The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by g3570kanyatipsa, 2021-03-10 12:45:51

ท่าศาลาศึกษา

ท่าศาลา

Keywords: ท่าศาลา,ศึกษา

รุนแรงในพื้นท่ีภาคใต้ของประเทศไทย ตอนข้ึนฝั่งขนาดเมฆฝนของพายุมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๐๐ กิโลเมตร
กนิ พ้นื ท่เี ป็นวงกว้าง กอ่ ใหเ้ กิดฝนตกหนกั เกิดลมกรรโชกแรง เกิดลมหมุนวนอย่างแรงโยกตน้ ไมล้ ม้ ลงทุกทิศทุกทาง
คลนื่ ลมในอา่ วไทยซดั แหลมตะลมุ พกุ ในอำ� เภอปากพนงั อยา่ งหนกั กวาดบา้ นเรอื นกวาดผคู้ นลงทะเลเสยี หายลม้ ตายลง
เปน็ จำ� นวนมาก ทศิ เหนอื ของจังหวัดนครศรีธรรมราช อาณาบรเิ วณความเสียหายถึงอำ� เภอสชิ ล และ อำ� เภอขนอม
ที่อ�ำเภอท่าศาลาเกิดความเสียหายหนักทกุ พืน้
๓. จัดต้ังโรงเรียนท่าศาลาประสิทธ์ิศึกษา เป็นโรงเรียนประเภทสหศึกษาสังกัดกรมสามัญ
จัดตั้งตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่๑๗ มิถุนายน ๒๕๑๗ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
ประจ�ำอ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช รับนักเรียนชั้น มศ.๑-๓ ระยะแรกใช้ศาลาโรงธรรม วัดท่าสูง
ใช้ใต้ถุนกุฏิเจ้าอาวาสหลังท่ีสอง และ ใช้ใต้ถุนกุฏิยาวเป็นท่ีเรียน โดยศึกษาธิการอ�ำเภอ นายสันติ สุทธิพันธ์
เป็นผู้ประสานงาน โดยใช้ช่ือพระครูประสิทธ์ิถาวรการเจ้าอาวาสวัดท่าสูง ที่อนุญาตให้ใช้ท่ีดินพระวัดนอก
น�ำมาต้ังเป็นชื่อของโรงเรียนว่า โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา (ท.ศ.) โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษามี
อาจารย์ระวัย แก้วเขียว เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก การใช้ที่ดินพระวัดนอกสร้างโรงเรียน วัดท่าสูงมีการท�ำบุญ
ลา้ งปา่ ชา้ ดว้ ย เพราะยงั มกี ระดกู ของคนตายฝงั ไวใ้ นพนื้ ทพี่ ระวดั นอกอกี มาก เมอ่ื สรา้ งอาคารเรยี นบนทดี่ นิ พระวดั นอก
เสร็จแล้ว จึงย้ายนักเรียนย้ายครูออกจากวัดท่าสูงมาเรียนในอาคารใหม่ จากตอนน้ันถึงตอนน้ี โรงเรียนท่าศาลา
ประสิทธิ์ศึกษาขยายชั้นเรียน และ ห้องเรียนเพ่ิมมากข้ึนตามล�ำดับ โรงเรียนอยู่ในเขตชุมชน มีประชากรหนาแน่น
รายรอบไปด้วยบ้านเรือนอาคารร้านค้า วัด ธนาคาร ประชากรในเขตพื้นท่ีบริการของโรงเรียนนับถือศาสนาพุทธ
ร้อยละ ๕๘.๕๐ ศาสนาอิสลามร้อยละ ๓๖.๒๐ ศาสนาคริสต์ร้อยละ ๐.๐๘ และอื่นๆ ร้อยละ ๕.๒๒ ประชากร
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพประมง และ อาชีพค้าขาย ปีการศึกษา ๒๕๕๓ โรงเรยี นเข้าร่วมโครงการ
โรงเรียนคุณภาพมาตรฐานสากล เปิดสอนภาษาต่างประเทศโดยเจ้าของภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ม.ต้น
จำ� นวน ๖ ห้องเรยี น ม.ปลาย จำ� นวน ๒ หอ้ งเรยี น และเปดิ สอนภาษาจีนทกุ ห้องเรียนในระดับชน้ั มธั ยมศกึ ษาปีท่ี ๒
และ ชน้ั มธั ยมศกึ ษาปที ี่ ๔ ทำ� เนยี บของผบู้ รหิ ารโรงเรยี นเรมิ่ จากนายระวยั แกว้ เขยี ว นายมชี ยั ถวาย นายสถติ ไชยรตั น์
นายแข นนทแก้ว นายจรูญ แสนภักดี นายอุทัย เสือทอง นายไพบูลย์ นราทิพย์ (ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการรักษาการ
ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน) นายวินัย ชามทอง นายกรีฑา วีรพงศ์ นายสมนึก รักด�ำ นายสุรพงศ์ เอื้อศิริพรฤทธิ์ และ
นายกำ� พล ทองอยู่ ปัจจุบันโรงเรยี นท่าศาลาประสทิ ธศ์ิ กึ ษา สงั กัดสำ� นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศกึ ษามัธยมศึกษา เขต ๑๒
(สพม.๑๒)
๔. จัดต้ังอ�ำเภอพรหมคีรี เมื่อวันท่ี ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ กระทรวงมหาดไทยประกาศ
ให้ต�ำบลพรหมโลก ต�ำบลบ้านเกาะ ต�ำบลอินคีรี ท่ีอยู่ในเขตอ�ำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และ ต�ำบลทอนหงส์
ทอี่ ยใู่ นเขตอำ� เภอทา่ ศาลา จดั ตงั้ เปน็ กง่ิ อำ� เภอพรหมครี ี ๗-๘ ปตี อ่ มากงิ่ อำ� เภอพรหมครี ยี กฐานะเปน็ อำ� เภอพรหมครี ี
เม่อื วนั ที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๔
ต�ำบลทอนหงส์ของอ�ำเภอท่าศาลาไปตั้งเป็นต�ำบลทอนหงส์ของอ�ำเภอพรหมคีรี ดังน้ัน
หมู่บ้าน โรงเรียน บุคลากร และ วัด ถูกโอนไปสังกัดอ�ำเภอพรหมคีรี ดังเคยอธิบายแล้วว่าเขตต�ำบลทอนหงส์เดิม
ประกอบด้วยพื้นที่ของ ๒ เมือง คือ ส่วนหน่ึงของเมืองโมคลานมีหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านทอนหงส์ บ้านชุมขลิง
บ้านดอนคา บ้านวังลุง เป็นต้น และ ส่วนหนึ่งของเมืองอินคีรีมีหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านเก้ากอ บ้านในเขียว
บา้ นอา้ ยคู บ้านคลองเมยี ด เป็นต้น วดั ของอำ� เภอทา่ ศาลาไปอยู่กบั อ�ำเภอพรหมคีรี ดงั น้ี วัดทอนหงส์ วดั ทา่ ยายหนี
วดั คงคาวง (วดั อา้ ยเขยี ว) โรงเรยี นทเี่ คยอยกู่ บั อำ� เภอทา่ ศาลาโอนไปขน้ึ กบั อำ� เภอพรหมครี ี ดงั นี้ โรงเรยี นบา้ นชมุ ขลงิ
โรงเรียนชุมชนวัดทอนหงส์ โรงเรียนบ้านวังลุง โรงเรียนบ้านในเขียว ครูอาจารย์ท่ีเคยอยู่ในสังกัดอ�ำเภอท่าศาลา

90 หลักสูตรรายวิชาเลอื ก ทา่ ศาลาศกึ ษา

รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้น

ต้องโอนไปสังกัดอ�ำเภอพรหมคีรี เชน่ อ.ธง ทัศนโกวิท ครใู หญ่โรงเรยี นชุมชนวดั ทอนหงส์ อ.นิยม กง่ิ รัตน์ อ.ประจวบ
คุณโลก อ.ผลกึ หวายนำ� อ.จติ ต์ เกิดสมบตั ิ อ.จิตตบ์ ้านอยู่ดอนคา อ. พรหมครี ี แตไ่ ปเปน็ ครใู หญ่ ร.ร.วัดสวนหมาก
อ.ทา่ ศาลา เป็นตน้
การจดั ตงั้ กง่ิ อำ� เภอพรหมครี ที ำ� ใหพ้ น้ื ทขี่ องอำ� เภอทา่ ศาลาลดลง เชน่ พนื้ ทกี่ ารเกษตร พน้ื ทปี่ า่
พน้ื ที่แหล่งท่องเทยี่ ว เชน่ ภูเขา น�ำ้ ตก สายนำ�้ ล�ำคลอง ถ้ำ� และ แหล่งโบราณคดี ท�ำใหผ้ ลประโยชนท์ อี่ �ำเภอท่าศาลา
ได้รบั อยู่ตอ้ งหลุดลอยไป จ�ำนวนประชากรของอำ� เภอทา่ ศาลาโดยรวมก็ลดลงไปดว้ ย
๕. พายโุ ซนรอ้ นฟอรเ์ รสต์ (Forrest) กอ่ ตวั ขน้ึ ในมหาสมทุ รแปซฟิ กิ เมอื่ วนั ที่ ๑๐ พฤศจกิ ายน
พ.ศ. ๒๕๓๕ เมื่อเคลื่อนตัวสู่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง ได้อ่อนก�ำลังลงกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต�่ำอยู่ระยะหนึ่ง
ต่อมา วันท่ี ๑๓ พฤศจิกายน ได้ทวีก�ำลังแรงข้ึนเป็นพายุดีเปรสชัน และ ทวีก�ำลังเป็นพายุเขตร้อนตามล�ำดับ
เคลอื่ นตวั เขา้ สอู่ า่ วไทย และ ขน้ึ ฝง่ั บรเิ วณจงั หวดั นครศรธี รรมราชในขณะทเ่ี ปน็ พายเุ ขตรอ้ น เมอื่ วนั ท่ี ๑๕ พฤศจกิ ายน
พัดผา่ นอำ� เภอท่าศาลา อำ� เภอสิชล เคล่อื นตัวผา่ นสรุ าษฎรธ์ านี พังงา ลงสู่ทะเลอนั ดามนั ในวันท่ี ๑๖ พฤศจกิ ายน
พายลุ กู นข้ี ณะอยใู่ นทะเลทำ� ใหเ้ กดิ คลน่ื ลมแรงจดั เมอื่ เคลอื่ นขน้ึ สฝู่ ง่ั จงึ ทำ� ความเสยี หายอยา่ งมากมายใหแ้ กบ่ า้ นเรอื น
โรงเรียน วดั วาอาราม ไร่นา ผู้คน สตั ว์เล้ยี ง ในจังหวัดนครศรธี รรมราช และ สรุ าษฎรธ์ านี ประเมินความเสียหาย
มากกวา่ ๓,๐๐๐ ล้าน บาท
พายฟุ อร์เรสต์ขึน้ ฝง่ั ทอี่ ำ� เภอทา่ ศาลาตอนกลางวนั ชว่ งบา่ ยประมาณ ๑๓.๓๐ น. ความแรง
ของพายฟุ อรเ์ รสตน์ อ้ ยกวา่ ความแรงของพายแุ ฮรเ์ รยี ตเมอ่ื พ.ศ. ๒๕๐๕ จำ� ไมไ่ ดว้ า่ มคี นเสยี ชวี ติ หรอื ไม่ ความเสยี หาย
สว่ นใหญ่เกิดข้นึ กบั ตัวอาคารบ้านเรอื น โรงเรยี น วัดวาอาราม เรือกส่วน สตั วเ์ ล้ียง โดยมีบา้ นของราษฎรพงั เสียหาย
หลายหลัง อาคารเรียนสว่ นใหญ่เสียหายที่กระเบื้องมุงหลงั คา ถกู แรงลมพัดกระหนำ� ทำ� ใหก้ ระเบ้ืองหลดุ รว่ งแตกหัก
ลงมา
๖. จัดตง้ั มหาวิทยาลยั วลยั ลักษณ์ (วันท่ี ๒๙ มนี าคม ๒๕๓๕)
เม่ือ พ.ศ. ๒๕๑๐ ชาวนครศรีธรรมราชเริ่มรณรงค์ เรียกร้องให้มีการจัดต้ังมหาวิทยาลัย
ในจงั หวัดนครศรธี รรมราช จนกระทงั่ คณะรฐั มนตรีได้มีมติเมือ่ วนั ที่ ๑๓ กนั ยายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ให้จัดต้งั วทิ ยาลยั
นครศรธี รรมราชสงั กัดมหาวทิ ยาลยั สงขลานครินทร์ เพื่อยกฐานะเปน็ มหาวทิ ยาลัยเอกเทศในอนาคต แตก่ ไ็ ด้ยกเลิก
มติดังกล่าวในเวลาต่อมา และ อนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยท่ีจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๓๔ เมอ่ื วันที่ ๘ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั ฯ ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ โปรด
กระหม่อม พระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” อันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจา้ ฟา้ จุฬาภรณ์วลยั ลักษณ์ อัครราชกมุ ารี ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ สภานิติบัญญัติแหง่ ชาติมีมตใิ หค้ วามเหน็ ชอบ
พระราชบญั ญตั มิ หาวทิ ยาลยั วลยั ลกั ษณ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และ เม่ือ วนั ที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย ด้วยเหตนุ ้ี มหาวทิ ยาลยั วลัยลกั ษณถ์ ือเอาวันที่ ๒๙ มนี าคม พ.ศ. ๒๕๓๕
เป็นวนั สถาปนามหาวิทยาลยั ดงั น้ันวนั ท่ี ๒๙ มีนาคมของทุกปี จงึ เปน็ วนั คลา้ ยวนั สถาปนามหาวิทยาลัยวลยั ลักษณ์
วันท่ี ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทาน
พระอนญุ าตใหอ้ ัญเชญิ อักษรย่อ คอื พระนาม จ.ภ. ซึง่ เป็นพระนามยอ่ ของพระองค์ มาเปน็ ตราประจ�ำมหาวทิ ยาลยั
๒๔ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๓๖ จดั ตงั้ สำ� นกั งานอธกิ ารบดี และ หนว่ ยประสานงานมหาวทิ ยาลยั วลยั ลกั ษณ์ กรงุ เทพมหานคร
ณ อาคารทบวงมหาวิทยาลัย ถนนศรอี ยุธยา เขตพญาไท กรงุ เทพมหานคร และ ในวนั ที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี ศาสตราจารย์ดร.เกษม สุวรรณกุล เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยท่านแรก
และ ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน ด�ำรงต�ำแหน่งรักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

หลักสูตรรายวชิ าเลือก ทา่ ศาลาศึกษา 91

รหสั วชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน้

วนั ท่ี ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ศาสตราจารย์ ดร.สมเดจ็ พระเจา้ ลูกเธอ เจ้าฟ้าจฬุ าภรณ์วลยั ลักษณ์ อคั รราชกุมารี
เสด็จพระด�ำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ�ำเภอท่าศาลา
จังหวัดนครศรีธรรมราช วันนี้เป็นวันมงคลยิ่งของชาวมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
จดั แถลงข่าวเรือ่ งการเปดิ รับนักศึกษา ปกี ารศกึ ษา ๒๕๔๑ วนั ท่ี ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เปิดเรยี นเปดิ สอน
เปน็ วันแรก
เบื้องหลังและผลพวงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ้ืนที่นับหมื่นไร่ท่ีใช้จัดตั้ง
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ้ืนท่ีบริเวณน้ีผ่านความเจริญและผ่านความเสื่อมมาแล้วหลายครั้ง มนุษย์ลงมาจากภูเขา
ละทิ้งเถือ่ นถำ้� และเพงิ ผา มาอาศยั อยู่บนพ้นื ราบตามสองฝั่งของลำ� นำ้� คลองชุมขลงิ คลองเกียบ ครองตลู คลองปุด
คลองท่าพุด และ คลองท่าเปรง พัฒนาจากชุมชนบรรพกาลมีการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ อยู่อาศัยต่อเนื่องกันมา
จนกลายเปน็ ชมุ ชนใหญ่ มหี มบู่ า้ นขนาดใหญห่ ลายหมบู่ า้ น วดั วาอารามโบสถพ์ ราหมณ์ ถกู กอ่ สรา้ งขนึ้ มาตามความเชอ่ื
ของผู้คนในแต่ละยุคแต่ละสมัย ชุมชนของหมู่บ้านบางคร้ังก็ถูกภัยของโรคร้ายหรืออาจเกิดภัยพิบัติจากสงคราม
ทำ� ใหผ้ คู้ นละทง้ิ ถน่ิ ฐานหลบไปอยใู่ นทป่ี ลอดภยั หลงั จากนนั้ กห็ วนกลบั มาอยอู่ าศยั กนั ใหม่ เปน็ อยแู่ บบนต้ี อ่ เนอื่ งกนั
มานานนับพันปี พ้ืนท่ีของมหาวิทยาลัยจึงมีหมู่บ้านมีศาสนสถานทั้งของพุทธและของพราหมณ์อยู่เป็นจ�ำนวนมาก
เช่น โบราณสถานตุมปัง วัดเกาะพระนารายณ์ วัดนางตรา วัดท่าคอย วัดแสงแรง วัดจันตก วัดจันออก วัดกลาง
วดั นาเตย วดั ทา่ สงู (ต้ังอยรู่ มิ สันทรายดา้ นตะวันตก) วัดขุนโขลง วดั ดาน วัดคลองดนิ วดั กลุ วดั ม่วงมอน วดั นางสระ
(ปัจจบุ นั คือวดั สระประดิษฐ)์ วัดป่า (โมคลาน) วัดใหญ่ (วัดใหญ่รัตนโพธ)์ิ เป็นตน้ ดงั ได้อธิบายเอาไวว้ ่า ขา้ วมีความ
สำ� คญั มาก พน้ื ทบ่ี รเิ วณนผ้ี คู้ นในสมยั กอ่ นจงึ ใชท้ ำ� นาปลกู ขา้ ว มผี คู้ นอาศยั กนั ทพ่ี น้ื ราบทางดา้ นตะวนั ตกของสนั ทราย
อยู่กันเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ขณะท่ีพ้ืนที่บนสันทรายยังเป็นป่ารกทึบไม่มีบ้านไม่มีผู้คนอยู่อาศัย บนสันทราย
จงึ เตม็ ไปดว้ ยตน้ ไมข้ นาดใหญ่ เชน่ ตน้ ยางนา ตน้ ตะเคยี น ยงั มไี มข้ นาดใหญป่ ระเภทไมเ้ นอื้ ออ่ นอกี มากมายหลายพนั ธ์ุ
อย่างไรก็ตามแม้สันทรายจะไม่มีผู้คนอยู่อาศัย แต่ปากน�้ำของสันทรายกลับมีผู้คนอยู่อาศัยกันเป็นจ�ำนวนมาก
เพราะตรงปากนำ�้ เปน็ ทางเขา้ ออกของผคู้ นทเ่ี ดนิ ทางโดยทางเรอื ไปยงั สถานทที่ อี่ ยไู่ กลออกไปจากชมุ ชนทตี่ นอยอู่ าศยั
รวมท้ังเรือจากต่างประเทศทีแ่ วะเวยี นเขา้ มารับส่งสินคา้ เชน่ อนิ เดยี อาหรบั จีน ลงั กา ชวา เขมร ญวน เป็นตน้
คร้นั เวลาผา่ นไปไมน่ านนักช่วงหน่ึงร้อยกว่าปีทผ่ี ่านมา ชาวบา้ นอพยพไปปลกู สร้างบ้านเรือนกัน
บนสันทราย ดงั น้ัน ก่อนการใชพ้ ้ืนทด่ี งั กล่าวจัดตง้ั มหาวทิ ยาลยั วลยั ลักษณ์ พื้นท่บี ริเวณนจ้ี งึ เปน็ ท่นี าและป่าละเมาะ
มีกอไผ่ข้ึนกระจัดกระจายเรียกว่าทุ่งบ้านไผ่ บ้านเรือนผู้คนมีไม่มากนักเน่ืองจากชาวบ้านส่วนใหญ่ขึ้นไปอยู่อาศัย
บนสนั ทรายกนั เกอื บหมด เมอ่ื มกี ารสรา้ งมหาวทิ ยาลยั กต็ อ้ งยา้ ยชาวบา้ นไปอยใู่ นชมุ ชนใหม่ โดยแบง่ ทด่ี นิ ใหช้ าวบา้ น
ไดท้ ำ� มาหากนิ ครอบครวั ละ ๕ ไร่ ชมุ ชนใหมอ่ ยทู่ างตะวนั ตกของมหาวทิ ยาลยั วลยั ลกั ษณ์ บางครอบครวั กไ็ มย่ อมยา้ ย
ไปอยู่ในชุมชนใหม่ ยังคงอาศัยที่บ้านของตน ทางราชการน่าจะจัดสรรท่ีดินด้านตะวันตกที่ยังพอมีอยู่ เช่น
ที่ดนิ รมิ คลองวงั แร่ทีป่ จั จบุ นั ใหช้ าวบ้านเชา่ ปลกู แตงโม จดั สรรใหก้ ับชาวบ้านส่วนทีย่ งั ไม่ย้ายออกไป ไม่แน่นกั ครั้งนี้
ชาวบา้ นอาจจะยา้ ยออกไปกไ็ ด้ ซง่ึ จะทำ� ใหม้ หาวทิ ยาลยั วลยั ลกั ษณม์ อี าณาบรเิ วณทเี่ ปน็ เอกเทศ มคี วามเปน็ ระเบยี บ
เรยี บร้อยดี
๗. การจดั ตง้ั องคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำ� บล มชี อ่ื ยอ่ อยา่ งเปน็ ทางการวา่ อบต. มฐี านะเปน็ นติ บิ คุ คล
และ เป็นหน่วยงานราชการสว่ นทอ้ งถิ่นรูปแบบหนึง่ จัดตงั้ ขนึ้ ตามพระราชบัญญัตสิ ภาต�ำบล และ องคก์ ารบริหาร
ส่วนต�ำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และ แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับท่ี ๖ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยยกฐานะของสภาต�ำบลที่มีรายได้
โดยไม่รวมเงินอุดหนุน ในปีงบประมาณท่ีล่วงมาติดต่อกันสามปี เฉล่ียไม่ต่�ำกว่าปีละหน่ึงแสนห้าหม่ืนบาท
ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ มีองค์การบริการส่วนต�ำบลทั้งส้ิน ๕,๓๓๕ แห่งทั่วประเทศ องค์การบริหาร

92 หลกั สตู รรายวชิ าเลือก ท่าศาลาศกึ ษา

รหัสวชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

สว่ นตำ� บล ประกอบด้วยสภาองคก์ ารบรหิ ารส่วนตำ� บล และ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล สภาองคก์ ารบริหาร
ส่วนต�ำบลประกอบดว้ ยสมาชกิ สภาองค์การบริหารสว่ นต�ำบล จ�ำนวนหม่บู ้านละ ๒ คน เลอื กต้งั โดยราษฎรผูม้ ีสิทธิ์
เลือกตง้ั ในแตล่ ะหมูบ่ า้ น ในเขตองคก์ ารบริหารสว่ นตำ� บลนั้นๆ กรณีเขตต�ำบลมเี พียง ๑ หมู่บ้าน ใหม้ ีสมาชิกองคก์ าร
บริหารต�ำบลได้ ๖ คน กรณีมี ๒ หมู่บ้าน มีสมาชิกสภาต�ำบลได้หมู่บ้านละ ๓ คน รวมกันมีได้ไม่เกิน ๖ คน
องคก์ ารบริหารส่วนต�ำบลมนี ายกองค์การบรหิ ารสว่ นตำ� บล ๑ คน ซึ่งมาจากการเลอื กตัง้ จากราษฎรโดยตรงภายใน
ต�ำบลน้ันๆ และ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลสามารถแต่งต้ังรองนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลได้ ๒ คน
ภายในองค์การบริหารส่วนต�ำบลมีข้าราชการจากกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ เท่าท่ีจ�ำเป็นมาปฏิบัติหน้าท่ี
เป็นขา้ ราชการประจำ� โดยอยูภ่ ายใตก้ ารควบคุมของปลัดองคก์ ารบริหารส่วนตำ� บล
๘. จดั ต้ังอ�ำเภอนบพติ �ำ พื้นที่อำ� เภอนบพติ ำ� ทุกต�ำบลแตเ่ ดมิ เป็นสว่ นหน่งึ ของอำ� เภอทา่ ศาลา
เมื่อวันท่ี ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ กระทรวงมหาดไทยแยกพื้นที่ของอ�ำเภอท่าศาลา คือ ต�ำบลนบพิต�ำ และ
ต�ำบลกะหรอ ไปจัดต้ังเป็นก่ิงอ�ำเภอนบพิต�ำ หมายความว่า น�ำเมืองร่อนกะหรอและเมืองนบพิต�ำในอดีตไปจัดต้ัง
เปน็ กิง่ อ�ำเภอนบพิตำ� การจดั ต้ังก่ิงอ�ำเภอนบพติ �ำมีผลต้งั แตว่ นั ท่ี ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๘ ตอ่ มาในวันที่ ๒๔ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๕๐ มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะก่ิงอ�ำเภอนบพิต�ำข้ึนเป็นอ�ำเภอนบพิต�ำ มีผลตั้งแต่วันท่ี ๘ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๕๐
เมอื่ ตำ� บลกะหรอและตำ� บลนบพติ ำ� ตงั้ เปน็ กง่ิ อำ� เภอนบพติ ำ� มี หมบู่ า้ น วดั โรงเรยี น บคุ ลากร
อาคารสถานที่ และ ส่ิงต่างๆ ถูกโอนไปสังกัดกิ่งอ�ำเภอนบพิต�ำ เช่น บ้านตลาดจันทร์ บ้านไสรักษ์ บ้านสะดวด
บ้านอู่ทอง บา้ นหวั ทุ่ง บ้านตลาดศุกร์ บา้ นนานอน บ้านนาเหรง บ้านในตลู บ้านโรงเหลก็ บา้ นทา่ พดุ บา้ นลานวัว
บา้ นวงั เลา บ้านพงั หรัน บา้ นทอนผกั กดู บา้ นสวนกลาง บา้ นราโพธิ์ บา้ นนบ บ้านเปียน บา้ นปากลง บ้านกรงุ ชิง
บา้ นทบั นำ�้ เตา้ เปน็ ตน้ หากพดู ถงึ ทรพั ยากรธรรมชาตติ า่ งๆ ทอี่ ำ� เภอทา่ ศาลาเคยไดร้ บั ผลประโยชนจ์ ากดนิ แดนแถบน้ี
เม่ือเกิดก่ิงอ�ำเภอนบพิต�ำท�ำให้อ�ำเภอท่าศาลา สูญเสียผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติไปท้ังหมด
อยา่ งไรกต็ ามในการทำ� เหมอื งแรต่ า่ งๆ ทตี่ ง้ั ของบรษิ ทั เหมอื งแรก่ ย็ งั ตง้ั มน่ั อยทู่ อ่ี ำ� เภอทา่ ศาลา ปจั จบุ นั อำ� เภอนบพติ ำ�
เป็นแหล่งดูดทรายที่ส�ำคัญที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช คลองกลายมีแหล่งทรายตลอดล�ำน้�ำ ทรายถูกดูด
ถกู ขนเข้าตัวจังหวัดและอ�ำเภอตา่ งๆ ในแตล่ ะวันจำ� นวนมหาศาล รถ ๔ ลอ้ รถ ๖ ล้อ รถ ๑๐ ลอ้ รถพว่ ง ๑๘ ล้อ
ขนทรายจากคลองกลายทง้ั กลางวนั กลางคนื มผี ลกระทบกบั ธรรมชาตเิ ปน็ อยา่ งมาก เพราะการดดู ทรายทำ� ใหพ้ น้ื ดนิ
ริมคลองกลาย เช่น สวนยางพารา สวนปาล์มน�้ำมัน ไร่ข้าวโพด ไร่ยาสูบ ไร่พริก สไลด์ลงไปแทนทรายท่ีถูกดูด
เกดิ ความเสยี หายกบั คนทม่ี ที ีด่ ินอยรู่ มิ คลอง ทสี่ �ำคัญคือในอดตี ทรายจากคลองกลายถกู กระแสน้�ำพดั ลงส่ทู อ้ งทะเล
แตล่ ะปจี ะมีทรายไหลลงทะเลเป็นจ�ำนวนมาก เม่อื ขาดทรายทจ่ี ะเตมิ ลงไปในทะเล เพราะทรายถูกดดู เสยี กอ่ นไปถงึ
ทะเล จงึ ไมม่ ที รายไหลลงทะเลมาหลายปแี ลว้ ถงึ วนั นท้ี ะเลเรมิ่ กนิ พนื้ ดนิ รมิ ชายหาดบรเิ วณตำ� บลกลาย ตำ� บลสระแกว้
ต�ำบลท่าขึ้น และ ต�ำบลท่าศาลา ชาวบ้านต้องสูญเสียพ้ืนที่สวนมะพร้าวปีละ ๑-๒ แถว ทุกปี เพราะทะเลรุก
คืบเข้ามากินสวนมะพร้าวของชาวบ้าน ดังนั้น ควรยกเลิกสัมปทานดูดทรายในคลองกลายเพราะเกิดผลเสีย
มากกว่าผลดี

หลักสตู รรายวิชาเลือก ทา่ ศาลาศกึ ษา 93

รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน้

รัชกาลท่ี ๑๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
(พ.ศ. ๒๕๕๙ – ถงึ ปัจจุบัน)

สมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัว มหาวชริ าลงกรณ บดินทรเทพยวรางกรู ทรงเปน็ พระราชโอรสในพระบาท
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ
เมือ่ วนั จนั ทร์ที่ ๒๘ ก.ค.๒๔๙๕ ณ พระท่นี ัง่ อัมพรสถาน พระราชวัง
ดุสิต ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าวชริ าลงกรณ
ทรงมีพระเชษฐภคินี คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระขนิษฐา
๒ พระองค์ คือ สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ า เจ้าฟา้ มหาจกั รสี ริ ินธร
รฐั สมี าคณุ ากรปยิ ชาติ สยามบรมราชกมุ ารี และสมเดจ็ พระเจา้ ลกู เธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลยั ลักษณ์ อคั รราชกมุ ารี
พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช
ทรงสถาปนาขนึ้ เปน็ สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าช เจา้ ฟา้ มหาวชิ ราลงกรณ
สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๒๘ ธ.ค.๒๕๑๕ ขณะน้ันทรงเจริญ
พระชนมายุ ๒๐ พรรษา นับเป็นกระบวนการสืบราชสันตติวงศ์
ทช่ี ดั เจนตามกฎมณเฑยี รบาลว่าดว้ ยการสืบสนั ตติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๗
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชริ เกล้าเจา้ อยหู่ วั (พระราชสมภพ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕) เปน็ พระมหากษตั ริยไ์ ทยรชั กาลท่ี ๑๐ แหง่
ราชวงศ์จักรี เสดจ็ ขน้ึ ครองราชย์เม่ือวนั ที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ จนถงึ ปัจจุบนั เป็นพระราชโอรสพระองคเ์ ดยี ว
ในพระบาทสมเดจ็ พระมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร และสมเดจ็ พระนางเจา้ สริ กิ ติ ิ์ พระบรมราชนิ นี าถ
พระบรมราชชนนพี ันปีหลวง พระองค์มพี ระเชษฐภคนิ แี ละพระขนิษฐภคนิ รี ่วมพระราชชนนี 3 พระองค์
ในหลวง ร.10 พระราชทางโครงการ “จติ อาสาเราท�ำความดี ด้วยหวั ใจ” เพ่อื สง่ เสรมิ ให้คนไทย
สมัครสมานสามคั คี สร้างสรรคค์ วามดเี พ่อื ประโยชนต์ ่อประเทศชาตไิ ม่หวงั สง่ิ ตอบแทน

