37 ในปีพุทธศักราช 2562 ครูปี๊บ คงลายทอง ได้รับเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) พุทธศักราช 2563 ภาพที่32 ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) พุทธศักราช 2563 จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่มา: ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เป็นผู้ที่มีความสามารถเป็นที่ประจักษ์ในด้านเครื่อง เป่าไทยทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น ปี่ใน ปี่นอก ปี่ชวา ปี่มอญ ขลุ่ย ต่าง ๆ อีกทั้งท่านยังมีผลงานมากมาย เช่น งานด้านเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติ งานด้านการสอน งานด้านพระราชพิธี เป็นต้นในด้าน การเรียนเครื่องเป่าไทยของท่าน ครูปี๊บ คงลายทอง ได้ฝึดหัดเครื่องเป่าไทยกับบิดา คือ ครูเทียบ คงลายทอง การเรียนนั้นเป็นไปอย่างค่อยๆซึมซับทักษะทีละน้อย ด้วยเหตุนี้เองจึงท าให้ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) มีความแตกฉานในเรื่องของเครื่องเป่าไทย ในการเรียนทางสายส านักครูเทียบ คงลายทอง เป็นการเรียนที่มีรูปแบบแผนเฉพาะซึ่งจะเน้นวิธีการใช้ลม ใช้ลิ้น ใช้นิ้ว เป็นหลัก ด้วยการเรียนที่มี ขั้นตอนนี้ก็จะท าให้ผู้เรียนประสบความส าเร็จในวิชาชีพ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ถือเป็น บุคคลส าคัญในวงการดนตรีไทยได้ยกยิ่งเกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2563 อันแสดงถึง คุณงามความดีที่ได้ สืบสาน อนุรักษ์และต่อยอด ศิลปวัฒนธรรมประจ าชาติ ท่านเป็นผู้รักษาภูมิ ปัญญาเกี่ยวกับดนตรีไทยโดยเฉพาะด้านเครื่องเป่าไทยทุกชนิด และเป็นผู้เผยแพร่ต่อยอดองค์ความรู้ แขนงนี้ให้กับนักเรียน นักศึกษา ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ให้คงอยู่สืบไป
38 2.4 ประวัติเพลงระบ าสี่บท ผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับ ประวัติเพลงระบ าสี่บท จากเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้ ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์(2557, น. 232) ได้กล่าวถึงประวัติเพลงระบ าสี่บท ไว้ว่า 1) ชื่อระบ าเบิกโรงชุดหนึ่ง ที่มีมาแต่โบราณซึ่งนับว่าเก่าแก่มาก ทั้งในการแสดงเป็นชุดระบ า เบิกโรง และเป็นชุดแทรกอยู่ในการแสดงโขน ละคร การที่เรียกว่า ระบ าสี่บท ก็เนื่องจากเป็นชุดระบ า ที่แสดงตามบทร้องท านองเพลงชื่อ พระทอง เบ้าหลุดสะระบุหร่งและบลิ่มหรือปวหลิ่ม รวมสี่เพลงสี่บท ร้องด้วยกัน จึงเรียกว่า “ระบ าสี่บท” เพลงเหล่านี้เก่าแก่มาก บางบทถึงกับมีสันนิษฐานกันว่ามีมาแต่ สุโขทัยแต่ละบทมีท านองขับร้องแตกต่างกัน ผู้ร าก็ร าไปตามท านองเพลง และแสดงท่าตามค าร้องในบท ลักษณะของท านองเพลงค่อนข้างช้าและยาวการร ามุ่งหมายเพื่อความงาม เหมาะส าหรับการดูระบ าเพื่อ ศิลปะจริงๆ ยกย่องกันว่าเป็นบทระบ าชั้นครูหรือเรียกกันว่า “ระบ าใหญ่”ครูทางนาฏศิลป์จะบรรจุระบ า สี่บทนี้ไว้ในชุดส าคัญเช่น ระบ าเทพบุตรนางฟ้า ในตอนต้นของระบ าเบิกโรงชุดเมขลารามสูร เป็นต้น นอกจากนี้ก็ใช้ในตอนที่เกี่ยวกับการแสดงความนิยมยินดีในโอกาสต่าง ๆ ในสมัยโบราณบทร้องมีบทละ หลาย ๆ ค า ในรัชกาลที่ 1 ใช้กันบทละ 10 ค า ในรัชกาลที่ 4 ลดลงมาบ้างเหลือ บทละ 6 ค ากลอน ปัจจุบันใช้บทสมัยรัชกาลที่ 4แต่ตัดน ามาร้องเพียง 2 บท แบ่งบรรจุท านองเพลงบทละ 2 เพลง ให้ครบ 4 เพลง เพื่อให้เหมาะสมกับเวลาแสดง ในปัจจุบันการแสดงเริ่มด้วย ปี่พาทย์บรรเลงเพลงโคมเวียน รัวลา เดียว ร้องเพลงพระทอง เบ้าหลุดสะระบุหร่ง บลิ่ม ออกด้วยเพลงเร็วและเพลงลา 2. ชื่อเพลงเรื่อง นักดนตรีได้น าเพลงชุดระบ าสี่บท มาบรรเลงเป็นเพลงเรื่อง เรียกว่า เรื่องระบ าสี่บทหรือเรื่องพระทอง เริ่มต้นด้วย เพลงพระทอง เบ้าหลุด สระบุหร่ง บลิ่ม ออกตะเขิ่ง เจ้าเซ็น และเพลงลา นอกจากนี้ในหนังสือสารานุกรมเพลงไทย โดย ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์ได้กล่าวถึงประวัติ เพลงทั้ง 4 เพลงคือ เพลงพระทอง เพลงเบ้าหลุด เพลงสระบุหร่ง เพลงบลิ่ม ไว้ดังนี้ เพลงพระทอง เพลงอัตราจังหวะสองชั้นท านองเก่าสมัยอยุธยา เป็นเพลงแรกของ เพลงตับเรื่อง- พระทอง ซึ่งมีเพลงรวมในตับจ านวน 9 เพลงคือ เพลงพระทอง คู่พระทอง ตุ๊ดตู่ คู่ตุ๊ดตู่ นกร่อน ลีลากระทุ่ม คู่ลีลากระทุ่ม โล้และเป็นเพลงระบ าและเป็นเพลงอันดับแรกของเพลงชุดระบ า สี่บท ซึ่งมี 4 เพลงและใช้เป็นเพลงประกอบระบ ามาแต่โบราณ ในทางปี่พาทย์ได้น าเพลงชุดระบ าสี่บท มาบรรเลง ในลักษณะเพลงเรื่อง เรียกว่า ระบ าสี่บท หรือเรื่องพระทอง ประกอบด้วย เพลงพระทอง เบ้าหลุด สระบุหร่ง บลิ่ม ออกตะเขิ่ง เจ้าเซ็น และเพลงลา นายมนตรี ตราโมท น าเพลงพระทองสอง ชั้นท านองเก่านี้มาแต่งเป็นเพลงโหมโรง เมื่อ พ.ศ. 2477 (ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์, 2557, น. 177) เพลงเบ้าหลุด เพลงท านองเก่าสมัยอยุธยา เป็นเพลงอันดับที่ 5 ในเพลงตับนางไห้ และเป็นเพลงอันดับที่ 2 ของเพลงระบ าสี่บท (ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์, 2557, น. 148) เพลงสะระบุหร่ง 1) เพลงตับประเภทตับเรื่องอยู่ในต าราเพลงมโหรีเพลงตับนี้ท านองเก่าสมัยอยุธยา มี 18 เพลงคือ เพลงสะระบุหร่ง นางบุหร่ง มลากาเสียเมือง มลายูหวน คู่มลายูหวน แสนพิลาปน้อย แสนพิลาบใหญ่สมิงทองไทย สมิงทองแขก สมิงทองมอญ เพื่อนนอนน้อย เพื่อนนอนใหญ่ นกกระจก ต้องกระเบื้อง ดอกไม้ไทร ดอกไม้ตานีน้ าค้างตะวันตก น้ าค้างตะวันออก
39 2) เพลงอัตราจังหวะสองชั้น มีท่อนเดียว เป็นเพลงที่ 3 ในชุดระบ าสี่บท และเพลง เรื่องพระทอง (ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์, 2557, น. 275) เพลงบลิ่ม เพลงในตับระบ าสี่บท เป็นเพลงอันดับที่ 4 เรียกชื่อหนึ่งว่าปวะหลิ่ม เพลง ระบ าชุดนี้มี 4 เพลงคือ พระทอง เบ้าหลุด สระบุหร่ง และบลิ่ม เป็นระบ าเทพบุตรนางฟ้า จัดเป็น ระบ าใหญ่ชุดหนึ่ง (ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์, 2557, น. 145) สวรรยา ทับแสง (2560, น. 17-28) ได้อธิบายถึงความส าคัญของเพลงระบ าสี่บท ไว้ว่า เพลงระบ าสี่บทก็มีความส าคัญมากเช่นกันเนื่องจากท่วงท านองเพลงทั้ง 4 เพลง ที่มีความโดดเด่นเป็น เอกลักษณ์มีการบรรเลงด้วยหลักและแนวทางตามขนบของการบรรเลงเพลงระบ าอย่างสมบูรณ์และ ด้วยหน้าทับของกลองที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละบทเพลงกล่าวคือ ในแต่ละเพลงจะใช้หน้าทับ เฉพาะซึ่งมีความลงตัวกับบทเพลงเป็นอย่างมาก และทางคีตศิลป์ให้ความส าคัญกับเพลงระบ าสี่บท เป็นอันมากเป็นพื้นฐานที่ผู้ขับร้องจ าเป็นจะต้องศึกษาและฝึกฝนเป็นอย่างดีเนื่องจากการขับร้องเพลง ระบ าสี่บทต้องใช้ทักษะในการขับร้องสูงมีวิธีการและเทคนิคลีลาที่ละเอียดอ่อนการเอื้อนค่อนข้างยาว ท าให้ต้องใช้แรงในการขับร้องมากหากผู้ขับร้องขาดการฝึกฝนที่ต่อเนื่องก็จะท าให้การขับร้องเพลง ระบ าสี่บทเสียความไพเราะไป โดยสิ้นเชิง ผู้วิจัยสรุปได้ว่า เพลงระบ าสี่บทมีประวัติมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นระบ าที่ ในวงการนาฏศิลป์ไทย ยกย่องให้เป็นระบ าชั้นครูหรือเรียกกันว่า ระบ าใหญ่ ในทางดุริยางคศิลป์ไทย เพลงชุดระบ าสี่บทที่ประกอบไปด้วย 4 เพลงได้แก่ เพลงพระทอง เพลงเบ้าหลุด เพลงสะระบุหร่ง เพลงบ ลิ่ม เพลงชุดนี้เป็นเพลงอัตราจังวะสองชั้น ในสมัยอยุธยาอยู่ในเพลงตับเรื่องต่าง ๆ ในทางคีตศิลป์ไทย ถือว่าเป็นเพลงที่ใช้ฝึกทักษะขั้นสูงมีวิธีการ ลีลา เทคนิคที่ละเอียดอ่อน มีการเอื้อนที่ยาวต้องใช้แรง ก าลังในการขับร้องมากท านองเพลงในแต่ละเพลงมีเอกลักษณ์โดดเด่นต่างกัน หน้าทับที่ใช้มีความลง ตัวกับบทเพลงเรียกว่า “หน้าทับเฉพาะ” สรุปได้ว่า เพลงชุดระบ าสี่บทเป็นเพลงโบราณที่มีการสืบ ทอดมาอย่างยาวนาน และเป็นเพลงที่มีบทบาทในราชส านักไทย โดยบรมครูทางด้านนาฏศิลป์และ ทางดุริยางคศิลป์ไทย ได้ถ่ายทอดผ่านยุคสมัยกันมาเป็นรุ่นต่อรุ่นจวบจนปัจจุบัน ซึ่งในสมัยก่อนผู้ที่จะ ได้เพลงหรือท่าร าเพลงนี้จะต้องเป็นสายศิษย์จากครูที่เกี่ยวข้องกับการมหรสพหลวง เพราะเป็นชุดการ แสดงแบบละครในราชส านัก ครูปี๊บ คงลายทอง เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดเพลงระบ าสี่บทนี้และ เป็นศิษย์สายตรงจากทางกรมหรสพหลวง เพราะ ครูเทียบ คงลายทอง เป็นหนึ่งในนักดนตรีของกร มหรสพหลวง อีกทั้งท่านเป็นศิษย์ของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ผู้ที่พัฒนาการขับร้อง และการเป่าปี่ให้วิจิตร พริ้งพราย พบว่า กระบวนการฝึกปี่ชวาของ ครูปี๊บ คงลายทอง เพลงระบ าสี่บท สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของครูโบราณในเรื่องของการเรียนดนตรีไทย รวมถึงประโยชน์จากแนวคิด ต่าง ๆ ในด้านการฝึกฝน การถ่ายทอดปี่ชวาของ ครูปี๊บ คงลายทอง เพื่อเสริมสร้างทักษะแก่ผู้เรียนให้ เป็นนักดนตรีเครื่องเป่าไทยที่มีคุณภาพสามารถปรับใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้เป็นอย่างดี
40 3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยเรื่อง กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทของครูปี๊บ คงลายทอง ศิลปินแห่งชาติ ผู้วิจัยที่ศึกษา และทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ ส าเนา เปี่ยมดนตรี( 2552) ได้อธิบายถึงก ระบวนการ ถ่ายทอดปี่ในของส านัก ครูเทียบ คงลายทอง กล่าวถึง ในด้านกระบวนการถ่ายทอด ปี่ใน ครูเทียบ คงลายทอง เป็นแบบมุขปาฐะ สอนตามคุณสมบัติของผู้เรียน โดยผู้สอนจะใช้ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ที่ได้ ปฏิบัติน ามาปรับใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และน ากลวิธีดังกล่าว มาใช้เป็น กระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบขั้นพื้นฐานด้วยวิธี1) ฝึกนิ้วลองปี่ 2) ฝึกใกล้เคียงที่เน้น ลักษณะเฉพาะในการใช้ลมใช้นิ้วให้สัมพันธ์กันเพื่อฝึกให้เสียงออกมาชัดเจน ครูเทียบ คงลายทอง ได้ ก าหนดเพลงพื้นฐานเพื่อให้ผู้เรียนฝึกหัดเพลงแรก เพลงเต่ากินผักบุ้ง ซึ่งเป็นเพลงที่ช่วยฝึกทักษะใน การใช้ลมใช้นิ้วให้สัมพันธ์กัน พลณศักดิ์ ทรัพย์บางยาง (2559) กล่าวถึงแนววิธีการบรรเลงวงปี่ชวากลองแขกกับมวยไทย ของสนามมวยเวทีราชด าเนินกล่าวถึง วงปี่ชวากลองแขกได้เดินทางเข้ามาในสยามประเทศจากชวาเข้า มาสู่ราชส านักกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในการแสดงละคร เรื่องอิเหนา ตอน อิเหนาร ากริช ด้วยบทเพลงหน้าทับสะระหม่าแขกต่อมาบรมครูได้คิดค้นพัฒนา ปรับเปลี่ยนรูปแบบจากหน้าทับสะระหม่าแขกให้เป็นสะระหม่าไทยหรือสะระหม่าใหญ่ได้มีการปรับใช้ ในพระราชพิธีและศิลปะการต่อสู้แขนงต่าง ๆ ได้แก่ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค กระบี่กระบอง มวยไทย มีการสืบทอดกระบวนการปฏิบัติจากรุ่นสู่รุ่นจนมาถึงปัจจุบันการบรรเลงปี่ชวามาแล้วอย่างดี มีความสามารถน าบทเพลงมาใช้งานในการบรรเลงเพลงโหมโรงก่อนการแข่งขัน เพลงสะระหม่า ส าหรับการไหว้ครูของนักมวย เพลงแขกเจ้าเซ็น เพลงส าเนียงแขกต่าง ๆ ในแต่ละยกและเพลงเชิดได้ อย่างดีจึงเป็นศูนย์รวมแห่งศาสตร์และศิลป์ของศิลปะการต่อสู้และศิลปะด้านดนตรีไว้อย่างครบถ้วน กมล แก้วสว่าง (2556) ได้กล่าวถึง การวิเคราะห์การเป่าปี่ขวาเพลงโหมโรงราโคทางครูมนตรี ตราโมท กรณีศึกษาครูปี๊บ คงลายทอง กล ่าวถึง ครูปี๊บ คงลายทอง เป็นศิลปิน และครูดนตรีไทยที่มี ลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวในเครื่องมือประเภทเครื่องเป่าอันได้แก่ ปี่ใน ปี่นอก ปี่มอญ ปี่ชวา และขลุ่ย ประเภทต่าง ๆ เป็นศิลปินดนตรีไทยของส านักการสังคีตกรมศิลปากรเป็นอาจารย์พิเศษใน สถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งมีผลงานทางวิชาการ และการบรรเลงดนตรีประเภทเครื่องเป่าในโอกาส ส าคัญการวิเคราะห์การเป่าปี่ชวาเพลงโหมโรงราโคดังกล่าวนี้ในท านองหลักมีการเรียบเรียงท านองให้ เชื่อมต่อระดับเสียงได้อย่างกลมกลืนไพเราะมีการประพันธ์ท านองที่โดดเด่นโดยการเปลี่ยนท านอง ประโยคที่ 1ในท่อนที่ 1และท่อนที่ 2ระหว่างเที่ยวแรกและเที่ยวกลับให้มีความแตกต่างกันส่วนท านอง ประโยคอื่น ๆ ยังคงท านองเหมือนกันดังเดิมด้านความสัมพันธ์ระหว่างท านองหลัก และท านองปี่ชวายึด เสียงลูกตกระหว่างประโยค และเสียงลูกตกท้ายประโยคของจังหวะยก และจังหวะตกเป็นส าคัญด้าน ระดับเสียงท านองทางปี่ชวากับท านองหลักมีระดับเสียงทีสัมพันธ์กันเป็นส่วนใหญ่บางประโยคของ ท านองทางปี่ชวาเท่านั้นที่มีระดับเสียงไม่สัมพันธ์กับท านองหลักกลวิธีพิเศษที่พบในการเป่าปี่เพลงโหม โรงราโค ได้แก่การตอดลิ้น การปริบเสียงการตีนิ้วการกลับลมกลับลิ้น การสะบัด 3เสียงและการสะบัด 5เสียง เป็นต้น ลักษณะการด าเนินท านองกระชับ สนุกสนานเหมาะสมกับการแปลท านองของเครื่อง ดนตรีชนิดอื่น ๆซึ่งลักษณะดังกล่าว เป็นการบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของครูปี๊บ คงลายทอง เป็นอย่างดี
41 จเ ร อู ่แก้ว ( 2544) ได้อ ธิบ ายถึงก ร ะบ วนกา รเ รียนก ารสอนปี ่ใน ได้กล ่า วถึง นายปี๊บ คงลายทอง เริ่มเรียนดนตรีด้วยฆ้องวงใหญ่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบมุขปาฐะเน้นเรียนเพลง ประกอบพิธีกรรม อาทิเพลงโหมโรงเย็น เพลงโหมโรงเช้า และเพลงเรื่อง เมื่อเรียนรู้เครื่องตีด้วย ท านองหลักจนมีความช านาญ ครูเทียบ คงลายทอง จึงเริ่มฝึกปี่ในให้ด้วยวิธีการสอนแบบมุขปาฐะ เช่นเดียวกับการเรียนเครื่องตีเริ่มจากการเลียนแบบวิธีการเป่าทีละนิ้วทีละเสียงผู้สอนแก้ไขปรับปรุง ข้อผิดพลาดขณะสอนควบคู่กันไปจนผู้เรียนเป่าได้ชัดเจนการฝึกใช้แบบฝึกนิ้วลองปี่ซึ่งมีวิธีการเป่า 15 แบบ 15 เสียงได้แก่ เสียงตือ (เร) เสียงฮอ (เรนิ้วควง) เสียงแฮ (มี) เสียงฮือ-ออ (ซอล-มี แต่ใช้นิ้วเดียวกัน) เสียงตอ (ลา) เสียงตือ (ซอลนิ้วเดียวกับเร) เสียงแต่ (ฟา) เสียงตือ (ซอล) เสียงตอล๊อตตอ (ลาลาลา) และเสียงต๋อย (เรไปลา) ขณะฝึกนิ้วลองปี่ผู้สอนให้ฝึกระบายลมควบคู่ไปด้วยหลังจากผู้เรียนมีความ พร้อม มีสมาธิผู้สอนจึงเริ่มต่อเพลงเต่ากินผักบุ้งให้เป็นเพลงแรกการสอนเพลงเต่ากินผักบุ้ง ผู้สอนใช้ วิธีการสอนแบบมุขปาฐะโดยบอกท านองเพลงเป็นเสียงปี่ตามแบบฝึกนิ้วลองปี่มีการแก้ไขทักษะที่ไม่ ถูกต้องโดยเฉพาะเรื่องการใช้นิ้ว ใช้ลม และใช้ลิ้น ผู้สอนจะเน้นมากเมื่อสอนจบเพลงจึงให้เรียนเพลง ประเภทเพลงสามชั้น ได้แก่ เพลงสุรินทราหูเพลงนารายณ์แปลงรูป และเพลงเขมรใหญ่เพื่อฝึกการใช้ นิ้วในกลุ่มเสียงต่าง ๆ อีกนัยหนึ่งเพลงสามชั้นมีสาระทางดนตรีมากกว่าเพลงสองชั้นท าให้ผู้เรียนเข้าใจ วรรคประโยค และท่อนเพลงชัดเจนวิธีการถ่ายทอดท านองเพลงสามชั้นครูเทียบใช้วิธีการต่อท านอง หลักผสมกับท านองแปลรูปแบบวิธีการสอนซึ่งมีขั้นตอนดังกล่าวท าให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการใช้ลม การใช้นิ้ว และการใช้ลิ้นได้ดีสามารถเป่าเพลงอื่น ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้นหลังจากนั้นจึงต่อเพลงที่มีท านอง เปลี่ยนเสียงให้ได้แก่ เพลงโล้และเพลงเหาะ การแปลทางหรือแปลท านองหลักเป็นส านวนปี่หรือ ส านวนแปลผู้เรียนสามารถท่องจ าไว้ใช้กับท านองเพลงต่าง ๆ ที่มีท านองหลักเหมือนกันได้การเรียนปี่ ของนายปี๊บ กับครูเทียบเป็นไปอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ ซึมทักษะ และความรู้ทีละน้อยเนื่องจากได้ยินเสียง ปี่ของบิดา และพี่ชายตั้งแต่เยาว์วัยการเรียนตามแนวทางครูเทียบ เป็นวิธีการที่มีแบบแผนเฉพาะเมื่อ ถ่ายทอดหรือเรียนรู้ด้วยวิธีการนี้สามารถน าไปสู่ความส าเร็จในวิชาชีพได้ ผู้วิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบวิธีการสอนเครื่องปี่ชวาของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ที่ได้รับแนวทางจากผู้เป็นบิดา คือ ครูเทียบ คงลายทอง มีวิธีการที่เป็นขั้นตอนชัดเจนโดยใช้เพลง ที่มุ่งเน้นพัฒนาทักษะการใช้ลม การใช้ลิ้น การใช้นิ้ว เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจสามารถน าไปเป่า เพลงอื่น ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น วิธีการต่อท านองเพลงจะใช้วิธีการต่อท านองหลักผสมกับท านองปี่ชวา เมื่อผู้เรียนท าได้แล้วก็จะต่อท านองที่มีความซับซ้อนขึ้นต่อไปเป็นการเรียนที่มีแบบแผนเฉพาะไม่ข้าม ขั้นตอนจะดูพื้นฐานทักษะการเป่าของผู้เรียนเป็นหลัก
