The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จริยธรรมทางธุรกิจ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by min51, 2019-12-23 21:58:41

จริยธรรมทางธุรกิจ

จริยธรรมทางธุรกิจ

94

หลังการยกเลิกสัญญา แววมาวา เปปซี่ไมยอมจบงายๆ โดยเตรียมที่จะใช “ขอกฎหมาย”
ลมมติท่ีประชุมผูถือหุนเสริมสุขในวันท่ี 29 เมษายนท่ีผานมา ธันยวัชร ยังมองในมุมเสริมสุขวา
เปปซี่ยังจะตองพึ่งพาเสริมสุขอีกมาก เพราะไมใชเร่ืองงายท่ีเปปซ่ีจะสรางโรงงานผลิตน้ําอัดลม
ข้ึนมาใหมในระยะเวลาสั้น แมกระทั่งการเขาถึงลูกคาทั่วประเทศท่ีเสริมสุขมีระบบโลจิสติกสท่ี
เขมแขง็ มาก สุดทายเปปซก่ี ็จะตองเปนฝา ยยอมเสรมิ สุข

“คิดดูงาย ๆ เปปซี่ไมมีเสริมสุข หรือเสริมสุขไมมีเปปซ่ีใครจะตายกอนกัน มันเปนเรื่อง
ของโลจสิ ตกิ สล ว นๆ ถึงคณุ มีแบรนดแข็งแกรงระดับโลกแตเขาถึงผูบริโภคไมไดก็ตายเหมือนกัน”
เคสนี้นาจะเปนเคสประวัติศาสตรใหกับเปปซี่ นําไปใชเปนกรณีศึกษาของเปปซี่ในประเทศตาง ๆ
ทั่วโลกที่สวนใหญดําเนินการโดยบริษัทแม ไมเฉพาะตัวอยางกรณีศึกษาใหกับธุรกิจขามชาติใน
ไทยเทาน้ัน 1 ปนับจากน้ีท้ังเสริมสุขและเปปซ่ีคงสูกันแหลกแนนอน นอกจากจะสูกันเองแลว ยัง
ตองสูศึกภายนอก เพื่อรักษาสวนแบงทางดานการตลาดไมใหเสียเปรียบคูแขงอยางโคคา โคลา
กระท่ังแบรนดนองใหมอยางอาเจ บ๊ิก โคลาที่เริ่มกินสวนแบง 30 % เดิมประมาณ 10 % เทานั้น
ป 2553 มารเก็ตแชรข องเปป ซ่อี ยูทีป่ ระมาณ 55 % และโคก 45 % ในตลาดน้าํ ดํา ที่มีมลู คา ประมาณ
26,000 ลานบาท

คาํ ถาม จากกรณศี กึ ษา เสริมสขุ -เปปซี่ กรณีศึกษาทุนขา มชาติ 'ฮบุ '
1. นักศกึ ษาวเิ คราะหส ถานการณใครเปนฝา ยไดเปรยี บ-เสียเปรียบในแงม ุมใด
2. กรณขี องความขัดแยง ผบู รหิ ารควรจะเลือกใชว ธิ ีการแกไ ขขอขัดแยง ใดทีเ่ หมาะสม

และคาํ นึงถงึ หลกั จริยธรรมของผบู ริหารอยา งไร

95

บรรณานกุ รมทายบทท่ี 4

กงิ่ ดาว จนิ ดาเทวิน. (2552). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการบานเมืองทด่ี สี ําหรับ
องคการบริหารสวนตําบล(อบต.)ในจงั หวดั อุตรดติ ถ. ดษุ ฎีนพิ นธ ปร.ด.
(การศกึ ษาเพ่อื การพัฒนาทองถนิ่ ). บัณฑติ วทิ ยาลยั มหาวิทยาลยั ราชภฏั
ราชนครนิ ทร. อัดสําเนา.

กุญชรี คา ขาย. (2554). การบริหารความขดั แยง. [ออน-ไลน] . แหลงที่มา:
http://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Conflict_Management.htm.

จินตนา บญุ บงการ. (2551). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ดานสุทธาการพมิ พ.
ธานนิ ทร กรัยวิเชยี ร. (2548). คุณธรรมและจริยธรรมของผบู รหิ าร. โครงการปรญิ ญาโท

ทางการบัญชี คณะพาณิชยศาสตรแ ละการบญั ชี. มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร.
เนตรพณั ณา ยาวิราช. (2551). จริยธรรมทางธุรกจิ . กรงุ เทพฯ : ทิปเพิ้ล กรุป .
พระพรหมคณุ าภรณ (ป.อ.ปยตุ โฺ ต). (2549). ธรรมนูญชวี ิต. กรุงเทพฯ : วิชน่ั บุคส.
พฤษภาทมฬิ . [ออน-ไลน] . (2554). แหลงที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/.
ลมลเพ็ชร อภิสิทธนิ ริ นั ดร. (2554). เสริมสขุ -เปป ซี่ กรณีศกึ ษาทุนขา มชาติ 'ฮบุ ' . [ออน-ไลน] .

แหลงทม่ี า: http://www.bangkokbiznews.com
วศิน อนิ ทสระ. (2549). พทุ ธจริยศาสตร. กรงุ เทพฯ : ธรรมดา.
สมหวัง วิทยาปญ ญานนท. (2543). บริหารตามหลกั ทศพิธราชธรรม. [ออน-ไลน].

แหลงทมี่ า: http://www.budmgt.com/budman/bm01/king10.html.
สุรศกั ดิ์ ใจเยน็ . (2553). คณุ สมบัตพิ น้ื ฐานของผบู รหิ าร. [ออน-ไลน]. แหลงท่มี า:

http://www.svproconsulting.com/index.php?option=con_content&view= article
หลวงปูสุวัจน สวุ โจ. (2552). อคติ 4. [ออน-ไลน]. แหลง ท่ีมา: http://board.palungjit.com.
อํานาจ. (2554). ). [ออนไลน] . แหลงทมี่ า: http://th.wikipedia.org/wiki/.
Coffey, R. E., Cook, C. W., & Hunsaker, P. L. (1994). Management and Organizational

Behavior. Burr Ridge, IL: Irwin.
Dubrin, A.J. (1990). Effective Business Psychology. 3rd ed. New Jersey: Prentice-Hall.
Van Slyke, E. J. (1999). Listening to conflict: Finding Constructive Solution to Workplace

Disputes. New York: Library of Congress Cataloging-in- Publication Data

บทที่ 5
จริยธรรมและความรับผิดชอบของธรุ กจิ ตอสงั คม

เมื่อภาครัฐมีการรณรงคและกําหนดใหมีการพัฒนาจริยธรรมของขาราชการ เพ่ือใหเปน
ผมู คี วามประพฤติที่ถูกตองตามกฎระเบียบและมีคุณธรรมท่ีดีงาม เปนไปตามทํานองคลองธรรมใน
การดําเนินงานแลว ในสวนของนักธุรกิจซ่ึงเปนผูประกอบการ เปนผูบริหารองคกรธุรกิจก็ตองมี
ความรับผิดชอบตอกิจการงานที่เกี่ยวของ ดวยการยึดถือเปนคํามั่นสัญญาในการปฏิบัติที่จะทําให
เกิดคุณคา คุณประโยชนแกทุกฝายท่ีเกี่ยวของ ตามหลักแหงจริยธรรมและความรับผิดชอบของ
ธรุ กจิ ท่ีมตี อสังคมนน้ั ๆ ดว ย

การสงเสรมิ นักธรุ กิจใหม จี ริยธรรม

นักธุรกิจผูมีบทบาทและอิทธิพลในฐานะของผูบริหาร หรือผูนําองคกรธุรกิจ เปรียบได
กับหัวเรือใหญในการขับเคล่ือนองคกรใหเปนไปตามทิศทาง นโยบาย แผนงาน พันธกิจ กลยุทธ
เพ่ือบรรลุเปาหมายสูงสุดขององคกร ดังนั้นการกระทําใด ๆ ของนักธุรกิจในแตละองคกร ทั้งขนาด
เล็กและขนาดใหญยอมมีผลกระทบไปตามขอบเขตและอํานาจ หากเปนองคกรขนาดใหญการ
กระทําใด ๆ ยอมสงผลแผกวางท้ังระดับเศรษฐกิจและสังคม การสงเสริมนักธุรกิจใหมีจริยธรรมจึง
เปนสิ่งสําคัญและจําเปนท่ีจะตองมีการปลูกฝงสํานึกที่มีคุณธรรม จริยธรรมตอความรับผิดชอบ
สวนรวมและทุกฝายท่ีเกี่ยวของ ดังน้ันในเบื้องตนจะตองเขาใจถึงคุณสมบัติท่ีดีที่พึงประสงคของ
การเปนนักธุรกิจ ทั้งในดานสวนตัวที่เก่ียวกับบุคลิก อุปนิสัย ความรูความสามารถและคุณธรรม
จรยิ ธรรม ซ่งึ ส่งิ เหลา น้ีเปน องคประกอบของความสําเรจ็ ของนกั ธุรกจิ ในเบ้อื งตน ดังนี้

1. คณุ สมบัตขิ องนกั ธรุ กิจท่ดี ี คุณสมบัตเิ ฉพาะตัวของนักธุรกิจ เปนปจจัยท่ีมีแนวโนม
ของความเปนผูประสบผลสําเร็จในหนาที่การงาน นอกจากคุณสมบัติดานความรูความสามารถ
เฉพาะตัวของบุคคลแลว ในปจจุบันการแขงขันเปนไปอยางเสรีทําใหการดําเนินธุรกิจมีความ
ซบั ซอนยิ่งขึ้น จึงจําเปนตอ งมคี ุณสมบัตอิ น่ื ๆ ท่ีจะทําใหนักธุรกิจสามารถดําเนินงานไดราบร่ืนและ
สอดคลองกับสภาพการณปจจุบัน เชน การสรางสัมพันธท่ีดีระหวางพันธมิตรทางการคา ชุมชน
สงั คมและทกุ ภาคสวนทเ่ี ก่ยี วของ ดวยหลักของคณุ ธรรมและมนษุ ยธรรม ดงั น้ันการดําเนินงานท่ีจะ

97

สามารถบรรลุเปาหมายกําไรสูงสุด จึงควรมีคุณสมบัติตาง ๆ เนตรพัณณา ยาวิราช. 2551 : 68-74;
สมคดิ บางโม. 2549 : 65-69; ดังน้ี

1.1 คุณสมบัติดานความรูความสามารถและบุคลิกสวนตัวของผูบริหารท่ีดี ประมวล
พอสงั เขป คือ 1) เปนผูมีความรับผิดชอบในการทํางานดวยความทุมเท เต็มกําลังความสามารถและ
สติปญญา 2) มีความกลาที่จะเผชิญตอความเสี่ยงในการดําเนินธุรกิจตามสมควรดวยการมีขอมูลที่
ถูกตองแมนยําและการประเมินสถานการณไดดี 3) มีความม่ันใจในตนเอง ไมโลเล 4) ม่ันใจใน
การประเมินผลงานกจิ การของตนเองอยางมีหลักเกณฑแ ละตวั ช้วี ดั ท่ีชดั เจน 5) กระตือรือรนในการ
ทํางาน มีพลังทง้ั รางกายและจติ ใจที่มุงม่ัน 6) มองการณไกล มีความคิดที่สรางสรรค คิดนอกกรอบ
อยางมีเหตุมีผล 7) มีความความสามารถในการคัดสรรคนเขามาทํางานไดตรงกับความรู
ความสามารถ 8) เนนความสําเร็จของงานควบคูกับใหความสําคัญกับคน 9) มีความสามารถใน
การคิด การตัดสินใจและการแกปญหา 10) เปนผูมีมนุษยสัมพันธและบุคลิกภาพท่ีดี เปนท่ีเช่ือถือ
และยอมรับของบุคคลทุกระดับ 11) มีความสามารถสื่อสารทําใหเขาใจงาย ชัดเจนสามารถบรรลุ
วัตถุประสงค 12) มีความเชี่ยวชาญในงานท่ีทํา 13) เปนผูที่สามารถวางแผนและจัดการอยางมี
กลยุทธ 14) เปนผมู ศี ีล มธี รรม มีภาพลกั ษณท ีเ่ ปน ทยี่ อมรบั ของสังคม

1.2 คุณสมบัติดานคุณธรรมจริยธรรมของนักธุรกิจที่ดี เปนแนวคิดและเปนหลัก
ปฏิบัติท่ีสอดคลองกับคุณธรรมสากลและมโนธรรมสวนตัวของนักธุรกิจที่กระทําโดยเห็นแก
ประโยชนสวนรวมมากกวาประโยชนดานกําไรของธุรกิจ เชน 1) การดําเนินงานใหไดกําไรโดย
ไมเอารัดเอาเปรียบทั้งแรงงานพนักงานลูกจาง ลูกคา ชุมชน สังคมและรัฐ 2) ไมทําลายแหลง
ทรัพยากรธรรมชาติ หรือกอมลภาวะ เชน มีการบําบัดน้ําเสีย อากาศที่เปนพิษ กลิ่นและเสียงท่ีเปน
มลภาวะ ปองกันรักษาความปลอดภัยวัตถรุ ะเบิดและสารเคมีทีม่ พี ษิ อยา งระมดั ระวงั 3) มสี ว นรว ม
ในการสรางความเปนปกแผนของสังคม เชน การเขารวมกิจกรรมการสงเสริมสนับสนุนคุณธรรม
หรือมีบทบาทในการชวยเหลือเกื้อกูลตอสังคม 4) การดําเนินธุรกิจดวยความเสมอภาค เคารพใน
ศักดิ์ศรีของความเปนมนุษย 5) ดําเนินงานดวยหลักเมตตากรุณา ไมทําใหสังคมเสื่อมทั้งดานจิตใจ
ศีลธรรมและการสรางคานิยมผิด ๆ 6) ดําเนินธุรกิจท่ีถูกตองตามกฎหมาย เชน ไมเปดกิจการท่ีเปน
แหลงมั่วสุมอบายมุข คาประเวณี ลักลอบคาสินคาผิดกฎหมายทุกชนิด 7) ไมประกอบธุรกิจท่ี
ทําลายธรรมชาติและส่ิงแวดลอม เชน การตัดไมทําลายปา ลักลอบคาสัตวปาและของปาสงวน การ
ทําไรเล่ือนลอย การรุกล้ําที่สาธารณะเพ่ือธุรกิจของตน 8) เคารพในสิทธิทางปญญาของผูอื่นและ
ธุรกิจอ่ืน ไมลอกเลียนแบบโดยไมไดรับอนุญาต และ 9) การดําเนินธุรกิจที่สอดคลองกับความ
ตอ งการและเพ่ิมศักยภาพใหก ับชุมชน

98

ดังน้ันจึงเปนที่คาดหมายอยางแนนอนวาการกําหนดโชคชะตาในการดําเนินธุรกิจท่ีจะ
ประสบผลสําเร็จสามารถท่ีจะดําเนินการดวยความรูความสามารถและคุณธรรม จริยธรรมท่ีดีงาม
วธิ ีการที่จะนํามาสงเสรมิ หรือปลกู ฝงใหน ักธรุ กจิ มีคุณธรรมจรยิ ธรรมได

1.3 การสงเสรมิ นักธรุ กิจใหมจี รยิ ธรรม มีวิธกี ารดงั ตอไปนี้
1) กลมุ ธุรกิจควรมีการรวมตวั กนั ในธรุ กิจประเภทเดยี วกนั หรอื กลมุ

อุตสาหกรรม เชน สมาคมหอการคา สมาคมอุตสาหกรรม ฯ โดยจัดต้ังเปนองคกรและรวมกัน
กําหนดอดุ มการณทางธรุ กิจทีค่ ํานงึ ถงึ ประโยชนตอสว นรวมและภาพลกั ษณท ี่ดขี ององคกรธรุ กจิ

2) กําหนดกฎระเบียบ หรือขอบังคับ เพื่อเปนแนวทางการประพฤติปฏิบัติของ
สมาชกิ ในการถอื ปฏบิ ัติไปในแนวทางเดียวกนั

3) จัดทาํ โครงการอบรมและจดั กิจกรรมทีส่ ง เสริมดา นคุณธรรม จริยธรรมแก
สมาชิก เชน การจัดอบรมดานศีล สมาธิและปญญา จัดกิจกรรมดานจิตอาสาเพื่อทําประโยชนแก
สาธารณะ

4) มกี ารจัดประกวดบุคคลและองคกรธรุ กจิ หรอื เขารวมการประกวดบุคคลและ
องคกรธุรกิจท่ีมีคุณธรรม จริยธรรม โดยองคกรธุรกิจ เพ่ือใหไดรับการยอมรับท้ังจากกลุมสมาชิก
องคกรธุรกจิ และบุคคลภายนอก

5) มีเกณฑมาตรฐานการตรวจสอบและประเมนิ ดานคณุ ธรรม จรยิ ธรรมของ
บคุ ลากรภายในองคกรนน้ั ๆ และมกี ารประกาศเกียรตคิ ณุ แกผูทมี่ ีผลการประเมนิ ในระดับดีมาก

6) มีกฎเกณฑใ นการลงโทษผทู มี่ คี วามประพฤตทิ ีข่ าดคุณธรรม จรยิ ธรรม เชน
การใหออกจากกลุม ไป

7) มีระบบการตรวจสอบจากองคก รภายนอก เชน องคกรภาครฐั องคก รภาค
ประชาชน

8) สรางความสมั พนั ธระหวา งนักธรุ กิจกบั ชมุ ชน เพอ่ื ใหม คี วามใกลชิดและ
เขา ใจในวิถีชวี ติ ของชมุ ชนและอยูรวมกนั อยางเกือ้ กูลกนั

99

ความรับผิดชอบของธรุ กิจตอ สงั คม

ทําไมธุรกิจจะตองมีความรับผิดชอบตอสังคม คําถามนี้อาจเกิดจากความรูสึกวามีความ
ขัดแยงระหวางเปาหมายธุรกิจท่ีตองการกําไรสูงสุด แตความรับผิดชอบตอสังคมทําใหธุรกิจมี
ตนทุนเพิ่มข้ึน ซ่ึงยอมจะทําใหกําไรของธุรกิจลดลง แตเหตุการณน้ีมีจุดเร่ิมตนตั้งแตศตวรรษท่ี 20
(อภิรัฐ ตั้งกระจางและคณะ. 2546 : 69) ประเทศมหาอํานาจสหรัฐอเมริกาซึ่งมีธุรกิจขนาดใหญได
ถูกโจมตีวา มีอาํ นาจและอทิ ธิพลมากเกนิ ไปในการใชอาํ นาจเอารดั เอาเปรียบผูบริโภค โดยปราศจาก
ความรับผิดชอบตอสังคมและไดมีความพยายามหยุดยั้งธุรกิจเหลาน้ัน ดวยกฎหมายการปองกัน
การผูกขาด(Antitrust Law) กฎหมายคุมครองผูบริโภค (Consumer Protection Laws) และ
กฎระเบียบของธนาคาร ทําใหน ักธุรกิจองคกรขนาดใหญท ั้งหลายตา งหนั กลบั มาทบทวนพฤติกรรม
และการกระทําของตนเอง ดังน้ันบทบาทของธุรกิจเร่ิมมีการเปล่ียนแปลงและไดตระหนักถึงการ
ดําเนินธุรกิจท่ีตองมีความรับผิดชอบตอสังคมมากข้ึน ท้ังนี้ไดเร่ิมดวยหลักการชวยเหลือในรูปของ
กองทุนและหลักการของผูพิทักษเปนหลักการพื้นฐานของความรับผิดชอบตอสังคมขององคกร
ธุรกิจ (อภิรัฐ ตั้งกระจางและคณะ. 2546 : 69-71; อางอิงจาก Lawrence and Weber. 2002.
Foundation principles of corporate social responsibility : 61) อธิบายพอสงั เขป ดงั นี้

หลักการพ้ืนฐานเกีย่ วกับความรบั ผิดชอบตอ สงั คมขององคก รธรุ กจิ

(Foundation principles of corporate social responsibility)

หลักการกองทนุ หลกั การของผพู ทิ กั ษ

(Charity principle) (Stewardship principle)

คาํ นิยาม คือ นักธรุ กจิ ใหค วามชว ยเหลอื เออ้ื เฟอ คือ นักธุรกจิ เสมือนเปน ผดู แู ลหรอื ผู

ชนิดของ ตอ สังคมดวยความเตม็ ใจ ทงั้ ระดบั พิทกั ษสังคม โดยคาํ นึงถึงผลกระทบทท่ี ุก
กจิ กรรม
บคุ คลและกลมุ คนจะไดรบั จากนโยบายและการตดั สนิ ใจ

ของบรษิ ัท ท้งั นี้จะตอ งมกี ารสอ่ื สารให

เกดิ ความเขา ใจท่ีตรงกนั

1. การชว ยเหลือสงเคราะห 1. การเห็นคณุ คาของการพ่ึงพาระหวาง

2. การสง เสริมสังคมใหดีข้นึ ธุรกิจและสังคม หรือผทู มี่ สี ว นไดส ว น

เสีย

2. การรกั ษาความสมดุลระหวา งความ

สนใจและความตองการท่ีแตกตา งกันของ

แตล ะกลมุ

100

. หลักการพื้นฐานเกย่ี วกับความรบั ผิดชอบตอ สังคมขององคกรธรุ กจิ
ตัวอยาง
(Foundation principles of corporate social responsibility)

หลกั การกองทนุ หลกั การของผพู ทิ กั ษ

(Charity principle) (Stewardship principle)

1. เปนองคก รทชี่ ว ยเหลอื มนษุ ย เชน 1. การตระหนกั ถึงความสนใจของตนเอง

ยามเกดิ ภยั พิบตั ิขึ้นกใ็ หการ สงเคราะห 2. การปฏบิ ตั ิตามขอ กาํ หนดทางกฎหมาย

การบริจาคผาหม อาหาร ทพ่ี ักอาศัย 3. แนวคดิ ของผเู กี่ยวของตอ การวางแผน

ทุนทรพั ย เปน ตน กลยทุ ธข องธรุ กจิ

2. เปนองคกรที่ริเรมิ่ ในการแกป ญหา

สงั คม เชน สนับสนนุ สง เสรมิ การกีฬา

3. การเปนหนุ สว นของสังคมกบั กลุมท่ี

ตอ งการความชว ยเหลือ เชน การมสี ว น

รว มในกิจกรรมกับชมุ ชน สังคม

ความรับผิดชอบของธุรกิจตอสังคม คืออะไร มีความสําคัญและจําเปนอยางไรตอการ
ดําเนินธุรกิจและความรับผิดชอบน้ันควรกระทํากับใครบาง ในที่สุดจะตองทําอยางไรจึงจะเรียกได
วา มีความรบั ผิดชอบตอสงั คมอยา งแทจรงิ

