระเบียบถี่ถ้วนแล้วจึงไป) เป็นญิงขอให้เป็นญิงแท้ อย่าเป็นญิงมักง่าย ยิงให้ยิงแท้ๆ แนแล้วจั่งค่อยยิง (เกิดเป็นหญิงให้เห็นว่าเป็นหญิงแท้) เป็นซายขอให้เป็นซายแท้ อย่าเป็นทรายแกมหินแห่ ทรายกะทรายแท้ๆ ตมนั้นอย่าให้มี(เกิดเป็นชายต้องเป็นชายชาตรี) ภาพที่ 7 หาบอวัยวะเพศชายและหญิงซึ่งสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ ที่มา: ประตูสู่อีสาน (2564, ออนไลน์) สุริยา สมุทคุปติ์ และคณะ, (2533, น. 10) สัญลักษณ์ส าคัญในบุญบั้งไฟของชาวอีสานนั้น ซึ่งบทความที่กล่าวถึง นั้นเริ่มจากวัสดุต่าง ๆ 1) อวัยวะเพศชายที่จ าลอง ซึ่งท าขึ้นมาเพื่อประกอบในขบวนแห่บุญบั้งไฟจากรูปจ าลอง มักจะท าจากไม้เนื้ออ่อนที่มีน าหนักเบาและง่ายต่อการตัด สลักลวดลายเช่น ไม้งิ้ว จากนั้นก็ตกแต่ง ด้วยสีที่ให้ความรู้รุนแรง ฉูดฉาด เช่น สีแดง สีเขียว และสีด า บางกรณีก็อาจจะทาสีหรือตกแต่งด้วย การคาดผ้าแดงที่ส่วนปลายของอวัยวะเพศจ าลองนั้น โดยทั่วไปชาวอีสานจะเรียกว่า “บักแบ้น” หรือที่ในภาษาไทยกลางเรียกว่า “ปลัดขิก” ในบุญบั้งไฟชาวบ้านจะท า“บักแบ้น” หลายขนาดตั้งแต่ ขนาดเท่าไมโครโฟน ไปจนถึงขนาดใหญ่จนใช้ไม้คานหาบ หรือใช้คนสองคนหามก็มีและ“บักแบ้น” ก็เป็นสัญลักษณ์ที่ส าคัญที่สุดในพิธีนี้
41 2) ตุ๊กตาชาย-หญิงในท่าร่วมเพศ ชาวบ้านท ามาจากวัสดุชนิดเดียวกันกับ“บักแบ้น”คือไม้ เนื้ออ่อนสลักและตกแต่งเป็นตุ๊กตาชาย หญิงในท่าร่วมเพศที่แสดงให้เห็นถึงอวัยวะเพศอย่างชัดเจน และพยายามตกแต่งให้เหมือนจริง มากที่สุด เช่นตกแต่งตุ๊กตาผู้หญิงด้วยการแต่งหน้า ทาปาก ด้วยสีแดง ทาขอบตาสีเขียว น าเอาเส้นผมของคนที่ตัดทิ้งแล้วมาตกแต่งเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะ ทางเพศที่ชัดเจน เอาเศษผ้าหรือกางเกงชั้นในจริง มาสวมให้ตุ๊กตานั้น เป็นต้น โดยสัญลักษณ์ จ าลองชนิดนี้ ชาวบ้านจะท าปุ่มกดพิเศษที่แขนหรือที่ขาของตุ๊กตาของเพศชาย และใช้เชือกดึง หรือกระตุกในตุ๊กตานั้นให้เคลื่อนไหวไปมาขึ้นลงได้ ในลักษณะที่เหมือนพฤติกรรมจริงของมนุษย์ 3) การดัดแปลงสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับอวัยวะเพศและการร่วมเพศในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ในบุญบั้งไฟของชาวบ้านบ้านสาวะถี อ าเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้ดัดแปลงเป็นกล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายโทรทัศน์ที่ท าด้วยไม้ มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมตามยาวขนาดเท่า ๆ กับกล้องถ่ายรูป จริงแล้วท าสลักไม้ที่เลื่อนเปิด – ปิด ได้ไว้ด้านหน้าของกล้อง ลักษณะเหมือนชัตเตอร์ของกล้องถ่ายรูป ภายในกล้องก็จะท าเป็นตุ๊กตาชายหญิงในท่าร่วมเพศเป็นตุ๊กตาขนาดเล็ก แต่ก็สามารถเห็นได้ชัดเจน ว่าเป็นรูปตุ๊กตาที่ท าด้วยไม้และเป็นรูปเพศชาย หญิงที่ไม่สวมใส่เสื้อผ้า อยู่ในท่าก าลังมีเพศสัมพันธ์กัน อยู่ ชาวบ้านก็ใช้กล้องแสดงการถ่ายรูปด้วยกล้องชนิดนี้ในขบวนแห่ และพอเปิดสลักหน้ากล้องกลับ เห็นเป็นรูปตุ๊กตาอย่างชัดเจน โดยทั่วไปนั้นมักจะละเล่นควบคู่กับการสัมภาษณ์ตามที่ชาวบ้านเห็น ในสถานีโทรทัศน์ชาวบ้าน “บักแบ้น” แทนไมโครโฟน 4) ตุ๊กตาสัตว์ในท่าร่วมเพศ ชาวบ้านเรียกว่า “ลิงเด้าไม้” เพราะส่วนมากชาวบ้านจะท าเป็น รูปลิงเพศผู้ แสดงเป็นอวัยวะเพศอย่างชัดเจน โดยท ามาจากไม้เนื้ออ่อน (ไม้งิ้ว) เช่นเดียวกัน แล้วทาสี ด าตามล าตัว ทาสีแดงที่อวัยวะเพศ และที่ใบหน้าตุ๊กตาลิงนี้มักจะถูกตอกตะปูติดไว้กับไม้ไผ่ที่ยาว ประมาณ 2-2.5 เมตร ขนาดของล าไผ่ ชาวบ้านจะเลือกขนาดที่พอเหมาะมือ ไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไป เพื่อความสะดวกถือไปมา ร่วมกับขบวนแห่ “ลิงเด้าไม้”มีลักษณะเช่นเดียวกับตุ๊กตาชาย หญิงในท่าร่วมเพศ ซึ่งชาวบ้านจะสลักไว้ที่แขนและขาแล้วใช้เชือกโยงเพื่อจะให้ลิงอยู่ในท่าเคลื่อนไหว ซึ่งภาษาอีสานเรียกกิริยาเช่นนี้ว่า “เด้า” 5) รูปทรงของบั้งไฟและการตกแต่งบั้งไฟประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวบั้งไฟหรือกระบอก ไม้ไผ่ที่บรรจุดินปืนและส่วนหางที่ท าจากไม้ไผ่ที่ยาวเรียวและตรง ยาวประมาณ 5-7 เมตร ท าหน้าที่ ให้การลอยตัวในอากาศจริง ๆ แม้ว่าบั้งไฟจะไม่มีลักษณะที่เกี่ยวกับเพศตรงข้าม แต่ทางสัญลักษณ์ แล้วรูปทรงที่ยาวเรียว บรรจุด้วยเชื้อดินปืนที่เป็นพลังในการขับดันและการตกแต่งด้วยรูปสัตว์ เช่น พญานาค เราอาจจะถือได้ว่าบั้งไฟเป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงอวัยวะเพศ ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ของ บุญบั้งไฟส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมของผู้ชายจึงผู้ได้ว่าเพศชายมีบทบาทเป็นผู้น า จากการศึกษาพบว่าสัญลักษณ์ส าคัญในบุญบั้งไฟความอุดมสมบูรณ์การน าเอาอวัยวะเพศ จ าลองของชาย-หญิง (Phallic Symbol) น าออกมาแห่แหนกันอย่างสนุกสนาน และพิธีนี้เพื่อความ เจริญงอกงามเป็นสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิตที่มีขึ้นเพื่อก่อให้เกิดการสืบต่อความเจริญงอกงามเป็น
42 ศูนย์กลางการก่อก าเนิด และความเจริญงอกงามของธรรมชาติ แต่ก็จะท าได้โดยสมบูรณ์ เมื่อมีการประสานสัมพันธ์กับท้องฟ้า ให้ฟ้าฝนตกลงมา ท าให้ก าเนิดสรรพสิ่งอันเป็นธรรมชาติ ได้ทั้งมวล ดังนั้นการแสดงออก ค าพูด รวมทั้งสัญลักษณ์ เช่น “บักแบ้น” หรือ “ลิงเด้าไม้” 4. ความหมายและความส าคัญของประเพณีบวชควายหลวง ความหมายและความส าคัญของประเพณีพิธีกรรมบวชควายหลวง คือมีบรรพบุรุษของพื้นที่ แห่งนี้มีนามว่าปู่เถ้า เป็นชายชาตรีที่นิยมการท่องเที่ยวการต่อสู้ และการคบค้าสมาคมกับสหาย มากมาย เมื่อได้เกิดเหตุเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ยกทัพมาโจมตีนครราชสีมา จากนั้นเมื่อกองทัพ จากกรุงเทพมหานคร ยกมาสมทบตีโต้จนสามารถล้อมเวียงจันทน์ไว้ได้แม่ทัพสยามจึงออกประกาศ หาบุคคลที่มีฝีมือจากเมืองต่าง ๆ เข้าร่วมรบกับสหายอาทิเช่น ปู่เถ้า ปู่หาร และปู่จัน ยกกองทัพทหาร ไปคนละประมาณ 500 คน รวมเป็นทหารประมาณ 1,500 คน ออกเดินทางไป 3 วัน 3 คืน และได้ไป พักอยู่ที่เมืองหนองคาย 1 คืน พอรุ่งเช้าจึงยกทัพข้ามแม่น้ าโขง ทหารจ านวน 1,500 คน บุกเข้าโจมตี เมืองเวียงจันทน์เข้าไปได้พวกข้าศึกยิงปืน ในที่สุดเวียงจันทน์จึงแตกยับเยิน ต่อมาเมื่อเสร็จศึกแล้ว จึงมีการปูนบ าเหน็จ ความดีความชอบให้ปู่เถ้าเป็นหลวงศักดานุราชเจ้าเมือง ปู่จันเป็นอุปฮาดน าก าลัง มาสร้างบ้านค าแมด และบ้านเขือง ตามชื่อต้นไม้ที่พบมากในแต่ละบริเวณ โดยที่บ้านค าแมดมีการ เกณฑ์ผู้คนมาขุดดินไปถมให้สูงขึ้นเรียกว่าโนนสูงมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนดินที่ขุดอยู่ในบริเวณที่ตั้ง หอประชุมสภาต าบลบ้านแมดปัจจุบันเรียกว่าหนองหลุม จากนั้นท่านจึงได้ตัดเสาไม้แดงขนาดใหญ่มา ปลูกหอโฮง โดยทาด้วยสีแดงตลอดต้นเสา ผ้าม่านด้านหลังให้เป็นสีแดง จึงได้เรียกว่าโฮงแดง ถัดออกไปทางทิศตะวันตก และไม่ไกลนักได้สร้างเป็นบ้านพักขึ้นภายหลัง แต่ละหลังมีชื่อดังนี้ หลังที่ 1 บ้านพักของจ่าเลี้ยงช้างเลี้ยงม้านุ่งผ้าลาย หลังที่ 2 บ้านพักของจ่าเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย นุ่งผ้าฝ้าย หลังที่ 3 บ้านพักของจ่าท าไร่ท านาปลูกกล้วยอ้อย นุ่งผ้าด าน้อย ที่ย้อมหม้อนิล ด้วยถัดออกไป ให้สร้างโฮงช้าง โฮงม้า ได้ 2 หลัง และ เล้าข้าว 1 หลัง ขนาดใหญ่ใส่ข้าวได้หลายหาบ ปู่เถ้ามีนาอยู่ประมาณ 500 ไร่ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหอไปประมาณ 500 เมตร จากนั้นบริวารของปู่เถ้า และปู่จัน ได้ขยับขยายไปก่อสร้างหมู่บ้านต่าง ๆ อาทิ บ้านแมด และบ้านเขือง หลังจากที่สร้างบ้านแมดเสร็จประมาณ 15 ปี ปู่เถ้าได้ป่วยกะทันหันจนถึงแก่ความตาย โดยไม่ได้ตั้งเจ้าเมืองสืบต่อเมืองค าแมดจึงตกอยู่ภายใต้อ านาจของเมืองธวัชบุรีเพราะหลังจากปู่เถ้า สิ้นชีวิตที่อยู่อาศัยของท่าน กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เรียกว่าหอเจ้าปู่ พื้นที่บริเวณหอเจ้าปู่ มีการสร้างศาลา
43 ภาพที่ 8 การท าพิธีบวชควายหลวงหรือการบวชนาค ที่มา: ผู้วิจัย คอนกรีตครอบเสาไม้แดงซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเสาของโฮงเจ้าปู่ตั้งแต่ครั้งมีชีวิตอยู่ หลังจากหลวง ปู่เถ้าเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 30 ปี เกิดเหตุการณ์มีผีมาเข้าสิงผู้คน ผู้ที่ผีมาสิงเข้าคือชาวบ้าน และชาวบ้านผู้นั้นจะมีอาการไม่สบายเหมือนคนจะเป็นไข้ เมื่อคนจ านวนมากออกมาดู ก็ตะโกนว่า เอาเหล้ามาให้กูกิน จึงมีคนเอาเหล้ามา 1 ขวด แล้วตะโกนบอกให้คนเอาอาสนะกับผ้าแดงอีก พอเอาอาสนะกับผ้าแดงแล้ว คุณยายก้อนเอาผ้าแดงผูกศีรษะ แล้วจึงนั่งอาสนะแล้วยกเหล้า 1 ขวด มากินจนหมดเกลี้ยงไม่เหลือและไม่มีอาการมึนเมาเลย บางครั้งต้องสูบยามวนใบตองแห้ง แล้วตะโกน ประกาศออกมาว่า กูนี้คือหลวงปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง กูมีความประสงค์อยากจะได้ควายเพราะว่าควายกู ตายไปหมดแล้ว หลังจากนั้นชาวบ้านก็เรียกกันมาเพื่อมาดูประมาณ 6 - 7 คน รวมกับพ่อใหญ่ผิว หรือจ่าผิว ผู้ที่ผีเข้าสิงนั้นจึงร้องขึ้นว่า กูจะเอาบักผิวนี้แหละ กูจะมอบให้อีนี้เป็นคนบัวละบัดนับตั้งแต่ นี้ไป พอสั่งเสร็จคนที่ผีเข้าสิงก็อาเจียน 3 ครั้ง ก็บอกว่ากูจะกลับบ้านกูให้พวกมึงไปส่งกู พอสั่งเสร็จผู้ ถูกเข้าสิงก็เป็นปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิด (ปริญ รสจันทร์, 2560, น. 45-46) จากนั้นมาก็เกิดพิธีกรรม บวชควายหลวง ในชุมชนดังนี้ บ้านไผ่ บ้านหมูม้น หวายหลึม และบ้านเขือง โดยมีลักษณะและ ขั้นตอนของพิธีกรรมดังนี้ 1) องค์ประกอบประเพณีพิธีกรรมควายหลวงบ้านไผ่ 1.1) บุคลากร เฒ่าจ้ า เป็นผู้น าทางพิธีกรรม ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการติดต่อระหว่างคนบนโลกมนุษย์ กับผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ตา มีบทบาทหน้าที่ของเฒ่าจ้ าคือประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับ พิธีกรรมทางศาสนา ตลอดจนเกี่ยวข้องกับการประกอบประเพณีพิธีกรรมการบวชและลาสิกขา
44 ควายหลวง คุณสมบัติเป็นเพศชายที่มีอายุตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป และเป็นผู้ที่ชาวบ้านให้การยอมรับ นับถือและที่ชาวบ้านเสนอชื่อขึ้นมา วิธีคัดเลือกเฒ่าจ้ า และการเสี่ยงทาย โดยการเอาขวดเหล้าที่มี เหล้าพอประมาณ ผูกมัดด้วยด้ายให้เห็นชัดเจนว่า น้ าเหล้าอยู่ระดับใด แล้วน าไปเสี่ยงทายที่ดอนปู่ตา แม่บัวระบัดบ้านไผ่คุณสมบัติจะเป็นภรรยาของเฒ่าจ้ า โดยมีหน้าที่จัดเตรียมขันธ์ 5 ให้ควาย หลวง และขันธ์ 8 ให้เฒ่าจ้ าทุกครั้งที่มีการประกอบประเพณีพิธีกรรมควายหลวงพร้อมเครื่องเซ่นไหว้ ควายหลวง เป็นบุคคลที่ได้รับคัดเลือกมาจากบรรพบุรุษที่เคยเป็นควายหลวงมาก่อน เป็นร่าง ทรงให้ผีปู่ตาเข้าสิงสถิตเพื่อท าหน้าที่ในการละเล่นเป็นควายหลวงในประเพณีบุญบั้งไฟ กลุ่มผู้ถือเครื่องศาสตราวุธ ได้แก่ผู้เลี้ยงควายมีหน้าที่ต้องควบคุมพฤติกรรมของควายหลวง หลังจากผ่านพิธีกรรมการบวชควายแล้ว "ควายผีปู่ตาเป็นชายวัยฉกรรจ์มีความอดทนในการวิ่งไล่ตาม ควายหลวงตลอดเวลา ผู้ถือปืนและดาบผู้ถือดาบคณะควายเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยทั่วไป กลุ่มนักดนตรี ประกอบด้วย ผู้ตีกลองร ามะนาอีสาน ผู้ตีฆ้อง ตีจอบ มีหน้าที่บรรเลงดนตรี ด้วยจังหวะที่เร้าใจ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นเพศชาย ต้องสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่บรรเลงดนตรีมา ก่อน กลุ่มผู้ถือเครื่องมือจับปลา มีหน้าที่แสดงเป็นหญิงประกอบอาชีพท านา หาบหรือหิ้วตะกร้า ห่อข้าว และฟ้อนร าตามจังหวะดนตรีคุณสมบัติชายหรือหญิงก็ได้และสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษ 1.2 ขั้นตอนประเพณีพิธีกรรมบวชควายหลวงบ้านไผ่ ประเพณีพิธีกรรมบวชควายหลวงบ้านไผ่ แบ่งออกได้ 3 วัน แบ่งออกได้ 1. วันออกหาเซิ้ง 2. วันรวม 3. วันจุดบั้งไฟ วันที่ 1 ซึ่งเป็น วันออกเซิ้ง เวลาประมาณ 09.00 น. คณะควายหลวงและเฒ่าจ้ าเตรียมเครื่อง บูชาเครื่องเซ่นไหว้เพื่อกระท าพิธีกรรมบอกกล่าวผีปู่ตาว่าคณะควายหลวง ซึ่งขอให้ปกป้องคุ้มครอง เฒ่าจ้ าน าเศษน้ าเหล้าแจกจ่ายสมาชิกทุกคนจากนั้นจะออกเดินทางไปเซิ้งหาปัจจัยตามหมู่บ้าน ใกล้เคียงตลอดจนเขตอ าเภอเมืองเป็นเวลา 10 วัน วันที่ 2 วันรวม ประมาณเวลา 07.00 น. คณะควายหลวงได้มารวมกันที่บ้านผู้ใหญ่บ้านซึ่งท า หน้าที่ผู้ถือปืน คณะควายหลวงทุกคนจะช่วยกันจัดเตรียมเครื่องดนตรีและบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน เครื่องแต่งกายควายหลวง แม่เป้งซึ่งทุกคนแต่งกายให้เรียบร้อยทุกอย่าง ผู้บรรเลงดนตรีจะเริ่มบรรเลง เพื่อส่งสัญญานให้ผู้คนเข้าร่วมพิธีกรรมด้วย จากนั้นจะพากันแห่ไปบ้านเฒ่าจ้ า โดยแม่บัวระบัด จัดเตรียมเครื่องบูชาและเครื่องเซ่นไหว้แล้วแห่ไปยังดอนปู่ตา เมื่อถึงดอนปู่ตาจะรวมเครื่องอุปกรณ์ ต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน ซึ่งในเวลาประมาณ 09.00 น. ได้ท าพิธีบอกกล่าวโดยเทเหล้าใส่แก้ว 2 แก้วถวาย ผีปู่ตา จุดเทียน 2 ดอก ธูป 1 ดอก ถวายขันธ์ 8 แล้วกล่าวบทสวดมนต์พร้อมบอกกล่าวแก่ผีปู่ตา ต่อจากนั้นเฒ่าจ้ ากระท าพิธีเสี่ยงทายฟ้าฝน โดยเอาเหล้าขาวมัดด้วยด้ายอยู่ระดับน้ าเหล้า เสี่ยงทาย ว่าหากปีนี้ฝนจะดีขอให้น้ าเหล้ามีระดับสูงขึ้น หากฝนจะแล้งก็ขอให้น้ าเหล้าลดระดับลง ผู้ที่เป็นควาย หลวงจะถือเอาขันธ์ 5 ยกขึ้นเหนือศีรษะ พร้อมกล่าวอัญเชิญวิญญาณผีปู่ตา ให้เข้าสิงสถิตในตัวควาย
