The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักสูตรวิชาสุขศึกษาและพละศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

หลักสูตรวิชาสุขศึกษาและพละศึกษา

หลักสูตรวิชาสุขศึกษาและพละศึกษา

1



1 คำนำ กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการทบทวน และปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 12 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและยึดแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 มาเป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เหมาะสมและ เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุคแห่งโลกเทคโนโลยีและนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 และได้ประกาศใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2560 หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลาง (สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ) พ.ศ. 2554 และ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการเวลาเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานต้นสังกัดระดับ ท้องถิ่นและเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการใช้หลักสูตรการศึกษาสู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษา เปิด โอกาสให้โรงเรียนสามารถกำหนดทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ในแต่ละระดับตามความพร้อมและ จุดเน้น เพื่อให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาในสังกัด สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ และตรงตามกลุ่มเป้าหมาย ตาม ความเหมาะสมและบริบทของสถานศึกษา โดยให้มุ่งเน้นการพัฒนาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะของผู้เรียนที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญา และออทิสติก โรงเรียนระยองปัญญานุกูลจึงได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาขึ้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และเป็นกรอบในการวางแผนและพัฒนา การศึกษาและจัดการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพและส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุ ตามเป้าหมายของหลักสูตรให้มีกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด โครงสร้างเวลาเรียน ตลอดจนเกณฑ์การวัดประเมินผลให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ โรงเรียนได้กำหนดทิศทาง ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษาขึ้น ในแต่ละระดับตามความพร้อม ความเหมาะสมและจุดเน้น โดยมีกรอบแกนกลางเป็นแนวทาง ที่ชัดเจน เพื่อตอบสนองนโยบายไทยแลนด์4.0 มีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมคุณภาพ มีความรู้ตามศักยภาพ ของผู้เรียน และมีทักษะในศตวรรษที่ 21


2 การจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังได้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติ ชุมชน ครอบครัว และบุคคลต้องร่วมรับผิดชอบ โดยร่วมกันทำงานอย่างเป็น ระบบ และต่อเนื่อง ในการวางแผน ดำเนินการ ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ขอขอบคุณคณะครู บุคลากร โรงเรียนระยองปัญญานุกูล คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ที่ได้มีส่วนร่วม จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาฉบับนี้จนสำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี และหวังว่าหลักสูตรสถานศึกษาฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาต่อไป คณะกรรมการกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ผู้จัดทำ


3 สารบัญ หน้า ประกาศโรงเรียน ก คำนำ ข สารบัญ ค ส่วนที่ 1 ความนำ 6 วิสัยทัศน์/หลักการ/จุดหมาย 9 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 9 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 10 ทำไมต้องเรียนสุขศึกษาและพลศึกษา 11 เรียนรู้อะไรในสุขศึกษาและพลศึกษา 11 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 14 คุณภาพผู้เรียน 14 ตัวชี้วัด 14 ส่วนที่ 2 โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 55 โครงสร้างเวลาเรียน 56 โครงสร้างหลักสูตรชั้นปีระดับประถมศึกษา 59 โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยองระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 60 โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยองระดับชั้นประถมศึกษาปีที่2 61 โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยองระดับชั้นประถมศึกษาปีที่3 62 โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยองระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4 63 โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยองระดับชั้นประถมศึกษาปีที่5 64 โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยองระดับชั้นประถมศึกษาปีที่6 65 โครงสร้างหลักสูตรชั้นปีระดับมัธยมตอนต้น โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยองระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยองระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยองระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โครงสร้างหลักสูตรชั้นปีระดับมัธยมตอนปลาย โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยองระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 66 67 68 69 70 71


4 โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยองระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยองระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 72 73 ส่วนที่ 3 คำอธิบายรายวิชาราย ระดับประถมศึกษา 74 คำอธิบายรายวิชาราย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 75 คำอธิบายรายวิชาราย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 76 คำอธิบายรายวิชาราย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 77 คำอธิบายรายวิชาราย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 78 คำอธิบายรายวิชาราย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คำอธิบายรายวิชาราย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คำอธิบายรายวิชาราย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คำอธิบายรายวิชาราย ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 คำอธิบายรายวิชาราย ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 คำอธิบายรายวิชาราย ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 คำอธิบายรายวิชาราย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คำอธิบายรายวิชาราย ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 คำอธิบายรายวิชาราย ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 คำอธิบายรายวิชาราย ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นประถมศึกษา โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 79 80 81 82 86 90 94 95 99 103 107 108 110 113 116 118 121 124 125 130 134 139 140


5 โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โครงสร้างรายวิชา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 145 150 ส่วนที่ 4 การจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียน ระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 153 ระเบียบโรงเรียนระยองปัญญานุกูลว่าด้วยการประเมินผลการเรียนรู้ 160 เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้/เกณฑ์การจบหลักสูตร 177 บรรณานุกรม 187 ภาคผนวก คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา คณะผู้จัดทำ 189 190 195


6 ความนำ หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) เป็นแผนและข้อกำหนดการจัด การศึกษา ของโรงเรียนระยองปัญญานุกูล ที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานที่กำหนด มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีทักษะชีวิต มีความสุขและสามารถประกอบ อาชีพ ตามศักยภาพของผู้เรียนโดยมุ่งหวังให้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา อีกทั้ง มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข และมีคุณภาพ ตามมาตรฐาน ที่กำหนดเพื่อการแข่งขันในยุคปัจจุบัน ดังนั้นหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยองพุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) จึงประกอบด้วยสาระสำคัญของหลักสูตรแกนกลาง สาระความรู้ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ท้องถิ่น และสาระสำคัญที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติม โดยจัดเป็นสาระการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานตามมาตรฐาน การเรียนรู้และตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติม จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับประถมศึกษา เป็นรายปี ระดับมัธยมศึกษาเป็นรายภาคและกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรแกนแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) มีความสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้เป็นแนวทางให้ผู้บริหาร สถานศึกษา ครู ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ในการจัดมวลประสบการณ์ ให้แก่ผู้เรียนได้พัฒนาให้บรรลุ ถึงคุณภาพตามมาตรฐานในการพัฒนาเยาวชนของชาติที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญา นอกเหนือจากการใช้เป็นแนวทาง หรือข้อกำหนดในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้บรรลุ ตามจุดหมายของการจัดการศึกษาแล้ว หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ที่พัฒนาขึ้นยังเป็น หลักสูตรที่มีจุดมุ่งหมายให้ครอบครัว ชุมชน องค์กรในท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมจัดการศึกษา ของสถานศึกษา โดยมีแนวทางสำคัญที่สถานศึกษากำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้ 1. หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน และความเพลิดเพลินในการเรียนรู้เปรียบเสมือนเป็นวิธีสร้างกำลังใจ และเร้าให้เกิดความก้าวหน้าแก่ผู้เรียนให้มากที่สุด มีความรู้สูงสุด ผู้เรียนทุกคนมีความเข้มแข็ง ความสนใจ มีประสบการณ์ และความมั่นใจ เรียนและทำงานอย่างเป็นอิสระและร่วมใจกัน มีทักษะในการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น รู้ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีสื่อสาร ส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็น และมีกระบวนการคิด อย่างมีเหตุผล 2. หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ส่งเสริมการพัฒนา ด้านจิตวิญญาณ


7 จริยธรรม สังคม และวัฒนธรรม พัฒนาหลักการในการจำแนกระหว่างถูกและผิด เข้าใจและศรัทธา ความเชื่อ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน พัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระ ของผู้เรียน และช่วยให้เป็นพลเมืองที่มีความ รับผิดชอบ สามารถช่วยพัฒนาสังคมให้เป็นธรรมขึ้นมีความเสมอภาค พัฒนาความตระหนัก เข้าใจ และยอมรับ สภาพแวดล้อมที่ตนดำรงชีวิตอยู่ ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับส่วนตน ระดับ ท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก สร้างให้ผู้เรียน มีความพร้อม ในการเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูล เป็นอิสระ และมีความรับผิดชอบ ส่งเสริมผู้เรียนเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธ์พืช สร้างผู้เรียนให้ มีทักษะชีวิต มีทักษะในการประกอบอาชีพพื้นฐาน การเลือกอาชีพ รักการทำงานสามารถเป็นพื้นฐานในการ ประกอบอาชีพได้ในอนาคต ลักษณะของหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 หลักสูตรโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) เป็นหลักสูตรที่สถานศึกษาได้พัฒนาขึ้น เพื่อพัฒนาผู้เรียนในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา โดยยึดองค์ประกอบหลักสำคัญ 3 ส่วนคือ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น และ สาระสำคัญที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติม เป็นกรอบในการจัดทำรายละเอียดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนด เหมาะสมกับสภาพชุมชนและท้องถิ่นและจุดเน้นของสถานศึกษาโดยหลักสูตร สถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะของหลักสูตร ดังนี้ 1. เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถานศึกษา สำหรับจัดการศึกษาในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดการศึกษา ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6) และมัธยมศึกษา (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 ) 2. มีความเป็นเอกภาพ หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) เป็นหลักสูตรของ สถานศึกษาสำหรับให้ครูผู้สอนนำไปจัดการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย โดยกำหนดให้ 2.1 มีสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาใช้เป็นหลักเพื่อสร้างพื้นฐานการคิด การเรียนรู้ และการ แก้ปัญหา ประกอบด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2.2 มีสาระการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ ศักยภาพการคิดและการทำงาน ประกอบด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ กลุ่มสาระการ เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 2.3 มีสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยจัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติมตามความเหมาะสมสอดคล้อง กับโครงสร้างเวลาเรียน สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ความต้องการของผู้เรียน และบริบทของสถานศึกษา 2.4 มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคมเสริมสร้างการเรียนรู้นอกจากสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม และการพัฒนาตนตามศักยภาพ


8 2.5 มีการกำหนดมาตรฐานของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานระดับต่าง ๆ เพื่อเป็น เป้าหมาย ของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา จัดทำรายละเอียดสาระการเรียนรู้ และจัด กระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพในชุมชน สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. มีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) เป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ของผู้เรียน เพื่อเป็นแนวทาง ในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีการกำหนดมาตรฐานไว้ดังนี้ 3.1 มาตรฐานหลักสูตร เป็นมาตรฐานด้านผู้เรียนหรือผลผลิตของหลักสูตรสถานศึกษา อันเกิดจากการได้รับการอบรมสั่งสอนตามโครงสร้างของหลักสูตรทั้งหมดใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบคุณภาพ โดยรวมของการจัดการศึกษาตามหลักสูตรในทุกระดับ และสถานศึกษาต้องใช้สำหรับการประเมินตนเอง เพื่อจัดทำรายงานประจำปีตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นแนวทาง ในการกำหนด แนวปฏิบัติในการส่งเสริม กำกับ ติดตาม ดูแล และปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด 3.2 มีตัวชี้วัดชั้นปีเป็นเป้าหมายระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะ ของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจง และมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัด ประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน ตรวจสอบพัฒนาการผู้เรียน ความรู้ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์และเป็นหลักในการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาใน ระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย 3.3 มีความเป็นสากล ความเป็นสากลของหลักสูตรสถานศึกษา คือมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาษาอังกฤษ การจัดการสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมี คุณลักษณะที่จำเป็นในการอยู่ในสังคมได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา การเสียสละ การเอื้อเฟื้อ โดยอยู่บนพื้นฐานของความพอดีระหว่างการเป็นผู้นำ และผู้ตาม การทำงานเป็นทีม และการ ทำงานตามลำพังการแข่งขันการรู้จักพอและการร่วมมือกันเพื่อสังคม วิทยาการสมัยใหม่ และภูมิปัญญาท้องถิ่น การรับวัฒนธรรมต่างประเทศ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยการฝึกฝนทักษะ เฉพาะทางส่งเสริมให้ผู้เรียนให้ มีคุณธรรมจริยธรรม อยู่อย่างพอเพียง และ การบูรณาการในลักษณะที่เป็นองค์รวม 4. มีความยืดหยุ่น หลากหลาย หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 เป็นหลักสูตรที่สถานศึกษาจัดทำรายละเอียดต่าง ๆ ขึ้นเอง โดยยึดโครงสร้างหลักที่กำหนด ไว้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) เป็นขอบข่ายในการ จัดทำจึงทำให้หลักสูตรของสถานศึกษามีความยืดหยุ่น หลากหลาย สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความ ต้องการของท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเหมาะสมกับตัวผู้เรียน 5. การวัดและประเมินผลเน้นหลักการพื้นฐานสองประการคือการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน และเพื่อตัดสินผลการเรียน โดยผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐาน การเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นเป้าหมายหลักในการวัด และประเมินผลการเรียนรู้ในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา การวัดและประเมินผลการ


9 เรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูล และสารสนเทศที่แสดง พัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน ตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ วิสัยทัศน์ หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา มุ่งมั่นให้นักเรียนโรงเรียนระยองปัญญานุกูล มีการพัฒนาพฤติกรรมความรู้ เจตคติ คุณธรรม ค่านิยม และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพควบคู่กันไปด้วย รวมถึงกิจกรรมการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกมและกีฬา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโดยรวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม สติปัญญา รวมทั้งสมรรถภาพเพื่อสุขภาพและกีฬา สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2560) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิดความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์ 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์และถ่ายทอดความคิดด้วย กระบวนการในการสื่อความหมาย เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ รู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับครอบครัว สังคมได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เพื่อการ พัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหา ถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม


10 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรโรงเรียนสถานศึกษาโรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2560) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะพลเมืองไทย และพลโลกดังนี้ ๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต ๓. มีวินัย ๔. ใฝ่เรียนรู้ ๕. อยู่อย่างพอเพียง ๖. มุ่งมั่นในการทำงาน ๗. รักความเป็นไทย ๘. มีจิตสาธารณะ