อภิรฐั ต้งั กระจางและคณะ (2546 : 67) ใหค วามหมายความรับผิดชอบของธุรกิจตอสังคม
(Corporate Social Responsibility : CSR) หมายถึง การดําเนินธุรกิจไปตามครรลองของกฎหมาย
และจริยธรรม โดยคํานึงถึงผลประโยชนของผูท่ีเก่ียวของกับผูที่มีความเก่ียวของโดยตรงตอ
ความสําเร็จขององคกร ไดแ ก พนกั งาน ผถู ือหุนและเจา ของ ลูกคา ผจู ําหนา ยวัตถดุ ิบ คแู ขงขัน ผูจัด
จําหนายสินคาและเจาหน้ี ชุมชน รัฐบาล สื่อมวลชน สาธารณชนและกลุมสนับสนุนธุรกิจตาง ๆ
ธุรกิจจะตองแสดงบทบาทความเปนผูนําในสิ่งที่ถูกตองและเปนประโยชนตอสังคม มีความหวงใย
ในชุมชนและสิ่งแวดลอม รวมทั้งยินดีท่ีจะเสียสละผลกําไรบางสวนขององคกร เพ่ือพัฒนาชุมชน
ใหด ีขึ้น ตลอดจนเพอ่ื แกไ ขปญหาทางดา นส่ิงแวดลอ มตาง ๆ

เนตรพัณณา ยาวิราช (2551 : 41-44) ใหความหมาย CSR หมายถึง การที่องคการต้ังใจท่ี
จะกระทาํ ใหเกิดประโยชนใหแ กส ังคมอนั นอกเหนือจากท่กี ฎหมายกาํ หนด โดยองคก ารอาจกาํ หนด
ไวเปนขอบัญญัติทางจริยธรรมท่ีประกอบดวยความรับผิดชอบตอบุคคลตาง ๆ ไดแก ความ

101

รับผิดชอบของคณะกรรมการ ความรับผิดชอบตอผูถือหุน ลูกคา ความรับผิดชอบตอคุณภาพสินคา
หรือบรกิ าร พนักงาน สงั คมและสิง่ แวดลอ ม

สถาบนั ธรุ กจิ เพื่อสงั คม (2554. ออนไลน) ไดรวบรวมคํานิยาม CSR จากหลายหนวยงาน
ดังน้ี

1. สถาบนั ธรุ กจิ เพอ่ื สังคม : CSR หมายถงึ แนวคดิ ท่บี รษิ ทั ผสานความหว งใยตอ สังคม
และสิ่งแวดลอมไวในกระบวนการดําเนินธุรกิจและการมีปฏิสัมพันธกับผูมีสวนไดเสียภายใต
พ้นื ฐานการกระทาํ ดวยความสมัครใจ

2. The European Commission : CSR คือ คาํ มน่ั ของบริษัททจ่ี ะสง เสรมิ การพัฒนา
เศรษฐกิจอยางย่ังยืน โดยทํางานรวมกับลูกจางและครอบครัวของพวกเขา ชุมชนและสังคมโดย
กวา ง เพ่อื จะพฒั นาคณุ ภาพชวี ิตทด่ี ีขน้ึ ของสงั คมโดยรวม

3. World Business Council on Sustainable Development : CSR หมายถงึ การดาํ เนนิ
ธรุ กจิ ภายใตหลักจริยธรรมและการกํากับที่ดี ควบคูไปกับการใสใจดูเเลรักษาสังคมและสิ่งเเวดลอม
เพ่อี นําไปสกู ารพัฒนาธุรกจิ อยางยงั่ ยนื

4. คณะทํางานสงเสริมความรับผิดชอบตอสังคมและส่ิงเเวดลอมของบริษัทจดทะเบียน
คณะกรรมการกาํ กับหลักทรพั ยแ ละตลาดหลักทรัพย (กลต.) : CSR เปนเร่ืองที่องคกรตอบสนองตอ
ประเด็นเศรษฐกจิ สังคมและส่งิ แวดลอ ม โดยมุงใหประโยชนกบั คน ชมุ ชนและสงั คม นอกจากนน้ั
ยงั เปนเรอื่ งของบทบาทขององคกรธุรกิจในสังคม ความคาดหวังของสังคมท่ีมีตอองคกรธุรกิจ โดย
ทําดวยความสมัครใจและผูบริหารจะตองมีบทบาทเก่ียวของกับกิจกรรมตาง ๆ ที่สามารถวัดผลได
3 มิติ คอื การวดั ผลทางเศรษฐกิจ สงั คมและส่งิ แวดลอ มอันจะนําไปสกู ารพัฒนาอยา งยัง่ ยืน

5. ISO 26000 : CSR หมายถึง การดําเนนิ กิจกรรมภายในและภายนอกองคก รท่ีคาํ นงึ ถงึ
ผลกระทบตอสังคม ท้ังในระดับใกล ไดแก ผูมีสวนเก่ียวของโดยตรงกับองคกร เชน ลูกคา คูคา
ครอบครัว พนักงาน ชุมชนทองถ่ินที่องคกรตั้งอยูและระดับไกล ไดแก ผูมีสวนเก่ียวของกับองคกร
ทางออม เชน คูแขง ขันทางธุรกิจ ประชาชนโดยท่ัวไป ดวยการใชทรัพยากรที่มีอยูในองคกร หรือ
ทรัพยากรจากภายนอกองคก ร ในอันทจ่ี ะทาํ ใหอ ยรู ว มกันในสังคมไดอยางเปนปกติสขุ

6. สถาบนั ไทยพัฒน ภายใตม ลู นิธิบูรณะชนบทแหงประเทศไทย ในพระบรมราชปู ถมั ภ
ยังไดตีความ CSR วา เปนกิจกรรมท่ีรวมทั้งการคิด การพูดและการกระทํา ซ่ึงครอบคลุมต้ังแตการ
วางแผน การตัดสินใจ การสื่อสาร ประชาสัมพันธ การบริหารจัดการและการดําเนินงานของ
องคกรที่ดําเนินการในพ้ืนที่ของสังคม เชน ลูกคา คูคา ครอบครัวพนักงาน ชุมชนท่ีองคกร
ตงั้ อยู รวมถงึ ส่งิ แวดลอ ม หรอื ระบบนิเวศน คูแ ขง ขันทางธรุ กิจ ประชาชนทั่วไป เปนตน

102

ดังน้ันสามารถอธิบายไดวา ความรับผิดชอบเปนหนาท่ีที่ผูกพันดวยคําม่ันสัญญาที่จะ
ปฏิบัติหนาที่ของตนอยางถูกตองตามกฎหมายและมีจริยธรรม โดยคํานึงถึงประโยชนและ
ผลกระทบที่จะเกิดข้ึนกับผูเก่ียวของท่ีมีสวนไดสวนเสีย ทั้งทางตรงและทางออมภายในขอบเขต
ความรับผิดชอบขององคกรธุรกิจตอสังคม (Area of Corporate Social Responsibility) ไดแก
1) ความรับผดิ ชอบตอสงั คมและชมุ ชน 2) ความรับผดิ ชอบตอ สขุ ภาพและสวัสดกิ ารประชาชน
3) ความรับผิดชอบดานการศึกษา 4) ความรับผิดชอบดานสิทธิมนุษยชน 5) ความรับผิดชอบ
ดานส่ิงแวดลอม 6) ความรับผิดชอบตอผูบริโภค 7) ความรับผิดชอบตอวัฒนธรรมอันดี 8) ความ
รับผิดชอบตอชุมชน 9) ความรับผิดชอบดานจริยธรรม 10) ความรับผิดชอบดานกฎหมาย
11) ความรับผดิ ชอบดา นเศรษฐกจิ

อโณทัย ไพฑูรย (2554. ออนไลน) ไดเสนอบทความนาสนใจเรื่อง “CSR ที่แทจริง
อยาอางเพียงลอย ๆ” โดยชี้ใหเห็นวาการดําเนินธุรกิจอยางไรท่ีเรียกวามี CSR หรือไมใช CSR โดย
กลาววา การกระทาํ ตามมาตรฐานทางกฎหมายถือเปน การดําเนนิ งานตามปกติของธุรกิจที่พึงกระทํา
สวนการกระทําที่อยูเหนือมาตรฐานดังกลาว แตทําดวยมีจิตอาสาของการเปนผูให ท่ีตองการให
ผูอน่ื ใหส งั คม มีความสุขจึงจะถอื วาเปน การดําเนินธรุ กิจท่ีมี CSR และไดยกตัวอยางเปรียบเทียบไว
10 ขอ เปนตัวอยาง ดังตอ ไปนี้

กิจกรรมท่ไี มถือเปน CSR กจิ กรรมทเี่ ปน CSR
1. จัดทาํ บอบาํ บัดและปลอยนํ้าเสียออกจาก 1. จัดทําระบบบําบัดนํ้าเสยี และหมุนเวยี นนาํ้
โรงงาน สลู าํ คลองสาธารณะ วัดคาอยใู น มาใหภ ายในโรงงาน ไมปลอยน้าํ เสียออกมา
มาตรฐานทีก่ ฎหมายกําหนด ภายนอกโรงงาน กากของเสยี อุตสาหกรรมสง
โรงงานบาํ บัดของเสียโดยเฉพาะ
2. โรงงานเกดิ อบุ ัติเหตุ จากเครื่องจักรเกา 2. โรงงานไดเ ปล่ยี นเคร่ืองจกั รใหมทีต่ ดิ ตง้ั
บอ ยครัง้ โรงงานรับผิดชอบคาชดเชยการ ระบบปองกนั ทด่ี เี ยยี่ ม พรอ มจดั พนกั งานดแู ล
บาดเจบ็ และการหยดุ งานใหต ามกฎหมาย รบั ผดิ ชอบตรวจสอบบาํ รงุ รกั ษาเคร่อื งจกั ร
แรงงาน ตามระยะเวลา
3. บริษัทจดั สง รายงานงบประมาณการเงนิ 3. จัดระบบตรวจสอบการดําเนนิ งานอยาง
รายงานประจําป ใหก บั ผถู อื หุน ตามกําหนด ละเอยี ดผานทางอินเตอรเนต็ และจัดเจาหนา ที่
ไวค อยตอบคําถาม ขอ ซกั ถามในทุกเรอื่ งที่
ไมใชความลบั เฉพาะทางการคา ไดต ลอดเวลา
ทําการ

103

.

กิจกรรมทีไ่ มถือเปน CSR กิจกรรมทเี่ ปน CSR

4. โรงงานใหค วามชวยเหลอื ชมุ ชนรอบ 4. โรงงานชว ยเหลอื ชุมชน ทอ่ี ยนู อกพน้ื ท่ี

โรงงาน ทไี่ ดรบั ผลกระทบจากการดาํ เนินงาน ดาํ เนินงานของโรงงาน ชวยบรรเทาสาธารณะ

ของโรงงานโดยตรง เพอื่ ลดการตอ ตาน การ ภยั ตาง ๆ โดยไมค าํ นงึ วา ผรู บั ความชว ยเหลอื

คดั คาน โดยมีเปาหมาย เพ่ือการขยายกจิ การ จะอาศยั อยใู นรัศมีพื้นท่ดี ําเนนิ งานของโรงงาน

โรงงานในอนาคตอยางราบรืน่ โดยพจิ ารณา หรือไม ไมคาํ นงึ วาจะคมุ คาหรอื

ความคุม คาในการใชง บประมาณเปนสําคญั มผี ลตอบแทนคืนกลบั มาหรอื ไม

5. กิจการประชาสัมพันธ ใหข า วถึงขั้นตอน 5. กิจการเผยแพรขอ มูลขาวสาร คําเตอื น

รายละเอยี ด การดาํ เนนิ งานท่ีถกู ตองใหกบั ขอแนะนําตา ง ๆ ท่ีไมเ กย่ี วขอ งกบั กิจการ

ประชาชนไดร บั ทราบ โดยตรง ใหก บั ประชาชนไดรบั ทราบ เพอ่ื

ประโยชนใ นการดาํ เนนิ ชวี ติ อยา งมีความสุข

6. บริษัทเรียกเก็บสินคาคนื ทนั ที ท่ี อย. ตรวจ 6. บรษิ ัทขอใหร า นคา ตวั แทนหยดุ การ

พบสารเมลามีน ในนมผงทจ่ี าํ หนาย จําหนายนมผงของบริษัท ทันทีทมี่ ขี า ว

สารเมลามนี ปนเปอนในวสั ดทุ ี่นําเขา จาก

ประเทศจีน เพือ่ สง ตรวจสอบกอ น

7. โรงงานอตุ สาหกรรม ดาํ เนินการพัฒนา 7. โรงงานอุตสาหกรรม รว มกบั จงั หวดั เขา

คณุ ภาพชวี ิตชมุ ชน สงเสรมิ อาชีพใหกบั ชว ยเหลือประชาชนท่ีถกู น้าํ ทวมและภัยแลง

ราษฎร ปลกู ปาเปนแนวกนั ฝนุ และเสียง ในเขตพนื้ ทแ่ี ละอําเภออนื่ ๆ ทง้ั ในจังหวดั

ในบริเวณชมุ ชนรอบโรงงาน ตาม EIA และจังหวดั ใกลเ คยี ง

(Environmental Impact Assessment)

อยา งเครงครัด

8. สถานประกอบการลงทนุ จดั สรางสถานที่ 8. สถานประกอบการ ออกคาใชจ า ยในการเขา

สบู บหุ รีใ่ หเปน สดั สวนเฉพาะ ตามขอ กาํ หนด รวมโครงการเลิกบหุ รใี่ นเวลา 7 วัน ซึ่งจัดโดย

กระทรวงสาธารณสุข สสส. ใหก ับพนกั งานทป่ี ระสงคจ ะเลกิ บหุ รี่

9. พนักงานเขาทาํ งานตรงตอ เวลา ไมหลบหนี 9. บรษิ ัทกําหนดใหพนกั งานสามารถลาไป

หายไปในเวลางาน รบั ผิดชอบตอ หนาที่ทไี่ ด ชว ยเหลอื งานสงั คมและชมุ ชนไดปละ 3 วนั

รับมอบหมาย โดยไมถ อื เปนวันลา

.

104

กิจกรรมทไ่ี มถือเปน CSR กิจกรรมทีเ่ ปนCSR
10. พนักงานฝา ยจดั ซื้อ ตรวจสอบคุณสมบัติ 10. พนักงานจดั ซอื้ เสาะแสวงหารา นคาเขา มา
ของสนิ คา ใหต รงตามทีก่ ําหนด โดยไมเออ้ื เสนอราคาท่ีต่าํ ทส่ี ุด ในคณุ ภาพเดยี วกัน และ
ประโยชนใหร า นคาผขู าย เจรจาตอรองราคา เพื่อประโยชนของบรษิ ทั
และตนทนุ สนิ คา จะไดถกู ลง

อยางไรก็ตามความเขาใจใน CSR ซึ่งอาจยังมีความคลาดเคลื่อนและหลายธุรกิจไดนํามา
กลาวอางถึงการกระทํา ไมวาจะเปนลักษณะของการคืนกําไรแกผูบริโภค การบริจาค สงเคราะห
ชวยเหลือผูประสบภัยยามเกิดวิกฤตนํ้าทวมแจกถุงยังชีพ ขาวสารอาหารแหง หนาหนาวแจกผาหม
กันหนาวใหกับคนยากคนจน จะดวยน้ําใสใจจริง หรือเพ่ือสรางภาพลักษณและหวังผลในระยะยาว
ของผลประโยชนท่ีจะเกิดขึ้นกับธุรกิจตน ในแงมุมน้ีถือวาเปนจริยธรรมที่ไดประพฤติปฏิบัติสิ่งที่
ถูกตองเหมาะสมกับเวลาและสถานการณของผูทุกขยากท่ีตกอยูในภาวะของความยากลําบาก แต
ส่ิงที่จะมองใหลึกลงไปคือ เจตนาของการทําหากเปนไปดวยเนื้อแทของจิตใจที่ตองการชวยเหลือ
ใหพนทุกข ใหมีความสุขประกอบกับการดําเนินธุรกิจที่เปนสัมมาอาชีวะก็สามารถที่จะกลาวไดวา
เปน หนงึ่ องคกรธรุ กจิ ทด่ี ที ่ีมจี ริยธรรมและความรบั ผิดชอบตอสงั คม

ขอบเขตความรับผดิ ชอบขององคกรธุรกิจ

ความรับผิดชอบขององคกรธุรกิจกับผูที่มีสวนไดสวนเสีย (Stakeholder) ประกอบดวย

บุคคลภายในและภายนอกองคก รธุรกิจ ดังนี้

ธนาคาร/ ผถู ือหุน / พนักงาน/ลูกจาง
สถาบนั การเงนิ เจา ของกิจการ Employees
Stockholder
Bank

รฐั บาล ธุรกจิ ลูกคา
Government Business Customer

ส่ิงแวดลอม ผูจาํ หนา ย
Environment วัตถดุ ิบ

สงั คม/ชมุ ชน ตัวแทนจาํ หนา ย
Community Dealer

ภาพที่ 9 ผมู สี วนไดสวนเสยี ในธรุ กิจ
ท่ีมา : เนตรพณั ณา ยาวริ าช. 2551 : 51

105

ความรับผิดชอบพ้ืนฐานที่ธรุ กจิ พึงมีกับผทู เ่ี กย่ี วของ เปน ผูทีม่ สี วนไดส ว นเสยี ในสทิ ธิ
ตา ง ๆ (เนตรพณั ณา ยาวริ าช. 2551 : 40-41) ดังนี้

1. สิทธิความปลอดภัย หมายความวา นกั ธุรกิจจะตอ งผลติ สนิ คา ที่มคี ณุ ภาพไดม าตรฐาน
ที่ไมกอใหเกิดอันตราย ตลอดจนการใหขอมูลขอเท็จจริงท่ีเพียงพอในการตัดสินใจของผูบริโภค
ผูถอื หนุ หนวยงานราชการ

2. สิทธิท่จี ะรู หมายถงึ การใหขอ มลู ท่ีเปนความจริง ครบถวนและเพยี งพอ ไมเ ปน
ลกั ษณะของการชวนเชอ่ื ท่ีเกินความจรงิ หรือใหข อ มูลเพียงบางสว นท่ีกอใหเกิดความเขาใจผิด หรือ
ปกปด ขอมลู ขอ เทจ็ จรงิ

3. สทิ ธิที่จะบอกกลา ว หมายถึง การเปด ชอ งทางการสื่อสารสองทางเพือ่ ใหส ะทอนถึง
ขอดีขอเสียท่ีผูบริโภคควรไดรับการคุมครองสิทธิ เชน สินคาและบริการที่ไมไดคุณภาพ ไมมีความ
เปนธรรม หรอื การไมปฏบิ ตั ิตามเงื่อนไขท่ีไดต กลงกนั ไว

4. สทิ ธทิ ี่จะไดรบั การศึกษา หมายถงึ การเขา ถึงขอ มูลเพือ่ ศึกษาใหเขาใจกอ นการ
ตัดสินใจท่จี ะรว มลงทนุ หรอื ใชบริการสนิ คาตาง ๆ ของกิจการ

5. สิทธิในการเลอื ก หมายถงึ การใหโอกาส ไมเรง รัด หรอื ใชว ิธีการจงู ใจ ขม ขูแกม
บงั คับใหเกดิ ความวิตกตอ การตดั สินใจเลือกสนิ คา และบรกิ าร หรือเลอื กผูขาย

6. สิทธกิ ารไดร ับการปกปอ ง หมายถึง การมีสวนรวมในการแสดงความคิดเห็นและ
การตัดสนิ ใจตอ ผลกระทบดา นทรัพยากรและส่ิงแวดลอ มของชมุ ชน

บทบาทความรับผดิ ชอบทางจรยิ ธรรมของธุรกิจ

การดําเนินธุรกิจท่ีจําเปนตองมีความรับผิดชอบอยางมีจริยธรรมกับผูที่เก่ียวของในฐานะ
ของผูท่ีมีสวนไดสวนเสีย ทั้งบุคคลภายในและภายนอกองคกร (สมคิด บางโม. 2549 : 99-102;
เนตรพณั ณา ยาวิราช. 2551 : 51-53, 56-59) ดังน้ี

1. ความรับผิดชอบของธุรกจิ ตอ ผถู อื หนุ และเจาของกจิ การ ซง่ึ เปน เจา ของเงินลงทนุ ทม่ี ี
ความเส่ียงจากการลงทนุ ดังนนั้ การดาํ เนินงานจะตองมคี วามรับผิดชอบตอผูถือหุนและเจาของ คือ
1) การใหขอมูลท่ีเปนจริง ครบถวนและเพียงพอที่จะใชในการตัดสินใจของผูถือหุน 2) ไมชักชวน
หรือใชขอมูลท่ีบิดเบือนใหหลงเช่ือวา กิจการน้ันมีผลการดําเนินงานดีเกินความเปนจริง
3) ผูบริหารและพนักงานดําเนินงานดวยความซื่อสัตย ไมใชอํานาจในทางมิชอบ และทําการฉอฉล
4) ดําเนินงานเต็มความรูความสามารถ อุทิศและทุมเทใหกิจการมีผลกําไร 5) ดําเนินงานดวยความ
ระมดั ระวังและติดตามขาวสารอยา งรอบดา นทันเหตุการณ สามารถแกป ญหาไดทนั ทว งที

106

2. ความรับผิดชอบของธรุ กิจตอ พนักงานลูกจา ง อาจกลาวไดวา พนกั งานลกู จางนั้น
เปรียบเสมือนฟนเฟองเล็ก ๆ ที่ขับเคลื่อนเคร่ืองจักรใหสามารถทํางานไดจนสําเร็จ ดังนั้นไมวา
ลูกจางจะเปนเพียงเฟองเล็กแตก็มีความสําคัญอยูมาก ดังนั้นการปฏิบัติตอลูกจางจึงควรใชหลัก
คณุ ธรรมและมนษุ ยธรรมท่ีใหเคารพในศกั ดิ์ศรีของความเปน มนษุ ยท ีเ่ ทา เทียมกัน มิใชก ารคดิ ถึงใน
ลักษณะการจางตางตอบแทนเทาน้ัน ดังน้ันสิ่งที่นักธุรกิจ หรือผูบริหารองคกรสมควรตองปฏิบัติ
ตอลูกจาง คือ 1) การใหคาจางคาตอบแทนท่ีเหมาะสมกับความรูความสามารถและเปนธรรม
2) เอาใจใสตอสวัสดิการตาง ๆ ของลูกจาง โดยคํานึงถึงความปลอดภัยตอชีวิตและรางกายใน
ระหวางการปฏิบัติหนาท่ี 3) สงเสริมและสนับสนุนใหมีการอบรมและพัฒนาความรูความสามารถ
เพ่ิมความเช่ียวชาญแกลูกจาง 4) ปฏิบัติตอพนักงานลูกจางทุกคนดวยความเสมอภาค ไมเลือกท่ีรัก
มักที่ชัง 5) เคารพในสิทธิสวนบุคคลของลูกจาง ไมนําสิ่งท่ีเปนความลับไปเปดเผย 6) เรียนรูนิสัย
และใหความใสใจตอลูกจางทุกคนเพื่อจะไดเขาใจลูกจางแตละคนได 7) ใหคําปรึกษาแกพนักงาน
ลูกจางท้ังในเร่ืองงานและเรื่องสวนตัว ดวยความมีเมตตากรุณา 8) สนับสนุนพนักงานลูกจางท่ีมี
ความประพฤตดิ แี ละกลาตกั เตือนหามปรามผูท ําไมด ี 9) เมอื่ มอบหมายงานแลวตองมีความไวว างใจ
ตอพนักงานและพรอมที่จะใหค าํ ปรึกษา แกป ญ หาตาง ๆ ไดดวย 10) ทาํ ตัวเปน แบบอยา งท่ดี ใี นการ
สรา งบรรยากาศความรัก ความสามคั คี ใหเกิดข้ึนในการทาํ งานรว มกนั

