The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จริยธรรมทางธุรกิจ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by min51, 2019-12-23 21:58:41

จริยธรรมทางธุรกิจ

จริยธรรมทางธุรกิจ

คํานํา

รายวิชา 3504101 จริยธรรมทางธุรกิจ เปนวิชาท่ี วาดวยเร่ืองการประพฤติปฏิบัติใน
ส่ิงท่ีถูกตองดีงาม อยูในทํานองคลองธรรม ซ่ึงประกอบดวยเน้ือหา 7 บท ท่ีกลาวถึงความ
เปนมา ความสําคัญและความจําเปนท่ีสังคมทุกวงการจะตองมีจริยธรรม โดยเฉพาะผูมีบทบาท
ในฐานะของผูบริหาร ผูนําองคกร หากมีความรับผิดชอบที่กวางขวางกับคนหมูมาก ยิ่งตองมี
คุณธรรมจริยธรรมของความเสียสละ ความซ่ือสัตย อดทน อดกลั้นและคํานึงถึงประโยชน
สูงสุดของสวนรวมเปนสําคัญ อยางไรก็ตามจริยธรรมมักจะถูกตีความไปในลักษณะท่ีแตกตาง
กันไป เพราะมีความเปนนามธรรม จับตองไมได ดังน้ันในการจัดการเรียนการสอน ผูสอนพึง
ตระหนักถึงการจัดการเรียนการสอนท่ีจะทําใหจริยธรรมเปนรูปธรรมท่ีชัดเจนข้ึน จึงไมเพียง
สอนในเนอ้ื หาเทา น้นั แตควรมีกิจกรรมสงเสริมการประพฤติปฏิบัติ เชน การบําเพ็ญประโยชน
จิตสาธารณะ การอบรมบมเพาะจิตใจดวยแนวทางของศาสนา เพื่อเปนการปลูกฝงคุณธรรม
จรยิ ธรรมใหเกดิ ขนึ้ กับผเู รยี น

ผเู ขยี นจงึ หวังวา ตาํ ราเลมน้ีจะเปนประโยชนแกนักศึกษาและผูสนใจทั่วไป ไดเรียนรู
และตระหนักถึงความสําคัญของการเปนผูมีความรูและมีคุณธรรมจริยธรรมกํากับ จึงจะทําให
เปนคนที่สมบรู ณและมีคุณคาย่ิง

กิง่ ดาว จนิ ดาเทวิน

(ฆ) หนา

. (ก)

สารบัญ (ข)

บทท่ี (ค)

คาํ ปรารภ (ฆ)
คํานยิ ม
คาํ นาํ (ช)
สารบญั
สารบัญภาพ 1
1 ความรูเบือ้ งตน เกี่ยวกับจรยิ ธรรมทางธุรกจิ 1
3
ความหมายของจรยิ ธรรม 6
ทมี่ าของจรยิ ธรรม 8
องคป ระกอบของจริยธรรม 9
คณุ คา ของจรยิ ธรรม 10
จรยิ ธรรมทางธุรกจิ 13
ขอบขายจริยธรรมทางธรุ กจิ 13
ความสําคัญของจริยธรรมทางธรุ กจิ 14
ประโยชนข องจริยธรรมทางธุรกจิ 16
คุณลักษณะจรยิ ธรรมในสงั คมไทย 20
สภาพปญหาจรยิ ธรรมในสงั คมไทย 21
สรปุ 22
กรณีศกึ ษา 24
บรรณานุกรมทา ยบทท่ี 1 24
2 แนวคดิ และทฤษฎจี ริยธรรม 30
จรยิ ธรรมกับกฎหมาย 30
แนวคดิ ทฤษฎจี รยิ ธรรม
จริยธรรมตามแนวคดิ ตะวันตก

(ง) หนา

. 35
39
สารบัญ (ตอ) 42
44
บทท่ี 48
48
จรยิ ธรรมตามแนวคดิ ตะวนั ออก 50
จรยิ ธรรมตามแนวพุทธศาสนา
จริยธรรมตามแนวคริสตศาสนา 51
จรยิ ธรรมตามแนวอิสลาม 51
สรปุ 53
กรณีศึกษา 55
บรรณานุกรมทายบทท่ี 2 58
3 จริยธรรมทางธุรกจิ 64
ความจําเปน ทธ่ี รุ กจิ ตองมีจรยิ ธรรม 65
ผลกระทบทางจรยิ ธรรมในการดาํ เนนิ ธรุ กจิ 70
ระดบั มาตรฐานจริยธรรมทางธรุ กจิ 70
การพัฒนาจรยิ ธรรมทางธุรกิจ 73
การตรวจสอบจรยิ ธรรมในองคก รธรุ กจิ
บทบาทของภาครฐั ในการเสริมสรางจรยิ ธรรม 74
สรุป 74
กรณศี กึ ษา 76
บรรณานกุ รมทา ยบทที่ 3 85
4 จริยธรรมผบู รหิ าร 88
บทบาทหนา ทข่ี องผูบรหิ าร 91
หลักจรยิ ธรรมสาํ หรบั ผบู ริหาร 92
อาํ นาจ อิทธิพลและความขดั แยง ในผลประโยชน 95
จริยธรรมกับความขดั แยง
สรปุ
กรณีศึกษา
บรรณานุกรมทา ยบทท่ี 4

(จ) หนา

. 96
96
สารบญั (ตอ) 99
104
บทที่ 105
108
5 จรยิ ธรรมและความรับผดิ ชอบของธุรกจิ ตอสังคม 110
การสงเสริมนักธุรกจิ ใหม ีจรยิ ธรรม 111
ความรบั ผดิ ชอบของธุรกจิ ตอสังคม 113
ขอบเขตความรบั ผิดชอบขององคก รธรุ กิจ 117
บทบาทความรับผิดชอบทางจริยธรรมของธุรกิจ 118
ผลทไี่ ดร บั ของธุรกิจทม่ี ีความรับผดิ ชอบตอ สังคม 119
บทบาทองคก ารทางธุรกจิ ทีเ่ กี่ยวกบั ความรับผิดชอบทางสังคม
บทบาทขององคกรเอกชนทางธุรกิจทมี่ ีความรบั ผดิ ชอบทางเศรษฐกจิ 120
ความรับผดิ ชอบของธุรกิจตอองคก รทางสังคม 120
สรปุ 126
กรณีศกึ ษา 130
บรรณานกุ รมทา ยบทท่ี 5 134
136
6 จรยิ ธรรมกับหลกั ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง 139
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 140
แนวคดิ ทีม่ ตี อ หลักปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง 142
การนาํ แนวคดิ ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี งไปประยุกตใ ช
การนาํ แนวคิดปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี งไปใชในระดับบคุ คล 143
แนวคดิ การพฒั นาและแกป ญ หาเกษตรทฤษฎีใหม 143
สรุป 146
กรณีศึกษา
บรรณานกุ รมทา ยบทที่ 6

7 การปลูกฝง คณุ ธรรมจริยธรรมของนานาประเทศ
คณุ ลกั ษณะดา นคุณธรรมจรยิ ธรรมของนานาประเทศ
บทบาทของสถาบันที่ทําหนา ที่ขัดเกลาคณุ ธรรมจริยธรรม

(ฉ)

.

สารบญั (ตอ)

บทที่ หนา

การปลูกฝงคณุ ธรรมจรยิ ธรรมของประเทศเกาหลี 151
การปลกู ฝงคุณธรรมจริยธรรมของประเทศเวยี ดนาม 154
บทเรียนจากการเรยี นรถู ึงการปลูกฝงคณุ ธรรมจริยธรรมของนานาประเทศ 157
สรุป 165
กรณีศึกษา 166
บรรณานุกรมทายบทท่ี 7 170

บรรณานุกรม 172

Dhammaintrend รว่ มเผยแพรแ่ ละแบง่ ปันเป็ นธรรมทาน

(ช) หนา

สารบัญภาพ 26
27
ภาพท่ี 27
28
1 เคร่ืองหมายการคา 37
2 สายการบนิ ไทยรูปดอกจําปแ ละสายการบินญ่ปี ุน 59
3 เครอื่ งหมายแสดงถึงการอนุรักษสิ่งแวดลอม 62
4 เคร่ืองหมายรว มกลมุ ประเทศอาเซียนและสมาคมการคา 86
5 มหาตมคานธแี ละการตอสูตามวิถแี หง อหิงสา 104
6 เปย เจทแ ละโคลเบิรก 121
7 พระพรหมคณุ าภรณ (ป.อ.ปยุตโต) 123
8 ดุลยภาพของหลกั กัลยาณมติ ร 125
9 ผูมีสว นไดส วนเสยี ในธรุ กิจ 135
10 วกิ ฤตเศรษฐกจิ ดานการเงิน 137
11 พระบาทสมเดจ็ พระเจา อยหู วั กบั แนวคดิ เศรษฐกิจพอเพยี ง
12 ความสมั พนั ธข องปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง
13 วอรเรน บัพเฟตตและบิล เกตต
14 การแบงพ้ืนทท่ี าํ กินตามหลกั เกษตรทฤษฎใี หม

บทที่ 1
ความรเู บ้อื งตนเกย่ี วกบั จริยธรรมทางธรุ กจิ

สังคมทกุ วันนเี้ นนการพัฒนาทางวัตถุเพื่อสนองตอบสังคมบริโภคนิยม ทําใหม นุษยไ ดรับ
ความสะดวกสบายในการใชชีวิตไดงายและเร็วขึ้น ขณะเดียวกันผลกระทบอันเกิดจากการพัฒนา
ดวยน้ํามือมนุษยก็ถูกทําลายลงดวยนํ้ามือมนุษยดวยเชนเดียวกัน จนกลายเปนปญหาใหญที่สงผล
กระทบใหเกิดความเสียหายอยางมหาศาลท้ังดานเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ในที่สุดแตละภาค
สวนของสังคมตองหันกลับมาตระหนักถึงหนทางแกไข ซึ่งไมอาจละเลยหลักการของคุณธรรม
จริยธรรม อันเปนรากเหงาเดิมของการอยูรวมกันอยางสงบ สันติสุขของส่ิงมีชีวิตกับส่ิงแวดลอมได
อยา งสมดลุ

ความหมายของจริยธรรม

เมื่อพูดถึงคําวา จริยธรรม ยังมีคําที่มีความเก่ียวของสัมพันธ ดังคําวา จริยศาสตร ซึ่งเปน
คําท่ีมาจากภาษาสันสกฤตคือ จะริยะ+สาดตฺระ ใหความหมายวา กิริยาที่ควรประพฤติ+ระบบวิชา
ความรู กลาวคือ เปนวิชาความรูที่วาดวยแนวทางที่ควรประพฤติปฏิบัติ และแปลจากศัพท
ภาษาอังกฤษไดวา Ethics มาจากรากศัพทภาษากรีกวา Ethos ซ่ึงแปลวา ขนบธรรมเนียม หรือธรรม
เนียมปฏิบัติ (Custom) สวนEthics น้ันมีความหมายวา ศาสตรแหงศีลธรรม (Science of morals)
ตาม (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. 2554. ออนไลน) ใหความหมาย จริยศาสตร
วาเปนปรัชญาสาขาหน่ึง วาดวยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย แสวงหาเกณฑในการ
ตัดสินความประพฤติของมนุษยวาอยางไหนถูกตอง ไมถูกตอง ดี ไมดี ควร ไมควรและพิจารณา
ปญหาเร่ืองสถานภาพของคาทางศีลธรรมและใหความหมายคําวา จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เปน
ขอประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม ดังนั้นสามารถจะกลาวไดวา จริยศาสตรคือ วิชาที่วาดวย
จรยิ ธรรม

นักสังคมวิทยาทางศาสนาชาวเยอรมัน ช่ือ แมกซ เวเบอร (Max Weber. ออนไลน.
2554) เปนคนแรกท่ีคิดเกี่ยวกับจริยธรรมและไดเขียนเรื่อง The Protestant Ethic and the Spirit of
Capitalism (จริยธรรมโปรเตสแตนตและจิตวิญญาณทุนนิยม) เพื่ออธิบายถึงการประพฤติปฏิบัติ
ของผูท่ีนับถือศรัทธาในลัทธินิกายโปรเตสแตนตท่ีมีอุดมคติทํางานหนัก และกินอยูอยางประหยัด

2

จึงทําใหมีเงินสะสมเพื่อการลงทุน ซ่ึงเอ้ือตอการเจริญเติบโตของระบบทุนนิยม ทําใหมีวิถีชีวิตท่ีดี
ในยคุ น้นั

วริยา ชินวรรโณ (2546 : 7-10) ไดรวบรวมความหมายจริยธรรม จากผูทรงคุณวุฒิหลาย
ทา น ดังนี้

1. ทานพุทธทาสภิกขุ กลาววา จริยธรรม แปลวา เปนส่ิงท่ีพึงประพฤติ จะตองประพฤติ
ซึ่งอยูในรูปของปรัชญา คือ เปนส่ิงที่ตองคิดตองนึกและใชคําภาษาอังกฤษวา Ethics สวนศีลธรรม
หมายถงึ สงิ่ ท่กี าํ ลังประพฤติอยู หรือประพฤติแลว ตองทําอยูจริง เพราะเปนปญหาเฉพาะหนา โดย
ใชคาํ ภาษาอังกฤษวา Morality

2. วิทย วิศทเวทย อธิบายวา จริยธรรม คือ ความประพฤติตามคานิยมท่ีพึงประสงค
โดยใชวิชาจริยศาสตร ศึกษาพฤติกรรมดานคุณคา สามารถวิเคราะหคานิยมที่เปนคูกัน สามารถ
แยกแยะไดว า สง่ิ ดีควรกระทําและสิง่ ใดชั่วควรละเวน

3. ระวี ภาวิไล ไดอธิบาย ชีวิต คือ การมีคนและมีโลกสัมพันธกัน จริยธรรมเปนหลัก
กําหนดวาตนมุงอะไรในโลกและพึงปฏิบัติอยางไร ดังน้ันจึงแบงจริยธรรมออกเปน 3 ขอ คือ
1) รูจกั โลก รูจ กั ตน 2) รจู ักทกุ ข รูจ ักชีวติ และ 3) รูจกั ทุกขใ นชวี ติ

สุลักษณ ศิวรักษ (2550 : 163) ไดใหคํานิยามจริยธรรม คือ หลัก หรือหัวขอแหงความ
ประพฤติปฏิบตั เิ พ่อื เกิดปกตสิ ุขในสังคม ไมใหม กี ารเอารัดเอาเปรียบกัน(หรือมีไดก็แตนอย) ใหเกิด
ความมั่งคั่ง มั่นคงทั้งสวนตนและสว นทา น

สารานุกรมออนไลน (2554. ออนไลน) ใหความหมายจริยธรรม วา เปนปรัชญา
การศกึ ษาและการประเมินความประพฤติของบุคคลตามหลกั ศีลธรรม หลกั ทางศลี ธรรมอาจมองได
วาเปนมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติที่บุคคลสรางขึ้นเพ่ือตนเอง หรือเปนเนื้อหาสาระของขอผูกพัน
และหนา ท่ี โดยเฉพาะสมาชกิ ของสังคมจําเปนตอ งมี

จากความหมายดังกลาวพอสรุปไดวา จริยธรรม หมายถึง แนวทางการประพฤติปฏิบัติ ที่
อาศยั หลักการดา นศลี ธรรม เปน เหตเุ ปนผลในการแยกแยะสิ่งท่ีถกู ตอ งควรทาํ และส่ิงท่ีผิดไมควรทํา
ไมเบียดเบียนกัน เห็นแกประโยชนตนเองและผูอ่ืน เพ่ือการอยูรวมกันของคนในสังคมอยางเปน
ปกตสิ ุข

3

ที่มาของจรยิ ธรรม

จรยิ ธรรมไมใชส ง่ิ ใหมของมนษุ ย แตม อี ยูแ ลวตามธรรมชาติของโลก เมือ่ มนุษยเกิดขึ้นมา
ในยุคตน ๆ การดํารงชีวิตเปนอยูอยางมนุษยถ้ําอาศัยการลาเพื่อการยังชีพ ส่ิงมีชีวิตท่ีแข็งแรงกวา
ยอ มอยูรอด สงิ่ มชี ีวิตท่อี อนแอกวา ยอมตกเปนเหยอ่ื เมอ่ื มวี ิวัฒนาการในการเปลีย่ นแปลงตนเองจาก
นักลามาเปนนักผลิต จากสังคมเกษตรสูสังคมอุตสาหกรรมและบริการเรื่อยมาจนถึงปจจุบัน จาก
การเปลีย่ นแปลงที่ผา นไปแตละยุคสมัย ไดเกิดการทําราย ทาํ ลายกันและการพฒั นาท่ีทําใหชีวิตดีขึ้น
เปน ทางคูขนานกันไป ดังน้ันปจจัยใดท่ีทําใหมนุษยสามารถอยูรวมกันไดในสังคมสืบตอกันมาเปน
ปกติ

ศาสตราจารยกีรติ บุญเจือ (2551 : 15-21) ไดอธิบายถึงประวัติศาสตรจริยะ ต้ังแตกอน
เปนมนุษยเร่ือยมาจนถึงปจจุบัน ท่ีเร่ิมตนจากการสังเกตพฤติกรรมของสัตว เชน มดและผึ้งมีความ
สามัคคี ความเสียสละ อูฐที่มีความเขมแข็งและชางรูจักเชื่อฟงผูนํา ซึ่งพฤติกรรมเหลาน้ียังไมไดถือ
วาสัตวเหลาน้ันมีคุณธรรมจริยธรรมอยางแทจริง แตปฏิบัติไปตามสัญชาตญาณของการอยูรวมกัน
ของสัตวชั้นสูง ซ่ึงมีความสอดคลองกับมาตรการทางจริยธรรมและกอใหเกิดสํานึกข้ึนในภายหลัง
เมื่อมนุษยมีวิวัฒนาการเร่ิมเปนมนุษยขึ้นมาไดยึดถือประเพณี(Custom Attachment)ของหมูคณะ
เปนแนวทางในการปฏิบัติอยางเครงครัดโดยไมตองมีกฎหมาย เพราะเช่ือวาการถือปฏิบัติตาม
ประเพณีชวยใหหมูคณะอยูรอด ผูไมยึดถือประเพณีตามหมูคณะน้ันก็หมายถึง ไมใชคนของหมู
คณะน้ัน แมแตผูปกครองเองหากฝาฝนประเพณีก็จะหมดอํานาจโดยอัตโนมัติ กฎหมายไดเกิดขึ้น
ต้ังแตเริ่มมีกษัตริย เพราะสังคมของหมูคณะมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น มีการละเมิดประเพณีจนไม
สามารถที่จะลงโทษและคุมกันการเอารัดเอาเปรียบไดท่ัวถึง มีการใชอิทธิพล มีการแบงพรรคพวก
ทําใหเกิดความหวาดระแวง เกิดไมมั่นใจในความปลอดภัยภายในหมูคณะ จึงไดมีการมอบหมาย
อาํ นาจใหคนดีมีความเสียสละและมีความสามารถมาเปนผูจัดระเบียบสังคมใหเกิดความสงบรมเย็น
นับเปนจุดเร่ิมตนของกฎหมาย ท่ีเร่ิมจากการประมวลประเพณีข้ึนประกาศใชเปนกฎหมาย ใน
ระยะน้ีกฎหมายมีความศักด์ิสิทธ์ิมาก เพราะทุกคนรูสึกไดถึงผูออกกฎหมายเขียนกฎหมายขึ้นเพื่อ
ประโยชนของสังคมเปนท่ีตั้ง จึงใหความรวมมือเปนอยางดีโดยทั่วหนาและยึดกฎหมาย(Law
Attachment) ผูท่ีปฏิบัติตามกฎหมายจะไดรับการยกยองวาเปนคนดีของสังคม สวนผูละเมิด
กฎหมายจะถือเปนคนชั่วรายและถูกลงโทษ กฎหมายฉบับแรกของโลก ไดแก กฎหมายกษัตริย
แฮมเมอแรบบิของเมโสโพเทเมีย กฎหมายมนูศาสตรของอินเดียและบทบัญญัติโมเสสของชาวยิว
ตอมาเม่ือมีการออกกฎหมายมากขึ้นและเกิดพฤติกรรมท่ีสอใหเห็นถึงผูออกกฎหมายมุงรักษา
ประโยชนของตน คนใกลชิดและพรรคพวก จึงเกิดขอโตแยงในความยุติธรรมของกฎหมายแก

4

ผูปฏิบัติจะตองทําอยางไร ดังน้ันเมื่อมีผูนําท่ีสามารถวางแนวทางการดําเนินชีวิตแกเขาไดก็
กลายเปนศาสดาหรือเจาลัทธิ(Person Attachment) ตาง ๆ ของศาสนา ซ่ึงมีผลสําหรับการตัดสินใจ
ดานจริยธรรมมาก เม่ือความเชื่อถือตอศาสนาแพรหลาย กฎหมายลดความสําคัญลง โดยถือวาการ
ปฏิบัติตามกฎหมายเปนบุญ การละเมิดกฎหมายเปนบาป แตถากฎหมายขัดกับศาสนา การละเมิด
กฎหมายจะเปนบุญ การปฏิบัติตามกฎหมายจะเปนบาป จึงถือไดวาเปนระยะท่ีศาสนามีอํานาจ
กําหนดมาตรการทางจริยธรรมอยางเด็ดขาดเพราะถือวา การปฏิบัติตามศรัทธาเปนความดีสูงสุด
และบริสุทธ์ิที่สุดท่ีผูมีศรัทธาพึงเสียสละทุกสิ่งใหแมชีวิต ตอมาเมื่อมีการนําศาสนาไปใชอยางไม
ถูกตอง มีการแทรกแซงจากนักการเมืองและผูมีอํานาจในการนําศาสนามาใชเปนเครื่องมือโดยมิ
ชอบ จึงเกิดคําถามวามโนธรรม หรือความสํานึกคุณคาความประพฤติควรจะอยูบนพ้ืนฐาน
อะไรบาง เพ่ือจะใชเปนมาตรการสําหรับทุกคนและทุกศาสนาที่สามารถใชรวมกันได นั่นเปนการ
คิดหาเหตุผล (Reason Attachment) ในเชิงปรัชญา กฎหมายจะถูกปฏิบัติเม่ือเห็นเหตุผลทางปรัชญา
วา ควรปฏิบัติมิฉะนน้ั ก็จะฝาฝน มาถึงปจจุบันเปน การใชว ิจารณญาณ(Critical Mind) น่ันคือ ผูท่ีรูจัก
วิเคราะหแยกประเด็นเพื่อเขาใจ ยอมรับหรือปฏิเสธประเด็นตาง ๆ โดยแตละคนมีระบบมาตรฐาน
ของตนสําหรับตัดสินใจเลือกแตละครั้ง โดยมีการปรับปรุงใหสมบูรณข้ึนเรื่อย ๆ จากการเรียนรู
และประสบการณ เรียกวา มีวิจารณญาณในการศึกษา การใชวิจารณญาณจะอาศัยหลักเกณฑของ
หลังนวยุคสายกลาง (Moderate Postmodernism) ที่เริ่มราว พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) โดยมีวิธีคิด คือ
ยอนอานมาตรการทุกส่ิงท่ีแลวมา เพ่ือวิเคราะหและประเมินคาวาอะไรยังดีทําการรื้อฟนขึ้นมาใช
ผสมผสาน เพ่ือแลกเปลี่ยนความคิดกันและยอมรับคุณคาของกันและกันดวยการเสวนา ในการ
แสวงหาจุดรวม สงวนจุดตาง น่ันคือ ใชจุดรวมในการรวมมือกันและมองจุดตางเปนความงดงาม
ของความหลากหลายทางสงั คม

ดังท่ีกลาวมาขางตนจะเห็นถึงท่ีมาของจริยธรรมผานวิวัฒนาการของมนุษยที่เปนมาจาก
สัญชาตญาณท่ีสอดคลองกับการปฏิบัติตามมาตรการทางจริยธรรมสะสมเร่ือยมาเปนมโนธรรม
สาํ นึก โดยอาศัยปจจัยทีเ่ ปนทม่ี าของจรยิ ธรรมเปนเครือ่ งยึดเหน่ยี ว อนั ไดแ ก

1. การยดึ ตามประเพณี เม่อื มนษุ ยอ ยูร วมกนั เปนหมูคณะ สงั คม ชุมชน ยอมจะเกดิ ความ
เชื่อท่ีสอดคลองในการยึดถือและปฏิบัติตามวิถีทางของหมูคณะนั้น ๆ รวมกัน จนกลายเปน
ประเพณีนิยมท่ีเปนแบบแผนในการถือปฏิบัติสืบตอกันไปจนถึงอนาคต เพราะเชื่อม่ันวาประเพณี
จะทําใหหมูคณะอยูรอด ผูท่ีละเมิดประเพณีแมไมมีบทลงโทษท่ีเปนลายลักษณอักษร แตก็จะถูก
ตําหนิโดยสังคม ไมไดรับการยอมรับ หรือการคบคาสมาคมดวย ผูมีอํานาจเองก็จะถูกเส่ือมความ
เคารพนบั ถือและหมดอํานาจในที่สุด จึงถือไดวาประเพณีเปนมาตรการในการปฏิบัติทางจริยธรรม
ที่เกิดจากความสมัครใจของหมูคณะที่รวมกันกําหนดวาอะไรถูกตอง ควรทํา อะไรไมถูกตอง ควร

5

ละเวนท่ีจะทํา ดังจะยกตัวอยางประเพณีของประเทศไทยท่ีสะทอนถึงวิถีชีวิตความเปนสังคม
เกษตรกรรม เชน 1) ประเพณีทางศาสนา ไดแก ประเพณีแหเทียนพรรษา ประเพณีการบวช
ประเพณีทอดกฐิน 2) ประเพณีทางสังคม ไดแก ประเพณีแตงงาน ประเพณีบําเพ็ญกุศลงานศพ
ประเพณีสงกรานต และ 3) ประเพณีตามความเชื่อของแตละทองถิ่น ไดแก ประเพณีแหนางแมว
ประเพณีผีตาโขน ประเพณเี ดือนสิบ(สารทเดอื นสิบหรือชิงเปรต) ประเพณีวง่ิ ควาย เปน ตน

2. การยึดตามกฎหมาย เกิดขึ้นเนื่องจากสังคมมีความเปล่ียนแปลงท่ีซับซอนขึ้น มี
สมาชิกเพ่มิ มากขนึ้ และปญหาก็มีมากข้นึ ตามไปดวย จนประเพณไี มสามารถควบคุมพฤติกรรมของ
หมคู ณะ ชมุ ชน สังคมไดใ นวงกวา ง จึงตองมีมาตรการใหมเ ขามาเพ่อื ควบคุมการประพฤติปฏิบัติใน
การอยูรวมกันของคนในสังคมนั้น ๆ ดวยการกําหนดแนวทางการปฏิบัติท่ีเปนลายลักษณอักษร มี
บทลงโทษและประกาศใชโดยผมู ีอํานาจจากฝายปกครองบานเมือง อยางไรก็ตามกฎหมายถูกจัดให
เปนเคร่ืองมือเบ้ืองตนเพ่ือใหคนไดตระหนักถึงจริยธรรม ดวยเหตุวา การกระทําดีชั่วไมไดเกิดจาก
มโนธรรมท่ีแทจริง แตเกิดจากความกลัวตอโทษที่จะไดรับ ซึ่งพอจะกลาวไดวาถาทําผิดกฎหมายก็
ผดิ จรยิ ธรรม แตการทาํ ถูกกฎหมายไมไดหมายความวา จะถูกตองตามจรยิ ธรรมทกุ อยา งแตอยางใด

3. การยึดตามหลักศาสนา ศาสนา หรือลัทธิตาง ๆ เร่ิมตนมาจากความกลัว ความสงสัย
ของมนุษยและเมื่อมใี ครสามารถอธิบาย หรือวางแนวทางการปฏิบัติที่เปนท่ียอมรับ เลื่อมใสศรัทธา
ผูน้ันก็จะกลายเปนศาสดา หรือเจาลัทธิในท่ีสุด นอกจากนี้ยังกลาวไดวาศาสนาเปนหลักสําคัญของ
จริยธรรม เพราะทุกศาสนามีหลักคําสอนท่ีเปนสากล ในการใหทําความดีและละเวนการทําความ
ชว่ั ทั้งปวง ศาสนาจึงเปนท้งั เคร่อื งยึดเหนี่ยวจิตใจและเครอื่ งมอื กํากบั การประพฤติปฏบิ ัตขิ องคนให
อยบู นมาตรฐานของจริยธรรมไดหนกั แนนและชดั เจน

4. การยึดตามหลักปรัชญา เม่ือมาถึงยุคสมัยที่คนเสื่อมศรัทธาในศาสนา มีความเลื่อมใส
ตอศาสนาลดนอยลง เบื่อหนายหลักคําสอนในศาสนา เพราะมีการใชศาสนาไปในทางท่ีไมถูกตอง
เชน มีการแทรกแซงจากนักการเมือง มีการนําศาสนามาหากิน มีการนําศาสนาเพื่อทําลายฝาย
ตรงกันขาม ดังนั้นจึงเกิดความคิดท่ีวาจะมีหลักการใดท่ีเปนกลางในการใหทุกศาสนาสามารถใช
เปนพื้นฐานกําหนดคุณคาการปฏิบัติรวมกันได โดยอาศัยหลักปรัชญาเปนพ้ืนฐานกอนจะอาง
ศาสนา ดังนั้นในระยะนี้มาตรการดานความประพฤติท่ีเกิดข้ึนจึงไมไดอางศาสนา แตเปนความคิด
และขอโตแยงทน่ี กั ปรชั ญาทกุ คนชวยกนั ขบคดิ ปญ หาทางจรยิ ธรรมดว ยการใชห ลักเหตุและผล

5. การยึดตามหลักการใชวิจารณญาณ โดยเริ่มนับต้ังแตค.ศ. 1970 ยุคหลังสมัยใหม
(Postmodern) จนถงึ ปจจุบนั ใหอ ิสระทางความคิดจากการเรียนรูและประสบการณที่มีการปรับปรุง
อยางสมํ่าเสมอและตอเน่ือง ดังนั้นทุกคนสามารถที่จะสรางมโนธรรมในการตัดสินใจเลือกดวย
วิจารณญาณของตนเอง น่ันคือ การแยกแยะวาส่ิงใดถูกผิด ดีชั่ว ควรทํา หรือไมควรทํา ทุกคน

6

สามารถใชความรูสึกผิดชอบช่ัวดีที่อยูภายในของตนเองในการตัดสินใจ โดยใชปญญาในการหา
เหตุผลที่ถกู ตอ งไดดวยตนเอง

แมว าที่มาของจริยธรรมจะมีหลักยึดท่ีเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา แตท้ังหมดน้ันก็ยังมี
ความสําคัญสําหรับเปนแนวทางในมาตรการทางจริยธรรมหนักเบาไปตามสถานการณและ
สิ่งแวดลอมของแตละเหตุการณ โดยเชื่อวาไมสามารถท่ีจะใชเพียงหลักการใดเพียงหลักการเดียว
เปนหลักยึดเหนี่ยวที่จะสามารถใชเปนแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติท่ีถูกตองดีงามไดอยาง
สมบรู ณ

องคประกอบของจริยธรรม

จริยธรรมจะเกิดข้ึนไดดวยการใชมโนธรรมภายในจิตใจของบุคคลประเมินคุณคาของส่ิง
ใด ๆ เพื่อหาเหตุผลในการแยกแยะถึงความถูก-ผิด ความควร-ไมควร แลวตัดสินใจเลือกแสดง
พฤติกรรมนั้นออกมาภายนอก เพื่อบงบอกวาเปนคนดีของหมูคณะน้ัน ซึ่งมีองคประกอบทั้งภายใน
และภายนอกเปน สว นเกือ้ หนนุ ใหเ กิดจริยธรรมขึน้ ในบคุ คล

เนตรพ ัณณา ยาวริ าช (2551 : 6) กลา ววา จรยิ ธรรมมอี งคประกอบ 3 ประการ คือ
1. ดานความรูเหตผุ ล คอื ความเขาใจในความถูกตอง สามารถแยกแยะและตดั สนิ ไดว า
อะไรถูกตอง ไมถ ูกตอ งดวยความคดิ
2. ดา นอารมณค วามรูสึกผิดชอบช่วั ดี ความเช่ือ คอื ความพึงพอใจ ศรัทธา ความเลือ่ มใส
ยอมรับท่ีจะนาํ มาเปน แนวทางการปฏิบตั ิ
3. ดานพฤตกิ รรมการแสดงออก คือ การแสดงออกทีบ่ คุ คลไดต ัดสินใจแลว วา เปน การ
กระทาํ ถูกหรอื ผดิ ในสถานการณแ วดลอมตา ง ๆ
นอกจากน้ีจริยศาสตรสามารถแบงสาขาท่ีเกี่ยวพันกับศาสตรอ่ืน ๆ อีกหลายศาสตร
สําหรับศาสตรที่จะกลาวถึงน้ีมีอิทธิผลตอจริยธรรมของมนุษย เชน จิตวิทยาจริยะ (Psychology of
Ethics) กลาวถึงอิทธิพลของสาเหตุท่ีอยูภายในจิตใจของคนเราท่ีมีตอพฤติกรรมการแสดงออกของ
คนและสังคมวิทยาจริยะ (Sociology of Ethics) กลาวถึงพฤติกรรมของคนท่ีไดรับอิทธิพลมาจาก
สิ่งแวดลอมตาง ๆ ในสังคม นอกจากน้ียังมีคําท่ีมีความหมายสําคัญหลายคําที่ควรรูจักและทําความ
เขา ใจถึงองคประกอบของจริยธรรมใหมากขน้ึ ดงั น้ี
ความประพฤติ (Conduct) หมายถึง การกระทําท่ีมีมโนธรรมกํากับ ถาตัดสินใจเลือกทํา
ตามมโนธรรม เรยี กวา มคี วามประพฤตดิ (ี Good or Moral Conduct) แตห ากเลือกตัดสินใจกระทําไม
ดี ฝนมโมธรรม เรียกวา มีความประพฤติเลว (Bad or Immoral Conduct) ซ่ึงศาสตราจารยกีรติ

7

บุญเจือ ไดกลาววา ถาทําเลวมาก ๆ เรียกวา ชั่ว ดังนั้นความประพฤติสามารถตัดสินไดดวย
พฤติกรรมการกระทําท่ีดี หรือไมดีอยางชัดเจน เชน การแสดงความกาวราว พูดจาหยาบคาย
พฤตกิ รรมดังกลา วยอ มแสดงวา ผนู น้ั มีความประพฤตไิ มดี ไมสมควร

พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง การแสดงออกของการกระทําหรืออาการท่ีเผยออกมาให
เหน็ ทางกาย วาจา ความคิดและความรสู กึ เพอ่ื ตอบสนองสงิ่ เรา ทม่ี ากระตุนจากภายในหรือภายนอก
ซึ่งไมเกี่ยวของกับมโนธรรม เชน การเคล่ือนไหวทางรางกาย เดิน พูด เขียน คิด ความหิว กระหาย
ความพอใจ ไมพอใจ เปนการแสดงออกทางพฤตกิ รรมอยา งกลาง ๆ ไมไ ดบ อกวาดีหรอื ไมด ี

มโนธรรม (Conscience) หมายถึง ความรูสึกผิดชอบชั่วดี ความรูสึกวาอะไรควรทําอะไร
ไมควรทาํ ซึง่ มอี ยูในจิตใจคนเราเปน ปกติอยแู ลว จึงมีคํากลาววา มนุษยม จี ติ ประภัสสร คอื มีจิตใจที่
ผองใสบริสุทธ์ิ แตอยางไรก็ตามจะตองไดรับการขัดเกลา ฝกฝนและพัฒนาอยูเสมอ เพราะกิเลส
สามารถครอบงําจิตใจไดงาย ทั้งน้ีเพราะการทําความดีในบางครั้งยังมีการช่ังใจท่ีจะเลือกตัดสินใจ
ในบางกรณี หรือบางเหตุการณ เชน ถาใครเดือดรอนแลวสามารถชวยไดก็จะชวยทุกคร้ังโดยไม
ลังเล หรืออาจจะชวยเม่ือหาเหตุผลมาอธิบายไดวาควรชวยก็จะชวย ท้ัง 2 พฤติกรรมนี้เปนความ
ประพฤติทดี่ ีท้ังส้นิ แตใ นระดับของมโนธรรมท่ีมีคณุ ธรรมยอมจดั อยใู นความประพฤติแรก

คุณธรรม (Virtue) หมายถึง สภาพคุณงามความดี ความดีงาม สภาพท่ีเก้ือกูล ความ
ประพฤตจิ นเคยชินเปนนิสัยแตละดาน เม่ือพูดถึงคุณธรรมเรามักจะคุนเคยกับการใชคําวาคุณธรรม
จริยธรรมไปดว ยกนั ซงึ่ สามารถสรปุ ไดวา เปน ความประพฤติที่ดีที่หมูคณะหรือสังคมนั้น ๆ ใหการ
ยอมรับวาผูมีความประพฤติดังกลาวเปนคนดี ดังที่กระทรวงศึกษาไดมีนโยบายปฏิรูปการศึกษาใน
ปงบประมาณ 2550-2551 และกําหนดคุณธรรมขั้นพ้ืนฐาน 8 ประการเพื่อใหขาราชการ นักศึกษา
และบคุ คลทว่ั ไปปฏบิ ัติ ดังนี้

1. ขยัน หมายถงึ ความต้งั ใจเพยี รพยายามทําหนาทก่ี ารงานอยางตอเนอ่ื ง สม่าํ เสมอ
อดทน ไมทอ ถอยเมือ่ พบอปุ สรรค ความขยนั ตอ งควบคูกบั การใชสตปิ ญ ญาแกปญหาจนเกดิ ผลงาน
สาํ เร็จตามความมงุ หมาย

2. ประหยดั หมายถึง การรจู ักเก็บออม ถนอมใชทรพั ยส นิ สิ่งของตน แตพอควร
พอประมาณ ใหเกดิ ประโยชน คมุ คา ไมฟมุ เฟอยฟงุ เฟอ

3. ซอื่ สตั ย หมายถงึ ประพฤติตรงไมเ อนเอยี ง ไมม เี ลห เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจาก
ความรสู ึกลาํ เอยี งหรืออคติ

4. มวี นิ ยั หมายถงึ การยึดม่นั ในระเบยี บแบบแผนขอบงั คับและขอ ปฏิบัติ ซง่ึ มที ง้ั วนิ ัย
ในตนเองและวินยั ตอ สังคม

8

5. สุภาพ หมายถึง เรยี บรอย ออ นโยน ละมุนละมอ ม มกี ริ ิยา มารยาทท่ีดงี าม
มีสมั มาคารวะ

6. สะอาด หมายถงึ ปราศจากความมัวหมองทั้งกายใจและสภาพแวดลอม ความผอ งใส
เปนทเี่ จรญิ ตา ทาํ ใหเกดิ ความสบายใจแกผ พู บเหน็

7. สามัคคี หมายถึง ความพรอมเพียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ความ
รวมใจกันปฏิบัติงานใหบรรลุผลตามท่ีตองการ เกิดการงานอยางสรางสรรค ปราศจากการทะเลาะ
วิวาท

8. มนี ้ําใจ หมายถึง ความจรงิ ใจท่ไี มเห็นแตเ พียงตวั เองหรอื เร่อื งของตัวเอง แตเ หน็ อก
เห็นใจ เห็นคุณคาในเพื่อนมนุษย มีความเอื้ออาทรเอาใจใสในความสนใจ ในความตองการ ความ
จาํ เปน ความทกุ ขของผูอื่นและพรอ มท่ีจะใหค วามชว ยเหลือเก้ือกูลกนั และกนั

ศีลธรรม (Morals) หมายถึง ความประพฤติท่ีดีที่ชอบ ศีลและธรรม ธรรมในระดับศีล
ซึ่งคําวาศีลใหความหมายเปนขอเวน หรือขอหามในการทําความชั่วทั้งปวง ยังแบงตามระดับความ
บริสุทธ์ิของผูรักษาศีล ระดับของฆราวาสรักษาศีล 5 เปนเบ้ืองตนและพระภิกษุสงฆรักษาศีลสูงสุด
227 ขอ สวนธรรม เปนการประพฤติดี หรือทําตามคําสั่งสอน ในความหมายของพุทธศาสนา
ศีลธรรมเปน ระดบั ธรรมท่ปี ฏบิ ตั ิถึงขัน้ ของการหลดุ พน

คุณคาของจริยธรรม

จริยธรรมเปนสิ่งท่ีพึงประพฤติปฏิบัติ ตามท่ีไดตัดสินใจเลือกส่ิงที่ถูกตอง เหมาะสมแลว
ยอ มกอ ใหเกิดความสัมพนั ธท ่ีราบรืน่ ระหวา งบุคคล สังคมและการทาํ กิจกรรมใด ๆ ยอมเปนไปดวย
ความเรยี บรอย แสดงถงึ คุณคา ท่ีมขี องจริยธรรมตอชีวิตของมนุษยเรา อันเปนคุณคาที่เปนประโยชน
ตอชวี ิตท่เี ปน ปกติสุขทง้ั สว นตวั และสว นรวม

พิภพ วชงั เงนิ (2545 : 22) ใหความเห็นวา จริยธรรมมีคุณคา ตอชวี ติ มนุษย ดังน้ี
1. จริยธรรมชวยใหรจู กั ตนเอง มีสํานกึ ตอ บทบาทหนาทคี่ วามรบั ผิดชอบของตนที่มีทง้ั
ตอ ตนเอง ตอ ครอบครัว ตอสงั คม ตอประเทศชาติและหนา ทีก่ ารงานของตน
2. จรยิ ธรรมเปนวิถแี หงปญ ญา ทําใหเ ปน ผรู ูจักใชส ตปิ ญญาในการคดิ แยกแยะหาเหตผุ ล
ดว ยความเชอ่ื ที่วา การทาํ ความดีเปน ส่ิงทถ่ี กู ตอง จึงสามารถแกป ญ หาอยางเปน เหตุเปน ผลตามหลกั
จริยธรรม
3. จรยิ ธรรมชวยพัฒนาคณุ ภาพชวี ติ ทาํ ใหม ีคณุ ภาพชวี ติ ทีด่ ี มีสขุ ภาพกายใจดี ยอ มกอ
ใหเ กดิ ความสมบรู ณข องชีวติ

9

4. จรยิ ธรรมชวยใหการอยรู วมกันในสงั คมเปน ไปอยา งเปน ระบบ มรี ะเบียบ สังคม
อบอนุ มคี วามปลอดภยั ในชวี ติ และทรพั ยส ิน ชวี ิตมีความสงบสขุ

5. จรยิ ธรรมชว ยสรา งสันตภิ าพในสังคมและในโลก
6. จริยธรรมชว ยใหเ กดิ การเรียนรใู นการปรบั ตวั เขากับผอู ื่นได มีความสามารถในการ
ครองคน ครองงาน ครองตนและครองเรือน
7. จรยิ ธรรมชว ยใหม เี ครื่องยึดเหนีย่ วและเปนหลักปฏบิ ัติ เพอื่ ปองกนั การเบียดเบยี น
เอารัดเอาเปรียบในทางสวนตัวและสวนรวม
8. จริยธรรมชวยใหค นเรามีความหนักแนน ตอ สู ขยัน อดทน พึง่ พาตนเองได ไมรอ
โชคชะตาดลบนั ดาล
9. จริยธรรมทาํ ใหสามารถกําหนดเปา หมายชีวิต โดยดําเนินและพัฒนาชวี ิตใหสําเรจ็
ตามเปา หมาย
10. จรยิ ธรรมชว ยใหสามารถแกป ญ หาชวี ติ และทําใหค วามทุกขห มดไปได

ดังนั้นจะเห็นไดว า คณุ คา การมจี ริยธรรมของมนษุ ยค วรเรมิ่ จากระดบั บคุ คล เปรียบเสมอื น
การโยนกอนหินกอนเล็ก ๆ ลงในนํ้าจะเห็นวงกระเพื่อมจากดานในออกสูดานนอกเปนวงกวางขึ้น
นั่นเพราะวาเม่ือบุคคลสามารถเขาใจตนเอง เขาใจความตองการวาชีวิตตองการอะไร ดวยสติปญญา
ก็จะสามารถดําเนินชีวิตของตนไดเปนอยางดี รวมถึงการมีความสัมพันธที่ดีกับคนอื่น สิ่งแวดลอม
โดยไมสรางปญหาหรือสรางปญหาใหเกิดนอยท่ีสุด ซึ่งการกระทําใด ๆ ของบุคคลหน่ึงอาจสงผล
กระทบทั้งดานดีและไมดีตอส่ิงรอบขางไดเสมอ ฉะน้ันจริยธรรมจึงมีความสําคัญที่ทรงคุณคาและ
เปนประโยชนท่ีควรอยางย่ิงที่จะนําไปใชกับทุกหนวยทางสังคม ไมวาจะเปนวงการราชการ วงการ
การเมือง วงการการศกึ ษา วงการธุรกิจและวงการวชิ าชีพตาง ๆ

จริยธรรมทางธรุ กิจ

จริยธรรมทางธุรกิจ มีคําหลัก 2 คํา คือ จริยธรรมและธุรกิจ ซึ่งไดกลาวถึงจริยธรรมไป
พอสังเขปแลว จึงควรมาทําความเขาใจกับคําวา ธุรกิจ ตอไป ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน
พ.ศ. 2542 ใหความหมายธุรกิจวา การงานประจําเกี่ยวกับอาชีพคาขายหรือกิจการอ่ืนที่สําคัญและ
ไมใชราชการ (กฎ) การประกอบกิจการในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หัตถกรรม พาณิชยกรรม
การบริการหรือกิจการอ่ืน แตหากมองความหมายของธุรกิจในเชิงพฤติกรรมเราจะเห็นวา ธุรกิจ
เปนกิจกรรมที่เกิดข้ึนระหวางบุคคลอยางนอย 2 ฝายท่ีเรียกวา ผูซ้ือและผูขาย มาทําการตกลง เจรจา

10

แลกเปลี่ยนหรือซ้ือขายกัน โดยฝายผูซ้ือไดรับสินคาหรือบริการตามที่ตองการและผูขายไดรับ
ผลตอบแทนเปน ตวั เงินในรูปของกําไร ซงึ่ ทาํ ใหเกดิ ความพึงพอใจทงั้ สองฝาย

ธุรกิจเปนอาชีพหน่ึงที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิต เศรษฐกิจ การเมืองและสังคม หากสังคมใดมี
นักธุรกิจ หรือผูประกอบการที่ดีก็ยอมจะเปนธุรกิจที่ดีดวยและนับวาเปนโชคดีของสังคมน้ันเปน
อยา งยิง่

จริยธรรมทางธุรกิจ มผี ใู หค วามหมายไวพอสังเขป ดงั นี้
อานันท ปนยารชุน (2554. ออนไลน) ไดใหความหมาย จริยธรรมทางธุรกิจ หมายถึง
การผสมผสานระหวางเศรษฐกิจและจริยธรรมโดยมีเปาหมาย เพ่ือสงเสริมนโยบายและการปฏิบัติ
ของภาคธุรกิจ ในการสรางความสําเร็จในการประกอบการอยางมีความรับผิดชอบ มีความยั่งยืน มี
ผลในระยะยาวขณะเดียวกันกช็ วยสรา งความสมดุลระหวางผูมีสวนไดเสียในกิจการนั้น ๆ อันไดแก
ผลู งทุน ลูกจา ง ลกู คา ชมุ ชน ตลอดจนสภาพส่ิงแวดลอมอยางสมดุล
คริสต แมคโดนัลด (Chris MacDonald. 2554. ออนไลน) นักวิชาการดานปรัชญา
และจริยศาสตร ชาวแคนาดา ใหคํานิยาม จริยธรรมทางธุรกิจ หมายถึง การตรวจสอบโครงสราง
ของวิธีการท่ีนักธุรกิจและสถาบันทางธุรกิจควรประพฤติปฏิบัติในโลกการคา โดยเฉพาะอยางยิ่ง
เพื่อตรวจสอบขอจํากัดที่เหมาะสมในการแสวงหาผลกําไรแกตนเองและธุรกิจ เม่ือการกระทํานั้น
สงผลกระทบตอ ผทู เี่ ก่ียวของ
จากความหมายจริยธรรมทางธุรกจิ ขางตนกลา วสรุปไดว า จริยธรรมทางธุรกิจเปนการนํา
ขอพึงประพฤติปฏิบัติที่ชอบดวยความดี ความถูกตอง มาใชกับธุรกิจโดยนักธุรกิจ หรือ
ผูประกอบการ ดังนั้นจริยธรรมตองเร่ิมจากการมีนักธุรกิจที่ดี จึงจะมีการประกอบการท่ีดีและเปน
ธุรกิจท่ีดีในที่สุดนั่นเอง แตถานักธุรกิจมุงแตผลประโยชนของตนเอง หรือผลกําไรของธุรกิจ
แตเพียงอยางเดียว โดยไมคํานึงถึงผลกระทบท่ีจะเกิดขึ้นกับผูที่เกี่ยวของ หรือผูมีสวนไดสวนเสีย
ธุรกิจนั้นยอมจะเปนธุรกิจท่ีขาดจริยธรรม ซึ่งจะกอใหเกิดความเสียหาย ความเดือดรอนข้ึน รวมทั้ง
ธุรกิจเองก็จะไมสามารถดําเนินธุรกิจตอไปไดในอนาคต ดังสุภาษิตไทยที่วา “ซ่ือกินไมหมด
คดกนิ ไมนาน”

ขอบขายจริยธรรมทางธรุ กจิ

ธุรกิจท่ีดีจะตองเปนธุรกิจที่มีความรับผิดชอบทางดานจริยธรรม ดังนั้นภายใตขอบเขต
ของความรับผิดชอบตองานดานธุรกิจจะตองครอบคลุมถึงการเปนคนดีของนักธุรกิจ หรือ

11

ผูประกอบการ การมีหลักการทําธุรกิจท่ีคํานึงถึงความดีและเปนธุรกิจถูกตองตามกฎหมาย รวมถึง
เปนธรุ กจิ ที่ดี ไมมอมเมาผูบรโิ ภค หรือนาํ สังคมไปในทางเสือ่ มทราม

ขอบเขตความรับผดิ ชอบในการดําเนนิ ธรุ กจิ อยางมจี ริยธรรม ประกอบดว ย
1. ความเปนคนดีของนกั ธรุ กจิ นบั เปน จุดเริม่ ตน ที่สาํ คัญสาํ หรับการดําเนินธุรกจิ อยางมี
จริยธรรม ซึ่งจะตองไดคนทําธุรกิจที่เปนคนดี มีมโนธรรม มีคุณธรรม เชน เปนคนซื่อสัตย มีความ
ขยัน อดทน รบั ผิดชอบ เสียสละ ยตุ ธิ รรม กตัญแู ละไมค บมิตรช่ัว เปนตน ดังจะเหน็ ไดวา นกั ธรุ กจิ
ท่ีมีช่ือเสียงที่ประสบผลสําเร็จระดับประเทศและระดับโลกหลายคนตางมีคุณสมบัติของความเปน
คนดี จากตัวอยาง ในรายการสัมภาษณของสถานีโทรทัศน CNBC ทําการสัมภาษณมหาเศรษฐี
อันดับ 1 ใน 3 ของโลก “วอรเรน บัฟเฟตต” โดยสังเขป ดังนี้ Warren Buffett หรือช่ือเต็มวา
Warren Edward Buffett เปนนักลงทุนในตลาดหุนวอลลสตรีท (Wall Street) ผูประสบความสําเร็จ
อยางสูง ดวยกฎทอง 2 ขอ (วอรเรนต บัฟเฟตต. ออนไลน. 2554) ไดแ ก 1) อยา ทําใหเงินของผูถือ
หุนเสียหาย 2) อยาลืมกฎขอ 1 นอกจากน้ียังมีหลักปรัชญาการดํารงชีวิตท่ีพอเพียงและการรูจัก
แบงปน ดังคํากลาวท่ีกินใจและใหแงคิดแกคนทั่วไปใหตระหนักถึงขอเท็จจริงของการมีชีวิต การ
ใชชวี ติ ที่เปนจรงิ ที่แตล ะคนไมอ าจหลกี เล่ียงหรือหนพี นไปได นัน้ กค็ ือ

1) มหาเศรษฐีหรอื ยาจก กินขา วแลว ก็อม่ิ 1 มือ้ เทากนั
2) มหาเศรษฐีหรือยาจก มีเสือ้ ผากช่ี ุด ก็ใสไดท ีละชดุ เทา กนั
3) มหาเศรษฐหี รือยาจก มบี านหลังใหญแคไหน พื้นที่ที่ใชจริงๆ ก็เหมือนกันคือ
หอ งนอน หองน้าํ หองครวั เหมือนกัน
4) มหาเศรษฐีหรือยาจก จะมียารักษาโรคดีแคไหน ย้ือชีวิตไปไดนานเพียงไร
สุดทายก็ตองตายเหมอื นกนั
จากคําสัมภาษณขางตนจะเห็นถึงแนวคิดและการปฏิบัติตนในชีวิตของ บัฟเฟตต อยาง
ชัดเจน ทั้งดานจริยธรรมสวนตัวและจริยธรรมในการดําเนินธุรกิจท่ีมีความรับผิดชอบตอผูถือหุน
นอกจากนี้ในปพ.ศ. 2547 ดวยวัย 76 ป เขาไดยกทรัพยสินถึง 85 %ของทรัพยสินท้ังหมดที่เขามีซ่ึง
คดิ เปนมูลคา 3.7 หมื่นลานเหรียญใหแกมูลนิธิการกุศล 5 แหง ดวยคํากลาววา “ผมเกิดมาโชคดีมาก
จึงตองการตอบแทนสงั คมบา ง”
2. การบรหิ ารธรุ กิจ หรือการดําเนนิ งานของนักธรุ กจิ เปนการนาํ หลกั การและแนวคิด
ของนักธุรกิจสูการปฏิบัติ ดวยวิธีการบริหารจัดการทางธุรกิจ เชน การวางแผน (Planning) การจัด
องคการ(Organizing) การส่ังการ (Directing) และการควบคุม (Controlling) ซ่ึงในทุกขั้นตอนของ
กระบวนการจะตองมีมโนธรรมดานจริยธรรมกํากับ แมวาธุรกิจจะมีเปาหมายเพ่ือกําไรสูงสุดและ

12

ม่ังคั่งสูงสุด ก็ยังไมเพียงพอจะตองมีความย่ังยืนดวย ดังน้ันจริยธรรมจะเปนสัญญาณท่ีสามารถบง
บอกไดวาการบริหารธุรกิจนั้นอยูภายใตขอบเขตของคุณธรรมจริยธรรมที่ไมเอารัดเอาเปรียบลูกคา
ไมเบียดเบียนพนักงานลูกจาง ไมสรางความเดือดรอนเสียหายใหกับส่ิงแวดลอมและสังคม ไมเห็น
แกตัวในการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอยางถูกตอง ไมทําลายคูแขงขันทางการคาดวยการใชเลหเหลี่ยม
กลโกง ตลอดจนไมบริหารธุรกิจดวยการหาผลประโยชนทางการคาโดยวิธีการท่ีผิดกฎหมาย เชน
สรางความสัมพันธกับนักการเมืองและพรรคการเมือง เพื่อใหธุรกิจตนไดประโยชนเหนือธุรกิจอ่ืน
ใด เปนตน

3. การเปนองคก รธุรกิจทด่ี ี หมายถึง การมวี สิ ัยทศั น พนั ธกจิ เปา หมาย วัตถปุ ระสงคแ ละ
กลยุทธขององคกรท่ีถูกกําหนดขึ้นดวยแนวคิด หลักการในการบริหารและนําไปสูการปฏิบัติการ
อยางมีความรับผิดชอบตอบุคคลภายในภายนอกองคกร ความรับผิดชอบตอหนวยงานภายนอก
หนวยงานภาครัฐและสังคมที่มีสวนไดสวนเสีย นั่นคือ เปนการดําเนินธุรกิจที่ถูกตองตามกฎหมาย
เปนธุรกิจที่ไมทําลายส่ิงแวดลอม เปนธุรกิจท่ีจายภาษีใหแกรัฐอยางถูกตองครบถวน เปนธุรกิจท่ีมี
ความรับผิดชอบตอการสรางสรรคสังคม ถึงแมวาในบางสภาวะที่ธุรกิจน้ันอาจตองประสบวิกฤติ
ทางเศรษฐกิจ ยอมจะมีหนทางออกในการแกปญหาได ดังตัวอยาง บริษัทปูนซิเมนตไทย(SCG)
ประสบวิกฤติมีหนี้สินกวา 6,000 ลานดอลลารสหรัฐ เม่ือมีการลดคาเงินบาทในปพ.ศ. 2540 ทําให
ตองจายดอกเบี้ยเกือบ 1,000 ลานดอลลารและประสบกับการขาดทุนถึง 1,300 ลานดอลลาร แตเมื่อ
ปพ.ศ. 2545 บริษัทปูนซิเมนตไทย สามารถชําระหนี้ตางชาติไดหมดส้ินและเร่ิมกลับมาทํากําไรอีก
ครงั้ ความสําเรจ็ ทีเ่ กิดขึ้นในครงั้ น้ี เพราะบรษิ ัทไดแ กปญ หาโดยใชมาตรการลดขนาดขององคกรให
เหลือเพียงธุรกิจหลักและใชมาตรการประหยัดคาใชจาย ประยุกตใชระบบกระจายสินคาแบบสงถึง
ปลายทางอยางทันทวงที ทั้งเนนใหความสําคัญกับการปรับโครงสรางองคกรสูความโปรงใสแกผูท่ี
เกย่ี วขอ ง

ในปพ.ศ. 2545 จากผลการสํารวจองคกรธุรกิจดีเดนของไทย (Thailand Corporate
Excellence Awards 2001) บริษทั ปนู ซิเมนตไทยจํากัด(มหาชน) ควา 3 รางวัลใหญองคกรดีเดนและ
Thailand Corporate Excellence Awards 2009 SCG ควา 4 รางวัลใหญองคกรดีเดนรางวัล
พระราชทาน คือ 1) ความเปนเลิศดานการจัดการทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management
Excellence) 2) ความเปนเลิศดานนวัตกรรมและการสรางสรรคส่ิงใหม ๆ (Innovation Excellence)
3) ความเปนเลิศดานสินคาและการบริการ (Product/Service Excellence) และ 4) ความเปนเลิศดาน
ความรบั ผดิ ชอบตอสงั คม (Corporate Social Responsibility Excellence)

ดังนั้นจะเห็นวาขอบขายของจริยธรรมทางธุรกิจจะครอบคลุมท้ังดานบุคคล โดยเฉพาะ
ผูนําองคกรหรือนักธุรกิจตองเปนคนดี มีแนวคิดมีหลักการและวิธีการปฏิบัติท่ีประกอบไปดวย

13

มโนธรรมสาํ นึกทางจริยธรรม ยอมจะทําใหเปนองคกรน้ันเปนองคกรธุรกิจท่ีดีในท่ีสุด สรุปโดยยอ
ขอบขายจรยิ ธรรมทางธุรกจิ จะตอ งประกอบดวย คนดี วธิ กี ารดีและองคก รดี

ความสําคญั ของจรยิ ธรรมทางธรุ กจิ

จรยิ ธรรมทางธุรกจิ เปน ขอปฏิบตั ทิ ่ธี ุรกจิ ควรจะตอ งคํานึงถึง ไมควรหลีกเล่ียง ละเลยหรือ
มองขามไป แตควรดําเนินธุรกิจดวยคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบตอผูที่เก่ียวของ ซึ่งการ
ดําเนนิ ธรุ กจิ อยา งมีจรยิ ธรรมมีความสาํ คญั ไมเ พยี งสงผลกระทบตอผูถูกกระทําเทานั้น แมผูกระทําก็
ยอมไดรบั ผลลพั ธน้นั ดวย

สมคดิ บางโม (2549 : 16) ความสําคัญของจรยิ ธรรมทางธรุ กิจ ไวดังน้ี
1. จรยิ ธรรมเปนหลักในการประพฤติปฏบิ ัติใหแกบคุ ลากรขององคกรธุรกิจ ไดแ ก
ผูบริหารและพนักงานทําใหเกิดความม่ันใจวาไดปฏิบัติถูกตอง ไมขัดตอศีลธรรมและคุณธรรมเกิด
ความสบายใจและมคี วามสุขในการทํางาน
2. จริยธรรมทาํ ใหมีหลักการท่ดี ีในการประกอบธรุ กจิ ไดแ ก สรา งกาํ ไรบนพน้ื ฐานแหง
คุณธรรมและความถูกตองชอบธรรม ไมเอารัดเอาเปรียบ หรือคากําไรเกินควร ใหความมั่นใจใน
การประกอบธรุ กิจ ผปู ฏบิ ตั ิงานยอ มสบายใจไมอ ึดอดั ใจ คับของใจ
3. จรยิ ธรรมนําความสขุ ความเจริญมาสบู ุคลากรขององคกรธุรกจิ ประกอบธรุ กจิ ดว ย
ความสุข ต้ังใจทํางานดวยความขยันหมั่นเพียร ไมกังวลตอการติเตียนวารายและคําสาปแชงจาก
ผูเอารัดเอาเปรียบหรือผูสูญเสียประโยชน ทําใหประสบความสําเร็จในหนาท่ีการงานและชีวิตการ
ทาํ งานในองคกรมีประสทิ ธิภาพ
4. จริยธรรมทาํ ใหธ รุ กิจมีคณุ คา ชว ยพฒั นาบา นเมอื งและสังคม ส่ิงแวดลอมไมถ ูกทําลาย
ประชาชนไมถูกเอาเปรียบ มีเครื่องอุปโภคบริโภคท่ีมีคุณภาพ ราคายุติธรรม ดํารงชีวิตอยางสงบสุข
ประชาชนมีงานทํา มีรายได เศรษฐกิจดี สงั คมมคี วามสงบสขุ
5. จรยิ ธรรมสรางความย่ังยนื ถาวร ศรทั ธาและความเชอื่ มั่นตอธรุ กจิ องคก รธรุ กิจทมี่ ี
จรยิ ธรรมยอ มเปน ทเ่ี ช่ือถอื ศรัทธาและความเช่อื ม่นั ของลูกคา

ประโยชนของจริยธรรมทางธรุ กจิ

ธุรกิจทด่ี ําเนนิ งานมาดวยหลกั แหงคณุ ธรรมจริยธรรมยอ มจะกอใหเกดิ ประโยชน ซ่งึ เปน
สิ่งที่เปนผลดีหรือเปนคุณตอธุรกิจตามที่ธุรกิจไดตั้งความมุงหมายไว เสมือนเปนผลตอบแทนจาก
การทําความดนี นั่ เอง

14

สมคิด บางโม (2549 : 16-17) กลา วถงึ ประโยชนของจรยิ ธรรมทางธุรกิจท่ไี ดรบั ดงั น้ี
1. ทาํ ใหบ ุคลากรในองคการธุรกิจ อยรู ว มกนั อยา งมคี วามสขุ ปฏิบัตงิ านดวยความ
สบายใจ ไมเบยี ดเบยี นกนั มคี วามรกั สามัคคี ไมมขี อ พิพาทแรงงานหรอื กลัน่ แกลง กนั
2. ทําใหบ ุคลากรในองคก ารธุรกจิ เจริญกา วหนา มอี าชพี และรายไดท ่ีมั่นคง ดาํ รงชีวิต
อยา งมีความสขุ มีศักด์ศิ รี มีความหวงั และมโี อกาสกา วหนา ในอาชีพและรายไดท ีม่ ่ันคง
3. องคการธุรกิจเจริญรุงเรือง ย่ังยืนถาวรตลอดไป ไมลมสลาย ตัวอยางเชน บริษัท
ปูนซิเมนตไทย ที่ไดกลาวผานมาแลวขางตน ในทางตรงกันขามแมเปนบริษัทใหญระดับประเทศ
หรือระดับโลกสามารถลมสลายไดถาขาดจริยธรรม ตัวอยางเชน ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชยการของ
ไทยท่ีลมละลายไปเม่ือเกิดวิกฤติเศรษฐกิจทางการเงินในปพ.ศ. 2540 หรือท่ีเรียกวา วิกฤตตมยํากุง
หรือบริษัทเอนรอน (Enron) บริษัทเวิลดคอม (WorldCom) และในปพ.ศ. 2551 บริษัทเลหแมน
บารเธอรส จํากัด (Lehman Brothers) ซ่ึงเปนบริษัทวาณิชธนกิจระดับยักษใหญของสหรัฐอเมริกา
ไดประกาศขอลมละลาย ซึ่งเปนพฤติกรรมหน่ึงท่ีแสดงถึงสัญลักษณการลมสลายของระบบ
เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ท่ีเรียกวา วิกฤตแฮมเบอรเกอร (Hamburger Crisis) สวนสาเหตุของ
ปญหามาจากปญหาหน้ีเสียของการปลอยกูแกลูกคาท่ีไมมีความนาเช่ือถือ (Sub-Prime Lending)
โดยจะขอกลา วในรายละเอยี ดเปนประเด็นกรณศี ึกษาในหวั ขออ่ืนตอ ไป
4. ทาํ ใหประเทศชาติเจริญรุงเรอื ง พัฒนาทัง้ ดา นเศรษฐกจิ สงั คมและความมั่นคง ธุรกจิ
เจริญรุงเรือง คนมีรายไดไมวางงาน สังคมสงบสุข ประชาชนไมลุมหลงอบายมุข ไมมีการคดโกง
กนั อาชญากรรมก็ไมเ กดิ
ดังน้ันจะเห็นไดวาประโยชนของการดําเนินงานทางธุรกิจอยางมีจริยธรรมจะเปนคุณให
เกิดข้ึนแกทุกฝายในวงกวาง ท้ังระดับประเทศและระดับโลก โดยเฉพาะอยางยิ่งถาธุรกิจนั้นเปน
ธุรกิจขนาดยักษใหญที่มีเครือขายในหลายประเทศ ดังตัวอยางธุรกิจกลุมสถาบันทางการเงินของ
บริษัทเลหแมน บราเธอรส จํากัด ที่ลมละลายและสงผลกระทบใหเกิดความเสียหายในระดับ
เศรษฐกจิ ของประเทศและท่ัวโลกไปดว ย

คณุ ลักษณะจรยิ ธรรมในสังคมไทย

กอนจะกลาวถึงคุณลักษณะของจริยธรรมในสังคมไทย เรามาพิจารณาเก่ียวกับลักษณะ
นิสัยและพฤติกรรมของคนไทยอันเปนรากเหงาของความเจริญและปญหาท้ังมวลท่ีทุกคนไดพบ
และมปี ระสบการณรวมกนั มา อยางเหน็ ไดชดั เจนจนถึงปจ จบุ ัน

คุณลักษณะนิสัยของคนไทยที่จะกลาวตอไปนี้เปนบทวิเคราะห ของรองศาสตราจารย
ดร.จุรี วิจิตรวาทการ (2553. ออนไลน) ไดศึกษางานของ รูทส เบเนดิคท (Ruth Benedict) ท่ีศึกษา

15

วัฒนธรรมและพฤติกรรมคนไทย (Thai Culture and Behavior) และกลุม Cornell Thailand Project
โดย Herbert Phillips ศึกษาพฤติกรรมของคนที่หมูบานบางชัน มีนบุรี กรุงเทพ ไดขอสรุปจาก
การศึกษาวา คนไทยมวี ฒั นธรรมแบบกลาง ๆ พอมพี อกิน สบาย ๆ มคี วามสุขตามอัตภาพ บุคลิกคน
ไทยจงึ เปนแบบเฉ่ือย ๆ เนือย ๆ เนนพอมีพอกิน รักสงบ เดินสายกลาง ใจเย็น มีดุลยภาพ จิตใจสงบ
ไมกระตือรือรน สังคมนาอยู ซ่ึงในขณะที่ศึกษาเรื่องนี้สังคมไทยยังมีทรัพยากรส่ิงแวดลอมที่อุดม
สมบูรณ ไมไดเขาสูวัฒนธรรมบริโภคนิยมมากเทาปจจุบัน ผูชายไทยมีสถานภาพเหนือกวาผูหญิง
แตจะไมกดข่ีผูหญิง ผูชายเปนความหวังของครอบครัว แตพอแมจะรักลูกสาว เห็นวาลูกสาวมีคา
และจะใหของมีคามากกวาลูกชาย จากวัฒนธรรมดังกลาวไดสงผลตอบุคลิกภาพของคนไทย (Thai
Person Personality) พอสรุปโดยรวมได ดงั นี้

1. คนไทยมบี คุ ลิกเกรงใจผอู นื่ มคี วามอดทนสูง ไมชอบการเผชิญหนา ไมช อบโตแยง
ไมแ สดงความรูสึกลกึ ๆ ตอกนั จะยิ้มใหตลอดแตบ อกไมไดวา คิดอะไร เปน คนมีปฏสิ ัมพันธดี ชอบ
ความราบรื่นกลมกลืนทางสังคม ดวยบุคลิกลักษณะดังกลาวนี้คนไทยจะทํางานรวมกันได แต
ทํางานเปนทีมไมคอยไดผลดี เพราะเม่ือมีการประชุมไมแสดงความคิดเห็นโตแยง แตในทางปฏิบัติ
กม็ กั ไมทาํ ตามมตทิ ี่ประชุมและสรา งปญหาใหเกดิ ขึน้ บอ ย ๆ

2. คนไทยมีบคุ ลกิ รักสนกุ มคี วามยืดหยนุ สงู ไมช อบการผกู มัด จะทาํ ส่ิงใดจึงมกั ไมม ี
การวางแผนลวงหนา ไมชอบวางแผนระยะยาว เปลี่ยนแปลงอะไรไดงาย ทําอะไรเฉพาะหนา
แกปญ หาเกง ปรับตัวไดงาย เราจึงมักพบเหตกุ ารณ “วัวหาย ลอมคอก” ในสังคมไทยเสมอ ๆ

3. คนไทยมีบคุ ลิกความเปน ปจเจกชนสงู ตวั ใครตวั มนั ไมช อบถูกบังคบั ไมม ีวนิ ยั
ดังนั้นเราจงึ มักเห็นคนไทยชอบทําอะไรตามใจตัวเอง แมวา จะเขาใจกฎระเบียบและกติกาทางสังคม
เปนอยางดีแตก็ละเมิด ไมปฏิบัติใหถูกตอง สาเหตุเปนเพราะการอบรมเลี้ยงดูมาของครอบครัว
รวมทั้งกระบวนการทางสังคมไมมีการลงโทษท่ีเอาจริงเอาจัง มักเปนลักษณะลูบหนาปะจมูก คือ
เมื่อจะลงโทษจริงจังก็เกรงวาจะไปกระทบพวกพอง ผูหลักผูใหญ ลูกทานหลานเธอ ดวยความที่
สังคมไทยเปนสังคมระบบอุปถัมภ มีความสัมพันธแบบเปนสวนตัวมากกวาสวนรวมทําใหขาดจิต
วิญญาณสาธารณะ เร่ืองของสวนรวมจึงมักถูกเพิกเฉยธุระไมใช แตถาใครมีบุญคุณตอตนเองก็จะ
ไมลืม

จากคณุ ลกั ษณะนสิ ยั ของคนไทยจะเห็นวามีทั้งขอดีและขอเสียท่ีเปนทั้งเสนหและส่ิงท่ีนา
เบ่ือหนายรําคาญทั้งแกคนไทยเองและคนตางชาติที่ไดมาสัมผัสความเปนคนไทย สําหรับ
คณุ ลักษณะทางจริยธรรมดงั้ เดิมของไทยไดผูกตดิ กบั ความเช่ือทางศาสนา (สุลกั ษณ ศวิ รกั ษ. 2550 :
212-216) ซึ่งเปนที่ยอมรับจนกลายเปนวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมของสังคมไทย โดยคนไทยมีพุทธ
ศาสนาเปนตัวกําหนดคุณคาทางจริยธรรม เนนการไมเอาเปรียบตนเองและไมเอาเปรียบผูอื่น ให

16

คุณคาของการใหมากกวาการรับ การถือสัจจวาจามีคา รวมมือรวมใจมีคากวาการแกงแยงแขงขัน
ความออนนอมถอมตน กตัญูกตเวที เคารพผูสูงอายุและมีศีลธรรม การหลีกเลี่ยงการ
กระทบกระทง่ั การปดทองหลงั พระ ส่งิ ตาง ๆ เหลา นจี้ ะไดรับการยกยอ งสรรเสริญยิ่งกวาการเปนผู
มยี ศ มอี าํ นาจและมีเงนิ นอกจากนว้ี ฒั นธรรม ประเพณีและพธิ กี รรมทางศาสนายังเปนตัวกําหนดให
ทุกคนไดมีโอกาสรวมกันในการเจริญงอกงามในคุณความดีดวยกันอีกดวย ดังนั้นจึงสรุปไดวา
คุณลกั ษณะจริยธรรมในสังคมไทย ประกอบดวย

1. มวี าจาสตั ย
2. มีความอดทน
3. มีความซือ่ สตั ย
4. รูจกั การใหเกียรติผอู นื่
5. รกั สนั ติ รกั ความสงบ
6. มีนํ้าใจ เอ้อื อาทร แบงปน
7. ใหค วามเคารพผอู าวุโส
8. มคี วามกตญั ูกตเวที
9. มคี วามออ นนอมถอ มตน
ดังน้ันเราจะเห็นไดวาสังคมไทย แมวาจะมีความแตกตางกันท้ังชาติพันธ ศาสนา ชนช้ัน
แตก็สามารถอยูรวมกันไดอยางปกติ ไมมีปญหาทางสังคม ซ่ึงทําใหประเทศไทยอยูรอดมาไดจนถึง
ปจจุบันทนี่ บั วนั สังคมจะมีปญหาและความซบั ซอนเพ่ิมมากขนึ้

สภาพปญ หาจรยิ ธรรมในสังคมไทย

ปจจุบันสังคมไทยไดรับเอากระแสวัฒนธรรมตะวันตกแบบบริโภคนิยมเขามาในวิถีชีวิต
มากข้ึน ทําใหจริยธรรมดั้งเดิมเปล่ียนแปลงไปอยางนาวิตกอยูไมนอยทีเดียว คนไทยที่เคยมีชีวิตท่ี
เรียบงาย กินอยูอยางพอเพียง กลายเปนคนที่ตองการเสพมากขึ้น มีความทะยานอยากในวัตถุตาง ๆ
มากขน้ึ ซง่ึ เปนการกระตนุ กเิ ลสความโลภเห็นแกเงินเปนสําคัญ ดังนั้นความร่ํารวย จึงเปนเปาหมาย
สูงสดุ ในชวี ติ

เม่ือทัศนคติของสังคมไทยเปล่ียนแปลงไปเชนนี้ ยอมสงผลกระทบทุกสวนของสังคม
โดยเฉพาะหนวยท่ีมีความเปราะบาง คือ กลุมเด็ก วัยรุน คนหนุมสาว ที่มีพฤติกรรมฝกใฝความสุข
ดวยการเปนผูเสพมากกวาผูผลิต มีพฤติกรรมชอบโออวด ชอบความหรูหรา ฟุงเฟอ ชอบส่ิง
สําเร็จรูปที่ไดมาเร็วและงาย ๆ ไมชอบทํางาน ไมสูงานหนัก แตอยากไดเงินงาย ๆ และมาก ๆ มี

17

จิตใจหมกมุนกับวัตถุส่ิงของที่มีแบรนดและเปนสินคาจากตางประเทศ ดวยพฤติกรรมท่ีหลงใหล
ดานวัตถุนี้ วัยรุนจึงแสดงออกดานแฟช่ันดวยการแตงตัวใหสะดุดตา ใสรองเทาเบอรใหญกวาเทา
สนหนา ๆ สูง ๆ ใสเส้ือผารัดรูป ท้ังผา ท้ังแหวก โชวเตา โชวสะดือ คลั่งไคลดารานักรอง เท่ียวผับ
เที่ยวบาร ด่ืมกินแอลกอฮอล เปลี่ยนคูชูช่ืนเปนเรื่องธรรมดา ทั้งนี้เพ่ือแสดงวาเปนคนทันสมัยและ
ไดรับการยอมรับในกลุมของตน อยางไรก็ตามเราคงจะไมโทษวาเปนความผิดของคนเหลาน้ัน
หรือยกความผดิ ใหก ับฝายใดฝา ยหน่ึงเปน ผูรบั ผดิ ชอบเพยี งฝา ยเดียว แตความเส่ือมทางจริยธรรมใน
สังคมไทยควรจะตองไดรับการรวมมือกันในการหาหนทางแกไข ซ่ึงควรเร่ิมจากการเขาใจถึง
ประเดน็ ท่ีเปน สาเหตุของความเส่อื มทางจรยิ ธรรมในปจ จบุ ันของสังคมไทยกอนเปน อนั ดับแรก

พระไพศาล วิสาโล (2554 : ออนไลน) ไดนําเสนอบทความเรื่อง “สรางสังคมไทยใหเปน
มิตรกับความดี” โดยอธบิ ายถึงปจจัยที่เปน สาเหตุแหง ความเส่อื มทางจริยธรรมในปจจุบัน ไวด งั นี้

1. การครอบงําของวตั ถุนิยมและอํานาจนยิ ม เน่ืองจากการขยายตวั ของทุนนยิ มที่ไหลเขา
สูสังคมไทยอยางไมจํากัด ทําใหเงินเขามามีบทบาทในชีวิตคนและความร่ํารวยกลายเปนเปาหมาย
ของชีวิต แมแตการวัดคุณคาความรักความสัมพันธระหวางกันยังตองอาศัยเงินและวัตถุ ซ่ึงตางไป
จากอดีตที่ใชน้ําใจ เชน การแสดงความรักของพอแม หรือคูรัก ความสัมพันธระหวางครูกับศิษย
หมอกับคนไขก็อาศัยเงินและส่ิงของเปนตัวเช่ือมทั้งส้ิน เมื่อสังคมยอมใหเงินเปนใหญจึงทําใหเกิด
ธุรกิจอบายมุขมากมาย ตลอดจนทุกระดับและทุกสถาบันในสังคมไทยนิยมใชอํานาจในการ
แกปญ หา รวมถงึ บทบาทส่ือมวลชนท่มี ักสงเสรมิ คานยิ มท่ีสวนทางกบั ศีลธรรม

2. ความลมเหลวของสถาบันทางศีลธรรม เม่ือเงินเขามามีบทบาทมากขึ้นทําใหสถาบัน
ทางสังคม ไดแก ครอบครัว ชุมชน วัดและโรงเรียน ซึ่งเคยมีบทบาทในการกลอมเกลาสํานึกทาง
ศีลธรรมแกผูคนออนแอลงและไมสามารถทําหนาท่ีไดอยางเขมแข็งอีกตอไป ดังจะเห็นจากสถิติ
ของการหยาราง การแตกแยกของครอบครัวเพ่ิมสูงขึ้น ทําใหเกิดความหางเหิน พอแมไมสามารถ
เปน แบบอยางในการใหก ารศกึ ษาแกล กู ขณะทโ่ี รงเรียนและสือ่ มวลชนท่เี ขามามีบทบาทแทนกไ็ มม ี
ความเขมแข็งทางศีลธรรม แมแตชุมชนที่เคยมีบทบาทในการควบคุมและเสริมสรางจริยธรรมของ
สมาชกิ ก็มีบทบาทลดลงเพราะวิถชี ีวิตทตี่ องอยแู บบตวั ใครตวั มนั มากข้ึน ตางหนั ไปพึ่งพาหนว ยงาน
รัฐมากขึ้นแทนการพ่ึงพากันเอง ทําใหขาดพลังทางสังคม สวนวัดซ่ึงเปนอีกหนึ่งสถาบันที่ถูก
อิทธิพลของเงินทําใหออนแอและยอหยอนในวัตรปฏิบัติไมสามารถเปนแบบอยางทางศีลธรรม แต
กลายเปนตลาดคา บุญ หรอื ไสยพาณิชย

3. การเมืองที่ไมโปรงใส กลายเปนระบบการเมืองที่เปดชองโหวใหเกิดปญหาจริยธรรม
เชน เปดโอกาสใหมีการคอรปั ช่ัน เปดโอกาสใหผ มู อี ทิ ธิพลใชเงนิ สรา งฐานอาํ นาจจนสามารถเขามา
เปนรัฐบาลได แลวใชอํานาจแสวงหาประโยชนสวนตัว ผลประโยชนพวกพอง ดังที่มีใหเห็น

18

เก่ียวกับการตัดไมทําลายปา การใหสัมปทานแกพวกพอง การอนุมัติโครงการใหญ ๆ ท่ีให
ผลประโยชนตอบแทนหรือคาคอมมิชชั่น ไปจนกระท่ังการลอบสังหารคนท่ีขัดผลประโยชนของ
ตน ย่ิงถาฝายบริหารมีอํานาจมากและสามารถผูกขาดอํานาจได ก็ทําใหการตรวจสอบถวงดุลจาก
ฝา ยคา นทาํ ไดยาก จงึ เกิดความลาํ พองไมก ลัวท่จี ะทาํ ผดิ จนกลายเปน คา นิยมทเี่ ลียนแบบกันในสงั คม

4. ระเบียบสังคมที่ใหรางวัล สงเสริมหรือบีบคั้นใหคนเห็นแกตัว อันเกิดจากสังคมไม
เครงครัดในการบังคับใชกฎระเบียบจึงเกิดพฤติกรรมที่คนทําผิดไมถูกลงโทษ แตกลับไดรับผลดี
เชน ระบบยุติธรรมที่ไมโปรงใสและอยูใตอํานาจเงิน ทําใหคนมีเงินสามารถเอาเงินอุดได จึงไม
สนใจท่ีจะทําตามกฎหมาย หรือคนท่ีแซงคิวสามารถไดตั๋วรถหรือต๋ัวหนังกอนใคร ๆ หรือคนที่
ทุจริตซ้ือตําแหนงสามารถเลื่อนช้ันกอนใคร ๆ หรือคนท่ีขายยาบาคาผูหญิง นอกจากจะไมถูกจับ
เพราะมีเสนสายหรือใหสินบนเจาหนาท่ีแลว ยังร่ํารวยข้ึนอยางรวดเร็ว ระบบเหลานี้จึงมีแตทําให
คนเห็นแกต วั และเอาเปรยี บกันมากขน้ึ

จากสาเหตุของความเสื่อมทางจริยธรรมของสังคมไทยซึ่งเคยเปนสังคมท่ีมีน้ําใจ มี
สถาบันทางสังคมที่คอยขัดเกลาสงเสริมคุณคาทางจริยธรรมดวยอาศัยความรัก ความสัมพันธ การ
ใหความเคารพซึ่งกันและกัน แตตองเส่ือมลงไปจนไมสามารถทําบทบาทของตนเองอยางเขมแข็ง
ไดอีกตอไปเปนเพียงเพราะถูกครอบงํา หลงใหลในความสุขจากการเสพทางวัตถุส่ิงของตาง ๆ ซ่ึง
จะตองแสวงมาดวยการมีเงินเยอะ ๆ ตามระบบทุนบริโภคนิยม นับวาเปนสถานการณท่ีทาทาย
สังคมไทยใหหันมาตระหนักถึงการแกปญหาทางจริยธรรมของสังคมท่ีจะกําหนดอนาคตของ
ประเทศชาติวาจะใหดําเนินตอไปในทิศทางใด โดยพระไพศาล วิสาโล ไดแนะนําใหทําสังคมไทย
เปนมิตรกับความดี คือ นอกจากใชหลักการพ้ืนฐานทางศาสนาแลวยังตองสรางปจจัยทางสังคม
เศรษฐกิจ การเมืองใหเก้ือกลู ศีลธรรมใหม ากขน้ึ ดวยการสงเสริมคนดี กระตุน ใหคนอยากทําความดี
โดยใชม าตรการดงั น้ี

1. สรางสายสัมพนั ธภายในครอบครัวและสรางเครือขายครอบครัว โดยใหสมาชิกทุกคน
มีเวลาอยูรวมกันใหมาก พอแมเปนแบบอยางในการฝกฝนกลอมเกลาลูกใหรูจักคิด ใฝรูและมี
จิตสํานึกท่ีดีงาม จัดต้ังเครือขายครอบครัวชวยเหลือเกื้อกูลกัน แลกเปล่ียนเรียนรู ชวยดูแลลูกใหแก
กันในบางโอกาส สรางกิจกรรมและพื้นท่ีสําหรับการเรียนรูของครอบครัว เชน พิพิธภัณฑเด็ก ชอง
รายการโทรทัศนส ําหรับครอบครวั ฯลฯ

2. ฟนฟูชุมชนใหเขมแข็ง โดยใหชุมชนหันกลับมารวมมือกันและพ่ึงพากันเอง ไมหวัง
แตการพึ่งพาจากหนวยงานรัฐและหนวยงานภายนอกอื่น ๆ โดยการสรางกระบวนการมีสวนรวม
ของกลุม ในการจัดทําโครงการตาง ๆ เพ่ือเสริมสรางความเขมแข็ง เชน การทําโครงการสัจจะออม
ทรัพย การทําแผนแมบ ทชุมชน การอนุรักษป า ชุมชน ฯลฯ

19

3. ฟนฟูชุมชนใหบทบาทของวัดและคณะสงฆ โดยการสงเสริมพระดี ปฏิรูปการ
ปกครองและการศึกษาของคณะสงฆใหเปยมดวยพลังทางปญญา ศีลธรรมและศาสนธรรม โดยให
การศึกษาแกพระสงฆทั้งทางธรรมและทางโลกอยางสมสมัย เพื่อรูจักคิดและประยุกตธรรมในการ
เทศนส่ังสอนและมีประพฤติเปนแบบอยาง เม่ือพระสงฆและคณะสงฆดีพรอมแลว ทําการฟนฟู
ความสัมพนั ธระหวางวดั กับชมุ ชน สงเสริมใหชุมชนเขามามีสวนรวมในกิจการของวัดมากขึ้น ตาม
คติโบราณท่ีวา วัดเปนของชุมชน ตางพึ่งพาอาศัยกัน เชน มีสวนรวมสงเสริมการศึกษาและ
สนับสนุนวัตรปฏิบัติของพระสงฆ สามเณร รวมทั้งรวมปฏิบัติธรรมท่ีวัดจัดขึ้นและอีกดานหนึ่ง
พระสงฆก็เขามีสวนรวมในกิจการของชุมชนมากขึ้น เชน รวมแกปญหาอบายมุข ปญหาวัยรุน การ
อนุรักษส ภาพแวดลอม สง เสรมิ การออมทรัพยเพื่อแกป ญหาหนส้ี ิน

4. ปฏิรูปการศึกษา ท้ังดานการผลิตครูและดานกระบวนการเรียนรู โดยสรางบรรยากาศ
และกระบวนการเรียนรู ท่ีมีวิธีคิดท่ีถูกตอง มีเหตุผลและมีแบบอยางที่ดี ที่สําคัญครูตองรูจักคิด มี
จิตใจกวาง ใชอํานาจกับเด็กนอยลงและพรอมจะเรียนรูไปกับเด็ก ท่ีสําคัญคือ มีเวลาใหแกเด็กมาก
ขึน้ การปฏริ ูปดังกลา วจะทาํ ใหการสรางเสรมิ ศีลธรรมและสติปญญาของเด็กเปน ไปอยางสอดคลอ ง

5. เสรมิ สรา งองคกรประชาสงั คม องคกรประชาสังคม คอื องคกรทปี่ ระชาชนอาสา
สมัครมารวมกันทําสาธารณประโยชน หรือการชวยเหลือเก้ือกูลซ่ึงกันและกัน โดยกิจกรรมท่ีทํา
อาจเปนการสงเสริมสุขภาพ อนุรักษวัฒนธรรม ดูแลสิ่งแวดลอม สงเสริมกีฬา พัฒนาการศึกษา
ชวยเหลือผูทุกขยาก เชน เด็กกําพรา คนยากจน ผูติดเช้ือเอดส หญิงท่ีถูกทําราย เปนตน ซึ่งทําให
ชุมชนกลายเปนชุมชนทางศีลธรรมได เพราะไดสรางการเสียสละแกสวนรวม ลดการเห็นแกตัว
เปนการสรางความสัมพันธ ความรัก ความเคารพกันใหกลับคืนมา ฉะน้ันนอกจากประโยชนท่ี
เกิดขนึ้ แลว ยงั สงเสรมิ สนบั สนุนใหแตละคนมีพฤติกรรมที่ดีงาม งดเวนส่ิงท่ีเปนโทษ มีการแนะนํา
ตักเตอื นกันในสิ่งท่ีเปน ประโยชน รวมท้งั ชวยเหลือกันในยามทชี่ วี ติ ประสบปญ หา

6. ปฏริ ูปสอ่ื เพ่ือมวลชน ปจ จุบนั สอ่ื ถกู ใชเปนเครือ่ งมือทางธรุ กิจในการกระตนุ ความ
อยากในการบริโภคใหเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการควบคุมธุรกิจที่เปนอบายมุขมิใหใชส่ืออยาง
เสรี เชน ธุรกิจเหลา บุหรี่ ในอีกดานหน่ึงควรมีการพัฒนาสื่อท่ีสงเสริมศีลธรรมที่สามารถเขาถึงคน
รุนใหม โดยใหการพัฒนาศักยภาพของผูผลิตสื่อ มีการต้ังศูนยอบรมเก่ียวของกับการผลิตสื่อในทุก
กระบวนการ เปด โอกาสใหค นจากชมุ ชนไดเ ขา มามสี ว นเรียนรู เพ่อื นําไปผลติ ส่ือใหกบั ทองถ่ินของ
ตน ดังนั้นจะตองมีการสงเสริมวิทยุหรือโทรทัศนชุมชนอยางจริงจัง อีกประการหน่ึง คือ การทําให
สถานวี ิทยุโทรทัศนกระแสหลกั ในปจ จุบันมเี นอ้ื หาท่ีสง เสริมศีลธรรมและสติปญ ญามากขึ้น มิใชม ุง
แตค วามบันเทงิ และสง เสรมิ บริโภคนยิ มเปนหลัก

20

7. ลดอิทธิพลของบริโภคนิยมและอํานาจนิยม โดยจัดการกับระบบการเมืองไมใหมีการ
ผูกขาดอํานาจไวเพียงกลุมใดกลุมหน่ึง มีระบบการตรวจสอบความโปรงใสท่ีมีประสิทธิภาพ
สามารถกํากับและถวงดุลการใชอํานาจของรัฐ จัดระบบการศึกษาใหมีการเรียนรูและฝกฝนตนทั้ง
กาย ใจและปญญา สามารถแกป ญหาตนเองได ไมหลงตดิ หรอื ถกู ครอบงําดวยระบบทนุ บรโิ ภคนิยม
จัดระบบส่ือมวลชนไมใหถูกครอบงําดวยอํานาจทุนและกลุมผลประโยชน พรอมทําหนาที่เปน
ส่ือกลางท่ีสงเสริมใหเกิดการบริโภคท่ีถูกตอง สงเสริมใหผูคนยอมรับความหลากหลายทาง
วัฒนธรรม รวมทงั้ เคารพในความแตกตางทางความคดิ และอตั ลักษณ

ดังน้ันพอสรุปไดวา มาตรการในการแกปญหาทางจริยธรรมของสังคมไทย ท่ีสําคัญคือ
ตอ งลดการถูกครอบงาํ ดว ยทุนบรโิ ภคนยิ มและอาํ นาจนยิ มและสรางความเขมแขง็ ใหกับสถาบนั ทาง
สังคมตั้งแตครอบครัว วัด โรงเรียนและชุมชน โดยการปฏิรูปทั้งระบบการเมือง ระบบการศึกษา
และระบบสื่อสารมวลชน ไมใหตกอยูภายใตการครอบงําของอํานาจทุนและกลุมผลประโยชน
พรอมกันน้ันตองเสริมสรางทัศนคติท่ีสอดคลองกับหลักทางศีลธรรมใหแกบุคคลทุกคนในทุก
องคกรที่มีสวนเกี่ยวของ เพราะเปนผูมีสวนไดสวนเสียท่ีจะกอใหเกิดทั้งความเจริญงอกงามและ
ความเสอื่ มทรามทางจรยิ ธรรมในสงั คมไทยทงั้ สน้ิ

สรุป

ในบทสรปุ นี้ เปนการกลา วถงึ ความหมายของจรยิ ธรรมทเี่ ปนขอควรประพฤติปฏิบัติ โดย
มกี ารวเิ คราะหแยกแยะความถกู ผดิ ดีชวั่ อยา งมีเหตมุ ีผลและมีมโนธรรมกํากับในการเลือกตัดสินใจ
กระทําส่ิงท่ีดี สิ่งท่ีถูกตอง สิ่งท่ีเหมาะสมและงดเวนส่ิงท่ีไมดี ไมเหมาะสม ความเปนมาของ
จริยธรรมมีการเปลีย่ นแปลงไปตามปจ จยั และใชเ ปนหลักยึดเหนี่ยวของจริยธรรมท่ีเร่ิมจากประเพณี
กฎหมาย ศาสนา ปรัชญาและการใชวิจารณญาณ ซึ่งเมื่อปจจัยหนึ่งใมสามารถควบคุมใหเกิดความ
เปน ระเบียบ เรยี บรอ ยและความสันติสุขของสังคมได จึงเกิดการเปล่ียนแปลงไปใชปจจัยตัวอ่ืนเปน
หลักแทน การแสดงของพฤติกรรมดานจริยธรรมประกอบดวยความรูดานเหตุผล อารมณและ
พฤติกรรม ผูที่ประพฤติมีจริยธรรมยอมจะไดรับคุณคาที่เปนประโยชนทั้งตอตนเอง ตองาน ตอ
สวนรวมและผูท่ีเกี่ยวของดวย ขอบขายของการเปนองคกรธุรกิจท่ีดีมีความรับผิดชอบ
ประกอบดวย การเปนนักธุรกิจท่ีดี มีวิธีการดีและเปนองคกรท่ีดี ดังนั้นธุรกิจที่มีจริยธรรมยอมจะ
กอ ใหเกิดประโยชนท ั้งผทู ่เี กยี่ วขอ งตลอดจนธรุ กจิ เองจะไดร ับการยอมรบั และดาํ รงอยไู ดอ ยา งยง่ั ยนื
และไดกลาวถึงคุณลักษณะจริยธรรมในสังคมไทยที่มีผลจากคุณลักษณะของคนไทย ตลอดจน
สภาพปญหาจริยธรรมในสงั คมไทยที่ถูกครอบงําจากกระแสโลกาภวิ ัตน

21

กรณีศกึ ษา

นักศกึ ษาเคยไดยินวาทะบรโิ ภคนยิ มนไ้ี หมและมคี วามคดิ เห็นอยา งไร
1. การแสดงตวั ตนเพื่อบอกตาํ แหนง บอกบุคลกิ บอกความคดิ ของตนแกค นอ่ืนน้นั เปน
สวนหน่ึงของการท่ีคนเราจะจัดความสัมพันธกับส่ิงอื่นและคนอ่ืนรอบตัวอยางไร ฉะนั้นจึงเปน
ธรรมชาติ คนทีไ่ หน ๆ และสมยั ไหน ๆ ก็ทําอยา งนก้ี ันท้ังนน้ั
2. สายเด่ียวกไ็ มแ ตกตา งอะไรไปจากรถยโุ รป หรอื สูทท่ีนักการเมอื งสวมใส หรือการ
กินไอติมและการกินอาหารแดกดวนฝรั่ง หรือมีบานปกไมริมนํ้าฯ สินคาเหลานี้ทําหนาท่ีไปพรอม
กันสองอยางคือ รับใชความจําเปนของชีวิตดานอาหาร พาหนะเดินทาง เครื่องนุงหมและเปน
เครื่องมือใหผูบริโภคไดแสดงตัวตน ตามท่ีเขาจิตนาการวา เขาคือใครและควรสัมพันธเช่ือมโยงกับ
โลกขางนอกอยางไร
คําถาม 1.1 นกั ศึกษาคิดวา จําเปน หรอื ไม ทจี่ ะตองแสดงตัวตนใหผ อู ่ืนรับรู เพราะเหตใุ ด

1.2 การแสดงตัวตนของนักศึกษาไดเลือกใชวิธีใด อยางไรและใครเปนผูมี
อทิ ธิพลตอ วิธคี ิด วิธกี ารแสดงออกซ่ึงตัวตนของนกั ศึกษา

1.3 นักศึกษาคิดวาตนเองเปนผูหน่ึงที่คลั่งไคล หลงใหลในระบบบริโภคนิยมน้ี
หรอื ไม อยางไร

1.4 นักศกึ ษาคิดวาระบบบรโิ ภคนิยมเหมาะสมกบั สงั คมไทยหรอื ไม อยางไร

22

บรรณานุกรมทายบทท่ี 1

กระทรวงวฒั นธรรม. (2554). คุณธรรม 8 ประการ. [ออน-ไลน] . แหลงท่ีมา:
http://www.mculture.go.th/detail_page.php?sub_id=1059.

กีรติ บญุ เจือ. (2551). คูมือจริยศาสตรตามหลกั วิชาการสากล. กรุงเทพฯ : ศนู ยส งเสริมและ
พัฒนาพลังแผน ดนิ เชงิ คณุ ธรรม.

จุรี วจิ ติ รวาทการ. (2553). บทวเิ คราะหลักษณะนสิ ยั ของคนไทย : รากเหงาของความเจรญิ และ
ปญ หาทัง้ มวลของประเทศไทย. [ออน-ไลน] . แหลง ที่มา: http://www.bloggang.com

เนตรพ ณั ณา ยาวริ าช. (2551). จรยิ ธรรมทางธุรกจิ . กรุงเทพฯ : ทิปเพลิ้ กรุป.
ปต ิ ศรีแสงนาม. (2551). เลหแ มน บราเธอรส (Lehman Brothers) คอื ใคร..ทําไมถงึ ลม ละลาย.

[ออน-ไลน] . แหลงที่มา: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=offway
&month=17-09-2008&group=13&gblog=29.
ผูจ ัดการ. (2554). ปนู ซิเมนตไ ทยควา 3 รางวัลใหญองคก รดีเดน Thailand Coporate Excellence.
[ออน-ไลน]. แหลง ท่มี า: http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=2920.
พจนานกุ รมฉบบั ราชบัณฑติ ยสถาน พ.ศ.2542. (2554). จรยิ ศาสตร. [ออน-ไลน] . แหลง ทีม่ า:
http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-6-search.asp
พระไพศาล วสิ าโล. (2553). สรางสังคมไทยใหเปน มติ รกบั ความดี. [ออน-ไลน] . แหลงท่ีมา:
http://www.visalo.org/article/budtumKwamdee999.htm.
พระราชชัยกวี (ภกิ ขพุ ทุ ธทาส อนิ ทปญ โญ). (2511). การสรางเสริมจรยิ ธรรมแกเ ด็กวัยรุน.
นครราชสีมา : โรงเรยี นนฤมติ รวทิ ยา.
พิภพ วชงั เงิน. (2546). จริยธรรมวิชาชพี . กรงุ เทพฯ : รวมสาสน.
แมกซ เวเบอร. [ออน-ไลน]. (2554). แหลงท่ีมา: http://th.wikipedia.org/wiki/.
ลัดดา พนิ ตา. (2552). จรยิ ธรรมกบั การบรหิ ารจดั การธุรกิจ. [ออน-ไลน] . แหลง ทม่ี า:
http://www.gotoknow.org/ask/lemon_2910/11978.
วริยา ชินวรรโณ. (2546). จรยิ ธรรมในวชิ าชพี . กรุงเทพฯ : โรงพมิ พชวนพิมพ.
วอรเรน บัฟเฟตต. (2552). รายการสมั ภาษณข องสถานโี ทรทศั น CNBC. [ออน-ไลน] .
แหลงทมี่ า: http://news.bn.gs/images/articles/20080306065406686_1.jpg
วทิ ย วิศทเวทย. (2526). จรยิ ศาสตรเ บอื้ งตน . กรงุ เทพฯ : โรงพิมพค รุ สุ ภา.
สมคิด บางโม. (2549). จรยิ ธรรมทางธรุ กิจ. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพพ ฒั นาวิทยการพิมพ.

23

สารานุกรม. (2554). Ethics. [ออน-ไลน] . แหลงท่ีมา: http://www.encyclopedia2.
thefreedictionary.com/ethics.

สุรพศ ทวีศักดิ์. (2545). จรยิ ธรรมเปนปญ หาหลักของสังคมปจ จบุ นั . [ออน-ไลน].
แหลง ทีม่ า: http://www.songpak16.com/prb_jariyatham.html.

สลุ ักษณ ศวิ รกั ษ. (2550). คันฉองสองจริยศาสตร. กรุงเทพฯ : ศึกษติ สยาม.
อานนั ท ปน ยารชุน. (2554). จรยิ ธรรมทางธุรกจิ . [ออน-ไลน] . แหลง ทมี่ า:

elearning.siam.edu/mod/resource/view.php?id=2884
Marketeer. (2553). SCG ควา 4 รางวัลใหญป ระกาศผล 8 องคก รดเี ดน ควา รางวลั พระราชทาน.

[ออน-ไลน] . แหลง ท่มี า: http://www.marketeer.co.th/marketeertoday_detail.php?
marketeertoday_id=2773.
Chris Macdonald. (2011). Business Ethics. [On-line]. Available : http://www.businessethics.
ca/definitions/business-ethics.html.

บทที่ 2
แนวคดิ และทฤษฎีจริยธรรม

แนวคดิ และหลกั การปฏบิ ัติทางจริยธรรมของแตละบุคลากรในแตละองคกร ลวนมีวิธีคิด
และมุมมองที่แตกตางกันไป ท้ังนี้ข้ึนอยูกับการใหคุณคาตอประเด็นการตัดสินใจสิ่งน้ัน ๆ อยางไร
โดยท่ีการตัดสินใจนั้นจะคํานึงถึงแนวโนมของส่ิงท่ีจะเกิดขึ้นเปนประโยชนสูงสุด เปนสิ่งที่ถูกตอง
และเปนสิ่งท่ีดีที่สุด จริยธรรมมีความเก่ียวของสัมพันธกับกฎหมาย ปรัชญาทางศีลธรรม คุณธรรม
แนวคิดตามหลกั ศาสนา ทจี่ ะนาํ มาเปนแนวทาง เปนหลักการเพ่ือนําไปประยุกตใชกับวิชาชีพตาง ๆ
ใหเ กิดคุณคา และศักดิ์ศรีตอสถาบันวชิ าชีพนน้ั ๆ

จริยธรรมกบั กฎหมาย

จริยธรรมเปนขอควรประพฤติปฏิบัติในส่ิงท่ีถูกตอง เหมาะสม ดีงาม โดยมีมโนธรรม
กํากับการตัดสินใจตอการกระทําส่ิงใด ๆ สวนกฎหมายเปนกฎ ระเบียบ ขอบังคับใหทุกคนตอง
ปฏิบตั ิตาม ถา หากละเมดิ ไมทําตามขอ กําหนดของกฎหมายก็จะถูกลงโทษตามท่ีกฎหมายไดบัญญัติ
โทษไว แมว า จริยธรรมกบั กฎหมายจะมคี วามเกีย่ วของสัมพนั ธกัน แตกม็ ีลกั ษณะทแ่ี ตกตา งกัน

ความแตกตา งระหวา งจริยธรรมและกฎหมาย

จรยิ ธรรม กฎหมาย

1. เปน การควบคุมการกระทาํ จากภายในจติ ใจ 1. เปนการควบคุมการกระทาํ จากภายนอกของ

ของบุคคล ดว ยสาํ นกึ ทางคณุ ธรรม บุคคลทีจ่ ะทําการละเมิด หรือไมล ะเมดิ ผอู นื่

ความรสู ึกผดิ ชอบชว่ั ดี โดยมบี ทลงโทษบัญญตั ไิ วใ นมาตราตา ง ๆ

2. การลงโทษผูทําผิดดว ยมาตรการทางสงั คม 2. การลงโทษโดยหนว ยงานของรฐั บาล เชน

เชน การตาํ หนิ การไมคบหา การไมใหความ ถกู ตาํ รวจจับ ถูกฟองรอง ถูกพพิ ากษาลงโทษ

รวมมอื หรอื ไมใ หค วามชว ยเหลอื ตามตวั บทกฎหมาย

3. ไมม กี ารกาํ หนดเปน ลายลกั ษณอกั ษร เพราะ 3. มีการกําหนดเปนลายลักษณอกั ษร แมไม

ถอื วาการประพฤตปิ ฏิบัติหรือไมข้ึนอยกู บั ความ สมคั รใจท่จี ะปฏบิ ตั ิกต็ อ งควบคุมความ

สมคั รใจ ประพฤตขิ องตนเองใหอ ยูในกฎระเบยี บน้ัน

.

25

ความแตกตา งระหวางจริยธรรมและกฎหมาย

จรยิ ธรรม กฎหมาย

4. จัดเปนเครอ่ื งมอื ระดบั สงู ของมนษุ ยใ นการ 4. จัดเปนเครอ่ื งมือระดับตาํ่ ของมนษุ ย ในการ

ควบคมุ พฤติกรรม ดวยมจี ติ ใจสงู มมี โนธรรม ควบคุมพฤตกิ รรม การทําดที าํ ถกู เพราะกลัวโดน

กาํ กบั การกระทาํ ดี ลงโทษ

5. การมีจริยธรรมขน้ึ อยูกบั ความสมัครใจของ 5. การทําดขี องบุคคล มผี ลจากขอ บงั คับของ

บุคคล กฎหมาย

6. การกระทาํ ที่ผิดกฎหมายจะผดิ จรยิ ธรรมดวย 6. การกระทําที่ถูกกฎหมาย อาจผิดจริยธรรมได

นอกจากนี้จะเห็นวากฎหมายไมสามารถควบคุมพฤติกรรมทั้งหมดของคนเราได จึงตอง
อาศยั คุณธรรมในจติ ใจของมนุษยท่ีจะเลือกทําส่ิงที่ดีใหมากกวาส่ิงท่ีไมดี แตอยางไรก็ตามกฎหมาย
ที่เกิดขึ้นมาภายหลังจริยธรรม ซ่ึงมีความเปนนามธรรมและมีขอโตแยงในประเด็นที่มีความเห็นไม
ตรงกัน จึงจาํ เปนท่ีจะตอ งมตี ัวบทกฎหมายเขามากํากับในพฤติกรรมบางอยาง เพื่อใหมีความชัดเจน
เปนรูปธรรมย่ิงขึ้นในการระบุความถูกตอง หรือความผิดของการกระทําน้ัน ๆ ดังน้ันจะเห็นวา
เคร่ืองมือในการควบคุมความประพฤติทั้ง 2 ชนิดนี้ แมจะมีความแตกตางกันแตก็มีความเกี่ยวของ
สัมพันธกัน ซ่ึงจะไดยกตัวอยางกฎหมายท่ีเก่ียวของกับจริยธรรม (กฎหมายคุมครองทรัพยสินทาง
ปญญา. 2554. ออนไลน) . ดังน้ี

1. กฎหมายคุม ครองทรพั ยส ินทางปญญา
1.1 ทรัพยสินทางปญญา (Intellectual property rights) หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่

ใหเจาของสิทธิ หรือ ผูทรงสิทธิ มีอยูเหนือส่ิงท่ีเกิดจากความคิดสรางสรรคทางปญญาของมนุษย
โดยอาจแบงทรัพยสินทางปญญาออกได 2 ประเภทหลัก คือ ทรัพยสินทางอุตสาหกรรมและ
ลขิ สิทธิ์ โดยทรพั ยสนิ ทางอุตสาหกรรม แบงออกได 5 ประเภท ไดแก สิทธิบัตร เคร่ืองหมายการคา
แบบผงั ภูมขิ องวงจรรวม ความลับทางการคา และส่ิงบงชี้ทางภูมิศาสตร

สําหรับประเทศไทยไดเขารวมเปนเปนภาคีอนุสัญญา วาดวยการคุมครองทรัพยสินทาง
ปญญา เชน อนุสัญญากรุงเบิรน (Berne Convention) องคการการคาโลก (WTO : World Trade
Organization) ทาํ หนาทด่ี แู ลขอตกลงยอย 3 ขอ คอื ความตกลงท่ัวไปวาดว ยการคาและภาษศี ุลกากร
(General Agreement on Tariff and Trade : GATT) ความตกลงวา ดว ยสิทธใิ นทรพั ยส ินทางปญ ญาท่ี
เกี่ยวกบั การคา (TRIPS : Agreement on Trade - Related Aspects of Intellectual Property Rights)
และความตกลงท่ัวไปวาดว ยการคา บรกิ าร (General Agreement on Trade in Services : GATS)

26

สวนในประเทศไทยเองไดมีกฎหมายคุมครองทรัพยสินทางปญญา เชน พระราชบัญญัติสิทธิบัตร
พ.ศ. 2522 แกไ ขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติเคร่ืองหมายการคา พ.ศ. 2534 แกไข
เพมิ่ เติม (ฉบบั ท่ี 2) พ.ศ. 2537 พระราชบญั ญัตลิ ขิ สิทธิ์ พ.ศ. 2537 และพระราชบัญญัติคุมครองแบบ
ผงั ภมู ขิ องวงจรรวม พ.ศ. 2543 เปน ตน ยกตวั อยา ง เคร่ืองหมายการคา หรือเรียกท่ัวไปวา ยี่หอ หรือ
แบรนด หมายถงึ ตราสินคา หรือสวนหนึ่งของตราสินคา เปนสวนที่แสดงถึงสิทธิของผูเปนเจาของ
ตามกฎหมาย คนอ่ืนไมสามารถที่จะนําเคร่ืองหมายการคานั้นไปใชไดตามอําเภอใจ มิฉะน้ันถือวา
ไดละเมิดทําผิดกฎหมาย หรือในแงจริยธรรมถือเปนการกระทําที่ไมถูกตองและไมสมควรอยางย่ิง
ที่จะนําของ ๆ ผูอ่ืนมาใช โดยไมไดรับอนุญาต หรือมีการลอกเลียนแบบ ทําใหผูอื่นเกิดความเขาใจ
ผดิ ในสินคาคิดวาเปนสินคายี่หอเดียวกัน หรือเปนสินคาของเจาของเดียวกัน กรณีเชนนี้จึงถือวา ทํา
ผิดทั้งกฎหมายและจริยธรรม ยกเวน แตจ ะมีสัญญาและขอตกลงตอกัน เชน การควบกจิ การ

ลักษณะของเครื่องหมายการคาอาจเปนสัญลักษณ ซึ่งประกอบดวย ช่ือ ขอความ วลี
สัญลักษณ ภาพ งานออกแบบ หรือหลายสวนรวมกัน โดยมีความหมายทางดานทรัพยสินทาง
ปญญาเปนเครื่องหมายแสดงถึงชื่อสินคาเฉพาะอยาง หรือทุกประเภทเพื่อแสดงถึง หรือใหความ
หมายถึงส่ิงใด ๆ ท่ีมีความเกี่ยวของกัน เคร่ืองหมายการคาอาจมีการกํากับดวย ™ หมายถึง
เครือ่ งหมายการคาทีม่ ไิ ดจดทะเบยี น หรือ ® หมายถงึ เครื่องหมายการคาจดทะเบียน เปนสัญลักษณ
สากล ดังภาพท่ีแสดงตอไปนี้

ภาพท่ี 1 เครื่องหมายการคา
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/109363

เครอ่ื งหมายการคา มี 4 ประเภท ดังนี้

1) เครื่องหมายการคา (Trademark) เปนเครื่องหมายท่ีใชกํากับสินคา เพ่ือแสดง

ความแตกตางของสินคา ที่แตละบริษัทเลือกใชเปนของตนเอง เชน ตราสินคาของบริษัทโทรศัพท

3 คายใหญใ นประเทศไทย ไดแก เปนตน

27

2) เคร่ืองหมายบริการ (Service Mark) เปนเครื่องหมายที่ใชกับธุรกิจบริการ
เพ่ือแสดงถึงธุรกิจบริการของแตละบริษัท ซึ่งผูใชบริการสามารถรับรูถึงความแตกตางของธุรกิจ
และเลอื กใชบริการของธรุ กิจน้ัน ดงั ภาพบรษิ ัทสายการบนิ เปนตน

ภาพท่ี 2 สายการบินไทยรปู ดอกจําปแ ละสายการบนิ ญ่ีปุน
ท่มี า : http://www.trekkingthai.com

3) เครอ่ื งหมายรับรอง (Certification Mark) เปนเครื่องหมายใชร ับรองคุณภาพ
ในสินคา หรือบริการของธุรกิจน้ัน เชน ฉลากส่ิงแวดลอม (Environmental labels) เปนระบบการ
เปด เผยและการรับรองขอมลู ดานสมรรถนะสิ่งแวดลอมของสินคาและบริการ โดยแสดงไวดวยการ
ติดฉลากบนผลติ ภัณฑ เพอื่ แสดงใหผูบริโภคทราบวา ผลิตภัณฑเนนคุณคาทางสิ่งแวดลอมและเปน
ผลิตภัณฑคุณภาพที่มีผลกระทบตอส่ิงแวดลอมนอยกวาผลิตภัณฑท่ีทําหนาท่ีอยางเดียวกัน เชน
ฉลากแสดงการลดคารบ อน ฉลากเขียวเพอื่ สิง่ แวดลอ ม อาคารอนรุ ักษพลงั งาน เปนตน

ภาพที่ 3 เครื่องหมายแสดงถงึ การอนรุ กั ษสงิ่ แวดลอ ม
ท่มี า : http://www.greenbizthai.com

4) เครื่องหมายรวม (Collective Mark) เปนเคร่ืองหมายการคา หรือบริการท่ีใช
โดยบริษัท สมาคม สหกรณ สหภาพ สมาพันธ หรือรัฐวิสาหกิจ องคกรในกลุมเดียวกัน ดังภาพ
ประเทศในกลมุ อาเซยี นและสมาคมแฟรนไชสและไลเซนส เปน ตน

28

ภาพที่ 4 เครื่องหมายรว มกลมุ ประเทศอาเซียนและสมาคมการคา
ทีม่ า : http://www.google.co.th

1.2 ลขิ สทิ ธิ์ หมายถึง สิทธิความเปน เจา ของ ของผสู รางสรรคผลงานทเ่ี กิดจากการใช
สติปญญา ความรูความสามารถ ความวิริยะอุตสาหะของตน จึงถือเปนสิทธิทางปญญาที่มีมูลคาใน
ลักษณะที่เปนทรัพยสินของบุคคลน้ัน ฉะนั้นผูสรางสรรคงานในฐานะเจาของจึงควรไดรับการ
คุมครองตามกฎหมาย ที่จะสามารถดําเนินการใด ๆ กับงานของตนเองได เชน ซื้อ ขาย โอน หรือ
เปนมรดก โดยการโอนควรทําเปนลายลักษณอักษร เปนสัญญาท่ีชัดเจนวาจะโอนสิทธ์ิทั้งหมดหรือ
บางสว น ประเภทงานทีม่ ีลขิ สิทธิแ์ บงได 9 ประเภท ดังน้ี

1) งานวรรณกรรม เชน หนังสอื จลุ สาร สิ่งเขยี น สิง่ พมิ พ ปาฐกถา โปรแกรม
คอมพวิ เตอร เปนตน

2) งานนาฏกรรม ไดแก งานเกี่ยวกับการราํ การเตน การทาํ ทา หรือการแสดงท่ี
ประกอบขึน้ เปน เรื่องราว การแสดงโดยวธิ ใี บ

3) งานศิลปกรรม ไดแก งานจิตรกรรม งานประตมิ ากรรม งานภาพพิมพ งาน
สถาปตยกรรม งานภาพถาย ภาพประกอบ แผนท่ีโครงสราง งานศิลปะประยุกต

4) งานดนตรีกรรม หมายถงึ งานทเ่ี กย่ี วกบั เพลง ทาํ นองและเนื้อรอ ง หรอื
ทํานองอยางเดยี ว รวมถงึ โนต เพลงทไี่ ดแ ยกและเรยี บเรียงเสียงประสานแลว

5) งานโสตทัศนวสั ดุ เชน วดิ โี อเทป แผน เลเซอรดิสก
6) งานภาพยนตร
7) งานบนั ทกึ เสยี ง เชน เทปเพลง แผน คอมแพ็คดสิ ก
8) งานแพรเ สยี งและภาพ เชน งานทน่ี ําออกเผยแพรท างวทิ ยกุ ระจายเสยี ง หรอื
โทรทศั น
9) งานอื่นใดอนั เปน งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร หรือแผนกศิลปะ

29

สวนผลงานที่ไมถือวามีลิขสิทธ์ิ ไดแก ขาวประจําวัน หรือขาวสารอันมิใชงานในแผนก
วรรณคดี วทิ ยาศาสตรและศิลปะ รฐั ธรรมนูญ กฎหมาย ระเบียบ ขอบงั คับ ประกาศ คําสั่ง คําชี้แจง
หนังสือโตตอบของกระทรวง ทบวง กรมหนวยงานของรัฐและทองถิ่น คําพิพากษา คําสั่ง
คําวินิจฉัยและรายงานของทางราชการ คําแปลและการรวบรวมรายการท้ังหมดตามท่ีกลาวมาแลว
ขา งตน ซ่ึงทางราชการจดั ทาํ ขน้ึ เหลา นไ้ี มถ อื เปน ลขิ สทิ ธิ์

ดังน้ันจะเห็นวากฎหมายและจริยธรรมมีความเก่ียวของกัน สามารถจะนํามาสนับสนุน
สงเสริมกัน เพ่ือประพฤติปฏิบัติอยางถูกตอง ดวยการพิจารณาไตรตรองอยางรอบคอบในการ
ตัดสินใจกระทําวาสิ่งน้ันผิดกฎหมายหรือไม เมื่อไมผิดกฎหมายแลว ควรพิจารณาตอวาผิดตอ
มโนธรรมหรือไม เชน การประกอบธุรกิจของมึนเมา เหลาเบียร ซึ่งเปนธุรกิจที่ไมผิดกฎหมาย
แตมีประเดน็ ท่ตี องถกเถียงในแงของจรยิ ธรรม

กรณีตัวอยางที่ไดเปดเผยของ ศ.นพ.วิจารณ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดลตอขอ
เรียกรองของภาคประชาชน เชน แพทย เภสัช ทันตแพทย ทนายความ นักวิชาการ นักกฎหมาย
นักวิจัย ผูนําศาสนา แกนนําชุมชนและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยตาง ๆ จํานวน 436 รายช่ือ เขาย่ืน
ขอ เรียกรอ งใหงดเผยแพรโ ปสเตอรงานรําลึกวันมหิดล ท่ีมีตราสัญลักษณของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ
จํากัด (มหาชน) หรือบริษัทผูผลิตเบียรชางและงดรับทุนสนับสนุนจากบริษัทเหลาน้ี ซึ่ง
คณะกรรมการสภามหาวทิ ยาลยั ฯ มมี ติเห็นดวยในประเด็นแรก แตประเด็นการงดรับสปอนเซอรยัง
เปนเร่ืองยาก เพราะโรงพยาบาลมีงบประมาณไมเพียงพอจําเปนตองไดรับบริจาค “ผมตองขอโทษ
สงั คมไทยตอเหตุการณท ่ีเกดิ ขนึ้ ” ศ.นพ.วจิ ารณ พานชิ กลา ว

ประเดน็ ทกี่ ลาวขางตน หากมองโดยไมไตรตรองใหถ่ีถวนจะเห็นวา เปนเพียงการใหและ
รับบริจาคเงินชวยเหลือท่ีจะไดนําไปใชประโยชนของโรงพยาบาลตอการดูแลรักษาประชาชน แต
สิ่งท่ีตองพิจารณาใหลึกซ้ึงถึงความขัดแยงที่เกิดขึ้นระหวางโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาล
รามาธิบดี ซ่ึงถือเปนสัญลักษณในเร่ืองของสุขภาพและเปนท่ีรูจักระดับประเทศ การบริจาคของ
ธุรกิจเคร่ืองด่ืมแอลกอฮอล อาจถือเอาประโยชนในการสรางภาพลักษณของธุรกิจตนเอง ดังน้ัน
ผูเรียกรองจึงไดมีการทวงติงและขอใหแสดงความกลาหาญท่ีจะไมรับเงินบริจาคดังกลาว รวมทั้ง
ไดต้ังคําถามตอระบบการแพทยและสาธารณสุขของประเทศและต้ังคําถามตอคณะแพทยศาสตร
ศิริราชพยาบาลถึงพันธกิจที่ไดระบุวา “ชี้นําสังคมไทยในดานสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต” ซ่ึง
มคี วามขดั แยงกนั เองกบั การกระทําของหนว ยงานท่ีเกย่ี วขอ ง ดังนน้ั จะเห็นวาในสังคมไทย มีหลาย
เร่ืองราวทีถ่ กู ตอ งตามกฎหมาย แตอ าจมีขอ โตแ ยง ในดา นจริยธรรมอกี มากมาย จึงควรมีการกําหนด
กรอบดา นจริยธรรมในเรอ่ื งนนั้ ๆ ใหเปน รปู ธรรมที่ชัดเจนย่งิ ขึ้นในสังคม

30

แนวคดิ ทฤษฎีจรยิ ธรรม

การดําเนินชีวิตของมนุษยตั้งแตเร่ิมตนมาในแตละยุคแตละสมัย ตางประสบปญหา
การดํารงชวี ติ ภายใตเ งอื่ นไขของการมที รพั ยากรที่สามารถสนองความตอ งการได มนุษยจึงเรียนรูท่ี
จะอยูรวมกันตามคุณลักษณะของสัตวสังคมที่จะตองมีปฏิสัมพันธตอกัน ชวยเหลือ เกื้อกูล แบงปน
ใหแ กก ันและกนั จงึ ไดมีการกาํ หนดมาตรการของการปฏิบตั ิทย่ี อมรบั ซึ่งกนั และกันได แนวคิดทาง
จริยธรรมในยุคตนของกรีกโบราณประมาณ 600 ปกอนคริสตกาลมีลักษณะเปนอภิปรัชญา
(Metaphysics) เปนศาสตรท่ีวาดวย ความแทจริง หรือสรุปไดวาอภิปรัชญา หมายถึง สภาวะความรู
อันสูงสุด ซึ่งเปนความรูท่ีเกี่ยวกับส่ิงท่ีอยูนอกเหนือการเห็นทั่วไป แตสามารถรูและเขาใจดวย
เหตุผล ดังนั้นในแตละพ้ืนท่ีจึงมีแนวคิดทฤษฎีจริยธรรมท่ีนาศึกษาแตกตางกันไป ดังจะไดกลาวถึง
ตอไป

จรยิ ธรรมตามแนวคดิ ตะวันตก

1. ยุคกรีกโบราณเปนยุคแรกของปรัชญามีลักษณะเปนอภิปรัชญา โดยตั้งคําถามเพื่อหา
หลักเกณฑมาอธิบายกฎธรรมชาติตาง ๆ ตามท่ีสงสัย เพ่ือคนหาความจริงดวยวิธีการโตแยง เชน
โลกเกิดจากอะไร สรรพส่ิงเกิดจากอะไร เปนตน อยางไรก็ตามมีกลุมนักปราชญท่ีเรียกตัวเองวา
โซฟสต (Sophists) จัดเปนกลุมแรกที่ตั้งปญหาทาง จริยศาสตรวา ชีวิตที่ดีเปนอยางไร (What is
good life) เราควรดํารงอยูอยางไรจงึ จะมคี วามสขุ (How should man live)

แตโซฟสตมองคุณธรรมเปนเหตุผลของแตละบุคคลที่จะบอกวาอะไรดีอะไรช่ัว ใน
มุมมองที่บุคคลน้ันไดเห็น ไดยิน ไดสัมผัสและรับรูส่ิงใด ๆ มา วาเปนจริงก็จริงของคน ๆ น้ัน ซึ่ง
ความจริงในแงมุมน้ียอมจะทําใหเกิดความไมลงรอยและขาดส่ิงท่ียึดถือรวมกัน (จริยศาสตร
ตะวนั ตกสมัยโบราณ. ออนไลน. 2554) ตัวอยา งท่เี หน็ ชัดเจนในสังคมไทย คือ การยอมรับวาเร่ือง
น้ีเปนความจริงตามที่ตนยอมรับฟงและปฏิเสธวาสิ่งนั้นเปนเท็จตามที่ตนไมยอมรับรู รับฟง จึง
ปรากฏปญ หาของการโตแ ยง ความขดั แยง แบงพรรค แบง พวก ทงั้ นเี้ พราะขาดหลักที่เปนแกนกลาง
ของความจริงรวมกัน คือ การยอมรับฟงและรับรูอยางแทจริง ดังน้ันแนวคิดของโซฟสต จึงแสดง
ถึงจุดดอย ท่ีไมมีคุณธรรมกลางใหคนสวนรวมยึดถือ ในคร้ังนั้นของนครเอเธนส ซ่ึงเจริญรุงเรือง
ท้ังทางศิลปวิทยา เศรษฐกิจและการปกครองแบบประชาธิปไตยทําใหเกิดการชิงดีชิงเดน การรักษา
ความซ่ือสัตยและรักษาธรรมจึงไมใชชีวิตที่ประเสริฐ แตชีวิตที่ประสบความสําเร็จจะตองเปนชีวิต
ของผูที่รูจักฉกฉวยโอกาสและใชความรูทางดานกฎหมาย การเปนคนพูดเกงทําใหคนอ่ืนเช่ือตาม
เพื่อทําใหตนเองไดมาซ่ึงเกียรติยศ อํานาจและความมั่งคั่ง ตรงขามกับนักปรัชญาในยุคทองของ

31

กรีก คือ โสเครตีส (Socrates) ซึ่งเช่ือวาตองมีหลักการพ้ืนฐานของความผิดและความถูกเปน
เคร่อื งมือวดั ความดี ดังนน้ั จึงตอ งรูกอ นวาอะไรคือความดแี ละใชอะไรมาวัดความดนี ้ัน คําตอบที่
โสเครตีสใหคือ ความรูเปนความดีสูงสุด โดยอธิบายวาคนเราถารูวาอะไรถูกก็จะทําสิ่งน้ันและไม
สมคั รใจท่จี ะทําผิด หรอื ทาํ ช่วั

1.1 ความคิดเห็นเกีย่ วกบั คณุ ธรรมของโสเครตสี
1) คณุ ธรรมคือ ความรู (virtue is knowledge) ถาบุคคลรแู ละเขา ใจถึง

ธรรมชาติของความดีจรงิ ๆ ผูน ้ันจะไมพ ลาดจากการกระทําความดี แตถาไมรูจะเปนสาเหตุของการ
ทําความช่ัว ความเปนคนพอประมาณท่ีไมรูวาอะไรคือความพอดี พอประมาณก็จะกลายเปนตรง
ขามความพอดี เชนเดียวกันความเปนผูกลาหาญ ถาไมรูวาความกลาหาญคืออะไร ก็จะเปนความ
ขลาดอยางหนงึ่

2) คุณธรรมเปนพันธุกรรม แตสามารถเปลี่ยนแปลงไดบางเม่ือไดรับการศึกษา
ฝกอบรมและปฏิบัติ ดังน้ันคุณธรรมจงึ เปนเรื่องทีส่ อนกันได

3) คุณธรรมเปนหน่ึง คือ มีรากฐานมาจากความรู เชน คนท่ีทําความดี มีความ
เอื้อเฟอเผ่อื แผ เมตตากรณุ า ฯลฯ เปนตน

เพลโต (Plato) นักปรัชญาในยุคกรีกที่มีช่ือเสียงอีกผูหนึ่ง (จริยศาสตรของเพลโต.
ออนไลน. 2554) มีความเช่ือวา มนุษยจะรูจักโลกที่แทจริงไดดวยเหตุผล ดังน้ันเหตุผลจึงเปนความ
ดีสูงสุดของมนุษย เพลโตแบงคําสอนดานจริยศาสตรออกเปน 2 ประเภท คือ 1) จริยศาสตรของ
ปจเจกชน หมายถึง การที่ประชาชนจะตองปฏิบัติตามและเชื่อฟงกฎหมายของรัฐ 2) จริยศาสตร
ของรัฐ คือ การท่ีรัฐมีวัตถุประสงคจะฝกใหพลเมืองมีความซื่อสัตยสุจริต มีคุณธรรมความดีงาม มี
การอยูดกี นิ ดี ซ่ึงเพลโตไดกําหนดองคป ระกอบของรัฐ ประกอบดวย ชนชน้ั ปกครอง จะตองมีความ
ซื่อสัตยและความฉลาด ทหาร จะตองมีความกลาหาญ เพราะมีหนาที่ปองกันและรักษาความ
ปลอดภัยประเทศชาติและชนชั้นกรรมาชีพ จะตองมีความขยันหมั่นเพียรในการทํางานและมี
ระเบยี บวนิ ยั ในตวั เอง

1.2 เพลโต แบงหลักคุณธรรมสําคญั 4 ประการ ท่ีจะทาํ ใหรัฐมคี วามสมบรู ณ ไดแ ก
1) ความฉลาดหรือความมีปญญา (Wisdom) คุณธรรมขอนี้มีความสําคัญสําหรับ

ผูปกครองตองเปน ผมู ีปญ ญาในการใชเ หตุผล เพ่ือการดาํ เนนิ นโยบายในการบรหิ ารจดั การบา นเมอื ง
2) ความยุติธรรม (Justice) เปนคุณธรรมสูงสุด ท่ีรวมเอาการใชเหตุผลอยางมี

หลักการเพื่อใหเกิดความเที่ยงธรรม หรือแปลตามตัววาการใชธรรมเพื่อใหเกิดขอยุติ (John Rawls :
ออนไลน) กลาววา Justice is Conditions of Fair Equality of Opportunity ซ่ึงสะทอนแนวคิดถึง
ความยุติธรรมเกิดไดภ ายใตเงอ่ื นไขของการไดรบั โอกาสทีเ่ สมอภาคกัน เชน ระหวางโจทยก บั จําเลย

32

ควรไดรับโอกาสในการตอสูคดีความของตน ไมวาจะเปนเรื่องของเวลา หลักฐานและเง่ือนไขใดท่ี
เปน ไปตามกฎหมายเพ่ือใหท ้งั สองฝา ยไดมโี อกาสนําเสนอขอ มูลฝา ยตนอยางเสมอภาค

3) ความกลาหาญ (Courage) เปนคุณธรรมที่ควบคูไปกับความอดทน อดกลั้น
ตอความยากลําบากและการย่ัวยวนของกิเลสทั้งหลาย การจะเห็นวาบุคคลใดมีความกลาหาญ
เพียงใด ใหส งั เกตเมอ่ื ยามภัยมาถึงตวั

4) ความรูจักประมาณ (Temperance) เปนคุณธรรมที่ทําใหไมเกิดความหลงมัว
เมา เพราะมีความรูจักประมาณตน รจู ักพอดสี าํ หรบั ตน

หลักคุณธรรม 4 ประการที่เพลโตกําหนดไวเปนจริยธรรมระดับปจเจกบุคคลและระดับ
รัฐยังคงเปนหลักการที่มีเหตุผลท่ีสามารถใชไดถึงปจจุบัน แมวาสังคมทุกวันน้ีจะมีเงื่อนไขที่
ซบั ซอ นมากขน้ึ กจ็ ะตอ งมีหลกั การมารองรบั มากขึน้ ใหสอดคลองกับยุคสมยั ตอไป

นอกจากโสเครตีสและเพลโตแลว ยังมีนักปรัชญาการเมืองท่ีมีช่ือเสียง ซ่ึงเปนศิษยเอก
ของเพลโต คือ อริสโตเตลิ (Aristotle) ไดก าํ หนดแนวคิดคุณธรรม 4 ประการ (จรยิ ศาสตรข อง
อรสิ โตเตลิ . ออนไลน. 2554) ดงั น้ี

1.3 แนวคิดคุณธรรม 4 ประการของอริสโตเติล ไดแก
1) รูจักประมาณ หมายถึง ความพอเหมาะพอดีในการแสวงหาความเพลิดเพลิน

ของผูท่รี ูจักประมาณคือ ผทู สี่ ามารถอยูเหนอื ความปรารถนา
2) ความกลาหาญ จะเห็นชัดเจนในภาวะคับขันที่สามารถแสดงใหเห็นถึงภาวะ

ผูนําที่กลาเผชิญปญหาตาง ๆ ดวยความอดทน อดกลั้นตอการแกปญหา หากใชสุภาษิต “รูรักษา
ตัวรอดเปนยอดดี” ในภาวะวิกฤต เชน วิกฤตน้ําทวมในประเทศไทย ถาหากผูปกครองแตละฝายท่ี
เก่ียวของเอาตัวรอดไมเหลียวแลประชาชนในพืน้ ท่ขี องตน ดังน้นั ในภาวะวกิ ฤตจงึ ตอ งการคณุ ธรรม
ในขอนี้เปน สาํ คัญ

3) ความยุติธรรม อาจไดมาทางกฎหมายและจากผูปกครอง ความยุติธรรมถือ
เปนความดีของผปู กครองที่ใชท ง้ั ในครอบครัวและประชาชนใหทกุ คนไดร บั ความเทาเทยี ม

4) มติ รภาพ อริสโตเติลไดแบงมติ รภาพ (Friendship) ทเ่ี กิดจากความมี
ประโยชนเกิดจากความเพลิดเพลิน เกิดจากความดี ดังน้ันมิตรภาพที่แทจริงที่จะเกิดขึ้นระหวาง
บคุ คลได บคุ คลนัน้ จะตองมีคณุ ลกั ษณะอยางเดียวกนั

แนวคิดปรัชญาตะวันตกสมัยกรีกโบราณ ถือเปนพื้นฐานแนวคิดนํามาสูการเปล่ียนแปลง
แนวคดิ จริยธรรมตะวันตกในชวงตอ มาของจรยิ ธรรมยคุ ตะวันตกสมัยใหม ยุคนปี้ ระชาชนเริม่ สนใจ
แนวคิดของศาสนาอื่น ๆ เพิ่มข้ึน เปนยุคเริ่มตนของวิทยาศาสตรและปรัชญาทางการเมืองเดนชัด
เปน ยุคทกี่ ฎหมายเฟอ งฟู สาํ นักปรชั ญาทสี่ ําคัญ คือ อิมมานูเอล คานท (Immanual Kant) และสํานัก

33

ประโยชนนิยม (Utilitarianism) มีนักคิดท่ีสําคัญคือ เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham) จอหน
สจวต มิลล (John Stuart Mill)

2. แนวคิดจริยธรรมตะวันตกหลังยุคกรีกโบราณ ใหความสนใจกับเหตุผลนิยมกับสุข
นิยม หรอื ประโยชนนิยม ซงึ่ มีความแตกตา งกนั ดงั นี้

ประเด็นจริยธรรม เปรียบเทยี บความแตกตา ง

เหตุผลนยิ ม (rationalism) สขุ นิยม (hedonism)

1. ธรรมชาตขิ องมนุษย 1. มนุษยเ ปน สตั วเจาปญ ญาและมี 1. มนุษยเ ปน สตั วเจา อารมณโดย

เหตุผล พื้นฐาน

2. อดุ มคติของชวี ิต 2. การปฏบิ ัตหิ นาที่ใหสมบรู ณ โดย 2. การไดรับความเพลดิ เพลินอัน

มีเหตผุ ลเปนเครอ่ื งนาํ ทาง คือ การ เกดิ จากประสาทสมั ผสั และ

ทาํ หนา ทใี่ หบ รรลุจุดมุงหมาย ไมท ํา มนุษยม ศี ลี ธรรมตามธรรมชาติ

หนา ทเ่ี พ่อื เกยี รตยิ ศช่ือเสยี ง แตส ่งิ

เหลาน้ัน เปน เพียงผลพลอยไดจ าก

การทาํ หนาที่เทานนั้

3. ความคดิ ทางศีลธรรม 3. ถือวา คณุ ธรรม คือ การปฏิบตั ิ 3. เอาความสขุ ความเพลิดเพลิน

หนาท่ีตามกฎ เชน การเคารพตอ เปน เคร่อื งกําหนดความถกู ผดิ

กฎเกณฑต า ง ๆ ความดีชว่ั

2.1 แนวคิดของคานท มคี วามเชอื่ ม่นั ตอ เหตผุ ลนยิ ม (Rigorism) หมายถงึ ความ
เชื่อม่ันในคุณธรรม หรือเหตุผลอยางเครงครัด โดยคานทศึกษาคนหาความหมายของเจตจํานง กฎ
ศีลธรรม คุณธรรมความดี การกระทําท่ีถูกตองและความหมายของหนาท่ี ทั้งหมดน้ันเปนมูลฐาน
ของปญหาทางจริยธรรมของคา นท ซึง่ อธบิ ายไววา

สวนที่ 1 เจตจํานงดีเปนความดีอยางแทจริง ไมเกี่ยวของกับการกระทําภายนอก
และเจตจํานงตองมีเหตุผลเปนพื้นฐานสากลในธรรมชาติของมนุษย ทุกคนปฏิบัติไปตามกฎแหง
เหตุผล ซ่ึงแตกตางไปจากความม่ังคั่งและสติปญญาท่ีสามารถบิดเบือนไดดวยเจตนา ถาคนชั่วมี
เจตนาช่ัว ยอมใชสติปญญาและความมั่งค่ังไปในทางชั่ว ในประเด็นนี้จะเห็นวาคํากลาวที่วา
“รวยแลวไมโกง” ยอมไมมีเหตุผลเพียงพอตามเจตจํานงของคานท ซ่ึงราชบัณฑิตไดใหความหมาย
ของเจตจาํ นงหมายถึง ความต้ังใจมุงหมาย ความจงใจ ในทางปรชั ญา เจตจํานง (Will) มีความหมาย
วา 1) ความจงใจ 2) แรงปรารถนา ซึง่ เปน พลังอยางหนึ่งท่ผี ลักดนั ใหม นุษยกระทําการตา ง ๆ

34

สวนที่ 2 กฎศีลธรรมเปนขอบังคับอยางเด็ดขาด เพราะถือเปนหนาที่ท่ีตองทํา
และเปน มาตรฐาน หรือเกณฑก ารตดั สินความถูกผดิ ท่เี ปนสากล

สวนท่ี 3 คุณธรรมเปนความดีสูงสุด เพราะเปนไปตามเจตจํานงที่ดีทางศีลธรรม
ดังน้ันคนดีจะแสวงหาความดีเพ่ือความดี ไมใชเพ่ือแสวงหาความสุข เชนเดียวกันการทําหนาท่ี
เพือ่ หนา ท่ี ไมใ ชเ พอื่ ชอ่ื เสยี ง อํานาจและความมง่ั คงั่

สวนท่ี 4 การกระทําที่ถูกตอง ตามทัศนะของคานท ตองกอใหเกิดผล 2 ประการ
คอื ถกู ตอ งตามหลกั ศีลธรรมทมี่ เี หตุผลและตอ งทําดว ยความบรสิ ุทธ์ใิ จ

สวนที่ 5 หนาท่ี หมายถึง กิจกรรมที่ตองทําดวยความรูสึกสํานึกวาเรามีความ
ผูกพัน หรือความรับผิดชอบตอส่ิงน้ัน เชน หนาที่พอแม หนาท่ีครู ฯลฯ มนุษยที่ดีที่สุดคือ ผูทํา
หนาท่ีดีท่ีสุด ถูกตองครบถวนที่สุด ถือวาไดทําหนาที่ของตนอยางสมบูรณแลว แตไมไดหมายถึง
ผลลพั ธของงานนั้น

2.2 แนวคดิ ของสํานกั ประโยชนนิยม (Utilitarianism) เปน แนวคิดที่เชอ่ื วา ประโยชน
ของคนสวนใหญเปนความดีสูงสุด เรียกวา มหสุข(The Greatest Happiness Principle) คือ ความสุข
มากที่สุดของคนจํานวนมากที่สุด (Greatest Happiness of the Greatest Number) และใชความสุข
เปนการตัดสินความถูกผิด การใชหลักประโยชนนิยมจะทําการเปรียบเทียบระหวางคาใชจาย
ตนทุนกับผลประโยชน หรือผลลัพธ น่ันคือ การวิเคราะห Cost-Benefit Analysis เพ่ือเลือกสิ่งที่จะ
เกิดประโยชนม ากที่สุด โดยแยกแนวคิดประโยชนนยิ มเปน 2 กลุมคอื

1) กลุมทฤษฎีประโยชนนิยมเชิงการกระทํา (Act Utilitarianism) จะถูกตัดสิน
การกระทําส่ิงนั้น โดยไมคํานึงถึงกฎวาเปนอยางไร แตจะพิจารณาท่ีประโยชนสูงสุดท่ีคนจํานวน
มากไดรบั มากทีส่ ดุ เปนสงิ่ ทถี่ กู ตอง

2) กลุมทฤษฎีประโยชนนิยมเชิงกฎ (Rule Utilitarianism) จะพิจารณาเลือกทํา
ตามกฎเปนส่ิงที่ถูกตอง ถาประโยชนสูงสุดขัดกับกฎก็ไมเลือกท่ีจะกระทําส่ิงน้ัน มิฉะน้ันก็จะ
กลายเปน ประโยชนเ ชิงการกระทํา

ตัวอยางของการตัดสินใจตามแนวคิดของประโยชนนิยม จากนโยบายรถยนต
คนั แรกของรัฐบาล โดยจะคืนเงินภาษเี ทากบั ที่จายจริง ในการซ้ือรถยนตคันแรก แตจะคืนไดไมเกิน
100,000 บาทและมีเงื่อนไขตาง ๆ ในการคืนภาษีรถยนตคันแรก คือ ผูซื้อตองอายุ 21 ปขึ้นไป ราคา
รถยนตตองไมเกิน 1,000,000 บาท เคร่ืองยนตไมเกิน 1,500 ซีซี (สําหรับรถกระบะจะไมจํากัด ซีซี)
เปนรถยนตท่ีผลิตในประเทศไทยเทาน้ัน ตองครอบครองไมนอยกวา 5 ป เปนรถใหมปายแดง
เทานั้น การคืนเงินภาษีรถคันแรก ภาครัฐจะคืนภาษีไดเม่ือครอบครองรถยนตไปแลวเปนเวลา 1 ป
(สรปุ นโยบายลดภาษรี ถคนั แรก. ออนไลน. 2554) จากนโยบายดังกลาวขางตนเปนท่ีฮือฮาและเปน

35

ความหวังของคนท่อี ยากไดร ถยนตค นั แรกและไดสทิ ธปิ ระโยชนท างภาษี ซ่งึ รัฐบาลกาํ หนดไวท เี่ ปา
500,000 คนั และมองถึงความเติบโตของตลาดจะเพ่ิมขึน้ 12 % นอกจากนี้รถใหมยอมจะลดมลภาวะ
และกําลังซีซีนอยจะทาํ ใหป ระหยัดพลงั งาน

ขณะที่ไดเกิดมีขอโตแยงข้ึน เชน บริษัทรถยนตตางประเทศบางรายแสดงความไมเห็น
ดวย โดยกลาววา เปนการกีดกันการคาไมเปนไปตามความตกลงท่ัวไป ที่เก่ียวกับภาษีศุลกากรและ
การคา (GATT) การคาบริการ (GATS) และความตกลงวาดวยสิทธิในทรัพยสินทางปญญาท่ี
เก่ียวกับการคา (TRIPS) ซึ่งจะสงผลใหเกิดการเจรจาระดับทูตการคาระหวางประเทศขึ้น
ขณะเดียวกันการเปดเฉพาะรถขนาดเล็กทําใหผูใชไมไดรับเทคโนโลยีใหมที่ทันสมัย ซึ่งประหยัด
นํ้ามันและลดมลภาวะเปนมิตรกับส่ิงแวดลอมมากกวา รวมถึงขอโตแยงภายในประเทศ เชน เปน
การเพิ่มภาระหนี้ใหประชาชนในการกูเงินมาซ้ือรถเพราะเห็นวาราคาถูก ในเมืองใหญการจราจร
ติดขัดเพ่ิมมากขึ้น กระทบตอตลาดรถมือสอง ตองใชเงินงบประมาณท่ีมาจากภาษีประชาชนเพื่อ
โครงการนท้ี ีต่ งั้ ไว 30,000 ลานบาทเหมอื นเปนการเพ่มิ หน้ีใหก บั ประเทศ

ดังน้ันถารัฐบาลมองวานโยบายนี้เปนที่ตองการของประชาชน ท่ีเฝารอจะไดเปนเจาของ
รถยนตคันแรกปายแดงอยางมีความสุข ประโยชนการเติบโตของตลาดขยายตัวเปนการกระตุน
เศรษฐกิจของประเทศ เม่ือพิจารณาเห็นประโยชนสูงสุดวาประชาชนนิยม ดังนั้นรัฐบาลก็ตัดสินใจ
กระทําตามแนวคิดประโยชนนิยมเชิงการกระทํา เพราะเปนความสุขของคนในประเทศและ
เศรษฐกจิ จะดีข้นึ การกระทาํ ของรฐั บาลก็จะถือวาถูกตอ ง แตถ า รัฐบาลมองวา ประโยชนท เ่ี กิดขนึ้ จะ
ตามมาดวยปญหาความขัดแยงทางการคาตามกฎการคาเสรี จนเกิดปญหาขาดความนาเชื่อถือตอการ
ลงทุนของนักลงทุนและผลเสียอื่น ๆ ตามมา แมจะเห็นถึงประโยชนสูงสุด รัฐบาลก็ตองพิจารณา
ตัดสินใจทําตามกฎขอตกลงท่ัวไปฯ โดยใชแนวคิดประโยชนนิยมเชิงกฎ ถือวาเปนการกระทําที่
ถูกตอง

จรยิ ธรรมตามแนวคิดตะวนั ออก

การศึกษาปรัชญาแนวคิดจริยธรรมตะวันออก สําหรับประเทศท่ีมีอารยธรรมมายาวนาน
คือ มีความเจริญรุงเรืองทางวัฒนธรรม ความซับซอนของระบบสังคม ที่กอใหเกิดความสงบสุข
จะตองตั้งอยูบนรากฐานแหงศีลธรรมและกฎหมาย โดยจะกลาวถึงประเทศจีนและประเทศอินเดีย
ซึ่งมีวัฒนธรรมท่ีปลูกฝงความเช่ือ ความคิดและปญญาของผูคนมากมาย ปรัชญาของจีนจะเนนที่
ความคิด มโนธรรม สูการปฏิบัติในชีวิตประจําวันและสังคม สวนปรัชญาของอินเดียจะเนนเรื่อง
ความศรัทธา ความเชอ่ื ท่เี ชอ่ื มกับศาสนาสกู ารปฏิบัติตามหลักศลี ธรรมและจริยธรรม

36

จริยธรรมตามปรัชญาตะวันออก (จริยศาสตรของขงจื๊อและจริยศาสตรของมหาตม
คานธี. ออนไลน. 2554) ซ่ึงในบทนี้จะไดศึกษา 2 ประเทศมหาอํานาจในเอเชีย เชน ประเทศจีน
และอินเดีย แนวคิดจริยธรรมมีความเก่ียวของกับการปกครองและจริยธรรมของนักการเมือง มี
แนวคิดท่ีสําคัญหลายแนวคิด แตจะกลาวถึงเฉพาะแนวคิดปรัชญาขงจื้อและแนวคิดจริยธรรมของ
มหาตมคานธี ดังนี้

1. จรยิ ธรรมตามปรัชญาขงจ้อื
ปรัชญาขงจื้อเปนหลักคําสอนท่ีเกิดข้ึนในชวงเวลาของความแตกแยกภายในของชนเผา
ตาง ๆ ในประเทศจีน เกิดการสูรบระหวางแควนและความเสื่อมถอยทางศีลธรรมของจีนในยุคน้ัน
ปราชญขงจื้อไดตอบปญหาถึงสาเหตุ เปนเพราะคนไมประพฤติปฏิบัติตนท่ีเหมาะสม ตามหลักการ
ท่ีเรียกวา “ลี” หมายถึง ความสูงสุดในการจัดระเบียบและวางกฎเกณฑเก่ียวกับความสัมพันธ
ระหวา งมนุษย ไดแ ก 1) ความสมั พนั ธระหวางผูป กครองกบั ประชาชน 2) บดิ ากับบตุ ร 3) สามีกับ
ภรรยา 4) เพือ่ นกับเพอ่ื น 5) ผใู หญกับผูนอย ดงั จะเหน็ การปฏบิ ตั ิตอความสมั พนั ธอยางถูกตองจะ
เปนรากฐานแหงความเปนระเบียบในสังคม นอกจากน้ียังตองยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีท่ีสืบ
ตอกันมา ซ่ึงจะทําใหคนมีความสนิทสนมกลมเกลียว ชวยเหลือเก้ือกูลและแบงปนกัน จนสามารถ
กลาวไดวา คนจะเปนคนท่ีสมบูรณไดตองยึดถือประเพณีและการศึกษา จึงจะทําใหเกิดความคิดที่
ถูกตอ ง รูจักชีวิต รูจักโลก ตลอดจนการมีมิตรภาพและการใหความเคารพตอผูอาวุโส ซ่ึงถือวาเปน
สิ่งสาํ คัญในชวี ิตอกี อยางหนึ่ง
หลักจริยธรรม ท่ีขงจื้อไดถา ยทอดและเปนสง่ิ ทต่ี นเองยดึ ถอื ปฏิบัติในชีวิต 4 ประการ คือ
1) ปฏิบัติตอบิดาดังท่ีตองการใหบุตรปฏิบัติตอตน 2) รับใชเจานายอยางที่ตองการใหผูใตบังคับ
บัญชาปฏิบัติตอตน 3) รับใชพ่ีชายเหมือนที่ตองการใหนองชายปฏิบัติตอตน 4) ปฏิบัติตอเพ่ือน
ดังท่ีตองการใหเพ่ือนปฏิบัติตอตน จะเห็นวา ขงจ้ือไดปฏิบัติตามหลักคําสอนของตนเองไวเปน
เย่ียงอยา ง ซ่ึงแสดงใหเหน็ ความสมั พนั ธที่ใหค วามเคารพ สุภาพนอบนอ ม ใหเกียรติกัน
นอกจากนี้ยังไดกําหนดคุณลักษณะของคนดีท่ีโลกตองการจะตองเปนคนท่ีมีเกียรติ ซ่ึง
คนท่ีถือวาเปนผูมีเกียรติจะตองมีลักษณะดังนี้ คือ ไมยอมเปนเครื่องมือของใคร เปนผูท่ีเชื่อถือได
ทุมเทพากเพียรในการศึกษาหาความรู ยึดมั่นในความดีจนชีวิตหาไม เปนคนกลาเสมอ ผูมีเกียรติ
ยอมเยอหย่ิงแตไมอวดดี สิ่งท่ีนาอับอายของผูมีเกียรติคือทําไมไดอยางท่ีพูด เมื่อตองการอะไรจะ
เอาจากตัวเองไมเ บียดเบียนผูอนื่ ส่งิ สําคญั ทขี่ งจือ้ พดู ถึงการมชี ีวติ วา ชีวติ คือ ความซือ่ สตั ย คนที่ไม
ซื่อสัตยเหมือนคนท่ีตายแลว ชีวิตที่ไมซื่อสัตยก็เหมือนไมมีชีวิต เกิดมาไมซ่ือสัตยก็เหมือนไมได
เกิด นอกจากนี้ไดสอนผูปกครองตองใหการศึกษาแกประชาชน ตองไมทุจริตคดโกงและแสดง

37

คุณธรรมนกั ปกครองไว 4 ขอ คือ 1) มีความเท่ียงธรรมไมเอนเอียง 2) ไมทําการตัดสินอะไรเอาแต
ใจตนเอง 3) เปนผถู ือเหตุผลเปนสําคัญกวาทิฐิ 4) เปน ผูเ หน็ แกป ระโยชนสว นรวม

เม่ือพิจารณาเหตุการณความสับสน วุนวายของบานเมืองตาง ๆ ในสังคมไทยและสังคม
โลกทุกวันน้ี จะเห็นวามีหลายส่ิงหลายอยางท่ีไมแตกตางจากเหตุการณในสมัยขงจื้อ ท่ีศีลธรรม
เส่ือมถอย ความสัมพันธท่ีขาดความเคารพ นอบนอมและการใหเกียรติกัน ไมเรียนรูและไมเขาใจ
ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอันเปนรากเหงาในชาติของตน มีเหตุขัดของขัดเคืองใจก็
สามารถท่จี ะถูกชักจงู ใหเชอ่ื ไดง าย ๆ ท้ังพฤติกรรมการดาทอ ใสรายปายสี สาดโคลน บิดเบือนและ
ไมยอมรับฟง ขอ เทจ็ จรงิ ใด ๆ จงึ ทาํ ใหสงั คมขาดระเบียบและความรสู กึ ท่ปี ลอดภัย

2. จรยิ ธรรมของมหาตม คานธี
มหาตม คานธี ชื่อเต็มวา โมหันทาส กะรัมจันท คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi)
เปนรัฐบุรุษเอกคนหนึ่งของโลก โดยมีศาสนาเปนเครื่องมือบริหารบานเมือง จนไดรับการขนาน
นามและยกยองใหเปนมหาบุรุษ "บิดาแหงประชาชาติ" ของอินเดีย ตลอดชีวิตไดอุทิศตนเพ่ือตอสู
เพอ่ื ปลดปลอยประชาชนชาวอินเดียใหพนจากการถูกกดข่ีขมเหง ตามวิถีทางแหงอหิงสา และหลัก
สตั ยาเคราะห

ภาพท่ี 5 มหาตมคานธีและการตอ สตู ามวถิ ีแหง อหิงสา
ทม่ี า : http://www.oknation.net/blog/kwant/2010/10/02/entry-1
แนวคดิ แบบอหิงสา (Ahimsa) ของคานธี เกย่ี วขอ งกับความคิดพื้นฐานของการรักษา
สัจจะ หรือสัตยะ (Sataya) และสตั ยาเคราะห( Satyagraha) ซึง่ จะอธบิ ายความหมายพอสังเขป ดงั น้ี

2.1 สตั ยะ หรือสัจจะ เปน คุณธรรมสูงสดุ หมายถึง ความเจริญอันสงู สดุ ที่แสดงถึง
เอกภาพของชีวิตทั้งมวล หัวใจของศีลธรรมคือ สัตยะ ที่แสดงออกดวยความรักและการรับใชสรรพ
สัตว

38

สําหรับ คานธี การถือสัจจะอยางเครงครัด เปนส่ิงสําคัญท่ีไดรับอิทธิพลจากบิดา ซึ่ง
เปน ผถู ือความซือ่ สตั ยแ ละรักความเปนธรรม มารดากเ็ ปน ผทู ี่เครง ครัดในศาสนา

2.2 อหิงสา กอนจะเขา ใจความหมายของอหงิ สา ควรทาํ ความเขา ใจคําวา หงิ สา
หรือ หิงสกรรม คอื การทรมานและหลูเกยี รตเิ พอื่ นมนุษยด วยกนั รวมท้ังการเบยี ดเบยี นทรมานสตั ว
เชน การใชวาจาหยาบคาย การมองคนในแงผิด ๆ ความโกรธ การเหยียดหยามและทารุณกรรม
ตลอดจนการเมินเฉยตอความทุกขทรมานของเพื่อนมนุษยดวยกันรวมถึงสัตวดวย เหลานี้ลวนเปน
การทําหงิ สกรรมทง้ั สิ้น แตใ นขณะเดยี วกนั คานธี เหน็ วา ถา มลี ูกววั ปว ยไดรบั ความทรมานมาก แม
จะพยายามรักษาอยางดีแลวก็ไมหาย ก็ควรทําลายชีวิตลูกวัวน้ัน เพื่อยุติความเจ็บปวดทรมาน เชนน้ี
ไมถอื วาเปน หิงสกรรม

อหิงสา หมายถึง การไมใชความรุนแรงไมเพียงแคการฆาสัตวตัดชีวิตอยางเดียว
หากแตตองใครครวญในการปฏิบัติเฉพาะกรณี ๆ ไป คานธีกลาววา อหิงสา คือ หนทางที่จะไปสู
พระเจา หรือสัจจะ ซ่ึงถาโลกนี้ปราศจากอหิงสาแลว มนุษยชาติจะทําลายลางกันเอง เงื่อนไขของ
อหิงสาจะตองการไมใชความรุนแรงคือ สรางความเปนธรรมใหชีวิตทุกชนิดและทุกระดับ ผูที่
ยึดถือหลักของอหิงสาจะตองฝกฝนทางจิตวิญญาณ เชน ฝกใหรักคนที่เกลียดเรา ซึ่งเปนเร่ืองยาก
ที่สุดและจําเปนตองเรียนรูศิลปะการตาย เพราะผูท่ีฝกอหิงสาจําเปนตองฝกฝนตนเองใหมีความ
เสียสละอยางสูง เพื่อไมใหเกิดความกลัวท่ีจะสูญเสีย ส่ิงที่พึงกลัวมีอยางเดียวคือ พระเจา
คานธี มองวาอหิงสาเปนคุณธรรมและเปนพัฒนาการทางประวัติศาสตรของมนุษยที่มีอยู จึงทําให
โลกมนุษยย ังดํารงเผาพนั ธมุ าได

2.3 สตั ยาเคราะห เปน ภาษาสนั สกฤต มี 2 คําแปล คอื ความจริงและการตามหา มี
ความหมายวา พลังแหงสัจจะ ถือเปนอาวุธสันติสําหรับการตอสูท่ีไมใชความรุนแรง โดยผูตอสู
ตองถอื หลกั ของสัจจะและอหิงสา ตลอดจนตอ สดู ว ยความบริสุทธิ์ใจและความถูกตอง คานธี เรียก
วิธีการของสัตยาเคราะหอีกอยางหน่ึงวา "การด้ือแพง" การตอสูกับฝายปรปกษ ผูตอสูจะตองมี
ความอดทนและเห็นใจฝายตรงขาม ความอดทนคือ การยอมรับทุกขดวยตนเอง ไมใชการทําให
ผอู น่ื ไดร บั ทกุ ข

หวั ใจของสัตยาเคราะห คอื การอุทิศชวี ติ ใหกับสิง่ ทต่ี นเช่ือวาถกู ตอง ความสาํ เรจ็ ของ
สตั ยาเคราะหจะมไี ดด วยเงอ่ื นไข 4 ประการ คือ

1) ผูปฏบิ ัตสิ ตั ยาเคราะหจะตอ งไมเกลียดชังฝา ยตรงขาม
2) ประเด็นในการตอสูจะตองเปนเร่ืองท่ีมีเน้ือหาจริงจัง เปนเร่ืองถูกตองทํานอง
คลองธรรม

39

3) ผปู ฏิบตั สิ ัตยาเคราะหต อ งพรอมทจี่ ะยอมทนทุกขท รมานจนถึงที่สุด
4) การสวดภาวนาเปน ปจจยั ทส่ี ูงสงสําหรับสัตยาเคราะห เพราะศรทั ธาใน
พระเจาเปน ส่ิงจาํ เปน
แมวาการปฏิบัติสัตยาเคราะหไมใชเรื่องที่กระทําไดงาย แต คานธี ไดอุทิศชีวิต
ปฏิบัติดวยตนเองในการตอสูเพ่ือความยุติธรรมของสังคมในระดับตาง ๆ ที่พบวา มีการกดขี่ขมเหง
ทางวรรณะ
นอกจากนี้ คานธี ยังไดแสดงถึงทศั นะของการกระทาํ บาป 7 ประการ ซง่ึ กรณุ า-เรืองอุไร
กุศลาสยั . (2553 : 751) ไดถอดบทความเกย่ี วกบั บาป 7 ประการในทศั นะคานธี ไวด งั น้ี
1. เลน การเมอื งโดยไมม ีหลกั การ (Politics without pinciples)
2. หาความสขุ สาํ ราญโดยไมย ้ังคดิ (Pleasure without conscience)
3. รํา่ รวยเปน อกนิษฐโ ดยไมต องทาํ งาน (Wealth without work)
4. มคี วามรมู หาศาลแตค วามประพฤติไมด ี (Knowledge without character)
5. คา ขายโดยไมม ีหลกั ศลี หลกั ธรรม (Commerce without morality)
6. วทิ ยาศาสตรเลศิ ลํ้าแตไมม ีธรรมแหง มนษุ ย (Science without humanity)
7. บชู าสงู สุดแตไมมคี วามเสยี สละ (Worship without sacrifice)

จริยธรรมตามแนวพทุ ธศาสนา

จริยธรรมตามแนวพทุ ธศาสนาแบง ได 3 ระดับ คอื ระดบั ตน ระดบั กลางและระดับสงู
(จรยิ ธรรมตามแนวพุทธศาสนา. ออนไลน. 2554) ดังน้ี

1. ระดับตน ไดแก เบญจศลี เบญจธรรม
1.1 เบญจศลี แปลวา ศีล 5 ขอ เบญจธรรม แปลวา ธรรม 5 ประการ หรอื เรียกอกี

อยางหน่ึงวา กัลยาณธรรม หมายถึง ธรรมเปนเครื่องบํารุงจิตใหงดงาม ในทางปฏิบัติจะใชศีลและ
ธรรมควบคกู ัน คอื

1) เวนจากการฆาสัตว - มีเมตตากรุณา ตอมนษุ ยแ ละสตั ว
2) เวน จากการลักทรัพย - มีสัมมาอาชีวะ หรอื ประกอบอาชีพที่สุจรติ
3) เวน จากการประพฤตผิ ิดในกาม - สาํ รวมในกาม มคี วามยนิ ดใี นคคู รองตน
4) เวน จากการพดู เท็จ – มสี จั จะ รกั ษาคําพูด
5) เวน จากการด่ืมสุราและของเมาทุกชนิด - มีสตสิ มั ปชญั ญะ ไมข าดสติ
ประมาทมัวเมา

40

1.2 หลกั การพิจารณา ศลี 5
ขอ 1 ปาณาตปิ าตา เวระมะณี มีหลกั การพิจารณาเขาเกณฑการฆา คอื สัตวม ชี วี ิต รู
วาสตั วนนั้ มีชวี ิต มีจิตคิดจะฆา พยายามเพ่ือจะฆา สตั วต ายดว ยความเพยี รนัน้
ขอ 2 อทินนาทานา เวระมะณี มีหลกั การพจิ ารณา คือ ของนน้ั มเี จา ของหวงแหน
รอู ยวู าของน้นั มีเจาของหวงแหน มจี ติ คดิ จะลกั ขโมย พยายามเพ่ือจะลกั ขโมย ลักขโมยของไดม า
ดวยความเพยี รนั้น
ขอ 3 กาเมสมุ ิจฉาจารา เวระมะณี มหี ลักการพจิ ารณา คือ วตั ถทุ ี่ไมควรถงึ ไมค วร
เสพ จติ คดิ จะเสพในอคมนยี วัตถุนนั้ เพียรเพอ่ื จะเสพ ยังมคั ใหถ ึงพรอ มดวยมัค(คือองคก าํ เนดิ เขา
ในชอ งสงั วาส)
ขอ 4 มุสาวาทา เวระมะณี มหี ลกั การพิจารณา คอื เรื่องไมจริง จติ คดิ จะกลาวใหผดิ
จากความจริง พยายามกลาวใหผ ิดตามจติ คดิ นน้ั ผูอืน่ ฟง รูความทีก่ ลา วนน้ั
ขอ 5 สุราเมรยมชฺชปมาทฏฐานา เวระมะณี มหี ลกั การพิจารณา คอื นา้ํ นัน้ เปน นํา้ เมา
จิตคดิ ที่จะดืม่ น้าํ เมาน้ัน พยายามท่ีจะด่ืมตามจิตนั้น ดมื่ ใหล วงลําคอลงไป
2. ระดับกลาง ไดแก กุศลกรรมบถ 10 เปน ทางแหง ความดเี มือ่ ไดป ฏบิ ัติแลว

กายกรรม 3 (ศลี 5 ขอ 1-3) วจกี รรม 4 (ศลี 5 ขอ 4) มโนกรรม 3
1. เวนจากการฆาสตั ว 4. เวน จากการพูดเท็จ 8. ไมอ ยากไดข องคนอ่ืน
2. เวน จากการลักทรพั ย 5. เวน จากการพูดคําหยาบ 9. ไมอาฆาตพยาบาทคนอนื่
3. เวน จากการประพฤตผิ ิดใน 6. เวน จากการพดู สอ เสียด 10. เหน็ ชอบตามทาํ นองคลอง
กาม ธรรม
7. เวน จากการพดู เพอเจอ
เหลวไหล

3. ระดับสงู ไดแก มรรค 8 เปน จริยธรรมชน้ั สูง เพื่อปฏบิ ตั ิใหถงึ ความดับทกุ ข เรียกวา
อรยิ มรรค หรือมรรคมอี งค 8 ไดแ ก

3.1 สัมมาทฏิ ฐิ หมายถึง ปญ ญาอันเห็นชอบ ไดแก ปญ ญาอันเหน็ ชอบในอรยิ สัจ 4
คือ รูวา ชีวติ นม้ี ีแตความทกุ ข รวู า ความทกุ ขนัน้ เกิดจากเหตุคอื ตัณหา รูวา ทุกขนน้ั สามารถดับได
ดว ยวิธีทถ่ี ูกตอ งและรจู ักวิธีปฏบิ ัติเพ่ือใหพ น ทกุ ข

3.2 สัมมาสังกัปปะ หมายถงึ ความดํารชิ อบ หรือถกู ตอง ไดแ ก ดํารใิ นการออกจาก
กาม ดาํ รใิ นการไมพ ยาบาทปองรายผอู ื่น ดาํ ริในการไมเ บยี ดเบยี นผอู น่ื

41

3.3 สมั มาวาจา หมายถงึ เจรจาชอบ ไดแ ก เวน จากการพูดเทจ็ เวนจากการพูด
สอ เสยี ด เวน จากการพดู คาํ หยาบ เวนจากการพูดเพอ เจอ เหลวไหล

3.4 สัมมากัมมันตะ หมายถงึ ประพฤติในสง่ิ ทถ่ี กู ตอง หรือประพฤติสจุ ริตทางกาย
ไดแ ก เวน จากการฆา สัตว เวนจากการลกั ทรัพย เวน จากการประพฤตผิ ิดในกาม

3.5 สัมมาอาชีวะ หมายถงึ เลี้ยงชพี ชอบ ประกอบอาชพี สุจริต ละมิจฉาชีพท้งั ปวง
3.6 สมั มาวายามะ หมายถงึ เพียรชอบ หรือเพียรพยายามในสง่ิ ท่ีถกู ตอ ง ไดแ ก
สงั วรปธาน เพยี รระวังไมใหค วามชว่ั เกดิ ขนึ้ ปหานปธาน เพียรละความช่วั ท่เี กิดขน้ึ แลว
ภาวนาปธาน เพียรทําความดีใหเกิดข้ึน อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาความดีท่ีเกิดข้ึนแลวไมให
เส่ือม
3.7 สมั มาสติ หมายถงึ ระลึกชอบ หรอื ระลกึ ในส่ิงท่ีถูกตอง กลาวคือ มีสติ
พิจารณากายและอิริยาบถของกาย (กาย) มีสติรูวา สบาย ไมสบาย หรือเฉยๆ (เวทนา) มีสติรูอยูวา
จิตกําลังเศราหมอง หรือผองใส มีกิเลส หรือไมมีกิเลส (จิต) มีสติรูวา มีอารมณอะไรผานเขามาใน
ใจจิต (ธรรม)
3.8 สัมมาสมาธิ หมายถึง สมาธชิ อบ มีสมาธิตงั้ มั่น มีจติ มน่ั คง ไมฟุงซาน
คณุ คา ทางจรยิ ธรรมของหลักกรรม (พระพรหมคุณาภรณ ป.อ.ปยุตโต. 2552 : 213-214)
1. ใหเปนผูหนักแนนในเหตุผล และมองเห็นการกระทําและผลการกระทําตามแนวของ
เหตุปจจัย ไมเ ชือ่ งมงาย ตืน่ ขา ว
2. ใหเ ห็นวา ผลสาํ เรจ็ ทีต่ นตอ งการ จุดหมายที่ปรารถนา จะเขา ถึงหรอื สําเร็จไดดว ยการ
ลงมือทํา จึงตองพึ่งตนเอง และทําความเพียรพยายาม ไมมัวคอยโชคชะตา ไมหวังผลบันดาลหรือ
รอผลของการเซน สรวงออนวอน
3. ใหม คี วามรับผดิ ชอบตอตนเอง ทจ่ี ะงดเวน จากกรรมชั่วและรบั ผดิ ชอบตอ ผูอน่ื ดวย
การชวยเหลือเก้อื กูลทาํ ความดตี อเขา
4. ใหถ ือวาบคุ คลมสี ิทธแิ ละหนาทโี่ ดยธรรมชาติ ท่จี ะกระทําการตา ง ๆ เพ่อื แกไข
ปรับปรุงสรางเสริมตนเองใหดีข้ึนไปโดยเทาเทียมกัน สามารถทําตนใหเลวลงหรือดีขึ้น ให
ประเสรฐิ จนถึงยงิ่ กวา เทวดาและพรหมไดทุก ๆ คน
5. ใหถือวาคุณธรรม ความสามารถ ความดคี วามชว่ั ทีท่ าํ ความประพฤติปฏบิ ัติ เปน
เครอ่ื งมอื วัดความทราม หรอื ความประเสริฐของมนุษย ไมใหมีการแบง แยกโดยชาตชิ ัน้ วรรณะ

42

6. ในแงก รรมเกา ใหถ ือเปนบทเรียนและใหรูจักพจิ ารณาเขาใจตนเองตามเหตุผล ไม
คอยเพงโทษแตผอู ่นื มองเหน็ พ้นื ฐานทุนเดิมของตนท่ีมีในปจจุบัน เพ่ือรูจักท่ีจะแกไขปรับปรุงและ
วางแผนสรางเสริมความเจริญกา วหนาตอไปใหถูกตอ ง

7. ใหค วามหวงั ในอนาคตสําหรบั สามญั ชนทว่ั ไป
อรยิ สัจ 4 ประกอบดว ย
1. ทุกข ไดแก ขันธ 5 เปน ตวั ทุกข กิจในทุกข- ปรญิ ญา คือ การกาํ หนดรู หมายถงึ
การทาํ ความเขา ใจทุกข เขา ใจปญหา และกาํ หนดรขู อบเขตของปญ หาในทกุ ขนน้ั
2. สมุทัย (เหตเุ กิดแหง ทกุ ข) ไดแก ตัณหา คอื ความอยาก ความเพลิดเพลินและความติด
ใจ คอยใฝหาความยินดีใหม ๆ เร่ือยไป กิจในสมุทัย-ปหานะ คือ การละ หมายถึง การกําจัดแกไข
ตนตอ หรอื สาเหตขุ องทกุ ข หรอื ปญหา
3. นิโรธ (ความดบั ทุกข) ไดแ ก การดบั ตณั หา สละเสีย สลัดออก ไมพ ัวพนั กจิ ใน
นโิ รธ- สจั ฉกิ ิริยา คอื การทาํ ใหแจง หมายถงึ การเขา ถึงภาวะที่ปราศจากทุกข หมดปญหา หรอื
บรรลุจดุ หมาย
4. ทกุ ขนโิ รธคามินีปฏปิ ทา หรือมรรค เปนปฏปิ ทาท่ีนาํ ไปสคู วามดับแหง ทุกข ไดแ ก
ทางประเสริฐมีองคประกอบ 8 คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชวี ะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ กิจในมรรค-ภาวนา คือ การเจริญ หมายถึง
การฝกอบรม ดาํ เนนิ การลงมือปฏิบตั ิตามวธิ ีการท่ีจะนําไปสจู ุดหมาย

จรยิ ธรรมตามแนวครสิ ตศาสนา

ศาสนาคริสต เปนศาสนาที่เนนการมอบความรักท่ีบริสุทธ์ิใหแกกัน โดยมีหลักการท่ีถือ
วา มนุษยทุกคนเปนบุตรของพระเจา นับถือพระเจาองคเดียว(Monotheism) คือ พระยะโฮวา หรือ
พระยาเวห ในพระเจาองคเดียว แบงออกเปน 3 ภาค เรียกวา หลักตรีเอกานุภาพ (ศาสนาคริสต.
ออนไลน. 2554) ดังน้ี

1. หลักตรเี อกานุภาพ คอื พระเจาองคเดยี วแบงเปน 3 ภาค ไดแก
1.1 พระบดิ า คือ พระยะโฮวา เปนพระเจา สรางโลก สรางทุกสิง่ และทรงเปน

นริ ันดร
1.2 พระบตุ ร คือ พระเยซู เกิดมาเปน มนษุ ย เพ่อื ชว ยใหมนุษยไ ดร บั ฟงคําสงั่ สอน

ของพระเจา อยางใกลช ดิ
1.3 พระจิต คอื วิญญาณอันศักดสิ์ ิทธิข์ องพระเจา ทปี่ รากฏ เพอ่ื เกื้อหนนุ ใหมนุษย

ประกอบกรรมดี

43

2. หลักความรัก เปนบทบญั ญตั ิสําคัญของศาสนาครสิ ต ดงั ที่พระเยซู ตรสั วา
"จงรักพระเจาอยางสุดใจ สุดความคิดและสุดกําลัง จงรักเพื่อนมนุษยเหมือนรักตนเอง" ความรักน้ี
ไมใชความรักของหนุมสาว แตเปนความรักตอเพ่ือนมนุษย ศาสนาคริสตถือวา ทุกคนเปนบุตรของ
พระเจา จึงควรรักกันเหมือนพ่ีนองและแบงความรักเปน 2 ประเภท ไดแก ความรักระหวางมนุษย
กบั พระเจาและความรกั ระหวา งมนุษยก ับมนุษย ตามพระครสิ ตธ รรมเกาบันทึกไวว า

จงอยาเกลียดชังพ่ีนองของเจาอยูในใจ แตเจาจงตักเตือนเพ่ือนบานของเจา เพื่อจะไมตอง
รับโทษเพราะเขา เจาอยาแคน หรือผูกพยาบาทลูกหลานญาติพี่นองของเจา แตจงรักเพ่ือนบาน
เหมอื นรักตนเอง

เพื่อนบา น หมายถงึ มนษุ ยทวั่ ไป ใหเผอื่ แผความรักไปรอบดา น ไมเ ลือกที่รักมักท่ีชัง เปน
หลักคําสอนความรักระหวางมนุษยกับมนุษย แสดงออกดวยความเมตตากรุณาและความเสียสละ
สวนความรักท่มี นษุ ยม ีตอพระเจาแสดงออกโดยความศรัทธา สรปุ ได 5 ประการ คือ

2.1 ศรัทธาวา พระเจา คอื พระเยโฮวาหเปนพระเจา สงู สุดเพยี งองคเดียว
2.2 ศรทั ธาวา พระเจา ทรงรกั มนุษยอยา งเทาเทียมกัน
2.3 ศรทั ธาวา พระเยซเู ปน พระบตุ รของพระเจา
2.4 ศรทั ธาวา พระเยซเู ปนพระผูชว ยใหรอด
2.5 ศรัทธาในแผน ดินสวรรค หรืออาณาจกั รของพระเจาทกี่ ําลังจะมาถึง
หลักความรักและหลกั อาณาจักรของพระเจา มคี วามสมั พันธกัน กลา วคือ มนษุ ยจ ะ
สามารถเขา ถงึ อาณาจักรของพระเจา ได โดยอาศยั ความรกั เปน คณุ ธรรมนาํ ทางและอาณาจักรของ
พระเจา กเ็ ปน อาณาจักรทีบ่ รบิ ูรณดว ยรัก ดังนี้
3. อาณาจกั รพระเจา หมายถงึ หลักการดาํ เนินชวี ติ ทซ่ี ึมซาบเขาถึงจิตใจและชว ยยกระดับ
จติ ของผศู รทั ธาที่ยอมรับคําสอนและปฏบิ ัตติ ามใหส งู ข้นึ ผูป ฏบิ ัติตามคาํ สอนเหลา นี้จะเปนผูเผยแผ
คําสอนใหกวา งขวางย่งิ ขึน้ ในหมชู นทีใ่ กลช ดิ
คําสอนเก่ียวกับอาณาจักรพระเจา มี 2 ความหมาย ไดแก อาณาจักรพระเจาในโลกนี้และ
อาณาจักรพระเจาในโลกหนา ซึ่งอธิบายไววา อาณาจักรพระเจาในโลกน้ี คือ แผนดินพระเจาท่ี
มนุษยเขาถึงไดในชีวิตน้ีแตยังไมสมบูรณ การจะเขาถึงอาณาจักรพระเจาอยางสมบูรณไดจะตอง
เขาถงึ ในชีวิตหนา คือ หลังจากตายแลวเทา นนั้ ดังนน้ั การมีชีวิตในปจจุบันจึงเปนโอกาสของมนุษย
ทเ่ี ลอื กตดั สนิ ใจทาํ ดี หรอื ทําช่วั ตามหลักแหง ความดี จนถงึ วันสดุ ทายของชวี ิตกจ็ ะไดร ับคําพิพากษา
และถูกแยกไปตามกรรมดีช่ัวของตน ในการเขา ถึงอาณาจกั รพระเจา


Click to View FlipBook Version