42 4. กรอบแนวคิดในการวิจัย ภาพที่33 กรอบแนวคิดในการวิจัย ที่มา: ผู้วิจัย
บทที่ 3 วิธีด ำเนินกำรวิจัย การศึกษาวิจัยเรื่อง กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ตามแนวทางของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากการเก็บข้อมูลจาก ภาคสนามด้วยวิธีการเก็บสัมภาษณ์ สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม แล้วท าการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ซึ่งขั้นตอนการด าเนินงานวิจัย มีดังนี้ 1.ขอบเขตในกำรวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ก าหนดขอบเขตในการวิจัยโดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1.1 ขอบเขตด้ำนเนื้อหำ 1.1.1 แนวทางในการถ่ายทอดการเป่าปี่ชวาให้แก่ผู้เรียนของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 1.1.1 กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 1.1.1 กลวิธีพิเศษและส านวนกลอนปี่ชวาที่ปรากฏในเพลงระบ าสี่บท 1.2 ขอบเขตด้ำนระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยเรื่อง กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ตามแนวทางของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ด าเนินการวิจัยเชิงลึกตามรูปแบบของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีเป้าหมายที่แนวคิดในการพัฒนาผู้เรียนปี่ชวาของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทและกลวิธีการบรรเลงปี่ชวา ที่ปรากฏในเพลงระบ าสี่บทเป็นหลัก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยต่างๆรวมทั้งใช้วิธีการ เก็บข้อมูลภาคสนาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ เพื่อน าข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ตาม วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อให้ได้มามาซึ่งผลของการวิจัย 1.3 ขอบเขตด้ำนบุคคลผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างเพื่อ รวบรวมข้อมูลเหตุการณ์เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับกระบวนการฝึกทักษะปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ)กลวิธีการบรรเลงปี่ชวา โดยแบ่งกลุ่มบุคคลในการสัมภาษณ์ ไว้ดังนี้ 1.3.1 ผู้ให้ข้อมูลหลัก ผู้วิจัยเลือกสัมภาษณ์ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูล ส าคัญที่ดีที่สุดเกี่ยวกับ กระบวนการฝึกทักษะปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทและแนวคิดในการพัฒนาผู้เรียนปี่ชวา
44 1.3.2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลส าคัญ ผู้วิจัยเลือกสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทจากครูปี๊บ คงลาย ทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เป็นข้อมูลส่วนส าคัญในการหาความส าคัญในการฝึกทักษะปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ซึ่งผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมี 2 ท่าน ได้แก่ 1) นายสุรินทร์ เจือหอม ได้รับการถ่ายทอดท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทจาก ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ขณะเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสมเด็จเจ้าพระยา เป็นศิษย์ ยุคแรก ๆ ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 2)จ่าสิบเอกสุวรรณ ศาสนนันท์ได้รับการถ่ายทอดท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทจาก ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) โดย ร้อยตรีกาหลง พึ่งทองค า (ศิลปินแห่งชาติ) ได้พาไปฝาก เรียนปี่ชวาเพื่อปรับนิ้ว ปรับลมเพิ่มเติม กับครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 1.3.3 กลุ่มผู้ปฏิบัติ ผู้วิจัยเลือกสัมภาษณ์กลุ่มปฏิบัติโดยคัดเลือกจากผู้ที่มีความช านาญในการเป่าปี่ชวา ในงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น งานทางราชการ งานมหรสพต่าง ๆ เช่น การชกมวย มีดังนี้ 1) นายสุรพล หนูจ้อย ข้าราชการบ านาญ ส านักการสังคีต กรมศิลปากร เป็นผู้มี ประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ในการเป่าปี่ชวาในงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายของส านักการสังคีต กรมศิลปากร เช่น งานพระราชพิธี รัฐพิธี การเป่าปี่ชวาประกอบการแสดงต่าง ๆ และเป็นผู้ได้เรียน เครื่องเป่าไทยกับ ครูเทียบ คงลายทอง 2) นายอนันต์ สบฤกษ์ ข้าราชการบ านาญ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้มีองค์ความรู้ในเรื่องของเครื่องเป่าไทยและเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของ ครูเทียบ คงลายทอง 3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสี เกษมสุข ข้าราชการบ านาญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นผู้มีองค์ความรู้ในเรื่องของเครื่องเป่าไทย และเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ ของครูเทียบ คงลายทอง 4) นายสิงหล สังข์จุ้ย ข้าร าชการบ านาญ ส านักการสังคีต กรมศิลปากร เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการเป่าปี่ชวามีประสบการณ์ในการเป่าปี่ชวาของงานทางราชการ เช่น เป่าปี่ชวาเพลงสะระหม่าลงเรือ ในพระราชพิธีแห่พระกฐิน เป่าปี่ชวาเพลงบัวลอย ในงานพระราชพิธี ถวายเพลิงพระศพ 5) นาวาโทชัยนรินทร์ แถมมีทรัพย์ ข้าราชการทหาร สังกัดกองทัพเรือ กองดุริยางค์ทหารเรือ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเป็นผู้มี ประสบการณ์ในการเป่าปี่ชวาได้เคยเป่าปี่ชวาประกอบการแสดงต่อสู้โดยใช้อาวุธของส านักดาบ พุทธไธศวรรย์เรียนปี่ชวากับครูทวี คงลายทอง 6) นายพลณศักดิ์ ทรัพย์บางยาง ข้าราชการครู ต าแหน่ง ครูช านาญการพิเศษ วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้มีประสบการณ์ในการเป่าปี่ชวาประกอบ การชกมวยในเวทีราชด าเนิน
45 7) ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเสก บรรจงจัด ข้าราชการ ต าแหน่งอาจารย์ หัวหน้าภาค ดุริยางคศิลป์ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ เป็นผู้ได้เรียนเครื่องเป่าไทยกับครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) และเป็นผู้มีประสบการณ์ในการสอน นักศึกษา ในคณะศิลปะนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 8) นาย ธนา ธิป สิทธิชัย ข้าร าชก าร ต าแหน ่งอาจ าร ย์ คณะศิลปศึกษ า สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นผู้ที่ได้เรียนปี่ชวากับครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) และเป็น ผู้มีประสบการณ์ในการสอน นักศึกษา ในคณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 1.3.4 กลุ่มนักวิชาการ ผู้วิจัยเลือกผู้สัมภาษณ์กลุ่มนักวิชาการโดยคัดเลือกจากผู้ที่มีองค์ความรู้ทางด้านดนตรีไทย ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมข าอาจารย์และหัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้มีความรู้เรื่องเครื่องเป่าไทยสายส านักพระยาเสนาะดุริยางค์เป็นศิษย์ ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 2. กำรเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยเรื่อง กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ตามแนวทางของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) มีการเก็บข้อมูล 2 ส่วน มีดังนี้ 2.1 กำรเก็บข้อมูลจำกเอกสำร ผู้วิจัยได้ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในงานวิจัยโดยจ าแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 2.1.1 เอกสารสิ่งพิมพ์ ได้แก่ เอกสารสิ่งตีพิมพ์ หนังสือ วารสาร เอกสารทางราชการ งานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการฝึกทักษะทางดนตรีไทย องค์ความรู้เกี่ยวกับปี่ชวา ชีวประวัติครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) และ เพลงระบ าสี่บท 2.1.2 เอกสารที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์ ได้แก่ นิทรรศการออนไลน์ แถบบันทึกเสียงที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการฝึกทักษะปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ประวัติการเรียนปี่ชวาของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) และข้อมูลจากบุคคลผู้ให้สัมภาษณ์ 2.2 กำรเก็บข้อมูลภำคสนำม ข้อมูลจากภาคสนาม ได้จากการสัมภาษณ์และการสังเกต มีรายละเอียดดังนี้ 2.2.1 การสัมภาษณ์ ผู้วิจัยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และการสนทนาจากบุคคลผู้ให้ข้อมูล โดยก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามนี้ ผู้วิจัยได้ด าเนินการขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยก าหนดข้อค าถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงประเด็น 2.2.2 การสังเกต ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมเพื่อที่จะได้ข้อมูลที่เที่ยงตรง เกี่ยวกับกระบวนการฝึกทักษะปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) โดยผู้วิจัย จะท าการต่อท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทกับครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) เพื่อศึกษาเหตุการณ์ เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภาคสนาม
46 3. กำรจัดกระท ำข้อมูล ในการศึกษาวิจัยเรื่อง เรื่อง กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ได้ก าหนดวัตถุประสงค์ คือเพื่อศึกษากระบวนการฝึกทักษะและกลวิธีใน การเป่าปี่ชวาของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ผู้วิจัยจึงได้จัดกระท าข้อมูลเนื้อหาออกเป็น 2ส่วน ตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ 3.1 ข้อมูลด้ำนกระบวนกำรฝึกทักษะกำรเป่ำปี่ชวำในเพลงระบ ำสี่บท 3.1.1แนวทางในการถ่ายทอดการเป่าปี่ชวาให้แก่ผู้เรียนของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 3.1.2 การฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท 3.1.3การเทียบเคียงกระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) กับทฤษฏีแนวคิดรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮว์โรว์ (Harrow) 3.2 ข้อมูลด้ำนกลวิธีในกำรบรรเลงปี่ชวำที่ปรำกฏในเพลงระบ ำสี่บท 1) กลวิธีพิเศษในการเป่าปี่ชวาที่ปรากฏในเพลงระบ าสี่บท 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างท านองหลักและท านองปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท 3) ส านวนกลอนปี่ชวาที่เป็นจุดเด่นของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 4. กำรตรวจสอบข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลก่อนน ามาวิเคราะห์นั้น เป็นสิ่งที่พึงกระท าทุกครั้งในการท างานวิจัย กรอบข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการฝึกทักษะปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ)ผู้วิจัยจะตรวจสอบข้อมูลโดยการตรวจสอบจากโน้ตเพลงระบ าสี่บท แถบบันทึกเสียง เพื่อตรวจสอบข้อมูลจากการสัมภาษณ์ว่า แต่ละบุคคลให้ข้อมูลตรงกันหรือไม่ 5. กำรวิเครำะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเมื่อผู้วิจัยได้ข้อมูลที่สมบูรณ์แล้วผู้วิจัยจึงน าข้อมูลทั้งหมดนั้นมา แยกส่วนวิเคราะห์ตามประเด็นศึกษาให้เห็นภาพส่วนย่อยจากนั้นจึงวิเคราะห์รวบประเด็นให้เห็น ภาพรวมด้วยวิธีวิเคราะห์ความเหมือนความแตกต่าง ความเกี่ยวข้องความสัมพันธ์ เป็นต้น วิธีการนี้ หากพบข้อมูลที่ยังขาดความสมบูรณ์แล้ว จะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งจากนั้นจึง ท าการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อย้อนดูแต่ละกรอบข้อมูลทั้ง 3 ประเด็นน ามาตีความที่ได้จาก การศึกษาพร้อมทั้งอธิบายผล ด้วยความเรียงเชิงพรรณนาและจัดระเบียบองค์ความรู้ เพื่อตอบทุก ค าถามวิจัยที่ก าหนดไว้ โดยผู้วิจัยได้แบ่งหัวข้อการด าเนินการ ดังนี้ 5.1 การจ าแนกข้อมูล เพื่อจัดกลุ่มของข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้า 5.2 การวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ ฝึกทักษะและกลวิธีในการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 5.3 น าเสนอรายงานผลการวิจัยด้วยการเขียนวิเคราะห์
47 6. กำรน ำเสนอผลงำนวิจัย น าข้อมูลทั้งหมด มาท าการจ าแนกข้อมูล เพื่อจัดกลุ่มข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าผู้วิจัยแยก ส่วนข้อมูล ประกอบด้วย 1) ข้อมูลจากเอกสาร 2) ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ 3) ข้อมูลจากการสังเกต เมื่อผู้วิจัยได้ข้อมูลที่สมบูรณ์แล้วผู้วิจัยจึงน าข้อมูลทั้งหมดนั้นมาแยกส่วนวิเคราะห์ตามประเด็นศึกษา ให้เห็นภาพส่วนย่อยจากนั้นจึงวิเคราะห์รวบประเด็นให้เห็นภาพรวมด้วยวิธีวิเคราะห์ความเหมือน ความแตกต่าง ความเกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ วิธีการนี้หากพบข้อมูลที่ยังขาดความสมบูรณ์แล้วจะต้อง เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง จากนั้นจึงท าการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อย้อนดูแต่ ละกรอบข้อมูลน าประเด็นต่าง ๆ มาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยน าข้อมูลวิเคราะห์ ด้วยความเรียงเชิงพรรณนา จัดระเบียบองค์ความรู้เพื่อตอบค าถามวิจัยที่ก าหนดไว้ และน าเสนอใน รูปแบบงานวิจัยตามข้อก าหนดของโครงการบัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