3. ความรบั ผิดชอบของธุรกจิ ตอ ลกู คา สามารถกลาวไดว า ลกู คาเปรยี บเสมือนหัวใจ
ขององคก รธุรกจิ ถา ขาดลูกคา ธุรกจิ ยอมไมสามารถมีชีวิต หรือดํารงกิจการใหอยูตอไปได ดังนั้นจึง
ตองมีวิธีการดูแลรักษาและเอาใจใสตอลูกคา ดวยความเมตตากรุณามุทิตา คือ การนําเสนอสินคา
และบริการท่ีดีมีคุณภาพในราคาท่ีเปนธรรมตรงกับความตองการของลูกคา เพื่อขจัดปญหาและให
ลูกคาไดใชประโยชนจากสินคาและบริการน้ันอยางมีความสุข ซึ่งอาจกลาวไดวาเปนการทดแทน
บุญคุณลูกคาดวยการคืนกําไรดวยส่ิงที่ดี ดังน้ันสิ่งที่ธุรกิจพึงทํากับลูกคา คือ 1) ขายสินคาและ
บริการที่มีคุณภาพ ไดมาตรฐานและราคาสมเหตุสมผล ไมคากําไรเกินควร 2) ปฏิบัติตามเง่ือนไข
ท้ังเรื่องจํานวน ราคา คุณภาพและภาระผูกพันในระหวางการซ้ือและหลังการซ้ือขายตามขอตกลง
อยางเครงครัด 3) ดูแลและใหบริการแกลูกคาอยางเสมอภาคเทาเทียมท้ังในภาวะปกติและไมปกติ
เชน ในภาวะสินคาขาดตลาด หรือยามวิกฤตตาง ๆ 4) ไมสรางเง่ือนไขอํานาจการตอรองมากดดัน
ใหลูกคาตองตัดสินใจซื้อสินคาตนและไมซ้ือสินคาคูแขงขัน หรือตองรีบเรงตัดสินใจ 5) ไมสราง
สถานการณ หรือปนราคาสินคาใหสูงเกินจริง เชน สรางขาวลือ ปลอยขาวเท็จ กักตุนสินคา ทําให
เกิดการหลงเช่ือ หรือตื่นตระหนักกับลูกคา 6) ปฏิบัติตอลูกคาดวยน้ําใจไมตรี มีอัธยาศัยที่ดีตอกัน
มีความยืดหยุน อะลุม อลว ยตามสมควร

107

4. ความรับผดิ ชอบของธรุ กจิ ตอ คแู ขง ขัน แมวา คูแขง จะเปนฝา ยตรงขา มท่ีตอ งแขงขนั
แยงชงิ ลูกคา เพ่ิมยอดขาย เพมิ่ กําไรแกธุรกิจ แตการดําเนินธุรกิจท่ีดีตองมีความรับผิดชอบตอหนาที่
ของแตละฝายอยางถูกตอง การแขงขันจึงควรเปนไปตามแบบอยาง เปดเผยตรงไปตรงมาเยี่ยง
สุภาพชนพึงปฏิบัติ คือ 1) ไมใสรายปายสี สาดโคลนใสกัน 2) ไมตัดทางทํามาหากินดวยการทุม
ตลาดตัดราคา เพราะฝายตนเองมีศักยภาพที่เหนือกวา 3) ไมแยงชิงลูกคาดวยดวยเง่ือนไขที่เอารัด
เอาเปรียบ หรือกระทําการท่ีไรปรานีตอคูแขงขัน 4) ไมวางแผนลวงความลับของคูแขงและ
ดําเนินการตัดหนา 5) ใหความรวมมือในการแขงขันเพื่อสรางบรรยากาศทางการตลาดที่ดี 6) ไม
สรางสัมพันธทางการเมืองที่จะเอ้ือประโยชนตอกิจการของตนและไดเปรียบคูแขงขัน เชน การ
สนับสนนุ ทุนแกพ รรคการเมอื งใหญ การติดสินบนขา ราชการที่จะใหค ณุ แกธรุ กิจของตนได

5. ความรบั ผิดชอบของธุรกิจตอสังคม ธรุ กิจจาํ เปน ตองตระหนกั ถึงความสําคญั ของ
การอยูรวมกันในสังคม จึงตองรูจักการใหและมีสวนรวมในการสรางสรรคสังคม เพื่อใหเกิดความ
เจริญไปดวยกัน ดังน้ันธุรกิจตองปฏิบัติตอสังคมดวยความรับผิดชอบ คือ 1) ประกอบธุรกิจที่เปน
สัมมาอาชีวะ ดวยความซื่อสัตยสุจริต 2) ไมประกอบอาชีพที่กอใหเกิดความเส่ือมโทรมดานจิตใจ
วฒั นธรรมและศีลธรรม 3) ใหความเคารพในสิทธิทางปญญาของผูอ่ืน ไมลอกเลียน 4) ไมลักลอบ
คาขายสินคาตองหามตามกฎหมาย 4) มีความละเอียดรอบคอบในการสรางสรรคงานท่ีจะนําเสนอ
ออกสูสังคมดวยความระมัดระวัง 5) ไมสรางคานิยมที่บิดเบือนและทําใหเขาใจผิดตอพฤติกรรมท่ี
เหมาะทีค่ วรแกสงั คม 6) การดําเนนิ ธุรกิจทคี่ ํานงึ ถงึ ประโยชนทจี่ ะเกิดขึ้นกบั สังคม ชุมชน เชน การ
สรา งงานสรางรายได การเพ่ิมศักยภาพแกชุมชน การสรางสรรคกิจกรรมสงเสริมคุณภาพและความ
เขมแขง็ ใหแกส งั คม ชุมชน

6. ความรับผิดชอบของธุรกจิ ตอสงิ่ แวดลอ ม ทรัพยากรธรรมชาติถอื เปนสมบตั ิสวนรวม
ไมควรที่ใครจะยึดไปเพ่ือหาประโยชนสวนตัว โดยเฉพาะอยางยิ่งการดําเนินธุรกิจท่ีมีสวนทําลาย
ทรัพยากรและสิ่งแวดลอมไดอยางกวางขวาง จึงตองตระหนักถึงความรับผิดชอบอยางสูงย่ิง เพราะ
การทาํ ลายทรพั ยากรและสิ่งแวดลอมจะนํามาซึ่งความเสียหายอยางใหญหลวงตอผูคนและสังคมใน
วงกวางและเปนความเสียหายระยะยาว เชน เกิดภาวะโลกรอน เกิดอุทกภัย ฯ ตามที่ไดเกิดขึ้นทั่ว
ทุกมุมโลกในปจจุบันที่ไดประจักษอยางแจงชัดแลว ดังน้ันธุรกิจจึงตองมีความรับผิดชอบตอ
ส่ิงแวดลอม คือ 1) ไมทําลายทรัพยากรธรรมชาติ เชน การตัดไมทําลายปา การตัดหนาดินอยางผิด
หลักวิชาการ 2) ไมกอมลพิษตอสิ่งแวดลอม เชน การปลอยสารเคมีที่เปนพิษลงแหลงนํ้า ปลอย
ควันพิษ เสียงและกล่ินรบกวนท่ีเกินระดับมาตรฐานความปลอดภัย 3) การใชทรัพยากรธรรมชาติ
อยางประหยัดและมีการสรางทดแทน เชน การปลูกปาทดแทน การใชพลังงานอยางประหยัด การ

108

ใชสารเคมีอยางระมัดระวัง มีระบบการปองกันที่ดี 4) มีสวนรวมในการรณรงค สงเสริมและ
สนบั สนนุ โครงการตา ง ๆ ทีเ่ ก่ียวกบั การรกั ษาสภาพสงิ่ แวดลอม

7. ความรบั ผิดชอบของธุรกจิ ตอหนวยงานราชการ ซ่ึงถอื เปน หนว ยงานที่สนบั สนนุ การ
ดําเนินงานของธุรกิจใหไดรับความสะดวกและเปนไปอยางถูกตองตามกฎหมาย ดังนั้นเพ่ือใหเกิด
ความรวมมือและชวยเหลือกัน จึงควรปฏิบัติตอกันอยางมีความรับผิดชอบทางจริยธรรม คือ
1) ปฏบิ ตั ิตอ กันอยา งตรงไปตรงมา ตามกฎ ระเบียบ ขอ บังคับของกฎหมาย 2) แสดงรายงานผลการ
ดําเนินงานท่ีเปนจริงเพ่ือการเสียภาษีใหแกรัฐอยางถูกตอง ไมหลีกเล่ียงภาษี 3) ไมติดสินบน
เจาหนาท่ี หรือรวมมือกับเจาหนาที่ใหปฏิบัติหนาท่ีโดยมิชอบเพื่อประโยชนของตนและเอารัดเอา
เปรียบผูอ่ืน 4) ใหความรวมมอื และสนับสนุนหนวยงานราชการท่ีปฏิบัตหิ นา ทอ่ี ยางถกู ตอ ง
5) ควรมีทัศนคติและความปรารถนาดีตอกันระหวางหนวยงานธุรกิจกับหนวยงานราชการ จึงจะทํา
ใหเ กดิ ความเช่อื ถือไวว างใจกัน อนั เปน หนทางไปสูความรว มมอื ทีด่ ีตอกนั

ผลท่ีไดรับของธุรกจิ ที่มีความรับผิดชอบตอสงั คม

ความเปนจริงที่วาธุรกิจที่รูจักการเปนผูใหยอมจะเปนผูไดรับดวยเชนเดียวกัน ธุรกิจท่ี
มุงหวังท่ีจะเปนผูรับอยางเดียวจะไมเปนท่ียอมรับของสังคมชุมชนและไมไดรับการสนับสนุนจาก
ผบู รโิ ภค ซึ่งในทส่ี ุดกไ็ มส ามารถจะดํารงธรุ กจิ ใหอยตู อไปได

ดังเชนกรณีเหตุการณปจจุบันของการประทวงตอตานวอลลสตรีท ซ่ึงเปนการตอตาน
ระบบท่ีมีความไมยุติธรรมและโอนเอียงไปในทางสนับสนุนบริษัทขนาดใหญมากกวาชนชั้นกลาง
การประทวงยึดวอลลสตรีท(Occupy Wall Street) กลุมผูประทวงไดแสดงความโกรธแคนเกี่ยวกับ
ความละโมบขององคกร ภาวะโลกรอนและความไมเทาเทียมกันทางสังคม โดยตองการกดดันให
ผูกําหนดนโยบายตองดําเนินนโยบายท่ีถูกตองเหมาะสม เชน การลงทุนครั้งใหญเพ่ืออนาคตของ
ประเทศ ไดแก สาธารณูปโภคพื้นฐาน การจางงาน การศึกษา สาธารณสุข อุตสาหกรรมใหม ๆ
เหตุการณเชนนี้ลวนสะทอนถึงความรับผิดชอบขององคกรธุรกิจขนาดใหญและรัฐบาล
สหรัฐอเมริกาซ่ึงผูประทวงมีความรูสึกวา องคกรเหลานี้มีอิทธิพลเอารัดเอาเปรียบและรํ่ารวย
อยกู ลุม เล็ก ๆ เพียงกลุมเดียว ทงั้ ๆ ท่เี หตกุ ารณเหลาน้ีไมใชวา ไมเ คยเกดิ ขึ้น แตเม่ือใดที่ฝายใดก็ตาม
ไดอ ํานาจและมอี ิทธพิ ลเหลือลนก็มักจะเหลิงและหลงลืมตัว จนทําใหเกิดเหตุการณตอตาน ถาหาก
รูจักรับฟงและนํากลับมาทบทวน พรอมกับแกไขโดยหลักแหงคุณธรรมจริยธรรม ท่ีมีความ
รับผิดชอบตอผูที่เก่ียวของเหลานั้น ปญหาตาง ๆ ก็สามารถท่ีจะคล่ีคลายลงได ตามท่ี เนตรพัณณา
ยาวิราช. (2551 : 47) ไดนําแสดงถึงผลการศึกษาของ แซนดรา โฮมซ (Sandra Holmes) จากการ

109

สอบถามผูบริหารธุรกิจธนาคารพาณิชย การประกันภัย การขนสงและธุรกิจอ่ืน ๆ เก่ียวกับผลลัพธ
ของธรุ กจิ ท่มี ีจรยิ ธรรมทางธรุ กิจ ดังนี้

ผลลพั ธท างบวก (Positive Outcomes) ผลลพั ธท างลบ (Negative Outcomes)

1. ทาํ ใหอ งคก รมีชอื่ เสยี งและความนิยม 1. ทําใหกําไรระยะส้นั ลดลง รอยละ 59

รอ ยละ 97 2. ทาํ ใหเกดิ ความขดั แยง ในเปา หมายทาง

2. เปนองคกรทม่ี ีความเขม แขง็ ในสงั คม เศรษฐกจิ สงั คมและการเงนิ รอ ยละ 53

รอยละ 89 3. สนิ คาท่ีผลิตสูผ ูบริโภคมีราคาสูง รอยละ 41

3. ทาํ ใหม ีจุดแขง็ ดานเศรษฐกจิ และสังคม 4. เกิดความขดั แยงทางการบริหารจัดการ

รอ ยละ 63 รอยละ 27

4. พนักงานมีความพงึ พอใจสูง รอ ยละ 72 5. เปนที่ไมพ อใจแกผ ถู ือหุน รอ ยละ 24

5. ไมถูกกดดนั จากขอ กําหนดของกฎหมาย 6. ผลผลิตลดนอ ยลง รอ ยละ 18

รอยละ 63 7. กาํ ไรระยะยาวลดนอยลง รอ ยละ 13

6. เพม่ิ โอกาสทางธุรกิจ รอยละ 60 8. รัฐบาลเพิม่ ขอกําหนดของกฎหมายมากขน้ึ

7. ทําใหมีความสามารถในการบริหารจัดการท่ี รอ ยละ 11

ดี รอ ยละ 55 9. องคก รมีจดุ ออ นดานระบบเศรษฐกจิ และ

8. รกั ษาลกู คาไวไดยาวนาน รอ ยละ 40 สังคม รอ ยละ 7

9. มกี ารลงทนุ เพอื่ สังคมในรปู แบบตาง ๆ 10. เพิม่ กําไรระยะสน้ั ได รอยละ 36

รอยละ 38

จากผลการศึกษาขางตนจะเห็นวา การมีจริยธรรมและความรับผิดชอบตอสังคมจะเปน
ประโยชนตอธุรกิจ แมวาในระยะส้ันจะทําใหตนทุนสูงและกําไรลดลง แตจะสงผลดีในระยะยาว
ซึ่งจะทาํ ใหธ ุรกิจสามารถบรรลุเปาหมายกําไรสงู สดุ เจริญเติบโตอยางม่ันคงและย่ังยืน ดวยเหตุแหง
จริยธรรมของธุรกิจไดสง ผล ดังตอ ไปนี้

1. ทําใหภ าพลักษณของธรุ กิจดี ยอมเปน ท่ีนา เชอื่ ถอื (Credit) แกทั้งบคุ คลภายในและ
ภายนอกองคก ร

2. พนักงานยอ มเกดิ ขวญั และกาํ ลงั ใจในการทํางานดวยความทุมเท (Devotion) สงผลตอ
ประสิทธภิ าพและประสทิ ธผิ ลของงาน

3. ไดร บั การยอมรบั และความไววางใจในสนิ คาและบริการ รวมถึงองคก รธุรกิจดว ย
นาํ มาซ่ึงความนยิ มและภักดตี อตราสินคา (Brand Loyalty)

110

4. ธุรกจิ ทมี่ ีจริยธรรมและความรับผิดชอบตอ สงั คม ยอ มไมเ ปนท่เี พงเล็งของผูร ักษา
กฎหมาย จึงไมไดรับความกดดันและยังสามารถทํางานรวมกันในการดูแลและชวยเหลือสังคมได
อีกดวย

5. บุคลากรทุกคนทกุ ระดับในองคก รยอ มอยรู วมกนั อยางมคี วามสงบสุขและมี
ความสมั พันธท ี่ดีกบั ชุมชนและสังคม

6. โอกาสทางธุรกิจและการบริหารจดั การที่ดียอ มเปนของธรุ กิจนัน้

บทบาทองคก รทางธรุ กิจทเ่ี กี่ยวกบั ความรับผดิ ชอบทางสงั คม

แนวคิดการดําเนินธุรกิจที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบตอสังคมไดแพรหลาย จนเกิด
องคกรความรวมมือระดับนานาชาติและองคกรความรวมมือในประเทศไทย ที่รวมตัวกันเพื่อทํา
หนาท่ีกําหนดกฎระเบียบขอบังคับ เพื่อสงเสริมและสนับสนุนการดําเนินธุรกิจใหมีการพัฒนาท่ี
ยั่งยืน เชน

1. มูลนธิ ิอนาคตโลก (Global Futures Foundation : GFF) เปน การรวมตัวกนั ขององคก ร
ขนาดใหญ รฐั บาลและกลมุ ผสู นับสนนุ เพอื่ แกไ ขขอ ขดั แยง และสรา งโอกาสในการดําเนินธรุ กจิ

2. หอการคาระหวา งประเทศ (International Chamber of Commerce : ICC) จัดตัง้ ขนึ้ เพอ่ื
วัตถุประสงคในการสงเสริมการคาเสรีและการประกอบการของธุรกิจเอกชน ใหบริการแกองคกร
ธุรกิจและเปนตัวแทนของธุรกิจเอกชนเพื่อปกปองผลประโยชนทางธุรกิจ ท้ังในระดับประเทศและ
ระหวางประเทศ ซึ่งมสี มาชกิ จากทั่วโลก 130 ประเทศ

สําหรับประเทศไทยไดกอต้ังหอการคานานาชาติแหงประเทศไทย (ICC Thailand) เม่ือ
พ.ศ. 2542 ดวยความรวมมอื ของสภาหอการคาแหงประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย
และสมาคมธนาคารไทย โดยเขาเปนสมาชิกของหอการคาระหวางประเทศ (ICC) มีวัตถุประสงค
เพื่อสนับสนุนและสงเสริมใหภาคธุรกิจไทยมีบทบาทโดยตรง ในการรวมกําหนดนโยบายทางการ
คาและการลงทุนในเวทีโลก

3. สถาบนั การบรหิ ารธุรกจิ และสิง่ แวดลอ ม (Management Institute for Environment
and Business : MEB) มีวัตถุประสงคเพ่ือชวยเหลือบริษัทในการปรับปรุงคุณภาพของสิ่งแวดลอม
โดยผานความสําเร็จขององคกรธุรกิจ สงเสริมโอกาสการพัฒนาใหกับธุรกิจโดยการทํางานรวมกับ
โรงเรียน เพื่อรวมประเด็นปญหาทางดานสิ่งแวดลอมเขาในหลักสูตร ตลอดจนใหมีการขยาย
อตุ สาหกรรมและการฝก อบรม เพ่ือใหเ กดิ การพฒั นาทีย่ งั่ ยืน

111

4. สภาธรุ กิจของโลกเพ่อื ความเจรญิ เตบิ โตทีย่ ่ังยนื (World Business Council for
Sustainable Development : WBCSD) เปนการรวมตัวกันของบริษัทระหวางประเทศจํานวน 125
บริษัท โดยมีการรวมมือกันสําหรับงานดานสิ่งแวดลอม เพ่ือสงเสริมความเจริญเติบโตทางดาน
เศรษฐกจิ และมีการพัฒนาอยางยงั่ ยืน

5. สถาบันธรุ กจิ เพื่อสงั คม (Corporate Social Responsibility Institute : CSRI) ไดจ ดั ตง้ั
ขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2550 ภายใตเจตนารมณในการสงเสริมความรับผิดชอบตอสังคมและ
สิ่งแวดลอมของภาคธุรกิจ โดยสถาบันจะทําหนาท่ีเปนศูนยกลางการสงเสริมแนวคิดและวิธีปฏิบัติ
เกย่ี วกบั การดําเนินธุรกิจดว ยความรบั ผิดชอบตอ สงั คมและสิ่งแวดลอมแกห นว ยงานในภาคธรุ กิจ
ดวยการสนบั สนุนของภาครัฐ ภาคเอกชนและความรวมมอื กับ 10 ผนู ําองคกรจากภาคธุรกจิ ไดแก
ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพยแ หงประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแหง ประเทศไทย
ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย นายกสมาคมบริษัทหลกั ทรัพย นายกสมาคมบรษิ ัทจัดการลงทุน
นายกสมาคมสงเสริมผูลงทุนไทย รองประธานหอการคาไทย เลขาธิการสมาคมธนาคารไทยและ
อปุ นายกสมาคมบริษทั จดทะเบยี น

สําหรับประเทศไทยแนวคิดของ CSR ยังมีความรูและความเขาใจเม่ือไมนานนักและยังมี
ความคลาดเคล่ือนไมนอย จากการสํารวจของสถาบันไทยพัฒน เม่ือปพ.ศ.2552 เก่ียวกับระดับการ
พัฒนา CSR โดยแยกเปนภาคธุรกิจในเขตกรุงเทพและปริมณฑล กับสวนภูมิภาค พบวา ในเขต
กรุงเทพและปริมณฑล รอยละ 27 เพ่ิงเรียนรูและทําความเขาใจ รอยละ 53 ปฏิบัติไดดีระดับหน่ึง
และรอยละ 16 มีความกา วหนา ดมี าก ขณะทีใ่ นสวนภมู ิภาค รอยละ 45 เพงิ่ เรียนรูและทําความเขาใจ
รอยละ 40 ปฏิบัติไดดีระดับหน่ึงและรอยละ 12 มีความกาวหนาดีมาก ท่ีเหลือตอบวาไมแนใจ
ฉะนั้นความรับผิดชอบของธุรกิจตอสังคม จึงเปนเรื่องท่ีจะตองไดรับการพัฒนาตอไป เพ่ือให
บทบาทขององคกรเอกชนตาง ๆ ไดตระหนักถึงจริยธรรมและความรับผิดชอบตอสังคมอยาง
ถกู ตอ งและจริงจงั ไมใ ชเปนเพียงการสรา งภาพฉาบฉวยเพอื่ ประโยชนข องธุรกจิ ตนเองเปนสําคัญ

บทบาทขององคก รเอกชนทางธุรกิจทม่ี คี วามรับผดิ ชอบทางเศรษฐกจิ

1. สมาคมหอการคาแหงประเทศไทย เกิดขึ้นจาก สภาการคา โดยจดทะเบียนตัง้ แตป
พ.ศ. 2498 มีวัตถุประสงค เพ่ือใหเปนองคกรรวมของพอคาไทยและพอคาตางประเทศในประเทศ
ไทย ในการสงเสริมและจัดระเบียบเกี่ยวกับการคา รวมท้ังใหคําปรึกษาและรายงานขอเท็จจริง
เกี่ยวกับเศรษฐกิจ การคา อุตสาหกรรม การขนสง การผลติ การคลงั และการเงินตอ รฐั บาล