11 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ทำไมต้องเรียนสุขศึกษาและพลศึกษา สุขภาพหรือสุขภาวะ หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิตใจ สุขภาพหรือสุขภาวะ จึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะเกี่ยวโยงกับทุกมิติของชีวิต ซึ่งทุกคนควรจะได้เรียนรู้เรื่องสุขภาพหรือสุขภาวะ เพื่อจะได้มี ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีเจตคติ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม รวมทั้งมีทักษะปฏิบัติด้านสุขภาพจนเป็นกิจ นิสัย อันจะส่งผลให้สังคมโดยรวมมีคุณภาพ เรียนรู้อะไรในสุขศึกษาและพลศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษาเป็นการศึกษาด้านสุขภาพที่มีเป้าหมาย เพื่อการดำรงสุขภาพ การสร้างเสริม สุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล ครอบครัว และชุมชนให้ยั่งยืน • สุขศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาพฤติกรรมด้านความรู้ เจตคติ คุณธรรม ค่านิยม และการ ปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพควบคู่กันไปด้วย • พลศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกมและกีฬา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโดยรวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม สติปัญญา รวมทั้งสมรรถภาพ เพื่อสุขภาพและกีฬา สาระที่เป็นกรอบเนื้อหาหรือขอข่ายองค์ความรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ประกอบด้วย • การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เรื่องธรรมชาติของการ เจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ความสัมพันธ์เชื่อมโยงในการทำงานของ ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงวิธีปฏิบัติตนเพื่อให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ทันสมัย • ชีวิตและครอบครัว ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เรื่องคุณค่าของตนเองและครอบครัว การปรับตัวต่อ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกทางเพศ การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น สุขปฏิบัติทางเพศ และทักษะในการดำเนินชีวิต • การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ เรื่องการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ การเข้าร่วมกิจกรรม ทางกายและกีฬาทั้งประเภทบุคคล และประเภททีมอย่างหลากหลายทั้งไทยและสากล การปฏิบัติตามกฎ กติกา ระเบียบ ข้อตกลงในการเข้าร่วม กิจกรรมทางกาย


12 คุณภาพผู้เรียน จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 1. รู้วิธีการการทำความสะอาดร่างกาย ดูแลอวัยวะที่สำคัญของร่างกายอย่างถูกต้อง 2. แสดงพฤติกรรมได้เหมาะสมกับเพศของตนเอง 3. เข้าใจวิธีการจัดที่อยู่อาศัยให้สะอาดและปลอดภัย 4. รู้จักป้องกันตนเองจากสารเสพติดและแสดงพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม 5. มีสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากอุบัติเหตุ 6. มีทักษะในการแต่งกายได้อย่างเหมาะสมถูกกาลเทศะและการดูแลรักษาตลอดจนจัดเก็บ เครื่องแต่ง กายได้มีทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานและการควบคุมตนเองในการเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน 7. รู้หลักการเคลื่อนไหวและสามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรมทางกาย เกม การละเล่นพื้นบ้าน กีฬาไทย กีฬาสากลได้อย่างปลอดภัยและสนุกสนาน มีน้ำใจนักกีฬา โดยปฏิบัติตามกฎ กติกา สิทธิและหน้าที่ของตนเอง จนงานสำเร็จลุล่วง จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 1.มีทักษะในการทำความสะอาดร่างกาย ดูแลอวัยวะที่สำคัญของร่างกายและปฏิบัติตนตามหลัก สุขบัญญัติ 10 ประการอย่างถูกต้อง 2. สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกทางเพศ ความเสมอภาคทางเพศ 3. เข้าใจหลักการจัดที่อยู่อาศัยให้สะอาดและปลอดภัย 4. รู้จักป้องกันตนเองจากสารเสพติดและแสดงพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม 5. เข้าใจหลักการเลือกรับประทานอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากอุบัติเหตุ 6. มีทักษะในการแต่งกายได้อย่างเหมาะสมถูกกาลเทศะและการดูแลรักษาตลอดจนจัดเก็บเครื่องแต่งกายได้ 7. เข้าร่วมกิจกรรมทางกาย กิจกรรมกีฬา กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพ ทางกายเพื่อสุขภาพ โดยนำหลักการของทักษะกลไกมาใช้ได้อย่างปลอดภัย สนุกสนาน และปฏิบัติเป็นประจำ สม่ำเสมอตามความถนัดและความสนใจ 8. ปฏิบัติตามกฎ กติกา หน้าที่ความรับผิดชอบ เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น ให้ความร่วมมือ ในการแข่งขันกีฬาและการทำงานเป็นทีมอย่างเป็นระบบ ด้วยความมุ่งมั่นและมีน้ำใจนักกีฬา จนประสบ ความสำเร็จตามเป้าหมายด้วยความชื่นชมและสนุกสนาน


13 จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 1. มีทักษะในการทำความสะอาดร่างกาย ดูแลอวัยวะที่สำคัญของร่างกายและปฏิบัติตนตามหลักสุข บัญญัติ 10 ประการอย่างถูกต้อง 2. เข้าใจ ยอมรับและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกทางเพศ ความเสมอภาคทางเพศ 3. มีทักษะในการจัดที่อยู่อาศัยให้สะอาดและปลอดภัย 4. มีทักษะในการป้องกันตนเองจากสารเสพติดและแสดงพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม 5. มีทักษะและสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจาก อุบัติเหตุ 6. มีทักษะและปฏิบัติตนในการแต่งกายได้อย่างเหมาะสมถูกกาลเทศะและการดูแลรักษาตลอดจน จัดเก็บเครื่องแต่งกายได้ 7. ออกกำลังกาย เล่นกีฬา เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพ เพื่อสุขภาพ โดยนำหลักการของทักษะกลไกมาใช้ได้อย่างถูกต้อง สม่ำเสมอด้วยความชื่นชมและสนุกสนาน 8. แสดงความรับผิดชอบ ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามกฎ กติกา สิทธิหลักความปลอดภัยในการ เข้าร่วมกิจกรรมทางกาย และเล่นกีฬาจนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของตนเองและทีม 9. แสดงออกถึงการมีมารยาทในการดู การเล่น และการแข่งขัน ด้วยความมีน้ำใจนักกีฬา และนำไป ปฏิบัติในทุกโอกาสจนเป็นบุคลิกภาพที่ดี


14 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่1 การเจริญเติบโตและพัฒนาของมนุษย์ มาตรฐาน พ 1.1 เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ตัวชี้วัดชั้นปี ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6 1.อธิบายลักษณะ และหน้าที่ของ อวัยวะภายนอก 2.อธิบายวิธีดูแล รักษาอวัยวะ ภายนอก 1.อธิบายลักษณะ และหน้าที่ของ อวัยวะภายใน 2.อธิบายวิธีดูแล รักษาอวัยวะภายใน 3.อธิบายธรรมชาติ ของชีวิตมนุษย์ 1.อธิบายลักษณะ และการเจริญเติบโต ของร่างกายมนุษย์ 2.เปรียบเทียบการ เจริญเติบโตของ ตนเองกับเกณฑ์ มาตรฐาน 3.ระบุปัจจัยที่มีผล ต่อการเจริญเติบโต 1.อธิบายการ เจริญเติบโตและ พัฒนาการของ ร่างกายและจิตใจ ตามวัย 2.อธิบายความ สำคัญของกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อที่มี ผลต่อสุขภาพการ เจริญเติบโตและ พัฒนาการ 3.อธิบายวิธีดูแล กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อให้ทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพ 1.อธิบายความ สำคัญของระบบ ย่อยอาหาร และ ระบบขับถ่ายที่มีผล ต่อสุขภาพการ เจริญเติบโตและ พัฒนาการ 2.อธิบายวิธีดูแล ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายได้ ทำงานตามปกติ 1.อธิบายความ สำคัญของระบบ สืบพันธุ์ ระบบ ไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจ ที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการ 2.อธิบายวิธีดูแล ระบบสืบพันธุ์ ระบบไหลเวียน โลหิต และ ระบบหายใจให้ ทำงานตามปกติ ตัวชี้วัดชั้นปี ตัวชี้วัดช่วงชั้น ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 - 6 1.อธิบายความสำคัญของ ระบบประสาท และระบบ ต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของวัยรุ่น 2.อธิบายวิธีดูแลระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อให้ทำงาน 3.วิเคราะห์ภาวการณ์ เจริญเติบโตทางร่างกายของ ตนเองกับเกณฑ์มาตรฐาน 4.แสวงหาแนวทางในการ พัฒนาตนเองให้เจริญเติบโต สมวัย 1.อธิบายการเปลี่ยนแปลงด้าน ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และ สติปัญญาในวัยรุ่น 2.ระบุปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการ เจริญเติบโต และพัฒนาการด้าน ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และ สติปัญญาในวัยรุ่น 1.เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง ทางด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา แต่ละ ช่วงของชีวิต 2.วิเคราะห์อิทธิพลและ ความคาดหวังของสังคมค่อ การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น 3.วิเคราะห์ สื่อ โฆษณาที่มี อิทธิพลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น 1.อธิบายกระบวนการสร้าง เสริมและดำรงประสิทธิภาพ การทำงานของระบบอวัยวะ ต่าง ๆ 2.วางแผนดูแลสุขภาพตาม ภาวการณ์เจริญเติบโต และ พัฒนาการของตนเองและ บุคคลในครอบครัว


15 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต ตัวชี้วัดชั้นปี ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6 1.ระบุสมาชิก ในครอบครัวและ ความรักความ ผูกพันของสมาชิก ที่มีต่อกัน 2.บอกสิ่งที่ ชื่นชอบและ ภาคภูมิใจใน ตนเอง 3.บอกลักษณะ ความแตกต่าง ระหว่างเพศชาย และเพศหญิง 1.ระบุบทบาท หน้าที่ของตนเอง และสมาชิกใน ครอบครัว 2.บอกความสำคัญ ของเพื่อน 3.ระบุพฤติกรรมที่ เหมาะสมกับเพศ 4.อธิบายความ ภาคภูมิใจในความ เป็นเพศหญิง หรือ เพศชาย 1.อธิบายความ สำคัญและความ แตกต่างของ ครอบครัวที่มีต่อ ตนเอง 2.อธิบายวิธีสร้าง สัมพันธภาพใน ครอบครัวและกลุ่ม เพื่อน 3.บอกวิธีหลีกเลี่ยง พฤติกรรมที่นำไปสู่ การถูกล่วงละเมิน ทางเพศ 1.อธิบายคุณลักษณะ ของความเป็นเพื่อน และสมาชิกที่ดีของ ครอบครัว 2.แสดงพฤติกรรมที่ เหมาะสมกับเพศ ของตนเองตาม วัฒนธรรมไทย 3.ยกตัวอย่างวิธีการ ปฏิเสธการกระทำที่ เป็นอันตรายและไม่ เหมาะสมในเรื่องเพศ 1.อธิบายการ เปลี่ยนแปลงทาง เพศ และปฏิบัติตน ได้เหมาะสม 2.อธิบายความ สำคัญของการมี ครอบครัวที่อบอุ่น ตามวัฒนธรรมไทย 3.ระบุพฤติกรรมที่ พึงประสงค์และไม่ พึงประสงค์ในการ แก้ไขปัญหาความ ขัดแย้งในครอบครัว และกลุ่มเพื่อน 1.อธิบายความ สำคัญของการ สร้างและรักษา สัมพันธภาพกับ ผู้อื่น 2.วิเคราะห์ พฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจนำไปสู่ การมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเอดส์ และการตั้งครรภ์ ก่อนวัยอันควร ตัวชี้วัดชั้นปี ตัวชี้วัดช่วงชั้น ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 - 6 1.อธิบายวิธีการปรับตัวต่อ การเปลี่ยนแปลงทาง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์และ พัฒนาการทางเพศอย่าง เหมาะสม 2.แสดงทักษะการปฏิเสธ เพื่อป้องกันตนเองจากการ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ 1.วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อเจตคติในเรื่องเพศ 2.วิเคราะห์ปัญหาและ ผลกระทบที่เกิดจากการมี เพศสัมพันธ์ในวัยเรียน 3.อธิบายวิธีป้องกันตนเอง และหลีกเลี่ยงจากโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ เอดส์ และ การตั้งครรภ์โดยไม่พึง ประสงค์ 4.อธิบายความสำคัญของ ความสำคัญของความเสมอ ภาคทางเพศและวางตัวได้ อย่างเหมาะสม 1.อธิบายอนามัยแม่และ เด็ก การวางแผน ครอบครัว และวิธีการ ปฏิบัติตนที่เหมาะสม 2.วิเคราะห์ปัจจัยที่มี ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ 3.วิเคราะห์สาเหตุและ เสนอแนวทางป้องกัน แก้ไข ความขัดแย้งใน ครอบครัว 1.วิเคราะห์อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคม และวัฒนธรรมที่มีผล ต่อพฤติกรรมทางเพศและการ ดำเนินชีวิต 2.วิเคราะห์ค่านิยมในเรื่องเพศตาม วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมอื่น ๆ 3.เลือกใช้ทักษะที่เหมาะสมในการ ป้องกัน ลดความขัดแย้งและ แก้ปัญหาเรื่องเพศและครอบครัว 4.วิเคราะห์สาเหตุและผลของความ ขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้เรียน หรือเยาวชนในชุมชน และเสนอแนว ทางแก้ไขปัญหา