บทที่ 4 กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวา เพลงระบ าสี่บท ตามแนวทางของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) การวิจัยเรื่อง กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทตามแนวทางของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการฝึกทักษะ เป่าปี่ชวา เพลงระบ าสี่บทของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล จากเอกสาร ต ารา บทความวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษาและมีการเก็บรวบรวมข้อมูล ภาคสนาม น าข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้อง และน ามาวิเคราะห์ปรากฏผลดังนี้ 1. ข้อก าหนดเบื้องต้นในการบันทึกโน้ต 1.1 สัญลักษณ์แทนเสียง 1.2 สัญลักษณ์ในการบันทึกโน้ตท านองหลักเพลงระบ าสี่บท 1.3 สัญลักษณ์ในการบันทึกโน้ตท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท 1.4 สัญลักษณ์แทนกลวิธีพิเศษในการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท 2. กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวา เพลงระบ าสี่บทตามแนวทางของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 2.1 แนวทางในการถ่ายทอดการเป่าปี่ชวาให้แก่ผู้เรียนของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 2.2 การฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท 2.3 วิเคราะห์กลวิธีพิเศษในการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท 2.4 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างท านองหลักและท านองปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท 2.5 ส านวนกลอนปี่ชวาที่เป็นจุดเด่นของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 1. ข้อก าหนดเบื้องต้นในการบันทึกโน้ต 1.1 สัญลักษณ์แทนเสียง สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแทนเสียงในการวิเคราะห์ท านองหลักและท านองปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท ผู้วิจัยได้ก าหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการบันทึกโน้ตเป็นระบบตัวอักษร 7 ตัว ในการแทนระดับเสียงของ เครื่องดนตรี มีดังนี้ ดฺ แทนเสียง โด (เสียงต่ า) รฺ แทนเสียง เร (เสียงต่ า) มฺ แทนเสียง มี (เสียงต่ า) ฟฺ แทนเสียง ฟา (เสียงต่ า) ซฺ แทนเสียง ซอล (เสียงต่ า)
49 ลฺ แทนเสียง ลา (เสียงต่ า) ทฺ แทนเสียง ที (เสียงต่ า) ด แทนเสียง โด ร แทนเสียง เร ม แทนเสียง มี ฟ แทนเสียง ฟา ซ แทนเสียง ซอล ล แทนเสียง ลา ท แทนเสียง ที ด แทนเสียง ด หมายเหตุ โน้ตที่มีจุดด้านบนคือโน้ตเสียงสูงและที่มีจุดด้านล่างคือเสียงต่ า 1.2 สัญลักษณ์ในการบันทึกโน้ตท านองหลักเพลงระบ าสี่บท ผู้วิจัยได้ก าหนดรูปแบบในการบันทึกโน้ตท านองหลักและท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท เป็นระบบตัวอักษรบันทึกลงในตารางบันทึกโน้ตโดยผู้วิจัยได้ใช้กลุ่มเสียงตามระบบของเครื่องสาย โดยกลุ่มเสียงมีทั้งหมด 7 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มเสียงที่ 1 ซลท x รม x คือ ระดับเสียง ซ กลุ่มเสียงที่ 2 ดรม x ซล x คือ ระดับเสียง ด กลุ่มเสียงที่ 3 ลทด x มฟ x คือ ระดับเสียง ล กลุ่มเสียงที่ 4 รมฟ x ลท x คือ ระดับเสียง ร กลุ่มเสียงที่ 5 ทดร x ฟซ x คือ ระดับเสียง ท กลุ่มเสียงที่ 6 มฟซ x ทด x คือ ระดับเสียง ม กลุ่มเสียงที่ 7 ฟซล x ดร x คือ ระดับเสียง ฟ ภาพที่ 34 รูปฆ้องแสดงกลุ่มเสียงที่เลื่อนเสียงตามระบบเครื่องสาย ที่มา: ผู้วิจัย
50 ในการด าเนินท านองหลักทางฆ้องวงใหญ่เพลงระบ าสี่บท ผู้วิจัยก าหนดสัญลักษณ์บันทึก ตัวโน้ต ดังนี้ 1.2.1 ตารางการบันทึกโน้ตเป็นบรรทัดคู่1 ประโยค ขวา ซ้าย 1.2.2 โน้ตบรรทัดบนแทนมือขวา 1.2.3 โน้ตบรรทัดล่างแทนมือซ้าย 1.2.4 โน้ตที่มีจุดล่าง คือ โน้ตเสียงต่ าที่ตรงกับลูกฆ้องลูกที่ 1 – 5 มฺ ฟฺ ซฺ ลฺ ทฺ 1.2.5 โน้ตที่ไม่มีจุด คือ โน้ตเสียงกลางที่ตรงกับลูกฆ้องลูกที่ 6 – 12ด ร ม ฟ ซ ล ท 1.2.6 โน้ตที่มีจุดบน คือ โน้ตเสียงสูงที่ตรงกับลูกฆ้องลูกที่ 13 – 16 ด ร ม ฟํ 1.2.7 โน้ตที่อยู่บรรทัดบนและล่างถ้าอยู่ตรงกันปฏิบัติพร้อมกันสองมือเช่น คู่ 4 5 8 ตัวอย่าง การบันทึกโน้ตท านองหลักเพลงระบ าสี่บท เพลงพระทอง สองชั้น ประโยคที่ 1 ขวา - - - ด - - ร ร - - - ม - - ร ร - ม – ม - ม - - ร ร - - ด ด – ล ซ้าย - - - ด - ร - - - - - ม - ร - - - ม - ซ - ม - ร - - - ด - - - ม 1.3 สัญลักษณ์ในการบันทึกโน้ตท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ผู้วิจัยก าหนดสัญลักษณ์ในการบันทึกโน้ตท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท โดยก าหนด รูปแบบในการบันทึกโน้ตเป็นระบบตัวอักษรลงในตารางบันทึกโน้ตบรรทัดเดียว ดังนี้ ตัวอย่าง การบันทึกโน้ตท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง สองชั้น ประโยคที่ 1 (เที่ยวแรก) - ซ - ด - - ร ม - ล – ซ - ม - ร - - - ม ซ - - - ร - ม - ร - ด - ล 1.4 สัญลักษณ์แทนกลวิธีพิเศษในการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ในการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษในการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ผู้วิจัยได้ก าหนด สัญลักษณ์แทนกลวิธีพิเศษของท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ไว้ดังนี้ แทน การตอดลิ้นตอดลม แทน การประคองลิ้นประคองลม แทน การเป่าปริบเสียง แทน การตีนิ้ว แทน การใช้นิ้วควง แทน การสะบัดเสียง แทน การกลับลมกลับลิ้น
51 2. กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวา เพลงระบ าสี่บท ตามแนวทางของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 2.1 แนวทางในการถ่ายทอดการเป่าปี่ชวาให้แก่ผู้เรียนของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ผู้วิจัยได้ท าศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการถ่ายทอดการเป่าปี่ชวาให้แก่ผู้เรียนของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) มีดังนี้ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) (2564, 21 มีนาคม, สัมภาษณ์) ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ แนวคิดในการพัฒนาผู้เรียนปี่ชวาของท่าน ไว้ว่า “การต่อเพลงครูจะดูนักศึกษาเป็นหลักโดยจะพิจารณาจากพื้นฐานของ ผู้เรียนว่ามีความพร้อมถึงระดับใดเพราะ ความสมบูรณ์ความคล่องตัวในการเป่าของ แต่ละคนไม่เท่ากันส่วนมากจะต้องมีพื้นฐานจากปี่ในหรือขลุ่ยมา ก่อน การเรียน จะต้องเริ่มจากช้าไปหาเร็วแล้วขยับขยายไปเพลงอื่นค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปวิชาดนตรี ไม่เหมือนกับ วิชาภาษาที่สามารถก าหนดได้โดยหลักเกณฑ์ครูจะดูพื้นฐานของผู้เรียน เป็นหลักตัวอย่างเช่น การเรียนปี่ใน ระหว่างเพลงเหาะ กับ สาธุการ เมื่อเริ่มพื้นฐานก็ ต้องเอาเพลงเหาะก่อนไม่ใช่เอาสาธุการเลย เริ่มแรกก็ต้องหา เพลงสั้น ๆ ง่าย ๆ ก่อน ปี่ชวาก็เหมือนกันต้องหาเพลงสั้น ๆ ง่าย ๆ มาฝึกก่อน ปี่ชวาจะมีวิธีการเป่า อย่างเช่น การระบายลม การตอดเสียง การประคองเสียงให้ไม่เพี้ยน การประคบลม ลิ้น นิ้วให้สัมพันธ์กันคล้าย ๆ กันกับปี่ในแต่ปี่ชวาจะมีความยากตรงที่ช่วงเสียงน้อยท า ให้มีขอบเขตการใช้เสียงที่จ ากัดท าให้การด าเนินท านองมีความล าบากการเรียนปี่ชวา จะต้องเรียนให้เข้าใจ ส านวนกลอน ลีลาท่าทางที่เป็นเฉพาะของปี่ชวา ” ภัทระ คมข า (2564, 6 พฤศจิกายน, สัมภาษณ์) ได้กล่าวเกี่ยวกับกระบวนการถ่ายทอดการ เป่าปี่ชวาของส านักครูเทียบ คงลายทอง ไว้ว่า “ในด้านการเป่าปี่ชวานะครับรากฐานพื้นฐานของการเป่าปี่ชวามาจากปี่ในไม่ว่า จะเป็นการระบายลม การตอดลิ้นตอดลมดังนั้นในการฝึกหัดปี่ชวาก็จะไปเริ่มที่ท านอง แปรเลยไม่เหมือนกับปี่ในที่ต้องเป่าแต่ละเสียงให้ได้ก่อนจะเริ่มแปรท านองเลยเพราะ พื้นฐานในขั้นต้นได้เริ่มฝึกจากปี่ในมาแล้วก็จะเป็นการเรียนส านวนกลอนลีลาเฉพาะตัว ในการเป่าปี่ชวาซึ่งเป่าปี่ชวาไม่ง่ายนะครับจริงๆแล้วมีฐานจากการใช้ลมการใช้ลิ้นจากปี่ ในก็จริงแต่ปี่ชวาโดยกายภาพแล้วมีความลึกซึ่งเป็นอย่างมากครับในเรื่องของการ ประคองลมประคองลิ้นปี่เพราะมีความดังแหลมสูงมากเสียงปี่ชวามีความล าบากมากครับ ต้องมีการเรียนจึงจะประสบความส าเร็จอย่างเสียงแหบสูงถ้าตอดลิ้นอย่างเดียวถือว่า ไม่ได้เรียนมานะครับ แล้วนิ้วก็ต้องเรียนเพราะนิ้วชวาไม่ใช่ของทั่วไปไม่ใช่ว่าใครจะมาจับ ปี่ชวาแล้วเป่าแล้วเป่าดีได้เลยจะมีกระบวนการของนิ้วอยู่ มีกี่กลุ่ม 3 กลุ่ม ต้อ กลาง เเหบ ต้อก็คือเสียงต่ า กลางก็คือเสียงใช้ทั่วไปลักษณะกระบวนการเรียนปี่ชวาก็จะเริ่ม จากเพลงพื้นฐานก่อนเป็นล าดับขั้นเหมือนกันกับปี่ในที่ยกตัวอย่างไปข้างต้นนะครับการ เรียนในสายส านักครูเทียบ คงลายทองที่ตกทอดมาถึงครูปี๊บ คงลายทอง เนี่ยสรุปเลยนะ ครับเป็นกระบวนการที่จะท าให้ผู้เรียนเข้า กลเม็ดเด็ดพรายในการเป่าเพื่อน าไป ประยุกต์ใช้ในการบรรเลงจริงสามารถประดิษฐ์เสียงออกมาได้อย่างไพเราะครับ”
52 บุญเสก บรรจงจัด (2564, 4 พฤศจิกายน, สัมภาษณ์) ได้กล่าวถึงวิธีการสอนปี่ชวาของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ไว้ว่า “ได้เรียนปี่ชวากับครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ณ สถาบันบัณฑิต พัฒนศิลป์ เพราะจะมีการใช้งานปี่ชวาและได้เรียนกับคุณครู ส าหรับพื้นฐานในการเป่า ปี่ชวาก็จะมาจากการเป่าปี่ในไม่ว่าจะเป็น การระบายลม การตอดลิ้น การใช้นิ้วต่างๆ จะได้ฐานก าลังมาจากปี่ในแต่จะแตกต่างกันตรงที่ระบบเสียงของปี่ชวามีการใช้ระดับ เสียง การใช้ลม การใช้ลิ้น การใช้นิ้ว ที่เป็นแบบแผนเฉพาะของการเป่าปี่ชวาอยู่ซึ่งตรง นี้มีความส าคัญในการผลิตเสียงปี่ชวาให้เกิดความไพเราะ การสอนของครูปี๊บจะดูที่ พื้นฐานของผู้เรียนเป็นหลัก เคยเป่าปี่ชวาไหม มีประสบการณ์ในการเป่าปี่ชวาหรือไม่ เมื่อยังไม่เคยก็จะสอนให้รู้เกี่ยวกับการไล่ระดับเสียง อย่างเช่น เสียงพิเศษของปี่ชวา คือ เสียง “ฮ้อ” ก็จะต้องเป่าให้ได้เสียงที่เป็นมาตรฐานเมื่อเห็นว่าเป่าได้แล้วก็จะต่อ เพลงง่ายๆเป็นพื้นฐานให้เราก่อน ครูจะใช้เพลงทางพื้นเพื่อให้ง่ายต่อการแปรท านอง เช่น เพลงลมพัดชายเขา เพลงโหมโรงราโค เพลงลงสรง เป็นต้น จะเป็นเพลงที่ท าให้ ฐานทักษะการเป่าปี่ชวามีความสมบูรณ์ ผู้เรียนควรที่จะได้ท านองหลักมาก่อนจะท าให้ เข้าใจโครงสร้างของทางปี่ชวามากขึ้นครูจะต่อให้เป็นรูปแบบเพื่อให้เราเข้าใจในการ บรรเลงปี่ชวาเมื่อยังไม่ได้ครูจะให้ย้ าท าซ้ าอยู่ตรงนิ้วนั้นเมื่อเข้าใจแล้วก็จะเพิ่มความ ซับซ้อนขึ้นตรงนี้นับเป็นกลวิธีการสอนอย่างหนึ่งของครูในการสอนลูกศิษย์ให้เกิด ความเข้าใจในการเป่าส านวนกลอนหลาย ๆ รูปแบบโดยสอดแทรกกลวิธีบังคับเสียง ต่าง ๆ ของปี่ชวาเข้าไปด้วย ครูปี๊บจะมีกลยุทธ์ในการสอนโดยการปฏิบัติให้ดูแล้วให้ ผู้เรียนท าตามเมื่อยังท าไม่ได้ก็จะให้ผู้เรียนปฏิบัติซ้ า ๆ และบอกวิธีการต่าง ๆ ในการ ท าเสียงต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเข้าใจเมื่อเข้าใจแล้วก็จะต่อท านองต่อไป” จากการสัมภาษณ์ จึงสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ ภาพที่35 วิธีการพัฒนาทักษะผู้เรียนปี่ชวาของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ที่มา: ผู้วิจัย
53 กระบวนพื้นฐานในการใช้ลม ใช้ลิ้น ใช้นิ้ว ในการเป่าปี่ชวามีรากฐานมาจากการฝึกเป่าปี่ในมา ก่อน ไม่ว่าจะเป็น การตอดเสียง การระบายลม การประคองลิ้นประคองลม แต่การใช้ลม ใช้ลิ้น ใช้นิ้ว ในการเป่าปี่ชวามีความยากความลึกซึ้งกว่าปี่ในเนื่องด้วยปี่ชวามีลักษณะเสียงที่แหลมสูงมีความดัง ท าให้การที่จะเป่าให้มีความไพเราะนั้นยากล าบากดังนั้นการถ่ายทอดการเป่าปี่ชวาให้แก่ผู้เรียนของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) จึงเป็นการต่อส านวนกลอนและลีลาเฉพาะของปี่ชวาโดยจะทรอด แทรกเทคนิคการบังคับเสียงปี่ชวาในส านวนนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการบังคับควบคุมเสียง ปี่ชวาไปในตัว ผู้วิจัยได้ยกตัวอย่างเทคนิคในการบังคับเสียงปี่ชวาที่พบในการฝึกเป่าปี่ชวาเพลงระบ า สี่บทโดยใช้ QR-Code เพื่อให้เห็นคุณภาพเสียงของปี่ชวาได้ชัดเจนขึ้น มีดังนี้ 1) การตอดลิ้นตอดลมคือการเป่าปี่ชวาให้เกิดความชัดเจนโดยใช้ส่วนอวัยวะลิ้นแตะ ลิ้นปี่พร้อมกับดันลมแตะ ๆ ปล่อย ๆสลับกันให้เกิดเสียงที่ชัดเจนเป็นช่วงๆ ในการด าเนินท านองปี่ชวา นาวาโท ชัยนรินทร์ แถบมีทรัพย์ (2564, 25 เมษายน, สัมภาษณ์) ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า “คุณลักษณะ เฉพาะของปี่ชวาจะเป่าตอดลิ้นเป็นดวงๆ เป็นค าๆ ทั้งหมดอย่างปี่ในไม่ได้เพราะปี่ชวาจะต้องเป่าให้มี ความคล่องแคล่วว่องไวอย่างในการเป่าสะระหม่าในช่วงของแปลงแนวการเป่าจะไวมากเมื่อถึงช่วงที่ จะตอดเสียงถ้าเป่าอย่างปี่ในให้ชัดทุกค าก็จะท าให้ไม่คล่องตัวอีกทั้งเสียงของปี่ชวาเกิดความเพี้ยนได้ ง่ายจึงต้องใช้การตอดเสียงกึ่งใช้อวัยวะลิ้นกึ่งใช้ลมเพื่อที่จะประคองเสียงไปในตัวจะท าให้การเป่าปี่ ชวาคล่องแคล่วขึ้นเป็นคุณลักษณะเฉพาะของการเป่าปี่ชวา” จากการที่ได้ต่อท านองปี่ชวากับครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ท าให้ผู้วิจัยยังพบอีกว่าการตอดลิ้นตอดลมในการเป่าปี่ชวามีหลาย ลักษณะลีลาด้วยกัน ดังนี้ 1.1) การตอดเสียงเป็นพยางค์ คือ การเป่าปี่ชวาตอดลิ้นตอดลมเป็นช่วง ๆ ค า ๆ ให้เกิดความชัดเจนในท านองตัวโน้ตนั้น ๆ มีลักษณะเสียง ดังนี้ ภาพที่ 36 QR-Code แสดงตัวอย่างการตอดเสียงเป็นพยางค์ ที่มา: ผู้วิจัย 1.2) การตอดตัดเสียงสั้น คือ การเป่าปี่ชวาตอดลิ้นตอดลมตัดเสียงให้ขาดเพื่อ เน้นเสียงนั้นให้มีความโดดเด่นขึ้น สิงหล สังข์จุ้ย (2564, 22 เมษายน, สัมภาษณ์) ได้อธิบายเพิ่มเติม ว่า “เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของการเป่าปี่ชวามีที่พิเศษอยู่ก็คือการเป่าตัดเสียงจะต้องมีการตัดลมตัดลิ้น เพื่อเน้นเสียงๆ นั้นให้มีความโดดเด่นขึ้นมาเป็นลีลาเฉพาะที่มักพบในการเป่าปี่ชวา” ตัวอย่างการตอด ตัดเสียงสั้น มีดังนี้
54 ภาพที่ 37 QR-Code แสดงตัวอย่างการตอดตัดเสียงสั้น ที่มา: ผู้วิจัย 1.3) การตอดย้ า ๆ เสียง คือ การเป่าปี่ชวาตอดลิ้นตอดลมในการด าเนินท านอง เก็บโดยในท านองนั้นมีตัวโน้ตเสียงที่ใช้การตอดย้ า ๆ กันหลายครั้ง มีตัวอย่างเสียง ดังนี้ ภาพที่ 38 QR-Code แสดงตัวอย่างการตอดย้ า ๆ เสียง ที่มา: ผู้วิจัย 2) การประคองเสียง คือ เทคนิคการการควบคุมปริมาณความหนัก-เบา ในการเป่าปี่ชวา มีผลต่อการบังคับเสียงต่าง ๆ ของปี่ชวาให้ไม่เกิดความเพี้ยนและไม่ให้เกิดความดังจนเกินไป วิธีการใช้ เทคนิคการประคองเสียงในการเป่าปี่ชวา มีดังนี้ 2.1) การประคองลิ้น คือ การเป่าปี่ชวาที่ใช้อวัยวะส่วนลิ้นมาประคองแตะไว้ที่ ลิ้นปี่เพื่อไม่ให้เกิดเสียงเพี้ยนจะใช้ควบคู่ไปกับการประคองลมมีความส าคัญในการประคองเสียงแหบ สูงเป็นอย่างมากวิธีการประคองลิ้น มีดังนี้ ภาพที่ 39 QR-Code แสดงตัวอย่างการประคองลิ้น ที่มา: ผู้วิจัย 2.2)การประคองลม คือ การควบคุมปริมาณความหนัก-เบาของลมในการเป่าปี่ชวา ออกมาให้ไพเราะซึ่ง ซึ่งความหนัก-เบา ในการบังคับลมที่ท าให้เกิดเสียงปี่ชวามีความส าคัญต่อระดับ
55 เสียงต่างๆ เพราะเสียงปี่ชวาโดยปกติแล้วมีความดังแหลมคุมลมได้ยากท าให้เสียงที่เป่าออกมานั้นมีความ เพี้ยนได้ง่าย การควบคุมน้ าหนักลมในการประคองเสียง ในการเป่าปี่ชวาจะไม่เหมือนกับที่ใช้ในปี่ใน สักทีเดียวจะเน้น การประคองลมจากช่วงคอเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะช่วงเสียงแหบ บน – ล่าง และ เสียงพิเศษของปี่ชวา คือ เสียง “ฮ่อ” การเป่าประคองลมจะช่วย ท าให้คุณภาพของเสียงปี่ชวาไพเราะ น่าฟังยิ่งขึ้นเสียงไม่เพี้ยน เพราะเสียงของปี่ชวาเพี้ยนง่ายอีกทั้งปี่ชวามีความดังแหลมจึงต้องควบคุม น้ าหนักลมไม่ให้เสียงของปี่ชวา ดังจนเกินไปและไม่ให้เบาจนเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปี่ชวาแต่ละเลาและ ก าลังของผู้เป่าปี่ชวาที่แตกต่างกันอีกด้วย วิธีการประคองลม มีดังนี้ ภาพที่ 40 QR-Code แสดงตัวอย่างการประคองลม ที่มา: ผู้วิจัย 3) การใช้นิ้วควง คือ การบังคับเสียงของปี่ชวาให้มีเสียงเท่ากันแต่การใช้นิ้วต่างกัน วิธีการใช้นิ้วควงของปี่ชวา มีดังนี้ ภาพที่ 41 QR-Code แสดงตัวอย่างการใช้นิ้วควง ที่มา: ผู้วิจัย 4) การตีนิ้วคือ การใช้นิ้วเป่าปี่ชวาให้เกิดเสียงสั่นสะเทือน 2 ครั้งวิธีการใช้การตีนิ้วมีดังนี้ ภาพที่ 42 QR-Code แสดงตัวอย่างการตีนิ้ว ที่มา: ผู้วิจัย