ในชวงปพ.ศ.2510-2514 เปนชวงเวลาที่รัฐบาลไดใหความสําคัญตอบทบาทของ
ภาคเอกชนเขามามีสวนรวมพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น ไดพิจารณาเห็นวา เศรษฐกิจของ

112

ประเทศจะพัฒนาใหบรรลุเปาหมายได ตองไดรับการตอบสนองและไดรับความรวมมืออยาง
ใกลชิดจากภาคเอกชน ฉะนั้นเพื่อความรวมมือระหวางภาครัฐบาลกับเอกชน จึงไดปรับเปล่ียน
โครงสรางและคําจํากัดความของสถาบันการคาภาคเอกชนเสียใหม รวมทั้งกําหนดสิทธิหนาท่ีของ
สถาบนั กลางใหมด วย โดยใหม ีบทบาทหนาที่แตกตา งไปจากสมาคมการคา กฎหมายเดิมเพ่ือใหการ
ประสานงานกับภาครฐั บาลเปนผลดีและเปน ประโยชนต อ เศรษฐกจิ ของประเทศโดยสว นรวม

รัฐบาลไดตราพระราชบัญญัติหอการคา พ.ศ. 2509 ขึ้นเปนการเฉพาะและไดตรา
พระราชบัญญัติสมาคมการคาขึน้ เปน การเฉพาะดว ย สภาการคาจงึ ไดถูกเปล่ียนชื่อใหมตามมาตรา 6
และ 16 แหงพระราชบัญญัติหอการคา พ.ศ. 2509 เปน "สภาหอการคาแหงประเทศไทย"
(สภาหอการคา. ออนไลน. 2554) โดยมีหอการคาอีก 3 ประเภท อยูภายใตพระราชบัญญัตินี้ คือ
หอการคา ไทย หอการคา ตางประเทศและหอการคา จงั หวดั

2. สภาอตุ สาหกรรมแหงประเทศไทย เปนองคก รซึ่งเปนตวั แทนของภาคอตุ สาหกรรม
เอกชนของประเทศไทย มีวัตถุประสงคเพื่อประสานนโยบายภาครัฐกับเอกชน สงเสริมและพัฒนา
การประกอบอุตสาหกรรมและดูแลสมาชิกใหปฏิบัติตามนโยบายสภาอุตสาหกรรม ฯ โดยไดรับ
การยกฐานะเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2530 จากสมาคมอุตสาหกรรมไทย ภายใตการกํากับดูแล
ของรัฐมนตรีวาการกระทรวงอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย
พ.ศ. 2530 มีอาํ นาจหนา ท่ี ดังน้ี

2.1 เปนตัวแทนของผูประกอบอุตสาหกรรมภาคเอกชน ในการประสานนโยบาย
และดําเนนิ การกับรัฐ

2.2 สงเสริมและพฒั นาการประกอบอตุ สาหกรรม
2.3 ศึกษาและหาทางแกไ ขปญ หาเกีย่ วกับการประกอบอุตสาหกรรม
2.4 สง เสริม สนับสนุนการศกึ ษา วจิ ยั อบรม เผยแพรว ชิ าการและเทคโนโลยเี กย่ี วกบั
อตุ สาหกรรม
2.5 ตรวจสอบสนิ คา ออกใบรบั รองแหลงกาํ เนดิ หรือใบรบั รองคุณภาพสนิ คา
2.6 ใหค าํ ปรึกษาและเสนอแนะแกร ัฐบาล เพอื่ พัฒนาเศรษฐกิจดานอุตสาหกรรม
2.7 สง เสรมิ นกั อตุ สาหกรรมและเปนแหลง กลาง สาํ หรบั นกั อุตสาหกรรม
แลกเปลยี่ นความคิดเหน็ เพ่อื ประโยชนต อ วงการอตุ สาหกรรม
2.8 ควบคมุ ดแู ลใหส มาชิกปฏิบัตติ ามกฎหมายเกย่ี วกับการประกอบอตุ สาหกรรม
2.9 ปฏิบตั กิ ิจการอน่ื ๆ ตามกฎหมายกาํ หนด
นอกจากนยี้ ังรว มใหคาํ ปรึกษาและเปน กรรมการในคณะกรรมการรวมภาครัฐบาลและ
เอกชนเพ่อื แกไ ขปญ หาทางเศรษฐกิจและคณะทาํ งานตา ง ๆ

113

ความรบั ผิดชอบของธรุ กิจตอ องคกรทางสงั คม

1. สมาคมนายจาง (Employers’ Associations) เปน องคกรของนายจางท่จี ดั ตง้ั ข้นึ ตาม
พระราชบญั ญัติแรงงานสมั พนั ธ พ.ศ.2518 โดยผเู ปน นายจา งท่ปี ระกอบกิจการประเภทเดียวกนั มี
วตั ถุประสงค ดังน้ี

1.1 แสวงหาและคมุ ครองผลประโยชนเ กยี่ วกับสภาพการจา ง เชน เงอื่ นไขการจา ง
หรือการทํางาน กําหนดวันเวลา ทํางาน คาจาง สวัสดิการ การเลิกจาง หรือประโยชนอื่นของ
นายจาง หรือลูกจา งอนั เกี่ยวกบั การจา ง หรือการทาํ งาน

1.2 สง เสรมิ ความสัมพันธอนั ดรี ะหวา งนายจา งกบั ลกู จางและระหวา งนายจาง
ดวยกนั

การขอจดทะเบียนสมาคมนายจาง โดยนายจางผูมีสิทธิจัดตั้งสมาคมนายจาง จํานวนไม
นอยกวา 3 คนเปน ผเู ร่มิ กอการ ย่นื คําขอเปน หนงั สือตอนายทะเบยี น พรอมรางขอบังคับของสมาคม
นายจา งอยางนอย 3 ฉบับ คาํ ขอตอ งระบุชอ่ื อายุ อาชพี หรอื วิชาชีพและทอี่ ยูข องผเู ริม่ กอการทุกคน

สมาคมนายจางตองมีขอบังคับ กรรมการบริหารและตองจดทะเบียนตอนายทะเบียน เมื่อ
ไดรบั การจดทะเบียนแลวมฐี านะเปนนิติบคุ คล

2. สหภาพแรงงาน (Trade Union) คือ การรวมตัวกนั ของกลมุ ลกู จางโดยมวี ัตถุประสงค
ที่จะใหมีการดําเนินการตาม หรือเปล่ียนแปลงขอตกลงเกี่ยวกับสภาพการจาง โดยมีหนาท่ีหลัก
สําคญั ดังน้ี

2.1 การจัดเตรยี มสิ่งอํานวยประโยชนแกส มาชกิ สหภาพแรงงาน ซ่งึ ในระยะแรกมี
ลักษณะคลายกับสังคมที่เปนมิตร (Friendly Society) ทําหนาท่ีตระเตรียมผลประโยชนตาง ๆ
เพื่อที่จะทําใหสมาชิกสหภาพแรงงานมีความมั่นใจในกรณีถูกเลิกจาง เจ็บปวย เกษียณอายุและ
คาใชจายในการทําศพ ในประเทศพัฒนาแลวหลายประเทศ หนาท่ีดังกลาวเปนหนาท่ีของรัฐ แต
อยางไรก็ตามการจัดเตรียมการฝกอาชีพ การใหคําปรึกษาทางดานกฎหมายและบทบาทในการเปน
ตัวแทนของสมาชิกสหภาพกย็ ังคงเปนผลประโยชนทส่ี าํ คัญของสมาชกิ สหภาพแรงงาน

2.2 การสรา งพลงั ตอ รองของสหภาพแรงงาน สามารถดาํ เนนิ การไดอ ยา งเปด เผยและ
เปน ท่ีรบั รขู องนายจางและกลุมนายจาง สหภาพแรงงานสามารถเจรจากับนายจางไดทั้งในเร่ืองของ
คาจา งและสภาพการทํางาน

2.3 การกระทําทางแรงงานของสหภาพแรงงาน อาจจัดใหมีการนัดหยุดงาน การ
ตอ ตานการปดงาน เพือ่ ผลักดนั เปาหมายบางประการ

114

2.4 กจิ กรรมทางการเมอื งของสหภาพแรงงาน อาจเรยี กรอ งใหม กี ารบัญญัติกฎหมาย
ท่ีเปนประโยชนโดยรวมแกสมาชิกสหภาพแรงงาน ลูกจาง ดังนี้สหภาพแรงงานอาจดําเนินการโดย
การจัดการรณรงค ชักชวนใหสมาชิกรัฐสภาสนับสนุนการออกกฎหมาย (Lobbying) หรือใหความ
สนับสนุนทางการเงินแกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหน่ึง หรือผูสมัครอิสระ เชน พรรค
แรงงาน(Labour Party) ในสหราชอาณาจักร

3. การประกันสงั คม มีแนวคดิ เรม่ิ จากยโุ รป เนอ่ื งจากการเปลี่ยนแปลงของระบบการ
ผลติ จากการนําเคร่ืองจกั รและพลังงานน้ํามาแทนแรงงานคน ทําใหเกิดปญหาท่ีรัฐจะตองเขามาดูแล
โดยออกกฎหมายใหหลักประกันแกคนงาน โครงการแรกเปนการประกันเก่ียวกับการเจ็บปวย ซ่ึง
เรม่ิ ในประเทศเยอรมนั

การประกันสังคมในประเทศไทย มีกฎหมายประกันสังคมฉบับแรกพ.ศ. 2497 กฎหมาย
ฉบับนี้ผานรัฐสภาพรอมจะประกาศใช แตประสบปญหาในนโยบายทําใหไมสามารถบังคับใช
กฎหมายได จนกระทั่งกฎหมายถูกรางเสนอและสนับสนุนโดยกรมประชาสงเคราะห มีเนื้อหาให
ความคุมครองบุคคล 2 ประเภท คือ ผูประกอบอาชีพรับจางและประชาชนท่ัวไปที่สมัครใจประกัน
ตนเอง

พ.ศ. 2515 มีการประกาศใชกฎหมายแรงงาน (ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103)
กําหนดใหมีการจัดต้ังสํานักงานกองทุนเงินทดแทนขึ้นในกรมแรงงาน ทําหนาท่ี เรียกเก็บเงิน
สมทบจากนายจางและสถานประกอบการท่ีมีลูกจาง 20 คนข้ึนไป เงินสมทบท่ีเก็บน้ีนํามาจายเปน
คาทดแทนแกล กู จาง ซงึ่ ประสบอนั ตราย หรอื เจ็บปวยเนอ่ื งจากการทํางานใหน ายจา ง เงินทดแทนท่ี
จายประกอบดวย คาจาง คารักษาพยาบาล คาสูญเสียสมรรถภาพในการทํางานและคาทําศพ สวน
จํานวนเงินคาทดแทนเปนไปตามความรายแรงของความเสียหายท่ีลูกจางไดรับ เชน กรณีลูกจาง
ประสบอันตรายและไดรับบาดเจ็บท่ีนิ้ว หรือมือ ลูกจางก็จะไดเงินคาทดแทนเทากับรอยละ 60 ของ
คาจางตลอดระยะเวลาที่รักษาตัว กรณีที่ลูกจางตองสูญเสียอวัยวะ เชน น้ิวมือ มือและแขนขาก็จะ
ไดรับคาทดแทนเปนรอยละ 60 ของเงินเดือน ในกรณีสูญเสียมากหรือทุพพลภาพ ก็ไดรับคา
ทดแทนเปน รอยละ 60 เปน เวลา 10 ป เปนตน

วิธีการและหลักการของการประกันสังคม ประเทศท่ีมีการประกันสังคมจะมีกฎหมาย
กําหนดใหรัฐบาลทําหนาที่ เรียกเก็บเงินสมทบจากประชาชน เพ่ือรวบรวมเปนกองทุนกลาง โดยมี
การจัดต้ังสํานักงานขึ้นทําหนาที่บริหารเงินทุน การเก็บเงินน้ีจะเรียกเก็บในชวงระยะเวลาท่ีคน ๆ
น้ันสามารถทํางานและมีเงิน นํามาเก็บสะสมเปนเงินออมไปเรื่อย ๆ แนวคิดน้ีเหมาะกับสังคม
อุตสาหกรรมท่ีประชาชนตองปรับตัว ปรับสภาพการดําเนินชีวิต ตองขวนขวายหางานทําเพ่ือใหมี
รายไดและปจ จัยส่มี าดํารงชพี

115

การประกันสังคมชวยเศรษฐกิจอยางไร การประกันสังคมเปนกระบวนการหนึ่งทาง
เศรษฐกิจที่สงเสริมใหประชาชนออมทรัพยในชวงท่ีมีรายไดและจะคืนเปนคาทดแทนแกผูเอา
ประกันในชวงที่ขาดรายได การหมุนเวียนของเศรษฐกิจในรูปแบบน้ีทําใหประชาชนไมขาดกําลัง
ซื้อ เศรษฐกจิ จงึ จะหมุนเวยี นและขยายตวั ได การประกันสังคมจะชว ยเศรษฐกิจไดมากในชวงภาวะ
เศรษฐกิจตกตํ่า จึงถือวาเปนการสรางความมั่นคงของคนในสังคมรวมกัน กระจายรายได ชวยเหลือ
ผูประสบภัยและผูดอยโอกาส สังคมใดที่ประชาชนมีความแตกตางกันนอยในเร่ืองรายไดและความ
เปนอยู ตลอดจนโอกาสในการสรางความมนั่ คงใหช ีวติ สังคมน้นั จะสงบสุขและมีปญหาทางสังคม
นอย

4. องคก รคุมครองผูบรโิ ภคของภาครัฐ เม่ือป พ.ศ. 2512 เจา หนา ท่สี หพันธอ งคก าร
ผูบริโภคระหวางประเทศ ซึ่งเปนองคการอิสระที่ไมเก่ียวของกับการเมือง จัดตั้งโดยสมาคม
ผบู รโิ ภคของประเทศตาง ๆ รวมตวั กันมสี าํ นกั งานใหญตง้ั อยทู ่กี รงุ เฮก ประเทศเนเธอรแ ลนด เขามา
ชักชวนองคการเอกชนในประเทศไทยใหมีการจัดต้ังสมาคมผูบริโภค แตไมประสบผลสําเร็จ
เน่ืองจากขณะนั้นองคการเอกชนของประเทศไทยยังไมพรอมท่ีจะดําเนินงาน จนกระท่ังคร้ังท่ี 3
องคการเอกชนประเทศไทยไดรับการชักชวนอีก จึงไดต้ังคณะกรรมการเพ่ือการศึกษาปญหาของ
ผบู ริโภค มชี ่อื วา กรรมการศกึ ษาและสงเสริมผูบริโภคใน ป พ.ศ. 2514 และไดมีวิวัฒนาการเร่ือยมา
ในภาคเอกชน รวมท้ังไดประสานงานกับภาครัฐบาล จนกระทั่งในปพ.ศ. 2519 และไดสลายตัวไป
ตอมารัฐบาลเล็งเห็นความสําคัญและความจําเปนในการคุมครองผูบริโภคจึงไดมีการจัดตั้ง
คณะกรรมการคุมครองผูบริโภคขึ้นอีกคร้ัง โดยศึกษาหามาตรการถาวรในการคุมครองผูบริโภค
ท้ังในหลักสาระบัญญัติและการจัดองคกรของรัฐเพื่อคุมครองผูบริโภค จึงไดพิจารณายกราง
กฎหมายวาดวยการคุมครองผูบริโภคและรัฐบาลไดนําเสนอตอรัฐสภา มีมติเห็นชอบเปนเอกฉันท
ใหตราเปนพระราชบัญญัติคุมครองผูบริโภค พ.ศ. 2522 ใหเปนไปเพ่ือผูเก่ียวของ 3 ฝายไดแก
ผูบริโภค ผปู ระกอบการและสาํ นักงานคุม ครองผูบรโิ ภค คอื

4.1 เพอื่ กาํ หนดสทิ ธิของผบู รโิ ภค
4.2 เพอ่ื กาํ หนดหนา ที่ของผปู ระกอบธุรกิจ
4.3 เพอื่ กาํ หนดใหม กี ารจัดตง้ั องคก รของรัฐ เพื่อคุมครองผูบ รโิ ภค
ปพ.ศ. 2550 รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย ไดบัญญัติเก่ียวกับสิทธิของผูบริโภคไว
ในมาตรา 61โดยมีรายละเอยี ดตลอดจนหลักการและเหตุผล ดังน้ี
มาตรา 61 สิทธิของบุคคลซ่ึงเปนผูบริโภคยอมไดรับความคุมครองในการไดรับขอมูลที่
เปน ความจริงและมีสิทธิรองเรียน เพ่ือใหไดรับการแกไขเยียวยาความเสียหาย รวมท้ังมีสิทธิรวมตัว
กันเพื่อพิทักษสิทธิของผูบริโภค ใหมีองคการอิสระเพ่ือการคุมครองผูบริโภคซึ่งประกอบดวย

116

ตัวแทนผูบริโภคทําหนาที่ใหความเห็นเพ่ือประกอบการพิจารณาของหนวยงานของรัฐในการตรา
และการบังคับใชกฎหมาย และกฎ และใหความเห็นในการกําหนดมาตรการตาง ๆ เพ่ือคุมครอง
ผูบริโภค รวมท้ังตรวจสอบและรายงานการกระทํา หรือละเลยการกระทําอันเปนการคุมครอง
ผูบ รโิ ภค

การบัญญัติมาตรา 61 มีหลักการและเหตุผลเพื่อการคุมครองใหกับผูบริโภคใหชัดเจน
ย่ิงขึ้น เชน สิทธิในการไดรับขอมูลท่ีเปนความจริง สิทธิรองเรียนเพ่ือใหไดรับการแกไขเยียวยา
ความเสียหาย เปนตน เพื่อใหผูบริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซ้ือสินคาบนพื้นฐานของขอมูลที่
ถูกตองและมีชองทางในการเรียกรอง เพ่ือใหไดรับการเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งกําหนดใหมี
องคกรอิสระเพ่ือการคุมครองผูบริโภคแยกตางหากจากการดําเนินการของรัฐ เพ่ือทําหนาท่ีให
ความเห็นและเสนอแนะตอการดําเนินงานของรัฐ และการตรวจสอบการกระทําที่เก่ียวของกับ
การคมุ ครองผูบรโิ ภค

นอกจากน้ีพระราชบัญญัติคุมครองผูบริโภค พ.ศ. 2522 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)
พ.ศ.2541 ไดบ ญั ญตั ิกําหนดสิทธขิ องผบู รโิ ภคใหไ ดรับการคมุ ครองในมาตรา 4 ดังน้ี

1) สิทธทิ ่จี ะไดร บั ขาวสารรวมทง้ั คําพรรณนาคณุ ภาพทถี่ ูกตองและเพยี งพอ
เกี่ยวกบั สนิ คาหรือบรกิ าร

2) สิทธิทจ่ี ะมอี ิสระในการเลอื กหาสนิ คาหรือบรกิ าร
3) สทิ ธทิ ีจ่ ะไดร บั ความปลอดภัยจากการใชสินคาและบริการ
3 ทวิ) สทิ ธทิ ี่จะไดร ับความเปนธรรมในการทําสัญญา
4) สทิ ธทิ จี่ ะไดร ับการพจิ ารณาและชดเชยความเสยี หาย
นอกจากนก้ี ฎหมายยังไดก ําหนดอํานาจหนา ท่ีของคณะกรรมการคมุ ครองผูบรโิ ภคไวใ น
มาตรา 10 แหง พระราชบัญญัติคมุ ครองผูบรโิ ภค พ.ศ.2522 ดังนี้
1) พจิ ารณาเรือ่ งราวรอ งทกุ ขจ ากผบู รโิ ภคท่ีไดร บั ความเดอื ดรอ น หรือเสยี หาย
อนั เนื่องมาจากการกระทําของผูประกอบธุรกจิ ตอไป
2) ดาํ เนนิ การเกีย่ วกับสินคาท่ีอาจเปนอันตรายแกผูบริโภคตามมาตรา 36
3) แจง หรอื โฆษณาขาวสารเกี่ยวกับสินคา หรือบรกิ ารทีอ่ าจกอ ใหเกดิ ความ
เสียหาย หรือเสื่อมเสียแกสิทธิของผูบริโภค ในกรณีนี้อาจระบุชื่อสินคา หรือบริการ หรือช่ือของ
ผปู ระกอบธุรกจิ ดวยกไ็ ด
4) ใหคําปรึกษาและแนะนําแกคณะกรรมการเฉพาะเร่ืองและพิจารณาวินิจฉัย
การอุทธรณค าํ สงั่ ของคณะกรรมการเฉพาะเร่อื ง

117

5) วางระเบียบเกย่ี วกับการปฏิบตั หิ นาท่ีของคณะกรรมการเฉพาะเรอ่ื งและ
คณะอนกุ รรมการ

6) สอดสองเรง รัดพนกั งานเจาหนาที่ สว นราชการ หรอื หนว ยงานอนื่ ของรฐั ให
ปฏิบัติตามอํานาจหนาท่ีที่กฎหมายกําหนด ตลอดจนเรงรัดพนักงานเจาหนาที่ใหดําเนินคดีใน
ความผดิ เกี่ยวกบั การละเมดิ สทิ ธขิ องผบู ริโภค

7) ดาํ เนนิ คดเี ก่ยี วกับการละเมิดสิทธิของผบู ริโภคที่คณะกรรมการเห็นสมควร
หรอื มผี ูร อ งขอตามมาตรา 39

8) รับรองสมาคมตามมาตรา 40
9) เสนอความเหน็ ตอคณะรฐั มนตรีเกยี่ วกบั นโยบายและมาตรการในการ
คุมครองผูบริโภคและพิจารณาใหความเห็นในเร่ืองใด ๆ ที่เก่ียวกับการคุมครองผูบริโภคตามที่
คณะรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีมอบหมาย
10) ปฏบิ ัตกิ ารอืน่ ใดตามทกี่ ฎหมายกาํ หนดไวใหเ ปนอาํ นาจของคณะกรรมการ
ในการปฏิบัติหนาที่นี้ คณะกรรมการอาจมอบหมายใหสํานักงานคณะกรรมการคุมครองผูบริโภค
เปน ผปู ฏบิ ตั ิ หรือเตรียมขอ เสนอมายังคณะกรรมการเพ่อื พิจารณาดําเนนิ การตอไปได

สรปุ

การดําเนินธุรกิจจําเปนตองมีจริยธรรม จึงตองมีการสงเสริมนักธุรกิจท่ีดีใหมีคุณสมบัติ
ท้ังบุคลิกสวนตัว ความรูความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรมในการเปนผูบริหารท่ีดี ดังนั้นจึง
ตองสงเสริมดวยการสรางความรวมมือระหวางองคกรธุรกิจดวยกัน การออกกฎระเบียบ ขอบังคับ
การจัดทําโครงการอบรม การสรางเกณฑมาตรฐานในการตรวจสอบและประเมิน การลงโทษและ
การใหรางวัล ตลอดจนการสรางความสัมพันธกับชุมชนดวย นอกจากการดําเนินธุรกิจท่ีมี
จริยธรรมแลว ธุรกิจยังตองมีความรับผิดชอบตอสังคมดวย หมายความวา ดําเนินธุรกิจไปตาม
ครรลองของกฎหมายและจริยธรรม ที่ใชหลักการ 2 ประการ คือ หลักการกองทุนและหลักการของ
ผูพิทักษ ขอบเขตความรับผิดชอบของธุรกิจท่ีมีตอผูมีสวนไดสวนเสีย ทั้งภายในและภายนอก
องคกร ไดแก ผูถือหุน ผูบริหาร พนักงาน ลูกคา คูคา คูแขง หนวยงานราชการ ชุมชน สังคม
รวมถึงดานสิ่งแวดลอม โดยจะเกี่ยวของกับสิทธิดานความปลอดภัย การรับรู การบอกกลาว การ
ไดร ับการศกึ ษา การเลอื กและการไดรบั การปกปอง การมคี วามรับผดิ ชอบตอสังคมจะไดรับผลลัพธ
ที่ดีในระยะยาวเชนเดียวกับการมีจริยธรรมทางธุรกิจ แนวคิดการดําเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ
ตอสงั คมไดแพรหลายและองคกรธุรกิจตางขานรับจนมีการรวมตัวกันจัดต้ังเปนองคกรท่ีจะเขามามี
บทบาทในการสงเสริมและสนับสนุนใหเกิดการพัฒนาความรับผิดชอบตอสังคม ทั้งท่ีเปนองคกร

118

ภายในประเทศและองคกรตางประเทศ แมแตบทบาทขององคกรเอกชนทางธุรกิจเชน สมาคม
หอการคาแหงประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย ท่ีมีบทบาทในการรวมมือกับรัฐ
รับผิดชอบตอเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนบทบาทความรับผิดชอบของธุรกิจตอองคกรทาง
สังคม เชน รับผิดชอบตอสมาคมนายจาง สหภาพแรงงาน การประกันสังคม องคกรคุมครอง
ผบู รโิ ภคของภาครฐั

กรณีศกึ ษา

1. “ตองบอกวา CSR ท่แี ทจ รงิ ตอ งมาจากตวั เรา ถาเราอยากจะเปน คนดี ตองเปนคนดตี อ
ครอบครวั กอ นทจี่ ะดตี อคนนอกบาน”

คําพูดในขอที่ 1 ใหบทเรียนและแงคดิ อะไรแกนกั ศึกษา
2. “เรากเ็ ลยตอ งเรียนรูวิธกี ารใหดว ยความเคารพ สิ่งทเี่ ราชวยคอื ชวยใหเขาไดก ลบั มามี
อาชพี สามารถกลบั มาหากนิ เองได เรากม็ กี ลั ยาณมติ ร เขามาสมทบ เอาเงนิ มารว ม เราสรา งอูตอ เรือ
ให ตอ เรือใหชาวบา น ตอนนที้ กุ บา นมีเรือครบแลว อตู อ เรอื ก็พัฒนากลายเปนโรงเรยี น เพอื่ ใหคนมี
อาชีพเสรมิ เพ่ิมเตมิ ขึ้น”
“มีชาวบา นเกาะหน่งึ เลา วา เขาอยหู า งไกล เวลาจะไปทเี่ กาะ เขาตอ งลงเรอื ไป ไมค อยมี
อาหารกิน พืชผกั ทีป่ ลกู ก็หมด ก็มคี นสงมามาไปให เขากน็ าํ้ ตาไหล เพราะเปนมามาหมูสับท้งั หมด
คนแถบนเ้ี ปน มุสลมิ เขาเอามามาไปโปรยใหป ลากนิ เขายังมีปลา เราเลยตอ งมาดวู า เขามีวัฒนธรรม
อยางไร ศาสนาเปนอยา งไร การดาํ เนนิ ชวี ติ เปนอยา งไร”
คาํ พดู ในขอท่ี 2 ใหบทเรียนและแงค ดิ อะไรแกนักศึกษา
3. “เรื่องของ CSR ไมไดเ รมิ่ ตน ท่นี โยบาย แตเ รม่ิ ตน จากการทเ่ี ราทาํ งานท่อี ยูต รงหนา
ของเราใหดที ส่ี ดุ ซงึ่ จะเกดิ คณุ คา ในตวั เอง “การทเี่ รามธี ุรกจิ เลก็ ๆ เราก็ทาํ ธรุ กจิ เลก็ ๆ บนความชอบ
ธรรม บนความดีงาม พอมีกาํ ไร เรากช็ ว ยเหลือคนอ่นื ถาตอ ไปเราขยายรานไปได เราก็ขยายราน
ออกไป CSR ไมไดเกดิ จากเรอ่ื งท่ีใหญโตอะไร”
คาํ พดู ในขอ ที่ 3 ใหบ ทเรยี นและแงคดิ อะไรแกนักศึกษา

119

บรรณานกุ รมทา ยบทที่ 5

กรมพฒั นาธรุ กจิ การคา. (2554). การจดทะเบียนสมาคมการคา . [ออน-ไลน] . แหลง ท่ีมา:
http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=96.

เนตรพัณณา ยาวิราช. (2551). จริยธรรมทางธุรกจิ . กรุงเทพฯ : ทปิ เพ้ลิ กรปุ .
ประกันสงั คม. [ออน-ไลน]. (2554). แหลงท่มี า: http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK12/

chapter3/t12-3-l3.htm
มูลนิธเิ พือ่ ผบู ริโภค. [ออน-ไลน] . (2554). แหลง ท่ีมา: http://www.consumerthai.org
สถาบนั ไทยพฒั น. (2554). CSR ไทย ไตระดับ. [ออน-ไลน] . แหลง ทมี่ า:

http://www.csrthailand.net/th/expert/detail/52.
สถาบนั ธรุ กิจเพ่อื สังคม. (2554). CSR. [ออน-ไลน] . แหลง ทมี่ า:

http://www.csri.or.th/about/history.
สภาหอการคาแหง ประเทศไทย. (2554). สภาหอการคา . [ออน-ไลน] . แหลงท่ีมา:

www.panyathai.or.th/wiki/index.
สมคดิ บางโม. (2549). จริยธรรมทางธุรกจิ . กรงุ เทพฯ : พัฒนวทิ ยก ารพมิ พ.
สาํ นักงานคณะกรรมการคมุ ครองผบู ริโภค. [ออน-ไลน]. (2554). แหลงท่ีมา:

http://www.ocpb.go.th/main_history.asp
อโณทยั ไพฑรู ย. (2554). CSR ที่แทจริง อยาอางเพยี งลอย ๆ. [ออน-ไลน] . แหลงท่ีมา:

http://csr.igetweb.com/index.php?mo=5&qid=192101.
อภิรฐั ตง้ั กระจางและคณะ. (2546). จริยธรรมทางธุรกจิ . กรงุ เทพฯ : ธรรมสาร.

บทท่ี 6
จรยิ ธรรมกับหลกั ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง

พระบรมราโชวาท ในพธิ ีพระราชทานปรญิ ญาบตั รของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร
วนั พฤหสั บดที ่ี 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517

“ การพฒั นาประเทศจาํ เปน ตอ งทําตามลาํ ดบั ขน้ั ตอ งสรางพ้ืนฐาน คือ
ความพอมพี อกนิ พอใชของประชาชนสวนใหญเปน เบอ้ื งตน กอน โดยใช
วธิ ีการและใชอ ุปกรณทปี่ ระหยดั แตถ กู ตอ งตามหลักวิชา เมื่อไดพ้นื ฐานมั่นคง
พรอมพอควรและปฏบิ ัติไดแ ลว จึงคอ ยสรางคอยเสรมิ ความเจริญและ
ฐานะเศรษฐกจิ ขัน้ ทสี่ งู ขน้ึ โดยลาํ ดับตอไป

หากมุง แตจะทมุ เทสรางความเจรญิ ยกเศรษฐกิจขนึ้ ใหรวดเรว็ แตประการเดียว
โดยไมใหแผนปฏบิ ัติการสมั พนั ธกับสภาวะของประเทศและของประชาชน
โดยสอดคลองดว ย กจ็ ะเกดิ ความไมสมดลุ ในเรอ่ื งตาง ๆ ขึน้ ซ่ึงอาจกลายเปน
ความยุงยากลม เหลวไดในทส่ี ดุ ”

นับเปนเวลากวา 60 ป (9 มิถุนายน พ.ศ.2489- พ.ศ.2554) ที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว
ทรงครองสริ ิราชสมบตั แิ ละมีพระบรมราโชวาทแกปวงชนชาวไทยในวโรกาสตา ง ๆ เสมอมา ท้ังใน
ยามบานเมืองปกติสุขและวุนวายไมปกติ ซ่ึงลวนสะทอนถึงคําสอนตามแนวทางแหงธรรมะและ
หลักวิชาการในการบริหารจัดการงาน การดําเนินชีวิตท่ีสามารถนําไปใชไดท้ังในเร่ือง
ระดับประเทศชาติและระดับบุคคล จะเห็นไดว า แมว ันเวลาผานไปหลายสบิ ปแ ตเ หตุการณต า ง ๆ ท่ี
เกิดข้ึนก็ยังคงสอดคลองกับหลักคําสอนของพระองคทาน ดังเรื่องของการแกปญหาความยากจนที่
เก่ียวกับปากทอ งของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศชาติ

หลักปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง

แนวคดิ หลักปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง เปนพระราชดํารัสเกย่ี วกบั เศรษฐกิจมาต้ังแตปพ.ศ.
2517 แตยังไมเปนท่ีเขาใจและไมไดมีการนําไปปฏิบัติ ดวยสังคมไทยไดถูกอิทธิพลของระบบทุน
นิยมเขาครอบงํา ทําใหหลงใหลกับคานิยมทางวัตถุและบริโภคนิยมแบบตะวันตกไปทั่ว ทั้งสังคม
ในทุกระดบั

121

จนกระทง่ั ประเทศไทยตองประสบกับวิกฤตเศรษฐกจิ ทรี่ ุนแรงอีกครงั้ หน่ึงในปพ .ศ.2540
เรียกวา วิกฤตทางการเงิน (Financial Crisis) หรือวิกฤตตมยํากุง ซ่ึงกลาวไดวาประเทศไทยเปน
ตน เหตขุ องปญหาทก่ี อใหเกิดการลุกลามไปท่ัวภมู ภิ าคตะวนั ออกเฉียงใตและวิกฤตเอเซยี

ภาพท่ี 10 วกิ ฤตเศรษฐกิจดา นการเงนิ
ที่มา : http://horo.giggog.com/125444 และ
คณะกรรมการศกึ ษาและเสนอแนะมาตรการเพ่ิมประสิทธิภาพการบริหารจดั การระบบ
การเงนิ ของประเทศ หรือศปร. (MBA. 2543. ออนไลน) วิเคราะหส าเหตุของวกิ ฤตตมยาํ กุง เกิดจาก
1. การดําเนินนโยบายที่ผิดพลาดของธนาคารแหงประเทศไทย (ธปท.) ในนโยบาย
พัฒนาไทยใหเปนศูนยกลางทางการเงินในภูมิภาคตั้งแตป 2533 เชน เปดเสรีทางการเงิน เปดวิเทศ
ธนกิจ การใชอัตราแลกเปล่ียนแบบตะกราเงินผูกคาเงินบาทไวกับดอลลารเกือบจะคงท่ี ทําให
นโยบายการเงินใชไมไดผล ดอกเบี้ยในประเทศสูงกวากูจากตางประเทศ ตนทุนการกูเงินจาก
ตางประเทศตํ่ากวาในประเทศ ไมมีความเส่ียงเรื่องอัตราแลกเปล่ียน ทําใหภาคเอกชนกูเงินจาก
ตางประเทศมาลงทุนเกินตัว ในป 2539 มีหน้ีสินตางประเทศตอรายไดประชาชาติรอยละ 50.14 ซึ่ง
ปกตหิ ากเกนิ 10 เปอรเซ็นตถ อื วาเขา สขู ีดอนั ตรายแลว
2. การลงทุนของภาคเอกชนขยายการเติบโตของภาคเศรษฐกิจแบบไมยั่งยืน คือ มีหลาย
โครงการท่ีกูเงินมาเพื่อประหยัดดอกเบี้ยและมีประเภทกูเงินมาเพื่อทําโครงการเขาตลาดหลักทรัพย
โดยกูเงินจากสถาบันการเงินในระยะส้ัน แตนําไปลงทุนในระยะยาว ลงทุนเพิ่มปจจัยการผลิต
แรงงานทุน แตไมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใชปจจัยผลิต ทําใหตนทุนการผลิตแพงขึ้น ราคา
สินคาก็แพงขึ้น อัตราเงินเฟอสูงข้ึน คาเงินบาทท่ีแทจริงสูงขึ้นจากคาเงินสหรัฐแข็งข้ึน
ความสามารถในการแขงขนั กบั ตางประเทศจึงลดลง การสง ออกกล็ ดลงตาม

122

3. การสงออกลดลง ภาคธรุ กจิ ไมสามารถหาเงินมาชําระหน้ีได มาตรการควบคุมสถาบัน
การเงนิ ผอนคลายความเขมงวดเรอ่ื งความเพียงพอของเงินกองทนุ และคุณภาพสนิ ทรพั ย หนเ้ี สียของ
ธนาคารและสถาบันการเงินเพ่ิมข้ึน ความตกตํ่าของภาคอสังหาริมทรัพย นักลงทุนตางประเทศขาด
ความเช่ือมั่นเศรษฐกิจและคาเงินไทย เม่ือมีเหตุการณ ธนาคารแหงประเทศไทย อุมธนาคาร
กรงุ เทพฯ พาณิชยการ จํากดั ตางประเทศก็เริม่ ขนเงนิ กลบั ต้ังแตค ร่งึ ปห ลงั 2539

4. ขณะที่แนวทางแกไขปญหาเพ่ือลดการเติบโตเศรษฐกิจของธนาคารแหงประเทศไทย
ชวงป 2537-2539 นโยบายการเงินเขมงวด ทําใหดอกเบ้ียในประเทศสูง ขณะท่ีเปดเสรีทางการเงิน
ทําใหคนหันไปกูเงินจากตางประเทศ นโยบายการเงินจึงไมมีประสิทธิภาพ การควบคุมปริมาณเงิน
เชน จํากัดวงเงินกูยืมข้ันตํ่า ใหหักภาษี ณ ที่จายดอกเบ้ียเงินกูตางประเทศ มาตรการลาชาไมทันการ
มาตรการที่ออกเพื่อแกปญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงไมไดผล เชน จํากัดการนําเขาของใช
สวนตัวไดไ มเ กินคนละ 5,000 บาท จํากดั วงเงนิ บัตรเครดติ

5. การเพิ่มเงินทุนสํารองระหวางประเทศ เพื่อปองกันการโจมตีคาเงินบาท ดวยการขาย
พันธบัตรในตลาดซื้อคืนตราสารหน้ี(Repo)และทําสัญญา Swap ทําใหอัตราดอกเบี้ยในประเทศ
สูงข้ึน ป พ.ศ. 2533-2539 มีทุนสํารองมากกวาหน้ีสินระยะส้ันเพียงเล็กนอยจึงมีความเสี่ยงตอการ
ถกู โจมตคี า เงนิ

ดงั นั้นสภาพเศรษฐกจิ ของประเทศในชวงเวลาน้ันจงึ เปรียบไดกับลูกโปง หรือฟองสบูท่ีมี
ลกั ษณะของการขยายตัวแตขาดความสมดุล กลวงใน ภาคเอกชนกอหน้ีตางประเทศมากเกินไปและ
ไมไดนําไปเพ่ือการลงทุนที่แทจริงและนํามาเก็งกําไร ปนราคาจดบิดเบือนจากราคาท่ีแทจริงและ
สินคาท่ีไมมีอยูจริง การบริโภคเกินความจําเปน ปลอยเงินกูใหกับนักการเมืองท่ีมีธุรกิจเกี่ยวเน่ือง
กันโดยใชหลักทรัพยตํ่ากวาสินเชื่อ ตลาดหุนกลายเปนคาสิโน อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง แต
เปนกับดักความหายนะ ประเทศไทยตองเขาสูระบบการกูเงินจากกองทุนการเงินระหวางประเทศ
(International Monetary Fund : IMF) และตองปฏิบัติตามเง่ือนไขเปดเสรีการคามากขึ้น แก
กฎหมายใหตางชาติเพ่ิมสัดสวนถือหุนได ราคาหุนในตลาดหลักทรัพยตกลงมาครึ่งหน่ึง จนนํามาสู
การครอบงํากิจการของชาวตางชาติในธุรกิจการเงิน ธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจอสังหาริมทรัพยและ
บรษิ ัททีต่ องการเงินทุนจากตา งชาตติ อ งเปดเผยขอ มลู ดานการเงนิ การใชมาตรการที่เขมงวดและเอา
รัดเอาเปรียบของ IMF ทําใหธุรกิจขนาดใหญและสถาบันการเงินไทยหลายแหงตองปดตัวลง
ประชาชนตองซื้อสินคา นํ้ามันและคาบริการสาธารณูปโภคแพงขึ้น นอกจากเศรษฐกิจแยลงแลว
เงินกูจาก IMF เกือบท้ังหมดนําไปเติมทุนสํารองระหวางประเทศเพ่ือพยุงคาเงินบาท ไมไดนําไป
ฟนฟูเศรษฐกิจ ทั้งยังสรางปญหาทางการเมือง คือ แปรรูปรัฐวิสาหกิจและกฎหมาย 11 ฉบับ ซึ่งถูก
วิจารณวาเปนกฎหมายขายชาติ สิ่งเหลานี้ไดชี้ชัดถึงความเปนผูพายแพในศึกสงครามรูปแบบใหม

123

คือ การตกเปนเมืองข้ึนทางเศรษฐกิจ นายทุนตางชาติเขามาช็อปซื้อทรัพยสินของไทยในราคาถูก
ทั้งหนุ ธนาคาร กิจการตาง ๆ ตองสะสมทนุ ใหม เพื่อซอื้ หนุ กลับคืน ถึงเวลาทีค่ นไทยจะตองต่ืนขึ้น
แลวสลดั ตนเองใหห ลุดจากระบบวตั ถุนิยมและบรโิ ภคนิยม หันกลับมาทบทวนรากเหงาเดิมของตน
อยางมีความหวังอีกครั้งดวย หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวได
พระราชทาน ซึ่งรฐั บาลไดนอ มนําพระราชดาํ รสั เศรษฐกิจพอเพยี งมาไวใ นแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และ
สังคมแหงชาติ ฉบับที่ 9-11 (ฉบบั ปจ จบุ นั พ.ศ. 2555-2559)

ภาพที่ 11 พระบาทสมเด็จพระเจาอยกู บั แนวคดิ เศรษฐกจิ พอเพยี ง
ทีม่ า : http://dpc12.ddc.moph.go.th/dpc_12/Sufficiency.html
1. แนวคดิ หลักเศรษฐกิจพอเพยี ง
การพัฒนาตามหลกั เศรษฐกจิ พอเพียง คือ การพัฒนาท่ีต้ังอยูบนพื้นฐานของทางสายกลาง
และความไมประมาท โดยคํานึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสรางภูมิคุมกันที่ดีในตัว
ตลอดจนใชความรคู วามรอบคอบและคณุ ธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสนิ ใจและการกระทํา
2. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยี ง แบง การพิจารณาออกเปน 5 สวน (เศรษฐกจิ พอเพียง.
ออนไลน. 2554) ดงั น้ี

2.1 กรอบแนวคดิ เปน ปรัชญาทช่ี ีแ้ นะแนวทางการดํารงอยูและปฏิบตั ติ นในทางท่ี
ควรจะเปน โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนํามาประยุกตใชไดตลอด
เวลา และเปนการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปล่ียนแปลงอยูตลอดเวลา มุงเนนการรอดพนจากภัย
และวิกฤต เพ่ือความมนั่ คงและความยัง่ ยืนของการพฒั นา

2.2 คุณลักษณะ เศรษฐกจิ พอเพียงสามารถนํามาประยกุ ตใ ชก บั การปฏบิ ตั ติ นไดใ น
ทุกระดับ โดยเนนการปฏิบตั ทิ างสายกลางและการพฒั นาอยา งเปน ขัน้ ตอน

124

3. คาํ นยิ าม ความพอเพยี งจะตองประกอบดว ย 3 คณุ ลกั ษณะรวมกัน ดงั นี้
3.1 ความพอประมาณ หมายถงึ ความพอดี ท่ไี มนอยเกนิ ไปและไมมากเกินไป

โดยไมเ บยี ดเบยี นตนเองและผอู ่นื เชน การผลติ และการบริโภคท่อี ยใู นระดับพอประมาณ
3.2 ความมเี หตผุ ล หมายถึง การตดั สนิ ใจเกี่ยวกับระดับความพอเพยี งนน้ั จะตอง

เปนไปอยางมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปจจัยที่เกี่ยวของ ตลอดจนคํานึงถึงผลท่ีคาดวาจะเกิดข้ึน
จากการกระทํานนั้ ๆ อยางรอบคอบ

3.3 การมภี ูมิคุม กนั ท่ดี ใี นตัว หมายถงึ การเตรียมตวั ใหพ รอ มรับผลกระทบและ
การเปล่ียนแปลงดา นตาง ๆ ทจ่ี ะเกิดขึ้นโดยคํานึงถึงความเปนไปไดของสถานการณตาง ๆ ที่คาดวา
จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกลและไกล

4. เงอ่ื นไข การตัดสนิ ใจและการดําเนินกิจกรรมตาง ๆ ใหอยูในระดับพอเพียง ตองอาศัย
ท้ังความรูแ ละคณุ ธรรมเปนพืน้ ฐาน กลาวคือ

4.1 เงือ่ นไขความรู ประกอบดวย ความรอบรเู กยี่ วกบั วชิ าการตา ง ๆ ทเี่ กย่ี วของอยา ง
รอบดาน ความรอบคอบที่จะนําความรูเหลาน้ันมาพิจารณาใหเชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ
วางแผนและความระมดั ระวังในขั้นปฏิบัติ

4.2 เง่ือนไขคุณธรรม ที่จะตองเสริมสรางประกอบดวยมีความตระหนักในคุณธรรม
มีความซอ่ื สตั ยส จุ ริต มีความอดทน มีความเพยี รและใชสตปิ ญญาในการดําเนินชีวติ

5. แนวทางปฏิบตั แิ ละผลท่ีคาดวา จะไดร ับ จากการนาํ ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี งมา
ประยุกตใช คือ การพฒั นาทส่ี มดลุ และย่งั ยืน พรอ มรับการเปล่ียนแปลงในทุกดาน ท้ังดานเศรษฐกิจ
สงั คม ส่ิงแวดลอ ม ความรแู ละเทคโนโลยี

125

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ทางสายกลาง

พอประมาณ

มีเหตผุ ล มภี ูมิคุมกัน
ในตัวท่ดี ี

ความรู คุณธรรม

รอบรู รอบคอบ ระมัดระวงั ซือ่ สัตย ขยันอดทน สติปญ ญา แบงปน

นาํ ไปสู

เศรษฐกจิ / สงั คม / ส่ิงแวดลอ ม / วัฒนธรรม

สมดลุ / พรอ มรบั ตอการเปลยี่ นแปลง

ภาพที่ 12 ความสมั พนั ธข องปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง
ทม่ี า : http://dpc12.ddc.moph.go.th/dpc_12/Sufficiency.html

