กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวา เพลงระบ าสี่บท ตามแนวทางของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) THE PI CHAWA PERFORMANCE PRACTICE IN RABAM SI BOT BASED ON THE PERFORMING TECHNIQUES OF PEEP KONGLAITHONG (NATIONAL ARTIST OF THAILAND) ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิ์รอด วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปมหาบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ไทย บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒศิลป์ พ.ศ. 2565 ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวา เพลงระบ าสี่บท ตามแนวทางของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิ์รอด วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2565 ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
THE PI CHAWA PERFORMANCE PRACTICE IN RABAM SI BOT BASED ON THE PERFORMING TECHNIQUES OF PEEP KONGLAITHONG (NATIONAL ARTIST OF THAILAND) SAKSIT LITROD A THESIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF MASTER OF FINE ARTS PROGRAM IN MUSIC GRADUATE SCHOOL BUNDITPATANASILPA INSTITUTE YEAR 2022 COPYRIGHT OF BUNDITPATANASILPA INSTITUTE
(ค) ชื่อวิทยานิพนธ์ กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทตามแนวทางของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 62223312 นายศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิ์รอด ปริญญา ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชา ดุริยางคศิลป์ พ.ศ. 2565 อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก อาจารย์ ดร.สาริศา ประทีปช่วง อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุษฎี มีป้อม บทคัดย่อ กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวา เพลงระบ าสี่บท ตามแนวทางของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม น าเสนอข้อมูลแบบพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เน้นในด้านของส านวนกลอนและสอดแทรกกลวิธีการเป่าปี่ชวา ซึ่งประกอบด้วย การตอดลิ้นตอดลม การปริบเสียง การตีนิ้ว และการกลับลิ้นกลับลม สะบัด 3 เสียง เพื่อให้ผู้เรียน ฝึกปฏิบัติทักษะการใช้ลิ้น การใช้ลม การใช้นิ้ว ในการเป่าปี่ชวาให้มีความช านาญ วิธีการฝึกทักษะ การเป่าปี่ชวาให้แก่ผู้เรียนของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ค านึงถึงความพร้อมทาง ด้านศักยภาพของผู้เรียนเป็นหลัก และคอยติดตามชี้แนะ ในกระบวนการต่อปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ขั้นตอนแรกผู้สอนจะต่อส านวนกลอนปี่ชวาในลักษณะใกล้เคียงกับท านองหลักเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ หลักในการแปรท านองปี่ชวาเบื้องต้น เมื่อผู้เรียนสามารถเป่าได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีแล้ว ผู้สอนจึงเพิ่มส านวน กลอนปี่ชวา ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เช่น ส านวนกลอนปี่ชวาที่มีการยักเยื้องจังหวะ ส านวนกลอนปี่ชวา ที่มีการเก็บเป็นพยางค์ถี่ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับส านวนกลอนปี่ชวา กระบวนการนี้ เมื่อผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนแล้ว จะท าให้ผู้เรียนปฏิบัติได้อย่างเป็นธรรมชาติ สามารถเข้าใจ ท านองและกลวิธีในการเป่าปี่ชวาได้อย่างถูกต้อง ค าส าคัญ: กระบวนการฝึกทักษะปี่ชวา, การเป่าปี่ชวา, เพลงระบ าสี่บท, ครูปี๊บ คงลายทอง 143 หน้า
(ง) Thesis Title The pi chawa Performance Practice in Rabam Si Bot based on the Performing Style of Peep Konglaithong (National Artist of Thailand) 62223312 Mr. Saksit Litrod Degree Master of Fine Arts Program in Music Year 2022 Advisor Dr. Sarisa Prateepchuang Co-advisor Asst. Prof. Dr. Dussadee Meepom ABSTRACT This research aims to study the performance practice of the pi chawa by usingRabam Si Bot (a kind of Thai classical music selection) based on the performing style of Peep Konglaithong (National Artist of Thailand). This is qualitative research in which research data were collected from related documents, interviews, and participant observation to be presented as descriptive research. The research result has found that the pi chawa performance practices in Rabam Si Bot based on the style of Peep Konglaithong (National Artist of Thailand) emphasised the musical verse formation with the special pi nai techniques as follows: tot-lin totlom, prip siang, ti-niw, klap-lin klap-lom, sabat sam siang to practise controlling the tongue, fingers, and air to play the pi chawa. According to Peep Konglaithong’s performance practice style, the abilities of the learner are the important concern used along with giving students advice during the performance practice. In the processes of performance practice, it started with the practice of the pi chawa musical phrases close to the basic melody to grow the initial understanding of musical realisation development; then, the master added the more complicated musical realisation with complex rhythmic patterns and frequently musical syllables. After practising these processes, a student will be able to play the pi chawa fluently and naturally with the proper understanding of the pi chawa performing techniques. Keywords: the pi chawa performance practice, the pi chawa performing style, Rabam Si Bot, Peep Konglaithong 143 pages
(จ) กิตติกรรมประกาศ ความส าเร็จในการศึกษาวิจัยเรื่องกระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวา เพลงระบ าสี่บท ตามแนวทางครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ)ขอร าลึกถึงพระคุณมารดาผู้มีพระคุณที่ให้ก าเนิด และเป็นผู้ช่วยเหลือผู้วิจัยมาโดยตลอด ขอร าลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ทุกท่านที่คอยอบรมสั่งสอน วิชาความรู้ ทั้งครูผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ดนตรีไทย เครื่องเป่าไทยและครูวิชาการทั้งที่อยู่ก็ดีล่วงลับไปแล้วก็ดี กราบขอบพระคุณครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ผู้ให้ความเมตตาต่อผู้วิจัยท่านเป็นแรงบันดาลใจ ของผู้วิจัยในการที่จะศึกษาวิชาเชิงเครื่องเป่าไทยครูปี๊บนับเป็นต้นแบบของความเป็นศิลปินดนตรีไทย ที่ควรค่าแก่การยกย่อง และยึดถือเป็นแบบอย่างทั้งความเป็นครูและความเป็นศิลปิน ลูกศิษย์ทุกคน ควรไปน าเป็นแบบอย่างอีกทั้งท่านเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการฝึกทักษะการเป่า ปี่ชวา ในเพลงระบ าสี่บทที่มีความส าคัญเป็นอย่างยิ่งและนับว่าเป็นพระคุณอย่างยิ่งในการท า วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ขอบพระคุณอาจารย์ ดร. สาริศา ประทีปช่วง อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดุษฎี มีป้อม อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ที่ให้ค าแนะน าในการท าวิทยานิพนธ์ และขอบพระคุณ คณะกรรมการในการสอบวิทยานิพนธ์ทุกท่านที่ได้ชี้แนะท าให้วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ขอบคุณบุคคลผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ทุกท่านที่ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์กับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ทุกค าสัมภาษณ์เป็นประโยชน์ต่องานวิจัยเรื่องกระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ตามแนวทาง ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) และขอบคุณเพื่อนร่วมรุ่นปริญญาโทรุ่นที่ 10 หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ที่คอยให้ก าลังใจ ช่วยเหลือผู้วิจัยจนวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ขอบพระคุณ นายสุราช ใหญ่สูงเนิน ที่แนะน าให้ได้มาเรียนศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์แห่งนี้ท าให้ได้เปิดโลกกว้างเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางด้านดนตรีไทย และ ขอบคุณนายชนะชัย บริรักษ์ ผู้ที่ให้ค าปรึกษาในการท าวิจัยในครั้งนี้จนส าเร็จไปด้วยดี ขอบุญกุศลที่ ทุกท่านได้กระท าในครั้งนี้ได้ดลบันดาลให้ทุก ๆ ท่านประสบความส าเร็จ สุขสมหวังทุกประการเทอญ ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิ์รอด
(ฉ) สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย…………………………………………………………………………………….......…….…….... (ค) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ………………………………………………………………………………......……..……..... (ง) กิตติกรรมประกาศ……………………………………………………………………………………......…………........ (จ) สารบัญ…………………………………………………………………………………………………….......……….…..... (ฉ) สารบัญภาพ……………………………………………………………………………………………….......………….... (ฌ) สารบัญตาราง............................................................................................................................... (ฏ) บทที่ 1 บทน า……………………………………………..............……………………...……….............…...…..... 1 1. ความส าคัญและความเป็นมา…………………………………………………….........…….…........ 1 2. วัตถุประสงค์การวิจัย……………………….……………………………………….......………..…...... 2 3. ค าถามของการวิจัย...................................................................................................... 2 4. ขอบเขตของการวิจัย………………………...……………………………………….......…......…...... 2 5. ข้อตกลงเบื้องต้น.......................................................................................................... 3 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ.......................................................................................... 3 7. นิยามศัพท์เฉพาะ……………………………………………...........…………………..........……....... 3 บทที่ 2 เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง..................................................................................... 4 1. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง............................................................................................. 4 1.1 ทฤษฎีวิเคราะห์เพลงไทย................................................................................... 4 1.2 แนวคิดเรื่องรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮว์โรว์ (Harrow)....... 5 2. สารัตถะที่เกี่ยวข้อง..................................................................................................... 6 2.1 กระบวนการฝึกทักษะทางดนตรีไทย.................................................................. 6 2.2 องค์ประกอบของปี่ชวา....................................................................................... 8 2.3 ชีวประวัติ และการเรียนการสอนปี่ชวาของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ)................................................................................................... 33 2.4 ประวัติเพลงระบ าสี่บท........................................................................................ 38 3. วิจัยที่เกี่ยวข้อง............................................................................................................. 40 4. กรอบแนวคิดในการวิจัย............................................................................................... 42 บทที่ 3 วิธีด าเนินการวิจัย.............................................................................................................. 43 1. ขอบเขตในการวิจัย....................................................................................................... 43 1.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา............................................................................................. 43 1.2 ขอบเขตด้านระเบียบวิธีวิจัย................................................................................ 43 1.3 ขอบเขตด้านบุคคลผู้ให้ข้อมูล.............................................................................. 43
