The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย เรื่อง รูปแบบและกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง หนึ่งฤทัย วงษาหาราช 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

รูปแบบและกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง หนึ่งฤทัย วงษาหาราช 2566

วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย เรื่อง รูปแบบและกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง หนึ่งฤทัย วงษาหาราช 2566

136 ภาพที่ 72 ท่าที่ 12 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าม้วนมือทั้งสองข้างต่างระดับ ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 73 ท่าที่ 12 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะท่าม้วนมือทั้งสองข้างต่างระดับ (1) จังหวะที่ 1 (2) จังหวะที่ 2 ที่มา: ผู้วิจัย


137 ตารางที่29 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าม้วนมือทั้งสองข้างต่างระดับ การวิเคราะห์กระบวนฟ้อนและทิศทางการ แสดงของควายหลวงใหญ่ ดนตรี ทิศ หมายเหตุ 1. การวิเคราะห์กระบวนฟ้อนตามสรีระ ร่างกาย ศีรษะ : เอียงขวา ไหล่และล าตัว : เอียงไปด้านขวา มือและแขน : มือซ้ายม้วนมือออกอยู่ระดับ เหนือศีรษะโดยหันฝ่ามือออกไปด้านหน้า มือขวาม้วนมือออกอยู่ระดับไหล่ ขาและเท้า : ก้าวเท้าซ้ายไปด้านหน้าเท้า ขวายกขึ้นเพื่อวางไปด้านหลังพร้อมกับยืดยุบ ไปตามจังหวะ 2. ทิศทางการเคลื่อนไหวร่างกาย ลักษณะ ของการเคลื่อนไหวเป็นการโยกตัวไปทางด้าน ด้านขวาตามจังหวะดนตรี 3. ทิศทางการเดิน ทิศทางการเดินของควาย หลวง จะมีลักษณะการเดิน 4 รูปแบบ คือ - การเดินไปข้างหน้า - การเดินไปทางด้านซ้าย - การเดินไปทางด้านขวา - การเดินในลักษณะเป็นวงกลม ลักษณะการเดินในรูปแบบต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับ ควายหลวงเป็นคนก าหนดทิศทางว่าจะเริ่ม จากการเดินหรือวิ่งไปทิศทางใด จังหวะ ที่มา: ผู้วิจัย ขั้นตอนที่ 4 พิธีกรรมการลาสิกขาของควายหลวงใหญ่ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้น หลังจากการเซิ้งหาปัจจัยของควายหลวงรอบหมู่บ้านแมด และกลับมาที่ศาลปู่เถ้าเจ้าโฮงแดงเพื่อท า ความเคารพและขอลาสิกขาในการบวชควายครั้งนี้ จึงเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการทั้งหมดส าหรับประเพณี บุญบวชควายหลวงบ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ในการประกอบพิธีการ ลาสิกขาของควายหลวงนั้นจะประกอบไปด้วย ท่าที่ 6 กระบวนฟ้อนในลักษณะศีรษะเอียงซ้ายขวา สลับกัน, ท่าที่ 13 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือทั้งสองข้าง, ท่าที่ 14 กระบวนฟ้อนในลักษณะ ของการเตรียมตัววิ่ง, ท่าที่ 15 กระบวนฟ้อนในลักษณะการก ามือแล้วแบมือ และ ท่าที่ 16 กระบวน ฟ้อนในลักษณะการถูหลัง สามารถวิเคราะห์ท่าฟ้อนทั้ง 4 ท่าได้ดังนี้ ท่าที่ 13 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือทั้งสองข้าง คือ การฟ้อนของควาย หลวงใหญ่ โดยมือทั้งสองข้างยกขึ้นเหนือศีรษะแขนตึง ในส่วนของมือทั้งสองข้างนั้นเมื่อเคลื่อนตัว


138 ตามจังหวะอาจท าให้ระดับของมือทั้งสองข้างเหลื่อมกันสูงต่ าสลับกันเล็กน้อย และล าตัวผู้ที่เป็นควาย หลวงใหญ่จะมีการโยกตัวตามจังหวะดนตรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเลียนแบบการหากินหญ้าของของ สัตว์ (ควาย) ดังแสดงในภาพที่ 74 จากการศึกษาพบว่า ลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายที่ท าให้เกิด กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือทั้งสองข้าง สามารถวิเคราะห์การปฏิบัติท่าลักษณะกระบวนฟ้อน และทิศทางในการฟ้อนตามสรีระร่างกายในส่วนต่าง ๆ ของผู้ที่เป็นควายหลวงให้เป็นรูปธรรมมาก ยิ่งขึ้น ดังแสดงในภาพที่ 75 สามารถแบ่งเป็นลักษณะของ ศีรษะ ไหล่ ล าตัว มือ แขน ขาและเท้า ตามตารางที่ 30 รายละเอียดดังนี้ ภาพที่ 74 ท่าที่ 13 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือทั้งสองข้าง ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 75 ท่าที่ 13 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะท่าโบกมือทั้งสองข้าง (1) จังหวะที่ 1 (2) จังหวะที่ 2 ที่มา: ผู้วิจัย


139 ตารางที่30 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือทั้งสองข้าง การวิเคราะห์กระบวนฟ้อนและทิศทางการ แสดงของควายหลวงใหญ่ ดนตรี ทิศ หมายเหตุ 1. การวิเคราะห์กระบวนฟ้อนตามสรีระ ร่างกาย ศีรษะ : เอียงขวา ไหล่และล าตัว : ล าตัวเอียงไปด้านขวา มือและแขน : มือทั้งสองยกขึ้นเหนือ ศีรษะแขนตึงพร้อมกับม้วนมืออกเป็นตั้งมือ ขาและเท้า : ยืด-ยุบตามจังหวะดนตรี 2. ทิศทางการเคลื่อนไหวร่างกาย ลักษณะ ของการเคลื่อนไหวเป็นการโยกตัวไปทางด้าน ด้านขวาตามจังหวะดนตรี 3. ทิศทางการเดิน ทิศทางการเดินของควาย หลวง จะมีลักษณะการเดิน 4 รูปแบบ คือ - การเดินไปข้างหน้า - การเดินไปทางด้านซ้าย - การเดินไปทางด้านขวา - การเดินในลักษณะเป็นวงกลม ลักษณะการเดินในรูปแบบต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับ ควายหลวงเป็นคนก าหนดทิศทางว่าจะเริ่ม จากการเดินหรือวิ่งไปทิศทางใด จังหวะ ที่มา: ผู้วิจัย ท่าที่ 14 กระบวนฟ้อนในลักษณะของการเตรียมตัววิ่ง คือ การที่ควายหลวง ใหญ่เคลื่อนตัวจากการเดินมาเพื่อที่จะเตรียมวิ่ง ซึ่งมือทั้งสองข้างยกขึ้นเหนือศีรษะพร้อมกับโบกมือ ลักษณะของมือทั้งสองข้างจะมีระดับที่แตกต่างกันเล็กน้อย โดยให้มือขวาอยู่ระดับต าแหน่งศีรษะ มือซ้ายอยู่ระดับเหนือศีรษะแขนตึง เร่งจังหวะจากช้าไปเร็ว เร่งจังหวะจากการเดินไปสู่การวิ่งของ ควายหลวง ดังแสดงในภาพที่ 76 จากการศึกษาพบว่า ลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายที่ท าให้เกิด กระบวนฟ้อนในลักษณะของการเตรียมตัววิ่ง สามารถวิเคราะห์การปฏิบัติท่าลักษณะกระบวนฟ้อน และทิศทางในการฟ้อนตามสรีระร่างกายในส่วนต่าง ๆ ของผู้ที่เป็นควายหลวงให้เป็นรูปธรรมมาก ยิ่งขึ้น ดังแสดงในภาพที่ 77 สามารถแบ่งเป็นลักษณะของ ศีรษะ ไหล่ ล าตัว มือ แขน ขาและเท้า ตามตารางที่ 31 รายละเอียดดังนี้


140 ภาพที่ 76 ท่าที่ 14 กระบวนฟ้อนในลักษณะของการเตรียมตัววิ่ง ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 77 ท่าที่ 14 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะของการเตรียมตัววิ่ง (1) จังหวะที่ 1 (2) จังหวะที่ 2 ที่มา: ผู้วิจัย


141 ตารางที่31 กระบวนฟ้อนในลักษณะของการเตรียมตัววิ่ง การวิเคราะห์กระบวนฟ้อนและทิศทางการ แสดงของควายหลวงใหญ่ ดนตรี ทิศ หมายเหตุ 1. การวิเคราะห์กระบวนฟ้อนตามสรีระ ร่างกาย ศีรษะ : ตรง ไหล่และล าตัว : ตรง มือและแขน : มื้อทั้งสองข้างก ามือระดับ อกแล้วเปลี่ยนเป็น มือซ้ายยกขึ้นเหนือศีรษะ งอแขนพร้อมกับม้วนมืออกเป็นตั้งมือ มือขวา ยกขึ้นระดับศีรษะแขนตึงพร้อมกับม้วนมือ ออกเป็นตั้งมือ ขาและเท้า : ขาขวาก้าวหน้าขาซ้ายวาง ไปด้านหลัง ยืด-ยุบตามจังหวะดนตรี 2. ทิศทางการเคลื่อนไหวร่างกาย ลักษณะ ของการเคลื่อนไหวเป็นการโยกตัวไปทาง ด้านขวาสลับกับทางด้านซ้ายตามจังหวะ ดนตรีซึ่งเป็นลักษณะของการวิ่งไปมา 3. ทิศทางการเดิน ทิศทางการเดินของควาย หลวง จะมีลักษณะการเดิน 4 รูปแบบ คือ - การเดินไปข้างหน้า - การเดินไปทางด้านซ้าย - การเดินไปทางด้านขวา - การเดินในลักษณะเป็นวงกลม ลักษณะการเดินในรูปแบบต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับ ควายหลวงเป็นคนก าหนดทิศทางว่าจะเริ่ม จากการเดินหรือวิ่งไปทิศทางใด จังหวะ ที่มา: ผู้วิจัย ท่าที่ 15 กระบวนฟ้อนในลักษณะการก ามือแล้วแบมือ คือ การที่ควายหลวง ใหญ่เคลื่อนตัวไปในสถานที่ต่าง ๆ ก ามือทั้งสองข้างยกขึ้นเหนือศีรษะแล้วเคลื่อนมือเป็นลักษณะคลาย มือออกเป็นการแบมือทั้งสองข้าง โยกตัวให้เข้ากับจังหวะของดนตรีดังแสดงในภาพที่ 78 จาก การศึกษาพบว่า ลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายที่ท าให้เกิดกระบวนฟ้อนในลักษณะการก ามือแล้วแบ มือ สามารถวิเคราะห์การปฏิบัติท่าลักษณะกระบวนฟ้อนและทิศทางในการฟ้อนตามสรีระร่างกายใน ส่วนต่าง ๆ ของผู้ที่เป็นควายหลวงให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ดังแสดงในภาพที่ 79 สามารถแบ่งเป็น ลักษณะของ ศีรษะ ไหล่ ล าตัว มือ แขน ขาและเท้า ตามตารางที่ 32 รายละเอียดดังนี้