56 5) การปริบเสียง คือ การบังคับลมและนิ้วในการเป่าปี่ชวาให้เกิดเสียงสั่นคล้ายการตี นิ้วแต่จะมีลักษณะเสียงที่สั้นกว่า วิธีการใช้การปริบเสียง มีดังนี้ ภาพที่ 43 QR-Code แสดงตัวอย่างการปริบเสียง ที่มา: ผู้วิจัย 6) การสะบัดเสียง คือ การเป่าปี่ชวาด้วยความรวดเร็วติดต่อกันโดยนิ้ว ลิ้น ลม จะต้องมีความสัมพันธ์กันการสะบัดเสียงมีตั้งแต่ 3 เสียงขึ้นไป ภาพที่ 44 QR-Code แสดงตัวอย่างการสะบัดเสียง ที่มา: ผู้วิจัย 7) การกลับลมกลับลิ้น คือ ส านวนการเป่าปี่ชวาที่ใช้ลมลิ้นขึ้นลงไปมาท าให้มีความ ยากล าบากในการเป่าปี่ชวา มีตัวอย่างดังนี้ ภาพที่ 45 QR-Code แสดงตัวอย่างการกลับลมกลับลิ้น ที่มา: ผู้วิจัย สรุปผลการวิเคราะห์ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) จะดูความพร้อมทางด้าน ศักยภาพของผู้ศึกษาเป็นหลักว่ามีทักษะและความสมบูรณ์ในการที่จะเป่าปี่ชวาหรือไม่เพราะการที่จะ ฝึกหัดเป่าปี่ชวาได้นั้นจะต้องมีพื้นฐานในการใช้ลิ้น การใช้ลม การใช้นิ้ว จากการเป่าปี่ในมาก่อนเพราะ ปี่ชวาโดยกายภาพแล้วมีเสียงที่ดังแหลมสูงอีกทั้งในการเป่าเกิดความเพี้ยนได้ง่ายผู้ที่จะเรียนปี่ชวาได้
57 ประสบความส าเร็จจึงจะต้องมีพื้นฐานในการระบายลม การตอดเสียง การประคองลิ้นประคองลม จากปี่ในมาแล้วเพื่อให้การเรียนประสบความส าเร็จรูปแบบการสอนมีขั้นตอนที่ชัดเจนไม่ข้ามขั้นตอน โดยจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทางด้านทักษะปฏิบัติสามารถประดิษฐ์เสียงปี่ชวาที่มีคุณภาพ มีความเข้าใจในการใช้ส ากนวนกลอน กลวิธีพิเศษ ลีลาเฉพาะของการเป่าปี่ชวาสามารถไปพัฒนาในการ บรรเลงต่าง ๆ ได้วิธีการสอนในรูปแบบนี้นับเป็นระบบการถ่ายทอดที่เป็นแบบแผนเฉพาะของสาย ส านักที่ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ได้ซึมซับจากผู้เป็นบิดาคือ ครูเทียบ คงลายทอง 2.2 การฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท ผู้วิจัยได้สรุปเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ ในการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ า สี่บทจากครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) มีดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ก่อนที่จะเริ่มต่อท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ปี๊บ คงลายทอง (2564, 24 มีนาคม, สัมภาษณ์) จะอธิบายถึงความส าคัญในการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท โดยท่านได้อธิบายว่า “เพลงระบ าสี่บทนี้หากเป็นเครื่องตีก็อาจจะง่ายเพราะแต่ละเพลงเป็นเพลงสั้น ๆ แต่พอน ามาเป่าปี่ชวาแล้วมีความยากในการบังคับเสียงปี่ชวาจะไม่เหมือนปี่ในมี ช่วงเสียงน้อยกว่าการด าเนินท านองปี่ชวาจะต้องมีการหลบเสียงมีความยากล าบากใน การแปรท านอง เพลงกลุ่มนี้จะฝึกการบังคับเสียงปี่ชวาโดยตรงรวมถึง การฝึกเป่าเสียง ที่เป็นอุปสรรคที่ต้องใช้นิ้วพิเศษเป่า การกลับลิ้นกลับลม และการฝึกกลวิธีเฉพาะของ ท านองปี่ชวาระบ าสี่บทมีความส าคัญต่อการเสริมสร้างทักษะกลวิธีการบรรเลงปี่ชวา ในวงต่าง ๆการฝึกเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทก็จะประกอบไปด้วย เพลงพระทอง เพลง เบ้าหลุด เพลงสะระบุหร่ง เพลงบลิ่ม ทั้ง 4 เพลงนี้บอกหมดเลยเกี่ยวกับเทคนิคในการ เป่าปี่ชวาไม่ว่าจะเป็น การใช้ลม ใช้นิ้ว ใช้ลิ้นในการบังคับเสียงปี่ชวา” จากนั้นครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) จึงเริ่มต่อท านองหลักเพลงระบ าสี่บทเพื่อให่เข้าใจ โครงสร้างของท านองหลักเมื่อผู้เรียนแม่นย าแล้วจึงเริ่มต่อท านองปี่ชวาเพลงระบ า สี่บท พร้อมอธิบายว่า “เพลงแรกที่อยู่ในชุดระบ าสี่บทก็ คือ เพลงพระทอง ไหนลอง วรรคแรกสิขึ้นต้นด้วยเสียง “ฮ่อ” (ซอล) เสียงนี้เป็นเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของปี่ ชวาเป็นเสียงที่ดังมากฉะนั้นจะต้องมีการประคองเสียงไม่ให้ดังจนเกินไปเป็นเสียง ส าคัญที่จะต้องฝึกเป่าให้ได้” ภาพที่ 46 QR-Code แสดงตัวอย่างเสียง “ฮ่อ” (ซอล) ที่มา: ผู้วิจัย
58 นอกจากนี้ปี๊บ คงลายทอง (2564, 24 มีนาคม, สัมภาษณ์) ยังได้อธิบายความส าคัญใน การขึ้นหัวเพลงในเพลงพระทอง ไว้ว่า “วิธีการขึ้นเพลงในเสียงเท่าเสียงเดียวกันไหมนี่เป็นวิธีการ อันหนึ่งที่ต้องอาศัยหาเสียงเพื่อจะไปเป็นเทคนิคลีลาของปี่ชวาจะมีลักษณะลีลาการขึ้นเพลงที่เป็น เฉพาะอยู่จะให้ขึ้นเป็นทางท านองหลักเลยอย่างนี้ก็ไม่มีลีลาเท่าที่ควร การเป่าปี่ชวานี้ส าคัญเพราะเป็น ตัวขึ้นเพลง อย่างเช่น ขึ้นโหมโรงในวงเครื่องสายชวา ขึ้นประโคมนางหงส์ เป็นต้น” ตัวอย่างลีลาการขึ้นเพลงของท านองปี่ชวาในเพลงพระทอง เพลงพระทอง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 1 ท านองหลัก - - - ด - - ร ร - - - ม - - ร ร - - - ด - ร - - - - - ม - ร - - ท านองปี่ชวา - ซ - ด - - ร ม - ล – ซ - ม – ร จะเห็นได้ว่า ในห้องที่ 1 ท านองปี่ชวามีการผันแปรจากท านองหลักโดยเพิ่มตัวโน้ตเสียง ซอล เข้ามาแต่ยังยึดลูกตกท้ายห้องเสียงเดิมอยู่คือ เสียง โด ส่วนในห้องที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงลูกตก ท้ายห้องเป็นเสียง มี และมีการใช้กลวิธีพิเศษในการตอดลิ้นตอดลมในลักษณะเสียงตัดสั้นเพื่อแสดงให้ เห็นถึงลีลาเฉพาะในการเป่าปี่ชวาในห้องที่ 3 มีการผันแปรจากท านองหลักโดยเพิ่มตัวโน้ตเสียง ลา (สูง) เพื่อเชื่อมท านองกับลูกตกในห้องที่ 2 และเปลี่ยนแปลงลูกตกท้ายห้องเป็นตัวโน้ตเสียง ซอล (สูง) เพื่อเชื่อมท านองในห้องต่อไป ในห้องที่ 4 มีการเปลี่ยนแปลงตัวโน้ตตัวหน้าจากเสียง เร เป็น เสียง มี แต่ยังยึดลูกตกท้ายห้องเสียงเดิมคือ เสียง เร เพื่อเป็นการรักษาเสียงลูกตกของวรรคเพลง ขั้นตอนที่ 2 หลังจากอธิบายถึงความส าคัญในการฝึกเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท การท าเสียงส าคัญ และลีลาการขึ้นเพลงของปี่ชวาแล้ว ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) จึงเริ่มต่อ ท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ประกอบด้วย เพลงพระทอง เพลงเบ้าหลุด เพลงสะระบุหร่ง เพลงบลิ่ม อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยท่านจะต่อพร้อมกับตีท านองหลักก ากับไปด้วยเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจโครงสร้าง ในการเป่าปี่ชวา “เริ่มแรกก็ต้องให้ผู้เรียนคุ้นชินกับท านองหลักเสียก่อนครูก็จะตีท านองหลักก ากับไป ด้วยเพื่อให้เห็นโครงสร้างของท าหลักและท านองปี่ชวาหากผู้เรียนไม่เข้าใจเสียงไหน นิ้วไหน ก็จะ ปฏิบัติให้ดูก่อนการต่อปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทจะเป็นไปในลักษณะการแปรท านองจากท านองหลักมา เป็นท านองปี่ชวาในส านวนกลอนต่าง ๆ ก็จะเน้นไปที่การฝึกทักษะการใช้ ลม นิ้ว ลิ้น ให้มี ความสัมพันธ์กัน” (ปี๊บ คงลายทอง, 2564, 25 มีนาคม, สัมภาษณ์) ในขั้นตอนนี้ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) จะเป่าปี่ชวาในส านวนที่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้เรียนสังเกตรายละเอียดและเทคนิควิธีการต่าง ๆ ในการเป่าปี่ชวาซึ่งวิธีการนี้เป็นการท าให้ ผู้เรียนได้เลียนแบบวิธีการในการท าเสียงปี่ชวาจากผู้สอนโดยตรงและเลียนแบบส านวนกลอนของปี่ ชวาต่าง ๆ ที่ท่านได้สร้างไว้โดยการแปรท านองจากท านองหลักมาเป็นท านองปี่ชวาโดยส านวนกลอน ต่าง ๆ ที่ท่านได้สร้างขึ้นก็เพื่อจะฝึกทักษะการใช้ลม การใช้ลิ้น การใช้นิ้ว ให้มีความสัมพันธ์กัน จากการสัมภาษณ์รวมถึงการเก็บข้อมูลภาคสนามท าให้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวน การฝึกทักษะปี่ชวาที่พบในเพลงระบ าสี่บทซึ่งมีทั้งหมด 4 เพลง ประกอบไปด้วย เพลงพระทอง เพลงเบ้าหลุด เพลงสะระบุหร่ง เพลงบลิ่ม มีดังนี
59 1) กระบวนการฝึกทักษะการบังคับเสียงปี่ชวาที่พบในเพลงพระทอง ผู้วิจัยก าหนดเครื่องหมายวิธีการบังคับเสียง การใช้ลม การใช้นิ้วในการเป่าปี่ชวา มีดังนี้ A แทน การเป่าแบบปกติ B แทน การตอดลิ้น C แทน การตอดลม D แทน การประคองลิ้น E แทน การประคองลม F แทน การใช้นิ้วควง G แทน การปริบเสียง K แทน การสะบัดเสียง L แทน การตีนิ้ว 1.1) การฝึกตอดเสียง ฝึกการใช้อวัยวะลิ้นเพื่อตอดลิ้นปี่ชวาและฝึกบังคับลม เป็นช่วง ๆ เพื่อตอดลมให้มีความสัมพันธ์กันและได้ฝึกลีลาการตอดลิ้นตอดลมในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็น กลวิธีพิเศษของปี่ชวา ตัวอย่างที่ 1 การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะเป็นพยางค์ในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงพระทอง เพลงพระทอง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 3 ท านองหลัก - - - - - ด - ร - ม - ร - ม ม ม ท านองปี่ชวา - - - - - ด - ร - ม - ร ซ ม ม ม วิธีการเป่า - - - - - A – A - A – A B B B B C C C C ในวรรคหน้า ประโยคที่ 3 ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง สองชั้น ตัวโน้ตในห้องที่ 2 – 3 ปี่ชวา จะเป่าเป็นปกติ ห้องสุดท้าย เสียง ซ และ เสียง ม มีตัวโน้ตทั้งหมด 4 พยางค์ ในห้องนี้ปี่ชวามีการใช้ ตอดลิ้นตอดลมเข้ามาช่วยตบแต่งท านองให้เสียงเกิดความชัดเจนและผสมกับการประคองเสียงให้ไม่เพี้ยน ตัวอย่างที่ 2 การใช้ ตอดลิ้นตอดลมในลักษณะ ในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงพระทอง เพลงพระทอง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 6 ท านองหลัก - - - - - ด - ร - ม - ร - ด ด ด ท านองปี่ชวา - - - - - ด - ร - ม - ร - ด ด ด วิธีการเป่า - - - - - A – A - A – A - B B B - C C C ในวรรคหน้า ประโยคที่ 6 ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง สองชั้น ตัวโน้ตในห้องที่ 2 – 3 ปี่ชวา จะเป่าเป็นปกติ ในห้องสุดท้าย เสียง ด มีตัวโน้ตทั้งหมด 3 พยางค์ ในห้องนี้ปี่ชวามีการใช้ตอดลิ้นตอด ลมเข้ามาช่วยตบแต่งท านองให้เสียงเกิดความชัดเจนและผสมกับการประคองเสียงให้ไม่เพี้ยนซึ่งเกิด จากการตอดลิ้นตอดลมบังคับเสียงพร้อมกัน
60 ตัวอย่างที่ 3 การใช้การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะตอดย้ า ๆ เสียงในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงพระทอง เพลงพระทอง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 1 (เที่ยวกลับต้น) ท านองหลัก - - - ด - ร ร ร - - - ม - ร ร ร ท านองปี่ชวา ร ด ร ร ร ม ร ร ร ซ ร ร ร ม ร ร วิธีการเป่า B B B B C C C C B B B B C C C C B B B B C C C C B B B B C C C C ในวรรคหน้า ประโยคที่ 1 (เที่ยวกลับต้น) ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง สองชั้น ตัวโน้ตทั้ง 4 ห้อง ปี่ชวามีการใช้ตอดลิ้นตอดลมในลักษณะตอดย้ า ๆ ตัวโน้ตเสียง ร เพื่อให้เสียงเกิดความชัดเจน และผสมกับการประคองเสียงให้ไม่เพี้ยนซึ่งเกิดจากการตอดลิ้นตอดลมบังคับเสียงพร้อมกัน 1.2) การฝึกประคองลิ้นประคองลม เพื่อฝึกการควบคุมปริมาณความหนัก-เบาของ ลมผสมกับการใช้อวัยวะลิ้นมาประคองแตะไว้ที่ลิ้นปี่ชวา เพื่อให้เสียงของปี่ชวาไม่เกิดความเพี้ยนและ เกิดความดังจนเกินไป ตัวอย่างที่ 1 การใช้การประคองลิ้นประคองลม ในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงพระทอง เพลงพระทอง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 4 ท านองหลัก - ซ – ม - ร – ซ - ด - ล - ซ - ม ท านองปี่ชวา - ซ – ม - ร - ซ - ด - ล - ซ - ม วิธีการเป่า A – A A – A D – D E - E A – A ในวรรคหน้า ประโยคที่ 4 ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง ในห้อง 1 2 และ 4 มีการเป่าปกติ ในห้องที่ 3 ตัวโน้ต ด ล จัดอยู่ในกลุ่มเสียงแหบสูงของปี่ชวาซึ่งเกิดความเพี้ยนเสียงได้ง่ายจึงมีการใช้ การประคองลิ้นประคองลม ตัวอย่างที่ 2 การใช้การประคองลิ้นประคองลม ในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงพระทอง เพลงพระทอง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 5 ท านองหลัก - ม ซ ล ซ ด ซ ล ซ ม ซ ล ซ ล ด ร ท านองปี่ชวา ม ซ ม ด ล ด ซ ล ม ซ ม ล ซ ล ด ร วิธีการเป่า A A A D E A D A A E A A A A A A D D E E ในวรรคหน้า ประโยคที่ 5 ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง ในห้องที่ 1 ตัวโน้ต ม ซ ม มีการ เป่าแบบปกติ ส่วนตัวโน้ต ด จัดอยู่ในกลุ่มเสียงแหบสูงของปี่ชวาซึ่งเกิดความเพี้ยนเสียงได้ง่ายจึงมีการ ใช้การประคองลิ้นประคองลม บังคับเสียงปี่ชวาไม่ให้เกิดเสียงเพี้ยน ในห้องที่ 2 ตัวโน้ต ล ซ ล มีการ เป่าปกติ ส่วนโน้ต ด มีการใช้ การประคองลิ้นประคองลม บังคับเสียงปี่ชวาไม่ให้เกิดเสียงเพี้ยน ใน ห้องที่ 3 ตัวโน้ต ม ช ม ล มีการเป่าปกติ ในห้องที่ 4 ตัวโน้ต ซ ล มีการเป่าปกติ ส่วนโน้ต ด ร มีการ ใช้การประคองลิ้นประคองลม บังคับเสียงปี่ชวาไม่ให้เกิดเสียงเพี้ยน
61 ตัวอย่างที่ 3 การใช้การประคองลิ้นประคองลม ในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงพระทอง เพลงพระทอง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 8 ท านองหลัก - ม ซ ล ซ ด ซ ล ซ ม ซ ล ซ ล ด ร ท านองปี่ชวา - - - ซ - - - ล - ร - ล - ด - ร วิธีการเป่า - - - D E - - - A - - - A - - - A ในวรรคหน้า ประโยคที่ 8 ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง ในห้องที่ 1 ตัวโน้ต ซ ตรงกับเสียงพิเศษ ของปี่ชวา คือ เสียง “ฮ่อ” มีการใช้การประคองลิ้นประคองลม บังคับเสียงไม่ให้เกิดความดังจนเกินไป 1.3)การฝึกใช้นิ้วพิเศษ เพื่อฝึกการเปิด – ปิด นิ้วในการเป่าปี่ชวาให้มีความสัมพันธ์ กับการใช้ลมและการใช้ลิ้น ตัวอย่าง การใช้นิ้วควง ในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงพระทอง เพลงพระทอง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 8 ท านองหลัก - ม ซ ล ซ ด ซ ล ซ ม ซ ล ซ ล ด ร ท านองปี่ชวา - - - ซ - - - ล - ร - ล - ด - ร วิธีการเป่า - - - A F - - - A - A – A - A - A ในวรรคหน้า ประโยคที่ 8 ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง ห้องที่ 1 ตัวโน้ต ซ ตรงกับเสียง พิเศษของปี่ชวา คือ เสียง “ฮ่อ” มีการใช้นิ้วควง โดยใช้นิ้วปกติก่อนแล้วจึงใช้นิ้วควงท าให้เกิดเป็น เสียงควงในการตบแต่งท านองให้ไพเราะยิ่งขึ้น ตัวอย่าง การใช้การปริบเสียงในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงพระทอง เพลงพระทอง สองชั้น วรรคหลัง ประโยคที่ 1 ท านองหลัก - ม – ซ - ม - ร - ด ด ด - - - ล ท านองปี่ชวา - - - มซ - - - ร - ม - ร - ด - ล วิธีการเป่า - - - G - - - A - A – A - A - A ในวรรคหลัง ประโยคที่ 1 ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง ในห้องที่ 1 ตัวโน้ต ม และ ซ มี การใช้วิธีการด าเนินท านองการปริบเสียงเพื่อให้เกิดเสียงพิเศษในการเป่าปี่ชวา 1.4) การฝึกกลับลิ้นกลับลม เพื่อฝึกการด าเนินท านองปี่ชวาที่มีการใช้ลมใช้ลิ้นเป็น อุปสรรคเกิดความเพี้ยนเสียงได้ง่าย ตัวอย่าง การฝึก ส านวนที่มีลักษณะ “กลับลิ้น กลับลม” ที่อยู่ในท านองปี่ชวาเพลงพระทอง เพลงพระทอง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 5 ท านองหลัก - ม ซ ล ซ ด ซ ล ซ ม ซ ล ซ ล ด ร ท านองปี่ชวา ม ม ม ด ล ด ซ ล ม ซ ม ล ซ ล ด ร วิธีการเป่า B B B D C C C E D D D D E E E E A D A D E E D D D D E E E E