16 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล มาตรฐาน พ 3.1 เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา ตัวชี้วัดชั้นปี ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6 1.เคลื่อนไหว ร่างกายขณะอยู่ กับที่ เคลื่อนไหว และใช้อุปกรณ์ ประกอบ 2.เล่นเกมเบ็ดเตล็ด และเข้าร่วมกิจกรรม ทางกายที่ใช้การ เคลื่อนไหวตาม ธรรมชาติ 1.ควบคุมการ เคลื่อน ไหว ร่างกายขณะอยู่ กับที่ เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ ประกอบ 2.เล่นเกม เบ็ดเตล็ดและเข้า ร่วมกิจกรรมทาง กายที่วิธีเล่นอาศัย การเคลื่อนไหว เบื้องต้นทั้งแบบ อยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ ประกอบ 1.ควบคุมการ เคลื่อนไหวร่างกาย ขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้ อุปกรณ์ประกอบ อย่างมีทิศทาง 2.เคลื่อนไหว ร่างกายที่ใช้ทักษะ การเคลื่อนไหวแบบ บังคับทิศทางในการ เล่นเกมเบ็ดเตล็ด 1.ควบคุมตนเองเมื่อ ใช้ทักษะการ เคลื่อนไหวใน ลักษณะผสมผสาน ได้ทั้งแบบอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้ อุปกรณ์ประกอบ 2.ฝึกกายบริหารท่า มือเปล่า ประกอบ จังหวะ 3.เล่นเกมเลียนแบ และกิจกรรมแบบ ผลัด 4.เล่นกีฬาพื้นฐาน อย่างน้อย 1 ชนิด 1.จัดรูปแบบการ เคลื่อนไหวแบบ ผสมผสาน และ ควบคุมตนเองเมื่อใช้ ทักษะการเคลื่อน ไหวตามแบบที่ กำหนด 2.เล่นเกมนำไปสู่ กีฬาที่เลือกแล กิจกรรมการ เคลื่อนไหวแบบผลัด 3.ควบคุมการ เคลื่อนไหวในเรื่อง การรับแรงการใช้ แรงและความสมดุล 4.แสดงทักษะกลไก ในการปฏิบัติ กิจกรรมทางกาย และเล่นกีฬา 5.เล่นกีฬาไทยและ กีฬาสากลประเภท บุคคลและประเภท ทีมอย่างละ 1 ชนิด 6.อธิบายหลักการ และเข้าร่วมกิจกรรม นันทนาการอย่าง น้อย 1 กิจกรรม 1.แสดงทักษะการ เคลื่อนไหวร่วมกับ ผู้อื่นในลักษณะแบบ ผลัดและแบบผสม ผสานได้ตามลำดับ ทั้งแบบอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้ อุปกรณ์ประกอบ และการเคลื่อนไหว ประกอบเพลง 2.จำแนกหลักการ เคลื่อนไหวในเรื่องการ รับแรง การใช้แรง และความสมดุลใน การเคลื่อนไหว ร่างกายในการเล่นเกม เล่นกีฬา และนำผลมา ปรับปรุงเพิ่มพูนวิธี ปฏิบัติของตนและ ผู้อื่น 3.เล่นกีฬาไทย กีฬา สากล ประเภทบุคคล และประเภททีมอย่าง ละ 1 ชนิด 4.ใช้ทักษะกลไก เพื่อปรับปรุงเพิ่มพูน ตามความสามารถ ของตนและผู้อื่นใน การเล่นกีฬา 5.ร่วมกิจกรรม นันทนาการอย่างน้อย 1 กิจกรรม แล้วนำ ความรู้และหลักการที่ ได้ไปใช้เป็นฐาน การศึกษาหาความรู้ เรื่องอื่น ๆ


17 ตัวชี้วัดชั้นปี ตัวชี้วัดช่วงชั้น ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 - 6 1.เพิ่มพูนความสามารถของ ตนเองตามหลักการ เคลื่อนไหวที่ใช้ทักษะกลไก และทักษะพื้นฐานที่นำไปสู่ การพัฒนาทักษะการเล่น กีฬา 2.เล่นกีฬาไทยและกีฬา สากลประเภทบุคคลและทีม โดยใช้ทักษะพื้นฐานตาม ชนิดกีฬาอย่างละ 1 ชนิด 3.ร่วมกิจกรรมนันทนาการ อย่างน้อย 1 กิจกรรมและ นำหลักความรู้ที่ได้ไป เชื่อมโยงสัมพันธ์กับวิชาอื่น 1.นำผลการปฏิบัติตน เกี่ยวกับทักษะกลไกและ ทักษะการเคลื่อนไหวในการ เล่นกีฬาจากแหล่งข้อมูลที่ หลากหลายมาสรุปเป็นวิธีที่ เหมาะสมในบริบทของ ตนเอง 2.เล่นกีฬาและกีฬาสากล ทั้งประเภทบุคคลและทีม อย่างละ 1 ชนิด 3.เปรียบเทียบประสิทธิภาพ ของรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ ส่งผลตอการเล่นกีฬาและ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน 4.ร่วมกิจกรรมนันทนาการ อย่างน้อย 1 กิจกรรม และ นำความรู้และหลักการที่ได้ ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างเป็นระบบ 1.เล่นกีฬาไทยและกีฬา สากลอย่างละ 1 ชนิด โดยใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับ ตนเองและทีม 2.นำหลักการ ความรู้และ ทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่น เกม และการเล่นกีฬาไปใช้ สร้างเสริมสุขภาพอย่าง ต่อเนื่องเป็นระบบ 3.ร่วมกิจกรรม นันทนาการ อย่างน้อย 1 กิจกรรม และ นำหลักความรู้วีการไปขยาย ผลการเรียนรู้ให้กับผู้อื่น 1.วิเคราะห์ความคิดรวบยอด เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวรูปแบบ ต่างๆ ในการเล่นกีฬา 2.ใช้ความสามรถของตน เพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและ สังคม 3. เล่นกีฬาไทย กีฬาสากล ประเภทบุคคล ประเภทคู่ กีฬา ประเภททีมได้อย่างน้อย 1 ชนิด 4.แสดงการเคลื่อนไหวอย่าง สร้างสรรค์ 5.เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ นอกโรงเรียนและนำหลักการ แนวคิดไปปรับปรุงและพัฒนา คุณภาพชีวิตของตนเองและ สังคม


18 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล มาตรฐาน พ 3.2 รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอมีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขันและชื่อชมในสุนทรียภาพของการกีฬา ตัวชี้วัดชั้นปี ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6 1.ออกกำลังกาย และเล่นเกมตาม คำแนะนำอย่าง สนุกสนาน 2.ปฏิบัติตามกฎ กติกา ข้อตกลงใน การเล่นเกมตาม คำแนะนำ 1.ออกกำลังกาย และเล่นเกมได้ ด้วยตนเองอย่าง สนุกสนาน 2.ปฏิบัติตามกฎ กติกาและ ข้อตกลงในการ เล่นเกมเป็นกลุ่ม 1.เลือกออกกำลัง กาย การละเล่น พื้นเมือง และเล่น เกมที่เหมาะสมกับ จุดเด่นจุดด้อยและ ข้อจำกัดของตนเอง 2.ปฏิบัติตามกฎของ การออกกำลังกาย การเล่นเกม การละเล่นพื้นเมือง ได้ด้วยตนเอง 1.ออกกำลังกายเล่น เกม และกีฬาที่ ตนเองชอบและมี ความสามารถในการ วิเคราะห์ผล พัฒนาการของ ตนเองตามตัวอย่าง และปฏิบัติของผู้อื่น 2.ปฏิบัติตามกฎ กติกาการเล่นกีฬา พื้นฐานตามชนิด กีฬาที่เล่น 1.ออกกำลังกาย อย่างมีรูปแบบเล่น เกมที่ใช้ทักษะการ คิดและตัดสินใจ 2.เล่นกีฬาที่ตนเอง ชอบอย่างสม่ำเสมอ โดยสร้างทางเลือก ในวิธีปฏิบัติของ ตนเองอย่าง หลากหลาย และมี น้ำใจนักกีฬา 3.ปฏิบัติตามกฎ กติกา การเล่น เกมกีฬาไทยและ กีฬาสากลตามชนิด กีฬาที่เล่น 4.ปฏิบัติตนตามสิทธิ ของตนเองไม่ละเมิด สิทธิผู้อื่นและ ยอมรับในความ แตกต่างระหว่าง บุคคลในการเล่น เกมกีฬาไทยแลกีฬา สากล 1.อธิบายประโยชน์ และหลักการออก กำลังกายเพื่อ สุขภาพ สมรรถภาพ ทางกายและการ สร้างเสริม บุคลิกภาพ 2.เล่นเกมที่ใช้ทักษะ การวางแผนและ สามารถเพิ่มพูน ทักษะการออกกำลัง กายและเคลื่อนไหว อย่างเป็นระบบ 3.เล่นกีฬาที่ตนเอง ชื่นชอบสามารถ ประเมินทักษะการ เล่นของตนเป็น ประจำ 4.ปฏิบัติตามกฎ กติกา ตามชนิดกีฬา ที่เล่น โดยคำนึงถึง ความปลอดภัยของ ตนเองและผู้อื่น 5.จำแนกกลวิธีการ รุก การป้องกันและ นำไปใช้ในการเล่น กีฬา 6.เล่นเกมและกีฬา ด้วยความสามัคคี และมีน้ำใจนักกีฬา


19 ตัวชี้วัดชั้นปี ตัวชี้วัดช่วงชั้น ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 - 6 1.อธิบายความสำคัญของ การออกกำลังกายและเล่น กีฬาจนเป็นวิถีชีวิตที่มี สุขภาพดี 2.ออกกำลังกายและเลือก เข้าร่วมเล่นกีฬาตามความ ถนัด ความสนใจ อย่างเต็ม ความสามารถพร้อมทั้งมี การประเมินการเล่นของตน และผู้อื่น 3.ปฏิบัติตามกฎ กติกา และ ข้อตกลงตามชนิดกีฬาที่ เลือกเล่น 4.วางแผนการรรุกและการ ป้องกันในการเล่นกีฬาที่ เลือกและนำไปใช้ในการเล่น อย่างเป็นระบบ 5.ร่วมมือในการเล่นกีฬา และการทำงานเป็นทีมอย่าง สนุกสนาน 6.วิเคราะห์ เปรียบเทียบ และยอมรับความแตกต่าง ระหว่างวิธีการเล่นกีฬาของ ตนเองกับผู้อื่น 1.อธิบายสาเหตุการ เปลี่ยนแปลงทางกาย จิตใจ อารมณ์สังคม และ สติปัญญาที่เกิดจากการ ออกกำลังกาย และเล่นกีฬา เป็นประจำจนเป็นวิถีชีวิต 2.เลือกเข้าร่วมกิจกรรมออก กำลังกาย เล่นกีฬาตาม ความถนัด ความสนใจ พร้อมทั้งวิเคราะห์ความ แตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อ เป็นแนวทางในการพัฒนา ตนเอง 3.มีวินัย ปฏิบัติตามกฎ กติกา และข้อตกลงในการ เล่นกีฬาที่เลือก 4.วางแผนการรุก และการ ป้องกันในการเล่นกีฬาที่ เลือกและนำไปใช้ในการเล่น อย่างเหมาะสมกับทีม 5.นำผลการปฏิบัติในการ เล่นกีฬามาสรุปเป็นวิธีที่ เหมาะสมกับตนเองด้วย ความมุ่งมั่น 1.มีมารยาทในการเล่นและดู กีฬาด้วยความมีน้ำใจ นักกีฬา 2.ออกกำลังกายและเล่น กีฬาอย่างสม่ำเสมอและนำ แนวคิดหลักการจากการเล่น ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของ คนด้วยความภาคภูมิใจ 3.ปฏิบัติตนตามกฎ กติกา และข้อตกลงในการเล่นตาม ชนิดกีฬาที่เลือกและนำ แนวคิดที่ได้ไปพัฒนา คุณภาพชีวิตของตนในสังคม 4.จำแนกกลวิธีการรุก การ ป้องกัน และใช้ในการเล่น กีฬาที่เลือกและตัดสินใจ เลือกวิธีที่เหมาะสมกับทีมไป ใช้ได้ตามสถานการณ์ของ การเล่น 5.เสนอผลการพัฒนา สุขภาพของตนเองที่เกิดจาก การออกกำลังกายและการ เล่นกีฬาเป็นประจำ 1.ออกกำลังกายและเล่นกีฬาที่ เหมาะสมกับตนเองอย่าง สม่ำเสมอ และใช้ความสามารถ ของตนเองเพิ่มศักยภาพของทีม ลดความเป็นตัวตนคำนึงถึงผลที่ เกิดต่อสังคม 2.อธิบายและปฏิบัติเกี่ยวกับ สิทธิ กฎ กติกา กลวิธีต่าง ๆ ใน ระหว่างการเล่นการแข่งขันกีฬา กับผู้อื่นและนำไปสรุปเป็นแนว ปฏิบัติ และใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างต่อเนื่อง 3.แสดงออกถึงการมีมารยาทใน การดูการเล่น และการแข่งขัน กีฬาด้วยความมีน้ำใจนักกีฬา และนำปใช้ปฏิบัติทุกโอกาส จนเป็นบุคลิกภาพที่ดี 4.ร่วมกิจกรรมทางกายและเล่น กีฬาอย่างมีความสุข ชื่นชมใน คุณค่าและความงามของการ กีฬา


20 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค มาตรฐาน พ 4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และ การสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ ตัวชี้วัดชั้นปี ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6 1.ปฏิบัติตนตาม หลักสุขบัญญัติ แห่งชาติตาม คำแนะนำ 2.บอกอาการ เจ็บป่วยที่เกิด ขึ้นกับตนเอง 3.ปฏิบัติตนตาม คำแนะนำ เมื่อมี อาการเจ็บป่วย 1.บอกลักษณะของ การมีสุขภาพดี 2.เลือกกินอาหาร ที่มีประโยชน์ 3.ระบุของใช้และ ของเล่นที่มีผลเสีย ต่อสุขภาพ 4.อธิบายอาการ และวิธีป้องกันการ เจ็บป่วย การ บาดเจ็บที่อาจ เกิดขึ้น 5.ปฏิบัติตาม คำแนะนำ เมื่อมี อาการเจ็บป่วย และบาดเจ็บ 1.อธิบายการติดต่อ และวิธีการป้องกัน การแพร่กระจาย ของโรค 2.จำแนกอาหาร หลัก 5 หมู่ 3.เลือกกินอาหารที่ หลากหลายครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่ เหมาะสม 4.แสดงการแปรงฟัน ให้สะอาดอย่างถูกวิธี 5.สร้างเสริม สมรรถภาพทางกาย ได้ตามคำแนะนำ 1.อธิบายความ สัมพันธ์ระหว่าง สิ่งแวดล้อมกับ สุขภาพ 2.อธิบายสภาวะ อารมณ์ความรู้สึกที่ มีผลต่อสุขภาพ 3.วิเคราะห์ข้อมูลบน ฉลากอาหารและ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อการเลือกบริโภค 4.ทดสอบและ ปรับปรุงสมรรถภาพ ทางกายตามผลการ ทดสอบสมรรถภาพ ทางกาย 1.แสดงพฤติกรรมที่ เห็นความสำคัญของ การปฏิบัติตนตาม สุขบัญญัติแห่งชาติ 2.ค้นหาข้อมูล ข่าวสารเพื่อใช้สร้าง เสริมสุขภาพ 3.วิเคราะห์สื่อ โฆษณาในการ ตัดสินใจเลือกซื้อ อาหารและ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างมีเหตุผล 4.ปฏิบัติตนในการ ป้องกันโรคที่พบบ่อย ในชีวิตประจำวัน 5.ทดสอบและ ปรับปรุงสมรรถภาพ ทางกายตามผลการ ทดสอบสมรรถภาพ ทางกาย 1.แสดงพฤติกรรมใน การป้องกันและ แก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมที่มีผล ต่อสุขภาพ 2.วิเคราะห์ผล กระทบที่เกิดจาก การระบาดของโรค และเสนอแนว ทางการป้องกัน โรคติดต่อสำคัญที่ พบในประเทศไทย 3.แสดงพฤติกรรมที่ บ่งบอกถึงความ รับผิดชอบต่อ สุขภาพของส่วนรวม 4.สร้างเสริมและ ปรับปรุงสมรรถภาพ ทางกายเพื่อสุขภาพ อย่างต่อเนื่อง