94 หลักสตู รรายวิชาเลอื ก ทา่ ศาลาศกึ ษา

รหสั วิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น

บ๓ทท่ี นามบา้ น นามเมอื ง

สาระสำ� คญั

ลักษณะการต้ังถ่ินฐาน หลักฐาน ภูมิหลัง ความเป็นมาของการต้ังชื่อหมู่บ้าน ในต�ำบลท่าศาลา
และต�ำบล ในเขตอำ� เภอทา่ ศาลา

ตัวชีว้ ดั

๑. อธบิ ายภูมิหลัง ความเป็นมาของการตัง้ ช่ือต�ำบลในอำ� เภอทา่ ศาลา
๒. อธิบายภมู ิหลงั ความเป็นมาของการต้ังชอ่ื หมูบ่ ้านในตำ� บลทา่ ศาลา

ขอบข่ายเน้ือหา

เรอ่ื งท่ี ๑ ภูมหิ ลัง ความเปน็ มาการตงั้ ชอ่ื ตำ� บลในอ�ำเภอทา่ ศาลา
๑.๑ ตำ� บลท่าศาลา
๑.๒ ตำ� บลสระแกว้
๑.๓ ตำ� บลโพธท์ิ อง
๑.๔ ต�ำบลดอนตะโก
๑.๕ ตำ� บลท่าขึน้
๑.๖ ต�ำบลกลาย
๑.๗ ตำ� บลหัวตะพาน
๑.๘ ต�ำบลโมคลาน
๑.๙ ตำ� บลไทยบุรี
๑.๑๐ ต�ำบลตลง่ิ ชัน
เร่อื งที่ ๒ ภมู หิ ลงั ความเป็นมาการตัง้ ชอ่ื หม่บู ้านในต�ำบลทา่ ศาลา
๒.๑ หมู่ ๑ บา้ นโดน
๒.๒ หมู่ ๒ บ้านเตาหมอ้ เหนอื บ้านโคกเหรียง บา้ นสกี่ ๊ัก บา้ นทงุ่ เขื่อน
๒.๓ หมู่ ๓ บา้ นทา่ สงู บา้ นนางตรา
๒.๔ หมู่ ๔ บา้ นท่าสูงบน
๒.๕ หมู่ ๕ บ้านในถงุ้
๒.๖ หมู่ ๖ บา้ นสระบัว
๒.๗ หมู่ ๗ บ้านหน้าทบั
๒.๘ หมู่ ๘ บ้านปากนำ�้ ใหม่
๒.๙ หมู่ ๙ บา้ นด่านภาษี
๒.๑๐ หมู่ ๑๐ บ้านบอ่ นนท์
๒.๑๑ หมู่ ๑๑ บา้ นฝายทา่

หลักสตู รรายวิชาเลือก ท่าศาลาศกึ ษา 95

รหัสวชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้

๒.๑๒ หมู่ ๑๒ บ้านในไร่
๒.๑๓ หมู่ ๑๓ บา้ นในไร่ บา้ นเตาหมอ้ ใต้ บ้านสวนพรกิ
๒.๑๔ หมู่ ๑๔ บา้ นแหลม
๒.๑๕ หมู่ ๑๕ บา้ นบางตง

เวลาท่ีใช้ในการศกึ ษา ๘ ชัว่ โมง
สอื่ การเรยี นรู้

๑. ชดุ วิชาท่าศาลาศึกษา รหัสรายวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗
๒. สมดุ บนั ทึกกิจกรรมการเรียนรูป้ ระกอบชดุ วชิ าท่าศาลาศึกษา รหัสรายวชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗
๓. สอื่ เสรมิ การเรยี นรอู้ ่นื ๆ

96 หลักสูตรรายวิชาเลอื ก ทา่ ศาลาศึกษา

รหสั วิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้น

เร่อื งที่ ๑ ภมู หิ ลงั ความเปน็ มาของการตง้ั ช่ือตำ�บลในอำ�เภอทา่ ศาลา

ดินแดนนี้เป็นท่ีตั้งของเมืองโบราณพลเมืองเป็นคนไทยเผ่าไทโยจากหลักฐานท่ีค้นพบอ�ำเภอท่าศาลา
มีการปกครองระบบหัวเมืองมาแต่ปลายสมัยอยุธยา และในสมัยรัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นศักด์ิพลเสพย์ จัดตั้งราชการเมืองนครศรีธรรมราชให้ครบทุกต�ำแหน่ง ซึ่งอ�ำเภอท่าศาลาแยกการปกครอง
ดงั น้ี
๑. เมอื งไทยบรุ ี มีออกหลวงไทยบุรสี งครามเปน็ นาย ถือศักดินา ๑๒๐๐ ขุนราชบุรเี ป็นรอง ถอื ศักดินา
๔๐๐ หมื่นเทพบุรีกบั หมน่ื บานบรุ ีเปน็ สมหุ บ์ ญั ชี ถือศกั ดินา ๒๐๐ หมืน่ สทิ ธิ์เปน็ สารวตั รถือศกั ดนิ า ๒๐๐
๒. เมอื งร่อนกะหรอ (ต�ำบลกะหรอ ก่งิ อำ� เภอนบพติ �ำ) ขุนชยั บุรีเปน็ นาย ถือศักดินา ๔๐๐ หม่ืนศักดิ์บุรี
เป็นรอง ถอื ศกั ดนิ า ๓๐๐ หมืน่ จงบุรเี ป็นสมุหบ์ ัญชี ถอื ศกั ดินา ๒๐๐
๓. เมอื งกลาย ขนุ พชิ ยั ธานสี งครามเปน็ นาย ถอื ศกั ดนิ า ๖๐๐ หมน่ื ราชบรุ เี ปน็ รอง ถอื ศกั ดนิ า ๓๐๐ หมนื่
รกั ษาบรุ กี บั หม่นื อนิ ศรเี ปน็ สมหุ ์บัญชี ถอื ศักดนิ า ๒๐๐
๔. เมอื งโมคลาน ขุนทณั ฑ์ธานีเปน็ นาย ถือศักดนิ า ๔๐๐ หมื่นชลบรุ ีเป็นรอง ถือศักดนิ า ๓๐๐
๕. เมืองนบพิต�ำ ขุนเดชธานนี บพิตำ� เปน็ นาย ถอื ศกั ดินา ๔๐๐ หมนื่ หาญเปน็ รอง ถือศกั ดินา ๓๐๐ หม่นื
จบบุรีเป็นสมุห์บญั ชี ถอื ศักดนิ า ๒๐๐
ครั้นถึงสมัยรัชกาลท่ี ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการปฏิรูปการปกครองเป็นมณฑล ร.ศ. ๑๑๖
ออกเปน็ ๙ อ�ำเภอ คือ อ�ำเภอกลางเมือง อำ� เภอเบีย้ ซัด อำ� เภอร่อนพิบูลย์ อ�ำเภอสชิ ล อ�ำเภอลำ� พนู อ�ำเภอฉวาง
อำ� เภอท่งุ สง อ�ำเภอกลาย อำ� เภอเขาพงั ไกร
อ�ำเภอกลายมี ๑๐ ต�ำบล คือ ต�ำบลกลาย ต�ำบลท่าศาลา ต�ำบลท่าขึ้น ต�ำบลสระแก้ว ต�ำบลไทยบุรี
ตำ� บลกะหรอ ต�ำบลนบพิตำ� ต�ำบลหวั ตะพาน ตำ� บลโมคลาน ต�ำบลดอนตะโก มนี ายเจริญฯ เปน็ นายอ�ำเภอคนแรก
เมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ - ๑๑๘ ท่ีว่าการอ�ำเภอต้ังอยู่ริมทะเลบ้านปากน�้ำท่าสูง ได้ย้ายไปตั้งท่ีวัดชลธาราม (วัดเตาหม้อ)
จนถึง พ.ศ. ๒๔๕๙ จึงได้ย้ายที่ว่าการอ�ำเภอมาต้ังในบ้านศาลาน�้ำ ที่เรียกกันว่า ท่าหลา เพราะมีศาลาที่ท่าเรือ
เปลยี่ นชื่ออำ� เภอกลายมาเป็นอำ� เภอท่าศาลา

ปัจจุบัน อ�ำเภอท่าศาลาการแบ่งการปกครองออกเป็น ๑๐
ตำ� บล คือ ตำ� บลทา่ ศาลา ตำ� บลสระแก้ว ต�ำบลโพธิท์ อง ตำ� บลดอนตะโก
ตำ� บลท่าข้ึน ต�ำบลกลาย ต�ำบลหวั ตะพาน ต�ำบลโมคลาน ต�ำบลไทยบุรี
และต�ำบลตลงิ่ ชัน โดยแต่ละต�ำบลมีประวตั คิ วามเป็นมา ดงั นี้

๑.๑ ตำ� บลทา่ ศาลา

ตามหนังสือท่าศาลาศึกษา ด้วยรักและภูมิใจ
ในแผน่ ดนิ ทา่ ศาลา ๑๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยอาจารยบ์ ญุ เสรมิ แกว้ พรหม
ได้เขียนไวใ้ นหนา้ ๑๓ “ทา่ ศาลา” กล่าวว่า บา้ นท่าศาลา คอื ชอื่ หมบู่ ้าน
ทต่ี ง้ั อยรู่ มิ คลองทา่ ศาลาเปน็ คลองเลก็ ๆ แยกจากคลองทา่ สงู เปน็ ทา่ จอด
เรือสินค้าจากต่างเมือง และมีศาลาพักร้อนปลูกอยู่ที่ท่าจอดเรือ
“ทา่ ศาลา” จงึ เปน็ ชอื่ หมบู่ า้ นตามนยั น้ี และเมอ่ื ยา้ ยทตี่ ง้ั จากวดั เตาหมอ้

หลักสตู รรายวชิ าเลอื ก ท่าศาลาศึกษา 97

รหัสวชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศึกษาตอนตน้

มาตั้งที่หมู่บ้านนี้จึงเปลี่ยนเป็นช่ืออ�ำเภอท่าศาลา เป็นไปตามช่ือหมู่บ้าน ปัจจุบันมีศาลาซึ่งเป็นพ้ืนคอนกรีต
มุงกระเบ้ือง เป็นศาลาถาวรต้ังอยู่ริมคลองท่าศาลา บริเวณท่าจอดเรือสมัยก่อนอยู่หลังหน่ึง เรียกว่า “ศาลาน้�ำ”
(ศาลาดังกล่าวได้รับการปรับปรุงโดยสุขาภิบาลท่าศาลา) ค�ำว่า “ท่าศาลา” เป็นค�ำท่ีออกเสียงตามภาษากลาง
ซ่ึงเปน็ ภาษาราชการ แตภ่ าษาใต้ซง่ึ เปน็ ภาษาพูดของคนนครโดยทว่ั ไปน้นั คงเรียกวา่ “ท่าหลา” นัน้ เอง

๑.๒ ต�ำบลสระแกว้

ชอ่ื ตำ� บลสระแกว้ ตามประวตั ศิ าสตรท์ สี่ บื ทราบวา่ มคี นไปขดุ ดนิ เพอ่ื ตกแตง่ สระนำ�้ จะไดใ้ ชน้ ำ้� ทดี่ ี
กพ็ บลกู แกว้ สเี ขยี วและเปน็ กลี่ กู กห็ าทราบไม่ ตอ่ มาจงึ เรยี กพน้ื ทน่ี วี้ า่ สระแกว้ และในปี พ.ศ. ๒๓๕๔ ตรงกบั รชั กาลท่ี ๒
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยานครศรีธรรมราชได้จัดการปกครองเมืองนครให้ทันสมัยแบบเมืองกรุง
และส่วนภายนอกเมอื งแบ่งการปกครองออกเปน็ เมืองยอ่ ยๆ ได้ ๑๐ เมือง ๑๔ อำ� เภอ ๒๖ ตำ� บล ๓ แขวง ๔ ด่าน
การปกครองแบบอ�ำเภอสิชลน้ัน ก็มีอ�ำเภอกลายขึ้นด้วยอ�ำเภอหนึ่ง โดยต้ังท่ีท�ำการอ�ำเภอที่วัดมเหยงค์ สระแก้ว
กต็ ้องอยภู่ ายใต้การปกครองของอำ� เภอกลายไปดว้ ย มขี ุนพชิ ัยธานี ศรสี งครามเป็นหวั หน้า ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ แห่ง
กรุงรัตนโกสินทร์ ได้ตราพระราชบัญญัติการปกครองท้องถิ่นขึ้นเสียใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยตัดค�ำว่าเมืองออก
และจัดตงั้ อำ� เภอข้ึนทวั่ ประเทศ เมืองนครก็คงเหลือ ๙ อำ� เภอ คำ� ว่ากลายก็คงเปน็ อำ� เภอคงเดิม การปกครองภายใน
อ�ำเภอก็แยกออกเป็นต�ำบลสระแก้วถูกจัดต้ังขึ้นเป็นต�ำบล ๆ หนึ่งด้วย ปัจจุบันต�ำบลสระแก้วแบ่งการปกครอง
ออกเปน็ ๑๑ หมูบ่ า้ น

๑.๓ ตำ� บลโพธทิ์ อง

ตำ� บลโพธท์ิ องเปน็ ต�ำบลทเ่ี พงิ่ เกดิ ขนึ้ ใหมโ่ ดยแยกมาจากตำ� บลหวั ตะพานเดมิ สว่ นมากจะอพยพ
จากถน่ิ ทอ่ี ยอู่ น่ื คอื ผทู้ นี่ บั ถอื ศาสนาพทุ ธ ซง่ึ สว่ นใหญจ่ ะมาจากตำ� บลหวั ตะพานและชมุ ชนดง้ั เดมิ คอื “ชมุ ชนบา้ นโคก”
ซง่ึ เป็นชมุ ชนโบราณต้ังอยูท่ างทิศตะวนั ตกสุดของหมู่ที่ ๑ ตำ� บลโพธท์ิ องติดต่อกับต�ำบลหวั ตะพาน ตอ่ มาได้อพยพ
มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนใหม่ บริเวณสันทรายทางด้านทิศตะวันออกในหมู่ที่ ๑, ๒ของต�ำบล ปัจจุบัน “บ้านโคก”
ไมม่ ีสภาพเปน็ ชุมชนอกี สว่ นผู้ทน่ี ับถอื ศาสนาอสิ ลาม ซึง่ มปี ระมาณ ๘๐% ของจำ� นวนประชากรทั้งหมดของตำ� บล
ส่วนหนึ่งมาจาก “เมืองสตูล” (ไทรบุรี) จากค�ำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวมุสลิมในเขตพ้ืนท่ีต�ำบลโมคลาน
และตำ� บลโพธท์ิ อง เลา่ ต่อ ๆ กันมาว่า ชาวมสุ ลิมในตำ� บลโพธท์ิ องและตำ� บลโมคลานเปน็ ลกู หลานสบื เชื้อสายมาจาก
“ปังลิมอ เจ๊ะเต๊ะ” แม่ทัพเมืองสตูล ที่ถูกกวาดต้อนพร้อมเครือญาติและทหารบางส่วนมายังเมืองนครศรีธรรมราช
เมอื่ คราวเจา้ เมอื งไทรบรุ ไี มย่ อมออ่ นขอ้ ตอ่ ไทย ซงึ่ เจา้ เมอื งนครศรธี รรมราชยกกำ� ลงั เขา้ ปราบปรามและกวาดตอ้ นมา
โดยมาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกท่ีทุ่งบ้านใหญ่ ต�ำบลโมคลาน และสืบเชื้อสายอยู่ในเขตต�ำบลโมคลานและต�ำบลโพธิ์ทอง
ในปจั จบุ ัน สว่ นทีม่ าของช่อื ตำ� บล กลา่ วขานกันมาวา่ มีที่ดอนอยทู่ หี่ นง่ึ ซึง่ มตี ้นโพธทิ์ องต้นใหญต่ ้นหนงึ่ ไดใ้ หร้ ม่ เงา
เปน็ ทพ่ี ักอาศยั ถาวรจนถงึ ปจั จบุ ันน้ี เมอื่ แยกจากต�ำบลหัวตะพานจงึ ได้ชอื่ ตำ� บลวา่ “ตำ� บลโพธิท์ อง” ต�ำบลโพธิ์ทอง
เปน็ ตำ� บลทมี่ คี วามสงบมาชา้ นาน มคี วามอดุ มสมบรู ณท์ างดา้ นกสกิ รรม มคี วามเปน็ อยอู่ ยา่ งเรยี บงา่ ยและประชาชน
ยึดมนั่ ในศาสนา

98 หลักสูตรรายวิชาเลอื ก ท่าศาลาศึกษา

รหสั วิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนต้น

๑.๔ ตำ� บลดอนตะโก

ดอนตะโกแดนดินถิ่นโบราณ เคียงคู่โมคลานเก่าก่อน มิถ่ินมีท้ังท่ีลุ่มและที่ดอน เป็นบ้านเกิด
เมอื งนอนบรรพชนทา่ นขนุ พนั ธ์ ขา้ วปลาอาหารทง้ั พชื ผลอดุ มนกั ประเพณดี งี ามกป็ ระจกั ยดึ มน่ั เขา้ สยู่ คุ สมยั ปจั จบุ นั
กร็ ้กู ันมผี กั ปลอดสารไร้พิษภยั
ดอนตะโก คือ ดอนโกท่ีเรยี กขานเคยี งคู่โมคลานเก่ากอ่ น
ดอนตะโก เปน็ ชมุ ชนท่เี คยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน พรอ้ ม ๆ กับชุมชนโมคลาน ในสมัยอาณาจักร
ตามพรลิงค์ พบรอ่ งรอยทางโบราณสถานของศาสนาพราหมณห์ ลายแหง่ บรเิ วณสองฝง่ั ล�ำหว้ ยหนิ ลับ เชน่ อิฐโบราณ
ในบา้ นวงั หนิ เขตรอยตอ่ ของหมทู่ ่ี ๔ กบั หมทู่ ่ี ๖ อฐิ โบราณทว่ี ดั ไทรขาม หมทู่ ี่ ๖ อฐิ โบราณเหลา่ นม้ี รี ปู แบบและขนาด
ทใ่ี กลเ้ คยี งกบั ทใี่ นเทวสถานแหง่ อนื่ ๆ พบสว่ นฐานของศวิ ลงึ ค(์ โยน)ิ หลายชน้ิ ลกั ษณะคลา้ ยคลงึ กบั ทพ่ี บในศาสนสถาน
วัดโมคลาน เมื่อพุทธศาสนามาเผยแผ่ความเจริญรุ่งเรืองตามแนวทางพุทธศาสนาเข้ามาแทนที่ ในสมัยพระเจ้า
ศรีธรรมโศกราชได้น�ำพระบรมธาตุมาจากอินเดีย สร้างวัดสร้างเจดีย์ ถือเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเหล่ือมใส
ศรทั ธาในพทุ ธศาสนา ท�ำใหบ้ ารมขี องพทุ ธศาสนาครอบคลุมไปทวั่
ร่องรอยของความเจริญทางพุทธศาสนา พบว่ามวี ดั รา้ งในอาณาเขตของชมุ ชนรวม ๙ วัด คือ
๑. วดั ปา่ ยาง อยูใ่ นหมู่ที่ ๒ บ้านปา่ ยาง
๒. วดั โคกบาก อยใู่ นหม่ทู ่ี ๓ บ้านโคกบาก
๓. วัดจัน อยใู่ นบา้ นจันพอ ปจั จบุ ันอยูใ่ นเขตอำ� เภอพรหมคีรี
๔. วดั ยายทิน่ อยูใ่ นหมทู่ ี่ ๕ บา้ นหญ้าปลอ้ ง
๕. วัดกอ เป็นวดั ร้างอยู่ในเขตหม่ทู ่ี ๕ ปัจจบุ นั เป็นท่ตี ้งั โรงเรียนวัดหญ้าปล้อง
๖. วัดเก่า เปน็ วดั รา้ งอยู่ในบ้านหญา้ ปลอ้ งปัจจุบันอยู่ในเขตอำ� เภอพรหมคีรี
๗. วดั นอกท่อง เปน็ วดั ร้างอยใู่ นเขตหมทู่ ี่ ๖ บ้านปาวา
๘. วดั นาเหม็ด เป็นวดั รา้ งอยู่ในเขตหม่ทู ี่ ๖ บ้านนาลุย
๙. วดั ไทรขาม เปน็ วดั เกา่ แก่ ไดบ้ รู ณะขึน้ มาใหม่ อยู่ในเขตหมทู่ ่ี ๖
ร่องรอยความเจริญทางพุทธศาสนาบ่งบอกถึงความเจริญของชุมชนมาตั้งสมัยอดีต ชุมชนริมฝั่ง
ลมุ่ นำ้� คลองอา้ ยเขยี วและหว้ ยหนิ ลบั มรี อ่ งรอยความเจรญิ ปรากฏใหเ้ หน็ ตามยคุ สมยั ของอาณาจกั รไทย แตด่ ว้ ยเหตผุ ล
ใดไม่แน่ชัด ชุมชนริมฝั่งล�ำห้วยหินลับถูกท้ิงให้รกร้างกลายเป็นป่าทึบไม่มีผู้คนอาศัย ขณะที่ชุมชนใกล้เคียงอื่นๆ
ผูค้ นอาศัยสบื เน่อื งติดตอ่ กันเร่ือยมาตามวิถชี ีวติ แบบไทย ๆ
กอ่ เกดิ ชอ่ื ดอนตะโก สมยั กรงุ รตั นโกสนิ ทรต์ อนตน้ บรเิ วณนอ้ี ยภู่ ายใตก้ ารปกครองของเมอื งอนิ ครี ี
สมัยรัชกาลที่ ๕ มีการเปล่ียนรูปแบบการปกครองได้แบ่งการบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น มณฑล เมือง อ�ำเภอ ต�ำบล
และหมู่บ้าน เมืองอินคีรีส่วนหนึ่งมาข้ึนต่ออ�ำเภอกลาย ยึดเขตคลองอ้ายเขียวเป็นแนวแบ่งแยก ผู้น�ำท้องถิ่น
ช่ือนายเปียจากบ้านดอนโก (ต่อมาคือนายเปีย เขตพงศ์ สมัย รัชกาลที่ ๖) ได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้าน
ให้เปน็ ตวั แทนเขา้ ประชุมเพ่ือตัง้ ตำ� บล บา้ นดอนโกจงึ ใชเ้ ปน็ ชื่อต�ำบล ดว้ ยเขา้ ใจวา่ ค�ำว่า “โก” หมายถึง ตน้ ตะโก
ท่ีรู้จักกันในภาษาราชการ ดอนโก จึงถูกเปลี่ยนเป็น ดอนตะโก ท้ัง ๆ ที่ต้นตะโกไม่มีในท้องถ่ินและไม่เป็นท่ีรู้จัก
ของคนในท้องถ่ินโดยท่ัวไป

หลักสตู รรายวชิ าเลอื ก ท่าศาลาศึกษา 99

รหัสวชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้

ทม่ี าของชื่อ ดอนตะโก มีสองประเดน็ คือ
๑. สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระอ�ำไพเป็นแม่ทัพได้เดินทางไปตีเมืองไทรบุรีและได้นำ� เชลย
มาตัง้ ถ่นิ ฐานทำ� ไร่ ท�ำนา ในบ้านดอนโก มีผู้นำ� กลมุ่ ชือ่ โต๊ะโป ผู้คนเรียกชอื่ บริเวณชุมชนนน้ั วา่ ดอนโต๊ะโป ต่อมา
เพยี้ นเปน็ ดอนตะโก (ท่มี า:องค์การบริหารตำ� บลดอนตะโก)
๒. ดอนตะโก มาจาก ช่ือต้นไม้ประจ�ำถ่ินชนิดหนึ่งในเทือกเขาหลวงและมีทั่วไปในบริเวณ
ลุ่มน้�ำอ้ายเขียว ชาวบ้านเรียกว่า ต้นโก เป็นไม้ยืนต้นเน้ืออ่อนขนาดใหญ่ โตเร็ว มีผลเป็นพวงคล้ายล�ำไย ผลแก่
มรี สเปรย้ี ว ชาวบา้ นนำ� มาทำ� นำ�้ พรกิ ผลสกุ รสเปรยี้ วลดลง เปน็ อาหารสตั วป์ า่ เชน่ กระรอก ชาวบา้ นเลา่ วา่ มตี น้ โกใหญ่
ในทอ้ งถิน่ และเรียกท่ดี อนท่ีมีต้นโกข้นึ อยูใ่ นบรเิ วณน้ันว่า ดอนโก ตามลักษณะเดน่ ทพ่ี บเห็น ต้นโกใหญอ่ ายรุ อ้ ยปี
มีปรากฏใหเ้ หน็ ในบา้ นดอนโกสืบมา จนถกู ลมพายพุ ัดโคน่ ลม้ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ คงมตี น้ โกใหเ้ หน็ โดยท่วั ไปในพน้ื ที่
ต�ำบลดอนตะโก ชาวบ้านโดยทั่วเขา้ ใจว่าตน้ โก คือ ต้นตะโกในภาษาราชการ ท่มี าของชือ่ ดอนตะโก จะเปน็ แบบใด
ไม่ส�ำคัญเท่ากับปัจจุบัน ดอนตะโกยังเป็นอู่ข้าวอู่น�้ำ มีพ้ืนดินท่ีอุดมสมบูรณ์ มีพืชผักธรรมชาติ ดอนตะโกได้รับ
การพฒั นาให้เปน็ แหล่งผลติ พืชผกั ปลอดสารพิษสง่ ขายทัว่ ประเทศ
ต�ำบลดอนตะโกต้ังอยู่ทางตอนใต้ของอ�ำเภอท่าศาลา ห่างจากตัวอ�ำเภอท่าศาลาประมาณ
๑๖ กโิ ลเมตร มเี นอื้ ท่ี ๒๗.๙๑ ตารางกโิ ลเมตร หรอื ประมาณ ๑๗,๔๔๔ ไร่ ลกั ษณะภมู ปิ ระเทศเปน็ ทรี่ าบและทรี่ าบลมุ่
มีคลองอ้ายเขียวไหลข้ันเขตอ�ำเภอพรหมคีรี ทางตอนใต้ มีห้วยหินลับและคลองลาวก้ันเขตต�ำบลโมคลาน
ทางตอนเหนอื ทศิ ตะวนั ออกตดิ ตอ่ ตำ� บลโมคลาน ทศิ ตะวนั ตกตดิ ตอ่ อำ� เภอพรหมครี ี มปี ระชากรประมาณ ๔,๙๒๐ คน
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ท�ำสวน ท�ำนา เลี้ยงสัตว์ เป็นแหล่งผลิตอาหารท่ีส�ำคัญแห่งหน่ึงของ
อ�ำเภอท่าศาลา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัด ๓ แห่ง คือ วัดจันพอ วัดหญ้าปล้อง วัดไทรขาม
มีโรงเรียน ๔ โรง คือ โรงเรียนบ้านฉาง โรงเรียนวัดจันพอ โรงเรียนวัดหญ้าปล้อง โรงเรียนบ้านวังหิน แบ่งเขต
การปกครองเปน็ ๖ หมูบ่ า้ น

๑.๕ ต�ำบลท่าขึน้

“ท่าขึ้น” ปัจจุบันเป็นชื่อของต�ำบลหนึ่งในอ�ำเภอท่าศาลา ที่มาตามประวัติจากหลายท่ี
อาจไม่เหมือนกัน หรือจากค�ำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าต่อกันมา แต่ท่ียกมาอ้างอิงได้จากข้อความในหนังสือ
พระราชพงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ หน้า ๕๑๒ ว่าในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี ในรัชกาล
พระเภทราชา แห่งราชวงศบ์ า้ นพลูหลวง ระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๓๒ – ๒๒๔๙ ซึ่งไดม้ สี งครามเกิดขนึ้ ในปี พ.ศ. ๒๒๓๙
เม่ือทางกรุงศรีอยุธยายกทัพมาตีเมืองนครศรีธรรมราช ทัพเรือจากกรุงศรีอยุธยาได้ข้ึนบกในสถานที่บริเวณน้ัน
สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นแถวบริเวณวัดทางข้ึนในปัจจุบัน ตามค�ำเรียกของชาวบ้านซ่ึงปัจจุบันเรียกว่า “ท่าขึ้น”
ซ่ึงต่อมาได้เป็นต�ำบลหน่ึงของอ�ำเภอกลาย ในสมัยรัชกาลท่ี ๕ เม่ือปี พ.ศ. ๒๔๔๑ สถานท่ีที่ต้ังอ�ำเภอกลาย
ในอดตี อยทู่ ว่ี ดั ทางขนึ้ ในปจั จบุ นั ตอ่ มาการสญั จรไปมาไมส่ ะดวก ไดย้ า้ ยอำ� เภอกลายไปไวท้ วี่ ดั เตาหมอ้ และภายหลงั
ยา้ ยท่ีว่าการอ�ำเภอไปต้งั ทีท่ �ำการปัจจบุ นั และไดเ้ ปลีย่ นชื่อเปน็ “อำ� เภอทา่ ศาลา” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙
“ต�ำบลท่าขน้ึ ” เดมิ ชือ่ “ต�ำบลบา้ นเตาหมอ้ ” อ�ำเภอกลาย สาเหตุทไ่ี ด้ช่ือตำ� บลท่าขนึ้ เน่อื งด้วย
ในอดตี การเดนิ ทางไปนครศรธี รรมราช ทง้ั ทางทศิ เหนอื หรอื ทศิ ใต้ มที า่ เรอื รบั คนโดยสารตง้ั แตส่ ชิ ลถงึ นครศรธี รรมราช
และมีท่าเรอื จำ� นวน ๔ ท่าเรอื ดังนี้ ๑. บ้านทา่ หมาก ๒. บา้ นทา่ คลองกลาย ๓.บ้านท่าขึน้ ๔. ปากนำ�้ ท่าศาลา

100 หลักสูตรรายวิชาเลอื ก ทา่ ศาลาศกึ ษา

รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน้

เมอ่ื มกี ารเปลยี่ นแปลง “อ�ำเภอกลาย” เป็น “อ�ำเภอทา่ ศาลา” ทางราชการได้ย้ายอ�ำเภอไปอยู่
ตดิ กบั ทา่ นำ�้ ทา่ ศาลา จงึ ไดช้ อ่ื วา่ “อำ� เภอทา่ ศาลา” สำ� หรบั “ทา่ ขนึ้ ” ทางราชการไดเ้ ปลย่ี นแปลงจากตำ� บลเตาหมอ้
ไปเป็นต�ำบลท่าศาลา ระหว่างต�ำบลสระแก้วและต�ำบลท่าศาลา จึงได้ตั้งช่ือว่า “ท่าขึ้น” เพ่ือให้ใกล้เคียงกับ
ทเี่ คยเรียกว่า “ทางขน้ึ และทางลง” ทีช่ าวบ้านใช้เป็นเสน้ ทางไปนครศรีธรรมราช จงึ ตง้ั วา่ “ตำ� บลทา่ ขน้ึ ” ส�ำหรบั
ท่าปากน�้ำกลายเปลี่ยนเป็นต�ำบลสระแก้ว ฝั่งคลองกลายทางทิศเหนือเรียกว่า “ต�ำบลกลาย” และ “ท่าหมาก”
เปน็ ชอ่ื ของบา้ นจากสิชลไปถงึ นครศรีธรรมราช ซ่ึงในอดตี การเดนิ ทางจะไปทางเรือหรอื เดนิ เท้าเท่าน้ัน
แหล่งทีม่ าของผู้คนและการต้ังถนิ่ ฐาน
สันนิษฐานว่าผู้คนท่ีอาศัยอยู่ในต�ำบลท่าขึ้น สืบทอดมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ทย่ี กทัพมาตีเมอื งนครศรีธรรมราช และมีลกู หลานสืบทอดทายาทเปน็ รนุ่ ๆ สืบต่อกนั มาจนถึงปัจจบุ ัน โดยมีการตั้ง
ถน่ิ ฐานเพ่อื พกั อาศยั ในบริเวณทกี่ รงุ ศรอี ยธุ ยายกทัพเรอื ขน้ึ บกเพอ่ื มาตีเมืองนครศรธี รรมราช