45 หลวง พร้อมถวายขันธ์ 5 ให้ผีปู่ตา นักดนตรีก็เริ่มการบรรเลงทุกคนลุกขึ้นฟ้อนร ากับควายหลวงแห่ รอบศาล 3 รอบ จากนั้นแห่ไปรวมกันที่วัดบ้านไผ่แห่รอบศาลาวัด 3 รอบแล้วแยกย้ายกันกลับบ้าน วันบวชควายหลวง เวลาประมาณ 09.00 น. เฒ่าจ้ า และแม่บัวระบัดเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ พร้อมคณะควายหลวงที่ดอนปู่ตา น าอุปกรณ์เครื่องดนตรีเครื่องมือจับปลา เครื่องศาตราวุธ รวมกัน หน้าศาลปู่ตาเฒ่าจ้ าจึงได้ท าพิธีบอกกล่าว วันที่ 3 วันแห่บั้งไฟ คณะควายหลวงจะไปร่วมประกอบประเพณีบุญบั้งไฟ เมื่อถวายเสร็จ จะรวมกันอีกครั้งประมาณ 13:00 น. เพื่อตั้งขบวนบั้งไฟ เมื่อทุกคนมาพร้อมกันมีการแห่บั้งไฟรอบ หมู่บ้าน ส่วนคณะควายหลวงได้รวมกันที่บ้านผู้เลี้ยงควายหลวงจะบรรเลงดนตรีพร้อมกับเคลื่อน ขบวนน าบั้งไฟเล็กแห่ไปยังที่จุดบั้งไฟเพื่อจุดถวายผีปู่ตา 2 บั้ง จากนั้นคณะควายหลวงพร้อมเฒ่าจ้ า จะรีบเดินทางมาลาสิกขาที่ดอนปู่ตาอีก อันเป็นการสิ้นสุดในพิธีกรรมบวชควายหลวง 2) องค์ประกอบประเพณีพิธีกรรมควายหลวงบ้านหมูม้น 2.1) บุคลากร เฒ่าจ้ า เป็นผู้น าทางพิธีกรรม ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการติคต่อระหว่างคนบนโลกมนุษย์ กับผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ตา มีบทบาทหน้าที่ของเฒ่าจ้ าคือประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับ พิธีกรรมทางศาสนา ตลอดจนเกี่ยวข้องกับการประกอบประเพณีพิธีกรรมการบวชและลาสิกขาควาย หลวง คุณสมบัติจากการคัดเลือก ซึ่งเฒ่าจ้ าจะใช้วิธีเสี่ยงทายด้วยไม้ไผ่ขนาด 1 วา และน าไปเสี่ยงทาย ที่ดอนปู่ตา โดยมีค ากล่าวว่าหากจะให้บุคคลใดเป็นเฒ่าจ้ าขอให้บุคคลนั้นวัดไม้แล้วมีขนาดยาวกว่าไม้ ที่ตัวเองวัดบุคคลที่จะถูกเสนอชื่อเข้าไปเสี่ยงทายนั้นเป็นคนดีเป็นศูนย์รวมชาวบ้านได้อย่างดีภาษา ท้องถิ่นว่าตุ้มลูกตุ้มหลานได้ แม่ออกค้ า ซึ่งเป็นกลุ่มแม่บ้านทั่วไปที่อาวุโส รวมกลุ่มกันปฏิบัติตนด้วยการสละแรงกาย ก าลังทรัพย์ให้กับวัดในหมู่บ้านอย่างสม่ าเสมอ มีหน้าที่จัดเตรียมเครื่องบูชาเครื่องเซ่นไหว้ให้เฒ่าจ้ า และควายหลวง เมื่อประกอบพิธีกรรมบวชควายหลวง ควายหลวง มีหน้าที่เป็นร่างทรงให้บรรพบุรุษผีควายเข้าสิงสถิต คุณสมบัติของผู้ที่จะถูก คัดเลือกควายหลวง เป็นเพศชายที่ได้รับเลือกด้วยวิธีการเสี่ยงทายด้วยไม้ที่มีขนาดยาว 1 วา ผู้กระท า พิธีกรรมเสี่ยงทายคือเฒ่าจ้ าเสี่ยงทายต่อหน้าศาลปู่ตา ว่าใครจะได้เป็นขอให้ไม้มีความยาวกว่าขนาด ของวา ถ้าบุคคลที่ถูกเสนอชื่อมีประมาณ 7 คนใครไม่มีความเหมาะสม ขอให้ความยาวของวายาวกว่า ความยาวของไม้ที่ส าคัญควายหลวงบ้านหมูม้นไม่จ าเป็นต้องมีถิ่นก าเนิดในบ้านหมูม้นหากย้ายมาตั้ง ถิ่นฐานในหมู่บ้านก็อาจได้เป็นควายหลวง โดยการเสี่ยงทายได้จึงไม่จ าเป็นว่าต้องสืบสายมาจากบรรพ บุรุษที่เคยเป็นควายหลวงมาก่อน กลุ่มผู้ถือศาสตราวุธประกอบด้วย ผู้เลี้ยงควายผู้ถือมีดโต้ท าหน้าที่ก ากับดูแลพฤติกรรม ควายหลวงหลังจากเข้าพิธีกรรมการบวชเป็นควายหลวงแล้ว คุณสมบัติเป็นชายที่ถูกเสนอชื่อจากการ คัดเลือกเป็นควายหลวงนั่นเองเมื่อไม่ได้รับเลือกเป็นควายหลวงชายอีก 6 คน ที่เหลือจะแบ่งหน้าที่
46 เป็นผู้เลี้ยงควายและหน้าที่อื่น ๆ แทน ถือมีดขนาดใหญ่คอยควบคุมพฤติกรรมของควายหลวงสะพาย ย่าม ผู้ถือปืนผู้ถือดาบคุณสมบัติเป็นชายที่ถูกเสนอชื่อให้เป็นควายหลวงแต่ไม่ได้รับคัดเลือกจะถือปืน หรือดาบแทนแสดงบทบาทเป็นผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยป้องกันภัยให้คณะควายหลวง กลุ่มนักดนตรีประกอบด้วย ผู้ตีกลองร ามะนาอีสาน ผู้ตีฉาบคุณสมบัติเป็นชายมีใจรักการ ดนตรีมีหน้าที่หลักและมือขวาตีกลองให้เป็นจังหวะโดยผู้ตีฉากจะเป็นผู้ก ากับจังหวะเสียงกลอง กลุ่มผู้ถือเครื่องมือจับปลาประกอบด้วย แม่นางหว่าคุณสมบัติเป็นเพศชายที่ถูกเสนอชื่อ เป็นควายหลวงหากไม่ได้รับเลือกแต่จะถูกมอบหมายให้แม่นางหว่าและจะต้องเป็นคนรักความ สนุกสนานและการฟ้อน แสดงบทบาทที่เป็นหญิงที่มีอาชีพเป็นชาวนา ใช้อุปกรณ์คือเครื่องมือจับปลา เช่น สวิงและกางร่ม 2.2) ขั้นตอนประเพณีพิธีกรรมควายหลวงบ้านหมูม้น ประเพณีพิธีกรรมบวชควายหลวงบ้านหมูม้น แบ่งออกได้ 3 วัน แบ่งออกได้ 1) วันออก เซิ้งหาปัจจัย 2) วันรวม 3) วันจุดบั้งไฟ วันออกเซิ้งหาปัจจัย ภาษาท้องถิ่นว่า มื้อออกเล่น ซึ่งเป็นก่อนงานบุญบั้งไฟประมาณ 3 วัน บ้านหมูม้นจะประกอบพิธีกรรมบวชควายหลวงในวันเดียวกันนี้คณะควายหลวงจึงต้องแต่งกายให้อยู่ ในสภาพเรียบร้อยทุกอย่างที่บ้านควายหลวงก่อนจึงแห่ไปบ้านเฒ่าจ้ าเพื่อเตรียมเครื่องบูชาเครื่องเซ่น ไหว้ไปประกอบประเพณีพิธีกรรมควายหลวงที่ดอนปู่ตา คณะควายหลวงจะแห่เข้าไปในบริเวณ วัดศรีวราหเขตเพื่อบอกกล่าวแก่เจ้าอาวาสและบอกกล่าวศาลผีปู่ตาที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัด จึงจะออกเซิ้งหาปัจจัยตามหมู่บ้านใกล้เคียง คณะควายหลวงจะกลับเข้าหมู่บ้านในตอนเย็น ก่อนวันรวม วันรวมในตอนเช้า คณะควายหลวงจะร่วมกันที่บ้านควายหลวงเตรียมอุปกรณ์และแต่งกาย อย่างพร้อมเพียงเมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. คณะควายหลวงจะบรรเลงดนตรีและฟ้อนร า ไปบริเวณวัดเพื่อน าขบวนบั้งไฟน้อยแห่รอบหมู่บ้าน โดยมีชาวบ้านมารวมขบวนแห่มากมาย และสนุกสนานในวันแห่บั้งไฟบ้านหมูม้น เริ่มเวลาประมาณ 08.00 น. คณะควายหลวงเตรียมพร้อม ออกไปตั้งรับขบวนบั้งไฟที่เข้าร่วมประกวดแข่งขันบริเวณหน้าโรงเรียนบ้านหมูม้น พร้อมน าขบวน บั้งไฟแห่เข้าไปในบริเวณวัด จากนั้นจะเป็นการประกวดบั้งไฟ คณะควายหลวงก็แยกย้ายกันกลับบ้าน จะรวมพลกันอีกครั้งในวันจุดบั้งไฟ วันจุดบั้งไฟ โดยขณะควายหลวงแห่ไปในบ้านเฒ่าจ้ าเพื่อน าเสลี่ยงไปอัญเชิญผีปู่ตา จากดอนปู่ตาไปยังสถานที่ที่จุดบั้งไฟ เพื่อรอดูการจุดบั้งไฟจนแล้วเสร็จ คณะควายหลวงจึงจะน า เสลี่ยงเข้าไปเก็บไว้ในบริเวณวัด แล้วคณะควายหลวงจึงจะให้เฒ่าจ้ าพาไปบอกกล่าวผีปู่ตาเพื่อลา สิกขาและเป็นอันเสร็จพิธีกรรมบวชควายหลวงจึงแยกย้ายกันไปประกอบอาชีพต่อไป
47 3) องค์ประกอบประเพณีพฤติกรรมควายหลวงบ้านหวายหลึม 3.1) บุคลากร เฒ่าจ้ าเป็นผู้ประกอบประเพณีพิธีกรรมควายหลวง และเป็นผู้น าทางพิธีกรรมเฒ่าจ้ า บ้านหวายหลึมคนปัจจุบันเป็นผู้หญิง ได้รับการคัดเลือกจากชาวบ้านเนื่องจากเป็นบุตรสาวของเฒ่าจ้ า คนเดิมที่เสียชีวิตไปแล้วเป็นผู้ที่ได้สืบทอดและมีประสบการณ์ตรงจากบิดาและชาวบ้านยอมรับนับถือ เป็นจุดศูนย์รวมของชาวบ้านมีความซื่อสัตย์รับท าหน้าที่ นอกจากนี้เป็นผู้เตรียมเครื่องบูชา และเครื่องเซ่นไหว้เอง ทุกครั้งที่มีประเพณีบุญบั้งไฟบ้านหวายหลึมต้องไปจ้างควายหลวง มาจากหมู่บ้านอื่น และต่อมาใน พ.ศ. 2525 ชาวบ้านคิดว่าควรมีควายหลวงในหมู่บ้านของตนเอง จึงไปขออุปกรณ์ในการประกอบพิธีกรรมมาจากบ้านอื่น ได้แก่กลองร ามะนา กะโหล่ง เขาควาย และขอให้อุปัชฌาย์บวชควายหลวงหมู่บ้านอื่นมาประกอบพิธีกรรมให้ในปีแรก จากนั้นชาว บ้านหวายหลึมจึงกระท าพิธีกรรมบวชควายหลวงเองตั้งแต่ครานั้นเป็นต้นมา ควายหลวงมีหน้าที่เป็นร่างทรงให้ผีปู่ตาเข้าสิงสถิต เพื่อท าหน้าที่ในการละเล่นควายหลวง ในประเพณีบุญบั้งไฟคอยแห่น ากระบวนบั้งไฟคณะต่าง ๆ คุณสมบัติเป็นชายที่ได้มาด้วยวิธีการเสี่ยง แม่นางด้งเนื่องจากยังไม่เคยมีใครในหมู่บ้านสืบเชื้อสายมาจากควายหลวงมาก่อน เฒ่าจ้ าและคนแก่ คนเฒ่าในหมู่บ้านจึงเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆเพื่อท าพิธีกรรมเสี่ยงแม่นางด้งที่บริเวณลานกว้างกลาง หมู่บ้าน ชาวบ้านชายหญิงทั้งหนุ่มและแก่ต่างมองดูมากมาย เมื่อพิธีกรรมเริ่มแม่นางด้งก็เริ่มไปชน ชายฉกรรจ์ที่ไปมุงดูพิธีกรรมนั้นเอง ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้เลยบ้านหวายหลึมเลยมีควายหลวง เป็นครั้งแรกและตัวแรกของหมู่บ้าน ควายหลวง คุณสมบัติเป็นเพศชาย ชาวบ้านคัดเลือกผู้เลี้ยงควายซึ่งเป็นบิดาของผู้เป็นควาย หลวงนั้นเองเพื่อดูแลบุตรชายผู้เป็นควายหลวงด้วยความเป็นห่วง กลุ่มนักดนตรีประกอบด้วย ผู้ตีกลองร ามะนา ผู้ตีฉาบ ผู้ตีพังฮาด เป็นกลุ่มที่รับสมัครมาจาก บุคคลที่มีใจรักการดนตรีและการละเล่นในประเพณีพิธีกรรมควายหลวง มีหน้าที่บรรเลงดนตรี กลุ่มผู้ถือจับปลาประกอบด้วย แม่นางว่าเป็นเพศหญิงมีใจรักสนุกสนานมีการฟ้อนร าแสดงถึง การประกอบอาชีพการท านา โดยแบกตะกร้าใส่ห่อข้าวไปนากลางร่ม มีหน้าที่ต้องเข้าร่วมพิธีกรรม บวชควายหลวงบริเวณ 3.2) ขั้นตอนประเพณีพิธีกรรมบุญบวชควายหลวงบ้านหวายหลึม ประเพณีพิธีกรรมบวชควายหลวงบ้านหวายหลึม แบ่งออกได้ 3 วัน แบ่งออกได้ 1) วันออก เล่นหรือวันเซิ้งหาปัจจัย 2) วันบวชควายหลวง 3) วันแห่บั้งไฟ วันออกเล่นหรือวันเซิ้งหาปัจจัยประมาณ 13.00 น. เฒ่าจ้ าเตรียมเครื่องบูชาเซ่นไหว้พร้อม คณะควายหลวงไปรวมกันที่ดอนปู่ตาเพื่อกระท าพิธีบอกกล่าวแก่ผีปู่ตาว่าคณะควายหลวงจะออกหา เซิ้งไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงเป็นระยะเวลา 3 วัน ขอให้คุ้มครองป้องกันภัยอันตรายเสร็จแล้ว นักดนตรีก็เริ่มบรรเลงพร้อมกันฟ้อนร าแห่รอบศาลปู่ตา 3 รอบ จึงออกเดินทางไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ
48 คณะควายหลวงย้อนกลับมาหมู่บ้านตัวเองในตอนเย็นของก่อนวันประเพณีพิธีกรรมควายหลวงเพื่อ จัดเตรียมเครื่องใช้ต่าง ๆ ในการบวชควายหลวง วันบวชควายหลวง คณะควายหลวงบรรเลงดนตรีที่บ้านผู้เลี้ยงควายหลวงเมื่อทุกคนพร้อม แล้วจะเคลื่อนขบวนแห่มาบ้านเฒ่าจ้ าที่เตรียมเพื่อบูชาเซ่นไหว้เพื่อกระท าพิธีการบวชควายหลวง คณะควายหลวงรวมเครื่องอุปกรณ์ต่างๆรวมกันเฒ่าจ้ าจุดธูป เทียน บูชาผีปู่ตาและเทเหล้าขาวถวาย 2 แก้ว พร้อมบอกกล่าวแก่ผีปู่ตาว่าวันนี้จะกระท าประเพณีพิธีกรรมบวชควายหลวงอัญเชิญดวง วิญญาณเข้าสิงสถิตในร่างควายนี้ขอให้ควายหลวงเล่นได้ตลอด ไม่เหนื่อยล้ากับการละเล่นใน ประเพณีบุญบั้งไฟที่จะกระท าขึ้น เพื่อขอฟ้าขอฝนให้ถูกต้องตามฤดูกาลขอให้ผีปู่ตาจงคุ้มครองป้องกัน ลูกหลานทุกคนกล่าวเสร็จแล้วเฒ่าจ้ าเป็นผู้สวมเขาและกะโหล่งให้ควายหลวง จากนั้นจะช่วยการแต่ง กายให้ควายหลวงและแม่นางหว่าจนแล้วเสร็จ จึงบรรเลงดนตรีแห่รอบศาลปู่ตา 3 รอบ แล้วเคลื่อน ขบวนเข้าไปในวัดบังบด เพื่อบอกกล่าวแก่เจ้าอาวาสและบอกกล่าวผีปู่ตาในขณะในบริเวณวัดและ คณะควายหลวงออกสูงตามบ้านต่าง ๆ ในบ้านหวายหลึม วันแห่บั้งไฟเวลาประมาณ 08.00 น. คณะควายหลวงต้องเข้าร่วมน าขบวนแห่ผ้าป่าสามัคคี รอบบ้านเมื่อถวายเสร็จจะรวมกันอีกครั้งประมาณ 13.00 น. เพื่อตั้งขบวนบั้งไฟมาประกวดบั้งไฟ ขบวนฟ้อนร าและการเอ้บั้งไฟเมื่อทุกคนมาพร้อมกันมีการแห่บั้งไฟรอบบ้าน ส่วนคณะควายหลวง รวมกันที่บ้านผู้เลี้ยงควายหลวงบรรเลงดนตรีเคลื่อนขบวนน าบั้งไฟเล็กแห่ไปยังที่จุดบั้งไฟเพื่อจุดถวาย ผีปู่ตา 2 จากนั้นคณะควายหลวงพร้อมเฒ่าจ้ าจะรีบเดินทางมาลาสิกขาที่ดอนปู่ตาอีกครั้งโดยเป็นผู้ ถอดเขากะโหล่งถือว่าสิ้นสุดภาระของควายหลวงบ้านหวายหลึม 4) องค์ประกอบประเพณีพิธีกรรมบวชควายหลวงบ้านเขือง 4.1) บุคลากร เฒ่าจ้ าผู้ประกอบประเพณีพิธีกรรมควายหลวงจะแตกต่างจากหมู่บ้านอื่น คือมีหน้าที่เป็น อุปัชฌาย์ผู้บวชควายหลวงต้องดื่มเหล้า เป็นผู้ดูแลเก็บรักษาเครื่องดนตรีเครื่องแต่งกายควายหลวง เครื่องศาสตราวุธที่ใช้ในประกอบพิธีบวชควายหลวงทั้งหมด คุณสมบัติเป็นชายถูกเสนอชื่อคัดเลือก เป็นเฒ่าจ้ า มีการประชุมกันที่ศาลาวัดคล้ายกับการเลือกผู้แทนใช้การออกเสียงลงมติแบบเปิดเผยคือ นับคะแนนจากผู้ที่ยกมือสนับสนุน อุปัชฌาย์ผู้ดูแลกลองจะเป็นผู้กล่าวคาถาเลี้ยงกลองร ามะนา ชาวบ้านเขืองนิยมเรียกว่า กลอง เลง มีหน้าที่กล่าวคาถาเลี้ยง ก่อนน าไปประกอบพิธีกรรมควายหลวงทุกครั้งของแต่ละวันในบุญ ประเพณีบุญบั้งไฟ ปัจจุบันผู้กล่าวคาถาเลี้ยงกลองบ้านเขือง ได้ศึกษาคาถาเลี้ยงกลองสืบทอดมาจาก บิดาที่เสียชีวิตแล้วคาถานี้จะให้บุคคลทั่วไปน ามาเล่นไม่ได้ต้องปฏิบัติได้เฉพาะการประกอบพิธีกรรม บวชควายหลวง และชาวบ้านที่เชื่อกันว่ากลองผีบรรพบุรุษ ที่ใช้สืบเนื่องกันมายาวนานนับร้อยปี แม่บัวระบัดมีจ านวน 3 คน ต้องมีหน้าที่หลักอีก 5 คนท าหน้าที่ผู้ช่วยแม่บัวระบัดคุณสมบัติ ผู้สืบทอดจากบรรพบุรุษเป็นแม่บทความมาก่อนมีหน้าที่หลักแบ่งออกได้ดังนี้
49 1) เตรียมเครื่องบูชาในแต่ละวัน 2) เตรียมเครื่องเซ่นไหว้ในแต่ละวัน 3) เตรียมสถานที่ประทับของปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง 4) เตรียมเครื่องแต่งกายควายหลวงและเป็นผู้แต่งกายให้ควายหลวง 5) เตรียมเครื่องแต่งกายแม่นางว่าและผู้ที่แต่งกายให้แม่นางว่า 6) เตรียมเครื่องแต่งกายอุปัชฌาย์บวชนาค 7) เตรียมเครื่องแต่งกายผู้เข้าบวชนาค 8) เตรียมเครื่องเสียงทายคือ บั้งไฟ 6 บั้ง เพื่อจุดถวาย 9) เตรียมสถานที่ประกอบพิธีกรรมบวชควายหลวง 10) ท าหน้าที่ประสานงานกับเฒ่าจ้ าและคณะควายหลวงตลอดวันงาน อุปัชฌาย์ผู้บวชนาคเป็นบุคคลเดียวกันกับที่เฒ่าจ้ า เพียงแต่เปลี่ยนบทบาทหน้าที่ และเครื่องแต่งกายเมื่อจะเข้าพิธีกรรมการบวชนาค เป็นอุปัชฌาย์ประกอบพิธีกรรมการบวชนาคทั้งพา นาคกล่าวหรือขานนาค สอนให้ปฏิบัติตัวดีธรรมขณะที่ด ารงตนเป็นนักบวช ควายหลวงมีหน้าที่เป็นร่างทรงให้ปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงเข้าสิงสถิตในร่างกายควายหลวงบ้านเขือง จึงเป็นควายผีเจ้าเมืองชาวบ้านนิยมเรียกว่าควายญ่าพ่อหลวง คุณสมบัติควายหลวงบ้านเขือง เป็นชายที่ได้รับคัดเลือกโดยเฒ่าจ้ าและชาวบ้านเสนอชื่อของบุคคลที่จะถูกคัดเลือกซึ่งเป็นคนเกิดที่ บ้านเขืองเท่านั้นประมาณ 5 ชื่อท าเป็นฉลากน าไปเสี่ยงทายที่ดอนปู่ตาว่าหากมีจะให้บุคคลใดเป็น ควายหลวงก็ขอให้จับได้ชื่อบุคคลที่ต้องการเมื่อได้ชื่อบุคคลแล้วเฒ่าจ้ าและคณะควายหลวง จะจัดเตรียมขัน 5 ไปหาชายบุคคลดังกล่าวพร้อมให้น้อมรับเป็นควายหลวง กลุ่มผู้ถือเครื่องศาสตราวุธ ได้แก่ ผู้เลี้ยงควายถือมีดโต้ผู้ถือปืนผู้ถือหอก ผู้ถือดาบ ส าหรับ ผู้เลี้ยงควายคุณสมบัติเป็นชายที่สืบทอดสายมาจากบรรพบุรุษเป็นผู้เลี้ยงควายมาก่อนมีหน้าที่ เป็นผู้ก ากับพฤติกรรมของควายหลวงหลังจากผ่านพิธีกรรมการบวชควายแล้วจะมีอาการดุ ผู้ถือดาบ คอยรักษาความสงบเรียบร้อยให้คณะควายหลวง ผู้ถือหอกจะท าหน้าที่ถือหอกพร้อมหามเสลี่ยง อัญเชิญปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง คุณสมบัติเป็นชายสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ถือหอกมาก่อน เปรียบเสมือนเป็นองครักษ์ กลุ่มนักดนตรีประกอบด้วย ผู้ตีกลองร ามะนา ผู้ตีฉาบ ผู้เป่าเขาควาย มีคุณสมบัติสืบเชื้อสาย มาจากบรรพบุรุษที่เคยเป็นนักดนตรีในคณะควายหลวงมาก่อน ผู้ที่ถือปลา หรือแม่นางหว่าที่มีหน้าที่แสดงถึงบทบาทของหญิงประกอบอาชีพการท านา ต้องหาบตะกร้าที่บูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียนและห่อข้าว พร้อมร่ายร าไปมาในคณะควายหลวงคุณสมบัติ เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เป็นแม่นางหว่ามาก่อน