62 จะเห็นได้ว่ามีการใช้ การประคองลิ้นประคองลม และใช้ การตอดลิ้นตอดลม เป็นส่วนใหญ่ เกือบทุกห้องตัวโน้ต มีลักษณะการเป่าที่สลับกันไปมาระหว่างลมและลิ้นของผู้เป่าปี่ชวาอีกทั้งยังเป็น ส านวนเก็บทั้งหมดจึงมีความยากต่อการใช้ลม ใช้ลิ้น ในการบังคับเสียงการฝึกในส านวน “กลับลิ้น กลับลม” นี้จะท าให้ผู้เรียนปี่ชวามีความเข้าใจในการใช้ลม ใช้ลิ้น ในการเป่าปี่ชวามากขึ้นสามารถ กระท าได้ไม่เพี้ยนเสียงและมีความคล่องตัวในการเป่าปี่ชวา ในการต่อท านองปี่ชวาเพลงพระทองครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) จะแปรท านองหลัก เป็นท านองปี่ชวาทั้งหมด 3 ส านวนกลอนโดยทรอดแทรกกลวิธีพิเศษในการเป่าปี่ชวาเพื่อให้ผู้เรียนได้ เข้าใจในลีลาเฉพาะในการเป่าปี่ชวารวมถึงฝึกทักษะการใช้ลิ้น การใช้ลม การใช้นิ้ว ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ภาพที่ 47 QR-Code แสดงส านวนกลอนปี่ชวาเพลงพระทอง ที่มา: ผู้วิจัย 2) กระบวนการฝึกทักษะปี่ชวาที่พบในเพลงเบ้าหลุด ผู้วิจัยก าหนดสัญลักษณ์แทนวิธีการเป่าปี่ชวา มีดังนี้ A แทน การเป่าแบบปกติ B แทน การตอดลิ้น C แทน การตอดลม D แทน การประคองลิ้น E แทน การประคองลม F แทน การใช้นิ้วควง G แทน การปริบเสียง K แทน การสะบัดเสียง L แทน การตีนิ้ว 2.1) การฝึกตอดเสียง ฝึกการใช้อวัยวะลิ้นเพื่อตอดลิ้นปี่ชวาและฝึกบังคับลมเป็น ช่วง ๆ เพื่อตอดลมให้มีความสัมพันธ์กันและได้ฝึกลีลาการตอดลิ้นตอดลมในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็น กลวิธีพิเศษของปี่ชวา
63 ตัวอย่างที่ 1 การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะตอดตัดเสียงสั้น ในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด เพลงเบ้าหลุด สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 1 ท านองหลัก - - - ด - ร ร ร - - - ฟ - ร ร ร ท านองปี่ชวา - - - ด - ร ร ร - ล - ซ - ฟํ - ร วิธีการเป่า - - - A - A A A - B – B - B - B ในวรรคหน้า ประโยคที่ 1 ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด ในห้องที่ 1 – 2 มีการเป่าปกติ ส่วนใน ห้อง 3 – 4 ใช้การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะตัดเสียงสั้นตัวโน้ตเสียง ล ซ ฟํ ร เพื่อตบแต่งท านองให้ เกิดเสียงที่ชัดเจนเป็นเสียงสั้นมีความโดดเด่นขึ้นมา ตัวอย่างที่ 2 การใช้การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะเป็นพยางค์ๆ ในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด เพลงเบ้าหลุด สองชั้น วรรคหลัง ประโยคที่ 1 ท านองหลัก - ด ด ด - ทฺ - ด - ฟํ - ร - ร ร ร ท านองปี่ชวา - ด ด ด - ท - ด - ฟํ - ร - ร ร ร วิธีการเป่า - B B B - A – A - A – B - B B B ในวรรคหลัง ประโยคที่ 1 ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด ในห้องที่ 1 ตัวโน้ตเสียง ด มีการใช้ การตอดลิ้นตอดลมทั้งหมด 3 พยางค์ เพื่อตบแต่งท านองให้เกิดเสียงที่ชัดเจนเป็นช่วง ๆ ในห้องที่ 2 มี การเป่าแบบปกติ ในห้องที่ 3 ตัวโน้ต ร มีการใช้การตอดลิ้นตอดลม 1 พยางค์ ในห้องที่ 4 ตัวโน้ต ร มี การตอดลิ้นตอดลม 4 พยางค์ ตัวอย่างที่ 3 การใช้การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะตอดย้ า ๆเสียงในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด เพลงเบ้าหลุด สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 5 (เที่ยวกลับต้น) ท านองหลัก - - - ทฺ - ด ด ด - - - ร - ด ด ด ท านองปี่ชวา ด ท ด ด ด ร ด ด ด ฟํ ด ด ด ร ด ด วิธีการเป่า B B B B C C C C B B B B C C C C B B B B C C C C B B B B C C C C ในวรรคหน้า ประโยคที่ 5 (เที่ยวกลับต้น) ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด สองชั้น ในห้อง 1 – 4 ใช้การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะย้ า ๆ ตัวโน้ตเสียง ด เพื่อตบแต่งท านองให้เกิดเสียงที่ชัดเจนเป็นช่วงๆ 2.2) การฝึกประคองลิ้นประคองลม เพื่อฝึกการควบคุมปริมาณความ หนัก - เบาของลมผสมกับการใช้อวัยวะลิ้นมาประคองแตะไว้ที่ลิ้นปี่ชวา เพื่อให้เสียงของปี่ชวาไม่เกิด ความเพี้ยน และเกิดความดังจนเกินไป
64 ตัวอย่างที่ 1 การใช้ การประคองลิ้นประคองลม ในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด เพลงเบ้าหลุด สองชั้น วรรคหลัง ประโยคที่ 7 ท านองหลัก - - - ล - - - ซ - - ล ซ ล ฟ - ซ ท านองปี่ชวา - - ด ร ด ท ล ซ ฟฺ ซฺลฺ ซฺ ล ฟฺ - ซฺ วิธีการเป่า - - A A A A A A E D A D E E A E – D E ในวรรคหลัง ประโยคที่ 7 ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด ตัวโน้ตในห้องที่ 1 - 2 มีการเป่าแบบ ปกติ ตัวโน้ตในห้องที่ 3 เสียง ฟฺ เป็นเสียงที่ต่ ากว่าเสียง “ฮ้อ” อยู่ในกลุ่มเสียง ต้อ (ต่ า) มีการควบคุม เสียงยากจึงมีการใช้การประคองลมเข้ามาตบแต่งท านองเพื่อไม่ให้เสียงเพี้ยน ส่วนโน้ตเสียง ซ ตรงกับ เสียงพิเศษของปี่ชวา คือ เสียง “ฮ้อ” มีการใช้การประคองลิ้นประคองลม บังคับเสียงไม่ให้เกิดความ ดังจนเกินไป ตัวโน้ตในห้องที่ 4 เสียง ฟฺ มีการประคองลม และ เสียง ซ ตรงกับเสียงพิเศษของปี่ชวา คือ เสียง “ฮ้อ” มีการใช้การประคองลิ้นประคองลม ตัวอย่างที่ 2 การใช้ การประคองลิ้นประคองลม ในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด เพลงเบ้าหลุด สองชั้น วรรคหลัง ประโยคที่ 7 (เที่ยวกลับต้น) ท านองหลัก - - - ล - - - ซ - - ล ซ ล ฟ - ซ ท านองปี่ชวา - - ด ร ด ท ฟํ ซ ฟํ ซ ล ซ ล ฟํ - ซ วิธีการเป่า- - D E D D D D E E E E D D D D E E E E D D – D E E - E ในวรรคหลัง ประโยคที่ 7 (เที่ยวกลับต้น)ตัวโน้ตทุกห้องจัดอยู่ในกลุ่มเสียงแหบสูงของปี่ชวาซึ่ง เกิดความเพี้ยนเสียงได้ง่ายจึงมีการใช้การประคองลิ้นประคองลม บังคับเสียงปี่ชวาไม่ให้เกิดเสียงเพี้ยน 2.3)การฝึกใช้นิ้วพิเศษ เพื่อฝึกการเปิด – ปิด นิ้วในการเป่าปี่ชวาให้มีความสัมพันธ์ กับการใช้ลมและการใช้ลิ้น ตัวอย่างที่ การใช้การตีนิ้วในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด เพลงเบ้าหลุด สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 1 (เที่ยวกลับต้น) ท านองหลัก - - - ด - ร ร ร - - - ฟ - ร ร ร ท านองปี่ชวา - - - ด - ร ร ร - ล - ซ ฟํซ ฟํ- ร วิธีการเป่า - - - A - - - A - A – L A L A - A ในวรรคหน้า ประโยคที่ 1 (เที่ยวกลับต้น) ตัวโน้ตในห้องที่ 1 – 2 มีการเป่าแบบปกติ ส่วนใน ห้องที่3 - 4 ตัวโน้ตเสียง ซ มีการใช้วิธีการด าเนินท านองโดยใช้การตีนิ้วในการเป่าปี่ชวา
65 ตัวอย่าง การใช้การสะบัดเสียง ที่อยู่ในท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด เพลงเบ้าหลุด สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 2 (เที่ยวกลับต้น) ท านองหลัก - - ด ร - ฟ - ซ - ท - ซ - ฟ - ร ท านองปี่ชวา ท ด ท ร ด ร ฟํ ซ ล ซ ฟ - ท – ด ร วิธีการเป่า A A A A A A A A K K K - A – A A ในวรรคหน้า ประโยคที่ 2 ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด ตัวโน้ตห้องที่ 3 มีการสะบัดเสียง 3 พยางค์ ได้แก่ตัวโน้ต ล ซ ฟ จะต้องใช้ความรวดเร็วของอวัยวะนิ้วในการด าเนินท านองเมื่อผู้เรียนปี่ ชวาฝึกส านวนนี้แล้วก็จะท าให้มีความคล่องตัวในการใช้อวัยวะนิ้วเป่าปี่ชวา 2.4) การฝึกการด าเนินท านองปี่ชวา ในเสียงที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้นิ้วเป่าปี่ชวา เพราะเพลงนี่อยู่ในทางเสียงกลางท าให้ไม่สะดวกต่อการใช้นิ้วเป่าท าให้เกิดการติดขัดในการเป่าปี่ชวา ตัวอย่างที่ 1 การฝึกการด าเนินท านองปี่ชวาที่เป็นอุปสรรค ที่อยู่ในท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด เพลงเบ้าหลุด สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 3 (เที่ยวกลับต้น) ท านองหลัก - - - ซ - ฟ – ท ท ท – ด ด ด - ร ท านองปี่ชวา ฟํ ฟฺ ซฺ ล ท ซ ล ท ด ล ท ด ร ท ด ร ตัวอย่างที่ 2 การฝึกการด าเนินท านองปี่ชวาที่เป็นอุปสรรค ที่อยู่ในท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด เพลงเบ้าหลุด สองชั้น วรรคหลัง ประโยคที่ 3 (เที่ยวกลับต้น) ท านองหลัก - ฟํ - ร - ด ด ด - ร - ด - ท ท ท ท านองปี่ชวา ฟํ ร ซ ฟํ ร ฟํ ร ด ท ฟ ซ ล ท ร ด ท ตัวอย่างที่ 3 การฝึกการด าเนินท านองปี่ชวาที่เป็นอุปสรรค ที่อยู่ในท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด เพลงเบ้าหลุด สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 4 (เที่ยวกลับต้น) ท านองหลัก ซ ล ท ด ท ล ท ด ท ล ท ด ร ด ท ล ท านองปี่ชวา ซ ล ท ด ร ฟํ ร ด ร ซ ร ฟํ ร ด ท ล จะเห็นได้ว่าเป็นการเป่าเก็บเป็นพยางค์ถี่ ๆ เกือบทั้งหมดท าให้เมื่อฝึกแล้วสามารถแก้ การติดขัดในการใช้นิ้วที่เป็นอุปสรรคในการเป่าปี่ชวาได้อีกทั้งยังสามารถเข้าใจการแจกแจงนิ้วในกลุ่ม เสียงต่าง ๆ ของปี่ชวาอีกด้วย ในการต่อท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุดครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) จะแปรท านองหลัก เป็นท านองปี่ชวาทั้งหมด 3 ส านวนกลอนโดยทรอดแทรกกลวิธีพิเศษในการเป่าปี่ชวาเพื่อให้ผู้เรียนได้ เข้าใจในลีลาเฉพาะในการเป่าปี่ชวารวมถึงฝึกทักษะการใช้ลิ้น การใช้ลม การใช้นิ้วที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น เนื่องจากเพลงเบ้าหลุดมีการเปลี่ยนระดับเสียงจากทางเสียง ท (ทดรxฟซx) มาเป็นทางเสียง ล (ลทxดรx) ผู้ฝึกเป่าปี่ชวาจะได้ฝึกการเป่าปี่ชวาในเสียงที่เป็นอุปสรรคในการเป่าปี่ชวา ท านองปี่ชวา เพลงเบ้าหลุด
66 ภาพที่ 48 QR-Code แสดงส านวนกลอนปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด ที่มา: ผู้วิจัย 3) กระบวนการฝึกทักษะปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง ผู้วิจัยก าหนดสัญลักษณ์แทนวิธีการเป่าปี่ชวา มีดังนี้ A แทน การเป่าแบบปกติ B แทน การตอดลิ้น C แทน การตอดลม D แทน การประคองลิ้น E แทน การประคองลม F แทน การใช้นิ้วควง G แทน การปริบเสียง K แทน การสะบัดเสียง L แทน การตีนิ้ว 3.1) การฝึกตอดเสียง ฝึกการใช้อวัยวะลิ้นเพื่อตอดลิ้นปี่ชวาและฝึกบังคับ ลมเป็นช่วง ๆ เพื่อตอดลมให้มีความสัมพันธ์กันและได้ฝึกลีลาการตอดลิ้นตอดลมในลักษณะต่าง ๆ ที่ เป็นกลวิธีพิเศษของปี่ชวา ตัวอย่างที่ 1 การใช้ การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะเป็นพยางค์ๆ ในการตบแต่งท านองปี่ชวา เพลงสะระบุหร่ง เพลงสะระบุหร่ง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 2 ท านองหลัก - - - ร - ร - ร - ม - ร - ด - ล ท านองปี่ชวา - - - ร - - รร - ม - ร - ด - ลฺ วิธีการเป่า - - - A - - BB - A - A - A - A ในวรรคหน้า ประโยคที่ 2 ท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง ตัวโน้ตในห้องที่ 1 มีการเป่าปกติ ใน ห้องที่ 2 ตัวโน้ตเสียง ร มีการใช้ การตอดลิ้นตอดลมทั้งหมด 2 พยางค์ เพื่อตบแต่งท านองให้เกิดเสียง ที่ชัดเจนเป็นช่วง ๆ ในห้อง 3-4 มีการเป่าปกติ
67 ตัวอย่างที่ 2 การใช้ การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะเป็นพยางค์ในการตบแต่งท านองปี่ชวา เพลงสะระบุหร่ง เพลงสะระบุหร่ง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 8 ท านองหลัก - - - ร - ร - ร - ด - ล - ซ - ด ท านองปี่ชวา - - - ร - ร ร ร ม ร ด ล - ซ - ด วิธีการเป่า - - - A - B B B A A A A - A - A ในวรรคหน้า ประโยคที่ 8 ท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง ตัวโน้ตในห้องที่ 1 มีการเป่าปกติ ใน ห้องที่ 2 ตัวโน้ตเสียง ร มีการใช้ การตอดลิ้นทั้งหมด 3 พยางค์ เพื่อตบแต่งท านองให้เกิดเสียงที่ชัดเจน เป็นช่วง ๆ ในห้อง 3-4 มีการเป่าปกติ ตัวอย่างที่ 3 การใช้การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะตอดย้ า ๆ เสียงในการตบแต่งท านองปี่ชวา เพลงสะระบุหร่ง เพลงสะระบุหร่ง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 5 ท านองหลัก - - - ด - ร ร ร - - - ม - ร ร ร ท านองปี่ชวา ร ด ร ร ร ม ร ร ร ซ ร ร ร ม ร ร วิธีการเป่า B B B B C C C C B B B B C C C C B B B B C C C C B B B B C C C C ในวรรคหน้า ประโยคที่ 5 ท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง สองชั้น ตัวโน้ตทั้ง 4 ห้องปี่ชวามี การใช้การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะย้ า ๆ ตัวโน้ตเสียง ร เข้ามาช่วยตบแต่งท านองให้เสียงเกิดความ ชัดเจนและผสมกับการประคองเสียงให้ไม่เพี้ยนซึ่งเกิดจากการใช้การตอดลิ้นตอดลมบังคับเสียงพร้อมกัน 3.2) การฝึกประคองลิ้นประคองลม คือ การฝึกควบคุมปริมาณความ หนัก-เบาของลมผสมกับการใช้อวัยวะลิ้นมาประคองแตะไว้ที่ลิ้นปี่ชวา มีผลต่อการบังคับเสียงต่าง ๆ ของปี่ชวาให้ไม่เกิดความเพี้ยนและเกิดความดังจนเกินไป ตัวอย่าง การใช้การประคองลิ้นประคองลม ในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง เพลงสะระบุหร่ง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 6 เที่ยวกลับต้น ท านองหลัก - - - ล - ด ด ด - - - ร - ด ด ด ท านองปี่ชวา - - ซ ด ท ล ท ด ท ล ร ด ท ล ท ด วิธีการเป่า - - A D E D D D D E E E E D D D D E E E E D D D D E E E E ในวรรคหน้า ประโยคที่ 6 ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง ในห้องที่ 1 ตัวโน้ต ด จัดอยู่ในกลุ่ม เสียงแหบสูงของปี่ชวาซึ่งเกิดความเพี้ยนเสียงได้ง่ายจึงมีการใช้การประคองลิ้นประคองลม บังคับเสียง ปี่ชวาไม่ให้เกิดเสียงเพี้ยน ในห้องที่ 2 ตัวโน้ต ท ล ท ด มีการใช้ การประคองลิ้นประคองลม บังคับ