๑.๖ ตำ� บลกลาย

ชื่อต�ำบลกลาย ต้ังอยู่ในพ้ืนที่เป็นเมืองประวัติศาสตร์ยาวนาน เคยเป็นท่ีต้ังของกิ่งอ�ำเภอกลาย
มากอ่ น ในสมัยพระบาทสมเดจ็ พระจุลจอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัว รัชกาลท่ี ๕ มกี ารปฏิรปู การปกครอง ทรงกระจายอ�ำนาจ
ไปสู่หัวเมือง แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล กลาย (ท่าศาลา) ต้ังที่วัดเตาหม้อ (วัดชลธารามในปัจจุบัน)
และครั้งสดุ ทา้ ยยา้ ยไปตง้ั ในตลาดท่าศาลามาจนปจั จบุ ันนี้
ต�ำบลกลายในอดีตเป็นต�ำบลที่กว้าง มีพ้ืนที่ติดชายทะเล ท่ีราบลุ่มที่ราบเชิงเขาและภูเขา
แตป่ จั จุบนั ได้แยกสว่ นทีเ่ ปน็ ภูเขา ทร่ี าบเชิงเขา และทีร่ าบบางส่วนออกไปตง้ั เป็นตำ� บลตลงิ่ ชนั เสยี ส่วนหน่ึง
ส่วนท่ีมาของชื่อต�ำบลกลาย กลายเป็นชื่อของการเปลี่ยนแปลง คือ เมื่อถึงฤดูน้�ำหลากปากน�้ำ
กลายมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอยู่เสมอตามความรุนแรงของกระแสน�้ำที่กัดเซาะตลิ่ง ท�ำให้ปากน้�ำต้องเปลี่ยนไป
เปลีย่ นมา จงึ ให้ช่ือวา่ “กลาย”

๑.๗ ต�ำบลหวั ตะพาน

ต�ำบลหัวตะพาน เป็นต�ำบลเก่าแก่ต�ำบลหนึ่ง จากการสอบถามจากอาจารย์กิตติ อะหลีแอ
อาจารยโ์ รงเรยี นวดั โมคลาน ไดเ้ ลา่ วา่ ตำ� บลนเี้ กดิ กอ่ นกรงุ รตั นโกสนิ ทรเ์ ปน็ ราชธานี และในครง้ั ทเ่ี กดิ สงครามเกา้ ทพั
พ.ศ. ๒๓๒๘ กษตั ริย์พมา่ ชอ่ื ว่าปะดงุ ข้นึ ครองราชยค์ ิดจะแผอ่ �ำนาจครอบคลุมดนิ แดนสุวรรณภูมิ และคิดจะท�ำลาย
อาณาจักรไทย ไม่ให้เจริญเติบโตเป็นอาณาจักรใหญ่อย่างกรุงศรีอยุธยาได้อีก พระเจ้าปะดุงจัดทัพเป็น ๙ ทัพ
หวังจะให้กองทัพเหล่าน้ีรุกเข้าท�ำลายหัวเมืองต่าง ๆ ตั้งแต่เหนือจดใต้ แล้วเข้าบรรจบเข้าตีกรุงเทพมหานคร
ตามยทุ ธวธิ ีด้งั เดิมทเ่ี คยใช้ได้ดใี นสมยั อยธุ ยามาแลว้ โดยทัพท่ี ๑ แบ่งเปน็ ทัพบกและทัพเรอื ทัพบกมหี น้าที่ตีหวั เมือง
ทางปักษ์ใต้ ต้ังแต่ชุมพรถึงสงขลา เป็นการตัดความช่วยเหลือจากทางใต้ ส่วนทัพเรือมีหน้าท่ีตีหัวเมืองทางชายฝั่ง
ทะเลตะวันตก ต้ังแต่เมืองตะก่ัวป่าไปถึงเมืองถลาง และยังมีหน้าที่หาเสบียงอาหารให้แก่กองทัพอีกด้วย
เมอื งนครศรธี รรมราช มพี ระเจา้ ธรรมาและพระเจา้ ยายมราชเปน็ แมท่ พั คอยประจนั หนา้ กบั พมา่ อยู่ พมา่ ไดย้ กทพั มา
ทางทิศเหนือผ่านบ้านปากลง พอผ่านมาถึงบริเวณนี้ก็ได้สู้รบกันข้ึน ต่างฝ่ายก็ได้เสียชีวิตด้วยคมหอกคมดาบ
หัวขาด สบั่นเพ่นพ่าน ต่อมาชาวบ้านเรียกหมู่บ้านน้ี “บ้านหัวพ่าน” ซึ่งเป็นภาษาปักษ์ใต้เรียกว่า ไม่เป็นระเบียบ
และบ้านหัวพ่านหรือบ้านหัวตะพานจริง ๆ มีอาณาบริเวณไม่กว้างมากนักจุดกลางของหมู่บ้านอยู่ที่บ้าน
นายแคล้ว บุญเพ็ง นายลึกลับ บุญเพ็ง และบ้านนายยวง และเปลี่ยนจากบ้านหัวพ่านเป็นบ้านหัวตะพานในสมัย
ขนุ หวั ตะพานเป็นกำ� นันต�ำบลหวั ตะพาน

รหสั วิชา หลกั สูตรรายวชิ าเลือก ท่าศาลาศึกษา 101

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้

๑.๘ ต�ำบลโมคลาน

“ต้ังดิน ต้ังฟ้า ต้ังหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อน เมืองคอนต้ังหลัง” บทกลอนน้ีแสดงให้เห็น
ความเกา่ แกข่ องบา้ นโมคลาน ซง่ึ เป็นชมุ ชนโบราณ ทีม่ อี ายุประมาณ ๕,๐๐๐ – ๘,๐๐๐ ปมี าแลว้ ได้มกี ารศึกษา
ส�ำรวจชุมชนโมคลานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เก่ียวเน่ืองกับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์
ลัทธิไศวนกิ าย ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ ศาสตราจารย์ลูฟส์ (H.H.E.Loofs) แห่งโครงการส�ำรวจทางโบราณคดีไทย - อังกฤษ
ได้เข้าส�ำรวจและมีความเห็นว่า เนินโบราณสถานของโมคลาน หรือแนวหินต้ังจัดอยู่ในวัฒนธรรมหินใหญ่
และหา่ งจากเนนิ โบราณสถานโมคลานไปทางทศิ ตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ประมาณ ๑ กโิ ลเมตร ซงึ่ แตเ่ ดมิ เปน็ พรลุ กึ มาก
เรียกว่า “ทุ่งน�้ำเค็ม” ปัจจุบันตื้นเขิน ชาวบ้านได้ขุดพบเงินเหรียญแบบฟูนัน จึงสันนิษฐานว่า บ้านโมคลาน
อาจเป็นชุมชนเมืองท่าท่ีส�ำคัญแห่งหน่ึงมาต้ังแต่สมัยโบราณ มีการติดต่อกับชุมชนภายนอก จากหลักฐานท่ีพบ
ทั้งเทวสถาน โบราณวัตถุในศาสนาพราหมณ์ สระน�้ำโบราณ แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์
ลทั ธไิ ศวนกิ ายในบา้ นโมคลาน แตต่ อ่ มาอทิ ธพิ ลของพทุ ธศาสนาไดเ้ ขา้ มาแพรห่ ลายในบา้ นโมคลาน เพราะพบหลกั ฐาน
โบราณวตั ถุสถานทางศาสนาพุทธอยมู่ ากเชน่ เดยี วกนั แต่โบราณสถานทางศาสนาของบ้านโมคลานคงจะถกู ทอดทงิ้
ไปเป็นเวลานาน อาจจะก่อนหรือพร้อมกับการอพยพเข้ามาต้ังถ่ินฐานของชาวไทยมุสลิม จากรัฐไทรบุรี กลันตัน
และตรังกานู ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นต้นมา ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ของบ้านโมคลาน จึงเป็นไทยมุสลิม
ร้อยละ ๗๐ อีกร้อยละ ๓๐ เป็นชาวไทยพุทธ
ลักษณะทั่วไปบ้านโมคลานเป็นชุมชนใหญ่ อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติการตั้งถ่ินฐาน
ของประชากร ต้ังอยู่ตามแนวยาวของสนั ทรายเก่า ลักษณะของชุมชนกระจายในแนวยาวเหนอื - ใต้ มลี �ำนำ้� ไหลมา
จากเทอื กเขานครศรีธรรมราช ผ่านชุมชนโมคลาน ๒ สาย แลว้ ไปลงทะเลท่ีอา่ วไทย ได้แก่ คลองชุมขลิง (คลองยงิ )
และคลองโต๊ะแน็ง (คลองโมคลาน) แต่เดิมคลองท้ังสองนี้คงเป็นแม่น้�ำขนาดใหญ่เพราะยังมีร่องรอยของตะกอน
และการกดั เซาะ แตป่ จั จบุ นั ตน้ื เขนิ มที ร่ี าบลมุ่ ทงั้ สองฝง่ั ของคลอง ซงึ่ มคี วามอดุ มสมบรู ณ์ ประชากรในชมุ ชนโมคลาน
จึงมีอาชีพท�ำนา และท�ำสวนมะพร้าว ยางพารา และสวนผลไม้บนสันทราย และยังมีอาชีพท�ำเครื่องปั้นดินเผา
มชี อ่ื เสยี งมาตงั้ แต่สมัยก่อน
หลักฐานทพี่ บ
๑. หลกั หิน มหี ลักหนิ แสดงขอบเขตของโบราณสถาน หรือเขตวดั จำ� นวนหลายแนว แตล่ ะแนว
ปกั หลกั หินเป็นแนวตรงกันไป ทุก ๆ ตน้ ปักเป็นระยะหา่ งเทา่ ๆ กัน
๒. ซากเจดีย์ พบอยู่ทางทิศตะวันออกของแนวหลักหินแนวแรก มีลักษณะคล้ายจอมปลวก
เส้นผ่าศนู ย์กลางประมาณ ๒๐ เมตร มีผู้คนจำ� นวนมากได้ขดุ หาสมบัติ เพราะพบลายแทง ไดพ้ บของมคี ่าหลายอย่าง
เชน่ เงิน และทอง เปน็ ตน้
๓. ซากเทวสถาน พบใกล้ ๆ ซากเจดยี ์ ได้ค้นพบหนิ ท่เี ปน็ ช้ินสว่ นของอาคารวางระเกะระกะ
อยู่บนเนินทั้งธรณีประตู กรอบประตู เสา ฐานเสา ต่อมาได้น�ำชิ้นส่วนของอาคารเหล่าน้ีมาสร้างกุฏิทางทิศเหนือ
ของเนินโบราณสถานเม่ือ พ.ศ. ๒๔๘๘ ในปัจจุบันยังคงปรากฏร่องรอยของเสากุฏิดังกล่าวอยู่ ช้ินส่วนของอาคาร
ที่น�ำมาสร้างกุฏินี้ส่วนหนึ่งเป็นหินท่ีมีการสลักลวดลายด้วย ส่วนโบราณวัตถุหลายช้ินท่ีพบบนเนินโบราณสถาน
ได้เคล่ือนยา้ ยออกมาวางไวต้ ามบรเิ วณโคนตน้ ไม้ทางทศิ เหนอื ของเนนิ
๔. โยนิโทรณะ ได้พบโยนิโทรณะในซากของเทวสถานหลายช้ิน แต่บางชิ้นก็ไม่สมบูรณ์
ส่วนศวิ ลึงคใ์ นเทวสถานนั้น พระภิกษุรปู หนง่ึ ไดเ้ คลอ่ื นยา้ ยออกไปนอกชมุ ชนโบราณโมคลาน

102 หลกั สตู รรายวชิ าเลอื ก ทา่ ศาลาศกึ ษา

รหสั วิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

๕. พระพทุ ธรปู ปนู ป้นั ได้พบพระพทุ ธรปู ปูนปัน้ ซึ่งชำ� รุดขนาดสูงราว ๕๐ เซนติเมตร จำ� นวน
๑ องค์ ปจั จบุ นั ไมท่ ราบวา่ ถกู เคลอ่ื นยา้ ยไป ณ ทใี่ ด และพบชนิ้ สว่ นของพระพทุ ธรปู มากมายทง้ั บรเิ วณบนเนนิ โบราณ
สถานและใต้ต้นจันทน์ทางทิศเหนือของเนิน ปัจจุบันเศียรพระพุทธรูปจ�ำนวนหนึ่งยังประดิษฐานอยู่ในวิหารของวัด
โมคลาน
๖. สระน้�ำโบราณ ทางทิศตะวันออกของเนินโบราณสถานมีสระน้�ำโบราณอยู่ ๓ สระ
สระน�้ำโบราณเหล่านี้มีขนาดใหญ่มาก ขุดเป็นแนวไปตามสันทราย สระแรกห่างจากเนินโบราณสถานประมาณ
๕๐ เมตร และสระสุดท้ายซงึ่ มีขนาดใหญ่ท่ีสดุ มเี ส้นผา่ ศูนย์กลางประมาณ ๕๐ ถงึ ๖๐ เมตร อยู่ห่างจากเนนิ โบราณ
สถานมากทสี่ ดุ คือ ประมาณ ๑๐๐ เมตร

๑.๙ ตำ� บลไทยบรุ ี

ต�ำบลไทยบุรี ก่อนท่ีมาของต�ำบลไทยบุรีพ้ืนที่ละแวกนี้เป็นทุ่งน�้ำราด (น้�ำท่วมในฤดูน้�ำหลาก)
เหมาะส�ำหรับการเพาะปลูก การท�ำนา เรียกกันว่า ทุ่งลายสาย (ทุ่งลายสายภาษาปักษ์ใต้) เล่ากันว่าทุ่งลาย
สาย มีพื้นท่ีมากมายตั้งแต่ทุ่งบ้านไผ่ ทุ่งบ้านโพธ์ิ ทุ่งปลายยางโจร ทุ่งลาดจระเข้ (ทุ่งลานเข้)ทุ่งไม้มูก ทุ่งนาตรอก
ทุ่งปลักจอก ทุ่งคูเถร ทุ่งนางตรา ทุ่งบ้านไร่ ทุ่งบ้านจาด ทุ่งแฝด ทุ่งใน ทุ่งป่าไสย ทุ่งวัดป่า ท่าข้ึน รวมกันแล้ว
มีเส้นทางติดต่อกันได้ทุกพื้นที่ ฤดูน�้ำหลากน�้ำจากเทือกเขานครศรีธรรมราชก็ไหลมาท่วมทุ่งเหล่าน้ีเต็มท่ัวทุกพ้ืนท่ี
กอ่ นจะไหลลงสทู่ ะเล ทำ� ใหพ้ นื้ ที่บรเิ วณนี้อุดมสมบรู ณ์เหมาะกบั การท�ำนา ปลูกขา้ ว ซึง่ เป็นอาชพี หลัก เลยเรียกวา่
ทุ่งหลายสาย และนาน ๆ เลยเพี้ยนตามส�ำเนียงท้องถ่ินจาก ทุ่งหลายสาย มาเป็น ทุ่งลายสาย สมัยเจ้าพระยา
นครศรธี รรมราช (น้อย) ไดท้ �ำการยกทพั ไปตเี มืองไทรบุรีชนะสงครามกลบั มา ไดก้ วาดต้อนพลเมืองชาวเมืองไทรบุรี
มาขนึ้ ทพั ทที่ า่ ขน้ึ (ชายทะเล) และไดข้ นึ้ มาตงั้ ถนิ่ ฐานบรเิ วณชายทะเลตลอดแนวเขา้ ไปถงึ ในตวั เมอื งนครศรธี รรมราช
และทงุ่ ลายสายบางสว่ น ไทรบรุ ขี น้ึ เปน็ ทอ้ งทกี่ ารปกครองตามชอ่ื เมอื งไทรบรุ ที ไ่ี ปตที พั ชนะกลบั มา โดยมจี ดุ ศนู ยก์ ลาง
ทบ่ี รเิ วณทงุ่ ไมม้ กู ไทรบรุ เี ปน็ ทอ้ งทกี่ ารจดั การปกครองเปน็ เมอื งเรยี กวา่ เมอื งไทยบรุ ี ขน้ึ อยกู่ บั หวั เมอื งนครศรธี รรมราช
ซ่ึงมี ๑๑ เมือง ได้แก่ ทา่ ทอง สมยุ ปากพนงั ปรามบรุ ี อินทรคีรี ไชยมนตรี ไทยบุรี ฉลอง พชิ ัย ตรัง เปน็ ต้น
ออกหลวงไทยบุรีศรีมหาสงคราม เป็นผู้รักษาเมืองไทยบุรี ถือศักดินา ๑,๒๐๐ ไร่ ขุนราชบุรี
ถือศักดินา ๔๐๐ ไร่ เป็นผู้ช่วย ต่อมามีการเปล่ียนแปลงการปกครอง เมืองไทยบุรีกลายมาเป็น ต�ำบลไทยบุรี
ข้ึนอยู่กับอ�ำเภอท่าศาลา จังหวดั นครศรีธรรมราชจนถงึ ปัจจบุ ัน

๑.๑๐ ต�ำบลตล่งิ ชัน

ตำ� บลตลง่ิ ชนั แยกออกมาจากตำ� บลกลาย ความเปน็ มาของตำ� บลตลง่ิ ชนั มลี ำ� คลองกลายไหลผา่ น
ซ่ึงที่ตงั้ ของต�ำบล มตี ล่งิ สงู ชนั ชาวบา้ นจงึ เรียกต่อกันมาวา่ ตลิง่ ชัน จนถงึ ปัจจุบนั

รหสั วชิ า หลกั สูตรรายวิชาเลือก ทา่ ศาลาศกึ ษา 103

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้

เรอ่ื งท่ี ๒ ภูมหิ ลงั ความเปน็ มาของการตงั้ ชอ่ื หม่บู ้านในตำ�บลทา่ ศาลา

ต�ำบลทา่ ศาลา อำ� เภอท่าศาลา จงั หวดั นครศรีธรรมราช ปัจจบุ นั มีจำ� นวน ๑๕ หมู่บา้ น ซึง่ แตล่ ะหมบู่ ้าน
มีประวตั ิ ภมู ิหลังความเป็นมาของการต้งั ชอ่ื หมบู่ า้ นท่นี ่าสนใจ ดังนี้

๒.๑ หมู่ ๑ บ้านโดน หรือบา้ นโดนเหนอื

บ้านโดนเหนือ จะเป็นแอ่งลุ่มน้�ำขนาดใหญ่จะมีต้นไม้ข้ึนจ�ำนวนมากปกคลุมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ต้นโดนจ�ำนวนมาก ชาวบ้านเรียกติดปากว่าบ้านโดนตั้งแต่น้ันมาจนถึงปัจจุบัน แต่ชื่อจะซ้�ำรวมอยู่กับบ้านโดน
ซงึ่ เปน็ ทตี่ งั้ ของวดั นางตรา เลยทำ� ใหเ้ รยี กชอ่ื กนั สบั สนเลยมกี ารแบง่ แยกกนั ชดั เจน เลยตกลงกนั วา่ เรยี กหมบู่ า้ นหมทู่ ี่ ๑
เป็นบ้านโดนเหนือ บา้ นนางตราเป็นบา้ นโดนใต้ ชาวบ้านเลยเรยี กชอื่ ตดิ ปากเปน็ บ้านโดนเหนอื นบั แตน่ นั้ เป็นต้นมา
จนถึงปัจจบุ ัน

๒.๒ หมู่ ๒ บ้านเตาหม้อเหนือ บ้านโคกเหรียง บ้านสกี่ กั๊ บา้ นทุ่งเข่อื น

บ้านเตาหม้อเหนือ เดิมเป็นป่ารกร้าง มีชาวจีนอพยพหนีภัยสงครามเก้าทัพ มาจากเมืองถลาง
จงั หวัดภเู กต็ มาป้นั หม้อดินขายอยบู่ รเิ วณสองฝง่ั คลอง จงึ เรยี กบรเิ วณสองฝงั่ คลองวา่ บ้านเตาหมอ้ และเรยี กคลองน้ี
วา่ คลองเตาหมอ้ เปน็ คลองทเ่ี ชอ่ื มตอ่ กบั คลองบอ่ นนท์ และออกสทู่ ะเลได้ จงึ มเี รอื สำ� เภามาตดิ ตอ่ คา้ ขาย บา้ นเตาหมอ้
จึงเป็นแหล่งชุมชนและยังเคยใช้เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอ�ำเภอชั่วคราว เรียกว่า อ�ำเภอกลาย ก่อนย้ายไปสร้าง
อ�ำเภอใหม่ คืออ�ำเภอท่าศาลาในปัจจุบัน หลักฐานท่ีน่าเช่ือได้ว่าบริเวณนี้เคยเป็นแหล่งปั้นหม้อดินมาก่อน คือ
มสี ระรา้ งขนาดใหญห่ ลงั วดั ซง่ึ ตอนนถี้ มปลกู ปาลม์ ไปมากแลว้ และสระในซอยฤทธี ตอนนกี้ ถ็ กู ถมไปหมดแลว้ เชน่ กนั
บ้านโคกเหรียง เนื่องจากมีต้นเหรียงใหญ่อยู่บนโคกซ่ึงเป็นลานกว้าง ผู้คนส่วนใหญ่อพยพ
จากต่างถิ่น เช่น สงขลา หวั ไทร เชยี รใหญ่ ปากพนัง มาตัง้ คณะร�ำวง และใช้ลานโคกเหรียง เป็นทีซ่ ้อมจึงเรียกวา่
ร�ำวงคณะโคกเหรียง
บ้านสี่กั๊ก เนอ่ื งจากเปน็ เสน้ ทางสีแ่ ยก มตี น้ มะม่วงใหญส่ องตน้ ร่มรน่ื เมอ่ื คนสัญจรไปมาค้าขาย
ระหวา่ งสิชล - ทา่ ศาลา หรือจากบอ่ นนท์ บา้ นโคกเหรยี ง ไปท�ำนาหรือเล้ยี งวัว ควาย แถวทงุ่ ยางเตีย้ เมือ่ เดินทาง
มาถึงบริเวณนี้ก็จะหยุดพักบริเวณน้ีจึงเรียกว่า สี่ก๊ัก เส้นทางน้ียังใช้เป็นเส้นทางเกวียน บรรทุกของไปขายรวมท้ัง
บรรทุกอฐิ และกระเบ้ืองดินเผา จากรมิ คลองบอ่ นนทไ์ ปขายด้วย นอกจากน้ีบริเวณตน้ มะม่วงใหญย่ ังเคยใชเ้ ป็นลาน
เล่นสะบ้าซึ่งนิยมเล่นกันในเทศกาลเดือนห้า ตามประเพณีปีใหม่ไทย ปัจจุบันมีถนนคอนกรีตเช่ือมจากทางส่ีแยก
ถงึ หาดทรายแก้ว
บ้านทุ่งเข่ือน เมื่อก่อนเป็นป่ารกร้างเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่และป่าหญ้าคา ไม่มีคนอาศัยอยู่
ต่อมามีคนอพยพมาจากระโนด หัวไทร มาหักร้างถางพง สร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่ จึงเรียกบริเวณน้ีว่าบ้านทุ่งเถื่อน
ต่อมาเพ้ียนมาเป็นบ้านทุ่งเข่ือน พื้นที่บ้านทุ่งเข่ือนได้ถูกจัดแบ่งอย่างลงตัว คือ บริเวณริมคลองและตอนกลาง
จากสะพานบางบก ถึงคลองบ่อนนทใ์ ชเ้ ป็นท่อี ยูอ่ าศัย ท�ำสวนมะพรา้ ว ปลกู ผกั เล้ยี งสตั ว์ ทางทศิ ใต้และทศิ เหนือ
เป็นพืน้ ที่ท�ำนา ทางทศิ ใต้มีหนองนำ�้ ชื่อ ปลักเดยี น ทิศเหนือเป็นทุ่งกวา้ งไปจดทงุ่ ทางข้นึ มหี นองนำ้� ใหญ่สองแหง่ คอื
ปลกั นมหวดั และปลกั ลกึ มที งุ่ สงวนเลยี้ งสตั วแ์ ละปา่ เสมด็ ทก่ี วา้ งใหญม่ าก มบี างบลู เปน็ ลำ� นำ�้ ทแ่ี ยกจากคลองบอ่ นนท์
เป็นล�ำน้�ำที่มีกุ้ง หอย ปู ปลา อุดมสมบูรณ์มาก บริเวณริมคลองบ่อนนท์ฝั่งนี้ยังเคยเป็นที่ต้ังโรงอิฐ และกระเบื้อง
ดินเผา บุคคลแรกท่ีมาตั้งโรงอิฐ คือ นายขาบ บญุ ฉาย หลงั จากนั้นมคี นมาสร้างโรงอิฐ โรงกระเบ้อื งเพม่ิ ขน้ึ หลายโรง

104 หลักสูตรรายวชิ าเลอื ก ทา่ ศาลาศกึ ษา

รหสั วชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

โดยขนส่งสินค้าทางเรือและทางเกวียน ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนสายหลัก เช่น แถวบางปู คลองเคย และกระเบ้ือง
ดินเผา กไ็ มเ่ ปน็ ทีน่ ยิ มเพราะแตกไดง้ า่ ย โรงอิฐ โรงกระเบอื้ ง แถวน้ีจงึ ถกู ทง้ิ ให้รกร้างอยหู่ ลายปี เจ้าของกย็ ้ายถ่ินฐาน
ไปอยู่ท่ีอนื่ กันหมด ต่อมาทบี่ รเิ วณนีเ้ ลยถูกเปล่ยี นสภาพเปน็ นากงุ้ และสวนปาล์มอยา่ งทีเ่ หน็ ในปจั จุบนั
สมัยก่อนบ้านทุ่งเขื่อนยังเป็นแหล่งท�ำข้าวเกรียบว่าว ท่ีมีชื่อเสียงโด่งดัง ทั้งน�ำไปผิงขายเอง
ตามเทศกาลและงานวัดต่าง ๆ และมีแม่ค้ามารับข้าวเกรียบดิบผิงขาย ความเชื่อของชุมชนบ้านทุ่งเข่ือน ในอดีต
ชาวทุ่งเข่ือนเช่ือว่า มีสิ่งศักด์ิสิทธิ์คอยคุ้มครองปกปักรักษา ชาวบ้านจะนับถือทวดทุ่งคา ตานมหวัด เมื่อสัตว์เล้ียง
สูญหายหรือเจ็บป่วย ชาวบ้านจะบ่นให้ทวดทุ่งคา ตานมหวัดช่วย เม่ือสมปรารถนาก็จะต้มเปียก (ข้าวต้ม)
ไปเป็นเครื่องเซ่นไหว้ ปัจจุบันศาลาทวดของเก่าช�ำรุดทรุดโทรม ชาวบ้านจึงร่วมกันสร้างข้ึนใหม่ต้ังอยู่ที่เชิงสะพาน
ทางแยกจากบ้านทงุ่ เขื่อนไปทา่ ศาลา (ใกล้บ้านทพิ ย์อาภากุล)

๒.๓ หมู่ ๓ บ้านทา่ สงู บ้านนางตรา

บ้านท่าสูง เดิมมีสภาพพ้ืนที่เป็นที่ราบสูงกว่าระดับน�้ำในฤดูน้�ำหลาก ท�ำให้น�้ำท่วมไม่ถึง
ประกอบกับในบริเวณดังกล่าวมีล�ำคลองไหลผ่านหลายสาย เช่น คลองท่าสูง คลองสิงห์ คลองโก ในสมัยโบราณ
พื้นท่ีแห่งนี้จึงได้ถูกใช้เป็นท่าเทียบเรือขนส่งสินค้า ซ่ึงมีท่าเรือขนส่งอยู่ในระดับสูง เม่ือมาต้ังบ้านเรือนจึงเรียกพื้นที่
บริเวณนี้วา่ “บ้านทา่ สูง” อกี ทง้ั มีพระภกิ ษุมาเผยแพร่ศาสนาและเลือกที่ต้ังวดั ใหเ้ หมาะสม จึงเลอื กบรเิ วณนีเ้ ปน็ ท่ี
ตัง้ วัด จงึ เรียกวัดนวี้ ่า วัดทา่ สงู มาจนถงึ ปัจจบุ ันนี้

๒.๔ หมู่ ๔ บ้านทา่ สงู บน

บ้านท่าสูงบน เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ มีมานานกว่า ๒๐๐ ปี ช่ือว่าท่าสูงบน เพราะว่าสมัยก่อน
มนี กั เดนิ ทางมาทางทะเลมองเหน็ พน้ื ทขี่ องหมบู่ า้ นนเ้ี ปน็ สงู เนนิ ตลอดทง้ั หมบู่ า้ น เมอื่ นำ� เรอื เขา้ มาเทยี บทา่ ปรากฏวา่
เป็นเนินสูงตลอดทงั้ หมูบ่ า้ น คนร่นุ กอ่ นจึงตั้งชอ่ื ใหก้ บั หมบู่ ้านน้ีว่า “บา้ นท่าสูงบน” ต้นตระกลู ของชาวบา้ นท่าสงู บน
สืบเชือ้ สายมาจากชาวมาเลเซีย สังเกตได้ท่ีนามสกุลจะมีค�ำวา่ “โต๊ะ” น�ำหน้า เช่น โตะ๊ หมาด โตะ๊ หมาน โตะ๊ หาด
โตะ๊ เตบ็ โต๊ะหล้าหวี ฯลฯ
ชาวบ้านทา่ สูงนบั ถือศาสนาอสิ ลามตงั้ แตอ่ ดตี จนถึงปจั จุบนั มีวัฒนธรรม ประเพณี ทเ่ี ปน็ คำ� สอน
ของศาสนาอสิ ลาม เช่น การแตง่ กายของสภุ าพสตรี ตอ้ งแต่งกายให้มิดชดิ ขณะที่ออกนอกบ้าน ต้องกราบไหวพ้ ระ
ผเู้ ปน็ เจา้ ทกุ วนั ตอ้ งใหเ้ กยี รตซิ ง่ึ กนั และกนั ตอ้ งมเี มตตา ตอ้ งซอื่ สตั ย์ ตอ้ งมคี วามยตุ ธิ รรม ตอ้ งเชอื่ ฟงั คำ� สงั่ ของพระเจา้

๒.๕ หมู่ ๕ บ้านในถุ้ง

ชมุ ชนบา้ นในถงุ้ เปน็ ชมุ ชนเกา่ แก่ มกี ารตง้ั บา้ นเรอื นมานานชมุ ชนมอี ายปุ ระมาณ ๓๐๐ - ๔๐๐ ปี
ผู้อาวุโสของชุมชนเล่าว่า ค�ำว่า “บ้านในถุ้ง” น้ันเพี้ยนมาจากค�ำเดิมที่เรียกว่า “บ้านในทุ่ง” ซ่ึงเป็นค�ำท่ีเรียก
ตามลักษณะภูมิประเทศในบริเวณนี้ ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นทุ่งนาผืนใหญ่ กลุ่มแรกที่มาเร่ิมหมู่บ้านส่วนใหญ่มาจากรัฐ
ต่าง ๆ ของประเทศมาเลเซีย เช่น รัฐปีนัง ตรังกานูกลันตัน ซ่ึงหนีภัยสงครามล่าอาณานิคมของประเทศอังกฤษ
และมาจากต่างจังหวัด เช่น มาจากจงั หวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา เมื่อกอ่ นสว่ นใหญ่จะพูดภาษามาลายู บ้านในถงุ้
เดิมมชี อ่ื เรยี กกันหลายชื่อ เช่น เรียกกนั วา่ บ้านท่าสูงลา่ ง บา้ นปากน้ำ� บ้านสันติสุข บ้านลองอ (แปลว่า สบาย)

รหสั วิชา หลักสูตรรายวชิ าเลอื ก ท่าศาลาศกึ ษา 105

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น

สมยั กอ่ นบา้ นในถงุ้ มคี วามอดุ มสมบรู ณ์ ประชาชนอยดู่ ว้ ยกนั อยา่ งมคี วามสขุ มคี วามสะดวกสบาย
ในทุก ๆ ด้าน เหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนเพราะ “หนึ่งอุดมสมบูรณ์ สองพื้นกว้าง สามสัญจรสะดวก บริเวณอ่ืน
เปน็ ปา่ โกงกางอยไู่ มไ่ ด้ แตบ่ รเิ วณนเี้ ปน็ สนั ดอนหมด ไมม่ ปี า่ โกงกางเลย ตงั้ แตร่ มิ ดอนปากนำ�้ ของทา่ สงู บน มนั จะเปน็
สนั ดอนไปถงึ ปากพะยิง และตดิ ต่อราชการกับอำ� เภอก็สะดวก” (ศุภชยั ยะปาก, สัมภาษณ์ ๘ มกราคม ๒๕๔๕)
หากพจิ ารณาจากสภาพพนื้ ทแ่ี ลว้ จะเหน็ วา่ บรเิ วณทต่ี ง้ั ของบา้ นในถงุ้ มคี วามเหมาะสมดงั คำ� กลา่ ว
ข้างต้นด้วยการเป็นพื้นที่ท่ีมีบริเวณแนวสันทรายท่ีกว้างและเป็นเนินสูงสามารถป้องกันน้�ำท่วมได้ อีกท้ังบริเวณ
โดยรอบยงั เปน็ ปา่ จาก ปา่ ชายเลนทำ� ใหเ้ กดิ ความอดุ มสมบรู ณข์ องสตั วน์ ำ้� สะดวกตอ่ การหากนิ และการนำ� ทรพั ยากร
จากป่าจาก ป่าชายเลนมาใช้ประโยชน์ ดังน้ันชุมชนบ้านในถุ้ง จึงสามารถตั้งได้อย่างมั่งคง ด้วยมีฐานทรัพยากร
ทสี่ ำ� คญั ตลอดมานั่นคือ ทรพั ยากรสตั ว์นำ�้ จากทะเล (ผใู้ หข้ ้อมูล นายอะมาตย์ ไทรทอง อยู่บ้านเลขท่ี ๘๔/๗ หมูท่ ่ี ๕
กบั นายอดศิ ร เสมอภพ อยบู่ ้านเลขที่ ๑๕ หมูท่ ี่ ๕ บ้านในถ้งุ )


๒.๖ หมู่ ๖ บ้านสระบัว

บ้านสระบัว หม่บู ้านชายทะเลแถบน้ีเมอ่ื หลายสิบปกี อ่ นถกู เช่ือมด้วยคลอง เรยี กว่า “คลองถงุ้ ”
ในคลองช่วงหมู่ ๖ ในอดีตชมุ ชนแหง่ น้ีเคยมีพ้ืนท่ที ่ีสระบวั หลวงขนาดใหญ่อยู่ใจกลางของชมุ ชน จึงเรยี กชอื่ หมบู่ ้าน
วา่ บา้ นสระบัว ซง่ึ ปัจจุบนั คลองสายนีไ้ ด้เปลย่ี นแปลงเหลือเพียงร่องรอยความเป็นคลองดว้ ยป่าจากและวชั พืช

๒.๗ หมู่ ๗ บ้านหน้าทบั

บ้านหน้าทับ จากการศึกษาหมู่บ้านหน้าทับ เป็นหมู่บ้านที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน
โดยชื่อของหมู่บ้าน ได้มาจากในสมัยสงคราม ๙ ทัพ พ.ศ. ๒๓๒๘ พม่าได้ยกทัพมาจังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยเดนิ ทัพข้ามเขาหลวงเข้าเขตอำ� เภอทา่ ศาลา ท่ีปากลง เจา้ พระยานคร (พฒั น)์ ได้วางแผนตง้ั รบั ทอ่ี ำ� เภอท่าศาลา
เปน็ ระยะ ๆ สนามรบทสี่ ำ� คญั คอื บา้ นชมุ โลง บา้ นปา่ โหลน บา้ นหวั พาน (ตำ� บลหวั ตะพาน ปจั จบุ นั ) สว่ นบา้ นหนา้ ทบั
ก็เป็นที่ต้ังทัพของเจ้าพระยานครและเป็นฐานทัพที่ส�ำคัญในสมัยน้ัน ดังนั้น เป็นบ้านหน้าทับ จึงมีช่ือมาถึงปัจจุบัน
เมอ่ื กอ่ นหมบู่ า้ นหนา้ ทพั จะเขยี นดว้ ยตวั อกั ษร “พ” เปน็ หนา้ ทพั แตใ่ นปจั จบุ นั ไดเ้ ปลย่ี นมาเปน็ “หนา้ ทบั ” เพอ่ื ความ
สวยงามและถกู ตอ้ ง หมบู่ า้ นหนา้ ทบั ไดเ้ รม่ิ กอ่ ตงั้ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ หรอื ประมาณ ๒๓๐ ปมี าแลว้ คนกลมุ่ แรกทเี่ รมิ่ กอ่ ตงั้
หมบู่ า้ นจากหลกั ฐานทมี่ อี ยแู่ ละจากการสมั ภาษณข์ องคนเฒา่ คนแก่ ทราบวา่ คนกลมุ่ แรกทมี่ าสว่ นมากนบั ถอื ศาสนา
อิสลาม ที่พอจะมีหลักฐาน คือ นายหวันเหล็ม นางเยาะ ซ่ึงเป็นต้นตระกูลหวันเหล็ม (ผู้ให้ข้อมูล นายผีน ใบเต้
อย่บู า้ นเลขที่ ๘/๑ หมูท่ ่ี ๗ บ้านหนา้ ทับ กับ นายสุธรรม โต๊ะหมาด อยู่บ้านเลขที่ ๑๔๓ หมู่ท่ี ๗ บา้ นหน้าทับ)

๒.๘ หมู่ ๘ บา้ นปากนำ้� ใหม่

บ้านปากน้�ำใหม่ แยกมาจากหมู่ที่ ๗ เม่ือ พ.ศ. ๒๕๒๑ เม่ือก่อนเป็นแผ่นดินติดกับหมู่ที่ ๑๔
และแยกออกจากหมู่ที่ ๑๔ โดยมีคลองก้ันระหว่างหมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ เกิดน�้ำท่วมใหญ่เลยเรียกกันว่า
“ปากน�้ำใหม”่

106 หลักสตู รรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา

รหสั วชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้

๒.๙ หมู่ ๙ บ้านดา่ นภาษี

บ้านด่านภาษี หมู่บ้านตั้งอยู่ทางตะวันออกของอ�ำเภอท่าศาลา โดยตั้งอยู่ริมทะเลฝั่งอ่าวไทย
ทางด้านทิศเหนอื ติดคลองทา่ สูง หรอื แมน่ ำ�้ ท่าศาลา ซ่ึงติดกบั หม่บู ้านหมู่ท่ี ๔ ต�ำบลทา่ ศาลา สว่ นตะวันตกอยู่ติดกับ
คลองทา่ สงู เชน่ กนั และเปน็ ทต่ี ง้ั ของหมบู่ า้ นหมทู่ ่ี ๑๒ สว่ นดา้ นทศิ ใตเ้ ขตหมบู่ า้ นอยตู่ ดิ ตอ่ กบั หมทู่ ่ี ๕ สถานทท่ี อ่ งเทยี่ ว
มหี าดเขอ่ื นดา่ นภาษี ในอดตี เดมิ เคยเปน็ ทตี่ งั้ ของดา่ นศลุ กากร จดั เกบ็ ภาษขี องเรอื สนิ คา้ ทผี่ า่ นเขา้ ออกในคลองทา่ สงู
เพราะในสมัยก่อนชาวบ้านใช้การสัญจรทางน้�ำเป็นส่วนใหญ่ ชื่อของหมู่บ้านจึงได้เรียกตามท่ีตั้งของด่านศุลกากร
ซ่งึ มกี ารจัดเกบ็ ภาษี จงึ เป็นท่ีมาของชื่อหมู่บ้านด่านภาษีในปัจจบุ นั

๒.๑๐ หมู่ ๑๐ บา้ นบอ่ นนท์

บ้านบ่อนนท์ มีความหมายว่า ได้มีคนสามคนหนีโรคระบาดมาจากบ้านสวนพริก โดยมี
๑. นายเอียด เพชรทอง ๒. นายแยม ๓. นายแก้ว นนทา ได้มาพักอาศัยอยู่และก็ได้มีบ่อ ๑ บ่อ อยู่ใต้ต้นนนท์
มสี ตั วท์ ุกชนิดมากนิ นำ�้ อยู่เป็นประจ�ำ เมอ่ื นายเอียดและนายแยมอยนู่ านประมาณ ๓ – ๔ ปี จงึ ได้ปลกู ศาลา ๑ หลัง
ใกล้กับตน้ นนท์ เพือ่ ไว้พักรอ้ นหรือนอนค้างคนื ก็ได้ คนที่ผา่ นไปมาเรยี กกนั วา่ บอ่ นนท์ เม่อื ก่อนมีบ่อยทู่ ีใ่ ตต้ น้ นนท์
แต่ว่าต้นนนท์ได้ล้มตายหายไปหมดแล้ว แต่ที่ได้เห็นอยู่บัดนี้ก็มีร่องรอยอยู่เท่าน้ันจึงจัดต้ังเป็นหมู่บ้านตามท�ำเนียบ
หมบู่ า้ นจงึ เรยี กกันว่า บา้ นบ่อนนท์จนถึงบดั น้ี


๒.๑๑ หมู่ ๑๑ บา้ นฝายทา่

บา้ นฝายทา่ แยกจากหมู่ ๓ เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ต้ังชอื่ หมู่บ้านว่า บ้านฝายทา่

๒.๑๒ หมู่ ๑๒ บ้านในไร่

บ้านในไร่ ก่อนจะมีการตั้งหมู่ท่ี ๑๒ ซึ่งแยกตัวมาจากหมู่ที่ ๓ ในสมัยก่อนชาวบ้านนิยมท�ำนา
ท�ำไร่ คนที่ในตลาดจะเรียกชาวบ้านแถบน้ีว่า “คนในไร่” เมื่อมีการต้ังหมู่บ้านข้ึนก็ได้ช่ือว่าบ้านในไร่ บ้านในไร่
ท่ีคนในตลาดเรียกจะมี ๒ แห่ง บ้านในไร่ที่เป็นหมู่ที่ ๑๒ คือบ้านในไร่ทางทิศใต้ คือ บริเวณตลาดอาทิตย์ท่าสูง
ส่วนบ้านในไรท่ างทิศเหนอื ของตลาด เป็นเขตพื้นทหี่ ลังโรงเรยี นท่าศาลา คือหมทู่ ่ี ๑๓ ในปัจจบุ นั

๒.๑๓ หมู่ ๑๓ บ้านในไร่ บา้ นเตาหมอ้ ใต้ บ้านสวนพริก

บ้านในไร่ สมัยก่อนคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในตลาดท่าศาลา ส่วนหน่ึงจะมาท�ำนา ท�ำไร่ บริเวณนี้
เม่ือใครถามว่าไปไหนก็จะบอกวา่ ไปในไร่ จึงเรยี กกันตดิ ปากวา่ บ้านในไร่ จนถงึ ปัจจุบนั
บ้านเตาหม้อใต้ เดิมเป็นป่ารกร้าง มีชาวจีนอพยพหนีภัยสงครามเก้าทัพ มาจากเมืองถลาง
จงั หวัดภูเก็ต มาปั้นหม้อดินขายอยู่บรเิ วณสองฝั่งคลอง จงึ เรยี กบรเิ วณสองฝง่ั คลองว่าบา้ นเตาหมอ้ และเรียกคลองนี้
วา่ คลองเตาหมอ้ เปน็ คลองทเี่ ชอ่ื มตอ่ กบั คลองบอ่ นนท์ และออกสทู่ ะเลได้ จงึ มเี รอื สำ� เภามาตดิ ตอ่ คา้ ขาย บา้ นเตาหมอ้
จึงเป็นแหล่งชุมชน หลักฐานที่น่าเช่ือได้ว่าบริเวณนี้เคยเป็นแหล่งปั้นหม้อดิน คือ มีสระร้างขนาดใหญ่ สันนิฐานว่า
นา่ จะขดุ เอาดนิ มาปน้ั หมอ้ ตอนหลงั คนไมน่ ยิ มใชห้ มอ้ ดนิ และคงไมม่ ที ายาทสบื ทอดอาชพี นเ้ี ลยสญู หาย อกี อาชพี หนงึ่
ทม่ี หี ลงั การปน้ั หมอ้ กค็ อื การทำ� เครอื่ งจกั สานดว้ ยไมไ้ ผ่ โดยเฉพาะเขง่ ไมไ้ ผข่ องชมุ ชนบา้ นเตาหมอ้ ใต้ โดยไปตดั ไมไ้ ผ่
แถวคลองทา่ พดุ แล้วล่องลงมาตามคลองคถู นน มาพกั ไวใ้ นคูถนน บรเิ วณสะพานคลองฆ่าสตั ว์ (แถวบ้านครถู นอม
นงคน์ วล ปจั จุบัน) อาชพี น้ีกห็ ายไปจากบา้ นเตาหม้อเชน่ กัน

รหสั วชิ า หลักสูตรรายวชิ าเลือก ท่าศาลาศึกษา 107

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้น

บา้ นสวนพริก จากคำ� บอกเล่าของนายน้อม ฤทธี เล่าวา่ สมยั สงครามเกา้ ทัพ ที่พมา่ ยกทัพมาตี
เมอื งถลาง จงั หวดั ภูเก็ต มีชาวจนี สองพนี่ อ้ งหนีภยั สงครามจากเมืองถลาง มาปลูกพรกิ และท�ำมาคา้ ขายอยู่บรเิ วณนี้
จึงเรยี กว่าบา้ นสวนพริก

๒.๑๔ หมู่ ๑๔ บ้านแหลม

บ้านแหลม หมู่บ้านแหลม เดิมท่ีเป็นอาณาเขตติดต่อกับหมู่ท่ี ๗ และเคยเป็นหมู่ท่ี ๗ มาก่อน
แตร่ ะยะเวลาผา่ นพน้ ไป จงึ ไดแ้ ยกหมบู่ า้ นใหมม่ าเปน็ หมทู่ ี่ ๑๔ บา้ นแหลมในปจั จบุ นั ซงึ่ คำ� วา่ “บา้ นแหลม” มที มี่ าจาก
คนในสมัยก่อนท่ีอยู่ในช่วงแหลมตะลุมพุกได้อพยพมาอยู่อาศัยในหมู่บ้านนี้ มีท้ังชาวพุทธและอิสลามเข้ามา
อาศัยอยู่ ปรองดองกันเหมือนกับเป็นบ้านพี่เมืองน้องให้ความช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน มีการรวมตัวกันสร้างบ้าน
เป็นหลักแหล่งรวมกันมากข้ึน ๆ กลายเป็นหมู่บ้านที่มีคนเรียกรวม ๆ กันว่า “บ้านแหลม” ซึ่งอาชีพหลักของ
คนในหมบู่ า้ นตง้ั แตอ่ ดตี จนถงึ ปจั จบุ นั นน่ั กค็ อื อาชพี ประมง เพราะทำ� เลทตี่ งั้ นน้ั มคี วามเหมาะสมกบั อาชพี นมี้ ากกวา่
อาชพี อนื่ ๆ(ผใู้ หข้ ้อมลู นายหรูน ตาหลี อยูบ่ า้ นเลขที่ ๑๓๑ /๓๔ นายอนรุ ักษ์ เหมรกึ อย่บู า้ นเลขที่ ๑๓๗/ ๒๒
หม่ทู ี่ ๑๔ บา้ นแหลม)

๒.๑๕ หมู่ ๑๕ บ้านบางตง

บ้านบางตง เดิมที่เป็นหมู่ท่ี ๗ เป็นป่าที่มีต้นไม้หลากหลายชนิดเช่น ไม้ยาง ไม้สักและอ่ืน ๆ
มสี ัตว์รา้ ยหลายชนดิ เชน่ งู เสอื กะจง นกหลายชนิดท่ีอาศัยอยู่ในปา่ แห่งนี้ ไดม้ ีคนแรกทีเ่ ข้ามาอยู่ในปา่ แห่งน้ี คือ
นายโกบ มะหมีน ได้เข้ามาอาศัยอยู่หลังจากนั้น นายโกบ มะหมีน ได้ชักชวนเพ่ือน ๆ หลายคนเข้ามาอาศัย
และปลูกสร้างบ้านเรือนเพ่ืออาศัยกันหลายคนแล้ว ได้ช่ือหมู่บ้านแห่งน้ีว่า บ้านบางตง สาเหตุเพราะมีไม้ไผ่ตงมาก
ทีข่ ้ึนอยู่ริมคลองเขตโพธิท์ อง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ไดแ้ ยกหมบู่ า้ นน้เี ป็นหมู่ที่ ๑๕

108 หลักสูตรรายวชิ าเลอื ก ทา่ ศาลาศึกษา

รหสั วิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มัธยมศึกษาตอนต้น

บ๔ทท่ี รุ่งเรืองวิถี

สาระสำ� คัญ

สภาพ วิถีชีวิต และการประกอบอาชีพเกษตรกรรม หัตถกรรม ประมงพ้ืนบ้าน ทรัพยากรชายฝั่งทะเล
แหลง่ ท่องเท่ียวของชมุ ชนในพน้ื ท่อี ำ� เภอทา่ ศาลา

ตัวช้ีวัด

๑. อธบิ ายอาชพี เกษตรกรรมทโ่ี ดดเด่น ในเขตอำ� เภอทา่ ศาลา
๒. อธิบายอาชีพหตั ถกรรม ในเขตอ�ำเภอท่าศาลา
๓. อธิบายถึงสภาพและวิถีเก่ียวกับการทำ� อาชีพประมงพืน้ บ้านในอำ� เภอทา่ ศาลา
๔. อธิบายการอนรุ กั ษ์ทรพั ยากรชายฝง่ั ทะเลในเขตอ�ำเภอทา่ ศาลา
๕. อธิบายความสำ� คัญและจดุ เด่นแหล่งทอ่ งเทย่ี วของชุมชนในพืน้ ท่ีอำ� เภอท่าศาลา

ขอบขา่ ยเนอ้ื หา

เรอื่ งท่ี ๑ เรยี นรู้วถิ ชี วี ติ และอาชพี
๑.๑ อาชีพเกษตรกรรมทีโ่ ดดเด่นในปจั จุบนั ทีม่ อี ย่ใู นชมุ ชน
๑.๒ อาชพี พาณิชย์ที่กา้ วไกลในปจั จบุ ัน
๑.๓ อาชพี บรกิ ารในปัจจุบัน
๑.๔ การสืบสานการละเลน่ ท่โี ดดเด่นทีค่ งอย่ใู นชมุ ชน
๑.๕ หัตกรรมทีม่ อี ยู่ในชมุ ชน ท่ีสอดคล้องกบั วถิ ชี วี ิตของคน
ในอดตี และหัตถกรรมที่ผลิตข้ึนเพอ่ื สังคมปัจจบุ นั
๑.๕.๑ เคร่อื งป้นั ดินเผา
๑.๕.๒ การท�ำหางอวน
๑.๕.๓ การท�ำว่าว
๑.๕.๔ การท�ำกรงนก
๑.๖ อาชพี ประมง และวิถีชวี ติ ของชาวประมงพ้ืนบ้าน
เรือ่ งท่ี ๒ การอนรุ ักษ์ทรัพยากรชายฝ่ังทะเล
๒.๑ สถานการณป์ า่ ชายเลนอ�ำเภอท่าศาลา
๒.๒ การอนุรักษป์ ่าชายเลน
เรือ่ งที่ ๓ แหลง่ ทอ่ งเท่ียวในอ�ำเภอท่าศาลา
๓.๑ แหลง่ ทอ่ งเทย่ี วทางธรรมชาติ
๓.๑.๑ อทุ ยานแห่งชาติเขานนั
๓.๑.๒ หาดทรายแกว้
๓.๑.๓ หาดท่าสูงบน

รหสั วิชา หลักสตู รรายวิชาเลอื ก ท่าศาลาศกึ ษา 109

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้น

๓.๑.๔ หาดซนั ไรส์
๓.๑.๕ บา้ นแหลมโฮมสเตย์
๓.๒ แหล่งทอ่ งเทย่ี วทางวฒั นธรรม
๓.๒.๑ โบราณสถานโมคลาน
๓.๒.๒ โบราณสถานตุมปัง

เวลาท่ีใช้ในการศึกษา ๒๐ ชั่วโมง
สอื่ การเรยี นรู้

๑. ชดุ วชิ าทา่ ศาลาศกึ ษา รหัสรายวชิ า สค ๒๓๐๐๑๒๗
๒. สมดุ บนั ทึกกิจกรรมการเรียนรปู้ ระกอบชดุ วิชาทา่ ศาลาศึกษา รหัสรายวิชา สค ๒๓๐๐๑๒๗
๓. ส่ือเสริมการเรียนรูอ้ น่ื ๆ

110 หลกั สตู รรายวชิ าเลือก ทา่ ศาลาศกึ ษา

รหัสวชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้น

ร่งุ เรอื งวถิ ี
เกษตรพัฒนา พาณิชยก์ า้ วไกล
นำ�้ ใจบรกิ าร สืบสานการละเล่น
ดเี ดน่ ด้านหตั ถกรรม ด่มื ด�ำ่ การประมง
ดำ� รงอนรุ กั ษ ์ ที่พกั แหลง่ ท่องเทยี่ ว
(คุณบท มุขปาฐะ)
จากคุณบท มุขปาฐะ เป็นการสื่อสารถึงชุมชนชาวอ�ำเภอท่าศาลา ท่ีมีความอุดมสมบูรณ์ เจริญรุ่งเรือง
จนถงึ ปัจจุบนั ซึง่ ประกอบด้วย วิถชี ีวิตด้านตา่ ง ๆ ดังต่อไปน้ี

เรือ่ งที่ ๑ เรียนรู้วิถชี วี ิตและอาชพี

อาชีพสว่ นใหญข่ องประชาชนในอำ� เภอทา่ ศาลา มีอาชพี
การเพาะปลกู เลี้ยงสตั ว์ การประมง การท�ำนา ท�ำไรท่ ำ� สวน และ
หัตถกรรม ท่าศาลาเป็นอ�ำเภอที่ติดชายฝั่งอ่าวไทย มีลักษณะ
ทางภมู ศิ าสตร์ ดนิ น้�ำ อากาศ ท่เี ออื้ ตอ่ การปลูกพืชท่ีหลากหลาย
ไมว่ า่ จะเปน็ มะพรา้ ว ปาลม์ นำ�้ มนั แถบตำ� บลทต่ี ดิ ชายฝง่ั ทะเล ในบาง
พ้ืนที่ของต�ำบลท่าศาลา ต�ำบลกลาย ต�ำบลท่าข้ึน การท�ำนาข้าว ในบางพ้ืนที่ของต�ำบลโพธิ์ทอง ต�ำบลโมคลาน
ต�ำบลดอนตะโก ต�ำบลไทยบุรี นอกจากนี้ยังมีการท�ำสวนยางพารา สวนผลไม้ เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง
ในตำ� บลกลาย ต�ำบลสระแก้ว ตำ� บลตลงิ่ ชัน ตำ� บลท่อี ยตู่ ดิ ชายฝั่งทะเลจะมีอาชพี ประมง

การท�ำสวนมะพรา้ ว การท�ำนา

รหสั วิชา หลกั สตู รรายวชิ าเลอื ก ทา่ ศาลาศกึ ษา 111

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศึกษาตอนตน้

๑.๑ อาชีพเกษตรกรรมท่โี ดดเดน่ ในปัจจบุ ันที่มีอยู่ในชุมชน

ผลิตผลทางการเกษตรท่ีโดดเด่นของอ�ำเภอท่าศาลา ได้แก่ ทุเรียนซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส�ำคัญ
ของอ�ำเภอท่าศาลา หลังจากเหตุการณ์พายุโซนร้อน แฮเรียต ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ชาวบ้านหันมาปลูกผลไม้ต่าง ๆ
และยางพารา ตอ่ มาเกดิ พายุ “ฟอรเ์ รสต”์ เคลอื่ นขนึ้ ฝง่ั ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ สง่ ผลใหส้ วนทเุ รยี นพน้ื เมอื งและผลไมต้ า่ ง ๆ
ได้รับความเสียหายจ�ำนวนมาก เกษตรกรจึงหันไปปลูกทุเรียนพันธุ์ และไม้ผลอื่น ๆ ทดแทน หลังจากที่ยางพารา
มรี าคาตกตำ่� ลงอยา่ งตอ่ เน่อื ง เกษตรกรจงึ หนั มาปลกู ทเุ รียนพนั ธุ์ เนอื่ งจากมีราคาดี ประกอบกับสภาพพืน้ ท่ี ดิน น�้ำ
และอากาศเหมาะแก่การปลูกทุเรียน เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกทุเรียนนอกฤดูมายาวนานกว่า ๒๐ ปี
โดยเฉพาะเม่ือผลิตทุเรียนนอกฤดูกาลราคาสูงกว่าทุเรียนตามฤดูกาล ๒ - ๓ เท่าซ่ึงผลผลิตทุเรียนนอกฤดูที่ได้
มาตรฐานนน้ั ผลโตเตม็ ท่จี ะมีน้�ำหนักประมาณ ๖ - ๗ กโิ ลกรัม ราคาออกจากสวนกิโลกรมั ละ สูงกวา่ ๑๐๐ บาท
และมตี ลาดรองรบั ในการส่งออก โดยเฉพาะจีนเปน็ ประเทศทม่ี ีการบรโิ ภคผลไม้ไทยสูงมาก
นอกจากน้ี ทางส�ำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ช่วยประสานเพื่อการ
เชือ่ มโยงกบั ตลาดใหม่ ๆ เพิ่มเติมจากการสง่ จ�ำหน่ายให้กับประเทศจนี เชน่ ประเทศเกาหลี และรัสเซยี เปน็ ตน้
พนื้ ทท่ี ป่ี ลกู ทเุ รยี นมากในอำ� เภอทา่ ศาลา คอื ทตี่ ำ� บลตลงิ่ ชนั ตำ� บลกลาย ตำ� บลสระแกว้ สำ� นกั งาน
เกษตรอ�ำเภอท่าศาลาได้มีการส่งเสริมให้มีการผลิตทุเรียนนอกฤดู ทั้งน้ีเกษตรกรในพื้นที่ได้มี การรวมกลุ่มผู้ปลูก
ทเุ รยี นตำ� บลตลงิ่ ชนั ขน้ึ เปน็ วสิ าหกจิ ชมุ ชน รปู แบบเกษตรแปลงใหญ่ โดยมแี ปลงสาธติ ทเุ รยี นนอกฤดกู าลหลายแปลง
เชน่ แปลงของนายพงศพ์ ัฒน์ เทพทอง ผู้ใหญ่บา้ นหมู่ท่ี ๒ ต�ำบลตล่ิงชนั เปน็ แปลงเรียนรู้ตน้ แบบ ในการถา่ ยทอด
เทคนิคการจัดการสวน การใช้ปุ๋ยเพ่ือลดต้นทุนการผลิต การปรับปรุงผลผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพสอดคล้องกับความ
ตอ้ งการของตลาด และมกี ารรับรองมาตรฐานสนิ คา้ GAP

นอกจากทุเรียนแล้ว ยังมีลองกอง เงาะ มังคุดซ่ึงได้ชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้ก็ท�ำรายได้ให้กับเกษตรกรใน
อำ� เภอทา่ ศาลาไมน่ ้อยในแตล่ ะปี โดยเฉพาะเมอื่ ออกนอกฤดูกาล มงั คุดราคาสงู ถึงกโิ ลกรัมละ ๑๐๐ - ๒๐๐ บาท
นอกจากผลไม้แล้วท่าศาลายังมีการปลูกยาสูบท่ีมีชื่อเสียงท่ีต�ำบลกลายหรือเรียกว่า ยากลาย ซึ่งสร้างรายได้
ให้เกษตรกรนอกเหนอื จากการท�ำสวนผลไม้

112 หลักสตู รรายวชิ าเลือก ท่าศาลาศึกษา

รหสั วิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้

มงั คุด ลองกอง เงาะ

๑.๒ อาชพี พาณชิ ยก์ า้ วไกลในปัจจบุ ัน

พาณิชยก์ ้าวไกล เปน็ การส่งเสริมความเข้มแขง็ ให้ธุรกิจรายยอ่ ย รายเลก็ และรายกลางในการนำ�
พาเศรษฐกิจของให้เติบโตอย่างมั่นคงมั่งคั่งและย่ังยืน มีการยกระดับคุณภาพการประกอบธุรกิจ มีแหล่งท่ี
เปน็ ศูนยก์ ลางทางดา้ นพาณชิ ยกรรม เชน่ ตลาดนัดแตล่ ะชุมชน ตลาดสด รา้ นค้าตา่ ง ๆ รา้ นสะดวกซ้อื ตลอดถงึ
ห้างสรรพสินค้า ๆ เป็นต้น การมีตลาดในทุกระดับสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ในพ้ืนที่ มีการแลกเปลี่ยน
จับจ่ายใช้สอย แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจท่ีดี
กิจกรรมทางเศรษฐกิจอ�ำเภอท่าศาลา จะมีท้ังการผลิต การบริโภค การแลกเปล่ียนสินค้า
และบริการภายในชุมชนของตนเองและกับต่างชุมชน ดังนั้น ชุมชนมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมท�ำ
ร่วมรับผลประโยชน์ ในการด�ำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการ
ท้งั ในดา้ นการผลิตและการบริโภค

หา้ งเทสโก้โลตสั ตลาดนับอนุสรณ์

ตลาดสแ่ี ยกวดั โหนด หลักสูตรรายวิชาเลอื ก ท่าศาลาศกึ ษา 113

รหสั วชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนตน้

ตลาดเปดิ ทา้ ยหมอจวน

ตลาดนัดวนั พฤหสั บดี (หลาดหดั )

๑.๓ อาชพี บริการในปจั จุบัน

การบรกิ าร เปน็ อาชพี ทชี่ ว่ ยอำ� นวยความสะดวกในดา้ นตา่ ง ๆ บคุ คลทมี่ อี าชพี ทางดา้ นการบรกิ าร
เช่น พนกั งานขบั รถโดยสาร ช่างตดั ผม ช่างเสรมิ สวย พนักงานต้อนรบั พนักงานเสริ ์ฟอาหาร เป็นตน้
อาชีพบริการเป็นงานท่ีต้องให้ลูกค้าประทับใจ การให้บริการที่ดี ด้วยความจริงใจ มีมิตรไมตรี
และซ้ือสัตย์ จะท�ำให้ลูกค้าประทับใจและใช้บริการไปนาน ๆ ชาวท่าศาลาเป็นคนท่ีมีนิสัยเอื้อเฟื้อ เกื้อกูล มีน้�ำใจ
เปน็ มิตรกับคนทว่ั ไปซึ่งเป็นคุณสมบตั ิของการใหบ้ รกิ ารทดี่ ี

ช่างตดั ผม

114 หลักสูตรรายวชิ าเลือก ท่าศาลาศกึ ษา

รหสั วิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้

ร้านอาหารและเครือ่ งด่ืม

โรงแรมท่พี ัก

๑.๔ การสืบสานการละเลน่ และการแสดงพ้นื บา้ นทโ่ี ดดเด่นที่คงอย่ใู นชุมชน

ในอำ� เภอทา่ ศาลา เมอ่ื ประชาชนมเี วลาวา่ งจากการทำ� งาน กม็ กี จิ กรรมทท่ี ำ� ใหเ้ กดิ ความสนกุ สนาน
รนื่ เรงิ ผอ่ นคลาย มกี ารแขง่ ขนั มกี ฎกตกิ าการเลน่ หรอื การแขง่ ขนั งา่ ย ๆ ไมส่ ลบั ซบั ซอ้ นมากนกั จดุ ประสงคส์ ว่ นใหญ่
มงุ่ เพอื่ ใหเ้ กดิ ความสนกุ สนาน เพอ่ื ออกกำ� ลงั กาย และกอ่ ใหเ้ กดิ ความสามคั คที ง้ั ระหวา่ งผเู้ ลน่ และผชู้ ม เชน่ กฬี าชนไก่
ในหมู่ชนท่ีเป็นมุสลิมจะพบมีการเล้ียงนกกรงหัวจุก (นกปรอทหัวโขน) และจะมีการแข่งประชันเสียงนกกรงหัวจุก
ซ่ึงสนามแข่งนกสามารถเคลื่อนย้ายได้ แล้วแต่ความเหมาะสม และนอกจากการละเล่นแล้วยังมีการแสดงพ้ืนบ้าน
ในอำ� เภอท่าศาลา เชน่ โนรา (มโนราห)์ เพลงบอก หนังตะลงุ ลิเกฮลู ู

รหสั วิชา หลกั สูตรรายวิชาเลอื ก ท่าศาลาศกึ ษา 115

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้น

การร�ำมโนราห์

๑.๕ หัตกรรมที่มีอยู่ในชุมชน ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในอดีตและหัตถกรรม
ท่ีผลิตขึน้ เพือ่ สงั คมปัจจบุ ัน

หัตถกรรม เป็นอาชีพท่ีต้องอาศัยแรงงานฝีมือในครัวเรือน วัตถุดิบก็เป็นทรัพยากรท่ีมีอยู่ใน
ท้องถ่ินน้ัน ๆ และใช้เทคโนโลยีที่เป็นความรู้ที่สืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ ผลิตผลจากการท�ำอาชีพหัตถกรรม
เป็นประเภทข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจ�ำวัน เช่น เคร่ืองปั้นดินเผา การทอหางอวน การท�ำว่าว การท�ำกรงนก
เป็นต้น
๑.๕.๑ การทำ� ผลติ ภณั ฑ์เครอ่ื งปัน้ ดินเผา
กลุ่มเครื่องปั้นดินเผากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านมะยิง ต้ังอยู่ บ้านมะยิง หมู่ท่ี ๖
ต�ำบลโพธ์ิทองอ�ำเภอท่าศาลาเล่าให้ฟังว่าอาชีพท�ำเคร่ืองปั้นดินเผาในชุมชนท�ำกันมาโบราณนานมากสืบทอดกันมา
ประมาณ ๑๐๐ ปี สมยั กอ่ นท�ำเครอ่ื งปั้นดนิ เผาพื้นเมอื งแบบโบราณ จะป้นั หม้อยาสว่ นใหญส่ มยั พ่อแม่ คนรุ่นเดมิ ๆ
จะทำ� กนั เปน็ ระบบครอบครวั จากเดมิ ท�ำกันแค่ ๑ - ๒ ครอบครัว ปัจจุบนั เปน็ กล่มุ ๑๐ กว่าครวั เรอื น

116 หลกั สตู รรายวิชาเลือก ทา่ ศาลาศกึ ษา

รหัสวชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น

๑.๕.๒ การทำ� หางอวน
บ้านหน้าทัพเป็นหมู่บ้านชายทะเล ราษฎรในท้องถิ่นนับถือศาสนาอิสลามและพุทธ
ประกอบอาชีพการท�ำประมงมาแต่ด้ังเดิม ได้น�ำยอดใบลานที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาท�ำเป็นเส้น แล้วตากแดดให้แห้ง
จากน้ันก็น�ำมาทอและม้วนคล้ายกรวย เพ่ือท�ำเป็นอุปกรณ์ในการหาปลาขนาดเล็ก โดยน�ำไปติดไว้ที่ปลายอวน
จงึ เรยี กตดิ ปากกนั วา่ “หางอวน” แตป่ จั จบุ นั ชาวประมงเปลยี่ นมาใชเ้ ชอื กไนลอนแทน ทำ� ใหห้ างอวนถกู ลดบทบาทลง
การทำ� หางอวนเพ่ือวัตถปุ ระสงค์เดมิ จงึ เปลี่ยนไปเปน็ การแปรรปู เปน็ ผลิตภัณฑ์อน่ื ๆ เช่น กระเปา๋ หมวก เป็นต้น
ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มในการท�ำหางอวนและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหางอวน
กลมุ่ ผลติ ภัณฑ์หางอวนบ้านหนา้ ทัพ ต้ังอย่ทู ่บี ้านเลขที่ ๒๕๑ หมู่ ๑๕ บา้ นหน้าทัพ ต�ำบลทา่ ศาลา อ�ำเภอทา่ ศาลา
จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลติ ภัณฑแ์ ปรรปู จากหางอวน

ใบลาน วัตถดุ บิ ในการท�ำหางอวน

การทำ� วา่ วของชุมชนบ้านในถงุ้


๑.๕.๓ การทำ� วา่ ว
หมบู่ า้ นในถงุ้ อยหู่ า่ งจากตวั เมอื ง ๒๔ กโิ ลเมตร เปน็ ชอ่ื หมบู่ า้ นชาวประมงทม่ี บี รรยากาศ
ของหมู่บา้ นชายทะเล ซึง่ นอกจากชาวบา้ นจะทำ� อาชพี ประมงแล้ว ยามวา่ งจะผลติ ว่าวผา้ เปน็ รูปนกหลากสวี างขาย
อยสู่ องขา้ งทางซงึ่ สามารถใชเ้ ปน็ ของทรี่ ะลกึ และใชง้ านไดจ้ รงิ ลกั ษณะการทำ� วา่ วในชมุ ชน จะทำ� ๒ ลกั ษณะ กลา่ ว คอื
๑. ว่าวทเ่ี ล่นกบั ลมทะเล ๒. ว่าวท่เี ลน่ กบั ลมทั่วไป โดยว่าวจะโครงสรา่ งทแ่ี ตกตา่ งกนั ออกไป และจะแบง่ ย่อยออก
ไดอ้ กี เป็นว่าวที่มเี สยี ง และว่าวที่ไม่มีเสียงโดยมตี ัว เช่น ว่าวท่ีมีเสียง ได้แก่ วา่ วโนรา วา่ ววงเดอื น วา่ วควาย เปน็ ต้น

รหัสวชิ า หลักสูตรรายวชิ าเลือก ทา่ ศาลาศึกษา 117

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้

ว่าวทไี่ ม่มเี สียง ไดแ้ ก่ ว่าวนก วา่ วจุฬา ว่าวปกั เป้า เป็นต้น ส่วนแอกทค่ี อยให้เสียงทำ� มาจากเสน้ หวายและท�ำด้วย
เลอื ดอีกา จะทำ� ใหไ้ ดเ้ สียงที่ดี และมคี วามทนทานตอ่ ลม โดยปกตนิ ้นั สามารถที่จะท�ำวา่ วได้ประมาณ วันละ ๑๐ ตัว
ต่อคน เอกลกั ษณ์ของว่าวในชมุ ชนจะมีลายกอ และมรี าคาตั้งแต่หลักสบิ ถึงหลักหมื่น ตามขนาดและรปู แบบ
๑.๕.๔ การทำ� กรงนก
วิถีชีวิตของชาวบ้านภาคใต้ การเดินทางจากตัวอ�ำเภอเมืองเข้าสู่อ�ำเภอท่าศาลา
เข้าเขตบ้านสระบวั บา้ นในถงุ้ อ�ำเภอท่าศาลาสองข้างทางจะพบเห็นมรี า้ นขายกรงนกท้งั สองขา้ งทางพบเหน็ รา้ นค้า
ทจี่ ำ� หนา่ ยหลากหลายรปู แบบกรงนกเปน็ วถิ ชี วี ติ ของชาวไทยมสุ ลมิ ทน่ี ยิ มชมชอบการแขง่ ขนั ศลิ ปะฟงั เสยี งนก ประชนั
แข่งขันกนั ยามเช้าเสาร์- อาทติ ย์ มักจะพบเห็นชาวบา้ นนำ� นกของตนเองไดน้ �ำไปแข่งขันนก เพ่ือฟังเสยี งอนั ไพเราะ
ของนกแตล่ ะตวั ท่ีสง่ เสยี งแหลม ไพเราะยาวนาน การเลยี้ งนกปรอดหัวโขนเคราแดง (นกกรงหัวจุก) เปน็ ท่นี ยิ มเลยี้ ง
กนั มากในภาคใตแ้ ละมกี ารสง่ เสรมิ การแขง่ ขนั กนั อยา่ งแพรห่ ลาย การผลติ กรงนกจงึ เปน็ การผลติ สนิ คา้ อกี อยา่ งหนง่ึ
เพื่อสนองความต้องของคนในท้องถ่ินและคนท่ัวไปในชุมชนมุสลิม อ�ำเภอท่าศาลาจึงมีอาชีพการท�ำกรงนกเกิดขึ้น
เพื่อเป็นการสนองความต้องการของผู้เล้ียงนก เช่น การผลิตกรงนก การผลิตชิ้นส่วนกรงนก ร้านขายกรงนก
และอปุ กรณ์ตา่ ง ๆ ท่ีเกี่ยวกบั การเล้ยี งนก เป็นต้น การผลติ กรงนกผู้ผลิตจะสง่ สนิ ค้าใหร้ า้ นค้าขายกรงนกในชุมชน
และบางสว่ นกน็ ำ� ไปขายสง่ ในทอ้ งทอี่ น่ื หรอื จงั หวดั ตา่ ง ๆในภาคใต้ นอกจากการผลติ กรงนกกรกงหวั จกุ แลว้ เนอื่ งจาก
ชมุ ชนคนมสุ ลมิ นยิ มเลยี้ งนกเขา จงึ มกี ารผลติ กรงนกจงึ เปน็ อกี อาชพี หนง่ึ ของคนในทอ้ งถน่ิ กรงนกเขาชวาจะมลี กั ษณะ
ทรงกลมโคง้ จะมคี วามออ่ นชอ้ ยมากกวา่ และมขี นาดใหญก่ วา่ สว่ นกรกงหวั จกุ จะมลี กั ษณะสเี่ หลย่ี มดา้ นบนจะแคบ
กว่าด้านลา่ งและขนาดกจ็ ะเลก็ กว่าดว้ ย

การท�ำกรงนกกรงหัวจุก



118 หลักสูตรรายวิชาเลอื ก ทา่ ศาลาศกึ ษา

รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน้

๑.๖ อาชพี ประมง และวิถชี ีวติ ของชาวประมงพ้ืนบา้ น

ชมุ ชนอ่าวทา่ ศาลา อำ� เภอท่าศาลา จงั หวดั นครศรีธรรมราช เปน็ ชมุ ชนอันร�่ำรวยด้วยทรพั ยากร
ชายฝั่งทะเลและวัฒนธรรมของชาวพุทธและชาวมุสลิม ท่ีอาศัยอยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ด้วยลักษณะพิเศษ
ทางภูมิประเทศ พื้นท่ีทะเลอ่าวท่าศาลาอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์สัตว์น�้ำ การประมงจึงเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจหลัก
ของท่นี ่ี จนได้รบั การขนานนามวา่ เป็นอ่าวทองคำ� การประกอบอาชพี ประมงท�ำให้เกดิ ภมู ิปญั ญาการด�ำนำ้� ฟังเสียง
ปลาในท้องทะเลทเ่ี รียกวา่ “ดูหลำ� ”

การท�ำประมงพน้ื บ้านในอำ� เภอทา่ ศาลา

รหัสวชิ า หลักสูตรรายวิชาเลอื ก ท่าศาลาศกึ ษา 119

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศึกษาตอนตน้

บทที่เรอ่ื งท่ี ๒ การอนรุ ักษ์ชายฝง่ั ทะเลอำ�เภอท่าศาลา

๒.๑ สถานการณ์ปา่ ชายเลนในอ�ำเภอทา่ ศาลา

ในอดีตชายฝั่งทะเลต�ำบลท่าศาลา เป็นแหล่งท่องเท่ียวที่ส�ำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช
เนอ่ื งจากมหี าดทรายที่สวยงามเป็นท่รี ้จู ักกันอยา่ งดคี อื หาดสระบวั แตใ่ นปัจจุบนั เกดิ การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ
และผลจากการด�ำเนินกิจกรรมของมนุษย์ ท�ำให้
หาดทรายเหลา่ นกี้ ลายสภาพจากหาดทรายเปน็ หาดเลน
ท�ำให้ชายฝั่งทะเลท่าศาลามีพ้ืนท่ีเป็นหาดเลนว่างเปล่า
เพม่ิ มากขึน้ จึงได้เกดิ กิจกรรมการมี
ส่วนร่วมในการปลูกป่าชายเลน
ของหน่วยงานต่าง ๆ และชาวบ้านในชุมชนต้ังแต่
พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นมา จนถงึ ปจั จบุ นั และมีการขยาย
พื้นที่เพิ่มจากบ้านแหลม บ้านหน้าทัพ บ้านสระบัว
ต�ำบลท่าศาลา ป่าชายเลนเป็นป่าที่ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอ่ืน ๆ อย่างมากมายมหาศาล เน่ืองจาก
ป่าชายเลนเปน็ แหล่งทรพั ยากรธรรมชาตทิ อี่ ดุ มสมบูรณ์ มีความส�ำคัญและประโยชน์
ประโยชนข์ องป่าชายเลน มดี ังต่อไปน้ี
๑. เป็นแหล่งพลังงาน อาหาร และที่อยูอ่ าศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ
๒. ช่วยป้องกันชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะพังทลาย ก�ำบังคล่ืน ลม กระแสน�้ำและพายุ
ที่พัดมาท�ำลายทรพั ยส์ ินบริเวณบ้านเรอื น ทีอ่ ยู่อาศยั
๓. ชว่ ยดักตะกอน สงิ่ ปฏกิ ลู และสารพษิ ต่าง ๆ ไมใ่ ห้ไหลลงสทู่ ะเล
๔. เปน็ แหล่งวัตถดุ ิบผลิตภณั ฑ์จากไม้ ทีใ่ ช้ในการกอ่ สรา้ ง เปน็ เสาเขม็
๕. เปน็ แหล่งเชื้อเพลิง เช่น การท�ำถ่านจากไมใ้ นป่าชายเลน
๖. เป็นแหลง่ วตั ถดุ บิ ในการผลิตอาหาร ยา และเครอ่ื งดมื่
๗. เปน็ แหลง่ สรา้ งรายได้และแหล่งบริโภคอาหารทีส่ �ำคญั ของมนุษย์
๘. เปน็ แหล่งประมงชายฝั่ง แหล่งอาศัยของลกู ปลา ลกู ก้งุ และสตั วน์ ำ�้ วยั ออ่ นอน่ื ๆ
๙. เปน็ ทว่ี างไข่ ทอ่ี นบุ าลสตั วน์ ำ�้ วยั ออ่ น เปน็ แหลง่ อาหารและเจรญิ เตบิ โตของสตั วน์ ำ�้ เศรษฐกจิ
นานาชนดิ
๑๐. เป็นแหล่งทอ่ งเทยี่ วเชิงนเิ วศรวมไปถึงแหล่งพกั ผอ่ นหย่อนใจของมนุษย์

120 หลกั สตู รรายวชิ าเลอื ก ท่าศาลาศึกษา

รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น

ป่าชายเลน ณ บรเิ วณอา่ วทองค�ำ “บา้ นแหลมโฮมสเต”

๒.๒ การอนุรกั ษป์ ่าชายเลน

ทรพั ยากรปา่ ชายเลน ถือไดว้ า่ เป็นทรัพยากรธรรมชาติทม่ี คี ณุ ค่าสงู มีความส�ำคัญตอ่ ชวี ติ มนษุ ย์
และส่ิงมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ การอนุรักษ์และรักษาสภาพแวดล้อมจึงจ�ำเป็นต้องหาแนวทางในการอนุรักษ์
ป่าชายเลนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม
จากทุกภาคส่วนท่ีเก่ียวข้อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนพื้นท่ีหาดสระบัว
เพอื่ เปน็ แนวทางในการวางแผนและปรับปรงุ การมสี ่วนรว่ มของประชาชน รวมทัง้ การสง่ เสริมและสนบั สนุนใหเ้ กิด
การมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานที่เก่ียวข้องมากย่ิงขึ้นในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน
และเพื่อให้การมีส่วนร่วมสอดคล้องกับความต้องการและสภาพปัญหาของชุมชนในการจัดการป่าชายเลนครั้งต่อไป
แนวทางการอนุรักษ์ป่าชายเลนที่สำ� คญั มีดังต่อไปนี้
๑. สร้างจิตส�ำนึกและเสริมสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ ให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความรู้และ
ความเขา้ ใจเกย่ี วกบั ระบบนเิ วศและความสำ� คญั ของปา่ ชายเลน และสรา้ งความเขา้ ใจใหก้ บั ประชาชนในชมุ ชนใหเ้ ขา้ ใจ
วา่ ตนเองจะเป็นผูไ้ ดร้ ับผลประโยชน์จากการอนรุ กั ษแ์ ละฟืน้ ฟูป่าชายเลน
๒. กำ� หนดกฎระเบยี บการใชป้ ระโยชนป์ า่ ชายเลนของชมุ ชน โดยการมสี ว่ นรว่ มของทกุ ภาคสว่ น
เชน่ กฎระเบยี บเกีย่ วกับการหา้ มตัดไม้ในปา่ ชายเลน
๓. ก�ำหนดพ้ืนที่และช่วงเวลาในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง เช่น ห้ามจับปลาในฤดูวางไข่
การทำ� ธนาคารปู เป็นตน้
๔. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้�ำและปลูกป่าชายเลน ในพื้นท่ีว่างเปล่าและในพ้ืนที่เส่ือมโทรมเพื่อสร้าง
ความอดุ มสมบูรณใ์ หก้ บั ทรพั ยากรธรรมชาติและเพ่มิ ความหลากหลายของชนิดพนั ธ์ุสตั ว์นำ้�

รหสั วชิ า หลกั สตู รรายวชิ าเลอื ก ทา่ ศาลาศึกษา 121

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนต้น

กิจกรรมปลูกปา่ ชายเลน

บทที่เร่ืองที่ ๓ แหล่งทอ่ งเที่ยวอำ�เภอท่าศาลา

อำ� เภอทา่ ศาลาเปน็ อำ� เภอทเี่ กา่ แก่ มพี นื้ ทเี่ ปน็ พนื้ ทร่ี าบชายฝง่ั ทะเลและพน้ื ทร่ี าบเชงิ เขาทำ� ใหม้ แี หลง่ ทอ่ ง
เทยี่ วทัง้ ทางวฒั นธรรม และแหล่งท่องเท่ยี วทางธรรมชาติ ทัง้ ชายหาดและและน�้ำตกให้ไดศ้ ึกษาเรยี นร้แู ละพกั ผ่อน
หย่อนใจหลายแห่ง ดงั ต่อไปนี้

๓.๑ แหลง่ ท่องเทีย่ วทางธรรมชาติ

อ�ำเภอท่าศาลามีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติทั้งที่เป็นอุทยานแห่งชาติ ท่ีมีน้�ำตกที่สวยงาม
และชายหาดท่ีสวยงามหลายแหง่ ดงั นี้
๓.๑.๑ อทุ ยานแหง่ ชาตเิ ขานัน
อทุ ยานแหง่ ชาตเิ ขานัน ห่างจากอ�ำเภอทา่ ศาลา ๓๐ กโิ ลเมตร อทุ ยานมีเนื้อทปี่ ระมาณ
๒๗๒,๕๐๐ ไร่ หรือ ๔๓๖ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ของอ�ำเภอท่าศาลา อ�ำเภอสิชล และอ�ำเภอนบพิต�ำ
มีอาณาเขตท่ีครอบคลุมเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขานัน
และเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ากรุงชิงบางส่วน ลักษณะ
เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแนวติดต่อมาจากอุทยาน
แห่งชาติเขาหลวง เป็นปา่ ต้นนำ้� ของคลองหลายสายอทุ ยาน
แห่งชาติเขานัน มีสถานที่กางเต็นท์บริการนักท่องเท่ียว
การเดินทางจากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๔๐๑
จนข้ามคลองกลายผ่านบ้านสระแก้ว อ�ำเภอ ท่าศาลา

122 หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศกึ ษา

รหสั วิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนต้น

หลกั กิโลเมตรที่ ๑๑๐ แลว้ เลีย้ วซา้ ยเขา้ บ้านปากเจา เขา้ สู่ที่ทำ� การอทุ ยานประมาณ ๑๕ กิโลเมตร อทุ ยานแห่งชาติ
เขานันมีสถานที่ท่องเท่ียวท่ีน่าสนใจ คือ น�้ำตกสุนันทา เป็นน�้ำตกขนาดเล็กท่ีมีความงดงามตามธรรมชาติ
สายน�้ำไหลจากเทือกเขานันผ่านหนา้ ผาชนั ลงสแู่ อ่งนำ้� เบอื้ งล่าง และไหลลงส่ลู �ำคลองกลาย ซ่ึงเปน็ ล�ำนำ�้ สายส�ำคัญ
ในเขตอำ� เภอทา่ ศาลา สามารถจดั กจิ กรรมลอ่ งแพตามล�ำนำ�้ ได้ในชว่ งฤดูนำ�้ หลาก

น้�ำตกสนุ ันทา หาดทรายแกว้

๓.๑.๒ หาดทรายแก้ว
หาดทรายแก้ว ต้ังอยู่ หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลท่าข้ึน เป็นหาดทรายที่สวยงามมากแห่งหนึ่งใน
อ�ำเภอท่าศาลา นักท่องเที่ยวสามารถมาน่ังชมพระอาทิตย์ขึ้น เล่นน�้ำทะเล กินอาหารทะเลสด ๆ รสชาติดี
และมีพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณให้ได้ศึกษา มีบริการที่พัก ร่มร่ืน สวยงามตามแบบชายฝั่งทะเลตะวันออก ด้วยแนว
หาดทรายยาวท่ีมที วิ สนและดงมะพร้าวเปน็ ฉากหลัง



๓.๑.๓ หาดท่าสงู บน
หาดท่าสูงบน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ต�ำบลท่าศาลา เป็นหาดทรายขาว ละเอียด ทอดยาว
มีต้นสนและพวกผักบุ้งทะเล ตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวอ�ำเภอ มีบริเวณหาดท่ีกว้าง สามารถท่ีจะกางเต้นท์หรือพักผ่อน
โดยการนำ� อาหารไปรบั ประทานเอง หรอื รบั บริการจากร้านอาหารท่ีมไี วบ้ ริการอาหารทะเลสด ๆ ใหน้ กั ทอ่ งเทย่ี ว

รหัสวิชา หลกั สตู รรายวิชาเลือก ทา่ ศาลาศึกษา 123

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มัธยมศึกษาตอนต้น

๓.๑.๔ หาดซันไรซ์
หาดซันไรซ์ ต้ังอยู่หมู่ท่ี ๙ ต�ำบลท่าศาลา เป็นชายหาดที่เหมาะแก่การพักผ่อน
มรี า้ นอาหารอาหารทะเลสด ๆ และทพี่ ักไวบ้ รกิ ารนกั ท่องเที่ยว ไมว่ ่าจะเปน็ ซนั ไรซ์ซีฟดู๊ และโรงแรมซนั ไรซ์

หาดซันไรซ์

๓.๑.๕ บา้ นแหลมโฮมสเตย์
บ้านแหลมโฮมสเตย์ ต้ังอยู่หมู่ที่ ๗,๑๔ ต�ำบลท่าศาลา เป็นการท�ำท่องเที่ยวจากกลุ่ม
อนุรักษ์ปา่ ชายเลน โดยท่ีนมี่ ีโฮมสเตยห์ ลายหลัง มแี บบนอนแยกเป็นบา้ นแบบส่วนตัว ๑ หลัง มกี จิ กรรมให้ไดส้ มั ผสั
และเรยี นรผู้ า่ นวถิ ชี วี ติ ความเปน็ อยขู่ องชมุ ชน เชน่ การทอลาน (ทอใบลาน) ภมู ปิ ญั ญาชาวบา้ น ทมี่ มี านานกวา่ ๑๐๐ ปี
ไดเ้ รยี นรกู้ ารทำ� กรงนก เลย้ี งนกกรงหวั จกุ ซง่ึ ทบ่ี า้ นแหลมไดช้ อื่ วา่ เปน็ แหลง่ ผลติ ใหญท่ ส่ี ดุ นงั่ เรอื ออกไปทำ� สปาโคลน
ในทะเล ปลกู ปา่ โกงกาง ศกึ ษาระบบปา่ ชายเลน เรยี นรเู้ สนห่ ป์ ลายจวกั การทำ� เครอื่ งแกงรสเดด็ กบั กลมุ่ ทำ� เครอ่ื งแกง
นักท่องเท่ียวสามารถเลือกเรียนการท�ำเคย (กะปิ) การท�ำรังนก การเลี้ยงดูนกนางแอ่นที่บ้านนกนางแอ่น หรือ
เรยี นรู้การแกะใบจาก

124 หลักสตู รรายวิชาเลือก ทา่ ศาลาศกึ ษา

รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้

๓.๒ แหล่งท่องเท่ียวทางวฒั นธรรม

อำ� เภอทา่ ศาลามแี หลง่ ทอ่ งเทยี่ วทางวฒั นธรรมหลายแหง่ เชน่ โบราณสถานโมคลาน และโบราณ
สถานตมุ ปงั โดยมรี ายละเอียด ดังน้ี
๓.๒.๑ โบราณสถานโมคลาน
โบราณสถานโมคลาน เดมิ เปน็ เทวสถานของศาสนาฮนิ ดลู ทั ธไิ ศวนกิ ายขนาดใหญม่ ากอ่ น
อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๔ ต่อมาเทวสถานแห่งน้ีถูกทิ้งร้างไป จนสมัยอยุธยากลุ่มชุมชนได้มาสร้างวัด
ขึ้นใหม่ จนปี ๒๔๘๐ มีพระมาสร้างเป็นส�ำนักสงฆ์และเป็นวัด หลักฐานท่ียังคงมีอยู่ให้เห็น ได้แก่ แนวเสาหิน
หินแกะสลักกรอบประตูอาคาร ธรณีประตู ช้ินส่วนโยนิและศิวลึงค์ สระน�้ำโบราณ แท่นตั้งเทวรูป กรมศิลปากร
ไดป้ ระกาศข้ึนทะเบียนเปน็ โบราณสถานไวต้ ้งั แต่ พ.ศ. ๒๕๑๘

สถานท่ีตงั้ โบราณสถานโมคลาน ตง้ั อยู่ ณ บา้ นโมคลาน หมทู่ ่ี ๑๒ ต�ำบลโมคลาน อำ� เภอท่าศาลา
จงั หวดั นครศรีธรรมราช
๓.๒.๒ โบราณสถานตมุ ปงั
โบราณสถานตุมปัง อยู่ในเขตมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ต�ำบลไทยบุรี อ�ำเภอท่าศาลา
เป็นแหล่งโบราณคดี ที่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียแพร่กระจายอยู่เป็นจ�ำนวนมาก ร่องรอยท่ีเหลือให้เห็น
อย่างเด่นชดั คอื ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ท้งั ไศวนิกายและไวษณพนิกาย และศาสนาพุทธ จากการส�ำรวจ
แหล่งโบราณคดี วดั ตมุ ปงั โดยกรมศิลปากร ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖

โบราณสถานตุม

รหัสวชิ า หลักสตู รรายวิชาเลือก ทา่ ศาลาศึกษา 125

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน้

บ๕ทที่ บุคคลส�ำ คญั ทา่ ศาลา

สาระสำ� คญั

บคุ คลสำ� คญั ท่ีประสบความสำ� เรจ็ ในการประกอบอาชพี และท�ำคุณงามความดีใหก้ ับชาวทา่ ศาลา

ตัวชว้ี ดั

๑. อธิบายประวตั ิบคุ คลสำ� คัญของชุมชนในแต่ละสาขา
๒. ยกตวั อยา่ งบคุ คลทส่ี ำ� เรจ็ ในการประกอบอาชพี เละบคุ คลทที่ ำ� คณุ งามความดใี หก้ บั ชาวอำ� เภอทา่ ศาลา
๓. แสดงขอ้ คดิ ที่ไดเ้ รียนรปู้ ระวตั บิ ุคคลทที่ ำ� คุณงามความดกี ับชุมชน หรอื บคุ คล ท่ปี ระสบผลส�ำเรจ็
ในการประกอบอาชีพ

ขอบข่ายเนอ้ื หา

เรื่องท่ี ๑ ประวัติบุคคลสำ� คัญที่ประสบความสำ� เร็จในการประกอบอาชพี และบคุ คล
ที่มีคณุ คา่ ควรแกก่ ารยกยอ่ ง ทกี่ ระท�ำคุณงามความดีให้กับชุมชน
และชาวอ�ำเภอทา่ ศาลา

๑.๑ พระอธิการแดง จนทฺ สโร (พอ่ ท่านแดง)
๑.๒ นายจงกติ ต์ ิ คุณารักษ ์
๑.๓ นายบุญเสริม แก้วพรหม
๑.๔ นางเย้ิม เรืองดิษฐ์
๑.๕ นายนิคม คงทน

เวลาที่ใชใ้ นการศกึ ษา ๑๔ ช่วั โมง
ส่ือการเรยี นรู้

๑. ชดุ วชิ าทา่ ศาลาศกึ ษา รหสั รายวชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗
๒. สมุดบนั ทกึ กจิ กรรมการเรยี นรปู้ ระกอบชดุ วชิ าทา่ ศาลาศกึ ษา รหัสรายวชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗
๓. สอ่ื เสริมการเรียนรอู้ ่นื ๆ

126 หลักสตู รรายวชิ าเลอื ก ทา่ ศาลาศกึ ษา

รหสั วิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น

เร่ืองท่ี ๑ ประวตั ิบคุ คลสำ�คญั ทป่ี ระสบความสำ�เรจ็ ในการประกอบอาชีพ และบุคคลทีม่ คี ณุ คา่
ควรแก่การยกยอ่ ง ทีก่ ระทำ�คุณงามความดใี หก้ บั ชมุ ชน และชาวอำ�เภอทา่ ศาลา

คนดีท่าศาลาในที่นี้อาจจะมีหลาย ๆ คนท่ีเกิดในพื้นที่อ�ำเภอท่าศาลา ไปสร้างชื่อเสียงในระดับประเทศ
หรือบุคคลท่ีท�ำคุณประโยชน์ให้กับชาวอ�ำเภอท่าศาลา ได้ร่วมกันสร้างช่ือเสียงให้กับอ�ำเภอ และมีคุณงามความดี
ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาวอ�ำเภอท่าศาลา บางท่านยังคงมีชีวิตอยู่และบางท่านได้จากโลกนี้ไปแล้ว แต่คุณงาม
ความดีท่ีท่านเหล่านั้นได้กระท�ำมาควรค่าแก่การระลึกถึงและการยกย่องถึงคุณงามความดีไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลาน
ไดเ้ รียนรูเ้ พื่อเป็นข้อมูล และแรงบนั ดาลใจในการขบั เคล่ือนและ
สร้างบ้านเมอื งในทา่ ศาลาไดเ้ จริญกา้ วหนา้ ในทนี่ ้ี ขอยกตัวอยา่ ง บคุ คลท่ียงั ดำ� รงอยูใ่ นอำ� เภอทา่ ศาลาและยังคงตง้ั
รกรากหลักฐานให้กับครอบครวั และมีหลกั ฐานที่ปรากฏ เปน็ บุคคลที่ควรค่าแก่การศกึ ษา ดงั นี้
๑. พระอธกิ ารแดง จนทสโร (พอ่ ทา่ นแดง) อดตี เจา้ อาวาสวดั โทตรี พระอาจารยเ์ กจทิ ช่ี าวบา้ นไดใ้ หค้ วาม
เคารพบชู าเพราะเป็นพระเกจนิ กั พฒั นา
๒. นายจงกิตต์ิ คุณารักษ์ อดีตก�ำนันต�ำบลสระแก้ว ผู้สร้างความเจริญทุกด้านให้กับต�ำบลสระแก้ว
โดยเฉพาะด้านการเกษตรเป็นผู้ก่อต้ัง และริเริ่มการปลูกทุเรียนเป็นคนแรกของอ�ำเภอท่าศาลาจนมีชื่อเสียง
ด้านการปลกู ผลไม้ โดยเฉพาะทเุ รยี นมีเงินสะพดั ระดับต�ำบลและระดับจังหวัดนครศรธี รรมราช
๓. นายบุญเสริม แก้วพรหม อดีตข้าราชการบ�ำนาญ ผู้อนุรักษ์ภาษาไทยดีเด่น เป็นบุคคลที่มีความรู้
ความสามารถในการการแต่งหนังสือทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง และผลิตส่ือประกอบการเรียนการสอนด้านภาษาไทย
จนได้รับการยกย่องระดับประเทศ จาก กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานอื่น ๆ มากมาย
ควรคา่ แกก่ ารเรียนรูแ้ ละศึกษาถึงความสามารถของทา่ นด้านภาษาไทย
๔. นางเยม้ิ เรืองดิษฐ์ อดีตผูใ้ หญ่ตำ� บลท่าขึ้น เปน็ ผทู้ ่ีสะสมวตั ถุโบราณ ดาบ กริช ลูกปดั โอ่ง ไห ตั้ง
เตยี งโบราณ
๕. นายนคิ ม คงทน อดีตผ้ใู หญ่บ้าน หมู่ท่ี ๕ ต�ำบลสระแกว้ อำ� เภอทา่ ศาลา

๑.๑ พระอธกิ ารแดง จนทฺ สโร (พ่อท่านแดง)

พระอธิการแดง จันทฺ สโร เดมิ ชื่อ ไขแ่ ดง คงพันธ์ุ
เกดิ เมอ่ื วัน ๑ฯ๒ ๑๒ ค่ำ� ปกี ุน วันท่ี ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๔๒ ท่ีบ้าน
โคกหว้า หมู่ที่ ๒ ต�ำบลไทยบุรี อ�ำเภอท่าศาลา นครศรีธรรมราช
เป็นบุตรของนายหนู นางซัง มีพ่ีน้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน คือ
๑.พระอธิการแดง จนั ทสโร เป็นบุตรคนโต ถดั ไปนอ้ ง ๆ เป็นผู้หญงิ
จ�ำนวน ๔ คน ตามลำ� ดบั ดังน้ี ๑. นางสาวนิม่ คงพันธุ์ ๒. นางส้มทบั
สมหมาย ๓. นางวุน้ บุญสว่าง และ ๔. นางพร้อม การะนดั
เด็กชายไข่แดง เม่ือคลอดจากครรภ์มารดาแล้ว
บังเอิญน้�ำนมมารดาไม่ออก ถึงแม้ว่าหมอต�ำแยจะนวดเคล้าคลุก
ปลกุ ปลำ้� สกั เทา่ ไรๆ กย็ งั ไมอ่ อกอยนู่ นั้ เอง เลยจนปญั ญาของหมอตำ� แย
และมารดาทจ่ี ะเลยี้ งและหานำ้� นมเลย้ี งลกู ไดใ้ นสมยั นน้ั จงึ ไดต้ กลงใจ
ยกเด็กชายไข่แดงให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่นางทองด�ำหมอต�ำแย

รหสั วชิ า หลักสูตรรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา 127

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้น

ไปเลี้ยงไว้ตั้งแต่แรกคลอดได้ ๖ – ๗ วัน นางทองด�ำก็ยินดีรับไปเล้ียงไว้ท่ีประตูช้าง หมู่ที่ ๓ ต�ำบลไทยบุรี
โดยให้กินนมของนางจอกซึ่งเป็นบุตรีของนางทองด�ำ ได้กินนมร่วมกับเด็กหญิงมุมและกินนมบุตรนางทุ่ม
บตุ รของนางทองดำ� อกี คนหนงึ่ ซงึ่ ไดก้ นิ รว่ มกนั กบั เดก็ ชายบงึ้ ภายหลงั นางหนแู ละนางซงั ไดไ้ ปเยย่ี มเยยี นนางทองดำ�
และบุตรของแกอยเู่ สมอ เห็นว่านางทองดำ� เอาใจใสต่ ่อเดก็ ชายไข่แดง บตุ รของแกเปน็ อยา่ งดี นายหนจู ึงได้มอบนา
หนา้ บา้ นประตชู ้าง จ�ำนวน ๑๐ กระบ้ิงพรอ้ มกบั ควายไถนาคหู่ นึ่ง เพือ่ ใหน้ างทองดำ� ทำ� กนิ ไปชวั่ คราว พรอ้ มกบั ได้
เลย้ี งเดก็ ชายไขแ่ ดงไปด้วยจนกวา่ เดก็ ชายไข่แดงไดบ้ รรลนุ ิตภิ าวะตอ่ ไป
ประวัตดิ ้านการศกึ ษา
เมื่ออายยุ า่ งเข้าเขตการศึกษา ในสมัยนั้นนางทองดำ� มไิ ด้นิ่งนอนใจ ได้น�ำเดก็ ชายไขแ่ ดงไปมอบไว้
กับอาจารยเ์ ฉย เจ้าอาวาสวัดท่าสูงในสมัยนน้ั ท่านอาจารยก์ ็ไดร้ บั ไว้ให้ฝกึ หดั อ่าน นโม ฯ ก ข ฯ ตอ่ มาจนเวลาล่วง
เลยมาหลายปี เดก็ ชายไขแ่ ดงกย็ งั เขยี นไมไ่ ด้ และอา่ นไมอ่ อกอยนู่ นั่ เอง จนสดุ ทอี่ าจารยจ์ ะฝกึ ใหร้ ไู้ ด้ อยวู่ ดั มาประมาณ
๗ - ๘ ปี ก็พอเขียนได้บ้างบางตัว ท่ีได้เห็นแบบแต่อ่านไม่ออก หรือ บางทีก็อ่านว่าปากเปล่าได้บ้าง แต่เขียนตัว
ไม่ถกู อยทู่ ำ� นองนัน้ เม่อื อายปุ ระมาณ ๑๗ - ๑๘ ปแี ล้ว วันหนงึ่ นางทองดำ� ไปทำ� บุญท่วี ัด แลว้ เลยถามถงึ นายไขแ่ ดง
ถึงการเรยี นวา่ เปน็ อยา่ งไรบา้ ง ลูกอ่านออกแล้วบา้ งหรอื นายไขแ่ ดงกไ็ ดว้ า่ ใหฟ้ ัง ๒,๓ ค�ำ คือ ก ข เทา่ นัน้ นางทองดำ�
วา่ แกมาทกุ คร้ังคราว ถามแลว้ กไ็ ดแ้ ต่ ก ข เท่านัน้ แกคดิ จนใจมาก จนไปถามอาจารยว์ ่า เป็นอยา่ งไรบ้างท่านสมภาร
พระวัดนรี้ จู้ กั แต่ ก ข เท่าน้นั หรือ เหน็ ลูกฉันมาอย่นู านแล้วได้แต่ ก ข เทา่ น้นั อาจารย์เฉยตอบว่า ไม่ใชเ่ ชน่ น้ันโยม
พระ เณร ตลอดจนเด็กอ่ืนๆ ทกุ คน เขาอ่านออกเขยี นไปได้แล้วทง้ั นน้ั แตน่ ายไข่แดง ลูกแกมนั โงเ่ อง ฉันสดุ ปญั ญา
เสยี แลว้ เมอ่ื นางทองดำ� ไดร้ บั คำ� ตอบจากสมภารเชน่ นนั้ กค็ ดิ นอ้ ยใจวา่ ลกู เรามนั โงเ่ อาจรงิ ๆ มาอยวู่ ดั ตงั้ ๗ - ๘ ปแี ลว้
กเ็ ขยี นไม่ไดอ้ ่านไมอ่ อก เห็นท่าจะไมไ่ หวเสยี แล้ว จึงใหก้ ราบทา่ นอาจารยก์ ลบั ไปอยบู่ ้านกับแกอกี ต่อไป
ประวตั ิดา้ นการบรรพชาอุปสมบท
พ.ศ. ๒๔๖๓ การบรรพชาอุปสมบท การบวชโดยท่านพระครูวิสุทธิจารี เจ้าอาวาสวัดจันพอ
เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้านาคไข่แดงได้กล่าวขานนาคถูกต้องคล่องแคล่วชัดเจนได้ดีประชุมสงฆ์ครบองค์ ก�ำหนด
เปน็ ปกตตั ตใ์ นพทั ธสมี าวดั ทา่ สงู การอปุ สมบทกไ็ ด้ เปน็ ไปดว้ ยความเรยี บรอ้ ยในวนั นนั้ จนเสรจ็ จบพธิ ลี ง พระอปุ ชั ฌาย์
ใหน้ ามวา่ พระแดง ฉายา จนั ทสโร ทา่ นได้จำ� พรรษา ณ วดั ท่าสงู ถึง ๕ พรรษา
พ.ศ. ๒๔๖๘ หลวงพอ่ แดง ยา้ ยมาอยทู่ ี่ วดั โคกเหลก็ ทวี่ ดั โคกเหลก็ ขาดพระลงตอ้ งตกเปน็ วดั รา้ ง
วา่ งพระอยใู่ นระหวา่ งนนั้ นายหนผู เู้ ปน็ โยมพอ่ พรอ้ มดว้ ยญาตพิ นี่ อ้ งบา้ นโคกหวา้ และชาวบา้ นใกลเ้ คยี งบรเิ วณวดั นนั้
กไ็ ดต้ กลงพรอ้ มกันไปขอนมิ นต์ พระแดง จนั ฺทสโร ตอ่ ทา่ นอาจารยเ์ ฉยมาชว่ ยรกั ษาวัดท่วี ดั โคกเหลก็ การมาอยทู่ วี่ ดั
โคกเหลก็ ของทา่ นในครง้ั นั้น ก็สุดแสนจะยากล�ำบากยากแคน้ มาก เพราะเปน็ วัดทีต่ ้งั อยู่กลางป่าดงพงไพร หา่ งไกล
หมู่บ้านคนพอควร รอบๆ วัดล้วนเป็นป่ายางสูงสล้างไปหมด ส่ิงก่อสร้างท่ีมีอยู่ในวัดน้ันมาก่อนก็มี อุโบสถโบราณ
ท่ีเก่าแก่ครำ่� คร่า ซงึ่ ยังคงมีอยจู่ นทกุ วันน้หี ลังหนงึ่ กบั กุฏเิ กา่ หลังหนง่ึ และหอฉนั เก่าหลังหนึ่งเทา่ นั้น มีลานวดั เล็ก ๆ
อยู่ใกล้อุโบสถซ่ึงเป็นพ้ืนสูงอยู่นิดหน่อยเท่านั้น นอกนั้นก็เป็นที่ป่ามีพื้นที่ราบลุ่มต่�ำเป็นป่า น้�ำราดรุงรังไปด้วยป่า
ละเมาะเต็มไปดว้ ยหญ้าคาและหญา้ อืน่ ๆ เตม็ ไปทงั้ วดั เม่ือพระแดง จนั ทสโร ไดม้ าอยู่ ทา่ นก็ไดอ้ อกปากไหว้วาน
บรรดาญาตโิ ยม ทอี่ ยูใ่ กลบ้ รเิ วณวดั น้ัน ช่วยกนั แผ้วถางดายหญา้ จุดไปเร่อื ยมา ค่อยบุกเบิกเขตวดั ใหก้ วา้ งขวางออก
ไปตงั้ หลายเทา่ ของวดั เดมิ เพราะในสมยั นน้ั ทท่ี างตา่ งๆ ทรี่ กรา้ งวา่ งเปลา่ อยแู่ ทบทง้ั นนั้ ไมม่ ใี ครเขา้ จบั จองเปน็ เจา้ ของ
ท่านก็ได้ลงมือหักป่าลงให้กลายเป็นวัดวาอารามมิใช่น้อย ต้องโค่นแผ่ต้นไม้ใหญ่ๆ เอาเสียมากทีเดียว พร้อมกันนั้น
กไ็ ด้ติดตามไปดว้ ยการปลกู ผลอาสินไวส้ ำ� หรบั วัดเปน็ อนั มาก ท้งั ท่เี ป็นไม้ประเภทล้มลกุ และยืนต้น เช่น กลว้ ย ออ้ ย
หมาก มะพร้าว และผลไม้อื่น ๆ อกี มาก เมอื่ ขยายเขตวัดให้กว้างขวางออกไป กจ็ �ำเปน็ จะตอ้ งให้มีรวั้ รอบขอบชิด

128 หลักสตู รรายวชิ าเลือก ทา่ ศาลาศกึ ษา

รหสั วชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนต้น

บริเวณวัด ท่านก็จะต้องปลุกปล�้ำท�ำงานชนิดนี้อยู่ไม่ได้เว้นแต่ละวัน บางครั้งแถมกลางคืนเข้าไปด้วย ท่านได้เลือก
เอาลูกวัวนิลตัวผู้ตัวหนึ่งมา รูปร่างลักษณะคล่องแคล่วอ้วนพีดี ท่านได้ให้นายแพบเป็นผู้น�ำวัวตัวน้ันมาที่วัด
และมอบใหน้ ายแพบเปน็ ผเู้ ลย้ี งดอู ยมู่ าประมาณ ๓ - ๔ ปี ลกู ววั ตวั นน้ั กเ็ จรญิ เตบิ โตขนึ้ อยา่ งผดิ ปกติ เหตเุ พราะอาศยั
หญ้าดี น�้ำดีและการเอาใจใส่เลี้ยงดูเป็นอย่างดี เจ้าลูกวัวตัวน้ีก็กลายเป็นวัวถึกคึกคะนองไปตามประสาของสัตว์
อยู่มาวันหนึ่งวัวตัวน้ีเห็นเพื่อนวัวฝูงทั้งหลาย มีวัวตัวผู้และตัวเมียเป็นอันมาก ได้ลอบเข้ามากินหญ้าอยู่ในวัด
มนั แสดงท่าทจี ะออกไปต่อสขู้ บั ไล่ขวดิ แกบ่ รรดาพวกวัวเหล่านนั้ พอ่ ท่านแดงท่านไดเ้ ห็นความดนิ้ รนของมันมากข้นึ
จึงได้ลงจากกุฏิเข้าไปแก้เชือกล่ามเพ่ือจะพาไปผูกไว้เสียที่อื่น ให้พ้นฝูงวัวเหล่าน้ันเสียก่อนแล้วค่อยกลับมาไล่ฝูงวัว
เหล่าน้ันต่อไป เจ้าโคนิลของท่านไม่ยอมไปกับท่าน มันดิ้นรนจะไปหาวัวฝูงนั้นจนได้ แต่ท่านก็ไม่ยอมให้มันไป
เจ้านิลตัวน้ันมันโกรธมาก จึงพุ่งเข้าขวิดพ่อท่านแดงเอาจนล้มลุกคลุกคลานหลายตลบ ผู้ท่ีอยู่ในเหตุการณ์ขณะน้ัน
ตา่ งกต็ กใจ ไดร้ บี วงิ่ มาชว่ ยกนั ตวั พอ่ ทา่ นแดงออกไป และชว่ ยกนั ไลไ่ อน้ ลิ ใหห้ ลบออกไป จากนน้ั กไ็ ดช้ ว่ ยกนั พยงุ ทา่ น
ข้ึนกุฏิ เพ่ือท�ำแผลให้พ่อท่านแดง แต่ปรากฏว่าพ่อท่านแดงท่านไม่มีแผลเลย มีแต่เพียงรอยฟกช�้ำด�ำเขียวเท่าน้ัน
เหตุการณ์นี้ท�ำให้คนท้ังหลายต่างพากันเช่ือว่าพ่อท่านแดงท่านศักด์ิสิทธ์ิ มีผู้คนย�ำเกรงมากข้ึน โดยเฉพาะเรื่อง
การบนบานทา่ นใหช้ ว่ ยเหลือ ในเวลาทชี่ าวบา้ นตอ้ งทุกขไ์ ด้ยากนานาประการเป็นตน้ วา่ ถงึ คราวเจบ็ ไขไ้ ด้ปว่ ยตา่ ง ๆ
หรือเรื่องเก่ียวกับหมูไข้ ควายสูญนี้เป็นท่ีประจักษ์ศักด์ิสิทธ์ิมานักต่อนักแล้วนอกจากนี้สุดแล้วแต่ใครจะต้องการ
บนบานด้วยเรอื่ งอะไรได้ทกุ อยา่ ง
พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๐๗ หลวงพอ่ แดง ยา้ ยมาอยวู่ ดั โทตรี ตำ� บลกะหรอ กำ� ลงั ตกอยใู่ นสภาพรวนเร
อยู่มาก เหตุด้วยว่าขาดสมภารผู้ปกครองวัดลง ยังคงเหลือแต่เพียงพระภิกษุใหม่ที่เพิ่งบวชยังไม่ได้พรรษารูปหน่ึง
ชอื่ พระตม่ิ เทา่ นน้ั ซง่ึ เปน็ การยากทพี่ ระใหมจ่ ะปกครองวดั แตเ่ พยี งผเู้ ดยี ว ดว้ ยพรรษายงั ไมม่ าก พอ่ ทา่ นแดงจำ� พรรษา
วดั โทตรี บรเิ วณวดั ทร่ี กรงุ รังปกคลมุ ด้วยไมไ้ ผป่ า่ และไม้ขแี้ รด ในลานวัดกป็ กคลุมดว้ ยกอหญ้าและทางมะพร้าวแหง้
ทกี่ ระรอกกดั เลน่ ลงอยเู่ กลอ่ื นกลาด ดรู ะเกะระกะเตม็ ไปหมด สงิ่ กอ่ สรา้ งในวดั โทตรี กม็ อี โุ บสถหลงั หนงึ่ ซงึ่ ทา่ นสมภาร
ก่อน ๆ สร้างไว้ซ่ึงยังไม่ส�ำเร็จ กุฏิก็มีเพียงกุฏิหลังเล็กๆ เพียงสองหลัง ท่านก็ได้ส่ังบรรดาพวกชาวบ้านเหล่านั้นว่า
“เมอ่ื โยมใหฉ้ นั มาอยใู่ หแ้ ลว้ พวกโยมและชาวบา้ นทางนตี้ อ้ งชว่ ยกนั ตกแตง่ วดั ใหฉ้ นั บา้ ง” ชาวบา้ นทกุ ๆ คนกร็ บั ปาก
ตอ่ ท่านว่า “เมอ่ื ถงึ วันพระ ๘ คำ�่ ๑๕ คำ�่ แล้ว จะนำ� จอบและพร้ามาชว่ ยกันถากถางต่อ ๆ ไปทุกวนั พระ” การพฒั นา
วัดให้มีความเจริญ บูรณปฏิสังขรณ์โรงอุโบสถก่อน ก่อสร้างพระประธานก่อนในอุโบสถ ในการสร้างพระประธาน
ก่อสร้างโรงครัวขึ้นใหม่ซ้อนอีกหลังหน่ึง เพราะโรงครัวชั่วคราวน้ันได้ช�ำรุดทรุดโทรมไปมาก การสร้างกุฏิหลังใหม่
ที่ตกแต่งซ่อมแซมส่ิงต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจากวาตภัย เป็นต้นว่า เสนาสนะของวัดต้นไม้ต่างๆ ท่ีได้รับความ
เสียหายทดแทนของเดมิ การปรบั ปรงุ และการสรา้ งโรงธรรม
พ.ศ. ๒๕๐๗ สรา้ งศาลากลางวดั และ พ.ศ. ๒๕๐๙ ขยายเขตศาลากลางวดั เพอื่ ใหพ้ อเปน็ ทบี่ ำ� เพญ็
ประโยชน์ได้ดว้ ยกันในทุกเทศกาล
พ.ศ. ๒๕๐๙ พ่อท่านแดงท่านเริ่มอาพาธ แต่ท่านก็ยังพยายามปรับปรุงตกแต่งวัดและ
พระพุทธศาสนามไิ ด้หยดุ หยอ่ น จนไม่คอ่ ยมเี วลาพกั ผอ่ นเลย ครน้ั ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ความเจ็บปว่ ยของทา่ นกเ็ รม่ิ ก�ำเรบิ
หนักยิ่งขึ้น ท่านก็พยายามรักษาพยาบาลเสมอมา แต่ว่าอาการของท่านน้ันถึงแม้ว่าจะพยายามรักษาพยาบาล
สักเทา่ ไหร่แลว้ ก็มีแต่ทรงกับทรุดเท่าน้นั แต่แม้ท่านอาพาธอยูท่ ่านกย็ งั คงด�ำเนนิ การบ�ำรุงกอ่ สร้างวัดมาโดยตลอด
จนในที่สุดอาการอาพาธของท่านได้ทรุดหนักลงทุกวันๆ เป็นท่ีเป็นห่วงกังวลของชาวบ้านทั้งใกล้และไกลยิ่งนัก
จนในท่ีสุดท่านก็ได้ปล่อยให้ความอาลัยอาวรณ์ ท่ามกลางความวิปโยคให้แก่บรรดาศิษย์ยานุศิษย์ ญาติมิตร
และผทู้ เ่ี คารพศรทั ธาทา่ น เปน็ อนั มาก ทา่ นกไ็ ดถ้ งึ มรณะเมอื่ วนั ท่ี ๒๐ พฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๑๐ เดอื น ๑๒ แรม ๔ คำ่�

รหัสวชิ า หลักสตู รรายวชิ าเลอื ก ท่าศาลาศกึ ษา 129

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้

วันจันทร์ นับแต่ท่านอุปสมบทมาตลอดทั้งชีวิต ท่านได้บ�ำเพ็ญบ�ำรุงพระพุทธศาสนามาตลอด ทั้งที่วัดโคกเหล็ก
ซึ่งต้องเผชิญกับความยากล�ำบากนานาประการ แต่ด้วยความเป็นเนื้อนาบุญ ท่านก็ฝ่าฟันมาได้ ท้ังเม่ือท่านมาอยู่
ณ วัดโทตรี เป็นเวลา ๒๐ ปี ท่านก็ได้บ�ำเพ็ญประโยชน์ไว้เป็นอันมาก เป็นต้นว่า การปลูกสร้างกุฏิวิหารต่าง ๆ
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างในสมัยของท่านท้ังสิ้น ท่านเป็นอาจารย์ผู้ชอบท�ำบุญท�ำทาน ไม่ยึดติดในทรัพย์
หรือวัตถุใด ๆ ส่งเสริมให้ทุกคนเป็นคนดี ท่านอุตส่าห์พยายามตักเตือนพร่�ำสอนเสมอ ยอมสละทรัพย์ส่วนตัว
และชกั ชวนคนอ่นื บริจาคเพอ่ื บำ� รงุ พระศาสนา อนั นบั ได้ว่าท่านเป็นพระภิกษุท่ีหาได้ยากย่ิง
พ่อท่านแดง จนฺทสโร ท่านเป็นผู้ตั้งม่ันอยู่ในหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา ท่าปฏิบัติศาสนกิจ
อนั เทยี่ งแทแ้ นน่ อนโดยไมห่ ยดุ ยงั้ อนั กอ่ ใหเ้ กดิ ผลงอกงามไพบลู ย์ จงึ เปน็ ทก่ี อ่ ใหเ้ กดิ ความเลอื่ มใสศรทั ธาของประชาชน
เป็นส่วนมาก นับว่าท่านได้เป็นผู้ท�ำนุบ�ำรุงเชิดชูพระพุทธศาสนา โดยตั้งจิตศรัทธาเพราะท่านได้เร่ิมปฏิบัติในทางนี้
เป็นเวลานานจนตลอดอายุขัยของท่านทีเดียว ท่านได้ก่อสร้างถาวรวัตถุไว้ประจ�ำส�ำนักของท่านไว้มากมาย
ลว้ นแตก่ อ่ ใหเ้ กดิ ประโยชนแ์ กพ่ ระพทุ ธศาสนาอนั ยง่ั ยนื อยตู่ ราบเทา่ ทกุ วนั นี้ การปฏบิ ตั กิ จิ ของทา่ นทเี่ ปน็ ประจำ� แลว้
โดยส่วนมากก็หนักไปทางปลูกสร้างผลอาสินต่างๆ และการตกแต่งปัดกวาดนี้ก็เป็นกิจวัตรของท่านเป็นประจ�ำ
ท่านได้ทุ่มเทก�ำลังกายของท่านเข้าปฏิบัติงานประเภทน้ีด้วยน้�ำใจที่ชอบพอเอาแท้จริง ยอมอดทนต่อความล�ำบาก
ตรากตร�ำท้ังกลางวันและกลางคืน แทบไม่มีเวลาพักผ่อน ด้วยเหตุนี้ที่ท�ำให้สุขภาพของท่านทรุดโทรมลงไปมาก
ถงึ กระนน้ั ทา่ นกม็ ไิ ดล้ ดละทอดทง้ิ กจิ การงานของทา่ นไดโ้ ดยงา่ ยดาย ดว้ ยความเพยี รพยายามเพอื่ ฝากไวใ้ หเ้ ปน็ ทเี่ จรญิ
ตาเจรญิ ใจแกผ่ ู้ไดพ้ �ำนกั พกั พงิ ของอนชุ นรุ่นหลังต่อไป


๑.๒ นายจงกิตต์ิ คุณารักษ์ (กำ� นนั หดี )

นายจงกิต คุณารักษ์ (ก�ำนนั หีด) เป็นบตุ รของนายธรี ะชัย และนางสรว้ ง คณุ ารกั ษ์ ซึง่ มเี ชื้อสาย
จีน เกิดเมื่อวนั ท่ี ๒๑ มนี าคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เดอื นสี่ ปชี วด ณ บา้ นศาลาสามหลงั บ้านเลขท่ี ๔๑ หมู่ ๗ ต�ำบลสระแกว้
อ�ำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรคนที่ ๓
มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕ คน ประกอบด้วย
๑.นายวีระศักด์ิ คุณารักษ์ ๒.นายชัยวัฒน์ คุณารักษ์
๓.นายจงกิตต์ คุณารักษ์ ๔.นายโกเวทย์ คุณารักษ์ และ
๕.นางจิตราภรณ์ คุณารกั ษ์
ประวตั ิการศกึ ษา
พทุ ธศกั ราช ๒๔๙๗ อายุ ๗ ปี เขา้ โรงเรยี น
ปทมุ านกุ ลู พทุ ธศกั ราช ๒๕๐๑ เขา้ ศกึ ษาในระดบั มธั ยมศกึ ษา
ตอนต้นทีโ่ รงเรียนจรสั พชิ ากร อำ� เภอเมือง นครศรีธรรมราช
เป็นเวลา ๑ ปี และได้ย้ายไปศกึ ษาต่อเนือ่ งจากสอบเข้าเรียนต่อได้ ทโี่ รงเรียนเบญจมราชทู ศิ เมื่อปี ๒๕๐๒ ในระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น จนจบชน้ั มธั ยมศึกษาปที ี่ ๖ เมอื่ ปพี ทุ ธศกั ราช ๒๕๐๗ และไมไ่ ดศ้ ึกษาต่อในระดับอดุ มศกึ ษา
ต้องชว่ ยบิดา-มารดาประกอบอาชีพการท�ำสวน สว่ นพ่ี ๆ น้องๆ เอาดีทางการเรียนหนังสอื ตอ่ มาท่านกำ� นนั จงจิตต์
คุณารักษ์ ได้สมรสกับนางยินดี ยุเหล็ก ซ่ึงเป็นบุตรของนายเจียมและนางฮ้วง ยุเหล็ก มีบุตรด้วยกัน ๒ คน คือ
๑.นายเกียรติคณุ คุณารกั ษ์ และ ๒.นายอัครวฒุ ิ คณุ ารกั ษ์
จากทท่ี า่ นไมไ่ ดศ้ กึ ษาตอ่ ในระดบั อดุ มศกึ ษา ทา่ นมาชว่ ยเหลอื งานทางบา้ นอยา่ งเตม็ ตวั ประกอบ
กับอาชีพเดิมของครอบครัวซึ่งมีอาชีพท�ำสวนยางพารา มะพร้าว ยาเส้น เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผันชีวิต

130 หลักสูตรรายวิชาเลือก ทา่ ศาลาศึกษา

รหสั วิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนตน้

ของท่านก�ำนันจงจิตต์ คุณารักษ์ ได้เร่ิมค้าขายท่านเริ่มต้นด้วยการสร้างเกวียนข้ึนมาใช้เป็นพาหนะในการบรรทุก
ยางพารา ออกตระเวณรับซอ้ื ในหมู่บ้านเพอื่ นำ� ไปขายตอ่ ใหก้ บั พอ่ ค้าคนกลาง ตลอดระยะเวลา ๖ ปีเตม็ ท่ีด�ำเนนิ การ
อยา่ งนี้ กส็ ามารถเก็บเงินได้กอ้ นหนง่ึ และนำ� เงินไปซื้อทีด่ ินบรเิ วณใกลบ้ ้านได้ จ�ำนวน ๒๓ ไร่ ความคดิ ทจ่ี ะทำ� สวน
ทเุ รียนได้เกิดข้นึ เมือ่ บดิ าของคณุ จงกิตต์ิ คุณารักษ์ เดนิ ทางกลบั มาจากการไปกรุงเทพ และได้น�ำพันธ์ทุ ุเรียนพันธดุ์ ี
(หมอนทอง) จากเมืองนนทบุรี จ�ำนวน ๑๓ ก่ิง และได้น�ำมาปลูกไว้ในสวนท่ีดินแปลงหลังบ้านท่ีอาศัยอยู่
ทุเรียนเจริญเติบโตและได้ขยายพันธุ์การปลูกทุเรียนในพื้นที่ของตนเองท่ีได้ซื้อไว้ จ�ำนวน ๒๓ ไร่ เริ่มลงมือปลูก
ในปี ๒๕๑๓ ทำ� การปลกู สวนผลไม้ (ทเุ รยี นเตม็ ตวั ) โดยดแู ลเอาใจใสบ่ ำ� รงุ รกั ษา อกี ๕ ปตี อ่ มาจนทเุ รยี นไดผ้ ลผลติ ทด่ี ี
ได้ขยายพน้ื ทป่ี ลูกโดยจัดซื้อทีด่ ินเพ่ิมอีก ๗ ไรแ่ ละไดใ้ ชพ้ นื้ ที่ดงั กล่าวปลูกทุเรยี น ทา่ นไดเ้ รียนรู้ ทดลอง และศกึ ษา
เกยี่ วกับการทำ� สวนทเุ รยี นอย่างจริงจงั ด�ำเนนิ การท�ำสวนทเุ รียนเพ่ือการค้า สามารถผลติ ทุเรยี นออกดอกผลติดตอ่
กันไม่ท้ิงช่วง (ทั้งในฤดูและนอกฤดู) ท�ำให้เกิดรายได้ ปีละ ๘ - ๙ แสนบาท และส่งผลต่อการขยายพ้ืนท่ีดิน
และเพิม่ การปลกู ทเุ รยี นออกไปอีกหลายแปลง และได้ทดลองปลกู ลองกองระหว่างแถวของการปลกู ทุเรยี น ในเนอื้ ท่ี
๘๐ ไร่ ซงึ่ เปน็ การทำ� การเกษตรแบบผสมผสานไดอ้ ยา่ งลงตวั และไดม้ กี ารแนะนำ� ใหเ้ พอ่ื นบา้ น ญาติ ทจี่ ะปลกู ทเุ รยี น
โดยมกี ารเพาะพันธ์ุดว้ ยวิธีการตดิ ตาทุเรียนพนั ธุ์ (หมอนทอง) บนต้นกล้า (ทุเรียนบา้ น) ขยายพนั ธ์ุไปส่ตู ลาดหลาย ๆ
อำ� เภอต่างกม็ าซอ้ื พันธไุ์ ปขยายพนั ธุ์ไปทีแ่ หล่งอื่น ๆ ในพืน้ ท่ีจังหวดั นครศรธี รรมราช และจงั หวัดใกลเ้ คยี ง (จากการ
สมั ภาษณน์ างยนิ ดี คณุ ารกั ษ)์ และสง่ ผลในปจั จบุ นั พน้ื ทต่ี ำ� บลสระแกว้ และตำ� บลใกลเ้ คยี งไดม้ าการปลกู ทเุ รยี นพนั ธ์ุ
หมอนทอง ผลผลิตและราคาทุเรียนสูง ส่งผลให้ต�ำบลแถบน้ีและใกล้เคียงมีรายได้ของประชากรสูง และมีชื่อเสียง
เป็นแหลง่ ผลิตทเุ รยี นในฤดแู ละนอกฤดู ในปี ๒๕๕๙ ส�ำนกั งานเกษตรอำ� เภอทา่ ศาลา ไดป้ ระกาศจัดตัง้ สวนทุเรยี น
แปลงใหญ่ เปน็ จุดการแลกเปล่ียนเรยี นรูก้ ารทำ� ทุเรียนเพือ่ การคา้ การสง่ ออก ในเขตอำ� เภอทา่ ศาลา

ประวตั ิด้านการงาน
คุณจงกิตต์ิ คุณารักษ์ เข้าสู่ต�ำแหน่งทางราชการเมื่อ อายุ ๒๗ ปี เนื่องจากเป็นผู้ท่ีมีความรู้
ความสามารถและความดี จนเปน็ ทยี่ อมรับของราษฎรในทอ้ งถ่นิ ดังนี้ คือ
๑. พุทธศักราช ๒๕๑๘ ด�ำรงต�ำแหน่งราษฎรผู้ทรงคุณวุฒิ (ในการได้รับการคัดเลือก
จากประชาชนในหม่บู ้าน หม่บู ้านๆ ละ ๑ คน เข้ามาท�ำหน้าท่ีเปน็ กรรมการในสภาตำ� บล)
๒. พทุ ธศกั ราช ๒๕๑๙ ด�ำรงต�ำแหนง่ ผูใ้ หญ่บ้าน หม่ทู ี่ ๗ ตำ� บลสระแก้ว และไดร้ บั การแตง่ ต้ัง
เป็นก�ำนันต�ำบลสระแก้วในเวลาเดียวกัน ท่านได้รับการคัดเลือกให้เป็นก�ำนันต�ำบลสระแก้ว เมื่อวันท่ี ๒๔
กรกฎาคม ๒๕๑๙ และได้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นประธานสภาต�ำบลสระแก้ว ได้ยกฐานะเป็นองค์กรบริหารส่วนต�ำบล
เม่อื ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ท่านจึงได้ดำ� รงตำ� แหนง่ ประธานองค์การบริหารส่วนต�ำบลสระแกว้ และได้ปฏิบัตหิ นา้ ทท่ี ำ� งาน
ดว้ ยความทมุ่ เท เสยี สละ ในการพัฒนาใหก้ ับทอ้ งถ่ินต�ำบลสระแก้วในการสร้างถนนหลายสายและสง่ เสริมกจิ กรรม
ด้านต่างๆ ครอบคลุมหลากหลายทุกกิจกรรม จนได้รับรางวัล ก�ำนันดีเด่นระดับอ�ำเภอ จ�ำนวน ๔ คร้ัง เม่ือปี
พทุ ธศักราช ๒๕๓๑, ๒๕๓๒, ๒๕๓๔ และ ๒๕๓๕ และรางวัลก�ำนันยอดเยีย่ มแหนบทองคำ� จำ� นวน ๒ ครงั้ คือ
คร้ังท่ี ๑ ปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ได้รับรางวัลก�ำนันแหนบทองค�ำ สมัยรัฐมนตรีช่วย
วา่ การกระทรวงมหาดไทย นายอเนก สทิ ธปิ ระศาสน์ เปน็ ประธานในพธิ มี อบรางวลั และดว้ ยการทำ� งานทมี่ กี ารดำ� เนนิ
อยา่ งตอ่ เน่อื งและสร้างคุณงามความดแี ก่ชมุ ชน
คร้ังที่ ๒ ปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้รับรางวัลก�ำนันแหนบทองค�ำอีกคร้ัง ในวันท่ี ๑๐
สิงหาคม ๒๕๔๐ โดยมีนายเสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานพิธีมอบรางวัล

รหสั วิชา หลกั สตู รรายวชิ าเลอื ก ท่าศาลาศึกษา 131

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนตน้

เปน็ รางวลั ทไี่ ดส้ รา้ งความภาคภมู ใิ จอยา่ งสงู สดุ ในชวี ติ ราชการของกำ� นนั ๒ (อา้ งในการสมั ภาษณน์ ายจงจติ ติ์ คณุ ารกั ษ์
ผใู้ ห้สัมภาษณ์ โดยนางสาวขนิษฐา อนิ ทรจ์ นั ทร์ ผูส้ ัมภาษณ์ เมอ่ื วนั ท่ี ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๐)
๓. พุทธศักราช ๒๕๒๑ ด�ำรงต�ำแหน่งประธานศิษย์เก่าโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ประจ�ำปี
การศึกษา ๒๕๐๗
๔. พทุ ธศกั ราช ๒๕๓๓ ดำ� รงตำ� แหนง่ ประธานมลู นธิ เิ ทพโรจนป์ ระชาปติ เิ พอื่ กอ่ สรา้ งโรงพยาบาล
โดยใช้ช่ือว่า“โรงพยาบาลมูลนิธิโรจน์ประชาปิติ” แต่งบประมาณไม่เพียงพอ ดังนั้น อาคารดังกล่าว จึงอุทิศให้กับ
หน่วยงานราชการ ปจั จบุ ัน เปน็ ศนู ย์ฟนื้ ฟคู นพิการภาคใต้ ต้ังอยูต่ ำ� บลสระแกว้ อำ� เภอท่าศาลา
๕. พุทธศักราช ๒๕๒๕ ด�ำรงต�ำแหน่งประธานมูลนิธิธรรมศาสตร์ศึกษาคุณารักษ์ ท�ำหน้าท่ี
ประธานในการก่อสร้างและจัดสรรงบประมาณ ส�ำหรับซื้อหนังสือและอุปกรณ์ไว้ในห้องสมุด ที่ตั้งข้ึน ณ วัดนากุน
หมูท่ ี่ ๖ ต�ำบลสระแก้ว อำ� เภอทา่ ศาลา จงั หวัดนครศรธี รรมราช
๖. พุทธศักราช ๒๕๓๕ ด�ำรงต�ำแหน่ง รองประธานชมรมก�ำนันผู้ใหญ่บ้านซ่ึงท�ำหน้าที่ให้
ความชว่ ยเหลอื แก่ก�ำนนั และผู้ใหญบ่ ้านในอำ� เภอทา่ ศาลา กรณที บ่ี าดเจบ็ ตาย เกษียณอายุ และหมดวาระการด�ำรง
ตำ� แหน่ง โดยจดั ตัง้ เป็นกองทนุ สวสั ดิการ
๗. พุทธศกั ราช ๒๕๓๖ ดำ� รงต�ำแหนง่ ประธานกลมุ่ กาแฟสระแกว้ ท�ำหนา้ ทกี่ ารรวบรวมกาแฟ
ท่เี กษตรกรเกบ็ ได้ และจัดสง่ ให้แก่ผสู้ ง่ ออกท่มี ารบั ซ้อื ในทอ้ งถิน่ ตำ� บลสระแกว้ และต�ำบลกลาย

ดา้ นสาธารณปู โภคพน้ื ฐาน
ด้านการสร้างและปรับปรุงถนน เป็นปัจจัยส�ำคัญของการพัฒนาชุมชนของการเพ่ิมศักยภาพ
ในการขนส่ง ความสะดวกในการเดินทางติดต่อกันของประชาชน และส่งผลต่อการค้าขายสินค้าภายในชุมชน
ระหว่างชุมชน ภายในและภายนอก เพ่ิมศักยภาพด้านการค้าขายของชุมชน ซ่ึงท่านก�ำนัน จงจิตต์ิ คุณารักษ์
ได้วางรากฐานของการพัฒนาให้กับพนื้ ท่ีต�ำบลสระแก้ว โดยดำ� เนินการดังน้ี
- การพฒั นาถนน เชน่
๑) ปรับปรุงถนนสายสามแยกบ้านปาน - ทางสายเก่า ในหมู่ที่ ๔ ระยะทาง ๗๕๐ เมตร
ดว้ ยงบประมาณ ๙๔,๕๔๓ บาท
๒) ปรบั ปรงุ ทางเขา้ ศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เลก็ สายนากนุ - ทงุ่ ปรอื ระยะทาง ๘๐๐ เมตร ดว้ ยงบประมาณ
๑๐๘,๘๐๐ บาท
๓) ปรบั ปรงุ ถนนสายสามแยกสงวน - สายเกาลมุ รว้ั หญา้ ระยะทาง ๑,๔๔๐ เมตร ดว้ ยงบประมาณ
๑๙๐,๐๐๐ บาท
๔) การปรังปรุงซ่อมแซมถนนโดยหลบหลุมที่เกิดจากภาวะน�้ำท่วมสายสามแยกต้นตอ –
บา้ นสำ� นักมว่ ง ระยะทาง ๑,๙๕๐ เมตร งบประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ บาท
๕) ปรับปรุงซ่อมแซมถนนโดยกลบหลุมท่ีเกิดจากน้�ำท่วมสายศาลาสามหลัง - บ้านส�ำนัก
ระยะทาง ๑,๙๕๐ เมตร เงนิ งบประมาณ ๑๔,๐๐๐ บาท
๖) ปรบั ปรุงถนนสายหัวคู - ปลกั ดุก ระยะทาง ๓,๐๕๐ เมตร ด้วยงบประมาณ ๓๙๒,๗๔๐ บาท
๗) การก่อสร้างถนนสายปลักดุก - ในญาต ระยะทาง ๑,๐๐๐ เมตร ด้วยงบประมาณ
๒๖๒,๐๐๐ บาท (อา้ งในขนิษฐา อินทร์จันทร์ ประวัตแิ ละผลงานของนายจงกิตต์ิ คุณารักษ์ : ก�ำนนั แหนบทองคำ�
ตำ� บลสระแกว้ อ�ำเภอทา่ ศาลา หนา้ ๑๔)

132 หลกั สตู รรายวชิ าเลอื ก ทา่ ศาลาศึกษา

รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้น

- การพัฒนาด้านประปาหมู่บ้านขนาดเล็ก ให้กับราษฎรหมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๖ ได้ใช้อุปโภค
บรโิ ภค อยา่ งทั่วถงึ ทกุ ครัวเรือน
- เมอื่ ปี ๒๕๒๘ ท่านกำ� นัน ได้จำ� ท�ำหนังสือประสานไปยัง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอ�ำเภอทา่ ศาลา
เพอ่ื ใหม้ ไี ฟฟา้ ครบทุกครัวเรอื นในทุกบา้ นของตำ� บลสระแกว้
- เม่ือปี พุทธศักราช ๒๕๓๙ ท่านก�ำนันได้ประสานไปยังองค์การโทรศัพท์อ�ำเภอท่าศาลา
เพอ่ื ใหม้ โี ทรศพั ทส์ าธารณะใชท้ กุ หมบู่ า้ น จงึ ทำ� ใหป้ ระชาชนทกุ หมบู่ า้ นมโี ทรศพั ทใ์ ชห้ มบู่ า้ น ๆ ละ ๑ ตู้ ทำ� ใหก้ ารตดิ ตอ่
ส่อื สารสะดวกรวดเร็วและเป็นท่ีพงึ พอใจให้กบั ประชาชนในตำ� บลสระแกว้ ทกุ คน
ด้านการศกึ ษา
- พทุ ธศกั ราช ๒๕๑๘ ทา่ นกำ� นนั จงกติ ติ์ คณุ ารกั ษ์ รว่ มกบั ผใู้ หญบ่ า้ น ดำ� เนนิ การทอดผา้ ปา่ หาเงนิ
ทนุ สรา้ งห้องสมดุ โรงเรียนบ้านชมุ โลง เป็นเงิน จ�ำนวน ๑๘๐,๐๐๐ บาท และด�ำเนินการสรา้ งแลว้ เสรจ็ เมือ่ ปี ๒๕๒๐
- พุทธศักราช ๒๕๒๐ ร่วมกจิ กรรมกับโรงเรยี นกลุ่มสระแกว้ จดั สรา้ งสนามกฬี า สนามฟุตบอล
และอุปกรณ์การกีฬา และให้การสนับสนุนการด�ำเนินงานเก่ียวกับกีฬาชุมชน เช่น เงินรางวัลในการจัดการแข่งขัน
กฬี ากลมุ่ โรงเรียนสระแก้วเป็นประจ�ำทกุ ปี
- พุทธศักราช ๒๕๒๑ จัดต้ังกองทุนให้กับนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นจ�ำนวน
๑๖ ทนุ ใชช้ อื่ วา่ “ทนุ ตระกลู ปกั เขม็ ” ซงึ่ เดมิ เปน็ ทนุ ของนางสรว้ ง คณุ ารกั ษ์ ผเู้ ปน็ มารดา เปน็ เงนิ จำ� นวน ๘,๐๐๐ บาท
ต่อปี และมกี ารเพม่ิ ทุนขน้ึ เรือ่ ย ๆ ทุก ๆปี
- พุทธศักราช ๒๕๓๖ ได้สนับสนุนการจัดต้ังศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้นในต�ำบลสระแก้ว จ�ำนวน
๓ แหง่ คือ ๑) ศูนย์พัฒนาเด็กเลก็ บา้ นชุมโลง หมทู่ ี่ ๒ ๒) ศูนย์พฒั นาเด็กเลก็ บ้านเราะ หมู่ที่ ๓ และ ๓) ศูนย์พฒั นา
เดก็ เลก็ บา้ นนากนุ หมทู่ ่ี ๖ โดยดำ� เนนิ การชว่ ยเหลอื ดา้ น ตา่ ง ๆ เชน่ ใหเ้ งนิ กองทนุ จำ� นวน ๓๕,๐๐๐ บาท ทงั้ สามแหง่
ในการท�ำอาหารเลยี้ งเด็กเน่ืองจากในกจิ กรรมวันเดก็ และวันแม่เป็นประจ�ำทกุ ปี
- พุทธศักราช ๒๕๓๗ ร่วมกันราษฎรบริจาคเงินสมทบทุนสร้างร้ัวและประตูเหล็กดัดโรงเรียน
บ้านน�้ำตก เปน็ เงนิ ๑๔,๕๐๐ บาท
- พุทธศกั ราช ๒๕๔๑ จดั ตง้ั ศนู ยพ์ ฒั นาเดก็ เล็กบา้ นในญาต หมู่ที่ ๑๑ ต�ำบลสระแก้ว และทา่ น
ไดท้ �ำหน้าที่เปน็ ประธานในพธิ เี ปดิ ศนู ยพ์ ฒั นาเด็กเล็ก เมื่อวนั ที่ ๗ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๔๑

ด้านการพัฒนาสตรี
เมอื่ พทุ ธศกั ราช ๒๕๓๙ ทา่ นไดจ้ ดั ตง้ั กลมุ่ กองทนุ พฒั นาสตรตี ำ� บลสระแกว้ ขนึ้ โดยทา่ นทำ� หนา้ ที่
เป็นประธาน และได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกลุ่มกองทุนพัฒนาสตรีอ�ำเภอในขณะนั้น และกลุ่มกองทุน
พัฒนาสตรีจังหวัดตามล�ำดับ การจัดต้ังกลุ่มกองทุนพัฒนาสตรีของต�ำบลสระแก้วได้ด�ำเนินงานโดยกลุ่มแม่บ้าน
โดยมีวตั ถุประสงค์ เพื่อหาเงินเขา้ กองทนุ ใหร้ าษฎรทตี่ อ้ งการกู้ยมื เงนิ ไปใช้ในการประกอบอาชีพ ดอกเบีย้ ร้อยละ ๑
ตอ่ ปี การดำ� เนนิ การหาเงนิ เข้ากองทุนของกลมุ่ แม่บ้านเพ่ือใหก้ ล่มุ มีการด�ำเนินงานและจดั ต้ังกองทนุ ซ่ึงในขณะนัน้
มเี งนิ ทนุ หมนุ เวยี นกองทนุ จำ� นวน ๕๐,๐๐๐ บาท และไดส้ ง่ เสรมิ เสรมิ ใหม้ กี ารจดั ตงั้ กลมุ่ กองทนุ สตรี ในตำ� บลใกลเ้ คยี ง
และในอำ� เภอตา่ ง ๆ ของจังหวัดนครศรธี รรมราช อกี ดว้ ย
ในการนี้ ท่านก�ำนันจงจิตติ์ คณุ ารักษ์ ไดอ้ ทุ ศิ ท่ดี ินในการด�ำเนินการทท่ี �ำการกลมุ่ และท่ที �ำการ
หมบู่ า้ น เพือ่ เป็นทท่ี �ำการสาธารณประโยชนใ์ นชุมชน ครง้ั แรก อุทิศพ้ืนที่ดนิ จ�ำนวน ๔ ไร่ และ ไดอ้ ุทิศพ้นื ทเี่ พิ่มอีก
๓ ไร่ รวมจำ� นวน ๗ ไร่ เพ่อื สรา้ งศาลาเอนกประสงค์ ซ่งึ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ จากการสมั ภาษณ์ (นางวันดี คุณารกั ษ)์

รหสั วชิ า หลักสูตรรายวชิ าเลือก ท่าศาลาศึกษา 133

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้

ภริยา ได้กล่าวว่า สถานท่ีปัจจุบันได้ใช้ประโยชน์ เป็นที่ท�ำการกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เช่น กลุ่มไม้ผล (รับซื้อมังคุด)
ธนาคารหมู่บ้านพัฒนา ที่ท�ำการปุ๋ย ที่ท�ำการกองทุนเงินล้าน ที่ท�ำการกลุ่มข้าวสาร ท่ีท�ำการกลุ่มกล้วยกรอบทอง
ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มขนมกล้วยกรอบทอง ต�ำบลสระแก้ว ได้ใช้พื้นท่ีแห่งน้ีบางส่วนเป็นท่ีท�ำการกลุ่ม ในผลิตและ
จ�ำหน่ายกล้วยกรอบ กล้วยกวน โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ (กล้วยกรอบทอง) และสถานท่ีออกก�ำลังกายของประชาชน
ในชุมชน ภายใต้การสนบั สนุนอปุ กรณจ์ ากบรษิ ัทเชฟรอน
การพฒั นาผพู้ ิการ
พทุ ธศกั ราช ๒๕๓๓ ทา่ นกำ� นนั จงกติ ติ์ คณุ ารกั ษ์ ดำ� รงตำ� แหนง่ ประธานมลู นธิ เิ ทพโรจนป์ ระชาปติ ิ
เพื่อก่อต้ังโรงพยาบาลมูลนิธิเทพโรจน์ประชาปิติ” ซ่ึงวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเม่ือวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓
กำ� หนดแลว้ เสรจ็ ภายใน ๕ ปี การกอ่ สรา้ งโดยความรว่ มมอื รว่ มใจของชมุ ชนในทอ้ งถน่ิ ดำ� เนนิ การไปไดป้ ระมาณ ๒ ปี
ก็หยุดชะงักเพราะงบประมาณไม่พอที่จะด�ำเนินการต่อไป ประธานและคณะกรรมการมูลนิธิเทพโรจน์ประชาปิติ
จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกันและลงมติมอบให้กรมประชาสงเคราะห์ด�ำเนินการ จึงได้โอนกรรมสิทธ์ิที่ดิน
จำ� นวน ๕ ไรเ่ ศษ พรอ้ มตวั อาคารใหด้ ว้ ย ในวนั ที่ ๔ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ กรมประชาสงเคราะหจ์ งึ ไดท้ ำ� การปรบั ปรงุ
อาคารให้เหมาะสม ประกาศจดั ตงั้ เป็นศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพกิ ารภาคใต้ จังหวัดนครศรธี รรมราช ซง่ึ ปัจจบุ ันสถานที่
ดังกล่าว ได้เป็นท่ีพัฒนาศักยภาพคนพิการที่หล่ังไหลมาจากต่างจังหวัด เป็นที่ฝึกอาชีพและสถานท่ีที่เป็นเครือข่าย
ของหน่วยงาน กศน. เข้าไปจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายพิการที่สามารถเรียนหนังสือ ตามหลักสูตรการศึกษา
นอกระบบระดบั การศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑ และการจดั การศกึ ษาตามอธั ยาศยั ใหก้ บั เดก็ และเยาวชน
ทพี่ กิ ารไดร้ บั การศกึ ษาระดับการศกึ ษาขน้ั พ้นื ฐาน เพอื่ นำ� ความรูไ้ ปใช้ในการพฒั นาคณุ ภาพชวี ิตของนักศกึ ษาพิการ
ด้านการเกษตร
พุทธศักราช ๒๕๐๗ หลังจากที่ท่านจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ท่านไม่ได้ศึกษาต่อ
ทา่ นเปน็ บตุ รชายทเ่ี สยี สละมาชว่ ยเหลอื กจิ การครอบครวั มาทำ� สวน และระยะเรมิ่ ตน้ กลบั มาอยกู่ บั พอ่ แมแ่ ละไดส้ รา้ ง
เกวยี นเพอ่ื เปน็ พาหนะขนึ้ มาเลม่ หนง่ึ เพอ่ื ทำ� การรบั ซอื้ ยางพารา ตามหมบู่ า้ นและชมุ ชนตา่ ง ๆ ในพนื้ ท่ี เพอื่ ซอ้ื ยางพารา
ในหมบู่ า้ นเพอ่ื นไปขายตอ่ กบั พอ่ คา้ อกี ทอดหนงึ่ ทำ� งานอยา่ งนอ้ี ยา่ งตอ่ เนอื่ ง ๖ ปตี อ่ มากส็ ามารถเกบ็ เงนิ ไดก้ อ้ นหนง่ึ
และไดน้ �ำไปซ้อื ที่ดินบริเวณใกล้บ้านได้จ�ำนวน ๒๓ ไร่ และประกอบกบั บดิ าเดนิ ทางกลบั มาจากกรุงเทพไดน้ �ำทเุ รียน
พันธุ์ดี (หมอนทอง) จากเมืองนนทบุรี มาจ�ำนวน ๑๓ กิ่ง จึงได้น�ำไปปลูกบนพ้ืนท่ีดินหลังบ้าน ทุเรียนงอกงาม
อยา่ งรวดเรว็ ก็ไดค้ วามคิดว่าที่ดนิ ทีซ่ อื้ ไว้นา่ จะทดลองปลกู สวนทุเรียน ซ่งึ ในชว่ งนน้ั กไ็ มไ่ ด้คิดวา่ จะประสบผลสำ� เรจ็
ในดา้ นการปลูกทเุ รียน ท่สี ร้างรายได้เปน็ อยา่ งดใี หก้ ับครอบครวั
พุทธศักราช ๒๕๑๓ เร่ิมการปลูกทุเรียน ท�ำสวนทุเรียนอย่างจริงจังโดยขยายการปลูกบนพ้ืนที่
จำ� นวน ๒๓ ไร่ และได้เฝ้าดแู ลเอาใจใสบ่ ำ� รุงรกั ษา ตามความสามารถของตนเองทพ่ี อจะท�ำได้ เพราะยังไมม่ ีความรู้
ทางดา้ นการเกษตรเทา่ ใดนกั แต่อาศัยวา่ เปน็ ลกู ชาวสวนมาก่อนโดยใชค้ วามร้แู ละประสบการณท์ ม่ี ีอยจู่ ากรนุ่ พอ่ แม่
ที่ท�ำการเกษตรที่ตกทอดความรู้มาสู่รุ่นลูก ท่านก�ำนันจงกิตติ์ คุณารักษ์ ได้มีความเพียร ความพยายามในการ
ทำ� การเกษตรดา้ นนี้ ใชเ้ วลา ๕ ปี ตอ่ มาจนกวา่ ไดผ้ ลผลติ ทเุ รยี นทไ่ี ดป้ ลกู กไ็ ดผ้ ลผลติ และสง่ ผลให้ พทุ ธศกั ราช ๒๕๒๑
ทา่ นก�ำนนั สามารถซื้อทดี่ ินเพม่ิ ในบรเิ วณท่ีติดกับสวนทุเรยี นอกี ๗ ไร่ และไดป้ ลกู ทุเรยี นเพม่ิ เติมขยายจากพื้นทเี่ ดมิ
รวมพนื้ ที่ในการปลกู ทุเรยี น เป็นจ�ำนวน ๓๐ ไร่ ท�ำใหท้ ่านไดเ้ ร่ิมศกึ ษาและขณะเดียวกนั ท่านด�ำรงต�ำแหน่งเปน็ ผนู้ ำ�
ชุมชน “ก�ำนัน” ท่านได้ศึกษาการปลูกทุเรียนโดยการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ทดลอง การสังเกต และอาศัย
ประสบการณ์จากการลงมือท�ำ การท�ำสวนทุเรียนของท่านก�ำนัน ใช้วิธีการตามธรรมชาติ ไม่ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์

134 หลกั สตู รรายวิชาเลือก ท่าศาลาศกึ ษา

รหัสวชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศึกษาตอนตน้

ไม่ใช้สารเคมี แต่ท่านใช้ปุ๋ยหมักที่ท�ำเองและได้จ�ำหน่ายให้แก่ประชาชนในต�ำบลอีกด้วย และเป็นจุดเร่ิมต้น
การท�ำสวนทุเรียนเพื่อการค้าได้อย่างสมบูรณ์ ผลผลิตทุเรียนได้ผลผลิตติดต่อกันไม่ทิ้งช่วง ในปีหน่ึง ๆ ท�ำรายได้
๘-๙ แสนบาท และขยายการปลูกทุเรียนในพื้นที่อีกหลายแปลง ปัจจุบันมีพ้ืนที่ที่ปลูกทุเรียน จ�ำนวน ๘๐ ไร่
นอกจากน้ันการท�ำสวนทุเรียนได้ปลูกลองกองระหว่างแถวของทุเรียนซึ่งเป็นการท�ำสวนท่ีได้รับผลเป็นอย่างดี
และท่านได้ขยายองค์ความรใู้ ห้กับเพอ่ื นบา้ นในระดบั อำ� เภอ และระดับจังหวัด ไดม้ กี ารปลกู ทุเรยี น เป็นแปลงสาธติ
และการเรียนรกู้ ารปลกู ทเุ รยี นระดับจงั หวดั นครศรีธรรมราช
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ ท่านก�ำนันจงกิตต์ิ คุณารักษ์ ได้รับรางวัล เกษตรกรตัวอย่างและดีเด่น
จากอำ� เภอท่าศาลา เน่อื งจากเปน็ ผู้ท่ปี ระสบผลสำ� เร็จในการท�ำสวนทุเรยี น จนมชี ื่อเสียงและยงั สง่ เสริมสนับสนุนให้
ราษฎรในต�ำบลปลูกทุเรียน ส่งผลให้รายได้เพ่ิมขึ้นกับราษฎรท่ีปลูกทุเรียนในพ้ืนท่ีระดับต�ำบล และต�ำบลใกล้เคียง
และท่านได้อุปการะรับนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ท่ัวภาคใต้ เช่น วิทยาลัยเกษตรกรรม
นครศรีธรรมราช วทิ ยาลัยเกษตรกรรมระยอง และจากวทิ ยาลัยตา่ ง ๆ ในจงั หวดั พัทลุง พงั งา สงขลา ฯลฯ มาฝกึ งาน
ในสวนทุเรียนของท่านก�ำนัน ชื่อสวนทุเรียนว่า “สวนคุณรักษา” และได้ช่วยเหลือในด้านอาหาร ท่ีพัก รวมทั้ง
เปน็ วทิ ยากรกติ ตมิ ศกั ดใ์ิ นการบรรยายพเิ ศษแกน่ กั ศกึ ษาเปน็ ประจำ� ทกุ ปี จนทา่ นไดร้ บั การยกยอ่ งจากกรมอาชวี ศกึ ษา
โดยมอบเกยี รตบิ ตั ร “ผชู้ ว่ ยเหลอื และสนบั สนนุ อยา่ งดยี งิ่ ในการฝกึ งานภายนอกสถานท”ี่ เมอ่ื วนั ท่ี ๑ มกราคม ๒๕๓๕
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ เป็นผู้น�ำในการเกษตร ท่านได้เป็นผู้ริเร่ิมการท�ำเกษตรแผนใหม่มาใช้
และเผยแพร่ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ได้แก่ การท�ำเกษตรไร่นาสวนผสม โดยการปลูกลองกอง ขุดบ่อเล้ียงปลา
และการเล้ียงตะพาบน้�ำในสวนทุเรียน ซึ่งตะพาบน้�ำเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ที่สามารถท�ำรายได้ให้กับผู้ท่ีเลี้ยง
หลายหม่นื บาท
นับว่าท่านก�ำนันจงจิตต์ิ คุณารักษ์ เป็นผู้น�ำชุมชนท่ีมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และเป็นนักบริหาร
ของชุมชน นักพัฒนาชุมชน เปน็ ผู้นำ� ทีด่ ี มีคณุ ภาพ มีความสามารถบรหิ ารราชการและงานอน่ื ๆ อันเป็นประโยชน์
ตอ่ ทอ้ งถนิ่ การดำ� เนนิ งานตามนโยบายบรรลตุ ามเปา้ หมายของทางราชการ เปน็ ทย่ี อมรบั ของราษฎรและทางราชการ
จนเกษยี ณอายรุ าชการทา่ นมชี อื่ เสยี งเปน็ ทย่ี อมรบั ในการปลกู ทเุ รยี นและลองกองพนั ธด์ุ ี การเลย้ี งตะพาบนำ้� ซงึ่ ผลผลติ
ดังกลา่ วส่งออกจำ� หน่ายทั้งในประเทศและตา่ งประเทศ สง่ ผลใหเ้ ศรษฐกิจในโซนแถบน้ี ประกอบด้วยต�ำบลสระแกว้
ต�ำบลท่าขึ้น ต�ำบลตลิ่งชัน และต�ำบลกลาย นิยมปลูกทุเรียน ท่ีได้เกิดจากการน�ำและความคิดก้าวหน้า ในการน�ำ
ประชาชนมาสนใจการปลูกทุเรียน จากสภาพที่โดนพายุ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ หันกลบั มาสนใจปลกู ทเุ รยี น ส่งผลให้มี
รายได้สูง และเป็นผู้ที่มีรายได้ดีระดับแนวหน้าของอ�ำเภอท่าศาลา น้ันเป็นข้อมูลถึงการเปลี่ยนแปลงถึงความเจริญ
ทน่ี กั พัฒนาผนู้ ไี้ ด้นำ� มาใช้และเกิดมักเกดิ ผล ในปัจจุบันมีรา้ นค้าขายสนิ ค้านเกษตรอยู่แถบตล่งิ ชนั จุดรบั ซอื้ ผลผลติ
ทางการเกษตรด้านมังคดุ ทเุ รียน เพือ่ การส่งออก ก็เกิดข้ึนเหมือนดอกเห็ดในพน้ื ทตี่ �ำบลสระแก้ว และพ้นื ทีใ่ กล้เคียง
เชน่ ตำ� บลตลงิ่ ชนั ผลพวงทเี่ กดิ จากการกระทำ� ตามแนวความคดิ ของทา่ นกำ� นนั จงจติ ติ์ คณุ ารกั ษ์ เปน็ บคุ คลทเ่ี ปน็ ตน้
แบบของการท�ำการเกษตรกา้ วหนา้ เกษตรเพื่อการคา้ ของอ�ำเภอทา่ ศาลา
วาระสดุ ท้ายของชีวติ ทา่ นกำ� นนั จงจิตติ์ คณุ ารักษ์ ไดเ้ สยี ชีวติ ศริ ิอายรุ วม ๖๔ ปี เมอื่ วนั ที่ ๙
ธนั วาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๘.๓๐ น. ณ โรงพยาบาลนครนิ ทร์ การจากไปของทา่ นเป็นสจั ธรรมของมนษุ ย์ (เกดิ แก่ เจบ็
และตาย) แต่คุณงามความดี ที่ท่านได้กระท�ำให้กับประชาชนในต�ำบลสระแก้ว ชาวอ�ำเภอท่าศาลา และ
ชาวจังหวัดนครศรธี รรมราช ยังคงอย่ใู นความทรงจำ� ของบตุ ร หลาน ประชาชนทุกคนทีไ่ ดร้ ับอนจิ สงค์ จากความดี
ที่ท่านได้กระท�ำไว้ ปรากฏหลักฐานร่องรอยให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองท่ีท่านได้กระท�ำไว้ ให้เยาวชน
รนุ่ หลงั ไดร้ ะลกึ ถงึ คณุ งามความดี ไดเ้ รยี นรู้ ศกึ ษาเปน็ อนสุ รณแ์ หง่ ความดี และเปน็ แบบอยา่ งใหเ้ ยาวชนไดเ้ ทดิ ทนู บชู า
และระลกึ ถึงทา่ นตอ่ ไป