(ช) สารบัญ (ต่อ) หน้า 2. การเก็บรวบรวมข้อมูล................................................................................................. 45 2.1 การเก็บข้อมูลจากเอกสาร.................................................................................... 45 2.2 การเก็บข้อมูลภาคสนาม....................................................................................... 45 3. การจัดกระท าข้อมูล..................................................................................................... 46 3.1 ข้อมูลด้านกระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท........................ 46 3.2 ข้อมูลด้านกลวิธีในการบรรเลงปี่ชวาที่ปรากฏในเพลงระบ าสี่บท.......................... 46 4. การตรวจสอบข้อมูล...................................................................................................... 46 5. การวิเคราะห์ข้อมูล....................................................................................................... 46 6. การน าเสนอผลงานวิจัย................................................................................................ 47 บทที่ 4กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวา เพลงระบ าสี่บท ตามแนวทางของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ).................................................................................................................................. 48 1. ข้อก าหนดเบื้องต้นในการบันทึกโน้ต........................................................................... 48 1.1 สัญลักษณ์แทนเสียง............................................................................................. 48 1.2 สัญลักษณ์ในการบันทึกโน้ตท านองหลักเพลงระบ าสี่บท...................................... 49 1.3 สัญลักษณ์ในการบันทึกโน้ตท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท.................................. 50 1.4 สัญลักษณ์แทนกลวิธีพิเศษในการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท............................... 50 2. กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวา เพลงระบ าสี่บทตามแนวทางของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ)........................................................................................................... 51 2.1 แนวทางในการถ่ายทอดการเป่าปี่ชวาให้แก่ผู้เรียนของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ)................................................................................................. 51 2.2 การฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท................................................... 57 2.3 วิเคราะห์กลวิธีพิเศษในการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท........................................ 75 2.4 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างท านองหลักและท านองปี่ชวาในเพลง ระบ าสี่บท.......................................................................................................... 92 2.5 ส านวนกลอนปี่ชวาที่เป็นจุดเด่นของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ............ 117 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ........................................................................... 120 1. สรุปผลการวิจัย............................................................................................................ 120 1.1 แนวทางในการถ่ายทอดการเป่าปี่ชวาให้แก่ผู้เรียนของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ).................................................................................................. 120 1.2 กระบวนการฝึกทักษะปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท.................................................. 120 1.3 กลวิธีพิเศษในการเป่าปี่ชวาของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ที่พบใน ท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท............................................................................ 120
(ซ) สารบัญ (ต่อ) หน้า 2. อภิปรายผล................................................................................................................... 221 3. ข้อเสนอแนะ................................................................................................................. 123 3.1 ข้อเสนอแนะ ในการน าไปใช้.............................................................................. 123 3.1 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป....................................................................... 123 บรรณานุกรม................................................................................................................................... 124 บุคลานุกรม..................................................................................................................................... 126 ภาคผนวก....................................................................................................................................... 127 ภาคผนวก ก ภาพในการด าเนินงานวิจัย................................................................................. 128 ภาคผนวก ข ค าสัมภาษณ์เพิ่มเติม............................................................................................ 131 ภาคผนวก ค โน้ตท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ประกอบด้วย เพลงพระทอง เพลงเบ้าหลุด เพลงสะระบุหร่ง เพลงบลิ่ม........... 137 ประวัติผู้วิจัย.................................................................................................................................. 143
(ฌ) สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1 เลาปี่ชวา........................................................................................................................................ 16 2 ล าโพงปี่ชวา................................................................................................................ 16 3 ใบตาล......................................................................................................................... 17 4 ก าพวด......................................................................................................................... 17 5 เชือกผูกลิ้นปี่ชวา.......................................................................................................... 18 6 ก าบังลม....................................................................................................................... 18 7 ใบตาลที่น ามาตัดลิ้นชวา.............................................................................................. 19 8 การพับใบตาล.............................................................................................................. 19 9 การปาดมุมใบตาล........................................................................................................ 20 10 การสอดไม้ฉนวนแล้วผูกเชือกคอลิ้นปี่ชวา................................................................... 20 11 ลิ้นปี่ชวา....................................................................................................................... 21 12 ระบบเสียงของปี่ชวาทั้ง 15 เสียง................................................................................. 21 13 กลุ่มเสียงของปี่ชวา...................................................................................................... 22 14 ท่านั่งในการเป่าปี่ชวา.................................................................................................. 23 15 วิธีการจับเลาปี่ชวา....................................................................................................... 24 16 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ซอลต่ า........................................................... 24 17 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ลาต่ า.............................................................. 25 18 การปิด –เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ทีต่ า................................................................. 25 19 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง โด.................................................................. 26 20 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง เร................................................................... 26 21 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง มี..................................................................... 27 22 การปิด –เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ฟา.................................................................... 27 23 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ซอล................................................................ 28 24 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ลา.................................................................. 28 25 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ที.................................................................... 29 26 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง โด สูง.............................................................. 29 27 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง เร สูง............................................................... 30 28 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง มี สูง.............................................................. 30 29 การปิด –เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ฟา สูง.............................................................. 31 30 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ซอล สูง.......................................................... 31 31 ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ)............................................................................ 33
(ซ) สารบัญภาพ (ต่อ) ภาพที่ หน้า 32 ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) พุทธศักราช 2563 จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ............................. 37 33 กรอบแนวคิดในการวิจัย........................................................................................... 42 34 รูปฆ้องแสดงกลุ่มเสียงทางเพียงออบน.................................................................... 49 35 วิธีการพัฒนาทักษะผู้เรียนปี่ชวาของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ)................ 52 36 QR-Code แสดงตัวอย่างการตอดเสียงเป็นพยางค์................................................. 53 37 QR-Code แสดงตัวอย่างการตอดตัดเสียงสั้น......................................................... 54 38 QR-Code แสดงตัวอย่างการตอดย้ าๆ เสียง........................................................... 54 39 QR-Code แสดงตัวอย่างการประคองลิ้น............................................................... 54 40 QR-Code แสดงตัวอย่างการประคองลม................................................................ 55 41 QR-Code แสดงตัวอย่างการใช้นิ้วควง................................................................... 55 42 QR-Code แสดงตัวอย่างการตีนิ้ว.......................................................................... 55 43 QR-Code แสดงตัวอย่างการปริบเสียง.................................................................. 56 44 QR-Code แสดงตัวอย่างการสะบัดเสียง................................................................. 56 45 QR-Code แสดงตัวอย่างการกลับลมกลับลิ้น.......................................................... 56 46 QR-Code แสดงตัวอย่างเสียง“ฮ่อ(ซอล)................................................................ 57 47 QR-Code แสดงส านวนกลอนปี่ชวาเพลงพระทอง.................................................. 62 48 QR-Code แสดงส านวนกลอนปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด.................................................. 66 49 QR-Code แสดงส านวนกลอนปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง............................................ 69 50 QR-Code แสดงส านวนกลอนปี่ชวาเพลงบหลิ่ม.................................................... 72 51 ผู้วิจัยลงภาคสนามเพื่อต่อท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทกับครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ณ ห้องปฏิบัติเครื่องเป่าไทย คณะศิลปนาฎดุริยางค์.................. 129 52 ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทให้ผู้วิจัย ได้ดูเป็นตัวอย่าง...................................................................................................... 129 53 ผู้วิจัยสัมภาษณ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดในการพัฒนาทักษะการเป่าปี่ชวาของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ณ ส านักการสังคีต กรมศิลปากร................... 130 54 สัมภาษณ์ครูสุรพล หนูจ้อย เกี่ยวกับกลวิธีในการเป่าปี่ชวาและการเรียนเครื่องเป่าไทย ในวิทยาลัยนาฏศิลปพร้อมทั้งให้ดูปี่ชวาของพระสรรเพลงสรวล (บัว กมลวาทิน)............ 130 55 QR-Code แสดงส านวนกลอนปี่ชวาเพลงพระทอง................................................. 139 56 QR-Code แสดงส านวนกลอนปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด.................................................. 140 57 QR-Code แสดงส านวนกลอนปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง.............................................. 141 58 QR-Code แสดงส านวนกลอนปี่ชวาเพลงบหลิ่ม..................................................... 142