21 ตัวชี้วัดชั้นปี ตัวชี้วัดช่วงชั้น ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 - 6 1.เลือกกินอาหารที่เหมาะสม กับวัย 2.วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจาก ภาวะโภชนาการที่มีผล กระทบต่อสุขภาพ 3.ควบคุมน้ำหนักของตนเอง ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 4.สร้างเสริมและปรับปรุง สมรรถภาพทางกายตามผล การทดสอบ 1.เลือกใช้บริการทางสุขภาพ อย่างมีเหตุผล 2.วิเคราะห์ผลของการใช้ เทคโนโลยีที่มีต่อสุขภาพ 3.วิเคราะห์ความเจริญก้าวหน้า ทางการแพทย์ที่มีผลต่อสุขภาพ 4.วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ของภาวะสมดุลระหว่าง สุขภาพกายและสุขภาพจิต 5.อธิบายลักษณะอาการ เบื้องต้นของผู้มีปัญหา สุขภาพจิต 6.เสนอแนะวิธีปฏิบัติตน เพื่อจัดการกับอารมณ์และ ความเครียด 7.พัฒนาสมรรถภาพทาง กายตนเองให้เป็นไปตาม เกณฑ์ที่กำหนด 1.กำหนดรายการอาหารที่ เหมาะสมกับวัยต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความประหยัด และคุณค่าทางโภชนาการ 2.เสนอแนวทางป้องกันโรค ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการ เจ็บป่วยและการตายของคน ไทย 3.รวบรวมข้อมูลและเสนอ แนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพ ในชุมชน 4.วางแผนการจัดเวลาใน การออกกำลังกายการ พักผ่อนและการสร้างเสริม สมรรถภาพทางกาย 5.ทดสอบสมรรถภาพทาง กาย และพัฒนาได้ตามความ แตกต่างระหว่างบุคคล 1.วิเคราะห์บทบาทและความ รับผิดชอบของบุคคลที่มีต่อการ สร้างเสริมสุขภาพและการ ป้องกันโรคในชุมชน 2.วิเคราะห์ อิทธิพลของสื่อ โฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพเพื่อการ เลือกบริโภค 3.ปฏิบัติตนตามสิทธิของ ผู้บริโภค 4.วิเคราะห์สาเหตุและเสนอแนว ทางการป้องกันการเจ็บป่วยและ การตายของคนไทย 5.วางแผนและปฏิบัติตาม แผนการพัฒนาสุขภาพของ ตนเองและครอบครัว 6.มีส่วนร่วมในการส่งเสริม การพัฒนามสุขภาพในชุมชน 7.วางแผนและปฏิบัติตาม แผนการพัฒนาสมรรถภาพทาง กายและสมรรถภาพทางกลไก


22 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต มาตรฐาน พ 5.1 ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติด และความรุนแรง ตัวชี้วัดชั้นปี ป.1 ป.2 ป.3 ป.4 ป.5 ป.6 1.ระบุสิ่งที่ทำให้ เกิดอันตรายที่ บ้าน โรงเรียน และการป้องกัน 2.บอกสาเหตุและ การป้องกัน อันตรายที่เกิดจาก การเล่น 3.แสดงคำพูดหรือ ท่าทางขอความ ช่วยเหลือจาก ผู้อื่น เมื่อเกิด เหตุร้ายที่บ้าน และโรงเรียน 1.ปฏิบัติตนในการ ป้องกันอุบัติเหตุที่ อาจเกิดขึ้นทางน้ำ 2.บอกชื่อยา สามัญประจำบ้าน และใช้ยาตาม คำแนะนำ 3.ระบุโทษของ สารเสพติด สาร อันตรายใกล้ตัว และวิธีการป้องกัน 4.ปฏิบัติตนตาม สัญลักษณ์และ ป้ายเตือนของ สิ่งของ หรือ สถานที่ที่เป็น อันตราย 5.อธิบายสาเหตุ อันตราย วีป้องกัน อัคคีภัยและแสดง การหนีไฟ 1.ปฏิบัติตน เพื่อความปลอดภัย จากอุบัติเหตุในบ้าน โรงเรียน และการ เดินทาง 2.แสดงวิธีขอความ ช่วยเหลือจากบุคคล และแหล่งต่าง ๆ เมื่อเกิดเหตุร้ายหรือ อุบัติเหตุ 3.แสดงวิธีปฐมพยาบาล เมื่อบาดเจ็บจากการ เล่น 1.อธิบายความ สำคัญของการใช้ยา และใช้ยาอย่างถูกวิธี 2.แสดงวิธีปฐม พยาบาลเมื่อได้รับ อันตรายจากการใช้ ยาผิด สารเคมี แมลง สัตว์กัดต่อย และการบาดเจ็บ จากการเล่นกีฬา 3.วิเคราะห์ผลเสีย ของการสูบบุหรี่และ การดื่มสุราที่มีต่อ สุขภาพและการ ป้องกัน 1.วิเคราะห์ปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ สารเสพติด 2.วิเคราะห์ ผลกระทบของการ ใช้ยาและสารเสพติด ที่มีผลต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา 3.ปฏิบัติตนเพื่อ ความปลอดภัยจาก การใช้ยาและ หลีกเลี่ยงสารเสพติด 4.วิเคราะห์อิทธิพล ของสื่อที่มีต่อ พฤติกรรมสุขภาพ 5.ปฏิบัติตนเพื่อ ป้องกันอันตรายจาก การเล่นกีฬา 1.วิเคราะห์ผล กระทบจากความ รุนแรงของภัย ธรรมชาติที่มีต่อ ร่างกาย จิตใจ และ สังคม 2.ระบุวิธีปฏิบัติตน เพื่อความปลอดภัย จากภัยธรรมชาติ 3.วิเคราะห์สาเหตุ ของการติดสาร เสพติด และชักชวน ให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยง สารเสพติด


23 ตัวชี้วัดชั้นปี ตัวชี้วัดช่วงชั้น ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 - 6 1.แสดงวิธีปฐมพยาบาลและ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่าง ปลอดภัย 2.อธิบายลักษณะอาการ ของผู้ติดสารเสพติดและการ ป้องกันการติดสารเสพติด 3.อธิบาความสัมพันธ์ของ การใช้สารเสพติดกับการ เกิดโรคและอุบัติเหตุ 4.แสดงวิธีการีชักชวนผู้อื่น ให้ลด ละ เลิกสารเสพติด โดยใช้ทักษะต่าง ๆ 1.ระบุวิธีการ ปัจจัยและ แหล่งที่ช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ติด สารเสพติด 2.อธิบายวิธีการหลีกเลี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงและ สถานการณ์เสี่ยง 3.ใช้ทักษะชีวิตในการ ป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยง สถานการณ์คับขันที่อาจ นำไปสู่อันตราย 1.วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและ พฤติกรรมเสี่ยงที่มีผลต่อ สุขภาพและแนวทางป้องกัน 2.หลีกเลี่ยงการใช้ความ รุนแรงและชักชวนเพื่อนให้ หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง ในการแก้ปัญหา 3.วิเคราะห์อิทธิพลของสื่อ ต่อพฤติกรรมสุขภาพและ ความรุนแรง 4.วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ของการดื่มเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ต่อสุขภาพและ การเกิดอุบัติเหตุ 5.แสดงวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพ อย่างถูกวิธี 1.มีส่วนร่วมในการป้องกันความ เสี่ยงต่อการใช้ยา การใช้สารเสพติด และความรุนแรง เพื่อสุขภาพของ ตนเอง ครอบครัว และสังคม 2.วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจาก การครอบครอง การใช้และการ จำหน่ายสารเสพติด 3.วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อ สุขภาพหรือความรุนแรงของคน ไทยและเสนอแนวทางป้องกัน 4.วางแผน กำหนดแนวทางลด อุบัติเหตุและสร้างเสริมความ ปลอดภัยในชุมชน 5.มีส่วนร่วมในการสร้างเสริม ความปลอดภัยในชุมชน 6.ใช้ทักษะการตัดสินใจ แก้ปัญหาในสถานการณ์ที่เสี่ยง ต่อสุขภาพและความรุนแรง 7.แสดงวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพ อย่างถูกวิธี


24 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ มาตรฐาน พ 1.1เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ป.1 ป.1/1 บอกลักษณะของอวัยวะ ภายนอก ตา หู คอ จมูก ผม มือ เท้า เล็บผิวหนัง ฯลฯ เป็นอวัยวะภายนอกที่มีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกัน ป.1/2 อธิบายวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายนอก การดูแลรักษาอวัยวะภายนอก -ตา หู คอ จมูก ผม มือ เท้า ขา แขน เล็บ ศีรษะ ผิวหนัง อวัยวะเพศ อวัยวะในช่องปาก ป.2 ป.2/1 บอกลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายใน ลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะ ภายในที่มีการเจริญเติบโต และพัฒนาการตามวัย - สมอง หัวใจ ตับ ไต ปอด กระเพาะ อาหาร ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ฯลฯ ป.2/2 อธิบายวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายใน - การดูแลรักษาอวัยวะภายใน - การระมัดระวังการกระแทก - การออกกำลังกาย การกินอาหาร ป.2/3 อธิบายธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ ธรรมชาติของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย ป.3 ป.3/1 อธิบายลักษณะและการเจริญเติบโตของ ร่างกายมนุษย์ ลักษณะการเจริญเติบโตของร่างกาย มนุษย์ที่มีความ แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ลักษณะรูปร่าง น้ำหนัก ส่วนสูง เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตของ เด็กไทย ป.3/2 เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของตนเอง กับเกณฑ์มาตรฐาน เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของตนเองกับเกณฑ์ มาตรฐาน ป.3/3 ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตอาหาร ออกกำลัง การ พักผ่อน ป.4 ป.4/1 อธิบายการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ของร่างกายและจิตใจตามวัย การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ของร่างกายและจิตใจ ตามวัย ป.4/2 อธิบายความสำคัญของกล้ามเนื้อกระดูก และข้อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ความสำคัญของกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อที่มีผลต่อ สุขภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการ


25 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ป.4/3 อธิบายวิธีดูแลกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อให้ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีดูแลรักษากล้ามเนื้อกระดูกและข้อให้ทำงานอย่าง มีประสิทธิภาพ ป.5 ป.5/1 อธิบายความสำคัญของระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายที่มีผลต่อสุขภาพการเจริญเติบโต และพัฒนาการ ความสำคัญของระบบย่อย อาหาร ระบบขับถ่าย ป.5/2 อธิบายวิธีดูแลระบบย่อยอาหารและระบบ ขับถ่ายได้ทำงานตามปกติ วิธีดูแลรักษาระบบย่อยอาหาร และขับถ่ายให้ ทำงานตามปกติ ป.6 ป.6/1 อธิบายความสำคัญของระบบสืบพันธุ์ ระบบ ไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ความสำคัญของระบบสืบพันธุ์ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโตและ พัฒนาการ ป.6/2 อธิบายวิธีดูแลระบบสืบพันธุ์ระบบไหลเวียน โลหิต และระบบหายใจให้ทำงานตามปกติ วิธีดูแลรักษาระบบสืบพันธุ์ระบบ ไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจให้ทำงานตามปกติ ม.1 ม.1/1 อธิบายความสำคัญของระบบประสาท และ ระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น ความสำคัญของระบบประสาท และระบบไร้ท่อที่มี ผลต่อสุขภาพ และพัฒนาการวัยรุ่น ม.1/2 อธิบายวิธีดูแลระบบประสาท และระบบต่อม ไร้ท่อให้ทำงาน วิธีดูแลระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อ ม.1/3 วิเคราะห์ภาวะการเจริญเติบโตทางร่างกาย ของตนเองกับเกณฑ์มาตรฐาน ภาวะการเจริญเติบโตทางร่างกายตามเกณฑ์ มาตรฐาน ม.1/4 แสวงหาแนวทางในการพัฒนาตนเองให้ เจริญเติบโตสมวัย แนวทางในการพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัย ม.2 ม.2/1 อธิบายการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของวัยรุ่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาในวัยรุ่น ม.2/2 ระบุปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมและ สติปัญญาในวัยรุ่น ผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา - พันธุกรรม - สิ่งแวดล้อม - การอบรมเลี้ยงดู - อาหาร


26 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ม.3 ม.3/1 เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางด้าน ร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม และสติปัญญา แต่ละช่วงของชีวิต การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาใน แต่ละช่วงวัย - วัยทารก - วัยก่อนเรียน - วัยเรียน - วัยรุ่น - วัยสูงอายุ ม.3/2 วิเคราะห์อิทธิพล และความคาดหวังของ สังคมต่อการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น อิทธิพลและความคาดหวังของ สังคมต่อการ เปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น ม.3/3 วิเคราะห์ สื่อ โฆษณา ที่มีอิทธิพลต่อ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น สื่อ โฆษณาที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต และ พัฒนาการของวัยรุ่น ม.4 ม.4/1อธิบายการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ การทำงานของระบบกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัด ใหญ่ ม.4/2 วางแผนดูแลสุขภาพตามภาวะการ เจริญเติบโตและพัฒนาการของตนเอง และบุคคลในครอบครัว -การวางแผนดูแลสุขภาพตนเอง -การวางแผนสุขภาพของตนเอง ม.5 ม.5/1 อธิบายการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ การทำงานของระบบทางเดินหายใจ ม.5/2 วางแผนดูแลสุขภาพตามภาวะการ เจริญเติบโตและพัฒนาการของตนเอง และบุคคลในครอบครัว การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว ม.6 ม.6/1อธิบายการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ การทำงานของระบบย่อยอาหาร ม.6/2 วางแผนดูแลสุขภาพตามภาวะการ เจริญเติบโตและพัฒนาการของตนเองและ บุคคลในครอบครัว วางแผนดูแลสุขภาพตามภาวะการเจริญเติบโตและ พัฒนาการของตนเอง ครอบครัว