142 ภาพที่ 78 ท่าที่ 15 กระบวนฟ้อนในลักษณะการก ามือแล้วแบมือทั้งสองข้าง ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 79 ท่าที่ 15 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการก ามือแล้วแบมือทั้งสองข้าง (1) จังหวะที่ 1 (2) จังหวะที่ 2 ที่มา: ผู้วิจัย


143 ตารางที่32 กระบวนฟ้อนในลักษณะการก ามือแล้วแบมือทั้งสองข้าง การวิเคราะห์กระบวนฟ้อนและทิศทางการ แสดงของควายหลวงใหญ่ ดนตรี ทิศ หมายเหตุ 1. การวิเคราะห์กระบวนฟ้อนตามสรีระ ร่างกาย ศีรษะ : เอียงซ้าย ไหล่และล าตัว : กดไหล่ซ้ายและล าตัว เอียงไปด้านซ้าย มือและแขน : ยกมือขึ้นระดับเหนือศีรษะ โดยลักษณะของมือคือการก ามือแล้วแบมือ ขาและเท้า : ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าเท้า ขวายกขึ้นแล้ววางไปข้างหลังพร้อมกับยืดยุบ ไปตามจังหวะ 2. ทิศทางการเคลื่อนไหวร่างกาย ลักษณะ ของการเคลื่อนไหวเป็นการโยกตัวไปทาง ด้านขวาสลับกับทางด้านซ้ายตามจังหวะ ดนตรี 3. ทิศทางการเดิน ทิศทางการเดินของควาย หลวง จะมีลักษณะการเดิน 4 รูปแบบ คือ - การเดินไปข้างหน้า - การเดินไปทางด้านซ้าย - การเดินไปทางด้านขวา - การเดินในลักษณะเป็นวงกลม ลักษณะการเดินในรูปแบบต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับ ควายหลวงเป็นคนก าหนดทิศทางว่าจะเริ่ม จากการเดินหรือวิ่งไปทิศทางใด จังหวะ ที่มา: ผู้วิจัย ท่าที่ 16 กระบวนฟ้อนในลักษณะการถูหลัง คือ การที่ควายหลวงใหญ่วิ่งไปใกล้ สถานที่ที่สามารถน าหลังไปสัมผัสได้และแสดงท่าทางออกในลักษณะเหมือนกับการที่ควายน าหลังไปถู กับต้นไม้หรือสิ่งก่อสร้างหรือเสาบ้านเรือน การแสดงท่าทางนี้เป็นการเลียนแบบธรรมชาติของสัตว์ (ควาย) ในเรื่องของอากัปกิริยาของสัตว์ ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของท่าหากินหญ้าของควายหลวง ดังแสดงในภาพที่ 80 จากการศึกษาพบว่า ลักษณะการเคลื่อนไหวร่างกายที่ท าให้เกิดกระบวนฟ้อนใน ลักษณะการถูหลัง สามารถวิเคราะห์การปฏิบัติท่าลักษณะกระบวนฟ้อนและทิศทางในการฟ้อนตาม สรีระร่างกายในส่วนต่าง ๆ ของผู้ที่เป็นควายหลวงให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ดังแสดงในภาพที่ 81 สามารถแบ่งเป็นลักษณะของ ศีรษะ ไหล่ ล าตัว มือ แขน ขาและเท้า ตามตารางที่ 33 รายละเอียด ดังนี้


144 ภาพที่ 80 ท่าที่ 16 กระบวนฟ้อนในลักษณะการถูหลัง ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 81 ท่าที่ 16 การปฏิบัติกระบวนฟ้อนลักษณะการก ามือแล้วแบมือ (1) จังหวะที่ 1 (2) จังหวะที่ 2 ที่มา: ผู้วิจัย


145 ตารางที่33 กระบวนฟ้อนในลักษณะการถูหลัง การวิเคราะห์กระบวนฟ้อนและทิศทางการ แสดงของควายหลวงใหญ่ ดนตรี ทิศ หมายเหตุ 1. การวิเคราะห์กระบวนฟ้อนตามสรีระ ร่างกาย ศีรษะ : ก้มหน้า ไหล่และล าตัว : ก้มลงเล็กน้อย มือซ้ายและแขน : ก ามืออยู่ระหว่างเอว พร้อมกับงอศอก มือขวาและแขน : ปล่อยมือข้างล าตัวงอ แขนเล็กน้อย ขาและเท้า : เท้าขวาอยู่ด้านหน้าเท้าซ้าย ยกเท้าแล้วกระทืบเท้าอยู่ด้านหลังแล้ววิ่งไป ด้านหน้า 2. ทิศทางการเคลื่อนไหวร่างกาย ลักษณะ ของการเคลื่อนไหว คือ การน าตัวของผู้แสดง ไปสัมผัสกับวัตถุที่อยู่ใกล้ที่สุด เป็นลักษณะ การเลียนแบบการเอาตัวไปถูกับสิ่ง ๆ ของ สัตว์ (ควาย) เพื่อให้สมจริงมากยิ่งขึ้น ล าตัว เน้นหนักไปที่ข้างที่ถูหรือสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ 3. ทิศทางการเดิน ทิศทางการเดินของ ควายหลวง จะมีลักษณะการเดิน 4 รูปแบบ คือ - การเดินไปข้างหน้า - การเดินไปทางด้านซ้าย - การเดินไปทางด้านขวา - การเดินในลักษณะเป็นวงกลม ลักษณะการเดินในรูปแบบต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับ ควายหลวงเป็นคนก าหนดทิศทางว่าจะเริ่ม จากการเดินหรือวิ่งไปทิศทางใด จังหวะ ที่มา: ผู้วิจัย จากการวิเคราะห์กระบวนฟ้อนของควายหลวงน้อยและควายหลวงใหญ่ สรุปได้ว่า กระบวนการฟ้อนของควายหลวงน้อยมีทั้งหมด 10 ท่า และกระบวนการฟ้อนของควายหลวงใหญ่ มีทั้งหมด 16 ท่า ลักษณะกระบวนฟ้อนของควายหลวงทั้งสองนั้น เป็นกระบวนการฟ้อนในท่า “หากินหญ้า” เช่นกัน ซึ่งเป็นลักษณะของการเลียนแบบอากัปกิริยาของสัตว์ (ควาย) เป็นลักษณะ


146 ของวิถีชีวิตของสัตว์ (ควาย) ในการด ารงชีวิตของแต่ละวัน เป็นการถ่ายทอดกระบวนฟ้อนผ่านบุคคล ที่ได้รับสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่โบราณ ไม่สามารถเปลี่ยนคนได้เนื่องจากต้องได้รับการถ่ายทอดจาก ตระกูลของตนเท่านั้น จากการวิเคราะห์กระบวนท่าฟ้อนสามารถพบท่าที่เหมือนกัน ควายหลวงน้อย จ านวน 9 ท่า ควายหลวงใหญ่จ านวน 8 ท่า และท่าที่แตกต่างกัน ควายหลวงน้อย จ านวน 1 ท่า ควาย หลวงใหญ่จ านวน 8 ท่า ซึ่งความแตกต่างของท่าทั้งสองรูปแบบนี้เกิดจากการได้รับหน้าที่ในงานบุญ บวชควายหลวงที่แตกต่างกัน คือ ควายหลวงน้อยรับหน้าที่เป็นผู้เซิ้งหาปัจจัย ซึ่งจะเป็นกระบวนการ ที่จัดขึ้นก่อนวันบวชควายตัวจริง จึงท าให้เกิดกระบวนท่าฟ้อนที่น้อยกว่าควายหลวงใหญ่ ส่วนกระบวน ท่าฟ้อนของควายหลวงใหญ่นั้นเกิดขึ้นจากการจัดท าพิธีและฟ้อนแห่รอบหมู่บ้านแมด โดยจะมีขั้นตอน ในการท ามากกว่าของควายหลวงน้อย เช่น การแสดงความเคารพต่อเจ้าพ่อโฮงแดง ณ ศาลของเจ้าพ่อ โฮงแดง สามารถวิเคราะห์ตามตารางที่ 34 รายละเอียดดังนี้ ตารางที่ 34 ลักษณะกระบวนฟ้อนที่เหมือนและแตกต่างกัน รายละเอียดข้อมูล ควายหลวงน้อย ควายหลวงใหญ่ ลักษณะของกระบวนฟ้อน ที่เหมือนกัน ท่าที่ 1 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่า ดีดเท้าของควายหลวงน้อย ท่าที่ 1 กระบวนฟ้อนใน ลักษณะท่าดีดเท้าของควาย หลวงใหญ่ ท่าที่ 2 กระบวนฟ้อนในลักษณะ การวิ่งของควายส ารอง ท่าที่ 3 กระบวนฟ้อนใน ลักษณะการวิ่งของควายตัวจริง ท่าที่ 3 กระบวนฟ้อนในลักษณะ โบกมือซ้าย และท่าที่ 8 กระบวน ฟ้อนในลักษณะก ามือและโบก มือซ้าย ท่าที่ 10 กระบวนฟ้อนใน ลักษณะโบกมือซ้าย ท่าที่ 4 กระบวนฟ้อนในลักษณะ โบกมือขวา ท่าที่ 9 กระบวนฟ้อนใน ลักษณะท่าม้วนมือและโบก มือขวา ท่าที่ 5 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่า ม้วนมือทั้งสองข้างต่างระดับ ท่าที่ 5 กระบวนฟ้อนใน ลักษณะท่าม้วนมือสลับกัน ท่าที่ 6 กระบวนฟ้อนในลักษณะ การท าท่ากางมือ ท่าที่ 8 กระบวนฟ้อนใน ลักษณะการท าท่ากางมือ ท่าที่ 7 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่า โบกมือขวาซ้าย ต่างระดับ ท่าที่ 6 กระบวนฟ้อนใน ลักษณะศีรษะเอียงซ้ายขวา สลับกัน ท่าที่ 10 กระบวนฟ้อนในลักษณะถู หลัง ท่าที่ 16 กระบวนฟ้อนใน ลักษณะถูหลัง