(ฎ) สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1 การเทียบเคียงกระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) กับทฤษฎีแนวคิดรูปแบบการเรียนการสอนทักษะ ปฏิบัติของแฮว์โรว์.................................................................................................... 74
บทที่ 1 บทน ำ 1. ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของกำรวิจัย ทักษะ และฝีมือของนักดนตรีไทยมีความส าคัญอย่างยิ่งในการบรรเลงดนตรีไทยเพราะ เมื่อขาดทักษะการบรรเลง คุณค่า และความส าคัญของบทเพลงจะลดน้อยลงไปตามศักยภาพ ของนักดนตรีการมีโอกาสได้รับรู้เรียนรู้ฝึกฝนให้เกิดความช านาญจึงมีความส าคัญต่อนักดนตรีไทยอย่างมาก เพราะเป็นการเพิ่มระดับความสามารถของผู้บรรเลงให้เป็นที่ประจักษ์อีกทั้งเพื่อปรุงแต่ง และสร้างสรรค์บทเพลงให้เกิดความไพเราะ แสดงถึงความงามของบทเพลงได้อย่างสมบูรณ์สะท้อน ให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนไทย ที่ได้มีการสร้างสรรค์พัฒนาต่อยอดในด้านของศิลปวิทยาการดนตรี ไทยมาอย่างต่อเนื่อง ปี่ชวา เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่ก าเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้นปี่ สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพล และดัดแปลงมาจากปี่ไฉนของอินเดีย ปี่ชวามีบทบาทความส าคัญต่อ กิจกรรมทางประเพณีศาสนา และศิลปะการแสดงต่าง ๆ เพลงระบ าสี่บทเป็นระบ าที่ยกย่องกันมาแต่โบราณแต่ละบทมีท านองเพลง และการขับร้องที่ แตกต่างกันออกไป ผู้แสดงจะร าไปตามท านองเพลง และแสดงกิริยาท่าทางตามบทร้องที่ปรากฏอยู่ใน แต่ละเพลงประกอบไปด้วย เพลงพระทอง เพลงเบ้าหลุด เพลงสะระบุหร่ง เพลงบหลิ่ม ระบ าชุดนี้ ในทางนาฏศิลป์ไทยจะยกย่องกันว่าเป็นระบ าแบบฉบับเรียกว่า “ระบ าใหญ่” มักน าไปใช้ประกอบ การแสดงโขนละคร เช่น ชุดการแสดง “นารายณ์ปราบนนทุก” และ ชุด “เมขลา – รามสูร หรือในตอนแสดงความยินดีเมื่อผู้ทรงฤทธิ์ได้ปราบอสูร และยักษ์ร้ายพ่ายแพ้ไป ในด้านดุริยางคศิลป์ ทั้ง 4 เพลงนี้เป็นเพลงท่อนเดียวมีท านองเพลง และท านองร้องที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปเป็น เพลงที่ใช้ในการแสดงโขน ละคร ตามแบบอย่างราชส านัก มีระเบียบแนวทางการบรรเลงตามขนบ อย่างสมบูรณ์และมีการสืบทอดมาอย่างยาวนานไม่สามารถที่จะระบุชื่อผู้แต่งได้ เพลงระบ าสี่บทจึงมี ความส าคัญทางประวัติศาสตร์ควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบสานไว้อีกทั้งเพลงระบ าสี่บท ซึ่งประกอบไป ด้วยเพลง พระทอง เบ้าหลุด สะระบุหร่ง และบลิ่ม ยังมีความส าคัญต่อการเรียนการสอนทางด้าน ดนตรีไทยอีกด้วยครูปี๊บ คงลายทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) พุทธศักราช 2563 เป็นบุตรชายและเป็นศิษย์ที่สืบทอดศิลปวัฒนธรรมประเภทเครื่องเป่าไทยต่อจากบิดา คือ ครูเทียบ คงลายทอง ปรมาจารย์ผู้มีความเป็นเอกทางด้านดนตรีไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเป่าปี่ชวา ท่านนับเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการเป่าปี่ชวา ไม่ว่าจะเป็นการเป่าปี่ชวา ในงานพระราชพิธีต่างๆ หรือในการบรรเลงวงเครื่องสายปี่ชวาซึ่งจะต้องอาศัยทักษะฝีมือขั้นสูงในการ บรรเลงปี่ชวา นักดนตรีผู้ที่เป่าปี่ชวาได้ดีจะต้องเรียนรู้ทักษะการเป่าปี่ชวา ทักษะการบังคับเสียง
2 เพราะปี่ชวามีเสียงที่ดังแหลมสูง จะท าให้เกิดความไพเราะได้นั้น จะต้องได้รับการฝึกฝนทักษะในการ เป่าปี่ชวาโดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเป่า ปี่ชวาเพื่อให้เข้าใจในกระบวนการเป่าปี่ชวาได้ถูกต้อง สมบูรณ์ท าให้เกิดความไพเราะ ซึ่งกระบวนการเรียนเครื่องเป่าไทยในปัจจุบันการเรียนการสอนปี่ชวา ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ครูปี๊บ คงลายทองนั้นเป็นผู้มีประสบการณ์ทางด้านการเป่าเครื่องเป่า ชนิดต่าง ๆ เช่น ปี่ใน ปี่ชวา ปี่มอญ อย่างเชี่ยวชาญและช านาญ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ได้กล่าวไว้ว่า “เพลงที่เหมาะกับการฝึกทักษะการใช้ลม การใช้ลิ้น และการใช้นิ้ว ในการเป่าปี่ชวา นอกจาก ตับลมพัดชายเขาแล้วยังมีเพลงชุดระบ าสี่บทอีกเพลงที่เหมาะต่อการฝึกหัดการเป่าปี่ชวา” (ปี๊บ คงลายทอง 2564, 25 มีนาคม, สัมภาษณ์) ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการฝึกทักษะ การเป่าปี่ชวาตามแนวทางของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ในเพลงระบ าสี่บท เพื่อที่จะศึกษา แนวคิดวิธีการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเป่าปี่ชวาของท่านและน ามาเป็นแบบอย่าง ในการพัฒนาทักษะฝีมือของผู้เรียนปี่ชวาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา การเรียนการสอน ในแวดวงการดนตรีไทยต่อไป 2. วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย เพื่อศึกษากระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวา เพลงระบ าสี่บท ตามแนวทางของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 3. ค ำถำมของกำรวิจัย กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวา เพลงระบ าสี่บท ตามแนวทางของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เป็นอย่างไร 4. ขอบเขตในกำรวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ก าหนดขอบเขตในการวิจัยโดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 4.1 ขอบเขตด้ำนเนื้อหำ 4.1.1แนวทางในการถ่ายทอดการเป่าปี่ชวาให้แก่ผู้เรียนของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 4.1.2กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 4.1.3 กลวิธีพิเศษ และส านวนกลอนปี่ชวาที่ปรากฏในเพลงระบ าสี่บท 4.2 ขอบเขตด้ำนบุคลำกรผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยด าเนินการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์โดยแบ่งกลุ่มบุคคล ไว้ดังนี้ 4.2.1 สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักเพื่อสัมภาษณ์เกี่ยวกับกระบวนการฝึกทักษะปี่ชวาใน เพลงระบ าสี่บท คือ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 4.2.2สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลส าคัญผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทจาก ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เพื่อหาความส าคัญในการฝึกทักษะปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท จ านวน 2 คน
3 4.2.3 สัมภาษณ์กลุ่มผู้ปฏิบัติเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลวิธีพิเศษในการเป่าปี่ชวา จากผู้ช านาญในการเป่าปี่ชวา จ านวน 8 คน 5. ข้อตกลงเบื้องต้น การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยบันทึกท านองเพลงด้วยระบบการบันทึกโน้ตท านองหลักและโน้ตส านวน กลอนทางปี่ชวาโดยใช้ระบบโน้ตไทย 6. ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ 6.1 น าส านวนกลอนทางปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทน าไปใช้ฝึกทักษะพัฒนาความสามารถแก่ผู้สนใจได้ 6.2 ผู้วิจัยสามารถน ากลวิธีการบรรเลงปี่ชวาที่ปรากฏอยู่ในเพลงระบ าสี่บทไปประยุกต์ใช้ ในการบรรเลงเดี่ยวหรือการบรรเลงร่วมกับวงดนตรีไทยประเภทอื่น ๆ ได้จริง 6.3 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาการเรียนการสอนในแวดวงการดนตรีไทย 7. นิยำมศัพท์เฉพำะ กระบวนกำรฝึกทักษะกำรเป่ำปี่ชวำ หมายถึง ขั้นตอนต่าง ๆ ในการฝึกทักษะปี่ชวาใน เพลงระบ าสี่บท มีดังนี้ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมในการฝึกเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท 2) ขั้นการ เลียนแบบโดยดูแบบอย่างจาก ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 3) ขั้นการลงมือกระท าตาม ต้นแบบ 4) ขั้นกระท าได้อย่างถูกต้องสามารถเป่าได้อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ 5) ขั้นการ แสดงออกอย่างคล่องแคล่ว 6) ขั้นการกระท าอย่างเป็นธรรมชาติ เพลงระบ ำสี่บท หมายถึง เพลงที่ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) คัดเลือกให้เป็นเพลง ส าหรับใช้ฝึกทักษะการใช้ลม การใช้ลิ้น และการใช้นิ้วในการเป่าปี่ชวา ประกอบไปด้วย เพลงพระทอง เพลงเบ้าหลุด เพลงสะระบุหร่ง เพลงบลิ่ม เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 2 ชั้น มีลักษณะบรรเลงติดต่อกัน กลวิธีในกำรบรรเลงปี่ชวำ หมายถึง กลวิธีในการบรรเลงปี่ชวาที่ปรากฏในเพลงระบ าสี่บท เกิดจากการใช้ลม การใช้ลิ้น และการใช้นิ้ว ท าให้เกิดเสียงพิเศษของปี่ชวาที่มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การปริบเสียง การสะบัดเสียง การกลับลิ้นกลับลม และการตอดสียง ส ำนวนกลอนปี่ชวำ หมายถึง การด าเนินท านองที่เป็นลีลาเฉพาะของการเป่าปี่ชวาปรากฏ ในเพลงระบ าสี่บท
บทที่ 2 เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเรื่อง กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวา เพลงระบ าสี่บท ตามแนวทางของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ผู้วิจัยได้ท าการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และ งานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทาง และก าหนดกรอบของการท าวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัย ในครั้งนี้คือ 1. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1.1 ทฤษฎีวิเคราะห์เพลงไทย 1.2 แนวคิดเรื่องรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮว์โรว์ (Harrow) 2. สารัตถะที่เกี่ยวข้อง 2.1 กระบวนการฝึกทักษะทางดนตรีไทย 2.2 องค์ประกอบของปี่ชวา 2.3 ชีวประวัติและการเรียนการสอนปี่ชวาของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 2.4 ประวัติเพลงระบ าสี่บท 3. วิจัยที่เกี่ยวข้อง 4. กรอบแนวคิดในการวิจัย 1. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1.1 ทฤษฎีวิเคราะห์เพลงไทย มานพ วิสุทธิแพทย์ (2556, น. 9 - 10) ได้กล่าวถึงรูปแบบในการวิเคราะห์เพลงไทย ไว้ว่าการ วิเคราะห์ทางดนตรีนั้นมีการวิเคราะห์อยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างเช่น วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ ประเภทดนตรีที่วิเคราะห์ เป็นต้น วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์นั้นมี มากมายหลายวัตถุประสงค์ ทั้งที่เป็นวัตถุประสงค์ในทางดนตรี เช่น ต้องการทราบโครงสร้าง และ ไวยากรณ์ของเพลง หรือวัตถุประสงค์ทางสังคมวิทยา เช่น บทบาทของดนตรีที่มีผลต่อวิถีชีวิตของคน ในสังคม หรือวัตถุประสงค์เชิงมานุษยวิทยา เช่น การใช้ดนตรีกับพิธีกรรมต่างๆ หรือวัตถุประสงค์ทาง วิทยาศาสตร์ เช่น ต้องการวัดหาความถี่ของระดับเสียงต่าง ๆ ของเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่ง เป็นต้น การวิเคราะห์ในรูปแบบ Fundamental structure (Schenker) Schenker มองดนตรีที่เป็น Tonal Music ว่าสร้างขึ้นจากองค์ประกอบเดียว คือ Tonic Triad ซึ่ง Triad นี้มีโครงสร้างที่เป็นท านองเพลง 2 อย่าง คือ ส่วนที่เป็นท านองหลักและส่วนที่เป็น การปรุงแต่งท านองหลัก ในการวิเคราะห์ Schenker แยกบทเพลงออกเป็นชั้น ๆ (Layer) คือ 1) ชั้น Foreground เป็นชั้นที่ประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหมดของบทเพลง 2) ชั้น Middleground ชั้นนี้อยู่ถัดจากชั้น Foreground เป็นชั้นที่ไม่มีรายละเอียดชั้นนี้
5 จึงประกอบด้วยโครงสร้างหลายอย่างและโครงสร้างเหล่านี้เป็นฐานของการสร้างรายละเอียดในชั้น Foreground 3) ชั้น Background เป็นชั้นที่เรียกว่าเป็นส่วนประกอบหลักของบทเพลงซึ่งอาจเป็น เพียงโน้ตเพียงตัวเดียว หรือ chord เพียง chord เดียว หรือเป็นเพียงท านองสั้น ๆ ในการวิเคราะห์ Schenker แยกบทเพลงลงบรรทัด 5 เส้นหลาย ๆ บรรทัดเรียงซ้อนกัน โดยแยกชั้น Foreground, Middleground,และชั้น Background ออกจากกัน การวิเคราะห์นี้สามารถน ามา ประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ดนตรีไทยได้ในลักษณะของการวิเคราะห์ท านองหลักและท านองแปรจาก เพลงประเภททางพื้นและใช้กับการวิเคราะห์เพลงเถา ผู้วิจัยสรุปได้ว่า การวิเคราะห์เพลงไทยมีหลายรูปแบบด้วยกันการเลือกใช้รูปแบบในการ วิเคราะห์จะต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยในการวิเคราะห์วิจัยเรื่อง กระบวนการฝึกทักษะ การเป่าปี่ชวาตามแนวทางของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ในเพลงระบ าสี่บท ผู้วิจัยได้เลือกใช้ การ วิเคร าะห์เพลงไทยในรูปแบบ Fundamental structure (Schenker) แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย Foreground, Middleground, Background เพื่อวิเคราะห์ท านองหลักและท านองปี่ชวา ในเพลงระบ าสี่บทว่าเป็นอย่างไร 1.2 แนวคิดเรื่องรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮว์โรว์ (Harrow) แฮร์โรว์ (อ้างใน ทิศนา แขมมณี, 2560 น. 37-38) ได้จัดล าดับขั้นของการเรียนรู้ทางด้าน ทักษะปฏิบัติไว้ 5 ขั้น โดยเริ่มจากระดับที่ซับซ้อนน้อยไปจนถึงระดับที่มีความซับซ้อนมาก ดังนั้นการ กระท าจึงเริ่มจากการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใหญ่ไปถึงการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อย่อย ล าดับขั้นดังกล่าว ได้แก่การเลียนแบบ การลงมือกระท าตามค าสั่ง การกระท าอย่างถูกต้องสมบูรณ์ การแสดงออก และ การกระท าอย่างเป็นธรรมชาติ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ รูปแบบนี้มุ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสามารถทางด้านทักษะปฏิบัติต่าง ๆ กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถปฏิบัติหรือกระท าอย่างอย่างถูกต้องสมบูรณ์และช านาญ กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ ขั้นที่ 1 ขั้นการเลียนแบบ เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนสังเกตการณ์กระท าที่ต้องการให้ผู้เรียนท า ได้ซึ้งผู้เรียนย่อมรับรู้หรือสังเกตเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ได้ไม่ครบถ้วน แต่อย่างน้อยผู้เรียนจะสามารถ บอกได้ว่า ขั้นตอนหลักของการกระท านั้น ๆ มีอะไรบ้าง ขั้นที่ 2 ขั้นการลงมือท าตามค าสั่ง เมื่อผู้เรียนได้เห็น และสามารถบอกขั้นตอนของการ กระท าที่ต้องการเรียนรู้แล้ว ให้ผู้เรียนลงมือท าโดยไม่มีแบบอย่างให้เห็น ผู้เรียนอาจลงมือปฏิบัติตาม ค าสั่งนี้แม้ผู้เรียนจะยังไม่สามารถท าได้อย่างสมบูรณ์แต่อย่างน้อยผู้เรียนก็ได้ประสบการณ์ในการลง มือท า และค้นพบปัญหาต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้และการปรับการกระท าให้ถูกต้องสมบูรณ์ขึ้น ขั้นที่ 3 ขั้นการกระท าอย่างถูกต้องสมบูรณ์ (Precision) ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้อง ฝึกฝนจนสามารถท าสิ่งนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์โดยไม่จ าเป็นต้องมีแบบอย่างหรือมีค าสั่งน าทางการ กระท า การกระท าที่ถูกต้องแม่นตรง พอดี สมบูรณ์แบบ เป็นสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องสามารถท าได้ในขั้นนี้ ขั้นที่ 4ขั้นการแสดงออก (Articulation) ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนมากขึ้นจน กระทั้งสามารถกระท าสิ่งนั้นได้ถูกต้องสมบูรณ์แบบอย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว ราบรื่น และด้วยความมั่นใจ
6 ขั้นที่ 5 ขั้นการกระท าอย่างเป็นธรรมชาติ (naturalization) ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียน สามารถกระท าสิ่งนั้น ๆ อย่างสบาย ๆ เป็นไปอย่างอัตโนมัติโดยไม่รู้สึกว่าต้องใช้ความพยายามเป็น พิเศษ ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติบ่อย ๆ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ ผู้เรียนจะเกิดการพัฒนาทางด้านทักษะปฏิบัติ จนสามารถกระท าได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ 2. สารัตถะที่เกี่ยวข้อง 2.1 กระบวนการฝึกทักษะทางดนตรีไทย การสอนแบบฝึกปฏิบัติเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในค าว่า “ฝึกปฏิบัติ” หรือ“ปฏิบัติการ” เป็นการสอนที่เน้นให้ผู้เรียน ได้ฝึกฝนเรียนรู้ลงมือกระท าเอง เพื่อทดสอบความรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ ประยุกต์เนื้อหาเพื่อน าไปใช้ได้จริง เป็นการสอนที ่มีมานาน โดยเฉพาะการศึกษาทางด้านศิลปะ ดนตรีช่วยให้เกิดการบูรณาการผสมผสานภาคทฤษฎีเข้ากับปฏิบัติผู้เรียนรู้ว่าสิ่งที่ตนเรียนอะไร มีปัญหาอะไรแก้ไขปัญหาอย่างไรเป็นประสบการณ์ตรงการเรียนการสอนวิธีนี้เห็นผลทันทีการฝึกฝน ทักษะให้รู้ว่าสิ่งที่ก าลังเรียนจะน าไปใช้จริงได้มากน้อยเพียงใด (จเร อู่แก้ว, 2554, น. 29) นอกจากนี้ จรัญ กาญจนประดิษฐ์(2560, น.98) ได้กล่าวถึงกระบวนฝึกทักษะ ทางดนตรีไทย ไว้ในหนังสือเดี่ยวขลุ่ยเพียงออว่า การเรียนดนตรีไทยมีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียนเขียนลายไทยคือ ผู้เริ่มฝึกหัดจะต้องผ่านการลอกลายครูกล่าวคือในเบื้องต้นผู้เรียนจะต้องฝึกเขียนลายฝึกลายเส้นจาก รอยเส้นประที่ครูได้ท าไว้เป็นแนวทางก่อนที่จะเขียนรายไทยด้วยตัวเอง โดยจะฝึกด้วยวิธีนี้จนเกิดความ เคยชิน วิธีการนี้จะท าให้ผู้ฝึกฝนได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ไปพร้อมกัน เช่น ลักษณะของเส้น สัดส่วนของลาย ไทยแต่ละแบบ เรียนรู้โครงสร้างหลักของลาย จนสามารถน าไปสู่การผูกของลาย และแตกลายได้ด้วย ตนเอง ความหลากหลายของรูปแบบลายไทยคือโจทย์ที่จะน าพาให้ผู้เรียนได้ฝึกประสบการณ์และ ซึมซับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน และสัดส่วนของลวดลายแต่ละชนิด เป็นสิ่งที่ ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ฝึกสังเกตอาจจะต้องใช้เวลานานหลายปีจนเกิดความช านาญ และสามารถพัฒนา ไปถึงขั้นสามารถวางลวดลายได้ถูกสัดส่วนและมีช่องไฟที่สวยงามถูกต้องตามแบบแผน ในระบบการ เรียนวิชาดนตรีไทยก็เช่นกัน ในเบื้องต้นผู้เรียนจะต้องฝึกสร้างเสียงดนตรีจากเครื่องดนตรีที่ก าลังฝึก ตามที่ครูสาธิตให้ฟังเป็นต้นแบบ ผู้เรียนจะต้องพยายามสังเกตและท าตามอย่างครูกระท าอย่างนี้เรื่อยไป ทีละเสียงทีละค า ทีละวรรค ทีละประโยคต่อเนื่องไปจนจบเพลง และสามารถจดจ าท านองได้อย่าง แม่นย าการลอกลายครูในมิติของการเรียนดนตรีไทยจึงเป็นวิธีการฝึกฝนที่เป็นวิธีการแบบเดียวกับการ ลอกลายครูของการเรียนเขียนลายไทยคือจะต้องเรียนแบบผลงานของครูที่ได้สร้างไว้เป็นต้นแบบ เมื่อศึกษาจนเกิดความช านาญมากขึ้น ก็จะสามารถพัฒนาไปสู่การคิดสร้างสรรค์ด้วยตนเองได้ในอนาคต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2557, น. 6) ได้กล่าวถึง ความส าคัญเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพ ทางดนตรีไทย ไว้ว่า รสมือ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความส าคัญต่อความเป็นมโนภาพเชิงสุนทรียศาสตร์ ของดนตรีไทยที่โบราณจารย์ในอดีตต่างมีความใฝ่ฝัน และช่วยกันสร้างสรรค์จนลงตัวเป็นตะกอนใน รูปแบบของทฤษฎีว่าด้วยกลไกการบังคับเครื่องดนตรีแต่ละเครื่องมือไว้เป็นแนวทางให้ศิลปินรุ่นต่อ ๆ มามีโอกาสที่จะก้าวสู่ความส าเร็จในการบังคับเครื่องดนตรีได้เร็วกว่าศิลปินในอดีตดังจะเห็นได้จาก ปรากฏการณ์ในอดีตที่ศิลปินต่างก็แสวงหาส านักดนตรีที่คาดว่าจะมีโอกาสเสริมสร้างพัฒนาการให้กับ
7 ตนซึ่งมักจะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมกันใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความรู้เชิงเพลงบรรเลง และความรู้ ในเชิงการฝึกฝนฝีมือโดยเฉพาะความรู้ในเชิงฝีมือนั้นก็คือเป้าหมายในการเสริมสร้างพัฒนาการในเชิง “รสมือ” นั่นเองซึ่งโดยทั่วไปจะจ าแนกได้อย่างน้อย 2 กระบวนการ อันประกอบด้วย กระบวนการว่า ด้วยกลไกลในการสั่งการให้ธรรมชาติของกายภาพแสดงพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดเสียงดนตรีชนิดที่ เรียกว่า “รสมือดี” และกระบวนการว่าด้วยล าดับการควบคุมกรณีที่แสดงรสมือในล าดับต่าง ๆ จนสามารถแสดงให้เห็นปรากฏการณ์เชิงความแตกต่างได้ว่าเป็นศิลปินที่ฝึกฝนจนได้รสมือในระดับใด ในการฝึกทักษะทางดนตรีไทยในเรื่องของบทเพลงก็มีบทบาทส าคัญต่อการพัฒนาศักยภาพ ทางดนตรีเช่นกัน ดังที่ วัศการก แก้วลอย (2558, น. 55 - 56) ได้กล่าวถึง เพลงเรื่องในด้านบทบาท ต่อการศึกษา การพัฒนาศักยภาพทางดนตรีและการฝึกทักษะทางดนตรีไว้ว่า ครูโบราณนิยมต่อเพลง เรื่องให้ลูกศิษย์นอกจากได้ไว้ใช้งานแล้วยังใช้ส าหรับฝึกทักษะทางดนตรีปี่พาทย์เหตุผลที่ใช้เพลงเรื่อง ใน การไล่มือเนื่องจากเพลงเรื่องมีความยาวกว่าเพลงทั่วไปเพลงเรื่อง ๆ หนึ่งใช้เวลาเกือบชั่วโมง นักดนตรีต้องมีความอดทนเป็นที่ตั้ง และมีสมาธิในการบรรเลงเพลงเรื่องนั้นเพื่อเสริมสร้างก าลังเมื่อ ยามที่ต้องบรรเลงเพลงที่มีความยาวมากเฉกเช่นเพลงเรื่องรวมทั้งเรื่องสมาธิก็เป็นสิ่งส าคัญส าหรับ นักดนตรียามเมื่อบรรเลงเพลงเรื่องหากไม่มีสมาธิแล้วก็อาจเกิดข้อผิดพลาดเพราะจังหวะ และเนื้อหา ท านองเพลงเรื่องซ้ าไปซ้ ามาชวนท าให้สับสนได้ดังนั้นนักดนตรีต้องมีสมาธิขณะบรรเลงเพลงเรื่องเพื่อ แยกแยะท านองเพลงแต่ละส่วนได้ถูกต้องอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นข้อดีของการเรียนเพลงเรื่องคือนักดนตรี ได้ฝึกปฏิภาณไหวพริบ ในการแปรท านองให้เข้ากับท านองเพลงเรื่องได้อย่างเหมาะสมกลมกลืนสิ่ง ส าคัญของเครื่องด าเนินท านองอย่างหนึ่งคือการรู้ว่าตอนไหนควรท าตอนไหนไม่ควรท าท าในที่นี้ หมายถึงการแปรท านองให้เป็นทางตามเครื่องมือของตนเพลงเรื่องมีมือฆ้องที่งดงามงาม วิจิตรพิสดาร ซ้ าไปซ้ ามาการด าเนินกลอนจึงควรอยู่ในความพอดีบางเพลงเครื่องด าเนินท านองต้องตีตามฆ้องไม่แตก ทางจนเสียส านวนเพลงแต่ถึงกระนั้นหากฝึกเพลงเรื่องที่มีความซับซ้อนจนช านาญก็เป็นการเพิ่มพูน ความรู้ความสามารถที่ประดิษฐ์ท านองให้มีความสอดคล้องกลมกลืนตามวิธีการด าเนินท านองแบบ เครื่องมือ ของตน ทั้งนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาไหวพริบปฏิภาณทางดนตรีอย่างหนึ่งฉะนั้นเพลง เรื่องมีส่วนส าคัญต่อการเสริมสร้างศักยภาพทางดนตรี สรุปออกมาได้ดังนี้ 1) ฝึกความอดทน 2) ฝึกสมาธิของนักดนตรี 3) ฝึกการควบคุมแนวการบรรเลงไม่ให้รุกหรือหน่วงจังหวะ 4) ฝึกไหวพริบปฏิภาณของนักดนตรีพัฒนาวิธีการด าเนินกลอนอย่างเหมาะสมของแต่ ละเครื่องมือ ผู้วิจัยสรุปได้ว่า กระบวนการฝึกทักษะทางดนตรีไทยนั้นเน้นไปที่คุณค่าของการฝึกฝนให้ ผู้เรียนพัฒนาทักษะ และศักยภาพในด้านต่าง ๆ ที่ใช้ในการบรรเลงปฏิบัติจริง และสามารถเพิ่มพูน ประสบการณ์ประยุกต์สิ่งที่เรียนมาใช้ได้จริงและสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในด้านการเรียนรู้ผู้สอน จ าเป็นจะต้องดุลยพินิจที่ดีในการดูศักยภาพในตัวลูกศิษย์แต่ละคนทั้งอุปนิสัยลักษณะรูปร่างและ ปฏิภาณไหวพริบว่าศิษย์คนนั้นมีความสามารถในด้านใดเหมาะสมกับเครื่องดนตรีชนิดใดจึงจะท า ให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพประสบความส าเร็จลักษณะการเรียนดนตรีไทยมีลักษณะ การเรียนรู้จากตัวแบบ หรือในภาษาการเขียนลายไทยเรียกว่า การลอกลายครู เป็นการเรียนเบื้องต้น
8 ที่จะต้องท าตามครูผู้สอนวางแนวทางไว้เป็นต้นแบบ และท าการฝึกฝนจนเกิดความเคยชินวิธีการนี้ จะท าให้ผู้ฝึกฝนได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ไปพร้อมกัน และได้รับประสบการณ์ในการซึมซับความรู้ความ เข้าใจ ในส่วนของโครงสร้างต่าง ๆ ที่ละวรรคทีละตอนจนเกิดความช านาญสามารถน าไปพัฒนาจน เกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ได้การสอนในด้านดนตรีไทยครูโบราณจารย์ได้ก าหนดเพลงที่มีคุณสมบัติ ในการพัฒนาทักษะของผู้เรียนในแต่ละเครื่องดนตรีต่าง ๆ ซึ่งแต่ละเครื่องมือก็จะมีวิธีการฝึกที่ แตกต่างต่างกันออกไปส่วนส าคัญในการเสริมสร้างศักยภาพทางดนตรีคือ ฝึกความอดทน ฝึกสมาธิ ของนักดนตรี ฝึกการควบคุมแนวการบรรเลงไม่ให้รุกหรือหน่วงจังหวะ และฝึกไหวพริบปฏิภาณของ นักดนตรี พัฒนาวิธีการด าเนินกลอนอย่างเหมาะสมของแต่ละเครื่องมือในการบวนการฝึกทักษะปี่ชวา เพลงระบ าสี่บทมีความคล้ายคลึงกับการฝึกเพลงเรื่องเพราะมีมือฆ้องที่งดงามงาม วิจิตรพิสดาร ท านองซ้ าไปซ้ ามามีการเปลี่ยนระดับเสียง และมีลักษณะเป็นเพลงชุดเรียงกัน ท าให้มีความยาวถึง สี่เพลงฉะนั้นเพลงระบ าสี่บทมีคุณสมบัติที่สามารถน ามาฝึกเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางดนตรีได้ 2.2 องค์ประกอบของปี่ชวา 2.2.1 ประวัติความเป็นมาปี่ชวา ปี่ชวาเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่ไทยได้รับแบบอย่างมาจากชวาเข้ามายัง ประเทศไทยโดยเส้นทางแพรไหม และไม่ใช่เพียงปี่ชวาเท่านั้นยังรวมไปถึงปี่ และขลุ่ยชนิดอื่น ๆ ด้วย เป็นเครื่องดนตรีที่มีอยู่โดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลายประเทศที่อยู่บนเส้นทางแพรไหมเส้นทางนี้ เป็นเส้นทางเดินของผู้ท ามาค้าขายซึ่งมีทั้งทางเดินเท้า และเส้นทางเดินเรือมีระยะทางตั้งแต่กลุ่ม ประเทศในตะวันออกกลางผ่านมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอินเดียผ่านเกาะลังกา ประเทศพม่า และ ทะเลอันดามันเข้าสู่แหลมมลายูช่องแคบมะละกาหมู่เกาะ ประเทศอินโดนีเซีย และบริเวณอ่าวไทย ต่อไปจนถึงประเทศจีนตามแนวทะเลจีนใต้เส้นทางแพรไหมที่กล่าวมานี้ มีลักษณะเด่นในการใช้เครื่อง ดนตรีประเภท เครื่องลม ที่คล้ายคลึงกันอยู่อย่างหนึ่งคือเทคนิคการเป่าเครื่องลมที่ใช้วิธีระบายลมให้ เกิดต่อเนื่องกันเหมือนกับว่าไม่มีการหายใจเทคนิคเดียวกันนี้อาจกล่าวได้ว่าระบบการสร้างเครื่อง ดนตรีประเภทเครื่องลมมีรูปพรรณสัณฐาน และหน้าที่ใกล้เคียงกัน ปี่ชวาเป็นเครื่องเป่าที่คล้ายเครื่อง เป่าในประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกันอันได้แก่ ปี่ไฉน ปี่ใน ปี่นอก ปี่ชวา ปี่มอญ และปี่อ้อซึ่งต้องใช้ลิ้นปี่ และมีก าพวดเช่นเดียวกัน เพียงแต่การน าปี่เหล่านี้ไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ จะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เท่านั้นเมื่อพิจารณารูปลักษณ์ของ ปี่ชวากับปี่ที่ใช้ในตะวันออกกลางอินเดีย และชวาแล้วรูปลักษณ์ไม่ แตกต่างกัน เพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่า ปี่ไฉนที่สันนิษฐานว่าเป็นปี่อินเดียเพียงเล็กน้อย และมีจ านวนรู ปิดเปิดนิ้วมากกว่า ซึ่งเชื่อว่าเป็นการพัฒนาให้เกิดความหลากหลายของเสียงมากขึ้น แต่ยังคงใช้ เทคนิคการเป่าระบายลมอยู่เช่นเดิมค าว่า ปี่ เป็นภาษาไทยแท้ ตั้งชื่อขึ้นตามเสียงที่เกิดขึ้นจากการเป่า และหากปี่นั้นมาจากแหล่งใด ไทยก็จะเติมค าต่อลงไป เช่น ปี่มอญ หรือปี่ชวา ดังนั้น สรุปแล้วพอจะ อนุมานได้ว่า ปี่ชวาคงไม่ใช่ของไทยมาตั้งแต่ต้น แต่ได้เคลื่อนย้าย และพัฒนาตามเส้นทางแพรไหม จนถึงชวาแล้วเข้าสู่ประเทศไทยจึงได้ชื่อว่า ปี่ชวา (พวงเพ็ญ รักทอง, 2539, น. 14 - 15) นอกจากนี้ สุกรี เจริญสุข (2533, น. 16 -17) ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของปี่ชวา ไว้ว่า ปี่ไฉนกับปี่ชวาเป็นตระกูลเดียวกันเพราะปี่ชวาได้แบบมาจากปี่ไฉนผู้ท าหน้าทีเป่าปี่ทั้งสองชนิดนี้น า กลองชนะจะเรียกกันในสมัยหลังว่า “จ่าปี่” เข้าใจว่าสมัยกรุงศรีอยุธยาจะมีบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนวิเวก
9 สงคราม” มีศักดินา 600 ต าแหน่งปลัดกรมกลองชนะนอกจากนี้ในหนังสือประวัติและพัฒนาการของ ปี่ไทยได้อธิบายเกี่ยวกับตระกูลปี่ในสังคมไทยไว้ว่าเครื่องเป่าตระกูลปี่ในสังคมไทยมีมากมายหลายชนิด และให้ความส าคัญในด้านความเชื่อถือที่แตกต่างกันไป ดังนี้ ความเชื่อว่า ปี่ เป็นผู้ให้ความบันเทิง ให้ความจรรโลงใจและให้คุณค่าในฐานะเป็นเครื่องมือ ประกอบการยังชีพของตน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของเครื่องดนตรีทั้งหลาย เช่น ปี่ซอ ปี่แน ทาง ภาคเหนือที่บรรเลงอยู่ในวงซอเมืองเหนือ ปี่อ้อในวงกันตรึมของอีสานใต้ปี่ใน ปี่นอก ปี่ชวา ปี่มอญ ที่ใช้อยู่ในวงดนตรีของภาคกลาง หรือปี่ที่เป่าในวงปี่พาทย์ชาตรีที่มักจะเรียกกันว่า ปี่นอก ใช้ ประกอบการเล่นมโนราห์หรือหนังตะลุงทางภาคใต้ แม้ว่าเครื่องดนตรีเหล่านี้จะถูกน าไปบรรเลงใน งานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานชั้นสูงชั้นต่ าหรืองานที่เป็นมงคล อวมงคล เช่นปี่มอญปี่ชวา แม้ว่าจะถูกน าไป เป่าในวงปี่พาทย์มอญหรือบัวลอยในงานศพ น ามาใช้เป่าประกอบการฟ้อนร าเพื่อความบันเทิงก็ไม่มีใคร คิดว่าในปี่นั้นจะมีวิญญาณแห่งความตายเข้าสิงสู่ ให้คนเกิดความหวาดกลัวหรือย าเกรงถึงกับมีอิทธิพล ต่อชีวิตคน เพราะผู้คนที่ใช้ปี่เหล่านั้นนอกจาก จะเป็นคนเมืองที่เจริญแล้วประการหนึ่ง อีกประการ หนึ่งส่วนใหญ่มิได้นับถือลัทธิภูตผีปีศาจแต่นับถือพุทธศาสนาที่มีเหตุผล สรุปได้ว่า ปี่ชวา เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับแบบอย่างมาจากชวาซึ่งเข้ามาทางเส้นทางแพรไหม อีกทั้งปี่ชวาคล้ายเครื่องเป่าในประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกัน ได้แก่ ปี่ไฉน ปี่ชวา ปี่มอญ และปี่อ้อ ต้องใช้ลิ้นปี่และมีก าพวดเช่นเดียวกันเพียงแต่การน าปี่เหล่านี้ไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ จะแตกต่างกันใน แต่ละพื้นที่เท่านั้นปี่ชวามีความส าคัญอย่างมากในสังคมไทยเนื่องจากมีความเป็นมาอันยาวนานดัง ปรากฏในลิลิตยวนพ่ายโอกาสที่ใช้ปี่ชวาในสังคมไทยมีทั้งในด้านพระราชพิธีเช่น ขบวนพยุหยาตรา เสด็จพระราชด าเนินในด้านการกีฬา เช่น การชกมวย ร ากระบี่-กระบอง ในด้านความบันเทิง ประกอบการแสดงละคร ฟ้อนร า เช่น เรื่องอิเหนา ตอนร ากริช และในด้านงานอวมงคล ปี่พาทย์ นางหงส์และวงปี่กลองบัวลอยนับได้ว่าปี่ชวามีบทบาทส าคัญอย่างมากในงานต่าง ๆ ของสังคมไทย ผู้ที่ท าหน้าที่เป่าปี่ชวา นักเรียน นักศึกษา ศิลปิน จึงจ าเป็นที่จะต้องมีการฝึกฝนเรียนรู้ให้ช านาญใน ทักษะการเป่าปี่ชวาเพื่อให้เกิดคุณค่าในวิชาชีพทางด้านดนตรีประจ าชาติเกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยใน ด้านของศิลปวัฒนธรรม 2.2.2 ลักษณะการเป่าปี่ชวาในวงบรรเลงต่าง ๆ ลักษณะของปี่ชวาในการบรรเลงดนตรีไทยต่าง ๆ นั้นมีความแตกต่างกันไปตามรูปแบบ ของวง ผู้วิจัยได้ค้นคว้าเกี่ยวกับการบรรเลงปี่ชวาในวงต่าง ๆ ไว้ดังนี้ 2.2.2.1 วงเครื่องสายปี่ชวา ราชบัณฑิตยสถาน (2545, น. 39)วงเครื่องสายปี่ชวา คือ วงเครื่องสายไทยทั้งวงบรรเลง ประสมกับกลองแขกโดยไม่ใช้โทน ร ามะนาและใช้ขลุ่ยหลิบแทนขลุ่ยเพียงออเพื่อให้เสียงเข้ากับปี่ชวา ได้ดีเดิมเรียกว่าวงกลองแขกเครื่องใหญ่วงเครื่องสายปี่ชวานี้เกิดขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การบรรเลงเครื่องสายปี่ชวานั้นนักดนตรีจะต้องมีไหวพริบ และความ เชี่ยวชาญในการบรรเลง เป็นพิเศษ โดยเฉพาะฉิ่งก ากับจังหวะจะต้องเป็นคนที่มีสมาธิดีที่สุดจึงจะ บรรเลงได้อย่างไพเราะ
10 นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2558, น. 9) ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวง เครื่องสายปี่ชวาไว้ว่า วงเครื่องสายปี่ชวาเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นการผสมผสานระหว่างวงกลอง แขกและวงเครื่องสายไทยผู้บรรเลงต้องใช้ความสามารถสูงกว่าการบรรเลงในรูปแบบวงทั่วไปไม่ว่าจะ เป็นเรื่องการเปลี่ยนบันไดเสียงการคิดกลอนเพลงหรือทางเพลงที่ซับซ้อนมากขึ้น อีกทั้ง กมล แก้วสว่าง (2556, น. 39) ยังได้อธิบายเกี่ยวกับบทบาท และลักษณะการเป่า ปี่ชวาในวงเครื่องสายปี่ชวาว่า บทบาทของปี่ชวาในวงเครื่องสายปี่ชวา ปี่ชวาจะมีหน้าที่ขึ้นเพลง โดยเฉพาะเพลงโหมโรง แต่ถ้าเพลงอื่นหลังจากโหมโรงไปแล้วเครื่องดนตรีอื่นก็สามารถขึ้นได้ซึ่งขึ้นอยู่ กับการปรับ นอกจากนั้นปี่ชวาก็ยังท าหน้าที่เป็นประธานของวง และเป็นผู้น าคล้ายกับระนาด ลักษะการบรรเลง และการด าเนินท านอง การเลือกใช้เพลงส าหรับการบรรเลงของ เครื่องสาย ปี่ชวาใช้ระเบียบวิธีในการบรรเลงเช่นเดียวกับการบรรเลงวงดนตรีชนิดอื่น ๆ ที่จะต้อง ค านึงถึงระดับเสียง และความเร็วที่เหมาะสมสัมพันธ์กับวงดนตรีและเครื่องดนตรีและสิ่งที่เป็น หัวใจส าคัญในการบรรเลงวงเครื่องสายปี่ชวาที่จะขาดไม่ได้เลย คือ การบรรเลงโหมโรง ที่จะต้อง ออกเพลงสะระหม่าแล้วจบลงด้วยการออกภาษาที่เรียกว่า “เพลงเรื่องเครื่องสายปี่ชวา” แนวในการบรรเลงของวงเครื่องสายปี่ชวา เมื่อเริ่มบรรเลงจะเริ่มที่จังหวะปานกลางเช่นเดียวกับ การบรรเลงวงเครื่องสายไทยทั่วไป จากนั้นจึงขยับแนวให้กระชับขึ้นตามอัตราจังหวะควบคุมที่ลดหลั่น ลงไปตามล าดับ ผู้บรรเลงเครื่องสายปี่ชวาแต่ละเครื่องมือจะต้องมีความคล่องตัวสูงและสามารถ ด าเนินท านอง และควบคุมการ รับ – ส่ง –สวม ทอดและลงจบให้สอดคล้องสัมพันธ์กับแนวบรรเลงได้ โดยตลอดโดยเฉพาะปี่ชวากลองแขกเนื่องจากในช่วงปลายของการบรรเลงจะใช้ความเร็วมากที่เรียกกันว่า “ไหว” ก่อนที่จะจบลงหากนักดนตรีขาดทักษะในการฝึกฝนให้มีพละก าลัง และปฏิภาณไหวพริบที่ดี เพียงพอก็มีความเสี่ยงที่จะบรรเลงเสียแนวหรือ “ล้ม” ได้(ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน, 2559, น. 38) พลณศักดิ์ ทรัพย์บางยาง (2564, 21 มีนาคม, สัมภาษณ์) ได้อธิบายเกี่ยวกับการเป่าปี่ ชวาในวงเครื่องสายปี่ชวา ไว้ว่า “ส าหรับวงเครื่องสายปี่ชวาเสียงปี่ชวาจะดังมากกว่าเพื่อนเป็นสิ่งที่ท า ให้เครื่องดนตรีชิ้นอื่นดูเบาไปเลย เช่น จะเข้ซอด้วง ซออู้ เนี่ยเป็นเครื่องดนตรีที่เสียงเบา ฉะนั้นหลัก ของปี่ชวาที่เป่าในวงเครื่องสายปี่ชวาจะต้องเป่าให้รวดเร็วเพราะแนวของการบรรเลงค่อนข้างเร็วสูงจะ เร็วแค่ไหนอยู่ที่ศักยภาพของผู้บรรเลงไม่ว่าจะเป็น ปี่ชวา กลองแขก ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เสียงปี่ชวา ต้องไม่ดังจนเกินไปกว่าเครื่องดนตรีอื่น ๆ เพราะถ้าดังเกินเสียงปี่ชวาจะกลบท านองเพลงท านองเครื่อง อื่น ๆ ให้เกิดความด้อยลงท าให้วงเครื่องสายปี่ชวาไม่มีความไพเราะเพราะเสียงของปี่ชวามีอิทธิพล อย่างมากต่อ เครื่องดนตรี 3 ชนิด คือ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเป่าเบาจนเกินไปเพียงแต่ ต้องสามารถควบคุมเพลงทั้งเพลงได้การใช้เสียงของปี่ชวาในวงเครื่องสายปี่ชวานั้นจะต้องไม่ดัง จนเกินไป และไม่เบาจนเกินไป ผู้วิจัยสรุปได้ว่าลักษณะการบรรเลงปี่ชวาในวงเครื่องสายปี่ชวาผู้เป่าจะต้องมีความเชี่ยวชาญ มีไหวพริบ และมีความคล่องตัวสูง เพราะแนวในการบรรเลงเครื่องสายปี่ชวาเป็นไปทางความเร็วสูง และจะต้องมีความ เป็นผู้น าเพราะผู้เป่าปี่ชวาจะท าหน้าที่ขึ้นเพลง และเป็นผู้น าวงเช่นเดียวกับระนาด เอก อีกทั้งปี่ชวามีคุณสมบัติของเสียงที่โดดเด่นเฉพาะตัว ผู้บรรเลงปี่ชวาจึงจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ เรื่องการเปลี่ยนบันไดเสียงเพื่อเป่าปี่ชวาได้ครบช่วงเสียง ท าให้เกิดความไพเราะสอดคล้องไปกับเครื่อง
11 ดนตรีชิ้นอื่น ๆ ดังนั้นผู้ที่จะเป่าปี่ชวาในวงเครื่องสายได้ดีจะต้องเรียนรู้ทักษะปฏิบัติทางปี่ชวาจากครูปี่ ที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อความเหมาะสมการด าเนินท านองปี่ชวาสามารถใช้เสียงครบตาม ขอบเขตของเพลงที่บรรเลงได้อย่างมีคุณภาพและสามารถบังคับลม บังคับลิ้น ประคองเสียงให้มีความ กลมกลืนสอดคล้องกับเครื่องดนตรีชิ้นอื่นในวงเครื่องสายปี่ชวา 2.2.2.2 วงปี่ชวากลองแขก วงปี่ชวากลองแขก เป็นวงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากชวาการประสม วงปี่ชวากลองแขกมีรูปแบบที่ตายตัว แต่เดิมนั้นวงปี่ชวากลองแขกของชวาประกอบไปด้วย ปี่ชวา 1 เลา กลองแขก 1 คู่และโหม่ง 1 ใบ ต่อมาเมื่อวิวัฒนาการเป็นวงปี่ชวากลองแขกของไทย ใช้ฉิ่งตีแทน โหม่ง จึงประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3 ชนิด คือ กลองแขก 1 คู่ ปี่ชวา 1 เลา ฉิ่ง 1 ส ารับ การบรรเลงไม่ ว่าจะเป็นงานใดก็ใช้เครื่องประสมวงเพียงเท่านี้วงปี่ชวากลองแขก เดิมใช้ในการฟ้อนร าอาวุธ เช่น ร ากริช กระบี่-กระบอง ต่อมาใช้น ากระบวนเสด็จ และเป็นเครื่องประโคมในงานพระราชพิธีต่าง ๆ คู่ กับวงปี่พาทย์มาตั้งแต่สมัยอยุธยา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557, น. 5) นอกจากนี้ ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน (2559, น. 48 - 49 ) ได้กล่าวถึงลักษณะของการ บรรเลงปี่ชวากลองแขกไว้ว่า วงกลองแขก วงปี่ชวากลองแขก คือ วงดนตรีแบบหนึ่งซึ่งได้รับอิทธิพล จากชวา เดิมใช้บรรเลงประกอบการแสดง และกีฬานันทนาการ เช่น การร ากริช ปรากฏในบทละคร เรื่องอิเหนา พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้ามงกุฎในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกระบี่กระบองมาใช้เป็น เครื่องประโคมน าขบวนเสด็จในงานพระราชพิธีต่าง ๆ อยู่กับวงปี่พาทย์ตั้งแต่สมัยอยุธยา ครั้งในปลาย รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ยกเลิกการประโคมวงกลองแขกพร้อมกับปี่พาทย์ใน งานพระราชพิธีสาเหตุเนื่องจากในการบรรเลง ปี่พาทย์พร้อมกับวงกลองแขก ปี่พาทย์บรรเลงไป เพลงหนึ่ง วงกลองแขกต้องบรรเลงไปอีกเพลงหนึ่งฟังแล้วไม่กลมกลืนกัน แต่ในงานพระราชพิธีถวายกฐิน ถ้าเสด็จพระราชด าเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งมีเรือจะเป็นริ้วกระบวนยังใช้วงกลอง แขกอยู่โดยกระบวนเรือนี้จะมีเรืออยู่ 2 ล าล าหนึ่งเรียกว่า เรือกลองในอีกล าหนึ่งเรียกว่าเรือกลองนอก คือมีกลองแขกปี่ชวา และฉิ่งบรรเลงอยู่ในเรือนั้นเมื่อกระบวนพระยุหยาตราล่องไปตามล าน้ าวงกลอง แขกทั้งเรือกลองนอกและเรือกลองในบรรเลงเพลงไปตลอดทางครั้นใกล้บริเวณพระอุโบสถแล้วเรือ กลองในบรรเลงเหลือเพียงคนเดียว จนเมื่อถึงท่าเรือพระที่นั่งเข้าเทียบท่าแล้วจึงหยุดบรรเลงและ เมื่อเสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่งจึงเป็นหน้าที่ของปี่พาทย์ต่อไป ผู้เป่าปี่ชวา ผู้บรรเลงจะต้องบังคับลม และลิ้น เพื่อประคองเสียงให้มีความกลมกลืน สอดคล้องไปกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ในวง ในการด าเนินท านองปี่ชวาสามารถใช้เสียงได้อย่าง มีคุณภาพโดยส่วนใหญ่จะเป่าโหยเป็นท านองห่าง ๆ ไปตามลีลาของปี่แต่มิได้ท าไปตลอดเพลงต่อเมื่อ ใกล้จะหมดท านองในแต่ละท่อนกลับมาเป็นก าลังเก็บให้ชัดทุกถ้อยค าเพื่อเป็นสัญญาณบอกเครื่อง ดนตรีเตรียมพร้อมในการเปลี่ยนท่อนหรือส่งร้องอย่างพร้อมเพียงกัน โดยเฉพาะเมื่อเวลาที่ปี่ชวาเป่า เพลงสะระหม่า เครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ จะหยุดบรรเลง เพื่อให้ปี่ชวากลองแขกด าเนินท านองไปตาม หน้าที่ของตน กลองแขกเพลงโยน เพลงเเปลง ซึ่งผู้ที่ไม่ช านาญในการบรรเลงปี่จะไม่สามารถจับวรรค ตอนของเพลงได้
12 การบรรเลงเพลง สะระหม่า ปี่ชวาจะเป่าโดยแสดงความสามารถต้องใช้เสียงทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เรียกว่ากลุ่มหรือเสียงแหบสูง จะต้องมีการบังคับลม และลิ้นให้ได้ระดับ เสียงที่ต้องการ กลุ่มที่ 2 เรียกว่ากลุ่มเสียงในทางกลางหรือเสียงกลาง คือกลุ่มที่ไม่ต้องใช้ลิ้นในการ บังคับเสียง กลุ่มที่ 3 เรียกว่ากลุ่มเสียงในทางต่ าหรือเสียงต้อ จะต้องมีการบังคับลม และลิ้นที่ดี เพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการ การเป่าเพลงสะระหม่าแบ่งการสอดท านองออกเป็น 4 ท่า คือ ท่าที่1 เป็นการใช้เสียงในกลุ่มเสียงกลาง นอกจากจะสร้างลีลาให้ชวนฟังแล้วยังเป็น การแสดงขีดความสามารถของผู้เป่าในการบังคับเสียง บังคับนิ้ว การจัดช่องไฟ และประสบการณ์ใน การใช้เสียงกลางว่ามีมากน้อยเพียงใด ท่าที่ 2 เป็นการด าเนินท านองในเสียงสูง และแสดงความสามารถในการบังคับเสียง อีกแบบหนึ่งเสียงสูงที่เกิดขึ้นนี้ผู้เป่าจะต้องบังคับลม และลิ้นปี่อย่างประณีต มิให้เกิดการเพี้ยนเสียงได้ ท่าที่3 เป็นการด าเนินท านองในเสียงต้อ ซึ่งเป็นเสียงที่มีความยุ่งยากในการบังคับลม และลิ้นปี่อีกแบบหนึ่ง ท่าที่ 4 เป็นการสร้างลีลาการด าเนินท านองในกลุ่มเสียงกลาง และเสียงสูงผสมกัน ร่วมกับการใช้กลวิธีในการด าเนินท านอง แบบนี้เรียกว่า “ปลิว”และ “ร่อน” อันเป็นสัญลักษณ์แสดง ให้เห็นถึงพื้นฐานการศึกษาความพร้อมในด้านศักยภาพ และการฝึกฝนของผู้บรรเลง การสอดท านอง เพลงปี่ชวานี้เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน ในการใช้กลวิธีต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ไม่สามารถที่จะ บันทึกเป็นโน้ตเพลงอย่างเป็นรูปธรรมได้ทั้งหมด ผู้ที่สนใจควรที่จะศึกษาวิธีการด าเนินท านองเพิ่มเติม กับครูปี่ที่มีประสบการณ์ในการบรรเลงปี่ชวา ลักษณะการบรรเลงวงปี่ชวากลองแขกยังมีบทบาทในด้านของการกีฬาและการละเล่นไทยที่ บรรเลงโดยปี่ชวากลองแขก ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสาร และวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ กรมพลศึกษา (2559, น. 26-27) ได้กล่าวถึงดนตรีที่ใช้ในการร ามวยไทยไว้ว่า องค์ประกอบที่ ส าคัญ และเป็นส่วนสร้างบรรยากาศให้แก่การไหว้ครูและร่ายร ามวยไทยตลอดทั้งการแข่งขันชกมวย นั้นคือ วงดนตรีปี่กลอง ซึ่งมีจังหวะท่วงท านองช้าหรือเร็วตามช่วงเวลาของการแข่งขัน เมื่อเริ่มไหว้ครู ท่วงท านองก็จะช้า เนิบนาบ ช่วยให้ลีลาการร าไหว้ครูดูอ่อนช้อยงดงามน่าชม เป็นสุนทรียศาสตร์อีก แบบหนึ่งและเมื่อเริ่มการแข่งขัน เสียงดนตรีก็เริ่มเร็วขึ้น บอกให้ผู้ได้ยินได้ชมรู้ว่าขณะนั้นนักมวยก าลัง ใช้ชั้นเชิงต่อสู้กันอยู่ในสังเวียนและเมื่อถึงยกสุดท้ายจังหวะดนตรียังเร่งเร้าใจให้นักมวยได้เร่งพิชิตคู่ ต่อสู้กันและเร้าใจผู้ชมมวยรอบสนาม ให้ตื่นเต้นกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้า จังหวะดนตรีจึง เป็นส่วนสร้างความรู้สึกของนักชก และผู้ชมรอบสนามให้สนุกสนานตื่นเต้นกับการแข่งขันได้อย่าง น่าอัศจรรย์
13 นอกจากนี้ ศุภกิจ จารุจรณ (2539, น. 65) ได้กล่าวถึง วงปี่ชวากลองแขกในการแข่งขันกีฬา ไทยไว้ว่า วงปี่ชวากลองแขก นอกจากจะใช้บรรเลงพิธีกรรมแล้วยังใช้บรรเลงการแข่งขันกีฬาไทยอีก 3 ประเภท ได้แก่ 1) มวยไทย ใช้ประกอบ 2 ช่วง ได้แก่ พิธีกรรมไหว้ครูก่อนการชกหรือที่เรียกกันว่า ร ามวยหรือไหว้ครูโดยจะบรรเลงเพลงโยนในเรื่องสะระหม่าส่วนการบรรเลงประกอบการชกในแต่ละ ยกโดยมีเพลงหลัก คือ แขกเจ้าเซ็น 2 ชั้นและเพลงเชิดชั้นเดียว 2) อาวุธโบราณ ใช้ประกอบ 3 ช่วง ได้แก่ พิธีกรรมไหว้ครูก่อนสวมมงคลดนตรี ใช้เพลงเรื่องชมสมุทรบรรเลงประกอบ ช่วงที่ 2 ได้แก่การไหว้ครูก่อนการต่อสู้ จะใช้บทเพลงประจ า ของอาวุธแต่ละชนิด ช่วงที่ 3 จากการถวายบังคมเร็ว เดินแปลง จนเข้าท าการต่อสู้จะใช้เพลงโยน และเพลงแปลงในเรื่องสะระหม่า ส่วนที่ใช้ดนตรีประจ าคือการไหว้ครูก่อนการแสดง และการต่อ สู้พิธีกรรมก่อนการสวมมงคลจะไม่นิยมใช้และไม่มีเพลงบรรเลงเฉพาะ จึงน าเพลงในเรื่องเครื่องสาย ปี่ชวามาบรรเลงประกอบแทนเพื่อมิให้เงียบเหงา 3)ตระกร้อลอดบ่วงจะใช้เพลงสะระหม่าไทยบรรเลงประกอบตระกร้อลอดบ่วงวงที่ น ามาบรรเลงร่วมกับตระกร้อลอดบ่วงนี้ใช้วงปี่ชวากลองแขก ประกอบด้วย ปี่ชวา 1 เลากลองแขก 1 คู่ ฉิ่ง 1 ส ารับ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย เพลงสะระหม่า เพลงโยน เพลงแปลง เพลงเกร็ดในอัตรา จังหวะสองชั้น วิธีการบรรเลงแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ การโหมโรง ซึ่งครูเทียบ คงลายทอง ได้ก าชับไว้ ว่าต้องบรรเลงเรื่อง สะระหม่า ได้แก่ เพลงสะระหม่า เพลงโยน เพลงแปลง โดยจะประมาณเวลาว่า เมื่อบรรเลงจบก็จะถึงเวลาการแข่งขันพอดีแต่ถ้ายังไม่เริ่มการแข่งขันสามารถน าเพลงเกร็ดในอัตรา จังหวะสองชั้น มาบรรเลง และลงท้ายด้วยสะระหม่า โยนแปลงตามล าดับได้อีก เมื่อเริ่มการแข่งขัน โดยผู้เล่นตะกร้อเริ่มส่งลูก วงปี่ชวากลองแขกก็จะบรรเลงเพลงสะระหม่า เมื่อตะกร้อเข้าบ่วงก็ออก โยนแปลงไปครั้งหนึ่งจนกว่าจะเสร็จสิ้นการแข่งขัน นักดนตรีจะได้พักต่อเมื่อเวลาน าลูกตะกร้อไปจน ถึงการส่งลูกใหม่ วงดนตรีจะต้องบรรเลงเพลงสะระหม่ายืนอยู่เป็นเวลานาน ๆ จึงต้องปรุงรสในการ บรรเลงให้มีความเร้าใจตลอดเวลาการแข่งขันประมาณ 20 – 30 นาที คนปี่จึงต้องมีฝีมือสูง และ มีปฏิภาณไหวพริบจึงจะท าได้แต่ถ้าด้อยประสบการณ์ก็จะท าให้เบื่อหน่าย จึงอาจยักเยื้องน า เพลงเกร็ดต่าง ๆ มาบรรเลงสลับกันไปได้บ้างเพื่อปรุงแต่งรสชาติการบรรเลงให้น่าสนใจขึ้น พลณศักดิ์ทรัพย์บางยาง (2559, น. 65) ได้กล่าวถึง แนววิธีการบรรเลงปี่ชวาในการชกมวย และการต่อสู้อาวุธไทยไว้ว่า ส าหรับการบรรเลงดนตรีประกอบมวยไทยนั้น คล้ายคลึงกับการบรรเลง ประกอบการแสดงกระบี่กระบอง เนื่องจากใช้วงปี่ชวากลองแขกเหมือนกัน จะแตกต่างกันตรงที่ การบรรเลงประกอบ การแสดงกระบี่กระบอง และอาวุธไทยโบราณช่วงเบื้องต้น การแสดงเพลงอาวุธ จะต้องมีการไหว้ครูเพื่อส ารวมจิตใจให้เป็นสมาธิขออ านาจคุณครูบาอาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครองจากภัยอันตราย แล้วจับอาวุธขึ้นร่ายร าตามแบบแผนที่สืบทอดมา เพลงที่ใช้ไหว้ครูเป็นเพลง อัตรา 2 ชั้นทั้งหมด มีความเร็วปานกลาง ก าหนดชื่อเพลงแตกต่างไปตามลักษณะความเหมาะสมของ อาวุธแต่ละชนิดที่บรรเลงประกอบ โดยจะเริ่มบรรเลงเมื่อผู้แสดงนั่งประจ าที่พร้อมที่จะร าไหว้ครูเพลง ที่ใช้บรรเลงประกอบอาวุธมีดังนี้
14 กระบี่ ใช้เพลงกระบี่ลีลา ดาบสองมือ ใช้เพลงมอญโยนดาบ มอญขว้างดาบ มอญร าดาบ ดาบดั้ง ใช้เพลงสมิงทอง ง้าว ใช้เพลงโลม ชมดง พลอง ใช้เพลงลงสรง พลอง-ไม้สั้น ใช้เพลงแขกมอญหรือเพลงส าเนียงมอญ เมื่อผู้แสดงไหว้ครูเสร็จสิ้นลงพร้อมกับบทเพลง ขั้นตอนนี้ผู้บรรเลงปี่ชวา และกลองแขก ต้องอาศัยการสังเกต และตัดท านองเพลงให้จบลงพร้อมกับท่าไหว้ครูให้พอดีกันด้วย ต่อจากนั้นปี่ชวา กลองแขกจะบรรเลงเพลงสะระหม่ากลองแขกจะบรรเลงหน้าทับโยน และออกแปลงซึ่งมีจังหวะเร็ว เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้แสดงฝีมือการใช้อาวุธกันอย่างเต็มที่จนการต่อสู้ด าเนินจบลง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้ จึงลงจบเพลง ส าหรับเพลงที่ใช้ไหว้ครูการชกมวยไทยนั้น นักมวยจะเริ่มไหว้ครูปี่ชวาจะเป่าเพลงสะระ หม่าไทยกลองแขกจะบรรเลงท านองหน้าทับด้วยเพลงโยนเช่นเดียวกับกับการแสดงกระบี่กระบอง ผู้วิจัยสรุปได้ว่า ลักษณะการบรรเลงปี่ชวาในวงปี่ชวากลองแขก ผู้เป่าจะต้องมีความ คล่องตัวสูงและมีความช านาญในการบังคับลม บังคับลื้น และบังคับนิ้วในการเป่า โดยเฉพาะเพลงสะ ระหม่าซึ่งเป็นเพลงส าคัญในทางพิธีกรรม และทางด้านกีฬาประเภทต่อสู้จะต้องแสดงความสามารถ ในการเป่าโดยใช้เสียงทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่1 เสียงแหบสูง เกิดจากการบังคับลม และลิ้นให้ได้ระดับเสียงที่ต้องการ กลุ่มที่2 เสียงกลาง ไม่ต้องใช้ลิ้นในการบังคับเสียง กลุ่มที่ 3 เสียงในทางต่ าหรือเสียงต้อ จะต้องมีการบังคับลม และลิ้นตีให้ได้เสียง ที่ต้องการ ในการเป่า ทั้ง 3 กลุ่มเสียง ผู้ที่ท าหน้าที่เป่าปี่จะต้องเรียนจากครูผู้สอนโดยตรง เพื่อท าให้ เกิดความเข้าใจในกลุ่มเสียงเหล่านี้สามารถใช้ลม ลิ้น นิ้ว เพื่อบังคับเสียงได้อย่างถูกต้อง และน าไปใช้ ในเพลงเรื่องสะระหม่าที่ประกอบไปด้วย 4 ท่า ซึ่งแต่ละท่านั้นจะต้องเป่าให้มีลีลาที่ชวนฟังสามารถ บังคับเสียง บังคับนิ้วให้สัมพันธ์กัน และไม่เพี้ยนอีกทั้งจะต้องจัดช่องไฟให้พอดีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ของผู้เป่าปี่ชวาว่า เรียนในเรื่องการใช้ช่วงเสียงของปี่ชวามามากน้อยเพียงไร ในบทบาท ด้านกีฬาชกมวย และการใช้อาวุธ คนเป่าปี่ชวาจะต้องมีฝีมือสูงและมีปฏิภาณไหวพริบที่ดีเพราะการ เป่าตามแบบแผนโบราณ นอกจากเพลงสะระหม่าแล้ว ในการไหว้ครูจะต้องบรรเลงเพลงอัตราจังหวะ สองชั้นเข้ามาบทเพลง และหน้าทับจะแตกต่างกันไปตามชนิดของอาวุธ ผู้เป่าปี่ชวาจะต้องมีความรู้ เรื่องเพลงต่าง ๆ เหล่านี้มีภาวะผู้น าในการตัดสินใจในการขึ้นเพลง และตัดลงเพลงได้อย่างเหมาะสม และถูกต้องตามท่าทางของนักแสดงหรือนักกีฬา วงปี่ชวากลองแขกมีความเป็นมา และความส าคัญ อย่างมากในสังคมไทยสามารถช่วยให้เกิดสุนทรียะรสต่อผู้ชม และผู้แสดงในการชกมวยได้ผู้เป่าปี่ชวา จะต้องใช้ความสามารถความคล่องตัวสูง และต้องมีความ “ปลิว” “ร่อน” เพื่อให้เกิดภาวะอารมณ์เชิง ตื่นเต้นเร้าใจ สะใจ ฮึกเหิม อีกทั้งจะต้องมีความอ่อนช้อยงดงามในท่วงท านองลีลา เพื่อให้เกิด สุนทรียะสูงสุดในการไหว้ครูมวย และร าอาวุธ การที่จะประสบความส าเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐาน การศึกษาความพร้อมในด้านศักยภาพ และการฝึกฝนของผู้บรรเลงปี่ชวาอีกด้วย
15 2.2.2.3 วงบัวลอย วงบัวลอย เป็นชื่อของวงดนตรีอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งมีเครื่องดนตรีประกอบด้วยปี่ชวา กลองแขก และฆ้องเหม่ง (ลักษณะเหมือนฆ้องโหม่งแต่ขนาดเล็กกว่าใช้ไม้ตีที่แข็งกว่า และนิยมใช้มือ หิ้วตีในขณะบรรเลง) วงบัวลอยนี้มักจะใช้บรรเลงในงานอวมงคล เช่น งานศพ เป็นต้น แต่เดิมวงบัว ลอยนี้ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่เรียกกันว่า “กลองสี่ปี่หนึ่ง” หมายความถึง มีกลองแขก 4 ลูกและมี ปี่ชวา 1 เลา แต่ภายหลังได้ลดจ านวนกลองเหลือเพียง 2 ลูกเท่านั้น อนึ่ง กลองที่เรียกกันทั่วไปว่า กลองแขกมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีสายโยงท าด้วยหนัง เรียกว่ากลองมลายูใช้แต่เฉพาะงานอวมงคล ต่าง ๆ ในสมัยโบราณเจ้าภาพงานมงคลจะไม่ยอมให้วงปี่พาทย์ใช้กลองมลายูเด็ดขาดวงบัวลอยนี้โดย ปกติในการบรรเลงจะขึ้นด้วยเพลงที่มีชื่อว่าบัวลอย ส าหรับเพลงนี้ท่านครูบาอาจารย์ทางดนตรีแต่ โบราณได้แต่งขยายโดยยึดท านองมาจากเพลงที่มีบทขับร้องกันว่า “แต่ช้าแต่ เขาแห่ยายมา พอถึง ศาลาเขาก็วาง ยายลง” โดยแต่งท านองเพลงขึ้นส าหรับทางปี่ชวาโดยเฉพาะ พร้อมกับได้ทรอดแทรก กลเม็ดเพื่อให้เกิดความประณีตและไพเราะยิ่งขึ้น (กมล แก้วสว่าง, 2556, น. 31) นอกจากนี้ ปี๊บ คงลายทอง (2564, 21 มีนาคม, สัมภาษณ์) กล่าวไว้ว่า “ในการเป่าปี่ชวา ในเพลงบัวลอยปี่ชวาจะเป่าขึ้นรัว 3 ลาก่อน ท านองการรัวนี้มีความคล้ายคลึงกับรัวในสะระหม่าแขก และรัวในซัดชาตรีแต่ถ้าใครได้เรียนมาทางสายส านักนี้แล้วจะรู้เลยว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรผู้เป่า ปี่ชวาควรที่จะต้องแยกประเภทออกให้ชัดเจนต่อมาก็จะเป่าเพลง บัวลอย เป็นเพลงแรกและออก เพลงนางหน่าย ไฟชุม เพลงเร็วและเพลงสุดท้ายคือเพลงนางหงส์ทางหลวงหรือทางวัดสระเกตุและใน แต่ช่วงของการออกแต่ละเพลงจะมีรัวครั่น” 2.2.2.4 วงปี่พาทย์นางหงส์ เพลงเรื่องประเภทนางหงส์ เป็นเพลงเรื่องที่ใช้ส าหรับวงปี่พาทย์นางหงส์บรรเลง ประโคมประกอบในงานศพ ชื่อเพลงเรื่องนี้ได้มาแต่ชื่อเรียกหน้าทับที่ตีก ากับจังหวะ คือ “หน้าทับ นางหงส์” มูลเหตุแห ่งการบรรเลงเพลงนางหงส์นั้นสมเด็จฯกรมพระยาด ารงราชานุภาพทรง ด าริไว้ดังนี้“...เครื่องประโคมที่ใช้เฉพาะงานศพเห็นมีอย่างเดียวแต่ปี่พาทย์นางหงส์อันมีผู้คิดกลอง คู่บัวลอยเข้าประสมวงกับปี่พาทย์พวกปี่พาทย์เห็นว่าเพลงนางหงส์เข้ากับกลองคู่ดี จึงใช้เพลงนั้นเลย กลายเป็นชื่อเครื่องประโคมอย่างนั้น..” เพลงนางหงส์นี้ภายหลังครูบาอาจารย์ทางดนตรีไทยได้ ดัดแปลงจากทางปี่ชวาให้เป็นทางปี่พาทย์บรรเลง และน าเพลงอื่น ๆ มาเย็บเรียงกันเป็นเพลงเรื่อง นางหงส์ดังที่ปรากฏ ประกอบด้วยเพลง พราหมณ์เก็บหัวแหวน สองชั้น เป็นเพลงแรก ต่อด้วยเพลง สาวสอดแหวน แสนสุดสวาท (กระบอกทอง) และแมลงวันทองตามล าดับ เรียก“เพลงเรื่องนางหงส์” และเรียกวงปี่พาทย์ที่บรรเลงนี้ว่า “ปี่พาทย์นางหงส์” (วัศการก แก้วลอย, 2558, น. 33) กล่าวสรุปว่า ลักษณะการบรรเลงปี่ชวาในวงต่าง ๆ ล้วนมีความส าคัญทั้งสิ้นต่อบทบาท ทางสังคม และ ในวัฒนธรรมไทยไม่ว่าจะเป็นวงเครื่องสายปี่ชวา วงปี่ชวากลองแขก วงบัวลอย วงปี่พาทย์นางหงส์ในการบรรเลงในแต่ละวง ปี่ชวาจะมีลักษณะในการบรรเลงแตกต่างกันไปตามแนว วิธีการบรรเลงในวง ซึ่งผู้ที่จะเป่าปี่ชวาได้ดีนั้น จะต้องมีการฝึกฝนเรียนรู้วิธีการด าเนินท านองเพิ่มเติม อย่างเป็นขั้นเป็นตอน จะท าให้สามารถน าไปประกอบอาชีพ และมีความส าเร็จในวิชาชีพ ทั้งนี้จะต้อง ผ่านการเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์หรือผู้เชี่ยวชาญโดยตรงในการบรรเลงปี่ชวา
16 2.2.3 ลักษณะทางกายภาพของปี่ชวา 2.2.3.1 เลาปี่ชวา ภาพที่ 1 เลาปี่ชวา ที่มา: ผู้วิจัย ตัวเลามีลักษณะเรียวยาว ประมาณ 27 เซนติเมตร เจาะรูส าหรับ เปิด-ปิดนิ้ว ด้านบนบังคับเสียง 7 รูและรูด้านล่างเรียกว่า รูนิ้วค้ า 1 รู รวมเป็น 8 รูท าให้เกิดเสียงต่างกันไป จัดเป็นเครื่องเป่าประเภทลักษณะการใช้นิ้วปิดเปิดเรียงตามล าดับเมื่อไล่เรียงเสียง ขึ้น-ลง 2.2.3.2 ล าโพงปี่ชวา ภาพที่ 2 ล าโพงปี่ชวา ที่มา: ผู้วิจัย ล าโพงปี่ชวา ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร ท าจากไม้จริง กลึงจากกลมเล็กไปหาใหญ่ แล้วบานตรงปลาย มีลูกแก้วตรงกลาง มีรูตรงกลางตลอดเพื่อสวมกับเลาปี่ เป็นล าโพงเพื่อช่วยขยายเสียง ให้ดังขึ้น มีผลต่อเสียงปี่ชวาเสียง “ฮ้อ” ที่จะต้องได้สัดส่วนกับเลาปี่ จึงจะเกิดคุณภาพเสียงที่ดัง กลมกลืนเมื่อน ามาสวมเข้ากับเลาปี่ (พลณศักดิ์ทรัพย์บางยาง, 2559, น. 15)
17 2.2.4 ลักษณะทางกายภาพของลิ้นปี่ชวา 2.2.4.1 ส่วนประกอบของลิ้นปี่ชวา ลิ้นปี่ชวา เป็นอุปกรณ์ชิ้นส าคัญในการให้ก าเนิดเสียง มีส่วนประกอบส าคัญ 4 ส่วน คือ 1) ใบตาล 2) ก าพวด 3) เชือกผูกลิ้นปี่ 4) ก าบังลม ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ได้อธิบาย เกี่ยวกับวัสดุที่ใช้สร้างลิ้นปี่ชวา ไว้ดังนี้ 1) ใบตาล ในแต่ละส่วนของใบตาลมีความหนา – บาง ไม่เท่ากันส่วนของใบตาล ที่น ามาตัดลิ้นปี่ชวาจะไม่ใช้ส่วนกลางหรือส่วนโคนของใบจะใช้ส่วนปลายสุดซึ่งมีความบางไม่หนาจะ ช่วยให้เป่าปี่ชวาได้คล่องตัวขึ้นการคัดสรรใบตาลจะต้องเลือกใบตาลที่มีความมันเรียบเป็นเส้นเดียวกัน ภาพที่ 3 ใบตาล ที่มา: ผู้วิจัย 2) ก าพวด ท าจากโลหะ ทองขาว ทองเหลืองหรือนาคมีลักษณะเป็นหลอดกลม เรียวมีขนาดเล็กกว่าปี่ในส่วนล่างของก าพวดจะพันด้วยด้ายเพื่อเสียบกับตัวเลาปี่ชวา ภาพที่4 ก าพวด ที่มา: ผู้วิจัย
18 3) เชือกผูกลิ้นปี่ ท าจากด้ายดิบควั่นกันเป็นเกลียวเพื่อผูกกับใบตาล ภาพที่ 5 เชือกผูกลิ้นปี่ชวา ที่มา: ผู้วิจัย 4) ก าบังลม ท าจากกะลามะพร้าว งาช้าง หรือพลาสติก ก าบังลมจะเป็น ตัวช่วยในการเป่าประคองเสียงปี่ชวาไม่ให้เกิดความเพี้ยนเสียงหรือมีความดังจนเกินไป ภาพที่6 ก าบังลม ที่มา: ผู้วิจัย
19 2.2.4.2 ขั้นตอนวิธีการตัดลิ้นปี่ชวา 1) น าส่วนปลายของใบตาลมาตัดให้มีขนาดความยาวไม่เกิน 12 เซนติเมตร มีขนาดความกว้างไม่เกิน 3 เซนติเมตร ได้ดังภาพ ภาพที่ 7 ใบตาลที่น ามาตัดลิ้นชวา ที่มา: ผู้วิจัย 2) การตัดใบตาลท าเป็นลิ้นปี่ชวา ตัดใบตาลได้ถูกด้าน และต าแหน่งตาม ความยาวของใบ น าไปแช่น้ าจนได้คุณภาพเหมาะสม เมื่อพับใบตาลแล้วไม่หัก แล้วตัดตามความยาว ของใบพับปลายทั้งสองข้างเข้าหาจนปลายเสมอกันก่อน เพื่อหาจุดกึ่งกลาง จากนั้นแยกปลายแล้วพับ แต่ละปลายเข้าหากันอีกครั้งซึ่งจะได้ความหนาสี่ชั้น จะได้ดังภาพ ภาพที่ 8 การพับใบตาล ที่มา: ผู้วิจัย
20 3) ปาดมุมใบตาลด้านสองชายเป็นแนวโค้งเว้าทั้งสองข้างให้เหลือส่วนที่จะหุ้ม ก าพวดได้พอดีไม่ให้หลวมหรือไม่มิดซึ่งจะเกิดช่องรั่วปาดบริเวณตรงกลางสันที่พับกลางไว้แล้วปาด ข้างบนให้เป็นช่องสามเหลี่ยมคว่ าคล้ายตัว (V) แล้วสอดไม้ฉนวนจากนั้นผูกคอลิ้นปี่ด้วยเชือก ดึงจนได้ที่ดังภาพ ภาพที่ 9 การปาดมุมใบตาล ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 10 การสอดไม้ฉนวนแล้วผูกเชือกคอลิ้นปี่ชวา ที่มา: ผู้วิจัย
21 4)ตัดเจียนส่วนสันบน และด้านข้างของใบตาลให้เป็นรูปคล้ายเล็บมือนิ้วก้อยจะ ได้ลิ้นปี่ชวาที่สมบูรณ์ดังภาพ ภาพที่ 11 ลิ้นปี่ชวา ที่มา: ผู้วิจัย ลิ้นปี่ที่ได้นั้นจะมีคุณภาพดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับความหนาบางของใบตาล และ ความช านาญของผู้ตัดลิ้นปี่ การตัดลิ้นปี่ จ าเป็นจะต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นระยะเวลานาน จึงจะ สามารถตัดลิ้นปี่ที่มีคุณภาพดีได้อีกทั้ง ยังต้องอาศัยความอดทน ความละเอียดประณีต พิถีพิถันใน การท า เพราะจะต้องตัดไป และทดลองไปจนกว่าจะได้เสียงที่ต้องการ (ส านักมาตรฐานอุดมศึกษา ส านักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, 2544, น. 9) 2.2.4.3 ระบบเสียงของปี่ชวา ยุวรัตน์ นักท านา (2563, น. 19) ได้อธิบายเกี่ยวกับระบบเสียงของปี่ชวา ไว้ว่า ปี่ชวามีรูที่เจาะไว้ส าหรับเปิดปิดนิ้วเพื่อเปลี่ยนเสียงเพียง 7 รู แต่สามารถผลิตเสียงที่มีระดับเสียงสูงต่ า แตกต่างกันได้ 15 เสียง เมื่อไล่เสียงขึ้นลง จะเกิดเสียงโน้ตเรียงตามล าดับ ตั้งแต่สมัยโบราณมีการ ก าหนดรูปแบบเสียงเฉพาะตัวซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของปี่ชวา ปี่ชวามีเสียง “ฮ้อ” เป็นเสียงพิเศษที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะของปี่ชวาซึ่งตรงกับเสียง ซอลดังภาพแสดงการเปิด-ปิดนิ้วรูบังคับเสียงปี่ชวา ดังภาพ ภาพที่ 12 ระบบเสียงของปี่ชวาทั้ง 15 เสียง ที่มา: ผู้วิจัย
22 โดยที่เสียงของปี่ชวา 15 เสียงนี้สามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่มเสียง ดังต่อไปนี้ ภาพที่ 13 กลุ่มเสียงของปี่ชวา ที่มา: ผู้วิจัย กลุ่มที่ 1 เสียงต้อหรือทางต้อหมายถึง เสียงที่ต่ าลงไปถึงเสียงต่ าสุด ขอบเขตเสียง ตั้งแต่เสียงที่ 1-3 (ซ-ท) มี3 เสียง โดยลิ้นของผู้เป่าไม่โดนลิ้นปี่ จะกินลมมาก ระบายลมยากกว่ากลุ่ม เสียงอื่นเมื่อไล่เสียงขึ้นลง กลุ่มที่ 2 เสียงกลางหรือทางกลางหมายถึง เสียงที่อยู่ตรงกลาง ไม่สูง และไม่ต่ า ขอบเขตเสียงตั้งแต่เสียงที่ 4 -10 (ด-ท) มี 7 เสียง เป็นกลุ่มเสียงที่ใช้มากที่สุดในการด าเนินท านอง เกิดจากการเป่าลม ผ่านลิ้นปี่ลิ้นผู้เป่าโดนลิ้นปี่บ้าง ไม่โดนบ้าง แล้วแต่ลักษณะการใช้ลิ้น และลมเพื่อ ความชัดเจนของเสียง กลุ่มที่ 3 เสียงแหบหรือทางแหบหมายถึง เสียงที่มีระดับตั้งแต่สูงไปถึงสูงที่สุด ขอบเขตเสียงตั้งแต่เสียงที่11 -15(ด -ซ ) มี 5 เสียง เป็นกลุ่มเสียงที่เกิดจากการเป่าลมผ่านลิ้นปี่โดยลิ้น ของผู้เป่าต้องโดนลิ้นปี่ตลอดหรือเรียกว่า การประคองลิ้นปี่ พลณศักดิ์ ทรัพย์บางยาง (2559, น. 20-21) ได้อธิบายเกี่ยวกับกลุ่มเสียงของปี่ชวา และการบังคับเสียงของปี่ชวาไว้ว่าเสียงปี่ชวา สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มเสียงได้ 3 กลุ่มเสียงโดยเรียงเป็นช่วง ดังนี้ 1) กลุ่มเสียงที่เรียกว่า เสียง “แหบล่าง” หมายถึง เสียงช่วงต่ า ที่ต่ าลงไปถึง เสียงที่ต่ าสุด ตั้งแต่เสียง ซ ล ท เสียงแหบล่างหรือทางต้อ เป็นเสียงที่เกิดจากการเป่าลมตรงผ่านลิ้นปี่ โดยลิ้นของผู้เป่าไม่โดนลิ้นปี่จะกินลมมาก ระบายลมยากกว่ากลุ่มเสียงอื่น เมื่อไล่เสียงขึ้นลง 2) กลุ่มเสียงที่เรียกว่า เสียง “กลาง” หรือทางกลาง หมายถึง เสียงที่อยู่ตรง กลางไม่สูง และไม่ต่ า ตั้งแต่ด ร ม ฟ ซ ล ท เสียงกลางหรือทางกลาง เป็นกลุ่มเสียงที่ใช้มากที่สุดใน การด าเนินท านอง เกิดจากลมผ่าลิ้นปี่ ลิ้นผู้เป่าโดนลิ้นปี่บ้าง แล้วแต่ลักษณะการใช้ลิ้น และลมเพื่อ ความชัดเจนของเสียง 3) กลุ่มเสียงที่เรียกว่า เสียง “แหบบน” หรือทางแหบ หมายถึง เสียงที่มีระดับ ตั้งแต่สูงไปถึงสูงที่สุด ตั้งแต่เสียง ด ร ม ฟ ซ เสียงแหบบนหรือทางแหบ เสียงแหบบนหรือทางแหบ เป็นกลุ่มเสียง ที่เกิดจากการเป่าลมผ่านลิ้นปี่ โดยลิ้นของผู้เป่าต้องโดยลิ้นปี่ตลอดหรือเรียกว่าการ ประคองลิ้นปี่ เพื่อสะดวกในการบังคับเสียง เพราะเสียงแหบเป็นเสียงที่มีระดับเสียงสูง ถ้าผู้เป่าไม่ใช้ลิ้น ประคองช่วยจะท าเสียงสูงยาก กินลม เสียงเพี้ยนง่าย นอกจากนั้นการประคองลิ้นปี่ มีประโยชน์หลายๆ อย่าง เช่น บังคับลมท าเสียงง่าย ท าเสียงให้นุ่ม เบา กินลมน้อยขณะระบายลม
23 2.2.4.4 วิธีการบรรเลงปี่ชวา ในการบรรเลงปี่ชวาผู้บรรเลงจะต้องให้ความส าคัญในการปฏิบัติตนไม่ว่าจะเป็นท่า นั่งในการบรรเลง การจับเลาปี่และจะต้องได้รับการถ่ายทอดการเป่าปี่ชวาจากครูผู้ช านาญในการเป่า ปี่ชวาโดยตรงเพื่อให้เข้าใจในการใช้นิ้ว การใช้ลมและการใช้ลิ้น ในการบรรเลงปี่ชวาได้อย่างถูกต้อง กมล แก้วสว่าง (2556, น. 16) ได้อธิบายเกี่ยวกับ การฝึกหัดวิธีการเป่าปี่ชวา ไว้ว่า การเรียนปี่ชวา ผู้เรียนจะต้องฝึกหัดวิธีการเป่า ตั้งแต่ท่านั่ง การจับเลาปี่ การอมลิ้นปี่ การเป่าปี่ การใช้ลม การใช้ลิ้น การใช้นิ้ว ครูบุญช่วย โสวัตร ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ผู้ที่เรียนเครื่องเป่า โบราณครูจะ ไม่ค่อยสอนเป่าขลุ่ยก่อน ไม่สอนเป่าปี่มอญก่อน ไม่สอนเป่าปี่ชวาก่อน ใครที่เรียนขลุ่ย ปี่มอญ ปี่ชวา มาก่อนจะเอาดีไม่ได้ จะเรียนเอาดีได้ต้องผ่านกระบวนการเรียนปี่ในมาก่อนเพราะการเรียนปี่ในนั้น ผู้เรียนจะผ่านกระบวนการฝึกพื้นฐานทั้งหมดของระบบเครื่องเป่าในเรื่องการนั่ง จับปี่ เป่าปี่ การใช้ ลมนิ้ว ลิ้นให้สัมพันธ์กัน การระบายลม การท าเสียงให้ชัดเจน การตอดลิ้น การตอดลม ซึ่งพื้นฐานต่าง ๆ ที่ได้จากการเรียนปี่ในมาดีแล้วสามารถน าพื้นฐานมาใช้ในการฝึกขลุ่ย ปี่มอญหรือปี่ชวาได้เลย” วิธีการบรรเลงปี่ชวา มีดังนี้ ภาพที่14 ท่านั่งในการเป่าปี่ชวา ที่มา: ผู้วิจัย การนั่งเป่าปี่ชวา จะต้องมีกิริยาที่เรียบร้อยส ารวม นั่งพับเพียบตัวตรงเก็บปลายเท้า ไม่ก้มหน้าและไม่เงยหน้าจนเกินไปเมื่อปฏิบัติจนเคยชินแล้วจะท าให้ผู้เป่าปี่ชวามีความสง่าเมื่อได้ออก งานบรรเลงจริงประกอบกับการนั่งตัวตรงท าให้หายใจเข้าออกได้สะดวกมีลมในปอดมากสะดวกต่อ การเป่าปี่ชวา
24 ภาพที่ 15 วิธีการจับเลาปี่ชวา ที่มา: ผู้วิจัย วิธีการจับปี่ชวา ในสายส านักครูเทียบ คงลายทอง ประเพณีปฏิบัติจะใช้มือขวาอยู่ ด้านบน มือซ้ายอยู่ด้านล่าง นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง จะอยู่ตรงกับรูปิด – เปิด ในการบังคับเสียง ด้านบน นิ้วหัวแม่มือจะปิดรูนิ้วค้ า นิ้วก้อย ช่วยประคองเลาปี่ไม่ให้ขยับเวลาเป่าอยู่บริเวณข้างเลาปี่ ด้างล่างจะ มีนิ้วหัวแม่มือประคองเลาปี่อยู่บริเวณข้างล่างใต้เลาปี่ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย อยู่ตรงกับ รูปิด – เปิด บังคับเสียง การเรียงนิ้วเปิด-ปิดเสียงปี่ชวา มีดังนี้ ภาพที่ 16 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ซอลต่ า ที่มา: ผู้วิจัย
25 ภาพที่ 17 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ลาต่ า ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 18 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ทีต่ า ที่มา: ผู้วิจัย
26 ภาพที่ 19 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง โด ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 20 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง เร ที่มา: ผู้วิจัย
27 ภาพที่ 21 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง มี ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 22 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ฟา ที่มา: ผู้วิจัย
28 ภาพที่ 23 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ซอล ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 24 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ลา ที่มา: ผู้วิจัย
29 ภาพที่ 25 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ที ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 26 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง โด สูง ที่มา: ผู้วิจัย
30 ภาพที่ 27 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง เร สูง ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 28 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง มี สูง ที่มา: ผู้วิจัย
31 ภาพที่ 29 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ฟา สูง ที่มา: ผู้วิจัย ภาพที่ 30 การปิด – เปิดนิ้วในการเป่าปี่ชวาเสียง ซอล สูง ที่มา: ผู้วิจัย
32 ในการเป่าปี่ชวาจะต้องมีการสอดแทรกกลวิธีพิเศษในการบังคับเสียงที่เกิดจากการบังคับลม การบังคับลิ้นและการบังคับนิ้ว เพื่อให้เกิดความไพเราะในขณะที่บรรเลงด าเนินท านองปี่ชวา กลวิธีพิเศษในการเป่าปี่ชวา มีดังนี้ กมล แก้วสว่าง (2556, น. 72) ได้อธิบายนิยามศัพท์เกี่ยวกับกลวิธีพิเศษในการเป่า ปี่ชวา ไว้ดังนี้ 1) ตอดลิ้น หมายถึง การเป่าโดยใช้ลิ้นผู้เป่าสัมผัสกับลิ้นปี่ใช้ลิ้นปี่ ใช้ลิ้นผู้เป่า ตัดลมที่ลิ้นปี่ให้เกิดเสียงที่ชัดเจน 2) เป่าปริบ หมายถึง การบังคับลม และนิ้วให้เกิดเสียงสั่นในลักษณะสั้น ด้วยการขยับนิ้วเล็กน้อย 3) เป่าเสียงควง หมายถึง การเป่าบังคับให้เสียงออกมาในระดับเสียงเดียวกันโดยการ ใช้นิ้วบังคับต่างกัน 4) ตีนิ้ว หมายถึง การท าเสียงให้สะเทือนโดยใช้ปลายนิ้วเปิดปิดถี่ๆ ประมาณ 2 ครั้ง 5) การสะบัด หมายถึง การเป่าเสียงติดต่อกันด้วยความกระชับรวดเร็วตั้งแต่ 3 เสียง โดยให้นิ้ว ลม ลิ้น สัมพันธ์กัน 6) โหยหวน หมายถึง การเป่าเสียงเคลื่อนที่เลื่อนไหลขึ้นลงลักษณะเกี่ยวพันกันเป็น เสียงยาวทอดลองหรือขึ้นไปตามช่วงท านองเพลงอย่างเหมาะสม 7) เป่าครั่น หมายถึง การท าให้เสียงปี่ที่ด าเนินอยู่สะดุดหรือสั่นสะเทือน ด้วยการบังคับลม ให้สะเทือนจากล าคอเช่นเดียวกันกับในการขับร้อง 8) กลับลมกลับลิ้น หมายถึง การเป่าปี่โดยใช้ลิ้น และลมขึ้นลง ในส านวนเสียงข้าม ไปข้ามมา นอกจากนี้ ยุวรัตน์ นักท านา (2563, น. 19) ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลวิธีพิเศษใน การเป่าปี่ชวา ไว้ดังนี้ 1) การตอดลม หมายถึง การเป่าให้เสียงมีความชัดเจนเป็นช่วงๆ คล้ายเสียงตอดลิ้น โดยวิธี บังคับเสียงด้วยลมในลักษณะกักลมไว้ แล้วดันลมให้ออกมาเป็นช่วง ๆ 2) การตอดเดิน หมายถึง การบังคับลิ้นสัมพันธ์กับลิ้นปี่จากนั้นดึงลิ้นของผู้เป่าลงใน ลักษณะการเป่าหลายพยางค์ต่อกัน 3) การตอดเสียง หมายถึง การบังคับลิ้นสัมพันธ์กับลิ้นปี่จากนั้นดึงลงในการเป่า พยางค์เดียว 4) การประคบเสียง หมายถึง การเป่าให้เสียงมีความนวล คล้ายเสียงตอดลม โดยวิธีการบังคับลิ้นสัมพันธ์กับลิ้นปี่จากนั้นดึงลงพร้อมกับบังคับลิ้นไปประคองลิ้นปี่ 5) การประคองเสียง หมายถึง การบังคับลิ้นผู้เป่าไปห่อกับลิ้นปี่แล้วบังคับลมเป่าไป ที่ลิ้นปี่โดยเป่ากลุ่มเสียงแหบ ผู้วิจัยสรุปได้ว่า องค์ประกอบของปี่ชวา ประกอบไปด้วย 2 ด้าน คือ (1) วัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ เลาปี่ชวา ล าโพงปี่ชวา ลิ้นปี่ชวา (2) ผู้บรรเลงปี่ชวา จะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการใช้ลม การใช้ลิ้น การใช้นิ้ว ในการเป่าปี่ชวารวมถึง ท่านั่ง ท่าจับ ในการบรรเลง ทั้ง 2 ด้านเมื่อท าได้ครบถ้วน สมบูรณ์ก็จะเกิดคุณภาพเสียงปี่ชวาที่ไพเราะปี่ชวาสามารถผลิตเสียงที่มีระดับเสียงสูงต่ าแตกต่างกันได้
33 15 เสียง มีกลุ่มเสียงทั้งหมด 3 กลุ่ม คือ เสียงทางต้อ เสียงทางกลางและเสียงทางแหบ (บน-ล่าง) การเป่าปี่ชวาในกลุ่มเสียงต่าง ๆ กลุ่มเสียงต่างมีลักษณะการเป่าที่เป็นเฉพาะดังนั้นผู้ที่จะเป่าปี่ชวาได้ดี จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของการประคองลิ้น – ลม และการแจกแจงนิ้วปี่ชวาได้ครบถ้วนในการ บรรเลงปี่ชวามีการสอดแทรกกลวิธีในการการบังคับเสียงโดยการใช้ลม การใช้นิ้ว การใช้ลิ้น เพื่อให้ เกิดความไพเราะขึ้นขณะที่บรรเลง ผู้เป่าปี่ชวาจะต้องมีความเข้าใจกระบวนการเป่าขั้นพื้นฐานจาก ปี่ในมาอย่างดีแล้วถึงจะเริ่มเป่าปี่ชวาแตกต่างตรงที่กลุ่มเสียงของปี่ชวามีลักษณะการเป่าที่เป็นเฉพาะ และเนื่องด้วยปี่ชวามีเสียงที่ดังแหลมสูงเกิดความเพี้ยนได้ง่ายดังนั้นผู้เป่าปี่ชวาจะต้อง มีการฝึกทักษะ กลวิธีการบังคับเสียงอันเกิดจาก การใช้ลม การใช้ลิ้นและการใช้นิ้ว ที่สัมพันธ์กัน โดยอยู่ภายในการ ควบคุมจากครูผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเป่าปี่ชวาโดยตรงจึงจะท าให้ประสบความส าเร็จในการเป่าปี่ชวาได้ 2.3 ชีวประวัติ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ภาพที่31 ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ที่มา: ผู้วิจัย 2.3.1 ด้านชีวประวัต ิครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2496 ที่อยู่บ้านเลขที่ 76/40 ซอยพิกุลทอง ถนนสวนผัก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร บิดา คือ ครูเทียบ คงลายทอง บรมครูเครื่องเป่าของไทย ศิษย์เอกด้านเครื่องเป่าของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) มารดา คือ คุณแม่สว่าง (สกุลเดิม วิเชียรปัญญา) คงลายทอง เป็นนักร้องศิษย์หม่อมเจริญ แห่งส านัก ดนตรีบ้านครูจางวางทั่วและเป็นคนร้องประจ าวงเครื่องสายวังบางขุนพรหม
34 ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เป็นบุตรคนที่ 11 มีพี่น้องร่วมทั้งสิ้น 12 คน (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเด็ก 1 คน) ดังนี้ 1) แหวน เกิด พ.ศ. 2474 2) ทวี เกิด พ.ศ. 2476 3) ธวัช เกิด พ.ศ. 2477 4) รัศมี เกิด พ.ศ. 2480 5) ไม่ปรากฏนาม ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 15 วัน 6) อารมณ์ เกิด พ.ศ. 2483 7) ทวีป เกิด พ.ศ. 2486 8) ถวัลย์ เกิด พ.ศ. 2489 9) สุทัศน์เกิด พ.ศ. 2491 10) อุษณีย์ เกิด พ.ศ. 2494 11) ปี๊บ เกิด พ.ศ. 2496 12) วิวัฒน์เกิด พ.ศ. 2498 2.3.2 ด้านการเรียนดนตรีไทย ครูปี๊บ คงลายทอง เริ่มเรียนดนตรีด้วยฆ้องวงใหญ่โดยบิดาได้พาไปเรียนที่บ้านของ ครูมิ ทรัพย์เย็น โดยเพลงแรกที่ท่านได้เริ่มเรียน คือ เพลงสาธุการ ในเรื่องของทางฆ้องนั้นท่านได้ ศึกษากับผู้เชี่ยวชาญมากมาย ได้แก่ ครูสิริชัยชาญ ฟักจ ารูญ (ศิลปินแห่งชาติ) ครูสังเวียน ทองค า ครูสงบศึก ธรรมวิหารและครูบาง หลวงสุนทร เริ่มศึกษาเครื่องเป่าไทยอย่างจริงจัง โดยแรกเริ่มได้ ฝึกหัดขลุ่ยกับบิดา คือ ครูเทียบ คงลายทอง ครูปี่ไทยที่บ้านหลังวัดกัลยาณนมิตร เมื่ออายุครบ 15 ปี ครูเทียบจึงเริ่มฝึกหัดการเป่าปี่ในให้โดยเริ่มหัดเป่าจากเพลง 2 ชั้น คือเพลงเต่ากินผักบุ้งและเริ่มต่อ เพลงที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นการเรียนเป็นไปอย่างช้า ๆ ท าให้ท่านมีความเข้าใจเกี่ยวกับกลเม็ด เด็ดพรายต่าง ๆ ในการเป่าปี่มีความเข้าใจรายละเอียดการใช้ลม ลิ้น นิ้ว ได้อย่างลึกซึ้ง นอกจากบิดา แล้วครูปี๊บ คงลายทอง ได้ศึกษาเพิ่มเติมกับครูผู้เชี่ยวชาญในด้านเครื่องเป่าไทยอีกหลายท่าน ได้แก่ ครูบุญช่วย โสวัตร หม่อมหลวงสุรักษ์ สวัสดิกุลและครูทวี คงลายทอง ผู้เป็นพี่ชายของท่าน 2.3.3 ด้านวุฒิการศึกษา 1) จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร พ.ศ. 2507 2) จบการศึกษาชั้นสูง (อนุปริญญา) จากโรงเรียนนาฏศิลป กรมศิลปากร พ.ศ. 2518 3) ปริญญาครุศาสตร์บัณฑิตภาควิชาดนตรีศึกษา วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา พ.ศ. 2523 4) ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา แขนงวิชา วัฒนธรรมการดนตรีมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2538 5) ปริญญาศิลปกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดนตรีไทย พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยรามค าแหง
35 2.3.4 ด้านประวัติการท างาน ครูปี๊บ คงลายทอง ได้เข้ารับราชการที่แผนกดุริยางค์ไทย ส านักการสังคีต กรมศิลปากรโดยมี ต าแหน่ง ดุริยางคศิลปิน 1 (ปี่) เริ่มเข้ารับราชการเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2519 งานหลักของท่านคือ ท างานในหน้าที่ผู้บรรเลงดนตรีเป่าปี่ตามงานที่ได้รับหมอบหมาย มีดังนี้ งานเกี่ยวกับพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีบ าเพ็ญกุศล ในพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ ท้องสนามหลวง พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต ณ วัดพระแก้ว เป็นต้นและยังมีงานในด้าน การเผยแพร่ดนตรีไทย เช่น งานการบรรเลงการแสดง โขน – ละคร ทั้งในโรงละครแห่งชาติและตาม จังหวัดต่าง ๆ งานการบรรเลงเครื่องสายปี่ชวาของส านักการสังคีต กรมศิลปากร เป็นต้น นอกจากการ เผยแพร่ดนตรีภายในประเทศแล้วครูปี๊บ คงลายทอง ได้เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมดนตรีภายในต่างประเทศ อีกด้วย เช่น งานตามเสด็จต่างประเทศ เช่น การตามเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ณ ประเทศกัมพูชา ปัจจุบันครูปี๊บ คงลายทองเกษียณอายุราชการแล้วแต่ยังคงท าหน้าที่ ถ่ายทอดวิชาความรู้เกี่ยวกับเครื่องเป่าไทยให้แก่ สถาบันการศึกษาต่าง ๆได้แก่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศิลปศึกษา คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวง วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 2.2.5 ด้านผลงาน และรางวัลที่ได้รับ ในด้านผลงานของครูปี๊บ คงลายทองท่านได้ประพันธ์ทางเดี่ยวปี่ใน และขลุ่ยเพียงออไว้ หลายเพลงด้วยกัน เช่น เดี่ยวปี่ในเพลงล่องลมสามชั้น เดี่ยวปี่ในเพลงสุรินทราหูสามชั้น เดี่ยวปี่ใน การเวกสามชั้น เดี่ยวขลุ่ยเพียงออเพลงสาลิกาชมเดือนสามชั้น เดี่ยวขลุ่ยเพียงออเพลงฟ้าคะนองสองชั้น เป็นต้น นอกจากการประพันธ์เพลงเดี่ยวแล้วยังมีผลงานการบันทึกเสียงต่าง ๆ ได้แก่ บันทึกวีดิทัศน์ บรรเลงปี่ในตามเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชา และวิชาชีพดนตรีไทย จัดท าโดยส านักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย บันทึกเสียงปี่ในรายการจดหมายเหตุกรุงศรี การบันทึกเสียงวงเครื่องสายปี่ชวา บันทึกวิดีโอเทป ชุดเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยจัดท าโดยกรมศิลปากร ชุด ร าฉุยฉาย บันทึกเสียง เพลงหน้าพาทย์ เป่าปี่ชวาบันทึกเทปชุด แม่ไม้มวยไทย เป่าปี่ชวาบันทึกเสียงเพลงที่ใช้ในการพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผลงานทางด้าน วิชาการได้แก่ กรรมการการจัดท าเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพดนตรีไทย ส านักงานคณะกรรมการ อุดมศึกษา ในด้านรางวัลที่ท่านได้รับนั้นมีมากมาย เช่น ได้รับทุนนริศรานุวัดติวงศ์ ณ วังปลายเนิน ได้รับโล่รางวัลปูชนียบุคคลผู้สมควรได้รับเกียรติยศ รางวัลผู้ประพฤติปฏิบัติตนชอบด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2544 และในปีพุทธศักราช 2563 ครูปี๊บ คงลายทอง ได้รับคัดเลือก ยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) นับเป็นเกียรติยศสูงสุด ของท่านโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (ม.ป.ป, น. 1) ได้กล่าวค าประกาศเกียรติคุณ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ไว้ว่า “นายปี๊บ คงลายทอง เกิดวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2496 เป็นคนสุดท้ายของ ครูปี่คนส าคัญ ครูเทียบ คงลายทอง และคุณแม่สว่างเริ่มศึกษาที่โรงเรียนนาฏศิลป ปริญญาตรีจาก วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ส าเร็จการศึกษาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (วัฒนธรรมดนตรี) จาก มหาลัยมหิดล พ.ศ. 2538 และได้รับปริญญาศิลปกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ดนตรีไทย) จากมหาวิทยาลัยรามค าแหง พ.ศ. 2558
36 การได้เกิด และเติบโตในครอบครัวของครูเทียบ คงลายทองนั้น นับว่าเป็นโชคดีมหาศาล เนื่องด้วยครูเทียบเป็นผู้สืบทอดองค์ความรู้ทางดนตรีจากส านักพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) โดยเฉพาะเครื่องเป่าอย่างแตกฉานและได้ถ่ายทอดความรู้ต่อมาให้บุตรโดยตรง นายปี๊บ คงลายทอง เริ่มต้นเรียนฆ้องวงใหญ่กับมิ ทรัพย์เย็น ต่อมาได้ศึกษาการเรียนฆ้องวงใหญ่กับคุณครูสอน วงฆ้อง และฝึกฝนการเรียนปี่พาทย์เพิ่มเติมกับครูรัศมี คงลายทอง ต่อเพลงโหมโรงเช้า โหมโรงเย็น เพลงช้า เพลงเร็ว หลังจากนั้นได้เรียนเป่าปี่กับครูเทียบ คงลายทอง และได้ฝึกเพิ่มเติมกับครูบุญช่วย โสวัตร จนมีความช านาญมากขึ้นต่อมาเมื่อเข้ารับราชการที่ กรมศิลปากร ได้ศึกษาเพิ่มเติมจาก หม่อมหลวงสุรักษ์ สวัสดิกุล ครูทวี คงลายทอง ครูจิรัส อาจณรงค์และรับมอบโองการไหว้ครูจาก ครูสิริชัยชาญ ฟักจ ารูญ นายปี๊บได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีฝีมือในการเป่าปี่ เป่าขลุ่ยได้อย่างไพเราะมีชั้นเชิง แพรวพราว เข้าใจในการถ่ายทอดอารมณ์เพลงที่ประณีตมีความมานะ ในการฝึกฝนอย่างยิ่งจน สามารถบรรเลงบทเพลงส าหรับแสดงทักษะชั้นสูงของปี่ และขลุ่ยโดยใช้กลวิธีในการควบคุมลม ลิ้น นิ้ว ที่เป็นเม็ดพรายต่าง ๆ ของสายเสนาะดุริยางค์ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์เมื่อเข้าท างานที่กรม ศิลปากรจนถึงเกษียณอายุในต าแหน่งหัวหน้ากลุ่มดุริยางค์ไทย ส านักการสังคีต โดยตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ทั้งงานราชการ งานรัฐพิธี งานพระราชพิธีงานสนองเบื้องยุคลบาท สถาบันพระมหากษัตริย์และพระ บรมวงศานุวงศ์ อีกทั้งได้ท าหน้าที่เป็นเสาหลัก ในการเผยแพร่วัฒนธรรมดนตรีไทย และปฏิบัติงานรับ ใช้สังคมตลอดมา เป็นอาจารย์พิเศษ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยให้กับสถาบันการศึกษา และ สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศเป็นผู้ประกอบพิธีไหว้ครูให้กับหน่วยงาน และ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้ร่วมงานกับวงดนตรีส าคัญหลายวง อาทิ วงบ้านปลายเนิน วงดุริยประณีต วงจุฬาวาทิต วงฟองน้ า วงวัยหวาน เผยแพร่ดนตรีไทยไปในโลกกว้าง นอกจากนี้ ยังมีงานบันทึกเสียง ส าคัญเผยแพร่ผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์ไว้เป็นจ านวนมาก อาทิ เพลงน ารายการจดหมายเหตุกรุงศรี เพลงเดี่ยวชั้นสูงของปี่ และขลุ่ย ตลอดจนประพันธ์เพลงเดี่ยวปี่ เดี่ยวขลุ่ยที่ส าคัญไว้หลายเพลง เช่น เพลงปี่ประกอบร าฉุยฉายทุกชุด เพลงแขกมอญ เพลงลมพัดชายเขา เพลงนารายณ์แปลงรูป เป็นต้น เป็นศิลปินต้นแบบให้กับเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ทั้งในด้านการบรรเลง และการประพฤติปฏิบัติ ตนที่ดีงามอยู่ในศีลธรรม อ่อนน้อมถ่อมตัว ทั้งรักษาคุณภาพของครูและศิลปินผู้ท าหน้าที่สืบสาน ต่อยอดองค์ความรู้ด้านดนตรีไทยโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาสาธารณชน นับได้ว่าครูปี๊บ คงลายทอง เป็นบุคคลส าคัญอีกท่านหนึ่งที่เป็นผู้ประกอบคุณูปการอย่างยิ่งยวดแก่สังคมไทย