68 เสียงปี่ชวาไม่ให้เกิดเสียงเพี้ยน ในห้องที่ 3 ตัวโน้ต ท ล ร ด มีการใช้การประคองลิ้นประคองลม บังคับ เสียงปี่ชวาไม่ให้เกิดเสียงเพี้ยน ในห้องที่ 4 ตัวโน้ต ท ล ท ด มีการใช้ การประคองลิ้นประคองลม บังคับ เสียงปี่ชวาไม่ให้เกิดเสียงเพี้ยน 3.3) การฝึกใช้นิ้วพิเศษ เพื่อฝึกการเปิด – ปิด นิ้วในการเป่าปี่ชวาให้มี ความสัมพันธ์กับการใช้ลมและการใช้ลิ้น ตัวอย่าง การใช้นิ้วควง ในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง เพลงสะระบุหร่ง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 9 ท านองหลัก - ลฺ - ซฺ ซ ซ - ลฺ ล ล - ด ด ด - ร ท านองปี่ชวา - - - ซ - - - ล - ร - ล - ด - ร วิธีการเป่า- - - A F - - - A - A – A - A - A ในวรรคหน้า ประโยคที่ 9 ท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง ห้องที่ 1 ตัวโน้ต ซ ตรงกับเสียง พิเศษของปี่ชวา คือ เสียง “ฮ้อ” มีการใช้นิ้วควง โดยเป่านิ้วปกติก่อนแล้วจึงใช้นิ้วควงท าให้เกิดเป็น เสียงควงในการตบแต่งท านองให้ไพเราะยิ่งขึ้น 3.4) การฝึกส านวนที่มีลักษณะ “กลับลิ้น กลับลม” เป็นส านวนที่บังคับเสียง ของปี่ชวาล าบากซึ่งยากต่อการใช้ลิ้นใช้ลม เพราะต้องใช้ การประคองลิ้นประคองลม และใช้การตอด ลิ้นตอดลม เพื่อให้เกิดเสียงปี่ชวาที่สมบูรณ์ในส านวนนี้ ตัวอย่าง การฝึกส านวนที่มีลักษณะ “กลับลิ้น กลับลม” ที่อยู่ในท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง เพลงสะระบุหร่ง สองชั้น วรรคหลัง ประโยคที่ 7 (เที่ยวกลับต้น) ท านองหลัก - ลฺ - ซฺ ซ ซ - ลฺ ล ล - ด ด ด - ร ท านองปี่ชวา ม ม ม ด ล ด ซ ล ม ซ ม ล ซ ล ด ร วิธีการเป่า B B B D C C C E D D D D E E E E A D A D E E D D D D E E E E จะเห็นได้ว่ามีการใช้ การประคองลิ้นประคองลม และใช้ การตอดลิ้นตอดลม เป็นส่วนใหญ่ เกือบทุกห้องตัวโน้ต มีลักษณะการเป่าที่สลับกันไปมาระหว่างลมและลิ้นของผู้เป่าปี่ชวาอีกทั้งยังเป็น ส านวนเก็บทั้งหมดจึงมีความยากต่อการใช้ลม ใช้ลิ้น ในการบังคับเสียงการฝึกในส านวน “กลับลิ้น กลับลม” นี้จะท าให้ผู้เรียนปี่ชวามีความเข้าใจในการใช้ลม ใช้ลิ้น ในการเป่าปี่ชวามากขึ้นสามารถ กระท าได้ไม่เพี้ยนเสียงและมีความคล่องตัวในการเป่าปี่ชวา 3.5) การฝึกส านวนที่ลักษณะไล่เรียงนิ้วขึ้น คือ การฝึกส านวนกลอนของปี่ชวาที่มี การเรียงนิ้วขึ้นจากเสียง ต่ า ไปยัง เสียงสูง โดยส านวนกลอนจะเป็นการเก็บเป็นพยางค์ถี่ ๆ ตัวอย่าง การฝึกส านวนที่ลักษณะ ไล่เรียงนิ้วขึ้น ที่อยู่ในท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง เพลงสะระบุหร่ง สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 4 ท านองหลัก - - - ล - ซ – ด ด ด – ร ร ร - ม ท านองปี่ชวา ซ ซฺ ลฺ ทฺ ด ล ท ด ร ท ด ร ม ด ร ม
69 จะเห็นได้ว่า ส านวนกลอนปี่ชวามีการเรียงขึ้นจาก เสียงต่ า ไปยัง เสียงสูง ซึ่งปี่ชวาเป็น เครื่องเป่าประเภทเรียงนิ้วแต่ด้วยปี่ชวาเกิดความเพี้ยนของเสียงได้ง่ายมีการบังคับเสียงยากในแต่ละ กลุ่มเสียง ไม่ว่าจะเป็น เสียงต้อ กลาง แหบ การฝึกในส านวนนี้จึงมีความส าคัญในการ แจกแจงนิ้วให้ สัมพันธ์กับลมที่ใช้ในการเป่าปี่ชวา เมื่อผู้เรียนฝึกแล้วก็จะสามารถใช้นิ้วใช้ลมได้อย่างแม่นย า ในการเป่าปี่ชวา ในการต่อท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่งครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) จะแปรท านอง หลักเป็นท านองปี่ชวาทั้งหมด 2ส านวนกลอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการใช้ลิ้น การใช้ลม การใช้นิ้ว ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในเพลงนี้ผู้ฝึกเป่าปี่ชวาจะเริ่มมีความเข้าใจเกี่ยวกับลีลาเฉพาะของปี่ชวา แล้วส านวนกลอนจึงจะมีการเก็บเป็นส่วนใหญ่โดยในท านองแรกครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) จะต่อท านองที่เก็บบ้างกับท านองติดเนื้อท านองหลักบ้างเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจโครงสร้างของ การแปรท านองปี่ชวา ภาพที่ 49 QR-Code แสดงส านวนกลอนปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง ที่มา: ผู้วิจัย 4) กระบวนการฝึกทักษะปี่ชวาเพลงบลิ่ม ผู้วิจัยก าหนดสัญลักษณ์แทนวิธีการเป่าปี่ชวา มีดังนี้ A แทน การเป่าแบบปกติ B แทน การตอดลิ้น C แทน การตอดลม D แทน การประคองลิ้น E แทน การประคองลม F แทน การใช้นิ้วควง G แทน การปริบเสียง K แทน การสะบัดเสียง L แทน การตีนิ้ว 4.1) การฝึกตอดเสียง ฝึกการใช้อวัยวะลิ้นเพื่อตอดลิ้นปี่ชวาและฝึกบังคับ ลมเป็นช่วง ๆ เพื่อตอดลมให้มีความสัมพันธ์กันและได้ฝึกลีลาการตอดลิ้นตอดลมในลักษณะต่าง ๆ ที่ เป็นกลวิธีพิเศษของปี่ชวา
70 ตัวอย่างที่ 1 การใช้การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะเป็นพยางค์ในการตบแต่งท านองปี่ชวา เพลงบลิ่ม เพลงบลิ่ม สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 1 ท านองหลัก - - - ม - ม - ม - ด ด ด - ร - ม ท านองปี่ชวา - - - ม - ม ม ม - - ซ ล ซ ด ร ม วิธีการเป่า - - - B - B B B - - A A A A A A วรรคหน้า ประโยคที่ 1 ท านองปี่ชวาเพลงบลิ่ม ในห้องที่ 1 ตัวโน้ต ม มีการใช้ การตอดลิ้น ตอดลม 4 พยางค์ เพื่อตบแต่งท านองให้เกิดเสียงที่ชัดเจนเป็นช่วงๆในห้องที่ 3 –4 มีการเป่าปกติ ตัวอย่างที่ 2 การใช้ การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะเป็นพยางค์ในการตบแต่งท านองปี่ชวา เพลงบลิ่ม เพลงบลิ่ม สองชั้น วรรคหลัง ประโยคที่ 3 ท านองหลัก - - - - - ร - ม - ร – ม - ม - ม ท านองปี่ชวา - - - - - ร - ม - ร - ม - ม ม ม วิธีการเป่า - - - - - A – A - A – A - B B B วรรหลัง ประโยคที่ 3 ท านองปี่ชวาเพลงบลิ่ม ในห้องที่ 2 – 3 มีการเป่าแบบปกติ ในห้องที่ 4 ตัวโน้ต ม มีการใช้ การตอดลิ้น 4 พยางค์ เพื่อตบแต่งท านองให้เกิดเสียงที่ชัดเจนเป็นช่วง ๆ ตัวอย่างที่ 3 การใช้การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะเป็นพยางค์ในการตบแต่งท านองปี่ชวา เพลงบลิ่ม เพลงบลิ่ม สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 4 ท านองหลัก - ม – ร ร ร - - ม ม - - ซ ซ - ล ท านองปี่ชวา ท ท ท ร ท ท ท ม ท ร ท ม ร ม ซ ล วิธีการเป่า B B B A C C C A B B B A C C C A A A A A A A A A วรรคหน้า ประโยคที่ 4 ห้องที่ 1 – 2 มีการใช้การตอดลิ้นตอดลมเป็นพยางค์ๆ ในตัวโน้ต เสียง ท ทั้งหมด 3 พยางค์ เข้ามาช่วยตบแต่งท านองให้เสียงเกิดความชัดเจนและผสมกับการประคอง เสียงให้ไม่เพี้ยนซึ่งเกิดจากการตอดลิ้นตอดลมบังคับเสียงพร้อมกัน
71 ตัวอย่างที่ 4 การใช้ การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะตอดย้ าเสียงในการตบแต่งท านองปี่ชวา เพลงบลิ่ม เพลงบลิ่ม สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 6 (เที่ยวกลับต้น) ท านองหลัก - - - ด - ร ร ร - - - ม - ร ร ร ท านองปี่ชวา ร ด ร ร ร ม ร ร ร ซ ร ร ร ม ร ร วิธีการเป่า B B B B C C C C B B B B C C C C B B B B C C C C B B B B C C C C วรรคหน้า ประโยคที่ 6 (เที่ยวกลับต้น) ในห้องที่ 1 – 4 มีการใช้ตอดลิ้นตอดลมในลักษณะย้ า ตัวโน้ตเสียง ร เข้ามาช่วยตบแต่งท านองให้เสียงเกิดความชัดเจนและผสมกับการประคองเสียงให้ไม่ เพี้ยนซึ่งเกิดจากการตอดลิ้นตอดลมบังคับเสียงพร้อมกัน 4.2) การฝึกใช้นิ้วพิเศษ เพื่อฝึกการเปิด – ปิด นิ้วในการเป่าปี่ชวาให้มี ความสัมพันธ์กับการใช้ลมและการใช้ลิ้น ตัวอย่าง การใช้นิ้วควง ในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงบลิ่ม เพลงบลิ่ม สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 8 ท านองหลัก - - - ซ - - - ล - - - ด - - - ร ท านองปี่ชวา - - - ซ - - - ล - ร - ล - ด - ร วิธีการเป่า- - - A F - - - A - A – A - A - A วรรคหน้า ประโยคที่ 8 ท านองปี่ชวาเพลงบลิ่ม ห้องที่ 1 ตัวโน้ตเสียง ซ ตรงกับเสียงพิเศษ ของปี่ชวาคือ เสียง “ฮ่อ” มีการใช้นิ้วควง โดยเป่านิ้วปกติก่อนแล้วจึงใช้นิ้วควงท าให้เกิดเป็นเสียงควง ในการตบแต่งท านอง ตัวอย่าง การใช้การปริบเสียง ในการตบแต่งท านองปี่ชวาเพลงบลิ่ม เพลงบลิ่ม สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 8 ท านองหลัก - ซ – ล - ซ - ม - - - ร - - - ด ท านองปี่ชวา ม ซฺ ม ร ม ซ ม ร ด ซ ล ท ด ม ร ด วิธีการเป่า A A A A G G A A A A A A A A A A 4.3) การฝึกส านวนเก็บที่ซ้ ากันคือ การฝึกการเป่าปี่ชวาเก็บเป็นพยางค์ถี่ๆจะช่วยท าให้ การใช้นิ้วเป่าปี่ชวาได้คล่องแคล่วขึ้นอีกทั้งยังได้ส านวนกลอนของปี่ชวาที่หลากอันเนื่องมาจากท านอง หลักมีซ้ ากันอยู่หลายที่
72 ตัวอย่างที่ 1 การฝึกส านวนเก็บ ที่อยู่ในท านองปี่ชวาเพลงบลิ่ม เพลงบลิ่ม สองชั้น วรรคหลัง ประโยคที่ 1 (เที่ยวกลับต้น) ท านองหลัก - ซ - ล - ซ - ม ม ม - ร ร ร - ด ท านองปี่ชวา ม ล ม ร ม ซ ม ร ด ซ ล ท ด ม ร ด ตัวอย่างที่ 2 การฝึกส านวนเก็บ ที่อยู่ในท านองปี่ชวาเพลงบลิ่ม เพลงบลิ่ม สองชั้น วรรคหลัง ประโยคที่ 2 (เที่ยวกลับต้น) ท านองหลัก - ซ - ม - ร - ด ด ด - ร ร ร - ม ท านองปี่ชวา ด ล ซ ร ซ ม ร ด ร ม ซ ร ซ ม ม ม ตัวอย่างที่ 3 การฝึกส านวนเก็บ ที่อยู่ในท านองปี่ชวาเพลงบลิ่ม เพลงบลิ่ม สองชั้น วรรคหน้า ประโยคที่ 7 (เที่ยวกลับต้น) ท านองหลัก - ซ - ม - ร - ด ด ด - ร ร ร - ม ท านองปี่ชวา ซ ล ซ ร ซ ม ร ด ร ม ซ ร ซ ม ม ม การฝึกส านวนเก็บจะท าให้ผู้เรียนปี่ชวามีความคล่องแคล่วมากขึ้นในการเป่าปี่ชวา อีกทั้งเพลงบ ลิ่ม มีท านองที่ซ้ ากันหลายต าแหน่งท าให้ผู้เรียนปี่ชวาได้ศึกษาการแปรทาง ส านวนเก็บของปี่ชวาเพิ่มขึ้น ในการต่อท านองปี่ชวาเพลงบลิ่มครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) จะแปรท านองหลักเป็น ท านองปี่ชวาทั้งหมด 2 ส านวนกลอนเพื่อให้ผู้ฝึกปี่ชวาได้ฝึกทักษะการใช้ลิ้น การใช้ลม การใช้นิ้วดังที่ กล่าวมาแล้วข้างต้น ในเพลงนี้ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) จะต่อเป็นส านวนเก็บเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ผู้ฝึกเป่าปี่ชวาได้ฝึกความคล่องแคล่วในการปิด - เปิดนิ้ว เป่าปี่ชวารวมถึงได้ฝึกความคงทนใน การใช้ลิ้น การใช้ลม ภาพที่ 50 QR-Code แสดงส านวนกลอนปี่ชวาเพลงบลิ่ม ที่มา: ผู้วิจัย ขั้นตอนที่ 3 ในขั้นนี้ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) จะให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ การเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทซ้ า ๆ กันหลายเที่ยวโดยท่านจะตีก ากับท านองหลักไปด้วย และเมื่อตรงไหนผู้เรียนยังเป่าได้ไม่ดีครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ก็จะเป่าปี่ชวาในช่วงท านอง นั้นให้ดูแล้วให้ผู้เรียนฝึกย้ า ๆ อยู่ที่เสียงนั้นหลาย ๆ ครั้งเพื่อที่จะให้ผู้เรียนเกิดความช านาญในการ เป่าปี่ชวามากขึ้น
73 ขั้นตอนที่ 4 ในขั้นนี้เมื่อผู้เรียนสามารถเป่าปี่ชวาทุกเพลงได้อยู่ในระดับดีแล้วครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ก็จะสรุปเกี่ยวกับการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาทั้งหมดที่ได้ฝึกมา ปี๊บ คงลายทอง (2564, 25 มีนาคม, สัมภาษณ์) ได้อธิบายว่า “เมื่อเธอเป่าได้แล้วเมื่อฝึกได้แล้วพอเป่าเพลงอื่นสบายทั้งนั้นแหละ อะไรที่เป็นปัญหาต่อไปก็จะสะดวกขึ้นเพลงระบ าสี่บทเมื่อคล่องแล้วอาจจะเอา รูปการเป่าแบบนี้ไปใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวาได้เอาส านวนปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท ไปใช้ได้ และเอากลวิธีการใช้ลม การใช้ลิ้น การใช้นิ้ว ทั้งหมดที่ครูต่อให้นี่ สามารถน าไปประยุกต์ใช้ในการบรรเลงวงต่าง ๆ ได้” หลังจากนั้นครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) จึงให้ผู้ฝึกเป่าปี่ชวาได้ฝึกทบทวน ด้วยตนเองเพื่อให้ผู้ฝึกได้วิเคราะห์ท าความเข้าใจเกี่ยวกับ กลวิธีพิเศษที่พบในท านองปี่ชวาเพลงระบ า สี่บท และส านวนกลอนที่เป็นลีลาเฉพาะของปี่ชวา จากการที่ผู้วิจัยได้ลงภาคสนามต่อท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทกับครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ในการต่อท านองปี่ชวาทั้ง 4 เพลง พบว่าครูปี๊บจะทรอดแทรกกลวิธีพิเศษต่าง ๆ ไว้ในท านองปี่ชวาที่ท่านได้ถ่ายทอดให้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนเกี่ยวกับ การใช้ลม การใช้ลิ้น และการใช้ นิ้ว ในการเป่าปี่ชวาให้เกิดความสัมพันธ์กัน ผู้วิจัยได้พบหัวใจของกระบวนการฝึกทักษะการบังคับ เสียงปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บท ดังนี้ 1) การตอดเสียงของปี่ชวาเกิดจากการตอดลิ้นตอดลมบังคับเสียงพร้อมกันเพราะ คุณลักษณะของปี่ชวามีเสียงที่ดังแหลมสูงเกิดความเพี้ยนได้ง่ายในการตอดจะไม่ใช้การตอดเต็มเสียง ดังนั้นการตอดลิ้นและตอดลมจะต้องมีความสัมพันธ์กันเป็นการฝึกควบคุมอวัยวะลิ้นของผู้เป่าปี่ชวาซึ่ง จะต้องควบคุมการใช้ลิ้นการใช้ลมไปพร้อมกันเพราะหากกควบคุมอวัยวะลิ้นและการใช้ลมไม่สัมพันธ์ กันก็จะท าให้การตอดเสียงปี่ชวาเกิดความเพี้ยนเมื่อผู้เรียนได้ฝึกในส านวนกลอนต่าง ๆดังที่กล่าวมานี้ จะท าให้เกิดทักษะความช านาญในการควบคุมอวัยวะลิ้นและการใช้ลมสามารถตอดเสียงปี่ชวาได้ ชัดเจนท าเกิดเสียงปี่ชวาที่มีความไพเราะได้ 2) การประคองลิ้นประคองลมในการเป่าปี่ชวาผู้เป่าจะต้องกระเกณฑ์ความหนัก – เบาในการใช้น้ าหนักของลมและการใช้อวัยวะลิ้นในการประคองลิ้นปี่ชวาเพื่อประคองเสียงปี่ชวาให้ไม่ เกิดความเพี้ยนและเกิดความดังจนเกินไปเมื่อผู้เรียนฝึกส านวนกลอนดังที่ยกตัวอย่างจนเกิดความ ช านาญแล้วก็จะมีความเข้าใจในการใช้ลม ใช้ลิ้น ในการประคองเสียงปี่ชวาให้เกิดความไพเราะมากขึ้น 3) การใช้นิ้วพิเศษต่าง ๆ ในการเป่าปี่ชวา การใช้ลิ้น การใช้ลม จะต้องมี ความสัมพันธ์กันและการเปิด – ปิด นิ้ว จะต้องถูกต้อง เมื่อผู้เรียนได้ฝึกส านวนกลอนต่าง ๆ ดังที่ ยกตัวอย่างก็จะท าให้มีความเข้าใจในการใช้นิ้วพิเศษต่าง ๆ สามารถใช้อวัยวะนิ้วในการท าเสียงพิเศษ ได้อย่างถูกต้อง 4) การกลับลิ้นกลับลม มีการใช้การประคองลิ้นประคองลม และการตอดลิ้นตอดลม สลับกันไปมาเป็นการใช้ส านวนกลอนปี่ชวาที่มีความยากในการใช้ลิ้น ใช้ลม เมื่อผู้เรียนฝึกทักษะจนมี ความช านาญแล้วจะสามารถใช้ลิ้น ใช้ลม ในการเป่าปี่ชวาได้อย่างคล่องแคล่ว
74 2.2.1 การเทียบเคียงกระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) กับทฤษฏีแนวคิดรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮว์โรว์ (Harrow) กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปิน แห่งชาติ) ที่ผู้วิจัยได้ศึกษามีกระบวนการดังที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งมีขั้นตอนการฝึกทักษะอย่างเป็นระบบ ดังนี้ 2.2.1.1 ขั้นเตรียมความพร้อม คือ ผู้สอนบอกความส าคัญในการฝึกปี่ชวาในแต่ละ จุดโดยผู้เรียนจะปฏิบัติตามไปพร้อมกัน 2.2.1.2 การฝึกเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท โดยเป่าท านองเป็นส านวนที่ใกล้เคียงกับ ท านองหลัก 2.2.1.3 การฝึกเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ที่มีท านองซับซ้อนมากยิ่งขึ้นโดยผู้สอนจะ ตีท านองหลักก ากับไปด้วย 2.2.1.4 การเรียนรู้และแก้ไขจุดบกพร่องของผู้เรียน โดยผู้สอนจะเป็นผู้คอยชี้แนะ 2.2.1.5 การฝึกให้ผู้เรียนปฏิบัติการเป่าปี่ชวาด้วยตนเองทั้งหมด โดยผู้สอนเป็นผู้ ประเมินความก้าวหน้า จากขั้นตอนข้างต้น พบว่ากระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทของ ครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) มีลักษณะเป็นขั้นตอนชัดเจน โดยเรียงล าดับจาก วิธีการฝึกเบื้องต้นไปสู่การ ฝึกเป่าปี่ชวาที่มีความซับซ้อนและละเมียดไมยิ่งขึ้นโดยสามารถเทียบเคียงกับแนวคิดรูปแบบการเรียน การสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ (Harrow) ได้ดังนี้ ตารางที่1 การเทียบเคียงกระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) กับทฤษฏีแนวคิดรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮว์โรว์ รูปแบบการเรียน การสอนของแฮร์โรว์ รูปแบบการกระบวนฝึกทักษะ การเป่าปี่ชวาของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) อธิบายเกี่ยวกับกระบวนการฝึกทักษะปี่ชวา เพลงระบ าสี่บท ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) - - ขั้นเตรียมความพร้อม - ผู้สอนบอกความส าคัญในการฝึกปี่ชวาในแต่ละ จุดโดยผู้เรียนจะปฏิบัติตามไปพร้อมกัน - การฝึกเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท - ผู้สอนบอกท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท โดยใช้ ส านวนที่ใกล้เคียงกับท านองหลัก 1. ขั้นการเลียนแบบ - การฝึกเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท - ขั้นตอนนี้ผู้สอน จะเป่าปี่ชวาในส านวนที่ ซับซ้อนให้ผู้เรียนสังเกตรายละเอียดและ วิธีการต่าง ๆ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมให้ผู้เรียน คุ้นชินกับการเป่าปี่ชวาในส านวนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น 2. ขั้นลงมือกระท า ตามค าสั่ง - การฝึกเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ผู้สอนบอกท านอง วิธีการและกลวิธี ของการเป่า ปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทโดยใช้ท านองหลักก ากับ ควบคู่ไปด้วยทั้ง 4 เพลง 3. ขั้นกระท าอย่าง ถูกต้องสมบูรณ์ - การฝึกเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ในขั้นนี้ผู้สอนจะให้เวลาในการฝึกฝน โดยผู้เรียน จะต้องน าค าแนะน าของผู้สอนไปฝึกปฏิบัติด้วย ตนเองให้ช านาญยิ่งขึ้น