การอธบิ ายหลกั ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง ยังไมเปนท่ีชัดเจนและความเขาใจยังไมถูกตอง
ของบุคคลหลายฝายท้ังชาวไทยและชาวตางชาติ จึงยังมีคําถามและความคับของใจวา หากนํา
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใชจะกระทบตอการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทําใหวิถีชีวิตความเปนอยู
อัตคัด ขาดแคลน ไมไดรับความสะดวกสบาย ที่สําคัญชีวิตน้ีจะตองยากจน ไมสามารถท่ีจะรวยได
หลายคนจึงปฏิเสธแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยส้ินเชิง ดังน้ันเพ่ือใหเกิดความเขาใจแนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียงอยางถูกตองถองแท จากคําอธิบายและความคิดเห็นของผูรูและผูมีประสบการณ
เกย่ี วของกบั เศรษฐกจิ และการพัฒนาประเทศชาติในดา นตา ง ๆ ตอไป

126

แนวคิดที่มตี อหลกั ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง

ความคิดเห็นของผูทรงคุณวุฒิมากมายในสังคมไทยท่ีมีความรูและประสบการณในสาขา

วชิ าชพี ดา นตา ง ๆ ท่ีมีชื่อเสยี งไดร บั การยอมรบั จากสงั คมไทย ไดแ สดงความคดิ เหน็ เกีย่ วกับหลัก

ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง ซ่งึ จะไดน ําเสนอใหไ ดเรยี นรู 3 ทาน

1. ศาสตราจารย ดร.อภชิ ยั พนั ธเสน คณบดคี ณะ

บริหารศาสตร มหาวิทยาลยั อบุ ลราชธานีและผอู ํานวยการ

สถาบัน การจดั การเพ่อื ชนบทและสงั คม หนวยงานภายใตม ลู นิธิบรู ณะ

ชนบทแหง ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ เปน ผมู บี ทบาทสําคญั ในการ

ขบั เคล่อื นปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี งใหเปนรูปธรรมทงั้ ในเชิง

วชิ าการและเชิงปฏิบัติ

ศาสตราจารย ดร.อภชิ ัย พนั ธเสน ไดว ิเคราะหเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระ

เจาอยูหัวในการสัมมนาวิชาการ TDRI ป 2542 โดยเนนการทําความเขาใจกระแสพระราชดํารัส ซึ่ง

จําเปนตองเขาใจบริบททางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ (อภิชัย พันธเสน. 2542. ออนไลน) โดย

สรุปดังน้ี

เนื้อแทของพระราชดํารัส เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมุงสรางความม่ันคงทางเศรษฐกิจข้ัน

พนื้ ฐานกอนการพัฒนาในข้ันที่สูงข้ึนไป ตลอดจนเนนการใชความพอเพียงเปนเคร่ืองควบคุมความ

โลภของคน อันเปนผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วและอยางตอเนื่องในประเด็นสําคัญ

หลกั 2 ประการ ทจี่ ะนาํ มาสังเคราะหเ ศรษฐกจิ พอเพียงในนานาทัศนะของนักเศรษฐศาสตรและการ

วิเคราะหเ ศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะของศาสตราจารย ดร.อภชิ ัย พนั ธเสน เองดวย คอื

1. เศรษฐกิจพอเพยี งในนานาทศั นะของนกั เศรษฐศาสตร สรปุ แยกแนวคดิ ได 3 กลุม

1.1 กลุม ที่เห็นวาเศรษฐกจิ พอเพียงเปน ความคดิ ทอี่ ยูเหนือแนวคิดทางเศรษฐศาสตร

พิจารณาจากขอสมมติทางเศรษฐศาสตรท่ีวา ความตองการของมนุษยไมมีท่ีสิ้นสุด จึงสรุปแนวคิด

พื้นฐานทางเศรษฐศาสตรเปนเรื่องท่ีเกี่ยวกับความไมพอดี การอธิบายความหมายของเศรษฐกิจ

พอเพียงในสวนของความพอประมาณ จึงไมสามารถใชอธิบายในกรอบความหมายของดุลยภาพ

ในวชิ าเศรษฐศาสตรได

1.2 กลมุ ท่ีมีความเห็นตรงกลาง ไดแ บงองคประกอบสําคญั ออกเปน 3 กลมุ ยอ ย คือ

1) กลุม ท่อี ธบิ ายวา ความพอดี ความเสีย่ งและการพึ่งตนเอง ท้ัง 3 สวนนจ้ี ะขาด

สว นใดสว นหนึ่งไมไ ด โดยใหความหมายของแตล ะสวนดังน้ี

127

(1) ความพอดี ใหความหมายใกลเ คยี งกบั เร่อื งดุลยภาพ (Equilibrium)
ในทางเศรษฐศาสตร แตเนนดุลยภาพท่ีเปนพลวัตร (Dynamic) คือ มีการปรับตัวอยูตลอดเวลา
ขนึ้ อยูกับสถานการณแ ละความเหมาะสมของแตล ะบุคคล

(2) ความเส่ียง คือ การสรางภูมิคมุ กันใหปลอดภัยจากความแปรผันมากท่ีสุด
และมลี ักษณะท่ยี ั่งยนื (Sustainability)

(3) การพ่ึงตนเอง คือ การพยายามเพ่ิมขีดความสามารถในการควบคุมปจจัย
ที่กอใหเกิดความไมแนนอนตาง ๆ ในสวนที่แตละคนสามารถควบคุมไดดวยตัวเองใหมากท่ีสุด
โดยใชส ติ ความรูและความเพียร

ดังนั้นจึงสรุปวาส่ิงกํากับความพอดีคือ ความเส่ียง สิ่งกํากับความเส่ียงคือ การ
พ่งึ ตนเอง

2) กลุมท่ีอธิบายความพอเพยี งวา มคี วามใกลเคยี งกบั ความย่งั ยนื (Sustainability)
ซ่ึงเนน ใหแ ตล ะคนลดความเส่ียงเพ่ือลดตนทุนในการแลกเปล่ียนทางสังคม จาก Externality ในการ
ตดั สนิ ใจของแตล ะคนที่มีตอ ผูอ่ืน

3) กลุมที่มองระบบเศรษฐกิจพอเพียงเปนเคร่ืองเสริมประสิทธิภาพโดยรวมใน
จุดท่ีระบบตลาดไมสามารถเขาถึง หรือกอใหเกิดตนทุนทางการคา (Transaction Cost) ที่สูง
จนเกนิ ไป

1.3 กลุมท่ีเห็นวาเศรษฐกิจพอเพียงเปนแนวคิดท่ีสอดคลองกับเศรษฐศาสตรกระแส
หลกั

1) กลุมที่มองความพอเพียง เปนการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยางพอเพียง
ภายใตขอจํากัดของรายได (Budget Constraint) ประกอบกับการใชแนวทางในการบริหารความ
เส่ียง (Risk Management) ที่มีการกระจายความเสี่ยงอยางสมดุล โดยจะคํานึงถึงการแลกเปลี่ยนกับ
ประสิทธิภาพ คือ การไมพ่ึงพาภายนอกมากก็สามารถลดความเสี่ยงไดมาก แตจะเสียโอกาสที่จะ
ไดรบั ผลประโยชนใ นแงของประสิทธิภาพท่ีไดรับเพ่มิ ขนึ้ จากการเนน ความชาํ นาญเฉพาะอยา ง

2) กลมุ ท่กี ลา วถึงระบบเศรษฐกจิ พอเพียงวา เปน การสรา งใหเกดิ ความจาํ เปนขั้น
พื้นฐาน (Basic Necessity) ซ่ึงถือวาเปนการเพ่ิมขอจํากัด (Constraint) อีกขอหนึ่งในกระบวนการ
Optimization หรอื การแกปญ หาหรือเลือกทางเลอื กทด่ี ที ี่สุด

แนวคิดเศรษฐกจิ พอเพยี งในนานาทัศนะของนักเศรษฐศาสตรขางตน ทําใหศาสตราจารย
ดร.อภิชัย พันธเสน ไดวิเคราะหและมีขอคิดเห็นโตแยง สรุปโดยรวมคือ การวิเคราะหที่ใชแนวคิด
ใดเพียงแนวคิดเดียว การใหความหมายเพียงมุมใดมุมหน่ึงและการแยกประเภทท่ีไมครอบคลุมใน

128

แงมุมอ่ืน ๆ ที่สามารถจะวิเคราะหตีความไดอยางชัดเจนนัก ดังนั้นจึงไดมีการวิเคราะหตามทัศนะ
ของตนเอง ดังน้ี

2. การวิเคราะหเศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะของ ศาสตราจารย ดร.อภิชัย พันธเสน กลาว
ในบทสรุปวา เศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้ือแทก็คือ พุทธเศรษฐศาสตรซ่ึงเปนปรัชญาท่ีช้ีถึงแนวการ
ดาํ รงอยูและปฏบิ ัติตนของประชาชนในทกุ ระดบั ใหด าํ เนินไปในทางสายกลาง

เพ่ือใหเกิดมุมมองที่ชัดเจนเก่ียวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงท่ีสอดคลองกับจริยธรรมจะ
ไดนําเสนอทศั นะของ ศาสตราจารย ดร.ชัยอนันต สมุทวนชิ และฉลองภพ สสุ ังกรก าญจน

2. ศาสตราจารย ดร.ชยั อนนั ต สมทุ วนิช เกิดเมื่อวันท่ี 23
กมุ ภาพนั ธ 2487 ดาํ รงตําแหนงสาํ คญั หลายตาํ แหนงทางสังคม
เชน อดีตผูบังคบั การวชิราวธุ วิทยาลัย อดตี ตุลาการศาล
รฐั ธรรมนญู เปนตน

ศาสตราจารย ดร.ชัยอนันต สมทุ วนชิ ไดนําเสนอบทความ
เรื่องทฤษฎใี หม : มติ ิที่ยง่ิ ใหญท างความคิด โดยมีความเห็นวา
ทฤษฎใี หม หรอื แนวคดิ เศรษฐกิจพอเพยี งของพระบาทสมเด็จ
พระเจาอยหู วั มคี วามแตกตา งจากแนวคิดทฤษฏตี ะวนั ตก โดยเปน
หลกั การท่ีใหค วามสนใจและไมแ ยกมนุษยออกจากคุณงามความดี หรอื จรยิ ธรรม สงิ่ รอบขางตอง
พึ่งพิงอาศัยกนั จึงสรปุ วา ทฤษฎีใหมเ ปน หลักการและวธิ ีการใหมท ย่ี ง่ิ ใหญทางความคดิ 9 ประการ
(ชัยอนนั ต สมุทวนชิ . 2541. ออนไลน) ดังนี้
1. เปน แนวคดิ แบบพหนุ ยิ มมคี วามหลากหลายผสมผสานกันไป เชน มองความพอเพียง
พออยูพอกิน เปนเปาหมายหลักของการพัฒนา ไมยึดติดตํารา สามารถประยุกตไดตามความ
เหมาะสมกบั แตละสถานที่
2. เปน แนวคดิ ท่ีกาวพนแนวความคดิ แบบวิภาษวิธ(ี Dialectical)ท่ีมีลกั ษณะการปะทะกนั
ของสง่ิ สองส่ิงเม่ือปะทะกันแลวยอมทําใหเกิดการปรับเปล่ียนไปเปนอยางใดอยางหน่ึง สุดทายเกิด
ผูชนะและผูแพ ซ่ึงเปนเหตุแหงความขัดแยงและทําลาย แตทฤษฎีใหมมองเห็นถึงการดํารงอยูของ
ส่ิงที่แตกตางกัน การพึ่งพาอาศัยกันภายใตจริยธรรมของความสามัคคี มีเมตตาเปนการอยูรวมกัน
ของความแตกตา งอยางสนั ติ
3. เปน แนวคดิ ท่ปี ฏิบตั ิได มใิ ชเ ปนเพยี งทฤษฎลี อย ๆ โดยมกี ารจดั ลําดับข้ันตอนในการ
ปฏิบัติ ขั้นตนเปนการจัดสัดสวนทางการผลิตที่เหมาะสม ข้ันสองเปนการจัดการแบบรวมพลัง
รวมมือกันทุกระบบภายในชุมชนเอง ข้ันท่ีสามระดมทรัพยากรภายนอกชุมชน แตละฝายไดรับ

129

ผลประโยชนรวมกัน พึ่งพากันอยางสมดุล กลาวสรุปคือ ข้ันที่หน่ึง พ่ึงตนเองได ข้ันที่สองชุมชน
เปนอสิ ระ ขั้นท่ีสาม พ่ึงพาอิงกับโลกภายนอก

4. เปน ทฤษฎที ม่ี คี วามงา ยไมซ ับซอน สามารถนําไปทาํ ใหเหน็ ผลจริงได
5. เปนทฤษฎที ่เี กดิ จากประสบการณของไทยบนพน้ื ฐานวฒั นธรรมไทย
6. เปนแนวคดิ ท่ีสอดคลอ งกับสถานการณของสงั คมไทยทก่ี ําลังประสบปญหาอยู
7. เปนแนวคิดที่แฝงไวซ่งึ ปรัชญาในการดาํ รงชีวติ และดํารงชาติดวย เปนทฤษฎีแบบองค
รวม เพราะมีหลายมิติ เศรษฐกิจ วฒั นธรรมและปรชั ญา การดํารงชีวิต
8. เปนแนวคดิ ที่มพี ลังในการกระตุนใหผยู ากไรม ีพลัง เขา ใจความเปน จรงิ ผปู ฏิบตั ิมี
ความสขุ ไดตามอตั ภาพ เขาใจหลักความสนั โดษ
9. เปน แนวคิดท่ีปลอดการเมอื ง ผลประโยชนแ ละอุดมการณ มีลักษณะเปน สากล

3. ฉลองภพ สสุ งั กรก าญจน อดตี รฐั มนตรวี า การ
กระทรวงการคลัง ในสมยั รฐั บาลของพลเอกสรุ ยุทธ จุลานนท
และเคยตาํ รงตาํ แหนง สําคัญหลายตาํ แหนง เชน ประธานสถาบัน
ทีดีอารไอ กรรมการนโยบายเพอื่ เสถยี รภาพและความม่นั คงทาง
เศรษฐกจิ ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา เปน ท่ีปรกึ ษา
นายกรฐั มนตรีดา นเศรษฐกิจและการตางประเทศในรัฐบาลของ
พลเอกชวลิต ยงใจยทุ ธ และเปนกรรมการคณะกรรมการ
พฒั นาการเศรษฐกจิ และสังคมแหงชาติ (สภาพฒั นฯ ) เปน ตน
ฉลองภพ สุสังกรกาญจนไดแสดงความคิดเห็นตอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงวา เปน
ปรัชญาท่ีสอดคลองกับแนวคิดของเศรษฐศาสตรกระแสหลักและไดอธิบายองคประกอบแนวคิด
เศรษฐกิจพอเพยี ง 2 องคป ระกอบ ไดแ ก 1) ความพอประมาณ 2) กับความมเี หตผุ ล
(ฉลองภพ สสุ งั กรก าญจน. 2542. ออนไลน) ดงั น้ี
1. ความพอประมาณ เปน องคประกอบของปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง ซึ่งสามารถนําไป
อธิบายตามแนวคิดของอรรถประโยชน (Utility Function) หมายถึง ความพึงพอใจจากการบริโภค
ของผูบริโภค กลาวคือ เศรษฐศาสตรจะสมมติวา ผูบริโภคมีความพึงพอใจในการบริโภคที่
พอประมาณ โดยความพึงพอใจในการบริโภคหนวยสุดทายจะลดลง เม่ือมีการบริโภคเพ่ิมขึ้นที่
เรียกวา กฎการลดนอยถอยลงของอรรถประโยชน (Diminishing Marginal Utility) ในขณะเดียวกัน
ความไมพอประมาณที่มีลักษณะของความตองการท่ีเพ่ิมมากขึ้น (Increasing Marginal Utility) ซึ่ง
อาจมีสาเหตุมาจากการเปรียบเทียบกับระดับการบริโภคของผูอ่ืน เชน การเอาอยาง (Emulation)
ความอิจฉาริษยา (Envy) ทําใหขาดความพอประมาณไดทั้งส้ิน ปญหาตามมาคือ การใชทรัพยากร

130

ไมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ระบบเศรษฐกิจไมเคลื่อนท่ีเขาสูจุดดุลยภาพ (Unstable Equilibrium)
ตลอดจนปญหาระบบเศรษฐกจิ มีจดุ ดลุ ยภาพหลายจดุ (Multiple Equilibriums)

2. ความมีเหตผุ ล ไดนาํ มาอธิบายดวยแนวคดิ ของพฤตกิ รรมความมีเหตุผล (Rational
Behaviour) ในทางเศรษฐศาสตร คือ ถาบุคคลมีความรู ความเขาใจและความรอบคอบ ในการ
ตัดสินใจแลว พฤติกรรมทางเศรษฐศาสตรของแตละคนจะนําไปสูผลรวมท่ีมีการใชทรัพยากรทาง
เศรษฐกจิ อยางมีประสิทธิภาพสงู สุด ในทางตรงขา มพฤติกรรมทไ่ี มมีเหตุผล ขาดความรู ความเขา ใจ
และความรอบคอบ จนดูเสมือนไรเหตุผล เชน พฤติกรรมความเสี่ยงของนักลงทุนที่มีลักษณะ
เสมือนแมลงเมา บินเขากองไฟ เปน เหตุใหเ กดิ ปญ หาทางเศรษฐกิจตามมาในทส่ี ุด อยา งไรกต็ ามการ
อธิบายของแนวคิด Rational Behaviour ทางเศรษฐศาสตรไมไดพิจารณาถึงมิติทางคุณธรรมในการ
ตัดสินใจของแตละบุคคล จึงใหคําอธิบายท่ีแคบไมครอบคลุมความหมายของความมีเหตุมีผลอยาง
เพยี งพอ

การนําแนวคดิ ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี งไปประยุกตใ ช

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเปนไดท้ังหลักการ แนวคิดและวิธีการที่อาศัยเงื่อนไขที่เชื่อม
ความสัมพันธระหวางองคความรูกับคุณธรรม นํามาประยุกตใชบริหารจัดการในเร่ืองตาง ๆ ซ่ึง
สามารถนํามาใชไดกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญระดับประเทศ ระดับชุมชน หรือใชในการ
ดําเนินชีวติ ของบคุ คล ลว นเกดิ ประโยชนตอ เศรษฐกจิ สังคม สิ่งแวดลอมและวัฒนธรรม ดังตัวอยาง
ของวิถีชมุ ชนพอเพียงหมบู านอินแปงและบริษัทเครือปนู ซิเมนตไ ทย ดังตอไปน้ี

1. ชุมชนพอเพยี งอินแปง มกี รณศี กึ ษาท่ีนาสนใจของหลกั คิดในการหนั กลบั มาทบทวน
และพ่ึงพาตนเองของคนในชุมชนดวยหลักเศรษฐกิจพอเพียง สามารถสรุปเน้ือหาพอสังเขป
(เสรี พงศพศิ . 2552 : 16-25) ดังตอ ไปน้ี

บานบัว อําเภอกุดบาด จังหวัดสกลนคร ณ ชายขอบหมูบานจะเห็นปายปกขนาดเขื่องวา
“อินแปง มหาวิทยาลัยชีวิต สถาบันการเรียนรูเพื่อปวงชน” ไดเกิดขึ้นเมื่อปพ.ศ. 2530 เปนการ
รวมตวั กนั ของเครือขายชุมชนท่ีมาจากพ้ืนท่ีสกลนคร อุดรธานี กาฬสินธุและมุกดาหาร รวมกวา 80
ตําบล เกือบพันหมูบาน มีสมาชิกกวาแสนคน ชุมชนน้ีตั้งอยูในพื้นที่ภูพานที่อุดมสมบูรณดวยปา
แหลงอาหารและทรัพยากร แตชาวบานกลับยากจนขนแคน ขาวไมพอกิน หนี้สินลนพนตัว เมื่อได
เขา ไปสาํ รวจพนื้ ที่พบวา ปาถูกถางโลง เตียน เพ่ือนําที่ดินไปปลูกมันสําปะหลังในปพ.ศ.2513 ปแรก
ชาวบา นรวยกันถวนหนา ตอมาราคามันสําปะหลังเร่ิมตกลงเรื่อย ๆ ชาวบานก็ขยายพ้ืนที่ถางปาเพ่ือ
เพิ่มพ้ืนที่เพาะปลูก โดยหวังวาจะสามารถชดเชยราคามันสําปะหลังที่ตกลงไดและหวังวาราคาจะดี
ข้นึ จะสามารถใชห นี้สินทีพ่ อกพนู ใหล ดลงได

131

แตผลที่เกิดข้ึนจริง คือ ความหวังและความฝนท่ีไมอาจเปนจริงได แมวาการพัฒนา
โครงสรางพื้นฐานจะเขาสูหมูบาน ถนน ไฟฟา ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณการเกษตร
(ธกส.) ซึ่งมาพรอมกับลัทธิบริโภคนิยม อันเปนจุดเร่ิมตนของการลมสลายทางเศรษฐกิจและสังคม
เพราะทําใหวิถีชีวิตชุมชนเดิมที่อยากกินเห็ดเขาปา อยากกินปลาลงหนอง ไดเปลี่ยนไป คนเริ่ม
ตองการเงนิ ขายปอขายมันสาํ ปะหลังแลว ไมพ อกินและไมพอใชหน้ี สิ่งสําคัญของความลมเหลวใน
อินแปงคือ การสงเสริมการพัฒนาท่ีถูกกําหนดมาจากภายนอก แตเม่ือเปล่ียนจากการเปนผูรับมา
เปนผูเรียนรูรวมกัน มาแลกเปล่ียนประสบการณ มาชวยการวิเคราะหทําใหชาวบานเร่ิมเขาใจถึง
สาเหตุความยากจนไมใชเพราะจนทรัพยากร แรงงาน รวมท้ังเงิน แตส่ิงท่ีจนคือ ปญญา ดังน้ัน
สถานการณจนปญญาเกิดจากการขาดโอกาสการเรียนรู ท่ีถูกปลอยไปตามบุญตามกรรมท่ีหมายถึง
การเรยี นในโรงเรียน ตามสถาบันการศึกษา หรือการจัดใหเขารับการอบรม ซ่ึงเปนลักษณะของการ
ยัดเยียดความรูและความตองการที่มาจากภายนอก เชน นโยบายของรัฐ หนวยงานเอกชนและ
นกั วชิ าการ ยิง่ เรยี นก็ดูเหมอื นยิ่งโง ถกู เอารดั เอาเปรียบและถกู ครอบงาํ

ชาวบานบัวเริ่มหันกลับมาทบทวนตนเองและมีมุมมองใหมที่แตกตาง เริ่มสรางวิสัยทัศน
ภาพฝน ดังท่ีพอเล็ก กุดวงศแกว ประธานอินแปงคนแรกบอกไววา วิสัยทัศนตามภาษาชาวบาน
หมายถงึ “สงชอด” คอื มองทะลุดว ยปญ ญา

คนอนิ แปงมคี วามฝน และไดส รางฝนน้นั ใหเ ปนความจรงิ โดยฝนของอินแปง คือ มี
ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ ปจจัยพ้ืนฐานท่ีพอเพียง จึงเริ่มดวยการยกปามาไวที่บาน อยากกินอะไรก็
เอามาปลูกในสวนของตนเอง เปลี่ยนไรมันสําปะหลังเปนสวนท่ีเต็มไปดวยพืชผัก ไมผล ไมใช
นานาพรรณ ในท่ีสุดสามารถมีเหลือกิน ขายไดมีเงินใชหน้ีสิน รายจายลดลง รายไดเพิ่มขึ้น สิ่งท่ี
คนพบคือ ภูมิปญญาบรรพบุรุษเกี่ยวกับธรรมชาติท่ีวาแมเปนผูใหชีวิต แมธรณี แมน้ํา แมโพสพ เรา
เล้ียงดูแมใหดี แมก็ใหชีวิตเราอยางพอเพียง นั่นเปนสิ่งที่คนอินแปงไดเรียนรูและคนพบดวยการใช
ปญญานําหนาเงิน ไมเอาเงินไปสรางโครงการแบบเดิมเม่ือเงินหมดก็เลิก รอเงินใหมโครงการคอย
เริ่มใหมและยังมีความเชื่อที่วา สังคมไทยไมไดอับจนและสิ้นหวัง ส่ิงที่ตองการมากท่ีสุดคือ ปญญา
ที่มาจากกระบวนการเรียนรูท่ีถูกตองเหมาะสม อันไดแก ทุนทางปญญาท่ีเกิดจากการเรียนรูรวมกัน
ในการปฏิบัติ เอาความรูท้ังภายในและภายนอกมาจัดการใหการอยูรวมกันระหวางคน คนกับ
ธรรมชาติและระหวางชุมชนกับโลกภายนอกอยางรักษาสมดลุ รวมกนั

คนอินแปง สรุปประสบการณนี้วา “อินแปงอยูอยางมีศักดิ์ศรีและมีกินตลอดชีวิต” อยู
อยางมีศักดิ์ศรี หมายถึง คนอินแปงมีความภูมิใจและเช่ือมั่นในตัวเอง เชื่อวาไดเดินมาถูกทางแลว รู
วาจะไปไหน ไปทางใดและไปอยา งไร

132

กรณีศึกษาอินแปงมีความสอดคลองกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงท่ีเร่ิมตนจากการเรียนรู
และเขาใจตนเองกอนเปนอันดับแรกและใชสติปญญาในการคิดหาสาเหตุของปญหาและแกปญหา
ดวยตนเองอยางมีหลักคิด ใชการเรียนรู แลกเปล่ียนประสบการณ ถึงภูมิปญญาบรรพบุรุษท่ีมีของ
ชุมชน ท่ีสําคัญคือ การยอมรับตัวตนของชุมชนอินแปงไมใหถูกครอบงําดวยลัทธิบริโภคนิยมท่ี
ทําลายพื้นฐานวิถีชีวิตเดิมของชุมชน ความตองการเงินและใชเงินนําหนาทุกอยางในการซ้ือหาวัตถุ
มาสนองความโลภที่มีมากข้ึนเรื่อย ๆ จนสรางหน้ีสินและไมสามารถท่ีจะจายชําระไดทําใหมีหน้ี
เพ่ิมพูนมากขึ้น ดังน้ันการใชปญญาในคร้ังนี้คือ การรูจักประมาณตนเองของคนอินแปง หากไม
หยุดความตองการท่ีฟุงเฟอฟุมเฟอย จะตองทําลายทรัพยากรในชุมชนทุกอยางเพื่อนําไปขายใหได
เงินมาซ้ือวัตถุท่ีตองการ การที่คนอินแปงสามารถตระหนักถึงความจริงนี้ จึงทําใหชุมชนสามารถ
ใชเหตุผลในการคิดพิจารณาปญหาและหาทางแกไขไดอยางถูกตอง เปล่ียนจากการพ่ึงพาภายนอก
มาเปนการพ่ึงพาตนเอง ใชหลักสายกลาง ใชภูมิปญญาของตนเองและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณของ
ชุมชนในการปลูกเพื่อกินเพ่ือใชเอง รูจักแบงปน ทําบุญและนําสวนที่เหลือออกขายเปนรายได การ
กระทําดังกลาวทําใหชุมชนมีภูมิคุมกันที่เขมแข็งท่ีสามารถใชปญญา ความรูความสามารถและ
คุณธรรม ใหเกิดการพึ่งพาตนเองได ซ่ึงทําใหชุมชนอินแปงสามารถพัฒนาและอยูรอดอยางย่ังยืน
จึงเปน ความภมู ิใจในความเปน อยูอยางมีศกั ดิศ์ รีและมีกนิ ตลอดชวี ิตของคนในชมุ ชนอนิ แปงนัน่ เอง

2. บริษัทเครือปนู ซเิ มนตไทย ไดน าํ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพยี งมาใชใ นการพฒั นาเก่ยี วกบั
ทรัพยากรมนุษยขององคกร (HR แบบพอเพียงฉบับศึกษาเครือซิเมนตไทย. ออนไลน. 2554)
บริษัทปูนซิเมนตไทยเปนองคกรเกาแกขนาดใหญ เปรียบเสมือนเปนสัญลักษณทางเศรษฐกิจของ
ประเทศ จากกรณีศึกษา "สราง-รับ-พัฒนา-รักษาคนอยางไรตามหลักปรัชญา” โดยเร่ิมจากการ
คนหาตัวเองใหเจอและเนนกระบวนการ จนเปนที่ยอมรับวา บริษัทเครือซินเมนตไทยมีความโดด
เดนดานการบริหารทรัพยากรมนุษยเปนที่ยอมรับของสถาบันตาง ๆ ดวยหลักการท่ีนาสนใจ คือ
“ยนื หยดั ในหลักการ ทํางานอยา งมปี ระสิทธภิ าพ สามารถปรบั ตวั ไดอ ยางตอเน่ืองและรบั ผิดชอบตอ
ชวี ติ และสงั คม”

นอกจากน้ียังมีปรัชญาการทํางาน 4 ขอ ไดแก 1) ต้ังม่ันในความเปนธรรม 2) มุงม่ันใน
ความเปนเลศิ 3) เชอ่ื มน่ั ในคุณคาของคนและ 4) ถือมนั่ มคี วามรบั ผิดชอบตอสงั คม

ความทาทายขององคกรน้ีคือ การกาวสูการเปนธุรกิจท่ีจะกาวสูการแขงขันระดับภูมิภาค
โดยไดพ สิ ูจนตัวเองวา เปนองคกรพอเพียงและงาน HR มีอยูจริงและไดท ําสําเร็จมาแลวอยางงดงาม
ดงั จะไดพจิ ารณาตามหลักการความพอประมาณ ความมีเหตุผลและความมภี มู คิ ุมกนั ตอ ไป

133

2.1 พอประมาณ ทั้งงานและคน คือ ความพอดี ไมมาก หรือนอยจนเกินไป มุง
ประโยชนระยะยาว ความพอประมาณของเครือซิเมนตไทย เร่ิมตนขั้นวางแผนกําลังคน จํานวน
พนักงานเทาที่จําเปน จัดคนเขาทํางานใหเหมาะสมกับงาน มีแผนการโยกยายเพ่ือสรางโอกาสและ
พัฒนาคนใหมีความกาวหนาในอาชีพและคํานึงถึงการรักษาเทคโนโลยีและความรูเฉพาะของธุรกิจ
อยางเขมงวด สวนการบริหารคาจางและสวัสดิการ บริษัทจะเนนความสมดุลและสนองตอบ
ผลประโยชนอ ยา งเปนธรรมแกท ุกฝาย ทง้ั ผถู ือหนุ ลูกคา และพนักงาน

สําหรับพนักงานบริษัทจะกําหนดฐานเงินเดือนและโครงสรางคาจาง โดยมุงเนน 2
สวน ไดแก 1) ความเปน ธรรมในองคกร เชน เงินเดือนในแตละงานจะมีขั้นระหวางกัน ไมหางมาก
จนเกนิ จริง 2) อา งอิงราคาตามตลาด โดยทาํ การเปรยี บเทยี บกบั กลุมบรษิ ทั ชนั้ นําในเมอื งไทย ท้ังใน
และตางอุตสาหกรรมเดียวกันอยางสมํ่าเสมอ เพื่อเปนฐานในการกําหนดคาจางและสวัสดิการที่
เหมาะสมเปนธรรม ดังน้นั เม่ือพิจารณาแลวอัตราคา จางของเครือซเิ มนตไทยจะไมต ่าํ หรือสูงเกินไป
และดูแลจัดสวัสดิการท่ีเหมาะสมแกพนักงาน เนนครอบครัวและสุขภาพของพนักงาน โดยไมตอง
รอใหเ รียกรอ ง

2.2 มเี หตผุ ล การสรรหาของปูนซเิ มนตไ ทย คือ สรรหาคนดี คนเกง คณุ ภาพสงู และ
ซ่อื สัตย เพอื่ ใหสอดรับกบั วัฒนธรรมองคก รดานคุณภาพและคุณธรรม เร่ิมจากดานแรกจะตองผาน
การประเมินดวยกิจกรรม CCC : Cement Thai Career Choice โดยเปดโอกาสใหนักศึกษาชั้นปที่ 4
จากทุกมหาวิทยาลัยสมัครและเขารวมทํากิจกรรม Group Selection มีการทดสอบดานจิตวิทยา
ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร เพ่ือใหไดคนดีและคนเกงมาทํางาน นับไดวาเปนการเปดโอกาสใหท้ัง
สองฝายไดเรียนรูซ่ึงกันและกันระหวางองคกรกับผูสมัคร บริษัทจะมีเวลาในการพิจารณาคนที่
เหมาะกับงานและองคกร ขณะท่ีผูสมัครก็สามารถพิจารณาไดวาตนเองเหมาะสมกับบริษัทหรือไม
เมือ่ ท้งั สองฝายตางไดเรียนรูก ันและเขาใจความตอ งการของตนเอง ก็สามารถเลือกส่ิงที่เหมาะสมใน
การท่จี ะทาํ งานรว มกันตอ ไปในระยะยาว

การบริหารคนภายในองคกร ใชระบบคณะกรรมการ (Management Development
Committee : MDC) ประกอบดวยผูบริหารระดับสูง กรรมการผูจัดการใหญเปนประธาน ผูจัดการ
ใหญของธรุ กิจและผชู ว ยผูจัดการใหญเปน กรรมการ คณะกรรมการจะมีการประชุมเปนประจํา โดย
ทําหนาที่พิจารณาเพ่ิมเงินเดือน เลื่อนตําแหนงใหพนักงาน โดยใชระบบคุณธรรมในการประเมิน
ผลงานพิจารณาผลงาน ระดับความสามารถและศักยภาพของพนักงาน ตลอดจนจัดสรรสวัสดิการ
หาหลักสูตรเพิ่มพูนความสามารถใหพนักงาน การอนุมัติทุกอยางตองผานฉันทามติของ
คณะกรรมการ

134

หลกั การสรางคนของเครือซเิ มนตไ ทย จะเนน สงเสริมพนักงานจากภายใน ไมจางคน
นอกเขามาเปนผูบริหาร เวนแตบริษัทมีความจําเปนเน่ืองจากพัฒนาคนรองรับในตําแหนงไมทัน
เนนการจางระยะยาวและสงเสริมใหพนักงานมีความกาวหนาในอาชีพ(Career Development and
Promotion from Within) นอกจากน้ียังพัฒนาพนักงานใหกาวหนาไปพรอมกับการเติบโตของ
บริษัท ดวยวิธีการหมุนเวียนงานเปนระยะ ๆ ทําใหพนักงานสามารถทํางานทดแทนกันได อดีตท่ี
ผานมาบรษิ ทั เคยใหค วามสาํ คัญระบบอาวโุ สและเล่อื นตําแหนง ตามอายุงาน แตปจจุบันไดปรับเปน
การบริหารแนวใหมท่ีเนนบุคลากรที่มีความสามารถ(Talent Management) เปนแนวคิดหน่ึงที่จะ
สรางความผกู พันระหวา งองคกรกับพนกั งานที่มีความสามารถ

2.3 มภี มู ิคมุ กัน จะเหน็ วา เครือซิเมนตไทยหลุดพนจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ป 2540
ไดอยา งรวดเร็ว เพราะความมีคณุ ภาพ ความมวี ินัยและรวมมอื รวมใจของพนักงาน ซง่ึ เปนผลพวงมา
จากการบมเพาะอยา งตอเน่ืองในเรื่องการสรางคนจากภายใน แมวาขณะนั้นบริษัทจะประสบปญหา
อยางหนกั แตบรษิ ัทไมเคยลดกิจกรรมดานพฒั นาพนักงานแมแตห วั ขอเดียว เพราะเช่ือวาการพัฒนา
เปนการเตรียมพรอมเพ่ือการเติบโตของบริษัทในอนาคต โดยมีโครงการเตรียมความพรอมต้ังแต
การพัฒนาภาวะผนู าํ อยางตอ เนอื่ ง

กรณตี ัวอยา งของบรษิ ทั เครอื ซเิ มนตไทยที่เปนองคกรธุรกิจขนาดใหญของประเทศ ก็
ยงั ประยกุ ตปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช ดวยเงอื่ นไขความรูคคู ณุ ธรรม ซ่ึงยึดมั่นในการพัฒนาคน
เพราะเชื่อวา เม่ือคนพรอมดวยความรูความสามารถแลว ยังตองเปนคนที่มีคุณธรรมจริยธรรมท่ี
ถูกตองดีงาม ซื่อสัตยสุจริต มีระเบียบวินัย รับผิดชอบ ตรงตอเวลา อดทน มัธยัสถ เรียบงาย มีความ
เพยี รและใชสตปิ ญ ญาในการทาํ งาน ฉะนนั้ เง่อื นไขของพฤติกรรม 2 ดานของบคุ ลากรจะทําใหใ น
เครือซิเมนตไ ทยเกิดขอ ไดเปรยี บในการแขง ขนั เชิงธรุ กิจ

ดังน้ันหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถท่ีจะนําไปประยุกตใชไดกับทุกองคกรและ
ทุกขนาด เชน ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ องคกรระดับชุมชนทองถ่ิน ประเทศชาติ
ตลอดจนระดับปจเจกบุคคล ซ่ึงจะทําใหการดํารงชีวิตอยูในสายกลางของความพอเพียง ชีวิตก็จะ
พบแตความสุขและความเจริญที่ไมเดือดรอนและเกิดการเบียดเบียนซ่ึงกันและกัน เหมือนกับธุรกิจ
ในระบบทุนนิยมเสรี ท่ีเขาลักษณะของปลาใหญกินปลาเล็ก มือใครยาวสาวไดสาวเอา ซ่ึงปญหา
ตามมากเ็ ปนดังกรณกี ารยดึ ครองตลาดทนุ วอลสตรีทส (Occupy Wall Street) เปน ตน

การนาํ แนวคิดปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี งไปใชใ นระดบั บคุ คล

การดําเนินชีวิตประจําวันดวยคําวา รูจักพอ เปนการดําเนินชีวิตตามหลักสายกลาง รูจัก
ประมาณตนเอง ตามกําลังความสามารถในการหามาไดและการใชไปอยางมีเหตุผลไมฟุงเฟอ หรือ

135

ใชอยา งอัตคดั จนทําใหต นเองไดร บั ความยากลาํ บาก การใชช ีวติ สายกลางนจี้ ึงทาํ ใหเกดิ ภูมคิ มุ กนั มี
ชีวิตมั่นคงในระยะยาว ตามท่ีคนสวนใหญคิดวาการมีชีวิตที่พอเพียงเปนเพราะมีฐานะยากจน หรือ
เหมาะสมกบั คนยากจนเทานน้ั ซึ่งแทจริงแลวเปนความเขาใจที่คลาดเคลื่อน หากจะยกตัวอยาง ของ
2 อภิมหาเศรษฐีระดับโลกผูย่ิงใหญ เชน บิลเกตส และวอรเรน บัพเฟตต หลายคนคงจะเคยไดยิน
ช่อื เสยี งและไดเ คยอา นประวตั ิที่นา ชืน่ ชมของนักธรุ กจิ ทีป่ ระสบผลสําเร็จในชวี ิต เปนคนท่ีรวยที่สุด
และท่ีสาํ คญั เปนคนที่มีใจบุญสุนทานท่ียิ่งใหญอีกดวย ดังน้ันเราจะเห็นวาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
สามารถนําไปใชไดในระดับบคุ คลนน้ั เปน จริงเพียงใด

ภาพท่ี 13 วอรเรน บัพเฟตตแ ละบลิ เกตต
ที่มา : http://www.munjeed.com/news_detail.php?id=21755
แงมุมหนง่ึ ของการใชชวี ติ พอเพยี งของวอรเรน บัพเฟตต (Warren Buffett) นักธุรกจิ ชาว
อเมรกิ นั เกิดเมือ่ ปค .ศ.1930 เปน นกั ลงทนุ ตัง้ แตว ยั เดก็ อายุ 11 ป สามารถซ้ือไรเล็ก ๆ ไดเมื่ออายุ 14
ป ดวยเงินเกบ็ จากการรับจางสง หนงั สอื พิมพ ใชชีวิตทผ่ี านมาถงึ ปจ จุบนั ในบานเลก็ หลังเดิมขนาด 3
หองนอน ท่ีซ้ือหลังแตงงาน ในบานหลังนี้มีทุกส่ิงที่ตองการแมจะไมมีรั้วกําแพงลอมรอบ
นอกจากนี้ยังขับรถไปไหนมาไหนตวยตนเอง ไมมีคนขับรถ ไมมีคนคุมกัน ไมเคยเดินทางดวย
เครื่องบินสวนตัว แมจะเปนเจาของบริษัทขายเคร่ืองบินสวนตัวท่ีใหญที่สุดในโลกและมีบริษัทใน
เครือ 63 บริษัท โดยวอรเรนเขียนจดหมายถึงซีอีโอของบริษัทเหลาน้ีปละฉบับ เพ่ือใหเปาหมาย
ประจําป ไมเคยนัดประชุม หรือโทรคุยกับซีอีโออยางเปนประจําและใหกฎทองแกซีอีโอไว 2 ขอ
คอื กฎขอ 1 อยาทําใหเ งินของผูถอื หุนเสียหายและกฎขอ 2 อยาลมื กฎขอ 1
การใชช วี ิตประจาํ วนั เม่ือกลับถงึ บา นพกั ผอน ทาํ ขา วโพดค่ัวกิน ดูโทรทศั น ไมสมาคมกับ
พวกไฮโซ ไมใชโทรศพั ทมอื ถือ ไมมีคอมพิวเตอรบนโตะทํางานและยังไดแนะนําเยาวชนคนหนุม
คนสาวใหหลีกหางจากบัตรเครดิตและลงทุนในตัวเอง ดังน้ันเราจะเห็นภาพสองดานของ
วอรเรน บัพเฟตต ในฐานะของผูที่เกิดและดําเนินชีวิตอยูในระบบทุนนิยมเสรี แตการใช

136

ชีวิตประจําวันของเขาทั้งในการดําเนินธุรกิจและชีวิตสวนตัวกลับตรงขามกับระบบทุนนิยมส้ินเชิง
เพราะภาพท่ีปรากฏเปนการใชชีวิตอยางพอเพียงที่สามารถใชศักยภาพของตนเองอยางเต็มท่ีและมี
คุณธรรม เชน การใหขอ คิด ดี ๆ แกส งั คม การทาํ ตัวเปน แบบอยา งทีด่ ี การเปนผูกตัญูของวอรเรน
ทุกคร้ังที่กลาวถึงความสําเร็จของตนเองก็จะพูดถึงศาสตราจารยเบนจามิน เกรแฮม อาจารยที่เขาได
ศึกษาปรัชญาการลงทุนดวย ตลอดจนการเอ้ือเฟอแบงปนดวยการบริจาค 85 % ของทรัพยสินใน
บริษัท ประมาณ 31,000 ลานดอลลาร จนไดขอสรุปท่ีวา วอรเรน บัพเฟตต มองทะลุวัตถุนิยมและ
เห็นความหมายที่แทจ ริงของชีวิต

สําหรับ บิล เกตต (Bill Gates) หรือชื่อเต็มวา วิลเลียม เฮนรี เกตส ที่สาม เปนนักธุรกิจ
ชาวอเมริกันอีกคนหน่ึง เกิดเมื่อปค.ศ.1955 บิล เกตส ครองตําแหนงอภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของ
โลกมา 12 ปต ดิ ตอกัน เพราะมที รพั ยสนิ กวา 50,000 ลา นดอลลาร( ประมาณ 2 ลานลานบาท) และได
เกษียณจากงานประจําที่ไมตองไปทํางานทุกวัน เม่ืออายุเพียง 50 ป ขณะที่ยังมีสุขภาพสมบูรณ โดย
ทุมเทเวลาสวนใหญใหกับมูลนิธิเพื่อการกุศลที่เขาและภรรยาตั้งข้ึน ชื่อวา Bill & Melinda Gates
Foundation มูลนิธินี้มีคําขวัญวา Bringing innovations in health and learning to the global
community หมายถึง เพอ่ื นาํ นวัตกรรมดา นสุขภาพและดา นการเรียนรไู ปสูชมุ ชนโลก (ไสว บุญมา.
2552. ออนไลน) คําขวัญนี้สะทอนความต้ังใจที่ตองการจะใชสมบัติสวนใหญและความรู
ความสามารถของเขาชวยขจัดโรครายในโลก โดยสนับสนุนโครงการตาง ๆ 10,500 ลานดอลลาร
30 % บริจาคใหโครงการในสหรัฐ 70 % บริจาคใหโครงการในประเทศตาง ๆ กวา 100 ประเทศ
โดยเฉพาะโครงการเพ่ือขจัดโรคราย เชน เอดส มาลาเรีย วัณโรคและเพ่ือปลูกฝ ฉีดยาใหเด็กเกิด
ใหมในประเทศดอ ยพัฒนา นอกจากนี้ บิล เกตส เปนคนประหยดั ในการใชจายสวนตัว แตเต็มที่กับ
การใหแกส งั คมและรกั บา นเกิดอยางสดุ ซ้ึง จึงไดยา ยสํานักงานใหญข องบรษิ ทั ไปตงั้ ในยา นบา นเกิด
ท่ีเปนเมอื งเลก็ ๆ จากนน้ั ไดชวยพฒั นาจนเปน เมอื งชั้นนาํ

ตัวอยา งของมหาเศรษฐโี ลกทง้ั 2 ที่ใชช ีวติ อยา งพอเพียงสามารถเปนแบบอยางสะทอนถึง
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ท้ังในแงของการบริหารองคกรและสวนตัวซึ่งเปนปรัชญาท่ี
สอดคลองกับจริยธรรมทางธุรกิจของผูบริหารท่ีประสบความสําเร็จระดับโลก ที่สามารถนํามาเปน
แบบอยางไดท้ังกับบุคคลที่อยูในวงการเดียวกัน หรือบุคคลทั่วไปท่ีจะนํามาเปนบุคคลตัวอยางที่
สรา งแรงบันดาลใจสกู ารดาํ เนนิ ชีวิตอยางมเี ปาหมายของตนได

แนวคิดการพัฒนาและแกป ญ หาเกษตรทฤษฎใี หม

ตลอดระยะเวลากวา 60 ปทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระเจา อยูหัว ไดท รงงานเพือ่ แกปญหา ปาก
ทองและปญหาอื่น ๆ มากมายใหแกประชาชนชาวไทย ดวยโครงการในพระราชดําริกวา 4,000

137

โครงการและอกี หนง่ึ โครงการท่ีสามารถนํามาแกป ญ หาดา นการเกษตรใหกับเกษตรกรไทย อันเปน
รากเหงาด้ังเดิมของสังคมไทยใหสามารถรักษาวิถีชีวิตความเปนอยู เสถียรภาพของประเทศชาติให
มั่นคงจากการพัฒนาประเทศท่ีตองการกาวไปสูสังคมอุตสาหกรรม ใหสามารถรักษาสมดุลกับ
รากฐานและจติ วญิ ญาณดา นการเกษตรทม่ี ัน่ คงและมคี วามยั่งยนื อยา งแทจรงิ

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูห ัว ทรงพระราชทานทฤษฎีใหมน้ีแกพสกนิกรชาวไทย โดยใช
ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละการจดั การในการทาํ การเกษตร มีขน้ั ตอนดงั น้ี

ขัน้ ท่ี 1 ทฤษฎใี หมข น้ั ตน มวี ตั ถุประสงคเพอื่ สรางเสถยี รภาพของการผลติ เสถียรภาพ
ดา นอาหารประจําวนั ความม่นั คงของรายได ความม่ันคงของชีวิตและความมั่นคงของชุมชนชนบท
เปนเศรษฐกิจพึ่งตนเองมากข้ึน จากการพิจารณาพ้ืนฐานของเกษตรกรท่ีมีฐานะคอนขางยากจน มี
พื้นท่ีจํานวนนอย ตองอาศัยน้ําฝนเปนหลัก โดยการจัดสรรพ้ืนท่ีทํากินและท่ีอยูอาศัยโดยเฉพาะใน
เขตท่ีใชนํา้ ฝนทาํ นาเปน หลกั จะมีความเส่ียงสูงในการไดผลผลิตขาวในระดับต่ํา ไมเพียงพอตอการ
บริโภค ใหดําเนินการในพื้นท่ีทํากินท่ีมีขนาดเล็ก ประมาณ 15 ไร ดวยการแบงพ้ืนที่การเกษตร
ออกเปน 4 สว น ตามอัตราสว น 30:30:30:10 คือ สว นท่ี 1) ขดุ สระกกั เก็บน้าํ จํานวน 30 % ของพนื้ ท่ี
สวนที่ 2) ปลูกขาว จํานวน 30 % ของพื้นท่ี สวนท่ี 3) ปลูกไมผล ไมยืนตน และสวนท่ี 4) เปนพ้ืนที่
ที่ใชสรางสิ่งปลูกสราง เชน ท่ีอยูอาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว ฉาง จํานวน 10 % ของพ้ืนที่ การกําหนด
สัดสวนพื้นที่ทั้งหมดสามารถปรับลดหรือเพิ่มได ทั้งนี้ข้ึนอยูกับความเหมาะสมของสภาพพื้นท่ีแต
ละแหง เชน ครอบครัวหนึ่งมีสมาชิกจํานวน 4 คน พื้นท่ีมีแหลงนํ้าใชไดตลอดทั้งป แตดินมีความ
อุดมสมบูรณต่ําก็ควรปรับลดพ้ืนที่ขุดสระและเพ่ิมพ้ืนที่นาขาวเพ่ือใหมีขาวบริโภคเพียงพอตลอด
ท้ังป เปนตน การดําเนินตามแนวการทําเกษตรทฤษฎีใหม เพ่ือการผลิตทางเกษตรกรรมที่ย่ังยืน
สําหรับเกษตรกรชาวไทย

ภาพท่ี 14 การแบง พน้ื ทท่ี าํ กนิ ตามหลักเกษตรทฤษฎใี หม
ที่มา : http://www.kasetporpeang.com

138

เม่ือเกษตรกรมีความเขาใจในหลักการและลงมือปฏิบัติ จนถึงข้ันที่สามารถพออยูพอกิน
แลว ก็จะสามารถกา วไปในข้ันตอ ไป คอื พอมอี ันจะกิน

ขั้นที่ 2 ทฤษฎีใหมขั้นกลาง ตอเน่ืองจากการดําเนินการภายในที่ดินของตนเองจนไดผล
แลว จงึ เริ่มขั้นที่สองคือ เกษตรกรรวมพลังกันเปนกลุม หรือสหกรณ รวมแรง รวมใจกันดําเนินการ
ในดานตาง ๆ ดงั นี้

2.1 การผลติ เกษตรกรจะตอ งรวมมือในการผลิต เริ่มตั้งแตขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ
พืช ปยุ การหานํา้ และอืน่ ๆ เพ่อื การเพาะปลกู

2.2 การตลาด เมื่อมผี ลผลิตแลว จะตองเตรียมการเพือ่ ขายผลผลิตใหไดประโยชน
สูงสุด เชน การเตรียมลานตากขาวรวมกัน การจัดหายงุ รวบรวมขาว เตรยี มหาเครอื่ งสขี า ว ตลอดจน
การรวมกันขายผลผลิตใหไดร าคาดีและลดคาใชจ า ยลงดว ย

2.3 ความเปน อยู ในขณะเดยี วกันเกษตรกรตองมคี วามเปนอยทู ีด่ พี อสมควร โดยมี
ปจ จัยพนื้ ฐานในการดํารงชวี ติ เชน อาหารการกนิ ตาง ๆ กะป น้ําปลา เสอื้ ผา ทพี่ อเพยี ง

2.4 สวสั ดิการ แตละชุมชนควรมสี วัสดกิ ารและบรกิ ารทีจ่ าํ เปน เชน มสี ถานีอนามัย
ไวย ามปว ยไข หรือมีกองทนุ ใหก ยู ืม เพ่ือประโยชนใ นกจิ กรรมตา ง ๆ

2.5 การศึกษา โรงเรียนและชุมชนมีบทบาทในการสงเสริมการศึกษา เชน มีกองทุน
เพื่อการศึกษาเลาเรยี นใหแกเยาวชนของชุมชนเอง

2.6 สังคมและศาสนา ชุมชนควรเปนศูนยกลางในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมี
ศาสนาเปน ทย่ี ดึ เหนีย่ ว

ขน้ั ที่ 3 ทฤษฎใี หมขั้นกาวหนา เมอ่ื เกษตรกรมีรายไดดีข้ึน ฐานะม่ันคงข้ึน เกษตรกรหรือ
กลุมเกษตรกรควรพัฒนากาวไปสูข้ันท่ีสามคือ ติดตอประสานงาน เพ่ือจัดหาทุน หรือแหลงเงิน
เชน ธนาคาร หรือบริษัทหางรานเอกชน มาชวยในการทําธุรกิจ การลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ทั้งน้ที ุกฝา ยทรี่ ว มมือกนั จะไดรบั ประโยชนรว มกนั กลาวคอื

3.1 เกษตรกรขายขา วไดใ นราคาสูง ไมถูกกดราคา
3.2 ธนาคารกับบรษิ ทั สามารถซอื้ ขา วบรโิ ภคในราคาตาํ่ เพราะสามารถซื้อ
ขาวเปลือก โดยตรงจากเกษตรกรมาสเี องได
3.3 เกษตรกรซือ้ เครอื่ งอปุ โภคบริโภคไดใ นราคาต่ํา เพราะรวมกนั ซ้ือเปนจํานวน
มาก (เปนรานสหกรณ ซือ้ ในราคาขายสง)

139

ดังน้ันจะเห็นวาการทดลองวิจัยเชิงปฏิบัติการที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูไดดําเนินงาน
มาเปนเวลานานตั้งแตปพ.ศ.2532 และนําองคความรูเผยแพรในปพ.ศ.2537 จนถึงปจจุบันไดมีการ
นาํ เอาเกษตรทฤษฎีใหมไปทําการขยายผลอยางกวางขวางขึ้น ซง่ึ พระองคไ ดมพี ระราชดาํ รสั ท่ใี หส ติ
และกําลังใจสําหรับผูท่ีนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหมของพระองคไปใชจะตองมี
ความเพียร ตองอดทน ไมใ จรอน ความสําเร็จที่เกดิ ขึน้ จะทาํ ใหประเทศชาติเจรญิ ประชาชนพอมีอัน
จะกนิ เกิดความสงบสขุ ความรม เยน็ ในชีวิตรว มกนั ในที่สุด

สรปุ

จริยธรรมกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธในหลักแนวคิด การวิเคราะห
แยกแยะเหตุการณ เพื่อเลือกแนวทางการแกไขและการจัดการกับปญหาไดอยางถูกตองและ
เหมาะสม เกิดความสมดุลของธรรมชาติในการดําเนินชีวิตของมนุษย จากประสบการณที่ผานมา
ของประเทศไทยเมื่อประสบวิกฤตเศรษฐกิจ จึงไดนอมนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ
พระบาทสมเด็จพระเจา อยูหัวภูมิพลอดุลยเดช มาเปนมรรควิธีท่ีมีหลักคิด 3 หวง 2 เงื่อนไข คือ
ความมีเหตุผล ความพอประมาณและความมีภูมิคุมกัน โดยมีความรูและใชความรูอยางรอบคอบ
ระมัดระวัง และมีคณุ ธรรม ความซื่อสัตย ขยัน อดทน มีสติปญญาและรูจักการแบงปน ขณะที่ความ
เขาใจแนวคดิ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะยังเปน ท่ีถกเถยี ง แตผูทรงคุณวุฒิหลายทานไดอธิบายดวย
หลักของความสอดคลองทางเศรษฐศาสตรกระแสหลักในบางประเด็น โดยท่ีปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงมีความสัมพันธและใหความสนใจไมแยกมนุษยออกจากคุณงามความดีทางจริยธรรม
ดังนั้นการนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต จึงสามารถประสบความสําเร็จ ดังตัวอยางของ
ชุมชนพอเพียงอินแปง องคกรธุรกิจขนาดใหญ เชน บริษัทเครือปูนซิเมนตไทยที่นําไปใชในดาน
การพัฒนาทรัพยากรบุคคล แมแตอภิมหาเศรษฐีระดับโลกอยาง วอรเรน บัพเฟตตและบิล เกตต ก็
ดําเนินชีวิตสวนตัวอยางพอเพียง จึงนับไดวาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนําไปใชไดท้ังในระดับ
บคุ คล ระดับธุรกิจชุมชนและธรุ กิจขนาดใหญ สําหรบั แนวคดิ การพฒั นาและแกปญหาเกษตรทฤษฎี
ใหม ที่ไดพระราชทานแกพสกนิกรชาวไทย เพื่อใหรูจักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการทํา
เกษตรอยางเปนระบบ โดยปรับสัดสวนการแบง พืน้ ทตี่ ามอัตราสวน 30: 30: 30: 10 ใหเหมาะสมกับ
ขนาดของทดี่ ิน ตอมาทาํ การผลิตและมีการรวมกลุม รวมแรงรวมใจใหเกิดพลังกลุมชุมชน ซึ่งจะทํา
ใหเ กษตรกรมีความเขม แข็ง มอี ํานาจตอรองและมีความกาวหนา พ่งึ พาตนเองไดใ นทสี่ ุด

140

กรณศี กึ ษา

สํานักงานคณะกรรมการพิเศษ เพ่ือประสานงานโครงการอันเน่ืองมาจากพระราชดําริ
(กปร.) ไดประมวลพระราชดํารัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม (แนวพระราชดําริ
เศรษฐกิจพอเพียง. ออนไลน. 2554) ไวดังนี้ "เศรษฐกิจพอเพียง" และ "ทฤษฎีใหม" "...มีพอ
เพียงพอกินน้ี ก็แปลวา เศรษฐกิจพอเพียงน่ันเอง ถาแตละคนมีพอมีพอกินก็ใชได... พอเพียงนี้
หมายความวา มีกินมีอยูไมฟุมเฟอย ไมหรูหราก็ได แตวาพอ แมบางอยางอาจจะดูฟุมเฟอย แตก็ทํา
ใหมีความสุขถาทําได ก็สมควรที่จะทํา สมควรท่ีจะปฏิบัติ อันนี้ก็ความหมายอีกอยางของเศรษฐกิจ
หรอื ระบบพอเพยี ง ไดแ ปลพอเพียงนี้ คือ ตอนทพ่ี ูดพอเพยี ง แปลในใจแลวก็ไดพูดออกมาดวยวาจะ
แปลเปน Self-sufficiency ถึงไดบอกวาพอเพียงแกตนเอง แตความจริงเศรษฐกิจพอเพียงน้ี
กวางขวางกวา Self-sufficiency ซ่ึง Self-sufficiency นี้ หมายความวา ผลิตอะไรมีพอท่ีจะใชไม
ตองไปขอยืมคนอื่น อยูไดดวยตนเอง ที่อ่ืนเขาแปลจากภาษาฝร่ังกันวาใหยืนบนขาตัวเอง คําวายืน
บนขาตัวเองน้ี มีคนบางคนเขาพูดวา ชอบกล ใครจะมายืนบนขา คนอื่นมายืนบนขาเรา เราก็โกรธ
แตตัวเอง ยืนบนขาตัวเองก็หกลมอันนี้ก็เปนความคิดท่ีมันอาจจะเฟองไปหนอย แตวาเปนตามที่เขา
เรียกวายืนบนขาของตัวเอง หมายความวา 2 ขาของเราน่ียืนบนพ้ืนใหอยูไดไมหกลม ไมตองไปขอ
ยืมขาคนอื่นมาใชเพ่ือที่จะยืนอยู แตวาพอเพียงนี้มีความหมายกวางกวา ย่ิงกวาน้ีอีก คือ คําวา พอก็
เพียง พอเพียงน่ีก็พอ คนเราถาพอในความตองการมันก็มีความโลภนอย เมื่อมีความโลภนอยก็
เบียดเบียนคนอื่นนอย ถาประเทศใดมีความคิดอันน้ีไมเศรษฐกิจ มีความคิดวาทําอะไรตองพอเพียง
หมายความวา พอประมาณไมสุดโตง ไมโลภอยางมาก คนเราก็อยูเปนสุข พอเพียงนี้อาจจะมีมาก
อาจจะมีของหรูหราก็ได แตวาตองไมเบียดเบียนคนอ่ืน ตองใหพอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทํา
อะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ... ...พูดเหมือนวาจะอวดตัววาเกง แตวาตกใจตัวเอง วาที่พูด
ไปใชงานได จึงมาสรุปเปนทฤษฎีใหม และเมื่อเปนทฤษฎีใหมก็ใหไปที่มูลนิธิชัยพัฒนา แลวเขียน
ขางใตว า เปน ทฤษฎีใหม เปนของมูลนธิ ชิ ัยพฒั นาน้นั

คาํ ถาม จากพระราชดํารสั ..พอเพยี ง.. ไดใ หบทเรียนทางจริยธรรมในเร่ืองใดบาง อยางไร
ตอมาคนก็ไดเห็นอันน้ีวาใชได แลวก็ไปปฏิบัติท่ีที่แหงแลง นี่ก็เคยเลาใหฟงแลวที่อําเภอ
เขาวง จังหวัดกาฬสินธุ ก็ไดผลดี ท่ีตรงน้ัน 12 ไร ปหนึ่งเขาก็มีขาวกิน ที่ไปเย่ียมไมมีขาวกิน มีเพียง
ไมก่ีเม็ดตอรวง เมื่อชาวบานแถวน้ันเห็นวาดี ก็ขอใหชวย ปตอไปก็เปน 10 ไร ปตอ ๆ ไปก็เปน 100
เปน 200 และขยายออกไปในภาคอ่ืน ก็ดวยเปนการปฏิบัติตามทฤษฎีใหมก็ไดผล แลวก็เม่ือเปน
ทฤษฎใี หมน ้ี กม็ าเขาเปน เร่ืองของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คนท่ีทํานี้ตองไมฟุงซาน ไมฟุงเฟอ แลวเขียน
ไวในทฤษฎีน้ันวา ลําบากเพราะวาผูปฏิบัตินี้ตองมีความเพียร และตองอดทนไมใชวาทําไดทุกแหง
ตองเลือกท่ีและคอย ๆ ทําไปก็จะสามารถท่ีจะขยายความคิดของทฤษฎีใหมนี้ ไปไดโดยดัดแปลง

141

ทฤษฎีน้ี แลวแตสถานที่แลวแตสภาพของภูมิประเทศ... ...อันนี้ถึงบอกวา เศรษฐกิจพอเพียง หรือ
ทฤษฎีใหม นี้ 2 อยางนี้จะนําความเจริญแกประเทศได แตตองมีความเพียร แลวตองอดทน ตองไม
ใจรอน ตองไมพูดมาก ตองไมทะเลาะกัน ถาทําไดโดยเขาใจกัน เชื่อวาทุกคนจะมีความพอใจได
..." พระราชดํารสั พระราชทานแดค ณะบุคคลตาง ๆ ทเี่ ขา เฝา ถวายชยั มงคล เน่ืองในโอกาสวัน
เฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสดิ าลยั สวนจิตรลดาฯ พระราชวงั ดสุ ิต 4 ธนั วาคม 2541

คําถาม จากพระราชดํารัส แนวคิดทฤษฎีท่ีพระราชทานสามารถนําไปประยุกตให
ประสบผลสําเร็จไดดว ยมรรควธิ ใี ด อยา งไร

142

บรรณานกุ รมทา ยบทที่ 6

ฉลองภพ สุสงั กรกาญจน. (2542). เศรษฐกิจพอเพยี งกบั วิกฤตเศรษฐกิจ. [ออน-ไลน] .
แหลง ท่ีมา: www.sufficiencyeconomy.org/mfiles.pdf.

ชัยอนันต สมทุ วนชิ . (2541). ทฤษฎใี หม : มิตทิ ่ยี ง่ิ ใหญท างความคดิ . [ออน-ไลน]. แหลงที่มา:
www.sufficiencyeconomy.org/mfiles.pdf.

แนวพระราชดาํ ริ เศรษฐกจิ พอเพยี ง. [ออน-ไลน] . (2554). แหลงทม่ี า:
http://www.rdpb.go.th/RDPB/front/SufficiencyEconomy.aspx?p=4

เศรษฐกจิ พอเพียง. [ออน-ไลน] . (2554). แหลง ทม่ี า: http://www.sufficiencyeconomy.org
/view-detail.html

เสรี พงศพ ิศ. (2552). วถิ สี ชู มุ ชนพอเพยี ง. กรงุ เทพฯ : เจริญวิทยก ารพมิ พ.
ไสว บุญมา. (2552). ความพอเพียงของบลิ เกตส. [ออน-ไลน] . แหลง ท่มี า:

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=iamlady&month=02-
009&date=18&group=22&gblog=19
อภิชัย พนั ธเสน. (2542). เศรษฐกิจพอเพยี งในฐานะรูปแบบท่พี ึงปรารถนาของระบบสวัสดิการ
สังคมไทย. [ออน-ไลน] . แหลง ทม่ี า: www.sufficiencyeconomy.org/mfiles.pdf.
HR แบบพอเพียงฉบบั ศึกษา เครือซิเมนตไทย. [ออน-ไลน] . (2554). แหลงท่มี า:
http://www.hrtothai.com
MBA. (2543). วิกฤตตม ยาํ กงุ เผด็ รอ นแบบไทย. [ออน-ไลน] . แหลง ทมี่ า:
http://mbamagazine.net/home/index.php/blog/43-bizandfinance/160--m-m-s.

บทที่ 7
การปลกู ฝงคุณธรรมจรยิ ธรรมของนานาประเทศ

ประเทศในทุกภูมิภาคทั่วโลก มีที่ตั้งทางภูมิศาสตรและภูมิประเทศท่ีแตกตาง ทําใหมีวิถี
ชีวิตความเปนอยู ความคิด ความเชื่อ คานิยม ศาสนาและวัฒนธรรมท่ีเปนเอกลักษณเฉพาะตนและ
บางสงิ่ บางอยางอาจมลี กั ษณะทีร่ วมกนั เชน ความดีท่เี ปนสากล ซ่ึงเปรยี บเสมือนความเค็มของเกลือ
ไมวาจะอยูท่ีใด เกลือก็ยังคงความเค็มในความเปนเกลือฉันนั้น ดังนั้นการกําหนดคุณลักษณะของ
ความเปนคนดีท่ีพึงประสงคของแตละประเทศ ไมไดเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แตเกิดจากการขัดเกลา
ทางสังคมผานสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนาและปจจัยที่มีอิทธิพลตอการ
ปลูกฝงคุณธรรมจริยธรรม ไดแก บทบาทของรัฐ บทบาทของผูนํา บทบาทของส่ือมวลชน ชุมชน
และสังคม ความสําเร็จของแตละประเทศแตกตางกันไปตามกระบวนการปลูกฝงคุณธรรม
จริยธรรมท่ีไดเลือกใช ตลอดจนอิทธิพลของปจจัยภายนอกที่เขาครอบงําสังคมของประเทศนั้น
รวมถึงภมู คิ มุ กนั ทส่ี ังคมในประเทศนนั้ มีอยมู ากนอ ยเพยี งใด

คุณลกั ษณะดา นคุณธรรมจรยิ ธรรมของนานาประเทศ

เจือจันทร จงสถิตอยูและรุงเรือง สุขาภิรมย (2550 : 9-231) ไดศึกษาสังเคราะหงานวิจัย
เกี่ยวกับคุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝงคุณธรรมจริยธรรมของประเทศ 3 กลุม คือ กลุมเอเชีย
5 ประเทศไดแก สาธารณรัฐเกาหลี ไตหวัน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ศรีลังกาและอินเดีย
กลุมประเทศในยุโรป 3 ประเทศ ไดแก ฟนแลนด สหพันธสาธารณรัฐเยอรมันและสวิตเซอรแลนด
กลุมประเทศในอเมริกาเหนือและแปซิฟคใต ไดแก แคนาดาและนิวซีแลนด ไวอยางนาสนใจซึ่งจะ
ไดนํามาสรุป วิเคราะหใหไดศึกษาถึงคุณลักษณะดานคุณธรรมจริยธรรมของประเทศเหลาน้ัน
ตลอดจนกระบวนการในการปลูกฝงคุณธรรมจริยธรรม ท่ีสงผลใหประเทศเหลานั้นไดรับการ
ยอมรับในฐานะท่ีเปนประเทศที่พัฒนาแลว และสําหรับความเห็นใจในฐานะท่ีเปนประเทศกําลัง
พฒั นา

คุณลักษณะคณุ ธรรมจรยิ ธรรมของแตละประเทศ ท่มี ีขอ เหมือนกนั และขอท่ตี า งกนั ซ่งึ
สามารถแยกไดด งั นี้


Click to View FlipBook Version