147 ตารางที่ 34 ลักษณะกระบวนฟ้อนที่เหมือนและแตกต่างกัน (ต่อ) รายละเอียดข้อมูล ควายหลวงน้อย ควายหลวงใหญ่ ลักษณะของกระบวนฟ้อน ที่เหมือนกัน ควายหลวงน้อย มี 1 ท่า ดังนี้ - ท่าที่ 9 กระบวนฟ้อนในลักษณะการก ามือแล้วแบมือมือข้างขวา ควายหลวงใหญ่ มี 8 ท่า คือ - ท่าที่ 2 กระบวนฟ้อนในลักษณะการไหว้ของควายหลวงใหญ่ - ท่าที่ 4 กระบวนฟ้อนในลักษณะการม้วนมือขอพร - ท่าที่ 7 กระบวนฟ้อนในลักษณะศีรษะเอียงขวา - ท่าที่ 11 กระบวนฟ้อนในลักษณะโบกมือขวา - ท่าที่ 12 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าม้วนมือทั้งสองข้างต่างระดับ - ท่าที่ 13 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือทั้งสองข้าง - ท่าที่ 14 กระบวนฟ้อนในลักษณะการเตรียมตัววิ่ง - ท่าที่ 15 กระบวนฟ้อนในลักษณะการก ามือแล้วแบมือทั้งสองข้าง ที่มา: ผู้วิจัย


บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยเรื่อง รูปแบบและกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ที่มารูปแบบและองค์ประกอบในงานบุญบวชควายหลวง วิเคราะห์รูปแบบกระบวนฟ้อนในงานบุญ บวชควายหลวง บ้านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยวิธีการด าเนินงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ ศึกษาข้อมูลในด้านเนื้อหา ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีด าเนินการวิจัย เชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผ่านกระบวนการตามทฤษฎีโครงสร้างทางวัฒนธรรม เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ในด้านรูปแบบและองค์ประกอบที่เกิดขึ้นในงานบุญบวชควายหลวง ใช้แนวคิด ทฤษฎีการเคลื่อนไหวสรีระตามธรรมชาติวิเคราะห์รูปแบบกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมองค์ความรู้จากการสังเกต สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและปราชญ์ชาวบ้านพร้อมกับการ ลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อน าข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ข้อมูลให้เป็นลายลักษณ์อักษรและน าเสนอ ผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ 1. สรุปผล งานบุญบวชควายหลวง คือ งานประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณของ ชาวบ้านแมด อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด งานบุญบวชควายหลวงจะจัดในบุญเดือนหกหรือเดือนมิถุนายน ของทุกปีชาวบ้านมีความเชื่อว่าการจัดงานบุญบวชควายหลวงเป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นเพื่อถวายแก่เจ้าพ่อ โฮงแดง ชาวบ้านเชื่อว่าหากมีการท าพิธีกรรมเพื่อบูชาเจ้าพ่อโฮงแดงจะท าให้อยู่เย็นเป็นสุข และมีความ อุดมสมบูรณ์ในความเป็นอยู่และการท าเกษตรกรรม พิธีกรรมนี้เกิดขึ้นควบคู่กับงานประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประจ าทุกปีของชาวบ้านแมด พิธีกรรมบวชควายหลวงเป็นพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับการคารวะเจ้า พ่อโฮงแดงหรือผีบรรพบุรุษของชาวอีสานในบ้านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งสามารถสรุป ตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้


149 1.1 รูปแบบและองค์ประกอบงานบุญบวชควายหลวง 1.1.1 รูปแบบของงานบุญบวชควายหลวง รูปแบบที่ 1 ปีพุทธศักราช 2369 - ปีพุทธศักราช 2539 เป็นการจัดงานบุญบวชควายหลวง ตามความเชื่อของชาวบ้านในชุมชนบ้านแมด ซึ่งรูปแบบการจัดงานเป็นการจัดท าพิธีบวชควายหลวง โดยใช้ผู้เข้าพิธีบวชควายหลวงเพียงคนเดียวซึ่งต้องสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษเท่านั้น ลักษณะของการ จัดงานจะเป็นการฟ้อนรอบหมู่บ้านเพื่อให้ชาวบ้านได้บริจาคปัจจัยและในวันจริงจึงจะเข้าร่วมพิธีบวช ควายหลวงท าความเคารพต่อเจ้าพ่อโฮงแดงและท าการฟ้อนรอบหมู่บ้านต่อไป รูปแบบที่ 2 ปี พุทธศักราช 2540 – ปีพุทธศักราช 2565 รูปแบบการจัดงานบุญบวชควายหลวงได้มีการเปลี่ยน รูปแบบการจัดงาน จากเดิมมีควายหลวงที่เป็นผู้ประกอบพิธีการฟ้อนอยู่เพียงคนเดียว เปลี่ยนมาเป็น การมีควายหลวงจ านวน 2 ตัวในการจัดท าพิธีเรียกว่า “ควายหลวงใหญ่และควายหลวงน้อย” เนื่องจากผู้สืบทอดการบวชควายหลวงได้ตระหนักถึงการสืบทอดให้กับเยาวชนรุ่นหลังหรือทายาทของ ตนในปัจจุบันนั้น หากไม่มีควายหลวงน้อยท าหน้าที่ช่วยในงานบุญบวชควายหลวงอาจท าให้ประเพณี และพิธีกรรมนี้สูญหายไปได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า การจัดงานบุญบวชควายหลวงสามารถ แบ่งรูปแบบในการจัดงานบุญบวชควายหลวงได้ทั้งหมด 2 รูปแบบและองค์ประกอบในการจัดงานบุญ บวชควายหลวงทั้งหมด 6 ด้าน 1.1.2 องค์ประกอบของงานบุญบวชควายหลวง 1.1.2.1. ด้านพิธีกรรม โดยขั้นตอนของพิธีกรรมงานบุญบวชควายหลวงมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 การดูฤกษ์ยามของการจัดงานบุญบวชควายหลวง ในงานบุญบวช ควายหลวงนี้ได้ก าหนดจัดงานในระหว่างวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ของเดือนหกหรือเดือนมิถุนายน ของทุกปีและมักจะเกิดขึ้นในข้างขึ้นของเดือนมิถุนายนทุกๆปี เช่น ในปีพ.ศ.2562 เกิดขึ้นในวันที่ 7 มิถุนายน ซึ่งตรงกับข้างขึ้น 5 ค่ าเดือนเจ็ดและตรงกับวันศุกร์และวันที่ 11 มิถุนายน ซึ่งตรงกับ ข้างขึ้น 12 ค่ าเดือนเจ็ด และตรงกับวันเสาร์ตามปฏิทินจันทรคติไทย เป็นต้น ขั้นตอนที่ 2 การแบ่งหน้าที่ในงานบุญบวชควายหลวง สามารถแบ่งหน้าที่ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ประกอบพิธีกรรมควายหลวงบ้านแมด ประกอบด้วย 1) เฒ่าจ้ าผู้น าทางพิธีกรรม 2) อุปัชฌาย์บวชควายหลวง 3) หัวหน้าคณะควายหลวง 4) ตุลาการบ้าน กลุ่มที่ 2 ผู้เข้าบวชเป็นควายหลวง ประกอบด้วย 1) ควายหลวงใหญ่ 2) ควายหลวงน้อย กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้เข้าร่วมพิธีกรรม ประกอบด้วย 1) ผู้ถือเครื่องศาสตราวุธ 2) นักดนตรี


150 กลุ่มที่ 4 กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมควายหลวง ประกอบด้วย 1) ผู้ชกมวย 2) แม่นางหว่า 3) ประธานในพิธี คือ เจ้าอาวาสวัดบ้านแมด เป็นต้น ขั้นตอนที่ 3 วันออกเซิ้งหาปัจจัยในการจัดงานบุญบวชควายหลวง คือการออก เซิ้งหาปัจจัยในการจัดงานบุญบวชควายหลวง มีลักษณะการออกเซิ้งในรูปแบบขบวนแห่ โดยคณะ ควายหลวงจะท าการแห่รอบหมู่บ้านแมดและหมู่บ้านใกล้เคียง มีวัตถุประสงค์เพื่อบอกบุญให้กับ ชาวบ้านเพื่อได้น าปัจจัยมาบริจาคให้กับควายหลวงน้อย แบ่งช่วงเวลาในการออกเซิ้งหาปัจจัยส าหรับ งานบุญบวชควายหลวง ดังรายละเอียดต่อไปนี้เวลา 09.30 น. เป็นเวลาส าหรับการเริ่มออกเซิ้งหา ปัจจัย ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “มื้อออกเล่น” หรือ “มื้อมอบนาค” เวลา 10.00 น. เฒ่าจ้ าน าเครื่อง บูชา เครื่องเซ่นไหว้ถวายให้กับเจ้าพ่อโฮงแดงพร้อมกับการจุดธูปเทียนบูชา เพื่อบอกกล่าวต่อเจ้าพ่อ โฮงแดง เวลา 10.30 น. คณะควายหลวงและควายหลวงน้อยเริ่มการเซิ้งหาปัจจัย โดยเคลื่อนขบวนไป ที่วัดบ้านแมดเพื่อท าการบอกกล่าวแก่เจ้าอาวาสวัด เมื่อบอกกล่าวเรียบร้อยแล้วจึงจะมีการเคลื่อน ขบวนไปยังจุดรูปหล่อสัมฤทธิ์ของอดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านแมด เพื่อท าพิธีคารวะก่อนที่จะไปเซิ้งหา ปัจจัยในหมู่บ้านต่อไป เวลา 11.00 น. เมื่อท าการเซิ้งหาปัจจัยในหมู่บ้านแมดเรียบร้อย คณะควาย หลวงจะได้เคลื่อนขบวนไปที่หมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อเซิ้งหาปัจจัยและเคลื่อนขบวนกลับมาที่บ้านแมดอัน เป็นที่เสร็จสิ้นพิธีการเซิ้งหาปัจจัย ขั้นตอนที่ 4 วันรวมพิธีกรรมบุญบวชควายหลวง คือ วันที่มีการท าพิธีกรรมบุญ บวชควายหลวงตามฤกษ์ยามดีที่ได้ก าหนดจัดงานบุญบวชควายหลวง ในวันรวมพิธีกรรมบุญบวชควาย หลวงสามารถแบ่งช่วงเวลาในการประกอบพิธีกรรมตามรายละเอียดดังต่อไปนี้เวลา 08.00 น. เป็นเวลาส าหรับการเริ่มงานบุญบวชควายหลวง พิธีกรรมนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า “มื้อโฮม” หรือ “มื้อบีบข้าวปุ้น” ก่อนการท าพิธีกรรมบวชควายหลวงนั้น จะมีการรวมตัวกันเพื่อเตรียมเครื่องบูชา เพื่อน าไปสู่การถวายเครื่องบูชาและเครื่องเซ่นไหว้ต่อเจ้าพ่อโฮงแดงตามล าดับขั้นตอนของพิธีกรรม เวลา 08.30 น. ตุลาการบ้านแนะน าขั้นตอนทางด้านพิธีกรรม ค านึงถึงขั้นตอนการท าในรูปแบบคง เดิมมากที่สุด เวลา 09.00 น. คณะควายหลวงได้เริ่มเคลื่อนขบวนแห่รอบศาลเจ้าพ่อโฮงแดงเป็น จ านวน 3 รอบ คือ เฒ่าจ้ าน ากล่าวถวายเครื่องบูชา เครื่องเซ่นไหว้ จุดธูปเทียนบูชา และบอกกล่าวต่อ เจ้าพ่อโฮงแดงว่าจะมีการประกอบพิธีกรรมบวชควายหลวง พิธีเริ่มจากการน าบั้งไฟขนาดเล็กจ านวน 3 บั้งมาจุดเพื่อถวายเจ้าพ่อโฮงแดงเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล เวลา 09.30 น. ขั้นตอนการท า พิธีกรรมบวชควายหลวง การบวชควายหลวงจะต้องกล่าวค าบวชต่อผู้อุปัชฌาย์และเปลี่ยนเครื่องแต่ง กายเพื่อเข้าสู่พิธีการเซิ้งบูชาเจ้าพ่อโฮงแดงและเซิ้งหาปัจจัยต่อไป เวลา 10.30 น. คณะควายหลวงจะ ท าการบรรเลงดนตรี พร้อมกับร่ายร าเข้ากับจังหวะกลอง เวลา 11.00 น. เข้าสู่การเคลื่อนขบวนแห่ไป ในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเริ่มจากการเคลื่อนขบวนแห่รอบศาลเจ้าพ่อโฮงแดง เคลื่อนขบวนไปแห่รอบ ศาลาวัด เคลื่อนขบวนไปยังกุฏิถาวรประชานุสรณ์เพื่อคารวะรูปหล่อสัมฤทธิ์อดีตเจ้าอาวาสวัด และเคลื่อนขวนแห่ไปรอบหมู่บ้านแมดต่อไปตามล าดับ เวลา 15.30 น. ขบวนของคณะควายหลวง ประกอบไปด้วยเสลี่ยงเจ้าพ่อโฮงแดง เสลี่ยงอุปัชฌาย์เจ้าอาวาสวัดบ้านแมด และ บั้งไฟ มารวมกัน ณ วัดบ้านแมด เพื่อเตรียมตัวในการสวดมนต์ เวลา 18.30 น. เจ้าอาวาสวัดพร้อมกับพระภิกษุสงฆ์


151 ด าเนินการสวดมนต์เย็นให้กับคณะบั้งไฟที่ถูกแห่รอบหมู่บ้าน ในการสวดมนต์เย็นนี้จะมีการน าด้าย สายสิญจน์มาโยงไปยังบั้งไฟเจ้าอาวาสประพรมน้ าพุทธมนต์ลงในบั้งไฟจึงเป็นอันเสร็จพิธี ขั้นตอนที่ 5 วันจุดบั้งไฟ ในวันจุดบั้งไฟได้เริ่มกิจกรรมในเวลา 08.30 น. โดยขบวนของคณะควายหลวงได้แห่น าคณะผ้าป่าสามัคคีเพื่อมาทอดผ้าป่าที่วัดบ้านแมด และเฒ่าจ้ า กล่าวน าถวายเครื่องบูชา เครื่องเซ่นและน าบั้งไฟไปจุดถวาย ณ ศาลเจ้าพ่อโฮงแดง เวลา 16.00 น. เฒ่าจ้ าพร้อมกับคณะควายหลวงอัญเชิญเสลี่ยงของเจ้าพ่อโฮงแดงกลับไปยังศาลเจ้าพ่อโฮง แดง ถวายเครื่องบูชา เครื่องเซ่นไหว้จุดธูปเทียนบูชา เพื่อบอกกล่าวเจ้าพ่อโฮงแดงให้ปกป้องคุ้มครอง คณะควายหลวง และท าพิธีขอลาสิกขาให้กับควายหลวงเพื่อกลับไปใช้ชีวิตตามปกติซึ่งลักษณะของ กระบวนการข้างต้นจะปรากฏขึ้นท าเป็นประจ าทุกปีจนเกิดการอนุรักษ์สืบทอดเป็นประเพณีต่อไป 1.1.2.2 ด้านการแต่งกาย การแต่งกายในงานบุญบวชควายหลวงจะแต่งกายตาม บริบทหน้าที่และตามต าแหน่งของแต่ละบุคคลในคณะควายหลวง การแต่งกายเกิดจากการที่ชาวบ้าน ได้น าเครื่องแต่งกายที่มีอยู่ในชุมชนหรือที่สามารถผลิตได้เองในชุมชน เช่น เสื้อม่อฮ่อม กางเกงขาก๊วย ผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง เป็นต้น พิธีกรรมบวชควายหลวงอีกนัยยะ คือ การแต่งกายในลักษณะต่าง ๆ ที่ แตกต่างกันสามารถท าให้แยกต าแหน่งหน้าที่ได้อย่างชัดเจนว่าบุคคลใด ท าหน้าที่อะไรในการประกอบ พิธีกรรมบุญบวชควายหลวง ประกอบไปด้วย การแต่งกายของควายหลวงใหญ่และควายหลวงน้อย คือ แต่งเลียนแบบลักษณะของควาย ประกอบไปด้วยผูกยึดติดกับเส้นผมรอบขอบตาทาด้วยลิปสติกสี แดง ในส่วนของใบหน้าทาด้วยสีผสมอาหารสีด าช่วงล าตัวจะมีการเปลือยกายท่อนบน สวมกางเกง ขาก๊วยสีด า และน าปลัดขิกมาผูกไว้ที่เอว ซึ่งเป็นการจ าลองของสัญลักษณ์เพศชาย, การแต่งกายของ ตุลาการบ้าน ประกอบไปด้วย ทาใบหน้าด้วยสีผสมอาหารสีด า ส่วนของล าตัวจะสวมด้วยเสื้อม่อฮ่อม แขนสั้น ติดกระดุมอยู่ระหว่างกลางของสาบเสื้อ นุ่งกางเกง ด้วยผ้าโทนสีเทา และสีด า,การแต่งกาย ของอุปัชฌาย์ผู้บวชควายหลวง ประกอบไปด้วย ศีรษะสวมด้วยกระโจมลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ประดับพู่ชุมชนบ้านแมดเรียกว่า หม่อมกาพย์ สวมเสื้อม่อฮ่อมแขนสั้น สวมสร้อยลูกประค าและมีผ้า สไบขิดสีแดงพาดไหล่ไขว้กันทั้งสองข้าง ในอดีตจะนุ่งผ้าที่มีในท้องถิ่น ปัจจุบันนุ่งกางเกงผ้าลายผ้าไทย ภาคกลาง การแต่งกายหัวหน้าควายหลวง ประกอบไปด้วย ทาใบหน้าด้วยสีผสมอาหารสีด า ส่วนของ ล าตัวจะสวมด้วยเสื้อม่อฮ่อม แขนสั้น ติดกระดุมอยู่ระหว่างกลางสาบของเสื้อในอดีตสวมกางเกงสี กรม หรือสีด า ปัจจุบันสวมกางเกงตามสมัยนิยม การแต่งกายของแม่นางหว่า ประกอบไปด้วย 1 สวม เสื้อสั้นรูปแบบใดก็ได้โดยไม่ก าหนดสี การแต่งกายสื่อให้เห็นถึงความเป็นกุลสตรีใส่สร้อยนิยมสวม แว่นตานุ่งกระโปร่งแบบใดก็ได้ที่มีความยาวเหนือเข่า มือถือร่มไม่ก าหนดสี ค านึงถึงความเรียบร้อย สวยงามและเหมาะสมในการร่วมพิธี, การแต่งกายผู้ชกมวย ประกอบไปด้วย 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายด าและ ฝ่ายแดง ผู้ชกมวยจะเปลือยกายช่วงบนและสวมกางเกงสีด าหรือสีแดงตามฝ่ายที่ตนได้รับมอบหมาย มีผ้าขาวม้าพาดที่เอว สวมนวม และการแต่งกายของผู้แบกเสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดง การแต่งกาย ของผู้แบกเสลี่ยงมีทั้งหมด 2 ชั้น ประกอบไปด้วย การแต่งกายของผู้แบกเสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงใน ชั้นที่ 1 สวมเสื้อคอกลมสีใดก็ได้นุ่งกางเกงขายาวสีด า ชั้นนอก การสวมเสื้อเกราะที่ฉลุมีลวดลายที่ด้วย สีแดงและพื้นหลังของเสื้อสีด า ทับเสื้อชั้นที่ 1 ศีรษะสวมหมวกฉลุลวดลายสีเดียวกับเสื้อเกาะใช้สีผสม อาหารทาบหน้าสีด า


152 1.1.2.3 ด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในงานบุญบวชควายหลวง จากการศึกษาพบว่าอุปกรณ์ ที่ใช้ในการประกอบในพิธีกรรมงานบุญบวชควายหลวง สามารถแบ่งได้ 4 ประเภท คือ 1) เครื่องบูชา (ขันธ์ห้า) ประกอบไปด้วย ดอกไม้ขาว 5 คู่ เทียน 5 คู่ ธูป 5 คู่ ค าหมาก 4 ค า ยาสูบใบตอง 4 มวน 2) เครื่องศาสตราวุธ ประกอบไปด้วย มีด ดาบ หอก และ ปืน 3) เครื่องใช้พร้อมเสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อ โฮงแดง ประกอบไปด้วย เสลี่ยง 1 อัน, หมอนสามเหลี่ยมหรือหมอนขิด จ านวน 1 ใบ กาต้มน้ า 1 อัน จานที่ใช้รองเครื่องบูชา ร่มสีด า 1 คัน โดยกางร่มไว้บนเสลี่ยง รองเท้าแตะ 1 คู่ และ 4) เครื่องเสี่ยง ทาย คือ บั้งไฟ จ านวน 3 บั้ง และน าไปจุดถวายทั้ง 3 บั้งประกอบกับการท าพิธีกรรมงานบุญบวช ควายหลวงเพื่อความเป็นสิริมงคล 1.1.2.4 ด้านดนตรีที่ใช้ประกอบในงานบุญบวชควายหลวง ดนตรีที่ใช้ในงานบุญ บวชควายหลวงใช้ดนตรีพื้นบ้านของชาวอีสานมีทั้งหมด 2 ชิ้น ได้แก่ กลองร ามะนา เป็นเครื่องก ากับ จังหวะที่ท าหน้าในการด าเนินจังหวะในวงดนตรีพื้นบ้าน เวลาตีนิยมใช้มือเดียวตีเป็นเสียง “ป๊ะ” ใช้ฝ่า มือตีลงบนหน้ากลองพร้อมกับกดไว้ตีเสียง “ตุ้ม” และ ฉาบ เป็นเครื่องประกอบจังหวะที่ท าด้วยโลหะ เวลาตีให้ใช้ฉาบด้านซ้ายตีกระทบกับฉาบด้านขวามือให้เกิดแรงสั่นและเกิดเสียง ซึ่งนักดนตรีทุกคนใน คณะสามารถเล่นเครื่องดนตรีสลับกันได้ 1.1.2.5 สถานที่ในการจัดงานบุญบวชควายหลวง สถานที่ส าหรับการประกอบ พิธีกรรมบวชควายหลวง ประกอบไปด้วย ศาลเจ้าพ่อโฮงแดงที่บริเวณดอน, ศาลเจ้าพ่อโฮงแดงที่ตั้ง อยู่ภายในบริเวณวัด บ้านหัวหน้าคณะควายหลวง และที่จุดบั้งไฟเป็นสถานที่เฒ่าจ้ าร่วมกับคณะควาย หลวงท าพิธีอัญเชิญเสลี่ยงเจ้าพ่อโฮงแดงไปประทับชมการจุดบั้งไฟถวาย และวัดบ้านแมดนั้นจะเป็น สถานที่จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งในบริเวณวัดมีศาลเจ้าพ่อโฮงแดงเพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม ควายหลวงในงานบุญบวชควายหลวงของคนในชุมชนบ้านแมด 1.1.2.6 รูปแบบขบวน การจัดรูปแบบของการจัดขบวนในพิธีกรรมบวชควายหลวง นั้นมีรูปแบบการจัดที่เป็นเอกลักษณ์ โดยน าเสนอผ่านกระบวนการจัดรูปแบบแถวประเภทแถวตอน ลึก โดยมีลักษณะของรูปแบบขบวนแห่ ซึ่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในคณะควายหลวงจะเป็นส่วนหนึ่งใน ขบวน โดยเริ่มจากการจัดตั้งขบวนแห่ สามารถแบ่งรูปแบบจัดตามต าแหน่งการยืนในขบวนได้ดังนี้ ต าแหน่งที่ 1 นับจากทางด้านหน้าไปจนถึงด้านหลังของขบวน เป็นต าแหน่งของควายหลวง ซึ่งเป็นผู้น าคน แรกของขบวนแห่ต าแหน่งที่ 2 เป็นต าแหน่งของหัวหน้าคณะควายหลวง ต าแหน่งที่ 3 เป็นต าแหน่งของ อุปัชฌาย์บวชควายหลวงต าแหน่งที่ 4เป็นต าแหน่งของเสลี่ยงเจ้าพ่อโฮงแดงต าแหน่งที่ 5เป็นต าแหน่ง ของแม่นางหว่า ต าแหน่งที่ 6เป็นต าแหน่งของนักดนตรี 1.1.3 รูปแบบกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง พบว่า กระบวนฟ้อนที่เกิดขึ้นเป็น กระบวนการฟ้อนที่เกิดจากจิตใต้ส านึกของผู้ที่ปฏิบัติเป็นควายหลวงและเป็นกระบวนการที่เกิดจาก การถ่ายทอดจากเครือญาติที่จะเป็นข้อมูลพื้นฐานส าคัญแสดงให้เห็นถึงความเป็นอัตลักษณ์ของ พิธีกรรมบุญบวชควายหลวงนี้ โดยผู้วิจัยศึกษาและวิเคราะห์จากกรณีของลักษณะทิศทางในการฟ้อน รวมไปถึงการวิเคราะห์กระบวนฟ้อนของควายส ารองและควายตัวจริง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้


153 1.1.3.1 ลักษณะทิศทางในการฟ้อนของควายหลวง พบว่า รายละเอียดของทิศทางใน การฟ้อนของควายหลวงนั้นสามารถวิเคราะห์ทิศทางตามลักษณะของควายหลวง 2 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 ควายหลวงน้อย มีการก าหนดลักษณะของทิศทางที่ชัดเจนจ านวน 4 จุด และทิศทางการฟ้อนที่ ไม่ได้ก าหนดทิศทางว่าจะไปทางซ้าย ทางขวา ด้านหน้า และด้านหลัง ซึ่งทิศทางที่ไม่ได้ก าหนดนี้จะ เกิดขึ้นหลังจากการฟ้อนไปยัง 4 จุดก่อนหน้า ซึ่งจะเริ่มจากการฟ้อนไปที่บ้านหัวหน้าคณะควายหลวง เป็นจุดแรก และจุดที่ 2 คือ บ้านตุลาการ จุดที่ 3 วัดบ้านแมด และจุดที่ 4 รูปหล่อส าริดอดีตเจ้า อาวาสวัดบ้านแมดเพื่อเป็นการท าความเคารพต่ออดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านแมด เมื่อท าครบในจุดส าคัญ ทั้ง 4 ด้านเรียบร้อยแล้วจะเป็นการเซิ้งหาปัจจัยรอบ ๆ หมู่บ้านแมดและหมู่บ้านใกล้เคียงโดยไม่ได้ ก าหนดทิศทาง ซึ่งสามารถเริ่มทางใดทางหนึ่งก่อนแล้วตามด้วยทิศทางที่ชาวบ้านอาศัยอยู่ โดย ชาวบ้านจะเตรียมปัจจัยเพื่อมอบให้กับควายหลวงน้อย รูปแบบที่ 2 ควายหลวงใหญ่ มีการก าหนด ลักษณะของทิศทางที่ชัดเจนจ านวน 4 จุด และทิศทางการฟ้อนที่ไม่ได้ก าหนดทิศทางว่าจะไปทางซ้าย ทางขวา ด้านหน้า และด้านหลัง ซึ่งทิศทางที่ไม่ได้ก าหนดนี้จะเกิดขึ้นหลังจากการฟ้อนไปยัง 4 จุดก่อน หน้า โดยเริ่มจากการฟ้อนทางด้านหน้าศาลเจ้าพ่อโฮงแดง เป็นหลัก ก่อนจะเริ่มไปในทิศทางอื่น ๆ ลักษณะทิศทางคือการฟ้อนวนรอบศาลเจ้าพ่อโฮงแดง จ านวน 3 รอบ เป็นจุดที่ 1 ต่อมาฟ้อนมา ทางด้านศาลาวัดบ้านแมด พร้อมกับการฟ้อนวนศาลาวัด จ านวน 3 รอบ เป็นจุดที่ 2 จุดที่ 3 กุฏิถาวร ประชานุสรณ์ เพื่อไปเคารพรูปหล่อส าริดของอดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านแมด และจุดที่ 4 ฟ้อนออกจากวัด และเริ่มฟ้อนไปรอบ ๆ หมู่บ้าน เมื่อฟ้อนรอบหมู่บ้านครบแล้วจะกลับเข้ามาที่วัดดังเดิม การฟ้อนรอบ ๆ หมู่บ้านนั้นจะไม่ได้ก าหนดทิศทางว่าจะเริ่มจากทางใดก่อน ให้ขึ้นอยู่กับต าแหน่งของชาวบ้านที่รอ มอบปัจจัยให้กับควายหลวงใหญ่ว่าอยู่ทิศทางใด และควายหลวงจะฟ้อนเข้าไปหาชาวบ้านในหมู่บ้าน เพื่อรับปัจจัยต่อไป 1.1.4 การวิเคราะห์กระบวนฟ้อนที่ปรากฏในงานบุญบวชควายหลวง กระบวนการ ฟ้อนที่ปรากฏอยู่ในงานบุญบวชควายหลวง พบว่า กระบวนการฟ้อนของควายหลวงจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้รูปแบบที่ 1 ลักษณะกระบวนการฟ้อน “หากินหญ้า” ของควายหลวงใหญ่ในงานบุญ บวชควายหลวง ปรากฏท่าฟ้อนในพิธีกรรมจ านวน 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 พิธีกรรมการอุปัชฌาย์ ควายหลวงใหญ่ เป็นลักษณะของการอุปัชฌาย์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการฟ้อนประกอบพิธีกรรม ขั้นตอนที่ 2 พิธีกรรมการท าความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจ าหมู่บ้านแมด โดยมีท่าฟ้อนประกอบพิธี เพื่อเป็นการท าความเคารพต่อเจ้าพ่อโฮงแดงที่ศาลปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง ศาลาวัดบ้านแมด และกุฏิถาวร ประชานุสรณ์ เพื่อไปเคารพรูปหล่อส าริด ของอดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านแมด ทั้ง 3 สถานที่นี้จะใช้ ลักษณะของท่าฟ้อนในรูปแบบเดียวกัน ประกอบไปด้วย ท่าที่ 1 กระบวนฟ้อนในลักษณะการดีดเท้า ของควายหลวงใหญ่ ท่าที่ 2 กระบวนฟ้อนในลักษณะการไหว้ท่าที่ 3 กระบวนฟ้อนลักษณะการวิ่ง ท่าที่ 4 กระบวนฟ้อนในลักษณะการม้วนสองมือคล้ายกับท าท่าขอพรพร้อมกับเอียงไปด้านขวา ท่าที่ 5 กระบวนฟ้อนในลักษณะการม้วนมือสลับกัน ขั้นตอนที่ 3 พิธีกรรมการเซิ้งหาปัจจัยส าหรับ ควายหลวงใหญ่ การฟ้อนเซิ้งหาปัจจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนในชุมชนที่เข้าร่วมพิธีได้ท าบุญร่วมกับ เจ้าพ่อโฮงแดงผ่านควายหลวงใหญ่ โดยมีท่าฟ้อนประกอบการเซิ้งหาปัจจัยรอบหมู่บ้านแมด ประกอบ ไปด้วย ท่าที่ 6 กระบวนฟ้อนในลักษณะศีรษะเอียงซ้ายขวาสลับกัน ท่าที่ 7 กระบวนฟ้อนในลักษณะ ศีรษะเอียงขวาพร้อมชูมือคล้ายกับการตั้งวง ท่าที่ 8 กระบวนฟ้อนในลักษณะการท าท่ากางมือ ท่าที่ 9


154 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าม้วนมือและโบกมือขวา ท่าที่ 10 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือซ้าย ท่าที่ 11 กระบวนฟ้อนลักษณะท่าโบกมือขวา ท่าที่ 12 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าม้วนมือทั้งสองข้าง ต่างระดับ และขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 4 พิธีกรรมการลาสิกขาของควายหลวงใหญ่ เป็นพิธีกรรมที่ เกิดขึ้นหลังจากการเซิ้งหาปัจจัยของควายหลวงรอบหมู่บ้านแมด และกลับมาที่ศาลปู่เถ้าเจ้าโฮงแดง เพื่อท าความเคารพและขอลาสิกขาในการบวชควายครั้งนี้ จึงเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการทั้งหมดส าหรับ ประเพณีบุญบวชควายบ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยในการ ประกอบพิธีการลาสิขาของควายหลวงนั้นจะประกอบไปด้วย ท่าที่ 6 กระบวนฟ้อนในลักษณะศีรษะ เอียงซ้ายขวาสลับกัน ท่าที่ 13 กระบวนฟ้อนในลักษณะท่าโบกมือทั้งสองข้าง ท่าที่ 14 กระบวนฟ้อน ในลักษณะของการเตรียมตัววิ่ง ท่าที่ 15 กระบวนฟ้อนในลักษณะการก ามือแล้วแบมือ และ ท่าที่ 16 กระบวนฟ้อนในลักษณะ การถูหลัง ซึ่งกระบวนฟ้อนของควายหลวงใหญ่ที่ปรากฏในพิธีกรรมจึงมี ทั้งหมดจ านวน 16 ท่า และ รูปแบบที่ 2 ลักษณะกระบวนการฟ้อน “หากินหญ้า” ของควายหลวง น้อยในงานบุญบวชควายหลวง ปรากฏกระบวนฟ้อนทั้งหมด จ านวน 10 ท่า จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กระบวนฟ้อนของควายหลวงใหญ่และควายหลวงน้อยเป็นกระบวนฟ้อนที่เลียนแบบ อากัปกิริยาของสัตว์ (ควาย) ส าหรับการหากินหญ้าเพื่อด าเนินชีวิต โดยการเซิ้งหาปัจจัยเปรียบเสมือน การหากินหญ้าของสัตว์ (ควาย) นอกเหนือจากการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของท่าทางควายหลวง ทั้งสองรูปแบบนั้น สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบไปด้วยส่วนของศีรษะ ส่วนของไหล่ ส่วนของ ล าตัว ส่วนของมือ ส่วนของแขน ส่วนของขาและส่วนของเท้า รายละเอียดดังนี้ 1) ศีรษะ พบว่า มีลักษณะการเอียงศีรษะซ้าย-ขวา ก้มหน้า เงยหน้า หน้าตรง 2) ไหล่ พบว่า มีการกดไหล่ซ้าย-ขวา ตีไหล่เข้า-ออก 3) แขน พบว่า มีการตึงแขน การงอแขน การงอแขนตั้งฉาก การยกแขน 4) มือ พบว่า มีการตั้งวงนิ้วทั้ง 5 เรียงกัน การม้วนจะม้วนออก การก ามือ การแบมือ 5) ล าตัว พบว่า มีการเอียงไปด้านซ้าย การเอียงไปด้านขวา การโน้มตัวก้มตามธรรมชาติ ล าตัวตรง 6) เข่า พบว่า มีการงอเข่าย่อลง การยืดเข่าตึงไปตามธรรมชาติ 7) เท้า พบว่า มีการยกเท้า การก้าวเท้าไปด้านหน้า การวางเท้าด้านหลัง การย่ าเท้า การวิ่ง การเดิน จากการวิเคราะห์ตามสรีระร่างกายของผู้ที่เป็นควายหลวงยังพบการปฏิบัติท่าที่ เหมือนกันส าหรับควายหลวงใหญ่ จ านวน 8 ท่า ควายหลวงน้อย จ านวน 9 ท่า และการปฏิบัติท่าที่ แตกต่างกัน ควายหลวงใหญ่จ านวน 8 ท่า ส าหรับควายหลวงน้อย จ านวน 1 ท่า ความแตกต่างของท่า ทั้งสองรูปแบบนี้เกิดจากการได้รับหน้าที่ในงานบุญบวชควายหลวงที่แตกต่างกัน คือ ควายหลวงน้อย รับหน้าที่เป็นผู้เซิ้งหาปัจจัย ซึ่งจะเป็นกระบวนการที่จัดขึ้นก่อนวันบวชควายหลวงใหญ่ จึงท าให้เกิด กระบวนท่าฟ้อนที่น้อยกว่าควายหลวงใหญ่ ส่วนกระบวนท่าฟ้อนของควายหลวงใหญ่นั้นเกิดขึ้นจาก การจัดท าพิธีและฟ้อนแห่รอบหมู่บ้านแมด โดยจะมีขั้นตอนในการท ามากกว่าของควายหลวงน้อย เช่น การแสดงความเคารพต่อเจ้าพ่อโฮงแดง ณ ศาลของเจ้าพ่อโฮงแดง เป็นต้น


155 2. อภิปรายผล จากการด าเนินการวิจัยและการศึกษารูปแบบและกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง พบว่า การศึกษารูปแบบและกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวงเป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล ตามหลักทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างวัฒนธรรมและหลักทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกาย ตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถแบ่งประเด็นในการศึกษาตามวัตถุประสงค์ได้ 2 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 รูปแบบและองค์ประกอบงานบุญบวชควายหลวง พบว่า รูปแบบของงานบุญ บวชควายหลวงมีทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. รูปแบบในสมัยโบราณ – ปีพุทธศักราช 2539 ซึ่งในพิธีกรรมบุญบวชควายหลวงจะมีผู้ที่เป็นควายหลวงเพียง 1 คน และด าเนินการท าพิธีกรรม ทั้งหมดจนเสร็จสิ้นขบวนการประเพณีบุญบวชควายหลวง 2. รูปแบบในปีพุทธศักราช 2540 - ปีปัจจุบัน ในพิธีกรรมบุญบวชควายหลวงจะมีผู้ที่เป็นควายหลวงจ านวน 2 คน เรียกว่า “ควายหลวง ใหญ่และควายหลวงน้อย” โดยแบ่งหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมคือ ควายหลวงน้อยท าหน้าที่ในการ เซิ้งหาปัจจัยก่อนวันจริง และควายหลวงใหญ่มีหน้าที่ส าหรับการเข้าท าพิธีกรรมในงานวันจริงเท่านั้น สืบเนื่องมาจากผู้สืบทอดการบวชควายหลวงได้ตระหนักถึงการสืบทอดให้กับชนรุ่นหลังหรือทายาท ของตนในปัจจุบันนั้น หากไม่มีควายหลวงน้อยท าหน้าที่ช่วยในงานบุญบวชควายหลวงอาจท าให้ ประเพณีและพิธีกรรมนี้สูญหายไป เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับหน้าที่เป็นควายหลวงใหญ่แต่เดิมจะท า หน้าที่จวบจนอายุมากและร่างกายได้มีความชราภาพตามกาลเวลา เกรงว่าถ้าไม่มีควายส ารองอาจจะ ไม่มีการสืบทอดพิธีกรรมนี้ต่อไป ด้วยข้อก าหนดคุณสมบัติในเรื่องของการสืบทอดจะต้องเป็นผู้ที่มี ความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือเป็นลูกหลานในตระกูลของตนเท่านั้น และองค์ประกอบของงานบุญ บวชควายหลวงมีทั้งหมด 6 องค์ประกอบดังนี้ 1) ด้านพิธีกรรม เป็นเรื่องของขั้นตอนในการจัดงานบุญบวชควายหลวง ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คือ การหาฤกษ์ยามส าหรับการจัดงาน ขั้นตอนที่ 2 คือ การแบ่งหน้าที่ ในงานบุญบวชควายหลวง โดยมีกลุ่มผู้ประกอบพิธีกรรมควายหลวงบ้านแมด, ผู้เข้าบวชเป็นควาย หลวง, กลุ่มผู้เข้าร่วมพิธีกรรม, กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในพิธีกรรมควายหลวง ขั้นตอนที่ 3 วันออกหาเซิ้งหา ปัจจัยในการจัดงานบุญบวชควายหลวง คือลักษณะของการที่ควายส ารองท าการฟ้อนหาปัจจัยรอบ หมู่บ้านแมดและหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อให้ชาวบ้านได้ท าบุญร่วมกันก่อนวันงานจริง ขั้นตอนที่ 4 วันรวม พิธีกรรมบุญบวชควายหลวง คือ วันที่เกิดพิธีกรรมขึ้นจริงเพื่อบูชาให้กับเจ้าพ่อโฮงแดงตามความเชื่อ ของคนในชุมชนว่าหากมีการจัดพิธีกรรมขึ้นจะท าให้หมู่บ้านเกิดความอุดมสมบูรณ์และมีความสุข ขั้นตอนที่ 5 วันจุดบั้งไฟ คือ การบูชาเครื่องเซ่นไหว้พร้อมกับการจุดบั้งไฟถวายเจ้าพ่อโฮงแดง เพื่อให้เกิดความสิริมงคลแก่หมู่บ้านและคนในชุมชน 2) ด้านการแต่งกาย การแต่งกายในงานบุญบวชควายหลวงจะแต่งกายตามบริบทหน้าที่ และตามต าแหน่งของแต่ละบุคคลในคณะควายหลวง โดยการแต่งกายนี้เกิดจากการที่ชาวบ้านได้น า


156 เครื่องแต่งกายที่มีอยู่ในชุมชนหรือที่สามารถผลิตได้เองในชุมชน เช่น เสื้อม่อฮ่อม กางขาก๊วย ผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง เป็นต้น ซึ่งลักษณะของการแต่งกายจะแตกต่างกันเนื่องจากการแต่งกายจะต้องแต่ง ตามหน้าที่ของตนที่ได้รับโดยมีทั้งหมด 7 ลักษณะดังนี้ 1) การแต่งกายควายหลวงใหญ่ และควาย หลวงน้อย 2) การแต่งกายตุลาการบ้าน 3) การแต่งกายอุปัชฌาย์ผู้บวชควายหลวง 4) การแต่งกาย หัวหน้าควายหลวง 5) การแต่งกายแม่นางหว่า 6) การแต่งกายของผู้ชกมวย 7) การแต่งกายผู้แบก เสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดง 3) ด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในงานบุญบวชควายหลวง อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบในพิธีกรรม งานบุญบวชควายหลวงสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท คือ 1. เครื่องบูชา 2. เครื่องศาสตราวุธ 3. เครื่องใช้ พร้อมเสลี่ยงอัญเชิญเจ้าพ่อโฮงแดง และ 4. เครื่องเสี่ยงทาย 4) ด้านดนตรีที่ใช้ประกอบในงานบุญบวชควายหลวง ดนตรีที่ใช้ในงานบุญบวชควาย หลวงใช้ดนตรีพื้นบ้านของชาวอีสานมีทั้งหมด 2 ชิ้น ได้แก่ กลองร ามะนา และฉาบ ซึ่งนักดนตรีทุกคน ในคณะสามารถเล่นเครื่องดนตรีสลับกันได้ 5) ด้านสถานที่ที่ใช้ในการจัดงานบุญบวชควายหลวง สถานที่ส าหรับการประกอบ พิธีกรรมบวชควายหลวง มีทั้งหมด 5 ที่ ดังนี้1) ศาลเจ้าพ่อโฮงแดงที่บริเวณดอน 2) ศาลเจ้าพ่อโฮง แดงที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัด 3) บ้านหัวหน้าคณะควายหลวง 4) บริเวณลานจุดบั้งไฟ 5) วัดบ้านแมด ซึ่งในบริเวณวัดมีศาลเจ้าพ่อโฮงแดงเพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมควายหลวงในงานบุญบวชควาย หลวงของคนในชุมชนบ้านแมด 6) รูปแบบขบวน การจัดรูปแบบของการจัดขบวนในพิธีกรรมบวชควายหลวงนั้น มีรูปแบบการจัดที่เป็นเอกลักษณ์ โดยน าเสนอผ่านกระบวนการจัดรูปแบบแถวประเภทแถวตอนลึก โดยมีลักษณะของรูปแบบขบวนแห่ ซึ่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในคณะควายหลวงจะเป็นส่วนหนึ่งใน ขบวนแห่นั้นด้วย ในลักษณะของรูปแบบและองค์ประกอบของงานบุญบวชควายหลวงนั้นจะเป็นลักษณะ ของการสืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และวิธีการทั้งการถ่ายทอดของควายหลวงหรือระบบขั้นตอน ในการจัดงานล้วนเกิดจากการสืบทอดทางเชื้อสายทั้งสิ้น โดยในบทบาทหน้าที่จะมีการก าหนด คุณสมบัติที่ชัดเจนคือ ผู้ที่จะท าหน้าที่ต่าง ๆ นั้นได้จะต้องเป็นผู้ที่เป็นเครือญาติหรือผู้ที่สืบเชื้อสาย ทางสายเลือดเท่านั้นจึงจะเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมนี้ได้และเป็นผลให้เกิดพิธีกรรมบุญบวชควายหลวง ที่มีทั้งจากรีตประเพณีสืบต่อกันมากลายเป็นวัฒนธรรมในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเรื่อยมา ซึ่ง สอดคล้องกับทฤษฏีโครงสร้างวัฒนธรรมของโกล๊ด เลวี-สโทรส Claude Lévi-Strauss (1908-2009)อ้าง ถึงใน พิริยะดิศ มานิตย์ (2560, น. 219) กล่าวไว้ว่า วัฒนธรรมเริ่มจากการที่ชนกลุ่มหนึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับ ชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งภาษาเป็นเครื่องมือส าคัญในการสร้างปฏิสัมพันธ์ท าให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และท า ให้วัฒนธรรมในวิธีชีวิตต่าง ๆ เกิดขึ้นมาตามล าดับ เริ่มรู้จักวางกฎเกณฑ์วิธีการที่อยู่ร่วมกันรวมไปถึง


157 วัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมาทางสายเลือดให้เกิดขึ้นจากรุ่นสู่รุ่น ในเชิงโครงสร้างนั้นจึงกลายเป็น สื่อกลางที่ท าให้มนุษย์มีการแลกเปลี่ยนและการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมของตน ประเด็นที่ 2 รูปแบบกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง บ้านแมด อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัด ร้อยเอ็ด พบว่า การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) รูปแบบกระบวนการฟ้อน โดยกระบวนฟ้อนที่ เกิดขึ้นเป็นกระบวนการฟ้อนที่เกิดจากจิตใต้ส านึกของผู้ที่ปฏิบัติเป็นควายหลวงและเป็นกระบวนการที่ เกิดจากการถ่ายทอดจากเครือญาติที่จะเป็นข้อมูลพื้นฐานส าคัญแสดงให้เห็นถึงความเป็นอัตลักษณ์ของ พิธีกรรมบุญบวชควายหลวง ซึ่งท าให้รูปแบบเป็นรูปแบบของขบวนแห่และกระบวนการฟ้อนสามารถ แสดงให้เห็นทิศทางในการฟ้อนส าหรับควายหลวงน้อยและควายหลวงใหญ่ทั้งหมด 4 ทิศ และไม่ได้มีการ ก าหนดตายตัวในเรื่องของการเริ่มต้นจากทิศใด เนื่องจากพิธีกรรมนี้เป็นการฟ้อนถวายและหาปัจจัย เปรียบเสมือนการหากินหญ้าของสัตว์ที่ถวายให้แก่เจ้าพ่อโฮงแดง สอดคล้องกับหลักการการแสดง นาฏศิลป์ปริทรรศน์ของ สุรพล วิรุฬรักษ์ (2547, น. 18) เรื่อง การฟ้อนร าในพิธีกรรม กล่าวไว้ว่า ใน สังคมย่อมมีพิธีการต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์แตกต่างกันไป เช่น พิธีการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง พิธี แก่งเทวธูปรูปที่เคารพประจ าปีเพื่อความเป็นสิริมงคล พิธีฉลองในงานส าคัญ เป็นต้น พิธีที่กล่าวมานี้นิยม จัดให้มีการฟ้อนร าขึ้นใน 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ การฟ้อนร าเป็นรูปแบบขบวนแห่ไปตามทาง เช่น การร า พิธีเซิ้งบั้งไฟขอฝน การฟ้อนร าขบวนแห่นาค และการฟ้อนร าบนเวที เช่น การร าอวยพรวันเกิด การร า เบิกโรงก่อนการแสดง เป็นต้น 2) กระบวนฟ้อนที่ปรากฏในงานบุญบวชควายหลวง พบว่า กระบวนการ ฟ้อนของควายหลวงจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบที่ 1 ลักษณะกระบวนการฟ้อน “หากิน หญ้า” ของควายหลวงน้อยในงานบุญบวชควายหลวง ปรากฏกระบวนฟ้อนทั้งหมด จ านวน 10 ท่า และ รูปแบบที่ 2 ลักษณะกระบวนการฟ้อน “หากินหญ้า” ของควายหลวงใหญ่ในงานบุญบวชควายหลวง ปรากฏกระบวนฟ้อนทั้งหมด จ านวน 16 ท่า ซึ่งเป็นการเลียนแบบลักษณะอากัปกิริยาของสัตว์ (ควาย) โดยสามารถวิเคราะห์ตามโครงสร้างสรีระร่างกายทั้งหมด 7 ส่วน ดังนี้ 1) ส่วนของศีรษะ พบว่า มีลักษณะการเอียงศีรษะซ้าย-ขวา ก้มหน้า เงยหน้า หน้าตรง 2) ส่วนของไหล่ พบว่า มีการกดไหล่ซ้ายขวา ตีไหล่เข้า-ออก 3) ส่วนของแขน พบว่า มีการตึงแขน การงอแขน การงอแขนตั้งฉาก การยกแขน 4) ส่วนของมือ พบว่า มีการตั้งวงนิ้วทั้ง 5 เรียงกัน การม้วนจะม้วนออก การก ามือ การแบมือ 5) ส่วนของล าตัว พบว่า มีการเอียงไปด้านซ้าย การเอียงไปด้านขวา การโน้มตัวก้มตามธรรมชาติ ล าตัวตรง 6) ส่วนของเข่า พบว่า มีการงอเข่าย่อลง การยืดเข่าตึงไปตามธรรมชาติ 7) ส่วนของเท้า พบว่า มีการยกเท้า การก้าวเท้าไปด้านหน้า การวางเท้าด้านหลัง การย่ าเท้า การวิ่ง การเดิน ซึ่งสอดคล้องกับ กีรติ เปาริสาร (2560) กล่าวไว้ว่า ลักษณะการร ายร่าที่ปรากฏในการประกอบพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด ว่ามีรูปแบบในการใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายประกอบเป็นโครงสร้างของท าร่าไม่ว่าจะเป็น การใช้ ศีรษะมีการเอียงไปทางซ้าย – ขวาและการก้มศีรษะ การใช้ล่าตัวที่มีการโน้ม ล าตัวไปด้านหน้า การเอน ล าตัวไปด้านหลัง การเอียงล าตัวไปด้านซ้าย – ขวาและการเหวี่ยงล าตัว การใช้มือ – แขน มีรูปแบบการ พนมมือ การจีบมือ การสลัดจีบ การม้วนมือ การตั้งวง การสอดสูง การสลัดมือ การแกว่งมือ - แขน การ


158 ยก – ทิ้งไหล่ การก ามือและการตบมือ การใช้เท้า – ขา ไม่ว่าจะเป็นการก้าวเท้า การย่ าเท้า การถอนเท้า ก้าวข้าง การกระโดด การจรดปลายเท้า การยกเท้าและการตบเท้า ซึ่งเป็นการแสดงออกด้วยท่าทาง ธรรมชาติที่อยู่ในห่วงอารมณ์แห่งความพึงพอใจและเป็นการท าท่าทางอิสระไม่มีท าตายตัว การศึกษารูปแบบและกระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง ผู้วิจัยมีความประสงค์ศึกษาและ เก็บรวบรวมองค์ความรู้ในเรื่องของรูปแบบ ขั้นตอน และกระบวนฟ้อนที่ปรากฏอยู่ในประเพณีบุญบวช ควายหลวงทั้งหมดเพื่อเป็นฐานข้อมูลให้ชนรุ่นหลังได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาและองค์ประกอบใน ประเพณีบุญบวชควายหลวง ซึ่งประเพณีบุญบวขควายหลวง บ้านแมด ต าบลเชียงขวัญ อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้มีการสืบทอดและถ่ายทอดต่อกันมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งท าให้เห็นจารีต ประเพณีพิธีกรรมบุญบวชควายหลวงที่ชัดเจนและเป็นเชิงประจักษ์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิธีกรรมบุญบวชควายหลวงของบ้านแมดยังเป็นที่เดียวในภาคอีสานที่มีการสืบทอดต่อกันมาจาก สายเลือดและเครือญาติของตนเองเท่านั้น หากไม่มีการศึกษาและรวบรวมไว้อาจท าให้องค์ความรู้ต่าง ๆ สูญหายไปตามกาลเวลา จึงท าให้ผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลให้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่ออนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่นของชาวบ้านแมด และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการต่อไป 3. ข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการวิจัยที่ควรเป็นประเด็นสมควรพิจารณา คือ 3.1 ควรมีการศึกษาลักษณะของกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ในพิธีกรรมบุญบวชควาย หลวงตามลักษณะของบทบาทหน้าที่ในแต่ละต าแหน่งจัดท าเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้ที่ สนใจศึกษาสามารถน ามาศึกษาเพิ่มเติมได้และเพื่ออนุรักษ์กระบวนการสืบทอดและถ่ายทอดความรู้ไม่ให้ หายไปกับกาลเวลา 3.2 ควรมีการศึกษากระบวนฟ้อนในพิธีกรรมบวชควายหลวงที่อ าเภอเชียงขวัญที่เหลือ อาทิ บ้านเขือง บ้านหมูม้น บ้านไผ่ และบ้านหวายหลึม อ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเป็นการ เก็บองค์ความรู้ของกระบวนฟ้อนในพิธีกรรมบวชควายหลวงไม่ให้สูญหายไปจากภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นประเพณีวัฒนธรรมประจ าอ าเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด


159 บรรณานุกรม กรมวิชาการ. (2539). ครูกับการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ. กรมศิลปากร. (2526). จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร. กฤษณา กุลทรัพย์ศักดิ์. (2540). ประเพณีบวชควายฮ้า ของชาวอีสาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม. กีรติ เปาริสาร. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบและโครงสร้างท่าร าในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด ในเขตอีสานใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. กรุงเทพมหานคร. เครือจิต ศรีบุญนาค. (2534). การฟ้อนร าของชาวไทยเขมรในเขตอ าเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขต มหาสารคาม. มหาสารคาม. เครือจิต ศรีบุญนาค. (2550). การพัฒนาศิลปะการแสดงจากพิธีกรรมกินฮีตของชนเผ่าดั้งเดิมสาย ตระกูลมอญ-เขมรในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ าโขง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. สุรินทร์. จารุบุตร เรืองสุวรรณ. (2520). ของดีอีสาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา. จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2524). ขนบธรรมเนียมประเพณีของอีสาน. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์. ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2532). ศิลปะการฟ้อนภาคอีสาน. ส านักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม. มหาสารคาม. ชัยนาทร์มาเพ็ชร. (2559) รายงานวิจัยเรื่องบวชควายจ่า: บูชาพญาแถน. งานอนุรักษ์สร้างสรรค์ และวิจัยศิลปวัฒนธรรมของหน่วยงานภายในวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด. วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด. ชัยยนต์ เพาพาน. (2533). การล าผีฟ้าในเขตอ าเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. (ปริญญานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร. ไทยโรจน์พวงมณี. (2554). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาอัตลักษณ์ประเพณีผีตาโขน ประเพณี ผีขนน้ าและประเพณีแห่ต้นดอกไม้: การออกแบบสร้างสรรค์ชุดการแสดง ส าหรับการ น าเสนอภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดเลย โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. เลย. มหาวิทยาลันราชภัฏเลย. ธวัช ปุณโณทก. (2544). ไทยศึกษาและวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน. กรุงเทพมหานคร. ธรรมทัศน์ บูร์ดิเยอร์. (2550). เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์. ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข (แปล). กรุงเทพมหานคร: คบไฟ. บุญมี ค าบุศย์. (2541). ร้อยเอ็ดจากความทรงจ า 100 ปีที่แล้ว พิมพ์แจกเนื่องในงานวันเกิดครบ 7 รอบ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2541. กรุงเทพมหานคร: น าอักษรการพิมพ์.


159 ปริญ รสจันทร์. (2560). คนบวชควายแห่งลุ่มน้ าชี:ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแห่งพื้นที่วัฒนธรรม ควายจ่า โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวง วัฒนธรรม. ร้อยเอ็ด. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. ปรียา หิรัญประดิษฐ์. (2533). “ศิลปะ การละเล่น และการแสดงพื้นบ้านในสังคมไทย.” ในเอกสาร การสอน ชุดวิชาศิลปะการละเล่นและการแสดงพื้นบ้านของไทย หน่วยที่ 1 – 8, พิมพ์ ครั้งที่ 2. หน้า 16. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แผนที่ไทยดอทคอม. (2564) แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด. [ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.panteethai.com ประตูสู่อีสาน. (2564) หาบอวัยวะเพศชายและหญิง. [ออนไลน์]. สืบค้น วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 จาก www.isangate.com พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ. (2536). “คติความเชื่อของชาวอีสาน” ในวัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติความเชื่อ, หน้า1 – 13. เพ็ญศรี ดุ๊ก, บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: ส านักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิริยะดิศ มานิตย์. (2560). ประวัติความคิดฝรั่งเศส. กรุงเทพมหานคร: ส านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. พิมวดี ดีสม. (2562). นาฏกรรมในพิธีกรรมปัญโจมะม็วด จังหวัดสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มาลัย เลิศหิรัญวงศ์. (2524). “โส้ทั่งบั้ง.” มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, มิถุนายน , 3(1), น. 62-65. ยศ สันตสมบัติ. (2544). มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ยุทธศิลป์ จุฑาวิจิตร. (2539) การฟ้อนอีสาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร. วรัทยา ด้วงปลี. (2556). อิทธิพลของฟ้อนแม่บทอีสานที่มีต่อการสร้างสรรค์การแสดงพื้นบ้าน วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, กรุงเทพมหานคร. วีณา วีสเพ็ญ. (2525). รายงานผลโครงการทะนุบ ารุงศิลปวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. มหาสารคาม: สมจิตร พ่วงบุตร. (2531). เพลงดนตรีพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพมหานคร: กรุงสยามการพิมพ์. สมชาย นิลอาธิและคณะ. (2559). ประเพณีบวชควายหลวง ในมิติมานุษยวิทยา. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), กรกฎาคม-ธันวาคม. 1-14 สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2533). วรรณคดีเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี. กรุงเทพมหานคร: การพิมพ์ พระนคร. สาร สาระทัศนานันท์. (2534). เมืองเลยของเราในมรดกไทย. เลย: รุ่งแสงการพิมพ์. สิลา วีระวงส์. (2539). ประวัติศาสตร์ลาว แปลจาก ประวัติศาสตร์ลาว โดยนายสมหมาย เปรม จิตต์พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: มติชน.


160 สุจิตต์ วงษ์เทศ และบรรณาธิการ. (2533). ประวัติและพัฒนาการของปี่ไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์ ส าหรับเพื่อการศึกษาและการ อ้างอิงเท่านั้น. กรุงเทพมหานคร: ส านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุรัตน์ วรางรัตน์. (2524). โครงการวิจัยวัฒนธรรมอีสาน การศึกษาเชิงเปรียบเทียบประเพณีของ ชาวผู้ไทย – ชาวโส้: ศึกษาเฉพาะกรณีอ าเภอพรรณนานิคม และอ าเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนครหน่วยงานภายในของวิทยาลัยครูสกลนคร. สกลนคร. วิทยาลัยครู สกลนคร. สถานที่จุดบั้งไฟ. [ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564. จาก www.matichon.co.th สุริยา สมุทคุปติ์ และคณะ. (2533). สัญลักษณ์ส าคัญในบุญบั้งไฟ การวิเคราะห์และตีความหมาย ม า นุ ษ วิ ท ย า ห น่ ว ย ง า น ภ า ยใ น ข อ งส ถ า บั น วิ จั ย แ ล ะพั ฒ น า. ข อ น แ ก่ น . มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อ าคา แสงงาม. (2537). การเอ้บั้งไฟของชาวสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม. มหาสารคาม. เอี่ยม ทองดี. (2536). วัฒนธรรมข้าว: พิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวและการท านา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก. Broun, Marion. (1976). The intrenationl Cgelopedia of Music and Musicions. Toronto New York: Doald, Mead and Compang, Casillan, (1997). BR.Vickres. Pain Sgmptom Manage Le’vi-Strauss, Claude. (1966). The Savage Mind. Chicago: University of Chicago Press.


162 บุคลานุกรม วีระ วุฒิจ ำนงค์. ผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยำลัยนำฏศิลปร้อยเอ็ด. (ผู้ให้สัมภำษณ์) หนึ่งฤทัย วงษำหำรำช (ผู้สัมภำษณ์) เมื่อ 1 กุมภำพันธ์ 2563 และ 1 ธันวำคม 2564 หนูดี ขำวศรี. ปรำชญ์ชำวบ้ำน. (ผู้ให้สัมภำษณ์) หนึ่งฤทัย วงษำหำรำช (ผู้สัมภำษณ์) เมื่อ 2 มิถุนำยน 2564) สุนตัน บ ำรุงเอื้อ. ปรำชญ์ชำวบ้ำน. (ผู้ให้สัมภำษณ์) หนึ่งฤทัย วงษำหำรำช (ผู้สัมภำษณ์) เมื่อ 2 มิถุนำยน 2564 ประจักษ์ ทำนีวรรณ. ปรำชญ์ชำวบ้ำน. (ผู้ให้สัมภำษณ์) หนึ่งฤทัย วงษำหำรำช (ผู้สัมภำษณ์) เมื่อ 2 มิถุนำยน 2564 ทรงศักดิ์ ประทุมศิลป์ . ศิลปินแห่งชำติ ผู้เชี่ยวชำญทำงด้ำนดนตรีพื้นบ้ำนอีสำน วิทยำลัยนำฏศิลป ร้อยเอ็ด. (ผู้ให้สัมภำษณ์) หนึ่งฤทัย วงษำหำรำช. (ผู้สัมภำษณ์) เมื่อ 3 มิถุนำยน 2564


ภาคผนวก


163 ภาพที่ 82 สัมภาษณ์กระบวนฟ้อนในงานบุญบวชควายหลวง นายสุนตัน บ ารุงเอื้อ ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 83 สัมภาษณ์ประวัติความเป็นมาของพิธีกรรมบวชควายหลวง นายสุนตัน บ ารุงเอื้อ ที่มา: ผู้วิจัย


164 ภาพที่ 84 สัมภาษณ์ประวัติความเป็นมาและผูกข้อมือกับนายหนูดี ขาวศรี ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 85 เสร็จจากการลาสิกขา นายสุนตัน บ ารุงเอื้อ ที่มา: ผู้วิจัย


165 ภาพที่ 86 การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 87 บรรยากาศห้องสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ ที่มา: ผู้วิจัย


166 ประวัติผู้วิจัย ชื่อ – ชื่อสกุล นางสาวหนึ่งฤทัย วงษาหาราช วันเดือนปีเกิด 6 มีนาคม 2536 สถานที่เกิด อ าเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ที่อยู่ 23/4 ต าบลในเมือง อ าเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด 45000 ต าแหน่ง เจ้าหน้าที่ธุรการฝ่ายศิลปวัฒนธรรม สถานที่ท างาน วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2553 มัธยมศึกษาปีที่ 6 วิทยาลันนาฏศิลปร้อยเอ็ด พ.ศ. 2558 ศิลปบัณฑิต สาขาดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด พ.ศ. 2566 ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลปไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม


Click to View FlipBook Version