27 สาระที่2 ชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ป.1 ป.1/1 ระบุสมาชิกในครอบครัวและความรักความ ผูกพันของสมาชิกที่มีต่อกัน สมาชิกในครอบครัว มีความรักความผูกพันของสมาชิก ในครอบครัว ป.1/2 บอกสิ่งที่ชื่นชอบและภาคภูมิใจในตนเอง สิ่งที่ชื่นชอบและความภาคภูมิใจในตนเอง (จุดเด่น จุดด้อยของตนเอง) ป.1/3 บอกลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศชาย และเพศหญิง ลักษณะความแตกต่างของเพศชาย เพศหญิง ร่างกาย อารมณ์ลักษณะนิสัย ป.2 ป.2/1 ระบุบทบาทหน้าที่ขอตนเองและสมาชิกใน ครอบครัว บทบาทหน้าที่ของสมาชิกใน ครอบครัว (ตนเอง พ่อแม่ พี่น้อง ญาติ) ป.2/2 บอกความสำคัญของเพื่อน ความสำคัญของเพื่อน (เช่น พูดคุย ปรึกษา เล่น ทำงานฯลฯ) ป.2/3 ระบุพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศ พฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศ (ความเป็นสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี) ป.2/4 อธิบายในความเป็นเพศชายความภาคภูมิใจ เพศหญิง ความภาคภูมิใจในเพศหญิงหรือ เพศชาย ป.3 ป.3/1 อธิบายความสำคัญ และความแตกต่างของ ครอบครัว ความสำคัญของครอบครัว ความแตกต่างของ แต่ละ ครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ป.3/2 อธิบายวิธีสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว และกลุ่มเพื่อน วิธีการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน ป.3/3 บอกวิธีหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่นำ ไปสู่การถูกล่วงละเมิดทางเพศที่มีต่อตนเอง - พฤติกรรมที่นำไปสู่การถูกล่วงละเมิดทางเพศ (การแต่งกาย การเที่ยวกลางคืน การคบเพื่อน การเสพ สารเสพติด ฯลฯ) - วิธีหลีกเสี่ยงพฤติกรรมที่นำไปสู่ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ (ทักษะปฏิเสธและอื่น ๆ)


28 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ป.4 ป.4/1 อธิบายคุณลักษณะของความเป็นเพื่อนและ สมาชิกที่ดีของครอบครัว คุณลักษณะของความเป็นเพื่อนและสมาชิกที่ดีของครอบครัว ป.4/2 แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศของคน ตามวัฒนธรรมไทย พฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศของตนตามวัฒนธรรมไทย ป.4/3 ยกตัวอย่างวิธีการปฏิเสธการกระทำที่เป็น อันตรายและไม่เหมาะสมในเรื่องเพศของครอบครัว วิธีการปฏิเสธการกระทำที่เป็นอันตรายและไม่เหมาะสม ในเรื่องเพศ ป.5 ป.5/1 อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางเพศ และ ปฏิบัติตนได้เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงทางเพศ การดูแลตนเอง ทางกาย ทางอารมณ์ ป.5/2 อธิบายความสำคัญของการมีครอบครัว ที่อบอุ่นตามวัฒนธรรมไทย ลักษณะของครอบครัวที่อบอุ่น ตามวัฒนธรรมไทย (ครอบครัวขยายการนับถือญาติ) ป.5/3 ระบุพฤติกรรมที่พึงประสงค์และไม่พึง ประสงค์ ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งใน ครอบครัวและกลุ่มเพื่อน พฤติกรรมที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ในการแก้ไข ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน ป.6 ป.6/1 อธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษา สัมพันธภาพกับผู้อื่น ความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น - ความรับผิดชอบ - บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม - การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น - การใช้คำพูด - ความเป็นมิตร - ความจริงใจ ป.6/2 วิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงที่อาจนำไปสู่ การมีเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร พฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ โรคที่เกิดจาก การมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ม.1 ม.1/1 อธิบายวิธีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ทางร่างกายจิตใจ อารมณ์และพัฒนาการทางเพศ อย่างเหมาะสม การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และพัฒนาการทางเพศ - ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และพัฒนาการทางเพศ ม.1/2แสดงทักษะการปฏิเสธเพื่อป้องกันตนเองจาก การถูกล่วงละเมิดทางเพศ - การยอมรับและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทาง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และพัฒ นาการทางเพศ - การเบี่ยงเบนทางเพศ ทักษะปฏิเสธเพื่อป้องกันการถูก ล่วงละเมิดทางเพศ


29 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ม.2 ม.2/1 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติใน เรื่องเพศ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติในเรื่องเพศ ครอบครัว วัฒนธรรม เพื่อน สื่อ ม.2/2 บอกปัญหาและผลกระทบ ที่เกิดจากการ มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัย เรียน ม.2/3 อธิบาย วิธีป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยง จากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เอดส์ และการ ตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ วิธีป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยงจาก - โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - โรคเอดส์ - การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ ม.2/4 อธิบายความสำคัญของความเสมอภาค ทางเพศและวางตัวได้อย่างเหมาะสมวัยเรียน - ความสำคัญของความเสมอภาคทางเพศการวางตัวต่อ เพศตรงข้าม - ปัญหาทางเพศ - แนวทางการแก้ไขปัญหาทางเพศ ม.3 ม.3/1 อธิบายอนามัยแม่และเด็ก การวางแผน ครอบครัว และวิธีการปฏิบัติตนที่เหมาะสม - อนามัยแม่และเด็ก - การวางแผนครอบครัวและวิธีการปฏิบัติตนที่เหมาะสม ม.3/2วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ - ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ ม.3/3 บอกสาเหตุ และเสนอแนวทางป้องกัน แก้ไขความขัดแย้งในครอบครัว - สาเหตุความขัดแย้งในครอบครัว - แนวทางป้องกันแก้ไขความขัดแย้ง ในครอบครัว ม.4 ม.4/1 วิเคราะห์อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคม และวัฒนธรรม ที่มีผลต่อพฤติกรรมทาง เพศและการดำเนินชีวิต -อิทธิพลของครอบครัวและเพื่อน ที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ และการดำเนินชีวิต - บทบาท หน้าที่ของตนเองในครอบครัว -ครอบครัวที่อบอุ่น -คุณลักษณะของความเป็นเพื่อนที่ดี ม.4/2วิเคราะห์ค่านิยมในเรื่องเพศ ตามวัฒนธรรม ไทยและวัฒนธรรมอื่น ๆ -ค่านิยมในเรื่องเพศตามวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมอื่น ๆ ม.4/3 เลือกใช้ทักษะที่เหมาะสมในการป้องกัน ลดความขัดแย้งและแก้ปัญหาเรื่องเพศ และ ครอบครัว -แนวทางในการเลือกใช้ทักษะต่าง ๆ ในการป้องกัน ลดความขัดแย้ง และแก้ปัญหาเรื่องเพศ และครอบครัว -การหลีกเลี่ยงต่อการเข้าไปอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ม.4/4 วิเคราะห์สาเหตุและผลของความขัดแย้ง ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้เรียน หรือเยาวชนใน ชุมชน และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา -ความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างนักเรียนหรือเยาวชนใน ชุมชน -การหลีกเลี่ยงจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ


30 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ม.5 ม.5/1 วิเคราะห์อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคม และวัฒนธรรม ที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ และการดำเนินชีวิต -อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคม และวัฒนธรรมที่มีต่อ พฤติกรรมทางเพศ และการดำเนินชีวิต -สมาชิกที่ดีในครอบครัว -ครอบครัวที่อบอุ่น -คุณลักษณะของความเป็นเพื่อนที่ดี ม.5/2วิเคราะห์ค่านิยมในเรื่องเพศตามวัฒนธรรม ไทยและวัฒนธรรมอื่น ๆ -ค่านิยมในเรื่องเพศตามวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมอื่น ๆ -ธรรมชาติของเพศ -การปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับเพศ ตามวัฒนธรรมไทย ธรรมชาติของเพศ ม.5/3 เลือกใช้ทักษะที่เหมาะสมในการป้องกัน ลดความขัดแย้งและแก้ปัญ หาเรื่องเพ ศ และครอบครัว -แนวทางในการเลือกใช้ทักษะต่าง ๆ ในการป้องกัน ลดความ ขัดแย้ง แก้ปัญหาเรื่องเพศ และครอบครัว -การปฏิเสธเมื่ออยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ม.5/4 วิเคราะห์สาเหตุและผลของความขัดแย้ง ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้เรียน หรือเยาวชนใน ชุมชน และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา -ความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างนักเรียนหรือเยาวชน ในชุมชน -การป้องกันตนเองจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ม.6 ม.6/1 วิเคราะห์อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคม และวัฒนธรรม ที่มีผลต่อพฤติกรรมทาง เพศและการดำเนินชีวิต อิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ และการดำเนินชีวิต ม.6/2วิเคราะห์ค่านิยมในเรื่องเพศ ตามวัฒนธรรม ไทยและวัฒนธรรมอื่น ๆ แนวทางในการเลือกใช้ทักษะต่างๆ ในการป้องกัน ลดความขัดแย้ง และแก้ปัญหาเรื่องเพศและครอบครัว ม.6/3 เลือกใช้ทักษะที่เหมาะสมในการป้องกัน ลดความขัดแย้งและแก้ปัญหาเรื่องเพศ และ ครอบครัว การป้องกัน ลดความขัดแย้งและแก้ปัญหาเรื่องเพศและ ครอบครัว ม.6/4 วิเคราะห์สาเหตุและผลของความขัดแย้ง ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้เรียน หรือเยาวชนใน ชุมชน และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา เสนอแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน หรือเยาวชนในชุมชน เช่น เพศสัมพันธ์ เป็นต้น


31 สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทยและกีฬาสากล มาตรฐาน พ 3.1 เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ป.1 ป.1/1 เคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบ ธรรมชาติของการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวัน - แบบอยู่กับที่ เช่น นั่ง ยืน ก้มเงย เอียง ซ้าย ขวาเคลื่อนไหว ข้อมือ ข้อเท้า แขน ขา - แบบเคลื่อนที่ เช่น เดิน วิ่ง กระโดด กลิ้งตัว - แบบใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น จับ โยน เตะเคาะ ป.1/2 เล่นเกมเบ็ดเตล็ดและเข้าร่วมกิจกรรมทาง กายที่ใช้การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ กิจกรรมทางกายที่ใช้ในการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ -การเล่นเกมเบ็ดเตล็ด เช่น โบว์ลิ่ง โยนบอลลงตะกร้า ปาเป้า ป.2 ป.2/1 ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายเคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบ ลักษณะและวิธีการของการเคลื่อนไหวร่างกาย แบบอยู่กับที่ เช่น กระโดด บิดตัว ดึง ผลักแบบเคลื่อนที่ เช่น กระโดดเขย่ง ก้าวชิดก้าว วิ่งตามทิศทางที่กำหนด และแบบใช้อุปกรณ์ ประกอบ เช่น คีบ ขว้าง ตี ป.2/2 เล่นเกมเบ็ดเตล็ดและเข้าร่วมกิจกรรมทาง กายที่วิธีเล่นอาศัยการเคลื่อนไหวเบื้องตันทั้งแบบ อยู่กับที่เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบ เกมเบ็ดเตล็ดที่เคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ เช่น เกมห่วง สามัคคี ปากระป๋อง เกมเบ็ดเตล็ดที่เคลื่อนไหวแบบ เคลื่อนที่ เช่น วิ่งอ้อมหลัก เสือกินวัว เกมเบ็ดเตล็ดที่ เคลื่อนไหวแบบใช้อุปกรณ์เช่น เกมเก้าอี้ ดนตรี ตีวงล้อ ป.3 ป.3/1ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบอย่างมีทิศทาง - ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบอย่างมีทิศทาง ป.3/2 เคลื่อนไหวร่างกายที่ใช้ทักษะการ เคลื่อนไหวแบบบังคับทิศทางในการเล่นเกม เบ็ดเตล็ด กิจกรรมทางกายที่ใช้ทักษะการเคลื่อนไหวแบบบังคับ ทิศทาง โดยใช้การเล่นเกมเบ็ดเตล็ด เช่น วิ่งเปี้ยว มอญ ซ่อนผ้า วิ่งเก็บของ ป.4 ป .4/1 ควบ คุ ม ต น เองเมื่ อ ใช้ทั ก ษ ะก าร เคลื่อนไหว ในลักษณะผสมผสานได้ ทั้งแบบอยู่ กับที่ เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบ การเคลื่อนไหวร่างกายแบบผสมผสานทั้งแบบอยู่กับที่ เช่น กระโดดหมุนรอบตัว กระโดดเหยียดตัว เคลื่อนที่ เช่นซิกแซ็ก วิ่งเปลี่ยนทิศทาง ควบม้าและแบบใช้อุปกรณ์ เช่นบอล เชือก ป.4/2 ฝึกกายบริหารท่ามือเปล่าประกอบ จังหวะ กายบริหารท่ามือเปล่าประกอบจังหวะ เช่น กิจกรรมเข้าจังหวะ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ป.4/3 เล่นเกมเลียนแบและกิจกรรมแบบผลัด เกมเลียนแบบ เช่น ลิงชิงบอล งูกินหาง โยนบอลลงตะกร้า กิจกรรมแบบผลัดเช่น เกมส่งบอลลอดถ้ำ วิ่งส่งบอล ป.4/4 เล่นกีฬาพื้นฐานอย่างน้อย 1 ชนิด กีฬาพื้นฐาน เช่น แชร์บอล


32 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ป.5 ป.5/1 จัดรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน และควบคุมตนเองเมื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวตาม แบบที่กำหนด การจัดรูปแบบการเคลื่อนไหวร่างกาย แบบผสมผสาน และการปฏิบัติกิจกรรมทางกายทั้งแบบอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น การฝึกกาย บริหาร ยืดหยุ่นขั้นพื้นฐานเป็นต้นแบบควบคุมตนเอง ตามแบบที่กำหนด เช่น การเดินบนคานการเดินตามเส้น การวิ่งซิกแซ็ก ป.5/2 เล่นเกมนำไปสู่กีฬาที่เลือกและกิจกรรม การเคลื่อนไหวแบบผลัด นำเกมไปสู่กีฬาและกิจกรรมแบบผลัดเช่น การ รับ –ส่ง สิ่งของ ขว้าง และวิ่ง ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ป.5/3 ควบคุมการเคลื่อนไหวในเรื่องการรับแรง การใช้แรงและความสมดุล การเคลื่อนไหวในเรื่องการรับแรง การใช้แรง และความ สมดุล ป.5/4 แสดงทักษะกลไกในการปฏิบัติกิจกรรมทาง กายและเล่นกีฬา ทักษะกลไกที่ส่งผลต่อการปฏิบัติกิจกรรมทางกายและ เล่นกีฬา ป.5/5 เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากล ประเภทบุคคล และประเภททีมอย่างละ 1 ชนิด การเล่นกีฬาไทย เช่น มอญซ่อนผ้า และกีฬาสากล เช่น กรีฑา ประเภทลู่ ป.5/6 อธิบายหลักการและเข้าร่วมกิจกรร ม นันทนาการอย่างน้อย 1 กิจกรรม หลักและการจัดกิจกรรมนันทนาการ ป.6 ป.6/1 แสดงทักษะการเคลื่อนไหวร่วมกับผู้อื่นใน ลักษณะแบบผลัดและแปบบผสมผสานได้ตามลำดับ ทั้งแบบอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบและ การเคลื่อนไหวประกอบเพลง การเคลื่อนไหวร่วมกับผู้อื่นแบบผลัดในลักษณะ ผสมผสานในการร่วมกิจกรรมทางกาย เช่น กิจกรรม แบบผลัดกายบริหารประกอบเพลง ยืดหยุ่นขั้นพื้นฐานที่ ใช้ท่าต่อเนื่องและการต่อตัวท่าง่าย ๆ ป.6/2 จำแนกหลักการเคลื่อนไหวในเรื่องการรับแรง การใช้แรง และความสมดุลในการเคลื่อนไหวร่างกายใน การเล่นเกม เล่นกีฬา และนำผลมาปรับปรุงเพิ่มพูนวิธี ปฏิบัติของตนและผู้อื่น การเคลื่อนไหวในเรื่องการรับแรง การใช้แรงและความ สมดุลกับการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวในการเล่นเกม และกีฬา ป.6/3 เล่นกีฬาไทย กีฬาสากล ประเภทบุคคลและ ประเภททีมอย่างละ 1 ชนิด การเล่นกีฬาไทย กีฬาสากลประเภทบุคคลและประเภท ทีม เช่น กรีฑา ประเภทลู่และลาน เช่น เปตอง ป.6/4ใช้ทักษะกลไกลเพื่อปรังปรุงเพิ่มพูนความสามารถ ของตนและผู้อื่นในการเล่นกีฬา การใช้ข้อมูลด้านทักษะกลไกลเพื่อปรับปรุงและเพิ่ม ความสามารถ เช่นความคล่องตัว ป.6/5 ร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างน้อย 1 กิจกรรมแล้วนำความรู้และหลักการที่ได้ไปใช้เป็น ฐานการศึกษาหาความรู้ด้านอื่นๆ การนำความรู้และหลักการที่ได้ไปใช้เป็นฐานการศึกษา หาความรู้


33 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ม.1 ม.1/1 เพิ่มพูนความสามารถของตนเองตาม หลักการเคลื่อนไหวที่ใช้ทักษะกลไกและทักษะ พื้นฐานที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะการเล่นกีฬา -ความหมายการเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล ประกอบด้วย -กีฬาเปตอง 1 -กีฬากรีฑา 1 -กีฬาแบดมินตัน 1 -กีฬาเทเบิลเทนนิส 1 -กีฬาฟุตซอล 1 -กีฬาฟุตบอล1 -การทำกิจกรรมนันทนาการตามความถนัด -การนำความรู้และหลักการของกิจกรรมนันทนาการไป ใช้เชื่อมโยงสัมพันธ์กับวิชาอื่น ม.1/2 เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลประเภท บุคคลและทีมโดยใช้ทักษะพื้นฐานตามชนิดกีฬา อย่างละ 1 ชนิด -การเล่นกีฬาเปตอง 1 -การเล่นกีฬากรีฑา 1 -การเล่นกีฬาแบดมินตัน 1 -การเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส 1 -การเล่นกีฬาฟุตซอล 1 -การเล่นกีฬาฟุตบอล1 ม.1/3 ร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างน้อย 1 กิจกรรมและนำหลักความรู้ที่ได้ไปเชื่อมโยง สัมพันธ์กับวิชาอื่น - มีทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการเล่นกีฬา - ดูแลรักษาความปลอดภัยในการเล่นกีฬาของตนเอง และเพื่อนร่วมทีม ม.2 ม.2/1 นำผลการปฏิบัติตนเกี่ยวกับทักษะกลไก และทักษะการเคลื่อนไหวในการเล่นกีฬาจาก แหล่งข้อมูลที่หลากหลายมาสรุปเป็นวิธีที่ เหมาะสมในบริบทของตนเอง การเตรียมพร้อมสำหรับการเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล - กีฬาเปตอง2 - กีฬากรีฑา2 - กีฬาแบดมินตัน 2 - กีฬาเทเบิลเทนนิส 2 - กีฬาฟุตซอล2 - กีฬาฟุตบอล2 ม.2/2 เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากล ทั้งประเภท บุคคลและทีมได้ อย่างละ 1 ชนิด - คุณค่าและประโยชน์การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล - ความสำคัญของการเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล - การเตรียมพร้อมสำหรับการเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล ม.2/3 เปรียบเทียบประสิทธิภาพของรูปแบบ การเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อการเล่นกีฬาและ - มารยาทในการเล่นกีฬา - หลักในการเคลื่อนไหว ทักษะและกลไก


34 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน ม.2/4 ร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างน้อย 1 กิจกรรม และนำความรู้และหลักการที่ได้ไป ปรับใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเป็นระบบ - การบริหารร่างกายแบบต่าง ๆ - มีทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการเล่นกีฬา - ดูแลรักษาความปลอดภัยในการเล่นกีฬาของตนเอง และเพื่อนร่วมทีม ม.3 ม.3/1เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากล ได้อย่างละ 1 ชนิดโดยใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับตนเองและทีม - ประวัติความเป็นมาของกีฬา - ความสำคัญของกีฬา - ประโยชน์ของกีฬา - วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นกีฬา - การเตรียมความพร้อมก่อนการเล่น ม.3/2 นำหลักความรู้และทักษะในการ เคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและ การนำกีฬาไปใช้สร้างเสริมสุขภาพอย่าง ต่อเนื่องเป็นระบบ - พื้นฐานการเล่นกีฬาเปตอง3 - พื้นฐานการเล่นกีฬากรีฑา3 - พื้นฐานการเล่นกีฬาแบดมินตัน 3 - พื้นฐานการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส 3 - พื้นฐานการเล่นกีฬาฟุตซอล3 - พื้นฐานการเล่นกีฬาฟุตบอล3 ม.3/3 ร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างน้อย 1 กิจกรรม และนำความรู้วิธีการไปขยายผลการ เรียนรู้ให้ผู้อื่น - คุณค่าและประโยชน์การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล - ความสำคัญของการเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล - การเตรียมพร้อมสำหรับการเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล ม.4 ม.4/1 วิเคราะห์ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการ เคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ ในการเล่นกีฬา - ประวัติความเป็นมาของกีฬา - ความสำคัญของกีฬา - ประโยชน์ของกีฬา ม.4/2 ใช้ความสามรถของตน เพื่อเพิ่มศักยภาพ ของทีม คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและสังคม -การสร้างเสริม สนับสนุนด้านสุขภาพโดยให้บุคคลมี การปฏิบัติและการพัฒนาสุขภาพ ใช้ความสามารถของตนเอง อย่างมีประสิทธิภาพ ม.4/3เล่นกีฬาไทย กีฬาสากลประเภทบุคคล ประเภทคู่ กีฬาประเภททีมได้อย่างน้อย 1ชนิด เล่นเกมส์และกีฬาไทยประเภทบุคคล / คู่ และประเภททีม - ทักษะการเล่นกีฬาเปตอง 4 - ทักษะการเล่นกีฬากรีฑา 4 - ทักษะการเล่นกีฬาแบดมินตัน 4 - ทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส 4 - ทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล 4


35 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ - ทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอล 4 ม.4/4 แสดงการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ - กิจกรรมการอบอุ่นร่างกาย - กิจกรรมเข้าจังหวะการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ ม.4/5 เข้าร่วมกิจกรรมนันท นาการนอก โรงเรียนและนำหลักการแนวคิดไปปรับปรุงและ พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคม - ปฏิบัติตามกฎ กติกาการกีฬาที่เลือกเล่น - รูปแบบ วิธีการรุก และป้องกันในการเล่นกีฬาที่เลือก - การเล่น การแข่งขันกีฬา และการทำงานเป็นทีม - การยอมรับความสามารถ และความแตกต่างระหว่าง บุคคลในการเล่นกีฬา ม.5 ม.5/1 วิเคราะห์ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ การเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ ในการเล่นกีฬา - คุณค่าและประโยชน์การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล - ความสำคัญของการเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล - การเตรียมพร้อมสำหรับการเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล ม.5/2 ใช้ความสามรถของตน เพื่อเพิ่มศักยภาพ ของทีม คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและสังคม - ความปลอดภัยในการเล่นกีฬา - การดูแลรักษาอุปกรณ์กีฬา ม.5/3 เล่นกีฬาไทย กีฬาสากลประเภทบุคคล ประเภทคู่ กีฬาประเภททีมได้อย่างน้อย 1 ชนิด - ทักษะการเล่นกีฬาเปตอง 5 - ทักษะการเล่นกีฬากรีฑา 5 - ทักษะการเล่นกีฬาแบดมินตัน 5 - ทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส 5 - ทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล 5 - ทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอล 5 ม.5/4 แสดงการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ - กิจกรรมการอบอุ่นร่างกาย - กิจกรรมเข้าจังหวะการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ ม.5/5 เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการนอก โรงเรียนและนำหลักการแนวคิดไปปรับปรุงและ พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคม - ปฏิบัติตามกฎ กติกาการกีฬาที่เลือกเล่น - รูปแบบ วิธีการรุก และป้องกันในการเล่นกีฬาที่เลือก - การเล่น การแข่งขันกีฬา และการทำงานเป็นทีม - การยอมรับความสามารถ และความแตกต่างระหว่าง บุคคลในการเล่นกีฬา ม.6 ม.6/1 วิเคราะห์ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการ เคลื่อนไหวรูปแบบต่าง ๆ ในการเล่นกีฬา - คุณค่าและประโยชน์การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล - ความสำคัญของการเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล - การเตรียมพร้อมสำหรับการเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล ม.6/2 ใช้ความสามารถของตน เพื่อเพิ่มศักยภาพ ของทีม โดยคำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและสังคม -ความปลอดภัยในการเล่นกีฬา -การดูแลรักษาอุปกรณ์กีฬา


36 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ม.6/3 เล่นกีฬาไทย กีฬาสากลประเภทบุคคล ประเภทคู่ กีฬาประเภททีมได้อย่างน้อย 1 ชนิด - ทักษะการเล่นกีฬาเปตอง 6 - ทักษะการเล่นกีฬากรีฑา 6 - ทักษะการเล่นกีฬาแบดมินตัน 6 - ทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส 6 - ทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอล 6 - ทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอล 6 ม.6/4 แสดงการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ - กิจกรรมการอบอุ่นร่างกาย - กิจกรรมเข้าจังหวะการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ ม.6/5 เข้าร่วมกิจกรรมนันท นาการนอก โรงเรียนและนำหลักการแนวคิดไปปรับปรุงและ พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคม - ปฏิบัติตามกฎ กติกาการกีฬาที่เลือกเล่น - รูปแบบ วิธีการรุก และป้องกันในการเล่นกีฬาที่เลือก - การเล่น การแข่งขันกีฬา และการทำงานเป็นทีม - การยอมรับความสามารถ และความแตกต่างระหว่าง บุคคลในการเล่นกีฬา


37 สาระที่3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทยและกีฬาสากล มาตรฐาน พ 3.2 รักการออกกำลังกาย การเล่นเกมและการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ป.1 ป.1/1ออกกำลังกาย และเล่นเกมตามคำแนะนำ อย่างสนุกสนาน - การออกกำลังกายและการเล่นเกมเบ็ดเตล็ด เช่น กีฬา กายบริหาร กิจกรรมเข้าจังหวะ ท่าทางประกอบเพลง การละเล่นพื้นบ้าน เกม ฯลฯ ป.1/2 ปฏิบัติตนตามกฎ กติกา ข้อตกลงในการ เล่นเกมตามคำแนะนำ การปฏิบัติตามข้อตกลงในการเล่นเกมเบ็ดเตล็ด เช่น กระรอกเปลี่ยนโพรง เกมเสือกินวัว ป.2 ป.2/1 ออกกำลังกาย และเล่นเกมได้ด้วยตนเอง อย่างสนุกสนาน ประโยชน์ของการออกกำลังกายและการเล่นเกม ป.2/2 ปฏิบัติตามกฎ กติกาและข้อตกลงในการ เล่นเกมเป็นกลุ่ม การปฏิบัติตามข้อตกลงในการเล่นเกมเป็นกลุ่ม ป.3 ป.3/1 เลือกออกกำลังกาย การละเล่นพื้นเมือง และเล่นเกมที่เหมาะสมกับจุดเด่นจุดด้อยและ ข้อจำกัดของตนเอง เลือกออกกำลังกาย การละเล่นพื้นเมืองและเล่นเกมที่ เหมาะสมกับจุดเด่น จุดด้อย และข้อจำกัดของแต่ละ บุคคลวัย เพศ ความสนใจ สภาพแวดล้อม ป.3/2 ปฏิบัติตามกฎ กติกาและข้อตกลงของ การออกกำลังกาย การเล่นเกม การละเล่น พื้นเมืองได้ด้วยตนเอง การปฏิบัติตามกฎ กติกาและข้อตกลงในการออก กำลังกาย การเล่นเกม และการละเล่นพื้นเมือง ป.4 ป.4/1 ออกกำลังกาย เล่นเกม และกีฬาที่ ตนเองชอบ เลือกออกกำลังกาย เล่นเกม ตามความชอบของตนเอง ป.4/2 ปฏิบัติตามกฎ กติกาการเล่นกีฬา พื้นฐานตามชนิดกีฬาที่เล่น ปฏิบัติตามกฎ กติกา การเล่นกีฬาพื้นฐาน ตามชนิดกีฬา ที่เล่น ป.5 ป.5/1 ออกกำลังกายอย่างมีรูปแบบ เล่นเกม ที่ใช้ทักษะการคิดและตัดสินใจ - หลักการและรูปแบบการออกกำลังกายที่ถูกต้อง - การเล่นเกมที่ใช้ทักษะการคิดและตัดสินใจ เช่น ลิงชิง บอล มอญซ่อนผ้า ตี่จับ ป.5/2 เล่นกีฬาที่ตนเองชอบอย่างสม่ำเสมอ โดยสร้างทางเลือกในวิธีปฏิบัติของตนเองอย่าง หลากหลาย และมีน้ำใจนักกีฬา - เลือกเล่นกีฬาที่ตนเองชอบอย่างสม่ำเสมอ - บอก/อธิบาย การสร้างทางเลือกวิธีปฏิบัติในการเล่น กีฬาอย่างหลากหลาย - บอกการมีคุณลักษณะการมีน้ำใจนักกีฬา ป.5/3 ปฏิบัติตามกฎ กติกา การเล่นเกม กีฬา - กฎ กติกาในการเล่นเกม กีฬาไทยและกีฬาสากลตาม