รหัสวิชา หลักสตู รรายวชิ าเลือก ทา่ ศาลาศึกษา 135

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้

๑.๓ นายบุญเสรมิ แกว้ พรหม

ประวตั สิ ว่ นตวั เกดิ เมอ่ื ปี ๒๔๙๙ ในครอบครวั ชาวนา เปน็ ชาวทา่ ศาลา นครศรธี รรมราช โดยกำ� เนดิ
เรียนหนังสือช้ันประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดยางงาม และโรงเรียนวัดเทวดาราม ซ่ึงเป็นโรงเรียนประชาบาลใกล้บ้าน
เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นท่ีโรงเรียนประจ�ำจังหวัดนครศรีธรรมราช เบญจมราชูทิศ เรียนจบการศึกษาวิชาครู
ระดบั ประกาศนยี บตั รวชิ าการการศกึ ษา (ป.กศ.) จากวทิ ยาลยั
ครนู ครศรธี รรมราช รุ่นท่ี ๑๗ (เขา้ เรียนปีการศกึ ษา ๒๕๑๖
จบปีการศึกษา ๒๕๑๗) จากนั้นศึกษาด้วยตนเองโดยสอบ
วิชาชุดของคุรุสภาได้วุฒิประโยคพิเศษครูมัธยม (พ.ม.)
แล้วศึกษาต่อเน่ืองในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
โ ด ย ก า ร เ รี ย น ร ะ บ บ ก า ร เ รี ย น ก า ร ส อ น ท า ง ไ ก ล ข อ ง
มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช ไดร้ บั ปรญิ ญาศึกษาศาสตร
บัณฑิต (ศษ.บ.) และ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.)
สาขาหลักสตู รและการสอนภาษาไทย ตามลำ� ดับ
เริ่มรับราชการเป็นครูประชาบาลต้ังแต่
อายุ ๑๘ ปี ท่ีโรงเรียนวดั นาเหรง อำ� เภอนบพติ ำ� ในตำ� แหน่ง
ครูจัตวา เม่ือปี ๒๕๑๘ และย้ายไปเป็นครูในโรงเรียนวัดเทวดารามและโรงเรียนวัดยางงาม อ�ำเภอท่าศาลา
ซ่ึงเป็นโรงเรียนที่เคยเรียนในระดับประถมศึกษา รวมเวลาเป็นครูในห้องเรียน ๑๐ ปี จากน้ันตั้งแต่ปี ๒๕๒๘
เปล่ียนสายงานเป็นตำ� แหน่งศึกษานิเทศก์ ส�ำนักงานการประถมศึกษาอำ� เภอท่าศาลา ส�ำนักงานการประถมศึกษา
จงั หวดั นครศรธี รรมราช และสำ� นกั งานเขตพน้ื ทกี่ ารศกึ ษานครศรธี รรมราช เขต ๔ ตามลำ� ดบั จนเกษยี ณอายรุ าชการ
เมื่อ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙
เป็นผู้สนใจและรักในการเขียนมาต้ังแต่เรียนช้ันประถมศึกษา เริ่มเขียนบทร้อยกรองเผยแพร่
ในหนงั สอื พมิ พ์ นติ ยสาร สถานวี ทิ ยุ ตง้ั แตเ่ รยี นชนั้ มธั ยมตอนตน้ เมอ่ื ปี ๒๕๑๔ ในนามปากกา “รตั นธาดา แกว้ พรหม”
และใช้นามดังกล่าวในการเขียนมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีงานเขียนท้ังร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานต�ำราวิชาการ
ทางภาษาไทยและศลิ ปวัฒนธรรมเผยแพร่มาอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนน้ั ได้ทำ� กิจกรรมในกลุ่มวรรณกรรมตา่ ง ๆ เช่น กลุ่มนกั กลอน ยุววรรณศลิ ป์ (๒๕๑๕)
ชมรมดอกไม้ นครศรธี รรมราช (๒๕๒๑) กลมุ่ นาคร (๒๕๒๔) เปน็ ประธานภาคใต้ สมาคมนกั กลอนแหง่ ประเทศไทย
(๒๕๔๒ - ๒๕๕๘) รวมทั้งได้ท�ำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาทักษะทางด้านภาษาและวรรณกรรมแก่นักเรียนนักศึกษา
และครูอาจารย์ควบคู่ไปด้วยอย่างต่อเน่ืองเป็นเวลาร่วม ๔๐ กว่าปี โดยเฉพาะกิจกรรมในนาม “ส�ำนักกวีน้อย
เมอื งนคร” ทสี่ ง่ เสรมิ การเขยี นรอ้ ยกรองแกน่ กั เรยี นนกั ศกึ ษานนั้ เปน็ ทย่ี อมรบั อยา่ งกวา้ งขวางโดยทว่ั ไป (ตง้ั แต่ ๒๕๔๔-
ปัจจบุ ัน)
เป็นกรรมการ/ประธานกรรมการการประกวดแข่งขันบทร้อยกรอง เช่น เวทีกลอนเดือนสิบ
ในงานประเพณีเทศกาลเดอื นสบิ จังหวัดนครศรธี รรมราช โดยศูนยว์ ฒั นธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
(ตง้ั แต่ ๒๕๒๙-ปจั จบุ นั ) การประกวดรอ้ ยกรองในงานวนั มธั ยมศกึ ษา จงั หวดั นครศรธี รรมราช (ตง้ั แต่ ๒๕๓๖ - ปจั จบุ นั )
การแข่งขนั รอ้ ยกรองของอาศรมวัฒนธรรมวลัยลกั ษณ์ มหาวิทยาลยั วลัยลกั ษณ์ (ตัง้ แต่ ๒๕๔๗ - ปจั จบุ นั ) เปน็ ตน้

136 หลกั สตู รรายวชิ าเลือก ท่าศาลาศึกษา

รหัสวิชา สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

มีผลงานบทร้อยกรองเผยแพร่ ทางหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารและวิทยุกระจายเสียง
โดยใช้นามปากกา “รัตนธาดา แก้วพรหม” และนามอ่ืน ๆ ต้ังแต่ก�ำลังเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี ๑ (ปี ๒๕๑๔)
และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีผลงานบทร้อยกรองขนาดส้ันความยาว ๒-๑๐ บท ประมาณ ๒,๐๐๐ ส�ำนวน
(๒๕๖๑)
ผลงานบทรอ้ ยกรอง จัดพิมพร์ วมเลม่ เผยแพร่แล้ว เช่น “คำ� กรอง” (รว่ มกับเพื่อนนกั กลอนอื่นๆ-
๒๕๑๘), “ดอกไม้ป่า” (๒๕๒๒), นวนิยายร้อยกรองเร่ือง “สองร้อยปีฤๅส้ินเสดสา” (เขียนร่วมกับนักเขียน
กล่มุ นาคร-๒๕๒๖), บทกวบี นั ทึกเหตุ “ปีโรงนำ�้ แดง : ปกั ษใ์ ต้มหาวิปโยค ๒๕๓๑” (๒๕๓๒), “ค�ำพร” (๒๕๓๒),
“เทยี นทิพย์ทที่ อแสง” (๒๕๓๙), “เพียงกรวดทราย” (๒๕๔๗), “ภาษิตค�ำรอ้ ย” (๒๕๔๙), “ผชู้ นะ” (๒๕๕๐),
“ฝากหวั ใจไปถงึ ขวญั ” (๒๕๕๑), “เธอไมไ่ ดห้ ายไปไหน” (๒๕๕๓), “เธอ..คนขดี เสน้ ใต”้ (๒๕๕๔), “อา่ นใหใ้ ครฟงั ”
(๒๕๕๕), “บินหลงฟา้ ” (๒๕๕๖), “ศรทั ธารังรอง” (๒๕๕๖), “คดิ ถงึ นะคนดี” (๒๕๕๗), “เกดิ เปน็ ครู” (๒๕๕๙),
“ทำ� นองไทย” (๒๕๕๙) เป็นตน้
ผลงานวชิ าการ รวมบทความเฉพาะทวี่ า่ ดว้ ยบทรอ้ ยกรอง เชน่ “การอา่ นรอ้ ยกรองและทำ� นอง
เสนาะ” (๒๕๓๙), “การสอนและเขยี นบทรอ้ ยกรองสำ� หรับเดก็ ปฐมวยั ” (๒๕๔๒, ๒๕๔๙), “คมู่ ือสอนเขียนเรียน
รอ้ ยกรอง ก้าวท่ีเร่ิมตน้ ของกวนี ้อยเมืองนคร” (๒๕๔๕), “กลวิธีสอนเขียนเรยี นรอ้ ยกรอง” (๒๕๔๖), “เดนิ ยอ้ น
รอยนักกลอนเมืองนคร” (๒๕๕๐, ๒๕๕๕), “บทบันทกึ แหง่ เวทีกลอนเดอื นสิบ” (๒๕๕๐, ๒๕๕๘), “เวทีกลอน
เดอื นสบิ คอื ความมนั่ คงและลงตวั ” (๒๕๕๐, ๒๕๕๘), “เสน้ ทางสายน.้ี .กวนี อ้ ยเมอื งนคร” (๒๕๕๐), “คอื สายพนั ธ์ุ
กวศี รธี รรมราช” (๒๕๕๐), “วรรณกรรมวอ่ นไหวในเมอื งนคร” (๒๕๕๐), “ชดุ กจิ กรรมการนเิ ทศโครงการกวนี อ้ ย
เมืองนคร” (๒๕๕๒), “บทเรียนเขียนรอ้ ยกรอง เดินทลี ะก้าว” (๒๕๖๑)
ผลงานที่ภาคภูมิใจ เช่น เป็นกรรมการจัดท�ำหนังสือแบบเรียนภาษาไทยชุดพื้นฐานภาษา
ของกระทรวงศกึ ษาธกิ ารและเปน็ ผเู้ ขยี นบทรอ้ ยกรองทา้ ยบทเรยี นในหนงั สอื แบบเรยี นชดุ ดงั กลา่ ว, บทรอ้ ยกรองชอื่
“ผชู้ นะ” ได้รบั การคดั เลือกเป็นบทอาขยานสำ� หรับนกั เรยี นระดับประถมศกึ ษาตงั้ แต่ปี ๒๕๔๒ จนถงึ ปัจจบุ ัน ฯลฯ
เกียรติคุณที่ได้รับ เช่น กรมสามัญศึกษามอบโล่เชิดชูเกียรติผู้สนับสนุนส่งเสริมศูนย์พัฒนาวิชา
ภาษาไทย (๒๕๔๐), กระทรวงการท่องเท่ียวและการกีฬามอบโล่ผู้มีผลงานด้านนันทนาการดีเด่น สาขาวรรณศิลป์
(๒๕๔๗), ได้รับเกียรติยกย่องเป็น“ศิษย์เก่าดีเด่น”ของสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
ประจ�ำปี ๒๕๕๖, ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น “ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น” เน่ืองในวันภาษาไทยแห่งชาติ
ประจ�ำปี ๒๕๕๖ ของกระทรวงวัฒนธรรม, ส�ำนักกวีน้อยเมืองนครได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น “องค์กรผู้มี
คณุ ปู การต่อการใชภ้ าษาไทย” เนือ่ งในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจ�ำปี ๒๕๕๗ ของกระทรวงวฒั นธรรม, ไดร้ ับการ
เชดิ ชเู กยี รตใิ หร้ บั รางวลั คนดแี ทนคณุ แผน่ ดนิ ประจำ� ปี ๒๕๕๗ โดยเครอื เนชน่ั กรปุ๊ รบั รางวลั จากองคมนตรนี ายแพทย์
เกษม วฒั นชยั , สำ� นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐานประกาศมอบโลร่ างวลั ผมู้ คี ณุ ปู การตอ่ การพฒั นาคณุ ภาพ
ภาษาไทย เนอ่ื งในวนั ภาษาไทยแห่งชาติ ประจำ� ปี ๒๕๕๙, มณทลทหารบกที่ ๔๑ กองทพั ภาคท่ี ๔ ประกาศเชิดชู
เกยี รติเป็น ๘๙ ปราชญต์ ามรอยพ่อ ประจำ� ปี ๒๕๕๙, มหาวทิ ยาลยั วลัยลกั ษณม์ อบโลผ่ ู้มีคณุ ปู การในวาร ๒๕ ปี
มหาวิทยาลัย ๒๕๖๐, สถาบันสุนทรภู่ มอบรางวัลสถาบันสุนทรภู่เพ่ือเชิดชูเกียรติผู้ส่งเสริมร้อยกรองไทย
ประเภทบคุ คล และมอบรางวลั เดยี วกนั ประเภทองคก์ ร ให้แก่ส�ำนกั กวนี ้อยเมืองนคร (๒๕๖๐) มหาวทิ ยาลัยราชภฏั
นครศรีธรรมราชมอบโล่เชดิ ชเู กยี รติเป็นศษิ ยเ์ ก่าดเี ด่น ประจำ� ปี ๒๕๖๒ ฯลฯ
ปัจจุบัน ท�ำหน้าท่ีเป็นประธานสภาวัฒนธรรมอ�ำเภอท่าศาลา ประธานส�ำนักกวีน้อยเมืองนคร
ประธานกองทุนในสวนขวัญจริ วรรณ แก้วพรหม

รหัสวชิ า หลักสตู รรายวิชาเลือก ท่าศาลาศึกษา 137

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น

มี “ปณธิ านแหง่ ความเป็นครู” ทเ่ี ขียนเปน็ บทกลอนไว้ตัง้ แตส่ มยั เป็นนักศึกษาครูและเพื่อนรว่ ม
รนุ่ ตา่ งจดจ�ำเป็นแนวทางร่วมกนั วา่ ..
“แมท้ ีน่ ่ไี มม่ ฟี า้ สสี วย แต่ครูขออย่ดู ว้ ยช่วยสอนหนู
ดว้ ยอยากเหน็ ดอกไม้ปา่ นา่ ชน่ื ชู ครจู ะอยู่จนทีน่ ี่..ฟ้าสที อง”
และมี “ปณิธานแห่งวิถ”ี ที่ม่งุ ม่นั และยดึ ถอื มาตลอดชวี ิต โดยเขียนเปน็ บทกลอนไว้บทหนงึ่ ว่า
“อยูใ่ หเ้ ห็นเปน็ หลักมีศักดิ์ศรี สง่ เสริมคนดีดใี ห้เปน็ ใหญ่
ไม่สงั ฆกรรมไม่ตามหลังคนจงั ไร รกั ษาความเป็นไทยและเป็นธรรม”


๑.๔ นางเยมิ้ เรืองดิษฐ์ : พพิ ธิ ภัณฑ์ลูกปดั โบราณ หาดทรายแกว้

เกิดเมื่อวันท่ี ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ ณ บ้านเลขท่ี ๕ หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลท่าข้ึน อ�ำเภอท่าศาลา
จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนาย - นางเขียน บุญวรรณ มีพ่ีน้อง ๙ คน นางเยิ้ม เป็นบุตรล�ำดับท่ี ๖
พ่อแม่มีอาชีพท�ำนาอยู่ชายทะเลเล้ียงลูก ๙ คน ด้วยความ
ยากลำ� บาก ลกู ๆ ทุกคนไดจ้ บช้ัน ป.๔ ทกุ คน ยกเวน้ นอ้ ง ๆ
รนุ่ หลงั ๆ ผใู้ หญเ่ ยม้ิ เปน็ ผสู้ นบั สนนุ สง่ เสรมิ ใหน้ อ้ ง ๆ ไดเ้ รยี น
ต่อกัน โรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้านคือ โรงเรียนวัดทางข้ึน
การไปเรียนเดินไปช่วงเช้าน้�ำทะเลลดก็เดินริมชายหาด
เดินไปโรงเรียนทุกวัน พบเห็นอะไรท่ีซัดเข้ามาชายหาด
ก็มักเกบ็ มาเชน่ ไหเกา่ ถว้ ยชามหกั ๆ ตนเองก็เก็บมาเพราะ
นิสัยชอบของเก่า เกบ็ ทุกอย่าง “เพราะของใหม่วนั น้ี ตอ่ ไป
เปน็ ของเกา่ ในวนั ขา้ งหนา้ ยง่ิ เปน็ ของเกา่ ยงิ่ มคี ณุ คา่ ถงึ แมว้ า่
คนอ่ืนไม่เห็นคุณค่าก็ตาม” และวัตถุช้ินแรกที่เร่ิมสะสม
เปน็ จริงเป็นจัง คอื เหลก็ ขูด (ท่ีขดู มะพร้าว) ชุมชนทนี่ างเย้ิม
อาศัยอยู่เขาเรียกว่าท่าข้ึน เป็นท่าเรือเรือยนต์ที่บรรทุกคน
สง่ิ ของจากสชิ ลไปทา่ ศาลา ไปปากพนงั โดยมาขนึ้ ฝง่ั ทที่ า่ ขน้ึ
ความยากลำ� บากของครอบครวั ทเี่ รน้ แคน้ ลำ� บาก ชว่ งฤดทู กี่ งุ้
เคยมชี ายฝง่ั พอ่ กไ็ ดไ้ ปลากกงุ้ เคยมาทำ� ไวก้ นิ ภายในครอบครวั
เหลือก็ได้ขาย แม่เป็นแบบอย่างทีด่ ที ำ� ให้ตนเองไม่เคยลืม เคยจีลปี ลีเขยี ว (ปิง้ กระปกิ ินกบั พรกิ สีเขียว) ทีพ่ ่อแม่มากนิ
ข้าวแทนกับข้าวยามอดยากหาอะไรไม่ได้ พ่อออกไปหาปลาริมฝั่งทะเลเพ่ือลากแหให้ได้ปลา เป็นอาหารให้ลูก ๆ
ได้กนิ กัน หาปลาตามทอ้ งนา น่เี ปน็ วิถชี ีวติ ท่เี ด็กหญงิ เยิม้ เห็นภาพเหล่าน้นั มาตลอด พอจบชน้ั ป.๔ เดก็ หญิงเยม้ิ
บุญวรรณ ได้ออกมาท�ำอาชีพค้าขายเพื่อช่วยเหลือทางบ้านไปอยู่ประจ�ำใน ตัวอ�ำเภอท่าศาลา พ่ีสาวคนโตลงทุน
ให้ ก�ำไรที่ได้แบ่งให้นางเยิ้มได้ไปจุลเจือครอบครัวของพ่อ แม่และ พี่ น้อง โดยเริ่มต้นจากเดียด ทูน หาบ เข็ญ
โดยมีพัฒนาการท�ำการค้าจากการเดียดโดยระหว่างที่เรียน ชั้นประถมทุกวันศุกร์เย็นเดินทางไปบ้านพ่ีสาวคนโต
เพอ่ื ไปช่วยขายถ่ัวตามโรงวิคหนังบ้านกำ� นันพล (โรงภาพยนตร์) ตามบ้านคน ชุมชน เดินเร่ขายไปเรอ่ื ย ๆ จนหมด
วนั จนั ทรก์ ก็ ลบั มาเรยี นหนงั สอื กระทำ� อยา่ งนจี้ บชน้ั ป.๔ และหลงั จบการศกึ ษาจงึ ตดั สนิ ใจชว่ ยเหลอื ทางบา้ นออกมา
ค้าขายอยา่ งจริงจัง มาอาศัยบ้านพีส่ าวอยู่ เพอ่ื ใหม้ รี ายได้จลุ เจือชว่ ยเหลือทางบ้าน ไดช้ ่วยส่งน้อง ๆ ได้เรียนหนงั สือ
พ่ีสาวไปเรียน ตัดเย็บเส้ือผ้า พี่ชายน�ำความรู้การท�ำไอศกรีมจากพี่เขยมาท�ำไอศกรีมขาย เม่ือการค้าขายเร่ิมดีข้ึน

138 หลกั สตู รรายวิชาเลอื ก ท่าศาลาศึกษา

รหสั วชิ า สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้

เร่ือย ๆ จงึ ตดั สนิ ใจเชา่ บ้านอยู่ในตัวอำ� เภอทา่ ศาลา บริเวณตรงข้ามทางเข้าวดั ท่าสูงในปจั จบุ ัน เป็นบ้านห้องแถว
เลก็ ๆ โดยใหน้ อ้ ง ๆ มาอาศัยอยู่ดว้ ยกนั มาเรยี นหนงั สือในตัวอำ� เภอและช่วยกันทำ� ขนมขายกนั การเป็นคนทอี่ ดทน
มุ่งมน่ั บากบั่น ต่อความยากลำ� บาก นางเยม้ิ ได้คา้ ขายหลาย ๆ เชน่ ถวั่ ตม้ น่งึ มันขาย ลูกชนิ้ ย่าง ลูกช้ินนึ่ง ออ้ ยควน่ั
ขายปลาหมกึ โอเลยี้ ง ชาเยน็ ขายทด่ี า้ นหนา้ โรงเรยี นดำ� รงเวท โรงเรยี นปทมุ มา โรงเรยี นทา่ ศาลา และโรงเรยี นทา่ ศาลา
ประสิทธิ์ศึกษา ช่วงหน้ามะม่วงจะดองมะม่วงอ่อน ดองกระท้อนไว้ท�ำมะม่วงแช่อิ่ม กระท้อนฉุน กระท้อนแช่อิ่ม
หน้าฝนจะขายของประเภทน่งึ ๆ ยา่ ง ๆ จะได้ตอบสนองความตอ้ งการของลกู คา้ (เคลด็ ลับทุกอย่างท่ดี อง ต้มน้�ำสกุ
ใส่เกลอื แล้วนำ� ผลไม้ตา่ ง ๆ ไปใสโ่ องดนิ หรือดินเคลือบ ดองทัง้ เปลือก) เมอ่ื ได้ท่ีค่อยนำ� มาปลอกเปลือกออกน�ำไป
ล้างความเค็ม แล้วน�ำมาแช่น�้ำหวาน ก็จะได้ผลไม้แช่อ่ิมที่สุดอร่อย หน้าผลไม้ขายส้ม ผลไม้ โดยเฉพาะสับปะรด
นำ� มาทำ� แยมสบั ปะรดก็จะ ทำ� เองเพื่อลดต้นทุนและไดก้ ำ� ไรมาก ๆ เพอื่ ขายคูก่ บั ขนมปงั ป้งิ การไปซอ้ื เผือกมาจาก
ตลาดหัวอิฐในเมืองนครศรีธรรมราชน�ำมาต้มขายก็เลือกเผือกท่ีจะเริ่มงอกหน่อราคาต้นทุนถูกและน�ำมาต้ังไว้ถ้า
ยังไม่ได้ต้ม ก็จะรักษาความสดของเผือกเวลาน�ำไปนึ่งก็จะได้รดชาดท่ีหวานอร่อย จนเป็นท่ีเลื่องลือท�ำอร่อย ขายดี
และประกอบกบั เรมิ่ เกบ็ และการออม เรมิ่ หยอดกระปกุ ออมสนิ ของตนเอง โดยแบง่ เปน็ ๓ กระปกุ กลา่ วคอื ออมเกบ็
ออมเปน็ เงนิ ทนุ หมุนเวยี น ออมเพือ่ ชว่ ยเหลือน้อง ๆ และครอบครัว กระท�ำอยา่ งนี้ โดยจนเหน็ ช่องทางทจ่ี ะคา้ ขาย
ขยายการท�ำงานให้โตมากยิ่งข้นึ และเมอื่ อายุได้ ๑๖-๑๘ ปี เป็นลูกจ้างท้ายรถ ซอื้ แตงโม ซ้อื -ขายผลไม้ ไปทไี่ หน
ไปด้วยกัน โดยไปเปน็ ลกู นอ้ งคนอ่ืนในการคา้ ขายผลไมข้ ้ามต่างจงั หวัด ไปซ้ือทเุ รยี นเงาะไปสง่ ขายราชบรุ ี สุไหโกลก
ไปทั่วภาคตะวันออก ภาคอสี าน (ภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื ) ภาคกลาง และน�ำของจากภาคอื่น ๆ น�ำมาขายในพน้ื ที่
อ�ำเภอต่างๆ ของบ้านเรา ด�ำเนินการจนเป็นลูกน้องคนเก่ง นายจ้างให้ด�ำเนินการเองคนเดียว กระท�ำมานาน
หลายสิบปีเร่ิมเห็นช่องทาง จึงออกมาท�ำเองค้าขายเป็นของตนเองและเริ่มเก็บเงินได้มากขึ้น จึงเร่ิมซ้ือท่ีดินเก็บไว้
ระหวา่ งทีเ่ มือ่ อายุ ๓๐ ปีกว่า ๆ ดำ� เนินการอยา่ งนั้นกเ็ ร่มิ เกบ็ สะสมวตั ถุโบราณโดยเฉพาะลกู ปัด ทมี่ ชี าวประมงจาก
จังหวัดกระบี่พบเจอลูกปัดอยู่ในโอ่งและเม่ือเห็นว่า นางเย้ิมเป็นคนชอบวัตถุโบราณ มาน�ำเสนอขายจึงตัดสินใจซื้อ
จนพ่ีๆน้องและเพ่ือนบ้านโจทย์กล่าวขานว่า “ผู้หญิงบ้าลูกหิน” แต่ด้วยความชอบไม่คิดอะไรมากมายและมองเห็น
คณุ คา่ ของทไ่ี ดม้ า ขณะทค่ี นอนื่ มองไมเ่ หน็ คณุ คา่ โดยตดั สนิ ใจขายทด่ี นิ ทเี่ คยซอ้ื เกบ็ สะสมไวน้ ำ� ออกมาขายเพอ่ื นำ� มา
ซอ้ื วตั ถโุ บราณ อาจจะผดิ ดงั คำ� ทเี่ ขากลา่ วมา มเี หตกุ ารณก์ ารบรู ณะวดั พระบรมธาตวุ รมหาวหิ าร (หรอื วดั พระมหาธาต)ุ
ทช่ี าวบา้ นเรยี กกนั ตดิ ปาก พระเจดยี ท์ รงพมุ่ ขา้ วบณิ ฑ์ ชำ� รดุ เสยี หายกรมศลิ ปากรมี การบรู ณะสงั ขรณ์ โดยผวู้ า่ ราชการ
จงั หวดั สมยั นนั้ นายชาญชยั สนุ ทรมฏั ฐ์ ไดก้ ลา่ วถงึ “ถา้ จะไปหาลกู ปดั แบบนี้ ไปหาทสี่ าวเยม้ิ เพราะเกบ็ สะสมไวม้ าก)
ท่านได้พูดกับกรมศิลปากรให้ทางคณะทีด่ �ำเนินการเรอื่ งน้ี
ทางคณะกรรมการวัดไปซ้ือลูกปัดสีจากเมืองนอกมาบูรณะ ต่อมาทานผู้ว่าราชการ
จงั หวดั นครศรธี รรมราช น�ำคณะกรมศลิ ปากร และนักขา่ ว ทีต่ ดิ ตาม มาดูลูกปดั ท่ีนางเย้มิ ไดส้ ะสมไว้ ทุกคนตะลึง
ตง้ั แตบ่ ดั น้นั เป็นต้นมา ทกุ คนเรม่ิ รจู้ ักนางเยม้ิ มากยิ่งขึ้น คร้ังหนึ่ง หน้าของลูกปดั ทีน่ ำ� ลงมาจากยอดพระบรมธาตุ
มีรูป “สุริยะเทพ” หายไป นายแพทย์ปัญชา ณ นคร น�ำนักข่าวมาสัมภาษณ์ นางเย้ิม ว่ามีความเป็นมาอย่างไร
ออกรายการถ่ายทอดสด ช่องทีวีไทย โดยการเสวนาด้วยกัน ๔ ท่าน หน่ึงในสี่ท่านน้ันคือนางเยิ้ม เรืองดิษฐ์
ศาสตร์ดาจารย์ ดอกเตอร์ จาก มหาวิทยาลัย พิธีกรซึ่งเป็นผู้ด�ำเนินรายการ ตั้งค�ำถามว่า “จริงไหมท่ีเขาว่า
ผใู้ หญเ่ ยมิ้ นบ่ี า้ ลกู หนิ ” ผใู้ หญเ่ ยมิ้ กลา่ ววา่ “กระจกสอ่ งหนา้ กรยิ าสอ่ งใจ การกระทำ� ของคนไมเ่ หมอื นหนั ฉนั จบแค่ ป.๔
มีความรูน้ ้อยนิด แตค่ วามคดิ ไม่เหมอื นคนอ่นื เขา ทุกคนเลยเรียกวา่ ผู้หญิงเกบ็ ตก แต่ทกุ สิง่ ทกุ อย่าง เราท�ำตามรอย
ยคุ ลบาทของพอ่ หลวง พอ่ หลวงไดพ้ ดู ไวว้ ่า กอ้ นอฐิ ก้อนเดียว เม็ดกรวดเมด็ เดียว ถ้าเราทุกคนชว่ ยกันรักษา ใครก็เอา
ของเราไปไม่ได้ ฉันคนหน่ึงแหละคะ่ แลว้ ทา่ นละคะ ท่านเป็น ศาสตราจารย์ เปน็ ดอกเตอร์ ทา่ นเคยท�ำอย่างฉนั ได้

รหสั วิชา หลกั สตู รรายวิชาเลอื ก ทา่ ศาลาศึกษา 139

สค๒๓๐๐๑๒๗ ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้


Click to View FlipBook Version