75 ตารางที่1 การเทียบเคียงกระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในเพลงระบ าสี่บทของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) กับทฤษฏีแนวคิดรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮว์โรว์ (ต่อ) รูปแบบการเรียน การสอนของแฮร์โรว์ รูปแบบการกระบวนฝึกทักษะ การเป่าปี่ชวาของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) อธิบายเกี่ยวกับกระบวนการฝึกทักษะปี่ชวา เพลงระบ าสี่บท ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) 4. ขั้นการแสดงออก - การเรียนรู้และแก้ไขจุดบกพร่อง ของผู้เรียน ขั้นนี้จะเป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถเป่าปี่ชวาได้ อ ย่ าง ค ล่ อง แ ค ล่ ว แ ล ะ เ ป็ น ธ ร ร ม ช า ติ โดยมีข้อแตกต่างกับขั้นตอนการแสดงออกของ แฮร์โรว์ เล็กน้อย คือ ในขั้นนี้ผู้สอน จะคอย แนะน าและชี้แนะเพิ่มเติมให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น 5. ขั้นการกระท าอย่าง เป็นธรรมชาติ - การให้ผู้เรียนปฏิบัติการเป่าปี่ชวา ด้วยตนเองทั้งหมด ในขั้นนี้ผู้สอนจะให้ผู้เรียนปฏิบัติการเป่าปี่ชวา ด้วยตนเองทั้งหมด ตั้งแต่เพลงพระทองจนถึง เ พ ลง บ ลิ่ ม โ ด ย ผู้ ส อ น เ ป็ น ผู้ ป ร ะ เ มิ น ความก้าวหน้า ทั้งนี้เมื่อผู้เรียนปฏิบัติจนเป็น ธรรมชาติตามแบบแผนของส านักแล้ว จึงมีมติให้ ผ่านเกณฑ์การเรียนในขั้นของเพลงระบ าสี่บท และน าไปสู่การฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาในล าดับที่ สูงขึ้นต่อไป ที่มา: ผู้วิจัย จากตารางข้างต้นแสดงให้เห็นว่า กระบวนการฝึกทักษะการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) มีลักษณะที่สามารถเทียบเคียงกับแนวคิดรูปแบบการเรียน การสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ ซึ่งเป็นนักการศึกษาของโลกได้เป็นอย่างดี เพราะทั้ง 2 รูปแบบการ เรียนการสอนนี้ เป็นไปในลักษณะของการแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่าง และให้ผู้เรียนลงมือกระท าด้วย ตนเอง จากนั้นจึงให้ผู้เรียนท าความรู้หรือแนวทางปฏิบัติที่ได้ไปใช้ในการฝึกฝน โดยให้ระยะเวลาที่ เพียงพอต่อการฝึกปฏิบัติทักษะนั้น ๆ จะท าให้ผู้เรียนปฏิบัติได้อย่างเป็นธรรมชาติ ในการฝึกทักษะ การเป่าปี่ชวาตามแนวทางของครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ผู้สอนจะคอยประกบและชี้แนะไป โดยตลอดการฝึกฝน ซึ่งกระบวนการนี้เป็นแนวทางที่ต่างกันในแง่ของวัฒนธรรมการเรียนรู้ โดย วัฒนธรรมการเรียนรู้ของดนตรีไทยจะมีครู/ผู้สอน คอยดูแลชี้แนะไปตลอดเพื่อป้องกันความผิดพลาด กระบวนการนี้ท าให้เกิดความผูกพันฉันครู-ศิษย์ และ ความซาบซึ้งต่อวิชาที่ได้ร่ าเรียนของแต่ละส านัก อันแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมด้านการเคารพต่อวิชาและผู้ให้ความรู้ของผู้ที่ศึกษาดนตรีไทย 2.3 วิเคราะห์กลวิธีพิเศษในการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท ผู้วิจัยได้ท าการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยการต่อท านองปี่ชวาเพลงระบ าสี่บทประกอบไปด้วย เพลงพระทอง เพลงเบ้าหลุด เพลงสะระบุหร่ง เพลงบลิ่ม โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกท านองปี่ชวาที่มีความ สมบูรณ์แล้วและผ่านการประเมินจากครูปี๊บ คงลายทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ผู้วิจัยแบ่งม านองปี่ชวา เป็น 2 แบบมาวิเคราะห์ คือ เที่ยวแรก และเที่ยวกลับต้น ผู้วิจัยใช้อักษรโรมัน A B C เพื่อแสดงรูปแบบ (Form) ในการเป่าปี่ชวาเพลงระบ าสี่บท โดย A คือ เที่ยวแรก B เที่ยวกลับต้น มีดังนี้
76 ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง สองชั้น A - ซ - ด - - ร ม - ล - ซ - ม - ร - - - ม ซ - - - ร - ม - ร - ด - ล - ด - ร - ม - ซ - ม - ซ - ล – ด - ซ - ด - - ร ม ฟํม ฟํ ล ซ ฟํ ม ร - - - - - ด - ร - ม - ร ซ ม ม ม ร ม ซ ล - ด - ร ม ร ด ซ ซ ม ร ด - ซ - ม - ร - ซ - ด - ล - ซ - ม - ซ - ม - ร - ด ฟ ม ฟ ล ซ ฟ ม ร ม ซ ม ด ล ด ซ ล ม ซ ม ล ซ ล ด ร ม ร ด ล ซ ล ด ร ม ร ด ซ ซ ม ร ด - - - - - ด - ร - ม - ร - ด ด ด - ซ - ม - ร - ด - ซ - ด - ร - ม - - - - - ด - ร - ม - ร - ด ด ด - ซ - ม - ร - ซ - ล - ซ - ม - ร - - - ซ - - - ล - ร - ล - ด - ร - ม - ร - ด ด ด ร ด ม ร ด ล - ด B ร ด ร ร ร ม ร ร ร ซ ร ร ร ม ร ร ด ล ซ ล ด ร ม ซ ม ล ม ซ ม ร ด - ล – ซ ล ด ร ม ซ - ม ร ซ ด ม ร ด ล ซ ร ม ฟํ ล ซ ฟํ ด ฟํ ม ฟํ ร ม ด ร - - - - - ด - ร - ม - ร ซ ม ม ม ฟํ ซ ฟํ ล ซ ฟํ ม ร ด ซ ล ท ด ม ร ด - ซ - ม - ร - ซ - ด - ล -ซ ล –ซ ม - – ซ ล ซ ม ร ด ฟํ ด ฟํ ล ซ ฟํ ม ร ม ม ม ด ล ด ซ ล ม ซ ม ล ซ ล ด ร ม ร ด ซ ล ท ด ร ด ซ ล ท ด ม ร ด - - - - - ด - ร - ม - ร - ด ด - ด – ซ ล ซ ม ร ด ท ล ซ - ด – ร ม - - - - - ด - ร - ม - ร - ด ด ด - ซ - ม - ร - ซ - ล - ซ - ม - ร - - ซ ฟํ ม ร ด ล - ซ - ล - ด - ร - ม - ร - ด ด ด ร ด ม ร ด ล - ด ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด สองชั้น A - - - ด - ร ร ร - - - ฟํ - ร ร ร - ด ด ด - ท - ด - ฟํ - ร - ร ร ร ท ด ท ร ด ร ฟํ ซ - ล - ซ - ฟํ - ร ร ฟํ ร ซ ร ฟํ ร ด ท ฟ ซ ล ท ร ด ท - - - ซ - ฟ - ท ล ซ ฟ - ท – ด ร ฟํ ร ซ ฟํ ร ฟํ ร ด ท ฟ ซ ล ท ร ด ท ซ ล ท ด ร ฟํ ร ด ร ซ ร ฟํ ร ด ท ล ท ด ร ล ท ด ซ ล ท ด ท ฟ ซ ล ท ด - - - ท - ด ด ด - - - ร - ด ด ด ล ซ ฟ - ท – ด ร ล ซ ฟํ ร ฟํ ร ด ท ฟํ ร ร ร ฟํ ร ร ร ฟํ ร ซ ฟํ ร ฟํ ร ด ล ซ ฟํ ร ด – ร ด ท - - - ด ร ด ท - ด ร - - - ร - ร ร ร - ฟํ - ร ด ท - ด - - - ด - ด ด ด ล ซ ฟํ ร ด - ร ด ท - - - ล - - - ซ - - - ด - - - ท - - ด ร ด ท ฟ ซ ฟ ซ ล ซ ล ฟ - ซ B - - - ด - ร ร ร - ล - ซ ฟํ ล ซ ฟํ - ร - ด ด ด - ท - ด - ฟ - - ท – ด ร ท ด ท ร ด ร ฟํ ซ ล ซ ฟ - ท – ด ร ร ฟํ ร ซ ร ฟํ ร ด ท ฟ ซ ล ท ร ด ท ฟํ ด ซ ล ท ซ ล ท ด ล ท ด ร ท ด ร ฟํ ร ซ ฟํ ร ฟํ ร ด ท ฟ ซ ล ท ร ด ท ซ ล ท ด ร ฟํ ร ด ร ซ ร ฟํ ร ด ท ล ท ด ร ล ท ด ซ ล ท ด ท ฟ ซ ล ท ด ด ท ด ด ด ร ด ด ด ฟํ ด ด ด ร ด ด ล ซ ฟ ท ล ท ด ร ซ ล ท ด ท ร ด ท ฟํ ร ร ร ฟํ ร ร ร ฟํ ร ซ ฟํ ร ฟํ ร ด ล ซ ฟํ ร ฟํ ร ด ท ฟ ฟ ฟ ท ด ท ฟํ ร - - - ร - ร ร ร ด ร ฟํ ร ด ท - ด - - - ด - ด ด ด ล ซ ฟํ ร ด - ร ด ท - ล - ล - - - ซ - - - ด - - - ท - - ด ร ด ท ฟํ ซ ฟํ ซ ล ซ ล ฟํ - ซ
77 ท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง สองชั้น A - - - ม - ซ – ด - ซฺ - ด - ร - ม - ซ - ม - ร - ซ - ล - ซ - ม - ร - - - ร - ร - ร - ม - ร - ด - ลฺ - ร - ม - ซ - ล - - - ด - - - ร - - ซ ล ซ ด ร ม ฟํ ม ฟํ ล ซ ฟํ ม ร - ม - ร - ด - ล - ด - ซ - ล - ด ท ซ ล ท ด ล ท ด ร ท ด ร ม ด ร ม ล ซ ร ม ฟํ ล ซ ฟํ ด ฟํ ม ฟํ ร ม ด ร ร ด ร ร ร ม ร ร ร ซ ร ร ร ม ร ร ซ ซ ซ ด ซ ด ร ม ซ ล ซ ร ซ ม ร ด - - ซ ด ท ล ท ด ท ล ร ด ท ล ท ด - ซ - ม - ร - ด - ซ - ด - ท - ล - ท ร ล ท ล ซ ม - ร - ม - ซ - ล - ร - ม - ซ - ล - ร - ล - ด - ร - - - ร - ร ร ร ม ร ด ล - ซ - ด ร ม ซ ล - ด - ร - ม - ร - ด - ล - - - ซ - - - ล - ร - ล - ด - ร - ซ - ม - ร - ด - - ม ร ด ร - ม B - - - ม - ซ - ด ทฺ ลฺ ซฺ - ด – ร ม ล ซ ร ม ฟ ล ซ ฟ ด ฟ ม ฟ ร ม ด ร ร ด ร ร ร ม ร ร ม ล ซ ร ม ร ด ลฺ ม ม ม ด ล ด ซ ล ม ซ ม ล ซ ล ด ร - - ซ ล ซ ด ร ม ฟํ ม ฟํ ล ซ ฟํ ม ร ม ซ ม ล ซ ฟํ ม ร ด ซ ล ท ด ม ร ด ท ซ ล ท ด ล ท ด ร ท ด ร ม ด ร ม ล ซ ร ม ฟํ ล ซ ฟํ ด ฟํ ม ฟํ ร ม ด ร ร ด ร ร ร ม ร ร ร ซ ร ร ร ม ด ร ซ ล ซ ด ซ ด ร ม ซ ล ซ ร ซ ม ร ด - - ซ ด ท ล ท ด ท ล ร ด ท ล ท ด ซ ซ ซ ร ซ ม ร ด ซ ด ท ด ล ท ซ ล ท ม ร ล ท ล ซ ม - ร - ม - ซ - ล ม ม ม ด ล ด ซ ล ม ซ ม ล ซ ล ด ร - - - ร - ร ร ร ม ร ด ล - ซ - ด ร ม ซ ล - ด - ร ม ล ซ ร ม ร ด ล ม ม ม ซ ม ซ ม ล ม ซ ม ล ซ ล ด ร ท ล ซ ร ซ ม ร ด ร ม ซ ร ซ ม ม ม ท านองปี่ชวาเพลงบลิ่ม สองชั้น A - - - ม - ม ม ม - - ซ ล ซ ด ร ม ม ซฺ ม ร ม ซ ม ร ด ซ ล ท ด ม ร ด ร ด ร ร ร ม ร ร ร ซ ร ร ร ม ร ร ซ ล ซ ร ซ ม ร ด ร ม ซ ร ซ ม ม ม ซ ล ซ ร ซ ม ร ด ท ล ซ - ด – ร ม - - - - - ร - ม - ร - ม - ม ม ม ท ท ท ร ท ท ท ม ท ร ท ม ร ม ซ ล ซ ม ร ท ม ร ท ล ร ท ล ซ ท ล ซ ม ท ล ซ ร ซ ม ร ด ร ม ซ ร ซ ม ม ม ซ ร ม ซ ม ล ม ซ ม ร ด ซ ซ ม ร ด ร ด ร ร ร ม ร ร ร ซ ร ร ร ม ร ร ด ล ซ ร ซ ม ร ด ท ล ซ - ด – ร ม ซ ล ซ ร ซ ม ร ด ร ม ซ ร ซ ม ม ม - - - ซ - - - ล - - - ด - - - ร - - - ซ - - - ล - ร - ล - ด - ร - - - - - ด - ร - ด - ร - ร ร ร
78 B ซ ม ม ม ซ ม ม ม - -ซ ล ซ ด ร ม ม ซ ม ร ม ซ ม ร ด ซ ล ท ด ม ร ด ร ด ร ร ร ม ร ร ร ซ ร ร ร ม ร ร ด ล ซ ร ซ ม ร ด ร ม ซ ร ซ ม ม ม ซ ล ซ ร ซ ม ร ด ท ล ซ - ด –ร ม - - - - - ร - ม - ร - ม - ม ม ม ท ท ท ร ท ท ท ม ท ร ท ม ร ม ซ ล ซ ม ร ท ม ร ท ล ท ล ซ - ด - ร ม ซ ล ซ ร ซ ม ร ด ร ม ซ ร ม ซ - ม - -ซ ล ด ร ด ม ม ร ด ซ ซ ม ร ด ร ด ร ร ร ม ร ร ร ซ ร ร ร ม ร ร ด ล ซ ร ซ ม ร ด ท ล ซ - ด –ร ม ซ ล ซ ร ซ ม ร ด ร ม ซ ร ซ ม ม ม - - -ซ - - -ล - - -ด - - - ร - - -ซ - - -ล - ร -ล -ด - ร - - - - -ด - ร -ด - ร - ร ร ร 2.3.1 กลวิธีในการบรรเลงปี่ชวาที่ปรากฏในเพลงพระทอง ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 1 - ซ - ด - - ร ม - ล - ซ - ม - ร - - - ม ซ - - - ร - ม - ร - ด - ล ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 2 - ด - ร - ม - ซ - ม - ซ - ล – ด - ซ - ด - - ร ม ฟํ ม ฟํ ล ซ ฟํ ม ร ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 1 ในห้องที่ 1 ตัวโน้ตเสียง ซ ซึ่งตรงกับเสียง “ฮ่อ” พบกลวิธีการประคองลิ้น ประคองลมเพื่อไม่ให้เสียงดังจนเกินไปท าให้เสียง “ฮ่อ” เกิดความไพเราะน่าฟังและในห้องที่ 2 – 4 ตัวโน้ตเสียง ร ม ล ซ ม ร พบกลวิธีการใช้การตอดลิ้นตอดลมในลักษณะตอดเสียงสั้น เพื่อเน้นเสียง ให้เสียงสั้นท าให้ท านองปี่ชวามีความโดดเด่นขึ้น ในห้องที่ 5 ตัวโน้ตเสียง ม ซ พบกลวิธีการใช้การ ปริบเสียง เพื่อท าให้เกิดเสียงพิเศษโดยการขยับนิ้วให้สัมพันธ์กับ ลม ลิ้น เพื่อให้การด าเนินท านองปี่ ชวามีความไพเราะสมบูรณ์ในประโยคที่ 2 ห้องที่ 4 ตัวโน้ตเสียง ด พบกลวิธีการประคองลิ้นประคอง ลมในเสียงแหบสูงเพื่อไม่ให้เกิดความเพี้ยนเสียงท าเกิดเสียงปี่ชวาที่คุณภาพ ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 3 - - - - - ด - ร - ม - ร ซ ม ม ม ร ม ซ ล - ด - ร ม ร ด ซ ซ ม ร ด ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 4 - ซ - ม - ร - ซ - ด - ล - ซ - ม - ซ - ม - ร - ด ฟ ม ฟ ล ซ ฟ ม ร
79 ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 3 ห้องที่ 4 ตัวโน้ตเสียง ม ม ม พบกลวิธีการตอดลิ้นตอดลมเพื่อเน้นเสียงให้มี ความชัดเจนโดยใช้อวัยวะลิ้นและลมแตะลิ้นปี่ชวาเป็นช่วง ๆ มีลักษณะเป็น 3 พยางค์ ห้องที่ 5 ตัว โน้ตเสียง ซ ล พบกลวิธีการประคองลิ้นประคองลมในเสียงแหบสูงเพื่อไม่ให้เกิดความเพี้ยนเสียงท า เกิดเสียงปี่ชวาที่คุณภาพและในห้องที่ 7 ตัวโน้ตเสียง ซ ซึ่งตรงกับเสียง “ฮ่อ” พบกลวิธีการประคอง ลิ้นประคองลมเพื่อไม่ให้เสียงดังจนเกินไปท าให้เสียง “ฮ่อ” เกิดความไพเราะน่าฟัง ในประโยคที่ 4 ห้องที่ 3 ตัวโน้ตเสียง ด ล พบกลวิธีการประคองลิ้นประคองลมในเสียงแหบสูงเพื่อไม่ให้เกิดความ เพี้ยนเสียงท าเกิดเสียงปี่ชวาที่คุณภาพมีความไพเราะ ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 5 ม ซ ม ด ล ด ซ ล ม ซ ม ล ซ ล ด ร ม ร ด ล ซ ล ด ร ม ร ด ซ ซ ม ร ด ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 6 - - - - - ด - ร - ม - ร - ด ด ด - ซ - ม - ร - ด - ซ - ด - ร - ม ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 5 ห้องที่ 1 – 4 ตัวโน้ตเสียง ม ซ ม ด ล ด ซ ล ม ซ ม ล ซ ล ด ร พบกลวิธีการ กลับลิ้นกลับลมเป็นการด าเนินปี่ชวาที่ต้องมีการใช้อวัยวะลิ้นและลมโยกขึ้นโยกลงไปมามีความ ยากล าบากในการเป่าปี่ชวาผู้ถ่ายทอดท านองปี่ชวามีจุดประสงค์สอดแทรกกลวิธีนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึก ทักษะการใช้ลิ้น การใช้ลมในการเป่าปี่ชวาได้อย่างคล่องแคล่ว ในประโยคที่ 6 พบกลวิธีการตอดลิ้น ตอดลม ในห้องที่ 4 ตัวโน้ตเสียง ด ด ด เพื่อเน้นเสียงให้มีความชัดเจนโดยใช้อวัยวะลิ้นและลมแตะลิ้น ปี่ชวาเป็นช่วง ๆ มีลักษณะเป็น 3 พยางค์ในห้องที่ 7 ตัวโน้ตเสียง ซ ซึ่งตรงกับเสียง “ฮ่อ” พบกลวิธี การประคองลิ้นประคองลมเพื่อไม่ให้เสียงดังจนเกินไปท าให้เสียง “ฮ่อ” เกิดความไพเราะน่าฟัง ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 7 - - - - - ด - ร - ม - ร - ด ด ด - ซ - ม - ร - ซ - ล - ซ - ม - ร ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 8 - - - ซ - - - ล - ร - ล - ด - ร - ม - ร - ด ด ด ร ด ม ร ด ล - ด ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 7 พบกลวิธีการตอดลิ้นตอดลม ในห้องที่ 4 ตัวโน้ตเสียง ด ด ด เพื่อเน้นเสียงให้ มีความชัดเจนโดยใช้อวัยวะลิ้นและลมแตะลิ้นปี่ชวาเป็นช่วง ๆ มีลักษณะเป็น 3 พยางค์ ในประโยคที่ 8 ห้องที่ 1 ตัวโน้ตเสียง ซ พบกลวิธีการควงนิ้วเพื่อตบแต่งท านองปี่ชวาให้มีความไพเราะมากขึ้น ใน ห้องที่ 6 ตัวโน้ตเสียง ด ด ด เพื่อเน้นเสียงให้มีความชัดเจนเป็น 3 พยางค์