50 กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมควายหลวงประกอบด้วยแม่บัวระบัดกลอง ผู้เข้าบวชนาค ผู้ชกมวย แม่นางเซิ้ง แม่นางร า แม่นางวัว คณะควายหลวงในวัยเด็ก มีคุณสมบัติที่สืบเชื้อสาย มาจากบรรพบุรุษ ผู้ข้าบวชนาคมีหน้าที่แสดงบทบาทให้เป็นผู้บวชนาคคือกล่าวค าบวชนาคในประเพณีพิธีกรรม ควายหลวงวันจุดบั้งไฟและต้องสะพายบาทเหมือนบวชนาคจริงคุณสมบัติเป็นชายที่สังกัดอยู่กับ คณะควายหลวงเท่านั้นหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเช่นผู้ถือหอก ผู้ถือปืน ผู้ชกมวยจ านวน 2 คนมีหน้าที่ชกมวยถวายปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงในวันบวชควายหลวงวันแห่และ วันจุดมีคุณสมบัติโดยเป็นผู้ที่อยู่ในคณะควายหลวง คณะแม่นางเซิ้งมีหน้าที่ เซิ้งหาปัจจัยคุณสมบัติเป็นเพศหญิงหรือชาย คณะแม่นางวัวก็สิ้นสุดหน้าที่คุณสมบัติเป็นชายทั้งหมด 10 คนต้องสืบเชื้อสายมาจาก บรรพบุรุษแม่นางวัว ซึ่งหน้าที่ของคณะแม่นางวัวดังกล่าวเปรียบเสมือนพาหนะของปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง คณะควายหลวงวัยเด็กแต่ละกลุ่มจะแสดงหน้าที่การเซิ้งหาปัจจัยเพื่อประโยชน์ของกลุ่มจาก การท าทุกปี อุปัชฌาย์เจ้าอาวาสวัดมีหน้าที่ต้องมาเป็นประธานร่วมในขบวนบั้งไฟวันแห่บั้งไฟอุปัชฌาย์ทุก รูปจะต้องนั่งบนเสลี่ยงที่ถูกหามตามหลังเสลี่ยงปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงเพื่อแห่เข้าวัดไปจัดงานบุญบั้งไฟ คุณสมบัติเป็นพระภิกษุระดับเจ้าอาวาสของวัดในหมู่บ้านเขืองที่มีอยู่ 4.2 ขั้นตอนประเพณีพฤติกรรมควายหลวงบ้านเขือง วันออกเซิ้งหาปัจจัยเวลา 08.00 น. ที่บ้านเฒ่าจ้ าคณะควายหลวงและแม่บัวระบัด กระท าการบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียนและบรรเลงเครื่องดนตรีเพื่อจะเคลื่อนขบวนไปยังบ้านแม่บัวระบัด ควายที่เตรียมเครื่องบูชาเครื่องเซ่นไหว้ผีปู่ตาเตรียมสถานที่รับรองปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง และคณะควาย หลวงมาถึงจะกองอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมกันไว้หน้าสถานที่รับรองปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง อุปชฌาย์ผู้เลี้ยงควาย จะท าหน้าที่เทเหล้าใส่ขันธ์ให้สมาชิกไปกรวดน้ าเหล้า เพื่อบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์บริเวณใต้ต้นไม้ ขนาดใหญ่ ในบริเวณบ้านแม่บัวระบัดควาย และเทเหล้าใส่ขันธ์อีกครั้งเพื่อเอาดอกไม้ขาวจุ่ม น้ าเหล้าปะพรมใส่กองอุปกรณ์พร้อมกล่าวคาถาเลี้ยงกลองสมาชิกขานรับด้วยค าว่า ซา ในท้ายวรรค แต่ละวรรคจนเสร็จ จากนั้นอุปัชฌาย์ผู้เลี้ยงกลองเทน าเหล้าให้สมาชิกจิบเหล้าทุกคนลุกขึ้นบรรเลง ดนตรีพร้อมกันฟ้อนร าถวายปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง โดยการแห่รอบสถานที่รับรอง 3 รอบ จึงเคลื่อนขบวน ไปยังดอนปู่ตาเพื่อกระท าพิธีบอกกล่าว แก่ผีปู่ตาก่อนที่คณะควายหลวงจะออกเซิ้งหาปัจจัยตาม หมู่บ้านใกล้เคียงและกลับเข้าหมู่บ้านในตอนวันบวชควายหลวง
51 ภาพที่9 ลักษณะการฟ้อนของควายหลวงที่ก าลังคารวะเจ้าปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง ที่มา: สุนตัน บ ารุงเอื้อ (2539) วันบวชควายหลวงเวลาประมาณ 08.00 น. ของวันบวชควายหลวงคณะควายหลวง พร้อมเฒ่าจ้ าปัจจุบันรวมกลุ่มกันที่หน้าบ้านพ่อใหญ่สิง พรรณนาศูนย์อดีตเฒ่าจ้ าที่เสียชีวิตแล้ว เพื่อกระท าพิธีบอกกล่าวด้วยการน ารูปภาพพ่อใหญ่สิง พรรณนาศูนย์วางไว้บนหมอนขิด บูชาด้วย ดอกไม้ธูปเทียนเหล้าขาว 1 ขวด เฒ่าจ้ าปัจจุบันบอกกล่าวจนแล้วเสร็จจากนั้นอุปัชฌาย์เลี้ยงกลองจะ กล่าวคาถาเลี้ยงกลองเมื่อกล่าวจบจะเคลื่อนขบวนแห่มายังบ้านแม่บัวระบัดควายหลวงที่จะเตรียม สถานที่รับรองปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงสถานที่บวชควายหลวงเครื่องบูชาเครื่องเซ่นไหว้จะเพิ่มส ารับอาหาร คาว ส ารับอาหารหวานด้วย เครื่องแต่งกายควายหลวง เครื่องแต่งกายแม่นางหว่า ทุกคนน าเครื่อง ดนตรีและเครื่องศาสตราวุธมารวมกันผู้จะเข้าบวชเป็นควายหลวงเตรียมดอกไม้ขาว 1 คู่ เพื่อบอก กล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะเข้าในการบวชควายหลวง วันนี้ผู้เลี้ยงกลองเทน้ าเหล้าให้คณะควายหลวงบอก กล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใต้ต้นไม้ขนาดใหญ่บริเวณบ้านแม่บัวระบัดควาย 2 คนแรกจะแต่งกายให้ควายหลวง เริ่มด้วยการผูกเขาให้ติดกับผมควายหลวงให้แน่นพอกด้วยแป้งกระป๋องที่ผสมน้ าเหนียวข้นจึงเอาสีด า ทาใบหน้าและล าตัวแม่บัวระบัดอีก 1 คน จะแต่งกายให้แม่นางหว่าขณะแต่งกายให้ควายหลวงและ แม่นางว่านั้นคณะควายหลวงจะบรรเลงประโคมตลอดเวลาเมื่อแต่งกายเสร็จควายหลวงจะแสดง อาการไม่อยู่นิ่งวิ่งไล่ผู้คนไปทั่ว ผู้เลี้ยงควายหลวงจะต้องคอยเอากะโหล่ง หลอกล่อให้ควายหลวงเข้า มาหา จากนั้นจึงสวมกะโหล่งให้ควายหลวงขณะเดียวกันแม่บัวระบัดควายจะเทน้ า 1 หาบ ส าหรับให้ ควายหลวงเกือบกลิ้งลง และผู้คนต่างก็จะให้ปัจจัยแก่ควายหลวง เมื่อคณะดนตรีบรรเลงทุกคนลุกขึ้น และร่ายร าถวายปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงด้วยการแห่รอบสถานที่รับรอง 3 รอบและแห่ไปศาลผีปู่ตาแห่รอบ 3 รอบ จากนั้นจัดมวย 1 คู่ชกถวาย 3 ยกมีผลของการแพ้ชนะจากนั้นคณะควายหลวงพ่อออกเซิ้งหา ปัจจัยไปตามบ้านจนค่ ามืด
52 วันแห่บั้งไฟซึ่งเป็นวันที่ 3 ของขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมบวชควายหลวงคณะควายหลวง และคณะแม่นางวัวพร้อมกับเฒ่าจ้ าทุกคนแต่งกายครบเรียบร้อยทุกคนก็ออกเดินเท้าพร้อมหามเสลี่ยง ที่จัดเครื่องใช้ส าหรับปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงไปยังศาลปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงบ้านแมด โดยมีเฒ่าจ้ า ของบ้านแมด คอยรับอยู่ที่ศาล เวลาประมาณ 10.00 น. คณะควายหลวงและคณะแม่นางวัว กองอุปกรณ์เครื่อง ดนตรีเครื่องศาสตราวุธรวมกันเฒ่าจ้ าบ้านแมดถวายขันธ์ 5 เหล้า 1 ขวดจุดธูปบูชาพร้อมบอกกล่าว ปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงเจ้าเฒ่าจ้ าและคณะควายหลวง คณะแม่นางวัว มาอัญเชิญไปร่วมประกอบพิธีกรรม ควายหลวงในบุญบั้งไฟของบ้านเขือง ขณะเดียวกันสมาชิกควายหลวงจากบ้านเขืองจุดบั้งไฟถวาย เพื่อเป็นการเสี่ยงทาย 2 บั้ง และคณะควายหลวงหามเสลี่ยงอัญเชิญแห่รอบ 3 รอบ คณะควายหลวง ชกมวยถวาย 3 ยก คนมีแพ้มีชนะเมื่อเคลื่อนขบวนกลับมายังวัดศรีจันทร์ประมาณเวลา 11:00 น. คณะควายหลวงอัญเชิญเสลี่ยงขึ้นวางบนขาตั้งที่เตรียมไว้บริเวณวัดบรรเลงดนตรีแห่รอบ 3 รอบ พร้อมชกมวยถวายเคลื่อนกระบวนแห่ไปยังศาลพิธีบูชาแห่รอบ 3 รอบ คณะควายหลวงแยกย้ายกันไป พักผ่อนคณะแม่นางวัวเป็นอันสิ้นสุดหน้าที่แยกย้ายกลับไปเปลี่ยนเสื้อผ้าเมื่อได้เวลาประมาณ 14:00 น. คณะควายหลวงจึงจะได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้น าขบวนคณะบั้งไฟต่าง ๆ ไปร่วมเข้าประกวด ไปรวมกันที่วัดโดยมีการอัญเชิญเสลี่ยงปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงตามด้วยขบวนเสลี่ยงของเจ้าอาวาสทั้ง 3 วัด ในบ้านเขืองตามด้วยขบวนบั้งไฟพร้อมนางร าทุกคนจากนั้นคณะควายหลวงจะน าเสลี่ยงไปจัดวางที่ตั้ง ดั้งเดิม วันจุดบั้งไฟหมายถึงเมื่อมีการบวชพระแล้วจะเรียกบุคคลนั้นว่า ซา มีการส่งน้ าอบน้ าหอมให้ ซาเป็นวันที่คณะควายหลวงและแม่บัวระบัดควายจะต้องกระท าพิธีกรรมการบวชนาค เวลา 08.00 น. ที่บ้านแม่บัวระบัดควายได้จัดเตรียมสถานที่รับรองปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง เครื่องบูชาเครื่องเซ่นไหว้ ประกอบด้วยเหล้า 2 ขวดส ารับอาหารคาวหวานและเครื่องแต่งกายควายหลวงแม่นางหว่า ผู้เข้าบวช นาคเริ่มด้วยควายหลวงที่ยังมิได้ถอดเขานับตั้งแต่เข้าพิธีบวชควายหลวงถือดอกไม้ 1 คู่และบอกกล่าว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ใต้ต้นไม้ขนาดใหญ่อุปัชฌาย์ผู้ดูแลกลองเทเหล้าให้คณะควายหลวงไปกวาดน้ าเหล้าเพื่อ บอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผู้อาวุโสในคณะควายหลวงนั่งแล้วเอาเท้าคีบกิ่งใบไม้สมมุติเป็นดอกไม้ให้ผู้เข้า บวชนาคผู้เข้าบวชนาคจะเอาเท้าคีบรับเอาเช่นกันจึงเอามือหยิบมาพนมขึ้นแล้วลุกขึ้นอุปัชฌาย์ผู้บวช นาคจะถามผู้บวชนาคว่าพวกที่มาบวชนี้มีลูกมีเมียหรือยังถามไม่มีครับ ผู้บวชนาคตอบถ้าบวชต้องไม่มี พฤติกรรมนอกลู่นอกทาง จากนั้นแม่บัวระบัดควายจะเอาเสลี่ยงหามอุปัชฌาย์ผู้บวชดควายเข้าไปใน วัดศรีจันทร์เอาเสลี่ยงปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงไปยังดอนปู่ตาวางเสลี่ยงปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงกับเสลี่ยงอุปัชฌาย์ผู้ บวชนาคจะถอดเครื่องแต่งกายที่เป็นผ้าสังฆาฏิออกเอาผ้าขาวม้าพาดบ่าเปลี่ยนบทบาทเป็นเฒ่าจ้ า เพื่อประกอบพิธีกรรมบอกกล่าวแก่ผีปู่ตาว่าวันนี้จะกระท าการจุดบั้งไฟแข่งขันขึ้นสูง จึงได้เอาบั้งไฟ เล็กมาจุดถวายเสี่ยงทาย 2 บั้ง บั้งที่ 1 ให้น้ าอุดมสมบูรณ์หรือไม่ถ้าบั้งไฟแสดงว่าน้ าฝนไม่ดีถ้าบั้งไฟ ขึ้นแสดงว่าฝนฟ้าอุดมสุขสมบูรณ์ดีลูกบ้านหลานเมืองอยู่ดีบั้งที่ 2 เสี่ยงทายว่าบ้านเมืองจะสงบร่มเย็น ดีไหม จากนั้นคณะควายหลวงออกมาหามเอาเสลี่ยงปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงไปยังที่ที่จุดบั้งไฟแห่รอบ 3 รอบ
53 วางเสลี่ยงในที่เหมาะสมพร้อมอัญเชิญให้ชมการแข่งขันจุดบั้งไฟ เมื่อเสร็จงานแล้วอัญเชิญให้ปู่เถ้าเจ้า โฮงแดงเสด็จกลับเอง คณะควายหลวงเอาบั้งไฟจุดถวายที่ส าหรับจุดบั้งไฟ 2 บั้ง เมื่อเริ่มจุดบั้งไฟ แข่งขันได้ประมาณ 3 บั้ง คณะควายหลวงก็แห่ไปยังดอนผีปู่ตาเพื่อให้เฒ่าจ้ าท าพิธีลาสิกขาให้กับ ควายหลวงถอดเครื่องแต่งกายออกเป็นการสิ้นสุดหน้าที่ควายหลวงในประเพณีบุญบั้งไฟบ้านเขือง (กฤษณา กุลทรัพย์ศักดิ์, 2540, น. 45-112) ภาพที่ 10 ควายหลวงร่ายร าและชาวบ้านน าเงินมาใส่ปากเปรียบเสมือนเอาหญ้าให้ควาย หลวงกินซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่ากระบวนฟ้อนหากินหญ้า ที่มา: ผู้วิจัย 5. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 5.1 ทฤษฎีโครงสร้างทางวัฒนธรรม จากทฤษฎีโครงสร้างทางวัฒนธรรมของ (เลวี-สเตร้าส์ Le’vi-Strauss. 1966) ชาว ฝรั่งเศส โดยมองว่าในระบบความคิดของมนุษย์ซึ่งประกอบไปด้วยสมอง ประสาท จิตใจและต่อม ต่าง ๆ เป็นระบบ ท าให้สามารถมาท างานได้เองโดยอัตโนมัติและเป็นไปอย่างมีเหตุมีผลในรูปของ ตรรกศาสตร์ (Logic) จะเห็นความคิดของมนุษย์เป็นรูปธรรมได้โดยทางระบบศิลปะความขลังและ ความศักดิ์สิทธิ์ ระบบ ศาสนา ภาษาและระบบสัญลักษณ์ทุก ๆ ระบบ นอกจากนี้มนุษย์ยังมีความคิด ในเชิงเปรียบเทียบเป็น คู่ ๆ และมีลักษณะเป็นคู่ในขั้วตรงกันข้าม ซึ่งมีลักษณะอธิบายหรือส่งเสริม สนับสนุนซึ่งกันและกัน มนุษย์จะรู้จักขั้วหนึ่งได้ก็ต้องรู้จักอีกขั้วหนึ่งเสมอ ขั้วหนึ่งจะอธิบายอีกขั้วหนึ่ง มนุษย์จึงมีการ เลียนแบบธรรมชาติ การจัดรูปแบบสังคมที่มนุษย์อาศัยอยู่ทุกวันนี้เป็นคู่ ๆ ระบบดังกล่าวนัก มานุษยวิทยาเรียกว่า “ระบบคิดแบบคู่ตรงข้าม” หรือ “Binary Opposition” หมายถึงลักษณะที่ตรงข้าม จึงจะเข้าใจได้ ระบบความคิดดังกล่าวเป็นรูปแบบจ าลองของสังคมมนุษย์
54 การศึกษาเชิงโครงสร้าง (Struturalism) เกี่ยวกับคติชนวิทยาซึ่งเป็นนิยายปรัมปรา (Myth) ของเลวี-สเตร้าส์ มองว่านิยายปรัมปราเป็นการแสดงออกถึงกระบวนการทางความคิดมีฐานะเป็น เสมือนศาสตร์ หรือปรัชญาของชนดั้งเดิมมีตรรกะที่ซับซ้อน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากพลังทาง สติปัญญา และความคิดของมนุษย์ ซึ่งเขาเชื่อว่ามนุษย์มีลักษณะความคิดที่เป็นสากลไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ย่อมมี “human mind” เดียวกันนั่นคือ เลวี-สเตร้าส์ ยอมรับในกฎที่เป็น “fundamental law of human mine” ซึ่งมองว่ามนุษย์มีความคิดมีคุณสมบัติอย่างเดียวกันมีศักยภาพเท่าเทียมกัน ในบริบทการศึกษาเรื่อง “วัฒนธรรม” จะพบว่าความคิดของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูป ของพิธีกรรมนั้นเป็นไปอย่างมีเหตุผลในรูปของตรรกศาสตร์และมีลักษณะเป็นคู่ตรงข้ามที่ไม่ขัดกัน แต่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพื่ออธิบายถึงลักษณะที่ตรงกันข้ามจึงจะสามารถเข้าใจได้การศึกษาโลกทัศน์ เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผีของชนเผ่า และวิธีคิดของชุมชนที่เรียกว่า “ภูมิปัญญา” โดยมิได้แยกเอาวิธี คิดด้านภูมิปัญญาออกไปจากคุณธรรม การอธิบายความรู้ร่วมกับธรรมชาติแวดล้อมอย่างประสาน กลมกลืนกันถือเป็นส่วนส าคัญในตัวความรู้ทางนิเวศของมนุษย์ในสังคมชนเผ่าที่พึ่งพาธรรมชาติ ในการเลี้ยงชีพปรัชญาในเรื่องความสมดุล การประสานกลมกลืนและความเคารพที่มนุษย์มีต่อผี และธรรมชาติเป็นวิธีคิดที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งความรู้ในลักษณะนี้มีความผันแปรไปตามอายุ เพศ และสถานภาพของคนในสังคมนั้น แนวคิดโครงสร้างทางวัฒนธรรม เป็นการศึกษาระบบความคิดของคนแต่ละ กลุ่มชาติพันธุ์ ที่มองสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างและได้น าแนวคิดดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการท าความเข้าใจระบบ ความคิดของชาวบ้าน เข้าใจสิ่งแวดล้อมของพวกเขา ศึกษาความรู้และรวบรวมข้อมูล ใน เชิงประจักษ์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและระบบนิเวศ ศึกษาวัฒนธรรมของชุมชน โดยยืนอยู่บนพื้นฐาน แนวความคิดที่ว่า “หากจะเข้าใจระบบความคิดของชาวบ้าน ก็ต้องเข้าใจวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ของเขา” (สมจิตร พ่วงบุตร, 2531, น. 86) ในการวิจัยเรื่องรูปแบบและกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวงในประมวลผลทฤษฎี ทางวัฒนธรรมด้านแนวคิดเพื่อเป็นแนวทางในการใช้สติปัญญา และความคิดของมนุษย์ ซึ่งเขาเชื่อว่า มนุษย์มีลักษณะความคิดที่เป็นสากลไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ซึ่งมองว่ามนุษย์มีความคิดมีคุณสมบัติ อย่างเดียวกันมีศักยภาพเท่าเทียมกัน ส่วน“วัฒนธรรม” ความคิดของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูป ของพิธีกรรม ความเชื่อเรื่องผีของชนเผ่า และวิธีคิดของชุมชนที่เรียกว่า “ภูมิปัญญา” โดยมิได้แยก เอาวิธี คิดด้านภูมิปัญญาออกไปจากคุณธรรมภาวะเงื่อนไขที่จ าเป็นคือสิ่งส าคัญต่อการด ารงชีวิตอยู่ ของสังคม และองค์ประกอบต่าง ๆ ของวัฒนธรรมทุกส่วนท าหน้าที่สนองความต้องการจ าเป็น ของมนุษย์และวัฒนธรรม ทัศนะของหน้าที่นิยมที่มีต่อวัฒนธรรมเน้นหลักส าคัญที่ว่าประเพณีทุกอย่าง วัฒนธรรมทุกอย่าง ความคิดทุกความคิด ความเชื่อทุกความเชื่อของวัฒนธรรม สนองตอบความ ต้องการจ าเป็น หรือท าหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง มีหน้าที่จะต้องท าหรือเป็นตัวแทนของส่วนที่จะขาด
55 เสียไม่ได้ในวัฒนธรรมนั้น ซึ่งแสดงให้เห็นตามหลักและหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่พิธีกรรมความเชื่อนี้ และในประมวลทฤษฎีแนวคิดเพื่อเป็นแนวทางในการตั้งค าถามและตรวจสอบข้อมูล 5.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวสรีระตามธรรมชาติ แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเกิดจากธรรมชาติ ความเชื่อ สภาวะแวดล้อม และสังคม ที่ผู้วิจัยน ามาใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ทฤษฎีเกี่ยวกับศาสตร์ทางการเคลื่อนไหวของไทย เครือจิต ศรีบุญนาค (2550, น. 38-39) กล่าวว่า การรับรู้เกี่ยวกับความเป็นมา ลักษณะความ งาม องค์ประกอบ และหลักการจัดองค์ประกอบของศาสตร์การเคลื่อนไหว เป็นพื้นฐานที่ผู้คิด ประดิษฐ์การแสดงจะต้องรู้ เพื่อเป็นแนวทางการคิดประดิษฐ์ท่าร าได้อย่างถูกต้องและอยู่ในขอบเขต ของการแสดงนั้น ๆ ความเป็นมาของศาสตร์การเคลื่อนไหว การก าเนิดศาสตร์ทางการเคลื่อนไหว อาจเกิดจากธรรมชาติ ความเชื่อ สภาวะแวดล้อม และสังคม ดังนี้ 1) ธรรมชาติ กิริยา ท่าทาง การยืน เดิน นั่ง การแสดงอารมณ์ ดีใจ เสียใจ สนุก ทุกข์ พัฒนา ปรับตัวเกิดสุนทรียภาพ อุปนิสัย การอบรมสั่งสอน ประสบการณ์การศึกษา 2) ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ การเซ่นสรวงบูชาผี หรือเทพ ความเชื่อในการรักษาโรคภัยต่าง ๆ ฯลฯ ศาสนา แนวคิด หลักธรรม ค าสอนต่าง ๆ 3) สภาวะแวดล้อมและสังคม ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพ ลักษณะความงามในศาสตร์ทางการเคลื่อนไหวที่เกิดจากธรรมชาติ ความเชื่อ พิธีกรรม และประเพณี เมื่อนักนาฏยประดิษฐ์น ามาพัฒนาเป็นศาสตร์ทางการเคลื่อนไหว จะเกิดความงามตาม ธรรมชาติ ความงามที่ปรุงแต่ง และความงามที่สร้างสรรค์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการคิดประดิษฐ์นั้น พัฒนา หรือสร้างสรรค์ในแนวทางใด ในการคิดประดิษฐ์การแสดงจะต้องค านึงถึงองค์ประกอบของศาสตร์ การเคลื่อนไหว ในด้านเรื่องราวสาระส าคัญที่ต้องการน าเสนอให้ปรากฏเพื่อถ่ายทอดความคิด และจินตนาการ แนวคิดหลักในการจัดการแสดง เนื้อหา ท่าทาง คือ การแสดงกิริยาอาการที่สามารถ ถ่ายทอดเรื่องราวตามความคิดจินตนาการได้อย่างเหมาะสม ที่ผู้ชมสามารถรับรู้ได้ตามที่ผู้น าเสนอ (ผู้สื่อสาร) ต้องการ การแต่งกายนั้นส าคัญต่อการเคลื่อนไหว เพราะเป็นการสื่อสารเรื่องราว รสนิยม ความคิด จินตนาการ สามารถสร้างการรับรู้ให้คล้อยตามและขัดแย้ง รวมทั้งสนับสนุนการรับรู้ได้ ซึ่งถ่ายทอดผ่านการใช้สี เส้น รูปแบบ รูปทรง โดยใช้หลักเอกภาพ สมดุล และจุดสนใจในการจัด องค์ประกอบเข้าร่วมให้เกิดความสมบูรณ์ จังหวะ ท านองอย่างเหมาะสม เช่น ช้า เร็ว รุกเร้า ส่วนท่วงท านองเป็นเรื่องของลีลาที่แตกต่างกันเป็นส่วนส าคัญในการเคลื่อนไหวของผู้แสดง แสดงให้เห็นถึงความอ่อนโยน ตื่นเต้น เร้าใจ หวาดกลัว เคร่งขรึม สนุกสนาน ร่าเริง รวมถึง
56 การสะท้อนอารมณ์ สถานที่ การแสดงต้องสอดคล้องเหมาะสมกับสถานที่ จึงจะท าให้ผู้ชมสร้างการ รับรู้ให้เกิดขึ้นได้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ หลักการจัดองค์ประกอบการเคลื่อนไหวจะต้องค านึงถึงความมีเอกภาพ ความสมดุล และจุด สนใจ ซึ่งจะท าให้งานสมบูรณ์ เป็นการคิดประดิษฐ์ชุดการแสดงโดยอาศัยท่าร าที่เป็นแบบแผนจาก นาฏศิลป์แบบฉบับหรือนาฏศิลป์จากในราชส านัก ซึ่งมีการก าหนดนาฏยศัพท์และภาษาท่าไว้ “นาฏยศัพท์” คือ ศัพท์ที่ใช้ในภาษาทางนาฏศิลป์เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ทั้งนามศัพท์ (วง จีบ ก้าวเท้า ยกเท้า ฯลฯ) กิริยาศัพท์ (ดันวง ลดวง ทรงตัว หักข้อ หลบเข่า กันเข่า ฯลฯ) ศัพท์เบ็ดเตล็ด (เดินมือ ลักคอ ฯลฯ) “ภาษาท่า”หรือร าตีบท คือ การแสดงท่าทางแทนค าพูดให้มีความหมาย รวมถึง การแสดงอารมณ์ แบ่งเป็น กิริยามือแบ มือจีบ มือชี้ นาฏยศัพท์และภาษาท่าดังกล่าว ผู้วิจัยน ามาใช้ เป็นแนวทางในการวิเคราะห์รูปแบบกระบวนการและขั้นตอนการฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ชัยยนต์ เพาพาน (2533) ศึกษาเรื่อง การล าผีฟ้าในเขตอ าเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จากการศึกษา สรุปได้ว่า การล าผีฟ้ามีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของสังคมทางด้านคติความเชื่อ พื้นบ้าน นั่นคือ เชื่อว่าผีท าให้เจ็บป่วยและรักษาการเจ็บป่วยได้ ความเชื่อด้านพุทธศาสนาชาวบ้าน คือ เชื่อว่าบาป บุญ นรก สวรรค์ มีผลต่อการรักษาการเจ็บป่วย ความเชื่อเกี่ยวกับเครื่องรางของขลัง นั่นคือ เชื่อว่าวัตถุมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์สามารถขับไล่ผีได้และความเชื่อเกี่ยวกับปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติว่าสามารถน ามาท านายการเจ็บป่วยของคนไข้ได้ ความเชื่อเหล่านี้หมอล าผีฟ้าได้น ามา เกื้อหนุนในพิธีกรรมการรักษาของตน หมอล าผีฟ้ามีบทบาทในสังคมหมู่บ้าน ทั้งบทบาทโดยตรง คือการรักษาการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการกระท าของผี และบทบาททางอ้อมคือ บทบาท ทางด้านการสร้างเอกภาพในสังคม ได้แก่การสร้างความสามัคคีปรองดองด้วยการว่ากล่าวตักเตือน ไกล่เกลี่ยการทะเลาะวิวาท การแย่งชิงมรดก การขัดแย้งเป็นต้น บทบาททางด้านการควบคุม พฤติกรรมสังคมให้เป็นไปตามบรรทัดฐาน ได้แก่การน าคติเกี่ยวกับผีมาก าหนดและควบคุมพฤติกรรม ชาวบ้านมิให้ประพฤตินอกฮีตครองของหมู่บ้าน เช่น ผีปู่ตา ผีฟ้า ผีไร่ผีนา ผีบ้านผีเรือนสามารถท าให้ เจ็บป่วยได้ บทบาททางด้านการคลี่คลายปัญหาในสังคม ได้แก่การขจัดปัญหาและลดภาวะความตึง เครียดในสังคม เช่น ปัญหาการเจ็บป่วย ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และปลุกปลอบให้ก าลังใจ ต่อชาวบ้านและบทบาทต่อผู้ที่นับถือผีฟ้า ได้แก่ บทบาทที่มีต่อการด าเนินชีวิตครอบครัวของผู้นับถือ ผีฟ้า เช่น ห้ามกินอาหารมังสัง 10 อย่าง ห้ามกินอาหารที่บ้านงานศพ ห้ามลอดใต้ถุนห้องน้ า และมีกิจ ประเพณีในครัวเรือนต้องบอกกล่าวต่อผีฟ้า เช่น การแต่งงาน ท าบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น กฤษณา กุลทรัพย์ศักดิ์ (2540) ผลการศึกษาพบว่าการศึกษาประเพณีพิธีกรรมควายของชาว อีสาน มีความมุ่งหมาย 2 ประการคือ 1) ศึกษาองค์ประกอบและขั้นตอนในพิธีกรรมการบวชควายฮ้า 2) ศึกษาบทบาทหน้าที่ประเพณีพิธีกรรมการบวชควายฮ้าในวิถีชีวิตของชาวบ้านในต าบล หมูม้น
57 กิ่งอ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเพณีพิธีกรรมควายฮ้า เป็นพิธีกรรมย่อยส่วนหนึ่ง ในงานประเพณีบุญบั้งไฟ หรือบุญเดือนหกของชาวอีสาน ซึ่งเป็นการเตรียมท านา ประเพณีพิธีกรรม ควายฮ้ามีองค์ประกอบดังนี้1) ด้านบุคลากร 2) ด้านฤกษ์ยาม 3) ด้านสถานที่ประกอบพิธีกรรม 4. ด้านวัตถุสิ่งของ ขั้นตอนในประเพณีพิธีกรรมการบวชควายฮ้า เฒ่าจ้ าจะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ร่วมกับแม่บัวระบัดควาย ในการบวชควายฮ้าในวันรวมบริเวณศาลเจ้าพ่อโฮงแดงหรือศาลผีปู่ตา เพื่อเข้าร่วมขบวนแห่บั้งไฟในวันแห่บั้งไฟ และวันจุดบั้งไฟพร้อมลาสิกขาที่ศาลเจ้าพ่อโฮงแดง หรือศาลผีปู่ตา หลังมีการจุดบั้งไฟถวายเจ้าพ่อโฮงแดง พิธีกรรมและภาระหน้าที่ควายฮ้าสิ้นสุดลง บทบาทหน้าที่ประเพณีพิธีกรรมการบวชควายฮ้า ในวิถีชีวิตชาวบ้านในต าบลหมูม้นสะท้อนให้เห็นใน ด้านความเชื่อ ด้านอาชีพ ด้านศูนย์รวมจิตใจ ด้านนันทนาการในชุมชน และด้านบรรทัดฐานทางสังคม การท าพิธีกรรมควายฮ้าของชาวบ้านในต าบลหมูม้น กิ่งอ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการสร้าง ขวัญและก าลังใจในการประกอบอาชีพท านาของชาวบ้าน การเซิ้งประกอบขบวนควายฮ้า เป็นการให้ความรู้และสันทนาการที่มีผลต่อความร่วมมือเพื่อสร้างสันติสุขให้กับสังคม กีรติเปาริสาร (2560) ได้กล่าวถึง ลักษณะการร ายร่าที่ปรากฏในการประกอบพิธีกรรม ปัญโจลมะม็วด ว่ามีรูปแบบในการใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายประกอบเป็นโครงสร้างของท าร่า ไม่ว่าจะเป็น การใช้ศีรษะมีการเอียงไปทางซ้าย – ขวาและการก้มศีรษะ การใช้ล่าตัวที่มีการโน้ม ล าตัว ไปด้านหน้า การเอนล าตัวไปด้านหลัง การเอียงล าตัวไปด้านซ้าย – ขวาและการเหวี่ยงล าตัว การใช้ มือ – แขน มีรูปแบบการพนมมือ การจีบมือ การสลัดจีบ การม้วนมือ การตั้งวง การสอดสูง การสลัด มือ การแกว่งมือ - แขน การยก – ทิ้งไหล่ การก ามือและการตบมือ การใช้เท้า – ขา ไม่ว่าจะเป็นการ ก้าวเท้า การย่ าเท้า การถอนเท้าก้าวข้าง การกระโดด การจรดปลายเท้า การยกเท้าและการตบเท้า ซึ่งเป็นการแสดงออกด้วยท่าทางธรรมชาติที่อยู่ในห่วงอารมณ์แห่งความพึงพอใจโดยสามารถจ าแนก โครงสร้างท่าร าได้5 โครงสร้าง คือ 1) รูปแบบโครงสร้างท่าร า การเชิญวิญญาณ 2) รูปแบบโครงสร้าง ท่าร าการแต่งกาย 3) รูปแบบโครงสร้างท่าร าการใช้อาวุธ 4) รูปแบบโครงสร้าง ท่าร าตามความหมาย ของเพลงและตามจังหวะเพลง 5) รูปแบบโครงสร้างท่าร าเพื่อการรักษา ในการร าในแต่ละโครงสร้าง จะเป็นไปในท่าทางอิสระไม่มีท่าตายตัว (บรูน, 1976) ได้ศึกษาการเต้นร ากับศาสนา การศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาองค์ประกอบ ของการเต้นร าการละครและศาสนา มีความสัมพันธ์กันอย่างไร การเต้นร าแบบดั้งเดิมมีการรวม ท านองต่าง ๆ ใช้ส่วนประกอบในการเคลื่อนไหวและการไม่เคลื่อนไหว ส่วนการละครใช้ลักษณะ การด าเนินเรื่อง ขั้นตอน และความตื่นเต้นเร้าใจ (คาซิลแลนด์, 1977) ได้ท าการวิจัยเกี่ยวกับสไตล์การท าศิลปะในการเต้นข้อก าหนด ในการศึกษาการเต้น โดยท าในลักษณะการออกแบบการเต้นร าไปสอน เมื่อท าการสอนนักเรียนด้วย เพลงแจ๊สที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น ด้วยสไตล์การเต้นต่าง ๆ กัน ที่มีคุณภาพเข้าถึงอารมณ์ที่แตกต่าง
58 จากผลงานวิจัยข้างต้นผู้วิจัยได้น าแนวทางมาศึกษาและปรับใช้วิธีการศึกษารูปแบบและ องค์ประกอบงานประเพณีพิธีกรรมและการวิเคราะห์รูปแบบกระบวนฟ้อนในพิธีกรรมบวชควายหลวง ในประเด็นแรกรูปแบบและองค์ประกอบงานบุญบวชควายหลวงของพิธีกรรมเช่นเดียวกับการน าเสนอ วิจัยของชัยยนต์เพาพาน (2533) กฤษณา กุลทรัพย์ศักดิ์ (2540) และ ในประเด็นที่สองเกี่ยวข้องกัน กับ การละเล่น เต้น ฟ้อน ร า ที่ใช้ร่างกายเคลื่อนไหวแบธรรมชาติโดยไม่ปรุงแต่งขึ้น จากวิจัยของ กีรติ เปาริสาร (2560) Broun (1976) และ Casillan (1977) ซึ่งได้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเพื่อน ามา ปรับใช้ในของผู้วิจัยเรื่อง รูปแบบกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง สรุป แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่แสดงให้เห็นถึงกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการวิจัย เรื่อง “รูปแบบกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง” เป็นแนวคิดที่สัมพันธ์กับประเด็นปัญหาในการวิจัย ครั้งนี้ โดยแยกให้เห็นเป็น 2 ระดับ คือ ระดับที่เป็นแนวความคิดทางนามธรรม ระดับที่เป็นรูปแบบ ของพิธีกรรม โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนาวิเคราะห์ และใช้ข้อมูลจากการเก็บข้อมูล ภาคสนามที่บ้านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยศึกษาให้ครอบคลุมตามประเด็นค าถาม เพื่อสะท้อนความเป็นจริงของปรากฏการณ์ ตลอดจนวิธีการตีความและการให้ความหมาย ส่วนการ การเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบท่าอิสระและเกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยไม่มีการก าหนดหรือปรุงแต่ง ท่าทางการฟ้อนของควายหลวง โดยการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ โดยการสาธิตให้ผู้เชี่ยวชาญวิพากษ์ หรือการสัมภาษณ์ ผลจากการศึกษาข้อมูลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ท าให้มองเห็นว่าพิธีกรรม ในพื้นที่ดังกล่าวมีความเชื่อกันมาตั้งแต่อดีต มีประวัติความเป็นมา รูปแบบและองค์ประกอบ ความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษ ซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบของพิธีกรรมบวชควายหลวง มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเซ่นสังเวยผีบรรพบุรุษ เฉลิมฉลองในงานประจ าปี และขอความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิต และ สามารถสะท้อนให้เห็นภาพพิธีกรรมบวชควายหลวง องค์ประกอบของพิธีกรรม บริบทของวิถีชีวิตและ พื้นฐานความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้วิจัยจะน ามาใช้ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบ กระบวนฟ้อนในพิธีกรรมบวชควายหลวง และรวบรวมไม่ให้สูญหายและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เพื่อเป็นประโยชน์แก่วงวิชาการและผู้ที่ให้ความสนใจที่ศึกษาต่อไปได้ในอนาคต
59 7. กรอบแนวคิดในการวิจัย ภาพที่ 11 กรอบแนวคิดในการวิจัย ที่มา: ผู้วิจัย จากกรอบแนวคิดจะเห็นได้ว่าผู้วิจัยได้น ามาเป็นมโนทัศน์ของการด าเนินการวิจัย ที่สัมพันธ์ กับวัตถุประสงค์ น ามาสู่ค าตอบการวิจัย โดยก าหนดกรอบด้วยค าส าคัญต่าง ๆ ดังนี้ รูปแบบ และองค์ประกอบงานบุญบวชควายหลวง เพื่อน ามาสู่การหาค าตอบส าคัญ 2 ข้อ ตามวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและองค์ประกอบงานบุญบวชควายหลวง 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบกระบวน ฟ้อน ในงานบุญบวชควายหลวง โดยวิเคราะห์ผ่านรูปแบบกระบวนฟ้อนที่มีลักษณะเฉพาะของรูปแบบ ฟ้อน ในงานบุญบวชควายหลวง
บทที่3 วิธีด ำเนินกำรวิจัย การด าเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมุ่งศึกษา รูปแบบและกระบวนท่าฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง โดยมีวิธีด าเนินการศึกษาวิจัยดังนี้ 1. การเก็บรวบรวมและการจัดกระท าข้อมูล 2. กลุ่มเป้าหมายและการเลือกกลุ่มเป้าหมาย 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. การตรวจสอบข้อมูล 5. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล 6. การน าเสนอข้อมูล 1. กำรเก็บรวบรวมและกำรจัดกระท ำข้อมูล ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ด าเนินการสองส่วน คือ การศึกษาข้อมูลเอกสาร การศึกษา ข้อมูลภาคสนาม รายละเอียดดังนี้ 1.1 ศึกษำข้อมูลจำกเอกสำร เป็นการศึกษา ค้นคว้าเอกสาร ทั้งที่เป็นหลักฐานในขั้นปฐมภูมิ (Primary source) และทุติยภูมิ (Secondary source) ที่มีการตีพิมพ์ได้แก่ เอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง สื่อสิ่งพิมพ์และบทความที่เกี่ยวข้องจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และศึกษาจากแหล่งศึกษาค้นคว้า ความรู้ต่าง ๆ ได้แก่ 1) ส านักหอสมุดแห่งชาติ 2) หอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น 3) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4) ห้องสมุดจังหวัดร้อยเอ็ด 5) ห้องสมุดอ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด 1.2 กำรสัมภำษณ์เป็นการเก็บข้อมูลวิจัยด้วยการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ศึกษา ทั้งที่เป็นการสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ (Formal Interview) และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็น ทางการ (Informal Interview) ศึกษาข้อมูลภาคสนาม โดยการลงภาคสนามในบ้านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ยังคงมีการสืบทอดพิธีกรรมบวชควายหลวง เพื่อท าการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งศึกษา รูปแบบและองค์ประกอบของพิธีกรรม ที่ยังคงสืบทอดในปัจจุบัน
61 2. กลุ่มเป้ำหมำยและกำรเลือกกลุ่มเป้ำหมำย 2.1 กลุ่มเป้ำหมำยที่เป็นบุคคล การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษารูปแบบและกระบวนท่าฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง การศึกษาในครั้งนี้ ได้เลือกใช้วิธีการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมบวชควายหลวง โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพิธีกรรมบวชควายหลวง ผู้ที่เป็นปราชญ์ท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านฟ้อนอีสาน ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีอีสาน ในการคัดเลือกบุคคลทั้ง 4 กลุ่มแต่ละบุคคล ต้องมีความเชี่ยวชาญ มีผลงานในด้านต่าง ๆ ตามที่ก าหนด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการให้ข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล และการวิเคราะห์ผลงานในล าดับต่อไป 2.1.1 ผู้ปฏิบัติหน้ำที่ในพิธีกรรมบวชควำยหลวง ได้แก่ ผู้ท าพิธีในพิธีกรรมบวช ควายหลวง 2.1.1.1 นายสุนตัน บ ารุงเอื้อ บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด เป็นผู้ท าหน้าที่ควายหลวง 2.1.1.2 นายหนูดี ขาวศรี บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด เป็นผู้ท าหน้าที่อุปัชฌาย์ 2.1.1.3 นางหนูจันทร์ แก้วปัญญา บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้ท าหน้าที่แม่บัวระบัด 2.1.1.4 นายประจักษ์ ทานีวรรณ บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้ท าหน้าที่ตุลาการ 2.1.1.5 นางมี วงศ์สุเพ็ง บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้ท าหน้าที่แม่นางวัว 2.1.1.6 นายบุญตา พุทธแสวง บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ดเป็นผู้ท าหน้าที่ผู้ชกมวย 2.1.2 ผู้ที่เป็นปรำชญ์ท้องถิ่น ได้แก่ 2.1.2.1 พระครูวิมล บุญโกศล บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด เป็นผู้มีส่วนร่วมในประเพณีพิธีกรรม 2.1.2.2 พระอาจารย์จรุณ ขาวศรี บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านแมด 2.1.2.3 นางสมบัติ บ ารุงเอื้อ บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด เป็นผู้ร่วมพิธีกรรม 2.1.2.4 นางหนูทิพย์ บ ารุงเอื้อ บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด ผู้ที่เคยได้รับหน้าที่เป็นแม่นางหว่า
62 2.1.2.5 นางยศ จันทรช านิ บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด ผู้ที่เคยได้รับหน้าที่เป็นแม่นางหว่า 2.1.3. ผู้เชี่ยวชำญด้ำนฟ้อนอีสำน ได้แก่ 2.1.3.1 อาจารย์ ดร.ฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หมอล า) ประจ าปีพุทธศักราช 2536 2.1.3.2 อาจารย์ดร.ชัยณรงค์ ต้นสุข ครูวิทยฐานะ ช านาญการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการ แสดงพื้นบ้านอีสาน วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม 2.1.4 ผู้เชี่ยวชำญด้ำนดนตรีอีสำน ได้แก่ 2.1.4.1 นายทรงศักดิ์ ประทุมศิลป์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรี พื้นบ้านอีสาน) ประจ าปีพุทธศักราช 2562 2.1.4.2 นายจีรพล เพชรสม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ต าแหน่งนักวิชาการละครและดนตรี วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด 3. เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย เนื่องจากงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการตีความข้อมูล จากกรอบของวัตถุประสงค์ที่มุ่งศึกษาในสองประเด็นหลัก คือ 1) รูปแบบและองค์ประกอบงานบุญบวชควายหลวง 2) กระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง เครื่องมือที่ใช้ในกา รเก็บ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลของง านวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ โดยมีขั้นตอนหลัก 2 ขั้นตอน คือ การสร้างเครื่องมือวิจัย การน าเครื่องมือไปใช้ ดังนี้ 3.1 กำรสร้ำงเครื่องมือวิจัย 3.1.1 แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ ได้สร้างขึ้นจากกรอบค าถามงานวิจัยและกรอบ วัตถุประสงค์โดยการก าหนดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ “รูปแบบและกระบวนท่าฟ้อนในงานบุญบวช ควายหลวง” โดยเรียงล าดับเนื้อหา และประเด็นที่เชื่อมโยงกัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการจัดกระท า ข้อมูล 3.1.2 แบบสังเกต ใช้หนึ่งวิธีการ คือ 1) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) คือ การลงพื้นที่ในวันที่จัดพิธีกรรมบวชควายหลวงของชาวบ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด 3.1.3 แบบสัมภาษณ์ ได้ออกแบบเป็น คือ แบบที่ไม่มีโครงสร้าง (Non-Structured Interview) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งสนทนาแบบเปิดกว้าง ที่สามารถท าให้พบประเด็นที่เกิดขึ้น ใหม่ระหว่างการสนทนา ประวัติความเป็นมาและขึ้นตอนการด าเนินพิธีกรรมบวชควายหลวง ประเด็น เดียวกับ ทัศนคติ ค่านิยม มุมมอง รวมถึงประสบการณ์และความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมบวชควายหลวง โดยมีแนวข้อค าถามดังนี้
63 1) แนวข้อค าถามกับข้อผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพิธีกรรมบวชควายหลวง 1.1) ขั้นตอนในการท าพิธีกรรมบวชควายหลวงเป็นอย่างไร 1.2) การบวชให้ควายหลวงมีลักษณะเป็นอย่างไร 1.3) หัวหน้าคณะควายหลวงมีหน้าที่อะไรบ้าง 1.4) ต าแหน่งตุลาการมีหน้าที่อะไรบ้าง 1.5) การคัดเลือกควายหลวงมีลักษณะเป็นอย่างไร 2) แนวข้อค าถามกับผู้ที่เป็นปราชญ์ท้องถิ่น 2.1) รูปแบบและขั้นตอนพิธีกรรมบวชควายหลวงเป็นอย่างไร 2.2) การจัดพิธีกรรมบวชควายหลวงมีจุดประสงค์เพื่ออะไร 2.3) การสืบทอดพิธีกรรมบวชควายหลวงมีลักษณะอย่างไร 2.4) ประวัติความเป็นมาของพิธีกรรมบวชควายหลวงเป็นอย่างไร 2.5) โอกาสที่จัดพิธีกรรมบวชควายหลวงมีในรูปแบบใดบ้าง 3) แนวข้อค าถามกับผู้เชี่ยวชาญด้านฟ้อนอีสาน 3.1) ลักษณะของกระบวนฟ้อนของควายหลวงเกิดจากอะไร 3.2) ท่าฟ้อนส าหรับควายหลวงมีความเชื่อมโยงกับการด ารงชีวิตอย่างไรบ้าง 3.3) การแปลกระบวนฟ้อนของควายหลวงมีลักษณะอย่างไร 3.4) องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวกระบวนฟ้อนเป็นอย่างไร 3.5) ลักษณะกระบวนฟ้อนของควายหลวงในแต่ละยุคสมัยเป็นอย่างไร 3.6) ผู้ที่เป็นควายหลวงได้รับการสืบทอดท่าฟ้อนมาจากที่ใดและมีลักษณะอย่างไร 3.7) อารมณ์และความรู้สึกของผู้ที่เป็นควายหลวงเมื่อเข้าสู่พิธีกรรมมีลักษณะอย่างไร 3.8) รูปแบบของขบวนแห่ในพิธีกรรมบุญบวชควายหลวงมีลักษณะอย่างไร 3.9) ที่มาของแต่ละกระบวนฟ้อนของควายหลวงเป็นอย่างไร 3.10) ท่าฟ้อนของควายหลวงที่ประกอบในพิธีกรรมมีความหมายว่าอย่างไร 4) แนวข้อค าถามกับผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีอีสาน 4.1) ลักษณะของดนตรีที่ใช้ส าหรับการบวชควายหลวงเป็นอย่างไร 4.2) ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนของควายหลวงมีอะไรบ้าง 4.3) การคัดเลือกนักดนตรีคัดเลือกจากคุณสมบัติใดบ้าง 4.4) การแต่งกายของนักดนตรีเป็นอย่างไร 4.5) พิธีกรรมก่อนการเล่นดนตรีเป็นอย่างไร 3.2 กำรน ำเครื่องมือไปใช้ ผู้วิจัยได้ด าเนินการจัดท าข้อค าถามขึ้นและได้รับข้อเสนอจากอาจารย์ที่ปรึกษา และปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ แล้วจึงน าไปสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง 4 กลุ่ม ดังนี้ 3.2.1) ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพิธีกรรมบวชควายหลวง
64 3.2.2) ผู้ที่เป็นปราชญ์ท้องถิ่น 3.2.3) ผู้เชี่ยวชาญด้านฟ้อนอีสาน 3.2.4) ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีอีสาน 4. กำรตรวจสอบข้อมูล 4.1 กำรตรวจสอบด้ำนข้อมูล เป็นการตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งบุคคลที่แตกต่างกัน โดยพิจารณาจากมิติความสัมพันธ์บุคคล ได้แก่ บุคคลในครอบครัว ผู้ร่วมงาน ผู้ได้รับการถ่ายทอด ในขณะเดียวกันในกลุ่มบุคคลที่เคยร่วมงาน และผู้ได้รับการถ่ายทอดนั้น ยังสามารถจัดกลุ่มบุคคลตาม ความเชี่ยวชาญในด้านที่จะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์รูปแบบและองค์ประกอบ กระบวนฟ้อน ในงานบุญบวชควายหลวง โดยพิจารณาจากความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ ด้านดนตรีอีสาน ผู้เชี่ยวชาญด้านฟ้อนอีสาน 4.2 กำรตรวจสอบด้ำนวิธีกำรรวบรวมข้อมูล เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาจากวิธีการ เก็บรวบรวมข้อมูลที่ต่างกัน 2 วิธีการ คือ การสัมภาษณ์ (Interview) การสังเกต (Observation) เมื่อได้ตรวจสอบข้อมูลทั้ง 2 ด้าน คือ การตรวจสอบด้านข้อมูล และการตรวจสอบด้านวิธีการ รวบรวมข้อมูลแล้ว จึงน าไปสู่การน าข้อมูลไปวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นล าดับต่อไป 5. กำรวิเครำะห์และสังเครำะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ท าการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) การเก็บข้อมูลสนาม (Field work) โดยได้วิเคราะห์ข้อมูลให้เป็นไปตามกรอบวัตถุประสงค์ หลักที่ได้ตั้งไว้สองประเด็น คือ รูปแบบและองค์ประกอบงานบุญบวชควายหลวง กระบวนฟ้อนในงาน บุญบวชควายหลวง ตามล าดับดังนี้ 5.1 การวิเคราะห์รูปแบบและองค์ประกอบจากข้อมูลการทบทวนวรรณกรรม และการ สัมภาษณ์ 5.2 การวิเคราะห์กระบวนฟ้อนที่สะท้อนให้เห็นการใช้สรีระร่างกาย กระท าโดย การศึกษาเอกสารขั้นปฐมภูมิ (Primary source) ที่เป็น ภาพถ่าย วีดีโอ ของพิธีกรรมบวชควายหลวง รวมทั้งข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์บุคคล 6. กำรน ำเสนอข้อมูล การน าเสนอข้อมูล ผู้วิจัยจะน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ ประมวลผลให้ตรง ตาม ๆ วัตถุประสงค์การวิจัย และข้อมูลจะน าเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์
บทที่ 4 รูปแบบกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง การวิจัยเรื่อง รูปแบบและกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวงครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีโครงสร้างวัฒนธรรมและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวสรีระตามธรรมชาติ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ในเรื่องรูปแบบและกระบวนการฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง ซึ่งงานบุญ บวชควายหลวงเป็นพิธีกรรมเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานชุมชนบ้านแมด โดยผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลที่บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด และได้ น าเสนอประเด็นในการศึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ประวัติความเป็นมาของบุญบวชควายหลวง 2. รูปแบบและองค์ประกอบงานบุญบวชควายหลวง 2.1 รูปแบบของงานบุญบวชควายหลวง 2.2 องค์ประกอบของงานบุญบวชควายหลวง 2.2.1 ด้านพิธีกรรม 2.2.2 ด้านการแต่งกาย 2.2.3 ด้านวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานบุญบวชควายหลวง 2.2.4 ด้านดนตรีที่ใช้ประกอบในงานบุญบวชควายหลวง 2.2.5 ด้านสถานที่ในการจัดงานบุญบวชควายหลวง 2.2.6 รูปแบบการจัดขบวนในงานบุญบวชควายหลวง 3. รูปแบบกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง บ้านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด 3.1ลักษณะทิศทางในการฟ้อนของควายหลวง 3.2 การวิเคราะห์กระบวนฟ้อนที่ปรากฏในงานบุญบวชควายหลวง 1. ประวัติความเป็นมาของบุญบวชควายหลวง งานบุญบวชควายหลวง เป็นงานประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ของชาวบ้านแมด อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งงานบุญบวชควายหลวงจะจัดในช่วงบุญเดือนหกของทุกปี โดยชาวบ้านมีความเชื่อว่าการจัดงานบุญบวชควายหลวงเป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นเพื่อถวายแก่ เจ้าพ่อโฮงแดง ซึ่งตามความเชื่อของชาวบ้านนั้นเชื่อว่าหากมีการท าพิธีกรรมเพื่อบูชาเจ้าพ่อโฮงแดง จะท าให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข และมีความอุดมสมบูรณ์ในการเป็นอยู่และการท าเกษตรกรรม พิธีกรรมนี้เกิดขึ้นควบคู่กับงานประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประจ าทุกปีของชาวบ้านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด
66 หากกล่าวถึงที่มาของงานบุญบวชควายหลวงนั้น ผู้วิจัยได้มีการศึกษาในเรื่องของประวัติความเป็นมา งานบุญบวชควายหลวงจากการศึกษาเอกสาร งานวิจัย บันทึกภาพเคลื่อนไหวและจากการสัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ในครั้งสมัยรัชกาลที่ 2 ของราชวงศ์จักรี เมืองร้อยเอ็ด ได้มีการผูกสัมพันธไมตรี กับอาณาจักรล้านช้างของเวียงจันทน์ซึ่งเจ้าอนุวงศ์พระมหากษัตริย์ราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ได้บุตรสาวของพระยาขัติยะวงษา (ท้าวสีลัง) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดเป็นภรรยา (บุญมี ค าบุศย์,2541, น. 9-13) โดยเจ้าอนุวงศ์นั้นเป็นพระอนุชาองค์ที่ 3 ของพระเจ้าสิริ-บุญสาร เมื่อครั้งอายุได้ 37 ปี ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติในนครเวียงจันทน์ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเมือง เวียงจันทน์ได้ท าการกอบกู้เอกราชด้วยการกวาดต้อนผู้คนในภาคอีสานกลับคืนมายังเมืองเวียงจันทน์ ส่งผลให้เกิดสงครามระหว่างสยามกับอาณาจักรล้านช้าง (สิลา วีระวงส์, 2539, น. 170-173) จากนั้น แม่ทัพสยาม ยกทัพมาสมทบจนสามารถล้อมเวียงจันทน์ไว้ได้ แม่ทัพสยาม จึงออกประกาศหาบุคคล ที่มีฝีมือจากเมืองอื่น ๆ เข้าร่วมมารบ ซึ่งหนึ่งในนักรบมากฝีมือนั้น คือ “หลวงเถ้า” หรือ “เจ้าพ่อเถ้า เจ้าโฮงแดง” และได้มีนักรบมากฝีมืออีกสองคน คือ ปู่หารกับปู่จัน ซึ่งได้มีการยกกองทัพทหาร ไปคนละประมาณ 500 คน รวมเป็นทหารประมาณ 1,500 คน ออกเดินทางไปนครหลวงเวียงจันทร์ เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ในขณะที่เดินทางนั้นได้มีการพักอยู่ที่เมืองหนองคายเป็นเวลา 1 คืน เพื่อเตรียม ความพร้อมส าหรับการเดินทางในวันถัดไป พอรุ่งเช้าจึงยกทัพข้ามแม่น้ าโขง พร้อมกับทหาร จ านวน 1,500 คน บุกเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์เข้าไปได้และในที่สุดเมืองเวียงจันทน์จึงแตกพ่าย ต่อทัพสยาม เมื่อครั้นสงครามเสร็จสิ้นลง พระยาขัติยะวงษา (ท้าวสีลัง) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดจึงขอพระราชานุญาต แต่งตั้งไพร่พลปูนบ าเหน็จความดีความชอบ แก่ผู้เข้าร่วมในสงครามต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงเถ้าเป็นเจ้าเมืองปกครอง โดยมีการเสี่ยงทายเพื่อหาสถานที่ตั้งหมู่บ้านที่เหมาะสม การเสี่ยงทายนี้มีลักษณะคือ การน าขวาน ไปลอยน้ า เมื่อขวานจมน้ าที่สถานที่ใดจึงจะสามารถตั้งหมู่บ้านในสถานที่นั้นได้ซึ่งหมู่บ้านที่หลวงเถ้า เจ้าโฮงแดงปกครอง คือ “เมืองค าแมด” การตั้งชื่อของเมืองค าแมดเป็นชื่อที่ได้ตั้งตามชื่อต้นไม้ ในบริเวณนั้น และมีการเกณฑ์ผู้คนมาขุดดินถมให้สูงขึ้นเรียกว่า “โนนสูง” มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนดิน ที่ขุดอยู่ในบริเวณที่ตั้งหอประชุมสภาต าบลบ้านแมด ปัจจุบันเรียกว่า “หนองหลุม” จากนั้นจึงได้ตัด ต้นไม้แดงให้เป็นเสา หรือ ที่เรียกกันว่า “ต้นแดง”ขนาดใหญ่มาปลูกหอโฮง โดยทาด้วยสีแดงตลอดต้น เสา จึงได้เรียกว่า “โฮงแดง” และอีกไม่ไกลนักได้สร้างเป็นบ้านพักขึ้นภายหลัง หลังจากที่สร้างหมู่บ้าน แมดเสร็จประมาณ 15 ปี ปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงได้ป่วยกะทันหันจนถึงแก่ความตาย และไม่ได้มีการแต่งตั้ง ผู้ใดเป็น เจ้าเมืองสืบต่อ เมืองค าแมดจึงตกอยู่ภายใต้อ านาจของเมืองธวัชบุรีเพราะหลังจากปู่เถ้าเจ้า โฮงแดงได้เสียชีวิตลง ที่อยู่อาศัยของท่านจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า “ศาลเจ้าพ่อโฮงแดง” (ปริญ รสจันทร์, 2560, น. 46)
67 ต่อมาหลังจากที่หลวงปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงเกิดอนิจกรรม เป็นเวลา 30 ปี ได้มีชาวบ้านเพศหญิง ชื่อแม่ใหญ่ก้อน ซึ่งเป็นผู้ถูกเข้าสิงร่างตามความเชื่อของคนในชุมชน (ชาวบ้านเรียกกันว่า“ผีมาซูน”) มีลักษณะอาการไม่สบายเป็นไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังจากชาวบ้านทราบข่าวต่างมาเฝ้าดูอาการ เป็นจ านวนมาก ในช่วงเดียวกันนั้นแม่ใหญ่ก้อนลุกขึ้นนั่งแล้วร้องไห้ครวญคราง พรางกับบ่นพึมพ าว่า “เอาเหล้ามาให้กูกิน กูคือหลวงเถ้าเจ้าโฮงแดง” เมื่อแม่ใหญ่ก้อนได้กล่าวค าข้างต้นขึ้นจึงสร้างความ ตกใจให้กับชาวบ้านที่มาเยี่ยมดูอาการ ชาวบ้านจึงจัดหาเหล้า บุหรี่ ซึ่งสอดไส้ด้วยพริกแห้งแทนยาเส้น มีอาสนะมาให้นั่งน าผ้าแดงผูกที่ศีรษะ และแม่ใหญ่ก้อนได้ดื่มเหล้าจนหมดขวดโดยที่ไม่มีอาการมึนเมา พร้อมทั้งดูดบุหรี่ไส้พริกดูแล้วอัศจรรย์แก่ผู้พบเห็น แม่ใหญ่ก้อนได้พูดต่อไปว่า “กูมานี่มีความประสงค์ อยากสิได้ควาย ควายโตเก่ากูตายไปแล้ว กูสิเอามาเป็นควายกู” หลังจากนั้นจึงอาเจียนออกมา สามครั้งพร้อมกับหายจากการป่วยมาเป็นปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เมื่อมีเหตุการณ์ของแม่ใหญ่ ก้อนเกิดขึ้นจึงเกิดแรงศรัทธาและความเชื่อที่มีต่อ “หลวงเถ้าเจ้าโฮงแดง” และได้เกิดเป็นพิธีกรรมบวช ควายหลวงเพื่อถวายแก่เจ้าพ่อโฮงแดงตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน (หนูดี ขาวศรี, 2564, 2 มิถุนายน, สัมภาษณ์) ในงานบุญบวชควายหลวงของชาวบ้านแมดนั้นมีลักษณะที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ คือ “ควายหลวง” ซึ่งโดยปกติในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีประเพณีบุญบวชควายหลวงนั้นจะมีผู้ที่เป็นควายหลวง เพียงคนเดียวและเมื่อผู้ที่เป็นควายหลวงได้เสียชีวิตลงก็จะท าให้ยากต่อการสืบทอดและไม่มีผู้ที่ ท าหน้าที่แทนควายหลวงคนเดิม แต่ควายหลวงในบ้านแมดนั้นจะมีผู้ที่เป็นควายหลวงจ านวน 2 คน ชาวบ้านเรียกว่า “ควายหลวงใหญ่และควายหลวงน้อย” ควายหลวงใหญ่คือ ควายหลวงผู้ที่ท าหน้าที่ เป็นโดยส่วนใหญ่เป็นหลัก และ ควายหลวงน้อย คือ ผู้ที่มีบทบาทเป็นตัวส ารองให้กับควายหลวงใหญ่ หากควายหลวงใหญ่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่หรือเสียชีวิตลงควายหลวงน้อยจะเป็นผู้ที่สืบทอดต่อและ ปฏิบัติหน้าที่แทน ซึ่งข้อจ ากัดของการเป็นควายหลวงใหญ่และควายหลวงน้อย คือ ต้องมีความสัมพันธ์ ทางสายเลือดเดียวกันหรือเครือญาติเดียวกันเท่านั้น เพื่อให้สามารถเป็นผู้สืบทอดต่อกันได้และท าให้ งานประเพณีบุญบวชควายหลวงสามารถท าได้อย่างต่อเนื่องและไม่สูญหายไปตามกาลเวลา 2. รูปแบบและองค์ประกอบงานบุญบวชควายหลวง 2.1 รูปแบบของงานบุญบวชควายหลวง จากการศึกษาพบว่า งานบุญบวชควายหลวงของชาวบ้านแมด มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งไม่ปรากฏปีพุทธศักราชว่าเกิดขึ้นในเมื่อใด แต่ในรูปแบบของการจัดงานและพิธีกรรมในงานบุญบวช ควายหลวงของชาวบ้านแมดนั้นปรากฏรูปแบบทั้งหมด 2 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบที่ 1 ปีพุทธศักราช 2369 - ปีพุทธศักราช 2539 เป็นการจัดงานบุญบวชควาย หลวง ตามความเชื่อของชาวบ้านในชุมชนบ้านแมด หากมีการจัดงานถวายเจ้าพ่อโฮงแดงจะท าให้ หมู่บ้านมีความอุดมสมบูรณ์และป้องกันภัยอันตรายได้ ซึ่งรูปแบบการจัดงานเป็นการจัดท าพิธีบวช ควายหลวง โดยใช้ผู้เข้าพิธีบวชควายหลวงเพียงคนเดียวซึ่งต้องสืบเชื้อสายจากเครือญาติเท่านั้น
68 ลักษณะของการจัดพิธีกรรมได้เริ่มจากการหาฤกษ์ยามที่เหมาะสมส าหรับการจัดงาน และก่อนวันจัด งานจริง ควายหลวงจะท าการเซิ้งหาปัจจัยก่อนเพื่อให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการท าบุญเพื่อต่อยอด เข้าสู่วันจัดงานจริง ในวันจัดงานจริงควายหลวงจะเข้าพิธีบวชควายและท าพิธีกรรมการบวชพร้อมกับ การฟ้อนแห่รอบศาลเจ้าพ่อโฮงแดงและฟ้อนแห่รอบหมู่บ้านจนครบเพื่อความเป็น สิริมงคล เมื่อพิธีกรรมและการฟ้อนแห่เสร็จเรียบร้อยจึงจะลาสิกขาจากการบวชและจบพิธีกรรมงานบุญบวช ควายหลวงในปีนั้น ๆ รูปแบบที่ 2 ปีพุทธศักราช 2540 – ปีพุทธศักราช 2565 รูปแบบการจัดงานบุญบวช ควายหลวงได้มีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดงาน จากเดิมมีควายหลวงที่เป็นผู้ประกอบพิธีการฟ้อนอยู่ เพียงคนเดียว เปลี่ยนมาเป็นการมีควายหลวงจ านวน 2 ตัวในการจัดท าพิธี ให้เกิดเป็นควายหลวงใหญ่ และควายหลวงน้อย เนื่องจากผู้สืบทอดการบวชควายหลวงได้ตระหนักถึงการสืบทอดให้กับชนรุ่นหลัง หรือทายาทของตนในปัจจุบันนั้น หากไม่มีควายหลวงน้อยท าหน้าที่ช่วยในงานบุญบวชควายหลวงอาจ ท าให้ประเพณีและพิธีกรรมนี้สูญหายไป เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับหน้าที่เป็นควายหลวงใหญ่แต่เดิม จะท าหน้าที่จวบจนอายุมากและร่างกายได้มีความชราภาพตามกาลเวลา เกรงว่าถ้าไม่มีควายน้อย อาจจะไม่มีการสืบทอดพิธีกรรมนี้ต่อไป ด้วยข้อก าหนดคุณสมบัติในเรื่องของการสืบทอดจะต้องเป็น ผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือเป็นลูกหลานในตระกูลของตนเท่านั้น จึงได้จัดให้มีควายหลวง น้อยเกิดขึ้น โดยแบ่งหน้าที่ในการท าพิธีกรรม คือ ควายหลวงใหญ่จะมีหน้าที่ส าหรับการเข้าท า พิธีกรรมในงานวันจริงเท่านั้น และควายหลวงน้อยจะท าหน้าที่ในการเซิ้งหาปัจจัยที่เป็นวันที่จัดขึ้น ก่อนวันงานจริง 1 วัน จึงท าให้งานบุญบวชควายหลวงบ้านแมดมีผู้ที่เป็นควายหลวงจ านวน 2 คนและ เป็นอัตลักษณ์ส าหรับหมู่บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ไม่เหมือนที่ใด ในการจัดงานบุญบวชควายหลวง 2.2 องค์ประกอบของงานบุญบวชควายหลวง 2.2.1 ด้านพิธีกรรม ขั้นตอนที่ปรากฏในพิธีกรรมบุญบวชควายหลวงพบว่า การจัดงานบุญบวชควายเวลา สามารถยืดหยุ่น ระยะเวลา รายละเอียด ล าดับขั้นตอนในการปฏิบัติ ได้ตามความเหมาะสม แต่ที่จะ น าเสนอนี้เป็นตัวอย่างก าหนดการที่ใช้ในการจัดพิธีกรรมนี้ในปี พ.ศ.2565 โดยสามารถแบ่งขั้นตอนใน การจัดงานด้านพิธีกรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การดูฤกษ์ยามของการจัดงานบุญบวชควายหลวง งานบุญบวชควายหลวงได้ก าหนดจัดงานในระหว่างวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ของเดือน หกหรือเดือนมิถุนายนของทุกปีซึ่งการจัดงานในช่วงเดือนมิถุนายน หมายถึง การจัดงานก่อนที่ ชาวบ้านจะท านา โดยมีความเชื่อว่าหากมีการจัดงานบุญบวชควายหลวงและมีพิธีกรรมในการบูชาเจ้า พ่อโฮงแดงก่อนการเริ่มท านา จะท าให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุขและจะท าการประกอบอาชีพใดจะ ประสบผลส าเร็จ อีกนัยยะหนึ่งคือการจัดงานเพื่อสร้างขวัญก าลังใจให้กับชาวบ้านพร้อมกับการจัด ประเพณีบุญบั้งไฟขอฝน เพื่อให้ชาวบ้านสามารถท านาได้และไม่เกิดความขาดแคลนน้ า ลักษณะการ หาดูฤกษ์ยามงามดีนั้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า วันที่จัดงานมักจะเกิดขึ้นในข้างขึ้นของเดือน มิถุนายนทุก ๆ ปี เช่น ในปีพ.ศ. 2562 เกิดขึ้นในวันที่ 7 มิถุนายน ซึ่งตรงกับข้างขึ้น 5 ค่ าเดือนเจ็ด ซึ่งตรงกับวันศุกร์ และวันที่ 11 มิถุนายน ซึ่งตรงกับข้างขึ้น 12 ค่ าเดือนเจ็ด ตรงกับวันเสาร์ตามปฏิทิน
69 จันทรคติไทยท าให้เห็นได้ว่าฤกษ์งามยามดีในการจัดหาวันงานส่วนใหญ่จะนิยมท าในข้างขึ้นและจัด ในช่วงวันวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์เช่นกัน โดยขั้นตอนการจัดงานในแต่ละวันจะประกอบไปด้วย วันที่ 1 หรือวันศุกร์คือ วันควายหลวงน้อยท าหน้าที่เพื่อออกเซิ้งหาปัจจัยตามหมู่บ้าน วันที่ 2 หรือวันเสาร์คือ การท าพิธีกรรมบวชควายหลวงใหญ่เพื่อคารวะผีเครือญาติ วันที่ 3 หรือวันอาทิตย์คือ วันจุดบั้งไฟวันลาสิกขาของควายหลวง ขั้นตอนที่ 2 การแบ่งหน้าที่ในงานบุญบวชควายหลวง 2.2.1.1 กลุ่มผู้ประกอบพิธีกรรมควายหลวงบ้านแมด ประกอบด้วย เฒ่าจ้้าผู้น้าทางพิธีกรรม คือ ผู้ที่ท าหน้าที่น าประกอบพิธีในเรื่องของพิธีกรรมใน งานบุญบวชควายหลวง ซึ่งผู้ที่เป็นเฒ่าจ้ าน าพิธีกรรมนี้จะต้องมีคุณสมบัติเป็นเพศชายที่มีอายุวัย กลางคนและเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากเครือญาติซึ่งเป็นบุคคลที่ชาวบ้านให้การยอมรับนับถือ มีศีลธรรมและ มีความรอบรู้ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับศาลเจ้าเถ้าพ่อโฮงแดง ศาลผีปู่ตาและเป็นผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารระหว่างคนบนโลกมนุษย์กับผีเครือญาติหรือ ผีปู่ตาเพื่อให้งานบรรลุไปได้ด้วยดีตามความเชื่อของชาวบ้านแมด อุปัชฌาย์บวชควายหลวง คือ ผู้ที่ท าหน้าที่คอยดูแลควายหลวงพร้อมให้ ค าแนะน าในการบวช โดยอุปัชฌาย์เป็นผู้ที่ท าการบวชให้กับควายหลวงใหญ่และเป็นผู้สวมเขาชนิด 4 เขา สวมกระพวนทามให้กับผู้ที่เป็นควายหลวงใหญ่ ในวันบวชควายหลวงนั้นชาวบ้านเรียกว่า “วันรวม” ซึ่งผู้ที่เป็นอุปัชฌาย์นั้นจะต้องมีคุณสมบัติเป็นเพศชายที่ได้จากการสืบเชื้อสายมาจาก เครือญาติเท่านั้น ปัจจุบันหน้าที่ของเฒ่าจ้ าและอุปัชฌาย์บวชควายหลวงจะเป็นคนเดียวกันที่ต้อง ปฏิบัติหน้าที่ได้ทั้งสองหน้าที่เช่นกัน ภาพที่ 12 อุปัชฌาย์ท าพิธีขานนาคให้กับควายหลวงและคณะควายหลวง ในพิธีกรรมบวชควายหลวง ณ ศาลเจ้าพ่อโฮงแดง ที่มา: ผู้วิจัย
70 หัวหน้าคณะควายหลวง คือ ผู้ที่มีหน้าที่สวมเขาชนิด 4 เขา ให้กับควายหลวง ทั้ง 2 คน และ มีหน้าที่ในการจัดการหาเครื่องแต่งกายพร้อมกับการแต่งกายให้ควายหลวงน้อยในวัน ออกเซิ้งหาปัจจัยและควายหลวงใหญ่ในวันจริง ตลอดจนดูแลในเรื่องการกินการอยู่ของคณะควาย หลวงตลอดงานเสร็จสิ้นลุล่วงไปได้ด้วยดีทั้งนี้หัวหน้าคณะควายหลวงยังท าหน้าที่เป็นผู้ที่ถือ ศาสตราวุธในระหว่างการแห่ขบวนในงานบุญบวชควายหลวง ซึ่งผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะควายหลวง จะต้องมีคุณสมบัติเป็นเพศชายที่สืบเชื้อสายมาจากเครือญาติที่เป็นหัวหน้าคณะควายหลวงมาก่อน เท่านั้น ตุลาการบ้าน คือ ผู้ที่ท าหน้าที่ในการจัดท าขันธ์ 5 โดยขันธ์5 ในที่นี้หมายถึง เครื่องที่ไว้ส าหรับบูชาเจ้าพ่อโฮงแดง เป็นการแสดงความเคารพและเป็นการบอกกล่าวก่อนเริ่มท าการ จัดงานบุญบวชความหลวง ซึ่งขันธ์ 5 นี้จะให้คณะควายหลวงน าไปประกอบพิธีกรรมในพิธีการบวช และการลาสิกขาของควายหลวง โดยตุลาการบ้านเป็นผู้แนะน าขั้นตอนพิธีกรรมให้คงเดิมมากที่สุด ชาวบ้านจึงขนานนามว่า “ตุลาการบ้าน” ซึ่งตุลาการบ้านจะต้องมีคุณสมบัติเป็นเพศชายที่สืบเชื้อสาย มาจากเครือญาติที่เป็นตุลาการบ้านมาก่อนเท่านั้น 2.2.1.2 ผู้เข้าบวชเป็นควายหลวง ประกอบด้วย ควายหลวงน้อย คือ ผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นเพศชายและจะต้องเป็นผู้ที่สืบเชื้อสาย มาจากเครือญาติที่เป็นควายหลวงใหญ่เท่านั้น มีหน้าที่เข้าบวชเป็นควายหลวงน้อยเพื่อน าคณะควาย หลวงออกเซิ้งหาปัจจัยตามหมู่บ้านใกล้เคียงตลอดระยะเวลา 3 วัน ระหว่างวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ การออกหาเซิ้งปัจจัยจะมีลักษณะเป็นการที่ควายหลวงน้อยได้ท าการเซิ้งหรือการฟ้อนประกอบดนตรี ไปรอบ ๆ หมู่บ้านเพื่อให้คนในหมู่บ้านได้บริจาคปัจจัยในการท าบุญครั้งนี้ ควายหลวงใหญ่ คือ ผู้ที่เป็นควายหลวงนั้นจะต้องมีคุณสมบัติเป็นเพศชาย ที่สืบเชื้อสายมาจากเครือญาติที่เป็นควายหลวงใหญ่มาก่อนเท่านั้น มีหน้าที่เข้าบวชเป็นควายหลวง ใหญ่ ชาวบ้านแมดเรียกว่า “ควายญาพ่อหลวง” หรือ ญาพ่อหลวง หมายถึง เจ้าพ่อโฮงแดง สืบเนื่องมาจากความเชื่อของชาวบ้านในเรื่องของเจ้าพ่อโฮงแดงมีความต้องการให้ชาวบ้านจัดหาควาย หลวงมาถวายให้ตนแทนควายตัวเก่าที่ตายไปแล้ว จึงเกิดการจัดท าพิธีกรรมบวชควายหลวงเป็น การถวายเพื่อแสดงความศรัทธาต่อเครือญาติของชุมชนที่เชื่อว่ามีผลต่อความอยู่ของชาวบ้านแมด และให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ในการประกอบอาชีพการงานต่าง ๆ ของชาวบ้านแมด 2.2.1.3 กลุ่มผู้เข้าร่วมพิธีกรรม ประกอบด้วย ผู้ถือเครื่องศาสตราวุธ ในที่นี้เครื่องศาสตราวุธ คือ อาวุธที่ใช้ในการรบ การท าพิธีกรรมบวชควายหลวงได้มีการน าเครื่องศาสตราวุธเข้าร่วมพิธีกรรมนี้ด้วย เช่น ปืน หอก และ ดาบ เป็นต้น สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนเจ้าพ่อโฮงแดงเป็นนักรบที่มากฝีมือและน าชัยชนะให้แก่ ชาวสยามจึงได้มีการน าศาสตราวุธเข้ามาร่วมประกอบพิธีบวชควายหลวง ซึ่งเครื่องศาสตราวุธนี้ เปรียบเสมือนอาวุธที่ใช้ในการรบของเจ้าพ่อโฮงแดง โดยผู้ที่ถือเครื่องศาสตราวุธจะต้องมีคุณสมบัติ เป็นเพศชายที่สืบเชื้อสายมาจากเครือญาติที่มีหน้าที่เป็นผู้ถือปืน ผู้ถือหอก ผู้ถือดาบ และมีหน้าที่ แบกเสลี่ยงที่อัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดงอีกด้วย
71 นักดนตรีคือ ผู้ที่บรรเลงดนตรีประกอบการแห่ขบวนบวชควายหลวง โดยมี หน้าที่บรรเลงดนตรีด้วยจังหวะที่สนุกสนาน ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ตีกลองร ามะนา ผู้ตีฉาบ นักดนตรี จะต้องมีคุณสมบัติเป็นเพศชายที่สืบเชื้อสายมาจากเครือญาติที่เล่นดนตรีในคณะควายหลวงมาก่อน ทั้งนี้กลุ่มนักดนตรีและกลุ่มผู้ถือเครื่องศาสตราวุธสามารถเปลี่ยนหน้าการท าในการประกอบพิธี งานบุญบวชควายหลวงได้ 2.2.1.4 กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมควายหลวง ประกอบด้วย ผู้ชกมวย แม่นางหว่า อุปัชฌาย์เจ้าอาวาสวัด เป็นต้น ผู้ชกมวย คือ ผู้ที่ท าหน้าที่ชกมวยในพิธีกรรมควายหลวง นอกจากจะมีการบวช ควายหรือการแห่เซิ้งหาปัจจัยแล้วยังมีการแสดงชกมวยเพื่อเป็นการถวายให้กับเจ้าพ่อโฮงแดง ตามความเชื่อนั้น หากการจัดท าพิธีกรรมและการเตรียมการแสดงหรือการละเล่นเพื่อถวายจะท าให้ เจ้าพ่อโฮงแดงพึงพอใจและส่งผลให้ชาวบ้านแมดอยู่เย็นเป็นสุขตามความเชื่อของชุมชนบ้านแมด ผู้ชกมวยจะต้องมีคุณสมบัติเป็นเพศชายที่สืบเชื้อสายมาจากเครือญาติและอยู่ในคณะควายหลวง มีหน้าที่ชกมวยเพื่อถวายเจ้าพ่อโฮงแดง และมีหน้าที่อย่างอื่นด้วย เช่น ถือเครื่องศาสตราวุธ เป็นต้น แม่นางหว่า คือ ผู้ที่มีหน้าที่จัดหาเครื่องแต่งกายพร้อมกับท าการแต่งกายให้ ควายหลวงใหญ่ โดยจะน าสีผสมอาหารที่เป็นสีด ามาทาทั้งตัว และสีแดงมาจากลิปสติกทาบริเวณปาก และบริเวณรอบดวงตา ซึ่งในสมัยก่อนการทาสีในตัวของควายหลวงนั้นจะนิยมใช้สีจากก้นหม้อข้าว ที่เกิดจากการเผาไหม้ส าหรับการประกอบอาหาร โดยใช้มือลูบที่ก้นหม้อและน ามาทาตัวให้กับ ควายหลวง ชาวบ้านเรียกสีนี้ว่า “ขี้หมินหม้อ” หรือ “เขม่าควันไฟ” จากนั้นน าปลัดขิกที่มีเส้นด้ายอยู่ มาผูกไว้ที่บริเวณเอวของควายหลวงใหญ่ โดยผู้ที่เป็นแม่นางหว่าจะต้องมีคุณสมบัติเป็นเพศหญิง ที่สืบเชื้อสายมาจากเครือญาติเท่านั้น ประธานในพิธีคือ เจ้าอาวาสวัดบ้านแมด มีคุณสมบัติเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่ได้รับต าแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านแมด มีหน้าที่นั่งบนเสลี่ยงเป็นประธานให้ชาวบ้านได้แห่น าหน้า คณะควายหลวงเพื่อความเป็นศิริมงคล (สุนตัน บ ารุงเอื้อ, 2564, 2 มิถุนายน, สัมภาษณ์) ขั้นตอนที่ 3 วันออกหาเซิ้งหาปัจจัยในการจัดงานบุญบวชควายหลวง การออกเซิ้งหาปัจจัยในการจัดงานบุญบวชควายหลวงนี้ มีลักษณะการออกเซิ้ง ในรูปแบบขบวนแห่ โดยคณะควายหลวงจะท าการแห่รอบหมู่บ้านแมดและหมู่บ้านใกล้เคียง มีวัตถุประสงค์เพื่อบอกบุญให้กับชาวบ้านได้น าปัจจัยมาบริจาคให้กับควายหลวงน้อย ซึ่งเป็นการแสดง ความเคารพต่อเจ้าพ่อโฮงแดงตามความเชื่อของคนในชุมชนและเป็นการท าบุญควบคู่ไปด้วย การออกเซิ้งหาปัจจัยได้มีก าหนดการออกเซิ้งก่อนวันจัดงาน 5 วัน ซึ่งสามารถแบ่งช่วงเวลาในการออก เซิ้งหาปัจจัยส าหรับงานบุญบวชควายหลวง ดังรายละเอียดตามตารางที่ 2
72 ตารางที่2 ขั้นตอนที่ 3 วันออกหาเซิ้งหาปัจจัยในการจัดงานบุญบวชควายหลวง เวลา รูปแบบ หมายเหตุ 09.30 น. เป็นเวลาส าหรับการเริ่มออกเซิ้งหาปัจจัย ชาวบ้านนิยมเรียก กันว่า “มื้อออกเล่น” หรือ “มื้อมอบนาค” โดยเริ่มจาก มีเสียงดนตรีบรรเลงประโคมขึ้นเพื่อเป็นการส่งสัญญาณ บ่งบอกว่าคณะควายหลวงให้มารวมตัวกันที่บ้านหัวหน้าคณะ ควายหลวงแล้ว พร้อมกับการเตรียมเครื่องบูชา เครื่องเซ่น ไหว้ และสร้อยคอลูกประค า เพื่อน ามาใช้ในการประกอบ พิธีกรรมให้กับควายหลวงน้อยส าหรับการออกเซิ้งหาปัจจัย ในบริเวณบ้านแมดและพื้นที่ใกล้เคียง บ ริ เ ว ณ บ้ า น แ ม ด และหมู่บ้านใกล้เคียง 10.00 น. คณะควายหลวงจะเริ่มเคลื่อนขบวนไปรับตุลาการบ้าน ผู้ที่เป็นประธานใน การประกอบพิธีกรรมการบวชควายหลวง น้อย และเฒ่าจ้ าคือผู้ที่ท าหน้าที่ในการน าเครื่องบูชา เครื่องเซ่นไหว้ถวายให้กับเจ้าพ่อโฮงแดงพร้อมกับการจุดธูป เทียนบูชา เพื่อบอกกล่าวต่อเจ้าพ่อโฮงแดงและอธิษฐาน ว่า “วันนี้คณะควายหลวงจะได้ท าการออกเซิ้งหาปัจจัย จึงขอให้เจ้าพ่อโฮงแดงปกปักรักษาคณะควายหลวงตลอด การออกเซิ้งหาปัจจัยในวันนี้ด้วยเทอญ” หัวหน้ าคณะคว าย หลวงได้ท าพิธีกา ร สวมเขาและแต่งกาย ให้กับควายหลวงน้อย เ พื่ อ เ ต รี ย ม พ ร้ อ ม ส าห รับก า รเซิ้งห า ปัจจัย 10.30 น. คณะควายหลวงและควายหลวงน้อยออกเริ่มการเซิ้งหาปัจจัย โดยเคลื่อนขบวนไปที่วัดบ้านแมดเพื่อท าการบอกกล่าวแก่เจ้า อาวาสวัด เมื่อบอกกล่าวเรียบร้อยแล้วจึงจะมีการเคลื่อน ขบวนไปยังจุดรูปหล่อสัมฤทธิ์ของอดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านแมด เ พื่ อ ท า พิ ธี ค า ร ว ะ ก่อนที่จะออกเซิ้งหา ปั จ จั ย ใ น ห มู่บ้ า น เป็นล าดับต่อไป ที่มา: ผู้วิจัย ขั้นตอนที่ 4 วันรวมพิธีกรรมบุญบวชควายหลวง วันรวมพิธีกรรมบุญบวชควายหลวง คือ วันที่มีการท าพิธีกรรมบุญบวชควายหลวง ตามฤกษ์ยามดีที่ได้ก าหนดจัดงานบุญบวชควายหลวง ซึ่งในวันรวมพิธีกรรมบุญบวชควายหลวง สามารถแบ่งช่วงเวลาในการประกอบพิธีกรรมตาม ดังรายละเอียดตามตารางที่ 3
73 ตารางที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 วันรวมพิธีกรรมบุญบวชควายหลวง เวลา รูปแบบ หมายเหตุ 08.00 น. เป็นเวลาส าหรับการเริ่มงานบุญบวชควายหลวง พิธีกรรมนี้ ชาวบ้านเรียกว่า “มื้อโฮม” หรือ “มื้อบีบข้าวปุ้น” ก่อนการ ท าพิธีกรรมบวชควายหลวงนั้น คณะควายหลวงมีการรวมตัว กัน ณ บ้านหัวหน้าคณะควายหลวง เพื่อเตรียมเครื่องบูชา เครื่องบูชาที่ใช้ในการท าพิธีกรรม คือ 1) สีผสมอาหารสีด า 1 ซอง 2) ลิปสติกสีแดง 1 แท่ง และเครื่องเซ่นไหว้ประกอบ ไปด้วยเหล้าขาว 2 ขวด เครื่องบูชาเซ่นไหว้ต่อ เจ้าพ่อโฮงแดง ตามล าดับขั้นตอน ของพิธีกรรม 08.30 น. เมื่อจัดเตรียมเครื่องบูชาและเครื่องเซ่นไหว้เรียบร้อยแล้ว คณะควายหลวงได้เคลื่อนขบวนไปบ้านของตุลาการบ้านเพื่อ เป็นประธานในการแนะน าขั้นตอนทางด้านพิธีกรรม โดย ค านึงถึงขั้นตอนการท าในรูปแบบคงเดิมมากที่สุด และจัดท า ขันธ์ 5 เ พื่ อ น า เ ข้ า ร่ ว ม พิธีกรรมบวชควาย หลวงตามแบบฉบับ ดั้งเดิม 09.00 น. คณะควายหลวงเคลื่อนขบวนแห่รอบศาลเจ้าพ่อโฮงแดงเป็น จ านวน 3 รอบ เฒ่าจ้ าถวายเครื่องบูชา เครื่องเซ่นไหว้ และ จุดธูปเทียนบูชา พร้อมบอกกล่าวต่อเจ้าพ่อโฮงแดงการ ประกอบพิธีกรรมบวชควายหลวง พิธีการเริ่มจากการน าบั้งไฟ ขนาดเล็กจ านวน 3 บั้งมาจุดเพื่อถวายตามล าดับดังนี้ บั้งที่ 1 จุดบูชาเจ้าพ่อโฮงแดงเพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคล บั้งที่ 2 จุดบั้งไฟเพื่อเสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์ของน้ าฝน บั้งที่ 3 จุดเพื่อเสี่ยงทายความสงบสุขของบ้านเมืองผู้คนในหมู่บ้าน เมื่อครั้งเจ้าพ่อโฮงแดงยังมีชีวิตอยู่ จะชื่นชอบการจุดบั้งไฟ และการละเล่นชกมวยเป็นอย่างยิ่ง จึงมีการน า การละเล่นทั้ง 2 มา ประกอบในงานบุญ บวชควายหลวงตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน 09.30 น. เป็นขั้นตอนของการท าพิธีกรรมบวชควายหลวง โดยคณะ ควายหลวงจะน าเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ มารวมกันแล้ว นั่งล้อม กันเป็นวงกลม การอุปัชฌาย์นั้น ผู้บวชควายหลวงจะต้อง กล่าวค าบวช และมีการขานนาคที่ขึ้นต้นก่อนทุกค าตาม ลักษณะของบทขานนาค ดังนี้ บทคาถาเลี้ยงกลอง ควายหลวงจะขานรับ ด้วยค าว่า “ซา” ทุก ครั้ง
74 ตารางที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 วันรวมพิธีกรรมบุญบวชควายหลวง (ต่อ) เวลา รูปแบบ หมายเหตุ “โยเมพันเตสังโฆ อามะ ภันเต บักอันนี้มึงอยากสี้หมาน้อย โตแม่มันหึงหวงบ่น้อ บ่สี้ย้านแม่มันขบมันกัด ซา บ่ซา บักอันนี้มึงอยากสี้งัวน้อย โตแม่มันหึงหวงบ่น้อ บ่สี้ย้านแม่มันเต๊ะ ซา บ่ซา บักอันนี้มึงอยากสี้ม้าน้อย โตแม่มันหึงหวงบ่น้อ บ่สี้ย้านแม่มันขบมันกัด ซา บ่ซา บักอันนี้มึงอยากสี้ควายน้อย โตแม่มันหึงหวงบ่น้อ บ่สี้ย้านแม่มันขบมันกัด ซา บ่ซา บักอันนี้มึงอยากสี้สาวส่ าน้อย นมตุ่มุพอก าหลุดบ่น้อ “กะเดี๋ยวหว่าบุ๊” ในลักษณะของการขานนาคตามบทข้างต้น นี้ ถ้าบทขานนาคพูดถูกให้ผู้ที่เป็นควายหลวงขานรับว่า “อามะ ภันเต” ถ้าบทขานนาคพูดไม่ถูกให้ผู้ที่เป็นควายหลวง ขานรับว่า “ซา บ่ซา” เมื่อการขานนาคเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จะมีการตะโกนว่า “ไชโย” แล้วจึงเทน้ าและเหล้าใส่แก้วน้ าที่ เตรียมไว้ น าดอกไม้สีขาวมาประพรมใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ รวมกันในบริเวณนั้น ผู้ที่เป็นควายหลวง จะเริ่มการเปลี่ยน เครื่องแต่งกายเป็นสวมกางเกงขาสั้น และหัวหน้าคณะควาย หลวงจะน าเอาปลัดขิก“สื่อสัญลักษณ์ทางเทศชาย”ที่ท าจาก ไม้มาผูกมัดติดที่เอวให้กับควายหลวง ในส่วนของแม่นางหว่า จะเป็นผู้น าสีผสมอาหารสีด าและลิปสติกสีแดงมาทาให้ทั่ว บริเวณใบหน้าและล าตัวของควายหลวง ผู้ที่ท าหน้าที่ อุปัชฌาย์จะเป็นผู้สวมเขาชนิด 4 เขา และสวมกระพวนทาม ให้แก่ควายหลวง ซึ่งในระหว่างที่ควายหลวงก าลังแต่งกายอยู่ นั้นคณะควายหลวงจะนั่งในลักษณะของวงกลม ไม่มีการ เคลื่อนย้ายจากเดิมแต่อย่างใด เมื่อควายหลวงแต่งกายเสร็จ เรียบร้อยแล้วจึงนั่งลงเพื่อท าพิธีกล่าวคณะ รายละเอียด ดังต่อไปนี้
75 ตารางที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 วันรวมพิธีกรรมบุญบวชควายหลวง (ต่อ) เวลา รูปแบบ หมายเหตุ “โอมปัดโอมปาย ซา (รับ) พ่อครูให้กูปายกูจังได้ปาย ซา (รับ) โอมปายโอมปัด ซา (รับ) พ่อครูให้กูปัดกูจังได้ปัด ซา (รับ) โอมเจ้าแม่บ าเพ็ญพามาบางหน้า ซา (รับ) โอมจงปัดแม่ผีบ้ามาบัดหลังซา (รับ) กูจะปัดเสียมื้อนี้วันนี้ ซา (รับ) โอมตุตัง ซา (รับ) กลองหน่วยนี้ดังปานเสียงฟ้าฮ้อง ซา (รับ) ก้องปานแผ่นดินไหว ซา (รับ) เสียงดังไกลยาวโหยด ซา (รับ) เสียงเกี้ยวโกรธโกธา ซา (รับ) ฮุ้ง ๆ ฟ้าเกี้ยวฮอดตีผี ซา (รับ) กลองหน่วยนี้แม้นกลองไม้ดู้ซา (รับ) กลองตั้งแต่ปู้สร้างไว้ให้ลูกหลาน ซา (รับ) ตีว่าการโยทากะได้ ซา (รับ) ตีใกล้ตีไกล ซา (รับ) ตีไปตีมา ซา (รับ) ตีไปน าป่าฮก ซา (รับ) ตีไปฮกๆ พ้อไหกุลา ซา (รับ) กลับออกมาเป็นแผ่น ซา (รับ) แต่งออกมาเต็มขัน ซา (รับ) ย้ายปันออกให้คู่ ซา (รับ) แล้วฟ้อนคู่กับกลอง ซา (รับ) กลองใบนี้ตีบ่อิดตีบ่เมื่อย ซา (รับ) ตีบ่เมื่อยบ่แพง ซา (รับ) ตีแขนซ้ายแคงด างัว ซา (รับ) ตีแขนขวาให้ดังม้วน ซา (รับ) ม้วนๆเข้าเข้าอารมย์ ซา(รับ) เสียงคารมย์ขึ้นหน้า ซา (รับ) ดังแก้ฟ้ากว่าเพิ่นทั้งหลาย ซา(รับ) ฝ่ายซ้ายตีฮอดตีผี ซา (รับ) ก่ าฝ่ายขวาแดนเกี้ยวเป็นเกณฑ์ ซา (รับ) คันได้ยินเสียงกลองใบนี้ ซา(รับ) อยู่ไฮกะฟ่าวพากันมา ซา (รับ) ผู้ไปนากะพากันแล่น ซา (รับ) ฮอดแล้วฟ้อนแอะแอ่นน ากลอง ซา (รับ) คันได้ยินเสียงกลองหน่วยนี้ซา (รับ) ไทยเฮือนใกล้กะรีบฟ้าวมาหา ซา (รับ) ไทยเฮือนไกลกะมานั่งคอยถ้าซา (รับ) มีขันสลาหมากป้อน ซา (รับ) ผู้อ่อนย่อถวย ซา (รับ) ควายกินดีแซบก้อย ซา (รับ)
76 ตารางที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 วันรวมพิธีกรรมบุญบวชควายหลวง (ต่อ) เวลา รูปแบบ หมายเหตุ ควายตัวนี้บ่แม้นอยู่ไฮอยู่นาซา ( รับ) ควายโตนี้ควายอยู่นาแล่นมาสูน ซ า(รับ) ควายตั้งแต่ปู่มารดา ซา (รับ) ควายอาสาค้ าบ้าน ซา (รับ) ควายบ่คาญแล่นขาแข่ง ซา (รับ) ก าลังแฮงขึ้นหน้า ซา (รับ) แฮงแก่กล้ากว่าแฮงช้างสานซา (รับ) แล่นผ่านเงินกะได้มาน า ซา (รับ) แล่นผ่านค ากะเอามาพร้อมซา (รับ) แล่นเอาอ้อมบ้านอ้อมเมือง ซา(รับ) แล่นย้อมเมืองบ่ง้อ ซา (รับ) คนมาพ้ออัศจรรย์ ซา (รับ) คันไผเห็นควายโตนี้ ซา (รับ) ผู้เฒ่ากะให้จูงแขนหลานสะเด้อ ซา (รับ) คั้นแม่มารกะให้อุ้มท้องแล่นซา (รับ) คั้นอยากมั่นแก่งให้เอามือลูกหลัง ซา (รับ) ควายยืนฟังหยี่หน้า ซา (รับ) ควายยืนถ้าให้อมควาย ซา (รับ) อมตุงตังบักสีชมพูด้านล่าง ซา (รับ) แบ้นอยู่บ้านให้มันลันหลายฮู ซา (รับ) สาวอีดูน ามึงสาธุ ซา (รับ) แบ้นมึงเป็นคุลุคิลิคือเต่าลงหนอง ซา (รับ) ควายมึงมืนคือตากบตาเขียดซา (รับ) แล่นอุ่น ๆ คือข้าวหม่า3คืน ซา (รับ) นมสูไข่ให้สูบีบ ซา (รับ) ฮีสูรีบให้สูตี ซา (รับ) แมงหมี่เข้าให้สูไล่ ซา (รับ) ควายใหญ่เข้าให้สูเข้ายุมรับ ซา (รับ) อีมีสมิงดูกหมูลูบไปลูบมา ซา (รับ) บายไปบายมา ซา (รับ) ว่าแม้นหน่วยกล้วย ซา (รับ) ควายบักตู้แม้จนว่าแล่น ซา (รับ) โอ้ย โอย น้อ ซา(รับ)” 10.30 น. เมื่อพิธีกล่าวคาถาเลี้ยงกลองเสร็จสิ้น คณะควายหลวงจะท า การบรรเลงดนตรี พร้อมกับร่ายร าให้เข้ากับจังหวะเสียงกลอง ในส่วนของควายหลวงจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายและออกมา ร่ายร าเพื่อเข้าไปคารวะเจ้าพ่อโฮงแดงด้านในศาล ซึ่งใน ขณะนั้นจะมีการชกมวยจ านวน 3 ยก เพื่อถวายแก่เจ้าพ่อ โฮงแดง ให้ผลการตัดสินการ ชกมวยออกมาเป็น การเสมอกัน
77 ตารางที่ 3 ขั้นตอนที่ 4 วันรวมพิธีกรรมบุญบวชควายหลวง (ต่อ) เวลา รูปแบบ หมายเหตุ 11.00 น. เข้าสู่การเคลื่อนขบวนแห่ไปในพื้นที่ต่าง ๆ โดยคณะควาย หลวงได้อัญเชิญเสลี่ยงเจ้าพ่อโฮงแดง เสลี่ยงอุปัชฌาย์เจ้า อาวาสวัดบ้านแมด และบั้งไฟ เคลื่อนขบวนแห่รอบศาลเจ้า พ่อโฮงแดงเป็นจ านวน 3 รอบ และเคลื่อนขบวนไปแห่รอบ ศาลาวัดจ านวน 3 รอบ เมื่อการแห่ในรอบศาลเจ้าและรอบ ศาลาวัดเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จึงจะได้มีการกราบลาเจ้า อาวาสวัดและเคลื่อนขบวนไปยังกุฏิถาวรประชานุสรณ์เพื่อ คารวะรูปหล่อสัมฤทธิ์อดีตเจ้าอาวาสวัด เคลื่อนขบวนแห่ไป รอบหมู่บ้านแมด 15.30 น. ขบวนของคณะควายหลวงประกอบไปด้วยเสลี่ยงเจ้าพ่อโฮง แดงเสลี่ยงอุปัชฌาย์เจ้าอาวาสวัดบ้านแมด และบั้งไฟ ได้มา รวมกัน ณ วัดบ้านแมด เพื่อเตรียมตัวในการ สวดมนต์ 18.30 น. เจ้าอาวาสพร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ท าการสวดมนต์เย็น คณะ ควายหลวงและชาวบ้านเข้าร่วมพิธีนี้ด้วย ในการสวดมนต์เย็น นี้ได้มีการน าด้ายสายสิญจน์มาโยงไปยังบั้งไฟ เจ้าอาวาส ประพรมน้ าพระพุทธมนต์ลงในบั้งไฟจึงเป็นอันเสร็จพิธี ผู้เข้าร่วมพิธี คณะแห่ บั้งไฟ ค ณ ะ ค ว า ย หลวง ขาวบ้าน ที่มา: ผู้วิจัย ขั้นตอนที่ 5 วันจุดบั้งไฟ ในวันจุดบั้งไฟ คือ วันจุดบั้งไฟเพื่อเสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์และถวายเจ้าพ่อโฮงแดง ดังรายละเอียดตามตารางที่ 4 ตารางที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 วันจุดบั้งไฟ เวลา รูปแบบ หมายเหตุ 08.30 น. คณะควายหลวงได้แห่น าคณะผ้าป่าสามัคคีเพื่อมาทอดผ้าป่า ที่วัดบ้านแมด และเฒ่าจ้ าได้ถวายเครื่องบูชา เครื่องเซ่นไหว้ พร้อมเอาบั้งไฟที่จะจุดไปถวาย ณ ศาลเจ้าพ่อโฮงแดง ซึ่ง คณะควายหลวงจะน าขันธ์ 5 และเงินจ านวน 20 บาท มอบ ให้เฒ่าจ้ าเพื่อประกอบพิธีกรรม น าเสลี่ยงไปวางไว้ใน ที่ที่เหมาะสมร่วมกับ การชมการจุดบั้งไฟ 16.00 น. เฒ่าจ้ าพร้อมกับคณะควายหลวงอัญเชิญเสลี่ยงของเจ้าพ่อโฮง แดงกลับไปยังศาลเจ้าพ่อโฮงแดง และคณะควายหลวงทุกคน ลักษณะของ กระบวนการ
78 ตารางที่ 4 ขั้นตอนที่ 5 วันจุดบั้งไฟ (ต่อ) เวลา รูปแบบ หมายเหตุ 16.00 น. เฒ่าจ้ าพร้อมกับคณะควายหลวงอัญเชิญเสลี่ยงของเจ้าพ่อโฮง แดงกลับไปยังศาลเจ้าพ่อโฮงแดง และคณะควายหลวงทุกคน นั่งรวมกัน ณ ศาลา จากนั้นเฒ่าจ้ าจะถวายเครื่องบูชา เครื่องเซ่นไหว้จุดธูปเทียนบูชาเพื่อบอกกล่าวเจ้าพ่อโฮงแดง ให้ปกป้องคุ้มครองคณะควายหลวงทุกคน และท าพิธีขอลา สิกขาให้กับควายหลวงเพื่อกลับไปใช้ชีวิตตามปกติจากนั้น เฒ่าจ้ าจะเป็นผู้ถอดเขาและกระพวนทามพร้อมกับการสวม เสื้อผ้าธรรมดาให้กับควายหลวง โดยเฒ่าจ้ าจะมีการผูกแขน อวยพรและประพรมน้ ามนต์ให้คณะควายหลวงทุกคน จึงเป็น อันสิ้นสุดหน้าที่ของพิธีกรรมการบวชควายหลวง จะปรากฏขึ้นและท า เป็นประจ าทุกปีจน เกิดการสืบทอดเป็น ประเพณี ที่มา: ผู้วิจัย 2.2.2 ด้านการแต่งกาย จากการศึกษาพบว่า การแต่งกายในงานบุญบวชควายหลวงจะแต่งกายตามบริบท หน้าที่และตามต าแหน่งของแต่ละบุคคลในคณะควายหลวง โดยการแต่งกายเกิดจากการที่ชาวบ้านได้ น าเครื่องแต่งกายที่มีอยู่หรือที่สามารถผลิตได้เองในชุมชน เช่น เสื้อม่อฮ่อม กางขาก๊วย ผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง เป็นต้น มาประยุกต์ใช้ให้เข้าผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ท าพิธีกรรมบวชควายหลวงอีกนัยยะ คือ การแต่งกายในลักษณะต่าง ๆ ที่แตกต่างกันสามารถท าให้แยกต าแหน่งหน้าที่ได้อย่างชัดเจนว่าบุคคใด ท าหน้าที่อะไรในการประกอบพิธีกรรมบุญบวชควายหลวง ซึ่งประกอบไปด้วย การแต่งกายของควาย หลวง, การแต่งกายของตุลาการบ้าน, การแต่งกายของอุปัชฌาย์ผู้บวชควายหลวง, การแต่งกาย หัวหน้าควายหลวง, การแต่งกายของแม่นางหว่า, การแต่งกายผู้ชกมวย และการแต่งกายของผู้แบก เสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 2.2.2.1 การแต่งกายควายหลวงใหญ่และควายหลวงน้อย การแต่งกายควายหลวงใหญ่ และควายหลวงน้อย มีการแต่งกายเลียนแบบ ลักษณะของควาย โดยมีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 ส่วนของศีรษะมีการสวมเขาจ านวน 4 เขา โดยเขานั้นจะมีการผูก ยึดติดกับเส้นผมของผู้ที่สวมใส่และมีการน าแป้งข้าวเจ้ามาผสมน้ าและทาไปที่ศีรษะเพื่อท าการยึดติด ระหว่างเขาและศีรษะของผู้ที่เป็นควายหลวง และรอบขอบตาทาด้วยลิปสติกสีแดง ในส่วนของใบหน้า ทาด้วยสีผสมอาหารสีด า พร้อมกับทาแป้งบริเวณคอด้านหลัง ส่วนที่ 2ช่วงล าตัวจะมีการเปลือยกายท่อนบน และสะพายด้วย “กระพรวนทาม” ที่แขนข้างขวา เพื่อเป็นเครื่องให้สัญญาณซึ่งเปรียบเสมือนกระดิ่งห้อยคอของควาย ส่วนที่ 3 ช่วงล่าง สวมกางเกงขาก๊วยสีด าความยาวระดับเข่าหรือเหนือเข่า เล็กน้อยเพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนไหวของผู้สวมใส่ และน าปลัดขิกมาผูกไว้ที่เอว ซึ่งเป็นการจ าลองของ
79 สัญลักษณ์เพศชาย ท าด้วยไม้เนื้ออ่อนผูกด้วยเชือก มีสายเชื่อมโยงไปด้านหลังส าหรับยึดไม่ให้หลุดจาก ตัวผู้สวมใส่ และมีด้ายสีด าที่ท าเป็นพู่ประดับสื่อสัญลักษณ์เพื่อให้ชาวบ้านเชื่อเป็นด้ายสิริมงคลน าไป บูชาหรือผูกแขน ควายหลวงใหญ่และควายหลวงน้อยมีลักษณะการแต่งกายเหมือนกันดังนี้ ภาพที่13 การแต่งกายควายหลวงใหญ่ ภาพที่ 14 การแต่งกายควายหลวงน้อย ที่มา: ผู้วิจัย ที่มา: ผู้วิจัย 2.2.2.2 การแต่งกายตุลาการบ้าน การแต่งกายของตุลาการบ้าน มีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 ทาใบหน้าด้วยสีผสมอาหารสีด า ส่วนของล าตัวจะสวมด้วยเสื้อม่อฮ่อม แขนสั้น ติดกระดุมอยู่ระหว่างกลางของสาบเสื้อ ส่วนที่ 2 นุ่งกางเกง ด้วยผ้าโทนสีเทา และสีด า ภาพที่15 การแต่งกายตุลาการบ้าน ที่มา: ผู้วิจัย ตุลาการบ้าน
80 2.2.2.3 การแต่งกายอุปัชฌาย์ผู้บวชควายหลวง การแต่งกายของอุปัชฌาย์ผู้บวชควายหลวง มีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 ศีรษะสวมด้วยกระโจมลักษณะเป็นสามเหลี่ยมประดับพู่ชุมชนบ้าน แมดเรียกว่า หม่อมกาพย์ สวมเสื้อม่อฮ่อมแขนสั้น ติดกระดุมอยู่ระหว่างกลางของสาบเสื้อสวมสร้อย ลูกประค าและมีผ้าสไบขิดสีแดงพาดไหล่ไขว้กันทั้งสองข้าง ส่วนที่ 2 ในอดีตจะนุ่งผ้าที่มีในท้องถิ่น ปัจจุบันนุ่งกางเกงผ้าลายผ้าไทย ภาพที่16 การแต่งกายอุปัชฌาย์ผู้บวชควายหลวง ที่มา: ผู้วิจัย 2.2.2.4 การแต่งกายหัวหน้าควายหลวง การแต่งกายของหัวหน้าควายหลวง มีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 ทาใบหน้าด้วยสีผสมอาหารสีด า ส่วนของล าตัวจะสวมด้วยเสื้อม่อฮ่อม แขนสั้น ติดกระดุมอยู่ระหว่างกลางสาบของเสื้อ เช่นเดียวกับการแต่งกายของตุลาการบ้าน ส่วนที่ 2 ในอดีตสวมกางเกงสีกรม หรือสีด า ปัจจุบันสวมกางเกงตามสมัยนิยม อุปัชฌาย์ หลวง
81 ภาพที่17 การแต่งกายหัวหน้าควายหลวง ที่มา: ผู้วิจัย 2.2.2.5 การแต่งกายแม่นางหว่า การแต่งกายของแม่นางหว่า มีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 สวมเสื้อสั้นรูปแบบใดก็ได้โดยไม่ก าหนดสี การแต่งกายสื่อให้เห็นถึง ความเป็นกุลสตรีใส่สร้อยนิยมสวมแว่นตา ส่วนที่ 2 นุ่งกระโปร่งแบบใดก็ได้ที่มีความยาวเหนือเข่า มือถือร่มไม่ก าหนดสี ค านึงถึงความเรียบร้อยสวยงามและเหมาะสมในการร่วมพิธี ภาพที่18 การแต่งกายแม่นางหว่า ที่มา: สุนตัน บ ารุงเอื้อ หัวหน้า ควายหลวง แม่นางหว่า
82 2.2.2.6 การแต่งกายของผู้ชกมวย การแต่งกายของผู้ชกมวย เนื่องจากผู้ชกมวยได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายด า และฝ่ายแดงเพื่อท าการประลองฝีมือถวายแก่เจ้าพ่อโฮงแดง การแต่งกายแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ผู้ชกมวยคนที่ 1 เปลือยกายในส่วนบนในส่วนล่างสวมกางเกงสีด า โดยมีใช้ ผ้าขาวม้าคาดเอว มือทั้งสองสวมใส่นวม ผู้ชกมวยคนที่ 2 เปลือยกายในส่วนบนส่วนล่างสวมกางเกงสีแดง ใช้ผ้าขาวม้า คาดเอว มือทั้งสองข้างสวมใส่นวม การแต่งกายของผู้ชกมวยทั้งสองคน จะมีการน าเครื่องแต่งกายที่หาได้ในชุมชน ในแต่ละปีแต่งกายตามบริบท เลือกโทนสีด าแดงใช้สีผสมอาหารทาใบหน้าด้วยสีด า ภาพที่19 การแต่งกายผู้ชกมวย ที่มา: ผู้วิจัย 2.2.2.7 การแต่งกายผู้แบกเสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดง การแต่งกายของผู้แบกเสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดง จ าลองการแต่งกายของ นักรบในสมัยโบราณ มีรายละเอียดดังนี้ การแต่งกายของผู้แบกเสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดงในชั้นที่ 1 สวมเสื้อคอกลมสี ใดก็ได้นุ่งกางเกงขายาวสีด า ชั้นนอก การสวมเสื้อเกราะที่ฉลุมีลวดลายที่ด้วยสีแดงและพื้นหลังของเสื้อ สีด า ทับเสื้อชั้นที่ 1 ศีรษะสวมหมวกฉลุลวดลายสีเดียวกับเสื้อเกาะใช้สีผสมอาหารทาหน้าสีด า ภาพที่20 การแต่งกายผู้แบกเสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดง ที่มา: ผู้วิจัย ผู้ชกมวยคนที่ 1 ผู้ชกมวยคนที่ 2
83 2.2.3 ด้านวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานบุญบวชควายหลวง จากการศึกษาพบว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบในพิธีกรรมงานบุญบวชควายหลวง แบ่งออกได้ 4 ประเภท คือวัสดุ1) เครื่องบูชา 2) เครื่องศาสตราวุธ 3) เสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดง และ 4) เครื่องเสี่ยงทาย มีรายละเอียดดังนี้ 2.2.3.1 เครื่องบูชา ขันธ์5 เครื่องบูชาขันธ์ 5 คือ เครื่องบูชาที่ใช้ส าหรับการบูชาเจ้าพ่อโฮงแดง ซึ่งในเครื่อง บูชาขันธ์ 5 ประกอบไปด้วย 1) ดอกไม้ขาว 5 คู่ 2) เทียน 5 คู่ 3) ธูป 5 คู่ 4) ค าหมาก 4 ค า 5) ยาสูบใบตอง 4 มวน ภาพที่21 เครื่องบูชาขันธ์ 5 ที่มา: ผู้วิจัย 2.2.3.2 เครื่องศาสตราวุธ พิธีกรรมบวชควายหลวง ชาวบ้านแมดมีความเชื่อว่าเจ้าพ่อโฮงแดงเคยเป็น ทหารที่มีฝีมือจึงท าเครื่องศาสตราวุธและน ามาใช้ร่วมในพิธีกรรมนี้ด้วย เครื่องศาสตราวุธท าด้วยไม้ เนื้ออ่อน ประกอบด้วย 1) ปืน 2) หอก 3) มีด และ 4) ดาบ (หนูดี ขาวศรี 2564, 2 มิถุนายน, สัมภาษณ์) ภาพที่22 ศาสตราวุธ ที่มา: ผู้วิจัย
84 2.2.3.3 เสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดง เครื่องที่ใช้พร้อมกับเสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดง คือ เครื่องที่ใช้ในประกอบ พิธีกรรม เป็นการจ าลองสถานการณ์ที่เปรียบเสมือนว่า “เจ้าพ่อโฮงแดง” ได้นั่งประทับอยู่บนเสลี่ยงนี้ ของเครื่องใช้บนเสลี่ยงจะประกอบไปด้วย 1) เสลี่ยง 1 อัน ที่ท าจากไม้ไผ่ พร้อมด้ามจับจ านวน 4 ด้าน 2) หมอนสามเหลี่ยมหรือหมอนขิด ผ้าที่น ามาใช้ท ามาจากผ้าที่เรียกว่า “ผ้าขิด” เป็นผ้าทอพื้นเมืองของชาวอีสาน หรือชาวอีสานเรียกว่าหมอนขวาน หรือ หมอนขิด ใช้ส าหรับการพิง จ านวน 1 ใบ 3) กาต้มน้ าหรือกาน้ า เป็นอุปกรณ์เครื่องครัวชนิดหนึ่งที่ใช้ส าหรับต้มน้ า วัสดุที่ใช้ท ากาต้มน้ าจะเป็นอลูมิเนียม หรือเหล็กปลอดสนิม 4) ขันธ์5 จานที่ใช้รองเครื่องบูชา โดยในจานนี้จะประกอบไปด้วย ดอกไม้ขาว 5 คู่ เทียน 5 คู่ ธูป 5 คู่ ค าหมาก 4 ค า และยาสูบใบตอง 4 มวน 5) ร่มสีด า 1 คัน โดยกางร่มไว้บนเสลี่ยง 6) ลองเท้าแตะ 1 คู่ ภาพที่ 23 เสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดง ที่มา: ผู้วิจัย 2.2.3.4 เครื่องเสี่ยงทาย เครื่องเสี่ยงทายเป็นเครื่องที่ท าในพิธีเสี่ยงทายส าหรับงานบุญบวชควาย เพื่อถวายให้กับเจ้าพ่อโฮงแดงเพื่อความเป็นศิริมงคล บั้งไฟจะบรรจุด้วยดินปืน ชาวบ้านเรียกว่า “หมื้อ” มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมยาว มีความยาวประมาณ 1.5 – 7 เมตร ท าด้วยล าไม้ไผ่ แล้วใช้ริ้วไม้ไผ่ (ตอก) บิดเป็นเกลียว น าเชือกมาพันรอบเลาบั้งไฟอีกครั้งหนึ่งให้แน่น อัดดินปืนเข้าไป ในเลาบั้งไฟให้แน่นด้วยการใช้สากต าเจาะรูสายชนวนเพื่อน าเลาบั้งไฟไปมัดเข้ากับส่วนหางของบั้งไฟ จ านวน 3 บั้ง และน าไปจุดถวายทั้ง 3 บั้งประกอบกับการท าพิธีกรรมงานบุญบวชควายหลวง (ประจักษ์ ทานีวรรณ, 2564, 2 มิถุนายน สัมภาษณ์)
85 ภาพที่ 24 เครื่องเสี่ยงทายฐานจุดบั้งไฟ ที่มา: ผู้วิจัย 2.2.4 ด้านดนตรีมีใช้ประกอบในงานบุญบวชควายหลวง จากการศึกษาพบว่า เครื่องดนตรีที่ใช้ในงานบุญบวชควายหลวงใช้ดนตรีพื้นบ้านของ ชาวบ้านแมดมีทั้งหมด 2 ชิ้น ได้แก่ กลองร ามะนา และฉาบ ทุกคนในคณะควายหลวงสามารถเล่ม ดนตรีได้ทุกคนและเปลี่ยนสลับกันเล่นตามความเหมาะสม ลักษณะของเครื่องดนตรีมีรายละเอียดดังนี้ 2.2.4.1 กลองร้ามะนา กลองร ามะนา เป็นเครื่องก ากับจังหวะที่ขึงด้วยหนัง หุ่นกลองท าด้วยไม้ขนุน หรือไม้เนื้อแข็ง เช่น ก้ามปู หนังกลองใช้หนังวัวขึงด้วยเชือกไนล่อน ท าหน้าที่ด าเนินจังหวะในการแห่ ควายหลวง เวลาตีนิยมใช้มือเดียวตีเป็นเสียง “ป๊ะ” ใช้ฝ่ามือตีลงบนหน้ากลองพร้อมกับกดไว้ตีเสียง “ตุ้ม” โดยใช้ฝ่ามือตีบริเวณหน้ากลอง ลักษณะของการตีกลองใช้จังหวะรัวสามครั้งแล้วตีให้เป็น จังหวะ ดังนี้ (หนูดี ขาวศรี, 2564, 2 มิถุนายน, สัมภาษณ์) ภาพที่ 25 กลองร ามะนา ที่มา: ผู้วิจัย - - - ตึง ตึง ตึง ตึง - ตึงตึงตึงตึง ตึง ตึง ตึง - ตึงตึงตึงตึง ตึง ตึง ตึง - ตึงตึงตึงตึง ตึง ตึง ตึง -