38 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ไทย และกีฬาสากล ตามชนิดกีฬาที่เล่น ชนิดกีฬาที่เล่น ป. 5/4 ปฏิบัติตนตามสิทธิของตนเองไม่ละเมิด สิทธิผู้อื่น และยอมรับในความแตกต่างระหว่าง บุคคลในการเล่นเกม กีฬาไทยและกีฬาสากล รู้จักการเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นในการเล่นเกม และกีฬา ป.6 ป.6/1 อธิบายประโยชน์และหลักการออกกำลัง กายเพื่อสุขภาพสมรรถภาพทางกายและการ สร้างเสริมบุคลิกภาพ บอกประโยชน์และหลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ สมรรถภาพทางกายและการสร้างเสริมบุคลิกภาพ ป.6/2 เล่นเกมที่ใช้ทักษะการวางแผน และ สามารถเพิ่มพูนทักษะการออกกำลังกายและ เคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ การเล่นเกมที่ใช้ทักษะการวางแผน เกมลิงชิงบอล ป.6/3 เล่นกีฬาที่ตนเองชื่นชอบและสามารถ ประเมินทักษะการเล่นของตนเป็นประจำ เลือกเล่นกีฬาประเภทบุคคลและประเภททีมที่ชื่นชอบ ร่วมประเมินทักษะการเล่นกีฬา ป.6/4 ปฏิบัติตามกฎ กติกา ตามชนิดกีฬาที่ เล่น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น หลักความปลอดภัยในการเล่นกีฬา เข้าใจกฎ กติกา เบื้องต้นของชนิดกีฬาที่เล่น ป.6/5 จำแนกกลวิธีการรุกและนำไปใช้ในการ เล่นกีฬา กลวิธีการรุก การป้องกันในการเล่นกีฬา ป.6/6 เล่นเกมและกีฬาด้วยความสามัคคีและมี น้ำใจนักกีฬา การสร้างความสามัคคีและความมีน้ำใจนักกีฬาในการ เล่นเกมและกีฬา ม.1 ม.1/1 อธิบายความสำคัญของการออกกำลัง กายและเล่นกีฬา จนเป็นวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี - คุณค่าและประโยชน์การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล - ความสำคัญของการเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล -กีฬาเปตอง 1 -กีฬากรีฑา 1 -กีฬาแบดมินตัน 1 -กีฬาเทเบิลเทนนิส 1 -กีฬาฟุตซอล 1 -กีฬาฟุตบอล1 ม.1/2 ออกกำลังกายและเลือกเข้าร่วมเล่นกีฬา ตามความถนัดความสนใจอย่างเต็มความสามารถ พร้อมทั้งมีการประเมินการเล่นของตนเองและผู้อื่น ประวัติความเป็นมาของกีฬาไทยและกีฬาสากล -กีฬาเปตอง 1 -กีฬากรีฑา 1 -กีฬาแบดมินตัน 1


39 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ -กีฬาเทเบิลเทนนิส 1 -กีฬาฟุตซอล 1 -กีฬาฟุตบอล1 ม.1/3 ปฏิบัติตามกฎ กติกา และข้อตกลงตาม ชนิดกีฬาที่เลือกเล่น กฎ กติกาในการแข่งขันกีฬาไทย และกีฬาสากล -กีฬาเปตอง 1 -กีฬากรีฑา 1 -กีฬาแบดมินตัน 1 -กีฬาเทเบิลเทนนิส 1 -กีฬาฟุตซอล 1 -กีฬาฟุตบอล1 ม.1/4 วางแผนการรุกและการป้องกันในการ เล่นกีฬาที่เลือกและนำไปใช้ในการเล่นอย่างเป็นระบบ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรูปแบบการเล่นกีฬาไทย และกีฬา สากล -กีฬาเปตอง 1 -กีฬากรีฑา 1 -กีฬาแบดมินตัน 1 -กีฬาเทเบิลเทนนิส 1 -กีฬาฟุตซอล 1 -กีฬาฟุตบอล1 ม.1/5 ร่วมมือในการเล่นกีฬาและการทำงาน เป็นทีมอย่างสนุกสนาน ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอุปกรณ์และการดูแลอุปกรณ์ใน การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล -กีฬาเปตอง 1 -กีฬากรีฑา 1 -กีฬาแบดมินตัน 1 -กีฬาเทเบิลเทนนิส 1 -กีฬาฟุตซอล 1 -กีฬาฟุตบอล1 ม.1/6 วิเคราะห์ เปรียบเทียบและยอมรับความ แตกต่างระหว่างวิธีการเล่นกีฬาของตนเองกับ ผู้อื่น - การยอมรับความสามารถของตนเอง และเข้าใจความ สามารถของเพื่อนร่วมทีม - แสดงความมีน้ำใจนักกีฬาอย่างเหมาะสม ม.2 ม.2/1 อธิบายสาเหตุการเปลี่ยนแปลงทางกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาที่เกิดจาก - คุณค่าและประโยชน์การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล - ความสำคัญของการเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล


40 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ การออกกำลังกาย และเล่นกีฬาเป็นประจำ ม.2/2 เลือกเข้าร่วมออกกำลังกายเล่นกีฬาตาม ความถนัด ความสนใจ - พื้นฐานการเล่นกีฬาเปตอง 2 - พื้นฐานการเล่นกีฬากรีฑา 2 - พื้นฐานการเล่นกีฬาแบดมินตัน 2 - พื้นฐานการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส 2 - พื้นฐานการเล่นกีฬาฟุตซอล 2 - พื้นฐานการเล่นกีฬาฟุตบอล 2 ม.2/3 มีวินัย ปฏิบัติตามกฎ กติกาและข้อตกลง ในการเล่นกีฬาที่เลือก กฎ กติกาในการแข่งขันกีฬาไทยและกีฬาสากล -กีฬาเปตอง 2 -กีฬากรีฑา 2 -กีฬาแบดมินตัน 2 -กีฬาเทเบิลเทนนิส 2 -กีฬาฟุตซอล 2 -กีฬาฟุตบอล2 ม.2/4 วางแผนการรุก และการป้องกันในการ เล่นนำไปใช้ในการเล่นอย่างเหมาะสมกับทีม ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรูปแบบการเล่นกีฬาไทย และกีฬา สากล -กีฬาเปตอง 2 -กีฬากรีฑา 2 -กีฬาแบดมินตัน 2 -กีฬาเทเบิลเทนนิส 2 -กีฬาฟุตซอล 2 -กีฬาฟุตบอล2 ม.2/5 นำผลการปฏิบัติในการเล่นกีฬามาสรุป เป็นวิธีที่เหมาะสมกับตนเองด้วยความมุ่งมั่น - การยอมรับความสามารถของตนเอง และเข้าใจความ สามารถของเพื่อนร่วมทีม - แสดงความมีน้ำใจนักกีฬาอย่างเหมาะสม ม.3 ม.3/1 มีมารยาทในการเล่นและดูกีฬาด้วย ความมีน้ำใจนักกีฬา - การแข่งขันกีฬาเปตอง 3 - การแข่งขันกีฬากรีฑา 3 - การแข่งขันกีฬาแบดมินตัน 3 - การแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิส 3 - การแข่งขันกีฬาฟุตซอล3 - การแข่งขันกีฬาฟุตบอล 3


41 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ม.3/2 ออกกำลังกายและเล่นกีฬ าอย่าง สม่ำเสมอและทักษะจากการเล่นไปพัฒนา คุณภาพชีวิตของตนเอง - พื้นฐานการเล่นกีฬาเปตอง 3 - พื้นฐานการเล่นกีฬากรีฑา 3 - พื้นฐานการเล่นกีฬาแบดมินตัน 3 - พื้นฐานการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส 3 - พื้นฐานการเล่นกีฬาฟุตซอล 3 - พื้นฐานการเล่นกีฬาฟุตบอล 3 ม.3/3 ปฏิบัติตนตามกฎ กติกา และข้อตกลงใน การเล่นตามชนิดกีฬาที่เลือก กฎ กติกาในการแข่งขันกีฬาไทย และกีฬาสากล -กีฬาเปตอง 3 -กีฬากรีฑา 3 -กีฬาแบดมินตัน 3 -กีฬาเทเบิลเทนนิส 3 -กีฬาฟุตซอล 3 -กีฬาฟุตบอล3 ม.3/4 จำแนกกลวิธีการรุกการป้องกัน และใช้ ในการเล่นกีฬาที่เลือกและตัดสินใจเลือกวิธีที่ เหมาะสมกับทีมไปใช้ไต้ตามสถานการณ์ของ การเล่น ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรูปแบบการเล่น วิธีการรุก การเล่น กีฬาไทย และกีฬาสากล - กีฬาเปตอง 3 - กีฬากรีฑา 3 - กีฬาแบดมินตัน 3 - กีฬาเทเบิลเทนนิส 3 - กีฬาฟุตซอล 3 - กีฬาฟุตบอล 3 ม.3/5 เสนอผลการพัฒนาสุขภาพของตนเอง ที่เกิดจากการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา เป็นประจำ - การพัฒนาสุขภาพตนเองที่เกิดจากการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาเป็นประจำ - การเล่น การแข่งขันกีฬา และการทำงานเป็นทีม - การยอมรับความสามารถ และความแตกต่างระหว่าง บุคคลในการเล่นกีฬา ม.4 ม.4/1 ออกกำลังกายและเล่นกีฬา ที่เหมาะสม กับตนเองอย่างสม่ำเสมอ และใช้ความสามารถ ของตนเองเพิ่มศักยภาพของทีม ลดความเป็น ตัวตน คำนึงถึงผลที่เกิดต่อสังคม การออกกำลังกายและการเล่นเกมส์กีฬาไทยด้วยวิธีที่ชอบ เหมาะสม -กีฬาเปตอง 4 -กีฬากรีฑา 4 -กีฬาแบดมินตัน 4


42 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ -กีฬาเทเบิลเทนนิส 4 -กีฬาฟุตซอล 4 -กีฬาฟุตบอล4 ม.4/2 อธิบายและปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิ กฎ กติกา กลวิธีต่าง ๆ ในระหว่างการเล่นการ แข่งขันกีฬากับผู้อื่นและนำไปสรุปเป็นแนว ปฏิบัติ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง - ปฏิบัติตามกฎ กติกาการกีฬาที่เลือกเล่น - รูปแบบ วิธีการรุก และป้องกันในการเล่นกีฬาที่เลือก - การเล่น การแข่งขันกีฬา และการทำงานเป็นทีม ม.4/3 แสดงออกถึงการมีมารยาท ในการดู การเล่นและการแข่งขันกีฬา ด้วยความมีน้ำใจ นักกีฬา และนำไปใช้ปฏิบัติทุกโอกาส จนเป็น บุคลิกภาพที่ดี - การยอมรับความสามารถ และความแตกต่างระหว่าง บุคคลในการเล่นกีฬา - แสดงความมีน้ำใจนักกีฬาอย่างเหมาะสม ม.4/4 ร่วมกิจกรรมทางกายและเล่นกีฬาอย่าง มีความสุข ชื่นชมในคุณค่าและความงามของ การกีฬา - คุณค่าและประโยชน์การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล - ความสำคัญของการเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล ม.5 ม.5/1 ออกกำลังกายและเล่นกีฬาที่เหมาะสม กับตนเองอย่างสม่ำเสมอ และใช้ความสามารถ ของตนเองเพิ่มศักยภาพของทีม ลดความเป็น ตัวตน คำนึงถึงผลที่เกิดต่อสังคม -การออกกำลังกายและการเล่นเกมส์กีฬาไทยด้วยวิธีที่ชอบ เหมาะสม -กีฬาเปตอง 5 -กีฬากรีฑา 5 -กีฬาแบดมินตัน 5 -กีฬาเทเบิลเทนนิส 5 -กีฬาฟุตซอล 5 -กีฬาฟุตบอล5 ม.5/2 อธิบายและปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิ กฎ กติกา กลวิธีต่าง ๆ ในระหว่างการเล่นการ แข่งขันกีฬากับผู้อื่นและนำไปสรุปเป็นแนว ปฏิบัติ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง - ปฏิบัติตามกฎ กติกาการกีฬาที่เลือกเล่น - รูปแบบ วิธีการรุก และป้องกันในการเล่นกีฬาที่เลือก - การเล่น การแข่งขันกีฬา และการทำงานเป็นทีม ม.5/3 แสดงออกถึงการมีมารยาทในการดู การเล่นและการแข่งขันกีฬาด้วยความมีน้ำใจ นักกีฬา และนำไปใช้ปฏิบัติทุกโอกาส จนเป็น บุคลิกภาพที่ดี - การยอมรับความสามารถ และความแตกต่างระหว่าง บุคคลในการเล่นกีฬา - แสดงความมีน้ำใจนักกีฬาอย่างเหมาะสม ม.5/4 ร่วมกิจกรรมทางกายและเล่นกีฬาอย่าง - คุณค่าและประโยชน์การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล


43 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ มีความสุข ชื่นชมในคุณค่าและความงามของ การกีฬา - ความสำคัญของการเล่นกีฬาไทยและกีฬาสากล ม.6 ม.6/1 ออกกำลังกายและเล่นกีฬาที่เหมาะสม กับตนเองอย่างสม่ำเสมอและใช้ความสามารถ ของตนเองเพิ่มศักยภาพของทีม ลดความเป็น ตัวตนคำนึงถึงผลที่เกิดต่อสังคม -การออกกำลังกายและการเล่นเกมส์กีฬาไทยด้วยวิธีที่ชอบ เหมาะสม -กีฬาเปตอง 6 -กีฬากรีฑา 6 -กีฬาแบดมินตัน 6 -กีฬาเทเบิลเทนนิส 6 -กีฬาฟุตซอล 6 -กีฬาฟุตบอล6 ม.6/2 อธิบายและปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิ กฎ กติกา กลวิธีต่าง ๆ ในระหว่างการเล่นการ แข่งขันกีฬากับผู้อื่นและนำไปสรุปเป็นแนว ปฏิบัติ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง - ปฏิบัติตามกฎ กติกาการกีฬาที่เลือกเล่น - รูปแบบ วิธีการรุก และป้องกันในการเล่นกีฬาที่เลือก - การเล่น การแข่งขันกีฬา และการทำงานเป็นทีม ม.6/3 แสดงออกถึงการมีมารยาทในการดู การเล่นและการแข่งขันกีฬาด้วยความมีน้ำใจ นักกีฬา และนำไปใช้ปฏิบัติทุกโอกาสจนเป็น บุคลิกภาพที่ดี - การยอมรับความสามารถ และความแตกต่างระหว่าง บุคคลในการเล่นกีฬา - แสดงความมีน้ำใจนักกีฬาอย่างเหมาะสม ม.6/4 ร่วมกิจกรรมทางกายและเล่นกีฬาอย่าง มีความสุข ชื่นชมในคุณค่าและความงามของ การกีฬา - คุณค่าและประโยชน์การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล - ความสำคัญของการเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล


44 สาระที่ 4 การเสริมสร้างสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค มาตรฐาน พ 4.1 เห็นคุณค่า และมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ป.1 ป.1/1 ปฏิบัติตนตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ ตามคำแนะนำ การปฏิบัติตนตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ ป.1/2 บอกอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตนเอง ลักษณะอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตนเอง ปวดศีรษะ ตัวร้อน มีน้ำมูก ปวดท้อง ผื่นคัน (หนังศีรษะ ผิวหนัง) ฟกช้ำ ป.1/3 ปฏิบัติตนตามคำแนะนำ เมื่อมีอาการเจ็บป่วย วิธีปฏิบัติตนเมื่อมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตนเอง ป.2 ป.2/1 บอกลักษณะของการมีสุขภาพดี - ลักษณะของการมีสุขภาพดี - ร่างกายแข็งแรง - จิตใจร่าเริง แจ่มใส - มีความสุข - มีความปลอดภัย ป.2/2 เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ อาหารที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ป.2/3ระบุของใช้และของเล่นที่มีผลเสียต่อสุขภาพ ของใช้และของเล่นที่มีผลเสียต่อสุขภาพ ป.2/4 อธิบายอาการและวิธีป้องกันการ เจ็บป่วยการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น - อาการและวิธีป้องกันการเจ็บป่วย ตาแดง ท้องเสีย - อาการและวิธีป้องกันการบาดเจ็บ ถูกของมีคม แมลง สัตว์กัดต่อย หกล้ม ป.2/5 ปฏิบัติตามคำแนะนำ เมื่อมีอาการ เจ็บป่วยและบาดเจ็บ วิธีปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วยและบาดเจ็บ ป.3 ป.3/1 อธิบายการติดต่อและวิธีการป้องกัน การแพร่กระจายของโรค การติดต่อและวิธีการป้องกันการแพร่กระจายของโรค ป.3/2 จำแนกอาหารหลัก 5 หมู่ อาหารหลัก 5 หมู่ ป.3/3 เลือกกินอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ ในสัตส่วนที่เหมาะสม การเลือกกินอาหารที่เหมาะสมความหลากหลายของ ชนิดอาหารในแต่ละหมู่ - สัดส่วนและปริมาณของอาหาร (ตามธงโภชนาการ) ป.3/4 แสดงการแปรงฟันให้สะอาติอย่างถูกวิธี การแปรงฟันให้สะอาดอย่างถูกวิธี (ครอบคลุมบริเวณขอบเหงือกและฟัน)


45 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ป.3/5 สร้างเสริมสมรรถภาพทางกายได้ ตามคำแนะนำ การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ - วิธีการทดสอบสมรรถภาพทางกาย - วิธีการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ โดยการออก กำลังกายการพักผ่อน และกิจกรรมนันทนาการ ป.4 ป.4/1 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ -ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ -การจัดสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและเอื้อต่อสุขภาพ ป.4/2 อธิบายสภาวะอารมณ์ความรู้สึกที่มี ผลต่อสุขภาพ สภาวะอารมณ์และความรู้สึก เช่น โกรธ หงุดหงิด เครียด เกลียด เสียใจ เศร้าใจ วิตกกังวล กลัว ก้าวร้าว อิจฉา ริษยา เบื่อหน่าย ท้อแท้ ดีใจ ชอบใจ รักชื่นชม สนุก สุขสบาย ผลที่ มีต่อสุขภาพ ทางบวก : สดชื่น ยิ้มแย้ม แจ่มใสร่าเริง ทางลบ : ปวดศีรษะ ปวดท้องเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ป.4/3 วิเคราะห์ข้อมูลบนฉลากอาหารและ ผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อการเลือกบริโภค การวิเคราะห์ข้อมูลบนฉลากอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ป.4/4 ทดสอบและปรับปรุงสมรรถภาพ ทางกายตามผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย -การทดสอบสมรรถภาพทางกาย -การปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบ สมรรถภาพทางกาย ป.5 ป.5/1 แสดงพฤติกรรมที่เห็นความสำคัญของ การปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ความสำคัญของการปฏิบัติตนตาม สุขบัญญัติแห่งชาติ ป.5/2 ค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้สร้างเสริม สุขภาพ - แหล่งและวิธีคันหาข้อมูลข่าวสารทางสุขภาพ - การใช้ข้อมูลข่าวสารในการสร้างเสริมสุขภาพ ป.5/3วิเคราะห์สื่อโฆษณาในเลือกซื้ออาหาร และผลิตภัณฑ์การตัดสินใจสุขภาพอย่างมี เหตุผล การตัดสินใจเลือกซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (อาหาร เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพในช่องปาก ) ป.5/4 ปฏิบัติตนในการป้องกันโรคที่พบบ่อยใน ชีวิตประจำวัน การปฏิบัติตนในการป้องกันโรคที่พบบ่อยในชีวิต ประจำวัน - ไข้หวัด - ไข้หวัดใหญ่ - ไข้เลือดออก - โรคผิวหนัง - ฟันผุ


46 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ป.5/5 ทดสอบและปรับปรุงสมรรถภาพทาง กายตามผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย - การทดสอบสมรรถภาพทางกาย - การปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบ สมรรถภาพทางกาย ป.6 ป.6/1 แสดงพฤติกรรมในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ - ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ - ปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ - การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อ สุขภาพ ป.6/2 วิเคราะห์ผลกระทบที่เทิดจากการระบาด ของโรคและเสนอแนวทางการป้องกันโรคติดต่อ สำคัญที่พบในประเทศไทย โรคติดต่อสำคัญที่ระบาดในปัจจุบัน ผลกระทบที่เกิดจากการระบาดของโรค - การป้องกันการระบาดของโรค ป.6/3 แสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความ รับผิดชอบต่อสุขภาพของส่วนรวม - พฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ของส่วนรวม ป.6/4สร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกาย เพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง - วิธีทดสอบสมรรถภาพทางกาย - การสร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตาม ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ม.1 ม.1/1 เลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับวัย หลักการเลือกอาหารที่เหมาะสมกับวัย ม.1/2 วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากภาวะโภชนาการ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ปัญหาที่เกิดจากภาวะโภชนาการ - ภาวะการขาดสารอาหาร - ภาวะโภชนาการเกิน ม.1/3 ควบคุมน้ำหนักของตนเอง ให้อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐาน - เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กไทย - วิธีการควบคุมน้ำหนักของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ม.1/4 สร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทาง กายตามผลการทดสอบ - วิธีทดสอบสมรรถภาพทางกาย - วิธีสร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผล การทดสอบ ม.2 ม.2/1 เลือกใช้บริการทางสุขภาพอย่างมีเหตุผล การเลือกใช้บริการทางสุขภาพ ม.2/2 วิเคราะห์ผลของการใช้เทคโนโลยีที่มีต่อ สุขภาพ ผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อสุขภาพ ม.2/3วิเคราะห์ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ที่มีผลต่อสุขภาพ ม.2/4 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาวะสมดุล ระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต ความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต


47 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ม.2/5 อธิบายลักษณะอาการเบื้องตันของผู้มี ปัญหาสุขภาพจิต ลักษณะเบื้องต้นของผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต ม.6/6เสนอแนะวิธีปฏิบัติตนเพื่อจัดการกับอารมณ์ และความเครียด วิธีการปฏิบัติตนเพื่อจัดการอารมณ์ความเครียด ม.6/7 พัฒนาสมรรถภาพทางกายตนเองให้ เป็นไปตามเกณฑ์ที่มีผลต่อสุขภาพที่กำหนด - เกณฑ์สมรรถภาพทางกาย - การพัฒนาสมรรถภาพทางกายสุขภาพจิต ม.3 ม.3/1กำหนดรายการอาหารที่เหมาะสมกับวัยต่างๆ โดยคำนึงถึงความประหยัดและคุณค่าทาง โภชนาการ -การกำหนดรายการอาหารที่ เหมาะสมกับวัยต่างๆ เช่น วัยทารก วัยเด็ก (วันก่อนเรียน วันเรียน) วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ โดยคำนึงถึงความประหยัดและคุณค่าทาง โภชนาการ ม.3/2 เสนอแนวทางป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุ สำคัญของการเจ็บป่วยและการตายของคนไทย โรคที่เป็นสาเหตุสำคัญของการ เจ็บป่วยและการตายของ คนไทย - โรคติดต่อ เช่น โรคเอดส์ โรคไข้หวัดนก โรคโควิด-19 - โรคไม่ติดต่อ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง ม.3/3 รวบรวมข้อมูลและเสนอแนวทางแก้ไข ปัญหาสุขภาพในชุมชน - ปัญหาสุขภาพในชุมชน ม.3/4 วางแผนและจัดเวลาในการออกกำลังกาย การพักผ่อนและการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย - แนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพใน ชุมชน ม.3/5 ทดสอบสมรรถภาพทางกาย และพัฒนา ไต้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล - ทดสอบ สมรรถภ าพ ทางกาย และการพั ฒ น า สมรรถภาพทางกายตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ม.4 ม.4/1 วิเคราะห์บทบาทและความรับผิดชอบ ของบุคคลที่มีต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการ ป้องกันโรคในชุมชน - บทบาทของตนเองและความรับผิดชอบของบุคคลที่มีต่อ การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน ม.4/2 วิเคราะห์ อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับ สุขภาพเพื่อการเลือกบริโภค -อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพแนวทางการเลือก บริโภคอย่างฉลาดและปลอดภัย ม.4/3 ปฏิบัติตนตามสิทธิของผู้บริโภค -สิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ คุ้มครองผู้บริโภค ม.4/4 วิเคราะห์สาเหตุและเสนอแนวทางการ ป้องกันการเจ็บป่วยและการตายของคนไทย -สาเหตุของการเจ็บป่วยและการตายของคนไทย เช่น โรคจาก การประกอบอาชีพ โรคทางพันธุกรรม - การดูแลสุขภาพของตนเอง


48 ชั้น หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง พุทธศักราช 2566 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ม.4/5 วางแผนและปฏิบัติตามแผนการพัฒนา สุขภาพของตนเองและครอบครัว -การวางแผนการพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว -การวางแผนการพัฒนาสุขภาพของตนเอง ม.4/6 มีส่วนร่วมในการส่งเสริม และพัฒนา สุขภาพในชุมชน -การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพของบุคคล ในชุมชน ม.4/7 วางแผนและปฏิบัติตามแผนการพัฒนา สมรรถภาพทางกาย และสมรรถภาพทางกลไก -การวางแผนพัฒนาสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพทาง กลไก ม.5 ม.5/1 วิเคราะห์บทบาทและความรับผิดชอบ ของบุ คคลที่มี ต่อการสร้างเสริมสุขภ าพ และการป้องกันโรคในชุมชน - บทบาทและความรับผิดชอบของบุคคลที่มีต่อการสร้างเสริม สุขภาพ และการป้องกันโรคในชุมชน ม.5/2 วิเคราะห์ อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับ สุขภาพเพื่อการเลือกบริโภค -อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพแนวทางการเลือก บริโภค อย่างฉลาดและปลอดภัย ม.5/3 ปฏิบัติตนตามสิทธิของผู้บริโภค -สิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ คุ้มครองผู้บริโภค ม.4/4 วิเคราะห์สาเหตุและเสนอแนวทางการ ป้องกันการเจ็บป่วยและการตายของคนไทย -สาเหตุของการเจ็บป่วยและการตายของคนไทย เช่น โรคจาก การประกอบอาชีพ โรคทางพันธุกรรม -แนวทางการป้องกันการเจ็บป่วย ม.5/5 วางแผนและปฏิบัติตามแผนการพัฒนา สุขภาพของตนเองและครอบครัว -การวางแผนการพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว ม.5/6 มีส่วนร่วมในการส่งเสริม และพัฒนา สุขภาพในชุมชน -การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพของบุคคล ในชุมชน ม.5/7 ว่างแผนและปฏิบัติตามแผนการพัฒนา สมรรถภาพทางกาย และสมรรถภาพทางกลไก -การวางแผนพัฒนาสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพทาง กลไก ม.6 ม.6/1 วิเคราะห์บทบาทและความรับผิดชอบ ของบุคคลที่มีต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการ ป้องกันโรคในชุมชน บทบาทและความรับผิดชอบของบุคคลที่มีต่อการสร้าง เสริมสุขภาพและป้องกันโรค ม.6/2 วิเคราะห์ อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับ สุขภาพเพื่อการเลือกบริโภค อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพเพื่อการเลือก บริโภค ม.6/3 ปฏิบัติตนตามสิทธิของผู้บริโภค ปฏิบัติตนตามสิทธิของผู้บริโภค ม.6/4 วิเคราะห์สาเหตุและเสนอแนวทาง การป้องกันการเจ็บป่วยและการตายของ คนไทย วิเคราะห์สาเหตุและเสนอทางการป้องกันการเจ็บป่วย การตายของคนไทย


Click to View FlipBook Version