80 ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 1 ร ด ร ร ร ม ร ร ร ซ ร ร ร ม ร ร ด ล ซ ล ด ร ม ซ ม ล ม ซ ม ร ด - ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 2 ล – ซ ล ด ร ม ซ - ม ร ซ ด ม ร ด ล ซ ร ม ฟํ ล ซ ฟํ ด ฟํ ม ฟํ ร ม ด ร ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 1 พบกลวิธีการตอดลิ้นตอดลมลม ในห้องที่ 1 -4 ตัวโน้ตเสียง ร ด ร ร ร ม ร ร ซ ร ร ร ม ร ร เพื่อเน้นเสียงให้มีความชัดเจนโดยใช้อวัยวะลิ้นและลมแตะลิ้นปี่ชวาเป็นช่วง ๆ มีการตอดย้ า ๆ กันเป็นท านองเก็บทั้ง 4 ห้องเมื่อผู้เรียนฝึกเป่าในท านองนี้หลายครั้งจะท าให้การใช้อวัยวะลิ้นกับลิ้นปี่ ชวามีความคล่องแคล่วแม่นย ามากขึ้น ประโยคที่ 2 พบกลวิธีการประคองลิ้นประคองลม ห้องที่ 5 ตัว โน้ตเสียง ล ซ เพื่อใช้ลมประคองเสียงในช่วงเสียงสูงของปี่ชวาไม่ให้เพี้ยนท าให้เกิดเสียงปี่ชวาที่มีคุณภาพ ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 3 - - - - - ด - ร - ม - ร ซ ม ม ม ฟํ ซ ฟํ ล ซ ฟํ ม ร ด ซ ล ท ด ม ร ด ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 4 - ซ - ม - ร - ซ - ด - ล - ซ ล – ซ ม - – ซ ล ซ ม ร ด ฟํ ด ฟํ ล ซ ฟํ ม ร ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 3 ตัวโน้ตเสียง ม ม ม พบกลวิธีการตอดลิ้นตอดลมเพื่อเน้นเสียงให้มีความ ชัดเจนโดยใช้อวัยวะลิ้นและลมแตะลิ้นปี่ชวาเป็นช่วง ๆ มีลักษณะเป็น 3 พยางค์ในประโยคที่ 4 พบ กลวิธีการประคองลม ในห้องที่ 3 ตัวโน้ตเสียง ด ล ซ เพื่อใช้ลมประคองเสียงในช่วงเสียงสูงของปี่ชวา ไม่ให้เพี้ยนท าให้เกิดความไพเราะ ห้องทื่ 4 ตัวโน้ตเสียง ซ ล ซ ม พบกลวิธีการใช้การปริบเสียง เพื่อท าให้เกิดเสียงพิเศษโดยการขยับนิ้วให้สัมพันธ์กับ ลม ลิ้น ในท านองนี้จะใช้นิ้วควงควบคู่ไปด้วยใน ตัวโน้ตเสียง ซ ล แสดงให้ถึงลีลาเฉพาะของปี่ชวาได้อย่างวิจิตรพิสดาร ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 5 ม ม ม ด ล ด ซ ล ม ซ ม ล ซ ล ด ร ม ร ด ซ ล ท ด ร ด ซ ล ท ด ม ร ด ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 6 - - - - - ด - ร - ม - ร - ด ด ด – ซ ล ซ ม ร ด ท ล ซ - ด – ร ม
81 ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 5 ตัวโน้ตเสียง ม ม ม ด ล ด ซ ล ม ซ ม ล ซ ล ด ร พบกลวิธีการกลับลิ้นกลับ ลมเป็นการด าเนินปี่ชวาที่ต้องมีการใช้อวัยวะลิ้นและลมโยกขึ้นโยกลงไปมามีความยากล าบากในการ เป่าปี่ชวาผู้ถ่ายทอดท านองปี่ชวามีจุดประสงค์สอดแทรกกลวิธีนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการใช้ลิ้น การใช้ลมในการเป่าปี่ชวาได้อย่างคล่องแคล่วโดยเพิ่มกลวิธีการตอดลิ้นตอดลมตัวโน้ตเสียง ม ม ม เพื่อเพิ่มความสลับซับซ้อนกว่าเที่ยวแรกเพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกท านองปี่ชวาที่ยากขึ้น ในประโยคที่ 6 พบ กลวิธีการตอดลิ้นตอดลม ในห้องที่ 4 ตัวโน้ตเสียง ด ด ด เพื่อเน้นเสียงให้มีความชัดเจนเป็นช่วง ๆ ทั้งหมด 3 พยางค์ และพบกลวิธีการใช้การปริบเสียง ในห้องที่ 5 ตัวโน้ตเสียง ซ ล เพื่อท าให้เกิดเสียง พิเศษใช้สอดแทรกเพื่อให้การด าเนินท านองปี่ชวามีความชัดเจนในลักษณะเสียงสั้นเพื่อเชื่อมวรรค ต่อไปได้อย่างสวยงาม ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 7 - - - - - ด - ร - ม - ร - ด ด ด - ซ - ม - ร - ซ - ล - ซ - ม - ร ท านองปี่ชวาเพลงพระทอง (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 8 - - ซ ฟํ ม ร ด ล - ซ - ล - ด - ร - ม - ร - ด ด ด ร ด ม ร ด ล - ด ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 7 ห้องที่ 4 พบกลวิธีการตอดลิ้นตอดลม ในห้องที่ 4 ตัวโน้ตเสียง ด ด ด เพื่อ เน้นเสียงให้มีความชัดเจนเป็นช่วงๆ มี 3 พยางค์ ในประโยคที่ 8 พบกลวิธีการตอดลิ้นตอดลม ในห้องที่ 6 ตัวโน้ตเสียง ด ด ด เพื่อเน้นเสียงย้ า ๆ ให้มีความชัดเจนท าให้ท านองปี่ชวามีความไพเราะ 2.3.2 กลวิธีในการบรรเลงปี่ชวาที่ปรากฏในเพลงเบ้าหลุด ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 1 - - - ด - ร ร ร - ล - ซ - ฟํ - ร - ด ด ด - ท - ด ล ซ ฟฺ - ท – ด ร ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 2 ท ด ท ร ด ร ฟํ ซ ล ซ ฟฺ - ท – ด ร ร ฟํร ซ ร ฟํร ด ท ฟ ซ ล ท ร ด ท ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 1 ห้องที่ 2 – 5 ตัวโน้ตเสียง ร ร ร ล ซ ฟํ ร ด ด ด พบกลวิธีการตอดลิ้นตอดลม โดยในห้องที่ 2 เป็นลักษณะการเป่าตอด 3 พยางค์ ห้องที่ 3 และ 4 เป็นการตอดเสียงตัดสั้น ๆแสดงถึง ลีลาท านองกระชับอันเป็นเอกลักษณ์ของปี่ชวา ในห้องที่ 5 เป่าตอดเป็น 3 พยางค์ ในห้องที่ 7 ตัวโน้ต เสียง ล ซ ฟฺ พบกลวิธีการสะบัด 3 เสียง เพื่อเพิ่มชั้นเชิงร่วมถึงได้ฝึกความคล่องแคล่วของนิ้วในการเป่า ปี่ชวา ในประโยคที่ 2 ห้องที่ 3 ตัวโน้ตเสียง ล ซ ฟฺ พบกลวิธีการสะบัด 3 เสียง ห้องที่ 5 – 6 ตัวโน้ต
82 เสียง ร ฟํ ร ฟํ พบกลวิธีการปริบเสียง เพื่อท าให้เกิดเสียงพิเศษใช้สอดแทรกเพื่อให้การด าเนินท านอง ปี่ชวามีความชัดเจนในลักษณะเสียงสั้นเพื่อเชื่อมวรรคต่อไปได้อย่างสวยงาม ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 3 - - - ซ - ฟ - ท ล ซ ฟ - ท – ด ร ฟํ ร ซ ฟํ ร ฟํร ด ท ฟ ซ ล ท ร ด ท ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 4 ซ ล ท ด ร ฟํ ร ด ร ซ ร ฟ ร ด ท ล ท ด ร ล ท ด ซ ล ท ด ท ฟ ซ ล ท ด ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 3 ห้องที่ 3 ตัวโน้ตเสียง ล ซ ฟฺ พบกลวิธีการสะบัด 3 เสียง เพื่อเพิ่มชั้นเชิงร่วม ถึงได้ฝึกความคล่องแคล่วของนิ้วในการเป่าปี่ชวา ในห้องที่ 6 ตัวโน้ตเสียง ร ฟํ เพื่อท าให้เกิดเสียง พิเศษใช้สอดแทรกเพื่อให้การด าเนินท านองปี่ชวามีความชัดเจนในลักษณะเสียงสั้น ในประโยคที่ 4 พบกลวิธีการใช้เสียงปริบ ในห้องที่ 3 ตัวโน้ตเสียง ร ฟํ เพื่อท าให้เกิดเสียงพิเศษใช้สอดแทรกเพื่อให้ การด าเนินท านองปี่ชวามีความชัดเจนในลักษณะเสียงสั้นเพื่อเชื่อมท านองวรรคต่อไปได้อย่างสนิทสนม ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 5 - - - ท - ด ด ด - - - ร - ด ด ด ล ซ ฟฺ ท ล ท ด ร ซ ล ท ด ท ร ด ท ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 6 ฟํร ร ร ฟํร ร ร ฟํ ร ซ ฟํ ร ฟํร ด ล ซ ฟํ ร ด - รดท - - - ด รดท - ดร ในประโยคที่ 5 พบกลวิธีการตอดลิ้นตคอดลม ในห้องที่ 2 ตัวโน้ตเสียง ด ด ด และ ในห้องที่ 5 ตัวโน้ตเสียง ด ด ด เพื่อเน้นเสียงให้มีความชัดเจนเป็นช่วง ๆ เป็น 3 พยางค์และพบกลวิธีการ ประคองลม ในห้องที่ 5 ตัวโน้ตเสียง ฟ เพื่อประคองเสียงช่วงเสียงต่ าให้มีความไพเราะไม่เพี้ยนเสียง ในประโยคที่ 6 พบกลวิธีการตอดลิ้นตอดลม ในห้องที่ 1 ตัวโน้ตเสียง ร ร ร และ ในห้องที่ 2 ร ร ร เพื่อเน้นเสียงให้มีความชัดเจน 3 พยางค์และพบกลวิธีการใช้เสียงปริบ ในห้องที่ 4 ตัวโน้ตเสียง ร ฟํ เพื่อท าให้เกิดเสียงพิเศษใช้สอดแทรกเพื่อให้การด าเนินท านองปี่ชวามีความชัดเจนในลักษณะเสียงสั้น เพื่อเชื่อมท านองวรรคต่อไปได้อย่างสนิทสนม ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 7 - - - ร - ร ร ร ด ร ฟํ ร ด ท - ด - - - ด - ด ด ด ล ซ ฟํ ร ด - รดท ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 8 - - - ล - - - ซ - - - ด - - - ท - - ด ร ด ท ล ซ ฟฺซ ล ซ ล ฟฺ - ซ 0
83 ในประโยคที่ 7 ห้องที่ 2 ตัวโน้ตเสียง ร ร ร พบกลวิธีการตอดลิ้นตอดลม ในห้องที่ 1 ตัวโน้ต เสียง ร ร ร และ ในห้องที่ 6 ด ด ด เพื่อเน้นเสียงให้มีความชัดเจน 3 พยางค์ ในประโยคที่ 8 พบ กลวิธีการประคองลิ้นประคองลม ในห้องที่ 7 - 8 ตัวโน้ตเสียง ฟ เพื่อประคองเสียงช่วงเสียงต่ าให้มี ความไพเราะไม่เพี้ยนเสียง ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 1 - - - ด - ร ร ร - ล - ซ ฟํ ล ซ ฟํ - ร - ด ด ด - ท - ด - ฟ - - ท – ด ร ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 2 ท ด ท ร ด ร ฟํ ซ ล ซ ฟ - ท – ด ร ร ฟํร ซ ร ฟํร ด ท ฟ ซ ล ท ร ด ท ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 1 พบกลวิธีการตอดลิ้นตอดลม ในห้องที่ 2 ตัวโน้ตเสียง ร ร ร และ ในห้องที่ 5 ตัวโน้ตเสียง ด ด ด เพื่อเน้นเสียงให้มีความชัดเจน 3 พยางค์ และพบกลวิธีการตีนิ้วในห้องที่ 4 ตัว โน้ตเสียง ล ซ เพื่อเพิ่มชั้นเชิงในการเป่าปี่ชวาให้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น ในประโยคที่ 2 พบกลวิธี การประคองลิ้นประคองลม ในห้องที่ 3 ตัวโน้ตเสียง ฟ เพื่อประคองเสียงช่วงเสียงต่ าให้มีความ ไพเราะและกลวิธีการใช้ปริบเสียง ในห้องที่ 5 - 6 ตัวโน้ตเสียง ร ฟํ เพื่อท าให้เกิดเสียงพิเศษใช้ สอดแทรกเพื่อให้การด าเนินท านองปี่ชวามีความชัดเจนในลักษณะเสียงสั้น ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 3 ฟํ ฟฺซ ล ท ซ ล ท ด ล ท ด ร ท ด ร ฟํ ร ซ ฟํ ร ฟํร ด ท ฟ ซ ล ท ร ด ท ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 4 ซ ล ท ด ร ฟํร ด ร ซ ร ฟํ ร ด ท ล ท ด ร ล ท ด ซ ล ท ด ท ฟ ซ ล ท ด ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 3 พบกลวิธีการประคองลิ้นประคองลม ในห้องที่ 3 ตัวโน้ตเสียง ฟ เพื่อประคอ งเสียงช่วงเสียงต่ าให้มีความไพเราะพบกลวิธีการใช้ปริบเสียง ในห้องที่ 6 ตัวโน้ตเสียง ร ฟํ เพื่อท าให้ เกิดเสียงพิเศษใช้สอดแทรกเพื่อให้การด าเนินท านองปี่ชวามีความชัดเจนในลักษณะเสียงสั้น ใน ประโยคที่ 4 พบกลวิธีการใช้ปริบเสียง ในห้องที่ 2 - 3 ตัวโน้ตเสียง ร ฟํ เพื่อท าให้เกิดเสียงพิเศษใช้ สอดแทรกเพื่อให้การด าเนินท านองปี่ชวามีความชัดเจนในลักษณะเสียงสั้นเพื่อเชื่อมวรรคของท านอง ปี่ชวาได้สนิทสนม
84 ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 5 ด ท ด ด ด ร ด ด ด ฟํ ด ด ด ร ด ด ล ซ ฟฺ ท ล ท ด ร ซ ล ท ด ท ร ด ท ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 6 ฟํร ร ร ฟํร ร ร ฟํ ร ซ ฟํ ร ฟํร ด ล ซ ฟํ ร ฟํ ร ด ท ฟฺ ฟฺ ฟ ฺ ท ด ท ฟํ ร ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ พบกลวิธีการตอดลิ้นตอดลม ในห้องที่ 1 -4 ตัวโน้ตเสียง ด ท ด ด ด ร ด ด ด ฟํ ด ด ด ร ด ด เพื่อเน้นเสียงให้มีความชัดเจนโดยมีการตอดเสียงตัวโน้ตทุกตัวเป็นการฝึกการตอดเสียงย้ า ๆ ท าให้ เกิดทักษะความช านาญในการตอดเสียงปี่ชวามากขึ้น และ พบกลวิธีการประคองลิ้นประคองลม ใน ห้องที่ 5 ตัวโน้ตเสียง ฟฺ เพื่อประคองเสียงช่วงเสียงต่ าให้มีความไพเราะ ในประโยคที่ 6 พบกลวิธีการ ตอดลิ้นตอดลม ในห้องที่ 1 - 2 ตัวโน้ตเสียง ร ร ร เพื่อเน้นเสียงให้มีความชัดเจน 3 พยางค์พบกล วิธีการใช้ปริบเสียง ในห้องที่ 4 ตัวโน้ตเสียง ร ฟํ เพื่อท าให้เกิดเสียงพิเศษใช้สอดแทรกเพื่อให้การ ด าเนินท านองปี่ชวามีความชัดเจนในลักษณะเสียงสั้น และกลวิธีการประคองลมในห้องที่ 7 ตัวโน้ต เสียง ฟฺ ฟ ฟ เพื่อประคองเสียงช่วงเสียงต่ าให้มีความไพเราะประกอบมีการตอดลิ้นตอดลม 3 เสียง แสดงถึงเสียงที่เป็นอุปสรรคในการเป่าเมื่อฝึกเป่าแล้วจะมีความคล่องตัวในการใช้ลมมากขึ้น ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 7 - - - ร - ร ร ร ด ร ฟํ ร ด ท - ด - - - ด - ด ด ด ล ซ ฟํ ร ด - รดท ท านองปี่ชวาเพลงเบ้าหลุด (เที่ยวกลับต้น) ประโยคที่ 8 - ล - ล - - - ซ - - - ด - - - ท - - ด ร ด ท ฟํ ซ ฟํ ซ ล ซ ล ฟํ - ซ ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 7 พบกลวิธีการตอดลิ้นตอดลม ในห้องที่ 2 ตัวโน้ตเสียง ร ร ร และ ในห้องที่ 6 ตัวโน้ตเสียง ด ด ด เพื่อเน้นเสียงให้มีความชัดเจน 3 พยางค์ ในประโยคที่ 8 พบกลวิธีการประคอง ลม ในห้องที่ 2 – 5 ตัวโน้ตเสียง ด ท ด ร ด ท เพื่อใช้ลมประคองเสียงในช่วงเสียงสูงของปี่ชวาไม่ให้ เพี้ยนท าให้เกิดความไพเราะคุณภาพเสียงที่สมบูรณ์
85 2.3.3 กลวิธีในการบรรเลงปี่ชวาที่ปรากฏในเพลงสะระบุหร่ง ท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 1 - - - ม - ซ – ด - ซฺ - ด - ร - ม - ซ - ม - ร - ซ - ล - ซ - ม - ร ท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 2 - - - ร - ร - ร - ม - ร - ด - ลฺ - ร - ม - ซ - ล - - - ด - - - ร ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 1 ในห้องที่ 3 ตัวโน้ตเสียง ซ ซึ่งตรงกับเสียง “ฮ่อ” พบกลวิธีการประคองลิ้น ประคองลมเพื่อไม่ให้เสียงดังจนเกินไปท าให้เสียง “ฮ่อ” มีความไพเราะ ประโยคที่ 2 ในห้องที่ 6 – 8 ตัวโน้ตเสียง ล ด ร พบกลวิธีการประคองลิ้นประคองลม เพื่อใช้ลมประคองเสียงในช่วงเสียงสูงของปี่ ชวาไม่ให้เพี้ยนท าให้เกิดความไพเราะท านองปี่ชวามีความสมบูรณ์ ท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 3 - - ซ ล ซ ด ร ม ฟํ ม ฟํ ล ซ ฟํ ม ร - ม - ร - ด - ล - ด - ซ - ล - ด ท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 4 ท ซ ล ท ด ล ท ด ร ท ด ร ม ด ร ม ล ซ ร ม ฟํ ล ซ ฟํ ด ฟํ ม ฟํ ร ม ด ร ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 3 ห้องที่ 1 ห้องที่ 2 และห้องที่ 7 ตัวโน้ตเสียง ซ ซึ่งตรงกับเสียง “ฮ่อ” พบ กลวิธีการประคองลิ้นประคองลมเป็นช่วง ๆ เพื่อประคองเสียง “ฮ่อ” ไม่ให้ดังจนเกินไปท านองมีการ เก็บเป็นพยางค์ถี่ๆ ส่วนวรรคหลังมีการแปรท านองใกล้กับท านองหลักท านองปี่ชวามีความสละสลวย ไม่เยอะเยอะจนเกินไป ในประโยคที่ 4 ห้องที่ 1 ตัวโน้ตเสียง ซ (เสียง “ฮ่อ”) พบกลวิธีการประคอง ลิ้นประคองลมในประโยคนี้ท านองปี่ชวามีการแปรจากท านองหลักเป็นท านองเก็บทั้งหมดเพื่อแสดงถึง ความคล่องตัวและแม่นย าในการใช้ลม การใช้ลิ้น การใช้นิ้ว ท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 5 ร ด ร ร ร ม ร ร ร ซ ร ร ร ม ร ร ซ ซ ซ ด ซ ด ร ม ซ ล ซ ร ซ ม ร ด ท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 6 - - ซ ด ท ล ท ด ท ล ร ด ท ล ท ด - ซ - ม - ร - ด - ซ - ด - ท - ล
86 ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 5 พบกลวิธีการตอดลิ้นตอดลม ในห้อง ที่ 1 – 5 ตัวโน้ตเสียง ร ด ร ร ร ม ร ร ร ซ ร ร ร ม ร ร ซ ซ ซ เพื่อเน้นเสียงให้มีความชัดเจนในลักษณะของการตอดเสียงสั้น ๆ หลายพยางค์ และในห้องที่ 5 ตัวโน้ตเสียง ซ ซ ซ ซึ่งตรงกับเสียง “ฮ่อ” มีการตอดลิ้นตอดลมประสมกับการ ประคองลิ้นประคองลมซึ่งมีความยากแสดงให้เห็นถึงความแม่นย าในการใช้ลิ้น การใช้ลม เมื่อผู้เรียน ฝึกแล้วก็จะสามารถใช้กลวิธีการใช้ลม ลิ้นได้คล่องแคล่วขึ้นท านองปี่ชวาในประโยคนี้เป็นการเก็บเป็น พยางค์ถี่ๆ ทั้งหมด ในประโยคที่ 6 พบกลวิธีการประคองลิ้นประคองลม ในห้องที่ 1 และ 7 ตัวโน้ต เสียง ซ เพื่อประคองเสียง “ฮ่อ” ไม่ให้เกิดความดังจนเกินไปในช่วงของกันด าเนินท านองแสดงถึง ความพิถีพิถันในการเป่าปี่ชวา ท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 7 - ท ร ล ท ล ซ ม - ร - ม - ซ - ล - ร - ม - ซ - ล - ร - ล - ด - ร ท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 8 - - - ร - ร ร ร ม ร ด ล - ซ - ด ร ม ซ ล - ด - ร - ม - ร - ด - ล ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 7 ในห้องที่ 6 – 8 ตัวโน้ตเสียง ล ร ล ด ร พบกลวิธีการประคองลิ้นประคองลม เพื่อใช้ลมประคองเสียงในช่วงเสียงสูงของปี่ชวาไม่ให้เพี้ยนท าให้เกิดความไพเราะประโยคที่ 8 พบ กลวิธีการตอดลิ้นตอดลม ในห้องที่ 2 ตัวโน้ตเสียง ร ร ร เพื่อเน้นเสียงให้มีความชัดเจนทั้งหมด 3 พยางค์และพบกลวิธีการประคองลิ้นประคองลม ในห้องที่ 6 ตัวโน้ตเสียง ด ร เพื่อใช้ลมประคองเสียง ในช่วงเสียงสูง ท านองปี่ชวาเพลงสะระบุหร่ง (เที่ยวแรก) ประโยคที่ 9 - - - ซ - - - ล - ร - ล - ด - ร - ซ - ม - ร - ด - - ม ร ด ร - ม ผลการวิเคราะห์กลวิธีพิเศษ ในประโยคที่ 9 ห้องที่ 1 ตัวโน้ตเสียง ซ ตรงกับเสียง “ฮ่อ” พบกลวิธีการใช้นิ้วควงเพื่อเพิ่ม ความไพเราะให้กับท านองปี่ชวาอีกทั้งมีการประคองลมประคองลิ้นไม่ให้เสียงดังจนเกินไปแสดงให้ถึง การฝึกการใช้ลม การใช้ลิ้น การใช้นิ้ว ให้มีความสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดความไพเราะ